โลกาภิวัฒน์

Page 1

8

Globalization

คำ�นำ�ผู้แปล

\

ผูแ้ ปลมีโอกาสได้อา่ นหนังสือ โลกาภิวตั น์: ความรูฉ้ บับพกพา เล่ ม นี้ ถึ ง สองรอบ ก่ อ นที่ จ ะมารั บ หน้ า ที่ แ ปลฉบั บ ภาษาไทย คราที่อ่านครั้งแรกด้วยความอยากรู้อยากเห็น หนังสือเล่มนี้ ช่วยให้ผู้แปลเข้าใจโลกาภิวัตน์ในมิติที่แตกต่างหลากหลาย โดย สามารถจดจำ�เนื้อหาสำ�คัญที่ถูกคัดสรรมาได้อย่างกระชับและ รอบด้าน ส่วนครั้งที่สองอ่านสมัยเริ่มเป็นนักเรียนในสาขาโลก ศึกษา การอ่านรอบนี้ผู้แปลได้กรอบคิดอันเข้มแข็งที่ช่วยวาง ฐานรากให้กับการเรียนในสาขาโลกศึกษาต่อไป “ความเบาหวิว” ของหนังสือฉบับพกพานี้ ไม่ได้สมั พันธ์ กับ “ความหนักแน่น” ของข้อมูลและกรอบคิดทีผ่ เู้ ขียน แมนเฟร็ด สเตเกอร์ อัดแน่นไว้ตลอดหนังสือขนาดย่อมนี้ แม้จะพูดไม่ได้ว่า หนังสือเล่มนีฉ้ ายภาพปรากฏการณ์อนั ซับซ้อนอย่างโลกาภิวตั น์


A

Very

Short

Introduction

9

ได้ละเอียดถี่ถ้วนที่สุด – ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของหนังสือ ฉบับพกพานี้ และก็นา่ สงสัยว่ามีหนังสือเล่มไหนทีส่ ามารถทำ�ได้ แต่หากเทียบเนื้อหาโดยเฉลี่ยต่อพื้นที่หน้ากระดาษแล้ว ผู้แปล เชื่อว่ายากนักที่จะหาหนังสือที่ให้อรรถาธิบายโลกาภิวัตน์ได้ สมบูรณ์พร้อมเช่นนี้ หนังสือเล่มนี้ให้กรอบคิดในการทำ�ความเข้าใจโลกาภิวัตน์ด้วยการแจกแจงให้เห็นถึงวิวาทะและข้อโต้แย้งอันหลาก หลายที่ มี ต่ อ คำ � ฮิ ต ที่ เ ป็ น ที่ ถ กเถี ย งกั น มากอย่ า งโลกาภิ วั ต น์ รวมถึงยํ้ำ�ให้เห็นว่าโลกาภิวัตน์เกี่ยวพันกับมิติอันหลากหลาย ซึ่งจำ�เป็นต้องใช้วิธีการแบบสหวิทยาการในการศึกษามากกว่า การลดทอนปรากฏการณ์ให้เหลือเพียงมิติเดียวอย่างที่ระบบ การศึกษาที่แบ่งสาขาวิชาอย่างแข็งตัวชอบทำ� นอกจากนั้น ผู้เขียนยังได้นำ�เสนอกรอบคิดสำ�คัญในการศึกษาโลกาภิวัตน์ใน ฐานะ “ชุดกระบวนการทางสังคม” ที่มีพลวัต มากกว่า “สภาวะ” ทีห่ ยุดนิง่ ซึง่ ช่วยเตือนใจว่าโลกาภิวตั น์เป็นกระบวนการทีไ่ หลลืน่ มีการปะทะสังสรรค์ และมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ ทำ�ให้เหล่า ผูศ้ กึ ษาและเฝ้าติดตามปรากฏการณ์ตอ้ งตืน่ ตัวในการหาความรู้ ตลอดเวลา อีกทั้งการมองโลกาภิวัตน์เป็นกระบวนการยังทำ�ให้ เรามองเห็นปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนของกระบวนการที่ทำ �งาน ระหว่าง “ปัจเจก” “ชุมชน” “ท้องถิ่น” “ประเทศ” “ภูมิภาค” และ “โลก” โดยที่หน่วยวัดเหล่านี้ไม่ได้เป็นเอกเทศแยกขาดจากกัน แต่พลังในส่วนหนึง่ ล้วนมีปฏิสมั พันธ์กบั อีกส่วนหนึง่ อย่างมีพลวัต นอกจากนัน้ ผูเ้ ขียนยังได้สบื ค้นประวัตศิ าสตร์ของโลกาภิวัตน์กลับไปถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อ 10,000 ปีก่อนคริสต์ ศักราช และไล่มาจนถึงยุคปัจจุบันหรือ 3 ทศวรรษหลังสุด ซึ่ง


10

Globalization

การพัฒนาทางเทคโนโลยีการสื่อสารและการเดินทางแบบก้าว กระโดดในยุคนี้ ส่งผลให้ระดับความรวดเร็ว ความกว้างไกล และ ความเข้มข้นของโลกาภิวตั น์นนั้ เป็นทีป่ ระจักษ์เด่นชัดมากทีส่ ดุ ในยุคปัจจุบัน ยุคที่มนุษย์มีสำ�นึกร่วมในระดับโลกเพิ่มมากขึ้น ขณะที่สำ�นึกร่วมในระดับชาติเริ่มอ่อนแอลง ถึงแม้จะเชื่อในการศึกษาโลกาภิวัตน์ด้วยวิธีการแบบ สหวิทยาการ แต่เพื่อการศึกษาในเชิงวิเคราะห์ หนังสือเล่มนี้ได้ ถอดรื้อและแจกแจงรายละเอียดโลกาภิวัตน์ออกมาในแต่ละมิติ อย่างรอบด้าน ไม่วา่ จะเป็นมิตทิ างเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ระบบนิเวศ และอุดมการณ์ โดยระลึกถึงความสัมพันธ์เชื่อมร้อย ของแต่ละมิตทิ มี่ ตี อ่ กันและกัน ในมิตทิ างเศรษฐกิจนัน้ โลกาภิวตั น์ ได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ทั้งในแง่ของวิถีการ ผลิต การบริโภค และการแลกเปลีย่ นสินค้า ให้มคี วามเข้มข้นและ แผ่ขยายไปทัว่ ทุกมุมโลก ปรากฏการณ์ส�ำ คัญทีเ่ กีย่ วพันกับโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ 3 ประการ คือ การทำ�ให้ตลาดการค้าและ การเงินกลายเป็นตลาดระหว่างประเทศ การผงาดขึ้นสู่อำ�นาจ ของบรรษัทข้ามชาติ และการอุบัติขึ้นขององค์กรโลกบาลทาง เศรษฐกิจ ซึง่ ทำ�งานประสานกันภายใต้ระเบียบเศรษฐกิจเสรีนยิ ม ใหม่ ในมิตทิ างการเมือง โลกาภิวตั น์ทา้ ทายระบบรัฐชาติสมัยใหม่ ที่ขีดเส้นแบ่งเขตพรมแดนทางการเมืองที่ชัดเจนและยึดมั่นใน หลักการอธิปไตยเหนือดินแดนของรัฐชาติ นอกจากนัน้ ผูเ้ ขียนยัง แสดงให้เห็นการรวมตัวทางการเมืองเพือ่ สร้างกลไกในการกำ�กับ ดูแลระดับโลกทีอ่ ยูเ่ หนือรัฐ (เช่น องค์การสหประชาชาติ) และอยู่ ใต้รฐั (เอ็นจีโอระหว่างประเทศและภาคประชาสังคมโลก) ซึง่ เป็น ตัวละครสำ�คัญในเวทีการเมืองโลกควบคู่กับรัฐชาติ


A

Very

Short

Introduction

11

ในมิตทิ างวัฒนธรรมนัน้ ผูเ้ ขียนตีกรอบการศึกษาความ สัมพันธ์โลกาภิวัตน์และวัฒนธรรมที่สำ�คัญไว้ 3 ประการ คือ การ ปะทะกันระหว่างความเหมือนและความต่างในวัฒนธรรมโลก บทบาทสำ�คัญของสื่อข้ามชาติในการเผยแพร่วัฒนธรรมป็อป และโลกาภิวตั น์ของภาษา ผูเ้ ขียนตัง้ คำ�ถามสำ�คัญว่า วัฒนธรรม อเมริกาทีข่ บั เคลือ่ นโดยบริษทั สือ่ ข้ามชาติกำ�ลังกลืนวัฒนธรรมที่ แตกต่างหลากหลายให้เป็นเนื้อเดียวกัน หรือการปะทะสังสรรค์ ระหว่างวัฒนธรรมจะช่วยให้เกิดลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรม ขึ้นใหม่ หรือเกิด “การผสมทางวัฒนธรรม” ส่วนในมิติทางนิเวศ นั้น ผู้เขียนดูจะให้ความสำ�คัญกับโลกาภิวัตน์ในมิตินี้เป็นพิเศษ เนือ่ งจากความเสือ่ มของสภาพสิง่ แวดล้อมในระดับโลกอาจนำ�พา หายนะครัง้ ใหญ่มาสูม่ นุษยชาติ หากไม่มมี าตรการเยียวยาแก้ไข ในระดับโลกอย่างทันท่วงที ผู้เขียนยํ้ำ�ว่าปัญหาทางนิเวศเป็น ปัญหาในระดับโลกที่ไม่แยแสต่อเส้นแบ่งพรมแดนทางการเมือง ด้วยเหตุนี้ การแก้ไขปัญหาจึงต้องเกิดจากความร่วมมือในระดับ โลกอย่างแท้จริง โดยหวังว่าจิตสำ�นึกร่วมต่อปัญหาระบบนิเวศ ในระดับโลกจะช่วยบรรเทาปัญหาและกดดันให้รัฐบาลชาติให้ ความร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับโลก มากขึ้น ความโดดเด่นของหนังสือโลกาภิวตั น์ฉบับพกพานี้ ส่วน หนึ่งอยู่ที่การที่ผู้เขียนให้ความสำ�คัญกับโลกาภิวัตน์ในมิติทาง อุดมการณ์ ซึง่ เป็นพลังทางวาทกรรมทรงอานุภาพทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหลัง มโนทัศน์ทมี่ นุษย์มตี อ่ โลกาภิวตั น์ และเป็นชุดพลังอำ�นาจละเอียด อ่อนทีใ่ ช้เพือ่ สร้างความชอบธรรมให้กบั กลุม่ คนทีส่ นับสนุนอุดมการณ์นนั้ ๆ ผูเ้ ขียนกล่าวถึงอุดมการณ์ทเี่ กีย่ วข้องกับโลกาภิวตั น์


