ความยุติธรรม

Page 1

สารบัญ

คำ�นำ�ผู้แปล 6 บทที่ 1: การทำ�สิ่งที่ถูกต้อง 14 บทที่ 2: หลักความสุขสูงสุด/อรรถประโยชน์นิยม 48 บทที่ 3: เราเป็นเจ้าของตัวเองหรือเปล่า/ลัทธิอิสรนิยม 82 บทที่ 4: ลูกจ้าง/ตลาดและศีลธรรม 104 บทที่ 5: สิ่งสำ�คัญคือเจตนา/อิมมานูเอล คานท์ 138


บทที่ 6: ข้อสนับสนุนความเท่าเทียม/จอห์น รอลส์ 184 บทที่ 7: ถกเถียงเรื่องระบบโควตา 218 บทที่ 8: ใครคู่ควรกับอะไร/อริสโตเติล 240 บทที่ 9: เราเป็นหนี้บุญคุณกันเรื่องอะไร?/ ความย้อนแย้งเรื่องความจงรักภักดี 270 บทที่ 10: ความยุติธรรมและความดีสาธารณะ 316 เชิงอรรถ 348 คำ�ขอบคุณ 370 รู้จักผู้เขียน 372 รู้จักผู้แปล 374


คำ�นำ�ผู้แปล

ความขั ด แย้ ง แบ่ ง สี ใ นสั ง คมไทยปะทุ ขึ้ น ตั้ ง แต่ ปี พ.ศ. 2548 บานปลายสืบเนื่องนานหลายปีโดยยังไม่มีวี่แววว่าจะสร่างซา ประเทศไทย เดินดุจเรือไร้หางเสือผ่านรัฐประหาร รัฐบาลนอมินี รัฐบาลอำ�มาตย์ พลิก กลับมาเป็นรัฐบาลโคลนนิ่ง จนถึงปี พ.ศ. 2554 ความยุติธรรมในสังคม ยังดูเป็นอุดมคติอันไกลโพ้น ขณะที่ความอยุติธรรมชัดแจ้ง ฝากรอยแผล ทางกายและในใจคนอย่างท่วมท้นขึ้นเรื่อยๆ จนคำ�กล่าวที่ว่า “คุกไทยมีไว้ ขังคนจน” ดูจะเป็นสัจธรรมอันยากสั่นคลอน อย่างไรก็ดี คุณูปการประการหนึ่งของความอึมครึมและแตกแยก ในสังคม คือ คำ�ว่า “ความยุติธรรม” ถูกพูดถึงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ในแทบทุกระดับชั้น ตั้งแต่ผู้นำ�ประเทศจนถึงคนเดินดิน แม่ค้าถกเรื่อง “ตุลาการภิวัตน์” กับลูกค้าระหว่างตักข้าวแกงใส่จาน คนทั่วไปโดยเฉพาะ ผูใ้ ส่เสือ้ สีที่ “ตืน่ ตัวทางการเมืองอย่างฉับพลัน” ตามวาทะของอาจารย์เกษียร เตชะพีระ ถกเถียงเรื่องความยุติธรรมทางสังคมอย่างหน้าดำ�ครํ่าเครียด และบางทีก็ถึงขั้นลงไม้ลงมือ แต่ไม่ว่ าเราจะถกเรื่องความยุติธรรมกันมากเพียงใด สิ่งที่ยัง พบเห็นน้อยมากในทัศนะของผู้แปลคือ การถกเถียงอย่างรอบด้าน เคารพ ซึง่ กันและกัน และพยายามให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อันล้วนเป็นปัจจัย ที่จำ�เป็นต่อการเดินสู่ “ความยุติธรรม” ที่แท้จริง การถกเถียงเรือ่ งความยุตธิ รรม ตัง้ แต่เรือ่ งระดับชาติจนถึงเรือ่ งใน 6

Jus tice


ครอบครัว ยังดูจะมุ่งไปที่การชักโวหารเหตุผลจากแม่นํ้าทั้งห้ามาสาธยาย ว่าทำ�ไม “ฉันถูก แกผิด” และ “ความยุติธรรม” ก็มักถูกใช้ในความหมายว่า อะไรก็ตามที่ทำ�ให้ฉันหรือพวกของฉันได้ประโยชน์ โดยไม่สนใจว่าคนอื่น ได้รบั ผลกระทบอย่างไร กระทัง่ ไม่อยากฟังเพราะปักใจเชือ่ ไปแล้วว่าคนอืน่ ไม่ควรค่าแก่การรับฟัง เพราะเป็นสลิ่ม / เป็นควายที่ถูกซื้อ / เป็นชนชั้น กลางดัดจริต / เป็นพวกล้มเจ้า ฯลฯ การเที่ยวแขวน “ป้าย” ง่ายๆ เหล่านี้ให้กับผู้คิดต่าง ทำ�ให้คน จำ�นวนมากไม่ถกกันอย่างเปิดใจและตรงไปตรงมา หมกมุ่นกับการใช้ วาทศิลป์สร้างวาทกรรมด้านเดียวมาสนับสนุนการต่อสู้ทางการเมือง อาทิ เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง ประชานิยม ทุนโลกาภิวัตน์ ฯลฯ ทั้งที่ ในโลกแห่งความจริง สิง่ ทีค่ �ำ เหล่านี้อธิบาย ไม่ได้มแี ต่ด้านบวกหรือด้านลบ เพียงด้านเดียว และคำ�หลายคำ�ที่ถูกหยิบขึ้นมาใช้เป็นอาวุธทางความคิด นั้น แท้จริงสามารถใช้ร่วมกันได้อย่างไม่เคอะเขินเพื่ออธิบายความจริง เช่น กลุ่มการเงินชุมชนหลายกลุ่มใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงช่วยเหลือ ชาวบ้านที่เป็นหนี้สินล้นพ้นตัวได้สำ�เร็จ เสร็จแล้วก็นำ�เงินกู้ในนโยบาย “ประชานิยม” อย่างเช่นกองทุนเอสเอ็มแอล มาช่วยให้พวกเขาได้ก่อร่าง สร้างตัวขึ้นมาใหม่ ความยุติธรรมจะบังเกิดได้อย่างไร ในเมื่อเรายังไม่เข้าใจกัน เราจะเข้าใจกันได้อย่างไร ในเมื่อเรายังไม่ให้ความยุติธรรมแม้กับ ถ้อยคำ� ล่ามโซ่ตีกรอบความหมายของมันอย่างคับแคบด้วยวาทกรรมที่ใช้ ฟาดฟันทางการเมือง แบ่งโลกออกเป็นขาว - ดำ� ทั้งที่โลกจริงหลากหลาย กว่านั้น ซับซ้อนกว่านั้น และมีความหวังมากกว่านั้น ในห้ ว งยามที่ สั ง คมเป็ น เช่ น นี้ ผู้ แ ปลคิ ด ว่ า หนั ง สื อ “ความ ยุติธรรม” มาถูกที่ถูกเวลาเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้เขียน - ไมเคิล แซนเดล เป็นนักปรัชญาการเมืองร่วมสมัยทีไ่ ด้รบั การยอมรับอย่างสูงในโลกวิชาการ ยิ่งกว่านั้นคือ อาจารย์เป็นปัญญาชนสาธารณะที่มีความสุขกับการใช้ ปรั ช ญาทางการเมื อ งหลากสำ � นั ก ตั้ ง แต่ อ ดี ต ถึ ง ปั จ จุ บั น เป็ น แว่ น ขยาย M i ch a el S a n d el

7


ส่องประเด็นสาธารณะต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจของผู้คน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน การเกณฑ์ทหาร การโก่งราคา ในภาวะฉุกเฉิน โบนัสมหาศาลของผู้บริหารธนาคาร การเก็บภาษีคนรวย มาช่ วยคนจน การอุ้มบุญ การุณยฆาต สิทธิส่วนบุคคลกับประโยชน์ สาธารณะ ฯลฯ ผู้ แ ปลโชคดี ที่ เ คยนั่ ง เรี ย นวิ ช า “ความยุ ติ ธ รรม” กั บ อาจารย์ วิ ช านี้ เ ป็ น วิ ช าที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มสู ง สุ ด ในมหาวิ ท ยาลั ย ฮาร์ ว าร์ ด ติดต่อกันนานกว่าสองทศวรรษ มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนมากกว่าหนึ่ง พันคนทุกภาคเรียน มากจนต้องไปเรียนกันในโรงละครแซนเดอร์ส ซึง่ จุคน ได้มากที่สุดในมหาวิทยาลัย สิง่ ทีท่ �ำ ให้ผแู้ ปลทึง่ ทีส่ ดุ ไม่ใช่ความรอบรูข้ องอาจารย์แซนเดล หาก แต่เป็นความเอื้ออาทร อ่อนโยน และเคารพอย่างจริงใจในความคิดเห็น ของนักศึกษาทุกคน กระทัง่ กับคนทีด่ นั ทุรงั - ดือ้ ดึง - ด่าทอเพือ่ นร่วมห้อง หรือ พูดจาถากถางอาจารย์ด้วยความเชื่อมั่นเกินขีดความสามารถของตัวเอง อาจารย์แซนเดลก็จะรับฟังอย่างตัง้ ใจ ใจเย็น และใจกว้าง ชีช้ วนให้ผคู้ ดิ ต่าง เสนอความเห็นและถกเถียงกันในชั้นเรียน โดยสอดแทรกความคิดเห็น ของตัวเองให้น้อยที่สุด อาจฟังดูเหลือเชื่อว่า ในชั้นเรียนซึ่งมีนักเรียนยัดทะนานนับพัน ล้นห้องจนบางคาบนักศึกษานับร้อยต้องนั่งพื้นตรงทางเดิน อาจารย์กลับ สามารถถามคำ�ถามและดำ�เนินบทสนทนาระหว่างนักเรียนได้อย่างมีชีวิต ชีวาและท้าทายความคิด (“เอ้า หนุ่มน้อยเสื้อหนาวสีขาวใส่แว่น ชั้นสาม จากบนสุดคิดอย่างไรครับ”) แต่ อ าจารย์ แซนเดลทำ� ได้ หนังสือเล่ม นี้เป็นการถ่ายทอดบท สนทนาและการโต้วาทีในชั้นเรียน ระหว่างนักศึกษาด้วยกัน และระหว่าง อาจารย์กับนักศึกษา ราวกับยกวิชาในตำ�นวนวิชานี้ทั้งวิชามาอยู่บนหน้า กระดาษ นอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความคิดและปรัชญา 8

Jus tice


การเมืองในโลกตะวันตกแล้ว แซนเดลพยายามจะบอกเราว่า ความยุตธิ รรม นัน้ ถึงทีส่ ดุ แล้วเป็นเรือ่ งของการ “ให้คณ ุ ค่า” กับสิง่ ต่างๆ และด้วยเหตุนี้ ทัง้ “เหตุผล” และ “ศีลธรรม” จึงมีความจำ�เป็นอย่างยิง่ ดังเนือ้ ความตอนหนึง่ ว่า “การขอให้ พ ลเมื อ งในระบอบประชาธิ ป ไตยทิ้ ง ความเชื่ อ ทาง ศีลธรรมและศาสนาไว้เบื้องหลังเมื่อพวกเขาเดินเข้าสู่วงอภิปราย สาธารณะนั้น อาจดูเป็นวิธีสร้างหลักประกันว่าคนจะอดทนอดกลั้น และเคารพซึ่งกันและกัน แต่ในความเป็นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นอาจตรง กั น ข้ า ม การตั ด สิ น คำ � ถามสำ � คั ญ ๆ ในประเด็ น สาธารณะขณะ แสร้งทำ�ตัวเป็นกลาง ทั้งที่เป็นกลางจริงๆ ไม่ได้นั้น คือสูตรสร้าง ปฏิกิริยาโต้กลับและความไม่พอใจ การเมืองกลวงเปล่าอันสิ้นไร้ การโต้เถียงทางศีลธรรมอย่างหนักแน่นทำ�ให้ชีวิตพลเมืองของเรา แร้นแค้น นอกจากนี้มันยังเชื้อเชิญลัทธิคลั่งศีลธรรมอันคับแคบ และไม่อดทนอดกลั้น นักรากฐานนิยมวิ่งเข้าสู่พื้นที่ซึ่งนักเสรีนิยม ไม่กล้าย่างเท้าเข้าไป”

ผู้แปลคิดว่าหนังสือเล่มนี้ฉายภาพอย่างแจ่มชัดว่า เหตุใด “การ ใช้เหตุผลทางศีลธรรม” จึงไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือไม่ควรทำ� หากแต่ เป็นสิ่งที่เราทำ�อยู่แล้วในชีวิตประจำ�วัน ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ ผู้แปลหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นส่วนเล็กๆ ในการส่งเสริม ขยับขยาย และยกระดับ การถกเถียงประเด็นสาธารณะในสังคมไทยให้พน้ ไปจากมุมมองอันคับแคบ ไม่ว่าจะเป็นแบบเข้าข้างตัวเอง แบบยึดติดกับตัวบทกฎหมาย หรือแบบ “ลัทธิคลั่งศีลธรรม” ก็ตามที หนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่างของปัญญาปฏิบัติ เป็นการใช้เหตุผล สาธารณะ เพื่อถกมิติทางศีลธรรมในประเด็นสาธารณะ เพื่อชีวิตและ ประโยชน์สาธารณะ เป็นหนังสือที่ทุก ‘นัก’ ไม่ควรพลาดด้่วยประการทั้งปวง

M i ch a el S a n d el

9


นอกจากนี้ ผู้แปลยังหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะชี้ให้เห็นคุณูปการของ การ “ฟัง” อย่างเปิดใจและอ่อนโยน ดังที่อาจารย์แซนเดลทำ�อย่างเสมอต้น เสมอปลายตลอดมา เพราะการฟังอย่างตั้งใจนั้น นอกจากจะยากกว่าการพูดหลาย เท่าตัวแล้ว ยังจำ�เป็นต่อการเอื้ออำ�นวยให้เกิดความยุติธรรมที่แท้จริง หรือ อย่างน้อยก็ชว่ ยบรรเทาความอยุตธิ รรมทีต่ อกตรึงความรูส้ กึ “น้อยเนือ้ ตาํ่ ใจ ทางการเมือง” ตามวาทะของคุณโตมร ศุขปรีชา ผู้ เ ขี ย นขอขอบคุ ณ ปกป้ อ ง จั น วิ ท ย์ ภิ ญ โญ ไตรสุ ริ ย ธรรมา พลอยแสง เอกญาติ แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล และ วรพจน์ วงศ์กจิ รุง่ เรือง ผองเพือ่ นผูร้ ว่ มก่อตัง้ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส สำ�หรับ กำ�ลังใจและมิตรภาพทีม่ อบให้เสมอมา ขอขอบคุณ กฤดิกร เผดิมเกือ้ กูลพงศ์ บรรณาธิการเล่ม ทีไ่ ด้ตรวจสอบความถูกต้องและขัดเกลาสำ�นวนภาษาของ ผู้แปลอย่างพิถีพิถัน เหนือสิ่งอื่นใด ขอขอบคุณอาจารย์ ไมเคิล แซนเดล ผู้ฉายไฟ ให้เห็นความสำ�คัญของปรัชญาในชีวิตจริง ความสนุกสนานของการถก ประเด็นสาธารณะ และความงดงามของการครุ่นคิดถึง “ชีวิตที่ดี” อย่าง ยากจะลืมเลือน ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่าน สฤณี อาชวานันทกุล “คนชายขอบ” | http://www.fringer.org/

10

Jus tice




JUSTICE What’s the Right Thing to Do?

