Keynes (web preview)

Page 1


เคนส์: ความรู้ฉบับพกพา • สฤณี อาชวานันทกุล แปล จากเรื่อง Ke y n e s : A V e r y S h or t I n t r o duc t i o n โดย Robert Skidelsky พิมพ์ครั้งแรก: สำ�นักพิมพ์ o p e n w o r l d s , มีนาคม 2558 ราคา 285 บาท คณะบรรณาธิการอำ�นวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ภูมิ นํ้าวล ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว บรรณาธิการศิลปกรรม กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล เลขานุการกองบรรณาธิการ ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์ • บรรณาธิการเล่ม ฐณฐ จินดานนท์ บรรณาธิการต้นฉบับ บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก w r ongd e s i g n • จัดทำ�โดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด 604/157 ถนนสาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2 - 6 1 8 - 4 7 3 0 e m a il: o pe n w o r l d s t h a i l a n d @g m a i l . c o m fa c e b o o k : w w w . f a c e b o o k . c o m / o p e n w o r l d s twitte r : w w w . t w i t t e r . c o m / o p e n w o r l d s _ t h we b s i t e : w w w . o p e n w o r l d s . i n . t h จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 5 1 - 5 9 9 9 we b s i t e : h t t p : / / w w w . s e - e d . c o m /


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล หมายเลขโทรศัพท์ 086 403 6451 หรือ Email: openworldsthailand@gmail.com

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ สกิเดลสกี, โรเบิร์ต. เคนส์: ความรู้ฉบับพกพา.-กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2558. 312 หน้า. 1. เคนส์, เมย์นาร์ด. I. สฤณี อาชวานันทกุล, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 920.71 ISBN 978-616-7885-11-7 • Thai language translation copyright 2015 by openworlds publishing house /Copyrig ht © 2010 by Robert Skidelsky All Rights Reserved.

Key n e s : A Ve ry Sh o rt I n t r o d u c t i o n , b y R o b e r t S k i d e l s k y w as or iginally publis h e d in En g lis h in 2 0 1 0 . This translation is published by arrangement with Oxford University Press t hrou g h T u ttle -M o ri Ag e n c y C o . , L t d . The T h a i e d itio n is tra n s l a t e d b y S a r i n e e A c h a v a n u n t a k u l a nd published by op e n wo rld s p u b lis h i n g h o u s e , 2 0 1 5 . เคนส์: ความรู้ฉบับพกพา ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 2010 แปลและตีพิมพ์เป็นภาษาไทยโดยข้อตกลงกับสำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด



สารบัญ

. ค�ำน�ำผู้แปล : 6 บทน�ำ: บุรุษและนักเศรษฐศาสตร์ : 14 1. ชีวิต : 38 2. ปรัชญาการปฏิบัติของเคนส์ : 78 3. นักปฏิรูปนโยบายการเงิน : 106 4. ทฤษฎีทั่วไปฯ : 144 5. รัฐบุรุษเศรษฐศาสตร์ : 182 6. มรดกของเคนส์ : 210 บทส่งท้าย: เหลียวหลังจากปี 2010 : 252 กิตติกรรมประกาศ : 290 อ้างอิง : 291 อ่านเพิ่มเติม : 305 ประวัติผู้เขียน : 311 ประวัติผู้แปล : 312


6

Keynes

ค�ำน�ำผู้แปล

.

ในบรรดาผู้ทรงอิทธิพลต่อโลกสมัยใหม่ “จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์” (John Maynard Keynes) อยู่เหนือกาลเวลาในฐานะ นั กคิ ด ที่ ท รงอิ ท ธิ พ ลสู ง สุ ด คนหนึ่ ง ในศตวรรษที่ 20 จวบจน ศตวรรษที่ 21 ก็ยังมีการอ้างอิง พาดพิง วิพากษ์ ค่อนขอด หรือบูชานามของเขาไม่เสื่อมคลาย แทบทุกครั้งที่โลกเผชิญกับ ภาวะเศรษฐกิจตกต�ำ่ คนจ�ำนวนมากคาดหวังให้รฐั เข้ามาจัดการ กระตุ้นเศรษฐกิจตามวิถีที่เคนส์ได้แผ้วถางไว้ให้ ผู้แปลได้ยินชื่อของเคนส์ครั้งแรกในห้องเรียนเมื่อครั้ง ยังเป็นนักศึกษาปริญญาตรีที่สหรัฐอเมริกา เกรกอรี แมนคิว (Gregory Mankiw) อาจารย์ผู้สอนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น และหัวหอก “ส�ำนักเคนส์ใหม่” พร�่ำบอกให้เราอ่านหนังสือของ เคนส์หลายๆ รอบ และอาจารย์ก็ยืนยันว่าเราจะได้อะไรใหม่ๆ เสมอในทุกครั้ง จ�ำได้ว่านักเรียนเศรษฐศาสตร์ค่าย “น�้ำเค็ม” อย่าง ผูแ้ ปล (ได้ชอื่ นีเ้ พราะมหาวิทยาลัยอยูใ่ นเมืองติดทะเล) เคีย่ วกร�ำ กับเส้นกราฟ IS-LM อันมีฐานมาจากทฤษฎีของเคนส์ จนถูก เพื่อนๆ ค่าย “น�้ำจืด” (จากมหาวิทยาลัยในเมืองที่ติดทะเลสาบ


A

Very Short Introduction

7

อาทิ ชิคาโก) ค่อนขอดตลอดเวลาว่า เรียนไปก็ไม่ได้ใช้หรอก! ผ่านไป 2 ทศวรรษ วันนี้นักเศรษฐศาสตร์ต่างส�ำนัก ดูจะสงบศึกกันชั่วคราว นักเศรษฐศาสตร์จ�ำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ พยายามสร้างทฤษฎีใหม่ด้วยการน�ำส่วนที่ดีที่สุดของเศรษฐศาสตร์ส�ำนักคลาสสิกกับส�ำนักเคนส์มาผสมกัน หัวใจของการ หลอมรวมข้ามส�ำนักนี้เกิดเป็นแนวคิดว่า เศรษฐกิจคือระบบที่ สามารถปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพทั่วไป แต่เบี่ยงเบนออกจากจุดที่ ดีที่สุดเพราะราคามี “ความเหนียวหนืด” และตลาดเองก็มีความ ไม่สมบูรณ์อื่นๆ อาทิ กรณีที่ผู้ซื้อกับผู้ขายมีข้อมูลไม่เสมอกัน นานกว่าค่อนศตวรรษหลังจากที่เขาล่วงลับ เคนส์ยัง ประสบชะตากรรมทีน่ า่ เศร้าไม่ตา่ งจากผูท้ รงอิทธิพลทางความคิด คนอื่นๆ ในประวัติศาสตร์ นั่นคือ ถูก “อุปโลกน์” ว่าเป็นฝ่ายโน้น ฝ่ายนีเ้ สมอๆ นักคิดขวาจัดบางคนปรามาสเขาว่าเชิดชูสงั คมนิยม โดยหลงลืมไปว่าความส�ำเร็จของทฤษฎีเคนส์ในช่วงหลังสงคราม โลกครั้ ง ที่ ส องนั้ น คื อ ปั จ จั ย ส�ำคั ญ ที่ ยั บ ยั้ ง การขยายตั ว ของ ระบอบคอมมิวนิสต์และสังคมนิยมเอาไว้ได้ แต่ในขณะเดียวกัน นักคิดซ้ายจัดบางคนก็ปรามาสว่าเคนส์เป็นนายทุนที่ไร้หัวใจ ทัง้ ทีเ่ ขายำ�้ ตลอดมาถึงความส�ำคัญของรัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ในบริบททีม่ นุษย์มี “สัญชาตญาณสัตว์” ตามธรรมชาติ มิใช่สตั ว์เศรษฐกิจทีค่ ดิ ครวญใคร่ไตร่ตรองระหว่างทางเลือกต่างๆ และคาดการณ์อนาคตอย่างมีเหตุมีผลโดยสมบูรณ์ทุกประการ โรเบิรต์ สกิเดลสกี (Robert Skidelsky) นักประวัตศิ าสตร์ เศรษฐกิจ เป็นผู้เขียนชีวประวัติเคนส์ซึ่งได้รับการกล่าวขานว่า สมบูรณ์ที่สุดในโลก และเขาก็สังเคราะห์และสกัดแก่นสารของ


8

Keynes

ชีวิตและความคิดของเคนส์ลงมาใน เคนส์: ความรู้ฉบับพกพา เล่ ม นี้ ไ ด้ อ ย่ า งมี สี สั น ผู ้ แ ปลขอขอบคุ ณ ฐณฐ จิ น ดานนท์ บรรณาธิการเล่ม และ บุญชัย แซ่เงีย้ ว บรรณาธิการต้นฉบับ ส�ำหรับ ความใส่ใจและประณีตในการขัดเกลาส�ำนวนแปลและตรวจทาน ความถูกต้อง เหตุใดทฤษฎีของเคนส์และชื่อของเขาจึงได้สร้างแรง บันดาลใจและกระตุ้นให้เกิดการถกเถียงอภิปรายไม่สิ้นสุด? ผู้แปลเชื่อว่าท่านจะได้พบกับค�ำตอบชัดเจนในหนังสือเล่มนี้ แต่เคนส์ยังมีคุณลักษณะอีก 2 ประการที่ผู้แปลชื่นชมและคิดว่า หาได้ยากยิ่งในสังคมไทยปัจจุบัน ทั้งที่เราต้องการมันเป็นพิเศษ ประการแรก เคนส์เพียรพยายามอย่างไม่หยุดนิ่งที่จะ หาวิธีประยุกต์ใช้ทฤษฎีในทางที่ผู้ด�ำเนินนโยบายน�ำไปปฏิบัติ ได้จริง มิใช่สักแต่นั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง ประการที่สอง เคนส์มีความกล้าหาญทางจริยธรรม เต็มเปีย่ มตลอดชีวติ ของเขา โดยเฉพาะการยอมรับอย่างหน้าชืน่ ตาบานทุ ก ครั้ ง ที่ พ บว่ า ตั ว เองคิ ด ผิ ด ครั้ ง หนึ่ ง เขาเคยกล่ า ว อมตวาทะว่า “เมื่อข้อเท็จจริงเปลี่ยน ผมก็เปลี่ยนใจ ท่านละครับ ท�ำอะไร?” ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่าน

สฤณี อาชวานันทกุล มกราคม 2558




แด่วิลเลียม



เคนส์ •

ความรู้ฉบับพกพา

KEYNES • A

Very

Short

Introduction

by

Ro b e r t S k i d e l s k y

แปลโดย

สฤณี อาชวานันทกุล


บทน�ำ

/ บุรุษและนักเศรษฐศาสตร์


A

Very Short Introduction

15

ความเข้าใจรากฐานลึกซึ้งที่ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) ค้นพบคือ เราไม่รู้อนาคตและค�ำนวณไม่ได้ ว่าอนาคตจะเป็นเช่นไร ในโลกแบบนี้ เงินตราจะมอบความมัน่ คง ทางจิตวิทยาให้ยามเผชิญกับความไม่แน่นอน และเมือ่ ผูอ้ อมเงิน มองอนาคตในแง่ร้าย พวกเขาสามารถเลือกสะสมเงินออมเอาไว้ แทนที่จะน�ำไปลงทุนในธุรกิจต่างๆ ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่มีหลัก ประกันใดๆ เลยว่าผูค้ นจะใช้รายได้ทหี่ ามาได้ทงั้ หมด กล่าวแบบนี้ เท่ากับบอกว่า แนวโน้มที่เราจะใช้สอยทรัพยากรทั้งหมดที่หา ได้นั้น ไม่มีอยู่ในธรรมชาติ เคนส์เขียนใน The General Theory (ทฤษฎีทั่วไปฯ) ว่า คนไม่อาจมีงานท�ำได้หากเขาไม่สามารถผลิต [จ้างคนมา ผลิต] วัตถุแห่งปรารถนา (นั่นคือเงิน) และไม่อาจหยุดยั้ง อุปสงค์ส�ำหรับวัตถุนั้นได้ในบัดดล เราก็ไม่มียาขนานอื่น นอกจากไปหว่านล้อมให้สาธารณชนเชื่อว่า ในทางปฏิบัติ ชีสเขียว (คือเงิน ล้อเลียนธนบัตรอเมริกันซึ่งมักจะมีสีเขียว -


16

Keynes

ผู้แปล) คือสิ่งเดียวที่จะช่วยเยียวยาได้ และโรงงานผลิตชีส เขียว (นั่นคือ ธนาคารกลาง) ควรอยู่ภายใต้การควบคุมของ สาธารณะ

เมือ่ เคนส์พดู ถึงเงินว่าเป็น “วัตถุแห่งปรารถนา” ซึง่ ไม่ใช่ สินค้า เขาแค่ก�ำลังเล่นลิน้ หรือก�ำลังพูดถึงอะไรบางอย่างทีล่ กึ ซึง้ ในแบบชวนหัวกันแน่? เราควรจริงจังกับข้อเสนอของเขาที่ว่า ควรมองเงินในแง่ร้ายเหมือน “ชีสเขียว” มากแค่ไหน? ผู้คนถกประเด็นเหล่านี้กันนับจากนั้น แท้จริงเคนส์ เป็นแค่พวกเลื่อนลอยทางความคิด หรือเป็นวีรบุรุษผู้กอบกู้และ มอบความหวังว่าโลกอันป่วยไข้จะฟื้นคืนชีพ? เบียทริซ เว็บบ์ (Beatrice Webb) นักคิดจากส�ำนักเฟเบียน (หมายถึง Fabian Society สมาคมผู้สนับสนุนสังคมนิยมแบบค่อยเป็นค่อยไป ถือก�ำเนิดในอังกฤษ - ผู้แปล) เขียนว่า “เคนส์ไม่จริงจังเรื่อง ปัญหาทางเศรษฐกิจหรอก เขาแค่เล่นหมากรุกกับมันในยาม ว่าง ลัทธิที่เขาจริงจังด้วยมีเพียงสุนทรียศาสตร์” ส่วน รัสเซลล์ เลฟฟิงเวลล์ (Russell Leffingwell) เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง ของสหรัฐอเมริกา ผูเ้ จรจาต่อรองกับเคนส์ในการประชุมสันติภาพ ทีก่ รุงปารีส (Paris Peace Conference) ปี 1919 ก็บอกว่า “เคนส์ น่ะขวางโลก ชอบเล่นพิเรนทร์ประจ�ำ...เจ้าเด็กหัวใสคนนี้ชอบ ท�ำให้ผู้อาวุโสที่ชมชอบเขาตกใจด้วยการตั้งค�ำถามว่า พระเจ้า มีจริงหรือเปล่า บัญญัติสิบประการมีจริงไหมนะ!” อย่างไรก็ตาม ในสายตาของ เจมส์ มีด (James Meade) นักเศรษฐศาสตร์ ที่ รู ้ จั ก เคนส์ ทั้ ง ในฐานะนั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโทที่ ม หาวิ ท ยาลั ย


A

Very Short Introduction

17

เคมบริดจ์ และในฐานะข้าราชการช่วงสงคราม (สงครามโลกครัง้ ที่ หนึ่ง - ผู้แปล) เคนส์ “ไม่เพียงแต่เป็นมหาบุรุษเท่านั้น...เขา ยังเป็นผู้ชายแสนดีอีกด้วย” ส�ำหรับนักเศรษฐศาสตร์หนุ่มสาว โดยทั่วไปแล้ว ทฤษฎีทั่วไปฯ ของเคนส์เปรียบดังประภาคาร ในโลกมืดทมิฬ เดวิด เบนซูซาน-บัตต์ (David Bensusan-Butt) ซึ่งเข้าเรียนเศรษฐศาสตร์ที่คิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี 1933 หวนนึกถึงความทรงจ�ำช่วงนั้นว่า “เคนส์เป็นผู้เผย สัจธรรมชวนเบิกบานในโมงยามอันมืดมน” ลอรี ทาร์ชิส (Lorie Tarshis) นักศึกษาอีกคนหนึง่ บันทึกว่า “ทุนนิยมทีผ่ า่ นการปฏิรปู ของเคนส์มีทุกอย่างอยู่ในนั้น และมีมากกว่าที่คนรุ่นเฟเบียน มองหาในสังคมนิยมเสียอีก [ทุนนิยมของเคนส์] เชิดชูความ เสมอภาคเมื่อมองจากมุมมองทางศีลธรรม สร้างการจ้างงาน เต็มอัตรา ใจกว้างและลิงโลด...สุดท้ายแล้วสิ่งที่เคนส์มอบให้คือ ความหวัง ความหวังว่าเราจะฟืน้ ความรุง่ เรืองกลับคืนมาและพยุง รักษามันไว้โดยไม่ตอ้ งอาศัยค่ายกักกัน การประหัตประหาร และ การสอบสวนด้วยวิธีทรมาน...” ภาพเหมารวมเหล่านี้ด�ำรงอยู่สืบมา ในสายตาของ คนที่ ต ่ อ ต้ า นส�ำนั ก เคนส์ เคนส์ คื อ บุ ค คลซึ่ ง ผลิ ต สมมติ ฐ าน มากมายที่สุดท้ายแล้วฟังไม่ขึ้นและเบี่ยงเบนความสนใจของเรา ให้ออกจากความเป็นจริง ในสายตาของผู้ที่นิยมส�ำนักเคนส์ เขา คือบุคคลซึ่งเผยให้เห็นความเข้าใจลึกซึ้งว่าเศรษฐกิจท�ำงาน อย่างไร อันเป็นเครื่องมือล�้ำค่าชั่วนิรันดร์ส�ำหรับการก�ำหนด นโยบายเศรษฐกิจ ภาพเหมารวมเหล่านี้มีส่วนจริงแต่ยังไม่ สมบูรณ์ครบถ้วน ตัวเคนส์เองก็มีหลายด้าน ต่างคนต่างมอง


18

Keynes

เห็นคนละมุม นอกจากนี้เคนส์ยังเปลี่ยนไปเรื่อยๆ คนแต่ละ รุ่นเลยเห็นเขาคนละแบบ เขาชอบเล่นสนุกกับความคิดต่างๆ อย่างบ้าบิ่น แต่ก็อย่างที่ ออสวัลด์ ฟอล์ก (Oswald Falk) เพื่อน ของเขาเคยตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “ถึงแม้จะถูกชักจูงให้หลงทางไป บ้าง แต่ก็ท�ำให้เคนส์รู้เท่าทันเหตุการณ์ได้เร็วกว่าคนอื่น” เคนส์ เป็นนักผลิตค�ำคมทีน่ า่ ทึง่ เขาใช้ค�ำศัพท์ปลุกเร้าให้คนตืน่ ขึน้ จาก ความงัวเงียทางปัญญา หากแต่ “เมื่อใดที่เข้าถึงต�ำแหน่งแห่ง อ�ำนาจและอิทธิพล ก็ควรเลิกใช้ถ้อยค�ำส�ำบัดส�ำนวนเสีย” ความ เอาจริงเอาจังเพื่ออุทิศแด่เป้าหมายสูงสุดของเขานั้นไม่เป็นที่ กังขาแม้แต่น้อย ค�ำถามที่แท้จริงคือ มโนทัศน์ที่เคนส์มอบเป็น มรดกแก่เรานั้น เป็นแนวคิดที่ถูกต้องหรือไม่ในการใช้ท�ำความ เข้าใจโลกของเขา และยิ่งกว่านั้นคือโลกของเรา ความคิดของเคนส์มีรากมาจากบริบททางสถานที่และ เวลา เขาเกิดในปี 1883 และล่วงลับในปี 1946 เขาเกิดมาใน โลกซึ่งเชื่อว่าสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และความก้าวหน้า คือความเป็นไปตามธรรมชาติ และมีชีวิตยืนยาวพอที่จะได้เห็น ความคาดหวังต่อสิ่งเหล่านี้พังทลาย ในช่วงวัยเยาว์ของเคนส์ สหราชอาณาจักรคือศูนย์กลางจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ แต่ในช่วง เดือนท้ายๆ ของชีวิต เขากลับต้องไปเร่ขอเงินในวอชิงตัน เคนส์ ไม่เพียงทันเห็นวันที่จักรวรรดิอังกฤษล่มสลาย แต่ยังเห็นสภาพ เศรษฐกิจอังกฤษที่ก�ำลังจะสิ้นแรง ชีวิตของเขาทอดผ่านจาก ความแน่นอนสู่ความไม่แน่นอน จากสวนหย่อมอันหอมหวน ในวัยเยาว์สู่ป่าดงรกชัฏเต็มไปด้วยอันตรายจากสัตว์ร้ายใน วัยชรา ในปี 1940 เคนส์เขียนถึงนักข่าวชาวอเมริกันว่า “นับเป็น ครั้งแรกในรอบกว่าสองศตวรรษที่สารของฮอบส์เป็นประโยชน์


