Vsi gandhi (web preview)

Page 1


คานธี: ความรู้ฉบับพกพา • อลิสา สันตสมบัติ แปล จากเรื่อง Gandhi: A Very Short Introduction โดย ภิกขุ ปาเรคห์ พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์ openworlds, มีนาคม 2557 ราคา 230 บาท คณะบรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล บรรณาธิการ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ฐณฐ จินดานนท์ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ภูมิ น�้ำวล ฐณฐ จินดานนท์ ออกแบบปก wrongdesign จัดทำ�โดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด 604/157 ถ.สาธุ ป ระดิ ษ ฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุ ง เทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-618-4730 email : openworldsthailand@gmail.com facebook : www.facebook.com/openworlds twitter : www.twitter.com/openworlds_th website : www.openworlds.in.th จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8356-9 website : http://www.se-ed.com/


ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ ปาเรคห์, ภิกขุ. คานธี: ความรู้ฉบับพกพา.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2557. 232 หน้า. 1. คานธี, โมหันทาส การามจันทร์, ค.ศ.1869-1948. I. อลิสา สันตสมบัติ, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 923.254 ISBN 978-616-7885-01-8

T h a i la n g ua g e t r a n s l a t i o n c o p y r i g h t 2 0 1 4 b y openworlds publishing house /Co p yr i g h t © 1 9 9 7 b y B h i k h u P a r e k h All Rights Reserved.

Gandhi: A Very Short Introduction, by Bhikhu Parekh was origin a lly p u b lis h e d in E n g l i s h i n 2 0 0 1 .

This translation is published by arrangement with Oxford University Press t hrou g h T u ttle -M o ri Age n c y C o . , L t d . The Thai edition is translated by Alisa Santasombat and published by op e n wo rld s p u b lis hi n g h o u s e , 2 0 1 4 .

คานธี: ความรู้ฉบับพกพา ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 2001 แปลและตีพิมพ์เป็นภาษาไทยโดยข้อตกลงกับสำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือจำ�นวนมาก ในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล หมายเลขโทรศัพท์ 086 403 6451 หรือ Email: openworldsthailand@gmail.com


สารบัญ

. สารบัญภาพประกอบ : 5 ค�ำน�ำผู้แปล : 6 กิตติกรรมประกาศ : 9 อ้างอิงแบบย่อ : 11 1. ชีวิตและงาน : 14 2. ความคิดทางศาสนา : 66 3. ธรรมชาติมนุษย์ : 90 4. สัตยาเคราะห์ : 114 5. วิพากษ์ภาวะสมัยใหม่ : 138 6. วิสัยทัศน์ต่อสังคมไร้ความรุนแรง : 160 7. วิจักษ์วิจารณ์ : 190 อภิธานศัพท์ : 216 ภูมิหลังบรรณานุกรม : 222 หนังสืออ่านเพิ่มเติม : 227


สารบัญภาพประกอบ

. 1 คานธีในปี 1942 : 16 จากหนังสือ Mahatma Gandhi: The Last Phase, Pyarelal (Navajivan Publishing House, 1965) 2 คานธีขณะเป็นนักเรียนกฎหมายที่ลอนดอนในปี 1890 : 19 ภาพจาก Henry Guttmann/Hulton Getty 3 คานธีระหว่างปฏิบัติการ สัตยาเคราะห์ เกลือ วันที่ 12 มีนาคม 1930 : 46 ภาพชุดสะสมของ Sumati Morarjee 4 คานธีขณะเดินผ่านบริเวณทีเ่ กิดเหตุจลาจลในเมืองโนอาขาลี ปลายปี 1946 : 58 ภาพจาก B. K. Sinha 5 คานธีกับเนห์รูในปี 1936 : 63 จากหนังสือ Gandhi on Nehru, Hingorani (1993) 6 “มือลอบสังหารนี่พิลึกนะ ดร. คิง คือพวกเขาคิดว่าฆ่าคุณได้แล้ว” ภาพ การ์ตูนโดยมอลดิน (Mauldin) จากหนังสือพิมพ์ Chicago Sun-Times, 1968 : 194 © Chicago Sun-Times 7 สมบัติทางโลกของคานธี : 211 จากหนังสือ Gandhi on Nehru, Hingorani (1993)


6

Gandhi

ค�ำน�ำผู้แปล

.

เมื่อพูดถึงมหาตมะคานธี สิ่งแรกๆ ที่ผู้คนมักนึกถึงคือ บทบาทของเขาในฐานะผู้ให้ก�ำเนิดวิธี สัตยาเคราะห์ ที่ช่วยน�ำ อินเดียไปสู่การปลดปล่อยตนเองให้เป็นอิสระจากการอยู่ภายใต้ การปกครองของจักรวรรดิอังกฤษ แล้วประกาศเอกราชเป็น ประเทศอินเดีย รวมถึงการแยกประเทศบังกลาเทศและปากีสถาน ในเวลาต่อมา โดยใช้หลัก อหิงสา อันเป็นแนวคิดหนึ่งของการ ไม่ใช้ความรุนแรง ที่เป็นพื้นฐานส�ำคัญของการต่อสู้เพื่อความ เท่าเทียมของชาวอินเดีย นับจากนั้นมา คานธีได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของคน สามัญที่ต่อสู้กับระบอบการปกครองอันไม่ชอบธรรม เพื่อให้ได้ มาซึ่งสิทธิของตน และเรามักจะนึกถึงค�ำว่า อหิงสา ในบริบท การต่อสูท้ างการเมืองเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมือ่ เกิดความ ขัดแย้งระหว่างผู้ปกครอง (เช่น รัฐ) กับผู้ถูกปกครอง (เช่น ประชาชน พลเมืองของรัฐ) หลายคนมักเข้าใจว่าอหิงสาเป็น แนวทางการต่อสู้ด้วยสันติวิธี หรือการ “ดื้อแพ่ง” ไม่ให้ความ ร่วมมือกับรัฐ ทว่าอหิงสาไม่ได้มีความหมายแค่การที่คนหนึ่ง


A

Very Short Introduction

7

ไม่กระท�ำความรุนแรงต่อผู้อื่น ท�ำร้ายผู้อื่นให้บาดเจ็บ หรือก่อ ความเสียหายต่อร่างกายหรือวัตถุสงิ่ ของเท่านัน้ คานธีเน้นย�ำ้ ว่า “อหิงสา” อันเป็นแนวคิดของศาสนาฮินดูนนั้ คือการไม่เบียดเบียน การเว้นจากการท�ำร้าย ถึงแม้จะถูกท�ำร้ายก่อนก็ไม่ตอบโต้ด้วย ความรุนแรง ทัง้ นีก้ ารกระท�ำใดๆ ต้องไม่ขดั หรือปฏิเสธความจริง ซึง่ คานธียดึ มัน่ ว่าเป็นพระเจ้าสูงสุดของมนุษยชาติ สัตยาเคราะห์ ของคานธีก็คือ “การยึดมั่นในความจริง” ที่ว่านี้นั่นเอง แม้คานธีที่คนส่วนใหญ่รู้จักจะมีสถานะเป็นนักปฏิบัติ ทว่าหนังสือ คานธี: ความรู้ฉบับพกพา (Gandhi: A Very Short Introduction) ของ ภิกขุ ปาเรคห์ (Bhikhu Parekh) ได้กล่าวถึง คานธีโดยเน้นหลักแนวคิดทางปรัชญาของเขา และวิเคราะห์ให้ เห็นข้อจ�ำกัดของแนวคิดเหล่านัน้ รวมถึงพัฒนาการของแนวทาง การต่อสู้ตั้งแต่สมัยที่คานธียังเป็นทนายความต่อสู้เพื่อสิทธิของ ชาวอินเดียในแอฟริกาใต้ และกลายมาเป็นผู้มีบทบาทส�ำคัญ ทางการเมืองในพรรคคองเกรสแห่งชาติของอินเดียเพื่อรณรงค์ ต่อต้านการปกครองของอังกฤษจนกระทั่งถูกจับกุม ผู้แปลหวังว่าผู้อ่านจะได้ร่วมศึกษาและส�ำรวจแนวคิด ของคานธีซึ่งเป็นมรดกที่เขามอบให้มนุษยชาติโดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา หรืออุดมการณ์ ซึ่งยิ่งใหญ่ไม่แพ้ วีรกรรมของเขา และหวังว่าความรักในความจริงจะเป็นหลัก ที่น�ำมนุษยชาติก้าวข้ามความเกลียดชังและความขัดแย้งไปได้ โดยปราศจากอคติ สุดท้ายนี้ผู้แปลขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์ openworlds ที่ จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ขอบคุณคุณวิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ทีก่ รุณา


8

Gandhi

ตรวจแก้ตน้ ฉบับให้ถกู ต้องและเป็นภาษาทีอ่ า่ นง่ายและสละสลวย ขอบคุณอาจารย์กรุณา และอาจารย์เรืองอุไร กุศลาสัย ผูถ้ า่ ยทอด หนังสือ ข้าพเจ้าทดลองความจริง อัตชีวประวัติของมหาตมา คานธี เป็นภาษาไทย ซึง่ ผูแ้ ปลได้ใช้อา้ งอิงชือ่ บุคคล สถานที่ และ ความหมายของค�ำต่างๆ หาก คานธี: ความรู้ฉบับพกพา เล่มนี้มีข้อผิดพลาด ประการใด ขอให้เป็นความรับผิดชอบของผู้แปลเพียงผู้เดียว

อลิสา สันตสมบัติ 8 มีนาคม 2557


A

Very Short Introduction

9

กิตติกรรมประกาศ

.

