15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540

Page 1

ค�ำน�ำ ส�ำนักข่าวไทยพับลิก้า ร่องรอย 15 ปี วิกฤต 2540

ผ่านมาแล้ว 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ยังคงเป็นความทรงจ�ำ ทัง้ ทีด่ แี ละเจ็บปวดของใครหลายๆ คน บางคนอาจรูส้ กึ ว่าถูกสังคมลงโทษ เป็นจ�ำเลยของสังคม หลายคนต้องออกนอกประเทศ หลายคนไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย หลายคนสิ้นเนื้อประดาตัว แต่หลายคนกลับร�่ำรวยมหาศาล จาก จังหวะและโอกาสของวิกฤต ภาพวิกฤต 2540 ที่ดูเหมือนต้นตอมาจากวิกฤตสถาบันการเงิน ล้ม แต่หากมองลึกลงไป จะพบว่าเป็นวิกฤตทางโครงสร้างของระบบ เศรษฐกิจไทย ที่มีสาเหตุจากการใช้ทรัพยากรอย่างบิดเบี้ยว จนน�ำมาสู่ ฟองสบูแ่ ละการพังลงของภาคเศรษฐกิจจริง และน�ำไปสูก่ ารล้มของสถาบัน การเงิน กลายเป็นวิกฤตต้มย�ำกุ้งที่โลกจดจ�ำ เหตุการณ์ครั้งนั้นนับเป็นความยากล�ำบากส�ำหรับประเทศไทย ทัง้ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการรับมือวิกฤตทีไ่ ม่เคยเกิด ขึน้ มาก่อน มาตรการทีใ่ ช้ในการแก้ปญ ั หาต่างถูกไตร่ตรองแล้วว่าเหมาะสม สำ�นักข่าวไทยพับลิก้า 5


ดีที่สุดตามเหตุและปัจจัยในขณะนั้น ซึ่งเมื่อมองย้อนกลับไปก็มีทั้งที่ถูก และผิด ประวัตศิ าสตร์ 15 ปีของวิกฤตเศรษฐกิจไทย เป็นอีกบทเรียนหนึง่ ทีส่ �ำนักข่าวไทยพับลิกา้ เล็งเห็นว่าควรบันทึกข้อเท็จจริงจากบุคคลทีอ่ ยูใ่ น เหตุการณ์ และบุคคลทีเ่ กีย่ วข้องในบทบาทและหน้าทีท่ แี่ ตกต่างกันในขณะ นัน้ เป็นการย้อนร�ำลึกสถานการณ์ดว้ ยการเล่าเรือ่ งราวผ่านการสัมภาษณ์ และการจัดเสวนาหัวข้อ “15 ปี วิกฤต 2540 ประเทศไทยอยู่ตรงไหน” เรื่องราวทั้งหมดได้เผยแพร่ในเว็บไซต์ไทยพับลิก้า (Thaipublica.org) ทั้งวิดีโอและถอดเทปสัมภาษณ์ค�ำต่อค�ำ และน�ำมารวมเล่มเป็นหนังสือที่ ท่านอ่านอยู่ขณะนี้ “ดร.ทนง พิทยะ” อดีตนายธนาคาร ถูกทาบทามจาก พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ให้นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง เพือ่ รับมือกับวิกฤตการโจมตีคา่ เงินบาททีป่ ระเทศไทย ก�ำลังเผชิญอยู่ ซึ่งในที่สุดก็ต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 อันเป็นวันประกาศวิกฤตต้มย�ำกุ้งอย่างเป็นทางการ แม้รู้ทั้งรู้ว่าจะต้องเจอภาระที่หนักหนา แต่เป็นความท้าทาย ที่ “ทนง พิทยะ” พร้อมจะรับมือ ดร.ทนงเล่าทุกรายละเอียด เสมือนว่า เหตุการณ์นั้นเพิ่งจะเกิดขึ้น เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลเป็นพรรคประชาธิปัตย์ “ธารินทร์ นิมมานเหมินท์” ถูกเลือกเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อแก้สถานการณ์ วิกฤตนีโ้ ดยเฉพาะ แม้หลังเหตุการณ์จะถูกสังคมมองว่าแก้โจทย์วกิ ฤตผิด แต่ “ธารินทร์” ได้เล่าถึงเหตุปัจจัยที่ท�ำให้ต้องตัดสินใจเช่นนั้น จนถึงวันนี้ เขายังยืนว่า “ผมไม่คิดว่าได้ท�ำอะไรผิดพลาด...” ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติ ต้องท�ำงานหนัก หามรุ่งหามค�่ำ ในช่วงนั้นกล่าวได้ว่าแบงก์ชาติหัวบันไดไม่แห้ง ทุกๆ วัน 6 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540


