Paper web preview

Page 1


ประวัติศาสตร์กระดาษโลก • พลอยแสง เอกญาติ แปล จากเรื่อง P a p e r : A n E l e g y โดย I a n S a n s o m พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ o p e n w o r l d s , มีนาคม 2558 ราคา 315 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ภูมิ นํ้าวล ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว บรรณาธิการศิลปกรรม กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล เลขานุการกองบรรณาธิการ ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์ • บรรณาธิการเล่ม ภูมิ นํ้าวล บรรณาธิการต้นฉบับ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ออกแบบปก wrongdesign • จัดท�ำโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 604/157 ถ. สาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2 - 6 1 8 - 4 7 3 0 email: openworldsthailand@gmail.com facebook: www.facebook.com/openworlds twitter: www.twitter.com/openworlds_th website: www.openworlds.in.th จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 5 1 - 5 9 9 9 website: http://www.se-ed.com/


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล หมายเลขโทรศัพท์ 086 403 6451 หรือ Email: openworldsthailand@gmail.com

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ แซนซัม, เอียน. ประวัติศาสตร์กระดาษโลก. -- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2558. 304 หน้า. 1. ความรู้ทั่วไป. 2.กระดาษ. I. พลอยแสง เอกญาติ, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 030 ISBN 978-616-7885-12-4 • Originally published in the English language by HarperCollins Publishers Ltd. under the title PAPER: AN ELEGY First published by HarperCollins UK 2013 © IAN SANSOM 2013 Thai language translation copyright © 2015 by Openworlds Publishing House All RIGHTS RESERVED.


สารบัญ p คารวะกระดาษ: บทน�ำ 13 1. ปาฏิหาริย์ของความซับซ้อนเกินหยั่งถึง 33 2. ในดงไม้ 51 3. กระดาษเดินทาง 67 4. เหยื่อของโรคคลั่งหนังสือ! 83 5. ประดับฉากหน้าของนรก 99 6. จิตวิญญาณของการโฆษณา 117 7. การคิดอย่างสร้างสรรค์ 137


8. ความลับอยู่ที่กระดาษ 159 9. เกมสควิกเกิล 175 10. การบ�ำบัดกายและใจแสนวิเศษ 195 11. เอกสารทางการ 217 12. เหลือแค่ห้าแผ่น 239 โพรงในกระดาษ: กิตติกรรมประกาศ 272 ฉีกหนังสือเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย: บรรณานุกรม 275



แด่นิโคลาสและจอร์จ ขอบคุณส�ำหรับอาหารเที่ยงวันคริสต์มาส


ค�ำน�ำผู้แปล p

กระดาษเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในยุคสมัยนี้ที่ใครต่อใคร มองว่ า กระดาษก� ำ ลั ง ค่ อ ยๆ หายไปและมี เ ทคโนโลยี ส มั ย ใหม่ ต ่ า งๆ โดยเฉพาะหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรืออีบกุ๊ เข้ามาแทนที่ แต่ถา้ มองดูจริงๆ เราก็ยงั คงพบกระดาษทุกหนแห่ง มิหน�ำซ�ำ้ ในบางเรือ่ งทีไ่ ม่นา่ จะมีกระดาษ เข้าไปเกี่ยวข้องก็กลับมี ค�ำท�ำนายที่ว่ากระดาษจะหมดไปจากโลกจึงยัง ไม่มีวี่แววว่าจะเป็นจริง ท�ำไมถึงเป็นอย่างนั้น หนังสือเล่มนี้มีค�ำตอบที่ น่าสนใจมากรอคุณผู้อ่านอยู่ ผู้เขียนรวบรวมเรื่องราวของกระดาษในหลากหลายรูปแบบ ทั้ง ความเป็นมาของกระดาษ การผลิตกระดาษทั้งแบบมือและเครื่องจักร ต้นไม้กับกระดาษ กระดาษกับแผนที่ กระดาษกับหนังสือ เงินกระดาษ กระดาษกับการโฆษณา กระดาษกับสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง กระดาษกับศิลปะ กระดาษกับเกมและความบันเทิง ศิลปะการพับและตัด กระดาษ กระดาษในสงคราม กระดาษกับการถ่ายภาพ กระดาษกับแฟชัน่ กระดาษมวนบุหรี่ กระดาษกับศาสนา และกระดาษกับวิทยาศาสตร์ เรียกว่ารวบรวมความสัมพันธ์หลักๆ ของมนุษย์กับกระดาษมาอย่าง ครบถ้วน


ในการแปลหนังสือเล่มนี้ผู้แปลได้อาศัยหนังสืออ้างอิงหลายเล่ม และได้ รั บ ความช่ว ยเหลือจากบุค คลมากมาย รวมถึงคุณ พรกวินทร์ แสงสินชัย คุณสายทิพย์ ศรีชลัมภ์ คุณพจนีย์ ฉัตรชัยวิวฒ ั นา คุณภูมิ น�ำ้ วล คุณวิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ และท่านอื่นๆ ที่ไม่ประสงค์ออกนาม หากมี ความผิดพลาด สับสน ตกหล่นหรือเข้าใจผิดประการใด ผูแ้ ปลขออภัยเป็น อย่างสูงและขอน้อมรับผิดแต่เพียงผูเ้ ดียว ขอขอบคุณครอบครัวของผูแ้ ปล ที่คอยสนับสนุนในทุกเรื่อง ทีมงานโอเพ่นเวิลด์สทุกท่านที่ท�ำให้หนังสือ เล่มนี้ส�ำเร็จเป็นรูปเล่ม และผู้อ่านทุกคนที่ให้โอกาสผู้แปลเสมอมา หากใครสนใจเรื่องกระดาษ เชื่อมั่นได้ว่าหนังสือเล่มนี้จะให้ ความบันเทิงและความรู้ รวมถึงมุมมองทีก่ ระตุน้ ความคิดได้อย่างแน่นอน

พลอยแสง เอกญาติ กันยายน 2557



ชีพจรตรงข้อมือและขมับของนักสะสมหนังสือชราเต้นแรง เสียจนเกือบมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เสียงเขาทุ้มกว่าเดิม ขณะเจ้าตัวยกหนังสือขึ้นมาใกล้ดวงตาเพื่อให้อ่านได้ชัดขึ้น ใบหน้าเขาดูปลาบปลื้ม “หนังสือยอดเยี่ยม” คอร์โซยืนยันพลางดูดบุหรี่ “ยิ่งกว่านั้นอีก สัมผัสกระดาษดูสิ”

อาร์ตูโร เปเรซ เรแบร์เต (Arturo Pérez-Reverte, The Club Dumas, 1993)



คารวะกระดาษ บทน�ำ p ก่อนอื่น จงเคารพกระดาษของคุณ! ค�ำแนะน�ำที่ เจ.เอ็ม.ดับเบิลยู. เทอร์เนอร์ (J.M.W. Turner) กล่าวกับ แมรี ลอยด์ (Mary Lloyd) ตามความทรงจ�ำของเธอ เมื่อปี 1880, อ้างถึงใน Turner Studies, vol.4, no.1 (1984)

