ทุนนิยมสร้างสรรค์: วิวาทะ 3.0 ว่าด้วยทุนนิยมใหม่ในศตวรรษที่ 21

Page 1

CREATIVE

สารบัญ บทนำ� ไมเคิล คินสลีย์ วิถีใหม่แห่งทุนนิยม บิล เกตส์ ทุนนิยมสร้างสรรค์: บทย่อความ ไมเคิล คินส์ลีย์ บิล เกตส์ กับ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ถกกันเรื่อง “ทุนนิยมสร้างสรรค์” วอร์เรน บัฟเฟตต์ และ บิล เกตส์ ทุนนิยมสร้างสรรค์: บทวิพากษ์ประเดิม ไมเคิล คินสลีย์ ข้อสนับสนุนทุนนิยมสร้างสรรค์ เอ็ด เกลเซอร์ ช้าก่อน! คนจนตัดสินใจเองไม่ได้หรือ? เกรกอรี คลาร์ก ปล่อยให้ทุนนิยมแบบเชยๆ ช่วยคนจนดีกว่า วิลเลียม อีสเตอร์ลีย์ ทุนนิยมจะสร้างสรรค์จริงๆ ได้อย่างไร สตีเวน แลนด์สเบิร์ก มาข้ามพ้นตรรกะอันเย็นชาของ มิลตัน ฟรีดแมน กันเถิด เอ็ด เกลเซอร์ สาเหตุที่ทุนนิยมสร้างสรรค์จะทำ�ให้สถานการณ์แย่ลง ริชาร์ด พอสเนอร์ บริษัทที่ทำ�ดี แข่งขันได้จริงหรือ? แกรี เบกเกอร์ 4

24 31 42 46 67 75 79 83 87 89 92 98


CAPITALISM

ตอบ ริชาร์ด พอสเนอร์: การปฏิรูปมาจากฐานล่าง เอ็ด เกลเซอร์ ตอบ เอ็ด เกลเซอร์: เรากําลังพูดถึงบริษัทแบบไหนกันแน่? ริชาร์ด พอสเนอร์ ทุนนิยมสร้างสรรค์ผิดกฎหมายหรือเปล่า? จอห์น ควิกกิน บริษัทจะทําดีโดยไม่ต้องกลัว คาร์ล ไอคาห์น ได้หรือไม่ โรนัลด์ เจ. กิลสัน สิบประเด็นเกี่ยวกับกําไร มาร์ติน วูล์ฟ คุณจะสร้างสรรค์และยังเป็นนายทุนอยู่ได้รึเปล่า? แมตธิว บิชอป สาเหตุที่ทุนนิยมสร้างสรรค์กีดขวางประชาธิปไตย โรเบิร์ต ไรช์ ทุนนิยมสร้างสรรค์จะทําให้ประชาธิปไตยแข็งแกร่งขึ้นต่างหาก พอล ออร์เมร็อด ทุนนิยมแบบเชยๆ ก็มีศีลธรรมเพียงพอแล้ว วิลเลียม อีสเตอร์ลีย์ ทุกท่านที่วิพากษ์เกตส์ คุณกําลังทําตัวเป็นศัตรูกับความดี อลิซาเบธ สจ็วต ปัญหาของเกตส์: ทําอย่างที่ฉันพูด ไม่ใช่อย่างที่ฉันทํา ไคลฟ์ ครุก ปัญหาของฟรีดแมน: การไร้จินตนาการ แบรด เดอลอง คําตอบสั้นๆ ถึง แบรด เดอลอง: ความเสียหายอยู่ตรงไหน? ไคลฟ์ ครุก 5

102 105 107 110 114 118 121 130 134 137 140 146 148


CREATIVE

ถึงผู้ปกป้องทุนนิยมทั้งหลาย: อย่าเป็นฝ่ายตั้งรับขนาดนี้ แมตธิว บิชอป ตอบ อลิซาเบธ สจ็วต: ถ้าไม่ใช้กําไรแล้วจะใช้อะไร? วิลเลียม อีสเตอร์ลีย์ ทำ�ไมจึงไม่ทดลอง? พอล ออร์เมร็อด ทุนนิยมทำ�งานได้ เพราะมันแก้ไขตัวเอง วิลเลียม อีสเตอร์ลีย์ ทุนนิยมบริสุทธิ์ vs. ทุนนิยมสร้างสรรค์: ทางเลือกที่ลวงตา เอ็ด เกลเซอร์ เรากำ�ลังพูดกันเรื่องอะไร? สตีเวน แลนด์สเบิร์ก บทแก้ต่างให้กับชื่อเสียงที่ดี ไมเคิล เครเมอร์ เรากำ�ลังพูดเรื่องอะไรกัน? (ภาคสอง) สตีเวน แลนด์สเบิร์ก ทุนนิยมสร้างสรรค์มีเครื่องมือชิ้นแรกแล้ว โลเรตตา ไมเคิลส์ ทำ�ไมทุนนิยมธรรมดาจึงไม่ดีพอ? สตีเวน แลนด์สเบิร์ก คุณทำ�กำ�ไรและช่วยชีวิตคนจนได้ ไมเคิล เครเมอร์ ทุนนิยมสร้างสรรค์ ไม่ใช่การกุศล เธียรี เลอเฟว์บร์ แค่ล็อบบี้อย่างถูกวิธีก็พอ จอห์น วิลเลียมสัน 6

150 154 156 158 160 162 165 169 171 174 177 181 183


CAPITALISM

แบบที่ถูกต้องในแบบฉบับของฉัน แนนซี เบิร์ดส์ออล เก็บภาษีคนรวยก็พอ จอห์น โรเมอร์ นายทุนรู้ดีว่าจะไปหาใคร อภิจิต แบนเนอร์จี เงินช่วยเหลือจะสร้างรัฐที่อ่อนแอหรือไม่? ไมเคิล เครเมอร์ ใช่ แต่รัฐที่อ่อนแอก็ถูกโน้มน้าวอย่างสร้างสรรค์ ได้ อีริก เวอร์เกอร์ อุตสาหกรรมเงินช่วยเหลือจะสร้างสรรค์ ได้อย่างไร แนนซี เบิร์ดส์ออล แม้แต่รัฐก็สร้างสรรค์ ได้ ไมเคิล เครเมอร์ อย่าเปลี่ยนทุนนิยม ขยายมันดีกว่า ไคล์ โชวิน บทเรียนของประวัติศาสตร์ เกรกอรี คลาร์ก เกตส์: ที่ที่ถูกต้อง ในเวลาที่ถูกต้อง แนนซี โคห์น อะไรที่ทำ�ให้ทุนนิยมทำ�งานได้ จักดิช ภัควาติ บทแก้ต่างให้กับชื่อเสียงที่ดี (ภาคสอง) แนนซี เบิร์ดส์ออล คุณอยากได้ทุนนิยมสร้างสรรค์ใช่ใหม? ลองเรื่องนี้หน่อย ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส 7

186 188 194 199 203 206 208 212 217 220 224 227 229


CREATIVE

ตอบซัมเมอร์ส: ใช่ มันเป็นคำ�เตือนที่ยุติธรรม 232 เวอร์นอน สมิธ ทำ�กำ�ไรสูงสุดของใคร? 236 จัสติน ฟอกซ์ นอกเรื่องเล็กน้อย เกี่ยวกับตลาดที่มีประสิทธิภาพ 240 อีเมลโต้ตอบระหว่างคินสลีย์และซัมเมอร์ส อะไรที่ทำ�ให้ทุนนิยมสร้างสรรค์ยาก? 244 เอสเธอร์ ดูฟโล ความเป็นที่ยอมรับว่าเป็นพลเมืองดีสำ�คัญหรือไม่? 250 ทิม ฮาร์ฟอร์ด มูลนิธิต่างๆ น่าจะถูกทุนนิยมสร้างสรรค์กระทุ้งบ้าง 254 อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ตอบ อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน: อาหารกลางวันฟรีไม่มีหรอกครับ 259 สตีเวน แลนด์สเบิร์ก พิสูจน์ว่ามันใช้การได้ แล้วมันจะกลายเป็นกระแส 260 ไคลฟ์ ครุก มูลนิธิเกตส์มาช่วยแล้ว 265 เทรซี วิลเลียมส์, ไมเคิล ไดช์ และ จอช แดเนียล ตอบมูลนิธิเกตส์: คุณอยู่ไกลจากความจริงเกินไปแล้ว 275 เกรกอรี คลาร์ก อีกคำ�ตอบถึงมูลนิธิเกตส์: คุณกำ�ลังพูดอะไรอยู่ครับ? 278 สตีเวน แลนด์สเบิร์ก ขอให้เราอธิบายตัวเอง 283 เทรซี วิลเลียมส์, ไมเคิล ไดช์ และ จอช แดเนียล วิธีแก้ปัญหาแบบเซียร์ส 286 เดวิด โวเกล 8


CAPITALISM

ตอบ เดวิด โวเกล: ความต้องการคุณธรรมกำ�ลังเพิ่มขึ้น คอเนอร์ คลาร์ก ตอบ คอเนอร์ คลาร์ก: อย่ามองโลกในแง่ร้ายเกินไปเลยครับ เดวิด โวเกล จุดบอดที่แท้จริงของนายทุนวันนี้ แมตต์ มิลเลอร์ ผลข้างเคียงด้านลบของการบังคับพฤติกรรมที่ดี เอ็ดมันด์ เอส. เฟลป์ส คนไม่เห็นแก่ตัวก็เหมือนกับคนซาดิสต์ที่ชอบทำ�ร้ายตัวเอง ริชาร์ด พอสเนอร์ ความหมายที่แท้จริงของเกตส์ มาร์ติน วูล์ฟ อดัม สมิธ จะทำ�อย่างไร? ไคลฟ์ ครุก วิธีนำ�ความคิดสร้างสรรค์กลับเข้าไปในทุนนิยมสร้างสรรค์ จอห์น ควิกกิน ภาคผนวก ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ มิลตัน ฟรีดแมน อะไรที่แย่นักเกี่ยวกับความจน? ริชาร์ด พอสเนอร์ บริษัทในฐานะพลเมือง ไมเคิล คินส์ลีย์ บริษัทที่ดี ไคลฟ์ ครุก รายนามผู้เขียน 9

294 298 303 306 314 317 321 326

332 342 347 352 358


CREATIVE

คำ�นำ�ผู้แปล

ย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ระบบทุนนิยมยังประกาศศักดาให้เห็นว่าเป็น ระบบเศรษฐกิจเพียงหนึง่ เดียวทีม่ ปี ระสิทธิภาพทีส่ ดุ ในการสร้างความมัง่ คัง่ และอำ�นวยความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์ เนื่องจากมันสอดคล้องและ ตอบสนองต่ อ ธรรมชาติ ข องมนุ ษ ย์ ที่ ยึ ด ประโยชน์ ส่ ว นตนเป็ น ใหญ่ แ ละ ปรารถนาเสรีภาพในการดำ�รงชีวิตได้ดีที่สุด อย่างไรก็ดี ขณะทีค่ วามมัง่ คัง่ ของคนครึง่ โลกเพิม่ ขึน้ อย่างมหาศาล โลกก็หาได้เข้าสู่ยุคพระศรีอาริย์หรือสามัคคีกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวไม่ หากถูกรุมเร้าด้วยปัญหาจำ�นวนมากที่ซับซ้อนสมยุคโลกาภิวัตน์ ไม่ว่าจะ เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและทรัพยากรร่อยหรอ โดยเฉพาะปัญหา ระดับโลกที่เร่งด่วนอย่างภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ปัญหาความ เหลือ่ มลาํ้ ทางฐานะและโอกาสถ่างกว้างขึน้ เรือ่ ยๆ ในประเทศทีร่ ะบบการเมือง ยังถูกครอบงำ�โดยชนชั้นนำ�ส่วนน้อย ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองหรือ แม้แต่สงครามกลางเมืองที่เกิดจากสองปัญหานี้ หรือปัญหาความยากจน เรื้อรังของคนที่เหลืออีกครึ่งโลก 10


CAPITALISM

ปัญหาเหล่านี้ ประกอบกับวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกาที่ลุกลาม เป็นวิกฤตเศรษฐกิจระดับโลกในปี 2008 และวิกฤตหนี้ของกรีซที่ปะทุขึ้นใน เวลาไล่เลี่ยกัน ส่งผลให้วิวาทะเกี่ยวกับทุนนิยมปะทุขึ้นอีกครั้งในวงสนทนา ทุกระดับทั่วโลก หลายคนตั้งคำ�ถามว่าทุนนิยมมีต้นทุนที่สูงกว่าประโยชน์ที่ เราได้รบั หรือไม่ บางคนมองว่ามันจะฉุดให้อารยธรรมมนุษย์ลม่ สลาย เพราะ กระตุน้ ให้คนเห็นแก่ตวั มากขึน้ และบริโภคอย่างไม่ยงั้ คิดจนธรรมชาติรองรับ ไม่ไหว แต่บางคนก็มองโลกในแง่ดีกว่านั้นว่า ในเมื่อทุนนิยมเป็นระบบที่ มนุษย์สร้าง ก็ยอ่ มมีทางทีเ่ ราจะปฏิรปู ให้มนั เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมและสังคม มากกว่าเดิม อยู่ที่เราจะมองเห็นทางนั้นทันเวลาหรือเปล่า บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งและอดีตประธานกรรมการบริษัทไมโครซอฟท์ มหาเศรษฐีหมื่นล้านที่ปัจจุบันผันตัวมาทำ�มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ เต็ม เวลา กล่าวในสุนทรพจน์เปิดงานที่ประชุมเศรษฐกิจโลกประจำ�ปี 2008 ว่า “...ธรรมชาติของมนุษย์มีพลังที่ยิ่งใหญ่อยู่สองพลัง คือประโยชน์ ส่วนตัวกับความห่วงใยผูอ้ นื่ ระบบทุนนิยมใช้ประโยชน์สว่ นตัวทำ�งานในทาง ที่เป็นประโยชน์และยั่งยืน แต่สำ�หรับคนที่มีกำ�ลังจ่ายเท่านั้น การกุศลและ โครงการช่วยเหลือของภาครัฐเป็นช่องทางให้เราแสดงความห่วงใยต่อผู้ที่ ไร้กำ�ลังซื้อ แต่ทรัพยากรกลับหมดลงก่อนที่พวกเขาจะตอบสนองความ ต้องการได้ การปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของคนจนอย่างรวดเร็ว แปลว่า เราจะต้องมีระบบที่ดึงดูดนักนวัตกรรมและภาคธุรกิจที่ดีกว่าสิ่งที่เรามีอยู่ใน ทุกวันนี้ “...ความท้าทายอยู่ที่การออกแบบระบบที่แรงจูงใจทางตลาด ซึ่ง หมายรวมถึงกำ�ไรและความเป็นที่ยอมรับ ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผมอยากเรียกระบบใหม่นี้ว่า ทุนนิยมสร้างสรรค์ - ระบบที่รัฐบาล ภาคธุรกิจ และภาคไม่แสวงหากำ�ไร ทำ�งานร่วมกันเพือ่ ขยับขยายพลังของตลาดออกไป ให้คนจำ�นวนมากขึ้นได้กำ�ไร เป็นที่ยอมรับ และทำ�งานเพื่อช่วยบรรเทา ความเหลื่อมลํ้าในโลก” 11


CREATIVE

ไมเคิล คินส์ลีย์ คอลัมนิสต์ชื่อดังประจำ�วารสาร ไทม์ และหนึ่ง ในผู้ร่วมก่อตั้ง สเลต (Slate.com) นิตยสารออนไลน์รุ่นบุกเบิก เปิดบล็อก สาธารณะและส่งเทียบเชิญนักเศรษฐศาสตร์ นักธุรกิจ เอ็นจีโอ นักวิจัย นักกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ระดับหัวกะทิ ให้เข้ามาแลกเปลี่ยน พูดคุยกันเกี่ยวกับแนวคิด “ทุนนิยมสร้างสรรค์” ที่เกตส์นำ�เสนอ ผลลัพธ์ของการพูดคุยถกเถียงกันบนบล็อกที่ว่านี้ คือหนังสือที่อยู่ ในมือของท่าน เนื่องจากหนังสือเล่มนี้มี “ตัวละคร” มากมาย และบทความหลาย ชิ้นก็อาจดูวกวนและไร้ระเบียบตามธรรมชาติของการพูดคุยโต้ตอบบน อินเทอร์เน็ต ผู้แปลจึงคิดว่าควรสรุปประเด็นสำ�คัญของนักคิดบางท่านที่ ปรากฏในหนังสือไว้พอสังเขป ก่อนที่ท่านจะได้พบกับวิวาทะฉบับเต็ม การถกเถี ย งครึ่ ง แรกในหนั ง สื อ เน้ น ไปที่ นิ ย ามของ “ทุ น นิ ย ม สร้างสรรค์” ว่ามันน่าจะหมายถึงอะไร แตกต่างจากทุนนิยมดั้งเดิมอย่างไร ทุนนิยมดั้งเดิมไม่สร้างสรรค์ตรงไหน และทุนนิยมสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่พึง ประสงค์จริงหรือ ส่วนนี้เปิดฉากด้วยบทสนทนาระหว่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ประธาน กรรมการและซีอโี อบริษทั เบิรก์ ไชร์ ฮาธอะเวย์ กับ บิล เกตส์ ในประเด็นทีว่ า่ การช่วยคนจนด้วยนวัตกรรมและความเชีย่ วชาญหลักของบริษทั จะสามารถ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กบั บริษทั ได้หรือไม่ อย่างไร และบริษทั มี กีว่ ธิ ใี นการช่วยเหลือสังคม บัฟเฟตต์ตงั้ ข้อสังเกตว่า โครงการทีใ่ ช้ภาพลักษณ์ ที่ดีเป็นจุดขายในการช่วยเหลือคนจนนั้นไม่น่าจะอยู่ได้อย่างยั่งยืน ไมเคิล คินส์ลีย์ เปิดวงวิวาทะไปสู่คนนอกด้วยคำ�ถามว่า “ทุนนิยม สร้างสรรค์เป็นทุนนิยมชนิดใหม่ถอดด้ามจริงๆ หรือเปล่า? หรือว่ามันเป็น แค่เพียงชุดข้อเสนอที่สัมพันธ์กับทฤษฎีตลาดเสรีในบางแง่มุมเท่านั้น?” และ “ความเป็นที่ยอมรับเป็นทางเลือกของการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน จริงๆ หรือเปล่า หรือมันเป็นแค่เพียงอีกหนทางหนึ่งสู่การเห็นแก่ประโยชน์ 12


CAPITALISM

ส่วนตนเท่านั้น?” นั่นคือ ที่บริษัทอุทิศกำ�ไรบางส่วนให้กับการ “ทำ�ดี” เพราะ อยากมีชอื่ เสียงว่าทำ�ดี หรือเพราะเชือ่ ว่าความเป็นทีย่ อมรับจะทำ�ให้ผลกำ�ไร เพิม่ ขึน้ ในอนาคต เช่น จากลูกค้าทีต่ ดั สินใจซือ้ หรือคนเก่งบางคนทีต่ ดั สินใจ มาทำ�งานกับบริษัทด้วยเงินเดือนที่ตํ่ากว่าที่อื่น เพราะลูกค้าและพนักงาน เหล่านี้ชอบบริษัทที่ทำ�ดี เอ็ด เกลเซอร์ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์และผู้อำ�นวยการ ศูนย์ทอบแมนศึกษารัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประกาศว่าเขาสนับสนุนทุนนิยมสร้างสรรค์เพราะโลกนี้มีความล้มเหลว สองข้อ ข้อแรก ทุนนิยมเสรีไม่เคยแก้ไขความเหลื่อมลํ้าทางสังคมได้ดี เพราะบริษัทเอกชนปกติมีแรงจูงใจที่จะให้บริการคนรวยมากกว่าคนจน ข้อสอง รัฐบาลส่วนใหญ่ในโลกล้มเหลว โดยเฉพาะในด้านการส่งมอบบริการ สาธารณสุขและการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับประชาชน และ “แม้แต่รัฐบาลที่ ค่อนข้างมีความสามารถและตั้งใจดีของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ก็ไม่มีความ เฉลียวฉลาดและแรงจูงใจที่จะแก้ปัญหาที่ยากที่สุด” เกรกอรี คลาร์ก ศาสตราจารย์ดา้ นเศรษฐศาสตร์ประจำ�มหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนีย เดวิส และผู้เขียนหนังสือชื่อ บทอาลัยสังคมสงเคราะห์ (A Farewell to Alms) แย้งว่าเขาไม่เห็นด้วยกับเกลเซอร์ เพราะ “ทุนนิยมทีเ่ ห็น แก่ ตั ว รั บ ใช้ ค นจนได้ ดี อ ยู่ แ ล้ ว ” เพราะสิ น ค้ า และบริ ก ารส่ ว นใหญ่ ที่ ค น ในประเทศยากจนต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า รถยนต์ หรือโทรศัพท์มือถือ ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคในประเทศรํ่ารวยต้องการเช่นกัน ดังนั้น มันจึงได้รับ การพัฒนา และสุดท้ายก็จะกระจายไปในประเทศยากจนได้เองตามกลไก ตลาด นอกจากนี้ คลาร์กยังมองว่าการทำ�ดีของบริษทั ต่างๆ เท่ากับเป็นการ ตัดสินใจแทนคนจนว่าพวกเขาต้องการอะไรในชีวิต และบริษัทที่จะเป็น ทุนนิยมสร้างสรรค์แบบที่เกตส์เรียกร้องจะมีแต่บริษัทที่ทำ�กำ�ไรได้มหาศาล เท่านั้น ทั้งหมดนี้ทำ�ให้เขาสรุปว่า การกุศลคือวิธีช่วยเหลือผู้ยากไร้ในโลก นี้ที่ดีกว่าการปรับเปลี่ยนวิธีดำ�เนินธุรกิจ 13


