Giving kids a fair chance preview

Page 1


ก้าวแรกที่เท่าเทียม จากเรื่อง Giving Kids a Fair Chance โดย James J. Heckman พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ op e n wo r l d s, กันยายน 2559 ราคา 195 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ศิลปกรรม พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ชญารัตน์ สุขตน • บรรณาธิการเล่ม กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ บรรณาธิการต้นฉบับ บุญชัย แซ่เงี้ยว ผู้ช่วยบรรณาธิการ วิชญะ เสริมชัยวงศ์ ออกแบบปก พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ ภาพปก กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ • จัดท�ำโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2 6 1 8 4 7 3 0 e -m a il: o p e n w o r l d s t h a i l a n d @g m a i l . c o m fa c e b o o k : w w w . f a c e b o o k . c o m / o p e n w o r l d s we b s i t e : w w w . o p e n w o r l d s . i n . t h จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 2 7 3 9 8 2 2 2 , 0 2 7 3 9 8 0 0 0 โทรสาร 0 2 7 3 9 8 3 5 6 - 9 we b s i t e : h t t p : / / w w w . s e - e d . c o m /


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อสำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 0 2618 4730 และ 09 7174 9124 หรือ e - ma i l : o p en w o rld st h a ila n d @ g m a il. co m ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ เฮกแมน, เจมส์ เจ. ก้าวแรกที่เท่าเทียม.-- กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2559. 144 หน้า. 1. ความเสมอภาคทางการศึกษา. I. ส�ำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณภาพเยาวชน, ผู้แปล. III. ชื่อเรื่อง. 370.111 ISBN 978-616-7885-36-0 • Thai language translation copyright 2016 by openworlds publishing house Copyright © 2013 by Massachusetts Institute of Technology All Rights Reserved. Giving Kids a Fair Chance by James J. Heckman was originally publis h e d in En g lis h in 2 0 1 3 . This translation is published by arrangement with Massachusetts I ns t itu te o f T e c h n o lo g y P r e s s t h r o u g h T u t t l e - M o r i A g e n c y C o., Ltd. The Thai edition is translated by Quality Learning Foundation and published by op e n wo rld s p u b lis h i n g h o u s e , 2 0 1 6 . ก้าวแรกที่เท่าเทียม ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2013 แปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด ตามข้อตกลงกับ สำ�นักพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์



สารบัญ ค�ำน�ำ I ให้โอกาสเด็กทุกคนเริ่มต้นอย่างเท่าเทียม II ข้อคิดเห็น ไมก์ โรส โรบิน เวสต์ ชาร์ลส์ เมอร์เรย์ แครอล เอส. ดเวก เดวิด เดมิง นีล แมคคลัสกีย์ แอนเนตต์ ลาโร ลีแล็ก อัลมากอร์ อาดัม สวิฟต์ และ แฮร์รี บริกเฮาส์ เจฟฟรีย์ แคนาดา III การเกื้อหนุนวงจรชีวิต เกี่ยวกับผู้เขียนและผู้ให้ข้อคิดเห็น เกี่ยวกับ สสค.

6 15 57 59 67 73 79 85 91 99 105 111 119 125 137 140


6

Giving Kids a Fair Chance

ค�ำน�ำ

หนังสือเรื่อง ก้าวแรกที่เท่าเทียม (Giving Kids a Fair Chance) คื อ หนั ง สื อ เล่ ม เล็ ก ที่ อั ด แน่ น ไปด้ ว ยสาระที่ เ ป็ น ประโยชน์ตอ่ พ่อแม่ผปู้ กครอง ครู นักวิชาการ ผูก้ ำ� หนดนโยบาย ด้านการศึกษา และบุคคลทัว่ ไป ผูเ้ ขียนคือ ศาสตราจารย์เจมส์ เจ. เฮกแมน (James J. Heckman) นักเศรษฐศาสตร์รางวัล โนเบลเมมโมเรียลไพรซ์ สาขาเศรษฐศาสตร์ (Nobel Memorial Prize in Economic Sciences) ประจ�ำปี 2000 ก้าวแรกที่เท่าเทียม น�ำเสนอหลักฐานข้อมูลจากงาน วิจัยที่ช่วยให้ผู้อ่านตระหนักถึงความส�ำคัญและความจ�ำเป็น ของการพัฒนาเด็กปฐมวัยต่อการก�ำหนดนโยบายการลงทุน ด้านการศึกษาทัว่ โลกทีเ่ คยให้ความส�ำคัญไปทีก่ ารลงทุนในการ ศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา หรืออุดมศึกษาเป็นหลัก และยังแสดงให้เห็นว่าทักษะทางพฤติกรรม (non-cognitive skill) ทีห่ ลายคนอาจยังไม่รจู้ กั มีบทบาทต่อความส�ำเร็จในชีวติ