ขอต้อนรับสู่พิพิธภัณฑ์กระดาษ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้อุทิศให้แก่การ อนุรักษ์และศึกษากระดาษกับผลิตภัณฑ์กระดาษ ซึ่งนอกจากหนังสือ จดหมาย และสมุ ด บั น ทึ ก แล้ ว ยั ง รวมถึ ง สมุ ด บั ญ ชี กั บ บั ต รเลื อ กตั้ ง กล่องใส่ของกระจุกกระจิกกับแผ่นป้ายหน้าร้าน ผ้าพันแผลกับผ้าปิดแผล เช็คธนาคารกับบัญชีแยกประเภท ป้ายโฆษณากับธงทิว กระดาษรองแก้ว สูติบัตร มรณบัตร ใบรับรองความเป็นคริสต์ศาสนิกชนกับใบรับรอง บุตรนอกสมรส เกมกระดาน ที่คั่นหนังสือ นามบัตร กล่องใส่อาหารกับ บรรจุภัณฑ์ เมนู รายการอาหารกับใบเสร็จ แผนผัง (ผังการเดินเรือ เวชระเบียน ผังการศึกษา และอืน่ ๆ) กระดาษมวนบุหรี่ เสือ้ ผ้า (รวมถึงสูท หมวก เสื้อเชิ้ต เสื้อคลุม ชุดกิโมโน เอี๊ยมกันเปื้อน และชุดกันเปื้อนแบบ เต็มตัว) โลงศพ สมุดระบายสี เศษกระดาษที่ใช้โปรยในงานรื่นเริง คูปอง กระดาษสีกับกระดาษลอกลาย แผ่นขัดเล็บ ซองเอกสาร กระดาษกรอง กับผ้าขาวบาง (ส�ำหรับใช้ในการแพทย์ อุตสาหกรรม และการท�ำอาหาร) ดอกไม้ไฟ กระดาษดักแมลงกับแบบฟอร์มอย่างเป็นทางการทุกชนิด I a n S a n so m

13


บั ต รไว้ อ าลั ย บั ต รอวยพร โปสต์ ก าร์ ด ว่ า ว พรม ตะเกี ย งกั บ โป๊ ะ บัตรห้องสมุด บัตรประจ�ำตัวประชาชนกับหนังสือเดินทาง นิตยสาร แคตตาล็อก หนังสือพิมพ์ แผนที่กับลูกโลก ถุงกระดาษ แก้วกระดาษ ตุ ๊ ก ตากระดาษ ดอกไม้ ก ระดาษ เงิ น กระดาษ แกนกระดาษ ภาพ มุมกว้าง ภาพถ่าย ไพ่ ดวงตราไปรษณียากร กระดาษโน้ตโพสต์อิต โปสเตอร์ ใบสั่งยา เกมปริศนาตัวต่อ สมุดพกกับระเบียน กระดาษทราย กล่องรองเท้า เครื่องเขียน สติ๊กเกอร์ สายรุ้ง แถบป้ายข้อมูล ฉลากกับตั๋ว ถุงชา สมุดโทรศัพท์ วอลล์เปเปอร์ กระดาษห่อของ ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ เราอยู่ในโลกของกระดาษ ถ้าไม่มีกระดาษ เราคงนึกไม่ออกว่า ชีวิตจะเป็นอย่างไร หรือคงเกือบนึกไม่ออก เพราะถึงอย่างไรเราก็ย่อม จินตนาการได้อยู่แล้ว ด้วยความที่คนเราจินตนาการได้ทุกเรื่อง บรรดา นักเขียน ศิลปิน และนักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่สอนเราจินตนาการผ่านหนังสือ ภาพวาด ตลอดจนดนตรีของพวกเขา เราผ่านการฝึกฝนจากคนเหล่านี้ ทัง้ ยังเรียนรูท้ จี่ ะจินตนาการ บน กระดาษ ผ่าน กระดาษ และ ด้วย กระดาษ ดังนั้นจึงไม่ยากเลยที่จะจินตนาการถึงโลกไร้กระดาษ ซึ่งก็คล้ายการ จินตนาการว่าจะเป็นอย่างไรหากเราตายหรือไม่เคยเกิดมา เราตื่น ล้างหน้า และเข้าส้วม แต่ไม่มีกระดาษช�ำระให้ใช้ เรากิน ซีเรียลแบบไม่มบี รรจุภณ ั ฑ์ ชงชาโดยไม่มถี งุ ชา ชงกาแฟโดยไม่มกี ระดาษ กรอง เราไม่ซื้อหนังสือพิมพ์ระหว่างทางไปสถานีรถไฟเพราะไม่มีให้ซื้อ แถมเรายังไม่มเี งินด้วย อย่างไรก็ดเี ราอาจมีเหรียญเป็นถุงๆ หรือหอยเบีย้ เราไม่ซอื้ สลากกินแบ่ง ไม่มหี มากฝรัง่ เพราะไม่มกี ระดาษห่อ ไม่มตี วั๋ รถไฟ และก็ไม่มีตารางรถไฟด้วย (เราจะสมมติกันเล่นๆ ว่ามีรถไฟ สถานีรถไฟ บ้าน ส�ำนักงาน หรือทีท่ ำ� งาน แม้มคี วามเป็นไปได้ตำ�่ ทีจ่ ะเกิดสิง่ เหล่านีเ้ มือ่ ปราศจากผัง ตารางเวลา ผลการรังวัด กระดาษทด พิมพ์เขียว สิทธิบัตร แผนที่ และแผนภาพ แต่กใ็ ช่วา่ จะเป็นไปไม่ได้เลย เพียงแต่คงเป็นไปได้ยาก พอๆ กับการอ่านข้อความเหล่านี้โดยไม่เคยอ่านหรือเขียนอะไรก็ตาม 14

Paper: An Eleg y


ในกระดาษ) แน่นอนว่าเราจะไม่ได้จ้องมองโฆษณาบนรถไฟ กระดาน ติดประกาศ หรือบิลบอร์ด ไม่ได้ซื้อกาแฟกลับบ้านโดยใส่ถ้วยกระดาษ หุ้มปลอกกระดาษกันร้อน แถมไม่มีบัตรสะสมแต้มให้ท�ำหาย ลืม หรือ ประทับตราอีกด้วย แถมยังจะไม่ได้ส่งไปรษณีย์เพราะไม่มีที่ท� ำการ ไปรษณีย์ ซึ่งก็แปลว่าไม่มีพัสดุจากเว็บอะเมซอนด้วย แต่ละวันเราจะ ไม่ได้ปริ๊นต์อีเมล เก็บเอกสารเข้าแฟ้ม กรอกแบบฟอร์ม แวดล้อมด้วย วอลล์เปเปอร์คุ้นตาและภาพถ่ายครอบครัว แปะกระดาษโน้ตโพสต์อิต หรือพิมพ์ “เอกสาร” หน้าจอคอมพิวเตอร์แล้ว “จัดเก็บ” เข้า “แฟ้ม” ไม่ได้อ่านนิตยสารหรือหนังสือปกอ่อนตอนพักเที่ยงระหว่างกินแซนด์วิช ที่ไม่มีกระดาษห่อและไม่ได้ใส่ถุงกระดาษ แถมมือมันๆ ของเราก็ไม่มี กระดาษให้เช็ด ช่วงบ่ายเราจะไม่ได้ตะไบเล็บด้วยแผ่นขัดเล็บ ไม่ได้ ซับหน้าหรือสั่งน�้ำมูกใส่กระดาษทิชชู่ ไม่มีถ้วยคัปเค้ก ไม่มีกล่องเค้ก ไม่มีนามบัตร ไม่มีธนบัตร ไม่มีธนาคาร ไม่มีสถาบันสินเชื่อเพื่อการเคหะ ไม่มีบริษัทประกันภัย บางทีอาจมีอุตสาหกรรมเล็กๆ รัฐบาลเล็กๆ อาจมี กฎหมายและกฎระเบียบอยู่บ้าง แต่ที่แน่ๆ คือเราจะไม่มีบุหรี่สูบ ไม่มี กระดาษเปียกไว้เช็ดก้น ไม่ได้ห่อของขวัญ ไม่ได้ตรวจ แก้ หรือช่วย ท�ำการบ้าน ไม่ได้อา่ นเมนู ไม่ได้สง่ บัตรอวยพรคริสต์มาส ไม่ได้จดุ ประทัด ไม่ได้จุดดอกไม้ไฟ... ลองจินตนาการสักครู่ว่าถ้ากระดาษอันตรธานไปหมด จะมีอะไร หายไปบ้าง ค�ำตอบคือทุกอย่าง เราใช้กระดาษกันมาราว 2,000 ปีแล้ว สิ่งที่ตอนแรกถือเป็น วัตถุหายากล�้ำค่าในจีนกลับแพร่กระจายออกไปเรื่อยๆ เหมือนสัญญาณ เตือนภัยและโรคระบาด เหมือนความฝันและความสิ้นหวัง จนกระทั่ง ศตวรรษที่ 19 เมื่อเครื่องผลิตกระดาษเข้ามาแทนที่การผลิตด้วยมือ จากนัน้ อะไรๆ ก็เริม่ ฉุดไม่อยูแ่ ละยุครุง่ โรจน์ของกระดาษก็เริม่ ขึน้ ทุกวันนี้ พนักงานส�ำนักงานในโลกตะวันตกใช้กระดาษโดยเฉลี่ยปีละกว่า 1 หมื่น I a n S a n so m

