Vsi ir sample

Page 1


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้ฉบับพกพา • กษิร ชีพเป็นสุข แปล จากเรื่อง International Relations: A Very Short Introduction โดย พอล วิลคินสัน พิมพ์ครั้งแรก: สำ�นักพิมพ์ openworlds, กรกฎาคม 2557 ราคา 250 บาท คณะบรรณาธิการอำ�นวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล บรรณาธิการ ภูมิ นํ้าวล ฐณฐ จินดานนท์ พิสูจน์อักษร มนภัทร จงดีไพศาล กองบรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ภูมิ นํ้าวล ฐณฐ จินดานนท์ ออกแบบปก wrongdesign จัดทำ�โดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด 604/157 ถ.สาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-618-4730 email: openworldsthailand@gmail.c om facebook: www.facebook.com/openworlds twitter: www.twitter.com/openworlds_th website: www.openworlds.in.th จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8356-9 website: http://www.se-ed.com/


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล หมายเลขโทรศัพท์ 086 403 6451 หรือ Email: openworldsthailand@gmail.com

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ วิลคินสัน, พอล. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้ฉบับพกพา. -- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2557. 240 หน้า. 1. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. I. กษิร ชีพเป็นสุข, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 327 ISBN 978-616-7885-03-2 • Thai language translation copyright 2014 by openworlds publishing house /Copyright © 2007 by Paul Wilkinson All Rights Reserved.

International Relations: A Very Short Introduction, by Paul Wilkinson was o rig in a lly p u bl i s h e d i n E n g l i s h i n 2 0 0 7 . This translation is published by arrangement with Oxford University Press th ro u g h T u ttle- M o r i A g e n c y C o . , L t d . T h e T h a i e d iti o n i s t r a n s l a t e d b y K a s i r a C h e e p p ensook and published b y o p e n wo rld s p u b l i s h i n g h o u s e , 2 0 1 4 . ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้ฉบับพกพา ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 2007 แปลและตีพิมพ์เป็นภาษาไทยโดยข้อตกลงกับสำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด


สารบัญ

. สารบัญ: 4 ค�ำน�ำผู้แปล: 8 บทน�ำ: 16 1. รัฐ: 34 2. ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ: 106 3. องค์การระหว่างรัฐบาล: 140 4. ปัญหาและความท้าทาย: 182 บทสรุป: 228 หนังสืออ่านเพิ่มเติม: 234


สารบัญภาพประกอบ

. 1 นิกโคโล แมคเคียเวลลี (1469-1527), นักปรัชญาการเมือง © 2006 Topfoto. co.uk 20 2 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประกาศ “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” หลังเหตุการณ์ 9/11 © Getty Images 52 3 อยาตุลเลาะห์ โคไมนี (1900-1989) น�ำการปฏิวัติอิหร่าน (1979) © 2006 Topfoto.co.uk 75 4 หัวกะโหลกของเหยื่อนโยบายสังหารหมู่ของ พอล พต ในกัมพูชาช่วง ทศวรรษ 1970 © Tom Wagner/Corbis SABA 79 5 เจ้าชายออตโต ฟอน บิสมาร์ก (1815-1898) นายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย (1862-1890) © Time Life Pictures/Getty Images 99 6 การประชุมแห่งเวียนนา (1814-1815) © Bettmann/Corbis 101 7 สงครามสนามเพลาะ โดยเฉพาะในระหว่างปี 1914-1918 ซึ่งน�ำไปสู่การ สังหารขนานใหญ่ Imperial War Museum (Q 5100) 103 8 พระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 (1920-2005) © Topfoto.co.uk 111 9 การประชุมสันติภาพปารีสก�ำหนดแผนที่ยุโรปใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง © Time Life Pictures/Getty Images 115 10 วลาดิมีร์ อิลยิช เลนิน (1870-1924) Ann Ronan Picture Library/© 2006 Topfoto.co.uk 126 11 อาคารแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนิวยอร์ก วันที่ 11 กันยายน 2001 © Rommel Pecson/2006 Topfoto.co.uk 133 12 เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมหลัง เกิดธรณีพิบัติภัยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2004 © Dermot Tallow/Panos Pictures 135


13 คณะมนตรีความมัน่ คงแห่งสหประชาชาติก�ำลังประชุม © UN Photo/Evan Schneider 160 14 ฮิโรชิมาหลังโดนฝ่ายพันธมิตรทิ้งระเบิดปรมาณูใส่ (6 สิงหาคม 1945) © Hulton Archive/Getty Images 194 15 การทิง้ ระเบิดใส่กรุงแบกแดดในเดือนมีนาคม 2003 ระหว่างปฏิบตั กิ ารสร้าง ความตะลึงพรึงเพริด © Olivier Coret/In Visu/Corbis 210 16 เหยื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว © Bettmann/Corbis 211 17 อ่าวกวนตานาโม ฐานทัพสหรัฐฯ ในคิวบาที่ใช้เป็นคุก © Ron Sachs/ Corbis 217 ส�ำนักพิมพ์และผู้เขียนขออภัยหากเกิดข้อผิดพลาดหรือมีข้อมูลตกหล่นใดๆ ในรายการข้างต้น รวมทั้งยินดีอย่างยิ่งที่จะแก้ไขโดยเร็วที่สุดหากได้รับแจ้ง ข้อผิดพลาดเหล่านั้น


อุทิศแด่หลานๆ ของข้าพเจ้า: เจมส์, รีเบกกา, มอลลี, เอมี, แจ็ก, โลลา, โลอิส และนีล


8

International

Relations

ค�ำน�ำผู้แปล

.

ค�ำว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นอาจเข้าใจใน ฐานะที่ใช้กันโดยทั่วไปอย่างหนึ่ง และในฐานะแขนงวิชาการที่ ศึกษาเรื่องนี้อีกอย่างหนึ่ง ในความหมายแรก เราอาจจะเห็นได้ จากในข่าวสารต่างๆ เช่น การเจรจาท�ำข้อตกลงระหว่างรัฐ การ เยี่ยมเยียนของผู้น�ำต่างชาติ หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์ที่ไม่ ราบรื่นระหว่างรัฐ อาทิ ข้อพิพาทพื้นที่อาณาเขตชายแดน จน บางกรณีก็เกิดการปะทะกันขึ้น เหล่านี้ล้วนแต่เป็นแง่มุมของ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งแม้จะเน้นไปที่ความสัมพันธ์ ระหว่างรัฐเนื่องจากยังเป็นหน่วยหรือตัวแสดงที่ส�ำคัญที่สุดทั้ง ในแง่พฤติกรรมและการวิเคราะห์ แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐเอาไว้ด้วย เช่น ความสัมพันธ์และต�ำแหน่งแห่งที่ของรัฐในองค์การระหว่าง ประเทศ เป็นต้น


