Global change web preview

Page 1


Global Change 2 • วรากรณ์ สามโกเศศ พิมพ์ครั้งแรก : ส�ำนักพิมพ์ op e n w o r l d s , ธันวาคม 2558 ราคา 195 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ • บรรณาธิการเล่ม บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก wrongdesign • จัดท�ำโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้ อ งเลขที่ 48 ซอยประดิ พั ท ธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุ ง เทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 - 2 6 1 8 - 4 7 3 0 email: openworldsthailand@gmail.com facebook: www.facebook.com/openworlds twitter: www.twitter.com/openworlds_th website: www.openworlds.in.th จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 - 2 7 3 9 - 8 2 2 2 , 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 3 9 - 8 3 5 6 - 9 website: http://www.se-ed.com/


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อสำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 02 618 4730 และ 097 174 9124 หรือ Email: openworldsthailand@gmail.com

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ วรากรณ์ สามโกเศศ. Global Change 2.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2558. 216 หน้า.-- (Global Change). 1. ความรู้ทั่วไป. I. ชื่อเรื่อง. 030 ISBN 978-616-7885-24-7 •


สารบัญ •

ค�ำน�ำ

6

1. Internet of Things 2. Drone มีประโยชน์และโทษ 3. รถไร้คนขับและจริยธรรม 4. Uber บริการแท็กซี่สมัยใหม่ 5. Digital Economy 6. Gig Economy 7. สงครามระหว่าง E-Book กับ Print Book 8. Piketty เจ้าของหนังสือดังก้องโลก 9. John Nash แห่ง A Beautiful Mind 10. Fryer กับ Baby Nobel เศรษฐศาสตร์ 11. อายุ 102 ปีรับปริญญาเอก 12. อายุเท่ากันแต่แก่ไม่เท่ากัน

10 18 24 30 36 42 48 54 60 68 76 82


13. เรื่องง่ายๆ ช่วยหัวใจแข็งแรง 14. พลังอาหารส�ำคัญของมนุษย์ 15. มะนาวนิ้วของออสเตรเลีย 16. โคลนนิ่งเพื่อการค้า 17. ปฏิวัติเขียวรอบสอง 18. ชีวิตจัณฑาลหญิงในอินเดีย 19. อินเทอร์เน็ตสร้าง “กึ่งคลุมถุงชน” 20. ทานาคาเผชิญศึก 21. ทบทวนแฟชั่นผ่าท้องแทนคลอดลูก 22. “คุณแม่” กับเลือกตั้งเมียนมา 23. คนตัวเล็กก็ใหญ่ได้ 24. ความคิดเชิงสร้างสรรค์และความสะดวก 25. มหาภัยจากถุงลม 26. Selfie ลวงตาให้เสียเงินและเจ็บตัว 27. ปรากฏการณ์ Dad Bod 28. Word of the Year 2015 29. จักรยานต้องเป็น “ของจริง” 30. Hydrogen Society 31. แนวคิด Resilience Dividend เพื่อเมือง 32. New Normal ไม่ใช่เรื่อง Abnormal

88 94 100 106 114 120 126 132 138 146 152 158 164 170 176 182 188 194 200 208

ประวัติผู้เขียน

216


คำ�นำ� •

การเปิดตัวไอโฟนเมื่อปี 2007 ถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้น ศักราชใหม่ในการด�ำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างแท้จริง คงไม่ผิด ถ้ า จะกล่ า วว่ า สมาร์ ต โฟนเป็ น ตั ว การส� ำ คั ญ หนึ่ ง ในการ เปลี่ยนแปลงโลก ในช่วงเวลาเพียง 8 ปี ชีวิตเราเปลี่ยนแปลงจนคาด ไม่ถงึ หลายคนใช้เวลาอ่านข้อความบนสมาร์ตโฟนแทนการอ่าน หนังสือมากขึ้น เสพติดสมาร์ตโฟนเพราะช่วยเชื่อมโยงติดต่อ สือ่ สารกับเพือ่ นเก่าและ “เพือ่ นเสมือน” บนโลกไซเบอร์ ตลอดจน เป็นช่องทางรับข่าวสารและความบันเทิง ความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์เปลี่ยนแปลงไปเพราะเทคโนโลยีใหม่ ฯลฯ ในโลกเทคโนโลยีชีวภาพ เกิดการผลิตเนื้อจากวัวที่ โคลนมาเพื่อขายเชิงการค้าอย่างเป็นล�่ำเป็นสัน มีทั้งการโคลน สัตว์เลี้ยงที่ตายไปแล้ว รวมทั้งการโคลนสัตว์โคลนพืชเพื่อธุรกิจ และเพื่ อ ให้ ม นุ ษ ย์ มี ชี วิ ต ยื น ยาวขึ้ น ฯลฯ เหล่ า นี้ ล ้ ว นเป็ น ปรากฏการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นรวดเร็วมาก 6 Global Change 2


