ปรัชญากฎหมาย: ความรู้ฉบับพกพา • พิเศษ สอาดเย็น, ธงทอง จันทรางศุ แปล จากเรื่อง Ph ilo s o p h y o f La w : A V e r y S h or t I n t r o duc t i o n โดย Raymond Wacks พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ o p e n w o r l d s , มีนาคม 2558 ราคา 265 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล เลขานุการกองบรรณาธิการ ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ภูมิ นํ้าวล ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว บรรณาธิการศิลปกรรม กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล • บรรณาธิการเล่ม ภูมิ น�้ำวล บรรณาธิการต้นฉบับ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก w r ongd e s i g n • จัดท�ำโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 604/157 ถนนสาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2 - 6 1 8 - 4 7 3 0 e m a il: o pe n w o r l d s t h a i l a n d @g m a i l . c o m fa c e b o o k : w w w . f a c e b o o k . c o m / o p e n w o r l d s twitte r : w w w . t w i t t e r . c o m / o p e n w o r l d s _ t h we b s i t e : w w w . o p e n w o r l d s . i n . t h จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 5 1 - 5 9 9 9 we b s i t e : h t t p : / / w w w . s e - e d . c o m /
สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล หมายเลขโทรศัพท์ 086 403 6451 หรือ Email: openworldsthailand@gmail.com
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ แวคส์, เรย์มอนด์. ปรัชญากฎหมาย: ความรู้ฉบับพกพา.-กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2558. 256 หน้า. 1. กฎหมาย--ปรัชญา. I. พิเศษ สอาดเย็น, II. ธงทอง จันทรางศุ, ผู้แปล. III. ชื่อเรื่อง. 340 ISBN 978-616-7885-14-8 • Thai language translation copyright 2015 by openworlds publishing house /Copyright © 2014 by Raymond Wacks All Rights Reserved.
Philo s o p h y o f L a w: A V e r y S h o r t I n t r o d u c t i o n , 2 n d e d i t i o n , by R aymond W ack s wa s o rig in a lly pu b l i s h e d i n E n g l i s h i n 2 0 1 4 . This translation is published by arrangement with Oxford University Press t hrou g h T u ttle -M o ri Age n c y C o . , L t d . The Thai edition is translated by Phiset Saardyen and Thongtong Juntarangsu and p u b lis h e d b y o p e nw o r l d s p u b l i s h i n g h o u s e , 2 0 1 5 . ปรัชญากฎหมาย: ความรู้ฉบับพกพา ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อปี ค.ศ. 2014 แปลและตีพิมพ์เป็นภาษาไทยโดยข้อตกลงกับสำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
