พลิกชีวิต คิดอย่าง อาดัม สมิธ • สุภาภรณ์ กาญจน์วีระโยธิน แปล จากเรื่อง How Adam Smith Can Change Your Life: An Expected Guide to Human Nature and Happiness โดย Russ Roberts พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ o p e n w o r l d s , ธันวาคม 2558 ราคา 250 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ • บรรณาธิการเล่ม ฐณฐ จินดานนท์ บรรณาธิการต้นฉบับ บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก w r ongd e s i g n • จัดทำ�โดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2 - 6 1 8 - 4 7 3 0 e m a i l : o p e n w o r l d s t h a i l a n d @g m a i l . c om f a c e b ook : w w w . f a c e b o o k . c o m / o p e n w or lds t w i t t e r : w w w . t w i t t e r . c o m / o p e n w o r l d s_th w e bs i t e : w w w . o p e n w o r l d s . i n . t h จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED เลขที่ 1858/87-90 อาคารที ซี ไ อเอฟทาวเวอร์ ชั้ น ที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 3 9 - 8 3 5 6 - 9 w e bs i t e : h t t p : / / w w w . s e - e d . c o m /
สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 02-618-4730 และ 097-174-9124 หรือ E ma il: o p e n w o rld st h a ila n d @ g mail.c om
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ โรเบิร์ตส์, รัส. พลิกชีวิต คิดอย่าง อาดัม สมิธ.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2558. 224 หน้า. 1. จิตวิทยาประยุกต์. I. สุภาภรณ์ กาญจน์วีระโยธิน, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 158 ISBN 978-616-7885-25-4 • Copyright © 2014 Russell Roberts All rights reserved including the right of reproduction in whole or in part in any form. This edition published by arrangement with the Portfolio, an imprint of Penguin Publishing Group, a division of Penguin Random House LLC. The Thai edition is translated by Supapohn Kanwerayotin and published by openworlds publishing house, 2015. How Adam Smith Can Change Your Life ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 2014 แปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด ตามข้อตกลงกับสำ�นักพิมพ์พอร์ตโฟลิโอ/เพนกวิน
สารบัญ
จากใจผู้แปล 6 1. อาดัม สมิธ เปลี่ยนชีวิตคุณได้อย่างไร 14 2. วิธีรู้จักตนเอง 26 3. วิธีสร้างความสุข 44 4. วิธีที่จะไม่หลอกตัวเอง 58 5. วิธีทำ�ตัวให้เป็นที่รัก 78 6. วิธีทำ�ตัวให้น่ารัก 112 7. วิธีเป็นคนดี 134
8. วิธีที่ทำ�ให้โลกน่าอยู่ยิ่งขึ้น 154 9. วิธีที่ไม่ทำ�ให้โลกน่าอยู่ยิ่งขึ้น 182 10. วิธีดำ�รงชีวิตในโลกสมัยใหม่ 194 กิตติกรรมประกาศ 212 แหล่งข้อมูลและอ่านเพิ่มเติม 214 รู้จักผู้เขียน 222 รู้จักผู้แปล 223
จากใจผู้แปล
เวลาเข้าไปในร้านหนังสือตามแหล่งชุมชนเมือง ผู้แปลมักพบว่า ในบรรดาหนังสือภาษาไทยที่วางเด่นไม่ว่าจะเป็นเพราะขายดีหรือเป็น ที่นิยมนั้น หัวเรื่องที่เห็นบ่อยสุดคือการลงทุนหรือท�ำอย่างไรให้รวย กินอย่างไรจึงสวย ท�ำอย่างไรจึงขายเก่ง โดยรวมคือแผนทีส่ ำ� หรับไขว่คว้า หาความส�ำเร็จทางโลกและวัตถุ รวมถึงโหราศาสตร์และเคล็ดทั้งหลาย เพื่อน�ำมาซึ่งผลที่ว่านี้ ตอนที่ ทางส� ำ นั ก พิ ม พ์ ส ่ ง หนั ง สื อ How Adam Smith Can Change Your Life โดย รัส โรเบิร์ตส์ มาให้ดูก็มิได้มีความรู้มาก่อนเลย ว่าบิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ อาดัม สมิธ เคยเขียนหนังสือชื่อ The Theory of Moral Sentiments หรือ ทฤษฎีว่าด้วยความคิดทางศีลธรรม และมี มุมนี้อยู่ด้วย หลังจากอ่านจบสองรอบแล้ว ก็ตกลงรับแปลทันที ระหว่าง ท�ำงาน เมือ่ อ่านรอบทีส่ ามสีห่ า้ ก็ยงิ่ ทึง่ ยิง่ ชอบ ยิง่ เคารพในมิตนิ ขี้ อง อาดัม สมิธ ที่น�ำเสนอเจาะลึกถึงธาตุแท้ (สันดาน) ของคน ผู้แปลมีความ มุ่งมั่นว่าจะพยายามท�ำหน้าที่แปลหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาไทยอย่างดี ที่สุด ด้วยความหวังเล็กน้อยว่าจะมีคนอ่านที่เห็นคุณค่าน�ำไปใช้จริง เหมือนดังที่ รัส โรเบิร์ตส์ อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์เห็นคุณค่าของ ทฤษฎีว่าด้วยความคิดทางศีลธรรม อันเป็นผลงานที่ควรคู่แก่มนุษยชาติ ซึง่ ตีพมิ พ์เมือ่ สองร้อยกว่าปีทแี่ ล้ว กระทัง่ น�ำมาเรียบเรียง มาย่อย และจัดวาง ให้ทาบกับบริบทของยุคปัจจุบัน ผลที่ได้ก็สะท้อนว่าธาตุแท้ของมนุษย์ 6
H ow Adam Smith C a n Ch a n ge Yo u r Li fe
ไม่เคยเปลี่ยน ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใด ที่ ตั ว ผู้แ ปลเองทึ่งที่สุดคือเรื่อง “ผู้ดูที่เป็นกลาง” (impartial spectator) ที่ อาดัม สมิธ ได้เสนอไว้ ยิ่งไปกว่านั้นคือสมิธเข้าใจใน ธรรมชาติ ข องจิ ต ใจมนุ ษ ย์ อ ย่ า งลึ ก ซึ้ ง เขาคลี่ อ อกมาให้ เ ห็ น ได้ ห มด ทั้งในเรื่องการแสวงหาลาภ ยศ สรรเสริญ ความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ความทะเยอทะยาน การหลอกตัวเอง (บรรยายได้อย่างถึงแก่นที่สุดใน บทที่ 3) ทัง้ ยังสัมพันธ์กบั เศรษฐศาสตร์ดว้ ย สิง่ นีช้ ว่ ยอธิบายปรากฏการณ์ ร่วมสมัยต่างๆ ตั้งแต่แก็ดเจ็ตเก๋ไก๋ เซเล็บ ทุนนิยม การต้มตุ๋นขนานใหญ่ ในแวดวงการเงิน การเมือง ซึ่งล้วนสัมพันธ์กับการที่คนเราโหยหาจะเป็น ที่รักและเป็นคนน่ารัก อี ก ด้ า นที่ ม นุ ษ ย์ มี แ ละสมิ ธ ยกมาพู ด ด้ ว ยคื อ เรื่ อ งคุ ณ ความดี ความรู้จักกาลเทศะและผิดชอบชั่วดี รวมถึงปัญญาและความสุขที่แท้จริง ถนนเส้นไหนกันที่เป็นเส้นทางสู่ความสุขที่แท้จริง ถนนสายชื่อเสียง เงินทองที่ฉูดฉาดหรือสายความสงบและปัญญา และเส้นไหนกันที่สมิธ เลือกและใช้ชีวิตเป็นต้นแบบให้เห็นประจักษ์ ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ตัวผู้แปลเองไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะได้เรียนรู้ จากงานของ อาดัม สมิธ ซึ่งอาจารย์รัส โรเบิร์ตส์ ช่วยเรียบเรียงและ ขยายความให้เข้าใจมากขึ้นอีกทอดหนึ่ง อีกด้านหนึ่งผู้แปลประทับใจ ในวิธปี ฏิบตั ติ นต่อผูค้ นรอบข้างของตัวสมิธ โดยเฉพาะอย่างยิง่ กับเพือ่ นรัก ของเขา เดวิด ฮูม ซึ่งสะท้อนว่าสิ่งที่เขาน�ำเสนอมาจากรากฐานที่แท้จริง ไม่ใช่ “ความดี” ระดับกลวงโพรกปากว่าตาขยิบ ความท้าทายของการท�ำงานนีค้ อื หนังสือฉบับภาษาอังกฤษเล่มนี้ อ่านสนุกมาก แต่บอ่ ยครัง้ ก็ตอ้ งดิน้ รนกับการหาค�ำภาษาไทยเพือ่ จับความ ของค�ำที่มีความหมายลึกซึ้ง เช่น virtue, propriety และ prudence ให้ ครบถ้วน และมีหลายครั้งที่ต้องอ่านออกเสียงดังๆ เดินว่อนไปมาเพื่อ ซึมซับโครงสร้างและความหมายของเนือ้ หาหลายตอนทีอ่ าจารย์โรเบิรต์ ส์ ยกอ้างมาจากงานต้นฉบับของ อาดัม สมิธ R u ss R o b ert s
7
ขอให้คุณผู้อ่านที่อุดหนุนหนังสือเล่มนี้เชื่อเถิดค่ะว่า อาดัม สมิธ เปลี่ยนชีวิตคุณได้จริงๆ โดยเริ่มต้นด้วยมุมมองที่ไม่หลอกตัวเอง หนังสือ เล่มนี้เป็นแผนที่ช่วยน�ำทางได้ และมันจะอยู่กับตัวคุณนานกว่าหนังสือ โชคช่วยพารวยทั้งหลาย ขอขอบพระคุณส�ำนักพิมพ์ openworlds ทีใ่ ห้โอกาสท�ำงานครัง้ นี้ รวมถึงทีมบรรณาธิการที่ช่วยปรับปรุงฉบับแปลค่ะ
8
สุภาภรณ์ กาญจน์วีระโยธิน
H ow Adam Smith C a n Ch a n ge Yo u r Li fe
แด่ชารอน
How Adam Smith Can Change Your Life: An Unexpected Guide to Human Nature and Happiness
. by
Russ Roberts
พลิกชีวิต คิดอย่าง อาดัม สมิธ
แปลโดย
สุภาภรณ์ กาญจน์วีระโยธิน
1 อาดัม สมิธ เปลี่ยนชีวิตคุณได้อย่างไร
