รู ้ เ รื ่ อ งเพื ่ อ น โดย..โครงการเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายสุขภาพระดับภูมิภาค (ภาคใต้)
พฤศจิกายน
2560
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้
มีอาหาร
มีอนาคต
งานสร้างสุข ‘61
สร้างคน สร้างงาน สร้างพลัง หน้า 9
“เด็กป่าตง” กินผัก > สุขภาพดี
หน้า 2
2
“รู้ ้ เรืเรื่อ่องง เพื เพื่อ่อน” น” จดหมายข่ จดหมายข่าาวออนไลน์ วออนไลน์เเพืพื่อ่อพีพี่น่น้อ้องประชาสั งประชาสังงคมภาคใต้ คมภาคใต้ “รู
นั ก เรี ย นบ้ า นป่ า ตง
สุขภาพดีได้ ด้วยการกินผักผลไม้ โครงการส่ ง เสริ ม การบริ โ ภคผั ก ผลไม้ เ พื่ อ สุ ข ภาพในโรงเรี ย นบ้ า นป่ า ตง ตำ�บลต้นยวน อำ�เภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยนายไพฑูรย์ จันทร์ชุม ครูโรงเรียนบ้านป่าตง รับหน้าที่หัวหน้าโครงการ โดยทางสมาคมประชา สังคมชุมพร และคณะทำ�งาน เป็น “หน่วยจัดการ (Node)” ร่วมกับสำ�นัก สร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สสส.สน.6) สนับสนุนการดำ�เนินงาน โครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็กสร้างนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ หัวใจสำ�คัญของโครงการคือ การสร้างความรู้ ความเข้าใจในด้าน ภาวะโภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนให้กับนักเรียน ครู แม่ครัว ใน โรงเรียน รวมถึงการส่งเสริมให้นักเรียนบริโภคผักผลไม้ในมื้อกลางวันที่ โรงเรียนเพิ่มมากขึ้น
การจัดกระบวนการเรียนรู้....สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
จากการดำ�เนินโครงการทำ�ให้ผู้อำ�นวยการ คณะครู แม่ครัว จำ�นวน 12 คนได้มีการประชุมวางแผนในการส่งเสริมการบริโภคผักของนักเรียน มี การแบ่งบทบาทหน้าที่ในการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนหันมาสนใจ บริโภคผักผลไม้ รวมถึงการให้ความรู้เรื่องโภชนาการ และสุขภาพของ นักเรียน เช่น จัดโครงการอาหารกลางวันตามหลักโภชนาการ การจัด กิจกรรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพของนักเรียน ส่งเสริมการออกกำ�ลังกาย การ เล่นกีฬา การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภค นอกจากนี้ยังมีการเชิญแกนนำ�ครูภูมิปัญญาและเจ้าหน้าที่อาสา สมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลต้นยวน มาให้ความรู้
3
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้
นักเรียนในเรื่องของประโยชน์ของการบริโภคผักและผลไม้ เมื่อแกนนำ�นักเรียนจำ�นวน 15 คน ได้รับความรู้ผ่านการจัด กิจกรรมอบรมและกิจกรรมต่างๆ ทำ�ให้เกิดการแบ่งปันความรู้ให้กับเพื่อน นักเรียนในโรงเรียนด้วย ผ่านกิจกรรมการบอกเล่าผ่านเสียงตามสายและ การจัดทำ�นิทรรศการแนะนำ�เมนูอาหาร ประโยชน์ รวมถึงการจัดทำ� แปลงสาธิตการปลูกผักในโรงเรียน โดยใช้วัสดุไม้ไผ่มาดัดแปลงเป็นชั้น แปลงผัก และการขยายผลไปสู่ที่บ้าน มีการบอกเล่ากิจกรรมให้ผู้ปกครอง ได้รับฟัง ช่วยทำ�อาหารอย่างง่ายที่บ้าน เชิญชวนให้พี่น้องที่บ้านได้กินผัก เพิ่มขึ้นด้วย
เสียงสะท้อน...จากแกนนำ�นักเรียน
> > > > >
น้องใบเตยเริ่มกินผักมากขึ้น ชวนน้องกินผัก น้องอัฐรู้ประโยชน์ของผัก ช่วยพ่อแม่ปลูกผักคะน้า น้องแซนดี้ปลูกผักที่บ้านและฝึกการทำ�เมนูอาหารอย่างง่าย น้องเมจิได้มีการปลูกผักคะน้าไว้รับประทานที่บ้าน น้องดาวนิลรู้จักผักเพิ่มขึ้น ช่วยทำ�แปลงผักที่โรงเรียน รู้สึกสนุก
สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้...สู่บทเรียนการก้าวต่อ
การดำ�เนินกิจกรรมส่งเสริมการบริโภคผัก ผลไม้ ให้กับนักเรียน ทำ � ให้ เ กิ ด กลุ่ ม นั ก เรี ย นแกนนำ � ที่ มี ค วามสนใจและมี ก ารพั ฒ นาแกนนำ � นักเรียนรุ่นใหม่ให้มาเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น ชุมชนบ้านป่าตงและครู ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการดำ�เนินกิจกรรม ครู ได้มีการบูรณาการกิจกรรมสู่หลักสูตรการเรียนรู้ในโรงเรียน นักเรียนได้ เรียนรู้เรื่องของผักและผลไม้ เพลงกินผัก ละครเกี่ยวกับผักและเศรษฐกิจ พอเพียง นิทรรศการเรื่องผัก หนังสือนิทาน เขียนบรรยายเรื่องของ ผักประกอบภาพ พัฒนาการเด็กของเล่นเกี่ยวกับเครื่องครัวให้เด็กฝึกทำ� อาหารผ่านการเล่นอย่างสนุกสนาน การฝึกทำ�อาหารและขนม เช่น ขนม ลูกชุบ บัวลอย เค้กกล้วยหอม เป็นต้น แม่ครัวมีการปรับเปลี่ยนเมนูอาหาร เพิ่มปริมาณผัก ปรับตาราง เมนูอาหารกลางวันโดยการสอบถามนักเรียนให้ได้มีส่วนร่วมในการเลือก เมนูอาหารที่เน้นผักอีกด้วย การสนับสนุนจากผู้อำ�นวยการโรงเรียน มีการขยายพื้นที่ใน โรงเรียนให้นักเรียนได้มีการปลูกต้นทานตะวัน และได้ส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ ผักเมล็ดทานตะวันให้คนในชุมชนและให้เด็กนักเรียนไปปลูกที่บ้าน การ สื่อสารและประชาสัมพันธ์บอกเล่าต่อยอดกิจกรรมให้กับชุมชนรับทราบ ผ่านงานเสวนาสภากาแฟ การพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์และขายต้น อ่อนทานตะวัน เมล็ดพันธุ์ เพื่อสนับสนุนเป็นทุนการศึกษาให้กับนักเรียน เป็นต้น เรื่องโดย นางสาวอรอุมา ชูแสง
4
“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้
คนควนยูงปลูกผักกินเอง
ลดโรค เพิ่มสุข
ชุมชนบ้านควนยูง ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี โดยพี่ปิ๋ว - จิตรา เมฆมูสิก และแกนนำ�กลุ่มสตริบ้านควนยูง จำ�นวน 30 ครัวเรือนได้เข้ามาร่วมประชุมพูดคุยกับสมาชิก ในชุมชนที่สนใจเพื่อหาแนวร่วมในการส่งเสริมการผลิตและ บริโภคผักในครัวเรือน และส่งเสริมให้สมาชิกได้เรียนรู้การ ทำ�ปุ๋ยหมัก นํ้าหมักชีวภาพ และการปรับตัวและตั้งรับกับ สถานการณ์ในช่วงของนํ้าท่วม มีการปรับวิธีการปลูกผักสวน ครัวในกระถางและกระสอบ การปลูกผักเขรียงและข้าวไร่แซม ในสวนยาง ทำ�ให้ในชุมชนมีคนที่สนใจเพิ่มมากขึ้น มีกิจกรรม การประกวดผักปลอดภัยสวนเราเอง เกิดการแลกเปลี่ยนพูด คุยกันมากขึ้นโดยทางกลุ่มสตรีจะมีการนัดพบเจอกันในวันที่ 8 ของทุกเดือน การดำ�เนินกิจกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มตรีบ้านควนยูง นั้นส่งผลโดยตรงในด้านสุขภาวะทั้งด้านกาย ใจ อารมณ์ สังคม จิตวิญญาณ ซึ่งสามารถเห็นได้อย่างว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความ สุข ในการทำ�งานร่วมกันของกลุ่มสตรีบ้านควนยูงเกิดความสุข ทางใจ รอยยิ้มของผู้สูงอายุที่ได้มีการรวมกลุ่มมาใช้เวลาว่าง ร่วมกัน ส่งเสริมสุขภาพกายได้รับประทานผักผลไม้ที่ปลูกเอง เมื่อรับประทานผักมากขึ้น สมาชิกบอกว่าสามารถลดโรคไขมัน ความดัน เบาหวานในกลุ่มผู้สูงอายุได้ การปลูกผักเป็นการลด รายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับบางครอบครัวที่มีการขยายพื้นที่เพาะ ปลูกเพื่อจำ�หน่าย และความสามัคคีของคนในชุมชนมีแกนนำ� ที่เสียสละและตั้งใจที่จะทำ�ให้ชุมชนมีแหล่งอาหารของชุมชน กล่าวได้ว่า การส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและ บริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือนนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ในการ สร้างสุขภาวะของคนในชุมชนได้อย่างมีพลัง และเป็นพลัง เล็กๆ ที่เป็นจุดเริ่มต้นให้สมาชิกในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยมากขึ้น ภาพโดย นางจิตรา เมฆมูสิก เรื่องโดย นางสาวอรอุมา ชูแสง กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
5
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้ ในฐานะที ม พี่ เ ลี้ ย งหน่ ว ยประสานจั ด การ โครงการพัฒนาศักยภาพพื้นที่สร้างเสริมสุขภาพขนาด เล็ก สสส. สำ�นัก 6 ได้แวะเยี่ยมเยียน น้องณัฐ ผู้อำ�นวย การกองสาธารณสุข เทศบาลตำ�บลเนินสันติ อำ�เภอท่า แซะ จังหวัดชุมพร พี่เลี้ยงพื้นที่โครงการสร้างเสริมสุข ภาพขนาดเล็กบ้านดอนยาง ในหนึ่งปีที่ผ่านมาได้ดำ�เนิน การโครงการส่งเสริมการผลิตผักปลอดสารในครัวเรือน และชุมชน เกิดผลลัพธ์การรวมตัวของผู้คนตัวเล็กจาก 25 ครัวเรือนเป็นคณะทำ�งานตระหนักใส่ใจการดูแล สุขภาพตนเอง ด้วยการผลิตพืชอาหารที่ปลอดภัยไว้ บริโภคในชุมชน ส่วนที่เหลือก็แจกจ่ายจำ�หน่ายที่ตลาด
หนุนเสริม เติมพลัง ณ เทศบาลตำ�บลเนินสันติ ท่าแซะ ชุมพร
จากการทำ�กิจกรรมค้นพบผู้คนใหม่ๆ ที่สนใจจะพัฒนา ชุมชนท้องถิ่น และค้นพบประเด็นทุกขภาวะ เช่น ปัญหา ขยะ ความอบอุ่นของครอบครัวฯ จึงนำ�มาสู่การกิจกรรม จิบนํ้าชาเสนาเรื่องขยะ นำ�มาสู่จัดค่ายครอบครัวอบอุ่น โดยใช้ ศั ก ยภาพของที ม วิ ท ยากรด้ า นการให้ คำ � ปรึ ก ษา ด้วยศิลปะมันตรา (บำ�บัดจิตใจด้วยการสนทนาร่วมกับ เครื่องมือทางศิลปะบำ�บัด) วันที่ไปเยี่ยม ผอ.นัฐ พาไปพบกับ พี่จิน แห่ง บ้านสวนพอใจ ท่าแซะ ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้และการ บำ�บัดทางจิต ซึ่งได้เปิดบ้านสวนพอใจให้ผู้คนในชุมชน ได้ออกกำ�ลังกายด้วยท่าโยคะแบบง่าย จัดฝึกสมาธิให้แก่ เด็ก และให้คำ�ปรึกษากับผู้มีทุกข์ทางใจ โดยไม่มีค่าใช้ จ่าย นี่คือผลกระทบทางบวกจากโครงการขนาดเล็ก น้องนัฐและทีมได้ค้นพบพลังคุณงามความดีจาก ผู้คนในชุมชนที่พร้อมจะช่วยเหลือชุมชนสังคม และได้ใช้ ศักยภาพของมนุษย์เพื่อดูแลเพื่อนมนุษย์ จากการสนทนาด้ ว ยความเป็ น กั ล ยาณมิ ต รใน ช่วงเวลาไม่นาน ข้าพเจ้าก็ได้เรียนรู้และมั่นใจ ในทิศทาง การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ว่าพลังของมนุษย์มีอยู่ทุกหน
แห่ง เราต้อง ค้นหาให้พบและใช้ พลังคุณงามความ ดีของมนุษย์ เข้า ม า จั ด ก า ร ทุ ก ข ะภาวะของพื้ น ที่ เขา เพียงแต่เรา ต้ อ งสร้ า งโอกาส สร้างวาระ สร้าง เงื่อนไข ให้ผู้คนตัว เล็ ก แต่ ใ จยิ่ ง ใหญ่ ไ ด้ ใ ช้ ศั ก ย ภ า พ แสดงบทบาทที่ควรมี ควรเป็น ในจังหวะโอกาสที่เหมาะ สม ท้ายสุดนี้ต้องขอบคุณน้องณัฐ ที่เป็นผู้เชื่อมคน เชื่อมพลังธรรม (ทำ�) ชาติ ให้เกิดขึ้น ณ เทศบาลตำ�บล เนินสันติ อำ�เภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เรื่องโดย นายทวีวัตร เครือสาย
ขอเชิญภาคีร่วมงาน.....