15


แผ่น ว่ากันว่าถ้าอยู่ในอเมริกาเราจะใช้กระดาษปีละประมาณ 750 ปอนด์ (หนักประมาณถุงปูน 7 ถุงหรือน�้ำตาล 150 ถุง) หรืออาจมากกว่านั้น ถ้าไม่มกี ระดาษก็ตอ้ งมีใครสักคนคิดค้นมันขึน้ มาอยูด่ ี อาจเป็นกูเทนแบร์ก (Johannes Gutenberg) เพราะไม่อย่างนั้นเครื่องพิมพ์แบบเรียงพิมพ์ ของเขาจะพิมพ์ลงบนอะไรเล่า? กระดาษคือสุดยอดวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งราคาถูก เบา ทนทาน และสามารถพับ ตัด งอ บิด เคลือบเงา สาน ตลอดจนท�ำให้มีคุณสมบัติกันน�้ำเพื่อให้ใช้ได้ในเกือบทุกรูปแบบ อีกทั้ง จะเอาไปท�ำอะไรก็ได้ทั้งนั้น ว่าแต่อะไรบ้างล่ะ? เรือก็ได้ เสื้อผ้าก็ได้ เครื่องเรือนก็ได้ บ้านก็ได้ อาวุธก็ได้ เกม ปริศนาตัวต่อ และของเล่นก็ได้ ล้อรถไฟความเร็วสูงก็ได้ เราจะกล่าวถึงทั้งหมดนี้ในภายหลัง แต่นั่นเป็นแค่ประโยชน์พื้นๆ ของกระดาษ ในญี่ปุ่นมีการน�ำ กระดาษไปตัดเป็นธงประดับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในอินเดียช่วงเทศกาล ศาสนามีการตัดกระดาษเรียกว่า ซานจีห์ (sanjih) แล้วน�ำไปทาบบนพื้น ลงสีให้ได้ รังโกลี (rangoli) หรือลวดลายประดับงดงามส�ำหรับอัญเชิญ เทพเจ้าในศาสนาฮินดู ในสวิตเซอร์แลนด์มกี ารใช้กระดาษตัดเป็นลวดลาย ละเอียดซับซ้อนเพื่ออนุมัติเอกสารกฎหมาย ในจีนมีการเผากระดาษเงิน กระดาษทองในพิธศี พของผูน้ บั ถือลัทธิเต๋าหรือพุทธศาสนาเพือ่ เปิดทางให้ ผูต้ ายสูส่ มั ปรายภพ และในเรือ่ ง เชอร์ลอ็ ก โฮล์มส์ ก็มกี ารใช้สมองวิเคราะห์ กระดาษซึง่ ช่วยให้จบั อาชญากรได้ “ ‘กันมีกระดาษสองสามแผ่นอยูต่ รงนี’้ เชอร์ล็อก โฮล์มส์ เพื่อนผมพูดขณะเรานั่งอยู่สองข้างเตาผิงในคืนหนึ่ง กลางฤดูหนาว ‘ซึง่ กันเชือ่ ว่าหากแกลองผ่านตาสักหน่อยคงไม่เสียเวลาแน่ วัตสัน’” (จากเรื่องสั้น “The Gloria Scott”) ว่าแล้วก็ลองมาดูเรื่องราว ของโฮล์มส์กับกระดาษกันเล่นๆ สักหน่อยดีกว่า ในเรื่องสั้น “A Scandal in Bohemia” เขาใช้ข้อมูลจาก พจนานุกรมภูมิศาสตร์ภาคพื้นทวีป (Continental Gazeteer) ชี้ชัดว่าเศษกระดาษที่เป็นหลักฐานชิ้นส�ำคัญ ผลิตในโบฮีเมีย ในเรือ่ ง The Sign of Four โฮล์มส์อนุมานได้รวดเร็วยิง่ ขึน้ 16

Paper: An Eleg y


โดยไม่มีตัวช่วยว่ากระดาษแผ่นหนึ่ง “เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของอินเดีย” เอกสารที่โฮล์มส์ใช้อ้างอิงเรื่องหัวข้อด้านเทคนิคไม่ได้มีแค่ชิ้นที่รู้จักกันดี อย่าง “คู่มือสังเกตวิถีชีวิตของผึ้ง” (Practical Handbook of Bee Culture) “การแยกแยะระหว่างขี้เถ้ายาสูบชนิดต่างๆ” (Upon the Distinction Between the Ashes of the Various Tobaccos) รวมถึงงานศึกษาเกีย่ วกับ รอยสัก หู ลักษณะมือ การตามรอยเท้า และเพลงขับร้องประสานเสียง แบบโพลีโฟนิกของลัสซุส แต่ยังมีแหล่งข้อมูลอ้างอิง “ปลีกย่อย” เกี่ยวกับ การเขียนรหัสลับและการสันนิษฐานอายุของเอกสาร นอกจากนั้นใน เรื่องสั้น “The Stock-broker’s Clerk” โฮล์มส์ยังท�ำนายสุขภาพของวัตสัน จากเศษกระดาษได้ด้วย “รองเท้าแตะของแกเป็นของใหม่” เขาพูด “น่าจะได้มาไม่เกิน สองสามสัปดาห์ ส้นที่เห็นอยู่ตอนนี้มีรอยไหม้เล็กน้อย ท�ำให้ กันหลงคิดไปครู่หนึ่งว่ามันอาจเปียกแล้วแกเอาไปผึ่งไฟจน เกิดรอยไหม้ แต่ขา้ งรองเท้าด้านในมีกระดาษแผ่นกลมเล็กระบุ สัญลักษณ์ของร้านค้าติดอยู่ ความชื้นน่าจะท�ำให้มันหลุดไป ดังนั้นก็หมายความว่าแกนั่งยื่นเท้ามาใกล้เตาผิง ซึ่งคนที่ แข็งแรงดีแทบไม่ทำ� กันแม้ในเดือนมิถนุ ายนทีอ่ ากาศชืน้ อย่างนี”้ ใช่เลย และขณะทีก่ ารใช้หลักเหตุผลวิเคราะห์กระดาษด�ำเนินต่อไปอย่าง ไม่หยุดยัง้ ตัวกระดาษเองก็อาจกลายเป็นรากฐานของโลกได้อย่างไม่นา่ เชือ่ ในโอริงามิหรือศิลปะการพับกระดาษ เราเรียนรูก้ ารสร้างฐานเป็นอันดับแรก ไม่ว่าจะเป็นฐานของนกหรือฐานของกบ และจากฐานนี้เราจะสร้างรูปทรง และแบบใดๆ ก็ได้ เหมือนสร้างโลกจากรอยพับกับรอยยับอันเรียบง่าย ในท�ำนองเดียวกัน กระดาษก็เป็นฐานและรากฐานของเหตุการณ์ต่างๆ I a n S a n so m

