Vsi privacy (preview)

Page 1

6

Privacy

ค�ำน�ำผู้แปล

.

ความเป็นส่วนตัวไม่ได้ต่างจากมโนทัศน์จ�ำนวนมาก ในสังคมสมัยใหม่ที่ผู้คนจะเริ่มตระหนักถึงความส�ำคัญของมัน ก็ต่อเมื่อขาดมันไป และมักจะพูดถึงมันราวกับว่ารู้จักมันดี แต่ เอาเข้าจริงกลับไม่ได้มีความเข้าใจมากเท่าไร อะไรคื อ ความเป็ น ส่ ว นตั ว ? ท�ำไมเราต้ อ งการมั น ? หากความเป็นส่วนตัวเป็นประเด็นที่สามารถบอกเล่าได้ครบใน ประโยคเดียวหรือย่อหน้าเดียว ผู้อ่านก็คงไม่ต้องอ่านหนังสือ เนื้อหาหนักๆ เล่มนี้ให้จบทั้งเล่ม ความเป็นส่วนตัวนั้นมีความ สัมพันธ์โดยตรงกับส�ำนึกเกี่ยวกับตัวตนของเราที่สามารถแยก ออกจากส่วนอื่นๆ ของสังคมที่เราใช้ชีวิตอยู่ได้ และแน่นอนว่า ส�ำนึกแบบนี้มีความเข้มข้นขึ้นในสภาวะสมัยใหม่ มีการกล่าว กันในทางสังคมศาสตร์ว่า ลักษณะส�ำคัญอย่างหนึ่งของสภาวะ สมั ย ใหม่ คื อ การแยกระหว่ า งมิ ติ ส ่ ว นตั ว (private) และมิ ติ


A Very Short

Introduction

7

สาธารณะ (public) ซึ่งบางคนอาจจะมองว่าความเป็นส่วนตัว เป็นผลผลิตของสังคมสมัยใหม่ด้วยซ�้ำ อย่างไรก็ดี ข้อถกเถียงว่าความเป็นส่วนตัวเป็นผลผลิต ของสังคมสมัยใหม่หรือไม่นั้นเป็นเนื้อหาที่ไม่ได้อยู่ในหนังสือ เล่มนี้ และเป็นประเด็นซึง่ ผูเ้ ขียนทีเ่ ป็นนักนิตศิ าสตร์อาจไม่สนใจ เท่าใดนัก แม้จะมีการอ้างในหนังสือเล่มนี้อยู่บ้างว่า สิ่งที่น่าจะ เทียบเคียงได้กับความเป็นส่วนตัวนั้นมีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ สังคมโบราณ ทว่าแม้วา่ สังคมก่อนสมัยใหม่จะมีความเป็นส่วนตัว อยู่จริง แต่สิ่งนั้นก็ยากที่จะเป็นสิ่งเดียวกันกับความเป็นส่วนตัว ที่ปรากฏในสังคมสมัยใหม่ หนังสือเล่มนีช้ วี้ า่ สิทธิความเป็นส่วนตัวในทางกฎหมาย นั้นแยกออกจากการเติบโตของสื่อมวลชนอย่างหนังสือพิมพ์ และคนกลุ ่ ม แรกๆ ที่ ต ระหนั ก ถึ ง ความส�ำคั ญ ของความเป็ น ส่วนตัวก็คือเหล่า “ไฮโซ” อเมริกันในศตวรรษที่ 19 ผู้มองว่า การที่เรื่องราวของตนถูกน�ำไปเขียนลงหนังสือพิมพ์นั้นเป็นการ ละเมิดความเป็นส่วนตัว หรือในกรณีของอังกฤษยุควิกตอเรียน แนวคิดทางกฎหมายเรือ่ งการละเมิดความเป็นส่วนตัวก็เกิดจาก การฟ้องร้องของพระราชินีวิกตอเรียและเจ้าชายอัลเบิร์ตจาก กรณีที่มีผู้น�ำภาพพิมพ์จากงานแกะสลักส่วนตัวของทั้งสองไป แสดงโดยไม่ได้รบั อนุญาต ดังนัน้ ในแง่นจี้ งึ อาจพูดได้วา่ ความเป็น ส่วนตัวเป็นผลผลิตของ “ยุควิกตอเรียน” ซึ่งเป็นยุคที่สร้างความ เปลี่ยนแปลงทางด้านมิติความคิดต่างๆ ในสังคมมากไปกว่ามิติ ด้านศีลธรรมทางเพศแบบที่ถูกกล่าวถึงอยู่บ่อยๆ