by

Michael J. Sandel

ความยุติธรรม แปลโดย

สฤณี อาชวานันทกุล


1 การทำ�สิ่งที่ถูกต้อง

14

Jus tice


ในฤดูร้อนปี ค.ศ. 2004 พายุเฮอร์ริเคนชาร์ลียค์ ำ�รามก้องออกมาจาก อ่าวเม็กซิโก พัดผ่านรัฐฟลอริดาไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก ส่งผลให้มี ผู้เสียชีวิต 22 ราย ก่อความเสียหาย 11,000 ล้านเหรียญ1 นอกจากนี้ยังทิ้ง วิวาทะเรื่องการโก่งราคาไว้เบื้องหลัง ปั๊ ม นํ้ า มั น ในเมื อ งออร์ แ ลนโดขายนํ้ า แข็ ง ที่ ป กติ ร าคาถุ ง ละ 2 เหรี ย ญ ในราคา 10 เหรี ย ญ หลายคนไม่ มี ท างเลื อ กจึ ง ต้ อ งจำ � ใจซื้ อ เนื่ อ งจากขาดแคลนไฟฟ้ า สำ � หรั บ ตู้ เ ย็ น และเครื่ อ งปรั บ อากาศในช่ ว ง กลางเดื อ นสิ ง หาคม ความต้ อ งการเลื่ อ ยไฟฟ้ า และช่ า งซ่ อ มหลั ง คาก็ มากขึ้ น เพื่ อ จั ด การซากต้ น ไม้ ผู้ รั บ เหมาเสนอว่ า จะยกต้ น ไม้ ส องต้ น ลงจากหลั ง คาบ้ า นในราคา 23,000 เหรี ย ญ ร้ า นค้ า ซึ่ ง ปกติ ข าย เครื่ อ งปั่ น ไฟในครั ว เรื อ นในราคา 250 เหรี ย ญ ตอนนี้ เ รี ย ก 2,000 เหรี ย ญ หญิ ง ชราอายุ 77 ปี ที่ ห นี ต ายพร้ อ มกั บ สามี ช ราและลู ก สาว ผู้พิการต้องจ่าย 160 เหรียญต่อคืน เพื่อค้างโรงแรมม่านรูด จากราคาปกติ 40 เหรียญ2 M i ch a el S a n d el

15


ชาวฟลอริดาหลายคนโกรธแค้นทีถ่ กู โก่งราคา หนังสือพิมพ์ ยูเอสเอ ทูเดย์ พาดหัวว่า “แร้งลงหลังพายุ” ชาวเมืองคนหนึ่งบอกว่าเขาต้องจ่าย 10,500 เหรียญเพื่อจ้างคนมายกต้นไม้ลงจากหลังคา เขามองว่าไม่ถูกต้อง ที่คนจะ “ฉวยโอกาสจากความเดือดร้อนและความทุกข์ยากของคนอื่น” ชาร์ลี ไครสต์ อัยการรัฐฟลอริดาเห็นด้วย เขากล่าวว่า “ผมตกตะลึงมาก กับระดับความโลภซึง่ ฝังลึกในวิญญาณของบางคน จนสามารถแสวงหาผล ประโยชน์จากผู้ตกทุกข์ได้ยากจากพายุเฮอร์ริเคน”3 ตอนนี้ฟลอริดามีกฎหมายใหม่เพื่อห้ามการโก่งราคา หลังอุบัติภัย ครั้งนั้น สำ�นักงานอัยการของรัฐได้รับเรื่องร้องเรียนมากกว่า 2,000 เรื่อง บางเรื่องนำ�ไปสู่การฟ้องร้องจนชนะคดี โรงแรม อะ เดยส์ อินน์ ในเมือง เวสต์ปาล์มบีช ต้องจ่ายเงินค่าปรับและค่าเสียหายจำ�นวน 70,000 เหรียญ ในข้อหาค้ากำ�ไรเกินควร4 แต่ ข ณะที่ ไ ครสต์ เ ริ่ ม บั ง คั บ ใช้ ก ฎหมายห้ า มโก่ ง ราคา นั ก เศรษฐศาสตร์บางคนก็แย้งว่ากฎหมายฉบับนี้ – รวมถึงความโกรธแค้นของ ประชาชน – เป็นเรือ่ งเข้าใจผิด นักปรัชญาและนักเทววิทยาในยุคกลางเชือ่ ว่า การแลกเปลี่ยนควรเกิดขึ้นใน “ราคาที่เป็นธรรม” ซึ่งกำ�หนดโดยประเพณี หรือมูลค่าในตัวเองของข้าวของ แต่ในสังคมตลาด นักเศรษฐศาสตร์สงั เกตว่า ราคาถูกกำ�หนดด้วยอุปสงค์และอุปทาน ฉะนั้น “ราคาที่เป็นธรรม” จึงไม่มี อยู่จริง ธอมัส โซเวลล์ นักเศรษฐศาสตร์ตลาดเสรี เรียกการโก่งราคาว่า “คำ�ที่เร้าอารมณ์แต่ไร้ความหมายทางเศรษฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ ไม่ ส นใจคำ � คำ � นี้ เพราะมั น ดู สั บ สนเกิ น กว่ า จะเข้ า ไปยุ่ ง ” บทความใน หนังสือพิมพ์ แทมพา ทริบูน ของโซเวลล์อธิบายว่า “ ‘การโก่งราคา’ ช่วยชาวฟลอริด าอย่างไร” ข้อกล่ าวหาว่าโก่งราคาเกิดขึ้น “เมื่อราคา พุ่งสูงกว่าระดับปกติที่คนคุ้นเคย” แต่ “ระดับราคาปกติที่คนคุ้นเคย” นั้น หาได้มีความศักดิ์สิทธิ์ท างศีลธรรมไม่ ราคาเหล่านี้ “ไม่มีความพิเศษ หรือ ‘เป็นธรรม’ มากไปกว่าราคาอื่น” ที่สภาพตลาด – รวมถึงสภาพหลัง หายนะจากเฮอร์ริเคน – บันดาลให้เกิด5 16

Jus tice


โซเวลล์อ้างว่าราคาที่แพงขึ้นของนํ้าแข็ง นํ้าดื่ม การซ่อมหลังคา เครื่องปั่นไฟ และห้องพักในโรงแรมนั้นมีประโยชน์ตรงช่วยจำ�กัดการใช้ สิง่ เหล่านัน้ ของผูบ้ ริโภค และเพิม่ แรงจูงใจให้ผผู้ ลิตในบริเวณห่างไกลนำ�ส่ง สินค้าและบริการซึ่งเป็นที่ต้องการมากที่สุดหลังเกิดหายนะจากเฮอร์ริเคน ถ้าหากนาํ้ แข็งมีราคาสิบเหรียญต่อถุงในช่วงร้อนอบอ้าวของเดือนสิงหาคม ทีช่ าวฟลอริดาเจอไฟดับเป็นครัง้ คราว ผูผ้ ลิตนํา้ แข็งก็จะรูส้ กึ คุม้ ค่าทีจ่ ะผลิต และส่งนาํ้ แข็งมากกว่าเดิม โซเวลล์อธิบายว่าไม่มอี ะไรไม่เป็นธรรมเกีย่ วกับ ราคาเหล่านี้เลย มันแค่สะท้อนมูลค่าที่ผู้ซื้อและผู้ขายมอบให้กับสิ่งที่พวก เขาแลกเปลี่ยนกัน6 เจฟฟ์ จาโคบี นักวิจารณ์และกองเชียร์ตลาดแห่งหนังสือพิมพ์ บอสตัน โกลบ ต่อต้านกฎหมายค้ากำ�ไรเกินควรด้วยเหตุผลทำ�นองเดียวกัน “การคิดราคาที่ตลาดรับได้ไม่ใช่การโก่งราคาเลย ไม่ใช่ความโลภหรือหน้า ด้านด้วย มันเป็นวิธีที่สังคมเสรีจัดสรรสินค้าและบริการต่างหาก” จาโคบี ยอมรับว่า “ราคาที่พุ่งสูงขึ้นเป็นเรื่องน่าโมโห โดยเฉพาะสำ�หรับคนที่ชีวิต ตกอยู่ในความยุ่งเหยิงสับสนจากพายุ” แต่ความโกรธแค้นของสาธารณชน ไม่ได้ทำ�ให้การแทรกแซงตลาดเสรีเป็นสิ่งชอบธรรม ราคาแพงหูฉี่สร้าง แรงจูงใจให้ผู้ผลิตผลิตสินค้าที่คนต้องการมากขึ้น ดังนั้นมันจึง “สร้าง ประโยชน์มากกว่าโทษหลายเท่า” เขาสรุปว่า “การประณามพ่อค้าว่าเป็น ปีศาจร้ายจะไม่ชว่ ยฟืน้ ฟูฟลอริดา สิง่ ทีจ่ ะช่วยคือปล่อยให้พวกเขาทำ�ธุรกิจ ต่อไป”7 อัยการไครสต์ (สมาชิกพรรครีพับลิกัน ซึ่งต่อมาได้รับการเลือกตั้ง เป็นผู้ว่าการรัฐฟลอริดา) ตีพิมพ์บทความในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในเมือง แทมปา โดยปกป้องกฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควรว่า “ในภาวะฉุกเฉิน รั ฐ บาลไม่ อ าจยื น ดู อ ยู่ ข อบสนามเมื่ อ ประชาชนต้ อ งจ่ า ยราคาอั น ไร้ ซึ่ ง มโนธรรม ขณะที่พวกเขาวิ่งหนีเอาชีวิตรอดหรือเสาะหาปัจจัยพื้นฐาน สำ�หรับครอบครัวหลังจากเฮอร์ริเคน”8 ไครสต์ปฏิเสธแนวคิดที่ว่า ราคา “ไร้ซึ่งมโนธรรม” เหล่านี้สะท้อนการแลกเปลี่ยนที่เสรีจริง M i ch a el S a n d el

17


นี่ไม่ใช่สถานการณ์ปกติในตลาดเสรี ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายต่างสมัคร ใจซื้ อ ขายกั น ในตลาดโดยตกลงราคากั น บนพื้ น ฐานของอุ ป สงค์ และอุปทาน ในภาวะฉุกเฉิน ผูซ้ อื้ อยูภ่ ายใต้แรงกดดันและปราศจาก อิสรภาพ พวกเขาถูกบังคับให้ต้องซื้อปัจจัยพื้นฐานอย่างเช่นที่พัก ที่ปลอดภัย9

วิวาทะว่าด้วยการค้ากำ�ไรเกินควรที่เกิดขึ้นภายหลังอุบัติภัยจาก เฮอร์ริเคนชาร์ลีย์ ก่อให้เกิดคำ�ถามยากๆ ว่าด้วยศีลธรรมและกฎหมาย ผิดหรือเปล่าที่ผู้ขายสินค้าและบริการจะฉวยโอกาสจากภัยธรรมชาติ ตั้ง ราคาอย่างไรก็ได้เท่าที่ตลาดแบกรับไหว? ถ้าผิด กฎหมายควรจัดการกับ กรณีนี้อย่างไร? รัฐควรห้ามค้ากำ�ไรเกินควรหรือไม่ ในเมื่อมันเป็นการ แทรกแซงเสรีภาพของผู้ซื้อและผู้ขายในการตกลงทำ�ธุรกรรมกัน? สวัสดิการ เสรีภาพ และคุณธรรม คำ�ถามเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวกับว่าปัจเจกควรปฏิบัติต่อกันอย่างไร เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับคำ�ถามที่ว่ากฎหมายควรมีหน้าตาอย่างไร และเรา ควรจัดระเบียบสังคมอย่างไร เหล่านีค้ อื คำ�ถามเกีย่ วกับความยุตธิ รรม ก่อน ทีเ่ ราจะตอบคำ�ถามเหล่านีไ้ ด้ เราต้องสำ�รวจความหมายของความยุตธิ รรม เสียก่อน ทีจ่ ริงเราได้เริม่ สำ�รวจไปแล้ว ถ้าหากคุณพิจารณาวิวาทะเรือ่ งการ ค้ากำ�ไรเกินควรอย่างละเอียด คุณจะสังเกตเห็นว่าข้อถกเถียงที่สนับสนุน หรือคัดค้านกฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควรนั้นหมุนอยู่รอบๆ ความคิดสาม เรือ่ งด้วยกัน นัน่ คือ การสร้างสวัสดิการสูงสุด ความเคารพในเสรีภาพ และการ ส่งเสริมคุณธรรม แต่ละความคิดชี้ให้เห็นวิธีคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม คนละวิธี เหตุ ผ ลมาตรฐานที่ ส นั บ สนุ น ตลาดเสรี ไ ร้ ก ารแทรกแซงตั้ ง อยู่ บนข้อเรียกร้องสองข้อ ข้อแรกว่าด้วยสวัสดิการ ข้อสองว่าด้วยเสรีภาพ 18

Jus tice


ก่อนอื่น ตลาดส่งเสริมสวัสดิการของสังคมโดยรวมด้วยการมอบแรงจูงใจ ให้คนทำ�งานหนักเพื่อส่งมอบสินค้าที่คนอื่นต้องการ (ในภาษาชาวบ้าน เรามักจะมองว่าสวัสดิการเป็นเรื่องเดียวกันกับความเจริญรุ่งเรืองทาง เศรษฐกิจ แต่ในความเป็นจริง สวัสดิการเป็นแนวคิดที่กว้างกว่า ซึ่งรวมมิติ อื่นของความอยู่ดีมีสุขนอกเหนือจากมิติทางเศรษฐกิจด้วย) ข้อสอง ตลาด เคารพในเสรีภาพส่วนบุคคล แทนทีจ่ ะกำ�หนดมูลค่าตายตัวให้กบั สินค้าและ บริการต่างๆ ตลาดปล่อยให้ผคู้ นเลือกเอาเองว่าสิง่ ทีพ่ วกเขาแลกเปลีย่ นกัน นั้นจะมีมูลค่าเท่าไร ไม่นา่ แปลกใจทีผ่ คู้ ดั ค้านกฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควรจะหยิบยก ข้อเรียกร้องสองข้อนี้ขึ้นมา ผู้สนับสนุนกฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควร โต้ตอบอย่างไร? ก่อนอืน่ พวกเขาเถียงว่าสวัสดิการของสังคมโดยรวมไม่ได้ ดีขึ้นเลยจากราคาแพงหูฉี่ยามลำ�บาก ถึงแม้ว่าราคาแพงลิบลิ่วจะกระตุ้น ให้คนผลิตสินค้ามากขึ้น แต่เราก็ต้องชั่งนํ้าหนักผลประโยชน์นี้กับภาระ ที่ตกอยู่กับคนที่มีกำ�ลังซื้อสินค้านั้นน้อยที่สุด สำ�หรับคนรวย การจ่ายค่า นํ้ามันหรือค่าห้องพักในโรงแรมม่านรูดช่วงพายุในราคาหฤโหดอาจแค่ก่อ ความรำ�คาญ แต่สำ�หรับผู้ด้อยฐานะ ราคานั้นทำ�ให้พวกเขาเดือดร้อนแสน สาหัส อาจทำ�ให้พวกเขาตกอยู่ในอันตรายมากกว่าเดิมแทนที่จะได้หนี ไปอย่างปลอดภัย ผู้สนับสนุนกฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควรเสนอว่า การ ประเมินสวัสดิการอะไรก็ตามควรนับรวมความเจ็บปวดและความทุกข์ยาก ของคนที่ไม่มีกำ�ลังซื้อปัจจัยพื้นฐานในภาวะฉุกเฉินเอาไว้ด้วย ข้อสอง ผู้ปกป้องกฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควรเสนอว่า ตลาดเสรี ไม่ได้เสรีจริงในบางสถานการณ์ ดังทีไ่ ครสต์ชวี้ า่ “ผูซ้ อื้ ซึง่ อยูภ่ ายใต้แรงกดดัน นัน้ ปราศจากอิสรภาพ พวกเขาถูกบังคับให้ซอื้ ปัจจัยพืน้ ฐานอย่างเช่นทีพ่ กั ที่ปลอดภัย” ถ้าคุณกำ�ลังหอบครอบครัวหนีตายจากพายุเฮอร์ริเคน ราคา แพงหูฉี่ที่คุณต้องจ่ายเป็นค่านํ้ามันหรือที่พักก็ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนโดย สมัครใจ แต่คล้ายกับการถูกกรรโชกทรัพย์มากกว่า ดังนัน้ ก่อนทีจ่ ะตัดสินว่า กฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควรเป็นธรรมหรือไม่ เราจะต้องประเมินความ M i ch a el S a n d el

