Talk Like TED • พลอยแสง เอกญาติ แปล จากเรื่อง Talk Like TED: The 9 Public-Speaking Secrets of the World’s Top Minds โดย Carmine Gallo พิมพ์ครั้งแรก : ส�ำนักพิมพ์ op e n w o r l d s , มีนาคม 2558 ราคา 315 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล เลขานุการกองบรรณาธิการ ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ภูมิ นํ้าวล ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว บรรณาธิการศิลปกรรม กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล • บรรณาธิการเล่ม ภูมิ นํ้าวล บรรณาธิการต้นฉบับ บุญชัย แซ่เงี้ยว ฐณฐ จินดานนท์ ออกแบบปก wrongdesign • จัดท�ำโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 604/157 ถ. สาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2 - 6 1 8 - 4 7 3 0 email: openworldsthailand@gmail.com facebook: www.facebook.com/openworlds twitter: www.twitter.com/openworlds_th website: www.openworlds.in.th จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 5 1 - 5 9 9 9 website: http://www.se-ed.com/
สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล หมายเลขโทรศัพท์ 086 403 6451 หรือ Email: openworldsthailand@gmail.com
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ แกลโล, คาร์ไมน์. Talk Like TED -- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2558. 320 หน้า. 1. การพูด. I. พลอยแสง เอกญาติ, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 808.5 I S B N 9 7 8 - 6 1 6 - 7 8 8 5 - 1 3 -1 • Originally published in the English language by HarperCollins Publishers Ltd. under the title TALK LIKE TED Text Copyright © 2014 by Carmine Gallo Published by arrangement with St. Martin’s Press, LLC. Thai language translation copyright © 2015 by Openworlds Publishing House All RIGHTS RESERVED. • The opinions expressed in this book are the author’s. This book is not authorized, licensed, approved, sponsored or endorsed by TED Conferences LLC or any affiliated entities.
ภาพปก: TEDx Somerville, TED-talks-Somerville-2012-0674, www.flickr.com
https://www.flickr.com/photos/tedxsomerville/6821527684/in/photolist-boN8x3-bBJdqK-boNc6G-boPdm7-bBJmM6-bBH7CaboNcsY-boNbks-boPhyY-boN775-boPqkw-boPq4w-boNa8Q-boPjcj-boPeGY-boPiX5-bBFaE8-boPeoN-boPqTb-boPiK9-bBH1KzboLDSy-bBJcQZ-bBJbhP-bBJbRe-boNaV5-boPdEq-bBJa8k-boN7wh-boPjxu-bBJ88K-bBFt3v-bBJjiF-bBFtna-bBBcfZ-bBH3YkboNavy-bBJmtr-bBJdEF-bBJKmp-boPe2o-boN7Rm-boN9J7-bBJPWz-bBGydM-boLUE7-bBJyWr-bBJrqz-boNEV1-bBJ4S6
สารบัญ t ค�ำน�ำผู้แปล 6 กิตติกรรมประกาศ 10 บทน�ำ: ความคิดคือเงินตราแห่งศตวรรษที่ 21 16 • I เข้าถึงอารมณ์ 1. ปลดปล่อยผู้เชี่ยวชาญในตัวคุณ 32 2. ฝึกศิลปะการเล่าเรื่องให้เชี่ยวชาญ 64 3. พูดให้เหมือนบทสนทนา 104 • II แปลกใหม่ 4. สอนเรื่องใหม่ให้ฉันได้รู้ 144
5. สร้างช่วงเวลาชวนอ้าปากค้าง 172 6. ผ่อนคลาย 200 • III น่าจดจ�ำ 7. ยึดมั่นในกฎ 18 นาที 228 8. วาดภาพในใจด้วยประสบการณ์หลากผัสสะ 250 9. เดินในทางของตน 292 หมายเหตุจากผู้เขียน 302 บรรณานุกรม 304 รู้จักผู้เขียน 318 รู้จักผู้แปล 319
ค�ำน�ำผู้แปล t
ขอสารภาพไว้ตรงนีเ้ ลยว่าผูแ้ ปลไม่ชอบพูดในทีส่ าธารณะ เรียกว่า กลัวเลยก็ได้ ทุกครั้งที่ต้องพูดต่อหน้าคนเยอะๆ ผู้แปลจะนึกย้อนไปถึง สมัยเรียนชั้นประถมศึกษาเมื่อครูแจ้งว่าสัปดาห์หน้าจะมีการฉีดวัคซีน ผู้แปลกลัวการฉีดวัคซีนมากและมีความรู้สึกสองอย่างตีกันอยู่ในใจเสมอ ใจหนึง่ ไม่อยากให้วนั นัน้ มาถึง อีกใจอยากให้มาถึงเร็วๆ จะได้ผา่ นไปเสียที ปัจจุบันเมื่อรู้ว่าต้องพูดต่อหน้าคนมากๆ ก็รู้สึกแบบนั้นอีกครั้ง ใจหนึ่ง ไม่อยากให้ถึงวันที่ต้องพูด อีกใจอยากให้มาถึงเร็วๆ จะได้ผ่านไปเสียที ไม่รู้สึกสนุกแม้แต่น้อยนิด มีแต่กลัวและอยากให้ผ่านไป พอวันนี้ต้องมา แปลหนังสือเกีย่ วกับการพูดในทีส่ าธารณะ ใจหนึง่ รูส้ กึ ว่าสวรรค์กลัน่ แกล้ง กันชัดๆ อีกใจหนึ่งอยากแปลให้จบเร็วๆ จะได้ผ่านไปเสียที แต่พอแปล เข้าจริงกลับดีใจที่ได้แปล ผู้เขียนคือ คาร์ไมน์ แกลโล (Carmine Gallo) เป็นอดีตนักข่าว ผูผ้ นั ตัวมาเป็นโค้ชสอนการพูดให้นกั บริหาร อีกทัง้ ยังเป็นนักเขียนหนังสือ ขายดีอย่าง ประสบการณ์จากแอปเปิล (The Apple Experience) และ เคล็ดลับการน�ำเสนอของ สตีฟ จอบส์ (The Presentation Secrets of Steve Jobs) เป็นต้น เขาน�ำประสบการณ์ที่สะสมมา บวกกับการดูและ 6
Talk Like T ED
วิเคราะห์การน�ำเสนอ TED อย่างละเอียดมาเขียนเป็นเคล็ดลับ 9 ประการ ส�ำหรับการพูดในที่สาธารณะให้ได้ดีอย่างนักพูดของ TED เคล็ดลับ แต่ละข้อมาพร้อมค�ำอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์และตัวอย่างประกอบจาก นักพูดคนดังของ TED บางครั้งก็มีตัวอย่างจากนักพูดเก่งๆ นอกเวที TED ด้วย ผู้แปลเชื่อว่าจะมีประโยชน์หากผู้อ่านได้ชมการน�ำเสนอทาง เว็บไซต์ TED.com ประกอบการอ่านเพื่อความเข้าใจที่กระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น การน�ำเสนอหลายชุดมีผแู้ ปลเป็นภาษาไทยแล้ว อย่างไรก็ตาม เนือ้ หาของ การน�ำเสนอที่ยกมาในหนังสือเล่มนี้เป็นส�ำนวนแปลของผู้แปลเอง ไม่ได้ คัดลอกจากบทแปลในเว็บไซต์แต่อย่างใด สุดท้ายนี้ผู้แปลขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์สที่ให้ผู้แปล ได้เปลี่ยนมุมคิดที่มีต่อการพูดในที่สาธารณะ ขอบคุณทีมงานทุกคน ขอบคุณครอบครัวของผูแ้ ปลเอง ขอบคุณผูอ้ า่ น และขอบคุณผูเ้ ขียนทีช่ ว่ ย ให้ผแู้ ปลหูตาสว่างขึน้ อีกทัง้ สัน่ น้อยลงเมือ่ ต้องพูดต่อหน้าคนจ�ำนวนมาก หากหนังสือเล่มนี้มีประโยชน์ส�ำหรับคนที่ไม่ชอบการพูดในที่ สาธารณะเลย มันจะมีประโยชน์ขนาดไหนส�ำหรับคนที่ชอบหรือสนใจ ในด้านนี้ แล้วก็อย่างที่ผู้เขียนบอกไว้ว่า คุณไม่จ�ำเป็นต้องขึ้นเวที TED ก็ใช้ประโยชน์จากเคล็ดลับการพูดเหล่านี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการน�ำเสนองาน ในที่ประชุม รายงานหน้าชั้น สัมภาษณ์งาน สัมภาษณ์สื่อ หรือแม้แต่การ พูดคุยกับคนอื่นในชีวิตประจ�ำวัน คุณต้องน�ำเสนอข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ดังนั้นหากรู้เคล็ดลับการพูดแบบมืออาชีพไว้ ต้องมีประโยชน์อย่างแน่นอน
พลอยแสง เอกญาติ มีนาคม 2558 C a rm i n e G a l l o
7
แด่วาเนสซา ด้วยรักและขอบคุณ
กิตติกรรมประกาศ t
การน� ำ เสนอชั้ น ยอดต้ อ งอาศั ย คณะบุ ค คลให้ ค� ำ แนะน� ำ แรง สนับสนุน และทักษะ การเขียนและตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งก็ไม่ต่างกัน มันเป็นงานที่ต้องอาศัยความพยายามเป็นหมู่คณะมากทีเดียว ที ม งานส� ำ นั ก พิ ม พ์ เ ซนต์ ม าร์ ติ น ส์ ย อดเยี่ ย มอย่ า งแท้ จ ริ ง บรรณาธิการของผม แมตต์ มาร์ตซ์ หลงใหลหัวข้อนี้ตั้งแต่ต้นเช่นเดียว กับผม เราคิดใน “แนวทางเดียวกัน” ตลอดกระบวนการท�ำงานทั้งหมด ทั้ ง ค� ำ แนะน� ำ ความคิด เห็น และการตัด สิน ใจของเขาช่วยให้ผ มวาง โครงสร้าง พูดแบบ TED (Talk Like TED) ออกมาเป็นเรื่องเล่าที่ผม เชื่อว่าผู้อ่านจะได้สาระประโยชน์ ได้ค�ำแนะน�ำ สร้างแรงบันดาลใจ และ อ่านสนุก ผมอยากขอบคุณอีกหลายท่านในส�ำนักพิมพ์เซนต์มาร์ตินส์ ผูก้ ระตือรือร้นร่วมไปกับผมในโครงการนี้ นีไ่ ม่ใช่รายชือ่ ทีแ่ จกแจงละเอียด ครบถ้วน แต่ผมก็อยากขอบคุณบุคคลเหล่านี้เป็นพิเศษ ผมขอขอบคุณ แซลลี ริชาร์ดสัน, แดน ไวส์, ลอรา คลาร์ก, มิเชล แคชแมน, แมรีแอนา โดนาโต, ไมเคิล โฮก, แครี นอร์ดลิง, คริสตี ดากอสตินี รวมทั้ง โรเบิร์ต อัลเลน และทีมงานผู้ทุ่มเทแห่งแมกมิลลันออดิโอ โรเจอร์ วิลเลียมส์ ตัวแทนของผมในการติดต่อกับส�ำนักพิมพ์และ 10
Talk L ike TED
ผู้อ�ำนวยการบริหารที่นิวอิงแลนด์พับลิชชิงแอสโซซิเอตส์ เป็นมากกว่า เพือ่ นร่วมงาน เขาเป็นทัง้ เพือ่ นผูไ้ ว้ใจได้ ทีป่ รึกษา และผูด้ แู ลให้คำ� แนะน�ำ ขอบคุณค�ำแนะน�ำและแรงบันดาลใจที่มีให้ผมเสมอมานะครับ โรเจอร์ ตัวแทนด้านการพูดของผมทีไ่ บรต์ไซต์กรุป๊ ทัง้ ทอม นีลเซน และ เลส เทิรก์ ควรได้รบั ค�ำขอบคุณเป็นพิเศษ พวกเขาจุดประกายให้ผมแบ่งปัน ความคิดผ่านการน�ำเสนอหัวข้อหลักตามงานสัมมนา การประชุม และงาน ส�ำคัญต่างๆ ผมจะไม่มีวันลืมมิตรภาพและค�ำแนะน�ำอันยอดเยี่ยมของ พวกเขา ไบรต์ไซต์เองก็อาศัยการท�ำงานของทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มุ่งมั่น และเก่งกาจ ผมขอขอบคุณพวกเขาทุกคน ทั้ง ซินเธีย ซีโต, คริสทีน ไทช์มานน์, เจฟฟ์ ไลกส์, มิเกเล ดิลิซิโอ และ มาร์จ เฮนเนสซี แคโรลีน คิลเมอร์ ผู้จัดการชุมชนที่แกลโลคอมมิวนิเคชันส์ เป็น แฟนตัวยงของการน�ำเสนอ TED และทุ่มเทกับการวิจัยเรื่องนี้อย่าง กระตือรือร้น เธอดูการน�ำเสนอหลายเรือ่ งนับไม่ถว้ นเพือ่ ช่วยจัดหมวดหมู่ การพูด หัวข้อ และเทคนิค งานของแคโรลีนช่วยวางโครงสร้างให้กบั ข้อมูล มากมายที่เราต้องใช้เพื่อการวิเคราะห์ ผมภูมิใจเป็นพิเศษกับวิทยาศาสตร์ขั้นลึกที่อยู่เบื้องหลังเทคนิค ทุกข้อ แต่ละข้อต่างให้ผลสัมฤทธิ์เพราะอิงพื้นฐานจากการท�ำงานรวมถึง การประมวลผลและการจดจ�ำข้อมูลของสมอง เพือ่ นของผม แดนนี มอร์นงิ ผู้เป็นทนายและอดีตผู้ช่วยวิจัยด้านการสื่อสาร ช่วยสะท้อนความคิดเห็น และบ่อยครั้งช่วยชี้ทางที่ถูกให้ผม นัดหมายให้ผมได้พบกับนักวิจัยหรือ แนะน�ำบทความทางวิชาการใหม่ๆ ในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง แดนนีหลงใหล ในการสือ่ สารความคิดอย่างยิง่ และผมก็ขอขอบคุณเขาทีแ่ บ่งปันความรูใ้ ห้ ค�ำขอบคุณที่ส�ำคัญสุดต้องสงวนไว้ให้ภรรยาของผม วาเนสซา แกลโล เธอท�ำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อช่วยหนุนเสริมเนื้อหาใน หนังสือเล่มนี้ เธอค้นคว้าอย่างละเอียด ตรวจแก้ต้นฉบับก่อนส่ง และดู การน�ำเสนอ TED อยูห่ ลายชัว่ โมง ความสามารถในการเขียนและตรวจแก้ C a rm i n e G a l l o
11
ของเธอประเมิ น ค่ ามิได้ ภูมิหลังของวาเนสซาในการเป็นผู้สอนวิชา จิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโกสเตตช่วยให้เราวิเคราะห์ผู้พูด ในด้านภาษากาย ท่าทาง และการถ่ายทอดถ้อยความได้ ความเชื่อมั่น แน่วแน่ไม่สั่นคลอนของเธอในหัวข้อนี้ตลอดจนคุณค่าจากแนวคิดเหล่านี้ ช่วยเติมเชือ้ ไฟให้แก่ความมุง่ มัน่ หลงใหลของผมทุกวัน ผมไม่รจู้ ริงๆ ว่าเธอ บริหารธุรกิจของเราและดูแลโจเซฟีนกับเลลาลูกสาวของเราไปพร้อมกัน ได้อย่างไร แต่เธอก็ท�ำทุกอย่างได้อย่างมืออาชีพ เธอเป็นแรงบันดาลใจ ให้ผมโดยแท้จริง ขอขอบคุณเป็นพิเศษส�ำหรับครอบครัวของผมที่คอยสนับสนุน ทัง้ ทีโน, ดอนนา, ฟรานเชสโก, นิก, เคน และแพตตี อีกทัง้ จูเซปปินาแม่ของ ผมจะอยู่ในพื้นที่พิเศษในหัวใจผมตลอดไป เคียงคู่กับฟรังโก พ่อผู้ล่วงลับ ไปแล้วที่สอนผมเรื่องศรัทธา ความกล้าหาญ และความมุ่งมั่น
12
Talk L ike TED
Talk Like TED: The 9 Public-Speaking Secrets of the World’s Top Minds
. by
Carmine Gallo
แปลโดย
พลอยแสง เอกญาติ
บทน�ำ t
ความคิดคือเงินตราแห่งศตวรรษที่ 21
ผมคือเครื่องจักรการเรียนรู้ และนี่คือสถานที่ให้เรียนรู้
16
Talk L ike TED
โทนี รอบบินส์ งาน TED ปี 2006
