ประชาธิปไตย: ความรู้ฉบับพกพา • อธิป จิตตฤกษ์ แปล จากเรื่อง Democracy: A Very Short Introduction โดย เบอร์นาร์ด คริก พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์ openworlds, มีนาคม 2557 ราคา 250 บาท คณะบรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล บรรณาธิการ ภูมิ นํ้าวล ฐณฐ จินดานนท์ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ภูมิ นํ้าวล ฐณฐ จินดานนท์ ออกแบบปก wrongdesign จัดทำ�โดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด 604/157 ถ.สาธุ ป ระดิ ษ ฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุ ง เทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-618-4730 email : openworldsthailand@gmail.com facebook : www.facebook.com/openworlds twitter : www.twitter.com/openworlds_th website : www.openworlds.in.th จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8356-9 website : http://www.se-ed.com/
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ คริก, เบอร์นาร์ด. ประชาธิปไตย: ความรู้ฉบับพกพา.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ , 2557. 256 หน้า. 1. ประชาธิปไตย. 2. ไทย--การเมืองและการปกครอง. I. อธิป จิตตฤกษ์, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 320.9593 ISBN 978-616-91597-9-7
•
T h a i la n g ua g e t r a n s l a t i o n c o p y r i g h t 2 0 1 4 b y openworlds publishing house /Co p y r i g h t © 2 0 0 2 b y B e r n a r d C r i c k All Rights Reserved.
Democracy: A Very Short Introduction, by Bernard Crick was origin a lly p u b lis h e d in E n g l i s h i n 2 0 0 2 .
This translation is published by arrangement with Oxford University Press t hrou g h T u ttle -M o ri Age n c y C o . , L t d . The Thai edition is translated by Athip Jittarerk and published by op e n wo rld s p u b lis hi n g h o u s e , 2 0 1 4 .
ประชาธิปไตย: ความรู้ฉบับพกพา ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 2002 แปลและตีพิมพ์เป็นภาษาไทยโดยข้อตกลงกับสำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือจำ�นวนมาก ในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล หมายเลขโทรศัพท์ 086 403 6451 หรือ Email: openworldsthailand@gmail.com
สารบัญ
. สารบัญ : 4 ค�ำน�ำผู้แปล : 6 บทน�ำ : 18 1. ถ้อยค�ำและการกระท�ำ : 28 2. จุดเริ่มต้นของเรา : 44 3. สาธารณรัฐนิยมและประชาธิปไตย : 76 4. ดังที่ต็อกวิลล์ว่าไว้ : 126 5. ประชาธิปไตยและประชานิยม : 144 6. เงื่อนไขของประชาธิปไตยสมัยใหม่ : 188 7. ความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย : 214 หนังสืออ่านเพิ่มเติม : 246
สารบัญภาพประกอบ
. 1 ภาพ La Liberté guidant le peuple ของเดอลาครัวซ์ Réunion de Musées Nationaux 26 2 เทพีมิเนอร์วา ชื่อโรมันของเทพีอาธีนา องค์อุปถัมภ์และผู้คุ้มครองแห่ง เอเธนส์ Bath City Council 50 3 ภาพวาดในศตวรรษที่ 19 ของนายทหารโรมันผู้หนึ่งบนก�ำแพงเฮเดรียน Bridgeman Art Library, London 68 4 แมคเคียเวลลี © Ted Spiegel/CORBIS 86 5 โธมัส เจฟเฟอร์สัน © Bettmann/CORBIS 104 6 รุสโซผู้ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ โรเบสปิแอร์ผู้ได้รับแรงบันดาล ใจจากการกระท�ำ National Gallery of Scotland; © Stefano Bianchetti/ CORBIS 116 7 หน้าบอกชือ่ หนังสืออันเป็นงานชิน้ เอกของต็อกวิลล์ฉบับพิมพ์ภาษาอังกฤษ ครั้งแรก British Library 8009.bbb.24 132 8 เอบราแฮม ลิงคอล์น ถ่ายโดย แมตธิว เบรดี ในปี 1863 © Bettmann/ CORBIS 147 9 ภาพการ์ตูนของแกลดสโตนและดิสราเอลีจาก Punch Hulton Getty 153 10 วูดโรว์ วิลสัน พบบรรดาสมาชิกสภาคองเกรส วาดโดย แม็กซ์ เบียร์โบห์ม Woodrow Wilson Collection, Department of Rare Books and Special Collections, Princeton University 171 11 คริสตาเบล แพงค์เฮิร์สต์ ณ จตุรัสทราฟัลการ์ Mary Evans Picture Library 193 12 เนลสัน แมนเดลา ลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งในแอฟริกา วันที่ 27 เมษายน 1994 © Peter Turnley/CORBIS 217 13 ก�ำแพงเบอร์ลนิ วันที่ 8 พฤศจิกายน 1989 © Peter Turnley/CORBIS 236
6
Democracy
ค�ำน�ำผู้แปล
.
ผู้แปลได้เขียนบทน�ำนี้ในประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ ผู้คนแบ่งเป็นฝักฝ่ายและมีการโต้เถียงกันเกี่ยวกับความหมาย ของ “ประชาธิ ป ไตย” อย่ า งหนั ก หน่ ว ง แต่ ล ะฝ่ า ยอ้ า งว่ า ประชาธิปไตยของตนคือประชาธิปไตยทีแ่ ท้จริงพร้อมๆ กับอ้างว่า ประชาธิ ป ไตยของอี ก ฝ่ า ยเป็ น ประชาธิ ป ไตยที่ จ อมปลอม หลอกลวง ดังนัน้ จึงไม่แปลกอะไรนักหากจะมีผหู้ ยิบหนังสือเล่มนี้ มาพลิกๆ ดูภายใต้ความสงสัยว่าอะไรคือความหมายทีแ่ ท้จริงของ สิ่งที่เรียกกันว่า “ประชาธิปไตย” อย่างไรก็ดี หนังสือเล่มนี้ดูจะไม่ได้ให้ข้อสรุปชัดเจนว่า ประชาธิปไตยคืออะไร ชนิดทีอ่ า่ นจบปุบ๊ กลับไปมองสังคมไทยแล้ว รู้เลยว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายที่แค่แอบอ้างประชาธิปไตย และฝ่ายใด เป็นฝ่ายประชาธิปไตยตัวจริง แต่หนังสือเล่มนี้ดูจะตั้งค�ำถามต่อ สิ่งที่เรารู้จักกันมาตลอดในนามของ “ประชาธิปไตย” มากกว่า
A
Very Short Introduction
7
ซึ่งผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ก็สืบสาวไล่เรียงองค์ประกอบต่างๆ ของ ประชาธิปไตยได้อย่างน่าสนใจ เป็นทีแ่ น่นอนว่าประชาธิปไตยตะวันตกสามารถสืบสาว ไปยังจุดเริ่มต้นที่ยุคกรีกโบราณ ประชาธิปไตยในภาษากรีก โบราณแปลตรงตัวได้วา่ “การปกครองโดยประชาชน” ซึง่ ต่างจาก การอยู ่ ใ ต้ ก ารปกครองของกษั ต ริ ย ์ ห รื อ ชนชั้ น น�ำที่ เ กิ ด ขึ้ น อยู ่ เ นื อ งๆ ในสมั ย นั้ น อย่ า งไรก็ ดี น่ า สนใจว่ า นั ก ปรั ช ญา ผู้สนับสนุนประชาธิปไตยคนแรกๆ อย่างอริสโตเติลไม่ได้พอใจ กับประชาธิปไตยที่มี “การเลือกตั้ง” ในแบบที่เป็นอยู่ในนครรัฐ กรี ก สมั ย นั้ น และเสนอให้ มี ก ารจั บ ฉลากเลื อ กผู ้ แ ทนของ ประชาชนแทน ด้วยเหตุผลว่าจะได้ไม่มีชนชั้นน�ำของนครรัฐที่ ผูกขาดอ�ำนาจอย่างต่อเนื่องยาวนาน นอกจากนั้นอริสโตเติลยัง มองว่าการเลือกตั้งดูจะเป็นช่องทางสู่ระบอบ “ธนาธิปไตย” หรือ การเข้ายึดอ�ำนาจรัฐโดยพวกคนรวยมาตั้งแต่ยุคนั้นแล้ว แต่ส�ำหรับพวกกรีก ประชาธิปไตยดูจะเป็นความภูมิใจ ของชนชาติ ก รี ก เท่ า นั้ น ไม่ ใ ช่ สิ่ ง ที่ มี ไ ว้ เ ผื่ อ แผ่ ช นชาติ อื่ น ๆ พวกนครรั ฐ กรี ก ดู จ ะมองว่ า ประชาธิ ป ไตยของตนท�ำให้ ต น สูงส่งกว่าพวกคนเถื่อนที่อาศัยอยู่โดยรอบ แนวคิดจะเผยแพร่ ประชาธิปไตยไปทั่วโลกนั้นดูจะอยู่นอกกรอบคิดของพวกกรีก ชนชาติที่เป็นผู้เผยแพร่ “การปกครองโดยประชาชน” ในท�ำนอง เดียวกับกรีกให้แก่ชนชาติอื่นๆ ในยุโรปดูจะเป็นพวกโรมันเสีย มากกว่า ซึ่งสิ่งที่น่าเวียนหัวคือ พวกโรมันไม่ได้เรียกสิ่งที่ละม้าย คล้ายคลึงกับกรีกว่าประชาธิปไตย แต่เรียกว่า “สาธารณรัฐนิยม”
8
Democracy