“มหกรรมกรรมเกษตรอินทรีย์ และการขับเคลื่อนสิทธิเกษตรกรภาคใต้”
16 – 18 พฤศจิกายน 2560 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ อ.ปะทิว จ.ชุมพร สอบถามเพิ่มเติม/สำ�รองชื่อ ติดต่อ ผศ.ดร.ร่วมจิต นกเขา โทร. 089-4665205
6
“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้
คืนชีวิตสู่ท้องนา…บ้านเจ๊ะเหม กับโครงการฟื้นฟูนาร้างด้วยเกษตรอินทรีย์แบบยั่งยืนบ้านเจ๊ะเหม หมู่ที่ 3 ต.แว้ง อ.แว้ง นราธิวาส
รู้จัก…บ้านเจ๊ะเหม “เจ๊ะเหม” เป็นหมู่บ้านขนาด ใหญ่ในตำ�บลแว้ง มีคลองสายเล็กๆ ไหลผ่า นกลางหมู่ บ้ านที่ช าวบ้านได้ ใช้ประโยชน์ เดิมทีชาวบ้านไม่น้อย มีอาชีพทำ�นา แต่ช่วงหลังเริ่มลด น้อยถอยลง สุดท้ายต้องมาซื้อข้าว กิน แล้วหันไปปลูกยางพารา ซึ่ง ต่อมาราคาตกตํ่าลงเรื่อย ๆ หนี้สิน ครอบครัวพอกพูนกันถ้วนหน้า
บ้านเจ๊ะเหม ต.แว้ง อ.แว้ง จ.นราธิวาส
จุดเปลี่ยน
เมื่อปี พ.ศ. 2551 มีผู้อาวุโส ท่ า นหนึ่ ง ในหมู่ บ้ า นที่ เ คยทำ � นามา ยาวนาน นายดือเลาะ สะอะ เห็น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมิอาจนิ่ง เฉยได้ จึงได้ชวนคนจำ�นวนหนึ่งใน หมู่บ้าน 7-8 คน ปรึกษาหารือกัน หลังละหมาดอีซากันเสร็จว่า เรา ควรที่จะหันมาทำ�นาปลูกข้าวในพื้นที่ นาร้างที่มีอยู่เกือบ 300 ไร่กันอีก ครั้ง โดยมีคำ�กล่าวสั้นๆ ว่า “ยางคือ ลูกเลี้ยง ข้าวคือลูกแท้” เพราะเรา ต้องกินข้าว แม้ว่าจะปลูกยางพารา ชาวบ้านก็ต้องมาซื้อข้าวกินอยู่ดี จน ทำ�ให้หลายคนเริ่มสนใจกลับมาฟื้นฟู ทำ�นาข้าวกันอีกครั้งในพื้นที่รกร้าง เพื่อไว้บริโภคภายในครัวเรือน การเริ่มต้นทำ�นาใหม่อีกครั้ง อย่างทุลักทุเลพอสมควร เนื่องด้วย เกือบทุกบ้านได้ขายเครื่องมือทำ�นา ทิ้งไปหมดแล้ว การรวมกลุ่มพูดคุย กันอย่างต่อเนื่องทำ�ให้คนทำ�นาเริ่ม
ย า ง คื อ ลู ก เ ลี้ ย ง ข้าวคือลูกแท้ แม้ว่า จะปลู ก ยางพารา ชาวบ้ า นก็ ต้ อ งมา ซื้อข้าวกินอยู่ดี
เหนียวแน่นขึ้น ช่วยกัน แบ่งปันทั้ง ความรู้ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ เพื่อ ไม่ต้องมาซื้อใหม่ทั้งหมด ชาวนาเริ่ม ทำ�นาสำ�หรับคนที่มีพื้นที่นาก็ทำ�นา ในพื้นที่ตัวเอง แต่สำ�หรับคนที่ไม่มี พื้นที่นาเป็นของตัวเองก็เช่าจากเจ้่า ของที่ ตกลงแบ่งปันผลผลิต เมื่อถึง ฤดูเก็บเกี่ยวทางกลุ่มชาวนาก็ช่วยกัน เก็บเกี่ยว นำ�ข้าวเปลือกไปสีข้าวที่โรง สีข้าวอำ�เภอสุไหงปาดี
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้
นายมูฮำ�หมัด บิง แกนนำ� คนสำ�คัญของกลุ่มชาวนา จบการ ศึกษาด้านเกษตรและมีประสบการณ์ ในการทำ�นาได้ปรึกษากับสมาชิกและ ได้ ป ระสานงานไปยั ง เกษตรอำ � เภอ แว้ ง เพื่ อ ขอคำ � ปรึ ก ษาและตกลงกั น เขียนโครงการไปยังหน่วยเฉพาะกิจ นราธิวาสที่ 35 เพื่อของบประมาณ ในการสนับสนุนการดำ�เนินงาน และ ในปี 2551 นั้นเองทางเกษตรอำ�เภอ ได้ แ จ้ ง ข่ า วดี ว่ า โครงการที่ เ สนอได้ รับการอนุมัติรวมงบประมาณทั้งสิ้น 450,000 บาท สมาชิกชาวนาดีใจ เป็นอย่างมาก จึงได้ปรึกษาหารือ กั น และตกลงกั น ว่ า เงิ น ส่ ว นหนึ่ ง จะ นำ�ไปซื้อเครื่องสีข้าวไว้เป็นของชุมชน ส่วนที่เหลือนำ�มาบริหารจัดการกัน ในกลุ่ม จากนั้นมาปี 2552 ทาง กลุ่มชาวนาได้ ร่ ว มกันสร้างโรงและ ซื้อเครื่องสีข้าวมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ นั้นจนถึงปัจจุบัน และอีกหนึ่งประเด็นที่สำ�คัญ คือเกษตรกรบ้านเจ๊ะเหมส่วนใหญ่ยัง