จะมีสถาบันการเงินหอบหลักประกันมาขอกูเ้ งินมากมาย เพราะลูกค้าเงิน ฝากตื่นตระหนก แห่ถอนเงินจนเกลี้ยงแบงก์ ถ้าดูอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ระหว่างธนาคารพาณิชย์ประเภท 1 วัน ขึ้นไปถึงร้อยละ 15-20 แต่ก็ยังมี คนแย่งกันกู้ นับเป็นภาระที่หนักอึ้งที่ “ธาริษา วัฒนเกส” ผู้ว่าการแบงก์ ชาติในเวลาต่อมา ในฐานะผู้ที่ต้องก�ำกับดูแลสถาบันการเงินในขณะนั้น บอกว่า “ต้องท�ำหน้าที่ให้ดีที่สุด” ด้วยสถาบันการเงินที่พังระเนระนาด การปิด 56 ไฟแนนซ์ รวม ทั้งการควบรวมธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเข้าด้วยกัน ปรากฏการณ์ดัง กล่าวท�ำให้ผบู้ ริหารสถาบันการเงินหายหน้าหายตาไปจากวงการการเงิน เกือบทั้งหมด จะเหลืออยู่บ้างก็ไม่มากนัก ที่ยืนหยัดแก้ปัญหาและฟื้นฟู ธุรกิจจนสามารถกลับมายืนในอุตสาหกรรมการเงินได้อีก ความล่มสลายของระบบการเงินไทยในวิกฤต 2540 นี้ นับเป็น ความเจ็บปวดลึกๆ “บัณฑูร ล�่ำซ�ำ” เคยกล่าวไว้ว่าแทบจะเอาตัวเกือบ ไม่รอด ทั้งภาระของธนาคารกสิกรไทย และยังมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภัทรธนกิจ จ�ำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ที่ต้องสะสางภาระหนี้ เน่า และวิกฤตความน่าเชื่อถือของผู้ฝากเงิน หรือแม้กระทั่งนักลงทุนขาใหญ่อย่าง “ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ” นักบริหารพอร์ตหุ้นระดับ 1,000 ล้านบาท ที่ได้รับฉายาว่าเป็นเซียนหุ้น ยังบาดเจ็บสาหัส ต้องหันมาขายแซนด์วชิ ข้างถนน แม้ถกู เจ้าหน้าทีเ่ ทศกิจ จับ รู้สึกอับอาย แต่เขาล้มแล้วลุกขึ้นยืนอย่างทรนง ท่ า มกลางวิกฤตก็เป็นโอกาสส�ำหรับ คนมีเงิน ที่สามารถซื้อ สินทรัพย์ราคาถูก หลายองค์กรต้องปรับโครงสร้างหนี้ แปลงหนี้เป็นทุน ในราคาหุ้นถูกมากๆ ขณะเดียวกันก็เกิดอาชีพใหม่ มีนายหน้าไปกว้านซื้อหนี้เน่า ในราคาถูก เพื่อมาขายต่อให้เจ้าหนี้ที่เจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ สำ�นักข่าวไทยพับลิก้า 7


แล้วไม่ลงตัว หรือผู้ถือหุ้นเดิมที่ต้องการกลับมาเป็นเจ้าของธุรกิจใหม่ ซึ่ง มีหลายกรณีกลายเป็นเกมการต่อสูแ้ ย่งชิงความเป็นเจ้าของระหว่างเจ้าหนี้ กับลูกหนี้ บางคดียดื เยือ้ ยาวนาน จนปัจจุบนั ก็ยงั มีคดีความฟ้องร้องกันอยู่ ขณะที่ผู้สื่อข่าวก็ขึ้นโรงขึ้นศาลกันเป็นว่าเล่นเช่นกัน เพราะต้อง เกาะติดความคืบหน้าของคดีพิพาทระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ บทบาทของสถาบั น การเงิ น ในช่ ว งนั้ น ท�ำหน้ า ที่ เ จรจาปรั บ โครงสร้างหนี้ ลดทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น เพื่อให้ลูกหนี้อยู่รอดและฟื้นตัว ได้ กลายเป็นยุคทองของส�ำนักงานกฎหมายข้ามชาติและนักฟืน้ ฟูกจิ การ ด้วยหนี้เน่าที่มีมากมายเกือบร้อยละ 50 ของสินเชื่อทั้งระบบ ในช่วงนั้น รัฐบาลจ�ำเป็นต้องตั้งองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการ เงิน หรือ ปรส. เพื่อบริหารจัดการหนี้เน่าของสถาบันการเงินที่ถูกปิด จน “ปรส.” กลายเป็นจ�ำเลยของสังคม ถูกข้อครหาว่า “ขายชาติ” ซึ่ง “อมเรศ ศิลาอ่อน” ในฐานะประธานกรรมการ ปรส. เปิดใจว่าการเข้ามารับหน้าที่ นี้ “แม้ต้องติดตะรางหรือตาย แต่บ้านเมืองพ้นภัย มันก็คุ้ม” ล่าสุดคดีที่ “อมเรศ” ถูกฟ้อง ศาลอาญาตัดสินเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2555 ว่าผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดพนักงานในองค์กรของรัฐ จึงพิพากษาจ�ำคุกจ�ำเลยทั้งสองเป็นเวลา 2 ปี ปรับ 2 หมื่นบาท แต่ให้รอ ลงอาญา 3 ปี นอกจาก ปรส. ยังมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจหลายแห่งที่ถูก ตั้งขึ้นมารับซื้อหนี้เน่าจากสถาบันการเงินที่ถูกปิด เพื่อช่วยฟื้นฟูลูกหนี้ “บรรยง วิเศษมงคลชัย” เป็นหนึง่ ในผูบ้ ริหารทีค่ อยสะสางปัญหาต่างๆ ให้ ลูกหนี้ โดยบริหารจัดการอย่างเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาลูกหนีอ้ ย่างแท้จริง ท�ำอย่างไรให้พวกเขาลุกขึน้ ยืนบนขาของตัวเองได้อกี ครัง้ โดยทีล่ กู หนีเ้ ดิน หน้าต่อได้ ขณะที่สถาบันการเงินก็ได้รับการช�ำระหนี้ จึงนับเป็นบทบาท ใหม่ในวงการการเงินของไทย 8 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540