19


ขัดแย้งกันของสวัสดิการและเสรีภาพเสียก่อน เราต้องพิจารณาข้อเสนออีกข้อหนึง่ ด้วย เสียงประชาชนทีส่ นับสนุน กฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควรมาจากสาเหตุอนื่ ทีเ่ ด่นชัดกว่าสวัสดิการหรือ เสรีภาพ คนเรารูส้ กึ แค้นเคืองกับ “แร้งกา” ทีฉ่ วยโอกาสจากความเดือดร้อน ของคนอืน่ พวกเขาอยากให้คนเหล่านีถ้ กู ลงโทษ – ไม่ใช่ได้รางวัลเป็นกำ�ไร มหาศาล เรามักจะปัดความรู้สึกทำ�นองนี้ว่าเป็นเพียงอารมณ์ล้าสมัยซึ่งไม่ ควรมีบทบาทในการกำ�หนดนโยบายสาธารณะหรือการออกกฎหมาย ดังที่ จาโคบี เ ขี ย นว่ า “การประณามพ่ อ ค้ า ว่ า เป็ น ปี ศ าจร้ า ยจะไม่ ช่ ว ยฟื้ น ฟู ฟลอริดา”10 ความแค้นเคืองต่อพ่อค้านักฉวยโอกาสนัน้ เป็นมากกว่าความโกรธ ที่ไร้จุดหมาย หากแต่มันชี้ไปยังข้อเสนอทางศีลธรรมที่เราควรพิจารณา อย่างจริงจัง ความแค้นเคืองคือความโกรธชนิดพิเศษที่คุณรู้สึกเวลาที่คุณ เชื่อว่าคนกำ�ลังได้ในสิ่งที่เขาไม่สมควรจะได้ ความแค้นเคืองทำ�นองนี้คือ ความแค้นต่อความอยุติธรรม ไครสต์แตะต้นตอทางศีลธรรมของความแค้นเคืองที่ว่านี้ เมื่อเขา อธิบายถึง “ความโลภซึ่งฝังลึกในวิญญาณของบางคน จนสามารถแสวงหา ผลประโยชน์จากผู้ตกทุกข์ได้ยากจากพายุเฮอร์ริเคน” เขาไม่ได้เชื่อมโยง ข้อสังเกตนีเ้ ข้ากับกฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควร แต่นยั ในความเห็นของเขา คล้ายกับประโยคด้านล่างนี้ ซึ่งเราอาจเรียกว่า ข้อเสนอว่าด้วยคุณธรรม ความโลภคือความชั่วร้าย เป็นกิเลสที่แย่ โดยเฉพาะเมื่อมันทำ�ให้ คนหลงลืมความทุกข์ของผู้อื่น ความโลภเป็นมากกว่าความชั่วส่วนตัว เพราะมันขัดแย้งกับคุณธรรมของพลเมือง สังคมทีด่ ชี ว่ ยเหลือเจือจานกันใน ยุคขุกเข็ญ แทนที่จะแสวงหาความได้เปรียบสูงสุด ผู้คนดูแลซึ่งกันและกัน สังคมทีค่ นเอาเปรียบเพือ่ นบ้านเพือ่ ผลประโยชน์ทางการเงินในห้วงยามแห่ง วิกฤตไม่ใช่สังคมที่ดี ดังนั้นความโลภเกินเลยจึงเป็นความชั่วร้ายซึ่งสังคม ที่ดีควรขัดขวางถ้าทำ�ได้ กฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควรกำ�จัดความโลภ ไม่ได้ แต่อย่างน้อยมันก็สามารถยับยั้งความโลภที่ไร้ยางอายที่สุดและส่ง 20

Jus tice


สัญญาณว่าสังคมไม่ยอมรับมัน สังคมใดลงโทษพฤติกรรมโลภมากแทนที่ จะตกรางวัลให้มัน สังคมนั้นตอกยํ้าคุณธรรมของพลเมืองที่ว่า เราควร เสียสละร่วมกันเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การยอมรับว่าข้อถกเถียงเชิงคุณธรรมมีพลังทางศีลธรรมไม่ใช่การ ยืนกรานว่ามันจะต้องมาก่อนเสมอไปเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยอื่น ในบาง กรณีคณ ุ อาจสรุปว่า ชุมชนทีเ่ ดือดร้อนจากพายุเฮอร์รเิ คนสมควรเดิมพันกับ ปีศาจ – ยอมให้เกิดการค้ากำ�ไรเกินควร ด้วยความหวังว่าจะสามารถดึงดูด กองทัพช่างซ่อมหลังคาและผู้รับเหมาจากทั่วทุกสารทิศ ถึงแม้จะต้องเสีย ต้นทุนทางศีลธรรมโดยการยอมรับความโลภก็ตาม คุณอาจคิดว่าเราต้อง ซ่อมหลังคาก่อน แล้วค่อยซ่อมโครงสร้างสังคมทีหลัง อย่างไรก็ดี ประเด็น สำ�คัญที่เราต้องสังเกตคือ การถกเถียงเรื่องกฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควร ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เพี ย งเรื่ อ งของสวั ส ดิ ก ารและเสรี ภ าพ หากแต่ เ ป็ น เรื่ อ งของ คุณธรรมด้วย – เป็นเรื่องของการปลูกฝังทัศนคติและอุปนิสัย รวมทั้ง คุณลักษณะของผู้คนอันเป็นฐานของสังคมที่ดี คนบางคน รวมทั้งหลายคนที่สนับสนุนกฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกิน ควร มองว่าข้อถกเถียงเชิงคุณธรรมทำ�ให้รู้สึกกระอักกระอ่วนใจ สาเหตุคือ มันดูเป็นเรื่องของดุลพินิจมากกว่าข้อถกเถียงที่อิงสวัสดิการและเสรีภาพ การตั้งคำ�ถามว่านโยบายใดนโยบายหนึ่งจะเร่งอัตราการฟื้นฟูหรือกระตุ้น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือไม่นั้น ไม่จำ�เป็นต้องตัดสินค่านิยมของ ผู้คน มันตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าคนทุกคนย่อมอยากได้รายได้มากกว่าเดิม ไม่ใช่นอ้ ยกว่าเดิม และไม่ตดั สินว่าใครดีใครเลวจากวิธกี ารใช้เงิน ในทำ�นอง เดียวกัน การตอบคำ�ถามว่าผูค้ นมีอสิ รภาพทีจ่ ะเลือกหรือไม่ในภาวะบีบคัน้ นั้น ไม่จำ�เป็นต้องประเมินสิ่งที่พวกเขาตัดสินใจเลือก ดูแค่ว่าพวกเขามี อิสรภาพหรือถูกบังคับหรือไม่เพียงใดเท่านั้นก็พอ ในทางตรงกันข้าม ข้อถกเถียงเชิงคุณธรรมตั้งอยู่บนการตัดสินว่า ความโลภคือความชั่วร้ายที่รัฐควรขัดขวาง แต่ใครเล่าจะเป็นคนตัดสินว่า อะไรคือความดี อะไรคือความชั่ว? พลเมืองของสังคมพหุนิยมเห็นต่าง M i ch a el S a n d el

21


เกี่ยวกับเรื่องทำ�นองนี้อยู่แล้วมิใช่หรือ? มันอันตรายมิใช่หรือที่จะบัญญัติ ดุลพินิจเรื่องคุณธรรมไว้ในกฎหมาย? เมื่อเผชิญกับข้อกังวลเหล่านี้ คน จำ�นวนมากมองว่ารัฐบาลควรวางตัวเป็นกลางในประเด็นความดีและความ ชั่ว รัฐไม่ควรพยายามปลูกฝังทัศนคติที่ดีหรือขัดขวางทัศนคติที่ไม่ดี ด้วยเหตุนี้ เมื่อเราพินิจพิเคราะห์ปฏิกิริยาของเราต่อการค้ากำ�ไร เกินควร เราจึงพบว่าเราถูกดึงไปในสองทิศทาง ทางหนึ่งเรารู้สึกแค้นเคือง ทีเ่ ห็นคนได้ในสิง่ ทีพ่ วกเขาไม่สมควรจะได้ เราคิดว่าความโลภทีฉ่ วยโอกาส จากความทุกข์ของมนุษย์ควรถูกลงโทษ ไม่ใช่ได้รางวัล แต่แล้วเราก็กังวล เมื่อดุลพินิจเกี่ยวกับคุณธรรมเข้าไปอยู่ในตัวบทกฎหมาย ภาวะอิหลักอิเหลื่อนี้ชี้ให้เห็นคำ�ถามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดข้อหนึ่งของ ปรั ช ญาการเมื อ ง สั ง คมที่ ยุ ติ ธ รรมควรส่ ง เสริ ม คุ ณ ธรรมของพลเมื อ ง หรือไม่? หรือว่ากฎหมายควรเป็นกลางระหว่างแนวคิดเรื่องความดีที่ ปะทะกัน พลเมืองจะได้มีอิสรภาพในการเลือกใช้ชีวิตในแบบที่พวกเขา อยากใช้? ในตำ�ราปรัชญาการเมือง คำ�ถามข้อนี้แบ่งยุคระหว่างแนวคิด การเมื อ งโบราณกั บ แนวคิ ด การเมื อ งสมั ย ใหม่ ในแง่ ห นึ่ ง ตำ � ราพู ด ถู ก อริสโตเติลสอนว่าความยุติธรรมคือการมอบสิ่งที่ผู้คนสมควรได้รับ การจะ ตัดสินว่าใครควรได้รับอะไรหมายความว่าเราต้องตัดสินก่อนว่า คุณธรรม ข้อใดบ้างที่คู่ควรกับเกียรติยศและผลตอบแทน อริสโตเติลยืนยันว่าเรา ไม่มที างตัดสินได้วา่ รัฐธรรมนูญทีย่ ตุ ธิ รรมคืออะไร หากเรายังไม่ได้ไตร่ตรอง ดูก่อนว่าเราอยากใช้ชีวิตแบบไหน สำ�หรับอริสโตเติลแล้ว กฎหมายเป็น กลางไม่ได้ในประเด็นเกี่ยวกับชีวิตที่ดี ในทางตรงกันข้าม นักปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ ตัง้ แต่ อิมมานูเอล คานท์ ในศตวรรษที่ 18 จนถึง จอห์น รอลส์ ในศตวรรษที่ 20 เถียงว่า หลักความยุติธรรมที่นิยามสิทธิต่างๆ ของเราไม่ควรตั้งอยู่บนแนวคิดเรื่อง คุณธรรมหรือวิธีใช้ชีวิตที่ดีที่สุดแนวใดแนวหนึ่งเป็นการเฉพาะ สังคมที่ ยุตธิ รรมเคารพในอิสรภาพของคนแต่ละคนทีจ่ ะเลือกเองว่าชีวติ ทีด่ คี อื อะไร 22

Jus tice


ดังนัน้ คุณอาจบอกว่า ทฤษฎีความยุตธิ รรมสมัยโบราณตัง้ ต้นจาก คุณธรรม ขณะที่ทฤษฎีสมัยใหม่ตั้งต้นจากเสรีภาพ ในบทต่อๆ ไปของ หนังสือเล่มนี้ เราจะมาสำ�รวจจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละแนวทาง แต่ ก่อนอื่น เราควรตระหนักว่าความแตกต่างข้อนี้อาจทำ�ให้เราเข้าใจผิด ถ้ า เราหั น ไปดู ข้ อ ถกเถี ย งเกี่ ย วกั บ ความยุ ติ ธ รรมที่ ส ร้ า งสี สั น ให้กับการเมืองร่วมสมัย – ไม่ใช่ในหมู่นักปรัชญา แต่ในหมู่คนธรรมดา สามัญ – เราจะพบกับภาพทีซ่ บั ซ้อน จริงอยูว่ า่ ข้อถกเถียงของเราส่วนใหญ่ เป็นเรื่องของการสร้างความเจริญรุ่งเรืองและความเคารพในเสรีภาพส่วน บุคคล อย่างน้อยก็บนพื้นผิว แต่สิ่งที่เราพบภายใต้ข้อถกเถียงเหล่านี้ ซึ่ง บางครั้งก็ขัดแย้งกับความเชื่ออีกชุดหนึ่ง – ว่าคุณธรรมข้อใดมีค่าควรแก่ เกียรติและรางวัล และวิถีชีวิตแบบไหนที่สังคมที่ดีควรสนับสนุน เราเทใจ ให้กบั ความเจริญรุง่ เรืองและเสรีภาพก็จริง แต่เราก็ไม่อาจสลัดแนวคิดเรือ่ ง ความยุติธรรมสายดุลพินิจได้ ความเชื่อที่ว่าความยุติธรรมเป็นเรื่องของ คุณธรรมพอๆ กับทางเลือกนั้นหยั่งรากลึกมาก การคิดเรื่องความยุติธรรม ดูเหมือนจะทำ�ให้เราหนีไม่พ้นที่จะครุ่นคิดถึงวิธีใช้ชีวิตที่ดีที่สุด บาดแผลอะไรคู่ควรกับเหรียญกล้าหาญ? ในบางประเด็ น คำ � ถามเกี่ ย วกั บ คุ ณ ธรรมและเกี ย รติ ก็ ชั ด เจน จนปฏิเสธไม่ได้ ลองดูวิวาทะเมื่อไม่นานมานี้ว่าใครสมควรได้รับเหรียญ กล้ า หาญเป็ น ตั ว อย่ า ง ตั้ ง แต่ ปี 1932 กองทั พ อเมริ กั น มอบเหรี ย ญ กล้าหาญให้กับทหารที่บาดเจ็บหรือล้มตายจากอาวุธของศัตรู นอกเหนือ จากเกียรติยศ ผู้รับเหรียญกล้าหาญยังได้รับสิทธิพิเศษในโรงพยาบาล ทหารผ่านศึกด้วย ตั้ ง แต่ ช่ ว งเริ่ ม สงครามในอิ รั ก และอั ฟ กานิ ส ถาน ทหารผ่ า น ศึ ก ป่ ว ยเป็ น โรคเครี ย ดจากภาวะหวาดผวา (post-traumatic stress disorder) จนต้ อ งเข้ า รั บ การรั ก ษามากขึ้ น เรื่ อ ยๆ อาการของโรคนี้ M i ch a el S a n d el

23


มีตั้งแต่ฝันร้ายซํ้าซาก หดหู่อย่างรุนแรง และฆ่าตัวตาย ทหารผ่านศึก ไม่นอ้ ยกว่า 300,000 นายป่วยเป็นโรคนีห้ รือมีภาวะหดหูร่ นุ แรง นักรณรงค์ เพือ่ ทหารผ่านศึกเสนอว่า พวกเขาเหล่านีส้ มควรได้รบั เหรียญกล้าหาญด้วย ในเมื่อบาดแผลทางจิตใจทำ�ร้ายคนได้เท่ากับบาดแผลทางกาย ทหารที่ ทนทุกข์ทรมานจากบาดแผลทางใจก็สมควรได้รบั เหรียญกล้าหาญเช่นกัน11 หลังจากคณะที่ปรึกษาของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ พิจารณา ประเด็นดังกลาว ในปี 2009 กระทรวงกลาโหมก็ประกาศว่า จะสงวน เหรียญกล้าหาญไว้ให้กบั ทหารผ่านศึกทีม่ บี าดแผลบนร่างกายเท่านัน้ ส่วน ทหารผ่านศึกทีม่ อี าการทางจิตและป่วยเป็นโรคหวาดผวาทางจิตไม่เข้าข่าย นี้ แม้ว่าพวกเขาจะได้รับการอุดหนุนการรักษาพยาบาลและค่าชดเชย ผูพ้ กิ ารจากรัฐก็ตาม กระทรวงกลาโหมแจงเหตุผลสองข้อ – โรคเครียดจาก ภาวะหวาดผวาไม่ได้เกิดจากความจงใจของศัตรู และเป็นโรคทีว่ นิ จิ ฉัยอย่าง เป็นภววิสัยยาก12 กระทรวงกลาโหมตัดสินใจถูกต้องหรือเปล่า? เหตุผลที่อ้างนั้น ฟังไม่ขึ้นในตัวมันเอง ในสงครามอิรัก อาการบาดเจ็บที่ทหารประสบบ่อย ที่สุดอาการหนึ่งและทำ�ให้มีสิทธิได้รับเหรียญกล้าหาญคือแก้วหูแตกจาก การยืนอยูใ่ กล้กบั จุดทีร่ ะเบิดตก13 แต่ระเบิดแบบนีไ้ ม่เหมือนกับกระสุนและ ลูกระเบิด มันไม่ใช่ยทุ ธวิธที ศี่ ตั รูตงั้ ใจจะทำ�ร้ายหรือฆ่าฝ่ายตรงข้าม แต่เป็น เพียงผลข้างเคียงของการสู้รบ (เหมือนกับโรคเครียดจากภาวะหวาดผวา) นอกจากนี้ แม้อาการจากภาวะหวาดผวาอาจวินิจฉัยยากกว่าแขนขาขาด ก็จริง แต่บาดแผลที่มันก่ออาจรุนแรงและยืนยาวกว่ากันมาก วิวาทะในวงกว้างเกี่ยวกับเหรียญกล้าหาญเผยให้เห็นว่า ประเด็น ที่แท้จริงคือความหมายของเหรียญกล้าหาญและคุณธรรมที่ได้รับการ ยกย่อง แล้วคุณธรรมในทีน่ มี้ อี ะไรบ้าง? เหรียญกล้าหาญแตกต่างจากรางวัล เกียรติยศอืน่ ๆ ของกองทัพตรงทีม่ นั เชิดชูการเสียสละ ไม่ใช่ความกล้าหาญ คุณไม่ต้องทำ�ตัวเป็นวีรบุรุษแต่อย่างใด มีเพียงบาดแผลที่ศัตรูฝากไว้ก็ เข้าข่ายแล้ว คำ�ถามคือบาดแผลแบบใดบ้างที่ควรเข้าข่าย 24