ชีวิตที่ดีคืออะไร? ศาสนา ปรัชญา และสารพันคู่มือสมัยใหม่ต่าง พยายามตอบคำ�ถามนี้ แต่คำ�ตอบที่ลงตัวยังเป็นปริศนา ชีวิตที่ดีแปลว่า มีความสุข? หรือเป็นเรื่องของความมั่งคั่งและการประสบความสำ�เร็จ ในวิชาชีพ? คุณความดีมีบทบาทอย่างไร? ชีวิตที่ดีหมายถึงการเป็น คนดีใช่หรือไม่? หรือหมายถึงการช่วยเหลือผู้อื่นและทำ�ให้โลกนี้น่าอยู่ ยิ่งขึ้น? เมื่อ 250 ปีก่อน นักปรัชญาศีลธรรมชาวสกอตผู้หนึ่งพยายาม ตอบคำ�ถามเหล่านี้ในหนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อไม่โก้เก๋นักว่า ทฤษฎีว่าด้วย ความคิดทางศีลธรรม (The Theory of Moral Sentiments) หนังสือเล่มนี้ เป็นความพยายามของ อาดัม สมิธ (Adam Smith) ทีจ่ ะอธิบายว่าต้นตอของ ศีลธรรมมาจากไหน และทำ�ไมผู้คนจึงทำ�สิ่งต่างๆ ด้วยความสำ�นึกดีและ คุณความดีถึงแม้จะขัดแย้งกับประโยชน์ส่วนตัว เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ เป็นการผสมผสานระหว่างจิตวิทยา ปรัชญา กับสิง่ ทีท่ กุ วันนีเ้ ราเรียกกันว่า เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (behavioral economics) ทั้งยังเสริมรสด้วย R u ss R o b ert s
15
ข้อสังเกตของสมิธในเรื่องมิตรภาพ การแสวงหาความมั่งคั่ง การแสวงหา ความสุข และคุณความดี ตลอดการท่องไปกับหนังสือเล่มนี้ สมิธจะเล่าให้ ผู้อ่านฟังว่าชีวิตที่ดีนั้นคืออะไร ทั้งยังอธิบายวิธีที่จะได้มันมาด้วย หนังสือเล่มนี้ประสบความสำ�เร็จยิ่งในยุคนั้น แต่ทุกวันนี้โลก แทบจะลืม ทฤษฎีว่าด้วยความคิดทางศีลธรรม ไปแล้ว เพราะว่าหนังสือ เล่มที่สองของสมิธโด่งดังดั่งพลุแตกจนกลบไป หนังสือเรื่อง การสืบค้น ถึงลักษณะและต้นเหตุของความมั่งคั่งของชาติ (An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations) ตีพิมพ์เมื่อปี 1776 และสร้างชื่อให้ อาดัม สมิธ แบบนิรันดร ทั้งยังเป็นต้นตอแห่งสาขาวิชา เศรษฐศาสตร์ แม้ทุกวันนี้จะเหลือไม่กี่คนที่อ่าน ความมั่งคั่งของชาติ แต่คงไม่มใี ครปฏิเสธว่าหนังสือเล่มนีม้ ชี อื่ เสียงโด่งดังและเป็นงานคลาสสิก ทว่ามีนอ้ ยคนกว่านัน้ อีกทีร่ จู้ กั หรือเคยอ่านหนังสืออีกเล่มของ อาดัม สมิธ นั่นคือ ทฤษฎีว่าด้วยความคิดทางศีลธรรม ตั้งแต่ทำ�งานมาผมก็แทบไม่เคยอ่านเช่นกัน ซึ่งเป็นคำ�สารภาพ ทีน่ า่ กระอักกระอ่วนเล็กน้อยสำ�หรับนักเศรษฐศาสตร์ คุณคงคิดว่าผมเคย อ่านหนังสือเล่มหลักทัง้ สองของบิดาแห่งเศรษฐศาสตร์อนั เป็นสาขาวิชาชีพ ของผมเอง แต่ชว่ งก่อนหน้านีผ้ มมีความรูเ้ กีย่ วกับ ทฤษฎีวา่ ด้วยความคิด ทางศีลธรรม แต่เพียงเล็กน้อยเท่านัน้ อันทีจ่ ริงทีผ่ า่ นมาในวิชาชีพของผม ผมแทบไม่เคยได้ยินใครพูดถึงหนังสือเล่มนี้เลย ซึ่งเป็นเล่มที่ไม่ค่อยดัง เท่าไร เป็นหนังสือประหลาดที่มีชื่อน่าเกรงขาม ฟังเผินๆ แล้วไม่น่าจะ เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์เท่าใดนัก แต่แล้วความสัมพันธ์ของผมกับหนังสือ ทฤษฎีว่าด้วยความคิด ทางศีลธรรม ก็เปลีย่ นไป เมือ่ เพือ่ นของผมคือ แดน ไคลน์ (Dan Klein) แห่ง มหาวิทยาลัยจอร์จ เมสัน แนะว่าผมน่าจะไปสัมภาษณ์เขาเรือ่ งหนังสือเล่มนี้ ในพอดแคสต์รายสัปดาห์ของผมที่ชื่อ EconTalk ผมก็ตกลงด้วยดี และ คิดว่านีแ่ หละเป็นโอกาสทีผ่ มจะได้อา่ นหนังสือเล่มนีเ้ สียที อย่างน้อยทีส่ ดุ ผมก็มีหนังสือนี้อยู่เล่มหนึ่ง เพราะซื้อหามาเก็บไว้เมื่อสัก 30 ปีก่อนหน้า 16
How Adam Smith Ca n Ch a n ge Yo u r Li fe
โดยคิดว่านักเศรษฐศาสตร์สมควร เป็นเจ้าของ หนังสือสองเล่มนี้ ผมจึง หยิบหนังสือเล่มนี้ลงมาจากชั้น เปิดหน้าแรก และเริ่มอ่าน
แม้จะว่ากันว่ามนุษย์เห็นแก่ตัว แต่ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่ายังมี หลักการบางเรื่องอยู่ในธรรมชาติแห่งมนุษย์ ที่ท�ำให้เขาสนใจ ในโชคชะตาของคนอื่น และท�ำให้ความสุขของคนอื่นเป็นเรื่อง ส�ำคัญส�ำหรับเขา แม้เขาจะไม่ได้ประโยชน์แต่ประการใดจาก การนั้นเว้นเสียแต่ความยินดีที่ได้เห็นความสุขนั้น
สี่สิบสองคำ� <จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ> เป็นประโยคที่ยาว ถ้าวัดตามมาตรฐานปัจจุบัน ผมต้องอ่านประโยคเปิดในหนังสือของ สมิธสองรอบก่อนที่จะเข้าใจว่าเขากำ�ลังสื่ออะไร ประเด็นของเขาก็คือ แม้คนเราค่อนข้างเห็นแก่ตวั แต่พวกเขาก็ใส่ใจในความสุขของผูอ้ นื่ เช่นกัน ผมว่าเข้าท่าดี จึงอ่านต่อไปเรื่อยๆ ผมอ่านหน้าแรก หน้าสอง หน้าสาม แล้วก็ปิดหนังสือครับ นี่คำ�สารภาพเรื่องที่สอง ผมไม่รู้เรื่องเลยว่าสมิธพูด อะไรอยู่ หนังสือเล่มนี้กว่าจะเริ่มเรื่องจริงก็กลางเล่มแล้ว ไม่เหมือนกับ ความมั่งคั่งของชาติ ซึ่งน่าอ่านชวนติดตามตั้งแต่แรก ทฤษฎีว่าด้วย ความคิดทางศีลธรรม เดินเรือ่ งอืดอาด มีบางช่วงทีผ่ มรูส้ กึ กระอักกระอ่วน เริ่มนึกว่าไม่น่าตกลงไปสัมภาษณ์เลย ผมไม่แน่ใจว่าจะเข้าใจสาระสำ�คัญ ของหนังสือเล่มนี้ได้ถ่องแท้ไหม ผมกำ�ลังจะทำ�ให้ตัวเองขายหน้า เริ่มคิด จะขอยกเลิกนัดสัมภาษณ์กับแดน ว่าแล้วผมก็กัดฟันอ่านต่อไป หวังจะจับจุดให้ได้ ผมตั้งต้นใหม่ แต่แรกอีกครัง้ ในทีส่ ดุ ผมก็เริม่ เข้าใจว่าสมิธพยายามจะสือ่ อะไร อ่านไปได้ หนึ่ ง ในสามก็ เ ริ่ ม วางไม่ ล ง ผมติ ด หนั ง สื อ ไปด้ ว ยยามที่ ดู ลู ก สาวแข่ ง ฟุตบอล และก็ตั้งหน้าตั้งตาอ่านตอนช่วงพักครึ่งหรือช่วงที่ลูกไม่ได้ลง สนาม ผมเริม่ อ่านบางท่อนให้ภรรยากับลูกๆ ฟังทีโ่ ต๊ะอาหารเย็น โดยหวัง ว่าพวกเขาจะสนใจความคิดของสมิธเรื่องวิธีที่เราควรปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น R u ss R o b ert s
17
ตามขอบหนังสือเริ่มเต็มไปด้วยเครื่องหมายดาวไม่ก็เครื่องหมายตกใจ ในย่อหน้าที่ผมชอบ พอถึงตอนที่ผมอ่านหนังสือจบเล่ม ผมรู้สึกอยากปีน ขึ้นหลังคาไปตะโกนกู่ร้องว่า นี่คือสุดยอดแห่งหนังสือที่โลกลืม เป็นเพชร ในตมที่ทุกคนต้องอ่าน! หนังสือเล่มนีเ้ ปลีย่ นมุมมองทีผ่ มมีตอ่ ผูค้ น และทีส่ ำ�คัญยิง่ กว่านัน้ ก็คือมันเปลี่ยนวิธีที่ผมมองตัวเอง สมิธทำ�ให้ผมตระหนักถึงวิธีที่ผู้คน ปฏิสมั พันธ์ตอ่ กันในแบบทีผ่ มไม่เคยสังเกตมาก่อน เขาให้คำ�แนะนำ�ทีใ่ ช้ได้ ทุกยุคสมัยในการปฏิบัติต่อเงินทอง ความทะเยอทะยาน ชื่อเสียง และ ศีลธรรม เขาเล่าให้ผู้อ่านฟังถึงวิธีที่จะพบความสุข และวิธีที่พึงปฏิบัติ ต่อความสำ�เร็จและความล้มเหลวด้านวัตถุ นอกจากนี้เขายังอธิบายถึง หนทางสู่คุณงามและความดี ทั้งยังอธิบายว่าทำ�ไมนี่จึงเป็นหนทางที่เรา พึงเลือกเดิน สมิธช่วยให้ผมเข้าใจว่าทำ�ไม วิตนีย์ ฮิวสตัน (Whitney Houston) กับ มาริลนิ มอนโร (Marilyn Monroe) จึงไม่มคี วามสุข และทำ�ไมความตาย ของพวกเธอจึงทำ�ให้ผู้คนมากมายเศร้าโศก เขาช่วยให้ผมเข้าใจความรัก ทีผ่ มมีตอ่ ไอแพดและไอโฟนของตัวเอง ทำ�ไมการพูดคุยกับคนแปลกหน้า เรือ่ งปัญหาของตัวเองช่วยให้จติ ใจสงบขึน้ ได้ และทำ�ไมคนเราจึงมีความคิด ทีร่ า้ ยกาจได้ แต่กลับไม่คอ่ ยทำ�ตามความคิดเหล่านัน้ เขาช่วยให้ผมเข้าใจ ว่าทำ�ไมคนเราจึงชืน่ ชมบูชานักการเมือง และศีลธรรมถูกถักทอเข้าไปเป็น ส่วนหนึ่งของผืนโลกได้อย่างไร ถึงแม้เขาจะเป็นบิดาแห่งทุนนิยม และเขียนหนังสือที่มีชื่อเสียง ทีส่ ดุ ซึง่ อาจถือได้วา่ เป็นหนังสือทีด่ ที สี่ ดุ ทีอ่ ธิบายว่า ท�ำไมบางประเทศจึง ร�่ำรวยและท�ำไมบางประเทศจึงยากจน แต่ใน ทฤษฎีว่าด้วยความคิดทาง ศีลธรรม อาดัม สมิธ เขียนไว้อย่างตราตรึงและน่าเชื่อที่สุดในเรื่องความ ไร้ประโยชน์ของการตามล่าเงินทองด้วยหวังว่ามันจะน�ำมาซึ่งความสุข ทีนคี้ ณ ุ จะบวกลบเรือ่ งนีอ้ ย่างไรกับความจริงทีว่ า่ ไม่มใี ครเกิน อาดัม สมิธ ในการเป็นหัวหอกที่ท�ำให้ทุนนิยมกับความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว 18
How Adam Smith Ca n Ch a n ge Yo u r Li fe