CREATIVE

วิ ล เลี ย ม อี ส เตอร์ ลี ย์ ศาสตราจารย์ ด้ า นเศรษฐศาสตร์ ป ระจำ � มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เห็นคล้ายกับคลาร์ก แต่มองจากคนละมุม เขาบอก ว่าแม้แต่บริษัทที่ผลิตสินค้าและบริการเพื่อคนรวยก็ยังต้องจ้างแรงงาน ไร้ฝีมือ แปลว่าแม้แต่ทุนนิยมดั้งเดิมก็ช่วยเหลือคนจนอยู่แล้ว อีสเตอร์ลีย์ มองว่าเกตส์คิดผิดที่ว่าการ “ทำ�ดี” ของภาคธุรกิจอาจขยายใหญ่พอที่จะ สร้างผลกระทบต่อความยากจนในโลกนีไ้ ด้อย่างมีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ หรือตอบสนองความต้องการของคนจนได้จริง สตีเวน แลนด์สเบิร์ก ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ประจำ�มหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ และคอลัมนิสต์ประจำ� สเลต เห็นด้วยกับอีสเตอร์ลีย์ ในเรื่องนี้ เขาบอกว่า “การกำ�จัดความยากจนให้หมดสิ้นไป แปลว่าคุณต้อง เพิ่มค่าแรง การเพิ่มค่าแรงแปลว่าคุณต้องทำ�ให้คนงานมีผลิตภาพสูงขึ้น” ซึ่งไม่มีทางทำ�ได้นอกระบบทุนนิยม เขาเป็นห่วงว่า “ถ้าทุนนิยมสร้างสรรค์ บั่ น ทอนแรงจู ง ใจที่ จ ะสะสมทุ น ไม่ ว่ า จะโดยตรงหรื อ ด้ ว ยการทำ � ให้ ค น กระตือรือร้นเกี่ยวกับทุนนิยมดั้งเดิมน้อยลงอย่างที่อีสเตอร์ลีย์บอก มันก็จะ ทำ�ให้สถานการณ์แย่ลงแน่ๆ” เกลเซอร์บอกว่าไม่เห็นเป็นไรถ้าบริษัทจะอยากโอบอุ้มเป้าหมายที่ ไปไกลกว่าการทำ�กำ�ไรสูงสุด เพราะมนุษย์เราก็มีเป้าหมายอื่นที่นอกเหนือ จากการหาเงินเลี้ยงชีพเช่นกัน เขาเสนอว่า “ถ้าบริษัทอยาก ‘สร้างสรรค์’ มากกว่าเดิม เราก็จำ�เป็นจะต้องพิจารณารูปแบบการทำ�สัญญาใหม่ๆ ที่ สะท้อนข้อเท็จจริงว่าบริษัทอยากทำ�อย่างอื่นนอกเหนือจากทำ�กำ�ไรให้กับ ผู้ถือหุ้น” เพื่อให้คนที่สนใจจะลงทุนในบริษัทรู้ว่าไม่ได้กำ�ลังจะซื้อหุ้นของ บริษัทที่สนใจแต่กำ�ไรสูงสุดเพียงอย่างเดียว ริชาร์ด พอสเนอร์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ไม่เห็นด้วยกับเกลเซอร์ ทีม่ องคนในแง่ดี เขามองว่าอันทีจ่ ริง “การเห็นแก่ผอู้ นื่ นอกเหนือจากบุคคลใน ครอบครัวนัน้ มักจะเป็นพลังทีอ่ อ่ นแอมากเมือ่ เทียบกับการเห็นแก่ประโยชน์ ส่วนตน” บริษทั ทีท่ �ำ การกุศลในทางทีต่ อ้ งเสียสละผลกำ�ไรจะบัน่ ทอนศรัทธา 14


CAPITALISM

ของผูถ้ อื หุน้ และทำ�ให้ตวั เองอ่อนแอในสนามแข่งขัน ส่วนบริษทั ทีท่ �ำ การกุศล ในทางที่ไม่เสียสละผลกำ�ไรหรือแม้แต่ได้กำ�ไรเพิ่ม ก็แปลว่าทำ�ตัวสอดคล้อง กับการทำ�กำ�ไรสูงสุด ซึ่งเป็นทุนนิยมแบบดั้งเดิม เขาเตือนด้วยว่าเงินช่วย เหลืออาจทำ�ให้ประเทศยากจนยํ่าแย่ลง เพราะลดทอนแรงกดดันที่จะแก้ ปัญหาคอร์รัปชันในระบบราชการ จอห์น ควิกกิน ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ แย้งพอสเนอร์ว่ามอง “พันธะ” ของบริษัทแคบไป เพราะบริษัทมีพันธะต่อผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่าย ไม่ใช่แค่ผู้ถือหุ้น และถ้า กฎหมายกำ�หนดไว้เท่านั้นจริงๆ ก็แก้กฎหมายใหม่ได้ และไม่แน่เสมอไปที่ บริษัทที่มุ่งเน้นการทำ�กำ�ไรสูงสุดจะมีแนวโน้มที่จะอยู่รอดได้ดีกว่าบริษัทที่ คำ�นึงถึงเป้าหมายทางสังคมด้วย โรนัลด์ กิลสัน ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายและธุรกิจที่มหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ดและโคลัมเบีย มองว่าวิวาทะในเรื่องนี้ยังคลุมเครือ เพราะ ประเด็นที่ถกเถียงกันยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ทำ�ให้เขา “ยังไม่เชื่อว่า ‘ทุนนิยม สร้ า งสรรค์ ’ จะมีเนื้อหามากกว่า ‘อนุรักษนิยมที่มีหัวใจ’ มากมายนัก” ส่วน มาร์ติน วูล์ฟ ผู้ช่วยบรรณาธิการและหัวหน้าทีมวิเคราะห์เศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ ไฟแนนเชียล ไทม์ส พยายามตีกรอบวงสนทนาให้ชัดขึ้น ด้วย การชี้ให้เห็นข้อจำ�กัดของกระบวนทัศน์ที่ว่าทุกบริษัทต้องมุ่งทำ�กำ�ไรสูงสุด เท่านั้นถึงจะอยู่รอด เขาชี้ให้เห็นว่าระบบทุนนิยมมีมากมายหลายรูปแบบ บางรูปแบบที่อยู่นอกธรรมเนียมอเมริกันนั้นเปิดพื้นที่ให้บริษัททำ�กิจกรรม หลายอย่างที่อยู่นอกกระบวนทัศน์กำ�ไรสูงสุด แมตธิว บิชอป นักข่าวด้านธุรกิจและหัวหน้ากองบรรณาธิการข่าว ธุรกิจอเมริกัน วารสาร ดิ อีโคโนมิสต์ เสนอว่า “ระบบทุนนิยมไม่ได้ลอย อยู่ในสุญญากาศ หากแต่เจริญรุ่งเรืองในพื้นที่ที่มีกฎกติกาถูกต้อง บริษัท ‘ฝังราก’ ลงในสังคม การปรับปรุงความสามารถในการทำ�กำ�ไรในระยะยาว แปลว่าบริษัทจะต้องยอมรับและมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่พวกเขา 15


CREATIVE

ดำ�เนินธุรกิจ และต้องทำ�ให้สภาพแวดล้อมนั้นน่าอยู่กว่าเดิม” ดังนั้น ภาค ธุรกิจจึงมีเหตุผลทางธุรกิจที่จะมีส่วนสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมใน ประเทศยากจนที่พวกเขาทำ�หรืออยากทำ�ธุรกิจ โรเบิ ร์ ต ไรช์ ศาสตราจารย์ ด้ า นนโยบายสาธารณะประจำ � มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิรก์ ลีย์ และอดีตรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงแรงงาน สมัยประธานาธิบดีคลินตัน มองต่างมุมว่าการเรียกร้องให้ภาคธุรกิจแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมและทำ�งานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมนั้นอาจหันเห ความสนใจออกจากการปฏิรูประบบที่จำ�เป็น และทำ�ให้คนเข้าใจผิดว่าภาค ประชาชนกับภาครัฐไม่ควรทำ�อะไร เขาเตือนว่า “สาเหตุหลักทีป่ ระชาธิปไตย ล้ ม เหลวก็ คื อ การที่ นักล็อบบี้ข องภาคธุร กิจเข้า ไปครอบงำ�กระบวนการ นิติบัญญัติอย่างเบ็ดเสร็จ ทำ�ไมบริษัทที่กีดขวางการออกกฎหมาย สมมติ ว่าด้านสิ่งแวดล้อม จะลงมือฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเองโดยสมัครใจ?” และบอกว่า “ถ้าเราเชื่อว่าภาคธุรกิจควรมีคุณค่าทางสังคมเป็นพื้นฐานของการกระทำ� เราก็ต้องมีประชาธิปไตยที่แข็งแกร่ง เพื่อกำ�หนดคุณค่าเหล่านั้นให้ชัดเจน และสะท้อนมันในกฎหมายและกฎเกณฑ์” พอล ออร์ เ มร็ อ ด ผู้ อำ � นวยการและผู้ ก่ อ ตั้ ง บริ ษั ท โวลเทอรา คอนซัลติง ไม่เห็นด้วยกับอีสเตอร์ลีย์ที่มองว่าการทำ�ดีของบริษัทจะส่งผล กระทบทีจ่ �ำ กัดมาก เขาบอกว่าปทัสถานทางสังคมและศีลธรรมนัน้ สำ�คัญมาก ในโลกจริง เพราะคนมักจะแห่ทำ�ตามกัน ดังนั้น “การยกศีลธรรมมาอ้าง” จึง “อาจครอบงำ�ผู้คนมากกว่าผลกระทบของแรงจูงใจที่เป็นตัวเงิน” เช่น ยิ่งมี ซีอีโอมากเพียงใดที่ปฏิเสธที่จะรับโบนัสเวลาที่ผลประกอบการของบริษัท ออกมาไม่ดี ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่ซีอีโอคนอื่นจะทำ�ตาม อลิซาเบธ สจ็วต ที่ปรึกษาอาวุโสด้านนโยบาย ออกซ์แฟมอินเตอร์แนชันแนล บอกว่าอีสเตอร์ลีย์มองทุนนิยมสร้างสรรค์อย่างคับแคบเกินไป เพราะ “ทุนนิยมสร้างสรรค์ที่แท้จริงนั้นจะไม่ตั้งอยู่บนฝ่ายประชาสัมพันธ์ ของบริษัท แต่จะเป็นแก่นสารของกระบวนการดำ�เนินธุรกิจ แน่นอนว่ามัน 16


CAPITALISM

จะสร้างกำ�ไรหรือความเป็นที่ยอมรับ และในบางกรณีก็จะได้ทั้งสองอย่าง แต่มันก็ยังหมายถึงนวัตกรรมและความสัมพันธ์ใหม่ๆ ในการทำ�งาน ซึ่ง ประเด็นหลังคือสิ่งที่มอบโอกาสที่ดีที่สุดให้กับการเปลี่ยนแปลง” เธอยก ตั ว อย่ า งว่ า ในการคิ ด เรื่ อ งภาวะสภาพภู มิ อ ากาศเปลี่ ย นแปลง นายทุ น สร้างสรรค์ตัวจริงจะไม่หยุดอยู่แค่การตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกของบริษัท แต่จะไปล็อบบี้สภาคองเกรสให้ออกกฎหมายควบคุม และทำ�งานกับชุมชน ในประเทศยากจน เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเช่นเตาพลังแสงอาทิตย์ราคา ถูก การถกเถียงในครึ่งหลังของหนังสือพยายามตีกรอบ “ทุนนิยม สร้างสรรค์” ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นว่าแตกต่างจากการทำ�การกุศลอย่างไร แต่หลายช่วงก็สะท้อนการถกเถียงเกี่ยวกับขอบเขตและหน้าที่ของบริษัท ในระบบทุนนิยมดั้งเดิมที่ดำ�เนินต่อเนื่องมายาวนานด้วย เจ. แบรดฟอร์ด เดอลอง ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ประจำ� มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ และนักวิจัยประจำ�สำ�นักวิจัยเศรษฐกิจ แห่งชาติ ตั้งคำ�ถามสั้นๆ ว่า เราจะจำ�กัดภาคธุรกิจให้อยู่แต่ในกรอบของการ ทำ�กำ�ไรสูงสุดทำ�ไม “ถ้าพนักงาน ลูกค้า และนักลงทุน คาดหวังว่าผู้บริหาร ของบริษัทที่พวกเขามีส่วนร่วมจะยึดมั่นเป้าหมายที่แสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคม มันมีอะไรสกปรกหรือครับ? ผู้บริหารไม่ได้ทำ�อะไรผิดเลย ไม่ว่า จะในระดับใดก็ตาม อันที่จริงพวกเขากำ�ลังทำ�งานที่มีคุณค่าด้วยซํ้า คือเป็น ตัวแทนที่น่าเชื่อถือและซื่อสัตย์ของพนักงาน ลูกค้า และนักลงทุน” ไคลฟ์ ครุก โต้กลับว่า “คำ�ถามไม่ใช่ ‘มีอะไรสกปรก?’ แต่มันคือ ‘มีอะไรเสียหาย?’ ประเด็นสำ�คัญอยู่ที่ว่า ในบรรดาหลักการจัดการที่ไม่ สกปรกเหล่านี้ มีหลักการชุดใดบ้างที่น่าจะผลิตผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้ (มิลตัน) ฟรีดแมนเชื่อว่าแรงจูงใจที่จะทำ�กำ�ไรสูงสุดนั้นเป็นหลักการจัดการที่คนมัก จะมองว่าด้อยค่า ทั้งที่มันผลิตผลลัพธ์ที่ดีต่อสังคมได้ ผมคิดว่าฟรีดแมน พูดถูกในประเด็นนี้” 17


CREATIVE

ไมเคิล เครเมอร์ ศาสตราจารย์ด้านสังคมกำ�ลังพัฒนา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เห็นด้วยว่าหน้าที่หลักของซีอีโอคือการรับใช้ผู้ถือหุ้น แต่ ไม่เห็นด้วยกับ “จุดยืนแบบขาว-ดำ�ของ มิลตัน ฟรีดแมน” ที่ว่าบริษัทไม่ควร ทำ�อย่างอื่น เพราะ “ในบางกรณี ธุรกิจสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่าง มีประสิทธิภาพกว่าภาครัฐ และความจริงข้อนี้ก็ทำ�ให้เป็นเรื่องยากที่ใครจะ ต่ อ ต้ า นความรั บ ผิ ด ชอบของธุรกิจต่อสังคมหรือทุนนิยมสร้างสรรค์จาก มุมมองของประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียว” โลเรตตา ไมเคิล ส์ ผู้ถือหุ้น และผู้ร่ว มก่อตั้งธุรกิจเพื่อสังคมชื่อ บริษัท เอชเอ็มเอส ไวร์เลสส์ ชี้ว่าโลกปัจจุบันไม่ได้แบ่งออกเป็นสองค่าย อย่างชัดเจน คือภาคการกุศลที่ไม่แสวงกำ�ไรกับภาคธุรกิจที่แสวงแต่กำ�ไร เท่านั้นอีกต่อไปแล้ว เธอยกตัวอย่างกิจการเพื่อสังคมที่ทำ�เรื่องดีๆ ในทาง ที่อยู่ได้ทางการเงิน และกฎหมายใหม่ที่รองรับองค์กรลูกผสมทำ�นองนี้อย่าง เป็นทางการ เช่น กฎหมายอนุญาตให้ตั้งบริษัทจำ�กัดความรับผิดกำ�ไร ตํ่า (low-profit, limited liability corporation: L3C) ของรัฐเวอร์มอนต์ ในสหรัฐอเมริกา จอห์น วิลเลียมสัน นักวิจัยอาวุโสจากสถาบันปีเตอร์สัน เตือนว่า “เราอาจไม่รู้สึกว่าการสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นนั้นเป็นสิ่งที่สูงส่ง ที่สุดที่มนุษย์พึงกระทำ� แต่บริษัทที่เบี่ยงเบนออกจากเส้นทางนี้มากเกินไป ก็จะถูกบริษัทที่อำ�มหิตกว่าซื้อกิจการไป” แต่เขาก็ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับเกตส์ เลย เพราะบางกรณีบริษัทก็สามารถผลักดันเป้าหมายทางสังคมโดยไม่ต้อง เสียสละผลกำ�ไรอะไรเลย จอห์น โรเมอร์ ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล มองคล้ายกันกับ โรเบิร์ต ไรช์ ว่า “ความยุติธรรมนั้นต้อง อาศัยการจัดสรรรายได้และผลประโยชน์เชิงวัตถุที่เท่าเทียมมากกว่าที่เป็น อยู.่ .. เราไม่ควรปล่อยการซ่อมแซมความอยุตธิ รรมในปัจจุบนั ให้เป็นเรือ่ งของ การกุศล (หรือความใจบุญของภาคธุรกิจ) แต่ควรเป็นหน้าที่ของภาครัฐ” 18


CAPITALISM

อภิจิต แบนเนอร์จี ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ประจำ�สถาบัน เทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ มองว่าถ้านักธุรกิจอยากทำ�อะไรเพื่อสังคม ก็ไม่มี ใครมีสิทธิ์บอกว่าพวกเขาทำ�อย่างนั้นไม่ได้ ถ้าผู้ถือหุ้นรายไหนไม่เห็นด้วย ผู้ถือหุ้นรายนั้นก็มีสิทธิ์ถอนทุนไปลงทุนกับบริษัทอื่นหรือโหวตไล่ผู้บริหาร ออก เขามองว่าทุนนิยมสร้างสรรค์เป็นทางเลือกที่น่าลอง เพราะปัญหาใหญ่ ปัญหาหนึ่งที่ผ่านมาคือ คนเก่งๆ มักจะไปทำ�งานกับภาคธุรกิจเป็นหลัก ส่งผลให้ภาครัฐและภาคสังคมซึ่งเราคาดหวังว่าจะช่วยเหลือคนจนและแก้ ปัญหาสังคมทำ�งานได้ไม่ดเี ท่าทีค่ วร เขาทิง้ ท้ายอย่างมีความหวังว่า “นายทุน สร้างสรรค์มคี วามได้เปรียบอย่างแท้จริง เขารูว้ า่ จะกดดันรัฐบาลอย่างไร และ จะขายความคิดให้กับคนเดินดินอย่างไร เขามีความน่าเชื่อถือ เขาไม่ต้องใช้ เงินของคนอื่น และเขารู้ดีว่าจะไปหาใคร ผมคิดว่าสิ่งดีๆ กำ�ลังจะเกิดขึ้น” ผู้ร่วมสนทนาบางคนแตกประเด็นไปสู่คำ�ถามว่า ภาคการกุศลและ เงินช่วยเหลือจะสร้างสรรค์กว่าเดิมได้อย่างไร โดยมี แนนซี เบิร์ดส์ออล ผู้อำ�นวยการและผู้ก่อตั้งศูนย์การพัฒนาโลก และ อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ผูบ้ ริหารระดับสูงด้านการเงินจากมูลนิธบิ ลิ และเมลินดา เกตส์ ร่วมแลกเปลีย่ น ข้อคิดเห็นในเรือ่ งนี้ ส่วน ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส ศาสตราจารย์ดา้ นเศรษฐศาสตร์ ประจำ�มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และอดีตรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการคลังสมัย ประธานาธิบดีคลินตัน ยกกรณีความล้มเหลวของ แฟนนี เม และ เฟรดดี แม็ ก สถาบั น กึ่ ง รั ฐ ที่ ป ล่ อ ยสิ น เชื่ อ ที่ อ ยู่ อ าศั ย ให้ กั บ ผู้ มี ร ายได้ น้ อ ย เพื่ อ เตือนว่า บริษัทที่เป็นทุนนิยมสร้างสรรค์อาจสูญเสียความรับผิดต่อผลการ ดำ�เนินงานหลัก เพราะ “ความรู้สึกที่ว่ามีพันธกิจที่ ‘ดีงาม’ นั้นเป็นไม้ตะบอง ที่เอาไว้ตีกันผู้วิพากษ์ได้อย่างชะงัด” เอสเธอร์ ดูฟโล ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์พัฒนา สถาบัน เทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ เห็นด้วยกับมุมมองของ บิล เกตส์ เธอมองว่า “ถ้า หากทุนนิยมสร้างสรรค์จะบรรลุศักยภาพของมันได้ มันจะต้องสลัดความ ตึงเครียดระหว่างแรงจูงใจกับผลกระทบ มันเป็นเรื่องสำ�คัญที่ประโยชน์ 19