การเข้ า ใจการเปลี่ ย นแปลงที่ ร วดเร็ ว และปวดร้ า ว ดังกล่าวจะช่วยให้จิตใจสงบขึ้น และหากเข้าใจสาเหตุของการ เปลี่ยนแปลงด้วยจะท�ำให้ปรับตัวรับมือได้ดียิ่งขึ้น นานาสาระในมิตขิ องการเปลีย่ นแปลงระดับโลกซึง่ บรรจุ อยู่ในหนังสือเล่มนี้ เป็นเพียงกระผีกเดียวของเรื่องราวที่ก�ำลัง เกิดขึ้นบนโลก ผู้เขียนพยายามให้ข้อมูลที่แปลกใหม่พร้อมกับ ความสนุกสนาน และในบางแง่มุมมีเศรษฐศาสตร์ปนอยู่ด้วย เพื่อความเข้าใจที่ชัดคมขึ้น ทัง้ หมดนีผ้ เู้ ขียนพยายามเขียนด้วยภาษาง่ายๆ ให้อา่ น สบายๆ แฝงด้วยอารมณ์ขัน และเหนืออื่นใดคือพยายามทิ้ง บางสิ่งไว้ให้เป็น “อาหารสมอง” เสมอครับ ขอขอบคุณคุณบุญชัย แซ่เงี้ยว ที่ได้ช่วยคัดสรร แก้ไข และตรวจทานต้นฉบับจนออกมาเป็นหนังสือที่อยู่ในมือท่าน ขอขอบคุณท่านผู้อ่านที่กรุณาอุดหนุนหนังสือของผม เสมอมา ซึ่งเล่มนี้นับเป็นเล่มที่ 32 ผมขอน้อมรับด้วยจิตคารวะ หากมีสิ่งใดผิดพลาดครับ วรากรณ์ สามโกเศศ varakorn.com

วรากรณ์ สามโกเศศ 7



. GLO BAL C H AN GE 2 .

วรากรณ์ สามโกเศศ


1 Internet of Things


ตู ้ เ ย็ น ที่ บ ้ า นส่ ง สั ญ ญาณเตื อ นให้ ซื้ อ ไข่ ไ ก่ เปิ ด เครื่ อ ง ปรับอากาศจากระยะไกลเพื่อให้อุณหภูมิห้องพอเหมาะก่อน ถึงบ้าน โทรศัพท์มือถือขึ้นข้อความทักทายเมื่อเดินเข้าไปใน ซู เ ปอร์ ม าร์ เ ก็ ต พร้ อ มระบุ ชื่ อ และสิ น ค้ า ที่ อ ยู ่ ใ นความสนใจ แถมลดราคาเป็นพิเศษ ทั้งยังสามารถให้ข้อมูลเรื่องการหายใจ ของทารกตลอดจนการเต้นของหัวใจและอุณหภูมิร่างกายแบบ เรียลไทม์แก่พอ่ แม่ ฯลฯ เหล่านีล้ ว้ นเป็นผลพวงของสิง่ ทีเ่ รียกว่า อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (internet of things - IoT) IoT คื อ ระบบเครื อ ข่ า ยของสิ่ ง ที่ สั ม ผั ส จั บ ต้ อ งได้ (things) และมีชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เซ็นเซอร์ หรือซอฟต์แวร์ ฝังตัวอยู่เพื่อช่วยให้เกิดการรวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ ผู้ผลิต กับโอเปอเรเตอร์ และ/หรือกับอุปกรณ์ที่มีสิ่งเหล่านี้ฝังตัว อยู่เพื่อเพิ่มประโยชน์และคุณค่าของบริการ ตูเ้ ย็นเตือนเรือ่ งไข่ไก่ได้กเ็ พราะมีเซ็นเซอร์ฝงั ตัวอยูใ่ นตู้ วรากรณ์ สามโกเศศ 11


ซึง่ ส่งสัญญาณไปยังมือถือของเจ้าของตูเ้ ย็นเมือ่ พบว่าไข่ไก่เหลือ น้อย เซ็นเซอร์นอี้ าจอยูต่ รงฐานแผงวางไข่ไก่ เมือ่ น�ำ้ หนักบนแผง ลดลงก็จะส่งสัญญาณ หรือรับสัญญาณสะท้อนมาจากจ�ำนวน ไข่ไก่ที่เหลือน้อย เครื่ อ งปรั บ อากาศปรั บ อุ ณ หภู มิ ท างไกลได้ ก็ เ พราะ โทรศัพท์มือถือส่งสัญญาณไปยังชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ฝังตัว อยู่ในเครื่องปรับอากาศ RFID (radio-frequency identification) เทคโนโลยี ส�ำหรับเก็บและระบุข้อมูลอัตโนมัติซึ่งฝังตัวอยู่ในรองเท้า จะส่ง สัญญาณไปยังตัวรับทีอ่ ยูใ่ นร้านค้าซึง่ มีประวัตริ สนิยมของลูกค้า ประวัตินี้ได้มาจากข้อมูลการซื้อในอดีต ร้านค้าจะยิงข้อมูลตรง ไปยังลูกค้าที่เดินเข้ามาโดยเสนอสิ่งที่เขาอาจสนใจเป็นพิเศษ ดังนั้นจึงมีโอกาสสูงกว่าที่จะขายได้ พ่ อ แม่ ที่ เ ป็ น ห่ ว งลู ก น้ อ ยซึ่ ง อยู ่ ไ กลตั ว สามารถรั บ ข้อมูลเรียลไทม์ทางโทรศัพท์มือถือจากเซ็นเซอร์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ที่ฝังตัวอยู่กับอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องของลูก ตัวอย่างข้างต้นก�ำลังเกิดขึ้นและจะมีมากกว่านี้อีกมาก ในอนาคตอันใกล้ ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เรียกว่า IoT ซึ่งเกิดจากการ เชื่อมต่อเป็นเครือข่ายของ “things” (เช่น โทรศัพท์มือถือ ตู้เย็น อุปกรณ์จา่ ยสัญญาณ) ทีม่ ชี นิ้ ส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เซ็นเซอร์ RFID ซอฟต์แวร์ ชิปหรือวงจรไฟฟ้า ฯลฯ ฝังตัวอยู่ IoT เกิดขึ้นได้เพราะมีการน�ำเอาเทคโนโลยีต่างๆ เช่น การสื่อสารไร้สาย อินเทอร์เน็ต ไมโครเทคโนโลยี ฯลฯ มาหลอม 12 Global Change 2