ความคิดคือเงินตราแห่งศตวรรษที่ 21 คนบางคนเก่งเรื่องการ น�ำเสนอความคิดเป็นพิเศษ ทักษะของพวกเขาช่วยยกระดับสถานะและ อิทธิพลของตนในสังคมปัจจุบัน ไม่มีอะไรสร้างแรงบันดาลใจได้ดีไปกว่า ความคิดเฉียบคมทีน่ ำ� เสนอโดยผูพ้ ดู ชัน้ ยอด ความคิดหากได้รบั การจัดการ และน�ำเสนออย่างมีประสิทธิผลก็อาจเปลี่ยนโลกได้ ดังนั้นไม่วิเศษหรอก หรือหากเราจะได้รู้เทคนิคเฉพาะที่นักสื่อสารชั้นน�ำระดับโลกใช้กัน ได้ดู พวกเขาน�ำเสนอชนิดที่ท�ำให้อ้าปากค้าง และน�ำเคล็ดลับเหล่านั้นมาเอา ชนะใจผู้ฟังบ้าง? ตอนนี้คุณได้โอกาสนั้นแล้ว ต้องขอบคุณงานสัมมนา ชื่อดังระดับโลกอย่าง TED ที่น�ำการน�ำเสนอชั้นเลิศมาเผยแพร่ให้ชมทาง อินเทอร์เน็ตโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งต้องขอขอบคุณข้อมูลจากการ วิเคราะห์การน�ำเสนอ TED หลายร้อยครัง้ ในเชิงวิทยาศาสตร์ การสัมภาษณ์ โดยตรงกับผูพ้ ดู ทีไ่ ด้รบั ความนิยมสูงสุดของ TED และความรูค้ วามเข้าใจ ของผมเองจากประสบการณ์หลายปีในการฝึกสอนผู้น� ำนักสร้างแรง บันดาลใจของแบรนด์ชั้นน�ำระดับโลก พูดแบบ TED (Talk Like TED) คือหนังสือส�ำหรับใครก็ตามที่ ต้องการพูดด้วยความมั่นใจและน่าเชื่อถือมากขึ้น เหมาะส�ำหรับทุกคนที่ C a rm i n e G a l l o
17
ต้องน�ำเสนองาน ขายผลิตภัณฑ์และบริการ หรือเป็นผูน้ ำ� กลุม่ คนทีต่ อ้ งการ แรงบันดาลใจ หากคุณมีความคิดทีค่ วรค่าแก่การแบ่งปัน เทคนิคในหนังสือ เล่มนีจ้ ะช่วยให้คณ ุ ออกแบบและน�ำเสนอความคิดเหล่านัน้ ได้จงู ใจมากกว่า ที่คุณเคยนึกฝัน เดือนมีนาคม 2012 ไบรอัน สตีเวนสัน (Bryan Stevenson) ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนบรรยายให้ผู้ฟัง 1,000 คนที่มาร่วมงาน สัมมนาประจ�ำปีของ TED ที่ลองบีช แคลิฟอร์เนีย ผู้ฟังยืนปรบมือให้เขา ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ TED การน�ำเสนอครั้งนั้นมีผู้ชมเกือบ 2 ล้านครั้งทางอินเทอร์เน็ต เป็นเวลา 18 นาทีที่สตีเวนสันตรึงผู้ฟังเอาไว้ ด้วยการเข้าถึงความคิดและหัวใจของพวกเขา สูตรนีไ้ ด้ผล สตีเวนสันบอก ผมว่าผูฟ้ งั ในวันนัน้ บริจาคเงินรวมกัน 1 ล้านดอลลาร์ให้หน่วยงานไม่แสวง ก�ำไรของเขาที่ชื่อองค์กรริเริ่มความยุติธรรมเพื่อความเท่าเทียม (Equal Justice Initiative) คิดเป็นนาทีละกว่า 55,000 ดอลลาร์ทีเดียว สตีเวนสันไม่ได้ใช้โปรแกรมพาวเวอร์พอยต์ (PowerPoint) ประกอบการน�ำเสนอ เขาไม่ได้ฉายภาพ ฉายสไลด์ หรือใช้อปุ กรณ์ประกอบ ใดๆ พลังในการเล่าเรื่องต่างหากที่เป็นหัวใจส�ำคัญ แต่ผู้พูดของ TED ที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มบางคนก็ ใ ช้ พ าวเวอร์ พ อยต์ เ พื่ อ เสริ ม พลั ง ให้ แ ก่ ผลสะเทือนจากการบรรยาย ในเดือนมีนาคม 2011 ศาสตราจารย์เดวิด คริ ส เตี ย น (David Christian) เริ่ ม เคลื่ อ นไหวผลั ก ดั น ให้ มี ก ารสอน “ประวัติศาสตร์ภาพใหญ่” (Big History) ในโรงเรียนหลัง TED talk ความยาว 18 นาทีอันตราตรึงใจโดยใช้สไลด์ภาพน่าติดตามและกราฟิก น่าทึ่งเป็นตัวเสริม “ประวัติศาสตร์ภาพใหญ่” สอนนักเรียนว่าโลกเรามี วิวฒ ั นาการอย่างไรและอยูแ่ ห่งหนใดในเอกภพ การน�ำเสนอของคริสเตียน ซึ่งครอบคลุมประวัติศาสตร์ 13,000 ล้านปีในเวลาแค่ 18 นาทีมีผู้ชมกว่า 1 ล้านครั้งแล้ว คริสเตียนกับสตีเวนสันมีรปู แบบการน�ำเสนอทีต่ า่ งกันหากดูเผินๆ 18
Talk L ike TED
คุณจะได้อา่ นเรือ่ งของพวกเขาทัง้ คูใ่ นหนังสือเล่มนี้ คนหนึง่ เล่าเรือ่ ง อีกคน น�ำเสนอข้อมูลเป็นภูเขาเลากาพร้อมสไลด์ซงึ่ เต็มไปด้วยรูปภาพ แต่กระนัน้ ทัง้ คู่กจ็ ับใจผูฟ้ ัง ให้ความบันเทิง และสร้างแรงบันดาลใจ เพราะพวกเขามี เคล็ดลับ 9 ประการร่วมกัน พวกเขาเข้าใจศาสตร์และศิลป์ของการจูงใจ หลังจากวิเคราะห์การน�ำเสนอ TED กว่า 500 ชุด (รวมเวลากว่า 150 ชั่วโมง) และพูดคุยโดยตรงกับผู้พูดของ TED ที่ประสบความส�ำเร็จ ผมก็คน้ พบว่าการน�ำเสนอทีไ่ ด้รบั ความนิยมสูงสุดของ TED มีองค์ประกอบ ร่วมกัน 9 ประการ ผมยังสัมภาษณ์นักประสาทวิทยา นักจิตวิทยา และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารชั้นน�ำระดับโลกเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าเหตุใด แนวคิ ด ซึ่ ง เป็ น พื้ น ฐานขององค์ ป ระกอบเหล่ า นี้ ถึ ง ได้ มี ค วามส� ำ คั ญ สิ่งส�ำคัญเหนืออื่นใดคือเมื่อคุณเรียนรู้เคล็ดลับที่นักสื่อสารเหล่านี้แบ่งปัน แล้ว คุณสามารถน�ำไปใช้และสร้างความโดดเด่นในการน�ำเสนอความคิด หรือการบรรยายครั้งต่อไป ผมใช้เทคนิคเหล่านี้มาหลายปีในการฝึกสอน ซีอโี อ นักลงทุน และผูน้ ำ� ทีค่ ดิ ค้นผลิตภัณฑ์หรือบริหารบริษทั ซึง่ เกีย่ วข้อง กับชีวติ ประจ�ำวันของพวกคุณ แม้คณ ุ อาจไม่มโี อกาสได้พดู ในงานสัมมนา ของ TED แต่หากต้องการประสบความส�ำเร็จในธุรกิจ คุณก็ควรน�ำเสนอ ได้อย่างมีคุณภาพระดับ TED การน�ำเสนอเช่นนี้จะสะท้อนถึงแนวทาง ที่ชัดเจน สดใหม่ ร่วมสมัย และตราตรึงใจ ซึ่งจะช่วยให้คุณชนะใจผู้ฟัง
ความคิดที่ควรค่าแก่การเผยแพร่ ริชาร์ด ซอล เวอร์แมน (Richard Saul Wurman) ริเริ่มจัดงาน สัมมนา TED ในปี 1984 โดยเป็นงานแบบจัดครั้งเดียวเลิก แต่แล้ว 6 ปี ต่อมาก็กลับมาจัดใหม่ในรูปงานสัมมนา 4 วันทีม่ อนเทอร์เรย์ แคลิฟอร์เนีย เมื่อผู้เข้าร่วมงานจ่ายเงิน 475 ดอลลาร์ก็จะได้รับชมการบรรยายอัน หลากหลายในหัวข้อที่ครอบคลุมด้านเทคโนโลยี ความบันเทิง และ C a rm i n e G a l l o
19
การออกแบบ (TED) คริส แอนเดอร์สัน (Chris Anderson) เจ้าของ นิตยสารเทคโนโลยีซื้องานสัมมนานี้ในปี 2001 และย้ายไปจัดที่ลองบีช แคลิฟอร์เนียในปี 2009 ต่อมาในปี 2014 งานสัมมนา TED ก็เริ่มจัดใน แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นความนิยมที่เพิ่มขึ้นใน ระดับนานาชาติ ก่อนปี 2005 งานสัมมนา TED จัดแค่ปลี ะครัง้ ครัง้ ละ 4 วัน มีผพู้ ดู 50 คน ให้เวลาพูดคนละ 18 นาที แต่ในปี 2005 แอนเดอร์สนั แตกยอดเพิม่ งานสัมมนาในเครือเดียวกันชื่อ TEDGlobal เพื่อให้เข้าถึงผู้ชมนานาชาติ ในปี 2009 องค์กรนี้ก็เริ่มออกใบอนุญาตให้หน่วยงานอื่นสามารถจัดงาน TEDx ของตนเองในระดับชุมชนได้ ภายใน 3 ปีก็มีการบรรยายจากงาน TEDx รอบโลกถึง 16,000 ครั้ง ปัจจุบันมีการจัดงาน TEDx 5 งานต่อวัน ในกว่า 130 ประเทศ นอกเหนือจากการเติบโตอย่างน่าตืน่ ตาในธุรกิจสัมมนา ผูพ้ ดู จาก TED ยังเป็นทีร่ จู้ กั ของผูช้ มทัว่ โลกในวงกว้างขึน้ ผ่านการเปิดตัว TED.com ในเดือนมิถุนายน 2006 เว็บไซต์ดังกล่าวเผยแพร่การบรรยาย 6 ครั้งเพื่อ ทดลองตลาด หกเดือนต่อมาแม้เว็บไซต์จะเผยแพร่การบรรยายไปแค่ 40 หัวเรื่องเท่านั้น แต่กลับดึงดูดผู้คนให้เข้าไปชมกว่า 3 ล้านครั้ง เห็นได้ชัด ว่าโลกทั้งในอดีตและปัจจุบันล้วนโหยหาความคิดดีๆ ที่น�ำเสนอด้วยวิธี น่าสนใจ ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2012 การน�ำเสนอทีเ่ ผยแพร่ผา่ นเว็บไซต์ TED.com มีผู้ชมถึง 1 พันล้าน ครั้ง และตอนนี้ก็มีผู้ชมในอัตรา 1.5 ล้าน ครั้งต่อวัน มีการแปลวิดีโอถึง 90 ภาษา และในทุกวินาทีของแต่ละวัน จะมีคนรับชมการบรรยายของ TED 17 ครั้ง คริส แอนเดอร์สัน บอกว่า “มันเคยเป็นแค่คน 800 คนมาเจอกันปีละครั้ง ตอนนี้แต่ละวันมีผู้ชม ประมาณ 1 ล้านคนดู TED talk ผ่านอินเทอร์เน็ต ตอนแรกที่เราทดลอง เผยแพร่การบรรยายไปสองสามหัวเรื่อง ก็ได้รับการตอบสนองน่าพอใจ 20
Talk L ike TED
เราเลยตัดสินใจปฏิวัติองค์กรและเลิกคิดว่าเราเป็นแค่งานสัมมนา แต่เรา คือ ‘ความคิดที่ควรค่าแก่การเผยแพร่’ (ideas worth spreading) เราสร้าง เว็บไซต์ขนาดใหญ่ตามแนวคิดหลักนี้ งานสัมมนายังคงเป็นเครื่องยนต์ ขับเคลื่อน แต่เว็บไซต์เป็นเครื่องขยายที่พานานาความคิดไปสู่โลก”1 TED talk 6 ชุดแรกที่มีการเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตถือเป็น การบรรยายคลาสสิกในหมู่แฟนๆ ผู้เรียกตัวเองอย่างน่ารักว่า “TEDster” (เท็ดสเตอร์) ผู้พูดในการบรรยายเหล่านั้นมีทั้ง อัล กอร์ (Al Gore) เซอร์ เคน โรบินสัน (Ken Robinson) และ โทนี รอบบินส์ (Tony Robbins) บางคนใช้สไลด์ประกอบการน�ำเสนอตามขนบ บางคนก็ไม่ใช้ ทว่าทุกคน บรรยายได้เร้าอารมณ์ แปลกใหม่ และน่าจดจ�ำ ทุกวันนี้ TED กลายเป็น เวทีทรงอิทธิพล ทั้งนักแสดงและนักดนตรีคนดังต่างอยากขึ้นเวที TED เมื่อมีความคิดที่ต้องการเผยแพร่ และไม่กี่วันหลังได้รับรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเรื่อง Argo เบน แอฟเฟล็ก (Ben Affleck) ก็มาปรากฏตัวในงานสัมมนา TED ที่ลองบีชเพื่อพูดเรื่องการท�ำงาน ของเขาในคองโก ก่อนหน้านัน้ ในสัปดาห์เดียวกัน โบโน (Bono) นักร้องวง U2 ก็น�ำเสนอเรื่องความส�ำเร็จของโครงการต่อต้านความยากจนทั่วโลก เมื่อคนดังตั้งใจจะท�ำอะไรบางอย่างก็มาขึ้นเวที TED เชอริล แซนด์เบิร์ก (Sheryl Sandberg) ประธานฝ่ายปฏิบตั กิ ารของเฟซบุก๊ เขียนหนังสือขายดี ชือ่ ก้าวไปข้างหน้า (Lean In) หลังจากเธอน�ำเสนอกับ TED หัวข้อเกีย่ วกับ ผู้หญิงในที่ท�ำงานซึ่งมีผู้เข้าชมผ่าน TED.com อย่างรวดเร็วมากเป็น ประวัติการณ์ การน�ำเสนอ TED เปลี่ยนวิธีมองโลกของคนและเป็นฐาน ออกตัวของการเคลื่อนไหวด้านศิลปะ การออกแบบ ธุรกิจ การศึกษา สุขภาพ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และปัญหาระดับโลก แดฟนี ซูนิกา (Daphne Zuniga) นักสร้างภาพยนตร์สารคดีมาร่วมงานสัมมนาในปี 2006 เธอเรียกงานนีว้ า่ เป็น “การชุมนุมทีน่ กั ลงทุน นักออกแบบ นักวิทยาศาสตร์ และศิลปินแถวหน้าของโลกมาน�ำเสนอแนวคิดใหม่นา่ สนใจในแบบทีเ่ รียก C a rm i n e G a l l o
21
ได้อย่างเดียวว่าเป็นดัง่ คณะละครสัตว์ซรี ก์ ดู โซเลย์ ทีใ่ ห้ปญ ั ญา”2 เธอบอก ว่าไม่มีงานไหนเหมือนงานนี้ “เป็น 4 วันของการเรียนรู้ ความหลงใหล และแรงบันดาลใจ...กระตุ้นความคิด แต่ฉันคาดไม่ถึงเลยว่าการได้รับฟัง ความคิดทั้งหลายในงานจะท�ำให้หัวใจของฉันสั่นคลอนไปด้วย” โอปราห์ วินฟรีย์ (Oprah Winfrey) เคยพูดไว้อย่างกระชับยิง่ กว่าว่า “TED คือสถานที่ ซึ่งคนเก่งๆ มาฟังคนเก่งคนอื่นๆ แบ่งปันความคิด”
เคล็ดลับการน�ำเสนอของ สตีฟ จอบส์ ผมอยู่ในสถานะที่ไม่เหมือนใครในการวิเคราะห์การน�ำเสนอของ TED ผมเคยเขียนหนังสือเรื่อง เคล็ดลับการน�ำเสนอของ สตีฟ จอบส์ (The Presentation Secrets of Steve Jobs) ซึ่งกลายเป็นหนังสือขายดี ระดับนานาชาติ เป็นทีร่ กู้ นั ดีวา่ ซีอโี อคนดังๆ น�ำหลักการทีเ่ ผยไว้ในหนังสือ เล่มนั้นไปใช้ และคนในสายอาชีพต่างๆ หลายแสนคนรอบโลกก็ใช้วิธี เหล่านั้นเพื่อเปลีย่ นการน�ำเสนอของตน ผมรู้สึกยินดีอย่างยิง่ ทีม่ ีคนสนใจ หนังสือของผมมากขนาดนั้น แต่ก็อยากย�้ำให้ผู้อ่านมั่นใจว่าเทคนิค ที่ผมพูดถึงในหนังสือเล่มนั้นไม่ใช่สิ่งที่ สตีฟ จอบส์ ใช้แต่เพียงผู้เดียว บุรษุ ผูร้ ว่ มก่อตัง้ บริษทั แอปเปิลและผูม้ องการณ์ไกลในด้านเทคโนโลยีคนนี้ แค่บังเอิญเชี่ยวชาญในการน�ำเทคนิคเหล่านั้นมาใช้ร่วมกัน และมันก็เป็น เทคนิคที่ “มีความเป็น TED” อย่างยิ่ง ในหนังสือเล่มนัน้ ผมจุดประเด็นว่าสุนทรพจน์อนั โด่งดังของ สตีฟ จอบส์ ในพิ ธี ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาของบั ณ ฑิ ต มหาวิ ท ยาลั ย สแตนฟอร์ ด เมื่อปี 2005 เป็นตัวอย่างอันยอดเยี่ยมที่แสดงถึงความสามารถในการ สะกดผู้ชม ตลกดีที่สุนทรพจน์ครั้งนั้นคือหนึ่งในวิดีโอที่ได้รับความนิยม สูงสุดใน TED.com แม้มันจะไม่ใช่ TED talk อย่างเป็นทางการ แต่ก็มี องค์ประกอบแบบเดียวกับการน�ำเสนอ TED ที่ดีที่สุด แถมยังมีผู้เข้าชม กว่า 15 ล้านครั้งแล้ว 22
Talk L ike TED
“เวลาของคุ ณ มี จ� ำ กั ด ดั ง นั้ น อย่ า เสี ย มั น ไปกั บ การใช้ ชี วิ ต ตามแบบคนอื่น3 อย่าติดอยู่กับความเชื่อตามแบบแผนซึ่งเป็นการใช้ชีวิต ตามผลลัพธ์จากการคิดของคนอืน่ ” จอบส์บอกเหล่าบัณฑิต “อย่าปล่อยให้ เสียงจากความคิดคนอืน่ กลบเสียงภายในตัวคุณ สิง่ ส�ำคัญทีส่ ดุ คือจงกล้าที่ จะท�ำตามหัวใจและสัญชาตญาณ อย่างไรเสียพวกมันก็รอู้ ยูแ่ ล้วว่าแท้จริง คุณต้องการเป็นอะไร” ค�ำพูดของจอบส์คอื ค�ำพูดทีส่ ง่ ตรงถึงคนประเภทที่ ก้าวตามการน�ำเสนอของ TED คนเหล่านี้คือผู้แสวงหา พวกเขาพร้อมจะ เรียนรูแ้ ละไม่พอใจกับสถานะเดิมๆ พวกเขาก�ำลังมองหาแรงบันดาลใจและ ความคิดใหม่ๆ ที่ขับเคลื่อนโลกไปข้างหน้า เมื่อฟัง สตีฟ จอบส์ คุณจะได้ เรียนรูเ้ ทคนิคจากผูเ้ ชีย่ วชาญคนหนึง่ แต่เมือ่ อ่าน พูดแบบ TED คุณจะได้ เรียนรู้ทุกอย่าง