CREATIVE

จากความเป็นที่ยอมรับจะต้องสอดคล้องกับการสร้างมูลค่าทางสังคมอย่าง ใกล้ชิดที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้... มีหลายกรณีที่คนจนเต็มใจจะจ่ายราคาเต็ม สำ�หรับบริการใดบริการหนึ่ง แต่ยังไม่มีใครนำ�ส่ง หรือไม่ก็มีวิธีที่จะนำ�ส่งมัน ด้วยราคาทีถ่ กู กว่าหรือมีประสิทธิผลสูงกว่า นายทุนสร้างสรรค์สามารถทุม่ เท ความพยายามให้กับการนำ�ส่งบริการเหล่านี้ เพราะถึงที่สุดแล้ว การคิดค้น ผลิตภัณฑ์และการหาวิธีขายใหม่ๆ คือสิ่งที่นายทุนทำ�ได้เก่ง” ที่กล่าวไปนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิวาทะเกี่ยวกับ “ทุนนิยม สร้างสรรค์” ซึ่งกำ�ลังได้รับการทดลองและปฏิบัติจริงในหลายรูปแบบทั่วโลก ผู้แปลเห็นด้วยกับ แกรี เบกเกอร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 1992 ที่ว่า “ผมไม่เห็นว่าจะมีอะไรเสียหายกับการที่เกตส์ บัฟเฟตต์ และ คนอื่นๆ สนับสนุนให้บริษัทใส่ใจกับเป้าหมายอื่นนอกเหนือจากผลกำ�ไร บททดสอบที่แท้จริงจะอยู่ที่ว่า บริษัทแบบนี้จะแข่งขันกับบริษัทที่มีแรงจูงใจ เรื่องกำ�ไรเพียงอย่างเดียวได้ดีเพียงใด” สุ ด ท้ า ยนี้ ผู้ แ ปลขอขอบคุ ณ คุ ณ กิ ต ติ พ งศ์ สนธิ สั ม พั น ธ์ ที่ ไ ด้ เรียบเรียงและขัดเกลาสำ�นวนแปลอย่างละเอียดเกินกว่าที่ผู้แปลจะทำ�ได้ รวมทั้งผองเพื่อนผู้ร่วมก่อตั้งสำ�นักพิมพ์ openworlds ทุกท่าน หากเนื้อหา ยังมีที่ผิดประการใด ย่อมเป็นความผิดของผู้แปลโดยลำ�พัง ต้องขออภัยไว้ ล่วงหน้า ณ ที่นี้ สฤณี อาชวานันทกุล “คนชายขอบ” | http://www.fringer.org/

20




CREATIVE CAPITALISM A Conversation with Bill Gates, Warren Buffett, and Other Economic Leaders Edited by

Michael Kinsley

ทุนนิยมสร้างสรรค์ แปลโดย

สฤณี อาชวานันทกุล


CREATIVE

บทนำ�

ไมเคิล คินสลีย์

นี่คือหนังสือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการขยับขยายระบบทุนนิยม ไปยังพื้นที่ใหม่ๆ และใช้มันแก้ปัญหาที่ก่อนหน้านี้ถูกยกให้เป็นหน้าที่ของ ภาคการกุศลและภาครัฐ จังหวะของเราไม่ดีเลย ขณะที่ผมเขียนอยู่นี้ ณ สิน้ เดือนกันยายน 2008 เรากำ�ลังตกอยูใ่ นวิกฤตการเงินทีย่ งั ไม่มใี ครรูแ้ น่ชดั ว่าจะมีมิติกว้างลึกเท่าไร แต่เราพูดได้อย่างเต็มปากว่า ถ้าทุนนิยมเป็นหุ้น ตัวหนึ่ง และชื่อเสียงเป็นเงินสกุลหนึ่ง ราคาของหุ้นตัวนี้ก็ได้ตกลงอย่าง ฮวบฮาบในช่วงสองสัปดาห์ทผี่ า่ นมา เมือ่ ตอนวันแรงงาน1 หุน้ ตัวนีย้ งั ร้อนแรง อยู่เลย และตอนนั้นผู้คนก็พูดถึงศักยภาพของทุนนิยมที่ยังไม่ได้รับการ เติมเต็ม มีความคิดมากมาย (บางส่วนอยู่ในหนังสือเล่มนี้) เกี่ยวกับวิธีการ ใหม่ๆ ในการใช้ระบบตลาดอย่างสร้างสรรค์ แต่เมื่อมาถึงตอนนี้ ความคิด ที่จะปล่อยให้ทุนนิยมมีอิสระก็ดูจะน่าดึงดูดพอๆ กับการปล่อยให้หมาบ้า 1

ในสหรัฐอเมริกาหมายถึงวันจันทร์แรกของเดือนกันยายน 24


CAPITALISM

ออกไปเพ่นพ่าน บางที กว่าคุณจะได้อ่านหนังสือเล่มนี้ วิกฤตครั้งนี้ก็อาจจะ ผ่านพ้นไปแล้ว หรือไม่ก็ปรากฏว่าเป็นแค่ภาวะตื่นกลัวที่ถูกสื่อโหมกระพือ ขึ้นมา แต่ก็ไม่แน่ ถ้าหายนะทางเศรษฐกิจรออยู่ข้างหน้าจริงๆ แน่นอน ว่าผู้มีส่วนร่วมในหนังสือเล่มนี้บางคนจะบอกว่า ถ้าภาคธุรกิจของอเมริกา มุ่งทำ�งานของตัวเองให้ดีที่สุด สถานการณ์ของเราทุกคนก็จะดีกว่านี้มาก แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ก็คงไม่มีอะไรกัดกร่อนมติของมหาชนทั่วโลกที่ว่า ทุนนิยมตลาดเสรีนั้นเป็นระบบเศรษฐกิจที่แย่ที่สุดหากไม่นับระบบอื่นๆ ที่โลกได้เคยลองมาแล้ว [ยืมคำ�พูดของเชอร์ชิลล์ (Winston Churchill)] และถ้าเราต้องฟันฝ่าช่วงเวลาแห่งความปั่นป่วนจริงๆ แล้วล่ะก็ เราก็คงจะ ดีใจที่ช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้บ่มเพาะความรับผิดชอบต่อสังคมในสำ�นึก ของบริษัทเอกชน ข้อเท็จจริงก็คอื สมัยนีท้ กุ คนอยากจะได้ชอื่ ว่า “ทำ�ดี” ด้วยกันทัง้ นัน้ ตั้งแต่นักศึกษาปริญญาตรีไปจนถึงดาราฮอลลีวูด ไฮโซนิวยอร์ก และซีอีโอ ของบริษัท เรายังมองไม่ออกว่าเรื่องนี้จะดีจริงหรือเปล่า แต่อย่างไรก็ตาม มันก็เป็นกระแสที่เราควรสนับสนุน คุณว่าอย่างนั้นไหมครับ? แต่เรือ่ งนีม้ ปี ญ ั หาหลายข้อ แฟชันการทำ�ดีทรี่ ะบาดในบรรดาบริษทั ยักษ์ใหญ่เป็นปัญหาใหญ่เป็นพิเศษ เพราะ “บริษัท” เป็นบุคคลเทียมที่มี หน้าที่ตามกฎหมายในการพิทักษ์ผลประโยชน์ของกลุ่มผลประโยชน์กลุ่ม เดียวเท่านั้น คือผู้ถือหุ้น ซึ่งภาคธุรกิจก็ครอบงำ�ระบบเศรษฐกิจของเรา อย่างเบ็ดเสร็จเสียจนเราไม่อาจมุ่งหวังให้กระแสนี้ทำ�อะไรได้มาก ถ้าหาก เราไม่นับรวมพวกเขาเข้ามาอยู่ในกระแสนี้ด้วย ในเดือนมกราคม 2008 บิล เกตส์ (Bill Gates) กล่าวสุนทรพจน์ ในงานไฮโซหรูหราที่เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม “การประชุมเศรษฐกิจโลก” ในฐานะนายทุนที่ประสบความสำ�เร็จมากที่สุด ในประวัติศาสตร์ ถ้าเราวัดความสำ�เร็จของทุนนิยมด้วยตัวเงิน (คุณมีตัววัด 25


CREATIVE

ที่ ดี ก ว่ า นี้ ห รื อ เปล่ า ล่ ะ ?) ตอนนั้ น เกตส์ กำ � ลั ง เตรี ย มตั ว ที่ จ ะลาออกจาก ตำ�แหน่งในบริษัท และทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ของเขาให้กับมูลนิธิบิลและ เมลินดา เกตส์ ซึ่งเขาและภริยาก่อตั้งขึ้นเมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านั้น กล่าวได้ว่า ช่วงเวลาหลายปีตั้งแต่มูลนิธิแห่งนี้ถือกำ�เนิด ได้เปลี่ยนเกตส์ให้เป็นนัก การกุศลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ถ้าเราวัดความสำ�เร็จของการกุศล จากตัวเงินเช่นกัน จนถึงปี 2008 สามีภรรยาคู่นี้ได้บริจาคเงินกว่า 30,000 ล้านเหรียญให้กับมูลนิธิของพวกเขา และมูลนิธิก็ได้มอบเงินช่วยเหลือกว่า 16,000 ล้านเหรียญ ยิ่งไปกว่านั้น วอร์เรน บัฟเฟตต์2 (Warren Buffett) เพื่อนของเกตส์ ก็ตัดสินใจเลือกมูลนิธิเกตส์เป็นปลายทางของความมั่งคั่ง เกือบทั้งหมดของเขา ซึ่งทำ�ให้มูลนิธิแห่งนี้มีสินทรัพย์มากกว่า 60,000 ล้าน เหรียญ (ในความเป็นจริง บัฟเฟตต์ยังไม่ได้ยกทรัพย์สินทั้งหมดให้กับมูลนิธิ จนกว่าเขาจะเสียชีวิต แต่เขาทยอยมอบเงินให้กับมูลนิธิร้อยละ 5 ต่อปี ของทรัพย์สินทั้งหมด 30,000 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องใช้เงินให้หมด ทุกปี ในเมือ่ กฎหมายกำ�หนดว่ามูลนิธิต้องใช้จ่ายเงินร้อยละ 5 ของสินทรัพย์ ทุกปี จึงเสมือนหนึ่งว่าเขาได้บริจาคทรัพย์สินทั้งหมดแล้ว) อย่างไรก็ดี เงินเป็นตัววัดความสำ�เร็จของเกตส์ในฐานะนักการกุศล เพียงหนึ่งในหลายตัวฉันใด ความสำ�เร็จของเขาในฐานะนายทุนก็ฉันนั้น ตัววัดที่สำ�คัญไม่แพ้กันคือวินัยและความตั้งใจที่มาพร้อมกับการบริจาคเงิน ของเขา รวมถึงการยืนกรานที่คัดง้างกับแรงกดดันที่เขาน่าจะเจอะเจออย่าง สมํ่าเสมอจากเพื่อนนักธุรกิจที่ทำ�การกุศลเล็กๆ น้อยๆ ว่าความยากจนและ โรคระบาดในดินแดนห่างไกลเป็นเรื่องเร่งด่วนกว่าบริษัทโอเปราในเมือง ตัววัดความสำ�เร็จของเกตส์ในฐานะนักการกุศลอีกตัวหนึ่งคือการ พลิกภาพลักษณ์ของเขาจากหน้ามือเป็นหลังมือ บางคนบอกว่านี่เป็นความ ตั้งใจของเขาตลอดมา ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไร้สาระ ไม่มีใครทำ�แคมเปญ 2

ผู้ได้รับการขนานนามว่าเป็นนักลงทุนระยะยาวที่เก่งที่สุดในโลก 26


CAPITALISM

ประชาสัมพันธ์ด้วยเงิน 30,000 ล้านเหรียญหรอก เมื่อห้าปีก่อน เกตส์มี ภาพลักษณ์ในวงกว้างว่าเป็นจอมมารผูกขาด ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ตั้งชื่อ อย่างน่าเบื่อว่า ทลายอำ�นาจผูกขาด (Antitrust) ถึงกับฉายภาพว่าเขาเป็น ฆาตกร แต่มาวันนี้ ชื่อของ บิล เกตส์ ทำ�ให้คนนึกถึงการกุศลมากกว่า การทำ�ธุรกิจแบบล่อแหลม นี่ไม่ใช่การปฏิรูปครั้งแรกในโลกธุรกิจ จอห์น ดี. ร็อกกีเฟลเลอร์ (John D. Rockefeller) และ แอนดรูว์ คาร์เนกี (Andrew Carnegie) ต่างก็ทำ�เรื่องทำ�นองนี้ เกตส์เป็นเศรษฐี - ไม่อย่างนั้นคุณก็ต้องเรียกเขาว่าอภิมหาเศรษฐี - มาตลอดช่วงเวลากว่ายี่สิบปีก่อนที่เขาจะเริ่มจับงานการกุศลอย่างจริงจัง หลายคนประณามเขาที่ไม่เริ่มให้เร็วกว่านี้ แต่เขาก็พูดตลอดมาว่าการ บริจาคเงินนั้นต้องใช้ความคิดพอๆ กับการหาเงิน และเขาจะหันไปบริจาค เงินเมื่อเขาวางมือจากการหาเงินแล้ว ท่ามกลางความแปลกใจของบางคน นั่นคือสิ่งที่เขาได้ทำ� ไมโครซอฟท์ภายใต้การนำ�ของเกตส์ไม่ใช่บริษัทที่ คนมองว่าอ่อนโยน แต่ในสุนทรพจน์ที่ดาวอส เกตส์เสนอวิถีทางใหม่ที่เขา เรียกว่า “ทุนนิยมสร้างสรรค์” มันยังไม่ชัดเจนว่าเขาหมายถึงอะไร ดังนั้น ความพยายามที่จะวิเคราะห์วลีนี้จึงเป็นหนึ่งในหัวข้อหลักของหนังสือเล่มนี้ แต่ไม่วา่ มันจะแปลว่าอะไรในรายละเอียด แน่นอนว่าวลีนหี้ มายความว่าบริษทั ขนาดใหญ่ทกี่ า้ วไปสูร่ ะดับโลกมากขึน้ เรือ่ ยๆ ซึง่ เป็นลักษณะสำ�คัญของระบบ ทุนนิยมสมัยใหม่ ควรจะประสานการ “ทำ�ดี” เข้าไปในกระบวนการทำ�ธุรกิจ ของพวกเขา คำ�ถามที่ว่า เราจะประสานชีวิตที่ดีในแง่ศีลธรรมเข้ากับชีวิตที่ดี ในแง่วัตถุได้อย่างไร เป็นคำ�ถามที่มนุษย์ต้องเผชิญเช่นเดียวกับบริษัท หลังจากที่เกตส์กล่าวสุนทรพจน์ ผมคิดเล่นๆ ว่าอยากลองเขียนหนังสือ เกี่ยวกับทุนนิยมสร้างสรรค์ หรือไม่ก็เป็นบรรณาธิการชุดบทความเกี่ยวกับ เรือ่ งนีท้ เี่ ขียนโดยคนทีอ่ าจรูเ้ รือ่ งนีด้ กี ว่าผม จากนัน้ ผมก็ได้ความคิดทีผ่ มว่า ดีกว่าเก่า หนังสือเล่มนี้คือบททดสอบของความคิดนั้น มันเป็นการทดลอง 27


CREATIVE

ด้านการประพันธ์ ผมเคยทำ�งานให้กับไมโครซอฟท์เป็นเวลาเจ็ดปี (19952002) งานของผมคือริเริ่ม “webzine” (นิตยสารบนเว็บ) ซึ่งตอนนี้กลาย เป็นศัพท์ที่โบราณไปแล้ว งานนั้นคือนิตยสารออนไลน์ชื่อ สเลต (slate.com) ซึ่งวันนีม้ บี ริษัทวอชิงตัน โพสต์ เป็นเจ้าของและผู้จดั พิมพ์ สมัยนัน้ หลายคน ข้องใจจริงๆ ว่าจะมีคนอ่านอะไรทีไ่ ม่เกีย่ วข้องกับการงานจากจอคอมพิวเตอร์ โดยสมัครใจหรือเปล่า คนสมัยนีค้ งยากทีจ่ ะเชือ่ เพราะตอนนีจ้ อคอมพิวเตอร์ กำ�ลังทำ�ลายอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ และจนกระทั่งทุกวันนี้ เราก็ยังมี งานเขียนบางรูปแบบที่ต่อต้านคอมพิวเตอร์ การเขียนข่าวขนาดยาวหรือ นวนิยายเป็นหนึ่งในจำ�นวนนั้น การประชุมที่ไมโครซอฟท์ก่อนที่สเลตจะเปิดตัว เราสงสัยกันว่า บทความควรจะมีความยาวเพียงใดสำ�หรับการทีผ่ คู้ นจะอ่านจากจอ คนหนึง่ ในที่ประชุมพูดขึ้นมาว่า “แต่คนนั่งอ่านอีเมลหลายพันคำ�บนจอรวดเดียว จบนะ” ตอนนั้นไมโครซอฟท์เป็นผู้นำ�ของคลื่นอีเมลที่กำ�ลังจะถาโถมเข้าใส่ สมาชิกแทบทุกคนในสังคมที่ก้าวหน้า คนบ่นเรื่องนี้กันมาก แต่หลายคน ก็อ่านอีเมลหลายพันคำ�ทุกวัน และจะคิดถึงมันถ้ามันหายไปเฉยๆ ทุกวันนี้ ยังมีการส่งข้อความจากโทรศัพท์มือถือ บล็อก และอาร์เอสเอสฟีด เพิ่ม เข้ามาอีกด้วย พลั ง ที่ ผู้ บ ริ ห ารไมโครซอฟท์ [ผมค่ อ นข้ า งมั่ น ใจว่ า คื อ นาธาน ไมเออร์โวลด์ (Nathan Myrhvold)] บอกว่าผลักดันให้เราอ่านอีเมลหลายพัน คำ�นั้นมีพลังคู่ขนานในงานเขียน มีใครบ้างที่สงสัยว่าจำ�นวนคำ�ที่โลกทั้งใบ ผลิตไม่ได้พุ่งสูงขึ้นมากตั้งแต่คอมพิวเตอร์เชื่อมโยงถึงกัน? โอเค ผมเคย ได้ยินโจ๊กเรื่องนี้เหมือนกัน หลายคนจะบอกว่านั่นไม่ใช่การเขียน มันเป็น แค่การพิมพ์บนแป้นคอมพิวเตอร์ แต่เนื้อหาบางอย่างก็ไม่เลวเลยนะครับ บางชิ้นเข้าขั้นดีด้วยซํ้า และที่ดีกว่านั้นอีกก็คือ มันทำ�ง่าย หรืออย่างน้อย ก็ง่ายกว่าการเขียน “ที่แท้จริง” นักเขียนอาชีพหลายคนที่คิดว่าการเขียน เป็นงานที่ทรมาน และรู้สึกว่าวันไหนที่ผลิตคำ�ได้ 500 คำ�เป็นวันที่โชคดีนั้น 28


CAPITALISM

สามารถนั่งเขียนอีเมลจำ�นวนครึ่งโหลโดยใช้ภาษาสละสลวยที่ยาวกว่านั้น สิบเท่า เราถกเถียงกันได้เรื่องคุณภาพของงานเขียนบนอินเทอร์เน็ต ไม่ว่า จะเป็นเรื่องไวยากรณ์หล่นหาย คำ�ย่อที่ดูแอ๊บแบ๊วเกินงาม (ไม่นับตัวอีโมติคอน!) การสะกดแบบตามใจฉัน หรือประโยคขาดตอน แต่มันก็เป็นภาษา ของยุคเรา และคนก็อ่านภาษาแบบนี้และเขียนแบบนี้ ดังนั้น ความคิดของ ผมสำ�หรับหนังสือเล่มนี้คือ หาคนฉลาดๆ มากลุ่มหนึ่ง ชักจูงให้พวกเขา อภิปรายเรื่องทุนนิยมสร้างสรรค์กันแบบออนไลน์ หลอกล่อให้พวกเขาผลิต หนังสือด้วยวิธีนี้ หนังสือเล่มนี้จะมีคุณภาพของบล็อกหรือ “แชต” หรือการ ส่งอีเมลโต้ตอบกันแบบทีเ่ ห็นในสเลต ภาษาทีใ่ ช้จะไม่เป็นทางการและดูสบั สน ไร้ระเบียบอยู่บ้าง ประสบการณ์ “การอ่าน” หนังสือเล่มนี้จะคล้ายกับเวลาที่ เราท่องเว็บไซต์ ผิดกันแต่เพียงว่าหนังสือเล่มนี้ไม่มีไฮเปอร์ลิงก์3 โลกนี้มีหนังสือมากมายที่เกิดจากเว็บไซต์ แต่มีเว็บไซต์อะไรบ้าง ทีเ่ กิดจากความตัง้ ใจทีจ่ ะใช้มนั ผลิตหนังสือ? บางทีอาจจะมี แต่กค็ งมีไม่มาก วิธกี ารผลิตหนังสือแบบนีอ้ าจทำ�ให้คณ ุ นึกถึงวิธที ี่ ทอม ซอว์เยอร์ ทาสีรวั้ ของ ป้าพอลลี แต่ขอให้มั่นใจนะครับว่าผู้มีส่วนร่วมจะได้รับค่าตอบแทน ผมนำ� เงินค่าต้นฉบับล่วงหน้าของหนังสือเล่มนี้ (หักค่าใช้จ่าย) มาหารด้วยจำ�นวน คำ�ที่ได้รับการตีพิมพ์ วิธีนี้สร้างสมดุลของแรงจูงใจด้านปริมาณกับคุณภาพ ซึ่งตั้งใจให้นักเศรษฐศาสตร์ประทับใจ และจูงใจให้พวกเขาเข้าร่วม ตอนที่โครงการนี้เริ่มต้นใหม่ๆ เราทำ�เรื่องผิดพลาดครั้งสำ�คัญ ที่โง่มาก โดยละเลยบทเรียนทุกอย่างที่โลกได้เรียนรู้ในรอบสองทศวรรษ ทีผ่ า่ นมาเกีย่ วกับการเปิดเผยและความโปร่งใสบนเว็บ เราเริม่ สร้างเว็บไซต์ แล้วก็ปิดไม่ให้คนนอกเข้า คนที่จะเข้าไปดูได้ต้องใส่รหัสผ่าน เรานึกว่านัก hyperlink หมายถึงการทำ�ลิงก์เชื่อมเนือ้ หา ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถคลิกลิงก์เพื่อเข้าเว็บไซต์ อื่น 3