ผู้เขียนรู้สึกซาบซึ้งใจเป็นอย่างยิ่งต่อ ประทัป เมตตา (Pratap Mehta) สุติปทา กาวิราช (Sudipta Kaviraj) โนล โอ’ ซัลลิแวน (Noel O’Sullivan) จูดิธ บราวน์ (Judith Brown) และ เทอร์รี แมคนีลล์ (Terry McNeill) ส�ำหรับความเห็นอันมีค่าต่อ บางส่วนหรือทั้งหมดของหนังสือเล่มนี้ เทอร์รี แมคนีลล์ ยังคอย ดูแลให้แน่ใจว่าผู้เขียนได้ท�ำงานในบรรยากาศทางวิชาการอัน แสนสุข ประทัป เมตตา และ สุตปิ ทา กาวิราช ผูม้ คี วามรูเ้ กีย่ วกับ ขนบประเพณีทางปรัชญาอินเดียมากมายกว่าผู้เขียนยิ่งนัก ได้ เตือนให้ผู้เขียนตระหนักถึงประเด็นต่างๆ ที่มองข้ามไป ในช่วง เวลา 35 ปีแห่งมิตรภาพของเรา โนล โอ’ซัลลิแวน มีอิทธิพลต่อ ความคิดของผู้เขียนในแบบที่ไม่อาจระบุได้อย่างง่ายดาย และ ผู้เขียนขอขอบคุณเขาด้วยความรักใคร่ ผู้เขียนเป็นหนี้ เฟรด ดัลล์แมย์ร (Fred Dallmayr) แอนโธนี พาเรล (Anthony Parel) ธอมัส แพนแธม (Thomas Pantham) เลอรอย รูเนอร์ (Leroy Rouner) เมฆนาท เดซาย (Meghnad Desai) โฮมี บาบา (Homi Bhabha) อุษาเบญ เมตตา (Ushaben Mehta) ผูล้ ว่ งลับและระลึก


10

Gandhi

ถึงเป็นอย่างยิ่ง โรนัลด์ เทอร์เชก (Ronald Terchek) และ อุษา ธักการ์ (Usha Thakkar) ในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิด เกี่ยวกับคานธีร่วมกับผู้เขียนเป็นเวลาหลายปี ผู้เขียนขอบคุณ เซอร์คธี ธอมัส (Sir Keith Thomas) และ รีเบกกา ฮันต์ (Rebecca Hunt) ส�ำหรับความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อร่างต้นฉบับสุดท้าย และขอบคุณ จันทรกานต์ ชรอฟฟ์ (Chandrakant Shroff) น้องชายของผู้เขียน และ ซี.บี. พาเทล (C. B. Patel) ส�ำหรับ มิตรภาพและความเอื้อเฟื้อตลอดหลายปีมานี้ ผู้เขียนขอบคุณ ซู ไวลส์ (Sue Wiles) ส�ำหรับการพิมพ์ต้นฉบับ และ อมาเลนดู มิศรา (Amalendu Misra) ส�ำหรับการจัดท�ำดัชนี ผู้เขียนขออุทิศหนังสือเล่มนี้แก่เหยื่อของความรุนแรง ระหว่างชุมชนในอินเดีย และเพื่อนผู้แสนดี ลักษมี มาล สิงหวี (Lakshmi Mal Singhvi) ผู้ได้ท�ำสิ่งต่างๆ มากมายอย่างเงียบๆ เพื่อส่งเสริมความปรองดองทางศาสนา หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ป รากฏในบรรณพิ ภ พครั้ ง แรกในชื่ อ Gandhi จัดอยู่ในชุด Past Masters ของส�ำนักพิมพ์ Oxford University Press ดังที่ขณะนี้ได้ปรากฏขึ้นในชุดใหม่ ผู้เขียนจึง ปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางส่วน หลายส่วนเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยและ เป็นการปรับรูปแบบการเขียนเสียเป็นส่วนใหญ่ หนังสือเล่มนี้ แตกต่างออกไปมากพอจะเป็นหนังสือเล่มใหม่ แต่ก็คล้ายคลึง เล่มเก่าพอที่จะนับได้ว่าเป็นการเกิดใหม่ของมัน


A

Very Short Introduction

11

อ้างอิงแบบย่อ

. The Collected Works of Mahatma Gandhi, 90 volumes (New Delhi: Publications Division of the Government of India, 1958-84) อ้างอิงตามเล่มที่พิมพ์และเลขหน้า A An Autobiography: The Story of my Experiments with Truth, tr. Mahadev Desai (London: Jonathan Cape, 1966). B Judith Brown, Gandhi: Prisoner of Hope (London: Yale University Press, 1991). F Louis Fischer, Gandhi: His Life and Message for the World (New York: New American Library, 1954). G Louis Fischer, The Life of Mahatma Gandhi (Bombay: Bharatiya Vidya Bhavan, 4th combined edition, 1983). K Martin Luther King, Jr, Stride Towards Freedom: The Montgomery Story (New York: Harper & Row, 1958). M The Moral and Political Writings of Mahatma Gandhi, ed. Raghavan Iyer, 3 volumes (Oxford: Clarendon Press, 1986). ค�ำในภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีทั้งหมดที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้ ได้ให้ค�ำจ�ำกัดความไว้ในอภิธานศัพท์ท้ายเล่ม



คานธี •

ความรู้ฉบับพกพา

GANDHI • A

Very

Short

Introduction

by

Bhikhu Parekh

แปลโดย

อลิสา สันตสมบัติ


บทที่ 1

/ ชีวิตและงาน


A

Very Short Introduction

15

โมหันทาส กรรมจันท์ คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) เกิดเมื่อ ค.ศ. 1869 ที่โปร์พันทร (Porbandar) เมือง ชายฝั่งซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐที่ปกครองโดยเจ้าผู้ครองรัฐภายใต้การ ยึดครองของอังกฤษ และปัจจุบันนี้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐคุชราต ของอินเดีย แม้วา่ ครอบครัวคานธี ซึง่ โดยความหมายแล้วแปลว่า ผู้มอี าชีพค้าขาย จะจัดอยู่ในวรรณะแพศย์ตามก�ำเนิด ทว่าคนใน ตระกูลนี้ได้ขึ้นมามีต�ำแหน่งส�ำคัญทางการเมืองหลายต�ำแหน่ง บิ ด าของโมหั น ทาสเป็ น นายกรั ฐ มนตรี แ ละสมาชิ ก ศาลของ โปร์พันทร ส่วนปู่ของเขาด�ำรงต�ำแหน่งเดียวกันที่รัฐชุณคธ (Junagadh) รัฐขนาดเล็กซึ่งอยู่ติดกัน คานธีเติบโตมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางศาสนา แบบสรรผสาน กล่าวคือบิดามารดานับถือนิกายบูชาพระวิษณุ (หรือไวษณพนิกาย) ของศาสนาฮินดูที่มีผู้นับถือเป็นจ�ำนวน มาก มารดาของเขานับถือลัทธิปรานามีซึ่งผสมผสานความเชื่อ ของศาสนาฮินดูกับมุสลิมเข้าด้วยกัน นับถือทั้งคัมภีร์ไวษณพ และอัลกุรอานเสมอเหมือนกันและเทศน์เรื่องความกลมเกลียว


16

ภาพประกอบ 1 คานธีในปี 1942

Gandhi


A

Very Short Introduction

17

ทางศาสนา การที่เธอปวารณาตนอย่างเคร่งครัดและถือศีลอด ชั่ วชี วิต โดยไม่ มีข้อ ยกเว้นนั้นประทับอยู่ ในความทรงจ�ำของ ลู ก ชายเธอตลอดกาล มิ ต รสหายหลายคนของบิ ด านั บ ถื อ ศาสนาเชนที่ เ ทศนาหลั ก ค�ำสอนเรื่ อ งอหิ ง สาและการมี วิ นั ย ในตนเองอย่างเคร่งครัด คานธียังได้พบปะกับพวกมิชชันนารี ชาวคริสต์ แต่คริสต์ศาสนาไม่ได้มีส่วนส�ำคัญต่อวัยเยาว์ของ เขามากนัก เฉกเช่นชาวฮินดูจ�ำนวนมาก เขาซึมซับรับเอา ความเชื่อทางศาสนาหลากหลาย แต่ไม่มีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณีของศาสนาใด รวมถึงศาสนาของตนเอง คานธีเป็นนักเรียนระดับกลางๆ ขีอ้ าย จบการศึกษาด้วย ผลการเรียนปานกลาง เขาสมรสกับกัสตูร์บาอี (Kasturbai) เมื่อ ทัง้ คูอ่ ายุได้ 13 ปี ประสบการณ์นเี้ ปลีย่ นเขาให้กลายเป็นปฏิปกั ษ์ กับการแต่งงานก่อนวัยอันควร พอเข้าใจได้ว่าเรื่องทางเพศ ครอบง�ำความคิดเขาอย่างยิ่งในช่วงแรกๆ ของชีวิต คืนหนึ่ง เมื่อคานธีวัย 16 ปีได้จากบิดาที่ก�ำลังจะสิ้นใจมาอยู่กับภรรยา มรณกรรมของบิดาในช่วงทีเ่ ขาหายตัวไปท�ำให้เขาเจ็บปวดฝังใจ แม้นักวิจารณ์หลายคนจะหยิบยกเหตุการณ์นี้มาอธิบายความ เป็นปฏิปกั ษ์ของเขาต่อเรือ่ งทางเพศ แต่กม็ หี ลักฐานจริงๆ น้อยนิด ที่สนับสนุนความคิดดังกล่าว ในอัตชีวประวัติ คานธีกล่าวเพียง ว่าเหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดความรู้สึก “ละอาย” แก่ใจตนอยู่ลึกๆ ยิ่งไปกว่านั้นเขายังยินดีจะอยู่กับภรรยาหลังจากนั้นอีกหลายปี และเลี้ยงดูลูกชาย 4 คน เขาไม่ใส่ใจจะละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ อย่างจริงจังจนกระทั่งหลังเหตุการณ์นั้นผ่านไปแล้วเกือบ 16 ปี แม้ส่วนหนึ่งจะเป็นเพราะความรู้สึกผิด แต่เหตุผลแท้จริงคือ