12

Globalization

3 ประการ คือ ลัทธิตลาดโลกนิยม ลัทธิความยุติธรรมโลก นิยม และลัทธิญิฮาดโลกนิยม โดยอุดมการณ์แรกได้กลายเป็น อุดมการณ์หลักของโลกที่สร้างข้ออ้างว่าการเปิดเสรีและการ หลอมรวมของตลาดโลกเป็นสิ่งจำ�เป็น ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไร้ผู้กำ�กับควบคุม ยังประโยชน์กับทุกฝ่าย และช่วยสนับสนุน ประชาธิ ป ไตย ขณะที่ ลั ท ธิ ค วามยุ ติ ธ รรมโลกนิ ย มและลั ท ธิ ญิฮาดโลกนิยมผลิตวาทกรรมทางเลือกทีต่ อ่ ต้านอุดมการณ์ตลาด โลก โดยอุดมการณ์แรกขับเคลื่อนโดยภาคประชาสังคมโลกเพื่อ สนับสนุนการลดช่องว่างความเหลื่อมลํ�้ำ และการออกแบบระบบ เศรษฐกิจการเมืองที่ยุติธรรมต่อคนส่วนมากในโลกอย่างแท้จริง ขณะที่ลัทธิญิฮาดโลกนิยมเป็นอุดมการณ์ที่ขับเคลื่อนโดยขบวน การอัลกออิดะห์ นักมูลฐานนิยมหัวรุนแรงซึ่งเร่งเร้าให้ชุมชนผู้ ศรัทธามุสลิมที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลกลุกขึ้นมาใช้ ญิฮาด หรือ การต่อสู้แบบติดอาวุธเพื่อต่อต้านกับความไร้ศรัทธาทางศาสนา และลัทธิบริโภคนิยมในโลกตะวันตก ผู้แปลเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือความรู้ฉบับพกพาใน หัวข้อ “โลกาภิวตั น์” ฉบับนี้ น่าจะช่วยสร้างรากฐานความรูท้ ดี่ ใี ห้ กับนักเรียนผู้สนใจศึกษาโลกาภิวัตน์ ซึ่งได้แทรกซึมอยู่ในการ ศึกษาของแทบทุกสาขาวิชา รวมถึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใฝ่รู้ ทีส่ นใจในหัวข้อนี้ เพือ่ ติดตัง้ ความรูท้ จี่ �ำ เป็นในการทำ�ความเข้าใจ ปรากฏการณ์ทางสังคมที่เชื่อมร้อยในระดับโลกมากขึ้นทุกขณะ


A

Very

Short

Introduction

13

ผูแ้ ปลขอขอบคุณคุณสฤณี อาชวานันทกุล บรรณาธิการ ผูช้ ว่ ยขัดเกลาและเช็คความถูกต้องทางภาษาอย่างละเอียดถีถ่ ว้ น และคุณณัฐเมธี สัยเวช ที่ช่วยพิสูจน์อักษร ข้อผิดพลาดประการ ใดที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นความรับผิดชอบของผู้แปลเอง

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ตุลาคม 2553


คำ�นำ�ผู้เขียน

\ สำ�หรับฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง


A

Very

Short

Introduction

15

ผู้ เ ขี ย นยิ น ดี เ ป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ ไ ด้ มี โ อกาสนำ � เสนอหนั ง สื อ แนะนำ�โลกาภิวัตน์ฉบับพิมพ์ครั้งที่สองเล่มนี้ให้กับท่านผู้อ่าน หากดู จ ากจำ � นวนภาษาแปล ฉบั บ พิ ม พ์ ค รั้ ง แรกในปี 2003 ได้รบั การตอบรับอย่างดีไม่เพียงแต่ในประเทศทีใ่ ช้ภาษาอังกฤษ เท่านัน้ แต่ในทัว่ ทุกมุมโลกด้วย อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงข้อมูล และขยายเนือ้ หาจากฉบับพิมพ์ครัง้ แรก ก็ถอื เป็นงานยากสำ�หรับ ผู้เขียน เพราะหัวข้อที่ซับซ้อนอย่าง “โลกาภิวัตน์” นั้นยากที่จะ ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบทีส่ นั้ กระชับและอ่านง่าย และเป็นงาน ที่ยิ่งท้าทายมากขึ้นสำ�หรับหนังสือฉบับพกพา บรรดาผู้เขียนหนังสือแนะนำ�โลกาภิวัตน์ฉบับพกพา ซึง่ มีให้เห็นไม่มากนักในท้องตลาด มักเลือกทีจ่ ะพูดถึงโลกาภิวตั น์ เพียงมิติเดียว ส่วนมากจะพูดถึงระบบเศรษฐกิจโลกที่กำ �ลัง เกิดขึน้ ประวัตศิ าสตร์ โครงสร้าง รวมถึงผลได้และผลเสียทีค่ าดว่า จะเกิดจากกระบวนการโลกาภิวัตน์ การเลือกพูดในมิติเดียว ช่วยอธิบายความซับซ้อนของนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ตลาดการเงินโลก การไหลเวียนของสินค้า บริการ และแรงงาน ทั่วโลก บริษัทข้ามชาติ ศูนย์กลางทางการเงินนอกประเทศ


16

Globalization

การลงทุนทางตรงจากต่างชาติ และสถาบันเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศเกิดใหม่ ทว่าคำ �อธิบายด้านเดียวเช่นนี้ ก็มักทำ �ให้ ผู้อ่านทั่วไปเข้าใจโลกาภิวัตน์เพียงตื้นเขินว่าเป็นปรากฏการณ์ ทางเศรษฐกิจซึ่งมีเทคโนโลยีใหม่เป็นสื่อกลาง ไม่มีใครปฏิเสธว่า การถกเถียงในมิติทางเศรษฐกิจ มีส่วนสำ�คัญในการอธิบายโลกาภิวัตน์อย่างรอบด้าน แต่กระนั้น คำ�อธิบายทีร่ อบด้านก็ไม่ควรถูกหล่อหลอมผ่านมิตทิ างเศรษฐกิจ เพียงด้านเดียว หนังสือเล่มนี้พยายามอธิบายโลกาภิวัตน์ผ่าน กระบวนทัศน์ทเี่ ชือ่ ว่า โลกาภิวตั น์เป็น “ชุดกระบวนการทางสังคม” ที่ ป ระกอบขึ้ น จากมิ ติ อั น หลากหลายที่ อ ธิ บ ายด้ ว ยกรอบคิ ด ใดกรอบคิดเดียวไม่ได้ อันที่จริง พลังของโลกาภิวัตน์ที่สร้างการ เปลีย่ นแปลงนัน้ เกีย่ วพันกับมิตทิ หี่ ลากหลายของชีวติ และสังคม ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม เทคโนโลยี และระบบนิเวศ นอกจากนั้ น โลกาภิ วั ต น์ ยั ง ประกอบด้ ว ยมิ ติ ท าง อุดมการณ์ในรูปแบบของเรื่องเล่าทางการเมือง ซึ่งมีส่วนในการ กำ�หนดวาระสาธารณะในหัวข้อที่คนนำ�มาพูดคุย คำ�ถามที่ควร ถาม และคำ�กล่าวอ้างทีค่ วรหยิบยกขึน้ มาใช้ การมีอยูข่ องเรือ่ งเล่า เหล่านีแ้ สดงให้เห็นว่า โลกาภิวตั น์ไม่ได้เป็นเพียงกระบวนการทีม่ ี ความเป็นภววิสัย ทว่าเต็มไปด้วยการเปรียบเปรย และเรื่องราว ที่นิยาม อธิบาย และวิเคราะห์กระบวนการเหล่านั้นทั้งหมด พลัง ทางสังคมที่แข่งกันนำ�เสนอคำ�อธิบายต่อโลกาภิวัตน์ พยายาม ฝังค่านิยม คุณค่า และความหมาย เข้าไปในแนวคิดโลกาภิวัตน์ ซึ่งไม่เพียงแต่สร้างความชอบธรรมและส่งเสริมผลประโยชน์ ให้กับอำ�นาจเฉพาะกลุ่มเท่านั้น หากยังกำ�หนดอัตลักษณ์ทั้งใน ระดับปัจเจกและรวมหมูข่ องคนนับพันล้านคน ด้วยเหตุนี้ หนังสือ


A

Very

Short

Introduction

17

แนะนำ �โลกาภิวัตน์ทุกเล่มจึงควรกล่าวถึงมิติของอุดมการณ์ ด้วย เนื่องจากจะช่วยให้เห็นการใช้วาทศิลป์ในการผลิตสร้าง อุดมการณ์เพื่อผลประโยชน์บางอย่าง ทั้งหมดนี้นำ�ไปสู่คำ�ถาม สำ�คัญทีเ่ ราควรคำ�นึงถึงคือ โลกาภิวตั น์เป็นสิง่ ที่ “ดี” หรือ “ไม่ด”ี ? คำ�ถามสำ�คัญนี้จะสร้างวิวาทะอันร้อนแรงให้เกิดขึ้นในห้องเรียน ห้องประชุม และบนท้องถนน การศึกษาโลกาภิวัตน์ขยายไปไกลกว่าขอบเขตการ ศึกษาของสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ ลักษณะเช่นนี้มอบ โอกาสอันยิง่ ใหญ่ให้กบั การศึกษาโลกาภิวตั น์ โลกศึกษา (Global Studies) ค่อยๆ อุบัติขึ้นในฐานะสาขาวิชาการใหม่ที่ตัดข้าม เส้นแบ่งทางวิชาการดั้งเดิมในสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ การเน้นความเป็นสหวิทยาการทำ�ให้นกั เรียนเอกสาขาโลกศึกษา ต้ อ งทำ � ตั ว ให้ คุ้ น ชิ น กั บ วรรณกรรมจากหลากหลายศาสตร์ ซึ่ ง โดยปกติ มั ก ถู ก ศึ ก ษาเป็ น เอกเทศจากกั น ความท้ า ทาย ของวิชาโลกศึกษาจึงอยู่ที่การเชื่อมโยงและสังเคราะห์ความรู้ ในหลากหลายมิติ ให้สอดคล้องกับธรรมชาติทมี่ ลี กั ษณะไหลเวียน และพึง่ พากันมากขึน้ ในโลกหลังสมัยใหม่ กล่าวโดยสรุป โลกศึกษา ต้ อ งแสดงให้ เ ห็ น แนวทางการศึ ก ษาที่ ก ว้ า งพอที่ จ ะช่ ว ยให้ มองเห็น “ภาพใหญ่” การศึกษาที่เป็นสหวิทยาการเช่นนี้อาจจะ นำ�ไปสูก่ ารฟืน้ ฟูของผูร้ กู้ ว้างทางวิชาการ (academic generalist) ซึ่ ง ถู ก กดทั บ ด้ ว ยผู้ เ ชี่ ย วชาญเฉพาะด้ า น (specialist) มา เป็นเวลานาน สุดท้าย ผมขอพูดอะไรเพิม่ เติมเพือ่ ให้เกิดความกระจ่าง แม้ว่าวัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนี้คือการให้ภาพทั้งในเชิง พรรณาและอรรถาอธิบายเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ในหลากหลาย


