Resource revolution (preview)

Page 1


ธุรกิจพลิกอนาคต: ค้นหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจในยุควิกฤตทรัพยากร • สฤณี อาชวานันทกุล แปล จากเรื่อง Resource Revolution: How to Capture the Biggest Business Opportunity in a Century โดย Stefan Heck and Matt Rogers with Paul Carroll พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ op e n wo r l d s, สิงหาคม 2559 ราคา 395 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ศิลปกรรม พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ชญารัตน์ สุขตน • บรรณาธิการเล่ม กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ บรรณาธิการต้นฉบับ บุญชัย แซ่เงี้ยว ผู้ช่วยบรรณาธิการ วิชญะ เสริมชัยวงศ์ สุรกานต์ กิตติพีรกร ออกแบบปก พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ • จัดทำ�โดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2 - 6 1 8 - 4 7 3 0 e m a i l : o p e n w o r l d s t h a i l a n d @g m a i l . c om f a c e b ook : w w w . f a c e b o o k . c o m / o p e n w or lds t w i t t e r : w w w . t w i t t e r . c o m / o p e n w o r l d s_th w e bs i t e : w w w . o p e n w o r l d s . i n . t h จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED เลขที่ 1858/87-90 อาคารที ซี ไ อเอฟทาวเวอร์ ชั้ น ที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 3 9 - 8 3 5 6 - 9 website: http://www.se-ed.com/


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 02-618-4730 และ 097-174-9124 หรือ E ma il: o p e n w o rld st h a ila n d @ g mail.c om

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ เฮก, สเตฟาน. ธุรกิจพลิกอนาคต.-- กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2559. 376 หน้า. 1. ความสำ�เร็จทางธุรกิจ. I. โรเจอร์ส, แมตต์, ผู้แต่งร่วม. II. แคร์รอลล์, พอล, ผู้แต่งร่วม. III. สฤณี อาชวานันทกุล, ผู้แปล. III. ชื่อเรื่อง. 650.1 ISBN 978-616-7885-35-3 • Copyright © 2014 by Stefan Heck and Matt Rogers Published in the United States by Amazon Publishing, 2014. This edition made possible under a license arrangement originating with Amazon Publishing, www.apub.com. Resource Revolution ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 2014 แปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด •

ภาพปกหน้า: รูปคอมพิวเตอร์โดย Michal Beno/the Noun Project รูปไอโฟนโดย TMD/the Noun Project ภาพปกหลัง: รูปเครื่องปิ้งขนมปังโดย Ivan Chernykh/the Noun Project


สารบัญ

ค�ำน�ำผู้แปล 12 กิตติกรรมประกาศผู้เขียน 16 บทน�ำ 18 1. การฉวยโอกาสทางธุรกิจครั้งใหญ่ที่สุดในศตวรรษ 32 2. จอยสติ๊กเจอแท่นขุดเจาะ: การปฏิวัติจากใต้ดิน 72 3. สูตรเพิ่มผลิตภาพทรัพยากรสิบเท่า 96 4. DIRTT กับซอฟต์แวร์: ต้องประกอบก่อนใช้ 152 5. บูรณาการระบบ: เมื่อพลังของเครื่องจักรเจอกับ อินเทอร์เน็ตของทุกสิ่ง 182 6. จังหวะคือทุกสิ่ง 212


7. ท�ำให้ส�ำคัญ: การขยายขนาด และใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ 238 8. จัดระเบียบสู่ความส�ำเร็จ 278 9. ถ้าไม่ใหญ่ก็กลับบ้านไป 310 บทสรุป 326 เกี่ยวกับผู้เขียน 344 อ้างอิง 348 บรรณานุกรม 371 ภาพประกอบ 373 ประวัติผู้เขียน 374 ประวัติผู้แปล 375


สารบัญภาพประกอบ

ลักษณะเด่นของการปฏิวัติทรัพยากร 28 การขยายตัวของชนชั้นกลางที่เร่งเร็วขึ้น 35 ปริมาณที่ดิน น�้ำ และพลังงานที่ใช้ในการผลิตอาหาร 38 การขุดเจาะทรัพยากรส�ำรองแพงขึ้นเรื่อยๆ 40 การสร้างความมั่งคั่งในการปฏิวัติอุตสาหกรรม 46 วิวัฒนาการของราคาโภคภัณฑ์ในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม 67 กระบวนการขุดเจาะน�้ำมันโดยการอัดของเหลวไปในชั้นหิน 78 แหล่งน�้ำมันและก๊าซนอกกระแสในทวีปอเมริกาเหนือ 83 การสูญเสียเชื้อเพลิง รถ และถนน ที่เกิดจากการคมนาคมโดยยานยนต์ 102 ผลงานของรถเทสลา ประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง 115 และข้อมูลด้านความปลอดภัย ต้นทุนและระยะวิ่งของรถยนต์ไฟฟ้าดีขึ้น 95 เปอร์เซ็นต์ตลอด 25 ปี 119 แนวโน้มการขาดแคลนทรัพยากร 122 ประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงรายประเทศ 128 การบริโภคทรัพยากรรายปีในอเมริกา: 86 ตันต่อคน 138 หลักการของการปฏิวัติทรัพยากร 148 การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ 165 จีนก�ำลังสร้างเมืองเทียบเท่ากับนิวยอร์ก 100 เมือง 170 การสร้างตึกระฟ้าแบบโมดูล 172


การเติบโตของพลังประมวลผลในคอมพิวเตอร์ เทียบกับวิวัฒนาการของสมองสัตว์ จ�ำนวนผู้ใช้บริการโทรคมนาคมและปริมาณการจราจรของข้อมูล โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ การเติบโตของข้อมูล ซึ่งผลิตโดยโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ความเร็วในการเจาะตลาดของนวัตกรรมใหม่ๆ ราคาโปรตีน กว่าคนจะยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ท�ำให้แสงสว่างหาซื้อได้ เส้นการเรียนรู้ของนวัตกรรมโซลาร์ ยุคของไฟฟ้าโครงข่ายในระดับรายย่อยมาถึงแล้ว ระบบปฏิบัติการสองระบบที่แตกต่างกัน บัณฑิตจบใหม่ในสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิศวกรรมศาสตร์ แยกตามประเทศ การเติบโตของผลิตภาพโรงงาน ผู้อยู่รอดในวงการรถยนต์ น้อยคือมาก ผลิตภาพทรัพยากร: อดีตและอนาคต

179 193 196 200 219 221 222 227 242 248 286 296 301 314 329 331



แมตต์ อุทิศหนังสือเล่มนี้แก่ท่านผู้พิพากษา อีวอน กอนซาเลซ โรเจอร์ส ภรรยาของเขา หากปราศจากเธอ หนังสือเล่มนี้คงไม่เป็นรูปเป็นร่าง และอุทิศแก่คริสโตเฟอร์, มาเรีย และจอช ลูกๆ ของเขาซึ่งต้องมีชีวิต และการงานที่ได้รับผลจากการปฏิวัติทรัพยากร สเตฟาน อุทิศหนังสือเล่มนี้ให้แก่ ฟีนิเชีย วูง ภรรยาของเขา เรื่องราว ชีวิตและการฝึกฝนศาสตร์ไทเก็กของเธอได้ปูทางให้แก่เซลีน ลูกสาวของเขา ผู้ซึ่งเริ่มการปฏิวัติทรัพยากรของตนเองแล้ว



RESOURCE REVOLUTION How to Capture the Biggest Business Opportunity in a Century

.

