Creative schools 22022016 (web preview)

Page 1


โรงเรียนบันดาลใจ • วิชยา ปิดชามุก แปล จากเรื่อง Creative Schools: The Grassroots Revolution That’s Transforming Education โดย Ken Robinson and Lou Aronica พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ op e n wo r l d s, กุมภาพันธ์ 2559 ราคา 380 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ศิลปกรรม พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ • บรรณาธิการเล่ม บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ • จัดทำ�โดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2 - 6 1 8 - 4 7 3 0 e ma i l : o p e n w o r l d s t h a i l a n d @g m a i l . c om f a c e b ook : w w w . f a c e b o o k . c o m / o p e n w or lds t w i t t e r : w w w . t w i t t e r . c o m / o p e n w o r l d s_th w e bs i t e : w w w . o p e n w o r l d s . i n . t h จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED เลขที่ 1858/87-90 อาคารที ซี ไ อเอฟทาวเวอร์ ชั้ น ที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 3 9 - 8 3 5 6 - 9 w e bs i t e : h t t p : / / w w w . s e - e d . c o m /


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 02-618-4730 และ 097-174-9124 หรือ E m a il: o p e n w o rld st h a ila n d @ g mail.c om

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ โรบินสัน, เคน. โรงเรียนบันดาลใจ.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2559. 408 หน้า. 1. การบริหารการศึกษา. I. อโรนิกา, ลู, ผู้แต่งร่วม. II. วิชยา ปิดชามุก, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 371.2 ISBN 978-616-7885-27-8

• Copyright arranged with: Sir Ken Robinson c/o Global Lion Intellectual Property Management, Inc. P.O. Box 669238 Pompano Beach, FL 33066 through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd. Creative Schools ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 2015 แปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด


สารบัญ

x ค�ำนิยม ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช 6 บทน�ำ หนึ่งนาทีก่อนเที่ยงคืน 22 1. คืนสู่สามัญ 40 2. มองกันเสียใหม่ 74 3. โรงเรียนบันดาลใจ 110 4. เกิดมาเรียน 136 5. สอนอย่างมีศิลป์ 168 6. ต้องมีอะไรในหลักสูตร 208


7. สอบได้ สอบดี 248 8. เคล็ดไม่ลับส�ำหรับผู้น�ำ 280 9. เริ่มต้นที่บ้าน 312 10. เปลี่ยนบรรยากาศ 338 บทส่งท้าย 374 อ้างอิง 382 ประวัติผู้เขียน 406 ประวัติผู้แปล 407


ค�ำนิยม

หนังสือ โรงเรียนบันดาลใจ (Creative Schools) บอกเราว่า ประเทศที่การศึกษามีคุณภาพต�่ำมักแก้ปัญหาผิดทาง โดยมุ่งแก้ที่การ ก�ำหนดนโยบายส่วนกลาง แล้วสัง่ การให้โรงเรียนด�ำเนินการตามมาตรฐาน กลาง แนวทางดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วพิสูจน์อีกว่าล้มเหลว แต่ หนังสือเล่มนี้เสนอแนวทางในทางตรงกันข้าม คือเสนอให้ใช้วิธีส่งเสริม (empower) ครูดี โรงเรียนดี รวมทัง้ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคีตา่ งๆ ในพืน้ ที่ ได้แก่ ผูป้ กครอง ชุมชน และภาคีอนื่ ๆ ให้กล้าร่วมกันริเริม่ จัดการ เรียนรูด้ ว้ ยแนวทางทีถ่ กู ต้อง กระทัง่ ก่อผลลัพธ์เป็นการเรียนรูค้ ณ ุ ภาพสูง โดยมีหลักการคือการเปลี่ยนแปลงการศึกษาต้องเกิดจากระดับล่างสุด การด�ำเนินการผิดทางประการที่สองของระบบการศึกษาที่ให้ ผลลัพธ์การเรียนรูต้ ำ�่ คือด�ำเนินการด้วยความหลงผิด หลงลงทุนปรับปรุง ปัจจัยต่างๆ โดยยังใช้แนวทางตามการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 19 ทีม่ งุ่ ผลิต คนเพื่อออกไปท�ำงานตามรูปแบบตายตัว เหมือนดังระบบอุตสาหกรรม ที่ผลิตสินค้าแบบเดียวกันในปริมาณมาก (mass production) ขณะที่ ในศตวรรษที่ 21 นี้ สั ง คมต้ อ งการคนที่ มี ส มรรถนะ เป็ น ผู ้ น� ำ การ เปลี่ยนแปลง แบบระบบการผลิตที่ผลิตสินค้าและบริการแก่ลูกค้าเฉพาะ กลุ ่ ม (mass customization) ที่ มี ค วามต้ อ งการแตกต่ า งกั น และ เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง การศึกษาไทยอยู่ในสภาพที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงระดับ กระบวนทัศน์ในทั้งสองประเด็น คือต้องการการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ 6

C reative Schools


ซึ่งตรงกับเป้าหมายของ โรงเรียนบันดาลใจ เล่มนี้พอดี คงต้องย�้ำว่า หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เสนอการเปลี่ยนแปลงในระดับมาตรฐานการศึกษา เท่านั้น แต่เป็นการเสนอให้เปลี่ยนแปลงในระดับที่ลึกกว่านั้น ไม่ว่าจะน�ำไปใช้มองระบบต่างๆ ในสังคมหรือระบบการศึกษา ก็ตาม กระบวนทัศน์แห่งระบบกลไก (mechanical system) ที่อยู่ภายใต้ การควบคุมสั่งการดิ่งเดี่ยวนั้นเป็นกระบวนทัศน์ที่ผิด กระบวนทัศน์ที่ ถูกต้องคือกระบวนทัศน์ซับซ้อนและปรับตัวได้ (complex-adaptive systems) คล้ายกับระบบที่มีชีวิต (organic systems) ที่ผู้มีส่วนร่วม หรือมีส่วนได้ส่วนเสียหลากหลายฝ่ายต่างก็แสดงบทบาทตามบริบท ความเชื่อ และการริเริ่มสร้างสรรค์ของตนอยู่ในนั้น ผมอยากเรียกระบบการศึกษาแบบแรกว่าระบบการศึกษาแห่ง อ�ำนาจ และเรียกระบบการศึกษาแบบหลังตามที่หนังสือเสนอไว้ว่า ระบบ การศึกษาที่มีชีวิต ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการริเริ่มสร้างสรรค์ผ่านหลากกลุ่ม หลายฝ่าย กระบวนทัศน์แบบหลังจะมองโรงเรียนเป็นชุมชนที่มีชีวิต หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องราวความริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาจากหลากหลายภาคี ได้แก่ จากตัวเด็กเอง จากครู จาก ผู้บริหาร จากการทดสอบแบบใหม่ จากผู้ปกครองนักเรียน จากชุมชน และจากบรรยากาศแบบใหม่ของโรงเรียนและชุมชนซึ่งหมายรวมถึง คณะกรรมการโรงเรียนด้วย โดยใช้วิธีการจากศาสตร์การเรียนรู้แนวใหม่ ซึ่งไม่ใช่การเรียนรู้แบบส�ำเร็จรูปที่รับถ่ายทอดมาจากครู แต่เป็นการ เรียนรู้จากการปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง มากที่สุด เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการด้านสมรรถนะหลากหลายด้าน หรือเรียกรวมๆ ว่าทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ทั้งหมดนั้นอยู่บนฐานความเชื่อว่า มนุษย์มีความสนใจใคร่รู้ และมีความริเริ่มสร้างสรรค์ อันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ความสร้างสรรค์ของเด็กนั้นเริ่มมาจากความชอบ ความสนใจ ความใฝ่ฝัน ไม่ใช่เริ่มจากหลักสูตรมาตรฐาน Ken Robinson and Lou Aronica

7


หนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ล่ า เรื่ อ งราวผลส� ำ เร็ จ ของการจั ด การการ เปลี่ยนแปลง (change management) ในระบบการศึกษาที่ริเริ่มจาก ฐานล่างในระดับโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน และชุมชน ที่นอกจากท�ำให้ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเป็นไปตามมาตรฐาน หรือเลยมาตรฐานแล้ว ยังท�ำให้เกิดความสุข ความพึงพอใจ และความภาคภูมิใจแก่ภาคีที่มีส่วน สร้างการเปลี่ยนแปลงหลากหลายฝ่าย การริเริ่มดังกล่าวเกิดจากความกล้าที่จะด�ำเนินการแหวกแนว ออกจากมาตรฐานกลางของการศึกษา กล้าด�ำเนินการโดยเอาสภาพ ความเป็นจริงของโรงเรียนหรือพื้นที่นั้นเป็นตัวตั้ง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ การเรียนรู้ที่นอกจากบรรลุตามมาตรฐานการศึกษาแล้ว ยังสร้างการ เปลี่ยนแปลงในระดับพลิกเปลี่ยนแก่นักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ผูป้ กครอง คณะกรรมการโรงเรียน และภาคีอนื่ ๆ ให้เกิดความเข้าใจว่าการ ศึกษาที่ดีเป็นอย่างไรในยุคปัจจุบัน ดังที่หนังสือกล่าวไว้ หน้าที่ของครูเปลี่ยนจากการปฏิบัติตาม หลั ก สู ต รมาเป็ น การแสดงบทบาท 4 ประการ ได้ แ ก่ จู ง ใจให้ เ รี ย น ดึงศักยภาพ สร้างความคาดหวัง ติดปีกให้ผู้เรียน โดยค�ำนึงถึงหน้าที่ครู 3 ประการ ได้แก่ สร้างแรงบันดาลใจ เสริมความมั่นใจ ปลูกฝังความคิด สร้างสรรค์ ตัวอย่างการจัดการการเปลี่ยนแปลงในระดับโรงเรียนปรากฏอยู่ ในบทที่ 6 เรื่องโรงเรียนไฮเทคไฮที่เพิ่งตั้งในปี ค.ศ. 2000 โรงเรียนนี้ใช้ หลักสูตรทีเ่ น้นการเรียนรูโ้ ดยอาศัยโครงงานหรือ Project-Based Learning (PBL) ดังที่ แลร์รี โรเซนสต็อก ครูใหญ่ผกู้ อ่ ตัง้ ไฮเทคไฮอธิบายว่า “วิธกี าร ของเทค ได้แก่ การท�ำงานร่วมกันเป็นกลุม่ การให้คนในทีมช่วยสอนกันเอง การเรียนรู้จากประสบการณ์ การประยุกต์ใช้ความรู้ การเรียนรู้โดยให้ ผู้เรียนได้ลงมือเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และในขณะเดียวกันก็ใช้ เนื้อหาวิชาการสายสามัญ ได้แก่ การอ่านเขียน คณิตศาสตร์ วิชาสาย มนุษยศาสตร์ และความรู้อื่นๆ ที่เด็กจ�ำเป็นต้องรู้ จากนั้นคุณก็พยายาม 8