เป็นสิ่งที่น่าเคารพ? นี่คือปริศนาที่ตัวผมพยายามจะคลี่คลายให้ได้เมื่อถึง ตอนจบของหนังสือเล่มนี้ นอกจากความกลวงเปล่าแห่งวัตถุนยิ มสุดโต่งแล้ว สมิธยังเข้าใจ ถึงศักยภาพในการหลอกตัวเองของคนเรา อันตรายของผลที่ไม่ได้ตั้งใจ ให้เกิด ความเย้ายวนแห่งชื่อเสียงและอำ�นาจ ขีดจำ�กัดในการใช้เหตุผล ของมนุษย์ และต้นตอที่มองไม่เห็นของสิ่งต่างๆ ที่ทำ�ให้ชีวิตเราซับซ้อน แต่ ก็ ยั ง เป็ น ระเบี ย บในบางครั้ ง ทฤษฎี ว่ า ด้ ว ยความคิ ด ทางศี ล ธรรม นำ�เสนอข้อสังเกตของสิง่ ทีเ่ ป็นแรงผลักดันเรา และสมิธยังเล่าวิธดี ำ�รงชีวติ ที่ดีอย่างเต็มภาคภูมิเป็นโบนัสของแถม ชีวิตของสมิธมีรายละเอียดที่ออกจะจืดชืด เขาเกิดที่เคิร์กคอดี ในสกอตแลนด์ เ มื่ อ ปี 1723 บิ ด าของเขาถึ ง แก่ ก รรมหลั ง จากนั้ น ไม่กี่เดือน ในวัย 14 ปี สมิธเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ จากนั้นก็ไป ที่ออกซฟอร์ด แล้วกลับมาสอนที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระ ก่อนที่จะได้รับ แต่งตั้งให้มาดำ�รงตำ�แหน่งศาสตราจารย์ด้านตรรกวิทยาที่มหาวิทยาลัย กลาสโกว์ และจากนั้นจึงเป็นศาสตราจารย์ด้านปรัชญาศีลธรรม มารดา กับป้าที่เป็นโสดย้ายตามมาอยู่กับเขาที่กลาสโกว์ ณ เคหสถานที่ทาง มหาวิทยาลัยจัดไว้ให้ ในปี 1763 เขาออกจากแวดวงวิชาการมาทำ�งาน ที่รายได้ดีกว่า ด้วยการเป็นอาจารย์ส่วนตัวให้ขุนนางหนุ่มผู้มั่งคั่งนามว่า ดยุกแห่งบักคลู นี่คงต้องเป็นจุดเปลี่ยนสำ�คัญสำ�หรับสมิธในวัย 40 ปี เป็นการ เปิดโอกาสให้เขาได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของคนรวยและผู้มีชื่อเสียงในยุคนั้น อย่างใกล้ชิด สมิธเดินทางไปยังฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์กับขุนนาง รุ่นเยาว์ร่วมสองปีครึ่ง ระหว่างทางได้พบปะกับปัญญาชนผู้ยิ่งใหญ่แห่ง ยุโรปในยุคนัน้ หลายคน เช่น วอลแตร์ (Voltaire), ฟร็องซัว เกเน (François Quesnay) และ อาน-โรแบร์-ฌักส์ ตูรโ์ ก (Anne-Robert-Jacques Turgot) หลังกลับจากยุโรป เขาใช้เวลาในทศวรรษถัดมาที่เคิร์กคอดีและจากนั้น ก็ที่ลอนดอนเพื่อเขียน ความมั่งคั่งของชาติ R u ss R o b ert s
19
ในปี 1778 สมิธย้ายจากลอนดอนไปอยู่ที่เอดินบะระกับมารดา และลูกพี่ลูกน้องอีกหลายคน ปีเดียวกันนั้นเองเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็น หนึง่ ในคณะกรรมาธิการศุลกากรทัง้ ห้าแห่งสกอตแลนด์ ทำ�ให้เขาเป็นผูน้ ำ� ในหน่วยงานราชการทีท่ ำ�หน้าทีป่ ราบปรามสินค้าหนีภาษีและจัดเก็บอากร หรือทีป่ จั จุบนั เราเรียกกันว่าพิกดั ศุลกากร เป็นไปได้วา่ ผูพ้ ทิ กั ษ์การค้าเสรี ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ของเศรษฐศาสตร์การเมืองท่านนี้ ใช้ชวี ติ ช่วงบัน้ ปลายเพือ่ ลดการไหลเวียนของสินค้าหนีภาษี และเก็บภาษี จากผู้นำ�เข้าส่งให้รัฐบาล นอกจากช่วงชีวติ ในยุโรปแล้ว ดูประหนึง่ ว่าสมิธจะมีชวี ติ ทีไ่ ม่คอ่ ย น่าตื่นเต้นนัก เขาสอนหนังสือ เป็นศาสตราจารย์ เป็นอาจารย์ส่วนตัว ซึ่งงานทั้งสามล้วนได้ชื่อว่าห่างไกลจากโลกแห่งความเป็นจริง โยเซฟ ชุมเพทาร์ (Joseph Schumpeter) เขียนไว้ว่า “ไม่มีหญิงรายใดมีบทบาท ในชี วิ ต ของเขาเว้ น เสี ย แต่ ผู้ เ ป็ น แม่ ทั้ ง ในด้ า นนี้ เ ฉกเช่ น เดี ย วกั น กั บ ด้านอืน่ ความฟูฟ่ า่ หรือความลุม่ หลงทัง้ หลายในชีวติ ล้วนเป็นเรือ่ งไกลตัว สำ�หรับเขา” ชุมเพทาร์อาจกล่าวเกินเลยไปนิด แต่วา่ สมิธก็ไม่เคยแต่งงาน เขาเสียชีวิตเมื่อปี 1790 ด้วยวัย 67 ปี นีค่ อื ชีวติ ด้านนอกของสมิธ แล้วชีวติ ด้านในของเขาเป็นอย่างไร? บันทึกหรือไดอารี่ทั้งหลายล้วนสาบสูญไปพร้อมกับมรณกรรมของสมิธ ด้วยเขาขอให้ทำ�ลายเอกสารส่วนตัวทุกชิ้น ในกรณีที่เหลือตกทอดมา จดหมายส่วนใหญ่ของเขาก็ประหยัดถ้อยคำ�ทั้งยังดูเป็นทางการ และเป็น เช่นนี้กระทั่งยามที่เขียนถึงเพื่อนรักนักปรัชญาร่วมชาติผู้ยิ่งใหญ่นาม เดวิด ฮูม (David Hume) เป็นไปได้อย่างไรทีบ่ คุ คลทีด่ มู ปี ระสบการณ์ชวี ติ จำ�กัดอย่างสมิธจะสามารถล้วงลึกถึงก้นบึง้ แห่งการปฏิสมั พันธ์ของมนุษย์ และขุดค้นปัญญาถ่องแท้ในเรื่องนี้ได้? เรารู้ว่าเขาทำ�ได้เพราะมี ทฤษฎีว่าด้วยความคิดทางศีลธรรม อยู่บนโลก หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1759 และพิมพ์ฉบับ ปรับปรุง 6 ครัง้ ครัง้ สุดท้ายคือปี 1790 อันเป็นปีทสี่ มิธเสียชีวติ และเป็นรอบ 20
How Adam Smith Ca n Ch a n ge Yo u r Li fe
ทีเ่ ขาปรับแก้เนือ้ หามากทีส่ ดุ เราอาจพูดได้วา่ ทฤษฎีวา่ ด้วยความคิดทาง ศีลธรรม เป็นหนังสือเล่มแรกและเล่มสุดท้ายของสมิธ ผมคิดว่าผมรูว้ า่ ทำ�ไมเขาจึงปรับแก้หนังสือเล่มนีใ้ นช่วงบัน้ ปลาย แม้เป็นช่วงที่เขาไม่ค่อยได้ทำ�งานวิชาการจริงจังและไม่มีงานที่ยังถูก พูดถึงในทุกวันนี้ เมื่อคุณเริ่มคิดถึงแรงผลักดันรวมถึงด้านที่สดใสและ ด้านมืดของมนุษยชาติ อันเป็นสิ่งที่ฟอล์กเนอร์ (William Faulkner) เรียกว่า “หัวใจของมนุษย์ที่ขัดแย้งกับตัวของมันเอง” ก็เป็นเรื่องยาก ที่จะผละไปคิดเรื่องอื่น ความพยายามที่จะเข้าใจเพื่อนบ้านและเข้าใจ ตนเองนั้นไม่เคยล้าสมัย ทุกๆ วันจะมีข้อมูลชุดใหม่ให้ขบคิดและสำ�รวจ เสมอหากคุณสนใจในเรื่องการปฏิสัมพันธ์ทั้งปวงกับเพื่อน ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และคนแปลกหน้า เวลาอ่าน ทฤษฎีวา่ ด้วยความคิดทางศีลธรรม คุณจะตระหนักว่า ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความหมายของชีวิต และพฤติกรรมของคน ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปจากศตวรรษที่ 18 สักเท่าใด ผู้ที่ปราดเปรื่องพอจะตีโจทย์ ข้ามสองศตวรรษได้ เขาจะดึงความสนใจของคุณ ทั้งยังสามารถสอนคุณ เรื่องที่เกี่ยวกับตัวคุณเอง และแสดงให้เห็นว่าอะไรคือสิ่งที่สำ�คัญ ทีน่ า่ อภิรมย์มากกว่านัน้ คือสมิธเขียนหนังสือได้เก่งจริง ทัง้ เสียดสี ขบขัน และมีโวหารเฉียบแหลม ในยามที่เขาติดเครื่องและเริ่มเตือนคุณ ไม่ให้ยึดติดกับแก็ดเจ็ตอู้ฟู่โก้เก๋ในกระเป๋ามากไป คุณจะรู้สึกเหมือนว่า ได้ ค้ น พบบ่ อ เกิ ด แห่ ง ภู มิ ปั ญ ญาลี้ ลั บ เข้ า ให้ แ ล้ ว มั น เหมื อ นกั บ การ ค้นพบว่า บรูซ เวย์น ชายที่ประสบความสำ�เร็จผู้เจนโลกคนนั้น มีสิ่งที่จะ แบ่งปันให้กับโลกอีกมาก และด้านที่เขาเก็บงำ�ซ่อนไว้อาจน่าสนใจยิ่งกว่า มุมที่เขานำ�เสนอต่อสาธารณชนเสียอีก แล้วทำ�ไม ทฤษฎีว่าด้วยความคิดทางศีลธรรม ถึงได้ลี้ลับเช่นนี้? แผนที่นำ�ทางสู่ความสุข ความดี และการรู้จักตนเองของสมิธเป็นแผนที่ เก่าแก่ ภาษาออกจะโบราณสะท้อนต้นตอว่ามาจากศตวรรษที่ 18 ยิ่งไป กว่านี้คือแผนที่นั้นพาเราผ่านเส้นทางคดโค้งยากเย็นแสนเข็ญ บางครั้ง R u ss R o b ert s
21
หนังสือเล่มนีก้ เ็ ดินย้อนกลับไปเส้นทางเดิม และคุณก็พบว่าตัวเองกลับไป ตรงที่ที่เคยไปมาแล้วก่อนหน้า ไม่ใช่หนังสือที่อ่านได้ง่ายเลยสำ�หรับ นักอ่านยุคใหม่ สมิ ธ กำ�ลั ง เขี ย นงานนิ พ นธ์ ท างวิ ช าการ ประชั น ปั ญ ญากั บ ผู้ประพันธ์รายอื่นที่ต่างมีทฤษฎีของตนในเรื่องแรงผลักดันของมนุษย์ นักประพันธ์เหล่านี้ เช่น เบอร์นาร์ด แมนเดอวิลล์ (Bernard Mandeville), ฟรานซิส ฮัตชิสัน (Francis Hutcheson) และกลุ่มสโตอิก กับวิสัยทัศน์ ของพวกเขาในเรื่องมนุษยชาติ ต่างเป็นสิ่งที่พวกเราส่วนใหญ่หลงลืมไป นานแล้ว สมิธใช้พื้นที่มากพอสมควรทีเดียวเพื่ออธิบายและทำ�ให้เราเชื่อ ว่าทฤษฎีกับความเข้าใจของเขาเหนือชั้นกว่าคู่แข่ง ดังนั้นหนังสือเล่มนี้ จึงไม่ได้เหมือนคู่มือการดูแลตัวเองสมัยใหม่นัก ผมจะมีความสุขยิ่งหากมีคนอ่าน ทฤษฎีว่าด้วยความคิดทาง ศีลธรรม มากกว่านี้ ทุกวันนีย้ งั มีฉบับทีพ่ มิ พ์จำ�หน่ายกันในราคาคุม้ ค่า หรือ คุณจะหาอ่านฟรีที่ EconLib.org ก็ได้ เสน่หข์ อง ทฤษฎีวา่ ด้วยความคิดทาง ศีลธรรม อยูท่ คี่ ณ ุ ลักษณะกวีนพิ นธ์ในภาษาของสมิธ ท่วงทีการเขียนของ เขานัน้ ยอดเยีย่ ม นีเ่ ป็นปัจจัยหนึง่ ทีท่ ำ�ให้เขาประสบความสำ�เร็จ แต่ปถุ ชุ น ในศตวรรษที่ 21 อย่างเราท่านอาจพบว่าร้อยแก้วยุคเก่าอ่านยาก ประโยค มักจะยาวและโครงสร้างการเขียนก็ไม่เอื้อให้สมองเราย่อยได้ง่ายนัก หากไม่เคยผ่านการฝึกฝนมาก่อน ต้องใช้เวลานานและความอดทนมาก ถ้าจะอ่าน แต่ถ้าคุณออกจะยุ่ง เป้าหมายประการหนึ่งของผมในที่นี้ คือการแบ่งปันความเข้าใจของสมิธพร้อมกับข้อเขียนบางส่วนที่ดีที่สุด เผื่อว่าท่านไม่มีโอกาสอ่านงานต้นฉบับได้จนจบครบถ้วน พันธกิจอีกประการของผมคือการนำ�เสนอความคิดของสมิธ ในบริบทปัจจุบนั และดูวา่ มันจะเอือ้ ประโยชน์แก่คณ ุ และผมได้อย่างไรบ้าง พวกเราต่างมองว่าตนเองเป็นคนพิเศษ และผมแน่ใจว่าคุณเองก็คดิ เช่นนี้ แต่ขณะเดียวกันพวกเราก็มอี ะไรทีเ่ หมือนกันมากอยู่ เราต่างมีจดุ แข็งและ จุดอ่อนหลายประการทีต่ รงกัน ดังนัน้ เมือ่ สมิธสอนอะไรบางอย่างเกีย่ วกับ 22