ดังที่ผู้มีพื้นความรู้ทางประวัติศาสตร์ตะวันตกน่าจะ รู้กันว่า สุดท้ายโรมก็สูญเสีย “การปกครองโดยประชาชน” ไป เมื่อสาธารณรัฐโรมันเริ่มมีจักรพรรดิและกลายมาเป็นจักรวรรดิ โรมันแทน “การปกครองโดยประชาชน” ดูจะหายไปเป็นพันปี จากอารยธรรมยุโรป ก่อนที่จะถูกรื้อฟื้นขึ้นมาในยุคฟื้นฟูศิลปะ วิทยาการในเหล่านครรัฐของอิตาลีภายใต้ชื่อเดิมตามแบบที่ ชาวโรมันเรียกว่า “สาธารณรัฐนิยม” ด้วยฝีมือของนักคิดอย่าง แมคเคียเวลลี ซึ่งคนทุกวันนี้จดจ�ำเขาในฐานะผู้สอนให้คนเล่น การเมืองอย่างฉลาดแกมโกงมากกว่าสอนให้เป็นคนดีมคี ณ ุ ธรรม อย่ า งไรก็ ดี แนวคิ ด เกี่ ย วกั บ “การปกครองโดย ประชาชน” ในโลกยุคโบราณจนถึงยุคฟืน้ ฟูศลิ ปวิทยาการก็ไม่ได้ มีแนวคิดเกี่ยวกับ “สิทธิ” อยู่ในสารบบแบบทุกวันนี้ แนวคิดเรือ่ ง สิทธิที่เป็นองค์ประกอบของประชาธิปไตยทุกวันนี้ดูจะมาจาก ประเทศที่ลือชื่อในการปกครองด้วยระบอบกษัตริย์อย่างอังกฤษ ในช่วงสมัยใหม่ตอนต้นเสียมากกว่า ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับสิทธินี้ เป็นที่รู้จักภายหลังในนาม “เสรีนิยม” ในอังกฤษ การปฏิวัติและ ปฏิรปู หลายต่อหลายครัง้ ในอังกฤษศตวรรษที่ 17 ท�ำให้ได้ขอ้ สรุป ในทางการเมืองว่า กษัตริย์ต้องอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ สภาคือผู้ออก กฎหมายทั้งหมด รัฐต้องรักษากฎหมายและต้องคุ้มครองสิทธิ พื้นฐานของประชาชน แนวคิดเรื่อง “สิทธิ” คือนวัตกรรมทาง การเมืองของอังกฤษช่วงสมัยใหม่ตอนต้นที่ระบบการปกครอง ไม่ได้เกีย่ วพันอะไรกับ “ประชาธิปไตย” หรือกระทัง่ “สาธารณรัฐ” เลย เพราะอย่างน้อยๆ ในตอนทีแ่ นวคิดเรือ่ ง “สิทธิ” ถือก�ำเนิดขึน้ ในอังกฤษ แค่การเรียกร้องสิทธิในการเลือกตัง้ ของ “คนส่วนใหญ่”
A
Very Short Introduction
9
ก็ลม้ ไม่เป็นท่า และผูม้ สี ทิ ธิในการเลือกผูแ้ ทนเข้าสภาก็มแี ต่พวก ทีม่ ที ดี่ นิ ในครอบครองผ่านเกณฑ์เท่านัน้ กล่าวคือ “สิทธิ” ในแบบ อังกฤษวางอยู่บนรากฐานของสังคมที่มีชนชั้น และไม่ได้มองว่า ความไม่เท่าเทียมนั้นเป็นปัญหา กระทั่งเมื่อมาถึงการปฏิวัติใหญ่ในอเมริกาและฝรั่งเศส สมั ย ศตวรรษที่ 18 ค�ำว่ า “ประชาธิ ป ไตย” ก็ ยั ง ไม่ ป รากฏ เพราะในการปฏิวัติเหล่านั้น ใครๆ ก็ยกย่องเชิดชูแนวทางแบบ “สาธารณรัฐนิยม” ทั้งนั้น ซึ่งความหมายของมันคือการปกครอง ตัวเองของปวงชนที่มีความแข็งขันทางการเมือง มันคือแนวคิด ทางการเมืองซึง่ มองว่าทุกคนทีท่ มุ่ เทให้สาธารณรัฐทีเ่ กิดใหม่ควร มีสทิ ธิมเี สียงทางการเมือง ซึง่ เราก็ตอ้ งไม่ลมื ว่าค�ำขวัญอันกึกก้อง ในการปฏิวัติฝรั่งเศสอย่าง “เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ” แท้จริงแล้วคือค�ำขวัญในแนวทางแบบ “สาธารณรัฐนิยม” ไม่ใช่ ประชาธิปไตย ในศตวรรษที่ 18 คนที่พูดถึงความเท่าเทียมและ เสรีภาพคือนักสาธารณรัฐนิยมทัง้ นัน้ นักประชาธิปไตยยังไม่เกิด ค�ำว่าประชาธิปไตยเพิง่ จะโผล่มาอีกรอบในช่วงครึง่ หลัง ของศตวรรษที่ 19 นีเ้ อง โดยเข้ามาแทนทีค่ �ำว่า “สาธารณรัฐนิยม” ก่อนจะกลายมาเป็นค�ำที่ทุกคนกล่าวอ้างกันไปหมดตั้งแต่ฝ่าย ซ้ายสุดๆ กลางสุดๆ ไปจนถึงขวาสุดๆ ในศตวรรษที่ 20 ซึ่ง เอกลักษณ์ของสิ่งที่เรียกว่า “ประชาธิปไตย” ที่ถูกรื้อฟื้นขึ้นมานี้ ก็ดูจะแยกออกจากแนวทางการเมืองแบบ “ประชานิยม” ยาก เพราะประชาธิปไตยแบบนี้คือการอ้างอ�ำนาจอธิปไตยบนฐาน ของมวลชนชั้นล่างที่ได้รับการเพิ่มพูนสิทธิในการเลือกตั้งอย่าง ต่อเนื่อง แต่ก็ด�ำเนินไปพร้อมกับแนวทางแบบ “เสรีนิยม” ที่มี
10
Democracy
รากฐานส�ำคัญคือ การกล่าวอ้างถึงสิทธิอนั สมบูรณ์ของประชากร ในรัฐซึ่งอ�ำนาจรัฐอันมีพื้นฐานมาจากมวลชนใดๆ ก็ไม่มีสิทธิจะ พรากไปได้ แนวทาง “ประชาธิปไตย” แบบใหม่นี้ดูจะเป็นแนวทาง ที่ประสานรากฐานของค่านิยมด้านเสรีภาพและความเท่าเทียม แบบสาธารณรัฐนิยมฝรั่งเศสเข้ากับแนวทางการคุ้มครองสิทธิ แบบเสรีนิยมอังกฤษ ซึ่งแนวทาง “ความเท่าเทียม” แบบไม่มี ขีดจ�ำกัดอันมีที่มาจากแนวทางสาธารณรัฐนิยมนี้ก็เป็นสิ่งใหม่ที่ “ประชาธิปไตย” ไม่เคยมีมาก่อน เพราะก่อนหน้านี้ในยุคกรีก โบราณ “ประชาธิปไตย” กับระบบทาสดูจะไม่แยกจากกัน ประชาธิปไตยดูจะเป็นลูกนอกสมรสของสาธารณรัฐ นิยมกับเสรีนิยมที่มีลักษณะเป็น “การปกครองโดยประชาชน” แบบใหม่ มีการขยายขอบเขตของสิ่งที่เรียกว่า “ประชาชน” ใน “การปกครองโดยประชาชน” ขึ้นไปอีก เพราะอย่างน้อยๆ ถ้า มองว่าประชาธิปไตยคือ “การปกครองโดยประชาชน” แล้ว แรกเริ่ ม เดิ ม ที สิ่ ง ที่ เ รี ย กว่ า “ประชาชน” นั้ น หมายรวมแค่ “ชายผิวขาวทุกคนที่มีที่ดินในครอบครอง” ในศตวรรษที่ 18 และ ต่อมาก็ขยายขอบเขตไปถึง “ชายผิวขาวทุกคน” ในช่วงศตวรรษที่ 19 ตามด้วย “ผู้ใหญ่คนขาวทุกคน” ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และ สิน้ สุดทีก่ ารยอมรับ “ผูใ้ หญ่ทกุ คน” ให้มสี ว่ นร่วมในทางการเมือง ในช่วงครึ่งหลังศตวรรษที่ 20 การขยายตัวของเหล่า “ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง” ดู จ ะเป็ น เอกลั ก ษณ์ ข องประชาธิ ป ไตยที่ ฝ ่ า ยที่ ตั้ ง ค�ำถามกั บ ประชาธิปไตยต้องการค�ำตอบว่า “จะขยายไปถึงไหน?” เพราะ
A
Very Short Introduction
11
อย่างน้อยๆ แม้การเสนอให้เด็กและคนสติไม่สมประกอบมีสิทธิ เลือกตั้งในตอนนี้จะฟังดูน่าขัน แต่ความน่าขันนี้ก็ดูจะท�ำให้เรา เข้าใจความน่าขันของการเสนอให้ผู้หญิงและคนผิวด�ำมีสิทธิ เลือกตั้งภายหลังการปฏิวัติอเมริกาเมื่อกว่า 200 ปีก่อน เพราะ ในยุคนั้นก็คงไม่มีใครนึกฝันว่าพวกผู้หญิงและพวกทาสผิวด�ำจะ มีสิทธิเลือกตั้งในที่สุด การขยายสิทธิไปตามอ�ำเภอใจของนักประชาธิปไตย ในช่ ว งศตวรรษที่ 19 และ 20 นั้ น ดู จ ะเป็ น สิ่ ง ที่ เ ลยเถิ ด ไป กว่าแนวคิด “สาธารณรัฐนิยม” ดั้งเดิมมาก ซึ่งก็ไม่แปลกที่ นักสาธารณรัฐนิยมจะรู้สึกว่านี่คือการขยายสิทธิไปจนน่าขัน และความน่ า ขั น นี้ ก็ ไ ม่ ไ ด้ ว างอยู ่ บ นรากฐานของการ เหยียดใดๆ มากไปกว่าปัญหาทีว่ า่ “คนเหล่านีจ้ ะมีปญ ั ญาอุทศิ ตน ให้สาธารณรัฐได้อย่างไร?” เพราะองค์ประกอบที่ส�ำคัญของ พลเมืองที่ดีของสาธารณรัฐคือการมีส่วนร่วมในการเมืองและ กิจการสาธารณะ ทุกวันนีแ้ นวคิดแบบนีเ้ รียกว่า “สาธารณรัฐนิยม พลเมือง” ซึง่ มีจดุ เน้นคือ “หน้าที”่ ของพลเมือง ไม่ใช่ “สิทธิ” แนวทาง การเชิ ด ชู สิ ท ธิ เป็ นแนวทางที่ พ วกฝ่ า ยประชาธิ ป ไตยเน้ น ย�้ ำ แต่ฝ่ายสาธารณรัฐนิยมมองว่าการมอบสิทธิให้โดยไม่มีหน้าที่ ก�ำกับจะท�ำให้พลเมืองเกียจคร้านและเห็นแก่ตัว กล่าวง่ายๆ คือ นักประชาธิปไตยนั้นเหมือนพ่อพระที่ ไล่มอบสิทธิให้คนไปทัว่ ทว่าสิง่ ทีน่ กั สาธารณรัฐนิยมเน้นเสมอคือ การตั้งค�ำถามว่าสิทธิที่คนพึงมีนั้นคู่ควรกับหน้าที่ของเขาใน สังคมการเมืองหรือไม่ คนที่ทุ่มเทให้กับสาธารณรัฐน้อยกว่า ย่อมมีสิทธิน้อยกว่า พูดอีกแบบคือ หากคุณจะเป็นประชาชน
12
Democracy
