Vsi architecture (web preview) 2

Page 1


สถาปัตยกรรม: ความรู้ฉบับพกพา • อนุสรณ์ ติปยานนท์ แปล จากเรื่อง Architecture: A Very Short Introduction โดย แอนดรูว์ บัลแลนไทน์ พิมพ์ครั้งแรก: สำ�นักพิมพ์ open wo rld s, พฤษภาคม 2557 ราคา 230 บาท คณะบรรณาธิการอำ�นวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล บรรณาธิการ นรนิติ์ สุวณิชย์ ภูมิ นํ้าวล วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ภูมิ นํ้าวล ฐณฐ จินดานนท์ ออกแบบปก wrongdesign จัดทำ�โดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด 604/157 ถ.สาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-618-4730 email: openworldsthailand@gmail.com facebook: www.facebook.com/openworlds twitter: www.twitter.com/openworlds_th website: www.openworlds.in.th จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8356-9 website: http://www.se-ed.com/


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล หมายเลขโทรศัพท์ 086 403 6451 หรือ Email: openworldsthailand@gmail.com

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ บัลแลนไทน์, แอนดรูว์. สถาปัตยกรรม: ความรู้ฉบับพกพา.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2557. 224 หน้า. 1. สถาปัตยกรรม. I. อนุสรณ์ ติปยานนท์, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 720.9593 ISBN 978-616-7885-02-5 • Thai language translation copyright 2014 by openworlds publishing house /Copyright © 2002 by Andrew Ballantyne All Rights Reserved. Architecture: A Very Short Introduction, by Andrew Ballantyne was origin a lly p u b lis h e d in E n g l i s h i n 2 0 0 2 . This translation is published by arrangement with Oxford University Press t hrou g h T u ttle -M o ri Ag e n c y C o . , L t d . The Thai edition is translated by Anusorn Tipayanon and published by op e n wo rld s p u b lis h i n g h o u s e , 2 0 1 4 . สถาปัตยกรรม: ความรู้ฉบับพกพา ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 2002 แปลและตีพิมพ์เป็นภาษาไทยโดยข้อตกลงกับสำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด


สารบัญ

. สารบัญ: 4 ค�ำน�ำผู้แปล: 8 บทน�ำ: 14 1. อาคารนั้นมีความหมาย: 40 2. การเติบโตของระเบียบแบบแผนตะวันตก: 100 3. สิ่งก่อสร้างมีความยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้อย่างไร: 150 ล�ำดับเหตุการณ์: 204 อภิธานศัพท์: 210 หนังสืออ่านเพิ่มเติม: 218


สารบัญภาพประกอบ

. 1 อาคาร AT&T, เมืองนิวยอร์ก (1978-1980), สถาปนิก: ฟิลิป จอห์นสัน (เกิด 1906) © T. Brubaker/Edifice 34 2 กระท่อมชนบทแบบดั้งเดิม, ไม่ปรากฏช่วงเวลาก่อสร้างแน่ชัด แต่คาดว่า เป็นช่วงก่อนศตวรรษที่ 20, ไม่ได้ออกแบบโดยสถาปนิก Hulton Archive 56 3 พระต�ำหนัก ณ เมืองไบรตัน ประเทศอังกฤษ (1815-1821), สถาปนิก: จอห์น แนช (1752-1835) © A. F. Kersting 59 4 มหาพีระมิดแห่งคูฟู, เมืองกีซา ใกล้กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ (2723-2563 ปีก่อนคริสตกาล), ไม่ทราบนามสถาปนิก © Richard T. Nowitz/Corbis 61 5 พระราชวังเวสต์มินสเตอร์, กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ (1836-1868), สถาปนิก: เซอร์ชาร์ลส์ แบร์รี (1795-1860) และ เอ. ดับบลิว. เอ็น. พูกิน (1812-1852) © Jeremy Horner/Corbis 69 6 เมืองจัณฑีครห์, รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย (1950-1965), สถาปนิก: เลอ คอร์บูซิเยร์ (1887-1965) © Chris Hellier/Corbis 72 7 มหาวิหารพาร์เธนอน, กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ (447-436 ปีกอ่ นคริสตกาล), สถาปนิก: อิกทินุสและคัลลิคราทีส โดยท�ำงานร่วมกับประติมากรฟิดิอัส © Michael Holford 77 8 มหาวิหารแซงต์เอเตียง, เมืองบูร์กส์ ประเทศฝรั่งเศส (เริ่มก่อสร้างปี 1190) © Eye Ubiquitous/Corbis 81 9 บ้านชเรอเดอร์, เมืองอูเทรกต์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ (1924), สถาปนิก: เกอร์ริต รีตเวลด์ (1888-1964) Centraal Museum, Utrecht 88 10 บ้านฟอลลิงวอเตอร์, เมืองแบร์รัน รัฐเพนซิลเวเนีย (1936-1939), สถาปนิก: แฟรงค์ ลอยด์ ไรต์ (1867-1959) © Chicago Historical Society 98 11 โบสถ์วีสเกียร์เชอ, เมืองชไตน์เฮาเซน แคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี (1745-1754), สถาปนิก: โดมินคิ สุ ซิมเมอร์มนั (1681-1766) © A. F. Kersting 110


12 บ้านมอนติเชลโล, ใกล้เมืองชาร์ลอตส์วลิ ล์ รัฐเวอร์จเิ นีย (1796-1808), สถาปนิก: โธมัส เจฟเฟอร์สัน (1743-1836) © R. Lautman/Monticello 116 13 เมซงคาร์เร, เมืองนีม ประเทศฝรั่งเศส (ค.ศ. 1-10), ไม่ทราบนามสถาปนิก © A. F. Kersting 119 14 วิหารแพนเธออน, กรุงโรม ประเทศอิตาลี (ค.ศ. 118-125), ไม่ทราบนามสถาปนิก แต่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นบุคคลที่ท�ำงานภายใต้บัญชาของจักรพรรดิเฮเดรียน Archivi Alinari, Florence 124 15 วิลลาคาปรา, เมืองวิเชนซา ประเทศอิตาลี (1569), สถาปนิก: อันเดรอา พัลลาดิโอ (1508-1580) Archivi Alinari, Florence 128 16 บ้านพักแห่งย่านชิสวิก, กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ (1725), สถาปนิก: ลอร์ด เบอร์ลิงตัน (1694-1753) © A. F. Kersting 132 17 แบบจ�ำลองของวิหารจูโน ซอสปิตา ศาสนสถานแบบลานูเวียม-อีทรัสกัน ตาม ต�ำราของวิทรูเวียส (ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล) © David Lees/Corbis 145 18 อาคารซีแกรม, เขตแมนฮัตตัน เมืองนิวยอร์ก (1954-1958), สถาปนิก: มีส ฟาน แดร์ โรห์ (1886-1969) และ ฟิลิป จอห์นสัน (เกิด 1906) © Bettmann/Corbis 154 19 โอเปราเฮาส์, เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย (1957-1973), สถาปนิก: ยาร์น อูตซัน (เกิด 1918) © Eye Ubiquitous/Corbis 157 20 อาคาร ชิคาโกทริบนู , เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ (1923-1925), สถาปนิก: จอห์น มีด ฮาวเวลส์ (1868-1959) และ เรย์มอนด์ ฮูด (1881-1934) Underwood & Underwood/Corbis 162 21 บริเวณทางเข้าสถานีรถไฟใต้ดิน, กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (1899-1905), สถาปนิก: เอกตอร์ กีมาร์ (1867-1942) © Philippa Lewis/Edifice 169 22 โบสถ์พระมหาไถ่ซากราดาฟามิเลีย, เมืองบาร์เซโลนา แคว้นคาตาโลเนีย ประเทศสเปน (เริ่มก่อสร้างปี 1882), สถาปนิก: อันโตนี เกาดี (1852-1926) © A. F. Kersting 174 23 สุสานหลวงทัชมาฮาล, เมืองอัครา ประเทศอินเดีย (1630-1653), สถาปนิก: อุสตาด ไอซา (ไม่ทราบปีเกิด) © A. F. Kersting 179


24 พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์, เมืองบิลเบา ประเทศสเปน (1997), สถาปนิก: แฟรงค์ เกห์รี (เกิด 1929) Erika Barahona Ede/© FMGB Guggenheim Bilbao 183 25 ศูนย์ฌอร์จ ปอมปิด,ู กรุงปารีส ประเทศฝรัง่ เศส (1977), สถาปนิก: เรนโซ เปียโน (เกิด 1937) และ ริชาร์ด โรเจอร์ส (เกิด 1933) © Eye Ubiquitous/Corbis 189


8

Architecture

ค�ำน�ำผู้แปล

.

เมือ่ เธซีอสุ (Theseus) เดินทางเข้าไปในเขาวงกตกลาง เกาะครีตเพื่อต่อสู้กับมิโนทอร์ (Minotaur) สัตว์ร้ายที่มีร่างครึ่ง คนครึ่งวัว เขามีเพียงเส้นด้ายที่ได้รับจากอาริแอดเน (Ariadne) การเดิ น ไปในความมื ด และความคดเคี้ ย วของเขาวงกตซึ่ ง ออกแบบโดยเดดาลุส (Daedalus) นัน้ ไม่ใช่เรือ่ งง่าย อย่างไรก็ตาม เธซีอุสได้เป็นผู้ก�ำชัยชนะในที่สุด แต่หลังจากออกเขาวงกตแห่ง นัน้ แล้ว สิง่ ทีเ่ ขาได้รบั นอกเหนือจากชัยชนะคือประสบการณ์แห่ง สถาปัตยกรรม ความรู้สึกที่ว่านี้คงไม่แตกต่างจากผู้เข้าไปในโรงอาบ น�้ำร้อนที่โรงแรมแธร์เมอวัลส์ (Therme Vals) สวิตเซอร์แลนด์ การเดินเข้าไปตามซอกหลืบของอาคารที่ก่อขึ้นด้วยแผ่นหิน ตามเจตนาของ ปีเตอร์ ซุมธอร์ (Peter Zumthor) สถาปนิกชาว สวิส ท�ำให้เราหวนนึกถึงการเดินเท้าเข้าไปในความมืดเช่นเดียว