Jus tice


ทหารผ่านศึกกลุม่ หนึง่ ซึง่ เรียกตัวเองว่า กองกำ�ลังเหรียญกล้าหาญ (Military Order of the Purple Heart) ไม่เห็นด้วยกับการมอบเหรียญให้ ทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจ เพราะจะทำ�ให้รางวัลนี้ “เสื่อมเสีย” โฆษกกลุ่มประกาศว่า “การเสียเลือดเนื้อ” ควรเป็นเกณฑ์สำ�คัญ14 เขา ไม่ได้อธิบายว่าเหตุใดจึงไม่นับบาดแผลที่ไร้เลือด แต่ ไทเลอร์ อี. บูดรู อดีต นาวาเอกผู้สนับสนุนการนับรวมบาดแผลทางจิตใจ วิเคราะห์กรณีพิพาทนี้ อย่างน่าเชื่อถือ เขาบอกว่าการต่อต้านมาจากทัศนคติที่ฝังลึกของกองทัพ ซึ่ ง มองโรคเครี ย ดจากภาวะหวาดผวาว่ า เป็ น เครื่ อ งชี้ บ่ ง ความอ่ อ นแอ “วั ฒ นธรรมที่ เ รี ย กร้ อ งให้ ค นใจแข็ ง ในขณะเดี ย วกั น ได้ ส นั บ สนุ น ให้ ค น ไม่เชื่อข้อเสนอที่ว่า ความรุนแรงของสงครามอาจทำ�ร้ายจิตใจที่เข้มแข็ง ทีส่ ดุ ... เรือ่ งเศร้าคือ ตราบใดทีว่ ฒ ั นธรรมทางทหารของเรายังเหยียดหยาม บาดแผลทางจิตใจจากสงคราม ก็ยากมากที่ทหารผ่านศึกเหล่านี้จะได้รับ เหรียญกล้าหาญ”15 จะเห็ น ว่ า การถกเถี ย งเรื่ อ งเหรี ย ญกล้ า หาญเป็ น มากกว่ า การ ถกเถียงทางการแพทย์หรือทางเทคนิคว่าเราจะรับรองว่าใครมีบาดแผล จริงๆ ได้อย่างไร หัวใจของความขัดแย้งคือแนวคิดที่แตกต่างกันว่าด้วย ลักษณะของคุณธรรมและความห้าวหาญของทหาร คนที่ยืนกรานว่าควร นับแต่การเสียเลือดเสียเนื้อเท่านั้นเชื่อว่า โรคเครียดจากภาวะหวาดผวา สะท้อนความอ่อนแอที่ไม่คู่ควรกับเกียรติยศ คนที่เชื่อว่าควรนับบาดแผล ทางจิตใจเถียงว่า ทหารผ่านศึกที่ป่วยเป็นโรคนี้และมีอาการหดหู่รุนแรง ได้เสียสละเพื่อชาติอย่างแน่นอนและชัดเจนพอๆ กับทหารที่แขนขาขาด การถกเถี ย งเรื่ อ งเหรี ย ญกล้ า หาญสะท้ อ นให้ เ ห็ น ตรรกะทาง ศีลธรรมในทฤษฎีความยุติธรรมของอริสโตเติล เราไม่อาจตัดสินว่าใคร คู่ควรกับเหรียญเกียรติยศได้โดยไม่ถามว่า เหรียญนั้นเชิดชูคุณธรรมอะไร และการจะตอบคำ�ถามนัน้ ได้กแ็ ปลว่า เราต้องประเมินแนวคิดเรือ่ งคุณธรรม และการเสียสละหลายแนวคิดที่แตกต่างกัน บางคนอาจเสนอว่าเหรียญเกียรติยศเป็นกรณีพิเศษ เป็นการเดิน M i ch a el S a n d el

25


ย้อนยุคสู่ศีลธรรมโบราณว่าด้วยเกียรติและคุณธรรม ทุกวันนี้การถกเถียง ของเราเกี่ยวกับความยุติธรรมเป็นเรื่องของวิธีแบ่งปันผลประโยชน์ยาม รุ่งเรืองหรือภาระในยามยาก และการนิยามสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง ในประเด็นเหล่านีส้ วัสดิการและเสรีภาพเป็นเรือ่ งใหญ่กจ็ ริง แต่การถกเถียง กันเรือ่ งความดีและความเลวของการจัดการทางเศรษฐกิจมักจะนำ�เรากลับ ไปสู่คำ�ถามของอริสโตเติลที่ว่า ใครคู่ควรกับอะไรและทำ�ไม แค้นเคืองเรื่องรัฐอุ้ม ความเกรี้ยวกราดของประชาชนในวิกฤตการเงินปี 2008 - 2009 เป็นตัวอย่างที่ดี ราคาหุ้นและราคาที่ดินถีบตัวสูงขึ้นต่อเนื่องติดต่อกัน หลายปี วันพิพากษามาถึงเมือ่ ฟองสบูบ่ า้ นแตก ธนาคารและสถาบันการเงิน ได้ก�ำ ไรหลายพันล้านเหรียญจากหลักทรัพย์ซบั ซ้อนอิงสินเชือ่ บ้านทีต่ อนนี้ มูลค่าดิ่งเหว บริษัทการเงินซึ่งครั้งหนึ่งเคยยืดอกตอนนี้กลับซวนเซเจียน ล่มสลาย ตลาดหุ้นตกอย่างรุนแรง ไม่เพียงแต่ทำ�ให้นักลงทุนขาใหญ่พัง พินาศ แต่ยังรวมถึงคนอเมริกันธรรมดาด้วย เพราะบัญชีเงินบำ�นาญของ พวกเขาสูญค่าเกือบทั้งหมด ความมั่งคั่งของครัวเรือนอเมริกันลดลงถึง 11 ล้านล้านเหรียญในปี 2008 ตัวเลขนี้เท่ากับผลผลิตมวลรวมประชาชาติ รายปีของเยอรมนี ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรรวมกัน16 ในเดือนตุลาคม 2008 ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ขอเงิน 700,000 ล้านเหรียญจากสภาคองเกรสเพื่อไปอุ้มธนาคารและสถาบัน การเงินยักษ์ใหญ่ของประเทศ มันดูไม่ยุติธรรมเลยที่ภาคการเงินได้กำ�ไร มหาศาลในช่วงที่เศรษฐกิจดี แล้วตอนนี้กำ�ลังขอให้ประชาชนผู้เสียภาษี แบกรับภาระเมื่อเศรษฐกิจยํ่าแย่ แต่ดูเหมือนจะไม่มีทางเลือกอื่น ธนาคาร และสถาบันการเงินขยายตัวจนมีขนาดใหญ่มโหฬาร ผูกพันกับทุกมิติของ เศรษฐกิจเสียจนการล่มสลายของพวกเขาอาจฉุดระบบการเงินทั้งระบบ ลงเหวไปด้วย พูดง่ายๆ คือ พวกเขา “ใหญ่เกินกว่าจะล้ม” (too big to fail) 26

Jus tice


ไม่มใี ครเห็นด้วยว่าธนาคารและวาณิชธนกิจทัง้ หลายคูค่ วรกับเงิน ภาษี เดิมพันทีบ่ า้ บิน่ ของพวกเขา (ซึง่ ทำ�ได้เพราะรัฐกำ�กับดูแลไม่เพียงพอ) ก่อให้เกิดวิกฤต แต่ในกรณีนดี้ เู หมือนว่าความอยูร่ อดของเศรษฐกิจทัง้ ระบบ ดูจะมีนํ้าหนักมากกว่าประเด็นเรื่องความยุติธรรม สภาคองเกรสอนุมัติ แพ็คเกจเงินช่วยเหลืออย่างไม่เต็มใจ ต่อมาภาคการเงินก็จา่ ยโบนัส ไม่นานหลังจากได้รบั เงินอุม้ จากภาค รัฐ เราก็ได้อ่านข่าวว่าบางบริษัทที่อยู่รอดได้ด้วยเงินภาษีกำ�ลังจ่ายโบนัส หลายล้านเหรียญให้กับผู้บริหาร กรณีที่อื้อฉาวที่สุดคือ อเมริกัน อินเตอร์แนชันแนล กรุป๊ (เอไอจี) บริษทั ประกันทีล่ ม่ สลายจากการลงทุนความเสีย่ ง สูงของฝ่ายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ถึงแม้ว่าเอไอจีจะฟื้นคืนชีพด้วยเงิน อุดหนุนมหาศาลจากภาครัฐ (ยอดรวมกว่า 173,000 ล้านเหรียญ) บริษัท ก็จ่ายโบนัสถึง 165 ล้านเหรียญให้กับผู้บริหารของฝ่ายที่ก่อให้เกิดวิกฤต ทั้งบริษัทมีพนักงาน 73 คน ได้รับโบนัส 1 ล้านเหรียญหรือมากกว่านั้น17 ข่ า วโบนั ส เอไอจี ก่ อ พายุ ต่ อ ต้ า นจากสาธารณชนอย่ า งรุ น แรง คราวนี้ ผู้ ค นไม่ ไ ด้ แ ค้ น เรื่ อ งนํ้ า แข็ ง ราคาถุ ง ละสิ บ เหรี ย ญหรื อ ห้ อ งพั ก โรงแรมม่านรูดแพงเกินไป แต่แค้นเรื่องผลตอบแทนงามๆ ที่ผู้มีส่วน ทำ�ให้ระบบการเงินโลกเกือบล่มสลายได้รับบนการแบกรับภาระของผู้เสีย ภาษี ภาพนี้มีอะไรบางอย่างผิดเพี้ยน ถึงแม้ว่าตอนนี้รัฐบาลอเมริกันจะ เป็นเจ้าของหุ้นร้อยละ 80 ของเอไอจี รัฐมนตรีคลังยังต้องวิงวอนต่อซีอี โอที่รัฐบาลแต่งตั้งให้ยกเลิกการจ่ายโบนัส แต่คำ�วิงวอนไม่เป็นผล ซีอีโอ ตอบว่า “เราไม่อาจดึงดูดและเก็บคนเก่งๆ เอาไว้ได้ ... ถ้าหากพนักงาน เชื่อว่าผลตอบแทนของพวกเขาถูกกระทรวงการคลังปรับขึ้นลงได้ตาม อำ�เภอใจ” เขาอ้างว่าความเก่งกาจของพนักงานเอไอจีนั้นจำ�เป็นต่อการ จัดการกับสินทรัพย์เป็นพิษ เพื่อประโยชน์ของผู้เสียภาษีซึ่งได้กลายเป็น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทไปแล้ว18 มวลชนตอบโต้ อ ย่ า งเกรี้ ย วกราด พาดหั ว ข่ า วหน้ า หนึ่ ง ของ นิวยอร์ก โพสต์ หนังสือพิมพ์หัวสี สรุปความรู้สึกของคนจำ�นวนมาก M i ch a el S a n d el

27


“เฮ้ย อย่าเพิง่ ดีใจเจ้าวายร้ายตัวโลภ”19 (Not So Fast You Greedy Bastards) สภาผู้แทนราษฎรอเมริกันหาทางดึงค่าตอบแทนกลับด้วยการอนุมัติกฎ หมายเก็บภาษีร้อยละ 90 จากเงินโบนัสของบริษัทที่รัฐอุ้มค่อนข้างมาก20 แอนดรูว์ คูโอโม อัยการรัฐนิวยอร์ก กดดันจนผู้ได้รับโบนัสสูงสุดของเอไอ จี 15 คนจาก 20 คนยอมคืนเงินโบนัส รวมมูลค่าเงินที่คืนทั้งหมดกว่า 50 ล้านเหรียญ21 การกระทำ�ดังกล่าวบรรเทาความโกรธแค้นของประชาชนลง ได้บา้ ง และเสียงสนับสนุนมาตรการเก็บภาษีลงโทษก็ตกไปในชัน้ วุฒสิ ภา22 แต่เหตุการณ์นกี้ ท็ �ำ ให้ประชาชนคลางแคลงใจ ไม่อยากให้รฐั ใช้เงินมากกว่านี้ ในการเก็บกวาดขยะพิษที่อุตสาหกรรมการเงินก่อ หัวใจของความแค้นเรือ่ งรัฐอุม้ คือความรูส้ กึ ว่าเกิดความอยุตธิ รรม กระทั่งก่อนเรื่องโบนัสจะแดงขึ้นมา ประชาชนก็สนับสนุนการที่รัฐเข้าไป อุ้มธนาคารอย่างไม่เต็มใจและขัดแย้งอยู่ในที ชาวอเมริกันรู้สึกขัดแย้ง ระหว่างความจำ�เป็นที่จะป้องกันการล่มสลายทางเศรษฐกิจที่จะทำ�ให้ ทุกคนเสียหาย กับความเชื่อที่ว่าการโอนเงินมหาศาลให้กับธนาคารและ บริษัทลงทุนที่ล้มเหลวนั้นไม่ยุติธรรมอย่างร้ายแรง สภาคองเกรสและ สาธารณชนยอมให้รัฐอุ้มเพื่อหลีกเลี่ยงหายนะทางเศรษฐกิจ แต่ในแง่ ศีลธรรม ทั้งสองฝ่ายรู้สึกว่าถูกกรรโชกทรัพย์ สิ่ ง ที่ อ ยู่ เ บื้ อ งหลั ง ความแค้ น เคื อ งเรื่ อ งนี้ คื อ ความเชื่ อ ในเรื่ อ ง ความคู่ควรทางศีลธรรม ผู้บริหารที่ได้รับโบนัส (และบริษัทที่ได้รับเงินอุ้ม) ไม่คคู่ วรกับมันเลย แต่ท�ำ ไมพวกเขาจึงไม่คคู่ วรล่ะ? เหตุผลอาจไม่ชดั เท่ากับ ที่เราคิด ลองนึกถึงเหตุผลสองข้อที่เป็นไปได้ – ข้อหนึ่งเกี่ยวกับความโลภ อีกข้อหนึ่งเกี่ยวกับความล้มเหลว ทีม่ าของความโกรธแค้นส่วนหนึง่ คือ โบนัสดูเหมือนจะให้รางวัลกับ ความโลภ ดังทีพ่ าดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์หวั สีจงใจชีใ้ ห้เห็น สาธารณชน มองว่าเรื่องนี้น่ารังเกียจทางศีลธรรม ไม่เพียงแต่โบนัสเท่านั้น แต่เงินภาษี อุ้มภาคการเงินโดยรวมดูเหมือนจะให้รางวัลพฤติกรรมละโมบแทนที่จะ ลงโทษ นักค้าตราสารอนุพันธ์ชักนำ�บริษัทและประเทศทั้งประเทศเข้าสู่ 28

