Human rights preview

Page 1


สิทธิมนุษยชน: ความรู้ฉบับพกพา • สุนีย์ สกาวรัตน์ และ ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล แปล จากเรื่อง H um a n R i ght s : A V e r y S hor t I n t r o duct ion โดย A n d r e w C l a p h a m พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ op e n wo r l d s, สิงหาคม 2559 ราคา 295 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ศิลปกรรม พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ชญารัตน์ สุขตน • บรรณาธิการแปล ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล บรรณาธิการเล่ม วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ออกแบบปก พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ • บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2 - 6 1 8 - 4 7 3 0 e- ma i l : o p e n w o r l d s t h a i l a n d @g m a i l . c o m fa c e b ook : w w w . f a c e b o o k . c o m / o p e n w o r lds website: www.openworlds.in.th จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 3 9 - 8 3 5 6 - 9 w e bs i t e : h t t p : / / w w w . s e - e d . c o m /


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 0-2618-4730 และ 09-7174-9124 หรือ e - ma il: o p e n w o rld st h a ila n d @ g m ail.c om

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ แคลปแฮม, แอนดรูว์. สิทธิมนุษยชน: ความรู้ฉบับพกพา.-- กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2559. 320 หน้า. -- (ความรู้ฉบับพกพา). 1. สิทธิมนุษยชน. I. สุนีย์ สกาวรัตน์, II. ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล, ผู้แปล. III. ชื่อเรื่อง. 323 ISBN 978-616-7885-34-6 • Thai language translation copyright 2016 by openworlds publishing house /Copyright © 2015 by Andrew Cla pham All Rights Reserved. Human Rights: A Very Short Introduction, 2nd edition, by Andrew Clapham wa s o rig in a lly p u b l i s h e d i n E n g l i s h i n 2 0 1 5 . This translation is published by arrangement with Oxford University Press th ro u g h T u ttle- M o r i A g e n c y C o . , L t d . The Thai edition is translated by Sunee Sakaorat and Thitirat Thipsamritkul a n d p u b lis h e d b y o p e n w o r l d s p u b l i s h i n g h o u s e , 2 016. สิทธิมนุษยชน: ความรู้ฉบับพกพา ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2007 พิมพ์ครั้งที่สอง เมื่อปี ค.ศ. 2015 แปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด ตามข้อตกลงกับสำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด


สารบัญ

. สารบัญภาพประกอบ 6 ค�ำน�ำ 8 1 พินิจเรื่องสิทธิ 12 2 ความเป็นมาของการพัฒนาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ 54 3 นโยบายต่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนและบทบาทของสหประชาชาติ 110 4 การทรมาน 142 5 การลิดรอนชีวิตและเสรีภาพ 168 6 การถ่วงดุลสิทธิ – ฟรีสปีชและความเป็นส่วนตัว 188 7 อาหาร การศึกษา สุขภาพ ที่อยู่อาศัย และงาน 208 8 การเลือกประติบัติและความเท่าเทียม 236 9 โทษประหารชีวิต 258 บทสรุป 270 กิตติกรรมประกาศ 280 กิตติกรรมประกาศของส�ำนักพิมพ์ 282 แหล่งอ้างอิง 283


อ่านเพิ่มเติม 299 ภาคผนวก: ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 307 ประวัติผู้เขียน 318 ประวัติผู้แปล 319


สารบัญภาพประกอบ

. 1 “พระราชบัญญัติสิทธิของ ‘อาชญากร’” 15 © Telegraph Media Group Limited 2006 2 แมรี วอลล์สโตนคราฟต์ 28 © The Bodleian Library, University of Oxford, (OC) 210 m. 3 ปกหนังสือ Rights of Man 70 © Penguin Books 4 จอร์จ วอชิงตัน วิลเลียมส์ 76 Library of Congress 5 ราดิสลาฟ เคอร์สติก: ภาพก่อนและหลัง 82 Michel Porro/Getty Images, and © Reuters/Ranko Cukovic 6 ทหารเด็กในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 87 © Roger LeMoyne 7 การเดินขบวนประท้วงในกรุงเบิร์น 120 © Amnesty International (Suisse) 2003 8 กลุ่มแม่ของ “ลูกๆ ที่หายไป” ณ กรุงบัวโนสไอเรส 127 Rafael Wollmann/Gamma-Rapho via Getty Images


9 การสังหารของ ISIS 132 AFP Photo/Ho/Welayat Salahuddin 10 คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนออกเสียงเกี่ยวกับศรีลังกาในปี 2014 135 UN Photo/Jean-Marc Ferré 11 “รัมสเฟลด์ ลาออกเถอะ”: ภาพปกของนิตยสาร The Economist, 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 150 © The Economist 12 การอุทธรณ์ขอนิรโทษกรรม, 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1961 180 Copyright Guardian News & Media Ltd 1961 13 แพทริก สจวร์ต กับการรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงในครอบครัว, Amnesty magazine 253 © Amnesty International UK 14 ภาพสเก็ตช์การพิพากษาคดีอาชญากรรมสงครามในฐานทัพเรือ อ่าวกวนตานาโมของคณะกรรมาธิการทหารของสหรัฐอเมริกาปี 2014 267 © Janet Hamlin 15 ห้องฉีดสารพิษสมัยใหม่ และการประหารชีวิตด้วยกิโยตีน 268 William F. Campbell/Time Life Images Collection/Getty Images และ Popperfoto/Getty Images


8

Human

Rights

ค�ำน�ำผู้เขียน

.

หนังสือเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปิดประตูความรู้ให้ ผู ้ อ ่ า นก้ า วเข้ า สู ่ โ ลกแห่ ง การขบคิ ด เรื่ อ งสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน การ ขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชน และกฎหมายสิทธิมนุษยชน หนังสือ มุ ่ ง เน้ น ไปที่ พ ลั ง ความคิ ด ในการปลุ ก ผู ้ ค นให้ ต ่ อ ต้ า นความ อยุติธรรมและการดูหมิ่นศักดิ์ศรี โดยแท้จริงแล้วสิทธิมนุษยชน ไม่ได้แก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ขัดกัน หรือ ระหว่างแนวคิดหลากหลายที่ว่าโลกของเราควรเป็นอย่างไร แต่ แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนให้ค�ำอธิบายเพื่อใช้ในการถกเถียง กันว่าผลประโยชน์ใดควรมาก่อน และวิธีใดดีที่สุดในการบรรลุ เป้าหมายที่เราเลือก หนังสือความรู้ฉบับพกพานี้พูดถึงสาระของสิทธิต่างๆ มากกว่าแค่บอกเล่าเรื่องราวสิทธิมนุษยชนในการปฏิวัติ การ ประกาศอิสรภาพ และการต่อสู้อย่างต่อเนื่อง การเรียกร้อง ให้ เกิ ด โลกแห่ ง การเคารพสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนเป็ นเรื่ อ งง่ า ย ทว่ า การปรับระเบียบโครงสร้างปัจจุบันเพื่อให้ได้มาซึ่งการเคารพ สิทธิมนุษยชนอย่างสมบูรณ์เป็นกระบวนการที่ไม่มีวันสิ้นสุด


A Very Short

Introduction

9

หากเราพิจารณาว่าสิทธิมนุษยชนมีทั้งสิทธิในการมีชีวิต สิทธิ ในความเสมอภาค เสรีภาพในการแสดงออก สิทธิความเป็น ส่วนตัว สิทธิในสุขภาพ สิทธิในอาหาร และสิทธิในที่อยู่อาศัย สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของการที่พวกเราแต่ละคนด�ำรงชีวิต อยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี ซึ่งคนทั่วโลกยังอยู่ห่างไกลจากเป้าหมาย นี้มาก เราจะเห็นว่าโครงการสิทธิมนุษยชนไม่ได้เป็นเพียงการ ปฏิบัติตามพันธกรณีที่ถูกก�ำหนดไว้ในอดีต แต่การขับเคลื่อน สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของการที่ประชาชนลุกขึ้นต่อสู้กับความ อยุติธรรมและแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเมื่อเผชิญกับ การกดขี่ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถค้นหาข้อความบางส่วนและ บางองค์กรที่กล่าวอ้างถึงในความรู้เบื้องต้นนี้เพิ่มเติมได้ด้วย ตนเอง เรามีเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ตคือ http://graduateinstitute. ch/clapham-humanrights ซึ่งผู้อ่านสามารถสืบค้นเนื้อหาฉบับ เต็มของเอกสารที่อ้างถึงเกือบทั้งหมดได้จากเว็บไซต์นี้



สิทธิมนุษยชน •

ความรู้ฉบับพกพา

HUMAN RIGHTS • A Very Short Introduction by

Andrew Clapham

ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล สุนีย์ สกาวรัตน์ แปล


บทที่ 1

/ พินิจเรื่องสิทธิ


A Very Short

Introduction

13

โดยทั่วไปแล้ว ทุกวันนี้เราไม่ต้องใช้เวลานานเลยที่จะบอก ว่าปัญหาใดเป็นประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชน หนังสือเล่มนีพ้ นิ จิ ที่มาของแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนและวิธีการที่การเคลื่อนไหว ด้านสิทธิมนุษยชนน�ำไปสู่พันธกรณีต่างๆ ที่ปฏิบัติกันทั่วโลก เราจะพิจารณาวิถคี วามคิดเรือ่ งสิทธิมนุษยชนและบทบาททีส่ ทิ ธิ มนุษยชนมี (และอาจจะมีในอนาคต) ต่อโลกของเราด้วย ปัจจุบนั เรามองสิทธิมนุษยชนด้วยมุมมองทีแ่ ตกต่างกัน ส�ำหรับบางคน การอ้างถึงสิทธิมนุษยชนเป็นการเรียกร้องอย่าง จริงใจและโดยชอบธรรมเพือ่ แก้ไขปัญหาความอยุตธิ รรมทัง้ ปวง ส� ำ หรั บ อี ก หลายคน สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนเป็ น เพี ย งค� ำ ขวั ญ ที่ ถู ก มองด้วยความแคลงใจหรือแม้กระทั่งเป็นปรปักษ์ ในบางครั้ง นักกฎหมายมองสิทธิมนุษยชนว่าเป็นเหมือนค�ำศัพท์เฉพาะ หมายความถึงสิทธิทางกฎหมายที่เคยถูกอ้างหรือสามารถน�ำ มาอ้างโดยศาลภายในหรือศาลระหว่างประเทศเท่านั้น ทว่าการ ยกกฎหมายสิทธิมนุษยชนมาอ้างในศาลมักกลายเป็นประเด็น โต้แย้งของคูพ่ พิ าทได้ทงั้ สองฝ่าย ซึง่ ต่างเรียกร้องให้ใช้กฎหมาย


14

Human

Rights

เดียวกันในทางที่เป็นคุณต่อฝ่ายตน กฎหมายสิทธิมนุษยชนมี ความพิเศษตรงที่มันชี้แนะให้เห็นความบกพร่องหรือความไม่ เป็นธรรมของกฎหมายอื่นอยู่บ่อยครั้ง ภาษาสิทธิมนุษยชนถูก ใช้เพื่อวิพากษ์วิจารณ์ โต้แย้ง และปฏิรูปพฤติกรรมทุกรูปแบบ สิทธิมนุษยชนมีรากเหง้ามาจากการต่อสูอ้ นั โดดเด่นกับการกดขี่ ข่มเหงและยังให้คำ� มัน่ ถึงอนาคตทีเ่ ป็นธรรมกว่า ในกระบวนการ ต่อรองเพือ่ ตัดสินใจเชิงนโยบายยุคปัจจุบนั การทิง้ ไพ่ใบทีเ่ รียกว่า สิทธิมนุษยชนนัน้ อาจฟังดูนา่ เชือ่ ถือหรือแม้กระทัง่ น�ำไปสูข่ อ้ สรุป โดยไร้ขอ้ กังขา นีค่ อื แง่มมุ หนึ่งทีท่ ำ� ให้พลังทางศีลธรรมของสิทธิ มนุษยชนมีความน่าสนใจ สิทธิมนุษยชนช่วยให้คุณเป็นผู้ชนะ ในการถกเถียงและบางครั้งก็เปลี่ยนแปลงวิถีปฏิบัติที่ด�ำเนินมา แนวคิดเรือ่ ง “วัฒนธรรมสิทธิมนุษยชน” (human rights culture) ยังมีความหมายแตกต่างกันไปส�ำหรับแต่ละคน ส�ำหรับ บางคน วัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนหมายถึงการรับประกันว่าทุกคน จะได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีที่มีมาแต่ก�ำเนิด รวมถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ของพวกเขา ส�ำหรับอีกหลายคน วัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนนัน้ กลับหมายถึงว่าทัง้ ผูพ้ พิ ากษา ต�ำรวจ และเจ้าหน้าทีต่ รวจคนเข้าเมืองล้วนถูกบังคับให้ตอ้ งคุม้ ครองสิทธิ ประโยชน์ของผู้ก่อการร้าย อาชญากร และคุ้มครองผู้อพยพโดย ต้องแลกกับความปลอดภัยของประชาชน (ดูภาพประกอบ 1) ความขัดแย้งเกีย่ วกับเรือ่ งนีม้ าถึงจุดวิกฤตในบางประเทศซึง่ รวม ถึงสหราชอาณาจักร เมื่อหนังสือพิมพ์ยอดนิยมหลายฉบับเขียน ล้อเลียนการบังคับใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชน (ดูล้อมกรอบที่ 1) และรณรงค์ต่อต้านบทบาทของ “ผู้พิพากษาชาวต่างชาติ”