8

Privacy

แน่นอนว่าขอบเขตความเป็นส่วนตัวในศตวรรษที่ 19 ต่างจากขอบเขตของความเป็นส่วนตัวในศตวรรษที่ 21 อย่าง มาก เพราะทุกวันนี้ความเป็นส่วนตัวได้กลายเป็นเรื่องซับซ้อน ที่สามารถถูกแตกแยกย่อยไปเป็นสิทธิย่อยๆ อีกสารพัด อัน เกี่ยวพันกับการเติบโตของสื่อและเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งผูกพัน อยูก่ บั ชีวติ มนุษย์ตงั้ แต่ดา้ นการสือ่ สารไปจนถึงการแพทย์ หนังสือ เล่มนี้พูดถึงสิทธิเหล่านี้ในเชิงกฎหมายในรายละเอียดได้เป็น อย่างดี ต้ น ฉบั บ ภาษาอั ง กฤษของหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ตี พิ ม พ์ ใ นปี 2010 แต่เนือ้ หาแทบทัง้ หมดยังดูรว่ มสมัยอยู่ หลายเรือ่ งทีห่ นังสือ เล่มนี้ชี้ว่าจะเป็นปัญหาในอนาคตได้กลายมาเป็นปัญหาแล้วใน ปัจจุบัน ดังนั้นเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้จึงไม่ล้าสมัยเลยแม้แต่ น้อย อย่างไรก็ดี ความเปลีย่ นแปลงด้านความเป็นส่วนตัวทีส่ �ำคัญ มากๆ หลังจากหนังสือฉบับภาษาอังกฤษตีพิมพ์ไปแล้วก็คือ การเปิดโปงเอกสารลับที่ชี้ให้เห็นการสอดส่องอินเทอร์เน็ตแบบ แทบจะเบ็ดเสร็จของรัฐบาลอเมริกันในปี 2013 โดยอดีตซีไอเอ หนุ่มอย่าง เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) และนี่ก็ดูจะ พลิกโฉมส�ำนึกความเป็นส่วนตัวในโลกยุคดิจิทัลไปเลย ข้อมูลที่สโนว์เดนน�ำมาเปิดเผยชี้ว่าความเป็นส่วนตัว บนอินเทอร์เน็ตแทบจะไม่เหลืออยู่แล้ว เนื่องจากหน่วยงาน ข่าวกรองของสหรัฐสามารถดึงข้อมูลจากบรรดาเว็บไซต์ใหญ่ๆ และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้จากทาง “ประตูหลัง” เพื่อน�ำมา “ท�ำเหมืองข้อมูล” (data mining) ได้โดยง่าย อีกทั้งยังไม่ต้อง ใช้หมายศาลในการเข้าถึงข้อมูล ดังนั้นข้อมูลที่เราคิดว่าเห็นอยู่


A Very Short

Introduction

9

คนเดียว แต่ถ้าไปอยู่บนอินเทอร์เน็ตแล้ว มันก็ไม่รอดพ้นการ สอดส่องของรัฐไปได้ (อย่างน้อยก็โดยรัฐบาลสหรัฐ) ดังนั้นชีวิต บนอินเทอร์เน็ตจึงเหมือนการใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ที่มีกล้องซีซีทีวี ติดตั้งไปทั่ว ดูเหมือนว่าการเปิดเผยช็อคโลกครั้งนี้จะเปลี่ยน ภาพของโลกอินเทอร์เน็ตเสรีที่ผู้คนสามารถหนีเงื้อมมือของ อ�ำนาจรัฐได้ด้วยเทคโนโลยี ไปเป็นภาพของโลกอนาคตหดหู่ที่ เทคโนโลยีการสอดส่องของรัฐนั้นทั้งสมบูรณ์และเบ็ดเสร็จ และ ท�ำให้นวนิยายเรื่อง 1984 ใกล้เคียงกับการเป็นวรรณกรรมแนว สัจจนิยมขึ้นทุกวัน การสอดส่องนีส้ มเหตุสมผลถ้าเราเชือ่ ว่า “เหตุผลของรัฐ” นั้นเหนือกว่าทุกสิ่ง อย่างไรก็ดี ในกรณีสหรัฐอเมริกาซึ่งถือเป็น ประเทศที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลข่าวสารแย่มากในหมู่ประเทศ ตะวันตก การเข้าถึงข้อมูลด้วยการสอดส่องดูจะเป็นสิ่งที่ละเมิด รัฐธรรมนูญด้วยซ�้ำ แต่สิ่งที่น่าตระหนกก็คือ คนอเมริกันจ�ำนวน มากยอมรับได้กับสภาวะของชีวิตที่ถูกสอดส่องเช่นนี้ มิเช่นนั้น ชีวิตทางการเมืองของ บารัค โอบามา คงด�ำเนินไปทางเดียวกับ ริชาร์ด นิกสัน ในกรณีวอเตอร์เกตไปแล้ว และภาวะการยินยอม ให้สอดส่องนี้ก็คงจะแยกได้ยากจากการ “เขียนผู้ก่อการร้ายให้ ประชาชนกลัว” ของรัฐหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 อย่างไรก็ดี การเปิดเผยครั้งนี้ก็ท�ำให้หลายๆ คนตื่นขึ้น ความเป็นส่วนตัวกลายเป็นเรื่องใหญ่ส�ำหรับคนในวงกว้างขึ้น องค์กรอย่าง Electronic Frontier Foundation ที่ใส่ใจประเด็นนี้ อยู่ก่อนแล้ว (และกล่าวถึงความเป็นไปได้ของการสอดส่องก่อน การแฉของสโนว์เดนด้วยซ�้ำ) ก็รุกประเด็นนี้หนักขึ้นตามความ


