8
Modern
China
คำ�นำ�ผู้แปล
สิ่งที่ทำ�ให้ผู้แปลเริ่มหันมาให้ความสนใจความเป็นมาและ ความเป็นไปของสาธารณรัฐประชาชนจีนคือภาพยนตร์ จาก ภาพยนตร์จีนหลายๆ เรื่องที่เข้าฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์ ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ผู้แปลสัมผัสได้ถึงคำ�ถามมากมายที่ เกิดขึน้ จากความเปลีย่ นแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม อันส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีน โดยเฉพาะ คนยากคนจนบริเวณชายขอบของสังคม จากฝีมอื ของผูก้ �ำ กับและนักแสดง ทำ�ให้ผแู้ ปลพยายาม ติ ด ตามข่ า วสารเกี่ ย วกั บ จี น และพยายามเชื่ อ มโยงข่ า วสาร เหล่านั้นเข้ากับ ‘สาร’ ที่ภาพยนตร์เหล่านั้นนำ�เสนอ ด้วยหวังว่า วันหนึง่ จะสามารถมองเห็น ‘ความเป็นจีน’ ได้รอบด้านและมีความ เข้าใจเกี่ยวกับมันมากขึ้น จีนสมัยใหม่: ความรู้ฉบับพกพา เล่มนี้จึงเข้ามาใน
A
Very Short Introduction
9
จังหวะที่พอเหมาะพอดี จากการพิจารณา ‘ความเป็นสมัยใหม่’ ของจีนอย่างรอบด้าน ทั้งในด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และ วัฒนธรรม ทำ�ให้ผู้แปลมองเห็นสายธารของความเปลี่ยนแปลง และผลกระทบของมันได้ชัดเจนขึ้น นับตั้งแต่ยุคราชวงศ์จวบจน กระทั่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปัจจุบัน หนังสือเล่มนีเ้ ริม่ ต้นจากการเดินเข้าสูค่ วามเป็นสมัยใหม่ ของจีนในช่วงปลายราชวงศ์ชิง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายสำ�หรับการ อธิบายความเป็นมาดังกล่าวแบบย่นย่อเพื่อเป็นรากฐานสำ�หรับ การศึกษาเรียนรู้ในขั้นต่อไป อย่างไรก็ตาม มันก็ทำ�หน้าที่นั้นได้ อย่างรอบด้านและครอบคลุม โดยการพิจารณาจีน ณ ปัจจุบนั ผ่าน บริบททางประวัตศิ าสตร์และบริบทในระดับโลก ก่อนจะอธิบายว่า ทำ�ไมจีนสมัยใหม่จึงเป็นอย่างที่มันปรากฏ โดยภาพรวม หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ต้ อ งการเสนอภาพของ จีนที่สะท้อนมุมมองหลักสามเรื่อง หนึ่ง จีนเป็นสังคมที่เปิดรับ อิทธิพลจากภายนอกเกือบตลอดเวลา สังคมจีนจึงไม่ได้แยกตัว โดดเดีย่ ว แต่มนั คือส่วนหนึง่ ของการเปลีย่ นแปลงทางวัฒนธรรม ในระดับภูมิภาคและระดับโลก สอง จีนสมัยใหม่คือส่วนผสม อันซับซ้อนของประเพณีท้องถิ่นกับอิทธิพลจากภายนอก และ สาม การทำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาสู่จีนสมัยใหม่ควร พิจารณาความต่อเนื่อง ความเปลี่ยนแปลง และผลกระทบของ ความเปลี่ ย นแปลงที่ มี ต่ อ สั ง คมและวั ฒ นธรรมโดยรวม โดย ไม่ควรพิจารณาผ่านชนชั้นนำ�ทางการเมืองเพียงเท่านั้น ด้านการเมือง ผูเ้ ขียนเห็นว่าทัง้ พรรคชาตินยิ มและพรรค คอมมิวนิสต์ต่างมีบทบาทสำ�คัญบนเส้นทางสู่การเป็นสมัยใหม่
10
Modern
China
และเราสามารถมองได้วา่ การตัง้ รัฐบาลพรรคชาตินยิ มในปี 1928 จนกระทั่งถึงปัจจุบันคือโครงการระยะยาวของการสร้างจีนให้ ทันสมัย ซึ่งแน่นอนว่ามันตรงกันข้ามกับมุมมองของผู้นำ�ทั้ง สองฝ่ายที่ต่างก็มองฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นความชั่วร้าย ด้านสังคม ผู้เขียนทำ�การสำ�รวจความเปลี่ยนแปลง ในสังคมจีน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างหญิงกับชาย รูปแบบ การถือครองที่ดิน หน้าที่และพันธสัญญาของรัฐที่มีต่อประชาชน เพื่อชี้ให้เห็นว่าสังคมจีนก้าวเดินไปสู่สมัยใหม่มากเพียงใด ด้านเศรษฐกิจ นอกจากการสืบหาร่องรอยจุดกำ�เนิดของ การมีปฏิสมั พันธ์กบั ระบบเศรษฐกิจโลกของจีน ผูเ้ ขียนยังอธิบาย พั ฒ นาการทางเศรษฐกิ จ ของจี น เพื่ อ เชื่ อ มโยงสู่ ส ภาพความ เป็นจริงในปัจจุบัน และชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่กำ�ลังเกิดขึ้น รวมทั้ง แรงกดดันทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ด้านวัฒนธรรม ผู้เขียนใช้งานวรรณกรรม ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ รวมทั้งสถาปัตยกรรม เป็นภาพสะท้อนความ เคลือ่ นไหวทางภูมปิ ญ ั ญา การขับเคลือ่ น ‘วัฒนธรรมใหม่’ รวมทัง้ การต่อสู้เพื่อการนำ�เสนอความคิดความเห็น โดยใช้รายการ โทรทัศน์ยอดนิยมรายการหนึ่งเป็นตัวอย่างของการประณาม ‘อารยธรรมจีนที่ล้าหลังและคับแคบ’ (ในความเห็นของคนกลุ่ม หนึ่ง)—ก่อนที่มันจะถูกห้ามฉาย ในฐานะผู้เริ่มต้นศึกษาเรียนรู้ ผู้แปลเชื่อว่าหนังสือ เล่มนี้คือรากฐานที่ดีสำ�หรับการทำ�ความเข้าใจที่มาและที่ไปของ สาธารณรัฐประชาชนจีนในห้วงเวลาปัจจุบนั รวมทัง้ การวางกรอบ การศึกษาในแง่มุมต่างๆ ที่ลึกซึ้งขึ้นเป็นลำ�ดับ นอกเหนือจาก
A
Very Short Introduction
11
การศึกษาเรียนรู้เพื่อรับมือกับอิทธิพลจากจีนในรูปแบบต่างๆ ที่ ทั่วโลกต่างน้อมรับและหวั่นเกรงในเวลาเดียวกัน ผู้แปลขอขอบคุณ คุณปานชีวา บุตราช ที่ช่วยแก้ไข และตรวจทานต้นฉบับให้อย่างละเอียด ขอบคุณ คุณนลินรัตน์ พยับไชยกุล สำ�หรับการช่วยถอดเสียงภาษาจีนและการดูแล อย่างดียิ่งที่ปักกิ่ง เทียนจิน และมองโกเลียใน ทั้งนี้หากมีข้อ ผิดพลาดประการใด ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้แปลแต่เพียง ผู้เดียว
กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ พฤศจิกายน 2554
12
Modern
China
กิตติกรรมประกาศ