29


CREATIVE

เศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและคนอื่นๆ จะอยากมีส่วนร่วมมากขึ้นถ้าเราทำ� แบบเอกซ์คลูซีฟ และเราคิดมากเรื่องการดึงดูดคนเจ้ายศเจ้าอย่าง เรา เป็นห่วงว่าคนอย่าง แกรี เบกเกอร์ (Gary Becker) หรือ ลาร์รี ซัมเมอร์ส (Larry Summers) จะถูกกวนโทสะโดยคนสติฟั่นเฟือนหลายคนที่ดูจะใช้ ชีวิตเวียนวนอยู่ในพื้นที่ไซเบอร์สเปซซึ่งพวกเขาไม่เหมาะที่จะอยู่ และตั้งใจ ก่อความเดือดร้อนให้กับคนที่อยากมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ประสบการณ์ ของผมกับทุกเว็บไซต์ที่ผมเคยมีส่วนร่วมเป็นแบบนั้น แต่ไม่ใช่ตอนนี้ เมื่อเราเริ่มเชื้อเชิญนักเศรษฐศาสตร์ผู้โด่งดังตาม รายชื่อในฝันของเรา เราก็พบว่าเป็นเรื่องง่ายที่จะได้รับคำ�มั่นสัญญาว่า พวกเขาจะมีส่วนร่วม แต่การทำ�ให้พวกเขาลงมือทำ�จริงๆ เป็นเรื่องยาก กว่านั้นมาก นักเศรษฐศาสตร์มองโลกแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ไม่ต่างจากคนอื่น ความไม่อยากให้เรากวนใจ อาจจะรวมถึงความสนใจที่แท้จริงในโครงการนี้ ชักจูงให้พวกเขาตอบรับ แต่ปญ ั หาคือ ในระยะยาว ช่วงเวลาทีพ่ วกเขาจะต้อง ลงมือเขียนอย่างจริงจังนั้นดูเหมือนจะไม่เคยมาถึงเลย ด้วยเหตุนี้ เราจึงตัดสินใจเปิดโครงการนี้ต่อสาธารณชนด้วยความ หวั่นใจไม่น้อย เราปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ที่เคยสวยหรูแต่ซับซ้อนให้กลาย เป็นบล็อกสาธารณะ โดยใช้ซอฟต์แวร์เขียนบล็อกซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีชื่อ ไทป์แพด (TypePad) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นน่าทึ่งมาก บล็อกของเรามีคน เข้ามาดูหลายพันครั้งต่อวัน บล็อกอื่นๆ โฆษณาให้เรา และคนดังทั้งหลาย ก็เริม่ ทำ�ตามคำ�มัน่ สัญญาทีไ่ ด้ให้ไว้ ดูเหมือนว่าแม้แต่อาจารย์เศรษฐศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงก็ยังชอบให้คนบอกว่า “เฮ้ ผมเห็นข้อเขียนของอาจารย์นะ” พวกเขาชอบแบบนี้มากกว่าการเป็นสมาชิกคลับเอกซ์คลูซีฟที่มีแต่เพื่อน อาจารย์เศรษฐศาสตร์ด้วยกัน

30


CAPITALISM

วิถีใหม่แห่งทุนนิยม บิล เกตส์

สุนทรพจน์ ณ ที่ประชุมเศรษฐกิจโลก กรุงดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ วันที่ 24 มกราคม 2008

นี่ เ ป็ น ครั้ ง สุ ด ท้ า ยที่ ผ มจะมาดาวอสในฐานะพนั ก งานประจำ � ของ ไมโครซอฟท์ พวกเราบางคนโชคดีพอที่จะมาถึงชั่วขณะของชีวิตที่เราสามารถ หยุดทบทวนงานที่ผ่านมาของเรา แล้วพูดว่า “วิเศษเลย เราได้ทำ�งานที่สนุก ตื่นเต้น และมีประโยชน์ เราทำ�มันไปทั้งชีวิตก็ได้” แต่กาลเวลาที่ล่วงเลยบังคับให้เราแต่ละคนครุ่นคิดและถามคำ�ถาม ว่า เราได้ทำ�อะไรสำ�เร็จแล้วบ้าง? มีอะไรที่เราอยากจะทำ�ให้สำ�เร็จอีก? สามสิบปี ยี่สิบปี กระทั่งสิบปีที่แล้ว ผมหมกมุ่นอยู่กับแค่ประเด็น ที่ว่าความวิเศษของซอฟต์แวร์จะเปลี่ยนโลกได้อย่างไร ผมเชื่อว่าความ ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีจะสามารถแก้ปัญหาใหญ่ๆ ได้ และอันที่จริงมันก็ กำ�ลังทำ�เช่นนั้น มันกำ�ลังช่วยคนหลายพันล้านคนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ความก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงชีวิตคนเฉพาะในกรณีที่คนมีกำ�ลัง ซือ้ มัน เฉพาะในดินแดนทีม่ อี ปุ สงค์ทางเศรษฐกิจ อุปสงค์ทางเศรษฐกิจไม่ใช่ 31


CREATIVE

เรื่องเดียวกันกับความจำ�เป็นทางเศรษฐกิจ มีคนหลายพันล้านคนที่จำ�เป็น จะต้องใช้สิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่ของยุคคอมพิวเตอร์ ไม่นับความจำ�เป็นขั้น พื้นฐานอีกหลายอย่าง แต่พวกเขาไม่มีวิธีแสดงออกซึ่งความต้องการของ พวกเขาในทางที่ตลาดจะสนใจ พวกเขาก็เลยต้องทนอยู่ต่อไป ถ้าเราจะมีโอกาสที่ทำ�ได้จริงในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของพวกเขา เราจะต้องใช้นวัตกรรมอีกระดับหนึ่ง ไม่ใช่แค่นวัตกรรมทางเทคโนโลยี แต่ เป็นนวัตกรรมทางระบบ นี่คือสิ่งที่ผมอยากจะอภิปรายร่วมกันกับพวกคุณ ในดาวอสวันนี้ ผมอยากเริ่มด้วยการนำ�เสนอความเห็นที่หลายคนอาจไม่เห็นด้วย โลกของเรากำ�ลังดีขึ้นกว่าเดิม ในหลายแง่มมุ ทีส่ ำ�คัญและส่งผลกว้างไกล โลกในวันนีเ้ ป็นทีท่ นี่ า่ อยู่ กว่าที่มันเคยเป็นมาในประวัติศาสตร์ ลองคิดถึงสถานภาพของสตรีและชนกลุ่มน้อยในสังคม สังคมไหน ก็ได้ เปรียบเทียบกับยุคก่อนหน้านี้ทุกยุค ลองคิดดูวา่ อายุขยั ของคนเราเพิม่ ขึน้ เกือบสองเท่าในช่วงหนึง่ ร้อยปี ที่ผ่านมา ลองคิ ด ถึ ง เรื่ อ งธรรมาภิ บ าล จำ � นวนคนที่ ไ ปออกเสี ย งเลื อ กตั้ ง แสดงความคิดเห็น และมีอิสรภาพทางเศรษฐกิจ โดยเปรียบเทียบกับยุค ก่อนหน้านี้ทุกยุค ในสาขาที่สำ�คัญยิ่งเหล่านี้ โลกของเรากำ�ลังดีขึ้นกว่าเดิม สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ควบคู่ ไ ปกั บ พั ฒ นาการเหล่ า นี้ และในบางกรณี ก็ ทำ�ให้พัฒนาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้ คือความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ สาขาเหล่านี้ทำ�ให้มนุษย์มีสวัสดิการดีกว่าใน ทุกยุค เรากำ�ลังอยู่ในยุคเริ่มต้นของการปฏิวัติทางเทคโนโลยี ปฏิวัติสิ่งที่ คนเราจะทำ�ให้แก่กันและกันได้ ในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า เราจะมีความ สามารถใหม่ๆ อันเหลือเชื่อในการวินิจฉัยโรค รักษาโรคร้าย มอบการศึกษา 32


CAPITALISM

ให้กับเด็ก สร้างโอกาสให้กับคนจน และใช้พลังสมองที่ปราดเปรื่องที่สุด ในโลกเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาที่ยากที่สุด ผมมองโลกแบบนี้ และภาพนี้ก็น่าจะชี้ชัดว่า ผมเป็นคนมองโลก ในแง่ดี แต่ผมก็เป็นคนมองโลกในแง่ดีที่ใจร้อน โลกของเรากำ�ลังดีขนึ้ ก็จริง แต่มนั ก็ยงั ไม่ดขี นึ้ อย่างรวดเร็วพอ และ มันก็ไม่ได้ดีขึ้นสำ�หรับทุกคน ความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ในโลกมักจะตอกลิ่มความเหลื่อมลํ้าให้ ถ่างกว้างกว่าเดิม คนที่ไม่ต้องการอะไรแล้วได้ประโยชน์มากที่สุด ผู้ยากไร้ ได้ประโยชน์น้อยที่สุด โดยเฉพาะหนึ่งพันล้านคนที่ใช้ชีวิตด้วยเงินไม่ถึง หนึ่งเหรียญต่อวัน โลกของเรามีคนประมาณหนึ่งพันล้านคนที่ไม่มีอาหารเพียงพอ ไม่มีนํ้าดื่มที่สะอาด ไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีอะไรๆ ที่เรามองว่าเป็นสิ่งที่ต้องมี แน่ๆ โรคร้ายอย่างมาลาเรียที่คร่าชีวิตคนกว่าหนึ่งล้านคนทุกปี มีคนสนใจ น้อยกว่ายาปลูกผม คนเหล่านีไ้ ม่เพียงแต่พลาดประโยชน์ของเศรษฐกิจโลก เท่านั้น แต่พวกเขายังจะเดือดร้อนจากผลกระทบทางลบของการเติบโตทาง เศรษฐกิจที่พวกเขาไม่ได้ประโยชน์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะ ส่งผลกระทบสูงสุดต่อคนที่มีส่วนสร้างมันน้อยที่สุด ทำ�ไมผู้คนถึงได้รับประโยชน์ในทางตรงกันข้ามกับความต้องการ ของพวกเขา? แรงจูงใจของตลาดคือสาเหตุ ในระบบทุนนิยมบริสุทธิ์ ขณะที่ผู้คนมีความมั่งคั่งมากขึ้น แรงจูงใจ ทางการเงินที่จะรับใช้พวกเขาก็เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่เมื่อความมั่งคั่งของผู้คน ลดลง แรงจูงใจทางการเงินที่จะรับใช้พวกเขาก็ลดลงจนเหลือศูนย์ เราจะ ต้องหาทางทำ�ให้แง่มุมของทุนนิยมที่รับใช้คนรวยมารับใช้คนจนได้ด้วย อัจฉริยภาพของทุนนิยมอยู่ที่ความสามารถของมันในการทำ�ให้ 33


CREATIVE

ผลประโยชน์ ส่ ว นตั ว ของคนสามารถรั บ ใช้ ป ระโยชน์ ส่ ว นรวม โอกาสที่ นวัตกรรมจะสร้างผลตอบแทนทางการเงินมหาศาล ปลดปล่อยคนจำ�นวน มากที่เปี่ยมพรสวรรค์ให้แสวงหาการค้นพบที่แตกต่างหลากหลาย ระบบ ที่ขับดันด้วยผลประโยชน์ส่วนตัวดังกล่าว เป็นเหตุผลที่เรามีนวัตกรรมอัน ยิ่งใหญ่มากมาย ซึ่งทำ�ให้คนหลายพันล้านคนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่การใช้พลังนี้ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อทุกคน หมายความว่าเรา จะต้องปรับปรุงระบบ ผมมองว่ าธรรมชาติข องมนุษย์มีพลังที่ยิ่งใหญ่อยู่สองพลัง คือ ประโยชน์ส่วนตัวกับความห่วงใยผู้อื่น ระบบทุนนิยมใช้ประโยชน์ส่วนตัว ทำ�งานในทางที่เป็นประโยชน์และยั่งยืน แต่สำ�หรับคนที่มีกำ�ลังจ่ายเท่านั้น การกุศลและโครงการช่วยเหลือของภาครัฐเป็นช่องทางให้เราแสดงความ ห่วงใยต่อผู้ที่ไร้กำ�ลังซื้อ แต่ทรัพยากรกลับหมดลงก่อนที่พวกเขาจะตอบ สนองความต้องการได้ การปรับปรุงชีวติ ความเป็นอยูข่ องคนจนอย่างรวดเร็ว แปลว่าเราจะต้องมีระบบที่ดึงดูดนักนวัตกรรมและภาคธุรกิจที่ดีกว่าสิ่งที่เรา มีอยู่ในทุกวันนี้ ระบบนีจ้ ะมีพนั ธกิจสองอย่างควบคูก่ นั คือทำ�กำ�ไรและปรับปรุงชีวติ ของคนที่ไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากพลังของตลาด เราจะต้องใช้แรง จูงใจของกำ�ไรทุกเมื่อที่ทำ�ได้ เพื่อทำ�ให้ระบบนี้ยั่งยืน ในขณะเดียวกัน บางครั้งการทำ�กำ�ไรก็เป็นไปไม่ได้ในเวลาที่ธุรกิจ พยายามรับใช้ผู้ยากไร้ ในกรณีเหล่านี้ เราจะต้องใช้แรงจูงใจแบบอื่นที่มี ตลาดเป็นพื้นฐาน และแรงจูงใจทีว่ า่ นัน้ ก็คอื ความเป็นทีย่ อมรับ ความเป็นที่ ยอมรับสร้างชื่อเสียงให้กับบริษัทและทำ�ให้ผู้บริโภคชอบใจ และที่ดีที่สุดคือ มันดึงดูดคนดีให้มาทำ�งานกับองค์กร ในแง่นี้ การยอมรับจึงกระตุ้นให้ตลาด มอบรางวัลให้กับพฤติกรรมที่ดี ในตลาดที่ทำ�กำ�ไรไม่ได้ก็ใช้การยอมรับ ทดแทนได้ ในตลาดที่ทำ�กำ�ไรได้ การยอมรับก็เป็นแรงจูงใจเสริม ความท้ า ทายอยู่ที่การออกแบบระบบที่แ รงจูงใจทางตลาด ซึ่ง 34


CAPITALISM

หมายรวมถึงกำ�ไรและความเป็นที่ยอมรับ ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผมอยากเรียกระบบใหม่นี้ว่า ทุนนิยมสร้างสรรค์ - ระบบที่รัฐบาล ภาคธุรกิจ และภาคไม่แสวงหากำ�ไร ทำ�งานร่วมกันเพือ่ ขยับขยายพลังของตลาดออกไป ให้คนจำ�นวนมากขึ้นได้กำ�ไร เป็นที่ยอมรับ และทำ�งานเพื่อช่วยบรรเทา ความเหลื่อมลํ้าในโลก บางคนอาจต่ อ ต้ า น “การเปลี่ ย นแปลงทางสั ง คมที่ มี ต ลาดเป็ น พื้ น ฐาน” แบบนี้ พวกเขาอาจบอกว่ า ถ้ า เราเอาความรู้ สึ ก มาผสมกั บ ผลประโยชน์ส่วนตน เราจะทำ�ให้ตลาดหดแคบลงแทนที่จะขยายตัว แต่แล้ว อดัม สมิธ (Adam Smith) บิดาแห่งทุนนิยมและผู้เขียน ความมั่งคั่งของ นานาประเทศ (The Wealth of Nations) ผู้เชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในคุณค่า ของประโยชน์สว่ นตนทีม่ ตี อ่ สังคม ก็เปิดหนังสือเล่มแรกของเขาด้วยประโยค ต่อไปนี้ “ไม่ว่าใครจะมองมนุษย์ว่าเห็นแก่ตัวเพียงใด ในธรรมชาติของเขา ก็มีหลักการบางข้อที่เด่นชัด ซึ่งทำ�ให้เขาสนใจในโชคชะตาของผู้อื่น และ ทำ�ให้ความสุขของผู้อื่นจำ�เป็นต่อความสุขของเขา ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้ อะไรเลยนอกจากความเพลิดเพลินที่ได้มองเห็นมัน” ทุนนิยมสร้างสรรค์นำ�ความสนใจในโชคชะตาของผู้อื่นมาผูกโยง เข้ากับความสนใจในโชคชะตาของตัวเราเอง ในทางที่ส่งผลดีต่อทั้งสองฝ่าย เครือ่ งยนต์ลกู ผสมทีม่ ที งั้ ผลประโยชน์สว่ นตนกับความห่วงใยผูอ้ นื่ นีส้ ามารถ รับใช้คนในวงกว้างกว่าที่ผลประโยชน์ส่วนตนหรือความห่วงใยจะทำ�ได้โดย ลำ�พัง ความคิดของผมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์ มากมายที่แตกต่างกัน รวมถึงงานของเราที่ไมโครซอฟท์ ซึ่งพยายามรับมือ กับความไม่เท่าเทียมกัน ตลอดระยะเวลายีส่ บิ ปีทผี่ า่ นมา ไมโครซอฟท์ใช้การกุศลของบริษทั เป็นช่องทางในการนำ�เทคโนโลยีไปให้กับคนที่เข้าไม่ถึง เราบริจาคเงินและ 35


CREATIVE

ซอฟต์แวร์มูลค่ากว่าสามพันล้านเหรียญ ในความพยายามที่จะปิดช่องว่าง ทางดิจิตอล และงานนี้ก็จะดำ�เนินต่อไป แต่ผลกระทบสูงสุดจากงานของเรา ไม่ได้อยูท่ ซี่ อฟต์แวร์ฟรีหรือราคาถูกในตัวมันเองเพียงอย่างเดียว แต่เกิดขึน้ ตอนที่เราแสดงให้ดูว่าจะใช้เทคโนโลยีในการสร้างวิธีแก้ปัญหาได้อย่างไร เราให้คำ�มั่นสัญญาว่าจะใช้ความเชี่ยวชาญนี้ให้มากขึ้น กลุ่มผลิตภัณฑ์และ กลุ่มธุรกิจของเราทั่วโลก รวมทั้งมันสมองที่ปราดเปรื่องที่สุดของเราที่ห้อง ทดลองในอินเดีย กำ�ลังคิดค้นผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี และโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่ทำ�ให้ผู้คนเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้นในราคาที่ซื้อหาได้ ยกตัวอย่าง เช่น เรากำ�ลังพัฒนาอินเตอร์เฟซที่ไม่ใช้ภาษา เพื่อให้ผู้ไม่รู้หนังสือหรือรู้ ไม่มากสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ทนั ที โดยผ่านการอบรมและการช่วยเหลือ น้อยมาก อี ก ตั ว อย่ า งหนึ่ ง เรากำ � ลั ง ดู ว่ า เทคโนโลยี ไ ร้ ส ายกั บ ซอฟต์ แ วร์ จะสามารถเลี่ยงปัญหาการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพงในพื้นที่ชนบท ได้อย่างไร เรากำ�ลังครุ่นคิดอย่างมุ่งมั่นตั้งใจกว่าเดิมมากเกี่ยวกับปัญหาที่ คนทีย่ ากจนทีส่ ดุ ต้องเผชิญ และมอบเวลาและทรัพยากรให้กบั นักคิดผูเ้ ปีย่ ม นวัตกรรมที่สุดของเราให้คิดหาวิธีแก้ปัญหา ทุนนิยมสร้างสรรค์แบบนีจ้ บั คูค่ วามเชีย่ วชาญเชิงธุรกิจเข้ากับความ ต้องการในโลกกำ�ลังพัฒนา เพือ่ หาตลาดทีม่ อี ยูแ่ ล้วแต่ยงั ไม่มใี ครเจาะเข้าไป บางครัง้ พลังของตลาดล้มเหลวในการสร้างการเปลีย่ นแปลงในประเทศกำ�ลัง พัฒนา ไม่ใช่เพราะไม่มีอุปสงค์ และไม่ใช่เพราะไม่มีเงิน แต่เป็นเพราะเรายัง ไม่ได้ใช้เวลามากพอในการศึกษาความต้องการและขีดจำ�กัดของตลาดนั้นๆ คนที่อธิบายประเด็นนี้ได้อย่างคมคายคือ ซี. เค. พราฮาลัด (C. K. Prahalad) ในหนังสือชื่อ ขุมสมบัติ ณ ฐานล่างของพีระมิด (The Fortune at the Bottom of the Pyramid ) ซึง่ มีอทิ ธิพลอย่างยิง่ ต่อบริษัทต่างๆ ในแง่ของ การขยับขยายแรงจูงใจที่จะทำ�กำ�ไรผ่านนวัตกรรมพิเศษ ตอนทีอ่ งค์การอนามัยโลกพยายามขยายอัตราการฉีดวัคซีนป้องกัน 36


