รู้ เรื่อง เพือ ่น
จดหมายข่าวออนไลน์
มิถุนายน
โดย..โครงการเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายสุขภาพระดับภูมิภาค (ภาคใต้)
2561
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้
ว ย ่ ี ท เ ง ท่อ น ช ม ุ ช ง อ ข น ื ย งั่ ย ม า ว ค ่ ู ส ส า ก โอ
ต้องไป ! “ตลาดน่าชม” ชุมพร ระ นอง
สุราษฎรธานี พังงา กระบี่ ภูเก็ต
นครศรีธรรมราช ตรัง
พัทลุง สตูล
สงขลา
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
2
“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้
สถานการณ์
3
ภาคใต้
การท่องเที่ยวโดยชุมชน จากเอกสารนำ�เข้างานสร้างสุข ปี 2561 ในประเด็น “การ ท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชนเพื่ อ การจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ ” ระบุว่า การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือสำ�คัญประการ หนึ่งในการช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ของคนในชุมชนในการกำ�หนดทิศทางการพัฒนาและได้รับ ประโยชน์จากการท่องเที่ยวบนฐานคิดที่เน้นถึงความสำ�คัญ ของการฟื้นฟู และอนุรักษ์สภาพแวดล้อม รวมทั้งอัตลักษณ์ วิถีชีวิตจารีตประเพณีที่แตกต่างกัน จุดมุ่งหมายให้คนในชุมชน รู้ จั ก สำ � นึ ก ท้ อ งถิ่ น มี ค วามภาคภู มิ ใจในวั ฒ นธรรมประเพณี ของตน และสามารถอธิบายให้กับนักท่องเที่ยวเข้าใจวิถีชีวิต วัฒนธรรมท้องถิ่นได้ (กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา, 2559) แนวโน้มการท่องเที่ยวของภาคใต้มีการเติบโตทิศทาง บวก นักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งให้ความสนใจในการเดินทางสัมผัส ประสบการณ์วิถีชีวิตของชุมชนในพื้นที่ต่างๆ เพิ่มขึ้น ในขณะ เดียวกันภาคส่วนต่างๆ ก็ได้ให้ความสำ�คัญกับการท่องเที่ยว โดยชุมชนมากขึ้นทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานสนับสนุน ต่างๆ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ซึ่งส่งผลให้เกิดการปรับ ตัวและการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ภาคใต้
เวทีรับฟังสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนโซนอันดามัน
สถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนกลุ่มจังหวัดอันดามัน จากการประชุมรับฟังสถานการณ์การท่องเที่ยวโดย ชุมชนโซนอันดามันวันที่ 19-20 มกราคม 2561 ณ ไร่ปรีดา โฮมสเตย์ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ สรุปสถานการณ์ได้ว่า การขับ เคลื่อนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีกลไกการทำ�งานการ รวมตัวกันในหลายลักษณะโดยในระดับชุมชนจะมีการจัดตั้ง กลุ่มองค์กรที่จะบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชน ในระดับ จังหวัดส่วนใหญ่มีรูปแบบกลไกการทำ�งานในรูปแบบเครือข่าย และมีการยกระดับเป็นสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณี
4
“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้
จังหวัดกระบี่ โดยมีรูปแบบการทำ�งานของเครือข่ายใช้การ ทำ�งานจับคู่พี่ดูแลน้อง เพื่อนช่วยเพื่อน เป็นต้น การทำ�งานมีลักษณะทำ�งานเชิงรุก เนื่องจากต้องปรับ ตัวให้สามารถแข่งขันได้กับการท่องเที่ยวกระแสหลักที่มีทั้งนัก ท่องเที่ยวไทย ภายในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งกลุ่มเครือ ข่ายฯ มีความคิดว่า แม้จะมีปัญหาอุปสรรคในการจัดการท่อง เที่ยวโดยชุมชน แต่ก็พร้อมจะก้าวข้ามแล้วเดินหน้าทำ�ต่อไป ได้ โดยไม่กลัวการที่ภาครัฐจะไม่สนับสนุน ในขณะเดียวกัน ตัวแทนภาครัฐก็มีท่าทีที่เข้าใจและเห็นด้วยกับการจัดการท่อง เที่ยวโดยชุมชน การดำ�เนินงานที่ผ่านมาในระดับคลัสเตอร์อันดามัน (ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง สตูล) มีการเข้ามาหนุนเสริมของภาคี ภาครัฐ และสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะการสนับสนุนของ แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดอันดามันและองค์การบริหารการพัฒนา พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ใน ปี 2560 มีการพัฒนาศักยภาพชุมชนท่องเที่ยวและเชื่อมเส้น ทางการท่องเที่ยว 5 จังหวัด 10 ชุมชน และในปี 2561 มีการ ขยายพื้นที่ชุมชนท่องเที่ยวน้องอีกจังหวัดละ 2 ชุมชนรวม 10 ชุมชน สิ่งที่กังวล - มีการหยิบยกประเด็นกฎหมายที่บังคับใช้มีความล้า สมัยและเป็นอุปสรรคต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดย เฉพาะในเรื่องการเป็นคนนำ�เที่ยว (มัคคุเทศก์) การทำ�ธุรกิจ ท่องเที่ยว จึงมีข้อเสนอให้รณรงค์/ขับเคลื่อนการมีกฎหมาย ที่ดูแลการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นการเฉพาะ และปัญหา/ อุปสรรคอีกประการ คือไม่สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายให้กลาย เป็นองคาพยพเดียวกันที่มีเอกภาพมาก ๆ ได้ ซึ่งเป็นเรื่องของ คน ระยะทางระหว่างชุมชน และการมีรูปแบบเครือข่ายประจำ� จังหวัดที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาก่อน - เรื่องแหล่งงบประมาณที่เข้ามามาก จากนโยบายภาค รัฐทำ�ให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการ จัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยตรง เข้ามาให้การสนับสนุนการ ดำ�เนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชนซึ่งเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่ เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานนี้ แต่ไม่ได้มองว่าเป็นปัญหา
สถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนกลุ่มจังหวัดอ่าวไทย จากการประชุมรับฟังสถานการณ์การท่องเที่ยวโดย ชุมชนโซนอ่าวไทยวันที่ 26-27 มกราคม 2561 ณ วิทยาลัย ภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง สรุปสถานการณ์การขับเคลื่อนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน พบว่ามีกลไกการทำ�งานรวมตัวกันในระดับจังหวัดในรูปแบบ ของเครือข่าย และสมาคม ทั้งนี้ในบางจังหวัดมีการรวมตัว เป็นกลุ่มเครือข่าย สมาคมฯ มากกว่า 1 กลุ่ม อาทิ จังหวัด นครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง สำ�หรับการดำ�เนินงานในระดับ เครือข่ายจังหวัดมีการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว โดยชุมชนเป็นเครื่องมือในการทำ�งานภายในเครือข่ายและการ ประสานความร่วมมือกับภาคีภาครัฐ ภาควิชาการ และหน่วย งานหนุนเสริม รวมถึงการมีตัวแทนของเครือข่ายไปมีส่วนร่วม ในการกำ�หนดแผนพัฒนาระดับจังหวัด ได้แก่ เครือข่ายการ ท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร เครือข่ายการท่องเที่ยวโดย ชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในขณะที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและพัทลุง กลุ่ม เครือข่ายชุมชนมีทั้งระดับที่กำ�ลังริเริ่มและที่ดำ�เนินการแล้วแต่ ยังไม่มั่นใจในการทำ�งานของตัวเอง และระดับที่มีการรวมกลุ่ม และการจัดการภายในอย่างเข้มแข็ง และพร้อมช่วยเหลือกลุ่ม อื่น ๆ เช่น กลุ่มคลองแดน เป็นต้น ในขณะที่องค์กรที่เข้ามา เป็นพี่เลี้ยง ช่วยเหลือ สนับสนุน หากเทียบกับฝั่งอันดามัน จะ มีน้อยกว่า กลุ่มชุมชนท่องเที่ยวมีประเด็นความต้องการได้ รับความช่วยเหลือทั้งในเรื่องความรู้ แหล่งทุน การตลาดและ ประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานภายนอก
เวทีรับฟังสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนโซนอ่าวไทย
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้
สิ่งที่กังวล - มีความสับสน ไม่รู้ทุนทางสังคม และสิ่งที่มีใน ชุมชนเพื่อวางแนวคิดก่อนการจัดการท่องเที่ยวให้ได้ ไม่รู้วิธี ประชาสัมพันธ์ จัดการ ดำ�เนินการ ติดต่อราชการ กฎหมาย - หน่วยงานและแหล่งทุนที่เข้ามามากตามภารกิจของ หน่วยงานนั้น ๆ โดยไม่มีทิศทางที่สอดคล้องกับความต้องการ ของชุมชนทำ�ให้เกิดความแตกแยกภายในชุมชน - การเชื่อมประสานของเครือข่ายการท่องเที่ยวโดย ชุมชนในระดับโซนอ่าวไทยดำ�เนินการน้อย - ทางราชการเริ่มทุ่มงบมาเรื่องท่องเที่ยว จนเกิดการ แย่งมวลชนเพื่อสร้างองค์กรท่องเที่ยวตามโจทย์ของหน่วยงาน รัฐแต่ละแห่ง สถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ จากการประชุมรับฟังสถานการณ์การท่องเที่ยวโดย ชุมชนโซนกลุ่มจังหวัดใต้ล่าง วันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรง สีแดง หับ โห้ หิ้น อ.เมือง จ.สงขลา สรุปสถานการณ์การขับ เคลื่อนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนพบว่า มุ่งเน้นการพัฒนา ในระดับชุมชนท่องเที่ยวโดยใช้ศักยภาพของแต่ละพื้นที่ในการ เชื่อมประสานหน่วยงานมาหนุนเสริม อาทิ หน่วยงานภาค รัฐ ภาควิชาการ ในระดับจังหวัดทั้ง 3 จังหวัดใช้การทำ�งาน ในรูปแบบของเครือข่าย มีความพยายามเชื่อมการทำ�งานและ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มแต่ยังมีการพัฒนาแผนการ พัฒนาของเครือข่ายร่วมกัน และในระดับกลุ่มจังหวัดมีการ เชื่อมประสานกั น บ้ า งโดยใช้โอกาสในการทำ�งานหนุ นเสริ ม ของภาครัฐ ได้แก่ ศูนย์อำ�นวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) และการทำ�งานของสถาบันการศึกษา ลักษณะการ ท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดนใต้ผสมผสานทั้งการท่องเที่ยวเชิง นิเวศ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำ�หรับนักท่องเที่ยวเกือบทั้งหมดเป็นนักท่องเที่ยวภายในพื้นที่