C reative Schools


ผนวกรวมวิ ธี ก ารเรี ย นของเทคเข้ า กั บ เนื้ อ หาวิ ช าการสายสามั ญ ” ไฮเทคไฮไม่ได้สอนตรงตายตัวตามหลักสูตรแกนกลาง ผู้เขียนบอกว่าควรพิจารณาหลักสูตรจาก 4 แง่มุม คือ โครงสร้าง เนื้อหา วิธีการเรียนรู้ และบรรยากาศในการเรียน อีกทั้งควรเรียนเพื่อ พัฒนาสมรรถนะ 8 อย่าง และเพื่อให้จ�ำง่าย ผู้เขียนจึงใช้ค�ำที่เริ่มต้นด้วย ตัว C ได้แก่ Curiosity (ความสงสัยใคร่รู้ ซึ่งผมตีความว่าหมายถึงการมี ทักษะและฉันทะในการตั้งค�ำถาม) Creativity (ความคิดสร้างสรรค์) Criticism (การวิพากษ์) Communication (ความสามารถในการสื่อสาร) Collaboration (การร่วมมือกัน) Compassion (ความเห็นอกเห็นใจ) Composure (ความสงบส�ำรวมของจิตใจ) และ Citizenship (การรู้หน้าที่ พลเมือง) ผู้เขียนเสนอว่าอย่าแยกวิชาการหรือทฤษฎีออกจากการปฏิบัติ เสนอให้ เ รี ย นแบบบู ร ณาการทฤษฎี เ ข้ า กั บ การปฏิ บั ติ ห รื อ ที่ เ รี ย กว่ า วิทยาการ (discipline) และให้เรียนประยุกต์แบบสหวิทยาการ ไม่ใช่เรียน แยกตามสาระวิชา (subject matter) แบบเดิมๆ ในหนั ง สื อ ยั ง มี ตั ว อย่ า งเรื่ อ งการศึ ก ษาแบบเนิ บ ช้ า สถาบั น บิ๊กพิกเจอร์เลิร์นนิง และโรงเรียนวิถีประชาธิปไตยแห่งเมืองฮาเดรา ประเทศอิสราเอล ที่ผู้ก่อตั้งโรงเรียนได้น�ำประสบการณ์มาเขียนเป็น หนังสือเรื่อง การศึกษาตามวิถีประชาธิปไตย (Democratic Education) ภาพรวมที่ถูกต้องของหลักสูตรต้องประกอบไปด้วยลักษณะ ส�ำคัญ 3 ประการคือ หนึ่ง มีความหลากหลาย สอง มีความลึก และสาม มี พ ลวั ต โดยผมขอเติ ม คุ ณ ลั ก ษณะประการที่ 4 เข้ า ไปอี ก ข้ อ คื อ มีบูรณาการ ตัวอย่างการจัดการการเปลี่ยนแปลงด้านการสอบปรากฏอยู่ใน บทที่ 7 ว่าด้วยมหันตกรรมของการสอบ ซึ่งเกิดจากการบริหารระบบ การศึกษาทีผ่ ดิ พลาด ความหลงผิดว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษา และการทดสอบจะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา การเน้นควบคุมสัง่ การ Ken Robinson and Lou Aronica

9


จากส่วนกลาง และความเข้าใจกลไกการเรียนรู้ที่ผิดพลาด การถูกกดดัน ให้ “สอนเพื่อสอบ” ไม่ใช่เพื่อการเรียนรู้ครบด้านของศิษย์ “โรงเรียนกลาย เป็นเพียงสถานที่กวดวิชาให้นักเรียนท�ำข้อสอบได้” ทีน่ า่ กังวลอย่างยิง่ ก็คอื วงการการศึกษาทีบ่ า้ คลัง่ ผลการทดสอบ ตามมาตรฐานเป็ น บ่ อ เกิ ด สู ่ ค วามเสื่ อ มเสี ย ศี ล ธรรมในวงการศึ ก ษา กล่าวให้เข้าใจง่ายก็คือน�ำไปสู่การฉ้อโกงในการทดสอบที่มีโรงเรียนและ ครูเป็นผู้ด�ำเนินการ ไม่ใช่นักเรียน เพื่อให้โรงเรียนหรือชั้นเรียนของตน ได้คะแนนสูง เมื่อโรงเรียนและครูเป็นผู้คดโกงเสียแล้ว โรงเรียนจะเป็น สถานที่บ่มเพาะคุณงามความดีแก่เยาวชนได้อย่างไร หนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ปิ ด โปงอุ ต สาหกรรมการสอบของอเมริ ก าที่ มี ผลประโยชน์ทางธุรกิจมหาศาล และเตือนสติคนไทยว่าเราตกอยูใ่ นสภาพ เช่นนั้นหรือไม่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประเมินต่างๆ ของเราค�ำนึง ถึงผลประโยชน์ของตนเองหรือคุณภาพการศึกษาของประเทศมากกว่ากัน ผมชอบข้อความหนึง่ ในบทที่ 7 ทีบ่ อกว่าการประเมินผลท�ำหน้าที่ 3 ประการ โดยประการที่สองคือท�ำหน้าที่รายงาน วงการศึกษาทั่วโลก รวมทั้งของไทยตกอยู่ในหลุมนี้ เนื่องจากวงการศึกษาอยู่ในภพภูมิแห่ง อ�ำนาจควบคุมสั่งการ จึงใช้การประเมินมาสนองอ�ำนาจนี้ และเพราะเน้น แต่การท�ำหน้าทีร่ ายงานเท่านัน้ จึงละเลยหน้าทีด่ า้ นการวินจิ ฉัย (ซึง่ น่าจะ ส�ำคัญที่สุด) และหน้าที่ด้านการตัดสินไป ตัวอย่างนวัตกรรมการทดสอบที่น่าสนใจปรากฏอยู่ในเรื่องราว ของเลิรน์ นิงเรคคอร์ด ทีบ่ อกเราว่าวิธกี ารประเมินทีว่ งการศึกษาโดยทัว่ ไป ใช้นั้น ใช้ไม่ได้ผลในนักเรียนบางกลุ่ม ผมใคร่ขอเรียกร้องให้นักการศึกษา โดยเฉพาะครูของครู อ่านและท�ำความเข้าใจเรือ่ งนี้ และน�ำมาสอดใส่ไว้ใน หลักสูตรฝึกหัดครูแห่งศตวรรษที่ 21 ในความเห็นของผม หัวใจของระบบการประเมินคือต้องแยก ให้ชัดว่ามุ่งส่งเสริมผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน หรือมุ่งรายงานผล การสอนและการสอบต่อผู้มีอ�ำนาจ สองเป้าหมายนี้บรรจบกัน เป็นสิ่ง 10

Creative Schools


เดียวกัน หรือแยกจากกันอย่างสุดกู่ หนั ง สื อ บอกเราว่ า การประเมิ น ผลที่ ดี จ ะส่ ง ผล 3 อย่ า ง คื อ แรงจูงใจ ผลสัมฤทธิ์ และมาตรฐาน ซึ่งแปลว่าเป้าหมายเพื่อส่งเสริม ผลลัพธ์การเรียนรู้กับเป้าหมายเพื่อรายงานผู้มีอ�ำนาจได้มาบรรจบกัน นั่นเอง แต่เป้าหมายส่งเสริมผลลัพธ์การเรียนรู้จะต้องมาก่อน บทที่ 8 ว่ า ด้ ว ยเรื่ อ งภาวะผู ้ น� ำ บทนี้ เ ล่ า เรื่ อ งราวการริ เ ริ่ ม สร้างสรรค์หลากหลายแบบซึ่งฉีกไปจากแนวทางเดิมๆ และพิสจู น์แล้วว่า ได้ผล เรื่องการจัดหลักสูตรตามพัฒนาการ 3 ระยะของมหาวิทยาลัย คลาร์กน่าสนใจยิ่ง มหาวิทยาลัยแห่งนี้ด�ำเนินการภายใต้หลักการว่า สถาบันการศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของทั้งชุมชน ตารางท้ายบทที่ 8 ที่ชื่อสภาพแวดล้อมส�ำหรับการเจริญเติบโต ได้สรุปสภาพแวดล้อมแบบ “มีชีวิต” (organic) ไว้อย่างดียิ่ง โดยได้ เชื่อมโยงกับวิธีบริหารงานของครูใหญ่แบบ “จัดการสภาพแวดล้อม” ไม่ใช่แบบ “ออกค�ำสั่งและควบคุม” บทที่ 9 อธิ บ ายสภาพสถาบั น ครอบครั ว ที่ เ ปลี่ ย นแปลงไป เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในครอบครัวที่อบอุ่นอย่างในสมัยก่อน บทนี้ให้ค�ำแนะน�ำที่ดีแก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็ก เป้ า หมาย ผลส�ำเร็จ และวิธีด�ำเนินการของบลูสคูลในบทที่ 9 นี้น่าสนใจยิ่ง ซึ่งผมคิดว่าตรงกับเป้าหมายของการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และเป็นตัวอย่างความส�ำเร็จด้านคุณภาพการศึกษาที่โรงเรียนรู้จักใช้ พลังครอบครัวและพลังชุมชนมาร่วมกันสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ของ นักเรียน บทบาทสุดขั้วของครอบครัวต่อการศึกษาของลูกคือโฮมสคูลลิ่ง ซึ่งในปัจจุบันนี้มีตัวช่วยมากดังที่กล่าวไว้ในตอนท้ายๆ ของบทที่ 9 บทที่ 10 ว่าด้วยผู้ก�ำหนดนโยบาย โดยในสหรัฐอเมริกานั้น จะประกอบไปด้วยคณะกรรมการโรงเรียน ศึกษาธิการ นักการเมือง และ ผู้น�ำสหภาพ ผู้ก�ำหนดนโยบายเหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน Ken Robinson and Lou Aronica

