ทุนนิยม

Page 1

8

Capitalism

คำ�นำ�ผู้แปล

,

คำ�ว่า “ทุนนิยม” เป็น “คำ�แสลงหู” สำ�หรับผมมานานแล้ว ด้วยเหตุสองประการ ประการแรก คำ�คำ�นี้ถูกใช้โดยมนุษย์จำ�พวกนอบน้อม ยอมรับ ซึ่งมักเชื่อว่าโลกดำ�เนินไปโดยไม่ต้องมีแรงใจฝักใฝ่ อุดมคติใดๆ ทัง้ สิน้ เราไม่มที างเลือกอืน่ ใด ทุนนิยมนีแ่ หละดีทสี่ ดุ โดยไม่ต้องตั้งคำ�ถามใดแล้ว นี่เป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์ (อย่างที่เราเข้าใจกัน) ประการที่สอง คำ�คำ�นี้ยังถูกใช้โดยมนุษย์อีกจำ�พวก หนึ่ง คือพวกนักศีลธรรม ซึ่งมักกล่าวให้ร้ายอย่างรุนแรงว่า ทุนนิยมคือแหล่ง(ประจุ)รวมของความโลภโมโทสัน และเป็น เครื่องทำ�ลายหัวจิตหัวใจความเป็นมนุษย์ต่อกัน ท้ายที่สุด กลุ่ม คนพวกนีก้ โ็ ผหายูโทเปียฉาบฉวยว่า “คืนสติให้กบั ทุนนิยม” โดย


A

Very Short Introduction

9

มิได้มีใจใฝ่รู้ในเชิงวิพากษ์แต่อย่างใด หนังสือ ทุนนิยม: ความรู้ฉบับพกพา ที่เขียนโดย เจมส์ ฟุลเชอร์ เล่มนี้ ทำ�ให้เรารับฟังคำ�ว่า “ทุนนิยม” ได้รื่นหูขึ้น ด้วย ลักษณะสำ�คัญของหนังสือเล่มนีค้ อื “การบีบอัดสถานทีแ่ ละเวลา” ซึง่ หาไม่ได้งา่ ยๆ ทีจ่ ะมีหนังสือทีเ่ ปรียบเทียบความแตกต่างของ ทุนนิยมในแต่ละประเทศให้เห็นภาพได้ชดั เจน ตัวอย่างในหนังสือ เล่มนีค้ อื การเปรียบเทียบระหว่างสวีเดน สหรัฐอเมริกา และญีป่ นุ่ โดยแสดงลักษณะเฉพาะถิ่นของทุนนิยมผ่านการเชื่อมร้อยกับ มิติทางสังคมและการเมืองได้ในบทเดียว และยังแสดงให้เห็น “การผละออกจากสังคมนิยมภายใต้รัฐ” ในแนวทางที่ต่างออกไป ระหว่างจีนกับรัสเซียอีกด้วย นอกจากนี้ หนังสือเล่มนีย้ งั ทำ�ให้เรา ได้เห็นว่าทุนนิยมกำ�เนิดขึ้นมาได้อย่างไรในอังกฤษและในยุโรป และทุนนิยมเปลีย่ นแปลงตนเองตลอดมา จนกลายมาเป็นทุนนิยม อย่างที่เรารู้จักพบเจอกันเป็นประจำ�ได้อย่างไร ความรู้ เ หล่ า นี้ ป ลดปล่ อ ยเราจากฐานคติ คั บ แคบที่ เปรี ย บเปรยทุ น นิ ย มว่ า “ถ้ า ไม่ เ ป็ น นางเอก ก็ เ ป็ น นางร้ า ย” ในนิยายนํ้าเน่าเรื่องหนึ่ง เนื่องจากในความเป็นจริง “ทุนนิยม” เป็นตัวละครที่มีที่มา ที่ไป และมีบุคลิกซับซ้อนมากกว่าที่เราคิด เอาเองมากนัก แม้หนังสือฉบับพกพาเล่มนีจ้ ะกล่าวถึงต่างประเทศเสีย มาก แต่นี่ก็เป็นบทสนทนาต่อความเป็นไปในสังคมเราได้เป็น อย่างดี กล่าวคือ สำ�หรับ “นักปฏิรูปสังคม” (หรือนักปฏิวัติสังคม) สิ่งที่ ฟุลเชอร์บอกเล่ามาทั้งหมดเชื้อชวนให้อดคิดไม่ได้ว่า ความ


10

Capitalism

ไม่มนั่ คงของมนุษย์และความไม่เท่าเทียมกันในสังคมอันเกิดจาก ทุนนิยม ไม่ได้เป็นแค่ปรากฏการณ์ระดับสังคมหรือระดับประเทศ แต่เป็นปรากฏการณ์ระดับโลก และเกีย่ วข้องกับการดิน้ รนในเชิง อุดมการณ์และในเชิงความรู้ การประท้วงเชิงสัญลักษณ์หรือ การผวาไปกอดกระแสท้องถิน่ นิยมมิอาจแก้ไขสถานการณ์แท้จริง ได้มากนัก สำ�หรับนักสังคมศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ เรื่องราว ทีฟ่ ลุ เชอร์บอกเล่าจะผลักเราให้หลุดจากกรอบการชีว้ ดั เศรษฐกิจ สังคมในเชิงตัวเลข และเปิดช่องนำ�พาเราไปสู่การพิเคราะห์ เหตุปัจจัยและการหมุนเวียนเปลี่ยนผันที่เกิดขึ้นในทุนนิยม สำ�หรับนักธุรกิจ นีจ่ ะเป็นอนุสติให้เห็นอนิจลักษณะของ ระบบเศรษฐกิจ ไม่มีการเฟื่องฟูใดถาวร ไม่มีการฟุบแฟบใดที่จะ ดำ�รงอยู่ตลอดไป วิกฤตคือความเป็นปกติของทุนนิยม สำ�หรับนักอ่านทัว่ ไป หนังสือเล่มนีจ้ ะช่วยเปิดโลกทัศน์ ใหม่ และคงจะทำ�ให้เราพอเห็นได้ว่า หากเรากินดีอยู่ดี เราเอา เปรียบใครบ้าง หากเรากำ�ลังก่อหนี้ (และบ้าทำ�งานเอาเงินไป ใช้หนี้) เรากำ�ลังขับเคลื่อนระบบแบบใด เราเป็นส่วนหนึ่งของ แรงผลักแรงเหวี่ยงที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเรามากนัก แต่ก็มักไม่เป็น ที่รับรู้กัน สุดท้ายนี้ ผมต้องขอขอบคุณคุณสฤณี อาชวานันทกุล ผู้เป็นบรรณาธิการเล่มอย่างแข็งขัน คุณณัฐเมธี สัยเวช ที่ตรวจ พิสูจน์อักษรด้วยความรอบคอบยิ่ง คุณวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ผูป้ ระสานงานด้วยความทุม่ เท อีกทัง้ กองบรรณาธิการทีป่ วารณา ตัวเปิดโลกให้นักอ่าน โดยต้องฝ่าฟันกับโลกแห่งความเป็นจริง


A

Very Short Introduction

11

ของทุนนิยม หากขาดพวกเขาเหล่านี้ไป หนังสือเล่มน้อยในมือ ท่านคงไม่ถือกำ�เนิดขึ้น ภายใต้ความเร่งรัดหลายประการ คำ�แสลงหูปิดท้าย ซึ่งเป็นความจริงมีอยู่ว่า หากหนังสือเล่มนี้มีความดีความงาม อย่างไร ขอผู้อ่านยกให้เป็นกุศลของสำ�นักพิมพ์ แต่หากมีความ ผิดพลาดประการใด ผู้แปลต้องกราบขออภัยและน้อมรับด้วย ความเต็มใจ

ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย ตุลาคม 2553


บทนำ�

,


A

Very Short Introduction

13

วิกฤตคือองค์ประกอบปกติของเศรษฐกิจทุนนิยม ดังที่ผม ได้อธิบายไว้ในบทที่หก ทว่าวิกฤตที่เรากำ�ลังเผชิญอยู่ในเวลา นี้ (2008) นับว่าเลวร้ายที่สุดนับแต่ทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา ผมขอใช้บทนำ�กล่าวถึงวิกฤตในครั้งนี้ วิ ก ฤตรอบนี้ มี จุ ด กำ � เนิ ด จากภาวะฟองสบู่ ใ นตลาด อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ใ นสหรั ฐ อเมริ ก า ฟองสบู่ เ กิ ด ขึ้ น ในหลาย ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น จนดูเหมือนไร้ที่สิ้นสุด ทำ�ให้การก่อซื้อและการปล่อยกู้เกี่ยวกับ อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ดู จ ะเป็ น การลงทุ น ที่ ป ลอดภั ย ไร้ ค วามเสี่ ย ง ธนาคารแข่งขันกันอย่างหนักหน่วงในการปล่อยกู้ซื้อบ้าน โดย การกระตุ้นพนักงานขายด้วยการจ่ายค่านายหน้าและเงินโบนัส การแข่งขันดำ�เนินไปอย่างเข้มข้นจนธนาคารปล่อยกูส้ งู กว่ามูลค่า ของอสังหาริมทรัพย์ เช่น ธนาคารนอร์ธเทิร์น ร็อก (Northern Rock) ในสหราชอาณาจักร ปล่อยกู้ถึงร้อยละ 125 ของมูลค่า บ้าน ส่วนการล่อใจลูกหนี้ในสหรัฐอเมริกาใช้วิธีปล่อยกู้ในอัตรา ดอกเบี้ยที่ตํ่ามาก ธนาคารต้องการปล่อยกู้ไม่ใช่แค่เพราะอยาก


14

Capitalism

ทำ�รายได้จากดอกเบี้ย แต่ที่สำ�คัญก็คือ ธนาคารเหล่านี้สามารถ “แปลงหนีเ้ ป็นหลักทรัพย์” (securitize) ได้ คือรวมหนีเ้ หล่านีเ้ ป็น ก้อนเดียวกัน จากนั้นก็ขายต่อให้กับสถาบันการเงินอื่น ซึ่งต่างก็ แสวงหาการลงทุนที่ดูจะปลอดภัยและได้กำ�ไรเช่นกัน กระนั้ น ราคาอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ก็ ไ ม่ ส ามารถสู ง ขึ้ น ได้ ต ลอดไป จึ ง อย่ า ได้ แ ปลกใจที่ สุ ด ท้ า ยฟองสบู่ ใ นตลาด อสังหาริมทรัพย์ก็แตก อย่างไรก็ดี ไม่มีใครคิดว่าสถานการณ์นี้ จะขยายตัวเป็นวิกฤตร้ายแรงต่อระบบทุนนิยม ผู้กู้ที่เรียกว่า “ซับไพรม์” (sub-prime) หรือกลุ่มผู้มี รายได้น้อย ถูกชักจูงให้กู้เงินเกินศักยภาพในการจ่ายคืนของ พวกเขา เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์เริ่มลดลง สถาบันการเงิน ที่ปล่อยกู้หรือซื้อหนี้ในฐานะการลงทุนก็ประสบปัญหาในการ ได้เงินคืน แม้จะในภายหลังการยึดคืนอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม สิ่ ง ที่ ทำ � ให้ ส ถานการณ์ นี้ ก ลายเป็ น วิ ก ฤตคื อ สถาบั น การเงิ น เหล่านี้เป็นหนี้มหาศาล พวกเขาล้วนกู้เงิน โดยเฉพาะจากต่าง ประเทศ มาปล่อยกู้หรือซื้อหนี้ของธนาคารอื่นเป็นของตนเอง สถาบันวาณิชธนกิจชัน้ นำ�ของสหรัฐอเมริกากูเ้ งินมากถึงสามสิบ เท่าของเงินทุนที่พวกเขามีอยู่ ธนาคารต่างๆ ทำ�กำ�ไรได้ดมี ากจากการวิธกี ารดังกล่าว และราคาหุ้นของพวกเขาก็สูงขึ้น แต่พวกเขาดูจะมิได้ตระหนัก ว่าสถานการณ์นี้อันตรายเพียงใด พวกเขาคิดว่าตัวเองปลอดภัย เพราะได้ใช้เทคนิคทางการเงินแบบใหม่ทซี่ บั ซ้อนเพือ่ กำ�จัดความ เสีย่ ง แต่ทว่าเทคนิคเหล่านัน้ ตัง้ อยูบ่ นฐานความเข้าใจอันน้อยนิด และอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ สถาบัน