18

Globalization

มิติ ผู้ที่อ่านอย่างละเอียดจะสัมผัสได้ถึงหลักการสำ�คัญที่ถูก พูดถึงตลอดหนังสือเล่มนี้ นั่นคือธรรมชาติและผลกระทบของ สิ่งที่ผมเรียกว่า “ลัทธิตลาดโลกนิยม” (market globalism) แต่ ความสงสัยของผมไม่ควรถูกตีความว่าเป็นการปฏิเสธตลาดและ โลกาภิวตั น์แบบเหมารวม อันทีจ่ ริง ผมชืน่ ชอบบทบาทของตลาด ที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนทางวัตถุเกิดได้ง่ายขึ้น ผมยังเชื่อว่า เราไม่ ค วรกั ง วลกั บ ข้ อ เท็ จ จริ ง ที่ ว่ า โลกกำ � ลั ง กลายเป็ น พื้ น ที่ ที่ ต้ อ งพึ่ ง พาอาศั ย กั น มากขึ้ น เพราะสิ่ ง นี้ จ ะช่ ว ยให้ เ กิ ด การ ยอมรับในตัวเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกมากขึ้น โดยไม่ต้องยึดติดกับ พรมแดนทางการเมืองและเส้นแบ่งทางวัฒนธรรมที่ไร้เหตุผล อี ก ทั้ ง ผมยั ง รู้ สึ ก ยิ น ดี ที่ ไ ด้ เ ห็ น การไหลเวี ย นของแนวคิ ด และ สินค้า รวมถึงการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทว่าผมจะยินดีก็ต่อเมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการขยับ ขยายเสรีภาพและความเท่าเทียมของมนุษย์ทั้งมวล โดยเฉพาะ ประชาชนในซีกโลกใต้ นอกจากนั้น รูปแบบของโลกาภิวัตน์ ที่ มี หั ว ใจยั ง จำ � เป็ น ต้ อ งปรั บ ให้ เ ข้ า กั บ พั น ธะหน้ า ที่ ที่ ท้ า ทาย มนุษยชาติที่สุดในศตวรรษที่ 21 นั่นคือ การป้องกันและรักษา โลกของเราเอาไว้ ดังนั้น สิ่งที่ผมวิพากษ์วิจารณ์จึงไม่ใช่ตัว ปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ แต่อยู่ที่ข้อเท็จจริงที่ว่า เราขาดแคลน วิสัยทัศน์ที่จะสร้างระเบียบโลกที่มีความยุติธรรม และเห็นอก เห็นใจผู้อื่นมากกว่าที่เป็นอยู่ ผมถือว่าเป็นหน้าที่อันน่าอภิรมย์ที่จะได้กล่าวขอบคุณ ผู้มีพระคุณทั้งหลาย ผมขอขอบคุณเพื่อนร่วมงานและเพื่อนของ ผมที่ศูนย์วิจัยโลกนิยมและมหานครโลก (Globalism Research Centre and the Global Cities Institute) ที่มหาวิทยาลัย


A

Very

Short

Introduction

19

Royal Melbourne Institute of Technology (RMIT) สำ�หรับการ สนับสนุนอันยอดเยี่ยมที่มีต่องานวิจัยของผม ผมขอแสดงความ คารวะต่อคณะรัฐศาสตร์และศูนย์วจิ ยั โลกาภิวตั น์ทมี่ หาวิทยาลัย ฮาวาย-มาเนา สำ�หรับกำ�ลังใจที่มีให้อย่างต่อเนื่อง ผมขอมอบคำ�ขอบคุณเป็นพิเศษให้กับ ดร.เอริน วิลสัน (Erin Wilson) เพือ่ นร่วมงานและผูช้ ว่ ยวิจยั ผูไ้ ม่รจู้ กั เหน็ดเหนือ่ ย ประจำ�มหาวิทยาลัย RMIT ที่ช่วยรวบรวมข้อมูลสำ�หรับฉบับ พิมพ์ครั้งนี้ และขอขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อผู้อ่าน ผู้ตรวจทาน และผู้ชมทั่วโลก ซึ่งได้ให้คำ�แนะนำ�ที่มีประโยชน์ต่อการบรรยาย สาธารณะและงานพิมพ์ในหัวข้อโลกาภิวัตน์ของผมตลอดหนึ่ง ทศวรรษที่ผ่านมา ขอบคุณ ฟรานซ์ เจ. โบรสวิมเมอร์ (Franz J. Broswimmer) เพื่อนรักและนักคิดทางสังคมเปี่ยมนวัตกรรม ผู้ช่วยให้ข้อมูลอันมีค่าเกี่ยวกับประเด็นทางนิเวศ แอนเดรีย คีแกน และเจมส์ ทอมป์สัน บรรณาธิการที่ส�ำ นักพิมพ์ Oxford University Press ที่เป็นตัวอย่างที่ดีของความเป็นมืออาชีพและ ความสามารถ ท้ายสุด ผมอยากขอบคุณเพิร์ล ภรรยาของผม รวมถึงครอบครัวสเตเกอร์และเบสเซอร์แมน สำ�หรับความรัก และกำ�ลังใจที่มอบให้ ผู้คนมากมายได้มีส่วนช่วยในการปรับปรุง คุณภาพของหนังสือเล่มนี้ ความผิดพลาดใดๆ ทีเ่ กิดขึน้ ล้วนเป็น ความรับผิดชอบของผู้เขียน แมนเฟร็ด สเตเกอร์



โลกาภิวัตน์ •

ความรู้ฉบับพกพา

GLOBALIZATION • A

Very

Short

Introduction

by

Manfred

Steger

แปลโดย

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง


บทที่ 1

\ โลกาภิวัตน์: แนวคิดที่ยังเป็นที่ถกเถียง


A

Very

Short

Introduction

23

แม้เราจะสามารถสืบค้นต้นตอของคำ �ว่า “โลกาภิวัตน์” กลับไปได้ถึงต้นทศวรรษ 1960 แต่คำ�คำ�นี้ก็เพิ่งเป็นที่รู้จักอย่าง กว้างขวางในช่วง 25 ปีหลังของศตวรรษที่ 20 โลภาภิวัตน์ เริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะคำ�ฮิตของคำ�ว่า “การคำ�รามทางเศรษฐกิจ แห่งทศวรรษ 1990” (Roaring Nineties) เพราะมันสามารถ อธิบายธรรมชาติของการพึ่งพากันมากขึ้นบนโลกเราได้ดีที่สุด ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 คำ�ว่าโลกาภิวัตน์ถูกอ้างอิงหลาย ล้านครั้งทั้งในโลกเสมือนและบนหน้ากระดาษ อย่างไรก็ตาม เป็ น เรื่ อ งโชคร้ า ยที่ ห นั ง สื อ ยอดนิ ย มเกี่ ย วกั บ โลกาภิ วั ต น์ ใ น ช่วงแรกๆ อาทิ การปะทะกันระหว่างอารยธรรม (The Clash of Civilizations) ของ แซมมวล ฮันติงตัน ญิฮัดปะทะแม็คเวิร์ลด์ (Jihad Versus McWorld) ของ เบนจามิน บาร์เบอร์ และ รถเล็กซัสและต้นมะกอก (The Lexus and the Olive Tree) ของ ธอมัส ฟรีดแมน ล้วนทำ�ให้ผอู้ า่ นเข้าใจอย่างผิวเผินว่า โลกาภิวตั น์ คือกระบวนการทีท่ ำ�ให้อารยธรรมตะวันตกกลายเป็นสากลอย่าง ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ปะทะกับพลังของ ชาตินยิ ม ท้องถิน่ นิยม และชนเผ่านิยม สมมติฐานอันทรงอิทธิพล


24

Globalization

นีห้ ยัง่ รากลึกมากขึน้ ภายหลังเหตุการณ์ 9/11 และสงครามต่อต้าน การก่อการร้ายในระดับโลก ซึง่ นำ�โดย “จักรวรรดิอเมริกา” ผลทีต่ าม มาจากแนวคิดแยกขัว้ แบบแข็งขืนตายตัวระหว่างความเป็นสากล กับความเฉพาะเจาะจง และความเป็นโลกกับความเป็นท้องถิ่น คือการที่คนจำ�นวนมากมองไม่เห็นสายใยมากมายที่ผูกโยงลัทธิ มูลฐานนิยมที่สนับสนุนประเพณีและศาสนาดั้งเดิม (religioustraditionalist fundamentalism) เข้ากับสภาวะหลังสมัยใหม่ ที่ยึดคติทางโลกเป็นหลัก (secular postmodernity) ผมขอพูดถึงนักศึกษาเอกประวัติศาสตร์ผู้เฉลียวฉลาด จากชั้นเรียนโลกศึกษา (Global Studies) ของผมคนหนึ่ง เพื่อ แสดงให้เห็นตัวอย่างของมุมมองอันคับแคบ “ฉันเข้าใจว่า ‘โลกาภิวตั น์’ เป็นแนวคิดทีย่ งั เป็นทีถ่ กเถียง กันอยู่เกี่ยวกับการหดย่อของเวลาและพื้นที่” เธอกล่าวอย่าง หลักแหลม “แต่อาจารย์จะพูดได้อย่างไรว่า พวกคลั่งศาสนาที่ ก่ น ด่ า ภาวะสมั ย ใหม่ แ ละอุ ด มการณ์ แ ยกศาสนาออกจากรั ฐ (Secularism) จากถํ้าบนภูเขาที่ไหนสักแห่งในตะวันออกกลาง สามารถสะท้อนภาพพลวัตอันซับซ้อนของโลกาภิวัตน์ได้เป็น อย่างดี? การก่อร้ายอันน่าสะพรึงกลัวของพวกเขาไม่ได้สะท้อน สิง่ ทีต่ รงกันข้าม นัน่ คือการเติบโตของพลังปฏิกริ ยิ าทีบ่ อ่ นทำ�ลาย โลกาภิวัตน์หรืออย่างไร?” แน่นอนว่านักศึกษาผู้นี้กำ�ลังพูดถึง โอซามา บินลาเด็น ผู้นำ�อัลกออิดะห์ชาวซาอุดิอาระเบียและ พวกพ้องของเขา แถลงการณ์ผ่านวิดีโอเทปที่ประณามกิจกรรม ของ “เหล่านักรบครูเสดและไซออนนิสต์นอกรีต” (Zionists หรือ ไซออนนิสต์ หมายถึงผู้สนับสนุนการก่อตั้งรัฐอิสระของชาวยิว ในอิสราเอล - ผู้แปล) ของพวกเขา ได้กลายเป็นภักษาหารที่ถูก