ผมขอขอบคุณทุกท่านที่สำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดซึ่งมอบหมายความรู้ฉบับพกพาเล่มนี้ให้กับผม และคอย เฝ้าดูมนั ในทุกขัน้ ตอนของชีวติ ขอบคุณ มาร์ชา ฟิเลียน, ลูเซียนา โอ’ฟลาเฮอร์ตี, เดบอราห์ พรอทีโร และ เจมส์ ทอมป์สัน การ เขียนหนังสือเล่มนี้จำ�เป็นต้องอ่านหนังสือจำ�นวนมาก ผมคง ไม่สามารถหาเวลาอ่านงานเหล่านั้นถ้าไม่ได้พักการสอน ซึ่งผม ได้รับเงินสนับสนุนก้อนใหญ่จากรางวัลฟิลิป เลเวอร์ฮูล์ม โดย กองทุนเลเวอร์ฮูล์ม การสำ�รวจพื้นที่ในปี 2006 เกิดขึ้นได้เพราะ นํ้าใจจากโครงการแลกเปลี่ยนทางด้านสังคมศาสตร์ระหว่าง สถาบันการศึกษาของอังกฤษกับจีน ผมเป็นหนี้คำ�ขอบคุณต่อผู้ ไม่ประสงค์ออกนามที่ให้คำ�วิจารณ์อันมีคุณค่าทั้งในขั้นเค้าโครง และในขั้นต้นฉบับ เพื่อนร่วมงานและเพื่อนๆ หลายคนมีส่วน ช่วยเหลือหลากหลายด้านสำ�หรับการเขียนหนังสือเล่มนี้ แต่ผม
A
Very Short Introduction
13
ขอเอ่ยชื่อ เกรแฮม ฮัตชิงส์ และ นีล ไพเพอร์ ซึ่งอ่านต้นฉบับ ด้วยความอดทน และให้คำ�วิจารณ์สำ�หรับทุกๆ ร่างที่แสนจะ ไม่เรียบร้อย ด้วยความเฉลียวฉลาดและความรู้สึกดีๆ ที่มีให้ มากมาย ผมได้รับการสนับสนุนอย่างไม่ขาดตกบกพร่องจาก พ่อกับแม่ของผมและพามินา แคทารีนอ่านและวิจารณ์ต้นฉบับ ทั้งหมด และคอยสนับสนุนผมทุกอย่างจนเกินกว่าจะนับไหว ผมขออุทิศหนังสือเล่มนี้ให้กับเธอ
รานา มิตเตอร์
บทที่ 1 จีนสมัยใหม่คืออะไร
A
Very Short Introduction
17
มั น เป็ น ไปไม่ ไ ด้ ที่ จ ะทำ � อย่ า งอื่ น นอกจากยอมรั บ มติ เอกฉันท์ที่ว่า หลังจากช่วงเวลาอันยาวนาน ประเทศจีน ก็ได้มาถึงจุดเปลี่ยนแห่งโชคชะตา... การหมิ่นหยามชาว ต่างชาติกลายเป็นอดีต... แม้แต่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล เราก็ ไ ด้ พ บกั บ จิ ต วิ ญ ญาณใหม่ — ผ่ า นหลั ก ฐานอั น น่ า ประหลาดใจ—นั่นคือ ผู้คนเกือบทั้งหมดปรารถนาที่จะ เรียนรู้ภาษาอังกฤษ... ด้วยเชื่อว่าความรู้ภาษาอังกฤษ คือหนทางสู่ความก้าวหน้า เป็นกุญแจไขไปสู่ความรู้ทาง ด้านวิทยาศาสตร์และศิลปะ ปรัชญาและนโยบาย ของชาติ ตะวันตก
การประเมินข้างต้นมาจากหนังสือชือ่ จีนใหม่ (New China) ที่เขียนโดย ดับเบิลยู. วาย. ฟูลเลอร์ตัน (W. Y. Fullerton) และ ซี. อี. วิลสัน (C. E. Wilson) ในทศวรรษที่ 3 ของยุคการ ‘ปฏิรูป และเปิดประเทศ’ (gaige kaifang – ก่ายเก๋อ ไคฟ่าง) ของจีน ในที่สุด ความจำ�เจซํ้าซากของยุคนิยมเหมาอันครํ่าครึ—กองทัพ มดคนงานชาวจีนขมุบขมิบป่าวร้องสโลแกนต่อต้านเกลียดชัง
18
Modern
China
จักรวรรดินิยม โดยทุกคนอยู่ในชุดคนงานผ้าฝ้ายทอสีนํ้าเงิน —ก็เปิดทางให้กับทัศนียภาพของประเทศที่ในเขตเมืองเต็มไป ด้วยตึกระฟ้า ประเทศซึ่งพื้นที่ในเขตชนบทถูกเปลี่ยนแปลง โดยกรรมสิทธิ์ในที่ดินรูปแบบใหม่และแรงงานอพยพที่เพิ่มขึ้น มหาศาล ประเทศซึง่ ประชากรต้องการจะออกไปเกีย่ วโยงกับโลก ภายนอก หลังจากแยกตัวโดดเดี่ยวอยู่นานหลายปี ข้อสังเกตของฟูลเลอร์ตันและวิลสันที่ว่าประเทศจีนได้ มาถึง ‘จุดเปลี่ยนแห่งโชคชะตา’ และการที่ประชากรจำ�นวนมาก กำ�ลังเรียนรู้ภาษาอังกฤษในฐานะหนทางหนึ่งของการเติมเต็ม ความเปลีย่ นแปลงดังกล่าว ดูเหมือนจะเป็นความคิดเห็นทีม่ เี หตุ มีผลสำ�หรับประเทศจีน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าแตกต่างอย่างมากจาก ประเทศทีเ่ คยถูกปกครองโดยประธานเหมาเมือ่ ชัว่ อายุคนทีผ่ า่ น มา อย่ า งไรก็ ต าม ฟู ล เลอร์ ตั น และวิ ล สั น ไม่ ไ ด้ เ ขี ย น ข้อสังเกตของพวกเขาบนเครื่องบิน 747 หนึ่งในหลายๆ ลำ�ของ สายการบินแอร์ ไชนา ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารหลายพันคนเดินทาง ไปมาระหว่างจีนกับตะวันตก ก่อนจะลงจอดที่สนามบินเคนเนดี หรือฮีทโทรว์ พวกเขาเขียนหนังสือเล่มดังกล่าวเมือ่ หนึง่ ศตวรรษ ก่อน และเมื่อมองย้อนกลับไป แนวคิดเบื้องหลังชื่อรองหนังสือ ของพวกเขาที่ว่า ‘เรื่องราวของการเดินทางสมัยใหม่’ (a story of modern travel) นั้นเกิดขึ้นในห้วงเวลาอันน่าสะเทือนใจของ ประวัติศาสตร์จีน คือปี 1910 ประเทศจีนที่พวกเขานำ�เสนอนั้นมีชีวิตชีวา กระทั่งมี ความหวังและมีปฏิสมั พันธ์กบั โลกภายนอกอย่างมาก ทว่าไม่ถงึ
A
Very Short Introduction
19
หนึ่งปีต่อมา ราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองจีน ในช่วงที่ฟูลเลอร์ตันและวิลสันไปเยือนก็ล่มสลาย การปฏิวัติ ในเดือนตุลาคม 1911 ทำ�ให้ห้วงเวลาสองพันปีของการปกครอง ในระบอบจักรพรรดิเดินทางมาถึงจุดจบ และเปิดทางให้กับ ระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งก็ล่มสลายในอีกไม่ถึงสี่สิบปีต่อมา ก่อนที่ สาธารณรัฐประชาชนจีนจะได้รับการสถาปนา โดยรูปแบบของ มันก็มีการเปลี่ยนแปลงตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา สำ�หรับการ พยายามให้คำ�นิยามว่าจีน ‘สมัยใหม่’ คืออะไร นี่แสดงให้เห็น ว่าจีนต้องใช้เวลามากเพียงใดในการกำ�หนดวิสัยทัศน์ว่าด้วย กระบวนการทำ�ให้เป็นสมัยใหม่ของตนเอง เพื่อให้เส้นทางเดิน นับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ยังคงมีความหมายสำ�หรับช่วงต้น ศตวรรษที่ 21 จีนเป็นประเทศทีม่ ปี ระชากรมากทีส่ ดุ ในโลก คือ 1,300 ล้านคน ณ จุดเริ่มต้นของศตวรรษที่ 21 เศรษฐกิจจีนเติบโตโดย เฉลี่ยประมาณร้อยละ 10 ต่อปี ในช่วงสิบปีแรกของศตวรรษนี้ จีนพยายามเสาะหาบทบาทของตนในระดับภูมิภาคและระดับ โลกด้ ว ยการเข้ า ไปมี บ ทบาททางการเมื อ งและเศรษฐกิ จ ใน แอฟริกา ละตินอเมริกา และตะวันออกกลาง อีกทั้งยังเร่งจังหวะ ก้าวไปสู่การแสดงตัวตนในฐานะสมาชิกของชุมชนโลกที่มีความ รับผิดชอบ และการแสดงบทบาทในพื้นที่ที่มีปัญหา เช่น อิหร่าน และเกาหลีเหนือ ซึ่งชาติตะวันตกมีบทบาทเพียงเล็กน้อย กีฬา โอลิมปิกทีป่ กั กิง่ ในปี 2008 เป็นหมุดหมายของการ ‘เผยตัว’ ของ จีนในฐานะสมาชิกของสังคมโลก และเป็นจุดสูงสุดของ ‘การก้าว ทะยานโดยสันติ’ (peaceful rise) ซึ่งได้รับการวางแผนมาตั้งแต่
20
Modern
China