ทางโรงพยาบาลอำ�เภอ แว้ ง ได้ ม าตรวจเลื อ ด ของเกษตรกร 20 คน พบว่า ทุกคนมี สารเคมีในเลือด ทำ�ให้ เกษตรกรโดยเฉพาะ ชาวนาเริ่มกังวล นิยมใช้ปุ๋ยเคมีในการทำ�นาข้าวและ ปลูกผัก แม้ว่าทางเกษตรอำ�เภอจะ ให้คำ�แนะนำ�แล้วก็ตาม เพราะด้วย ความเคยชิ น ทำ � ให้ ก ารปรั บ เปลี่ ย น พฤติกรรมนั้นไม่ง่ายซึ่งต้องส่งเสริม กันอย่างต่อเนื่อง เป็นโอกาสดีที่ทาง โรงพยาบาลอำ � เภอแว้ ง ได้ ม าตรวจ เลือดของเกษตรกร 20 คน พบ
7
ว่า ทุกคนมีปริมาณสารเคมีในเลือด สูง ทำ�ให้เกษตรกรโดยเฉพาะชาวนา เริ่มกังวล และได้ปรึกษาหารือกัน ว่าเราควรทดลองเรียนรู้การทำ�ปุ๋ย อิ น ทรี ย์ เ พื่ อ สุ ข ภาพของเกษตรกร เองและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่บ้านเจ๊ะ เหม ประจวบเหมาะกับที่นายมูนิต เจ๊ะมิ แกนนำ�อีกหนึ่งได้รับข่าวการ สนับสนุนงบประมาณจาก สสส. จึง ได้ปรึกษาหารือกันว่าสนใจเรื่องการ ทำ�นาให้ปลอดสารเคมี จากนั้นมาจึง ได้มีการพัฒนาโครงการจนได้รับการ พิจารณาอนุมัติและดำ�เนินงานเรียน รู้การทำ�นาด้วยการใช้ปุ๋ยที่ผลิตเอง
ฟื้น…เสียงที่ถูกลืม
เสียงสะท้อนจากกลุ่มผู้หญิง หลายต่อหลายคนดังมาที่กลุ่มชาวนา ว่า “ขอบคุณที่เปิดพื้นที่ให้เราได้มี ส่วนร่วม ได้มีสิทธิ์มีเสียงในสังคม มูฮำ�หมัด บิง สะท้อนมาให้เราฟัง ว่า กิจกรรมที่จัดขึ้นในรอบหนึ่งปีที่ ผ่านมาเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มผู้
ง
8
“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้
กระบวนการใน โครงการที่ อ อกแบบ ไ ว้ ใ ห้ ท า ง ก ลุ่ ม ไ ด้ จั ด กิ จ กรรมหรื อ ประชุ ม ทำ � ใ ห้ ผู้ ค น ไ ด้ ม า เ จ อ กัน คนจากนอกพื้นที่ ที่สนใจขอเข้ามาเรียนรู้ ด้วย ทำ�ให้คนในชุมชน รวมถึงกลุ่มผู้หญิงเองได้ เข้ า มามี บ ทบาทในการ ทำ�งานมากขึ้น หญิงซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นบรรดาภรรยา ของพ่ อ บ้ า นที่ เ ป็ น ชาวนาในกลุ่ ม ได้ เข้ามามีบทบาททำ�งานในกลุ่ม เช่น งานด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ การหุงหาอาหาร การต้อนรับเมื่อมี คนมาเยือน ซึ่งจากกระบวนการใน โครงการที่ อ อกแบบไว้ ใ ห้ ท างกลุ่ ม ได้จัดกิจกรรมหรือประชุม ทำ�ให้ ผู้คนได้มาเจอกัน ทำ�กิจกรรมด้วย กันมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีคนจาก นอกพื้นที่ที่สนใจขอเข้ามาเรียนรู้ด้วย ทำ�ให้คนในชุมชนรวมถึงกลุ่มผู้หญิง เองได้เข้ามามีบทบาทในการทำ�งาน มากขึ้น” มี บ างส่ ว นจากเสี ย งของผู้ หญิงสะท้อนออกมา นางสาวแอ เสาะ มูซอ เล่าให้คณะทำ�งานฟัง ว่า จากการทำ�งานที่ผ่านมาได้ร่วม กิจกรรมกับกลุ่มมาโดยตลอด อาสา ทำ � กั บ ข้ า วให้ กั บ กลุ่ ม และผู้ เ ข้ า ร่ ว ม ประชุม มีความสุขมากเมื่อได้เห็น ชุมชนเกิดความสามัคคีกัน นางสาวรอยีเล็ง สุหลง ได้
เล่าให้ฟังเช่นกันว่า “ในหนึ่งปีที่ผ่าน มาได้เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มชาวนา ตลอดและพึ่งได้รู้ว่าการร่วมกิจกรรม เป็นกลุ่มนั้นมีประโยชน์ พึ่งรู้ว่าตัว เองก็มีความสำ�คัญต่อกลุ่ม ซึ่งก่อน หน้าไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ เลย ไม่เคยมีใครให้ความสำ�คัญและไม่เคย เหลียวแล จนทำ�ให้รู้สึกว่าตัวเองไร้ ค่าไร้ความหมาย แต่ปัจจุบันความเห ลื่อมลํ้าที่เคยรู้สึกมานานได้จางหาย ลงไปเรื่อยๆ แล้ว”