A

Very

Short

Introduction

25

ป้อนผ่านรายการทีวีและวิทยุทั่วโลกในช่วงเวลาหลายปีหลังเกิด เหตุการณ์ 9/11 กระนั้นก็ตาม พูดอย่างเป็นธรรมแล้ว สิ่งที่ผลักดันให้ นักศึกษาคนนี้ตั้งข้อสงสัยดังกล่าว ก็ทำ�ให้ผมอดรู้สึกอึ้งไม่ได้ถึง ความจำ�เป็นเร่งด่วนในการผลิตความรูท้ างวิชาการ เพราะนีแ่ สดง ให้เห็นว่า โลกาภิวัตน์ยังคงเป็นแนวคิดที่ยากจะนิยามในทุกๆ มิติ และปราศจากตัวอย่างจริงที่จะช่วยสร้างรูปร่าง สี และเสียง ให้กับคำ�กำ�กวมซึ่งสามารถยึดกุมพื้นที่สื่อในศตวรรษที่ 21 ได้ อย่างต่อเนือ่ งคำ�นี้ ดังนัน้ ก่อนทีจ่ ะลงลึกไปถึงการให้ค�ำ นิยามและ ความกระจ่างในเชิงวิเคราะห์ เราควรพยายามหาวิธีการเข้าถึง โลกาภิวัตน์ที่ดูเป็นรูปธรรมมากกว่านี้ ด้วยเหตุนี้ผมขอเริ่มต้น ด้วยการตรวจสอบวิดีโอเทปของบินลาเด็นที่เพิ่งกล่าวถึงไป อย่างถี่ถ้วน เราจะมองเห็นชัดเจนมากขึ้นว่า เหตุใดการถอดรื้อ ภาพในวิดีโอเทปจะช่วยให้เราเห็นเค้าเงื่อนสำ�คัญของธรรมชาติ และพลวัตของปรากฏการณ์ที่เราเรียกว่า “โลกาภิวัตน์” ถอดรื้อโอซามา บินลาเด็น เทปของบิ น ลาเด็ น ที่ อื้ อ ฉาวที่ สุ ด ได้ ถู ก ถ่ า ยทอด ออกอากาศไปทั่วโลกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2001 ในเวลาไม่ถึง หนึ่งเดือนหลังจากตึกแฝดในแมนฮัตตันตอนล่างพังครืนลงมา เทปบันทึกนี้ไม่ปรากฏวันที่ แต่ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าน่าจะ บันทึกเมื่อประมาณสองอาทิตย์ก่อนวันออกอากาศ จังหวะเวลา ในการปล่อยเทปออกมาได้ถกู วางแผนมาเป็นอย่างดีเพือ่ ให้บรรลุ ผลสัมฤทธิ์สูงสุด นั่นคือ มันเป็นวันเดียวกันกับที่สหรัฐอเมริกา


26

Globalization

ภาพประกอบ 1 การปรากฏตัวของโอซามา บินลาเด็น ในอัลจาซีรา, วันที่ 7 ตุลาคม 2001


A

Very

Short

Introduction

27

เริม่ ยุทธการทิง้ ระเบิดบริเวณฐานทัพของตอลิบนั และอัลกออิดะห์ ในอัฟกานิสถาน แม้วา่ โอซามา บินลาเด็น และนายทหารระดับสูง จะซ่อนตัวอยูใ่ นเขตไกลโพ้นในประเทศ แต่เป็นทีแ่ น่ชดั ว่า พวกเขา มีเครื่องมือทันสมัยที่ใช้บันทึกแถลงการณ์อยู่ในมือ นอกจากนั้น สมาชิกอัลกออิดะห์ก็สามารถเข้าถึงเครือข่ายโทรคมนาคมและ ข้อมูลข่าวสารที่ก้าวหน้า ซึ่งช่วยให้ได้รับข้อมูลข่าวสารในเวลา จริงจากนานาประเทศที่เกี่ยวข้อง บินลาเด็นอาจจะประณาม “นักรบครูเสด” ด้วยความเชือ่ อย่างรุนแรง แต่ปฏิบตั กิ ารทีค่ ล่องตัว ขององค์กรทั้งองค์กร จำ�เป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่ ง ถู ก พั ฒ นาขึ้ น ในช่ ว งเวลาหลายสิ บ ปี ที่ ก ระแสโลกาภิ วั ต น์ ไหลเชีย่ วกรากขึน้ เรือ่ ยๆ ขณะทีศ่ ตวรรษที่ 20 กำ�ลังจะปิดฉากลง เพื่อที่จ ะแสดงให้เห็นความย้อนแย้งที่ชัดเจนนี้ เรา ลองมาพิจารณาสายโซ่อันซับซ้อนของการพึ่งพาระดับโลก ซึ่ง ช่วยให้ผู้ชมทีวีทุกมุมโลกได้มีโอกาสฟังและรับชมข้อความของ บินลาเด็น ภายหลังจากทีว่ ดิ โี อเดินทางออกจากหุบเขาอันห่างไกล ในอัฟกานิสถานฝัง่ ตะวันออกเพือ่ เข้าสูเ่ มืองหลวงคาบูล (Kabul) ผูส้ ง่ นิรนามก็หย่อนมันไว้ดา้ นนอกของสำ�นักงานอัลจาซีราสาขา คาบูล อัลจาซีราคือสถานีโทรทัศน์ทมี่ สี ำ�นักงานใหญ่อยูใ่ นกาตาร์ (Qatar) เปิดทำ�การเพียง 5 ปีกอ่ นหน้านัน้ โดยได้รบั เงินทุนจากรัฐ ออกอากาศข่ า วและสถานการณ์ ปั จ จุ บั น เป็ น ภาษาอารบิ ก ก่อนที่จะมีการจัดตั้งอัลจาซีรา โลกอาหรับไม่เคยมีใครทำ�ข่าว โทรทัศน์แนวทางใหม่ เช่น สัมภาษณ์ผู้คนเกี่ยวกับเหตุการณ์ ปั จ จุ บั น และรายการพู ด คุ ย ที่ เ ปิ ด สายให้ ผู้ ช มโทรเข้ า มา แต่ เ พี ย งแค่ 3 ปี อั ล จาซี ร านำ � เสนอรายการที่ ห ลากหลาย ตลอดทั้งวันให้กับผู้ชมชาวตะวันออกกลาง โดยออกอากาศ


28

Globalization

ผ่านดาวเทียมซึ่งถูกส่งขึ้นไปบนวงโคจรด้วยจรวดของยุโรป และกระสวยอวกาศของสหรั ฐ อเมริ ก า ในเวลาเดี ย วกั น ส่วนแบ่งการตลาดของสถานีก็เพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลพวง จากราคาและขนาดของจานดาวเที ย มที่ ล ดลงอย่ า งมาก ส่ ง ผลให้ ป ระชาชนส่ ว นมากรวมทั้ ง ผู้ มี ร ายได้ น้ อ ยสามารถ เป็นเจ้าของจานดาวเทียมได้ ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ศตวรรษที่ 21 รายการของอัลจาซีราสามารถรับชมได้ตลอดทั้งวันใน 5 ทวีป ในปี 2001 บริษัทขยายขอบเขตการเข้าถึงไปทั่วโลก เมื่อหัวหน้าคณะผู้บริหารเซ็นสัญญาความร่วมมือกำ�ไรงามกับ สำ�นักข่าวชั้นนำ�อย่างซีเอ็นเอ็น ซึ่งมีบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ เอโอแอล-ไทม์-วอร์เนอร์ (AOL-Time-Warner) เป็นเจ้าของ ไม่กี่เดือนหลังจากนั้น เมื่อความสนใจของชาวโลกต่างจับจ้อง ไปที่สงครามในอัฟกานิสถาน อัลจาซีราก็ได้สถาปนาตัวเองเป็น ผู้เล่นในระดับโลก และมีอำ�นาจมากพอจะให้บริการเช่าอุปกรณ์ กับผู้ให้บริการด้านข่าวอย่างรอยเตอร์สและเอบีซี ขายเวลา ดาวเทียมให้กับสำ�นักข่าวเอพีและบีบีซี และสร้างนวัตกรรมด้าน การออกแบบช่องข่าวธุรกิจที่ถ่ายทอดเป็นภาษาอารบิกร่วมกับ ซีเอ็นบีซี หุ้นส่วนสถานีโทรทัศน์อีกช่องหนึ่งของอเมริกา ความร่ ว มมื อ ระหว่ า งเครื อ ข่ า ยสำ � นั ก ข่ า วทั่ ว โลกที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง และปราศจากข้ อ จำ � กั ด ด้ า นพรมแดนและ อุปสรรคทางภูมิศาสตร์ ทำ�ให้ซีเอ็นเอ็นได้รับและออกอากาศ เทปสำ�เนาของบินลาเด็นได้เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่เทปนี้ ส่งถึงสำ�นักงานอัลจาซีราในคาบูล รัฐบาลภายใต้การนำ�ของบุช ซึ่ ง ตั้ ง หลั ก ไม่ ทั น เมื่ อ เจอกั บ ความเร็ ว อั น เหลื อ เชื่ อ ในการ แลกเปลีย่ นข่าวสารข้อมูล ได้รอ้ งขอให้รฐั บาลกาตาร์ “เข้าควบคุม