A Very Short

Introduction

15

ภาพประกอบ 1 พาดหัวข่าวจากหนังสือพิมพ์ The Sunday Telegraph ฉบับ วันที่ 14 พฤษภาคม 2006 ซึ่งวาดภาพพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชนว่าเป็น “ที่พักพิงของผู้ก่อการร้ายและคนชั่ว”

ล้อมกรอบที่ 1 สิทธิมนุษยชน และแรงต่อต้านของชาว อังกฤษ คริส เกรย์ลิง (Chris Grayling) ผู้แทนราษฎร, Daily Mail (2014) “เราต้องหยุดยัง้ อ�ำนาจของผูพ้ พิ ากษาในศาลยุโรป และดึงเอาวาทกรรมสิทธิมนุษยชนกลับคืนมาสูส่ งิ่ ทีค่ วรเป็น นั่นก็คือสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับการกดขี่และความโหด ร้ายรุนแรง “นักโทษได้รบั อนุญาตให้ฉีดน�้ำเชื้อได้เพื่อคุ้มครอง


16

Human

Rights

สิทธิในครอบครัว ได้รบั อนุญาตให้ลงคะแนนเสียงเพือ่ นักโทษ ด้วยกันเองได้ในเรือนจ�ำของเรา ไม่มีการจองจ�ำตลอดชีวิต ส�ำหรับนักโทษ ไม่มีการเนรเทศผู้ก่อการร้าย นี่คือค�ำตัดสิน ที่ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปได้ให้ไว้ในช่วงปีที่ผ่านมา และ เราก็ถูกก�ำหนดโดยหนึ่งเสียงของหนึ่งผู้พิพากษาให้ต้อง อนุญาตการโฆษณาเชิงการเมืองทางโทรทัศน์แบบเดียวกับ ของสหรัฐอเมริกา “สิ่ ง เหล่ า นี้ ไ ม่ ใ ช่ ห ลั ก การอั น ยิ่ ง ใหญ่ ข องสิ ท ธิ มนุษยชน นีค่ อื ค�ำตัดสินโดยศาลอันประกอบด้วยผูค้ นทีไ่ ม่มี คุณสมบัติเหมาะสมทางกฎหมายใดๆ ผู้ท่ีมองว่าอนุสัญญา ยุโรปนั้นเป็น ‘ตราสารที่มีชีวิต’ (living instrument) ซึ่งจะ ต้องถูกตีความใหม่เมื่อเวลาผ่านไป เรื่องทั้งหมดนี้ควรจะ เป็นประเด็นส�ำหรับรัฐสภาของเราที่จะตัดสินใจ ไม่ใช่ศาล แต่ปัจจุบันนี้การณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น “เป็นที่ชัดเจนว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่เราคาดหวังเมื่อเรา ลงนามในอนุสัญญา รัฐบาลจากพรรคอนุรักษนิยมจะต้อง แก้ปัญหานี้อย่างเด็ดขาด “เราจะไม่หนั หลังให้หลักการสิทธิมนุษยชน แต่เรา จะพูดอย่างชัดเจนว่าเราคือรัฐอธิปไตยซึ่งยืนหยัดในคุณค่า ของสิทธิมนุษยชน และการตัดสินใจเกีย่ วกับประเทศของเรา ควรกระท�ำโดยรัฐสภาของเรา”


A Very Short

Introduction

17

ซูซาน มาร์กซ์ (Susan Marks, 2014) แรงตอบโต้: สงคราม ต่อต้านสิทธิมนุษยชนที่ไม่ถูกประกาศ (Backlash: The Undeclared War against Human Rights) “มีปฏิกิริยาโจมตีแบบเดียวกับที่ฟาลูดี (Faludi) อธิบายไว้ในบันทึกของเธอเกี่ยวกับแรงตอบโต้ต่อสิทธิสตรี ในอเมริกา มันคือผลก�ำไร (อันจ�ำกัดเช่นกัน) ที่ก�ำลังถูก เรียกคืนของขบวนการสิทธิมนุษยชน รูปแบบนั้นคล้ายคลึง กันอย่างมาก ในกรณีของเรา สิทธิมนุษยชนถูกกล่าวโทษ ว่าผลิตสถานการณ์ที่แนวคิดนี้ต้องการจะเยียวยาเสียเอง สถานการณ์ที่ว่านั้นคือ การครอบง�ำ ความไม่ม่ันคง และ ความไร้อิสรภาพ ในความหมายเดียวกันอาจเรียกว่าเป็น ‘สงคราม’ ที่ ถู ก ปกปิ ด หรื อ ที่ ‘ไม่ ถู ก ประกาศ’ เพราะ พวกเขาอ้างว่าการวิพากษ์วิจารณ์นั้นไม่ใช่เพื่อจะท�ำลาย สิทธิมนุษยชน แต่ตรงกันข้ามพวกเขาคือผู้ปกป้องสิทธิ มนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างแท้จริง ในขณะที่ ขบวนการสิทธิมนุษยชนถูกช่วงชิงไปและกลายเป็นมุ่งมั่น อยู่กับความฟุ้งเฟ้อเชิงแนวคิดและความพยายามจนเกิน ความสามารถของสถาบันต่างๆ” บางครั้งการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอาจดูเหมือนเป็น การต่อต้านหลักการเสียงข้างมาก ท�ำไมผูพ้ พิ ากษาหรือหน่วยงาน ระหว่างประเทศจึงควรจะตัดสินว่าอะไรที่ดีสุดส�ำหรับสังคมใด สั ง คมหนึ่ ง โดยเฉพาะเมื่ อ ผู ้ แ ทนที่ ไ ด้ รั บ เลื อ กมาอย่ า งเป็ น


18

Human

Rights

ประชาธิปไตยได้เลือกทางเดินอื่นไปแล้ว? หากแต่ประเด็นอยู่ที่ ว่าสิทธิมนุษยชนอาจช่วยปกป้องประชาชนจาก “ระบบเผด็จการ โดยเสียงข้างมาก” (tyranny of the majority) แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายสิทธิมนุษยชนไม่ควรถูกมองเพียงว่าเป็นเครื่องมือที่ จะขัดขวางความประสงค์ของคนหมู่มาก ยกเว้นในกรณีข้อห้าม เด็ดขาดเรื่องการทรมาน เพราะในความเป็นจริงกฎหมายสิทธิ มนุษยชนยินยอมให้พิจารณาความจ�ำเป็นด้านความมั่นคงและ สิทธิของผู้อ่ืนในบริบทของสังคมประชาธิปไตย ไม่มีค�ำตอบ ส� ำ เร็ จ รู ป ส� ำ หรั บ ปริ ศ นาที่ ว ่ า ท� ำ ไมผู ้ พิ พ ากษาจึ ง ควรมี สิ ท ธิ จะคุ ้ ม ครองสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนในกระบวนการตั ด สิ น ใจอั น เป็ น ประชาธิปไตย แต่ละสังคมเลือกทีจ่ ะจัดการเรือ่ งนีแ้ ตกต่างกันไป ในบางสังคมให้อ�ำนาจอยู่ในมือผู้พิพากษามากกว่าองค์กรอื่น ซึง่ การจัดการนีอ้ าจมีการเปลีย่ นแปลงได้เมือ่ เวลาผ่านไป เพราะ ไม่มคี วามสมดุลทีส่ มบูรณ์แบบ จึงไม่มผี พู้ พิ ากษาทีส่ มบูรณ์แบบ ในบางครั้งผู้พิพากษาถูกมองว่ามีความสามารถที่จะหยุดยั้ง รัฐบาลที่เหยียบย�่ำสิทธิมนุษยชนอย่างไร้ความชอบธรรม แต่ ค�ำพิพากษาเดียวกันอาจถูกมองว่าสนับสนุนสิทธิในทรัพย์สิน ของผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือนายจ้างโดยก้าวล่วงฝ่ายนิติบัญญัติที่ เป็นตัวแทนประชาชน ทั้งที่ตัวแทนเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ ปกป้องสิทธิของแรงงานหรือกลุม่ ชาติพนั ธุผ์ อู้ อ่ นแอ การอภิปราย เกี่ยวกับสิทธิคือวิธีการที่เราจะตั้งค�ำถามว่าเราต้องการสังคม แบบไหน สิ ท ธิ เ สรี ภ าพในการแสดงออกและสิ ท ธิ ใ นข้ อ มู ล ข่ า วสารช่ ว ยประกั น ว่ า เราจะมี ก ระบวนการตั ด สิ น ใจที่ เ ป็ น ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ แต่สิทธิอย่างเดียวกันก็สามารถใช้


A Very Short

Introduction

19

เพือ่ ท้าทายกฎหมายอันเป็นผลทีไ่ ด้มาจากกระบวนการตัดสินใจ นัน้ เราจะรูว้ า่ สิง่ ใดเป็นสิทธิกต็ อ่ เมือ่ ดูจากบริบทเท่านัน้ ซึง่ เราจะ พิจารณาอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่า สิทธิมนุษยชน ถูกมองว่าเป็น สิทธิประเภทพิเศษและมีขอบเขตแคบ หนังสือความรู้เบื้องต้น ว่าด้วยสิทธิของ วิลเลียม เอ็ดมุนด์สัน (William Edmundson) ได้จำ� แนกสิทธิมนุษยชนออกจากสิทธิประเภทอืน่ ๆ โดยให้ความ เห็นว่า “สิทธิมนุษยชนรับรองสิทธิประโยชน์พื้นฐานอันเฉพาะ เป็นการพิเศษ ซึง่ ท�ำให้สทิ ธิมนุษยชนแตกต่างจากสิทธิโดยทัว่ ไป แม้แต่สทิ ธิทางศีลธรรม” ส่วน ริชาร์ด ฟอล์ก (Richard Falk) เสนอ ว่าสิทธิมนุษยชนคือ “สิทธิประเภทใหม่” ซึ่งมีความส�ำคัญขึ้นมา อันเป็นผลจากการรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ของสหประชาชาติ ในปี 1948 ประเด็นนีค้ วรค่าต่อการระลึกไว้ตลอดการอ่านหนังสือ เล่มนี้ เพราะเราไม่ได้กำ� ลังพูดถึงสิทธิทงั้ ปวงทีม่ นุษย์พงึ มี แต่เรา ก�ำลังพิจารณาหมวดหมู่ของสิทธิอันมีลักษณะพิเศษเฉพาะ การ ขึน้ มามีบทบาทในระดับสากลของสิทธิมนุษยชนหลังสงครามโลก ครั้งที่สองหมายถึงการกระท�ำต่างๆ จะสามารถถูกพิพากษาไม่ เพียงแต่โดยกฎหมายภายใน แต่โดยมาตรฐานทีเ่ กิดขึน้ ภายนอก ระบบของรัฐด้วย หมายความว่าทุกวันนี้ทุกรัฐชาติต่างตกอยู่ ภายใต้การตรวจสอบจากภายนอก หลายคนที่ ศึ ก ษาหั ว ข้ อ สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนหั น ไปศึ ก ษา งานเขี ย นด้ า นศาสนาและปรั ช ญาในยุ ค ต้ น ทั ศ นะเรื่ อ งสิ ท ธิ มนุษยชนของพวกเขามีอยู่ว่า มนุษย์ได้รับมอบสิทธิพื้นฐาน


20

Human

Rights

อันไม่อาจพรากโอนได้ด้วยเหตุแห่งความเป็นมนุษย์ ข้อสรุป ดังกล่าวปรากฏในสังคมต่างๆ หลากหลายรูปแบบ พัฒนาการ ของแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนในประวัติศาสตร์มักเกี่ยวโยงกับ วิวัฒนาการของหลักปรัชญาและการเมืองตะวันตก แต่มุมมอง อื่ น ที่ แ ตกต่ า งจากนั้ น ก็ อ าจพบได้ ใ นการศึ ก ษามวลชน การ พึงพอใจในตนเอง การเคารพผู้อื่น และการแสวงหาการส่งเสริม สวัสดิภาพแก่ผู้อื่นตามธรรมเนียมของลัทธิขงจื๊อ ศาสนาฮินดู หรือศาสนาพุทธ ต�ำราทางศาสนาอย่างเช่นคัมภีร์ไบเบิลและ คัมภีร์อัลกุรอานอาจถูกแปลความว่าไม่ได้ก�ำหนดเพียงหน้าที่ แต่ ยั ง รวมถึ ง สิ ท ธิ ด ้ ว ย การตระหนั ก ถึ ง ความจ� ำ เป็ น ในการ ปกป้ อ งคุ ้ ม ครองเสรี ภ าพและศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ ไ ด้ รั บ การกล่าวถึงในบางส่วนของประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ท่ีสุด ตั้งแต่ประมวลกฎหมายของฮัมมูราบี (Hammurabi’s Code) ใน กรุงบาบิโลนโบราณ (ราว 1780 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ไปจนถึง จารีตประเพณีตามกฎหมายธรรมชาติของตะวันตกซึ่งมีพื้นฐาน มาจากหลักปรัชญากรีกของส�ำนักสโตอิกส์ (Greek Stoics) และแนวคิดเรื่องกฎหมายส�ำหรับชนทั้งปวง (jus gentium) <กฎหมายซึง่ เกิดจากการรวบรวมหลักความเป็นธรรมตามจารีต ของชนทุกเผ่า ใช้บงั คับกับสามัญชนและคนต่างด้าวทีม่ ไิ ด้มฐี านะ เป็นพลเมืองชาวโรมัน> ในกฎหมายโรมัน สิ่งที่เหมือนกันของ ประมวลกฎหมายเหล่านี้คือการรับรองหลักการและมาตรฐาน การกระท�ำบางอย่างทีไ่ ด้รบั การยอมรับอย่างเป็นสากล มาตรฐาน การกระท�ำเหล่านี้เชื่อได้ว่าน่าจะท�ำให้เกิดการขบคิดเรื่องสิทธิ มนุษยชนและอาจมองได้ว่าเป็นต้นก�ำเนิดหรือเป็นอีกรูปแบบ