James J. Heckman

7

และผลลัพธ์ทางสังคมในระดับทีใ่ กล้เคียงกับทักษะทางปัญญา (cognitive skill) ความเข้าใจในเรื่องนี้มีความส�ำคัญยิ่งต่อการ ก�ำหนดทิศทางการพัฒนาก�ำลังคนและนโยบายด้านการศึกษา ในอนาคต ที่ต้องให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาทั้งทักษะทาง ปัญญาและทักษะทางพฤติกรรมอย่างสมดุลกัน นอกจากนี้ หนังสือเล่มนี้ยังแสดงผลการวิจัยของศาสตราจารย์เฮกแมนที่ พบว่านโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยสามารถเพิม่ ประสิทธิภาพ ทางเศรษฐกิจ (efficiency) และสร้างความเสมอภาคทาง เศรษฐกิจและสังคม (equity) ควบคู่กันได้ ซึ่งแตกต่างจาก นโยบายสาธารณะส่ ว นใหญ่ ที่ มั ก จะน� ำ ไปสู ่ ก ารได้ อ ย่ า ง เสียอย่าง (trade-off) ระหว่างประสิทธิภาพกับความเสมอภาค ท� ำ ให้ รั ฐ บาลหลายประเทศรวมทั้ ง องค์ ก ารสหประชาชาติ ได้น�ำผลการวิจัยของศาสตราจารย์เฮกแมนไปก�ำหนดทิศทาง นโยบายการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการ พัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศต่างๆ ในอนาคต หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ยั ง เปิ ด โอกาสให้ นั ก วิ ช าการและนั ก กิจกรรมด้านการศึกษาทีม่ ชี อื่ เสียงมาร่วมวิพากษ์วจิ ารณ์อย่าง เปิดเผย โดยมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับแนวคิดและ ข้อเสนอของศาสตราจารย์เฮกแมน ซึ่งการวิพากษ์วิจารณ์ อย่างเปิดเผยนี้ จะช่วยท�ำให้ผู้อ่านได้ขบคิดและตั้งค�ำถามเพื่อ ต่อยอดความคิดจากข้อมูลทีห่ ลากหลายเหล่านัน้ อันจะน�ำไปสู่ การค้นหาและสร้างองค์ความรูท้ เี่ ป็นประโยชน์ตอ่ การออกแบบ นโยบายการศึกษาในอนาคต


8

Giving Kids a Fair Chance

ในปั จ จุ บั น ศาสตราจารย์ เ ฮกแมนด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ศาสตราจารย์ Henry Schultz Distinguished Service Professor ด้านเศรษฐศาสตร์และศาสตราจารย์ด้านกฎหมาย ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ชิ ค าโก ท่ า นมี ค วามสนใจในแบบจ� ำ ลอง ทางเศรษฐศาสตร์ ที่ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ ความหลากหลาย (heterogeneity) ของปัจเจกบุคคล และผลกระทบต่อการ ประเมินนโยบายทางเศรษฐศาสตร์จากการที่ปัจเจกบุคคล เลือกท�ำในสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตนเอง (self-selection problem) ในปัจจุบันศาสตราจารย์เฮกแมนเน้นการวิจัยเกี่ยวกับการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการก่อร่างสร้างทักษะในแต่ละ ช่วงของชีวิต โดยมุ่งเน้นไปที่เศรษฐศาสตร์การพัฒนาเด็ก ปฐมวัย (ผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก http:// heckmanequation.org/) สุดท้ายนีค้ ณะผูจ้ ดั ท�ำขอขอบคุณศาสตราจารย์เฮกแมน และส�ำนักพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ทีไ่ ด้ให้ ลิขสิทธิก์ ารจัดพิมพ์หนังสือเล่มนีใ้ นประเทศไทยแก่สำ� นักพิมพ์ โอเพ่นเวิลด์ส และขอขอบคุณ ผศ. ดร. วีระชาติ กิเลนทอง และ ดร. พิศมร กิเลนทอง ผู้แปล ซึ่งเป็นผู้น�ำแนวคิดการ ส่งเสริมการพัฒนาทักษะเชิงพฤติกรรมมาประยุกต์ใช้ในเมือง ไทยด้วย คณะผูจ้ ดั ท�ำหวังว่าในโอกาสทีก่ ารพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายก�ำลังจะกลายเป็นสิทธิที่เท่าเทียมกัน ส� ำ หรั บ เด็ ก ทุ ก คนในประเทศไทย หนั ง สื อ เล่ ม นี้ จ ะท� ำ ให้ ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าการพัฒนาทุนมนุษย์ให้เด็กทุกคนได้