คุณก็ต้องทุ่มเทให้กับสาธารณรัฐ มิฉะนั้นคุณก็ไม่คู่ควรจะเป็น ประชาชนที่จะมีส่วนร่วมกับ “การปกครองโดยประชาชน” แน่นอนว่าแนวทาง “การริบสิทธิ” หรือการ “ยกเลิกการ เป็นประชาชน” แบบนี้เป็นสิ่งที่ผู้คนในโลกตะวันตกซึ่งผ่านการ เสียเลือดเนื้อเพื่อให้ได้สิทธิในการมีระบบ “หนึ่งคน หนึ่งเสียง” มาหลายต่อหลายรอบคงไม่เห็นด้วย เพราะสุดท้ายก็ไม่มีข้ออ้าง ใดในปัจจุบันที่ดีพอส�ำหรับการริบสิทธิในการมีส่วนร่วมทาง การเมืองจากคนทีเ่ คยมีสทิ ธิมเี สียงทางการเมืองมาก่อน ซึง่ เราก็ ต้องเข้าใจไปพร้อมกันว่า การ พยายามระงับ การมีสิทธิของคน กลุม่ ใหม่ หรือการ “ป้องกันไม่ให้สงิ่ ทีเ่ รียกว่าประชาชนขยายตัว” นีเ้ กิดขึน้ มาตลอดประวัตศิ าสตร์ของ “การปกครองโดยประชาชน” แต่สุดท้ายหลังจากการต่อสู้ (ที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นการต่อสู้แบบ นองเลือดจริงๆ มากกว่าการต่อสู้ทางวัฒนธรรมและการต่อสู้ เชิงสัญลักษณ์แบบทีน่ ยิ มท�ำกันในปัจจุบนั ) ข้อถกเถียงด้านสิทธิ ทางการเมืองเหล่านีก้ ห็ มดไป เพราะไม่วา่ ปัจเจกบุคคลในยุคหลัง จะชอบหรือไม่ สังคมก็ได้ คุยกันด้วยเลือด มาพอแล้วในประเด็นนี้ อี ก ประเด็ น ที่ น ่ า สนใจเกี่ ย วกั บ ประวั ติ ศ าสตร์ ประชาธิปไตยจากหนังสือเล่มนี้คือ “การศึกษา” ไม่เคยเป็น เงือ่ นไขให้คนควรมีหรือไม่มสี ทิ ธิทางการเมืองในโลกตะวันตก นีด่ ู จะเข้าใจไม่ยากเลยในโลกตะวันตกทีโ่ ดยทัว่ ไปไม่เคยมองว่าระดับ การศึกษามีความสอดคล้องกับสติปัญญาโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว เพราะอย่างน้อยๆ ในโลกนี้ กลุม่ คนทีจ่ ะ “ได้เรียนหนังสือ” ก็มแี ต่ พวกอภิชนคนชั้นสูงเท่านั้น บรรดาลูกหลานพ่อค้าและนายช่าง ต่างๆ ที่เป็น “ชนชั้นกลาง” เพิ่งจะได้มามีการศึกษากันบ้าง
A
Very Short Introduction
13
จริงๆ จังๆ ตอนศตวรรษที่ 18-19 มิพักต้องพูดถึงบรรดาผู้หญิง และชนชั้นแรงงานที่ส่วนใหญ่ไม่น่ามีการศึกษา แต่คนเหล่านี้ก็ เรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งทั้งๆ ที่ไม่มีการศึกษานี่แหละ (อาจ มียกเว้น “แกนน�ำ” บางคนทีเ่ ป็นผูม้ กี ารศึกษา) กล่าวโดยรวมคือ ในโลกตะวันตก การเรียกร้องสิทธิในการเลือกตัง้ ดูจะเป็นกิจของ เหล่า “ผู้ไม่มีการศึกษา” เป็นหลัก ทั้งนี้อันที่จริงแล้ว การใช้ความมีการศึกษาเป็นเกณฑ์ ก�ำหนดผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็คงเป็นสิ่งที่น่าขันส�ำหรับพวกนิยม “ประชาธิปไตย” ในยุคเก่าก่อน เพราะบรรดาผู้มีสิทธิมีเสียง ทั้งหลายก็ไม่ได้มีการศึกษา แต่ที่มีสิทธิก็เพราะมีเวลาว่างมาก เนื่องจากเป็น “ชนชั้นไม่ท�ำมาหากิน” อย่างพวกอภิชนที่ก�ำเนิด มาพร้อมทรัพย์สมบัตแิ ละยศศักดิม์ ากมาย และไม่ตอ้ งหวาดกลัว ว่าอาจตกสู่ชนชั้นที่ต�่ำกว่าแต่อย่างใด นี่เป็นคนละเรื่องกับชนชั้นกลางผู้มีการศึกษาระดับ ปริญญาตรีหรือโททีว่ นั ๆ ต้องขยันท�ำงานหาเงิน และต้องดิน้ รนไป ตลอดชีวติ เพือ่ ไม่ให้ตอ้ งตกต�ำ่ ลงไปเป็นชนชัน้ ล่างทัง้ ทางรายได้ และวิถชี วี ติ พวกนักประชาธิปไตยดัง้ เดิมคงจะเห็นว่าชนชัน้ กลาง เหล่านี้ “มีเวลาว่างไม่มากพอ” ที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะถ้าเทียบกับสังคมอย่างกรีกและโรมัน ที่กลุ่มคนผู้มีสิทธิมีเสียงเป็นพลเมืองทั้งหลายล้วนมีทาสคอย ท�ำงานต่างๆ ให้ พวกเขาจึงมีเวลาว่างพอที่จะมีส่วนร่วมทาง การเมือง ทัง้ นี้ “ประชาธิปไตย” ตามอุดมคติกด็ จู ะท�ำงานได้ดบี น พื้นฐานที่ว่า ผู้มีส่วนร่วมต้องมีเวลาว่างมากนั่นเอง
14
Democracy
แน่ น อนว่ า แม้ ท าสจะเป็ น องค์ ป ระกอบแฝงเร้ น อั น ขาดไม่ได้ในประชาธิปไตยตามอุดมคติแบบกรีก ทว่าในปัจจุบัน คงไม่มใี ครเสนอแก่สาธารณะให้รอื้ ฟืน้ ระบบทาสขึน้ มาอีกเพือ่ ให้ ประชาธิปไตยสมบูรณ์ขนึ้ เพราะการที่ “ทุกคนเท่าเทียมกัน” ดูจะ เป็นสิง่ ทีต่ อ้ งรักษาเอาไว้มากกว่าการพยายามไปสูป่ ระชาธิปไตย ที่สมบูรณ์ตามแบบโลกยุคโบราณที่ตั้งอยู่บนความไม่เท่าเทียม กันของมนุษย์ หนังสือเล่มนี้ดูจะแสดงให้เห็นว่าประชาธิปไตยมีอดีต อั น ยาวนานและซั บ ซ้ อ น ส่ ว นจะมี อ นาคตหรื อ ไม่ นั้ น ไม่ อ าจ ทราบได้ เพราะสุดท้ายประชาธิปไตยก็เป็นเพียง “ชื่อ” ใหม่ที่ มีไว้เรียกสิ่งที่มีมาเป็นร้อยเป็นพันปีอย่าง “การปกครองโดย ประชาชน” หากประวัติศาสตร์จะสอนอะไรเราบ้าง เราก็ไม่ อาจมั่นใจได้เลยว่า “การปกครองโดยประชาชน” จะเปลี่ยนไป เป็นรูปแบบใดหรือจะยังคงมีชื่อว่า “ประชาธิปไตย” อยู่หรือไม่ ดังเช่นที่คนในศตวรรษที่ 18 ก็คงไม่นึกฝันว่าแนวทางแบบ “สาธารณรั ฐ นิ ย ม” จะถู ก เรี ย กว่ า “ประชาธิ ป ไตย” อย่ า ง ไร้ข้อกังขาในอีก 200 ปีให้หลัง สุดท้ายแล้ว สิง่ ทีเ่ รียกว่า “ประชาชน” อันเป็นศูนย์กลาง ของ “ประชาธิปไตย” ก็ดูจะลื่นไหลไปเรื่อยๆ ไม่คงที่ เราไม่อาจ แน่ใจได้ว่าค�ำว่า “ประชาชน” นั้นสักวันหนึ่งจะหมายรวมถึง สิ่งมีชีวิตเผ่าพันธุ์อื่นๆ ตลอดจนเครื่องจักรที่สื่อสารกับมนุษย์ ได้หรือไม่ เพราะอย่างน้อยๆ มนุษย์ในยุคนี้ก็สามารถสื่อสาร กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ในระดับที่ไปไกลกว่าความฝันเฟื่องในนิยาย ไซไฟของยุคก่อนแล้ว ไม่ว่าจะด้วยเทคโนโลยีในการสื่อสารกับ
A
Very Short Introduction
15
สัตว์หรือเทคโนโลยีสมองกลซึง่ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แต่ทแี่ น่ๆ แนวโน้มของ “การปกครองโดยประชาชน” ในภาพรวมก็ไม่เคย มีการพยายาม “ลด” ปริมาณของ “ประชาชน” ผู้มีสิทธิปกครอง ประเทศมาก่ อ น อย่ า งน้ อ ยๆ ในประวั ติ ศ าสตร์ ก็ แ ทบไม่ มี ผู้อาจหาญออกมาประกาศว่า “ประชาชน” บางส่วนนั้นไม่คู่ควร แก่การเป็น “ประชาชน” หรืออย่างน้อยๆ ก็ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้น เป็นปกติในโลกยุคหลังสงครามเย็น แถมการปรากฏขึ้นไม่กี่ครั้ง ของการ “ลดปริมาณประชาชน” ก็ดูจะเป็นปรากฏการณ์ยกเว้น ที่เกิดขึ้นในประเทศคอมมิวนิสต์บางประเทศ และ “ประชาชน” ที่ ถูก “ลดปริมาณ” ก็มาจากกลุม่ ชนชัน้ สูงและชนชัน้ กลางมากกว่า ที่จะมาจากฐานล่างสุดของสังคม
อธิป จิตตฤกษ์ กุมภาพันธ์ 2557
ประชาธิปไตย •
ความรู้ฉบับพกพา
DEMOCRACY • A
Very
Short
Introduction
by
Bernard Crick
แปลโดย
อธิป จิตตฤกษ์
บทน�ำ
/
A
Very Short Introduction
19
มี ห ลายความหมายที่ ผู ก ติ ด อยู ่ กั บ ค�ำว่ า ประชาธิ ป ไตย ถ้ามันมีความหมายที่แท้จริงเพียงหนึ่งเดียว ก็คงจะเป็นอย่างที่ เพลโต (Plato) ว่าไว้ นั่นคือ มันคงจะถูกเก็บไว้บนสรวงสวรรค์ และก็โชคร้ายที่มันจะไม่ตกลงมาหาเรา ค�ำค�ำนี้เป็นค�ำที่นัก ปรัชญาบางคนขนานนามว่าเป็น “มโนทัศน์ทมี่ กี ารถกเถียงกันใน ระดับแก่นสารอย่างหนัก” มันเป็นค�ำค�ำหนึง่ ทีเ่ ราไม่มที างจะตกลง หาฉันทามติได้ว่าหมายความว่าอย่างไร เพราะแต่ละนิยามของ มันก็แบกรับนัยทางสังคม ศีลธรรม และการเมืองอย่างแตกต่าง กันไปทั้งสิ้น แต่อย่างน้อยๆ ในวันนี้เราก็อยู่โดยขาดมันไปไม่ได้ ในหนังสือ In Defence of Politics ที่ผู้เขียนได้เขียนไว้เมื่อ 40 ปี ก่อน ผูเ้ ขียนกล่าวว่าประชาธิปไตยเป็น “ค�ำทีส่ �ำส่อนทีส่ ดุ ” ไม่ตา่ ง จากพวกนางไม้ในเทวต�ำนานกรีกหรือโรมันแต่อย่างใด กล่าวคือ เดโมคราเทีย (Democratia) ทีเ่ ป็นเทพระดับรองของชาวเอเธนส์ นัน้ “เป็นนางบ�ำเรอของทุกๆ คน แต่นางก็มเี วทมนตร์ทที่ �ำให้คน รักยังหลงสเน่หข์ องนาง ทัง้ ๆ ทีร่ อู้ ยูแ่ ล้วว่าคนอืน่ ๆ ก็ครอบครอง นางเช่นกัน”
20
Democracy