5
เวทีโซนกลุ่มจังหวัดใต้ล่าง
สำ �หรั บ การหนุ น เสริ ม การพั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย วโดย ชุมชนในระดับกลุ่มจังหวัดมีทาง ศอ. บต. มีการจัดทำ�แผน ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ มี วิสัยทัศน์ “การท่องเที่ยวโดยชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ พัฒนาสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ภายใต้ฐานทรัพยากร ที่หลากหลายและเอกลักษณ์ทางพหุวัฒนธรรมอันลํ้าค่า มุ่งสู่ มาตรฐานท่องเที่ยวระดับสากล” สิ่งที่กังวล - ขาดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐในพื้นที่ และหน่วยงานต่างๆ จากส่วนกลางทำ�ให้เกิด การซํ้าซ้อนของกิจกรรม และการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว - ขาดความต่อเนื่องด้านการสนับสนุนจากหน่วยงาน ภาครัฐ ชาวบ้านไม่สามารถต่อยอดได้ - สำ�นักงานท่องเที่ยวและกีฬาในบางจังหวัดเน้นให้ ความสำ�คัญด้านการกีฬา การสนับสนุนการท่องเที่ยวโดย ชุมชนยังดำ�เนินการน้อย - ในระดับชุมชนการสร้างความเข้าใจและการมีส่วน ร่วมของสมาชิกในชุมชนท่องเที่ยวยังมีน้อย
6
“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้
ข้อเสนอเชิงนโยบาย
เพื่อการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชน
จากเวทีงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 10
ประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป้าประสงค์ 3 ปี
1. ชุมชนท่องเที่ยวอย่างน้อยร้อยละ 50 เข้าสู่การรับรองคุณภาพตนเอง โดยใช้มาตรฐานการท่องเที่ยวที่มี อยู่ (เช่น มาตรฐานโฮมสเตย์ มาตรฐาน อพท. มาตรฐานการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของสมาคมการท่องเที่ยว โดยชุมชนภาคใต้) 2. มีกลไกการบูรณาการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับจังหวัดทุกจังหวัด 3. มีฐานข้อมูลชุมชนท่องเที่ยวที่ทันสมัยและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องทุกจังหวัด 4. ผลักดันให้ประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นหนึ่งในนโยบายสาธารณะ และเป็นวาระแห่งชาติ 5. เกิดพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกียวข้อง สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
1. สนับสนุนให้มีแผนงานเชิงรุกเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนและสนับสนุนให้เกิด โครงการในด้านต่าง ๆ เช่น 1. แหล่งท่องเที่ยวปลอดภัยจากปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ 2. สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสร้างสุข ภาวะในภาคใต้และระดับประเทศ
สำ�นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช)
1. สนับสนุนให้มีการใช้เครื่องมือตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้เกิดการพัฒนานโยบาย สาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน เช่น การบรรจุวาระในระเบียบสมัชชาสุขภาพแห่ง ชาติ สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน
สำ�นักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช)
1. กำ�หนดให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นสามารถสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้อง กับพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น โครงการแหล่งท่องเที่ยวปลอดเหล้าบุหรี่ฯ
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)
1. ให้มีการทำ�งานร่วมกันระหว่างแผนงานเศรษฐกิจและทุนชุมชนของสถาบันพัฒนาองค์กร ชุมชนกับสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ในการวางแผนและพัฒนาโครงการเพื่อส่งเสริมให้มี การยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้
กระทรวงสาธารณสุข
1. ให้กรมอนามัยและหน่วยงานในสังกัดออกแบบการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชน ท่องเที่ยวในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข เช่น อาหารปลอดภัย สุขาภิบาล
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้
7
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
1. เป็นหน่วยงานหลักในการประสานผู้เกี่ยวข้องร่วมยกร่าง พรบ. การท่องเที่ยวโดยชุมชน 2. สำ�นักงานท่องเที่ยวและกีฬาเป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการบูรณาการการทำ�งานของ หน่วยงานภาครัฐระดับจังหวัด 3. พัฒนาและจัดการระบบฐานข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Data base Center) 4. มีการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน
กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