ความสัมพันธ์เพิ่มขึ้น ความขัดแย้งเริ่มคลี่คลาย
ทุกชุมชนย่อมมีความขัดแย้ง มากน้ อ ยตามบริ บ ทที่ แ ตกต่ า งกั น เดิ ม ที บ้ า นเจ๊ ะ เหมก็ พ บปั ญ หาด้ า น การเมืองท้องถิ่น คนในชุมชนขัด แย้งแบ่งกันเป็น 2 ฝ่ายตามผู้นำ�ของ ชุมชน แต่จากการทำ�งานกลุ่มชาวนา
ที่ผ่านมาได้มองก้าวข้ามเรื่องความ ขัดแย้ง มุ่งเอาประเด็นประโยชน์ใน เรื่องการเรียนรู้การทำ�นามาเป็นตัว ตั้ง โดยให้สมาชิกมาทำ�งานร่วมกัน มีกิจกรรมบ่อยครั้ง มีหน่วยงานมา เยี่ยมอย่างต่อเนื่อง ทางคณะทำ�งาน ชาวนาให้เกียรติผู้ใหญ่บ้านโดยการ เชิญมาร่วมกิจกรรมทุกครั้ง โดยส่วน ใหญ่ผู้ใหญ่บ้านก็มาร่วม หากมาไม่ ได้ก็จะให้ภรรยามาแทนด้วยทุกครั้ง ทำ�ให้ความขัดแย้งที่เคยมีเริ่มลดลง และมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ความสัมพันธ์ โดยรวมของชุมชนก็มีบรรยากาศที่ ดีขึ้นมาก โดยเฉพาะกลุ่มวัยเด็กๆ ที่ นับวันเริ่มที่จะเกิดช่องว่างกับผู้ใหญ่ มากขึ้น การชักชวนเด็กๆ มาเข้าร่วม กิจกรรมหลายต่อหลายครั้งจนทำ�ให้ ช่องว่างระหว่างวัยลดน้อยลงไปด้วย เรื่องโดย นายอานัติ หวังกุหลำ�
ภาพประกอบ : AE Sutthiphong รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้ 9
งานสร้างสุขภาคใต้
‘61 ‘สร้างคน สร้างงาน สร้างพลัง’ งานสร้างสุขภาคใต้ ถือเป็นงานใหญ่งานหนึ่งที่ภาคีเครือ ข่ายสร้างเสริมสุขภาพได้มีโอกาสเข้าร่วมอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2561 นี้ ได้กำ�หนดร่วมกันให้มีการจัดงาน “สร้างคน สร้างงาน สร้างสุข สานพลังที่ก้าวข้าม ขีดจำ�กัดสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน” ในวันที่ 27-29 มีนาคม 2561 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฯ หาดใหญ่ เพื่อสาน พลังภาคีเครือข่ายพันธมิตรเชื่อมร้อยกลไกเครือข่ายสุข ภาวะ รวมทั้งยกระดับการจัดการความรู้ จนนำ�ไปสู่การ พัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ สำ�หรับการจัด งานในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากสำ�นักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำ�นักงานคณะ กรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ภายใต้การกำ�กับ ดูแลโดยสถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ (สจรส.) ม.อ. สำ�หรับรูปแบบการจัดงานในปีนี้ ได้้แก่ การ เสวนา “สานพลังที่ก้าวข้ามขีดจำ�กัดสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน” การนำ�เสนอผลงานทางวิชาการ เวทีสื่อสารสาธารณะ
“จริยธรรมสื่อเพื่อสุขภาวะทางสังคม” ห้องเรียนเชิง ปฎิบัติการรื่องระบบการจัดการฐานข้อมูล และเครื่องมือ ธรรมนูญ HIA / ธรรมนูญสุขภาพ / 4PW นอกจากนี้ ยังได้กำ�หนดการจัดเวทีพูดคุยในห้อง ย่อยแต่ละประเด็น ได้แก่ 1. เกษตรกรรมเพื่อสุขภาพ อาหาร/โภชนาการ 2. การจัดการปัจจัยเสี่ยง 3. เด็กเยาวชนและครอบครัว 4. ทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม ท่องเที่ยว 5. การจัดการภัยพิบัติ 6. ความมั่นคงทางสุขภาพ เรื่อง DHB/เขต สุขภาพเพื่อประชาชน /4PW 7. จริยธรรมสื่อเพื่อสุขภาวะทางสังคม 8. สันติสุขภาวะชายแดนใต้ และการแพทย์พหุ วัฒนธรรม
ติดตามความคืบหน้าการจัดงานได้ที่ http://hsmi2.psu.ac.th
10
สู้ !