James J. Heckman

9

เริ่มต้นอย่างเท่าเทียมกัน มิได้มุ่งเน้นที่การพัฒนาเชิงปริมาณ แต่ต้องมุ่งเน้นให้เด็กได้รับการพัฒนาเชิงคุณภาพที่มีความ สมดุลทัง้ ทักษะเชิงพฤติกรรมและทักษะทางปัญญา การพัฒนา เช่นนี้จะเป็นการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ ในการสร้างสังคมไทยที่เสมอภาคและเศรษฐกิจไทยที่ยั่งยืน ส�ำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณภาพเยาวชน (สสค.)



แด่ภรรยาของผม ลินน์ แครอล เพตเลอร์ เฮกแมน ผู้เป็นก�ำลังใจให้ผมเสมอมา



GIVING KIDS A FAIR CHANCE ก้าวแรกที่เท่าเทียม

• by

James J. Heckman

โดย

ส�ำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณภาพเยาวชน (สสค.)



I

ให้โอกาสเด็กทุกคน เริ่มต้นอย่างเท่าเทียม



James J. Heckman

17

“การเลือกเกิดไม่ได้” เป็นสาเหตุส�ำคัญของความไม่ เสมอภาคในสหรัฐอเมริกาทุกวันนี้ สังคมอเมริกันแบ่งออก เป็นกลุ่มผู้มีทักษะ (skilled) กับกลุ่มผู้ไร้ทักษะ (unskilled) ความแตกต่ า งของคนในสองกลุ ่ ม นี้ มี ต ้ น ก� ำ เนิ ด มาจาก ประสบการณ์วัยเด็ก เด็กที่เกิดในสภาวะด้อยโอกาส เสี่ยง มากกว่าที่จะเติบโตเป็นคนไร้ทักษะ รายได้ต�่ำ และประสบ ปัญหาต่างๆ ทั้งในระดับส่วนตัวและสังคม เช่น ปัญหาสุขภาพ การตั้งครรภ์ในช่วงวัยรุ่น และอาชญากรรม ในขณะที่พวกเรา ชาวอเมริกนั ภาคภูมใิ จกับโอกาสทีเ่ สมอภาค แต่กลับมีชวี ติ อยู่ ในสังคมที่การเกิดคือตัวก�ำหนดชะตาชีวิต การเกิดส่งอิทธิพลต่อโอกาสในชีวิตอย่างใหญ่หลวง ทัง้ ส่งผลร้ายต่อผูท้ เี่ กิดมาด้อยโอกาส และเป็นผลเสียต่อสังคม อเมริกัน เพราะเราสูญเสียโอกาสที่คนกลุ่มใหญ่กลุ่มนี้จะท�ำ ประโยชน์ให้แก่สังคม แต่เราหลีกเลี่ยงสภาวการณ์ดังกล่าวได้ นโยบาย


