Banyong dog's tail (web preview)

Page 1


หางกระดิกหมา บรรยง พงษ์พานิช - ธนกร จ๋วงพานิช พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์ openworlds, มีนาคม 2557 ราคา 200 บาท คณะบรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล บรรณาธิการ ฐณฐ จินดานนท์ ภูมิ นํ้าวล บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ภูมิ นํ้าวล ฐณฐ จินดานนท์ ออกแบบปก wrongdesign จัดทำ�โดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด 604/157 ถ.สาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-618-4730 email : openworldsthailand@gmail.com facebook : www.facebook.com/openworlds twitter : www.twitter.com/openworlds_th website : www.openworlds.in.th จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8356-9 website : http://www.se-ed.com/


ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ บรรยง พงษ์พานิช. หางกระดิกหมา.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส, 2557. 216 หน้า. 1. รวมเรื่อง. I. ธนกร จ๋วงพานิช, ผู้แต่งร่วม. I. ชื่อเรื่อง. 089.95911 ISBN 978-616-7885-00-1

สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือจำ�นวนมาก ในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล หมายเลขโทรศัพท์ 086 403 6451 หรือ Email: openworldsthailand@gmail.com


สารบัญ ค�ำนิยม-สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ค�ำน�ำ มายาคติแห่งคอร์รัปชั่น คอร์รัปชั่น 3 ประเภท เคล็ดลับ ... คอร์รัปชั่น คอร์รัปชั่น มหันตโทษ ประโยชน์ของคอร์รัปชั่น สู้กับคอร์รัปชั่น กู้ 2 ล้านล้าน PPP: ทางออกที่ไม่ควรมองข้าม อย่าปล่อยให้ใครผูกขาด สินบนสะอาด ลดรัฐ ลดคอร์รัปชั่น จ�ำน�ำข้าว รถหนีภาษี กับดักประเทศ การทุจริตข้ามชาติ ใบอนุญาตโรงงาน กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ แนวร่วม 4 เหล่า ปาหี่คอร์รัปชั่น ป้ายคอร์รัปชั่น

6 10 14 20 26 32 38 42 54 58 62 66 70 74 78 82 86 90 94 98 102 106


กฎหมายว่าด้วย PR ภาครัฐ นาฬิกา-นาฬิโกง ขายชาติ-ขายแผ่นดิน คืนภาษีผลาญชาติ จีนเอาจริงปราบโกง ... แล้วไทยล่ะ อวสานรถดับเพลิง ทฤษฎีกระจกแตก คอร์รัปชั่น เหตุแห่งความไม่ไว้ใจ SLAPP … ตบปากให้หยุดพูด (1) SLAPP ... ตบปากให้หยุดพูด (2) ต้านคอร์รัปชั่น ... พูดแล้วต้องท�ำ นิรโทษกรรม นิรโทษเวร กรรมตามทัน กฎหมายตามไม่ทัน ต้านคอร์รัปชั่น ... จุดติดต้องจุดต่อ แก้สมการคอร์รัปชั่น โจ๊กคอร์รัปชั่น ... เรื่องไม่ค่อยตลก จับตาโปรเจกต์โกง ประกาศผลสอบคอร์รัปชั่น บาทเดียวกูก็ไม่ให้ จับคอร์รัปชั่นประจาน จับตา-จับตาย คอร์รัปชั่น คาถาปราบคอร์รัปชั่น นกหวีด ... เสียงที่คอร์รัปชั่นเกลียด เมื่อข้าราชการกลัวประชาชน อัสดงแห่งอ�ำนาจรัฐ

110 114 118 122 126 130 134 140 144 148 152 156 160 164 168 172 176 180 184 188 192 196 202 208 212


คำ�นิยม สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์

ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เขียนค�ำนิยมในหนังสือ หางกระดิกหมา ของคุณบรรยง พงษ์พานิช ซึ่งผมรู้จักและนับถือ เป็นการส่วนตัวอยู่แล้ว และคุณธนกร จ๋วงพานิช คนหนุ่มไฟแรง ผู้ร่วมงาน เมือ่ ได้อา่ นต้นฉบับ หางกระดิกหมา จนจบ ผมก็เกิดอาการ “อึ้ง-ทึ่ง-ลุ้น” สิ่งที่ท�ำให้ผมรู้สึกอึ้งก็คือ ตัวอย่างของคอร์รัปชั่น ทีค่ ณ ุ บรรยงและคุณธนกรบรรยายให้เราฟังแต่ละเรือ่ งนัน้ พิสดาร ล�ำ้ ลึกกว่าทีผ่ มเคยคิดไว้เสียอีก ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งการหนีภาษีรถหรู การออกใบอนุญาตโรงงาน การซือ้ นาฬิกาของรัฐสภา และการโกง การคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนที่น่าทึ่งก็คือ หางกระดิกหมา สามารถวิเคราะห์ คอร์รปั ชัน่ จากมุมของเศรษฐศาสตร์การเมืองได้อย่างแจ่มกระจ่าง จนไม่น่าเชื่อว่า นี่คือผลงานของคุณบรรยงผู้จบเศรษฐศาสตรบัณฑิตมาด้วยคะแนนเฉียดฉิว 2.00 6 หางกระดิกหมา


หางกระดิกหมา เริ่มต้นอย่างท้าทายความคิดด้วยการ ท�ำลายความเชือ่ ผิดๆ หลายอย่างในสังคมไทย เช่น ความเชือ่ ทีว่ า่ การแก้คอร์รัปชั่นต้องอาศัยศีลธรรมเป็นหลัก คือต้องท�ำให้คน เป็น “คนดี” คอร์รัปชั่นเกิดขึ้นเพราะข้าราชการได้รับค่าตอบแทน ต�่ำเกินไป เราไม่มีทางต่อต้านคอร์รัปชั่นได้ส�ำเร็จ จึงควรยอมรับ สภาพปัจจุบัน และการยอมรับสภาพเช่นนั้นไม่เสียหาย เพราะ คอร์รัปชั่นก็อาจสร้างความเจริญให้ประเทศได้ ฯลฯ หางกระดิกหมา แบ่งคอร์รัปชั่นออกเป็นประเภทต่างๆ ทั้งคอร์รัปชั่นในภาคเอกชน การบังหลวงโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และ การสมคบกันระหว่างเอกชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ โดยในประเภทหลัง ยังแบ่งย่อยออกเป็น คอร์รัปชั่นเพื่อซื้อความสะดวก คอร์รัปชั่น เพือ่ ให้พน้ ผิดในกระบวนการยุตธิ รรม และคอร์รปั ชัน่ เพือ่ ซือ้ ความ ได้เปรียบในการแข่งขัน โดยอย่างแรกน่าเห็นใจ แต่อย่างหลังสุด เป็นอันตรายมาก หางกระดิกหมา ยังบอกเราถึงเศรษฐศาสตร์การเมืองของ การคอร์รัปชั่นว่า คอร์รัปชั่นจะเกิดขึ้นง่ายในเรื่องที่ผลประโยชน์ ต่อผู้คอร์รัปชั่นเกิดขึ้นแบบกระจุกตัว แต่ผลเสียกระจายสู่สังคม ในวงกว้าง และในเรื่องที่ผลประโยชน์เกิดขึ้นวันนี้ แต่ผลเสีย เกิดขึ้นในวันข้างหน้า หางกระดิกหมา ยังเปิดประเด็นที่น่าสนใจมากมาย เช่น คอร์รัปชั่นจะท�ำให้เราไม่สามารถก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ ปานกลางได้ คอร์รปั ชัน่ ในสาขาทีไ่ ม่มกี ารค้ากับต่างประเทศดึงดูด ทรัพยากรออกไปจากสาขาที่มีการค้ากับต่างประเทศ ซึ่งท�ำให้ ประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจลดลง ฯลฯ แม้เรื่องเหล่านี้จะยัง ไม่ได้พิสูจน์ทางวิชาการ แต่ก็เป็นข้อสันนิษฐาน (hypothesis) ที่ น่าสนใจซึ่งนักวิชาการควรเอาไปศึกษาต่อ บรรยง พงษ์พานิช - ธนกร จ๋วงพานิช 7


หางกระดิกหมา ไม่เพียงแต่วิเคราะห์และเปิดประเด็น ต่างๆ ทีน่ า่ สนใจเท่านัน้ แต่ยงั เสนอมาตรการในการสูก้ บั คอร์รปั ชัน่ อีกมากมาย ข้อเสนอในการสู้กับคอร์รัปชั่นส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอ ในการออกแบบระบบใหม่ เช่น การกระจายอ�ำนาจ การขจัด ดุลพินิจของหน่วยราชการ โดยออกแบบขั้นตอนการพิจารณา ใบอนุ ญาตใหม่ และการให้รัฐวิสาหกิจท�ำบัญชีเหมือนบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น ในบางเรื่องผู้เขียนได้ค้นคว้ามาเป็นอย่างดี เสมือนท�ำ ภาคนิพนธ์ย่อยๆ ท�ำให้มีข้อเสนอเป็นรูปธรรม เช่น การออก กฎหมายควบคุมการโฆษณาภาครัฐ (Government Advertising Act) กฎหมายต่อต้านการฟ้องหมิ่นประมาทเพื่อปิดปาก (AntiSLAPP Act) และการสร้างความโปร่งใสในโครงการก่อสร้าง ประสบการณ์ในภาคเอกชนของผูเ้ ขียนอาจท�ำให้ขอ้ เสนอ ต่างๆ อยู่บนพื้นฐานของการเชื่อถือภาครัฐน้อยและเชื่อถือกลไก ตลาดมากกว่า จึงสนับสนุนการร่วมทุนกับภาคเอกชน (Public -Private Partnership - PPP) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และการใช้ กลไกตลาดลดขนาด อ�ำนาจ และบทบาทของรัฐ ซึ่งเป็นสาเหตุ ของคอร์รปั ชัน่ แต่ขอ้ เสนอก็ไม่ได้อยูบ่ นพืน้ ฐานของการไว้ใจตลาด ไปเสียทั้งหมด โดยเฉพาะในกรณีที่ตลาดมีการผูกขาดและอาจ เอาเปรียบผู้บริโภค แม้จะเน้นหนักในการมองเชิงระบบ หางกระดิกหมา ก็ ไม่ได้ละเลยการรณรงค์ตอ่ ต้านคอร์รปั ชั่นในเชิงค่านิยม โดยเสนอ มุมมองใหม่ 2 ประการ คือ หนึ่ง เราจะต้องไปให้พ้นจากการพูดถึงความดี-ความชั่ว แบบจับต้องไม่ได้ ไปสูก่ ารเข้าใจจิตวิทยาของนักคอร์รปั ชัน่ ซึง่ อาจ คิดว่า สินบนที่เขารับมาเป็น “เงินสะอาด” 8 หางกระดิกหมา


สอง เราต้องไปให้ไกลกว่าการรณรงค์ไม่โกงเองไปสู่การ ไม่ยอมให้คนอื่นโกงด้วย ทั้งสองมุมมองนี้จะช่วยให้เราออกแบบการรณรงค์ที่ตรง จุดและได้ผลมากกว่า ขณะนี้ ประเทศไทยมีโอกาสดีทสี่ ดุ ในการสูก้ บั คอร์รปั ชัน่ ในรอบหลายทศวรรษเมือ่ กระแสต่อต้านคอร์รปั ชัน่ ถูกจุดติดในหมู่ ประชาชนหลังการผลักดันร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฯ ของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ นอกจากนี้ การเกิดขึ้นขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) และความตื่นตัวของภาคเอกชน ยังเป็นสัญญาณ ที่ดี ซึ่งท�ำให้เราเห็นความหวังในการต่อสู้กับคอร์รัปชั่น หางกระดิกหมา ได้จดุ ประกายความคิด ท�ำให้ผมมีความ หวังและได้ลุ้นว่า เรามีทางชนะได้ในสงครามสู้กับคอร์รัปชั่น ในฐานะผู้เสียภาษีและในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ผมขอ ขอบคุณคุณบรรยงและคุณธนกร ที่กรุณาเขียนหนังสือที่มีคุณค่า อย่างยิ่งต่อประเทศไทย