A

Very Short Introduction

19

แก่เรามากกว่าสารของล็อก” (Thomas Hobbes นักปรัชญาชือ่ ดัง ยุครู้แจ้ง เจ้าของวาทะอมตะว่า ชีวิตมนุษย์ตามธรรมชาตินั้น “โดดเดี่ยว ดิบเถื่อน และแสนสั้น” - ผู้แปล) เคนส์เป็นผลผลิตจากยุคที่ธรรมเนียมแบบวิกตอเรีย ก�ำลังเสื่อมสลาย นี่คือเหตุผลที่เขามองว่าปัญหาเรื่องพฤติกรรม ทัง้ พฤติกรรมส่วนบุคคลและพฤติกรรมของสังคมเป็นเรือ่ งส�ำคัญ ทว่าก่อนที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งจะปะทุ ความเสื่อมโทรมของ ธรรมเนี ย มวิ ก ตอเรี ย ท�ำให้ ใ จของเคนส์ แ ละนั ก คิ ด ร่ ว มสมั ย กับเขาลิงโลด พวกเขามองว่าตัวเองเป็นคนรุ่นแรกที่หลุดพ้น จาก “เรื่องเหลวไหล” ของศาสนาคริสต์ เป็นผู้สร้างสรรค์และ ได้ ป ระโยชน์ จ ากยุ ค รู ้ แ จ้ ง รอบใหม่ ซึ่ ง สามารถผลิ ต อุ ด มคติ และหลักปฏิบัติได้ด้วยแสงแห่งเหตุผลอันบริสุทธิ์ อุดมคติของ พวกเขาเป็นเรื่องเชิงสุนทรีย์และส่วนบุคคล ชีวิตสาธารณะเป็น ชีวิตที่น่าหดหู่ เพราะดูเหมือนมนุษย์จะกอบกุมความก้าวหน้า ทุกอย่างไว้ได้แล้ว การทดลองเป็นกระแสในวงการศิลปะ ปรัชญา วิทยาศาสตร์ และวิถชี วี ติ ประจ�ำวัน แต่ไม่ใช่ในสาขาการเมืองหรือ เศรษฐศาสตร์ ไดอากิเลฟ (Sergei Diaghilev) เกิดในปี 1872 ปิกัสโซ (Pablo Picasso) ปี 1881 กรอพิอุส (Walter Gropius) ปี 1883 เจมส์ จอยซ์ (James Joyce) และ เวอร์จเิ นีย วูลฟ์ (Virginia Woolf) เกิดในปี 1882 รัสเซลล์ (Bertrand Russell) ปี 1872 จี. อี. มัวร์ (G. E. Moore) ปี 1873 วิตต์เกนชไตน์ (Ludwig Wittgenstein) ปี 1889 ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ปี 1880 ในบรรดาผูท้ กี่ อ่ ร่าง สร้างรูปให้กบั กระแสส�ำนึกตอนต้นศตวรรษที่ 20 มีเพียงฟรอยด์ (Sigmund Freud) ซึ่งเกิดในปี 1856 เท่านั้นที่เป็นคนรุ่นก่อน


20

Keynes

เมือ่ สงครามโลกครัง้ ทีห่ นึง่ ปะทุขนึ้ ทุกอย่างก็เปลีย่ นไป หลังจากปี 1914 ผู้คนมุ่งความสนใจไปที่การบริหารจัดการ โลกซึ่ ง ดู เ หมื อ นจะหมุ น วนเข้ า สู ่ ค วามโกลาหลหลั ง ปี 1914 ในขณะนั้นโลกมีปัญหาเรื่องการควบคุม ไม่ใช่เรื่องการปลดแอก เคนส์ยอมรับในปี 1938 ว่า อารยธรรมมนุษย์เป็น “เปลือกหุ้ม ที่บอบบางและหมิ่นเหม่” ผู้กระหายอ�ำนาจได้กุมบังเหียนและ หมายมาดจะบังคับใช้ระเบียบเหนือความโกลาหลในแบบของ ตัวเอง บุคคลเหล่านั้นคือสตาลินผู้เกิดปี 1879 มุสโสลินีผู้เกิด ปี 1883 และฮิตเลอร์ผู้เกิดปี 1889 ความเป็นสมัยใหม่สูญสิ้น ความไร้เดียงสาเมื่อความหฤหรรษ์จ�ำนนต่อความหฤโหด เคนส์ เริ่มกังขาความเชื่อในวัยเยาว์ของเขา โดยกล่าวกับ เวอร์จิเนีย วูล์ฟ ในปี 1934 ว่า “ผมเริ่มมองเห็นว่าคนรุ่นเรา นั่นคือรุ่นคุณ รุน่ ผม...เป็นหนีบ้ ญ ุ คุณศาสนาของบิดาเรามากเพียงใด เด็กสมัยนี้ ...ทีถ่ กู เลีย้ งมาโดยไม่มศี าสนา จะไม่มวี นั เก็บเกีย่ วอะไรจากชีวติ ได้มาก พวกเขาหมกมุน่ กับเรือ่ งไร้แก่นสารเหมือนสุนขั ยามติดสัด แต่เราได้ประโยชน์ลำ�้ เลิศจากโลกทัง้ สอง เราท�ำลายศาสนาคริสต์ ลงแต่ก็ได้ประโยชน์จากมันด้วย” ทว่าประเด็นส�ำคัญคือ เคนส์ ไม่เคยตกหล่มการเมืองแห่งความท้อแท้สิ้นหวังทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น นิสัยลิงโลดแบบยุคเอ็ดเวิร์ดไม่เคยหายไป ไหน เคนส์เชือ่ ว่าเราจัดการกับความไม่แน่นอนได้ดว้ ยสมองและ สติปัญญา ไม่ใช่การใช้ก�ำลังอย่างป่าเถื่อน และในไม่ช้าความ สมัครสมานกลมเกลียวจะค่อยๆ ฟื้นคืนมา นี่คือความเชื่อสูงสุด ของเคนส์ และหากเคนส์จะมีบางอย่างกล่าวแก่คนในยุคของเรา นี่แหละคือสารนั้น


A

Very Short Introduction

21

เคนส์เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติที่จะส่งสารดังกล่าว เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ เคยเขียนว่า “สติปัญญาของเคนส์นั้น เฉียบแหลมและชัดเจนทีส่ ดุ เท่าทีผ่ มเคยพบ เมือ่ ไรทีผ่ มเถียงกับ เขา ผมรู้สึกว่าก�ำลังเอาชีวิตไปวางเป็นเดิมพัน น้อยครั้งนักที่จะ ไม่รู้สึกเหมือนคนเขลาเมื่อรอดมาได้” ส่วนคนอื่นอย่าง เคนเน็ธ คลาร์ก (Kenneth Clark) รู้สึกว่าเคนส์ใช้ความเฉียบแหลมของ เขาพร�่ำเพรื่อเกินไป “เคนส์ไม่เคยหยุดเปิดไฟสูงใส่คนอื่นเลย” แต่ธารปัญญาอันพรั่งพรูของเคนส์คือสิ่งที่ท�ำให้คนร่วมสมัย กับเขาทึ่งเป็นพิเศษ ดังที่ คิงสลีย์ มาร์ติน (Kingsley Martin) อธิบายว่า ปัญญาที่ว่านี้มักจะ “ไหลวนและท่วมทับสิ่งกีดขวาง แทนที่จะพัดพามันไป เคนส์ช่างคล้ายกระแสน�้ำ หลายครั้งดูจะ ไหลทวนทิศที่เคย” ค�ำถากถางที่ว่าเมื่อไรที่นักเศรษฐศาสตร์ 5 คนมาชุมนุมกัน จะมีความเห็น 6 อย่าง และ 2 อย่างจะมาจาก เคนส์นั้น เป็นที่เลื่องลือตั้งแต่เคนส์ยังอยู่ คิงสลีย์ มาร์ติน เขียน ว่า “แต่ข้อกล่าวหาที่ว่าเคนส์เปลี่ยนความคิดตามอ�ำเภอใจและ ไม่เสมอต้นเสมอปลายนั้น แทบจะไร้ความหมาย...เว้นแต่ว่า เมื่อเคนส์เผชิญอุปสรรคในทางปฏิบัติ เขาจะรับมือด้วยการใช้ ความคิดอย่างรวดเร็วและมุทะลุดุดัน แล้วเสนอทางออกที่เป็น ไปได้ทางแล้วทางเล่าจนคนที่รอบคอบและชอบความมั่นคง จะรูส้ กึ สะเทือนขวัญและพิศวงงงงวย” และที่ เคิรต์ ซิงเกอร์ (Kurt Singer) เห็นว่าเป็นตลกร้ายคือ คนที่เหมือนจะ “พักได้ก็แต่ยาม เคลือ่ นไหวนัน้ ...[สามารถ] สรรค์สร้างแบบแผนมโนทัศน์ใหม่และ ทิง้ ของเก่ามากมายซึง่ ดึงดูดใจไม่แพ้กนั ได้ในบ่ายวันหนึง่ ” น่าจะ ออก “คัมภีร์ลัทธิใหม่” เป็นมรดกแด่โลกได้สักเล่มหนึ่ง


22

Keynes

อย่างไรก็ตาม ใครทีเ่ รียกเคนส์วา่ “คนไร้ราก” ดังทีเ่ คนส์ ใช้เรียกลอยด์ จอร์จ (David Lloyd George) เป็นการเรียกที่ผิด เคนส์เกิดเป็นคนยุควิกตอเรีย และร่องรอยจาก “ค่านิยมแบบ วิกตอเรีย” ก็ติดอยู่กับเขาไปตลอดชีวิต เคนส์มีส�ำนึกในหน้าที่ แข็งแกร่งมาก ถึงแม้จะเหมือนซิดจ์วิก (Henry Sidgwick) ตรงที่ เขารู้ว่ายากจะสร้างความชอบธรรมเชิงปรัชญาให้กับเรื่องนี้ เขา เชื่อในการปกครองภายใต้การน�ำของปัญญาชนผู้ทรงธรรมหรือ เหล่าอภิชนผู้ทรงภูมิ จากมุมนี้เรามองเห็นส่วนผสมของแนวคิด ทางปัญญาและสังคมซึ่งสะท้อนผ่านเส้นทางการเติบโตแบบ วิกตอเรียของครอบครัวเคนส์ ผ่านมันสมองและการตัดสินใจ ทางธุรกิจที่เฉียบแหลม จนเข้าไปสถิตในแวดวงชนชั้นปกครอง ได้ส�ำเร็จ เคนส์รักชาติ “อย่างมีหัวคิด” กระนั้นความรักชาติ ของเขาก็ไร้ซงึ่ การฝักใฝ่ความรุนแรงโดยสิน้ เชิง เขาเชือ่ มัน่ อย่าง แรงกล้าในคุณงามความดีของ สันติภาพใต้บงการจากอังกฤษ (Pax Britannica) และไม่เชือ่ ว่าชาติอนื่ จะทะยานขึน้ เป็นผูน้ �ำโลก แทนทีอ่ งั กฤษได้ เขาสนับสนุนเยอรมนีและต่อต้านฝรัง่ เศส อันเป็น มรดกอีกอย่างที่เคนส์ได้รับจากศตวรรษที่ 19 การเป็นขบถต่อคริสตจักรอังกฤษเป็นปัจจัยส�ำคัญยิ่ง ที่หล่อหลอมเคนส์ มันสะท้อนออกมาในนิสัยมัธยัสถ์ คนอื่น มองว่าความบันเทิงที่เคนส์ชอบนั้น “ราคาประหยัดเหลือเกิน” และก่อนตายเคนส์ก็ร�ำพึงว่า เขาเสียดายที่ไม่ได้ดื่มแชมเปญ มากกว่านี้ เคนส์กลายเป็นเศรษฐีแต่ก็ใช้ชีวิตสบายๆ ไม่หรูหรา หรื อ อวดรวย ในฐานะนั ก เศรษฐศาสตร์ เขาตื่ น เต้ น เมื่ อ ได้ จินตนาการเห็นแนวโน้มว่าคนต่างตุนเงินไว้มากกว่าจะทุ่มเงิน


A

Very Short Introduction

23

ใช้จา่ ย และเขาก็จะน�ำจุดอ่อนทางวัฒนธรรมหรือจิตวิทยาข้อนีอ้ นั มาจากภูมหิ ลังทางชนชัน้ ของตน มาสร้างชุดค�ำอธิบายทีย่ อ้ นแย้ง ว่าระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจะวิ่งจนหมดลานได้อย่างไร รากเหง้าของเคนส์คือตระกูลนักเทศน์ โดยเฉพาะทาง ฝั่งมารดา เขาเป็นคนรุ่นแรกในตระกูลที่ไม่เชื่อและไม่ลังเลที่จะ “ข้องใจ” ในศาสนา กระนั้นเทววิทยาก็ฝังอยู่ในกระดูก และ เทววิทยากับเศรษฐศาสตร์ก็เป็นเรื่องใกล้เคียงกันกว่าทุกวันนี้ มาก เคนส์มีความสามารถที่จะประท้วงและขุ่นเคืองตามแบบ ขบถต่อคริสตจักร (Nonconformist) อยู่เต็มเปี่ยม บทความทาง เศรษฐศาสตร์ของเขาคือบทเทศนาแบบฆราวาสดีๆ นี่เอง ลัทธิ “ปัจเจกนิยมสูงสุดในปรัชญาของเรา” ที่เขาเอ่ยถึงในปี 1938 ตัง้ อยูบ่ นความเชือ่ ว่ามนุษย์ (อย่างน้อยก็ในอังกฤษ) ถูกบ่มเพาะ ศีลธรรมด้วยค่านิยมแบบวิกตอเรียมามากพอแล้ว มากจนพวกเขา สามารถ “ได้รบั การปลดปล่อยจากข้อจ�ำกัดภายนอกของธรรมเนียม มาตรฐานดัง้ เดิม และแบบแผนความประพฤติอนั ตายตัวได้อย่าง ปลอดภัย จากนีจ้ งึ ปล่อยให้พวกเขาใช้ความมีเหตุมผี ลของตนเอง แรงจูงใจอันบริสุทธิ์ และการหยั่งรู้ถึงความดีงามซึ่งเชื่อถือได้” เคนส์ไม่ได้เผื่อแผ่ความเห็นอกเห็นใจต่อสังคมมากนัก หากแต่จะเผื่อแผ่มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเขาแก่ตัวลง ครอบครัวของ เขาสร้างเนื้อสร้างตัวปากกัดตีนถีบ และโดยทั่วไปเคนส์ก็คาด หวังให้คนอื่นท�ำแบบเดียวกัน แต่ทั้งนี้ต้องมีงานพอให้ทุกคน ท�ำด้วย ส่วนพวกที่เหลือให้ไปพึ่งสมาคมองค์กรการกุศลและ สมาคมอื่นๆ ที่มีดาษดื่นในช่วงกลางยุควิกตอเรีย ซึ่งตั้งขึ้นมา ช่วยเหลือคนชายขอบในสังคมและคนติดสุรา ความเป็นขบถต่อ


24

Keynes

คริสตจักรอังกฤษของเคนส์ที่สืบทอดมาทางสายเลือดเจือจาง ลงได้ด้วยการยอมรับจากสังคม เคนส์เข้าเรียนที่อีตัน เป็น “บัณฑิต” (Colleger เป็นชื่อเรียกเด็กที่จบจากอีตัน) และสุขล้น เมื่อได้อยู่ท่ามกลางมิตรผู้หลักแหลมร่วมรุ่นจากอีตัน เขาชอบ คบค้าสมาคมกับคนรวยและมีชาติตระกูล ถึงแม้จะไม่ได้ไปสมาคม กับพวกนัน้ บ่อยนัก ยิง่ โตขึน้ เคนส์ยงิ่ เป็นอนุรกั ษนิยม กลายเป็น สาวกของความต่ อ เนื่ อ งและการเปลี่ ย นแปลงแบบค่ อ ยเป็ น ค่อยไป เขาเขียนในตอนท้ายของ ทฤษฎีทั่วไปฯ ว่า บทสรุปทาง สังคมซึ่งเศรษฐศาสตร์ของเขาชี้ให้เห็นนั้นเป็น “อนุรักษนิยม อ่อนๆ” ทุนนิยมซึ่งเคนส์เดียดฉันท์ด้วยเหตุผลทางศีลธรรมจะ อยู่รอดต่อไปได้ภายใต้การจัดการที่ดีกว่าเดิม แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนไปเลยจากวัยเด็กของเคนส์คือวินัย การท�ำงาน เขาเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์เปี่ยมประสิทธิภาพที่สุด ที่โลกเคยมีมา เขาจึงก�ำหนดระเบียบของตัวเองลงไปในโลกอัน ไร้ระเบียบ วินยั นีท้ �ำให้เขาสามารถใช้ชวี ติ ได้หลายด้านและเต็มที่ กับทุกบทบาท ทุกซอกหลืบในแต่ละวันเต็มไปด้วยกิจกรรมและ โครงการนานาชนิด เขาท�ำงานต่างๆ เสร็จอย่างรวดเร็วจนน่าทึง่ และมีขีดความสามารถอัศจรรย์ในการสับไปท�ำเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่ไม่ว่าจะยุ่งอย่างไรเขาก็ดูไม่เร่งรีบ มีเวลาเหลือเฟือให้กับ มิตรภาพ การสนทนา และสารพัดงานอดิเรก “จินตนาการอันพิลึกพิลั่นล�้ำลึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และมนุษยชาติ” คือสิ่งที่ท�ำให้ เวอร์จิเนีย วูล์ฟ ชอบพอเคนส์ เธอบอกว่า “สมองของเขาท�ำงานไม่เคยหยุด” ถั่งท้นท่วมล้น “สูท่ างแยกทางย่อยอย่างแข็งขัน” เคนส์อยากรูอ้ ยากเห็นทุกเรือ่ ง


A

Very Short Introduction

25

และไม่สามารถแตะเรื่องอะไรได้โดยไม่เสกทฤษฎีขึ้นมาอธิบาย ไม่ว่ามันจะฟังดูเหนือจริงเพียงใด วาทะโปรดของเคนส์ประโยค หนึ่งคือ “อังกฤษจะไม่มีที่ทางให้เชกสเปียร์ถ้าหากเขาเกิด 50 ปี ก่อนหน้านั้น” นิสัยเปี่ยมเสน่ห์ที่พร้อมวิ่งเข้าใส่เรื่องที่คนสมอง ช้ากว่าไม่กล้าฝ่าเข้าไป และอาศัยการคิดทีร่ วดเร็วเพือ่ เอาตัวรอด ยามคับขัน มักจะท�ำให้ผู้เชี่ยวชาญรู้สึกรับไม่ได้และท�ำให้เคนส์ ได้ชอื่ ว่าเป็นมือสมัครเล่นแม้แต่ในสาขาเศรษฐศาสตร์เองก็ตามที แต่ทั้งหมดนี้ไม่ใช่การประลองปัญญาหลังอาหาร เคนส์สามารถ หมกมุน่ จมดิง่ กับประเด็นทางปัญญาทีอ่ ยูไ่ กลห่างจากงานกระแส หลักของเขา สมัยหนุ่มๆ เคนส์พยายามคิดค้นสมการส�ำหรับ พยากรณ์อาการตาบอดสี โดยอิงจากทฤษฎีพันธุศาสตร์ของ เมนเดล ในทศวรรษ 1920 เคนส์ตกเป็นเหยื่อซ�้ำแล้วซ�้ำเล่าของ “ความบ้าแบบบาบิโลน” (Babylonian madness) ซึง่ เป็นความเรียง เกี่ยวกับต้นก�ำเนิดของเงินที่เขาเขียนขึ้น ในวันที่ 18 มกราคม 1924 เคนส์เขียนถึง ลิเดีย โลโปโควา (Lydia Lopokova) ว่าเรือ่ งนี้ “ค่อนข้างไร้สาระและไร้ประโยชน์...แต่ก็เหมือนกับครั้งก่อนๆ ผมหลงใหลมันจนคลุ้มคลั่ง...ผลคือผมรู้สึกบ้าและบ้องตื้น... ด้วยจูบอย่างคนวิกลและเพ้อคลั่ง, เมย์นาร์ด” กระทั่งประสิทธิภาพของเคนส์ก็ช่วยเขาจากอาการ เหนื่อยล้าตลอดเวลาไม่ได้ เคนส์ท�ำงานหนักเกินตัวอยู่เสมอ สมัยหนุ่มเขาเคยไปพักผ่อนสุดสัปดาห์กับครอบครัวรัสเซลล์ (ครอบครัวของ เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ - ผูแ้ ปล) แต่ปรากฏว่ามีแขก ที่เจ้าของบ้านไม่คาดหมายโผล่มา 26 คน รัสเซลล์สื่อเป็นนัยว่า ส่วนใหญ่มาตามค�ำเชิญของเคนส์ พอแก่ตวั ลง เคนส์จะถือกระเป๋า


26

Keynes

ที่อัดแน่นด้วยเอกสารเวลาบินไปพักผ่อนต่างประเทศทุกครั้ง เขาหมดเวลาหลายปีไปกับ “ความทรมานแบบจีน” (หมายถึง ระบบราชการของจีนคอมมิวนิสต์ - ผูแ้ ปล) โดยต้องด�ำรงต�ำแหน่ง เป็นคณะกรรมการต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ซึ่งที่จริงเขาสามารถ หลบเลีย่ งออกมาได้งา่ ยๆ เคนส์มกั จะถามว่า “เรือ่ งนีจ้ �ำเป็นไหม?” “ท�ำไมเราถึงดีแต่พูด?” “ผมท�ำไปท�ำไม?” เคนส์มีอัตลักษณ์ ไหมเวลาที่เขาอยู่คนเดียว? เขาไม่สะดวกใจจะอยู่กับตัวเองนัก เคนส์เชื่อว่าเขาหน้าตาน่าเกลียด เขาเกลียดเสียงตัวเอง เพื่อนๆ กลุ่มบลูมส์เบอรี (Bloomsbury) บ่นว่าเคนส์ไม่พิถีพิถัน และ เย้ยหยันรสนิยมเรื่องรูปภาพกับเครื่องเรือนของเขา “หน้ากาก” ที่เคนส์สวมใส่นั้นเป็นทั้งหน้ากากทางกายภาพและทางจิตใจ เขาปกปิดแววตาขีเ้ ล่นและวาจาเร้าอารมณ์ของตัวเองด้วย “มาด แบบนักธุรกิจ” อาทิ หนวดแบบทหาร ชุดสูทสีเข้ม และหมวก สักหลาดทรงกลมซึ่งเขาใส่แม้แต่เวลาไปปิกนิก เคนส์แสวงหา อัตลักษณ์ของตัวเองในการเป็นเจ้าแห่งโลกภายนอก ในแง่ทัศนคติต่อเพื่อนมนุษย์ เคนส์ทั้งเมตตาและไร้ซึ่ง ขันติ เขารักผู้อื่นได้อย่างมหาศาลและภักดีกับเพื่อนอย่างสุดซึ้ง ไม่เหมือนกับสมาชิกส่วนใหญ่ในกลุ่มบลูมส์เบอรี เคนส์ชื่นชอบ เรือ่ งชวนคิด สิง่ น่าฉงน และความคิดชวนหมกมุน่ ซึง่ เขามักมองว่า เป็นบ่อเกิดของความเป็นไปได้ที่น่าสนใจมากมาย เคนส์เชิดชู บูชาอัจฉริยะ เขาใช้ค�ำค�ำนีใ้ นความหมายดัง้ เดิม คือ “จิตวิญญาณ เสรี” เคนส์ไม่ต่างจากปัญญาชนอีกหลายคน เขาเคารพนับถือ ความเชี่ ย วชาญเชิ ง ปฏิ บั ติ แ ม้ แ ต่ ใ นงานที่ ต�่ ำ ต้ อ ยสุ ด ชอบ ให้อภัยกับความบกพร่องอันเกิดจากความเยาว์วัยและความ