1. เสริมสร้างความเข้าใจและพัฒนาศักยภาพบุคลากรของกรมพัฒนาชุมชนในการพัฒนาการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน 2. ขยายการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP จากเดิม สู่ผลิตภัณฑ์เชิงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืน (อพท.)
1. ให้เพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ในทุกภารกิจของ อพท. โดยเฉพาะการกำ�หนดขอบเขตและวิธีการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ศูนย์อำ�นวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.)
1. สนับสนุนการทำ�งานและขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนกลุ่มจังหวัดชายแดน ใต้อย่างต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้
สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
1. สนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนาและยกระดับเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับพื้นที่ และระดับจังหวัด โดยมีกระบวนการพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง
ไทยพีบีเอส
1. ให้มีการสื่อสารเพื่อให้เกิดกระบวนการนโยบายสาธารณะและผลักดันเรื่องการท่องเที่ยว โดยชุมชนให้เป็นกระแสของสังคม
เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้
1. ผลักดันให้เกิดการใช้มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ของสมาคมฯ เป็นกรอบใน การกำ�หนดทิศทางการพัฒนา มีการรองรับโดยสมาคมและ/หรือหน่วยงานหนุนเสริมอื่นๆ 2. พัฒนากลไกคณะทำ�งานในการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวในระดับโซนครอบคลุม ทั้งภาคใต้ 3. ส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มเครือข่าย/สมาคม CBT ในแต่ละจังหวัดพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การ พัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน
เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน
1. ชุมชนท่องเที่ยวเข้าสู่การรับรองคุณภาพโดยใช้มาตรฐานการท่องเที่ยวที่มีอยู่ (เช่น มาตรฐานโฮมสเตย์ มาตรฐาน อพท. มาตรฐานการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของสมาคมการท่อง เที่ยวโดยชุมชนภาคใต้)
ต้องไป ! “ตลาดน่าชม”
ชุมพร ชุมพร
หลาดใต้เคี่ยม ทุกวันอาทิตย์เวลา 9:00-16:00 น. สถานที่ หมู่1 ต.ละแม อ.ละแม จ.ชุมพร เพจ/เฟสบุค หลาดใต้เคี่ยม ตลาดต้องชม อ.ละแม
ษฎรธานี
ะบี่
ตรัง
นครศรีธรรมราช ตรัง
หลาดต้นนํ้าลำ�ขนุน ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00 – 17.00 น. สถานที่ หมู่ที่ 8 ตำ�บลนาชุมเห็ด อำ�เภอย่านตาขาว เพจ/เฟสบุค บ้านลำ�ขนุน ตำ�บลนาชุมเห็ด หลาดต้นนํ้า
พัทลุง
หลาดใต้โหนด ทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. สถานที่ 127 ม.4 บ้านศาลาม่วง ต.ดอนทราย อ.ควนขนุน เพจ/เฟสบุค หลาดใต้โหนด พัทลุง Tainod phattalung
พัทลุง สตูล
สงขลา
ปตตานี
ตลาดป่าไผ่สร้างสุข ทุกวันอาทิตย์ สถานที่ 58 ม. 10 ต.ชะมวง อ.ควนขนุน เพจ/เฟสบุค ป่าไผ่สร้างสุข โดยเครือข่ายกินดีมีสุข
ยะลา นราธิวาส ยะลา
ตลาดต้องชม แลผา หน้าถํ้า วัน ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.00 น. – 17.00 น. สถานที่ หน้าถํ้า วัดคูหาภิมุข อ.เมือง จ.ยะลา สงขลา เพจ/เฟสบุ ค ตลาดต้องชมแลผาหน้าถํ้า ตลาดนํ้าคลองแดน ทุกวันเสาร์ เวลา 15.30 - 21.00 น. สถานที่ ตำ�บล คลองแดน อำ�เภอ ระโนด สงขลา เพจ/เฟสบุค ตลาดริมนํ้าคลองแดน Klongdaen Floating Market ตลาดนํ้าคลองแห สถานที่ เพจ/เฟสบุค
ทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เวลา 13.00-21.00 น. ตำ�บลคลองแห อำ�เภอหาดใหญ่ สงขลา ตลาดนํ้าคลองแห ตลาดนํ้าแห่งแรกของภาคใต้
หลาดพรีเมี่ยม รำ�แดง ทุกวันเสาร์ เวลา 7.00น. – 17.00 น. สถานที่ หมู่ที่ 7 บ้านป่าขวาง ต.รำ�แดง อ.สิงหนคร หลาดทิ้งหม้อ สถานที่
ทุกวันอาทิตย์เวลา 15.00-20.00 น. หน้าวัดธรรมโฆษณ์
หมายเหตุ : มีตลาดน่าชมอีกมาก ทีมงานจะไปเยี่ยมชมแล้วจะมานำ� เสนอเพิ่มเติมในภายหลัง
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้
9
กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านถํ้าเสือ ต้นแบบการจัดการ