และกว่า 10 ปีที่ยืนหยัดแก้ปัญหาให้ลูกหนี้ วันนี้บริษัทบริหาร สินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จ�ำกัด (บสก.) จึงเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพอย่างมีความ รับผิดชอบในบทบาทของผู้ฟื้นฟูอย่างแท้จริง วันนี้ 15 ปีวกิ ฤตเศรษฐกิจไทย ยังคงมีรอ่ งรอยให้คน้ หาข้อเท็จจริง ในมุมต่างๆ หลายคนอาจจะหลงลืม หลายคนอาจจะจ�ำไม่ได้ เด็กรุ่นใหม่ อาจไม่เคยรู้ว่าเคยมีวิกฤตเกิดขึ้น วงเสวนาในหัวข้อ “15 ปี วิกฤต 2540 ประเทศไทยอยู่ตรงไหน” ผู้เข้าร่วมเสวนาได้ให้ค�ำตอบว่า แม้จะผ่านมา 15 ปี แต่คนไทยยังหลั่นล้า ไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือวิกฤตที่อาจเกิดขึ้น เมื่อใดก็ได้ ส�ำนักข่าวไทยพับลิกา้ หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า การบันทึกความทรงจ�ำ จากค�ำบอกเล่าของผู้ที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่าน หากมีข้อผิดพลาดในเรื่องใด ส�ำนักข่าวไทยพับลิก้าขอน้อมรับไว้ทั้งหมด บุญลาภ ภูสุวรรณ บรรณาธิการบริหาร ส�ำนักข่าวไทยพับลิก้า 8 มีนาคม 2556

สำ�นักข่าวไทยพับลิก้า 9


บทน�ำ

การร�ำลึกถึงเหตุการณ์ส�ำคัญเนือ่ งในวาระครบรอบต่างๆ ทีเ่ วียน มาบรรจบในแต่ละปี มักมีวตั ถุประสงค์ทไี่ ม่แตกต่างกันนัก เราร�ำลึกถึงอดีต เพือ่ ไม่ให้ลมื อดีต ไม่วา่ มันจะดีหรือร้าย เราร�ำลึกถึงอดีต เพือ่ ให้ตระหนักรู้ ว่าเรามี เราเป็น เราด�ำรงอยู่ เช่นทุกวันนี้ โดยผ่านอะไรมาบ้าง และทีส่ �ำคัญ เราร�ำลึกถึงอดีต โดยคาดหวังว่ามันจะให้บทเรียนและชีแ้ นะแนวทางแก่เรา ในการก้าวต่อไปในอนาคต 15 ปีทแี่ ล้ว เมือ่ วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รัฐบาลได้ประกาศลอยตัว ค่าเงินบาท หรือการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบตะกร้าเงิน หรืออัตราแลกเปลี่ยนคงที่ เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวภาย ใต้การจัดการ (Managed Float) ท�ำให้เงินบาทอ่อนค่าลงจาก 25 บาท เป็น 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในทันที และต่อมาท�ำสถิติอ่อนตัวต�่ำที่สุด ที่ระดับ 56 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือลดค่าลงกว่าร้อยละ 55 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 25411 หลังจากเหตุการณ์ในวันนั้น ประเทศไทยก็ไถลเข้าสู่ วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ 10 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540


