Marx web preview (2)

Page 1


มาร์กซ: ความรู้ฉบับพกพา • เกษียร เตชะพีระ แปล จากเรื่อง M a r x : A V e r y S h or t I n t r o duc t i o n โดย Peter Singer พิมพ์ครั้งแรก: สำ�นักพิมพ์ o p e n w o r l d s , กุมภาพันธ์ 2558 ราคา 220 บาท คณะบรรณาธิการอำ�นวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ภูมิ นํ้าวล ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว บรรณาธิการศิลปกรรม กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล เลขานุการกองบรรณาธิการ ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์ • บรรณาธิการเล่ม วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ บรรณาธิการต้นฉบับ บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก w r o ngd e s i g n • จัดทำ�โดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด 604/157 ถนนสาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2 - 6 1 8 - 4 7 3 0 e m a il: o p e n w o r l d s t h a i l a n d @g m a i l . c o m fa c e b o o k : w w w . f a c e b o o k . c o m / o p e n w o r l d s twitte r : w w w . t w i t t e r . c o m / o p e n w o r l d s _ t h we b s i t e : w w w . o p e n w o r l d s . i n . t h จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 5 1 - 5 9 9 9 we b s i t e : h t t p : / / w w w . s e - e d . c o m /


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล หมายเลขโทรศัพท์ 086 403 6451 หรือ Email: openworldsthailand@gmail.com

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ ซิงเกอร์, ปีเตอร์. มาร์กซ: ความรู้ฉบับพกพา.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2558. 192 หน้า. -- (ความรู้ฉบับพกพา). 1. นักปรัชญา. I. เกษียร เตชะพีระ, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 921 ISBN 978-616-7885-10-0 • Thai language translation copyright 2015 by openworlds publishing house /Copyright © 1980 by Peter Singer All Rights Reserved.

Marx: A Very Short Introduction, by Peter Singer was originally published in E n g lis h in 1 9 8 0 . This translation is published by arrangement with Oxford University Press t hrou g h T u ttle -M o ri Ag e n c y C o . , L t d . The Thai edition is translated by Kasian Tejapira and published by op e n wo rld s p u b lis h i n g h o u s e , 2 0 1 5 . มาร์กซ: ความรู้ฉบับพกพา ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1980 และพิมพ์ครั้งแรกในชุด Very Short Introductions เมื่อปี ค.ศ. 2000 แปลและตีพิมพ์เป็นภาษาไทยโดยข้อตกลงกับสำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด


สารบัญ

. ชื่อย่อ : 7 ค�ำน�ำผู้แปล : 9 ค�ำน�ำผู้เขียน : 14 1. ชีวิตและผลสะเทือน : 18 2. ยุวเฮเกเลียน : 40 3. จากพระเจ้าสู่เงินตรา : 52 4. กรรมาชีพปรากฏ : 62 5. ต้นร่างลัทธิมาร์กซ : 70 6. ความแปลกแยกในฐานะทฤษฎีประวัติศาสตร์ : 82 7. เป้าหมายของประวัติศาสตร์ : 96 8. เศรษฐศาสตร์ : 116 9. ลัทธิคอมมิวนิสต์ : 144 10. ประเมินผล : 158 แหล่งอ้างอิง : 182 บทอ่านต่อ : 184


สารบัญภาพประกอบ

. 1 คาร์ล มาร์กซ (ค.ศ. 1818-1883) 20 2 รูปพิมพ์หินของมาร์กซในวัยหนุ่ม (ค.ศ. 1836) ที่สโมสร ดืม่ สังสันทน์ของนักศึกษาจากเมืองทรีเยอร์ ณ มหาวิทยาลัย บอนน์ (Courtesy of the International Institute of Social History, Amsterdam) 23 3 ด้านนอกของบ้านเลขที่ 41 ถนนเมตแลนด์ปาร์ก ย่านฮาเวอร์ สต็อกฮิลล์ ลอนดอน ที่ซึ่งมาร์กซอาศัยอยู่ในช่วง 15 ปีท้าย ของชีวิต (Courtesy of Hulton Getty) 37 4 มาร์กซกับเจนนี ลูกสาวคนโตของเขา ค.ศ. 1870 (Courtesy of Hulton Getty) 38 5 จอร์จ วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกล (ค.ศ. 1770-1831) 46 6 มาร์กซขณะอายุได้ 18 ปีเมือ่ ค.ศ. 1836 จากรายละเอียดของ รูปพิมพ์หนิ ในภาพประกอบ 2 (Courtesy of the International Institute of Social History, Amsterdam) 58 7 ลุดวิก ฟอยเออร์บาค (ค.ศ. 1804-1872) (Courtesy of the Mary Evans Picture Library) 88 8 ฟรีดริช เองเกลส์ (ค.ศ. 1820-1895) 93


9 โรงงานอังกฤษกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชายหญิงก�ำลังท�ำงาน อยู ่ ใ นโรงงานถุ ง น่ อ งแพเทนต์ รี นิ ว วาเบิ ล ณ โทเคสเบอรี ค.ศ. 1860 (Courtesy of the Mary Evans Picture Library) 107 10 เดวิด ริคาร์โด (ค.ศ. 1772-1823) (Courtesy of Hulton Getty) 126 11 ห้องอ่านหนังสือทรงกลมแห่งหอสมุดบริติชเก่า เปิดใช้งานในปี ค.ศ. 1842 ทีซ่ งึ่ มาร์กซค้นคว้าเรียบเรียงงานเรือ่ ง ทุน (Courtesy of Hulton Getty) 132 12 ภาพปกหนังสือ ทุน เล่มแรก ฉบับพิมพ์ครัง้ แรกในภาษาเยอรมัน (Courtesy of AKG London) 141 13 หลุมฝังศพของมาร์กซทีส่ สุ านไฮเกตในกรุงลอนดอน (Courtesy of Hulton Getty) 161 14 โจเซฟ สตาลิน (ค.ศ. 1879-1953) (Courtesy of Hulton Getty) 175 15 ขบวนรถถังเคลื่อนผ่านแผ่นป้ายจ�ำลองภาพบุคคลส�ำคัญของ ลัทธิคอมมิวนิสต์ ในขบวนพาเหรดทีก่ รุงฮาวานา ประเทศคิวบา ค.ศ. 1974 เพื่อร�ำลึกวันครบรอบปีแห่งการปฏิวัติ (Courtesy of Miroslav Zaji/Corbis) 178


A

Very Short Introduction

7

ชื่อย่อ

.

โดยทั่วไป การอ้างอิงถึงงานเขียนของมาร์กซในตัวบท หนังสือเล่มนีจ้ ะลงเป็นชือ่ ย่อของงานไว้ ตามด้วยเลขหน้าทีอ่ า้ งอิง ข้อความ เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอืน่ ด้านล่างนี้ เลขหน้าทีอ่ า้ งอิง มาจากหนังสือเรือ่ ง David McLellan (ed.), Karl Marx: Selected Writings (Oxford University Press, Oxford, 1977) B CI

‘On Bakunin’s Statism and Anarchy’ Capital, Volume I (Foreign Languages Publishing House, Moscow, 1961) C III Capital, Volume III CM Communist Manifesto D Doctoral thesis EB The Eighteenth Brumaire of Louis Bonaparte EPM Economic and Philosophical Manuscripts of 1844 G Grundrisse (translated M. Nicolaus, Penguin, Harmondsworth, 1973)


8

GI GP I

Marx

The German Ideology ‘Critique of the Gotha Program’ ‘Towards a Critique of Hegel’s Philosophy of Right: Introduction’ J ‘On the Jewish Question’ M ‘On James Mill’ (notebook) MC Letters and miscellaneous writings cited in David McLellan, Karl Marx: His Life and Thought (Macmillan, London, 1973) P Preface to A Contribution to the Critique of Political Economy PP The Poverty of Philosophy R Correspondence with Ruge of 1843 T ‘Theses on Feuerbach’ WLC Wage Labour and Capital WPP ‘Wages, Price and Profit’ (in K. Marx, F. Engels, Selected Works, Foreign Languages Publishing House, Moscow, 1951)


A

Very Short Introduction

9

ค�ำน�ำผู้แปล

.