รวมกันจนเกิดประดิษฐกรรมใหม่ๆ ทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ มนุษยชาติ อย่างไม่เคยมีมาก่อน ไอเดียในเรือ่ งเครือข่ายอุปกรณ์สมาร์ต (smart devices) ดังกล่าวข้างต้นเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1982 โดยมีการสร้างตู้หยอด เหรียญซื้อโค้กที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (เดิมชื่อสถาบัน เทคโนโลยีคาร์เนกี) ประดิษฐกรรมนีเ้ ป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าทีเ่ ชือ่ มต่อ กับระบบอินเทอร์เน็ตเครื่องแรกของโลก โดยตู้สามารถรายงาน ว่ามีสต็อกเหลืออยูก่ กี่ ระป๋อง กระป๋องทีใ่ ส่เข้าไปเย็นหรือยัง ฯลฯ ในปี 1991 มาร์ก ไวเซอร์ (Mark Weiser) เขียนบทความ ส�ำคัญชื่อ “คอมพิวเตอร์ส�ำหรับศตวรรษที่ 21” (The Computer for the 21st Century) ตามมาด้วยงานเขียนของนักวิชาการอีก หลายคนจนเกิดวิสัยทัศน์ในเรื่อง IoT ไอเดีย IoT พัฒนาเป็นล�ำดับจนเกิดโมเมนตัมในปี 1999 คือเกิดความคิดในเรื่องการสื่อสารชนิด D2D (device to device หรือจากอุปกรณ์ถึงอุปกรณ์ เช่น จากตู้เย็นถึงมือถือ มือถือถึง เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรถึงเครื่องจักร ฯลฯ) IoT ได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นล�ำดับ ในระยะแรก คิดกันว่าการสื่อสารถึงกันผ่าน RFID คือเงื่อนไขส�ำคัญของ IoT ถ้าสิ่งของทุกอย่างและมนุษย์ทุกคนมีหมายเลขแสดงตน (identification - ID) คอมพิวเตอร์จะจัดการได้เกือบทุกเรือ่ ง ต่อมา เมือ่ มีการพัฒนามากขึน้ ชิน้ ส่วนอิเล็กทรอนิกส์มหี ลากหลายชนิด ขึน้ ไอเดียการมีไอดีกย็ งั ไม่เปลีย่ นแปลง ประมาณการว่าก่อนหน้า ปี 2020 ทั่วทั้งโลกจะมีอุปกรณ์ IoT เกือบ 26,000 ล้านชิ้น วรากรณ์ สามโกเศศ 13


เมือ่ IoT เชือ่ มต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ทกุ ชนิด ทีต่ งั้ อยูก่ บั ทีห่ รือเคลือ่ นทีไ่ ด้ (เช่น โทรศัพท์มอื ถือทีเ่ คลือ่ นทีต่ าม ผูถ้ อื ) จ�ำเป็นต้องมีไอดีไม่ซำ�้ กันจึงจะติดต่อถึงกันได้ ดังนัน้ จึงเกิด IPv4 (Internet Protocol version 4) ที่เป็นระบบการให้ไอดีและ ที่อยู่ดังเรียกกันว่าเลขไอพี (IP address) ซึ่งให้ได้ 4,300 ล้าน เลขหมาย แต่กไ็ ม่เพียงพอ จึงน�ำ IPv6 มาใช้แทนในปัจจุบนั ซึง่ ให้ ไอดีหรือเลขไอพีได้มหาศาล (ให้เลขไอพีผา่ น IPv6 แก่ทกุ อะตอม บนผิวโลกแล้วก็ยงั ไม่หมด) พูดอีกอย่างหนึง่ คือมนุษย์ให้ไอดีหรือ ที่อยู่แก่อุปกรณ์ทุกชนิดหรือทุก “things” ในโลกได้ ใน TED (เวทีทมี่ คี นมาพูดสรุปไอเดียใหญ่ๆ ในโลกอย่าง กระชับ ดูรายการ TED ได้ในเว็บไซต์ยูทูบหรือ www.ted.com) นักเศรษฐศาสตร์ชื่อ มาร์โก อันนุนซีอาตา (Marco Annunziata) ชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยี IoT ก�ำลังเปลี่ยนแปลงภาคอุตสาหกรรม อย่ า งรวดเร็ ว ซึ่ ง เขาเรี ย กว่ า อิ น เทอร์ เ น็ ต เชิ ง อุ ต สาหกรรม (industrial internet) เป็นการน�ำเครือ่ งจักรทรงปัญญา (intelligent machines) มาเชื่อมต่อกันจนสร้างการผลิตที่ให้ประสิทธิภาพ สูงสุดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ใบพั ด ลมส� ำ หรั บ ผลิ ต ไฟฟ้ า สามารถติ ด ต่ อ ถึ ง กั น ได้ เพื่ อ ปรั บ เปลี่ ย นรู ป ร่ า งใบพั ด ให้ รั บ ลมได้ ม ากที่ สุ ด เพื่ อ เพิ่ ม กระแสไฟฟ้า หมอผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้รับภาพเอ็กซเรย์ด้วย คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) พร้อมกันซึ่งจะท�ำให้การวิเคราะห์มี ประสิทธิภาพมากขึ้น เครื่องบินส่งสัญญาณสื่อสารกับฐานบิน โดยรายงานชิน้ ส่วนทีอ่ าจเสียเพือ่ เตรียมซ่อมแซมก่อนเกิดปัญหา 14 Global Change 2