A Very Short

Introduction

21

หนึ่งของแนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่ความเชื่อมโยงเชิง ประวัติศาสตร์นี้ก็ไม่ได้ชัดเจนอย่างที่บางคนกล่าวอ้าง คราวนี้ เราลองมาดูประวัติศาสตร์ช่วงต้นของการกล่าวอ้างถึงแนวคิด เรื่อง สิทธิ ในความเป็นจริง (ซึ่งอยู่ขั้วตรงข้ามกับการกระท�ำที่ เหมาะสม) รวมทั้งการขานรับอย่างระแวงดังที่เห็นกัน สิทธิของมนุษย์และความไม่พอใจของพวกเขา ค�ำอธิบายของตะวันตกตามมาตรฐานเกี่ยวกับจารีต ด้านสิทธิมนุษยชนค่อนข้างมีปัญหา กล่าวกันว่าการพัฒนา กฎหมายในสาขาสิทธิมนุษยชนช่วงต้นเกิดมาจาก มหากฎบัตร แม็กนา คาร์ตา (Magna Carta) ค.ศ. 1215 ซึง่ เป็นสัญญาระหว่าง พระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษกับคณะขุนนางผูไ้ ม่พอใจการเรียกเก็บ ภาษีโดยกษัตริย์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าข้อตกลงนี้จะรับประกัน สิทธิของ เสรีชน ที่จะไม่ “ถูกจับ หรือถูกจ�ำคุก หรือถูกเพิกถอน กรรมสิทธิ์ที่ดินของเขา หรือถูกท�ำให้เป็นบุคคลนอกกฎหมาย หรือถูกเนรเทศ หรือถูกเบียดเบียนในทางใดทางหนึ่ง...เว้นแต่ กระท�ำโดยค�ำตัดสินอันชอบด้วยกฎหมายของชนชั้นเดียวกัน และกฎหมายของแผ่นดิน” แต่หลักประกันเช่นนี้เป็นเพียงสิทธิ ในการได้รบั การพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุนและมอบให้เฉพาะคน ที่ครอบครองทรัพย์สินเท่านั้น สิทธิที่ปรากฏอยู่ใน มหากฎบัตร แม็กนา คาร์ตา เป็นส่วนหนึ่งของความตกลงทางการเมืองที่ จะขยายเสรีภาพของผู้ถูกปกครองและจ�ำกัดอ�ำนาจของรัฐบาล แต่ทกุ วันนีเ้ ราเข้าใจความหมายว่าสิทธิมนุษยชนเป็นของมนุษย์


22

Human

Rights

ทุกคน จึงไม่ควรจ�ำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มผู้มีเอกสิทธิ์เท่านั้น ดังนั้น จากมุมมองปัจจุบนั เราไม่อาจมองว่า มหากฎบัตรแม็กนา คาร์ตา เป็นตัวอย่างของค�ำประกาศสิทธิมนุษยชนที่ดีนัก การอ้างถึงแค่ เพียงประโยคเดียวก็เพียงพอแล้ว นัน่ คือข้อ 54 ของ มหากฎบัตร แม็กนา คาร์ตา ที่กล่าวว่า “จักต้องไม่มีบุคคลใดถูกจับกุมหรือ คุมขังเพียงเพราะค�ำร้องเรียนของหญิงคนหนึ่งเกี่ยวกับการ เสียชีวิตของใครบางคน ยกเว้นสามีของเธอเอง” ในท�ำนองเดียวกัน บางครั้ง บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิของ ประเทศอังกฤษ (English Bill of Rights) ค.ศ. 1689 อาจกล่าว ได้วา่ เป็นก้าวส�ำคัญทีน่ ำ� ไปสูเ่ อกสารต่างๆ ในทุกวันนี้ บทบัญญัติ นีป้ ระกาศว่า “ห้ามมิให้มกี ารเรียกเก็บเงินประกันตัว หรือสัง่ ปรับ สูงเกินควร หรือลงโทษด้วยวิธีโหดร้ายและผิดธรรมดา” อย่างไร ก็ ต ามยั ง มี ป ระกาศเพิ่ ม เติ ม ด้ ว ยว่ า “บุ ค คลซึ่ ง นั บ ถื อ ศาสนา โปรเตสแตนต์อาจมีอาวุธไว้ป้องกันตัวตามความเหมาะสมกับ สถานการณ์และตามทีก่ ฎหมายอนุญาต” บทบัญญัตวิ า่ ด้วยสิทธิ พัฒนาขึ้นโดยรัฐสภาในฐานะค�ำประกาศสิทธิเพื่อสนองต่อแนว ความคิดและนโยบายของกษัตริย์เจมส์ที่ 2 (King James II) (ผูถ้ กู มองว่าได้สร้างความเปลีย่ นแปลงให้กบั ลักษณะของรัฐและ น�ำมาซึง่ ความอดทนอดกลัน้ ต่อคาทอลิก) และได้รบั การน�ำเสนอ ต่อองค์อธิปัตย์ร่วมในล�ำดับต่อมาคือวิลเลียม (William) และ แมรี (Mary) ในฐานะเงื่อนไขของการสืบทอดราชบัลลังก์เพื่อที่ จะรับรอง “สิทธิและเสรีภาพอันเก่าแก่” และคุ้มครองเสรีภาพ ในการพูด รวมถึงจ�ำกัดการแทรกแซงโดยองค์อธิปัตย์ในรัฐสภา และการเลือกตั้ง


A Very Short

Introduction

23

ขณะเดี ย วกั น ผลงานของนั ก ปรั ช ญาจ� ำ นวนหนึ่ ง มี อิทธิพลที่ประจักษ์ชัดเจนมากต่อการเปล่งเสียงเรียกร้องใน รูปแบบของ “สิทธิตามธรรมชาติ” (natural rights) หรือ “สิทธิ ของมนุษย์” (rights of man) หนังสือ ศาสตร์นิพนธ์ที่สองของ การปกครอง (Second Treatise of Government) ของ จอห์น ล็อค (John Locke) ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1690 มองมนุษย์ใน “สภาวะ ธรรมชาติ” (state of nature) ที่พวกเขาได้ใช้สิทธิของ “สภาวะ แห่งเสรีภาพ” (state of liberty) แต่ทว่าไม่ใช่ “สภาวะที่มีอ�ำนาจ” (state of licence) โดยล็อคให้เหตุผลว่ามนุษย์ทุกคน “จ�ำต้อง พิทกั ษ์รกั ษาตนเอง” ดังนัน้ เมือ่ การพิทกั ษ์ตนเองไม่ได้ถกู คุกคาม ทุกคนจึงควร “พยายามเท่าที่สามารถท�ำได้...ในการพิทักษ์ รักษามวลมนุษยชาติที่เหลือ” และไม่มีใครสามารถ “พรากหรือ ท�ำอันตรายต่อชีวิตหรือปัจจัยในการพิทักษ์รักษาชีวิต เสรีภาพ สุขภาพ อวัยวะแขนขา หรือสิ่งของของบุคคลอื่น” ล็อคมอง รัฐบาลพลเรือนเป็นหนทางออกของสภาวะที่มนุษย์กระท�ำตน เป็นผู้พิพากษาซึ่งบังคับใช้กฎหมายธรรมชาติเสียเอง เขาคิดว่า สัญญาประชาคม (social contract) ดังกล่าวทีเ่ กิดขึน้ ได้อย่างเสรี จะให้สิทธิกับรัฐบาลในการบังคับใช้กฎหมายตราบเท่าที่รัฐบาล ยังเคารพความไว้วางใจทีไ่ ด้รบั มอบจากประชาชน ตามความเห็น ของล็อคนั้น เมื่อใดที่ประชาชนต้องเผชิญกับการใช้อ�ำนาจของ รั ฐ บาลโดยพลการและเบ็ ด เสร็ จ เหนื อ “ชี วิ ต เสรี ภ าพ และ ทรัพย์สนิ ” ของพวกเขา อ�ำนาจของรัฐบาลก็สามารถถูกถอดถอน และถ่ายโอนกลับมายังประชาชนได้เช่นกัน สัญญาประชาคม (The Social Contract) ของ ฌอง


24

Human

Rights

ฌาคส์ รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) ก่อก�ำเนิดแนวความคิด ที่ว่าปัจเจกชนอาจมีเจตจ�ำนงส่วนตัว (volonté particulière) และผลประโยชน์ส่วนตัว (intérêt particulier) ของเขา “อาจ บงการเขาได้แตกต่างอย่างมากจากผลประโยชน์สว่ นรวม” รุสโซ มีความเห็นว่า “ใครก็ตามทีป่ ฏิเสธเจตจ�ำนงร่วมจักต้องถูกบังคับ ให้ยอมรับและปฏิบัติตามเจตจ�ำนงร่วมนั้นโดยคนทั้งปวง เพราะ ตามความเป็นจริงนั่นคือการที่เขาถูกบังคับให้เป็นเสรีนั่นเอง” ส�ำหรับรุสโซแล้ว “สัญญาประชาคมท�ำให้มนุษย์สูญเสียเสรีภาพ ตามธรรมชาติ ของเขาและสิทธิอันไร้ขีดจ�ำกัดในทุกสิ่งซึ่งล่อใจ และเขาสามารถได้มา แต่ผลตอบแทนการสูญเสียที่เขาจะได้รับ กลับคืนคือเสรีภาพของ พลเมือง และความเป็นเจ้าของทุกสิ่ง ที่เขาครอง” หลังจากตีพิมพ์ในปี 1762 สัญญาประชาคม ก็ กลายเป็นจุดตั้งต้นให้กับการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 และแนว ความคิดสัญญาประชาคมก็มีอิทธิพลอย่างมากไปทั่วโลก ด้วย เหตุที่ผู้คนพยายามหาค�ำอธิบายที่ชัดเจนมาโดยตลอดเกี่ยวกับ สิทธิของผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครอง โธมัส เพย์น (Thomas Paine) เป็นนักเขียนหัวขบถ ชาวอังกฤษที่เข้าร่วมการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลกระทบต่อ อเมริกา เขาอพยพไปอเมริกาในปี 1774 และต่อมาในปี 1776 เขาผลิตหนังสือเล่มกะทัดรัดที่มีผู้อ่านอย่างแพร่หลายชื่อว่า สามัญส�ำนึก (Common Sense) มีเนือ้ หาโจมตีความคิดเรือ่ งการ ปกครองโดยระบอบกษัตริย์ รวมทั้งเรียกร้องการปกครองแบบ สาธารณรัฐและสิทธิเสมอภาคของพลเมือง นอกจากนี้เขายังมี ส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญของรัฐเพนซิลเวเนีย ค.ศ. 1776 และ


A Very Short

Introduction

25

การเลิกทาสที่ตามมาในรัฐนั้น ผลงานตีพิมพ์ของเพย์นที่มีชื่อว่า สิทธิของมนุษย์ (Rights of Man) ออกมาในปี 1791 เพือ่ แก้ตา่ งให้ กับการปฏิวตั ฝิ รัง่ เศสด้วยการตอบโต้หนังสือของ เอ็ดมันด์ เบิรก์ (Edmund Burke) เรือ่ ง ภาพสะท้อนการปฏิวตั ใิ นประเทศฝรัง่ เศส (Reflections on the Revolution in France) เพย์นเป็นที่นิยม ในหมูป่ ระชาชนมาก (มีผปู้ ระมาณการว่าหนังสือ สิทธิของมนุษย์ หลากหลายฉบับพิมพ์ ขายได้ถึง 250,000 เล่มภายในเวลา 2 ปี) แต่เขาไม่เป็นทีช่ นื่ ชอบของรัฐบาลนักและต้องค�ำพิพากษาลงโทษ ลับหลังจ�ำเลยที่ศาลากลางกรุงลอนดอนด้วยความผิดฐานพิมพ์ เอกสารอันมีเจตนาก่อความไม่สงบ ฝูงชนแห่กันไปสนับสนุน ทนายแก้ตา่ งของเขาโดยประท้วงว่าเป็นการเหยียบย�ำ่ “เสรีภาพ การพิมพ์” ก่อนหน้านั้นเพย์นหลบหนีออกไปฝรั่งเศสแล้วและ ได้ รั บ รางวั ล ในฐานะที่ ป กป้ อ งการปฏิ วั ติ โ ดยได้ รั บ เลื อ กตั้ ง เป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ แต่ในเวลาต่อมาเขาถูกจ�ำคุกฐาน ท�ำให้สมาคมฌากอแบ็ง (Jacobins) โกรธเคืองที่เขาคัดค้าน การประหารชีวิตกษัตริย์ เขารอดจากโทษประหารชีวิต (ตาม ค�ำบอกเล่าว่ารอดมาเพราะเครื่องหมายที่เขียนด้วยชอล์กถูก กาบนประตูผิดด้าน) หลังจากนั้นเขาหนีไปอเมริกาและเสียชีวิต ในปี 1809 โดยไร้พิธีกรรมใดๆ งานเขียนของเขายังคงส่งเสียง ก้องกังวานอยูจ่ นทุกวันนี้ และเราไม่ตอ้ งมองหาทีไ่ หนไกลเพราะ เราอาจพบสติก๊ เกอร์บนกันชนรถยนต์และป้ายทีม่ วี รรคทองจาก หนังสือ สิทธิของมนุษย์ ของเพย์นที่ว่า “ประเทศของฉันคือโลก และศาสนาของฉันคือการท�ำความดี” (my country is the world, and my religion is to do good)