A

Very Short Introduction

15

ทางการเงินทีด่ แู ข็งแกร่งราวป้อมปราการของสหรัฐอเมริกา อาทิ สถาบันวาณิชธนกิจแบร์ สเติรน์ ส์ (Bear Stearns) เมอร์รลิ ล์ ลินช์ (Merrill Lynch) และเลห์แมน บราเธอร์ส (Lehmann Brothers) สถาบันปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยอย่างแฟนนี เม (Fanny Mae) และเฟรดดี แม็ก (Freddie Mac) ตลอดจนบริษทั ประกันภัยระดับ โลกอย่างเอไอจี (AIG) ก็ล้วนแต่ขยายขนาดเกินจริง และสุดท้าย ก็ต้องล้มละลาย วิ ก ฤตจึ ง เกิ ด ขึ้ น อย่ า งรวดเร็ ว และลุ ก ลามไปทั่ ว โลก สถาบั น การเงิ น อั น เลื่ อ งชื่ อ แห่ ง แล้ ว แห่ ง เล่ า ต้ อ งเข้ า รั บ การ ช่วยเหลือจากรัฐบาล และเมื่อเลห์แมน บราเธอร์ส ถูกปล่อยให้ ล้มละลาย ภาคการเงินโลกก็อยู่ในภาวะตื่นตระหนก ดูเหมือน ว่าจะไม่มีธนาคารใดปลอดภัยอีกต่อไป ธนาคารกลัวว่าเงินกู้ จะไม่ได้รับการชำ�ระหนี้คืน จึงลังเลใจที่จะปล่อยกู้ให้กันและกัน เกิ ด แรงกดดั น ให้ ด อกเบี้ ย กู้ ยื ม ระหว่ า งธนาคารถี บ ตั ว สู ง ขึ้ น สถาบันการเงินที่มีหนี้จำ�นวนมากต้องพยายามระดมทุนอย่าง เต็มที่ แต่ทุนที่ไหลเวียนในระบบต่างแน่นิ่งไม่ไหวติง นี่ ไ ม่ ใ ช่ แ ค่ วิ ก ฤตเฉพาะภาคธนาคารเท่ า นั้ น แต่ สถานการณ์ได้ลุกลามไปทั้งระบบเศรษฐกิจ เพราะการที่ทุนอยู่ นิ่งทำ�ให้ระบบการเงินไร้พลวัต ปกติกิจกรรมทางการเงินถูก หล่อลื่นด้วยการเคลื่อนไหวของเงินระหว่างผู้ให้กู้กับผู้ต้องการกู้ แต่การ “ล่มสลายของเครดิต” (credit crunch) ทำ�ให้การเคลื่อน ย้ายเงินหยุดชะงัก บริษัททั่วไปหาเงินกู้มาหล่อเลี้ยงกิจการยาก มาก โครงการทีน่ า่ จะเดินได้อย่างสะดวกง่ายดายกลายเป็นถูกแช่ เอาไว้ ในสหราชอาณาจักร โรงเรียนและโรงพยาบาลที่ต้องการ


16

Capitalism

เงินทุนจากเอกชนดำ�เนินกิจการต่อไม่ได้ แต่เมือ่ ต้องเดินหน้าต่อ เพื่อเตรียมการสำ�หรับโอลิมปิกปี 2012 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ลอนดอน รัฐบาลก็จ�ำ ต้องลงทุนให้แทน และพยายามอย่างสุดกำ�ลังเพือ่ ฉุด อัตราดอกเบี้ยให้ตํ่าลงและทำ�ให้ธนาคารปล่อยกู้ได้ต่อไป แต่วิกฤตจะจบลงหากรัฐบาลสามารถทำ�ให้ธนาคาร กลับมาปล่อยกู้ได้ดังเดิมหรือไม่ ปัญหาคือวิกฤตทำ�ให้เกิดกลไก เงิ น ฝื ด สะสม การล้ ม ละลายเพิ่ ม อั ต ราการตกงานและทำ � ให้ ค่าจ้างลดลง ทำ�ให้ยอดขายและราคาลดลง กิจกรรมทางเศรษฐกิจ หดตัว ผูค้ นใช้จา่ ยน้อยลงและออมเงินมากขึน้ เพราะกลัวอนาคต การทวนกระแสวั ง วนของเงิ น ฝื ด เป็ น เรื่ อ งยากเย็ น ดั ง กรณี ของญี่ปุ่นในบทที่หก สถานการณ์ตอนนี้หนักหนาสาหัสกว่าใน ทศวรรษ 1990 เนื่องจากตอนนั้น นอกจากญี่ปุ่นแล้ว ประเทศ อื่นยังไม่เผชิญกับวังวนของเงินฝืด และยังเป็นตลาดที่ดีสำ�หรับ สินค้าญี่ปุ่น แต่วังวนของเงินฝืดในปัจจุบันเกิดขึ้นทั่วโลก และ การส่งออกของญี่ปุ่นก็ดิ่งลง วิกฤตการเงินยังส่งผลให้ฟองสบู่ที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ มากแตกตัว นั่นคือฟองสบู่หนี้สินที่พอกพูนขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1980 การบริโภคและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นมหาศาล เกิดขึน้ ได้ดว้ ยการก่อหนี้ เมือ่ เกิดวิกฤต หนีร้ วมของสหรัฐอเมริกา ทั้งประเทศสูงเป็นสามเท่าของรายได้ประชาชาติ เนื่องจากผู้ บริโภค (รวมทัง้ บริษทั และธนาคาร) มีตน้ ทุนในการก่อหนีไ้ ม่มาก เพราะอัตราดอกเบีย้ อยูใ่ นระดับตํา่ อีกทัง้ มีทนุ จากตะวันออกไกล และตะวันออกกลางไหลเข้าสู่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมดั้งเดิม ประเทศตะวันออกเหล่านี้มีอัตราการออมและรายได้จากการ


A

Very Short Introduction

17

ส่งออกสูงมาก จนต้องนำ�ทุนสะสมไปลงทุนทีไ่ หนสักแห่ง การไหล ของเงินเข้าสูก่ ลุม่ ประเทศอุตสาหกรรมดัง้ เดิมมีความสำ�คัญมาก ต่อประเทศผู้ผลิตสินค้า เพราะมันช่วยสร้างสถานะทางการเงิน ที่กระตุ้นการบริโภคสินค้าส่งออกจากประเทศผู้ผลิต เรามักใส่ใจกับประเด็นความล้มเหลวของนโยบายและ กลไกควบคุมทางการเงินที่ก่อให้เกิดการเติบโตอย่างไม่ยั่งยืน แต่หากปราศจากการบริโภคบนฐานของการก่อหนี้ วิกฤตการ ผลิตล้นเกินก็อาจจะเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ทั้งจากการแข่งขันอย่าง ดุเดือดของทุนนิยม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดจากการ แข่งขัน และการขยายตัวของการผลิตแบบทุนนิยมสูป่ ระเทศใหม่ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยผลักดันให้ปริมาณการผลิตทะยานสู่ระดับ ที่สูงขึ้น วิธีเดียวที่การบริโภคจะดูดซับการผลิตที่ล้นเกินทั้งหมด ได้ คือการบริโภคอันเกิดจากการเป็นหนี้ของปัจเจก แต่การก่อ หนี้ก็แค่ช่วยชะลอวิกฤตการผลิตล้นเกินออกไปเท่านั้น และการ ปล่อยให้การผลิตขยายตัวต่อไปอีกก็รังแต่ทำ�ให้วิกฤตเลวร้าย ลงในที่สุด การหดตัวของหนี้สินในช่วงหลังวิกฤตก็เผยให้เห็น วิกฤตที่ซ่อนอยู่อย่างชัดเจน หลักฐานฟ้องเรื่องการผลิตล้นเกิน ที่เด่นชัดที่สุดคือปริมาณรถยนต์ที่ขายไม่ได้ กล่าวได้ว่า ปัญหา พื้นฐานประการสำ�คัญก็คือแนวโน้มที่จะเกิดการผลิตล้นเกิน ในระบบทุนนิยม ซึง่ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ชีใ้ ห้เห็นเมือ่ นาน มาแล้วนั่นเอง (ดูบทที่หก) ในขณะที่หนี้สินส่วนบุคคลและธุรกิจหดตัวลง แต่หนี้ สาธารณะกลับเพิ่มขึ้นโดยตลอด รัฐบาลพยายามทวนกระแส วังวนของเงินฝืดและเพิม่ การบริโภคด้วยการลดภาษีและเพิม่ การ


18

Capitalism

ใช้จา่ ยภาครัฐ แต่มนั ก็ท�ำ ให้รฐั บาลต้องเผชิญปัญหาหนีส้ าธารณะ สูงขึ้น แนวความคิดแบบเคนส์ (Keynesian) สนับสนุนนโยบาย นี้อย่างชัดเจน โดยเชื่อว่าการรักษาระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่สูงกว่าเดิมจะทำ�ให้รัฐเก็บภาษีได้มากขึ้น และลดค่าใช้จ่าย ในการบริการสังคม อย่างไรก็ตาม หนีส้ าธารณะเกิดจากการกูย้ มื มาจากแหล่งใดแหล่งหนึง่ ถ้ารัฐบาลกูเ้ งินมากเกินไปก็อาจทำ�ให้ แหล่งเงินกู้หมดเงินได้ ไม่ว่าจะอย่างไร หนี้สาธารณะมีดอกเบี้ย ที่ต้องจ่าย และถึงที่สุดก็ต้องลดหนี้ด้วยการขึ้นภาษีและลดการ ใช้จ่ายภาครัฐ เมื่อถึงจุดนั้น อุปสงค์จะชะลอตัว ปัญหาพื้นฐาน ก็คือ ไม่ว่ารัฐบาลจะดำ�เนินนโยบายใด การลดลงของหนี้ การ บริโภค และการผลิต เป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ การแทรกแซงของรัฐที่เพิ่มขึ้นมาก หมายความว่าเรา กำ�ลังอยู่ในขั้นตอนใหม่ของพัฒนาการของระบบทุนนิยมหรือ ไม่ ในบทที่สาม ผมอภิปรายว่า “ทุนนิยมที่กลับมาขับเคลื่อน โดยตลาด” (remarketized capitalism) ซึ่งเป็นขั้นที่สามของ พัฒนาการของระบบทุนนิยม เริ่มต้นในทศวรรษ 1980 ข้อ อภิ ป รายก็ คื อ ขั้ น ใหม่ ข องทุ น นิ ย มดำ � เนิ น มาถึ ง แล้ ว เพราะ ทุนนิยมที่กลับมาขับเคลื่อนโดยตลาดได้สร้างวิกฤตด้วยการ ปล่อยให้พลังของตลาดเป็นหัวขบวน สถาบันทางการเงินปล่อย ให้การปล่อยกู้และการลงทุนเป็นไปอย่างอิสระบนความเพ้อฝัน ถึงความรุ่งโรจน์ การแข่งขันอย่างรุนแรงส่งผลให้เกิดการแย่ง กันปล่อยกู้จนทำ�ให้ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์พองโต การเก็ง กำ�ไรในตลาดอนุพันธ์ราวกับการเล่นพนัน (ดูการกระทำ�ของ นิก ลีสัน ในบทที่หนึ่ง) โหมเชื้อไฟใส่วิกฤตด้วยการกดให้ราคาหุ้น