ลัทธิมาร์กซเป็นรักแรกทางอุดมการณ์การเมืองส�ำหรับ ผมและเพื่อนร่วมรุ่น “คนเดือนตุลาฯ” จ�ำนวนมาก มันเป็นสัมพันธ์รักที่ดุเดือดร้อนแรงทางอารมณ์ความ รู้สึก ไม่ใช่รักเล่นๆ หรือรักชั่วครู่ชั่วยามแล้วผ่านเลย หากผูกพัน แน่นแฟ้นทัง้ ความคิดและวิญญาณ ถึงขัน้ ติดตามความรักข้ามน�ำ้ ลุยไฟไปไหนไปกัน ไม่วา่ ดงกระสุนห่าระเบิดหรือป่าเขาหิมพานต์ กันดารไกลที่ไม่คุ้นเคยรู้จัก แม้ต้องเอาเลือดเนื้อชีวิตเข้าเสี่ยง ก็ยอม จนหลายคนต้องเสียสละพลีชีพบูชารักนั้นไปอย่างไร้ ชือ่ เสียงเรียงนาม ไม่มวี นั ทีค่ รอบครัวญาติมติ รจะได้เถ้ากระดูกคืน และแล้วรักแรกนัน้ ก็มอี นั จบลง เมือ่ แต่ละคนต่างค้นพบ ด้วยประสบการณ์ของตัวเองว่า “เธอ” หรือร่างทรงรูปธรรมของ “เธอ” บนโลกจริงใบนี้ไม่ได้เป็นไปอย่างในอุดมคติ แต่นนั่ ก็ไม่ใช่เหตุผลดีพอทีจ่ ะลืมรักแรกทางอุดมการณ์ นั้น ตรงกันข้าม มีความจ�ำเป็นและเป็นประโยชน์ที่คนรุ่นผมและ สังคมไทยจะท�ำความเข้าใจประสบการณ์รกั แรกดังกล่าว ดังทีผ่ ม เคยพยายามอธิบายไว้ในที่หนึ่งว่า:


10

Marx

ส�ำหรั บ บรรดาผู ้ อ ่ า น...ในโลกยุ ค หลั ง คอมมิ ว นิ ส ต์ แ ห่ ง ทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ปัจจุบันนั้น... ข้อเขียนว่าด้วยลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ทลี่ ม้ เลิกไปแล้ว ในรูปจุติของมัน ณ ประเทศทุนนิยมโลกที่สามซึ่งห่างไกล และสงบสงัดเกือบกึ่งศตวรรษก่อนคงต้องดูเป็นเรื่องเกิน ความจ�ำเป็น แม้กระทั่ง “สิทธิที่จะด�ำรงอยู่” ของตัวบท ดังกล่าวนัน้ ก็คงดูนา่ คลางแคลงใจ เพราะถึงอย่างไรในรอบ ทศวรรษทีผ่ า่ นมา ทฤษฎี การปฏิบตั ิ และองค์การจัดตัง้ แห่ง ลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์กไ็ ด้พสิ จู น์ตวั มันเองว่าล้มละลาย และได้ ล ่ ม สลายลงอย่ า งไม่ มี ชิ้ น ดี แ ล้ ว ในประเทศไทย เหมือนดังทีไ่ ด้เกิดกับทฤษฎี การปฏิบตั ิ และองค์การจัดตัง้ ท�ำนองเดียวกันส่วนใหญ่ในประเทศอืน่ ๆ ทัว่ โลก กระนัน้ แล้ว จะยังมามัวอ่าน – มิพักต้องพูดถึงมัวเขียน – พจนาลัย อันยืดยาดยาวเหยียดให้แก่ซากศพทางการเมืองนี้ด้วย เหตุอันใด? ค�ำตอบของผมก็คือ ถึงแม้ปีศาจแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์ จะตายแล้ว แต่มันก็ยังหลอกหลอนเราอยู่ ว่าในฐานที่มัน ได้เคยพัวพันกับคนเป็นมาอย่างดุเดือดร้อนแรงเป็นเวลา ยาวนาน ผู้ตายแล้วย่อมไม่จากไปโดยไม่ทิ้งรอยพิมพ์ ประทั บลึ ก อยู ่ ใ นจิ ตวิญญาณทางวัฒ นธรรมของบรรดา คูส่ นทนาทีแ่ นบชิดของมัน และฉะนัน้ จึงมีแต่ผา่ นการเขียน อ่าน และท�ำความเข้าใจเรื่องราวของผีคอมมิวนิสต์เท่านั้น คนเป็นจึงจะสามารถตระหนักถึงตัวตนทางวัฒนธรรมใน จิตใต้ส�ำนึกของตนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ได้


A

Very Short Introduction

(Kasian Tejapira, “Introduction: Manifesto for a PostCommunist Ghost Story,” Commodifying Marxism: The Formation of Modern Thai Radical Culture, 1927-1958, 2001, p. 1)

11

หรือหากจะพูดด้วยภาษาวิชาการที่ตรงไปตรงมากว่า ในถ้อยค�ำของ เฟรด ฮอลลิเดย์ (Fred Halliday) ปัญญาชน ฝ่ายซ้ายชาวอังกฤษเชือ้ สายไอริช อดีตสมาชิกกองบรรณาธิการ New Left Review ศาสตราจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศผู้เชี่ยวชาญตะวันออกกลางแห่ง London School of Economics และภาคีสมาชิกแห่ง British Academy ผู้ล่วงลับ (ค.ศ. 1946-2010) ก็คือ: ลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งครอบรวมเอาอุดมการณ์และความ ทะยานอยากทางสังคมที่รองรับการท้าทายจากสหภาพ โซเวียต รวมทั้งเสียงสะท้อนทั่วโลกที่ถูกปลุกให้ตื่นขึ้น ด้วยการท้าทายนั้น ยังคงรอให้ท�ำพิธีศพกลบฝังมันอยู่ จะกลบฝั ง ลั ท ธิค อมมิ ว นิ ส ต์ ไ ด้ ก็แ ต่ บนพื้ น ฐานของการ ตระหนักรู้ว่ามันเป็นตัวแทนของอะไร, ท�ำไมคนนับล้านๆ ทั่วโลกจึงต่อสู้เพื่อและเชื่อถืออุดมคตินี้, และอะไรกันแน่ที่ มันเข้าต่อสูต้ า้ นทานด้วย และนอกจากนีม้ นั จะถูกกลบฝังได้ ก็ต่อเมื่อมรดกของอุดมการณ์และขบวนการนี้ถูกประเมิน ค่าแล้วเท่านั้น หากมิใช่แค่หลงลืมมันไปหรือปัดปฏิเสธว่า มันเป็น “มายาคติ” อย่างมักง่ายและอย่างละเมิดหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ทั้งปวง


12

Marx

(Fred Halliday, “What was Communism?,” Political Journeys: The openDemocracy Essays, 2011)

หนังสือเรื่อง มาร์กซ: ความรู้ฉบับพกพา ที่แปลจาก Marx: A Very Short Introduction (ตีพมิ พ์ครัง้ แรก ค.ศ. 1980 และ พิมพ์ซำ�้ ในหนังสือชุด Very Short Introductions ของส�ำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดครัง้ แรกในปี 2000) ของ ปีเตอร์ ซิงเกอร์ (Peter Singer) ศาสตราจารย์ดา้ นจริยปรัชญาและชีวจริยศาสตร์ ชาวออสเตรเลียผู้มีชื่อเสียงทั่วโลกเล่มนี้ ช่วยปูพื้นสนองตอบแก่ ข้อเรียกร้องที่ให้ท�ำความเข้าใจ ประเมินค่า และสรุปบทเรียน จากอุดมการณ์และขบวนการลัทธิมาร์กซอย่างเยือกเย็นรอบด้าน ข้างต้นได้เป็นอย่างดี มันแตกต่างจากงานแนะน�ำลัทธิมาร์กซ เท่าที่มีมาในภาษาไทยส่วนใหญ่ซึ่งถ้าไม่เอนเอียงไปทางแอนตี้ คอมมิวนิสต์สุดโต่งก็โน้มน้าวให้รับเชื่อมันอย่างเป็นระบบจาก มุมมองของผู้ที่ปลงใจปักใจเชื่อมันแล้ว ตรงที่มันเป็นงานเชิง วิชาการไม่ใช่โฆษณาชวนเชื่อ พยายามเข้าอกเข้าใจและมอง อย่างเห็นอกเห็นใจแต่สงสัยไต่ถามและวิพากษ์วิจารณ์ และ น�ำเสนอองค์รวมวิสัยทัศน์แห่งความคิดของมาร์กซที่เชื่อมโยง ความคิดของเขาทัง้ ในวัยเยาว์และวัยวุฒอิ ย่างสืบเนือ่ งเข้าด้วยกัน ในเชิงปรัชญา แทนที่จะมองมันแยกแตกหักจากกันเป็นปรัชญา ในวัยเยาว์และวิทยาศาสตร์สังคมในวัยวุฒิ นับเป็นงานที่ช่วยให้ เข้าใจเอกภาพและพลังในการอธิบายแห่งความคิดของมาร์กซ โดยไม่จ�ำเป็นต้องเชื่อ และน�ำเสนออย่างได้สมดุลระหว่างการ หยัง่ เข้าใจตรรกะภายในความคิดกับการมองโดยคงระยะห่างจาก


A

Very Short Introduction

13

ภายนอกอย่างวิจารณ์ ขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์ openworlds โดยอาจารย์ปกป้อง จันวิทย์ แห่งเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และอาจารย์วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง แห่งสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ ที่ชักชวนและเปิดโอกาสให้ผมได้ท�ำงานแปลชิ้นนี้ รวมทั้งคุณ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ บรรณาธิการที่กรุณาดูแลต้นฉบับอย่าง ละเอียดรอบคอบรัดกุมรับผิดชอบแบบมืออาชีพด้วย

เกษียร เตชะพีระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


14

Marx

ค�ำน�ำผู้เขียน

.