18

Gandhi

ความปรารถนาที่จะสงวนพลังกายพลังใจไว้เพื่อการต่อสู้ทาง การเมืองที่ส�ำคัญซึ่งเขาริเริ่มขึ้นในขณะนั้น คานธีออกเดินทางไปอังกฤษในปี 1888 เพื่อฝึกฝน เป็นทนายความ หลังจากสัญญากับมารดาว่าจะหลีกเลี่ยงสุรา นารี และเนื้อสัตว์ ในช่วงเดือนแรกๆ เขาใช้ชีวิตเยี่ยงสุภาพบุรุษ ชาวอังกฤษ ซื้อสูทพิธีการ หมวกทรงสูง และไม้เท้าหัวเงิน เขา เรียนเต้นร�ำ ศิลปะการพูดในที่สาธารณะ และซื้อไวโอลิน พอเงิน หมด อีกทัง้ หลังจากหลบเลีย่ งการเย้ายวนทางเพศมาได้หวุดหวิด ส�ำนึกด้านดีก็มีอ�ำนาจเหนือตัวเขา คานธีกลับไปสู่ลักษณะชีวิต แบบอังกฤษที่จริงจังขึ้น เช่นเดียวกับผู้น�ำจักรวรรดิคนอื่นๆ เขาค้นพบโลกตะวันตกกับโลกตะวันออกในเวลาเดียวกัน และ พบโลกหนึ่งผ่านอีกโลกหนึ่ง เขาอ่านหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับ กฎหมายและการเมื อ งของอั ง กฤษและยุ โ รป มี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ กับพวกนักเทวญาณวิทยาและศึกษาคริสต์ศาสนา เขาไม่ค่อย เห็นด้วยกับพระคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเก่า ทว่าซาบซึ้ง กิ น ใจกั บ ภาคพั น ธสั ญ ญาใหม่ เขายั ง อ่ า นหนั ง สื อ ว่ า ด้ ว ย ธรรมเนียมประเพณีในศาสนาของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภควัทคีตา และ ประทีปแห่งเอเชีย (Light of Asia) ของ เอ็ดวิน อาร์โนลด์ (Edwin Arnold) ซึง่ น�ำเขาไปรูจ้ กั ปรัชญาฮินดูและปรัชญา พุทธตามล�ำดับ คานธีสอบผ่านเป็นเนติบณ ั ฑิตในเดือนมิถนุ ายน ปี 1891 สองวันหลังจากนั้นก็เดินทางกลับอินเดีย อาชีพการงานด้านกฎหมายในอินเดียของคานธีนั้น น่าผิดหวัง เขาขี้อายเกินกว่าจะปริปากพูดในศาล และต้องเสีย คดีแรกของตนให้เพื่อนร่วมงาน เขาหันไปท�ำงานร่างค�ำร้องซึ่ง


A

Very Short Introduction

ภาพประกอบ 2 คานธีขณะเป็นนักเรียนกฎหมายที่ลอนดอนในปี 1890

19


20

Gandhi

พอจะเลี้ยงชีพได้ อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้สนใจงานนี้เท่าไรนัก ทั้งยังท�ำให้ได้เห็นการสมคบคิดในศาลซึ่งเขาคิดว่าเป็นเรื่องน่า เหนื่อยหน่าย เมื่อบริษัทมุสลิมในแอฟริกาใต้ต้องการให้เขาไป ท�ำงานเป็นทนายความและเสมียนตอบจดหมาย คานธีกต็ อบรับ ข้อเสนอทันที เขาลงเรือไปแอฟริกาใต้ในปี 1893 โดยตั้งใจว่าจะ อยู่ที่นั่นปีเดียว แต่ไปๆ มาๆ กลับอยู่นานถึง 21 ปี แอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้เป็นจุดพลิกผันในชีวิตของคานธี ที่นี่ท�ำให้ เขาได้เผชิญหน้ากับประสบการณ์และความท้าทายผิดธรรมดา มากมายซึ่งเปลี่ยนเขาไปอย่างถึงราก ภายใน 1 สัปดาห์ที่มาถึง เขาก็ได้พบประสบการณ์ที่เปลี่ยนเส้นทางชีวิต ระหว่างทาง จากเดอร์บันไปพริทอเรีย เขาถูกโยนออกจากรถไฟกลางดึก ด้วยบังอาจเดินทางชั้นหนึ่ง ตลอดคืนนั้นเขานั่งหนาวสั่นอยู่ใน ห้องพักผู้โดยสารที่สถานีปีเตอร์เมริตซ์เบิร์ก คานธีผู้ทดท้อชั่งใจ ว่าจะกลับอินเดียหรือว่าจะอยู่ต่อและต่อสู้เพื่อสิทธิของตน เขา ตัดสินใจเลือกอย่างหลัง รุง่ ขึน้ เขาเดินทางไปชาร์ลส์ทาวน์ได้โดย สะดวก แต่สารถีรถม้าโดยสารไปยังเมืองโจฮันเนสเบิร์กกลับไม่ ยอมให้เขานั่งในรถโดยสาร และให้คานธีนั่งนอกรถข้างเขาแทน คานธีตกลงอย่างเสียไม่ได้ ต่อมาเขายังถูกไล่ให้ไปนั่งกับพรม บนพืน้ รถ คานธีปฏิเสธเสียงแข็งด้วยรูส้ กึ ไม่ได้รบั ความเป็นธรรม สารถีจึงเริ่มทุบตีเขาและพยายามผลักเขาลงจากรถจนกระทั่ง ผู้โดยสารคนอื่นๆ ช่วยเขาไว้ ไม่กี่เดือนต่อมาเขาถูกยามเตะตก


A

Very Short Introduction

21

รางน�ำ้ เพราะบังอาจเดินผ่านหน้าท�ำเนียบประธานาธิบดีครูเกอร์ ในเมืองพริทอเรีย (A 91-6) ชาวอินเดียที่เริ่มอพยพเข้าประเทศแอฟริกาใต้ตั้งแต่ ช่วงทศวรรษ 1860 ในฐานะแรงงานที่มีสัญญาผูกมัดให้ท�ำงาน ในไร่กาแฟและไร่อ้อย 1 จ�ำต้องทนทุกข์ทรมานจากการดูถูก เหยียดหยามและการเลือกปฏิบตั ทิ กุ รูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ที่ เมืองนาตาลและทรานสวาลซึง่ เป็นไปอย่างดุเดือด เดือนเมษายน ปี 1894 ขณะที่คานธีก�ำลังจะเดินทางกลับอินเดียเป็นการถาวร สภานิติบัญญัตินาตาลก็ก�ำลังถกกันเรื่องร่างกฎหมายว่าด้วย สิทธิเลือกตัง้ ผูแ้ ทนของชาวอินเดียอันจะเป็นการลิดรอนสิทธิการ ออกเสียงเลือกผูแ้ ทนของชาวอินเดียไป นายจ้างมุสลิมยุให้คานธี อยู่ต่อเพื่อน�ำการต่อสู้เรียกร้องซึ่งเขาก็ตอบตกลงโดยดี คานธี ก่อตัง้ พรรคคองเกรสอินเดียแห่งเมืองนาตาลขึน้ การรณรงค์ของ เขาประสบความส�ำเร็จในการมีส่วนช่วยลดความแข็งกร้าวของ ร่างกฎหมายฉบับนี้ การรณรงค์ในลักษณะคล้ายกันนีเ้ พือ่ ต่อต้าน ข้อจ�ำกัดคนเข้าเมืองและกฎหมายใบอนุญาตที่กีดกันเชื้อชาติ แทบไม่ประสบความส�ำเร็จเท่าใดนัก เขาเริ่มตัดพ้อยิ่งขึ้นว่า ยุคทีร่ ฐั บาลนาตาลติดต่อกับรัฐบาลอินเดียให้จดั หาแรงงานอินเดียไปท�ำงาน ในแอฟริกาใต้โดยต้องลงนามในสัญญาท�ำงานกับนายจ้าง 5 ปี หลังจากครบ ก�ำหนดอายุสัญญาแล้ว แรงงานอินเดียมีสิทธิตั้งถิ่นฐานท�ำมาหากินหรือมี ทีด่ นิ ในแอฟริกาใต้ได้ นีค่ อื สิง่ จูงใจทีช่ าวผิวขาวหยิบยืน่ ให้แรงงานอินเดียเพือ่ ตอบสนองความต้องการแรงงานในการพัฒนาการเกษตรของแอฟริกาใต้ [จาก มหาตมา คานธี, ข้าพเจ้าทดลองความจริง อัตชีวประวัติของมหาตมา คานธี, กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย แปล (กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2553)] - ผู้แปล

1


22

Gandhi

แรงกดดันจากรัฐธรรมนูญ ข้อเรียกร้อง และการโน้มน้าวอย่าง เป็นเหตุเป็นผล ไม่ได้ส่งผลใดๆ ต่อความคิดที่เป็น “อคติ” และ ครุ่นคิดว่าเขาจะท�ำอะไรอื่นอีกได้บ้าง ไม่ กี่ ป ี ต ่ อ มาเขาก็ พ บค�ำตอบ เมื่ อ ทรานสวาลผ่ า น กฎหมายในปี 1907 บังคับให้มกี ารขึน้ ทะเบียนและพิมพ์ลายนิว้ มือ ชาวอินเดียทุกคน รวมทั้งให้อ�ำนาจต�ำรวจบุกเข้าบ้านของชาว อินเดียเพื่อสอบว่าคนที่อาศัยในบ้านหลังนั้นๆ ขึ้นทะเบียนแล้ว คานธีค้นพบวิธี สัตยาเคราะห์ อันมีชื่อเสียงของเขา วิธีนี้เป็น รูปแบบการต่อต้านโดยไม่ใช้ความรุนแรงด้วยการปิดล้อมศูนย์ ลงทะเบียนอย่างสันติ เผาบัตรลงทะเบียน ท�ำให้เกิดการจับกุม และยอมรับการลงโทษอย่างสง่างามตามทีถ่ กู ตัดสิน การประท้วง ของคานธีส่งผลให้เกิดการรอมชอมบางประการซึ่งน้อยกว่า ข้อเรียกร้องเดิมของเขา ปฏิบัติการ สัตยาเคราะห์ เกิดขึ้นอีก ครั้งหนึ่งโดยมีสตรีและคนงานเหมืองชาวอินเดียเข้าร่วมต่อต้าน มาตรการต่างๆ เช่น การเก็บภาษีรัชชูปการ การปฏิเสธการ รับรองการแต่งงานของชาวอินเดีย ระเบียบการเข้าเมือง และ ระบบแรงงานตามสัญญาผูกมัด การประท้วงครั้งนี้ประสบความ ส�ำเร็จท่วมท้นและน�ำไปสู่หนทางออกกฎหมายผ่อนปรนการ จ�ำกัดสิทธิชาวอินเดียในปี 1914 ระหว่างอยู่ในแอฟริกาใต้เป็นเวลา 21 ปี วิธีคิดและ วิถชี วี ติ ของคานธีเผชิญการเปลีย่ นแปลงส�ำคัญหลายครัง้ แน่นอน ว่าทั้งสองสิ่งนี้ไม่อาจแยกขาดจากกันได้ ส�ำหรับเขา ความคิด นัน้ ไร้ความหมายหากมิได้ด�ำเนินชีวติ ตามนัน้ และชีวติ ก็ฉาบฉวย หากมิได้สะท้อนมโนทัศน์แห่งชีวิตที่ไตร่ตรองไว้ดีแล้ว ทุกครั้ง


A

Very Short Introduction

23

ที่คานธีพบพานความคิดใหม่ เขาจะถามว่ามันควรค่าแก่การ ด�ำเนินชีวิตตามนั้นหรือไม่ หากไม่ เขาก็จะไม่สนใจมันอีก ถ้า หากว่าใช่ เขาก็จะบูรณาการเข้ากับวิถีชีวิต “ทดลอง” ด้วย “ความจริง” และส�ำรวจตรรกะทางศีลธรรมของความคิดนั้น แนวทางเช่นนี้มีอิทธิพลต่อทัศนคติที่มีต่อหนังสืออย่างลึกซึ้ง เขาอ่านหนังสือน้อยและอ่านเฉพาะที่เกี่ยวข้องแล้วน�ำไปปฏิบัติ ได้จริง แต่เมื่อหนังสือเล่มหนึ่งดึงดูดจินตนาการของเขาแล้ว ละก็ เขาจะตรองหนังสือเล่มนั้น ครุ่นคิดกับสาร น�ำความคิด หลักมาปฏิบัติ และ “ต่อยอดความจริงหนึ่งไปสู่ความจริงหนึ่ง” ส่วนใหญ่แล้วเขาอ่านวรรณกรรมเชิงศาสนาและศีลธรรม รวมถึง Apology ของเพลโต และ Ethical Religion (1889) ของ วิลเลียม ซอลเทอร์ (William Salter) งานชิ้นแรกนั้นเขาลงมือแปล ส่วน ชิน้ หลังสรุปความเป็นภาษาคุชราตซึง่ เป็นภาษาพืน้ เมืองของเขา หนังสือ 3 เล่มที่มีอิทธิพลต่อคานธีเป็นอย่างยิ่งระหว่างอยู่ แอฟริกาใต้ ได้แก่ On the Duty of Civil Disobedience (1847) ของ เฮนรี ธอโร (Henry Thoreau) ซึง่ ถือเป็น “งานนิพนธ์ชนั้ ครู”, The Kingdom of God Is Within You (1893) ของตอลสตอย ซึง่ ท�ำให้เขา “ซาบซึง้ ” และกล่าวอ้างว่าเป็นครัง้ แรกทีค่ น้ พบหลัก ค�ำสอนว่าด้วยการไร้ความรุนแรงและความรัก รวมถึง Unto this Last (1862) ของ จอห์น รัสกิน (John Ruskin) ซึ่ง “อิทธิพลอัน น่ามหัศจรรย์” ของหนังสือเล่มนี้เป็น “จุดพลิกผัน” ชีวิตของเขา (A 250) แรงบันดาลใจจากรัสกินท�ำให้คานธีตัดสินใจใช้ชีวิต สมถะในนิคมแห่งแรกที่ไร่ฟีนิกซ์ในเมืองนาตาล ก่อนจะมาอยู่ที่ ไร่ตอลสตอยนอกเมืองโจฮันเนสเบิร์ก


24

Gandhi

พอเริ่มลงมืออ่าน ข้าพเจ้าก็ไม่สามารถวางหนังสือเล่มนี้ [Unto this Last] ลงได้ เพราะติดอกติดใจเสียเหลือเกิน การเดินทางจากเมืองโยฮันเนสเบิร์กไปเดอร์บันกินเวลา 24 ชั่วโมง รถไฟถึงเดอร์บันในเวลาเย็น คืนนั้นทั้งคืน ข้าพเจ้า ไม่ได้นอนเลย ข้าพเจ้าตั้งปณิธานไว้ว่า จะต้องปรับปรุงชีวิต ของตนตามอุดมคติซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนั้น2

ในช่ ว งนี้ ค านธี ล งมื อ ท�ำการทดลองจ�ำนวนมากซึ่ ง เกี่ยวข้องกับอาหารการกิน การเลี้ยงเด็ก ธรรมชาติบ�ำบัด ชีวิต ส่วนตัว และชีวิตการงาน อิทธิพลจากต�ำราการแพทย์ที่เขา ประทับใจมากส่งให้เขาถึงกับท�ำคลอดบุตรคนที่ 4 ด้วยตัวเอง เขาเชื่อว่าผู้น�ำทางการเมืองต้องบริสุทธิ์ผุดผ่องทางศีลธรรม จึงเริ่มแผนการพัฒนาศีลธรรมของตนเอง ตลอดเวลานั้นเขาถูก พวกมิชชันนารีชาวคริสต์ทมี่ อี ยูด่ าษดืน่ ท้าให้อธิบายและปกป้อง ความเชื่อทางศาสนาอย่างน่าเชื่อถือ ไม่เช่นนั้นก็ให้เข้ารีตเป็น คริสตชนเสีย บ่อยครั้งคานธีรู้สึกเคว้งคว้าง เขางุนงงยิ่งนักกับ แนวคิดของฮินดูเรื่อง อาตมัน (วิญญาณ) และ โมกษะ (การ หลุดพ้น) จนต้องเขียนจดหมายถึงรายจันท์ภาอี (Raichandbhai) อาจารย์ของเขาทีอ่ นิ เดียเพือ่ ขอค�ำอธิบายและค�ำชีแ้ นะ เนือ่ งจาก ส�ำนวนแปลของ กรุณา-เรืองอุไร กุศลาศัย ใน มหาตมา คานธี, ข้าพเจ้า ทดลองความจริง อัตชีวประวัติของมหาตมา คานธี (กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์ มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2553) - ผู้แปล

2


A

Very Short Introduction

25

คานธีเรียนรูศ้ าสนาของตนทีแ่ อฟริกาใต้ในบริบททีม่ คี วามขัดแย้ง และเข้าไม่ถึงประเพณีทางศาสนาฮินดูอันรุ่มรวยและมีชีวิตชีวา ความรู้ของเขาเกี่ยวกับศาสนาจึงมาจากการอ่านและการคิด ใคร่ครวญเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งยังผิวเผินเป็นนามธรรม เฉกเช่น เรื่องอื่นๆ อีกมากในชีวิต คานธีก่อร่างสร้างความเป็นฮินดูใน แบบของเขาเองไปเรื่อยๆ ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียไปพร้อมๆ กัน ในแอฟริ ก าใต้ คานธี มี เ พื่ อ นสนิ ท ชาวยิ ว หลายคน เพื่อนคนหนึ่งซื้อไร่ตอลสตอยขนาด 1,100 เอเคอร์ให้เขา เขา ได้รับความรู้มากมายจากความเชื่อและการปฏิบัติของศาสนา หลักหนึ่งเดียวที่ก่อนหน้านี้เขาไม่เคยสัมผัสมาเลย เขาเรียก ชาวยิ ว เหล่ า นั้ น ว่ า “จั ณ ฑาลแห่ ง คริ ส ต์ ศ าสนา” คนเหล่ า นี้ ก็ เ ช่ น เดี ย วกั บ ชาวฮิ น ดู ซึ่ ง การปฏิ บั ติ อั น โหดร้ า ยมี ร ากฐาน มาจากการเข้ า ใจศาสนาอั น ยิ่ ง ใหญ่ ผิ ด ไปอย่ า งเสี ย หายและ น่ า รั ง เกี ย จเป็ น อย่ า งยิ่ ง (lxviii. 137) คานธี ยั ง ผู ก ไมตรี กั บ เพื่อนสนิทชาวคริสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิชชันนารีชาวอังกฤษ ชื่อ ซี.เอฟ. แอนดรูว์ส (C. F. Andrews 1871-1940) ที่คานธี กล่าวว่าไม่มใี ครอืน่ อีกทีเ่ ขามี “ความผูกพันลึกซึง้ กว่านี”้ (F 130) อิทธิพลจากคนเหล่านี้ท�ำให้คานธีกลับไปเรียนคริสต์ศาสนาใหม่ และบูรณาการแง่มมุ ต่างๆ เข้ากับศาสนาฮินดูในแบบของเขาเอง ที่ผ่านการให้ความหมายใหม่มาเรื่อยๆ โดยเฉพาะแนวคิดเรื่อง ความรักอันทุกข์ทนที่มีภาพการตรึงกางเขนเป็นตัวอย่าง ภาพ นี้หลอกหลอนเขาไปตลอดชีวิตและกลายเป็นบ่อเกิดความรู้สึก อันแรงกล้า เขาร�ำ่ ไห้ตอ่ หน้าภาพนัน้ ขณะไปเยือนนครรัฐวาติกนั ณ กรุงโรมเมื่อปี 1931 บนผนังที่ อาศรม เสวาครามอันว่างเปล่า


26

Gandhi

ของเขามีที่ให้เพียงไม้กางเขน เพลงสวดของ ไอแซก วัตต์ส (Isaac Watts) ที่ว่า “เมื่อข้าพเจ้าเฝ้าสังเกตไม้กางเขนอันน่า อัศจรรย์” แสดงถึงความโศกาอาดูรและการอุทศิ ตนของพระคริสต์ ได้อย่างสะเทือนอารมณ์ และจบลงว่า “ความรักที่ช่างน่าทึ่ง ช่าง ยิ่งใหญ่ เรียกร้องดวงวิญญาณของข้าพเจ้า ชีวิตของข้าพเจ้า ทุก สิง่ ของข้าพเจ้า” เป็นหนึง่ ในเพลงสวดทีเ่ ขาโปรดปราน และในช่วง เวลามืดมิดหลายครั้งในชีวิต เขาถ่ายทอดความทุกข์ทรมานนั้น ผ่านภาพพระคริสต์บนไม้กางเขน ทีแ่ อฟริกาใต้ คานธีฝกึ ฝนทักษะทางการเมืองและเรียนรู้ บทเรียนทีบ่ างอย่างก็เป็นประโยชน์ บางอย่างก็เป็นผลร้ายต่อตัว เขาเมื่อกลับสู่อินเดีย เขาเข้าใจคุณค่าของงานหนังสือพิมพ์และ ได้รเิ ริม่ ก่อตัง้ หนังสือพิมพ์ อินเดียน โอพีเนียน (Indian Opinion) รายสัปดาห์เพือ่ เป็นกระบอกเสียงทางความคิดของเขา เขายังเห็น เพื่อนร่วมชาติกลายเป็นคนเสื่อมศีลธรรมและไม่สามารถท�ำงาน ร่วมกันเป็นกลุ่มได้ แทนที่จะต่อสู้เพื่อสิทธิของตน คนเหล่านั้น กลั บ คาดหวั ง ให้ ค นอื่ น ต่ อ สู ้ เ พื่ อ พวกเขา ในขณะเดี ย วกั น ก็ ห ลี ก เลี่ ย งกฎข้ อ บั ง คั บ ที่ เ ลื อ กปฏิ บั ติ ด ้ ว ยการติ ด สิ น บน เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่น่าแปลกใจที่เขาต�ำหนิคนเหล่านั้นหลายครั้ง หลายหนและกระตุ้นให้พวกเขา “กบฏ” ต่อตนเอง อีกทั้งเตือน ว่า “คนที่ท�ำตัวเหมือนหนอนไม่ควรโทษคนอื่นที่เหยียบย�่ำตน” คานธียังเรียนรู้ศิลปะการส�ำแดงตัวตนและการสร้างเครือข่าย ทางการเมือง เขาเขียนจดหมายเกี่ยวกับงานของเขาถึงบรรดา ผู้ทรงอิทธิพลในต่างประเทศรวมถึงตอลสตอย ผูกมิตรกับผู้น�ำ ชาวอินเดียและชาวอังกฤษคนส�ำคัญอย่างขะมักเขม้น และท�ำให้