17


ในประวัติศาสตร์มนุษย์ ทั้งเศรษฐกิจ ศิลปะ สงคราม และความพยายาม สร้างสันติภาพล้วนเกิดขึ้นผ่านกระดาษ มันเรียบง่ายเช่นนี้เอง แต่ตอนนี้เราถูกย�้ำเตือนอยู่ตลอดเวลาว่าเราก�ำลังเข้าสู่โลกที่ ไปไกลกว่ากระดาษหรือไปไกลกว่ารูปแบบตายตัวของกระดาษ ไม่ว่าจะ มองไปทางไหนก็เห็นได้ว่ากระดาษก�ำลังหายไป เราอาจจองตั๋วเครื่องบิน และเช็กอินขึ้นเครื่องโดยไม่ต้องสัมผัสกระดาษเลย (แม้ยังอาจต้องใช้ หนังสือเดินทาง วีซ่า และกระดาษจดเตือนความจ�ำไม่ให้ลืมพาสปอร์ต กับวีซ่า อีกทั้งพอขึ้นเครื่องเราก็อาจได้ใช้ประโยชน์จากหนังสือปกอ่อน ถุ ง อาเจี ย น และค� ำ แนะน� ำ การปฏิ บั ติ ตั ว ในกรณี ฉุ ก เฉิ น ซึ่ ง พิ ม พ์ บ น กระดาษอาบมัน รวมถึงนิตยสารของสายการบินที่คนอ่านจนเยินและ กระดาษเย็นส�ำหรับเช็ดหน้า) เรามีลานจอดรถแบบไม่มีบัตรจอดรถ อีบุ๊ก และไอแพด แต่ในขณะเดียวกันกระดาษก็เพิ่มจ�ำนวนขึ้น มีหนังสือ ตีพิมพ์ออกมามากขึ้น มีการใช้ถ้วยกระดาษตามร้านกาแฟมากขึ้น มีการ ติดตั้งเครื่องพิมพ์ตั้งโต๊ะ HP ตามบ้านมากขึ้น นี่คือจุดจบของหนังสือ ใช่ไหม? พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ถามเช่นนี้อยู่เรื่อยๆ กระดาษจะยัง มีบทบาทต่อไปอีกหรือไม่? ค�ำตอบสั้นๆ คือ มี หนังสือเล่มนีพ้ ยายามแสดงให้เห็นผ่านค�ำตอบยาวๆ ว่ารายงาน ข่าวเรื่องอวสานของกระดาษนั้นเกินจริงไปมาก ก็อย่างที่นักปรัชญา ชาวฝรั่งเศสผู้นิยมกระดาษอย่าง ฌาคส์ แดร์ริดา (Jacques Derrida) ให้ความเห็นไว้ “การบอกลากระดาษในวันนี้ก็คงคล้ายการตัดสินใจเข้า สักวันว่าจะเลิกพูดเพราะเขียนเป็นแล้ว” ในงานเขียนของแดร์ริดา เขา ย้อนกลับมายังค�ำถามเรื่องกระดาษอยู่เรื่อยๆ ไม่ใช่ค�ำถามข้อเดียวทว่า หลายข้อ “เมื่อเห็นค�ำถามเหล่านี้ปรากฏบนกระดาษ ข้าพเจ้าก็รู้สึกว่า... ข้าพเจ้าไม่เคยสนใจ เรือ่ ง อืน่ ใด หลักๆ ก็มแี ต่กระดาษ กระดาษ กระดาษ” กระดาษ กระดาษ กระดาษ ใครก็ตามที่เกิดทันฟล็อปปีดิสก์ 18

Paper: An Eleg y


คงจ�ำได้ว่าผู้จัดการส�ำนักงานหัวก้าวหน้าทั่วทุกหนแห่งเคยมีเป้าหมาย ที่จะสร้างส�ำนักงานไร้กระดาษ (paperlessness) แต่ก็อย่างที่ อาบิเกล เจ. เซลเลน (Abigail J. Sellen) และ ริชาร์ด เอช.อาร์. ฮาร์เปอร์ (Richard H.R. Harper) อธิบายไว้ในหนังสือ มายาคติแห่งส�ำนักงานไร้กระดาษ (The Myth of the Paperless Office, 2001) ว่าสิ่งที่เห็นได้ชัดคือ พัฒนาการด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะการริเริ่มใช้อีเมลและเครือข่าย อินเทอร์เน็ต กลับท�ำให้คนในส�ำนักงานใช้กระดาษมากขึน้ แทนที่จะลดลง เซลเลนกับฮาร์เปอร์มองว่าการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีไม่ได้เข้ามา แทนที่การใช้กระดาษ แต่เปลี่ยน “ลักษณะการใช้กระดาษ” มากกว่า เดี๋ยวนี้เราเผยแพร่แล้วพิมพ์ แทนที่จะพิมพ์แล้วเผยแพร่แบบเมื่อก่อน และถึงอย่างไรเป้าหมายสูงสุดของพัฒนาการด้านเทคโนโลยีทั้งหลาย ก็ดูเหมือนน�ำไปสู่เครื่องมือลักษณะเหมือนกระดาษ ซึ่งนอกจากสามารถ เข้าถึงข้อมูล ส่งต่อ และอ่านแล้ว ยังใช้งานในลักษณะอื่นๆ ได้เหมือน กระดาษด้วย กระดาษยังคงวนเวียนอยู่รอบตัวเรา พูดง่ายๆ คือมนุษย์ เป็นพวกคลั่งกระดาษและนิยมใช้กระดาษเป็นพื้นฐานของทุกสิ่ง ต่อให้ ไม่มีกระดาษ หรือกระดาษกลายเป็นสิ่งไม่จ�ำเป็นหรือไม่มีอยู่จริง เราก็จะ ยังจินตนาการมันขึ้นมา ยังให้ความส�ำคัญกับมัน และยังหวังให้มีมันอยู่ ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลผลค�ำที่ผมใช้งานอยู่มีลักษณะ เหมือนแผ่นกระดาษสีขาวโดยไม่มีความจ�ำเป็นเลยสักนิด ตรงมุมหน้าจอ ก็มีไอคอนรูปตะกร้าขยะกระดาษ มีขอบ มีย่อหน้า เลขหน้าด้านล่าง คอยบอกผมว่านี่คือ “หน้า” 4 แต่มันคงเป็นไปไม่ได้นอกเสียจากผมจะ จินตนาการว่ามีโรงกระดาษยักษ์ทเี่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อมซ่อนอยูต่ รงไหน สักแห่งหลังหน้าจอ “วอลล์เปเปอร์” หรือภาพหน้าจอของผมเป็นรูปยอดเขา มีหมอกคลุม เหมือนภาพจิตรกรรมฝาผนังหรือภาพถ่ายยักษ์ซึ่งติดไว้บน ผนังสมมติ เรื่องย้อนแย้งอย่างยิ่งเกี่ยวกับอวสานของยุคกระดาษก็คือ ภาพลักษณ์ของกระดาษก�ำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกหนแห่งและยังคงเป็น I a n S a n so m