การซ่อมแซมดูแลชิ้นส่วนก่อนเกิดปัญหาท�ำให้การบิน ปลอดภัยยิง่ ขึน้ ไม่กอ่ ให้เกิดเทีย่ วบินล่าช้า สูญเสียรายได้โดยไม่ จ�ำเป็น การที่เครื่องบินจะท�ำเช่นนี้ได้ ภายในตัวเครื่องต้องเป็น IoT กล่าวคือชิ้นส่วนทั้งหลายสามารถสื่อสารข้อมูลถึงกัน และ เอาไปเปรียบเทียบกับสภาพการท�ำงานทีป่ กติ หากเกิดผิดเพีย้ น จะรายงานไปยังเครือ่ งจักรอีกตัวหนึง่ เพือ่ ทดสอบ รายงานต่อกัน เป็นทอดๆ เช่นนี้จนถึงฐานบินในที่สุด ในเรื่องการแพทย์ IoT ก้าวไปไกลมาก โทรเวชกรรม (telemedicine) ท�ำให้แพทย์ที่อยู่อีกแห่งไกลออกไปเป็นพัน ไมล์สื่อสารผ่าตัดคนไข้ได้ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการ บังคับสั่งการอยู่ที่ฝั่งหมอแต่มีดหมออยู่ฝั่งคนไข้ผ่านเครือข่าย โทรคมนาคม ในไลน์ ก ารผลิ ต ของโรงงานอุ ต สาหกรรมรถยนต์ หุ่นยนต์ตัวถัดไปตรวจสอบผลงานการขันนอตติดตั้งตัวถังของ หุ่นยนต์ตัวก่อนหน้าได้ ถ้าพบว่าบกพร่องก็แก้ไขให้ และส่ง สัญญาณไปยังหุ่นยนต์ตัวถัดไปให้ดูแลรถยนต์คันนี้เป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้มีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดขึ้นอีก อีกตัวอย่างหนึง่ คือการกินเซ็นเซอร์ทเี่ ป็นเม็ดยา เพือ่ ให้ ส่งสัญญาณบอกเวลาที่ควรกินยาและยาที่ควรกินให้ได้ผลมาก ที่สุดเมื่อค�ำนึงถึงสภาพเคมีและชีวะที่ก�ำลังเกิดขึ้นในร่างกาย ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือ IoT ที่เริ่มมีการน�ำมาประยุกต์ เพื่อพัฒนาชีวิตประจ�ำวันและเพิ่มพูนประสิทธิภาพการผลิตใน โรงงานมากขึ้นทุกที วรากรณ์ สามโกเศศ 15


IoT หรือเครือข่ายสิ่งของที่มีชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ฝังตัวอยูน่ นั้ “things” ทีเ่ ห็นบ่อยทีส่ ดุ ตามค�ำจ�ำกัดความของ IoT ก็คอื โทรศัพท์มอื ถือ อย่างไรก็ดตี อ่ ไปมนุษย์อาจเป็น “things” ได้ หากมีชิปหรือวงจรรวมฝังอยู่ในตัว ซามูเอล กรีนการ์ด (Samuel Greengard) ผู้เขียน อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (The Internet of Things, 2015) บอกว่า IoT จะผลิตข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาล (big data) ที่จ�ำเป็นต้องมี ผู้น�ำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ (ดังที่เรียกว่าการท�ำ เหมืองข้อมูล) ไม่ว่าในด้านการค้าหรือการผลิต ข้อมูลเหล่านี้จะ เป็นฐานน�ำไปสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งต่อสิ่งรอบตัวและพฤติกรรม มนุษย์ IoT จะเปลี่ยนวิถีการด�ำรงชีวิตของผู้คนอย่างนึกไม่ถึง แค่เพียง 8 ปีของ “สังคมก้มหน้า” ซึ่งตามค�ำจ�ำกัดความนี่ก็คือ ลักษณะหนึ่งของ IoT เราเห็นกันแล้วว่าการใช้เวลาและความ สัมพันธ์ของมนุษย์นั้นเปลี่ยนแปลงไปเพียงไร ถ้าตู้เสื้อผ้าบอกผมว่าวันนี้ยังไม่ได้นุ่งกางเกงใน ผม คงจะโกรธเพราะยุง่ เรือ่ งของผมมากเกินไป ทว่ามันก็เตือนเพราะ เป็นประโยชน์แก่ตวั ผมเอง แต่สงสัยว่ามันจะรูด้ กี ว่าผมหรือไม่วา่ ในหน้าร้อนมันอาจเป็นทางเลือกที่เข้าท่าก็เป็นได้