A

Very Short Introduction

27

แน่ใจว่ามีการรายงานกิจกรรมต่างๆ ของเขาอย่างเป็นทีน่ า่ พอใจ ในอินเดียและอังกฤษ ทีแ่ อฟริกาใต้ เขาพบความยุง่ ยากนิดหน่อย ในการสมัครสมานผู้ค้ าชาวฮินดู กับชาวมุสลิม หลายคนพูด ภาษาและมีวัฒนธรรมร่วมกัน เขากล่าวถึงประสบการณ์ครั้งนี้ ทั้งประเมินความห่างเหินระหว่างสองชุมชนในอินเดียต�่ำเกินไป และกล่าวเกินจริงถึงความสามารถของตนในการเป็นสะพาน เชื่อมทั้งสองชุมชนนั้น กลับอินเดีย ตอนไปแอฟริกาใต้ คานธีเป็นทนายความที่ขาดความ มั่นใจ ขี้กลัว และไม่ได้เรื่อง ครั้นกลับมาอินเดียในปี 1914 เขา กลายเป็นผูน้ �ำทางการเมืองทีโ่ ด่งดัง มัน่ ใจในตนเอง ภาคภูมิ และ เคร่งศาสนา เหตุทเี่ ขาออกจากแอฟริกาใต้นนั้ ไม่ชดั เจนเสียทีเดียว ถึงแม้เขาจะคิดและเขียนเป็นอย่างอื่น แต่ความส�ำเร็จของเขา ที่นั่นก็ออกจะจ�ำกัดและคงรู้ว่าท�ำอะไรมากไปกว่านั้นไม่ได้นัก ตรงกันข้าม ในอินเดียเขามีชื่อเสียงมากทีเดียวและได้สร้าง สายสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์ ทั้งอาจเข้าใจว่าตนมีบทบาทส�ำคัญ ต้ อ งท�ำที่ นั่ น ไม่ ว ่ า เหตุ ผ ลใดก็ ต าม คานธี ก็ ก ลั บ บ้ า นอย่ า ง เพียบพร้อมไปด้วยวิธปี ฏิบตั กิ ารแบบใหม่และแผนการทีค่ รุน่ คิด มานานส�ำหรับการปฏิรูปอินเดีย ในยุคนั้นคานธีเป็นผู้สนับสนุน จักรวรรดิอังกฤษที่กระตือรือร้น เขาคิดว่าจักรวรรดิอังกฤษเป็น ตัวแทนอุดมคติอันยิ่งใหญ่ที่เขา “ตกหลุมรัก” อย่างซื่อตรง ให้ เขาได้เข้าประเทศอังกฤษและแอฟริกาใต้โดยไม่ถกู จ�ำกัดขอบเขต


28

Gandhi

และท�ำให้เขาได้พบวิถีชีวิตและความคิดใหม่ๆ มากมาย ไม่น่า แปลกใจที่เขากระตุ้นให้เพื่อนร่วมชาติในลอนดอนและอินเดีย สนับสนุนการพยายามท�ำสงครามของอังกฤษ เขาจัดตั้งหน่วย พยาบาลในลอนดอนเมื่อปี 1914 และสมัครเข้ากองทัพอังกฤษ ในอินเดียเมื่อปี 1918 แม้จะปวารณาว่าไม่ใช้ความรุนแรง แต่ เขาก็ยนื กรานว่าความภักดีตอ่ จักรวรรดิเรียกร้องเขาให้สนับสนุน อย่างเต็มที่เมื่อถึงคราวจ�ำเป็น หลังกลับมาถึงอินเดีย คานธีเดินทางท่องเที่ยวไปทั่ว ประเทศด้วยการ “เปิดหู เปิดตา และปิดปาก” ดังค�ำแนะน�ำของ “คุรุทางการเมือง” ของเขา ท่านโคปาลา กฤษณะ โคขเล (Gopal Krishna Gokhale) ผู้น�ำเสรีนิยมผู้ยิ่งใหญ่ เพื่อจะได้รู้จักประเทศ ที่ตนจากไปนานกว่าสองทศวรรษ จากการสังเกตท�ำให้เขาได้ ข้อสรุปส�ำคัญ 2 ประการ ประการแรก แม้การเรียกร้องเอกราช จะยั ง ไม่ ใ ช่ ว าระ แต่ ก็ มี ก ารต่ อ ต้ า นกฎข้ อ บั ง คั บ ที่ ก ดขี่ ข อง เจ้าอาณานิคมมากขึ้นเรื่อยๆ และมีการเรียกร้องให้มีสถาบัน สภาผู้แทนราษฎรอย่างกว้างขวาง วิธีการต่างๆ ที่ทั้ง “ขอร้อง” และ “ลดตัว” ของพรรคคองเกรสแห่งชาติอินเดียซึ่งก่อตั้งขึ้นใน ปี 1885 และถูกครอบง�ำโดยผูเ้ ชีย่ วชาญชนชัน้ กลางนัน้ พิสจู น์แล้ว ว่าไม่ได้ผล และขบวนการก่อการร้ายก็ก�ำลังก้าวหน้า โดยคานธี ได้พบกับโฆษกของขบวนการนีส้ มัยเรียนหนังสือทีล่ อนดอนและ เคยถกเถียงเรื่องจริยศาสตร์ของความรุนแรงเมื่อครั้งไปเยือน ในคราวต่อๆ มา คานธีรู้สึกอดรนทนไม่ได้ร่วมไปกับกลุ่มหลังนี้ ทั้งชื่นชมความกล้าหาญและความรักชาติของพวกเขา แต่ก็ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับความรุนแรงทั้งจากฐานทางศีลธรรมและ


A

Very Short Introduction

29

ความรอบคอบ ความรุ น แรงเป็ น ความชั่ ว ร้ า ยในตั ว มั น เอง ไม่ใช่ทางเลือกที่มีศักยภาพส�ำหรับประชาชนที่ถูกผู้ปกครอง อาณานิคมปลดอาวุธ และไม่น่าจะสร้างความกล้าหาญทาง ศีลธรรม ความทะนงตนทางวัฒนธรรม และความสามารถใน การปฏิบตั กิ ารพร้อมกันของมวลชน คานธีคดิ ว่าวิธี สัตยาเคราะห์ ที่เขาพัฒนาขึ้นในแอฟริกาใต้เป็นความหวังที่ดีที่สุดของอินเดีย ประการที่ 2 จากการศึกษา คานธีเชื่อว่าอินเดียอยู่ใน สภาวะ “เสือ่ มถอย” เขาสังเกตเรือ่ งนีใ้ นแอฟริกาใต้และเขียนไว้ใน ฮินฺด สฺวราช (Hind Swarāj) หนังสือเล่มแรกของเขาซึ่งได้เสนอ การวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเกีย่ วกับสถานการณ์อนั ยากล�ำบาก ของอินเดียและทางออก (M i. 199-264) สืบเนือ่ งจากการปกครอง โดยต่างชาตินานหลายศตวรรษเป็นเหตุให้ชาวอินเดียแตกแยก แบ่งชั้นวรรณะ หัวอ่อน กระเส็นกระสาย เห็นแก่ตัว ช่างหาเรื่อง ขี้ขลาด ศีลธรรมเสื่อมทราม ขาดส�ำนึกทางสังคมและคุณธรรม ของพลเมือง นอกเสียจากจะได้รับชีวิตใหม่และ “เกิดใหม่” แล้ว ประเทศนี้คงไม่อาจได้ชัยหรือคงความเป็นเอกราชไว้ได้ ดังนั้น คานธีจึงท�ำรายวิชาซึ่งครอบคลุมเรื่องการพัฒนาระดับชาติที่ เขาเรียกอย่างเหมาะเจาะว่า แผนงานสร้างสรรค์ (Constructive Programme) เนือ้ หานัน้ เป็นแบบฉบับของคานธี คือรวมรายการ ทัง้ เรือ่ งเล็กเรือ่ งใหญ่ ครอบคลุมส่วนต่างๆ ของชีวติ และบางส่วน ที่เลือกมาเพราะคุณค่าเชิงสัญลักษณ์เป็นส�ำคัญ รวมถึงข้อเสนอ ที่ “ขาดเสียมิได้เป็นอันขาด” คือสมานฉันท์ชาวฮินดูกบั ชาวมุสลิม การขจัดความเป็นดาลิต (หรือจัณฑาล) การห้ามเครือ่ งดืม่ มึนเมา การใช้ ผ้าขาดี้ (ผ้าฝ้ายทอมือ) การพัฒนาอุตสาหกรรมหมู่บ้าน