A

Very Short Introduction

9

กับเธซีอสุ มือของเขาทีล่ บู คล�ำสัมผัสไปตามผนังหิน เท้าของเขา ทีเ่ ดินไปตามศิลาเก่าแก่ ภยันตรายทีร่ อเบือ้ งหน้า ความหวาดกลัว ทีท่ งิ้ ไว้เบือ้ งหลัง ทุกสิง่ ท�ำให้จติ ใจของเขาจดจ่อกับทีว่ า่ งและวัสดุ รอบตัวอันเป็นสิ่งที่มนุษย์ส่วนใหญ่ละเลย สถาปนิก ปีเตอร์ ซุมธอร์ ผูน้ ไี้ ด้เขียนหนังสือเล่มหนึง่ ชือ่ Atmosphere เนือ้ หาในเล่มบอกเล่าถึงประสบการณ์ในวัยเด็กของ เขาเกีย่ วกับอาคารและสถาปัตยกรรมรอบตัว เขาเริม่ ต้นเล่าจาก ลูกบิดประตูในบ้านหลังเก่า ซึง่ ทุกครัง้ เมือ่ ได้ยนิ เสียง เขาจะนึกถึง ชีวิตในวัยเด็กจนถึงกลิ่นอาหารที่แม่ท�ำในครัว ประสบการณ์ เหล่านี้ชวนให้เขานึกถึงที่ว่าง นึกถึงอาคาร และนึกถึงความรู้สึก ที่เขามีต่อสถาปัตยกรรม หนังสือความรู้ด้านสถาปัตยกรรมฉบับย่อหรือฉบับ พกพาของ แอนดรูว์ บัลแลนไทน์ (Andrew Ballantyne) ดูจะ ต้องการปลุกเร้าประสบการณ์ทางสถาปัตยกรรมในลักษณะ ที่ไม่ต่างกัน การไม่เริ่มต้นเล่าถึงสถาปัตยกรรมตามช่วงเวลา หากแต่มุ่งไปที่ตัวความคิดเพื่อแยกแยะและท�ำความเข้าใจสิ่งที่ เรียกว่าสถาปัตยกรรมว่าแตกต่างจากอาคารและสิ่งก่อสร้าง ตรงไหนและอย่างไร การแยกแยะดังกล่าวท�ำให้การอ่านในบทแรก อาจสับสนพอควร ทว่าหลังจากคืบคลานต่อเนือ่ งสูบ่ ทต่อไป การ เรียนรูถ้ งึ พัฒนาการทางสถาปัตยกรรมในแต่ละส่วน ตลอดจนการ ปลุกเร้าประสบการณ์ทางสถาปัตยกรรมในแต่ละส่วน ล้วนแต่ ท�ำให้เกิดความเพลิดเพลินอย่างคาดไม่ถึง จนเมื่อถึงบทสุดท้าย เราอาจรู้สึกว่าอยากให้ แอนดรูว์ บัลแลนไทน์ เขียนฉบับเต็มมา ให้อ่านอย่างจุใจแทน


10

Architecture

ในแง่หนึ่ง เป็นความรู้สึกแปลกๆ ที่คนแปลหนังสือจะ มาเขียนแนะน�ำรสชาติของการอ่านหนังสือที่ตนเองแปล แต่ใน อีกแง่หนึ่งกลับเป็นเหมือนหน้าที่ที่ต้องเล่าความรู้สึกดังกล่าว ออกมา สถาปัตยกรรมเป็นศาสตร์ทมี่ คี วามเกีย่ วข้องกับพืน้ ทีว่ า่ ง และความที่มันเป็นพื้นที่ว่างซึ่งอาจเปิดทางหรือแบ่งปันเนื้อที่ ให้อาคารใดๆ ได้ก่อก�ำเนิดขึ้นมา ท�ำให้มันมีคุณลักษณะเชิง นามธรรมอยู่ไม่น้อย เราไม่อาจรู้ได้ว่าที่ว่างแห่งนี้เหมาะสมกับ อาคารแบบนี้หรือไม่จนกว่ามันจะส�ำเร็จเสร็จสิ้นเป็นตัวอาคาร จริงๆ การเดินผ่านลึกเข้าไปใช้สอยตัวอาคารหลังนั้นก็เป็น เครื่องตัดสินความงดงามและความน่าสนใจของมันในท้ายที่สุด การใช้ประสบการณ์ส่วนตนเข้ามาตัดสินเช่นนี้เป็นที่มาของการ พยายามอธิบายเหตุผลจ�ำนวนมากที่อยู่เบื้องหลังประสบการณ์ นั้นๆ ในหนังสือเล่มนี้ การได้มีโอกาสแปลหนังสือเล่มนี้จึงเป็นดังการผสม ประสบการณ์ส่วนตนด้านการแปลและการสัมผัสสถาปัตยกรรม จ�ำนวนมากเข้าด้วยกัน อันไม่ใช่สงิ่ ทีเ่ กิดขึน้ บ่อยนัก และด้วยเหตุนี้ เองจึงเป็นความสุขอย่างมากที่เห็นหนังสือเล่มนี้ส�ำเร็จออกมา เป็นเล่มในที่สุด ขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์ openworlds และผูเ้ กีย่ วข้องทุก ท่านมา ณ ที่นี้ด้วย ได้เวลาออกไปสัมผัสสถาปัตยกรรมแล้ว

อนุสรณ์ ติปยานนท์ เชียงใหม่/2557




สถาปัตยกรรม •

ความรู้ฉบับพกพา

ARCHITECTURE • A

Very

Short

Introduction

by

Andrew Ballantyne

แปลโดย

อนุสรณ์ ติปยานนท์


บทน�ำ

/


A

Very Short Introduction

ข้าประจักษ์นักเดินทางจากแดนบรรพ์ ผู้จ�ำนรรจ์ถึง “ขายักษ์สลักหิน ยืนสง่าท้าผืนทรายไร้กายสิ้น มีใบหน้าอันแหว่งวิ่นอยู่ใกล้กัน พักตร์นั้นจมอยู่ใต้ทรายครึ่งหนึ่ง ดูถมึงทึงด้วยคิ้วขมวดมั่น ปากย่นหยักยิ้มเย้ยเฉยเมยนั้น ดูจะหมั่นบัญชามาช้านาน ประติมากรผู้สรรค์สร้างช่างแหลมคม ทุกอารมณ์ใช้ใจรับจับประสาน มือเสกสิ่งอนินทรีย์มโหฬาร ให้ดูปานมีชีวิตเป็นนิตย์ไป บนฐานเท้าจารึกความไว้ตามนี้: ‘ข้าโอซีแมนดิอัสกษัตริย์ใหญ่ ผู้รังสฤษฏ์สิ่งสรรพ์อันเกรียงไกร แม้นเทพไท้จักสิ้นหวังหลังยินยล’ อนิจจานอกเหนือจากซากเศษหิน อันพังภินท์เปล่าดายในแห่งหน วาลิกาเวิ้งว้างร้างผู้คน แผ่ขยายไปจนสุดสายตา”1 (เพอร์ซี บิชชี เชลลีย์, Ozymandias, 1818) 1

ถอดความและเรียบเรียงเป็นบทร้อยกรองภาษาไทยโดย ภูมิ น�้ำวล

15


16

Architecture

สิง่ ก่อสร้างต่างๆ อาจจะเป็นสิง่ ทีม่ รี าคาสูงทีส่ ดุ ทีอ่ ารยธรรม มนุษย์สร้างขึ้น การสร้างอาคารให้ทัดเทียมคู่แข่งหรือผลงาน ในอดีตอาจเป็นการสิ้นเปลืองทั้งแรงงานและเงินทองไปเปล่าๆ การพยายามเอาชนะคะคานโดยมีคา่ ใช้จา่ ยสูงลิว่ เช่นนัน้ อาจแลดู เหมือนการกระท�ำที่หลงผิด แต่อารยธรรมใดก็ตามที่ปฏิเสธการ กระท�ำดังกล่าวจะไม่มีใครจดจ�ำได้ อย่างน้อยก็จะถูกลืมเลือนไป ในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ในขณะที่อารยธรรมอย่างกรีก หรือโรมันโบราณซึ่งล้วนมีสิ่งก่อสร้างหรูหราฟุ่มเฟือยกลับด�ำรง อยู่ในความทรงจ�ำของมนุษยชาติ สิ่งก่อสร้างที่เป็นอมตะดูจะ ถูกส่งผ่านจากรุน่ สูร่ นุ่ ด้วยชือ่ เสียงอันเป็นอมตะเช่นกัน ซึง่ นีเ่ ป็น สาเหตุที่ดึงดูดใจให้เหล่าผู้มีอ�ำนาจปรารถนาจะสร้างอนุสาวรีย์ แห่งตนมาโดยตลอด ทว่าเมือ่ กาลเวลาผ่านไปชัว่ ระยะหนึง่ ทุกสิง่ ซึ่งมนุษย์รังสรรค์ขึ้นก็ดูจะไม่แข็งแรงทนทานอีกต่อไป บทกวี Ozymandias อันเลื่องชื่อของเชลลีย์ (Percy Bisshe Shelley) แสดงให้เห็นถึงทั้งความเย้ายวนใจของการสร้างอนุสาวรีย์และ ความเพ้อฝันของผู้สร้างว่าตนจะได้รับการยกย่องไปตลอดกาล ความส�ำคัญประการหนึ่งของสถาปัตยกรรมคือ มันแสดงให้เรา เห็นว่าอะไรคือสิง่ ส�ำคัญอย่างแท้จริงส�ำหรับเหล่าผูน้ �ำในอดีต ส่วน ความส�ำคัญอีกประการคือ มันน�ำมาซึง่ ความเป็นไปได้ทพี่ วกเราผู้ ยังมีชวี ติ อยูจ่ ะใช้ชวี ติ ในวิถที างทีเ่ หมาะสม อีกทัง้ ยังอธิบายให้เรา แต่ละคนเข้าใจว่าอะไรคือสิ่งที่เราให้ความส�ำคัญอย่างแท้จริงทั้ง ในฐานะปัจเจกและในฐานะสังคม อารยธรรมแต่ละแห่งต่างก็มี กลไกที่ แ ตกต่ า งกั น ไปในการถ่ ว งดุ ล ระหว่ า งการจั ด หาสิ่ ง ที่ ดูเหมือนจ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีวติ ของผูค้ น กับการก้าวพ้นขีดจ�ำกัด


A

Very Short Introduction

17

ของความต้องการเฉพาะหน้าเพื่อสร้างสรรค์สิ่งซึ่งจะเป็นที่รู้จัก ไปจนถึงชนรุ่นหลัง สิ่งที่หนังสือความรู้ฉบับพกพาเล่มนี้พยายามท�ำคือ อธิบายให้เห็นว่าสถาปัตยกรรมท�ำหน้าทีต่ ามทีม่ นั ถูกสร้างขึน้ ได้ อย่างไรบ้าง อาคารทัว่ ไปเพียงแต่ปกป้องเราให้อบอุน่ ไม่เปียกชืน้ อีกทัง้ เกีย่ วพันอย่างลึกซึง้ กับการด�ำรงชีวติ ประจ�ำวันของเรา ทว่า “สถาปัตยกรรม” มีมติ ทิ างวัฒนธรรมแฝงอยูด่ ว้ ยเสมอ หากว่าเรา เลือกที่จะใส่ใจมอง บทที่ 1 บอกเราว่าอาคารต่างๆ เกี่ยวข้องกับ การตระหนักรู้ว่าเราเป็นใครอย่างไรบ้าง บทที่ 2 จะชี้ให้เห็นว่า การที่อาคารในวัฒนธรรมหนึ่งๆ มักถูกสร้างให้ดูคล้ายกันนั้น มีจุดประสงค์เพื่อน�ำเสนอสารบางอย่างแก่เหล่า “ผู้มองออก” ส่วนบทที่ 3 จะพิจารณาถึงปัจจัยที่ท�ำให้สถาปัตยกรรมบางแห่ง มีความส�ำคัญในทางวัฒนธรรมยิ่งกว่าสถาปัตยกรรมอื่นๆ สาเหตุหนึ่งที่ท�ำให้บรรดานักโบราณคดีวิทยาให้ความ สนใจเป็นพิเศษต่อสิ่งก่อสร้างต่างๆ ก็เพราะสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น เชือ่ มโยงกับชีวติ มนุษย์ในหลายๆ ด้าน รูปแบบของอาคารบอกให้ เราทราบถึงวิถีทางที่ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์ต่อมัน ท�ำให้เราทราบว่า มันเป็นทีร่ วมตัวของคนกลุม่ ใดและกีดกันคนกลุม่ ใดออกไป วัสดุ ทีใ่ ช้กอ่ สร้างอาคารแต่ละหลัง ตลอดจนแนวทางในการจัดการกับ วัสดุเหล่านั้นก็บอกอะไรเราได้มากมายเช่นกัน หากหินก้อนที่ ใช้สร้างอาคารหลังนัน้ มาจากทีไ่ กลแสนไกล ก็แปลว่าสังคมนัน้ ๆ ต้องมีระบบการขนส่งดีเลิศ หรือไม่หินก็เป็นวัตถุที่มีความพิเศษ อย่างยิ่งส�ำหรับคนในสังคมดังกล่าว พวกเขาจึงยอมทุ่มเทเต็มที่ ในการเคลื่อนย้ายหินนั้น และหากอาคารหลังนั้นก่อสร้างด้วย


18

Architecture

โครงเหล็ก ก็แสดงว่ามันเป็นสิง่ ก่อสร้างในยุคสมัยใหม่ เพราะคน ยุคโบราณย่อมไม่รู้จักเหล็กเป็นแน่ อาคารและสิ่ ง ก่ อ สร้ า งนั้ น เป็ น หลั ก ฐานส�ำคั ญ ที่ จ ะ บอกให้เราทราบว่ามีสงิ่ ใดเกิดขึน้ บ้างในอดีต ทัง้ ยังแสดงให้เห็นว่า อะไรคือสิ่งส�ำคัญอย่างแท้จริงส�ำหรับคนในยุคปัจจุบันอย่างเรา ตัวอย่างเช่น หากเรายินยอมให้มีการตัดถนนมอเตอร์เวย์ผ่าน เขตชนบท นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าเราให้ความส�ำคัญกับชนบท น้อยกว่าความต้องการที่จะเดินทางอย่างสะดวกสบาย ในฐานะ ปัจเจกชน เราแต่ละคนอาจตัดสินใจแตกต่างหลากหลายกันไป ทว่าในฐานะของสังคมทีต่ อ้ งพิจารณาถึงการหมุนเวียนสับเปลีย่ น ไปมาระหว่างการไหลกับการกระจุกตัวของเงิน รวมทั้งพิจารณา ถึงกระบวนการต่างๆ ทางการเมืองในการหาทางประนีประนอม ระหว่างความคิดเห็นทีแ่ ตกต่างกันของฝ่ายต่างๆ เราจ�ำเป็นต้อง สร้างอาคารแต่ละแห่งที่รายรอบเราขึ้นมา ในฐานะปัจเจกชน เราท�ำอะไรได้ น ้ อ ยมากในการก่ อ ร่ า งสร้ า งอาคารโดยรวม แต่ในบางสถานการณ์ การรวบรวมทรัพย์สินและอ�ำนาจก็ช่วย ให้ปัจเจกชนสร้างความเปลี่ยนแปลงได้มากมาย ว่ากันว่าเมื่อ จักรพรรดิออกุสตุส (Augustus) แห่งจักรวรรดิโรมันเสด็จมายัง กรุงโรม อาคารทุกหลังก่อสร้างด้วยอิฐ แต่เมื่อพระองค์จากไป อาคารทุกหลังล้วนก่อสร้างด้วยหินอ่อน กษัตริย์โอซีแมนดิอัส [Ozymandias (ฟาโรห์รามเสสที่ 2)] นั้นก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ทรงสัง่ ให้มกี ารสร้างสิง่ ก่อสร้างใหญ่โตโอ่อา่ มากมาย อาคารต่างๆ อาจแลดูสวยงามและสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้พบเห็น แต่เมื่อ ถูกสร้างขึน้ จริง (ไม่ใช่แค่อยูใ่ นจินตนาการ) มันจะแสดงให้เห็นถึง


A

Very Short Introduction

19

นัยด้านเศรษฐกิจและการเมืองควบคูไ่ ปกับนัยทางสุนทรียศาสตร์ เสมอ นอกจากนั้นยังมีนัยด้านอื่นๆ เช่น ด้านเทคนิควิทยาการ เป็นต้นว่า อาคารนั้นๆ จะตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคงหรือไม่ จะกันฝน ได้ไหม จะให้ความอบอุน่ ได้เพียงพอหรือเปล่า จะร้อนเกินไปไหม แล้วมันจะตอบสนองชีวติ แบบทีเ่ ราต้องการได้หรือไม่ หรือกระทัง่ ว่าเราอยากเป็นคนประเภททีอ่ าศัยอยูใ่ นอาคารแบบนัน้ หรือเปล่า ด้วยความที่อาคารหลังหนึ่งๆ มีหลากนัยหลายแง่มุม เช่นนี้ จึงเป็นไปได้ที่จะเขียนถึงสถาปัตยกรรมในแบบที่หยิบยก แง่มุมใดแง่มุมหนึ่งมากล่าวถึงเป็นกรณีพิเศษ เช่น เราอาจเล่า เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเทคโนโลยีการก่อสร้าง อันจะเป็น เรื่องราวว่าด้วยความก้าวหน้า เพราะแนวทางการก่อสร้างแบบ ดั้งเดิมถูกแทนที่ด้วยแนวทางที่ใช้เทคนิคซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะความก้าวหน้าครั้งส�ำคัญๆ อย่างการประดิษฐ์ซีเมนต์ การคิดค้นโครงสร้างทรงโค้ง และการสร้างสรรค์อาคารรูปแบบ ใหม่ๆ ซึ่งล้วนเป็นจริงได้ด้วยนวัตกรรมล�้ำยุคเหล่านี้ ทว่าสิ่งที่ จะหายไปจากแนวทางการสาธยายเช่นนี้คือข้อเท็จจริงที่ว่า ณ ชั่วขณะปัจจุบัน ดูเหมือนมีอาคารเพียงไม่กี่หลังที่สร้างขึ้น ด้วยวิทยาการล�้ำหน้าอาคารหลังอื่นๆ อาคารส่วนใหญ่เป็นแค่ สิง่ ก่อสร้างธรรมดาๆ ทีแ่ ม้ไม่พงั ถล่มแต่กจ็ ะหมดประโยชน์เมือ่ มี การคิดค้นวิทยาการล�้ำยุคใหม่ๆ ขึ้น เช่นเดียวกับที่หลายคนใน ยุโรปอาศัยอยู่ในบ้านเรือนที่สร้างมาแล้วร้อยกว่าปี โครงสร้าง ทรงโค้งทีเ่ ราพบเจอในสิง่ ก่อสร้างของอาณาจักรโรมันโบราณอัน เป็นสิ่งซึ่งท�ำให้คนทุกวันนี้จดจ�ำชาวโรมันได้เป็นพิเศษ ก็ไม่ใช่ อาคารประเภททีป่ ระกอบขึน้ เป็นโครงสร้างส่วนใหญ่ของตัวเมือง


20

Architecture

และอันที่จริงสิ่งก่อสร้างแบบโรมันส่วนใหญ่ท่ีเป็นที่รู้จักในสมัย ของเราก็เพิ่งจะมีขึ้นในช่วงท้ายๆ ของยุคจักรวรรดิโรมัน ดังนั้น จึงกลายเป็นว่าพวกมันกลับไม่เป็นที่รู้จักของชาวโรมันส่วนใหญ่ เสียเอง เหนืออื่นใด แม้แต่นักเขียนชาวโรมันผู้เชี่ยวชาญด้าน สถาปัตยกรรมอย่างวิทรูเวียส (Vitruvius) ผูเ้ ขียนหนังสือหลายเล่ม ซึ่งคนยุคเราคุ้นเคยดี ก็ยังไม่รู้จักสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นด้วยซ�้ำ น่ากลัวเขาคงเกิดเร็วเกินไป เราอาจไม่กล่าวถึงเรือ่ งเทคนิควิทยาการเลย หรือกล่าว ถึงแต่พอสังเขป แต่ก็จะท�ำให้ประวัติศาสตร์ของสถาปัตยกรรม กลายเป็ น แค่ เ รื่ อ งราวเกี่ ย วกั บ อาคารบ้ า นเรื อ นหลากหลาย รูปแบบเท่านั้น นั่นคืออาคารรูปแบบหนึ่งจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลง กลายเป็นอีกรูปแบบหนึ่งตามกาลเวลา ประวัติศาสตร์แบบนี้ ชวนให้ฟงั ดูคล้ายกับว่ารูปทรงทางสถาปัตยกรรมแต่ละแบบต่าง มีเจตจ�ำนงทีจ่ ะวิวฒ ั นาการและพัฒนาตัวเองอยูใ่ นตัว ธรรมเนียม ประเพณีล้วนเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และบรรดาสถาปนิกก็ไม่หยุด ที่จะทดลองแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งบางอย่างก็ช่วยปรับปรุงแนวคิด เดิมๆ จากนั้นสถาปนิกคนอื่นๆ ก็เริ่มลอกเลียนแบบแล้วน�ำ ไปปรับปรุงตามวิถีทางของตนเองต่อ การศึกษาประวัติศาสตร์ แนวทางดังกล่าวอาจท�ำให้เราหมกมุ่นอยู่แต่กับการวิเคราะห์ รูปแบบของอาคารจนหลงลืมข้อเท็จจริงที่ว่ามีเหตุผลในทาง ปฏิบตั อิ ยูเ่ บือ้ งหลังการก่อสร้างอาคารนัน้ ๆ รวมทัง้ อาจท�ำให้เรา มองข้ามประเด็นทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึง่ อาจเป็นประเด็นทีน่ า่ สนใจ และแน่นอนว่าบางครัง้ ก็เป็นประเด็นทีส่ �ำคัญทีส่ ดุ เกีย่ วกับ อาคารหลังหนึง่ ๆ นอกจากนัน้ ยังมีขอ้ เท็จจริงซับซ้อนข้อหนึง่ คือ