A Very Short

Introduction

9

ส�ำหรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในฐานะแขนง วิชาการศึกษา ถือว่าเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อไม่นานมานี้ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และอันที่จริงก็ยังมีข้อถกเถียงกัน จนถึงปัจจุบันว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศถือเป็นแขนงวิชา หนึ่งที่แยกต่างหากจากวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างรัฐศาสตร์ได้หรือไม่ เนือ่ งจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในโลกแห่งความเป็นจริง มีความซับซ้อนสูงและมีหลายประเด็นเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะ เป็นเศรษฐกิจหรือกฎหมาย ดังนัน้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จึงมีความเป็นสหสาขาวิชาสูง และต้องอาศัยหลายศาสตร์เข้ามา ช่วยในการศึกษา การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจมีมโนทัศน์ พืน้ ฐานทีย่ อมรับกันในระดับหนึง่ เช่น ความเป็นอนาธิปไตยของ ระบบระหว่างประเทศ คือไม่มีองค์อธิปัตย์ใดที่มีอ�ำนาจสั่งการ บริหารควบคุมพฤติกรรมของรัฐต่างๆ ให้เป็นไปดังต้องการ ได้อย่างสมบูรณ์ แต่ผู้ศึกษาก็พึงตระหนักเช่นเดียวกันว่าใน มโนทัศน์หนึ่งๆ ยังมีข้อถกเถียงภายในได้เสมอ ทั้งนี้เพราะ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอธิบายได้จากหลายมุมมอง หรือ จะเรียกว่าหลายแนวทางการศึกษา (approach) หลายทฤษฎี (theory) หรือหลายส�ำนัก (school) ก็ได้ แม้ในบางครัง้ ผูว้ เิ คราะห์ หรือกล่าวถึงเหตุการณ์หนึ่งๆ จะไม่ได้บอกอย่างชัดแจ้งว่ามี จุดยืนตามส�ำนักใด แต่มุมมองที่เขามีก็จะเคลือบโลกทัศน์เอาไว้ ด้วย ยกตัวอย่างเช่น มโนทัศน์อนาธิปไตยที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว ในปัจจุบันอาจมีผู้เสนอว่าระดับของอนาธิปไตยในระบบระหว่าง ประเทศลดลงมาก เนือ่ งจากรัฐยินยอมยกอ�ำนาจอธิปไตยในบาง


10

International

Relations

ส่วนให้องค์การระหว่างประเทศบริหารจัดการแทน แต่ในขณะ เดียวกัน ข้อโต้แย้งจากฝั่งตรงข้ามก็ยังคงมีน�้ำหนัก เช่น การที่ รัฐยังคงอ�ำนาจอธิปไตยของตนไว้ในเรือ่ งส�ำคัญๆ อย่างด้านความ มัน่ คงของรัฐ หรือข้อโต้แย้งว่ากฎหมายระหว่างประเทศแท้ทจี่ ริง แล้วมีผลต่อพฤติกรรมของรัฐเพียงใด ฝั่งหนึ่ง เช่น แนวสัจนิยม อาจจะเห็นว่ามีนอ้ ยมาก เพราะรัฐมักปฏิบตั ติ ามแต่เรือ่ งทีเ่ ห็นว่า จะได้ประโยชน์ และยังมีสิทธิเต็มที่ในการตั้งข้อสงวน ในขณะที่ ส�ำนักอื่นเห็นว่าในโลกปัจจุบันรัฐมีแต่จะถูกผูกพันยิ่งขึ้นจาก พันธกรณีตามกฎหมายต่างๆ และยังมีประเด็นอืน่ ทีต่ อ้ งค�ำนึงถึง อีกด้วย เช่น การรักษาภาพลักษณ์หรือหน้าตา เป็นต้น หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงแนวทางการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศต่างๆ แต่เพียงย่นย่อ ผู้สนใจศึกษาสามารถ อ่านเพิ่มเติมจากหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีที่ท้ายเล่ม และพึงระลึก ว่าแต่ละส�ำนักนั้นไม่อาจครอบคลุมค�ำอธิบายเหตุการณ์หนึ่งๆ อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ในตัวเอง จึงจ�ำเป็นต้องอาศัยการคิด วิเคราะห์อย่างรอบด้าน รวมทั้งรู้จุดอ่อนและจุดแข็งของทฤษฎี ที่เลือกใช้ศึกษา หลายครั้งเมื่อเริ่มศึกษาไปแล้วก็จะมีค�ำถาม ผุดโผล่ขึ้นมาอีกไม่หยุดหย่อน แต่นี่คือเสน่ห์อย่างหนึ่งของการ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกี่ยวพันกับเหตุการณ์ ต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในฐานะกรณีศึกษาที่ส�ำคัญ อีกนัย หนึง่ เราไม่อาจด�ำเนินความสัมพันธ์กบั รัฐหรือองค์การใดองค์การ หนึง่ ต่อไปได้โดยทีไ่ ม่มคี วามรูม้ าก่อนถึงความสัมพันธ์ในอดีตว่า เคยมีข้อขัดแย้งตรงไหน แก้ปัญหากันได้อย่างไร และมีบทเรียน


A Very Short

Introduction

11

อะไรบ้าง ในสมัยหนึง่ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคือ การศึกษาประวัตศิ าสตร์การทูตด้วยซ�ำ้ ไป ผูศ้ กึ ษาความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศจึงไม่อาจหลีกเลีย่ งทีจ่ ะต้องศึกษาประวัตศิ าสตร์ ไปด้วยโดยปริยาย ในไม่ชา้ ก็จะเห็นว่า ประวัตศิ าสตร์ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศเป็นประวัตศิ าสตร์แห่งความโหดร้ายมากเท่าๆ กับทีเ่ ป็น ประวัติศาสตร์แห่งมนุษยธรรม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีชาวยิวในสงครามโลกครั้งที่สอง หรือกรณีในกัมพูชา ก็จบลงด้วยการสร้างเครื่องมือใหม่ นั่นคือ ศาลอาชญากรสงครามระหว่ า งประเทศ โดยปราศจากโทษ ประหารชีวิต กาชาดสากลอันเป็นหนึ่งในองค์การที่ไม่ใช่รัฐ ยุ ค แรกๆ ถื อ ก�ำเนิ ด ขึ้ น หลั ง จากพลเรื อ นคนหนึ่ ง เห็ น ความ โหดร้ายของสงคราม คือสงครามแห่งซอลเฟริโน (Battle of Solferino) ระหว่างจักรวรรดิฝรั่งเศสกับจักรวรรดิออสเตรีย เมื่อเสร็จสิ้นสงครามก็มีความพยายามในการรักษาสันติภาพ หรือสร้างระเบียบโลกใหม่ขึ้น โดยความพยายามครั้งล่าสุดคือ องค์การสหประชาชาติหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งก็ ยังคงยืนยาวมาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง อนึ่ ง ประวั ติ ศ าสตร์ ห รื อ เหตุ ก ารณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในยุ ค ต่ า งๆ นั้ น มี อิ ท ธิ พ ลโดยตรงกั บ แนวทางในการศึ ก ษาความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาจกล่าวได้ว่าเนื้อหาในแขนงวิชาเอง มีพฒ ั นาการไปตามความเปลีย่ นแปลงและความท้าทายใหม่ๆ ที่ เกิดขึ้นในโลกของเราอยู่ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น ในสมัยหนึ่ง การศึกษาองค์การระหว่างประเทศที่พอจะนับได้ว่าส�ำคัญก็มี