30

Gandhi

และการศึ ก ษาบนฐานงานฝี มื อ โครงการนี้ ยั ง รวมถึ ง ความ เท่าเทียมของสตรี สุขศึกษา การใช้ภาษาพื้นเมือง การใช้ภาษา ประจ�ำชาติร่วมกัน ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ การจัดตั้ง องค์กรชาวนาและกรรมกร การรวมประชาชนกลุ่มต่างๆ เข้ามา อยู ่ ใ นชี วิ ต ทางการเมื อ งและเศรษฐกิ จ กระแสหลั ก วิ นั ย อั น เคร่งครัดส�ำหรับนักเรียน การช่วยเหลือคนโรคเรื้อนและขอทาน และปลูกฝังการให้คุณค่าต่อสรรพสัตว์ ถึงแม้ขอ้ เสนอบางข้อจะเป็นเรือ่ งขีป้ ะติว๋ แต่กไ็ ม่มขี อ้ ใด ที่ไร้คุณค่า ตัวอย่างเช่น การใช้ ผ้าขาดี้ นั้นเป็นความตั้งใจให้ มีชุดประจ�ำชาติและอย่างน้อยก็สร้างมาตรการความเสมอภาค ทางรูปลักษณ์ภายนอกในสังคมที่ไม่เสมอภาคกันอย่างสูง ก่อ เกิดความรูส้ กึ เป็นนำ�้ หนึง่ ใจเดียวกันกับคนยากจน เพือ่ ท�ำให้เกิด แรงกดดันทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลอังกฤษ และลดการน�ำเข้าจาก ต่างชาติ การใช้ภาษาประจ�ำภูมภิ าคมุง่ จะเชือ่ มช่องว่างทีถ่ า่ งกว้าง และขยายออกระหว่างมวลชนกับอภิชนที่ถูกท�ำให้เป็นตะวันตก ท�ำให้มั่นใจว่าจะเกิดความต่อเนื่องทางวัฒนธรรม กระตุ้นความ คิดและการกระท�ำที่ถูกต้อง และเพื่อหลอมรวมเครื่องมือพื้นถิ่น แห่งการแสดงตนร่วมกัน การพัฒนาอุตสาหกรรมหมูบ่ า้ นมุง่ ช่วย คนจนในหมูบ่ า้ น รับประกันงานทีม่ รี ายได้ หยุดยัง้ การอพยพเข้า เมือง และเหนืออื่นใดคือเพื่อธ�ำรงสิ่งที่คานธีนับว่าเป็นพื้นฐาน ส�ำคัญทางสังคมและภูมิศาสตร์ของอารยธรรมอินเดีย ส�ำหรั บ คานธี แ ล้ ว สั ต ยาเคราะห์ ที่ มี ก ารวางแผน อย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนงานสร้างสรรค์ เป็นกุญแจสู่ การปฏิรูปทางศีลธรรมและการประกาศเอกราชทางการเมือง


A

Very Short Introduction

31

ของอินเดีย เป็นเวลาเกือบ 30 ปีทเี่ ขามุง่ มัน่ อุทศิ พลังทัง้ มวลเพือ่ สองสิ่งนี้ เขาปรารถนาจะผนึกรวมกลุ่มชายหญิงที่มีพรสวรรค์ หนุนเสริมกัน เขาเลือกคนเหล่านัน้ อย่างช�ำนาญ อบรมเลีย้ งดู และ เชือ่ มคนเหล่านัน้ เข้าด้วยกัน บางครัง้ เขาเลือกมาทัง้ ครอบครัวและ ให้สมาชิกในครอบครัวนั้นหนุนเสริมพันธกิจกันตามอุดมการณ์ ของเขาและถึงกับเป็นสมาชิกอาวุโสกิตติมศักดิ์ของครอบครัว นั้นด้วย เขาแก้ไขความตึงแย้งภายในและเป็นแรงจูงใจทาง อารมณ์ความรู้สึกอย่างมากโดยเฉพาะต่อสตรีและคนหนุ่มสาว เขาเชื่อมโยงครอบครัวอันหลากหลายและสร้างเครือข่ายระดับ ชาติที่มีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นโดยตัวเขาเองเป็นหัวหน้าผู้เป็นที่ เคารพนับถือ เนื่องจากว่าเขาต้องการให้มีวารสารเพื่อช่วยเป็น ปากเป็นเสียงในการต่อสู้ เขาจึงเริ่มเขียนและตรวจแก้วารสาร นวชีวัน (Navajivan) ซึ่งต่อมายังมีวารสาร หริชน (Harijan) ด้วย เขาต้องการเงินทุนจึงบ่มสร้างและบริหารจัดการอุตสาหกรรม 6 แห่งที่ร�่ำรวยที่สุดของอินเดียอย่างแยบยล เขาปรารถนาจะปลุก ประชาชนในชาติให้ตื่นขึ้นและรวมพลังเป็นหนึ่งเดียว จึงริเริ่ม ปฏิบัติการ สัตยาเคราะห์ ที่วางแผนมาโดยถ้วนถี่อย่างต่อเนื่อง ปฏิบตั กิ ารแต่ละครัง้ ดึงดูดกลุม่ ผูส้ นับสนุนทีเ่ ป็นเป้าหมายชัดเจน เขาต้องการองค์กรทางการเมืองที่มีอ�ำนาจและได้สร้างพรรค คองเกรสแห่งชาติอินเดียขึ้นใหม่จากฐานขึ้นข้างบน เหนืออืน่ ใดคือ คานธีตอ้ งการขับเคลือ่ นมวลชน หลังจาก ใคร่ครวญและทดลองมานาน เขาก็ได้พัฒนารูปแบบวาทกรรม ที่ชัดแจ้งซึ่งยังเป็นวิถีการปฏิบตั ิรปู แบบหนึ่งด้วย เขาเชื่อว่าการ กระท�ำของมนุษย์ได้พลังงานทางอารมณ์มาจาก “หัวใจ” ซึ่งจะ


32

Gandhi

ระบุและกระตุ้นได้ด้วยสัญลักษณ์ที่เลือกมาแล้วอย่างรอบคอบ เขาพัฒนากลุ่มสัญลักษณ์ที่คุ้นชินทางวัฒนธรรมอันทรงพลัง อันได้แก่ เครือ่ งปัน่ ด้าย ผ้าขาดี้ วัว และ “หมวกคานธี” (หมวกผ้า ฝ้ายสีขาวทีเ่ ขาท�ำให้เป็นทีแ่ พร่หลาย) ยกตัวอย่าง เครือ่ งปัน่ ด้าย ซึง่ คานธีขอให้ทกุ คนใช้นนั้ มีเป้าประสงค์เชิงสัญลักษณ์มากมาย นั่นคือวิธีการขบถอย่างนุ่มนวลต่ออารยธรรมทางเทคโนโลยี สมัยใหม่และยืนยันถึงศักดิ์ศรีแห่งวิถีชีวิตชาวบ้านของอินเดีย มันได้รวมเมืองกับหมู่บ้านและอภิชนผู้ถูกท�ำให้เป็นตะวันตกกับ มวลชนเป็นหนึ่งเดียวกัน ทั้งยังเป็น “เครื่องหมายแห่งมิตรภาพ” เครื่องปั่นด้ายยังสถาปนาศักดิ์ศรีแห่งแรงงานคนและผู้ที่มีส่วน ร่วม รวมถึงท้าทายวัฒนธรรมอินเดียดั้งเดิมที่ดูถูกเหยียดหยาม ทัง้ สองสิง่ นี้ มันเป็นสัญลักษณ์ของความเห็นอกเห็นใจทางสังคม ส�ำหรับคนที่ไม่ต้องการผลผลิตที่ได้จากเครื่องปั่นด้ายนี้ก็ถูก รบเร้าให้แจกจ่ายผลผลิตแก่คนยากจน ซึ่งเป็นการกระท�ำทาง ศี ล ธรรมที่ สู ง ส่ ง ไร้ ข อบเขตกว่ า การบริ จ าคเงิ น อั น เป็ น การ แสดงออกอย่างปรามาส และยังบังคับให้ปัจเจกอยู่กับตัวเอง ตามล�ำพัง ด�ำรงตนในความเงียบอย่างน้อยก็ชั่วขณะหนึ่งใน แต่ละวัน คานธีไม่เพียงพัฒนาสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นนี้นับไม่ถ้วน หากตัวเขาเองยังกลายเป็นสัญลักษณ์ด้วย บางส่วนมาจากการ ออกแบบโดยรู้ตัว บางส่วนเป็นการแสดงออกถึงวิถีชีวิตทั้งหมด ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ การแต่งกาย ภาษา วิธีการพูดใน ที่สาธารณะ อาหารการกิน ลักษณะท่าทาง วิธีนั่ง เดิน และพูด การหัวเราะ อารมณ์ขัน และไม้เท้าซึ่งกลายมาเป็นสัญลักษณ์ ของวิถีชีวิตจ�ำเพาะแบบหนึ่ง แต่ละอย่างนั้นชวนให้หวนกลับ


A

Very Short Introduction

33

ไปหาความทรงจ�ำทางวัฒนธรรมอันลึกซึ้ง บ่งบอกอะไรต่างๆ มากมาย และสื่อความอันแสนซับซ้อน สัญลักษณ์ตา่ งๆ ของคานธีไม่เพียงดึงดูดอารมณ์ความ รู้สึกเท่านั้น เขายังเสนอเหตุผลรองรับอันชอบธรรมอีกด้วย สัญลักษณ์เหล่านั้นไม่ได้เป็นทั้งคุณไสยหรือสิ่งลี้ลับ หากแต่ ทั้งหมดนั้นล้วนมาจากชีวิตประจ�ำวันของคนอินเดียทั่วๆ ไป มันดึงดูดทั้งสมองและหัวใจ ความสนใจและความทรงจ�ำทาง วัฒนธรรม ปัจจุบันและอดีต อีกทั้งถูกออกแบบมาเพื่อให้ขยาย ออกไปสู่ “การด�ำรงอยู่แบบองค์รวม” ของเพื่อนร่วมชาติ และ ขับเคลือ่ นพลังงานทางศีลธรรมของพวกเขา สัญลักษณ์เหล่านั้น ได้ ส ร้ า งสุ น ทรี ย ศาสตร์ แ บบใหม่ โ ดยตั ว มั น เองและโลกแห่ ง บทสนทนาส่วนตัวชนิดหนึ่งขึ้นซึ่งรัฐบาลอาณานิคมเข้าไม่ถึง ไม่ มี ผู ้ น�ำคนไหนก่ อ นหน้ า คานธี ที่ ส ร้ า งยุ ท ธศาสตร์ ข องการ กระท�ำอันทรงพลัง ครอบคลุม และชัดเจนเช่นนี้ และไม่มีใคร มีความมั่นใจในตนเองมหาศาลหรือมีทักษะการจัดองค์กรและ การสื่อสารเช่นเขา ไม่น่าแปลกใจว่าเขาจะกุมอิทธิพลในชีวิต ทางการเมื อ งของอิ น เดี ย นานเกื อ บกึ่ ง ศตวรรษโดยไม่ มี ใ คร เทียบเคียงได้ ส�ำหรับคานธี การต่อสู้เพื่อเอกราชทางการเมืองต้อง ด�ำเนินควบคู่ไปกับและเป็นรองการต่อสู้เพื่อปฏิรูปอินเดียซึ่ง ยิ่ ง ใหญ่ ก ว่ า หากเอกราชทางการเมื อ งกลายเป็ น เป้ า หมาย หนึ่ ง เดี ย วหรื อ ส�ำคั ญ กว่ า อี ก เป้ า หมายหนึ่ ง ประเทศชาติ ก็ เ สี่ ย งที่ จ ะเชิ ด ชู อ�ำนาจทางการเมื อ งเพื่ อ ตั ว ของมั น เอง อันเป็นการสนับสนุนการเห็นแก่ความก้าวหน้าทางหน้าทีก่ ารงาน