11


แต่ตา่ งก็ตอ้ งการให้การศึกษาสร้างการเปลีย่ นแปลงไปในทางทีด่ ขี นึ้ ทัง้ แก่ พื้นที่และแก่วงการของตน ด้วยเหตุนี้จึงมีการริเริ่มสร้างสรรค์รูปแบบ การศึกษาใหม่ๆ ในพื้นที่ต่างๆ เช่น องค์กรอาสก์เพื่อการเสริมสร้าง ขีดความสามารถของมนุษย์ในตะวันออกกลาง โครงการโกเนกตาร์ อิกวลดาดแห่งอาร์เจนตินา การริเริ่มสร้างสรรค์ในจีน การแปลงเปลี่ยน ในสกอตแลนด์ คณะกรรมการบริหารเขตการศึกษาออตตาวา-คาร์ลตัน แห่งแคนาดา ผู้เขียนหนังสือได้ให้ค�ำแนะน�ำแก่ผู้ก�ำหนดนโยบายไว้อย่างน่า สนใจ และในบทส่งท้ายได้ชี้ให้เห็นว่า การศึกษาที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนอง ความต้องการของผูเ้ รียนรายบุคคล (personalized education) ทีเ่ สนอใน หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ของใหม่ แต่เป็นสิ่งที่ จอห์น ล็อก ได้เสนอไว้ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 17 และมีผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาจ�ำนวนมากมาย ได้ริเริ่มไว้แล้ว เขายกตัวอย่างถึงบุคคลส�ำคัญอย่าง มาเรีย มอนเตสซอรี และ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ฯลฯ การศึกษาทีร่ เิ ริม่ โดยบุคคลเหล่านีเ้ ป็นรูปแบบ การศึกษาทางเลือกที่มีอยู่ในประเทศไทยมาระยะหนึ่งแล้ว ภาคประชาชนไทยนัน้ ได้ดำ� เนินการปฏิวตั กิ ารศึกษาจากจุดเล็กๆ จ�ำนวนมากมาย และภาครัฐจะมาเชื่อมโยงให้เป็น “โรงเรียนบันดาลใจ” ได้อย่างไร ค�ำแนะน�ำอยู่ใน โรงเรียนบันดาลใจ เล่มนี้ วิจารณ์ พานิช 9 กุมภาพันธ์ 2559

12

Creative Schools




แด่เบรตตันฮอลล์คอลเลจ, เวกฟิลด์ (1949-2001) และทุกคนที่ร่วมหัวจมท้ายในนั้น


กิตติกรรมประกาศ

ผมใช้เวลาทั้งชีวิตท�ำงานในแวดวงการศึกษา ตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมา ผมได้รับแรงบันดาลใจจากบุคคลพิเศษเหนือธรรมดา ทั้งครู อาจารย์ นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานในทุกสาขา และก็อย่างที่เขาชอบ พูดกัน มีคนจ�ำนวนมากมายจนผมไม่อาจจะกล่าวขอบคุณได้ครบทุกคน ความรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณของผมนั้นล้นพ้นขนาดไหน คุณผู้อ่านน่าจะ เห็นได้ชัดเจนขึ้นเมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผมเป็น หนี้บุญคุณเหลือจะกล่าวต่อทุกท่านทั้งในโรงเรียนและที่อื่นๆ ที่พวกเรา ได้น�ำผลงานมาใช้อ้างอิงหรืออธิบายประกอบเนื้อหา แต่ถึงกระนั้น ผมก็ จ�ำเป็นจะต้องกล่าวขอบคุณเป็นการจ�ำเพาะแก่ผทู้ มี่ สี ว่ นช่วยเหลือโดยตรง ในการจัดท�ำหนังสือเล่มนี้ ก่อนอืน่ ผมขอขอบคุณ ลู อโรนิกา ผูร้ ว่ มเขียนและผูร้ ว่ มขบวนการ เขาเป็นคนสัมภาษณ์และถอดความบทสัมภาษณ์และกรณีศกึ ษาหลายต่อ หลายชิ้นที่พวกเราเขียนถึงในหนังสือเล่มนี้ ตั้งแต่ต้นจนจบเขาท�ำหน้าที่ เป็นทั้งผู้เชี่ยวชาญและคู่หูผู้ปราดเปรื่องในกระบวนการทั้งหมด ผมรู้สึก ซาบซึ้งใจอย่างที่สุด ขอบคุณนะลู จอห์ น โรบิ น สั น เป็ น ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบหลั ก ในการวิ จั ย หาข้ อ มู ล ภูมิหลังและช่วยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เขามีส่วนอย่างยิ่ง ในกระบวนการติดต่อสอบถามข้อมูลทัง้ หมด และช่วยท�ำให้ผมรูส้ กึ ว่างานนี้ ทั้งน่าสนุกและส�ำคัญไปพร้อมกัน 16

Creative Schools


ตัวแทนลิขสิทธิ์วรรณกรรมของพวกเรา ปีเตอร์ มิลเลอร์ ยังคง เป็นมืออาชีพเหมือนเช่นเคย เขาช่วยหาหนทางที่ดีท่ีสุดในการจัดพิมพ์ หนังสือเล่มนี้ คู่หูผู้เชี่ยวชาญ แคทริน คอร์ต กับ ทารา สิงห์ คาร์ลสัน แห่ง ส�ำนักพิมพ์เพนกวิน ช่วยน�ำหนังสือเล่มนี้ออกสู่บรรณภิภพในรูปลักษณ์ อย่างที่ทุกท่านได้เห็นนี้ โจดี โรส ยังคงป็นอัจฉริยะเหมือนเช่นเคย เธอช่วยขยับจับแต่งเพื่อให้ตารางงานที่ยุ่งเหยิงถูกจัดเรียงตามล�ำดับ ความส�ำคัญอย่างเหมาะสม และชี้ให้ผมเห็นทุกครั้งเวลาที่ผมคิดไปเองว่า เรื่องนั้นเรื่องนี้ส�ำคัญ ทั้งที่จริงแล้วไม่ใช่เลย ลูกสาวของผม เคต โรบินสัน ผู้คอยให้การสนับสนุนด้วยการติ เพื่อก่ออย่างสม�่ำเสมอ เธอแบ่งปันความหลงใหลในเรื่องเหล่านี้ให้แก่ผม เหมือนทีเ่ ธอท�ำมาตลอด ลูกชายของผม เจมส์ ผูท้ คี่ อยกดดันผม เหมือนที่ เขาท�ำมาตลอด ท�ำให้ผมต้องชัดเจนและเฉียบคมมากขึ้นเวลาที่ผมต้อง พูดในสิ่งที่คิด และท�ำให้ผมต้องคิดได้จริงๆ อย่างที่พูด เหนืออื่นใด ผมรู้สึกซาบซึ้งใจจนเกินจะพรรณนาออกมาเป็น ค�ำพูด ขอบคุณแทร์รี ผู้เป็นทั้งคู่หูในการท�ำงานและคู่ชีวิต เธอคอย ประคับประคองผมตลอดมาด้วยความศรัทธาว่าสิง่ ทีพ่ วกเราท�ำนัน้ มีคณ ุ ค่า เธอไม่เคยพลาดในการเลือกหนทางที่ถูกต้องเพื่อก้าวเดิน และคุณค่าที่ ถูกต้องเพือ่ ยึดถือ ซึง่ นับเป็นสิง่ ทีท่ า้ ทายผมอยูท่ กุ วัน เธอเป็นทัง้ ผูน้ ำ� ทาง และพี่เลี้ยงให้ผมเสมอมา จนเกินที่ผมจะจินตนาการได้ว่าหากไม่มีเธอ ผมจะบรรลุจุดหมายได้อย่างไร

Ken Robinson and Lou Aronica

17



อารยธรรมเป็นการแข่งขันระหว่างการศึกษากับความหายนะ เอช. จี. เวลส์



Creative Schools The Grassroots Revolution That’s Transforming Education

.

Ken Robinson and Lou Aronica

โรงเรียนบันดาลใจ แปลโดย

วิชยา ปิดชามุก


บทน�ำ หนึ่งนาทีก่อนเที่ยงคืน


คุ ณ รู ้ สึ ก กั ง วลใจเกี่ ย วกั บ การศึ ก ษาไหมครั บ ? ผมคนหนึ่ ง ละที่ ทุกข์ร้อนกับเรื่องนี้ ความกังวลที่สุดอย่างหนึ่งของผมก็คือ ในขณะที่ ทั่วโลกพยายามปฏิรูประบบการศึกษา การปฏิรูปส่วนมากที่ก�ำลังเกิดขึ้น กลั บ มี ผ ลประโยชน์ ท างการเมื อ งและธุ ร กิ จ คอยผลั ก ดั น อยู ่ เ บื้ อ งหลั ง โดยปราศจากความเข้ า ใจที่ ถู ก ต้ อ งเกี่ ย วกั บ กระบวนการเรี ย นรู ้ ข อง คนเรา หรือวิธีการด�ำเนินงานของโรงเรียนที่ดี ผลที่ตามมาคือ การปฏิรูป กลับไปท�ำลายอนาคตอันสดใสของเยาวชนจ�ำนวนนับไม่ถ้วน ในไม่เร็ว ก็ช้า ผลของการปฏิรูปจะย้อนกลับมากระทบชีวิตคุณไม่ก็คนรอบข้าง ในทางใดทางหนึ่ง จึงเป็นเรื่องจ�ำเป็นที่คุณต้องเข้าใจว่าการปฏิรูปพวกนี้ มันคืออะไรกันแน่ และถ้าคุณเห็นด้วยว่าการปฏิรปู ก�ำลังมุง่ หน้าดิง่ ลงเหว ผมหวังว่าคุณจะยอมมาเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการที่ผลักดันให้ทุกฝ่าย หันมาใช้วธิ กี ารแบบองค์รวมเพือ่ ช่วยฟูมฟักพรสวรรค์อนั หลากหลายของ ลูกหลานพวกเราทุกคน