มีหนังสือเกี่ยวกับมาร์กซมากมายหลายเล่ม แต่บทน�ำ สัน้ ๆ ทีด่ เี กีย่ วกับความคิดของเขายังหาได้ยาก มาร์กซเขียนงาน ยืดยาวมหาศาลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ หลายหลากมากมายเสียจน กระทั่งมันไม่ง่ายที่จะมองเห็นความคิดของเขาเป็นองค์รวม ผมเชื่ อ ว่ า มั น มี ค วามคิ ด ใจกลางหรื อ วิ สั ย ทั ศ น์ ต ่ อ โลกที่ ผ นึ ก ความคิ ด ของมาร์ ก ซทั้ ง หมดเป็ น เอกภาพและช่ ว ยอธิ บ าย สิ่งที่อาจดูเหมือนเป็นลักษณะชวนฉงนสนเท่ห์ต่างๆ ของมัน หากไม่ ม องผ่ า นความคิ ด ใจกลางหรื อ วิ สั ย ทั ศ น์ ดั ง กล่ า วอยู ่ ในหนังสือเล่มนี้ ผมพยายามบอกว่าวิสยั ทัศน์ใจกลางทีว่ า่ คืออะไร ด้วยศัพท์แสงถ้อยค�ำที่พอเข้าใจได้ส�ำหรับผู้ที่รู้จักงานเขียนของ มาร์กซมาก่อนเพียงน้อยนิดหรือไม่รจู้ กั เอาเลย หากผมท�ำส�ำเร็จ ผมก็ไม่จ�ำต้องสรรหาข้อแก้ตัวอื่นใดเพิ่มเติมแก่การที่ผมเขียน หนังสือเกี่ยวกับมาร์กซและลัทธิมาร์กซเพิ่มขึ้นมาอีกเล่มทั้งที่ วรรณกรรมเรื่องนี้มีอยู่ท่วมท้นล้นเหลือแล้ว ส�ำหรับรายละเอียดในแง่ชีวประวัติของมาร์กซ ผม ติดค้างงานชั้นดีของ เดวิด แมคเลลแลน (David McLellan)


A

Very Short Introduction

15

เรื่อง Karl Marx: His Life and Thought (Macmillan, London, 1973) เป็ น พิ เ ศษ ทรรศนะของผมเกี่ ย วกั บ มโนทั ศ น์ เ รื่ อ ง ประวัติศาสตร์ของมาร์กซรับอิทธิพลจากงานของ จี.เอ. โคเฮน (G.A. Cohen) เรื่อง Karl Marx’s Theory of History: A Defence (Oxford University Press, Oxford, 1979) แม้ว่าผมจะไม่ได้ ยอมรั บ ข้ อ สรุ ป ทั้ ง หมดของงานศึ ก ษาที่ ท ้ า ทายชิ้ น นั้ น ก็ ต าม เจอรั ล ด์ โคเฮน ยั ง ส่ ง ความคิ ด เห็ น โดยละเอี ย ดต่ อ ต้ น ร่ า ง หนังสือเล่มนี้ให้ผม ท�ำให้ผมแก้ไขข้อผิดพลาดได้หลายประการ โรเบิร์ต เฮลโบรเนอร์, เรนาตา ซิงเกอร์ และ มาริลีน เวลตซ์ ช่วย ให้ความเห็นทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ ต้นร่างหนังสือซึง่ ผมรูส้ กึ ขอบคุณ เพือ่ ความกระจ่างชัดเจนของส�ำนวนภาษา ผมได้ปรับแก้ ค�ำแปลงานเขียนของมาร์กซที่ผมอ้างอิงมาบ้างเล็กๆ น้อยๆ ใน บางกรณี ท้ า ยที่ สุ ด หากไม่ ไ ด้ ค�ำเชิ ญ ชวนของ คี ธ โธมั ส บรรณาธิการทั่วไปของหนังสือชุดนี้ และ เฮนรี ฮาร์ดี แห่ง ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดให้เข้ามาร่วมเขียนด้วย ผมก็คงไม่แม้แต่พยายามเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา และหากมิได้ ช่วงระยะลาพักการสอนที่มหาวิทยาลัยโมแนชอนุญาตให้ผม ผมก็คงเขียนมันไม่เสร็จเหมือนกัน

ปีเตอร์ ซิงเกอร์ วอชิงตัน ดี.ซี. มิถุนายน ค.ศ. 1979



มาร์กซ •

ความรู้ฉบับพกพา

MARX • A

Very

Short

Introduction

by

Peter Singer

แปลโดย

เกษียร เตชะพีระ


บทที่ 1

/ ชีวิตและผลสะเทือน


A

Very Short Introduction

19

ผลสะเทือนของมาร์กซนัน้ จะเปรียบได้กแ็ ต่กบั บุคคลส�ำคัญ ทางศาสนาอย่างพระเยซูหรือนบีมูฮัมหมัดเท่านั้น ระหว่างช่วง เวลาอันยาวนานของครึ่งหลังแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 เกือบจะ ทุกๆ 4 ใน 10 คนบนโลกล้วนอาศัยอยู่ภายใต้รัฐบาลที่ถือตัว เป็นมาร์กซิสต์และอ้างว่าใช้หลักการมาร์กซิสต์มาตัดสินใจว่า จะบริหารชาติบา้ นเมืองอย่างไร ไม่วา่ ค�ำกล่าวอ้างนัน้ จะฟังไม่ขนึ้ สักเพียงใดก็ตาม ในประเทศเหล่านี้ มาร์กซเปรียบประดุจพระเยซู ทางโลกย์ งานเขียนของเขาเป็นแหล่งอันติมะแห่งสัจธรรมและ สิทธิอ�ำนาจ ภาพของเขาถูกตั้งแสดงด้วยความเคารพนบนอบ ทุกแห่งหน ชีวิตของผู้คนหลายร้อยล้านได้รับผลสะเทือนอย่าง ลึกซึ้งจากมรดกของมาร์กซ อีกทั้งอิทธิพลของมาร์กซก็หาได้จ�ำกัดอยู่แต่กับสังคม คอมมิวนิสต์ทงั้ หลายเท่านัน้ ไม่ รัฐบาลอนุรกั ษนิยมได้เริม่ น�ำการ ปฏิรูปสังคมเข้ามาใช้เพื่อตัดฐานสนับสนุนขบวนการฝ่ายค้าน ปฏิวตั ทิ เี่ ดินแนวทางมาร์กซิสต์ นอกจากนีพ้ วกอนุรกั ษนิยมก็ยงั แสดงปฏิกริ ยิ าตอบโต้ในแบบทีน่ มุ่ นวลน้อยกว่าอีกด้วย อาทิ ช่วย


20

ภาพประกอบ 1 คาร์ล มาร์กซ (ค.ศ. 1818-1883)

Marx


A

Very Short Introduction

21

มุสโสลินกี บั ฮิตเลอร์ให้ขนึ้ กุมอ�ำนาจเพราะมองเห็นลัทธิชาตินยิ ม บ้ า คลั่ ง ของทั้ ง สองเป็ น ค�ำตอบต่ อ ภั ย คุ ก คามจากมาร์ ก ซิ ส ต์ และแม้ในยามไม่มีภัยคุกคามจากการปฏิวัติภายใน การมีศัตรู มาร์กซิสต์ต่างชาติอยู่ก็ให้ความชอบธรรมแก่รัฐบาลในการขึ้น งบประมาณจัดหาอาวุธและจ�ำกัดสิทธิปัจเจกบุคคลในนามของ ความมั่นคงแห่งชาติ หากเราดู ใ นระดั บ ของความคิ ด แทนที่ จ ะเป็ น ระดั บ การเมืองเชิงปฏิบัติแล้ว คุณูปการของมาร์กซก็ประจักษ์ชัด เช่นกัน ถึงตอนนี้ใครหน้าไหนจะสามารถคิดถึงสังคมโดยไม่ อ้างอิงทรรศนะของมาร์กซที่หยั่งลึกถึงความเชื่อมโยงระหว่าง ชีวติ ทางเศรษฐกิจกับชีวติ ทางปัญญาบ้าง? ความคิดของมาร์กซ น�ำมาซึ่งสังคมวิทยาสมัยใหม่ พลิกโฉมการศึกษาประวัติศาสตร์ และส่งผลสะเทือนอย่างลึกซึ้งต่อปรัชญา วรรณกรรม และศิลปะ นานาแขนง ในความหมายนัยที่ผมยอมรับว่าหละหลวมยิ่งนี้ ทุกวันนี้เราก็เป็นมาร์กซิสต์กันทั้งหมดนั่นแหละ แล้วอะไรคือบรรดาความคิดที่ส่งผลกว้างไกลขนาดนั้น เล่า? นัน่ คือเรือ่ งราวของหนังสือเล่มนี้ แต่กอ่ นอืน่ ขอกล่าวถึงชาย เจ้าของความคิดเหล่านี้สักเล็กน้อย คาร์ล มาร์กซ เกิดที่เมืองทรีเยอร์ เขตไรน์แลนด์ของ เยอรมนี ในปี ค.ศ. 1818 พ่อแม่ของเขาซึง่ ได้แก่ไฮน์รชิ (Heinrich) กับเฮนรีเอ็ตตา (Henrietta) นัน้ เป็นยิวแต่ก�ำเนิดทว่าหันมานับถือ นิ ก ายโปรเตสแตนต์ โ ดยนามเพื่ อ ให้ ไ ฮน์ ริ ช ประกอบวิ ช าชี พ นักกฎหมายง่ายขึ้น ครอบครัวของเขามีฐานะดีแม้จะไม่ถึงขั้น ร�่ำรวยอู้ฟู่อันใด พวกเขามีทรรศนะเสรีนิยมในเรื่องศาสนาและ