ฐานทรัพยากร การรวมกลุ่มของชาวบ้านในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนการท่อง เที่ยวชุมชน แสดงให้เห็นถึงความรักและหวงแหน “บ้าน เกิด” การจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยฐานความ ต้องการของพื้นที่แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงและยั่งยืน ดังเช่น ‘วิสาหกิจชุมชนบ้านถํ้าเสือ อำ�เภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่’ ที่มีกลุ่มกิจกรรมที่เชื่อมร้อยกับการท่อง เที่ยวชุมชน 5 กิจกรรมหลักๆ ได้แก่ กลุ่มนันทนาการ กลุ่มผ้า (บาติก, ปาเต๊ะ) กลุ่มนำ�เที่ยว กลุ่มรองเง็ง กลุ่ม อาหาร (โดยผู้สูงอายุ) โดยสมาชิกเป็นชาวบ้านในชุมชน รวมทั้งหมด 100 คน สมาชิกกลุ่มร่วมลงขันและรับ ปันผลร่วมกันปีละครั้ง เป็นอีกรายได้เสริมจากอาชีพหลัก นางสาวสุภาภรณ์ วรรณรักษ์ ฝ่ายบัญชี และตัวแทนวิสาหกิจชุมชนบ้านถํ้าเสือ อำ�เภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า การรวมกลุ่มเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2552 ตอนนั้นได้รับรางวัล “ถนนสวย” ระดับอำ�เภอ ต่อ มา พ.ศ.2553 เริ่มทำ�เรื่องการท่องเที่ยว จนมาบูมเมื่อ พ.ศ. 2558 เพราะมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน โดยมี “ไร่ปรีดาโฮมสเตย์” เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อน กลุ่ม อีกทั้ง มีโฮมสเตย์ขนาดเล็กซึ่งเป็นบ้านของชาวบ้าน ร่วมเป็นเครือข่ายด้วย โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เข้ามา ท่องเที่ยวในชุมชน ได้แก่ กลุ่ม องค์กร หรือหน่วยงาน ที่ เดินทางมาศึกษาดูงาน หรือลูกค้าของโรงแรมในพื้นที่ก็จะ มาชมการแสดง และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากผ้าของกลุ่ม สำ�หรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ทั้ง อบต. อ่าวลึก สำ�นักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด กระบี่ และ อพช. ร่วมสนับสนุนสาธารณูปโภค ทั้งไฟฟ้า ถนน โป๊ะเดินเรือเพื่อเพิ่มสีสันการท่องเที่ยว งบประมาณ สร้างศูนย์การเรียนรู้ และอุปกรณ์กลุ่มผ้า รวมทั้ง การ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์หลักของ กลุ่มที่เน้นผ้าบาติกเขียนมือ และกางเกงผ้าปาเต๊ะบรรจุใน กล่องที่ได้รับการออกแบบพิเศษ มีเอกลักษณ์เฉพาะของ หมู่บ้าน คือ “มิสเตอร์อ่าวลึก” ซึ่งเป็นตัวแทนของภาพคน เขียนสีโบราณ
สุภาภรณ์ วรรณรักษ์
“ที่ นี่ เ ราไม่ ต้ อ งการให้ น ายทุ น มากว้ า น ซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงแรมขนาดใหญ่ หรือเข้ามา ทำ�การท่องเที่ยวที่ทำ�ลายธรรมชาติ เราต้องการ นำ�เสนอการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เน้นวิถีชีวิต ชุมชนดั้งเดิม ไม่ต้องปรุงแต่ง และที่สำ�คัญไม่ ทำ�ลายความเป็นชุมชน” นางสาวสุภาภรณ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า แนวทาง การขับเคลื่อนกลุ่มในอนาคต ทางกลุ่มมีความ ต้องการพัฒนามาตรฐานการให้บริการที่ดีขึ้น เพื่อ ต้อนรับนักท่องเที่ยวให้ดีที่สุด ตอนนี้มองเห็นโอกาส การพัฒนา คือ ปัจจุบันมีกลุ่มนักท่องเที่ยวโดย จักรยานเข้ามาในหมู่บ้านจำ�นวนมากด้วยภูมิประเทศ ที่สวยงามและเงียบสงบ จึงมีความคิดที่จะเปิดร้าน กาแฟ ร้านอาหารเพื่อต้อนรับและเป็นจุดดึงดูดนัก ท่องเที่ยวเพิ่มเติมด้วย หรือ โทร. 098-7072048
10
“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้
เยือน ‘เรินใบตาล’
เรือนร้อยปีแห่งชุมชนรำ�แดง
“เรินใบตาล” ทำ�หน้าที่คุ้มกันแดดฝนแก่คนตระกูล “บุญ รัตน์” ถึง 4 ชั่วอายุคน ยาวนานกว่า 100 ปีแล้ว ถือ เป็นต้นแบบการอนุรักษ์เรือนพื้นถิ่นตามวิถี “โหนด นา ไผ่ คน” ของ ต.รำ�แดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา ด้วยการ ออกแบบที่โดดเด่น รวมทั้ง สร้างขึ้นด้วยทรัพยากรท้อง ถิ่นสำ�คัญของคาบสมุทรสทิงพระ คือ ต้นตาลโตนดทั้ง ต้นทั้งใบ ผสมผสานกับไม้ไผ่และใบจาก
เดิมที ‘เรินใบตาล’ ตั้งอยู่กลางหมู่บ้านรำ�แดง จนมาถึงรุ่นปู่ก็มีการย้ายบ้านด้วยวิธีการ “ออกปาก” เพื่อนบ้านให้มาช่วยกันแบกหามเสาบ้าน เป็นการยกบ้าน หลั ง เดิ ม ทั้ ง หลั ง มาตั้ ง บนที่ ดิ น ปั จ จุ บั น ตามวั ฒ นธรรม ของ “คนแต่แรก” ด้วยเป็นบ้านโบราณที่ยังคงสภาพ สมบูรณ์อย่างมาก ดึงความสนใจจากทีมนักวิชาการจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย ดร.จเร
สุวรรณชาต ซึ่งได้เข้ามาทำ�งานวิจัยในพื้นที่หลายๆ ชิ้น ซึ่งชิ้นที่โดดเด่นที่สุด คืองานวิจัย “บ้านลุ่มนํ้าทะเลสาบ สงขลา” เพื่อต่อยอดไปยังการวิจัยวิถีความเป็นอยู่ของ ชาวรำ�แดงดั้งเดิมที่ใช้ภูมิปัญญาในการดำ�เนินชีวิต จน ได้รูปแบบเรินใบตาลที่สวยงามและสอดคล้องกับวิถีชีวิต คนลุ่มนํ้าทะเลสาบสงขลา เป็นแหล่งเรียนรู้แก่คนรุ่น หลัง “อุบล บุญรัตน์” และ “จวง บุญรัตน์” สองพี่น้อง ลูกหลานรุ่นที่ 4 ใช้ชีวิตอยู่ในเรินใบตาลในปัจจุบัน โดย มี “จบ บุญรัตน์” อาศัยอยู่ฝั่งตรงข้ามกัน เจ้าของบ้าน ทั้งสามให้การต้อนรับแขกผู้มาเรือนด้วยมิตรไมตรี และ บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ อย่างน่าสนใจ อุบล บุญรัตน์ หรือ ป้าต้อย เล่าว่า บ้านของ ชาวรำ�แดงต้องมีใต้ถุนสูงไม่ตํ่ากว่า 1 เมตร เพราะว่า ชุมชนอยู่ติดคลองสทิงหม้อเชื่อมกับทะเลสาบสงขลา พอ