12

International

Relations

แค่สันนิบาตชาติและสหประชาชาติเท่านั้น แต่ปัจจุบันองค์การ ที่ไม่ใช่รัฐมีบทบาทและจ�ำนวนเพิ่มขึ้นมาก จนเป็นหัวข้อเรื่อง ศึ ก ษาที่ ส�ำคั ญ ในความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ ในยุ ค หนึ่ ง ทฤษฎีสัจนิยมดูจะอธิบายความเป็นไปในโลกได้อย่างสอดคล้อง กับความเป็นจริง จนแทบไม่เหลือพื้นที่ (หรือความต้องการ) ส�ำหรับทฤษฎีอื่นๆ แต่เราก็ผ่านยุคสงครามเย็นกันมาแล้ว จน ทฤษฎีสัจนิยมดั้งเดิมคลายความนิยมลงไป มีการปรับเปลี่ยน เนื้อหาเป็นสัจนิยมใหม่หรือสัจนิยมแนววิพากษ์ที่พยายามสร้าง ค�ำอธิบายให้ครอบคลุมขึ้น หรือขยายขอบเขตการศึกษาไป ถึงความสามารถในการสะสมอาวุธของหน่วยที่ไม่ใช่รัฐต่างๆ (ด้วยความที่รัฐมิใช่ผู้ผูกขาดการค้าอาวุธอีกต่อไป) จนก่อให้ เกิดภัยใหม่ๆ ที่รัฐและองค์การระหว่างประเทศต้องหาวิธีรับมือ ในอนาคต ต้ น ฉบั บ ภาษาอั ง กฤษของหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ตี พิ ม พ์ ใ น ปี 2007 ดังนั้นเหตุการณ์บางเหตุการณ์ที่ผู้เขียนน�ำมายกเป็น ตัวอย่างจึงอาจไม่รว่ มสมัยกับผูอ้ า่ นในปัจจุบนั เช่น เหตุการณ์ใน อิรัก ทว่าตัวอย่างเหล่านั้นก็ยังถือว่าเป็นตัวอย่างส�ำคัญในความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ผู้ศึกษาควรรู้ อีกทั้งเนื้อหาส่วนอื่นๆ ก็ครอบคลุมและให้ความรู้เบื้องต้นแก่ผู้เริ่มศึกษาหรือสนใจเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบันประกอบด้วย ตัวแสดงที่หลากหลายกว่าแต่ก่อน แม้รัฐจะยังเป็นตัวแสดงที่ ส�ำคัญมาก และส่วนใหญ่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็มุ่ง ศึกษาพฤติกรรมของรัฐ แต่อันที่จริงหน่วยในการวิเคราะห์ความ


A Very Short

Introduction

13

สัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น นอกจากระดับระบอบหรือระดับ รัฐแล้ว เราต้องไม่ลืมว่ายังมีระดับบุคคลอยู่ด้วย พฤติกรรม ของรัฐก็คือแนวนโยบายต่างประเทศที่ก�ำหนดโดยบุคคลหรือ คณะบุคคล การตัดสินใจเข้าสู่สงครามหรือการตัดสินใจท�ำข้อ ตกลงสันติภาพ ในเบื้องลึกแล้วก็ต้องผ่านการพิจารณาจาก บุคคลหรือคณะบุคคลที่มีอ�ำนาจอยู่ในขณะนั้น ผู้ที่ต้องสู้รบ และสูญเสียชีวิต ผู้ที่เข้าเจรจา ออกแบบสร้างระเบียบโลกใหม่ ลงโทษหรื อ ให้ ร างวั ล ทางเศรษฐกิ จ และทางทหาร ตลอดจน ผู ้ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากนโยบายต่ า งประเทศเหล่ า นั้ น ก็ ล ้ ว น เป็นมนุษย์ทั้งสิ้น แม้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะดูเหมือน เป็นการศึกษารัฐที่ไม่มีชีวิตจิตใจ หรือการเจรจาทางการทูตที่ เกิดขึ้นไกลตัว แต่แท้จริงแล้วไม่อาจแยกออกจากปัจเจกบุคคล ทั้งผู้ก�ำหนดนโยบายและผู้ได้รับผลกระทบ หรือก็คือประชาชน ทั้งที่มีรัฐและไร้รัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวกว่า ที่คิด

กษิร ชีพเป็นสุข กรกฎาคม 2557



ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ •

ความรู้ฉบับพกพา

INTERNATIONAL RELATIONS • A

Very

Short

Introduction

by

Paul Wilkinson

แปลโดย

กษิร ชีพเป็นสุข


บทน�ำ

/


A Very Short

Introduction

17

หนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับอะไร? ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นมโนทัศน์ที่กว้าง อย่างยิง่ ในยุคสมัยใหม่ ขอบเขตของมโนทัศน์นไี้ ม่เพียงกินความ ครอบคลุมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐด้วยกันเท่านั้น แต่ยังรวมถึง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐ เช่น ศาสนจักร องค์ ก ารช่ ว ยเหลื อ ทางมนุ ษ ยธรรม และบรรษั ท ข้ า มชาติ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างรัฐบาล (intergovernmental organization - IGO) เช่น สหประชาชาติ (United Nations - UN) และสหภาพยุโรป (European Union - EU) ข้าพเจ้าจะใช้มโนทัศน์อย่างกว้างๆ ของหัวข้อเรือ่ งความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศในบทน�ำสั้นๆ บทนี้ มหาวิ ท ยาลั ย หลายแห่ ง มั ก จั ด สอนหั ว ข้ อ เรื่ อ ง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศควบคู่ไปกับหลักสูตรรัฐศาสตร์ หรือไม่อย่างนัน้ ก็บรรจุเป็นส่วนหนึง่ ของหลักสูตรดังกล่าว แต่ใน ความเห็นของข้าพเจ้า ความพยายามของนักรัฐศาสตร์ที่จะ ผูกขาดหัวข้อเรือ่ งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไว้แต่กบั พวกตน


18

International

Relations

ไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสมในทางปฏิบัติหรือให้ผลยั่งยืนแต่อย่างใด ผู้สนใจศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างจริงจังต้องมี ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่าง ประเทศ และเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศอยู่บ้าง รวมถึง นโยบายต่างประเทศและการเมืองระหว่างประเทศด้วย ธรรมชาติ ข องความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศที่ ทั้ ง ซั บ ซ้ อ นและต้ อ งใช้ ค วามรู ้ จ ากหลากหลายสาขาวิ ช าในการ ท�ำความเข้าใจท�ำให้การค้นหาทฤษฎีทวั่ ไปทีอ่ ธิบายความได้ทกุ ประเด็นและมีประสิทธิผลเป็น “ภารกิจที่เป็นไปไม่ได้” ทั้งนี้ไม่ได้ หมายความว่าไม่มีทฤษฎีที่สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้กับบาง แง่มุมของหัวข้อดังกล่าว ซึ่งแม้จะเป็นทฤษฎีที่น�ำมาใช้ได้เพียง บางส่วนหรือจ�ำกัด แต่ก็ทรงคุณค่า (ยกตัวอย่างเช่น มีทฤษฎี ที่มีประโยชน์ในเรื่องการพัฒนาระหว่างประเทศ การควบคุม อาวุธ วงจรการค้า และการแข่งขันด้านอาวุธ) แต่ส�ำนักหลักของ ทฤษฎีทั่วไปทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นไม่ได้รับการ พิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์ เพียงแต่เสนอแนวทางการมองความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศ อุปมา หรือตัวแบบที่ดึงดูดใจผู้นิยม ชมชอบทฤษฎีหนึ่งๆ เพราะมันสอดคล้องกับแนวทางการมอง โลกของเขา อาจกล่าวได้วา่ หากแนวทางการตีความความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศหนึง่ ใดได้รบั ความนิยมอย่างกว้างขวางพอ มันก็ คงกลายเป็นจริงขึ้นมาได้ในที่สุด ตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้คือทฤษฎี สัจนิยมในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึง่ ยังมีผกู้ ล่าวว่าเป็น ส�ำนักทีท่ รงอิทธิพลทีส่ ดุ ในเรือ่ งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทัง้ 2 ฟากฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติก


A Very Short

Introduction

19

ทฤษฎีสัจนิยม ผูก้ อ่ ตัง้ ทีแ่ ท้จริงของส�ำนักสัจนิยม (realist) สมัยใหม่ใน หัวข้อเรือ่ งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคือ นิกโคโล แมคเคียเวลลี (Niccolo Machiavelli) ผูป้ ระพันธ์ เจ้าผูป้ กครอง (The Prince, 1532) และ โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ผูเ้ ขียน Leviathan1 (1651) เพราะนักปรัชญาการเมืองทัง้ 2 คนสันนิษฐานว่ามนุษย์มแี รงจูงใจ พืน้ ฐานมาจากผลประโยชน์สว่ นตนและความกระหายอยาก ความ ปรารถนาที่แพร่หลายที่สุดและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้มาก ที่สุดคือความกระหายอ�ำนาจ ในมุมมองของทั้งคู่ เจ้าผู้ปกครอง เป็นผู้ค�้ำประกันสันติภาพภายในรัฐโดยแท้จริงแต่เพียงผู้เดียว เพราะมี แ ต่ เ ขาที่ มี อ�ำนาจบั ง คั บ ใช้ ใ ห้ มี ก ารด�ำรงรั ก ษาไว้ ซึ่ ง สันติภาพ อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวางกว่า อย่างโลกแห่งการเมืองระหว่างประเทศ เราจ�ำเป็นต้องอาศัยกฎ แห่งการเอาตัวรอดเยี่ยงสัตว์ในป่าดงดิบ ในมุมมองของพวกเขา การเมืองระหว่างประเทศคือการ ต่อสูแ้ ย่งชิงอ�ำนาจอย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ ไม่จ�ำเป็นต้องลงเอยด้วยการ เลอไวอาธาน (Leviathan) เป็นชื่อของสัตว์ทะเลขนาดยักษ์ที่ปรากฏใน พระธรรมโยบ (Job) ของพระคัมภีร์ไบเบิล มักถูกใช้ในเชิงอุปมาเพื่อสื่อความ ถึงสัตว์หรือสิ่งของขนาดใหญ่ยักษ์ ส่วนฮอบส์ใช้ค�ำค�ำนี้ในความหมายของ รัฐบาลที่รวมประชาชนเป็นหนึ่งเดียวภายใต้ผู้ปกครองที่มีอ�ำนาจเด็ดขาด (เชิงอรรถทั้งหมดจัดท�ำโดยผู้แปลและบรรณาธิการ) 1


20

International

Relations

ภาพประกอบ 1 นิกโคโล แมคเคียเวลลี (1469-1527) เลขาธิการสภาสงคราม แห่งสาธารณรัฐฟลอเรนซ์ (Republic of Florence, 1498-1512) และนักปรัชญา การเมือง ในหนังสือ เจ้าผู้ปกครอง (1532) เขาเสนอแนวทางที่ตรงไปตรงมา และปราศจากศีลธรรมในการยึดและรักษาอำานาจรัฐ


A Very Short

Introduction

21

ประกาศสงครามอย่างเปิดเผยอยู่ร�่ำไป แต่จะท�ำให้ต่างฝ่ายต่าง ไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่สงครามอยู่ เสมอ ในภาวะอนาธิปไตยที่เกิดขึ้นไม่รู้จบนี้ หนทางอันรอบคอบ เพียงหนึ่งเดียวส�ำหรับเจ้าผู้ปกครองคือการสะสมอ�ำนาจให้มาก ทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะเป็นไปได้ และใช้อ�ำนาจนัน้ เพือ่ ป้องกันและไขว่คว้า ผลประโยชน์แห่งชาติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว อ�ำนาจ ทางทหารคือสิง่ ส�ำคัญทีจ่ �ำเป็นต้องมี ส่วนความมัง่ คัง่ จากการค้า และอุตสาหกรรมเป็นแค่วิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งอ�ำนาจทางทหาร ที่จ�ำเป็นเท่านั้น นักสัจนิยมสมัยใหม่ยอมรับสมมติฐานอันเป็นแก่นแกน เหล่านีไ้ ม่วา่ จะโดยตรงหรือโดยนัย และเน้นถึงความจ�ำเป็นในการ สร้างพันธมิตรอย่างต่อเนือ่ ง บทบาทของรัฐในฐานะตัวแสดงหลัก ทางการเมือง การรักษาดุลอ�ำนาจในแง่ทกี่ อ่ ให้เกิดประโยชน์ตอ่ รัฐ ตลอดจนการปฏิเสธอย่างหนักแน่นที่จะมอบหมายให้องค์การ ระหว่างประเทศและสนธิสัญญาต่างๆ ช่วยดูแลเรื่องความมั่นคง ภายในรัฐ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นส่วนประกอบส�ำคัญของนโยบาย ความมั่นคงแห่งชาติที่ทรงประสิทธิผล เห็ น ได้ ชั ด ว่ า แนวทางสั จ นิ ย มในเรื่ อ งความสั ม พั น ธ์ ระหว่างประเทศมีแนวโน้มจะดึงดูดผู้มีความคิดเชิงอนุรักษนิยม และมองโลกในแง่ร้าย มองธรรมชาติของมนุษย์ในแง่ที่ออกจะ ไม่โสภา มีศรัทธาน้อยนิดหรือไร้ศรัทธาโดยสิ้นเชิงต่อการสร้าง สถาบันอิสระ ต่อกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งต่อนโยบาย ที่มุ่งให้เกิดบูรณาการระดับภูมิภาคหรือโลกาภิบาลโดยอาศัย องค์การระดับโลก


22

International

Relations

แนวคิดเหล่านี้ครอบง�ำความคิดของบรรดาผู้น�ำทาง การเมืองของสหรัฐฯ และยุโรปตะวันตกในช่วงสงครามเย็น ไม่นา่ แปลกใจทีน่ กั วิชาการ นักการเมือง และประชาชนอีกหลายคนจะ มีความคิดต่างออกไป ทฤษฎีเสรีสถาบันนิยมและการพึ่งพากัน ทฤษฎีการพึง่ พากัน (interdependence) เกิดขึน้ ในฐานะ ข้อวิจารณ์ทฤษฎีสัจนิยมในทศวรรษ 1970 ทฤษฎีนี้ท้าทาย แนวคิดสัจนิยมที่ว่ารัฐเป็นหน่วยที่ส�ำคัญที่สุดในความสัมพันธ์ ระหว่ า งประเทศ นั ก ทฤษฎี ก ารพึ่ ง พากั น เน้ น ความส�ำคั ญ ของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ อย่างเช่นบรรษัทข้ามชาติ ตลอดจน บทบาทอันทรงอิทธิพลที่ตัวแสดงเหล่านั้นมีต่อสังคมโลกซึ่งมี ความสลับซับซ้อนมากกว่าในรัฐหนึ่งๆ และอ�ำนาจทางทหาร มีความส�ำคัญน้อยมากหรือแทบไม่เกี่ยวข้องกับการก�ำหนด ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเลย นักเสรีสถาบันนิยม (liberal institutionalist) และแนวทางวิเคราะห์แบบการพึ่งพากันนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกันพอสมควร ทั้งคู่มีมุมมองต่อธรรมชาติของ มนุษย์ในแง่ดกี ว่ามาก อีกทัง้ เห็นร่วมกันว่าการพึง่ พากันทีเ่ พิม่ ขึน้ จะท�ำให้สถาบันความร่วมมือระดับภูมภิ าคแข็งแกร่งขึน้ และเปิด โอกาสให้สหประชาชาติสร้างความเข้มแข็งให้ตนเอง รวมทั้ง พัฒนากลไกโลกาภิบาลได้ด้วย มีความเป็นไปได้อย่างแน่ชัดว่านักเสรีสถาบันนิยม สามารถเน้นข้อเท็จจริงที่ว่าการติดต่อแลกเปลี่ยนส่วนใหญ่