18

Giving Kids a Fair Chance

ทางสังคมอันชาญฉลาดจะท�ำให้เรายุติการแบ่งขั้วระหว่าง คนมีทกั ษะกับคนไร้ทกั ษะได้ แต่นโยบายอันหลักแหลมจะต้อง อิงอยู่บนหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่เรามีอยู่ อีกทั้ง ผู ้ ก� ำ หนดนโยบายต้ อ งพิ จ ารณาต้ น ทุ น และประโยชน์ ข อง นโยบายทางเลือกต่างๆ อย่างจริงจัง จากการพิจารณาข้อมูล อย่างละเอียด ผมสรุปออกมาเป็นบทเรียนใหญ่ๆ ส�ำหรับ นโยบายทางสังคม 3 ประการดังต่อไปนี้ ประการแรก ความส�ำเร็จในชีวิตนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ทักษะทางปัญญา (cognitive skill) เพียงอย่างเดียว แต่ยงั ขึน้ อยู่ กับคุณลักษณะทางพฤติกรรม (non-cognitive characteristic) เช่น สุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมไปถึงความมุ่งมั่น ความ เอาใจใส่ แรงจูงใจ ความเชื่อมั่นในตนเอง และคุณลักษณะ ทางอารมณ์และสังคมคุณลักษณะอื่นๆ คนส่วนใหญ่มักให้ ความสนใจกับทักษะทางปัญญาที่วัดจากการทดสอบระดับ เชาวน์ปัญญา (IQ) การสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และการประเมินผล นักเรียนนานาชาติ (Programme for International Student Assessment - PISA) แต่คุณลักษณะทางพฤติกรรมก็เป็น สาเหตุทที่ ำ� ให้คนเราประสบความส�ำเร็จทางสังคม และอันทีจ่ ริง ยังมีสว่ นก�ำหนดคะแนนทีเ่ ราใช้วดั ระดับทักษะทางปัญญาด้วย ประการที่สอง ทักษะทางปัญญารวมทั้งทักษะทาง สังคมและอารมณ์ (socio-emotional skill) นั้นพัฒนาขึ้น ในช่วงปฐมวัย พัฒนาการเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ของครอบครัว หากแต่ในช่วง 40 ปีหลังมานี้ สภาพแวดล้อม


James J. Heckman

19

ของครอบครัวในอเมริกาแย่ลงเรื่อยๆ เด็กที่เกิดในครอบครัว ด้อยโอกาสมีสดั ส่วนเพิม่ มากขึน้ ความด้อยโอกาสนัน้ พิจารณา จากคุณภาพชีวิตของครอบครัวเป็นล�ำดับแรก และพิจารณา จากจ�ำนวนผู้ปกครอง รายได้ และระดับการศึกษาของพ่อแม่ เป็ น ล� ำ ดั บ ถั ด มา ความด้ อ ยโอกาสนี้ มี แ นวโน้ ม ที่ จ ะสั่ ง สม มากยิ่งขึ้นจากรุ่นสู่รุ่น ประการที่ ส าม นโยบายสาธารณะที่ มุ ่ ง เน้ น การ แทรกแซงช่วงปฐมวัย (early intervention) สามารถบรรเทา ผลจากความด้อยโอกาสได้ แม้จะมีผู้ที่เชื่อว่าพันธุกรรมคือตัว ก�ำหนดชีวิตคน หากแต่หลักฐานจากการทดลองชี้ให้เห็นว่า การแทรกแซงช่วงปฐมวัยมีผลดีในระยะยาวต่อเด็กๆ ที่เกิด มาในครอบครัวด้อยโอกาส หลักฐานนี้สอดคล้องกับหลักฐาน ชิ้นอื่นๆ ที่ไม่ได้มาจากการทดลอง ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่า การที่ ไ ม่ มี ค รอบครั ว มาช่ ว ยสนั บ สนุ น ส่ ง เสริ ม จะมี ผ ลเสี ย ต่อชีวิตวัยเด็กและส่งผลถึงวัยผู้ใหญ่ การแทรกแซงในช่วง ปฐมวัยสามารถพัฒนาทักษะทางปัญญา รวมถึงทักษะทาง สั ง คมและอารมณ์ ไ ด้ การแทรกแซงในช่ ว งนี้ ช ่ ว ยส่ ง เสริ ม ให้ เ ด็ ก ไปโรงเรี ย น ลดอาชญากรรม เสริ ม สร้ า งผลิ ต ภาพ แรงงาน (workforce productivity) และลดการตั้ ง ครรภ์ ในวัยรุ่น นอกจากนี้ ในทางเศรษฐกิจและสังคม การแทรกแซง ช่วงปฐมวัยยังให้ผลทางบวกสูงกว่าการแทรกแซงในภายหลัง (later intervention) ซึ่งนโยบายสาธารณะโดยทั่วไปมักเพ่ง ความสนใจไปที่เรื่องดังกล่าว การแทรกแซงในภายหลังที่ว่านี้