CAPITALISM

โรคไขสันหลังอักเสบในแอฟริกา องค์กรนี้ไม่ได้ไปติดต่อผู้ผลิตวัคซีนทันที แต่เดินทางไปแอฟริกาเพื่อวิเคราะห์กำ�ลังซื้อของคนก่อน พวกเขาพบว่า ถ้าพวกเขาต้องการให้มารดาได้รับวัคซีนนี้สำ�หรับทารกของพวกเธอ วัคซีน ก็จะต้องมีราคาตํ่ากว่าห้าสิบเซ็นต์ต่อเข็ม หลังจากนั้น องค์การอนามัยโลก ก็ไปท้าทายพันธมิตรของพวกเขาให้ตั้งราคานี้ให้ได้ ท้ายที่สุด สถาบันเซรัม (Serum Institute) จากอินเดียก็ค้นพบวิธีใหม่ในการผลิตวัคซีนในราคา สี่สิบเซ็นต์ต่อเข็ม บริษัทตกลงผลิต 250 ล้านเข็มเพื่อกระจายผ่านระบบ สาธารณสุขของรัฐตลอดทศวรรษหน้า และบริษัทก็มีอิสระที่จะขายวัคซีน ให้กับภาคเอกชนโดยตรงด้วย อีกกรณีหนึง่ บริษทั ดัตช์แห่งหนึง่ ทีเ่ ป็นเจ้าของสิทธิใ์ นวัคซีนป้องกัน โรคอหิวาต์ เลือกที่จะรักษาสิทธิ์ในโลกที่พัฒนาแล้ว แต่แบ่งปันสิทธิ์นั้นกับ ผู้ผลิตในประเทศกำ�ลังพัฒนา ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ เรามีวัคซีนป้องกันโรค อหิวาต์ทผี่ ลิตในเวียดนาม ซึง่ มีราคาไม่ถงึ หนึง่ เหรียญต่อเข็ม และราคานีร้ วม ค่าขนส่งและค่าใช้จา่ ยในการทำ�แคมเปญรณรงค์ตอ่ สาธารณะ อุตสาหกรรม บางอย่างสามารถใช้โอกาสจากการตั้งราคาหลายระดับ เพื่อนำ�ส่งยาและ เทคโนโลยีที่มีคุณค่าไปให้กับประชากรผู้มีรายได้น้อย โครงการเหล่านี้เป็นเพียงส่วนเสี้ยวเดียวของสิ่งที่เราทำ�ได้ ถ้าหาก ผู้ เ ชี่ ย วชาญด้ า นความต้ อ งการของโลกกำ � ลั ง พั ฒ นาจะมาพบกั บ นั ก วิทยาศาสตร์ที่บริษัทซอฟต์แวร์หรือบริษัทยาปีละหลายๆ ครั้ง เพื่อช่วยให้ บริษัทเหล่านี้พบวิธีที่จะนำ�ความคิดที่ดีที่สุดของพวกเขาไปประยุกต์ใช้ใน ประเทศยากจน วิธีนำ�ทุนนิยมสร้างสรรค์มาใช้อีกวิธีหนึ่งคือ ให้รัฐบาลมีบทบาท โดยตรง แน่นอน รัฐบาลต่างๆ ทำ�งานเพือ่ ช่วยเหลือคนจนในหลากหลายวิธี ทีไ่ ปไกลกว่าการฟูมฟักตลาด รัฐบาลให้เงินวิจยั อุดหนุนระบบประกันสุขภาพ ก่อสร้างโรงเรียนและโรงพยาบาล แต่งานที่ส่งผลกระทบอย่างมากซึ่งรัฐบาล ทำ�ได้งานหนึ่งคือ ออกแบบนโยบายและจัดสรรทุนในทางที่สร้างแรงจูงใจ 37


CREATIVE

ทางตลาด เพื่อให้เกิดกิจกรรมทางธุรกิจที่ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนจน ภายใต้กฎหมายที่ออกโดยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) เมื่อปีที่แล้ว (2007) สำ�นักงานคณะกรรมการอาหาร และยาจะเร่งรัดขั้นตอนการออกใบอนุญาตให้กับผลิตภัณฑ์ของบริษัทยา แห่งใดก็ตามที่พัฒนายาชนิดใหม่สำ�หรับรักษาโรคที่ถูกละเลยอย่างเช่น มาลาเรียและวัณโรค ถ้าคุณพัฒนายารักษาโรคมาลาเรีย คุณก็อาจส่งยา ลดคอเลสเตอรอลที่ทำ�กำ�ไรของคุณเข้าสู่ตลาดหนึ่งปีก่อนกำ�หนด การได้ สิทธิ์เร่งรัดขั้นตอนดังกล่าวอาจช่วยทำ�ให้คุณได้กำ�ไรมากกว่าเดิมหลายร้อย ล้านเหรียญ อีกวิธีหนึ่งในการปฏิบัติตามแนวคิดทุนนิยมสร้างสรรค์ก็คือ แค่ ช่วยทำ�ให้ธุรกิจในโลกยากจนเข้าถึงตลาดในโลกรํ่ารวยได้ วันพรุ่งนี้ผม จะประกาศก่อตัง้ แนวร่วมทางธุรกิจทีท่ �ำ ให้เกษตรกรในแอฟริกาเข้าถึงตลาด กาแฟราคาแพงได้ โดยตั้งเป้าที่จะเพิ่มรายได้จากการขายเมล็ดกาแฟของ พวกเขาขึ้นเป็นสองเท่า โครงการนี้จะช่วยให้เกษตรกรชาวแอฟริกันผลิต กาแฟคุณภาพสูง และเชือ่ มโยงพวกเขาเข้ากับบริษทั ทีอ่ ยากซือ้ มัน เป็นการ ช่วยยกพวกเขา ครอบครัว และชุมชน ออกจากความยากจน สุดท้าย ทุนนิยมสร้างสรรค์รูปแบบหนึ่งที่สร้างสรรค์ที่สุด เกี่ยวข้อง กับคนคนหนึ่งที่พวกเราทุกคนรู้จักดี เมื่อไม่กี่ปีที่แล้ว ผมนั่งอยู่ในบาร์แห่งหนึ่งที่นี่ ที่ดาวอส กับโบโน (Bono) หลังจากที่ทวีปเอเชีย ยุโรปส่วนใหญ่ และแอฟริกา เข้านอนกันแล้ว แต่ไฟในตัวโบโนยังลุกโชน เขาพูดว่า เราจะเอายอดขายหนึ่งเปอร์เซ็นต์ ของบริษัทที่มีสำ�นึกของความเป็นพลเมืองไปเปลี่ยนโลกได้อย่างไร เขาไล่ โทรศัพท์หาผู้คน ปลุกให้พวกเขาตื่น และยื่นโทรศัพท์ให้ผมคุยด้วย ตัวเลข ที่โบโนประมาณการนั้นดูเกินจริงไปหน่อย แต่หลักการของเขาก็ถูกต้อง ถ้าคุณมอบโอกาสให้ผู้คนได้เชื่อมโยงตัวเองเข้ากับเรื่องดีๆ ที่พวกเขาสนใจ พวกเขาก็จะยินดีจ่ายเงินมากกว่าเดิม และส่วนต่างนั้นก็สร้างผลกระทบได้ 38


CAPITALISM

นั่นคือจุดเริ่มต้นของโครงการเรด (RED) ที่นี่ ที่ดาวอส ตอนนี้คุณหาซื้อผลิตภัณฑ์เรดได้จากบริษัทอย่างแกป โมโตโรลา และอาร์มานี ส่วนเดลล์กับไมโครซอฟท์ก็จะเข้าร่วมโครงการในสัปดาห์นี้ ตลอดระยะเวลาหนึง่ ปีครึง่ ทีผ่ า่ นมา เรดสร้างยอดขายห้าสิบล้านเหรียญให้กบั กองทุนโลกเพือ่ การต่อสูก้ บั โรคเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย ผลลัพธ์ทเี่ กิดขึน้ คือ วันนี้คนในแอฟริกาเกือบสองล้านคนกำ�ลังได้รับยาที่ช่วยชีวิตพวกเขา สิ่งที่ทุนนิยมสร้างสรรค์ทุกรูปแบบมีเหมือนกันคือ ทุกรูปแบบล้วน เป็นความพยายามที่จะใช้กลไกตลาดในการนำ�ส่งวิธีแก้ปัญหาที่เราคิดว่า เป็นของตายไปสู่กลุ่มคนที่เข้าไม่ถึง ระหว่างที่เราปรับปรุงและพัฒนาวิธี ลงมือทำ�ตามแนวคิดนี้ เราก็มีเหตุผลพร้อมมูลที่จะเชื่อว่าเครื่องยนต์แห่ง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เข้มแข็งขึ้น และมีประสิทธิภาพ สูงขึ้น ความเข้าใจกำ�ลังงอกเงยขึ้นทั่วโลกว่า เมื่อใดที่การเปลี่ยนแปลง ถูกขับดันด้วยแรงจูงใจทางตลาด คุณก็จะมีแผนการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน เพราะผลกำ � ไรและความเป็ น ที่ ย อมรั บ นั้ น เป็ น ทรั พ ยากรที่ ไ ม่ มี วั น หมด คลอส ชวาบ1 (Klaus Schwab) ดูแลมูลนิธิที่ให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการ เพื่ อ สั ง คมทั่ ว โลก พวกเขาเหล่ า นี้ คื อ บรรดาชายหญิ ง ที่ แ ปลงความคิ ด เกีย่ วกับการปรับปรุงชีวติ ของผูค้ นเป็นสินค้าหรือบริการทีค่ นเหล่านัน้ มีก�ำ ลัง ซื้อ ประธานาธิบดี บิล คลินตัน (Bill Clinton) แสดงให้เห็นบทบาทเฉพาะตัว ที่องค์กรไม่แสวงกำ�ไรทำ�ได้ ในฐานะนักจัดทำ�ข้อตกลงระหว่างผู้ผลิตในโลก รํ่ารวยกับผู้บริโภคในโลกยากจน นิตยสาร ฟาสต์ คอมพานี มอบรางวัลที่ พวกเขาเรียกว่า “ทุนนิยมเพื่อสังคม” (Social Capitalism) เหล่านีไ้ ม่ใช่เรือ่ งราวทีก่ ระจัดกระจาย แต่เป็นขบวนการเคลือ่ นไหว นักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมัน เป็นทีร่ จู้ กั ในฐานะผูก้ อ่ ตัง้ และประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร (executive chairman) ของการประชุมเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) 1

39


CREATIVE

ระดับโลก และเราทุกคนล้วนมีความสามารถและความรับผิดชอบที่จะเร่ง ให้มันเติบโตเร็วขึ้นกว่าเดิม ผมอยากจะขอให้ทกุ ท่านทีน่ งั่ อยูท่ นี่ รี่ เิ ริม่ โครงการทุนนิยมสร้างสรรค์ ในปีหน้า ไม่ว่าคุณจะมาจากโลกธุรกิจ รัฐบาล หรือองค์กรไม่แสวงกำ�ไร มันไม่ตอ้ งเป็นโครงการใหม่กไ็ ด้ คุณอาจเอาโครงการเดิมมาดูวา่ จะขยับขยาย พลังของตลาดให้เกิดความก้าวหน้าได้อย่างไร เวลาที่คุณมอบเงินช่วยเหลือ ให้กับประเทศยากจน เวลาที่คุณบริจาคเงิน เวลาที่คุณพยายามจะเปลี่ยน โลก คุณจะหาทางใช้พลังของตลาดไปขับเคลื่อนการช่วยเหลือคนยากจน ได้หรือเปล่า? ผมหวังว่าบริษัทต่างๆ จะพิจารณาอุทิศเวลาหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของ นักนวัตกรรมที่เก่งที่สุดในบริษัทของคุณ ให้กับการศึกษาประเด็นที่อาจ ช่วยเหลือผู้คนที่ถูกทิ้งไว้นอกระบบเศรษฐกิจโลก การมีส่วนร่วมแบบนี้ มีพลังมากกว่าแค่การให้เงินบริจาคหรือการให้พนักงานของคุณไปทำ�งาน อาสาสมัครในเวลางาน มันคือการทุ่มเทสิ่งที่บริษัทของคุณทำ�ได้ดีที่สุด มันคือรูปแบบของทุนนิยมสร้างสรรค์ทยี่ อดเยีย่ ม เพราะมันนำ�เอาพลังสมอง ทีป่ รับปรุงชีวติ ของคนรวยมาทุม่ เทให้กบั การปรับปรุงชีวติ ของทุกคนทีเ่ หลือ บริษัทในอุตสาหกรรมยาหลายแห่ง โดยเฉพาะแกล็กโซสมิธไคลน์ กำ�ลังอุทศิ นักนวัตกรรมทีเ่ ก่งทีส่ ดุ ให้กบั การค้นหาวิธใี หม่ๆ ในการช่วยเหลือ คนจน และบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมอาหาร เทคโนโลยี และโทรศัพท์ มือถือ ก็กำ�ลังทำ�เหมือนกัน ถ้าเรามองผู้นำ�ในสาขาเหล่านี้ว่าเป็นต้นแบบ และสนับสนุนให้บริษัทที่เหลือทำ�ตาม เราก็จะสามารถสร้างผลกระทบอัน ยิ่งใหญ่สำ�หรับการรับมือกับความไม่เท่าเทียมทั้งหลายในโลก สุ ด ท้ า ยนี้ ผมหวั ง ว่ า นั ก คิ ด ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ทั้ ง หลายในห้ อ งนี้ จ ะเจี ย ด เวลาบางส่วนให้กับการค้นหาวิธีที่ภาคธุรกิจ รัฐบาล เอ็นจีโอ และสื่อ จะใช้ ในการสร้ า งวิ ธี ป ระเมิ น ผลงานของบริ ษั ท ต่ า งๆ ที่ กำ � ลั ง ใช้ อิ ท ธิ พ ลและ สติปัญญาของพวกเขาในการรับใช้คนในวงกว้างกว่าเดิม ข้อมูลแบบนี้คือ 40


CAPITALISM

ส่วนประกอบที่สำ�คัญของทุนนิยมสร้างสรรค์ มันสามารถเปลี่ยนงานดีๆ ให้เป็นสิง่ ทีค่ นให้การยอมรับ และรับประกันว่าชือ่ เสียงจากสิง่ นีจ้ ะสร้างรางวัล ที่มีตลาดเป็นพื้นฐานกลับคืนสู่ธุรกิจที่ทำ�งานหนักที่สุดเพื่อรับใช้คนจำ�นวน มากที่สุด เรากำ�ลังใช้ชีวิตอยู่ในยุคที่น่าอัศจรรย์ ถ้าเราสามารถใช้ทศวรรษ แรกๆ ของศตวรรษที่ 21 ไปกับการค้นหาวิธีที่ตอบสนองความต้องการของ คนจนในทางทีส่ ร้างทัง้ กำ�ไรและชือ่ เสียงให้กบั ธุรกิจ ก็เท่ากับว่าเราได้คน้ พบ วิธที ยี่ งั่ ยืนในการบรรเทาความยากจนในโลก พันธกิจนีไ้ ม่มจี ดุ สิน้ สุด มันอาจ ไม่มีวันบรรลุเป้าหมายได้โดยสมบูรณ์ แต่ความพยายามที่จะรับมือกับความ ท้าทายนี้จะช่วยเปลี่ยนแปลงโลก

41


CREATIVE

ทุนนิยมสร้างสรรค์: บทย่อความ ไมเคิล คินส์ลีย์

นี่ คื อ ความพยายามของผมในการสรุ ป สุ น ทรพจน์ ข องบิ ล ในโลก วิชาการ เอกสารแบบนี้เรียกว่า “แผ่นย่อความ” ส่วนโลกธุรกิจเรียกมันว่า “บทสรุปสำ�หรับผู้บริหาร” 1. ปาฏิหาริย์ของเทคโนโลยีในทุกวันนี้ทำ�ประโยชน์ให้กับคนที่มีเงินซื้อ มันเท่านั้น ตลาดตอบสนองต่อ “อุปสงค์” (demand) เท่านั้น ไม่ใช่ “ความ ต้องการ” (need) 2. นีเ่ ป็นความบกพร่องเชิงระบบในระบบตลาดเสรี นวัตกรรมทางเทคโนโลยี ไม่สำ�คัญเท่ากับนวัตกรรมเชิงระบบที่จะแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว 3. โลกของเรากำ�ลังดีขึ้น แต่ไม่รวดเร็วพอและไม่ใช่สำ�หรับทุกคน ดังนั้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจึงทำ�ให้ความเหลื่อมลํ้ายํ่าแย่ลง คนประมาณ หนึ่งพันล้านคนอยู่นอกระบบ ยกตัวอย่างเช่น ผลกระทบที่รุนแรงที่สุดของ 42


CAPITALISM

ภาวะสภาพภูมอิ ากาศเปลีย่ นแปลงจะตกอยูก่ บั คนทีม่ สี ว่ นสร้างมันน้อยทีส่ ดุ 4. ทำ�ไมจึงเป็นอย่างนี้? เพราะใน “ระบบทุนนิยมบริสุทธิ์” แรงจูงใจที่จะรับ ใช้ผู้คนมีมากขึ้นเมื่อความมั่งคั่งของคนเพิ่มสูงขึ้น และถดถอยลงเมื่อความ มั่งคั่งลดน้อยลง เราจะต้องเปลี่ยนระบบนี้เสียใหม่ เพื่อให้ธุรกิจมีแรงจูงใจ ที่จะรับใช้คนจนด้วย 5. การเห็นแก่ประโยชน์สว่ นตัวเป็นเพียงแค่หนึง่ ในพลังสองชนิดในธรรมชาติ ของมนุษย์ พลังอีกชนิดหนึ่งคือ “ความห่วงใยผู้อื่น” อัจฉริยภาพของระบบ ทุนนิยมคือ มันทำ�ให้การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวรับใช้ประโยชน์ส่วนรวม ตามหลักการ การกุศลกับรัฐบาลควรตอบสนองต่อ “ความห่วงใยผู้อื่น” ของ เรา แต่เงินบริจาคหรืองบประมาณของรัฐมีไม่เพียงพอทีจ่ ะแก้ปญ ั หาของโลก 6. ระบบทุนนิยมที่ปรับปรุงใหม่จะสร้างทั้งกำ�ไรและปรับปรุงชีวิตของผู้ด้อย โอกาส 7. ระบบใหม่ควรใช้แรงจูงใจทางตลาดในทุกทางทีท่ �ำ ได้ แม้แต่ในกรณีทสี่ ร้าง กำ�ไรไม่ได้ ธุรกิจก็ควรใช้แรงจูงใจทางตลาดอีกชนิดหนึ่งให้เป็นประโยชน์ นั่นคือ ความเป็นที่ยอมรับ ความเป็นที่ยอมรับช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้กับบริษัท ดึงดูดลูกค้า และดึงดูดพนักงาน 8. ทุนนิยมสร้างสรรค์คือระบบที่แรงจูงใจที่จะสร้างทั้งกำ�ไรและความเป็นที่ ยอมรับ ผลักดันทั้งประโยชน์ส่วนตัวและความห่วงใยผู้อื่น 9. ในระบบทุนนิยมสร้างสรรค์ รัฐบาล ธุรกิจ และองค์กรไม่แสวงกำ�ไร ทำ�งาน ร่วมกัน 43


CREATIVE

10. “เครื่องยนต์ลูกผสมที่มีทั้งผลประโยชน์ส่วนตัวกับความห่วงใยผู้อื่นนี้ สามารถรับใช้คนในวงกว้างกว่าที่ผลประโยชน์ส่วนตนหรือความห่วงใยจะ ทำ�ได้โดยลำ�พัง” 11. ตัวอย่าง: บริษัทบริจาคเงินหรือผลิตภัณฑ์ หรือที่ดีกว่านั้นก็คือ บริษัท ใช้เงินหรือใช้เทคโนโลยีเพื่อค้นหาตลาดใหม่ๆ ในประเทศยากจน 12. ตัวอย่าง: “ตั้งราคาหลายระดับ” บริษัทยามีสิทธิบัตรมูลค่าสูง คิดราคา ผูกขาดเต็มอัตราในโลกพัฒนาแล้ว แต่ยอมให้ผู้ผลิตในประเทศยากจนผลิต ในราคาไม่ถึงหนึ่งเหรียญต่อเข็ม 13. บางทีรฐั บาลก็มี “บทบาทโดยตรง” ได้: สร้างแรงจูงใจทางตลาดให้บริษทั ช่วยเหลือคนจน ยกตัวอย่างเช่น สำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประกาศว่าถ้าคุณพัฒนายาชนิดใหม่สำ�หรับรักษาโรคที่ถูกละเลย ยาอีกตัว ของคุณก็จะได้รับการประเมินเร็วเป็นพิเศษ 14. อีกวิธีหนึ่ง: ช่วยธุรกิจในโลกยากจนให้ทำ�ธุรกิจในโลกพัฒนาแล้วได้ 15. อีกตัวอย่างหนึ่ง: โมเดลของโบโน (แคมเปญ “RED”) ขายผลิตภัณฑ์ ที่แบ่งกำ�ไรในอัตราส่วนเล็กน้อยให้กับโครงการดีๆ ในโลกยากจน ผู้บริโภค ยินดีจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อสินค้าที่โยงกับโครงการเหล่านี้ 16. “สิ่งที่ทุนนิยมสร้างสรรค์ทุกรูปแบบมีเหมือนกันคือ ทุกรูปแบบล้วน เป็นความพยายามทีจ่ ะใช้กลไกตลาดในการนำ�ส่งวิธแี ก้ปญ ั หาทีเ่ ราคิดว่าเป็น ของตายไปสู่กลุ่มคนที่เข้าไม่ถึง”