How Adam Smith Ca n Ch a n ge Yo u r Li fe
ตัวผมเอง เขาก็สอนผมบางเรื่องเกี่ยวกับตัวคุณเช่นกัน และตรงนี้เองที่ ช่วยให้ผมปฏิบตั ติ อ่ คุณด้วยวิธที คี่ ณ ุ พึงปรารถนา และคุณก็พอจะได้ภาพ เช่นกันว่าควรปฏิบัติต่อผมอย่างไร ยิ่งไปกว่านี้ สมิธพยายามทำ�ความ เข้าใจว่าอะไรทำ�ให้เรามีความสุข และอะไรที่ทำ�ให้ชีวิตมีความหมาย การเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ยังมีประโยชน์อยู่มาก ผมคิดหนักมากว่าจะนำ�เสนอบทเรียนของสมิธอย่างไรให้เข้าใจ ง่าย กลยุทธ์ปกติคงเป็นการไล่เรียงเนื้อหาไปตามการเล่าเรื่องของสมิธ ทว่าเรื่องเล่าของเขาไม่ได้มีโครงสร้างเป็นลำ�ดับชัดเจน หลายเรื่องที่เขา ให้ความสำ�คัญก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ผู้อ่านยุคใหม่สนใจ ดังนั้นผมจึงนำ�ความ เข้าใจของสมิธที่สอดคล้องกับยุคสมัยมากที่สุดมาจัดระเบียบเสียใหม่ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นกว่างานเขียนต้นฉบับ นอกจากนี้ผมยังอ้างอิงถึง ถ้อยคำ�จริงของสมิธโดยตรงมากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะทำ�ได้ ดีวา่ ผมยกถ้อยคำ�ทีผ่ ม ชอบมากที่สุดใน ทฤษฎีว่าด้วยความคิดทางศีลธรรม มาได้เกือบทั้งหมด และตรงไหนที่จำ�เป็น ผมจะแยกองค์ประกอบออกมา และอธิบายสิ่งที่ สมิธอ้างอิงถึงรวมทั้งลักษณะการเขียนเฉพาะตัวของสุภาพบุรุษผู้มีการ ศึกษาแห่งปี 1759 ในกรณีที่ผมไม่ได้แจงหมายเหตุไว้เป็นอื่น ถ้อยคำ�ตรง ทั้งหมดผมยกมาจาก ทฤษฎีว่าด้วยความคิดทางศีลธรรม และภายใน ถ้อยคำ�ที่ผมยกมาโดยตรงเหล่านั้น บางครั้งผมจะใส่วงเล็บ [แบบนี้] ไว้ เพื่ออธิบายศัพท์หรือวลีโบราณ คุณอาจสงสัยว่าหนังสือจากศตวรรษ 18 ที่ว่าด้วยศีลธรรมและ ธรรมชาติมนุษย์จะไปเกี่ยวข้องประการใดกับเศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็นมรดก ตกทอดอันลือลัน่ ทีส่ มิธทิง้ ไว้ นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมในปัจจุบนั ทำ�งาน บนพรมแดนระหว่างเศรษฐศาสตร์กับจิตวิทยา ซึ่งเป็นพื้นที่ชำ�นาญการ ของสมิธ แต่นกั เศรษฐศาสตร์ยคุ ศตวรรษที่ 21 ส่วนใหญ่พยายามพยากรณ์ อัตราดอกเบี้ย เสนอแนะนโยบายเพื่อลดการว่างงานและผลกระทบจาก การว่างงาน ไม่กค็ าดการณ์ตวั เลขจีดพี ขี องไตรมาสถัดไป บางครัง้ พวกเขา ก็พยายามอธิบายว่าทำ�ไมตลาดหุ้นถึงขึ้นหรือลง แต่พวกเขาก็ไม่ได้ R u ss R o b ert s
23
เก่งกาจเท่าไรในเรื่องเหล่านี้ และบ่อยครั้งมักขัดแย้งกันเองในประเด็น ที่ว่านโยบายที่ดีที่สุดต่อการผลักดันเศรษฐกิจคืออะไร สิ่งนี้ชักนำ�ให้คนที่ ไม่ใช่นกั เศรษฐศาสตร์สรุปว่า เศรษฐศาสตร์เป็นเรือ่ งเกีย่ วกับเงินๆ ทองๆ รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ไม่ใช่นักพยากรณ์ที่น่าไว้วางใจ และไม่ได้เป็น วิศวกรชั้นเลิศในการกำ�กับหางเสือเครื่องจักรเศรษฐกิจ ทีโ่ ชคร้ายคือสิง่ ทีส่ อื่ และประชาชนคาดหวังจากนักเศรษฐศาสตร์ นั้น เป็นเรื่องที่เราไม่เอาถ่านที่สุด นั่นคือเราไม่อาจให้คำ�ตอบแม่นยำ� ต่อคำ�ถามที่เกิดจากความคิดว่าเศรษฐกิจนั้นเปรียบเสมือนนาฬิกาหรือ เครื่องจักรขนาดยักษ์ที่สามารถตั้งค่าหรือปรับเครื่องเคราได้เที่ยงตรง แม่นยำ�ประมาณหนึง่ การทีว่ ชิ าชีพผมไม่อาจคาดการณ์ถงึ ภาวะเศรษฐกิจ ถดถอยครั้งใหญ่ <Great Recession หมายถึงวิกฤตการเงินปี 20082009> ไม่อาจหาข้อตกลงร่วมกันได้ว่าหนทางแก้ปัญหาคืออะไร และ ไม่สามารถคาดการณ์เส้นทางสู่การฟื้นตัว น่าจะทำ�ให้นักเศรษฐศาสตร์ ทั้งหลายรู้จักเจียมเนื้อเจียมตัวได้บ้าง แต่ที่จริงเศรษฐศาสตร์มีประโยชน์มากทีเดียว เพียงแต่ไม่ได้มี ประโยชน์มากนักในเรื่องที่ผู้คนทั่วไปคาดหวัง เมื่อผมบอกใครๆ ว่าผม เป็นนักเศรษฐศาสตร์ เขามักตอบกลับมาว่า “ต้องมีประโยชน์มากแน่ๆ เวลาคิดภาษี” หรือไม่ก็ “คุณต้องมีความรู้เรื่องตลาดหุ้นมหาศาลแน่ๆ” โธ่ ผมไม่ได้เป็นนักบัญชีหรือโบรกเกอร์นะครับ ผมอธิบายให้เขาฟัง แต่ สิ่ ง ที่ เ ป็ น ประโยชน์ อ ย่ า งหนึ่ ง ที่ ผ มเรี ย นรู้ จ ากเศรษฐศาสตร์ คื อ ให้ระแวดระวังคำ�แนะนำ�ของโบรกเกอร์ที่ว่าหุ้นตัวไหนจะเป็นดาวรุ่ง พุ่งแรง การช่วยให้คุณรอดตัวไม่ขาดทุนนั้น ไม่เร้าใจเท่าคำ�สัญญาว่าคุณ จะรวยเป็นล้าน กระนั้นมันก็ยังมีค่าอยู่ดี แต่ประเด็นที่แท้จริงก็คือ เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่ สำ�คัญกว่าเงิน เศรษฐศาสตร์ช่วยให้คุณเข้าใจว่าเงินไม่ใช่สิ่งเดียวที่สำ�คัญใน ชีวิต เศรษฐศาสตร์สอนคุณว่าการตัดสินใจเลือกนั้นต้องแลกกับการสละ 24
How Adam Smith Ca n Ch a n ge Yo u r Li fe
บางอย่างไป เศรษฐศาสตร์ช่วยให้คุณตระหนักถึงความซับซ้อน และช่วย ให้เข้าใจว่าทำ�ไมบางทีการกระทำ�หรือผู้คนที่ดูไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันเลย กลับพัวพันกันยุง่ ไปหมด ความเข้าใจและข้อคิดต่างๆ เหล่านีป้ รากฏอยูท่ วั่ ใน ทฤษฎีวา่ ด้วยความคิดทางศีลธรรม เงินเป็นสิง่ ทีด่ ี แต่การรูว้ า่ จะปฏิบตั ิ กับเงินอย่างไรนั้นดียิ่งกว่า มีนักศึกษาคนหนึ่งเคยบอกผมว่าอาจารย์ของ เธอพูดว่า เศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาวิธีใช้ชีวิตให้คุ้มค่ามากที่สุด ตรงนี้ หลายท่านอาจรู้สึกสะดุดใจ กระทั่งคุณบางคนที่เรียนเศรษฐศาสตร์ก็อาจ บอกว่าเป็นคำ�กล่าวอ้างที่ไม่เข้าท่า แต่ชีวิตล้วนเป็นเรื่องของการเลือก การใช้ชีวิตให้คุ้มค่ามากที่สุดหมายความว่า เราต้องเลือกให้ดีและชาญ ฉลาด เราต้องตัดสินใจว่าจะเลือกอะไรโดยตระหนักรู้ว่าการเลือกเดิน ไปตามถนนเส้นหนึ่ง แปลว่าจะไม่ได้เดินในถนนอีกเส้น และตระหนักรู้ ว่าการเลือกของผมปฏิสัมพันธ์อย่างไรกับตัวเลือกของคนอื่น นี่ละครับ คือสารัตถะของเศรษฐศาสตร์ ถ้าคุณต้องการจะเลือกให้ดี คุณก็ต้องเข้าใจตัวเองและผู้คน รอบข้าง ถ้าคุณต้องการใช้ชวี ติ ให้คมุ้ ค่ามากทีส่ ดุ การเข้าใจสิง่ ทีส่ มิธเสนอ ใน ทฤษฎีว่าด้วยความคิดทางศีลธรรม อาจสำ�คัญยิ่งกว่าความเข้าใจของ สมิธใน ความมั่งคั่งของชาติ เอาล่ะ มาเริ่มกันเลยดีกว่า
R u ss R o b ert s
25
2 วิธีรู้จักตนเอง
บ่ายแก่วันหนึ่งคุณนั่งอยู่ที่โต๊ะ ปั่นสเปรดชีตข้อเสนอที่ต้องท� ำ ให้เสร็จคืนนี้ ขณะเดียวกันคุณก็คดิ ประดิษฐ์ถอ้ ยค�ำส�ำหรับจดหมายปะหน้า ที่ต้องส่งคู่กับสเปรดชีตนั้น และลึกลงไปมีอีกความคิดหนึ่งที่คอยเตือน คุณว่า ลูกชายวัย 14 ปีต้องไปแข่งบาสเกตบอลคืนนี้ และไม่แน่ใจว่า ลูกจะเดินทางไปอย่างไร คุณก�ำลังเติมข้อมูลอีกหนึ่งคอลัมน์ในสเปรดชีตพร้อมกับสงสัย ว่าภรรยาจะเป็นคนพาลูกไปแข่งคืนนี้ได้ไหม ทันใดนั้นเพื่อนร่วมงาน คนหนึ่งก็โผล่หน้าเข้ามาในห้องท�ำงานและถามว่าคุณได้ดูข่าวหรือไม่ เขาบอกว่าเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในประเทศจีน คร่าชีวิตผู้คนไปนับหมื่น และยังมีคนทีส่ ญ ู หายอีกพอๆ กัน คุณตอบว่าช่างเป็นข่าวทีเ่ ลวร้าย ใบหน้า ของคุณแสดงถึงความเศร้าโศก คุณอาจเปิดเว็บเข้าไปเพือ่ หารายละเอียด เพิ่มเติม แวบหนึ่งก็คิดไปถึงโรงงานของบริษัทคุณในประเทศจีน โรงงาน จะโดนด้วยไหมนะ? คุณกลับไปท�ำงานในสเปรดชีตต่อ ผ่านไปห้านาที ภรรยาของคุณ R u ss R o b ert s
27