16 Global Change 2



2 Drone มีประโยชน์และโทษ


เครื่องบินชนิดไม่มีคนขับหรือโดรน (drone) เป็นที่รู้จักกัน ทัว่ ว่าคืออาวุธร้ายทีใ่ ช้ปราบปรามผูก้ อ่ การร้ายในตะวันออกกลาง อย่างไรก็ดีบทบาทที่น่ารักของโดรนก็มีอยู่เช่นกัน โดรนมีชอื่ ทางการว่า UAV (unmanned aerial vehicle) หมายถึ ง เครื่ อ งบิน ที่ไ ร้ค นขับ การบังคับการบินเป็นไปโดย อัตโนมัติตามโปรแกรมในคอมพิวเตอร์หรือโดยนักบินที่อยู่บน พื้นดิน ความคิ ด ที่ จ ะใช้ เ ครื่ อ งบิ น ไม่ มี ค นขั บ โจมตี ศั ต รู เ พื่ อ หลีกเลี่ยงการสูญเสียนักบินมีมานานแล้ว กลางศตวรรษที่ 19 ในการรบระหว่างออสเตรียกับอิตาลีก็มีแนวคิดที่จะขนระเบิดใส่ บัลลูนให้ลอยไปตกในแดนศัตรู ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1914-1918) มีการใช้ UAV ซึ่งพัฒนาในขั้นแรกเพื่อการรบแต่ยังไม่มีประสิทธิภาพนัก ต่อมามีการพัฒนา UAV ขึน้ เป็นล�ำดับ และน�ำไปใช้ในสงครามโลก วรากรณ์ สามโกเศศ 19


ครั้งที่สอง ฮิตเลอร์ใช้ UAV หลายลักษณะ เช่น สังเกตการณ์ ทิ้งระเบิด จารกรรม ฯลฯ แต่ก็ยังไม่ทรงอานุภาพอยู่ดี การพัฒนา UAV อย่างจริงจังเริ่มขึ้นในปี 1959 โดย กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา และใช้กันจริงจังมากขึ้นระหว่าง สงครามเวียดนาม โดยเฉพาะในการบินสังเกตการณ์ แต่ยงั ไม่ได้ ใช้โดรนเป็นอาวุธดังเช่นปัจจุบัน หลังเหตุการณ์ 9/11 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาหันมาพัฒนา UAV มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พัฒนาโดยซีไอเอเพื่อล่า ล้างแค้นผูก้ อ่ การร้ายในอัฟกานิสถานและปากีสถาน การพัฒนา ด้านโทรคมนาคมและไอทีอันน�ำไปสู่การใช้อุปกรณ์ที่ผนวก โทรศัพท์เข้ากับคอมพิวเตอร์ ท�ำให้การค้นหาเป้าหมายด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ของโดรนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้น�ำกลุ่มก่อการร้ายบางคนถูกโดรนวิ่งเข้าใส่บ้านขณะ ใช้โทรศัพท์อยู่ มีรายงานว่า อุซามะฮ์ บิน ลาดิน ใช้โทรศัพท์ มือถือหลายเครื่อง เมื่อใช้เสร็จหลังจากพูดสั้นๆ ไม่กี่วินาทีจะ ท�ำลายทิง้ ทันที เพราะรูว้ า่ โดรนล�ำเล็กอาจวิง่ เข้ามาทางหน้าต่าง การที่ พ บบิ น ลาดิ น หลั ง จากตามหามาหลายปี ไ ด้ ก็เพราะโดรนที่บินสังเกตการณ์เหนือบ้านพักต้องสงสัยในเมือง แอบอตาบัด ประเทศปากีสถาน เห็นภาพคนตัวสูงผิดสังเกต ซึ่งเข้าลักษณะของเป้าหมายเดินอยู่บริเวณบ้าน ถึงทางการ สหรั ฐ อเมริ ก าจะไม่ แ น่ ใ จร้ อ ยเปอร์ เ ซ็ น ต์ ว ่ า เป็ น บิ น ลาดิ น แต่ก็กล้าเข้าบุกเพราะมีภาพบ้าน รูปถ่ายประตูออกดาดฟ้าและ หน้าต่างจากโดรนเป็นตัวประกอบส�ำคัญในการตัดสินใจ 20 Global Change 2