A

Very Short Introduction

27

อ่อนประสบการณ์ เคนส์ไม่ใช่คนใจเย็น แต่ก็อุทิศตนให้กับการ แก้ปัญหาของเพื่อนๆ และคนที่เขามองว่าคู่ควร ในเวลาเดียวกันเคนส์ก็หยาบคายจนน่าใจหาย โดย เฉพาะกับคนทีเ่ ขาเชือ่ ว่าควรรูเ้ รือ่ งต่างๆ ดีกว่านัน้ เขาต้องค�ำสาป ของออกซบริดจ์ (Oxbridge หมายถึงคนที่จบการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดหรือเคมบริดจ์ - ผู้แปล) คือเชื่อว่า ความฉลาดทั้งมวลในโลกสถิตอยู่ที่มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งนี้ และผลผลิตของมัน ด้วยเหตุนี้เคนส์จึงมองโลกแบบที่มีอังกฤษ เป็นจุดศูนย์กลาง ซึง่ เป็นมุมมองทีแ่ พร่หลายในสมัยนัน้ มากกว่า สมัยนี้ บ่อยครั้งเคนส์หยาบคายได้โดยไม่ถูกด่าเพราะเขาพร้อม ตอบโต้ด้วยปฏิภาณและใช้เทคนิค ลดทอนให้เป็นเรื่องไร้สาระ แต่เคนส์กพ็ ดู ให้เจ็บใจได้เหมือนกัน นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกนั วอลเตอร์ สจ๊วต (Walter Stewart) เขียนว่า เวลาคุยกัน เคนส์มักจะปราดเปรื่องและบางครั้งก็ใจร้าย เขา ไม่ยอมปล่อยให้โอกาสท�ำคะแนนผ่านไป และชอบมองไป รอบๆ วงสนทนาเพื่อดูว่าคนอื่นสังเกตเห็นหรือเปล่าว่าธนู ของเขาวิ่งเข้าเป้า เขาใช้ไหวพริบอันหลักแหลมที่สุดกับคน ที่ปกป้องตัวเองไม่ค่อยได้ รวมถึงคนที่ไม่ได้อยู่ในวงสนทนา นั้นด้วย

เขาไม่ได้ท�ำเพื่อให้คนรัก และคนอเมริกันก็ไม่เคยชอบ วิธีที่เขาใช้เลย เฮอร์เบิร์ต สไตน์ (Herbert Stein) เขียนวิจารณ์ ว่า “จดหมายเปิดผนึก” ที่เคนส์เขียนถึงประธานาธิบดีรูสเวลต์


28

Keynes

นั้น “เหมือนจดหมายที่ครูเขียนถึงพ่อเศรษฐีของเด็กนักเรียนที่ เบาปัญญา” ในเมืองซาวันนาห์ ปี 1946 ณ ที่ประชุมเปิดกองทุน การเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund - IMF) เคนส์กล่าวสุนทรพจน์ซึ่งเขาหวังว่า “จะไม่มีเทพยดาใจมาร ไม่มี คาราบอส” ผู้ไม่ได้รับเชิญมางานเลี้ยง เคนส์พูดโดยอิงจากบท บัลเลต์เรื่อง Sleeping Beauty (เจ้าหญิงนิทรา) ของไชคอฟสกี (Pyotr Ilyich Tchaikovsky) (คาราบอสเป็นชื่อแม่มดผู้สาป เจ้าหญิงตอนเป็นทารกน้อย - ผู้แปล) แต่ เฟรเดอริก วินสัน (Frederic Vinson) รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกา สมัยนั้นรู้สึกว่าเคนส์สื่อถึงเขา เขาขู่ค�ำรามว่า “ผมไม่ว่าหรอกนะ ที่ถูกเรียกว่าใจมาร แต่ผมไม่ชอบที่ถูกหาว่าเป็นเทพยดา” เคิร์ต ซิงเกอร์ ให้ภาพเคนส์ที่ดูใจดีกว่านั้น เขาบอกว่า “ท่าทาง สายตา และวาจา...ดั่งนกที่บินเร็วเหลือเชื่อ ฉวัดเฉวียน บนฟ้าไกลโพ้น แต่พลันโฉบลงคว้าข้อเท็จจริงหรือความคิดที่ เล็งไว้ได้อย่างแม่นย�ำ สามารถบัญญัติชุดศัพท์เฉพาะลืมไม่ลง มาอธิบายสิ่งที่ตาเห็น ยัดเยียดขุมทรัพย์ทางปัญญาของเขา ด้วยกรงเล็บเหล็กได้แม้แต่กับคนที่ไม่ยินยอมพร้อมใจ” เมือ่ ดูจากภูมหิ ลังและความสามารถของเคนส์ ไม่มสี งิ่ ใด บ่งชีว้ า่ เขาจะท�ำงานด้านเศรษฐศาสตร์ไปตลอดชีวติ พ่อของเคนส์ เป็นนักตรรกวิทยาและนักเศรษฐศาสตร์ก็จริง แต่เส้นทางอาชีพ ของเขาไม่ใช่ลางดีส�ำหรับบุตรชายเลย เพราะเขาลงเอยด้วยการ เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัย ขณะที่สมองของเคนส์กว้างไกลเกิน ไป และจิตวิญญาณของเขาก็มชี วี ติ ชีวาเกินกว่าจะท�ำงานวิชาการ เฉพาะสาขา พอเขียนหนังสือเรื่อง Treatise on Probability


A

Very Short Introduction

29

(ศาสตรนิพนธ์ว่าด้วยความน่าจะเป็น) เสร็จ เคนส์ก็หมดความ สนใจในตรรกวิทยาไปแล้ว เพราะมันแคบเกินไปส�ำหรับสมอง ของเขา เคนส์คิดว่าคนเราต้องใช้สมองทั้งในเชิงปฏิบัติและ สุนทรียะ เคนส์สนใจเรื่องจิตวิทยาของเงินและการเสี่ยงโชคใน ตลาดหุ้นตั้งแต่เด็ก พรสวรรค์ด้านการบริหารอาจท�ำให้เคนส์ เป็ น ข้ า ราชการระดั บ สู ง ของจั ก รวรรดิ อั ง กฤษ และเขาก็ ยั ง เป็ น นั ก เขี ย นที่ ย อดเยี่ ย มอี ก ด้ ว ย สุ ด ท้ า ยเคนส์ ส ามารถใช้ เศรษฐศาสตร์ เ ป็ น พาหนะไปสู ่ ค วามหมกมุ ่ น และพรสวรรค์ ทัง้ หลาย แต่เพราะความไม่แน่นอนของโลกทีร่ มุ เร้าด้วยสงคราม เศรษฐศาสตร์จึงกลายเป็นวิชาชีพของเขา เคนส์เป็นนักเศรษฐศาสตร์แบบไหนกัน? สิ่งที่น่าทึ่ง ทีส่ ดุ คือส่วนผสมของพรสวรรค์ทเี่ ขาน�ำมาสูว่ งการนี้ เป็นไปไม่ได้ เลยที่เราจะคิดว่าเคนส์ไม่ได้ก�ำลังคิดถึงตัวเองในบทความที่เขา เขียนถึงมาร์แชลล์ (Alfred Marshall บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์สมัย ใหม่ และอาจารย์ของเคนส์ที่เคมบริดจ์ - ผู้แปล) ความว่า นักเศรษฐศาสตร์ชั้นครูจะต้องมี ส่วนผสม จากพรสวรรค์ที่ หายาก...เขาจะต้องเป็นนักคณิตศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ รัฐบุรุษ และนักปรัชญาอย่างน้อยก็ในระดับหนึ่ง เขาต้อง เข้ า ใจสั ญ ลั กษณ์และอธิบายเป็นค�ำพูดได้ เขาต้องพินิจ พิเคราะห์กรณีเฉพาะในกรอบของกรณีที่เกิดขึ้นทั่วไป และ แตะเรื่ อ งนามธรรมกั บ รู ป ธรรมไปพร้ อ มๆ กั น เวลาที่ ใ ช้ ความคิด เขาต้องศึกษาปัจจุบนั โดยค�ำนึงถึงบทเรียนจากอดีต เพือ่ เป้าหมายของอนาคต ไม่มสี ว่ นใดเลยของธรรมชาติหรือ


30

Keynes

สถาบันของมนุษย์ที่อยู่นอกขอบเขตความสนใจของเขา เขาจะต้องมีจุดมุ่งหมาย ไม่แยแสต่ออารมณ์ลมเพลมพัด เยือกเย็นและยืนหยัดดั่งศิลปิน แต่บางคราวก็ติดดินราวกับ นักการเมือง

ลิเดีย โลโปโควา ภรรยาของเขา เขียนว่าเคนส์เป็น “มากกว่านักเศรษฐศาสตร์” ตัวเขาเองก็รสู้ กึ ว่า “โลกทุกใบของเขา” ท�ำให้ความคิดทางเศรษฐศาสตร์ของตนงอกงาม เคนส์เข้าข่าย นักเศรษฐศาสตร์การเมือง ค�ำเก่ากรุยากนิยามซึ่งหมายถึงคน ที่มองว่าเศรษฐศาสตร์คือแขนงหนึ่งของความเป็นรัฐบุรุษ ไม่ใช่ วิชาที่ปิดกั้นตัวเองและเต็มไปด้วยกฎอันละเมิดมิได้ หนึ่งในคู่ เจรจาของเคนส์ในคณะกรรมาธิการแม็กมิลลันว่าด้วยการเงิน และอุตสาหกรรม (Macmillan Committee on Finance and Industry) ถามว่า ที่ผ่านมาหลักประกันทางสังคมกีดกันไม่ให้ “กฎเศรษฐศาสตร์” ใช้การได้มใิ ช่หรือ? เคนส์ตอบว่า “ผมไม่คดิ ว่า การมองว่าค่าจ้างควรลดต�่ ำลงง่ายๆ เป็นกฎเศรษฐศาสตร์ มากกว่าการมองว่ามันไม่ควร...เรื่องนี้เป็นเรื่องของข้อเท็จจริง กฎเศรษฐศาสตร์ไม่ได้ก�ำหนดข้อเท็จจริง มันเพียงแต่บอกคุณว่า ผลพวงที่ตามมาคืออะไร” เมื่อล่วงสู่วัยกลางคน เคนส์บ่นอย่าง ขมขื่นว่านักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ไม่ได้รับการศึกษาที่ถูกต้อง ท�ำให้พวกเขาไม่สามารถตีความข้อเท็จจริงทางเศรษฐศาสตร์ ผ่านการมองวัฒนธรรมอย่างรอบด้าน นี่คือเบาะแสที่บอกเราว่า เศรษฐศาสตร์ และอันที่จริงก็รวมถึงการปฏิวัติของส�ำนักเคนส์ (Keynesian revolution) กลายเป็นความพลาดพลัง้ ไปได้อย่างไร


A

Very Short Introduction

31

เคนส์จุดไฟในตัวนักเทคนิค แต่พวกเขาก็ยังเป็นแค่นักเทคนิค พวกเขาใช้เครื่องมือของเคนส์ แต่ล้มเหลวตรงที่ไม่ปรับปรุง วิสัยทัศน์ของเคนส์ให้สมสมัย ในบทความของเขาเกี่ยวกับ ธอมัส มัลธัส (Thomas Malthus) เคนส์ประกาศว่ามัลธัสในฐานะ “นักเศรษฐศาสตร์ เคมบริดจ์คนแรก” มี “ความหยั่งรู้ทางเศรษฐศาสตร์อย่างลึกซึ้ง” และ “มีส่วนผสมไม่ธรรมดาระหว่างการเปิดใจรับประสบการณ์ แปลกใหม่ กับการตีความประสบการณ์นั้นด้วยหลักคิดที่เป็น ระบบอย่างสม�ำ่ เสมอ” ข้อความดังกล่าวสรุปปรัชญาเศรษฐศาสตร์ ของเคนส์ได้กระชับยิง่ เขาบอก รอย แฮร์รอด (Roy Harrod) ในปี 1938 ว่า เศรษฐศาสตร์คือ “ศาสตร์ของการคิดในรูปแบบจ�ำลอง (model) ผนวกกับศิลปะของการเลือกแบบจ�ำลองที่สอดคล้อง กับโลกร่วมสมัย...นักเศรษฐศาสตร์ที่ดีมีน้อย เพราะพรสวรรค์ ด้านการใช้ ‘การสังเกตที่รัดกุม’ มาเลือกแบบจ�ำลองที่ดีนั้น... ดูเหมือนว่าจะหาได้ยากยิ่ง” ในบทความเกี่ยวกับ ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) เคนส์อา้ งอิงถึงค�ำวิจารณ์นวิ ตันของเดอ มอร์แกน (Augustus de Morgan นักคณิตศาสตร์และนักตรรกศาสตร์ ร่วมสมัยกับเคนส์ - ผูแ้ ปล) ทีว่ า่ นิวตัน “ลิงโลดกับการคาดคะเนของ ตัวเองจนดูเหมือนรูอ้ ะไรๆ เกินกว่าทีเ่ ขาจะหาทางพิสจู น์ได้” เคนส์ เองก็เช่นกัน เขามั่นใจในผลลัพธ์ของตัวเองอยู่นานก่อนที่จะ แสดงบทพิสูจน์ เคนส์ เ ป็ น นั ก เศรษฐศาสตร์ ผู ้ ห ยั่ ง รู ้ ที่ สุ ด ในบรรดา นักเศรษฐศาสตร์ทั้งมวล โดยค�ำว่า “หยั่งรู้” (intuition) นี้ใช้ใน ความหมายเวลาทีค่ นเอ่ยถึง (หรือเคยเอ่ยถึง) สัญชาตญาณ “ความ


32

Keynes

เป็นผู้หญิง” นั่นคือ การรู้สึกถึงความแน่นอนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ ความมีเหตุมีผล [ชาร์ลส์ เฮสเซียน (Charles Hession) ผู้เขียน ชีวประวัติเคนส์คนหนึ่ง สืบสาวความคิดสร้างสรรค์ของเคนส์ ว่าเป็นส่วนผสมระหว่างความหยั่งรู้แบบผู้หญิงกับตรรกะแบบ ผู้ชาย] เราต้องแยกแยะความหยั่งรู้ในแง่นี้ออกจากความหยั่งรู้ เชิงปรัชญา (philosophic intuition) ซึง่ เคนส์เองก็ยดึ ถือมันเช่นกัน ความหยัง่ รูเ้ ชิงปรัชญาคือมุมมองทีว่ า่ ความรูเ้ กิดขึน้ โดยตรงจาก การคิดใคร่ครวญกับตนเอง เคนส์มคี วามเข้าใจลึกซึง้ เหลือเชือ่ ใน แก่นสารภาพรวม ทัง้ หมดของสถานการณ์หนึง่ ๆ เขามีจนิ ตนาการ เชิงวิทยาศาสตร์ที่แจ่มชัดซึ่งเขายกค�ำของฟรอยด์ว่า “สามารถ ก่อก�ำเนิดความคิดเปี่ยมนวัตกรรมมากมาย ทลายพรมแดน แห่งความเป็นไปได้ ตลอดจนสร้างสมมติฐานที่ใช้การได้ และ จินตนาการเหล่านี้มีรากฐานเพียงพออยู่บนความหยั่งรู้และ ประสบการณ์ร่วมของมนุษย์” เขามักครุ่นคิดถึงข้อเท็จจริงทาง เศรษฐศาสตร์ในรูปของสถิติ เคนส์ชอบพูดว่าความคิดเลิศล�้ำ ของเขาเกิดจาก “การวุ่นอยู่กับตัวเลขและ ดู ว่ามันสื่อถึงอะไร” แต่ เ ป็ น ที่ รู ้ กั น ว่ า เคนส์ ไ ม่ เ ชื่ อ ในเศรษฐมิ ติ (econometrics เป็นการใช้วิธีวิทยาทางสถิติเพื่อจุดมุ่งหมายในการพยากรณ์) เขาเรียกร้องอยากเห็นสถิติศาสตร์ที่ดีกว่าเดิม ไม่ใช่เพราะ จะได้มวี ตั ถุดบิ ส�ำหรับเป็นค่าสัมประสิทธิก์ ารถดถอย (regression coefficient) แต่ เ พื่ อ เป็ น ไม้ ต ่ อ ให้ กั บ ความหยั่ ง รู ้ ข องนั ก เศรษฐศาสตร์ บ่อเกิดส�ำคัญ ของความเข้าใจของเคนส์ในวิถีธุรกิจ มาจากประสบการณ์ ต รงของตั ว เองในการท�ำก�ำไร นิ โ คลั ส


A

Very Short Introduction

33

ดาเวนพอร์ต (Nicholas Davenport) มิตรและเพื่อนนักการเงิน ของเคนส์บอกว่า “ความเข้าใจในสัญชาตญาณการเก็งก�ำไรของ มนุษย์นี่เองที่ท�ำให้เคนส์เป็นสุดยอดนักเศรษฐศาสตร์” นักเศรษฐศาสตร์สายวิชาการไม่เคยเข้าใจจริงๆ ว่านักธุรกิจ คิ ด อะไร ท�ำไมบางครั้ ง เขาถึ ง อยากเดิ ม พั น กั บ โครงการ ลงทุน แต่บางครั้งกลับอยากกอดเงินสดและสภาพคล่อง เอาไว้มากกว่า เรื่องนี้เมย์นาร์ดเข้าใจดี เพราะเขาเองก็เป็น นักพนันเช่นกัน จึงรู้สึกได้ถึงสัญชาตญาณการเก็งก�ำไรหรือ การกอดสภาพคล่องของนักธุรกิจ ครั้งหนึ่งเขาบอกผมว่า “นิโคลัส อย่าลืมว่าชีวิตของนักธุรกิจคือการเดิมพันตลอด เวลา”

บ่อยครั้งที่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าอยากจะสรุป ทุ ก เรื่ อ งออกมาเป็ น กฎทั่ ว ไปไปคั ด ง้ า งกั บ สั ม ผั ส พิ เ ศษต่ อ ปรากฏการณ์เฉพาะที่มีนัยส�ำคัญของเขา เขาพยายามตลอด เวลาที่จะ “ยลโลกผ่านเม็ดทราย...แลนิรันดร์กาลในหนึ่งยาม” ความสามารถของเคนส์ในการ “จับเรื่องนามธรรมกับรูปธรรม ไปพร้อมๆ กันเวลาที่ใช้ความคิด” คือสิ่งที่ท�ำให้เศรษฐศาสตร์ ของเขาน่าพิศวงแต่ก็ท�ำให้คนสับสนงุนงงด้วย ไม่มีใครมั่นใจได้ เลยว่าเคนส์ก�ำลังง่วนกับงานนามธรรมในระดับไหน พิกู (Arthur C. Pigou) เพื่อนนักเศรษฐศาสตร์ของเคนส์ที่เคมบริดจ์ บ่นใน บทวิจารณ์ ทฤษฎีทั่วไปฯ ว่า เคนส์หมายจะ “สรุปทุกอย่างเป็น กฎทั่วไปจนถึงระดับที่เขาต้องอภิปรายทุกเรื่องพร้อมๆ กัน”


34

Keynes

ชุมปีเตอร์ (Joseph Schumpeter นักเศรษฐศาสตร์ร่วมสมัยกับ เคนส์ - ผูแ้ ปล) ก็แทบจะพูดแบบเดียวกัน เขาบอกว่า ทฤษฎีทวั่ ไปฯ เป็นหนังสือซึ่ง “เสนอค�ำชี้แนะที่อ้างว่าเป็นสัจธรรมทั่วไปทาง วิทยาศาสตร์ ซึ่งที่แท้...จะมีความหมายต่อเมื่ออิงกับสภาวะ ฉุกเฉินทีเ่ กิดขึน้ จริงในเหตุการณ์ทางประวัตศิ าสตร์ตามเวลาและ ประเทศที่เฉพาะเจาะจงในช่วงหนึ่งๆ” หนังสือเล่มนี้สร้าง “กรณี พิเศษขึ้น แต่ในหัวของผู้เขียนและอรรถาธิบายกลับเสริมด้วย กฎทั่วไปอันลวงหลอก” เดนนิ ส โรเบิ ร ์ ต สั น (Dennis Robertson) เพื่ อ น นักเศรษฐศาสตร์จากเคมบริดจ์อกี คนหนึง่ สรุปข้อวิพากษ์หนังสือ เล่มนี้ของเคนส์ด้วยค�ำว่า “การให้ความส�ำคัญเกินเลยซ�้ำแล้ว ซ�้ำเล่า” และบอกว่า ในฐานะทีผ่ มก็ตดิ ตามทุกมิตขิ องปัญหามาอย่างสะเปะสะปะ ผมใคร่ขอออกตัวว่า ผมเปรียบเสมือนหิ่งห้อยที่ส่องแสง แรงน้อยไปยังทุกๆ สิ่งในละแวกบ้าน ส่วนคุณที่พร้อมด้วย สติปัญญาเหนือกว่าผมมากมาย เป็นประหนึ่งประภาคาร สาดแสงแรงกล้าไปทีละจุด แต่บางทีล�ำแสงนั้นก็บิดเบือน อย่างร้ายกาจ

มาร์แชลล์เคยวิพากษ์เจวอนส์ (William Jevons) แบบ เดียวกับที่หลายคนวิพากษ์เคนส์ว่า “แม้แต่ข้อบกพร่องก็ช่วย พยุงความส�ำเร็จของเขา...เขาท�ำให้หลายคนเชื่อว่าก�ำลังแก้ไข ความผิดพลาดใหญ่หลวง ทัง้ ทีเ่ ขาเพียงแต่เพิม่ ค�ำอธิบายส�ำคัญๆ เข้าไปเท่านั้น”


