Politics vsi chapter 1

Page 1


การเมือง: ความรู้ฉบับพกพา • กษิร ชีพเป็นสุข แปล จากเรื่อง Po liti c s : A V e r y S hor t I n t r o duc t i o n โดย K e n n e t h M i n o g u e พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ op e n wo r l d s, มิถุนายน 2559 ราคา 235 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ศิลปกรรม พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ชญารัตน์ สุขตน • บรรณาธิการเล่ม ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ บรรณาธิการต้นฉบับ บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ นักศึกษาฝึกงาน สุรกานต์ กิตติพีรกร • บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 - 2 6 1 8 - 4 7 3 0 e -m a il: o pe n w o r l d s t h a i l a n d @g m a i l . c o m fa c e b o o k : w w w . f a c e b o o k . c o m / o p e n w o r l d s we b s i t e : w w w . o p e n w o r l d s . i n . t h จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 3 9 - 8 3 5 6 - 9 we b s i t e : h t t p : / / w w w . s e - e d . c o m /


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 0-2618-4730 และ 09-7174-9124 หรือ e - ma i l : o p en w o rld st h a ila n d @ g m a il. co m

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ มิน็อก, เคนเนธ. การเมือง: ความรู้ฉบับพกพา.-- กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส, 2559. 200 หน้า. 1. การเมือง I. กษิร ชีพเป็นสุข, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 320 ISBN 978-616-7885-33-9 • Thai language translation copyright 2016 by openworlds publishing house /Copyrig ht © 1995 by Kenneth Minogue All Rights Reserved. Politic s : A Ve ry Sh o rt I n t r o d u c t i o n , b y K e n n e t h M i n o g u e was or iginally publis h e d in En g lis h in 1 9 9 5 . This translation is published by arrangement with Oxford University Press t hrou g h T u ttle -M o ri Ag e n c y C o . , L t d . The T h a i e d itio n is tra n s l a t e d b y K a s i r a C h e e p p e n s o o k a nd published by op e n wo rld s p u b lis h i n g h o u s e , 2 0 1 6 . การเมือง: ความรู้ฉบับพกพา ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1995 แปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด ตามข้อตกลงกับสำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ภาพปก: Writing the Declaration of Independence, 1776 โดย Jean Leon Gerome Ferris (1863-1930)



สารบัญ

. ค�ำน�ำผู้แปล : 6 ค�ำน�ำผู้เขียน : 8 1. เพราะเหตุใดผู้ใช้อ�ำนาจเด็ดขาดจึงไม่มีที่อยู่ในการเมือง : 12 2. ชาวกรีกโบราณ: วิธีเป็นพลเมือง : 26 3. ชาวโรมัน: ความหมายที่แท้ของการรักปิตุภูมิ : 40 4. ศาสนาคริสต์และความรุ่งเรืองของปัจเจกบุคคล : 50 5. การสร้างรัฐสมัยใหม่ : 64 6. วิธีวิเคราะห์สังคมสมัยใหม่ : 78 7. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ: วิธีถ่วงดุลอ�ำนาจ : 92 8. ประสบการณ์การเมือง: (1) วิธีเป็นนักกิจกรรม : 108 9. ประสบการณ์การเมือง: (2) พรรคการเมืองและลัทธิ : 126 10. ประสบการณ์การเมือง: (3) ความยุติธรรม เสรีภาพ และประชาธิปไตย : 140 11. การศึกษาการเมืองอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ : 152 12. อุดมการณ์ท้าทายการเมือง : 166 13. การเมืองจะอยู่รอดผ่านศตวรรษที่ 21 ได้หรือไม่? : 180 หนังสืออ่านเพิ่มเติม : 194 ประวัติผู้เขียน : 198 ประวัติผู้แปล : 199


6

Politics

ค�ำน�ำผู้แปล

. การเมื อ งเป็ น สิ่ ง ที่ อ ยู ่ คู ่ ม นุ ษ ย์ ตั้ ง แต่ เ ราเริ่ ม รวมกั น เป็ น สังคม แต่การเมืองแทรกซึมเข้าไปในทุกอณูกิจกรรมของเรา จริงหรือไม่? การเมืองเป็นส่วนหนึ่งในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน อย่างแยกไม่ออก หรือพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัวควรจะมี ขอบเขตแยกจากกันอย่างเด็ดขาด? ทัง้ หมดนีน้ ำ� มาสูค่ ำ� ถามทีว่ า่ การเมืองเป็นเรื่องของใคร? หากการเมืองเป็นเรื่องของการ ช่วงชิงอ�ำนาจ แล้วการเมืองส�ำหรับผูท้ ไี่ ร้อำ� นาจหรืออยูช่ ายขอบ ของสังคมคือสิ่งใดเล่า? หนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ หมาะส� ำ หรั บ ผู ้ อ ่ า นทั่ ว ไปที่ ส นใจ อยากรู้เรื่องราวการเมืองให้มากขึ้นในหลากแง่มุม ไม่ว่าจะเป็น วิ วั ฒ นาการทางประวั ติ ศ าสตร์ ตั้ ง แต่ ยุ ค กรี ก โบราณ นั ก คิ ด คนส�ำคัญที่ยังทรงอิทธิพลถึงทุกวันนี้ และระบอบการปกครอง ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะวิวาทะเปรียบเทียบระหว่าง ระบอบเผด็จการกับประชาธิปไตย รวมถึงยังถือเป็นหนังสือทีช่ ว่ ย แนะน�ำเนื้อหาเบื้องต้นส�ำหรับผู้ที่คิดจะศึกษารัฐศาสตร์ ศาสตราจารย์เคนเนธ มินอ็ ก ผูเ้ ขียนหนังสือเล่มนี้ เป็นที่ รู้จักในฐานะนักวิชาการและนักคิดนักเขียนแนวอนุรักษนิยม แต่ ไ ม่ ว ่ า ผู ้ อ ่ า นจะจั ด ประเภทตนเองว่ า เป็ น คนจ� ำ พวกไหน