Stefan Heck and Matt Rogers with Paul Carroll

ธุรกิจพลิกอนาคต ค้นหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจในยุควิกฤตทรัพยากร แปลโดย

สฤณี อาชวานันทกุล


ค�ำน�ำผู้แปล

ยุ ค นี้ ดู เ หมื อ นไม่ ว ่ า เราจะหั น ไปทางไหนก็ เ จอแต่ ป ั ญ หา ไม่ ว ่ า จะเป็นความไม่สงบทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ การสอดส่ อ งสอดแนมประชาชนของรั ฐ การละเมิ ด สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ทรัพยากรขาดแคลน ฯลฯ และ ฯลฯ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนสรุปความแตกต่างระหว่างศตวรรษที่ 20 กับศตวรรษที่ 21 ไว้สั้นๆ ว่า ในศตวรรษที่ 20 ก่อนที่ค�ำว่า “อินเทอร์เน็ต” จะเกิด เรามีทรัพยากรท่วมท้นเหลือเฟือ แต่ข้อมูลหายากยิ่ง แต่ในศตวรรษที่ 21 สถานการณ์นนั้ กลับด้าน เรามีขอ้ มูลท่วมท้น เหลือเฟือ แต่ทรัพยากรหายากยิ่ง ภาวะเช่นนี้ ประกอบกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่า จะเป็ น การเติ บ โตของประชากรโลก หรื อ ความต้ อ งการทรั พ ยากร ในประเทศขนาดใหญ่โตเร็วอย่างจีนและอินเดีย ท�ำให้หลายคนพยากรณ์ ถึง “วันสิน้ โลก” ทีเ่ ผ่าพันธุม์ นุษย์จะดับสูญ ส่วนโลกก็หมุนรอบตัวเองต่อไป ด้วยรูว้ า่ ถึงอย่างไรวันนัน้ ย่อมมาถึงไม่ชา้ ก็เร็ว และส�ำทับซ�ำ้ ว่า ภาคธุรกิจ ในฐานะวงการอันทรงอิทธิพลสูงสุดก�ำลังเป็น “ตัวการ” เบือ้ งหลังวันสิน้ โลก อย่างไรก็ดี บริษัทจ�ำนวนไม่น้อยก�ำลังทยอยพิสูจน์ตัวเองว่า พวกเขาอาจเป็นส่วนหนึง่ ของ “ทางออก” มิใช่สว่ นหนึง่ ของ “ต้นเหตุ” ปัญหา สเตฟาน เฮก (Stefan Heck) กับ แมตต์ โรเจอร์ส (Matt Rogers) คู่หูที่ปรึกษาทางธุรกิจจากแมคคินซีย์ (McKinsey) บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจ 12

Res ource Revoluti o n


ชื่อดัง รวบรวมกรณีศึกษาของบรรดาบริษัทดังกล่าว และกลั่นกรอง บทเรียนจากประสบการณ์ท�ำงานหลายสิบปี มาเป็นหนังสือที่อยู่ใน มือท่านเล่มนี้ พวกเขาทัง้ สองเสนอว่า ใน “ปัญหา” เหล่านี้ มี “โอกาส” ทางธุรกิจ มูลค่ามหาศาล: การบู ร ณาการเทคโนโลยี อุ ต สาหกรรมเข้ า กั บ เทคโนโลยี สารสนเทศก�ำลังเปลีย่ นการใช้ทรัพยากรไปทุกมิติ เรามองเห็น โอกาสของการเปลี่ยนแปลงระดับปฏิรูป ผลิตภาพจะเพิ่มขึ้น มโหฬารในโลกของพลังงาน (ทั้งในแง่การผลิตที่เพิ่มขึ้นและ การลดปริมาณการบริโภค) การคมนาคม การก่อสร้างอาคาร น�้ำ เกษตรกรรม โลหะ และโภคภัณฑ์หลักทุกอย่างในโลก การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่เพียงมีความส�ำคัญกับผู้ผลิตสินค้า โภคภัณฑ์รายใหญ่เท่านัน้ แต่ยงั ส�ำคัญกับทุกบริษทั ทีใ่ ช้ไฟฟ้า เชื้อเพลิง หรือทรัพยากรธรรมชาติในปริมาณสูง และส�ำคัญ กับผู้ที่ผลิตสินค้าและบริการให้กับบรรดาธุรกิจที่ใช้ทรัพยากร ในปริมาณสูง หรือพูดง่ายๆ ก็คือบรรดาธุรกิจจ�ำนวนมาก ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เราไม่ได้ก�ำลังผจญวิกฤตจากภาวะทรัพยากรขาดแคลน หากแต่ ก� ำ ลั ง เผชิ ญ หน้ า กั บ โอกาสที่ จ ะเปลี่ ย นโครงสร้ า ง เศรษฐกิจโลก และสร้างโอกาสท�ำก�ำไรหลายล้านล้านเหรียญ สหรัฐ การปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมครัง้ แรกเมือ่ หลายร้อยปีกอ่ นปฏิวตั กิ ารใช้ “แรงงาน” ด้วยเทคโนโลยีอย่างเครื่องจักรไอน�้ำและนวัตกรรมการบริหาร จัดการอย่างบริษัทจ�ำกัดความรับผิด Stefan Heck and Matt Rogers

13


การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สองปฏิวัติการใช้ “ทุน” ทั้งยัง ให้ก�ำเนิดบรรษัทข้ามชาติ ระบบธนาคารสมัยใหม่ และโครงข่ายไฟฟ้า และวันนี้เฮกกับโรเจอร์สได้เสนอว่า ณ ปัจจุบันเราก�ำลังมองเห็น “หน่ออ่อน” ของการปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมครัง้ ทีส่ าม นัน่ คือ การปฏิวตั กิ ารใช้ “ทรัพยากร” ซึ่งกินความตั้งแต่ที่ดิน อาหาร น�้ำ แร่ธาตุ จนถึงทรัพยากร อื่นๆ ที่มนุษย์ใช้จากธรรมชาติ แต่การปฏิวัติครั้งนี้ไม่อาจเกิดขึ้นในวงกว้างได้โดยอัตโนมัติ: เราตระหนักถึงความท้าทายที่อยู่เบื้องหน้า ถ้าโลกยังเดินไป บนเส้นทางเดิม เราจะพบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แน่นิ่ง ซบเซา ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทพี่ งุ่ เฟ้อรวดเร็ว มลพิษทีม่ ากขึน้ ภาคการเมืองทีต่ ดิ ขัด และการหวนคืนสูภ่ าวะตึงเครียดระหว่าง ประเทศมหาอ�ำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย อินเดีย และเยอรมนี แต่ ถ ้ า บริ ษั ท จ� ำ นวนมากพอเปลี่ ย นวิ ถี ธุ ร กิ จ ได้ ออกเดิ น บน เส้นทางใหม่ได้ (ผู้เขียนใช้ค�ำว่า “การปฏิวัติทรัพยากร”) โลกจะทะยาน เข้าสู่สมดุลใหม่ เข้าสู่เส้นทางการเติบโตครั้งใหม่ที่ยั่งยืนมากขึ้น และ กระจายผลประโยชน์จากการเติบโตอย่างเป็นธรรมมากขึ้น หนังสือเล่มนี้พูดถึงข้อดีของเทคโนโลยีจ�ำนวนมาก ซึ่งในความ เป็นจริงเทคโนโลยีเหล่านั้นอาจไม่ใช่อัศวินขี่ม้าขาวที่มีแต่ได้ไม่มีเสีย อีกทั้งอาจส�ำแดงประโยชน์และโทษให้เห็นชัดเจนต่อเมื่อเวลาผ่านพ้น ไปนานมากพอ ผู้อ่านบางท่านอาจรู้สึกขุ่นเคืองหรือขัดใจที่ผู้เขียนไม่ให้น�้ำหนัก มากนักกับการอธิบายบริบทหรือเงื่อนไขทางสังคมและการเมืองซึ่งย่อม ส่งผลต่อหน่วยธุรกิจในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในเรือ่ งแรงจูงใจ ศักยภาพ และความตระหนักถึงความจ�ำเป็นของการปฏิวัติทรัพยากรอย่างปฏิเสธ ไม่ได้ 14