A

Very Short Introduction

35

แน่นอน เรามีเหตุผลทีจ่ ะสงสัย “ทฤษฎีทวั่ ไป” ของเคนส์ ดังข้อเขียนจาก เคิร์ต ซิงเกอร์ ที่ว่า “ที่จริงมันไม่ได้ถูกออกแบบ มาให้เหมาะกับสถานการณ์เฉพาะซึง่ เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ทางการเมืองและผลพวงทางจิตวิทยาทีต่ ามมาจากช่วงคัน่ กลาง ระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้งอันน่าพรั่นพรึง หรือไม่อย่างนั้น แท้จริง [เคนส์] ก็ก�ำลังรับมือกับปรากฏการณ์ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น อีกแล้ว” แต่ในทางกลับกันก็ยากที่จะมีใครอธิบายการล่มสลาย ของเศรษฐกิจอเมริกาในปี 1929 ผ่านแง่มมุ ดังกล่าว ในแง่นเี้ ราจะ ได้เห็นต่อไปว่า ระดับความรุนแรงของภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ของอเมริกาที่ “ไร้สาเหตุ” คือข้อเท็จจริงสะเทือนขวัญซึ่ง ทฤษฎี ทั่วไปฯ ถูกออกแบบมาเพื่ออธิบาย ถึ ง ที่ สุ ด แล้ ว เราไม่ อ าจวิ เ คราะห์ ก ารเปลี่ ย นผ่ า น จากเศรษฐศาสตร์ “ส�ำนั ก คลาสสิ ก ” ไปเป็ น เศรษฐศาสตร์ “ส�ำนักเคนส์” ได้โดยแยกขาดจากเหตุการณ์การเปลี่ยนผ่านที่ ใหญ่หลวงกว่านัน้ ทัง้ ในภาคการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วิทยาศาสตร์ ปรัชญา และสุนทรียศาสตร์ ซึ่งล้วนเกิดขึ้นในช่วง ชีวิตของเคนส์ ทั้งหมดนี้สะท้อนอยู่ในสติปัญญาอันเฉิดฉาย และน่าพิศวงของเขา เคนส์ยงั คงเป็นนักคิดแบบยุคเอ็ดเวิรด์ ในแง่ ทีเ่ ขาตกผลึกความเชือ่ เกีย่ วกับโลกในปีแรกๆ ของศตวรรษที่ 20 และปรับแนวคิดของตนให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงอันหดหู่ ในยุคถัดมา ในเศรษฐศาสตร์ของเขา เคนส์ไม่ได้พยายามแสวงหา ความจริง แต่แสวงหาความคิดที่เป็นไปได้และจ�ำเป็นต่อการ ด�ำรงชีวิตในโลกที่สูญเสียหลักยึดทางศีลธรรมไปแล้ว เขาไม่เคย จมปลักกับความท้อแท้ กระทัง่ ในห้วงยามอันมืดมนทีส่ ดุ ของชีวติ ความร่าเริงของเคนส์กย็ งั เปล่งประกายลอดมาได้ ก่อนถึงแก่กรรม


36

Keynes

ได้ไม่นาน เคนส์สรรเสริญเศรษฐศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ ว่า “มิใช่ผู้พิทักษ์อารยธรรม หากแต่เป็นผู้พิทักษ์ความเป็นไปได้ ของอารยธรรม” มีแต่ผู้ที่เป็นนายของภาษาและตระหนักถึง จุดหมายของชีวิตตามแบบยุคเอ็ดเวิร์ดเท่านั้น ที่จะเลือกใช้ ถ้อยค�ำเหล่านี้ได้อย่างเฉียบคม



บทที่ 1

/ ชีวิต


A

Very Short Introduction

39

เคนส์ตงั้ หน้ากอบกูส้ งิ่ ทีเ่ ขาเรียกว่า “ปัจเจกนิยมแบบทุนนิยม” (capitalistic individualism) จากปัญหาว่างงานที่ระบาดไปทั่ว เหมือนโรคร้าย เขามองว่าหากละเลยปัญหานี้ “ระบบเผด็จการ อ�ำนาจนิยมโดยรัฐ” จะกลายเป็นบรรทัดฐานของโลกตะวันตก เคนส์ลมื ตาดูโลกวันที่ 5 มิถนุ ายน 1883 อันเป็นยุคที่ “ปัจเจกนิยม แบบทุนนิยม” ต่างออกไปมาก เป็นยุคที่คนมองความก้าวหน้า ทางเศรษฐกิจว่าเป็นหมูในอวย มีกลุม่ คนหัวเสรีนยิ มผูเ้ ป็นเจ้าของ ทีด่ นิ และเงินทองมหาศาลเป็นผูป้ กครองรัฐ และทีท่ างของอังกฤษ ในฐานะสมองและหัวใจของระบบการค้าโลกก็ดูมั่นคง มีเพียง ไม่กคี่ นทีม่ องเห็นว่ายุคนีใ้ กล้ดบั สูญ ข้อกังขาของคนยุควิกตอเรีย ยังเป็นเรื่องทางศาสนามากกว่าทางวัตถุ ถึงแม้จะมีลางบอก ว่าระเบียบเดิมก�ำลังเผชิญภัยคุกคาม ไม่ว่าจะเป็นการเติบโต ของกระแสประชาธิปไตยมวลชนในประเทศ ความท้าทายนอก ประเทศจากเยอรมนี ระบบเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงบ้าง ความ ผันผวนที่รุนแรงขึ้นในภาคอุตสาหกรรม ค�ำว่า “การว่างงาน” (unemployment) ปรากฏใน Oxford English Dictionary


40

Keynes

(พจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซฟอร์ด) เป็นครั้งแรกในปี 1888 ประหนึ่งสัญญาณบอกเหตุที่จะเกิดหลังจากนั้น เมย์นาร์ด เคนส์ เป็นผลผลิตจากเรื่องราวความส�ำเร็จ แบบวิกตอเรียทีค่ นคุน้ ชิน เขาเป็นลูกคนโตจากทัง้ หมด 3 คนของ ตระกูลนักวิชาการเคมบริดจ์ผู้มีอันจะกิน ซึ่งอาศัย ณ บ้านเลขที่ 6 ถนนฮาร์วีย์ ครอบครัวเคนส์สืบเชื้อสายมาจากอัศวินแห่ง นอร์มังดีซึ่งขึ้นเกาะอังกฤษพร้อมกับพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต แต่ คนทีก่ อบกูค้ รอบครัวจากความยากจนข้นแค้นคือปูข่ องเมย์นาร์ด เคนส์ ผู้ท�ำงานเป็นชาวสวนในเมืองซอลส์เบอรีจนมีฐานะดี บุตรชายคนเดียวของเขาชือ่ จอห์น เนวิล (John Neville Keynes) ปักหลักทีม่ หาวิทยาลัยเคมบริดจ์ชว่ งทศวรรษ 1870 ในต�ำแหน่ง นักวิจัยแห่งวิทยาลัยเพมโบรก (Fellow of Pembroke College) จอห์น เนวิลเป็นนักปรัชญาและนักเศรษฐศาสตร์ผู้เขียนต�ำรา มาตรฐานว่าด้วยตรรกวิทยาและวิธีวิทยาแบบเศรษฐศาสตร์ ต่อมาเขาได้เป็นเลขาธิการมหาวิทยาลัย ในปี 1882 เขาแต่งงาน กับ ฟลอเรนซ์ เอดา บราวน์ (Florence Ada Brown) บุตรสาว ของศาสนาจารย์ ชื่ อดั ง จากคริ ส ตจั ก รทางเหนื อ แม่ ของเธอ เป็นครูใหญ่ผู้อุทิศตนให้กับการขยายโอกาสทางการศึกษาของ สตรี บรรพบุรุษของทั้งสองครอบครัวเกี่ยวพันกับ “ศาสนาและ การค้าขาย” การย้ายถิ่นฐานเข้าไปในเคมบริดจ์เป็นส่วนหนึ่ง ที่ท�ำให้ความเป็นขบถต่อคริสตจักรอังกฤษแบบชนบทหลอม เข้ากับกลุ่มอิทธิพลในอังกฤษสมัยวิกตอเรีย บิดามารดาของเคนส์ยึดมั่นในคุณธรรมวิกตอเรียแบบ อ่อนๆ จอห์น เนวิล เคนส์ ชอบงานอดิเรกหลายอย่าง เมย์นาร์ด


A

Very Short Introduction

41

เคนส์ได้รับความเฉียบคมทางปัญญาและประสิทธิภาพด้าน การบริหารประกอบกับความขี้เล่นมาจากพ่อ แต่นับว่าโชคดี ที่เขาไม่เคยเป็นโรคขี้วิตกเหมือนพ่อ ส่วน ฟลอเรนซ์ เคนส์ ก็ “อุทิศตนเพื่อสังคม” แต่ไม่เคยท�ำให้ครอบครัวเดือดร้อน กล่าวได้ว่าเธอกับคนในตระกูลบราวน์โดยทั่วไปเป็นตัวแทนฝั่ง “การเทศนา” และ “การท�ำดี” ทีต่ กทอดมาถึงเมย์นาร์ด นอกจากนัน้ ฝั่งนี้ยังชอบการประลองปัญญาอีกด้วย ส่วนอัจฉริยภาพของ เคนส์มาจากตัวเขาเอง แต่เขายังรูส้ กึ ว่าต้องสืบทอดประเพณีทาง สังคมและปัญญาไม่ให้หล่นไปไกลต้น บรรยากาศชีวิตครอบครัวในบ้านเลขที่ 6 ถนนฮาร์วีย์ อบอวลด้วยสติปัญญา แวดวงมิตรสหายของครอบครัวเคนส์ ครอบคลุมนักเศรษฐศาสตร์และนักปรัชญาทีโ่ ด่งดังทีส่ ดุ ในยุคนัน้ อาทิ อัลเฟรด มาร์แชลล์, เฮอร์เบิร์ต ฟอกซ์เวลล์ (Herbert Foxwell), เฮนรี ซิดจ์วกิ , ดับบลิว. อี. จอห์นสัน (W. E. Johnson) และ เจมส์ วาร์ด (James Ward) ช่วงวัยหนุ่มเคนส์ตีกอล์ฟกับ ซิดจ์วิก และเขียนถึงเขาด้วยความเที่ยงตรงแฝงเล่ห์กล (ใน จดหมายถึงเพือ่ นชือ่ เบอร์นาร์ด สวิธนิ แบงก์ เมือ่ วันที่ 27 มีนาคม 1906) ว่า “เขาไม่เคยท�ำอย่างอื่นเลยนอกจากสงสัยว่าศาสนา คริสต์ถูกต้องหรือเปล่า จากนั้นก็พิสูจน์ว่ามันไม่ถูก และหวังว่า มันถูก” เคมบริดจ์เป็นเมืองโลกีย์น้อยกว่าออกซฟอร์ด ถึงแม้ว่า เมย์นาร์ดจะลงไปคลุกคลีกับโลก แต่มาตรฐานของเขาก็ยังสูง เกินจริงอยูน่ นั่ เอง เขาตัดสินชีวติ ตัวเองและผูอ้ นื่ ด้วยหลักเกณฑ์ ทางปัญญาและสุนทรียะ ทุม่ ตัวเองลงไปในเรือ่ งทางโลกด้วยพลัง แห่งปัญญาและจินตนาการ แต่ไม่ถูกโลกกลืนเข้าไป


42

Keynes

เคนส์ยอมรับแนวคิดของพ่อกับแม่เรื่องการให้ค่าความ เป็นเลิศทางวิชาการอย่างสูงยิ่งโดยไม่เคยตั้งค�ำถาม ที่จริงเขา ไม่เคยขบถต่อพ่อแม่เลยด้วยซ�้ำ ถึงแม้ความสนอกสนใจของเขา จะหลากหลายกว่านั้น บ้านของครอบครัวซึ่งเนวิลกับฟลอเรนซ์ ยังใช้ชวี ติ อยูห่ ลังจากทีเ่ มย์นาร์ดล่วงลับ ท�ำให้ชวี ติ ของเขามัน่ คง และต่อเนื่อง ความคิดทางสังคมของเขาอิงอยู่กับสภาวการณ์ ของครอบครัว เคนส์มองว่าเขาเป็นสมาชิกชนชัน้ กลางที่ “คิดเป็น” ทั้งยังเชื่อว่าการถีบตัวให้พ้นปลักความจนนั้นเป็นไปได้เสมอ ในยุโรปก่อนเกิดสงครามโลก “ส�ำหรับใครก็ตามทีม่ คี วามสามารถ หรือนิสัยใจคอดีกว่าค่าเฉลี่ย” เคนส์ไม่เคยละทิ้งความเชื่อที่ว่า ผู้มีการศึกษาที่คิดเป็นและคิดดีนั้นมีหน้าที่เป็นผู้น�ำปวงชน ในปี 1897 เคนส์ได้รับทุนการศึกษาไปเรียนที่อีตัน โรงเรียนมัธยมชัน้ น�ำของอังกฤษ เขาเป็นนักเรียนทีโ่ ดดเด่น และ ไม่ใช่เด่นแค่บางเรื่องเท่านั้น เขาได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย ได้รับเลือกเข้าเป็นสมาชิกของ “ป๊อป” วงสังคมที่เข้ายากที่สุดใน อีตนั เคนส์ยงั เล่น “วอลล์” ได้ดแี ม้จะเป็นกีฬาทีม่ วี ธิ เี ล่นเข้าใจยาก ขอบเขตความสนใจและความสามารถอันหลากหลายจนน่าทึ่ง ของเคนส์เป็นที่ประจักษ์ เขาเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดีที่สุด แต่ ก็เรียนวิชาวรรณกรรมคลาสสิก (หมายถึงวรรณกรรมกรีกและ ละติน - ผู้แปล) และประวัติศาสตร์ได้ดีเช่นกัน เคนส์ท�ำงานเสร็จ ด้วยความเร็วแสง ได้รับความนับถือจากทั้งเด็กเรียน และ เหล่า นักกีฬา ไม่ต่างจากที่ภายหลังเขาจะชนะใจทั้งนักเศรษฐศาสตร์ สายวิชาการและคนทั่วไป เคนส์ตระหนักตั้งแต่เล็กว่าการใช้ ความฉลาดอย่างมีเล่หเ์ หลีย่ มคือวิธที จี่ ะรับมือกับผูใ้ หญ่ได้ส�ำเร็จ


A

Very Short Introduction

43

ความฉลาดคื อทางเลื อ กนอกเหนื อ จากการยอมท�ำตามหรื อ การท�ำตัวขบถโต้งๆ นั่นคือทุกคนสามารถเปลี่ยนสถานการณ์ ให้ตัวเองได้เปรียบถ้าฉลาดพอ และสิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน อีกอย่างคือ ขีดความสามารถของเคนส์ลักลั่นกับความเห็นอก เห็นใจผู้อื่น เขาก�ำลังพัฒนาไปเป็นนายเคนส์ที่เปี่ยมตรรกะ ชอบสถิติ บริหารเก่ง และหยิ่งทะนง แต่ขณะเดียวกันเขาก็เป็น “เจ้าเมย์นาร์ด” ที่เพื่อนสนิทรู้จัก เป็นเด็กที่เพรียกหาความรัก ตลอดเวลา ชื่นชอบบรรดานักเขียน ศิลปิน และนักฝัน ทั้งยัง หลงใหลบทกวีจากยุคกลางและการเสกสรรทฤษฎีทยี่ ากจะเข้าใจ ต่อมาเคนส์จะมองว่าเป้าหมายภาคปฏิบัติของเศรษฐศาสตร์คือ การเป็นเข็มขัดนิรภัย คอยคุ้มกันอารยธรรมมนุษย์จากความ คลุ้มคลั่งและอวิชชาทั้งปวง ในปี 1902 เคนส์ศึกษาต่อที่คิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัย เคมบริดจ์ โดยได้ทุนการศึกษาแบบเปิดในสาขาคณิตศาสตร์ และวรรณกรรมคลาสสิก เคนส์ไม่ได้เพลิดเพลินกับคณิตศาสตร์ นัก แม้จะเป็นวิชาที่เขาเรียนได้ดีที่สุด เขาเลิกเรียนอย่างโล่งอก หลังจากได้เกรดสูงสุดในหลักสูตรคณิตศาสตร์ 2 ปีแรก เคนส์ ใช้เวลาช่วงปริญญาตรีสว่ นใหญ่ไปกับการท�ำอย่างอืน่ อาทิ ศึกษา ปรัชญา เขียนรายงานเกี่ยวกับ ปีเตอร์ แอเบอลาร์ด (Peter Abelard) นักตรรกวิทยายุคกลาง กล่าวปาฐกถาให้กับสมาคม โต้วาทีแห่งเคมบริดจ์ (Cambridge Union ซึ่งเขาได้รับเลือก เป็นประธานในปี 1905) เล่นไพ่บริดจ์ และสร้างมิตรภาพที่ใฝ่หา ในปี 1906 เคนส์สอบเข้ารับราชการได้คะแนนสูงสุดอันดับทีส่ อง เป็นรองแต่เพียง อ็อตโต นีเมเยอร์ (Otto Niemeyer) เขาได้รับ


44

Keynes

การบรรจุเป็นเสมียนชั้นผู้น้อยในส�ำนักอินเดีย (India Office) หลังจากที่ท�ำงานจ�ำเจอยู่ 2 ปี เคนส์ก็รู้เรื่องระบบการเงินของ อินเดียอย่างถี่ถ้วน ซึ่งท�ำให้เขาได้รับแต่งตั้งเป็นหนึ่งในคณะ กรรมาธิการเงินตราและการเงินอินเดียของรัฐบาลอังกฤษ (Royal Commission on Indian Currency and Finance) ในปี 1913 แต่เขาใช้เวลาท�ำงานส่วนใหญ่เขียนวิทยานิพนธ์ว่าด้วยความ น่าจะเป็น ซึง่ แม้จะสอบไม่ผา่ นในครัง้ แรก แต่กท็ �ำให้เคนส์ได้เป็น นักวิจัยของคิงส์คอลเลจในปี 1909 มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จึงกลายเป็นบ้านทางวิชาการตลอดชีวิตของเขา ระหว่างที่เคนส์ก�ำลังสร้างรากฐานทางอาชีพการงาน ค่านิยมต่างๆ ในอังกฤษก็ผลัดเปลี่ยน ส่งให้ความคิดของเขา ก้าวข้ามขอบเขตค่านิยมวิกตอเรียแบบอ่อนของพ่อแม่ไปไกลลิบ ก่อนหน้านี้ศีลธรรมแบบวิกตอเรียถูกพยุงไว้ด้วยความเชื่อทาง ศาสนาซึ่งก�ำลังจะพังทลาย เคนส์กับเพื่อนนักศึกษาปริญญาตรี เป็ น พวกที่ ไ ม่ เชื่ อว่ า พระเจ้ า มี จ ริ ง อย่ า งเข้ ม ข้ น แต่ พ วกเขา ก็ไม่ต่างจากปัญญาชนที่ขบถต่อคริสตจักรอังกฤษคนอื่นตรงที่ การสูญเสียความเชือ่ ทีพ่ วกเขามองว่าจอมปลอม ไม่ท�ำให้สญ ู เสีย ความกระหายอยากได้ความเชื่อที่พวกเขามองว่าเป็นความจริง พวกเขาหั น ไปหาค�ำตอบว่ า ควรใช้ ชี วิ ต อย่ า งไรจากปรั ช ญา ศีลธรรม นักปรัชญา จี. อี. มัวร์ มอบสิง่ ทีพ่ วกเขาต้องการ ซึง่ ก็คอื ความชอบธรรมที่จะแยกตัวออกห่างจากธรรมเนียมทางสังคม และทางเพศของพ่อแม่ Principia Ethica (หลักจริยศาสตร์, 1903) ของมัวร์ คือแถลงการณ์แห่งความเป็นสมัยใหม่ส�ำหรับคนรุน่ เคนส์ ต่อมาเคนส์จะเรียกหนังสือเล่มนี้ว่า “ประตูสู่สวรรค์ใหม่บนดิน”


A

Very Short Introduction

45

เคนส์ตกอยู่ใต้อิทธิพลของมัวร์ตอนเป็นนักศึกษาปีที่ สอง เมื่อเขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกของสมาคมสาวกเคมบริดจ์ (Cambridge Apostles) ชมรมถกเถียงทางปรัชญาทีเ่ ข้ายากและ (สมัยนั้น) เป็นชมรมลับ ในชมรมนี้เองที่เคนส์บ่มเพาะมิตรภาพ อันยิ่งใหญ่ของชีวิต ที่โดดเด่นคือ ลิตตัน สเตรชีย์ (Giles Lytton Strachey) ปลายทศวรรษ 1900 เขาเข้ากลุ่มบลูมส์เบอรีซึ่ง ประกอบด้วยคอมมูนของสาวกเคมบริดจ์ในลอนดอน มิตรสหาย และชายหญิงทีม่ คี วามสัมพันธ์กบั เหล่าสาวกฯ นักเขียนและศิลปิน หนุ่มสาวได้พบกับชีวิตที่หลุดพ้นจากธรรมเนียมน่าอึดอัดของ บ้านพ่อแม่ตวั เองในเขตเชยๆ ชือ่ บลูมส์เบอรีของลอนดอน เคนส์ ได้ที่พักใจก่อนเขาแต่งงานจากกลุ่มเพื่อนเปี่ยมพรสวรรค์กลุ่มนี้ เพื่อนที่ส่วนหนึ่งชื่นชมเขา ส่วนหนึ่งไม่ชอบ และบ่อยครั้งก็ ประสงค์ร้าย มั ว ร์ ห ว่ า นล้ อ มให้ พ วกเขาเชื่ อ ในคุ ณ ค่ า สู ง สุ ด ของ ประสบการณ์ทางสุนทรียภาพและมิตรภาพส่วนบุคคล ปัดเป่า ความตรอมใจของคนรุน่ ก่อนทีไ่ ม่เคยพบเหตุผลดีๆ ในการด�ำเนิน หน้าทีข่ องตัวเอง มัวร์ท�ำให้การถกเถียงทางศีลธรรมกลับมาเป็น เรื่องสนุก สร้างสรรค์ข้อสนับสนุนให้ไม่ยึดติดทางโลกบนฐานคิด ของปรัชญาเชิงวิเคราะห์แบบเคมบริดจ์ การโยกย้ายคุณค่าแบบนี้ เกิดขึ้นได้ในหมู่อภิสิทธิ์ชนและผู้สนใจการเมืองเป็นเรื่องรอง เท่านั้น การเมืองจึงไม่กระทบกับ “สภาวะจิตที่ดี” ซึ่งชัดเจนว่า เคนส์เข้าข่ายนี้ก่อนปี 1914 แต่มันก็เป็นแนวทางที่ให้อิสระ มหาศาล ในปี 1938 เคนส์เขียนถึงช่วงชีวิตก่อนสงครามของ