44


CAPITALISM

17. บริ ษั ท ต่ า งๆ ควรยอมให้ “นั ก นวั ต กรรมที่ เ ก่ ง ที่ สุ ด ” ของพวกเขา เจียดเวลามาหาทางรับใช้กลุ่มคนที่ยากจนเกินกว่าที่จะเป็นลูกค้าได้ วิธีนี้ “นำ�เอาพลังสมองทีป่ รับปรุงชีวติ ของคนรวยมาทุม่ เทให้กบั การปรับปรุงชีวติ ของทุกคนที่เหลือ”

45


CREATIVE

บิล เกตส์ กับ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ถกกันเรื่อง “ทุนนิยมสร้างสรรค์” วอร์เรน บัฟเฟตต์ และ บิล เกตส์

นี่คือเทปการสนทนาที่เรียบเรียงจากการอภิปรายระหว่าง บิล เกตส์ กับ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เรื่องแนวคิดทุนนิยมสร้างสรรค์ของบิล การอภิปรายนี้ เกิดขึ้นระหว่างอาหารมื้อกลางวันที่บ้านของเกตส์ในเมืองเมดินา วอชิงตัน วันที่ 15 พฤษภาคม 2008 ผู้ร่วมโต๊ะได้แก่ เมลินดา เกตส์ (Melinda Gates) จอช แดเนียล (Josh Daniel) แห่งมูลนิธิเกตส์ และผม ผมเริ่มด้วยการถาม วอร์เรนว่าเขาคิดอย่างไรเกี่ยวกับความคิดนี้ ­­—ไมเคิล คินส์ลีย์ วอร์เรน บัฟเฟตต์: ผมอยากให้บิลช่วยเล่าประเด็นหลักๆ ให้ผมฟังหน่อย บิล เกตส์: มันไม่ใช่ความคิดที่ตกผลึกแล้วนะครับ ผมศรัทธาในตลาดจริงๆ ในฐานะพลังที่กระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม แต่แล้วเราก็ยังติดอยู่ในสถานการณ์ ที่ตลาดรับใช้แต่คนมีเงิน มันก็เลยไม่ตอบสนองความต้องการของคนที่จน 46


CAPITALISM

ทีส่ ดุ คุณจะหาทางลัดหรือช่วยเหลือคนจนได้อย่างไรในทางทีก่ ระตุน้ ให้ตลาด เอือ้ มมือไปหาพวกเขา? เวลาทีผ่ มมองช่วงเวลาหนึง่ ร้อยปีทผี่ า่ นมาในแง่ของ การทดลองว่าตลาดใช้การได้ดีแค่ไหน คำ�ตอบก็ชัดเจนและแข็งแกร่งมาก มันชัดเจนเสียจนผู้คนไม่พูดคุยเรื่องนี้กันอีกแล้ว เหมือนในหนังสือของ เอ็ดวาร์ด เทลเลอร์ (Edward Teller) เขาบอกว่า ถ้าเขาไม่เชื่อในนวัตกรรม เขาก็คงเป็นคอมมิวนิสต์ไปแล้ว ถ้าระบบเศรษฐกิจเป็นสถานการณ์ทผี่ ลรวม เท่ากับศูนย์ คุณก็ควรหาวิธีแบ่งสมบัติกันแบบเพี้ยนๆ มีแต่นวัตกรรมและ กิจกรรมทีข่ ยายขนาดของเค้กเท่านัน้ ทีท่ �ำ ให้เทลเลอร์รสู้ กึ สบายใจกับวิถขี อง ทุนนิยม และผมคิดว่าเราก็มีหลักฐานพิสูจน์ชัดเจนแล้ว คุณมักจะได้ยินคนบอกว่าบริษัทควรทำ�อย่างอื่นนอกจากการทำ� กำ�ไรสูงสุด เหลือเชื่อมากว่าสารที่ซ่อนอยู่ในคำ�ว่า “ความหลากหลาย” และ คำ�กว้างๆ อย่าง “ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม” (Corporate Social Responsibility: CSR) นั้นจริงจังขนาดไหน วอร์เรนกับผมเพิ่งไปร่วมงาน ประชุมซีอีโอที่ไมโครซอฟท์จัดขึ้นเมื่อไม่กี่วันก่อน เหลือเชื่อมากที่ผู้บริหาร หลายคนขึ้นมาพูดว่าบริษัทจำ�เป็นต้องมีคุณค่าหลักที่สะท้อนตัวตนและ กิจกรรมของพวกเขา คุณค่าที่ทำ�ให้พนักงานรู้สึกว่าพวกเขามีเป้าหมาย และมีทิศทางในการทำ�งาน ผู้บริหารเหล่านั้นบอกว่าตอนนี้เรื่องนี้ต้องเป็น ศูนย์กลางยิ่งกว่าตัวเลขกำ�ไรระยะสั้นเสียอีก แจ็ก เวลช์1 (Jack Welch) พูดเรื่องนี้ได้ดีมาก ลี สกอตต์ (Lee Scott) (ซีอีโอของวอลมาร์ต) ก็พูดดีมาก เหมือนกัน พูดในทางที่ผมคิดว่าจริงใจมาก ผมคิดว่าเรื่องนี้จะเป็นเรื่องจริง มากขึ้นเรื่อยๆ บิล จอร์จ (Bill George) (คณบดีคณะบริหารธุรกิจของฮาร์วาร์ด) เป็นผู้นำ�วงเสวนาเรื่องภาวะผู้นำ� เขาบอกว่าคนรุ่นใหม่อยากไปทำ�งานกับ คนที่มีเป้าหมาย ดังนั้น สิ่งที่ผมกำ�ลังพูดก็คือ เวลาที่ผู้คนเขียนว่าเป้าหมาย 1

อดีตซีอีโอของเจเนรัล อีเล็กทริก (General Electric: GE) 47


CREATIVE

ของพวกเขาคืออะไร เวลาที่พวกเขาเขียนว่าสิ่งที่พวกเขาให้คุณค่าคืออะไร องค์ประกอบในนั้นควรจะเป็นคำ�ตอบของคำ�ถามที่ว่า เราจะทำ�อะไรได้บ้าง จากชุดทักษะที่เรามี นักนวัตกรรมของเรา ความสามารถเฉพาะตัวที่เรามี ในฐานะบริษัท ในการช่วยเหลือคนสองพันล้านคนที่จนที่สุดในโลก? เรา จะรับความเสี่ยงมากกว่าเดิมในแง่ของการพยายามสร้างตลาดในโลกนั้น ซึ่งเป็นวิธีที่ ซี. เค. พราฮาลัด เสนอ หรือไม่ก็ทำ�สิ่งที่ไม่แสวงกำ�ไรในทางที่ ไม่ต้องเสียสละกำ�ไรขนาดนั้น บางคนเห็นคำ�ว่า “ทุนนิยมสร้างสรรค์” แล้วบอกว่า “โอเค บิล เกตส์ บอกว่าคุณควรรับใช้คนที่จนที่สุดในโลกสองพันล้านคนแบบไม่สนกำ�ไร” ผมไม่ ไ ด้ ห มายความอย่ า งนั้ น เลย แต่ ต อนนั้ น ประเด็ น ที่ ผ มทิ้ ง ไว้ อ ย่ า ง คลุมเครือคือประเด็นที่ว่าคุณจะไปได้ไกลแค่ไหนในการสละอะไรสักอย่าง ผมบอกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์หรือเปล่า? สองเปอร์เซ็นต์? สามเปอร์เซ็นต์? ไม่มีใครที่วางบทบาทว่าจะทำ�ทั้งสองอย่างนี้พูดได้อย่างชัดเจนหรอก เวลา ที่คนบอกว่าคุณควรจะสละอะไรบางอย่างเพื่อรับผิดชอบต่อสังคม มันแปล ว่าอะไร? พวกเขาไม่อยากคำ�นวณออกมาเป็นตัวเลข เพราะพวกเขารู้สึกว่า เป้าหมายทั้งสองอย่าง - กำ�ไรและความรับผิดชอบต่อสังคม - ไม่ได้ขัดกัน ในระยะยาว ผมเข้าใจเรื่องนี้ได้ดีที่สุดจากมุมมองของบริษัทยักษ์ใหญ่ในโลก ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยา ธนาคาร เทคโนโลยี หรือผู้ผลิตอาหาร การซื้อ ของจากโลกที่ยากจน ขายของให้กับโลกที่ยากจน จัดให้นักวิทยาศาสตร์กับ นักนวัตกรรมมาระดมสมองกันเรื่องโลกที่ยากจน นิยามของเรื่องนี้ชัดเจน ที่สุดเวลาที่ผมมองบริษัทใหญ่ๆ เสร็จแล้วผมก็คิดว่า “โอเค เรื่องนี้เป็น รูปธรรมแค่ไหน?” ผมกลับไปคิดว่า ถ้าทุกบริษัททำ�ได้แบบเดียวกันกับที่ บริษัทที่ดีที่สุดกำ�ลังทำ� มันก็จะส่งผลมหาศาลต่ออัตราการปรับปรุงชีวิตของ คนจน อีกหนึง่ ปีนบั จากนี้ ผมจะรูเ้ รือ่ งนีด้ ขี นึ้ มาก เพราะบทบาทใหม่ของผม ที่มูลนิธิ ผมจะประชุมร่วมกับผู้บริหารบริษัทยา บริษัทอาหาร บริษัท... ผม 48


CAPITALISM

จะพบกับบริษทั เหล่านี้ และพยายามทำ�ความเข้าใจ พยายามถามว่าพวกเขา เห็นด้วยหรือเปล่าว่าการทำ�แบบนี้จะช่วยดึงดูดพนักงาน เห็นด้วยหรือเปล่า ว่ามันจะช่วยสร้างชื่อเสียง และบางทีก็อาจช่วยสร้างตลาดในระยะยาวด้วย ผมจะดูว่าปฏิกิริยาของพวกเขาจะเป็นรูปธรรมขนาดไหน วอร์เรน: ตอนที่ฟังบิลพูด ผมก็นึกขึ้นมาได้ว่า ถ้าคุณไม่ไว้ใจรัฐบาลว่าจะ ทำ�เรื่องพวกนี้ได้ดี ถ้าธุรกิจไม่มีวันไว้ใจ คนรวยก็ไม่ไว้ใจ และในทางกลับ กัน ระบบการให้เกียรติกันก็ทำ�งานไม่ค่อยดีนัก ถ้าคุณดูว่ามีกี่คนที่ทำ�ตัว อย่างมีเกียรติ ความคิดนี้วาบเข้ามาในหัวผมเมื่อสิบวินาทีที่แล้วนี้เอง ผม คงต้องคิดในรายละเอียดอีกมาก แต่ความคิดของผมคือ สมมติถ้าเรากัน เงินสามเปอร์เซ็นต์จากภาษีเงินได้ แล้วโอนให้กับกองทุนที่จะบริหารจัดการ โดยตัวแทนของภาคธุรกิจอเมริกา สำ�หรับใช้ในทางที่ชาญฉลาดที่สุดเพื่อ ประโยชน์ในระยะยาวของสังคม? นักธุรกิจกลุ่มนี้ ซึ่งคิดว่าพวกเขาบริหาร อะไรๆ ได้ดกี ว่ารัฐบาล จะรับมือกับเรือ่ งการศึกษา สุขภาพ ฯลฯ หรือกิจกรรม อืน่ ๆ ทีร่ ฐั บาลมีบทบาทสูงมาก พวกเขาจะได้ใช้เงินสามเปอร์เซ็นต์ของกำ�ไร จากภาคธุรกิจหรืออะไรแบบนี้ เอซ กรีนเบิร์ก 2 (Ace Greenberg) เคยยืนกรานให้กรรมการ ผูจ้ ดั การของแบร์ สเติรน์ ส์ ทุกคนบริจาคเงินสีเ่ ปอร์เซ็นต์ให้กบั องค์กรการกุศล ในเดือนธันวาคมของทุกปี เขาจะเดินสายคุยกับใครก็ตามที่ยังไม่บริจาค สี่เปอร์เซ็นต์ เขาจะบอกคนยิวทุกคนในบริษัทว่าพวกเขาต้องอุทิศส่วนต่าง ที่ยังไม่ได้บริจาคให้กับองค์กรการกุศลของศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก แล้วก็บอกชาวแคทอลิกว่าพวกเขาต้องบริจาคส่วนต่างให้กบั องค์กรการกุศล ของยิวชือ่ ยูไนเต็ด จิววิช แอปพีล สิง่ ทีผ่ มพูดก็จะเป็นอะไรคล้ายๆ อย่างนัน้ อดีตประธานคณะกรรมการบริหาร (Chairman of the Executive Committee) ของแบร์ สเติร์นส์ (Bear Stearns) 2

49


CREATIVE

คือกันเงินสามเปอร์เซ็นต์ - มาเลือกตัวเลขกัน - ของกำ�ไรจากภาคธุรกิจ แปลว่าเราน่าจะได้สามหมื่นล้านเหรียญต่อปี ซึ่งควรยกเว้นบริษัทขนาดเล็ก ถ้ามีเรือ่ งอะไรทีต่ อ้ งทำ�ในสังคม แต่ระบบตลาดไม่ได้ท�ำ โดยธรรมชาติ กองทุน นี้ก็จะเป็นส่วนเสริมของมือที่มองไม่เห็นของตลาด มันจะเป็นมือที่สองที่ ช่วยเหลือสังคม โดยบริหารจัดการแบบธุรกิจ มันน่าสนใจว่าระบบแบบนี้ จะทำ�อะไรได้บ้าง บิล: คุณอาจกำ�หนดว่าบริษทั สามารถคิดต้นทุนของการให้นกั นวัตกรรมทีเ่ ก่ง ทีส่ ดุ ของพวกเขาอุทศิ เวลาให้กบั การแก้ปญ ั หา บอกว่าถ้าพวกเขาไม่ท�ำ อย่าง นั้น คุณก็ต้องจ่ายเงินสดให้กับกลุ่มบริษัทที่มีนักนวัตกรรมและยินดีอุทิศให้ สีห่ รือห้าเปอร์เซ็นต์ เวลาทีเ่ ราไปบอกบริษทั ยาว่า “ช่วยคิดค้นวัคซีนมาลาเรีย หน่อย” ก็ไม่มีเหตุผลที่เราจะขอให้พวกเขาลงทุนเอง แล้วคุณก็จะได้พบกับ สถานการณ์แปลกประหลาด - ผมไม่รู้ว่าผมพูดเรื่องนี้ในสุนทรพจน์ไปกี่รอบ แล้ว ผมคิดว่าผมพูดเป็นการส่วนตัวบ่อยกว่านัน้ อีก - สถานการณ์ทบี่ ริษทั ยา ขนาดใหญ่จะบอกว่า “เราไม่ท�ำ งานเพือ่ รักษาโรคคนจน แต่ถา้ เราทำ�อย่างนัน้ เราก็จะยกยานั้นให้ฟรีๆ” เลยกลายเป็นว่าบริษัทอื่นที่ทำ�งานเพื่อรักษาโรค คนจนจะเสียเครดิต เพราะพวกเขาคิดค่ายาเท่ากับต้นทุนส่วนเพิ่ม บริษัท แรกก็เลยยกตนข่มท่านแล้วบอกว่า “เราไม่มียาพวกนั้น แต่ถ้าเรามี เราจะ ไม่ใจร้ายเก็บค่ายาเหมือนหมอนั่นหรอก” วอร์เรน: ระบบตลาดย่อมตอบสนองความต้องการทางการแพทย์ของ คนรวย ถ้าเศรษฐีต้องการออกเดตกับหญิงสาว คุณก็หาเงินด้วยการขายยา ไวอะกร้าให้เขา โดยพื้นฐานแล้ว ระบบตลาดจะทำ�ให้งานวิจัยยาตัวนี้คุ้มค่า ในเชิงพาณิชย์ แต่ส�ำ หรับโรคภัยไข้เจ็บของกลุม่ คนทีจ่ นทีส่ ดุ ในโลก งานวิจยั เพื่อพัฒนายาเหล่านั้นไม่มีวันคุ้มค่า

50


CAPITALISM

ไมค์: ทุนนิยมสร้างสรรค์สองประเภทที่ใหญ่ที่สุดดูจะเป็น... ประเภทแรก บริษัทจัดหาเงินหรือสิ่งที่เทียบเท่ากับเงิน อย่างเช่นเวลาของพนักงาน ที่เก่งที่สุด และประเภทที่สอง บริษัทมองหาโอกาสทำ�กำ�ไรในประเทศ ยากจนซึ่งพวกเขาไม่เคยมองมาก่อน ผมขอถามเกี่ยวกับประเภทที่สอง มันเหมือนกับโจ๊กที่ดังมากเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับนักเศรษฐศาสตร์ที่มองเห็น ธนบัตรสิบเหรียญตกอยู่บนพื้น แล้วบอกว่ามันไม่ได้อยู่ตรงนั้นแน่ๆ เพราะ ถ้ามันอยู่ตรงนั้นจริง คนอื่นก็ต้องเก็บไปแล้ว ทำ�ไมเราจึงต้องให้ทุนนิยม สร้างสรรค์... ผมหมายความว่า ถ้ามันมีโอกาสที่ดีมากๆ อยู่ ทำ�ไมนักธุรกิจ จึงไม่อยู่ในตลาดนั้นอยู่แล้ว? วอร์เรน: โอกาสทางตลาดย่อมได้รับการเติมเต็มในที่สุด ผมคิดว่าระบบ ปัจจุบันทำ�งานได้ดีในแง่ของโอกาสทางตลาดที่มีอยู่จริง หลายคนอยาก เรียกพื้นที่ที่ยังไม่มีโอกาสทางตลาดว่าเป็นโอกาสทางตลาด แต่ผมไม่ห่วง กรณีที่บริษัทยังไม่เติมเต็มโอกาสทางตลาดที่มีอยู่แล้ว บิล: แน่นอนว่าเราอยากส่งเสริมให้ธุรกิจเข้าไปในประเทศที่มีความเสี่ยงสูง และพวกเขาจะไม่ตัดสินใจเข้าไปเอง ประเทศอย่างเวียดนามกำ�ลังปรับปรุง สถานการณ์ของตัวเองโดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลืออะไรมากนักจาก ทุนนิยมสร้างสรรค์ พวกเขามีระบบธรรมาภิบาลที่ถูกต้อง มีระบบการศึกษา ที่ถูกต้อง มีอัตราการเติบโตของประชากรในระดับที่เลี้ยงดูและสร้างงานได้ มันเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมาก ในคำ�ถามก่อนหน้านี้ เราคุยกันว่าอะไรคือองค์ประกอบทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ผมคิดว่าคำ�ตอบคือรัฐบาลบวกทุนนิยมปกติ คือรัฐบาลทีด่ มี ากๆ บวกทุนนิยม ปกติ ถ้าคุณมีระบบแบบนัน้ พระเจ้าก็เข้าข้างคุณแล้ว มันเป็นสิง่ ทีย่ อดเยีย่ ม มาก มันทำ�งานได้ดีมาก แต่ในกรณีที่คุณมีปัญหาอย่างโรคร้ายเหล่านี้ สิ่งที่ผมพูดอาจฟังดูแย่มาก - เมื่อโรคร้ายเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อทั้งประเทศ 51


CREATIVE

รํ่ารวยและประเทศยากจน สุดท้ายประโยชน์ก็จะไหลไปสู่คนที่จนที่สุด เพราะบริษัทเอาต้นทุนของการพัฒนายาคืนได้ในโลกรํ่ารวย และเมื่อสิทธิบัตรใกล้หมดอายุ พวกเขาก็เอามันไปขายในราคาต้นทุนส่วนเพิ่มให้กับ คนจน และทุกคนก็จะได้ประโยชน์ แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐอเมริกากำ�จัด มาลาเรียจนหมดไปจากประเทศนานแล้วจนเราไม่ต้องมีวัคซีนมาลาเรียนั้น เป็นโศกนาฏกรรม เพราะมันหมายความว่าเราไม่มีคนเก่งๆ ที่พยายามแก้ ปัญหานี้ นีค่ อื จุดทีเ่ ราต้องใช้ทนุ นิยมสร้างสรรค์ การพัฒนายาพวกนีก้ เ็ หมือน กับประเด็นทีว่ า่ จะนำ�ส่งสารอาหารขนาดจิว๋ ไปสูม่ อื คนจนได้อย่างไร เราต้อง พยายามหาวิธีใหม่ๆ ในการใช้โทรศัพท์มือถือและเครือข่าย ไม่อย่างนั้นโลก รํ่ารวยอาจตกอยู่ในภาวะที่ทำ�อะไรๆ ที่ใช้การได้สำ�หรับพวกเขา แต่ใช้ไม่ได้ ในโลกยากจน วอร์เรน: นอกจากนัน้ ตลาดยังถูกบิดเบือน ถ้าคุณรูส้ กึ ว่าคุณจะถูกปอกลอก หลังจากที่เข้าไปในประเทศใหม่ คุณจะขยับเป้าผลตอบแทนให้สูงขึ้น ถ้า คุณคิดว่ามีความเสี่ยงที่รัฐบาลของประเทศนั้นจะยึดทรัพย์สินของคุณไป และถ้าประเทศนั้นไม่มีหลักนิติรัฐเลย คุณก็อาจตัดสินใจไม่เข้าไปทำ�ธุรกิจ ถึงแม้ว่าแนวโน้มผลตอบแทนจะดีมาก ไมค์: แต่นั่นก็มีเหตุมีผลนี่ครับ วอร์เรน: ใช่ มีเหตุมีผลที่สุด ทีนี้คานงัดอีกด้านคือให้สถาบันอย่างธนาคาร ส่งเสริมการส่งออกและการนำ�เข้าของรัฐบาลกลาง - ธนาคารที่รับประกัน การซื้อขายสกุลเงินต่างประเทศ - บอกว่า ถ้าคุณเข้าไปในประเทศอย่าง อินโดนีเซีย และถูกรัฐบาลประเทศนั้นยึดทรัพย์สินไป อย่างน้อยธนาคาร ก็รับประกันว่าคุณจะได้ทุนคืน แต่รัฐบาลมีบทบาทในเรื่องนี้ ไม่อย่างนั้น มันก็เป็นเรื่องมีเหตุมีผลที่ผมจะบอกว่าผมจะไม่กลับไปอินโดนีเซียอีกแล้ว 52