สารบัญ
. ค�ำน�ำผู้แปล : 8 ค�ำน�ำผู้เขียน : 12 1. กฎหมายธรรมชาติ : 18 2. ปฏิฐานนิยมเชิงกฎหมาย : 58 3. ดวอร์คินกับบูรณภาพเชิงจริยธรรมของกฎหมาย : 98 4. สิทธิและความยุติธรรม : 126 5. กฎหมายกับสังคม : 166 6. ทฤษฎีกฎหมายแนววิพากษ์ : 196 7. เข้าใจกฎหมาย: บทส่งท้ายฉบับพกพา : 236 บรรณานุกรม : 240 หนังสืออ่านเพิ่มเติม : 245 ประวัติผู้เขียน : 254 ประวัติผู้แปล : 255
สารบัญภาพประกอบ
. 1 รักร่วมเพศ การแต่งงานของคนเพศเดียวกัน และการนอกใจคู่สมรส ล้วน ขัดกับหลักการของกฎหมายธรรมชาติ © William B. Plowman/Getty Images : 20 2 การพิจารณาคดีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของนาซีที่เมืองนูเรมเบิร์กได้นำ�หลักการ กำ�หนดให้การกระทำ�บางอย่างเป็น “ความผิดต่อมนุษยชาติ” มาปรับใช้ © Hulton Archive/Getty Images : 39 3 การบั ง คั บ ใช้ ก ฎหมายในลั ก ษณะที่ แ บ่ ง แยกเชื้ อ ชาติ แ ละเลื อ กปฏิ บั ติ อย่างเห็นได้ชัดเจนและแพร่หลายในแอฟริกาใต้ยุคเหยียดสีผิว © 2006 TopFoto.co.uk : 43 4 เจเรมี เบนธัม หรือจะเป็น “ลูเธอร์แห่งปรัชญากฎหมาย”? © Ann Ronan Picture Library/HIP/TopFoto.co.uk : 63 5 เอช.แอล.เอ. ฮาร์ต: บิดาแห่งปฏิฐานนิยมเชิงกฎหมายสมัยใหม่ © Joseph Raz : 74 6 โรนัลด์ ดวอร์คิน มองกฎหมายว่าเป็นกระบวนการตีความซึ่งให้ความสำ�คัญ กับสิทธิของปัจเจกเป็นอย่างยิ่ง © UPPA 2006 TopFoto.co.uk : 101 7 เนลสัน แมนเดลา: สัญลักษณ์ของการเรียกร้องเสรีภาพและความยุติธรรม : 134 8 การเลือกปฏิบัติเนื่องจากเชื้อชาติเป็นความรุนแรงเฉพาะตัวในตอนใต้ของ สหรัฐอเมริกา © 2006 TopFoto.co.uk : 136
9 รูปปั้นยุติธรรมเทวีบนยอดอาคารศาลอาญากลาง (“โอลด์เบลีย์”) ในกรุง ลอนดอน © Ian Britton/FreeFoto.com : 143 10 ทฤษฎีความยุตธิ รรมในฐานะความเทีย่ งธรรมของ จอห์น รอลส์ ทีม่ อี ทิ ธิพล อย่างสูง © Jane Reed/Harvard University Gazette : 157 11 สังคมบรรพกาลมีวิธีการลงโทษที่ทารุณโหดร้าย เช่นมัดกับเสาแล้วจุดไฟ เผา © Stapleton Collection/Corbis : 171 12 ขบวนการเรียกร้องสิทธิพลเมืองในสหรัฐอเมริกาช่วงทศวรรษ 1960 สามารถบรรลุเป้าหมายสำ�คัญคือความเสมอภาคทางเชือ้ ชาติภายใต้กฎหมาย ได้ในที่สุด Courtesy of the Library of Congress : 235
8
Philosophy
of
Law
ค�ำน�ำผู้แปล
.