46

Keynes

ตนว่า “เป้าหมายหลักในชีวิตของเราตอนนั้น...คือความรัก การ สร้างสรรค์ประสบการณ์ทางสุนทรียะและเพลิดเพลินกับมัน รวมถึงการแสวงหาความรู้ ในบรรดาทั้งหมดนี้ ความรักส�ำคัญ เหนือสิ่งอื่นใด” ส�ำหรับเคนส์และเพื่อนสาวกเคมบริดจ์ส่วนใหญ่ ความรักหมายถึงความรักระหว่างคนเพศเดียวกัน ซึ่งแรกเริ่ม เดิมทีสูงส่งระดับจิตวิญญาณ คู่รักของเคนส์ระหว่างปี 19081911 คือจิตรกรนาม ดันแคน แกรนต์ (Duncan Grant) ลูกพี่ ลูกน้องของลิตตัน สเตรชีย์ ซึง่ เคนส์ “แย่ง” มาจากลิตตันจนท�ำให้ กลุ่มบลูมส์เบอรีปั่นป่วน ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจะจบลง เคนส์ผูกพันทางอารมณ์กับชายหนุ่มเท่านั้น แต่เคนส์ไม่ใช่คน หัวรุนแรงในเรื่องเสน่หาเท่ากับเรื่องเศรษฐศาสตร์หรือการเมือง พฤติกรรมรักร่วมเพศของเขาไม่ได้กดี กันวิสยั ทีจ่ ะตกหลุมรักและ มีความสัมพันธ์ทางเพศอย่างสุขสมกับผูห้ ญิงทีใ่ ช่ และเธอผูน้ นั้ ก็ ปรากฏกายขึน้ อย่างเหมาะเจาะหลังสิน้ สุดสงครามโลกครัง้ ทีห่ นึง่ ความงามในมุมมองของเคนส์กับเพื่อนๆ นั้น หลักๆ หมายถึงภาพของกลุม่ หลังอิมเพรสชันนิสต์ (Post-Impressionist) บัลเลต์รัสเซีย และมัณฑนศิลป์แบบใหม่ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก สองอย่างข้างต้น ส�ำหรับคนที่มีเงิน รสนิยม และคนรับใช้ในบ้าน (สมัยนัน้ ไม่ตอ้ งมีเงินมากก็จา้ งคนใช้ได้) ลอนดอนช่วงก่อนสงคราม โลกครั้งที่หนึ่งไม่นานเป็นเมืองที่น่าตื่นเต้น ความดักดานไร้ วัฒนธรรมแบบอังกฤษซึ่ง แมทธิว อาร์โนลด์ (Matthew Arnold) เคยบ่นถึงก�ำลังถูกแทนที่โดย พวกก้าวหน้าทางศิลปะ (avantgarde) ไม่มีใครคิดว่าผู้น�ำบ้าๆ บอๆ จากยุโรปกลางจะปิดตาย อู่อารยธรรมเพื่อไขว่คว้าหาอ�ำนาจและแก่งแย่งชิงดีระหว่าง


A

Very Short Introduction

47

ชาติพันธุ์ ทั้งยังเป็นโลกซึ่งแยกจากประสบการณ์สามัญของ มวลชนออกอย่างสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม พวกเขายังคงเชื่อว่า ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติจะบันดาล ชีวิตให้ดีกว่าเดิม ส�ำหรับเคนส์ การแสวงหาความรู้หมายถึงวิชาปรัชญา กับเศรษฐศาสตร์ และวิชาแรกส�ำคัญกว่าวิชาหลัง ก่อนปี 1914 เขา ทุ่มก�ำลังสติปัญญาไปกับการแปลงวิทยานิพนธ์ให้เป็น ศาสตรนิพนธ์วา่ ด้วยความน่าจะเป็น ซึง่ กว่าจะได้รบั การตีพมิ พ์กป็ ี 1921 ในหนังสือเล่มนี้เคนส์พยายามขยับขยายการใช้ข้อโต้แย้งทาง ตรรกะให้ครอบคลุมกรณีที่ข้อสรุปมีความไม่แน่นอน งานชิ้นนี้ ส่งผลต่อเศรษฐศาสตร์ของเขาอย่างมาก ทีม่ หาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เคนส์บรรยายเรื่องเงิน เขาเคยเป็นนักทฤษฎีปริมาณเงินกระแส หลักส�ำนักมาร์แชลล์ และแทบไม่ได้ขยับขยายพรมแดนของ วิชานีเ้ ลย แม้วา่ ในหนังสือเล่มแรกของเขา (และเล่มเดียวก่อนเกิด สงคราม) Indian Currency and Finance (เงินตราและการเงิน ของอินเดีย, 1913) เคนส์พยายามใช้ทฤษฎีการเงินในสมัยนั้น มาปฏิรปู ระบบเงินตราของอินเดียด้วยรูปแบบทีเ่ ข้าใจง่าย หนังสือ เล่มนี้โดดเด่นตรงที่เผยความรอบรู้เรื่องการท�ำงานของสถาบัน การเงินอย่างลึกซึ้ง สนับสนุนการใช้มาตรฐานปริวรรตทองค�ำ (gold-exchange standard คือการก�ำหนดอัตราแลกเปลี่ยน เทียบกับสกุลเงินที่ใช้มาตรฐานทองค�ำ - ผู้แปล) และเสนอให้ สถาปนาธนาคารกลางอินเดีย เคนส์ตกผลึกรายละเอียดของ ข้อเสนอเหล่านี้ขณะที่เป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการเงินตราและ การเงินอินเดียของอังกฤษในปีเดียวกัน


48

Keynes

ขณะเดียวกันเคนส์ก็สนใจเรื่องปัญหาของสถานภาพ ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ในปี 1911 เขาทุ่มเถียงอย่างดุเดือด กับ คาร์ล เพียร์สัน (Karl Pearson) เกี่ยวกับอาการติดสุราของ พ่อแม่ที่ส่งผลต่อโอกาสในชีวิตของบุตร เคนส์ปฏิเสธวิธีอุปนัย (inductive method) ที่เพียร์สันใช้ประกาศสัจธรรมทางสังคม สะท้อนว่าเขากังขาคุณค่าของการอนุมานทางสถิติ (statistical inference) สอดคล้องกับที่เขาปฏิเสธทฤษฎีความน่าจะเป็น เชิงสถิติหรือเชิงความถี่ เศรษฐศาสตร์ไม่มีทางเป็นศาสตร์ที่ เที่ยงตรงได้ เพราะปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีมากเกินไป และไม่อาจ รับประกันเสถียรภาพของปัจจัยต่างๆ ในช่วงเวลาที่ต่างกันได้ ดังที่เคนส์กล่าวภายหลังว่า ถูกคร่าวๆ ดีกว่าผิดเป๊ะๆ เคนส์อายุ 31 ปีตอนที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งอุบัติขึ้น สงครามครั้งนี้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต อาชีพการงาน และความ ปรารถนาของเขา แม้ว่าจะไม่ได้เปลี่ยนชุดคุณค่าพื้นฐานที่เขา ยึดถือก็ตาม หลังจากทีเ่ คนส์มบี ทบาทส�ำคัญในการป้องกันไม่ให้ มาตรฐานทองค�ำล่มสลายเมื่อเกิดวิกฤตการธนาคารในเดือน สิงหาคม 1914 เขาก็ไปรับราชการที่กระทรวงการคลังในเดือน มกราคม 1915 และอยู่ที่นั่นจนลาออกในเดือนมิถุนายน 1919 พอถึงเดือนมกราคม 1917 เคนส์ได้เป็นผูอ้ �ำนวยการฝ่าย “เอ” ใหม่ ซึง่ มีหน้าทีด่ แู ลจัดการการเงินระหว่างประเทศของอังกฤษ ในช่วง นีเ้ ขาช่วยวางระบบการซือ้ ขายของฝ่ายสัมพันธมิตรในตลาดต่าง ประเทศซึง่ มีองั กฤษเป็นผูส้ นับสนุนหลัก อันทีจ่ ริงเคนส์ได้พสิ จู น์ ตัวเองว่าเป็นเจ้าหน้าที่การคลังชั้นยอด ปรับตัวเข้ากับระบบ ราชการอังกฤษได้ดี สามารถประยุกต์ใช้หลักการพื้นฐานเข้ากับ


A

Very Short Introduction

49

สถานการณ์จริงได้อย่างไม่สิ้นสุด เขียนบันทึกที่มีเนื้อหากระชับ และชัดเจนด้วยความเร็วแสง อันเป็นสิง่ ทีห่ าค่ามิได้ส�ำหรับบรรดา รัฐมนตรีที่ท�ำงานอย่างหักโหม นอกจากนี้ระบบราชการอังกฤษ ยังเติมเต็มความทะเยอทะยานอยากเป็นเจ้าแห่งโลกวัตถุของ เคนส์ เขาชอบงานทีท่ �ำและเพลิดเพลินทีไ่ ด้อยูใ่ นหมูม่ หาบุรษุ และ สตรีรวมถึงผู้ทรงอ�ำนาจ เขาได้สิ่งเหล่านี้จากการเป็นข้าราชการ กระทรวงการคลังชั้นสูงผู้ปราดเปรื่อง บุคลิกดี ช�ำนาญไพ่บริดจ์ โสด และมีเรื่องซุบซิบนินทาน่าสนุกเต็มไปหมด แต่ภาพลักษณ์ข้างต้นซึ่งเซอร์รอย แฮร์รอด ฉายให้เรา เห็นในหนังสือชีวประวัติฉบับทางการของเคนส์ เป็นหน้ากาก ที่ซุกซ่อนความขัดแย้งร้าวลึกภายในเอาไว้ เคนส์กับคนอื่น ในแวดวงของเขาต่างตกตะลึงเมื่อสงครามอุบัติขึ้น และมันท�ำให้ ความหวังที่จะได้เห็น “อารยธรรมใหม่” มอดดับลง ยิ่งสงคราม ด�ำเนินไป พวกเขาก็ยิ่งเชื่อในความหวังนี้น้อยลง เคนส์ปฏิบัติ หน้าที่ในช่วงสงครามโดยต้องเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ จากกลุ่มบลูมส์เบอรีและเหล่าเพื่อนนักสันตินิยมของเขามากขึ้น เรื่อยๆ อีกทั้งความรู้สึกอึดอัดขัดมโนธรรมก็โหมกระพือแรงขึ้น เรื่ อ ยๆ เคนส์ ส ร้ า งความชอบธรรมให้ กั บ งานของเขาช่ ว งนี้ หลากหลายวิธี ตั้งแต่ฤดูร้อนปี 1915 จนถึงเดือนมกราคม 1916 เขาน�ำเสนอข้ออภิปรายทางเศรษฐศาสตร์ว่าเหตุใดรัฐจึงไม่ควร เกณฑ์ทหารแก่รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เรจินัลด์ แม็กเคนนา (Reginald McKenna) ในบันทึกอันทรงพลังชิน้ นี้ เคนส์อธิบายว่า อังกฤษควรเน้นไปทีก่ ารให้เงินอุดหนุนฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยการ หาเงินตราต่างประเทศ แทนที่จะเสียผู้คนและอาวุธยุทโธปกรณ์


50

Keynes

ไปอย่างสิน้ เปลืองกับแนวรบด้านตะวันตก ข้อเสนอของเขามีเหตุ มีผลโดยตั้งอยู่บนหลักการแบ่งงานกันท�ำ (division of labour) แต่สิ่งที่อยู่ลึกกว่านั้นคือความเกลียดชังสงครามที่ก่อตัวขึ้นและ แรงปรารถนาทีจ่ ะกันเพือ่ นของเขาให้อยูไ่ กลจากสงคราม บันทึกนี้ ยังท�ำให้เคนส์เป็นที่จงชังของลอยด์ จอร์จ ผู้เชื่อในยุทธวิธี “เด็ดขาด” อีกด้วย เมือ่ อังกฤษประกาศเกณฑ์ทหารในเดือนมกราคม 1916 เคนส์อยากให้แม็กเคนนา, รันซิแมน (Walter Runciman) และผูน้ �ำ คนอื่นๆ ของค่ายเสรีนิยมสายแอสควิธ (Asquithian liberalism ตั้งชื่อตาม เฮอร์เบิร์ต แอสควิธ นายกรัฐมนตรีอังกฤษระหว่าง ปี 1908-1916 - ผู้แปล) ลาออกจากรัฐบาล โดยเคนส์เสนอตัว ว่าจะร่วมเป็นฝ่ายค้านกับพวกเขา เมื่อคนเหล่านี้ไม่ลาออก เคนส์กไ็ ม่ออกเหมือนกัน แต่ไปยืน่ ขอยกเว้นตามพระราชบัญญัติ รับราชการทหารโดยใช้สิทธิผู้คัดค้านด้วยหลักมโนธรรม (conscientious objector) ซึง่ เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เพราะ เคนส์ได้รบั ยกเว้นอยูแ่ ล้วตามต�ำแหน่งในกระทรวงการคลัง ตลอด ระยะเวลา 6 เดือนหลังจากนั้น เคนส์ใช้ต�ำแหน่งราชการของเขา ช่วยให้ ดันแคน แกรนต์ กับเพื่อนคนอื่นๆ ได้รับยกเว้นไม่ต้อง เกณฑ์ทหาร ด้วยการไปเป็นพยานสาบานถึง “ความสุจริตใจ คุณธรรม และความซือ่ สัตย์ในตัวมิตรสหายของข้าพเจ้า” ต่อหน้า ศาล ที่จริงเคนส์กับเพื่อนๆ ไม่ใช่นักสันตินิยมโดยหลักการ แต่ พวกเขาเป็นนักเสรีนิยมที่เชื่อว่ารัฐไม่มีสิทธิบังคับให้คนไปรบ พวกเขายังเชื่อด้วยว่าสงครามครั้งนี้ไม่มีค่าพอที่จะให้ใครไปรบ ดังนั้นทุกฝ่ายควรพยายามท�ำให้มันจบลงด้วยสันติภาพจากการ


A

Very Short Introduction

51

ประนีประนอม ในเดือนธันวาคม 1916 ลอยด์ จอร์จได้เป็น นายกรัฐมนตรีท่ามกลางวิกฤตการเงินซึ่งสุ่มเสี่ยงว่าจะท�ำให้ อังกฤษไม่มีเงินจ่ายค่ายุทโธปกรณ์แก่สหรัฐฯ ได้อีก เคนส์เขียน จดหมายถึง ดันแคน แกรนต์ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 1917 ว่า “ขอพระเจ้าสาปแช่ง [ลอยด์ จอร์จ] ทีเถิด...ผมอธิษฐานขอให้ เกิดวิกฤตการเงินที่รุนแรงราบคาบ แต่แล้วกลับต้องไปป้องกัน ไม่ให้มันเกิด ทั้งหมดที่ผมท�ำมันขัดแย้งกับความรู้สึกของผม ชะมัดยาด” ความชิ ง ชั ง ของเคนส์ ต ่ อ สงครามที่ ก ่ อ ตั ว ขึ้ น นั้ น ได้อิทธิพลมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า สงครามนี้ก�ำลังท�ำให้อังกฤษ ต้องพึ่งพาสหรัฐอเมริกา เมื่อสินทรัพย์ของอังกฤษร่อยหรอลง อั ง กฤษจ�ำต้ อ งยื ม เงิ น จากอเมริ ก าเพื่ อ น�ำมาบ�ำรุ ง ก�ำลั ง แก่ กองทัพพันธมิตร โดยเฉพาะรัสเซีย ในวันที่ 24 ตุลาคม 1916 เหนือลายมือชื่อย่อของ เรจินัลด์ แม็กเคนนา รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง ปรากฏข้อความซึ่งเคนส์น่าจะเป็นผู้ร่างขึ้น ว่ า “หากเหตุ ก ารณ์ ยั ง ด�ำเนิ น ไปเช่ น นี้ . ..ประธานาธิ บ ดี ข อง สหรัฐอเมริกาจะสามารถ...ก�ำหนดเงื่อนไขให้เราต้องท�ำตาม” นี่คือหมุดเวลาซึ่งอ�ำนาจน�ำทางการเงินได้ย้ายไปยังอีกฟากของ มหาสมุทรแอตแลนติก เราจะได้เห็นเรือ่ งราวเดียวกันนีซ้ ำ�้ อีกครัง้ ในสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ด้วยตระหนักว่าอังกฤษ (กับยุโรป) ก�ำลัง เสื่อมถอยลงเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา ท�ำให้เคนส์ยิ่งต้องเร่ง หาทางเจรจาสันติภาพ เรื่องนี้ส่งอิทธิพลอย่างมากต่อความคิด ของเขาช่วงหลังสงคราม ในเดือนกันยายน 1917 เคนส์เดินทางไปวอชิงตันเพื่อ


52

Keynes

เจรจากูเ้ งินรอบแรก เขาไม่ชอบประสบการณ์นเี้ ลย เขาเขียนบอก ดันแคน แกรนต์ ว่า “สิ่งเดียวในอเมริกาที่เห็นอกเห็นใจคนอื่น และคิดเองเป็นจริงๆ คือพวกผิวหมึกผู้มีเสน่ห์” คนอเมริกันเอง ก็ไม่ชอบเคนส์เหมือนกัน เบซิล แบล็กเกตต์ (Basil Blackett) เพื่อนร่วมงานกระทรวงการคลัง ณ สถานทูตอังกฤษบอกว่าเขา มี “กิริยาหยาบคายจนคนที่นี่ไม่ชอบหน้า” นับเป็นจุดเริ่มต้นของ ความสัมพันธ์เจ้าปัญหาที่จะคงอยู่ตราบเคนส์ล่วงลับ พอถึงปลายปี 1917 เคนส์ก็เชื่อดังที่เขากล่าวกับแม่ว่า ถ้าสงครามยังด�ำเนินต่อไป “ระเบียบสังคมที่เรารู้จักจนถึงบัดนี้ จะปลาสนาการไป...สิ่งที่ท�ำให้ผมกลัวมากคือแนวโน้มที่คนจะ ยากจนข้ น แค้ น ทุ ก หย่ อ มหญ้ า อี ก หนึ่ ง ปี เ ราจะหมดความ ชอบธรรมในการถือสิทธิความเป็นเจ้าของทวีปใหม่ และต้อง จ�ำนองประเทศนีก้ บั อเมริกาแทน” ข้อความนีส้ รุปอารมณ์หลักใน Economic Consequences of the Peace (ผลพวงทางเศรษฐกิจ ของสันติภาพ) ของเคนส์ ซึ่งตีพิมพ์ในเดือนธันวาคมปี 1919 หนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ป็ น ทั้ ง บทอาลั ย แด่ ยุ ค ที่ อั น ตรธานไปแล้ ว และ บทโจมตีสนธิสญ ั ญาแวร์ซายส์ ในช่วงเวลานัน้ รัสเซียตกอยูใ่ ต้ลทั ธิ บอลเชวิกแล้ว เกิดการปฏิวัติในเยอรมนีกับฮังการี เงินเฟ้อพุ่ง สูงลิว่ ประชาชนทัว่ ทัง้ ยุโรปต้องเผชิญความหิวโหย แต่สงิ่ เดียวที่ คณะเจรจาสันติภาพคิดออกคือ “พรมแดนและอธิปไตย” ในฐานะ ทีเ่ คนส์เป็นหัวหน้าคณะผูแ้ ทนจากกระทรวงการคลังของอังกฤษ ในการประชุมสันติภาพทีก่ รุงปารีส เขาพยายามอย่างยิง่ ยวดทีจ่ ะ หว่านล้อมให้นายกรัฐมนตรีลอยด์ จอร์จตกลงให้เยอรมนีจ่ายค่า ปฏิกรรมสงครามในจ�ำนวนที่สมเหตุสมผล เมื่อความพยายาม


A

Very Short Introduction

53

ของเขาไม่เป็นผล เคนส์จึงลาออกด้วยความขยะแขยงในวันที่ 7 มิถุนายน 1919 เขาเขียนหนังสือในฤดูร้อนปี 1919 ที่บ้านของ วาเนสซา เบลล์ กับ ดันแคน แกรนต์ ในเมืองชาร์ลสตัน แคว้น ซัสเซ็กซ์ ผลพวงทางเศรษฐกิจของสันติภาพ โจมตีความเขลา ของผู้เจรจาสันติภาพที่กรรโชกเอาเงินค่าปฏิกรรมสงครามจาก เยอรมนีจนเกินก�ำลังที่พวกเขาจะจ่ายไหว เคนส์แลเห็นอนาคต ว่าการพยายามเคีย่ วเข็ญให้เยอรมนีชดใช้ขนาดนีจ้ ะท�ำลายกลไก ทางเศรษฐกิจซึง่ ยุโรปภาคพืน้ ทวีปก่อนสงครามจ�ำต้องพึง่ พิงเพือ่ สร้างความเจริญรุง่ เรือง เคนส์พยากรณ์วา่ เยอรมนีจะก่อสงคราม ล้างแค้น ในหนังสือเล่มนี้มีรูปผู้น�ำการเจรจาสันติภาพสมัยนั้น คือ จอร์จส์ เคลเมนโซ (Georges Clemenceau) กับ วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ชวนให้ระลึกถึง แต่เขาดึงภาพของ ลอยด์ จอร์จออกก่อนตีพิมพ์ตามค�ำแนะน�ำของแอสควิธ ข้อเสนอหลักๆ ของเคนส์คือ ให้ยกหนี้สงครามทั้งหมด ทีฝ่ า่ ยสัมพันธมิตรกูก้ นั เอง จ�ำกัดความรับผิดส�ำหรับค่าปฏิกรรม สงครามของเยอรมนีเป็นจ�ำนวนรายปีทเี่ หมาะสมโดยให้ชดใช้แก่ ฝรั่งเศสกับเบลเยียม และฟื้นฟูเยอรมนีให้หวนคืนสู่การเป็น มหาอ�ำนาจทางเศรษฐกิจของยุโรป ส่วนรัสเซียจะฟื้นตัว “ผ่าน ความสามารถและการจัดการของเยอรมนี” การยกหนี้สงคราม ในฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยกันเองเป็นไปเพื่อปลดล็อกภาคการเงิน อเมริกันออกจากยุโรป เคนส์สนับสนุนให้อเมริกาปล่อยกู้เพื่อ เดินเครือ่ งอุตสาหกรรมในยุโรปอีกครัง้ เพือ่ จ่ายค่าอาหารทีจ่ �ำเป็น ต้องน�ำเข้า และเพื่อท�ำให้ค่าเงินมีเสถียรภาพ แต่เขายืนกราน