ก็โทรศัพท์เข้ามา เธอไปส่งลูกได้และจะจัดการเรื่องรถเอง เธอจะส่ง ข้อความมาหาเมื่อลูกชายท�ำแต้มได้ และจะคอยรายงานความคืบหน้าให้ เยี่ยมไปเลย คุณคิดในใจ ตอนนี้คุณก็อยู่ท�ำงานดึกได้เพื่อท�ำข้อเสนอ ให้เสร็จ คงจะเป็นเรื่องดีที่ได้กลับไปกินข้าวเย็นที่บ้านโดยไม่มีรายงาน คั่งค้างมารบกวนใจ แล้วคุณก็ลืมเรื่องคนจีนที่เสียชีวิตไปเสียสนิท จะว่าไปแล้วก็ไม่เชิง คุณไม่ได้ลืมสนิทหรอก หากเพื่อนร่วมงาน อีกคนแวะเข้ามาหลังจากนีแ้ ละถามว่าได้ขา่ วหรือไม่ คุณก็จะตอบว่ารูแ้ ล้ว น่าเศร้าจริงๆ เป็นไปได้ว่าเมื่อพูดเรื่องนี้ครั้งที่สอง คุณอาจคิดบริจาคเงิน ช่วยเหลือผ่านทางสภากาชาด และอาจบริจาคจริงๆ แต่อกี ไม่กนี่ าทีให้หลังแม้วา่ ยังไม่ลมื เรือ่ งชาวจีนเคราะห์รา้ ย คุณ จะไม่ได้คิดถึงพวกเขาแล้ว คุณจะคิดเรื่องท�ำข้อเสนอให้เสร็จ และตั้งตา รอเวลาอาหารเย็นกับข่าวเรื่องเกมการแข่งของลูกชาย เมื่อภรรยาคุณ ส่งข้อความมาบอกว่าลูกชายเล่นได้ดีทีเดียว หมดครึ่งแรกทีมน�ำอยู่ ห้าแต้ม ความยินดีกับผลงานของลูกชายจะไม่ลดน้อยถอยลงจากข่าว ผูเ้ สียชีวติ ชาวจีนนับหมืนิ่ และบรรดาครอบครัวทีก่ ำ� ลังดิน้ รนตามหาญาติที่ สูญหาย ความเจ็บปวดของพวกเขาจะพยายามแทรกตัวเข้าไปในจิตส�ำนึก ของคุณ เมื่อคุณนอนข้างภรรยาในคืนนั้น และเธอเอ่ยว่า น่าเศร้านะ ข่าว แผ่นดินไหวนั่นน่ะ คุณจะเออออและหลับไปโดยที่ไม่คิดถึงมันมากไปกว่า ชั่วขณะหนึ่ง ไม่มีสิ่งใดมาแผ้วพานการพักผ่อนของคุณ แต่ลองคิดถึงล�ำดับเหตุการณ์อกี แบบดู เทีย่ วนีเ้ มือ่ เพือ่ นร่วมงาน ของคุณโผล่หวั เข้ามาในห้องท�ำงาน เขาแจ้งว่าห้องแล็บโทรศัพท์มา คุณรู้ ว่าเขาโทร.มาเรื่องอะไร นิ้วของคุณมีตุ่มอะไรสักอย่างงอกออกมา และ โทรศัพท์นั้นเป็นเรื่องชิ้นเนื้อที่ตัดไปตรวจ หัวใจของคุณเต้นแรงขณะที่ คุณโทรศัพท์กลับ ฉันเป็นมะเร็ง ต้องตัดนิ้วแน่แล้ว ก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร แค่นิ้วก้อย ถ้าจะเป็นเซียนกีตาร์ก็ต้อง พยายามหนักขึ้น แต่ไม่เป็นไร ที่จริงคุณเองไม่ได้เล่นกีตาร์ด้วยซ�้ำ ไม่ได้ 28
How Adam Smith Ca n Ch a n ge Yo u r Li fe
กระทบเรื่ อ งอื่นมากมายอะไร และหมอก็ยืนยันว่าไม่ต้องรักษาด้วย วิธีอื่นเพิ่มเติม หมอจัดคิวให้แล้วในวันรุ่งขึ้น คืนนั้นคุณนอนไม่หลับ กระวนกระวาย หวาดกลัว และหวังให้เรื่องทั้งหมดเป็นเพียงฝันร้าย ตอนที่ อาดัม สมิธ เขียนเรื่องนี้ในปี 1759 เขาตั้งข้อสังเกตว่า เรารูส้ กึ แย่กบั ความเป็นไปได้ทจี่ ะสูญเสียนิว้ ก้อย มากกว่าทีจ่ ะรูส้ กึ แย่เมือ่ คนแปลกหน้ามากมายล้มตายในทีห่ า่ งไกล นีค่ อื ธาตุแท้ของมนุษย์ ปี 1759 เป็นเช่นใด ทุกวันนีก้ เ็ ป็นเช่นเดิม โทรทัศน์และเว็บไซต์ทำ� ให้โศกนาฏกรรม ทางไกลสั่นสะเทือนใจกว่ายุคสมิธ แต่ว่าความเข้าใจลึกซึ้งของสมิธก็ยัง จริงแท้ เขาเริ่มต้นโดยจินตนาการถึงแผ่นดินไหว ให้เราลองคิดว่ามหาจักรวรรดิจนี ทีม่ ปี ระชากรอาศัยมหาศาลนัน้ ถูกแผ่นดินไหวกลืนกิน และให้เราลองพิจารณาว่าบุรุษแห่ง มนุ ษ ยชาติ ใ นยุ โ รปที่ ไ ม่ ไ ด้ เ กี่ ย วข้ อ งแต่ ป ระการใดกั บ พื้ น ที่ แห่งนั้นในโลก จะได้รับผลกระทบเช่นใดเมื่อรับรู้เรื่องภัยพิบัติ ดังกล่าว
แล้วบุรุษแห่งมนุษยชาติในยุโรปจะมีปฏิกิริยาอย่างไร? ข้าพเจ้าคาดว่า ประการแรกสุด บุรุษผู้นั้นคงจะแสดงความ เสียใจอย่างสุดซึ้งต่อเคราะห์กรรมที่ประชาชนเหล่านั้นประสบ เขาคงจะขบคิดด้วยใจเศร้าหมองทั้งในเรื่องความเปราะบาง ของชีวติ มนุษย์ และความทระนงแห่งแรงงานทัง้ ปวงของมนุษย์ ที่ล้วนถูกกวาดล้างท�ำลายไปในบัดดล อาจเป็นไปได้ว่าหากเขา เป็นนักคิดอ่านคาดการณ์ เขาอาจครุ่นคิดใช้เหตุผลนานาว่า ภัยพิบัตินี้จะส่งผลอย่างไรต่อการพาณิชย์ในยุโรป แลการค้า กอปรกับธุรกิจทั้งปวงในโลก
R u ss R o b ert s
29
ดังทีส่ มิธกล่าวไว้ จริงอยูว่ า่ เราคงแสดงความห่วงใยและเศร้าโศก ทั้งอาจครุ่นคิดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น เราจะโอดครวญไปกับเหตุการณ์ และแสดงสีหน้าอย่างที่ควร แต่สิ่งเหล่านี้มาเร็วไปเร็ว และเมื่ อ ปรั ช ญาแสนดี เ หล่ า นี้ ผ ่ า นไป เมื่ อ ความรู ้ สึ ก นึ ก คิ ด ที่เป็นมนุษย์ได้แสดงออกพอควรแล้ว เขาก็จะด�ำเนินธุรกิจ หรือแสวงหาความสุขของตนต่อไป อาจพักผ่อนหรือหย่อนใจ ด้ ว ยความสะดวกดายและสงบในท� ำ นองเดิ ม ประหนึ่ ง ว่ า อุบัติการณ์เช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จะดีชั่วอย่างไร ชีวิตก็ดำ� เนินไป แย่หน่อยที่การประเมินของสมิธ ช่างเป็นจริงส�ำหรับพวกเราทั้งหลายเหลือเกิน จากนั้นสมิธจึงจินตนาการ ว่าเราจะมีปฏิกิริยาอย่างไรถ้าต้องสูญเสียนิ้วก้อยของตัวเองไป ภัยพิบตั อิ นั กระจิรดิ ทีส่ ดุ ทีอ่ าจเกิดขึน้ กับบุรษุ ผูน้ นั้ จะสร้างความ เดือดเนื้อร้อนใจได้มากกว่า หากเขาจ�ำต้องเสียนิ้วก้อยไปในวัน รุง่ ขึน้ คืนนัน้ เขาจะนอนไม่หลับ แต่ตราบใดทีเ่ ขาไม่เคยเห็นหน้า ผูค้ นนับล้านทีอ่ ยูไ่ กลห่างออกไป เขาก็จะนอนกรนอย่างสนิทใจ ไร้กังวลที่สุดบนซากของเพื่อนมนุษย์นับโกฏิแสน และการ พล่าผลาญชีวติ ผูค้ นมหาศาลเช่นนีก้ เ็ ป็นเรือ่ งทีไ่ ม่นา่ สนใจเท่าใด ส�ำหรับเขา เมื่อเทียบกับเคราะห์ร้ายอันน้อยนิดของตัวเอง
ความสามารถของเราในการรับรู้ความเจ็บปวดของคนอื่นนั้น น้อยนิดยิง่ เมือ่ เทียบกับความสามารถในการรับรูค้ วามเจ็บปวดของตัวเอง ผมรับประเด็นนี้ได้ แต่เราให้ความส�ำคัญกับนิ้วก้อยของตัวเองมากกว่า ความตายของ “ผู้คนมหาศาล” จริงหรือ? ตรงนี้เป็นจุดที่ยอมรับได้ยาก สักหน่อย เหมือนกับสมิธจะพูดว่าเราเห็นแก่ประโยชน์สว่ นตัวอย่างวิปริต 30
How Adam Smith Ca n Ch a n ge Yo u r Li fe
ตรงนี้ ดู จ ะตอกย�้ ำ ทั ศ นะที่ เ ชื่ อ กั น ทั่ ว ไปว่ า สมิ ธ มองว่ า โลก ขับเคลือ่ นด้วยความเห็นแก่ตวั บ่อยครัง้ ทีส่ มิธถูกล้อว่าเป็นรุน่ พีช่ าวสกอต ของ อายน์ แรนด์ (Ayn Rand) ทีน่ อกจากเขียนเรือ่ ง Atlas Shrugged แล้ว ยังเขียนเรือ่ ง คุณความดีของความเห็นแก่ตวั (The Virtue of Selfishness) ด้วย ตัวสมิธสาธยายถึงคุณความดีหลายเรื่องไว้ใน ทฤษฎีความคิดทาง ศีลธรรม แต่ไม่เอ่ยถึงคุณความดีของความเห็นแก่ตัวเลย สิง่ ทีส่ มิธน�ำเสนอไว้ใน ความมัง่ คัง่ ของชาติ หนังสือชือ่ ดังของเขา คือคนเราเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก (self-interested) ซึ่งไม่ใช่ สิ่งเดียวกับความเห็นแก่ตัว (selfish) ในช่วงต้นของ ความมั่งคั่งของชาติ สมิธอธิบายถึงอ�ำนาจของความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง (specialization) ในการสร้างความรุง่ เรือง พูดในแง่อดุ มคติแล้ว เราเชีย่ วชาญเฉพาะทางและ เก่งด้านใดด้านหนึง่ โดยต้องพึง่ โอกาสในการได้มาซึง่ สิง่ อืน่ ทีต่ นปรารถนา ผ่านทางคนอืน่ แต่ถา้ เราทุกคนต่างเห็นแก่ประโยชน์สว่ นตนเป็นหลักแล้ว เหตุใดเพือ่ นบ้านหรือคนแปลกหน้าถึงช่วยผมด้วยการให้สงิ่ ทีผ่ มหาไม่ได้ ด้วยตัวเอง? ค�ำตอบที่เรียบง่ายของสมิธคือ เพื่อนบ้านจะช่วยผมหากเขา ได้บางอย่างตอบแทน การค้าขายคือวิธีที่เรารักษาอ� ำนาจแห่งความ เชีย่ วชาญเฉพาะทางเอาไว้ เพราะมันคือการเสนอบางอย่างเพือ่ ตอบแทน ความช่วยเหลือของเพื่อนบ้าน ต่อไปนี้คือถ้อยค�ำของสมิธเรื่องสารัตถะ การค้าที่ปรากฏใน ความมั่งคั่งของชาติ ใครก็ตามที่น�ำเสนอสินค้าให้ผู้อื่น เหมือนจะเอ่ยว่าให้สิ่งที่เรา ต้องการ แล้วท่านจะได้สิ่งที่ท่านต้องการ นี่คือความหมายของ ข้อเสนอเช่นนี้ และด้วยวิธีนี้เองที่เราได้ของจากผู้อื่นมาเก็บไว้ ในปริมาณที่มากเกินต้องการ
จากนั้นสมิธก็ว่าต่อไปด้วยประโยคอันเลื่องชื่อที่สุด
R u ss R o b ert s
31
ไม่ใช่ด้วยคุณธรรมของพ่อค้าเนื้อ ช่างบ่มเบียร์ หรือช่างท� ำ ขนมปัง ที่ท�ำให้เราได้มีอาหารเย็น แต่เป็นเพราะความใส่ใจ ในประโยชน์แห่งตนของพวกเขาต่างหาก เราไม่ได้รับมือกับ ความเป็นมนุษย์ของพวกเขา แต่ต่อรองกับความรักตนเองของ พวกเขา เราไม่เอ่ยกับเขาเรือ่ งความจ�ำเป็นของตัวเอง แต่เอ่ยถึง ประโยชน์ที่จะตกแก่พวกเขาต่างหาก