22

Marx

การเมือง แต่ไม่ถึงกับหัวรุนแรง เส้ น ทางทางปั ญ ญาของมาร์ ก ซเริ่ ม ต้ น ค่ อ นข้ า งแย่ เมื่อเขาไปศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัยบอนน์ตอนอายุ 17 ปี ปรากฏว่าชัว่ ปีเดียวเขาติดคุกข้อหาเมาสุราและบาดเจ็บเล็กน้อย ในการท้าดวล เขายังเขียนกาพย์กลอนฝากรักไปให้ เจนนี ฟอน เวสต์ฟาเลน (Jenny von Westphalen) หวานใจตั้งแต่วัยเด็ก ของเขาด้วย มิช้านานพ่อของคาร์ลก็อดรนทนสิ่งที่เขาเรียกว่า “การเทีย่ วคลัง่ บ้าอาละวาด” นีต้ อ่ ไปไม่ไหว และตัดสินใจว่าคาร์ล ควรย้ายไปเรียนมหาวิทยาลัยเบอร์ลินที่เอาจริงเอาจังยิ่งกว่า ในกรุ ง เบอร์ ลิ น ความสนใจของมาร์ ก ซออกไปทาง ปัญญาความรู้มากขึ้น และเขาเปลี่ยนจากเรียนกฎหมายหันไป ศึกษาปรัชญาแทน เรื่องนี้ไม่ประทับใจพ่อเขานัก ดังที่พ่อเขา เขี ย นไว้ ใ นจดหมายเชิ ง ต�ำหนิ ว ่ า “ความเสื่ อ มถอยสวมครุ ย คงแก่เรียนหัวยุ่งได้เข้าแทนที่ความเสื่อมถอยถือแก้วเบียร์” (MC 33) อย่างไรก็ตาม สิง่ ทีบ่ งั คับให้มาร์กซต้องคิดเรือ่ งการงาน อาชีพอย่างจริงจังหาใช่ค�ำต�ำหนิตเิ ตียนแต่เป็นมรณกรรมของพ่อ ของเขาต่างหาก ทัง้ นีเ้ พราะเมือ่ ไม่มรี ายได้จากพ่อแล้ว ครอบครัว ของเขาก็ไม่มีปัญญาส่งเสียเขาไปเรื่อยๆ โดยไม่มีที่สิ้นสุดได้ ดั ง นั้ น มาร์ ก ซจึ ง เริ่ ม ท�ำวิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญาเอกด้ ว ยความ คาดหมายจะให้ได้ต�ำแหน่งอาจารย์มหาวิทยาลัย ตัววิทยานิพนธ์ เองนั้นเกี่ยวกับหัวข้อวิชาการที่ไกลตัว กล่าวคือ ข้อเปรียบต่าง ระหว่างปรัชญาของเดโมครีตุสกับเอพิคิวรุส ทว่ามาร์กซเล็งเห็น ลักษณะคูข่ นานเทียบเคียงกันได้ระหว่างข้อพิพาทแต่ครัง้ โบราณ เหล่านี้กับวิวาทะเกี่ยวกับการตีความปรัชญาของเฮเกลซึ่งใน


A

Very Short Introduction

23

ภาพประกอบ 2 รูปพิมพ์หินของมาร์กซในวัยหนุ่ม (ค.ศ. 1836) ที่สโมสร ดื่มสังสันทน์ของนักศึกษาจากเมืองทรีเยอร์ ณ มหาวิทยาลัยบอนน์


24

Marx

สมั ย นั้ น เป็ น พื้ น ที่ ที่ ท รรศนะทางการเมื อ งอั น หลากหลายใน ความคิดของสังคมเยอรมันมาบรรจบพบกัน วิทยานิพนธ์ถกู ยืน่ เสนอและรับไว้ในปี 1841 ทว่าไม่มกี าร สนองต�ำแหน่งอาจารย์มหาวิทยาลัยให้ มาร์กซจึงหันมาสนใจ วิชาชีพหนังสือพิมพ์แทน เขาเขียนเรือ่ งเกีย่ วกับสังคม การเมือง และปรัชญาให้หนังสือพิมพ์แนวเสรีนิยมที่เพิ่งออกใหม่ชื่อ ไรนิช กาแซตต์ (Rhenish Gazette – Rheinische Zeitung) บทความของ เขาเป็นที่ชื่นชม และการติดต่อสัมพันธ์ของเขากับหนังสือพิมพ์ ฉบับดังกล่าวก็เพิม่ ขึน้ ถึงขัน้ ทีเ่ มือ่ บรรณาธิการลาออกตอนปลาย ปี 1842 ก็เห็นชัดว่ามาร์กซเหมาะที่จะเข้ารับต�ำแหน่งแทน ทว่างานในต�ำแหน่งบรรณาธิการของมาร์กซก็ไม่ยนื ยาว แม้จะไม่ใช่ความผิดพลาดของเขาก็ตาม ในสภาพที่หนังสือพิมพ์ ฉบับนี้เป็นที่สนใจเพิ่มขึ้น เจ้าหน้าที่ตรวจพิจารณาสิ่งพิมพ์ของ รัฐบาลปรัสเซียก็หันมาใส่ใจมันเพิ่มขึ้นเช่นกัน ชุดบทความของ มาร์กซว่าด้วยความยากไร้ของชาวไร่องุน่ ในหุบเขามอแซลล์อาจ ถูกมองว่าปลุกระดมให้เคียดแค้นแรงเป็นพิเศษ การณ์จะเป็น เช่นใดก็ตาม รัฐบาลปรัสเซียก็ตดั สินใจสัง่ ปิดหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ มาร์กซไม่ได้เสียใจอะไรที่ทางการรัฐบาล “คืนเสรีภาพ ให้กบั ผม” ดังทีเ่ ขาเขียนเล่าในจดหมายถึงเพือ่ นคนหนึง่ (MC 66) เมื่อปลอดจากหน้าที่บรรณาธิการแล้ว เขาก็เริ่มงานศึกษาเชิง วิพากษ์ปรัชญาการเมืองของเฮเกล นอกจากนี้เขายังมีเรื่อง เร่งด่วนกว่าให้ห่วงใยด้วย นั่นคือการแต่งงานกับเจนนีซึ่งเขา หมั้นหมายมาได้ 7 ปีแล้ว และเขายังต้องการออกจากเยอรมนี ที่ซึ่งเขาไม่สามารถแสดงความเห็นได้อย่างเสรี ปัญหาอยู่ตรงที่


A

Very Short Introduction

25

เขาต้องมีเงินเพือ่ จะแต่งงานและตอนนีเ้ ขาก็มาตกงานซ�ำ้ อีก ทว่า กิตติศัพท์ของเขาในฐานะนักเขียนหนุ่มมีแววอนาคตไกลก็ช่วย ให้เขาไม่ตกอับ มิชา้ นานเขาก็ได้รบั เชิญให้เป็นบรรณาธิการร่วม ของสิ่งพิมพ์ฉบับใหม่ชื่อ เยอรมัน-เฟรนช์ อันนาลส์ (GermanFrench Annals – Deutsch-Französische Jahrbücher) งาน นี้ท�ำให้เขามีรายได้พอจะแต่งงานและเป็นอันยุติปัญหาว่าจะไป อยู่ที่ไหนลงไป ทั้งนี้ก็เพราะดังที่ชื่อสิ่งพิมพ์ฉบับใหม่นี้บ่งบอก มันคาดหมายจะดึงนักเขียนและนักอ่านทั้งที่เป็นชาวฝรั่งเศส และเยอรมัน คาร์ล กับ เจนนี มาร์กซ มาถึงปารีสในฤดูใบไม้ร่วง ปี 1843 และมิช้านานก็เริ่มคบหาสมาคมกับพวกหัวรุนแรงและ สังคมนิยมทีม่ ารวมกลุม่ กันอยูใ่ นศูนย์กลางความคิดหัวก้าวหน้า แห่งนี้ มาร์กซเขียนบทความให้ เยอรมัน-เฟรนช์ อันนาลส์ 2 บท อย่างไรก็ตามวารสารฉบับนี้ยังอายุสั้นเสียยิ่งกว่าหนังสือพิมพ์ ไรนิช กาแซตต์ ก่อนหน้านัน้ อีก วารสารฉบับแรกสุดดึงดูดผูเ้ ขียน ชาวฝรั่งเศสไม่ได้เลยสักคนและฉะนั้นจึงแทบไม่ถูกทักถามถึง ในปารีส ขณะเล่มวารสารที่ส่งไปปรัสเซียก็ถูกทางการยึดหมด ผู ้ อ อกเงิ น หนุ น หลั ง โครงการจั ด พิ ม พ์ ว ารสารพากั น ถอนตั ว ระหว่างนั้นเอง เนื่องจากความคิดแบบคอมมิวนิสต์และปฏิวัติ ที่แสดงออกในวารสารฉบับแรกที่ถูกยึด รัฐบาลปรัสเซียจึงออก หมายจับบรรดาบรรณาธิการ เป็นอันว่าบัดนี้มาร์กซกลับไป เยอรมนีไม่ได้แล้วและกลายเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมือง โชคดีที่เขา ได้รับเงินก้อนโตจากอดีตผู้ถือหุ้นหนังสือพิมพ์ ไรนิช กาแซตต์ ดังนั้นเขาก็เลยไม่ต้องหางานท�ำ