Jus tice


ภาวะล่อแหลมทางการเงินอย่างรุนแรง – ด้วยการลงทุนอย่างบ้าบิ่นเพื่อ แสวงหากำ�ไรให้สงู ขึน้ อย่างไม่หยุดยัง้ พวกเขาได้ก�ำ ไรไปแล้วยามเศรษฐกิจ เติบโต แต่ตอนนีก้ ลับไม่รสู้ กึ ผิดทีไ่ ด้โบนัสหลายล้านเหรียญ กระทัง่ หลังจาก ที่การลงทุนของพวกเขาล้มเหลว23 คนที่วิพากษ์วิจารณ์เรื่องความโลภไม่ได้มีแต่หนังสือพิมพ์หัวสี เจ้าหน้าที่รัฐก็วิพากษ์วิจารณ์เหมือนกัน (แบบมีมารยาทดีกว่า) วุฒิสมาชิก เชอร์รอด บราวน์ (จากรัฐโอไฮโอ สมาชิกพรรคเดโมแครต) กล่าวว่า พฤติกรรมของเอไอจีนนั้ “แสดงถึงความโลภ ความหยิง่ ยะโส และสิง่ ทีย่ าํ่ แย่ กว่านัน้ ”24 ประธานาธิบดีโอบามากล่าวว่า เอไอจี “ประสบหายนะทางการเงิน จากความบ้าบิ่นและความโลภ”25 ปัญหาของข้อวิพากษ์เรือ่ งความโลกคือ มันไม่แยกแยะระหว่างผล ตอบแทนทีเ่ กิดจากการเข้าไปอุม้ ของภาครัฐหลังเกิดวิกฤต กับผลตอบแทน ที่ตลาดมอบให้ในภาวะรุ่งโรจน์ ความโลภคือกิเลส เป็นทัศนคติที่ไม่ดี คือความปรารถนาคับแคบเกินเลยที่จะหาประโยชน์ ดังนั้นจึงเข้าใจได้ว่า เหตุใดคนถึงไม่อยากให้รางวัลตอบแทนความโลภ แต่มีเหตุผลหรือเปล่า ที่เราจะคิดว่า คนที่ได้โบนัสจากเงินอุ้มนั้นโลภมากกว่าที่พวกเขาเคยเป็น เมื่อไม่กี่ปีก่อน ตอนที่พวกเขากำ�ลังลิงโลดใจและได้ผลตอบแทนมหาศาล กว่านี้อีก? นักค้าหลักทรัพย์ นายธนาคาร และผู้จัดการกองทุนเก็งกำ�ไร ระยะสั้นในภาคการเงินอเมริกันคือกลุ่มคนที่กร้านโลก การเสาะแสวง ผลประโยชน์ทางการเงินคืออาชีพของพวกเขา ไม่วา่ อาชีพนีจ้ ะทำ�ให้พวกเขา นิสัยเสียหรือไม่ คุณธรรมของพวกเขาก็ไม่น่าจะดีขึ้นหรือแย่ลงตามภาวะ ตลาดหุน้ ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากการให้รางวัลแก่ความโลภด้วยโบนัสจากเงินอุม้ เป็นเรื่องผิด กำ�ไรมหาศาลที่ตลาดตกรางวัลให้ก็ต้องผิดด้วยใช่หรือไม่? ในปี 2008 สาธารณชนโกรธแค้นที่เห็นสถาบันการเงิน (บางแห่งอยู่ได้ด้วย เงินอุ้มจากภาษีประชาชน) จ่ายโบนัสรวมกันถึง 16,000 ล้านเหรียญ แต่ตัวเลขนี้น้อยกว่าโบนัสที่จ่ายในปี 2006 (34,000 ล้านเหรียญ) และปี M i ch a el S a n d el

29


2007 (33,000 ล้านเหรียญ)26 ถ้าหากว่าความโลภเป็นเหตุผลที่พวกเขา ไม่ควรได้เงินในตอนนี้ แล้วเราจะบอกว่าพวกเขาไม่ควรได้รับเงินในอดีต ด้วยเหตุผลอะไรเล่า? ความแตกต่างประการหนึ่งซึ่งชัดเจนคือ โบนัสจากเงินอุ้มมาจาก เงินภาษีของประชาชน ขณะที่โบนัสที่จ่ายในยุครุ่งโรจน์มาจากผลกำ�ไร ของบริษทั เอง แต่ถา้ หากความแค้นเคืองตัง้ อยูบ่ นความเชือ่ ทีว่ า่ นักการเงิน ไม่สมควรจะได้รับโบนัสมหาศาล ที่มาของเงินก็ไม่ใช่ปัจจัยตัดสินทาง ศีลธรรม อย่างไรก็ดี มันก็ชี้เบาะแสสำ�คัญ เหตุผลที่โบนัสมาจากประชาชน ผู้เสียภาษีก็เพราะบริษัทเหล่านั้นล้มเหลว จุดนี้นำ�เราไปสู่หัวใจของเสียง ก่นด่า ชาวอเมริกันต่อต้านเงินโบนัส – และการอุ้ม – ไม่ใช่เพราะมันให้ รางวัลกับความโลภ แต่เพราะมันให้รางวัลกับความล้มเหลว ชาวอเมริกันทนความล้มเหลวไม่ได้ยิ่งกว่าความโลภ ในสังคมที่ ขับดันด้วยตลาดเสรี คนที่มีความทะเยอทะยานถูกคาดหวังว่าจะไล่ล่าหา ประโยชน์ส่วนตัวอย่างแข็งขัน และเส้นแบ่งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัว กับความโลภก็มักจะเลือนราง แต่เส้นแบ่งระหว่างความสำ�เร็จกับความ ล้มเหลวถูกจารึกอย่างชัดเจนกว่านัน้ ความคิดทีว่ า่ คนเราคูค่ วรกับรางวัลที่ ความสำ�เร็จมอบให้คือหัวใจของความฝันแบบอเมริกัน ถึงแม้จะพูดถึงความโลภเพียงผ่านๆ ประธานาธิบดีโอบามาก็ เข้าใจดีวา่ การตกรางวัลความล้มเหลวคือบ่อเกิดของความโกรธแค้นและไม่ ลงรอยกัน ตอนทีโ่ อบามาประกาศเพดานค่าตอบแทนผูบ้ ริหารสำ�หรับบริษทั ที่ได้รับเงินอุ้ม เขาก็ระบุบ่อเกิดของความโกรธแค้นอย่างชัดเจนว่า นี่คืออเมริกา เราไม่ดูหมิ่นความรํ่ารวย เราไม่อิจฉาริษยาใครก็ตาม ที่ประสบความสำ�เร็จ และเราก็เชื่อจริงๆ ว่าทุกคนควรได้รางวัล จากความสำ�เร็จ แต่สิ่งที่ทำ�ให้คนโมโห – ซึ่งก็สมควรโมโห – คือ ข้อเท็จจริงว่าผู้บริหารได้รางวัลจากความล้มเหลว โดยเฉพาะเมื่อ รางวัลนั้นได้รับการอุดหนุนจากประชาชนผู้เสียภาษี27

30

Jus tice


คำ�กล่าวที่พิสดารที่สุดครั้งหนึ่งเกี่ยวกับศีลธรรมแห่งการอุ้มคือ คำ�กล่าวของวุฒิสมาชิก ชาร์ลส์ กราสลีย์ (รัฐไอโอวา พรรครีพับลิกัน) นัก อนุรักษ์นิยมทางการคลังจากภาคกลาง เมื่อความโกรธเรื่องโบนัสพุ่งถึงจุด สูงสุด กราสลีย์ก็ให้สัมภาษณ์รายการวิทยุรายการหนึ่งในไอโอวาว่า สิ่งที่ ทำ�ให้เขาอึดอัดใจทีส่ ดุ คือผูบ้ ริหารบริษทั ปฏิเสธทีจ่ ะยอมรับผิดใดๆ ต่อความ ล้มเหลว เขาจะ “รูส้ กึ ดีกบั พวกเขามากขึน้ อีกนิดหน่อยถ้าหากผูบ้ ริหารเหล่านี้ จะทำ�ตามธรรมเนียมของคนญีป่ นุ่ มายืนต่อหน้าชาวอเมริกนั โค้งหัวจรดเท้า พูดว่า ‘ผมขอโทษ’ แล้วก็ลาออก หรือไม่ก็ทำ�ฮาราคีรีซะ”28 หลังจากนั้นกราสลีย์อธิบายว่า เขาไม่ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารฆ่า ตั ว ตายจริ ง ๆ แต่เขาอยากให้แ สดงความรับผิดชอบต่อความล้มเหลว แสดงออกว่าสำ�นึกผิด และขอโทษต่อสาธารณะ “ผมไม่เคยได้ยินซีอีโอ คนไหนทำ�แบบนีเ้ ลย และมันก็ท�ำ ให้ผเู้ สียภาษีในเขตของผมไม่อยากโกยเงิน ออกมาให้ตลอดเวลา”29 ความเห็นของกราสลีย์สนับสนุนความคิดของผมว่า ความโกรธ แค้นต่อการอุ้มไม่ใช่เรื่องของความโลภ สิ่งที่กระทบสำ�นึกความยุติธรรม ของคนอเมริกันเป็นหลักคือ เงินภาษีของพวกเขากำ�ลังถูกใช้เป็นรางวัล แด่ความล้มเหลว ถ้าผมคิดถูก เราก็ยงั ต้องถามว่ามุมมองต่อการอุม้ แบบนีช้ อบธรรม หรือไม่ ซีอีโอ ผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร และบริษัทลงทุนยักษ์ใหญ่ เป็นตัวการของวิกฤตรอบนี้จริงหรือไม่? ผู้บริหารหลายคนไม่คิดอย่าง นั้น ตอนที่ไปให้ปากคำ�ต่อคณะกรรมการสืบสวนวิกฤตการเงินของสภา คองเกรส พวกเขายืนกรานว่าได้ทำ�ทุกอย่างเท่าที่ทำ�ได้แล้วภายใต้ข้อมูล ที่มีอยู่ อดีตซีอีโอของ แบร์ สเติร์นส์ วาณิชธนกิจที่ล้มครืนในปี 2008 บอก ว่าเขาครุ่นคิดอย่างหนักและนานว่าสามารถทำ�อะไรแตกต่างไปจากเดิม ได้ไหม เขาสรุปว่าเขาทำ�ทุกอย่างเท่าที่ทำ�ได้แล้ว “ผมคิดไม่ออกจริงๆ ว่า จะทำ�อะไรได้ ... ที่จะทำ�ให้สถานการณ์ของเราเปลี่ยนแปลงไป”30 ซีอโี อคนอืน่ ของบริษทั ทีล่ ม้ เหลวเห็นด้วย โดยยืนกรานว่าพวกเขา M i ch a el S a n d el

31


เป็นเหยื่อของ “สึนามิทางการเงิน” ซึ่งอยู่เหนือการควบคุม31 เทรดเดอร์ หนุม่ สาวก็มที ศั นคติคล้ายกัน พวกเขาไม่เข้าใจว่าผูค้ นโกรธแค้นทีพ่ วกเขา ได้โบนัสสูงๆ ทำ�ไม เทรดเดอร์คนหนึง่ กล่าวกับผูส้ อื่ ข่าวจากนิตยสาร วานิตี แฟร์ ว่า “ไม่มใี ครเห็นใจเราเลย ... ไม่ใช่วา่ เราไม่ได้ท�ำ งานหนักเสียหน่อย”32 การเปรียบเทียบวิกฤตการเงินกับสึนามิกลายเป็นส่วนหนึ่งของ ภาษาการอุ้ม โดยเฉพาะในแวดวงนักการเงิน ถ้าหากผู้บริหารพูดถูกที่ว่า บริษัทของพวกเขาล้มเหลวจากพลังทางเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า ไม่ใช่การ ตัดสินใจของตัวเอง นี่ก็อธิบายได้ว่าเหตุใดพวกเขาจึงไม่ได้แสดงความ สำ�นึกผิดอย่างที่วุฒิสมาชิกกราสลีย์อยากได้ยิน แต่มันก็ก่อให้เกิดคำ�ถาม ที่กว้างไกลเกี่ยวกับความล้มเหลว ความสำ�เร็จ และความยุติธรรม ถ้าหากพลังทางเศรษฐกิจเชิงระบบเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดความ เสียหายใหญ่หลวงในปี 2008 และ 2009 มันก็เป็นตัวการทีส่ ร้างกำ�ไรละลานตา ในปีก่อนๆ ใช่หรือไม่? ถ้าหากสภาพภูมิอากาศเป็นสาเหตุของปีที่ซบเซา แล้วจะเป็นไปได้อย่างไรที่พรสวรรค์ ปัญญา และความมุมานะอุตสาหะ ของนายธนาคาร เทรดเดอร์ และผู้บริหารสถาบันการเงิน เป็นสาเหตุของ ผลตอบแทนทะลุฟ้าที่เกิดขึ้นในยามพระอาทิตย์ส่องแสง? เมือ่ พวกเขาเผชิญหน้ากับความโกรธแค้นของประชาชนทีต่ อ้ งจ่าย โบนัสตอบแทนความล้มเหลว เหล่าซีอีโออ้างว่าผลตอบแทนทางการเงิน ไม่ใช่ผลงานของพวกเขาทั้งหมด แต่เป็นผลลัพธ์ของพลังที่อยู่นอกเหนือ การควบคุม พวกเขาอาจมีประเด็น แต่ถ้าจริง เราก็มีเหตุผลที่จะตั้งคำ�ถาม ต่อข้ออ้างที่ว่าพวกเขาควรได้ค่าตอบแทนมหาศาลในภาวะตลาดขาขึ้น ทัง้ ทีจ่ ดุ จบของสงครามเย็น โลกาภิวตั น์ดา้ นการค้าและตลาดทุน การเติบโต ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ต และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย มีสว่ นช่วยหนุนเสริมความสำ�เร็จของอุตสาหกรรมการเงินในทศวรรษ 1990 และปีแรกๆ ของศตวรรษที่ 21 ในปี 2007 ซีอีโอของบริษัทอเมริกันยักษ์ใหญ่ได้รับค่าตอบแทน 344 เท่าของค่าตอบแทนเฉลีย่ ของพนักงาน33 ทำ�ไมผูบ้ ริหารคูค่ วรทีจ่ ะได้รบั 32