26

Human

Rights

การอ่านงานของเพย์นเผยให้เห็นว่าอะไรท�ำให้สิทธิ มนุษยชนเป็นแนวคิดทีย่ นื ยงอยูไ่ ด้ นัน่ เป็นเพราะเพย์นมีอารมณ์ อ่อนไหวกับความทุกข์ยากของคนอื่น เมื่อข้าพเจ้าคิดถึงศักดิ์ศรีตามธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อ ข้าพเจ้ารู้สึก (เพราะธรรมชาติไม่กรุณาเพียงพอที่จะท�ำให้ ข้าพเจ้ารู้สึกเฉยชา) ถึงเกียรติยศและความสุขของการ เป็นมนุษย์ ข้าพเจ้าเกิดความหงุดหงิดกับความพยายาม ที่จะควบคุมมนุษยชาติด้วยการใช้ก�ำลังและการหลอกลวง เสมือนดั่งว่าพวกเขาทั้งหลายเป็นคนโกงและโง่เขลา และ ข้าพเจ้าแทบไม่อาจหลีกเลี่ยงความสิ้นหวังที่มีต่อบรรดา ผู้ถูกเอาเปรียบเหล่านั้น

เพย์นต�ำหนิเบิร์กที่ไม่รู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้ทุกข์ทรมาน ในคุกบาสติลล์ และไม่สะทกสะท้านกับ “ความเป็นจริงของ ความทุกข์ยาก” ผู้เขียนขอชี้แนะว่าเมื่อถึงตรงนี้เราสามารถเห็น เมล็ดพันธุท์ แี่ ท้ของการขับเคลือ่ นสิทธิมนุษยชน นัน่ คือความรูส้ กึ เห็นอกเห็นใจต่อความยากล�ำบากของผูอ้ นื่ ควบคูไ่ ปกับส�ำนึกถึง ความอยุตธิ รรมเมือ่ รัฐบาลหันไปใช้มาตรการรุกรานสิทธิซงึ่ ได้รบั การยอมรับในวงกว้างว่าเป็นสิทธิตามธรรมชาติของปัจเจกชน ดังนัน้ แนวคิดสมัยใหม่ในเรือ่ งสิทธิมนุษยชนจึงสืบสาว ได้โดยง่ายไปถึงความคิดและข้อความทีใ่ ช้กนั ในปลายศตวรรษที่ 18 เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายว่าค�ำประกาศอิสรภาพของอเมริกา (American Declaration of Independence) ค.ศ. 1776 ประกาศ


A Very Short

Introduction

27

ว่า “เราถือว่าความจริงต่อไปนี้เป็นสิ่งประจักษ์แจ้งในตัวเอง นั่น คือมนุษย์ทกุ คนถูกสร้างขึน้ มาอย่างเท่าเทียมกันและพระผูส้ ร้าง ได้มอบสิทธิทมี่ อิ าจพรากได้บางประการแก่มนุษย์ ในบรรดาสิทธิ เหล่านั้นได้แก่ ชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุข” ทั้งนี้มี การประกาศสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง (Declaration of the Rights of Man and of the Citizen) โดยประเทศฝรั่งเศสตามมา ในปี 1789 โดยสองมาตราแรกที่รู้จักกันดีรับรองและประกาศว่า “มนุษย์ทั้งหลายเกิดมาและด�ำรงอยู่อย่างเสรีและเสมอภาคกัน ทางสิทธิ” และ “จุดมุ่งหมายของสมาคมการเมืองทุกสมาคมคือ การพิทักษ์รักษาสิทธิตามธรรมชาติและสิทธิอันมิอาจพรากได้ ของมนุษย์ สิทธิเหล่านี้ประกอบด้วยเสรีภาพ ทรัพย์สิน ความ มั่นคง และการต่อต้านการกดขี่” อย่างไรก็ตาม สิทธิที่พวกเขา อ้างถึงส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องเฉพาะรัฐเหล่านั้นในส่วนที่สัมพันธ์ กับพลเมือง และมีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้ประโยชน์จาก การคุม้ ครองเช่นนี้ ค�ำประกาศปฏิวตั เิ หล่านีล้ ว้ นเป็นตัวแทนของ ความพยายามที่จะเทิดทูนสิทธิมนุษยชนให้เป็นหลักการชี้น�ำ ในรัฐธรรมนูญของรัฐใหม่หรือหน่วยการเมืองใหม่ ประกาศดัง ที่กล่าวมาได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดเสรีนิยมในสังคมและ ความเชื่อในกฎหมายธรรมชาติ เหตุผลของมนุษย์ และระเบียบ สากล (พวกผู้ชาย) เชื่อกันว่าสิทธิเป็นทรัพย์สินเฉพาะส�ำหรับ ผู้ที่สามารถใช้ทางเลือกที่สมเหตุสมผล (คือกลุ่มคนซึ่งไม่รวม ผูห้ ญิง) ความพยายามโดย โอลิมป์ เดอ กูจ์ (Olympe de Gouge) ที่จะสนับสนุน (ผ่านค�ำร้องต่อพระราชินีมารี อังตัวเนตต์) ค�ำ ประกาศสิทธิของสตรี (Declaration of the Rights of Women)


28

Human

Rights

และ “สัญญาประชาคมระหว่างชายและหญิง” (Social Contract Between Man and Woman) โดยให้มีการก�ำหนดหลักเกณฑ์ เรือ่ งสิทธิในทรัพย์สนิ และมรดก แต่ปรากฏว่าไม่มผี ใู้ ดสนใจรับฟัง ในอังกฤษงานเขียนเรือ่ ง การปกป้องสิทธิของสตรี (A Vindication of the Rights of Woman) โดย แมรี วอลล์สโตนคราฟต์ (Mary Wollstonecraft) เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสให้

ภาพประกอบ 2 แมรี วอลล์สโตนคราฟต์ (Mary Wollstonecraft)


A Very Short

Introduction

29

เคารพสิทธิของผูห้ ญิง โดยให้เหตุผลว่าผูช้ ายไม่สามารถตัดสินใจ เองว่าสิ่งทีพ่ วกเขาเลือกจะดีทสี่ ุดส�ำหรับผูห้ ญิง (ดูภาพประกอบ 2) การปฏิเสธสิทธิสตรีเท่ากับลงโทษผู้หญิงให้อยู่แต่ในอาณา บริเวณของครอบครัวและทิ้งให้พวกเธอ “คล�ำทางในความมืด” (ดูล้อมกรอบที่ 2) ล้อมกรอบที่ 2 ค�ำอุทิศของ แมรี วอลล์สโตนคราฟต์ ให้แก่นายทอลลีฮอง-เปริกอร์ (Talleyrand-Périgord) ใน A Vindication of the Rights of Woman (1792) ดิฉันกล่าวกับท่านในฐานะที่ท่านเป็นสมาชิกสภา นิตบิ ญ ั ญัติ ขอท่านลองไตร่ตรองดูวา่ ในขณะทีผ่ ชู้ ายต่อสูเ้ พือ่ เสรีภาพของพวกเขาและเพือ่ ได้รบั ความยินยอมให้ตดั สินใจ ได้ดว้ ยตนเองว่าจะหาความสุขอย่างไร มันมิใช่ความย้อนแย้ง และอยุติธรรมหรอกหรือที่จะมาควบคุมผู้หญิงให้อยู่ภายใต้ อ�ำนาจ แม้ท่านจะเชื่ออย่างแน่วแน่ว่าท่านก�ำลังกระท�ำสิ่ง เหล่านี้ตามการคิดตริตรองมาอย่างดีแล้วเพื่อให้พวกเธอมี ความสุขมากขึน้ ? ใครเป็นคนก�ำหนดให้ผชู้ ายตัดสินใจเพียง ฝ่ายเดียวว่าจะให้ผหู้ ญิงมีสว่ นร่วมกับเขาหรือไม่? พรสวรรค์ ของการใช้เหตุผลอย่างนัน้ หรือ? ในทางเดียวกัน ทรราชย์ทกุ รูปแบบนับตั้งแต่กษัตริย์ผู้อ่อนแอของรัฐจนถึงพ่อที่อ่อนแอ ของครอบครัวต่างกระหายจะบดขยี้เหตุผล ทั้งยังยืนกราน อย่างเดียวว่าพวกเขาแย่งชิงบัลลังก์เพือ่ ทีจ่ ะท�ำคุณประโยชน์ ท่านไม่ได้ทำ� เช่นนัน้ ด้วยหรือเมือ่ ยามทีท่ า่ น บังคับ ให้ผหู้ ญิง


30

Human

Rights

ทุกคนถูกกักขังอยูใ่ นครอบครัวและคล�ำทางในความมืดโดยที่ ท่านปฏิเสธสิทธิความเป็นพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของ พวกเธอ แน่นอนว่าท่านคงจะไม่ยืนกรานว่าหน้าที่จะมีผล ผูกพันได้ทั้งที่ไม่มีเหตุผลรองรับใช่ไหม? คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ตอบโต้ค�ำประกาศสิทธิ ในรัฐธรรมนูญของรัฐเพนซิลเวเนียและนิวแฮมป์เชียร์ รวมทั้ง ค�ำประกาศฝรัง่ เศส โดยเย้ยหยันความคิดทีว่ า่ สิทธิอาจมีประโยชน์ ในการสร้างชุมชนการเมืองใหม่ ส�ำหรับมาร์กซ์ สิทธิเหล่านี้เน้น ความเห็นแก่ตัวของปัจเจกชนมากกว่าการปลดปล่อยมนุษย์ให้ เป็นอิสระจากศาสนา ทรัพย์สนิ และกฎหมาย มาร์กซ์มวี สิ ยั ทัศน์ ต่อชุมชนในอนาคตว่าทุกความต้องการจะได้รับการตอบสนอง และปราศจากความขัดแย้งเรือ่ งผลประโยชน์ ดังนัน้ สิทธิหรือการ บังคับใช้สทิ ธิจะไม่มบี ทบาทใดเลย มาร์กซ์ยงั ชีใ้ ห้เห็นเรือ่ งสนเท่ห์ ว่าหากสิทธิถกู จ�ำกัดเพือ่ ประโยชน์ของส่วนรวมแล้ว การประกาศ ว่าจุดหมายของชีวติ ทางการเมืองคือการคุม้ ครองสิทธิกจ็ ะกลาย เป็นเรื่องซับซ้อนวนเวียนไปมา (ดูล้อมกรอบที่ 3) ในศตวรรษที่ 19 สิทธิตามธรรมชาติหรือ “สิทธิของ มนุษย์” เริ่มเกี่ยวโยงกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองน้อยลง นักคิดอย่าง เจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham) เยาะเย้ยแนวคิด ที่ว่า “มนุษย์ทุกคนเกิดมาเสรี” โดยหาว่าเป็นสิ่ง “ไร้สาระและ ไร้เหตุผลอย่างน่าสังเวช” เบนแธมโด่งดังจากการวิจารณ์สิทธิ ตามธรรมชาติและมิอาจพรากได้ว่าเป็น “เรื่องเหลวไหลบน


A Very Short

Introduction

31

ล้อมกรอบที่ 3 คาร์ล มาร์กซ์, ค�ำถามเรื่องยิว (On the Jewish Question) (1843) เป็นเรื่องน่าฉงนทีเดียวที่ผู้คนซึ่งเพิ่งเริ่มปลดปล่อย ตัวเอง ท�ำลายอุปสรรคทางชนชั้นทั้งหลายทั้งปวง และ สถาปนาชุมชนการเมืองขึน้ กลับป่าวประกาศอย่างขรึมขลัง (ค�ำประกาศฝรั่งเศส ค.ศ. 1791) ให้แบ่งแยกสิทธิของคน ผู้ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางออกจากเพื่อนร่วมชาติและชุมชน อีกทั้งกล่าวประกาศนี้ซ�้ำในช่วงเวลาที่การอุทิศตนอย่าง กล้าหาญที่สุดเท่านั้นที่จะพิทักษ์รักษาชาติไว้ได้ (และการ อุทิศตนนี้จึงถูกเรียกร้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้) ในช่วงเวลา ที่ ก ารเสี ย สละประโยชน์ ทั้ ง มวลของประชาสั ง คมจ� ำ เป็ น ต้องมีสถานะระเบียบและความเห็นแก่ตัวจะต้องถูกลงโทษ ประหนึ่งอาชญากรรม (ค�ำประกาศว่าด้วยสิทธิของมนุษย์ และอื่นๆ ค.ศ. 1793) ข้อเท็จจริงนี้กลายเป็นเรื่องสับสน ยิ่งขึ้นเมื่อเราเห็นว่าผู้ปลดแอกทางการเมืองกล่าวเลยเถิด ให้ลดสถานะความเป็นพลเมืองและ ชุมชนการเมือง ให้เป็น เพียง เครื่องมือ ส�ำหรับธ�ำรงรักษาสิ่งที่เรียกว่าสิทธิของ มนุษย์ ทั้งด้วยเหตุนี้ พลเมือง (citoyen) จึงถูกประกาศให้ เป็นผู้รับใช้ มนุษย์ ผู้ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง โลกที่มนุษย์ ปฏิบัติตัวในฐานะส่วนหนึ่งของชุมชน (communal being) ถูกลดระดับลงไปต�่ำยิ่งกว่าโลกที่เขาปฏิบัติตัวเป็นเพียง ส่วนเสีย้ วของสังคม (partial being) และในทีส่ ดุ เมือ่ เราเห็นว่า มนุษย์ไม่ใช่ พลเมือง แต่เป็น ชนชัน้ กระฎุมพี ทีถ่ อื กันว่าเป็น มนุษย์ ที่แท้จริงผู้มีสารัตถะ (the essential and true man)