“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้
ชุมชนกวนอู
พลังคนตัวเล็ก หัวใจไม่เล็ก
“
กว่า 10 เดือนที่ พลังคนตัวเล็ก 10 กว่า คนได้ใช้โอกาสที่ได้รับทุน ก้อนเล็กๆ จาก สสส. ลุกขึ้นมาจัดการเรื่องขยะ ทำ�ให้ 169 ครัวเรือนใน ชุมชนกวนอูและใกล้เคียง ตื่นตัวในการจัดการขยะ มีขยะถูกคัดแยกกว่า 9,000 กิโลกรัม เปลี่ยน เป็นเม็ดเงินแล้ว 34,000 บาท กระจายรายได้คืน กลับมาในชุมชนอย่ า งน่ า ทึ่ง
“
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้
11
ทุกบ่ายวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน ณ อาคารอเนกประสงค์ของชุมชนกวนอู เทศบาลตำ�บลห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง คือ เวลานัดหมายในการรับซื้อขยะของคนในชุมชนกวนอู และชุมชนใกล้เคียง โดยมีกลุ่มรักษ์ สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนกวนอู นำ�ทีม โดยคุณบารมิตา เหลียวพัฒนพงศ์ (คุณจ๊ะ) แกนนำ�สำ�คัญของ ชุมชนที่ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำ�จิตอาสา ชักชวนชาวบ้านในพื้นที่เทศบาลตำ�บลห้วยยอดให้ตื่นตัวเรื่องการจัดการขยะ เริ่ม เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เห็นคุณค่าของขยะ และนำ�ขยะที่คัดแยกแล้วมาขาย ในวันนัดหมาย ขยะจากครัวเรือนต่างๆที่ถูกคัดแยกแล้ว จะทยอยนำ�มาส่ง ณ ที่ทำ�การของชุมชน ทั้งจาก เจ้าของบ้านที่นำ�ขยะที่คัดแยกแล้วมาขายด้วยตัวเอง และบริการรถซาเล้งในการขนส่งถึงบ้านสำ�หรับครัวเรือนที่ไม่ สะดวกเรื่องการขนส่งขยะ โดยการโทรศัพท์นัดหมายคณะทำ�งานล่วงหน้า ณ ช่วงเวลานั้น เราจะสัมผัสบรรยากาศที่ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้คนหลากหลายวัย ทยอยกันนำ�ขยะมาแลกไม่ขาด สาย คนหนึ่งช่วยยกขยะขึ้นชั่งนํ้าหนัก บ้างนั่งบันทึกตัวเลข คำ�นวณราคา บางคนขนย้ายขยะไปเก็บ อีกส่วนก็ไปรับขยะ ตามครัวเรือน ทีมทำ�งานล้วนทำ�งานอย่างขะมักเขม้น รู้งาน และที่พิเศษก็คือ ทีมเกือบทั้งหมดเป็นพลังผู้หญิง สำ�หรับการทำ�งาน คุณจ๊ะบอกว่าหลังจากรับซื้อขยะ แล้ว ทางทีมทำ�งานจะมาคัดแยกขยะอีกครั้ง หนึ่งเพราะ ทั้งพลาสติก กระดาษ จะมีรายละเอียดที่แตกต่างของราคา อาทิ พลาสติกขวดสีขุ่น ขวดใส ก็ราคาต่างกัน กระดาษ ลัง กระดาษเอกสาร หนังสือ เหล่านี้ราคาก็จะต่างกัน ซึ่ง เงินส่วนต่างตรงนี้เมื่อคัดแยกซ้ำ�อีกครั้ง ก็จะเป็นรายได้ สำ�หรับการบริหารจัดการของกลุ่ม การคัดแยกจะดำ�เนินไป จนแล้วเสร็จเช้าวันรุ่งขึ้นจะนำ�ขยะไปขาย ร้านรับซื้อขยะที่ อ.