A

Very Short Introduction

21

การมองสิง่ ต่างๆ ในระยะใกล้และระยะไกลย่อมให้ภาพทีแ่ ตกต่าง กัน ความเปลี่ยนแปลงที่เรามองว่ากินเวลานานหลายศตวรรษ แท้จริงแล้วอาจเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นฉับพลันทันใดในยุค สมัยนั้น โดยปกติแล้วผู้คนมักไม่ปรับเปลี่ยนวิถีปฏิบัติในการ ท�ำสิ่งต่างๆ กันง่ายๆ และสิ่งที่มักเกิดขึ้นเมื่อแนวคิดใหม่ๆ เข้าครอบง�ำสังคมคือ คนรุ่นหนึ่งจะกลายเป็นคนแก่ตกรุ่นหมด สมรรถภาพ ในขณะที่ ค นรุ ่ น เด็ ก กว่ า ซึ่ ง เติ บ โตมาพร้ อ มกั บ แนวคิดใหม่ๆ เหล่านั้นจะกลายเป็นก�ำลังส�ำคัญของสังคมแทน ดังนั้นการจะมองว่าความเปลี่ยนแปลงหนึ่งๆ เป็นไปอย่างช้าๆ หรือก้าวกระโดดจึงขึ้นอยู่กับว่าเราที่เป็นผู้มองอยู่ห่างจากช่วง เวลาของเหตุการณ์ที่เกิดความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพียงใด โศกนาฏกรรมไม่ตา่ งอะไรจากละครตลกเมือ่ เราอยูใ่ นระยะใกล้พอ มีสถาปัตยกรรมจ�ำนวนมากมายในโลกนี้ ทั้งที่สร้างขึ้น ในอดีตอันใกล้และอดีตอันไกลโพ้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ผมจะ รวบรวมทั้งหมดนั้นมาน�ำเสนอต่อผู้อ่าน โดยเฉพาะในหนังสือ ความรู้ฉบับพกพาเล่มนี้ ผมจ�ำเป็นต้องคัดเลือกสิ่งก่อสร้าง เพียงบางแห่ง และแห่งที่เลือกนั้นก็ต้องสอดคล้องอย่างยิ่งกับ เรื่องราวที่จ�ำเป็นต้องเล่า จุดมุ่งหมายของหนังสือเล่มนี้คือเพื่อ เปิดความคิดและมุมมองเกีย่ วกับสถาปัตยกรรมอันจะท�ำให้ผอู้ า่ น เห็นว่าสถาปัตยกรรมนัน้ เป็นหัวข้อทีส่ ามารถพูดคุยและถกเถียง ในหลายแง่มุมซึ่งบางครั้งก็อาจสร้างความสับสนได้ แต่ละบท ของหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงประเด็นที่แตกต่างกัน โดยผมจะ น�ำเสนอสิง่ ก่อสร้างบางแห่งเพือ่ เป็นตัวอย่างประกอบข้อถกเถียง ในบทนั้นๆ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงไม่ได้กล่าวถึงสิ่งก่อสร้าง


22

Architecture

แต่ละแห่งเรียงตามล�ำดับเวลา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจล�ำดับ ของเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ดีขึ้น ตอนท้ายของหนังสือเล่มนี้จะมี ล�ำดับเวลาของสถาปัตยกรรรมอยู่ อย่างไรก็ตามโปรดสังเกตว่า สถาปัตยกรรมทีย่ กมาเป็นตัวอย่างในแต่ละบทจะมาจากยุคสมัย ทีใ่ กล้เคียงกับปัจจุบนั มากกว่าในอดีต ทัง้ นีด้ ว้ ยเหตุผล 2 ประการ ประการแรกคือ สิ่งก่อสร้างจากยุคใกล้ยังมีหลงเหลือให้เรา ศึกษามากกว่าสิ่งก่อสร้างในอดีตอันไกลโพ้น อีกประการคือ คนเรามั ก สนใจในสิ่ ง ใกล้ ตั ว มากกว่ า สิ่ ง ที่ อ ยู ่ ห ่ า งไกลมากๆ หากผมมองพี ร ะมิ ด ในฐานะสิ่ ง ก่ อ สร้ า งที่ เ ป็ น ตั ว แทนของ อารยธรรมอันยืนยงมากว่า 3,000 ปี เมื่อพิจารณาในภาพรวม ผมย่อมรู้สึกว่าเป็นการมองที่เหมาะสม แต่หากผมใช้หลักการ เดียวกันกับสถาปัตยกรรมในช่วง 3,000 ปีที่ผ่านมา ผมจะ รู้สึกว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะสมแถมยังน่าหัวร่อ คงดูตลกและ น่ า สมเพชหากจะมี ใ ครใช้ อ นุ ส รณ์ ส ถานเพี ย งแห่ ง เดี ย วสรุ ป ใจความของสถาปัตยกรรมยุโรปทั้งหมด มหาวิหารหลายแห่ง ในยุคกลางอาจถือว่าเป็นอนุสรณ์สถานขนาดใหญ่ในใจกลาง ของยุคสมัยดังกล่าว แต่ผมเกรงว่าคงไม่เข้าท่าเท่าไรหากจะ ถือว่าพวกมันเป็นตัวแทนแห่งยุคสมัยโดยสิ้นเชิง ล�ำดับเวลาทั่วไป ภาษาของประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมนั้นประกอบ ด้วยถ้อยค�ำต่างกรรมต่างวาระที่ใช้บ่งชี้รูปแบบอันแตกต่าง หลากหลายของสถาปัตยกรรม เป็นการสะดวกที่เราจะแบ่ง


A

Very Short Introduction

23

ประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมมนุษย์ออกเป็นช่วงกว้างๆ และ แม้จะมีขอ้ โต้แย้งว่าการแบ่งในลักษณะนีอ้ าจไม่เหมาะสม แต่มนั ก็ ถูกบัญญัตเิ ข้าไปในภาษาของเราเป็นทีเ่ รียบร้อย ทัง้ ยังจ�ำเป็นต่อ การท�ำความเข้าใจบริบทโดยรอบ เราจะเริ่มต้นด้วยอารยธรรม โบราณอย่างกรีกและโรมัน ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องวรรณกรรม ปรัชญา และโบราณสถานโอ่อ่าตระการตา อารยธรรมยุคนี้ได้รับการ ขนานนามว่ายุค “คลาสสิก” (classic) ซึ่งเป็นค�ำที่ใช้ในท�ำนอง ยกย่อง และถูกมองว่าเป็นรากฐานของระบอบการปกครองและ งานศิลปะทั้งปวง สิ่งที่เป็นผลผลิตของแต่ละสังคมในอารยธรรม แห่งยุคถูกเรียกรวมๆ ว่างาน “คลาสสิก” พจนานุกรมออกซฟอร์ด ระบุวา่ ค�ำว่าคลาสสิกนัน้ ถูกใช้ครัง้ แรกๆ ในปี 1607 (สมัยนัน้ ใช้กบั งานเขียน ยังไม่ใช้กบั สถาปัตยกรรม) นอกจากนัน้ ยังมียคุ คลาสสิก ที่ส�ำคัญอีกยุคหนึ่งซึ่งใกล้เคียงกับยุคปัจจุบันของเรา นั่นคือ ยุคเรอเนสซองส์ (Renaissance) ยุคนี้เป็นยุคที่ผู้คนหวนกลับ มาศึ ก ษางานคลาสสิ ก หรื อ เรี ย กอี ก อย่ า งว่ า เป็ น “ยุ ค ฟื ้ น ฟู ศิลปวิทยาการ” (the revival of letters) ด้วยเหตุนี้อารยธรรม ของมนุษย์จงึ ถูกแบ่งออกเป็น 4 ยุค ได้แก่ ยุคเรืองรอง 2 ยุค และ ยุคมืด 2 ยุค ยุคแรกสุดคือยุคของดินแดนอียปิ ต์โบราณ ตามด้วย ยุ ค คลาสสิ ก ของอาณาจั ก รกรี ก และโรมั น โบราณ จากนั้ น ช่วงระหว่างการล่มสลายของอาณาจักรโรมันกับยุคเรอเนสซองส์ ก็เป็นยุคกลาง (medieval period) ซึ่งไม่มีอะไรน่าจดจ�ำเป็น พิเศษ แล้วก็มาถึงยุคเรอเนสซองส์ ยุคแห่งโลกสมัยใหม่ เหตุผล และความก้าวหน้า แม้ว่าจะเป็นการแบ่งอย่างหยาบๆ แต่การ แบ่งยุคสมัยเช่นนี้ก็มีประโยชน์ในการท�ำความเข้าใจว่า ท�ำไม