A

Very Short Introduction

7

หรือแนวทางใดก็น่าจะอ่านสนุกได้ความรู้ไม่ต่างกัน ในเมื่อ การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับมนุษย์ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง ฉะนั้นหากผู้อ่านได้ท�ำความรู้จักการเมือง ก็อาจเท่ากับได้รู้จัก ตัวเองมากขึ้นด้วยเช่นกัน กษิร ชีพเป็นสุข มิถุนายน 2559


8

Politics

ค�ำน�ำผู้เขียน

. โธมั ส มั น น์ (Thomas Mann) เคยตั้ ง ข้ อ สั ง เกตไว้ ว ่ า “ชะตากรรมของมนุ ษ ย์ ส� ำ แดงความหมายในรู ป การเมื อ ง” ค�ำกล่าวนี้คงจริงส�ำหรับพวกคร�่ำครึในมหาวิทยาลัยที่เชื่อว่า คนเราไม่ อ าจเกิ ด สุ น ทรี ย ะกั บ โคลงกลอนหรื อ มี ค วามรั ก โดยปราศจากการแสดงจุ ด ยื น ทางการเมื อ งไปพร้ อ มกั น จากสามัญส�ำนึกของคนทั่วไป มุมมองนี้ไร้สาระไม่น้อยไปกว่า ความเห็นเชิงจิตวิทยาแขนงย่อยของฟรอยด์ (Sigmund Freud) ที่ว่าการกระท�ำทุกอย่างของเราสะท้อนแง่มุมทางเพศ อย่างที่ ยีตส์ (William Butler Yeats) ตอบมันน์ว่า ในเมื่อหญิงสาวผู้นั้นยืนอยู่ตรงนั้น ความสนใจของข้าพเจ้า จะจดจ่ออยู่ที่การเมืองโรมันหรือรัสเซีย หรือสเปนได้อย่างไร?

สามั ญ ส� ำ นึ ก นั่ น แหละคื อ ประเด็ น หากมองในแง่ การเมือง สิ่งต่างๆ ล้วนเป็นจริง และทุกข้อคิดเห็นย่อมเป็นจริง หรือเป็นเท็จ (ในระดับหนึ่ง) ผู้คนหลั่งเลือดและสูญเสียชีวิต และแม้จะล�ำบากยากเย็นอยู่บ้าง แต่การเมืองก็ช่วยหล่อเลี้ยง


A

Very Short Introduction

9

โลกธรรมดาสามัญที่เราสามารถพูดคุยกันได้ ก่อนที่นักปรัชญา ผูย้ อ่ ยประสบการณ์ให้กลายเป็นมุมมอง โลกทัศน์ การรับรู้ คุณค่า การเข้าครอบครอง วัฒนธรรม และอื่นๆ จะท�ำลายโลกธรรมดา สามัญนัน้ เสีย การเมืองเป็นกิจกรรมทีห่ ล่อเลีย้ งกรอบชีวติ มนุษย์ แต่การเมืองไม่ใช่ชีวิต ในอารยธรรมของเรา นักปรัชญาผู้ไม่เชื่อ อะไรง่ายๆ นักสัมพัทธนิยมทางศีลธรรม นักวิพากษ์สังคมเชิง วิชาการผู้ขมขื่น ผู้มองการณ์ไกลเชิงศาสนา และนักพยากรณ์ ผู้มีศิลปะ ล้วนแล้วแต่มีที่อยู่ที่ยืนของตน แต่การที่พวกเขา เข้าแทรกแซงการเมืองไม่ใช่สิ่งน่าชื่นชมยินดีเลย โดยเฉพาะ ในช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมา ประสบการณ์สอนว่าแม้การเมือง จะช่วยจัดระเบียบชีวติ ได้หลากหลายหนทาง แต่กต็ อ้ งอยูใ่ ห้หา่ ง จากการแทรกแซงเช่นนี้เอาไว้ กระนั้นกิจกรรมเชิงการเมือง ก็คือชีวิตมนุษย์ที่ด�ำเนินต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง เต็มไปด้วย วีรกรรมและการหลอกลวง ถ้าจะเข้าใจการเมือง เราต้องรู้ว่า การเมืองแปรเปลี่ยนได้หลากหลายเพียงใด ไม่ว่าในช่วงเวลา หรือในสถานการณ์ไหน หนั ง สื อเล่ ม นี้ มุ่ ง ค้ นหาเส้ นทางที่ จ ะวางการเมื อ งไว้ ท่ามกลางบริบทของแขนงวิชาเฉพาะด้านและประวัติศาสตร์ อย่างกระชับย่นย่อ พยายามท�ำให้ทั้งทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติ มุ่งไปในทางเดียวกัน รวมทั้งขจัดข้อผิดพลาดสักข้อสองข้อ แต่ผู้เขียนตระหนักดีว่าข้อผิดพลาดของคนคนหนึ่งอาจจะเป็น สิ่งที่อีกคนยึดถือเป็นชีวิตจิตใจก็ได้ เค. เอ็ม. กันยายน 1994