19


ตั ว ก� ำ หนดรู ป แบบกั บ ฉากในการอ่ า นและการเขี ย นของเรา นี่ อ าจ เป็นเพราะกระดาษมีประโยชน์มากในฐานะอุปมาของภาษา ดังที่โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) ตั้งข้อสังเกตไว้ใน Course in General Linguistics ว่า “ภาษายังอาจเปรียบได้กับกระดาษแผ่นหนึ่ง ความคิด คือด้านหน้า ส่วนเสียงคือด้านหลัง เราไม่สามารถตัดด้านหน้าโดยไม่ตัด ด้านหลังไปด้วย เช่นเดียวกับภาษาทีเ่ ราไม่อาจแบ่งแยกเสียงจากความคิด หรือความคิดจากเสียง การแบ่งแยกเช่นนัน้ ท�ำได้ในใจเท่านัน้ และผลทีไ่ ด้ ก็จะเป็นจิตวิทยาล้วนๆ หรือสัทวิทยาล้วนๆ” ดูเหมือนเราไม่สามารถ แบ่งแยกกระดาษจากความคิดหรือความคิดจากกระดาษ ตัวเราเปลี่ยน ค�ำเปลี่ยน ทว่ากระดาษยังคงเดิม มันซึมซับได้ทุกอย่าง ทั้งยังซึมเข้าสู่ ทุกอย่างได้ด้วย แม้แต่เทคโนโลยีซึ่งก้าวหน้าที่สุดและได้รับการยกย่อง มากทีส่ ดุ ในยุคสมัยของเราก็ยงั คล้ายกระดาษ ไอแพดเหมือนสมุด คินเดิล เหมือนหนังสือ โทรศัพท์มือถือเหมือนสมุดบันทึกแบบพกพา และหน้าก็ ยังคงก�ำหนดจังหวะการอ่านของเรา แน่นอนว่าหน้า 2 ในคินเดิลของผม ยังคงตามหลังหน้า 1 ดังเช่นกลางคืนถัดจากกลางวัน และรูปเงาของ กระดาษที่มีมายาวนานก็ยังคงก�ำหนด แสงสี ในการอ่านของผม ท�ำไม ตัวหนังสือบนหน้าจอสีขาวต้องเป็นสีด�ำถ้าไม่ใช่เพราะมันเป็นกระดาษ? การที่กระดาษหายไปแล้วก็กลับมาเสมอ ถึงจะถูกเผา สูญหาย โดนทิ้ง ถูกปฏิเสธ แต่ก็ถูกค้นพบใหม่ ฟื้นฟู และมีรูปมีร่างขึ้นมาอีก อาจเป็นสาเหตุที่ท�ำให้มันยังคงเป็นเหมือนเรื่องยิบย่อยในงานศึกษาทาง วิชาการส่วนใหญ่ ถูกมองข้ามความส�ำคัญและมีค่าน้อยจนแทบไม่มีใคร สนใจอภิปรายนอกเหนือจากในหนังสือ วารสาร และสิ่งพิมพ์เฉพาะทาง (ในภาษาญีป่ นุ่ มีวลี โยะโคะงามิยะบุริ แปลว่า ฉีกกระดาษขวางแนวเส้นใย กระดาษ วลีนเี้ ป็นส�ำนวนทีม่ คี วามหมายว่า “ท�ำอะไรผิดปกติ” หรือ “ดือ้ รัน้ หัวแข็ง” การที่เราไม่สนใจกระดาษก็คือเราก�ำลังท�ำตัวผิดธรรมชาติ เราก�ำลังสวนกระแสนั่นเอง) การที่กระดาษเป็นของใช้ในชีวิตประจ�ำวัน 20

Paper: An Eleg y


ท�ำให้มันกลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่มีประวัติศาสตร์ตามสมัยนิยม หนังสือ เล่มนี้คือความพยายามสืบค้นและรื้อฟื้นประวัติศาสตร์บางส่วนของ กระดาษในหลายรูปแบบ ว่ากันตามตรง หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ประวัติศาสตร์กระดาษ แต่เป็น เหมือนพิพิธภัณฑ์กระดาษที่ตัวผมเองเป็นภัณฑารักษ์ บางทีอาจเป็น พิพธิ ภัณฑ์เฉพาะด้าน หรือ พิพธิ ภัณฑ์ในจินตนาการ (musée imaginaire) ค�ำหลังนี้ยืมมาจาก อังเดร มัลโรซ์ (André Malraux) นักเขียนนวนิยาย นักประวัติศาสตร์ศิลปะ และยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ฝรั่งเศสระหว่างปี 1959-1969 มัลโรซ์รู้ดีว่าวัตถุหลายอย่างที่คนเดี๋ยวนี้ มองว่าเป็นศิลปะนั้นเดิมไม่ถือเป็นศิลปะด้วยซ�้ำ ทว่าเป็นรูปเคารพหรือ เครื่องราง ไม่ก็ภาพปรากฏหรือภาพลักษณ์ของเทพเจ้า มัลโรซ์เขียน ไว้ ใ น พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ใ นจิน ตนาการของงานประติมากรรมทั่วโลก (The Imaginary Museum of World Sculpture, หนังสือชุด 3 เล่ม, 1952-54) ว่า “ไม่ควรเอาภาพเขียนสมัยราชวงศ์ซ่งมาเปรียบเทียบกับงานของ ปูแซ็ง เพราะท�ำแบบนั้นก็เหมือนเปรียบเทียบภาพทิวทัศน์ ‘ประหลาด’ กับงานศิลปะชั้นสูง” ส�ำหรับมัลโรซ์แล้ว พิพิธภัณฑ์ในจินตนาการก็คือ “บทเพลงแห่งการกลายร่าง” “การสร้างจักรวาลขึ้นมาใหม่ การเผชิญหน้า กับการรังสรรค์ของพระเจ้า” มันคือการฉลองให้กบั ทุกสิง่ ซึง่ อาจเรียกได้วา่ เป็นศิลปะ ไม่ใช่ให้กับทุกสิ่งที่เป็นศิลปะ ดังนั้นในพิพิธภัณฑ์กระดาษ เราอาจเห็นต้นฉบับของดิกเกนส์ (Charles Dickens) อยู่เคียงข้าง กระดาษสีฟ้าและพัสดุห่อกระดาษสีน�้ำตาลมัดด้วยเชือก ทั้งหมดรวมกัน เป็นเหมือนกระจกกระดาษที่เราอาจมองเห็นเงาสะท้อนของตัวเราเอง และโลกของเราซึ่งทั้งใหญ่โต น่ากลัว และน่าทึ่ง ทั้งนี้ควรระบุให้ชัดเจนต่อไปด้วยว่างานเขียนใดๆ เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์กระดาษ โดยเฉพาะหนังสือว่าด้วยประวัติศาสตร์กระดาษ เล่มนี้ซึ่งอันที่จริงก็ไม่ใช่ประวัติศาสตร์กระดาษ ไม่ใช่อย่างเดียวกันกับ I a n S a n so m