เมื่ อ ส� ำ รวจตรวจดู ห ลั ก สู ต รการศึ ก ษาของคณะ นิติศาสตร์หรือโรงเรียนกฎหมายทั่วไปที่มีอยู่ในโลกแล้ว วิชา หนึ่งที่ได้รับความส�ำคัญและเป็นวิชาที่นิสิตนักศึกษากฎหมาย ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษได้แก่วิชาปรัชญากฎหมาย ซึ่งใน หลายสถาบันอาจเรียกยักเยือ้ งไปเป็นอย่างอืน่ ก็มอี ยู่ แต่ขอ้ ใหญ่ ใจความอยูต่ รงทีว่ า่ นอกจากการเรียนรูบ้ ทบัญญัตขิ องกฎหมาย รวมตลอดถึงวิธีการบังคับใช้กฎหมายตามที่ระบุไว้ในหลักสูตร แล้ว นักเรียนกฎหมายควรจะมีความเข้าใจถ่องแท้ในเชิงปรัชญา เกี่ยวกับกฎหมายและความยุติธรรม ทั้งในแง่มุมที่เป็นความคิด คลาสสิก กับทั้งพัฒนาการที่คลี่คลายไปตามกาลเวลาและบริบท ของสังคมทีเ่ ปลีย่ นแปลงอยูเ่ สมอ ตลอดไปจนถึงการให้คำ� อธิบาย เชิงปรัชญากฎหมายกับค�ำถามท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นทุกเมื่อ เชื่อวันด้วย อันทีจ่ ริงแล้ว ความสนใจหรือประโยชน์ทจี่ ะพึงได้รบั จาก การเรียนรู้ปรัชญากฎหมายไม่น่าจะจ�ำกัดอยู่แต่เพียงเฉพาะผู้ที่ ได้ศึกษาเล่าเรียนในวิชานิติศาสตร์โดยตรงเท่านั้น เพราะแท้จริง
A
Very Short Introduction
9
แล้ว กฎหมายก็ดี ความยุติธรรมก็ดี ไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของใคร คนใดคนหนึ่ง หากแต่เป็นของเราทุกคนผู้เป็นสมาชิกในสังคม ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่เรื่องราวเกี่ยวกับปรัชญากฎหมายจะ เป็นที่ต้องการเรียนรู้ของคนทั่วไปในวงกว้างด้วย แต่น่าเสียดาย ทีห่ นังสือหรือต�ำราในเรือ่ งท�ำนองนีท้ เี่ ผยแพร่อยูใ่ นเมืองไทยของ เรามีอยูไ่ ม่มากเล่มนัก เพราะเราไม่อาจปฏิเสธได้วา่ ความคิดทาง ปรัชญากฎหมายจ�ำนวนไม่น้อยมีจุดก�ำเนิดและพัฒนามาจาก นักคิดในซีกโลกฝ่ายตะวันตก หนังสือปรัชญากฎหมายรุน่ เก่าของ เราจึงหาได้ยากเย็นเต็มที หากจะสามารถเพิม่ จ�ำนวนวรรณกรรม หรือหนังสือด้านนี้ขึ้นบ้างก็น่าจะมีประโยชน์อยู่มิใช่น้อย ประจวบกับผูแ้ ปลได้มโี อกาสอ่านหนังสือเรือ่ ง Philosophy of Law: A Very Short Introduction ซึง่ เป็นผลงานเรียบเรียงของ เรย์มอนด์ แวคส์ (Raymond Wacks) ศาสตราจารย์ดา้ นนิตศิ าสตร์ ผูเ้ คยสอนในมหาวิทยาลัยทีม่ ชี อื่ เสียงหลายแห่งของโลก จัดพิมพ์ โดยส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เมื่อได้อ่านแล้วก็มี ความพึงพอใจในสาระที่เรียบเรียงไว้ได้กะทัดรัดและไม่ยากเกิน ความเข้าใจ ผู้แปลจึงได้ทดลองแปลหนังสือเล่มดังกล่าวเพื่อ ลับสมองของตัวเองเป็นเบือ้ งต้น โดยยังไม่มแี ผนการต่อไปว่าถ้า แปลส�ำเร็จเรียบร้อยแล้วจะท�ำอย่างไรกับงานแปลชิ้นนี้ แต่เวลา ผ่านไปได้ไม่นานผู้แปลก็ได้พบว่ามีส�ำนักพิมพ์ในประเทศไทย ของเราแห่งหนึ่ง คือส�ำนักพิมพ์ openworlds สนใจงานแปล ประเภทนี้ และได้เคยจัดพิมพ์งานแปลของหนังสือชุดเดียวกันนี้ บางเล่มเผยแพร่เป็นส�ำนวนภาษาไทยมาแล้ว หลังจากการพูดคุย กันระยะหนึง่ การขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิโ์ ดยตรงก็สำ� เร็จ