บรรยง พงษ์พานิช - ธนกร จ๋วงพานิช 9


คำ�นำ� บรรยง พงษ์พานิช ธนกร จ๋วงพานิช

ทุกวันนี้ ถ้าใครคอยดูขา่ วหรืออ่านหนังสือพิมพ์อยูเ่ รือ่ ยๆ ก็ จ ะเห็ น ว่ า เมื อ งไทยก�ำลั ง มี ก ระแสต่ อ ต้ า นคอร์ รั ป ชั่ น เกิ ด ขึ้ น ไม่ว่าจะในกลุ่มนักธุรกิจ นักศึกษา หรือสื่อมวลชน แต่ท่ามกลางกระแสตื่นตัวนี้ หากสังเกตดีๆ ก็จะเห็น ว่ า เรามั ก เข้ า ใจคอร์ รั ป ชั่ น กั น ในแง่ ข องศี ล ธรรมหรื อ ความดี ความชั่วเป็นหลัก สังเกตได้จากมีการรณรงค์ปลูกฝังคุณธรรม ไม่เอาการทุจริตกันอย่างครึกโครม แต่ความเข้าใจในแง่ที่เป็น วิทยาศาสตร์แบบที่ไม่ต้องอ้างอิงคุณธรรมนามธรรมทั้งหลายนั้น ดูเหมือนจะยังขาดอยู่ คนจ�ำนวนไม่นอ้ ยจึงถือกันอยูแ่ ค่วา่ คอร์รปั ชัน่ นัน้ ต้องแก้ ด้วยการปลูกฝังให้คน “เป็นคนดี มีจริยธรรม” จะว่าไป ความเข้าใจดังกล่าวไม่ผดิ ถูกเผงเสียเลยด้วยซ�ำ้ แต่การจะหวังพึง่ คนดีหรือศีลธรรมเพียงอย่างเดียวในการต่อสูก้ บั คอร์รัปชั่นนั้นค่อนข้างจะฝืนธรรมชาติ เพราะศีลธรรมเป็นของ หายาก ผิดกับความเห็นแก่ตัวซึ่งหาได้ง่าย หาได้มาก ซ�้ำยังมี แนวโน้มจะชนะศีลธรรมอยู่บ่อยๆ 10 หางกระดิกหมา


อย่างไรก็ตาม โชคดีทนี่ อกจากศีลธรรมแล้ว เราก็ยงั มีทาง ต่อต้านคอร์รัปชั่นได้อีกหลายทาง เพราะอย่างที่บอก นอกจาก แง่มุมทางศีลธรรมแล้ว อีกแง่หนึ่งคอร์รัปชั่นก็เป็นวิทยาศาสตร์ กล่าวคือเป็นของที่พิสูจน์ได้ และก็บริหารจัดการได้ ขอเพียงมี ความเข้าใจที่เพียงพอ บทความในคอลัมน์ “โกงกินสิ้นชาติ” ของ “หางกระดิก หมา” ก็เป็นความพยายามทีจ่ ะเข้าใจคอร์รปั ชัน่ เพือ่ บริหารจัดการ มันในอย่างที่ว่ามานี้เอง ทั้งนี้ บทความจ�ำนวน 52 ตอนที่ถูกน�ำมารวมเล่มใน ครั้งนี้นั้นอาจพอแบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้ หนึ่ง เป็นการปูพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของคอร์รัปชั่น โดยทั่วไป เช่น คอร์รัปชั่นคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร แสดงออก ในรูปแบบใด มีโทษอย่างไร ฯลฯ เพื่อให้เรามีความเข้าใจตรงกัน เกี่ยวกับสิ่งที่เราก�ำลังต่อต้านในเบื้องต้น สอง เป็นการหยิบยกเอาความเข้าใจจากเนือ้ หาส่วนแรก มาใช้อธิบายปรากฏการณ์คอร์รปั ชัน่ ต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในสังคม เช่น การจ�ำน�ำข้าว การน�ำเข้ารถหนีภาษี การโกงภาษีมูลค่าเพิ่ม การ ออกใบอนุญาต ร.ง. 4 โครงการกู้ 2 ล้านล้านบาท กรณีการทุจริต รถดับเพลิง ฯลฯ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าคอร์รัปชั่นที่ดูซับซ้อนซ่อน เงื่อนนั้น พอจับหลักได้แล้วก็จะปรากฏเป็นของที่เข้าใจได้ไม่ยาก สาม เป็นการบอกถึงสถาบัน กฎระเบียบ หรือมาตรการ ในการต่อต้านคอร์รัปชั่นที่ประสบความส�ำเร็จจากนานาประเทศ เพื่อให้เห็นว่าเมื่อคนเราเข้าใจธรรมชาติของคอร์รัปชั่นแล้ว ก็อาจ แต่งเติมปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้องเพือ่ สร้างภาวะทีค่ อร์รปั ชัน่ ท�ำได้ยากขึน้ และการสกัดคอร์รัปชั่นท�ำได้ง่ายขึ้นได้ เช่น มาตรการเปิดเผย ข้อมูลเกีย่ วกับการก่อสร้างของภาครัฐ มาตรการเพิม่ ความโปร่งใส บรรยง พงษ์พานิช - ธนกร จ๋วงพานิช 11


ทางงบประมาณ การลดอ�ำนาจดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ กฎหมาย คุ้มครองผู้เปิดเผยข้อมูล กฎหมายป้องกันการฟ้องหมิ่นประมาท โดยไม่สุจริต เป็นต้น ทั้งนี้ “หางกระดิกหมา” เป็นนามปากการ่วมระหว่าง บรรยง พงษ์พานิช และ ธนกร จ๋วงพานิช โดยมีบรรยงเป็นผู้วาง เค้าโครงสาระ และธนกรเป็นผูเ้ ขียน นามปากกานีถ้ กู ใช้ครัง้ แรกใน บทความ “สูก้ บั คอร์รปั ชัน่ : เรือ่ งเพ้อเจ้อทีต่ อ้ งเริม่ จริงจังเสียที” ซึง่ เขียนขึน้ ในวาระการก่อตัง้ ส�ำนักข่าว ThaiPublica ก่อนจะขยายผล มาเป็นคอลัมน์ประจ�ำวันจันทร์ในหนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ อย่าง ทุกวันนี้ โดยนามปากกา “หางกระดิกหมา” มาจากส�ำนวน “tail wagging the dog” ซึ่งมีนัยถึงความพยายามท�ำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือฝืนธรรมชาติ เช่นเดียวกับ “หาง” ที่ทะเยอทะยานอยากเป็น ผูน้ �ำกระดิก “หมา” ในเรือ่ งทีค่ นส่วนใหญ่เห็นว่าหมดทางแก้ อย่าง เช่นการสู้กับคอร์รัปชั่นนี้ แต่กระนั้น ท้ายที่สุดคงต้องบอกว่าการสู้กับคอร์รัปชั่น ไม่ใช่งานง่าย ยังมีเรือ่ งต้องท�ำอีกหลายเรือ่ ง ต้องอาศัยคนจ�ำนวน มากจากหลายภาคส่วนมาร่วมกันท�ำ และจะต้องท�ำไปอีกเป็นระยะ ยาว แต่น่าเชื่อว่าหากเรามีทั้งความรู้ มีทั้งความพยายาม ของที่ เริ่มไว้แล้ว อย่างไรมันก็จะต้องลุล่วงเข้าวันหนึ่ง คอร์รปั ชัน่ ทีไ่ หนๆ ในโลกเขาก็หายกันได้ดว้ ยเหตุเพียงนี้

12 หางกระดิกหมา



มายาคติแห่งคอร์รัปชั่น

ทุกวันนี้วิกฤตการณ์คอร์รัปชั่นในเมืองไทยกำ�ลังอยู่ในภาวะที่น่า เป็นห่วงที่สุด ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะองค์กรความโปร่งใสสากล (Transparency International) จั ด ให้ ป ระเทศไทยมี ดั ช นี ภ าพลั ก ษณ์ คอร์ รั ป ชั่ น (Corruption Perception Index) อยู ่ ใ นระดั บ รั้งท้ายพอๆ กับประเทศกรีซ เปรู หรือโคลัมเบีย แต่เป็นเพราะ ยิ่งนานวันก็ดูเหมือนคนไทยจะไม่เห็นคอร์รัปชั่นเป็น “ปัญหา” อีกต่อไป ซ�้ำร้ายยังออกจะเห็นว่าเป็นปกติอย่างหนึ่งของสังคม จนทุกวันนี้คอร์รัปชั่นไม่ได้เป็นเพียงการ “ฉ้อราษฎร์บังหลวง” อันเป็นพฤติกรรมที่จ�ำกัดอยู่ในวงราชการหรือเจ้าหน้าที่ของ รัฐเสียแล้ว หากแต่แผ่ซ่านเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต ของแทบทุกคนในสังคม เป็นแม่ค้าก็โกงตาชั่งลูกค้า เป็นเทศกิจ ก็เรียกสินบนจากแผงลอย หรือเป็น CEO ก็โกงผู้ถือหุ้น ในขณะที่ ถ้าเป็นรัฐมนตรีกม็ ารีดทรัพย์เอาจาก CEO อีกต่อหนึง่ จนคนไทย ยอมรับไปเองว่าชีวิตต้องมีคอร์รัปชั่น ในลักษณะเดียวกันกับที่ ยอมรับว่ามีรถก็ต้องใช้น�้ำมัน 14 หางกระดิกหมา


ทัศนคติอย่างที่ว่ามานี้ ส่วนหนึ่งเกิดมีขึ้นได้ก็เพราะใน เมืองไทยยังไม่เคยมีการพูดถึงคอร์รปั ชัน่ กันอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ มีแต่บอกว่าคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องผิดศีลธรรม ความรู้ความเข้าใจ ของคนในเรื่องนี้ก็เลยไปหยุดอยู่แค่ว่าคอร์รัปชั่นไม่ดี แต่ไม่ดี อย่างไรก็ไม่รู้ พอไม่รู้แล้วก็ย่อมเป็นธรรมดาที่คนจะไม่เห็นโทษ ของคอร์รัปชั่น และนานๆ ไปก็เลยยอมรับคอร์รัปชั่นได้สนิทใจ อย่างทุกวันนี้ เอาเข้าจริง แม้วา่ ในปัจจุบนั จะเริม่ มีระลอกการตืน่ ตัวจะสู้ กับคอร์รปั ชัน่ แต่กเ็ ห็นได้ชดั ว่าเรายังไม่คอ่ ย “กระจ่าง” เท่าใดนักว่า เราจะสู้กับคอร์รัปชั่นด้วยกลยุทธ์อะไร เพื่อเป้าหมายใด หรือว่า จริงๆ แล้วคอร์รัปชั่นคืออะไร การท�ำสงครามต่อสู้กับคอร์รัปชั่น ในบ้านเราก็เลยอยูใ่ นสภาพงกๆ เงิน่ ๆ ได้แต่ยกทัพแห่กนั ออกมา จากก�ำแพงเมืองอย่างเอิกเกริก แต่แล้วก็วงิ่ กันไปคนละทิศละทาง เป็นที่น่าเหน็ดเหนื่อยใจ ท่ามกลางภาวะจับต้นชนปลายไม่ถูกนี้ สังเกตได้ว่า คนไทยมีชุดความเชื่ออยู่ 5 ประการที่สะท้อนความเข้าใจครึ่งๆ กลางๆ เกี่ยวกับคอร์รัปชั่นจนพอจะเรียกได้ว่าเป็น “มายาคติ” มายาคติที่ว่า มีดังต่อไปนี้ หนึ่ง “เป็นไปไม่ได้ที่คอร์รัปชั่นจะสร้างความเจริญ” หากทุกคนจ�ำกันได้ เคยมีส�ำนักโพลแห่งหนึง่ ตัง้ ค�ำถามว่า “ถ้ามีการทุจริต แต่ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีกินดี และตัวท่านเองก็ได้ประโยชน์ ท่านยอมรับการทุจริตได้หรือไม่” และผลปรากฏว่าประชาชนกว่าร้อยละ 65 ยอมรับได้ โดยเฉพาะ กลุ่มเยาวชน อย่างไรก็ดี หลังจากผลโพลออกมาอย่างนั้น คณะ กรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ออกมาโต้แย้งว่าผลโพลนัน้ ไม่นา่ เชือ่ ถือ เพราะการตัง้ ค�ำถามของ บรรยง พงษ์พานิช - ธนกร จ๋วงพานิช 15