21


ประวัตศิ าสตร์ของหนังสือ อีกทัง้ ไม่ใช่อย่างเดียวกันกับประวัตศิ าสตร์ของ การเขียน มีประวัติศาสตร์พวกนั้นอยู่มากจนเกินพอแล้ว แน่นอนว่าการ เขียนมีมาก่อนกระดาษ มีการเขียนบนเปลือกไม้ แผ่นดินเหนียว งาช้าง แผ่นไม้กับกระดูกสัตว์ ปาปิรุส ใบลาน และผ้าไหม ต่อให้ไม่มีกระดาษก็ ยังมีการเขียนอยู่ หนังสือก็มีมาก่อนกระดาษเช่นกัน ทั้งหนังสือที่ท�ำจาก ปาปิรุสและแผ่นหนัง และถึงจะไม่มีกระดาษแล้วก็จะยังมีหนังสืออยู่ ประวัติศาสตร์กระดาษโลก ไม่ได้เกี่ยวกับหนังสือโดยตรง แม้ว่าหนังสือ จะเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์กระดาษที่พบมากสุด ทั้งยังไม่เกี่ยวกับการผลิต กระดาษซึ่งก็เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่มีเนื้อหามากและน่าสนใจ หนังสือเล่มนี้ คือความพยายามแสดงให้เห็นว่าท�ำไมมนุษย์ถึงผูกพันกับกระดาษอย่าง ลึกซึ้งจนอาจเรียกได้ว่าตัวตนของมนุษย์เรานั้น คล้ายกระดาษ (papery) เนื่องจากทุกอย่างที่ส�ำคัญส�ำหรับเราล้วนเกิดขึ้นบนกระดาษ ดังนั้นหากปราศจากกระดาษเราก็ไร้ความหมาย เราเกิดและมีสูติบัตร รับรอง เราสะสมประกาศนียบัตรแผ่นแล้วแผ่นเล่าที่โรงเรียน เราจด ทะเบียนสมรสเมื่อแต่งงานและเซ็นหนังสือหย่าเมื่อเลิกรา เรามีโฉนด เมื่อซื้อบ้าน และได้ใบมรณบัตรเมื่อตาย เราเกิดเป็นมนุษย์แต่กลับกลาย เป็นกระดาษตลอดกาล และกระดาษก็กลายเป็นตัวเรา เป็นผิวหนังเทียม ของเรา ทุกสิ่งที่เราเป็นล้วนเป็นกระดาษ มันคือรากฐานของกิจกรรม ต่างๆ เป็นหุ้นส่วนในกิจการทุกอย่างของเรา เป็นกุญแจให้เราเข้าใจ อดีต เรารู้จักอดีตได้อย่างไร? ก็ผ่านทางกระดาษและข้อมูลทุกอย่าง ที่มันบันทึกไว้ แน่นอนว่าเรารู้จักอดีตผ่านทางสถาปัตยกรรมด้วย แต่ สถาปัตยกรรมก็ต้องพึ่งพากระดาษเช่นกันดังที่เราจะได้เห็นต่อไป ดังนั้น กระดาษจึงชนะค้อนด้วยประการฉะนี้ ประวัตศิ าสตร์กระดาษโลก จะกล่าวถึงและถ่ายทอดความสามารถ อันยิ่งใหญ่ในการเร้าอารมณ์ของกระดาษตลอดจนความรู้สึกโหยหาที่ เรามีต่ออดีตของมัน ทั้งความหนาและน�้ำหนักของกระดาษเขียนหนังสือ 22

Paper: An Eleg y


เก่าๆ โปสเตอร์สุดโทรมเมื่อครั้งเราเป็นวัยรุ่นโลกสวย ความรู้สึกอ่อนไหว และขาดหายที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อเศษกระดาษเหล่านั้นซึ่งเป็นตัวแทน ประวัติศาสตร์ของมนุษย์คนใดคนหนึ่งและมนุษย์โดยรวม แต่เหนืออื่นใด เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้จะเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง นัยย้อนแย้งของ การใช้งาน ความหมายหลายชั้น คุณค่า รวมถึงขอบเขตและระดับที่ ไม่ธรรมดาของกระดาษ ข้อเท็จจริงที่ว่ากระดาษแผ่นหนึ่งอาจเป็นได้ทั้ง วัตถุล�้ำค่าอย่างภาพเขียนหรือต้นฉบับ หรืออาจเป็นเศษขยะชิ้นหนึ่ง ก็ได้ รวมถึงเรื่องพื้นๆ ที่ว่ามันอาจน�ำข่าวดีหรือข่าวร้ายมาบอก อย่าง จดหมายรักหรือจดหมายลาตาย และเรื่องที่ว่ากระดาษเหมาะส�ำหรับการ สื่อสารแต่ไม่เหมาะส�ำหรับการใช้ความคิด เพราะมันท�ำได้แค่เป็นสื่อชี้น�ำ ความคิดและเครือ่ งบันทึกความคิดทีเ่ กิดขึน้ แล้ว กระดาษเป็นรูปแบบหนึง่ ของเครื่องช่วยจ�ำและเป็นสิ่งที่ท�ำให้เราลืมเสียเอง แม้กระดาษมีมวล บางเบาทว่าเต็มไปด้วยคุณค่า เป็นทั้งวัตถุดิบและสัญลักษณ์แทนสิ่งอื่น ถึงบอบบางแต่ก็ทนทาน [เรื่องเล่าเกี่ยวกับเอกสารที่สาบสูญมีเยอะมาก ทั้งต้นฉบับหนังสือเล่มแรกในชุด The French Revolution อันโด่งดังของ คาร์ลายล์ (Thomas Carlyle) ทีห่ ญิงรับใช้นำ� ไปใช้จดุ ไฟ หรือเรือ่ งที่ โธมัส เดอ ควินซีย์ (Thomas de Quincey) สูญเสียกระดาษจดข้อความส�ำหรับ หนังสือเรื่อง Confessions of an English Opium-Eater เมื่อ “น�้ำตาเทียน [หยดลง] ท่ามกลางกระดาษกองมหึมาในห้องนอนโดยไม่มใี ครสังเกตเห็น” ส่วนเทนนีสัน (Alfred Tennyson) ก็สูญเสียต้นฉบับ Poems, Chiefly Lyrical จากกระเป๋าเสื้อคลุมที่เปิดอ้า] กระดาษนั้นละเอียดอ่อนแต่ก็คม และบาดจนเป็นแผลได้ ไม่จรี งั แต่กย็ งั้ ยืนยง [ไบรอน (Lord Byron) เขียนไว้ ใน ดอนฮวน (Don Juan) ว่า “เวลาลิดรอนสิง่ ใดไปบ้างเล่า/มนุษย์ผอู้ อ่ นแอ เมือ่ กระดาษทีแ่ ม้เก่าโทรมเช่นนี/้ กลับอยูไ่ ด้นานกว่าตัวเขา หลุมศพของเขา และทุกอย่างที่เป็นของเขา”] กระดาษเป็นทุกสิ่งและไม่ได้เป็นสิ่งใดเลย กล่าวคือเป็นสุดยอดตัวกลาง กระดาษคือวัตถุซึ่งเปิดทางให้เราเข้าถึง I a n S a n so m