“อดีต” หลังจากการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทนั้นนับว่าเลวร้าย ไม่น้อย อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี ปรับตัวลดลงแบบพลิกฝ่ามือ จากร้อยละ 2.6 ในปี 2540 เป็นร้อยละ -2.2 ในปี 2541 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ลดฮวบจาก 1,410.33 จุดในเดือนมกราคม 2539 เหลือเพียง 207 จุดในเดือนกันยายน 2541 คิดเป็นมูลค่าตลาดที่ หายไปรวมกันกว่า 3,210,353 ล้านบาท ยอดหนีเ้ สียธนาคารพาณิชย์ไทย พุ่งขึ้นเป็น 2.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.3 ของสินเชื่อทั้งระบบ สถาบันการเงินทีม่ ปี ญ ั หาสภาพคล่องกว่า 58 แห่งถูกสัง่ ระงับการด�ำเนินการชั่วคราว คิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินรวม 533,550 ล้านบาท หรือกว่า ร้อยละ 60 ของทรัพย์สินรวมบริษัทเงินทุน และในที่สุดต้องปิดกิจการไป ทั้งสิ้น 56 แห่งในปี 2540 และอีก 11 แห่งในปี 25412 ราคาน�้ำมันพุ่งสูง ขึน้ ผลักดันให้ราคาสินค้าต่างๆ สูงขึน้ ตาม ผูค้ นจ�ำนวนไม่นอ้ ยต้องตกงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเงิน ธุรกิจเอกชนหลายแห่งต้องล้มละลาย จากการที่หนี้สินซึ่งกู้ยืมมาจากต่างประเทศมีมูลค่าสูงขึ้นเป็นเท่าตัว จาก ค่าเงินที่อ่อนตัวลง ผลพวงความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่เพียงท�ำให้เศรษฐกิจไทยต้อง ตกอยูใ่ นสภาวะซบเซายาวนานหลายปีเท่านัน้ แต่วกิ ฤตเศรษฐกิจที่ ศ.ดร. อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ ประจ�ำสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนา ประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เรียกว่า “เมดอินไทยแลนด์” ยังลุกลามไปยัง ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก อย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังประเทศในภูมิภาคอื่นๆ ทั่ว โลก ฉุดรั้งเศรษฐกิจโลกให้ตกต�่ำลงในเวลาต่อมา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2549). การเดินทางแห่งชีวิต 30 ปี ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ 2 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (2546). รายงานการสั่งให้สถาบันการเงิน 56 แห่ง ปิดท�ำการถาวร. โดยการจัดจ้างของส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง. กรุงเทพฯ 1

สำ�นักข่าวไทยพับลิก้า 11


2 กรกฎาคม 2540 มักจะถูกปักหมุดให้เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤต เศรษฐกิจในครั้งนั้น แต่ที่จริงแล้ว หากเปรียบวิกฤตเศรษฐกิจเป็นโรค ร้าย ดังที่ต่างชาติมักขนานนามว่าเป็น “โรคต้มย�ำกุ้ง” (Tom Yum Kung Disease) วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 คงจะไม่ใช่วันที่โรคร้ายนี้เริ่มก่อตัวขึ้น หากแต่คือวันที่อาการของโรคแสดงออกมาอย่างเต็มที่ จนร่างกายของ คนไข้ทนต่อไปไม่ไหว ต้องยอมศิโรราบพ่ายแพ้ให้กับโรคที่ก่อตัวขึ้นใน ร่างกายเป็นระยะเวลานาน และต้องถูกหามส่งโรงพยาบาลในที่สุด ดังนั้นหากจะเขียนประวัติศาสตร์วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ให้ครบ ถ้วนสมบูรณ์ เราคงต้องมองย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของวิกฤต ในวัน เวลาที่โรคร้ายเริ่มก่อตัว ในช่วงเวลาที่เราปล่อยปละละเลยให้ร่างกาย อ่อนแอ ซึ่งเช่นเดียวกับการติดเชื้อโรคร้ายแรงทั้งหลาย มันคือช่วงเวลา ที่ไม่มีใครสังเกตเห็น ย้อนกลับไปในทศวรรษ 2530 คงไม่มีใครคาดคิด หรือแม้กระทั่ง เฉลียวใจว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยจะเผชิญกับความตกต�่ำรุนแรง ในอีกเพียงไม่กปี่ ตี อ่ มา เพราะในช่วงนัน้ เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมโหฬาร อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยสูงถึงประมาณร้อยละ 8-9 ต่อปี จนใครต่อใครต่างคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะกลายเป็น “เสือตัว ใหม่” แห่งเอเชียในไม่ช้า การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในขณะนั้นได้รับผลพวงจาก ความเฟื่องฟูของตลาดเงินตลาดทุนโลกและการขยายตัวของการลงทุน ข้ามพรมแดน ภายหลังการเปลี่ยนแปลงขั้วอ�ำนาจทางการเมืองและ เศรษฐกิจหลังการสิ้นสุดของสงครามเย็นในทศวรรษ 1980 ที่ท�ำให้ เศรษฐกิจโลกเดินหน้าเข้าสู่ยุคแห่งการเทิดทูนตลาดเสรี ตลาดเงินตลาด ทุนทวีบทบาทและเติบโตขึน้ เป็นอย่างมาก เกิดนวัตกรรมทางการเงิน เช่น ตราสารอนุพนั ธ์ เป็นต้น และเกิดการเคลือ่ นย้ายไหลเวียนของเงินทุนข้าม แดนจ�ำนวนมหาศาล ท�ำให้เศรษฐกิจโลกเชื่อมโยงกันมากขึ้นอย่างไม่เคย เป็นมาก่อน 12 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540