Jus tice


ค่ า ตอบแทนมากกว่ า พนั ก งานถึ ง ขนาดนั้ น ? จริ ง อยู่ ที่ พ วกเขาส่ ว น ใหญ่ทำ�งานหนักและเก่งกาจ แต่ลองคิดดูว่า ในปี 1980 ซีอีโอได้รับ ค่ า ตอบแทนเพี ย ง 42 เท่ า ของค่ า เฉลี่ ย 34 ผู้ บ ริ ห ารในปี 1980 เก่งกาจน้อยกว่าและทำ�งานไม่หนักเท่ากับผู้บริหารทุกวันนี้หรือเปล่า? หรือว่าความแตกต่างนี้สะท้อนปัจจัยอื่นที่ไม่เกี่ยวกับฝีมือและทักษะเลย? ล อ ง เ ป รี ย บ เ ที ย บ ร ะ ดั บ ค่ า ต อ บ แ ท น ผู้ บ ริ ห า ร ใ น ส ห รั ฐ อเมริ ก าและประเทศอื่ น ดู ซี อี โ อของบริ ษั ท ใหญ่ ที่ สุ ด ในอเมริ กาได้ รั บ ค่าตอบแทนเฉลี่ย 13.3 ล้านเหรียญต่อปี (ตัวเลขปี 2004 - 2006) ขณะที่ ซีอีโอฝั่งยุโรปได้ 6.6 ล้านเหรียญ และซีอีโอญี่ปุ่นได้ 1.5 ล้านเหรียญ35 ผูบ้ ริหารชาวอเมริกนั คูค่ วรกว่าซีอโี อยุโรปสองเท่า และคูค่ วรกว่าซีอโี อญีป่ นุ่ เก้าเท่าหรือไม่? หรือว่าความแตกต่างนีส้ ะท้อนปัจจัยอืน่ ทีไ่ ม่เกีย่ วกับความ พยายามและความเก่งกาจของผู้บริหาร? ความโกรธแค้นเรื่องเงินอุ้มที่กระพือไปทั่วสหรัฐอเมริกาตอนต้น ปี 2009 สะท้อนมุมมองที่แพร่หลายว่า ผู้ทำ�ลายบริษัทที่พวกเขาบริหาร ด้วยการลงทุนความเสีย่ งสูง ไม่ควรได้รบั รางวัลเป็นโบนัสหลายล้านเหรียญ แต่การถกเถียงเรื่องโบนัสก็นำ�ไปสู่คำ�ถามว่า ใครสมควรได้รับอะไรในยาม รุง่ โรจน์ ผูป้ ระสบความสำ�เร็จควรได้รบั รางวัลทีต่ ลาดมอบให้ หรือว่ารางวัล นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นที่พวกเขาควบคุมไม่ได้? กรณีนี้บอกอะไรกับเรา เรือ่ งหน้าทีข่ องพลเมืองในยุครุง่ เรืองและยุคยากเข็ญ? เรายังต้องรอดูตอ่ ไป ว่าวิกฤตการเงินจะจุดประกายวิวาทะสาธารณะในประเด็นเหล่านี้หรือไม่ สามวิถีสู่ความยุติธรรม การถามว่าสังคมยุตธิ รรมหรือไม่ คือการถามว่ามันจัดสรรสิง่ ต่างๆ ทีเ่ รามองว่ามีคา่ อย่างไร – รายได้และความมัง่ คัง่ หน้าทีแ่ ละสิทธิ อำ�นาจและ โอกาส ตำ�แหน่งและเกียรติยศ สังคมทีย่ ตุ ธิ รรมจัดสรรสินค้าเหล่านีด้ ว้ ยวิธที ี่ ถูกต้อง ทำ�ให้คนแต่ละคนได้รบั ในสิง่ ทีต่ นคูค่ วร คำ�ถามทีย่ ากกว่าคือ แต่ละ คนควรได้รับอะไรบ้าง และเพราะอะไร M i ch a el S a n d el

33


เราได้เริ่มรับมือกับคำ�ถามเหล่านี้แล้ว ตอนที่เราครุ่นคิดถึงความ ถูกต้องและความผิดของการค้ากำ�ไรเกินควร ข้อถกเถียงที่ตรงข้ามกัน ว่าด้วยเหรียญกล้าหาญ และการอุม้ ภาคการเงิน เราได้แยกวิธจี ดั สรรสินค้า ออกเป็น 3 วิธี ได้แก่ สวัสดิการ เสรีภาพ และคุณธรรม อุดมคติแต่ละข้อ เสนอวิถีความยุติธรรมที่แตกต่างกัน การถกเถียงของเราบางเรื่องสะท้อนความไม่ลงรอยกันว่า การ สร้างสวัสดิการสูงสุด การเคารพในสิทธิเสรีภาพ และการปลูกฝังคุณธรรม นั้นหมายความว่าอะไร และเราก็ไม่เห็นพ้องต้องกันว่าควรทำ�อย่างไรเมื่อ อุดมคติเหล่านี้ขัดแย้งกัน ปรัชญาการเมืองไม่อาจทำ�ให้เราเห็นตรงกัน ชัว่ นิรนั ดร์ แต่มนั ก็ท�ำ ให้เรามองเห็นข้อถกเถียงต่างๆ อย่างชัดเจนกว่าเดิม และทำ�ให้เราเผชิญกับทางเลือกต่างๆ ในฐานะพลเมืองผู้รักประชาธิปไตย ได้อย่างมีความชัดเจนทางศีลธรรม หนังสือเล่มนี้สำ�รวจจุดแข็งและจุดอ่อนของวิถีแห่งความยุติธรรม สามวิถี เราจะเริ่มจากความคิดเรื่องการสร้างสวัสดิการสูงสุด นี่คือจุด เริ่มต้นที่เป็นธรรมชาติสำ�หรับสังคมตลาดอย่างเรา วิวาทะทางการเมือง ร่วมสมัยมักจะเกี่ยวกับคำ�ถามที่ว่า เราจะหนุนเสริมความเจริญรุ่งเรือง ได้อย่างไร ปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยูไ่ ด้อย่างไร หรือกระตุน้ การเติบโต ทางเศรษฐกิจได้อย่างไร ทำ�ไมเราจึงใส่ใจกับเรือ่ งเหล่านี?้ คำ�ตอบทีเ่ ด่นชัด ทีส่ ดุ คือ เพราะเราคิดว่าความเจริญทำ�ให้เราอยูด่ มี สี ขุ กว่า ทัง้ ในฐานะปัจเจก และสังคม พูดอีกอย่างคือ ความเจริญนัน้ สำ�คัญเพราะมีสว่ นสร้างสวัสดิการ ของเรา เราจะสำ�รวจความคิดนี้ด้วยการสำ�รวจลัทธิอรรถประโยชน์นิยม (utilitarianism) ชุดความคิดซึง่ มีอทิ ธิพลทีส่ ดุ ว่าเราจะสร้างสวัสดิการสูงสุด ได้อย่างไรและทำ�ไม หรือ (ในคำ�ของนักอรรถประโยชน์นิยม) เราจะสร้าง ความสุขสูงสุดให้กับคนจำ�นวนมากที่สุดได้อย่างไรและทำ�ไม หลังจากนัน้ เราจะไปสำ�รวจทฤษฎีตา่ งๆ ทีเ่ ชือ่ มโยงความยุตธิ รรม เข้ากับเสรีภาพ ทฤษฎีเหล่านี้ส่วนใหญ่เน้นความเคารพในสิทธิส่วนบุคคล ถึงแม้จะเห็นไม่ตรงกันว่าสิทธิข้อใดสำ�คัญที่สุด การเมืองร่วมสมัยของเรา 34

Jus tice


คุ้นเคยกับความคิดที่ว่าความยุติธรรมหมายถึงการเคารพในสิทธิเสรีภาพ ส่วนบุคคล พอๆ กับความคิดว่าด้วยการสร้างสวัสดิการสูงสุดของลัทธิ อรรถประโยชน์นิยม ยกตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญอเมริกันคุ้มครองเสรีภาพ บางประการ รวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการนับถือ ศาสนาซึ่งเสียงส่วนใหญ่ไม่อาจละเมิดได้ ความคิดที่ว่าความยุติธรรม หมายถึงความเคารพในสิทธิมนุษยชนสากลเป็นความคิดที่ทรงอิทธิพล มากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก (ในทางทฤษฎี ไม่เสมอไปในทางปฏิบัติ) วิถีแห่งความยุติธรรมที่ตั้งต้นจากเสรีภาพเป็นสำ�นักคิดที่กว้าง ขวางมาก อันที่จริงข้อถกเถียงทางการเมืองที่ทุ่มเถียงกันอย่างเอาเป็น เอาตายที่สุดในยุคสมัยของเรา เกิดขึ้นระหว่างค่ายสองค่ายภายในสำ�นัก นี้ คือระหว่างค่ายเสรีนิยมสุดขั้ว (laissez-faire) กับค่ายความเป็นธรรม (fairness) ผู้นำ�ค่ายเสรีนิยมสุดขั้วคือพลพรรคนักอิสรนิยม (libertarian) ผู้สนับสนุนตลาดเสรี พวกเขาเชื่อว่าความยุติธรรมอยู่ที่การเคารพและ พิทักษ์การตัดสินใจของผู้ใหญ่ที่กระทำ�ไปโดยสมัครใจ สมาชิกค่ายความ เป็นธรรมคือนักทฤษฎีที่ชอบความเท่าเทียมกันมากกว่า พวกเขาเสนอว่า ตลาดเสรีไร้การกำ�กับดูแลนั้นทั้งไม่ยุติธรรมและไม่มีเสรีภาพ ในมุมมอง ของพวกเขา ความยุตธิ รรมเรียกร้องนโยบายเพือ่ แก้ไขความเสียเปรียบทาง สังคมและเศรษฐกิจ และมอบโอกาสทีจ่ ะประสบความสำ�เร็จให้กบั คนทุกคน สุ ด ท้ า ย เราจะหั น ไปมองทฤษฎี ที่ ว่ า ความยุ ติ ธ รรมผู ก พั น กั บ คุณธรรมและชีวิตที่ดี ในการเมืองร่วมสมัย ทฤษฎีคุณธรรมมักจะถูก ติดป้ายว่าเป็นความคิดของนักอนุรักษ์นิยมทางวัฒนธรรมและฝ่ายขวา ทางศาสนา ความคิดที่ว่ารัฐจะออกกฎหมายบัญญัติศีลธรรมเป็นความคิด ที่น่ารังเกียจสำ�หรับพลเมืองสังคมเสรีจำ�นวนมาก เพราะสุ่มเสี่ยงว่าสังคม จะถลำ�เข้าสู่ภาวะไม่อดทนอดกลั้นและกดขี่คนอื่น แต่ความคิดที่ว่าสังคม ที่ยุติธรรมคือสังคมที่ตอกยํ้าคุณธรรมบางประการและแนวคิดว่าด้วยชีวิต ที่ดี คือแรงบันดาลใจที่ขับเคลื่อนขบวนเคลื่อนไหวทางการเมืองและข้อ ถกเถียงตลอดพรมแดนทางอุดมการณ์ ตาลีบัน นักรณรงค์เลิกทาส ไป M i ch a el S a n d el

35


จนถึง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ได้วาดวิสัยทัศน์ความยุติธรรมของพวก เขาจากอุดมคติทางศีลธรรมและศาสนา ก่อนทีเ่ ราจะประเมินทฤษฎีความยุตธิ รรมเหล่านี้ เราควรถามก่อน ว่าข้อถกเถียงทางปรัชญาจะดำ�เนินไปได้อย่างไร – โดยเฉพาะในโลกทีแ่ ข่งขัน กันสูงอย่างโลกแห่งปรัชญาศีลธรรมและปรัชญาการเมือง ข้อถกเถียงเหล่านี้ มักเริม่ จากสถานการณ์จริง ดังทีเ่ ราได้เห็นในการอภิปรายเรือ่ งการค้ากำ�ไร เกินควร เหรียญกล้าหาญ และการอุม้ ภาคการเงิน การครุน่ คิดทางศีลธรรม และการเมืองจะผุดขึน้ ในภาวะทีค่ นเห็นต่างกัน ความเห็นต่างมักจะเกิดขึน้ ระหว่างคนที่ชอบพรรคการเมืองคนละพรรค หรือนักรณรงค์ที่เห็นต่างกัน ในประเด็นสาธารณะ แต่บางครั้งความเห็นต่างก็อยู่ภายในตัวเราแต่ละคน อย่างเช่นตอนที่เรารู้สึกสับสนหรืออิหลักอิเหลื่อเวลาเจอคำ�ถามยากๆ ทาง ศีลธรรม แต่เราจะเดินทางด้วยเหตุผลจากการตัดสินใจในสถานการณ์จริง ไปสูห่ ลักความยุตธิ รรมทีเ่ ราเชือ่ ว่าควรใช้ได้กบั ทุกสถานการณ์ได้อย่างไร? พูดง่ายๆ คือ การใช้เหตุผลทางศีลธรรมหมายความว่าอะไร? ถ้าอยากมองเห็นว่าการใช้เหตุผลทางศีลธรรมดำ�เนินไปอย่างไร ลองมาดูสถานการณ์สองสถานการณ์ เรือ่ งแรกเป็นนิทานสมมติทนี่ กั ปรัชญา ชอบถกเถียงกัน เรื่องที่สองเป็นเรื่องจริงเกี่ยวกับภาวะอิหลักอิเหลื่อทาง ศีลธรรมที่ตัดสินใจยากมาก มาดูนิทานปรัชญากันก่อน36 นิทานเรื่องนี้เหมือนกันกับเรื่องอื่นๆ ตรงที่มันถูกถอดลักษณะซับซ้อนต่างๆ จากโลกจริงออกไปหลายเรื่อง เราจะได้เน้นหนักไปที่ประเด็นทางปรัชญาไม่กี่ข้อ รถรางเบรคแตก สมมติ ว่ า คุ ณ เป็ น คนขั บ รถรางที่ บึ่ ง มาด้ ว ยความเร็ ว 60 ไมล์ ต่อชั่วโมง ข้างหน้าคุณมองเห็นคนงานห้าคนยืนถืออุปกรณ์ขวางรางอยู่ 36

Jus tice


คุณพยายามหยุดรถแต่ไม่เป็นผล เบรคไม่ทำ�งาน คุณรู้สึกสิ้นหวังเพราะ รู้ดีว่าถ้าหากรถรางชนคนงานกลุ่มนี้ พวกเขาทั้งหมดจะตาย (สมมติคุณรู้ ว่าพวกเขาต้องตายแน่ๆ) ทันใดนัน้ คุณสังเกตเห็นทางเบีย่ งทางขวามือ มีคนงานยืนขวางราง เหมือนกัน แต่มีแค่คนเดียว คุณตระหนักว่าสามารถขับรถรางไปทางเบี่ยง ฆ่าคนงานเพียงคนเดียว แต่ทำ�ให้อีกห้าคนรอดชีวิต คุณควรทำ�อย่างไร? คนส่วนใหญ่จะตอบว่า “เลี้ยวเลย! การฆ่าคน บริสุทธิ์หนึ่งคนน่าเศร้าก็จริง แต่การฆ่าคนบริสุทธิ์ห้าคนร้ายแรงกว่ามาก” การเสียสละชีวิตหนึ่งชีวิตเพื่อช่วยอีกห้าคนดูเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ทีนลี้ องมาดูอกี เวอร์ชนั ของเรือ่ งเดียวกัน คราวนีค้ ณ ุ ไม่ใช่คนขับรถ แต่เป็นพยานรู้เห็นเหตุการณ์ ยืนอยู่บนสะพานเหนือรางรถ (คราวนี้ไม่มี ทางเบี่ยง) คุณเห็นว่ารถรางกำ�ลังวิ่งมาตามราง และสุดรางนั้นคือคนงาน ห้าคน รถรางเบรคแตกและกำ�ลังจะชนคนงานทั้งกลุ่ม คุณรู้สึกท้อแท้สิ้นหวังว่าหลีกเลี่ยงหายนะนี้ไม่ได้ จนกระทั่งคุณ สังเกตเห็นว่ามีผู้ชายตัวใหญ่คนหนึ่งยืนอยู่ข้างคุณบนสะพาน คุณสามารถ ผลักเขาตกสะพานลงไปบนรางด้านล่าง ขวางรถรางทีก่ �ำ ลังตะบึงมา ชายผูน้ ี้ จะตาย แต่คนงานห้าคนนั้นจะรอด (คุณไตร่ตรองว่าจะกระโดดลงไปขวาง รถเองดีหรือไม่ แต่แล้วก็คิดได้ว่าคุณตัวเล็กเกินไปที่จะหยุดรถราง) การผลักชายตัวใหญ่ลงไปบนรางคือการกระทำ�ที่ถูกต้องหรือไม่? คนส่วนใหญ่จะตอบว่า “ไม่สิ ผิดมหันต์เลยถ้าใครจะผลักคนลงไปขวางรถ” การผลักคนให้ตกสะพานไปสูค่ วามตายทีแ่ น่ชดั ดูจะเป็นการกระทำ� ทีช่ วั่ ร้าย ต่อให้การทำ�อย่างนัน้ จะช่วยชีวติ ผูบ้ ริสทุ ธิห์ า้ คน แต่ปริศนาทางศีล ธรรมทีเ่ กิดขึน้ คือ ทำ�ไมหลักการทีด่ ถู กู ต้องในกรณีแรก – เสียสละชีวติ หนึง่ ชีวิตเพื่อช่วยห้าชีวิต – จึงดูเป็นความผิดในกรณีหลัง? ถ้าหากตัวเลขสำ�คัญจริงๆ ดังปฏิกิริยาของเราในกรณีแรก – ถ้า หากการช่ ว ยชีวิตคนห้าคนดีกว่าการช่ว ยหนึ่งคน – แล้วทำ�ไมเราถึง ไม่ ใ ช้ ห ลั ก การเดี ย วกั น นี้ กั บ กรณี ห ลั ง ออกแรงผลั ก ? การผลั ก คนลง M i ch a el S a n d el