20

Giving Kids a Fair Chance

ได้แก่ การลดสัดส่วนจ�ำนวนนักเรียนต่อครู การฝึกอาชีพ โดยภาครัฐ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ต้องขัง การส่งเสริมการ อ่ า นออกเขี ย นได้ ใ นผู ้ ใ หญ่ การอุ ด หนุ น ค่ า เล่ า เรี ย น และ การจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดจ้างต�ำรวจ ในความเป็นจริง การแทรกแซงภายหลังจะก่อประโยชน์มากยิ่งขึ้นหากใช้การ แทรกแซงช่วงปฐมวัยร่วมด้วย เพราะทักษะก่อให้เกิดทักษะ (skill begets skill) และแรงจูงใจก่อให้เกิดแรงจูงใจ (motivation begets motivation) กล่าวโดยสรุป หากเราต้องการสร้างบุคคลที่ประสบ ความส�ำเร็จ สร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงโอกาส สร้าง เศรษฐกิจที่มีพลวัต และสร้างสังคมที่อยู่ดีมีสุขยิ่งขึ้น เราต้อง ปรับเปลีย่ นการด�ำเนินนโยบายทางสังคมขนานใหญ่โดยมุง่ เน้น การแทรกแซงช่วงปฐมวัย และต้องออกแบบให้การแทรกแซง ในภายหลังต่อยอดจากการแทรกแซงในช่วงแรก [แม้รัฐบาล ประธานาธิบดีโอบามา (Barack Obama) จะให้เงินอุดหนุน แก่โครงการเด็กปฐมวัยมากขึ้นผ่านทางโครงการมุ่งสู่ความ เป็นเลิศ (Race to the Top Initiative) แต่การตัดงบประมาณ ระดับรัฐและระดับท้องถิ่นในเวลาเดียวกัน ก็ส่งผลกระทบ ต่อเงินสนับสนุนการศึกษาส�ำหรับเด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่ ส่ ว นใหญ่ เ กื อ บทั่ ว ประเทศ] นอกจากนี้ ในการแทรกแซง ช่วงปฐมวัย ไม่ควรมุ่งเสริมเฉพาะทักษะทางปัญญา แต่ควร ปลูกสร้างทักษะทางสังคมและอารมณ์ไปพร้อมๆ กัน


James J. Heckman

21

การแบ่งขั้วของคนในสังคม ในช่ ว งครึ่ ง แรกของศตวรรษที่ 20 คนอเมริ กั น มี แนวโน้มที่จะเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมากกว่าคน รุ่นก่อนหน้า แนวโน้มดังกล่าวช่วยเพิ่มผลิตภาพแรงงาน และ ขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอเมริกา หากแต่ในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มที่ว่านี้กลับไป ในทางตรงกันข้าม ชายชาวอเมริกันมีแนวโน้มจะเรียนจบชั้น มัธยมปลายน้อยกว่ารุน่ ก่อนหน้า หากคิดค�ำนวณให้ดๆี เราจะ พบว่าอัตราการเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของคน อเมริกนั ลดต�ำ่ ลง ในช่วงเวลาเดียวกันนีเ้ อง ค่าแรงทีแ่ ท้จริงของ คนทีเ่ รียนจบชัน้ มัธยมศึกษาตอนปลายเพิม่ สูงขึน้ เมือ่ เทียบกับ ผูท้ เี่ รียนไม่จบ ค่าแรงทีต่ า่ งกันมากขึน้ ควรจะช่วย เพิม่ แรงจูงใจ ให้คนหันมาเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจนจบ แต่ความ เป็นจริงกลับตรงกันข้าม อัตราการเรียนจบที่ลดลงจึงชวนให้ ประหลาดใจและน่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง แนวโน้มการเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายที่ลดต�่ำ ลงนี้แทบไม่ได้รับการกล่าวถึงในวงสนทนาเชิงวิชาการหรือ เชิงนโยบาย อัตราการเรียนจบอย่างเป็นทางการที่รวบรวม โดยศูนย์สถิติทางการศึกษาแห่งชาติ (National Center for Educational Statistics) บ่งชี้ว่า นักเรียนตอบสนองความ ต้องการแรงงานมีทักษะ <skilled labor หมายถึงแรงงานที่ ท�ำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เช่น หมอ ต�ำรวจ นักบัญชี