โดรนส่วนใหญ่มีขนาดเล็กเท่ามอเตอร์ไซค์จนถึงขนาด ใหญ่เท่ารถยนต์ มีสมองกลและอุปกรณ์การบินเหมือนเครือ่ งบิน มี “ตาทิพย์” จับคู่ภาพเป้าหมายที่ถ่ายไว้ก่อนหน้ากับภาพจริงที่ โดรนเจอ หากเหมือนกันจะวิ่งเข้าหาเป้า หรือไม่ก็วิ่งเข้าสู่แหล่ง ปล่อยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จากโทรศัพท์มือถือ การโจมตีด้วยโดรนไม่แม่นย�ำร้อยเปอร์เซ็นต์จนก่อให้ เกิดปัญหาข้างเคียง มีชาวบ้านทีอ่ าศัยอยูใ่ กล้เป้าหมายถูกระเบิด ล้มตายโดยไม่รู้อีโหน่อีเหน่อยู่บ่อยๆ สื่อวิพากษ์วิจารณ์บทบาท ของโดรนในการท�ำสงครามดังกล่าวอยู่มาก อย่างไรก็ดี อีกฟากหนึ่งของการพัฒนาโดรนคือการน�ำ มาใช้ในชีวติ ประจ�ำวันเพือ่ สร้างสรรค์มากกว่าท�ำลายชีวติ มนุษย์ ด้วยกันเอง เช่น งานต�ำรวจ การดับเพลิง งานความมั่นคง การ ตรวจสอบท่อน�้ำหรือน�้ำมัน ฯลฯ และล่ าสุดคือการถ่ายภาพ นอกสถานที่ ปัจจุบันมีการผลิตโดรนขนาดเล็กมากที่บังคับได้ด้วย โทรศัพท์มือถือออกมาขายในสหรัฐอเมริกา สนนราคาประมาณ 10,000 บาท โดรนล�ำนี้บินขึ้นไปถ่ายภาพนิ่งและบันทึกวิดีโอ กลางแจ้งได้ บังคับให้บินสูงบินต�่ำได้ จากประสบการณ์ของผู้ใช้ ต่างพูดตรงกันว่าเยี่ยมยอดส�ำหรับการบันทึกภาพกิจกรรมของ ครอบครัว หรือบันทึกเหตุการณ์ส�ำคัญ แต่ปัญหาคือการบังคับให้บินไปอยู่ในต�ำแหน่งที่เหมาะ กับการถ่ายภาพ เนื่องจากผู้บังคับอยู่ในระดับพื้นดินจึงไม่อาจ ทราบได้ชดั เจนว่าจุดใดจะถ่ายภาพได้ดงั ประสงค์ทสี่ ดุ นอกจากนี้ วรากรณ์ สามโกเศศ 21


ความสามารถในการบังคับโดรนไม่ให้วิ่งชนต้นไม้หรืออาคาร ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง โดรนส�ำหรับถ่ายภาพพัฒนาขึน้ เรือ่ ยๆ สามารถเชือ่ มกับ ระบบจีพีเอสและบังคับให้บินวนอยู่ในต�ำแหน่งเดิมได้ แต่ท�ำได้ ในเวลาสัน้ ๆ ไม่เกิน 30 นาทีตามอายุแบตเตอรีท่ คี่ วามสูงไม่เกิน 50 เมตร การมาถึงของโดรนในชีวิตประจ�ำวันท�ำให้เกิดปัญหา รุกล�้ำสิทธิ คนจ�ำนวนมากไม่พอใจที่โดรนบินผ่านบ้านตนเอง เพราะอาจถูกถ่ายทอดหรือบันทึกภาพความเป็นส่วนตัวภายใน บริเวณบ้าน และอาจเกิดปัญหาในเรื่องความปลอดภัย โดรนตกได้ไม่ยากเมื่อเจอลมหรือฝนแรง หรือบังคับ ผิดพลาด การตกลงมาจนก่ออันตรายต่อชีวิตหรือทรัพย์สินผู้อื่น เป็นเรือ่ งทีค่ าดเดาได้ไม่ยาก และอาจเป็นอันตรายต่อการบินของ เครื่องบินล�ำอื่นๆ โดรนมีประโยชน์ในการตรวจการณ์ความผิดปกติ เช่น การจี้ปล้น ไฟไหม้ การก่อการร้าย ตลอดจนการสงครามต่างๆ แต่ต้องค�ำนึงถึงผลด้านลบด้วย ทางการสหรัฐอเมริกาห้ามโดรนของประชาชนบินสูงกว่า 20 เมตร ห้ามข้ามบ้านหรืออาคารของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต ห้ามบินใกล้สนามบินโดยไม่ได้รับอนุญาต ปัจจุบันเมืองต่างๆ ได้ออกกฎควบคุมการใช้โดรนเพื่อป้องกันความเสียหาย โดรนของทหารก่อให้เกิดความหวาดหวั่นว่าบ้านใคร และชีวิตใครก็อาจถูกท�ำลายได้โดยไม่รู้ตัว แม้แต่พลเมืองใน 22 Global Change 2


ประเทศก็ตาม ส่วนโดรนของประชาชนมีประโยชน์มากมาย แต่ อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้เช่นกันหากไม่ระมัดระวัง ทุกสิ่งมีประโยชน์แต่ขณะเดียวกันก็มีโทษ การสร้าง กฎกติกาเพื่อหาความสมดุลระหว่างประโยชน์กับโทษคือโจทย์ ส�ำคัญของทุกสังคม