10
Philosophy
of
Law
เรียบร้อย และท�ำให้ผแู้ ปลมีความมัน่ ใจว่างานแปลชิน้ นีห้ ากท�ำได้ ส�ำเร็จ จะมิได้เป็นแต่เพียงการ “ลับสมอง” ส่วนตัวเท่านัน้ หากแต่ จะได้ช่วย “เพิ่มสมอง” หรือเป็นการต่อเติมความรู้ด้านปรัชญา กฎหมายให้แก่ผู้สนใจชาวไทยด้วย ผู้แปลขอขอบพระคุณเจ้าของผลงาน ส�ำนักพิมพ์ที่ เกี่ยวข้องทั้งสองแห่ง ครูบาอาจารย์ชาวไทยที่แต่งต�ำราปรัชญา กฎหมายหลายเล่มไว้ให้ผู้แปลได้ใช้เป็นแนวทางในการค้นคว้า เทียบเคียง และขอขอบคุณเป็นพิเศษส�ำหรับคุณวรวรรณ วรรณวิล ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมาย เศรษฐกิจ) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผูไ้ ด้ชว่ ยติชมและแก้ไข งานแปลชิ้นนี้ให้มีความสมบูรณ์ขึ้นในหลายส่วน คงไม่เป็นการผิดร้ายแรงอะไรถ้าจะกล่าวว่าหนังสือ เล่มนี้แม้ไม่ใช่ต�ำราปรัชญากฎหมายเล่มใหญ่ที่สมบูรณ์แบบและ ดีทสี่ ดุ ในโลก แต่ผแู้ ปลก็มคี วามมัน่ ใจว่าการได้อา่ นหนังสือเล่มนี้ ตั้งแต่ต้นจนจบจะไม่เป็นการเสียเวลาเปล่า และจะท�ำให้ทุกท่าน เห็นได้ชดั เจนว่ากฎหมายกับความยุตธิ รรมนัน้ มีความเป็นสากล ต้องอาศัยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และมีคุณค่ายิ่งนักส�ำหรับชีวิต มนุษย์ทุกคน
ธงทอง จันทรางศุ พิเศษ สอาดเย็น มีนาคม 2558
12
Philosophy
of
Law
ค�ำน�ำผู้เขียน
.
ความกระชับตรงจุดมักไม่ค่อยไปด้วยกันกับกฎหมาย ถ้าเป็นนักกฎหมายด้วยแล้วก็ยงิ่ ไปกันใหญ่ วรรณกรรมกฎหมาย ก็มักมีแต่เล่มโตและยืดยาว ต�ำรากฎหมายก็แสนจะหนัก ส่วน ต�ำราว่าด้วยนิติปรัชญานั้นนอกจากตัวเล่มจะหนักแล้ว เนื้อหา ก็ยังหนักอีกด้วย บางทีนี่อาจเป็นเคราะห์กรรมอันมิอาจเลี่ยงได้ อย่างไรก็ดี หนังสือชุด “ความรู้ฉบับพกพา” ก�ำหนดให้ ผู้เขียนต้องเขียนให้หนังสือบางลง ย่นย่อ และอัดแน่น โดยไม่ ท�ำให้เนื้อหาเสียความลุ่มลึกไป การสกัดเอาแต่แก่นสารของวิชา ปรัชญากฎหมายเพื่อเอาแต่สาระส�ำคัญเป็นงานที่ทะเยอทะยาน ยิ่ง แต่ผมก็หวังว่าคงจะไม่ถึงกับเป็นเรื่องเพ้อฝันเสียทีเดียว ความมุ่งหมายของหนังสือเล่มเล็กๆ นี้คือการเป็นคู่มือประเทือง ปัญญาและเข้าใจง่ายส�ำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจใคร่รู้ว่าวิชา ปรัชญากฎหมายเน้นประเด็นเรื่องใดเป็นส�ำคัญ ทั้งยังมุ่งเฟ้นหา ค�ำอธิบายมโนทัศน์ทางกฎหมายที่ยากจะเข้าถึง และฉายให้ เห็นความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับปัญหาสากลเรื่องความ ยุติธรรม สิทธิ และจริยธรรม
