กฎหมาย: ความรู้ฉบับพกพา

Page 1

8

Law

คำ�นำ�ผู้แปล

.

หากจะกล่าวถึงสังคมไทยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมานี้ ผู้แปลได้ มองเห็นและประสบความเปลี่ยนแปลงของสังคมนี้อย่างขนาน ใหญ่ด้วยตนเอง (และพร้อมๆ กับเพื่อนร่วมชาติคนอื่นๆ) โดย หากหยิบภาพที่เห็นในปัจจุบันและในอดีตที่ตนเคยคุ้นเคยมา เปรียบเทียบกัน ก็แทบจะกล่าวได้ว่า ช่วงเวลาวัยเด็กของผู้แปล นั้นช่างแตกต่างกับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมากทีเดียว โดยเฉพาะถ้าจะกล่าวถึงการขยายตัวทางวัตถุในเมืองหลวงของ ประเทศ รวมไปถึงผลกระทบอย่างกว้างขวางที่มีต่อพื้นที่ส่วน อื่นๆ ในต่างจังหวัดด้วยแล้ว ผู้แปลเห็นว่า สังคมไทยได้กลาย สภาพจากสังคมกึ่งชนบท (ราว 30 ปีก่อน) เข้าสู่วิถีสังคมเมือง ของชนชั้นกลางอย่างแท้จริงในแทบทุกพื้นที่ของประเทศ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นี้เอง ที่เราค่อยๆ มองเห็นความสลับซับซ้อนของความสัมพันธ์


A

Very Short Introduction

9

ในสั ง คมแทบทุ ก ด้ า นที่ เ ริ่ ม ก่ อ ตั ว ขึ้ น เมื่ อ หลายสิ บ ปี ก่ อ นและ สั่งสมกันมากเข้า จนความเปลี่ยนแปลงในด้านปริมาณกำ�ลัง ทอดไปสูค่ วามเปลีย่ นแปลงในเชิงคุณภาพอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ ตัวอย่างเล็กๆ ตัวอย่างหนึ่งในความเห็นของผู้แปล เช่น การ ขยายตัวของร้านสะดวกซื้อที่ซอกซอนเข้าไปแทบทุกมุมเมือง ในต่างจังหวัด คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า แม้เบื้องหน้าจะเป็นเพียง การขยายพื้นที่แสวงหากำ�ไรทางธุรกิจของเอกชนให้กว้างขวาง ยิ่งขึ้น แต่เบื้องหลังนั้นก็ยังได้นำ�เอาวิถีการบริโภคแบบชนชั้น กลางในเมืองเข้าไปเผยแพร่ให้กับวิถีชีวิตของคนในต่างจังหวัด ด้วย นี่ยังไม่นับรวมแนวโน้มการขยายห้างสรรพสินค้าขนาด ใหญ่ไปสูห่ ลายจังหวัดทีเ่ ริม่ เห็นได้มากขึน้ เรือ่ ยๆ ซึง่ จะยิง่ เข้ามา มีสว่ นในการเปลีย่ นแปลงพฤติกรรมการบริโภคและการพักผ่อน หย่อนใจจนเห็นได้ชัดเจนขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ปัญหาก็คือว่า ความสลับซับซ้อนในด้านความสัมพันธ์ ของคนในสังคมที่ยิ่งทวีขึ้นเหล่านี้จะส่งผลอย่างไรบ้างในทาง กฎหมาย แน่นอนว่า แบบแผนความประพฤติที่เป็นทางการซึ่ง เรียกว่า ‘กฎหมาย’ คงไม่จำ�เป็นสำ�หรับคนอย่างโรบินสัน ครูโซ ตราบใดที่ยังอยู่เดียวดายบนเกาะ แต่สำ�หรับสังคมคนหมู่มาก และระบบความสั ม พั น ธ์ ใ นสั ง คมที่ เ ปลี่ ย นแปลงไปจากเดิ ม อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาไม่ถึงครึ่งศตวรรษ กฎหมายจำ� ต้องพัฒนาเพื่อตอบสนองความจำ�เป็นที่จะถูกใช้เป็นเครื่องมือ ที่ สำ � คั ญ เพื่ อ จั ด ระเบี ย บความสั ม พั น ธ์ ทั้ ง ในแง่ ค วามสั ม พั น ธ์ ระหว่ า งเอกชนต่ อ เอกชน (กฎหมายแพ่ ง ) และในแง่ ค วาม