รัษฎา ซึ่งตั้งอยู่ต่างอำ�เภอแต่ให้ราคารับซื้อขยะที่สูงกว่าใน พื้นที่ โดยทางเทศบาลตำ�บลห้วยยอดจะสนับสนุนรถของ ทางเทศบาลในการขนส่งขยะที่ถูกคัดแยกแล้วไปขาย กว่าสิบเดือนที่พลังคนเล็กๆจิตอาสา เพียงสิบกว่า คนในชุมชนลุกขึ้นมาจัดการเรื่องขยะโดยใช้โอกาสจากการ ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็ก ของ สสส. จำ�นวน 50,000 บาท ทำ�ให้คนในชุมชนกวนอู และใกล้เคียงตื่นตัวและมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ 169 ครัวเรือน มีขยะในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงถูกคัดแยกกว่า 9,578 กิโลกรัม และเปลี่ยนเป็นรายได้แล้ว 34,288 บาท คุณจ๊ะฝากข้อคิด สำ�หรับชุมชนที่อยากลุกขึ้นมา จัดการขยะ ว่าต้องหาแกนนำ�และทีมทำ�งานที่ใจสู้ ส่วน ความท้าทายที่จะเดินต่อ คือ เป้าหมายลดถังขยะของ เทศบาลในบางจุดของชุมชน ลดการสร้างขยะที่ต้นทางรวม ถึงการต่อยอดรวมกลุ่มสตรีในชุมชน พัฒนาเป็นธุรกิจคัด แยกขยะชุมชนเพื่อสร้างงานสร้างรายได้และดำ�เนินการขับ เคลื่อนการร่วมจัดการขยะอย่างยั่งยืน ในชุมชนกวนอูต่อไป เรื่องโดย นายเชภาดร จันทร์หอม
12
“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้
ร่วมเติมเต็ม
ฐานข้อมูลองค์กรเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ
ล ู ม อ ้ ข ฐาน ภาคใต้
ิมสุขภาพ
สร้างเสร ย า ่ ข อ ื ร เค ร ก ์ องค
โครงการเชื่ อ มประสานภาคี เ ครื อ ข่ า ยสุ ข ภาพ ระดับภูมิภาค (ภาคใต้) ขอเชิญภาคีเครือข่ายด้านการ สร้างเสริมสุขภาพในภาคใต้จากทุกองค์กรในภาคใต้ ร่วม เติมเต็มข้อมูลองค์กรของท่านในฐานข้อมูลองค์กรเครือ ข่ายฯ เพื่อเป็นช่องทางให้เพื่อนภาคีได้เรียนรู้ ติดต่อ และ ประสานงานร่วมกันในระยะยาว โดยภายหลังจากทางโครงการฯ ได้รับข้อมูลจาก แต่ละองค์กรแล้ว จะได้พัฒนาเป็น “เอกสารรวบรวมฐาน ข้อมูลองค์กรฯ” แล้วจัดพิมพ์ จัดส่งกลับไปยังท่านต่อไป ร่วมกรอกข้อมูลผ่านแบบฟอร์มออนไลน์ ได้ที่ goo.gl/kAkdOx หรือขอรับแบบฟิอร์มได้ที่ NIPON. RDH@GMAIL.COM
เชิญเผยแพร่กจิ กรรม จดหมายข่าวออนไลน์ “รู้เรื่องเพื่อน” โดยโครงการ เชื่ อ มประสานภาคี เ ครื อ ข่ า ยสุ ข ภาพระดั บ ภู มิ ภ าค (ภาคใต้) มีกำ�หนดออกเผยแพร่ทุกเดือนผ่านทางโซ เชียลออนไลน์ ขอเชิ ญ ทุ ก ท่ า นร่ ว มส่ ง บทความเพื่ อ นำ � เสนอการ ทำ�งานของท่าน เพื่อเผยแพร่ในจดหมายข่าวออนไลน์ “รู้เรื่องเพื่อน” ได้ที่ อีเมล์ NIPON.RDH@GMAIL.COM โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือโทร. 086 9608334
ที่ปรึ ก ษา กอง บรรณาธิ ก าร
อานนท์ มีศรี ทวีวัตร เครือสาย วนิชญา ฉันสำ�ราญ อานัติ หวังกุหลำ� สนั บ สนุ นให้ “รู ้ เ รื ่ อ งเพื ่ อน”
“รูเ้ รือ่ งเพือ่ น” จดหมายข่าวออนไลน์
พัลลภา ระสุโส๊ะ ชญานิน เอกสุวรรณ อรอุมา ชูแสง นิพนธ์ รัตนาคม เชภาดร จันทร์หอม