24

Architecture

สถาปั ต ยกรรมต่ า งยุ ค จึ ง มี ชื่ อ เสี ย งในระดั บ ที่ แ ตกต่ า งกั น ไป สถาปั ต ยกรรมในยุ ค คลาสสิ ก นั้ น มี แ ต่ ค นชื่ น ชมยกย่ อ งและ ลอกเลียนแบบ ในขณะที่สถาปัตยกรรมในยุคกลางกลับได้รับ ความสนใจน้อยกว่า แต่เมือ่ มีการก�ำหนดนิยามของแต่ละยุคสมัย อย่างเป็นระบบ ทุกอย่างก็เปลีย่ นไป ตอนนีเ้ รารูจ้ กั ยุคกลางมากขึน้ และไม่ตอ้ งการทีจ่ ะเขียนถึงสถาปัตยกรรมในยุคนีแ้ บบส่งเดชอีก อย่างไรก็ตามการจัดแบ่งยุคสมัยดังที่ว่ามานี้ก็ประทับแน่นลงใน ความเข้าใจของเราเสียแล้ว เห็นได้จากการทีเ่ รายังคงเรียกยุคสมัย เจ้าปัญหานัน้ ว่า “ยุคกลาง” แม้วา่ ไม่ได้ตงั้ ใจจะสือ่ เป็นนัยว่ามันเป็น ยุคเปลีย่ นผ่านทีไ่ ม่สลักส�ำคัญ แถมยังมักลืมว่าเป็นยุคเปลีย่ นผ่าน ระหว่างสมัยใดกับสมัยใดอีกด้วย หากพิจารณาแบบกว้างๆ จะเห็นได้วา่ การแบ่งช่วงเวลา ข้างต้นมีปัญหาอยู่ เพราะความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนผ่านของยุคทั้ง 4 ยุคนั้นไม่ใช่ความ เปลีย่ นแปลงซึง่ ส่งผลใดๆ ต่อประวัตศิ าสตร์โลกเลย ทว่าจริงๆ แล้ว เป็นแค่ความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมยุโรปตะวันตกตามวิถี ทางที่พวกเราเลือก ไม่เพียงทวีปเอเชียกับทวีปอเมริกาจะเผชิญ พัฒนาการในรูปแบบที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง แต่กระทั่งยุโรป ตะวันออกก็มีพัฒนาการที่ค่อนข้างแตกต่างออกไปด้วย การที่ กรีกโบราณถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมตะวันตก ก็ เ พราะอิ ท ธิ พ ลที่ มั น มี ต ่ อ แนวคิ ด ว่ า ด้ ว ยสิ่ ง ก่ อ สร้ า งชั้ น เลิ ศ ของชาวโรมัน คงไร้สาระหากจะมีใครพูดถึงกรีกโบราณว่าเป็น “กรีกยุคกลาง” (medieval Greece) เพราะถึงแม้ว่าจักรวรรดิ ไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) ที่มีมาก่อนหน้ากรีกจะสร้าง


A

Very Short Introduction

25

สิ่งก่อสร้างอันสลับซับซ้อนและชวนจดจ�ำไว้มาก แต่มันก็ไม่ใช่ ยุคเรอเนสซองส์ จะว่าไปแล้ววัฒนธรรมไบเเซนไทน์ทั้งหมด ทั้งมวลนั้นเป็นผลพวงจากการฟื้นฟูศิลปวิทยาการต่างๆ ใน ช่วงก่อนหน้าด้วยซ�้ำ อีกทั้งบรรดาจักรพรรดิกรีกก็ครอบครอง อ�ำนาจทีส่ บื ทอดมาตัง้ แต่ยคุ โบราณ ในปี 1453 ซึง่ เราอาจเรียกว่า เป็ น จุ ด สิ้ น สุ ด ของ “กรี ก ยุ ค กลาง” กรุ ง คอนสแตนติ โ นเปิ ล ถูกพิชิต จากนั้นความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่เกิดตามมา ก็ส่งผลให้นครดังกล่าว (ปัจจุบันมีชื่อใหม่ว่าอิสตันบูล) ซึ่งต่อมา กลายเป็นนครหลวงของจักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire) มี ธ รรมเนี ย มประเพณี ต ่ า งไปจากเดิ ม เรื่ อ งนี้ ท�ำให้ ป ราชญ์ ชาวกรี ก พากั น หลบหนี ไ ปตะวั น ตก และเป็ น สาเหตุ ห นึ่ ง ที่ ท�ำให้วิชาความรู้จากงานเขียนเก่าแก่เพิ่มพูนขึ้นอย่างรวดเร็ว นี่ เ องเป็ น ปั จ จั ย ส�ำคั ญ ที่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ยุ ค เรอเนสซองส์ ดั ง นั้ น เราจะเห็ น ได้ ว ่ า ความคิ ด เรื่ อ งยุ ค กลางและยุ ค เรอเนสซองส์ นั้ น เป็ น ความคิ ด เฉพาะถิ่ น ไม่ มี ยุ ค กลางในสหรั ฐ อเมริ ก า เพราะที่นั่นไม่มีอารยธรรมยุคคลาสสิก ไม่มียุคกลางในยุโรป ตะวั น ออกเพราะไม่ มี ก ารรื้ อ ฟื ้ น วั ฒ นธรรมคลาสสิ ก ที่ นั่ น ทั้งนี้มีข้อสงสัยที่น่าสังเกตว่า เวลาเราพูดถึงยุคเรอเนสซองส์นั้น เราก�ำลั ง พู ด ถึ ง ความเปลี่ ย นแปลงในโลกศิ ล ปะหรื อ ความ เปลี่ยนแปลงในโลกที่กว้างกว่าอย่างสังคมและเศรษฐกิจกันแน่ แวดวงประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมเห็นพ้องต้องกันให้ถือว่า ยุคเรอเนสซองส์เริ่มขึ้นในปี 1420 เมื่อบรูเนลเลสกี (Filippo Brunelleschi) เริ่มสร้างโดมของมหาวิหารแห่งฟลอเรนซ์ โดม หลังนี้ไม่เพียงล�้ำหน้าผลงานของช่างก่อสร้างโดมชาวโรมัน แต่


26

Architecture

บรูเนลเลสกีดูเหมือนจะศึกษาซากโบราณสถานของอาณาจักร โรมันโดยละเอียดก่อนลงมือก่อสร้างด้วยซ�้ำ ในประวัติศาสตร์ศิลปะก็มีการเปลี่ยนแปลงครั้งส�ำคัญ คือ บรูเนลเลสกีคิดค้นเทคนิคการเขียนภาพด้วยทัศนมิติเชิง เรขาคณิต (geometrical perspective) ในการวาดภาพวงกลม ของเขา อย่างไรก็ตามยังมีความเปลี่ยนแปลงอีกอย่างที่ท�ำให้ เกิดความก้าวหน้าแม้ว่าจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป นั่นคือ การสู ญ เสี ย อ�ำนาจของระบบศั ก ดิ น า อั น เป็ น ผลจากการที่ บรรดาพ่ อ ค้ า วาณิ ช สะสมทรั พ ย์ ส มบั ติ จ นมั่ ง คั่ ง ยิ่ ง กว่ า เหล่ า เจ้ า ครองนครผู ้ สื บ ทอดต�ำแหน่ ง และทรั พ ย์ ส มบั ติ ผ ่ า นทาง สายเลือด ความแปลกใหม่ของประดิษฐกรรมทางศิลปะของ บรูเนลเลสกีไม่ได้อยู่ที่ว่ามันก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้ง ใหญ่จากผลงานของช่างศิลป์ยุคก่อนหน้า แต่น่าจะอยู่ที่ว่าเขา ได้รับการสนับสนุนจากพ่อค้าวาณิชที่เป็นชนชั้นสูงกลุ่มใหม่ มากกว่า ผมไม่อยากเสนอว่าการเสื่อมอ�ำนาจของระบบศักดินา และการเกิดขึ้นของทัศนมิติเชิงเรขาคณิตจะมีที่มาจากมูลเหตุ เดียวกัน ซึ่งฟังดูเป็นเรื่องอภิปรัชญามากๆ ส�ำหรับผม แต่สิ่งที่ ผมรู้สึกว่าสมเหตุสมผลก็คือ การที่บรรดาชนชั้นสูงกลุ่มใหม่ ให้การอุปถัมภ์งานศิลปะแบบใหม่ยิ่งท�ำให้งานศิลปะดังกล่าว กลายเป็นการเบี่ยงเบนชนิดสุดโต่งจากขนบเดิม ในยุคสมัย ของเราจะเห็นได้ว่ามีผู้สร้างเนื้อสร้างตัวร�่ำรวยมหาศาลจาก ธุ ร กิ จ ภาพยนตร์ ดนตรี และคอมพิ ว เตอร์ และพวกเขาก็ ท�ำให้เกิดสไตล์ใหม่ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตแบบใหม่ บ้านเรือน ของผู ้ มี ทั้ ง ชื่ อ เสี ย งและเงิ น ทองนั้ น มั ก ไม่ เ ป็ น ไปตามรสนิ ย ม


A

Very Short Introduction

27

ชั้นสูงตามขนบ อีกทั้งอาจไม่ได้รับความสนใจอย่างจริงจังจาก บรรดานักประวัตศิ าสตร์สถาปัตยกรรมร่วมสมัย แต่หากในอนาคต มองย้อนกลับไปเขาคงรูส้ กึ ว่าบ้านเรือนเหล่านัน้ ล้วนน่าตืน่ ตะลึง และมีความแปลกใหม่ไม่ต่างจากอาคารบ้านเรือนของเหล่า ขุนนางอ�ำมาตย์เจ้าของที่ดินในศตวรรษที่ 18 และแม้จะฟังดู ชอบกลไปบ้าง แต่สักวันหนึ่งเราอาจพบว่าสิ่งก่อสร้างหน้าตา แปลกๆ ที่ดูจะอยู่ห่างไกลจากประสบการณ์ชีวิตของเราโดย สิ้นเชิงพวกนี้ได้กลายเป็นตัวแทนของยุคสมัยของเราในต�ำรา ประวัตศิ าสตร์สถาปัตยกรรม หากเขียนแบบวิพากษ์วจิ ารณ์ เราก็ อาจตั้งชื่อให้เรื่องที่ว่ามานี้ได้ว่า “ทุนนิยมตอนปลายและชัยชนะ ของ รสนิยมสาธารณ์” (Late Capitalism and the Triumph of Kitsch) และหากเราเขียนโดยแทรกค่านิยมของยุคใหม่เอาไว้ อย่างเต็มเปี่ยม อาคารเหล่านั้นก็อาจกลายเป็นหลักฐานของ แนวคิดเรื่อง “ฝันที่เป็นจริง” (Your Dreams Can Come True) สิ่งที่ผมพยายามจะท�ำในที่นี้คือแสดงให้เห็นว่ามุมมอง อันแตกต่างหลากหลายนั้นมีอิทธิพลต่อสิ่งที่เรามองเห็นได้จาก อาคารต่างๆ อย่างไรบ้าง มันมีความเกี่ยวพันอย่างสลับซับซ้อน กับวัฒนธรรมและวิทยาการอย่างนับไม่ถ้วน และด้วยเหตุนี้เอง มันจึงมีความส�ำคัญหลากหลายระดับในมิติที่แตกต่างกัน ยิ่งไป กว่ า นั้ น เมื่ อ เราพยายามจั ด กลุ ่ ม มั น ให้ เ ป็ น ระบบ ก็ มั ก มี รายละเอียดทีไ่ ม่อาจจัดเข้ากลุม่ ได้เสมอ เราอาจก�ำหนดหมวดหมู่ ต่างๆ ขึ้นมา แต่เมื่อพิจารณาโดยละเอียดก็มักพบว่าแต่ละ หมวดหมู่ไม่ได้มีขอบเขตที่แน่นอน และมีหลายกรณีที่เกิดการ ซ้อนเหลื่อมกันระหว่างหมวดหมู่ ยิ่งเรารู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม


28

Architecture

หนึ่งๆ มากเพียงใด เราจะยิ่งพบว่าเนื้อหาของวัฒนธรรมนั้นๆ ฟังดูเหมือนการเหวี่ยงแหเหมารวม สิ่งที่เมื่อมองจากระยะไกล แล้วแลดูเหมือนพัฒนาการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อาจเป็นการ เปลีย่ นแปลงแบบฉับพลันและเจ็บปวดส�ำหรับปัจเจกชนก็เป็นได้ ในทางตรงกันข้าม สิง่ ทีแ่ ลดูเหมือนเป็นการแตกหักในวัฒนธรรม ตะวันตก แท้จริงแล้วอาจเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงแบบเนิบช้า ที่ไม่ได้มีความรุนแรงใดๆ มากไปกว่าการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ เลย อย่างไรก็ตามเราก็ต้องการกรอบอ้างอิงบางอย่างเพื่อใช้ส�ำหรับ ก�ำหนดพื้นที่ในการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และนี่คือกรอบ อ้างอิงทีผ่ มตัดสินใจเลือกใช้ ซึง่ แน่นอนว่าเราย่อมไม่อาจคาดหวัง ว่ามันจะท�ำหน้าที่ได้สมบูรณ์ไปทุกด้าน เพ่งมองให้ใกล้ขึ้น การแบ่งช่วงเวลาทางประวัตศิ าสตร์อย่างกว้างๆ ข้างต้น ยังสามารถแบ่งย่อยลงไปอีก ตัวอย่างเช่น การที่โลกยุคโบราณ ถู ก มองอย่ า งรวมๆ ท�ำให้ ค ่ อ นข้ า งเหมาะสมที่ เ ราจะเรี ย ก สถาปัตยกรรมของกรีกและโรมันรวมกันว่าเป็นสถาปัตยกรรม “คลาสสิ ก ” แต่ ห ากจะศึ ก ษาให้ ล ะเอี ย ดขึ้ น การเรี ย กแบบ เหมารวมเช่นนัน้ ก็ไม่กอ่ ให้เกิดประโยชน์ตอ่ การศึกษาแต่อย่างใด สถาปัตยกรรมกรีกโบราณเองก็มยี คุ คลาสสิกในช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ก่อนหน้านั้นเป็นยุคอาร์เคอิก (archaic era) และ หลังจากนั้นก็เป็นยุคเฮลเลนิสติก (Hellenistic era) ส่วนโรมัน เองก็แบ่งได้เป็นสมัยอาร์เคอิก สมัยสาธารณรัฐ (Republican


A

Very Short Introduction

29

period) และสมัยจักรวรรดิ (Imperial period) โดยการแบ่งเช่นนี้ พิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะและการเมืองรวมกัน งานศิลปะในสมัยอาร์เคอิกนั้นแลดูไม่เสร็จสมบูรณ์และด้อย ทักษะกว่างานในสมัยหลังๆ ในขณะที่กรีกในช่วงเฮลเลนิสติก และจักรวรรดิโรมันเป็นยุคที่การเมืองเข้มแข็ง ท�ำให้การเมือง ส่งอิทธิพลต่องานสถาปัตยกรรมด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะเมื่อรัฐหรือ อาณาจักรในแต่ละยุคสมัยสัง่ สมความมัง่ คัง่ ได้มากขึน้ สิง่ ก่อสร้าง อันวิจิตรพิสดารก็สร้างได้ง่ายกว่าแต่ก่อนด้วย ในยุ ค กลางมี ก ารพั ฒ นาสถาปั ต ยกรรมหลากหลาย รู ป แบบ โบสถ์ ที่ พ ยายามสร้ า งหลั ง คาโค้ ง และซุ ้ ม ประตู โ ค้ ง เลียนแบบสถาปัตยกรรมโรมันนัน้ ปัจจุบนั เรียกว่าสถาปัตยกรรม “โรมาเนสก์” (Romanesque) ส่วนโบสถ์ยุคหลังซึ่งมีซุ้มประตู ยอดแหลมและกรุกระจกประดับลวดลายเรียกว่าสถาปัตยกรรม “โกธิก” (Gothic) สถาปัตยกรรมโกธิกเองก็ยังแบ่งย่อยตามพื้นที่ ในประเทศอังกฤษ เราจะพบโกธิกแบบอังกฤษตอนต้น แบบ เน้นการประดับประดา (Decorated style) และแบบนิยมใช้เส้น ตั้งฉาก (Perpendicular style) ขณะที่ในฝรั่งเศส เราจะพบโกธิก แบบชัน้ สูง (High Gothic) แบบหรูหรา (Flamboyant style) และแบบ เจิดจรัส (Rayonnant style) ซึ่งชื่อประจ�ำถิ่นเหล่านี้ส่วนใหญ่ แล้วเรียกตามผลกระทบอันเกิดจากสถาปัตยกรรมหรือลักษณะ การตกแต่งสถาปัตยกรรมนั้นๆ ส่วนชื่อ “โรมาเนสก์” ก็ใช้เรียก รู ป แบบสิ่ ง ก่ อ สร้ า งที่ ช วนให้ ร ะลึ ก ถึ ง สถาปั ต ยกรรมของโรม ในอังกฤษและทางตอนเหนือของฝรั่งเศสจะเรียกสถาปัตยกรรม แบบโรมาเนสก์วา่ แบบ “นอร์แมน” (Norman) ตามพวกดยุกแห่ง


30

Architecture

นอร์มังดีผู้สั่งให้สร้างสถาปัตยกรรมแบบนี้ขึ้น จะเห็นได้ว่านี่คือ กรณีที่ “การเมือง” ส่งผลให้สถาปัตยกรรมรูปแบบเดียวกันมี ชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ อันที่จริงค�ำว่า “โกธิก” ก็ มีที่มาจากการเมืองเช่นกัน ค�ำนี้มีที่มาจากชนเผ่ากอธ (Goths) ซึ่งเป็นผู้ท�ำลายล้างกรุงโรม แม้ว่าชื่อเหล่านี้จะไม่ได้ช่วยให้เรารู้ อะไรเกีย่ วกับสถาปัตยกรรมแต่ละแบบเป็นพิเศษ แต่มนั ก็บอกให้ เราเข้าใจว่าสถาปัตยกรรมเหล่านัน้ ถูกมองเช่นไรในยุคสมัยเดียว กับที่มีการตั้งชื่อพวกนั้นขึ้นในศตวรรษที่ 17 อันเป็นเวลานาน หลังจากรูปแบบสถาปัตยกรรมดังกล่าวเสื่อมความนิยมลง ในท�ำนองเดียวกัน คงไม่เหมาะเท่าไรหากเราจะคิดว่า ตนเองมีชีวิตอยู่ในยุคเรอเนสซองส์ตอนปลาย เพราะช่วงเวลา ดังกล่าวจบไปแล้วในช่วงใดช่วงหนึ่ง ณ ที่ใดที่หนึ่ง แต่จบเมื่อใด นั้นก็ยากจะชี้ชัดอยู่ งานสถาปัตยกรรมแบบเรียบง่ายอย่างของ บรูเนลเลสกีและอัลแบร์ตี (Leon Battista Alberti) ถูกแทนที่ ด้วยคลื่นลูกหลังซึ่งมีการประดับตกแต่งมากกว่า อย่างผลงาน ของแบร์นนิ ี (Gian Lorenzo Bernini) และบอร์โรมินี (Francesco Borromini) ซึ่งใช้วิธีผสานลวดลายจ�ำนวนมากเข้ากับรูปทรง แบบคลาสสิก สถาปัตยกรรมแบบหลังนี้เรียกว่าแบบบาโรก (Baroque) และได้รบั การพัฒนาถึงขีดสุดในฝรัง่ เศสและเยอรมนี สมัยศตวรรษที่ 18 (ภาพประกอบ 11) แม้ว่างานเหล่านี้จะเป็น ส่วนหนึ่งของขนบเดียวกัน ทว่าพวกมันถูกสร้างขึ้นมาด้วย เจตนาที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังถูกเรียนขานในชื่อต่างกันไปตาม รูปแบบด้วย ในเวลาต่อมามีการต่อต้านสถาปัตยกรรมแบบที่ ประดับประดาอย่างมากมายเกินเหตุเหล่านี้ ซึง่ กล่าวได้วา่ ส่งผล