การเมือง •

ความรู้ฉบับพกพา

POLITICS • A Very Short Introduction by

Kenneth Minogue

แปลโดย

กษิร ชีพเป็นสุข


บทที่ 1

/ เพราะเหตุใดผู้ใช้อำ�นาจเด็ดขาด จึงไม่มีที่อยู่ในการเมือง


A

Very Short Introduction

13

เรื่องราวเล่าขานกันมาว่า ฮารุน อัล ราสชิด (Harun Al Raschid) องค์กาหลิบแห่งกรุงแบกแดด ปลอมตัวเป็นขอทาน เพื่อหาค�ำตอบว่าประชาชนของพระองค์คิดเห็นอย่างไรกันบ้าง เนื่องจากรอบกายพระองค์มีแต่คนประจบสอพลอที่สุมหัวกันอยู่ ในระบบอ�ำนาจเบ็ดเสร็จ จึงต้องใช้วิธีที่ไม่ตรงไปตรงมาค้นหา ความจริง ฮารุนคือองค์กาหลิบที่เล่าลือกันว่าได้สั่งประหาร เชอเฮราซาด (Scheherazade) แต่นางโปรยเสน่ห์ด้วยการ เล่าเรื่องคืนแล้วคืนเล่าเป็นเวลาหนึ่งพันราตรี พระองค์จึงชะลอ การประหารและในทีส่ ดุ ก็สมรสกับนาง เรือ่ งเล่านีเ้ ป็นภาพสะท้อน ของระบบใช้อ�ำนาจเด็ดขาด (despotism) ที่มีชื่อเสียง เป็นระบบ ของระเบียบที่เกิดขึ้นจากการพิชิตอ�ำนาจ ตั้งอยู่บนความกลัว และลงเอยด้วยการท�ำตามอ�ำเภอใจ ในระบบการปกครองแบบใช้อำ� นาจเด็ดขาด หลักในการ จัดระเบียบสูงสุดมาจากตัวผู้ใช้อ�ำนาจเด็ดขาดเอง แต่ระบบ ใช้อ�ำนาจเด็ดขาดก็ไม่ใช่ระบบที่ความยุติธรรมจะไร้ความหมาย เสี ย ที เ ดี ย ว ระบบใช้ อ� ำ นาจเด็ ด ขาดด� ำ รงอยู ่ ทั่ ว ไปในสั ง คม


14

Politics

ประเพณี ดั้ ง เดิ ม ที่ ข นบธรรมเนี ย มคื อ ราชา และมโนทั ศ น์ ความยุ ติ ธ รรมที่ใช้ กัน อยู ่ ณ ขณะนั้ นก็ไ ด้ รับการยอมรับว่ า เป็นส่วนหนึ่งของระเบียบตามธรรมชาติ ทุกคนต่างมีหน้าที่ ซึ่งสอดรับกับแบบแผนที่อ�ำนาจเบื้องบนอันศักดิ์สิทธิ์เห็นชอบ ราชวงศ์ทั้งหลายล้วนรุ่งเรืองและเสื่อมถอยไปตามสิ่งที่ชาวจีน เคยเรียกกันว่า “ลิขติ สวรรค์” แต่ชวี ติ ชาวนาแทบไม่เปลีย่ นแปลง ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับปัญญาของผู้ปกครอง ในศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล ชาวอิสราเอลมีปัญหากับพวกฟิลิสตีน <ชนเผ่าที่ อาศัยในดินแดนปาเลสไตน์ตอนใต้> จึงไปหาผูพ้ ยากรณ์ซามูเอล (Samuel) ที่ปกครองพวกเขาอยู่ และร้องขอกษัตริย์ที่จะมา ตั ด สิ น ข้ อพิ พ าทและน� ำ พวกเขาในสงคราม ซามู เ อลจึ ง ห้ า ม ปรามโดยชี้แนะว่ากษัตริย์เช่นนี้ย่อมยึดทรัพย์สินและใช้แรงงาน พวกเขาเป็นทาส แต่พวกเขาเหล่านั้นก็ยังยืนยันว่าต้องการเป็น เหมือนชาติอื่นๆ และต้องมีกษัตริย์ให้จงได้ ค�ำว่า “กษัตริย์” ใน บริบทตะวันออกกลางหมายความถึงผู้ปกครองที่จะใช้อ�ำนาจ เด็ดขาดกับพวกเขา เป็นผู้ปกครองที่ต่างจากผู้ปกครองของ ยุ โ รปที่ อ ยู ่ ภ ายใต้ รั ฐ ธรรมนู ญ ผลปรากฏว่ า ชาวอิ ส ราเอล โชคดีทเี ดียวทีม่ ผี ปู้ กครองเด่นๆ อย่างซาอูล (Saul) ดาวิด (David) และโซโลมอน (Solomon) ผู้ธ�ำรงรักษาระเบียบให้อิสราเอล ในระยะสั้นๆ และยังน�ำมาซึ่งชื่อเสียงเกียรติยศในระดับประเทศ ด้วย วิธีที่โซโลมอนใช้แก้ปัญหากรณีสตรีสองนางกล่าวอ้าง สิ ท ธิ ใ นเด็ ก ทารกคนเดี ย วกั น เป็ น ตั ว อย่ า งที่ มี ชื่ อ เสี ย งที่ สุ ด ซึง่ แสดงให้เห็นถึงสติปญ ั ญาระดับต�ำนานของพระองค์ แต่กระนัน้ กษัตริย์เหล่านี้ก็ยังปกครองอย่างกดขี่ และท้ายสุดผลพวงที่


A

Very Short Introduction

15

ตามมาจากแผนการใหญ่ของโซโลมอนก็ทำ� ให้อสิ ราเอลแตกแยก ออกจากกัน “ระบบใช้ อ� ำ นาจเด็ ด ขาด” เป็ น ค� ำ ที่ ค รอบคลุ ม และ ประกอบไปด้ ว ยความหลากหลาย อารยธรรมที่ ไ ม่ ใ ช่ ยุ โ รป มี ร ะบอบการปกครองแบบใช้ อ� ำ นาจเด็ ด ขาดในรู ป แบบใด รูปแบบหนึ่งเกือบจะเสมอมา อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้อ�ำนาจเบ็ดเสร็จ มั ก ต่ อ ต้ า นมโนทั ศ น์ ใ นแบบตะวั น ตก ไม่ ว ่ า จะเป็ น ฟาโรห์ ผู้โหดเหี้ยม จักรพรรดิโรมันเสียสติอย่างคาลีกูลา (Caligula) และเนโร (Nero) หรือจักรพรรดิจากแดนไกลที่แปลกแตกต่าง อย่างอินเดียหรือจีน ในยุโรป ผู้ปกครองจ�ำต้องปลอมแปลง ความปรารถนาในอ�ำนาจเด็ดขาดให้ออกมาในรูปแบบอืน่ บางครัง้ ชาวยุ โ รปก็ ถู ก ระบบใช้ อ� ำ นาจเด็ ด ขาดที่ ม าในรู ป อุ ด มการณ์ อันเย้ายวนอย่างกรณีฮติ เลอร์ (Adolf Hitler) และสตาลิน (Joseph Stalin) หลอกเอา ข้อเท็จจริงนี้คงเตือนเราได้ว่าระบบใช้อ�ำนาจ เด็ดขาดไม่ใช่เรื่องไกลตัว หลายประเทศยังคงปกครองด้วย ระบบนี้ ประชาชนอยู่ในภาวะที่จะถูกขู่ประทุษร้ายหรือคร่าชีวิต เมื่อใดก็ได้ ไม่ต่างจากอยู่ในโรงพยาบาลบ้า ปัจจุบันเราให้ค�ำจ�ำกัดความระบบใช้อ�ำนาจเด็ดขาด [รวมถึงระบอบเผด็จการและระบบรวบอ�ำนาจเบ็ดเสร็จ (totalitarianism)] ว่าเป็นการปกครองรูปแบบหนึ่ง ซึ่งคงท�ำให้ชาว กรี ก โบราณไม่ พ อใจอย่ า งมาก เพราะพวกเขามี อั ต ลั ก ษณ์ (และความรู ้ สึ ก เหนื อ กว่ า ผู ้ อื่ น ) อยู ่ บ นพื้ น ฐานของการแยก ตัวเองออกจากระบบใช้อ�ำนาจเด็ดขาดแบบที่เพื่อนบ้านทาง ตะวั น ออกต้ อ งทน ความแตกต่ า งดั ง กล่ า วแสดงให้ เ ห็ น ว่ า