วรากรณ์ สามโกเศศ 23


3 รถไร้คนขับและจริยธรรม


รถยนต์ ที่ ขั บ เคลื่ อ นด้ ว ยตั ว เองโดยไม่ ต ้ อ งมี ค นขั บ เกิดขึน้ จริงแล้วตามนิยายวิทยาศาสตร์ ไม่วา่ ญีป่ นุ่ สหรัฐอเมริกา หรือเยอรมนี ขณะนีส้ ามารถผลิตรถยนต์ไร้คนขับหลังจากลงทุน กันไปมหาศาล ปัจจุบันมีการทดลองวิ่งบนถนนสาธารณะใน ขอบเขตจ�ำกัด อย่างไรก็ดี ปัญหาทีย่ งั แก้ไม่ตกคือเรือ่ งจริยธรรม ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของรถเหล่านี้ รถไร้คนขับ (driverless car - DC) รถอิสระ (autonomous car) รถขับเคลื่อนได้เอง (self-driving car) หรือรถหุ่นยนต์ (robotic car) คือชื่อเรียกรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองราวกับ มีคนขับ รู้ทิศทางที่จะไป ขับหลบหลีกรถคันอื่น หยุดจอดตาม สัญญาณไฟจราจร จอดในที่อันควร จอดรับส่งผู้โดยสาร ฯลฯ ไอเดียในเรื่องนี้เกิดนานแล้ว มีการทดลอง DC ขั้นแรก อย่างน้อยตั้งแต่ทศวรรษ 1920 แต่เริ่มทดลองกันจริงจังใน ทศวรรษ 1950 จากนั้นก็พัฒนามาเป็นล�ำดับ คันที่เป็น DC วรากรณ์ สามโกเศศ 25


อย่างแท้จริงปรากฏตัวในทศวรรษ 1980 จากโครงการนาฟแล็บ (Navlab) ของมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ประเทศสหรัฐอเมริกา และด้วยความร่วมมือระหว่างเมอร์เซเดส-เบนซ์กบั มหาวิทยาลัย บูนเดสเวร์ก็ท�ำให้มีการจัดแสดงรถไร้คนขับในปี 1987 หลั ง จากนั้ น บริ ษั ท รถยนต์ แ ละศู น ย์ วิ จั ย ของบริ ษั ท รถยนต์ยี่ห้อดังในยุโรปและญี่ปุ่นอีกนับไม่ถ้วนก็แข่งกันสร้าง DC ออกมา บริษัทกูเกิลโดดเข้าร่วมด้วยโดยมุ่งสร้างซอฟต์แวร์ ควบคุมรถไร้คนขับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ชนิดที่ขับเคลื่อน ด้วยไฟฟ้า รถไร้คนขับของกูเกิลทีน่ ำ� ออกแสดงในปี 2014 คือรถ ทีไ่ ม่มที งั้ พวงมาลัย คันเบรค และคันเร่ง คาดว่าจะมีรถลักษณะนี้ ออกสู่ตลาดในปี 2020 ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าก่อนปี 2025 จะมี DC ออกมาวิ่งบนถนนเป็นจ�ำนวนมาก สี่รัฐในสหรัฐอเมริกาคือเนวาดา ฟลอริดา แคลิฟอร์เนีย และมิชแิ กน ผ่านกฎหมายอนุญาตให้ DC วิง่ บนถนนสาธารณะได้ เช่นเดียวกับหลายประเทศในยุโรป เช่น เบลเยียม ฝรัง่ เศส อิตาลี อังกฤษ เยอรมนี ทีอ่ นุญาตให้ทดลองวิง่ DC บนถนนสาธารณะได้ ประโยชน์ของ DC ที่เห็นได้ชัดคืออุบัติเหตุลดลง ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นหุ่นยนต์จึงกระท�ำทุกสิ่งได้รวดเร็วตามที่มนุษย์ ใส่โปรแกรมสั่งไว้ ไม่มีง่วง ไม่มีอารมณ์ มองเห็นภาพรอบด้าน ในขณะเคลื่ อ นไหว สามารถตั ด สิ น ใจในสภาพแวดล้ อ มที่ มี อันตรายได้รวดเร็วฉับพลันกว่ามนุษย์ ถ้ามี DC บนถนนจ�ำนวน มากจะช่วยลดปัญหาจราจรติดขัด เพราะ DC คือคอมพิวเตอร์ที่ เคลื่อนไหวได้ มันจะจัดการการจราจรกันเองเพื่อหลีกหนีรถติด 26 Global Change 2


มนุษย์จะใช้รถยนต์ร่วมกัน (carpool) ได้สะดวกยิ่งขึ้น เนื่องจาก DC จะวิ่งวนไปตามที่ถูกสั่ง และไม่ต้องกังวลเรื่องหา ที่จอด สามารถวนกลับมารับเราได้ตามเวลาที่ก�ำหนดไว้ อีกทั้ง ช่วยลดจ�ำนวนต�ำรวจจราจร ลดจ�ำนวนป้ายจราจร รถวิ่งอย่าง นิ่มนวล และการที่ DC บางรุ่นไม่มีพวงมาลัยท�ำให้ภายในรถมี พื้นที่ว่างเพิ่มขึ้น แต่ขอ้ เสียก็มอี ยูม่ ากเช่นเดียวกัน ในสภาพที่ DC วิง่ ปน กับรถทีข่ บั โดยมนุษย์บนท้องถนน คนจ�ำนวนมากยังมองไม่เห็น ภาพว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างไร (จะลงจากรถไปชกปากก็ท�ำไม่ได้) ระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคม ที่ควบคุม DC อาจมีปัญหาจนวิ่งไม่ได้ เกิดรถติดมโหฬาร และ ท้ายสุดอาจกลายเป็นคาร์บอมบ์ที่ดีมากๆ ก็ได้ แต่ไม่ว่าจะเกิดผลเสียมากอย่างไร DC มาแน่นอน ในเวลาอั นใกล้ เพราะดูจะให้ประโยชน์ม ากกว่าภายใต้โลก ซึ่งระบบอิเล็กทรอนิกส์และคมนาคมมีความแน่นอนมากขึ้น ทุกที และการแข่งขันระหว่างบริษัทใหญ่ระดับโลกรวมทั้งกูเกิล ผลักดันให้เกิดความคึกคัก ในเรื่องการผลิต DC บริษัททั้งหลายก้าวข้ามอุปสรรค ไปได้แล้ว แต่ติดปัญหาหนึ่งที่ยังไม่มีใครคิดตก ในสถานการณ์ที่ DC คันหนึง่ ตระหนักว่ามีรถบรรทุกซึง่ วิง่ เร็วก�ำลังจะชนท้ายและ อาจท�ำให้เจ้านายเสียชีวิต โปรแกรมที่ใส่ไว้ใน DC ควรสั่งให้รถ วิ่งขึ้นไปบนทางเท้าซึ่งอาจชนคนจ�ำนวนมากตายหรือยอมให้ รถชนเจ้านายตาย พูดง่ายๆ ก็คือมันเป็นประเด็นเรื่องจริยธรรม วรากรณ์ สามโกเศศ 27