เศรษฐกิจไทยเฟื่องฟูมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายหลังข้อตกลง Plaza Accord ในเดือนกันยายน 2528 ซึ่งมีผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ลดค่าลงโดยเปรียบเทียบกับค่าเงินเยนของญี่ปุ่นท�ำให้อุตสาหกรรม ต่างๆ ย้ายฐานการผลิตจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทย ประกอบกับ นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมของรัฐบาลไทยและการค้นพบแหล่งแก๊ส ธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งช่วยส่งเสริมให้การลงทุนในประเทศไทยเติบโต ขึ้นเป็นอย่างมาก ในช่วงทศวรรษ 2530 นีเ้ อง ธนาคารแห่งประเทศไทยเลือกด�ำเนิน นโยบายเปิดเสรีทางการเงิน โดยปรับกฎระเบียบเพือ่ ให้เงินทุนเคลือ่ นย้าย ระหว่างประเทศเข้าออกได้โดยเสรี แต่ไม่มกี ารปรับระบบอัตราแลกเปลีย่ น ในปี 2536 ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศนโยบาย BIBF (Bangkok International Banking Facilities) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้กรุงเทพฯ เป็น ศูนย์กลางการเงินในภูมภิ าค ท�ำให้เงินทุนจากต่างประเทศหลัง่ ไหลเข้ามา อย่างไม่ขาดสาย ตลาดทุนในประเทศเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก ขนาดของ ตลาดหลักทรัพย์ซึ่งวัดจากมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนต่อจีดีพี ขยายตัวจาก ร้อยละ 11 ของจีดีพีในปี 2530 เป็นกว่าร้อยละ 105 ของจีดีพีในปี 25363 การเคลื่อนย้ายเงินทุนสุทธิจากต่างประเทศในช่วงปี 2537-2538 มีค่อน ข้างสูง โดยส่วนใหญ่เป็นการเคลื่อนย้ายผ่านธนาคารพาณิชย์และกิจการ วิเทศธนกิจ ซึ่งในขณะนั้นยังขาดการพัฒนาและการก�ำกับดูแลตรวจสอบ อย่างใกล้ชิดจากภาครัฐ เงินทุนเหล่านี้ถูกน�ำมาใช้ปล่อยกู้ในประเทศเพื่อสร้างก�ำไร ซึ่ง สามารถสร้างก�ำไรให้กับผู้ปล่อยกู้ได้มหาศาล เนื่องจากการขาดแคลน เงินออมในประเทศและอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศที่ต�่ำกว่าในประเทศ เฉลิมพงษ์ คงเจริญ (2553). ระบบเศรษฐกิจไทยก่อนวิกฤตการณ์การเงิน พ.ศ. 2540 (พ.ศ. 2530-2540). โครงการเมธีวิจัยอาวุโส ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

3

สำ�นักข่าวไทยพับลิก้า 13


มาก ประกอบกับอัตราแลกเปลีย่ นทีค่ งที่ ขณะทีเ่ งินทุนอีกส่วนหนึง่ จ�ำนวน ไม่น้อยถูกน�ำไปใช้ลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีความร้อนแรง อย่างมากในขณะนั้น เกิดการเก็งก�ำไรราคาที่ดิน ท�ำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น อย่างมาก และเกิดโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น คอนโดมิเนียมหรือบ้านจัดสรร นักลงทุนทัง้ หลายในประเทศต่างพยายามสร้างก�ำไรและกอบโกย ผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุด จากเงินทุนที่ไหลเข้ามาอย่างมากมายและ ต่อเนือ่ ง หลายคนกลายเป็นเศรษฐีได้ไม่ยากจากการเก็งก�ำไรและการเล่น หุน้ ทุกคนต่างเพลิดเพลินกับโอกาสและความมัง่ คัง่ ทีอ่ ยูต่ รงหน้า จนหลง คิดไปว่าเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งและเติบโตอย่างแท้จริง แต่หารูไ้ ม่ว่าสิง่ ที่ พวกเขาพยายามวิ่งตามและไขว่คว้านั้นคือ “ฟองสบู่” เศรษฐกิจ ซึ่งขาด รากฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคงและพร้อมจะแตกได้ทุกเมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 จึงเปรียบเสมือนวันทีท่ กุ คนตืน่ จากความ ฝันมาพบกับความเป็นจริงที่ไม่น่าอภิรมย์ว่า “ฟองสบู่” นั้นแตกแล้ว และ เศรษฐกิจไทยก็ล้มลงจนแทบลุกไม่ขึ้น อาการของวิกฤตเริม่ แสดงออกตัง้ แต่ตน้ ปี 2539 ทัง้ จากการส่งออก ที่ชะลอตัวอย่างเฉียบพลัน จากร้อยละ 24.8 ในปี 2538 เป็นร้อยละ -1.9 ในปี 2539 การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหาในตลาด อสังหาริมทรัพย์ที่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าก�ำลังประสบภาวะวิกฤตอย่างหนัก ดัชนีราคาในตลาดหุ้นมีแนวโน้มต�่ำลงอย่างต่อเนื่อง ต่างชาติเริ่มถอนทุน หนี้สินของสถาบันการเงินเริ่มสูงขึ้น จนประสบกับปัญหาการขาดสภาพ คล่อง ถึงแม้ว่าในปี 2539 การลงทุนโดยรวมในประเทศจะมีสัดส่วนสูง ถึงร้อยละ 41.4 ของรายได้ประชาชาติ แต่ในจ�ำนวนนั้นกลับมีการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) เพียงเล็กน้อย 14 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540


ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อแทบทั้งหมด และกว่าครึ่งเป็นสินเชื่อระยะสั้น ซึ่ง หมายความว่าภาระความเสี่ยงตกอยู่กับผู้กู้ ภายใต้ความเสี่ยงเช่นนี้ เรา มีเพียงทุนส�ำรองระหว่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกันชน เท่านั้น4 อาการอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยทั้งภาคสถาบันการเงินและ ภาคการเงินตั้งแต่ช่วงปี 2539 ได้ท�ำลายความเชื่อมั่นของชุมชนการเงิน ระหว่ า งประเทศเรื่ อ งความสามารถในการช�ำระหนี้ ต ่ า งประเทศของ เศรษฐกิจไทย สถานการณ์เช่นนี้ ประกอบกับการด�ำเนินนโยบายระบบ อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ได้ดึงดูดนักเก็งก�ำไรต่างชาติเข้ามาโจมตี ค่าเงินบาท ด้วยความพยายามที่จะรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ใน ระดับคงที่ต่อไป ธนาคารแห่งประเทศไทยได้พยายามปกป้องค่าเงิน บาทตั้งแต่เดือนธันวาคม 2539 โดยใช้เงินทุนส�ำรองระหว่างประเทศเป็น เดิมพัน เข้าซือ้ เงินดอลลาร์สหรัฐ/ขายเงินบาท จนกระทัง่ วันที่ 30 มิถนุ ายน 2540 มีเงินทุนส�ำรองระหว่างประเทศเหลือเพียง 2.8 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐ จาก 39.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนพฤศจิกายน 25395 การสูญเสียเงินส�ำรองระหว่างประเทศจ�ำนวนมหาศาล นอกจาก จะเป็นผลจากการปกป้องค่าเงินบาทจนหมดหน้าตักแล้ว ส่วนหนึ่งยัง เกิดจากการไหลออกของเงินบาทโดยนักลงทุนไทยที่ขาดความเชื่อมั่น ท�ำให้ปราการด่านสุดท้ายซึ่งเป็นสัญญาณของความมั่นคงทางเศรษฐกิจ คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบ การเงินของประเทศ (ศปร.) (31 มีนาคม 2541). รายงานผลการวิเคราะห์และวินิจฉัยข้อ เท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการ พัฒนาประเทศไทย 5 อ้างแล้ว 4

สำ�นักข่าวไทยพับลิก้า 15


พังทลายในที่สุด สังคมเศรษฐกิจไทยใช้ความพยายามในรูปแบบต่างๆ เพือ่ จัดการ กับความเสียหาย และท�ำให้เศรษฐกิจไทยกลับมายืนได้ใหม่ ไม่ว่าจะเป็น มาตรการ 5 สิงหาคม 2540 ทีร่ ฐั บาลมีมติให้กองทุนฟืน้ ฟูและพัฒนาระบบ สถาบันการเงินเข้าประกันเงินฝากให้กบั ผูฝ้ ากเงิน และรับประกันหนีใ้ ห้กบั เจ้าหนีข้ องสถาบันการเงินทีเ่ ข้าข่ายได้รบั การประกันจากรัฐบาล ซึง่ ต่อมา ได้สร้างภาระหนี้สาธารณะจ�ำนวนมหาศาล เดือนมิถนุ ายนและสิงหาคม 2540 ธนาคารแห่งประเทศไทยต้อง สัง่ ยุตกิ ารด�ำเนินการของสถาบันการเงินทีม่ ปี ญ ั หาสภาพคล่องรวมทัง้ สิน้ 56 แห่ง ภายหลังความพยายามในการเข้าอุ้มและประคับประคองมาได้ ระยะหนึ่งภายใต้ปรัชญา “สถาบันการเงินล้มไม่ได้” ซึ่งส่งผลให้เกิดการ ตัดสินใจที่ผิดพลาดของตัวละครต่างๆ ในตลาดเงิน ต่อมามีการแยกสินทรัพย์ทไี่ ม่กอ่ ให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPL) และตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ขึ้นมาดูแล มีการตั้งองค์การ เพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ขึ้นเพื่อสะสางปัญหาหนี้เสีย ของสถาบันการเงินที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตทั้ง 56 แห่ง ตามมาด้วยการเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุน การเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) จ�ำนวน กว่า 17.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 14 เดือนสิงหาคม 2540 ซึ่งมา พร้อมเงือ่ นไขในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจมากมายในประเทศ การ ด�ำเนินนโยบายเศรษฐกิจใต้ร่มเงาไอเอ็มเอฟ โดยเฉพาะในระยะต้น ถูก วิจารณ์ว่าเป็นการสั่งยาผิดขนาน และท�ำให้เศรษฐกิจไทยย�่ำแย่ลงไปอีก ค�ำถามส�ำคัญก็คือ สังคมเศรษฐกิจไทยเรียนรู้อะไรจากบทเรียน ครั้งนั้น คงจะไม่มีใครตอบค�ำถามนี้ได้ดีเท่าบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรง กับเหตุการณ์ครั้งนั้น หนังสือเล่มนี้เกิดจากความพยายามที่จะบันทึก 16 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540