Ken Robinson and Lou Aronica

23


ในหนังสือเล่มนี้ ผมต้องการแสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมการใช้ มาตรฐานเป็นตัวตัง้ นัน้ ก�ำลังท�ำร้ายนักเรียนและโรงเรียน ในขณะเดียวกัน ผมก็ต้องการน�ำเสนอทางเลือกอื่นเพื่อใช้มองการศึกษา ทั้งต้องการแสดง ให้เห็นว่าไม่วา่ คุณจะเป็นใครและอยูท่ ไี่ หน คุณมีพลังทีจ่ ะผลักดันให้ระบบ เปลี่ยนแปลงได้ อันที่จริงความเปลี่ยนแปลงก็ก�ำลังเกิดขึ้น มีโรงเรียน ที่ดี ครูที่ยอดเยี่ยม และครูใหญ่ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจจ�ำนวนมาก ก�ำลังท�ำงานโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้นักเรียนได้รับการศึกษา แบบที่ต้องการจริงๆ โดยเป็นการศึกษาที่ปรับมาให้เหมาะกับผู้เรียน แต่ละคน มีรากฐานมาจากความเห็นอกเห็นใจ และมีความเชื่อมโยงกับ ชุมชน นอกจากนั้นยังมีเขตการศึกษาหรือแม้แต่ระบบการศึกษาของ บางประเทศที่ก�ำลังมุ่งหน้าไปสู่ทิศทางเดียวกันนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในทุกระดับของระบบการศึกษาเหล่านี้ก�ำลังเรียกร้องกดดัน ด้วยหวัง ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแบบเดียวกับที่ผมน�ำเสนอในหนังสือเล่มนี้ ในปี 2006 ผมได้ไปพูดในงานสัมมนาของ TED ที่แคลิฟอร์เนีย ในหัวข้อ “โรงเรียนท�ำลายความคิดสร้างสรรค์จริงหรือ?” (Do Schools Kill Creativity?) ประเด็นหลักของการพูดครั้งนั้นคือพวกเราทุกคน เกิดมาพร้อมพรสวรรค์อันเปี่ยมล้นที่ธรรมชาติประทานมาให้ แต่พออยู่ ในระบบการศึกษาไปได้สักระยะหนึ่ง พวกเราจ�ำนวนไม่น้อยกลับหลงลืม พรสวรรค์ทมี่ ี ในวันนัน้ ผมพูดด้วยว่า มีคนจ�ำนวนมากทีป่ ราดเปรือ่ งและมี พรสวรรค์ล้นเหลือแต่กลับไม่เชื่อว่าตนเองเป็นคนฉลาดหรือเก่งกาจอะไร เพียงเพราะเรือ่ งทีพ่ วกเขาท�ำได้ดที โี่ รงเรียนเป็นสิง่ ทีร่ ะบบไม่ได้ให้คณ ุ ค่า หรือไม่กเ็ ป็นสิง่ ทีถ่ กู ตราหน้าตีตรา และผลทีต่ ามมาก็คอื หายนะทัง้ ในระดับ ปัจเจกและในระดับความผาสุกของชุมชนเรา ปรากฏว่ามีผู้ชมการพูดของผมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของ TED มีคนดูทางออนไลน์มากกว่า 30 ล้านครั้ง คิดเป็นผู้ชมโดยประมาณ 300 ล้านคนทั่วโลก ผมรู้ครับว่ายอดวิวผมสู้ ไมลีย์ ไซรัส ไม่ได้ ก็ผมไม่ได้ เต้นกระดกก้นแบบเธอนี่ครับ 24

Creative Schools


นับตั้งแต่การพูดครั้งนั้นถูกโพสต์บนอินเทอร์เน็ต ผมก็ได้ยิน เรือ่ งราวของนักเรียนนักศึกษาจากทัว่ โลกทีบ่ อกเล่าว่าพวกเขาเปิดคลิปนี้ ให้ครูหรือพ่อแม่ดู ได้ยินเรื่องราวจากพ่อแม่ที่เล่าว่าพวกเขาเปิดให้ ลูกดู ครูทเี่ ปิดให้ครูใหญ่ดู และศึกษาธิการทีเ่ ปิดให้ทกุ คนทีร่ จู้ กั ดู ผมถือว่า นี่คือหลักฐานว่าไม่ได้มีแค่ผมคนเดียวที่คิดแบบนี้ และความกังวลใจ ก็ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ด้วย เมื่ อ ปีที่แล้ว ผมได้ไ ปพูด ที่วิทยาลัยแห่งหนึ่งในแถบมิดเวสต์ ของสหรัฐอเมริกา ระหว่างรับประทานอาหารกลางวัน อาจารย์ท่านหนึ่ง พูดกับผมว่า “คุณคิดแบบนี้มานานแล้วใช่ไหม?” ผมถามกลับไปว่า “คิด อะไรครับ?” เขาตอบว่า “ก็คดิ ทีจ่ ะเปลีย่ นแปลงการศึกษาไงครับ ถึงตอนนี้ ก็นานเท่าไรแล้วล่ะ? แปดปีได้ไหม?” ผมเลยพูดว่า “คุณหมายความว่า ยังไงครับ แปดปี?” เขาตอบว่า “ก็...ตั้งแต่การบรรยายที่ TED ครั้งนั้นไง” ผมเลยพูดไปว่า “อ่อ ครับ แต่อย่าลืมว่าผมก็มีชีวิตมาก่อนหน้านั้นนะ...” นับจนถึงตอนนี้ ผมท�ำงานคลุกคลีในแวดวงการศึกษามานาน กว่าสี่สิบปีแล้ว ทั้งในฐานะครู นักวิจัย วิทยากร ผู้ตรวจสอบ และที่ปรึกษา ผมท�ำงานร่วมกับคน สถาบัน และระบบการศึกษามาแล้วทุกแบบ ร่วมกับ ภาคธุรกิจ รัฐบาล และองค์กรทางวัฒนธรรมทุกประเภท ผมเป็นผู้น�ำ การริเริ่มที่น�ำไปปฏิบัติได้จริงทั้งในโรงเรียน เขตการศึกษา และรัฐบาล ผมสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยและช่วยก่อตั้งสถาบันใหม่ๆ จากทุกสิ่ง ทุกอย่างที่ผมท�ำไป ผมต้องการจะผลักดันให้มีการใช้รูปแบบการจัดการ ศึกษาที่สมดุล ค�ำนึงถึงความเป็นปัจเจกของผู้เรียน และมีความคิด สร้างสรรค์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในช่ ว งสิ บ ปี ห ลั ง มานี้ ผมได้ ยิ น ผู ้ ค นทุ ก หัวระแหงพูดว่าพวกเขารู้สึกโกรธเกรี้ยวมากขนาดไหนจากการที่ทั้งตัว พวกเขาเอง ลูกหลาน หรือเพื่อนฝูงต้องได้รับผลกระทบที่แสนบั่นทอน จากระบบที่เน้นการสอบและการสร้างมาตรฐาน บ่อยครั้งที่พวกเขารู้สึก อับจนหนทาง เพราะดูเหมือนไม่มีอะไรที่พวกเขาจะท�ำเพื่อเปลี่ยนแปลง Ken Robinson and Lou Aronica

25


การศึกษาได้เลย บางคนเดินเข้ามาบอกผมว่าเขาชอบดูการพูดของผม ทางออนไลน์มาก แต่ก็รู้สึกผิดหวังที่ผมไม่ยอมบอกว่าแล้วพวกเขา จะท�ำอะไรได้บา้ งถ้าต้องการให้ระบบเกิดการเปลีย่ นแปลง ผมมีคำ� ตอบให้ 3 แบบ แบบแรกคือ “เขาให้ผมพูดแค่สบิ แปดนาทีเองนะ จะมาอะไรกับผม นักหนา” แบบทีส่ องคือ “ถ้าคุณสนใจแนวคิดของผมจริงๆ ผมเขียนหนังสือ รายงาน และกลยุทธ์ทั้งหลายเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้หมดแล้ว คุณน่าจะน�ำ ไปใช้ประโยชน์ได้”1 ส่วนค�ำตอบแบบที่สามก็คือหนังสือเล่มนี้ไงละครับ ผมโดนถามอยู่บ่อยๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นกับการศึกษา ท�ำไมมันถึง เป็นอย่างนี้ไปได้? ถ้าคุณสามารถออกแบบการศึกษาได้ใหม่เลย มันจะ ออกมาเป็นอย่างไร? คุณจะยังให้มโี รงเรียนอยูไ่ หม? จะมีโรงเรียนประเภท ใหม่เกิดขึ้นหรือเปล่า? จะเกิดอะไรขึ้นบ้างที่โรงเรียน? ทุกคนต้องไป โรงเรียนที่ว่านี้ไหม? และจะต้องเข้าโรงเรียนตอนอายุเท่าไร? จะต้องมี การทดสอบหรือไม่? และถ้าคุณคิดว่าสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง ให้เกิดขึ้นกับการศึกษาได้จริง คุณควรจะเริ่มจากตรงไหน? ที่จริงแล้วค�ำถามที่เป็นจุดตั้งต้นของทุกอย่างคือ เรามีการศึกษา ไปเพื่ออะไร? แต่ว่าผู้คนต่างตอบค�ำถามนี้ไม่เหมือนกัน ก็เหมือนกับ ค�ำว่า “ประชาธิปไตย” และ “ความยุติธรรม” นั่นแหละครับ “การศึกษา” เป็นตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่นักปรัชญา วอลเตอร์ ไบร์ซ แกลลี (Walter Bryce Gallie) เรียกว่าเป็น “แนวคิดที่ยากจะเห็นพ้องต้องกัน” มันมี ความหมายต่างกันส�ำหรับคนแต่ละกลุ่ม ขึ้นอยู่กับค่านิยมทางวัฒนธรรม ที่พวกเขายึดถือและมุมมองที่เขามีต่อประเด็นอย่างชาติพันธุ์ เพศสภาพ ความยากจน และชนชัน้ ทางสังคม แต่นไี่ ม่ได้หมายความว่าเราไม่สามารถ อภิปรายเรือ่ งนีห้ รือท�ำอะไรสักอย่างกับมันได้ เราก็แค่ตอ้ งเข้าใจให้ชดั เจน ตรงกันก่อนว่าก�ำลังพูดถึงเรือ่ งอะไรอยู2่ เพราะฉะนัน้ ก่อนทีเ่ ราจะอภิปราย กันต่อไป ผมขอพูดถึงค�ำศัพท์อย่าง “การเรียนรู้” “การศึกษา” “การฝึก อบรม” และ “โรงเรียน” ซึ่งบางทีก็ยังสร้างให้เกิดความสับสนอยู่ไม่น้อย การเรียนรู้ (learning) คือกระบวนการของการแสวงหาความรูแ้ ละ 26