16

Politics

การเมืองส�ำคัญกับอารยธรรมเรามากจนกระทั่งความหมาย ของมันเปลี่ยนเมื่อวัฒนธรรมและสถานการณ์เปลี่ยน ด้วยเหตุนี้ หากเราหวังจะเข้าใจการเมือง เราต้องเริ่มจากการปลดปล่อย ตั ว เองออกจากคติ ค วามเชื่ อ ณ ปั จ จุ บั น สมั ย ที่ ไ ม่ ไ ด้ มี ก าร ไตร่ตรองไว้อย่างถี่ถ้วน จุดประสงค์หนึ่งของหนังสือเล่มนี้คือ เพื่ อ อธิ บ ายว่ า สิ่ ง ที่ เ คยเป็ น กิ จ กรรมในขอบเขตจ� ำ กั ด และ ด�ำเนินการโดยชนชัน้ สูงในประเทศตะวันตกบางประเทศ ได้กลาย เป็นสิง่ ทีเ่ ข้าครอบง�ำมวลมนุษยชาติโดยไม่อาจหนีพน้ ได้อย่างไร อันดับแรกเราต้องเริ่มจากการพิจารณาว่าชาวกรีก โบราณให้คุณค่ากับการเมืองอย่างไรก่อน ชาวกรีกรู้ว่าพวกเขา ไม่ใช่ชาวตะวันออก พวกเขาชื่นชมวัฒนธรรมอันตระการของ จักรวรรดิตะวันออกอย่างอียิปต์หรือเปอร์เซีย แต่นึกดูถูกวิธีการ ปกครองของพวกเขาเหล่านั้น ชาวกรีกเรียกระบบแปลกปลอม นี้ว่า “ระบบใช้อ�ำนาจเด็ดขาด” เพราะมันดูไม่แตกต่างจากความ สัมพันธ์ระหว่างนายกับทาส สายเลือดนักรบอย่างชาวกรีก เกลียดชังแบบปฏิบัติที่เหล่าข้าแผ่นดินจะต้องหมอบราบเมื่ออยู่ ต่อหน้าผู้ปกครองชาวตะวันออก ชาวกรีกคิดว่านี่เป็นรูปแบบ ความไม่ เ ท่ า เที ย มระหว่ า งประชาชนกั บ ผู ้ ป กครองอั น สุ ด จะ ทานทน กว่าสองพันปีให้หลัง เราก็ยังสืบทอดความรู้สึกต่อต้าน การหมอบราบแบบนีโ้ ดยอัตโนมัติ ส่วนหนึง่ เป็นเพราะอากัปกิรยิ า เช่นนี้กลายเป็นภาพที่ท�ำให้ตระหนักถึงระยะห่างระหว่างมนุษย์ กับพระเจ้าในศาสนาคริสต์ เวลาเราถกกันเรื่องนี้ เรามักจะใช้ รากศัพท์ภาษาละตินของค�ำว่า “การครอบง�ำ” (domination) ค�ำว่า despotes ของกรีกและ dominus ของโรมันสื่อถึงรูปแบบอ�ำนาจ


A

Very Short Introduction

17

เฉพาะที่นายทาสใช้ ค�ำว่า “ระบอบเผด็จการ” (dictatorship) ที่ใช้กันในสมัยใหม่กับค�ำว่า “ระบบรวบอ�ำนาจเบ็ดเสร็จ” ใน ศตวรรษที่ 20 ก็เป็นหนึ่งในสัญญะแห่งยุคปัจจุบัน ที่สะท้อน ออกมาขณะมนุษย์พยายามท�ำความเข้าใจตนเอง โดยเป็นสัญญะ ทีแ่ สดงถึงแก่นความคิดอันฝังแน่นทีไ่ ม่เห็นด้วยกับการหมอบราบ สาระของระบบใช้อำ� นาจเด็ดขาดคือ ไม่มผี ใู้ ดทีส่ ามารถ อุทธรณ์คดั ค้านอ�ำนาจอันไร้ทสี่ นิ้ สุดของผูเ้ ป็นนาย ไม่วา่ จะในเชิง ปฏิบัติหรือในข้อกฎหมาย วัตถุประสงค์เดียวของข้าแผ่นดินคือ เพื่อท�ำให้นายพอใจ ที่นี่ไม่มีทั้งรัฐสภา ไม่มีฝ่ายค้าน ไม่มีสื่อเสรี ไม่มีฝ่ายตุลาการที่เป็นอิสระ ไม่มีกฎหมายที่ปกป้องทรัพย์สิน ส่วนบุคคลจากอ�ำนาจอันละโมบ สรุปก็คือไม่มีเสียงสาธารณะ ใดเลยยกเว้นแต่ของผู้ใช้อ�ำนาจเด็ดขาดเพียงผู้เดียว ออกจะ น่าประหลาดที่การไร้อ�ำนาจต่อรองเช่นนี้เป็นสาเหตุที่ท�ำให้ ระบบใช้อำ� นาจเด็ดขาดก่อให้เกิดการรูแ้ จ้งทางจิตวิญญาณ นีค่ อื ปฏิกิริยาต่อโลกที่ปกครองด้วยอ�ำนาจตามอ�ำเภอใจ ท�ำให้เหล่า ข้าแผ่นดินผูม้ คี วามคิดไตร่ตรองรับเอาไสยศาสตร์ ลัทธิสโตอิก และ รูปแบบอื่นๆ ที่ช่วยให้หลีกหนีพ้นไปจากสิ่งเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ สาระชีวิตจึงอยู่ในขอบเขตของจิตวิญญาณที่เหนือผัสสะ ชีวิต ทางสังคมและการเมืองถูกลดค่าเป็นเพียงภาพลวง ผลที่เกิดขึ้น คือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมักตกอยู่ในภาวะชะงักงันหรือ ก้าวหน้าได้เพียงระยะสั้นๆ ระบบใช้อ�ำนาจเด็ดขาดด�ำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติ โดยมีผลมาจากการพิชิตดินแดน ซึ่งเป็นต้นตอที่ให้ก�ำเนิดสังคม ทั้งหลาย และได้สร้างระเบียบการเมืองหรือพลเรือนที่เรียก