A

Very Short Introduction

19

ของธนาคารที่มีปัญหาลดฮวบ แล้วทันใดการพูดคุยทั้งหมด ก็ มุ่ ง ไปสู่ ยุ ค ใหม่ ข องการกำ � กั บ ดู แ ลที่ เ ข้ ม งวดกว่ า เดิ ม ให้ รั ฐ สอดส่องกิจกรรมทางการเงิน ซื้อกิจการธนาคารมาเป็นของรัฐ พยุงอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหา และเพิ่มการจ้างงานโดยรัฐ คงจะไม่ถกู ต้องนักหากจะด่วนสรุปและเข้าใจผิดว่าการ แทรกแซงสถานการณ์ฉุกเฉินคือทิศทางใหม่ของทุนนิยม รัฐ อาจเป็นเจ้าของธนาคารเพียงชั่วคราว รัฐบาลพรรคแรงงานใน สหราชอาณาจักรก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางอุดมการณ์ใดๆ ดังทีเ่ ห็นกันว่าการเข้าควบคุมกิจการธนาคารโดยรัฐเป็นไปอย่าง เชือ่ งช้าและลังเลใจ ด้วยยังคิดว่ามีความจำ�เป็นทีจ่ ะต้องให้ระบบ การเงินดำ�เนินไปด้วยตัวเองมากกว่าจะเชื่อมั่นในคุณประโยชน์ ของการถือครองโดยสาธารณะ การปรับเปลี่ยนกระบวนการ แปรรูปรัฐวิสาหกิจให้กลับไปเป็นของรัฐที่เริ่มมาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ดูจะยังไม่เกิดขึ้น ทุนนิยมยังคง (กลับมา) ขับเคลื่อนโดย ตลาดอยู่ดี ประเด็นสำ�คัญที่ต้องเน้นตรงนี้ก็คือ การกำ�กับดูแลโดย รัฐไม่ใช่สงิ่ แปลกแยกจากทุนนิยมที่ (กลับมา) ขับเคลือ่ นโดยตลาด ดังทีไ่ ด้อภิปรายในบททีส่ าม แม้วกิ ฤตการเงินในขณะนีจ้ ะเกิดจาก การกำ�กับดูแลที่ไม่เพียงพอ แต่การสร้างองค์กรกำ�กับดูแลใหม่ เพือ่ ป้องกันการบิดเบือนตลาดและรักษาความเท่าเทียมในสนาม แข่งขัน ก็เป็นลักษณะที่สำ�คัญประการหนึ่งของทุนนิยมที่ (กลับ มา) ขับเคลื่อนโดยตลาด การกำ�หนดทิศทางและการครอบครอง โดยรัฐเข้ากันไม่ได้กบั ระบบทุนนิยมแบบนี้ แต่การกำ�กับดูแลโดย รัฐเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการขับเคลื่อนระบบทุนนิยม


20

Capitalism

ส่วนการกำ�กับดูแลจะมากเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับขนาด และระยะเวลาของวิ ก ฤต วิ ก ฤตครั้ ง นี้ ห ยั่ ง ลึ ก และลุ ก ลามไป ทั่วโลก ขณะที่การผลิตหดตัวลงแทบทุกที่ พยากรณ์ได้ว่าขนาด ของเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ยุโรป และญีป่ นุ่ จะหดตัวลงในช่วงปี 2009 และกระแสชาตินิยมก็น่าจะทำ�ให้ วิกฤตยํ่าแย่ลงไปอีก ไม่ต่างจากวิกฤตในทศวรรษ 1930 แม้ว่า ทุกประเทศจะแสดงตนว่าไม่นิยมการปกป้องระบบเศรษฐกิจ จากการคุกคามภายนอก แต่ก็มีหลักฐานชี้ชัดว่าหลายประเทศ กำ�ลังพยายามปกป้องอุตสาหกรรมของตนเองและเน้นการลงทุน ในเศรษฐกิจภายในประเทศ การค้าระหว่างประเทศลดลง และ บางคนก็กลัวว่าจะเกิดการคลายโลกาภิวัตน์ (deglobalization) ซึ่งจะทำ�ให้ทุกประเทศเสียหาย และประเทศกำ�ลังพัฒนาจะ ได้รับผลกระทบมากที่สุด อย่างไรก็ดี ความมืดมนระดับโลกอาจเป็นเรื่องที่พูด กันเกินจริง อย่างน้อยก็มีคำ�พยากรณ์ว่าบางประเทศในโลกจะ ยังคงเติบโตในช่วงปี 2009 ที่เด่นชัดคือจีน ซึ่งเศรษฐกิจเติบโต ร้อยละแปด และอินเดีย ซึ่งเศรษฐกิจเติบโตร้อยละหก แม้ว่า จะเป็นอัตราการเติบโตที่ลดลง แต่ก็นับว่าสูงมากอยู่ดี มูลค่า การส่งออกของจีนไปยังตะวันตกที่ลดลงส่งผลกระทบต่อจีน อย่างหนัก อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น และหลายคนพยากรณ์ว่า ชาวจีนจะทวีความไม่พอใจ และเศรษฐกิจแบบจีนจะล่มสลาย กระนัน้ เนือ่ งจากประชากรโลกหนึง่ ในห้าอาศัยอยูใ่ นจีน แค่คนจีน ลดการออมลงและบริโภคให้มากขึ้น ตลาดในประเทศก็สร้าง ศักยภาพการเติบโตด้วยตนเองได้แล้ว ประเด็นสำ�คัญในการหา


A

Very Short Introduction

21

ทางออกจากวิกฤตโลกในครั้งนี้ก็คือ ประเทศทางฝั่งตะวันออก จะสร้างการเติบโตด้วยตนเองได้หรือไม่ หรือว่าประเทศเหล่านั้น ได้ผูกโยงการค้าของตนเข้ากับประเทศอุตสาหกรรมดั้งเดิมจน จะดิ่งลงเหวไปด้วยกัน ดังที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 1930

เจมส์ ฟุลเชอร์ เมษายน 2009



ทุนนิยม •

ความรู้ฉบับพกพา

CAPITALISM • A

Very

Short

Introduction

by

James

Fulcher

แปลโดย

ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย


บทที่ 1

, ทุนนิยมคืออะไร


A

Very Short Introduction

25

ทุนนิยมพ่อค้า (Merchant Capitalism) ในเดื อ นเมษายน 1601 บริ ษั ท อิ ง ลิ ช อี ส ต์ อิ น เดี ย (English East India Company) ส่งกองเรือพาณิชย์ไปยังอินเดีย ตะวันออกเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นประมาณ 18 เดือน เรือทั้ง สี่ลำ� คือ แอสเซนชัน (Ascension) ดรากอน (Dragon) เฮกเตอร์ (Hector) และ ซูซาน (Susan) ก็กลับมาจากเกาะสุมาตราและชวา พร้อมกับสินค้าจำ�นวนหนึง่ ซึง่ ส่วนใหญ่คอื พริกไทย ความสำ�เร็จ ของการผจญภัยครั้งนี้นำ�มาสู่การส่งกองเรือพาณิชย์เป็นครั้งที่ สองโดยใช้เรือชุดเดิม ทั้งสี่ลำ�แล่นออกจากลอนดอนในเดือน มีนาคม 1604 ในเที่ยวกลับ เฮกเตอร์ กับ ซูซาน กลับมาก่อน แต่ ซูซาน สูญหายไปในทะเล และ เฮกเตอร์ ได้รับการช่วยเหลือ จาก แอสเซนชัน และ ดรากอน ขณะที่กำ�ลังลอยลำ�อยู่บริเวณ แอฟริกาใต้ และลูกเรือเกือบทัง้ หมดเสียชีวติ สุดท้าย แอสเซนชัน ดรากอน และ เฮกเตอร์ กลับถึงอังกฤษในเดือนพฤษภาคม 1606 พร้อมกับสินค้าซึ่งประกอบด้วยพริกไทย กานพลู และ


26

Capitalism

ลู ก จั น ทน์ เ ทศ โดยผู้ ที่ ร่ ว มลงทุ น ในการเดิ น ทางทั้ ง สองครั้ ง ทำ�กำ�ไรได้ถึงร้อยละ 95 ของเงินลงทุน การส่งกองเรือพาณิชย์ครั้งที่สามในปี 1607 ประสบ ผลสำ�เร็จ ทว่าครั้งที่สี่ในปี 1608 ซึ่งใช้เรือสองลำ�คือ แอสเซนชัน และ ยูเนียน (Union) ประสบหายนะ แอสเซนชัน ไปถึงฝั่ง ตะวั น ตกของอิ น เดี ย แต่ ก็ อั บ ปางลงด้ ว ยนํ้า มื อ ของกั ป ตั น ที่ “ยโสและหัวรั้น” ซึ่งละเลยคำ�เตือนเรื่องหินโสโครก ส่วน ยูเนียน แวะพักทีท่ า่ เรือของเกาะมาดากัสการ์ ก่อนทีล่ กู เรือจะถูกซุม่ โจมตี และกัปตันถูกฆ่า อย่างไรก็ดี เรือลำ�นีก้ ไ็ ปถึงสุมาตราและบรรทุก สินค้ากลับมาได้ แต่ในระหว่างการเดินทางกลับ ยูเนียน ก็จมลง ที่บริเวณชายฝั่งบริตทานี ผู้ออกทุนสำ�หรับการเดินทางครั้งนี้ สูญเสียทุนไปทั้งหมด ทุนนิยมในสาระสำ�คัญคือการลงทุนโดยหวังผลกำ�ไร และคนก็ทำ�กำ�ไรได้มหาศาลด้วยการรับความเสี่ยงค่อนข้างสูง จากการค้าขายทางไกลทำ�นองนี้ คิดง่ายๆ ว่ากำ�ไรคือผลลัพธ์ จากความหายากของสินค้าและระยะทางที่ห่างไกล เป็นต้นว่า ได้มาจากผลต่างของราคาซื้อพริกไทยที่หมู่เกาะตะวันออกกับ ราคาขายที่ยุโรป ซึ่งเป็นส่วนต่างที่สูงลิ่วเมื่อเทียบกับต้นทุน ประเด็นที่สำ�คัญก็คือสินค้าจะสามารถเดินทางมาถึงยุโรปได้ หรือไม่ ภาวะตลาดก็สำ�คัญเช่นกัน เพราะการกลับมาของกอง เรือขนาดใหญ่ในทันทีอาจทำ�ให้ราคาตก และตลาดจะเกิดการ อิ่มตัวหากความสามารถในการทำ�กำ�ไรที่สูงดึงดูดผู้คนเข้ามา ในตลาดมากเกินไป ท้ายที่สุด ปริมาณพริกไทยที่ท่วมตลาด ก็ ทำ � ให้ บ ริ ษั ท อี ส ต์ อิ น เดี ย ต้ อ งค้ า ขายเครื่ อ งเทศและสิ น ค้ า ที่