Creative Schools


ทักษะใหม่ๆ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดมาเพื่อเรียนรู้และเต็มเปี่ยมไปด้วย ความสงสัยใคร่รู้ ตัง้ แต่ถอื ก�ำเนิดขึน้ มาบนโลก เด็กๆ มีความกระหายทีจ่ ะ เรียนรู้มากขนาดที่เรียกได้ว่าเข้าขั้นตะกละตะกลาม ส�ำหรับเด็กจ�ำนวน มาก ความกระหายการเรียนรู้นี้จะเริ่มจืดจางลงเมื่อเข้าเรียนในโรงเรียน กุญแจสู่การปฏิรูปการศึกษาคือการหล่อเลี้ยงให้ความกระหายนี้ยังคงอยู่ การศึกษา (education) คือโปรแกรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ การจัดการศึกษาในระบบ (formal education) เชื่อว่าเด็กๆ จ�ำเป็นต้องรู้ เข้าใจ และสามารถท�ำสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาไม่อาจท�ำได้เอง หากปล่อยไปตามมีตามเกิด ประเด็นหลักของการอภิปรายในหนังสือ เล่ ม นี้ คื อ มี อ ะไรบ้ า งที่ เ ด็ ก ต้ อ งรู ้ และเราควรจั ด การศึ ก ษาอย่ า งไร เพื่อช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ การฝึกอบรม (training) คือรูปแบบการศึกษาที่เน้นให้เกิดการ เรียนรู้ทักษะเฉพาะทาง ผมจ�ำได้ว่าตอนยังเรียนหนังสือ มีการเถียงกัน หน้าด�ำคร�่ำเครียดถึงความยากล�ำบากในการแยกความแตกต่างระหว่าง การศึกษากับการฝึกอบรม ปรากฏว่าเราสามารถเห็นความแตกต่างได้ ง่ายๆ เมื่อพูดถึงเรื่องเพศศึกษา พ่อแม่ส่วนใหญ่คงยินดีที่รู้ว่าบุตรหลาน วัยรุน่ ของพวกเขาได้เรียนรูเ้ พศศึกษาทีโ่ รงเรียน แต่คงจะไม่มคี วามสุขนัก ถ้ารู้ว่าพวกเขาเข้ารับการฝึกอบรมให้มีเพศสัมพันธ์ ส่วนค�ำว่า โรงเรียน (schools) ผมไม่ได้หมายถึงเฉพาะสถานที่ ที่ ค รบครั น ด้ ว ยอุ ป กรณ์ อ� ำ นวยความสะดวกในการเรี ย นแบบดั้ ง เดิ ม อย่างที่เราคุ้นเคยและจัดให้กับเด็กๆ และวัยรุ่น แต่ผมหมายความถึง กลุ ่ ม คนที่ ม ารวมตั ว เพื่ อ เรี ย นรู ้ ร ่ ว มกั น ในที่ นี้ ผ มใช้ ค� ำ ว่ า โรงเรี ย น โดยหมายรวมไปถึงโฮมสคูลลิ่ง (homeschooling) อันสคูลลิ่ง (unschooling)3 และการรวมกลุ่มกันอย่างไม่เป็นทางการ ทั้งแบบเจอตัวกัน และทางออนไลน์ ไล่จากระดับอนุบาล วิทยาลัย ไปจนถึงระดับทีส่ งู กว่านัน้ ลักษณะบางอย่างของโรงเรียนในรูปแบบดั้งเดิมนั้นแทบไม่ได้มีส่วน เกีย่ วข้องอะไรกับการเรียนรูเ้ ลย ทัง้ ยังสามารถกลายเป็นอุปสรรคชิน้ ใหญ่ Ken Robinson and Lou Aronica

27


ที่ขัดขวางการเรียนรู้ การปฏิวัติอย่างที่เราต้องการนั้นต้องอาศัยการ คิดใหม่ในเรื่องการด�ำเนินงานของโรงเรียน รวมถึงอะไรบ้างที่เราจะถือว่า เป็นโรงเรียน ทั้งยังต้องอาศัยความเชื่อมั่นว่าการศึกษานั้นสามารถมีได้ หลายรูปแบบหลากเรื่องราว พวกเราทุกคนล้วนชอบฟังเรื่องเล่ากันทั้งนั้น ถึงจะเป็นเรื่องแต่ง ขึ้นมาก็เถอะ ในช่วงที่เราเติบโต วิธีหนึ่งที่เราใช้เรียนรู้เกี่ยวกับโลก ก็คือการสดับรับฟังเรื่องเล่า บางเรื่องเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลที่ เป็นที่รู้จักภายในวงเพื่อนหรือครอบครัวของเรา เรื่องเล่าบางเรื่องก็เป็น ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่ใหญ่กว่านั้นซึ่งมีเราเป็นสมาชิกอยู่ด้วย เช่น ต�ำนาน นิทาน และเทพนิยายทีเ่ กีย่ วข้องกับวิถชี วี ติ ซึง่ จับใจผูค้ นมาหลาย ต่อหลายรุ่น บ่อยครั้งในเรื่องที่เล่า เส้นแบ่งระหว่างความจริงความลวง อาจพร่าเลือนจนเราหลงเข้าใจผิดว่าสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง เรื่องเล่า เกี่ยวกับการศึกษาที่คนจ�ำนวนมากเชื่อก็เหมือนกัน ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่ เรื่องจริงและไม่เคยเป็นจริงเลยก็ตาม อย่างเช่นเรื่องต่อไปนี้ เด็ ก เล็ ก เข้ า โรงเรี ย นประถมด้ ว ยเหตุ ผ ลหลั ก คื อ เพื่ อ เรี ย นรู ้ ทักษะพื้นฐานส�ำหรับการอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์ ทักษะเหล่านี้ จ� ำ เป็ น เพราะจะช่ ว ยให้ พ วกเขาเรี ย นได้ ดี ใ นชั้ น มั ธ ยมปลาย และถ้ า พวกเขายังคงศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาและจบการศึกษาได้รบั ปริญญา ในสาขาทีด่ ี พวกเขาจะได้ทำ� งานทีม่ เี งินเดือนสูงและประเทศชาติกจ็ ะเจริญ วัฒนาสถาพร ในเรื่ อ งเล่ า นี้ คุ ณ ใช้ ป ั ญ ญาหรื อ ความฉลาดที่ แ ท้ จ ริ ง ไปกั บ การศึกษาเนื้อหาทางวิชาการเท่านั้น เด็กๆ เกิดมาโดยมีความฉลาด มากน้อยแตกต่างกันไป และเป็นเรื่องธรรมดาที่บางคนจะเรียนได้ดี ในขณะที่บางคนไม่สามารถเรียนได้ เด็กที่ฉลาดจริงๆ จะได้เข้าเรียนต่อ ในมหาวิทยาลัยชั้นน�ำพร้อมกับนักเรียนผู้ปราดเปรื่องในทางวิชาการ คนอื่นๆ คนที่มีใบปริญญาจากมหาวิทยาลัยที่ดีย่อมการันตีได้ว่าจะได้ ท�ำงานในวิชาชีพเฉพาะทางทีม่ รี ายได้สงู และมีหอ้ งท�ำงานเป็นของตัวเอง 28

Creative Schools


นักเรียนที่ฉลาดน้อยกว่าจะเรียนได้ไม่ดีเท่าอยู่แล้วโดยธรรมชาติ บางคน จึงอาจจะสอบตกหรือต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน คนที่สามารถเรียน จนจบ ม.ปลายอาจจะตัดสินใจไม่เรียนต่อและลงเอยด้วยการหางานที่ รายได้ไม่ดีนักท�ำแทน บางคนอาจจะเข้าเรียนต่อในวิทยาลัยแต่ก็จะเลือก เรียนคอร์สที่ไม่มีเนื้อหาเป็นวิชาการมากนัก โดยมักเป็นวิชาสายอาชีพ เสียมากกว่า เมื่อจบออกมา พวกเขาจะได้ท�ำงานบริการหรืองานช่างที่ เหมาะสมกับเขา และมีกล่องเครื่องมือเป็นของตัวเอง พอไม่ได้ตั้งใจเล่าให้มันฟังออกมาดูดี เรื่องนี้ก็กลายเป็นเหมือน เรื่องล้อเลียนไปเสียได้ แต่ถ้าคุณลองมองให้ดีถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในโรงเรียน จ�ำนวนมาก เมื่อคุณได้ฟังว่าพ่อแม่มีความคาดหวังอะไรในตัวลูกรวมถึง คาดหวั ง อะไรเพื่ อ ลู ก ๆ ของพวกเขาบ้ า ง และเมื่ อ คุ ณ ลองพิ จ ารณา ในสิ่ ง ที่ ผู ้ ก� ำ หนดนโยบายจ� ำ นวนมากทั่ ว โลกก� ำ ลั ง ท� ำ อยู ่ ใ นตอนนี้ ก็ดูเหมือนพวกเขาเชื่อกันไปจริงๆ ว่าระบบการศึกษาแบบที่เป็นอยู่ ตอนนี้เป็นสิ่งสมเหตุสมผล เพียงแต่ระบบท�ำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควรเพราะ มาตรฐานต�่ำลงก็เท่านั้นเอง ดังนั้นจึงเกิดความพยายามที่จะยกระดับ มาตรฐานผ่านการแข่งขันและระบบการตรวจสอบ คุณอาจเคลิ้มไปกับ เรื่องเล่านี้ พลางนึกสงสัยว่าแล้วมันไม่ถูกต้องตรงไหน เรื่องเล่านี้คือมายาคติที่อันตราย มันคือสาเหตุหลักประการหนึ่ง ที่ท�ำให้ความพยายามปฏิรูปไม่เป็นผล การปฏิรูปมักจะลงเอยด้วยการ ท�ำให้ปัญหาที่อ้างว่าจะมีการแก้ไขกลับหนักข้อขึ้นกว่าเดิม ปัญหาที่ว่านี้ รวมถึ ง อั ต ราผู ้ ไ ม่ ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาจากโรงเรี ย นและวิ ท ยาลั ย ที่ สู ง จน น่าตระหนก ระดับความเครียด ความรู้สึกหดหู่ หรือแม้แต่อัตราการ ฆ่าตัวตายในกลุ่มนักเรียนและครู คุณค่าใบปริญญาที่ลดลงจนน่าใจหาย ต้นทุนที่สูงเสียดฟ้ากว่าจะคว้าปริญญามาได้สักใบ และอัตราการว่างงาน ที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในกลุ่มผู้ที่จบการศึกษาและไม่จบการศึกษา นักการเมืองมักจะได้แต่เกาศีรษะเวลาเจอปัญหาพวกนี้ บางครัง้ พวกเขาก็ลงโทษโรงเรียนที่ไม่สามารถท�ำให้นักเรียนมีผลการเรียนที่น่า Ken Robinson and Lou Aronica