10

Privacy

ความสนใจของสาธารณชน ส�ำนักข่าวออนไลน์กระแสรองอย่าง Techdirt ก็รายงานข่าวสารเกี่ยวกับการสอดส่องหนักและถี่ขึ้น แบบไม่เว้นแต่ละวัน และก็มีการท�ำนายกันด้วยซ�้ำว่าขบวนการ ต่อสู้เพื่อความเป็นส่วนตัวจะกลายมาเป็นขบวนการที่ใหญ่โตใน อนาคตอันใกล้ ค�ำท�ำนายนี้อาจเป็นจริง เพราะขนาดผู้ก่อตั้ง Pirate Party ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เล่นประเด็นร้อนอย่างลิขสิทธิ์เป็น พื้นฐาน ก็ยังชี้หลายต่อหลายครั้งว่าสุดท้ายการปราบปรามการ ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างสมบูรณ์นั้นเป็นไปไม่ได้โดยปราศจากการ ละเมิดความเป็นส่วนตัว กล่าวคือถ้าจะปราบปรามการละเมิด ลิขสิทธิ์ให้ชงัด รัฐก็ต้องเข้าถึงทุกๆ การสื่อสารของประชาชน บนอินเทอร์เน็ต เพราะทุกๆ การสือ่ สารนัน้ การ “แบ่งบัน” ข้อมูล อันละเมิดลิขสิทธิ์อาจเกิดขึ้นได้เสมอ ในแง่นี้จึงไม่น่าจะแปลกใจ ที่เหล่าอุตสาหกรรมลิขสิทธิ์จะจับมือกับรัฐในการสนับสนุนการ สอดส่องพลเมือง เพราะสุดท้ายแล้วจากมุมมองของรัฐ การท�ำ แบบนีไ้ ด้ประโยชน์ทงั้ จาก “การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์” และ “การขยายอ�ำนาจรัฐ” ไปพร้อมๆ กัน แม้ว่าหน้าฉากจะเป็นเรื่อง เศรษฐกิจล้วนๆ ก็ตาม ท่ามกลางการโรมรันพันตูที่มีความขัดแย้งจากหลาย ฝ่าย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าต่อจากนี้ไปจะมีการต่อสู้เพื่อความเป็น ส่วนตัวอย่างกว้างขวาง เราทุกคนคงต้องถามตัวเองว่าต้องการ ความเป็นส่วนตัวหรือไม่ในชีวิตทางสังคม? หรือให้ตรงกว่านั้น ก็คอื เราต้องการความเป็นส่วนตัวมากแค่ไหน? เรารับได้หรือไม่ ที่สังคมเต็มไปด้วยพื้นที่ส่วนตัวซึ่งในแง่หนึ่งก็เป็นพื้นที่ซึ่งเอื้อ


A Very Short

Introduction

11

ให้เกิดการก่ออาชญากรรม? เราคิดว่าการท�ำลายพื้นที่ส่วนตัว จะท�ำให้สังคมหลบเลี่ยงอาชญากรรมได้จริงหรือ? อะไรคือผล กระทบทางการเมืองเมื่อสังคมปราศจากความเป็นส่วนตัว? ส�ำหรับผู้ที่มีค�ำถามเหล่านี้วนเวียนอยู่ในหัว แม้หนังสือเล่มนี้จะ ไม่ได้ให้ค�ำตอบส�ำเร็จรูปต่อค�ำถามข้างต้น แต่หนังสือเล่มนี้จะ ให้ความรู้พื้นฐานที่จ�ำเป็นก่อนที่เราจะคิดตอบค�ำถามเหล่านี้ได้ อย่างเหมาะสม

อธิป จิตตฤกษ์ กันยายน 2556


12

Privacy

ค�ำน�ำผู้เขียน

.