A

Very Short Introduction

27

หลากหลายมากขึ้น เช่น ครามย้อมผ้า ทุนปริมาณมหาศาลจำ�เป็นต่อการค้าแบบนี้ เรือที่ใช้ ในการค้าซึ่งเรียกว่า อีสต์อินเดียแมน (East Indiaman) ถูก สร้าง ปรับสภาพ และติดปืนใหญ่ เพือ่ ต่อสูก้ บั คูแ่ ข่งชาวฮอลันดา และโปรตุ เ กส เมื่ อ กลั บ มาถึ ง ท่ า ก็ ต้ อ งซ่ อ ม อู่ ต่ อ เรื อ ที่ เ มื อ ง แบล็กวอลล์ (Blackwall) และเดปต์ฟอร์ด (Deptford) ซึ่งจ้าง คนงานท้องถิน่ จำ�นวนมาก ก็ตอ้ งใช้ทนุ นอกจากนัน้ ทุนยังจำ�เป็น สำ�หรับการตระเตรียมเสบียง ทรัพย์สินเงินทอง สินค้าที่จะนำ� ไปแลกกับเครื่องเทศ ทองคำ�แท่ง พร้อมอาหารและเครื่องดื่มที่ เพียงพอสำ�หรับลูกเรือจำ�นวนมาก เช่น ในการผจญภัยครัง้ ทีส่ าม ของบริษทั อิงลิชอีสต์อนิ เดีย ดรากอน มีลกู เรือ 150 คน เฮกเตอร์ มี 100 คน และ คอนเซนต์ (Consent) มี 30 คน รวมปากท้อง ที่ต้องเลี้ยงดู 280 คน เหตุผลสำ�คัญที่ต้องมีลูกเรือจำ�นวนมาก คือเพื่อจะได้มีลูกเรือจำ�นวนมากพอที่จะนำ�เรือเดินทางกลับ หลังจากที่ต้องฝ่าฟันภยันตรายสารพัดที่คร่าชีวิตลูกเรือจำ�นวน หนึ่ง ทุ น ของบริ ษั ท อี ส ต์ อิ น เดี ย ส่ ว นใหญ่ ม าจากพ่ อ ค้ า ที่ ราํ่ รวยชาวลอนดอนซึง่ ทัง้ ควบคุมและดูแลการเดินทาง แหล่งทุน อีกแหล่งคืออภิสทิ ธิช์ นและผูต้ ดิ สอยห้อยตาม รวมถึงกลุม่ คนทีม่ ี อิทธิพลต่อราชสำ�นัก อภิสิทธิ์ของบริษัทขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถ สร้างความพอใจให้กบั ราชสำ�นักได้มากเพียงใด เงินจากต่างชาติ ก็เกี่ยวข้องเช่นกัน โดยมาจากพ่อค้าชาวฮอลันดากลุ่มหนึ่งที่ถูก เขีย่ ออกมาจากบริษทั ดัตช์อสี ต์อนิ เดีย (Dutch East India Company) ซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่ง นอกจากจะลงทุนแล้ว ชาวต่างชาติ


28

ภาพประกอบ 1 เรืออีสต์อินเดียแมน ปี 1829

Capitalism


A

Very Short Introduction

29

เหล่านีย้ งั เป็นแหล่งข้อมูลทีด่ เี กีย่ วกับความเคลือ่ นไหวของคูแ่ ข่ง ทุนที่สนับสนุนการเดินทาง 12 ครั้งแรกแยกเป็นอิสระ จากกัน โดยจะลงทุนกับการเดินทางได้เพียงครั้งเดียว และแบ่ง กำ�ไรจากการผจญภัยตามสัดส่วนการถือหุ้น ตามธรรมเนียม ปฏิบัติของพ่อค้าในยุคนั้น อย่างไรก็ดี มันก็เป็นการลงทุนที่ เสีย่ งมาก เพราะเป็นการลงทุนในช่วงเวลาอันยาวนานของความ ไม่แน่นอนในดินแดนไกลโพ้นและลี้ลับ ผู้ลงทุนอาจกระจาย ความเสี่ยงโดยการส่งเรือหลายลำ�ไปในการเดินทางครั้งเดียว แต่เรือทุกลำ�ก็อาจจะจมลงเช่นที่เกิดขึ้นในปี 1608 ต่อมาบริษัท ได้ปรับเปลี่ยนการจัดการทางการเงินเพื่อกระจายความเสี่ยง ไปในการเดิ น ทางหลายครั้ ง และจากนั้ น บริ ษั ท ก็ ก ลายเป็ น บริษัทร่วมทุนเต็มรูปแบบ กล่าวคือ หลังจากปี 1657 ผู้ลงทุน สามารถลงทุนได้โดยไม่ตอ้ งผูกมัดกับการเดินทางครัง้ ใดเป็นการ เฉพาะ และในปี 1688 ก็สามารถซื้อขายหุ้นของบริษัทได้ใน ตลาดหลักทรัพย์กรุงลอนดอน ผูล้ งทุนสามารถลดความเสีย่ งได้โดยการผูกขาด บริษทั อิงลิชอีสต์อินเดียใช้วิธีการไม่ต่างจากคู่แข่งในต่างประเทศ คือ สร้างความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับรัฐ โดยที่รัฐจะมอบสัมปทาน ผูกขาดการนำ�เข้าสินค้าจากบูรพทิศ และให้เอกสิทธิ์ในการนำ� ทองคำ�แท่งไปแลกกับสินค้า ขณะที่รัฐซึ่งท้องพระคลังมักจะ เหือดแห้ง ก็เก็บภาษีศุลกากรขาเข้าจากสินค้าลํ้ำ�ค่าที่บริษัท ขนกลับมาเป็นการแลกเปลี่ยน การแข่งขันนั้นมีแน่ แต่เป็นการ แข่งขันที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศ อันได้แก่ อังกฤษ ฮอลันดา และโปรตุเกส ซึ่งจ้องจะทำ�ลายล้างกันอย่างราบคาบในดินแดน


30

Capitalism

ห่างไกลในหมู่เกาะตะวันออก ขณะที่บรรดาคนนอกต่างก็จ้อง จะเข้ามามีสว่ นในการค้า ซึง่ หนึง่ ในอภิสทิ ธิท์ รี่ ฐั มอบให้กบั บริษทั อีสต์อินเดียก็คือสิทธิที่จะลงมือกับ “ผู้บุกรุก” ตลาดถูกบิดเบือนด้วยการทุ่มเงินซื้อหุ้นและการชะลอ การซื้อขาย ในศตวรรษที่ 17 พ่อค้าชาวอัมสเตอร์ดัมชํ่าชอง วิ ธี ก ารเหล่ า นี้ พวกเขาไม่ เ พี ย งแต่ ยุ่ ง อยู่ กั บ การผู ก ขาด เครื่องเทศเท่านั้น แต่ยังผูกขาดทองแดงจากสวีเดน ผลิตภัณฑ์ จากวาฬ ไหมอิตาเลียน นํ้าตาล ส่วนผสมในนํ้าหอม และดิน ประสิว (ส่วนผสมของดินปืน) ซึ่งโกดังขนาดใหญ่มีความจำ�เป็น อย่างมากสำ�หรับการผูกขาดสินค้าเหล่านี้ แฟร์นองด์ โบรเดล (Fernand Braudel) ชี้ว่า โกดังของพ่อค้าชาวฮอลันดาทั้งใหญ่ และแพงกว่าเรือขนาดใหญ่เสียอีก โดยสามารถกักตุนธัญญาหาร สำ�หรับประชาชนทัง้ ประเทศได้ถงึ 10-12 ปี นีไ่ ม่ใช่เพียงแค่เรือ่ ง ของการกักตุนสินค้าเพื่อโก่งราคาเท่านั้น แต่การกักตุนยังทำ�ให้ ชาวฮอลันดาทำ�ลายคูแ่ ข่งด้วยการปล่อยสินค้าให้ทว่ มตลาดยุโรป ได้ในทันทีอีกด้วย ที่กล่าวมานั้นเป็นทุนนิยมอย่างแน่นอน เพราะการค้า ทางไกลต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก โดยหวังว่าจะได้กำ�ไรมหาศาล แต่ก็ชัดเจนว่าทุนนิยมแบบตลาดเสรียังไม่เกิดขึ้น กลเม็ดของ การสร้างกำ�ไรมหาศาลอยูท่ กี่ ารรักษาอำ�นาจผูกขาด ไม่วา่ จะด้วย วิธีการใด ทั้งการกำ�จัดคู่แข่งและการควบคุมตลาดในทุกวิถีทาง ที่ทำ�ได้ ทั้งนี้เนื่องจากกำ�ไรมาจากการขายสินค้าที่หายาก มิใช่ มาจากการผลิตที่วางแผนอย่างเป็นระบบ ผลของทุนนิยมแบบ พ่อค้าวาณิชต่อสังคมจึงมีจำ�กัด กล่าวคือ ประชากรจำ�นวนมาก


A

Very Short Introduction

31

ของยุโรปยังดำ�รงชีพโดยไม่ได้รับผลจากการดำ�เนินกิจการของ เจ้าของทุนเหล่านี้เลย การผลิตแบบทุนนิยม ในทศวรรษ 1780 ชาวสกอตสองคนคือ เจมส์ แม็กคอนเนล (James M‘Connel) และ จอห์น เคนเนดี (John Kennedy) เดินทางลงใต้ไปเป็นช่างฝึกหัดในอุตสาหกรรมฝ้ายที่ แลงคาเชียร์ (Lancashire) หลังจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์และ สะสมเงิ น ได้ จำ � นวนหนึ่ ง จากการประกอบเครื่ อ งจั ก รทอฝ้ า ย พวกเขาก็ตั้งบริษัทของตัวเองในปี 1795 ด้วยเงินทุนตั้งต้น 1,770 ปอนด์ หลังจากนั้นไม่นาน ทั้งคู่ก็ได้กำ�ไรงดงามจากการ ปั่นฝ้าย โดยได้กำ�ไรมากกว่าร้อยละ 30 ของเงินทุนในปี 1799 และ 1800 พวกเขาสั่ ง สมทุ น อย่ า งรวดเร็ ว เมื่ อ ถึ ง ปี 1800 เงินทุนก็เพิ่มขึ้นเป็น 22,000 ปอนด์ และเพิ่มขึ้นเป็น 88,000 ปอนด์เมื่อถึงปี 1810 และเมื่อถึงปี 1820 บริษัทของพวกเขาก็มี โรงงานปัน่ ฝ้ายสามแห่ง และได้ลงหลักปักฐานเป็นบริษทั ปัน่ ฝ้าย ชัน้ นำ�ในเมืองแมนเชสเตอร์ (Manchester) ซึง่ เป็นเมืองหลวงของ การปั่นฝ้ายของโลก ไม่ น านนั ก อุ ต สาหกรรมนี้ ก็ มี ก ารแข่ ง ขั น กั น อย่ า ง รุนแรง บริษัทไม่อาจรักษากำ�ไรในระดับสูงเท่ากับในช่วงต้น ทศวรรษ 1800 ได้อีกต่อไป สาเหตุใหญ่คือกำ�ไรมหาศาลทำ�ให้ อุตสาหกรรมนี้ขยายตัว และดึงดูดผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามา ในอุตสาหกรรม ในปี 1819 มีโรงงานปั่นฝ้ายอยู่ 344 แห่ง แต่


32

ภาพประกอบ 2 เครื่องจักรปั่นด้ายยึดพื้นที่โรงงานฝ้ายในศตวรรษที่ 19

Capitalism


A

Very Short Introduction

33

เมื่อถึงปี 1839 จำ�นวนได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,815 แห่ง ความก้าวหน้า ทางเทคนิคทำ�ให้ผลิตภาพเพิม่ ขึน้ อย่างมากในช่วงทศวรรษ 1830 และการแข่งขันได้ผลักดันให้บริษทั ต่างๆ ลงทุนซือ้ เครือ่ งจักรใหม่ จำ�นวนมาก โรงงานขนาดใหญ่ในช่วงนีม้ เี ครือ่ งปัน่ ฝ้ายถึง 40,000 ตัว เทียบกับ 4,500 ตัวหรือมากกว่าเล็กน้อยในยุคก่อนหน้านี้ ต้นทุนที่สูงของการลงทุนก่อสร้างโรงงานและเครื่องจักรจำ�นวน มาก รวมถึงกำ�ลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นมากทำ�ให้ราคาด้ายลดตํ่าลง ความสามารถในการทำ�กำ�ไรของอุตสาหกรรมจึงถูกกดให้อยู่ใน ระดับตํ่าในทศวรรษ 1830 ทีส่ ดุ แล้ว กำ�ไรในธุรกิจนีข้ นึ้ อยูก่ บั คนงานทีแ่ ปลงฝ้ายดิบ ให้เป็นเส้นด้าย คนงานของแม็กคอนเนลและเคนเนดีเพิม่ ขึน้ จาก 312 คนในปี 1802 เป็นประมาณ 1,500 คนในทศวรรษ 1830 คนงานเหล่านี้ส่วนมากเป็นแรงงานเด็กค่าแรงตํ่า และบางครั้ง เกือบครึง่ ของแรงงานเหล่านีม้ อี ายุตาํ่ กว่า 16 ปี ในปี 1819 บริษทั แห่งนี้มีแรงงานเด็ก 100 คนที่มีอายุตํ่ากว่า 10 ปี บางคนอายุ แค่ 7 ปี พวกเขาต้องทำ�งานตั้งแต่ 6.00 น. ไปจนถึง 19.30 น. นอกเหนือจากต้นทุนก้อนใหญ่ที่ต้องใช้สำ�หรับโรงงาน ใหม่และเครือ่ งจักรใหม่เป็นครัง้ คราว ค่าจ้างก็เป็นต้นทุนหลักของ บริษัท ค่าจ้างรายปีนั้นมากกว่า 35,000 ปอนด์เมื่อถึงปี 1811 และมากกว่า 48,000 ปอนด์เมื่อถึงช่วงกลางทศวรรษ 1830 การลดต้นทุนไม่ได้ทำ�โดยการลดค่าแรงเท่านั้น แต่ยังทำ�โดย การแทนที่คนงานมีทักษะด้วยคนงานไร้ทักษะที่มีค่าแรงถูกกว่า ซึ่งการประดิษฐ์เครื่องจักรอัตโนมัติทำ�ให้เรื่องนี้เป็นไปได้ ความ ไม่มั่นคงของอุตสาหกรรมนี้เกิดขึ้นเป็นวัฏจักร โดยส่งผลให้