Res ource Revoluti o n


แต่อย่างไรก็ดี ตัวอย่างทีเ่ ป็นรูปธรรมจ�ำนวนมากในหนังสือเล่มนี้ น่าจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ และจุดประกายให้ผู้ประกอบการน้อยใหญ่ ได้มองเห็นว่า “การปฏิวตั ทิ รัพยากร” นัน้ ไม่วา่ จะช้าหรือเร็วก็เป็นสิง่ จ�ำเป็น เป็นไปได้ และสร้างโอกาสทางธุรกิจอย่างมหาศาล อยู่ที่ใครจะมองการณ์ไกลได้ก่อนกันเท่านั้นเอง ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่าน สฤณี อาชวานันทกุล “คนชายขอบ” | www.fringer.org กรกฎาคม 2559

Stefan Heck and Matt Rogers

15


กิตติกรรมประกาศ

หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ส ะท้ อ นประสบการณ์ ส ่ ว นตั ว ของเราตลอดสอง ทศวรรษที่ผ่านมา ในการช่วยให้ลูกค้าภาคธุรกิจ รัฐ และองค์กรไม่แสวง ก�ำไรรับมือกับความท้าทายและโอกาสทั้งหลายอันเกิดจากโลกที่ก�ำลัง เผชิญกับสถานการณ์ขาดแคลนทรัพยากร เราได้ประโยชน์มหาศาล จากงานวิจัยเชิงลึกของสถาบันแมคคินซีย์โลก, ริชาร์ด ด็อบส์, เจมส์ แมนยิ ก า, ยานา เรเมส, ไดอานา ฟาร์ เ รลล์ , ฝ่ า ยความยั่ ง ยื น และ ผลิ ต ภาพทรั พ ยากรของแมคคิ น ซี ย ์ , เจเรมี อ็ อ ปเพนไฮม์ , สกอตต์ ไนควิสต์, มาร์ทิน ชตุชไท, ทอมาส นาวเคลอร์, อัลเบอร์โต มาร์ชี, จอร์จี บุสเนลลี, คริสเตอร์ อาเนเซน, เพอร์-แอนเดอร์ส เองควิสต์, เคน ซอมเมอร์ส, ดิกคอน พินเนอร์, สกอตต์ ยาคอบส์, เฟรเซอร์ ทอมป์สัน, นิคฮิล กริชนัน, คยุงย็อล ซอง, โจนาธาน เวิทเซล, สเตฟาน คนุพเฟอร์, ฝ่ายพลังงานและวัสดุโลกของแมคคินซีย์, เคน ออสโทรวสกี, แฮร์รี โรบินสัน, คล็อด เจเนโรซ์, ฮูมายุน ไต, ทีมวัสดุก้าวหน้าของแมคคินซีย์, อังเดร แอนโดเนียน, มาร์ติน เฮิร์ต, บิล ไวส์แมน, ซะกะเอะ ซูซูกิ, แดเนียล แพ็กธอด และ ยะซูชิ ซะวะดะ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา สถาบัน แมคคินซีย์โลกได้ร่วมวางโครงร่างให้บริษัทและรัฐบาลต่างๆ ใช้คิดกับ การน�ำผลิตภาพไปผลักดันการสร้างความมั่งคั่ง ประเด็นเรื่องการปฏิวัติทรัพยากรนี้เริ่มมาจากการร่วมมือครั้ง ส�ำคัญระหว่างทีมผลิตภาพทรัพยากรที่ยั่งยืนกับสถาบันแมคคินซีย์โลก 16

Res ource Revoluti o n


ซึง่ สนใจศึกษาสาเหตุการเกิดภาวะขาดแคลนทรัพยากร เหตุทเี่ ราสามารถ อธิบายการแสวงโอกาสที่บริษัททั้งหลายน�ำไปฉวยใช้เพื่อน�ำชัยในสภาพ แวดล้อมเช่นนี้ได้ เพราะได้รับการสนับสนุนและค�ำชี้แนะจากลูกค้าที่เป็น พันธมิตรกับเราในภาคพลังงานและอุตสาหกรรมขั้นสูง ดันแคน บ็อก กับ ชาร์ลี เมลเคอร์ จากเมลเคอร์มีเดีย สอนเรา เรื่องการเขียนเพื่อสื่อสารกับคนทั่วไป พอล แคร์รอลล์ เป็นผู้ร่วมงานที่ ยอดเยี่ยม เขาแปลงภาษาเทอะทะของเราให้เป็นภาษาที่ชัดเจน และเรา ก็หวังว่าจะเป็นภาษาที่น่าอ่านส�ำหรับผู้อ่านทั่วไป ริก เคิร์กแลนด์ ช่วย เราตีกรอบโครงการนี้ตั้งแต่ต้น และน�ำทางเราผ่านหนทางขึ้นๆ ลงๆ ของ กระบวนการตีพิมพ์ด้วยความอดทนและกรุณา นิลส์ กริมม์ ช่วยท�ำงาน ค้นคว้าวิจัยส่วนใหญ่ซึ่งจ�ำเป็นต่อการส่งต้นฉบับนี้ โดยได้รับความ ช่วยเหลือจาก เดวิด แฟรงเกล, อเล็กซ์ บูเอลล์, เฮลกา แวนท์อูร์โนต์ และ ฌอน เคน ดาวนีย์ ดรูอิน ได้ใช้พรสวรรค์ของเธอออกแบบปก จัดหน้า และภาพประกอบต่างๆ ในหนังสือ เพื่อนร่วมงานอีกมากมายที่มีส่วนร่วมกับหนังสือเล่มนี้ ได้เสนอ ตั ว อย่ า งดี ๆ ว่ า นวั ต กรรมด้ า นทรั พ ยากรจะเปลี่ ย นแปลงตลาดได้ อย่างไร เหล่าความคิดที่เจ๋งที่สุดในหนังสือเล่มนี้มีผู้ให้ก�ำเนิดหลายคน ความผิดพลาดใดๆ ล้วนเป็นความรับผิดชอบของเราผู้เขียนเพียงล�ำพัง