น้อยคนที่จะไม่เห็นด้วยกับแง่มุมที่เป็นธรรมชาติพื้นฐานของ มนุษย์เช่นนี้ แม้จะจ�ำยากไปหน่อย นักศึกษาหลายคนให้ผมช่วยดูจดหมาย ที่พวกเขาส่งแนบไปกับใบสมัครงาน พวกเขาพรรณนาถึงความใฝ่ฝัน ที่จะท�ำงานกับบริษัท XYZ และพูดแต่ว่าการท�ำงานที่บริษัท XYZ มี ความหมายต่อตนเพียงใด ดูเหมือนนักศึกษาเหล่านีค้ ดิ ว่าความปรารถนา ที่จะท�ำงานกับ XYZ ก็เพียงพอแล้วที่ XYZ จะปรารถนาในตัวพวกเขา ผมส่งเสริมให้นักศึกษาครุ่นคิดและรับมือกับความรักตนเองของนายจ้าง ไม่ใช่แต่กับความเป็นมนุษย์ของพวกเขา ผมแนะให้นักศึกษาแจกแจง เหตุผลว่า XYZ จะได้ประโยชน์อะไรจากการจ้างพวกเขา เช่น ทักษะของคุณ ช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายของ XYZ อย่างไร? คุณพอจะรู้ไหมว่าเป้าหมาย เหล่านัน้ มีอะไรบ้าง? ความคิดทีว่ า่ ผูค้ นสนใจเรือ่ งของตัวเองมักเป็นเรือ่ งดี ที่พึงจ�ำไว้หากต้องการให้เขาท�ำอะไรสักอย่างเพื่อตอบแทนคุณ แต่นั่นก็เป็นเรื่องของตลาดการจ้างงาน ซึ่งเป็นด้านที่ค่อนข้าง เป็นการพาณิชย์อยูแ่ ล้วในชีวติ เรา ยังมีสถานการณ์อนื่ อีกมากทีเ่ ราคิดถึง เรือ่ งอืน่ นอกเหนือไปจากตัวเอง ประโยคแรกสุดของ ทฤษฎีวา่ ด้วยความคิด ทางศีลธรรม เสนอประเด็นนี้ไว้ แม้จะว่ากันว่ามนุษย์เห็นแก่ตัว แต่ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่ายังมี หลักการบางเรื่องอยู่ในธรรมชาติแห่งมนุษย์ที่ท�ำให้เขาสนใจ ในโชคชะตาของคนอื่น และท�ำให้ความสุขของคนอื่นเป็นเรื่อง 32
How Adam Smith Ca n Ch a n ge Yo u r Li fe
ส� ำ คั ญ ส� ำ หรั บ เขา แม้ เ ขาจะไม่ ไ ด้ ป ระโยชน์ แ ต่ ป ระการใด จากการนั้นเว้นเสียแต่ความยินดีที่ได้เห็นความสุขนั้น เราสนใจไยดีผู้อื่นกระทั่งยามที่เราไม่ได้ประโยชน์ใดๆ แต่เรา สนใจมากแค่ไหน? ตัวอย่างทีส่ มิธยกมาเกีย่ วกับแผ่นดินไหวในประเทศจีน ดูจะสอดคล้องกับมุมที่เห็นแก่ตัวสุดๆ ในธรรมชาติของมนุษย์ แต่สมิธ ยังพูดไม่จบ เขาถามว่า สมมติคุณรักษานิ้วก้อยไว้ได้ แต่ต้องแลกกับการ ปล่อยให้คนจีนล้มตายไปสักสองสามล้านคน คุณจะท�ำไหม? เพราะใน ท้ายทีส่ ดุ แล้วตัวคุณนัน่ เอง (เช่นเดียวกับมนุษย์เดินดินทัง้ หลายทีผ่ มรูจ้ กั ที่ไม่ได้เป็นเทวดานางฟ้าหรือนักบุญ) ที่รู้สึกว่าการเสียนิ้วของตนไปนั้น กระเทือนความสุขและชีวติ โดยรวมของคุณมากเสียยิง่ กว่าความตายของ ผูค้ นนับล้านทีอ่ ยูห่ า่ งไกลออกไป แต่ถา้ เรือ่ งนีเ้ ป็นจริง คุณน่าจะมีความสุขดี ถ้าปล่อยให้คนจีนตายไปสักล้านคนเพื่อแลกกับการรักษานิ้วมือเอาไว้ กระนั้นก็ไม่มีผู้ศิวิไลซ์คนไหน และไม่มี “บุรุษแห่งมนุษยชาติ” ที่สมิธอธิบายไว้รายใด จะคิดแลกเปลี่ยนเช่นนี้ สมิธเขียนว่าจิตใจเราจะ ผละหนี ไม่ยอมกระทั่งจะจินตนาการการต่อรองเช่นนี้ ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดเคราะห์ร้ายเล็กน้อยเช่นนี้กับตัวเขา บุรุษแห่งมนุษยชาติจะเต็มใจสละชีวิตพี่น้องนับโกฏิแสนไป หรือไม่หากเขาไม่เคยเห็นหน้าคนพวกนั้นมาก่อน? ธรรมชาติ ของมนุษย์ตื่นตระหนกกับความคิดที่น่าสยองเช่นนี้ และต่อให้ โลกนี้มีความตกต�่ำทางศีลธรรมและทุจริตถึงเพียงไหน มันก็ ไม่เคยผลิตผู้ร้ายใจโฉดขนาดที่จะกล้าคิดอะไรเช่นนี้ ฮิลเลล (Hillel) มหาปราชญ์ชาวยิวแห่งคัมภีร์ตัลมูดช่วงศตวรรษ แรกก่อนคริสตกาลถามว่า “ถ้าข้าฯ ไม่ได้ท�ำเพื่อตัวเองแล้ว ใครจะท�ำเพื่อ ข้าฯ? ถ้าข้าฯ ท�ำทุกสิ่งเพื่อตัวเองเท่านั้น แล้วข้าฯ คือใคร?” ค�ำตอบของ R u ss R o b ert s
33
สมิธคือ ถ้าหากคุณท�ำทุกสิ่งเพื่อตัวเองเท่านั้น ถ้าหากคุณรักษานิ้วมือไว้ ด้วยการฆ่าคนนับล้าน คุณคือปิศาจ ร้ายกาจผิดมนุษย์มนา ดังนั้นนี่คือบันไดขั้นที่สองสู่การเข้าใจตัวเอง ใช่แล้ว คุณเห็นแก่ ประโยชน์ส่วนตนอย่างลึกซึ้ง แต่ด้วยเหตุผลบางประการ คุณจึงไม่ได้ ปฏิบตั ติ นโดยเห็นแก่ประโยชน์สว่ นตนอยูร่ ำ�่ ไป สมิธสงสัยว่าเราปรับความ รู้สึกให้สอดคล้องกับการกระท�ำอย่างไร แต่อะไรที่ท�ำให้เรื่องนี้ต่างไป? ในเมื่อความรู้สึกเชิงรับของเรา มักสกปรกและเห็นแก่ตัวอย่างยิ่ง เป็นไปได้อย่างไรที่หลักการ ในเชิงรุกของเรามักใจกว้างและสูงส่งเหลือเกิน? ในเมื่อเรามัก ได้ รั บ ผลกระทบลึ ก ซึ้ ง จากอะไรก็ ต ามที่ เ กี่ ย วกั บ ตั ว เรา มากกว่าอะไรก็ตามที่เป็นเรื่องส�ำคัญของคนอื่น อะไรคือตัว ผลักดันให้คนใจกว้างสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์อัน ยิ่งใหญ่กว่าของคนอื่นในทุกโอกาส ทั้งยังเกิดกับคนใจแคบ ในหลายโอกาสด้วย? เมื่อพิจารณาถึงความรักตัวเองของเรา เหตุใดบ่อยครั้งเราจึงท�ำ สิ่งต่างๆ โดยไม่ได้ค�ำนึงถึงตัวเอง ทั้งยังเสียสละความสุขเพื่อช่วยเหลือ คนอื่น? ค�ำตอบหนึ่งก็คือ เรามีจิตใจดีโดยเนื้อแท้ เป็นคนดี เต็มไปด้วย สิ่งที่สมิธเรียกว่าความทรงธรรม (benevolence) หรือสิ่งที่คนสมัยใหม่ เรียกว่าเมตตา (compassion) เราเห็นแก่ผู้อื่น เป็นห่วงเป็นใย และไม่ ต้องการเห็นพวกเขาตกทุกข์ได้ยาก กระนั้นสมิธก็ยังเตือนสติเราว่า การ สูญเสียนิว้ รบกวนจิตใจเรามากกว่าการทีผ่ คู้ นนับล้านเสียชีวติ เขาปฏิเสธ ข้อโต้แย้งทีว่ า่ ความทรงธรรมหรือเมตตาจิตทีเ่ รามีนนั้ ท�ำให้เราละเว้นจาก ความเห็นแก่ตวั ทีจ่ ะให้ความทุกข์เล็กน้อยของตนอยูเ่ หนือความทุกข์เข็ญ ของคนนับล้าน 34
How Adam Smith Ca n Ch a n ge Yo u r Li fe
ไม่ใช่อ�ำนาจด้านที่นุ่มนวลของมนุษยชาติ ไม่ใช่ประกายแห่ง ความทรงธรรมอันแผ่วบางที่ธรรมชาติได้จุดขึ้นมาในหัวใจ มนุษย์ ที่มาคัดง้างแรงผลักอันแรงกล้าแห่งความรักตนเอง ได้ส�ำเร็จ
ถ้าหากกระแสธารแห่งเมตตาธรรมของมนุษย์แห้งเหือดยิ่งนัก ท� ำ ไมเราจึ ง ไม่ เ ห็ น แก่ ตั ว อย่ า งร้ า ยกาจยิ่ ง กว่ า นี้ หรื อ โสมมกว่ า นี้ ? ค�ำตอบของสมิธคือ พฤติกรรมของเราเกิดจากการปฏิสมั พันธ์ในจินตนาการ กับสิ่งที่เขาเรียกว่า “ผู้ดูที่เป็นกลาง” (impartial spectator) ซึ่งเป็นผู้ที่เรา จินตนาการขึน้ มาพูดคุยในโลกเสมือนจริง เป็นตัวตนทีไ่ ม่เข้าข้างใคร และ มองทะลุแจ้งแทงตลอดถึงศีลธรรมแห่งการกระท�ำของเรา ตัวตนนีเ้ องทีเ่ รา ต้องปะทะสังสรรค์ยามพิจารณาว่าอะไรเป็นเรื่องที่มีศีลธรรมหรือถูกต้อง ผู้ดูที่เป็นกลางนี้ดูช่างใกล้เคียงกับจิตส�ำนึกในใจของเรา (conscience) แต่คุณูปการของสมิธก็คือการน�ำเสนอแหล่งต้นตอที่พิเศษ ส�ำหรับจิตส�ำนึกดังกล่าว สมิธไม่ได้อา้ งถึงค่านิยม ศาสนา หรือหลักการใดๆ ที่ป้อนข้อมูลให้จิตส�ำนึกของเรา เพื่อให้จิตส�ำนึกนั้นสร้างความรู้สึกผิด หรือละอายต่อพฤติกรรมไม่เหมาะสมของตัวเอง แต่สมิธกลับพูดว่า ผู้ที่ ตั ด สิ น เราในจิ น ตนาการมิ ใ ช่ พ ระเจ้ า หรื อ หลั กการต่า งๆ ที่ เ รายึดถือ แต่เป็นเพื่อนมนุษย์ที่คอยระวังหลังให้ มันคือเหตุผล หลักการ จิตส�ำนึก ผู้ที่อาศัยอยู่ในอก คนที่อยู่ ภายในตัวเรา ผูพ้ พิ ากษาแสนยิง่ ใหญ่ และผูไ้ กล่เกลีย่ พฤติกรรม ของเรา คนคนนีเ้ องทีเ่ รียกเราทุกครัง้ ก่อนทีจ่ ะท�ำอะไรไปกระทบ ความสุขของผู้อื่น เรียกด้วยน�้ำเสียงที่สร้างความตระหนก ให้กับไฟอันเหิมเกริมของเรา กู่ก้องบอกว่าเราเป็นเพียงหนึ่งใน สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ได้ดีไปกว่าสิ่งอื่นใดในจักรวาล และเมื่อ เราเข้าข้างตนเองอย่างน่าละอายและมืดบอดโดยไม่เห็นผู้อื่น R u ss R o b ert s
35