23


ตัวเราเองได้อย่างมหัศจรรย์ พาเราออกจากพืน้ โลกไปสูโ่ ลกในจินตนาการ และดิ่งลึกลงไป มันคือทางเข้าสู่สิ่งที่ อองรี แบร์กซง (Henri Bergson) เรียกว่า “เสียงฮัมอย่างต่อเนื่องของความลึกล�้ำแห่งชีวิต” และเรือ่ งย้อนแย้งอย่างถึงทีส่ ดุ คืออะไรน่ะรึ? มนตราอันทรงพลัง ที่สุดของกระดาษคืออะไร? ตอบง่ายๆ คือ กระดาษช่วยให้เรามีตัวตน หรือดูเหมือนมีตวั ตน ทัง้ ทีเ่ ราไม่ได้อยูต่ รงนัน้ กระดาษทัง้ ตัดและเชือ่ มเวลา กับระยะทาง เช่นตอนนีผ้ มก�ำลังสือ่ สารกับคุณผ่านกระดาษ คุณไม่เห็นผม และไม่ได้ยินเสียงผม ผมอาจตายไปแล้วก็ได้ คุณไม่มีทางรู้เลย แต่ด้วย การใช้ปากกากับกระดาษผ่านวิธีการลี้ลับและด้วยการที่คุณอดทนอ่าน เราก็สร้างภาพลวงตาว่าเราก�ำลังสื่อสารกันขึ้นมา เหมือนคุณได้ยินเสียง ดังมาจากหน้ากระดาษ และตัวผมก็หายเข้าไปในเสียงจากหน้ากระดาษนัน้ กระดาษช่วยให้ผมสร้างตัวตน เปิดเผยตัวตน และลบล้างตัวตน กระดาษ ควบคุมการมองเห็นอย่างหมดจดและเป็นเครื่องอ�ำพรางสมบูรณ์แบบ ในนวนิยายเรื่อง ดิ่งพสุธา (Free Fall, 1959) ของ วิลเลียม โกลดิง (William Golding) ผูเ้ ล่าเรือ่ งบอกผูอ้ า่ นว่า “ผมกาเครือ่ งหมาย ผมมีตวั ตน ผมอยู่เหนือตัวหนังสือสีด�ำ 18 นิ้วที่คุณก�ำลังอ่าน ผมอยู่ในที่ของคุณ ผมถูกขังอยู่ในกล่องอัฐิและพยายามยึดโยงตัวเองไว้บนกระดาษสีขาว ตัวอักษรเชื่อมเราไว้ด้วยกัน แต่ถึงเปี่ยมเสน่หาเพียงใด เราก็ไม่มีอะไร ร่วมกันเลยนอกจากความรูส้ กึ แบ่งแยก” ผมอยูต่ รงนี้ ต่อมาผมก็ไม่อยูแ่ ล้ว ผมตั้ ง ใจให้ ประวั ติ ศ าสตร์ ก ระดาษโลก ส่ ว นหนึ่ ง เป็ น ประวัติศาสตร์ด้านเทคโนโลยีและวัตถุ แต่ที่ส�ำคัญกว่านั้นคือต้องการให้ เป็นประวัติศาสตร์ในเชิงสัญลักษณ์หรือประวัติศาสตร์ของสัญลักษณ์ ว่าด้วยการทีก่ ระดาษกลายเป็นของศักดิส์ ทิ ธิ์ ได้รบั การยกย่อง และเป็นที่ คลัง่ ไคล้ รวมถึงการทีม่ นั มอบความหวังและเสรีภาพให้เราในขณะทีก่ ำ� หนด ขอบเขตชัดเจนให้เราไปด้วย น่าเสียดายทีก่ ระดาษจ�ำนวนมากขาดหายไป จากหนังสือเล่มนี้ ไม่มีศิลปะเดคูพาจ1 ไม่มีกระดาษข้อสอบ ไม่มีกระดาษ 24

Paper: An Eleg y


โน้ตดนตรี ไม่มีเกมท็อปทรัมปส์2 แต่ข้อจ�ำกัดเช่นนี้ไม่มีในโลกออนไลน์ เราคลิกเข้าไปได้ตลอด [และผมขอแนะน�ำค�ำ วลี และแนวคิดบางอย่าง ที่จะท�ำให้คุณต้องเปิดเว็บไซต์กูเกิลค้นข้อมูลอย่างเร่งด่วน นั่นคือ papier poudré (กระดาษซับมันแบบมีแป้ง) papillotes (การปรุงอาหารโดยน�ำ ไปห่อกระดาษ) papeterie (กล่องใส่กระดาษและเครื่องเขียน) paperministers (การวาดภาพหน้านักการเมืองบนม้วนกระดาษช�ำระ) paperskulls (โมเดลหัวกะโหลกท�ำจากกระดาษ) paperage (การเอากระดาษ มาท�ำที่เก็บของ) papercrete กับ papercreters (วัสดุก่อสร้างท�ำจาก เยื่อกระดาษรีไซเคิล) และประวัติศาสตร์ไร้ที่สิ้นสุดของขยะ] มีกระดาษ หลากชนิดหลายประเภทที่ผมจ�ำต้องละเว้นไม่เอ่ยถึง แค่เรื่องกระดาษ ญี่ปุ่นเรื่องเดียวก็มีสมบัติตกส�ำรวจหลายร้อยชิ้น อาทิ ฮิกิอะวะเสะ ซึ่ง เมือ่ ก่อนใช้บดุ า้ นในเกราะอกของนักรบ โอะโระคะวะชิ ใช้บนั ทึกข้อมูลทีด่ นิ ของรัฐบาล ชิบงุ ามิ กระดาษแช่นำ�้ ลูกพลับใช้ทำ� ถุงเก็บเมล็ดข้าวและธัญพืช เสือ้ คลุมกระดาษยัดไส้ของคนลากรถ กระดาษห่อยา และกระดาษห่อกิโมโน นอกจากนั้นยังมีเรื่องเสียงของกระดาษชนิดต่างๆ กลิ่นของกระดาษชนิด ต่างๆ กลิ่นแอมโมเนียที่ใช้ในเครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ตามส�ำนักงาน ถึง หนังสือเล่มนี้จะไม่ครบเครื่องเรื่องกระดาษแต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เราอยู่ในโลกของกระดาษและเราคือมนุษย์กระดาษ ในนวนิยาย ของ ซัลวาดอร์ พลาสเซนเชีย (Salvador Plascencia) เรือ่ ง มนุษย์กระดาษ (The People of Paper, 2005) ซึง่ เป็นงานเขียนชิน้ เยีย่ มเกีย่ วกับกระดาษ ที่เขียนลงบนกระดาษ นักบวชชื่ออันโตนิโอเป็น “ศัลยแพทย์โอริงามิ คนแรก” ทักษะของเขาโดดเด่นเหนือชั้น แต่ท้ายที่สุดตัวเขาเองกลับถูก ขับออกจากศาสนาและสังคมทั้งยังตกงาน จนกระทั่งวันหนึ่งเขาหลบหนี ไปยังโรงงานแห่งหนึง่ ตามล�ำพังพร้อมรถเข็นบรรทุกกระดาษแข็ง กระดาษ เช็ดปาก และหนังสือ