แน่นอนว่าเพลโตเกลียดชังประชาธิปไตย ส�ำหรับเขา ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของการที่ doxa ปกครอง philosophia หรือการที่ความคิดเห็นปกครองความรู้ ในภาษากรีก ค�ำว่าการ ปกครองคือค�ำว่า kratos ส่วน demos หมายถึง “ประชาชน” แต่ นักคิดนักเขียนในยุคโบราณ (รวมถึงในยุคปัจจุบัน) จ�ำนวนมาก ก็ใช้ค�ำนี้ในเชิงดูถูกดูแคลนด้วยการสื่อความถึงคนส่วนใหญ่ใน ฐานะฝูงชนที่เป็นสัตว์ร้ายซึ่งทั้งทรงพลัง เห็นแก่ตัว กลิ้งกลอก และเอาแน่เอานอนไม่ได้ อริสโตเติล (Aristotle) ลูกศิษย์ของเพลโต แสดงมุมมองเกี่ยวกับประชาธิปไตยไว้อย่างเป็นกลางกว่าใน หนังสือ The Politics ของเขา ดังที่เราจะได้เห็นกันต่อไป ส�ำหรับ อริสโตเติล ประชาธิปไตยเป็นเงือ่ นไขทีจ่ �ำเป็นส�ำหรับการปกครอง ที่ดี แต่มันยังห่างไกลจากการเป็นเงื่อนไขที่เพียงพอส�ำหรับการ ปกครองที่ดี ถ้าเราก�ำลังพูดถึงความยุติธรรมและการปกครอง ที่ดี เราก็ก�ำลังพูดถึงความสัมพันธ์อันซับซ้อนของมโนทัศน์ คุณค่า และปฏิบัติการต่างๆ และความสัมพันธ์อันซับซ้อนที่ว่านี้ ก็ไม่เคยคงที่ เบียทริซ เว็บบ์ (Beatrice Webb) ไม่ได้ปฏิเสธ ประชาธิปไตยเมือ่ เธอกล่าวว่า “ประชาธิปไตยไม่ใช่ผลทวีคณ ู ของ ความเห็นอันโง่เง่า” แม้จะใช้ถอ้ ยค�ำซึง่ เผ็ดร้อนไปบ้าง ถึงกระนัน้ เธอก็แค่พยายามท�ำให้ประชาธิปไตยเข้าที่เข้าทาง ตลอดจน เรียกร้องการปฏิรูปการศึกษามากขึ้น หรืออาจเรียกร้องแค่ให้มี การศึกษาบ้างด้วยซ�้ำ ดังนั้นเราจึงควรกังขาต่อค�ำกล่าวอ้างใดๆ ที่ว่า บาง มโนทัศน์ของประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดส�ำหรับทุกโอกาส เช่นเดียวกัน เราก็ตอ้ งมองเห็นความย้อนแย้งว่า การทีเ่ รายอมรับ
A
Very Short Introduction
21
ความหมายส�ำเร็จรูปของประชาธิปไตยแบบหนึ่งแทนที่จะเป็น แบบอื่นๆ นั้นเป็นเรื่องน่าขันมากกว่าเป็นเรื่องปกติ ทั้งๆ ที่ อย่ า งไรเสี ย เราก็ ต ้ อ งเลื อ กสั ก ความหมายอยู ่ ดี ในระบอบ ประชาธิปไตย การทีค่ นในวงกว้างไม่ยอมตัดสินใจเลือกในเรือ่ งใด เรือ่ งหนึง่ ถือเป็นการเลือกทีอ่ นั ตรายในรูปแบบหนึง่ เราล้วนต้อง เลือกอะไรบางอย่างด้วยกันทัง้ สิน้ แต่การทีเ่ ราจะมีสทิ ธิเลือกแทน คนอืน่ หรือไม่หรืออย่างไรนัน้ ก็เป็นอีกเรือ่ งหนึง่ จะว่าไปแล้ว ผูท้ จี่ ะ หยิบหนังสือเล่มนีข้ นึ้ มาอ่านโดยส่วนใหญ่นา่ จะใช้ชวี ติ อยูภ่ ายใต้ ระบอบการปกครองทีเ่ รียกกันว่า “ระบอบประชาธิปไตย” ค�ำค�ำนี้ ยังคง “ท�ำให้เลือดลมสูบฉีดเหมือนกับการดื่มไวน์” ดังที่กวีชาว กรีกว่าไว้ หรือไม่กค็ วรส่งผลเช่นนัน้ ในขณะทีค่ �ำว่า “การปกครอง ภายใต้รฐั ธรรมนูญ” ดูจะมีกลิน่ อายความหมายของประชาธิปไตย ตามแบบเรียนหรือหนังสือกฎหมายมากกว่า เรายังมีเหตุผลที่ดี ในการใช้ค�ำว่า “ประชาธิปไตย” อยู่ แม้ว่ามันจะคลุมเครือแค่ ไหน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไปในทางที่ถูกหรือผิด ดังที่ผู้เขียนจะ ทบทวนในตอนจบของหนังสือเล่มนี้ และมันก็มที างเลือกส�ำหรับ ระบอบประชาธิปไตยสารพัดแบบเมื่อมีการตั้งรัฐบาลขึ้น ดังเช่น ในเยอรมนี ญี่ปุ่นหลังสงครามโลก บรรดาประเทศใหม่ๆ ซึ่งเคย เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ตลอดจนในประเทศที่รูปแบบ การปกครองวิวัฒนาการย้อนหลังอย่างสกอตแลนด์ เวลส์ และ ไอร์แลนด์เหนือ แต่นกี่ ไ็ ม่ได้หมายความว่าประชาธิปไตยเป็นหลัก การที่อยู่เหนือหลักการอื่นในทุกสถานการณ์ (ซึ่งเป็นคนละกรณี กับข้อเท็จจริงอันน่าเศร้าทีว่ า่ ประชาธิปไตยไม่ได้มอี ยูใ่ นประเทศ ส่วนใหญ่ในโลกด้วยซ�้ำ) ตัวอย่างเช่น ในเวลาไม่กี่ปีมานี้ ผู้เขียน
22
Democracy
บังเอิญได้ไปร่วมการประชุมหลายต่อหลายครั้งซึ่งมีคนลุกขึ้นให้ เหตุผลเพื่อเรียกร้อง “โรงเรียนที่เป็นประชาธิปไตย” อย่างมุ่งมั่น และผูเ้ ขียนก็เถียงว่า “ไร้สาระน่า โรงเรียนเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ หรอก (แต่กจ็ ริงทีโ่ รงเรียนบางแห่งจ�ำเป็นต้องเป็นประชาธิปไตย มากขึ้น) และจริงๆ แล้ว โรงเรียนบางแห่งก็ดูจะเป็นตัวอย่างที่ดี และน่าชื่นชมของระบอบอัตตาธิปไตย (autocracy) ด้วยซ�้ำ” อย่างไรก็ดี โดยทั่วไปแล้ว การใช้ค�ำว่า “ประชาธิปไตย” ที่ได้ผลจริงๆ นั้นแม้จะมีความแตกต่างหลากหลาย แต่ก็ไม่ได้มี มากมายอะไรขนาดนัน้ เวลาผูเ้ ขียนกล่าวว่า “ได้ผลจริงๆ” ผูเ้ ขียน หมายถึงการมีความสอดคล้องกันระหว่างประชาธิปไตยในฐานะ ของชุดคุณค่ากับประชาธิปไตยในฐานะของการจัดวางสถาบัน ต่างๆ ในสังคม เราจะเห็นสิ่งเหล่านี้ได้อย่างชัดเจนที่สุดเมื่อเรา พิจารณาประวัติศาสตร์ของทั้งคุณค่าและสถาบันต่างๆ ที่ถูก จัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย มีเหตุผลเบื้องต้น 2 ประการในการใช้วิธีการศึกษา ทางประวัติศาสตร์ เหตุผลแรกคือ ในการที่เราจะเข้าใจสถาบัน ใดๆ ของมนุษย์ เราจ�ำเป็นต้องรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น บ้าง ท�ำไมสถาบันเหล่านี้ถึงถูกสร้างขึ้นมา หรือมีวิวัฒนาการมา อย่างไร แม้แต่คนอย่างมาร์กซ์ (Karl Marx) ที่เชื่อในการปฏิวัติ ก็ยังกล่าวไว้ว่า ก่อนที่เราจะเปลี่ยนแปลงโลก เราต้องเข้าใจโลก ก่อน (แม้ว่าเขาจะมองขอบเขตที่เป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลง ในแง่ที่ค่อนข้างเป็นอุดมคติเกินไป หรือกระทั่งมองผิดไปโดย สิ้นเชิงก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแง่ของระยะเวลาที่ต้องใช้ ในการเปลี่ยนแปลง) เหตุผลที่ 2 นั้นมีความเป็นประวัติศาสตร์ โดยตัวมันเอง เมื่อประชาธิปไตยเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ
A
Very Short Introduction
23
การเมืองและสังคมสมัยใหม่หลังการปฏิวัติอเมริกาและฝรั่งเศส ผูน้ �ำการเปลีย่ นแปลงเหล่านีก้ ย็ อ้ นกลับไปหาสิง่ ทีพ่ วกตนเชือ่ ว่า เป็ น มรดกตกทอดของพวกกรี ก และโรมั น มี ก ารวาดรู ป และ แกะสลักรูปปั้นของพวกเขาในชุดโทกาแบบโรมันโบราณและมี มงกุฎใบลอเรลวางบนศีรษะ แถมพวกเขายังตัง้ นามแฝงแบบกรีก และโรมันให้ตัวเอง (โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยั่วโทสะฝ่ายตรงข้าม และปกป้องตนเองไปพร้อมกัน) เมื่อพวกเขาเขียนหนังสือชี้แจง หลักการและเหตุผลในการต่อต้านการปกครองและการกดขีข่ อง ราชส�ำนัก ซึง่ นามแฝงต่างๆ ทีพ่ วกเขาใช้กด็ จู ะบอกให้ผอู้ า่ นรูว้ า่ พวกเขามีความคิดอย่างไร เช่น “บรูตุส” (Brutus) ก็ดูมีแนวโน้ม ที่จะเสนอให้มีการจัดการขั้นเด็ดขาดอย่างรวดเร็วกว่า “ซิเซโร” (Cicero) ผู้เน้นความถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เป็นเวลาหลาย ศตวรรษที่ความทรงจ�ำเกี่ยวกับนครรัฐของกรีก [หรือรัฐพลเมือง (citizen state)] ตลอดจนกรุงโรมในยุคสาธารณรัฐซึ่งถูกปลุกชีพ ขึ้นมา ได้คอยหลอกหลอนโลกตะวันตก ไม่ว่าจะในฐานะสิ่งที่น่า สะพรึงกลัวส�ำหรับคนกลุม่ หนึง่ หรือความหวังส�ำหรับคนอีกกลุม่ หนึ่ง สิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้วย่อมเกิดขึ้นอีกได้ และเราก็จ�ำเป็นต้อง จ�ำให้ขึ้นใจว่า เรื่องที่เราก�ำลังพูดเป็นค�ำที่แทบไม่มีความหมาย เลยในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของประวัติศาสตร์มนุษย์ และถึงแม้ว่า รัฐบาลส่วนใหญ่ในโลกสมัยใหม่จะรู้สึกถึงความจ�ำเป็นในการ ประกาศตนว่ามีความเป็นประชาธิปไตยกันหมดแล้ว การปกครอง จริงๆ ของรัฐบาลจ�ำนวนไม่น้อยในกลุ่มดังกล่าวก็ดูจะเลยพ้น ไปจากขอบเขตความหมายหลั ก ๆ ของประชาธิ ป ไตยใน ประวัติศาสตร์