A Very Short

Introduction

23

ระหว่างรัฐนั้นเป็นไปโดยสันติ สอดคล้องกับกฎหมายระหว่าง ประเทศ และยังประโยชน์ร่วมกันแก่รัฐที่เกี่ยวข้อง เมื่อวิเคราะห์ จากมุมมองเสรีนยิ ม จะเห็นได้วา่ การสร้างและพัฒนาสหภาพยุโรป เป็นการตอบโต้ผู้ที่เชื่อว่าการเมืองระหว่างประเทศต้องตั้งอยู่ บนพื้ น ฐานที่ ไ ม่ ไ ด้ เ ป็ น อะไรมากไปกว่ า การแสวงหาอ�ำนาจ เป็นนิตย์ และต้องเป็นเกมที่ถ้ามีคนได้ก็ต้องมีคนเสียเสมอ ทฤษฎีรื้อสร้างหลังสมัยใหม่ นั ก ทฤษฎี รื้ อ สร้ า งหลั ง สมั ย ใหม่ (postmodern deconstructionist) ร่วมอยู่ในขบวนการทางปรัชญาที่มีขอบเขต กว้างขวางยิ่งกว่า ซึ่งเรียกว่าทฤษฎีสังคมแนววิพากษ์ (critical social theory) พวกเขาอ้างว่าสามารถ “รื้อสร้าง” (deconstruct) ข้อเขียนและวาทกรรมของนักวิชาการและผูจ้ ดั ท�ำนโยบายทีช่ อบ ตีความโลก ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้วย พวกเขาเชื่อว่าสามารถค้นพบความหมาย “เชิงอัตวิสัย” (subjective) และเจตนาของตัวบทต่างๆ ภายใต้สภาพแวดล้อม ทางสั ง คมและวั ฒ นธรรมที่ ถู ก สร้ า งขึ้ น ผ่ า นกระบวนการ “การรื้อสร้าง” (deconstruction) บทสรุปที่น่าหดหู่คือเราไม่อาจ ค้นพบความจริงหรือสภาพความเป็นจริงสากลเชิงวัตถุวิสัยใดๆ ดังนั้นแทนที่จะศึกษาโลกแห่งความเป็นจริงของความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ นักทฤษฎีรื้อสร้างหลังสมัยใหม่จะอุทิศเวลา กับการพยายามเปิดเผยสิ่งที่พวกตนเชื่อว่าเป็น “การบิดเบือน ความจริง” (distortion) “นัยซ่อนเร้น” (subtext) และการใช้ภาษา


24

International

Relations

“เชิงหลอกลวง” (deceptive) ในตัวบทวรรณกรรม “ตามแบบแผน” (conventional) ที่ ย ้ อ นแย้ ง กั น ก็ คื อ นั ก ทฤษฎี แ นววิ พ ากษ์ ผูอ้ า้ งว่าใช้วธิ กี ารเหล่านีใ้ ช้เวลาทัง้ หมดไปกับการวิพากษ์วจิ ารณ์ ผู ้ เ ขี ย นตั ว บท แต่ ก ลั บ ไม่ เ สนอข้ อ วิ พ ากษ์ ที่ เ ป็ น เอกเทศต่ อ นโยบายและการกระท�ำของผูจ้ ดั ท�ำนโยบายทีเ่ กิดขึน้ จริงๆ ไม่วา่ จะในประเทศของตนหรือระหว่างประเทศก็ตาม หรือหากเสนอ ก็เสนอเพียงน้อยนิด นี่นับว่าเป็นการบ่อนท�ำลายตนเองอย่าง ชัดเจนหรือไม่? ความจ�ำเป็นที่ต้องมีสามัญส�ำนึกต่อบทบาทของทฤษฎี มีแนวทางทฤษฎีอกี มากมายในการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ แต่ข้าพเจ้าจะไม่ท�ำให้ผู้อ่านเสียเวลาด้วยการ ร่ายรายการยืดยาว นี่ไม่ได้หมายความว่าข้าพเจ้าต่อต้านการใช้ ทฤษฎีใดๆ ในทางตรงกันข้าม การค้นหาทฤษฎีที่แข็งแกร่งพอ จะได้รับการพิสูจน์ในเชิงประจักษ์ และสามารถช่วยเราอธิบาย ปรากฏการณ์ ส�ำคั ญ ในความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศอย่ า ง แท้จริง เป็นหน้าที่หลักของการศึกษาทางวิชาการในทุกแขนง วิชา อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าอยากให้ผู้อ่านตั้งข้อสงสัยไว้ในใจ ทุ ก ครั้ ง ที่ ป ระเมิ น ความพยายามในการสร้ า งทฤษฎี ทั่ ว ไป [บางครั้งเรียกว่าทฤษฎี “หลัก” หรือมหาทฤษฎี (grand theory)] ซึ่ ง เมื่ อ ตรวจตรากั น อย่ า งละเอี ย ดแล้ ว มั ก พบว่ า เต็ ม ไปด้ ว ย การเหมารวมโดยไม่มีหลักฐานยืนยัน เป็นการสร้างค�ำอธิบาย แคบๆ หรือเพียงบางส่วน แต่ถอื เอาว่าสามารถ อธิบายครอบคลุม ทั้งหมด (grands simplificateurs)


A Very Short

Introduction

25

หนังสือเล่มนี้จะแนะน�ำมโนทัศน์ อุปมา ตัวแบบ และ ทฤษฎีบางส่วนซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าจะช่วยให้ผู้ศึกษาใหม่เข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้งา่ ยขึน้ อย่างไรก็ตามจุดประสงค์ หลักของข้าพเจ้าคือการเสนอความรูเ้ บือ้ งต้นอย่างย่นย่อเกีย่ วกับ ความซั บ ซ้ อ นและปั ญ หาในโลกแห่ ง ความเป็ น จริ ง ของ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หนังสืออ่านเพิ่มเติมที่แนะน�ำ ไว้ท้ายเล่มจะกล่าวถึงมุมมองอันแตกต่างหลากหลายเกี่ยวกับ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผู้อ่านที่มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีจะ พบว่าข้าพเจ้าไม่กลัวที่จะก้าวเข้าสู่การถกเถียงเรื่องทฤษฎี ปทัสถาน (normative theory) สาเหตุข้อหนึ่งที่ท�ำให้การศึกษา เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดึงดูดใจนักศึกษาช่างคิด ก็คือมันก่อให้เกิดการหยิบยกประเด็นทางศีลธรรมที่ซับซ้อน หลายข้อมาถกเถียงอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ ข้าพเจ้าเคยถูกวิพากษ์ วิจารณ์ฐานที่มองหัวข้อดังกล่าวด้วยมุมมองแบบเสรีนิยม ทว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นว่ามีเหตุผลอันใดให้ต้องขออภัย และไม่สงสัยว่า ผูอ้ า่ นหลายท่านคงไม่เห็นด้วยกับข้าพเจ้าว่ารัฐบุรษุ รัฐบาล และ องค์การระหว่างรัฐบาลควรแนะแนวทางเราให้ไปสู่อนาคตที่ดี และมีสันติกว่านี้ ขอให้ผู้ที่จะวิพากษ์วิจารณ์ข้าพเจ้าวางใจได้ว่า ไม่มีสักขณะจิตที่ข้าพเจ้าประเมินความยากของงานนี้ต�่ำเกินไป เลย กายวิภาคของวิกฤตการณ์ระหว่างประเทศ ความขั ด แย้ ง ที่ ป ะทุ ขึ้ น ในวั น ที่ 13 มิ ถุ น ายนและ 12 กรกฎาคม 2006 ระหว่างอิสราเอลฝั่งหนึ่ง กับกองก�ำลังชาว