โพลมีลกั ษณะเอาความเท็จเข้าชีน้ �ำอยูใ่ นตัว อันจะท�ำให้ประชาชน เข้าใจผิดได้ว่าคอร์รัปชั่นท�ำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองได้ แต่ความเป็นจริงคือ ความเข้าใจที่ว่าคอร์รัปชั่นท�ำให้ ประเทศชาติเจริญรุง่ เรืองได้ไม่ใช่ความเท็จ ไม่ใช่ความเข้าใจทีผ่ ดิ เราควรจะต้องยอมรับว่าจริงๆ แล้วมีคอร์รัปชั่นชนิดที่สร้างความ เจริญหรือประโยชน์ได้ เพียงแต่ตอ้ งท�ำความเข้าใจต่อว่า ประโยชน์ ที่ว่านั้นไม่ใช่ประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ หรือหากปรากฏว่าเป็น ประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ก็มักอยู่ในรูปของประโยชน์ระยะสั้นที่ ไม่ยั่งยืนและจะน�ำมาซึ่งความเสียหายในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น การที่นักการเมืองบางคนใช้อิทธิพลเบียดเบียนงบประมาณจาก ส่วนกลาง ซึง่ มีไว้ส�ำหรับพัฒนาประเทศทัง้ ประเทศ มาพัฒนาถนน ในจังหวัดอันเป็นฐานเสียงของตนเองเพียงจังหวัดเดียว เป็นต้น สอง “นักธุรกิจไทยจ่ายค่าคอร์รัปชั่นเพราะไร้คุณธรรม” สืบเนื่องมาจากผลส�ำรวจที่ว่า “นักธุรกิจกว่าร้อยละ 70 ยอมรับว่าตนจ่ายค่าคอร์รปั ชัน่ บ้างไม่มากก็นอ้ ย และในจ�ำนวนนัน้ ร้ อ ยละ 80 คิ ด ว่ า เป็ น เรื่ อ งจ�ำเป็ น และก็ ไ ด้ ผ ลคุ ้ ม ค่ า ” ท�ำให้ คนไทยหลายคนสรุปแบบเหมารวมเอาง่ายๆ ว่า เพราะนักธุรกิจ ชัว่ ถึงได้ยอมจ่ายค่าคอร์รปั ชัน่ ทัง้ ทีห่ ากพิจารณาให้ดแี ล้ว ไม่ใช่วา่ นักธุรกิจทุกคนจะจ่ายค่าคอร์รัปชั่นเพราะความฉ้อฉลชั่วร้าย เสี ย ทั้ ง หมด ยั ง มี นั ก ธุ ร กิ จ อี ก จ�ำนวนมากที่ แ ม้ เ จ้ า ตั ว ไม่ ต้องการสนับสนุนคอร์รัปชั่น แต่ในเมื่อกฎหมายและระเบียบ พิ ธี ต ่ า งๆ ของประเทศมั ก ก�ำหนดให้ นั ก ธุ ร กิ จ จ�ำเป็ น ต้ อ งได้ รั บ การอนุ ญ าต อนุ มั ติ หรื อ การด�ำเนิ น การร้ อ ยแปดจากฝั ่ ง เจ้าหน้าที่ซึ่งโดยมากก็เรียกหา “ค่าน�้ำร้อนน�้ำชา” ทั้งสิ้น นักธุรกิจ เหล่านี้จึงเท่ากับตกอยู่ในฐานะเหยื่อของการถูกขู่กรรโชกให้ คอร์รัปชั่น หรือการเรียกค่าไถ่โดยใช้ความอยู่รอดของธุรกิจเป็น 16 หางกระดิกหมา


ตัวประกันอย่างไม่มีทางเลือก มิใช่การกระท�ำโดยสมัครใจแต่ อย่างใด สาม “ข้าราชการเงินเดือนไม่พอประทังชีพ ดังนั้นจึงต้อง คอร์รัปชั่น” ข้อเท็จจริงที่ว่า รายได้ของข้าราชการไม่ว่าจะข้าราชการ ประจ�ำหรือข้าราชการการเมืองนั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับอาชีพ อื่นๆ ในสังคม ท�ำให้ดูผิวเผินเหมือนกับว่ามายาคติข้อนี้เป็น ความจริง อย่างไรก็ตาม ในเมื่อข้อมูลตัวเลขแสดงให้เห็นว่ามีการ ปรับเงินเดือนข้าราชการประจ�ำในอัตราที่ค่อนข้างดีมาโดยตลอด ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา (อีกทั้งข้าราชการการเมืองก็หาเรื่องขึ้น เงินเดือนตัวเองอยูบ่ อ่ ยๆ) แต่กลับไม่ปรากฏว่าอัตราคอร์รปั ชัน่ ใน หมู่ข้าราชการจะยอมแพ้ต่ออัตราเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นนี้แต่อย่างใด มิ ห น�ำซ�้ ำ บางที ยั ง มี ข ่ า วเรื่ อ งข้ า ราชการบางท่ า นคอร์ รั ป ชั่ น “ประทั ง ชี พ ” จนเงิ น ทะลั ก ตู ้ เ สื้ อ ผ้ า ให้ ไ ด้ ยิ น ได้ ฟ ั ง กั น อีก จึงท�ำให้ควรเชื่อว่า การเพิ่มรายได้ให้แก่ข้าราชการและ นั ก การเมื อ งไม่ ใ ช่ วิ ธี ที่ จ ะหยุ ด ยั้ ง พฤติ ก รรมคอร์ รั ป ชั่ น ลงได้ เนื่องจากเอาเข้าจริงแล้วข้าราชการที่คอร์รัปชั่นนั้นไม่ได้ท�ำไป เพราะเงินเดือนหลวงไม่พอซื้อข้าว แต่เป็นเพราะเงินเดือนหลวง นั้นใช้ซื้อคอนโดหรือซื้อรถแพงๆ ไม่ได้อย่างที่รู้ๆ กันต่างหาก สี่ “ปั ญ หาไม่ ไ ด้ อ ยู ่ ที่ มี ก ารคอร์ รั ป ชั่ น แต่ อ ยู ่ ที่ มี ก าร คอร์รัปชั่นมากเกินควร” เนื่ อ งจากกระทั่ ง ประเทศที่ ดี ที่ สุด ในโลกก็ยังไม่ได้รับ คะแนนเต็ม 10 จากดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น คนบางส่วนจึง เกิดความรูส้ กึ ว่าคอร์รปั ชัน่ เป็นเรือ่ งธรรมชาติของมนุษย์ทวั่ ทุกมุม โลก และปัญหาของเมืองไทยก็เป็นแต่เพียงว่าระดับของคอร์รปั ชัน่ เพิ่มขึ้นจนมากเกินควรเท่านั้น ดังนั้นคนเหล่านี้จึงเห็นว่าการจะ บรรยง พงษ์พานิช - ธนกร จ๋วงพานิช 17


แก้ปัญหาคอร์รัปชั่นไม่ใช่เรื่องของการก�ำจัดกวาดล้าง แต่เป็น เพียงการควบคุมให้อยู่ในขนาดที่ “ก�ำลังดี” เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงชี้ให้เห็นว่า การที่ประเทศใดมีระดับคอร์รัปชั่นต�่ำมิใช่ เกิดขึ้นเพราะประเทศเหล่านั้นสามารถคุมให้การคอร์รัปชั่นอยู่ใน ระดับพอหอมปากหอมคอได้ แต่เป็นเพราะประเทศเหล่านัน้ ไม่ยอม รับคอร์รปั ชัน่ ทุกรูปแบบ ท�ำให้สดุ ท้ายแม้จะไม่เกิดความผลส�ำเร็จ 100% ทว่าผลลัพธ์ทไี่ ด้กด็ พี อจะระงับคอร์รปั ชัน่ ในประเทศให้อยูใ่ น ระดับต�่ำที่สุดเท่าที่จะพึงเป็นไปได้ต่างหาก ห้า “คอร์รัปชั่นหยั่งรากลึกจนป่วยการที่จะต่อต้าน” มายาคติ ข ้ อ นี้ ม าจากความเชื่ อ ว่ า คอร์ รั ป ชั่ น เป็ น วัฒนธรรมอันหยั่งรากลึกในสังคมไทยทุกระดับตั้งแต่โบราณกาล มา ไม่มีทางที่จะขุดถอนได้ส�ำเร็จ การต่อสู้กับคอร์รัปชั่นจึงรัง แต่จะเป็นการฝืนครรลองและปั่นป่วนระบบ ไม่สู้การเรียนรู้ที่ จะอยู่ร่วมหรือหาประโยชน์จากมันให้ได้จะดีกว่า แต่มายาคติ ข้อนี้ไม่จ�ำเป็นต้องได้รับการอธิบายแก้ไขอะไร เพราะไม่ใช่เรื่อง ของความเข้าใจผิดถูก เป็นเพียงแต่เรื่องของมิจฉาทิฐิที่มาจาก นิสัยเห็นแก่ได้ มักง่าย และเข้าข้างตนเองของคนบางส่วนเท่านั้น เอง ถ้าเลิกเสียได้ก็จะหลุดพ้นจากมายาคติข้อนี้เอง อย่างไรก็ตาม มายาคติทั้งหมดดังได้กล่าวมาข้างต้น ถือเป็นอุปสรรคด่านแรกของการต่อสู้กับคอร์รัปชั่นเท่านั้น ดังนั้น จึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่เราทั้งหลายจะต้องมองมายาคติเหล่านี้ให้ ออกโดยเร็วไว เพื่อที่ว่าสังคมจะได้เกิดฉันทามติอันจะน�ำไปสู่การ ผนึกก�ำลังทุกภาคส่วนในการจัดสรรทรัพยากร ก�ำหนดกลยุทธ์ ตลอดจนวางกระบวนทัพเพือ่ เข้าสูก่ ารโรมรันสงครามกับคอร์รปั ชัน่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 18 หางกระดิกหมา


และท�ำให้การต่อสูก้ บั คอร์รปั ชัน่ เป็น “วาระแห่งชาติ” ของ คนในประเทศร่วมกันได้อย่างแท้จริง 4 และ 11 กุมภาพันธ์ 2556