34

Capitalism

อุปสงค์ลดตํา่ ลงเป็นช่วงๆ ซึง่ บีบบังคับให้นายจ้างต้องลดค่าแรง และเวลาทำ�งานเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ขณะทีอ่ ตุ สาหกรรมนีพ้ ฒ ั นาขึน้ การจัดการความขัดแย้ง เรื่องค่าแรงก็เป็นระบบขึ้นเรื่อยๆ คนงานปั่นฝ้ายต้านทานการ ลดค่าแรงด้วยการก่อตั้งสหภาพ เริ่มแรกในระดับท้องถิ่น แล้ว ขยายไปเป็นระดับภูมิภาคและระดับชาติ ในปี 1810 ปี 1818 และปี 1830 คนงานนัดหยุดงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น แต่ก็ถูก นายจ้างปราบปรามด้วยความช่วยเหลือจากรัฐ โดยมีการจับกุม ผู้ประท้วงหยุดงานและคุมขังผู้นำ�สหภาพ บรรดานายจ้างยังได้ ตั้งสมาคมของพวกเขาเอง ซึ่งทำ�ให้พวกเขาสามารถ “ขึ้นบัญชี ดำ � ” สมาชิ ก สหภาพที่ ก ระด้ า งกระเดื่ อ ง และตอบโต้ ก ารนั ด หยุดงานด้วยการ “ปิดโรงงานโดยนายจ้าง” นอกจากนี้ยังมีการ ให้การสนับสนุนทางการเงินระหว่างนายจ้างด้วยกัน อย่างไรก็ดี การดำ�เนินการอย่างแข็งขันของสหภาพแรงงานปั่นฝ้ายก็ดูจะ ประสบความสำ�เร็จเป็นอย่างดี เพราะค่าจ้างอยูใ่ นระดับค่อนข้าง คงที่ ถึงแม้ว่าความสามารถในการทำ�กำ�ไรของอุตสาหกรรมจะ ลดลง และนายจ้างก็จ้องจะลดค่าจ้าง การขูดรีดแรงงานไม่ใช่แค่เรื่องของการกดค่าแรงเพียง อย่างเดียว แต่ยงั รวมถึงการบังคับให้คนงานมีวนิ ยั ด้วย ทุนนิยม แบบอุตสาหกรรมต้องให้คนทำ�งานแบบจำ�เจและต่อเนือ่ งเพือ่ กด ต้นทุนให้ตํ่าที่สุด เครื่องจักรราคาแพงต้องถูกใช้งานตลอดเวลา ความเกียจคร้าน อาการมึนเมา กระทั่งการเดินลอยชายและ การพูดคุย เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ โรงงานปั่นฝ้ายประสบ ปัญหาในการจ้างงานอย่างมาก เนื่องจากคนทั่วไปไม่ชอบการ


A

Very Short Introduction

35

ทำ�งานทีย่ าวนานและต่อเนือ่ ง รวมทัง้ การถูกควบคุมอย่างใกล้ชดิ นายจ้างต้องหาวิธบี งั คับใช้ระเบียบวินยั ซึง่ ค่อนข้างจะแปลกแยก กับคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมรุน่ แรก นายจ้างโดยทัว่ ไปใช้วธิ ี ลงโทษทีด่ บิ เถือ่ นและการลงโทษทางกาย (กับเด็ก) การปรับ หรือ การขู่เลิกจ้าง แต่ก็มีนายจ้างบางรายที่พัฒนาวิธีที่ซับซ้อนและ มีคุณธรรมกว่าเดิมในการควบคุมคนงาน โรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen) เป็นคนแรกที่เริ่ม ใช้ “ระบบควบคุมแบบเงียบ” ที่โรงงานของเขาในนิว ลานาร์ก (New Lanark) โดยคนงานแต่ละคนจะมีป้ายไม้แทนตัว ป้าย สีดำ�คือทำ�งานแย่ สีฟ้าคือปานกลาง สีเหลืองคือดี และสีขาวคือ ยอดเยีย่ ม โดยป้ายสีนจี้ ะถูกติดไว้ให้ทกุ คนมองเห็นได้ เป็นเครือ่ ง เตือนความจำ�ถึงคุณภาพการทำ�งานในวันก่อนหน้านี้ และแต่ละ ฝ่ายจะมี “สมุดพก” เพื่อจดบันทึกสีในแต่ละวันของคนงานแต่ละ คน ระเบียบวินยั ไม่ใช่แค่เรือ่ งของโรงงานเท่านัน้ เพราะโอเวนได้ นำ�ไปใช้ควบคุมชุมชนด้วย โดยเขาส่งสายตรวจออกลาดตระเวน เพือ่ รายงานเรือ่ งการเมาสุรา และปรับผูท้ เี่ มามายในเช้าวันรุง่ ขึน้ เขายึดมั่นในความสะอาด และสร้างกฎระเบียบยิบย่อยเรื่องการ ทำ�ความสะอาดบ้านและถนน มีแม้แต่คำ�สั่งห้ามทุกคนออกนอก เคหสถานหลังจากเวลา 22.30 น. ในฤดูหนาว อี. พี. ธอมป์สัน (E. P. Thompson) ยํ้าว่า งานที่ใช้ วิ นั ย นั้ น เป็ น งานที่ ต้ อ งทำ � ประจำ � และมี ก ารกำ � หนดเวลา นั่ น หมายความว่าต้องมารายงานตัวทุกวัน เริ่มงานตรงเวลา พักได้ ตามกำ�หนดเวลาและภายในระยะเวลาที่กำ�หนด นายจ้างจึงต้อง ต่อสู้กับประเพณีที่ฝังรากลึกอย่างการลาต่อเนื่อง เช่น ลาใน “วัน


36

Capitalism

นักบุญจันทร์” และอาจลาต่อใน “วันนักบุญอังคาร” เพื่อพักฟื้น จากการดื่มหนักในช่วงสุดสัปดาห์ เวลาจึงกลายเป็นสมรภูมิที่ นายจ้างไร้ยางอายบางคนอาจตัง้ นาฬิกาให้เร็วขึน้ ในตอนเช้าและ ให้ช้าลงในตอนคํ่า บางเรื่องเล่าบอกว่ามีการเก็บนาฬิกาข้อมือ ของคนงานด้วย การควบคุมเวลาของนายจ้างจะได้ไม่ถกู ท้าทาย ประเด็นทีส่ �ำ คัญก็คอื ความต้องการอุปกรณ์บอกเวลาแพร่หลาย ในช่วงเดียวกับการปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม และพอถึงปลายศตวรรษ ที่ 18 รัฐบาลก็พยายามเก็บภาษีจากผู้ครอบครองนาฬิกาและ นาฬิกาข้อมือ ทุนนิยมแบบอุตสาหกรรมไม่เพียงประดิษฐ์สร้างงาน แต่ยงั ประดิษฐ์สร้าง “เวลาว่าง” ในความหมายสมัยใหม่ทเี่ ราเข้าใจ สิ่งนี้อาจจะดูน่าแปลกใจ เพราะผู้ควบคุมการผลิตฝ้ายในยุคแรก ต้องการให้เครื่องจักรทำ�งานต่อเนื่องนานที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ และบังคับให้ลกู จ้างทำ�งานติดต่อกันนานมาก อย่างไรก็ดี นายจ้าง แยกเวลาว่างออกจากเวลางานด้วยการบังคับให้คนงานทำ�งาน อย่างต่อเนื่องในเวลางาน และห้ามไม่ให้ทำ�กิจกรรมที่ไม่ใช่งาน นายจ้างบางรายแยกสองเรื่องนี้อย่างชัดเจนด้วยการประกาศ ช่วงวันหยุดยาวที่โรงงานจะหยุดการผลิต เพราะดีกว่าปล่อยให้ งานสะดุดจากการลาหยุดตามอำ�เภอใจของคนงาน ด้วยเหตุนี้ “เวลาว่าง” ซึ่งหมายถึงเวลาที่ปลอดงาน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของ วันหยุด วันสุดสัปดาห์ หรือช่วงเย็น จึงเป็นผลผลิตของเวลางาน ที่ มี ร ะเบี ย บวิ นั ย และกำ � หนดกรอบชั ด เจน ซึ่ ง การผลิ ต แบบ ทุ น นิ ย มประดิ ษ ฐ์ ส ร้ า ง หลั ง จากนั้ น คนงานก็ ต้ อ งการเวลา ว่างมากขึ้น และเวลาว่างก็ถูกขยับขยายโดยการรณรงค์ของ


A

Very Short Introduction

37

สหภาพแรงงาน ซึ่งเริ่มต้นในอุตสาหกรรมฝ้าย กระทั่งในที่สุด รัฐก็ออกกฎหมายจำ�กัดชั่วโมงการทำ�งาน และรับรองสิทธิการมี วันหยุดของคนงาน เวลาว่างยังเป็นประดิษฐกรรมของทุนนิยมในอีกแง่หนึง่ ผ่านทางกระบวนการทำ�ให้เวลาว่างเป็นสินค้า เวลาว่างไม่ได้ หมายถึงการมีส่วนร่วมกับกีฬาหรือสันทนาการแบบดั้งเดิมอีก ต่อไป คนงานเริ่มจ่ายเงินสำ�หรับกิจกรรมยามว่างซึ่งดำ�เนินการ โดยกิจการทุนนิยม บริษัทรถไฟที่ตั้งขึ้นใหม่ขายตั๋วท่องเที่ยว ระยะสั้นในราคาถูก ทำ�ให้คนงานจากโรงงานฝ้ายในแลงคาเชียร์ สามารถไปพักผ่อนทีแ่ บล็กพูล (Blackpool) ได้ ในปี 1841 โธมัส คุก (Thomas Cook) เริ่มจัดการทัศนาจรครั้งแรกของเขา โดย เป็นการเดินทางระยะสั้นด้วยรถไฟจากเลสเตอร์ (Leicester) สู่ ลาฟเบรอะ (Loughborough) เพื่อไปร่วมงานสังสรรค์ผ่อนคลาย การเดินทางของมวลชนเพื่อไปชมกีฬาอย่างเช่นฟุตบอลหรือ การแข่งม้าซึ่งต้องเสียค่าเข้าชม ก็เกิดขึ้นในช่วงนี้ จะว่าไป การ ใส่ใจกับประเด็นนี้มิใช่การทำ�เรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่แต่อย่าง ใด เพราะอุตสาหกรรมใหม่ได้ถือกำ�เนิดขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์และ พัฒนาตลาดการใช้เวลาว่าง ซึ่งกลายเป็นแหล่งของอุปสงค์ การ จ้างงาน และกำ�ไร ขนาดมหึมา การผลิตแบบทุนนิยมได้เปลี่ยนหน้าตาของงานและ เวลาว่างของผู้คน การลงทุนโดยหวังกำ�ไรผลักดันให้เกิดการ ปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม และความก้าวหน้าทางเทคนิคก็เพิม่ ผลิตภาพ อย่างก้าวกระโดด แต่เครื่องจักรไม่อาจเดินเครื่องได้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยแรงงานที่เป็นศูนย์กลางของการทำ�กำ�ไร ค่าแรงเป็น