เดล คาร์เนกี ส�ำหรับศตวรรษที่ 21 พูดแบบ TED ลงลึกในศาสตร์แห่งการสื่อสารมากกว่าหนังสือ เล่มใดๆ ในตลาดทุกวันนี้ มันแนะน�ำคุณให้รู้จักกับชายหญิงผู้เป็นนัก วิทยาศาสตร์ นักเขียน นักการศึกษา นักสิ่งแวดล้อม และผู้น�ำที่มีชื่อเสียง พวกเขาเหล่านี้ต่างเตรียมและน�ำเสนอการบรรยายครั้งส�ำคัญในชีวิต การน�ำเสนอทุกชุดในจ�ำนวนกว่า 1,500 ชุดที่ชมได้ฟรีทางเว็บไซต์ TED จะสอนบางอย่างเกี่ยวกับการพูดในที่สาธารณะให้คุณ เมื่อผมเริ่มคิดว่าจะเขียนหนังสือเกี่ยวกับเคล็ดลับการพูดแบบ TED ผมก็วาดภาพว่ามันคงเป็นหนังสือแนว เดล คาร์เนกี ส�ำหรับ ศตวรรษที่ 21 คาร์เนกี (Dale Carnegie) เริ่มเขียนหนังสือสอนการพูด ในที่สาธารณะและพัฒนาตนเองส�ำหรับผู้อ่านในวงกว้างเล่มแรกเมื่อปี 1915 ชื่อ ศิลปะการพูดในที่สาธารณะ (The Art of Public Speaking) ความเข้าใจในศาสตร์นขี้ องคาร์เนกีจดั ว่าไร้ทตี่ ิ เขาแนะน�ำให้พดู สัน้ เข้าไว้ และบอกว่าเรื่องเล่าคือวิธีทรงพลังในการเข้าถึงความรู้สึกของผู้ฟัง เขา C a rm i n e G a l l o
23
แนะน�ำการใช้เครือ่ งมือในเชิงวาทศิลป์อย่างอุปมาและความเปรียบ คาร์เนกี พูดถึงอุปกรณ์ช่วยให้เห็นภาพก่อนหน้าจะมีการคิดค้นพาวเวอร์พอยต์ ถึง 75 ปี เขาเข้าใจความส�ำคัญของความกระตือรือร้น การฝึกฝน และ การน�ำเสนอที่ทรงพลังเพื่อสัมผัสใจผู้คน ทุกสิ่งที่คาร์เนกีแนะน�ำไว้ในปี 1915 ยังคงเป็นพื้นฐานการสื่อสารที่ได้ผลมาจนถึงทุกวันนี้ ถึงคาร์เนกีจะมาถูกทาง แต่เขากลับไม่มีอุปกรณ์แบบที่มีใน ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ที่ใช้เทคนิค fMRI (functional magnetic resonance imaging - การสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก) สามารถ สแกนสมองของคนเพื่อดูว่าบริเวณไหนที่มีการใช้งานเมื่อเจ้าตัวท�ำกิจ เฉพาะบางอย่าง เช่น ขณะพูดหรือฟังคนอื่น เทคโนโลยีนี้และเครื่องมือ วิทยาศาสตร์สมัยใหม่อื่นๆ น�ำไปสู่การศึกษามากมายหลายเรื่องในด้าน การสื่อสาร ความลับที่เผยตัวอยู่ในหนังสือเล่มนี้มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ ด้วยวิทยาการล่าสุดจากเหล่าผู้ฉลาดที่สุดบนโลกใบนี้ และมันก็ได้ผลจริง ความหลงใหล (passion) เป็นสิง่ ทีต่ ดิ ต่อถึงกันได้หรือไม่? เดีย๋ วคุณจะได้รู้ การเล่าเรื่องช่วย “เชื่อม” จิตใจของคุณกับผู้ฟังได้จริงหรือ? แล้วคุณจะ พบค�ำตอบ ท�ำไมการน�ำเสนอ 18 นาทีถึงดีกว่า 60 นาที? ท�ำไมวิดีโอที่ บิลล์ เกตส์ (Bill Gates) ปล่อยยุงใส่ผฟู้ งั ถึงแพร่หลายอย่างรวดเร็ว? คุณจะ ได้รู้ค�ำตอบของค�ำถามเหล่านี้ด้วย คาร์เนกียังขาดเครื่องมืออันทรงพลังที่สุดที่เราใช้เรียนรู้ศิลปะ การพูดในที่สาธารณะ นั่นคืออินเทอร์เน็ต ซึ่งเพิ่งใช้กันแพร่หลายหลัง คาร์เนกีเสียชีวิตไปแล้ว 40 ปี ทุกวันนี้ต้องขอบคุณบรอดแบนด์ที่ช่วยให้ ผู้คนได้รับชมวิดีโอทาง TED.com และได้เห็นคนเก่งระดับโลกหลายคน น�ำเสนอการพูดครั้งส�ำคัญในชีวิต เมื่อคุณเรียนรู้เคล็ดลับทั้งเก้าประการ อ่านบทสัมภาษณ์ผพู้ ดู ทีไ่ ด้รบั ความนิยมของ TED และเข้าใจในวิทยาศาสตร์ ที่อยู่เบื้องหลังแล้ว คุณสามารถเปิด TED.com เพื่อรับชมการน�ำเสนอ ของจริงที่ผู้พูดใช้ทักษะแบบที่คุณเพิ่งอ่านไป 24
Talk L ike TED
ทุกวันนี้เราล้วนอยู่ในโลกของการขาย เหล่านักพูดของ TED ที่ได้รับความนิยมสูงสุดต่างน�ำเสนอได้ อย่างโดดเด่นท่ามกลางทะเลความคิด ดังที่ แดเนียล พิงก์ (Daniel Pink) ให้ความเห็นไว้ใน มนุษย์เกิดมาเพื่อขาย (To Sell Is Human) ว่า “ไม่ว่า คุณจะชอบหรือไม่กต็ าม ทุกวันนีเ้ ราล้วนอยูใ่ นโลกของการขาย”4 หากคุณ ได้รับเชิญไปพูดบนเวที TED หนังสือเล่มนี้คือคัมภีร์ของคุณ หากคุณ ไม่ ไ ด้ รั บ เชิ ญ และไม่ มี ค วามตั้ ง ใจจะท� ำ อะไรแบบนั้ น หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ก็ ยังคงเป็นหนึ่งในหนังสือล�้ำค่าที่สุดที่คุณจะได้อ่าน เพราะมันจะสอนวิธี น�ำเสนอตัวคุณเองและความคิดของคุณให้น่าสนใจมากเกินคิดฝัน มันจะ สอนวิ ธี ส มานองค์ ป ระกอบต่ า งๆ ที่ มี อ ยู ่ ใ นการน� ำ เสนอซึ่ ง สร้ า งแรง บันดาลใจทัง้ หลาย และมันจะแสดงให้คณ ุ เห็นว่าควรเปลีย่ นวิธมี องตัวเอง อย่างไรในฐานะผู้น�ำและผู้สื่อสาร จ�ำไว้ว่าถ้าคุณสร้างแรงบันดาลใจให้ คนอื่นด้วยความคิดของคุณไม่ได้ แม้ความคิดพวกนั้นยอดเยี่ยมเพียงใด ก็จะไม่เกิดผล ความคิดจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการกระท�ำที่ตามมาหลังจาก การสื่อสารความคิดเหล่านั้น พูดแบบ TED แบ่งเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนเผยองค์ประกอบ 3 อย่างของ การน�ำเสนอซึ่งสร้างแรงบันดาลใจ การน�ำเสนอที่สะกดใจมากที่สุดคือ การน�ำเสนอที่... • เข้าถึงอารมณ์ - สัมผัสหัวใจ • แปลกใหม่ - สอนเรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อน • น่าจดจ�ำ - น�ำเสนอเนื้อหาในแบบที่ลืมไม่ลง
C a rm i n e G a l l o
25
เข้าถึงอารมณ์ นักสือ่ สารผูย้ งิ่ ใหญ่เข้าถึงสมองและสัมผัสหัวใจคุณ คนส่วนใหญ่ ที่ถ่ายทอดการน�ำเสนอมักลืมเรื่อง “หัวใจ” ในบทที่ 1 คุณจะได้เรียนรู้วิธี ปลดปล่อยพลังภายในตัวด้วยการระบุว่าอะไรกันแน่คือสิ่งที่คุณหลงใหล อย่างแท้จริง คุณจะได้อา่ นงานวิจยั ทีไ่ ม่ได้ตพี มิ พ์ในสือ่ ทัว่ ไปซึง่ จะอธิบาย ว่าเหตุใดความหลงใหลจึงเป็นกุญแจสู่การฝึกทักษะอย่างการพูดในที่ สาธารณะให้เป็นเลิศ บทที่ 2 จะสอนวิธีฝึกศิลปะการเล่าเรื่องและตอบ ค�ำถามว่าท�ำไมเรื่องเล่าถึงช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกมีอารมณ์ร่วมกับหัวข้อที่คุณ พูด คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับงานวิจัยชิ้นใหม่ที่แสดงให้เห็นว่าเรื่องเล่า “เชื่ อ มโยง” จิ ต ใจของคุ ณ กั บ ผู ้ ฟ ั ง ได้ อ ย่ า งไร อั น จะช่ ว ยให้ คุ ณ สร้ า ง สายสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งและมีความหมายยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา ในบทที่ 3 คุณจะได้เรียนรู้ว่าผู้น�ำเสนอ TED สื่อภาษากายและถ่ายทอดด้วยค�ำพูด ที่ดูจริงใจและเป็นธรรมชาติจนดูเหมือนว่าพวกเขาก�ำลังสนทนากับคุณ มากกว่าก�ำลังปราศรัยกับผู้ฟังจ�ำนวนมากได้อย่างไร คุณยังจะได้อ่าน เรื่องของเหล่านักพูดที่ใช้เวลาซักซ้อมการน�ำเสนอชุดหนึ่งถึง 200 ชั่วโมง อีกทัง้ จะได้รวู้ ธิ กี ารฝึกฝนของพวกเขา คุณจะได้เรียนรูเ้ ทคนิคเพือ่ ท�ำให้การ น�ำเสนอและการถ่ายทอดของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นและทรงพลัง
แปลกใหม่ นักประสาทวิทยาที่ผมสัมภาษณ์บอกว่าความแปลกใหม่เป็น วิธีเดียวที่ได้ผลสูงสุดในการตรึงความสนใจของคน เควิน อัลล็อกคา (Kevin Allocca) ผู้จัดการฝ่ายส�ำรวจแนวโน้มจากยูทูบ (YouTube) บอก ผูฟ้ งั TED ว่าในโลกซึง่ ทุกนาทีมผี อู้ ปั โหลดวิดโี อความยาวรวม 2 วันเช่นนี้ “มีเพียงวิดีโอที่โดดเด่นและคาดไม่ถึงอย่างแท้จริงเท่านั้นที่จะเจิดจรัส” 26
Talk L ike TED
สมองไม่อาจมองข้ามความแปลกใหม่ และหลังจากคุณน�ำเทคนิคใน หัวข้อนี้ไปใช้ ผู้ฟังจะไม่อาจมองข้ามคุณได้อีก ในบทที่ 4 เราจะมาดูกันว่า ผู้พูด TED ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดท�ำให้ผู้ฟังสนใจด้วยข้อมูลใหม่หรือวิธีน�ำเสนอ แนวทางการศึกษาที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวได้อย่างไร บทที่ 5 เกี่ยวข้อง กับการถ่ายทอดช่วงเวลาอันน่าทึง่ เน้นไปยังผูพ้ ดู ทีอ่ อกแบบและน�ำเสนอ ช่วงเวลา “น่าตื่นตาตื่นใจ” แบบที่ท�ำให้ผู้ฟังยังคงพูดถึงในอีกหลายปี หลังจากนัน้ บทที่ 6 ว่าด้วยองค์ประกอบของอารมณ์ขนั แท้จริงอันอ่อนไหว ทว่าส�ำคัญยิ่ง น�ำเสนอว่าเราควรใช้ตอนไหน ใช้อย่างไร และจะตลกได้ อย่างไรโดยไม่ต้องปล่อยมุก อารมณ์ขันเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้พูด แต่ละคนและต้องประกอบเข้ากับรูปแบบการน�ำเสนอในแบบทีเ่ ป็นตัวคุณ
น่าจดจ�ำ คุณอาจมีความคิดแปลกใหม่ แต่ถ้าผู้ฟังจ�ำสิ่งที่คุณพูดไม่ได้ ความคิดเหล่านัน้ ก็ไร้คา่ ในบทที่ 7 ผมจะส�ำรวจว่าท�ำไมการน�ำเสนอทีย่ าว 18 นาทีของ TED ถึงเป็นความยาวในอุดมคติสำ� หรับการถ่ายทอดความคิด ใช่ครับ มีวิทยาศาสตร์หนุนสมมติฐานนี้ด้วย บทที่ 8 ว่าด้วยความส�ำคัญ ของการสร้างประสบการณ์ที่มีชีวิตชีวาและกระทบกับผัสสะหลายทาง เพื่อให้ผู้ฟังจดจ�ำเนื้อหาได้ส�ำเร็จมากขึ้น ในบทที่ 9 ผมจะเน้นย�้ำถึงความ ส�ำคัญของการเป็นตัวของตัวเอง นีค่ อื กุญแจส�ำคัญของการเป็นยอดนักพูด ตัวจริงเสียงจริงที่ผู้คนรู้สึกว่าน่าเชื่อถือ แต่ละบทจะน�ำเสนอเทคนิคเฉพาะที่ใช้กันในหมู่ผู้พูดที่ได้รับ ความนิยมสูงสุดของ TED พร้อมตัวอย่าง บทวิเคราะห์ และบทสัมภาษณ์ ผู้น�ำเสนอ ผมยังได้รวม “หมายเหตุ TED” ไว้ในแต่ละบทด้วย มันคือ ค�ำแนะน�ำเฉพาะเรือ่ งทีจ่ ะช่วยให้คณ ุ หยิบเคล็ดลับต่างๆ ไปใช้นำ� เสนองาน ครัง้ ต่อไปได้ ในหมายเหตุเหล่านีค้ ณ ุ จะได้เห็นชือ่ ของผูพ้ ดู และหัวข้อทีพ่ ดู C a rm i n e G a l l o
27
ซึ่งจะช่วยให้คุณค้นหาวิดีโอของพวกเขาทาง TED.com ได้ง่าย ในแต่ละ บทเรายังส�ำรวจวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังเคล็ดลับหลักซึ่งจะอธิบายว่า ท�ำไมมันถึงใช้ได้ผลและคุณจะน�ำเทคนิคนี้ไปยกระดับการน�ำเสนอของ คุณได้อย่างไร ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับความคิดจิตใจ ของมนุษย์มากกว่าที่เคยเป็นมา การค้นพบเหล่านี้มีนัยส�ำคัญต่อการ น�ำเสนอครั้งต่อไปของคุณมาก
เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ในหนังสือชือ่ เชีย่ วชาญ (Mastery) โรเบิรต์ กรีน (Robert Greene) ผู้เขียนเสนอว่าเราทุกคนเอาชนะขีดความสามารถของมนุษย์ได้ พลัง สติปัญญา และความสร้างสรรค์เป็นแรงขับที่เราสามารถปลดปล่อย ออกมาได้หากมีชุดความคิดและทักษะที่ถูกต้อง คนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ในด้านต่างๆ (เช่น ศิลปะ ดนตรี กีฬา การพูดในทีส่ าธารณะ ฯลฯ) ล้วนแต่ มีวิธีมองโลกแตกต่างกันไป กรีนเชื่อว่าเราน่าจะไขปริศนาค�ำว่า อัจฉริยะ ได้แล้วเพราะปัจจุบันเรา “เข้าถึงข้อมูลและความรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญในอดีต ได้แค่ฝันถึง”5 TED.com เป็นเหมืองทองส�ำหรับผูท้ อี่ ยากช�ำนาญด้านการสือ่ สาร การจูงใจ และการพูดในที่สาธารณะ พูดแบบ TED จะให้เครื่องมือคุณ และแสดงวิธใี ช้เครือ่ งมือเหล่านัน้ เพือ่ ให้คณ ุ ค้นพบแนวทางเฉพาะตัวหรือ กระทั่งความส�ำเร็จ นักสื่อสารที่เก่งกว่าคนทั่วไปมักประสบความส�ำเร็จมากกว่า คนอื่น แต่นักสื่อสารชั้นยอดจะเป็นคนจุดประกายให้เกิดการเคลื่อนไหว พวกเขาเป็นที่จดจ�ำและต่อให้เรียกขานแค่นามสกุลก็รู้ว่าเป็นใคร เช่น เจฟเฟอร์สัน, ลิงคอล์น, เชอร์ชิลล์, เคนเนดี, คิง และเรแกน ฯลฯ การไม่สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิผลคือทางด่วนสู่ความล้มเหลว 28
Talk L ike TED
นั่นหมายความว่าบริษัทตั้งใหม่จะไม่ได้เงินทุน ผลิตภัณฑ์จะขายไม่ออก โครงการจะไม่ได้รับการสนับสนุน และหน้าที่การงานจะไม่รุ่งโรจน์ ความ สามารถในการน�ำเสนอระดับควรค่าแก่การขึน้ เวที TED อาจเป็นเส้นแบ่ง ระหว่างการได้รับค�ำสรรเสริญยกย่องกับการจมอยู่ในภาวะคลุมเครือไร้ ความหวัง คุณยังมีชีวิตอยู่ นั่นหมายความว่าชีวิตของคุณยังมีจุดหมาย คุณต้องก้าวไปสูค่ วามยิง่ ใหญ่ อย่ากดศักยภาพของตนเองเพียงเพราะคุณ ไม่สามารถสื่อสารความคิดออกมา ที่งานสัมมนา TED ปี 2006 โทนี รอบบินส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการ สร้างแรงบันดาลใจกล่าวว่า “ผู้น�ำที่มีประสิทธิผลมีความสามารถในการ ผลักดันตัวเองและผูอ้ นื่ ให้ลงมือปฏิบตั ิ เพราะพวกเขาเข้าใจพลังล่องหนที่ หล่อหลอมตัวเราอยู่”6 การสื่อสารที่แฝงอารมณ์ลึกซึ้ง ทรงพลัง และสร้าง แรงบันดาลใจคือหนึ่งในพลังที่ผลักดันและหล่อหลอมเรา วิธีใหม่ในการ แก้ปัญหาที่ยืดเยื้อมานาน เรื่องเล่าสร้างแรงบันดาลใจ วิธีน่าทึ่งในการ น�ำเสนอข้อมูล และการลุกขึ้นปรบมือ เหล่านี้คือสิ่งที่เรารู้จักกันในชื่อ “ช่วงเวลา TED” มาสร้างช่วงเวลาแบบนีก้ นั ดีกว่า จับใจผูฟ้ งั ของคุณให้ได้ สร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขา เปลี่ยนโลก และนี่คือวิธีท�ำ...