A

Very

Short

Introduction

29

สำ�นักข่าวอัลจาซีรา” เพราะการออกอากาศเทปบันทึกภาพของ บินลาเด็นอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการปรึกษาหารือกันก่อนนั้น ทำ�ให้เกิดความรู้สึกต่อต้านอเมริกาในโลกอาหรับ และทำ�ลาย ความพยายามในการทำ�สงครามของอเมริกา อย่างไรก็ตาม ไม่เพียง “ความเสียหาย” ได้เกิดขึ้นแล้ว แต่ใครก็ตามที่เข้าถึง อินเทอร์เน็ตและโมเด็ม สามารถรับชมเทปและอ่านแถลงการณ์ ฉบับเต็มได้ในโลกออนไลน์ เว็บไซต์ของอัลจาซีราดึงดูดผู้ชม ทัว่ โลกอย่างรวดเร็ว จำ�นวนผูเ้ ข้าชมพุง่ ขึน้ สูงเกินวันละ 7 ล้านครัง้ ไม่น่าสงสัยเลยว่า สายโซ่ที่เชื่อมร้อยกันในระดับโลก นี้เอง ที่ทำ�ให้วาทะของบินลาเด็นถูกเผยแพร่ไปสู่ผู้ชมทั่วโลก อย่างรวดเร็ว ทว่าในเวลาเดียวกัน เราต้องไม่ลืมว่า แม้แต่คนที่ ต่อต้านภาวะสมัยใหม่ก็ไม่อาจแยกตัวเองออกจากกระบวนการ โลกาภิวัตน์ที่พวกเขาก่นด่าได้ “ผู้ต่อต้านโลกาภิวัตน์” (antiglobalizers) จำ�เป็นต้องฉวยใช้ประโยชน์จากเครื่องมือที่เกิดขึ้น จากโลกาภิวัตน์ในการเผยแพร่ข้อความและดึงดูดผู้สนับสนุน หน้าใหม่ ข้อเท็จจริงนี้ปรากฏอย่างชัดเจนกระทั่งบนอาภรณ์ ที่บินลาเด็นสวมใส่ เทปแสดงภาพบินลาเด็นสวมใส่เครื่องแบบ ทหารร่วมสมัยแทนที่จะเป็นชุดตามประเพณีของชาวอาหรับ พูดอีกอย่างคือ ชุดของเขาสะท้อนถึงกระบวนการร่วมสมัยอย่าง การแตกออกเป็นกลุม่ ย่อย (fragmentation) และการแลกเปลีย่ น ข้ามวัฒนธรรม (cross-fertilization) ซึง่ นักวิชาการด้านโลกศึกษา เรียกว่ากระบวนการ “การผสมทางวัฒนธรรม” (hybridization) ซึ่งหมายถึงการผสมระหว่างรูปแบบทางวัฒนธรรมและสไตล์ ที่แตกต่างกันผ่านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ในระดับโลก จริงๆ แล้ว สีที่จางของชุดออกรบลายด่างของ


30

Globalization

บินลาเด็นเป็นการแสดงความทรยศต่อจุดกำ�เนิดของมันในรัสเซีย ซึง่ แสดงให้เห็นว่า เขาสวมเสือ้ แจ็กเก็ตตัวนีเ้ พือ่ ใช้เป็นสัญลักษณ์ เตือนใจถึงสงครามกองโจรที่เขาและทหารอิสลามได้ร่วมกัน ต่อต้านการเข้ายึดอัฟกานิสถานโดยรัสเซียในช่วงทศวรรษ 1980 ปืน เอเค-47 คาลาชนิคอฟ (AK-47 Kalashnikov) ซึ่ง มักปรากฏข้างกายเขาเสมอ คาดว่าถูกผลิตในรัสเซีย มีโรงงาน หลายแห่งผลิตปืนไรเฟิลยอดนิยมนี้มานานกว่า 40 ปี ก่อนช่วง กลางทศวรรษ 1990 ปืนคาลาชนิคอฟไม่นอ้ ยกว่า 70 ล้านกระบอก ถูกผลิตในรัสเซียและประเทศอืน่ ๆ มันเป็นอาวุธทีก่ องทัพทัว่ โลก เลือกใช้ กองทัพแห่งชาติไม่น้อยกว่า 50 ประเทศมีปืนไรเฟิล ชนิดนีใ้ นคลังแสง ดังนัน้ เอเค 47 ของบินลาเด็นจึงอาจถูกผลิตขึน้ ทีม่ มุ ไหนของโลกก็ได้ อย่างไรก็ตาม กระบวนการโลกาภิวตั น์ของ องค์กรอาชญากรรมในช่วงสองทศวรรษทีผ่ า่ นมานี้ ชวนให้เชือ่ ว่า ปืนไรเฟิลของบินลาเด็นได้มาจากการค้าอาวุธผิดกฎหมายซึง่ ถูก ออกแบบและดำ�เนินการโดยองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติทรง อิทธิพลอย่างอัลกออิดะห์และมาเฟียรัสเซีย และก็เป็นไปได้ว่า ปืนไรเฟิลนี้ถูกส่งเข้าไปในอัฟกานิสถานผ่านการค้าอาวุธใต้ดิน คล้ายกับกรณีที่ตำ�รวจในซานฟรานซิสโกยึดเอเค-47 จำ�นวน 2,000 กระบอก ซึ่งผลิตในจีนและถูกนำ�เข้าอย่างผิดกฎหมายใน เดือนพฤษภาคม 1996 เมื่อมองเข้าไปใกล้ๆ ข้อมือขวาของบินลาเด็นก็เผยให้ เห็นเค้าเงื่อนอื่นของพลวัตอันทรงพลังของโลกาภิวัตน์ ขณะที่ เขากำ�ลังประณามอเมริกาและประเทศพันธมิตรผ่านไมโครโฟน แขนเสื้อที่ถูกพับขึ้นก็เผยให้เห็นนาฬิกากีฬาโก้เก๋ นักข่าวที่ สังเกตเห็นเครือ่ งประดับราคาแพงนีไ้ ด้ตงั้ ข้อสงสัยถึงทีม่ าของมัน


A

Very

Short

Introduction

31

และต่างเห็นพ้องว่ามันคือผลิตภัณฑ์ของไทม์เม็กซ์ (Timex) แต่พอคิดว่านาฬิกายีห่ อ้ นีม้ กี ลิน่ อายความเป็นอเมริกามากพอๆ กับพายแอ็ปเปิล้ มันก็ดเู ป็นตลกร้ายทีท่ า่ นผูน้ �ำ อัลกออิดะห์เลือก เป็นเจ้าของนาฬิกายี่ห้อนี้ บริษัทไทม์เม็กซ์ ซึ่งแต่ก่อนคือบริษัท วอเทอร์บิวรี คล็อค (Waterbury Clock) ตั้งขึ้นในทศวรรษ 1850 ที่หุบเขาเนากาตัค (Naugatuck Valley) ในมลรัฐคอนเน็คติคัท ซึ่งเป็นที่รู้จักในช่วงศตวรรษที่ 19 ว่าเป็น “สวิสเซอร์แลนด์แห่ง อเมริ ก า” ทุ ก วั น นี้ ไ ทม์ เ ม็ ก ซ์ ไ ด้ ก ลายเป็ น บริ ษั ท ข้ า มชาติ มี ความสั ม พั น ธ์ ใ กล้ ชิ ด กั บ ธุ ร กิ จ ในเครื อ และมี สำ� นั ก งานขาย ใน 65 ประเทศทัว่ โลก จ้างงานกว่า 7,500 ชีวติ ใน 4 ทวีป คนงาน หลายพั น คนที่ ส่ ว นมากอาศั ย อยู่ ใ นประเทศที่ มี ค่ า แรงตํ่ า ในซีกโลกใต้ ได้ชว่ ยสร้างพลังขับเคลือ่ นอยูเ่ บือ้ งหลังกระบวนการ ผลิตระดับโลกของบริษัท การถอดรือ้ ภาพทีป่ รากฏในเทปวิดโี ออย่างย่นย่อทำ�ให้ เราเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า เหตุใดภาพที่ดูตกยุคของผู้ก่อการร้าย ที่ต่อต้านโลกาภิวัตน์ในถํ้าแห่งหนึ่งในอัฟกานิสถาน แท้จริงแล้ว สามารถสะท้อนให้เห็นพลวัตของโลกาภิวัตน์ได้เป็นอย่างดี และ ในการปรากฏตัวของเขาในเทปต่อมา บินลาเด็นก็แสดงภาพว่า เขาเป็ น ผู้ นำ � ศาสนามุ ส ลิ ม ผู้ เ ปี่ ย มด้ ว ยความรู้ ม ากกว่ า นั ก รบ ศักดิ์สิทธิ์ ในเทปเดือนกันยายน ปี 2007 เขาไปไกลถึงขั้น ปรากฏตัวพร้อมหนวดเคราที่ถูกแต่งและย้อมมาอย่างเรียบร้อย แต่กระทั่งภาพลักษณ์ที่ดูอ่อนลงของบินลาเด็น หนึ่งในนักรบ มูจาฮีดีน (mujahideen) ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของโลก ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงความจริงที่ว่า โลกได้สร้างเครือข่ายการ พึ่งพาอาศัยกันในระดับที่เข้มข้นมากขึ้น ความตึงเครียดระหว่าง


32

Globalization

อุดมการณ์ท้องถิ่นนิยม (localism) และโลกนิยม (globalism) มาถึงระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยมีสาเหตุมาจากการที่ จุดเชือ่ มต่อระหว่างอุดมการณ์ทงั้ สองได้เติบโตเร็วขึน้ กว่าครัง้ ใด ในหน้าประวัตศิ าสตร์ ความสำ�เร็จขององค์กรก่อการร้ายข้ามชาติ เป็นเพียงหนึ่งในปรากฏการณ์ที่สะท้อนการเผยตัวของโลกาภิวตั น์ และเช่นเดียวกับทีอ่ ดุ มการณ์สวยหรูเรือ่ ง “อิสลามบริสทุ ธิ”์ (pure Islam) เป็นการแสดงออกถึง โลกจินตกรรม (global imaginary) ยุคทีโ่ ลกมีความต้องการเทคโนโลยี สินค้าตลาด และคนดัง อย่างไม่มที สี่ นิ้ สุด ก็ยอ่ มมีสว่ นกำ�หนดปฏิกริ ยิ าตอบสนองด้านลบ ที่ต่อต้านโลกาภิวัตน์เรื่อยไป การถอดรื้อโอซามา บินลาเด็น เป็นตัวอย่างจริงทีส่ ะท้อนให้เห็นความละเอียดซับซ้อน และบางที ก็ยอ้ นแย้งของกระบวนการโลกาภิวตั น์ ณ จุดนี้ เราคงพร้อมทีจ่ ะ จัดการกับงานที่ยากยิ่งกว่า นั่นคือการประกอบสร้างคำ�นิยาม ให้กับแนวคิดที่ยังเป็นที่ถกเถียงนี้ สู่คำ�นิยามของโลกาภิวัตน์ “โลกาภิวัตน์” ถูกใช้อย่างหลากหลายทั้งในวรรณกรรม ทีไ่ ด้รบั ความนิยมทัว่ ไปและงานวิชาการ เพือ่ อธิบายกระบวนการ สภาวะ ระบบ พลัง และยุค ในเมื่อคำ�ที่ใช้เรียกโลกาภิวัตน์ต่างมี ความหมายที่แตกต่างกัน การใช้โดยไม่จำ�แนกย่อมทำ�ให้เกิด ความคลุมเครือและชวนให้เกิดความสับสน ยกตัวอย่างเช่น การหลอมรวมความหมายในมิติของกระบวนการและสภาวะ เข้าด้วยกันอย่างไม่ระวัง ย่อมนำ�ไปสู่คำ�นิยามที่วกไปวนมาและ ขาดพลังในการอธิบายปรากฏการณ์ ความจริงที่ถูกผลิตซํ้าว่า


