วัสดุนิยม: เรื่องราวชวนทึ่งของสารพันวัตถุเปลี่ยนโลก • ทีปกร วุฒิพิทยามงคล แปล จากเรื่อง Stuff Matters: Exploring the Marvelous Materials That Shape Our Man-Made World โดย Mark Miodownik พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ open wo rld s, มีนาคม 2560 ราคา 325 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ อภิรดา มีเดช ศิลปกรรม พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ภาคย์ มหิธิธรรมธร • บรรณาธิการเล่ม ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ บรรณาธิการต้นฉบับ อภิรดา มีเดช ออกแบบปก พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ ภาพปก กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ • จัดท�ำโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2 6 1 8 4 7 30 e m a i l : o p e n w o r l d s t h a i l a n d @ gmail.com f a c e b ook : w w w . f a c e b o o k . c o m /openw or lds t w i t t e r : w w w . t w i t t e r . c o m / o p enw or ldsB K K w e b s i t e : w w w . o p e n w o r l ds.in.th
จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) S E - E D U C A T I O N P U B L I C C O M PA N Y LIMITE D เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 2 7 3 9 8 2 2 2 , 0 2 739 8000 โทรสาร 0 2 7 3 9 8 3 5 6- 9 w e bs i t e : h t t p : / / w w w . s e - ed.com/
สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 0 2618 4730 และ 09 7174 9124 หรือ Em a il: o p e n w o rld st h a il and@gmail.c om
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ มิโอดอฟนิก, มาร์ก. วัสดุนิยม: เรื่องราวชวนทึ่งของสารพันวัตถุุเปลี่ยนโลก. -- กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2560. 296 หน้า. 1. ความรู้ทั่วไป. I. ทีปกร วุฒิพิทยามงคล, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 030 ISBN 978-616-7885-47-6 • Copyright © 2013 Mark Miodownik First published by Viking 2013 Published in Penguin Books 2014. This edition published by arrangement with Openworlds Publishing House through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd. Thai language translation copyright © 2017 by Openworlds Publishing House All rights reserved. •
สารบัญ
บทน�ำ 11 1. สุดทรหด 25 2. น่าเชื่อถือ 49 3. ดังรากฐาน 81 4. รสโอชา 105 5. พาพิศวง 127 6. เปี่ยมจินตนาการ 151 7. ล่องหน 185 8. ไม่สูญสลาย 207
9. แสนประณีต 233 10. เป็นอมตะ 251 11. ล้วนสังเคราะห์ 273 กิตติกรรมประกาศ 288 เครดิตภาพประกอบ 292 อ่านเพิ่มเติม 293 รู้จักผู้เขียน 294 รู้จักผู้แปล 295
Stuff Matters Exploring the Marvelous Materials That Shape Our Man-Made World
. by
Mark Miodownik
วัสดุนิยม เรื่องราวชวนทึ่งของสารพันวัตถุเปลี่ยนโลก
แปลโดย
ทีปกร วุฒิพิทยามงคล
แด่รูบี้ ลาซโล และไอดา
บทน�ำ
ผมนึกสงสัยว่าตัวเองควรท�ำอย่างไรต่อดี ขณะที่ยืนอยู่บนรถไฟ โดยมีเลือดไหลซึมจากปากแผล ซึ่งต่อมาจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นแผล ถูกแทงยาว 13 เซนติเมตร ตอนนั้นเป็นเดือนพฤษภาคม ปี 1985 ผมเพิ่ง กระโดดขึ้นรถไฟใต้ดินลอนดอนได้ทันก่อนประตูปิดอย่างเฉียดฉิว แม้จะ สลัดหลุดจากคนร้ายได้ แต่ยงั ไม่วายถูกแทงเข้าทีแ่ ผ่นหลัง บาดแผลเจ็บจีด๊ คล้ายโดนกระดาษบาดอย่างแสนสาหัส ผมเองก็ไม่รู้ว่าแผลรุนแรงขนาด ไหน แต่ด้วยความที่ผมเป็นแค่เด็กนักเรียนอังกฤษคนหนึ่ง