C a rm i n e G a l l o
29
I t
เข้าถึงอารมณ์ กุญแจส�ำคัญในรูปแบบของ TED คือมนุษย์เชื่อมโยงถึง มนุษย์ด้วยกันได้ในแบบที่ตรงไปตรงมาและเกือบเปราะบาง กล่าวคือราวกับคุณยืนตัวเปลือยเปล่าอยู่บนเวที การพูด ที่ ป ระสบความส� ำ เร็ จ ที่ สุ ด คื อ การพู ด ที่ ผู ้ ค นสั ม ผั ส ได้ ถึ ง ความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง เปี่ยมด้วยอารมณ์ ความฝัน และจินตนาการ คริส แอนเดอร์สัน ภัณฑารักษ์ประจ�ำ TED
1 t
ปลดปล่อยผู้เชี่ยวชาญในตัวคุณ
ความหลงใหลคื อ สิ่ ง ที่ จ ะช่ ว ยให้ คุ ณ แสดงความสามารถพิ เ ศษ ออกมาได้อย่างเต็มที่
32
Talk L ike TED
แลร์รี สมิธ งาน TEDx พฤศจิกายน 2011
เอมี มัลลินส์ (Aimee Mullins) มีขา 12 คู่ เธอก็เหมือนคนส่วนใหญ่ที่ เกิดมามีขาคู่เดียว แต่สิ่งที่ไม่เหมือนคนส่วนใหญ่คือมัลลินส์โดนตัดขา ทัง้ สองข้างตัง้ แต่ใต้เข่าลงมาเพราะปัญหาด้านสุขภาพ เธอใช้ชวี ติ โดยไม่มี ขาช่วงล่างตั้งแต่วันเกิดปีแรกในชีวิต มัลลินส์เติบโตในครอบครัวชนชั้นกลางที่เมืองชนชั้นกลางชื่อ อัลเลนทาวน์ในเพนซิลเวเนีย แต่ความส�ำเร็จของเธอกลับไม่ได้อยู่ระดับ กลางๆ เลยสักนิด แพทย์ผู้รักษามัลลินส์แนะน�ำว่าการตัดขาตั้งแต่แรกๆ จะช่วยให้เธอมีโอกาสเคลือ่ นไหวร่างกายได้ตามสมควรมากทีส่ ดุ ตอนนัน้ มัลลินส์ยงั เด็กจึงไม่มสี ทิ ธิม์ เี สียงในการตัดสินใจ แต่เมือ่ โตขึน้ เธอก็ไม่ยอม มองตัวเองว่าเป็น “คนพิการ” หรือยอมให้คนส่วนใหญ่จดั เธออยูใ่ นประเภท นั้น ตรงกันข้าม เธอเชื่อมั่นว่าขาเทียมมอบพลังพิเศษให้เธอแบบที่คนอื่น ได้แต่ฝันถึง มัลลินส์สร้างนิยามใหม่ให้กับการเป็นคนพิการ อย่างที่เธอบอก นักแสดงตลกและพิธีกรรายการทอล์กโชว์ สตีเฟน โคลเบิร์ต (Stephen Colbert) ว่านักแสดงหญิงหลายคนมีของเทียมในหน้าอกมากกว่าที่เธอมี ทั้งตัวเสียอีก “และเราก็ไม่ได้เรียกคนครึ่งฮอลลีวูดว่าคนพิการนี่คะ” C a rm i n e G a l l o
33
มัลลินส์ใช้พลังพิเศษของเธอ คือขาเทียม ในการวิ่งแข่งรายการ NCAA ดิวิชั่น 1 ที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ เธอท�ำลายสถิติโลกทั้งแบบ ลู่และลานถึง 3 สถิติในการแข่งขันพาราลิมปิกปี 1996 ได้เป็นนางแบบ และนักแสดง อีกทัง้ ยังติดอันดับ 50 บุคคลทีร่ ปู งามทีส่ ดุ ในโลกซึง่ นิตยสาร People จัดขึ้นเป็นประจ�ำทุกปี ในปี 2009 มัลลินส์ผสู้ งู 5 ฟุต 8 นิว้ ยืนอยูบ่ นเวที TED ด้วยความสูง 6 ฟุต 1 นิ้วซึ่งเธอเลือกมาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ มัลลินส์เลือกขาเทียม ให้เหมาะสมกับงาน เธอใช้ขาที่เคลื่อนไหวคล่องแคล่วเวลาเดินถนนใน แมนฮัตตันและขาสวยๆ ส�ำหรับงานเลี้ยงแฟนซี “TED คือแท่นออกตัวสู่การส�ำรวจชีวิตของฉันในทศวรรษถัดไป โดยแท้”1 มัลลินส์กล่าว เธอเชื่อว่าการที่เธอปรากฏตัวบนเวที TED จะ จุดประกายให้เกิดบทสนทนาเพื่อเปลี่ยนมุมมองที่สังคมมีต่อคนพิการ ทั้งนักนวัตกรรม นักออกแบบ และศิลปินที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวงการ ผลิตอวัยวะเทียมทางการแพทย์แบบเดิมต่างได้แรงบันดาลใจเมื่อเห็นว่า พวกเขาสามารถท�ำขาเทียมได้อย่างสร้างสรรค์และสมจริงขนาดไหน “มันไม่ใช่บทสนทนาเกี่ยวกับการเอาชนะข้อจ�ำกัดอีกต่อไป แต่เป็นบท สนทนาเกี่ยวกับศักยภาพ อวัยวะเทียมไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ของการต้อง ชดเชยสิ่งที่สูญเสียไปอีกแล้ว...ดังนั้นผู้คนที่สังคมเคยมองว่าพิการตอนนี้ ก็กลายเป็นผูอ้ อกแบบอัตลักษณ์ของตนเอง และยังเปลีย่ นแปลงอัตลักษณ์ เหล่านัน้ ได้ดว้ ยการออกแบบร่างกายจากต�ำแหน่งทีเ่ สริมพลัง...ความเป็น มนุษย์ของเราและศักยภาพทั้งหมดในนั้นคือสิ่งที่ท�ำให้เรางดงาม” ความมุ่งมั่นของมัลลินส์ท�ำให้เธอกลายเป็นนักกีฬาระดับโลก ความหลงใหลของเธอเอาชนะใจผู้ฟังของ TED เคล็ดลับข้อที่ 1: ปลดปล่อยผู้เชี่ยวชาญในตัวคุณ เพ่งมองให้ลกึ เพือ่ ค้นหาความสัมพันธ์ทโี่ ดดเด่นและมีความหมาย 34
Talk L ike TED
แก่ตัวคุณเองกับหัวข้อที่น�ำเสนอ ความหลงใหลน�ำไปสู่ความเชี่ยวชาญ และการน�ำเสนอของคุณจะไร้ค่าหากปราศจากมัน แต่อย่าลืมว่าสิ่งที่ จุดไฟในตัวคุณอาจไม่ใช่สงิ่ ทีเ่ ห็นเด่นชัด เอมี มัลลินส์ ไม่ได้หลงใหลอวัยวะ เทียม เธอหลงใหลการปลดปล่อยศักยภาพของมนุษย์ สาเหตุทไี่ ด้ผล: วิทยาศาสตร์เผยว่าความหลงใหลเป็นสิง่ ทีต่ ดิ ต่อ ถึงกันได้อย่างแท้จริง คุณไม่อาจสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นหากตัวคุณ ไม่รู้สึกมีแรงบันดาลใจ คุณมีโอกาสสูงกว่าในการโน้มน้าวและสร้างแรง บันดาลใจให้ผฟู้ งั หากสามารถแสดงออกถึงสายสัมพันธ์กบั หัวข้อทีน่ ำ� เสนอ อย่างกระตือรือร้น มีความหลงใหล และเปี่ยมความหมาย เดือนตุลาคม 2012 คาเมรอน รัสเซลล์ (Cameron Russell) บอกผู้ฟัง TEDx ว่า “รูปร่างหน้าตาไม่ใช่ทุกอย่าง”2 ฟังดูซ�้ำซาก? ใช่ ถ้าคนพูดเป็น คนอื่น แต่รัสเซลล์คือนางแบบผู้ประสบความส�ำเร็จ ภายใน 30 วินาทีที่ ขึ้นเวทีเธอก็เปลี่ยนชุด เอาผ้าถุงมาพันทับชุดกระโปรงสีด�ำเข้ารูปที่เผย เนือ้ หนัง ถอดรองเท้าส้นสูง 8 นิว้ ไปใส่รองเท้าธรรมดา และสวมเสือ้ สเวตเตอร์ คอเต่า “ฉันท�ำแบบนี้ท�ำไมคะ?” เธอถามผู้ฟัง “ภาพลักษณ์เป็นสิ่งทรง พลัง แต่ภาพลักษณ์ก็เป็นสิ่งฉาบฉวยด้วย ฉันเพิ่งเปลี่ยนภาพที่คุณมอง ฉันภายใน 6 วินาที” รั ส เซลล์ อ ธิ บ ายว่ า เธอเป็ น นางแบบชุ ด ชั้ น ในที่ เ ดิ น แบบให้ วิกตอเรียส์ซีเคร็ตและเคยขึ้นปกนิตยสารแฟชั่นมาแล้วหลายฉบับ แม้ รัสเซลล์ยอมรับว่าอาชีพนางแบบเป็นอาชีพที่ดีส�ำหรับเธอ ช่วยเธอจ่าย ค่าเล่าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย แต่เธอก็รวู้ า่ ตัวเองนัน้ “ถูกหวยได้ยนี ดี” รัสเซลล์ให้ผู้ฟังดูภาพถ่ายในแบบก่อนและหลังหลายภาพ ภาพ “ก่อน” เผยให้เห็นว่าเธอดูเป็นอย่างไรในช่วงแรกของการถ่ายแบบ ส่วน ภาพ “หลัง” คือภาพสุดท้ายที่ใช้ในโฆษณา แน่นอนว่าภาพทั้งสองชุดดู C a rm i n e G a l l o
35
ไม่เหมือนกันเลยสักนิด ในภาพหนึ่งรัสเซลล์ที่ตอนนั้นอายุ 16 ปีโพสท่า ยั่วยวนกับชายหนุ่มซึ่งสอดมือเข้าไปในกระเป๋าหลังกางเกงยีนส์ของเธอ (ตอนทีถ่ า่ ยภาพนีร้ สั เซลล์ยงั ไม่เคยมีแฟนด้วยซ�ำ้ ) “ฉันหวังว่าคุณคงเข้าใจ ว่าภาพเหล่านี้ไม่ใช่ภาพฉัน มันคือสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยกลุ่มมืออาชีพ ทั้งช่างท�ำผม ช่างแต่งหน้า ช่างภาพ สไตลิสต์ รวมถึงบรรดาผู้ช่วยของ พวกเขา ฝ่ายเตรียมงาน และฝ่ายเก็บรายละเอียดงาน พวกเขาสร้างสิ่งนี้ ขึ้นมา นั่นไม่ใช่ฉันเลย” รัสเซลล์เป็นผู้เชี่ยวชาญในงานที่ท�ำ นั่นคือการเป็นนางแบบ แต่ การเป็นนางแบบไม่ใช่สิ่งที่เธอหลงใหล เธอหลงใหลที่จะช่วยให้เด็กสาว มีความมั่นใจในตนเอง เธอเชื่อมโยงถึงผู้ฟังได้ด้วยเหตุนี้ ความหลงใหล เป็นสิ่งที่ติดต่อถึงกันได้ “เหตุผลแท้จริงที่ท�ำให้ฉันได้เป็นนางแบบก็คือ ฉันถูกหวยได้ยีนดี ฉันได้รับมรดก คุณอาจก�ำลังสงสัยว่ามรดกนี้คืออะไร คืออย่างนีค้ ะ่ ในช่วงสองสามร้อยปีทผี่ า่ นมาเราไม่เพียงให้นยิ ามความงาม จากสุขภาพ ความอ่อนเยาว์ และการมีสัดส่วนรับกันแบบที่ร่างกายเรา ถูกตั้งโปรแกรมมาให้ชื่นชอบ แต่เรายังชื่นชมความสูง รูปร่างเพรียวบาง ความเป็นหญิง และผิวขาวด้วย นี่คือมรดกที่สร้างมาให้ฉัน และมันคือ มรดกที่ฉันใช้สร้างรายได้ให้กับตนเอง” รูปร่างหน้าตาของรัสเซลล์ท�ำให้เธอได้เป็นนางแบบ ส่วนความ หลงใหลท�ำให้เธอเป็นผู้พูดที่ประสบความส�ำเร็จ รัสเซลล์กับมัลลินส์ได้ขึ้นเวทีเพราะพวกเธอเป็นผู้เชี่ยวชาญใน งานทีท่ ำ� แต่พวกเธอสือ่ สารถึงผูฟ้ งั ได้เพราะมีความหลงใหลในหัวข้อทีพ่ ดู สิง่ ทีส่ ง่ เสริมความหลงใหลของผูพ้ ดู อาจไม่เกีย่ วข้องกับงานประจ�ำเสมอไป รัสเซลล์ไม่ได้พดู เรือ่ งการโพสท่าถ่ายแบบ และมัลลินส์กไ็ ม่ได้พดู เรือ่ งการ แข่งกีฬา แต่ทั้งสองต่างก็ได้บรรยายเรื่องราวครั้งส�ำคัญในชีวิต ผู้พูดที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ TED มีบางอย่างร่วมกันกับ นักการสื่อสารในสาขาต่างๆ ที่ตรึงใจผู้ฟังได้มากที่สุด นั่นคือพวกเขามี 36
Talk L ike TED
ความหลงใหล มีความหมกมุ่นที่อยากแบ่งปันให้ผู้อื่น ผู้พูดที่ได้รับความ นิยมสูงสุดของ TED ไม่มี “งาน” พวกเขามีความหลงใหล มีความหมกมุ่น มีวชิ าชีพ และนัน่ ไม่ใช่งาน คนเหล่านีไ้ ด้รบั มอบหมายให้มาแบ่งปันความคิด คนเราไม่ มี ท างสร้ า งแรงบั น ดาลใจให้ ค นอื่ น ได้ ห ากไม่ มี แ รง บันดาลใจเสียเอง “ในวัฒนธรรมของเรา เรามีแนวโน้มที่จะมองว่าพลัง ความคิดและมันสมองมีค่าเท่ากับความส�ำเร็จและการบรรลุเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ยังมีเรื่องอื่นๆ อีก นั่นคือคุณสมบัติในด้านอารมณ์ความ รู้สึกเป็นสิ่งที่แยกผู้เชี่ยวชาญในแขนงนั้นออกจากคนอีกมากมายที่แค่ ท�ำงานไปวันๆ”3 โรเบิร์ต กรีน เขียนไว้ใน เชี่ยวชาญ “สุดท้ายแล้วระดับ ความปรารถนา ความอดทน ความดึงดัน และความมั่นใจของเราล้วนมี บทบาทส�ำคัญในความส�ำเร็จมากกว่าพลังการใช้เหตุผล หากเรารู้สึกมี แรงบันดาลใจและมีพลังเราจะเอาชนะได้เกือบทุกอย่าง แต่ถ้าเราเบื่อ และร้อนรน เราก็จะปิดใจกลายเป็นคนเฉื่อยชามากขึ้นเรื่อยๆ” ผู้พูดที่มี แรงบันดาลใจและมีพลังย่อมน่าสนใจทั้งยังดึงดูดผู้ฟังได้มากกว่าผู้พูดที่ น่าเบื่อและเฉื่อยชา ผมมักได้รบั การติดต่อให้ทำ� งานร่วมกับซีอโี อในงานเปิดตัวสินค้า ส�ำคัญหรือการก�ำหนดแผนงานเริ่มต้น เพื่อช่วยพวกเขาบอกเล่าเรื่องราว ของแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิผลและชักจูงใจมากขึ้น ผมเดินทางไปรอบ โลกเพือ่ พบกับผูบ้ ริหารของแบรนด์ตา่ งๆ เช่น อินเทล, โคคา-โคลา, เชฟรอน, ไฟเซอร์ และบริษัทอื่นอีกมากมายเกือบครบทุกผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะใช้ ภาษาใด อยู่ในทวีปใดหรือประเทศไหนก็ตาม ผู้พูดที่แสดงความหลงใหล และความกระตือรือร้นในหัวข้อทีพ่ ดู อย่างจริงใจจะโดดเด่นในฐานะผูน้ ำ� ที่ สร้างแรงบันดาลใจ พวกเขาคือผู้ที่ลูกค้าอยากท�ำธุรกิจด้วย เป็นเวลาหลายปีที่ผมฝึกสอนลูกค้าด้วยการเริ่มต้นจากค�ำถาม เดิมทุกครั้ง “คุณมีความหลงใหลในเรื่องใด?” ในช่วงต้นของการวาง เรื่องราว ผมไม่สนใจตัวผลิตภัณฑ์มากเท่ากับสิ่งที่ท�ำให้ผู้พูดตื่นเต้นใน C a rm i n e G a l l o
37
ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นๆ ฮาวเวิร์ด ชูลต์ซ (Howard Schultz) ผู้ก่อตั้ง สตาร์บคั ส์เคยบอกผมว่าเขาไม่ได้หลงใหลในเรือ่ งกาแฟมากเท่าทีเ่ ขาใส่ใจ เรื่อง “การสร้างสถานที่ตรงกลางระหว่างที่ท�ำงานกับบ้าน เป็นสถานที่ซึ่ง คนท�ำงานจะได้รับการปฏิบัติอย่างให้เกียรติและบริการดีเยี่ยม” กาแฟคือ ผลิตภัณฑ์ แต่สตาร์บัคส์ท�ำธุรกิจด้านงานบริการ โทนี เช (Tony Hsieh) ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ขายปลีกแซปโปส์ไม่ได้หลงใหลเรื่องรองเท้า เขาบอก ผมว่าเขาหลงใหล “การส่งความสุข” ค�ำถามที่เขาถามตัวเองคือ “ฉันจะ ท�ำให้พนักงานมีความสุขได้อย่างไร?” “ฉันจะท�ำให้ลกู ค้ามีความสุขได้อย่างไร?” ค�ำถามทีค่ ณ ุ ถามจะน�ำไปสูช่ ดุ ผลลัพธ์ทแี่ ตกต่างกันมาก การถามตัวเองว่า “ฉันขายสินค้าอะไร?” ไม่มีประสิทธิผลเท่าการถามตัวเองว่า “จริงๆ แล้ว ฉันท�ำธุรกิจอะไรกันแน่? ฉันมีความหลงใหลในเรื่องใดกันแน่?” โทนี เช หลงใหลในงานบริการลูกค้า และการเปิดโอกาสให้ พนักงานมีส่วนร่วม เขาเป็นผู้พูดที่ใครๆ ก็อยากให้มาพูดในงานส�ำคัญ และการสัมมนาต่างๆ ทั่วโลก (เขาต้องปฏิเสธค�ำเชิญมากกว่าที่ตอบรับ หลายเท่า) ในเมื่อผู้พูดหลายคนสื่อสารได้น่าเบื่อเพราะไม่มีสายสัมพันธ์ แนบแน่นกับหัวข้อที่พูด การได้รับชมผู้พูดที่กระตือรือร้นจึงสร้างความ สดชื่นเหมือนการได้ดื่มน�้ำเย็นจัดกลางทะเลทราย
อะไรท�ำให้หัวใจของคุณลิงโลด?