ช่วงกลางทศวรรษ 1990 วลี ‘การก้าวทะยานโดยสันติ’ (heping jueqi – เหอผิง เจวี๋ยฉี่)—ซึ่งเกี่ยวโยงกับนักคิดทางการเมืองชื่อ เจิ้ง ปี้เจียน (Zheng Bijian)—โดยตัวมันเองนั้น นักอุดมการณ์ ชาวจีนคิดว่าเป็นการเผชิญหน้ามากเกินไป และถูกแทนที่ด้วย วลี ‘การพัฒนาอย่างสันติ’ (peaceful development) อย่างไร ก็ตาม แนวคิดยังคงไม่เปลีย่ นแปลง และในทีส่ ดุ จีนก็ได้รบั บทบาท มหาอำ�นาจในระดับภูมภิ าคและระดับโลกกลับคืนมา หลังจากสูญ เสียมันไปในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ไม่ว่าจะไปที่ไหนในจีน คุณจะเห็นสัญลักษณ์ของการ เปลี่ยนแปลงเสมอ พื้นที่จำ�นวนมากทางภาคตะวันตกของจีน ถูกนํ้าท่วมจากการสร้างเขื่อนสามผา (Three Gorges Dam) กั้นแม่นํ้าแยงซี ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวต้องอพยพโยกย้าย เข้าไปอยู่ในเขตเมือง พร้อมๆ กับการเคลื่อนหนีจากประเพณี การทำ�เกษตรแบบดั้งเดิม ในเขตเมือง ไป่ตู้ เสิร์ชเอนจินเชื้อสาย จีน ครอบครองตลาดเหนือเจ้าตลาดระดับโลกอย่างกูเกิล ภายใต้ กฎหมายควบคุมอันเข้มงวดของจีนมี ‘พืน้ ทีส่ เี ทา’ ของผลิตภัณฑ์ ทางวั ฒ นธรรม ตั้ ง แต่ ภ าพยนตร์ ใ ต้ ดิ น ที่ วิ พ ากษ์ ก ารปฏิ วั ติ วั ฒ นธรรมไปจนถึ ง ภาพโป๊ การขบถทางวั ฒ นธรรมเสาะหา หนทางที่จะทำ�ให้มุมมองของตนเป็นที่รับรู้ ตอนนีจ้ นี คือนักแสดงหลักบนเวทีตลาดโลก เกือบตลอด ช่วงแรกของทศวรรษ 2000 การส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ของจีนทำ�ให้เกิดความกังวลขึน้ ในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป เกี่ยวกับการเกินดุลทางการค้าของจีน ชาติตะวันตกยังกังวล เกี่ยวกับค่าเงินหยวน (หรือเหรินหมินปี้ – RMB) ของจีนซึ่งจะ
A
Very Short Introduction
21
ภาพประกอบ 1 แรงงานอพยพผิดกฎหมายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในเขต ก่อสร้างของจีน งานของพวกเขาเป็นที่มาของเส้นขอบฟ้าอันวิจิตรก้าวลํ้า ในเมืองต่างๆ เช่น เซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง
มีผลต่อเงินดอลลาร์ สำ�หรับเรื่องนี้ สหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส พยายามอย่ า งหนั ก ในการล็ อ บบี้ ใ ห้ ธ นาคารประชาชนแห่ ง ประเทศจีน (People’s Bank of China) เพิ่มค่าเงินหยวน การ เกินดุลบัญชีเดินสะพัดของจีนยังหมายความว่าจีนมีเงินสดให้ ใช้จ่ายเพื่อการลงทุนได้ทั่วโลก ตั้งแต่สหรัฐอเมริกา แอฟริกา ไปจนถึงรัสเซีย ในปี 2005 บริษัทต่างๆ ของจีนได้ซื้อสินทรัพย์ ของกลุม่ บริษทั รถยนต์โรเวอร์ของอังกฤษทีล่ ม้ ละลาย ในปี 2007 ทุ น จากจี น ได้ รั บ ข้ อ เสนอให้ จ่ า ยเงิ น ช่ ว ยบาร์ เ คลย์ ธนาคาร ยักษ์ใหญ่ผลประกอบการดีของอังกฤษ เพื่อควบรวมกิจการของ เอบีเอ็น-แอมโร คู่แข่งจากเนเธอร์แลนด์
22
Modern
China
กระนัน้ ก็ตาม จีนยังมีปญ ั หาความไร้สมดุลทีร่ นุ แรงทีส่ ดุ ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลกรอคอยให้ชำ�ระสะสาง ในขณะที่ เป็นประเทศซึ่งมีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่เติบโตเร็วที่สุด ในโลก แต่สงั คมจีนก็กลายเป็นสังคมทีม่ คี วามเหลือ่ มลํา้ มากทีส่ ดุ ในโลกเช่นกัน ถึงแม้ว่านโยบายของประเทศจะช่วยให้ประชากร หลายล้านคนหลุดพ้นจากความยากจน สำ�หรับคนจนในเมืองและ ชนบท บริการทางด้านสุขภาพและการศึกษามีไว้สำ�หรับคนที่มี เงินเท่านั้น อีกทั้งจีนยังถูกรุมเร้าด้วยวิกฤตทางด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากร ปัญหาไฟดับเป็นประจำ�ทัว่ ประเทศทำ�ให้การผลิต ทางอุตสาหกรรมมีปัญหา ในระดั บ โลก ประเทศต้ อ งไขว่ ค ว้ า หาพลั ง งานและ ทรัพยากรแร่ธาตุ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมบังคับให้ ผู้ใช้จักรยานต้องสวมหน้ากากป้องกันควันพิษ และเป็นสาเหตุ ที่ทำ�ให้โลมาในแม่นํ้าแยงซีสูญพันธุ์ ในขณะที่ปัญหาโลกร้อน ทวีความรุนแรงมากขึ้น จีนก็กลายเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์เข้าสูช่ นั้ บรรยากาศมากทีส่ ดุ ในโลก จีนยังคง รักษาระบอบเผด็จการแบบพรรคเดียวและควบคุมความเห็นต่าง ทางการเมืองอย่างเข้มงวดรุนแรง แต่กระนั้นก็มีการประท้วง นโยบายและการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐเกิดขึ้นหลายพันครั้ง ในแต่ละปี ซึ่งจำ�นวนหนึ่งนำ�ไปสู่ความรุนแรง และการทุจริตก็ ยังคงลุกลามแพร่ขยาย จีนในช่วงเริ่มต้นศตวรรษที่ 20 กับจีนในช่วงเริ่มต้น ศตวรรษที่ 21 มี ค วามแตกต่ า งที่ สำ � คั ญ หลายประการ เมื่ อ ศตวรรษที่แล้ว จีนคือเหยื่อของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกและ
A
Very Short Introduction
23
ญี่ปุ่น ประเทศต้องตกอยู่ในห้วงอันตรายระยะหนึ่ง และถูกพลัง จากต่างแดนผ่าแยกเหมือนกับผลแตง จีนในขณะนั้นจึงเป็นรัฐ ที่อ่อนแอและเปราะบาง แต่จีนในวันนี้แข็งแรงมากขึ้น ถึงแม้ จะมีความขัดแย้งฝังลึกและความผิดพลาดต่างๆ เกิดขึ้นก็ตาม อย่างไรก็ดี จีนในวันนี้กับจีนเมื่อ 100 ปีที่แล้วก็มีหลายอย่าง ที่เหมือนกันจนน่าประหลาดใจ นั่นคือ การเมืองที่ไร้เสถียรภาพ วิกฤตทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และความจำ�เป็นในการค้นหา บทบาทของตนในโลกที่ถูกครอบงำ�โดยชาติตะวันตก—ถึงแม้ว่า พลังดังกล่าวจะอ่อนแอลงในยุคหลังสงครามเย็นก็ตาม ผู้ นำ � จี น ซึ่ ง มี มุ ม มองอั น แน่ ว แน่ ต่ อ ประวั ติ ศ าสตร์ ในทิศทางทีเ่ ป็นความจริงน้อยกว่ามุมมองของชนชัน้ นำ�อเมริกนั และสหราชอาณาจักรในช่วงไม่กี่ปีมานี้ คงจะบอกเช่นเดียวกัน ว่าราชวงศ์ชิงซึ่งดูเหมือนกำ�ลังเสื่อมอำ�นาจเริ่มปรับตัวสู่ความ ทันสมัยอย่างรวดเร็วจนน่าตื่นตาตื่นใจในช่วงแรกของศตวรรษ ที่ 20 อย่างไรก็ตาม มันก็ล่มสลาย เช่นเดียวกับระบอบส่วนใหญ่ ในช่วงสีท่ ศวรรษต่อมา ความตัง้ ใจอันแน่วแน่ของผูน้ �ำ สาธารณรัฐ ประชาชนจีนก็คือ ชะตากรรมดังกล่าวจะต้องไม่มีวันเกิดขึ้นกับ พวกเขา เพื่อที่จะเข้าใจความกลัวและความกังวลเหล่านั้น และ เพื่อที่จะเข้าใจจีนภายใต้เงื่อนไขของตัวมันเอง เราจะทำ�ความ เข้าใจจีน ณ ปัจจุบนั ได้กโ็ ดยผ่านการพิจารณาบริบททางประวัต-ิ ศาสตร์และบริบทในระดับโลกเท่านั้น และนี่คือสิ่งที่หนังสือเล่มนี้ พยายามจะทำ� นั่นคือ อธิบายว่าทำ�ไมจีนสมัยใหม่จึงเป็นอย่างที่ มันเป็นในทุกวันนี้