34

Gandhi

เป็นหลัก การให้เกียรติเจ้าพนักงานมากกว่ากรรมกรรากหญ้า และอื่นๆ ถึงแม้ทัศนะของคานธีจะมีข้อดีแต่ก็ได้สร้างปัญหา ให้เขาด้วย การต่อสู้เพื่อเอกราชและการปฏิรูปทางศีลธรรม มี ตรรกะแตกต่ า งกั น และบางครั้ ง ก็ ขั ด แย้ ง กั น ยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น การต่อสูเ้ พือ่ เอกราชยังเกีย่ วเนือ่ งกับทัง้ ปฏิบตั กิ าร สัตยาเคราะห์ และการท�ำงานภายในสถาบันสภาผู้แทนราษฎรที่รัฐอาณานิคม จัดหาให้ ซึ่งบางครั้งก็ถูกดึงไปคนละทิศละทางเช่นเดียวกัน ผู้น�ำชาวอินเดียหลายคนไม่ได้เห็นพ้องกับล�ำดับความส�ำคัญ แบบทีค่ านธีให้ตอ่ การปฏิรปู ทางศีลธรรมและแผนงานสร้างสรรค์ ทั้งมีทัศนะไปในทางตรงกันข้ามว่าเอกราชทางการเมืองเป็น เงื่ อ นไขจ�ำเป็ น ของการปฏิ รู ป ทางศี ล ธรรมและต้ อ งมาก่ อ น ในขณะทีค่ านธีตดั สิน สัตยาเคราะห์ จากจุดยืนของผลกระทบต่อ สังคมอินเดียและการปฏิรูป ผู้น�ำเหล่านั้นตัดสินจากพื้นฐานว่า มั น มี ผ ลต่ อ การเมื อ งแบบขนบและส่ ง เสริ ม ความต้ อ งการ สถาบันสภาผู้แทนราษฎรของพวกเขาอย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากคานธีไม่ได้สร้างสายสัมพันธ์ทชี่ ดั เจนระหว่างการเมือง แบบขนบ สัตยาเคราะห์ กับแผนงานสร้างสรรค์ และเนื่องจาก มันต้องมีการนิยามใหม่อยู่เสมอตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ยุ ท ธศาสตร์ โ ดยรวมของเขาจึ ง ไม่ ส อดคล้ อ งลงรอยกั น อยู ่ บ้าง ท�ำให้บางครั้งความเป็นผู้น�ำของเขามีความบกพร่องและ คาดการณ์ไม่ได้ คานธีรู้ปัญหานี้และหาทางจัดการ เขาโต้แย้งว่าปัจเจก แต่ละคนมีพรสวรรค์และนิสัยใจคอแตกต่างกัน และเหมาะสม กับงานต่างประเภทกัน บางคนมีความสุขทีส่ ดุ กับงานสร้างสรรค์


A

Very Short Introduction

35

บางคนมี ค วามสุ ข กว่ า ที่ ไ ด้ เ ข้ า ร่ ว ม สั ต ยาเคราะห์ บางคน เหมาะสมที่สุดกับการเมืองแบบขนบ การต่อสู้ทางการเมืองควร ปรับให้เข้ากับคนจ�ำนวนมากนี้ และปล่อยให้ปจั เจกแต่ละคนเป็น อิสระในการท�ำสิ่งที่เขาหรือเธอท�ำได้ดีที่สุด สิ่งนี้จะให้ทั้งความ รู้สึกเติมเต็มตนเองและยืนยันความจ�ำเป็นในการแบ่งงานกันท�ำ ซึ่งเป็นที่ต้องการส�ำหรับภารกิจอันยิ่งใหญ่คือการปฏิรูปอินเดีย และการประกาศเอกราช ส่วนคานธีเองกล่าวว่าเขารู้สึกสบายใจ ที่สุดกับงานสร้างสรรค์ และสบายใจน้อยกว่ากับ สัตยาเคราะห์ และไม่สบายใจเลยกับการเมืองแบบขนบ เขาจึงมุ่งเน้นไปที่สอง อย่างแรกและปล่อยอย่างสุดท้ายไว้กับคนที่เหมาะสม ถึงแม้ การเมืองแบบขนบจะไม่อาจแยกออกจากสองอย่างแรกได้โดย ง่าย แต่นี่ก็เป็นการประนีประนอมที่มีเหตุมีผลและท�ำงานได้ดี พอสมควร และยังหมายความว่าสายสัมพันธ์ระหว่างคานธีกับ พรรคคองเกรสมี ลั ก ษณะหลวมๆ และลื่ น ไหล พรรครั ก ษา อิ ส รภาพในการตั ด สิ น ใจค่ อ นข้ า งมากและไม่ เ คยเป็ น เพี ย ง เครื่องมือแห่งเจตจ�ำนงของเขา ส่วนคานธีรักษาอิสรภาพใน การกระท�ำของตนและไม่ได้เป็นเพียงผู้น�ำพรรค ถึงแม้ปฏิบัติการ สัตยาเคราะห์ ของคานธีในอินเดีย จะเดินตามแบบแผน สัตยาเคราะห์ ในแอฟริกาใต้ หากแต่เขาก็ ได้เปลี่ยนแปลงมันหลายอย่างเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และความต้องการใหม่ๆ ดังที่เราจะได้เห็นต่อไป หนึ่งในนั้นคือ ความคิดเรือ่ งการอดอาหาร และมันได้กลายเป็นประเด็นถกเถียง กันมากตลอดชีวิตของเขา ด้วยเหตุผลที่จะถกกันต่อไป คานธี ไม่ เ คยกั ง ขาเลยในเรื่ อ งที่ ว ่ า การอดอาหารของเขามิ ใ ช่ ก าร


36

Gandhi

อดอาหารประท้วง ทั้งมิใช่รูปแบบการกรรโชกทางศีลธรรม หรืออารมณ์ อีกทั้งมิใช่วิธีท�ำให้เกิดและใช้ประโยชน์จากความ สงสารของคนอื่น แต่เป็นรูปแบบการเสียสละตนเองและแสดง ถึงวิธีกระท�ำการทางศีลธรรมอย่างสมบูรณ์แบบ ประสบการณ์ ทีผ่ า่ นมาท�ำให้เขาเชือ่ ว่าการกระท�ำของมนุษย์เกิดจาก “ทัง้ สมอง และหัวใจ” และปัจเจกไม่สามารถสลัดความพึงพอใจของตัวเอง ในประเด็นส�ำคัญยิ่งยวดทางศีลธรรมด้วยการเทศน์และถกเถียง เท่านั้น เราต้องสัมผัสหัวใจของคนเหล่านั้นและกระตุ้นส�ำนึก ผิดชอบชัว่ ดี การอดอาหารเป็นหนึง่ ในวิธที ไี่ ด้ผลทีส่ ดุ คานธีเข้าใจ ธรรมชาติและกลไกของมันว่าความคิดเรื่องการอดอาหารมีที่มา จากสองแหล่งทีแ่ ตกต่างกัน ได้แก่ การบ�ำเพ็ญ ตบะ (การบ�ำเพ็ญ ทุกรกิริยา) แบบฮินดู และความคิดแบบคริสต์เรื่องความรักที่ ทุกข์ทนเป็นหลัก การอดอาหารเป็นการกระท�ำการทรมานตนเอง โดยมุ่งหมายให้ตนบริสุทธิ์และกระตุ้นพลังงานแก่มโนธรรมของ คนที่เราสื่อสารไปถึง ความเป็นผู้น�ำในการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช เนื่องจากผลงานที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและ ความเป็นผู้น�ำที่ประสบความส�ำเร็จในปฏิบัติการ สัตยาเคราะห์ ที่เมืองจัมปารันและเมืองเขทาในปี 1917 และ 1918 ตามล�ำดับ รวมถึ ง การนั ด หยุ ด งานประท้ ว งของคนงานทอผ้ า ที่ เ มื อ ง อาหเมดาบาดในปี 1918 คานธีได้กลายมาเป็นผู้น�ำแห่งชาติ ผู้มีอิทธิพลภายในเวลา 4 ปีที่เขากลับอินเดีย ภาษาเชิงศีลธรรม