10

Law

สัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมือง (กฎหมายมหาชน) อย่างไม่อาจ ปฏิเสธได้ ดังนั้น จึงไม่เป็นที่น่าประหลาดใจว่า เหตุใดในช่วง 15-20 ปีที่ผ่านมา กฎหมายบางสาขาได้ปรากฏความสำ�คัญ ขึ้นอย่างชัดเจนในสังคมไทย เช่น สาขากฎหมายมหาชน ไม่ ว่าจะเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมาย การคลัง รวมไปถึงกฎหมายสังคมในเรื่องต่างๆ นั่นย่อมแสดง ให้เห็นว่า สังคมไทยกำ�ลังเรียกร้องความชัดเจนแน่นอนและ เป็นธรรมในการจัดระเบียบการปกครองบริหารรัฐท่ามกลาง ความเปลี่ ย นแปลงที่ เ กิ ด ขึ้ น หรื อ แม้ ก ระทั่ ง ในทางแพ่ ง (ที่ หลายคนเชื่ อ ว่ า เป็ น สาขากฎหมายที่ ไ ด้ ต กผลึ ก หรื อ ลงหลั ก ปักฐานจนไม่เห็นว่าจะหลงเหลือปัญหาใดๆ ให้ค้นคว้าศึกษากัน อีกแล้ว) เนื่องจากหลายเรื่องหลายประเด็น รัฐค่อยๆ ใช้อำ�นาจ ตามกฎหมายเข้าแทรกแซงและกำ�กับดูแลจนแยกแยะได้ยาก ขึ้นว่าส่วนใดเป็นการคุ้มครองประโยชน์เอกชนโดยเฉพาะหรือ ส่วนใดเป็นการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ทั้งนี้ก็เนื่องจาก ขอบเขตความพั น ธ์ ที่ เ คยแบ่ ง แยกกั น อย่ า งชั ด เจนระหว่ า ง ประโยชน์เอกชนและมหาชนกำ�ลังลดความสำ�คัญลงทุกขณะ และกลับจะประสานเข้าด้วยกันยิ่งกว่าที่เคยเป็นมาในกาลก่อน กฎหมาย: ความรู้ ฉ บั บ พกพา อั น เป็ น ผลงานของ ศาสตราจารย์ เรย์มอนด์ แวคส์ เล่มนี้ ผู้แปลทึ่งในความชัดเจน และการอธิบายความโดยย่อแม้ในเรื่องที่นักกฎหมายหลายคน เห็นว่าเป็นประเด็นทางกฎหมายที่จะอธิบายแบบย่อๆ นั้นไม่ได้ เลย (ซึ่งผู้เขียนก็ตระหนักในปัญหานี้เป็นอย่างดีดังจะเห็นใน คำ�นำ�ตอนต้นของผู้เขียนเอง) แต่ผู้เขียนก็สามารถกระทำ �ได้