เราจะกลายเป็นวัตถุแห่งความเกลียดชัง ความรังเกียจเดียดฉันท์ และการสาปแช่ง ส�ำหรับสมิธ ผู้ดูที่เป็นกลางคุยกับเราด้วยน�้ำเสียงที่อ่อนโยน เตือนใจว่าเราช่างตัวจ้อย ทว่าโลกทั้งใบนั้นใหญ่ยิ่ง มีเพียงเขาผู้เดียวเท่านั้นที่ช่วยให้เราเรียนรู้ถึงความกระจิริด และทุกอย่างที่เกี่ยวกับตัวเอง และการรักตนเองแบบผิดๆ ตาม ธรรมชาติก็แก้ไขได้ด้วยสายตาของผู้ดูที่เป็นกลางนี้เท่านั้น เป็นเขาผู้นี้เองที่แสดงให้เราเห็นถึงความเหมาะควรของความ ใจกว้างและความพิกลพิการของความอยุติธรรม นี้คือความ เหมาะควรของการสละประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของตัวเอง เพื่อ ประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่าของผู้อื่น และการสละความวิปริตของ การท�ำร้ายผูอ้ นื่ แม้เพียงเล็กน้อยทีส่ ดุ เพือ่ ให้ได้มาซึง่ ประโยชน์ อันยิ่งใหญ่ที่สุดส�ำหรับตัวเราเอง ลึกๆ แล้วเรารู้ว่านี่คือความจริง รู้ว่าเราช่างจ้อยร่อยเมื่อเทียบ กับโลก แต่โดยมากหรือเกือบทุกครัง้ เรารูส้ กึ เหมือนตัวเองเป็นศูนย์กลาง จักรวาล อาจเรียกได้ว่าเป็น “กฎเหล็กเรื่องตัวคุณ” คุณคิดถึงตัวเอง มากกว่าที่คุณคิดถึงผม และผลที่ตามมาจาก “กฎเหล็กเรื่องตัวคุณ” ก็คือ “กฎเหล็กเรือ่ งตัวฉัน” ทีห่ มายความว่าผมคิดถึงตัวเองมากกว่าทีผ่ มคิดถึง คุณ วิถีแห่งโลกก็เป็นเช่นนี้เอง เคยส่งอีเมลให้ใครสักคนช่วยท�ำบางอย่างแล้วเขาไม่ตอบกลับ ไหมล่ะ? เป็นเรื่องง่ายที่เราจะลืมไปว่าผู้รับอีเมล (เช่นตัวคุณเองด้วย) มักได้รับอีเมลมากมายเกินกว่าจะตอบได้ทันที อีเมลของคุณส�ำคัญกับ ตัวคุณเองมากกว่าผู้ที่คุณขอความช่วยเหลือ ไม่มีเหตุผลที่จะไปถือโกรธ เวลาที่ผมไม่ได้ค�ำตอบจากใครสักคน ผมจะสันนิษฐานไว้ก่อนว่าอีกฝ่าย 36
How Adam Smith Ca n Ch a n ge Yo u r Li fe
ไม่เคยได้รับอีเมลจากผม ผมจะส่งอีกรอบในอีกไม่กี่วันต่อมาโดยมิได้เอ่ย (หรือบ่น) ว่าเคยส่งมาแล้วก่อนหน้านี้ ผมเคยส่งหนังสือเล่มหนึ่งของตัวเองไปให้ โทนี สโนว์ (Tony Snow) ซึ่งขณะนั้นเป็นคอลัมนิสต์ให้หนังสือพิมพ์ USA Today เมื่อผม ไม่ได้รับค�ำตอบใดๆ จากเขา ผมก็คิดไปว่าเขาคงไม่สนใจที่จะเขียนถึง หนังสือผม อยู่มาวันหนึ่งผมบังเอิญไปใกล้ๆ กับออฟฟิศของเขา เลยแวะ ไปทักทาย เมื่อผมไปถึงก็ต้องเผชิญกับ “กฎเหล็กเรื่องตัวคุณ” นั่นคือ ชัน้ หนังสือทีร่ ายล้อมก�ำแพงออฟฟิศของเขาจากพืน้ ถึงเพดานนัน้ อัดแน่น ไปด้วยหนังสือ นอกจากนี้ยังมีหนังสือกองอยู่ตามโต๊ะ มีหนังสือที่กอง บนพืน้ เกือบท่วมหัว มีหนังสืออยูท่ กุ ซอกทุกมุม หนังสือพวกนีค้ อื หนังสือที่ คนอย่างผมส่งไปให้เขา ด้วยหวังว่าเขาจะพูดถึงมันบ้างในคอลัมน์ ผมบอก ไม่ได้ด้วยซ�้ำว่าหนังสือของผมอยู่ตรงนั้นหรือเปล่า เขาอาจไม่เคยได้รับ มันเลยก็เป็นได้ หรือถ้าเขาได้รับ เขาอาจคิดถึงมันได้เพียงประเดี๋ยว แล้วก็วางรวมไว้กับหนังสือสักตั้งหนึ่ง เมื่อลืม “กฎเหล็กเรื่องตัวคุณ” ไป ผมก็คิดไปเองว่าหนังสือของผมคงไปถึงและวางไว้กลางโต๊ะที่สะอาด เรียบร้อยราวจะเชิญชวนให้อ่าน ในความเป็นจริง หนังสือของผมน่าจะ เหมือนกับหีบพันธสัญญาที่ถูกเก็บในโกดังของรัฐบาลในตอนจบของ ภาพยนตร์เรื่อง ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า (Raiders of the Lost Ark) ผู้ดูที่เป็นกลางคอยเตือนว่าเราไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล การระลึกไว้ว่าเราไม่ได้ส�ำคัญมากไปกว่าใคร ช่วยให้เราปฏิบัติต่อคนอื่น ด้วยท่าทีที่ดี ผู้ดูที่เป็นกลางคือเสียงในหัวที่คอยเตือนเราเสมอว่าการ คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตนนั้นน่าเกลียด และการคิดถึงคนอื่นนั้นน่า สรรเสริญและสูงส่ง เป็นเสียงที่เตือนว่าถ้าเราท�ำร้ายคนอื่นเพื่อประโยชน์ ของตัวเองแล้ว เราจะถูกรังเกียจเดียดฉันท์ ไม่เป็นที่ชอบพอ และไม่เป็น ที่รักส�ำหรับใครก็ตามที่สังเกตดูด้วยใจเป็นกลาง ถ้าเราคิดแต่จะท�ำเพื่อ ตัวเอง ภาพที่ออกมาคงไม่ค่อยน่าดูนัก สมิธปฏิเสธความคิดทีว่ า่ เราท�ำสิง่ ถูกต้องเพราะมีเมตตาและใส่ใจ คนอื่นในเชิงนามธรรม R u ss R o b ert s
37
ไม่ใช่ความรักที่มีต่อเพื่อนบ้านและไม่ใช่ความรักเพื่อนมนุษย์ ด้วยกัน ที่ผลักดันให้เราท�ำคุณความดีแสนวิเศษในหลายครั้ง หลายครา หากแต่เป็นความรักที่แข็งแกร่งยิ่งกว่า เป็นความ เสน่หาที่ทรงพลังกว่านั้น ที่มักเกิดขึ้นในโอกาสดังกล่าว มันคือ ความรักในสิ่งที่น่าสรรเสริญและสูงส่ง ความรักในสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ศักดิ์ศรี และความเหนือกว่าที่อยู่ในคุณลักษณะของเราเอง
ความรั ก ตนเองเกิ ด ขึ้ น โดยธรรมชาติ อ ยู ่ แ ล้ ว ส่ ว นความรั ก เพื่อนบ้านน่ะหรือ? ไม่ง่ายนัก สมิธก�ำลังพูดว่าแม้เราไม่อาจรักเพื่อนบ้าน ได้ดังที่เรารักตนเอง แต่บางครั้งเราก็อาจท�ำเหมือนว่าเราเป็นเช่นนั้น งานจิตอาสาที่เราท�ำนั้นไม่ได้เกิดจากอารมณ์เดียวกันกับที่ผลักดันเราให้ คุ้มครองตัวเองพร้อมทั้งหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดทุกข์ทน สิ่งที่ผลักให้เรา ใส่ใจเพื่อนบ้านคือความปรารถนาที่จะท�ำเรื่องน่าสรรเสริญและสูงส่ง เพื่อ ตอบสนองต่อสิง่ ทีเ่ ราจินตนาการให้เป็นมาตรฐานทีผ่ ดู้ ทู เี่ ป็นกลางตัง้ ขึน้ มา ครั้งหนึ่งผมคุยกับเพื่อนเรื่องพระเจ้าและศีลธรรม การเชื่อใน พระเจ้าช่วยลดโอกาสที่คุณจะก่ออาชญากรรมหรือท�ำบาปไหม? แล้วถ้า คุณรู้ว่าท�ำผิดแต่จะรอดตัวได้แน่ๆ ล่ะ? ฉะนั้นหากคิดแค่ผิวเผินแล้ว มันก็มเี หตุมผี ลทีจ่ ะขโมยหรือท�ำบาปเพราะไม่มใี ครเห็นนี่ เพือ่ นผมยิม้ แล้ว พูดว่า หลักใหญ่ใจความเกี่ยวกับพระเจ้าก็คือ ท่านดูเราอยู่เสมอ ประเด็นของสมิธคือ ตัวคุณ นัน่ เองทีค่ อยดูอยูเ่ สมอ! แม้ในยามที่ คุณอยู่ตามล�ำพังและไม่มีทางถูกจับ แม้จะไม่มีใครรู้ว่าคุณคือขโมย แต่ ตัวคุณเองก็รู้ และหากคุณวางแผนที่จะท�ำเช่นนั้นอยู่ คุณก็จะจินตนาการ ว่าบุคคลภายนอกหรือผูด้ ทู เี่ ป็นกลางทีเ่ ฝ้ามองการก่ออาชญากรรมอยูน่ นั้ จะมีปฏิกิริยาเช่นไรต่อความล้มเหลวทางศีลธรรมของคุณ คุณก้าวพ้น ตัวเอง และมองการกระท�ำของตัวเองผ่านสายตาของคนอื่น ในละครเพลงเรื่อง เหยื่ออธรรม (Les Misérables) ฌอง วัลฌอง เป็นนักโทษหนีคุก คนหน้าเหมือนวัลฌองถูกจับและต้องติดคุกเป็นเวลา 38
How Adam Smith Ca n Ch a n ge Yo u r Li fe
นานแทน เป็นโชคดียิ่งของวัลฌอง ในที่สุดเขาก็จะได้เป็นอิสระ ด้วยแรง เย้ายวนที่จะให้คนบริสุทธิ์มาใช้กรรมแทน วัลฌองจึงถามค�ำถามของ ฮิลเลล ซึ่งก็เป็นค�ำถามของสมิธเช่นกัน นั่นคือ ฉันเป็นใคร? ฉันก็เป็นตัว ฉันเอง ใช่แล้ว แต่ฉนั จะท�ำทุกอย่างเพือ่ ตัวเองหรือ? ในเพลง “Who Am I?” วัลฌองต่อสู้กับแรงผลักดันแห่งประโยชน์ส่วนตนที่เขาจะได้อิสรภาพ แต่เขาต้องได้มาด้วยการท�ำให้อีกคนตกเป็นทาสแห่งการจองจ�ำ แน่นอน ความเห็นแก่ตัวเช่นนี้มีตรรกะแคบๆ ว่าการเป็นอิสระดีกว่าการติดคุก แต่วัลฌองปฏิเสธสูตรค�ำนวณเช่นนี้ เขาจะสู้หน้าเพื่อนมนุษย์ได้อย่างไร หากท�ำอะไรเห็นแก่ตัวร้ายกาจเช่นนั้น? แล้วเขาจะสู้หน้าตัวเองได้หรือ? เขาต้องยอมมอบตัวเท่านั้น จึงจะกลับมาเป็น ฌอง วัลฌอง คนที่เขา ปรารถนาจะเป็นได้ การยอมทนทุกข์เพือ่ ช่วยเหลือคนอืน่ อาจดูไร้เหตุไร้ผล สมิธก�ำลัง พูดว่า การคิดค�ำนวณของเศรษฐศาสตร์ที่มุ่งดูแต่ต้นทุนและประโยชน์ ทางวัตถุนั้น เป็นการค�ำนวณที่บกพร่อง เป็นเรื่องมีเหตุมีผลด้วยประการ ทั้งปวงที่จะให้ทิปในร้านอาหารที่คุณจะไม่ได้อุดหนุนอีก บริจาคเพื่อการ กุศลโดยไม่ประสงค์ออกนาม บริจาคเลือดโดยไม่ได้คิดว่าต้องใช้เลือด ในอนาคต กระทัง่ การบริจาคไตโดยไม่ได้รบั เงินตอบแทนก็เป็นการกระท�ำ ที่มีเหตุมีผล ผู้คนที่ท�ำสิ่งเหล่านี้ล้วนท�ำด้วยจิตใจแช่มชื่น ประเด็นที่โต้เถียงกันมานานแล้วในแวดวงจิตวิทยาและปรัชญา คือเรื่องที่ว่าส�ำนึกทางศีลธรรมของเราเป็นสิ่งติดตัวมาแต่เกิดหรือเป็นสิ่ง ที่เรียนรู้มา นักจิตวิทยาและนักปรัชญาหลายคนเสนอว่าสมองของเราคือ กระดานเปล่า ทุกสิ่งได้รับการจารึกลงไปโดยวัฒนธรรม ศีลธรรมเป็นสิ่ง ผกผัน ขึน้ อยูก่ บั ว่าคุณโตทีไ่ หนและถูกเลีย้ งมาอย่างไร ในหนังสือจิตวิทยา ศีลธรรมเมื่อไม่นานนี้ที่ชื่อ จิตที่รู้ผิดชอบชั่วดี (The Righteous Mind) นักจิตวิทยาสังคมชือ่ โจนาธาน ไฮดต์ (Jonathan Haidt) แย้งว่ามีหลักฐาน เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ว่าศีลธรรมเป็นมากกว่าความรู้สึกที่วัฒนธรรมปลูกฝังให้ แม้สมิธไม่ได้อภิปรายประเด็นนี้ด้วยเรื่องดังกล่าว แต่กรอบคิดของเขา R u ss R o b ert s