คนสร้างรถต้องการค�ำตอบนี้เพื่อใส่ไปในซอฟต์แวร์ ตราบใดที่ไม่สามารถตอบค�ำถามเชิงปรัชญานี้ได้ก็อาจมีปัญหา ด้านกฎหมายและสังคมตามมา ในกรณีที่มนุษย์เป็นผู้ขับ ภาระ จากการตัดสินใจเป็นของผู้ขับแต่ละคน การตัดสินใจขึ้นอยู่กับ ความคิดในเรื่องคุณค่าของชีวิตมนุษย์และคุณธรรม อย่างไรก็ดี การต้องใส่คำ� ตอบทัง้ หมดไว้ใน DC ท�ำให้เกิดค�ำถามเชิงจริยธรรม ตามมา เช่น ชีวิตมนุษย์คนใดมีค่ามากกว่ากัน ซึ่งไม่มีค�ำตอบ ตายตัว ภายใต้ปญ ั หานี้ บริษทั ผูส้ ร้างและวิศวกรยานยนต์กำ� ลัง นึกถึงสิ่งที่เรียกว่ากฎอาสิมอฟ (Asimov’s Laws มาจาก ไอแซ็ก อาสิมอฟ นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชอื่ ดังก้องโลก มีชวี ติ ระหว่าง ปี 1920-1992) เป็นกฎที่เขียนขึ้นส�ำหรับหุ่นยนต์ในเรื่องแต่ง โดยกฎข้อที่หนึ่งกล่าวว่า “เครื่องจักรที่เคลื่อนไหวได้เองต้อง ไม่ท�ำร้ายมนุษย์หรือปล่อยให้มนุษย์เป็นอันตราย” นักวิชาการ ด้านจริยธรรมจ�ำนวนมากเห็นว่าต้องไม่ให้เครื่องจักรตัดสินใจ เรื่องการท�ำให้มนุษย์เป็นอันตรายและถึงแก่ชีวิตเป็นอันขาด เรื่องเช่นนี้มนุษย์ต้องเป็นผู้ตัดสินใจเอง มิฉะนั้นในที่สุดเราจะ มีสังคมที่ไร้กฎกติกาเมื่อผู้ตัดสินใจไม่จ�ำเป็นต้องรับผิดชอบ การกระท�ำของตนเอง DC ทีอ่ อกมาวิง่ บนถนนถือได้วา่ เป็นหุน่ ยนต์ทกี่ า้ วหน้า ในระดับสูงมาก เนื่องจากสามารถวิ่งหลบหลีกสิ่งกีดขวางด้วย ความเร็วสูงและมีความสามารถในการขับขี่ที่ไว้ใจได้มากกว่า มนุษย์ ไม่มีเจ็บป่วย ไม่มีง่วง (หุ่นยนต์ที่ดื่มเหล้าก่อนขับน่าจะ 28 Global Change 2


หาได้ยากมาก) แต่เนือ่ งจากไม่มหี วั ใจ ทุกอย่างจึงกระท�ำไปตาม “ใบสั่ง” หรือสิ่งที่ใส่ไว้ในซอฟต์แวร์ อย่างไรก็ดี คนนั่งเป็นมนุษย์ ทีม่ หี วั ใจ การผสมผสานระหว่างประสิทธิภาพกับความเป็นมนุษย์ จึงเป็นประเด็นส�ำคัญของการเดินทางด้วย DC หลังจาก DC วิ่งวนไปส่งเจ้านายแล้ว เป้าหมายต่อไป คื อ การกลั บ ไปรั บ อี ก ครั้ ง ตามเวลาที่ ก� ำ หนดไว้ โ ดยไม่ ส นใจ ว่าก�ำลังกีดขวางรถที่รีบพาผู้ป่วยหนักสูงอายุไปโรงพยาบาล ส�ำหรับ DC แล้ว รถทุกคันมีความหมายเท่ากันนอกเสียจากว่า จะเขียนโปรแกรมสั่งไว้ การยกเว้นบางสิ่งเพื่อบางอย่างที่ส�ำคัญกว่าเป็นเรื่อง ที่มีแต่มนุษย์เท่านั้นจะคิดได้ การคิดตัดสินใจเช่นนี้ได้คือข้อ แตกต่างที่ท�ำให้มนุษย์ไม่ใช่หุ่นยนต์

วรากรณ์ สามโกเศศ 29


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.