ประวัติศาสตร์วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 และสะท้อนบทเรียนส�ำคัญที่สังคม ไทยควรได้รับ ผ่านบทสัมภาษณ์พิเศษเจาะลึกตัวละครส�ำคัญในวิกฤต เศรษฐกิจ เริม่ ตัง้ แต่ ดร.ทนง พิทยะ ขุนคลังผูร้ บั บทบาทส�ำคัญในการตัดสินใจ ประกาศลอยตัวค่าเงินบาทหลังการเข้ารับต�ำแหน่งเพียง 11 วัน ซึ่งต้อง เผชิญแรงกดดันและค�ำครหามากมายจากผลพวงความเสียหายที่ตามมา บทสัมภาษณ์นี้จะน�ำไปพบกับเบื้องหลังการตัดสินใจในครั้งนั้น ทบทวน ความพยายามในการรับมือกับความเสียหาย และค�ำขอโทษจากปากคุณ ทนงต่อความเจ็บปวดที่หลายคนได้รับ บัณฑูร ล�ำ่ ซ�ำ เจ้าสัวใหญ่แห่งธนาคารกสิกรไทย จ�ำกัด (มหาชน) ผู้เป็นหนึ่งใน “ผู้ได้รับความเจ็บปวด” อย่างแสนสาหัสจากวิกฤตต้มย�ำกุ้ง 2540 ซึ่งนับเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งแรกที่เผชิญในชีวิต เช่นเดียวกับอีก หลายต่อหลายคนในประเทศ การล้มครั้งใหญ่และการต่อสู้เพื่อกลับมา ยืนหยัดอย่างสง่างามของธนาคารกสิกรไทยในครั้งนั้น ช่วยสะท้อนสิ่งที่ สังคมเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันควรตระหนักได้เป็นอย่างดี ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ อีกหนึ่งขุนคลังผู้มีบทบาทส�ำคัญ ผู้รับ หน้าที่ฟื้นฟูประเทศจากความเสียหายของวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งต้องแก้ ปัญหาภายใต้ข้อจ�ำกัดรอบด้าน ทั้งจากสภาพเศรษฐกิจที่ย�่ำแย่ภายใน ประเทศและเงื่อนไขเงินกู้จากต่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เขาพร้อมที่จะ เปิดเผย “ความจริง” ที่ประเทศไทยควรรับรู้ ผ่านบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับ วิกฤตเศรษฐกิจครั้งแรกในรอบสิบปี ดร.ธาริษา วัฒนเกส อดีตผูว้ า่ การธนาคารแห่งประเทศไทย องค์กร ศูนย์กลางท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 คุณธาริษาคือผูไ้ ด้รบั มอบหมาย ให้ด�ำรงต�ำแหน่งผูอ้ �ำนวยการฝ่ายนโยบายสถาบันการเงิน กับภาระหน้าที่ ในการปฏิรูปการก�ำกับดูแลสถาบันการเงิน เพื่อเรียก “ความเชื่อมั่น” สำ�นักข่าวไทยพับลิก้า 17