ความอับอาย ขายหน้าจึงอยูเ่ หนือสามัญส�ำนึกใดๆ ทัง้ สิน้ แทนทีจ่ ะร้องขอความช่วยเหลือ ผมเลยตัดสินใจว่าทางที่ดีที่สุดคือหาที่นั่งแล้วกลับบ้านเสีย ถึงจะไม่เข้าที แต่นั่นคือสิ่งที่ผมท�ำ ผมพยายามทบทวนไปพลางๆ ว่าเพิ่งเกิดอะไรขึ้นกันแน่ เพื่อ บังคับตัวเองให้ไม่ต้องรับรู้ความเจ็บปวดและความรู้สึกอึดอัดจากเลือดที่ ไหลซึมอาบหลัง เจ้าโจรกรรโชกทรัพย์เข้าประชิดตัวผมบนชานชาลาแล้วขู่ เอาเงิน พอผมส่ายหัวปฏิเสธ เขายิง่ เข้ามาประชิดตัวพร้อมสายตาประสงค์ ร้ายแล้วขู่ว่าตนมีมีด ตอนเขาพูด ฟองน�้ำลายกระเซ็นโดนแว่นตาผมด้วย M a rk M i o d o w n i k
11
ผมมองปราดตามสายตาเขาไปยังกระเป๋าเสื้อแจ็กเกตตัวหนาสีนำ�้ เงินที่ เขาซุกมืออยู่ ลางสังหรณ์บอกว่ารอยนูนแหลมนัน่ คงเป็นแค่นวิ้ ชีข้ องเขา แล้วความคิดอีกอย่างก็แวบเข้ามาในหัว ต่อให้เขามีมีดจริงๆ ก็ต้องเป็น มีดที่เล็กมากๆ เล็กจนใส่กระเป๋าเสื้อได้ และคงท�ำอะไรผมไม่ได้มากนัก ตัวผมเองก็มมี ดี พก และรูด้ วี า่ คงยากทีม่ ดี แบบนีจ้ ะทะลวงเข้าไปในเสือ้ ผ้า หลายชั้นที่ผมใส่อยู่ ตั้งแต่เสื้อแจ็กเกตหนังที่ผมภูมิใจนักหนา เสื้อสูท เบลเซอร์ผ้าขนแกะสีเทาซึ่งเป็นเครื่องแบบของโรงเรียน สเวตเตอร์ผ้า ไนลอนคอวี เสื้อเชิ้ตคอตตอนสีขาวพร้อมด้วยเนกไทลายทางตามที่ โรงเรียนก�ำหนดผูกไว้หลวมๆ แล้วก็เสื้อกล้าม แผนการปะติดปะต่ออย่าง รวดเร็วในหัว ผมจะปล่อยให้เขาพูดพล่าม แล้วพอประตูรถไฟก�ำลังปิด ผม จะผลักเขาให้พน้ ทางแล้วเบีย่ งตัวขึน้ รถไฟ ผมเห็นแล้วว่ารถไฟก�ำลังแล่น มา และมั่นใจว่าถ้าใช้วิธีนี้เขาคงตอบโต้ไม่ทันแน่ ตลกดีนะครับที่ผมคิดถูกอยู่อย่าง เขาไม่มีมีดจริงๆ เสียด้วย อาวุธของเขาคือใบมีดโกนที่พันเทปไว้ เหล็กกล้าชิ้นเล็กจิ๋วขนาดพอๆ กับแสตมป์กรีดผ่านเสื้อผ้าห้าชั้น ก่อนจะทะลุถึงผิวหนังก�ำพร้าและ หนังแท้ของผมได้ในคราวเดียวอย่างไร้ที่ติ หลังจากได้เห็นอาวุธชิ้นนั้น ที่สถานีต�ำรวจ ผมถึงกับอึ้งไปเลย แน่ละว่าผมเคยเห็นใบมีดโกนมาก่อน แต่ผมเพิ่งตระหนักในตอนนั้นเองว่าอันที่จริงแล้วผมไม่เคยรู้จักมันเลย ผมเองเพิ่งเริ่มโกนหนวดได้ไม่นาน และจะว่าไป ผมเคยเห็นมีดโกนก็ เฉพาะตอนที่มันถูกครอบอยู่ภายใต้พลาสติกสีส้มหน้าตาเป็นมิตรใน รูปแบบของมีดโกนนิรภัยยี่ห้อบิ๊กเท่านั้น ขณะผมให้ปากค�ำกับต�ำรวจ เกี่ยวกับอาวุธชิ้นนี้ โต๊ะที่กั้นระหว่างเราเอาแต่โยกเยกไม่หยุด มีดโกน บนโต๊ะก็พลอยส่ายโคลงไปด้วย เมื่อมันสะท้อนแสงวิบวับจากหลอดไฟ ฟลูออเรสเซนต์ ผมจึงเห็นได้ชัดว่าคมมีดยังคงคมกริบไร้ริ้วรอยใดๆ แม้ จะเพิ่งผ่านการใช้งานไปเมื่อตอนบ่าย จ�ำได้ว่าหลังจากนั้นผมต้องกรอกแบบฟอร์ม โดยมีพ่อแม่นั่ง กระวนกระวายอยู่ข้างๆ พลางนึกสงสัยว่าผมละล้าละลังอะไรอยู่ ผมลืม 12
Stuff Matte r s
ชื่อที่อยู่ของตัวเองไปแล้วอย่างนั้นหรือ? ความจริงแล้วตอนนั้นผมก�ำลัง จ้องเขม็งไปที่ลวดเย็บกระดาษตรงมุมบนของแบบฟอร์มหน้าแรก ผม ค่อนข้างมั่นใจว่าลวดเย็บกระดาษก็ท�ำจากเหล็กกล้าเหมือนกัน โลหะ สีเงินทีห่ น้าตาดูธรรมดาชิน้ นีเ้ จาะทะลุปกึ กระดาษได้เรียบร้อยและแม่นย�ำ ผมลองตรวจสอบด้านหลัง ปลายทั้งสองข้างของลวดเย็บพับเก็บเข้าหา กันอย่างเหมาะเจาะพอดี รวบเอาฟ่อนกระดาษทั้งหมดไว้ด้วยกันอย่าง แน่นหนา ช่างเจียระไนก็คงท�ำงานเนีย้ บไปกว่านีไ้ ม่ได้แน่ (ต่อมาผมค้นพบ ว่าลวดเย็บกระดาษอันแรกเป็นลวดท�ำมือทีท่ ำ� ขึน้ เพือ่ ถวายพระเจ้าหลุยส์ ที่ 15 แห่งฝรัง่ เศส โดยลวดเย็บแต่ละอันจะสลักตราประจ�ำพระองค์ไว้ดว้ ย ใครจะไปคิดล่ะครับว่าลวดเย็บกระดาษก็เป็นเชือ้ พระวงศ์กบั เขาเหมือนกัน) ผมป่าวประกาศว่านีช่ า่ งเป็นสิง่ ที่ “แสนประณีตวิจติ ร” แล้วชีช้ วนให้พอ่ แม่ ดู พวกท่านมองหน้ากันอย่างเป็นกังวล ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพวกท่านคง คิดว่าผมเสียสติไปแล้ว ผมก็ว่าอย่างนั้นแหละครับ แน่นอนว่าบางสิ่งที่แปลกประหลาด ก�ำลังปะทุขึ้น นั่นก็คือต้นก�ำเนิดของความลุ่มหลงมัวเมาที่ผมมีต่อวัตถุ ต่างๆ มันเริ่มต้นที่เหล็กกล้านี่เอง จู่ๆ ผมก็รู้สึกรู้สาเกินเหตุกับตัวตน ของมันที่ด�ำรงอยู่ทุกหนทุกแห่ง ซึ่งคุณย่อมตระหนักเช่นเดียวกันเมื่อ เริ่มสังเกตดู ผมเห็นมันตรงปลายปากกาลูกลื่นที่ใช้กรอกแบบฟอร์มของ ต�ำรวจ ผมได้ยินมันส่งเสียงกรุ๊งกริ๊งจากพวงกุญแจของพ่อขณะนั่งรอผม อย่างกระสับกระส่าย ต่อมาในวันเดียวกัน มันยังเป็นเกราะก�ำบังพาผม กลับบ้าน เป็นแผ่นชัน้ ทีไ่ ม่หนาไปกว่าแผ่นโปสต์การ์ดห่อหุม้ ตัวถังรถยนต์ ของเรา แปลกดีเหมือนกันทีผ่ มรูส้ กึ ว่ารถเหล็กยีห่ อ้ มินขิ องเราซึง่ ปกติแล้ว จะส่งเสียงดังหนวกหู วันนั้นกลับสงบเสงี่ยมเจียมตัวเป็นพิเศษ คล้ายกับ มันแสดงออกทางกายภาพเพือ่ ขอโทษขอโพยผมส�ำหรับเหตุถกู แทงทีเ่ พิง่ เกิดขึน้ พอเรากลับถึงบ้าน ผมนัง่ ลงข้างๆ พ่อทีโ่ ต๊ะกินข้าว แล้วเราก็กนิ ซุป ทีแ่ ม่ทำ� ด้วยกันในความเงียบสงัด ทันใดนัน้ ผมก็หยุดกิน เพิง่ รูต้ วั ว่าแม้แต่ ในปากผมก็มีชิ้นส่วนเหล็กกล้า ผมดูดช้อนสเตนเลสสตีลที่ใช้กินซุปอย่าง M a rk M i o d o w n i k
13
พินจิ พิจารณา เอาออกจากปากเพือ่ วิเคราะห์รปู ลักษณ์สกุ สว่างเงาวับของ มัน เงาวับจนถึงขนาดทีว่ า่ ผมมองเห็นเงาสะท้อนบิดๆ เบีย้ วๆ ของตัวเอง ได้บนส่วนโค้งเว้าของช้อนคันนัน้ “เจ้าสิง่ นีค้ อื อะไรกันแน่?” ผมร�ำพึงพลาง แกว่งช้อนต่อหน้าพ่อ “แล้วท�ำไมมันถึงไม่มีรสชาติอะไรเลย?” ผมอมช้อน อีกทีเพื่อตรวจสอบ พยายามดูดมันอย่างเอาเป็นเอาตาย แล้วค�ำถามเป็นล้านๆ ก็พรั่งพรูออกมา เป็นไปได้อย่างไรที่วัตถุ หนึ่งเดียวนี้ท�ำประโยชน์ให้กับพวกเรามหาศาลแต่เราแทบจะไม่พูดถึง มันเลย มันเป็นตัวละครที่เราคุ้นเคยในชีวิต เราเอามันเข้าปาก ใช้มัน ก�ำจัดเส้นผมหรือขนทีไ่ ม่พงึ ประสงค์ ขับขีม่ นั มันเป็นเพือ่ นทีแ่ สนซือ่ สัตย์ ของเรา แต่กระนัน้ เราแทบไม่รวู้ า่ อะไรท�ำให้มนั มีคณ ุ สมบัตเิ ฉพาะตัวเหล่า นัน้ ท�ำไมใบมีดโกนถึงบาดขณะที่คลิปหนีบกระดาษโค้งงอ? ท�ำไมโลหะ ถึงเงาวับขณะที่กระจกกลับโปร่งใส? ท�ำไมดูเหมือนว่าทุกคนจงเกลียด จงชังคอนกรีตแต่หลงใหลได้ปลื้มกับเพชร? และท�ำไมช็อกโกแลตถึง รสชาติยอดเยี่ยมเหลือเกิน? ท�ำไมวัตถุต่างๆ จึงมีรูปร่างลักษณะและ ประพฤติตัวในแบบที่มันเป็น?
นับตั้งแต่ถูกแทง ผมก็ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ไปกับความลุ่มหลงใน วัตถุต่างๆ ผมเรียนจบวัสดุศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาโลหะผสมส�ำหรับเครื่องยนต์เจ็ต ท�ำงานเป็น นักวัสดุศาสตร์และวิศวกรในห้องทดลองที่ก้าวหน้าที่สุดในโลกหลายแห่ง ระหว่างนั้นความหลงใหลของผมที่มีต่อวัตถุยิ่งพอกพูนขึ้น พร้อมกับที่ คอลเลกชันตัวอย่างชิ้นส่วนวัสดุสุดพิเศษของผมก็ใหญ่โตขึ้นตามไปด้วย ตอนนีต้ วั อย่างเหล่านัน้ อาศัยอยูใ่ นห้องสมุดวัสดุอนั โอ่อา่ ทีผ่ มร่วมสร้างกับ โซอี ลาฟลิน (Zoe Laughlin) และ มาร์ตนิ คอนรีน (Martin Conreen) ซึง่ เป็นทัง้ เพือ่ นและผูร้ ว่ มงาน ตัวอย่างวัสดุบางชิน้ นัน้ แปลกประหลาดอย่าง 14
Stuff Matte r s