18

Politics

ได้ว่าเป็นความส�ำเร็จขั้นเอกอุ ชาวยุโรปท�ำส�ำเร็จสามครั้ง โดยมี สองครัง้ ทีล่ ม่ สลายไป ครัง้ แรกคือในนครรัฐกรีกโบราณซึง่ ตกอยูใ่ ต้ ระบบใช้อำ� นาจเด็ดขาดหลังอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) สิ้นพระชนม์ ครั้งที่สองโดยพวกโรมัน ความส�ำเร็จ ครั้งนั้นได้ก่อร่างเป็นจักรวรรดิที่มีความหลากหลายเสียจนต้อง อาศัยอ�ำนาจเด็ดขาดเพื่อปกป้องไม่ให้จักรวรรดิล่มสลายไป ประสบการณ์จากเหตุการณ์แรกก่อให้เกิดลัทธิสโตอิกและปรัชญา อื่นๆ ที่หลีกเร้นจากโลก ส่วนครั้งที่สองกลายเป็นรากฐานของ ศาสนาคริสต์ ศาสนาคริสต์และอาณาจักรป่าเถื่อนทางตะวันตก ได้ ใ ห้ ก� ำ เนิ ด การเมื อ งยุ ค กลาง ซึ่ ง ต่ อ มาจะวิ วั ฒ นาการเป็ น การเมืองสมัยใหม่ เราใช้ชวี ติ อยูก่ บั ประสบการณ์เหล่านี้ และท�ำได้ แค่รอ่ นไปกับมัน โดยทีย่ งั ไม่รวู้ า่ ชะตากรรมสุดท้ายจะเป็นอย่างไร แต่เรารู้ว่าบัดนี้การปฏิเสธระบบใช้อ�ำนาจเด็ดขาดตาม ประเพณีตะวันตกส่วนใหญ่ได้กลายเป็นที่ถกเถียง หลายต่อ หลายคนในช่วงไม่กี่ศตวรรษที่ผ่านมาเฝ้าฝันที่จ ะใช้อ�ำนาจ อันไร้ผู้ต่อกรซึ่งมีเฉพาะในระบบใช้อ�ำนาจเด็ดขาดเพื่อก�ำจัด ข้อบกพร่องของโลกนีใ้ ห้หมดไป โครงร่างระบบใช้อำ� นาจเด็ดขาด ในยุ โ รปแม้ ก ระทั่ ง ในรู ป แบบกษั ต ริ ย ์ ท รงภู มิ ธ รรมหรื อ ราชา ปราชญ์ก็ยังล้มเหลวยกเว้นแต่จะปิดบังตัวตนที่แท้จริงเอาไว้ การเมืองเป็นส่วนหนึ่งของมหรสพแห่งภาพลวง จึงง่ายที่จะ ประดิษฐ์นามและมโนทัศน์ใหม่ ในศตวรรษที่ 20 ระบบรวบอ�ำนาจ เบ็ดเสร็จอันเป็นภาพฝันของระบบใช้อ�ำนาจเด็ดขาดได้สร้าง ห้องทดลองการเมืองขนาดใหญ่ที่ใช้ทดสอบโครงการทั้งหลาย ที่เป็นไปเพื่อรังสรรค์สังคมอันสมบูรณ์แบบ ซึ่งทุกคนตระหนักดี


A

Very Short Introduction

19

ว่ามันล้มเหลว แต่ไม่คอ่ ยรับรูว้ า่ ความสับสนวุน่ วายอันใหญ่หลวง เช่นนี้น ่าจะสอดคล้ องกับจริตบางประการในอารยธรรมของ เราเอง การท�ำความเข้าใจการเมืองจึงหมายรวมถึงการศึกษา สัญญาณทีอ่ าจบ่งบอกถึงคลืน่ ใต้นำ�้ เหล่านีแ้ ละความขัดแย้งอืน่ ๆ ในอารยธรรมของเรา ค�ำบอกใบ้หนึง่ ซึง่ ยอมรับกันแพร่หลายคือสภาพปัจจุบนั ที่ชีวิตส่วนตัวและโลกสาธารณะได้แยกออกจากกัน โลกส่วนตัว เป็นโลกของครอบครัว และเป็นโลกในส�ำนึกของปัจเจกบุคคล เนือ่ งจากแต่ละคนตัดสินใจเลือกสิง่ ทีต่ นเชือ่ หรือสนใจด้วยตัวเอง ชีวิตส่วนตัวแบบนี้คงเป็นไปไม่ได้หากไม่มีโลกสาธารณะของ รัฐครอบอยู่ ซึ่งช่วยพยุงโครงสร้างกฎหมายที่สอดรับกับการ ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง การเมืองจะอยู่รอดตราบใดที่ โครงสร้างกฎหมายสาธารณะที่ครอบอยู่นี้ตระหนักถึงข้อจ�ำกัด ของตนเอง อย่างที่เพริเคลส (Pericles) กล่าวในค�ำไว้อาลัย ชาวเอเธนส์ที่ตายในสงครามเพโลพอนนีเชียน (Peloponnesian War) ปีแรกว่า “เราเป็นอิสระและมีความอดกลั้นในชีวิตส่วนตัว แต่ในกิจการสาธารณะเราจะต้องเคารพกฎหมาย” ขอบเขต ที่ แ ท้ จ ริ ง ว่ า สิ่ ง ใดเป็ น สาธารณะและสิ่ ง ใดเป็ น เรื่ อ งส่ ว นตั ว เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอไม่ว่าในกฎหมายหรือในทัศนคติของผู้คน ปัจจุบันนี้รักร่วมเพศและศาสนาซึ่งเคยถูกก�ำกับควบคุมทาง สาธารณะก็กลายเป็นเรือ่ งส่วนตัวในสังคมส่วนใหญ่ ขณะเดียวกัน ก็เริม่ มีขอ้ ก�ำหนดทางกฎหมายเกีย่ วกับพฤติกรรมข่มขืนคูส่ มรส และทารุณเด็กมากยิ่งขึ้น การที่เราตระหนักถึงความแตกต่าง เช่นนี้คือสิ่งที่แยกระบบใช้อ�ำนาจเด็ดขาดออกจากการเมือง