26

International

Relations

ปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาและขบวนการมุสลิมนิกายชีอะห์ชาว เลบานอนชื่อเฮซบอลเลาะห์ (Hezbollah) อีกฝั่งหนึ่งนั้นมีความ คล้ายคลึงหลายประการกับการที่ชาวอิสราเอลรุกรานเลบานอน ในปี 1982 ชนวนของการรุกรานครัง้ นัน้ คือความพยายามสังหาร ชโลโม อาร์กอฟ (Shlomo Argov) เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจ�ำ กรุงลอนดอน ผู้ก่อการร้ายที่ยิงเอกอัครราชทูตอาร์กอฟมาจาก องค์การอาบู นิดลั (Abu Nidal Organization) ซึง่ เป็นกลุม่ ทีต่ อ่ ต้าน องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization - PLO) รวมทัง้ ยัสเซอร์ อาราฟัต (Yasser Arafat) ทีเ่ ป็นผูน้ �ำองค์การ ดังกล่าวอย่างรุนแรง แม้พลเรือนชาวเลบานอนหรือองค์การ ปลดปล่อยปาเลสไตน์จะไม่ได้ท�ำร้ายนายอาร์กอฟ แต่รัฐบาล อิสราเอลก็ยังโจมตีเลบานอนขนานใหญ่ โดยมีแรงจูงใจแท้จริง คือการเปลีย่ นโฉมการเมืองเลบานอนอย่างถาวรด้วยการผลักดัน ให้มีรัฐบาลชุดใหม่ที่ยินยอมท�ำตามนโยบายของอิสราเอล และ การขัดขวางไม่ให้กองก�ำลังชาวปาเลสไตน์ใช้เลบานอนเป็นฐาน โจมตีอิสราเอลได้อีก สงครามน�ำไปสู่การที่อิสราเอลปิดล้อมเบรุตเป็นเวลา นาน ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานและความสูญเสียแก่พลเรือน ชาวเลบานอนอย่างมาก แอเรียล ชารอน (Ariel Sharon) กับบรรดา เจ้าหน้าที่ทหารของอิสราเอลโดนกล่าวหาว่าปล่อยให้กลุ่มทหาร เลบานอนเข่นฆ่าผู้อพยพลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ในค่ายที่ซาบรา (Sabra) และชาทิลลา (Chatilla) โดยไม่ขดั ขวางแต่อย่างใด การที่ อิสราเอลระดมทิ้งระเบิดลงเลบานอนถูกมองว่าเป็นการกระท�ำ เกินกว่าเหตุเมือ่ เทียบกับข้ออ้างรุกราน และท�ำให้อสิ ราเอลสูญเสีย


A Very Short

Introduction

27

การสนับสนุนจากต่างประเทศไปมากทีเดียว อิสราเอลล้มเหลว อย่างใหญ่หลวงในความพยายามที่จะจัดตั้งรัฐบาลที่สนับสนุน อิสราเอลในเลบานอน และก่อให้เกิดความเกลียดชังโกรธแค้น อย่างมากในหมู่ชาวชีอะห์ทางภาคใต้ของเลบานอน ซึ่งต่อมา รวบรวมก�ำลั ง จั ด ตั้ ง ขบวนการแบ่ ง แยกดิ น แดนชาวชี อ ะห์ ที่ ชื่อเฮซบอลเลาะห์ (แปลว่า “มวลชนแห่งพระเจ้า”) และเป็น หอกข้างแคร่อสิ ราเอลมาถึงทุกวันนี้ “ความส�ำเร็จ” เพียงหนึง่ เดียว ทีอ่ สิ ราเอลได้จากการรุกรานเลบานอนคือการขับไล่อาราฟัตและ องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ไปยังตูนิเซีย สิ่งที่การรุกรานในปี 1982 แสดงให้เห็นเหนืออืน่ ใดคือ กระทัง่ รัฐทีต่ ดิ อาวุธครบครันเช่น อิสราเอลยังไม่อาจก�ำราบการก่อการร้ายโดยใช้ก�ำลังทางทหาร ขนาดใหญ่ อีกทั้งประชาคมระหว่างประเทศก็ไร้ความสามารถ ในการเข้าแทรกแซงอย่างรวดเร็วพอที่จะป้องกันมิให้พลเรือน จ�ำนวนมหาศาลต้องประสบความทุกข์ทรมานและถูกสังหาร ความขัดแย้งที่ปะทุขึ้นในฤดูร้อนของปี 2006 แสดง ให้เห็นอย่างน่าเศร้าว่ารัฐต่างๆ ยังมีปฏิกิริยาเกินกว่าเหตุต่อ การก่อการร้าย ทัง้ ยังน�ำเรือ่ งไปขยายผลจนถึงขัน้ ก่อสงครามกับ ผู้ก่อการร้าย ซึ่งท�ำให้ผู้คนเสียชีวิตและทรัพย์สินถูกท�ำลายมาก เกินกว่าทีจ่ �ำเป็นต่อการยุตกิ ารก่อการร้ายจริงๆ อย่างนับไม่ถว้ น ยิง่ ไปกว่านัน้ ในกรณีของอิสราเอลและฝ่ายตรงข้ามคือปาเลสไตน์ และเลบานอน การตัดสินว่าใครเป็นผู้เริ่มวงจรการก่อการร้าย และการต่อต้านการก่อการร้ายครัง้ ใหม่ในแต่ละคราวไม่ใช่เรือ่ งที่ ท�ำได้อย่างตรงไปตรงมา เมื่อสื่อมุ่งความสนใจไปที่เลบานอนใน เดือนกรกฎาคม 2006 หลายคนมองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่าชนวน