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้ หน้าฝนนํ้าจะท่วม การมีใต้ถุนสูงจะช่วยให้บ้านไม่จมนํ้า และยั ง ใช้ ป ระโยชน์ ใ นการทำ � กิ จ กรรมหรื อ งานอดิ เ รก อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะใต้ถุนบ้านมีอากาศเย็นสบาย สำ�หรับฝาผนังของบ้านตามแบบภูมิปัญญาเดิม ทำ�จาก “ตับจาก” โดยใช้ไม้ไผ่กว้าง 1 ข้อ เป็นแกนกลาง แล้วนำ�ใบโหนดมาสานให้เป็นตับ ความกว้างประมาณ 1 เมตร ต่อมาเมื่อมีการทำ�งานวิจัยก็เกิดนวัตกรรมฝาผนัง ใบตาลที่สามารถถอดประกอบได้ และมีอายุการใช้งาน ยาวนานกว่าแบบภูมิปัญญาเดิม ถือเป็นการใช้ภูมิปัญญา ดั้ ง เดิ ม ของคนลุ่ ม นํ้า ทะเลสาบประยุ ก ต์ เ ป็ น นวั ต กรรม ใหม่ ทางด้าน “จบ บุญรัตน์” ผู้เฒ่าวัย 72 ปี เล่า ว่า องค์ประกอบสำ�คัญของเรือนพื้นถิ่นลุ่มนํ้าทะเลสาบ สงขลาแต่แรก คือ 1) แม่เริน 2) ระเบียง และ 3) นอกชาน โดยส่วนของหลังคาใช้กระเบื้องดินเผา ซึ่ง แต่เดิมที่เป็นโบราณจริง ๆ จะใช้หลังคามุงจาก แต่มา ช่วง10-20 ปีให้หลังนี้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผาเพราะ มีความเเข็งแรงทนทานกว่า ไม้โตนดมีความแข็งแรงมาก โดยอายุไม้ที่เหมาะ สมนำ�มาสร้างบ้าน คือ ไม้แก่ อายุ 20 ปี อายุการ ใช้งานจริงสามารถอยู่ได้เป็นร้อยปีโดยไม่ให้โดนนํ้า “เขา ว่าไม้โหนดคนปลูกไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ปลูก” ไม้โตนด ปลวกไม่กิน เพราะเมื่อนำ�ไม้แก่ไปแช่นํ้าโคลนตมก็จะทำ� ให้นํ้าหวานในไม้ออกไปด้วย ปลวกหรือสัตว์อื่นๆ ก็ไม่ เข้าไปกินไม้ เป็นภูมิปัญญาการยืดอายุการใช้งานของคน สมัยก่อน “คนแต่ แ รกกว่ า จะสร้ า งบ้ า นสั ก หลั ง ใช้ เ วลา นานถึงสามปี เพราะต้องเก็บรวบรวมไม้ไว้ทำ� แล้ว อุปกรณ์ที่ทำ�ก็เป็นขวาน เป็นพร้า ไม่มีเลื่อย และไม่ใช้
11
ตะปู แต่จะเจาะรูใส่เดือยจึงแข็งแรงกว่า” ลุงจบ กล่าว สำ � หรั บ ใต้ ถุ น บ้ า นเป็ น พื้ น ดิ น ธรรมชาติ แ บบ โบราณที่หาไม่ได้อีกแล้วในปัจจุบัน พื้นดินเหนียวแน่นมี ความเย็นในเนื้ออย่างยิ่ง โดยเฉพาะช่วงปลายหน้าฝนจะ มีความชุ่มชื่นของนํ้า แล้วยิ่งเดินไปทุกวันๆ พื้นยิ่งแวว เหมือนกระเบื้องขัดมัน แถมยังช่วยนวดเท้าได้อีกด้วย รวมทั้งไม้คานต่างๆ ล้วนทำ�ขึ้นจากไม้โหนดโดย ทำ�กับมือล้วนๆ มีตะไคร่นํ้าหรือไลเคนเกาะอยู่ บ่งบอก ถึงการใช้งาน และความร่มเย็นเป็นสุข อีกทั้ง แคร่ไม้ไผ่ สีสุกที่วางไว้พักผ่อนที่ใต้ถุนหรือรับแขกก็แวววับเป็นมัน ของแปลกอีกอย่างของเรินใบตาล คือ โอ่ง มากมายที่วางเรียงรายอยู่ เป็นโอ่งหินที่รองรับนํ้าฝน มากว่าสิบปี นํ้าฝนใสกริบ เย็น สดชื่น โดยไม่ต้องพึ่งตู้ เย็นเลย ส่วนของรั้วบ้านที่นี่ไม่ใช่อิฐหินดินปูนแต่เป็นกอ ไม้ไผ่สีสุกหรือไผ่บ้านกอใหญ่ เดิ น ถั ด ไปยั ง สวนหลั ง บ้ า นก็ จ ะพบกั บ ต้ น โหนด อายุกว่า 30 ปี เรียงรายสุดลูกหูลูกตา ร่มรืนและเย็น สบาย และยังหลงเหลือต้นโหนดโบราณสมัยลุงจบยัง ขึ้นตาลสมัยหนุ่มๆ แถมยังมีต้นมะม่วงคันอายุร้อยกว่าปี ขนาดสามคนโอบ ซึ่งมะม่วงคันนี้เป็นผลไม้ท้องถิ่นสำ�คัญ และหายากมากในปัจจุบัน ความพิเศษของมะม่วงคัน คือ เมื่อแก่ผลสีเขียว เปรี้ยวมาก เมือสุกแล้ว ผลสีเหลือง หวานปานนํ้าผึ้งเดือนห้า และกลิ่นหอมมาก นับเป็นความสวยงามที่ลงตัวระหว่างภูมิปัญญา ดั้งเดิมผสมผสานกับความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมสมัย ใหม่ที่ “ชุบชีวิต” เรือนพื้นถิ่นภาคใต้ลุ่มนํ้าทะเลสาบ สงขลาให้กลับมามีคุณค่าอีกครั้ง และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ สำ�คัญแก่คนรุ่นหลังสืบต่อไป
12
“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้
พิชิตยอดเขาแดง แล ‘เจดีย์องค์ดำ� องค์ขาว’ แวะปล่อยปลา ปลูกป่าชายเลน
ทันทีที่ ”เรา” ทีมงาน “รู้เรื่องเพื่อน” ทั้ง 9 ชีวิตขึ้นมาถึงบริเวณยอดบนสุดของ “หัว เขาแดง” ความเหน็ดเหนื่อยจากการเดินเท้า ร่วมชั่วโมงก็มลายหายไป ย อ ด ข อ ง เ จ ดี ย์ อ ง ค์ ข า ว ตั้ ง ตระหง่านท่ามกลางแดดบ่าย คือ ภาพแรกที่ดึงดูดสายตาทุกคู่เมื่อก้าว พ้นแนวป่า ปลายเจดีย์แหลมพุ่งพลัง ท้าทายฟ้าครามกระจ่าง สายลมหอม สดชื่นจากท้องทะเลเบื้องล่างช่วยปัด เป่าความร้อนลุ่มให้เย็นสบาย
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้
13
เชื่อมผสานวัฒนธรรมพุทธ จีน มุสลิม