29


พอใจได้ บางครั้งพวกเขาก็ให้เงินอุดหนุนจัดโปรแกรมซ่อมเสริมเพื่อให้ โรงเรียนพวกนี้กลับไปอยู่ในร่องในรอยเหมือนเดิม แต่ปัญหาก็ไม่มีทีท่า จะหมดไปเสียที แถมบางอย่างกลับรุนแรงยิ่งขึ้น นั่นเป็นเพราะว่าปัญหา เหล่านี้จ�ำนวนมากเกิดมาจากตัวระบบเอง ไม่ใช่อย่างอื่น ระบบทุกระบบจะด�ำเนินไปตามรูปแบบเฉพาะของมัน ตอนที่ ผมยังอายุยี่สิบกว่าๆ และอยู่ในเมืองลิเวอร์พูล ผมได้ไปเที่ยวชมโรง ฆ่าสัตว์ (มาตอนนีก้ จ็ ำ� ไม่ได้แล้วว่าไปท�ำไม สงสัยผมจะพาสาวไปออกเดต ละมั้ง) โรงฆ่าสัตว์ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ฆ่าสัตว์ และมันก็ใช้ได้ผลสมชื่อ มี สั ต ว์ จ� ำ นวนน้ อ ยมากที่ ห ลุ ด รอดหนี ไ ปได้ แ ล้ ว ไปก่ อ ตั้ ง ชมรมผู ้ ร อด ชีวิต เมื่อมาจนสุดทาง พวกเราเดินผ่านประตูบานหนึ่งที่มีป้ายเขียนว่า “สัตวแพทย์” ผมเดาว่าหมอนี่คงต้องรู้สึกหดหู่ทุกวันแน่ ผมถามไกด์ไปว่า ท�ำไมที่โรงฆ่าสัตว์ถึงต้องมีสัตวแพทย์ด้วย มันจะไม่สายไปหน่อยเหรอ? เขาตอบว่าสัตวแพทย์จะมาที่น่ีเป็นครั้งคราวเพื่อสุ่มสัตว์ที่ตายมาชันสูตร ผมคิดในใจว่า นี่เขาคงเห็นภาพรวมของระบบที่นี่แล้วสินะ ถ้าคุณออกแบบระบบมาเพื่อให้มันท�ำอะไรสักอย่างเป็นการ เฉพาะ คุณก็ไม่ควรรู้สึกประหลาดใจที่มันท�ำได้อย่างที่ควรจะท�ำ ถ้าคุณ บริหารระบบการศึกษาโดยอิงอยู่กับการสร้างมาตรฐานและการปฏิบัติ ตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด อันเป็นสิ่งที่ไปกดทับความเป็นปัจเจก จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ คุณก็ไม่ควรจะต้องประหลาดใจทีม่ นั ท�ำได้อย่างนั้นจริงๆ อาการกับสาเหตุนี่ก็เป็นคนละเรื่องกันเลยนะครับ โรคร้ายที่ เกิดขึ้นกับการศึกษาในตอนนี้แสดงอาการออกมาหลายต่อหลายอย่าง และไม่มีทางบรรเทาลงได้เว้นเสียแต่ว่าเราจะเข้าใจปัญหาลึกๆ อันเป็น ที่มาของอาการเหล่านี้ ซึ่งปัญหาหนึ่งก็คือรูปแบบการศึกษาที่รัฐจัดให้ ประชาชนนั้นมีลักษณะเป็นแบบอุตสาหกรรม เรื่องโดยสังเขปมีอยู่ว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วจ�ำนวนมากไม่มีระบบการศึกษาที่รัฐจัดให้มวลชน มาก่ อ นเลยจนกระทั่ ง กลางศตวรรษที่ 19 ระบบนี้ ถู ก พั ฒ นาขึ้ น มา 30

Creative Schools


โดยหลักๆ แล้วก็เพื่อตอบสนองความต้องการแรงงานอันเป็นผลมาจาก การปฏิวัติอุตสาหกรรม และด�ำเนินงานโดยยึดหลักการเดียวกับการผลิต สินค้าคราวละจ�ำนวนมาก ว่ากันว่าขบวนการปฏิรูปมาตรฐานการศึกษา (standards movement) มี จุ ด เน้ น อยู ่ ที่ ก ารสร้ า งระบบเหล่ า นี้ ใ ห้ มี ประสิทธิภาพและไว้ใจได้มากขึ้น แต่ปัญหาก็คือ โดยเนื้อแท้แล้ว ระบบ เช่ น นี้ ไ ม่ เ หมาะสมกั บ สภาพการณ์ ที่ เ ปลี่ ย นไปแล้ ว อย่ า งสิ้ น เชิ ง ใน ศตวรรษที่ 21 ในช่วงสี่สิบปีมานี้ ประชากรโลกเพิ่มจ�ำนวนขึ้นกว่าสองเท่า จาก น้อยกว่าสามพันล้านมาเป็นมากกว่าเจ็ดพันล้านคน พวกเราคือประชากร มนุษย์ที่มาอยู่พร้อมกันเป็นปริมาณมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาบนโลกใบนี้ และตัวเลขก็ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างพรวดพราด ขณะเดียวกันเทคโนโลยี ดิจิทัลก็เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการท�ำงาน การเล่น การคิด การรู้สึก และ การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นของพวกเราทั้งหมด แต่การศึกษา ยังแทบจะไม่ได้เริ่มต้นปฏิวัติเปลี่ยนแปลงไปไหนเลย ระบบการศึกษา แบบเก่ า ไม่ ไ ด้ ถู ก ออกแบบมาโดยมี โ ลกเช่ น ทุ ก วั น นี้ อ ยู ่ ใ นสมอง การพัฒนาระบบการศึกษาโดยยกระดับมาตรฐานที่ยังคงเป็นแบบดั้งเดิม ไม่ได้ช่วยให้เรารับมือกับความท้าทายที่ก�ำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้ อย่าเข้าใจผมผิดนะครับ ผมไม่ได้หมายความว่าโรงเรียนทุกที่ ห่วยเหมือนกันหมด หรือระบบในภาพรวมนั้นช่างไม่ได้เรื่องเอาเสียเลย ไม่ใช่อย่างนัน้ แน่นอนครับ การศึกษาทีร่ ฐั จัดให้ประชาชนช่วยก่อประโยชน์ ให้คนมาแล้วหลายล้านคนในหลากหลายแง่มุม ผมเองก็ด้วยคนหนึ่ง ผมคงไม่อาจมีชวี ติ แบบทีม่ อี ยูต่ อนนีไ้ ด้หากไม่ได้รบั การศึกษาทีร่ ฐั อังกฤษ จัดให้เป็นสวัสดิการ ผมเติบโตในครอบครัวชนชั้นแรงงานช่วงทศวรรษ 1950 ทีเ่ มืองลิเวอร์พลู ฉะนัน้ จึงมีความเป็นไปได้ทผี่ มจะด�ำเนินชีวติ ในอีก เส้นทางหนึ่งที่แตกต่างไปโดยสิ้นเชิง การศึกษาช่วยเปิดมุมมองในการ มองโลก และมอบรากฐานทีม่ นั่ คงให้ผมได้สร้างชีวติ ของตัวเองขึน้ มาจาก ตรงนั้น Ken Robinson and Lou Aronica

31


ส�ำหรับคนอีกจ�ำนวนนับไม่ถ้วน การศึกษาที่รัฐจัดให้ประชาชน อาจเป็นหนทางให้เขาได้มีชีวิตที่เติมเต็มอย่างที่พวกเขาปรารถนา หรือ อาจเป็นหนทางออกจากความยากจนและด้อยโอกาส มีคนจ�ำนวนมาก ที่ประสบความส�ำเร็จในระบบและได้ดิบได้ดีก็เพราะระบบ ถ้าจะให้ผม ต้องพูดเป็นอีกอย่างก็คงไม่ใช่เรื่อง แต่ถึงกระนั้นก็มีคนจ�ำนวนมากมาย นับไม่ถว้ นทีไ่ ม่ได้รบั ประโยชน์อย่างทีพ่ วกเขาพึงได้จากการศึกษาในระบบ อย่างยาวนาน ความส�ำเร็จของคนที่ท�ำได้ดีในระบบแลกมาด้วยราคา สูงลิว่ ทีค่ นทีไ่ ม่สามารถท�ำได้ดใี นระบบต้องเป็นคนจ่าย ในขณะทีข่ บวนการ ปฏิรูปมาตรฐานการศึกษาเริ่มสาวเท้าก้าวเร็วขึ้น นักเรียนจ�ำนวนมากขึ้น เรื่อยๆ ก็ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายจากความล้มเหลวของพวกเขา บ่อยครั้ง เราพบว่านักเรียนยังสามารถเรียนได้ดีแม้จะมีวัฒนธรรมทางการศึกษา แบบกระแสหลักมาครอบง�ำ วัฒนธรรมเช่นนี้หาใช่สาเหตุที่ท�ำให้พวกเขา เรียนได้ดี ถ้าเช่นนั้นคุณพอจะท�ำอะไรได้บ้าง? ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเรียน นักการศึกษา พ่อแม่ ผู้บริหาร หรือผู้ก�ำหนดนโยบาย ถ้าคุณมีส่วน เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง คุณสามารถเป็นส่วนหนึ่ง ของการเปลี่ยนแปลงได้ และเพื่อให้ท�ำได้ส�ำเร็จ คุณต้องมีความเข้าใจใน 3 เรื่องนี้ ได้แก่ ความสามารถที่จะ วิพากษ์ วิถีความเป็นไปของสิ่งต่างๆ วิสัยทัศน์ ที่มองเห็นว่าสิ่งต่างๆ ควรออกมาในรูปแบบไหน และ ทฤษฎี การเปลี่ยนแปลง ส�ำหรับหาหนทางเพื่อขยับจากจุดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไปยังเป้าหมาย นี่คือสิ่งที่ผมจะน�ำเสนอในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งมีที่มาจาก ประสบการณ์ทั้งของผมเองและของบุคคลอื่นอีกเป็นจ�ำนวนมาก ทุกบท ในหนังสือเล่มนี้จะถักทอร้อยเรียงเนื้อหา 3 ส่วนต่อไปนี้เข้าด้วยกัน ได้แก่ บทวิเคราะห์ หลักการ และตัวอย่างประกอบ ถ้าคุณต้องการเปลีย่ นแปลงระบบการศึกษา เป็นเรือ่ งจ�ำเป็นทีค่ ณ ุ ต้องรู้จักลักษณะของระบบเสียก่อน ระบบไม่ได้ตั้งตระหง่านอยู่ยั้งยืนยง หรือคงสภาพเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย และนี่คือเหตุผลว่าท�ำไม 32