22

Giving Kids a Fair Chance

โดยทั่วไปมักหมายถึงผู้ที่จบระดับอุดมศึกษา> เพิ่มขึ้น ดังจะ เห็ น ได้ จ ากอั ต ราการเรี ย นจบชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลาย และอัตราการส�ำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เพิ่มสูงขึ้น หากดูตัวเลขที่หลายคนใช้อ้างอิงว่าเป็นอัตราการเรียนจบ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างเป็นทางการ เราจะพบว่า ในระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา โรงเรียนในอเมริกามีนักเรียนจบ มัธยมศึกษาตอนปลาย 88 เปอร์เซ็นต์ และนักเรียนผิวด�ำเริม่ มี อัตราการเรียนจบที่ใกล้เคียงกับนักเรียนผิวขาวที่ไม่มีเชื้อสาย ฮิสแปนิก <hispanic ในที่นี้หมายถึงกลุ่มคนอเมริกันที่สืบ เชื้อสายมาจากกลุ่มประเทศที่พูดภาษาสเปน> แต่ตัวเลขดังกล่าวสร้างความเข้าใจผิดเป็นอย่างมาก ปัญหาหลักของตัวเลขเหล่านี้คือการนับรวมคนที่สอบเทียบ วุฒกิ ารศึกษา (General Education Development test - GED) ผ่าน เข้าไปอยู่กับกลุ่มคนที่เรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย ผูส้ อบเทียบผ่านไม่ได้เรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างเป็น ทางการ แต่เป็นผู้ที่ได้วุฒิเทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลาย จากการสอบ ปั จ จุ บั น ผู ้ ไ ด้ รั บ วุ ฒิ มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลาย ทัว่ ประเทศประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ในแต่ละปีคอื ผูท้ สี่ อบเทียบ ผ่าน อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานทางวิชาการมากมายชีใ้ ห้เห็นว่า ในตลาดแรงงานอเมริกานั้น ความสามารถในการสร้างรายได้ ของผู ้ ส อบเที ย บผ่ า นอยู ่ ใ นระดั บ เดี ย วกั บ ผู ้ ที่ เ ลิ ก เรี ย น มัธยมศึกษาตอนปลายกลางคัน <และไม่ได้สอบเทียบ> ดังนั้น การน� ำ กลุ ่ ม ผู ้ ส อบเที ย บผ่ า นเข้ า ไปอยู ่ ใ นกลุ ่ ม ผู ้ เ รี ย นจบ


James J. Heckman

23

มัธยมศึกษาตอนปลายอย่างเป็นทางการจึงเป็นการปกปิด ปัญหาส�ำคัญของสังคมอเมริกัน ยกตัวอย่างเช่น การที่คน เชื้อชาติต่างๆ ส�ำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายในอัตราที่ ใกล้เคียงกันมากขึ้นดังที่ปรากฏในสถิติของทางการ เป็นผล มาจากการทีช่ ายผิวด�ำสอบเทียบผ่านในเรือนจ�ำ1 แต่เมือ่ ได้รบั การปล่อยตัวออกมาแล้ว พวกเขาจะท�ำงานที่ได้รับค่าจ้าง เท่ากับอดีตผู้ต้องขังคนอื่นๆ ที่ไม่ได้สอบเทียบและไม่มีวุฒิ มัธยมศึกษาตอนปลาย นอกจากนี้ การสอบเทียบผ่านก็ไม่ได้ ช่วยลดแนวโน้มที่คนเหล่านี้จะกลับไปก่ออาชญากรรมอีกครั้ง หากเราแยกกลุ่มผู้สอบเทียบผ่านออกจากกลุ่มคน ที่เรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย และสนใจเฉพาะสถิติของ เด็กที่เกิดในอเมริกา (native-born American) เราจะพบว่า อัตราการเลิกเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายกลางคันเพิ่มสูงขึ้น อั น ที่ จ ริ ง อั ต ราการเรี ย นจบมั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลายของ อเมริกาเคยมีค่าสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ในช่วง ต้นทศวรรษ 1970 และหลังจากนั้นก็ลดลงมาประมาณ 4-5 เปอร์เซ็นต์2 โดยมีคนผิวด�ำกับคนฮิสแปนิกราว 65 เปอร์เซ็นต์ ที่เลิกเรียนกลางคันและไม่ได้รับวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย ตัวเลขนี้สูงกว่าอัตราการเลิกเรียนกลางคันของคนผิวขาว ที่ไม่มีเชื้อสายฮิสแปนิกอย่างมาก ดังนั้น อัตราการเรียนจบ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลายของผู ้ ช ายผิ ว ด� ำ หรื อ ฮิ ส แปนิ ก ในระยะ 35 ปีที่ผ่านมา จึงไม่ได้ขยับเข้าไปใกล้อัตราการเรียน จบของผู้ชายผิวขาวดังที่สถิติทางการกล่าวอ้างแต่อย่างใด