38

Capitalism

ต้นทุนหลักของนายจ้าง และเป็นจุดปะทะระหว่างเจ้าของทุนกับ ผู้ที่เป็นได้แค่ “เจ้าของแรงงาน” ซึ่งหมายถึงความสามารถที่จะ หาเงินจากหยาดเหงื่อของตัวเอง ไม่ต่างจากที่มาร์กซ์กล่าวไว้ คนงานทำ�งานกันอย่างแออัดในโรงงาน โดยต้องทำ�งานอย่าง ต่อเนื่องและมีระเบียบวินัยภายใต้การจับจ้องของผู้ควบคุม แต่ ในตอนนี้คนงานก็มีโอกาสร่วมกันก่อตั้งสหภาพ กิจกรรมที่ไม่ใช่ งานถูกกำ�จัดออกจากเวลางาน กลายเป็นเวลาว่าง และชีวิต ประจำ�วันก็แบ่งระหว่างเวลางานกับเวลาว่างอย่างชัดเจน กระนัน้ คนงานทีไ่ ด้รบั ค่าแรงก็หมายความว่าคนงานมีเงินใช้จา่ ยสำ�หรับ ยามว่าง การทำ�ให้เวลาว่างเป็นสินค้าจึงสร้างอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยรองรับการขยายตัวของการผลิตแบบทุนนิยม ทุนนิยมทางการเงิน ในวันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 1995 นิก ลีสัน (Nick Leeson) ผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์แบริง (Baring) ในสิงคโปร์ จ้องมองดัชนีตลาดหลักทรัพย์นกิ เคอิรว่ งลงมา 330 จุด ในวันนัน้ วันเดียว แบริงขาดทุน 143 ล้านปอนด์จากธุรกรรมที่ลีสันทำ�ไว้ ซึ่งเขาเป็นผู้เดียวที่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ผลขาดทุนครั้งนี้เป็นส่วน เพิ่มจากผลขาดทุนจำ�นวน 470 ล้านปอนด์ที่เขาปกปิดเจ้านาย ไว้ก่อนหน้านี้ เมื่อลีสันรู้ว่าเกมจบลงแล้ว เขากับภรรยาก็หนี ไปอยู่ที่ชายฝั่งทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว ขณะเดียวกัน ผู้จัดการบริษัทแบริงก็ฉงนฉงายกับเงินมหาศาลที่สูญเสียไปที่ สิงคโปร์ และออกตามล่าหาตัวลีสนั อย่างไม่ลดละ พอถึงวันรุง่ ขึน้


A

Very Short Introduction

39

ก็ แ น่ ชั ด ว่ า แบริ ง บราเธอร์ ส ธนาคารพาณิ ช ย์ ที่ เ ก่ า แก่ ที่ สุ ด ในลอนดอน ได้ขาดทุนจนเท่ากับล้มละลายแล้ว ลีสันพยายาม หาทางกลับไปอังกฤษ แต่ก็ถูกจับกุมที่แฟรงก์​์เฟิร์ต (Frankfurt) เขาถูกทางการสิงคโปร์เนรเทศในข้อหาฝ่าฝืนกฎระเบียบทาง การเงิน และถูกจำ�คุกหกปีครึ่ง สิ่งที่ลีสันทำ�คือซื้อขาย “อนุพันธ์” (derivative) อนุพันธ์ คือเครื่องมือทางการเงินที่ซับซ้อน ซึ่ง ผูกโยง (derive) ค่าของ มันจากค่าของสิ่งอื่น เช่น หุ้น พันธบัตร อัตราแลกเปลี่ยน หรือ สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น นาํ้ มันหรือกาแฟ ตัวอย่างของอนุพนั ธ์ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ ฟิวเจอร์ส (futures) ซึ่งเป็นสัญญา ซื้อหุ้น พันธบัตร อัตราแลกเปลี่ยน หรือสินค้า ที่จะส่งมอบกัน ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตด้วยราคา ปัจจุบัน (current) ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณคะเนว่าราคาหุ้นจะขึ้น คุณก็อาจซื้อ ฟิวเจอร์สหุ้นของสามเดือนข้างหน้า เมื่อครบสามเดือนแล้ว คุณ ก็จะได้รับมอบหุ้นในราคาเดิมตอนที่ซื้อฟิวเจอร์ส และทำ�กำ�ไร ด้วยการขายในราคาปัจจุบันที่สูงกว่าเดิมหากคาดการณ์ถูกต้อง นอกจากนี้ คุณยังสามารถซือ้ ออปชันส์ (options) ซึง่ ไม่ผกู มัดว่า คุณต้องซื้อหรือขายในอนาคต เพียงแต่มอบสิทธิให้คุณตัดสินใจ ในภายหลัง การซื้ อ ฟิ ว เจอร์ ส เป็ น การทำ � หน้ า ที่ ที่ สำ � คั ญ มาก เนื่องจากมันช่วยลดความไม่แน่นอนและความเสี่ยงที่จะตามมา ถ้าหากข้าวโพดมีราคาสูง แต่ยังไม่ถึงเวลาเก็บเกี่ยว เกษตรกร สามารถคงราคาในปัจจุบันด้วยการทำ�ข้อตกลงกับพ่อค้าว่าจะ ส่งมอบข้าวโพดในราคานี้ในอีกสามเดือนข้างหน้า อย่างไรก็ดี


40

Capitalism

ภาพประกอบ 3 โฉมหน้าเก่าและโฉมหน้าใหม่ของทุนนิยมทางการเงินในอังกฤษ (1) ภาพซ้าย: นิก ลีสัน “ดารานักค้าหุ้น” ของธนาคารแบริง หลังจากถูกปล่อยตัวจากคุกในปี 1999 (2) ภาพขวา: บารอนแอชเบอร์ตันที่เจ็ด ประธานของธนาคารแบริง ในช่วงเวลาที่ นิก ลีสัน ทำ�งานให้กับธนาคาร


A

Very Short Introduction

41

การซื้อฟิวเจอร์สยังอาจเป็นไปด้วยเหตุผลทางด้านการเก็งราคา เพือ่ ทำ�กำ�ไรจากการเคลือ่ นไหวของราคาเท่านัน้ ฟิวเจอร์สแบบที่ ลีสนั ซือ้ ขายก็ไม่ตา่ งจากการพนันด้วยข้อมูลตัวเลข เพือ่ เสีย่ งโชค จากการเคลือ่ นไหวของราคาในอนาคต นีค่ อื สิง่ ที่ ซูซาน สเตรนจ์ (Susan Strange) เรียกว่า “ทุนนิยมบ่อนการพนัน” การทำ�เงินยังอาจมาจาก “การทำ�กำ�ไรไร้ความเสี่ยง” (arbitrage) ซึ่งฉวยโอกาสจากราคาที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ในตลาดต่างๆ อันเกิดจากปัจจัยทางเทคนิค ถ้าคุณสามารถ มองเห็นช่วงต่างของราคาเหล่านี้ คำ�นวณได้เร็วว่ามันมีมูลค่า เท่าใด และเคลือ่ นไหวเงินได้อย่างรวดเร็ว คุณก็สามารถทำ�กำ�ไร ได้มากจากวิธีนี้ ลีสันพบว่าเขาสามารถฉวยโอกาสจากช่วงต่าง เพียงเล็กน้อยระหว่างราคาอนาคตในตลาดหุ้นโอซาก้ากับตลาด หุ้นสิงคโปร์ ซึ่งดำ�รงอยู่ในช่วงเวลาไม่ถึงหนึ่งนาที ปฏิบัติการ แบบนี้อาจทำ�ได้ด้วยความเสี่ยงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากกำ�ไร ที่คำ�นวณได้และเกิดขึ้นทันที มาจากความแตกต่างของราคา ที่ดำ�รงอยู่เพียงเสี้ยวนาทีเท่านั้น แต่ในกรณีของลีสันมีอะไรที่ผิดพลาด เขาเริ่มเดินไปสู่ ความเสือ่ มเมือ่ สร้างบัญชีความผิดพลาดพิเศษเลขที่ 88888 โดย อ้างว่าเอาไว้จัดการกับธุรกรรมที่ทำ�ไปด้วยความพลั้งเผลอหรือ ความผิดพลาดทางบัญชี ลีสันใช้บัญชีพิเศษนี้ปิดบังผลขาดทุน และยังค้นพบวิธีซุกซ่อนผลขาดทุนสะสมปลายเดือน โดยการให้ “ฝ่ายสนับสนุน” ที่สิงคโปร์โอนเงินแบบชั่วคราวแต่ผิดกฎหมาย ระหว่างบัญชีต่างๆ การบิดเบือนด้วยวิธีนี้และวิธีอื่นๆ ได้ตบตา บรรดาผู้สอบบัญชีที่ควรจะค้นพบว่ากำ�ลังเกิดอะไรขึ้น


42

Capitalism

การดำ�รงอยู่ของ 88888 ทำ�ให้ลีสันสามารถนำ�เงินของ แบริงไปเล่นพนันได้ เขาสร้างชื่อเสียงด้วยการลงทุนที่มีความ เสี่ยงสูงและซื้อขายในตลาดฟิวเจอร์สอย่างดุเดือด เนื่องจาก สามารถซุกซ่อนผลขาดทุนทุกรอบในบัญชี 88888 เขาสามารถ นำ�กำ�ไรที่ได้จากการซื้อขายครั้งหลังมาโปะผลขาดทุนเหล่านี้ และครั้งหนึ่งเขาก็เกือบจะเท่าทุน แต่ถ้าเขาปิดบัญชี 88888 มันก็ย่อมจะเป็นจุดจบของปฏิบัติการที่ทำ�ให้เขาเป็นนักซื้อขาย ดาวรุ่งของแบริง แต่ท้ายที่สุด ผลขาดทุนก็สะสมจนถึงจุดที่ ลีสนั ไม่อาจปิดบังด้วยการโยกเงินไปมาระหว่างบัญชีได้อกี ต่อไป ณ จุ ด นี้ เขากระโจนเข้ า ไปสู่ ก ารขายออปชั น ส์ ซึ่ ง แตกต่างจากฟิวเจอร์สตรงที่สามารถได้เงินมาโปะผลขาดดุล รายเดือนใน 88888 ได้ทนั ที ลีสนั เล่นพนันกับการเคลือ่ นไหวของ ราคาในอนาคตอย่างหนักหน่วง ทว่าตลาดหุ้นโตเกียวไม่ได้เดิน ไปในทิศทางที่เขาคาดหวัง ขณะที่ขาดทุนมากขึ้น เขาก็เพิ่มเงิน เดิมพันด้วยการขายออปชันส์ทมี่ คี วามเสีย่ งสูงกว่าเดิมในปริมาณ ทีม่ ากขึน้ โดยแสร้งทำ�ในนามลูกค้าลึกลับทีช่ อื่ ฟิลปิ เป (Philippe) ทว่าเมื่อดัชนีนิกเคอิร่วงเพราะแผ่นดินไหวที่โกเบ (Kobe) ผล ขาดทุนของลีสันก็หนักมากจนเขาพยายามตบมือข้างเดียวด้วย การซื้อฟิวเจอร์สจำ�นวนมากเพื่อผลักให้ตลาดหุ้นพุ่งขึ้น แต่แรง กดดันขาลงก็ยงั มากจนดัชนีรว่ งลงอยูด่ ี ถึงตอนนี้ ทัง้ ผลขาดทุน และหนี้ที่เขาก่อขึ้นก็มีมากกว่าเงินทุนทั้งหมดของแบริงแล้ว ทำ�ไมแบริงจึงปล่อยให้เรือ่ งเหล่านีเ้ กิดขึน้ แบริงซึง่ เป็น ธนาคารเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่มาก่อน เข้าสู่วงการการซื้อขาย หลักทรัพย์ดว้ ยการตัง้ บริษทั หลักทรัพย์แบริงในปี 1984 กลยุทธ์