A

Very Short Introduction

31

ให้รูปแบบดังกล่าวเสื่อมความนิยมลง และรูปแบบคลาสสิก ก็กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง การเคลื่อนไหวในครั้งนี้เป็นที่รู้จักกัน ในนามขบวนการนีโอคลาสสิก (Neoclassicism) ซึ่งเบ่งบาน เติบโตจากองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี ในประเทศกรีซ และท�ำให้เกิดความรู้ความเข้าใจรูปแบบของ สถาปัตยกรรมยุคกรีกโบราณมากขึ้น เรื่องนี้ส่งผลให้อารยธรรม กรีกโบราณได้รับการเคารพยกย่องอย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะ ไม่เป็นที่รู้จักจริงๆ จังๆ เท่าไรนัก เมื่ อ ถึ ง ปลายศตวรรษที่ 18 ความรู ้ ค วามเข้ า ใจใน สถาปัตยกรรมกรีกและโรมันอย่างแตกต่างหลากหลายกันไปก็ ส่งผลให้เกิดสถาปัตยกรรมคลาสสิกหลากหลายรูปแบบออกมา แข่งขันกันอวดโฉม ตั้งแต่วิหารแบบดอริก (Doric) ที่เรียบง่าย สุดๆ ไปจนถึงสิง่ ก่อสร้างซึง่ ประดับประดาอย่างหรูหราตระการตา ของพี่ น ้ อ งตระกู ล อดั ม (Adam brothers) นอกจากนั้ น โบราณสถานจ�ำพวกสถาปัตยกรรมยุคกลางยังได้รับความสนใจ มากขึ้นเรื่อยๆ จนน�ำไปสู่การหวนคืนของสถาปัตยกรรมโกธิก (Gothic Revival) อันขรึมขลังในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 (ภาพ ประกอบ 5) อีกทั้งความหลงใหลในรูปแบบของสถาปัตยกรรม ต่างถิ่นยังผุดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังเห็นได้จากพระต�ำหนักไบรตัน (Brighton Pavilion) (ภาพประกอบ 3) การผสมผสานของรูปแบบ อันแตกต่างหลากหลายดังกล่าวเบ่งบานขึน้ นับแต่นนั้ แถมในบาง ช่วงยังเห็นเด่นชัดกว่าช่วงอื่นๆ เหตุการณ์นี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า รสนิยมของชนชัน้ ผูม้ งั่ คัง่ ทีช่ อบอุปถัมภ์การสร้างอาคารบ้านเรือน นั้นมิได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอีกต่อไป หากยุคเรอเนสซองส์


32

Architecture

เป็นหมุดหมายของการเปลี่ยนผ่านอ�ำนาจจากชนชั้นศักดินา สู่ชนชั้นพ่อค้า การเกิดขึ้นของสถาปัตยกรรมแบบพันทางเช่นนี้ ก็เป็นหมุดหมายของการถือก�ำเนิดธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ บรรดาผู้คนที่มั่งคั่งขึ้นจากกิจการของบริษัทอีสต์อินเดีย (East India Company) จากการค้าน�้ำตาลในหมู่เกาะอินดีสตะวันตก หรือจากอุตสาหกรรมการผลิตในอังกฤษ ต่างก็ไม่ได้นยิ มชมชอบ ขนบรสนิยมแบบขุนนางอ�ำมาตย์ดั้งเดิม ทว่าชอบที่จะทดลอง หาแนวทางแปลกๆ ใหม่ๆ ท�ำให้ไม่มีความเป็นเอกภาพทาง สถาปัตยกรรมนับแต่นั้นมา ถึงแม้ว่าในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 จะมีความพยายามร่วมในการสรรหารูปแบบอันเป็นสากลของ สถาปั ต ยกรรมสมั ย ใหม่ โ ดยเครื อ ข่ า ยการจั ด ประชุ ม CIAM (Congrès internationaux d’architecture moderne) ซึ่งน�ำโดย เลอ คอร์บซู เิ ยร์ (Le Corbusier) สถาปนิกชาวสวิส โดยเริม่ ตัง้ แต่ ปี 1928 ก็ตาม เลอ คอร์บซู เิ ยร์ มีศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อรูปแบบ การท�ำงานอันเป็นจังหวะเยี่ยงบทกวีของเครื่องจักร เรือ และถัง ไซโล ซึง่ ถือกันว่าเป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ขณะที่ สถาปัตยกรรมในขบวนการสมัยใหม่ (Modern Movement) [หรือ ที่รู้จักกันว่า รูปแบบนานาชาติ (International Style)] พากัน เข้ายึดครองพื้นที่ในนิตยสารเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม แต่พวกมัน กลับแทบไม่เป็นที่นิยมในหมู่บริษัทสร้างบ้านจัดสรรซึ่งเน้น ตีตลาดมวลชนเป็นหลัก บริษทั เหล่านีช้ อบสถาปัตยกรรมพืน้ ถิน่ (vernacular architecture) สถาปัตยกรรมเลียนแบบยุคทิวดอร์ (Mock Tudor) และสถาปั ต ยกรรมแบบที่ ดูค ล้ า ยยุ ค รี เ จนซี่ (Regency style) มากกว่า เครือข่าย CIAM ปฏิเสธแข็งขันที่จะ


A

Very Short Introduction

33

รับฟังข้อเสนอแนะจากบุคคลภายนอกว่าสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ควรเป็นเช่นไร หลังจากการประชุมดังกล่าวยกเลิกไปในปี 1959 สถาปัตยกรรมร่วมสมัยของเราก็เต็มไปด้วยความหลากหลายใน ทุกทิศทุกทางมานับแต่นั้น (ภาพประกอบ 18, 19, 24, 25) ศัพท์เฉพาะส�ำหรับใช้เรียกสถาปัตยกรรมร่วมสมัยใน ช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมาดูจะมีความหมายแปรเปลี่ยนไป เรื่อยๆ เมื่ออาคารแบบใหม่ๆ ปรากฏขึ้นโดยไม่อาจใช้ค�ำเดิมๆ ก�ำกับนิยามได้ มีการใช้ค�ำว่า “หลังสมัยใหม่” (postmodern) อธิบายอาคารบางแห่งในยุคหลังของ เลอ คอร์บซู เิ ยร์ อาทิ วิหาร รองรับผู้จาริกแสวงบุญที่ชุมชนรองชองป์ (Ronchamp) ซึ่งมี ความโดดเด่นทางด้านประติมากรรมและหลุดพ้นจาก “สุนทรียะ แบบจักรกล” (machine aesthetic) ที่เขาเคยสนับสนุนมาโดย ตลอดอย่างสิ้นเชิง แต่กระนั้นค�ำค�ำนี้ก็ไม่ได้เป็นที่สนใจของ วงการสถาปัตยกรรมโดยทั่วไปจนกระทั่งเมื่อ ชาร์ลส์ เจงส์ (Charles Jencks) ตี พิ ม พ์ ห นั ง สื อ ชื่ อ The Language of Postmodern Architecture (1977) เขาเชื่อมโยงความเป็น หลั ง สมั ย ใหม่ นิ ย ม (postmodernism) เข้ า กั บ แนวคิ ด เรื่ อ ง ความหมายของอาคารต่างๆ อย่างไรก็ดีมีการน�ำความหมาย ที่ ค ่ อ นข้ า งคลุ ม เครื อ ของค�ำดั ง กล่ า วไปใช้ กั บ กระแสนิ ย มใน การสร้ า งอาคารสมั ย ใหม่ ซึ่ ง มี รู ป แบบของสิ่ ง ก่ อ สร้ า งทาง ประวัตศิ าสตร์อย่างเห็นเด่นชัด โดยเฉพาะเมือ่ มีการสร้างรูปแบบ เก่าแก่เหล่านัน้ ในลักษณะทีท่ �ำลายความหมายดัง้ เดิมของมันโดย สิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างด้วยวัสดุที่มีน�้ำหนักเบา การขยาย ขนาดให้ ใ หญ่ โ ตมโหฬาร หรื อ การใช้ สี สั น แสบตา อาคาร


34

Architecture

ภาพประกอบ 1 อาคาร AT&T, เมืองนิวยอร์ก (1978-1980), สถาปนิก: ฟิลิป จอห์นสัน (Philip Johnson, เกิด 1906) ฟิลิป จอห์นสัน มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดแสดงนิทรรศการ “The International Style” เมื่อปี 1932 ซึ่งประสบความส�ำเร็จอย่างมาก และท�ำให้ สหรัฐอเมริการู้จักสถาปัตยกรรมสมัยใหม่นิยม เขายังเคยร่วมงานกับมีส ฟาน แดร์ โรห์ในการออกแบบอาคารสมัยใหม่ตัวจริงเสียงจริงอย่างอาคารซีแกรม


A

Very Short Introduction

35

(ภาพประกอบ 18) อีกทั้งงานเขียนโดยรวมของเขายังมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อ วงการสถาปัตยกรรมสมัยใหม่นยิ ม แม้วา่ แนวคิดในงานเขียนเหล่านัน้ จะก่อให้ เกิดปัญหาตามมาไม่น้อย เขาออกแบบอาคาร AT&T โดยใช้องค์ประกอบ จากสถาปัตยกรรมคลาสสิก เช่น สร้างยอดตึกให้มีลักษณะคล้ายหน้าจั่วแบบ หักกลาง (broken pediment) ซึง่ เป็นความคิดทีส่ นั่ สะเทือนเลือ่ นลัน่ ไปทัง้ วงการ สถาปนิกในยุคสมัยนั้น และท�ำให้เขาได้ขึ้นปกนิตยสาร Time นอกจากนั้น อาคารแห่งนี้ยังถูกมองว่าเป็นตัวแทนของจุดเปลี่ยนทางทัศนคติเกี่ยวกับ สถาปัตยกรรมในขณะนัน้ ทว่าไม่กปี่ ตี อ่ มาก็มกี ารออกแบบและสร้างอาคารทีม่ ี สีสันฉูดฉาดและดูหรูหรากว่าเป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งท�ำให้อาคาร AT&T (ปัจจุบัน เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทโซนี) ดูแข็งทื่อและสงบเสงี่ยมไปเลย

พาณิชย์ซึ่งถือก�ำเนิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1980 แบบนี้พบเห็น ได้ตามเมืองต่างๆ ทั่วโลก (ภาพประกอบ 1) พวกมันส่งเสียง กู่ก้องและประกาศตนอย่างแจ่มชัดต่อแวดวงสถาปัตยกรรมมา นับแต่นั้น ทว่ายังหาชื่อเรียกที่สร้างความประทับใจไม่รู้ลืมแก่ สาธารณชนไม่ได้เสียที พิพธิ ภัณฑ์ศลิ ปะในเมืองบิลเบา (Bilbao) ที่สร้างโดย แฟรงค์ เกห์รี (Frank Gehry) อาจจัดเป็นตัวอย่าง หนึง่ ของสิง่ ก่อสร้างตามคตินยิ มเปลีย่ นแนว (Deconstructivism) (ภาพประกอบ 24) แต่การอธิบายว่าค�ำค�ำนีห้ มายความว่าอย่างไร นั้นเป็นประเด็นที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของหนังสือความรู้ฉบับ พกพาว่าด้วยสถาปัตยกรรมเล่มนี้