I a n S a n so m

25


อันโตนิโอแบะสันหนังสือ ท�ำเอาหน้ากระดาษจากงานเขียนของ ออสเตนและเซร์บนั เตส หน้ากระดาษจากพระธรรมเลวีนติ แิ ละ ผู้วินิจฉัย ล้วนแล้วแต่หลุดล่อนกระจุยกระจายปะปนกับหน้า กระดาษจาก คัมภีรแ์ สงเจิดจรัส (The Book of Incandescent) จากนั้นอันโตนิโอก็คลี่กระดาษห่อของและกระดาษสี เริ่มตัด กระดาษแข็งแล้วพับ เธอเป็นสิ่งแรกที่เขาสร้างขึ้น ขาท�ำด้วยกระดาษแข็ง ไส้ติ่ง ท�ำด้วยกระดาษแก้ว และหน้าอกท�ำด้วยกระดาษ ไม่ได้สร้าง จากกระดูกซี่โครงของผู้ชายทว่าสร้างจากเศษกระดาษ สิ่ ง มี ชี วิ ต มหั ศ จรรย์ นี้ ลุ ก จากโต๊ ะ ตั ด กระดาษของอั น โตนิ โ อ ก้าวข้ามร่างผู้สร้างที่อ่อนล้าใกล้ตายแล้วออกไปเผชิญโลก

ตอนนี้เรามาจับมือเธอและเข้าสู่พิพิธภัณฑ์กระดาษกันดีกว่า

เชิงอรรถ 1

เดคูพาจ (decoupage) คือศิลปะการตัดแปะและเคลือบทับให้ดูเป็นเนื้อเดียวกัน

ท็อปทรัมปส์ (Top Trumps) คือเกมที่เล่นโดยใช้การ์ด ผู้เล่นจะเปรียบเทียบค่าสถิติบน การ์ดแต่ละชุดเพื่อเอาชนะกัน ผลิตครั้งแรกในปี 1968 นิยมมากที่อังกฤษ

2

26

Paper: An Eleg y


หมายเหตุว่าด้วยกระดาษที่ใช้ ในการเขียนหนังสือเล่มนี้ หนังสือทุกเล่มของผมแท้จริงแล้วเคยเป็นภาพพิสูจน์แม่พิมพ์ (counterproof) หรือกระดาษออฟเซต (offset) เคยเป็นขอบกระดาษส่วนที่ ถูกเจียนทิ้ง เช่นเดียวกับการ์ตูน มันเหมือนรูปขนาดเดียวกับภาพวาด อลังการหรือภาพปูนเปียก แต่ความจริงเป็นแค่แบบร่าง เป็นสิ่งที่เอามา ติดผนัง จากนั้นก็เจาะทะลุหรือเฉือนจนกลายเป็นลวดลายหรือภาพของ เค้าโครงบางอย่างที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น ผมอยากจะคิดว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่การ์ตูน แต่เป็นภาพ “Old Scraps” (1894) ของ จอห์น เอฟ. พีโต (John F. Peto) เป็น ภาพหลอกตา (trompe l’oeil) ย่อส่วน หรือจะเรียกว่า ภาพหลอกจิตวิญญาณ (trompe l’esprit) ก็ได้ “ผมก�ำลังพิมพ์หนังสือเล่มนี้บนกระดาษสีเหลือง” คือค�ำประกาศ ของผู้เล่าเรื่องใน นวนิยายบนกระดาษสีเหลือง (Novel on Yellow Paper, 1936) ของ สตีวี สมิธ (Stevie Smith) “มันคือกระดาษสีเหลืองอ๋อย และ ที่ใช้กระดาษสีเหลืองอ๋อยเช่นนี้ก็เพราะบ่อยครั้งผมพิมพ์มันในห้องที่ ส�ำนักงาน และกระดาษที่ผมใช้พิมพ์จดหมายให้เซอร์ฟีบัสก็เป็นกระดาษ สีฟ้า มีชื่อเขาพาดอยู่ตรงมุม” กระดาษสีเหลืองช่วยแยกนิยายจากงาน อนิจจา ผมไม่ได้ใช้ระบบที่มีเหตุมีผลเช่นนั้น ผมพิมพ์ด้วยแล็ปท็อปและคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ผมอ่านหนังสือ หลายเล่ม ทั้งหนังสือกระดาษ หนังสือคินเดิล หนังสือกูเกิล ผมอ่าน บทความทั้งออนไลน์ ในวารสารสิ่งพิมพ์ และในนิตยสาร ผมท�ำส�ำเนา ผมกดค�ำสัง่ “ปริน๊ ต์” ผมจดข้อความบนขอบกระดาษ เขียนลงสมุดจดและ บนกระดาษ A4 ที่มีเส้นบรรทัดถี่ ผมจัดระเบียบบันทึกของผมในแฟ้ม ผมท�ำให้บนั ทึกในแฟ้มยุง่ เหยิง ผมพิมพ์ประโยค ตามด้วยย่อหน้า แล้วก็บท I a n S a n so m

27


ผมสั่งปริ๊นต์บทเหล่านี้ ใช้ดินสอท�ำเครื่องหมายตรงจุดที่ต้องทบทวนและ แก้ไข จากนัน้ ก็เอามาแก้ในไฟล์แล้วปริน๊ ต์ออกมาอีกครัง้ และอีกครัง้ และ อีกครั้ง และอีกครั้ง แล้วในที่สุดผมก็ส่ง “ไฟล์เอกสาร” ไปให้บรรณาธิการ ทางอีเมล บรรณาธิการเสนอแนะจุดที่ต้องแก้ไข ซึ่งบางจุดผมก็ไม่สนใจ ก็ส่วนใหญ่นั่นละ แต่บางจุดผมก็แก้ตาม ซึ่งท�ำให้ต้องปริ๊นต์ทุกบทออก มาอีก ตามด้วยท�ำเครื่องหมายและแก้ไข ก่อนจะส่งไปอีกรอบ แล้วก็ อีกรอบ จากนั้นก็พิสูจน์อักษร แก้อีก พิสูจน์อักษรอีก ยืดเยื้องั้นหรือ? เกินบรรยายเลยละครับ รวมแล้วหนังสือเล่มนี้ถือก�ำเนิดจากกระดาษถ่ายเอกสารหนา 80 แกรมจ�ำนวน 20 รีม สมุดฉีกขนาด A4 มีเส้นบรรทัดถี่จ�ำนวน 15 เล่ม สมุดจดขนาดพกพายี่ห้อโมลสกิน (Moleskine) จ�ำนวน 4 เล่ม แผ่นดัชนี แบบมีเส้นบรรทัดขนาด A5 จ�ำนวน 6 แพ็ก ซองกระดาษ (สีเขียว) จ�ำนวน 50 ซอง และกระดาษโน้ตโพสต์อิต (คละสี) ปึกหนาขนาดข้อมือจ�ำนวน 3 ปึก ผมแน่ใจว่าต้องมีวิธีง่ายกว่านี้ในการเขียนหนังสือ ผลงานที่ ไ ด้ (หนังสือฉบับภาษาอังกฤษ) พิมพ์บ นกระดาษ เฟดริโกนี เอดิซิโอนี ครีม (Fedrigoni Edizioni Cream) ขนาด 100 แกรม ท�ำจากส่วนผสมของไม้เนื้อแข็งที่ผ่านมาตรฐานเอฟเอสซี (FSC - Forest Stewardship Council) กับเยือ่ ไม้ออ่ น (จากออสเตรีย ฝรัง่ เศส และบราซิล) ชนิดของเยื่อไม้คือยูคาลิปตัส สน และไม้สกุล Fagus sylvatica มากไปไหม? มากไปแต่ก็ยังไม่พอนะครับ

28

Paper: An Eleg y


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.