A

Very

Short

Introduction

33

โลกาภิวตั น์ (กระบวนการ) นำ�ไปสูโ่ ลกาภิวตั น์ทมี่ ากขึน้ (สภาวะ) ไม่ได้ชว่ ยให้เราสามารถวิเคราะห์และแยกแยะระหว่างสาเหตุและ ผลลัพธ์ได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผมจึงเสนอว่าเราควรใช้ค�ำ ว่า ความ เป็นสากล (globality) ในการพูดถึง สภาวะทางสังคม ซึง่ มีลกั ษณะ ทีแ่ สดงถึงการเชือ่ มโยงและการไหลเวียนของเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และสิง่ แวดล้อมในระดับโลกอย่างแนบแน่น และส่งผล ให้ชายแดนและพรมแดนเป็นเรื่องที่มีความสำ�คัญน้อยลง แต่ กระนั้น เราก็ไม่ควรทึกทักว่าความเป็นสากลเป็นความจริงแท้ ที่เกิดขึ้นแล้ว หรือเป็นจุดจบที่ไร้การเปลี่ยนแปลง ทว่าแนวคิดนี้ หมายถึงสภาวะทางสังคมในอนาคต ซึ่งถูกกำ�หนดให้เปิดทาง ให้กับสภาวะใหม่ๆ เช่นเดียวกับสภาวะอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น มันอาจจะเป็นไปได้ที่ความเป็นสากลจะแผลงไปสู่สภาวะที่เรา เรียกว่า “ความเป็นดาวเคราะห์” (planetarity คือสภาวะทางสังคม ชนิดใหม่หลังจากที่มนุษย์ไปตั้งถิ่นฐานบนดาวเคราะห์ดวงอื่น ในระบบสุริยะได้สำ�เร็จ - ผู้แปล) นอกจากนั้น เรายังสามารถ จินตนาการถึงความเป็นสากลในรูปแบบที่แตกต่างกัน ตัวอย่าง เช่น ความเป็นสากลที่ยึดโยงกับคุณค่าของปัจเจกนิยม (individualism) การแข่งขัน และระบบทุนนิยมเสรี (laissez-faire capitalism) ขณะทีค่ วามเป็นสากลในรูปแบบอืน่ อาจจะขึน้ อยูก่ บั ค่ า นิ ย มที่ มี ลั ก ษณะของชุ ม ชนและความร่ ว มมื อ กั น มากกว่ า ทางเลื อ กที่ มี ห ลากหลายรู ป แบบเช่ น นี้ ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง ลั ก ษณะ ที่ไหลลื่นของความเป็นสากล คำ�ว่า โลกาภิวัตน์ ใช้กับ ชุดกระบวนการทางสังคม ที่แปลงสภาวะสังคมในปัจจุบันซึ่งนับวันลักษณะความเป็นชาติ


34

Globalization

(nationality) จะด้อยความสำ�คัญลง ไปสู่ความเป็นสากล (globality) ดังนั้น โดยแก่นแล้ว โลกาภิวัตน์เกี่ยวข้องกับรูปแบบ ในการติดต่อกันระหว่างมนุษย์ที่เปลี่ยนไป การยืนยันถึงโลกาภิวัตน์บอกเป็นนัยถึงความเชื่อ 3 ประการด้วยกัน คือ หนึ่ง เรากำ�ลังค่อยๆ หลุดจากสภาวะของความเป็นชาติสมัยใหม่ (modern nationality) ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เรื่อยมา สอง เรากำ�ลังเคลื่อนไปสู่สภาวะความเป็นสากลหลังสมัยใหม่ (postmodern globality) และสาม เรายั ง ไปไม่ ถึ ง จุ ด นั้ น อั น ที่ จ ริ ง แล้ ว เช่ น เดี ย วกั บ “กระบวนการทำ � ให้ ทั น สมั ย ” (modernization) และคำ �นามซึ่งบ่งถึงคำ�กริยาที่ลงท้ายด้วย คำ�ห้อยท้ายว่า “-ization” คำ�ว่า “โลกาภิวัตน์” พูดถึงพลวัต ทีอ่ ธิบายได้ดที สี่ ดุ ด้วยแนวคิดเรือ่ ง “การพัฒนา” (development) หรือ “การคลี่คลาย” (unfolding) ในรูปแบบที่สังเกตได้ การ คลี่ ค ลายที่ ว่ า นี้ อ าจจะเกิ ด ขึ้ น เร็ ว หรื อ ช้ า แต่ มั น สั ม พั น ธ์ กั บ แนวคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงบ่งบอกถึงการเปลี่ยน สภาพ ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการที่ศึกษาพลวัตของโลกาภิวัตน์ มักรู้สึกกระตือรือร้นที่จะหาคำ�ตอบต่อคำ�ถามวิจัยที่เกี่ยวพันกับ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม อาทิ โลกาภิวัตน์เกิดขึ้นได้อย่างไร? อะไรที่เป็นแรงผลักกระบวนการโลกาภิวัตน์? มีปัจจัยเดี่ยวหรือ การรวมกันของหลากหลายปัจจัยที่นำ�ไปสู่โลกาภิวัตน์? โลกาภิวัตน์เป็นกระบวนการที่มีลักษณะเป็นหนึ่งเดียวหรือแตกต่าง หลากหลาย? โลกาภิวตั น์เป็นกระบวนการทีต่ อ่ เนือ่ งมาจากภาวะ สมัยใหม่หรือแยกออกมาอย่างเด็ดขาด? โลกาภิวัตน์แตกต่าง อย่างไรกับพัฒนาการทางสังคมที่เกิดขึ้นก่อนหน้า? โลกาภิวัตน์


A

Very

Short

Introduction

35

ก่อให้เกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมและการแบ่งชั้นทางสังคม รูปแบบใหม่หรือไม่? น่าสังเกตว่า การทำ�ความเข้าใจโลกาภิวัตน์ในฐานะ กระบวนการทีม่ พี ลวัตมากกว่าสภาวะทีห่ ยุดนิง่ นัน้ ทำ�ให้นกั วิจยั ต้องให้ความสนใจต่อการรับรู้ในเรื่องเวลาและพื้นที่ที่เปลี่ยนไป มากเป็นพิเศษ ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการด้านโลกาภิวัตน์หลายคน จึงให้ความสำ�คัญเป็นพิเศษกับการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ และ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของพื้นที่ทางสังคม จริงๆ แล้ว ความ เข้าใจของนักภูมศิ าสตร์มนุษย์ (human geographers) มีบทบาท สำ�คัญต่อการพัฒนาวิชาการด้านโลกศึกษาอย่างมาก ประเด็นที่ สำ�คัญที่สุดคือ นักวิชาการเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ระบบการวัดทาง ภูมิศาสตร์ (geographical scales) แบบเก่าที่แยก “ท้องถิ่น” “ชาติ” “ภูมภิ าค” และ “โลก” ออกจากกัน ใช้งานไม่ได้อกี ต่อไปแล้ว ในโลกเครือข่ายที่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งเป็นโลกที่ระบบการ วัดดังกล่าวมีการทับซ้อนและทะลุทะลวงถึงกันและกัน อันที่จริง สถานที่ ที่ ดี ที่ สุ ด ในการศึ ก ษา “โลก” บ่ อ ยครั้ ง จึ ง อยู่ ใ นระดั บ “ท้องถิ่น” ดังจะเห็นได้จาก “มหานครโลก” (global cities) เช่น นิวยอร์ก ลอนดอน โตเกียว และเซียงไฮ้ ท้ายสุด ผมขอใช้ โลกจินตกรรม (global imaginary) ในฐานะแนวคิดเรื่องจิตสำ�นึกร่วมที่เชื่อว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของ ชุมชนโลก แนวคิดนี้ไม่ได้หมายความว่า กรอบคิดร่วมในระดับ ชาติและท้องถิ่นได้สูญเสียพลังในการให้ความหมายเรื่องพื้นที่ และอัตลักษณ์ของผู้คนที่อยู่อาศัย แต่คงเป็นเรื่องผิดพลาดที่จะ ปิดตาไว้ขา้ งหนึง่ เพือ่ มองแต่ ชาติจนิ ตกรรม (national imaginary) ซึง่ นับวันจะเสือ่ มถอยลงเรือ่ ยๆ เนือ่ งจากประชากรทีอ่ าศัยอยูใ่ น


36

Globalization

ชาติและท้องถิ่นได้ประสบกับโลกจินตกรรมบ่อยครั้งขึ้น มันก็ได้ สั่นคลอนการรับรู้ของผู้คนที่เคยมีต่อการใช้ชีวิตในชุมชนภายใต้ ขอบเขตแบบเก่า ดังที่จะกล่าวถึงในบทต่อๆ ไป โลกจินตกรรม ที่เพิ่มมากขึ้นจะถูกสะท้อนอยู่ในการเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ ทางการเมือง แนวคิดและความเชื่อที่เปลี่ยนไปนี้ส่งผลต่อวาระ และโครงการทางการเมืองที่เป็นรูปธรรม การสนับสนุนความคิดที่ว่าโลกาภิวัตน์ทำ�ให้เกิดชุด กระบวนการทางสังคมทีถ่ กู ห่อหุม้ ด้วยโลกจินตกรรม และผลักดัน เราไปสูส่ ภาวะความเป็นสากล น่าจะช่วยหลีกเลีย่ งการให้ค�ำ นิยาม แบบพายเรือในอ่าง แต่มันก็ทำ�ให้เราเห็นลักษณะเพียงด้าน เดียวของกระบวนการโลกาภิวัตน์ ว่าเป็นกระบวนการที่น�ำ ไปสู่ การพึ่งพาและการหลอมรวมในระดับโลกมากยิ่งขึ้น การให้คำ� นิยามโลกาภิวัตน์กว้างๆ เช่นนี้ช่วยให้เราเข้าใจลักษณะของมัน เพียงน้อยนิด ดังนัน้ เพือ่ ก้าวข้ามข้อบกพร่องของคำ�นิยามเช่นนี้ เราควรระบุถึงลักษณะอื่นๆ ที่จะช่วยแยกแยะความแตกต่าง ระหว่างโลกาภิวัตน์และชุดกระบวนการทางสังคมอื่นๆ อย่างไร ก็ ต าม สิ่ ง ที่ ต้ อ งพึ ง ระวั ง คื อ เมื่ อ ใดก็ ต ามที่ นั ก วิ จั ย พยายาม ตีกรอบการศึกษาให้แคบทีส่ ดุ เพือ่ สร้างกรอบให้ค�ำ ถามทีต่ อ้ งการ ศึกษาอยู่ในขอบเขตที่ชัดเจน แนวโน้มที่จะเกิดความเห็นต่าง ทางวิชาการเกี่ยวกับการให้คำ�นิยามก็ย่อมเพิ่มมากขึ้น การ ศึกษาโลกาภิวตั น์ไม่ใช่ขอ้ ยกเว้น เหตุผลหนึง่ ทีท่ �ำ ให้โลกาภิวตั น์ เป็นแนวคิดที่เป็นที่ถกเถียงกันมากก็เพราะว่า โลกวิชาการยัง ไม่มีฉันทามติร่วมว่ากระบวนการทางสังคมอะไรที่เป็นแก่นของ ปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ นอกจากนั้ น โลกาภิ วั ต น์ ก็ เ ป็ น กระบวนการที่ ไ ม่