36

Architecture

เนื้อหาต่อจากนี้ ในแต่ละบทถัดจากนี้ ผมเรียบเรียงเนื้อหาด้วยภาษาที่ ค่อนข้างฟังดูเหมือนการสนทนา โดยจะกล่าวสลับไปมาระหว่าง แง่มุมต่างๆ ของอาคารแต่ละแห่งที่ใช้เป็นตัวอย่าง ทั้งนี้ผม พยายามเท่าที่เป็นไปได้ที่จะอ้างอิงถึงอาคารซึ่งมีภาพประกอบ ในหนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ พื่ อ อธิ บ ายประเด็ น ในเนื้ อ หาบางส่ ว นให้ เข้าใจได้ชัดเจนขึ้น ดังนั้นจึงอาจดูเหมือนผมให้ความส�ำคัญ เกินกว่าเหตุต่ออาคารเหล่านั้นไปบ้าง อาคารที่จะกล่าวถึงนั้น ไม่ได้เรียงตามเวลาที่สร้างเสร็จ แต่ในท้ายเล่มจะมีล�ำดับเวลา ซึ่งเรียงล�ำดับตามก�ำเนิดของพวกมันอยู่ (ดูหน้า 204) ทั้งนี้ขอ ชีแ้ จงว่าผมไม่ได้ยกตัวอย่างสิง่ ก่อสร้างในแต่ละยุคสมัยเท่าๆ กัน แต่ จ ะกล่ า วถึ ง สิ่ ง ก่ อสร้ า งในยุ ค สมั ย ที่ ใ กล้ เ คี ย งกั บ ช่ ว งเวลา ของเรามากกว่าสิ่งก่อสร้างในช่วงเวลาที่อยู่ห่างไกลออกไป บทที่ 2 เป็นการท�ำความเข้าใจขนบของสถาปัตยกรรม แบบคลาสสิก โดยจะเริ่มปะติดปะต่อเนื้อหาจากอาคารในช่วง ใกล้เคียงกับยุคสมัยปัจจุบันของเรา ก่อนจะค่อยๆ ย้อนกลับ ไปในประวัติศาสตร์ ซึ่งดูจะไม่ใช่วิธีที่ปกตินักในการเรียบเรียง เนื้อหาสาระ ทว่าจริงๆ แล้วนี่เป็นวิธีที่สะท้อนให้เห็นแนวทาง ในการประกอบสร้างขนบธรรมเนียมต่างๆ ของเรา เราจะเริ่ม ด้วยอาคารหลังหนึ่งในปัจจุบันซึ่งค่อนข้างเป็นที่รู้จัก [ในที่นี้ คือมอนติเชลโล (Monticello) ซึ่งเป็นอาคารที่มีคนไปเยี่ยมชม มากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก] และมองหาอาคารที่มาที่ไปของมัน แล้ ว ก็ จ ะพิ จ ารณาหาอาคารต้ น ก�ำเนิ ด ของอาคารต้ น ก�ำเนิ ด


A

Very Short Introduction

37

เหล่านัน้ ย้อนขึน้ ไปเรือ่ ยๆ จากนัน้ สิง่ ทีม่ กั เกิดขึน้ จากการค้นคว้า หาข้อมูลแบบนี้คือจะเกิดการย้อนกลับของล�ำดับเวลา นั่นคือ เราจะกลับมาเดินหน้าไปตามเส้นทางประวัติศาสตร์ และจะ มองเห็นพัฒนาการของสถาปัตยกรรมแต่ละช่วงเวลาชัดเจนขึ้น ตลอดจนเข้าใจว่าระเบียบแบบแผนทางสถาปัตยกรรมในอดีต จะส่งอิทธิพลต่อการถือก�ำเนิดของสิง่ ก่อสร้างชุดใหม่ลา่ สุดเสมอ การมองย้อนไปในประวัติศาสตร์เช่นนี้จะช่วยให้เรามองเห็น ว่ า สถาปั ต ยกรรมบางแบบอาจเหมาะกั บ อนาคต ในขณะที่ บางแบบอาจเหมาะแต่กับยุคปัจจุบัน หากเราใช้แนวทางดังที่ ว่ า มานี้ ใ นการศึ ก ษาสถาปั ต ยกรรมในปั จ จุ บั น เราก็ จ ะรู ้ ไ ด้ แน่ชัดว่าก้าวต่อไปของเรานั้นจะมุ่งไปยังที่ใด ในทางกลับกัน ถ้าเราใช้แนวทางที่แตกต่างออกไป เราก็จะมุ่งไปยังทิศทางอื่น ที่ต่างออกไปด้วย ทั้งนี้ผมพยายามจะหลีกเลี่ยงการหาค�ำตอบ ว่าสถาปัตยกรรมในอนาคตจะมีหน้าตาเช่นไร แต่ถ้ามีใครถาม ผมก็คงตอบว่ามันน่าจะมีรูปแบบที่แตกต่างหลากหลายยิ่งกว่า ที่ผ่านๆ มา หลังยุคกลางสิน้ สุด การพาณิชย์กเ็ ติบโตขึน้ อย่างมัน่ คง มาโดยตลอด การผลิตและประสิทธิภาพในการผลิตมีความส�ำคัญ ต่อชีวิตประจ�ำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อเกิดการ พัฒนาอันเป็นผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ตามมาด้วยการ ปฏิวัติโทรคมนาคมและข้อมูลข่าวสาร ในยุคสมัยของเรา ไม่ว่า จะเป็นสินค้าชนิดใด เราก็คาดหวังว่ามันจะมาถึงมือเราเร็วกว่า เมื่อร้อยปีหรือสิบปีก่อน ไม่ว่าจะเป็นงานอะไร เราก็คาดหวังว่า มันจะเสร็จเร็วขึ้นและช่วยให้มนุษย์ออกแรงน้อยลง เพื่อให้


38

Architecture

ทุกอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราแบ่งงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ออกเป็นงานที่เรียบง่ายแต่ยิบย่อยมากมาย และด้วยเหตุนี้ คนในยุ ค เราจึ ง มี ค วามรู ้ ค วามช�ำนาญเฉพาะทางมากขึ้ น เรื่องนี้ก่อให้เกิดการแตกกระจายขององค์ความรู้ วัฒนธรรม ของเรามีแนวโน้มจะขยายตัวมากขึ้น จากนั้นสื่อมวลชนอย่าง โทรทัศน์ก็เริ่มผลิตรายการส�ำหรับผู้ชมกลุ่มเฉพาะที่มีขนาด เล็กลงเรือ่ ยๆ เนือ่ งจากสถานีโทรทัศน์เพิม่ จ�ำนวนขึน้ กว่าในอดีต ย่อมเป็นเรื่องน่าแปลกใจหากสถาปัตยกรรมซึ่งถือก�ำเนิดขึ้น จากภูมหิ ลังทางวัฒนธรรมเช่นนีจ้ ะหารูปแบบสากลหนึง่ เดียวได้ สถาปัตยกรรมโดยรวมนั้นไม่เคยยอมจ�ำนนต่อขนบรสนิยมของ “วัฒนธรรมชั้นสูง” อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ลักษณะของวัฒนธรรม ชัน้ สูงทีป่ รากฏในสถาปัตยกรรมนัน้ เป็นสิง่ ทีเ่ ราต้องรวบรวมเอา จากบรรดาสิ่งก่อสร้างที่ผ่านการเลือกสรรอย่างละเอียดแล้วว่า มีคณ ุ ลักษณะชัน้ ยอด ซึ่งเมือ่ มองแล้วท�ำให้เราตระหนักถึงความ อุตสาหะอย่างเป็นเลิศในระหว่างการก่อสร้างพวกมัน คิดๆ ดูแล้ว ก็นา่ โล่งใจว่าเราคงไม่ตอ้ งไปอธิบายให้นกั โบราณคดีจากยุคสมัย อื่นเข้าใจว่าตึกรามบ้านช่องที่รายล้อมเราอยู่ในปัจจุบันมีที่มา ที่ไปอย่างไร ในเมื่อเราแทบจะไม่เคยให้ความสนใจพวกมัน ส่วนใหญ่ด้วยซ�้ำ สิ่งก่อสร้างทั้งหลายนั้นสะท้อนความจริงเสมอ ทว่าสิ่งที่สะท้อนออกมาล้วนแต่คลุมเครือและอาจตีความได้ หลากหลาย ในเมืองแมนเชสเตอร์มีศูนย์การค้าแห่งใหม่ที่มี ลานกว้างใหญ่ตรงกลางและมีเสาค�้ำยันแบบคลาสสิกซึ่งหัวเสา เลี่ยมทองอร่ามแลดูเต็มไปด้วยการประดับประดาอย่างล้นเกิน ไม่ต่างอะไรกับสิ่งก่อสร้างในยุคปลายของกรุงโรม ผมเชื่อว่า


A

Very Short Introduction

39

สถาปัตยกรรมมีการเชื่อมโยงกันระหว่างวัฒนธรรมชั้นสูงกับ วั ฒ นธรรมสมั ย นิ ย มในรู ป แบบที่ แ ตกต่ า งหลากหลายกั น ไป นอกจากนัน้ เราจะพบพืน้ ทีซ่ งึ่ มีอาคารทีม่ ลี กั ษณะทางวัฒนธรรม จากคนละส่วนของโลกตั้งอยู่ใกล้ๆ กันอยู่เรื่อยๆ สถานที่ที่ผม พบเห็ น แนวโน้ ม ดั ง กล่ า วมากที่ สุ ด คื อ สิ ง คโปร์ ผมเจอคาเฟ่ แบบมองโกเลียอยู่ติดกับร้านพิซซ่าสไตล์อิตาเลียนปนอเมริกัน โดยมีผับแบบไอริชอยู่ฝั่งตรงข้าม ร้านรวงเหล่านี้อยู่ในห้าง สรรพสินค้าและแหล่งบันเทิงซึ่งแต่เดิมเป็นอาคารคอนแวนต์ ของคณะพระกุมารเยซูผู้ศักดิ์สิทธิ์ (Convent of the Holy Infant Jesus) ที่สร้างขึ้นในสมัยอาณานิคม ตัวโบสถ์ของอาคารนั้น ยังคงเปิดรับใช้ชุมชนอยู่ โดยเฉพาะในการจัดพิธีแต่งงาน และ โคมไฟระย้าแถวแล้วแถวเล่าบนเพดานโบสถ์หลังนี้ก็ยังส่องแสง สว่างไสวราวดวงเพลิงมาจนทุกวันนี้


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.