CAPITALISM

เพราะเราเคยถูกปอกลอก บางประเทศจะเป็นแบบนี้เสมอ ถึงแม้ผมจะ คิดว่ามันเป็นเหตุเป็นผลน้อยกว่าเมื่อยี่สิบห้าปีก่อนมาก อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่จะถูกยึดทรัพย์สิน รวมทั้งการยึดภาษีที่จะตามมาในภายหลัง ก็จะยังคงทำ�ให้นักธุรกิจขาดแรงจูงใจที่จะนำ�ส่งสินค้าและบริการไปสู่ผู้คน ในบางพื้นที่ในโลก ไมค์: บิลครับ คนหรือบริษัทจะมองหาความสะดวกสบายและหลีกเลี่ยง ความเสี่ยงอย่างไม่มีเหตุมีผลได้หรือเปล่า? และถ้ามันไม่ใช่เรื่องที่ไร้เหตุผล ทำ�ไมคุณจึงควรจะบังคับให้คนทำ�อย่างนั้นล่ะครับ? บิล: ความมีเหตุมีผลรับใช้เราได้ถึงแค่จุดหนึ่งเท่านั้น ถ้าพนักงานหนุ่มสาว ของคุณกำ�ลังบอกว่า “นี่ เราควรจะพัฒนาตลาดในแอฟริกาหรือเปล่า?” ความ มีเหตุมีผลอาจบอกคุณว่า “แหม เราไม่ได้ให้ความสนใจแถวนั้นอยู่แล้วนี่นา จะไปคิดถึงมันทำ�ไม?” สิ่งที่มีเหตุมีผลนั้นมีขอบเขตกว้างมาก ถ้าคุณคิดว่า อยากไปพัฒนาตลาด ถ้ามันมีประโยชน์เชิงบวก คุณก็จะทุ่มเทเวลาให้กับ การคิดหากลยุทธ์ที่มีเหตุมีผลในการไล่ตามโอกาสนั้น บางทีคุณอาจจะคิด กลยุทธ์ที่มีเหตุมีผลในระยะยาวก็ได้ มีเส้นทางที่มีเหตุมีผลมากมายที่บริษัทต่างๆ เลือกเดินได้ ถ้าคุณ ไปบอกบริษทั แห่งหนึง่ ว่า “นี่ นโยบายความหลากหลายของพนักงานของคุณ ทำ�ให้คุณทำ�สิ่งที่ไม่มีเหตุมีผล เมื่อเทียบกับถ้าคุณไม่มีนโยบายนี้” พวกเขา จะตอบว่า “อ๋อ ไม่หรอก มันแค่ท�ำ ให้เราตาสว่างขึน้ มองเห็นความมีเหตุมผี ล ที่ดีกว่าเดิม” แล้วพวกเขาบางคนก็จะพูดความจริง ผมคิดว่าบริษัทจำ�นวน มากเลยจะพูดความจริง แน่นอนว่าบางบริษัทจะไม่รู้เรื่องนี้จริงๆ หรอก คุณไม่มีทางเดินถนนเอกับถนนบี เสร็จแล้วก็เอามันมาลบกันแล้วบอกว่า “โอเค ถนนเส้นที่ใหญ่กว่าคือเส้นที่มีเหตุมีผล และอีกเส้นหนึ่งค่อนข้างโง่”

53


CREATIVE

วอร์เรน: ผมจะบอกว่าไมโครซอฟท์ซึ่งมีนโยบายก้าวหน้าอาจสร้างความ เปลี่ยนแปลงได้จริงๆ ในแง่ของวิธีที่เขารับพนักงาน แต่ผมคิดว่าถ้าคุณ เปรียบเทียบคราฟต์กับเคลลอกก์กับเจเนรัล มิลส์ - และเจเนรัล มิลส์ ก็ตั้ง อยู่ในเมืองมินนีอาโปลิสที่พวกเขามีโครงการบริจาคกำ�ไรห้าเปอร์เซ็นต์ ผมไม่คิดว่านโยบายแบบนี้จะส่งผลต่อคุณภาพของคนที่สมัครงานกับบริษัท ทั้งสามแห่งนั้นมากนัก ลองดูไจโค (Government Employees Insurance Company: GEICO) ก็ได้ ถ้าไจโคมีนโยบายว่าจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรืออะไรก็แล้วแต่ ผมไม่คิดว่ามันจะสร้างความแตกต่างมากนักเวลาที่เรา รับพนักงานใหม่ ไมค์: ทีนี้เราลองมาคุยกันเรื่องสถานการณ์ที่ทุนนิยมสร้างสรรค์จะสร้าง ต้นทุนให้กับคุณจริงๆ ในทางที่ลดผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นได้รับ คำ�ถามแรก คือ ทำ�ไมผู้บริหารบริษัทจึงมีสิทธิที่จะทำ�อย่างนั้นล่ะครับ? วอร์เรน: ผมไม่คิดว่าพวกเขามีสิทธิที่จะทำ�อย่างนั้นนะ ผมไม่รู้สึกว่าผม มีสิทธิที่จะเอาเงินของผู้ถือหุ้นไปให้กับคนอื่น ถึงแม้ผมจะรู้สึกว่าผู้ถือหุ้น ของเราควรมีสิทธิกำ�หนดเองว่าจะเอาส่วนแบ่งกำ�ไรของพวกเขาไปให้กับ องค์กรการกุศลอะไรบ้าง คือผมอาจเชือ่ มัน่ ว่าผูห้ ญิงควรมีสทิ ธิในการสืบพันธุ์ หรืออะไรแบบนี้ และถ้าผมอยากจะเอาเงินส่วนตัวของผมไปทำ�เรื่องนี้ นั่นก็ เป็นสิทธิของผม แต่ผมไม่คดิ ว่าผูถ้ อื หุน้ คนอืน่ ๆ ควรจะต้องสนับสนุนรสนิยม ของผมด้วย อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าคงเป็นเรื่องดีถ้าเราจะมีกลไกที่ให้คน ที่อยากให้บริษัททำ�แทน กันส่วนแบ่งกำ�ไรของพวกเขาในกองทุนการกุศล ของเบิร์กไชร์3 ไปให้กับองค์กรที่ตรงกับความสนใจ

3

เบิร์กไชร์ ฮาธอะเวย์ (Berkshire Hathaway) บริษัทของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ 54


CAPITALISM

ไมค์: ผมนึกว่าคุณเคยทำ�โครงการแบบนั้นแล้ว วอร์เรน: ครับ เราทำ�โครงการนี้อยู่นานยี่สิบหรือยี่สิบห้าปี แต่มีผู้ถือหุ้น หลายคนที่ไม่เห็นด้วยกับองค์กรที่เราบริจาคเงินให้ พวกเขาสร้างแรงกดดัน มหาศาล ไม่ได้กดดันเราหรือพนักงานของเรา แต่ไปกดดันคู่ค้าและคนอื่นๆ ที่ทำ�งานกับเรา ผมไม่อยากต่อสู้กับพวกเขาในเรื่องนี้ แต่ผมยังเชื่ออยู่ว่า โครงการแบบนี้ที่ให้ผู้ถือหุ้นเลือกว่าจะให้เงินที่ไหนเป็นวิธีที่ถูกต้อง เวลาที่ ข้าราชการของรัฐจัดสรรเงินของผู้เสียภาษี เศรษฐีทุกคนดูจะโกรธแค้นมาก แต่เวลาที่เศรษฐีจัดสรรเงินของผู้ถือหุ้นของพวกเขา พวกเขาดูจะคิดว่า พระผู้เป็นเจ้าให้สิทธิพวกเขาทำ�อย่างนั้น บิล: ผมอยากจะยกตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนมาก คือกรณีของไมโครซอฟท์ เราจำ�เป็นจะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีมากๆ กับรัฐบาลทั่วโลก เนื่องจากเรา ผลิตซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีต้นทุนส่วนเพิ่มตํ่ามาก และเนื่องจากการ มอบพลังของข้อมูลนั้นเป็นพันธกิจของเราโดยตรง มันก็เลยไม่ใช่ความคิด เหนือจินตนาการทีเ่ ราเข้าไปในประเทศมากกว่าหนึง่ ร้อยประเทศ และบริจาค ซอฟต์แวร์จำ�นวนมากและทำ�เรื่องอื่นๆ รวมถึงการให้เงินสดเป็นของขวัญ และการฝึกอบรมครู เราประชาสัมพันธ์เรื่องเหล่านี้เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคน จะมองเห็น คนที่มาสมัครงานกับเราก็มองเห็น เวลาที่เราเข้าร่วมประมูล งานของรัฐบาล เราจะยํา้ เตือนประชาชนของประเทศนัน้ ว่าเราเป็นพลเมืองดี ของประเทศเขา ผมคิดเลขในทางที่มีเหตุมีผลสมบูรณ์แบบให้คุณดูไม่ได้ ผมคิ ด ว่ า เป็ น ไปได้ เ หมื อ นกั น ที่ บ ริ ษั ท จะทำ � เรื่ อ งแบบนี้ จ นเลยเถิ ด แต่ สถานการณ์ของไมโครซอฟท์จะดีกว่านี้หลายเท่าหากไม่ทำ�เรื่องพวกนี้ มีเรือ่ งหนึง่ ทีเ่ ราทำ� แต่ผมไม่รวู้ า่ เราจะได้เครดิตหรือเปล่า แต่ผมชอบ มันมาก และผมคิดว่าเราคงจะได้เครดิต คือห้องแล็บในอินเดียของเราที่เน้น เรื่องการหาวิธีแก้ปัญหาให้กับคนที่จนที่สุด สิ่งที่น่าสนใจมากคือ ตอนที่นัก 55


CREATIVE

วิจัยมานำ�เสนอให้ผมฟัง สไลด์แผ่นแรกๆ ของพวกเขาเขียนว่า... พวกเขา เรียกมันว่าฐานพีระมิด นั่นคือคนสองพันล้านคนที่จนที่สุด สไลด์แผ่นแรกๆ บอกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้นแพงเกินไป ไฟฟ้าก็ยากเกินไป เราจะแสดงให้คุณดูว่าซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์มีบทบาทเล็กๆ อย่างไร พวกเขาเล่าเรื่องที่มีคนใช้ดีวีดี - เรื่องนี้เจ๋งมาก - สอนครูและช่วยเกษตรกร จริงๆ แล้วมันคือทีวีต่อกับเครื่องเล่นดีวีดีแบบพกพาที่ใช้ค้นหาวิธีการที่ดี ที่สุด คล้ายกับเกมโชว์ อเมริกัน ไอดอล พวกเขาจัดให้เกษตรกรในท้องถิ่น มาเจอกัน แข่งกัน ถ่ายวิดีโอคนที่เก่งที่สุดเอาไว้ เสร็จแล้วก็จัดงานสังคม ที่ฉายดีวีดีแผ่นนั้นให้คนดู กิจกรรมนี้ไม่ได้ใช้ซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ เท่าไรเลย แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือมันเป็นความคิดที่ฉลาดมาก พวกเขากำ�ลังจะขยายเรื่องนี้ คนที่ทำ�เรื่องนี้ทุ่มเทมากๆ จนพวกเขาจะทำ� เรื่องนี้เต็มเวลา มูลนิธิเกตส์กำ�ลังศึกษาว่าเราจะสนับสนุนพวกเขาในการ ขยายขนาดของโครงการนีไ้ ด้อย่างไร นีเ่ ป็นส่วนเล็กๆ ทีเ่ ราทำ� ถ้าคุณอยาก คิดเลข ผมคิดว่าห้องแล็บนั้นคงมีคนสามสิบคนที่ทำ�งานทำ�นองนี้ในบริษัท ที่มีพนักงานหกหมื่นคน งานนั้นทำ�ประโยชน์ได้โดยตรงหรือเปล่า? พนันกัน ได้เลยว่าได้ วอร์เรน: แต่ว่านะ ถ้าผมเป็นประธานกรรมการบริษัทเอ็กซอนโมบิล และ ผมคิดว่าไนจีเรียมีแหล่งนํ้ามันที่น่าจะเข้าไปขุดมากๆ ผมควรจะบริจาคเงิน สิบล้านเหรียญให้กับองค์กรการกุศลที่ประธานาธิบดีไนจีเรียโปรดปราน ที่สุด หรือว่าผมควรจะไปสำ�รวจคนจนในไนจีเรีย ดูว่าพวกเขาอยากได้อะไร และเอาเงินสิบล้านเหรียญไปทำ�เรื่องนั้น? ผมหมายความว่า ถ้าคุณทำ�ตาม หลักการของเศรษฐศาสตร์ระบบตลาด คุณย่อมอยากให้ทุกคนมองคุณ ในแง่ดี แต่บริษัทที่แตกต่างกันอาจจะอยากให้กลุ่มคนที่แตกต่างกันมอง พวกเขาในแง่ดี และทัง้ หมดนัน้ อาจไม่คอ่ ยเกีย่ วอะไรกับสิง่ ทีส่ งั คมอยากเห็น ถ้าคุณมีสมการสังคมที่ต้องคำ�นึงถึง ถ้าใช้แบบทดสอบของตลาดที่เข้มงวด 56


CAPITALISM

ที่สุด สิ่งที่ดีที่สุดสำ�หรับบริษัทอาจเป็นการให้ผู้นำ�เผด็จการหรือภรรยาของ เขามองคุณในแง่ดี แทนที่จะทำ�อะไรสักอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน หลายล้านคนของเขา ไมค์: แต่ตรงนี้เป็นการใช้ตรรกะแบบกำ�ปั้นทุบดินหรือเปล่าครับ คือคุณ บอกว่าผู้ถือหุ้นควรเห็นชอบกับการใช้เงินแบบนี้เพราะ “ความปรารถนาดี” จะทำ�ประโยชน์ได้หลายทาง ช่วยให้คุณจ้างคนที่มีความสามารถกว่าเดิม ช่วยให้คุณเข้าไปทำ�ธุรกิจในไนจีเรีย... วอร์เรน: หรือไม่มันก็ช่วยให้คุณไม่เดือดร้อน ไมค์: ใช่ แต่ถ้ามันทำ�ให้คุณได้ประโยชน์จริงๆ แล้วทำ�ไมคุณจึงยังมีสิทธิ์โม้ เรื่องนี้ล่ะครับ? คือถ้าคุณกำ�ลังซื้อสิทธิ์ในการโม้ว่าคุณทำ�ดี และการทำ�ดี นัน้ ก็ดตี อ่ ผูถ้ อื หุน้ ด้วย เพราะมันมีมลู ค่าทางธุรกิจ ในกรณีนนั้ คุณก็ไม่สมควร มีสิทธิ์โม้นะ บิล: ผมว่ามีนะ เพราะคุณกำ�ลังผลักโลกไปในทิศทางที่ถูกต้อง สถานการณ์ บางอย่างมีแต่คนได้ ไม่มีใครเสีย ถ้าคุณค้นพบวิธีการให้บริการลูกค้าที่ดี เลิศ คุณย่อมมีสิทธิ์โม้ว่าการบริการลูกค้าของคุณนั้นยอดเยี่ยมขนาดไหน ถ้าคุณค้นพบวิธีที่จะทำ�ให้รัฐบาลรักคุณด้วยการช่วยเหลือคนจนในประเทศ นั้น คุณก็ได้ประโยชน์จากทั้งการที่รัฐบาลรักคุณ และคุณก็พูดได้ด้วยว่าคุณ ช่วยเหลือคนจนในประเทศนั้นๆ วอร์เรน: ตราบที่คุณไม่บอกว่าสิ่งที่คุณกำ�ลังทำ�คือการแสวงหาสิทธิ์ในการ โม้?

57


CREATIVE

บิล: มิได้ครับ ไมโครซอฟท์ซื่อสัตย์มากในการบอกว่าเราไม่ได้ทำ�เรื่องนี้ คนเดียว โครงการบริจาคให้โรงเรียนที่เราตั้งชื่อว่า พันธมิตรเพื่อการเรียนรู้ (Partners in Learning) ไม่ใช่... เราไม่ได้ไปบอกนักข่าวว่า “โอ้โห เรากำ�ลัง ลำ�บากมากเลย เรือ่ งนีโ้ หดหินมาก” แต่โลกแห่งความจริงเป็นแบบนีม้ ากกว่า คือเด็กมหาวิทยาลัยอยากหางานประจำ�ที่มีกิจกรรมอะไรนอกเหนือจาก ความสามารถในการทำ�กำ�ไรของสถาบันที่พวกเขามีส่วนร่วม โอเค บางที ผมอาจกำ�ลังพูดแบบชนชั้นนำ�ดัดจริต บางทีคนกลุ่มนี้อาจเป็นกลุ่มเฉพาะ ที่อยู่ในระดับสูงหน่อย แต่ถ้าคุณดูบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก นี่คือคนกลุ่ม ที่พวกเขาใส่ใจที่สุด วอร์เรน: พนักงานของวอลมาร์ตอยากทำ�งานกับบริษทั ทีม่ คี นชืน่ ชมมากกว่า บริษัทที่พวกเขาถูกต่อว่าทุกวัน ผมไม่คิดว่าพวกเขาจะสนใจมากนักหรอก ว่ า นโยบายของบริ ษั ท ที่ นำ � ไปสู่ เ สี ย งวิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ ห รื อ เสี ย งสรรเสริ ญ คืออะไร แต่แน่นอนว่าคุณจะรู้สึกดีกว่ามากถ้าไปทำ�งานให้กับบริษัทที่ คนชื่นชม หรือลูกๆ ของคุณรู้สึกดีเพราะครูของพวกเขาเอ่ยคำ�ชม แต่ที่ วอลมาร์ต ผมคิดว่าพนักงานส่วนใหญ่สนใจนโยบายที่กระทบกับพวกเขา โดยตรง ผมไม่แน่ใจว่าพวกเขาสนใจประเด็นอื่นๆ ขนาดไหน แผนของเราที่ ใ ห้ ผู้ ถื อ หุ้ น ระบุ แ หล่ ง รั บ บริ จ าคกลายเป็ น การ ประชาสัมพันธ์กลับด้าน ท้ายที่สุดมีคนบอยคอตต์ร้านซีส์ แคนดีส์ เพียง เพราะผู้ถือหุ้นของเราบางคนเลือกบริจาคให้กับร้านนั้น ถึงแม้ว่าผู้ถือหุ้น คนอื่นจะให้เงินกับบริษัทอื่นที่นักบอยคอตต์เห็นด้วย คนที่บอยคอตต์เลือก มองสิ่งที่พวกเขาไม่ชอบ แทนที่จะมองสิ่งที่ชอบ4

เบิร์กไชร์ ฮาธอะเวย์ เคยมีโครงการที่ให้ผู้ถือหุ้นแต่ละรายเลือกองค์กรการกุศลที่บริษัทจะ บริจาคเงินให้ในแต่ละปี 4

58


CAPITALISM

บิล: พวกเขาไม่มองคุณในแง่ดีเลยหรือ วอร์เรน: ไม่เลยครับ เราบอกพวกเขาเสมอว่านี่เป็นการตัดสินใจของผู้ถือ หุ้น เราให้เงินมหาศาลกับโรงเรียนแคทอลิกในแต่ละปี ผู้ชายคนหนึ่งเขียน จดหมายมาถึงผม บอกว่า นี่ ผมไม่สนใจหรอกว่าคุณจะให้เงินหนึ่งพัน ล้านเหรียญกับองค์กรที่คัดค้านการทำ�แท้ง (pro-life organization) ขณะที่ ให้เหรียญเดียวกับองค์กรที่สนับสนุนสิทธิในการทำ�แท้ง (pro-choice organization) ถึงยังไงผมก็จะยังบอยคอตต์คุณอยู่ดี บางครั้งคนเราก็มีอารมณ์ ร้อนแรงมากๆ ในทางทีม่ กั จะอยูต่ รงข้ามกับตรรกะของประเด็นทีพ่ วกเขาพูด ไมค์: ประเด็นหนึ่งที่มูลนิธิเกตส์ภาคภูมิใจมากคือวิธีที่คุณให้ความสนใจ และตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล ในทางที่ทดสอบได้ว่าจะใช้ทรัพยากรของคุณ ไปทุ่มเทให้กับอะไรบ้าง เหมือนกับเวลาทำ�ธุรกิจ คุณมีความมั่นใจแค่ไหน ว่ากระบวนการที่คลุมเครือกว่านั้นซึ่งคุณกำ�ลังอธิบายอยู่นี้ - กระบวนการ ที่ ว่ า บริ ษั ท ต้ อ งการที่ จ ะมี ค วามสั ม พั น ธ์ ที่ ดี กั บ รั ฐ บาลเปรู ห รื อ อยากให้ พนักงานในอินเดียรู้สึกดีกับบริษัท อะไรทำ�นองนี้ - จะมีวินัยแบบเดียวกับ มูลนิธิเกตส์ในการจัดสรรทรัพยากร? บิล: วินัยต้องตั้งอยู่บนระบบตอบกลับ ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนทางธุรกิจ หรือผลตอบแทนอืน่ ๆ ดังนัน้ ชือ่ เสียงจึงมีอทิ ธิพลอย่างมากกับบริษทั ตามที่ วอร์เรนได้พูดไปแล้ว พวกเขาแทบจะเป็นทาสของชื่อเสียงเลยทีเดียว คุณ จัดโครงสร้างองค์กรในทางที่ไม่ต้องดูถึงขนาดนั้นก็ได้ เพราะคนที่ออกแบบ ระบบการให้คะแนนเรื่องธรรมาภิบาลกำ�หนดไว้แล้วว่าการที่จะได้คะแนน นั้น เราต้องทำ�เรื่องนั้นเรื่องนี้ สิ่งที่เราต้องมีคือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สำ�หรับแต่ละอุตสาหกรรม และคนที่จะคอยวิเคราะห์ในทุกปีว่าแต่ละบริษัท ทำ�อะไรบ้างในสาขาทุนนิยมสร้างสรรค์ กิจกรรมเหล่านั้นส่งผลกระทบอะไร 59