บรรยง พงษ์พานิช - ธนกร จ๋วงพานิช 19


คอร์รัปชั่น 3 ประเภท

หลังจากได้กล่าวถึงมายาคติหรือความเข้าใจอันคลาดเคลื่อน เกี่ยวกับคอร์รัปชั่นไปในตอนที่แล้ว ล�ำดับต่อไปก็อยากจะให้ พิจารณาถึงประเภทของคอร์รัปชั่นกันบ้าง เพราะค�ำว่า “คอร์รัปชั่น” ในเมืองไทยนั้นมีความหมาย กว้างไกล กรรมการยักยอกบริษัทเงินก็คอร์รัปชั่น เจ้าพนักงาน ท้องถิ่นเรียกค่าออกใบอนุญาตก่อสร้างก็คอร์รัปชั่น ต�ำรวจเรียก สินบนเพื่อไม่ต้องให้ไม่ตรวจจับแอลกอฮอล์ก็คอร์รัปชั่น ขึ้นชื่อ ว่าพฤติกรรมที่ทุจริตแล้ว ดูเหมือนคนไทยก็จะเรียกคอร์รัปชั่น หมด ในขณะที่ค�ำจ�ำกัดความที่เป็นสากลเองก็ระบุไว้แต่กว้างๆ ว่า คอร์รัปชั่นคือ “กระบวนการบิดเบือนอ�ำนาจโดยมิชอบ เพื่อ แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้” เท่านั้น อย่างไรก็ตาม การเรียกคอร์รปั ชัน่ อย่างรวมๆ กันไปเช่นนี้ ไม่เอือ้ ต่อการปราบปรามคอร์รปั ชัน่ เพราะคอร์รปั ชัน่ นัน้ ความจริง ยังแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้อีก ซึ่งแต่ละประเภทก็มีที่มาที่ไป ต่างกัน มีคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องต่างกลุ่มกัน จนชั้นที่สุด การจะ ปราบปรามก็อาจต้องใช้วธิ ที ตี่ า่ งกันไปเลยทัง้ สิน้ ในความเห็นของ ผม คอร์รัปชั่นนั้นพอจะแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 20 หางกระดิกหมา


หนึ่ง “คอร์รัปชั่นในภาคเอกชน” หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เอกชนโกงกันเอง เช่น การฉ้อฉลคดโกงระหว่างคู่ค้าคู่สัญญา พนักงานหรือผู้บริหารโกงบริษัท หรือที่ผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ ฉ้อฉลเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่น คอร์รัปชั่นประเภทแรกนี้ แม้จะเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย แต่ยังไม่สู้น่ากลัวมากนัก ด้วยเหตุที่ว่าเวลาเอกชนโกงเอกชนนั้น ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง กล่าวคือ ฝ่ายที่ถูกโกงย่อมเป็นเดือด เป็นร้อน และคอยเอาธุระสอดส่องดูแลรักษาผลประโยชน์ของ ตัวเอง คนจะโกงจึงท�ำไม่ได้โดยง่าย นอกจากนั้น กระบวนการ ทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญาก็เป็นเครื่องมือช่วยระงับ ควบคุมการโกงในภาคเอกชนนี้ได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ยังมีคอร์รัปชั่นในภาคเอกชนบางประเภท ซึ่งฝ่ายที่ถูกโกงนั้นเป็นประชาชนโดยทั่วไป จึงก่อให้เกิดความ เสียหายในวงกว้างยิ่งกว่าปกติ กล่าวคือการหลอกลวงผู้บริโภค (เช่น การจ�ำหน่ายสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน แชร์ลูกโซ่ การหลอกรับสมัครงาน เป็นต้น) ประการหนึ่ง และการหลอกลวง นักลงทุน (เช่น การที่ผู้ถือหุ้นใหญ่หรือผู้บริหารบริษัทมหาชน หลอกลวงเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่นด้วยการใช้ข้อมูลภายใน) อีกประการหนึง่ ซึง่ การหลอกลวงผูบ้ ริโภคและนักลงทุนอย่างทีว่ า่ มานี้ยังจ�ำเป็นต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงกฎระเบียบ ตลอดจน การบังคับใช้เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาอีกมาก สอง “คอร์รปั ชัน่ ในภาครัฐ” หรือจะเรียกว่าการ “บังหลวง” ก็ได้ การทุจริตในประเภทนี้จะเป็นการเบียดบังทรัพย์สินของรัฐ โดยตรง โดยผู้กระท�ำคือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งรู้และช�ำนาญกฎ ระเบียบมากพอที่จะเห็นช่องทางให้ตนเอาเงินหรือผลประโยชน์ อื่นๆ ที่เป็นของหลวงมาเป็นของตน เช่น การใช้ใบเสร็จเท็จ บรรยง พงษ์พานิช - ธนกร จ๋วงพานิช 21


เบิกเงินจากหลวง การออกใบรับรองสิทธิหรือโฉนดทีด่ นิ สาธารณะ ให้แก่ตนเองและพรรคพวกอย่างไม่ถูกต้อง ไปจนถึงการฉ้อฉล งบประมาณแผ่นดินเลยทีเดียว คอร์รัปชั่นประเภทนี้ก็นับว่าร้าย แต่ดีที่กฎระเบียบและพัฒนาการของกระบวนการทางสังคมยัง พอติดตามตรวจสอบและระงับยับยั้งกิจกรรมประเภทนี้ได้ดีขึ้น ตามสมควร อย่างไรก็ตาม คอร์รปั ชัน่ ประเภททีร่ ะบาดกว้างขวางและ สร้างความเสียหายให้แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคมมากที่สุดใน ปัจจุบนั และเป็นประเภททีค่ วรได้รบั ความสนใจอย่างเร่งด่วนก็คอื สาม “คอร์รัปชั่นซึ่งภาคเอกชนท�ำกับภาครัฐ” ทั้งนี้เป็นเพราะความเสียหายที่เกิดจากคอร์รัปชั่น 2 ประเภทแรกนั้น จะอย่างไรเสียก็มักเป็นความเสียหายเฉพาะ กรณีเป็นครั้งคราว จะโกงกันทีละกี่ร้อยล้านก็แล้วไป ในขณะที่ ความเสียหายจากคอร์รัปชั่นประเภทสุดท้าย นอกจากจะเกิด เฉพาะกรณีแล้ว ยังมีลกั ษณะเป็นความเสียหายเชิงโครงสร้างทีส่ ง่ ผลกระทบถึงความมีประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่ ง ในระยะยาวจะสร้ า งความเสี ย หายให้ กั บ ประเทศมากกว่ า ตัวเงินที่ถูกโกงมากนัก การทุจริตประเภทนี้ ในทุกกรณีจะต้องเกิดขึ้นจากความ ร่วมมือสองฝ่าย คือฝ่ายเอกชนผู้จ่ายสินบน เพื่อ “ซื้อ” ประโยชน์ จากเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายหนึ่ง และฝ่ายผู้รับซึ่งก็คือเจ้าหน้าที่ฝ่าย รัฐผู้อยู่ในฐานะที่จะ “ขาย” หรือเอื้อประโยชน์เช่นนั้นได้อีกฝ่าย หนึ่ง อย่างไรก็ตาม แม้ในคอร์รัปชั่นประเภทสุดท้ายนี้ยังมีความ แตกต่างในรายละเอียด และต้องมีการจ�ำแนกย่อยลงไปอีกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

22 หางกระดิกหมา


หนึ่ง คอร์รัปชั่นซึ่งภาคเอกชนท�ำกับภาครัฐเพื่อ “ซื้อหา ความไม่ผิด” กล่ า วคื อ การจ่ า ยสิ น บนเพื่ อ บิ ด เบื อ นกระบวนการ ยุตธิ รรม ผูท้ ซี่ อื้ หาในกรณีนสี้ ว่ นใหญ่เป็นผูก้ ระท�ำผิดกฎหมายซึง่ ใช้สนิ บนเป็นช่องทางในการพาตนให้พน้ ผิด หรืออย่างน้อยก็ได้รบั ผลในทางกฎหมายทีเ่ ป็นประโยชน์แก่ตนโดยมิชอบ โดยการซือ้ หา นีอ้ าจท�ำได้ตลอดกระบวนการยุตธิ รรม ตัง้ แต่ซอื้ กับต�ำรวจ อัยการ เรื่อยไปจนกระทั่งถึงศาล นอกจากนั้นยังรวมถึงพวกที่ความจริง แล้วไม่ได้มีความผิดเลย แต่เมื่อมีเหตุให้ต้องเข้าสู่กระบวนการ ยุติธรรมแล้วก็ยอมจ่ายสินบนเพื่อให้พ้นจากกระบวนการ ซึ่งเป็น ที่มาของค�ำพูดว่า “กินขี้ดีกว่าเป็นความ” เพราะรู้กันอยู่ว่าเต็มไป ด้วยความยุ่งยากซับซ้อน สิ้นเปลืองเวลา และอาจน�ำมาซึ่งความ เสียหายต่อกิจการและสวัสดิภาพส่วนตนของผู้ที่ต้องเข้าไปข้อง เกี่ยวได้ง่ายๆ สอง คอร์รัปชั่นซึ่งภาคเอกชนท�ำกับภาครัฐเพื่อ “ซื้อหา ความสะดวก” กล่าวคือ การที่เอกชนจ่ายสินบนเพื่อลดอุปสรรคอันเกิด จากระเบียบพิธีการและขั้นตอนของทางราชการ ทั้งนี้ด้วยเหตุที่ ภาคเอกชนหรือแม้กระทั่งชาวบ้านทั่วไปล้วนแต่มีความจ�ำเป็น ที่จะต้องได้รับการอนุญาตหรือการบริการจากทางภาครัฐทั้งสิ้น ไม่น้อยเรื่องก็หลายเรื่อง เช่น งานขอใบอนุญาตก่อสร้าง งาน ระเบียบพิธีการศุลกากร งานสรรพากร งานที่ดิน งานจดทะเบียน งานแปลงสัญชาติคนต่างด้าว ฯลฯ ในขณะที่ทางราชการกลับมี ระเบียบพิธีการและขั้นตอนที่ยุ่งยากและกินเวลามาก เจ้าหน้าที่ก็ ไม่คอ่ ยจะเป็นใจอ�ำนวยความสะดวก หลายครัง้ เอกชนทีไ่ ม่ตอ้ งการ จะเสียการท�ำมาหากินด้วยความยุ่งยากเหล่านี้ จึงต้องตัดปัญหา บรรยง พงษ์พานิช - ธนกร จ๋วงพานิช 23


ด้วยการติดสินบนหรือจ่ายค่าน�้ำร้อนน�้ำชาแก่เจ้าหน้าที่เพื่อให้ ขวนขวายด�ำเนินการให้กับตนโดยไม่ชักช้า จนกลายเป็นว่า ถ้า ต้องการจะเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องการติดต่อกับทางราชการ ก็ จะต้องท�ำโดยคอร์รัปชั่นอย่างเดียวเท่านั้น การที่เอกชนต้องจ่ายค่าน�้ำร้อนน�้ำชาอย่างนี้ แม้จะดู เป็นการสมประโยชน์ทั้งแก่รัฐและเอกชน แต่ส�ำหรับประเทศแล้ว ถือเป็นเรื่องสิ้นเปลืองและบ่อนท�ำลายอย่างยิ่ง เพราะการจ่าย ค่าน�้ำร้อนน�้ำชานั้นถือเป็นต้นทุนอย่างสูงของภาคธุรกิจ แต่กลับ เป็นต้นทุนที่ไม่ได้ไปเพิ่มมูลค่าในทางเศรษฐกิจอย่างใดเลย มีแต่ ไปเลี้ยงข้าราชการโกงๆ เท่านั้น และโดยเหตุที่หากคอร์รัปชั่นยัง งอกงาม ต้นทุนนีก้ ม็ แี ต่จะเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ ท�ำให้ทา้ ยทีส่ ดุ เงินทีต่ อ้ ง ไปเลีย้ งข้าราชการก็อาจมากกว่าเงินทีใ่ ช้เลีย้ งกิจการ จนธุรกิจต้อง ล่มจมหรืออย่างน้อยๆ ก็เลี้ยงไม่โต หรือถ้าหากเลี้ยงโตก็แปลว่า ต้นทุนที่ว่าต้องถูกผลักมาให้เป็นกรรมของผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง สาม คอร์รัปชั่นซึ่งภาคเอกชนท�ำกับภาครัฐเพื่อ “ซื้อหา ความได้เปรียบในการแข่งขัน” กล่ า วคื อ การที่ ภ าคเอกชนจ่ า ยเงิ น มิ ช อบเพื่ อ ให้ ต น ได้เปรียบเหนือคูแ่ ข่งทางธุรกิจโดยไม่ตอ้ งมีการเพิม่ ประสิทธิภาพ ในกิจการของตัวเอง เช่น การจ่ายเงินเพือ่ ล็อกสเปคในกระบวนการ จัดซือ้ จัดจ้างภาครัฐและรัฐวิสาหกิจให้ซอื้ ของของตนแทนทีจ่ ะซือ้ จากคูแ่ ข่ง หรือการจ่ายเงินเพือ่ ให้ได้มาซึง่ สัมปทานส�ำหรับกิจการ ผูกขาดบางประเภท เป็นต้น ในบรรดาที่กล่าวมา คอร์รัปชั่นในกรณีนี้ถือว่าชั่วร้าย ทีส่ ดุ เพราะเป็นการทีเ่ อกชนจ่ายเงินมิชอบมิใช่เพียงเพือ่ ตัดความ ยุง่ ยากในการท�ำธุรกิจ แต่เพือ่ “ล้มมวย” ให้ตนชนะคูต่ อ่ สูโ้ ดยไม่ใช้ ฝีมอื เลยทีเดียว นับเป็นการท�ำลายการแข่งขันของตลาดเสรีทปี่ กติ 24 หางกระดิกหมา