26

Marx

ตลอดปี 1844 มาร์กซคร�ำ่ เคร่งอธิบายขยายความจุดยืน ทางปรัชญาของเขา นี่เป็นปรัชญาในความหมายกว้างยิ่งซึ่ง รวมเอาการเมือง เศรษฐศาสตร์ และแนวคิดเกีย่ วกับกระบวนการ ทางประวัติศาสตร์ที่ด�ำเนินอยู่ในโลกเข้าไว้ด้วย มาถึงตอนนี้ มาร์ ก ซพร้ อ มแล้ ว ที่ จ ะเรี ย กตั ว เองเป็ น ชาวคอมมิ ว นิ ส ต์ ซึ่ ง ก็ ไ ม่ ใ ช่ สิ่ ง ผิ ด ปกติ วิ สั ย มากมายแต่ อ ย่ า งใดในปารี ส สมั ย นั้ น เพราะสามารถหาพบชาวสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ทกุ ประเภท ได้ที่นั่นตอนนั้น ในปี เ ดี ย วกั น นั้ น เอง มิ ต รภาพระหว่ า งมาร์ ก ซกั บ เองเกลส์ก็เริ่มขึ้น ฟรีดริช เองเกลส์ (Friedrich Engels) เป็น บุ ต รของนั ก อุ ต สาหกรรมชาวเยอรมั น ผู ้ เ ป็ น เจ้ า ของโรงงาน ทอผ้าฝ้ายในเมืองแมนเชสเตอร์ของอังกฤษด้วย ทว่าตัวเองเกลส์ เองนั้ น ได้ ก ลายเป็ น นั ก สั ง คมนิ ย มปฏิ วั ติ โ ดยผ่ า นการติ ด ต่ อ สัมพันธ์กับแวดวงปัญญาชนเยอรมันเดียวกับที่มาร์กซเข้าไป ร่วมด้วย เขาเขียนบทความให้ เยอรมัน-เฟรนช์ อันนาลส์ บทหนึง่ ซึ่งส่งผลสะเทือนอย่างลึกซึ้งต่อความคิดของมาร์กซเองในเรื่อง เศรษฐศาสตร์ ฉะนั้นมันจึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อเองเกลส์มาเยือน ปารีส เขากับมาร์กซจะพบปะกัน ไม่ทันไรพวกเขาก็เริ่มร่วมกัน เขียนจุลสารฉบับหนึ่ง หรือพูดเสียว่าร่วมกันเขียนสิ่งที่เองเกลส์ คิดว่าคงจะเป็นจุลสารฉบับหนึง่ เองเกลส์ทงิ้ ต้นฉบับส่วนของเขา ยาว 15 หน้าไว้กับมาร์กซเมื่อเขาออกจากปารีสไป ปรากฏว่า “จุลสาร” ฉบับนี้ตีพิมพ์ออกมาภายใต้ชื่อ ตระกูลศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Family) ในปี 1845 มันยาวเกือบ 300 หน้าและเป็นหนังสือ ตีพิมพ์เล่มแรกของมาร์กซ


A

Very Short Introduction

27

ขณะเดียวกันนัน้ เอง รัฐบาลปรัสเซียก�ำลังกดดันฝรัง่ เศส ให้ท�ำอะไรบางอย่างกับพวกคอมมิวนิสต์เยอรมันที่อาศัยอยู่ใน ปารีส ในที่สุดก็มีค�ำสั่งเนรเทศออกมา และครอบครัวของมาร์กซ ซึง่ ตอนนีร้ วมลูกคนแรกชือ่ เจนนีเหมือนแม่กพ็ ากันโยกย้ายไปอยู่ กรุงบรัสเซลส์ เพือ่ ให้ได้รบั อนุญาตอยูใ่ นบรัสเซลส์ มาร์กซต้องสัญญา ว่าจะไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง ทว่าในไม่ช้าเขาก็ละเมิด ค�ำมั่นนี้โดยจัดตั้งคณะกรรมการติดต่อสื่อสารคอมมิวนิสต์ซึ่ง มุ่งหมายให้ชาวคอมมิวนิสต์ในประเทศต่างๆ ได้ติดต่อสัมพันธ์ กัน ถึงกระนั้นมาร์กซก็สามารถอยู่ในบรัสเซลส์ได้นาน 3 ปี เขาเซ็นสัญญากับผู้จัดพิมพ์ว่าจะผลิตหนังสือออกมาเล่มหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยบทวิเคราะห์วิจารณ์ทางเศรษฐศาสตร์และ การเมือง สัญญาก�ำหนดให้หนังสือเสร็จเรียบร้อยในฤดูร้อน ปี 1845 ปรากฏว่านี่กลายเป็นเส้นตายแรกในหลายๆ เส้นตาย ที่หนังสือซึ่งจะกลายเป็นเรื่อง ทุน (Capital) เล่มนี้เสร็จไม่ทัน ผู้จัดพิมพ์ได้ตกลงจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้ล่วงหน้าก่อนได้รับต้นฉบับ ซึ่ ง ไม่ ต ้ อ งสงสั ย เลยว่ า เป็ น เรื่ อ งที่ เ ขาเสี ย ใจไปนานเท่ า นาน (สัญญานี้ถูกยกเลิกไปในท้ายที่สุด และชายผู้เคราะห์ร้ายคนนี้ ยังคงพยายามตามทวงเงินของเขาคืนอยู่แม้ในปี 1871) ตอนนี้ เองเกลส์ได้เริม่ ช่วยเหลือมาร์กซทางการเงินแล้ว ดังนัน้ ครอบครัว ของมาร์กซจึงมีเงินพอยังชีพได้ มาร์กซกับเองเกลส์พบปะเจอะเจอกันบ่อยมาก เองเกลส์ มายังกรุงบรัสเซลส์ จากนั้นทั้งคู่ก็เดินทางไปอังกฤษเป็นเวลา 6 สัปดาห์เพื่อศึกษาเศรษฐศาสตร์ในเมืองแมนเชสเตอร์อันเป็น


28

Marx

หัวใจของยุคอุตสาหกรรมใหม่ (ขณะนั้นเจนนีก�ำลังตั้งครรภ์ ลูกสาวคนที่ 2 ของพวกเขานามลอรา) เมื่อกลับมาบรัสเซลส์ มาร์กซก็ตดั สินใจเลือ่ นหนังสือเรือ่ งเศรษฐศาสตร์ของเขาออกไป ก่อน ก่อนจะน�ำเสนอทฤษฎีของเขาเองอย่างเป็นแก่นสารสาระ เขาอยากล้มล้างความคิดเผื่อเลือกอื่นๆ ที่ก�ำลังเป็นที่นิยมอยู่ใน แวดวงปรัชญาและสังคมนิยมเยอรมัน ผลลัพธ์ที่ออกมาได้แก่ เรื่อง อุดมการณ์เยอรมัน (The German Ideology) อันเป็น งานเขียนที่ยาวและบ่อยครั้งเยิ่นเย้อเข้าใจยากซึ่งถูกปฏิเสธโดย ผูจ้ ดั พิมพ์อย่างน้อย 7 รายและต้องล้มเลิกการจัดพิมพ์ไปในทีส่ ดุ ดังที่มาร์กซเขียนภายหลังว่า “ทิ้งมันให้หนูแทะเล็มวิจารณ์ไป” นอกจากเขียน อุดมการณ์เยอรมัน แล้ว มาร์กซใช้เวลา มากมายในช่วงหลายปีนี้เที่ยวโจมตีใครต่อใครหลายคนที่อาจ กลายเป็นพันธมิตรของเขาได้ เขาเขียนงานวิวาทะอีกชิ้นหนึ่ง เพือ่ โจมตีปรูดอง (Pierre-Joseph Proudhon) นักสังคมนิยมชัน้ น�ำ ชาวฝรัง่ เศส ถึงแม้ในทางทฤษฎีมาร์กซจะคัดค้านสิง่ ทีเ่ ขาเรียกว่า “ท่าทีแบบไสยศาสตร์ตอ่ สิทธิอ�ำนาจ” (MC 172) แต่ตวั มาร์กซเอง กลับปักใจเชื่อในความส�ำคัญของความคิดตัวเองเสียจนกระทั่ง ทนความเห็นที่แตกต่างจากของตัวไม่ได้ นี่น�ำไปสู่การทะเลาะ เบาะแว้งบ่อยครัง้ ในคณะกรรมการติดต่อสือ่ สารคอมมิวนิสต์และ สันนิบาตคอมมิวนิสต์ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามมา มาร์กซสบโอกาสทีจ่ ะท�ำให้ความคิดของเขาเป็นพืน้ ฐาน ของกิจกรรมชาวคอมมิวนิสต์เมื่อเขาไปลอนดอนเพื่อเข้าร่วม การประชุมใหญ่ขององค์การสันนิบาตคอมมิวนิสต์ทเี่ พิง่ ก่อตัง้ ขึน้ ใหม่ในเดือนธันวาคมปี 1847 ในการวิวาทะกันยืดยาวหลายรอบ