37


ไปตายดูโหดเหี้ยมถึงแม้จะมีเหตุผลที่ดี แต่การฆ่าคนด้วยการขับรถราง ชนโหดเหี้ยมน้อยกว่ากันหรือ? บางทีเหตุผลทีเ่ รารูส้ กึ ผิดคือ เราต้องผลักชายบนสะพานโดยทีเ่ ขา ไม่ยนิ ยอมพร้อมใจ เขาไม่ได้เลือกทีจ่ ะเข้ามาเกีย่ วข้อง แค่ยนื อยูบ่ นสะพาน เฉยๆ แต่คนงานที่ยืนอยู่บนทางเบี่ยงก็เหมือนกัน เขาไม่ได้เลือกว่าจะตาย เขาแค่กำ�ลังทำ�งานของเขา ไม่ได้อาสาสละชีวิตให้กับรถรางเบรคแตก บางคนอาจเถียงว่าคนงานรถไฟสมัครใจที่จะรับความเสี่ยงมากกว่าคนที่ ยืนดูเฉยๆ แต่ลองสมมติกันว่าความยินยอมที่จะตายในเหตุฉุกเฉินเพื่อ ช่วยชีวิตคนอื่นนั้นไม่ใช่ส่วนหนึ่งของงานที่ได้รับมอบหมาย คนงานไม่รู้สึก ยินยอมสละชีวิตมากกว่าชายบนสะพาน บางทีความแตกต่างทางศีลธรรมอาจไม่ได้อยูท่ ผี่ ล – เหยือ่ ทัง้ สอง คนตายเหมือนกัน – แต่อยู่ที่เจตนาของผู้ตัดสินใจ ในฐานะคนขับรถราง คุณอาจอธิบายการตัดสินใจเลี้ยวรถไปบนทางเบี่ยงว่า คุณไม่ได้ตั้งใจจะให้ คนงานคนนั้นตาย แม้จะรู้ล่วงหน้าว่าเขาต้องตาย ต่อให้คนงานที่ยืนบน ทางเบีย่ งรอดชีวติ ราวปาฏิหาริย์ คุณก็บรรลุเป้าหมายเหมือนกัน (คือไม่ฆา่ คนงานห้าคน - ผู้แปล) ในกรณี ผ ลั ก ก็ เ หมื อ นกั น ความตายของคนที่ ถู ก ผลั ก ตก สะพานไม่จำ�เป็นต่อการบรรลุเป้าหมาย สิ่งเดียวที่เขาต้องทำ�คือขวาง รถราง ถ้าหากว่าขวางได้และรอดชีวิตด้วย คุณย่อมจะดีใจแน่นอน บางทีถา้ เราคิดเรือ่ งนีอ้ กี นิด ทัง้ สองกรณีนคี้ วรใช้หลักการเดียวกัน ทั้งคู่เป็นเรื่องของเจตนาที่จะคร่าชีวิตคนบริสุทธิ์หนึ่งคน เพื่อทำ�ให้คน จำ�นวนมากกว่ารอดชีวติ ความลังเลของคุณทีจ่ ะผลักคนตกสะพานอาจเป็น แค่อาการโยเยตะขิดตะขวง ซึ่งคุณควรข่มใจกำ�จัด การผลักคนให้ตกลงไป ตายด้วยนาํ้ มือของตัวเองดูโหดเหีย้ มกว่าการหมุนพวงมาลัยรถราง แต่การ ทำ�สิ่งที่ถูกต้องนั้นไม่ง่ายดายเสมอไป เราทดสอบความคิดนี้ได้ด้วยการเปลี่ยนนิทานเล็กน้อย สมมติว่า คุณสามารถทำ�ให้คนที่ยืนติดกับคุณบนสะพานตกลงไปบนรางได้โดย 38

Jus tice


ไม่ต้องผลักเขา เช่น กำ�หนดให้เขายืนอยู่บนประตูลับที่คุณเปิดได้ด้วยการ หมุนพวงมาลัย กล่าวคือ ไม่ต้องมีการผลักแต่ได้ผลลัพธ์เดียวกัน ในกรณีนี้ การเปิดประตูคือสิ่งที่ถูกต้องหรือเปล่า? หรือว่าในแง่ศีลธรรมมันยังแย่กว่า การขับรถรางไปบนทางเบี่ยง? ไม่งา่ ยเลยทีเ่ ราจะอธิบายความแตกต่างทางศีลธรรมระหว่างกรณี ต่างๆ – เหตุใดการเลีย้ วรถรางถึงได้ดถู กู ต้อง แต่การผลักคนตกสะพานดูผดิ แต่ลองสังเกตแรงกดดันที่เรารู้สึกเวลาพยายามค้นหาความแตกต่างที่ มีเหตุมีผลระหว่างสองกรณีนี้ ถ้าหากหาไม่เจอ เราก็ควรทบทวนการ ตัดสินใจว่าอะไรกันแน่ที่ถูกต้อง บางครั้งเราคิดว่าการใช้เหตุผลทางศีล ธรรมคือวิธีหว่านล้อมคนอื่น แต่มันก็เป็นวิธีจัดระเบียบความเชื่อทาง ศีลธรรมของเราด้วย เป็นวิธีค้นหาว่าเราเชื่อในอะไรและทำ�ไม ภาวะอิหลักอิเหลื่อทางศีลธรรมบางครั้งเกิดจากหลักศีลธรรมที่ ขัดแย้งกัน ยกตัวอย่างเช่น หลักการหนึง่ ทีเ่ ราใช้ในนิทานเรือ่ งรถรางบอกว่า เราควรช่ ว ยชีวิตคนให้ม ากที่สุด เท่าที่จะทำ� ได้ แต่หลักการอีกข้อหนึ่ง บอกว่าผิดที่จะฆ่าผู้บริสุทธิ์ ถึงแม้จะมีเหตุผลที่ดีก็ตาม ภาวะอิหลักอิเหลื่อ ทางศีลธรรมเกิดขึ้นเมื่อเราเผชิญกับสถานการณ์ที่การฆ่าผู้บริสุทธิ์จำ�เป็น ต่อการช่วยชีวิตคนจำ�นวนมากที่สุด เราจะต้องครุ่นคิดว่าหลักการข้อไหน มีนํ้าหนักมากกว่ากัน หรือเหมาะสมกว่ากันในสถานการณ์แบบนี้ ภาวะอิหลักอิเหลือ่ ทางศีลธรรมอาจเกิดขึน้ ได้เพราะเราไม่แน่ใจว่า เหตุการณ์ตา่ งๆ จะออกหัวหรือก้อย กรณีสมมติอย่างเช่นนิทานเรือ่ งรถราง ไม่รวมความไม่แน่นอนทีเ่ ราต้องเผชิญในชีวติ จริง นิทานแบบนีส้ มมติวา่ เรา ล่วงรู้ได้แน่ชัดว่าคนกี่คนจะตายถ้าหากเราไม่หักพวงมาลัยหรือไม่ผลักคน ตกสะพาน ความแน่นอนที่ไม่สมจริงนี้ทำ�ให้นิทานไม่อาจแนะแนวปฏิบัติ ให้กับเราได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่มันก็เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการ วิเคราะห์ทางศีลธรรม การตัดเงื่อนไขอื่นที่เป็นไปได้ออกจากนิทาน เช่น “ถ้าหากคนงานสังเกตเห็นรถราง แล้วกระโดดหลบทันเวลาล่ะ?” มันช่วยให้ เราแจกแจงหลักศีลธรรมทีเ่ กีย่ วข้อง และวิเคราะห์พลังของหลักเหล่านัน้ ได้ M i ch a el S a n d el

39


คนเลี้ยงแพะชาวอัฟกัน ทีนี้ลองมาดูภาวะอิหลักอิเหลื่อทางศีลธรรมในโลกความเป็นจริง บางแง่มมุ คล้ายกับนิทานเรือ่ งรถราง แต่ซบั ซ้อนกว่านัน้ ด้วยความไม่แน่นอน ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ในเดือนมิถุนายน 2005 หน่วยปฏิบัติการพิเศษชุดหนึ่ง ประกอบ ด้วยจ่าทหารเรือ มาร์คัส ลัทเทรล และทหารซีลนาวิกโยธินสามนาย ออก ปฏิบัติการลาดตระเวนลับในอัฟกานิสถานบริเวณใกล้ชายแดนปากีสถาน ภารกิจของพวกเขาคือควานหาตัวผู้นำ�ตาลีบัน คนสนิทของ โอซามา บิน ลาเดน37 รายงานข่าวกรองระบุว่า เป้าหมายของพวกเขานำ�ทีมนักสู้ ติดอาวุธหนัก 140-150 คน พำ�นักอยู่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเขตเทือกเขา อันตราย ไม่ น านหลั ง จากที่ ที ม ปฏิ บั ติ ก ารพิ เ ศษเข้ า ประจำ � ตำ � แหน่ ง บน ชะง่อนผาเหนือหมู่บ้าน ชาวนาอัฟกันสองคนก็ต้อนแพะเสียงดังประมาณ 100 ตัวมาเจอกับทีมนี้โดยบังเอิญ มีเด็กผู้ชายอายุราว 14 ปีติดสอย ห้อยตามมาด้วย ชาวอัฟกันไม่มีอาวุธ ทหารอเมริกันเล็งปืนกลไปที่เขา บุ้ยใบ้ให้นั่งลงกับพื้น แล้วก็ถกเถียงกันว่าควรทำ�อย่างไรดี ในแง่หนึ่งคน เลี้ยงแพะดูเป็นพลเรือนไร้อาวุธ แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากปล่อยตัวไป ก็มีความเสี่ยงที่พวกเขาจะไปรายงานตาลีบันว่ามีทหารอเมริกันอยู่ที่นี่ ขณะที่ทหารสี่คนครุ่นคิดถึงทางเลือกต่างๆ พวกเขาก็ระลึกได้ว่า ไม่ มี เ ชื อ กติ ด ตั ว เลย การจะมั ด ชาวอั ฟ กั น ไว้ ร ะหว่ า งหาที่ ซ่ อ นใหม่ จึงเป็นไปไม่ได้ ทางเลือกเพียงสองทางที่มีคือ ฆ่าพวกเขาซะ หรือไม่ก็ ปล่อยตัวให้เป็นอิสระ ทหารคนหนึ่งในทีมของลัทเทรลบอกว่าควรฆ่าคนเลี้ยงแพะ “เรา กำ�ลังปฏิบัติการในแดนศัตรู ถูกผู้บังคับบัญชาระดับสูงส่งตัวมาที่นี่ เรามี สิทธิที่จะทำ�ทุกอย่างที่ทำ�ได้เพื่อช่วยชีวิตตัวเอง การตัดสินใจทางทหาร นั้นชัดเจน การปล่อยพวกเขาไปเป็นเรื่องผิดมหันต์”38 ลัทเทรลรู้สึกลำ�บาก

40

Jus tice


ใจมาก เขาเขียนภายหลังเหตุการณ์นี้ว่า “ในก้นบึ้งของวิญญาณ ผมรู้ดีว่า เขาพูดถูก ... เราปล่อยพวกเขาไปไม่ได้ แต่ปญ ั หาของผมคือ ผมมีวญ ิ ญาณ อีกดวงหนึง่ ดวงทีเ่ ป็นชาวคริสต์ และมันก็บบี คัน้ ผม อะไรบางอย่างกระซิบ บอกผมว่า การประหารชีวิตคนไร้อาวุธอย่างเลือดเย็นนั้นเป็นสิ่งผิด”39 ลัทเทรลไม่ได้อธิบายว่าวิญญาณดวงที่เป็นคริสต์นั้นหมายถึงอะไร แต่ สุดท้ายมโนธรรมของเขาก็ยับยั้งไม่ให้ฆ่าคนเลี้ยงแพะ เขาออกเสียงชี้ขาด ให้ปล่อยตัวพวกเขาไป (เพื่อนทหารของเขาคนหนึ่งงดออกเสียง) มัน เป็นการตัดสินใจที่ทำ�ให้เขาเสียใจในภายหลัง ประมาณหนึง่ ชัว่ โมงครึง่ หลังจากคนเลีย้ งแพะถูกปล่อยตัว ทหารสี่ นายนั้นก็ถูกล้อมด้วยนักสู้ตาลีบัน 80-100 นาย ปืนอาก้า-47 และเครื่องยิง จรวดอาร์พีจีครบมือ เพื่อนของลัทเทรลทั้งสามนายถูกยิงตายในการสู้รบที่ เกิดขึ้น นักสู้ตาลีบันยิงเฮลิคอปเตอร์ซึ่งบินเข้ามาช่วยชีวิตทีมซีลตก ทหาร 16 นายตายหมดทั้งลำ� ลัทเทรลถูกยิงบาดเจ็บสาหัส รอดชีวิตด้วยการกลิ้งตัวลงไหล่เขา และคลานเจ็ดไมล์ไปยังหมู่บ้านของเผ่าพาชทัน ซึ่งปกป้องเขาจากตาลีบัน จนกระทั่งได้รับการช่วยเหลือ เมื่อมองย้อนกลับไป ลัทเทรลประณามการตัดสินใจของเขาที่ไม่ ฆ่าคนเลี้ยงแพะ เขาเขียนในหนังสือถ่ายทอดประสบการณ์ว่า “มันเป็นการ ตัดสินใจทีง่ เี่ ง่าทีส่ ดุ เพีย้ นหลุดโลกทีส่ ดุ และปัญญาอ่อนทีส่ ดุ ในชีวติ ของผม ... ผมคงบ้าไปแล้วในตอนนั้น ผมออกเสียงที่รู้ดีว่าอาจทำ�ให้เราทุกคนต้อง ตาย ... อย่างน้อยตอนนี้ผมก็มองมันอย่างนั้น เสียงชี้ขาดคือเสียงของผม และมันก็จะหลอกหลอนผมไปจนกว่าเขาจะหย่อนผมลงหลุมศพในเท็กซัส ตะวันออก”40 สาเหตุหนึ่งที่ทำ�ให้ภาวะอิหลักอิเหลื่อของทหารซีลตัดสินยาก คือ ความไม่แน่นอนว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากพวกเขาปล่อยตัวชาวอัฟกัน ไป คนเลี้ยงแพะจะไปทางเดิม หรือจะไปบอกตาลีบัน? สมมติถ้าลัทเทรลรู้ อย่างแน่ชดั ว่าการปล่อยตัวคนเลีย้ งแพะจะนำ�ไปสูก่ ารสูร้ บดุเดือดซึง่ เขาจะ M i ch a el S a n d el