ย่อมจะให้รางวัลแก่ผผู้ ลิตทีม่ ปี ระสิทธิภาพ และก�ำจัดผูผ้ ลิตทีด่ อ้ ย ประสิทธิภาพ และตรงกันข้าม กลับท�ำให้ผผู้ ลิตทีด่ อ้ ยประสิทธิภาพ สามารถรุ่งเรืองได้โดยไม่ต้องมีการพัฒนา เพราะสามารถใช้ คอร์รัปชั่นก�ำจัดคู่แข่งได้อยู่แล้ว เมื่อเป็นอย่างนี้ ไม่ช้าบริษัท ห้ า งร้ า นทั้ ง หลายก็ จ ะพากั น เลิ ก วิ จั ย และพั ฒ นาเพื่ อ เพิ่ ม ประสิทธิภาพในการผลิต ซึ่งย่อมท�ำให้การเพิ่มศักยภาพและ ขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจเป็นไปไม่ได้ ที่สุดแล้ว พัฒนาการเศรษฐกิจของประเทศก็จะต้องหยุดชะงัก แน่นอน เมื่อปราศจากพัฒนาการทางเศรษฐกิจเสียแล้ว ความเจริญในด้านไหนๆ ของประเทศก็ดูจะหวังได้ยากทั้งนั้น 18 และ 25 กุมภาพันธ์ 2556

บรรยง พงษ์พานิช - ธนกร จ๋วงพานิช 25


เคล็ดลับ ... คอร์รัปชั่น

หนึ่งในความยากล�ำบากในการปราบปรามคอร์รัปชั่นคือ นานวัน ไปคอร์ รั ป ชั่ น ก็ ยิ่ ง มี พั ฒ นาการจนลึ ก ซึ้ ง แนบเนี ย น และมี ประสิทธิภาพยิง่ ขึน้ จากเดิมทีเ่ ป็นแค่การแอบรับเงินใต้โต๊ะก็กลาย มาเป็นถึงขั้นการโกงในระดับการวางงบประมาณ ซึ่งยากแก่การ ตรวจสอบ เรียกได้ว่าคอร์รัปชั่นเป็นหลักพันหลักหมื่นล้านนั้น ถ้า ท�ำกันอย่างเป็นๆ แล้ว บางทีคนยังดูกันไม่ออก นึกว่าเป็นเรื่อง ปกติทางการงบประมาณก็มี ดังนั้นจึงมีความจ�ำเป็นที่จะต้องท�ำความเข้าใจกันถึง “กลยุทธ์” ของคอร์รัปชั่น กล่าวคือองค์ประกอบที่ท�ำให้คอร์รัปชั่น ในสมัยใหม่นี้มีประสิทธิภาพและยากแก่การตรวจจับ เพื่อที่เราจะ ได้รทู้ นั กลยุทธ์เหล่านีแ้ ละสามารถสังเกตความไม่ชอบมาพากลอัน เกิดจากคอร์รัปชั่นได้มากขึ้น กลยุทธ์ของคอร์รัปชั่นมีดังต่อไปนี้ หนึ่ง คอร์รัปชั่นจะต้องมีผลเป็นการ “ได้กระจุก-เสีย กระจาย” สังเกตได้วา่ คอร์รปั ชัน่ ทีป่ ระสบความส�ำเร็จนัน้ มีลกั ษณะ ร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือ เป็นการท�ำให้คนส่วนน้อยซึ่งกระจุกอยู่ เพียงคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์ (เช่น ตัว นักการเมืองทีค่ อร์รปั ชัน่ หรือข้าราชการทีน่ กั การเมืองทีค่ อร์รปั ชัน่ นั้นเอาเงินไปแจก) ในขณะที่คนเสียประโยชน์นั้นมักกระจายอยู่ ทั่วไป ไม่กระจุกอยู่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 26 หางกระดิกหมา


ทั้งนี้เพราะลักษณะอย่างนี้เอื้อต่อการอ�ำพรางคอร์รัปชั่น เนื่องจากต้นทุนความเสียหายอันเกิดขึ้นจากคอร์รัปชั่นจะถูก แบกรับโดยผู้เสียประโยชน์ซึ่งกระจัดกระจายอยู่นั้นอย่างเฉลี่ยๆ กันไป ความเสียหายที่มหาศาลก็เลยเจือจางจนดูเหมือนเล็กน้อย ตรงกันข้าม ฝ่ายที่ได้ประโยชน์จากคอร์รัปชั่นซึ่งแบ่งกันอยู่ไม่กี่ คนจึงต่างได้ผลประโยชน์เป็นกอบเป็นก�ำ ชวนให้อยากคอร์รปั ชัน่ อีกเรื่อยๆ ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดเลยก็คือ การทุจริตจากงบประมาณ ลงทุนหรือจัดซื้อจากส่วนกลางของประเทศ ต้นทุนความเสียหาย จากการนีจ้ ะกระจายสูป่ ระชาชนทุกคนในรูปของภาษี จนเฉลีย่ แล้ว แต่ละคนจะเสียหายเพียงคนละไม่กี่บาท เช่น การทุจริต 6,500 ล้านบาทนั้น พอหารแล้วทุกคนจะเสียหายเพียงคนละ 100 บาท ซึง่ ลักษณะอย่างนีจ้ ะท�ำให้คนทัว่ ไปไม่รเู้ นือ้ รูต้ วั เวลาถูกคอร์รปั ชัน่ เพราะความเสียหายเฉพาะตัวมีจ�ำนวนน้อย ดังนั้นจึงย่อมไม่มี การต่อต้าน คอร์รปั ชัน่ โกงเงินงบประมาณก็เลยท�ำได้ทลี ะเป็นพัน เป็นหมื่นล้านโดยไม่มีอุปสรรคอะไร ในทางตรงกันข้าม คอร์รัปชั่นที่ไม่ท�ำให้เข้าลักษณะ อย่างนี้ เช่นท�ำในลักษณะของ “ได้กระจุก-เสียกระจุก” นั้น ต่อให้ คอร์รัปชั่นในจ�ำนวนที่น้อยกว่า ก็รับรองว่าจะมีคนร้องเรียนหรือ ต่อต้านจนเรื่องไม่เงียบได้ง่ายๆ เช่น การทุจริตแล้วสร้างเหมือง หรือสร้างโรงงานในชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้เพราะความเสียหายอัน เกิดจากคอร์รัปชั่นในกรณีเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการต้องสูญเสียที่ ท�ำกิน การต้องเผชิญกับปัญหามลภาวะ การต้องเปลี่ยนแปลงวิถี ชีวิต ฯลฯ จะเกิดขึ้นกับคนเพียงกลุ่มเดียว กล่าวคือคนในชุมชน ดังนัน้ คนในชุมชนจะรูส้ กึ ได้เป็นอย่างดีถงึ ความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ และจะออกมาต่อต้าน ท�ำให้หลายครั้งคอร์รัปชั่นลักษณะนี้ไม่ ประสบความส�ำเร็จ บรรยง พงษ์พานิช - ธนกร จ๋วงพานิช 27


หรืออีกทีก็คือการทุจริตโดยใช้วิธีขึ้นราคาค่าบริการของ โครงการสาธารณูปโภคต่างๆ เพราะพอขึ้นราคาแล้ว คนทั่วไป อาจไม่รู้สึก แต่อย่างน้อยกลุ่มผู้ใช้บริการต้องรู้สึกแน่ เพราะ ความเสียหายมากระจุกอยู่เฉพาะกับตัวผู้ใช้บริการเอง ทว่า สถานการณ์จะเป็นตรงกันข้ามทีเดียวถ้าทุจริตแล้วไม่ขนึ้ ราคากับ ผู้ใช้บริการ แต่คงราคาไว้แล้วไปใช้เงินภาษีมาทดแทนส่วนต่าง แทน เนื่องจากกรณีนั้นจะไม่ใช่การ “เสียกระจุก” อีกต่อไป แต่ จะเป็นการ “เสียกระจาย” คือเสียกันทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะแค่ ผู้ใช้บริการ ซึ่งอย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าจะไม่มีใครรู้ตัว อนึ่ง ที่ว่า เสียกระจุกนี้ บางทีก็ไม่ต้องเป็นประชาชนตาด�ำๆ ก็ได้ เช่น กลุ่ม พ่อค้าสี่ห้าเจ้าผูกขาดการขายของให้รัฐวิสาหกิจอยู่ดีๆ อยู่มามี เจ้าหนึ่งแอบไปจ่ายใต้โต๊ะ แล้วได้กินรวบเป็นซัพพลายเออร์อยู่ เจ้าเดียว อย่างนี้พ่อค้าอีกสามสี่เจ้าที่เหลือก็เรียกว่า “เสียกระจุก” ได้เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ที่น่ากลัวก็คือ นักคอร์รัปชั่นเดี๋ยวนี้เขาไม่ ยอมโกงอะไรให้เสียกระจุกอีกแล้ว เพราะรู้ว่าท�ำยาก ท�ำแล้วมีแต่ จะถูกพวก “กระจุก” ทีเ่ สียประโยชน์มาร้องเรียนต่อต้าน ไม่สไู้ ปโกง ในระดับงบประมาณประเทศให้มันเสียกระจายแบบไม่ให้ใครรู้ตัว ดีกว่า ทุกวันนีก้ เ็ ห็นกันอยูแ่ ล้วว่าในปีหนึง่ ๆ ส�ำนักงาน ป.ป.ช. ได้ รับเรื่องร้องเรียนเพียงปีละ 3,000 เรื่อง ทั้งๆ ที่ทุกคนทราบดีว่ามี คอร์รัปชั่นทั่วประเทศมากกว่า 3,000 ครั้งในทุกๆ ชั่วโมง ทั้งใน และนอกเวลาราชการ เป็นการแสดงให้เห็นว่า คอร์รปั ชัน่ เกือบทัง้ ร้อยละ 100 นัน้ ไม่มกี ารร้องเรียนและไม่มกี ารสอบสวน ซึง่ นีก่ เ็ ป็น ไปได้ด้วยความเงียบเชียบของการโกงด้วยกลยุทธ์ “ได้กระจุกเสียกระจาย” นั่นเอง สอง คอร์รัปชั่นนั้นจะต้องมีผลเป็นการ “ได้วันนี้-เสีย วันหน้า” 28 หางกระดิกหมา