ทุกวันนี้แทบไม่มีวันใดที่ไม่มีข่าวการคุกคามความเป็น ส่วนตัว (privacy) ของเราปรากฏให้เห็น เมือ่ เกือบสามสิบปีทแี่ ล้ว ผูเ้ ขียนเคยตีพมิ พ์หนังสือเล่มเล็กๆ อีกเล่มหนึง่ เกีย่ วกับประเด็น ร้อนนี้ หากกลับมาอ่านหนังสือ The Protection of Privacy (การปกป้องความเป็นส่วนตัว) ตอนนี้ ผู้อ่านก็คงอดไม่ได้ที่จะ รูส้ กึ ถึงการเปลีย่ นแปลงระดับพืน้ ฐาน อันเกิดจากความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยี แน่นอนว่าสิ่งที่เห็นชัดที่สุดคือความเปราะบาง ของข้อมูลส่วนบุคคลในโลกออนไลน์ แต่การคุกคามอื่นๆ ที่เกิด จากโลกดิจิทัลก็มีไม่น้อย เช่น นวัตกรรมด้านไบโอเมตริกส์ (biometrics คือการใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกาย โดยเฉพาะ ส่วนที่โดดเด่น เช่น ลายนิ้วมือ ม่านตา ติ่งหู ดีเอ็นเอ เป็นต้น ในการระบุตัวตนของบุคคลหนึ่งๆ - ผู้แปล) การจับตาด้วยกล้อง ซีซีทีวี ระบบระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นวิทยุ (Radio Frequency


A Very Short

Introduction

13

Identification หรือ RFID คือแถบป้ายที่ติดไว้ตามวัตถุต่างๆ เพื่อใช้ในการตรวจสอบ ติดตาม และบันทึกข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุ จากระยะห่าง – ผู้แปล) บัตรประจ�ำตัวแบบสมาร์ทการ์ด และ มาตรการต่อต้านการก่อการร้ายหลากหลายรูปแบบ ทั้งหมดนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงภัยคุกคามทีม่ ตี อ่ คุณค่าพืน้ ฐานอย่างความเป็น ส่วนตัว ภัยคุกคามเหล่านี้เกิดขึ้นแม้แต่ในสังคมประชาธิปไตย อย่างไรก็ดี ในเวลาเดียวกันนั้น การล้นทะลักของข้อมูลส่วนตัว ผ่านการเติบโตจากการใช้บล็อก เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น มาย-สเปซ เฟซบุ๊ค ยูทูบ ทวิตเตอร์ และประดิษฐกรรม อื่นๆ แห่งยุคข้อมูลข่าวสาร ล้วนท�ำให้หลักการทั่วไปเกี่ยวกับ นัยส�ำคัญของความเป็นส่วนตัวมีปัญหา การเกิดขึ้นของเว็บ 2.0 ได้ขยายบทบาทของอินเทอร์เน็ต จากการเป็นผู้ให้ข้อมูล ไปสู่ การเป็นผู้สร้างชุมชน และการที่ผู้คนกระหายในเรื่องซุบซิบ นินทา ก็เป็นการเติมเชื้อไฟให้กับสื่อที่นิยมเสนอข่าวสารด้วย การเร้าอารมณ์ (sensationalist media) ซึ่งมักไปลดทอนคุณค่า ของความคิดเรื่องพื้นที่ส่วนตัวที่เราอ้างสิทธิได้อย่างชอบธรรม ความมีชื่อเสียงจึงเป็นเหมือนใบอนุญาตให้ถูกรุกล�้ำได้โดยยาก จะปกป้อง รูปแบบของการรวบรวม เก็บรักษา โอนถ่าย และ ใช้ ข ้ อ มู ล นั้ น เปลี่ ย นไปตลอดกาล และเช่ น นี้ เ องที่ ท�ำให้ ภั ย คุกคามความเป็นส่วนตัวของปัจเจกเปลี่ยนไป แม้ว่าการปฏิวัติ อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาสัมผัสกับแทบทุกอณูในชีวิตของเรา แต่ แน่นอนว่าเทคโนโลยีไม่ใช่ผู้ร้าย ผู้ร้ายตัวจริงคือวิธีที่เทคโนโลยี ถูกใช้งานต่างหาก สัปดาห์นเี้ อง ผูเ้ ขียนเพิง่ ทราบว่าในฟิลปิ ปินส์


