ญี่ปุ่นสมัยใหม่

Page 1

8

Modern

Japan

คำ�นำ�ผู้แปล

.

คงไม่มีใครปฏิเสธว่าญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่โดดเด่น น่าสนใจในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะลักษณะที่ดูเหมือนขัดกันเอง อยูใ่ นตัวแบบทีห่ าได้ยากจากประเทศอืน่ ญีป่ นุ่ เป็นทัง้ มหาอำ�นาจ ทางเศรษฐกิจ มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสงู แบบโลกตะวันตก แต่กลับรุม่ รวยวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และประเพณีแบบโลก ตะวันออก เสน่ห์ของความต่างนี้เองที่ทำ�ให้นักประวัติศาสตร์ หลายคนสนใจและอยากรู้ ว่ า อะไรทำ � ให้ ญี่ ปุ่ น เป็ น เช่ น นั้ น ช่วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่จะตอบคำ�ถามนี้ได้ดีที่สุด คือยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นสมัยใหม่ หรือที่เรียกว่า “ญี่ปุ่นสมัยใหม่” นั่นเอง


A

Very Short Introduction

9

ญี่ ปุ่ น สมั ย ใหม่ : ความรู้ ฉ บั บ พกพา เขี ย นโดย คริสโตเฟอร์ โกโต-โจนส์ กล่าวถึงประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นในช่วง ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยเน้นไปที่ การพั ฒ นาสู่ ค วามเป็ น ประเทศสมั ย ใหม่ ประเด็ น ที่ ผู้ เ ขี ย น ตัง้ คำ�ถามคือ “ความเป็นสมัยใหม่” หมายถึง “ความเป็นตะวันตก” เพียงเท่านั้นหรือไม่ และญี่ปุ่นสามารถเป็นประเทศสมัยใหม่ ในขณะที่ยังคงรักษาจิตวิญญาณและตัวตนแบบโลกตะวันออก ไว้ได้อย่างไร เพื่อตอบคำ�ถามดังกล่าว ผู้เขียนได้เล่าประวัติศาสตร์ ญี่ ปุ่ น โดยไล่ เ รี ย งตามลำ � ดั บ เวลาและเหตุ ก ารณ์ สำ � คั ญ อั น มี ผลกระทบต่อสังคมญี่ปุ่น เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายยุคที่ญี่ปุ่นแยกตัว จากโลกภายนอก (ศตวรรษที่ 17-19) การมาเยือนของ “เรือสีด�ำ ” ของพลเรือจัตวาเพอร์รี่แห่งสหรัฐอเมริกาในปี 1853 การปฎิรูป เมจิ ในช่วงระหว่างปี 1868 ถึง 1880 ซึ่งนับเป็นการสิ้นสุด ของยุคซามูไรและขุนนางเจ้าที่ดิน พร้อมไปกับการเติบโตของ รัฐบาลกลาง พัฒนาการของประชาธิปไตยญี่ปุ่น บทบาททาง การทหารของญี่ปุ่นในสงครามแปซิฟิก สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นจักรวรรดิ นิยมของญี่ปุ่น และการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง กระทั่งถึงคำ�ถามเกี่ยวกับตัวตน ความเป็นญี่ปุ่นในปัจจุบัน โดยผู้เขียนได้อธิบายเนื้อหาแต่ละบท ไว้ อ ย่ า งชั ด เจนและมี แ หล่ ง ข้ อ มู ล อ้ า งอิ ง น่ า เชื่ อ ถื อ พร้ อ ม ภาพประกอบและแผนที่เพื่อเสริมความเข้าใจ จุดเด่นประการหนึ่งของผู้เขียนคือการนำ�เสนอข้อมูล