A

Very Short Introduction

43

นี้ประสบผลสำ�เร็จ และเมื่อถึงปี 1989 ธุรกรรมซื้อขายของ แบริงในตลาดหุน้ ญีป่ นุ่ ก็ท�ำ กำ�ไรให้ธนาคารถึงครึง่ หนึง่ ของกำ�ไร ทั้งหมด หลังจากนั้น บริษัทหลักทรัพย์แบริงก็ทำ�ตามกระแส นิยมด้วยการเข้าสู่วงการค้าอนุพันธ์ ในปี 1933 ธนาคารแบริง ได้ควบรวมทุนของตนเข้ากับทุนของบริษัทหลักทรัพย์แบริง ซึ่ง เป็นการรื้อถอน “ปราการ” ที่เคยป้องกันธนาคารจากผลขาดทุน ต่างๆ ทีอ่ าจเกิดขึน้ จากฝ่ายหลักทรัพย์ เรือ่ งนีอ้ นั ตรายเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงของแบริงไม่ค่อยเข้าใจเกมใหม่ที่ตน เข้าไปเล่น ขณะเดียวกันก็ไม่มีโครงสร้างการจัดการที่เหมาะสม และการควบคุมทางการเงินก็อ่อนยวบยาบ ธุรกรรมฉ้อฉลเป็น สิ่งอันตรายที่มีมาตลอดในโลกทางการเงินอันแสนจะซับซ้อน แบริ ง แหกกฎพื้ น ฐานด้ ว ยการยอมให้ ลี สั น เป็ น ทั้ ง นั ก ค้ า หลักทรัพย์และเป็นผู้จัดการของ “ฝ่ายสนับสนุน” ในสิงคโปร์ ซึง่ มีหน้าทีท่ งั้ การตรวจสอบการซือ้ ขายและการทำ�บัญชีให้สมดุล แน่ ชั ด ว่ า ลี สั น เป็ น นั ก ค้ า หลั ก ทรั พ ย์ ที่ ป ระสบความ สำ�เร็จอย่างมาก เขาสร้างกำ�ไรมหาศาลให้กับแบริง และแบริงก็ สนับสนุนเขาจนตัวตาย แต่ตลกร้ายก็คือ เมื่อแบริงล้มละลาย เจ้านายของลีสันเพิ่งจะตัดสินใจให้โบนัสกับเขา 450,000 ปอนด์ ระหว่ า งที่ ป ฏิ บั ติ ก ารของลี สั น ทำ � ให้ เ งิ น ค่ อ ยๆ ไหลออกจาก ลอนดอน และทำ � ให้ แ บริ ง ต้ อ งวิ่ ง หาเงิ น กู้ จ ากทั่ ว โลกมาโปะ เจ้านายของลีสนั ก็ยงั เชือ่ อย่างหัวปักหัวปำ�ว่าพวกเขากำ�ลังระดม ทุนให้กบั ปฏิบตั กิ ารกำ�ไรงามของนักค้าดาวรุง่ ปัจจัยทีท่ �ำ ให้ลสี นั รอดพ้นจากการถูกจับได้อย่างยาวนานไม่ได้มีเพียงแค่ความ ซับซ้อนของตลาดการเงินและความหละหลวมอย่างไม่น่าเชื่อ


44

Capitalism

ของกลไกควบคุ ม ทางการเงิ น ในแบริ ง เองเท่ า นั้ น แต่ ค วาม กระหายทีจ่ ะได้ก�ำ ไรอย่างไม่สนิ้ สุดของบริษทั ก็มสี ว่ นด้วยเช่นกัน แล้วอะไรคือทุนนิยม เราได้ สำ � รวจกรณี ตั ว อย่ า งของทุ น นิ ย มสามกรณี ที่ แตกต่างกันอย่างมากไปแล้ว แม้ว่ากิจกรรมทางธุรกิจที่หลาก หลายจะแตกต่างกันมากเท่าทีจ่ ะมากได้ แต่มนั ก็มจี ดุ ร่วมประการ หนึ่ง นั่นคือ การลงทุนเพื่อทำ�กำ�ไร นี่คือแก่นสารของทุนนิยม ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ลักษณะของกิจกรรม แต่อยู่ที่ความเป็นไปได้ ทีจ่ ะสร้างผลกำ�ไรจากกิจกรรมนัน้ ๆ ว่ากันตามจริง สังคมทุนนิยม ปกติคือสังคมที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจแทบทุกชนิดขับเคลื่อน ด้วยโอกาสที่จะทำ�กำ�ไรจากเงินที่ลงทุนไป ทุนคือเงินที่ลงทุนไปเพื่อจะได้เงินเพิ่ม หากกล่าวให้ กว้างขึ้น คำ�ว่าทุนมักจะอ้างถึงเงินที่ มีใช้ เพื่อการลงทุน หรือไม่ ก็หมายถึงสินทรัพย์ที่พร้อมแปลงเป็นเงินเพื่อการนี้ ดังนั้นก็อาจ อธิบายได้ว่า บ้านเป็นทุนของเจ้าของบ้าน เพราะเขาสามารถ เปลีย่ นบ้านเป็นทุนด้วยการขายหรือนำ�ไปจำ�นอง ธุรกิจขนาดเล็ก จำ�นวนมากก็เริ่มต้นแบบนี้ อย่างไรก็ดี จะเปลี่ยนสมบัติให้เป็น ทุนได้ก็ต่อเมื่อความเป็นเจ้าของนั้นชัดเจน สามารถตีมูลค่าได้ สามารถโอนย้ายกรรมสิทธิ์ได้ และมีตลาดรองรับ ลักษณาการ ของพัฒนาการของสังคมทุนนิยมคือกำ�เนิดของสถาบันที่ทำ�ให้ การเปลีย่ นทรัพย์สนิ ให้เป็นทุนเกิดขึน้ ได้ เฮอร์นานโด เดอ โซโต (Hernando de Soto) นำ�เสนออย่างน่าเชือ่ ถือว่า การขาดสถาบัน


A

Very Short Introduction

45

เหล่ า นี้ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ระบบกฎหมายกรรมสิ ท ธิ์ ที่ มี ผ ล บั ง คั บ ใช้ จ ริ ง คื อ สิ่ ง ที่ กี ด ขวางกำ � เนิ ด ของทุ น นิ ย มท้ อ งถิ่ น ใน ประเทศโลกที่สาม เขากล่าวอ้างว่า มูลค่าจำ�นวนมหาศาลยังคง ฝังอยู่กับทรัพย์สินที่ไม่สามารถแปลงเป็นทุนให้ผู้ประกอบการ นำ�ไปใช้ในทางที่มีผลิตภาพ นายทุนอยู่มาก่อนที่ระบบทุนนิยมจะเกิดขึ้น ตั้งแต่ใน สมัยโบราณที่พ่อค้าหาเงินด้วยการลงทุนในสินค้าที่ขายในราคา ที่ได้กำ�ไร และดังที่เราได้เห็นแล้วในกรณีของบริษัทอีสต์อินเดีย ว่าทุนนิยมแบบพ่อค้าวาณิชสามารถมีระเบียบแบบแผนอย่าง เข้มข้นและทำ�กำ�ไรได้สูงมาก แต่นั่นก็เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง กับเพียงแค่ส่วนเล็กๆ ของเศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจทีข่ บั เคลือ่ นด้วยการ ลงทุน แต่ในทุนนิยมทีแ่ ท้จริง เศรษฐกิจทัง้ ระบบต้องพึง่ พาอาศัย การลงทุน ซึ่งไม่ใช่แค่การค้าเท่านั้น แต่รวมถึงการผลิตด้วย รากฐานของการผลิตแบบทุนนิยมคือแรงงานรับจ้าง การแบ่ ง แยกที่ ชั ด เจนและความขั ด แย้ ง เกิ ด ขึ้ น ระหว่ า งฝ่ า ย เจ้าของทุน ผู้ที่มาร์กซ์เรียกว่าเจ้าของ “ปัจจัยการผลิต” กับฝ่าย ผู้ขายแรงงานเพื่อแลกกับค่าจ้าง ปัจจัยการผลิตประกอบด้วย สถานที่ทำ�งาน เครื่องจักร และวัตถุดิบ ซึ่งในสังคมก่อนทุนนิยม ล้วนไม่ได้ถอื ครองโดยเจ้าของทุน แต่ถอื ครองโดยนายช่างผูผ้ ลิต สินค้า ส่วนค่าจ้าง (หรือเงินเดือน) คือราคาทีน่ ายจ้างต้องจ่ายเพือ่ ให้ได้แรงงานซึง่ ขายโดยคนงาน นายทุนจะลงทุนในกิจกรรมอะไร ก็ตามที่ทำ�กำ�ไรได้ฉันใด คนงานก็สามารถหางานทำ�ในกิจกรรม อะไรก็ตามที่จ่ายค่าจ้างฉันนั้น


46

Capitalism

ในสั ง คมทุ น นิ ย ม ทั้ ง ทุ น และแรงงานมี ลั ก ษณะที่ มี ความหมายในตัวมันเองและไม่ยึดติดถิ่นที่ เนื่องจากทั้งสอง อย่างนี้ไม่ได้ผูกติดกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการเฉพาะ ดังนั้น โดยหลักการแล้วจึงสามารถเคลื่อนย้าย ไปสู่กิจกรรมใดก็ได้ที่ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม ในชีวิตจริง ความสามารถในการเคลื่ อ นย้ า ยถู ก จำ � กั ด ด้ ว ยทั ก ษะและ ประสบการณ์ทั้งของเจ้าของทุนและคนงาน และถูกจำ�กัดด้วย ความสัมพันธ์และพันธะที่ทั้งสองฝ่ายสร้างขึ้น อย่างไรก็ดี การ เคลื่อนย้ายที่มีศักยภาพของทุนและแรงงานเป็นลักษณะหนึ่ง ของสังคมทุนนิยม ซึ่งได้สร้างพลวัตอันโดดเด่นให้กับตัวมันเอง แรงงานรับจ้างมีทงั้ ทีเ่ ป็นอิสระและไม่เป็นอิสระ พวกเขา แตกต่างจากทาสทีถ่ กู บังคับให้ทำ�งานกับนายทาสตรงทีส่ ามารถ เลือกได้เองว่าจะทำ�งานหรือไม่ และจะทำ�ให้ใคร และต่างจาก ไพร่ในสังคมศักดินาที่ยึดโยงอยู่กับที่ดินของนายเหนือหัว ผู้ขาย แรงงานสามารถเคลื่อนย้ายและหางานได้ตามใจ แต่ในอีกด้าน หนึ่ง อิสรภาพนี้ก็ค่อนข้างจะเป็นเพียงภาพลวงตา เนื่องจาก ในสังคมทุนนิยมนั้นยากที่จะมีชีวิตรอดหากไม่ทำ�งานรับค่าจ้าง และทางเลือกที่ว่าจะทำ�งานใดกับนายจ้างคนใดก็อาจมีน้อย แรงงานรับจ้างยังถูกควบคุมอย่างเข้มงวดจากนายจ้าง และ ดังที่เราเห็นในโรงงานฝ้าย การผลิตแบบทุนนิยมหมายถึงงาน ทีม่ รี ะเบียบวินยั และต่อเนือ่ งรูปแบบใหม่ คนงานกลายเป็น “ทาส ที่ได้ค่าจ้าง” ดังที่มาร์กซ์กล่าวไว้ ความสำ�คัญของแรงงานรับจ้างไม่ได้มเี พียงแค่บทบาท ในการผลิตเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทในการบริโภคด้วย ผู้ขาย