Stefan Heck and Matt Rogers

17


บทน�ำ


เราก�ำลังยืนอยู่ ณ ปากทางเข้าประตูไปสูโ่ อกาสทางธุรกิจทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในรอบศตวรรษ นี่คือบทสรุปอันน่าแปลกใจของเราทั้งสองในปี 2006 หลังจาก ที่ได้ท�ำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทชั้นน�ำระดับโลกหลายแห่งในธุรกิจ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม และพลังงาน ความคิดนี้ไม่ใช่บทสรุปซึ่งเป็นที่นิยมในตอนนั้น น�้ำเสียงของ ความคิดกระแสหลักในวันนั้นคือ “เราก�ำลังจะตายกันหมด” เนื่องจากคน กังวลเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ ชุมชนนักสิ่งแวดล้อมมั่นใจว่ามลพิษกับ การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศได้กำ� หนดวันสิน้ โลกไว้แล้ว หนังสือและ รายงานจ�ำนวนนับไม่ถ้วนเสนอว่า ทองแดง เหล็ก และวัสดุอื่นๆ รวมทั้ง แร่โลหะหายากที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จ�ำนวนมากอยู่บนเส้นทางที่ “ก�ำลังจะหมด” เหมือนทีค่ าดการณ์กบั น�ำ้ มัน ชุมชนนักเศรษฐศาสตร์กงั วล เรื่องหายนะที่จะเกิดเมื่อราคาน�้ำมันพุ่งแตะ 200 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เงินแตะ 30 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ทองค�ำแตะ 1,500 เหรียญสหรัฐ Stefan Heck and Matt Rogers

19


ต่อออนซ์ ทองแดงแตะ 1.6 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม อะลูมิเนียมแตะ 2,000 เหรียญสหรัฐต่อตัน เหล็กกล้าแตะ 900 เหรียญสหรัฐต่อตัน ข้าวโพด แตะ 6 เหรียญสหรัฐต่อบุชเชล <1 บุชเชลสหรัฐเท่ากับราว 35 ลิตร> และ ข้าวสาลีแตะ 7 เหรียญสหรัฐต่อบุชเชล ความกังวลทั้งหมดนี้มาพร้อมกับ ความกลัวที่เกิดขึ้นในตลาด นักธุรกิจหลายคนไม่มองโลกในแง่ดีเลย พวกเขาสงสัยว่าเศรษฐกิจโลกจะรับได้ถึงเมื่อไร? ความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในจีน อินเดีย และประเทศ ก�ำลังพัฒนาทัง้ หลายยิง่ ท�ำให้คนทวีความกังวล เพราะอีกไม่นานคนหลาย พันล้านคนจะมีรายได้เพียงพอทีจ่ ะบริโภคในปริมาณมหาศาลกว่าทุกสมัย ที่ผ่านมา ประชากรโลกก�ำลังต้องการทรัพยากรธรรมชาติในระดับที่เรา ไม่เคยเห็นมาก่อน ขณะที่ทรัพยากรค่อยๆ หมดไป แต่เราทั้งคู่ได้ข้อสรุปที่ต่างออกไป เรามองเห็นโอกาสที่มาพร้อม กับการที่คน 2,500 ล้านคนก�ำลังจะเข้าสู่ชนชั้นกลาง การบูรณาการ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม (industrial technology) เข้ากับเทคโนโลยี สารสนเทศ (information technology - IT) ก�ำลังเปลี่ยนการใช้ทรัพยากร ไปทุกมิติ เรามองเห็นโอกาสของการเปลี่ยนแปลงระดับปฏิรูป ผลิตภาพ (productivity) จะเพิ่มขึ้นมโหฬารในโลกพลังงาน (ทั้งในแง่การผลิตที่ เพิ่มขึ้นและการลดปริมาณการบริโภค) การคมนาคม การก่อสร้างอาคาร น�ำ้ เกษตรกรรม โลหะ และโภคภัณฑ์หลักทุกอย่างในโลก การเปลีย่ นแปลง เหล่านี้ไม่เพียงมีความส�ำคัญกับผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่เท่านั้น แต่ยังส�ำคัญกับทุกบริษัทที่ใช้ไฟฟ้า เชื้อเพลิง หรือทรัพยากรธรรมชาติ ในปริมาณสูง และส�ำคัญกับผู้ที่ผลิตสินค้าและบริการให้กับบรรดาธุรกิจ ที่ใช้ทรัพยากรในปริมาณสูง หรือพูดง่ายๆ ก็คือบรรดาธุรกิจจ�ำนวนมาก ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เราไม่ได้กำ� ลังผจญวิกฤตจากภาวะทรัพยากรขาดแคลน หากแต่ ก�ำลังเผชิญหน้ากับโอกาสที่จะเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจโลก และสร้าง โอกาสท�ำก�ำไรหลายล้านล้านเหรียญสหรัฐ 20

Res ource Revoluti o n


อั น ที่ จ ริ ง การปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรมครั้ ง ใหม่ ไ ด้ เ ริ่ ม ต้ น ขึ้ น แล้ ว และมันจะท�ำให้การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งก่อนๆ ดูจิ๊บจ๊อยไปเลยทั้งใน แง่ของขนาดและความเร็ว การจัดการธุรกิจในห้วงยามแห่งการปฏิวัติ ครั้งนี้เป็นเรื่องยาก การปฏิวัติล้วนแต่ยากล�ำบากทั้งนั้น แต่ผู้จัดการที่น�ำ วิถีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้จะสามารถทะลุขีดจ�ำกัดในด้านการใช้ทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ คว้าโอกาสสร้างการเติบโตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอนาคต และสร้างบริษัทที่จะเป็นผู้น�ำเศรษฐกิจโลกในศตวรรษถัดไป ข้อถกเถียงของเราเรียบง่ายพอสมควร ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้ • การรวมเทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุศาสตร์ขนาดนาโน และความเข้าใจ อย่างละเอียดลึกซึ้งในชีววิทยา เข้ากับเทคโนโลยีและสาธารณูปโภค ของภาคอุตสาหกรรม จะเพิ่มผลิตภาพได้มหาศาล • การผลั ก ดั น การเติ บ โตที่ เ น้ น ผลิ ต ภาพสู ง ในโลกก� ำ ลั ง พั ฒ นา เพื่อรองรับสมาชิกชนชั้นกลางใหม่กว่า 2,500 ล้านคน คือโอกาสการ สร้างความมั่งคั่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบศตวรรษ • การคว้าโอกาสเหล่านี้ต้องอาศัยวิถีการบริหารจัดการแบบใหม่ เราตระหนักถึงความท้าทายที่อยู่เบื้องหน้า ถ้าโลกยังเดินไป บนเส้นทางเดิม เราจะพบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แน่นิ่งซบเซา ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งเฟ้อรวดเร็ว มลพิษที่มากขึ้น ภาคการเมืองที่ ติดขัด และการหวนคืนสู่ภาวะตึงเครียดระหว่างประเทศมหาอ�ำนาจอย่าง สหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย อินเดีย และเยอรมนี การรองรับสมาชิกชนชัน้ กลางใหม่ตอ้ งอาศัยการก่อสร้างในระดับ มหาศาลเสียจนราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะพุง่ สูง ห่วงโซ่อปุ ทานจะถูกกดดัน อั ต ราการเปลี่ ย นแปลงที่ เ ร่ ง เร็ ว ขึ้ น เรื่ อ ยๆ ผลั ก ให้ บ ริ ษั ท หลายแห่ ง ล้มละลายไปแล้ว และท�ำให้บางคนมองว่าเราก�ำลังเดินถอยหลัง ไม่ใช่เดินหน้า มลพิษโดยเฉพาะในโลกก�ำลังพัฒนาก�ำลังพุ่งสู่ระดับที่คนหายใจไม่ออก Stefan Heck and Matt Rogers