32

Human

Rights

เหตุผลวิบัติ” โดยประกาศว่าการต้องการบางสิ่งนั้นไม่เหมือน กับการมีสิ่งนั้น ถ้าหากใช้ภาษาของเบนแธมคือ “ความหิวไม่ใช่ ขนมปัง” (hunger is not bread) เพราะส�ำหรับเบนแธมแล้ว สิทธิทแี่ ท้จริงคือสิทธิตามกฎหมาย และผูท้ จี่ ะมีบทบาทท�ำให้เกิด สิทธิตามกฎหมายและก�ำหนดขอบเขตสิทธิเหล่านัน้ คือผูบ้ ญ ั ญัติ กฎหมาย ไม่ใช่ผู้สนับสนุนสิทธิตามธรรมชาติ เบนแธมเห็นว่า มนุษย์ก�ำลังหาเรื่องใส่ตัว หรืออาจเรียกได้ว่าก�ำลังเชื้อเชิญให้ เกิดสภาพอนาธิปไตยจากการเสนอว่ารัฐบาลถูกควบคุมจ�ำกัดได้ โดยสิทธิตามธรรมชาติ นักวิชาการร่วมสมัย อมาตยา เซน (Amartya Sen) กลับไปหาอิทธิพลจากงานของเบนแธม และหยิบยก “บทวิพากษ์ ความชอบธรรม” (legitimacy critique) ขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งบางคน มองสิทธิมนุษยชนเป็น “การเรียกร้องทางศีลธรรมที่มาก่อนยุค การเรียกร้องทางกฎหมาย” (pre-legal moral claims) ที่ “แทบ จะไม่เคยถูกมองเลยว่าเป็นการมอบสิทธิทสี่ ามารถตัดสินชีข้ าดได้ ในศาลและองค์กรทีบ่ งั คับใช้กฎหมายอืน่ ๆ” เซนเตือนให้ระวังการ สับสนระหว่างสิทธิมนุษยชนกับ “สิทธิตามกฎหมายทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้” (legislated legal rights) ยิง่ ไปกว่านัน้ เขายังชีใ้ ห้เห็นถึงปฏิกริ ยิ า ต่อวาทกรรมสิทธิมนุษยชน กล่าวคือ บางคนอ้างว่าสิทธิมนุษยชน เป็นสิ่งแปลกปลอมส�ำหรับบางวัฒนธรรมที่อาจเลือกให้ความ ส�ำคัญกับหลักการอื่นมากกว่า อย่างเช่นการเคารพผู้มีอ�ำนาจ เซนเรียกสิ่งนี้ว่า “บทวิพากษ์เชิงวัฒนธรรม” (cultural critique) ค�ำวิพากษ์อย่างหลังนี้เป็นความฝังใจร่วมในหมู่ผู้ให้ความเห็น เชิงวิชาการทุกครั้งที่มีการหยิบยกประเด็นสิทธิมนุษยชนขึ้นมา


A Very Short

Introduction

33

อันที่จริงหนังสือ ความรู้ฉบับพกพาเรื่องจักรวรรดิ (The Very Short Introduction to Empire) กล่าวไว้วา่ ส�ำหรับผูส้ งั เกตการณ์ บางคน ศาลอาญาระหว่ า งประเทศส� ำ หรั บ อดี ต ยู โ กสลาเวี ย (International Criminal Tribunal for the former Yugoslavia) [อั น โด่ ง ดั ง จากการพิ จ ารณาคดี ข อง สโลโบดาน มิ โ ลเซวิ ช (Slobodan Milošević) ที่ต้องยกเลิกกลางคัน <เพราะมิโลเซวิช เสียชีวิตเสียก่อน>] เป็นการรังสรรค์ขึ้นโดยจักรวรรดินิยม และ ส�ำหรับ “นักวิจารณ์ที่มองเช่นนั้น ความคิดทั้งหลายเกี่ยวกับ สิทธิมนุษยชนอันเป็น ‘สากล’ แท้จริงแล้วเป็นเรื่องหลอกลวง มโหฬารที่ อ� ำ นาจจั ก รวรรดิ นิ ย มตะวั น ตกหรื อ อดี ต นั ก ล่ า อาณานิคมพยายามน�ำเสนอให้ยอมรับแนวคิดเฉพาะเจาะจง ของตนว่าอะไรเป็น ‘สิทธิ’ สากล โดยเหยียบย�่ำความเชื่อและ ประเพณีของคนอื่น” เราอาจตอบข้อวิพากษ์ดังกล่าวได้ดังต่อไปนี้ ประการ แรก เบนแธมถูกที่บอกว่าสิทธิตามธรรมชาติไม่มีเนื้อหาที่ได้รับ การยอมรั บ หรื อ มี ค วามชอบธรรมทางกฎหมายในเวลานั้ น ปัจจุบันสิทธิเหล่านั้นมีเนื้อหาและได้รับการยอมรับจากฝ่าย นิ ติ บั ญ ญั ติ แ ละรั ฐ บาล ทุ ก รั ฐ ในโลกยอมรั บ ที่ จ ะผู ก พั น ต่ อ สนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ประการที่สอง ประเภทของสิทธิที่ได้รับการส่งเสริมในต่างประเทศมิได้มีความ แปลกปลอมมากเท่าทีถ่ กู อ้าง ปัจจุบนั แม้ผนู้ ำ� บางคนอาจพยายาม ปัดฝุ่นข้อวิพากษ์ต่อสิทธิมนุษยชนว่าเป็นของแปลกปลอมหรือ ของตะวันตกก็ตาม หากแต่มีแนวโน้มว่าสิทธิจะถูกอ้างจาก ประชาชนทั่วไปโดยเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการรณรงค์เพื่อ


34

Human

Rights

ต่อต้านการกดขีม่ ากกว่าทีจ่ ะถูกหยิบยกเพือ่ ป้ายสีกนั ในทีป่ ระชุม ของเหล่าผู้น�ำ ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีช่องว่างให้ วัฒนธรรมที่แตกต่างได้เลือกทางออกที่แตกต่างเมื่อเกิดการ ปะทะกันระหว่างสิทธิ ดังทีเ่ ราจะได้เห็นว่าสิทธิมนุษยชนทุกวันนี้ ยินยอมให้เกือบทุกสิทธิสามารถถูกจ�ำกัดได้เพือ่ พิจารณาถึงสิทธิ ของบุคคลอื่น บางคนอาจบอกว่าเรายังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสิทธิ เหล่านีม้ อี ยูจ่ ริง (นอกเหนือไปจากกรอบกฎหมายและสนธิสญ ั ญา) ในฐานะค�ำถามต่อตรรกะทางศีลธรรมส�ำหรับทุกคน ทว่าเป็น เพียงแค่พาหนะอันสะดวกส�ำหรับคนที่ใช้มันเพื่อการเรียกร้อง ผู้เขียนคิดว่าเราควรจะหันไปหาแนวคิดทรงอิทธิพลที่ว่าสิทธิ มนุษยชนนัน้ แท้จริงแล้วคือการคุม้ ครองศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์ เพื่อจะแสดงให้เห็นว่าสิทธิมนุษยชนไม่ใช่แค่ข้อเรียกร้องที่ขัด แย้งกัน แต่สิทธิมนุษยชนสะท้อนเหตุผลว่ามนุษย์มีคุณค่าพิเศษ (ดูล้อมกรอบที่ 4) ศักดิ์ศรี นักปรัชญาสมัยใหม่พยายามจะสร้างความชอบธรรมให้ กับความส�ำคัญของสิทธิโดยอ้างถึงคุณค่าทีเ่ หนือกว่าบางประการ เช่น เสรีภาพ ความเป็นธรรม ความเป็นอิสระในการปกครอง ตนเองหรืออัตตาณัติ (autonomy) ความเท่าเทียม ความเป็น บุคคล (personhood) หรือศักดิ์ศรี ภายหลังยุคของนักปรัชญา ชาวเยอรมัน อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) มีบางคน


A Very Short

Introduction

35

ล้อมกรอบที่ 4 เฟรเดริค เมเกรต และคณะ (Frédéric Mégret et al), ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์: ประเด็นสนใจ เป็นพิเศษต่อกลุม่ ทีม่ คี วามเปราะบาง (Human Dignity: A Special Focus on Vulnerable Groups) แนวคิดของศักดิ์ศรีอาจหมายถึงว่า อย่าท�ำให้เรา กลายเป็นกระบวนการของสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ไม่ใช่ตัวเรา อย่า ท�ำให้เรากลายเป็นเหยือ่ ข้างเคียงของวัตถุประสงค์ทยี่ งิ่ ใหญ่ กว่า อีกนัยหนึ่ง นี่คือการเรียกร้องให้การจัดการสังคมต้อง ยอมตามศักดิศ์ รีของบุคคล มิใช่ให้บคุ คลยอมตามการจัดการ ของสังคม ในแง่นี้แนวทางเรื่องศักดิ์ศรีสามารถให้ผลที่น่า พึงพอใจกว่าการพรรณนา “สิทธิหลัก” (core rights) จ�ำนวน หนึ่งซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงการเลือกที่กระอักกระอ่วนและด่วน สรุปเกินไป ทั้งที่สิทธิต่างๆ ยังผลแตกต่างกันในหมู่ผู้คนที่ มีความแตกต่างในเวลาที่แตกต่างกันไป ทุกสิทธิมีความส�ำคัญเท่าเทียมกัน และทุกสิทธิ ก็มีส่วนที่เป็นหลัก (core) และมีส่วนที่ถูกบดบังเป็นเงามัว (penumbra) ซึ่ ง ส่ ว นที่ เ ป็ นหลั ก ของสิ ท ธิ นั้ น ก็ คือ ส่ ว นที่ ศักดิ์ศรีตกอยู่ในความเสี่ยงนั่นเอง


36

Human

Rights

พยายามสร้างตรรกะสิทธิมนุษยชนจากหลักศีลธรรมสัมบูรณ์ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากกฎเกณฑ์ต่อไปนี้ กฎข้อแรกคือ พวกเราแต่ละ คนจะต้องปฏิบตั ติ ามหลักการทีเ่ ราปรารถนาให้มนุษย์ผมู้ เี หตุผล อื่นๆ ปฏิบัติเช่นกัน และกฎข้อสองคือ บุคคลไม่ควรได้รับการ ปฏิบัติเสมือนเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุจุดหมาย แต่บุคคลควร ได้รับการปฏิบัติเยี่ยงเขาเป็นจุดหมายในตัวเอง นักปรัชญาสมัย ใหม่ อลัน เกอร์วิธ (Alan Gerwith) กล่าวไว้ว่า “เจ้าหน้าที่และ สถาบันต่างๆ ถูกห้ามอย่างเด็ดขาดไม่ให้ย�่ำยีศักดิ์ศรีของบุคคล และปฏิบัติราวกับว่าพวกเขาไร้สิทธิหรือศักดิ์ศรี” ประเด็นนี้มัก เป็นจุดเริ่มต้นของทฤษฎีสิทธิต่างๆ ที่เน้นย�้ำความส�ำคัญของ อัตตาณัตแิ ละความเป็นผูก้ ระท�ำการ (agency) ของปัจเจกบุคคล ว่าเป็นคุณค่าล�ำดับต้นที่จะต้องได้รับความคุ้มครอง นักปรัชญาสมัยใหม่ เยอร์เกน ฮาเบอร์มาส (Jürgen Habermas) เน้นย�้ำเรื่องที่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นมีรากมา จากกฎหมายที่ให้คุณค่ากับความเท่าเทียมและความเป็นสากล และการที่สิทธิมนุษยชนถูกผูกเข้ากับการเกิดขึ้นของสถาบัน ประชาธิปไตยที่อนุญาตให้มีการแสดงและเผยแพร่ความคิดและ การมีส่วนร่วมอย่างอิสระ ส�ำหรับฮาเบอร์มาสแล้ว “แนวความ คิดเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คือข้อต่อทางความคิดที่เชื่อม ศี ล ธรรมว่ า ด้ ว ยการเคารพทุ ก คนอย่ า งเท่ า เที ย มกั น เข้ า กั บ กฎหมายบ้านเมือง (positive law) และกระบวนการร่างกฎหมาย ที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งหากมีสภาวการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ เหมาะสม การปฏิสมั พันธ์กนั ระหว่างสิง่ เหล่านีจ้ ะช่วยสร้างระบบ การเมืองอันมีพนื้ ฐานจากสิทธิมนุษยชนได้” ในทางกลับกัน สิทธิ