24

Giving Kids a Fair Chance

ยิ่งไปกว่านั้น การไม่นับรวมผู้ต้องขังเข้าไปในสถิติอย่างเป็น ทางการ ยังท�ำให้อัตราการเรียนจบของผู้ชายผิวด�ำสูงเกิน ความเป็นจริงไปมาก แล้วการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาล่ะเป็นอย่างไร? ผู้สังเกตการณ์หลายคนแสดงความกังวลที่อัตราการขยายตัว ของการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของประชากรเพศชาย ลดต�่ำลง แม้ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นจริง แต่สถิติดังกล่าว ไม่ ไ ด้ ส ะท้ อ นเฉพาะอั ต ราการขยายตั ว ที่ ล ดลงของผู ้ ที่ จ บ มัธยมศึกษาตอนปลายและเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย อัตราการขยายตัวของการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของ ผู ้ จ บมั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลายนั้ น ลดลงจริ ง แต่ ไ ม่ ไ ด้ ล ดลง มากเท่าอัตราการขยายตัวของการเรียนต่อระดับอุดมศึกษา โดยรวม สาเหตุหลักทีท่ ำ� ให้อตั ราการขยายตัวของการเรียนต่อ ระดับอุดมศึกษาลดลงนัน้ มาจากอัตราการเรียนจบมัธยมศึกษา ตอนปลายที่ลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นเพศชาย อัตรา การเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ลดลงตั้งแต่ปี 1970 (ส�ำหรับคนทีเ่ กิดหลังปี 1950) ท�ำให้อตั ราการเรียนต่อและอัตรา การจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอยูใ่ นระดับต�ำ่ มาโดยตลอด นอกจากนีย้ งั ไปชะลอการเติบโตของแรงงานมีทกั ษะในอเมริกา ด้วย แม้ว่าแรงงานกลุ่มนี้จะได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นก็ตาม แนวโน้มการเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายทีล่ ดลงนี้ นับเฉพาะคนที่เกิดในอเมริกาเท่านั้น หากเรารวมแรงงาน ต่างด้าวไร้ทกั ษะ <แรงงานไร้ทกั ษะ (unskilled labor) หมายถึง


James J. Heckman

25

ผู้ที่ท�ำงานโดยใช้แรงกาย และไม่จ�ำเป็นต้องมีความรู้ความ ช�ำนาญเฉพาะด้าน> เข้ามาด้วย จะยิ่งท�ำให้สัดส่วนแรงงาน ไร้ทักษะในอเมริกาสูงขึ้นอีก ซึ่งจะส่งผลให้การเติบโตของ ผลิตภาพแรงงานลดลง และส่งเสริมให้เกิดความไม่เสมอภาค ทางสังคม อั ต ราการเลิ ก เรี ย นกลางคั น ที่ เ พิ่ ม สู ง ขึ้ น และการ หลั่งไหลเข้ามาของแรงงานไร้ทักษะ ท�ำให้อเมริกามีแรงงาน ไร้ทักษะเพิ่มมากขึ้น ลองพิจารณาผลการสอบของแรงงาน อเมริกันช่วงปลายทศวรรษ 1990 ในการทดสอบพื้นฐานที่มี ชื่อว่า “แบบส�ำรวจการรู้หนังสือในวัยผู้ใหญ่” (International Adult Literacy Survey) โดยผลคะแนนระดั บ ที่ 1 <ผล การทดสอบแบ่ ง เป็ น 5 ระดั บ > จะบ่ ง บอกว่ า บุ ค คลนั้ น ไม่เข้าใจข้อความในใบสั่งยา ปรากฏว่าแรงงานอเมริกันกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ไม่มีความสามารถพื้นฐานนี้ ปัจจัยใดท�ำให้อัตราการเรียนจบมัธยมศึกษาตอน ปลายอยู่ในระดับต�่ำ และมีแนวโน้มต่างจากอดีต? เราควร กล่าวโทษโรงเรียนของรัฐหรือไม่? การปฏิรูปโรงเรียนจะแก้ ปัญหานี้ได้ไหม? ค่าเล่าเรียนที่แพงขึ้นในระดับมหาวิทยาลัย ไปลดแรงจูงใจทีจ่ ะเรียนให้จบมัธยมอย่างนัน้ หรือ? ผมมีทศั นะ ตรงข้ามกับความเห็นส่วนใหญ่ ผมเห็นว่าปัญหาที่แท้จริงนั้น อยูท่ ชี่ ว่ งแรกเริม่ ของชีวติ หรือประสบการณ์ในช่วงปฐมวัย และ นั่นคือจุดที่เราจะต้องพิจารณาเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป


26

Giving Kids a Fair Chance

มากกว่าทักษะทางปัญญา นโยบายสาธารณะของอเมริ ก าในขณะนี้ มุ ่ ง เน้ น ทักษะทางปัญญาหรือ “ความฉลาด” เป็นหลัก กฎหมาย “ไม่ทอดทิ้งเด็กคนใดไว้ข้างหลัง” (No Child Left Behind Act) ก็เน้นการใช้คะแนนสอบมาวัดความส�ำเร็จและความ ล้มเหลวทางการเรียน อย่างไรก็ตาม มีงานวิจยั ชิน้ ใหม่ๆ มาช่วย ยืนยันสามัญส�ำนึกของเราที่ว่าความส�ำเร็จในชีวิตต้องอาศัย มากกว่าความฉลาด ทักษะทางพฤติกรรม (ได้แก่ ความมุ่งมั่น ความสามารถในการปฏิ บั ติ ต ามแผนระยะยาว และความ สามารถในการควบคุมทักษะทางสังคมและอารมณ์ซึ่งเป็น สิ่งจ�ำเป็นเมื่อท�ำงานร่วมกับผู้อื่น) ส่งผลอย่างมากต่อระดับ รายได้ การจ้างงาน ประสบการณ์การท�ำงาน การเรียนต่อ ในระดับอุดมศึกษา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การเข้าร่วมกิจกรรม สุ่มเสี่ยง การปฏิบัติตามข้อก�ำหนดทางการแพทย์ และการ ก่ออาชญากรรม อย่างไรก็ตาม คะแนนสอบเทียบนั้นก็เป็นตัวชี้วัด อันชัดเจน ผลการสอบเทียบนับเป็นเกณฑ์วัดความสามารถ ทางการศึกษาที่ดี เราพบว่า ผู้สอบเทียบผ่านท�ำคะแนนได้ ใกล้ เ คี ย งกั บ ผู ้ ที่ เ รี ย นจบมั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลายและไม่ ไ ด้ เรี ย นต่ อ มหาวิ ท ยาลั ย แต่ ผู ้ ส อบเที ย บผ่ า นกลั บ ได้ ค ่ า จ้ า ง เท่ากับผู้ที่เรียนไม่จบมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้สอบเทียบผ่าน “ฉลาด” เท่ากับผูท้ เี่ รียนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่พวกเขา


James J. Heckman

27

ขาดทักษะทางพฤติกรรม ผู้สอบเทียบผ่านมีอัตราการลาออก จากงานและอัตราการหย่าร้างสูงกว่าผู้ที่เรียนจบมัธยมศึกษา ตอนปลายมาก3 หน่วยงานทางทหารของอเมริกาส่วนใหญ่ ใช้ความแตกต่างเหล่านี้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกคนเข้าเป็น ทหาร และผู้สอบเทียบผ่านออกจากกองทัพในอัตราที่สูงกว่า ผู้เรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักฐานอื่นๆ ก็เน้นถึงความส�ำคัญของทักษะทาง พฤติกรรมด้วยเช่นกัน ทั ก ษะทางปั ญ ญากั บ ทั ก ษะทางพฤติ ก รรมนั้ น มี บทบาทต่อผลลัพธ์ทางสังคมพอๆ กัน กล่าวคือ การเพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์ของทักษะทางปัญญาหรือทักษะทางพฤติกรรม (อย่างใดอย่างหนึ่ง) จะส่งผลต่อความสามารถโดยรวมของ บุคคลนั้นพอๆ กัน คนที่มีระดับทักษะทางปัญญาและทักษะ ทางพฤติกรรมต�ำ่ มีแนวโน้มจะถูกจ�ำคุกมากกว่าผูอ้ นื่ อย่างมาก ระดับทักษะทางปัญญาหรือทางพฤติกรรมทีเ่ พิม่ สูงขึน้ จะช่วย ลดการตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ ได้ในระดับทีใ่ กล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มประชากรที่มีความสามารถต�่ำสุด 10 เปอร์เซ็นต์แรก การเพิ่ ม ขึ้ น ของทั ก ษะทางพฤติ ก รรมจะช่ ว ยลดโอกาสที่ พวกเขาอาจถูกจ�ำคุกได้มากกว่าการเพิ่มขึ้นของทักษะทาง ปัญญา นอกจากนี้ เรายังพบว่าอัตราการเรียนจบมัธยมศึกษา ตอนปลาย อัตราการเรียนจบมหาวิทยาลัย การสูบบุหรี่เป็น ประจ�ำทุกวัน และรายได้ตลอดช่วงชีวติ ของบุคคล ล้วนสัมพันธ์ กับทักษะทั้งสองประเภทในรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.