14

Privacy

มีการเสนอให้ใช้ชิปอาร์เอฟไอดีเพื่อปกป้องเด็กนักเรียนไม่ให้ ถูกลักพาตัว การฝังชิปใต้ผิวหนัง (แบบที่ฝังในสุนัขของผู้เขียน) จะช่วยในเรื่องการตามหาคนหายได้มาก เช่นในกรณีผู้ป่วยโรค สมองเสือ่ ม แต่ราคาของมันสูงเกินไปหรือไม่? เราจะยังเป็นสังคม เสรีอยู่อีกหรือหากเรายอมสูญเสียสิทธิในการไม่ถูกจับตามอง แม้ว่าผลลัพธ์จะออกมาดีก็ตาม? แม้มีการพัฒนาทางเทคนิคที่น่าทึ่งเหล่านี้เกิดขึ้น ทว่า ปัญหาหลายประการที่ผู้เขียนเคยพิจารณาเมื่อปี 1980 ก็มิได้ เปลี่ยนแปลงไปในระดับรากฐาน อันที่จริง ผู้เขียนก็มีความมั่นใจ เพิ่มขึน้ มาบ้างที่พบว่ามีเพียงบางจุดเท่านั้นที่ผ้เู ขียนไม่เห็นด้วย กับการวิเคราะห์ปัญหาใจกลางของความเป็นส่วนตัวที่ผู้เขียน ได้เขียนไว้ในหนังสือเล่มดังกล่าว และในงานเขียนชิ้นอื่นในช่วง สามทศวรรษที่ผ่านมา! แน่นอน ผู้เขียนอาจคิดผิด แต่แม้เวลา จะผ่านไปมากกว่าสามสิบปี ผู้เขียนก็ยังคงคิดว่าการขยายขอบ เขตความเป็นส่วนตัวไปสู่ประเด็นที่ “ต้องตัดสินใจ” (decisional matter เช่น การท�ำแท้ง การคุมก�ำเนิด รสนิยมทางเพศ) และ การรวมความเป็นส่วนตัวเข้ากับเสรีภาพและการก�ำหนดตัวเอง (autonomy) เป็นเรือ่ งทีผ่ ดิ พลาด (แม้การรวมประเด็นดังกล่าวจะ เป็นเรือ่ งทีเ่ ข้าใจได้กต็ าม) และผูเ้ ขียนก็สบายใจขึน้ บ้างเมือ่ พบว่า แม้จะมีการคาดการณ์มากขึน้ เรือ่ ยๆ ถึงการลดน้อยลงของความ เป็นส่วนตัว แต่ประเด็นที่ “ต้องตัดสินใจ” ทั้งที่ได้กล่าวมาแล้ว และที่ยังไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งบ่อยครั้งมักแทรกซึมเข้าสู่ปริมณฑล ของความเป็นส่วนตัว ยังไม่มกี ารคาดการณ์กนั มากนักว่าจะเป็น ประเด็นที่ถูกคุกคาม