A

Very Short Introduction

29

เขาปกป้องทรรศนะของเขาว่าลัทธิคอมมิวนิสต์จะปรากฏขึ้น ได้อย่างไร และในที่สุดเขากับเองเกลส์ก็ได้รับมอบหมายภาระ หน้าที่ให้ยกร่างลัทธิความเชื่อของสันนิบาตฯ ขึ้นมาด้วยภาษา เรียบง่าย ผลลัพธ์ของการนี้คือ แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) ซึ่ ง ตี พิ ม พ์ อ อกมาในเดื อ น กุมภาพันธ์ปี 1848 อันจะกลายมาเป็นเค้าโครงคลาสสิกแห่ง ทฤษฎีของมาร์กซ อย่างไรก็ตาม แถลงการณ์ฯ หาได้ประสบผลส�ำเร็จ โดยทันทีไม่ ก่อนมันจะตีพิมพ์ออกมา สถานการณ์ในยุโรปก็ได้ พลิกโฉมไปโดยการปฏิวัติฝรั่งเศสปี 1848 ซึ่งเป็นตัวลั่นไกให้ การเคลือ่ นไหวปฏิวตั ปิ ะทุขนึ้ ทัว่ ยุโรป รัฐบาลชุดใหม่ของฝรัง่ เศส ยกเลิกค�ำสัง่ เนรเทศมาร์กซในจังหวะเดียวกับทีร่ ฐั บาลขีว้ ติ กของ เบลเยียมให้เขาออกจากประเทศภายใน 24 ชั่วโมง ครอบครัว มาร์กซจึงไปปารีสก่อน แล้วจากนั้นเมื่อได้ข่าวการปฏิวัติใน เบอร์ลินก็เดินทางกลับเยอรมนี ในเมืองโคโลญ มาร์กซระดม เงินทุนเพื่อออกหนังสือพิมพ์ที่เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงขั้น รากฐานชื่อว่า นิว ไรนิช กาแซตต์ (New Rhenish Gazette – Neue Rheinische Zeitung) หนังสือพิมพ์แสดงท่าทีสนับสนุน ขบวนการประชาธิปไตยต่างๆ อย่างกว้างขวางทีไ่ ด้กอ่ การปฏิวตั ขิ นึ้ หนังสือพิมพ์เฟื่องฟูอยู่พักหนึ่ง แต่พอกระแสปฏิวัติเริ่มแผ่วลง ระบอบกษัตริย์ปรัสเซียก็ผงาดตนขึ้นมาใหม่ และมาร์กซถูก บีบบังคับให้ต้องออกเดินทางอีก เขาลองไปปารีสแต่แล้วก็โดน เนรเทศอีก ด้วยเหตุนั้นในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1849 เขาจึง โดยสารเรือไปอังกฤษเพื่อรอจนกว่าการปฏิวัติที่ถึงที่สุดกว่านี้


30

Marx

จะเปิดช่องให้เขากลับเยอรมนีได้ มาร์ ก ซอาศั ย อยู ่ ใ นลอนดอนตลอดช่ ว งชี วิ ต ที่ เ หลื อ หะแรกครอบครัวของเขายากจนมากทีเดียว พวกเขาอาศัยอยู่ ในห้อง 2 ห้องที่ย่านโซโห เจนนีตั้งครรภ์ลูกคนที่ 4 ของพวกเขา (ลูกชายชื่อเอ็ดการ์ซึ่งเป็นลูกคนที่ 3 เกิดที่กรุงบรัสเซลส์) แต่ ถึงกระนั้นมาร์กซก็ยังร่วมกิจกรรมทางการเมืองอย่างเอาการ เอางานกับสันนิบาตคอมมิวนิสต์ เขาเขียนเรื่องการปฏิวัติใน ฝรั่งเศสและผลในภายหลังของมัน อีกทั้งพยายามจัดตั้งการ เคลื่อนไหวหนุนช่วยบรรดาสมาชิกคณะกรรมการสันนิบาตฯ ประจ�ำเมืองโคโลญที่ถูกทางการปรัสเซียเอาตัวขึ้นศาล เมื่อ กลุ่มกรรมการสันนิบาตฯ แห่งเมืองโคโลญถูกศาลตัดสินว่าผิด มิไยที่มาร์กซจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าต�ำรวจปลอมแปลง หลั กฐานขึ้ น มาก็ต าม มาร์ กซตัดสิ นใจว่ าการด�ำรงอยู่ สื บไป ของสันนิบาตฯ “ไม่เหมาะกับสถานการณ์อีกต่อไป” และแล้ว สันนิบาตฯ ก็สลายตัวลง มาร์กซอยูอ่ ย่างโดดเดีย่ วระยะหนึง่ โดยไม่ตดิ ต่อสัมพันธ์ กับกลุ่มจัดตั้งทางการเมืองใดๆ เขาใช้เวลาอ่านหนังสือสารพัด เรื่อง และง่วนกับการทะเลาะเบาะแว้งด้านลัทธิความเชื่อกับ บรรดาผู้ลี้ภัยชาวเยอรมันฝ่ายซ้ายคนอื่นๆ จดหมายติดต่อ ของเขาเต็มไปด้วยค�ำบ่นโอดครวญว่าไม่มปี ญ ั ญาซือ้ หาอะไรเลย นอกจากขนมปังกับมันฝรัง่ และเท่าทีซ่ อื้ ได้กเ็ พียงน้อยนิดเท่านัน้ เขากระทัง่ สมัครงานเป็นเสมียนรถไฟแต่ถกู บอกปัดเพราะลายมือ ของเขาอ่านไม่ออก เขาเป็นลูกค้าขาประจ�ำของโรงรับจ�ำน�ำ แต่กระนั้นเพื่อนฝูงของมาร์กซโดยเฉพาะเองเกลส์ก็ให้ข้าวของ


A

Very Short Introduction

31

ช่วยเหลือมาอย่างใจกว้างเสมอ และเป็นไปได้ว่าความยากไร้ ของมาร์กซเกิดจากการบริหารจัดการย�ำ่ แย่มากกว่ารายได้ไม่พอ เฮเลน เดอมุธ (Helene Demuth) ซึ่งเป็นหญิงรับใช้ของเจนนี ยังอาศัยอยูก่ บั ครอบครัวมาร์กซสืบมาจนมาร์กซถึงแก่ความตาย (เดอมุธยังเป็นมารดาของลูกชายนอกสมรสของมาร์กซนาม เฟรเดอริกผูถ้ อื ก�ำเนิดเมือ่ ปี 1851 ด้วย เพือ่ หลีกเลีย่ งเรือ่ งอือ้ ฉาว เด็กคนนี้ได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่บุญธรรม) นี่ เ ป็ น ช่ ว งเวลาหลายปี ที่ ค รอบครั ว มาร์ ก ซประสบ โศกนาฏกรรมส่วนตัว กล่าวคือลูกคนที่ 4 ของพวกเขาตายตัง้ แต่ ยังแบเบาะ เจนนีตั้งครรภ์อีกและเด็กคนหลังนี้ก็ตายเมื่ออายุ ยังไม่ถึงขวบปี เคราะห์หนักที่สุดได้แก่การตายของเอ็ดการ์ที่ ดูเหมือนจะเนื่องจากวัณโรคเมื่ออายุได้เพียง 8 ปี นับแต่ปี 1852 เป็นต้นมา มาร์กซมีรายได้สม�่ำเสมอขึ้น บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ นิวยอร์ก ทรีบูน (New York Tribune) ซึ่งเขาเคยพบในโคโลญได้ขอให้เขาเขียนบทความ ไปลงหนังสือพิมพ์ มาร์กซตอบตกลง และในช่วง 10 ปีถัดไป หนังสือพิมพ์ ทรีบูน ก็ตีพิมพ์บทความของมาร์กซแทบจะทุก สัปดาห์ (แม้ว่าบางบทเองเกลส์จะแอบเขียนแทนให้) ในปี 1856 ฐานะการเงินยิ่งดีขึ้นอีกเมื่อเจนนีได้มรดกมาสองก้อน คราวนี้ ครอบครัวมาร์กซสามารถย้ายจากห้องแออัดยัดเยียดที่โซโห มาอยู่บ้าน 8 ห้องใกล้แฮมป์สเตดฮีธได้แล้ว และที่นั่นเองที่ทั้ง ครอบครัวออกมาตากอากาศกันเป็นประจ�ำทุกวันอาทิตย์ ในปี เดียวกันนี้ ลูกสาวคนที่ 3 ของมาร์กซนามเอลินอร์ หรือชื่อเล่น ว่าทุสซีก็ถือก�ำเนิดขึ้น แม้ว่าเจนนียังจะตั้งครรภ์อีกครั้งแต่เด็ก