A

Very Short Introduction

11

โดยไม่ทิ้งประเด็นอันเป็นแก่นของเรื่องแต่อย่างใด นอกจากนี้ ผู้เขียนยังพยายามอธิบายและชวนคิดในหลายประเด็นที่รวม ไปถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกฎหมายอันเป็นประโยชน์ กับสภาพสังคมในปัจจุบนั ด้วย แม้ผอู้ า่ นบางท่านอาจจะท้วงติงว่า ผูเ้ ขียนเป็นนักกฎหมายชาวตะวันตก อีกทัง้ ประสบการณ์ทนี่ �ำ มา ถ่ายทอดก็เป็นหลักการและความรูแ้ บบตะวันตกจะเป็นประโยชน์ อย่างไรกันสำ�หรับผู้อ่านที่เป็นคนไทย แต่ผู้แปลกลับเห็นว่า หากเราขบคิดและไตร่ตรองอย่างลึกซึง้ จากสภาพของสังคมไทย ของเราเองจนสามารถตระหนักได้ถึงมิติอันทะลุทะลวงม่านแห่ง จารีตซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสังคมไทยไปสู่ฐานะความเป็น มนุษย์และสมาชิกของสังคมของเราทุกคนซึง่ เป็นลักษณะร่วมกัน ของมนุษย์ไม่วา่ ชาติใดภาษาใดได้แล้ว ความเป็นตะวันตกหรือไม่ ก็คงมิใช่เป็นประเด็นสาระสำ�คัญอีกต่อไป เพราะระบบกฎหมาย ไม่วา่ ณ ทีแ่ ห่งใดในโลกก็ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึง่ ในประสบการณ์ อันทรงคุณค่าของมนุษยชาติเช่นกัน แม้ผเู้ ขียนจะออกตัวว่าเป็นนักกฎหมายทีผ่ า่ นการฝึกฝน อบรมตามแบบธรรมเนียมคอมมอนลอว์และต้องมาพรรณาความ ระบบกฎหมายของโลกโดยภาพรวมซึ่งมีอยู่หลายระบบก็ตาม แต่ ง านชิ้ น นี้ ก็ ต อกยํ้ า ความเห็ น ของผู้ แ ปลประการหนึ่ ง ก็ คื อ ไม่ว่าระบบกฎหมายใหญ่ 2 ระบบ (ระบบซีวิลลอว์และระบบ คอมมอนลอว์) จะแตกต่างกันในภาพลักษณ์ภายนอกสักเพียง ใด แต่แก่นสาระสำ�คัญของระบบกฎหมายทุกระบบก็ยังคงได้แก่ ความเป็นระบบของเหตุผลที่ถูกต้องและเป็นธรรมอยู่นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ความแตกต่างของภาพลักษณ์จึงจัดได้ว่าเป็นเพียง


12

Law

สีสนั แต่งเติมความมีชวี ติ ชีวาอันงดงามของกฎหมายแต่ละระบบ เท่านั้น ผู้แปลขอขอบคุณ อาจารย์ปกป้อง จันวิทย์ เป็นอย่าง มาก รวมทั้ ง คณะทำ � งานฝ่ า ยบรรณาธิ ก ารของสำ � นั ก พิ ม พ์ ทุ ก ท่ า นที่ ใ ห้ โ อกาสแก่ ผู้ แ ปลในการแปลและทำ � งานร่ ว มกั น หากผู้อ่านจะได้รับประโยชน์ใดๆ จากหนังสือเล่มนี้แล้ว นี่คือ คุณูปการของสำ�นักพิมพ์ openworlds อันควรแก่การชื่นชม ด้ ว ยความปรารถนาที่ มุ่ ง ผลิ ต หนั ง สื อ คุ ณ ภาพอั น เป็ น ความ ประสงค์ ข องสำ � นั ก พิ ม พ์ แ ห่ ง นี้ ความผิ ด พลาดคลาดเคลื่ อ น ใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการแปล ผู้แปลขอน้อมรับและถือเป็นความ รับผิดชอบของผู้แปลแต่เพียงผู้เดียว

ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล กุมภาพันธ์ 2555



14

Law

คำ�นำ�ผู้เขียน

.