Creative Schools


คุณถึงสามารถท�ำอะไรสักอย่างกับมันได้ ระบบมีหลายโฉมหน้า ประกอบ ไปด้วยผลประโยชน์ทที่ บั ซ้อนกันอยูม่ ากมาย และยังมีอกี หลายจุดในระบบ ทีเ่ ราสามารถผลิตนวัตกรรมได้ การรูจ้ กั กับเรือ่ งเหล่านีจ้ ะช่วยอธิบายได้วา่ เหตุใดคุณถึงสามารถเปลี่ยนมันและคุณจะเปลี่ยนมันได้อย่างไร การปฏิ วั ติ ที่ ผ มสนั บ สนุ น สุ ด ตั ว มี ร ากฐานมาจากหลั ก การที่ แตกต่างไปจากขบวนการปฏิรูปมาตรฐานการศึกษา มันมีที่มาจากความ เชื่อในเรื่องคุณค่าของปัจเจก สิทธิที่บุคคลพึงก�ำหนดการกระท�ำของ ตนเองได้โดยปราศจากการบังคับจากภายนอก ศักยภาพของเราที่จะ วิวัฒน์และมีชีวิตที่เติมเต็ม รวมทั้งความส�ำคัญของความรับผิดชอบ ในฐานะพลเมืองและการรู้จักเคารพผู้อื่น เมื่ออ่านไปเรื่อยๆ คุณจะพบ ว่าผมอธิบายถึงสิ่งที่ผมมองว่าเป็นเป้าหมายพื้นฐาน 4 ประการของ การศึกษา ได้แก่ เป้าหมายของปัจเจกบุคคล เป้าหมายทางวัฒนธรรม ทางสังคม และทางเศรษฐกิจ ในมุมมองของผม การศึกษามีเป้าหมาย เพื่อ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจโลกรอบตัวและพรสวรรค์ที่อยู่ในตัวเขา เพื่อที่จะ สามารถกลายเป็นปัจเจกบุคคลที่รู้สึกเติมเต็ม พร้อมทั้งเป็นพลเมืองที่ ตื่นตัวและมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ในหนังสือเล่มนี้ คุณจะได้พบกับตัวอย่างมากมายจากโรงเรียน หลายประเภทที่พวกเราคัดสรรมาจากผลงานของบุคคลและองค์กรที่ ท�ำงานเพื่อปฏิรปู การศึกษาจ�ำนวนหลายพันกรณี พร้อมด้วยรายละเอียด สนับสนุนจากผลงานการวิจยั ล่าสุดเท่าทีม่ อี ยูใ่ นตอนนีซ้ งึ่ ก�ำลังมีผนู้ ำ� ไปใช้ ปฏิบัติให้เกิดผล วัตถุประสงค์ของผมคือการน�ำเสนอภาพรวมของความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ควรด�ำเนินการอย่างเร่งด่วน ทั้งความเปลี่ยนแปลง ที่โรงเรียนต้องการให้เกิดและความเปลี่ยนแปลงภายในตัวโรงเรียนเอง รวมไปถึงการเปลีย่ นโฉมบริบทของการศึกษา พลวัตของการเปลีย่ นแปลง โรงเรียน และประเด็นหลักๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ การสอน หลักสูตร การประเมินผล และนโยบาย แต่ขอ้ เสียทีห่ ลีกเลีย่ งไม่ได้ของการพยายาม น�ำเสนอให้เห็นภาพใหญ่คือจะต้องละรายละเอียดยิบย่อยไว้ ด้วยเหตุนี้ Ken Robinson and Lou Aronica

33


ผมจึงให้แหล่งอ้างอิงถึงผลงานของบุคคลอื่นที่ได้น�ำเสนอรายละเอียด เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่ผมจ�ำเป็นต้องกล่าวถึงอย่างรวบรัดในหนังสือ เล่มนี้ ผมตระหนักดีว่าฝ่ายการเมืองก�ำลังกดดันภาคการศึกษาอย่าง หนัก นโยบายต่างๆ ที่ส�ำแดงความกดดันเหล่านี้ออกมาจ�ำเป็นต้องถูก ท้าทายและเปลีย่ นแปลง ส่วนหนึง่ ของค�ำอุทธรณ์ (หรืออะไรประมาณนัน้ ) ของผมต่อผูก้ ำ� หนดนโยบาย คือขอให้พวกท่านช่วยกรุณายอมรับเถิดครับ ว่าขณะนี้เราต้องการความเปลี่ยนแปลงชนิดคิดใหม่ท�ำใหม่ แต่ถึงกระนั้น การปฏิวัติก็ไม่อาจรอกฎหมายได้ การปฏิวัติต้องเกิดจากระดับล่างสุด การศึกษาไม่ได้เกิดขึน้ ในห้องของคณะกรรมาธิการผูม้ หี น้าทีอ่ อกกฎหมาย หรือในวาทะของนักการเมือง หากแต่การศึกษาคือสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่าง ผู้เรียนกับผู้สอนในโรงเรียน ถ้าคุณเป็นครู ส�ำหรับนักเรียนแล้ว ตัวคุณ นี่แหละคือ ระบบ ถ้าคุณเป็นครูใหญ่ คุณคือ ระบบในสายตาของชุมชน ถ้าคุณเป็นผู้ก�ำหนดนโยบาย คุณคือ ระบบส�ำหรับโรงเรียนทั้งหลาย ที่อยู่ในความควบคุมดูแลของคุณ ถ้าคุณมีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง คุณมี ทางเลือกอยู่ 3 ทาง คุณสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ในระบบ คุณสามารถกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตัวระบบ หรือไม่คุณก็ต้อง ริเริ่มให้เกิดความเปลี่ยนแปลงจากภายนอกระบบ ตัวอย่างจ�ำนวนมาก ในหนังสือเล่มนี้เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นภายในระบบอย่างที่มันเป็นอยู่ ในตอนนี้ ระบบเองก็มคี วามสามารถทีจ่ ะเปลีย่ นแปลงได้เช่นกัน และมันเอง ก็เปลี่ยนแปลงไปแล้วในหลายแง่มุม ยิ่งมีนวัตกรรมเกิดขึ้นภายในระบบ ได้มากเท่าไร ยิ่งมีโอกาสที่ระบบในภาพรวมจะวิวัฒน์ได้มากเท่านั้น ผมใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวติ อาศัยและท�ำงานอยูท่ ปี่ ระเทศอังกฤษ และในปี 2001 ผมกับครอบครัวก็ย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา ผมก็มโี อกาสเดินทางอยูบ่ อ่ ยๆ ทัว่ สหรัฐฯ และได้ทำ� งานร่วมกับ ครู เขตการศึกษา องค์กรวิชาชีพ และผูก้ ำ� หนดนโยบายทีท่ ำ� งานเกีย่ วข้อง 34

Creative Schools


กับการศึกษาในทุกระดับ ด้วยเหตุนี้ หนังสือเล่มนี้จึงเต็มไปด้วยเรื่องราว ทีเ่ กิดขึน้ ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร แต่ประเด็นทีส่ ง่ ผลกระทบ ต่อการศึกษานั้นเป็นเรื่องสากล และในหนังสือก็มีตัวอย่างประกอบจาก มุมอื่นของโลกด้วยเช่นกัน จุ ด เน้ น ของหนั ง สื อ เล่ ม นี้ อ ยู ่ ที่ ก ารศึ ก ษาตั้ ง แต่ ร ะดั บ วั ย เด็ ก ตอนต้นไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย และประเด็นปัญหาที่เราพูดถึง จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในระดับมัธยมเป็นหลัก สถาบันเหล่านี้จ�ำนวนมาก ก� ำ ลั ง เปลี่ ย นแปลงจนแทบไม่ เ หลื อ เค้ า เพื่ อ ให้ ส อดรั บ กั บ โลกรอบตั ว ผมได้กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกรอบตัวไว้อย่างกว้างๆ อยู่บ้าง แต่ถ้าจะถกเรื่องนี้กันอย่างเจาะลึก ผมก็คงจะต้องเขียนหนังสือขึ้นมา อีกเล่มเป็นการเฉพาะ ในการสัมภาษณ์เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้สัมภาษณ์ถามเกี่ยวกับทฤษฎี ของผม และผมตอบไปว่า พวกมันไม่ได้เป็นเพียงแค่ทฤษฎี ผมให้ มุมมองเชิงทฤษฎีจำ� นวนมากเกีย่ วกับแนวทางทีผ่ มเสนอก็จริง แต่สงิ่ ทีผ่ ม เรี ย กร้ อ งนั้ น ไม่ ใ ช่ เ ป็ น เพี ย งสมมติ ฐ านลอยๆ มั น มี ร ากฐานมาจาก ประสบการณ์อันยาวนานและการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาว่าอะไรบ้างที่ ใช้ได้ผลในการศึกษา อะไรบ้างที่ช่วยสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ผู้เรียนและครู บรรลุเป้าหมายได้ดีที่สุดตามศักยภาพของพวกเขา รวมถึงอะไรบ้างที่ไม่ สามารถสร้างให้เกิดผลเช่นนัน้ ได้ ในกรณีนี้ ผมขอยืนหยัดตามธรรมเนียม การจัดการศึกษาที่มีมาแต่เก่าก่อน แนวทางของผมมีรากเหง้าสืบทอด กันมาในประวัติศาสตร์ของการสอนและการเรียนรู้ตั้งแต่โบราณกาล ไม่ได้เป็นแนวทางตามกระแสหรือแฟชัน่ มันมีทมี่ าจากหลักการทีไ่ ด้สร้าง แรงบันดาลใจให้เกิดการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลง (transformative education) มาโดยตลอด ซึง่ เป็นหลักการทีถ่ กู การศึกษาแบบอุตสาหกรรม ค่อยๆ จัดการเขี่ยออกอย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนต้องระเห็จไปอยู่ริม ชายขอบ และนี่นับเป็นสิ่งเดียวที่การศึกษาแบบอุตสาหกรรมท�ำได้ส�ำเร็จ ความท้าทายที่เราเผชิญอยู่ในโลกทุกวันนี้ไม่ได้เป็นเรื่องเชิง Ken Robinson and Lou Aronica