A Very Short

Introduction

37

มนุษยชน “สะท้อนอุดมคติของสังคมเป็นธรรมในรูปแบบสถาบัน ของรัฐที่ปกครองโดยมีรัฐธรรมนูญ” การอธิบายในเชิงปรัชญาดังกล่าวนั้นเป็นประโยชน์ เพราะมันบอกเราว่า ท�ำไม เราจึงอยากคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เราสามารถมองเห็นว่าสิทธิสามารถเป็นเครื่องมือในการสร้าง สังคมทีย่ อมให้ผคู้ นมีเสรีภาพทีจ่ ะพัฒนาในฐานะปัจเจกผูม้ อี สิ ระ ในการเลือก และในขณะเดียวกันก็ยอมให้เข้าร่วมในกระบวนการ ตัดสินใจของชุมชนได้อย่างเท่าเทียม อีกนัยหนึ่ง เราอาจเริ่มต้น ยอมรั บ ว่ า การจั ด การทางการเมื อ งนั้ น เป็ น ประโยชน์ ใ นการ คุ้มครองสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่เพราะว่าทุกชุมชนจะต้องปกป้อง สิทธิทพี่ ระเจ้ามอบให้ หรือเพราะต้องเคารพหน้าทีท่ พี่ ระเจ้าหรือ “เหตุผลตามธรรมชาติ” เรียกร้อง แต่เป็นเพราะสิทธิมนุษยชนได้ พิสูจน์แล้วว่าเป็นหนทางที่เป็นประโยชน์ในการคุ้มครองคุณค่า อื่นๆ เช่นศักดิ์ศรี บางคนอาจตั้งค�ำถามในจุดนี้ว่าแนวคิดเรื่องศักดิ์ศรี เหมาะสมที่จะได้รับการคุ้มครองมากกว่าสิทธิมนุษยชนจริงหรือ และถ้ามีอยูจ่ ริง การคุม้ ครองศักดิศ์ รีนนั้ หมายรวมถึงอะไร? ขณะ ที่เราสามารถพบเห็นการเรียกร้องที่วางอยู่บนฐานของศักดิ์ศรี ได้ทุกรูปแบบ แต่เราอาจเสนอได้ว่าประเด็นสมัยใหม่เกี่ยวกับ ศักดิ์ศรีอาจแบ่งออกได้เป็นสี่รูปแบบ ดังที่เคยปรากฏในการให้ เหตุผลของศาล ดังนี้ ประการแรก การห้ามการปฏิบตั ทิ กุ รูปแบบ ทีก่ อ่ ให้เกิดความทรมาน ท�ำให้อบั อาย หรือย�ำ่ ยีศกั ดิศ์ รีโดยบุคคล หนึ่งต่ออีกบุคคลหนึ่ง ประการที่สอง การประกันความเป็นไปได้ ของตัวเลือกของปัจเจกและเงื่อนไขส�ำหรับการบรรลุซึ่งความ


38

Human

Rights

พึงพอใจของปัจเจก ความเป็นอิสระในตนเอง หรือการใช้ความ สามารถของตนเอง ประการที่สาม การยอมรับว่าการคุ้มครอง อั ต ลั ก ษณ์ ข องกลุ ่ ม และวั ฒ นธรรมอาจมี ค วามส� ำ คั ญ ต่ อ การ คุ้มครองศักดิ์ศรีของบุคคล และประการที่สี่ การสร้างสภาวะที่ เอื้อให้ปัจเจกสามารถบรรลุความต้องการพื้นฐานได้ คริสโตเฟอร์ แมคครูดเดน (Christopher McCrudden) ได้ค้นคว้าเกี่ยวกับการใช้ศักดิ์ศรีเป็นฐานในการตัดสินคดีสิทธิ มนุษยชนอย่างกว้างขวาง ซึง่ ไม่เพียงแต่ในระดับระหว่างประเทศ โดยศาลสิทธิมนุษยชนของยุโรปและอเมริกา แต่ยังรวมถึงศาล ภายในของแอฟริกาใต้ ฮังการี อินเดีย อิสราเอล เยอรมนี แคนาดา ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร งานศึกษาของเขา แสดงให้เห็นว่าแม้ว่าเราจะยังไม่ได้ข้อยุติเกี่ยวกับความหมาย อันเป็นสาระที่แท้จริงของค�ำว่าศักดิ์ศรี แต่ค�ำค�ำนี้ได้กลายเป็น “ภาษาทีผ่ พู้ พิ ากษาใช้เพือ่ แสดงความชอบธรรมกับวิธจี ดั การกับ ประเด็น เช่น การให้น�้ำหนักกับสิทธิ” ศักดิ์ศรีอาจจะเป็นค�ำศัพท์ที่ช่วยอธิบายให้เรามองเห็น ว่าท�ำไมเหตุผลบางประการจึงได้รับความนิยมมากกว่าอย่างอื่น ไม่จ�ำเป็นเสมอไปว่าตัวมันเองจะสร้างความชอบธรรมให้กับ ผลลัพธ์เฉพาะอย่าง เสรีภาพในการแสดงออกเป็นประเด็นเรื่อง ศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์ การจ�ำกัดเสรีภาพนีเ้ พือ่ ปกป้องชีวติ ส่วน ตัวของผูอ้ นื่ เพือ่ ป้องกันการสือ่ สารความเกลียดชัง (hate speech) หรือเพื่อก�ำจัดสื่อลามกอนาจารเด็ก ก็เป็นประเด็นเรื่องศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน ทั้งสองฝั่งของการถกเถียงเรื่อง การท�ำแท้งหรือการุณยฆาตก็ดึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาเป็น


A Very Short

Introduction

39

หลักการชีน้ ำ� ว่าใครเป็นฝ่ายถูก ดังทีเ่ ราจะได้เห็นในการพิจารณา เรือ่ งสมดุลของสิทธิในบทที่ 6 และบทที่ 8 ว่าวิญญูชนอาจเห็นต่าง กันได้วา่ ศักดิศ์ รีของผูใ้ ดควรจะได้รบั ความส�ำคัญมากกว่า แต่เมือ่ มองจากมุมนี้ เราจะเห็นได้ว่าคดีสิทธิมนุษยชนเป็นมากกว่าการ ตีความเจตนารมณ์ของผู้ร่างกฎหมาย คดีเหล่านี้มักจะกินความ ไปถึงทางเลือกที่สังคมเราต้องการจะเป็น ตัวอย่างเมื่อไม่นานมานี้ในคดีเกี่ยวกับการจ�ำคุกตลอด ชีวิต ผู้พิพากษาได้สร้างความชอบธรรมให้กับผลการสืบสวน เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนโดยอธิบายว่าผลการตัดสินนั้นมาจาก ความจ�ำเป็นที่จะยืนหยัดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในเยอรมนี (และต่อมาในศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป) การจ�ำคุกตลอดชีวิต โดยไม่มีการทบทวนโทษอาจไม่สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชน เพราะการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษเป็นสิ่งจ�ำเป็นใน “สังคมใดก็ตามที่ วางหลักการศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ที่ใจกลาง” การหันหลังให้ทฤษฎี นักปรัชญาบางคนแนะให้เราเลิกแสวงหาทฤษฎีที่น่า เชือ่ ถือว่าท�ำไมเราจึงต้องมีสทิ ธิมนุษยชน ริชาร์ด รอร์ตี (Richard Rorty) มองว่าตามความเป็นจริงแล้ว “การเกิดขึน้ ของวัฒนธรรม สิทธิมนุษยชนดูเหมือนจะไม่ได้เป็นผลมาจากความรูท้ างศีลธรรม ที่เพิ่มพูนขึ้น แต่ทั้งหมดล้วนเกิดจากการได้ยินเรื่องราวอันน่า เศร้าและสะเทือนอารมณ์” และเราควรลืมทฤษฎีเชิงศีลธรรม ของนักมูลฐานนิยมที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนไปเสียเลย เพื่อ


40

Human

Rights

ที่เราจะสามารถ “ให้ความส�ำคัญกับการควบคุมความรู้สึกและ การศึกษาด้านอารมณ์ได้ดีกว่าเดิม” นักปรัชญาคนอื่นเน้นย�้ำ ว่าสิทธิมนุษยชนคือข้อเรียกร้องว่าโลกควรจะเปลี่ยนไปอย่างไร และเรียกร้องว่าสิ่งต่างๆ ควรจะเป็นอย่างไร (ดูล้อมกรอบที่ 5) ล้อมกรอบที่ 5 ไมเคิล กูดฮาร์ต (Michael Goodhart), “สิทธิมนุษยชนและการเมืองของการต่อต้าน” (‘Human Rights and the Politics of Contestation’) ข้อเรียกร้องทางสิทธิมนุษยชนคือความต้องการเชิง การเมืองในความหมายอย่างกว้างที่สุด ซึ่งเป็นข้อเรียกร้อง เชิงคุณค่าเพื่อก�ำหนดกฎเกณฑ์ว่าสิ่งต่างๆ ควรจะ เป็น อย่างไร แต่ไม่ได้หมายความว่านั่นคือข้อเรียกร้องเกี่ยวกับ ความจริงเชิงศีลธรรม ข้อเรียกร้องเหล่านี้สะท้อนความเชื่อ ทีว่ า่ ทุกคนควรได้รบั การปฏิบตั เิ ฉกเช่นผูม้ ศี ลี ธรรมเท่าเทียม กันที่มีสิทธิในเสรีภาพพื้นฐานบางประการ การเรียกร้อง สิทธิมนุษย์คือการท้าทายระบบของสิ่งต่างๆ ที่เป็นอยู่ คือ การต่อสู้กับโครงสร้างของอ�ำนาจ และเผชิญกับอภิสิทธิ์ และความเหลื่อมล�้ำต�่ำสูงที่เป็นไป “ตามธรรมชาติ” หรือ ตามอ�ำเภอใจ ด้วยความเชื่ออันไม่สั่นคลอนในเสรีภาพและ ความเท่าเทียมส�ำหรับทุกคน ในแง่นี้สิทธิมนุษยชนคือการ เลือกข้างหรือถืออุดมการณ์ สิทธิเหล่านีส้ ะท้อนวิธคี ดิ เฉพาะ อันเป็นข้างของผู้อ่อนแอกว่า ผู้ถูกละเมิด ผู้ถูกท�ำให้เป็น ชายขอบ และผู้ถูกกดขี่


A Very Short

Introduction

41

การอภิ ป รายเรื่ อ งคุ ณ ประโยชน์ ข องสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน ในการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้ายังคงด�ำเนินต่อไปอย่างคึกคัก มี ค� ำ ถามหลายประการว่ า การน� ำ ยุ ท ธศาสตร์ ด ้ า นสิ ท ธิ ไ ปใช้ อาจไม่ส่งผลต่อการปกป้องสิทธิประโยชน์ในทรัพย์สินที่มีอยู่ นักสตรีนิยมยังคงเน้นเรื่องความล้มเหลวของสิทธิมนุษยชนใน การแก้ไขความไม่เท่าเทียมเชิงโครงสร้างระหว่างเพศ ปัญหา ความรุนแรงในครอบครัวต่อผู้หญิง และความจ�ำเป็นในการให้ ผู้หญิงมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจมากขึ้น แม้แต่การปรับ ทิศทางสิทธิมนุษยชนเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ก็อาจถูกมองว่า เป็นเพียงมาตรการในการเสริมสร้างภาพตายตัว (steryotype) ของผู ้ ห ญิ ง ในฐานะเหยื่ อ ของความรุ น แรงที่ ต ้ อ งได้ รั บ ความ คุ้มครอง ในอีกระดับหนึ่ง การอ้างถึงสิทธิมนุษยชนมากขึ้นใน วาทกรรมของผู ้ น� ำ ตะวั น ตกนั้ น ท� ำ ให้ ห ลายฝ่ า ยกลั ว ว่ า สิ ท ธิ มนุ ษ ยชนจะกลายเป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ ถู ก น� ำ ไปใช้ เ ป็ น ข้ อ แก้ ตั ว ของประเทศที่ทรงอิทธิพลในการแทรกแซงชีวิตทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของประเทศก�ำลังพัฒนาที่อ่อนแอกว่า ประการสุดท้าย นักวิเคราะห์อย่าง เดวิด เคนเนดี (David Kennedy) เตือนว่าการใช้ “ค�ำศัพท์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอาจ ก่อให้เกิดผลลัพธ์เชิงลบที่ไม่ได้ตั้งใจต่อโครงการรณรงค์เพื่อ อิสรภาพอื่นๆ รวมไปถึงโครงการที่พึ่งพิงความเคลื่อนไหวเชิง ศาสนา ชาติ และท้องถิน่ ” การวิจารณ์ในชัน้ นีไ้ ม่ใช่การปฏิเสธว่า สิทธิมนุษยชนมีอยูจ่ ริง อันทีจ่ ริงแล้วการทีส่ ทิ ธิมนุษยชนถูกโจมตี อยูท่ กุ วันนีไ้ ม่ได้เป็นเพราะข้อกังขาเกีย่ วกับการด�ำรงอยูข่ องสิทธิ เหล่านี้ แต่เนื่องมาจากการที่มันสถิตอยู่ทั่วทุกหนแห่งต่างหาก


42

Human

Rights

คุนเดอรากับสิทธิมนุษยชน ภาษาของสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนระหว่ า งประเทศเข้ า มา เกี่ ย วโยงกั บ ข้ อ เรี ย กร้ อ งและข้ อ พิ พ าททุ ก ประเภท ทุ ก วั น นี้ แทบทุกคนต่างก็ตอกย�้ำมุมมองของตนในแง่ของการยืนยันหรือ ปฏิเสธสิทธิ อันที่จริงส�ำหรับบางคนในโลกตะวันตกดูเหมือนว่า เราได้เข้าสูย่ คุ ทีก่ ารพูดคุยเรือ่ งสิทธิกำ� ลังเป็นเรือ่ งฟุง้ เฝือไปแล้ว เราลองมายกตัวอย่างกันด้วยข้อความที่คัดมาจากเรื่องเล่าของ มิลาน คุนเดอรา (Milan Kundera) ที่มีชื่อว่า “ท่าทีการประท้วง ต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน” (“The gesture of protest against a violation of human rights”) เรื่องนี้เกี่ยวกับหญิงสาว นามว่าบริจิตต์ ซึ่งหลังจากมีปากเสียงกับครูสอนภาษาเยอรมัน (เรือ่ งความไร้ตรรกะในไวยากรณ์ภาษาเยอรมัน) เธอก็ขบั รถเข้า กรุงปารีสเพื่อไปซื้อไวน์หนึ่งขวดจากร้านโฟชอง เธอต้องการจอดรถแต่ไม่มีที่จอดเลย รถยนต์จอดชิดเรียง กันเป็นตับตลอดแนวฟุตบาทในรัศมีครึ่งไมล์ หลังจากขับ วนราว 15 นาทีเธอก็ยอมแพ้ ด้วยความขุ่นเคืองกับการหา ทีจ่ อดไม่ได้ เธอจึงขับรถขึน้ ไปจอดบนฟุตบาท ออกจากรถ และเดินไปยังร้านค้า