21


คน บริษัท และแม้แต่ประเทศจ�ำนวนมาก จะพยายามต้านทาน การปฏิวัติอุตสาหกรรมรอบใหม่นี้ คนเรามักจะต่อต้านการปฏิวัติเสมอ พวกลัดไดต์ <Luddites หมายถึงคนที่ปฏิเสธเทคโนโลยี> พยายามยุติ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกด้วยการท�ำลายเครื่องจักรไอน�้ำ ถึงแม้ เครือ่ งจักรเหล่านีจ้ ะดึงยุโรปให้พน้ จากภาวะยากแค้นล�ำเค็ญด้วยการสร้าง ผลิตภาพที่ผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างไม่เคยมีมาก่อน ภาวะ การเมืองทีช่ ะงักงันและสงครามโลกทัง้ สองครัง้ พยายามท�ำลายการปฏิวตั ิ อุตสาหกรรมครัง้ ทีส่ อง ซึง่ สุดท้ายก็ทำ� ให้เกิดผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจทีด่ ขี นึ้ อย่างมโหฬารในศตวรรษที่ 20 บรรดานักพยากรณ์วันสิ้นโลกจะอยู่คู่กับเราเสมอ พวกเขาท่อง คาถาอันน่าหดหู่ซ�้ำๆ ซากๆ ณ จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครัง้ แรก โธมัส มัลธัส (Thomas Malthus) พยากรณ์วา่ จุดจบใกล้มาถึงแล้ว พอถึงปลายศตวรรษที่ 19 ราชสมาคม (Royal Society) ก็ย�้ำค�ำเตือน ของมัลธัสแม้ในขณะทีก่ ารปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมครัง้ ทีส่ องก�ำลังก่อตัว ล่าสุด ชมรมโรม (Club of Rome) ก็ประกาศค�ำพยากรณ์ชนิดคอขาดบาดตาย ก่อนจะสิ้นสุดศตวรรษที่ 20 จากมุมมองทางเศรษฐศาสตร์และเทคโนโลยี บรรดาผู้ท�ำนาย วันสิ้นโลกเหล่านี้ท�ำนายผิด ผลิตภาพทรัพยากร (resource productivity) จากการปฏิวตั คิ รัง้ นีน้ า่ จะท�ำให้สมาชิกชนชัน้ กลางใหม่กว่า 2,500 ล้านคน ในตลาดโลกก�ำลังพัฒนาได้รบั ความสะดวกสบายกับความเจริญ ได้อากาศ และน�ำ้ บริสทุ ธิ์ ตลอดจนมีเมืองสะอาดแบบเดียวกับทีป่ ระเทศกลุม่ โออีซดี ี <OECD - Organisation for Economic Co-operation and Development หรือองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา> ได้มาอย่าง สบายๆ ตลอดระยะเวลาหนึง่ ศตวรรษทีผ่ า่ นมา ขณะเดียวกันก็สร้างโอกาส ทางเศรษฐกิจอันน่าตื่นใจส�ำหรับผู้เฉียบแหลมที่พอจะมองเห็น 4 22

Res ource Revoluti o n


ถึ ง แม้ ผู ้ เ ขี ย นจะไม่ เ คยท� ำ งานด้ ว ยกั น มาก่ อ น และต่ า งคนต่ า งได้ ข้อสรุปที่มองโลกในแง่ดีเช่นนี้ในปี 2006 เรารู้จักกันผ่านการท�ำงานที่ แมคคินซีย์ เรามาผนึกก�ำลังกัน คนหนึ่งเป็นนักวิเคราะห์พลังงานที่มี ฐานจากธุรกิจน�้ำมัน ก๊าซ และอุตสาหกรรมหนักประเภทอื่นๆ กับอีกคน ทีเ่ ป็นนักวิเคราะห์เทคโนโลยีผเู้ ชือ่ มัน่ ในนวัตกรรมและพลังงานหมุนเวียน มาอย่างยาวนาน ได้ช่วยกันจัดตั้งฝ่ายที่วันนี้เติบโตขึ้นมาในชื่อ ฝ่าย ความยั่งยืนและผลิตภาพทรัพยากรโลก <Sustainability and Resource Productivity Practice อยู่ที่แมคคินซีย์> เราเริม่ ต้นจากการวิเคราะห์หนักๆ ร่วมกับเพือ่ นร่วมงานตามวิสยั ของแมคคินซีย์ เราศึกษาเส้นโค้งการเรียนรู้ ดูเส้นกราฟต้นทุนของ เทคโนโลยีทั้งหลายและทรัพยากรธรรมชาติส�ำคัญๆ ที่เกี่ยวข้อง เรา ศึ ก ษาผลกระทบของมั น ต่ อ อุ ต สาหกรรมทุ ก ประเภทที่ นึ ก ออก และ พยายามท�ำความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในเมือง ประเทศ และภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างไร งานด้านความรู้ชิ้นแรกที่เราผลิต คือ รายงานสถาบันแมคคินซีย์โลกว่าด้วยผลิตภาพพลังงาน [แมตต์ เขี ย นร่ ว มกั บ สกอตต์ ไนควิ ส ต์ (Scott Nyquist) และ ไดอานา ฟาร์เรลล์ (Diana Farrell) เพื่อนร่วมงานของเรา] รายงานฉบับนี้เสนอ ว่ า เรามี โ อกาสลดการใช้พลังงานลง 25 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลกด้วยการ ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน และจุดสูงสุดของความต้องการน�้ำมัน (peak demand) จะมาถึงก่อนจุดสูงสุดของการผลิตน�้ำมัน (peak oil) พูดอีกอย่างคือ ในขณะที่หลายคนเป็นห่วงว่าการผลิตน�้ำมันจะเข้าสู่ จุดสูงสุดหรือไม่ก็จวนเจียนใกล้จะถึงแล้ว ความต้องการน�้ำมันจะเข้าถึง จุดสูงสุดก่อน และเริ่มลดลงก่อนที่การผลิตน�้ำมันจะเริ่มลดลง รายงาน ชิ้นนี้ตามมาติดๆ ด้วยงานอีกชิ้นที่กลายมาเป็นงานเด่นดังของบริษัท นัน่ คือ กราฟการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก [ผลงานของ เจเรมี อ็อปเพนไฮม์ (Jeremy Oppenheim) กับ เพอร์-แอนเดอร์ส เองควิสต์ (Per-Anders Enkvist)], กราฟการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ Stefan Heck and Matt Rogers