32

Marx

คนหลังนี้ก็เสียชีวิตตอนคลอด ดังนั้นเองนับจากนี้ไปครอบครัว มาร์กซจึงมีลูก 3 คน ได้แก่ เจนนี ลอรา และเอลินอร์ มาร์กซเอง ก็เป็นพ่อที่อบอุ่นและรักเอ็นดูลูกๆ ตลอดเวลาที่ว่านี้ มาร์กซเฝ้าคาดหวังว่าการปฏิวัติจะ ปะทุขึ้นในอนาคตอันใกล้ ช่วงที่เขาเขียนงานได้มากที่สุดคือ ในปี 1857-1858 นั้นเป็นผลมาจากความหลงผิดของเขาว่า ภาวะตกต�่ ำทางเศรษฐกิ จ ตอนนั้ นคื อ การเปิ ดฉากวิ กฤตครั้ ง สุ ด ท้ ายของทุ น นิ ย ม ด้ ว ยความกั ง วลว่ า ความคิ ด ของเขาจะ ไม่ ทั น การณ์ มาร์ ก ซเขี ย นบอกเล่ า แก่ เ องเกลส์ ว ่ า เขาเริ่ ม “ท�ำงานเป็ น บ้ า เป็ น หลั ง ตลอดทุ ก คื น ” เพื่ อ ให้ เ ค้ า โครงงาน ของเขากระจ่างชัด “ก่อนน�้ำท่วมโลก” (MC 290) ปรากฏว่า ในเวลา 6 เดือนเขาเขียนต้นร่างหนังสือ ทุน ไปกว่า 800 หน้า และอันที่จริงแล้วตัวร่างนั้นครอบคลุมเนื้อหาต่างๆ มากกว่าใน หนังสือ ทุน เมื่อมันตีพิมพ์ออกมาในตอนท้ายอักโข ในปี 1859 มาร์กซตีพิมพ์ส่วนเล็กๆ จากงานของเขาว่าด้วยเศรษฐศาสตร์ ออกมาในชื่อ บทวิพากษ์เศรษฐศาสตร์การเมือง (Critique of Political Economy) หนังสือเล่มนี้ไม่ได้บรรจุความคิดต้นแบบ ของมาร์กซไว้มากมายอะไรนัก (ยกเว้นบทสรุปย่อพัฒนาการ ทางปัญญาของเขาในค�ำน�ำซึ่งกลายเป็นที่โด่งดังทุกวันนี้) และ เมือ่ ตีพมิ พ์ออกมาก็ไม่ได้การตอบรับอย่างครึกโครมแต่ประการใด แทนที่จะเตรียมต้นฉบับส่วนที่เหลือซึ่งแสดงความคิด ต้นแบบของเขามากกว่าให้พร้อมส�ำหรับการตีพิมพ์ มาร์กซ กลั บ ถู ก ดึ ง ให้ เ บี่ ย งเบนเฉไฉไปด้ ว ยข้ อ พิ พ าทบาดหมางกั บ นักการเมืองและบรรณาธิการฝ่ายซ้ายคนหนึ่งนาม คาร์ล โฟกท์


A

Very Short Introduction

33

(Karl Vogt) มาร์กซอ้างว่าโฟกท์รับจ้างรัฐบาลฝรั่งเศสมา ส่งผล ให้เกิดคดีความฟ้องร้องกันไปมา โฟกท์ประณามมาร์กซว่าเป็น นักปลอมแปลงเอกสารและขู่กรรโชก และมาร์กซก็ตอบโต้ด้วย การเขียนหนังสือหนา 200 หน้าโต้แย้งเสียดสีโจมตีโฟกท์ หลายปี ให้หลัง เรื่องมาแดงว่ามาร์กซเป็นฝ่ายถูก แต่กรณีพิพาทนี้ท�ำให้ เขาสิ้นเปลืองเงินไปมากมายและไม่ได้เขียนอะไรที่ทรงคุณค่า ยืนนานเลยเป็นเวลา 18 เดือน ทว่ า นอกจากนี้ ยั ง มี เ หตุ ผ ลอื่ นที่ จ ริ ง จั ง กว่ า ซึ่ ง ท�ำให้ มาร์กซเขียนงานเศรษฐศาสตร์ของเขาเสร็จล่าช้าไป กล่าวคือ สมาคมคนงานสากล (International Workingmen’s Association) ซึง่ มารูจ้ กั กันภายหลังว่า องค์การสากลทีห่ นึง่ (First International) ได้ถูกก่อตั้งขึ้น ณ การประชุมสาธารณะในลอนดอนเมื่อปี 1864 มาร์กซรับค�ำเชิญไปร่วมประชุมครัง้ นี้ และการทีเ่ ขาได้รบั เลือกตัง้ เข้าไปอยูใ่ นคณะกรรมการทัว่ ไปขององค์การก็ท�ำให้เขาพ้นสภาพ โดดเดี่ยวจากกิจกรรมทางการเมือง ภูมิปัญญาอันทรงพลังและ ความเข้มแข็งของบุคลิกท�ำให้เขากลายเป็นผู้มีอิทธิพลครอบง�ำ สมาคมฯ คนหนึ่งในไม่ช้า เขาเป็นผู้เขียนค�ำปราศรัยในพิธีเปิด สมาคมฯ และยกร่างข้อบังคับ แน่ละว่าเขามีข้อคิดเห็นแตกต่าง มากพอควรกับบรรดานักสหภาพแรงงานที่ก่อตัวเป็นฐานของ ภาคส่วนอังกฤษแห่งองค์การสากล แต่เขาก็แสดงท่าทีการทูต ที่หาได้ยากในการรอมชอมความแตกต่างเหล่านี้ ขณะเดียวกับ ที่พยายามอย่างไม่ลดละที่จะดึงเหล่าสมาชิกชนชั้นคนงานของ สมาคมฯ ให้เข้าใกล้มุมมองระยะยาวของเขาเองมากขึ้น ในปี 1867 ในที่สุดมาร์กซก็เขียนหนังสือ ทุน เล่มแรก


34

Marx

เสร็จ ปรากฏว่าปฏิกิริยาแรกเริ่มของสาธารณชนคนอ่านก็ชวน ผิดหวังอีกนั่นแหละ ในทางกลับกันเพื่อนฝูงของมาร์กซพากัน ขานรับมันอย่างเร่าร้อนกระตือรือร้นและท�ำอะไรก็แล้วแต่ทที่ �ำได้ เพื่อให้หนังสือเล่มนี้ได้รับการวิจารณ์กล่าวขวัญถึง เองเกลส์ คนเดียวเขียนบทปริทศั น์หนังสือ ทุน ต่างกรรมต่างวาระถึง 7 บท ลงหนังสือพิมพ์เยอรมัน 7 ฉบับ แต่ทุกบทนั้นก็แสดงความนิยม ชมชืน่ หนังสือเล่มนีเ้ สมอต้นเสมอปลาย ทว่ากว่าหนังสือจะเป็นที่ รูจ้ กั ในวงกว้างออกไปก็กนิ เวลาช้านาน อันทีจ่ ริงมาร์กซกลายเป็น บุคคลที่รู้จักกันดีมิใช่เพราะหนังสือเรื่อง ทุน หากแต่จากการ ตีพิมพ์งานเรื่อง สงครามกลางเมืองในฝรั่งเศส (The Civil War in France) เมื่อปี 1871 มาร์กซเขียนงานชิ้นนี้ในรูปค�ำปราศรัย ต่อองค์การสากลเกี่ยวกับคอมมูนปารีสซึ่งเป็นการลุกขึ้นสู้ของ คนงานภายหลังฝรั่งเศสรบแพ้ปรัสเซียแล้วพวกเขาเข้ายึดและ ปกครองกรุงปารีสอยู่นาน 2 เดือน องค์การสากลแทบไม่มีอะไร เกี่ยวข้องกับกรณีนี้เลย แต่กลับถูกผูกโยงเข้ากับคอมมูนปารีส ในความคิดจิตใจของมหาชน ค�ำปราศรัยของมาร์กซยิ่งไปเสริม ความระแวงสงสัยแต่แรกเหล่านีว้ า่ มีการสมคบคิดกันวางแผนร้าย ของคอมมิวนิสต์ในระดับสากล และตัวมาร์กซเองก็ขนึ้ ชือ่ อือ้ ฉาว โดยทันที เขาเขียนเล่าให้เพือ่ นคนหนึง่ ว่า “จริงๆ แล้วก็เป็นเรือ่ งดี ส�ำหรับผมนะหลังจากสุขสงบอยูใ่ นรังอย่างน่าเบือ่ ร�ำคาญมานาน ยี่สิบปี” (MC 402) การปราบปรามคอมมู น ปารี ส อย่ า งเหี้ ย มโหดท�ำให้ องค์การสากลอ่อนแอลง ความเห็นต่างที่ระอุคุกรุ่นอยู่ใต้พื้นผิว พลันโผล่ขึ้นเบื้องบน ในการประชุมใหญ่ขององค์การสากลเมื่อ