ไม่นานมานี้ผมเปลี่ยนค�ำถามแรกที่ถามเหล่าผู้บริหารซึ่งมาเป็น ลูกค้าผมเพราะอยากสื่อสารให้ดีขึ้น สตีฟ จอบส์ เคยบอกไว้ในการ น�ำเสนอในที่สาธารณะครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายของเขาว่า “การที่เทคโนโลยี กับศิลปศาสตร์มาบรรจบกันท�ำให้หัวใจของเราลิงโลด” ดังนั้นวันนี้ผมจึง เปลีย่ นค�ำถามจาก “คุณมีความหลงใหลในเรือ่ งใด?” เป็น “อะไรท�ำให้หวั ใจ ของคุณลิงโลด?” ค�ำตอบของค�ำถามข้อที่สองน่าสนใจและน่าตื่นเต้นยิ่ง กว่าค�ำถามข้อแรกเสียอีก 38
Talk L ike TED
ยกตัวอย่างเช่น ผมเคยท�ำงานกับลูกค้ารายหนึ่งในชุมชนธุรกิจ การเกษตรทีแ่ คลิฟอร์เนีย เขาเป็นผูน้ ำ� กลุม่ เกษตรกรผูป้ ลูกสตรอว์เบอร์รี ซึ่งเป็นพืชผลส�ำคัญของรัฐ เขาตอบค�ำถามของผมดังนี้ ค�ำถามข้อที่ 1: คุณท�ำอะไร? “ผมเป็นซีอีโอของแคลิฟอร์เนีย สตรอว์เบอร์รีคอมมิสชัน” ค�ำถามข้อที่ 2: คุณมีความหลงใหลในเรื่องใด? “ผมหลงใหลการ ส่งเสริมสตรอว์เบอร์รีของแคลิฟอร์เนีย” ค� ำ ถามข้ อ ที่ 3: อุ ต สาหกรรมนี้ มี อ ะไรที่ ท� ำ ให้ หั ว ใจของคุ ณ ลิงโลด? “ความฝันแบบอเมริกนั พ่อแม่ผมเป็นผูอ้ พยพและเคยท�ำงานในไร่ สตรอว์เบอร์รี ต่อมาพวกท่านซื้อที่ดินได้หนึ่งเอเคอร์แล้วขยายไปเรื่อยๆ การปลูกสตรอว์เบอร์รีไม่ต้องใช้ที่ดินมากและไม่ต้องเป็นเจ้าของก็ยังได้ คุณอาจเช่าที่ดินเพื่อปลูกมัน นี่คือแท่นเหยียบเพื่อก้าวไปสู่ความฝันแบบ อเมริกัน” ผมแน่ใจว่าคุณคงเห็นด้วยว่าค�ำตอบของค�ำถามข้อทีส่ ามน่าสนใจ กว่าสองข้อแรกมาก อะไรท�ำให้หัวใจของคุณลิงโลด? หามันให้เจอแล้วน�ำ มาแบ่งปันให้คนอื่นได้รับรู้ หมายเหตุ TED อะไรท�ำให้หัวใจของคุณลิงโลด? ลองถามตัวเองดูนะครับว่า “อะไรท�ำให้หัวใจของฉันลิงโลด?” ความหลงใหลของคุณไม่ใช่แค่ ความสนใจทีผ่ า่ นมาแล้วก็ผา่ นไปหรือกระทัง่ งานอดิเรก แต่มนั คือสิง่ ทีม่ คี วามหมายอย่างยิง่ และเป็นหัวใจส�ำคัญของอัตลักษณ์คณ ุ เมือ่ คุณ รู้ว่าความหลงใหลของคุณคืออะไร คุณตอบได้ไหมว่ามันมีอิทธิพล ต่อกิจกรรมประจ�ำวันของคุณหรือไม่? คุณจะน�ำมันไปรวมอยูใ่ นสิง่ ที่ ท�ำเป็นอาชีพได้ไหม? ความหลงใหลทีแ่ ท้จริงควรเป็นหัวข้อทีค่ ณ ุ จะ สื่อสาร มันจะสร้างแรงบันดาลใจที่แท้จริงให้ผู้ฟังของคุณ C a rm i n e G a l l o
39
ชายผู้มีความสุขที่สุดในโลก มาติเยอ ริการ์ (Matthieu Ricard) คือชายผู้มีความสุขที่สุด ในโลก แต่เขากลับไม่สขุ ใจทีเ่ ป็นเช่นนัน้ ในปี 2004 มาติเยอ ริการ์ ออกจาก อารามเชเชนในกาฐมาณฑุเป็นการชั่วคราวเพื่อมาสอนเรื่องอุปนิสัยแห่ง ความสุขให้ผู้ฟัง TED ในมอนเทอร์เรย์ แคลิฟอร์เนีย ส�ำหรับริการ์แล้วความสุขคือ “ความรู้สึกสงบและอิ่มเอมอย่าง ลึกล�้ำ” ริการ์น่าจะรู้ดี เขาไม่เพียงพอใจกับชีวิต แต่ยังมีความสุขอย่าง แท้จริงด้วย ในทางวิทยาศาสตร์แล้วเขามีความสุขมากกว่าคนทั่วไป ริการ์อาสาเข้าร่วมการศึกษาวิจัยที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน นักวิทยาศาสตร์ผู้ท�ำการวิจัยติดขั้วไฟฟ้าขนาดเล็กจิ๋วจ�ำนวน 256 ขั้วบน หนังศีรษะของริการ์เพือ่ วัดคลืน่ สมอง การศึกษาครัง้ นีท้ ำ� กับคนหลายร้อย คนที่ฝึกสมาธิ แล้วมีการให้คะแนนตามระดับความสุข ริการ์ไม่เพียงได้ คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ย นักวิจัยยังค้นพบสิ่งที่ไม่เคยเจอมาก่อนในต�ำรา ด้านประสาทวิทยาด้วย ผลการสแกนสมองเผยว่ามี “กิจกรรมที่สูงมาก ในคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าข้างซ้ายเมื่อเทียบกับข้างขวา ท�ำให้ เขามีขีดความสามารถสูงผิดปกติในการมีความสุขและลดแนวโน้มที่จะมี ความคิดแง่ลบ”4 ริการ์ไม่ค่อยชอบใจนักที่ถูกแปะป้ายว่าเป็นคนที่มีความสุขที่สุด ในโลก “จริงๆ แล้วใครๆ ก็พบความสุขได้หากเขาหรือเธอมองหามันให้ ถูกที่”5 เขาบอก “ความสุขแท้จริงมาจากการสั่งสมปัญญา ความเอื้อเฟื้อ และความเห็นอกเห็นใจในระยะยาวเท่านั้น และยังมาจากการก�ำจัดพิษ ในใจ เช่น ความเกลียด ความโลภ และความเขลาให้หมดไปด้วย” การน�ำเสนอของริการ์ในหัวข้อ “อุปนิสัยแห่งความสุข” (The Habits of Happiness) ดึงดูดผู้ชมกว่า 2 ล้านครั้งทาง TED.com ผมเชือ่ ว่าการน�ำเสนอของริการ์ได้รบั ความนิยมเพราะเขาสามารถแผ่ความ 40
Talk L ike TED
เบิกบานของคนทีจ่ ริงจังกับหัวข้อทีพ่ ดู ได้อย่างลึกซึง้ อันทีจ่ ริงริการ์บอกผม ว่า “ความคิดเหล่านีเ้ ป็นสิง่ ล�ำ้ ค่าส�ำหรับผม ไม่เพียงเพราะมันท�ำให้ผมรูส้ กึ เติมเต็มอย่างยิ่ง แต่เพราะผมมั่นใจว่ามันจะท�ำประโยชน์ให้สังคมได้ด้วย ผมหลงใหลเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะแสดงให้เห็นว่าความเอือ้ เฟือ้ และความเห็นอก เห็นใจนัน้ ไม่ใช่สงิ่ หรูหราฟุม่ เฟือย แต่เป็นสิง่ ทีจ่ ำ� เป็นเพือ่ ตอบโจทย์ความ ท้าทายของโลกสมัยใหม่ ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่มีผู้เชิญผมเข้าร่วมงาน สัมมนา ผมก็ยินดีเข้าร่วมเพื่อจะได้แบ่งปันความคิดของผม”6 ผู้พูดที่ประสบความส�ำเร็จคือผู้ที่อยากแบ่งปันความคิดจนแทบ ทนไม่ไหว พวกเขามีเสน่ห์ดึงดูดซึ่งเชื่อมโยงโดยตรงกับความหลงใหลใน หัวข้อที่เขาหรือเธอเป็นผู้พูด ผู้พูดที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจสามารถแผ่ความสุข และความหลงใหลออกมา เป็นความสุขทีเ่ กิดจากการแบ่งปันประสบการณ์ และความหลงใหลในการถ่ายทอดความคิด ผลิตภัณฑ์ หรือบริการเพือ่ ให้ เกิดประโยชน์แก่ผฟู้ งั “ผมเชือ่ ว่าวิธดี ที สี่ ดุ ในการสือ่ สารกับใครก็ตามคือให้ ตรวจสอบก่อนว่าแรงจูงใจของคุณนั้นดีแค่ไหน ถามตัวเองว่า ‘แรงจูงใจ ของฉันมาจากความเห็นแก่ตัวหรือความเอื้อเฟื้อ? ความเมตตาของฉัน มุง่ ไปทีค่ นแค่ไม่กคี่ นหรือคนหมูม่ าก? แล้วท�ำไปเพือ่ ประโยชน์ในระยะสัน้ หรือระยะยาวกันแน่?’ เมื่อเรามีแรงจูงใจชัดเจน การสื่อสารก็จะลื่นไหล ไม่ติดขัด” ริการ์กล่าว สิ่งมหัศจรรย์ก็คือ หากแรงจูงใจของคุณคือการแบ่งปันความ หลงใหลให้ผู้ฟังได้ร่วมรับรู้ ก็มีแนวโน้มที่คุณจะกังวลน้อยลงเมื่อพูดในที่ สาธารณะหรือน�ำเสนอข้อมูลส�ำคัญต่อหน้าเจ้านาย ผมถามริการ์ว่าเขา ยังคงเยือกเย็นและผ่อนคลายต่อหน้าผู้ชมผู้ฟังจ�ำนวนมากได้อย่างไร ริการ์เชือ่ ว่าใครๆ ก็สามารถพูดด้วยความเบิกบาน ยินดี และมีความสุขได้ หากเลือกที่จะท�ำ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับแรงจูงใจ หากเป้าหมายเดียวของ คุณคือการขายหรือยกระดับสถานะ คุณก็อาจสื่อไม่ถึงผู้ฟัง (แถมคุณยัง กดดันตัวเองอย่างมากด้วย) แต่ถ้าเป้าหมายของคุณมีความเห็นแก่ตัว C a rm i n e G a l l o
41
น้อยกว่านั้น เช่น ต้องการให้ข้อมูลกับผู้ฟังเพื่อช่วยให้พวกเขามีชีวิตที่ ดีขึ้น คุณจะสื่อถึงผู้ฟังได้อย่างลึกซึ้งและรู้สึกผ่อนคลายกับบทบาทของ ตนเอง “ผมดีใจมากทีไ่ ด้แบ่งปันความคิด แต่ผมไม่มอี ะไรจะได้หรือเสียเลย ในฐานะปัจเจกบุคคล” ริการ์บอก “ผมไม่สนใจภาพลักษณ์ของตนเอง ผม ไม่ต้องเจรจาธุรกิจให้ส�ำเร็จ และผมก็ไม่ได้พยายามท�ำให้ใครประทับใจ ผมเพียงแต่สขุ ใจทีไ่ ด้พดู นิดๆ หน่อยๆ เกีย่ วกับความจริงทีว่ า่ เราให้ความ ส�ำคัญกับพลังในการเปลี่ยนความคิดจิตใจน้อยเกินไป”
เหตุผลที่คุณจะไม่มีชีวิตการท�ำงานชั้นยอด
หากคุณไม่มคี วามสุขหรือหลงใหลในงานทีท่ ำ� คุณก็อาจไม่มชี วี ติ การท�ำงานชั้นยอด และหากคุณไม่สนุกกับการมีชีวิตการท�ำงานชั้นยอด ก็ยากที่คุณจะส่งต่อความกระตือรือร้นผ่านการน�ำเสนอของคุณ นี่เองคือ ความเชือ่ มโยงระหว่างชีวติ การท�ำงาน ความสุข และความสามารถในการ สร้างแรงบันดาลใจ แลร์รี สมิธ (Larry Smith) ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์แห่ง มหาวิทยาลัยวอเตอร์ลูคร�่ำเคร่งกับหัวข้อความส�ำเร็จในชีวิตการท�ำงาน สมิธหงุดหงิดกับนักศึกษาสมัยใหม่ เขาไม่พอใจเพราะนักศึกษาส่วนใหญ่ เลือกอาชีพด้วยเหตุผลที่ไม่ถูกต้อง นั่นคือเลือกเพราะเงิน สถานะ ฯลฯ ส�ำหรับสมิธแล้วนักศึกษาเหล่านี้จะไม่ได้ท�ำงานชั้นยอด สมิธบอกว่า ทางเดียวที่จะมีชีวิตการท�ำงานชั้นยอดคือคุณต้องท�ำสิ่งที่รัก ในงาน TEDx สมิธเปลี่ยนความหงุดหงิดให้เป็นปาฐกถาที่สร้างแรงบันดาลใจ กระตือรือร้น และมีอารมณ์ขัน ด้วยหัวข้อ “เหตุผลที่คุณจะไม่มีชีวิตการ ท�ำงานชั้นยอด” (Why You Will Fail to Have a Great Career) ผมคุยกับสมิธเรื่องที่การน�ำเสนอ TED ของเขาได้รับความนิยม มาก ในตอนนั้นมีผู้ชมไปแล้วกว่า 2 ล้านครั้ง เสียงตอบรับเช่นนี้ท�ำให้เขา 42
Talk L ike TED
ประหลาดใจ สมิธตอบตกลงไปพูดตามค�ำขอของนักศึกษา ปกติเขาสอน ครั้งละ 3 ชั่วโมง จึงถือเป็นความท้าทายส่วนตัวที่ต้องกลั่นความคิดให้อยู่ ในเวลาแค่ 18 นาที การบรรยายครัง้ นีไ้ ด้รบั ความนิยมสูงเพราะผูฟ้ งั ได้เห็น ผูพ้ ดู แสดงความหลงใหลโดยไม่ปดิ บัง และรูส้ กึ ได้ถงึ ความกระตือรือร้นซึง่ ท�ำให้ปาฐกถาของเขาน่าสนใจ การน�ำเสนอของสมิธคือการปลดปล่อย ความหงุดหงิดทีเ่ ก็บกดมา 30 ปีและบ่มจนถึงจุดเดือดแล้ว “ความสามารถ พิเศษที่ไม่ได้ใช้เป็นความสูญเสียที่ผมทนไม่ได้”7 สมิธบอกผม “นักเรียน ของผมอยากสร้างเทคโนโลยี ผมอยากให้พวกเขาสร้างเทคโนโลยีที่ ‘เจ๋ง’ จริง ผมอยากให้พวกเขาหลงใหลในสิ่งที่ท�ำ” สมมติฐานของสมิธตรงไปตรงมา เขาบอกว่ามีงานที่ไม่ดีอยู่ มากมาย เป็นงานชนิดที่ “มีความเครียดสูง สูบเลือดสูบเนื้อ ท�ำลาย จิตวิญญาณ” และก็มีงานชั้นยอด แต่แทบไม่มีงานที่อยู่ระหว่างกลาง สมิธ บอกว่าคนส่วนใหญ่จะพลาด ไม่ได้งานชัน้ ยอดหรือมีความสุขกับการมีชวี ติ การท�ำงานทีด่ เี พราะไม่กล้าท�ำในสิง่ ทีต่ นหลงใหล “ไม่วา่ จะมีกคี่ นบอกคุณ ว่าหากอยากมีชีวิตการท�ำงานชั้นยอดก็ต้องท�ำตามความหลงใหล ไล่ล่า ความฝัน...คุณก็ยังไม่ท�ำตามค�ำแนะน�ำเหล่านั้น” เขาบอกว่าข้อแก้ตัวคือ สิ่งที่ฉุดรั้งเราเอาไว้ แล้วค�ำแนะน�ำของเขาคืออะไรล่ะ? “หาความหลงใหล ของตัวเองให้เจอแล้วใช้มนั จากนัน้ คุณก็จะมีชวี ติ การท�ำงานชัน้ ยอด หาก ไม่ท�ำแบบนี้ก็จะไม่มีชีวิตการท�ำงานชั้นยอด” สมิธคือหนึ่งในผู้น�ำเสนอของ TED ที่สร้างแรงบันดาลใจมากสุด เท่าที่ผมเคยพบ แต่ผมต้องยอมรับว่าอาจจะล�ำเอียงอยู่บ้าง เพราะผมเอง ก็พร�่ำสอนในเรื่องเดียวกับสมิธมาตั้งแต่วันที่เปลี่ยนใจไม่เข้าโรงเรียน กฎหมายแล้วไปท�ำอาชีพนักข่าว ตอนแรกผมไม่ได้เงินมากอย่างทีค่ วรจะ ได้หากไปเป็นนักกฎหมาย และผมก็สงสัยอยู่บ้างว่าตัวเองเลือกเส้นทาง อาชีพผิดหรือไม่ การท�ำตามความหลงใหลนั้นต้องอาศัยความกล้าหาญ โดยเฉพาะถ้ามันไม่เห็นผลเร็วเท่าที่คุณต้องการ ชีวิตของผมในปัจจุบัน C a rm i n e G a l l o
43
แตกต่างอย่างมากจากทีเ่ คยเป็นในช่วงปีแรกๆ และผมก็สนุกทีไ่ ด้แบ่งปัน ความคิดกับผู้ฟ ังทั่วโลก สิ่งที่ดีที่สุดคือผมไม่รู้สึกว่าก� ำลัง “ท� ำงาน” การเขียนข้อความเหล่านี้ การได้ชมการน�ำเสนอเหล่านี้ การได้ศึกษา ศาสตร์ทอี่ ยูเ่ บือ้ งหลังพวกมัน การสัมภาษณ์ผพู้ ดู ทีม่ ชี อื่ เสียง ตลอดจนการ แบ่งปันความคิดของพวกเขาให้ผู้อ่านรับรู้ คือประสบการณ์แสนสนุก ส� ำ หรั บ ผม เหนื อ อื่ น ใดผมยั ง ได้ เ รี ย นรู ้ ว ่ า ผู ้ ที่ ส นุ ก กั บ งานมั ก พู ด ในที่ สาธารณะได้ดีด้วย
“คุณต้องท�ำตามความหลงใหลของตนเอง คุณต้องหาให้ได้ ว่าอะไรคือสิ่งที่คุณรัก แบบไหนคือตัวตนแท้จริงของคุณ และ ต้องมีความกล้าที่จะท�ำตามนั้นด้วย ฉันเชื่อว่าความกล้าหาญ เพียงอย่างเดียวที่ทุกคนต้องมีคือความกล้าหาญที่จะท�ำตาม ความฝันของตนเอง” โอปราห์ วินฟรีย์