A

Very Short Introduction

37

บุคลิกภาพอันซับซ้อน วิสยั ทัศน์อนั แจ่มชัด การใช้สญ ั ลักษณ์ทาง วัฒนธรรมทีแ่ พร่หลาย กิรยิ ามารยาท ความมัน่ ใจในตนเองอย่าง มหาศาล และความกล้าหาญทีจ่ ะลุกขึน้ ต่อต้านผูน้ �ำทีด่ �ำรงอยูม่ า ยาวนานและเป็นที่ยอมรับนั้น ท�ำให้เพื่อนร่วมชาติทั้งประทับใจ และประหลาดใจ ประกอบกับบารมีของเขา ในเดือนมีนาคม ปี 1919 เมือ่ รัฐบาลประกาศใช้กฎหมายเราแลตต์ (Rowlatt Acts) ซึ่งไม่เป็นที่ชื่นชอบ และมุ่งไปที่ “การสมคบคิดปฏิวัติ” เป็นหลัก และท�ำให้ข้อจ�ำกัดในยามสงครามเรื่องเสรีภาพพลเมืองยังคง ด�ำเนินไป คานธีรู้สึกมั่นใจพอที่จะเริ่มปฏิบัติการ สัตยาเคราะห์ ระดับชาติครัง้ แรกในปีนนั้ ซึง่ หมายรวมถึง ฮาร์ตาล (การหยุดงาน) ทั่วประเทศที่ได้ผล และการประท้วงของมวลชน ผลกลับออกมา ตรงกันข้ามกับที่เขาคาดไว้ การต่อสู้ล้มเหลวเนื่องจากเหตุวาง เพลิง ปล้นสะดม และการใช้ความรุนแรงต่อชาวอังกฤษบางคน คานธีอธิบายไว้ว่ามันเป็น “ความผิดพลาดอันใหญ่หลวงเท่า ภูเขาหิมาลัย” ของเขาและยกเลิกปฏิบัติการ เขาจะท�ำเช่นนี้ อีกครั้งใน 3 ปีต่อมาในอีกบริบทหนึ่ง ความกลัวการขายหน้า ต่อสาธารณะหรือการสูญเสียอ�ำนาจทางศีลธรรมนัน้ ไม่ได้กวนใจ เขาเลยแม้แต่นอ้ ย เพราะการยอมรับความผิดพลาดเป็น “เกียรติ ที่สูงส่งกว่า” การสละหลักการของตน และไม่ว่าอย่างไรก็ตาม “อ�ำนาจทางศีลธรรมไม่เคยรักษาไว้ได้ด้วยการพยายามยึดกุม มันไว้” ความรุนแรงบางอย่างยังด�ำเนินไป รัฐบาลอาณานิคม สัง่ ห้ามการชุมนุมในทีส่ าธารณะในรัฐปัญจาบ เมือ่ มีคนถูกจับกุม ที่สวนสาธารณะชลียาวาลาบาม รัฐอมฤตสระ เมื่อวันที่ 13


38

Gandhi

เมษายน 1919 นายพลจัตวาดายเออร์สั่งกองทหารยิงเข้าใส่ ฝูงชนที่ปราศจากอาวุธโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า เป็นผลให้มี ผู้เสียชีวิต 379 คน บาดเจ็บ 1,137 คน เหตุการณ์นี้และการที่ คณะกรรมการฮันเตอร์ยกเว้นโทษให้นายพลจัตวาดายเออร์ ในเวลาต่อมา ท�ำให้การปกครองอาณานิคมเสื่อมเสียเกียรติใน สายตาชาวอินเดียจ�ำนวนมาก คานธีเขียนถึงข้าหลวงใหญ่ว่า เขา “ไม่สามารถ [คงไว้ซึ่ง] ความเคารพหรือ ... ชอบพอ” ต่อ รัฐบาลอาณานิคม ไม่กเี่ ดือนต่อมาเขาเขียนบทความส�ำคัญ 3 ชิน้ ประกาศว่าการกบฏต่อต้านรัฐบาลเป็น “หน้าที่” และเรียกร้อง ให้การปกครองของอังกฤษสิ้นสุดลง คานธีเริ่มการเคลื่อนไหวแบบไม่ให้ความร่วมมือในปี 1920 ซึ่งด�ำเนินไปประมาณ 2 ปี การเคลื่อนไหวนี้ได้แรงบันดาล ใจจากความคิดบรรเจิดอันเรียบง่ายแต่อันตรายที่ว่า สืบเนื่อง จากความต่อเนื่องของรัฐอาณานิคมขึ้นอยู่กับความร่วมมือของ อาณาประชาราษฎร์ รัฐจะล่มสลายถ้าปวงประชาเลิกสนับสนุน และตั้งสถาบันอื่นขึ้นมาอุดช่องว่างนั้น คานธีให้ค�ำมั่นว่าจะ ประกาศเอกราช “ภายใน 1 ปี” ถ้าการไม่ให้ความร่วมมือนั้น เบ็ดเสร็จและแพร่หลายโดยต้องท�ำในหลายระดับขั้น ซึ่งรวมถึง การลาออกจากงานราชการ การปฏิเสธการใช้บริการศาลและ โรงเรียน และในขั้นต่อมาก็ปฏิเสธที่จะจ่ายภาษีและเข้ารับการ เกณฑ์ทหาร รวมถึงการเผาเสื้อผ้าต่างชาติ หลายคนไม่สบายใจ กับข้อเสนอของคานธี ไม่เพียงเพราะคิดว่ามันไม่สมจริง แต่ ยังเป็นเพราะข้อเสนอนั้นมีนัยต่อต้านรัฐและเป็นกึ่งอนาธิปไตย ด้ ว ยเช่ น กั น คานธี ต อบโต้ ว ่ า การไม่ ใ ห้ ค วามร่ ว มมื อ เป็ น วิ ธี


A

Very Short Introduction

39

แสดงความกลวงเปล่าของรัฐอาณานิคมและการสมคบของชาว อินเดียโดยทั่วไปในรัฐนั้น และเป็นการฟื้นฟูรัฐใหม่บนพื้นฐาน สากล ความคิดของเขาเกี่ยวกับการเผาเสื้อผ้าต่างชาติยังก่อให้ เกิดความกังวลใจอย่างมาก บางคนรวมถึง รพินทรนาถ ฐากูร มหากวีแห่งอินเดีย ก็กังขาว่าคานธีไม่ได้ก�ำลังสุมฟืนเข้ากองไฟ แห่งแนวคิดชาตินิยมแบบคับแคบและกระทั่งมีอาการหวาดกลัว ต่างชาติอยู่หรือ คานธีปฏิเสธข้อกล่าวหาอย่างแข็งขัน เสื้อผ้า ต่างชาติเป็นสัญลักษณ์ของการแสดงความมั่งคั่งอย่างชัดเจน เป็น “ความหลงใหล” ในวัตถุต่างชาติ การใช้เสื้อผ้าเป็นเหมือน เครื่ อ งหมายของอั ต ลั ก ษณ์ ต ะวั น ตก และการครอบง�ำทาง เศรษฐกิจโดยเจ้าอาณานิคม การเผาเสื้อผ้าคือการที่ตัวเราเอง “ล้างมลทิน” หรือ “ท�ำให้ตวั เราบริสทุ ธิ”์ จากทัง้ หมดนี้ ผลพลอยได้ ก็คือเป็นการสร้างอุตสาหกรรมพื้นถิ่น สนับสนุนความทะนงตน ทางวัฒนธรรมของมวลชน และกระทบต่อผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจของอังกฤษ (xxi. 102; xl. 84-5) เนื่องจากคานธีเป็นผู้น�ำในการเคลื่อนไหวแบบไม่ให้ ความร่วมมือ เขาจึงถูกจับกุมตัวมาพิจารณาคดีในเดือนมีนาคม ปี 1922 เขาบ่ อ นท�ำลายการพิ จ ารณาคดี ต ามนิ สั ย ของเขา โดยปฏิเสธที่จะยึดตามตรรกะของรูปคดี เขาไม่จ้างทนายและ เผชิญหน้ากับอัยการเพียงล�ำพังอันเป็นสัญลักษณ์ของการที่ ประชากรอินเดียหมดหนทางเมื่ออยู่ต่อหน้ารัฐอาณานิคมตาม ระเบียบ เขาไม่ได้แก้ต่างให้ตัวเอง และไม่เพียงรับสารภาพ แต่ยังร้องขอให้ผู้พิพากษาพิจารณาข้อมูลต้องสงสัยที่ละเลย ไป เขาเปลี่ยนการพิจารณาคดีตัวเขาให้เป็นการพิจารณาคดี


40

Gandhi

การปกครองของอาณานิ ค มไปในตั ว โดยใช้ โ อกาสนี้ อ ธิ บ าย ว่ า เหตุ ใ ด “จากผู ้ ภั ก ดี แ ละผู ้ ใ ห้ ค วามร่ ว มมื อ อย่ า งถวายหั ว ” จึ ง “กลายมาเป็ น ผู ้ เ ลิ ก สนั บ สนุ น และผู ้ ไ ม่ ใ ห้ ค วามร่ ว มมื อ ที่ ไ ม่ ป ระนี ป ระนอม” และเสนอแนะว่ า มี บ างอย่ า งผิ ด พลาด อย่างร้ายแรงกับระบบการปกครองที่สั่งให้กักขังคนอย่างเขา คานธีทิ้งท้ายด้วยการเสนอภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกทาง ศีลธรรมแก่ผู้พิพากษา กล่าวคือ ถ้าผู้พิพากษาเห็นด้วยกับ ระบบทีเ่ ป็นอยูน่ ี้ เขาก็มหี น้าทีล่ งโทษคานธีดว้ ย “โทษหนักทีส่ ดุ ” แต่ถ้าผู้พิพากษาพิพักพิพ่วนกับการลงโทษนั้น เขาก็มีหน้าที่ ประณามระบบและลาออก (G 254-8) ผู้พิพากษาชาวอังกฤษสะเทือนใจอย่างยิ่ง เขาเจองาน หินเข้าให้แล้ว เขาค�ำนับคานธีและลงความเห็นว่าคานธีเป็น “คนจ�ำพวกที่แตกต่างจากคนอื่นๆ ที่ข้าพเจ้าเคยไต่สวนมาหรือ น่าจะได้ไต่สวน” เขากล�้ำกลืนตัดสินโทษจ�ำคุกคานธีนาน 6 ปี โดยกล่าวว่าถ้ารัฐบาลมีเหตุผลใดก็ตามที่จะปล่อยตัวคานธีเร็ว กว่านี้ก็จะไม่มีใคร “ยินดีไปกว่า” เขา คานธีขอบคุณผู้พิพากษา ที่ปฏิบัติกับตนด้วยมารยาทสุภาพนอบน้อมที่สุด และพิจารณา โทษที่ “เบาเท่าที่ผู้พิพากษาคนใดก็ตาม” จะพิจารณาโทษเมื่อ ตกอยู่ในสถานการณ์นี้ การพิจารณาคดีนี้ซึ่งเป็นฉากส�ำคัญใน ประวัติศาสตร์อาณานิคมของอังกฤษเน้นรูปแบบการปฏิบัติการ ของคานธี วิสยั ของความเหมาะสมของราช (การปกครองอินเดีย ของอังกฤษ) และมารยาทแบบสุภาพบุรษุ ทีท่ งั้ สองฝ่ายใช้จดั การ ความสัมพันธ์ต่อกันเป็นบางครั้งให้เด่นชัด ที่ส�ำคัญคือรัฐบาล อาณานิคมไม่พิจารณาคดีคานธีอีกเลยแม้จะกักขังเขาอีกหลาย ครั้งก็ตาม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.