23


สหรัฐอเมริกา [ผลงาน เคน ออสโทรวสกี (Ken Ostrowski) กับ แอนทัน เดอร์คัช (Anton Derkach)] และโอกาสการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ของสหรัฐอเมริกา [ผลงาน เคน ออสโทรวสกี, ฮันนาห์ กราเนด (Hannah Granade), สกอตต์ ไนควิสต์ และสเตฟาน] เมื่อไม่นานมานี้ เจเรมี อ็อปเพนไฮม์, ริชาร์ด ด็อบส์ และ เฟรเซอร์ ทอมป์สนั เขียนรายงานชิน้ เอก เรื่องการปฏิวัติทรัพยากรในอนาคตอันใกล้ ซึ่งกลายเป็นรากฐานทาง เศรษฐกิจส�ำหรับหนังสือเล่มนี้ เราได้ข้อสรุปว่า เหตุผลทางเศรษฐกิจของ การเปลี่ยนแปลงนั้นชัดแจ้ง และเมื่อใดก็ตามที่ตลาดตระหนักว่าการ เปลี่ยนแปลงก� ำ ลั ง จะเกิ ด ความคิ ด เกี่ ย วกั บ ผลิ ต ภาพทรั พ ยากรก็ จ ะ เปลี่ยนไปชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ เราตระหนักด้วยว่า การจะได้ชัยชนะในตลาดที่ก�ำลังปฏิรูป เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น หมายถึงการต้องเปลี่ยนวิถีการจัดการด้วย ผู้จัดการทั้งหลายได้ผลักดันผลิตภาพของทุน (capital productivity) และผลิตภาพของแรงงาน (labor productivity) อย่างหนักหน่วงนาน หลายทศวรรษ แต่กลับถูกหลอกให้รสู้ กึ มัน่ คงในเรือ่ งทรัพยากร เนือ่ งจาก ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาเกือบ หนึ่งศตวรรษที่แล้วมา ส่งผลให้ผลิตภาพทรัพยากรล้าหลังในระหว่างที่ ผลิตภาพทุนและผลิตภาพแรงงานทะยานขึน้ การปฏิวตั ทิ รัพยากรจะต้อง อาศัยการจัดการรูปแบบใหม่ แต่ดูเหมือนแทบไม่มีใครมองเห็นโอกาสที่ร้อยวันพันปีจะมีหน เหล่าผู้ที่เขียนถึงโอกาสใหม่ๆ กลับมองมันในมุมแคบ เน้นเรื่องแหล่ง พลังงานหมุนเวียน ผลผลิตทางการเกษตร หรือแวดวงอื่นที่แคบแบบนี้ ไม่ มี ใ ครมองเห็ น ภั ย คุ ก คามและโอกาสทั้ ง ปวงที่ จ ะมาจากการปฏิ วั ติ ทรัพยากรนี้แบบครอบคลุมเลย ด้วยเหตุนี้ เราจึงขยับจากการวิเคราะห์มาสู่การเขียนหนังสือ ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2010 ซึ่งเป็นฤกษ์ที่ดีมาก เศรษฐกิจก�ำลังฟื้นตัวแม้จะ เป็นไปอย่างเชือ่ งช้า ท�ำให้บริษทั ต่างๆ เริม่ คิดถึงโอกาสใหม่ๆ อีกครัง้ หนึง่ 24

Res ource Revoluti o n


การทีร่ าคาสินค้าโภคภัณฑ์พงุ่ สูงติดต่อกันนานกว่าสิบปี ท�ำให้ไม่มใี ครอ้าง ว่ามันเป็นการขึ้นแบบชั่วประเดี๋ยวประด๋าวได้ เริ่มชัดเจนว่าแนวโน้มนี้คือ ส่วนหนึง่ ของการเปลีย่ นแปลงขัน้ ฐานรากในอุปสงค์และอุปทาน ซึง่ จะกิน เวลาหลายทศวรรษเลยทีเดียว ในเวลาเดียวกัน การพัฒนาก๊าซในชั้นหินดินดาน (shale gas) และน�้ำมันในชั้นหินดินดาน (shale oil) ก็เป็นตัวอย่างอันดีเยี่ยมชิ้นแรก ที่แสดงให้เห็นหลักการของการปฏิวัติทรัพยากรในภาคปฏิบัติ ที่ผ่านมา หลายสิบปี เรารู้ว่ามีน�้ำมันและก๊าซมหาศาลในชั้นหินดินดาน แต่การขุด ขึ้นมาใช้นั้นยากเย็นแสนเข็ญ พอถึงกลางทศวรรษ 2000 ความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีก็ท�ำให้เราสามารถขุดน�้ำมันและก๊าซจากชั้นหินดินดาน ขึ้ น มาในราคาที่ย่อมเยา โดยรวมแล้ว ที่เป็นเช่นนี้ได้เพราะมีการขุด แนวราบ (horizontal drilling) และการอัดน�้ำผสมสารเคมีและทรายเข้าไป เพื่อท�ำให้เกิดรอยแตก แล้วดันน�้ำมันและก๊าซออกมาจากหิน (hydraulic fracturing) ซึ่งมักจะเรียกสองวิธีนี้รวมกันว่า “แฟรกกิ้ง” (fracking) การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาแปลว่า การขุดเจาะ จะไม่ใช่เรื่องของคนกล้ามโตแบกอุปกรณ์หนักๆ เดินลุยโคลนและควัน ซัลเฟอร์โขมงบนแท่นขุดเจาะอีกต่อไป การขุดเจาะจะเป็นเรื่องของห้อง เงียบๆ ที่เต็มไปด้วยจอความคมชัดสูงในสถานที่ห่างไกลผู้คน ในนั้น ผู้เชี่ยวชาญจะใช้จอยสติ๊กบังคับหัวเจาะผ่านชั้นหินต่างๆ ควานหาน�้ำมัน และก๊าซทุกหยดที่มี โดยจะใช้ชิปยี่ห้อเอ็นวิเดีย (Nvidia) ซึ่งถูกพัฒนา ในอุตสาหกรรมเกมคอมพิวเตอร์ มาใช้แสดงภาพขึ้นจออย่างรวดเร็ว แน่นอน ความเป็นจริงในสนามซับซ้อนกว่านี้ การขุดเจาะน�้ำมันและก๊าซ นอกกระแสแบบนี้ยังคงต้องใช้ควบคู่กับระเบียบวิธีขุดเจาะที่ปลอดภัย ท่อกรุบอ่ ทีม่ ปี ระสิทธิผล การจัดการน�ำ้ ทีไ่ ด้คณ ุ ภาพ และการใช้ทดี่ นิ อย่างมี ประสิทธิภาพ แต่โดยรวมแล้ว ไม่ว่าจะมองจากมุมเศรษฐกิจ ธรณีวิทยา หรือสิ่งแวดล้อม แหล่งน�้ำมันและก๊าซนอกกระแสเหล่านี้ก็ได้พิสูจน์แล้ว ว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่าเทคโนโลยีการขุดเจาะชนิดอื่นมาก Stefan Heck and Matt Rogers