28

International

Relations

ดั้งเดิมของการขยายความรุนแรงขึ้นจนเป็นสงครามครั้งใหม่ คือการที่ชาวอิสราเอลจ�ำนวนหนึ่งกระหน�่ำยิงชายหาดแห่งหนึ่ง ในฉนวนกาซา ซึ่งคร่าชีวิตสมาชิกของครอบครัวปาเลสไตน์ ครอบครัวหนึ่งไปถึง 7 คน พรรคฮามาส2 ซึง่ เอาชนะพรรคฟาตาห์3 ในการเลือกตัง้ ในปาเลสไตน์เมื่อเดือนมกราคม 2006 และตกลงสงบศึกกับ อิสราเอลตั้งแต่เดือนมีนาคม 2005 ตอบโต้เหตุการณ์กระหน�่ำ ยิงชายหาดในฉนวนกาซาด้วยการประกาศยกเลิกการหยุดยิง ในวันที่ 13 มิถุนายน ครอบครัวชาวปาเลสไตน์ครอบครัวหนึ่ง ซึ่ ง มี ส มาชิ ก จ�ำนวน 9 คนเสี ย ชี วิ ต จากการที่ อิ ส ราเอลยิ ง ขีปนาวุธไปที่ฉนวนกาซา นี่คือบริบทที่กองก�ำลังชาวปาเลสไตน์ ข้ามชายแดนไปรุกรานอิสราเอล ลักพาตัวทหารชาวอิสราเอล 1 นาย และฆ่าทหารอีก 2 นาย เมื่อกองก�ำลังชาวปาเลสไตน์ ไม่ ย อมปล่ อ ยตั ว ทหารอิ ส ราเอลที่ ถู ก ลั ก พาตั ว อิ ส ราเอลจึ ง ตอบโต้อย่างรุนแรงด้วยการยิงถล่มฉนวนกาซาจากทางอากาศ และกักตัวสมาชิกคณะรัฐมนตรีพรรคฮามาสกับสมาชิกรัฐสภา เอาไว้ ขบวนการเฮซบอลเลาะห์ที่มีอุดมการณ์ต่อต้านอิสราเอล ร่วมกับชาวปาเลสไตน์มาอย่างยาวนานก็สร้างความขัดแย้งกับ อิสราเอลตรงชายแดนทิศเหนือโดยจับทหารอิสราเอล 2 นาย และฆ่าทหารอีก 8 นาย เพื่ อ ตอบโต้ เ หตุ ก ารณ์ ก ่ อ การร้ า ยขั้ น รุ น แรงเหล่ า นี้ อิสราเอลตัดสินใจยิงถล่มเลบานอนทางอากาศขนานใหญ่ใน 2 3

ฮามาส (Hamas) เป็นพรรคการเมืองของชาวมุสลิมนิกายซุนนียใ์ นปาเลสไตน์ ฟาตาห์ (Fatah) เป็นพรรคการเมืองทีเ่ กีย่ วข้องกับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์


A Very Short

Introduction

29

วันที่ 14 กรกฎาคม แม้อสิ ราเอลจะบ่งชีว้ า่ จุดประสงค์คอื การก�ำจัด ขบวนการเฮซบอลเลาะห์และท�ำลายคลังแสงเก็บลูกจรวดกับ เครื่องยิงจรวด ซึ่งไม่เพียงสามารถท�ำอันตรายชาวหมู่บ้านทาง ตอนเหนือของอิสราเอลที่อยู่อีกฟากหนึ่งของชายแดน แต่ยังใช้ ยิงเป้าหมายที่เป็นพลเรือนในเมืองไฮฟา (Haifa) ได้ด้วย แต่การ ยิงถล่มทางอากาศของอิสราเอลครั้งนี้กระทบเป้าหมายเป็น วงกว้างกว่าที่คิด ท�ำให้พลเรือนผู้บริสุทธิ์หลายร้อยคนเสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บ ในจ�ำนวนนี้มีเด็กอยู่หลายคน ยิ่งไปกว่านั้น อิสราเอลยังท�ำให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมจากประเทศ ต่างๆ ไปถึงพลเรือนชาวเลบานอนได้ยากมากจากการปิดอ่าว เลบานอนและทิ้งระเบิดลงสนามบินเบรุต จึงแทบไม่น่าแปลกใจ เลยเมือ่ นายกรัฐมนตรีของเลบานอนเรียกร้องให้อสิ ราเอลหยุดยิง อย่างเร่งด่วน พร้อมทั้งบรรยายถึงประเทศของตนว่ากลายเป็น “เขตภัยพิบัติ” (disaster zone) ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม น่าเศร้าที่โดยส่วนใหญ่แล้วการเรียกร้อง ให้ คู ่ ส งครามยอมลดราวาศอกให้ กั น มั ก ไม่ ไ ด้ รั บ ความสนใจ ดังเห็นได้จากกรณีความขัดแย้งในอิรัก แอฟริกากลาง อดีต ยูโกสลาเวีย เชชเนีย (Chechnya) และอีกหลายพื้นที่ เจ้าหน้าที่ สหประชาชาติพยายามสุดความสามารถในการย�ำ้ เตือนคูข่ ดั แย้ง แต่ ล ะฝ่ า ยถึ ง ความรั บ ผิ ด ชอบภายใต้ ก ฎหมายมนุ ษ ยธรรม ระหว่างประเทศ หลังเยี่ยมชมย่านชุมชนที่ถูกทิ้งระเบิดในเบรุต ตอนใต้ ยาน เอกลันด์ (Jan Egeland) ผู้ประสานงานด้านการ บรรเทาทุกข์เร่งด่วนแห่งสหประชาชาติกล่าวว่า


30

International

Relations

การทิ้งระเบิดใส่ประชาชนพลเรือนเป็นเรื่องผิด การท�ำลายโครงสร้างสาธารณูปโภคของพลเรือนเป็นเรือ่ งผิด ...เฮซบอลเลาะห์ก็ผิดที่ยังคงยิงจรวดใส่เมืองต่างๆ ของ อิสราเอล...ประชาชนพลเรือนไม่ใช่เป้า ท�ำแบบนี้มันผิด กฎหมาย กฎหมายมนุษยธรรม

หลุ ย ส์ อาร์ เ บอร์ (Louise Arbour) ข้ า หลวงใหญ่ สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติกล่าวว่า “สิง่ ทีข่ า้ พเจ้าพยายามท�ำ คือเตือนผู้ที่อยู่ภายใต้กฎหมายอาชญากรรมระหว่างประเทศ ว่าพวกเขาอาจต้องรับผิดต่ออาชญากรรมส่วนบุคคลจากการ กระท�ำเหล่านี้” น่าเศร้าทีไ่ ม่มใี ครฟังค�ำเตือนเหล่านีอ้ กี เช่นกัน อิสราเอล ถึงกับยิงตรงไปทีฐ่ านสังเกตการณ์ของสหประชาชาติ (UN Interim Force in Lebanon - UNIFIL) ในเลบานอนใต้ เจ้าหน้าที่ สหประชาชาติเสียชีวิตไป 4 คนโดยอิสราเอลไม่ต้องรับโทษอะไร ไม่มีประโยชน์นักที่จะมีกฎหมายระหว่างประเทศไว้ปกป้องสิทธิ มนุษยชนหากยังมีการฝ่าฝืนกฎหมายกันครั้งแล้วครั้งเล่า นี่เป็น ประเด็นหนึ่งซึ่งหนังสือเล่มนี้จะแสดงให้เห็นชัดเจนในภายหลัง พลเรือนเลบานอนเป็นเหยื่อผู้บริสุทธิ์ที่เคราะห์ร้ายอย่างแท้จริง จากการยิงถล่มของอิสราเอล รัฐบาลเลบานอนไม่ได้รับค�ำเตือน ล่วงหน้าเมื่อขบวนการเฮซบอลเลาะห์จับตัวทหารอิสราเอลไป เฮซบอลเลาะห์ปฏิบัติการเหมือนเป็นรัฐที่อยู่ภายในรัฐ รัฐบาล เลบานอนที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยเพิ่งเข้า ท�ำงานได้ไม่นานและยังอ่อนแอ ท�ำให้ขาดความเข้มแข็งทางทหาร