A
Very Short Introduction
13
กฎหมายนั้นเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง และมักกระตุ้นให้เกิด กรณีโต้แย้งเป็นประจ�ำ ในขณะที่นักกฎหมายและนักการเมือง เชิดชูคุณค่าของหลักนิติธรรม นักปฏิรูปกลับเห็นว่ากฎหมาย ยังมีจุดอ่อน ส่วนพวกชอบหยามเหยียดก็สงสัยว่ากฎหมาย กับความยุติธรรมเป็นสิ่งเดียวกันอย่างที่กล่าวอ้างจริงหรือ แต่ ข้อหนึ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันคือกฎหมายเป็นเครื่องน�ำพาให้เกิด การเปลี่ยนแปลงในสังคม และน้อยคนนักจะกังขาว่ากฎหมาย มีบทบาทส�ำคัญในชีวิตของเราไม่ว่าจะในด้านสังคม การเมือง จริยธรรม และเศรษฐกิจจริงหรือ แต่สิ่งที่เรียกว่ากฎหมายนี้คืออะไร? กฎหมายประกอบ ด้วยหลักจริยธรรมสากลที่สอดคล้องกับธรรมชาติหรือไม่ (บทที่ 1)? หรือเป็นเพียงชุดกฎเกณฑ์ ค�ำสัง่ หรือบรรทัดฐานทีส่ ว่ นใหญ่ แล้วมนุษย์บัญญัติขึ้นและมีสภาพบังคับ (บทที่ 2)? กฎหมายมี วัตถุประสงค์ในเรื่องใดเป็นการเฉพาะหรือไม่ เช่น เพื่อคุ้มครอง สิทธิของปัจเจกบุคคล (บทที่ 3) เพือ่ จรรโลงความยุตธิ รรม (บทที่ 4) หรือเพือ่ ความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ การเมือง และเพศสภาพ (บทที่ 6)? และเราจะพิจารณากฎหมายโดยไม่คำ� นึงถึงบริบททาง สังคมเลยได้หรือไม่ (บทที่ 5)? ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนของค�ำถามที่เราจะต้อง พบเจอหากเราอยากรู้ว่าความหมายของมโนทัศน์แห่งกฎหมาย อีกทั้งหน้าที่และความมุ่งหมายของกฎหมายมีอะไรบ้าง ค�ำถาม เหล่านีพ้ บได้ทวั่ ไปในภูมทิ ศั น์ของปรัชญากฎหมายซึง่ มีพรมแดน กว้างใหญ่ไพศาลยากที่จะส�ำรวจให้ทั่วถึง สิ่งที่ผมคิดว่าพอจะ ท�ำได้ในเนื้อที่ของหนังสือเล่มนี้คือชี้ให้เห็นแง่มุมอันโดดเด่น
14
Philosophy
of
Law
ที่สุดของขอบข่ายวิชาเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ผมจึงเน้นไปที่ทฤษฎี กฎหมายทีท่ รงอิทธิพลทางความคิด เพราะทฤษฎีเหล่านีจ้ ะช่วยปู พืน้ ฐานได้เป็นอย่างดียงิ่ ส�ำหรับการศึกษาแนวคิดทางนิตศิ าสตร์ ทั้งแนวคิดคลาสสิกและแนวคิดร่วมสมัย ทฤษฎีกฎหมายนั้นแตกต่างอย่างมากจากสื่อบันเทิง ที่มีกฎหมายเป็นท้องเรื่อง ถึงกระนั้นแม้แต่คดีอาญาที่ผ่านการ ปรุงแต่งให้เร้าอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งดังที่ เห็นกันเป็นปกติในจอโทรทัศน์ ก็ล้วนแต่แฝงแง่มุมกฎหมายที่มี ลักษณะกระตุน้ ความคิดของนักนิตปิ รัชญาได้เป็นอย่างดี ปัญหา จากคดีเหล่านีม้ กั ก่อตัวเป็นปัญหาชวนปวดหัวมากมายเกีย่ วกับ ความรับผิดชอบทางศีลธรรมกับความรับผิดชอบทางกฎหมาย บ้างก็เป็นเรื่องความชอบธรรมในการลงโทษ มโนทัศน์ว่าด้วย ความเสียหาย (concept of harm) บทบาทหน้าทีข่ องระบบตุลาการ กระบวนการพิจารณาที่ชอบด้วยความยุติธรรม (due process) และอืน่ ๆ อีกมาก ไม่ยากทีจ่ ะแสดงให้เห็นว่าปรัชญากฎหมายนัน้ ไม่ใช่การค้นหาค�ำตอบในเรื่องที่เป็นนามธรรมหรือไกลตัวเลย โลกเรานีย้ งั เต็มไปด้วยความยากล�ำบากและไม่เท่าเทียม และคงเป็นเช่นนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ในยามที่ต้องเผชิญความ ชั่วร้ายและความอยุติธรรม ก็ไม่ยากอะไรที่คนเราจะเผลอไผล หยิบใช้ค�ำอธิบายแสนตื้นเขินและโวหารคลุมเครือมาพิจารณา ว่ากฎหมายนัน้ มีธรรมชาติทแี่ ท้และบทบาทหน้าทีอ่ ย่างไรกันแน่ ทัง้ ทีจ่ ริงแล้ว ความกระจ่างชัดจากการวิเคราะห์และการไตร่ตรอง เชิงนิตศิ าสตร์อย่างละเอียดลออเพือ่ ให้เข้าใจถึงธรรมชาติรากฐาน ของกฎหมาย ความยุติธรรม และความหมายของมโนทัศน์ทาง
A
Very Short Introduction
15
กฎหมายนั้นเป็นเรื่องที่ขาดเสียมิได้ ในความหมายนี้ ทฤษฎี กฎหมายจึงมีบทบาทส�ำคัญที่จะช่วยให้เรานิยามและปกป้อง บรรดาคุณค่าและอุดมคติต่างๆ ที่ท�ำให้ชีวิตของคนเราด�ำเนิน ต่อไปบนครรลองที่ยั่งยืน การท�ำงานกับเจ้าหน้าที่ของส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ออกซฟอร์ดยังเป็นเรื่องสนุกเหมือนเช่นเคย และผมก็ซาบซึ้งใน ความช่วยเหลือจาก เอมมา มา เป็นพิเศษ ผมเป็นหนี้บุญคุณเพเนโลเพ ภรรยาผู้คอยให้ก�ำลังและ สนับสนุนผมด้วยความรักเสมอมา ค�ำพูดของเธอคือกฎหมาย ส�ำหรับผม
ปรัชญากฎหมาย •
ความรู้ฉบับพกพา
PHILOSOPHY OF LAW • A
Very
Short
Introduction
by
Raymond Wacks
แปลโดย
พิเศษ สอาดเย็น ธงทอง จันทรางศุ
บทที่ 1
/ กฎหมายธรรมชาติ
A
Very Short Introduction
19
เราท่านคงจะเคยได้ยินได้ฟังถ้อยค�ำในลักษณะที่ตัดสิน วิถีปฏิบัติหรือการกระท�ำของผู้อื่นกันมาไม่น้อยใช่ไหม? “แบบนี้ มันไม่ถูกต้อง” “แบบนั้นมันผิดธรรมชาติ” แต่การกล่าวเช่นนี้ หมายความว่าอย่างไรกันแน่? ถ้ามีการประกาศกันว่าการท�ำแท้ง ผิดศีลธรรม หรือการแต่งงานของคนเพศเดียวกันเป็นสิง่ ทีร่ บั ไม่ได้ เราติเตียนวิถีปฏิบัติหรือการกระท�ำนั้นโดยใช้อะไรเป็นฐาน? (ภาพประกอบ 1) มีมาตรวัดส�ำหรับใช้วดั ความถูกผิดดีเลวได้อย่าง เทีย่ งตรงและเป็นภววิสยั หรือไม่? และถ้ามี เราจะต้องท�ำอย่างไร เพื่อให้ได้มา? ปัญหาทางจริยธรรมอยู่คู่กับชีวิตของเรา เป็นประเด็น ถกเถียงทางการเมืองและถือเป็นประเด็นทางกฎหมายด้วย ยิ่งไปกว่านั้น นับแต่การสถาปนาสหประชาชาติเป็นต้นมา สาระ เชิงจริยธรรมโดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชนเริ่มปรากฏอยู่ใน ปฏิญญาสากลและอนุสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ มากขึ้น แม้จะไม่ได้ระบุไว้โดยชัดแจ้ง แต่กฎหมายเหล่านี้หลายข้อมีที่มา จากข้อสมมติเรือ่ งกฎหมายธรรมชาติซงึ่ เชือ่ ว่าในโลกนีม้ ปี ระมวล