20

Politics

ซึ่งเราอาจจะระบุได้คร่าวๆ ว่าคือสิ่งเสรีและเป็นประชาธิปไตย ในระบบใช้ อ�ำ นาจเด็ ดขาดแบบดั้ ง เดิม ทุ กอย่ างใน สังคมเป็นทรัพย์สนิ ส่วนบุคคลของผูใ้ ช้อำ� นาจเด็ดขาด แต่ในโลก สมั ย ใหม่ การแยกแยะพื้ น ฐานนี้ เ สื่ อ มถอยลงเรื่ อ ยๆ จาก ทิศทางตรงกันข้าม นั่นคือพื้นที่ส่วนบุคคลถูกก�ำกับควบคุมทาง สาธารณะมากยิง่ ขึน้ หากเราเรียกทุกอย่างทีเ่ ป็นประเด็นขัดแย้ง ว่าการเมือง และหาก (อย่างที่ค�ำขวัญอันโด่งดังว่าเอาไว้) เรื่อง ส่วนตัวเป็นเรื่องการเมืองแล้วละก็ จะไม่มีสิ่งใดอยู่นอกเหนือ ขอบเขตทีร่ ฐั บาลจะควบคุมได้ ข้อเสนอนีไ้ ม่ได้เป็นทีย่ อมรับอย่าง สากล แต่เป็นสมมติฐานเบือ้ งแรกของระบบรวบอ�ำนาจเบ็ดเสร็จ ในศตวรรษที่ 20 และเห็นได้ชัดว่ามีผลเพื่อกักปัจเจกไว้ในระบบ ควบคุมระบบเดียว ทั้งยังท�ำลายมรดกที่รัฐสมัยใหม่รับสืบทอด มาจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้อย่างบทบาทการด�ำเนินงานที่เป็น อิสระและแยกออกจากกันได้ชัดเจน (ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ศาสนา วัฒนธรรม สังคม และกฎหมาย) ค�ำขวัญอย่าง “เรื่องส่วนตัวเป็นเรื่องการเมือง” เป็น ข้อเสนอส�ำหรับการกระท�ำที่ซ่อนเร้นอยู่ในรูปของความจริง เกี่ยวกับโลกใบนี้ ความหมายของค�ำขวัญแบบนี้มักไม่ชัดเจน แต่มีนัยซ่อนอยู่ซึ่งอาจเผยตัวออกมาในสถานการณ์ใหม่ๆ และ เรี ย กร้ อ งนโยบายที่ ส บประมาทคุ ณ ค่ า น่ า หวงแหนทั้ ง หลาย อย่างเช่นเสรีภาพส่วนบุคคล ว่ากันว่าราคาของเสรีภาพคือการที่ ประชาชนต้องคอยเฝ้าระวัง และรูปแบบส�ำคัญรูปแบบหนึ่งของ การเฝ้าระวังก็คือการคอยจับสังเกตค�ำพูดโน้มน้าวทางการเมือง ซึ่งมักจะเผยให้เห็นว่าสิ่งต่างๆ ด�ำเนินไปอย่างไร


A

Very Short Introduction

21

จุดเริ่มแรกของการก่อเกิดปัญญาในทางการเมืองคือ ต้องรู้จักสังเกตสัญญาณแห่งการเปลี่ยนแปลง การเมืองในฐานะ มหรสพแห่งภาพลวงย่อมไม่เผยความหมายต่อผูล้ ะเลย ความจริง และความลวงเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาการเมือง ปัญหานี้ เริ่ ม มาตั้ ง แต่ ชื่ อที่ ใ ช้ เ รี ย กขานสถาบั นทั้ ง หลาย อิ ท ธิ พ ลของ ตะวั น ตกที่ เ ข้ า ครอบง� ำ สิ่ ง ต่ า งๆ สื่ อ ความหมายว่ า ตอนนี้ ทุ ก ประเทศมี รู ป แบบการปกครองและสถาบั น ต่ า งๆ (เช่ น รัฐสภา รัฐธรรมนูญ ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิ สหภาพแรงงาน ศาล หนังสือพิมพ์ รัฐมนตรี และอะไรต่อมิอะไร) ซึ่งบ่งชี้ว่าทั่วโลก ก�ำลังด�ำเนินไปในลักษณะเดียวกัน แต่ความจริงหาเป็นเช่นนัน้ ไม่ ยกตั ว อย่ า งเช่ น ญี่ ปุ ่ น มี ต� ำ แหน่ ง นายกรั ฐ มนตรี ซึ่ ง รั ฐ บุ รุ ษ จากต่ า งประเทศหลายคนเข้ า ใจผิ ด และหงุ ด หงิ ด ที่ พ บว่ า นายกรั ฐ มนตรี ญี่ ปุ ่ น ไม่ ส ามารถบอกเล่ า นโยบายแห่ ง ชาติ ได้เหมือนที่ผู้ปกครองประเทศอื่นๆ ท�ำได้ ในปี ค.ศ. 1936 สตาลิ น ประกาศสิ่ ง ที่ อ ้ า งกั น แพร่ ห ลายว่ า เป็ น รั ฐ ธรรมนู ญ ที่ ก้าวหน้าที่สุดฉบับหนึ่งในโลก เต็มไปด้วยสิทธิและมาตรการ ปกป้องประชาชนแห่งสหภาพโซเวียต ทว่าความจริงก็คอื สตาลิน ก�ำลัง “ก�ำจัด” ชนชั้นน�ำในโซเวียตอยู่ด้วยการไต่สวนปลอมๆ ประชาชนนับล้านถูกยิง ทุกคนรู้ว่านักการเมืองโกหก แต่ที่ น่าสับสนยิ่งขึ้นไปอีกก็คือความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างชื่อ ที่ใช้เรียกขานกับความเป็นจริง เหนื ออื่ น ใดคื อ นามแห่ ง การเมื อ งเอง เมื่ อ มโนทั ศ น์ แผ่ขยายมากเกินไปก็จะตึงจนขาดและสูญประโยชน์ “การเมือง” เคยหมายถึงเพียงการกระท�ำของกษัตริย์ รัฐสภา รัฐมนตรี และ