A Very Short

Introduction

31

ที่จะยึดการควบคุมเลบานอนใต้กลับจากเฮซบอลเลาะห์หรือ ป้องกันไม่ให้เฮซบอลเลาะห์โจมตีอิสราเอล แล้วความพยายามทางการทูตจากนานาประเทศเพือ่ แก้ วิกฤตการณ์นี้เป็นอย่างไร? ดังที่หนังสือ ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ: ความรู้ฉบับพกพา เล่มนี้จะกล่าวถึงในภายหลัง จุดยืน ของนโยบายการต่ า งประเทศตามแนวทางอนุ รั ก ษนิ ย มใหม่ เอกภาคี (unilateral neo-consevative) ของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช รวมทั้งความขัดแย้งรุนแรงระหว่างประเทศ ต่างๆ ในภูมภิ าคทีเ่ กีย่ วข้อง เป็นตัวขัดขวางการทูตในการจัดการ วิกฤตการณ์และป้องกันการเกิดสงคราม ในกรณีวิกฤตการณ์ ตะวันออกกลางในฤดูรอ้ นปี 2006 การทีส่ หรัฐฯ สนับสนุนอิสราเอล อย่างชัดเจนและเต็มที่ ซึง่ นายกรัฐมนตรีโทนี แบลร์ ก็หนุนอยูด่ ว้ ย ท�ำให้วอชิงตันเสียโอกาสเป็นผูไ้ กล่เกลีย่ ความขัดแย้งทีน่ า่ เชือ่ ถือ สหรัฐฯ ใช้สทิ ธิคดั ค้านหรือวีโต้ (veto) มติคณะมนตรีความมัน่ คง แห่งสหประชาชาติ (UN Security Council - UNSC) ทีเ่ รียกร้องให้ อิสราเอลถอนก�ำลังจากฉนวนกาซา ประธานาธิบดีบชุ ทีไ่ ด้รบั การ สนับสนุนจากนายแบลร์คดั ค้านข้อเรียกร้องทีผ่ นู้ �ำคนอืน่ ๆ เสนอ ในการประชุมจีแปด (G8) ณ เมืองเซนต์ปเี ตอร์สเบิรก์ ให้อสิ ราเอล หยุดยิงทันที ในทีแรกเลบานอนและขบวนการเฮซบอลเลาะห์ ปฏิเสธข้อเรียกร้องของรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการต่างประเทศ ของสหรั ฐ ฯ ที่ ต ้ อ งการให้ เ กิ ด “ตะวั น ออกกลางใหม่ ” และ “สันติภาพยั่งยืน” เมื่อพบว่าเงื่อนไขสันติภาพที่นางสาวไรซ์ (Condoleezza Rice) เสนอนั้นเป็นการตอบสนองจุดประสงค์ หลักของอิสราเอลทั้งหมด อาทิ การปลดอาวุธเฮซบอลเลาะห์


32

International

Relations

การวางกองก�ำลังนานาชาติในเลบานอนใต้เพื่อให้เป็นฉนวน ป้ อ งกั น การรุ ก รานความมั่ น คงของอิ ส ราเอล ตลอดจนการ ปล่ อ ยตั ว ทหารอิ ส ราเอลที่ ถู ก จั บ ไปในทั น ที โ ดยที่ อิ ส ราเอล ไม่จ�ำเป็นต้องปล่อยตัวนักโทษที่จับกุมไว้เป็นการแลกเปลี่ยน ขณะเขียนหนังสือเล่มนี้ ยังไม่เป็นทีแ่ น่ชดั ว่าวิกฤตการณ์ จะพัฒนาไปในทางใด ดูจะเป็นไปได้ยากทีร่ ฐั บาลของนายโอลเมิรต์ (Ehud Olmert) แห่งอิสราเอลจะละทิง้ ความพยายามในการก�ำจัด ปั ญ หาเฮซบอลเลาะห์ ใ ห้ ห มดไปจากชายแดนด้ า นทิ ศ เหนื อ ความพยายามของนักการทูตผู้เก่งกาจจ�ำนวนหนึ่งเพื่อให้ได้ มาซึ่งข้อตกลงทางการทูตผลิดอกออกผลในที่สุด มีการบรรลุ ข้อตกลงหยุดยิงกลางเดือนสิงหาคม 2006 แต่หากข้อตกลงนี้ ล่มลงเมื่อไรก็คงเกิดโศกนาฏกรรมกับประชาชนพลเรือนอีก และในกรณีที่เลวร้ายที่สุด ความขัดแย้งอาจลุกลามไปจนดึงเอา อิหร่านกับซีเรียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย บทเรียนส�ำคัญจากความขัดแย้งในเลบานอนช่วงเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม 2006 คือการยิงถล่มทางอากาศ ไม่ว่าจะ รุนแรงสักปานใด ก็ไม่ใช่วธิ กี ารทีม่ ปี ระสิทธิผลหรือชอบธรรมเลย ในการก�ำจัดภัยคุกคามจากกลุ่มก่อการร้ายหรือกองโจรที่ไม่ใช่ คนของรัฐ บทเรียนอันน่าผิดหวังและควรได้รับการกล่าวถึงอีก ประการคือ ประเทศซึง่ ภาคภูมใิ จในความเป็นประชาธิปไตยของ ตนเสียนักหนา เมื่อเริ่มใช้การสร้างความหวาดกลัวเพื่อต่อต้าน การก่อการร้าย ก็สามารถละเมิดสิทธิมนุษยชน ก่ออาชญากรรม สงคราม และสูญเสียสถานภาพของผู้มีศีลธรรมสูงส่งเอาดื้อๆ ดังเช่นที่เคยเป็นมาแล้วเมื่อครั้งเกิดความขัดแย้งในอิรัก


A Very Short

Introduction

33

ในความเห็ น ของข้ า พเจ้ า วิ ก ฤตการณ์ อั น ตรายใน ตะวันออกกลางเมื่อฤดูร้อนปี 2006 เน้นให้เห็นถึงความจ�ำเป็น เร่งด่วนทีต่ อ้ งมีวธิ กี ารทางการทูตระหว่างประเทศอย่างสร้างสรรค์ และแปลกใหม่ รวมทั้งมีการทูตด้านการจัดการความขัดแย้งที่มี ประสิทธิผลยิ่งขึ้น เงื่อนไขส�ำคัญทว่าถูกละเลยมาโดยตลอด อันจะก่อให้เกิดการทูตด้านการจัดการวิกฤตที่มีประสิทธิผล ตลอดจนการยุตคิ วามขัดแย้ง คือการมีความรูค้ วามเข้าใจมากขึน้ ว่ารัฐอื่นๆ ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็น ปฏิปกั ษ์กบั รัฐของเรา มองโลก ข้อพิพาท และความขัดแย้งทีต่ วั เอง มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร เราไม่อาจชนะสงครามแห่ง “หัวใจและ สมอง” ได้หากไร้ซงึ่ ความเข้าใจว่ารัฐ สังคม และองค์กรอืน่ ๆ ทีไ่ ม่ใช่ รัฐมองเราและทัง้ โลกส่วนทีเ่ หลืออย่างไร ดังนัน้ เราจึงจ�ำเป็นต้องมี ความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับบทบาทและความสามารถของรัฐ ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ องค์การระหว่างรัฐบาล ตลอดจนประเด็น ปั ญ หาและความท้ า ทายที่ ลึ ก ซึ้ ง ระดั บ โลกซึ่ ง เราทุ ก คนล้ ว น เผชิญหน้าอยู่ หนังสือเล่มเล็กๆ เล่มนี้มุ่งหมายจะเสนอภาพ กว้างๆ ของตัวแสดงหลักในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและ ปัญหาที่ยุ่งยากที่สุดบางประการของตัวแสดงเหล่านั้น


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.