24
Modern
China
เหนือสิ่งอื่นใด หนังสือเล่มนี้ต้องการเสนอภาพของจีน ซึ่งสะท้อนมุมมองหลักสามเรื่อง เรื่องที่หนึ่ง แทนที่จะเป็นสังคม ปิด จีนเป็นสังคมที่เปิดรับอิทธิพลจากภายนอกแทบจะตลอด เวลา เราไม่สามารถทำ�ความเข้าวัฒนธรรมและสังคม ‘จีน’ ได้ โดยพิจารณาแยกขาดจากโลกภายนอก กล่าวอีกแบบหนึ่งก็คือ เราไม่สามารถจัดวางจีนในฐานะกรณีพิเศษของสังคมที่แยกตัว โดดเดีย่ ว แต่มนั คือส่วนหนึง่ ของการเปลีย่ นแปลงทางวัฒนธรรม ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เรือ่ งทีส่ อง เป็นเรือ่ งง่ายเกินไปทีจ่ ะบอกว่าจีนได้เคลือ่ น ผ่าน ‘สมัยเก่า’ ในอดีตมาสู่ ‘สมัยใหม่’ ในปัจจุบัน ถ้าจะพูดให้ ถูกต้อง จีนสมัยใหม่ที่เราเห็นในทุกวันนี้คือส่วนผสมอันซับซ้อน ของขนบธรรมเนียมท้องถิ่นดั้งเดิมกับอิทธิพลจากภายนอก ซึ่ง ส่วนหนึ่งมาจากตะวันตก สังคมไม่ได้เปลี่ยนในชั่วข้ามคืนในปี 1912 เมื่อจักรพรรดิองค์สุดท้ายสละราชสมบัติ หรือในปี 1949 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ทำ�การปฏิวัติ เช่นเดียวกับที่จีนสมัยใหม่ ในวันนี้ไม่ได้เหมือนกันในทุกแง่มุมกับในช่วงที่องค์จักรพรรดิ ยังอยู่บนราชบัลลังก์เมื่อ 100 หรือ 200 ปีก่อน เรื่องที่สาม ความเข้าใจของเราเกี่ยวกับการพัฒนาสู่ จีนสมัยใหม่ไม่ควรพิจารณาผ่านบรรดาชนชั้นนำ�ทางการเมือง ในแต่ละยุคและความขัดแย้งระหว่างพวกเขาเพียงเท่านั้น เรา ควรพิจารณาความต่อเนื่อง—เช่นเดียวกับความเปลี่ยนแปลง— ของวิธกี ารก้าวเข้าสูย่ คุ สมัยใหม่ของจีน และผลกระทบของความ เปลี่ยนแปลงที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมโดยรวม
A
Very Short Introduction
25
ความหมายของจีนคืออะไร ไม่ว่าจะเมื่อหลายร้อยปีก่อนหรือในทุกวันนี้ คำ�ถาม สำ�คัญก็ยังคงอยู่ นั่นคือ จีนสมัยใหม่ คือ อะไร เพื่อไปสู่คำ�ตอบ เราจำ�เป็นต้องใช้เวลาเล็กน้อยสำ�หรับการศึกษาวิเคราะห์คำ � สองคำ� นั่นคือ จีน และ สมัยใหม่ ‘จีน’ ในวันนี้ โดยทัว่ ไปเชือ่ มโยงกับสาธารณรัฐประชาชน จีน (People’s Republic of China) ซึ่งเป็นรัฐที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1949 หลังจากชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำ� ของประธาน เหมา เจ๋อตง (Mao Zedong) รัฐแห่งนี้ครอบครอง อาณาเขตเดี ย วกั น กั บ อาณาจั ก รจี นภายใต้ ก ารปกครองของ ราชวงศ์ชิง (1644-1911) ราชวงศ์ลำ�ดับสุดท้าย ซึ่งได้ขยาย พื้นที่ปกครองเพิ่มเติมจากเดิมไปทางด้านทิศตะวันตกและทิศ เหนือ (รัฐสมัยใหม่ไม่ยอมปล่อยมือจากทิเบต ไม่ได้อ้างสิทธิ์ เหนือประเทศมองโกเลียหรือดินแดนในแถบตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งครอบครองโดยรัสเซียในยุคซาร์1 และไม่ได้ปกครองไต้หวัน ในทางปฏิบัติ) อย่างไรก็ตาม ความต่อเนือ่ งทางด้านภูมศิ าสตร์ดงั กล่าว ปิดซ่อนความเป็นจริงที่ว่ารูปร่างของจีนเปลี่ยนแปลงมาตลอด หลายศตวรรษ และยังคงเปลี่ยนแปลงจนกระทั่งทุกวันนี้ เมื่อ ประมาณ 2,500 ปีกอ่ น กลุม่ ของรัฐอิสระซึง่ รบพุง่ กันนัน้ ตัง้ อยู่ ณ บริเวณใจกลางของพืน้ ทีท่ เี่ ราเรียกว่า ‘จีน’ ในปัจจุบนั วรรณกรรม 1
การปกครองในระบอบกษัตริย์ของรัสเซีย ช่วงปี 1547-1721 (ผู้แปล)
26
Modern
China
และประวัตศิ าสตร์จากห้วงเวลานัน้ ถูกเข้าใจว่าเป็นจีน ซึง่ ผูค้ นยุค ปัจจุบนั ทีย่ อมลำ�บากศึกษาภาษาจีนยุคดัง้ เดิมสามารถอ่านเข้าใจ ได้ นับตั้งแต่ปี 221 ก่อนคริสต์ศักราช จักรพรรดิและราชวงศ์ ในแต่ละยุคได้รวบรวมรัฐอิสระเหล่านัน้ จนก่อเกิดเป็นอารยธรรม ยุคคลาสสิกของจีน โดยมีราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง เป็นส่วนหนึ่งใน นั้น พวกเขาได้สร้างอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านศิลปะ วรรณกรรม การทูต การแพทย์ และเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม คำ�ว่า ‘จีน’ (China) หรือคำ�ว่า จงกว๋อ (Zhongguo – ‘อาณาจักรกลาง’ คำ�ในภาษาจีนปัจจุบนั ทีห่ มายถึง ‘จีน’) ไม่ใช่วิธีที่ผู้คนในยุคสมัยนั้นคิดเกี่ยวกับตนเอง แนวคิด เกีย่ วกับ ‘จีน’ ในแบบทีเ่ ราเข้าใจ—ทัง้ ในเชิงอัตลักษณ์ระดับชาติ หรือชาติพนั ธุ— ์ เป็นผลผลิตของศตวรรษที่ 19 (คือคำ�ว่า จงกว๋อ) ซึ่ ง เป็ น ที่ ชั ด เจนว่ า มั น เป็ น ความรั บ รู้ ร่ ว มของสิ่ ง ที่ เ ราอาจจะ เรียกว่า ‘ความเป็นจีน’ ที่เกิดขึ้นในหมู่คนเหล่านั้น อันยั่งยืนกว่า การก่อเกิดและดับสลายของราชวงศ์ต่างๆ อัตลักษณ์ดังกล่าวเกิดจากอะไร ผู้คนส่วนใหญ่ผูกโยง ตนเองเข้ากับการปกครองของราชวงศ์ เช่น ‘ประชาชนของหมิง’ หรือ ‘ประชาชนของชิง’ แต่อะไรที่อยู่เบื้องหลังถ้อยคำ�ดังกล่าว คนคนหนึ่งจะเป็น ‘ชาวหมิง’ ได้อย่างไร ตลอดหลายศตวรรษที่ ผ่ า นมา มี คุ ณ ลั ก ษณะร่ ว ม หลากหลายทีด่ งึ ชุมชนซึง่ เรารูจ้ กั ในฐานะ ‘ชาวจีน’ เข้ามาเกีย่ วโยง กัน ในช่วงเริ่มต้น สังคมจีนหยุดนิ่งและเป็นสังคมเกษตร ซึ่ง ตรงกันข้ามกับสังคมชนเผ่า เช่น ชนเผ่าแมนจู ชนเผ่ามองโกล
A
Very Short Introduction
27