25


ขณะที่ผลของการที่จู่ๆ สหรัฐอเมริกาก็มีแหล่งก๊าซธรรมชาติ เหลือเฟือได้สั่นสะเทือนตลาดและการเมืองโลก เราก็ตระหนักและมั่นใจ กว่าเดิมอีกว่าหนังสือเล่มนี้ส�ำคัญและมาถูกเวลา งานด้านเศรษฐศาสตร์ ชิน้ เอกของ อาดัม สมิธ (Adam Smith) เรือ่ ง ความมัง่ คัง่ ของชาติ (Wealth of Nations, 1776) นิยามว่าหน่วยธุรกิจมีปัจจัยการผลิตที่ส�ำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ แรงงาน ทุน และที่ดิน การปฏิวัติอุตสาหกรรมสองครั้งที่ผ่านมา พุง่ จุดสนใจหลักๆ ไปยังแรงงานและทุนมากกว่าทีด่ นิ ซึง่ เราตีความกว้างๆ ได้ว่าหมายถึง “ทรัพยากร” อย่างเช่น อาหาร น�้ำ และไม้ที่เราผลิตได้จาก ทีด่ นิ ขุดจากทีด่ นิ หรือทิง้ บนทีด่ นิ เครือ่ งจักรไอน�ำ้ ของวัตต์ (James Watt) ช่วยเพิม่ ผลิตภาพแรงงานอย่างมโหฬารตอนปลายศตวรรษที่ 18 ต่อเนือ่ ง ถึงต้นศตวรรษที่ 19 คนคนเดียวสามารถบังคับเครื่องจักรจ�ำนวนมาก ให้ปน่ั ฝ้ายออกมาเป็นเส้นด้ายด้วยความเร็วสูง แทนทีจ่ ะให้คนหลายร้อยคน ถีบเครื่องหมุนฝ้ายออกมาเป็นเส้นด้าย การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก ยังท�ำให้เกิดบริษัทแบบจ�ำกัดความรับผิด (limited liability corporation) เพื่อผลักดันการเติบโตขนานใหญ่ที่เกิดขึ้น <ถ้าไม่จ�ำกัดความรับผิดของ ผู้ถือหุ้น จะมีนักลงทุนน้อยรายที่กล้าเสี่ยงลงทุนในบริษัทเกิดใหม่> การ ปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมครัง้ ทีส่ อง ตัง้ แต่ปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษ ที่ 20 ท�ำให้มีน�้ำมันกับโครงข่ายไฟฟ้า รถยนต์กับถนน ตึกระฟ้ากับลิฟต์ และเครื่องปรับอากาศ และการพัฒนาอื่นๆ อีกมากมายที่ต้องอาศัยการ ปลดปล่อยทุนจ�ำนวนมหาศาล ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่การปฏิวัติซึ่งตั้งอยู่ บนทุนครัง้ นีจ้ ะท�ำให้เกิดการบริหารจัดการแบบเป็นวิทยาศาสตร์ บรรษัท ข้ามชาติ และระบบธนาคารสมัยใหม่ด้วย แต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ทั้งสองครั้งไม่มีครั้งใดเน้นที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัย การผลิตชนิดทีส่ ามของสมิธเลย นัน่ คือสิง่ ทีเ่ ราพบว่าก�ำลังเกิดขึน้ และเรา เชื่อว่าประโยชน์ต่อธุรกิจและลูกค้าของพวกเขาในครั้งนี้จะยิ่งใหญ่ไม่แพ้

26

Res ource Revoluti o n


ประโยชน์ที่เกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมสองครั้งแรก1 ก่ อ นที่ จ ะมี เ ครื่ อ งจั ก รไอน�้ ำ ของวั ต ต์ การปรั บ ปรุ ง ผลิ ต ภาพ ก็เชือ่ งช้ามากเสียจนคนยุโรปโดยเฉลีย่ ร�ำ่ รวยกว่าคนโรมันในยุคจักรพรรดิ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ช่วงเกือบสองพันปีกอ่ นหน้าเพียงประมาณ สองเท่า แต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกหมุนให้โลกเข้าสู่เส้นทาง แห่งการพัฒนาที่รวดเร็วเสียจนวันนี้คนยุโรปโดยเฉลี่ยมั่งคั่งกว่าคนยุโรป ในปี 1750 ราวสิบสามเท่า หลักการต่างๆ ทีเ่ ราจะกล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ นั้นอยู่ในช่วงเวลาที่ต่อมาจากความก้าวหน้าอันน่าทึ่งซึ่งวัตต์เป็นผู้ริเริ่ม หลักการของการปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมครัง้ ต่อไปยังอยูร่ ะหว่างการ พัฒนา มันต้องเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว ไม่มีใครพยากรณ์ได้หรอกว่าหน่วย ธุรกิจจะมีหน้าตาอย่างไรในอีกยีส่ บิ หรือสามสิบปีขา้ งหน้า เหมือนกับทีว่ ตั ต์ เองก็ไม่มีทางพยากรณ์ได้ว่าเครื่องจักรไอน�้ำของเขาจะปฏิวัติโลกอย่างไร แต่เราได้เห็นความส�ำเร็จมากพอจนพูดได้อย่างมั่นใจว่า ทรัพยากรคือ จุดสนใจที่ถูกต้อง และโอกาสที่มีก็มหาศาล โบอิ้ง (Boeing) มีศักยภาพที่จะลดอัตราส่วน “ซื้อต่อบิน” <buyto-fly ratio หมายถึง มวลของวัสดุที่ใช้ในการผลิต เทียบกับมวลของวัสดุ ขัน้ สุดท้ายหลังจากเสร็จสิน้ กระบวนการผลิต> ส�ำหรับชิน้ ส่วนไทเทเนียม จาก 30 ต่อ 1 เป็น 3 ต่อ 1 หรือแม้แต่ 1 ต่อ 1 โดยใช้การเชื่อมด้วยเลเซอร์ การผลิตแบบต่อเติม <additive manufacturing หมายถึง การใช้ผงวัสดุ

เราไม่ได้ก�ำลังบอกว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกท�ำให้เกิดแค่การปรับปรุงผลิตภาพ แรงงาน หรือบอกว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สองท�ำแค่ให้ทุนเกิดผลิตภาพมากขึ้น ทีจ่ ริงการปฏิวตั ทิ กุ ครัง้ ส่งผลต่อปัจจัยการผลิตทัง้ สามชนิดทีส่ มิธอธิบายถึง ยกตัวอย่างเช่น ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก การใช้ถ่านหินมีประสิทธิภาพกว่าเดิมมาก โดยก่อนจะมี เครื่องจักรไอน�้ำของวัตต์ จะต้องใช้ถ่านหินราวครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ขุดขึ้นมาจากเหมือง เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องจักรรุ่นเก่าที่สูบน�้ำจากใต้ดิน ซึ่งต้องมีการเดินเครื่องจักรเครื่องนี้ จึงจะขุดถ่านหินออกจากเหมืองได้ เครือ่ งจักรไอน�ำ้ ของวัตต์ลดปริมาณถ่านหินทีจ่ ำ� เป็นต้อง ใช้เพือ่ การนีล้ งมหาศาล แต่เมือ่ พลังงานไอน�ำ้ แพร่หลาย ความต้องการถ่านหินก็พงุ่ สูงขึน้ มาก