39
ก็ เ อี ย งไปทางแนวคิ ด ว่ า ศี ล ธรรมติ ด ตั ว มาแต่ เ กิ ด สมิ ธ เชื่ อ ว่ า ความ ปรารถนาให้ผคู้ นรอบตัวยอมรับนัน้ ฝังอยูใ่ นตัวเรา และส�ำนึกทางศีลธรรม ก็มาจากประสบการณ์ที่คนอื่นยอมรับหรือไม่ยอมรับตัวเรา เมื่อเรามี ประสบการณ์กบั ปฏิกริ ยิ าดังว่านี้ เราจึงเกิดจินตนาการว่ามีผดู้ ทู เี่ ป็นกลาง คอยตัดสินเราอยู่ ไม่ว่าพฤติกรรมที่น่าสรรเสริญของเราจะถูกผลักดันด้วยการที่ เราจิ น ตนาการว่ า มี ผู ้ ดู ที่ เ ป็ น กลางคอยเฝ้ า มองและตั ด สิ น เราอยู ่ หรือไม่ แนวคิดนี้ก็ได้มอบเครื่องมือที่ทรงพลังให้เราปรับปรุงตัวเอง การ จินตนาการถึงผู้ดูที่เป็นกลางช่วยให้เราก้าวพ้นจากตัวเองและมองตัวเอง แบบเดียวกับที่คนอื่นมองเรา นี่เป็นการกระท�ำอันกล้าหาญที่พวกเรา เกือบทุกคนพยายามหลีกเลีย่ งไม่กท็ ำ� ได้ยำ�่ แย่ตลอดชีวติ แต่หากคุณท�ำได้ และท�ำได้ดี และถ้าคุณสามารถลอยตัวเหนือสถานการณ์แล้วมองลงมาว่า คุณจัดการกับตนเองอย่างไร คุณก็จะเริ่มรู้ว่าตัวเองเป็นใครและจะท�ำตัว ให้ดขี นึ้ ได้อย่างไร การก้าวพ้นจากตัวเองเป็นโอกาสทีจ่ ะสร้างสิง่ ทีเ่ รียกกัน ในบางคราว่า “ความมีสติ” (mindfulness) ซึ่งเป็นศิลปะแห่งการใส่ใจ แทนที่จะปล่อยให้ชีวิตลอยไปตามยถากรรมโดยไม่ใส่ใจจุดอ่อนหรือนิสัย ต่างๆ ของตัวเอง ทุกคนอยากมองว่าตัวเองเป็นคนดี กระทั่งฆาตกรก็อาจประเมิน ตัวเองไว้สงู ค่าและอธิบายว่าท�ำไมการกระท�ำของพวกเขาถึงเหมาะสม แต่ ถ้าคุณต้องการจะเป็นคนดีจริงๆ หาใช่เพียงสวมบทนั้นอยู่ในใจ คุณก็ควร รู้ว่าต้องเผชิญกับ “กฎเหล็กเรื่องตัวคุณ” ซึ่งหมายถึงการมองตนเองเป็น ศูนย์กลางอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ มันไม่เพียงยกให้ตัวคุณเองส�ำคัญอันดับ แรกเท่านัน้ แต่ยงั ต้องการให้คณ ุ แสร้งว่าตัวเองเป็นคนดีแม้ความจริงจะไม่ เป็นแบบนัน้ การค�ำนึงถึงผูด้ ทู เี่ ป็นกลาง (ผูส้ งั เกตการณ์ใจเย็น ไม่ประหวัน่ ต่อไฟร้อนแรงของสถานการณ์) นอกจากจะช่วยให้คุณเป็นคนดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้คณ ุ เป็นทีมงานทีส่ ร้างผลงานมากขึน้ เป็นเพือ่ นทีด่ ขี นึ้ และเป็น คู่ชีวิตที่คิดถึงผู้อื่นยิ่งขึ้น 40
How Adam Smith Ca n Ch a n ge Yo u r Li fe
ลองคิดเรื่องการสนทนาซึ่งเป็นปฏิสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานที่สุดของ มนุษย์กัน เราต่างรู้จักคนที่พูดแต่เรื่องของตัวเอง ครอบง�ำการสนทนา และชอบแย่งเวลาพูดของคนอื่น ยากที่จะรู้ตัวว่าคุณเองก็เป็นคนคนนั้น ในบางครั้ง เราชอบพูดเรื่องของตัวเอง ชอบเสนอประเด็นของตัวเอง และ มีอะไรจะพูดเยอะมาก! กีค่ รัง้ ทีค่ ณ ุ ตอบค�ำถามและรอให้คำ� ถามอืน่ ตามมา แทนที่จะถามเรื่องของคนที่คุณคุยด้วย? บ่อยแค่ไหนที่คุณฟังเพื่อที่จะ เข้าใจ แทนที่จะคอยให้อีกฝ่ายหนึ่งพูดให้จบๆ ไป เพื่อที่คุณจะได้เปิด ประเด็นใหม่หรือเล่าเรือ่ งใหม่? ผูด้ ทู คี่ ณ ุ จินตนาการขึน้ จะตัดสินวิธสี นทนา ของคุณอย่างไรนะ? การจินตนาการถึงผู้ดูที่เป็นกลางช่วยเปลี่ยนการ สนทนาของคุณให้คล้ายการเต้นร�ำมากขึน้ แทนทีจ่ ะเป็นเพียงการผลัดกัน พูด (เปลี่ยนให้เป็นการพูดคุย แทนที่จะเป็นการแข่งเดี่ยวไมโครโฟน) ตอนที่ ผ มเพิ่ ง เริ่ ม ท� ำ พอดแคสต์ ใ นปี 2006 โดยสั ม ภาษณ์ แขกรับเชิญทุกสัปดาห์ ผมเป็นฝ่ายพูดมากกว่าที่ผมท�ำในทุกวันนี้ ผมจะ วิจารณ์ข้อสังเกตของแขกรับเชิญ และเติมความเห็นของตัวเองเข้าไปใน แทบทุกค�ำตอบ ผมบอกกับตัวเองว่า ก็ผมเป็นผู้ด�ำเนินรายการนี่ คนเขา อยากฟังทัศนะผม และผมก็มีเรื่องให้พูดเยอะแยะใช่ไหมล่ะ? บางครั้ง มันก็อาจเป็นเช่นนัน้ แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ทกุ ครัง้ ผมไม่ตอ้ งให้ผดู้ ทู เี่ ป็นกลาง มาคอยเตือนผมเลย บางครัง้ คุณผูฟ้ งั ตัวเป็นๆ นีแ่ หละทีบ่ น่ ว่าผมพูดมาก เกินไป ผมก้าวพ้นจากตัวเอง และเห็นแจ้งว่าผูฟ้ งั เขาเป็นฝ่ายถูก รายการ ของผมดีขนึ้ เมือ่ ผมเปิดพืน้ ทีใ่ ห้แขกรับเชิญมากขึน้ และให้เขาได้เป็นฝ่าย พูดมากขึ้น หรือลองคิดดูว่าคุณตอบโต้อย่างไรกับการดูแคลนหรือความ อยุตธิ รรมเล็กน้อย บางครัง้ เรารูส้ กึ ถึงความกระเหีย้ นกระหือรือทีจ่ ะระบาย ความโกรธ ความขุน่ ข้องใจ หรือความไม่ยตุ ธิ รรมในเรือ่ งน่าร�ำคาญจิบ๊ จ๊อย ทีค่ ณ ุ ควรมองข้ามไป สมิธหนุนใจให้เราก้าวพ้นตัวเอง และลองถามว่าหาก มีใครสักคนเฝ้าดูอยู่ เขาจะเห็นว่าเราเป็นคนตีโพยตีพายแทนที่จะเป็น ผู้ผดุงความยุติธรรมไหม แทนที่จะเร่งเร้าอารมณ์เรื่องความอยุติธรรม R u ss R o b ert s
41
สมิธเล่าให้เราฟังถึงวิธีแสวงหาความสงบ นั่นคือให้กระดิกหางมากขึ้น และเห่าให้น้อยลง เมื่อวันก่อน ภรรยากับผมนั่งอยู่ในรถ ผมบอกเธอว่าผมเปลี่ยน เวลาประชุมใหม่เพื่อที่เราจะได้มีเวลาด้วยกัน เธอตอบว่าท่าจะไม่ได้ เธอ ถามว่าผมไม่ได้อา่ นอีเมลทีเ่ ธอส่งให้หรือ? เวลาประชุมใหม่นนั้ ชนกับเรือ่ ง ที่ผมต้องท�ำให้ลูก ผม ได้อ่าน อีเมลฉบับนั้น แต่กลับลืมไปสนิทตอนที่ผม เปลี่ยนเวลานัด ผมรู้สึกว่าตัวเองช่างโง่นัก ภรรยาผมบอกว่าไม่เป็นไร ก็แค่เปลี่ยนเวลาประชุมใหม่ ไม่ใช่เรื่องใหญ่โต แต่ผมรูส้ กึ ว่าเป็นเรือ่ งใหญ่ ผมขายหน้าทีต่ อ้ งเปลีย่ นเวลาประชุม อีกแล้ว แล้วผมก็รสู้ กึ ว่าตัวเองเริม่ จะขึน้ เสียง ด้วยความกระเหีย้ นกระหือรือ ที่อยากให้ภรรยาเข้าใจว่าการเปลี่ยนเวลานัดเป็นความคิดที่แย่เพียงไหน ส�ำหรับผม ผมแสดงออกอย่างเกินควร อีกห้านาทีต่อมาผมคิดถึงผู้ดูที่ เป็นกลาง ผมก้าวออกมาจากสถานการณ์นั้น และเห็นว่าผมปฏิบัติกับ ภรรยาได้แย่มาก ผมท�ำน�้ำเสียงโกรธใส่เธอ ทั้งที่จริงแล้วผมโกรธตัวเอง และขายหน้าที่ลืมอีเมลฉบับนั้น ผมเอ่ยค�ำขอโทษ ผมได้แต่หวังว่าน่าจะคิดถึงผูด้ ทู เี่ ป็นกลางได้เร็วกว่านัน้ และหาก มีผดู้ ตู วั เป็นๆ อยูก่ บั เรา เช่นหากมีเพือ่ นนัง่ มาด้วยทีเ่ บาะหลัง คงไม่มที าง ที่ผมจะโกรธเกรี้ยวได้ขนาดนั้น ผู้ดูตัวจริงคงจะท�ำให้ความโกรธของผม สงบลง แทนที่จะเป็นฝ่ายร้อนตัว ผมคงถามถึงวิธีที่จะจัดการเรื่องของลูก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเวลานัดประชุม ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมท�ำในท้ายที่สุด คุณอาจจ้างคนมาตัดหญ้าในสนามหรือให้มาท�ำความสะอาด บ้าน อาจจ้างช่างมาซ่อมอะไรสักอย่างที่เสีย หรืออาจเป็นผู้จัดการที่มี ลูกน้องต้องมารายงานเรือ่ งต่างๆ กับคุณ เป็นการยากทีจ่ ะปฏิบตั กิ บั คนอืน่ ด้วยวิธีที่เขาอยากให้คุณปฏิบัติกับเขา เพราะคุณเองก็ยุ่งมากและมีความ รับผิดชอบมากมาย คุณชอบคิดว่าคนทีท่ ำ� งานกับคุณจะยอมปล่อยไปบ้าง ถ้าคุณหยาบคายหรือไม่คดิ ถึงหัวอกคนอืน่ ผูด้ ทู เี่ ป็นกลางจะมองว่าคุณเป็น เจ้านายทีเ่ มตตาและคิดถึงคนอืน่ หรือเป็นคนทีห่ า่ งไกลจากอุดมคติกนั แน่? 42
How Adam Smith Ca n Ch a n ge Yo u r Li fe
หากคุณหมายจะท�ำงานให้ดีขึ้น และหากต้องการที่จะให้สิ่งที่ เรียกว่า “ชีวิต” ดีขึ้น คุณก็ต้องใส่ใจ เมื่อคุณใส่ใจ คุณจะจ�ำได้ว่าอะไร คือสิ่งที่ส�ำคัญ อะไรคือของจริงที่ยั่งยืน และอะไรคือสิ่งจอมปลอมมาเร็ว ไปเร็ว การค�ำนึงถึงผูด้ ทู เี่ ป็นกลางจะช่วยให้คณ ุ รูจ้ กั ตัวเอง ช่วยให้คณ ุ เป็น เจ้านายที่ดีขึ้น เป็นคู่ครองที่ดีขึ้น เป็นพ่อแม่ที่ดีขึ้น และเป็นเพื่อนที่ดีขึ้น การค�ำนึงถึงผู้ดูที่เป็นกลางช่วยคุณในการปฏิสัมพันธ์กับผู้ดูตัวเป็นๆ ในชีวิตจริง และเปลี่ยนวิธีที่พวกเขามองคุณ นั่นก็เป็นเรื่องที่ดีนะ แต่สมิธ แย้งว่ามันเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่กว่าผลพลอยได้จากการใส่ใจว่าคนจะมอง พฤติกรรมของคุณอย่างไร ที่จริงแล้วมันสามารถน�ำไปสู่ความสงบ สันติ และความสุข
R u ss R o b ert s
43