ในการบรรยายที่งาน TEDx สมิธยกค�ำกล่าวอันโด่งดังของ สตีฟ จอบส์ ที่ เ คยพู ด ไว้ ใ นพิ ธี ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาของบั ณ ฑิ ต มหาวิ ท ยาลั ย สแตนฟอร์ดเมื่อปี 2005 ตอนนั้นจอบส์สนับสนุนให้นักศึกษาเดินตาม เส้นทางทีร่ กั จริงๆ “งานของคุณจะกินเวลาส่วนใหญ่ในชีวติ และทางเดียว ที่จะพอใจได้อย่างแท้จริงก็คือจงท�ำสิ่งที่คุณเชื่อว่าเป็นงานชั้นยอด และ ทางเดียวทีจ่ ะได้ทำ� งานชัน้ ยอดก็คอื การรักในสิง่ ทีท่ ำ� หากคุณยังค้นไม่พบ ก็จงมองหาต่อไป อย่าหยุดอยู่กับที่ เรื่องนี้ก็เหมือนกับทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ หัวใจ คือคุณจะรู้เองเมื่อเจอมัน และก็เหมือนความสัมพันธ์ชั้นยอด
44
Talk L ike TED
ทั้งหลายตรงที่มันจะดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นจงเปิดใจมองหา จนกว่าจะเจอ อย่าหยุดค้นหา” สมิธเห็นด้วยกับจอบส์ แต่เขาเชือ่ ว่าค�ำแนะน�ำแบบนีม้ กั เข้าหูซา้ ย ทะลุหูขวา “ไม่ส�ำคัญหรอกว่าคุณดาวน์โหลดค�ำกล่าวของ สตีเวน จ. ใน พิธสี ำ� เร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดกีค่ รัง้ เพราะคุณ ก็ยังคงดูมันแล้วตัดสินใจไม่ท�ำอะไรอยู่ดี” สมิธบอกผู้ฟัง TED “คุณกลัว ที่จะท�ำในสิ่งที่หลงใหล คุณกลัวที่จะดูประหลาด คุณกลัวที่จะพยายาม คุณกลัวว่าจะล้มเหลว” หลังจากท�ำงานนักข่าวมา 25 ปี ทั้งเขียน พูด และสื่อสาร ผม ก็บอกคุณได้โดยไม่ลังเลว่าการน�ำเสนอที่สร้างแรงบันดาลใจมากที่สุด มาจากคนอย่าง แลร์รี สมิธ, เอมี มัลลินส์ และนักพูดส่วนใหญ่ที่คุณจะ ได้เจอในบทต่อๆ ไป พวกเขาล้วนมีประสบการณ์ลึกซึ้งและมีความมุ่งมั่น อย่างแรงกล้าที่จะแบ่งปันความคิดเพื่อช่วยให้คนอื่นประสบความส�ำเร็จ หมายเหตุ TED ยอมรับว่าความสุขเป็นตัวเลือกหนึ่ง อะไรคือความท้าทาย ทีค่ ณ ุ เพิง่ เจอเมือ่ ไม่นานมานี?้ หลังจากรูแ้ ล้วว่ามันคืออะไร หาเหตุผล สามข้อทีจ่ ะเปลีย่ นความท้าทายนีใ้ ห้เป็นโอกาส คุณต้องเข้าใจนะครับ ว่าความสุขคือทางเลือกอย่างหนึ่ง เป็นทัศนคติที่ส่งต่อถึงกันได้ และ สภาวะจิตใจของคุณก็จะส่งผลต่อการที่ผู้ฟังจะเปิดรับคุณ มาติเยอ ริการ์ บอกผมว่า “สภาวะจิตใจตามธรรมชาติของเรานั้นสมบูรณ์ ยามที่ไม่ถูกพลังความคิดติดลบแปลความหมายไปแบบผิดๆ เป็น เรื่องส�ำคัญที่ต้องสร้างความหวังและความมั่นใจในทางที่ก่อแรง บันดาลใจ เพราะมันคือสิ่งที่เราขาดมากที่สุดและต้องการมากที่สุด ในยุคสมัยนี้”
C a rm i n e G a l l o
45
ศาสตร์ ใหม่ของความหลงใหลและการจูงใจ ความหลงใหลและการพูดในที่สาธารณะเชื่อมโยงแนบชิดกัน นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส เดอนี ดีเดอโร (Denis Diderot) เคยกล่าวไว้ว่า “มีเพียงความหลงใหล และเป็นความหลงใหลอย่างแรงกล้าเท่านั้นที่จะ ยกระดับจิตวิญญาณให้พบเจอสิ่งยิ่งใหญ่” ผู้น�ำที่ประสบความส�ำเร็จใน ประวัติศาสตร์ล้วนเชื่อว่าความหลงใหล...ความหลงใหลอย่างแรงกล้า... สามารถยกระดับจิตวิญญาณได้ วิทยาศาสตร์ในปัจจุบนั พิสจู น์วา่ พวกเขา คิดถูก นักประสาทวิทยาค้นพบและวัดได้ว่าท�ำไมคนที่มีความหลงใหล อย่างผู้พูดของ TED และผู้น�ำที่ยิ่งใหญ่จึงสามารถสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้น และมีอิทธิพลต่อผู้อื่น ก่อนที่เราจะคิดออกแบบและน�ำเสนอการพูดให้เปี่ยมความ หลงใหลยิ่งกว่าเดิม เราต้องเข้าใจก่อนว่าความหลงใหลคืออะไรและท�ำไม ถึงใช้ได้ผล เป็นเวลาสิบปีแล้วที่ เมลิสซา คาร์ดอน (Melissa Cardon) ศาสตราจารย์ดา้ นการบริหารจัดการแห่งมหาวิทยาลัยเพซหลงใหลในการ ศึกษาเรื่องความหลงใหล ในงานศึกษาที่เป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ของ เธอชื่อ “ลักษณะโดยธรรมชาติและประสบการณ์เกี่ยวกับความหลงใหล ของผู้ประกอบการ” (The Nature and Experience of Entrepreneurial Passion) คาร์ดอนกับผู้ร่วมวิจัยอีก 4 คนจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ค้นพบว่าความหลงใหลมีบทบาทส�ำคัญต่อการประสบความส�ำเร็จของ ผู้ประกอบการ อย่างน้อยความหลงใหลก็ขับเคลื่อนพลังของคนคนหนึ่ง และเพิม่ ความมุง่ มัน่ ของเขาทีม่ ตี อ่ เป้าหมาย แต่ความหลงใหลยังท�ำอะไร ได้มากกว่านั้น คาร์ดอนบอกว่า “ความหลงใหลของผู้ประกอบการเป็นตัว กระตุ้นให้เกิดประสบการณ์ด้านอารมณ์ความรู้สึกอย่างเต็มที่ รวมถึงการ มีส่วนร่วมของสมองและการตอบสนองทางกาย”8
46
Talk L ike TED
คาร์ ดอนเริ่ม ต้น งานวิจัยด้ว ยการก�ำหนดนิยามค�ำว่า ความ หลงใหลของผู้ประกอบการ นิยามทั่วไปของค�ำว่า หลงใหล ไม่เอื้อให้ น�ำไปใช้กบั การศึกษาในทางวิชาการและการวัดค่า โดยทัว่ ไปมักนิยามค�ำนี้ ว่า “ความรูส้ กึ สิเน่หารุนแรง” หรือ “ความปรารถนาทางเพศ” ซึง่ ไม่ใช่ความ หลงใหลประเภททีค่ าร์ดอนสนใจศึกษาในทางวิชาการ แต่ “ความหลงใหล” ก็เป็นค�ำทีม่ ผี ใู้ ช้กนั ทัว่ ไปในฐานะองค์ประกอบส�ำคัญสูค่ วามส�ำเร็จ และผม เองก็มองว่าเป็นองค์ประกอบส�ำคัญยิง่ ในการน�ำเสนอทีส่ ร้างแรงบันดาลใจ การมีความหลงใหลในบางสิ่งบางอย่างหมายความว่าอย่างไร กันแน่? และทีส่ ำ� คัญกว่านัน้ คือคนจะน�ำความหลงใหลของตนไปปรับปรุง แต้มต่อเพื่อประสบความส�ำเร็จในชีวิต ธุรกิจ และการพูดในที่สาธารณะ ได้อย่างไร? ความท้าทายของคาร์ดอนคือการหาว่าความหลงใหลหมายถึง อะไร มันท�ำอะไรได้บ้าง และจะวัดมันได้อย่างไร ในทางวิชาการ หากคุณ วัดบางอย่างไม่ได้ คุณก็ไม่อาจประเมินได้วา่ มันท�ำอะไรได้บา้ ง ดังนัน้ หาก ต้องการให้ความหลงใหลเป็นหัวข้อการศึกษาทีน่ า่ สนใจ คาร์ดอนก็ตอ้ งหา นิยามที่นักวิชาการส่วนใหญ่ยอมรับ ปัจจุบันนิยามค�ำว่า “ความหลงใหล ของผูป้ ระกอบการ” ของคาร์ดอนได้รบั การยอมรับกันโดยทัว่ ไปในเอกสาร ทางวิชาการว่าเป็น “ความรูส้ กึ รุนแรงในแง่บวกต่อบางสิง่ ซึง่ มีความหมาย ส�ำหรับคุณอย่างยิ่งในฐานะปัจเจกชน” คาร์ดอนบอกว่าความหลงใหลเป็นหัวใจหลักของอัตลักษณ์แห่ง ตน เป็นตัวก�ำหนดนิยามของบุคคลหนึง่ ๆ คนเหล่านีไ้ ม่อาจแยกเป้าหมาย จากสิ่งที่ตนเป็นได้ มันคือแกนหลักแห่งการด�ำรงอยู่ของพวกเขา “ความ หลงใหลไม่ได้ถูกปลุกขึ้นมาเพราะผู้ประกอบการบางคนมีความรู้สึก เช่นนั้นอยู่แล้ว แต่เป็นเพราะพวกเขาท�ำบางสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ แห่งตนซึ่งมีความหมายและส�ำคัญส�ำหรับพวกเขา” การวิเคราะห์ของคาร์ดอนช่วยอธิบายว่าท�ำไมบรรดาผูพ้ ดู ทีไ่ ด้รบั ความนิยมสูงสุดของ TED เชื่อมโยงกับผู้ฟังได้ นั่นเป็นเพราะพวกเขาพูด C a rm i n e G a l l o
47
ในหัวข้อที่ส�ำคัญต่ออัตลักษณ์แห่งตน ยกตัวอย่างเช่นกรณีของ มาจอรา คาร์เตอร์ (Majora Carter) ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในเขตเมือง พี่ชาย คนโตของเธอรับใช้ชาติในสงครามเวียดนามแต่กลับถูกยิงตายใกล้บา้ นพัก ย่านเซาธ์บรองซ์ ความยากจน ความสิ้นหวัง และการแบ่งแยกสีผิวท�ำให้ คาร์เตอร์เป็นอย่างทีเ่ ธอเป็นในทุกวันนี้ นัน่ คือเป็นผูส้ นับสนุนการปรับปรุง เขตเมืองด้วยความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า ประสบการณ์ของเธอหล่อหลอม ตัวตนและหล่อหลอมการท�ำงานของเธอ ข้อมูลใน TED.com ระบุว่า “ความมั่นใจ พลัง และการถ่ายทอดอันเปี่ยมอารมณ์เข้มข้นของคาร์เตอร์ ท�ำให้การพูดของเธอโดดเด่นไม่เหมือนใคร” ส�ำหรับ มาจอรา คาร์เตอร์ แล้ว การมอบความหวังให้ผู้ที่หมดหวังคือแกนหลักของความเป็นตัวเธอ ความเป็นผู้ประกอบการคือแกนหลักแห่งอัตลักษณ์ของเซอร์ ริชาร์ด แบรนสัน (Richard Branson) ในปี 2007 แบรนสันบอกผู้ฟัง TED ว่า “บริษัทให้ความส�ำคัญกับการหาคนที่เหมาะสม สร้างแรงบันดาลใจ ให้คนเหล่านั้น และดึงส่วนดีที่สุดของพวกเขาออกมา ผมเพียงแต่รักการ เรียนรู้และผมก็เป็นคนทีอ่ ยากรู้อยากเห็นมาก ผมชอบท้าทายสถานภาพ สังคมปัจจุบนั แล้วพยายามเปลีย่ นมันให้ได้”9 การสร้างบริษทั อย่างเวอร์จนิ แอตแลนติกทีท่ า้ ทายสถานภาพสังคมปัจจุบนั ในวงการการบินพาณิชย์คอื ตัวตนความเป็นเขา เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2013 ผมได้ใช้เวลาหนึ่งวันกับ ริชาร์ด แบรนสัน โดยได้รับเชิญให้ร่วมเดินทางไปกับเขาในเที่ยวบินแรก ของเส้นทางใหม่จากลอสแอนเจลิสไปลาสเวกัส แบรนสันยิ้มแย้มตลอด เวลาทัง้ บนบกและบนฟ้าขณะพูดอย่างกระตือรือร้นเรือ่ งงานบริการลูกค้า และการทีม่ นั ได้สร้างความแตกต่างจนแบรนด์ของเขาประสบความส�ำเร็จ แบรนสั น และคาร์ เ ตอร์ ท� ำ กิ จ กรรมที่ เ กี่ ย วข้ อ งอย่ า งมากกั บ อัตลักษณ์ตามบทบาทของพวกเขาในแบบทีม่ คี วามหมายยิง่ และคาร์ดอน ก็มองว่าความหลงใหลนี่เองที่มีบทบาทส�ำคัญในความส�ำเร็จด้านอาชีพ การงานและด้านการเป็นผู้สื่อสารของพวกเขา 48
Talk L ike TED
“คนที่มีความหลงใหลอย่างแท้จริงในหัวข้อที่พูดจะเป็นผู้พูดที่ดี กว่า พวกเขาสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ฟังในแบบที่คนเฉื่อยชาและไร้ความ หลงใหลท�ำไม่ได้” คาร์ดอนบอกผม “เมือ่ คุณมีความหลงใหลในเรือ่ งใดก็จะ อดใจไม่ไหว อยากคิดถึงมัน อยากท�ำอะไรสักอย่างเกีย่ วกับมัน และพูดถึง มันให้คนอืน่ ฟัง” คาร์ดอนบอกว่านักลงทุน ลูกค้า และผูถ้ อื ผลประโยชน์รว่ ม อืน่ ๆ เป็น “ผูบ้ ริโภคทีฉ่ ลาด” พวกเขารูเ้ มือ่ ใครคนหนึง่ แสดงความหลงใหล อย่างแท้จริง และดูออกเมือ่ เสแสร้งแกล้งท�ำ มันเป็นเรือ่ งยากมากจนเกือบ เป็นไปไม่ได้ทจี่ ะท�ำให้ผฟู้ งั ตืน่ เต้นหากคุณไม่รสู้ กึ ผูกพันอย่างลึกซึง้ และมี ความหมายกับข้อมูลที่น�ำเสนอ
ความหลงใหล...เหตุใดจึงใช้ ได้ผล
ขั้นต่อไปส�ำหรับคาร์ดอนคือการหาว่าเหตุใดความหลงใหลจึง ส�ำคัญนัก เธอพบว่าความหลงใหลน�ำไปสู่พฤติกรรมและผลลัพธ์ส�ำคัญ คาร์ดอนรวมถึงนักวิทยาศาสตร์อีกนับสิบในแขนงนี้ค้นพบว่าผู้น�ำธุรกิจ ทีม่ คี วามหลงใหลมักมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่า ตัง้ เป้าหมายไว้สงู กว่า แสดงความอึดมากกว่า และท�ำผลงานให้บริษทั ได้ดกี ว่า คาร์ดอนกับเพือ่ น ร่วมงานของเธอยังพบความเกี่ยวข้องโดยตรงระหว่าง “ความหลงใหลที่ สังเกตได้” (perceived passion) ของผู้น�ำเสนอข้อมูลกับแนวโน้มที่ นักลงทุนจะยอมลงทุนตามแนวคิดของเขาหรือเธอ ศาสตราจารย์เมลิสซา คาร์ดอน กับ เชอริล มิตเทเนส (Cheryl Mitteness) จากมหาวิทยาลัยนอร์ธอีสเทิร์น และ ริชาร์ด ซูเดก (Richard Sudek) จากมหาวิทยาลัยแชปแมน ท�ำการทดลองที่น่าสนใจและตีพิมพ์ ผลการทดลองใน Journal of Business Venturing ฉบับเดือนกันยายน 2012 โดยนั ก วิ จั ย ทั้ ง สามพยายามท� ำ ความเข้ า ใจบทบาทของความ หลงใหลต่อการตัดสินใจของนักลงทุน C a rm i n e G a l l o
49
การน�ำเสนอแผนธุรกิจคือหนึง่ ในการน�ำเสนอทีส่ ำ� คัญสุดในธุรกิจ หากขาดการระดมทุน การสร้างธุรกิจใหม่ก็คงแทบไม่ได้เกิด บริษัทอย่าง กูเกิลและแอปเปิลคงไม่มีวันได้เปลี่ยนชีวิตเราหากไม่มีผู้น�ำเปี่ยมเสน่ห์ และความหลงใหลที่จับความสนใจของนักลงทุนไว้ได้ ความหลงใหลเป็น เกณฑ์เพียงอย่างเดียวทีน่ กั ลงทุนของแอปเปิลและกูเกิลใช้ตดั สินใจลงทุน ใช่ไหม? ย่อมไม่ใช่อยูแ่ ล้ว ความปรารถนาอันแรงกล้าทีร่ บั รูไ้ ด้ของผูก้ อ่ ตัง้ (สตีฟ จอบส์, สตีฟ วอซเนียก, เซอร์เกย์ บริน, แลร์รี เพจ) มีบทบาทส�ำคัญ ต่อการตัดสินใจของนักทุนหรือไม่? มีแน่นอน สถานทีท่ คี่ าร์ดอนท�ำการศึกษาคือองค์กรนักลงทุนนางฟ้า (angel investor) ทีใ่ หญ่สุดแห่งหนึ่งในอเมริกา นั่นคือเทคโคสต์เอนเจิลส์ ตั้งอยู่ที่ ออเรนจ์เคาน์ตี แคลิฟอร์เนีย10 นักลงทุนรายบุคคลกลุม่ นีล้ งทุนไปกว่า 100 ล้านดอลลาร์ในบริษัทเกือบ 170 แห่งนับตั้งแต่ปี 1997 กลุ่มตัวอย่างยัง ประกอบด้วยนักลงทุนทีไ่ ม่ได้ลงทุนเป็นกลุม่ พวกเขาตัดสินใจด้วยตัวเอง ตัง้ แต่เดือนสิงหาคม 2006 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2010 นักลงทุน นางฟ้า 64 คนคัดกรองบริษทั 241 แห่ง ขัน้ ตอนนีร้ วมถึงการน�ำเสนอผ่าน โปรแกรมพาวเวอร์พอยต์ 15 นาทีและช่วงถามตอบอีก 15 นาที (ในภายหลัง คุณจะได้รวู้ า่ ท�ำไม 15-20 นาทีจงึ เป็นช่วงเวลาทีเ่ หมาะสมส�ำหรับน�ำเสนอ แผนธุรกิจ) บริษัท 41 แห่ง (17 เปอร์เซ็นต์) ได้รับเงินทุนในที่สุด บริษัทใหม่ เหล่านี้จัดอยู่ในธุรกิจ 16 ประเภทรวมถึงซอฟต์แวร์ เครื่องอุปโภคบริโภค อุปกรณ์การแพทย์ และบริการทางธุรกิจ นักวิจัยขอให้นักลงทุนนางฟ้า ใช้เกณฑ์วัดผล 5 ระดับเพื่อวัดความหลงใหลและความกระตือรือร้น ของผู้น�ำเสนอข้อมูลโดยดูจาก 2 หัวข้อด้วยกัน คือ “ซีอีโอคนนี้มีความ หลงใหลในบริษัทนี้” และ “ซีอีโอคนนี้มีความกระตือรือร้นมาก” โดย นักวิจัยจะควบคุมปัจจัยอื่น เช่น โอกาสทางการตลาด ความเสี่ยงสัมพัทธ์ และศักยภาพในการสร้างรายได้ ทัง้ นีเ้ พือ่ แยกความหลงใหลให้เป็นปัจจัย เดียวในการตัดสินใจลงทุน การแยกเช่นนี้ช่วยให้นักวิจัยสามารถวัด 50