ขณะที่เธอเข้ามาในร้าน เธอสังเกตเห็นบางสิ่งแปลก ประหลาด โฟชองเป็นร้านขายสินค้าราคาแพงมาก แต่คราวนี้ มันแออัดไปด้วยคนว่างงานประมาณ 100 คนซึ่งทุกคน “แต่งตัว


A Very Short

Introduction

43

ปอนๆ” คุนเดอราบรรยายว่า นับเป็นการประท้วงที่แปลกทีเดียว คนว่างงานไม่ได้มา เพือ่ ท�ำลายข้าวของหรือคุกคามใครหรือตะโกนข้อเรียกร้อง ใดๆ พวกเขาแค่อยากท�ำให้คนรวยอึดอัดและไม่รู้สึกอยาก ดื่มไวน์หรือกินไข่ปลาคาเวียร์เนื่องจากการปรากฏตัวของ พวกเขาเท่านั้น

บริจิตต์ซ้ือไวน์ขวดหนึ่งเสร็จแล้วกลับไปที่รถของเธอ ก็พบต�ำรวจสองนายบอกให้เธอจ่ายค่าปรับจอดรถ บริจิตต์เริ่ม ผรุสวาทใส่ต�ำรวจเมื่อพวกเขาอธิบายว่าเธอจอดรถผิดกฎหมาย และปิดกั้นทางเท้า บริจิตต์จึงชี้ไปที่รถยนต์ซึ่งจอดเรียงแถวกัน อยู่นั้น “คุณต�ำรวจบอกฉันทีวา่ ฉันควรจะจอดรถทีไ่ หน? ถ้าคนเรา ได้รบั อนุญาตให้ซอื้ รถ เราก็ควรได้หลักประกันว่าจะมีทจี่ อด ให้ใช่หรือไม่? คุณมีเหตุผลหน่อยสิ!” เธอตะโกนใส่ต�ำรวจ

ต่อไปนี้

คุนเดอราเล่าเรื่องราวนี้เพื่อเน้นให้เห็นรายละเอียด

ในขณะที่เธอตะโกนใส่ต�ำรวจ บริจิตต์นึกถึงคนว่างงานที่ ประท้วงอยู่ในร้านโฟชองและเกิดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ พวกเขาอย่างแรงกล้า เธอรูส้ กึ เป็นหนึง่ เดียวกับพวกเขาใน


44

Human

Rights

การต่อสูร้ ว่ มกันนี้ นัน่ ท�ำให้เธอเกิดความกล้าและขึน้ เสียงใส่ ต�ำรวจ เจ้าหน้าทีต่ ำ� รวจ (ซึง่ มีทา่ ทีลงั เลเช่นเดียวกับผูห้ ญิง สวมเสือ้ คลุมขนสัตว์ทถี่ กู จ้องมองโดยคนว่างงาน) ก็เอาแต่ พูดซ�ำ้ ซากด้วยถ้อยค�ำทีฟ่ งั ไม่นา่ เชือ่ ถือและงีเ่ ง่า อย่างเช่น ไม่อนุญาต ต้องห้าม วินัย ระเบียบ แต่ในที่สุดก็ปล่อยเธอ ไปโดยไม่ต้องจ่ายค่าปรับเลย

คุนเดอราบอกเราว่า ในระหว่างการโต้เถียง บริจิตต์ ส่ายศีรษะไปมาอย่างรวดเร็วขณะเดียวกันก็ยกไหล่และยักคิว้ ไป ด้วย เมือ่ เธอเล่าเรือ่ งนีใ้ ห้พอ่ ฟัง เธอก็สา่ ยศีรษะไปมาอีกเช่นกัน คุนเดอราเขียนไว้ว่า เราเคยเจอการเคลือ่ นไหวอย่างนีม้ าก่อน มันแสดงถึงความ ประหลาดใจอันคับแค้นต่อความเป็นจริงที่ว่ามีบางคน ต้องการปฏิเสธสิทธิอนั ประจักษ์แจ้งทีส่ ดุ ของเรา เหตุฉะนัน้ เราควรเรียกสิ่งนี้ว่า ท่าทีการประท้วงต่อต้านการละเมิด สิทธิมนุษยชน

ส�ำหรับคุนเดอราแล้ว นีค่ อื ความขัดกันระหว่างปฏิญญา ว่าด้วยสิทธิอันก้าวหน้าของฝรั่งเศสกับการมีอยู่ของค่ายกักกัน ในรัสเซียที่กระตุ้นให้โลกตะวันตกเพิ่งจะมากระตือรือร้นเรื่อง สิทธิมนุษยชนเมื่อไม่นานมานี้


A Very Short

Introduction

แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนย้อนกลับไปได้ประมาณ 200 ปี ก่อน แต่มาถึงจุดรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ 1970 อเล็ ก ซานเดอร์ ซอลเซ็ น นิ ต ซิ น (Alexander Solzhenitsyn) เพิ่งถูกเนรเทศออกนอกประเทศ ลักษณะ ที่โดดเด่นของเขาพร้อมด้วยหนวดเคราและกุญแจมือได้ สะกดจิตปัญญาชนตะวันตกซึ่งเบื่อหน่ายกับการโหยหา โชคชะตาอันยิ่งใหญ่ที่พวกเขาถูกปฏิเสธมาเป็นเวลานาน ต้องขอบคุณเขาที่ท�ำให้คนเหล่านี้เริ่มเชื่อหลังจากล่าช้า มากว่า 50 ปีว่าในประเทศคอมมิวนิสต์รัสเซียมีค่ายกักกัน อยู่จริง แม้แต่คนที่มีความคิดก้าวหน้าก็เพิ่งจะยอมรับ ว่าการคุมขังบุคคลใดเนื่องมาจากความคิดเห็นของเขา นั้นไม่เป็นการยุติธรรมเลย และพวกเขายังค้นพบเหตุผล ที่ ดี เ ลิ ศ ส� ำ หรั บ ทั ศ นคติ ใ หม่ เ ช่ น นี้ ด ้ ว ย นั่ น คื อ ประเทศ คอมมิวนิสต์รสั เซียได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนทัง้ ๆ ทีค่ วามจริง แล้วสิทธิเหล่านี้ได้รับการประกาศไว้อย่างน่าสรรเสริญตั้ง นานแล้วโดยการปฏิวัติฝรั่งเศสเอง! ด้วยเหตุนจี้ งึ ต้องขอบคุณซอลเซ็นนิตซิน เป็นอีกครัง้ ที่ ค� ำ ว่ า สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนมี ที่ ท างในศั พ ท์ แ สงแห่ ง ยุ ค สมั ย ของเรา ข้าพเจ้าไม่รู้จักนักการเมืองคนใดเลยที่ไม่เอ่ย เรื่อง “การต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน” หรือ “การละเมิดสิทธิ มนุษยชน” วันละสิบครั้ง แต่เนื่องจากประชาชนในโลก ตะวันตกไม่ถูกคุกคามด้วยค่ายกักกันและมีอิสระที่จะพูด และเขียนในสิ่งที่พวกเขาต้องการ ดังนั้น ยิ่งการต่อสู้เพื่อ สิทธิมนุษยชนได้รับความนิยมมากขึ้นเท่าใดก็ยิ่งสูญเสีย สาระที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นเท่านั้น จนกลายเป็นทัศนคติ

45


46

Human

Rights

ทั่วไปที่ทุกคนมีต่อทุกสิ่ง เป็นพลังงานที่จะแปรเปลี่ยน ความปรารถนาทั้งมวลของมนุษย์ให้กลายเป็นสิทธิ โลก กลายเป็นสิทธิของมนุษย์ และทุกสิ่งในโลกกลายเป็นสิทธิ อย่างการปรารถนาความรักกลายเป็นสิทธิที่จะรัก ความ ปรารถนาที่จะพักผ่อนกลายเป็นสิทธิในการพักผ่อน ความ ปรารถนาในมิตรภาพกลายเป็นสิท ธิที่จะเกิดมิต รภาพ ความปรารถนาทีจ่ ะขับรถเกินความเร็วทีก่ ำ� หนดกลายเป็น สิ ท ธิ ที่ จ ะขั บ ขี่ เ กิ น ความเร็ ว ที่ ก� ำ หนด ความปรารถนา ความสุขกลายเป็นสิทธิในการมีความสุข ความปรารถนา ที่จะพิมพ์หนังสือกลายเป็นสิทธิในการพิมพ์หนังสือ ความ ปรารถนาที่จะตะโกนบนท้องถนนกลางดึกกลายเป็นสิทธิ ที่จะตะโกนกลางถนน คนว่างงานมีสิทธิที่จะเข้ายึดครอง ร้านขายอาหารราคาแพง ผูห้ ญิงสวมเสือ้ คลุมขนสัตว์มสี ทิ ธิ ทีจ่ ะซือ้ ไข่ปลาคาเวียร์ บริจติ ต์มสี ทิ ธิทจี่ ะจอดรถบนฟุตบาท และทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนว่างงานหรือผู้หญิงในเสื้อคลุม ขนสัตว์รวมทัง้ บริจติ ต์ ล้วนเป็นหนึง่ ในกองทัพนักต่อสูเ้ พือ่ สิทธิมนุษยชนด้วยกันทั้งสิ้น

บทความของคุนเดอราตัง้ ใจพูดถึงบางประเด็นเกีย่ วกับ โลกของสิทธิมนุษยชนที่ก�ำลังเปลี่ยนไป ประเด็นแรกคือ ส�ำหรับ คนบางคนในทุกวันนี้ สิทธิมนุษยชนเป็นสิง่ ทีเ่ ห็นได้ประจักษ์แจ้ง ในตัวเองและสมเหตุสมผลอย่างแท้จริง มักจะไม่มีการโต้แย้ง เรื่องที่มาของสิทธิเหล่านี้หรือแม้กระทั่งรากฐานทางทฤษฎีของ การเรียกร้องสิทธิ ดูเหมือนว่ารากฐานของระบอบสิทธิหนักแน่น


A Very Short

Introduction

47

ตายตัวเสียจนการอ้างสิทธิในตัวมันเองท�ำให้คุณกลายเป็นฝ่าย ถูกไปเลย ประเด็นที่สอง สิทธิมนุษยชนคือข้อเรียกร้องที่เกิดขึ้น ในใจใครบางคนทันทีทใี่ ครคนนัน้ รูส้ กึ ว่าได้รบั การปฏิบตั อิ ย่างไม่ ถูกต้อง ส�ำนึกแห่งความอยุตธิ รรมอาจท�ำให้คนรูส้ กึ ว่าถูกปฏิเสธ สิทธิของตน ในปัจจุบันการเรียกร้องสิทธิโดยอาศัยเหตุผลและ สิทธิอนั ชอบธรรมทีไ่ ม่อาจถูกหักล้างได้กลับจะมีความน่าเชือ่ ถือ มากกว่ า แนวคิ ด อย่ า ง “สั ญ ญาประชาคม” หรื อ “กฎหมาย ธรรมชาติ” หรือ “เหตุผลที่ถูกต้อง” บริจิตต์โน้มน้าวต�ำรวจผ่าน การอ้างตรรกะเรื่องสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายเพื่อเรียกร้องจะ มี สิทธิ ในการจอดรถบนทางเท้า ถ้าหากเป็นการเรียกร้องโดย อ้างความเอื้ออาทร การให้อภัย มนุษยธรรม หรือความเอื้อเฟื้อ ท่าทีที่ใช้ก็จะแตกต่างออกไป ประเด็นทีส่ าม ความรูส้ กึ เดือดร้อนทีม่ รี ว่ มกันจะช่วยให้ เกิดการช่วยเหลือในยามคับขันอันทรงพลังส�ำหรับการอ้าง “สิทธิ” เมื่อในหมู่พวกเราที่รู้สึกคับแค้นลุกขึ้นยืนหยัดประท้วงด้วยกัน เราจะพบความแข็งแกร่งผ่านความสามัคคีเช่นนั้น กฎหมายเอง อาจตกเป็นเป้าหมายของการประท้วง กลายเป็นว่าความโกรธ แค้นกฎหมายอาจลดทอนความชอบธรรมของกฎหมายดังกล่าว ได้แม้แต่ในสายตาของผู้บังคับใช้กฎหมายเองก็ตาม การปฏิบัติ ตามกฎหมายเป็นพฤติกรรมทีม่ กั สัมพันธ์กบั ความสมเหตุสมผล ของกฎหมาย การอ้างสิทธิมนุษยชนของเราได้กลายเป็นวิธี ท้าทายกฎหมายที่เรารู้สึกว่าไม่เป็นธรรม (ถึงแม้ว่ากฎหมาย ฉบับนั้นบัญญัติขึ้นตามกระบวนการที่ถูกต้องก็ตาม) ความเป็น