A

Very Short Introduction

47

แรงงานไม่สามารถผลิตสิ่งที่ตนจำ�เป็นต้องใช้หรือปรารถนาจะ บริโภคได้ พวกเขาต้องซื้อหามา ดังนั้นจึงเกิดอุปสงค์ที่กระตุ้น ให้เกิดกิจการทุนนิยมใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ไม่ใช่แค่อาหาร เครื่อง นุ่งห่ม และของใช้ส่วนตัว แต่ยังรวมถึงกิจกรรมยามว่างอีกด้วย ดั ง ที่ เ ราได้ เ ห็ น แล้ ว ว่ า การผลิ ต แบบทุ น นิ ย มเร่ ง ให้ เ กิ ด อุตสาหกรรมใหม่บนฐานของการแปลงเวลาว่างให้เป็นสินค้า บทบาทสองด้านของแรงงานรับจ้าง ซึ่งทำ�ให้ปฏิสัมพันธ์เปี่ยม พลวัตระหว่างการผลิตกับการบริโภคดำ�เนินไปได้ เป็นคำ�อธิบาย ว่าเหตุใดการผลิตแบบทุนนิยมจึงขยายตัวอย่างรวดเร็วตัง้ แต่มนั ถือกำ�เนิด ตลาดก็เช่นเดียวกับพ่อค้าที่ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่ตลาดเป็น แกนกลางของสังคมทุนนิยมในรูปแบบใหม่และเป็นนามธรรม กว่าเดิม เนื่องจากการผลิตและการบริโภคได้แยกขาดจากกัน คนไม่ได้บริโภคสิ่งที่พวกเขาผลิตเอง หรือไม่ได้ผลิตสิ่งที่ตัวเอง บริโภค การผลิตและการบริโภคเชื่อมโยงกันผ่านตลาดเท่านั้น ซึ่งเป็นสถานที่ที่สินค้าและบริการถูกซื้อขายเปลี่ยนมือ แทนที่ ตลาดจะเป็นแค่สถานที่ที่คุณสามารถซื้อหาสิ่งของที่คุณไม่ได้ ผลิตเอง ตลาดได้กลายเป็นวิธีเดียวที่คุณจะสามารถซื้อหาอะไร ก็ได้ และตลาดไม่จ�ำ เป็นต้องตัง้ อยูใ่ นสถานทีเ่ ฉพาะเท่านัน้ แต่มนั เกิดขึน้ ทุกครัง้ ทีผ่ ซู้ อื้ และผูข้ ายทำ�การแลกเปลีย่ นกัน ในปัจจุบนั ตลาดในความหมายทั่ ว ไปยั ง หมายถึ ง พื้ น ที่ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ที่ ประกาศราคาขายและจดทะเบียนธุรกรรม ตลาดแบบนี้ไม่ได้ เกิดขึ้นกับสินค้าและบริการเท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับแรงงาน เงิน และทุ น เช่ น กั น ค่ า จ้ า งแรงงานซึ่ ง ก็ เ ป็ น ราคาแบบหนึ่ ง ถู ก


48

Capitalism

กำ�หนดมูลค่าในตลาดแรงงาน ในตลาดนี้ นายจ้างจะแข่งกันจ้าง แรงงาน และคนงานก็แย่งกันหางาน เงินเองก็ซื้อขายในตลาด เงินตราต่างประเทศ ความเป็นเจ้าของบริษัทก็ซื้อขายกันได้ ในตลาดหลักทรัพย์ อย่างที่ได้เห็นไปแล้วในกรณีโรงงานปั่นฝ้าย ตลาด สร้างการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างกิจการแบบทุนนิยม พวกเขา แข่งขันกันในหลากหลายวิธี เช่น ใช้ประโยชน์จากแรงงานอย่างมี ประสิทธิภาพมากขึน้ หรือใช้นวัตกรรมทางเทคนิคเพือ่ ลดต้นทุน หรือวางขายสินค้าอย่างมีประสิทธิผลกว่าเดิม การแข่งขันกดดัน ให้บริษทั ต้องเปลีย่ นแปลงอย่างสมํา่ เสมอ ตามความต้องการทีจ่ ะ เอาชนะคู่แข่ง หรืออย่างน้อยก็ต้องตามคู่แข่งให้ทัน แน่นอนว่า กิจการบางแห่งจะล้มเหลวและล่มสลาย ทำ�ให้ลกู จ้างต้องตกงาน ความสามารถในการแข่งขันซึง่ อยูต่ รงข้ามกับพฤติกรรมผูกขาด ในทุนนิยมแบบพ่อค้าวาณิช ทำ�ให้การผลิตแบบทุนนิยมมีพลวัต มหาศาล อย่างไรก็ดี กิจการในระบบทุนนิยมก็คน้ พบหลากหลาย วิธีในการลดระดับการแข่งขัน พวกที่มีความได้เปรียบคู่แข่ง อาจลิงโลดใจกับการเชือดเฉือนเหลี่ยมคมในสนามแข่งขัน แต่ การแข่งขันก็สร้างความไม่แน่นอน ทำ�ให้กำ�ไรลดลง และทำ�ให้ ล้มละลายได้ ดังนัน้ บริษทั ต่างๆ จึงตัง้ สมาคมการค้าเพือ่ ควบคุม การแข่งขัน พวกเขาสามารถฮั้วกันได้ด้วยการตกลงกันว่าจะ ไม่แข่งขันกันด้านราคา หรือตกลงกันว่าจะจ่ายค่าจ้างในอัตรา เดียวกัน การแข่งขันสามารถลดระดับลงได้โดยการควบรวม และการซื้อกิจการ ซึ่งทำ�ให้การผลิตกระจุกตัวอยู่กับผู้ผลิตเพียง


A

Very Short Introduction

49

ไม่กี่ราย ในระบบทุนนิยมมีความตึงเครียดเสมอระหว่างการ แข่งขันกับการกระจุกตัว ซึง่ ต่างก็เป็นลักษณะทีส่ �ำ คัญของระบบ เนื่องจากราคามีการเปลี่ยนแปลง ทุกตลาดจึงย่อมมี โอกาสที่จะหาเงินได้จากการเก็งกำ�ไร สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อซื้ออะไร มาก็ตามด้วยความคาดหวังว่าจะขายได้ในราคาที่สูงกว่าเดิม ในอนาคต โดยไม่มีการเพิ่มมูลค่าของมันด้วยกระบวนการอะไร บางอย่าง การเก็งกำ�ไรเกิดขึ้นได้กับสินค้าเกือบทุกประเภท อาจจะเป็นข้าวเปลือก อัตราแลกเปลี่ยน อนุพันธ์ หรือทาส การ เก็งกำ�ไรแบบนีม้ กั จะถือว่าไม่ได้สร้างผลิตภาพ และเป็นกิจกรรม กาฝากที่แปลกแยกอย่างสิ้นเชิงกับเศรษฐกิจจริงที่มีการผลิต สินค้าและบริการ ถึงแม้ว่าการเก็งกำ�ไรจะไม่สร้างผลิตภาพ แต่ มันก็ไม่ได้เป็นเพียงแค่วธิ หี าเงินจากการเก็งกำ�ไร หากยังเป็นวิธี หลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้อีกด้วย เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่าง อุปทานกับอุปสงค์เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตลาดจึงไม่เสถียร การ สะสมและกักตุนสินค้าคือวิธปี ระกันความเสีย่ งจากการเคลือ่ นไหว ของราคา ซึ่งอาจทำ�ลายกำ�ไรและถล่มธุรกิจจนราบคาบ การ ซื้อขายฟิวเจอร์สอย่างที่ลีสันทำ�เพื่อเก็งกำ�ไร คือวิธีลดความ ไม่แน่นอนอีกวิธีหนึ่งซึ่งถือกำ�เนิดมานานแล้ว ในฐานะที่เป็น วิธีซับซ้อนเพื่อคุ้มกันผู้ผลิตและผู้ค้าขายจากการเคลื่อนไหวที่ ไม่อาจคาดเดาได้ของราคาในอนาคต การค้าเงินตราต่างประเทศในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 เติบโตขึ้นอย่างมหาศาล หลังจากที่หลายประเทศทยอย เปลี่ ย นระบบอั ต ราแลกเปลี่ ย นแบบคงที่ ไ ปเป็ น ระบบอั ต รา แลกเปลี่ยนแบบลอยตัวในทศวรรษ 1970 ซึ่งทำ�ให้เกิดความ


50

Capitalism

ไม่แน่นอนอย่างมากในมูลค่าของเงินในอนาคต วิธีหนึ่งของการ ลดความไม่แน่นอนก็คือ “การป้องกันความเสี่ยง” ด้วยการลงทุน ในฟิวเจอร์สอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้น แม้ว่าการซื้อขายในตลาด ฟิวเจอร์สอัตราแลกเปลี่ยนส่วนใหญ่จะเป็นการเก็งกำ�ไรอย่าง ไม่ต้องสงสัย ทว่าการขยายตัวของตลาดนี้และนวัตกรรมทาง การเงินที่เกี่ยวข้อง ก็ตั้งอยู่บนความจำ�เป็นทางเศรษฐกิจจริงๆ ข้ออภิปรายเดียวกันอาจใช้ได้กับการเก็งกำ�ไรหุ้นของ บริษัท การดำ�รงอยู่ของตลาดทุนนั้นเป็นหัวใจของทุนนิยม และ มีบทบาทที่ขาดไม่ได้ในการทำ�งานของระบบ เนื่องจากตลาด ทุนชักนำ�ให้เกิดการพบปะกันระหว่างคนที่ต้องการหาทุนมาทำ� กิจกรรมทางเศรษฐกิจกับคนที่มีเงินจะลงทุน การที่ราคาหุ้นใน ตลาดเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและความ สามารถในการทำ�กำ�ไร จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ตลาดทุนจะเปิด โอกาสให้เก็งกำ�ไรการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต การเก็ง กำ�ไรไม่ใช่สิ่งที่แยกขาดจากทุนนิยม แต่เป็นส่วนที่งอกเงยออก มาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้จากกลไกหลักของมัน ดังนั้น คำ�ตอบของคำ�ถามคือ ทุนนิยมเกี่ยวข้องกับการ ลงทุนเพื่อให้ได้เงินเพิ่ม พ่อค้าวาณิชทำ�แบบนี้มานานแล้ว แต่ เมื่อการผลิตใช้วิธีนี้ด้วย ทุนนิยมที่เปลี่ยนสังคมก็ถือกำ�เนิดขึ้น การผลิตแบบทุน นิยมตั้งอยู่บนการใช้ประโยชน์จ ากแรงงาน รับจ้าง ซึง่ หล่อเลีย้ งการบริโภคสินค้าและบริการทีผ่ ลิตโดยกิจการ ทุนนิยม การผลิตและการบริโภคเชื่อมโยงเข้าหากันโดยตลาด ซึ่ ง กลายเป็ น สื่ อ กลางของกิ จ กรรมทางเศรษฐกิ จ ทุ ก รู ป แบบ ตลาดทำ�ให้มีการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบกิจการ แต่ก็สร้าง


A

Very Short Introduction

51

แนวโน้มของการกระจุกตัวเพื่อลดความไม่แน่นอน นอกจากนั้น ความผันผวนของตลาดยังเป็นพืน้ ฐานของทุนนิยมแบบเก็งกำ�ไร ซึ่งอาจไม่มีผลิตภาพ แต่ก็ตั้งอยู่บนกลไกที่ขาดไม่ได้สำ�หรับการ ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ,


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.