1

Stefan Heck and Matt Rogers

27


ลักษณะเด่นของการปฏิวัติทรัพยากร

มาสร้างเป็นวัตถุโดยสร้างผิวขึ้นทีละชั้นตามแบบดิจิทัลสามมิติ ขั้นตอน คล้ายเครือ่ งพิมพ์สามมิต>ิ และการรีไซเคิลวงปิด (closed-loop recycling) บริษทั ดาว (Dow) กับดูปองท์ (DuPont) ได้แปลงของเสียให้เป็นผลิตภัณฑ์ มูลค่าสูงอย่างเป็นระบบตลอดทศวรรษที่ผ่านมา โรงกลั่นที่ดีที่สุด รวมทั้ง จีเอสคาลเท็กซ์ (GS Caltex) และเอสเครีไฟนิง (SK Refining) ซึ่งอยู่ใน เกาหลีใต้ทงั้ คู่ ใช้พลังงานน้อยกว่าคูแ่ ข่ง 20-30 เปอร์เซ็นต์ แถมยังสามารถ แปลงของเสียจากการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง วอลมาร์ต (Walmart) ใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดในการก�ำจัดของเสียทุกรูปแบบ ตั้งแต่ พลังงาน คาร์บอนไดออกไซด์ บรรจุภณ ั ฑ์ ตลอดทัง้ ห่วงโซ่อปุ ทานของบริษทั 28

Res ource Revoluti o n


เพื่อลดต้นทุน ลดความเสี่ยง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ระยะยาว การผลิตปลอดของเสีย (zero-waste manufacturing) ก�ำลัง กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ในหมู่ผู้ผลิตรถยนต์ในสหรัฐอเมริกา ตัวอย่างเหล่านี้เป็นเพียงจุดตั้งต้นเท่านั้น เราจินตนาการได้ง่าย มากว่าในอีกสิบห้าหรือยี่สิบปีข้างหน้า บริษัทรูปแบบใหม่สุดขั้วจะครอง ตลาด บางทีอาจมีบริษัทที่ส�ำรวจสายธารของเสีย (waste stream) เพื่อ น�ำแร่ทองค�ำและเงินออกมาใช้ใหม่จากอุปกรณ์ไฟฟ้าตามบ้าน หรือดึง ลิเทียมออกมาจากน�้ำทิ้งใต้พิภพ บางทีอาจมีบริษัทที่จะจัดการบริการ เดินทางทั้งหมด ผู้โดยสารเพียงแต่ต้องพิมพ์ว่าอยากไปไหน แล้วบริษัท จะแสดงเส้นทางที่ดีที่สุด บางทีบริษัทนี้อาจให้เช่ารถยนต์ที่ขับเคลื่อนได้ ด้วยตัวเอง รถเช่าอาจไม่จ�ำเป็นต้องเป็นรถ “เช่า” ในความหมายเดิม อีกต่อไป ซิปคาร์ (Zipcar) วันนี้ช่วยให้คนขับเช่ารถราคาถูกได้ด้วยการ จ่ายค่าสมาชิก แทนที่จะต้องไปซื้อสินทรัพย์ราคาแพงมาจอดไว้เฉยๆ ในเวลาส่วนใหญ่ ทุนที่ระบบคมนาคมของเราต้องการอาจลดลงได้กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ในขณะเดียวกัน บริษทั ต่างๆ จะเข้าถึงโอกาสได้ไม่รจู้ บ ทัง้ บริษทั ใหม่และเก่า ใหญ่และเล็ก โอกาสที่ว่าคือการจัดหาอุปกรณ์และบริการที่ ช่วยให้เหล่าบริษทั ทีม่ อี ยูแ่ ล้ว รวมถึงบริษทั ยักษ์ใหญ่ ด�ำเนินธุรกิจได้อย่าง มีประสิทธิภาพกว่าเดิม เพื่อช่วยในกระบวนการคิดว่าจะไปถึงอนาคตอันสดใสนี้อย่างไร เราจะเริม่ ต้นหนังสือเล่มนีด้ ว้ ยการแสดงให้เห็นว่าการปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม สองครั้งที่ผ่านมาเกิดขึ้นและคลี่คลายไปอย่างไร อีกทั้งจะชี้ให้เห็นความ ท้าทายและโอกาสต่างๆ ที่ธุรกิจทั้งหลายต้องพบเจอขณะที่พวกเขามุ่ง ไปสู่การปฏิวัติครั้งที่สาม จากนั้นเราจะอธิบายหลักการ 5 ข้อซึ่งสามารถ น�ำไปประยุกต์ใช้เพื่อท�ำให้บริษัท ชุมชนคู่ค้า หรือกลุ่มลูกค้าใดๆ ก็ตาม ใช้ทรัพยากรอย่างเปี่ยมประสิทธิภาพได้มากกว่าเดิม โดยการท�ำให้ ผลิตภาพทรัพยากรมีความยัง่ ยืน เราจะแสดงวิธปี ระยุกต์ใช้หลักการ 5 ข้อ Stefan Heck and Matt Rogers

29


และวิธีที่จะน�ำไปสู่ผลิตภัณฑ์และบริการที่แตกต่างไปจากปัจจุบันมาก ผลิตภัณฑ์และบริการเหล่านีจ้ ะดีขณะทีใ่ ช้ทรัพยากรน้อยลง2 พูดอีกอย่าง ได้ว่าเราไม่ได้เสนอว่าต้องตระหนี่ถี่เหนียวหรือท�ำอะไรๆ น้อยลงด้วย การใช้ของน้อยลง แต่เราจะอธิบายวิธีที่จะท�ำอะไรๆ มากขึ้นด้วยของ น้อยลง นี่คือขั้วตรงข้ามของความคิดกระแสหลักถึงยุคที่หลายคนมองว่า จะเป็นยุคแห่งความขัดสน ในบทต่อๆ ไป เราจะพูดถึงวิธีหาจังหวะที่ถูกต้อง และการน�ำ ความคิดไปขยายขนาดในภาคปฏิบัติ นี่เป็นปัญหายากเพราะตลาด เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในเมื่อการบริหารจัดการเป็นศาสตร์ที่ส�ำคัญ เราก็จะส�ำรวจดูด้วยว่าโครงสร้างการจัดการและเครื่องมือต่างๆ ของฝ่าย จัดการต้องเปลีย่ นแปลงไปอย่างไรเพือ่ พุง่ จุดสนใจไปทีผ่ ลิตภาพทรัพยากร การเปลี่ยนแปลงนี้ต้องอาศัยคนที่มีพรสวรรค์ชนิดใหม่ๆ ซึ่งหามาจาก พื้นที่ใหม่ๆ จัดการและอบรมด้วยวิธีใหม่ๆ ในตอนท้ายเราจะพูดถึงวิธีที่ ท�ำให้การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นการปฏิวัติแบบถาวร แทนที่จะพุ่งทะลุ เพียงเป้าแรกแล้วก็ประกาศชัยชนะ เราจะชี้ให้เห็นในบทแรกว่า ความท้าทายที่ภาคธุรกิจ และอันที่ จริงก็รวมถึงโลกทั้งใบ ที่เราต้องเผชิญหน้านั้นเป็นความท้าทายอันใหญ่ หลวง แต่ก็มากับโอกาสมหาศาลอย่างไม่เคยมีมาก่อนเช่นกัน เราตั้งใจ จะช่วยให้คุณหาจนเจอ

การพุ่งขึ้นของผลิตภาพทรัพยากรจะท�ำให้เกิดผลดีที่เกิดจากการค�ำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและ มลพิษมากมาย แต่มันจะเกิดในฐานะผลพลอยได้ของเทคโนโลยีและแบบจ�ำลองธุรกิจซึ่งมี ประสิทธิภาพและสร้างผลงานมากกว่า ไม่ใช่ในฐานะจุดสนใจหลัก 2

30

Res ource Revoluti o n


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.