และชนเผ่าหนี่ว์เจิน (Jurchen) ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในบางช่วง เวลา และลักษณะเด่นในสังคมช่วงนั้น เช่น การชลประทาน ก็ ยังคงความสำ�คัญตลอดช่วงประวัติศาสตร์ของจีน ขนาดของ ประชากรจีนนั้นใหญ่โตกว่าเพื่อนบ้านเสมอมา และอัตราการ เติบโตของจำ�นวนประชากรภายในเขตแดนก็เพิม่ ขึน้ ตลอดหลาย ศตวรรษเช่นกัน ในช่วงแรกเริม่ ของจีน พืน้ ทีอ่ นั กว้างใหญ่ไพศาล ถูกจับจองโดยกลุ่มคนแตกต่างหลากหลาย แต่นับตั้งแต่ปี 221 ก่อนคริสต์ศักราช ภายหลังการรวบอำ�นาจของราชวงศ์ฉิน การ ปกครองก็ตกเป็นของประชากรกลุม่ ทีเ่ รารูจ้ กั ในนามของชาวจีน (มักจะเรียกว่า ‘ชาวฮัน่ ’ หลังจากราชวงศ์ตอ่ มามีอ�ำ นาจ) แต่ท�ำ ไม ชาวจีน จึงคิดว่าตนเองคือชาวจีน โดยทั่วไป อัตลักษณ์ที่มีร่วมกันมาจากพิธีกรรมที่ทำ� ร่วมกัน เป็นเวลามากกว่า 2,000 ปีที่สมมติฐานต่างๆ เกี่ยวกับ สังคมและการเมือง—ซึ่งมีที่มาจากแนวคิดของขงจื่อ นักคิด ในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศกั ราช—กำ�หนดรูปแบบการปกครอง และพฤติกรรมประจำ�วัน โดยการประยุกต์บรรทัดฐานดังกล่าว ผู้คนในแต่ละกลุ่มจึงสามารถกลายเป็น ‘ประชาชนของราชวงศ์’ ได้ ซึ่งนั่นก็คือชาวจีน บางครั้งลัทธิขงจื่อถูกเรียกว่าเป็นศาสนา แต่อันที่จริง มันเป็นมากกว่าระบบจริยธรรมหรือระบบบรรทัดฐาน การเข้าไป เกี่ยวข้องกับทุกซอกมุมของชีวิต และ ความยืดหยุ่นและการ ปรับตัวของมันในทุกๆ สถานการณ์ บางครั้งมันจึงเทียบได้ กับบทบาทของบรรทัดฐานทางศาสนาของชาวยิว-คริสเตียน ในสังคมตะวันตก ซึ่งแม้แต่ผู้ที่โต้แย้งหรือปฏิเสธบรรทัดฐาน
28
Modern
China
เหล่านั้นก็ยังคงพบว่าตนเองอยู่ภายใต้อิทธิพลของมัน ไม่ว่าจะ รู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ลั ท ธิ ข งจื่ อ อยู่ บ นพื้ น ฐานของแนวคิ ด เรื่ อ งหน้ า ที่ ที่ มี ร่วมกัน การดำ�รงรักษาโครงสร้างลำ�ดับชนชั้น ความเชื่อในเรื่อง การพัฒนาตนเอง การศึกษา การปรับปรุงแก้ไข และเหนือสิ่งอื่น ใดคือความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม ลัทธิขงจื่อรังเกียจ ความรุนแรงและมีแนวโน้มดูถูกการแสวงกำ�ไร ถึงแม้จะไม่ได้ ต่อต้านอย่างเด็ดขาดก็ตาม ส่วนแนวคิดสูงสุดคือการมีภมู ปิ ญ ั ญา มากเพียงพอที่จะได้เข้าสู่สถานะ ‘ปราชญ์’ (sheng – เซิ่ง) แต่ อย่างน้อยที่สุด คนเราควรพยายามที่จะเป็น จวินจื่อ (junzi) ซึ่ง ส่วนใหญ่มักแปลว่า ‘สุภาพบุรุษ’ แต่ความหมายที่ดีที่สุดน่าจะ หมายถึง ‘วิญญูชน’ ขงจื่อมองย้อนกลับไปในสมัยราชวงศ์โจว ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็น ‘ยุคทอง’ ที่ผ่านไปเนิ่นนานแล้วแม้ในช่วง ชีวิตของเขาเอง นอกจากนี้ มันยังเป็นยุคที่กำ�หนดมาตรฐาน อันพึงปรารถนา (แต่อาจไม่สามารถบรรลุได้) สำ�หรับยุคปัจจุบัน ความคิดของขงจือ่ ไม่ได้ผดุ ขึน้ มาจากอากาศ เขามีชวี ติ อยู่ในยุครณรัฐ (Warring States) ซึ่งค่านิยมของยุคสมัยแห่ง ความรุนแรงทำ�ให้เขาตืน่ ตระหนก และกระตุน้ ให้เขานึกถึงความ สงบและเสถียรภาพ ขงจือ่ ไม่ใช่นกั คิดเพียงคนเดียวทีม่ อี ทิ ธิพลต่อจีนในช่วง แรกเริม่ สวินจือ่ (Xunzi) เชือ่ ว่ามนุษย์มคี วามชัว่ ร้ายเป็นพืน้ ฐาน ซึ่งต่างจากขงจื่อและเมิ่งจื่อ (Mencius) ที่เชื่อในธรรมชาติอัน ดีงามของมนุษย์ ส่วน หาน เฟยจื่อ (Han Feizi) ไปไกลกว่า นั้น เขายืนยันว่ามิใช่หลักจริยธรรม แต่มีเพียงระบบกฎหมายที่
A
Very Short Introduction
29
เข้มงวดและบทลงโทษอันรุนแรงเท่านั้นที่จะสามารถควบคุม ไม่ให้มนุษย์ทำ�ในสิ่งผิด ช่วงเวลานี้ (ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช) เป็นหนึ่ง ในช่วงทีเ่ กิดวิกฤตรุนแรงทีส่ ดุ ในดินแดนซึง่ เรารูจ้ กั ในปัจจุบนั ว่า ประเทศจีน แต่ทนี่ า่ ประหลาดก็คอื มันกลับนำ�มาซึง่ ความรุง่ เรือง ทางด้านวัฒนธรรมและการศึกษาหาความรู้ที่ไม่มียุคสมัยใด เที ย บได้ เช่ น เดี ย วกั บ วิ ก ฤตที่ เ กิ ด ขึ้ น ในศตวรรษที่ 5 ก่ อ น คริสต์ศักราชที่กรีซ อันนำ�ไปสู่การแสดงออกที่มีลักษณะเฉพาะ ของบทละครและปรัชญา อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะเป็นยุคสมัยทีภ่ มู ปิ ญ ั ญาเบ่งบาน ทีส่ ดุ แต่กม็ เี พียงความคิดของขงจือ่ ทีไ่ ด้รบั การยอมรับในแวดวง การปกครองของจีน แม้วา่ แนวคิดของเขาจะถูกปรับประยุกต์— และบ่อยครัง้ ก็แทบไม่เหลือเค้าเดิม—โดยนักปกครองและนักคิด ทีศ่ กึ ษาข้อเขียนของเขามาอย่างต่อเนือ่ งยาวนานหลายศตวรรษ แต่ตลอดช่วงเวลานั้น สมมติฐานจากลัทธิขงจื่อก็ยังคงดำ�รงอยู่ จีนในยุคก่อนสมัยใหม่มีแนวคิดที่ชัดเจนเรื่องความ แตกต่างระหว่างตนเองกับคนกลุม่ อืน่ ซึง่ เหตุผลสำ�คัญเป็นเพราะ การถูกโจมตีจากเพื่อนบ้านและการโจมตีเพื่อนบ้านที่เกิดขึ้น เป็นประจำ� ในช่วงเวลาระหว่างสองราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของ จีน—ราชวงศ์หยวนและราชวงศ์ชิง—ประเทศแห่งนี้ถูกปกครอง โดยชนชาติอื่น (มองโกลและแมนจู ตามลำ�ดับ) อย่างไรก็ตาม การฟื้นสภาพอย่างน่าประหลาดใจของระบบรัฐของจีนก็ส่งผล ให้ผู้ปกครองเหล่านั้นต้องปรับตัวเข้ากับบรรทัดฐานทางด้าน การปกครองของจีน ซึ่งทำ�ให้ผู้รุกรานเหล่านั้นแตกต่างจาก จักรวรรดินิยมตะวันตกที่ไม่ได้ทำ�อะไรแบบนั้น
30
Modern
China
ภาพประกอบ 2 หญิงมีฐานะชาวจีนในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เธอสวมใส่เสือ้ ผ้า ราคาแพงและมัดเท้า
A
Very Short Introduction
31