ไม่นา่ เชือ่ เช่น ชิน้ ส่วนของแอโรเจล (aerogel) จากนาซา (NASA) ทีป่ ระกอบ ด้วยอากาศ 99.8 เปอร์เซ็นต์และแลดูคล้ายกับหมอกควันที่จับต้องได้ บางชิ้ น มี กั ม มั น ตภาพรั ง สี อย่ า งแก้ ว ยู เ รเนี ย มที่ ผ มไปเจอหลั ง ร้ า น ขายของเก่าในออสเตรเลีย บางชิน้ ขนาดเล็กนิดเดียวแต่หนักเป็นบ้า อย่าง แท่งโลหะทังสเตนทีส่ กัดออกมาจากสินแร่วลู ฟราไมต์ดว้ ยความยากล�ำบาก บางชิ้นดูสุดแสนจะคุ้นหน้าคุ้นตาแต่ที่จริงแล้วเก็บซ่อนความลับไว้ เช่น ต้นแบบคอนกรีตทีซ่ อ่ มแซมตัวเองได้ เมือ่ รวมทัง้ หมดเข้าด้วยกัน ตัวอย่าง ในห้องสมุดวัสดุมากกว่าหนึ่งพันชนิดนี้คือตัวแทนของส่วนประกอบที่ สร้างโลกเราขึน้ มา ตัง้ แต่บา้ น เสือ้ ผ้า เครือ่ งจักร ไปจนถึงศิลปะ ปัจจุบนั นี้ ห้องสมุดวัสดุตั้งอยู่ที่สถาบันการสรรค์สร้างแห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน (UCL Institute of Making) คุณสามารถก่อร่างสร้างอารยธรรม ขึ้นใหม่จากวัสดุพวกนี้ หรือจะใช้พวกมันเพื่อท�ำลายล้างก็ได้เช่นกัน ว่าก็วา่ เถอะครับ ยังมีหอ้ งสมุดวัสดุอกี แห่งทีใ่ หญ่กว่าซึง่ บรรจุวสั ดุ ไว้เป็นล้านๆ ชนิด เป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยรู้จัก และมัน ยังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย ห้องสมุดที่ว่าก็คือโลกของเรานั่นเอง ลองดู รูปถ่ายในหน้าถัดไปนะครับ มันเป็นรูปผมขณะนั่งจิบชาบนดาดฟ้าแฟลต ที่ผมพักอยู่ รูปนี้ดูไม่สลักส�ำคัญอะไรเลย เว้นเสียแต่ว่าหากคุณได้ลองไล่ สายตาไปอย่างละเอียดลออแล้ว คุณจะพบว่ารูปนี้แสดงแคตตาล็อกของ สิง่ ต่างๆ ทีส่ รรค์สร้างโลกของเราขึน้ มา วัสดุเหล่านีล้ ว้ นส�ำคัญยิง่ หากเรา ลบคอนกรีต กระจก สิ่งทอ โลหะ และวัสดุต่างๆ ออกจากฉาก ก็จะเหลือ แค่รา่ งเปลือยของผมทีส่ นั่ งันงกอยูก่ ลางอากาศ พวกเราชอบคิดว่าตนเป็น ผู้เจริญแล้ว แต่ความเจริญที่ว่านั้นเกิดขึ้นได้เพราะเรามีทรัพยากรมั่งคั่ง แท้ๆ ถ้าปราศจากสิ่งของเหล่านี้ พวกเราอาจต้องเผชิญหน้ากับสภาวะ ดิน้ รนเอาชีวติ รอดไม่ตา่ งจากสัตว์ชนิดอืน่ อาจกล่าวได้วา่ สิง่ ทีท่ ำ� ให้พวกเรา แสดงความเป็นมนุษย์ได้อย่างแท้จริงก็คอื เสือ้ ผ้า บ้าน เมือง และเครือ่ งใช้ ไม้สอยต่างๆ ทีพ่ วกเราปลุกให้มนั มีความหมายขึน้ มาผ่านธรรมเนียมและ วัฒนธรรมของเรานั่นเอง (คุณจะเห็นความจริงข้อนี้ได้ชัดเจนมากหากได้ M a rk M i o d o w n i k
15
ลองไปสังเกตการณ์ในบริเวณที่เกิดภัยพิบัติ) เพราะฉะนั้น โลกแห่งวัตถุ จึงไม่ได้เป็นเพียงภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงเทคโนโลยีและวัฒนธรรมของ พวกเราเท่านัน้ อันทีจ่ ริง มันเป็นส่วนประกอบหนึง่ ของชีวติ เราเลยด้วยซ�ำ้ เราประดิษฐ์มันขึ้นมา สร้างมันขึ้นมา และในทางกลับกัน มันก็สร้างเรา ให้เป็นเราด้วยเช่นกัน
16
Stuff Matte r s
ความส�ำคัญในระดับฐานรากทีว่ สั ดุมตี อ่ พวกเราเห็นได้ชดั เจนจาก ชื่อที่เราใช้แยกล�ำดับขั้นอารยธรรมของมนุษย์ อันได้แก่ ยุคหิน ยุคส�ำริด และยุคเหล็ก ยุคสมัยของมนุษยชาติแต่ละยุคก�ำเนิดได้ด้วยวัสดุชนิดใหม่ เหล็กกล้าเป็นวัสดุทนี่ ยิ ามยุควิกตอเรีย มันให้พลังอ�ำนาจแก่วศิ วกร เติมเต็ม ความฝันของพวกเขาที่จะสร้างสะพานแขวน รางรถไฟ จักรกลไอน�้ำ และ เรือโดยสาร อิแซมบาร์ด คิงดอม บรูเนล (Isambard Kingdom Brunel) วิศวกรผู้ยิ่งใหญ่ใช้มันพลิกโฉมภูมิทัศน์และหว่านเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งยุค สมัยใหม่ลงไป ผู้คนมักขนานนามศตวรรษที่ 20 ว่าเป็นยุคแห่งซิลิคอน หลังการค้นพบครั้งส�ำคัญในสาขาวัสดุศาสตร์ซึ่งเร่งให้เกิดชิปประมวลผล ซิลิคอนและการปฏิวัติข้อมูลข่าวสาร แต่ชื่อเรียกเช่นนี้นับว่าละเลยภาพ อันสลับซับซ้อนของวัตถุอื่นๆ ซึ่งมีส่วนปฏิวัติชีวิตสมัยใหม่ในช่วงเวลา เดียวกัน สถาปนิกใช้กระจกใสที่ผลิตในระบบอุตสาหกรรมประกอบกับ โครงเหล็กกล้า สร้างตึกระฟ้าซึง่ ได้ให้กำ� เนิดชีวติ คนเมืองแบบใหม่อกี ทอด หนึง่ นักออกแบบผลิตภัณฑ์และนักออกแบบเสือ้ ผ้าน�ำพลาสติกมาปรับใช้ เพื่อแปรสภาพที่อยู่อาศัยและเครื่องนุ่งห่ม เราใช้พอลิเมอร์เพื่อผลิตฟิล์ม เซลลูลอยด์ ซึง่ กระตุน้ ให้เกิดความเปลีย่ นแปลงของวัฒนธรรมทางสายตา (visual culture) ครั้งใหญ่ทสี่ ดุ ในรอบพันปี นั่นก็คอื ภาพยนตร์นั่นเอง การ พัฒนาอะลูมิเนียมอัลลอยและนิกเกิลซูเปอร์อัลลอยหรือโลหะผสมพิเศษ ท�ำให้เราสามารถสร้างเครื่องยนต์เจ็ตและโดยสารเครื่องบินได้ในราคาถูก ซึง่ อีกนัยหนึง่ ก็ชว่ ยเร่งให้วฒ ั นธรรมต่างๆ ได้มาปะทะสังสรรค์กนั เซรามิก ที่ใช้ในวงการแพทย์และทันตกรรมท�ำให้พวกเราสร้างชิ้นส่วนร่างกายขึ้น ใหม่ได้ มันเปลี่ยนแปลงนิยามของความพิการและชราภาพ และก็อย่าง ที่ค�ำว่า “ศัลยกรรมพลาสติก” บ่งชี้เป็นนัยไว้นั่นแหละครับ วัสดุต่างๆ คือ กุญแจส�ำคัญในกระบวนการรักษาต่างๆ เพื่อซ่อมแซมอวัยวะ (เช่นการ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก) หรือเพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์ของเราให้ดีขึ้น (เช่นการฝังซิลิโคนเพื่อขยายขนาดทรวงอก) นิทรรศการชื่อ โลกแห่งร่าง (Body Worlds) ของ กุนเทอร์ ฟอน ฮาเกินส์ (Gunther von Hagens) เป็น M a rk M i o d o w n i k
17
ประจักษ์พยานในอิทธิพลทางวัฒนธรรมของวัสดุชวี ภาพใหม่ๆ เหล่านี้ มัน เชือ้ เชิญให้เราพินจิ พิจารณาลักษณะทางกายภาพของมนุษย์ ทัง้ ในขณะที่ มีชีวิตอยู่และในห้วงเวลาที่ไร้ซึ่งลมหายใจ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือส�ำหรับผู้ที่ต้องการถอดรหัสโลกวัตถุที่ พวกเราสร้างขึ้น เป็นหนังสือส�ำหรับผู้ที่อยากรู้ว่าวัตถุเหล่านี้มาจากไหน ท�ำงานอย่างไร และเผยอะไรเกี่ยวกับตัวเราบ้าง น่าประหลาดใจที่วัตถุ ต่างๆ มักมีลักษณะไม่โดดเด่นหรือเป็นที่สนใจ แม้พวกมันจะอยู่รอบตัว เราก็ตาม หากพิจารณาเพียงผิวเผินจะพบว่าพวกมันไม่คอ่ ยแสดงลักษณะ เฉพาะใดๆ และมักจะกลมกลืนไปกับฉากหลังของชีวิตเรา โลหะส่วนมาก ล้วนเป็นสีเทาและสะท้อนแสง จะมีสักกี่คนที่บอกความแตกต่างระหว่าง อะลูมเิ นียมและเหล็กกล้าได้ หรืออย่างเช่นไม้ทดี่ จู ะแตกต่างจากวัสดุอนื่ ๆ อย่างชัดเจน แต่มีสักกี่คนที่อธิบายได้ว่าท�ำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น พลาสติก ยิ่งชวนให้งงงวย ใครกันล่ะจะรู้ความแตกต่างของพอลิธีน (polythene) และพอลิโพรพิลีน (polypropylene) แต่ที่ส�ำคัญกว่านั้นอาจเป็นค�ำถาม ที่ว่า แล้วท�ำไมเราต้องสนใจด้วย? ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจ และผมอยากบอกเหตุผลให้คุณทราบ ในเมือ่ หนังสือเล่มนีเ้ ป็นเรือ่ งเกีย่ วกับวัตถุซงึ่ เป็นต้นก�ำเนิดของสารพัดสิง่ เราย่อมเริ่มเล่าจากตรงไหนก็ได้ ด้วยเหตุนี้ผมจึงเลือกเริ่มต้นด้วยรูปถ่าย ของตัวเองบนดาดฟ้า ซึง่ เป็นแรงบันดาลใจส�ำหรับเนือ้ หาในเล่ม ผมเลือก วัตถุ 10 ชนิดจากรูปในหน้าก่อนเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของสรรพสิ่ง และ พยายามเปิดเผยแรงจูงใจในการสร้างสรรค์ของแต่ละชิน้ เมือ่ ผมถอดรหัส ด้านวัสดุศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลัง ผมก็ต้องพิศวงไปกับความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีของพวกเราที่สามารถสร้างวัตถุเหล่านี้ขึ้นมาได้ แต่ทงั้ นี้ทั้งนั้น สิ่งส�ำคัญที่สุดคือ ผมจะพยายามอธิบายว่าท�ำไมวัตถุพวกนี้จึงสลักส�ำคัญ ตลอดรายทางของเรื่องราว เราจะพบว่าวัตถุนั้นเป็นเช่นเดียว กับมนุษย์ กล่าวคือความแตกต่างแท้จริงของพวกมันอยู่ลึกลงไปกว่า เปลือกนอกทีต่ าเห็น นีเ่ ป็นโลกทีป่ กปิดไว้โดยผูค้ นส่วนมากไม่ได้รบั รู้ เว้น 18
Stuff Matte r s