เ ร า เ ลื อ ก ใ ช้ เ ส้ น ท า ง ขึ้ น เ ข า จ า ก ฝั่ ง ท่ า แ พ ขนานยนต์ โดยมีบันไดสั้นๆ แค่ช่วงแรก จนเมื่อผ่าน จุดพักตรงป้อม 8 ก็เข้าสู่เส้นทางเดินธรรมชาติ พื้นดิน ของหัวเขาแดงเป็น “หินสีแดง” ผสมไปกับซากป้อมและ โบราณสถาน มองจากไกลๆ จะเห็นภูเขาเป็นสีแดง สอง ข้างทางมีต้นไม้นานาชนิดปกคลุมทำ�ให้การเดินไม่ร้อน จนเกินไป ส่วนที่เรียกว่า “หัวเขา” เป็นคำ�เรียกของคน ภาคใต้เรียกภูเขาที่มีลักษณะยื่นไปในทะเลหรือแผ่นดิน ซึ่งลักษณะเดียวกับที่คำ�ภาคกลางเรียกว่า “แหลม” ซึ่ง จังหวัดสงขลามีทั้ง “หัวเขาแดง” และ “หัวเขาเขียว” ซึ่ง ยื่นลงไปในทะเลเหมือนกัน ระยะทางราว 2 กิโลเมตรกับการเดินเกือบ 1 ชั่วโมง ก็ถึงยอดหัวเขาแดงที่ตั้งของโบราณสถานสำ�คัญ คู่บ้านคู่เมืองสงขลา “เจดีย์สองพี่น้อง” หรือ “เจดีย์องค์ ดำ�-องค์ขาว” นายเจริญพงศ์ พรหมศร นักวิจัยผู้สนใจศึกษา ประวัติศาสตร์สิงหนคร กล่าวว่า บนยอดหัวเขาแดง มีเจดีย์ 2 องค์ องค์แรกเป็น “เจดีย์องค์พี่” ลักษณะ เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ก่อ ด้วยหินฉาบปูน ยอดปรักหักพังมีสีดำ� คนทั่วไปเรียก ว่า “เจดีย์องค์ดำ�” สร้างเมื่อ พ.ศ.2375 โดยเจ้าพระยา พระคลัง (ดิศ บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา ประยูรวงศ์ ส่วนเจดีย์องค์ที่สองเป็น “เจดีย์องค์น้อง” มี ลักษณะเดียวกันคนทั่วไปเรียกว่า “เจดีย์องค์ขาว” สร้าง ขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2382-2484 โดยพระยาศรีพิพัฒน์ รัตนราชโกษา (ทัด บุนนาค) หรือ สมเด็จเจ้าพระยามหา พิชัยญาติ ผู้เป็นพี่น้องร่วมมารดากับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) ชาวบ้านจึงเรียกว่า “เจดีย์สองพี่น้อง” ทัศนียภาพจากยอดเขาแดงสามารถมองได้ไกล สุดลูกหูลูกตาทั้ง 360 องศา เห็นท้องทะเล เกาะหนู เกาะแมว หาดสมิหลา หัวพญานาค ทำ�ให้เข้าใจถึงคำ�ว่า “ชัยภูมิ” สำ�หรับสังเกตการณ์ข้าศึกในอดีตได้เป็นอย่าง ดี ทั้งยังเป็นคำ�ตอบของการก่อสร้างป้อมปืนจากยอด เขาไปจนจรดชายฝั่งทะเลทั้ง 3 ด้าน (ทางทิศเหนือ ทิศ ตะวันออก และทิศตะวันตก โดยทางทิศใต้มีเขาค่ายม่วง เป็นปราการธรรมชาติอยู่แล้ว) ป้อมปืนที่หลงเหลือใน ปัจจุบันมีทั้งหมด 14 ป้อม
สำ � หรั บ โบราณสำ � คั ญ อี ก อย่ า งที่ ตั้ ง อยู่ ร ะหว่ า ง เจดีย์องค์ดำ�องค์ขาว เป็นศาลาเก๋งจีนรูปทรงที่ไม่คุ้นตา นัก คือ มีหน้าต่างช่องมองเป็นวงกลมตามศิลปกรรม แบบจีน จึงสามารถมองเห็น 360 องศา ใช้สำ�หรับ บัญชาการสงครามได้อย่างดี คาดว่าก่อสร้างขึ้นในยุค สมัยพระเจ้าตากสิน โดยเมืองสงขลามีเจ้านายฝ่ายจีน เป็นผู้ปกครอง “เจดี ย์ ส ององค์ แ ละศาลาเก๋ ง จี น นี้ ตั้ ง บนป้ อ ม ปราการผืนใหญ่ซึ่งสร้างในสมัยสุลต่าน ตวนกู สุลัย มาน ชาห์ ผู้ปกครองเมืองสงขลาชาวมุสลิม ต้นตระกูล ณ พัทลุง แค่ขึ้นมาที่ยอดหัวเขาแดงที่นี่ที่เดียว ก็ได้เห็น สัญลักษณ์ของทั้งพุทธ จีน มุสลิม ครบอยู่ในพื้นที่เล็กๆ แห่งนี้” นี่คือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับบริบท ของพื้นที่และวัฒนธรรมของหลากหลายเชื้อชาติศาสนา ที่อาศัยในบริเวณนี้มาแต่อดีต ด้วยความเจริญรุ่งเรือง ของอดีตเมืองท่า นี่คือ “เส้นทางสายไหมทางทะเล” เรือ สินค้าจากจีนไปยุโรปต้องผ่านทางนี้ แล้วในทะเลสาบ สงขลาก็ยังมีรังนกซึ่งเป็นสิ่งลํ้าค่า เพราะฉะนั้น คนที่คุม เส้นทางการค้านี้จึงต้อง “ไม่ธรรมดา” อย่างยิ่ง มาเยือนที่นี่แล้วทั้งที อาจเติมเต็มสีสันความสนุก ด้วยการร่วมกิจกรรมปลูกป่าขายเลนและปล่อยพันธุ์สัตว์ นํ้าร่วมกับชุมชน หากสนใจสามารถติดต่อคนในพื้นที่ได้ ที่เฟสบุ๊ค : ประธานชุมชน บ้านนอก
14
“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้
บ่ายวันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม 61 ณ ศูนย์ วัฒนธรรมเฉลิมราช นาหมื่นศรี สถานที่นัดหมายของ ทีมท่องเที่ยวโดยชุมชนนาหมื่นศรี นำ�โดย น้าอารอบ เรืองสังข์ ประธานกลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรีฯ ที่ครั้งนี้มา รั บ อี ก บทบาทหน้ า ที่ ใ นการเป็ น ประธานกลุ่ ม การท่ อ ง เที่ยวโดยชุมชนนาหมื่นศรี ผู้ใหญ่เกียรติศักดิ์ ผู้ใหญ่หนุ่ม จากหมู่ที่ 2 บ้านนาหมื่นศรี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านไพโรจน์ พี่ อรุณ มือถ่ายภาพ มือข้อมูลจาก อบต.นาหมื่นศรี ครู อี จากโรงเรียนควนสวรรค์ และทีมสนับสนุนภายนอก ชุมชน ทั้ง อ.สุนทรี สังข์อยุทธ์ ผู้ใหญ่ใจดี ที่รอบนี้มา ลงแรงช่วยชุมชนอีกครั้งเรื่องงานข้อมูล ด้วยความตั้งใจ อยากพัฒนาคนทำ�งาน อ.พรรณ อ.นบ จาก ม.สวนดุสิต ตรังที่มาช่วยเรื่องการตลาด งานไอที และข้าพเจ้า กอง เชียร์
ร่วมกำ�หนดก้าวย่างที่ยั่งยืน