A

Very Short Introduction

35

ปี 1872 มาร์กซพบว่าเขาคุมมันไม่อยู่ ญัตติที่ให้จ�ำกัดอ�ำนาจ ของคณะกรรมการทัว่ ไปผ่านความเห็นชอบของทีป่ ระชุมทัง้ ทีเ่ ขา คัดค้านอย่างแข็งขัน ฉะนัน้ แทนทีจ่ ะทนดูองค์การสากลตกไปอยู่ ในอุง้ มือศัตรูของเขา มาร์กซจึงเสนอให้คณะกรรมการทัว่ ไปย้าย ไปตัง้ อยูท่ นี่ ิวยอร์กนับแต่นไี้ ป ญัตตินผี้ ่านความเห็นชอบไปด้วย คะแนนเฉียดฉิว มาร์กซย่อมต้องรู้ดีว่ามันหมายถึงอวสานของ องค์การสากลที่หนึ่ง ทั้งนี้ก็เพราะในสภาพการติดต่อสื่อสาร ดังทีเ่ ป็นอยูต่ อนนัน้ มันท�ำไม่ได้ดอกทีจ่ ะบริหารจัดการองค์การที่ ส่วนใหญ่อยูใ่ นยุโรปจากฟากกระโน้นของมหาสมุทรแอตแลนติก ถึงตอนนีม้ าร์กซอายุได้ 54 ปีแล้วและสุขภาพทรุดโทรม บัน้ ปลายชีวติ 10 ปีทเี่ หลือของเขาค่อนข้างราบรืน่ ไร้เรือ่ งราวกว่า ทีผ่ า่ นมา มรดกทีไ่ ด้รบั เพิม่ เติมมาอีกท�ำให้ไม่ตอ้ งห่วงเรือ่ งความ ยากจนแล้วตอนนี้ ในหลายแง่ ชีวิตของครอบครัวมาร์กซบัดนี้ ก็เหมือนครอบครัวกระฎุมพีมีอันจะกินอื่นๆ พวกเขาย้ายไปอยู่ บ้านหลังใหญ่ขึ้น ใช้จ่ายเงินมากมายตกแต่งมัน ส่งลูกๆ ไปเข้า วิทยาลัยสตรี และออกเดินทางท่องเที่ยวไปตามบ่อน�้ำแร่พักฟื้น สุขภาพที่นิยมกันบนภาคพื้นทวีปยุโรป มาร์กซกระทั่งอวดอ้าง ว่าท�ำก�ำไรได้จากตลาดหุ้น ซึ่งถึงกระนั้นก็มิได้ยับยั้งเขาให้เลิก ร้องขอและรับเงินช่วยเหลือให้เปล่าจากเองเกลส์ และแล้วในที่สุดความคิดของมาร์กซก็เริ่มแพร่หลาย กระจายออกไป ถึงปี 1871 หนังสือ ทุน ก็จ�ำต้องพิมพ์ออกมา เป็ น ครั้ ง ที่ 2 ฉบั บ แปลเป็ น ภาษารั ส เซี ย ออกมาในปี 1872 เนื่ อ งจากมาร์ ก ซเป็ นที่ นิย มชมชอบอย่ า งยิ่ ง ในหมู ่ นั ก ปฏิ วั ติ รัสเซีย และฉบับแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสก็ออกตามมาในไม่ช้า


36

Marx

แม้หนังสือ ทุน จะไม่ทันแปลเป็นภาษาอังกฤษในช่วงชีวิตของ มาร์กซ (ต้นฉบับเรื่อง ทุน เขียนขึ้นเป็นภาษาเยอรมันเหมือน หนังสือเล่มอื่นๆ ของเขา) แต่กระนั้นกิตติศัพท์ที่โด่งดังขึ้นทุกที ของมาร์กซแม้ในหมู่ชาวอังกฤษซึ่งปกติไม่ชอบทฤษฎีก็เห็นได้ จากการที่เขาถูกนับรวมเข้าไปในจุลสารชุด “ผู้น�ำความคิดสมัย ใหม่” ด้วยคนหนึ่ง มาร์กซและเองเกลส์คงเขียนจดหมายติดต่อ กับบรรดานักปฏิวัติทั่วยุโรปที่เห็นพ้องกับทรรศนะของพวกเขา อย่างสม�่ำเสมอ ว่างเว้นจากเรื่องนี้แล้ว มาร์กซก็ท�ำงานเกี่ยวกับ หนังสือ ทุน เล่ม 2 และ 3 อย่างจับจด แต่ไม่เคยถึงขั้นเสร็จ เรียบร้อยพร้อมตีพิมพ์เลย ภาระหน้าที่นี้ถูกทิ้งไว้ให้เองเกลส์ สานต่อหลังมาร์กซตาย งานส�ำคัญชิ้นสุดท้ายที่มาร์กซเขียน มีที่มาจากการประชุมใหญ่ที่จัดขึ้น ณ เมืองโกธาในเยอรมนี เมื่อปี 1875 เป้าประสงค์ของการประชุมใหญ่ที่ว่านี้คือการผนึก พรรคสังคมนิยมเยอรมันต่างๆ ที่เป็นคู่แข่งเข้าด้วยกันเป็น เอกภาพ และเพื่อการนี้หลักนโยบายร่วมกันก็ถูกยกร่างขึ้น ไม่มีการปรึกษาหารือไม่ว่ากับมาร์กซหรือเองเกลส์เรื่องหลัก นโยบายดังกล่าวซึ่งรู้จักกันในนาม “หลักนโยบายโกธา” และ มาร์กซโกรธที่มันบรรจุข้อเบี่ยงเบนไว้หลายอย่างหลายประการ จากสิ่งที่เขาถือว่าเป็นหลักสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ เขาได้เขียน ข้อวิพากษ์วิจารณ์หลักนโยบายที่ว่าและพยายามเผยแพร่มัน ไปในหมู่ผู้น�ำสังคมนิยมเยอรมัน หลังมรณกรรมของมาร์กซ หนังสือ วิพากษ์หลักนโยบายโกธา (Critique of the Gotha Program) เล่มนีก้ ไ็ ด้รบั การตีพมิ พ์และเป็นทีต่ ระหนักรับกันว่าเป็น ถ้อยแถลงที่หาได้ยากของมาร์กซชิ้นหนึ่งว่าด้วยการจัดระเบียบ


A

Very Short Introduction

37

ภาพประกอบ 3 ด้านนอกของบ้านเลขที่ 41 ถนนเมตแลนด์ปาร์ก ย่านฮาเวอร์ สต็อกฮิลล์ ลอนดอน ที่ซึ่งมาร์กซอาศัยอยู่ในช่วง 15 ปีท้ายของชีวิต


38

ภาพประกอบ 4 มาร์กซกับเจนนี ลูกสาวคนโตของเขา ค.ศ. 1870

Marx


A

Very Short Introduction

39

สังคมคอมมิวนิสต์ในอนาคต อย่างไรก็ตามในตอนนัน้ ค�ำวิพากษ์ ของมาร์กซหาได้มีอิทธิพลแต่อย่างใดไม่ และแผนการรวมพรรค ต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นเอกภาพก็เดินหน้าต่อไป ช่วงปีท้ายๆ ในบั้นปลายชีวิต ความพึงพอใจใดๆ ที่ มาร์กซอาจได้มาจากชื่อเสียงที่เพิ่มพูนขึ้นของตนกลับถูกบดบัง ด้วยความโศกเศร้าส่วนตัว ลูกสาวคนโตทั้งสองของมาร์กซคือ เจนนีและลอราต่างแต่งงานและมีลูก ทว่าในบรรดาลูกทั้งสาม ของลอราไม่มีคนใดมีชีวิตรอดเกิน 3 ขวบเลย ลูกหัวปีของเจนนี ก็ตายแต่แบเบาะเช่นกัน แม้ว่าหลังจากนั้นเธอจะมีลูกอีก 5 คน และทั้งสี่รอดชีวิตจนเติบใหญ่ ทว่าในปี 1881 เจนนีผู้แม่ ภรรยา สุดที่รักของมาร์กซก็ถึงแก่ความตายหลังจากป่วยอยู่นาน บัดนี้ มาร์กซทัง้ ป่วยไข้และหงอยเหงา ในปี 1882 เจนนีลกู สาวของเขา ป่วยหนักและถึงแก่กรรมไปอีกคนในเดือนมกราคมปี 1883 มาร์กซไม่เคยท�ำใจได้เลยกับการสูญเสียครั้งนี้ เขาป่วยเป็น หลอดลมอั ก เสบและถึ ง แก่ ค วามตายเมื่ อ วั น ที่ 14 มี น าคม ค.ศ. 1883


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.