กลยุทธ์ข้อนี้เกิดจากหลักสามัญง่ายๆ ว่า การทุจริตที่ ไม่ส่งผลเสียในทันทีย่อมมีโอกาสถูกต่อต้านหรือถูกตรวจสอบ น้อยกว่า ซึ่งกิจกรรมที่เหมาะกับการทุจริตลักษณะนี้คือโครงการ ลงทุนในภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือเมกะโปรเจกต์ต่างๆ นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะโครงการเหล่านี้มีการตัดค่าเสื่อมราคาในระยะยาว ต้นทุนความเสียหายทัง้ หลายอันเกิดจากคอร์รปั ชัน่ ก็เลยสามารถ ถูกกระจายไปในอนาคต ซึ่งจะท�ำให้คนไม่เห็นเป็นความเสียหาย เฉพาะหน้า และท�ำให้ไม่ว่าต้นทุนความเสียหายจากคอร์รัปชั่นจะ สูงเพียงใด แต่เมือ่ มองจากตัวเลขทางการเงินแล้ว ต้นทุนดังกล่าว กลับดูจะไม่กระทบต่อความเป็นไปได้ของโครงการมากนัก ล�ำพัง การมองโครงการเหล่านี้ในทางตัวเลขแบบเผินๆ จึงยากจะรู้ได้ว่า เกิดคอร์รัปชั่นขึ้น ตัวอย่างเช่น สนามบินที่ควรสร้างด้วยเงิน 100,000 ล้านบาท ต่อให้คอร์รัปชั่นจนต้นทุนเพิ่มเป็น 120,000 ล้านบาท คนก็ไม่ผิดสังเกต เพราะต้นทุนดังกล่าวเมื่อน�ำมาตัด “ค่าเสื่อม ราคา” เป็นระยะยาวหลายสิบปีแล้ว ก็ย่อมไม่ปรากฏตัวเลขความ เสียหายตัวโตๆ ในทันที อีกทั้งความเป็นไปได้ในทางการเงินก็ยัง แทบไม่ถกู กระทบ เมือ่ ตรวจสอบดูแล้วจะเห็นได้เลยว่า การจัดซือ้ จัดจ้างในส่วนของถาวรวัตถุที่ราคาสูงเกินจริงหรือไม่จ�ำเป็นของ หน่วยงานต่างๆ จะมีลักษณะอย่างนี้เป็นจ�ำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้น โครงการเหล่านี้ยังสามารถกล่าวอ้างถึง ความคุม้ ค่าทางเศรษฐกิจและสังคม ซึง่ จะจริงเท็จอย่างไรก็ยากจะ พิสูจน์ในระยะสั้น หนักๆ เข้าก็ยังอาจจ้างผู้เชี่ยวชาญก�ำมะลอมา ช่วยยืนยันข้อมูลในการศึกษาความเป็นไปได้เพือ่ ผลักดันโครงการ ที่ความจริงแล้วไม่มีความคุ้มค่า ยกตัวอย่างเช่น โครงการขนส่ง สาธารณะโครงการหนึ่งซึ่งมีการไปหาผู้เชี่ยวชาญมาพยากรณ์ ว่าจะมีผู้ใช้บริการจากโครงการวันละหลายหมื่นคน แม้พอเปิด บรรยง พงษ์พานิช - ธนกร จ๋วงพานิช 29


ใช้บริการจริงกลับพบว่ามีผู้ใช้บริการไม่กี่พันคนต่อวัน แต่ถึง ตอนนั้นโครงการก็ได้ท�ำไปแล้ว การตรวจสอบย้อนหลังก็ไม่มี ผู้ที่ทุจริตก็เลยสบาย ทีร่ า้ ยทีส่ ดุ คือต้นทุนความเสียหายอันเกิดจากเหตุขา้ งต้น ไม่วา่ คนทัว่ ไปจะดูออกหรือไม่กต็ าม สุดท้ายมันก็ไม่ได้หายไปไหน แต่จะถูกผลักไปให้ผู้เสียภาษีในอนาคตในรูปของหนี้สาธารณะ หรือหากเมกะโปรเจกต์ดังกล่าวเป็นกิจการผูกขาดของรัฐหรือ รัฐวิสาหกิจ ผูท้ ตี่ อ้ งรับภาระก็คอื ผูใ้ ช้บริการกิจการนัน้ ๆ ในอนาคต นั่นเอง สาม คอร์รปั ชัน่ นัน้ ท�ำผ่านการ “สร้างตัวกลางคอร์รปั ชัน่ ” ด้ ว ยความที่ เ ดี๋ ย วนี้ มี ค วามพยายามป้ อ งกั น และ ปราบปรามคอร์รัปชั่นมากขึ้น ท�ำให้ผู้มีต�ำแหน่งทางการเมือง ระดับสูงๆ หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีชื่อเสียงต่างๆ เข้าเป็นฝ่ายรับ และจ่ายเงินด้วยตัวเองล�ำบากขึ้น เพราะมีกฎหมายคอยควบคุม ตัวละครเหล่านี้อยู่โดยตรง แวดวงคอร์รัปชั่นจึงได้พัฒนามาถึง ขั้นที่มีตัวแทน ตัวกลาง หรือผู้ประสานงาน [“นักวิ่งเต้น” หรือ “ล็อบบียิสต์” (lobbyist)] คอยด�ำเนินการทุจริตหรือ “หิ้วเงิน” แทน นักการเมืองเพื่อให้ผ่านช่องว่างต่างๆ ของกฎหมายได้ เพื่อแลก กับค่าต๋งเป็นการตอบแทน โดยตัวกลางเหล่านี้อาจเป็นเอเยนต์ ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด หรือแม้แต่ข้าราชการคนหนึ่งก็ได้ ความชั่วร้ายของตัวกลางคอร์รัปชั่นเหล่านี้ก็คือ พวกนี้มี ประสิทธิภาพในการด�ำเนินการอย่างมาก และสามารถท�ำหน้าที่ โดยไม่ผูกติดกับบุคคลหรือพรรคการเมือง ดังนั้น ไม่ว่าการเมือง จะเปลี่ยนขั้วอ�ำนาจอย่างไร ใครจะได้เป็นรัฐบาลจึงไม่ส�ำคัญ หากมีผู้ประสงค์จะคอร์รัปชั่นแล้ว ก็สามารถมาติดต่อตัวกลาง เหล่านี้เพื่อให้ช่วยด�ำเนินการได้ทั้งสิ้น ไม่ต้องเสียเวลารื้อถอน ตัวกลางเดิมแล้วตั้งตัวกลางใหม่ของพวกตนอย่างสมัยก่อน จึง 30 หางกระดิกหมา


เรียกได้ว่าคอร์รัปชั่นพัฒนาไปจนถึงขั้นที่เป็นระบบเป็นสถาบัน ที่ไปพ้นบุคคลเสียแล้ว คอร์รัปชั่นจึงสามารถด�ำเนินไปอย่างไม่มี สะดุด ไม่มเี สียเวลาผลัดแผ่นดินอะไรทัง้ สิน้ ซึง่ นับเป็นหายนะของ ประเทศอย่างที่สุด นอกจากนั้ น ความชั่ ว ร้ า ยอี ก ประการของตั ว กลาง คอร์รปั ชัน่ เหล่านีค้ อื ในทางเศรษฐศาสตร์ ตัวกลางคอร์รปั ชัน่ เหล่านี้ ถือเป็น “ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ” (Economic Rent) กล่าวคือเป็นสิ่ง ทีก่ นิ ค่าตอบแทนสูง ทัง้ ๆ ทีไ่ ม่ได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจขึน้ ตาม ค่าตอบแทนแต่อย่างใด นับเป็นสิ่งที่มีอยู่โดยไม่มีประโยชน์ เรียก ง่ายๆ ก็คอื เป็นกาฝากของระบบ แต่ปหี นึง่ ๆ กลับมีทรัพยากรของ ประเทศที่ต้องสูญไปกับการหล่อเลี้ยงกาฝากเหล่านี้เป็นจ�ำนวน มาก ตัวอย่างเช่น การจัดซื้อจัดจ้างด้านสารสนเทศซึ่งหน่วยงาน รัฐต้องท�ำปีละหลายๆ หมื่นล้านบาทนั้น ปรากฏว่าด้วยความที่ ทุกคนก็อยากจะคอร์รัปชั่นด้วยกันทั้งนั้น แทนที่รัฐจะซื้อขายกับ บริษัทเจ้าของเทคโนโลยีโดยตรง ก็เลยไปซื้อขายผ่านเอเยนต์ หรือตัวกลางคอร์รัปชั่น ซึ่งย่อมกินหัวคิวเป็นจ�ำนวนมากๆ ดังนั้น เป็นทีแ่ น่นอนว่า เงินงบประมาณทีจ่ ะต้องจ่ายออก ส่วนหนึง่ ก็ตอ้ ง มาสูญเสียไปเป็นค่าเช่าทางเศรษฐกิจให้กับตัวกลางคอร์รัปชั่น แทนที่จะได้น�ำไปท�ำประโยชน์อย่างอื่นให้กับประเทศ นับเป็น เรื่องที่น่าเจ็บใจ อย่างไรก็ตาม นั่นก็คือกลยุทธ์ 3 ประการที่บรรดานัก คอร์รัปชั่นชั้นครูเขาใช้กันอยู่เดี๋ยวนี้ ซึ่งแต่ละประการไม่เพียงแต่ มีประสิทธิภาพและยากจะถูกตรวจจับดังได้กล่าวมาแล้ว ทว่ายัง ส่งผลร้ายต่อประเทศในระดับทีล่ กึ ซึง้ ไปกว่าความเสียหายอันเป็น ตัวเงินทั้งสิ้น ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เราจะมาวิเคราะห์กันในตอนต่อไป 4 และ 11 มีนาคม 2556 บรรยง พงษ์พานิช - ธนกร จ๋วงพานิช 31


คอร์รัปชั่น มหันตโทษ

อย่ า งที่ เ คยบอกไปแล้ ว ในเมื อ งไทยนี้ เรามั ก พู ด กั น แค่ ว ่ า คอร์รปั ชัน่ เป็นเรือ่ งผิดศีลธรรม เป็นเรือ่ งไม่ดี แต่จะไม่ดอี ย่างไรนัน้ กลับไม่เคยมีใครแสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมเสียที จนไปๆ มาๆ ในความเข้าใจของคนไม่น้อย คอร์รัปชั่นแทบจะกลายเป็นเหมือน แค่ “บาป” ชนิดหนึง่ ซึง่ จะไปแสดงผลร้ายก็ตอ่ เมือ่ อยูป่ รโลกเท่านัน้ ถ้าผลร้ายของคอร์รัปชั่นมีอยู่เฉพาะในโลกหน้าอย่าง ที่ว่ามานี้ ก็ต้องนับว่าเราโชคดี น่าเสียดายที่ในความเป็นจริง ผลร้ายของคอร์รัปชั่นล้วนเป็นเรื่องที่เราจะต้องเห็น ต้องเจอ และ ต้องทนกันในโลกนี้ชาตินี้ทั้งสิ้น ดังอาจพอยกมาเป็นตัวอย่างได้ บางส่วนดังนี้ หนึ่ง “คอร์รัปชั่นท�ำลายประสิทธิภาพนโยบายการคลัง” ปกติแล้ว นโยบายการคลังย่อมท�ำหน้าที่โยกย้ายจัดสรร ทรัพยากรของประเทศให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะด้วยการ ดึงเอาทรัพยากรจากคนมีมาเจือจานคนยาก (เช่น การกระจาย รายได้) การดึงเอาทรัพยากรจากเรื่องที่จ�ำเป็นน้อยมาท�ำเรื่องที่ จ�ำเป็นมาก (เช่น การจัดท�ำบริการสาธารณะหรือสวัสดิการ) การดึง เอาทรัพยากรในอนาคตมาแก้ปญ ั หาปัจจุบนั (เช่น การหาเงินมาแก้ 32 หางกระดิกหมา


วิกฤตเศรษฐกิจหรือลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานผ่านทางการสร้าง หนี้สาธารณะ) ซึ่งล้วนแต่ช่วยให้ทรัพยากรของประเทศถูกน�ำไป ใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวมทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อใดที่มีคอร์รัปชั่น นอกจากทรัพยากร จ�ำนวนมากจะรัว่ ไหลไปสูค่ นชัว่ จ�ำนวนมากแล้ว ยังท�ำให้นโยบาย การคลังไม่เป็นไปตามหลักการข้างต้นอีกต่อไป หากแต่จะเป็นไป ตามผลประโยชน์ของผู้ที่คอร์รัปชั่น ผลก็คือนโยบายการคลังที่ กลับหัวกลับหาง เอาของคนจนมาโปะคนรวย เอาเรื่องจ�ำเป็น น้อยมาท�ำก่อนเรื่องจ�ำเป็นมาก ท�ำให้เกิดการบิดเบี้ยวของระบบ เศรษฐกิจ ซึ่งบางครั้งก็เป็นต้นเหตุให้เกิดวิกฤตร้ายแรงตามมา สอง “คอร์รปั ชัน่ บัน่ ทอนคุณภาพและเพิม่ ราคาของบริการ โครงสร้างพื้นฐาน” เนื่องด้วยทุกวันนี้ รัฐและรัฐวิสาหกิจเหมาเป็นเจ้าภาพ รั บ ผิ ด ชอบโครงการอั น เป็ น โครงสร้ า งพื้ น ฐานของเศรษฐกิ จ แทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้า การประปา การสื่อสาร การคมนาคม ฯลฯ (แม้กระทัง่ หลายโครงการทีอ่ ตุ ส่าห์แปรรูปเป็น บริษทั มหาชนไปแล้ว เอาเข้าจริงก็ยงั อยูใ่ นการก�ำกับของรัฐทัง้ สิน้ เพราะมีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือเป็นคนตั้งกรรมการ) ดังนั้น ในขณะทีเ่ รายังแก้ปญ ั หาคอร์รปั ชัน่ ไม่ได้ โครงสร้างพืน้ ฐานเหล่านี้ ก็จะถูกบัน่ ทอนโดยคอร์รปั ชัน่ ในองค์กรจนมีคณ ุ ภาพต�ำ่ มีปริมาณ ไม่เพียงพอ และมีต้นทุนสูงเกินจริง บรรดาธุรกิจในประเทศไม่ว่า ใหญ่หรือเล็ก ซึง่ ล้วนต้องใช้ตอ้ งอาศัยโครงสร้างพืน้ ฐานเหล่านีอ้ กี ต่อหนึง่ จึงพลอยถูกบังคับให้มตี น้ ทุนสูงไปด้วย อันเป็นการท�ำลาย ประสิทธิภาพในการแข่งขันของเราทั้งหมด ขอยกตัวอย่างจากการศึกษาผลิตภาพแรงงานในภาค อุตสาหกรรมต่างๆ ของธนาคารโลก ซึง่ ภาคโทรคมนาคมของไทย ถูกจัดให้มีประสิทธิภาพเป็นอันดับ 81 เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ บรรยง พงษ์พานิช - ธนกร จ๋วงพานิช 33


แต่ปรากฏว่าพอทดลองตัดรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง คือ ทีโอที กับ กสท ออกจากการค�ำนวณเท่านั้น ล�ำดับของประเทศไทยก็เลื่อนขึ้นมา เป็นอันดับที่ 9 ทันที นับว่าสะท้อนให้เห็นนัยอะไรหลายๆ อย่าง ชัดเจนทีเดียว สาม “คอร์รัปชั่นดึงทรัพยากรดีๆ เข้าไปอยู่ในภาคส่วนที่ ง่ายต่อการคอร์รัปชั่น” ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นได้วา่ กิจการทีม่ คี อร์รปั ชัน่ ครัง้ ใหญ่ๆ เกิดขึน้ มากทีส่ ดุ ของประเทศไทยก็คอื กิจการทีไ่ ม่มฝี รัง่ เข้ามาแข่ง ด้วย หรือกิจการที่ไม่ใช่สินค้าบริการในตลาดโลกอย่างที่เรียกกัน ว่า ภาคที่ไม่มีการค้าระหว่างประเทศ (Non-tradable Sector) ซึ่ง ได้แก่รัฐวิสาหกิจ เช่น ไฟฟ้า ประปา เป็นต้น เพราะกิจการที่ผลิต สินค้าบริการที่มีการค้าระหว่างประเทศ (Tradable Sector) ย่อม เป็นการยากที่จะกีดกันการแข่งขัน ทีเ่ ป็นอย่างนีก้ เ็ พราะเวลากิจการไม่ตอ้ งแข่งกับฝรัง่ ต่อให้ กิจการนั้นมีการคอร์รัปชั่นกันจนไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ขายของ ห่วยหรือขายของแพง กิจการอย่างนี้ก็ยังจะขายของได้ เพราะ ผู้บริโภคไม่มีตัวเลือกอื่น ก่อให้เกิดก�ำไรกับผู้คอร์รัปชั่นอย่าง มหาศาล ดังนั้นเลยกลายเป็นว่า ทรัพยากรของประเทศไม่ว่า เงินหรือคนก็ล้วนแต่เทไปอยู่ในภาคสินค้าที่ไม่มีการค้าระหว่าง ประเทศและสามารถคอร์รัปชั่นได้กันหมด เพราะเห็นโอกาสท�ำ เงินง่าย สังเกตได้ว่ามหาเศรษฐีไทยหลายต่อหลายรายล้วนแต่ ร�่ำรวยมาจากกิจการที่ไม่มีการค้าระหว่างประเทศทั้งนั้น ยังไม่ ต้องพูดถึงหัวกะทิของประเทศหลายคน ซึ่งแทนที่จะกระจาย ตั ว ไปสร้ า งประโยชน์ ใ นภาคส่ ว นต่ า งๆ กลั บ พากั น ตามกลิ่ น “เงินง่าย” หรือ “easy money” มาเป็นนักการเมืองขี้ฉ้อหรือ ล็อบบียิสต์ไร้ยางอายกันเสียมาก 34 หางกระดิกหมา


เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาคส่วนอื่นๆ ของประเทศที่ก็ต้องการ เงินทุนหรือคนเก่งๆ เหมือนกันเลยเป็นอันต้องแคระแกร็น ไม่ได้ รับการพัฒนาเท่าที่ควร สี่ “คอร์รัปชั่นบั่นทอนศักยภาพการแข่งขันของประเทศ” กล่าวคือ เมื่อคอร์รัปชั่นแทรกซึมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง ของระบบแล้ว ก็เป็นอันว่าไม่วา่ เอกชนจะจับจะท�ำธุรกิจใดล้วนแต่ ต้องเจอด่านคอร์รปั ชัน่ ทัง้ สิน้ ดังนัน้ การแข่งขันระหว่างธุรกิจของ เอกชนก็เหลือแต่เพียงว่าใครจะจ่ายสินบนได้ถกู ช่องถูกคนกว่ากัน ไม่ได้ขนึ้ อยูก่ บั ว่าธุรกิจนัน้ ๆ มีสนิ ค้าทีด่ กี ว่า มีบริการทีด่ กี ว่า หรือ มีราคาที่ถูกกว่าคู่แข่งหรือไม่ เมื่ อ เป็ นอย่า งนี้ เอกชนทั้งหลายก็ย่อมเลิกลงทุนกับ การวิจัยและพัฒนาสินค้าหรือบริการ และหันไปทุ่มงบประมาณ กับคอร์รัปชั่นแทน พูดเป็นภาษาเศรษฐศาสตร์ก็คือเอกชนหมด ความจ�ำเป็นในการปรับปรุงผลิตภาพทีแ่ ท้จริง (real productivity) อีกต่อไป เพราะประโยชน์อะไรที่เอกชนจะปรับปรุงผลิตภาพที่ แท้จริงในเมื่อการปรับปรุงผลิตภาพที่แท้จริงไม่ได้ช่วยให้ประสบ ความส�ำเร็จในการท�ำธุรกิจเท่ากับการจ่ายสินบนเสียแล้ว ทุกวันนี้ ประเทศไทยถึงได้ชอื่ ว่าเป็นประเทศทีล่ งทุนในการวิจยั และพัฒนา ต�่ำที่สุดประเทศหนึ่ง ร้ายกว่านัน้ ผลทีต่ ามมาคือเมือ่ ประเทศไม่มกี ารวิจยั และ พัฒนา อีกทัง้ ไม่มคี วามพยายามในการปรับปรุงผลิตภาพทีแ่ ท้จริง นวัตกรรมในด้านผลิตภัณฑ์หรือการผลิตต่างๆ ก็ย่อมไม่อาจ มีขึ้นได้ ท�ำให้ประเทศไทยไม่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าอัน จะน�ำมาซึ่งก�ำไรที่สูงขึ้น หากแต่กลับต้องทนหากินอยู่กับการ ประกอบและผลิตสินค้าเดิมๆ ด้วยวิธีการเดิมๆ ซึ่งแทบไม่มีก�ำไร หรือหากจะมีก็มาจากการกดต้นทุนค่าแรงแทน รายได้ของคนใน ประเทศทั้งหมดจึงพลอยติดเพดาน ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นเสียที อย่างที่ บรรยง พงษ์พานิช - ธนกร จ๋วงพานิช 35


เรียกกันว่าติด “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” (Middle Income Trap) นั่นเอง ห้า “คอร์รัปชั่นสร้างความเหลื่อมล�้ำในสังคม” อย่างทีบ่ อกไปแล้วว่า คอร์รปั ชัน่ ท�ำให้ภาคธุรกิจไม่สนใจ เรือ่ งการวิจัยและพัฒนา พอไม่วจิ ัยและพัฒนา ธุรกิจก็เลยจมปลัก อยู่กับการประกอบและผลิตสินค้าซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มน้อยและท�ำ ก�ำไรได้ยาก ดังนัน้ ทางเดียวทีน่ กั ธุรกิจจะสร้างก�ำไรในภาวะอย่าง นี้ได้ก็คือ การไปกดเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าแรงต่ออีกทีหนึ่ง ซึ่ง เป็นการถีบกระทืบให้ช่องว่างระหว่างรายได้ของคนในประเทศ ยิ่งห่างกันเข้าไปอีก จะบอกว่าเป็นระบบที่ “ความรวยของคนรวย ขึ้นอยู่กับความจนของของคนจน” ก็ได้ แล้วจะไปถามหาความ ปรองดองทีไ่ หน ในเมือ่ ระบบเศรษฐกิจบังคับให้ คนรวย-คนจน กับ นายจ้ าง-ลู กจ้ า ง ผู กพันกันด้ว ยห่ว งโซ่อาหารแบบเหยื่อและ ผู้ล่าเช่นนี้ ยิ่งกว่านั้น ภาคเอกชนของไทยได้ชื่อว่ามี “Home Bias” หรือ “อคติติดบ้าน” สูงอยู่แล้ว กล่าวคือ ภาคเอกชนไทยไม่ชอบ ออกไปลงทุนนอกประเทศ เพราะเวลาออกไปประกอบกิจการ นอกประเทศแล้ ว โกงกติ ก าไม่ ไ ด้ ทุ ก คนต้ อ งแข่ ง ขั น กั น ด้ ว ย ประสิทธิภาพในการผลิต ไม่ใช่ด้วยคอร์รัปชั่นและการกดค่าแรง พอรู้อย่างนี้เอกชนไทยก็เลยอยู่บ้านกันหมด ซึ่งคนที่ “ซวย” ก็คือ บรรดาลูกจ้างและแรงงานในบ้านนัน่ เอง เพราะจะต้องถูกกดค่าแรง เพื่อเพิ่มก�ำไรให้นายจ้างอย่างที่ได้พูดไปแล้ว หก “คอร์รัปชั่นท�ำให้เกิดความแตกแยก” กล่าวคือ เนื่องจากการคอร์รัปชั่นกลายมาเป็นกุญแจ ไขความส�ำเร็จของการท�ำกิจการต่างๆ ในไทย อ�ำนาจรัฐเลย เป็นความหอมหวานที่ไม่ว่าใครก็ต้องการเข้าถึงหรือครอบครอง ในทางตรงกันข้าม ผูท้ เี่ ข้าไม่ถงึ อ�ำนาจรัฐดังกล่าวก็จะพบว่าตัวเอง 36 หางกระดิกหมา