สิ่งแ วด ล้อ

มือ ง กา รเ

ร์

เศรษ

สต ฐศา

นา

ศาส

์ อุดมการณ

วัฒนธรรม

ภาพประกอบ 2 นักปราชญ์ที่ศึกษาโลกาภิวัตน์และช้าง

สมํ่าเสมอ หมายความว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในแต่ละพื้นที่จะได้รับ ผลกระทบจากการแปรสภาพของโครงสร้ า งทางสั ง คมและ ปริมณฑลทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ กระบวนการ ทางสังคมที่ทำ �ให้เกิดโลกาภิวัตน์จึงถูกวิเคราะห์และอธิบาย โดยนั ก วิ จ ารณ์ ที่ ห ลากหลายด้ ว ยแนวทางที่ แ ตกต่ า งกั น และบ่อยครั้งก็ถึงขั้นย้อนแย้งกันเอง นักวิชาการไม่เพียงแต่ มีความคิดเห็นแตกต่างกันต่อคำ�นิยามโลกาภิวัตน์ที่เหมาะสม แต่พวกเขายังเห็นต่างในรายละเอียด เช่น ระบบการวัด ความ สัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ลำ�ดับเวลา ผลกระทบ แนวโน้มของ ปรากฏการณ์ และผลลัพธ์ทางนโยบาย การเปรียบเปรยของ พุทธศาสนาในอดีตทีพ่ ดู ถึงนักปราชญ์ตาบอดคลำ�ช้าง ช่วยสาธิต ข้อถกเถียงทางวิชาการเกี่ยวกับธรรมชาติและมิติที่หลากหลาย ของโลกาภิวัตน์ เนื่องจากเหล่านักปราชญ์ตาบอดไม่รู้ว่าช้างมีรูปร่าง


38

Globalization

หน้าตาเป็นอย่างไร พวกเขาจึงสร้างภาพในจินตนาการจาก ความรู้ที่ตนมีผ่านการสัมผัส ชายตาบอดคนหนึ่งที่สัมผัสงวง บอกว่าช้างมีลักษณะเหมือนงูที่คึกคะนอง ชายอีกคนที่ถูไปตาม ท่อนขาของช้างเปรียบเปรยว่าเป็นสัตว์ที่เหมือนเสาต้นใหญ่ ที่มีพื้นผิวตะปุ่มตะปํ่า ชายคนที่สามจับที่หางและเชื่อว่าช้าง คล้ายคลึงกับแปรงขนาดยักษ์ที่ยืดหยุ่น ส่วนชายคนที่สี่สัมผัส งาแหลมและป่ า วประกาศว่ า มั น คื อ หอกขนาดยั ก ษ์ เหล่ า นั ก ปราชญ์ ต่ า งยึ ด มั่ น ในความเชื่ อ ที่ ต นมี ต่ อ ช้ า ง และในเมื่ อ ชื่ อ เสี ย งทางวิ ช าการของตนขึ้ น อยู่ กั บ ความถู ก ต้ อ งในการ ค้ น พบ ชายตาบอดเหล่ า นั้ น จึ ง ลงเอยด้ ว ยการโต้ เ ถี ย งถึ ง ความจริงแท้ของช้าง วิวาทะทางวิชาการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเด็น ที่ว่ามิติไหนคือแก่นสำ�คัญของโลกาภิวัตน์ สะท้อนให้เห็นถึงการ เปรียบเปรยของชายตาบอดและช้างในรูปแบบหลังสมัยใหม่ (postmodern) กระทัง่ นักวิชาการเพียงไม่กคี่ นทีเ่ ชือ่ ว่าโลกาภิวตั น์ เป็นกระบวนการเอกเทศก็ยังโต้เถียงกันเองว่า มิติของชีวิตและ สังคมด้านไหนที่ยึดกุมพื้นที่หลัก ผู้เชี่ยวชาญทางโลกศึกษา บางคนเห็นว่า กระบวนการทางเศรษฐกิจเป็นแกนหลักของโลกาภิวตั น์ ขณะทีบ่ างคนให้ความสำ�คัญกับมิตทิ างการเมือง วัฒนธรรม และอุดมการณ์ บางคนชี้ให้เห็นว่ากระบวนการทางสิ่งแวดล้อม เป็นหัวใจหลักของโลกาภิวตั น์ เช่นเดียวกับชายตาบอดในนิทาน เปรี ย บเปรย นั ก วิ จั ย ด้ า นโลกาภิ วั ต น์ แ ต่ ล ะคนต่ า งก็ ถู ก ต้ อ ง ในบางแง่มุม เพราะต่างก็ระบุถึงมิติที่สำ�คัญด้านใดด้านหนึ่ง ของปรากฏการณ์ แต่ข้อผิดพลาดโดยรวมของพวกเขาอยู่ที่ ความพยายามที่จะลดทอนปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอย่างโลกา-


A

Very

Short

Introduction

39

ภิวัตน์ให้เหลือเพียงประเด็นเอกเทศในสาขาที่ตนเชี่ยวชาญ ภารกิจสำ�คัญของสาขาโลกศึกษาคือการสร้างวิธีในการประเมิน ความสำ�คัญของแต่ละมิติ โดยไม่สูญเสียภาพรวมที่เชื่อมร้อยกัน โชคดีที่มีนักวิจัยจำ�นวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มองเห็นความสำ�คัญของ วิธกี ารทีม่ คี วามเป็นสหวิทยาการ และหลีกเลีย่ งวิธคี ดิ แบบลดทอน (reductionism) ที่เป็นอันตรายต่อการศึกษาโลกาภิวัตน์ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความแตกต่างทางความคิดเห็น แต่มันก็เป็นไปได้ที่จะหาแนวคิดร่วมท่ามกลางความพยายาม ทางวิชาการอันหลากหลาย เพื่อระบุถึงลักษณะที่เป็นแก่นของ กระบวนการโลกาภิวตั น์ ลองพิจารณาตัวอย่างของคำ�นิยามโลกาภิวตั น์ทไี่ ด้รบั การยอมรับในวงกว้าง 5 ตัวอย่างนี้ (ดูกรอบด้านล่าง)

“ดังนั้นเราสามารถนิยามโลกาภิวัตน์ว่าเป็นกระบวนการที่ท�ำ ให้ ความสัมพันธ์ทางสังคมในระดับโลกมีความเข้มข้นมากขึ้น ซึ่ง เชือ่ มโยงพืน้ ทีท่ มี่ รี ะยะห่างไกลกันในลักษณะทีเ่ รือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ ในท้ อ งถิ่ น หนึ่ ง ถู ก กำ � หนดโดยเหตุ ก ารณ์ ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น ห่ า งไกล ออกไป รวมถึงในทางกลับกัน” แอนโธนี กิดเด็นส์ (Anthony Giddens) อดีตผู้อำ�นวยการมหาวิทยาลัย London School of Economics


40

Globalization

“แนวคิดโลกาภิวัตน์สะท้อนถึงสภาวะที่การสื่อสารในระดับโลก ได้ขยายออกไปกว้างไกล รวมถึงขอบเขตของตลาดโลกก็เช่นกัน ทั้งสองมิติได้กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ดูเป็นรูปธรรมและเกิดขึ้น อย่างรวดเร็วกว่าในช่วงระยะแรกของภาวะสมัยใหม่” เฟดริค เจมสัน (Fredric Jameson) ศาสตราจารย์ด้านวรรณกรรม มหาวิทยาลัย Duke “โลกาภิวัตน์เป็นเรื่องของกระบวนการ (หรือชุดกระบวนการ) ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการจัดการพื้นที่ความสัมพันธ์ และการดำ�เนินกิจกรรมทางสังคม โดยอาจประเมินในแง่ระดับ ความครอบคลุม (extensity) ความเข้มข้น (intensity) ความรวดเร็ว (velocity) และผลกระทบ (impact) ซึ่งก่อให้เกิดการไหลเวียน และการสร้างเครือข่ายของกิจกรรมต่างๆ การปฎิสมั พันธ์ และการ ใช้อำ�นาจ ที่มีลักษณะข้ามทวีปหรือข้ามภูมิภาค” เดวิด เฮลด์ (David Held) ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย London School of Economics “โลกาภิวตั น์เป็นแนวคิดทีพ่ ดู ถึงการบีบอัดของโลกและการทำ�ให้ สำ�นึกที่ว่าโลกเป็นหนึ่งเดียวทวีความเข้มข้นขึ้น” โรแลนด์ โรเบิร์ทสัน (Roland Robertson) ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Aberdeen ประเทศสก็อตแลนด์


A

Very

Short

Introduction

41

“โลกาภิวตั น์เป็นกระบวนการทีบ่ บี อัดความสัมพันธ์ทางสังคมทัง้ ในมิติของเวลาและพื้นที่” เจมส์ มิทเทิลแมน (James Mittleman) ศาสตราจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ American University, Washington คำ � นิ ย ามดั ง กล่ า วชี้ ใ ห้ เ ห็ น คุ ณ สมบั ติ ห รื อ ลั ก ษณะ 4 ประการ ซึ่งเป็นแก่นของปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ หนึ่ง โลกาภิวัตน์เกี่ยวข้องกับ การเกิดขึ้น (creation) ของเครือข่ายและ กิจกรรมทางสังคมชนิดใหม่ และ การทวีคูณ (multiplication) ของเครือข่ายและกิจกรรมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งตัดข้ามพรมแดนทาง การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และภูมิศาสตร์ แบบดั้งเดิม ดังที่ เห็นจากกรณีของอัลจาซีรา การเกิดขึ้นของสำ�นักข่าวดาวเทียม นำ�ไปสู่การผสมผสานของเครือข่ายมืออาชีพ นวัตกรรมด้าน เทคโนโลยี และการตัดสินใจทางการเมือง ซึ่งเอื้อให้เกิดระเบียบ ทางสังคมแบบใหม่ที่ข้ามพ้นรูปแบบที่ติดกรอบความเป็นชาติ คุณลักษณะประการที่ สอง ของโลกาภิวัตน์ถูกสะท้อน ผ่าน การแผ่ขยาย (expansion) และ การยืดขยาย (stretching) ของความสัมพันธ์ทางสังคม กิจกรรม และการพึ่งพาอาศัยกัน ตลาดการเงินในปัจจุบันแผ่ขยายไปทั่วทุกมุมโลก และ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็เกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมง ห้างสรรพสินค้า ขนาดใหญ่ที่แทบจะเป็นพิมพ์เดียวกันทั่วโลกผุดขึ้นในทุกทวีป และวางขายสินค้าแทบทุกชนิดจากทุกภูมิภาคของโลกให้กับ