41


สูญเสียเพื่อนทั้งหมด ทหารอเมริกัน 19 คนต้องตาย ตัวเองต้องบาดเจ็บ สาหัส และปฏิบัติการล้มเหลว เขาจะเปลี่ยนใจหรือเปล่า? คำ�ตอบข้อนี้ชัดเจนสำ�หรับลัทเทรลเมื่อมองย้อนกลับไป เขาควร ฆ่าคนเลี้ยงแพะ เมื่อรู้แน่แล้วว่าจะเกิดหายนะอะไรขึ้น ก็ยากที่จะเถียงกับ คำ � ตอบนี้ ถ้ า มองเรื่ อ งตั ว เลข การตั ด สิ น ใจของลั ท เทรลก็ ค ล้ า ยกั บ นิทานเรื่องรถราง การฆ่าชาวอัฟกันสามคนจะช่วยชีวิตเพื่อนของเขา สามคนและทหารอีก 16 คนที่พยายามช่วยชีวิตพวกเขา แต่เรื่องนี้คล้าย กับเวอร์ชันไหนของนิทานรถรางล่ะ? การฆ่าคนเลี้ยงแพะคล้ายกับกรณี หักพวงมาลัยไปทางเบี่ยงมากกว่า หรือกรณีผลักคนตกสะพานมากกว่า? ข้อเท็จจริงที่ว่าลัทเทรลคาดเดาอันตรายได้ล่วงหน้า แต่ไม่อาจตัดสินใจ ฆ่าพลเรือนไร้อาวุธอย่างเลือดเย็น บ่งชี้ว่ามันน่าจะคล้ายกับกรณีผลักคน มากกว่า แต่แล้ว เหตุผลของการฆ่าคนเลี้ยงแพะดูจะมีนํ้าหนักมากกว่า เหตุผลที่จะผลักคนตกสะพาน อาจเป็นเพราะเราแคลงใจ – เมื่อรู้ผลลัพธ์ แล้ว – ว่าพวกเขาอาจไม่ใช่พยานผู้บริสุทธิ์ แต่เป็นผู้ภักดีต่อตาลีบัน ลอง เปรียบเทียบกับเรือ่ งนีด้ ู ถ้าเรามีเหตุผลทีจ่ ะเชือ่ ว่าผูช้ ายบนสะพานเป็นคน ทำ�ให้เบรครถรางแตก เพราะอยากให้มันพุ่งชนคนงานบนราง (สมมติว่า คนงานกลุม่ นีค้ อื ศัตรูของเขา) เหตุผลทางศีลธรรมทีจ่ ะผลักเขาตกสะพานก็ จะหนักแน่นขึน้ ทันที เราต้องรูว้ า่ ใครคือศัตรูของเขา และรูว้ า่ เขาอยากฆ่าคน เหล่านั้นเพราะอะไร ถ้าสมมติเราได้รู้ว่าคนงานบนรางนั้นเป็นสมาชิกฝ่าย ต่อต้านนาซีของฝรัง่ เศส และคนตัวใหญ่บนสะพานคือทหารนาซีทพี่ ยายาม ฆ่าพวกเขาด้วยการทำ�ลายเบรครถราง เหตุผลที่จะผลักเขาเพื่อช่วยชีวิต คนงานก็จะมีนํ้าหนักทางศีลธรรมขึ้นมาก แน่นอน เป็นไปได้ที่คนเลี้ยงแพะชาวอัฟกันอาจไม่ใช่ผู้ภักดีต่อ ตาลีบนั แต่เป็นกลางในความขัดแย้ง หรือแม้แต่อาจเป็นศัตรูกบั ตาลีบนั ก็ได้ พวกเขาอาจถูกตาลีบนั บังคับให้เปิดเผยจุดซ่อนตัวของทหารอเมริกนั สมมติ ว่าลัทเทรลและเพื่อนของเขารู้แน่ๆ ว่าคนเลี้ยงแพะไม่ได้ตั้งใจจะทำ�ร้าย 42

Jus tice


พวกเขาเลย และถูกตาลีบันทรมานให้เปิดโปงจุดซ่อนตัว ชาวอเมริกันก็ อาจฆ่าคนเลี้ยงแพะเพื่อพิทักษ์ภารกิจและตัวเองอยู่ดี แต่การตัดสินใจนี้ จะทรมานจิตใจ (และน่ากังขาทางศีลธรรม) มากกว่าในกรณีที่พวกเขารู้ว่า คนเลี้ยงแพะคือสายลับของตาลีบัน ภาวะอิหลักอิเหลื่อทางศีลธรรม มีนอ้ ยคนทีเ่ คยต้องเผชิญกับการตัดสินใจทีต่ ดั สินชีวติ เท่ากับทหาร อเมริกันบนภูเขาหรือพยานรู้เห็นรถรางเบรคแตก แต่การต่อกรกับภาวะ อิหลักอิเหลื่อทางศีลธรรมของพวกเขาฉายไฟส่องวิถีแห่งข้อถกเถียงทาง ศีลธรรม ทั้งในชีวิตส่วนตัวของเราและในพื้นที่สาธารณะ ชีวิตในสังคมประชาธิปไตยเต็มไปด้วยความไม่ลงรอยกันว่าอะไร ถูกอะไรผิด ความยุตธิ รรมและความอยุตธิ รรมอยูต่ รงไหน บางคนสนับสนุน สิทธิในการทำ�แท้ง บางคนมองว่าการทำ�แท้งคือการฆาตกรรม บางคนเชือ่ ว่า ความเป็นธรรมหมายถึงการเก็บภาษีจากคนรวยมาให้คนจน บางคนเชือ่ ว่า มันไม่เป็นธรรมที่จะเก็บภาษีจากเงินที่คนหามาได้ด้วยตัวเอง บางคน สนับสนุนระบบโควตาในมหาวิทยาลัยว่าเป็นวิธีชดเชยความอยุติธรรมใน อดีต บางคนบอกว่ามันเป็นการเลือกปฏิบัติมุมกลับต่อคนที่สมควรได้รับ การคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษา บางคนไม่เห็นด้วยกับการทรมานผู้ต้องหา คดีกอ่ การร้าย เพราะมองว่ามันเป็นความโหดเหีย้ มไร้มนุษยธรรม ไม่คคู่ วร กับสังคมเสรี ขณะที่คนอื่นยืนยันว่ามันเป็นทางออกสุดท้ายเพื่อป้องกัน การโจมตีของกลุ่มผู้ก่อการร้าย นักการเมืองชนะและแพ้การเลือกตั้งบนความขัดแย้งแตกต่าง เหล่านี้ สิ่งที่คนขนานนามว่าสงครามวัฒนธรรมก็รบกันด้วยประเด็นเหล่า นี้ ในเมื่อเราถกเถียงคำ�ถามทางศีลธรรมในชีวิตสาธารณะกันอย่างมีชีวิต ชีวาเข้มข้น เราก็อาจคิดว่าความเชือ่ ทางศีลธรรมของเราถูกการเลีย้ งดูหรือ ศาสนาที่เรานับถือจารึกในตัวไปชั่วนิรันดร์ ไม่เกี่ยวกับการใช้เหตุผลเลย M i ch a el S a n d el

43


แต่ถา้ หากเรือ่ งนีจ้ ริง การหว่านล้อมทางศีลธรรมย่อมเกิดขึน้ ไม่ได้ เลย และอะไรก็ตามที่เป็นวิวาทะสาธารณะเกี่ยวกับความยุติธรรมและสิทธิ ก็จะไม่เป็นอะไรมากไปกว่าการอ้างคัมภีร์แบบลอยๆ ราวกับเด็กที่ขว้าง อุดมการณ์ใส่กัน การเมืองของเราในห้วงยามที่เลวร้ายที่สุดใกล้เคียงกับสภาพนี้ แต่มนั ไม่จ�ำ เป็นต้องเป็นอย่างนัน้ บางครัง้ ข้อถกเถียงอาจทำ�ให้เราเปลีย่ นใจ เราจะใช้ เ หตุ ผ ลฟั น ฝ่ า ดิ น แดนแห่ ง ความยุ ติ ธ รรมและความ อยุติธรรม ความเท่าเทียมและความไม่เท่าเทียม สิทธิส่วนบุคคลและ ประโยชน์ส่วนรวมได้อย่างไร? หนังสือเล่มนี้พยายามตอบคำ�ถามข้อนี้ วิธีหนึ่งที่เราจะเริ่มตอบคำ�ถามคือ การสังเกตเห็นว่าการครุ่นคิด ทางศีลธรรมนั้นเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเวลาที่เราเผชิญกับคำ�ถามยากๆ ทางศีลธรรม เราเริ่มจากความเห็นหรือความเชื่อว่าการกระทำ�ที่ถูกต้อง คืออะไร เช่น “เลี้ยวรถรางไปบนทางเบี่ยง” ต่อมาเราก็ทบทวนว่าเหตุผลที่ เราเชือ่ อย่างนัน้ คืออะไร และมองหาว่าหลักการเบือ้ งหลังคืออะไร เช่น “การ ทำ�ให้คนคนเดียวตายดีกว่าทำ�ให้คนหลายคนต้องตาย” เสร็จแล้วพอเราพบ กับสถานการณ์ที่ทำ�ให้หลักการนี้ดูสับสน เราก็สับสนตาม เช่น “ฉันคิดว่า มันถูกต้องเสมอที่จะช่วยชีวิตคนจำ�นวนมากที่สุด แต่แล้วมันก็ดูผิดมหันต์ ที่จะผลักคนตกสะพาน (หรือฆ่าคนเลี้ยงแพะไร้อาวุธ)” ความรู้สึกอึดอัด สับสน และรู้สึกกดดันที่จะหาทางคลี่คลายปัญหานี้ คือพลังที่ดึงดูดเรา เข้าสู่ปรัชญา ภาวะตึงเครียดแบบนี้อาจทำ�ให้เราทบทวนการตัดสินใจว่าอะไร คือสิ่งที่ถูกต้อง และทบทวนหลักการที่เรายึดถือในตอนแรก ขณะที่เราพบ กับสถานการณ์ใหม่ๆ เราจะย้ายกลับไปกลับมาระหว่างการตัดสินใจของเรา กับหลักการของเรา ทบทวนด้านหนึ่งเมื่อได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ อีกด้านหนึ่ง การกระโดดทางความคิดจากโลกของการปฏิบตั สิ โู่ ลกของเหตุผลและกลับสู่ โลกของการปฏิบัติอีกครั้งนี่เองคือ การครุ่นคิดทางศีลธรรม วิ ธี ม องข้ อ ถกเถี ย งทางศี ล ธรรมว่ า เป็ น วิ ภ าษวิ ธี ร ะหว่ า งการ 44

Jus tice


ตัดสินใจของเราในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึง่ กับหลักการทีเ่ รายืนยัน หลังการครุ่นคิด คือวิถีคิดที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ย้อนกลับไปได้ถึง บทสนทนาของโสกราติสและปรัชญาศีลธรรมของอริสโตเติล แต่ถึงจะมี พื้นเพโบราณเพียงใด วิถีนี้ก็ยังต้องรับมือกับความท้าทายดังต่อไปนี้ ถ้าหากว่าการครุ่นคิดทางศีลธรรมคือการมองหาความสอดคล้อง ลงรอยกันระหว่างการตัดสินใจกับหลักการที่เรายึดมั่น การครุ่นคิดที่ว่านี้ จะนำ�เราไปสู่ความยุติธรรมหรือความจริงทางศีลธรรมได้อย่างไร? ต่อให้ เราประสบความสำ�เร็จก่อนตายที่จะปรับสำ�นึกทางศีลธรรมและการยึดมั่น ในหลักการให้ลงรอยกัน เราจะเชื่อมั่นได้อย่างไรว่าผลลัพธ์จะเป็นมากกว่า อคติที่สอดคล้องในตัวเอง? คำ�ตอบคือการครุ่นคิดทางศีลธรรมไม่ใช่กิจกรรมเดี่ยว แต่เป็น กิจกรรมกลุม่ ในพืน้ ทีส่ าธารณะ มันต้องอาศัยกระบวนการ – เพือ่ น เพือ่ นบ้าน สหาย หรือเพือ่ นพลเมือง บางครัง้ กระบวนการอาจอยูใ่ นจินตนาการของเรา ไม่มตี วั ตนจริงๆ อย่างเช่นตอนทีเ่ ราถกเถียงกับตัวเอง แต่เราไม่อาจค้นพบ ความหมายของความยุติธรรมหรือวิธีใช้ชีวิตที่ดีที่สุดโดยลำ�พังได้ ใน สาธารณรัฐ (Republic) ของเพลโต โสกราติสเปรียบเทียบว่า พลเมืองทัว่ ไปเหมือนกับนักโทษกลุม่ หนึง่ ทีถ่ กู ขังอยูใ่ นถาํ้ สิง่ เดียวทีพ่ วกเขา มองเห็นคือเงาบนกำ�แพง เงาของสิง่ ทีพ่ วกเขาไม่มวี นั เข้าใจ ในเรือ่ งนีม้ เี พียง นักปรัชญาเท่านั้นที่สามารถปีนออกจากถํ้าสู่แสงสว่าง มองเห็นทุกสิ่งตาม ความเป็นจริง โสกราติสเสนอว่านักปรัชญาได้มองเห็นดวงอาทิตย์ ดังนั้น เขาเท่านั้นที่คู่ควรจะเป็นผู้ปกครองของคนที่อยู่ในถํ้า ถ้าเพียงแต่เขาจะถูก เกลี้ยกล่อมให้หวนคืนสู่ความมืด ประเด็นของเพลโตคือ ถ้าจะเข้าถึงความหมายของความยุติธรรม และลักษณะของชีวติ ทีด่ ี เราจะต้องมองข้ามอคติทงั้ หลายและกิจกรรมจำ�เจ ในชีวิตประจำ�วัน ผมคิดว่าเพลโตพูดถูก แต่เพียงส่วนเดียวเท่านั้น สิ่งที่ เกิดขึ้นในถํ้าก็สำ�คัญเหมือนกัน เพราะถ้าหากการครุ่นคิดทางศีลธรรมเป็น วิภาษวิธี – มันย้ายกลับไปมาระหว่างการตัดสินใจของเราในสถานการณ์จริง M i ch a el S a n d el

45


กับหลักการทีเ่ ราใช้ในการตัดสินใจ – การครุน่ คิดทีว่ า่ นีก้ ต็ อ้ งอาศัยความเห็น และความเชือ่ ไม่วา่ มันจะลำ�เอียงและขาดการศึกษาเพียงใด เพราะความเห็น และความเชือ่ คือผืนดินและแก่นสาร ปรัชญาใดก็ตามทีไ่ ม่ถกู เงาบนกำ�แพง แตะต้องเลยรังแต่จะนำ�ไปสู่โลกพระศรีอาริย์ที่แห้งแล้ง เมื่อการครุ่นคิดทางศีลธรรมกลายเป็นเรื่องทางการเมือง เมื่อ ถามว่ากฎหมายใดบ้างควรปกครองชีวติ รวมกลุม่ ของเรา การครุน่ คิดนีก้ จ็ ะ ต้องมาปะทะกับความอลหม่านของเมือง ปะทะสังสรรค์กับข้อถกเถียงและ เหตุการณ์ทกี่ ระทบใจผูค้ น การถกเถียงเรือ่ งเงินอุม้ ธนาคารและการค้ากำ�ไร เกินควร ความไม่เท่าเทียมทางรายได้และระบบโควตานักเรียน การเกณฑ์ ทหารและการแต่งงานของคนรักร่วมเพศ ล้วนเป็นเนื้อหนังของปรัชญา การเมือง การถกเถียงเหล่านี้กระตุ้นให้เราแจกแจงและอธิบายความเชื่อ ทางศีลธรรมและการเมือง ไม่เพียงแต่ในหมู่ครอบครัวและเพื่อนฝูง แต่ใน กลุ่มเพื่อนพลเมืองที่เรียกร้องจากเราด้วย และทีเ่ รียกร้องจากเรายิง่ กว่านัน้ อีกคือบรรดานักปรัชญาการเมือง ทั้ ง หลาย ทั้ ง รุ่ น โบราณและสมั ย ใหม่ ผู้ ค รุ่ น คิ ด และแจกแจงถึ ง ก้ น บึ้ ง ความคิดที่ทำ�ให้ชีวิตพลเมืองมีสีสัน – ความยุติธรรมและสิทธิ หน้าที่และ ความยินยอม เกียรติและคุณธรรม ศีลธรรมและกฎหมาย บางครั้งด้วยวิธี สุดโต่งและแปลกใหม่ เราจะได้พบกับ อริสโตเติล, อิมมานูเอล คานท์, จอห์น สจ๊วต มิลล์ และ จอห์น รอลส์ ในหนังสือเล่มนี้ แต่ล�ำ ดับทีพ่ วกเขาจะปรากฏ ไม่ได้เรียงตามยุคสมัย หนังสือเล่มนีไ้ ม่ใช่ประวัตศิ าสตร์ความคิด แต่เป็นการ เดินทางของการครุ่นคิดทางศีลธรรมและการเมือง เป้าหมายไม่ได้อยู่ที่ การชี้ให้เห็นว่าใครมีอิทธิพลต่อใครในประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง หากอยู่ที่การเชื้อเชิญให้ผู้อ่านวิเคราะห์เจาะลึกมุมมองเกี่ยวกับความ ยุติธรรมของตัวเองอย่างจริงจัง – เพื่อค้นหาว่าพวกเขาคิดอะไรและทำ�ไม

46

Jus tice


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.