54

Keynes

ต่อต้านการให้ยุโรปกู้เงินจากอเมริกามาจ่ายหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ หนังสือของเคนส์กลายเป็นหนังสือขายดีระดับนานาชาติ ส่งอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อความคิดหลังสงคราม และท�ำให้ เขาโด่งดังไปทั่วโลก ถ้าบอกว่าหนังสือเล่มนี้ สร้าง ความรู้สึก ที่ว่าต้องเอาใจเยอรมนีก็ดูจะง่ายเกินไป เพราะคนเริ่มขยะแขยง โฆษณาชวนเชือ่ ในช่วงสงครามแล้ว แต่สงิ่ ทีห่ นังสือของเคนส์ท�ำ คือเปลีย่ นจุดสนใจจากการเมืองของมหาอ�ำนาจมาอยูท่ เี่ งือ่ นไขสู่ ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ เคนส์ท�ำให้เศรษฐศาสตร์กลายเป็น เรื่องที่สาธารณชนผู้มีความรู้ทั่วไปสนใจ และมันก็กลายเป็น เช่นนั้นนับจากนั้นมา ขณะเดียวกันมุมมองที่ว่าทุนนิยมต้องได้ รับการบริหารจัดการก็ค่อยๆ ซึมลึกลง เคนส์ไม่ได้กลายเป็นนัก สังคมนิยมหลังสงคราม บอลเชวิกยิ่งไม่ใช่ใหญ่ เขาเริ่มเปรยว่า สังคมนิยมเป็นเรื่องของอนาคตหลังจากแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ ได้แล้ว นับเป็นการเชื่อมโยงกับลัทธิมาร์กซ์สายคลาสสิกที่น่า ฉงน เคนส์เป็นเสรีนิยมจวบจนสิ้นลม ภารกิจที่เขามอบหมาย ให้กับตัวเองคือการฟื้นฟูระเบียบสังคมแบบทุนนิยมขึ้นมาใหม่ บนพื้นฐานการจัดการทางเทคนิคที่ดีกว่าเดิม สงครามโลกครั้งที่หนึ่งจัดระเบียบชีวิตของเคนส์ใหม่ เช่นกัน เขาสลัดทิ้งรสชาติชีวิตแบบบัณฑิตหนุ่มซึ่งคุกรุ่นจนถึง ปี 1914 ขณะนี้เขาเป็นมหาบุรุษแล้ว เป็นกูรูระดับโลกเรื่อง การเงินระหว่างประเทศ ข้อเขียนของเขาท�ำให้ค่าเงินสั่นคลอน นักการเงิน นักการเมือง และข้าราชการทุกประเทศต่างเสาะ แสวงหาค�ำปรึกษาของเคนส์ เคนส์หวนคืนสู่เคมบริดจ์ในเดือน


A

Very Short Introduction

55

ตุลาคม 1919 แต่เคมบริดจ์ต่อจากนี้หาใช่ศูนย์กลางชีวิตของ เขา เขาพ�ำนักที่นั่นเฉพาะช่วงเปิดเทอม กระนั้นก็อยู่เฉพาะช่วง วันหยุดยาวสุดสัปดาห์เท่านั้น (ส่วนใหญ่ตั้งแต่เย็นวันพฤหัสบดี ถึงเช้าวันอังคาร) ในช่วงเวลาไม่กี่วันนี้เคนส์อัดตารางสอนที่ ลดลงไปมากแล้ว ประชุมคณะกรรมการมหาวิทยาลัย และใช้ชวี ติ ทางสังคมอยู่กับครอบครัวของเขา ณ บ้านเลขที่ 6 ถนนฮาร์วีย์ และเพือ่ นสนิทหนุม่ สาวไม่กคี่ นทีส่ อนเคมบริดจ์เหมือนกัน ในช่วง คัน่ กลางระหว่างสงครามโลกทัง้ สองครัง้ เคนส์เป็นเหรัญญิกด้าน การลงทุนของคิงส์คอลเลจทีป่ ระสบความส�ำเร็จอย่างงดงาม เขา เพิ่มทุนรอน “ทรัพย์สมบัติ” ของคิงส์คอลเลจจาก 30,000 ปอนด์ ในปี 1920 เป็นกว่า 300,000 ปอนด์เมื่อถึงปี 1945 ส่วนฐานที่มั่นของเคนส์ในกรุงลอนดอนอยู่ที่บ้านเลขที่ 46 กอร์ดอนสแควร์ อันเป็น อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ ของกลุ่มบลูมส์เบอรี เขาใช้ชีวิตที่นั่นช่วงกลางสัปดาห์ระหว่าง เปิดเทอม และช่วงแรกของปิดเทอมในแต่ละปี เวลาของเคนส์ใน ลอนดอนอัดแน่นไปด้วยกิจกรรมยิ่งกว่าในเคมบริดจ์ บ่อยครั้งที่ เขาด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการบริษัทประกันและบริษัทจัดการการ ลงทุนไม่ต�่ำกว่า 5 แห่ง โดยต�ำแหน่งหลักคือประธานกรรมการ บริษัทประกันชีวิตแบบสหการแห่งชาติ (National Mutual Life Assurance Company) ระหว่างปี 1921-1937 นอกจากนี้เคนส์ ยังด�ำรงต�ำแหน่งบรรณาธิ การผู้พิมพ์ผู้โฆษณาและประธาน กรรมการวารสารรายสัปดาห์ The Nation and Athenaeum (วารสารการเมืองและวรรณกรรม - ผูแ้ ปล) ระหว่างปี 1923-1931 โดยท�ำงานใกล้ชดิ กับ ฮิวเบิรต์ เฮนเดอร์สนั (Hubert Henderson)


56

Keynes

บรรณาธิการวารสาร นอกจากนีเ้ คนส์ยงั เป็นบรรณาธิการ Economic Journal ในกรุงลอนดอนระหว่างปี 1911-1937 อีกด้วย ลอนดอน ส�ำคัญกับเคนส์ในฐานะฐานอิทธิพล เขาเข้าถึงตัวนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงการคลังได้แทบทุกเมื่อในช่วงสงคราม ในทศวรรษ 1920 ความคิดที่วิวัฒนาการไม่หยุดนิ่งของเคนส์ เกีย่ วกับนโยบายเศรษฐกิจแทรกซึมไปทัว่ ระบบราชการผ่านการ ประชุมประจ�ำเดือน ณ สโมสรวันอังคาร (Tuesday Club) ซึง่ เป็น สโมสรอาหารเย็ น ของนายธนาคาร เจ้ า หน้ า ที่ ก ารคลั ง นั ก เศรษฐศาสตร์ และนักข่าวสายการเงิน สโมสรแห่งนี้ก่อตั้งโดย นายหน้าค้าหุน้ นาม ออสวัลด์ ฟอล์ก ในปี 1917 ต่อมาในทศวรรษ 1930 เคนส์พยายามส่งอิทธิพลต่อการก�ำหนดนโยบายผ่านการ เป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรี ช่วงทศวรรษ 1920 ออสวัลด์ ฟอล์ก เป็นคู่หูของเคนส์ ในการท�ำเงิน พวกเขาเริ่มเก็งก�ำไรค่าเงินทันทีที่สงครามสงบ จากนัน้ ก็เก็งก�ำไรสินค้าโภคภัณฑ์ ถึงแม้ราคาจะดิง่ ฮวบไป 3 ครัง้ ในปี 1920, 1928-1929 และ 1937-1938 เคนส์ก็สามารถเพิ่ม มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของเขาจาก 16,315 ปอนด์ในปี 1919 เป็น 411,238 ปอนด์เมื่อเขาถึงแก่กรรม โดยจ�ำนวนนี้มีค่าเท่ากับ 10 ล้านปอนด์ในมูลค่าปัจจุบัน ในช่วงคั่นกลางระหว่างสงครามโลก ทั้งสองครั้ง ปรัชญาการลงทุนของเคนส์เปลี่ยนจากการเก็งก�ำไร ค่าเงินและสินค้าโภคภัณฑ์เป็นการลงทุนในบริษทั ขนาดใหญ่ทมี่ ี ความมัน่ คง สอดคล้องกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเขาทีเ่ ปลีย่ นไป เช่นกัน ความล้มเหลวของทฤษฎีการลงทุนแบบ “วัฏจักรสินเชือ่ ” (credit cycle) ของเขาในการท�ำเงิน ชักน�ำเคนส์ไปสู่ทฤษฎี


A

Very Short Introduction

57

“สัญชาตญาณสัตว์” (animal spirits) ที่เขาใช้อธิบายพฤติกรรม การลงทุนในหนังสือ ทฤษฎีทวั่ ไปฯ และน�ำไปสูป่ รัชญาการลงทุน ส่วนบุคคลว่าด้วย “ความซื่อสัตย์” (เพื่อคัดง้างกับความผันผวน ในการลงทุน เคนส์เสนอว่านักลงทุนกับหลักทรัพย์ทเี่ ขาถือควรมี ความสัมพันธ์ฉนั สามีภรรยา) รายได้จากงานด้านสือ่ สิง่ พิมพ์เป็น อีกแหล่งรายได้หลักของเคนส์ โดยเฉพาะตอนต้นทศวรรษ 1920 งานระดับพระกาฬ 3 งานระหว่างปี 1921-1922 บวกกับรายได้ ด้านสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ ท�ำเงินให้เคนส์ถึง 100,000 ปอนด์ในมูลค่า ปัจจุบัน ความส�ำเร็จในการหาเงินของเคนส์กลายเป็นแหล่งทุน ให้แก่กิจกรรมการสะสมภาพวาดและหนังสือหายาก อันเป็น อนุสรณ์แด่อุดมคติเกี่ยวกับชีวิตที่ดีครั้งยังเยาว์ สัญญาณแห่งการจัดระเบียบชีวติ ใหม่ทเี่ ด่นชัดทีส่ ดุ ของ เคนส์คือการแต่งงาน เขาพบนักเต้นบัลเลต์ ลิเดีย โลโปโควา ครั้งแรกในเดือนตุลาคม 1918 เมื่อคณะบัลเลต์ไดอากิเลฟกลับ มาเล่นในลอนดอน เขาเริม่ จีบเธอตอนปลายปี 1921 เมือ่ เธอเต้น ในเรื่อง เจ้าหญิงนิทรา ของไชคอฟสกีในโรงละครอัลฮัมบรากับ คณะของไดอากิเลฟ บัลเลต์เรื่องนี้แม้จะยิ่งใหญ่อลังการแต่กลับ ไม่ประสบความส�ำเร็จเชิงพาณิชย์ ลิเดียเป็นหญิงมั่นตัวกระจิริด ปลายจมูกเชิด และมีทรงศีรษะที่ท�ำให้ เวอร์จิเนีย วูล์ฟ นึกถึง ไข่นกโพลเวอร์ เธอเป็นศิลปินที่โดดเด่นด้วยตัวเอง มีอารมณ์ขัน แบบตลกลามก เป็นอัจฉริยะในการบิดค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ (ครั้งหนึ่งเธอเอ่ยว่า “พระเยซูปลุกปั่นให้น�้ำกลายเป็นเหล้าองุ่น ที่เมืองคานส์”) (ใช้ “foment” แทนค�ำว่า “ferment” - ผู้แปล) และมี สั ญ ชาตญาณหยั่ ง รู ้ ที่ แ กร่ ง กล้ า และเชื่ อ ถื อ ได้ ซึ่ ง เธอก็


58

Keynes

แสดงมันออกมาตรงๆ เคนส์หลงรักเธอ เขากับลิเดียเข้าสู่ประตู วิวาห์ในวันที่ 4 สิงหาคม 1925 อาจมีแต่ผู้หญิงแปลกแบบลิเดีย และมาจากนอกวงสังคมของเคนส์เท่านั้นที่จะเอาชนะใจชายที่ โดยพื้นฐานแล้วรักเพศเดียวกัน ถึงแม้เพื่อนกลุ่มบลูมส์เบอรีจะ ห้ามปรามเพียงใด แต่ลเิ ดียก็พสิ จู น์ตวั เองว่าเป็นภรรยาทีส่ มบูรณ์ แบบส�ำหรับเคนส์ เธอมอบความมั่นคงทางอารมณ์ให้กับชีวิต ของเคนส์ซึ่งขาดหายไปหลายปี และเป็นฐานที่จ�ำเป็นต่อความ อุตสาหะทางปัญญาที่ด�ำเนินไปไม่หยุดหย่อน ในปี 1925 เคนส์ เช่าบ้านไร่ทที่ ลิ ตัน แคว้นอีสต์ซสั เซ็กซ์ ใกล้เมืองชาร์ลสตัน เขากับ ลิเดียใช้เวลาช่วงวันหยุดทีน่ ี่ มีญาติมติ รมาเยือนไม่ขาดสาย ในห้อง หับอับชื้นติดเรือนหลักของบ้านคือที่ที่เคนส์ใช้เขียนงานชิ้นเอก ทางทฤษฎี 2 เล่ม อันได้แก่ A Treatise on Money (ศาสตรนิพนธ์ ว่าด้วยเงิน) และ The General Theory of Employment, Interest, and Money (ทฤษฎีทั่วไปของการจ้างงาน ดอกเบี้ย และเงิน) เคนส์ยุ่งขิงตลอดเวลา ในช่วงคั่นกลางระหว่างสงคราม โลกทั้งสองครั้ง กิจกรรมของเขาถั่งท้นล้นหลามออกไปหลาย ทิศทาง คนร่วมสมัยกับเคนส์คนุ้ เคยว่าเขาเป็นชายผูห้ อบกระเป๋า เอกสารหนักอึง้ วิง่ กระหืดกระหอบจากทีน่ ไี่ ปทีน่ นั่ จากทีป่ ระชุมนี้ ไปที่ประชุมโน้น ชีวิตของเขาจมอยู่กับกิจกรรมจิปาถะมากมาย ก่ายกองซึ่งเป็นทั้งเนื้อนาดินและสิ่งเบนความสนใจออกจาก งานเขียน การที่เคนส์ไม่มีผลงานทางทฤษฎีชิ้นเอกเลยจนถึงปี 1930 ในยามที่อายุใกล้ 50 ปี เป็นราคาที่เขาต้องจ่าย แต่บางที ก็ดแี ล้วทีก่ ารลงทุนทางปัญญาลืน่ ไหลพอสมควรในช่วงทศวรรษ 1920 เพราะทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เองก็ผนั แปรไม่หยุดนิง่ คนต้อง


A

Very Short Introduction

59

เผชิ ญ ภาวะ “ช็ อ ก” ในระบบทุ น นิ ย มช่ ว งคั่ น กลางระหว่ า ง สงครามโลกทั้งสองครั้ง ความคิดจึงจะตกผลึกและกล่าวโทษ ความเข้าใจคร�่ำครึเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจได้ ชื่อเสียง ที่งอกเงยของเคนส์และการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ ท�ำให้แวดวงมิตรสหายหดแคบลง และคุณภาพของมิตรภาพ ก็ลดลงด้วย นอกเหนือจากชีวิตสมรส เคนส์มี “เวลาส่วนตัว” น้อยลง “การท�ำดี” ส�ำคัญกว่า “การเป็นคนดี” กระนั้นเขาก็ไม่ เคยละทิ้งอุดมคติในวัยเยาว์ และแม้ว่าเคนส์จะยุ่งตลอดเวลา แต่ ความเร็วและประสิทธิภาพในการท�ำงานได้จนลุล่วงของเขาก็ให้ ความรู้สึกถึงความเป็นคนนิ่งๆ ไม่รีบร้อน แรงกระตุ้นต่อมอุตสาหะของเคนส์ทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้งมาจากความ หวาดกลั ว อนาคตข้ า งหน้ า อารมณ์ อิ ส รเสรี ท างเพศและ วัฒนธรรมช่วงก่อนสงครามซึ่งเป็นไปได้เพราะคนเชื่อว่าจะเกิด ความก้าวหน้าขึ้น “โดยอัตโนมัติ” กลับแปรเปลี่ยนเป็นความ รู้สึกว่าอารยธรรมทุนนิยมสั่นคลอนง่อนแง่น หายนะที่เกิดใน ช่วงคั่นกลางระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง โดยเฉพาะภาวะ เศรษฐกิจตกต�่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression) ระหว่าง ปี 1929-1933 และชัยชนะของฮิตเลอร์ในเยอรมนี ซ�้ำเติมให้ ความรูส้ กึ นีเ้ ข้มข้น ความเชือ่ มัน่ ในเสถียรภาพและความสามารถ ในการฟื้นตัวของระบบตลาดถูกแทนที่ด้วยมุมมองที่ว่า ยุคแห่ง ตลาดเสรีสดุ ขัว้ (laissez-faire) ในศตวรรษที่ 19 นัน้ เป็นช่วงเวลา พิเศษหนึ่งเดียวในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจซึ่งต้องอาศัยปัจจัย พิเศษบางประการที่จะไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีความ


60

Keynes

ก้าวหน้าทางเทคนิคเพียงใด มนุษยชาติก็ยังตกอยู่ในอันตราย สุ ่ ม เสี่ ย งที่ จ ะไถลตกจากระดั บ ความเจริ ญ และอารยธรรมซึ่ ง เกิดขึ้นในยุควิกตอเรีย วิธีตีความสังหรณ์ของเคนส์วิธีหนึ่งคือ มองว่ามันเป็นปฏิกิริยาล่าช้าต่อความกลัวชีวิตที่ไร้ซึ่งพระเจ้า แบบศตวรรษที่ 19 ในปี 1925 หลังจากที่เขาไปเยือนสหภาพ โซเวี ย ต เคนส์ เ ขี ย นว่ า “ทุ น นิ ย มสมั ย ใหม่ ไ ร้ ซึ่ ง ศาสนาโดย สิ้นเชิง...ระบบนี้จ�ำต้องประสบความส�ำเร็จชนิดใหญ่หลวง ไม่ใช่ แต่พอประมาณ มันจึงจะอยู่รอด” นี่คือภูมิหลังทางจิตวิญญาณ และจิตวิทยาของ “อารมณ์” แบบส�ำนักเคนส์ เมื่ อ สิ้ น สุ ด สงครามโลกครั้ ง ที่ ห นึ่ ง ปี ถั ด มาเคนส์ มุ ่ ง ความสนใจไปที่ 2 อย่าง อย่างแรกคือความไร้ระเบียบของระบบ การเงินระหว่างประเทศซึง่ เกิดจากสงครามและมีการเจรจาสันติ ภาพที่แวร์ซายส์เป็นตัวซ�้ำเติมให้เรื่องนี้เลวร้ายยิ่งขึ้น อย่าง ที่สองคือดุลยภาพอัตราการค้า (equilibrium terms of trade) ระหว่ า งยุ โ รปกั บ อเมริ ก าที่ แ ย่ ล ง จากระดั บ ผลิ ต ภาพที่ มี อ ยู ่ หลังสงคราม ชาวยุโรปจะต้องทนรับมาตรฐานการครองชีพที่แย่ กว่ า ก่ อ นสงคราม เนื่ อ งจากปริ ม าณสิ น ค้ า อุ ต สาหกรรม การผลิตส่งออก ณ ระดับหนึ่งเปลี่ยนเป็นอาหารและวัตถุดิบ จากต่างประเทศได้น้อยลง เราติดตามความกังวลเหล่านี้ได้จาก การที่ เ คนส์ มี ส ่ ว นในหนั ง สื อ พิ ม พ์ Manchester Guardian Commercial ฉบับพิเศษว่าด้วยการฟืน้ ฟู ซึง่ เขาเป็นบรรณาธิการ ให้ 12 ฉบับระหว่างปี 1922-1923 น้อยคนที่จะสังเกตเห็น ความคิดแบบ “นีโอมัลธัส” (neo-Malthusian) ของเขา มันเป็น หัวใจของข้อเสนอของเขาที่ให้ลดค่าสกุลเงินหลักๆ ในยุโรปลง เมื่อเทียบกับเหรียญสหรัฐ