คงเป็นการยาก ที่จะเห็นคำ�ว่า “กฎหมาย” และคำ�ว่า “สั้น กะทัดรัด” ปรากฏอยู่ในประโยคเดียวกันได้ เป็นที่ทราบกันว่า กฎหมายมีลักษณะพรรณาเนื้อหาอย่างสลับซับซ้อนและเข้าใจ ยาก นีย่ อ่ มแสดงว่าความพยายามใดๆ ก็ตามทีจ่ ะอธิบายกฎหมาย ให้สั้นกะทัดรัด แม้แต่เนื้อหาส่วนที่เป็นพื้นฐานที่สุด ถ้าไม่ใช่ ความพยายามอันเลื่อนลอยเกินไป ก็คงเป็นชิ้นงานในอุดมคติ ทีเดียว แต่หนังสือเล่มนี้ก็คืองานชิ้นที่ไม่น่าจะลุล่วงลงได้ซึ่ง ผู้เขียนจะพยายามอธิบายในหน้าต่อๆ ไป เพื่อชี้ให้เห็นสาระ สำ�คัญในปรากฏการณ์อนั สลับซับซ้อนของกฎหมาย ไม่วา่ จะเป็น รากเหง้าของกฎหมาย การจำ�แนกประเภท วัตถุประสงค์ การใช้ กฎหมายในทางปฏิบัติ สถาบันที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย และอนาคต ข้ า งหน้ า ของกฎหมายเอง ผู้ เ ขี ย นประสงค์ จ ะนำ � เสนอสาระ พื้ น ฐานที่ สำ � คั ญ ต่ า งๆ ของกฎหมาย รวมทั้ ง บรรดาระบบ


A

Very Short Introduction

15

กฎหมายทีม่ อี ยูใ่ ห้แก่ผอู้ า่ นทัว่ ไปได้ทราบ ซึง่ รวมถึงผูท้ เี่ ริม่ สนใจ ในกฎหมายและนักศึกษาผู้เริ่มศึกษาวิชากฎหมาย รัฐศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์สาขาอื่นๆ ด้วย โดยผู้เขียนพยายามเลี่ยง การใช้ถ้อยคำ�ทางเทคนิคให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำ�ได้ ผู้เขียน หวั ง ว่ า หนั ง สื อ เล่ ม เล็ ก เล่ ม นี้ จ ะช่ ว ยกระตุ้ น ความสนใจใคร่ รู้ เกี่ ย วกั บ ธรรมชาติ ข องกฎหมายซึ่ ง น่ า สนใจอยู่ ใ นตั ว มั น เอง อีกทั้งช่วยสนับสนุนการขบคิดไตร่ตรองในเรื่องนี้ให้กว้างขวาง ออกไป และส่งเสริมการค้นคว้าทำ�ความเข้าใจในภารกิจอัน สำ�คัญยิ่งที่กฎหมายนั้นมีต่อชีวิตของพวกเรา ส่วนผู้ที่ต้องการ สืบค้นทำ�ความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ทางกฎหมายให้ลึกซึ้ง ยิ่งขึ้นสามารถดูงานเขียนเพิ่มเติมได้ในบรรณานุกรม ในทำ�นอง เดียวกัน แหล่งค้นคว้าออนไลน์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและ มีมาตรฐานชั้นเยี่ยมก็มีอยู่เป็นจำ�นวนมาก ในบทที่ 6 จะได้ แนะนำ�เว็บไซต์ชั้นแนวหน้าไว้บางส่วนด้วย ควรกล่าวด้วยว่า แม้หนังสือเล่มนี้จะเน้นเนื้อหาสาระ เฉพาะระบบกฎหมายทีใ่ ช้อยูใ่ นโลกตะวันตก (ระบบคอมมอนลอว์ และระบบซีวลิ ลอว์) แต่ผเู้ ขียนยังได้กล่าวถึงระบบกฎหมายอืน่ ๆ ไว้ด้วยเช่นกัน แม้จะไม่มากนัก เช่น กฎหมายอิสลาม กฎหมาย จารีตประเพณี และกฎหมายผสมบางระบบ ทั้งนี้เพราะเหตุว่า ความมุ่งหมายของผู้เขียนคือ การเสนอบทนำ�เข้าสู่ “กฎหมาย” ในความหมายที่กว้างที่สุด อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนต้องยอมรับว่า ตนเองคุ้นเคยกับคอมมอนลอว์เป็นพิเศษ ความโน้มเอียงส่วน บุคคลของผู้เขียน – หากจะต้องเรียกเช่นนี้ – ก็น่าจะให้เหตุผล สนับสนุนได้ในแง่ที่ว่าผู้เขียนได้พิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลง


16

Law

ซึ่งเริ่มเห็นได้ชัดเจนของกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลกระทบ ต่อพัฒนาการของคอมมอนลอว์ในประเด็นต่างๆ แต่นั่นก็อาจ เป็นเพียงการกล่าวให้ดูดีมีเหตุผลเกินไปก็ได้ คำ�อธิบายที่ตรง ประเด็นกว่านีค้ อื ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทีใ่ ช้ในการเขียนหนังสือ เล่ ม นี้ โ ดยผู้ เ ขี ย นซึ่ ง ใช้ ชี วิ ต การทำ � งานส่ ว นใหญ่ อ ยู่ ใ นระบบ คอมมอนลอว์ ข้อจำ�กัดด้านการใช้ภาษาต่างประเทศภาษาอื่นๆ ของผูเ้ ขียนย่อมแสดงอยูแ่ ล้วว่าแหล่งข้อมูลทัง้ หมดมาจากภาษา อังกฤษ รวมทั้งข้อมูลทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่นที่มิใช่ คอมมอนลอว์ด้วย แม้จะมีข้อจำ�กัดข้างต้น ผู้เขียนพยายามที่จะ ลดทอนความเข้าใจเบือ้ งต้นว่าด้วยกฎหมายในประเด็นปลีกย่อย ต่างๆ อันอาจเกิดจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองซึ่งก็มักจะ แตกต่ า งกั น ออกไปในแต่ ล ะครั้ ง ผู้ เ ขี ย นได้ รั บ การศึ ก ษา และสอนกฎหมายทั้ ง ในประเทศที่ มี ร ะบบกฎหมายผสม (แอฟริกาใต้) ในประเทศที่ใช้คอมมอนลอว์สองแห่ง (อังกฤษ และฮ่องกง) และปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ในประเทศซีวิลลอว์ (อิตาลี) การท่องไปในระบบกฎหมายที่แตกต่างกันเช่นนี้ คงจะเป็นเหตุ ที่มีนํ้าหนักเพียงพอกระมังที่จะช่วยให้ผู้เขียนขจัดอคติใดๆ ที่ อาจเป็นความบกพร่องในการนำ�เสนอเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ได้ เป็นการบังเอิญว่า 2 ประเทศทีอ่ า้ งถึงข้างต้นมีเหตุผลที่ ควรสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากในทศวรรษ 1990 ทั้งสองประเทศ ได้ เ ผชิ ญ กั บ ความเปลี่ ย นแปลงขนานใหญ่ ซึ่ ง รวมไปถึ ง การ เปลี่ยนแปลงเชิงลึกในทางกฎหมายด้วย ในปี 1992 โครงสร้าง กฎหมายที่รองรับนโยบายแบ่งแยกสีผิวถูกยกเลิก และ 2 ปี ต่ อ มา นายเนลสั น แมนเดลลา ได้ รั บ การเลื อ กตั้ ง เป็ น