กลับคืนมา ประสบการณ์ในครั้งนั้นคือบทเรียนของภาคสถาบันการเงิน และประเทศไทย บรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการและประธานคณะกรรมการ จัดการ บริษทั บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จ�ำกัด (บสก.) บุคคลส�ำคัญ ผู้เข้ามาจัดการปัญหาหนี้เสียของภาคเอกชนที่เกิดขึ้นภายหลังวิกฤต 2540 ผู้ที่จะชี้ให้เห็นความส�ำคัญของบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ในฐานะกลไกแก้ ไ ขปั ญ หาและสร้ า งความมั่ น คงทางเศรษฐกิ จ ให้ กั บ ประเทศ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต อมเรศ ศิลาอ่อน อดีตประธานองค์การเพื่อการปฏิรูประบบ สถาบันการเงิน (ปรส.) ที่เข้ามาจัดการสะสางหนี้เสียในระบบสถาบัน การเงิน โดยการน�ำทรัพย์สินขายทอดตลาด และต่อมาตกเป็น “จ�ำเลย” สังคมในข้อหา “ขายชาติ” จากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว บทสัมภาษณ์ นี้จึงเจาะลึกเบื้องหลังแนวคิดการท�ำงานในตอนนั้น ตอบประเด็นค�ำถาม เรื่องความโปร่งใส ซึ่งให้ข้อคิดแก่สังคมไทยไม่น้อย ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ ผู้ก่อตั้ง “ศิริวัฒน์แซนด์วิช” คือตัวอย่าง ผู้พ่ายแพ้ที่สามารถลุกขึ้นยืนได้อีกครั้ง หลังประสบมรสุมวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งท�ำให้เป็นหนี้สินมหาศาลและกลายเป็นบุคคลล้มละลาย ประสบการณ์ ของเขาคื อ บทเรี ย นที่ ดี ใ นการก้ า วต่ อ ไปข้ า งหน้ า และให้ ข ้ อ คิ ด ที่ ว ่ า “ความไม่แน่นอนคือสิ่งที่แน่นอนที่สุด” โดยเฉพาะในการลงทุน ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสผู้คร�่ำหวอด ในวงการวิชาการและการก�ำหนดนโยบายมายาวนาน คือหนึ่งในสมาชิก “คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิม่ ประสิทธิภาพการบริหาร จัดการระบบการเงินของประเทศ (ศปร.)” ซึง่ ตัง้ ขึน้ มาเพือ่ บันทึก “ความจริง” และหาทางออกให้กบั ประเทศไทยจากวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 บทสัมภาษณ์ นี้จะชวนย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของวิกฤต เพื่อสรุปบทเรียนที่แต่ละ 18 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540


ภาคส่วนได้เรียนรู้ และฉายภาพอนาคตของเศรษฐกิจไทย ว่าจะไปรอด หรือซ�้ำรอยเดิม และจบลงด้วยบทเสวนา “15 ปี วิกฤต 2540 ประเทศไทยอยู่ ตรงไหน” กับค�ำถามที่น่าสนใจว่า 15 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยส�ำคัญหรือไม่ ที่จะท�ำให้เราสามารถยืดหยัดและ พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก โดยผู้ร่วมการเสวนา มากประสบการณ์ ได้แก่ บรรยง พงษ์พานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคิน-ภัทร ดร.วิรไท สันติประภพ อดีตรอง ผูจ้ ดั การตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิ แอดไวเซอร์ จ�ำกัด และ ธนา เธียรอัจฉริยะ อดีตประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร บริษทั จีเอ็มเอ็ม แซท จ�ำกัด ด�ำเนินรายการ โดย ปกป้อง จันวิทย์ อาจารย์ประจ�ำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ การหวนร�ำลึกถึงเหตุการณ์ในอดีตปีแล้วปีเล่าคงไม่มีประโยชน์ อันใด หากเราไม่ได้เรียนรูอ้ ะไรจากมัน วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 คือบทเรียน ที่มีราคาแพงไม่น้อย ซึ่งสร้างต้นทุนทางตรงที่คนไทยทุกคนต้องแบกรับ ร่วมกัน หากคิดเฉพาะหนีข้ องกองทุนเพือ่ การฟืน้ ฟูฯ อย่างเดียวก็มขี นาด ถึง 1.14 ล้านล้านบาท ด้วยค่าเล่าเรียนราคาแพงขนาดนี้ น่าคิดว่าเราได้ใช้ บทเรียนจากวิกฤตครัง้ นัน้ คุม้ ค่าเพียงใด และเราพร้อมทีน่ �ำพาเศรษฐกิจให้ ก้าวต่อไปอย่างมัน่ คงในอนาคตมากน้อยแค่ไหน ค�ำถามเหล่านีค้ งจะย้อน กลับมาทุกครั้งที่เราร�ำลึกถึงเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 วิกฤตครั้ง ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย

สำ�นักข่าวไทยพับลิก้า 19


สารบัญ

ค�ำน�ำ ส�ำนักข่าวไทยพับลิก้า 5 บทน�ำ 10 • สัมภาษณ์ ทนง พิทยะ 24 บัณฑูร ล�่ำซ�ำ 76 ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ 106 ธาริษา วัฒนเกส 144 บรรยง วิเศษมงคลชัย 170


อมเรศ ศิลาอ่อน 202 ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ 222 อัมมาร สยามวาลา 252 • เสวนา “15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540: ประเทศไทยอยู่ตรงไหน” บรรยง พงษ์พานิช วิรไท สันติประภพ เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ธนา เธียรอัจฉริยะ 276


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.