35


ทฤษฎีเท่านั้น พวกมันล้วนแล้วแต่เป็นของจริง และส่วนมากก็สร้างขึ้น มาจากน�้ำมือมนุษย์ ในปี 2009 สถานีโทรทัศน์ BBC ออกอากาศรายการ โทรทัศน์ชุด Horizon ในตอนที่กล่าวถึงจ�ำนวนผู้คนที่มากที่สุดที่สามารถ อาศัยอยูบ่ นโลกได้พร้อมกัน รายการตอนทีว่ า่ นีม้ ชี อื่ ว่า จะมีคนมากเท่าไร ที่สามารถอยู่ได้บนโลกใบนี้ (How Many People Can Live on Planet Earth? ต้องยอมรับเลยว่า BBC นี่มีพรสวรรค์ในการตั้งชื่อจริงๆ) ปัจจุบัน มีคนอยู่บนโลกรวมทั้งสิ้นประมาณ 7,200 ล้านคน คิดเป็นเกือบ 2 เท่า ของจ�ำนวนประชากรในปี 1970 และเราก�ำลังมุ่งหน้าไปสู่จ�ำนวน 9,000 ล้านคนในกลางศตวรรษที่ 21 และจ�ำนวน 12,000 ล้านคนเมื่อสิ้นสุด ศตวรรษ พวกเราทุกคนมีความต้องการพื้นฐานเหมือนๆ กัน ไม่ว่า จะเป็นอากาศบริสทุ ธิ์ น�ำ้ อาหาร และพลังงานเพือ่ ให้เราใช้ชวี ติ อย่างทีเ่ รา ใช้กันอยู่ตอนนี้ได้ ถ้าเช่นนั้น โลกสามารถแบกรับคนได้มากแค่ไหนกัน? รายการไปขอความเห็นผูเ้ ชีย่ วชาญระดับโลก ทัง้ ในเรือ่ งประชากร น�้ำ การผลิตอาหาร และพลังงาน พวกเขาให้ข้อสรุปว่าถ้าทุกคนบนโลก ใบนีบ้ ริโภคในอัตราเดียวกับค่าเฉลีย่ ของคนอินเดีย โลกจะประคับประคอง คนได้มากสุด 15,000 ล้านคน ถ้ายึดเอาตามนีก้ เ็ ท่ากับว่าเรามาถึงครึง่ ทาง เข้ า ไปแล้ ว ปั ญ หาก็ คื อ ใช่ ว ่ า พวกเราจะบริ โ ภคกั น ในอั ต ราเท่ า นั้ น เหมือนกันทุกคน พวกเขายังบอกเรามาอย่างนี้ด้วยว่า ถ้าทุกคนบนโลก บริโภคอัตราเดียวกับค่าเฉลี่ยของคนในทวีปอเมริกาเหนือ ดาวเคราะห์ สีฟ้าดวงนี้จะประคับประคองคนได้เพียง 1,500 ล้านคน และตอนนี้เราก็ เลยจ�ำนวนนั้นไป 5 เท่าเรียบร้อยแล้ว ฉะนัน้ ถ้าทุกคนต้องการบริโภคในอัตราเดียวกับทีพ่ วกเราในทวีป อเมริกาเหนือท�ำกัน ซึ่งก็ดูเหมือนว่าทุกคนจะต้องการเช่นนั้น ไม่เกินช่วง กลางศตวรรษที่ 21 เราจะต้องใช้ดาวเคราะห์ถึงห้าดวงเพื่อให้การบริโภค ขนาดนั้นเป็นไปได้ ไม่มีช่วงเวลาไหนอีกแล้วที่ต้องการนวัตกรรมชนิด พลิกโลกอย่างเร่งด่วนไปกว่าตอนนี้ ทัง้ นวัตกรรมในเรือ่ งวิธกี ารคิด การใช้ ชีวิต และการผูกสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่ในขณะเดียวกัน ความแตกต่างทาง 36

Creative Schools


วัฒนธรรมและการแข่งขันทางเศรษฐกิจเพื่อฉกฉวยทรัพยากรอันจ�ำกัด ก็แบ่งแยกพวกเราออกจากกัน เราถูกพูดกรอกหูอยู่บ่อยๆ ว่าจ�ำเป็นต้องช่วยกันรักษาโลกใบนี้ ผมเองไม่ ค ่ อ ยแน่ ใ จเท่ า ไร โลกก็ อ ยู ่ ข องมั น มาได้ เ กื อ บห้ า พั น ล้ า นปี แถมยังมีเวลาอีกห้าพันล้านปีกว่าจะพุ่งชนดวงอาทิตย์ เท่าที่พวกเรารู้ ก็คอื มนุษย์อย่างเราๆ นีแ่ หละทีเ่ พิง่ ถือก�ำเนิดมาบนโลกเมือ่ ไม่ถงึ สองแสนปี นี้เอง ถ้าคุณจินตนาการให้ประวัติศาสตร์โลกทั้งหมดเทียบได้กับเวลา หนึ่งปี พวกเราก็เพิ่งจะโผล่มาตอนเหลืออีกหนึ่งนาทีจะเที่ยงคืนของ วันที่ 31 ธันวาคม อันตรายไม่ได้ส่งผลต่อโลกใบนี้หรอกครับ แต่ส่งผล ต่อเงื่อนไขในการด�ำรงชีวิตให้อยู่รอดของพวกเราต่างหาก ผมว่าโลกเอง ก็อาจจะรู้สึกเบื่อขี้หน้าและไม่ได้รู้สึกประทับใจอะไรกับพวกมนุษย์นัก แบคทีเรียยังสร้างปัญหาน้อยกว่าเลย และนี่อาจเป็นเหตุผลที่พวกมัน อยู่ยั้งยืนยงมาได้ตั้งหลายพันล้านปี อาจเป็นเรือ่ งพรรค์นกี้ ระมังทีอ่ ยูใ่ นใจนักประพันธ์เจ้าของผลงาน แนวไซ-ไฟและนักคาดการณ์อนาคตอย่าง เอช. จี. เวลส์ (H. G. Wells) ในตอนที่เขากล่าวว่าอารยธรรมเป็นการแข่งขันระหว่างการศึกษากับ ความหายนะ ถึงที่สุดแล้วการศึกษาคือความหวังที่ดีที่สุดที่พวกเรามี และไม่ ใ ช่ ก ารศึ ก ษาแบบเดิ ม ที่ ยั ง อิ ง กั บ ระบบแบบอุ ต สาหกรรม ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของศตวรรษที่ 19 และ ต้นศตวรรษที่ 20 แต่เป็นการศึกษารูปแบบใหม่ที่สอดรับกับความท้าทาย ที่เราก�ำลังเผชิญอยู่ รวมทั้งสอดคล้องกับพรสวรรค์ที่แท้จริงที่มีอยู่ลึกๆ ในตัวพวกเราทุกคน ในขณะที่พวกเราก�ำลังเผชิญอนาคตอันไม่เที่ยง ค�ำตอบว่าเรา ได้ท�ำอะไรไปแล้วบ้างดูจะไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นมาได้สักเท่าไร เราต้อง หาทางท�ำอย่างอื่น ความท้าทายไม่ได้อยู่ที่การแก้ไขระบบ หากแต่คือ การเปลี่ยนแปลงระบบ ไม่ใช่การ ปฏิรูป แต่คือการ ปฏิวัติ ความย้อนแย้ง อย่างที่สุดก็คือพวกเรารู้ดีว่าจะปัดเป่าอาการป่วยไข้ของระบบการศึกษา Ken Robinson and Lou Aronica

37


ที่ มี อ ยู ่ ใ นตอนนี้ ไ ด้ อ ย่ า งไร เพี ย งแต่ เ รายั ง ไม่ ไ ด้ ล งมื อ ท� ำ ให้ เ กิ ด ผล กว้างขวางมากพอ เรามาอยู่ในจุดที่สามารถใช้ประโยชน์จากความคิด สร้างสรรค์และเทคโนโลยีเพื่อน�ำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงได้อย่างที่ไม่เคย มีมาก่อน เรามีโอกาสมากมายที่จะผนวกจินตนาการของเยาวชนเข้ามา เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแล้วสร้างรูปแบบการสอนและการเรียนรู้ที่ สอดรับกับตัวตนของผู้เรียนแต่ละคนได้มากที่สุด ถึงแม้ตอนนี้การศึกษาจะกลายเป็นประเด็นระดับโลก แต่ก็หนี ไม่พ้นต้องอาศัยกระบวนการของรากหญ้า ความเข้าใจในเรื่องนี้จะเป็น กุญแจไขไปสูค่ วามเปลีย่ นแปลงแบบพลิกโฉมหน้า โลกก�ำลังอยูใ่ นช่วงการ ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน เราเองก็จ�ำเป็นต้องปฏิวัติเปลี่ยนแปลง การศึกษาด้วยเช่นกัน และก็เหมือนกับการปฏิวัติทั้งหลาย นี่เป็นความ เปลีย่ นแปลงทีค่ กุ รุน่ ก่อตัวมาเนิน่ นาน จนคลีค่ ลายเป็นรูปเป็นร่างบ้างแล้ว ในหลายแห่ง ทัง้ หมดนีไ้ ม่ได้เกิดขึน้ เพราะเบือ้ งบนบัญชา หากแต่เป็นการ เปลี่ยนแปลงจากข้างล่างขึ้นมา – ตามวิถีที่ต้องเป็น

38

Creative Schools



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.