A

Very Short Introduction

17

ประธานาธิบดีของประเทศแอฟริกาใต้ใน “โฉมหน้าใหม่” พร้อมๆ กับการมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตย ปฏิญญาว่าด้วยการ ประกันสิทธิในเรื่องต่างๆ และศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนในปี 1997 ฮ่องกงกลับคืนมาเป็นของจีน และเหนืออื่นใด การเปลี่ยนจาก สถานะอาณานิคมของอังกฤษไปสู่การเป็นเขตปกครองพิเศษ ของจีนย่อมเป็นประเด็นทางกฎหมาย นีค่ อื รูปแบบและโครงสร้าง อันไม่นา่ เชือ่ ว่าจะเกิดขึน้ ได้ ดินแดนทุนนิยมภายใต้การปกครอง ของรัฐสังคมนิยมนี้ได้รับการรับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ของฮ่องกงซึง่ ถือเป็นกฎหมายพืน้ ฐานและยังได้รบั รองให้ใช้ระบบ กฎหมายคอมมอนลอว์ต่อไปได้อีกด้วย หากทัง้ สองเหตุการณ์ทนี่ า่ ตืน่ เต้นนีอ้ าจให้บทเรียนอะไร ได้บา้ ง ก็คงจะเป็นความจริงทีย่ อมรับกันอยูว่ า่ กฎหมายเป็นกลไก ที่มีข้อบกพร่องแต่ก็มีความสำ�คัญในอันที่จะธำ�รงไว้และกำ�กับ ความเปลีย่ นแปลงของสังคมไปพร้อมๆ กัน คงเป็นการด่วนสรุป จนเกินไป หากไม่พิจารณาให้รอบด้านว่า ระบบกฎหมายหนึ่งๆ นั้นจะช่วยสร้างความชัดเจนแน่นอนขึ้นในสังคม จะมีลักษณะ เป็นกฎเกณฑ์ที่บังคับใช้ได้เป็นการทั่วไป และยังสามารถคาด หมายล่วงหน้าถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้มากน้อยเพียงใด อาจกล่าวได้ว่า สำ�หรับโลกของเราที่กำ�ลังก้าวเข้าสู่ความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ นี้ สังคมที่บรรลุซึ่งความ เป็นเอกภาพและจรรโลงความสมานฉันท์ไว้ได้อย่างแท้จริงนั้น คงมีไม่มากนัก แต่หากปราศจากกฎหมายเสียแล้ว สังคมนั้น ย่อมดิ่งลงสู่ความโกลาหลวุ่นวายและความขัดแย้งอย่างไม่อาจ หลีกเลี่ยงได้แน่นอน


18

Law

การมุ่ ง อธิ บ ายลั ก ษณะพื้ น ฐานต่ า งๆ ที่ สำ � คั ญ ของ กฎหมายให้สั้นกะทัดรัด โดยไม่ย่นย่อความคิดจนเกินควรนั้น เป็นเหตุให้ผู้เขียนต้องตัดสินใจในเรื่องยากๆ หลายเรื่องอย่าง ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ มีข้อมูลหลายประการที่ผู้เขียนจำ�ต้องละไว้ ไม่กล่าวถึง ผูเ้ ขียนหวังเพียงว่าในการให้ภาพรวมของกฎหมายที่ เป็นอยูใ่ นปัจจุบนั ผูเ้ ขียนได้ก�ำ หนดเนือ้ หาของเรือ่ งไว้ในขอบเขต ที่ไม่แคบจนเกินไปและไม่กว้างจนไร้สาระไปเสียหมด ผู้เขียนจะ พยายามชี้ให้เห็นลักษณะที่สำ�คัญที่สุดในใจกลางภูมิทัศน์ทาง กฎหมายซึ่งมีความเคลื่อนไหวแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ ทั้งนี้โดย ตระหนักเป็นอย่างดีวา่ ยังมีอกี หลายสิง่ หลายประการทีล่ ว้ นเป็น องค์ประกอบซึ่งรายล้อมภูมิทัศน์ข้างต้นไว้ด้วย ในทำ�นองเดียวกัน ควรเน้นให้เห็นความสำ�คัญด้วยว่า การทำ�ความเข้าใจกฎหมายโดยปราศจากความใส่ใจต่อปัจจัย ต่างๆ ในทางสังคม การเมือง ศีลธรรม และเศรษฐกิจ ย่อมก่อ ความเข้าใจทีค่ ลาดเคลือ่ นได้ ปรัชญาทางกฎหมายหรือแม้แต่วชิ า นิตศิ าสตร์ทางทฤษฎียอ่ มมุง่ ทีจ่ ะเปิดเผยให้เห็นองค์ประกอบเชิง ความคิดปรัชญาต่างๆ อันลึกซึง้ ยิง่ ขึน้ ทีช่ ว่ ยอธิบายปรากฏการณ์ อันสลับซับซ้อนในทางกฎหมาย รวมไปถึงการเป็นปัจจัยเพื่อ ขับเคลื่อนระบบกฎหมายโดยรวมด้วย ในบทที่ 3 จะพยายาม สะท้อนให้เห็นถึงประเด็นโต้แย้งกันระหว่างกฎหมายและบรรดา หลักปฏิบัติด้านศีลธรรมอันเป็นที่ยอมรับกันในสังคม ผู้เขียนจะ งดเว้นไม่กล่าวถึงประเด็นอันหลากหลายในทางปรัชญากฎหมาย ซึ่งบ่อยครั้งก็เข้าใจได้ยากอยู่แล้ว ด้วยเหตุว่า เนื้อหาดังกล่าว อยู่นอกวัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนี้และหวังด้วยว่าบรรดา