24
Democracy
ผู้เขียนชอบความท้าทายของหนังสือเล่มนี้ เพราะการ เขียนประเด็นอันส�ำคัญอย่างเหลือล้นและสุดแสนจะซับซ้อน เช่นนีอ้ ย่างย่อๆ โดยไม่ลดทอนความซับซ้อนของมันจนบิดเบือน ความหมายไปนั้น ยากกว่าการเขียนอย่างยาวๆ มากนัก ดังนั้น ผู้เขียนจึงต้องย�้ำเตือนผู้อ่านซ�้ำแล้วซ�้ำอีกถึงความยากล�ำบากนี้ ในหนังสือเล่มนี้จะมีเรื่องราวที่ค่อนข้างแตกต่างกัน 3 เรื่อง (หรือ การเล่าเรื่องที่แตกต่างกัน 3 แนวทาง) ด�ำเนินไปคู่ขนานกัน โดยผู ้ เ ขี ย นจะพยายามคลี่ ค ลายแต่ ล ะเรื่ อ งราวและโยงให้ สั ม พั น ธ์ กั น ในตอนท้ า ยที่ สุ ด มี ป ระชาธิ ป ไตยในฐานะของ หลักการหรือหลักของการปกครอง มีประชาธิปไตยในฐานะ ของการจัดวางสถาบันต่างๆ ไปจนถึงกลไกทางรัฐธรรมนูญ และมีประชาธิปไตยในฐานะของรูปแบบพฤติกรรม (เช่น สิ่งที่ ตรงข้ามกับทั้งการบอกว่าเป็นเรื่องของคนอื่นและการไม่ยอม มีส่วนร่วมทางสังคม) สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ด�ำเนินไปด้วยกันเสมอไป ยกตั ว อย่ า งเช่ น การลงคะแนนเสี ย งเพื่ อ เลื อ กผู ้ น�ำนั้ น เป็ น เครื่องมือแบบประชาธิปไตย แต่กระนั้นพวกพระในยุคกลาง ซึ่ ง ศาสนจั ก รมี ลั ก ษณะเป็ น อ�ำนาจนิ ย มมากๆ ก็ ยั ง เลื อ ก พระอธิการกันเอง ในยามศึกสงครามพวกไวกิ้งก็จะเลือกผู้น�ำ คนใหม่ถ้าผู้น�ำคนเดิมตายในสงคราม และโฮราชิโอ (Horatio) ก็ บ อกเราว่ า ก่ อ นที่ แ ฮมเลตจะสิ้ น ลม เขาก็ อ อกเสี ย งให้ ฟอร์ทินบราส์ (Fortinbras) เป็นราชาของเดนมาร์ก (แม้ว่ามันจะ “ไม่ใช่สงิ่ ทีเ่ ราท�ำกันในอังกฤษ” แต่กเ็ ห็นได้ชดั ว่า บรรดาผูช้ มในยุค อลิซาบีธนั ต่างเคยได้ยนิ เรือ่ งพิลกึ พิลนั่ อย่างระบอบราชาธิปไตย ที่ มี ก ารเลื อ กตั้ ง มาบ้ า ง โดยไม่ จ�ำเป็ น ต้ อ งอาศั ย ค�ำอธิ บ าย
A
Very Short Introduction
25
จากสู จิ บั ต รประกอบการแสดงหรื อ ถ้ อ ยแถลงจากคณะ นักร้องประสานเสียงบนเวที) ค�ำเตือนที่ 2 ที่ผู้เขียนต้องขอฝาก ไว้คือ ประวัติศาสตร์ของสิ่งที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ในนามของ ประชาธิปไตยนั้นเพิ่งจะคลี่คลายมาจากสิ่งที่เรียกว่าแนวทาง แบบ “สาธารณรัฐ” เมื่อไม่นานมานี้เอง จารี ต ของสาธารณรั ฐ นิ ย มแบบโรมั น นั้ น ได้ รั บ การ ฟื้นฟูขึ้นในศตวรรษที่ 16 และ 17 [ซึ่งงานที่สนับสนุนและ วิ เ คราะห์ แ นวทางนี้ เ ป็ น อย่ า งดี คื อ The Discourses ของ แมคเคียเวลลี (Niccolò Machiavelli)] และก็เป็นแนวคิดอัน เป็ น ต้ น แบบแก่ ก ารปฏิ วั ติ อ เมริ กั น และฝรั่ ง เศส ในขณะที่ แนวทางนี้ไม่ได้มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยในแบบเดียวกับ ระบอบประชาธิปไตยที่พวกเราส่วนใหญ่พอจะนึกออก เพราะ มันปฏิเสธอย่างแข็งขันว่าไม่ใช่คนทุกคนที่จะมีสิทธิลงคะแนน เสียง ทั้งยังให้เหตุผลที่ดีไว้เสียด้วย ทว่าในบางแง่มันก็มีความ เป็นประชาธิปไตยมากกว่าที่พวกเราหลายๆ คนจะรับได้ด้วยซ�้ำ เพราะมันเน้น หน้าที่ ของพลเมืองทั้งหมดที่จะต้อง มีส่วนร่วม อย่างแข็งขัน กับชีวิตสาธารณะและกิจการของรัฐ [การปกครอง รูปแบบนี้ตรงกับสิ่งที่พวกนักวิชาการเรียกว่า “สาธารณรัฐนิยม พลเมือง” (civic republicanism)] ทุกวันนี้เรามีแนวโน้มที่จะคิด ว่าเรามีสิทธิที่จะท�ำเช่นนั้นเมื่อเรานึกอยากท�ำ ทว่าบ่อยครั้งมัก ไม่สนใจอยากท�ำเท่าไร แต่กระนั้นรัฐก็ยังต้องคุ้มครองเราด้วย กฎหมายที่จะปกป้องเสรีภาพส่วนบุคคลของเราอยู่ดี [เรียกตาม อย่างนักวิชาการว่า “เสรีนิยม” (liberalism)] แต่เราก็จะเห็นกัน ต่อไปว่า การโทษ “การถดถอย” ของการมีส่วนร่วม (หรือความ
26
Democracy
ภาพประกอบ 1: ภาพ La Liberté guidant le peuple ของเดอลาครัวซ์ (Delacroix)
A
Very Short Introduction
27
เชื่อที่แพร่หลายว่าเราสามารถจะทิ้งให้มันเป็นธุระของคนอื่นได้) ว่าเป็นความผิดของสังคมบริโภคนิยมในตอนปลายศตวรรษที่ 20 ลัทธิแธตเชอร์ (Thatcherism) หรือการเชิดชูระบบเศรษฐกิจ แบบตลาดประหนึ่งเทพเจ้าเพียงถ่ายเดียวก็ไม่ถูกนัก รากฐาน ของปัญหาหยัง่ ลึกกว่านัน้ แถมยังอยูต่ รงใจกลางความคลุมเครือ ของความหมายของ “ประชาธิปไตย” และ “เสรีภาพ” ไปจนถึง ปฏิบัติการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เบนจามิน คอนสแตนต์ (Benjamin Constant) ได้เขียนไว้ในความเรียงเรื่อง “The Liberty of the Ancients Compared with that of the Moderns” เมื่อปี 1819 ว่า เป้าหมายของบรรดาคนยุคโบราณคือการแบ่งปันอ�ำนาจทาง สังคมกันในหมู่พลเมืองร่วมปิตุภูมิ นี่คือสิ่งที่พวกเขาเรียก ว่าเสรีภาพ เป้าหมายของคนสมัยใหม่คือการหลงระเริงใช้ เสรีภาพเพื่อหาความสุขส�ำราญส่วนตัว และพวกเขาก็ถือว่า เสรีภาพคือหลักประกันที่สถาบันต่างๆ มอบให้ เพื่อที่พวก เขาจะได้มีความสุขส�ำราญเหล่านี้
ผูเ้ ขียนขอสรุปเนือ้ หาในบทนีด้ ว้ ยมิตอิ นั ขัดแย้งกันของ เสรีภาพต่างยุคต่างสมัยจากข้อความข้างต้นที่น�ำมากล่าวใหม่ ในยุคนี้ โดยหวังอยู่บ้างว่าเรื่องราวจะพอจบลงอย่างมีความสุข ในแบบที่เราสามารถดื่มด�่ำไปกับเสรีภาพในทั้ง 2 มิติ แต่ตอน จบแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราศึกษาหาหนทางที่ทั้ง 2 มิติ จะด�ำรงอยู่ร่วมกันได้โดยที่ยังแยกจากกัน ไม่ใช่รวมกันเป็น หนึ่งเดียวภายใต้ถ้อยค�ำอันกะล่อนปลิ้นปล้อนทั้งหลายแหล่ที่ สร้างความสับสนได้อย่างน่าใจหาย
บทที่ 1
/ ถ้อยคำ�และการกระทำ�
A
Very Short Introduction
29
“ในปฐมกาลพระวาทะด�ำรงอยู่” เหตุใดต้องบัดนี้ด้วย ข้าติดกับเสียแล้ว ข้าต้องเปลี่ยนสิ่งนั้น แต่จะอย่างไรเล่า? ..... พระจิตตรัส! ข้าแลเห็นแล้วว่าสิ่งนั้นต้องอ่านเช่นไร แล้วจึงจารไปโดยหาญฮึก “ในปฐมกาลการกระท�ำด�ำรงอยู่” (จาก Faust ของเกอเธ แปลโดย เดวิด ลุค)
ค�ำว่ า ประชาธิ ป ไตยไม่ ไ ด้ ส ร้ า งปั ญ หาใดๆ ให้ นั ก แปล มันเดินทางจากภาษากรีกเข้าสู่ภาษาหลักๆ ของโลกทุกภาษา โดยทีย่ งั คงใจความส�ำคัญไว้คอ่ นข้างครบถ้วน แต่แน่นอน ปีศาจ เมฟิสโตเฟลิส (Mephistopheles) ได้ล่อลวงเฟาสต์สู่ปัญหา หนัก ด้วยการกระตุ้นเร้าให้แปลบรรทัดแรกจากพระวรสาร นักบุญยอห์นผิด โธ่ ช่างน่าเศร้าเสียนีก่ ระไรกับการแสวงหาความ แปลกใหม่ แทนทีจ่ ะยึดติดอยูก่ บั ความจริงทีด่ อี ยูแ่ ล้วแต่เก่ากว่า! ทว่าค�ำศักดิส์ ทิ ธิท์ มี่ ไิ ด้เปลีย่ นแปลงอย่าง “ประชาธิปไตย” นัน้ อาจ
30
Democracy
สร้างปัญหาได้มากพอควร เพราะมันอาจมีได้หลายความหมาย ส�ำหรับมนุษย์ร้อยพ่อพันแม่ เมื่อมันถูกแปลเข้าสู่วัฒนธรรมที่ แตกต่าง ตลอดจนเมื่อเส้นด้ายของมันถูกปั่นไปเพื่อเป้าประสงค์ อันหลากหลาย ผู้เขียนขออธิบายไว้ ณ ที่นี้เผื่อมีผู้อ่านคนใดยังหวัง ว่าจะมีความหมายแน่นอนจริงแท้หนึ่งเดียวหรือนิยามเด็ดขาด เพียงหนึ่งเดียว เพราะไม่มีภาษาหรือองค์กรทางสังคมใดเป็น เช่นนั้น ในปี 1962 เอส. อี. ไฟเนอร์ (S.E. Finer)1 ผู้ล่วงลับ ได้เขียนหนังสือชื่อ The Man on Horseback เขาได้รวบรวม รายชื่อระบอบการปกครองของผู้น�ำเผด็จการทหาร 6 คนซึ่ง “ได้แต่งแต้มระบอบการปกครองของตน” ไว้ดังนี้ นาสเซอร์2: ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี (Presiden- tial Democracy) 3 อายุบ ข่าน : ประชาธิปไตยพื้นฐาน (Basic Democracy) ซูการ์โน4: ประชาธิปไตยแบบชีน้ �ำ (Guided Democracy) ฟรังโก5: ประชาธิปไตยอินทรีย์ (Organic Democracy) สเตริสเนอร์6: ประชาธิ ป ไตยแบบเลื อ กสรร (Selective Democracy) 7 ทรูฆีโญ : นวประชาธิปไตย (Neo-Democracy) เป็นเรื่องง่ายที่จะล้อเลียนบรรดานักฉวยโอกาสเหล่านี้ แต่ผู้เขียนขอบอกว่า ถ้าพูดโดยกว้างแล้ว แม้ 3 ใน 6 คนข้างต้น แทบจะเป็นจอมเผด็จการกดขีส่ มบูรณ์แบบ ผูป้ กครองด้วยก�ำลัง