เสียแต่วา่ พวกเขาจะสามารถเข้าถึงเครือ่ งมือทางวิทยาศาสตร์ชนั้ สูง หาก เราต้องการเข้าใจโลกแห่งวัตถุอย่างแท้จริง เราจ�ำต้องเดินทางข้ามผ่าน ประสบการณ์การรับรู้ในระดับมนุษย์ เพื่อด�ำดิ่งลึกลงไปสู่ระดับภายใน ของสสารแต่ละชนิด ณ ระดับจุลภาคนี้เอง เราจะค้นพบเหตุผลว่าท�ำไม วัตถุบางชนิดมีกลิ่นและบางชนิดไม่มี ท�ำไมวัตถุบางชนิดจึงคงอยู่ได้นาน นับพันปีแต่บางชนิดกลายสภาพเป็นสีเหลืองกรอบเมื่อตากแดด ท�ำไม กระจกบางชนิดจึงแข็งแกร่งจนสามารถกันกระสุนได้ ในขณะที่แก้วไวน์ กลับเปราะบางแตกหักง่ายดายด้วยแรงกระทบกระทั่งเพียงเล็กน้อย การ เดินทางสู่โลกจุลภาคจะเผยให้เห็นหลักการวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลัง อาหาร เสื้อผ้า อุปกรณ์ เครื่องประดับ และแน่นอน ร่างกายของเรา ในขณะที่มิติทางกายภาพของโลกจุลภาคมีขนาดเล็กกว่าโลกที่ เรารับรู้มาก แต่เราจะพบว่ามิติทางเวลามักยาวนานกว่าโลกรับรู้ของเรา อย่างมหาศาล ลองพิจารณาเส้นด้ายสักเส้นเป็นตัวอย่างดูนะครับ มันมี ขนาดพอๆ กับเส้นผม เป็นโครงสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นในขนาดที่ถือเป็น ขีดจ�ำกัดสูงสุดของสายตา มันช่วยให้เราสร้างเชือก ผ้าห่ม พรม และที่ ส�ำคัญที่สุดคือเสื้อผ้า สิ่งทอเป็นหนึ่งในวัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นอย่าง แรกๆ เมื่อเราใส่กางเกงยีนส์หรือเสื้อผ้าอื่นๆ เราก�ำลังสวมใส่โครงสร้าง ทีถ่ กั ทอในขนาดเล็กจ้อย การออกแบบโครงสร้างนีเ้ ก่าแก่ยงิ่ กว่าสโตนเฮนจ์ เสียอีก ผ้าช่วยกักเก็บความอบอุน่ และปกป้องเราจากภยันตรายมาตลอด ช่วงประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ พร้อมกันนั้นยังท�ำให้พวกเราดูโก้เก๋ แต่ใน ขณะเดียวกันผ้าก็ถือเป็นของล�้ำยุคด้วย ในศตวรรษที่ 20 เราได้เรียนรู้ วิธีสร้างชุดอวกาศจากสิ่งทอที่แข็งแรงมากพอจะปกป้องนักบินอวกาศ บนพื้นผิวดวงจันทร์ เราสร้างสิ่งทอที่แข็งแรงพอส�ำหรับท�ำแขนขาเทียม และจากประสบการณ์สว่ นตัว ผมดีใจทีไ่ ด้เห็นชุดชัน้ ในทีถ่ กั ทอจากเคฟลาร์ (Kevlar) ซึ่งเป็นเส้นใยสังเคราะห์ที่แข็งแรงอย่างยิ่ง โดยพัฒนาขึ้นเพื่อ ป้องกันอันตรายจากของมีคม วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีวัสดุซึ่งกินเวลา เป็นพันๆ ปีเช่นนีค้ อื สิง่ ทีผ่ มจะย้อนกลับมากล่าวถึงอีกหลายต่อหลายครัง้ M a rk M i o d o w n i k
19
ในหนังสือเล่มนี้ แต่ละบทแต่ละตอนที่ผมจะเล่าไม่ได้น�ำเสนอเพียงตัววัตถุที่ แตกต่างกันเท่านั้น แต่ยังน�ำเสนอมิติที่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาพวกมัน ด้วย บางบทจะเลือกเล่าในเชิงประวัติศาสตร์เป็นหลัก ในขณะที่บทอื่น อาจเล่าในมุมมองส่วนตัวกว่านัน้ บางบทเข้มข้นเหลือร้ายราวกับละคร ใน ขณะทีบ่ ททีเ่ หลืออาจเป็นวิทยาศาสตร์มาดนิง่ กว่า บางบทเน้นบทบาทของ วัตถุในเชิงวัฒนธรรม ในขณะที่บทอื่นๆ อาจน�ำเสนอความสามารถทาง เทคนิคทีน่ า่ ตืน่ ตาตืน่ ใจ ทุกบทคือส่วนผสมอันเป็นเอกลักษณ์ของวิธกี ารที่ แตกต่างกันนี้ เพราะเหตุผลง่ายๆ ว่าวัตถุทงั้ หลายและความสัมพันธ์ทมี่ นั เชื่อมโยงกับมนุษย์นั้นแตกต่างหลากหลายเกินกว่าจะมีวิธีการใดๆ เพียง หนึ่งเดียวที่สามารถอธิบายได้ครบถ้วน งานศึกษาด้านวัสดุศาสตร์มอบ โครงข่ายความคิดอันทรงพลังและสอดคล้องกัน ซึ่งอาจท�ำให้เราสามารถ เข้าใจวัตถุต่างๆ ในเชิงเทคนิคได้ก็จริง แต่วัตถุทั้งหลายยังมีเรื่องราวอื่น นอกเหนือไปจากแง่มุมทางวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว ถึงที่สุดแล้ว ทุกสิง่ ย่อมสร้างจากบางสิง่ และผูท้ ำ� หน้าทีส่ ร้างสิง่ ต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นศิลปิน นักออกแบบ กุก๊ วิศวกร ช่างท�ำเฟอร์นเิ จอร์ ช่างเจียระไนเพชรพลอย แพทย์ ผ่าตัด ฯลฯ ย่อมมีความเข้าใจทีแ่ ตกต่างกันต่อวัตถุของพวกเขา ทัง้ ในด้าน การใช้สอย อารมณ์ และความรู้สึก สิ่งที่ผมพยายามถ่ายทอดออกมาก็คือ ความหลากหลายของความรู้ด้านวัตถุนั่นเอง ตัวอย่างเช่น บทที่เล่าถึงกระดาษจะเป็นชุดของบทความสั้นๆ ไม่ใช่เพียงเพราะว่ากระดาษนั้นมาในหลายรูปร่างลักษณะ แต่เป็นเพราะ ทุกคนใช้มันด้วยวิธีการที่แตกต่างกันอย่างมากมาย ส่วนบทที่เล่าถึง ชีววัตถุนั้นแตกต่างออกไป มันเป็นบันทึกการเดินทางลงไปในร่องลึก แห่งตัวตนด้านวัตถุของพวกเรา หรือก็คือร่างกายของพวกเรานั่นเอง พื้นที่ศึกษาด้านนี้ก้าวขึ้นมาเป็นดินแดนไร้ส�ำรวจของวัสดุศาสตร์อย่าง รวดเร็ว วัสดุชนิดใหม่เปิดพื้นที่ให้การศึกษาด้านชีวประดิษฐ์ (bionics) <ชิน้ ส่วนร่างกายทีเ่ ป็นอิเล็กทรอนิกส์> ท�ำให้เราสร้างร่างกายขึน้ มาได้ใหม่ 20
Stuff Matte r s
โดยอาศัยความช่วยเหลือจากชิ้นส่วนอวัยวะอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบ มาให้สอดประสาน “อย่างอัจฉริยะ” กับเลือดเนื้อของเรา วัสดุเช่นนี้เอง ที่ก�ำลังพลิกโฉมหน้าของสังคมอย่างลึกซึ้งถึงแก่น และเชื่อได้เลยว่าจะ เปลีย่ นแปลงความสัมพันธ์ทเี่ รามีตอ่ ตัวตนของเราเองตัง้ แต่ระดับรากฐาน เลยทีเดียว ถึงที่สุดแล้ว ทุกสิ่งล้วนสร้างจากอะตอมทั้งสิ้น เราจึงไม่สามารถ หลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงกฎที่คอยควบคุมพวกมัน กฎที่ควบคุมอะตอมนี้ รู้จักกันในนามทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม (quantum mechanics) เมื่อ เราเดินทางเข้าสู่โลกระดับอะตอม เราจะต้องละทิ้งสามัญส�ำนึกเกี่ยวกับ สิ่งต่างๆ ไปโดยสิ้นเชิง และหันไปพูดถึงพวกมันในเชิงฟังก์ชันคลื่นและ สถานะอิเล็กตรอนแทน มีวัตถุจ�ำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ออกแบบขึ้นมา จากศูนย์ที่ระดับอันเล็กจ้อยนี้ และพวกมันสามารถท�ำงานได้ดีอย่าง ไม่นา่ เชือ่ ชิปซิลคิ อนทีอ่ อกแบบด้วยหลักกลศาสตร์ควอนตัมท�ำให้เกิดยุค แห่งข้อมูลข่าวสาร โซลาร์เซลล์ที่ออกแบบในลักษณะเดียวกันมีศักยภาพ ที่จะแก้ไขปัญหาด้านพลังงานโดยใช้เพียงแค่แสงอาทิตย์ ทว่าพวกเรา ยังไปไม่ถึงจุดนั้น และยังคงต้องพึ่งพาน�้ำมันกับถ่านหินอยู่ ค�ำถามก็คือ ท�ำไมจึงเป็นอย่างนั้นเล่า? ในหนังสือเล่มนี้ ผมพยายามคลี่คลายข้อสงสัย บางส่วนเกี่ยวกับข้อจ�ำกัดของสิ่งที่เราอาจคาดหวังได้ในอนาคต โดยผม จะวิเคราะห์เจาะลึกวัสดุทเี่ ป็นความหวังใหม่อนั เรืองรองในสมรภูมนิ ี้ นัน่ คือ กราฟีน (graphene) แนวคิดส�ำคัญเบือ้ งหลังหลักการทางวัสดุศาสตร์ทงั้ หลายคือ การ เปลี่ยนแปลงที่ระดับเล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่านั้นสามารถก่อให้เกิด การเปลีย่ นแปลงพฤติกรรมของวัตถุในระดับทีม่ นุษย์รบั รูไ้ ด้ กระบวนการ เช่นนีเ้ องทีบ่ รรพบุรษุ ของเราบังเอิญค้นพบและใช้เพือ่ สร้างวัสดุใหม่ๆ เช่น ส�ำริดและเหล็กกล้า ถึงแม้วา่ ในเวลานัน้ พวกเขาจะไม่มกี ล้องจุลทรรศน์เพือ่ ตรวจสอบว่าก�ำลังท�ำอะไรกันแน่กต็ าม นีน่ บั เป็นความส�ำเร็จทีน่ า่ อัศจรรย์ใจ เมือ่ คุณตีเหล็ก คุณไม่เพียงเปลีย่ นรูปร่างลักษณะภายนอกของมันเท่านัน้ M a rk M i o d o w n i k
21