Talk L ike TED
บทบาทของมันและค้นพบว่าความหลงใหลมีบทบาทส�ำคัญจริงๆ ในความ ส�ำเร็จของการน�ำเสนอแผนธุรกิจ นักลงทุนประเมินศักยภาพของผู้ประกอบการจากเกณฑ์ 13 ข้อ โดยขอให้พวกเขาเรียงล�ำดับเกณฑ์เหล่านั้นตามความส�ำคัญที่มีต่อการ ตัดสินใจขัน้ สุดท้าย จุดเด่นด้านโอกาสทางธุรกิจและจุดเด่นจากตัวผูบ้ ริหาร เองเป็นเกณฑ์ทมี่ ผี ใู้ ห้ความส�ำคัญสูงสุดเป็นอันดับ 1 และ 2 “ความหลงใหล ที่รับรู้ได้” มาเป็นอันดับ 3 ซึ่งมีความส�ำคัญมากกว่าเกณฑ์อื่นๆ อย่างการ ศึกษา รูปแบบ ประสบการณ์ หรืออายุของผู้ประกอบการ นักวิจยั สรุปว่า “การค้นพบของเราเป็นหลักฐานว่าความหลงใหล ที่รับรู้ได้ท�ำให้เกิดความแตกต่างเมื่อนักลงทุนนางฟ้าประเมินศักยภาพ ของธุรกิจใหม่ในการลงทุน...ความหลงใหลที่รับรู้ได้นั้นเกี่ยวพันกับความ กระตือรือร้นและความตืน่ เต้น อีกทัง้ ยังแตกต่างจากความพร้อมหรือความ ทุม่ เททีผ่ ปู้ ระกอบการอาจมีตอ่ ธุรกิจของตนด้วย...เห็นได้วา่ ความหลงใหล ที่รับรู้ได้ส�ำคัญส�ำหรับนักลงทุน” งานวิจัยของคาร์ดอนมีความส�ำคัญในการช่วยให้เราเข้าใจว่า เหตุใดการน�ำเสนอบางชุดของ TED ถึงกลายเป็นปรากฏการณ์ฮอื ฮาทาง อินเทอร์เน็ต และทีส่ ำ� คัญกว่านัน้ คือช่วยบอกว่าเราจะปลดปล่อยศักยภาพ ของตนเองในการพูดต่อหน้าสาธารณชนได้อย่างไร “คาร์ไมน์ คุณรู้จักค�ำกล่าวโบราณที่เราพร�่ำบอกนักศึกษาแต่ พวกเขาไม่เคยฟังใช่ไหมคะ? ที่ว่าให้ท�ำสิ่งที่รัก คืออย่างนี้นะคะ มันเป็น ความจริงค่ะ” คาร์ดอนบอก “ถ้าคุณเปิดบริษัทท�ำธุรกิจประเภทที่คิดว่า จะท�ำให้รวย แต่ตัวคุณไม่สนุกกับผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม หรืออะไร ก็ตามเกี่ยวกับมันเลย นั่นคือความผิดพลาดค่ะ” คาร์ดอนเชื่อว่าอีกเรื่อง ทีถ่ อื เป็นความผิดพลาดคือเมือ่ คุณคิดจะโน้มน�ำและสร้างแรงบันดาลใจให้ คนอืน่ ด้วยการพูดในหัวข้อทีค่ ณ ุ ไม่รกั ...ซึง่ ไม่ใช่หวั ใจส�ำคัญของอัตลักษณ์ ความเป็นตัวคุณ C a rm i n e G a l l o
51
เรียนรู้ โดยตรงจากอาการป่วยของตนเอง มีนกั พูดของ TED ไม่กคี่ นทีม่ สี ายสัมพันธ์ลกึ ซึง้ กับหัวข้อทีพ่ ดู เท่า จิลล์ โบลต์ (Jill Bolte Taylor) หรือ ดร. จิลล์ นักประสาทกายวิภาคศาสตร์ ผูเ้ ป็นโฆษกระดับชาติของศูนย์ทรัพยากรเนือ้ เยือ่ สมองฮาร์วาร์ด ต�ำแหน่ง ของเธอถือเป็นค�ำอธิบายส่วนหนึง่ ว่าท�ำไมการน�ำเสนอของเธอจึงเป็นหนึง่ ใน TED talk ที่ได้รับความนิยมสูงสุดตลอดกาล เช้าวันหนึ่ง ดร. จิลล์ตื่นมาพร้อมอาการปวดตุบๆ หลังตาซ้าย เป็นการปวดกระตุกรุนแรงแบบที่อาจรู้สึกเมื่อกินไอศกรีมหรืออาหารเย็น จัด ถ้ามันไม่มีพิษมีภัยแบบนั้นก็คงดี แต่อาการปวดศีรษะของ ดร. จิลล์ หนักขึ้นเรื่อยๆ เธอสูญเสียการทรงตัวและไม่นานก็ตระหนักว่าแขนขวา เป็นอัมพาตโดยสิ้นเชิง เส้นเลือดในสมองเธอแตก เธอก�ำลังเผชิญอาการ เส้นโลหิตในสมองข้างซ้ายแตกอย่างเฉียบพลัน ดร. จิลล์มองว่าเหตุการณ์ครัง้ นีเ้ ป็นโชค คุณต้องเข้าใจนะครับว่า ดร. จิลล์เป็นนักประสาทกายวิภาคศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญการตรวจชันสูตร สมองมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการป่วยทางจิตอย่างรุนแรง “ฉันรู้ตัวว่า ‘โอ้ แย่แล้ว! เส้นเลือดในสมองฉันแตก! เส้นเลือดในสมองฉันแตก!’ ต่อมา สิง่ ทีส่ มองบอกฉันก็คอื ‘ว้าว! เยีย่ มไปเลย! จะมีนกั วิทยาศาสตร์ดา้ นสมอง กี่คนกันที่มีโอกาสศึกษาสมองของตัวเองแบบนี้’”11 เธอบอกผู้ฟัง TED ใน เดือนมีนาคม 2008 อาการเส้นเลือดในสมองแตกเปลี่ยน ดร. จิลล์ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ อาการครั้งนี้รุนแรง ท�ำให้เธอพูดหรือเคลื่อนไหวไม่ได้ ต้องใช้ เวลาบ�ำบัดหลายปีกว่าจะฟืน้ ตัวได้บางส่วน ผ่านไปถึงแปดปีกว่าเธอจะมา น�ำเสนอที่ TED ได้ การตื่นรู้ทางจิตวิญญาณของ ดร. จิลล์เองก็ส�ำคัญมาก เธอ เชื่อมโยงกับโลกและมนุษย์คนอื่นในแบบที่ไม่เคยประสบมาก่อนในโลก 52
Talk L ike TED
ของ “สมองซี ก ซ้ า ย” ซึ่ ง ตอนนั้ น เธอเห็ น ตั ว เองแยกจากเอกภพอั น กว้างใหญ่ เมือ่ ไม่มเี สียงจากสมองซีกซ้ายและเธอไม่อาจรูส้ กึ ได้วา่ ร่างกาย เริม่ ต้นและสิน้ สุดตรงไหนก็ทำ� ให้ “จิตวิญญาณโบยบินอย่างอิสระ” เธอรูส้ กึ เป็นส่วนหนึ่งของเอกภพอันกว้างใหญ่ พูดสั้นๆ คือเหมือนเธอได้ไปถึง สรวงสวรรค์ “จ�ำได้ว่าตอนนั้นฉันคิดว่าคงไม่มีทางบีบตัวตนอันกว้างใหญ่ ไพศาลให้กลับเข้ามาในร่างเล็กจ้อยนี้ได้” อาการเส้นเลือดในสมองแตกเปลี่ยนชีวิต ดร. จิลล์เช่นเดียวกับ การน�ำเสนอของเธอบนเวที TED ในหัวข้อ “การรู้แจ้งอันยิ่งใหญ่” (My Stroke of Insight) โดยมีพื้นฐานจากหนังสือชื่อเดียวกันที่ตีพิมพ์ในปี 2008 มีผชู้ มไปแล้วกว่า 10 ล้านครัง้ ผลโดยตรงจากการบรรยายครัง้ นีค้ อื ดร. จิลล์ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดในปี 2008 ของนิตยสาร TIME ต่อมาในเดือนมกราคม 2013 ดร. จิลล์อธิบายผลกระทบ อันน�ำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของการน�ำเสนอครั้งนั้นไว้ในบล็อกของ ฮัฟฟิงตันโพสต์วา่ “หลังจากการพูดในปี 2008 แค่ไม่กสี่ ปั ดาห์ ชีวติ ของฉัน ก็เปลี่ยนไป และเสียงสะท้อนก็ยังคงดังก้องอยู่ในโลกของฉัน หนังสือ ของฉัน การรูแ้ จ้งอันยิง่ ใหญ่ ได้รบั การแปลไปแล้ว 30 ภาษา ทัง้ TIME และ Oprah’s Soul Series ก็ตดิ ต่อมา ฉันได้เดินทางไปยุโรป เอเชีย อเมริกาใต้ แคนาดา และทั่วอเมริกา ในเดือนกุมภาพันธ์ 2012 ฉันยังได้เดินทางไป แอนตาร์กติกากับท่านรองประธานาธิบดีอัล กอร์ นักวิทยาศาสตร์ 20 คน และผู้น�ำโลก 125 คนที่ใส่ใจปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจัง”12 ดร. จิลล์มีอาชีพการงานที่ยอดเยี่ยม แบบที่ แลร์รี สมิธ น่าจะ เห็นด้วย เพราะเธอค้นพบและท�ำในสิ่งที่อยากท�ำก่อนหน้าเหตุการณ์ครั้ง ใหญ่ทที่ ำ� ให้เธอกลายเป็นผูพ้ ดู ทีส่ ร้างแรงบันดาลใจเสียอีก ดร. จิลล์มาเป็น นักวิทยาศาสตร์ด้านสมองเพราะน้องชายได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค จิตเภท “ในฐานะพี่สาวและต่อมาในฐานะนักวิทยาศาสตร์ ฉันอยากเข้าใจ ว่าท�ำไมฉันถึงมีความฝันแล้วเชื่อมโยงมันกับความจริงและท�ำฝันให้เป็น C a rm i n e G a l l o
53
จริงได้? แต่ท�ำไมสมองของน้องชายฉันและโรคจิตเภทที่เขาเป็นถึงท�ำให้ เขาไม่อาจเชื่อมโยงความฝันกับความเป็นจริงทั่วไปที่ทุกคนมีร่วมกัน จนกลายเป็นอาการหลงผิดแทน?” ผมคุยกับ ดร. จิลล์เกี่ยวกับรูปแบบการน�ำเสนอของเธอ คุยเรื่อง วิธีการผูกเรื่อง การฝึกฝน และการน�ำเสนอของเธอ ค�ำแนะน�ำที่ ดร. จิลล์ มอบให้นักการศึกษาและนักสื่อสารก็คือ จงเล่าเรื่องและแสดงความ หลงใหลของคุณออกมา “ตอนอยูท่ ฮี่ าร์วาร์ดฉันได้รบั รางวัลต่างๆ มากมาย” ดร. จิลล์บอกผม “ทีเ่ ป็นเช่นนัน้ ไม่ใช่เพราะความรูท้ างวิทยาศาสตร์ของฉัน ดีเด่นกว่าคนอื่น ฉันชนะรางวัลเพราะเล่าเรื่องที่น่าสนใจ น่าตื่นตาตื่นใจ และเป็นเรื่องของฉันจริงๆ ในทุกรายละเอียด” สายสัมพันธ์ลึกซึ้งที่ ดร. จิลล์มีต่อหัวข้อที่พูดไม่อาจแยกจาก ความสามารถอันตราตรึงใจในการสื่อสารด้วยความหลงใหล ซึ่งในที่สุด จะเปลี่ยนมุมมองที่ผู้ฟังมีต่อโลก หากคุณรู้สึกว่าหัวข้อที่พูดน่าตื่นตา ตื่นใจ น่าสนใจ และยอดเยี่ยม ก็มีโอกาสสูงที่ผู้ฟังจะคิดแบบเดียวกัน
สมองของคุณไม่เคยหยุดโต ต้องขอบคุณการศึกษาด้านความยืดหยุ่นของสมอง (neuroplasticity) ทีท่ ำ� ให้นกั วิทยาศาสตร์คน้ พบว่าแท้จริงแล้วสมองมีการเติบโต และเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต การท�ำอะไรซ�้ำบ่อยๆ ท�ำให้เกิดวิถีประสาท สั่งการใหม่ๆ ที่ชัดเจนขึ้น เมื่อคนคนหนึ่งกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ แขนงใดแขนงหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นดนตรี กีฬา หรือการพูดในที่สาธารณะ พื้นที่ในสมองซึ่งเกี่ยวข้องกับทักษะเหล่านั้นก็จะเติบโตขึ้น “หากเราท�ำอะไรซ�้ำๆ ก็จะท�ำสิ่งนั้นได้ดีขึ้น”13 ตามค�ำกล่าวของ ดร. ปาสคาล มิเชลอน (Pascale Michelon) ศาสตราจารย์พิเศษแห่ง มหาวิทยาลัยวอชิงตันในเซนต์หลุยส์ มิเชลอนบอกผมเกี่ยวกับการวิจัยที่ 54
Talk L ike TED
ท�ำกับทุกคนตัง้ แต่คนขับแท็กซีไ่ ปจนถึงนักดนตรี เมือ่ เปรียบเทียบกับคน ขับรถประจ�ำทาง คนขับแท็กซีใ่ นลอนดอนมีฮปิ โปแคมปัสในสมองส่วนหลัง โตกว่า ฮิปโปแคมปัสมีบทบาทเฉพาะในการพัฒนาทักษะด้านการค้นหา เส้นทาง ดังนั้นฮิปโปแคมปัสของคนขับรถประจ�ำทางจึงไม่ค่อยได้ท�ำงาน เพราะพวกเขาขับตามเส้นทางเดิมทุกวัน นักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบด้วย ว่าสมองเนือ้ เทาส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับการเล่นดนตรี (บริเวณสัง่ การ กลีบข้าง ส่วนหน้าด้านบน และบริเวณขมับส่วนล่าง) มีมากสุดในนักดนตรีอาชีพ ที่ฝึกฝนวันละ 1 ชั่วโมง มีระดับปานกลางในนักดนตรีมือสมัครเล่น และ ต�่ำสุดในคนที่ไม่เล่นดนตรี การเรียนรู้ทักษะใหม่และท�ำซ�้ำทักษะนั้น ครั้งแล้วครั้งเล่าช่วยสร้างวิถีประสาทสั่งการใหม่ในสมอง มิเชลอนเชื่อว่าการศึกษานี้น�ำไปใช้กับคนที่พูดซ�้ำๆ ในหัวข้อที่ เจ้าตัวหลงใหลได้ดว้ ย “พืน้ ทีส่ มองซึง่ เกีย่ วข้องกับภาษาหรือบริเวณทีช่ ว่ ย ให้คณ ุ พูดและอธิบายความคิดได้ชดั เจนขึน้ จะตืน่ ตัวมากขึน้ และท�ำงานมี ประสิทธิผลมากขึน้ เมือ่ ใช้งานบ่อยๆ ยิง่ คุณพูดในทีส่ าธารณะบ่อยแค่ไหน โครงสร้างของสมองก็เปลี่ยนแปลงมากเท่านั้น หากคุณพูดในที่สาธารณะ บ่อย พื้นที่ด้านภาษาในสมองก็จะได้รับการพัฒนามากขึ้น” ผู้สื่อสารที่สะกดใจคนได้อย่างผู้น�ำเสนอของ TED และดึงดูด ผู้ชมออนไลน์ได้มากสุดก็คือผู้ที่เชี่ยวชาญในหัวข้อหนึ่งๆ เพราะพวกเขา ใช้ความทุ่มเท เวลา และความพยายามเพื่อให้บรรลุผลตามที่ต้องการ ซึ่ง ก็ได้แรงหนุนหลักๆ จากความหลงใหลนั่นเอง
ความลับของบุคลิกภาพที่ติดต่อไปยังคนรอบข้าง นักจิตวิทยา ฮาวเวิร์ด ฟรีดแมน (Howard Friedman) ศึกษา คุณลักษณะทีย่ ากจะอธิบายมากทีส่ ดุ นัน่ คือเสน่หด์ งึ ดูดใจ (charisma) ซึง่ เป็นแนวคิดทีใ่ กล้ชดิ กับความหลงใหล ใน โครงการอายุยนื (The Longevity C a rm i n e G a l l o
55