22

Politics

กิจกรรมของผู้สนใจการเมืองที่ส่งเสริมหรือขัดขวางการเข้าถึง อ� ำ นาจ สิ่ ง อื่ น นอกเหนื อ จากนี้ นั บ เป็ น ชี วิ ต สั ง คมหรื อ ชี วิ ต ส่วนตัว แต่เมื่ออ�ำนาจรัฐบาลขยายตัวออกไป เกือบทุกอย่าง ก็กลายเป็นเรื่อง “การเมือง” ในทางใดทางหนึ่งทั้งสิ้น เราจะ ยกเหตุผลข้อหนึ่งจากบรรดาเหตุผลมากมายขึ้นมาอภิปราย เหตุการณ์ดังกล่าว นั่นคือรัฐบาลที่อยากจะอ้างความรับผิดชอบ เรื่องดีๆ ทั้งหมด และฝ่ายค้านที่อยากจะกล่าวโทษเรื่องแย่ๆ ที่เกิดขึ้น ต่างมีส่วนกระจายความคิดที่ว่าทุกอย่างไม่ว่าจะดีหรือ เลวล้วนเกิดขึน้ จากนโยบายทางการเมืองทัง้ สิน้ ความคิดนีท้ ำ� ให้ ประชาชนกลายเป็นผู้ร้องทุกข์ที่ต้องพึ่งพิงรัฐบาลซึ่งเหมือนเป็น แหล่งที่มาของสวัสดิการทั้งหลาย และยิ่งเน้นย�้ำความคิดที่ว่า ทุกอย่าง เป็น เรื่องการเมืองจริงๆ มีอีกเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่าเพราะเหตุใดบทบาทและ ความหมายของการเมืองจึงขยายตัวออกไป การเมืองในยุโรป เป็นเรื่องของกษัตริย์และข้าราชบริพารมาตั้งแต่โบราณ อีกทั้ง ประวัติศาสตร์ยังเล่าขานถึงเรื่องราวมากมายที่พวกเขากระท�ำ การมีสว่ นร่วมในการเมืองจึงเท่ากับการได้มาซึง่ สถานะความเป็น อมตะ เมื่อ ฟิเดล กัสโตร (Fidel Castro) พยายามยึดครองคิวบา ใน ค.ศ. 1953 ก่อนทีจ่ ะประสบความล้มเหลว เขาแก้ตา่ งให้ตวั เอง ขณะถูกไต่สวนว่า “ประวัติศาสตร์จะอภัยโทษให้ข้าพเจ้าเอง” เขาสถาปนาตนอย่างในละคร เป็นนักแสดงบนเวทีประวัตศิ าสตร์ ใครก็ตามที่อยากได้ความเป็นอมตะในประวัติศาสตร์จะเล่น การเมือง ผู้ที่มีศักยภาพจะสวมบทบาทครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) ย่อมไม่พอใจทีจ่ ะหยุดอยูแ่ ค่ “ไร้ความผิดในการท�ำให้


A

Very Short Introduction

23

ประเทศหลัง่ เลือด” และพบจุดจบอย่างเงียบงันในสุสานของโบสถ์ ชนบท แต่พวกเขาจะเดินหน้าเล่นการเมือง การปฏิวัติฝรั่งเศส ท�ำให้บคุ คลธรรมดาอย่างรอแบ็ซปีแยร์ (Maximilien Robespierre) ด็องตง (Georges Danton) มาราต์ (Jean-Paul Marat) ชาร์ล็อต กอร์เดย์ (Charlotte Corday) แซ็งฌุสต์ (Louis de St. Just) และคนอื่นๆ อีกมากมายมีชื่อเสียงขึ้นมา นักปฏิวัติคือศิลปิน ภาพเขียนผนังกราฟฟิตีของประวัติศาสตร์ พวกเขาเหล่านี้ ถือเป็นกรณีสุดโต่ง ส�ำหรับกรณีส่วนใหญ่ ความปรารถนาเช่นนี้ ซึง่ ปรากฏในรูปแบบทีน่ มุ่ นวลกว่าจะได้รบั การสนองตอบด้วยการ ให้ทุกคนมีสิทธิออกเสียง สิทธิออกเสียงถ้วนหน้าเป็นเหมือน เงินเฟ้อรูปแบบหนึ่งที่ลดคุณค่าของการลงคะแนนเสียง แต่ก็ยัง ส�ำคัญกับมโนทัศน์ของเราเองในเรือ่ งมนุษย์ทดี่ คี วรจะเป็นอย่างไร หนังสือพิมพ์อังกฤษฉบับหนึ่งพาดหัวข่าวว่า “อลิซทิ้งร่องรอย ไว้ในประวัตศิ าสตร์” เพือ่ รายงานเรือ่ งทีส่ ภุ าพสตรีชราผิวด�ำชาว แอฟริกาใต้คนหนึ่งใช้สิทธิออกเสียงเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1994 น่าประหลาดทีพ่ วกเราทัง้ หลายซึง่ เป็นคนสมัยใหม่ [โดย เฉพาะพวกที่คิดว่าตัวเองเป็นคนหลังสมัยใหม่ (postmodern)] มักจะสับสนเกี่ยวกับธรรมชาติของการเมือง โดยสร้างเหตุผล พันลึกนานาประการมาสนับสนุนว่าความคิดของเราเหนือกว่า บรรพบุรุษ ผู้คนในแต่ละวัฒนธรรมย่อมเชื่อว่ามีแต่ความคิด ของตนที่ถูกต้อง แต่ผู้มีการศึกษาสมัยนี้ถูกขังอยู่ในอคติของยุค ปัจจุบันอย่างเหลือเชื่อ ยกตัวอย่างเช่น ลัทธิก้าวหน้า (doctrine of progress) ท�ำให้หลายคนคิดว่าความเชือ่ ของเรา ยิง่ ใหญ่กว่า ความเชือ่ ในอดีตทีเ่ ต็มไปด้วยข้อบกพร่อง แต่ทจี่ ริงแล้วปัญญาชน