แต่กระนั้น การประสานกลมกลืนก็ไม่ได้ครอบคลุม ทั้งหมด ระบอบอภิชนาธิปไตย (aristocracy) ของราชวงศ์ชิง ยังคงดำ�รงระบบอันซับซ้อนของอัตลักษณ์ของชนชั้นนำ�ชาว แมนจูตลอดหลายศตวรรษที่พวกเขาอยู่ในอำ�นาจ ชาวแมนจูใช้ ‘สัญลักษณ์กองธง’ เป็นสัญลักษณ์ของแต่ละองค์กร (การแบ่ง กลุ่มมีพื้นฐานมาจากกองทัพของชนเผ่าในอดีต) และผู้หญิงชาว แมนจูจะไม่มดั เท้า แต่เหนือสิง่ อืน่ ใด พิธกี ารและสมมติฐานต่างๆ จากหลักจริยธรรมและบรรทัดฐานของขงจือ่ ก็ยงั คงครอบคลุมทัง้ สังคม และจีนในยุคราชวงศ์ชิงคือสังคมแบบจีน ไม่ใช่สังคมของ ชาวแมนจู ศตวรรษที่ 19 คือจุดเปลี่ยนครั้งสำ�คัญสำ�หรับทัศนะที่ ชาวจีนมีต่อตนเอง เป็นเวลายาวนานหลายศตวรรษทีอ่ าณาจักร แห่งนี้นิยามตนเองด้วยคำ�ว่า เทียนเซี่ย (tianxia) ซึ่งตามตัว อักษรและในเชิงบทกวีหมายถึง ‘ทุกอย่างอยู่ใต้สวรรค์’ สิ่งนี้ ไม่ได้หมายความว่าชาวจีนในยุคก่อนสมัยใหม่ไม่ตระหนักว่า ยังมีผืนดินและผู้คนที่ไม่ได้เป็นของพวกเขา พวกเขารู้แน่นอน ว่ามี แต่อาณาจักรได้รวบรวมกลุ่มคนที่สำ�คัญไว้หมดแล้ว และ เขตแดนของมันก็ยืดหยุ่น ถึงแม้จะไม่ยืดหยุ่นเต็มที่ก็ตาม [การ ลงนามในสนธิสัญญาเนอร์ชินสก์ (Nerchinsk) เมื่อปี 1689 เป็นการกำ�หนดเขตแดนในปัจจุบันระหว่างจีนกับรัสเซีย ซึ่ง เป็นทีช่ ดั เจนว่าราชวงศ์ชงิ ไม่ได้ปราศจากการรับรูเ้ รือ่ งเขตแดน] การมาถึงของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกบังคับให้จีน ต้องคิดถึงตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ ระบบ นานาชาติ เป็นครั้งแรก การมาถึงของความคิดทางการเมืองจากยุโรปนำ�
32
Modern
China
แนวคิดเรือ่ งรัฐชาติมาสูจ่ นี และชาวจีนจำ�นวนมากจำ�ต้องยอมรับ ความจริงที่ว่าจีนยุคเก่าได้จากไปแล้ว พร้อมๆ กับความจำ�เป็น ในการยืนยันพื้นที่ของจีนยุคใหม่ในลำ�ดับชั้นของมวลประเทศ อันเป็นความพยายามที่ยังคงอยู่จนทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐประชาชนจีนในยุคใหม่กไ็ ม่ได้ ประกอบด้วยทุกสรรพสิง่ ของจีนหรือเป็นโลกของจีน ไต้หวันเสนอ วิสัยทัศน์ที่เป็นทางเลือก มีชีวิตชีวา และเป็นประชาธิปไตย ของ สิ่งที่เรียกว่า ‘วัฒนธรรมจีน’ เช่นเดียวกับฮ่องกง ดังนั้น ชาวจีน ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ หรือ ‘ชาวจีนโพ้นทะเล’ จึงมี อิทธิพลต่อสังคมอย่างสิงคโปร์และชุมชนชาวจีนซึ่งตั้งอยู่ในทุก ทวีปทั่วโลก จีนคือผืนแผ่นดินใหญ่ ไม่ได้เป็นเพียงแค่ประเทศ มัน คือชุดอัตลักษณ์ซึ่งบ้างก็เหมือนกัน บ้างก็ต่างกัน และบ้างก็ ขัดแย้งกัน—สมัยใหม่ ขงจื่อ อำ�นาจเบ็ดเสร็จ ประชาธิปไตย เสรี และการควบคุม—เหนือสิ่งอื่นใด จีนคือคำ�นามพหูพจน์ สมัยใหม่คืออะไร โดยทั่วไป ‘สมัยใหม่’ ถูกใช้ในฐานะคำ�ย่อของ ‘เมื่อ ไม่นานมานี’้ ดังนัน้ การศึกษาเกีย่ วกับจีน ‘สมัยใหม่’ จะเกีย่ วข้อง กับประวัติศาสตร์ของมันตลอดช่วงศตวรรษที่ผ่านมาหรือนาน กว่านั้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้จะใช้คำ�นิยามที่ เฉพาะเจาะจงมากขึ้นของ ‘สมัยใหม่’ เพราะการทำ�เช่นนั้นจะ สามารถไปถึงหัวใจของคำ�ถามทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ซึง่ ยังคงเผชิญหน้ากับ
A
Very Short Introduction
33
จีนในทุกวันนี้ นัน่ คือคำ�ถามทีว่ า่ สังคมและวัฒนธรรมจะมีรปู แบบ อย่างไร และอะไรคือสิ่งที่วาดฝันไว้ อันดับแรก มีหนทางที่แน่นอนจำ�นวนหนึ่งที่จะ ไม่ คิด เกี่ยวกับจีน ‘สมัยใหม่’ หากเราพยายามจะนิยามเส้นทางการ เปลี่ยนแปลงของจีนนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 มันเป็นไปได้ที่เรา จะตกลงไปในหนึ่งในสองคำ�อธิบายซึ่งเป็นที่รับรู้ในวงกว้างมาก เกินไป คำ � อธิ บ ายแรกเป็ น ที่ รั บ รู้ กั น ทั่ ว ไปตั้ ง แต่ ชั่ ว อายุ ค น ที่แล้วเมื่อครั้งเหมายังมีอำ�นาจ และดูเหมือนว่าจีนได้เปลี่ยน ระบบการเมืองและสังคมของตนอย่างสมบูรณ์ คำ�อธิบายนี้เกิด ขึ้นหลังจากคำ�ประกาศเรื่อง ‘จีนใหม่’ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (Chinese Communist Party: CCP) (ดังที่ข้อความเริ่มต้นของ บทนี้แสดงให้เห็น นั่นก็คือ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกและครั้งสุดท้ายของ การใช้คำ�ว่า ‘จีนใหม่’) ซึ่งจีนเก่า ‘ศักดินา’ ‘ประเพณี’ และจีน แบบ ‘กึ่งอาณานิคม’—อันเป็นโลกที่เต็มไปด้วยความโหดร้าย ลำ�ดับชนชั้นทางสังคม การมัดเท้า การทารุณกรรม และความ ยากจน—ถูกปัดกวาดออกไปในที่สุด เพื่อเปิดทางให้กับความ เท่าเทียม อุตสาหกรรม และความเป็นธรรม คำ�อธิบายที่สองเป็นที่รับรู้กันทั่วไปในช่วงต้นศตวรรษ ที่ 20—แต่ถูกแบนไประยะหนึ่งภายหลังปี 1949—และยังคง แพร่ ห ลายจนกระทั่ ง ทุ ก วั น นี้ คำ � อธิ บ ายนี้ บ อกว่ า จี น ไม่ ไ ด้ เปลี่ยนแปลงในสาระสำ�คัญ กระทั่งบุคคลสำ�คัญอย่างเหมาและ เติง้ เสีย่ วผิง (Deng Xiaoping – ผูน้ �ำ การปฏิรปู ในทศวรรษ 1980) ที่แม้จะห่มคลุมด้วยความเชื่อในลัทธิคอมมิวนิสม์และการเมือง
34
Modern
China
ของมวลชน แต่แท้จริงแล้วก็ไม่ตา่ งจาก ‘จักรพรรดิ’ ในเขตชนบท ของจีนทุกวันนี้ ความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติที่มีมาแต่ดั้งเดิม ศาสนา (เช่น ลัทธิฝา่ หลุนกงซึง่ ถูกพรรคคอมมิวนิสต์สงั่ แบน) และ ลำ�ดับชนชัน้ ยังคงมีความสำ�คัญสูงสุดไม่ตา่ งจากเมือ่ หลายร้อยปี ก่อน เหนือสิ่งอื่นใด สังคมจีนยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลของขงจื่อ และความเชื่อในเรื่องชนชั้น โดยมีแผ่นป้ายคำ�ว่าคอมมิวนิสต์ แขวนไว้เบื้องบน มุมมองทั้งสองแบบดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผิด จีนเป็นสังคม สมัยใหม่อย่างสมบูรณ์ เพียงแต่รูปแบบของการแสดงความเป็น สมัยใหม่นั้นไม่สามารถแยกขาดจากอิทธิพลของมรดกที่ส่งต่อ มาจากยุคก่อนสมัยใหม่ได้ (คำ�ที่เหมาะสมกว่าคือ ‘ประเพณี’) แต่กระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าอิทธิพลจากยุคก่อนสมัยใหม่ จะปั ก หลั ก มั่ น คงไม่ แ ปรเปลี่ ย น เนื่ อ งจากจี น พบกั บ ความ เปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ตลอดระยะเวลาหลายร้อยปี ไล่มาตั้งแต่ การพัฒนาระบบราชการ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (การคิดค้น ดินปืน นาฬิกา และเข็มทิศ) ระบบเศรษฐกิจแบบเก็งกำ�ไรอย่าง เข้มข้น (นับตั้งแต่ปี 1000 เป็นต้นมา) และวัฒนธรรมทางศาสนา ที่ผสมผสานกันอย่างหลากหลาย การพัฒนาที่เหมือนกันในหลายด้านของยุโรปกับจีน ในช่วงปี 1000 ถึงราวปี 1800 ไม่ควรปิดบังความจริงที่ว่า อาณาจักรจีนและในช่วงต้นของยุโรปสมัยใหม่มีความ แตกต่าง กันอย่างมากในด้านสมมติฐานและกรอบความคิด การพัฒนา ความเป็นสมัยใหม่ในโลกตะวันตกได้รับการสนับสนุนจากชุด คำ�ยืนยัน—ซึ่งจำ�นวนมากยังคงมีอิทธิพลในทุกวันนี้—เกี่ยวกับ