A

Very Short Introduction

61

ถึ ง แม้ เ ขาจะลาออกจากกระทรวงการคลั ง แล้ ว และ ผลพวงทางเศรษฐกิจของสันติภาพ จะท�ำให้คนใน “วงราชการ” บางคนเกลียดเขา แต่เคนส์ก็มีบทบาทส�ำคัญไม่น้อยในการ แก้ปมปัญหาที่บรรดาผู้เจรจาสันติภาพทิ้งไว้ เขามีส่วนร่วม โดยตรงกับแผนของกระทรวงการคลังอังกฤษในการแก้ปัญหา ค่าปฏิกรรมสงครามช่วงปลายปี 1922 และแทบจะเป็นที่ปรึกษา อย่างไม่เป็นทางการให้กับรัฐบาลเยอรมันระหว่างปี 1922-1923 ผ่านการผูกมิตรกับ คาร์ล เมลคีออร์ (Carl Melchior) นายธนาคาร จากฮัมบูร์ก น่าฉงนที่บทบาทนี้มีผู้ท�ำวิจัยน้อยนัก จนกระทัง่ ปี 1923 เคนส์ไม่กงั วลเรือ่ งปัญหาของอังกฤษ มากนัก ซึ่งดูไม่สลักส�ำคัญเมื่อเทียบกับปัญหาของยุโรปภาค พื้นทวีป อย่างไรก็ตาม การว่างงานเรื้อรังขนานใหญ่ฉุดเคนส์ ให้หันมาสนใจสถานการณ์อันเป็นลักษณะเฉพาะของอังกฤษ เคนส์มองว่าการว่างงานสูงผิดปกติในทศวรรษ 1920 เป็นผล จากการบริหารจัดการนโยบายการเงินที่ผิดพลาด การไม่ยอม ขึ้นอัตราดอกเบี้ยธนาคารให้ทันท่วงทีหรือสูงเพียงพอ ก่อให้ ภาวะเงินเฟ้อช่วงปี 1919-1920 เลยเถิดเกินควบคุม ต่อมา เมื่อออกนโยบายตรึงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในระดับสูงช่วงที่ ราคาสินค้า ผลผลิต และการจ้างงานล้วนดิ่งเหว ก็ท�ำให้ภาวะ เศรษฐกิจยิ่งตกต�่ำรุนแรงกว่าที่ควร เคนส์มองว่านโยบายช่วง หลังนี้ไม่ได้เป็นผลของความปรารถนาต่อการก�ำจัดเงินเฟ้อ หลังสงคราม (ซึ่งเขาเห็นด้วย) แต่เพียงอย่างเดียว หากยังเป็น ผลของความปรารถนาที่จะลดระดับราคาให้เพียงพอที่ค่าเงิน ปอนด์อยู่ในระดับเดียวกับมาตรฐานทองค�ำช่วงก่อนสงคราม นั่นคือ 1 ปอนด์ เท่ากับ 4.86 เหรียญสหรัฐ เคนส์เหมือนกับ


62

Keynes

นักเศรษฐศาสตร์คนอื่นๆ ที่คาดว่าการจ้างงานของอังกฤษ จะฟื้นตัวสู่ภาวะ “ปกติ” (วัดจากมาตรฐานก่อนสงคราม) เมื่อ ราคา “ปรับตัวสู่สมดุล” ในปี 1922 แต่อัตราการว่างงานกลับยัง คงรั้งอยู่เหนือร้อยละ 10 การที่อัตราการว่างงานแทบไม่ลดลง เลยตลอดทศวรรษ 1920 ท�ำให้ เ คนส์ ฉุ ก คิ ด ว่ า เป็ น ไปได้ ที่ ต ้ น ทุ น การจ้ า งงานของภาวะเงิ น ฝื ด รุ น แรงอาจไม่ ใ ช่ เ พี ย ง “ปรากฏการณ์ชั่วคราว” เพราะเศรษฐกิจยังคง “ติดขัด” อยู่ใน กับดักการจ้างงานต�ำ่ ต่อจากนีก้ ารอธิบายสาเหตุของ “ดุลยภาพ การจ้างงานต�ำ่ เกินควร” (underemployment equilibrium) จะเป็น เป้าหมายหลักในข้อเขียนทางทฤษฎีของเคนส์ A Tract on Monetary Reform (งานนิพนธ์สั้นว่าด้วย การปฏิรูปนโยบายการเงิน, 1923) เป็นความพยายามที่จะ ออกแบบสิ่งที่เรียกกันในวันนี้ว่า “ระบอบ” นโยบายการเงิน ซึ่ง จะเอือ้ ให้กจิ กรรมทางเศรษฐกิจมีความมัน่ คงพอควร เคนส์มองว่า มาตรฐานทองค�ำไม่ใช่ระบอบทีเ่ หมาะสม ข้อก�ำหนดทีว่ า่ สกุลเงิน ในประเทศควรแปลงเป็นทองค�ำในอัตราแลกเปลีย่ นทางการแบบ คงทีน่ นั้ ไม่อาจประกันได้วา่ ระดับราคาในประเทศจะมีเสถียรภาพ ซึ่งเคนส์มองว่ามีความจ�ำเป็นต่อการสร้างความคาดหมายเชิง ธุรกิจที่มีเสถียรภาพ เนื่องจากมูลค่าทองค�ำเองก็ผันผวนในแง่ ที่มันเป็นสินค้า โดยขึ้นอยู่กับว่ามีปริมาณทองค�ำมากหรือน้อย นอกจากนี้ เมื่อดูจากระดับที่เป็นอยู่จริง ณ ปัจจุบันและแนวโน้ม การปันส่วนทองค�ำส�ำรองของโลก การกลับไปใช้มาตรฐานทองค�ำ ก็ เ ท่ ากั บ ว่ า อั ง กฤษยอมยกอ�ำนาจการควบคุ ม ระดั บ ราคาใน ประเทศตนให้แก่คณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวอชิงตัน


A

Very Short Introduction

63

อังกฤษควรมีอิสรภาพในการจัดการอัตราแลกเปลี่ยนตามความ จ�ำเป็นของเศรษฐกิจในประเทศ เคนส์เสนอว่าระบบควบคุม นโยบายการเงินในประเทศแบบนี้สอดคล้องกันกับเสถียรภาพ ของอัตราแลกเปลี่ยนในระยะสั้น แต่เสถียรภาพดังกล่าวจะเป็น ผลพวงจากเสถียรภาพของราคาสินค้าในประเทศ ไม่ใช่เป้าหมาย เชิงนโยบายที่แยกต่างหาก และแน่ชัดว่าไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด งานนิพนธ์สั้นว่าด้วยการปฏิรูปนโยบายการเงิน ท�ำให้ เคนส์เป็นปัญญาชนแถวหน้าที่ท้าชนนโยบาย “ทางการ” ของ อังกฤษ ซึ่งอยากให้เงินปอนด์กลับไปมีค่าเท่ากับมาตรฐาน ทองค�ำก่อนสงครามและผูกกับเงินเหรียญสหรัฐ แต่แทบไม่มใี คร เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของเคนส์ที่ให้ “บริหารจัดการ” อัตรา แลกเปลี่ยน วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) รัฐมนตรี กระทรวงการคลังสมัยนั้น ประกาศให้เงินปอนด์กลับไปผูกกับ มาตรฐานทองค�ำที่ 4.86 เหรียญสหรัฐในวันที่ 20 เมษายน 1925 เคนส์โจมตีการตัดสินใจครั้งนี้ทันทีในจุลสารลืมไม่ลงชื่อ The Economic Consequences of Mr. Churchill (ผลพวงทาง เศรษฐกิจของคุณเชอร์ชิลล์) เขาแย้งว่าการท�ำให้เงินปอนด์ แข็ ง ค่ า ขึ้ น ครั้ ง นั้ น แปลว่ า ต้ น ทุ น ค่ า จ้ า งในอั ง กฤษต้ อ งลดลง ร้อยละ 10 ซึ่งจะท�ำได้ต่อเมื่อ “เพิ่มอัตราการว่างงานอย่างไร้ที่ สิ้นสุด” นัยจากข้อเสนอของเคนส์คือแนวคิดที่ว่าต้นทุนแรงงาน เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อระดับราคา ภายใต้เงื่อนไขสมัยใหม่ ที่ ส หภาพแรงงานเป็ น ผู ้ น�ำการเจรจาต่ อ รองค่ า จ้ า ง การลด ปริมาณเงินจะน�ำไปสู่การลดปริมาณการจ้างงานโดยตรง เคนส์ คาดการณ์ ว ่ า การใช้ น โยบายการเงิ น ที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง ด้ ว ยวิ ธี นี้


64

Keynes

ไม่อาจฟืน้ ฟูดลุ ยภาพได้ รัฐบาลจะตรึงอัตราดอกเบีย้ ให้สงู พอทีจ่ ะ ดึงเงินทุนต่างชาติเข้ามาในลอนดอน แต่จะไม่ขึ้นสูงจนเกิด แรงต้ า นในหมู ่ ส หภาพแรงงานที่ ไ ม่ อ ยากเห็ น การลดลงของ ค่าจ้างในรูปตัวเงินต่อคนงานทีไ่ ด้รบั การจ้างงาน ผลลัพธ์คอื ระบบ เศรษฐกิจจะมีอตั ราการจ้างงานตำ�่ เตีย้ ต่อเนือ่ ง เวลาพิสจู น์แล้วว่า เคนส์พยากรณ์ถูก ถึงแม้การนัดหยุดงานทั่วไปในปี 1926 จะถูก ก�ำราบ แต่นายจ้างก็ไม่ได้พยายามลดค่าจ้างในรูปตัวเงินลง ระดับ ค่าจ้างยังคงที่ตลอดทศวรรษ 1920 แม้ระดับราคาจะลดลงก็ตาม เคนส์เป็นคนแรกที่ตระหนักและอธิบายอย่างชัดเจนว่า ค่าเงินที่ แข็งค่าเกินไปคือสกุลเงินที่อ่อนแอ หาใช่แข็งแกร่งไม่ เหตุการณ์แวดล้อมมหกรรมนัดหยุดงานทั่วไปครั้งนั้น ท�ำให้เคนส์แปรพักตร์ทางการเมือง เขาจากแอสควิธไปสนับสนุน ลอยด์ จอร์จและรูส้ กึ เห็นใจพรรคแรงงานมากขึน้ ระหว่างปี 19261929 เคนส์มบี ทบาทส�ำคัญในการร่างนโยบายของพรรคเสรีนยิ ม ภายใต้การน�ำของลอยด์ จอร์จ ลอยด์ จอร์จเองก็คาดหวังให้เคนส์ เขียนโครงการเศรษฐกิจที่จะท�ำให้พรรคเสรีนิยมได้ส่วนแบ่ง อ�ำนาจ ส่วนเคนส์ก็มองว่าลอยด์ จอร์จเป็นเครื่องมือที่น่าจะได้ ผลทีส่ ดุ ในการ “พิชติ การว่างงาน” การร่วมงานกับคณะกรรมการ สืบสวนอุตสาหกรรมของพรรคเสรีนิยม (Liberal Industrial Inquiry) ในปี 1927-1928 นับเป็นจุดสูงสุดของการเข้าไปมีสว่ นร่วม กับภาคการเมือง นอกจากนีย้ งั เป็นช่วงทีเ่ คนส์ครุน่ คิดอย่างหนัก ถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของอุตสาหกรรมอังกฤษ ผลผลิตของ ชีวิตช่วงนี้คือปรัชญาการเมืองเรื่อง “ทางสายกลาง” ซึ่งเคนส์ อธิบายเค้าโครงนี้เป็นครั้งแรกในจุลสาร The End of LaissezFaire (อวสานของตลาดเสรีสุดขั้ว, 1926)


A

Very Short Introduction

65

ระหว่างปี 1925-1928 เคนส์หมดเวลาส่วนหนึ่งไปกับ การเขียน ศาสตรนิพนธ์ว่าด้วยเงิน ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจาก ความคิดใน งานนิพนธ์สนั้ ว่าด้วยการปฏิรปู นโยบายการเงิน คูค่ ดิ ทางปัญญาของเคนส์ในช่วงนี้คือ เดนนิส โรเบิร์ตสัน นักวิชาการ ประจ�ำทรินติ คี อลเลจซึง่ เกษียณแล้วแต่ชอบโต้วาทีตอ่ ปากต่อค�ำ อย่างไม่ลดละ กลางทศวรรษ 1920 เคนส์ไม่มีสาวกเลย เคิร์ต ซิงเกอร์ จ�ำเขาในแบบที่ “เป็นชายผู้โดดเดี่ยว น่าสมเพช ชอบ กบฏและครอบง�ำ แต่ยังไม่มีวาทะกินใจซึ่งจะสร้างความเป็น ผูน้ �ำ” กระนัน้ คนรุน่ ใหม่ซงึ่ ต่อมาจะก่อการปฏิวตั ขิ องส�ำนักเคนส์ ก็ก�ำลังก่อตัวหยัง่ รากในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นต้นว่า ปิเอโร ซราฟฟา (Piero Sraffa) นักวิชาการ ผู้อพยพ จากอิตาลี, โจน กับ ออสติน โรบินสัน (Joan and Austin Robinson) และที่ขาด ไม่ได้คือ ริชาร์ด คาห์น (Richard Kahn) ผู้ซึ่งเคนส์บอกว่าเป็น “ศิษย์คนโปรด” เคนส์ยงั สะดุดตาลูกศิษย์อกี คนหนึง่ คือ เอช. เอ็ม. โรเบิร์ตสัน (H. M. Robertson) ที่ท่าทาง “เหมือนโบรกเกอร์ มากกว่านักวิชาการ” เพราะชอบใส่สทู และเรือ่ งซุบซิบนินทาแบบ คนเมือง ศาสตรนิพนธ์วา่ ด้วยเงิน ทีต่ พี มิ พ์ในปี 1930 เป็นตัวอย่าง ชั้นเลิศถึงความหลงใหลของเคนส์ในการสร้างทฤษฎีทั่วไปจาก กรณีเฉพาะ กล่าวโดยสรุป เคนส์สร้างกลไกทางความคิดที่ ซับซ้อนซ่อนเงื่อนขึ้นมาอธิบายว่า ภายใต้เงื่อนไขบางประการ ระบบเศรษฐกิจที่ใช้มาตรฐานทองค�ำจะติดกับดักการจ้างงานต�่ำ ถ้าหากผู้ด�ำเนินนโยบายการเงินไม่สามารถลดอัตราดอกเบี้ย ระยะยาวให้อยู่ในระดับที่นักลงทุนคาดหวัง และถ้าหากต้นทุน การผลิตในประเทศท�ำให้ไม่ได้รบั ส่วนเกินจากการส่งออก (export


66

Keynes

surplus) ในระดับเดียวกันกับที่คนอยากปล่อยกู้ให้กับต่างแดน ผลลัพธ์คือการออมจะ “ล้นเกิน” กว่าการลงทุน ระดับราคาจะ ลดต�่ำลง และเศรษฐกิจจะ “ติดขัด” นี่คือชะตากรรมของอังกฤษ ในทศวรรษ 1920 ความคิดขั้นปฏิวัติวงการของเคนส์ซึ่งเขาจะ แจกแจงแจ่มชัดกว่าเดิมใน ทฤษฎีทั่วไปฯ คือระบบเศรษฐกิจ สมัยใหม่ไม่มีกลไกอัตโนมัติใดๆ ที่จะรักษาดุลยภาพระดับการ ออมที่ต้องการ (intended saving) กับระดับการลงทุนที่ต้องการ (intended investment) ได้ตลอดเวลา ไฮเยก (Friedrich A. Hayek นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังร่วมสมัยกับเคนส์ ได้ฉายาว่าเป็น คู่ปรับตลอดกาลของเคนส์ - ผู้แปล) เป็นคนเดียวที่มองออกว่า การพูดแบบนี้เท่ากับพูดว่าไม่มีกลไกอัตโนมัติใดๆ ในระบบที่จะ ปรับอุปสงค์มวลรวม (aggregate demand) ให้ตรงกับอุปทาน มวลรวม (aggregate supply) การมองว่าการออมในประเทศ ไม่สอดคล้องกับการลงทุนในประเทศเป็นเหตุผลให้เคนส์เสนอ โครงการสร้างงานสาธารณะด้วยเงินกู้ เพือ่ เพิม่ การจ้างงานภายใต้ ข้อจ�ำกัดของระบบมาตรฐานทองค�ำ ในเดือนเมษายน 1929 เคนส์ออกมาสนับสนุนนโยบาย สร้างงานสาธารณะด้วยเงินกูอ้ ย่างโจ่งแจ้ง ใน Can Lloyd George Do It? (ลอยด์ จอร์จจะท�ำได้หรือไม่?) ซึ่งเขียนร่วมกับ ฮิวเบิร์ต เฮนเดอร์สัน โดดเด่นตรงข้อเสนอที่ว่า การใช้จ่ายเพื่อสร้างงาน สาธารณะจะสร้างคลื่นความเจริญ “แบบสะสม” โอกาสที่เคนส์จะ ส่งอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลพรรคแรงงานภายใต้การน�ำของ แรมเซย์ แม็กโดนัลด์ (Ramsay MacDonald) มาถึงเมื่อเคนส์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการแม็กมิลลันว่าด้วย


A

Very Short Introduction

67

การเงินและอุตสาหกรรมซึ่งก่อตั้งในเดือนพฤศจิกายน 1929 และเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจของรัฐบาลซึ่งสถาปนา ในเดือนมกราคม 1930 การแสดงอรรถาธิบายทฤษฎีใน ศาสตรนิพนธ์ฯ และข้อเสนอเยียวยาปัญหาการว่างงานติดต่อกัน 9 วัน ให้คณะกรรมาธิการแม็กมิลลันฟังในเดือนมีนาคม 1930 นับเป็น จุดเริม่ ต้นทีแ่ ท้จริงแห่งการปฏิวตั ขิ องส�ำนักเคนส์ในด้านนโยบาย เศรษฐกิ จ แต่ ข ้ อเสนอเรื่ อ งการสร้ า งงานสาธารณะและการ คุม้ ครองทางสังคมของเขาแทบไม่ได้รบั ความสนใจ การล่มสลาย ของเศรษฐกิจโลกและความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจท�ำให้พลัง ความคิดทางเศรษฐศาสตร์แบบดัง้ เดิมแข็งแกร่งขึน้ แรงกดดันให้ รัฐใช้นโยบายการคลังแบบรัดเข็มขัดส่งผลให้รฐั บาลพรรคแรงงาน ตกเก้าอี้และมีรัฐบาลแห่งชาติขึ้นมาแทนในวันที่ 25 สิงหาคม 1931 ต่อมาในวันที่ 21 กันยายน การล่มสลายของระบบการเงินใน ยุโรปกลางประกอบกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่พอกพูนขึ้น ของอังกฤษ บีบบังคับให้ต้องถอนเงินปอนด์ออกจากมาตรฐาน ทองค�ำ ในฤดูใบไม้รว่ งปีนนั้ เคนส์เริม่ เขียนหนังสือทฤษฎีเล่มใหม่ เพื่อย�้ำความส�ำคัญของบทบาทของการเปลี่ยนแปลงผลผลิตต่อ การปรับต�ำแหน่งเข้าสู่ดุลยภาพใหม่ ถึงแม้เคนส์จะเขียนจุลสารเชิงนโยบายฉบับเดียว คือ The Means to Prosperity (เส้นทางสู่ความรุ่งเรือง) ในปี 1933 แต่ “เวลาว่าง” ส่วนใหญ่ของเขาระหว่างปี 1931-1935 ไม่ได้หมด ไปกับการให้ค�ำปรึกษารัฐบาลต่างๆ หากหมดไปกับการเขียน ทฤษฎีทวั่ ไปของการจ้างงาน ดอกเบีย้ และเงิน ซึง่ ตีพมิ พ์เผยแพร่ ในเดือนกุมภาพันธ์ 1936 นอกจากนีย้ งั ออกหนังสือรวมบทความ


68

Keynes

2 เล่ม ได้แก่ Essays in Persuasion (ความเรียงว่าด้วยการ หว่านล้อม, 1931) และ Essays in Biography (ความเรียงว่าด้วย ชีวประวัติ, 1933) เล่มแรกรวบรวมสิ่งที่เคนส์เรียกในบทน�ำว่า “เสียงกู่ร้อง 12 ปีจากหมอดูตาทิพย์ผู้ไม่เคยช่วยเปลี่ยนแปลง เหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที” ส่วนเล่มหลังโดดเด่นตรงทีเ่ คนส์ใช้ ภาพชีวติ อันแสนสัน้ ของนักวิทยาศาสตร์ เพือ่ ครุน่ คิดและแจกแจง ลักษณะอัจฉริยะทางวิทยาศาสตร์ ในช่วงปี 1931-1932 เคนส์สง่ จดหมายโต้ตอบในประเด็น ทฤษฎีอย่างประปรายแต่เข้มข้นกับฮอว์ทรีย์ (Ralph Hawtrey), โรเบิร์ตสัน และไฮเยก กลุ่มคนที่คอยช่วยเขาอีกแรงคือ “คณะ ละครสั ต ว์ เ คมบริ ด จ์ ” ซึ่ ง เป็ น กลุ ่ ม นั ก เศรษฐศาสตร์ รุ ่ น ใหม่ น�ำโดย ริชาร์ด คาห์น ผู้มอบทฤษฎีตัวทบทวี (multiplier) ให้กับ เคนส์ หลักฐานทีแ่ สดงถึงความคืบหน้าในการเขียน ทฤษฎีทวั่ ไปฯ ปรากฏไม่เฉพาะแต่ใน เส้นทางสู่ความรุ่งเรือง แต่ยังพบเห็นได้ จากร่างแรกๆ ของบทต่างๆ ในหนังสือ บางส่วนของบทบรรยาย และสมุดจดบทบรรยายชุดสมบูรณ์ของนักศึกษาทีเ่ รียนกับเคนส์ ช่วงระหว่างปี 1932-1935 เอ. ซี. กิลพิน (A. C. Gilpin) หนึ่งใน นักศึกษากลุม่ ดังกล่าว บรรยายบรรยากาศมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ปี 1933 ในจดหมายถึงพ่อแม่ไว้ดังต่อไปนี้ การบรรยายวิชาเศรษฐศาสตร์ปนี ดี้ เู หมือนหลักๆ จะเป็นการ แจกแจงหรือไม่อย่างนั้นก็คัดง้างกับทฤษฎีที่เราเรียนไปเมื่อ ปีกลาย โชฟช�ำแหละมาร์แชลล์ เคนส์โจมตีพิกู โรเบิร์ตสัน ไม่เห็นด้วยกับเคนส์ และปล่อยให้คนฟังตัดสินใจเอาเองว่า


A

Very Short Introduction

69

ใครถูก เสร็จแล้วอาจารย์ผู้อุทิศตน โจน โรบินสัน ก็พยายาม อธิบายว่าพวกอาจารย์ทะเลาะกันท�ำไม น่าสนใจดีนะ แต่ก็ เวียนหัวชะมัด