A

Very Short Introduction

19

ผู้ อ่ า นที่ ส นใจบทนำ � เข้ า สู่ เ นื้ อ หาซึ่ ง ท้ า ทายความใคร่ รู้ นี้ อ าจ ติดตามงานของผู้เขียนใน Philosophy of Law: A Very Short Introduction (Oxford University Press, 2006) ซึ่งก็น่าจะถือ เป็นฉบับอ่านประกอบกับหนังสือในมือผู้อ่านเล่มนี้ด้วย การให้กำ�เนิดและฟูมฟักงานชิ้นนี้ บุคคลหลายคน ณ สำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดล้วนเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดที่น่า ประทับใจทั้งสิ้น ขอขอบคุณเป็นพิเศษสำ�หรับแอนเดรีย คีแกน, เจมส์ ทอมป์สัน, อลิซ จาค็อบ, เฮเลน โอ๊ค, เดบอรา โพรเธโร, โซอี สปิลเบิร์ก, วินนี่ แทม และผู้อ่านต้นฉบับของผู้เขียนที่ไม่ ปรากฏนามไว้ด้วย หากปราศจากความรักที่มีมาอันยาวนาน กำ�ลังใจและ การสนับสนุนจากคูช่ วี ติ ของผูเ้ ขียน คุณเพเนลอป (เนติบณ ั ฑิต คุณสมบัติซึ่งคู่ควรกับเธอเป็นยิ่งนัก) แม้เพียงเศษเสี้ยวของงาน ชิ้นนี้ก็คงไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย นอกเหนือจากสิ่งเหล่านี้ที่ไม่เคย แปรเปลี่ยนแล้ว ภาระความรับผิดชอบของเธอนั้นล้วนยิ่งใหญ่ ถ้อยคำ�ของเธอก็เสมอด้วยกฎหมายเช่นกัน