A Very Short

Introduction

15

เวลาที่ผู้สนับสนุนความเป็นส่วนตัวกระตุ้นเตือนถึง อันตรายนับไม่ถ้วนที่เกิดจากสังคมสารสนเทศในยุคของเรา พวกเขามักไม่ค่อยกังวลกับปัญหาเหล่านี้ (แม้ว่าจะเป็นปัญหา ส�ำคัญก็ตาม) นีค่ อื การยอมรับโดยปริยายใช่หรือไม่วา่ ความหมาย ที่แท้จริงของความเป็นส่วนตัว รวมไปถึงการน�ำแนวคิดนี้ไปใช้ นัน้ สอดคล้องกับความเข้าใจโดยสัญชาตญาณของเรา ความเป็น ส่วนตัวคือความสนใจในการปกป้องข้อมูลทีม่ คี วามอ่อนไหวมิใช่ หรือ? เมื่อเราโอดครวญถึงความเสียหายต่อความเป็นส่วนตัว เราไม่ได้ก�ำลังอาลัยอาวรณ์ถงึ การสูญเสียการควบคุมข้อเท็จจริง ส่วนตัวของเราหรอกหรือ? และสารัตถะของการควบคุมดังกล่าว ก็อยู่ที่การใช้ความสามารถในการก�ำหนดตัวเองของเราควบคุม รายละเอียดหรือข้อมูลต่างๆ ทีเ่ ป็นส่วนตัวทีส่ ดุ ไม่วา่ รายละเอียด หรือข้อมูลเหล่านัน้ จะมีผอู้ นื่ ต้องการสอดรูส้ อดเห็น หรือพยายาม เผยแพร่มันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเราก็ตาม แต่บางทีแนวทางแบบนี้ก็อาจน�ำเราไปผิดทาง? ท�ำไม สิทธิความเป็นส่วนตัวต่างประเภทกันถึงจะด�ำรงอยู่ร่วมกันบน ฐานคิดเดียวกันทีอ่ าจมีมติ ทิ แี่ ตกต่างกันแต่กย็ งั สัมพันธ์กนั ไม่ได้? ท�ำไมถึงยอมให้ “ความเป็นส่วนตัวด้านข้อมูล” (informational privacy) อยู่ร่วมกับ “ความเป็นส่วนตัวด้านการตัดสินใจ” ไม่ได้? (decisional privacy หมายถึงการปกป้องไม่ให้รัฐเข้าแทรกแซง ชีวิตส่วนตัวของปัจเจกหรือครอบครัว โดยเฉพาะในเรื่องที่ต้อง ตัดสินใจซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นทางศีลธรรม เช่น การท�ำแท้ง การคุมก�ำเนิด รสนิยมทางเพศ เป็นต้น - ผูแ้ ปล) ผูเ้ ขียนคิดว่าการ ที่ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาละเลยมิติแรกอย่างมาก พร้อมกับ


16

Privacy

การใส่ใจมิติหลังในมุมปัญหาเชิงรัฐธรรมนูญเป็นพิเศษ อาจมา ถึงจุดบรรจบอีกครัง้ เพราะมีสญ ั ญาณเล็กๆ จากฝัง่ ยุโรปว่าศาลเริม่ รับรู้ (แม้จะล่าช้า) ถึงความจ�ำเป็นเร่งด่วนในการปกป้องข้อมูล ส่วนบุคคลในทางกฎหมาย ดังที่จะอธิบายในส่วนถัดไป ผู้เขียน จ�ำเป็นต้องชี้แจงว่าการที่ผู้เขียนต่อต้านการท�ำให้ความเป็น ส่วนตัวเท่ากันกับความสามารถในการก�ำหนดตัวเอง ไม่ได้เป็น เพราะผู้เขียนไม่เห็นความส�ำคัญของสิทธิ หรือความส�ำคัญใน การก�ำหนดกรอบกว้างๆ ทีเ่ อือ้ ให้การรับรูใ้ นทางกฎหมายเกิดได้ ง่ายขึ้น แต่เป็นเพราะผู้เขียนเชื่อว่าการมองปัญหานี้ว่าเป็นเรื่อง ของการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลนั้นจะท�ำให้ความยากล�ำบาก ต่างๆ นานาที่ถูกยัดรวมเข้ากับความเป็นส่วนตัวถูกแก้ไขได้ ง่ายขึน้ แนวคิดเรือ่ งความเป็นส่วนตัวกลายเป็นแนวคิดทีก่ �ำกวม มากเกินไป และยากล�ำบากเกินกว่าจะใช้วเิ คราะห์อะไรได้ ความ ไม่ชัดเจนนี้เองที่บ่อนท�ำลายความส�ำคัญของคุณค่าชนิดนี้ และ ขัดขวางการปกป้องมันอย่างมีประสิทธิภาพ ผูเ้ ขียนมักเข้าไปเกีย่ วข้องกับประเด็นความเป็นส่วนตัว และการปกป้องข้อมูลจากมุมมองด้านกฎหมาย แม้ว่ากฎหมาย จะเป็นเครือ่ งมือปกป้องความเป็นส่วนตัวทีข่ าดไม่ได้ แต่ประเด็น นี้ก็มีมิติอื่นๆ เกี่ยวข้องเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม วัฒนธรรม การเมือง จิตวิทยา รวมทั้งปรัชญา และในที่นี้ ผู้เขียน ก็จะพยายามพิจารณาพลังของมิติเหล่านั้น และรวมถึงมิติอื่นๆ อีกมากมายที่ช่วยก่อร่างสร้างความเข้าใจของเราต่อแนวคิด อันท้าทายเช่นนี้ ผู้เขียนเริ่มสนใจเรื่องความเป็นส่วนตัวเมื่อนานมาแล้ว