แต่คุณก�ำลังเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในตัวโลหะด้วย ถ้าคุณตีเหล็ก เป็น โครงสร้างภายในจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ท�ำให้โลหะแข็งแรง ขึ้น บรรพบุรุษของพวกเราเรียนรู้ข้อเท็จจริงนี้จากประสบการณ์ ถึงแม้ พวกเขาจะไม่รู้สาเหตุที่ท�ำให้เป็นเช่นนั้นก็ตาม ความรู้ที่ค่อยๆ สะสม พอกพูนขึ้นในลักษณะนีเ้ องทีก่ รุยทางให้เราเดินหน้าจากยุคหินสูศ่ ตวรรษ ที่ 20 ก่อนที่ผู้คนจะตระหนักถึงความเข้าใจอันแท้จริงต่อโครงสร้าง ภายในของวัตถุเสียด้วยซ�้ำ ความส�ำคัญของความเข้าใจวัตถุแต่ละชนิด ผ่านประสบการณ์ยังด�ำรงอยู่ไม่เสื่อมคลาย และบรรจุรวบรัดไว้ในวิชา ช่าง เช่น ศาสตร์แห่งการตีเหล็ก จะว่าไปแล้ว พวกเราต่างรู้จักวัสดุใน หนังสือเล่มนีแ้ ทบทั้งหมดอยู่แล้วนะครับ รู้จักพวกมันด้วยมือทั้งสองและ ด้วยสมองของเราเอง ความสัมพันธ์ทเี่ ต็มไปด้วยความรูส้ กึ รูส้ าและเป็นส่วนตัวอย่างยิง่ ระหว่างพวกเรากับสิง่ ของท�ำให้เกิดผลลัพธ์ทนี่ า่ ตืน่ ตาตืน่ ใจ เราหลงใหล ในวัตถุบางชนิดแม้มันจะมีต�ำหนิ และเรารังเกียจเดียดฉันท์วัตถุอื่น ถึงแม้พวกมันจะมีประโยชน์ใช้สอยมากกว่าก็ตาม ลองดูเซรามิกเป็น ตัวอย่างก็ได้ มันเป็นวัสดุแห่งการดื่มกิน เราใช้เซรามิกสร้างจานชาม และถ้วย ไม่มีบ้านหรือร้านอาหารไหนจะสมบูรณ์ได้โดยปราศจากวัสดุ ชนิดนี้ เราใช้มันนับตั้งแต่ต้นยุคเกษตรกรรมเมื่อหลายพันปีที่แล้ว ทว่า เซรามิกนั้นเป็นวัสดุที่บิ่น เปราะ และแตกง่ายมาแต่ไหนแต่ไร แล้วท�ำไม พวกเราไม่เปลีย่ นใจไปใช้วสั ดุทที่ นทานกว่านี้ เช่น พลาสติกหรือโลหะ เพือ่ ท�ำ จานชามแทนกันล่ะ? ท�ำไมเรายังต้องจมปลักอยู่กับเซรามิกแม้ว่ามันจะ มีข้อบกพร่องทางกายภาพเช่นนี้? มีนักวิชาการมากมายจากหลายสาขา วิชาสนใจศึกษาค�ำถามประเภทนี้ ตัง้ แต่นกั โบราณคดีและนักมานุษยวิทยา จนถึงนักออกแบบและศิลปิน รวมไปถึงแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ที่มุ่ง ส�ำรวจความรู้สึกที่พวกเรามีต่อวัตถุอย่างเป็นระบบระเบียบ นั่นคือการ ศึกษาด้านจิตฟิสิกส์ (psychophysics) งานศึกษาในแขนงนี้ได้ค้นพบ สิง่ ทีน่ า่ สนใจหลายอย่าง เช่น การศึกษาเกีย่ วกับ “ความกรุบกรอบ” พบ 22
Stuff Matte r s
ว่าเสียงที่เกิดขึ้นขณะเคี้ยวอาหารมีบทบาทส�ำคัญต่อความเพลิดเพลิน ของพวกเราพอๆ กับรสชาติเลยทีเดียว ความรู้ข้อนี้เป็นแรงบันดาลใจให้ พ่อครัวสร้างสรรค์เมนูอาหารทีเ่ พิม่ ซาวนด์เอฟเฟกต์ลงไป ในขณะเดียวกัน ผู้ผลิตมันฝรั่งทอดบางรายไม่เพียงแค่ท�ำให้ตัวมันฝรั่งทอดกรุบกรอบ มากขึ้นเท่านั้น แต่พวกเขายังเพิ่มเสียงให้กับซองมันฝรั่งทอดด้วย ผม ชวนส�ำรวจแง่มุมด้านจิตฟิสิกส์ของวัตถุไว้ในบทที่เล่าถึงช็อกโกแลต เพื่อ แสดงให้เห็นว่านี่คือปัจจัยส�ำคัญที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมมายาวนานนับ ศตวรรษแล้ว หนังสือเล่มนี้ไม่ได้ตั้งใจจะวางตัวเป็นเรื่องราวการส�ำรวจวัตถุ และความสัมพันธ์ทพี่ วกมันมีตอ่ วัฒนธรรมมนุษย์ทบี่ อกเล่าอย่างครบถ้วน สมบูรณ์แต่ประการใดนะครับ ผมเพียงแค่อยากบอกเล่าถึงวิธีที่พวกมัน ส่งผลต่อชีวิตเรา และพยายามค้นหาค�ำตอบว่าท�ำไมกิจกรรมที่ดูแสนจะ ธรรมดาอย่างนั่งจิบชาบนดาดฟ้ากลับตั้งอยู่บนรากฐานอันซับซ้อนใน เชิงวัตถุอย่างลึกซึ้งเพียงนั้น หากคุณอยากตะลึงพรึงเพริดไปกับสารพัด หนทางที่ประวัติศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุได้ส่งผลต่อวัฒนธรรมของ มนุษย์แล้วละก็ คุณไม่จ�ำเป็นต้องไปถึงพิพิธภัณฑ์หรอกครับ เพราะผล กระทบของพวกมันล้วนอยู่รอบๆ ตัวเรานี่เอง เพียงแต่โดยมากแล้ว เราเลือกที่จะมองข้าม จะว่าไปเราก็จ�ำต้องมองผ่านมันไปบ้างจริงๆ นั่นแหละ เพราะคนอื่นคงเห็นว่าเราบ้าแน่ถ้าเราเฝ้าแต่ใช้เวลาทั้งหมดไล่ เรียวนิว้ ไปตามผนังคอนกรีตแล้วถอนอกถอนใจ แต่ผมคิดว่ายังมีบางช่วง เวลาที่ควรสงวนไว้ส�ำหรับการพินิจพิจารณาในแบบที่ว่า ช่วงเวลาที่ผม ถูกแทงในสถานีรถไฟใต้ดนิ นับเป็นหนึง่ ในนัน้ และผมหวังว่าหนังสือเล่มนี้ จะมอบช่วงเวลาแบบเดียวกันให้กับคุณ
M a rk M i o d o w n i k
23