48

Human

Rights

จริ ง แล้ ว ทุ ก วั น นี้ ก ฎหมายสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนมี ก ารพั ฒ นาให้ ก าร โต้แย้งกฎหมายภายในประเทศสามารถกระท�ำได้ในแทบทุก รัฐ หากพบว่ากฎหมายนั้นๆ ไม่สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชน สืบเนื่องจากการที่กฎหมายหลายฉบับถูกยกเลิกและถอดถอน ไป จึงเกิดความคิดเห็นที่ฟังขึ้นว่าความชอบธรรมหรือแม้แต่ ความชอบด้วยกฎหมายของกฎหมายทั้งปวงจะต้องได้รับการ พิจารณาโดยเทียบเคียงกับกฎหมายสิทธิมนุษยชน ในยุคนีล้ ำ� ดับ ชัน้ ระหว่างกฎหมายสิทธิมนุษยชน (หรือกฎหมายทีป่ ระกันสิทธิ ตามรัฐธรรมนูญ) กับกฎหมายภายในประเทศทั่วไปถูกสะท้อน ในระดั บ ระหว่ า งประเทศด้ ว ยเช่ น กั น โดยล� ำ ดั บ ชั้ น ระหว่ า ง กฎหมายระหว่างประเทศทั่วไปกับข้อจ�ำกัดบางประการของ กฎหมายระหว่างประเทศที่ “สูงกว่า” (ทีร่ จู้ กั กันในชือ่ ว่ากฎหมาย “เด็ดขาด” หรือ “jus cogens”) สิทธิมนุษยชนอยู่ในระดับสูงกว่า และถูกใช้ในการวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายทั่วไป ประเด็นที่สี่ การเรียกร้องสิทธิและหลักประกันการ เคารพสิทธิไม่เพียงเป็นวิธกี ารเพือ่ บรรลุเป้าหมายทีว่ างไว้เท่านัน้ แต่ยงั เป็นการเปลีย่ นแปลงระบบทีเ่ ราอาศัยอยูด่ ว้ ย สิทธิมนุษยชน มีความส�ำคัญในฐานะเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงโลก ในค�ำ ประกาศการปฏิวัติแห่งชาติ สิทธิมนุษยชนได้เคลื่อนออกจาก กรอบคิดเรื่องสิทธิเฉพาะบุคคลตามกฎหมายในฐานะพลเมือง (เช่นในค�ำประกาศฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 หรือความตกลงทาง การเมืองที่บรรจุอยู่ใน มหากฎบัตรแม็กนา คาร์ตา ค.ศ. 1215) ปัจจุบันนี้การอ้างสิทธิมนุษยชนไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือในการ เปลีย่ นแปลงกฎหมายภายในประเทศ แต่หลักการสิทธิมนุษยชน


A Very Short

Introduction

49

ยังเกีย่ วข้องกับการออกแบบโครงการให้ความช่วยเหลือระหว่าง ประเทศด้านการพัฒนา การอ�ำนวยความยุติธรรมในช่วงการ เปลี่ยนผ่านระบบการปกครอง การฟื้นฟูสังคมที่เสียหายจาก สงคราม ไปจนถึงการต่อสู้กับความยากจนและผลกระทบของ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเด็ น ที่ ห ้ า บางคนเห็ น ว่ า มี ค วามสั ม พั น ธ์ เ ชิ ง ประวัติศาสตร์ระหว่างสิทธิมนุษยชนกับความเป็นศูนย์กลาง ของโลกตะวันตก และความสัมพันธ์นี้มักท�ำให้เราอยากตีตก ผู้ที่ยกประเด็นสิทธิมนุษยชนขึ้นมา ด้วยเหตุผลว่าเขาเหล่านั้น อยูห่ า่ งไกลเหลือเกินจากความเป็นจริงของการถูกลิดรอนสิทธิที่ พวกเขาพยายามพูดถึง แน่นอนว่าตัวอย่างของหญิงสาวผูร้ ำ�่ รวย ที่พร�่ำบ่นเรื่องไม่มีที่จอดรถช่างดูไร้สาระและเสียดสีอย่างจงใจ แต่เรื่องเล่าของคุนเดอราแสดงให้เห็นว่าความโกรธเกรี้ยวเรื่อง สิทธิมนุษยชนอาจถูกท�ำให้ดูเหมือนเป็นเรื่องน่าขันหรือแม้แต่ หน้าไหว้หลังหลอกได้อย่างไร เช่นทีร่ ฐั บาลตะวันตกบางประเทศ เองก็จงใจเลือกลงโทษหรือสนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทว่าเป็นการไม่ถูกต้องหากจะให้ความส�ำคัญกับความเชื่อมโยง ระหว่างสิทธิมนุษยชนกับการเสแสร้งของตะวันตกมากเกินไป เพราะแท้ จ ริ ง แล้ ว ขบวนการสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนสมั ย ใหม่ แ ละ กรอบกติการะหว่างประเทศอันซับซ้อนล้วนเติบโตมาจากการ เคลือ่ นไหวทีแ่ ผ่ขยายข้ามชาติหลายครัง้ หลายครา สิทธิมนุษยชน เคยถูกอ้างและเรียกร้องในบริบทของการต่อต้านจักรวรรดินิยม การต่อต้านการแบ่งแยกสีผิว การต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ การต่อต้านยิว การต่อต้านความเกลียดชังพวกรักเพศเดียวกัน


50

Human

Rights

การต่อต้านความหวาดกลัวอิสลาม และการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี และชนพืน้ เมืองในทุกแห่งหน แม้วา่ เมือ่ ไม่นานมานีร้ ฐั บาลตะวัน ตกอาจครอบง�ำวาทกรรมดังกล่าวในระดับสูงสุดของเวทีระหว่าง ประเทศ แต่การเรียกร้องสิทธิในชีวิตจริงไม่จ�ำเป็นต้องท�ำตาม หรือพูดแบบเดียวกันกับพวกเขา ประเด็นที่หก ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในหมู่ ผู้ที่เชื่อว่าตนเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิมนุษยชนสามารถ ข้ามผ่านชนชั้น เพศสภาพ และความแตกต่างอื่นๆ ความรู้สึก เชื่อมโยงกันนี้ส�ำคัญอย่างยิ่งต่อการท�ำความเข้าใจโลกสิทธิ มนุษยชนที่ก�ำลังเปลี่ยนแปลง ขบวนการสิทธิมนุษยชนมีทั้ง องค์กรขนาดมหึมาที่ตั้งอยู่ในตะวันตกและกลุ่มท้องถิ่นเล็กๆ ผู ้ ด� ำ เนิ น กระบวนการค้ น หาความจริ ง (fact-finding) และ เคลื่ อ นไหวรณรงค์ ซึ่ ง ท� ำ งานอย่ า งหนั ก เพื่ อ จะเปิ ด เผยการ ละเมิดสิทธิอันเลวร้าย ยิ่งไปกว่านั้น เหตุผลส่วนหนึ่งในการ ให้ความส�ำคัญสูงสุดกับบรรทัดฐานสิทธิมนุษยชนบางประการ ในกฎหมายระหว่างประเทศก็คือว่าการกระท�ำบางอย่างนั้น ก้าวล่วงส�ำนึกของความเป็นมนุษย์มากจนควรถูกด�ำเนินคดี ในฐานะอาชญากรรมต่ อ มนุ ษ ยชาติ ดั ง นั้ น ส� ำ นึ ก ร่ ว มของ ความเป็นมนุษย์และการแบ่งปันความทุกข์ทรมานจึงเป็นสิ่งที่ ช่วยขับเคลื่อนโลกสิทธิมนุษยชนไปข้างหน้า และให้ค�ำอธิบาย กับ ท่าทีของการประท้วงต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในประเด็นสุดท้าย โดยการมองผ่านสายตาของคุนเดอรา และบริจติ ต์ เราสังเกตเห็นตรรกะทีแ่ ตกต่างกันของสิทธิมนุษยชน ซึ่งขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม เวลา สถานที่ และความรู้ นี่คือเรื่องราว


A Very Short

Introduction

51

ของชาวยุโรปที่เกิดขึ้นในเมืองหลวงและถ่ายทอดบรรยากาศ ในช่วงสิ้นสุดสงครามเย็น ยังมีเรื่องราวของชาวแอฟริกัน ชาว เอเชีย หรือชาวอเมริกัน ซึ่งแตกต่างกันอย่างมาก แต่เราเห็นว่า คุนเดอราได้ชว่ ยเราในทีน่ แี้ ล้ว เพราะเขาระบุถงึ ท่าทีรว่ มสมัยอัน มีลกั ษณะเฉพาะดังกล่าวว่าเป็นความรูส้ กึ จากภายในของมนุษย์ ที่ขับเคลื่อนวาทกรรมสิทธิมนุษยชน ค�ำศัพท์สิทธิมนุษยชน ไม่ใช่การเปิดเผยอย่างง่ายดายถึงความจริงของโครงสร้างระดับ ลึกอันเป็นสากลที่เราทุกคนเข้าใจมาแต่ก�ำเนิด ทั้งไม่ใช่ภาษาที่ จะเรียนรู้เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่เป็นเรื่องราวของการต่อสู้กับ ความอยุติธรรม ความไร้มนุษยธรรม และเพื่อให้ได้รัฐบาลที่ดี กว่าเดิม ในเวลาเดียวกันรัฐก็อาจอ้างสิทธิมนุษยชนเพื่อบรรลุ เป้าหมายของนโยบายต่างประเทศได้ด้วย หากเราไม่เข้าใจ แรงผลักดันบางส่วนที่อยู่เบื้องหลังสิทธิมนุษยชน เราก็เสี่ยงกับ การตกกระแสซึ่งจะก�ำหนดทิศทางในอนาคต ความสงสัยของ คุนเดอราอาจแทงใจด�ำแต่ก็เป็นความจริง หากเราอยากเข้าใจ โลกสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน เราจะต้องหยิบยกเรื่องความรับ ผิดชอบของเราที่มีต่อตรรกะเชิงศีลธรรมของสิทธิมนุษยชนซึ่ง “เสมือนว่า ‘เข้าใจกันเป็นอย่างดี’ ” กับการเยาะเย้ยถากถางของ เราทีม่ ตี อ่ การเรียกร้องสิทธิบางอย่างมาถกกันอย่างตรงไปตรงมา ส�ำหรับการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนร่วมสมัยทีไ่ ม่เสแสร้ง เราไม่จ�ำเป็นจะต้องมองไกลไปกว่าการร้องเรียนที่เกี่ยวกับการ คุมขังในอ่าวกวนตานาโม (ดูล้อมกรอบที่ 6)


52

Human

Rights

ล้อมกรอบที่ 6 ส่วนหนึง่ ของค�ำร้องเรียนทีน่ ำ� เสนอโดย องค์กร Reprieve เกี่ยวกับสัญญาระหว่างบริษัทความ ปลอดภัย G4S กับทางการสหรัฐอเมริกาที่รับผิดชอบ ต่อการคุมขังในอ่าวกวนตานาโม เอมาด ฮัสซัน (Emad Hassan) เป็นชาวเยเมน ถูก จับขณะเรียนอยู่ที่ปากีสถาน ระหว่างการสอบสวน เขาถูก ถามว่ารู้จักอัลเคด้า (Al Qaeda) หรือไม่ และเขาตอบว่าใช่ แต่เขาหมายถึงหมู่บ้านเล็กๆ ชื่ออัลกออิดะห์ (Al Qa’idah) ใกล้บา้ นเขาในเยเมน มิใช่เครือข่ายกลุม่ ก่อการร้ายระดับโลก ความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงนี้เป็นฐานของการคุมขังนาย ฮัสซันไว้ที่อ่าวกวนตานาโมเป็นเวลาสิบสองปีโดยไม่มีการ ออกหมายจับหรือน�ำขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรม นายฮัสซันเดินทางจากเยเมนไปปากีสถานเพื่อ ศึกษาด้านบทกวี แต่การศึกษาของเขาจบลงเมื่อกองก�ำลัง ปากีสถานบุกเข้าจับและคุมขังเขาไว้ในหอพักนักศึกษาของ เขาเอง นายฮัสซันถูกขายให้กับกองก�ำลังอเมริกาแลกกับ เงินรางวัล 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ และถูกน�ำตัวไปไว้ที่อ่าว กวนตานาโม ในปี 2009 นายฮัสซันได้รับการพิสูจน์ว่าไม่ เกี่ยวข้องและให้ปล่อยตัวโดยคณะท�ำงานเฉพาะกิจระหว่าง หน่ ว ยงานอั น ประกอบไปด้ ว ยหกหน่ ว ยงานของรั ฐ บาล สหรัฐอเมริกาซึง่ รวมถึงเอฟบีไอและซีไอเอ แต่แม้วา่ จะได้รบั การพิสูจน์ให้ปล่อยตัวแล้ว นายฮัสซันกลับยังถูกคุมขังโดย ไม่มีก�ำหนด


A Very Short

Introduction

53

นายฮัสซันได้กระท�ำการประท้วงอดอาหารเป็น ระยะเวลายาวนานทีส่ ดุ ในกวนตานาโม เป็นเวลาเจ็ดปีทเี่ ขา ปฏิเสธที่จะกินและต้องทนกับการถูกบังคับให้อาหารอย่าง โหดร้ายสองครั้งต่อวัน นายฮัสซันถูกบังคับให้อาหารอย่าง ทารุณมากกว่าห้าพันครัง้ นับตัง้ แต่ปี 2007 โดยเป็นส่วนหนึง่ ของความพยายามของกองทั พ ที่ จ ะหยุ ด ยั้ ง ความตั้ ง ใจ แน่วแน่ของเขา ผลสุดท้ายเขาต้องทรมานจากการบาดเจ็บ ภายในอย่างหนัก การถูกบังคับให้อาหารท�ำให้นายฮัสซันป่วยด้วย ภาวะตับอ่อนอักเสบหลายครั้ง และโพรงจมูกข้างหนึ่งก็ตัน โดยสมบูรณ์ นายฮัสซันเคยกล่าวว่า “บางครั้งผมนั่งอยู่แล้วก็ อาเจียน ไม่มใี ครพูดอะไรเลย ถึงแม้พวกเขาจะเบือนหน้าหนี ผมก็เข้าใจได้ ผมมองหาความเป็นมนุษย์ ทั้งหมดนี้สิ่งที่ผม เรียกร้องคือสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน”


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.