CREATIVE

บ้างต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม ผมคิดว่าระบบตอบกลับแบบนี้เป็นส่วนที่ จำ�เป็นของการเก็บคะแนนในทางที่ยุติธรรม และทำ�ให้เรามั่นใจได้ว่าเวลาที่ ใครใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด วิถีปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practices) ก็จะ แพร่หลายออกไป และเวลาทีไ่ ม่เป็นอยางนั้น บริษทั ก็จะไม่ได้รบั การยอมรับ ผมจะเป็นคนแรกที่ยอมรับว่ามันเป็นเรื่องง่ายมากเลยที่จะประกาศว่าจะ ทำ�อะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ฟังดูดี แต่เสร็จแล้วหลังจากที่คุณใช้เวลามหาศาล ในการขุดคุ้ย คุณก็จะพบว่ามันไม่ได้สร้างผลกระทบอะไรเลย มันไม่ได้เป็น เรื่องที่ใช้เงินเยอะ มันเป็นเรื่องที่เราวางแผนไว้แล้วว่าจะทำ� เรื่องทำ�นองนี้ เปิดช่องให้ผู้คนคุยโวโอ้อวดได้เยอะมาก ดังนั้น คุณก็เลยต้องเอาความ เชี่ ยวชาญอย่ างที่ ผ มพูด มาจับ ซึ่งเป็น สิ่งที่ค งต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก ในการพัฒนา ไมค์: ในวอชิงตัน ผมรู้สึกประหลาดใจทุกครั้งที่เห็นงานปาร์ตี้หรูหราราคา แพงที่จัดฉลองอะไรต่างๆ อย่างเช่นเงินที่เอ็กซอนโมบิลร่วมบริจาคเพื่อ สร้างโรงละครมาสเตอร์พีซ แล้วพอคุณไปดูในรายละเอียดก็จะพบว่าบริษัท ใช้เงินสามเหรียญในการโม้ว่าพวกเขาดีอย่างไร ต่อทุกๆ เหรียญที่พวกเขา จ่ายไปเพื่อการทำ�ดี วอร์เรน: ผมเคยเป็นกรรมการของบางองค์กรที่ผมสังเกตดูพลวัตเรื่องการ กุศล หนึ่งในนั้นคือสถาบันเออร์บัน (Urban Institute) ข้อเท็จจริงก็คือ ผม สามารถเดินเข้าไปหาซีอีโอของบริษัทอะไรก็ได้ ขอเงินบริจาคมาห้าหมื่น หรือหนึง่ แสนเหรียญสำ�หรับสถาบันเออร์บนั ถ้าเบิรก์ ไชร์ถอื หุน้ ของพวกเขา หรือถ้าผมอยู่ในคณะกรรมการ หรือถ้าเบิร์กไชร์เป็นลูกค้าใหญ่ของพวกเขา ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการค้นหาว่าใครมีสายสัมพันธ์กับใคร ครั้งหนึ่งผมเสนอ สถาบันเออร์บันว่า “คุณเคยลิสต์รายชื่อสิ่งดีๆ ทั้งหมดที่สถาบันนี้ทำ� แล้วก็ เอาลิสต์นี้ไปเสนอให้ซีอีโอบริจาคเป็นการส่วนตัวหรือเปล่า?” พวกเขาตอบ 60


CAPITALISM

ว่า “อย่าทำ�อย่างนั้น! แค่ขอเงินของบริษัทมาก็พอ” จากประสบการณ์การ เป็นกรรมการในหลายๆ แห่ง ผมบอกได้ว่าคณะกรรมการของบางบริษัท ยอมให้กรรมการบริจาคเงินบางประเภท และบริษัทก็จะบริจาคในจำ�นวน ที่เท่ากันด้วย อะไรแบบนี้นะครับ แต่ผมคิดว่าบิลสามารถไปหาไฟเซอร์ หรือบริษัทอะไรก็ได้ และสร้างผลกระทบได้จริงๆ ตัวเขาเองกำ�ลังอุทิศเงิน ส่วนตัวจำ�นวนมหาศาลให้กับเรื่องนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าทึ่ง เขากำ�ลังรณรงค์ เป็นการส่วนตัว และเขารู้เรื่องนี้ดี บิลสร้างผลกระทบได้แน่นอน น้อยคน มากที่จะทำ�แบบนี้ได้ บิล: ผมแยกแยะจริงๆ ระหว่างบริษัทที่ใช้ความเชี่ยวชาญตามธรรมชาติ ของตั ว เอง อย่ า งเช่ น บริ ษั ท ยาพั ฒ นายา หรื อ โค้ ก ใช้ ร ะบบจั ด จำ � หน่ า ย หรือเนสท์เล่ซื้ออาหารจากเกษตรกรยากจนมากขึ้นหรือช่วยใส่สารอาหาร ขนาดจิ๋วที่ทำ�ให้รสชาติอาหารไม่แย่ ผมแยกแยะระหว่างการทำ�แบบนี้กับ การเขียนเช็คเฉยๆ ถ้าพนักงานของเอ็กซอนโมบิลช่วยทำ�โรงละครมาสเตอร์พีซ หรือทำ�อะไรเจ๋งๆ เกีย่ วกับนาํ้ มันดิบ บางทีพวกเขาก็อาจจะกำ�ลังใช้ทกั ษะ ที่เป็นเอกลักษณ์อยู่ก็ได้ ไมค์: สมมติว่าผมเป็นผู้ถือหุ้นของไมโครซอฟท์ หรือสมมติว่าผมไม่ใช่ก็ได้ แต่ผมมาหาคุณ แล้วบอกว่า “บิล แทนทีจ่ ะพยายามหาวิธตี า่ งๆ ทีไ่ มโครซอฟท์ จะช่วยให้โลกดีกว่าเดิม บางวิธีหรือแม้แต่วิธีส่วนใหญ่อาจไม่ช่วยสร้างกำ�ไร ผมอยากให้คุณทำ�ทุกอย่างที่ทำ�ได้เพื่อให้ไมโครซอฟท์มีกำ�ไร เสร็จแล้วก็ เอาเงินที่คุณได้ไปใช้โดยตรงในสิ่งที่คุณพบว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด ที่จะทำ�ให้โลกนี้ดีกว่าเดิม” บิล: ผมคิดว่าคิดแบบนั้นผิด เพราะคุณต้องดูสิ่งที่เราได้รับในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ประเทศที่พนักงานของเราอาสาไปอบรมครูในโรงเรียน ประเทศที่ 61


CREATIVE

พนักงานของเรากำ�ลังเจียดเวลาส่วนหนึ่งที่เราให้กับพวกเขาไปอบรมครู และประเทศที่เราบริจาคเงินเพื่อจัดการอบรม คุณต้องดูว่าเราสร้างความ ได้เปรียบได้ขนาดไหนเวลาทีเ่ ราบริจาคซอฟต์แวร์ฟรีและเวลาทีเ่ รามองเห็น ประเทศที่ทำ�เรื่องนี้ได้ดี มีหลายประเทศมากที่ใจกว้าง พวกเขาบอกว่า “เฮ้ มาแสดงให้เราดูหน่อยว่าจะทำ�เรือ่ งนีใ้ ห้ดไี ด้อย่างไร” และเราก็สง่ พวกเขาไป เรียนรู้จากประเทศอื่นได้ พวกเขาสนใจจริงๆ ว่ากับดักอยู่ตรงไหนบ้าง คุณ รู้ไหมครับว่าโลกนี้ไม่ได้เป็นเรื่องของเงินเพียงอย่างเดียว มันเป็นเรื่องของ ความเชี่ยวชาญด้วย โลกกำ�ลังพัฒนาขาดแคลนความเชี่ยวชาญมหาศาล และในแง่นั้น ไมโครซอฟท์ - ไม่ว่าจะเป็นพนักงานจากโลกรํ่ารวยหรือการ เผยแพร่วิถีปฏิบัติที่ดีที่สุดจากประเทศกำ�ลังพัฒนาประเทศหนึ่งไปยังอีก ประเทศหนึง่ - ได้สร้างผลกระทบมหาศาล ถึงแม้วา่ มันจะวัดได้ยาก สมมติถา้ เราเลิกทำ�เรือ่ งเหล่านีท้ งั้ หมด ตัวเงินทีใ่ ช้ไปก็จะอยูแ่ ค่สองถึงสามเปอร์เซ็นต์ ของค่าใช้จ่ายของเราทั้งหมด ในประเทศยากจนบางประเทศ สัดส่วนนี้อาจ เป็นยี่สิบเปอร์เซ็นต์ แต่โดยรวมก็ยังไม่สูงมาก ไมค์: แล้วคุณรู้สึกว่าได้รับผลตอบแทนยี่สิบเปอร์เซ็นต์แม้แต่ในประเทศ ยากจนหรือครับ? บิล: ประเทศยากจนคือพื้นที่ที่เราเพิ่งเริ่มทำ�ธุรกิจ ธุรกิจของเรายังค่อนข้าง เล็ก ความสัมพันธ์แรกเริ่มระหว่างเรากับรัฐบาลคือสิ่งที่สำ�คัญที่สุด ลองดู อินโดนีเซียเป็นตัวอย่างก็ได้ ผมเพิ่งไปประเทศนั้นมา สิบเปอร์เซ็นต์ของ สิ่งที่เราทำ�ที่นั่นไม่ใช่กิจกรรมแสวงกำ�ไรโดยตรง แต่เป็นการช่วยเหลือเรื่อง การศึกษา เรื่องศูนย์ชุมชน สิบเปอร์เซ็นต์นี้ยังไม่รวมมูลค่าของซอฟต์แวร์ ที่เราบริจาค ถ้าคุณรวมมูลค่าของซอฟต์แวร์เข้าไป คุณก็จะได้ตัวเลขใหญ่ๆ หนึ่งตัว แต่มันเป็นตัวเลขในจินตนาการในแง่ที่มันไม่ใช่มูลค่าของธุรกิจที่ หายไป นั่นไม่ใช่เส้นทางที่เงินเหล่านั้นถูกแปลงเป็นยอดขายของเรา 62


CAPITALISM

วอร์เรน: อย่างไรก็ดี ผมคิดว่าบริษทั ก็คล้ายกับมูลนิธติ า่ งๆ ตรงทีจ่ ะมุง่ ความ สนใจไปที่ท้องถิ่นของตัวเอง นี่คือแนวโน้มตามธรรมชาติ คุณลองดูกลุ่มที่ มินนีอาโปลิสเป็นตัวอย่าง พวกเขาเริ่มทำ�เมื่อหลายสิบปีที่แล้ว คือถ้าคุณ เป็นบริษัทใหญ่ คุณต้องสัญญาว่าจะแบ่งเงินกำ�ไรไปทำ�การกุศลทุกปี ผม คิดว่าเป้าหมายคือห้าเปอร์เซ็นต์นะ บิล: ห้าเปอร์เซ็นต์? วอร์เรน: ใช่ ห้าเปอร์เซ็นต์ บิล: ห้าเปอร์เซ็นต์ของกำ�ไรเอาไปทำ�... วอร์เรน: ใช่ บิล: โอ้โห ไม่น่าเชื่อ ไมค์: ทุนนิยมสร้างสรรค์ยังมีประเภทที่สาม คือแคมเปญอย่างเรด ดูเหมือน ว่าผู้บริโภคจะยินดีจ่ายเพิ่ม ถ้าพวกเขารู้ว่าส่วนหนึ่งของมันจะเอาไปช่วย การกุศล ผมจะถามวอร์เรนว่า คิดแบบนี้มันดูไร้เหตุผลไปหน่อยหรือเปล่า ครับ? วอร์เรน: ครับ ผมไม่คิดว่าเรื่องแบบนี้จะใช้การได้ดี ถ้าคุณมีเป้าหมาย เฉพาะในช่วงเวลาสัน้ ๆ สมมติวา่ เกิดพายุทอร์นาโดในโอมาฮาหรือเกิดสึนามิ ในพื้นที่ห่างไกล คุณก็ควรจะตอบสนองด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรม และ มันก็จะไม่ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองด้วย ผมไม่คิดว่า เรื่องแบบนี้จะอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน ผมคิดว่าถ้าเราประกาศที่ไจโคว่า 63


CREATIVE

สองเปอร์เซ็นต์ของส่วนเพิ่มที่คุณจ่าย จะช่วยเหลือผู้คนได้ทั่วโลก จะมีไม่กี่ คนที่จะยอมจ่ายเพิ่มสองเปอร์เซ็นต์ ที่เหลือจะบอกว่า ลดส่วนเพิ่มลง แล้ว เอามันมาให้ฉันแทน บิล: ผมเห็นด้วยกับโครงการอย่างเรดในแง่ของการซือ้ ความอุน่ ใจ เวลาทีค่ น ซือ้ เสือ้ ผ้า ยกตัวอย่างลูกสาวผม เธอไม่ได้บอกว่า “กางเกงยีห่ อ้ จุย๊ ซีน่ จี่ ะขาด ถ้าผ่านไปหลายปีและเนื้อผ้าค่อนข้างหยาบใช่หรือเปล่า?” หรืออะไรแบบนี้ เธอกำ�ลังเชือ่ มโยงตัวเธอเข้ากับจุย๊ ซีใ่ นระดับทีเ่ ราให้เงินเธอใช้ ฉะนัน้ คำ�ถาม เกี่ยวกับเรด - ซึ่งผมยอมรับว่าเชยไปแล้ว แต่ผมคิดว่ามันเป็นการทดลอง ที่ยอดเยี่ยม และผมก็ค่อนข้างมองมันในเชิงบวก - ก็คือ คุณจะสามารถสร้าง ความเชือ่ มโยงของยีห่ อ้ กับผูบ้ ริโภคในอเมริกาได้หรือเปล่า ถ้ามีสนิ ค้าบางตัว ที่เหมือนกับบัตรเครดิต เสื้อผ้า หรือโทรศัพท์มือถือของพวกเขา? คุณต้อง มีความคิดสร้างสรรค์มากๆ ในการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ และทำ�ให้มันสดอยู่เสมอ เวลาที่คนซื้อสินค้ายี่ห้อเรด พวกเขารู้สึกภูมิใจและคิดว่ามันเจ๋งหรือเปล่า? นั่นคือสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องยี่ห้อจำ�เป็นจะต้องช่วยเราให้ไปถึงจุดนั้น และ ผมก็คิดและหวังว่าคำ�ตอบคือ ใช่ ผมไม่ได้หมายความว่าสินค้าทุกชนิดใน ระบบเศรษฐกิจควรจะกันผลตอบแทนสองเปอร์เซ็นต์สำ�หรับทำ�เรื่องที่มี นํ้าใจแบบนี้ ผมไม่ได้พูดอย่างนั้นเลยนะครับ แม้ในกรณีทมี่ นั ประสบความสำ�เร็จมหาศาล โครงการแบบนีก้ จ็ ะยัง เป็นส่วนเสี้ยวน้อยนิดของระบบเศรษฐกิจ มันจะไม่สร้างมูลค่าหลายพันล้าน เหรียญ แต่มันก็เป็นเครื่องมือที่ดีในการทำ�ให้คนตระหนักถึงประเด็นเหล่านี้ และกระตุน้ ให้คนทำ�งานอาสาสมัครหรือลงคะแนนเสียงเลือกตัง้ ในทางทีเ่ ป็น ประโยชน์ต่อการผลักดันประเด็นเหล่านี้ด้วย วอร์เรน: ถึงแม้จะมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องอีกยี่สิบตัว แต่ยอดขายในร้านของ บริษัทแกปก็กำ�ลังลดลงเดือนต่อเดือน มีตัวแปรอื่นๆ อีกมาก เชื่อผมเถอะ 64


CAPITALISM

ว่ายอดขายก่อนหน้านี้ก็ตกลงเหมือนกัน แต่ว่า... ผมคิดว่าเป็นเรื่องยาก ที่จะทำ�เรื่องนี้ให้ยั่งยืน ผมไม่ได้พูดว่ามันเป็นไปไม่ได้ แต่ผมยังไม่เห็น หลักฐานว่ามันจะยั่งยืน ไมค์: โครงการแบบนี้ใช้การได้กับคุณในฐานะผู้บริโภคหรือเปล่าครับ? วอร์เรน: ไม่เคยเลยครับ บิล: แหม ก็วอร์เรนไม่ค่อยเป็นผู้บริโภคนี่ครับ วอร์เรน: ใช่ ผมเป็นผู้บริโภคที่ไม่ค่อยดีเลยล่ะ บิล: ลองคิดว่าคุณตระหนักเรื่องภาพลักษณ์แค่ไหนเวลาที่คุณซื้อของ เวลา ที่คุณซื้อลูกกอล์ฟ คุณคิดถึงอะไรครับ? คุณกำ�ลังซื้อภาพลักษณ์ วอร์เรน: ใช่ คุณซื้อภาพลักษณ์ คุณกำ�ลังซื้อสิ่งที่คุณหวังว่ามันจะหมายถึง การตีได้ไกล คุณคิดอย่างนั้นจริงๆ ไมค์: แล้วคุณจะยอมเสียสละระยะทางที่ตีได้แค่ไหน เพื่อแบ่งราคาส่วนหนึ่ง ของลูกกอล์ฟของคุณไปอุทิศให้กับการต่อกรกับโรคเอดส์? วอร์เรน: ความแตกต่างนั้นวัดเป็นระยะทางแค่หนึ่งถึงสองหลาเท่านั้นเอง ผมไม่ได้เสียสละอะไรที่สำ�คัญเลย บิล: ถ้ายี่ห้อ... ยี่ห้อเป็นเรื่องของการเชื่อมโยง และก็ไม่ใช่เรื่องไร้สาระเลย ที่จะมียี่ห้อที่คนเชื่อมโยงเข้ากับการต่อกรกับโรคเอดส์ นี่เป็นเรื่องบุกเบิก 65


CREATIVE

แบบใหม่ที่... กำ�ลังทำ�ได้ค่อนข้างดีเลยนะครับ ไมค์: ผมอยากจะลองถามอีกครั้ง สมมติถ้าคุณเป็นผู้ครองโลก คุณจะ เปิดช่องให้ทุนนิยมสร้างสรรค์แบบนี้อยู่ในโลกหรือเปล่า? หรือว่ามันจะมี หนทางอื่นที่มีเหตุมีผลกว่า? คุณจะพูดหรือเปล่าครับว่า “โอเค บริษัทควรมี ประสิทธิภาพและผลิตสินค้าไป เสร็จแล้วพวกเราก็ควรตัดสินใจว่า ในฐานะ สังคมโดยรวม เราอยากทำ�อะไรบ้าง และทุกคนก็จ่ายภาษีให้รัฐไปทำ�สิ่งนั้น” วอร์เรน: ผมจะมีระบบภาษีของผมเอง แต่คำ�ตอบคือ ผมคิดว่าผมจะเลือก ทางหลัง บิล: ผมคิดว่าจะมีบางบริษัทที่จะสร้างความเชี่ยวชาญด้านการแก้ปัญหาซึ่ง ที่อื่นไม่มี แต่กรณีสมมติของคุณฟังดูแปลกๆ เพราะสิ่งที่เรากำ�ลังเผชิญ คือโลกที่มีความเหลื่อมลํ้าด้านความมั่งคั่งมหาศาล ขึ้นอยู่กับว่าคุณเกิด ในประเทศอะไร สถานการณ์จะไม่เป็นแบบนี้ถ้าเรามีผู้ครองโลกคนเดียว ที่ควบคุมทุกอย่าง ดังนั้น นวัตกรรมเล็กๆ อาจสร้างความแตกต่างอย่าง มโหฬาร ไม่ว่าจะเป็นไฟฉายพลังแอลอีดี5 หรือภาชนะบรรจุนํ้าที่กลิ้งได้ ซึ่งแต่เดิมคุณต้องแบกไว้บนบ่า เวลาที่คุณเห็นนวัตกรรมบางอย่างเหล่านี้ คุณจะบอกว่า “ก็ชัดเจน นี่ว่าเรื่องนี้มีเหตุมีผลที่จะเกิด” แต่ประเด็นคือมันเกิดขึ้นเพราะคนบางคน ห่วงใยเพือ่ นมนุษย์ โอเค คุณอาจบอกว่าถ้าเวลาผ่านไปนานพอ เศรษฐศาสตร์ ทุนนิยมก็จะคิดเรื่องนี้ออก แต่ระหว่างตอนนี้กับตอนนั้นมีคนเดือดร้อน มหาศาลที่ทุนนิยมสร้างสรรค์จัดการได้ 5

LED หลอดไดโอดเปล่งแสง 66


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.