42

Globalization

ผู้บริโภคที่มีกำ�ลังซื้อ รวมถึงสินค้าที่ชิ้นส่วนต่างๆ ถูกผลิตขึ้น ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก กระบวนการยืดขยายทางสังคมเช่นนี้ เกิ ด ขึ้ น กั บ เครื อ ข่ า ยผู้ ก่ อ การร้ า ยอั ล กออิ ด ะห์ เ ช่ น เดี ย วกั บ ที่ เกิดขึน้ กับองค์กรลักษณะอืน่ ๆ อาทิ องค์กรพัฒนาเอกชน บริษทั ห้างร้าน สโมสร และสถาบันและองค์กรทั้งในระดับภูมิภาคและ ระดับโลกอีกนับไม่ถว้ น เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN) สหภาพ ยุโรป (EU) สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) องค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity) องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Doctors Without Borders) สมัชชาสังคมโลก (World Social Forum) กูเกิล และอีกมากมาย สาม โลกาภิวัตน์เกี่ยวข้องกับ การทำ�ให้เข้มข้นขึ้น (intensification) และ การเพิ่มอัตราเร่ง (acceleration) ในการ แลกเปลี่ยนและกิจกรรมทางสังคม ดังเช่นที่นักสังคมวิทยาชาว สเปน มานูเอล คาสเทลส์ (Manuel Castells) บอกไว้วา่ การเกิดขึน้ ของ “สังคมเครือข่าย” (network society) ในระดับโลก จำ�เป็น ต้องมีการปฏิวัติทางเทคโนโลยี ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเทคโนโลยีดา้ นการขนส่งและสารสนเทศ นวัตกรรมซึง่ เติบโต ด้วยความเร็วที่น่าทึ่งนี้ กำ�ลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางสังคม ที่มนุษย์อาศัยอยู่ อินเทอร์เน็ตส่งผ่านข้อมูลจากแดนไกลตาม เวลาจริง และดาวเทียมถ่ายทอดภาพที่เกิดขึ้นในต่างแดนให้กับ ผู้ชมได้ทันที การทำ�ให้ความสัมพันธ์ทางสังคมในระดับโลก มีความเข้มข้นขึ้นหมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในท้องที่หนึ่งจะ ถูกกำ�หนดโดยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากแดนไกล รวมถึงในทาง กลับกันด้วย หรือพูดอีกอย่างคือ กระบวนการโลกาภิวัตน์และ ท้องถิน่ ภิวตั น์ (localization) ดูเหมือนจะขัดแย้งกัน ทว่าอันทีจ่ ริง


A

Very

Short

Introduction

43

เป็นกระบวนที่เกี่ยวเนื่องกัน ดังนั้น แทนที่จะมองว่าโลกและ ท้องถิ่นตั้งอยู่ตรงฐานและยอดของการแบ่งชั้นทางภูมิศาสตร์ แบบเก่า บัดนี้ มันได้ผสมปนเปกันไปกับชาติและภูมภิ าคในระบบ การวัดแบบใหม่ที่เป็นแนวราบ สี่ ตามทีไ่ ด้เน้นถึงโลกจินตกรรม กระบวนการโลกาภิวตั น์ ไม่ได้เกิดขึ้นในระดับของวัตถุที่เป็นภววิสัยเท่านั้น แต่เกิดขึ้นใน ระดับจิตสำ�นึกของมนุษย์ที่เป็นอัตตวิสัยด้วย โลกที่ถูกบีบอัดจน กลายเป็นพรมแดนเดีย่ วส่งผลให้กรอบในการคิดและการกระทำ� ของมนุษย์เชื่อมโยงในระดับโลกมากขึ้น โลกาภิวัตน์จึงเกี่ยวพัน กับโครงสร้างทั้งระดับมหภาคของชุมชนและระดับจุลภาคของ ความเป็นมนุษย์ มันลงลึกไปถึงแก่นของตัวตนและนิสัยใจคอ และนำ�ไปสูก่ ารเกิดขึน้ ของอัตลักษณ์ทงั้ ระดับรวมหมูแ่ ละปัจเจก ชนิดใหม่ ซึ่งถูกหล่อเลี้ยงด้วยความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกและ โลกที่เข้มข้นมากขึ้น หลังจากที่ได้ระบุถึงคุณลักษณะที่เป็นแก่นของโลกาภิ วั ต น์ อ อกมาอย่ า งชั ด เจน ผมพยายามหลอมรวมลั ก ษณะ เหล่านั้นออกมาในหนึ่งประโยค เพื่อให้คำ�นิยามขนาดสั้นของ โลกาภิวัตน์ได้ดังนี้ โลกาภิวัตน์เป็นกระบวนการที่พูดถึงการแผ่ขยาย และการทำ�ให้เข้มข้นขึน้ ของความสัมพันธ์และจิตสำ�นึกซึง่ ข้ามพ้นเวลาและพื้นที่ของโลก ก่ อ นที่ จ ะจบบทนี้ ผมขอยกประเด็ น ข้ อ โต้ แ ย้ ง จาก นักวิชาการที่อยู่ในค่ายของ “ผู้กังขาในโลกาภิวัตน์” (globaliza-


44

Globalization

tion skeptics) ซึง่ ไล่ไปตัง้ แต่ขอ้ กล่าวหาทีว่ า่ “การพูดคุยเกีย่ วกับ โลกาภิ วั ต น์ ” ที่ เ ป็ น แฟชั่ น ทุ ก วั น นี้ ไม่ ไ ด้ มี ค วามหมายอะไร มากไปกว่า “โลกามุสาวาท” (globaloney หมายถึงการสนับสนุน แนวคิดเรือ่ งโลกาภิวตั น์ดว้ ยข้อมูลทีบ่ ดิ เบือน ไม่รอบด้าน หรือใช้ โวหารสวยหรู - ผู้แปล) ไปจนถึงข้อเสนอแนะที่ดูรุนแรงน้อยกว่า ที่ว่า โลกาภิวัตน์เป็นกระบวนการที่มีข้อจำ�กัดและไม่สมํ่าเสมอ มากกว่าที่ “ผูค้ ลัง่ โลกาภิวตั น์” (hyperglobalizers) พยายามทำ�ให้ เราเชื่อ ในหลายแง่มุม ผู้กังขาในโลกาภิวัตน์อย่างรุนแรงก็คล้าย กับชายตาบอดที่ยืนอยู่บนพื้นที่ว่างเปล่าระหว่างขาหน้าและขา หลังของช้าง พวกเขาพยายามควานหาบางส่วนของช้างอย่าง ไร้ประโยชน์ และหลังจากที่ไม่พบอะไร พวกเขาก็กล่าวหาว่า ชายตาบอดที่คลำ�เจอส่วนอื่นสร้างเรื่องเหลือเชื่อให้กับสิ่งที่ไม่มี อยู่จริง และยืนยันว่าไม่มีสัตว์ที่เรียกว่า “ช้าง” อยู่จริง ผมปฏิเสธ ทีจ่ ะหาข้อมูลและรายละเอียดในการโต้แย้งกับเหล่าผูก้ งั ขาโลกาภิ วั ต น์ ที่ ยั ง เหลื อ อยู่ ไ ม่ ม ากนั ก เพราะเราก็ ไ ด้ ป ระจั ก ษ์ ผ่ า น หลั ก ฐานที่ ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง ความสั ม พั น ธ์ ท างสั ง คมโลกที่ มี ค วาม เข้มข้นมากขึ้นตลอดทศวรรษ 2000 แล้ว กระนั้นก็ตาม ผู้กังขาในโลกาภิวัตน์ได้ทำ�หน้าที่สำ�คัญ อย่างหนึ่งคือ การตั้งข้อสงสัยที่ทำ�ให้นักวิชาการด้านโลกศึกษา ต้ อ งพยายามขั ด เกลาข้ อ คิ ด เห็ น ของเขาให้ แ หลมคมยิ่ ง ขึ้ น พวกเขาได้ตงั้ คำ�ถามทีท่ า้ ทายทีส่ ดุ ข้อหนึง่ เกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ นัน่ คือ โลกาภิวตั น์เป็นปรากฏการณ์สมัยใหม่หรือไม่? นักวิจารณ์ บางท่านอาจจะตอบว่าไม่ใช่ โดยยืนยันว่าแนวคิดเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ถูกใช้มาอย่างต่อเนื่องในลักษณะที่ไม่ได้มีความชัดเจน ทางประวัติศาสตร์ พูดอย่างกระชับก็คือ กลุ่มผู้กังขาเห็นว่า


A

Very

Short

Introduction

45

กระทั่ ง การดู ป ระวั ติ ศ าสตร์ อ ย่ า งคร่ า วๆ ก็ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า โลกาภิวัตน์ทุกวันนี้ไม่ได้มีอะไร “ใหม่” ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่จะไป ตรวจสอบโลกาภิวตั น์ในมิตอิ นื่ ๆ แบบลงรายละเอียดในบทถัดไป เราควรให้นาํ้ หนักกับข้อโต้แย้งทางประวัตศิ าสตร์ทมี่ คี วามสำ�คัญ นีก้ อ่ น การตรวจสอบว่าโลกาภิวตั น์เป็นปรากฏการณ์ใหม่หรือไม่ เกี่ยวโยงกับคำ�ถามอื่นๆ ที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันมากในสาขาโลก ศึกษา การลำ�ดับเหตุการณ์ที่เหมาะสมและการจัดแบ่งช่วงตาม ประวั ติ ศ าสตร์ ข องโลกาภิ วั ต น์ ค วรจะมี ห น้ า ตาเป็ น อย่ า งไร? เราลองมาดูบทที่สองเพื่อหาคำ�ตอบร่วมกัน \


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.