A Very Short

Introduction

17

ตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นนักศึกษาวิจัยที่ออกซฟอร์ด ในตอนนั้นทั้ง งานเขียน (ที่โดยมากมาจากฝั่งอเมริกา) และตัวบทกฎหมาย (ที่ส่วนใหญ่มาจากแถบสแกนดิเนเวีย) ยังมีไม่มาก กฎหมาย ปกป้องข้อมูลในช่วงแรกยังเป็นเพียงตัวอ่อน แน่นอนว่านับจาก ช่วงเวลาอันไร้เดียงสาในสมัยนัน้ มุมมองดังกล่าวก็เปลีย่ นแปลง เสียจนผิดหูผิดตาไปมากแล้ว หากจะอธิบายปรากฏการณ์นี้ว่า เหมือนกับการระเบิดก็คงไม่เกินเลย ผู้เขียนเริ่มเดินเข้าสู่แวดวงผู้สนใจศึกษาความเป็น ส่วนตัวในฐานะนักวิชาการที่พยายามท�ำให้แนวคิดเรื่องความ เป็นส่วนตัวอันคลุมเครือมีความกระจ่างชัดขึ้น ทว่าในแง่มุม ของการน�ำสิทธิความเป็นส่วนตัวที่ถูกคุกคามมากขึ้นเรื่อยๆ ไป ปฏิบตั กิ ย็ งั ไม่ไปไหน และมันคงจะเป็นไปไม่ได้ดว้ ยทีเ่ ราจะไปไหน ได้ไกล หนทางสูย่ คุ แห่งข้อมูลข่าวสารแบบทีม่ นั ควรจะเป็นยังคง น่าหดหู่ ความเป็นสากลของรหัสฐานสองที่น�ำไปสู่การเกิดใหม่ ในรูปดิจทิ ลั ของสิง่ ของอันหลากหลาย พร้อมกับอุปกรณ์สอดส่อง อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ๆ ที่ซับซ้อนทันสมัย และสื่อที่คุกคามอย่าง บ้าคลั่ง ท�ำให้เราไม่สามารถเชื่อเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ส่วนบุคคลได้อย่างสนิทใจอีกต่อไป นอกจากนี้ ผู้เขียนโชคดี ที่มีโอกาสเป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายและคณะ กรรมการอื่นๆ ที่อุทิศตนในการชี้ให้ผู้คนเห็นถึงธรรมชาติที่ เปลี่ยนแปลงไปของความเป็นส่วนตัว และร่วมกันร่างมาตรการ ต่างๆ เพื่อปกป้องมัน ประสบการณ์ที่ได้รับจากโอกาสเหล่านี้มี อิทธิพลอย่างยิ่งต่อความเข้าใจและการตัดสินคุณค่าที่ผู้เขียนมี ต่อความเป็นส่วนตัวและการปกป้องข้อมูล ผู้เขียนต้องขอบคุณ