“การท่องเที่ยวโดยชุมชนนาหมื่นศรี” โดย เชภาดร จันทร์หอม วาระปรึกษาหารือหลักคือ การทบทวนโปรแกรม การท่องเที่ยวฯของพื้นที่ทั้งโปรแกรม 2 วัน 1 คืน และ โปรแกรมแบบ 1 วัน และการเตรียมการอบรมนักสื่อ ความหมายชุมชน จากโอกาสการได้รับการสนับสนุน การดำ�เนินโครงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำ�หรับโปรแกรมรายละเอียดที่ออกแบบไว้ ได้แก่ - โปรแกรมแรก (2 วัน 1 คืน) บ่ายโมงคณะ ท่องเที่ยวพร้อมกัน ณ ที่ทำ�การท่องเที่ยวโดยชุมชนนา หมื่นศรี (ที่ทำ�การกลุ่มผ้าทอฯ) ทีมงานแนะนำ�โปรแกรม ท่องเที่ยว-นมัสการพ่อท่านขุนจ่า วัดควนสวรรค์ - ชมถํ้า เขาช้างหาย - ฝึกทำ�ลูกลม-อาหารเย็นสไตล์นาหมื่นศรีพักโฮมสเตย์ เช้าวันที่สอง อาหารเช้าริมทุ่ง - ไหว้พ่อ ท่านจังโหลน วัดหัวเขา-ชมพิพิธภัณฑ์ผ้าทอหมื่นศรี-จิบ ชาฝามี-จับจ่ายสินค้าของที่ระลึกก่อนกลับ - โปรแกรมที่สอง (1 วัน) 9 โมงเช้า พร้อมกัน ณ ที่ทำ�การท่องเที่ยวโดยชุมชนนาหมื่นศรี - นมัสการ พ่อท่านขุนจ่า วัดควนสวรรค์ - ชมถํ้าเขาช้างหาย-ฝึก ทำ�ลูกลม - พักรับประทานอาหารเที่ยงเลียบพรุลำ�เพ็ง ชมพิพิธภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรีร่วมสร้างสรรค์งานทอมือ - ชมและช๊อปผลิตภัณฑ์ชุมชน - เดินทางกลับ
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้ ภาพเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชนของแกนนำ� เริ่มชัดขึ้น เมื่อโปรแกรมท่องเที่ยวได้ถูกพิจารณาร่วม กัน การวิเคราะห์สถานที่ ช่วงเวลา การลงรายละเอียดที่ ชัดเจนผู้รับผิดชอบในแต่ละจุดท่องเที่ยว (ฐานเรียนรู้) สำ�หรับการเตรียมอบรมนักสื่อความหมายชุมชน ทีมพัฒนานักสื่อความหมายก็จะมีทางผม ทางครูอีจาก โรงเรียนควนสวรรค์ และทีม อ.โต้ง ม.สวนดุสิต ศูนย์ ตรัง โดยหลังจากนี้ประมาณ 2 สัปดาห์จะเป็นการวาง โครงเรื่องและเตรียมเนื้อหา และหากลุ่มเป้าหมายที่มี ตัวแทนแกนนำ�ชุมชนที่สนใจเรื่องการท่องเที่ยวจาก 8 หมู่บ้านและเด็กเยาวชนในพื้นที่ และประมาณกลางเดือน หน้าจะมีการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ซึ่งทีมเห็นร่วมกันว่า เน้นภาคปฏิบัติให้เยอะ การได้ทดลองทำ�จริง ซึ่งคงต้อง มีการออกแบบให้ได้ทำ�กันต่อเนื่อง นั บ เป็ น ก้ า วย่ า งการเรี ย นรู้ สำ � คั ญ ในการ พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน จากจุดแข็งเดิมเรื่องกลุ่ม ผ้าทอ ถํ้าเขาช้างหาย รวมถึงประเพณีลูกลม ที่ต่างมี เอกลักษณ์สู่การท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงจุดแข็งต่างๆ พัฒนา เป็นโปรแกรมสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวของชุมชน ช่วย เปิดประตูการเรียนรู้คนในชุมชนและทีมกองหนุนยิ่งนัก
15
16
“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้
เตรียมพบกับ
ครั้งที่ 6
เทศกาลดอกปอเทื อ งบาน ที่ ร ำ � แดง
1-15 สิงหาคม 2561 ต.รำ�แดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อบต.รำ�แดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้
ฉบับหน้า
17
อะไร ? โคร ? อยู่ไหน ? คือ
‘NODE สสส. ภาคใต้’
พบคำ�ตอบได้ใน “รู้เรื่องเพื่อน” เดือนกรกฎาคม 2561
‘ผ้าสร้างสุข’ เป๋็นโครงการหนึ่งภายใต้ “ศูนย์อาสา สร้างสุข ภาคใต้” ที่มุ่งเน้นพัฒนางาน อาสาสมั ค รเพื่ อ ส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพชี วิ ต ผู้ ยากไร้ ห รื อ ได้ รั บ ความลำ � บากเดื อ ดร้ อ น โดยการเปลี่ยนผ้ามือสองจากผู้บริจาคให้ เป็น ‘กองทุนสร้างสุข’ เพื่อนำ�ไปใช้ช่วย เหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ หรื อ ผู้ ด้ อ ยโอกาสในสงขลาและภาคใต้ พร้ อ มทั้ ง มุ่ ง มั่ น ที่ จ ะเป็ น ศู น ย์ ร วมพั ฒ นา งานและระบบอาสาสมัครในพื้นที่ภาคใต้
บริจาคได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 10 มิถุนายน 2561
เชิญร่วมบริจาคผ้ามิือสอง หรือร่วมเป็น อาสาสมัครคัดแยกผ้า จำ�หน่ายผ้า สมัคร เป็นจุดรับบริจาคผ้า ได้ที่เฟสบุ๊ค “ผ้าสร้าง สุข” หรือโทร. 086 9608334 หรืออุดหนุนสินค้าของผ้าสร้างสุขได้ ทุก วันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ที่ ตลาดกรีนเวย์ หาดใหญ่ (บริเวณกรีนโซน)
เชิญเผยแพร่กจิ กรรม จดหมายข่าวออนไลน์ “รู้เรื่องเพื่อน” โดยโครงการ เชื่ อ มประสานภาคี เ ครื อ ข่ า ยสุ ข ภาพระดั บ ภู มิ ภ าค (ภาคใต้) มีกำ�หนดออกเผยแพร่ทุกเดือนผ่านทางโซ เชียลออนไลน์ ขอเชิ ญ ทุ ก ท่ า นร่ ว มส่ ง บทความเพื่ อ นำ � เสนอการ ทำ�งานของท่าน เพื่อเผยแพร่ในจดหมายข่าวออนไลน์ “รู้เรื่องเพื่อน” ได้ที่ อีเมล์ NIPON.RDH@GMAIL.COM โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือโทร. 086 9608334
ที่ปรึ ก ษา กอง บรรณาธิ ก าร
อานนท์ มีศรี ทวีวัตร เครือสาย วนิชญา ฉันสำ�ราญ อานัติ หวังกุหลำ� สนั บ สนุ นให้ “รู ้ เ รื ่ อ งเพื ่ อน”
“รูเ้ รือ่ งเพือ่ น” จดหมายข่าวออนไลน์
พัลลภา ระสุโส๊ะ ชญานิน เอกสุวรรณ อรอุมา ชูแสง นิพนธ์ รัตนาคม เชภาดร จันทร์หอม