เรย์มอนด์ แวคส์



กฎหมาย •

ความรู้ฉบับพกพา

LAW • A

Very

Short

Introduction

by

Raymond

Wacks

แปลโดย

ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล


บทที่ 1

/ รากเหง้าของกฎหมาย


A

Very Short Introduction

23

เมื่ อ เราก้ า วขึ้ น รถเมล์ กฎหมายก็ เ ข้ า มาเกี่ ย วข้ อ งแล้ ว แน่นอนว่าคุณได้เข้าทำ�สัญญาประเภทหนึ่งซึ่งมีผลบังคับให้คุณ มีหน้าที่จะต้องชำ�ระค่าโดยสารในการเดินทาง ถ้ารีบลงไปก่อน จ่ า ยค่ า โดยสารล่ ะก็ ม าตรการทางกฎหมายอาญาก็ จ ะเข้ า มา จัดการกับคุณ ในกรณีรถเมล์ประสบอุบัติเหตุ กฎหมายก็พร้อม ที่จะบอกว่าใครบ้างที่จะต้องรับผิดชอบกับความเสียหายที่คุณ ได้รับ งานของคุณ บ้านของคุณ ความสัมพันธ์ที่คุณมีต่อคน อื่นๆ หรือแม้แต่ชีวิต รวมทั้งความตายของคุณ ทั้งหมดนี้และ สิ่งอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนถูกกำ�กับ ควบคุม และจัดการโดย กฎหมายทั้งสิ้น ระบบกฎหมายสถิตย์อยู่ ณ ใจกลางของทุกๆ สังคม คุ้มครองสิทธิในเรื่องต่างๆ ก่อให้เกิดหน้าที่อันพึงกระทำ� ทั้งหลาย และยังกำ�หนดขอบเขตแห่งการกระทำ�ในแทบทุก กิจกรรมทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ การจัดการลงโทษ ผู้ ก ระทำ � ความผิ ด ชดใช้ เ ยี ย วยาผู้ เ สี ย หายและรั บ รองให้ ข้อตกลงต่างๆ มีผลบังคับระหว่างกันได้นั้นเป็นเพียงภารกิจ บางส่วนของระบบกฎหมายสมัยใหม่เท่านั้น นอกจากนี้แล้ว


24

Law

กฎหมายยังมุ่งที่จะบรรลุถึงความเป็นธรรม ส่งเสริมเสรีภาพ ธำ�รงไว้ซึ่งหลักการปกครองโดยกฎหมาย (rule of law) และ สถาปนาความมั่นคงปลอดภัยให้มีขึ้นด้วย อย่างไรก็ดี สำ�หรับคนทั่วไปแล้ว บ่อยครั้งกฎหมาย ดูจะเป็นเรื่องเทคนิคชั้นสูง เป็นปริศนาซับซ้อนซ่อนเงื่อน ซึ่ง มาพร้อมกับคำ�ศัพท์เฉพาะอันล่วงสมัยซึ่งบางครั้งเข้าใจยาก มี กระบวนการพิจารณาต่างๆ ที่ล้าหลัง และยังมีการออกประกาศ ใช้จนนับฉบับไม่ถ้วนพอๆ กับหลักการที่น่าเวียนหัวทั้งหลาย (Byzantine statutes) นี่ยังไม่นับรวมกฎหมายฉบับซึ่งกำ�หนด รายละเอียดในชั้นรองๆ ลงมาอีก (subornate legislation) รวมทั้งคำ�พิพากษาต่างฉบับกันในแต่ละศาลด้วย นักกฎหมาย เองก็มีแนวโน้มที่จะมองย้อนหลัง กล่าวคือ การยอมรับหลักการ ว่าด้วยคำ�พิพากษาของศาลที่เป็นบรรทัดฐาน (the doctrine of precedent) ซึ่งเป็นลักษณะเด่นในกฎหมายคอมมอนลอว์นั้น ได้กำ�หนดหลักการไว้ว่า สิ่งที่เคยได้รับการอธิบายหรือปฏิบัติ ไว้แล้วก่อนหน้าคือสิ่งที่ควรจะนำ�มาใช้ในขณะปัจจุบันด้วย ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการให้หลักประกันในเรื่องความชัดเจนแน่นอนของ กฎหมาย และยังเพื่อรักษาไว้ซึ่งหลักการในอันที่จะแสวงหา มาตรการที่ ไ ม่ ขึ้ น ต่ อ กระแสความเปลี่ ย นแปลงใดๆ หรื อ อี ก นัยหนึ่งก็คือ สิ่งที่จะเกิดขึ้นจะต้องเป็นสิ่งที่คาดหมายได้เช่นที่ กฎหมายกำ�หนดไว้เป็นการล่วงหน้าแล้วนั่นเอง แต่ ถึ ง กระนั้ น กฎหมายก็ ไ ม่ ส ามารถต้ า นทานการ เปลี่ยนแปลงได้ กระบวนการโลกาภิวัตน์ ความก้าวหน้าอย่าง รวดเร็ ว ในด้ า นเทคโนโลยี และกฎเกณฑ์ ใ นด้ า นการบริ ห าร


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.