จนแต้ม ท�ำมาหากินได้ยากอย่างยิ่ง ดังนั้น นี่จึงเป็นเหมือนภาวะ “ได้หมดหรือเสียหมด” ซึ่งทางหนึ่งก็จูงใจ ทางหนึ่งก็บีบคั้นให้ คนพยายามเข้าถึงหรือครอบครองอ�ำนาจรัฐให้ได้โดยไม่เกี่ยง วิธีการหรือต้นทุน เพราะรางวัลเดิมพันที่จะได้หรือจะเสียนั้นมี จ�ำนวนสูงเหลือเกิน ภาวะ “ได้หมดหรือเสียหมด” อย่างนี้ท�ำให้ความสัมพันธ์ ของคนในสังคม โดยเฉพาะระหว่างผูอ้ ยูใ่ นกลุม่ อ�ำนาจกับผูอ้ ยูน่ อก กลุม่ อ�ำนาจขาดความยืดหยุน่ เพราะฉะนัน้ เวลาเกิดความขัดแย้ง ขึน้ มาจึงยากจะประนีประนอมกันได้ อย่างวิกฤตการเมืองทุกวันนี้ หลายคนก็เชื่อว่าเป็นเพราะมีคนกลุ่มหนึ่งที่เรามักเรียกว่า “กลุ่ม อ�ำนาจเก่า” ยึดติดอยู่กับอ�ำนาจรัฐ อันเป็นที่มาของยศศักดิ์ความ มั่งคั่งทั้งหมดของตน จนไม่ยอมเปิดพื้นที่ให้คนกลุ่มอื่นเข้ามาใช้ ประโยชน์จากอ�ำนาจรัฐบ้างนั่นเอง แต่สิ่งที่ควรระลึกคือ ตราบใดที่เรายังไม่สามารถขจัด คอร์รัปชั่น ความแตกต่างระหว่างผู้อยู่ในกลุ่มอ�ำนาจกับผู้อยู่นอก กลุม่ อ�ำนาจก็จะยังมีตอ่ ไป ท�ำให้แม้จะมีการก�ำจัด “กลุม่ อ�ำนาจเก่า” ชุดปัจจุบันไปได้ สุดท้ายก็จะมีคนกลุ่มใหม่เข้ามาเกาะอ�ำนาจและ ฉกฉวยผลประโยชน์ไม่ตา่ งอะไรจากกลุม่ อ�ำนาจเก่า สังคมก็จะอยู่ ในสภาพเดิม คือมีคนกลุ่มหนึ่งที่ได้ทุกอย่าง และอีกกลุ่มที่เสียทุก อย่าง ซึ่งจะท�ำให้เกิดความแตกแยกต่อไปอย่างไม่รู้จบ การก�ำจัดคอร์รัปชั่นจึงเป็นความหวังเดียวในการลด ความแตกแยกในสังคมอย่างแท้จริง 18 และ 25 มีนาคม 2556

บรรยง พงษ์พานิช - ธนกร จ๋วงพานิช 37


ประโยชน์ของคอร์รัปชั่น

แม้คอร์รัปชั่นจะมีโทษเลวร้ายและเรื้อรังอย่างที่เสนอใน 2 ตอน ที่ผ่านมา แต่จะกล่าวว่าคอร์รัปชั่นไม่มีประโยชน์เลยเสียทีเดียวก็ ไม่ได้ เพียงแต่ประโยชน์ของคอร์รัปชั่นเป็นประโยชน์ชนิดเลว กล่าวคือถ้าไม่ใช่ประโยชน์ของคนเพียงส่วนน้อยแบบ “ได้กระจุกเสียกระจาย” ก็เป็นประโยชน์ระยะสั้นแบบ “ได้วันนี้-เสียวันหน้า” ยกตั ว อย่ า งประโยชน์ แ บบ “ได้ ก ระจุ ก -เสี ย กระจาย” ง่ายๆ ก็เช่นการที่นักการเมืองสร้างถนนให้กับหมู่บ้าน ในกรณี อย่างนี้ สมมติว่าถนนจริงๆ มีมูลค่า 50 ล้านบาท แต่นักการเมือง แกล้งตั้งงบให้ตัวเองสวาปามเพิ่มเข้าไปอีก 50 ล้านบาท รวมเป็น 100 ล้านบาท ซึ่งเห็นชัดๆ ว่าเป็นคอร์รัปชั่นขั้นอุจาด แต่ส�ำหรับ คนส่วนน้อย กล่าวคือชาวบ้านนั้น การคอร์รัปชั่นนี้ก็ต้องถือเป็น ประโยชน์อยู่ดี โดยประโยชน์นั้นก็คือถนนมูลค่า 50 ล้านบาท ซึ่ง ถ้าตีเสียว่ามีชาวบ้านอยู่ 200 คน ก็เท่ากับแต่ละคนได้ “ประโยชน์” กันคนละ 25,000 บาท ในแง่นี้ใครๆ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าคอร์รัปชั่น เป็นประโยชน์แน่ๆ ยิ่งส�ำหรับชาวบ้านนั้น โปรเจกต์คอร์รัปชั่นนี้ ยิ่งต้องถือเป็นศุภนิมิตอันน่ายินดีเลยทีเดียว 38 หางกระดิกหมา


อย่ า งไรก็ ต าม “ประโยชน์ ” อย่ า งนี้ ตั้ ง อยู ่ บ นความ เสียหายของคนทั้งประเทศ เพราะเงินที่นักการเมืองโกงเพิ่มขึ้น มาอีก 50 ล้านบาทนั้น สุดท้ายก็ต้องเอาเงินภาษีมาจ่าย เพียงแต่ ในเมื่อเงินภาษีนั้นเก็บจากคน 60 ล้านคน ก็เท่ากับว่าแต่ละคน เสียคนละประมาณ 80 สตางค์เท่านั้น ซึ่งย่อมไม่มีใครรู้สึกและ ประท้วงต่อต้าน ไปๆ มาๆ คนเลยเห็นว่าคอร์รัปชั่นไม่เลวร้าย อะไร เพราะลักษณะที่ “ได้กระจุก-เสียกระจาย” ของคอร์รัปชั่น นั้นท�ำให้ประโยชน์ของมันมีคนจับต้องได้ ในขณะที่โทษของมัน เป็นสิ่งที่ไม่มีใครรับรู้ ส่วนตัวอย่างของประโยชน์แบบ “ได้วันนี้-เสียวันหน้า” ก็ เช่นการสร้างสนามบินใหม่แล้วคอร์รัปชั่น อย่างสนามบินควรจะ สร้างด้วยเงินเพียง 100,000 ล้านบาท ก็คอร์รปั ชัน่ เสียอีก 40,000 ล้านบาท รวมเป็นใช้งบประมาณ 140,000 ล้านบาท ซึง่ เรียกได้วา่ เป็นการโกงถล่มทลายแทบจะพังประเทศ อย่างไรก็ตาม ในเมื่อ เงินส่วนที่ถูกโกงเป็นหลักหมื่นล้านนั้นไม่ได้จัดเก็บเป็นก้อนใหญ่ ก้อนเดียวให้คนเห็น ทว่าถูกเฉลี่ยไปในอนาคตในรูปของการตัด ค่าเสื่อมราคาอีก 30 ปีบ้าง ถูกเฉลี่ยไปในค่าตั๋วซึ่งแพงขึ้นอีกใบ ละสิบบาทยี่สิบบาทบ้าง คนก็ย่อมไม่เดือดร้อน เพราะมองส่วนที่ “เสีย” ไม่ออก ต่างกับส่วนที่ “ได้” นั่นคือสนามบินอันทันสมัยซึ่ง ทุกคนเห็นได้ชัดในวันนี้เดี๋ยวนี้ จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่ในความ รู ้ สึ ก ของคนส่ ว นใหญ่ โครงการสร้ า งสนามบิ น เป็ น เรื่ อ งของ ประโยชน์มากกว่าการกินบ้านกินเมือง อย่ า ว่ า แต่ อ ย่ า งที่ ภ าษิ ต ละติ น ว่ า “เงิ น นั้ น ไม่ มี ก ลิ่ น ” (Pecunia non olet) กล่าวคือเงินทีม่ าจากคอร์รปั ชัน่ หรือเงินไหนๆ ในทางเศรษฐศาสตร์มนั ก็เงินทัง้ นัน้ ไม่หอมไม่เหม็นกว่ากัน และก็ ยังขับเคลือ่ นเศรษฐกิจได้เหมือนกันด้วย ดังนัน้ ถึงบรรดาโครงการ บรรยง พงษ์พานิช - ธนกร จ๋วงพานิช 39


อภิมหาคอร์รัปชั่นทั้งหลายจะมีโทษมาก แต่พร้อมกันนั้น มันก็ท�ำ หน้าที่กระตุ้นให้เกิดการขยายการลงทุนตลอดจนการบริโภคได้ จริงๆ อย่างน้อยก็ในระยะสั้น ยกตั ว อย่ า งเช่ น กรณี ที่ เ ราอนุ มั ติ ง บประมาณพิ เ ศษ 350,000 ล้านบาทเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตน�้ำท่วมนั้น เงินก้อนเดียว นี้ไม่ช้าก็จะแปรไปเป็นค่าอิฐ ค่าปูน ค่าจ้างคนงาน ค่าขนมของลูก คนงาน ฯลฯ เรื่อยไปอีกไม่รู้จบ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุน และการบริโภคได้อย่างมหาศาล เรียกว่าในทางเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจจะขยายตัวเท่ากับ 350,000 ล้านบาท (หักด้วยส่วนของ ปัจจัยที่ต้องน�ำเข้าจากต่างประเทศ) ซึ่งแปลว่ามากกว่าร้อยละ 3 ของรายได้ประชาชาติต่อปีในปัจจุบันเลยทีเดียว ดังนัน้ ต่อให้โครงการ 350,000 ล้านบาทมีคอร์รปั ชัน่ เสีย 100,000 ล้านบาท ส่วนที่ถูกคอร์รัปชั่นก็ยังจะถูกนับเป็นรายได้ ประชาชาติอยู่ดี เป็นผลงานให้รัฐบาลคุยได้ด้วยซ�้ำ แม้ว่าลงท้าย แล้ว “รายได้ประชาชาติ” ส่วนที่ว่าจะไหลไปเข้าเซฟหรือตู้เสื้อผ้า ของนักการเมืองเพียงไม่กี่คน อย่างไรก็ตาม ความดีของคอร์รัปชั่นในระยะสั้นอย่างที่ ว่ามานี้ ไม่นานก็จะกลับกลายเป็นความเลวร้ายในอนาคต เพราะ เงินที่เรานับเป็นรายได้ประชาชาตินั้นไม่ได้งอกมาจากยอดไม้ แต่เป็นเงินกู้ เงินกู้ที่สุดท้ายเราก็ต้องใช้คืนไม่ว่าจะด้วยเงินภาษี ของเราหรือของลูกหลานเรา หลายๆ ครั้ง “รายได้ประชาชาติ” ที่เราภาคภูมิใจจึงเป็น เพียงเงินในอนาคตที่ถูกดึงมาใช้สร้างความหวือหวาในปัจจุบัน โดยที่ไม่แน่ใจว่าจะเกิดประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่ เรียกได้ว่าเป็น “อัฐยายซื้อขนมยาย” (หรือไม่ก็ “อัฐหลานซื้อขนมยาย”) ซึ่งเอา

40 หางกระดิกหมา


เข้าจริงไม่ได้มคี วามหมายอะไรมากไปกว่าการใช้เงินตัวเองหลอก ตัวเอง 1 เมษายน 2556

บรรยง พงษ์พานิช - ธนกร จ๋วงพานิช 41


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.