A
Very Short Introduction
31
และความหวาดกลัวเกือบเบ็ดเสร็จ แต่ทเี่ หลืออีก 3 คนอย่างน้อย ก็ได้รับความนิยมล้นหลามในหมู่พลเมืองส่วนใหญ่ นอกจากนั้ นงานของแซมมี ไฟเนอร์ ก็ เ ขี ย นถึ ง แค่ เผด็จการทหารเท่านั้น สหภาพโซเวียต จีน รวมถึงบรรดา ประเทศทีเ่ ป็นพันธมิตรหรือรัฐหุน่ เชิดต่างก็ประกาศตนด้วยความ ภาคภูมิใจอย่างจริงจังว่าเป็น “ประชาธิปไตยของปวงชน” พวก เขาเชื่อว่าชนชั้นกรรมาชีพควรได้รับการปลดปล่อย และควร ปกครองชนชัน้ อืน่ ในช่วงเวลาแห่งการเปลีย่ นผ่านของการปฏิวตั ิ
แซมมวล เอ็ดเวิร์ด ไฟเนอร์ (Samuel Edward Finer, 1915-1993) เป็น นักรัฐศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ผู้ผลักดันให้เกิดการเรียนการสอนด้าน การเมืองในอังกฤษ (เชิงอรรถทั้งหมดจัดท�ำโดยผู้แปลและบรรณาธิการ) 2 กามาล อับเดล นาสเซอร์ ฮุสเซน (Gamal Abdel Nasser Hussein, 1918 -1970) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ของอียปิ ต์ ด�ำรงต�ำแหน่งตัง้ แต่ปี 1956 จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม 3 มุฮัมมัด อายุบ ข่าน (Muhammad Ayub Khan, 1907-1974) เป็น ประธานาธิบดีคนที่ 2 ของปากีสถาน ด�ำรงต�ำแหน่งในช่วงปี 1958-1969 และ เป็นผู้น�ำเผด็จการทหารคนแรกของปากีสถานด้วย 4 ซูการ์โน (Sukarno, 1901-1970) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย 5 ฟรังซิสโก ฟรังโก อี วาอามอนเด (Francisco Franco y Bahamonde, 1892 -1975) เป็นผู้ปกครองเผด็จการของสเปน 6 อัลเฟรโด สเตริสเนอร์ มาทิอาวดา (Alfredo Stroessner Matiauda, 1912-2006) เป็นผู้น�ำเผด็จการทหารของปารากวัยในช่วงปี 1954-1989 7 ราฟาเอล เลโอนิดัส ทรูฆีโญ โมลินา (Rafael Leónidas Trujillo Molina, 1891-1961) เป็นประธานาธิบดีผู้ปกครองสาธารณรัฐโดมินิกันแบบเผด็จการ ตั้งแต่ปี 1930 จนถูกลอบสังหารในปี 1961 1
32
Democracy
จนกว่าสังคมจะบรรลุถึงสภาพที่ไร้ชนชั้นใดๆ ซึ่งถือเป็นการ ปกครองโดยประชาชน หรือก็คือประชาธิปไตยนั่นเอง ไม่ว่าการ ปกครองจริงๆ โดยเหล่าชนชั้นน�ำในพรรคคอมมิวนิสต์จะไม่มี ความอดกลั้นต่อผู้ขัดแย้งกับพวกตนเพียงใด ไม่ว่าพวกเขาจะ ผูกขาดและใช้อ�ำนาจไปในทางมิชอบเท่าใดก็ตาม พวกเขาก็ได้ ผงาดขึ้นผ่านอ�ำนาจและความไม่พึงพอใจของมหาชน และใน ที่สุดก็ต้องพึ่งพิงการสนับสนุนจากมวลชน ดังที่มีการพิสูจน์ให้ เห็นโดยชื่นบานแล้วจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต คง ชื่นบานแน่ละ หากคุณใส่ใจกับเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนเท่าๆ กับประชาธิปไตยในฐานะการยินยอมของเสียงข้างมาก หรือถ้า คุณเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมว่าเสรีภาพและประชาธิปไตยคือฝาแฝดที่ แยกจากกันไม่ได้ ก็ควรเป็นเช่นนั้นอยู่หรอก แต่มันกลับไม่เป็น เช่นนั้นน่ะสิ แน่นอน เราต่างล้อเลียนความวิปริตของ “ประชาธิปไตย” ทีเ่ กิดจากการปกครองของทหารและกลุม่ อืน่ ๆ ข้างต้น เพราะพวก เราส่วนใหญ่มั่นใจว่าเรามีชีวิตอยู่กับประชาธิปไตย และใช้ค�ำนี้ เพื่อสื่อความถึงเกือบทุกสิ่งที่เราต้องการ หรือกล่าวอีกอย่างคือ “ทุกสิ่งที่สดใสและสวยงาม” เช่น ประชาธิปไตยในฐานะอุดมคติ ของพลเมือง ในฐานะสถาบันตัวแทนต่างๆ และในฐานะวิถีชีวิต หากมีการขอให้นยิ ามค�ำนี้ หลายคนคงตอบว่าเป็น “การปกครอง โดยคนส่วนใหญ่” แต่เมื่อถูกซักต่อในการสนทนาแบบโสกราตีส หรือในงานสัมมนาสักงานว่า โดยเนื้อแท้ “การปกครองโดย คนส่วนใหญ่” เป็นอย่างไร นิยามนั้นก็อาจเปลี่ยนไปเล็กน้อย ว่าเป็น “การยินยอมของคนส่วนใหญ่” ซึ่งสอดคล้องกับความ
A
Very Short Introduction
33
เป็ น จริ ง มากกว่ า ทว่ า มี น ้ อ ยคนนั ก ที่ ต ้ อ งการจะทาบเที ย บ ประชาธิปไตยกับความยุติธรรมหรือสิทธิ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อ พูดถึงโทษประหารชีวิต นักการเมืองอังกฤษต่างเพิกเฉยต่อ ความเห็นสาธารณะซึ่งเห็นด้วยกับโทษประหารชีวิตด้วยเหตุผล อันหลากหลาย ถ้าเราเป็นประชาธิปไตย เราก็เป็นประชาธิปไตย แบบรัฐสภา (parliamentary democracy) ถ้ามองจากมุมมอง แบบผู้นิยมเสียงข้างมาก นักการเมืองอเมริกันย่อม “มีความ เป็นประชาธิปไตย” มากกว่า ฉะนัน้ สังคมหรือระบบการปกครอง หนึ่งๆ จ�ำเป็นต้องมีคุณสมบัติบางอย่างก่อนถึงจะเรียกว่าเป็น ประชาธิปไตย “อย่างแท้จริง” ได้ บางคนกล่ า วว่ า จริ ง ๆ แล้ ว ประชาธิ ป ไตยหมายถึ ง เสรีภาพ ถึงขั้นเป็นเสรีนิยมหรือปัจเจกชนนิยม (individualism) นั่นคือกฎหมายจะต้องปกป้องปัจเจก (ที่เป็นประชาธิปไตย) จากรัฐ (ที่เป็นประชาธิปไตย) อเล็กซี เดอ ต็อกวิลล์ (Alexis de Tocqueville) เข้าใจสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 พลาด ไปบางส่วน ด้วยความที่เขาเห็นว่าประชาธิปไตยนั้นเกือบมี ความหมายเดียวกับความเสมอภาค ขณะที่หนังสือขายดีของ แอนดรูว์ คาร์เนกี (Andrew Carnegie) 8 ชื่อ Triumphant Democracy ได้ใช้ประชาธิปไตยเพื่อเฉลิมฉลองสังคมตลาดที่ กิจการธุรกิจด�ำเนินไปได้อย่างเสรี ถึงแม้จะมีความแตกต่างด้าน
แอนดรูว์ คาร์เนกี (1835-1919) เป็นมหาเศรษฐีชาวอเมริกันเชื้อสายสกอต ผู้ร�่ำรวยจากอุตสาหกรรมเหล็ก 8
34
Democracy
ฐานะทางเศรษฐกิจมากในหมู่ประชาชน แต่ก็ถือว่าชอบธรรม เพราะเป็นผลมาจากความสามารถพิเศษของบุคคลที่ขับเคลื่อน ด้วยกฎเหล็กของวิวัฒนาการอีกที เออร์เนสต์ เบวิน (Ernest Bevin)9 กล่าวถึงการประชุมสหภาพแรงงาน (trade union) ใน ทศวรรษที่ 1930 ว่ามันไม่เป็นประชาธิปไตยเลย ถ้าหากเสียง ข้างน้อยจะยังตั้งค�ำถามกับการตัดสินใจของเสียงข้างมากต่อไป หลั ง จากที่ ล งคะแนนเสี ย งไปเรี ย บร้ อ ยแล้ ว เขาได้ รั บ เสี ย ง ตอบรับที่ทั้งจริงใจและสับสนพอๆ กันจากพี่น้องจอมโผงผาง คนหนึ่ ง ของเขาว่ า ประชาธิ ป ไตยหมายความว่ า ใครจะพู ด ในสิ่งที่ชอบอย่างไร พูดแบบใด และพูดเมื่อใดก็ได้ แม้สิ่งนั้น จะตรงข้ า มกั บ เสี ย งข้ า งมากของสหภาพแรงงานการขนส่ ง และผู้ใช้แรงงานทั่วไป (Transport and General Workers Union) ซึ่งนี่เป็นค�ำพูดที่บอกอะไรเราเกี่ยวกับช่วงเวลานั้น อย่ า งมาก หรื อ ไม่ ก็ อ าจมองได้ ว ่ า ประชาธิ ป ไตยเป็ น ระบบ การเมืองที่มีข้อก�ำหนดหรือข้อห้ามบางอย่างในรัฐธรรมนูญ เหนื อ รั ฐ บาลที่ ม าจากการเลื อ กตั้ ง โดยอิ ส ระ (ดั ง นั้ น จึ ง เป็ น ประชาธิ ป ไตย) (เป็ น ความหมายของประชาธิ ป ไตยที่ ใ ช้ กั น แพร่หลายที่สุด แต่ในประวัติศาสตร์ไม่ค่อยเป็นไปเช่นนั้น และ บ่อยครัง้ ก็เป็นเพียงค�ำพูดสวยหรู) สิง่ ทีข่ ดั แย้งกับ “ประชาธิปไตย
เออร์เนสต์ เบวิน (1881-1951) เป็นผู้น�ำสหภาพแรงงานและนักการเมือง พรรคแรงงานของอังกฤษ เคยเป็นเลขาธิการสหภาพแรงงานการขนส่งและ ผู้ใช้แรงงานทั่วไปที่มีอ�ำนาจต่อรองสูง ต่อมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน 9