Project) ฟรีดแมนเผยผลการศึกษาที่น่าตื่นเต้นและเป็นการค้นพบใหม่ ในเรื่องนี้ ฟรีดแมนเริม่ ต้นด้วยการออกแบบสอบถามเพือ่ จัดประเภทบุคคล ที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจต�่ำกับคนที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจสูง ตัวอย่างประโยคที่ถาม เช่น “เมื่อฉันได้ฟังเพลงที่ยอดเยี่ยม ร่างกายก็เริ่มขยับไปตามจังหวะโดย อัตโนมัต”ิ 14 หรือ “ฉันเป็นจุดสนใจในงานเลีย้ ง” และ “ฉันหลงใหลงานทีท่ ำ� ” ผู้ตอบแบบสอบถามต้องเลือกว่าประโยคเหล่านี้ตรงกับตัวเองแค่ไหน ระดับให้เลือกตอบมีตั้งแต่ “ไม่ตรงเลย” ไปจนถึง “ตรงมาก” คะแนนเฉลี่ย อยู่ที่ 71 คะแนน (มีผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 117 คะแนน) การศึกษาครั้งนี้ แยกผูท้ มี่ บี คุ ลิกภาพดึงดูดใจออกจากผูท้ เี่ ป็นไม้ประดับ ฟรีดแมนเรียกมัน ว่าการทดสอบการสื่อสารทางด้านอารมณ์ (Affective Communications Test - ACT) ที่ใช้วัดว่าคนเราสามารถส่งความรู้สึกไปถึงคนอื่นได้ดี แค่ไหน อย่างไรก็ตามฟรีดแมนยังก้าวไปไกลกว่านั้นอีก ฟรีดแมนเลือกคนจ�ำนวนสิบกว่าคนที่ได้คะแนนสูงมากและต�่ำ มาก แล้วแจกแบบสอบถามให้และถามว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรในตอนนั้น จากนั้นก็จัดให้คนที่ได้คะแนนสูงและต�่ำมาอยู่ในห้องเดียวกัน พวกเขา ต้องนั่งอยู่ในห้องนั้นเป็นเวลา 2 นาทีโดยห้ามพูดกัน หลังจากหมดเวลา ต้องตอบแบบสอบถามอีกชุดเพื่อประเมินอารมณ์ แม้ไม่ได้พูดอะไรสักค�ำ ผู้ที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจสูงก็ยังส่งผลต่ออารมณ์ของผู้มีเสน่ห์ดึงดูดใจต�่ำ หาก ผู้มีเสน่ห์ดึงดูดใจสูงมีความสุข ผู้มีเสน่ห์ดึงดูดใจต�่ำก็พลอยมีความสุข ไปด้วย อย่างไรก็ตามเรือ่ งนีไ้ ม่ได้สง่ ผลในทางกลับกัน คนทีม่ เี สน่หด์ งึ ดูดใจ ยิ้มมากกว่าและมีพลังงานมากกว่าในการส่งภาษากายโดยไม่ใช้ค�ำพูด พวกเขาแผ่ความสุขและความหลงใหลออกมา การศึ ก ษาของฟรี ด แมนเผยว่ า ความหลงใหลส่ ง ผลต่ อ คน รอบข้างได้จริง คนทีไ่ ม่สอื่ สารอารมณ์ (แทบไม่สบตา นัง่ นิง่ ตัวแข็ง ไม่ขยับ มือไม้) จึงไม่สามารถส่งอิทธิพลและชักจูงใจคนอืน่ ได้มากเท่าคนทีม่ เี สน่ห์ ดึงดูดใจสูง 56
Talk L ike TED
ความหลงใหลเป็นสิ่งที่ติดต่อถึงกันได้จริง ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน (Ralph Waldo Emerson) เคยกล่าวว่า “ไม่เคยมีความส�ำเร็จอันยิ่งใหญ่เกิดขึ้นโดยปราศจากความกระตือรือร้น” จอยซ์ โบโน (Joyce Bono) แห่งมหาวิทยาลัยมินนิโซตา และ รีมัส อิลีส (Remus Ilies) แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต พิสูจน์แล้วว่าเอเมอร์สัน พูดถูก อาจารย์จากสาขาบริหารธุรกิจทั้งสองคนท�ำการศึกษาที่แยกขาด จากกันรวมสี่ครั้งกับผู้เข้าร่วมหลายร้อยคนเพื่อวัดค่าเสน่ห์ดึงดูดใจ อารมณ์ในด้านบวก และ “การติดต่อถึงกันทางอารมณ์” นักวิจยั ค้นพบว่า “ปัจเจกชนผูผ้ า่ นการประเมินว่ามีเสน่หด์ งึ ดูดใจ สูงมีแนวโน้มทีจ่ ะแสดงอารมณ์ในด้านบวกผ่านการสือ่ สารทางลายลักษณ์ อักษรและค�ำพูด”15 อารมณ์ในด้านบวกนั้นรวมถึงความหลงใหล ความ กระตือรือร้น ความตื่นเต้น และการมองโลกในแง่ดี โบโนกับอิลีสยัง ค้นพบด้วยว่าอารมณ์ในด้านบวกเป็นสิง่ ทีต่ ดิ ต่อถึงกันและช่วยให้อารมณ์ ของผู้เข้าร่วมการวิจัยดีขึ้นได้ ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ได้ฟังและชมเหล่าผู้น�ำ คิดบวกทั้งโดยตรงและทางวิดีโอต่างก็อารมณ์ดีขึ้นมากกว่าคนที่ได้ชม ผูน้ ำ� ทีม่ อี ารมณ์ในด้านบวกน้อย ยิง่ กว่านัน้ พวกเขายังมองว่าผูน้ ำ� คิดบวก มีประสิทธิผลมากกว่า ดังนัน้ จึงมีแนวโน้มจะกล่อมให้ผตู้ ามท�ำสิง่ ทีพ่ วกตน ต้องการได้ “ผลการศึกษาของเราบ่งบอกชัดเจนว่าการแสดงอารมณ์ของผูน้ ำ� มีบทบาทส�ำคัญต่อการรับรู้ของผู้ตามในเรื่องประสิทธิผลของผู้น�ำ ความ ดึงดูดใจของผู้น�ำ และอารมณ์ของผู้ตาม ผลที่ได้ยังบ่งชี้ด้วยว่าการเป็น ผู้น�ำที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจเชื่อมโยงกับความส�ำเร็จขององค์กร เพราะผู้น�ำที่ มีเสน่ห์ดึงดูดท�ำให้ผู้ตามได้สัมผัสอารมณ์ในด้านบวก สิ่งส�ำคัญกว่านั้น คือผลการศึกษาของเราบ่งชี้ว่าพฤติกรรมของผู้น�ำจะท�ำให้เกิดความ แตกต่างในความสุขและความอยู่ดีมีสุขของผู้ตามด้วยการส่งอิทธิพลต่อ ภาวะอารมณ์ของพวกเขา” C a rm i n e G a l l o
57
ว่ากันว่าความส�ำเร็จไม่ได้ทำ� ให้มคี วามสุข แต่ความสุขสร้างความ ส�ำเร็จได้ ผู้พูดที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ TED สะท้อนความจริงของ ค�ำกล่าวนี้ ความคิดของคุณส่งผลโดยตรงต่อการน� ำเสนอข้อมูลที่คุณ สื่อสารออกไป ทั้งความมั่นใจต่อเรื่องที่คุณถนัดและความหลงใหลที่คุณ มีต่อหัวข้อที่พูด ความคิดเปลี่ยนเคมีในสมองของคุณ หล่อหลอมสิ่งที่คุณ พูดและวิธีการที่คุณพูด “เมื่อท่านได้แรงบันดาลใจจากเป้าหมายอันยิ่งใหญ่บางอย่าง งานพิเศษบางงาน ความคิดทัง้ ปวงจักหลุดพ้นจากสิง่ เหนีย่ วรัง้ ความคิดของท่านเอาชนะข้อจ�ำกัดได้ การรับรู้ของท่านขยาย ออกได้ในทุกทิศทาง และท่านจะพบว่าตนเองอยู่ในโลกใหม่ที่ ยิง่ ใหญ่และมหัศจรรย์ พลัง ศักยภาพ และความสามารถพิเศษ ที่หลับใหลอยู่พลันฟื้นตื่น ท่านจะค้นพบตัวเองว่าเป็นบุคคล ยิ่งใหญ่กว่าที่เคยคิดฝัน” ปตัญชลี (Patanjali) ปราชญ์ชาวอินเดีย บ่อยครั้งได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งโยคะ
เมื่อคุณมีความหลงใหลในหัวข้อที่พูด หรือถึงขั้นหมกมุ่นกับมัน มากๆ พลังงานและความกระตือรือร้นที่คุณแสดงออกจะส่งถึงตัวผู้ฟัง อย่ากลัวที่จะแสดงความเป็นตัวเองหรือตัวตนแท้จริงของคุณ หากคุณมี แรงบันดาลใจอย่าง ดร. จิลล์ขอให้แบ่งปันความรู้สึกนั้นออกมา หากคุณ หงุดหงิดเหมือน แลร์รี สมิธ ขอให้ระบายมันออกมา หากคุณมีความสุข เหมือน มาติเยอ ริการ์ ขอให้แสดงมันออกมา
58
Talk L ike TED
หมายเหตุ TED เปิดรับคนที่มีความหลงใหลเข้ามาในชีวิตคุณ ฮาวเวิร์ด ชูล ต์ซ ผู้ก่อตั้งสตาร์บัคส์ เคยบอกผมว่า “เมื่อคุณอยู่กับคนที่มี ความหลงใหลร่วมกันและมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน อะไรก็เป็นไปได้ ทั้งนั้น” การหาความหลงใหลของตัวคุณเองให้เจอถือเป็นก้าวหนึ่ง แต่คุณต้องแบ่งปันมัน แสดงมันออกมา และพูดถึงสิ่งที่สร้างแรง บันดาลใจแก่คุณให้เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า และคนอื่นในชีวิตของคุณ ฟัง สิ่งส�ำคัญที่สุดคือสานสัมพันธ์ระหว่างตัวคุณเองกับคนอื่นที่มี ความหลงใหลแบบเดียวกับคุณ ผู้น�ำใช้ความหลงใหลเป็นเกณฑ์ ในการจ้างงาน ริชาร์ด แบรนสัน จ้างพนักงานที่มีทัศนคติตามแบบ ของบริษัทเวอร์จิน นั่นคือยิ้มบ่อย มองโลกในแง่ดี และกระตือรือร้น ผลคือพวกเขาเป็นนักสือ่ สารทีด่ ี แค่ลำ� พังความหลงใหลยังไม่เพียงพอ คุณต้องอยู่กับคนที่หลงใหลในองค์กรของคุณและในงานที่พวกเขา ท�ำด้วย ความส�ำเร็จสูงสุดในฐานะผู้น�ำและนักสื่อสารขึ้นอยู่กับสิ่งนี้
เท็ดสเตอร์ 500 คนไม่มีทางผิด ริชาร์ด เซนต์จอห์น (Richard St. John) ระหว่างอยูบ่ นเครือ่ งบิน เพื่อไปร่วมงานสัมมนา TED เมื่อวัยรุ่นที่นั่งติดกันสงสัยเกี่ยวกับงานของ เขาและถามว่า “อะไรกันแน่ทนี่ ำ� ไปสูค่ วามส�ำเร็จ?” เซนต์จอห์นไม่รคู้ ำ� ตอบ ที่ดีแต่เขามีความคิดที่ดี เขาจะถามผู้น�ำที่ประสบความส�ำเร็จซึ่งเข้าร่วม และพูดในงานสัมมนาของ TED เขาสัมภาษณ์เท็ดสเตอร์ 500 คนตลอด 10 ปีต่อมา และค้นพบลักษณะทีท่ �ำให้คนเหล่านี้ประสบความส�ำเร็จอย่าง มาก เซนต์จอห์นเปิดเผยสิ่งที่ค้นพบในการน�ำเสนอยาว 3 นาทีที่งาน สัมมนา TED ในมอนเทอร์เรย์เมื่อปี 2005
C a rm i n e G a l l o
59
ในการน�ำเสนอข้อมูลซึง่ มีผชู้ มกว่า 4 ล้านครัง้ เซนต์จอห์นพูดใน หัวข้อ “เคล็ดลับ 8 ประการสู่ความส�ำเร็จ” (The 8 Secrets of Success) ว่าแต่ “เคล็ดลับ” ข้อแรกคืออะไร? ใช่แล้วครับ มันคือความหลงใหลนัน่ เอง “เท็ดสเตอร์ท�ำงานด้วยความรัก พวกเขาไม่ได้ท�ำเพื่อเงิน”16 เซนต์จอห์น กล่าว ในหนังสือของเขาที่ใช้ชื่อเดียวกันกับข้างต้น เซนต์จอห์นเขียน ถึงมัลลินส์ผู้ที่ผมน�ำเรื่องราวของเธอมาเปิดบทนี้ “ความปรารถนาอัน แรงกล้าท�ำให้ เอมี มัลลินส์ สร้างสถิติในการวิ่ง แม้เธอขาดอวัยวะส�ำคัญ สองอย่างส�ำหรับการวิง่ นัน่ คือขาทัง้ สองข้าง...ชือ่ ของเธอช่างเหมาะสมกับ ตัวเพราะ ‘เอมี’ มาจากค�ำภาษาฝรั่งเศสที่แปลว่า ‘รัก’ และมันก็คือเหตุผล หลักที่ท�ำให้เธอประสบความส�ำเร็จทั้งบนลู่วิ่งและในชีวิต ไม่แปลกเลยที่ เธอบอกว่า ‘ถ้ามันคือความปรารถนาอันแรงกล้าของคุณ คุณก็จะประสบ ความส�ำเร็จอย่างแน่นอน’”
อยากช่วยคนอื่นหรือ? หุบปากแล้วฟังเสีย ดร. เออร์เนสโต ซิโรลลี (Ernesto Sirolli) ผู้ก่อตั้งสถาบันซิโรลลี และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงระดับโลก ได้เรียนรู้ จากประสบการณ์อนั เหนือ่ ยยากว่า เรา คือค�ำทีม่ พี ลังมากกว่า ฉัน ซิโรลลี ผู้เริ่มต้นท�ำงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยการท�ำงานช่วยเหลือใน แอฟริกาตอนต้นทศวรรษ 1970 บอกผู้ฟัง TEDx ในปี 2012 ว่าสิ่งที่ “ผู้เชี่ยวชาญ” หลายคนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นผิด ตอนอายุได้ 21 ปีเขาท�ำงานให้เอ็นจีโอของอิตาลีและ “โครงการ ทุกโครงการที่เราท�ำในแอฟริกาล้วนล้มเหลว”17 โครงการแรกที่ซิโรลลีท�ำ คือการสอนชาวบ้านในแซมเบียตอนใต้ให้ปลูกมะเขือเทศ “ทุกอย่างทีป่ ลูก ในแอฟริกาเติบโตงอกงามดี เราได้มะเขือเทศที่ดีเยี่ยม...เราบอกชาว 60
Talk L ike TED
แซมเบียว่า ‘ดูสิว่าเกษตรกรรมเป็นเรื่องง่ายขนาดไหน’ เมื่อมะเขือเทศโต และสุกเป็นสีแดงก็มีฮิปโปประมาณ 200 ตัวขึ้นจากน�้ำมากินทุกอย่าง หมดเกลี้ยงภายในชั่วข้ามคืน [เสียงหัวเราะ] และเราก็บอกชาวแซมเบีย ว่า ‘พระเจ้าช่วย พวกฮิปโปนั่น!’ และชาวแซมเบียก็บอกว่า ‘ใช่ นั่นคือ สาเหตุที่เราไม่ท�ำเกษตรกรรมที่นี่’ [เสียงหัวเราะ]” “‘ท�ำไมพวกคุณไม่บอกเรา?’ ‘ก็พวกคุณไม่เคยถามนี่’” หากคุณต้องการช่วยผู้อื่น ก็จงหุบปากแล้วฟังเสีย นั่นคือสิ่งที่ ซิโรลลีเรียนรู้จากประสบการณ์แรกๆ ในการเกษตรแบบยั่งยืน “อย่าเพิ่ง คิดอะไรไปเองก่อนมาถึงชุมชน” เขาบอก เขาแนะน�ำให้จับความหลงใหล พลังงาน และจินตนาการของคนในชุมชนให้ได้ก่อน อย่างทีบ่ อกไปแล้วว่าความหลงใหลเป็นรากฐานของความส�ำเร็จ ในธุรกิจ อาชีพการงาน และการพูดในที่สาธารณะ และในที่สุดความ หลงใหลก็เป็นส่วนผสมส�ำคัญของความส�ำเร็จในงานของซิโรลลีดว้ ย “คุณ มอบความคิดให้ใครสักคนได้ แต่ถ้าคนคนนั้นไม่อยากท�ำตาม แล้วคุณจะ ท�ำยังไง? ความหลงใหลที่คนคนนั้นมีต่อการเติบโตของตัวเธอเองคือสิ่ง ส�ำคัญที่สุด ความหลงใหลที่คนคนหนึ่งมีต่อการเติบโตของตัวเขาเองคือ สิ่งส�ำคัญที่สุด จากนั้นเราค่อยช่วยพวกเขาให้เดินหน้าต่อและหาความรู้ เพราะไม่มีใครในโลกนี้ประสบความส�ำเร็จได้ตามล�ำพัง คนที่มีความคิด อาจไม่มีความรู้ แต่ความรู้เป็นสิ่งที่หาได้” คุณก�ำลังอ่านข้อความนี้เพราะ คุณมีความหลงใหลที่จะเติบโตก้าวหน้า คุณอาจเชี่ยวชาญ (หรือเกือบ เชี่ยวชาญ) ในหัวข้อที่พูด อย่ากลัวที่จะแบ่งปันความรู้สึกตื่นเต้น มันจะ ส่งต่อไปยังผู้ฟังของคุณ “ประสบการณ์ของเราบอกว่าผูบ้ ริหารทีด่ ที สี่ ดุ คือคนทีห่ ลงใหล ในสิ่งที่ท�ำมากสุด” รอน บารอน (Ron Baron) มหาเศรษฐีนักลงทุน C a rm i n e G a l l o
61
เคล็ดลับข้อที่ 1: ปลดปล่อยผู้เชี่ยวชาญในตัวคุณ ผมสอนวิธีการเล่าเรื่องให้คุณได้ ผมสอนวิธีออกแบบสไลด์ด้วย โปรแกรมพาวเวอร์พอยต์ให้สวยหรูอลังการได้ ผมยังสอนให้คุณใช้เสียง และร่างกายอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้นได้ด้วย เรื่องเล่า สไลด์ และภาษา กายทีม่ ปี ระสิทธิผลคือองค์ประกอบส�ำคัญในการน�ำเสนอทีโ่ น้มน้าวใจ แต่ สิง่ เหล่านีก้ ลับมีความหมายน้อยมากหากผูพ้ ดู ไม่มคี วามหลงใหลในหัวข้อ ทีเ่ ขาหรือเธอพูด ก้าวแรกของการสร้างแรงบันดาลใจให้คนอืน่ คือคุณต้องมี แรงบันดาลใจก่อน วิธีตรงไปตรงมาที่สุดในการหาว่าอะไรที่คุณหลงใหล อย่างแท้จริงคือให้ถามตัวเองด้วยค�ำถามที่ผมเขียนถึงไปแล้วในบทนี้ “อะไรท�ำให้หวั ใจของฉันลิงโลด?” เมือ่ ไรทีค่ ณ ุ ค้นพบสิง่ ทีท่ ำ� ให้หวั ใจลิงโลด เรื่องราวที่คุณเล่า สไลด์ที่คุณใช้ และวิธีถ่ายทอดข้อมูลของคุณก็จะมีชีวิต ชีวาขึ้นมา คุณจะเชื่อมโยงถึงคนอื่นได้ลึกซึ้งมากกว่าที่คุณคิด คุณจะมี ความมั่นใจในการแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้ในฐานะผู้เชี่ยวชาญตัวจริง นั่นคือ ตอนที่คุณพร้อมส�ำหรับการบรรยายครั้งส�ำคัญในชีวิต
62
Talk L ike TED