24

Politics

ร่วมสมัยปฏิเสธลัทธิก้าวหน้า และเน้นว่าเราเองเป็นผลสืบเนื่อง จากต�ำแหน่งแห่งที่และยุคสมัย ทั้งยังยืนยันว่าวัฒนธรรมหนึ่ง เท่าเทียมกับอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ความคิดเช่นนี้ปรากฏอยู่ในรูป ของความแคลงใจ (scepticism) ที่ช่วยปลดปล่อยเราจากความ หยิ่ ง ทะนงของบรรพบุ รุ ษ เนื่ อ งจากมั น ได้ ล ดทอนความคิ ด ของเราลงสู่ระดับเดียวกับคนอื่นๆ ทว่าความคิดเช่นนั้นเป็นแค่ ภาพลวงตา ความแคลงใจในยุคสมัยนี้เป็นเพียงการถ่อมตน จอมปลอมที่มีไว้อ�ำพรางความเชื่อฝังจิตฝังใจว่าหากเราเปิดใจ จะท�ำให้ลัทธิมนุษยนิยมเชิงสัมพัทธ์ (relativist humanism) ของเราเหนือกว่าการยึดถือแต่หลักความเชือ่ ของตนอย่างในอดีต และการไม่รู้จักผ่อนปรนต่อวัฒนธรรมอื่นๆ ที่แตกต่างกัน ใครก็ตามทีเ่ ขียนเรือ่ งการเมืองจะต้องเตือนถึงอันตราย จากการติดอยู่ในกะลาของยุคสมัยตนเอง ในปัจจุบันประเด็นนี้ ยังคงจ�ำเป็นไม่น้อยกว่าในยุคก่อน อันตรายที่ตระหนักกันอย่าง แพร่ ห ลายนี้ เ ป็ น เหตุ ผ ลว่ า ท� ำ ไมการศึ ก ษาการเมื อ งจึ ง เป็ น สารัตถะของการศึกษาโดยเสรี ชนชัน้ สูงชาวกรีกและโรมันศึกษา กฎหมาย ปรัชญา และศิลปะการพูดในที่สาธารณะเพื่อประกอบ อาชีพทางการเมืองที่ระบุโดยชาติก�ำเนิด การเมืองเป็นแก่นของ การศึกษาเพราะมันกลายเป็นกิจกรรมระลึกตนที่ท�ำให้เกิดการ ใคร่ครวญและวรรณกรรมอันเยี่ยมยอด นักปรัชญาอย่างเพลโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) ส�ำรวจโครงสร้างเชิงมโนทัศน์ ของการเมือง นักประวัติศาสตร์อย่างเฮโรโดตุส (Herodotus) ท�ำให้เรื่องราวการพัฒนาของการเมืองโลดแล่น นักรัฐศาสตร์ (เช่นอริสโตเติล) ศึกษารัฐธรรมนูญและการท�ำงานของสถาบัน


A

Very Short Introduction

25

อีสป (Aesop) เปลี่ยนแปลงปัญญาทางการเมืองเป็นนิทาน นักพูดที่น่าจดจ�ำอย่างเดมอสเธนีส (Demosthenes) และคิเคโร (Cicero) รวบรวมรูปแบบข้อเสนอที่เหมาะจะโน้มน้าวใจผู้ฟัง ที่สุด กวีจ�ำนวนมากต่างประพันธ์โคลงกลอนไว้อาลัยและบท เสียดสีที่มีแง่มุมการเมือง สถานการณ์ทางการเมืองทั้งหลาย ท�ำให้เชกสเปียร์ (William Shakespeare) และนักประพันธ์ บทละครคนอืน่ ๆ เกิดจินตนาการบรรเจิด ไม่มรี ปู แบบการตีความ หรือจินตนาการใดที่ไม่ใช้การเมืองมาเป็นแนวเรื่อง หลายๆ เรื่องราวเป็นกระจกสะท้อนการเมือง เราจะ เข้าใจสาระส�ำคัญนีไ้ ด้ดว้ ยการผนึกรวมภาพทัง้ หลายจนประกอบ เป็นแบบแผนความเข้าใจที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความฉับไว ของนักการเมืองและความเป็นกลางของนักวิชาการล้วนมีคณ ุ ค่า เราต้องพยายามหลอมรวมทัง้ สองสิง่ เข้าด้วยกัน ส�ำหรับการเมือง “ความจริงแท้ซึ่งตัดสินจากการกระท�ำ” ที่มาคิอาเวลลี (Niccolò Machiavelli) เสาะหาเป็นสิ่งส�ำคัญแต่กับนักกิจกรรมเท่านั้น ทว่าแท้จริงแล้วมีอีกหลายสิ่งที่ยังไม่ได้กล่าวถึง เราควรเริ่มด้วย การพิจารณาความคิดอันแตกต่างอย่างใหญ่หลวงของผู้วาง รากฐานมโนทัศน์ทางการเมืองของเรา นั่นคือชาวกรีกและโรมัน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.