A
Very Short Introduction
35
โดยรัฐธรรมนูญ” (constitutional democracy) คือแนวคิดเรื่อง “อ�ำนาจอธิปไตยของปวงชน” หรือ “เจตจ�ำนงร่วม” (general will) ซึ่งควรเหนือกว่าข้อจ�ำกัดในรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการที่ถูก ตีความโดยนักกฎหมาย ส�ำหรับบางคน ประชาธิปไตยบางแบบ มีความหมายเกินกว่า “หนึง่ บุรษุ หนึง่ เสียง” (แน่นอนว่าในตอนนี้ รวมผู้หญิงด้วย) เพียงเล็กน้อย ซึ่งบางคนหวังว่าจะสามารถ เพิ่ม “ทางเลือกที่แท้จริง” เข้าไปด้วย ในความหมายโดยกว้าง ของประชาธิปไตยทีน่ บั รวมเอาการใช้ค�ำเหล่านีเ้ ข้าด้วยกันเกือบ ทั้งหมด ประชาธิปไตยอาจถูกมองว่าเป็นสูตรการผสมสถาบัน ต่างๆ เข้าด้วยกันให้เป็นทีย่ อมรับได้ หรือมิฉะนัน้ ก็เป็น “วิถชี วี ติ ” หนึง่ ซึง่ อย่างน้อยทีส่ ดุ “จิตวิญญาณประชาธิปไตย” ก็มคี วามส�ำคัญ พอๆ กับสถาบันต่างๆ บางคนคิดว่าแท้จริงแล้วความดีเด่นของ วิถีชีวิตดังกล่าวอยู่ที่การน�ำไปปฏิบัติ ไม่ใช่อยู่ที่นิยาม กล่าวคือ ผู้คนจะกระท�ำตัวและแสดงพฤติกรรมอันเป็นประชาธิปไตยใน รูปแบบของมิตรภาพ ค�ำพูด การแต่งตัว ความสนุกสนาน พร้อมทัง้ ปฏิบัติต่อผู้อื่น ราวกับว่า พวกเขาเสมอภาคกัน เราเคยได้ยนิ พวกเสรีนยิ มผูม้ เี จตนาดีกล่าวว่า “เอาเถิด อย่างน้อยพวกคอมมิวนิสต์ก็อ้างว่าตัวเองเป็นประชาธิปไตย” แต่ปัญหาคือ พวกคอมมิวนิสต์ก็ เคยเป็น ประชาธิปไตยใน ความหมายดั้ ง เดิ ม ในประวั ติ ศ าสตร์ ที่ แ ปลว่ า คนส่ ว นใหญ่ ยินยอมที่จะถูกปกครองในวิถีอันเป็นที่นิยมกว้างขวางและด้วย รูปแบบการปกครองที่จ�ำเป็นต้องขับเคลื่อนมวลชนให้มีความ กระตือรือร้น ซึ่งต่างไปจากเผด็จการแบบอัตตาธิปไตยในอดีต ระบอบการปกครองเหล่านี้ไม่ได้ปกครองโดยชนชั้นน�ำผู้ทรง
36
Democracy
อ�ำนาจในสังคมชาวนาแบบดั้งเดิมอันแทบจะเป็นสากลอีกต่อไป แล้ว “อย่าแหย่เสือหลับ” ส่วนอีกด้านหนึง่ ของเหรียญก็มคี �ำกล่าว ของพวกชาวนา ซึง่ ต่อมาเทนนีสนั 10 น�ำไปใส่ในบทกวีชนิ้ หนึง่ ของ ตนว่า “มนุษย์เกิดมา แล้วมนุษย์ก็จากไป ทว่าข้าไหลเอื่อยเรื่อย ไปไม่สิ้นสุด”11 อัตตาธิปไตยสมัยใหม่ทั้งหลาย รวมถึงผู้ยิ่งใหญ่ ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงต่างก็เรียกร้องและขอความ ยินยอมจากประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการยินยอมตามธรรมชาติ หรือเกิดจากการชักจูงก็ตาม ดังนัน้ เราจึงต้องไม่กระโจนสูข่ อ้ สรุปว่ามี “ประชาธิปไตย ทีแ่ ท้จริง” อันรวมเอารูปแบบการปกครองทีด่ ที งั้ ปวงเข้าไว้ดว้ ยกัน โดยธรรมชาติ ไม่วา่ จะเป็นการปกครองโดยตัวแทน ความยุตธิ รรม ทางการเมือง ความเสมอภาค เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน เพราะหลายครั้ ง ส่ ว นผสมอั น เปลี่ ย นแปรได้ ง ่ า ยเหล่ า นี้ ก็ ไ ม่ มัน่ คง เว้นแต่จะผสานรวมกันโดยมีการชัง่ ตวงวัดและเฝ้าดูอย่าง ระแวดระวัง จริงๆ แล้ว “การปกครองที่ดี” หรือ “ความยุติธรรม ทางสังคม” นั้นมีลักษณะเป็นประชาธิปไตยอย่างชัดเจนหรือไม่ ต่อให้เป็นความหมายในแนวทางเสรีนิยมที่น่าพึงใจที่สุด? อาจ จะไม่ ต็อกวิลล์เขียนไว้ในทศวรรษที่ 1830 ว่า ประชาธิปไตย นั้นถึงอย่างไรก็ต้องเกิดขึ้น แต่เขาก็ได้เตือนถึง “อันตรายของ ทรราชย์เสียงข้างมาก” ไว้ดว้ ย ใช่ บางทีเขาอาจใส่ใจประชาธิปไตย
10 11
อัลเฟรด เทนนีสัน (Alfred Tennyson, 1809-1892) เป็นกวีชาวอังกฤษ มาจากบทกวีชื่อ “Brook” ของเทนนีสัน มีการเปรียบเปรยล�ำธารกับมนุษย์
A
Very Short Introduction
37
น้ อ ยกว่ า เสรี ภ าพ แต่ ก ระทั่ ง โธมั ส เจฟเฟอร์ สั น (Thomas Jefferson) ในวัยชราก็ได้ตงั้ ข้อสังเกตไว้วา่ “ระบอบผูกขาดอ�ำนาจ ทีม่ กี ารเลือกตัง้ นัน้ หาใช่สงิ่ ทีเ่ ราต่อสูเ้ พือ่ ให้ได้มาไม่” และครัง้ หนึง่ โอลิ เ วอร์ เวนเดลล์ โฮล์ ม ส์ (Oliver Wendell Holmes) 12 ผู้ต่อสู้เพื่อพิทักษ์เสรีภาพของพลเมืองมายาวนานในศาลสูงของ สหรัฐอเมริกาก็เคยกล่าวเหน็บแนมไว้ว่า “ประชาธิปไตยคือ สิ่งที่ฝูงชนต้องการ” จอห์น สจวร์ต มิลล์ (John Stuart Mill)13 ผู้ประพันธ์ Essay on Liberty และ Considerations on Representative Government อันเป็นหนังสือ 2 เล่มในบรรดาหนังสือ ทีย่ งิ่ ใหญ่ทงั้ หมดของโลกสมัยใหม่ ก็เชือ่ ว่าผูใ้ หญ่ ทุกคน (ใช่ รวม ถึงผูห้ ญิงด้วย) ควรได้ลงคะแนนเสียง เพียงแต่ตอ้ งหลังจากมีการ ศึกษาภาคบังคับถึงระดับมัธยมและรอเวลาให้ผลของการศึกษา นั้นเป็นที่ประจักษ์ชัดก่อน ทุกวันนี้ การเมืองของสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจั ก รกลายเป็ น ประชานิ ย มมากขึ้ น เรื่ อ ยๆ นัน่ คือ สนใจในความเห็นของสาธารณชนมากกว่าสนใจมโนทัศน์ อันมีเหตุผลของการมีนโนบายทีส่ อดคล้องเป็นเนือ้ เดียวกัน ผูน้ �ำ ทางการเมืองอาจตะโกนว่า “การศึกษา การศึกษา การศึกษา” แต่ เนือ่ งจากพวกเขาเองก็ชกั ใยสือ่ ตัดต่อข้อความให้ฟงั ดูดี และสร้าง ค�ำขวัญเพื่อกระตุ้นอารมณ์มากกว่าจะเสนอนโยบายผ่านการ
โอลิเวอร์ เวนเดลล์ โฮล์มส์ (1841-1935) เป็นผู้พิพากษาชาวอเมริกัน จอห์น สจวร์ต มิลล์ (1806-1873) เป็นนักปรัชญาและนักเศรษฐศาสตร์ การเมืองชาวอังกฤษ 12
13
38
Democracy
โต้เถียงสาธารณะอย่างมีเหตุผล มิลล์ก็อาจประสบความยาก ล�ำบากในการมองพวกเขาในฐานะผลิตผลของประชาธิปไตยที่ ให้ความส�ำคัญกับการศึกษา อีกทั้งในตอนนี้ สื่อของเรายังสร้าง ความมึนงงและสับสนหลอกลวงด้วยการน�ำเรื่องที่สาธารณชน ให้ความสนใจไปปนกับแนวคิดที่เก่าแก่กว่าอย่าง “ประโยชน์ สาธารณะ” ด้วย “ประชาธิปไตย” อาจเป็นค�ำที่ทั้งส�ำส่อนและบ่อยครั้งก็ มีไว้เพือ่ ประดับค�ำพูดให้ดสู วยหรูเท่านัน้ และแน่นอนว่ามันไม่ใช่ คุณค่าเพียงหนึง่ เดียวทีโ่ อบอุม้ หรือหมายความรวมถึงคุณค่าอืน่ ๆ ทั้งหมดในทุกสถานการณ์ แต่ผู้เขียนก็ไม่ได้ก�ำลังกล่าวว่า เรา อาศัยอยู่ในโลกแบบเดียวกับงานเลี้ยงน�้ำชาบ้าๆ บอๆ ในเรื่อง อลิซในแดนมหัศจรรย์ ซึง่ ถ้อยค�ำต่างๆ ล้วน “หมายความตรงตาม ที่ฉันพูด” มันมีข้อจ�ำกัดอยู่ ทว่าข้อจ�ำกัดเหล่านี้มีปรากฏใน ทางประวัติศาสตร์ผ่านทางการใช้หรือชุดความหมาย 4 แบบที่ เกี่ยวพันกับ “ประชาธิปไตย” เราต้องส�ำรวจความหมายเหล่านี้ สัน้ ๆ เพราะมันเป็นรากเหง้าแห่งอารยธรรมของเรา และด้วยความ หวังว่าประชาธิปไตยจะยังคงเป็นสิง่ ทีม่ อี ารยธรรม รวมถึงกระทัง่ อาจมีความก้าวหน้าอยู่ (ดังที่ศตวรรษที่ 19 ได้วาดหวังไว้) ขณะ พิจารณาความหมายเหล่านี้ของประชาธิปไตย เราต้องตระหนัก ว่ า เราก�ำลั ง พู ด กั น ถึ ง อุ ด มคติ ห รื อ หลั ก การ หรื อ ก�ำลั ง พู ด ถึ ง รูปแบบในการปฏิบัติต่อคนอื่นๆ หรือลักษณะการจัดการทาง สถาบันและกฎหมายบางอย่าง ประชาธิปไตยอาจหมายถึงอะไร ทั้งหมดนี้รวมกันหรือหมายถึงแต่ละอย่างแยกกันก็ได้
A
Very Short Introduction
39