A
Very Short Introduction
35
องค์ ก รของสั ง คม ที่ สำ � คั ญ ที่ สุ ด คื อ แนวคิ ด เกี่ ย วกั บ ‘ความ ก้าวหน้า’ ในฐานะพลังขับเคลื่อนกิจกรรมของมนุษย์ นักปรัชญา อย่าง เรอเน เดส์การ์ตส์ (René Descartes) และ เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริค เฮเกล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel) เห็นว่าความเป็นสมัยใหม่มีที่มาจากความมีเหตุผล (rationality) และอันตวิทยา (teleology)2—อันเป็นเรื่องเล่าที่ครอบคลุม ทุกสิ่ง—ซึ่งบ่งชี้ว่าโลกกำ�ลังเคลื่อนไปในทิศทางที่ดีขึ้น ความ ก้าวหน้าดังกล่าวถูกขับเคลื่อนจากหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ แนวคิดที่ว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างมีพลังและสร้างสรรค์เป็น สิ่งที่ดีโดยตัวมันเอง สังคมก่อนสมัยใหม่มักจะกลัวว่าพลังของ การเปลี่ยนแปลงจะนำ�ไปสู่การทำ�ลายล้าง แต่กรอบความคิด สมัยใหม่ให้การต้อนรับมัน กล่าวอย่างเฉพาะเจาะจงก็คือ การยอมรับและความ กระตือรือร้นต่อความก้าวหน้าที่แสดงให้เห็นผ่านความเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจ ก่อนจะตามมาด้วยความเจริญเติบโตทาง ด้านอุตสาหกรรม ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางการพัฒนาของ สังคมสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถือกำ�เนิดของยุคเรือง ปัญญา (Enlightenment) ในศตวรรษที่ 18 ซึ่งแนวคิดเรื่องความ มีเหตุผล ความสามารถในการเลือก และการตัดสินใจในทิศทาง ทีค่ าดการณ์ได้หรือเป็นวิทยาศาสตร์ กลายเป็นส่วนสำ�คัญในการ จัดระเบียบสังคมสมัยใหม่ ความเป็ น สมั ย ใหม่ เ ปลี่ ย นแปลงไปตามความคิ ด ที่ สมาชิกในสังคมมีต่อตนเอง สังคมเป็นเรื่องทางโลก ความเป็น 2
ทฤษฎีจริยศาสตร์ที่เน้นพิจารณาผลของการกระทำ� (ผู้แปล)
36
Modern
China
สมัยใหม่ไม่จำ�เป็นต้องเป็นศัตรูกับศาสนา แต่ศาสนาถูกจำ�กัด อยู่ ใ นพื้ น ที่ ใ ดพื้ น ที่ ห นึ่ ง ในสั ง คมมากกว่ า การแทรกซึ ม ไปทั่ ว ปัจเจกบุคคลทีม่ คี วามสามารถในการใช้เหตุผลคือศูนย์กลางของ โลกสมัยใหม่ในปัจจุบัน ในเวลาเดียวกัน จุดเชื่อมต่อทางด้าน ประเพณีระหว่างบุคคลกับชุมชนในวงกว้างก็ถูกทำ�ลาย สังคม สมัยใหม่ไม่สนับสนุนการจัดแบ่งสถานะและเสรีภาพตามระบบ ศักดินาแบบเก่า และทำ�ลายมันเพือ่ ความเท่าเทียม หรือเพือ่ เป็น ตัวอย่างของสังคมที่ปราศจากชนชั้น เหนื อ สิ่ ง อื่ น ใด สั ง คมส่ ว นใหญ่ เ ป็ น สั ง คมสมั ย ใหม่ เนื่องจากพวกเขาเข้าใจตนเองในลักษณะนั้น การตระหนักรู้ ในตนเอง (‘การบรรลุซึ่งปัญญา’) คือสาระสำ�คัญของความเป็น สมัยใหม่และอัตลักษณ์ซึ่งงอกเงยมาจากมัน เช่น ความเป็นชาติ สิง่ นีท้ �ำ ให้ตะวันตกแตกต่างอย่างมากกับพืน้ ทีอ่ นื่ ในโลกทางด้าน ค่านิยม ‘สมัยใหม่’ จี น เป็ น ตั ว อย่ า งที่ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า ประวั ติ ศ าสตร์ อั น ยาวนานหลายพันปีมีส่วนเกี่ยวข้องกับสมมติฐานของความเป็น สมัยใหม่ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลจากตะวันตกเนิ่นนาน จีนใช้ ระบบการสอบคัดเลือกเพื่อเข้ารับราชการตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ซึ่งชัดเจนว่าเป็นแนวทางที่มีเหตุมีผลและมีระเบียบสำ�หรับการ พยายามเลือกชนชั้นนำ�ทางอำ�นาจ ขณะที่ในเวลานั้นส่วนใหญ่ ในยุโรปใช้คำ�สั่งจากศาสนาและการบีบบังคับด้วยกำ�ลังสำ�หรับ การทำ � หน้ า ที่ ดั ง กล่ า ว พร้ อ มกั น นั้ น จี น ก็ เ ริ่ ม พั ฒ นาระบบ เศรษฐกิจแบบค้าขายที่รวมศูนย์และทรงพลัง ด้วยการปลูกพืช เพื่อขายแทนการปลูกไว้กินเอง ดังนั้นจึงชัดเจนว่าแง่มุมของ
A
Very Short Introduction
37
‘ความเป็นสมัยใหม่’ จำ�นวนมากปรากฏให้เห็นในจีนก่อนและ ชัดเจนกว่าในยุโรป หนึ่ ง ในองค์ ป ระกอบที่ มี พ ลั ง ของความคิ ด สมั ย ใหม่ ในยุโรปคือความสามารถในการยืนกรานแนวคิดที่ว่าจุดกำ�เนิด และการก่ อ ร่ า งของมั น แตกต่ า งอย่ า งชั ด เจนจากสั ง คมอื่ น ๆ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความปรารถนาที่จะสร้างความแตกต่าง อย่างลึกซึ้งระหว่างการเมืองของยุโรปตะวันตกกับสังคมอื่นๆ โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 19 ซึ่งแนวคิดเรื่องจักรวรรดินิยมก้าว ขึน้ มามีบทบาท นอกจากนัน้ คุณลักษณะของความเป็นสมัยใหม่ โดยเฉพาะการตระหนักรู้ในตนเองและความรู้สึกร่วมของการ ต่อต้านลำ�ดับชนชั้น ก็ถูกดึงออกมาจากประเพณีดั้งเดิมทาง ศาสนา ซึ่งการเกิดและการเกิดใหม่คือสิ่งสำ�คัญ แม้จะเป็นที่ชัดเจนว่าศาสนาคริสต์เป็นหนึ่งในที่มาของ แนวคิดดังกล่าว (นอกจากนี้ยังเป็นพื้นฐานทางวัฒนธรรมของ อันตวิทยาในเรื่องความก้าวหน้า ซึ่งเป็นสาระสำ�คัญของความ เป็นสมัยใหม่แบบคลาสสิก) แต่แนวคิดเรื่องการรู้แจ้งและการ ตระหนักรู้ในตนเองนั้นปรากฏขึ้นก่อนในฐานะส่วนหนึ่งของ แนวคิดในศาสนาพุทธ และหลายศตวรรษต่อมาก็ถูกพัฒนาขึ้น ในอีกแนวทางหนึ่งภายใต้นิยามของศาสนาอิสลาม กรอบคิด ว่ า ด้ ว ยความเป็ น สมั ย ใหม่ ที่ ยึ ด ถื อ ยุ โ รปเป็ น ศู น ย์ ก ลางอย่ า ง เข้มข้นนั้นยากที่จะยอมรับว่ามันมีที่มาจากวัฒนธรรมอันหลาก หลาย แต่ถึงอย่างไรมันก็เป็นเช่นนั้น ไม่แตกต่างกัน จีนในช่วงก่อนกลางศตวรรษที่ 19 ก็ ไม่ได้มีสมมติฐานหลักบางข้อเกี่ยวกับการก่อเกิดของชนชั้นนำ�
38
Modern
China
ร่วมกับยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 16-19 ในช่วงเวลานั้น จีนยัง ไม่ได้พัฒนาความเคลื่อนไหวทางการเมืองอันทรงพลังซึ่งเชื่อ ในการทำ�ลายลำ�ดับชนชัน้ ในโลกของขงจือ่ ผูค้ นในคำ�กล่าวทีว่ า่ ‘สี่ทะเลล้วนพี่น้องกัน’ อาจเป็น ‘พี่น้อง’ กันได้ แต่ ‘มนุษย์แต่ละ คน’ ไม่เท่าเทียมกัน นักคิดชาวจีนไม่ได้เน้นด้านดีของการเป็นปัจเจกใน ฐานะด้านตรงข้ามกับความเป็นส่วนรวม ถึงแม้จะมีแนวคิดที่ ชัดเจนเกี่ยวกับการพัฒนาตัวเองไปสู่การเป็น ‘วิญญูชน’ หรือ ‘ปราชญ์’ เช่นเดียวกับที่ไม่ได้มีแนวคิดเชิงอันตวิทยาในเรื่อง ความก้าวหน้าเป็นศูนย์กลางของวิธีการมองโลกของพวกเขา ประวั ติ ศ าสตร์ คื อ การพยายามย้ อ นกลั บ ไปสู่ ยุ ค ทองในสมั ย ราชวงศ์โจวและแนวทางของบรรพบุรุษ จีนในยุคก่อนสมัยใหม่ ได้พัฒนาเทคโนโลยีและการปกครองที่ก้าวหน้าอย่างมาก โดย เน้นความสำ�คัญของแบบอย่างในอดีตและความมีระเบียบ แทน การสรรเสริญนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่มีพลังสร้างสรรค์ โดยตัวมันเอง สำ�หรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แม้อาจจะเกินเลยไป หากกล่าวว่าแนวคิดแบบขงจื่อนั้นไม่ยอมรับการค้าทุกรูปแบบ (ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงมองเรื่องการจัดสรรที่พักอาศัย อันสะดวกสบายของรัฐด้วยแนวคิดเชิงพาณิชย์) แต่มันก็ทำ�ให้ มโนทัศน์เรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นสิ่งที่ดีโดยตัว มันเองนั้นไม่ได้เป็นศูนย์กลางของกรอบความคิดของจีนในยุค ก่อนสมัยใหม่ ดังเช่นทีม่ นั เป็นรูปแบบของความเป็นสมัยใหม่ซงึ่ เกิดขึ้นในยุโรป
A
Very Short Introduction
39
สมมติ ฐ านเหล่ า นี้ แ สดงให้ เ ห็ น ความแตกต่ า งอย่ า ง สิ้นเชิงกับประสบการณ์ของจีนในช่วงเวลาร่วมสมัย นับตั้งแต่ ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เป็นอย่างน้อย รัฐบาลจีนและนักคิดชั้นนำ� ได้ยอมรับหลักการส่วนใหญ่ของความเป็นสมัยใหม่ แม้กระทั่ง ในช่วงการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมจากตะวันตกและญี่ปุ่น อย่างรุนแรง ซึ่งเป็นการพยายามนำ�หลักการดังกล่าวเข้ามา ในจีน ดังที่เราจะได้เห็นต่อไป (บทที่ 2 และ 3) ว่าทั้งรัฐบาล คอมมิวนิสต์และชาตินิยมซึ่งปกครองจีนในศตวรรษที่ 20 ต่าง ประกาศว่าจีนกำ�ลังก้าวเดินไปสู่อนาคต ซึ่งวัฒนธรรมใหม่และ มีพลังสร้างสรรค์เป็นสิ่งจำ�เป็น อีกทั้งชนชั้นในสังคมจำ�เป็นต้อง ถูกทำ�ลาย ไม่ใช่ดำ�รงไว้ และในขณะที่ความสงบเรียบร้อยเป็นเรื่องสำ�คัญ การ ขยายตัวทางเศรษฐกิจจึงเป็นหนทางเดียวในการทำ�ให้จนี รํา่ รวย และแข็งแรง ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คือ ผู้นำ�จีนมีสมมติฐานของ สมัยใหม่ทรี่ นุ แรงและไม่ประนีประนอมยิง่ กว่าผูน้ �ำ ในยุคเดียวกัน ของอินเดียและญี่ปุ่นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ดังที่จะกล่าวถึงใน บทที่ 3 ‘ขบวนการ 4 พฤษภาคม’ ในทศวรรษ 1910 แสดงให้เห็น ถึงความกระตือรือร้นในการปฏิเสธแนวคิดของขงจือ่ ในอดีตอย่าง เบ็ดเสร็จเด็ดขาดยิง่ กว่าการปฏิเสธสังคมในอดีตของผูน้ �ำ อินเดีย อย่าง มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi) ทว่าในเวลาเดียวกันก็มีองค์ประกอบในจินตนาการ สำ�หรับการตามหาความเป็นสมัยใหม่ ความเป็นสมัยใหม่นั้น เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ และมโนทัศน์ต่างๆ ของจีนต่อความเป็น สมัยใหม่ก็เปลี่ยนแปลงเช่นกัน ความเป็นสมัยใหม่ของกลุ่ม ‘ผู้
40
Modern
China
สร้างความเข้มแข็งให้ตนเอง’ (self-strengthener) ที่พยายาม ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของตะวันตกในช่วงปลายราชวงศ์ชิง ไม่ เหมือนกับความเป็นสมัยใหม่ของกลุ่มหัวก้าวหน้าที่ประกาศ ‘วัฒนธรรมใหม่’ ในทศวรรษ 1910 และแตกต่างกับความเป็น สมัยใหม่ของทัง้ กลุม่ นักชาตินยิ มและผูร้ ว่ มขบวนการคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่การค้นหาอัตลักษณ์สมัยใหม่ที่มั่นคง สำ�หรับรัฐและประชาชนชาวจีน กระทั่งในทุกวันนี้ คำ�ถามที่ว่า จีนสมัยใหม่มหี น้าตาเป็นอย่างไรก็ยงั คงเคลือ่ นไหวเปลีย่ นแปลง ในเวลาเดียวกัน ความเข้มแข็งที่เพิ่งเริ่มต้นของจีนก็ทำ�ให้จีน อยู่ในตำ�แหน่งที่ได้เปรียบกว่าในอดีต สำ�หรับการเสนอมุมมอง เกีย่ วกับความเป็นสมัยใหม่ในแบบของตนย้อนกลับเข้าไปในโลก แห่งคำ�นิยามของความเป็นสมัยใหม่ซงึ่ ขยายกว้างออกไปเรือ่ ยๆ ด้วยข้อยกเว้นเพียงไม่กขี่ อ้ ทุกกลุม่ ทีข่ บั เคีย่ วแย่งชิงกัน เพือ่ เป็นฝ่ายกำ�หนดอนาคตของจีนในศตวรรษที่ 20 ล้วนเป็นกลุม่ ‘สมัยใหม่’ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ในความรู้สึกของการเป็นผู้ ‘มาใหม่’ เท่านัน้ แต่เป็นการปฏิเสธหรือการประยุกต์บรรทัดฐานของขงจือ่ ในอดีต และการน้อมรับบรรทัดฐานชุดใหม่ที่มาจากภายนอก โดยนำ�มาปรับใช้ในทิศทางทีท่ �ำ ให้ ‘จีน’ กับ ‘สมัยใหม่’ อยูร่ ว่ มกัน ได้ แม้จะดูเหมือนว่าทั้งสองคำ�เป็นสิ่งตรงข้ามกัน ถึ ง แม้ ว่ า พวกเขาจะผิ ด คำ � พู ด นั บ ครั้ ง ไม่ ถ้ ว น แต่ ผู้ ปกครองจีนในศตวรรษที่ 20 และ 21 ได้พยายามสร้างรัฐชาติที่ ประชาชนมีความเท่าเทียมกันและตระหนักรู้ในตนเอง ซึ่งนี่คือ เป้าหมายอันชัดแจ้งของสมัยใหม่ เนื้อหาที่เหลือของหนังสือ เล่มนีจ้ ะเป็นการพยายามประเมินว่าพวกเขาประสบความสำ�เร็จ แค่ไหนกับเป้าหมายดังกล่าว