18

Privacy

สมาชิกของคณะอนุกรรมาธิการด้านความเป็นส่วนตัวของคณะ กรรมการปฏิรปู กฎหมายแห่งฮ่องกง (Law Reform Commission of Hong Kong) เนื่องจากผู้เขียนได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่าง จากพวกเขามากทีเดียว กลุม่ วิจยั เพือ่ ผลประโยชน์สาธารณะและกลุม่ ผูส้ นับสนุน หลายกลุ่มทั่วโลกได้รณรงค์เพื่อปกป้องและรักษาความเป็น ส่วนตัวของเราอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ปัญหาส�ำคัญเกี่ยวกับ ความเป็ น ส่ ว นตั ว ได้ รั บ การตรวจตราโดยบุ ค คลผู ้ น ่ า ชื่ น ชม มากมาย และเราก็เป็นหนี้บุญคุณพวกเขาไม่น้อย องค์กรเหล่านี้ [ที่โดดเด่นคือศูนย์ข้อมูลความเป็นส่วนตัวทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Privacy Information Center: EPIC) ในสหรัฐอเมริกา และกลุ่มความเป็นส่วนตัวสากล (Privacy International) ใน สหราชอาณาจักร] ไม่เพียงต่อสู้เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัว แต่พวกเขายังท�ำงานวิจัยอย่างระมัดระวัง และให้ข่าวแทบจะ ทุกแง่มุมที่เป็นไปได้ในเรื่องความเป็นส่วนตัว ซึ่งนั่นก็รวมถึง สภาวะความเป็นส่วนตัว (ที่มักเป็นอันตราย) ในขอบเขตอ�ำนาจ ตามกฎหมายของหลายประเทศ ผู้เขียนขอแสดงความเคารพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อ เดวิด บานิซาร์, โรเจอร์ คลาร์ค, ไซมอน เดวีส์, กัส โฮไซน์ และ มาร์ค โรเทนเบิร์ก รวมทั้งปัจเจกชนและ กลุ่มคนจ�ำนวนมาก ที่ได้ลงแรงท�ำงานจนมีผลงานมากมาย ซึ่ง หนึ่งในนั้นคือค�ำประกาศเกี่ยวกับอนาคตของความเป็นส่วนตัว ซึ่งองค์กรพัฒนาเอกชนและผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นส่วนตัว จากมากกว่า 40 ประเทศได้ลงนามเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2009 เนือ่ งจากค�ำประกาศนัน้ เสร็จสมบูรณ์หลังจากหนังสือเล่มนีอ้ ยูใ่ น


A Very Short

Introduction

19

โรงพิมพ์ มันจึงอยู่ในภาคผนวกของหนังสือเล่มนี้ ตลอดหลายปี ที่ ผ ่ า นมา กลุ ่ ม เพื่ อ นร่ ว มงาน คณะ กรรมการความเป็นส่วนตัว และผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ ได้ให้ ก�ำลังใจ ค�ำแนะน�ำ และความช่วยเหลืออย่างมากมายนับไม่ถ้วน ขอขอบคุณ จอห์น เบคอน-โชน, อีรคิ บาเรนด์ท, คอลิน เบนเนตต์, มาร์ค เบอร์โธล์ด, จอน บิง, ปีเตอร์ เบิร์กส์ ผู้ล่วงลับ, ไมเคิล ไบรอัน, แอนน์ คาวูเคียน, เดวิด ฟลาเฮอร์ตี, เกรแฮม กรีนลีฟ, กอดฟรีย์ คาน, ไมเคิล เคอร์บี, สตีเฟน เลา, ชาร์ลส์ ราบ, เมแกน ริชาร์ดสัน, สเตฟาโน โรโดตา, เจมี สมิธ และ ไนเจล วอเตอร์ส แต่หากผู้เขียนท�ำผิดพลาดประการใดและไม่ว่าที่ใด ความผิดที่ เกิดขึ้นล้วนเป็นของผู้เขียนเพียงผู้เดียว เช่นเคย สมาชิกของส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดเป็นผู้ร่วมงานที่เป็นมิตรอย่างยิ่งในการจัดพิมพ์หนังสือ เล่มนี้ ผู้เขียนขอขอบคุณเป็นพิเศษต่อ แอนเดรีย คีแกน, เอมมา มาร์แชนต์, เคียรา ดิคกิน-สัน, เคอร์สติน เดมาทา และ เดบอราห์ โพรเธโร และเป็นอีกครั้งที่ คาร์ทิกา รามาลิงแกม และทีมงาน ที่เอสไอพีได้บรรจงท�ำให้ตัวอักษรของผู้เขียนและรูปภาพต่างๆ กลายเป็นหนังสือที่สวยงามเล่มนี้ นับจากช่วงเวลาที่เขียนประโยคท้ายๆ ของต้นฉบับ หรือแม้แต่ตอนตรวจทาน ข่าวคราวการรุกล�้ำความเป็นส่วนตัว ก็ปรากฏขึ้นมากมายไม่หยุดหย่อน ผู้อ่านโปรดรับทราบด้วยว่า ประเด็นของหนังสือในมือท่านเล่มนี้เปลี่ยนแปลงเร็วมาก ความ ท้าทายใหม่ๆ ต่อความเป็นส่วนตัวรอคอยเราอยู่ และภารกิจ ในการปกป้องและดูแลรักษาอุดมคติแห่งความเป็นประชาธิปไตย


20

Privacy

ที่จะสูญเสียไปไม่ได้ ก็จ�ำเป็นต้องมีความระแวดระวังและความ มุ่งมั่นอย่างยิ่ง

เรย์มอนด์ แวคส์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.