การใช้ แ บบแรกนั้ น พบได้ ใ นพวกกรี ก ในการโจมตี ของเพลโตต่อประชาธิปไตย และในการปกป้องประชาธิปไตย อย่างหลักแหลมของอริสโตเติล ส�ำหรับชาวกรีก ประชาธิปไตย (democracy) มีความหมายตรงตัวในฐานะลูกผสมของค�ำว่า demos (ฝูงชนหรือคนส่วนมาก) กับ kratos ทีแ่ ปลว่าการปกครอง เพลโตโจมตีสิ่งนี้ว่าเป็นการปกครองซึ่งคนจนและคนโง่มีอ�ำนาจ เหนื อ ผู ้ ที่ ไ ด้ รั บ การศึ ก ษาและมี ค วามรู ้ ความต่ า งที่ เ พลโต แยกให้เห็นชัดเจนคือความต่างระหว่างความรู้และความเห็น ประชาธิปไตยคือการปกครองโดยใช้ความเห็น ซึ่งน่าจะเรียกว่า เป็นอนาธิปไตย (anarchy) เสียมากกว่า อริสโตเติลปรับเปลี่ยน มุมมองนีแ้ ทนทีจ่ ะปฏิเสธไปโดยสิน้ เชิง เขาเสนอว่าการปกครอง ที่ดีคือส่วนผสมขององค์ประกอบต่างๆ ซึ่งก็คือการปกครองที่ คนส่วนน้อยปกครองด้วยความเห็นชอบของคนส่วนมาก โดย คนส่วนน้อยกลุ่มดังกล่าวควรมี arete หรือความเป็นเลิศ ซึ่ง เป็นมโนทัศน์ในอุดมคติของการปกครองแบบอภิชนาธิปไตย (aristocracy) ส่วนคนหมูม่ ากจะมีคณ ุ สมบัตเิ ป็นพลเมืองก็ตอ่ เมือ่ ได้รับการศึกษาและมีทรัพย์สมบัติในระดับหนึ่ง (เขาคิดว่าทั้ง 2 อย่างนี้คือเงื่อนไขที่จ�ำเป็นในการเป็นพลเมือง) อย่างไรก็ดี ประชาธิปไตยในฐานะหลักความเชื่อหรืออุดมคติซึ่งไม่ผ่านการ ตรวจสอบจากประสบการณ์และความรู้อันเป็นหลักการของ ชนชัน้ สูงถือเป็นความคิดทีไ่ ม่ถกู ต้อง นัน่ คือ ความเชือ่ อย่างผิดๆ ว่า “เนื่องจากมนุษย์เสมอภาคกันในบางเรื่อง พวกเขาจึงเสมอ ภาคกันในทุกเรื่องด้วย”
40
Democracy
การใช้แบบที่ 2 พบได้ในโรมยุคสาธารณรัฐ14 ในงาน เขียน The Discourses อันยิ่งใหญ่ของแมคเคียเวลลี ในกลุ่มนัก สาธารณรัฐนิยมชาวอังกฤษและดัตช์ในศตวรรษที่ 17 และใน ยุคสาธารณรัฐช่วงต้นของอเมริกา การใช้ในรูปแบบนี้คือการ กล่าวว่า การปกครองที่ดีคือการปกครองแบบผสมดังเช่นใน ทฤษฎีของอริสโตเติล แต่เสริมว่าองค์ประกอบเกี่ยวกับความ เป็นประชาธิปไตยของประชาชนนัน้ สามารถเสริมอ�ำนาจให้รฐั ได้ จริงๆ การมีกฎหมายที่ดีไว้ปกป้องทุกคนนั้นยังไม่ดีพอ เว้นแต่ ประชาชนจะกลายเป็ น พลเมื อ งผู ้ ก ระตื อ รื อ ร้ น ในการสร้ า ง กฎหมายของตั ว เองขึ้ น มาใช้ ร ่ ว มกั น มี ข ้ อ สนั บ สนุ น ส�ำหรั บ การใช้แบบที่ 2 นี้อยู่ 2 อย่าง คือ ข้อสนับสนุนทางศีลธรรม (moral argument) และข้อสนับสนุนทางสามัญส�ำนึก (prudential argument) ข้อสนับสนุนทางศีลธรรมส�ำหรับประเด็นนีเ้ ป็นทีร่ จู้ กั กันมากกว่า นั่นคือ ทั้งชาวโรมันที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์และ ชาวโปรเตสแตนต์ในเวลาต่อมาต่างมีมุมมองร่วมกันว่า มนุษย์ เป็นปัจเจกทีแ่ ข็งขัน เป็นผูส้ ร้างและก่อรูปสิง่ ต่างๆ ไม่ได้เป็นเพียง ผู้ยอมรับที่ได้แต่ปฏิบัติตามกฎหมายและประพฤติตัวเหมาะสม อยู ่ ภ ายใต้ ร ะเบี ย บตามจารี ต เท่ า นั้ น ทว่ า ข้ อ สนั บ สนุ น ทาง สามัญส�ำนึกก็ด�ำรงอยูเ่ สมอมา นัน่ คือ รัฐทีไ่ ด้รบั ความไว้วางใจจาก ประชาชนเป็นรัฐที่แข็งแกร่งกว่า และกองทัพประชาชนหรือกอง ทหารอาสาสมัครนั้นมีแรงจูงใจในการปกป้องบ้านเกิดเมืองนอน
14
คือช่วง 509-27 ปีก่อน ค.ศ.
A
Very Short Introduction
41
มากกว่าทหารรับจ้างหรือเหล่าทหารอาชีพที่ไม่น่าไว้ใจ การใช้แบบที่ 3 พบได้ในบรรดาวาทศิลป์กับเหตุการณ์ ต่างๆ ของการปฏิวัติฝรั่งเศสและในงานเขียนของ ฌอง-ฌาคส์ รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau)15 ไม่ว่าจะมีการศึกษาหรือ ทรัพย์สินมากน้อยแค่ไหน ทุกๆ คนก็มีสิทธิที่จะท�ำให้เจตจ�ำนง ของตนเป็นทีร่ บั รูแ้ ละเป็นประเด็นส�ำหรับสาธารณชนทัง้ สิน้ และ จริงๆ แล้วเจตจ�ำนงร่วมหรือประโยชน์รว่ มนัน้ ก็เป็นเรือ่ งทีบ่ คุ คล ธรรมดาสามัญทั่วไปตามธรรมชาติผู้มีเจตนาดีและไม่เห็นแก่ตัว สามารถเข้าใจได้ด้วยการอาศัยประสบการณ์และส�ำนึกมากกว่า คนทีม่ กี ารศึกษาสูงเกินไปทีใ่ ช้ชวี ติ อยูท่ า่ มกลางความจอมปลอม ของสังคมชั้นสูง ในปัจจุบัน มุมมองนี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้องมาก ทีเดียวกับการปลดปล่อยชนชัน้ หรือชาติหนึง่ ๆ ไม่วา่ จะปลดปล่อย จากการกดขีห่ รือความไม่รแู้ ละความงมงาย แต่มนั ไม่จ�ำเป็นต้อง เชื่อมโยงหรือเทียบเท่ากับเสรีภาพของปัจเจกแต่อย่างใด [ขอให้ จ�ำไว้ว่า ในยุโรปศตวรรษที่ 18 และ 19 คนส่วนใหญ่ที่ใส่ใจกับ เสรีภาพไม่ได้เรียกตัวเองว่าเป็นนักประชาธิปไตย (democrat) เลย แต่เรียกตัวเองว่านักรัฐธรรมนูญนิยม (constitutionalist) หรือ นักสาธารณรัฐนิยมพลเมือง (civic republican) หรือถ้าเรียกแบบ แองโกลอเมริกันก็เรียกว่า พวกวิก (Whigs)]
ฌอง-ฌาคส์ รุสโซ (1712 –1778) เป็นนักปรัชญาและนักเขียนชาวฝรั่งเศส งานของเขามีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสและความคิดทางการเมืองยุคใหม่
15
42
Democracy
การใช้ค�ำว่าประชาธิปไตยแบบที่ 4 พบในรัฐธรรมนูญ อเมริกัน ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ๆ ของยุโรปในศตวรรษที่ 19 ในรัฐธรรมนูญของเยอรมนีตะวันตกใหม่กับญี่ปุ่นในช่วงหลัง สงครามโลกครั้งที่สอง และในงานเขียนของ จอห์น สจวร์ต มิลล์ และ อเล็กซี เดอ ต็อกวิลล์ การใช้แบบนี้เสนอว่าทุกคนสามารถ มีส่วนร่วมทางการเมืองได้หากเขาสนใจ (และก็ควรจะสนใจ ด้วย) แต่พวกเขาจะต้องรับรู้และเคารพในสิทธิอันเท่าเทียมของ เพื่อนพลเมืองภายใต้ระเบียบปฏิบัติทางกฎหมายซึ่งทั้งนิยาม ปกป้อง และจ�ำกัดสิทธิเหล่านั้น นี่คือสิ่งที่ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ ในสหรัฐอเมริกา ยุโรป เครือจักรภพ ญี่ปุ่น ฯลฯ ยึดถือกันโดย ทั่วไปว่าเป็นความหมายของประชาธิปไตย ขอให้เราเรียกมันว่า “ประชาธิปไตยสมัยใหม่” โดยอุดมคติแล้ว มันคือการหลอมรวม (แต่บ่อยครั้งมักกลายเป็นความสับสน) ของแนวคิดเรื่องอ�ำนาจ ของประชาชนกับแนวคิดเรื่องการรับรองสิทธิของปัจเจกตาม กฎหมาย จริงๆ แล้ว 2 เรื่องนี้ควรรวมเข้าด้วยกัน ทว่าพวกมัน เป็นแนวคิด 2 อย่างที่แยกขาดจากกัน และในทางปฏิบัติก็อาจ พิสจู น์ให้เห็นได้วา่ เป็นแนวคิดทีข่ ดั แย้งกัน มันเคยมีและสามารถ มีประชาธิปไตยหลายแบบที่ปราศจากความอดกลั้น ตลอดจน อัตตาธิปไตยหลายแบบที่อดกลั้นอย่างมีเหตุผล ในยุคสมัยใหม่ แห่งอุตสาหกรรม เครือข่ายธุรกิจขนาดมโหฬาร และการสื่อสาร มวลชน เราอาจพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะรวมเอาอิสรภาพและ อ�ำนาจของประชาชนเข้าไว้ด้วยกันได้ การสรรค์สร้างประชาธิปไตยและการปกครอง ทาง การเมือง ไปจนถึงจารีตในการปกครองผ่านการโต้เถียงทาง
A
Very Short Introduction
43
การเมืองในหมู่พลเมืองนั้น มีรากอยู่ในวิถีปฏิบัติและความคิด เบื้องหลังค�ำว่า โพลิส (polis) ของกรีกและสาธารณรัฐโรมัน ยุคโบราณ การมองประวัติศาสตร์และใช้ค�ำว่า “ประชาธิปไตย” ในแต่ละแบบที่ว่ามาไม่ได้เป็นการมองยุโรปเป็นศูนย์กลางแบบ ตื้นเขิน หรือการมองกรีกและโรมันเป็นศูนย์กลาง ทว่าเป็น ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ จักรวรรดิและรัฐอันยิ่งใหญ่หลาย แห่งในยุคแรกๆ ผุดขึน้ นอกพืน้ ทีข่ นาดใหญ่ของยุโรปและนอกวิธี คิดแบบยุโรป อีกทัง้ บรรดาศาสนาเอกเทวนิยมอันเป็นสากลก็ถอื ก�ำเนิดขึ้นในตะวันออกกลางและเอเชีย แต่แนวคิดและแนวทาง ปฏิวัติของวิทยาศาสตร์และประชาธิปไตยสมัยใหม่นั้นเกิดขึ้น เป็นครั้งแรกในยุโรป แน่นอนว่าทั้งวิทยาศาสตร์ ศาสนา และ ประชาธิปไตยล้วนเปลี่ยนรูปแบบไปมาเมื่อเดินทางผ่านสถานที่ แล้วสถานทีเ่ ล่า และพวกมันก็ทงั้ ได้รบั อิทธิพลจากและส่งอิทธิพล ต่อวัฒนธรรมต่างๆ ในประวัติศาสตร์