ฤดูร้อนปี 1935 เมื่อ ทฤษฎีทั่วไปฯ อยู่ในขั้นตรวจแก้ ค�ำผิดรอบสุดท้าย รอย แฮร์รอด ก็ให้ข้อเสนอแนะที่ส�ำคัญกับ เคนส์ เคนส์ไม่เคยเป็นคนที่ท�ำอะไรทีละอย่าง นอกจากจะมุ เขี ย นหนั ง สื อ เขายั ง ใช้ เ วลาช่ ว งปี 1934-1935 ไปกั บ การ วางแผนและการก่อสร้างโรงละครศิลปะเคมบริดจ์ เพื่อเติมเต็ม ความฝั น ช่ ว งก่ อ นสงครามที่ จ ะให้ ม หาวิ ท ยาลั ย เคมบริ ด จ์ มี ศูนย์ศิลปะการละครถาวร ในฐานะเหรัญญิกของคิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และ “คหบดีชาวไร่แห่งทิลตัน” เคนส์ถล�ำ เข้าไปท�ำการเกษตรมากขึน้ เรือ่ ยๆ ดังสะท้อนในบทความ 2 ชิน้ ที่ เขาเขียนในปี 1933 ชืน่ ชม “การพึง่ พาตนเองของชาติ” (National Self-Sufficiency) ซึ่งผสมการโจมตีทางศีลธรรมต่อการแบ่งงาน กันท�ำระหว่างประเทศเข้ากับข้อเสนอที่ว่า “กระบวนการผลิต จ�ำนวนมากแบบสมัยใหม่ส่วนใหญ่ท�ำได้ในแทบทุกประเทศและ สภาพภูมอิ ากาศอย่างมีประสิทธิภาพแทบจะทัดเทียมกัน” เคนส์ ไปเยือนสหรัฐอเมริกาอีกสองครั้งในปี 1931 และ 1934 ครั้งหลัง เขาได้พบกับประธานาธิบดีรูสเวลต์และสถาปนิกส่วนใหญ่ที่ ออกแบบชุดนโยบาย “นิวดีล” รวมถึงผู้ที่วิจารณ์มันบางคนด้วย การได้เจอเคนส์ตวั เป็นๆ และการทีข่ อ้ เขียนของเขาส่งอิทธิพลต่อ นโยบาย “นิวดีล” ในระยะแรกถูกประเมินค่าไว้ต�่ำเกินจริง


70

Keynes

ทฤษฎีทั่วไปฯ เปลี่ยนวิธีที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ เข้าใจการท�ำงานของระบบเศรษฐกิจ ในแง่นี้มันเป็นการปฏิวัติ วงการที่ชัดแจ้งและประสบความส�ำเร็จ นอกจากนี้ยังปฏิวัติ การก�ำหนดนโยบายอีกด้วย แม้ไม่ใช่ในทันทีทันใด แต่หลัง สงครามโลกครัง้ ทีส่ องสงบลง รัฐบาลชาติตะวันตกพยายามรักษา อัตราการจ้างงานให้อยู่ในระดับสูง ไม่ว่าจะโดยเปิดเผยหรือท�ำ อย่างเงียบๆ ทฤษฎีทั่วไปฯ เป็นการส�ำรวจอย่างลึกซึ้งถึงตรรกะ แห่งพฤติกรรมทางเศรษฐกิจภายใต้ความไม่แน่นอน ผสมแบบจ�ำลอง คาดการณ์รายได้ในระยะสั้น โดยเน้นไปที่การปรับปริมาณ ไม่ใช่ ระดับราคา สายธารความคิดทั้งสองสายซึ่งผูกโยงกันหลวมๆ นี้ ก่อให้เกิดการถกเถียงอย่างกว้างขวางต่อมาว่า “ความหมายที่ แท้จริง” ของ ทฤษฎีทวั่ ไปฯ คืออะไร อันเป็นการถกเถียงระหว่าง ค่ายที่ อลัน คอดดิงตัน (Alan Coddington) เรียกว่า “ส�ำนักเคนส์ สายรากฐานนิยม” (fundamentalist Keynesians) กับ “ส�ำนัก เคนส์สายไฮดรอลิก” (hydraulic Keynesians มองเงินในระบบ คล้ายน�้ำที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ - ผู้แปล) เหตุที่ผู้ก�ำหนด นโยบายยอมรับเศรษฐศาสตร์ส�ำนักเคนส์มาจากแบบจ�ำลอง คาดการณ์รายได้ซึ่งอิงจากทฤษฎีตัวทบทวี ประกอบกับการ พัฒนาระบบสถิติรายได้ประชาชาติซึ่งเป็นผลพวงจากทฤษฎีนี้ เพราะผู ้ ก�ำหนดนโยบายมองว่ า มั น เสนอวิ ธี ที่ รั ด กุ ม ในการ พยากรณ์และควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวแปร “ที่แท้จริง” อย่างการลงทุน การบริโภค และการจ้างงาน ความพยายามครัง้ แรกทีเ่ คนส์ประยุกต์ใช้ ทฤษฎีทวั่ ไปฯ เข้ากับการก�ำหนดนโยบายปรากฏอยูใ่ นบทความ 3 ชิน้ ทีเ่ ขาเขียน


A

Very Short Introduction

71

ลงหนังสือพิมพ์ The Times (เดอะไทมส์) ในเดือนมกราคม 1937 เรื่อง “How to Avoid a Slump” (วิธีหลีกเลี่ยงภาวะซบเซา) เขา ประเมินอย่างระมัดระวังว่า เป็นไปได้ทจี่ ะลดอัตราการว่างงานลง จากร้อยละ 12 ในสมัยนัน้ ด้วยการอัดฉีด “อุปสงค์มวลรวมเพิม่ เติม” เข้ า ไปในระบบเศรษฐกิ จ เคนส์ ไ ม่ เ คยมี สุ ข ภาพดี ในเดื อ น พฤษภาคม 1937 ขณะอายุได้ 53 ปี เขาป่วยเป็นโรคหลอดเลือด หัวใจอุดตัน จากนัน้ จึงค่อยๆ ฟืน้ ตัวขึน้ เมือ่ สงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ปะทุในวันที่ 3 กันยายน 1939 อายุรแพทย์ชาวฮังการี ยาโนช เพลช (János Plesch) ก็รักษาเคนส์ให้กลับมามีชีวิตชีวาคล้ายเดิม หลังจาก ทฤษฎีทั่วไปฯ ได้รับการตีพิมพ์ เคนส์กลาย เป็นผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดต่อการก�ำหนดนโยบายเศรษฐกิจของ อังกฤษ เขาท�ำแบบนี้ได้ด้วยพลังของมันสมองและบุคลิกภาพ มิใช่ต�ำแหน่งทางการเมือง ถึงแม้จะได้รับข้อเสนอมากมาย แต่ เคนส์ก็ไม่เคยทนกับรัฐสภาได้ ในเดือนมิถุนายน 1940 เขา ได้รับแต่งตั้งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการที่ปรึกษาซึ่งจัดตั้งขึ้นมา เพื่อให้ค�ำแนะน�ำแก่รัฐมนตรีคลังเรื่องปัญหาที่เกี่ยวกับสงคราม ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน เคนส์ได้ห้องท�ำงานในกระทรวง การคลังและเลขานุการพาร์ตไทม์สว่ นตัว เขา “ไม่มหี น้าทีป่ ระจ�ำ และไม่มตี ารางเข้าออกงาน...แต่โฉบไปมาอย่างมือปืนรับจ้างและ เป็นสมาชิกของคณะกรรมการระดับสูงหลายแห่ง ซึ่งท�ำให้ผม สามารถเสนอหน้าเข้าไปในทุกที่ที่ผมคิดว่ามีอะไรจะพูด” เคนส์ ใช้ ต�ำแหน่ ง ผิ ด ธรรมดาของเขาแทรกแซงธุ ร ะทางเศรษฐกิ จ ทั้งเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ หลายครั้งที่เสียงของเขาเป็นเสียงชี้ขาด เขากลายเป็นข้าราชการทรงอ�ำนาจที่สุดที่ระบบราชการอังกฤษ


72

Keynes

เคยรู้จัก “ไม่ใคร่เป็น ‘ข้า’ ราชการ เท่ากับที่เป็น ‘นาย’ ราชการ” การได้ยศขุนนางเป็นบารอนเคนส์แห่งทิลตันในปี 1942 ท�ำให้เคนส์ มีโอกาสเข้าร่วมรัฐบาล แต่ไม่มีใครเคยเสนอเขา บางทีอาจเป็น เพราะเขาท�ำประโยชน์ล้นเหลือแล้วในจุดที่เขาอยู่ อย่างไรก็ตาม ยศนีท้ �ำให้เคนส์ได้เป็นผูแ้ ทนรัฐบาลในภารกิจส�ำคัญๆ หลายครัง้ ที่สหรัฐอเมริกา ครั้งสุดท้ายเขาเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนอังกฤษ ร่วม (กับลอร์ดฮาลิแฟกซ์) ไปเยือนกรุงวอชิงตันในเดือนกันยายน 1945 เพื่อต่อรองเงื่อนไขเงินกู้ของอเมริกา งานบริการสาธารณะทีส่ �ำคัญทีส่ ดุ ของเคนส์ในช่วงท้าย ชีวิตคือการช่วยวางรากฐานทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ ให้แก่ทุนนิยมใต้การจัดการ (managed capitalism) ซึ่งเป็น หลักหมายในทฤษฎีของเขา เราสมควรกล่าวถึงการมีส่วนร่วม ของเคนส์ 3 เรือ่ งในด้านการบริหารจัดการรัฐหลังสงคราม ณ ทีน่ ี้ เป็นพิเศษ เรือ่ งแรกเกิดในบริบทของการเงินช่วงสงคราม นัยส�ำคัญ ประการหนึ่งจากทฤษฎีส�ำนักเคนส์คือ รัฐควรใช้งบประมาณ เพื่อรักษาดุลบัญชีต่างๆ ของชาติ ไม่ใช่บัญชีของรัฐบาลเอง อย่างเดียว เพื่อสร้างหลักประกันว่าอุปทานมวลรวมจะเท่ากับ อุปสงค์มวลรวม ณ จุดทีม่ กี ารจ้างงานเต็มอัตรา ในภาวะสงคราม ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การจ้างงานเต็มพิกัดซึ่งเกิดขึ้นแล้วในปี 1940 แต่อยู่ที่การป้องกันเงินเฟ้อ นั่นคือภาวะที่อุปสงค์รวมขยายตัว เร็วกว่าอุปทานรวม หน้าทีเ่ ฉพาะของการเงินช่วงสงครามคือการ ท�ำให้มั่นใจว่ารัฐจะเป็นผู้ใช้จ่ายอุปสงค์ส่วนเพิ่มที่เกิดจากการ จ้างงานเต็มพิกดั ไม่ใช่ผบู้ ริโภคเอกชน ในบทความ 3 ชิน้ ทีเ่ ขียนลง


A

Very Short Introduction

73

เดอะไทมส์ เดือนตุลาคม 1939 และเผยแพร่ซ�้ำเป็นจุลสารชื่อ How to Pay for the War (วิธจี า่ ยค่าท�ำสงคราม) เคนส์เสนอแผน เงินออมภาคบังคับหรือ “ทดไว้จา่ ยวันหลัง” (deferred pay) โดยให้ ดูดซับก�ำลังซื้อส่วนเกินด้วยภาษีเงินได้อัตราก้าวหน้าที่เก็บจาก เงินได้ทงั้ หมด (และชดเชยให้คนยากจนในรูปเบีย้ เลีย้ งครอบครัว) ส่วนหนึง่ ให้รฐั ทยอยจ่ายคืนเป็นงวดๆ หลังสงครามสงบ เพือ่ รับมือ กั บ ภาวะเศรษฐกิ จ ถดถอยหลั ง สงครามที่ ค าดการณ์ ไ ว้ ว ่ า จะ เกิดขึน้ ถึงแม้วา่ รัฐบาลอังกฤษจะน�ำข้อเสนอนีไ้ ปใช้เพียงบางส่วน แต่แนวทางการวิเคราะห์ของเคนส์ประกอบกับประมาณการ รายได้ประชาชาติ ซึง่ เคนส์ใช้ค�ำนวณขนาดของ “ช่วงห่างเงินเฟ้อ” (inflationary gap) ก็ ก ลายเป็ น รากฐานให้ แ ก่ ก ลยุ ท ธ์ เ ชิ ง งบประมาณของอังกฤษตลอดทั้งสงคราม เริ่มตั้งแต่งบประมาณ สมัย คิงสลีย์ วูด (Kingsley Wood รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการคลัง ในสมั ย นั้ น - ผู ้ แ ปล) ในปี 1941 แต่ ค วามส�ำคั ญ ของชุ ด ข้อเสนอดังกล่าวไปไกลกว่านั้นมาก ในปี 1939 เคนส์ข้องใจว่า “ประชาธิปไตยแบบทุนนิยม” จะยอมท�ำ “การทดลองครั้งใหญ่” เพือ่ พิสจู น์ทฤษฎีของเขาหรือไม่ ในช่วงสงครามรัฐยอมทดลองจริง และชัดว่าทฤษฎีของเขาใช้การได้ เศรษฐกิจเดินหน้าเต็มสูบโดยที่ มีภาวะเงินเฟ้อเพียงปานกลาง และสิ่งที่ท�ำได้ในช่วงสงคราม ย่อมท�ำได้ในช่วงสันติเช่นกัน หรืออย่างน้อยก็ดูเหมือนอย่างนั้น วี ร กรรมส�ำคั ญ ที่ มี ส ่ ว นช่ ว ยสร้ า งระเบี ย บโลกหลั ง สงครามเรือ่ งทีส่ องคือการมีสว่ นร่วมสถาปนาระบบเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods) อันเป็นกิจตกค้างมาจากระเบียบโลกเก่าที่ยัง สะสางไม่เสร็จ กระทัง่ ใน งานนิพนธ์สนั้ ว่าด้วยการปฏิรปู นโยบาย


74

Keynes

การเงิน ก็ชัดเจนว่าเคนส์ไม่นิยมระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบ ลอยตัว เขาอยากใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยน “ภายใต้การจัดการ” ซึ่งสอดคล้องกับการมีอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพเป็นระยะ เวลานาน โดยพฤตินัย แผนสหภาพหักบัญชี (Clearing Union Plan) อันโด่งดัง ของเคนส์ในปี 1942 เชื่อมโยงสกุลเงินของชาติต่างๆ เข้ากับ สินทรัพย์ส�ำรองชนิดใหม่ชอื่ “บังคอร์” (bancor) โดยประเทศเกินดุล จะสะสมยอด “บังคอร์” ในบัญชีของธนาคารสหภาพหักบัญชี ธนาคารจะให้ ป ระเทศขาดดุ ล ทั้ ง หลายกู ้ เ งิ น เบิ ก เกิ น บั ญ ชี (overdraft) ได้ แต่ยอดเบิกเกินรวมจะต้องไม่มากกว่ายอดเกินดุล ทั้ ง หมด ระบบนี้ อ อกแบบมาเพื่ อ ลดแรงจู ง ใจที่ ป ระเทศใด ประเทศหนึง่ จะด�ำเนินนโยบายเกินดุลการช�ำระเงินอย่างไม่สนิ้ สุด เพราะถ้ า หากยั ง ท�ำแบบนี้ ประเทศลู ก หนี้ จ ะสามารถกู ้ เ งิ น จากยอดบั ง คอร์ ใ นบั ญ ชี ข องประเทศเจ้ า หนี้ ไ ด้ โ ดยอั ต โนมั ติ ถึ ง แม้ ว ่ า แผนนี้ ข องเคนส์ จ ะพ่ า ยแผนทางเลื อ กของ แฮร์ รี เด็กซ์เตอร์ ไวต์ (Harry Dexter White) ผู้เสนอแผนมาตรฐาน ปริวรรตทองค�ำโดยมีแหล่งเงินกู้ “ปรับสมดุล” ขนาดย่อมรองรับ (นั่นคือไอเอ็มเอฟ) เคนส์ก็ยังดั้นด้นท�ำงานไม่รู้เหนื่อยเพื่อให้ ข้อตกลงเบรตตันวูดส์ (ซึ่งร่างขึ้นตามแผนของไวต์ - ผู้แปล) บรรลุผล และเพื่อระดมเสียงสนับสนุนแผนนี้ในอังกฤษ ด้วยการ เจรจามาราธอนกับสหรัฐอเมริกา 2 ครั้งในปี 1943 และ 1944 บทบาททั้งหมดของเคนส์ในเรื่องนี้เป็นสิ่งชี้ขาดในการดึงให้ อังกฤษ (และยุโรป) ไปอยู่ฝั่งเสรีนิยมในระเบียบเศรษฐกิจโลก หลังสงคราม


A

Very Short Introduction

75

การแสดงความเป็นรัฐบุรษุ เรือ่ งทีส่ ามของเคนส์คอื การ เจรจาต่อรองเงินกู้จากอเมริกาช่วงเดือนกันยายนถึงธันวาคม 1945 เขาประเมินว่าอังกฤษจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดรวมเกือบ 7 พันล้านเหรียญสหรัฐตลอด 3 ปีแรกหลังสงคราม เขาเดินทาง ไปกรุงวอชิงตันในเดือนกันยายน 1945 เพือ่ ขอเงินให้เปล่า 5 พัน ล้านเหรียญสหรัฐ “โดยปราศจากเงือ่ นไข” หลังเกิดการโต้เถียงอัน โด่งดังหลายครัง้ ในอีก 3 เดือนให้หลังเขากลับอังกฤษพร้อมเงินกู้ 3.75 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้เงื่อนไขผูกมัดที่ต้องท�ำให้ เงินปอนด์ของอังกฤษแลกเป็นเงินสกุลอื่นได้ภายในเวลา 1 ปี หลังจากให้สัตยาบันในข้อตกลงเงินกู้ ประสบการณ์ครั้งนั้น น่าจะเป็นความอัปยศอดสูที่สุดในชีวิตของเคนส์ ส�ำหรับคนที่ เริม่ ต้นจากการเป็นหนึง่ ในผูน้ �ำจักรวรรดิโลก การต้องซมซานไป ขอเงินจากสหรัฐอเมริกาถือเป็นยาที่ขมยิ่ง แต่เคนส์ยังฝืนกลืน ลงไป และหว่านล้อมให้รฐั บาลใหม่จากพรรคแรงงานยอมกลืนมัน ลงไปด้วย เพราะดังทีเ่ ขาบอกกับลอร์ดฮาลิแฟกซ์วา่ ทางเลือกอืน่ คือวิถีของ “นาซีหรือคอมมิวนิสต์” เคนส์กล่าวปาฐกถาปกป้อง ข้อตกลงครั้งนี้อย่างกินใจในสภาสูง เคนส์ไม่เคยฟื้นตัวจากความตึงเครียดช่วงการเจรจา เงิ น กู ้ ไ ด้ อ ย่ า งสมบู ร ณ์ เขาเดิ น ทางไปเยื อ นอเมริ ก าอี ก ครั้ ง ในเดือนมีนาคม 1946 คราวนี้ไปยังเมืองซาวันนาห์เพื่อร่วมพิธี เปิดกองทุนการเงินระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ งานนี้ เป็นอีกครั้งที่เขาทุ่มเถียงกับคนอเมริกันว่าควรจัดการกองทุนนี้ อย่างไร และอีกเช่นเคยทีเ่ ขาไปท�ำธุระอืน่ ด้วย ในช่วงสงครามโลก ครัง้ ทีส่ อง นอกเหนือจากหน้าทีใ่ นกระทรวงการคลัง เคนส์ยงั เป็น


76

Keynes

ประธานสภาส่งเสริมดนตรีและศิลปะอีกด้วย ในปี 1945 เขาได้รบั แต่งตัง้ เป็นประธานสภาศิลปะคนแรก เขาแวะนิวยอร์กขากลับจาก ซาวั น นาห์ เ พื่ อ เตรี ย มการให้ ค ณะบั ล เลต์ อ เมริ กั น มาแสดง ในโคเวนต์การ์เดน กรุงลอนดอน หลังจากที่เขารับชมการแสดง เรื่อง เจ้าหญิงนิทรา ในงานกาลาเปิดโรงละครแห่งนั้นรอบใหม่ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1946 สองเดือนถัดจากนั้นเคนส์ก็ถึง แก่กรรมในวันที่ 21 เมษายน 1946 ด้วยอาการหลอดเลือด หัวใจอุดตันเฉียบพลัน รัฐจัดงานศพอลังการให้กับเขา ณ วิหาร เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ แต่เคนส์ก็ได้เลือกค�ำจารึกบนหลุมศพ ตัวเองนานก่อนหน้านั้นหลายปีแล้ว ตั้งแต่สมัยที่เขายังเป็น นั ก เรี ย นมั ธ ยมที่ อี ตั น โดยยกความตอนหนึ่ ง จากหนั ง สื อ De Contemptu Mundi (โลกอันน่าชิงชัง) โดยบาทหลวงเบอร์นาร์ด แห่งคลูนี (Bernard of Cluny พระในคณะนิกายเบเนดิกต์สมัย ศตวรรษที่ 12 - ผู้แปล) ดังต่อไปนี้ มิได้มีเพียง ผู้กุมเสียงสะท้อนแห่งสรวงสวรรค์ เท่านั้นที่มีเกียรติ – จริงอยู่, เขาเหล่านั้นได้พร ไม่ว่าโลกจะสงวนสิ่งใด – หากแต่ผู้ได้ยิน เสียงแว่วแผ่วเบา แม้ปวงชนจะหนวกใบ้ แลเห็นแพรพรรณขาวของทวยเทพบนเนินเขา ซึ่งปวงชนไม่อาจเห็น พวกเขาเหล่านั้นแม้ไม่เคย ได้รับเสียงแซ่ซ้องวิสัยทัศน์กว้างไกล พวกเขาก็ได้รับพร หาใช่ผู้น่าเวทนา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.