20
Philosophy
of
Law
ภาพประกอบ 1 รักร่วมเพศ การแต่งงานของคนเพศเดียวกัน และการนอกใจ คู่สมรส ล้วนขัดกับหลักการของกฎหมายธรรมชาติ
สัจธรรมทางจริยธรรมอยูจ่ ริง โดยหากเราคิดไตร่ตรองเหตุผลแล้ว ก็ย่อมค้นพบสัจธรรมดังกล่าว แน่นอนว่าปัญหาจริยธรรมเป็นสิ่งท้าทายนักปรัชญา จริยศาสตร์มาช้านานนับตัง้ แต่สมัยอริสโตเติล บางทีกระแสความ นิยมทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติที่หวนกลับมาก็อาจเป็นเครื่อง ยืนยันว่า ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานกี่ศตวรรษ เราก็ยังแก้โจทย์ ปัญหาจริยธรรมเหล่านี้ไม่ได้ นักกฎหมายธรรมชาติคนส�ำคัญท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ค�ำอธิบายกฎหมายธรรมชาติทดี่ ที สี่ ดุ คือค�ำกล่าวทีว่ า่ กฎหมาย ธรรมชาติคอื การขนานนามจุดตัดระหว่างกฎหมายกับจริยธรรม” จอห์น ฟินนิส กล่าวไว้ใน กฎหมายธรรมชาติและสิทธิธรรมชาติ
A
Very Short Introduction
21
(Natural Law and Natural Rights) หนั ง สื อ ที่ ไ ด้ รั บ การ กล่าวขวัญของเขาว่า เมื่อเราพยายามจะอธิบายว่ากฎหมายคือ อะไร เราก็ตั้งข้อสมมติฐานขึ้นมาเสียแล้วว่าอะไรคือสิ่งที่ “ดี” ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เรามักเชือ่ กันว่า ก่อนทีเ่ ราจะประเมินคุณค่ากฎหมายในฐานะ สถาบันทางสังคมรูปแบบหนึ่งได้ หากจ�ำเป็นต้องท�ำเช่นนั้น จริงๆ เราต้องอธิบายและวิเคราะห์ความเป็นสถาบันนั้นไป ตามจริง โดยไม่อ้างอิงคุณค่าใดๆ เสียก่อน แต่พัฒนาการ ของปรัชญากฎหมายสมัยใหม่ชี้ให้เราเห็น และผลสะท้อน จากระเบียบวิธวี จิ ยั ของสังคมศาสตร์สาขาต่างๆ ก็ชว่ ยยืนยัน ว่า นักทฤษฎีจะไม่สามารถมอบค�ำบรรยายเชิงทฤษฎีและ บทวิเคราะห์ข้อเท็จจริงทางสังคมได้เลยหากไม่มีส่วนร่วม ในการประเมินคุณค่าและท�ำความเข้าใจว่าอะไรคือสิ่งที่ดี ส�ำหรับมนุษย์อย่างแท้จริง และอะไรคือสิ่งที่ขาดไม่ได้จริงๆ หากค�ำนึงถึงความเหมาะความควรในการปฏิบัติจริง
ข้อสมมติฐานดังกล่าวเป็นพืน้ ฐานส�ำคัญในการวิเคราะห์ กฎหมายธรรมชาติ โดยเสนอว่าเมื่อใดที่เราพยายามค้นหา ว่าอะไร ดี นั้น เรามีวิธีคิดไม่เหมือนกับเวลาที่เราระบุว่าอะไร มีอยู่จริง พูดอีกอย่างหนึ่งคือ ถ้าเราอยากเข้าใจว่าแก่นสารของ หลักกฎหมายธรรมชาติเป็นอย่างไรและมีผลกระทบประการใด เราก็ต้องระลึกไว้เสมอว่าการท�ำความเข้าใจนั้นต้องใช้ตรรกะที่ แตกต่างออกไป