10

Modern

Japan

ประวัตศิ าสตร์จากแง่มมุ ทีแ่ ตกต่าง โดยให้ความสำ�คัญกับมุมมอง ของคนญี่ปุ่นและสังคมญี่ปุ่นเองต่อสถานการณ์นั้นๆ มากกว่า จะสรุปด้วยมุมมองแบบชาวตะวันตกที่มองชาวตะวันออกตาม ความเข้าใจของตนเพียงฝ่ายเดียว ตัวอย่างเช่น การหยิบยก ความเห็นของศิลปินและนักเขียนที่เปรียบเสมือนตัวแทนชาว ญี่ ปุ่ น มาถ่ า ยทอดมุ ม มองที่ น่ า สนใจ ไม่ ว่ า จะเป็ น งานเขี ย น ภาพวาด ภาพยนตร์ บทละคร หรือแม้แต่อะนิเมชั่นในยุคต่างๆ โดยเฉพาะการสะท้อนความสับสนของสังคมญี่ปุ่นหลังสงคราม โลกครั้งที่สอง แน่นอนว่าหนังสือเล่มเดียวย่อมไม่สามารถถ่ายทอด เรื่องราวของช่วงเวลาอันน่าสนใจนี้ได้ทั้งหมด ญี่ปุ่นสมัยใหม่: ความรู้ฉบับพกพา อาจเป็นการมองประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งของ ญี่ปุ่นแบบคนกวาดตามองภาพเขียนขนาดใหญ่ แม้ไม่ได้อ้อยอิ่ง หรือพินิจพิจารณาอย่างลึกซึ้งมาก แต่ก็ช่วยให้ผู้อ่านมองเห็น ภาพรวมและได้ข้อมูลที่น่าสนใจไม่น้อย ผู้แปลเชื่อเหลือเกินว่า หนั ง สื อ เล่ ม นี้ จ ะมี ป ระโยชน์ ใ นการกระตุ้ น ความคิ ด และเป็ น ก้ า วแรกที่ สำ � คั ญ ในการทำ � ความรู้ จั ก ประเทศญี่ ปุ่ น ให้ ลึ ก ซึ้ ง ยิง่ ขึน้ เพราะประวัตศิ าสตร์ญปี่ นุ่ ยังมีแง่มมุ อีกมากมายทีน่ า่ สนใจ และน่าติดตามค้นคว้า การแปลหนังสือเล่มนี้เป็นประสบการณ์ทดี่ มี ากสำ�หรับ ผูแ้ ปล และเป็นเรือ่ งยากทีส่ �ำ เร็จได้ดว้ ยความช่วยเหลือจากผูค้ น มากมาย ผู้แปลขอขอบคุณ คุณสฤณี อาชวานันทกุล ที่ช่วย อ่ า นทวนต้ น ฉบั บ เป็ น คนแรกและแก้ ไ ขเนื้ อ หาบางส่ ว นให้ ขอบคุณ คุณปราบดา หยุ่น และ คุณปาลิดา พิมพะกร ผู้เป็น


A

Very Short Introduction

11

บรรณาธิการช่วยตรวจแก้ต้นฉบับและตรวจสอบการถอดเสียง ชือ่ ภาษาญีป่ นุ่ รวมถึงทีมงานผูอ้ ยูเ่ บือ้ งหลังหนังสือเล่มนีท้ กุ ท่าน และชาว openworlds ทุกคนที่ทำ�ให้หนังสือเล่มนี้เป็นจริงได้ ในที่สุด

พลอยแสง เอกญาติ มีนาคม 2554


12

Modern

Japan

กิตติกรรมประกาศและหลักการในการเขียน

.

ชื่อภาษาญี่ปุ่นเขียนตามลำ�ดับที่ถูกต้อง นั่นคือ เริ่มด้วย นามสกุล ตามด้วยชื่อตัว ในบางกรณีที่เป็นบุคคลสำ�คัญทาง ประวัติศาสตร์จะนิยมเรียกชื่อตัว เช่น โทคุงาวะ อิเอยะสุ มัก เรียกกันแค่อิเอยะสุ หรือ โอดะ โนบุนางะ ก็เรียกกันว่าโนบุนางะ ส่วน โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ ก็เป็นที่รู้จักในชื่อฮิเดโยชิ อย่างไรก็ตาม ชื่อเหล่านี้เป็นข้อยกเว้นจากธรรมเนียมปฏิบัติ สระเสียงยาว ในภาษาอังกฤษจะมีเครื่องหมายกำ�กับ เช่น “นิชิดะ คิทาโร่” (Nishida Kitarô) แต่ คำ � ที่ พ บบ่ อ ยในภาษาอั ง กฤษจะไม่ ใ ส่ เครื่องหมายกำ�กับ เช่น “โตเกียว” (Tokyo) ชาวญี่ปุ่นไม่ใช้ตัว s กำ�กับพหูพจน์เหมือนในภาษาอังกฤษ ดังนั้น บางคำ�จึงเป็นทั้ง เอกพจน์และพหูพจน์ในตัว เช่น ซามูไร (samurai) หรือไดเมียว (Daimyo) เป็นต้น


A

Very Short Introduction

13

ผมขอขอบคุ ณ รานา มิ ต เตอร์ , ริ ก กิ เคอร์ ส เตน, อังกุส ล็อคเยอร์ และผู้วิจารณ์หนังสือที่ไม่ประสงค์ออกนามแห่ง สำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดที่ช่วยอ่านต้นฉบับทั้งหมด และให้คำ�วิจารณ์ที่มีประโยชน์อย่างมีนํ้าใจ อีกทั้งยอมเข้าใจถึง ความยากลำ�บากในการเขียนหนังสือเล่มเล็กเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม ผมขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวต่อความสับสนหรือผิดพลาด ใดๆ ผมยั ง เป็ น หนี้ บุ ญ คุ ณ บรรณาธิ ก ารสำ � นั ก พิ ม พ์ ด้ ว ย แอนเดรีย คีแพน ผู้ให้กำ�ลังใจและอดทนกับผมอย่างยิ่งยวด (โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ฮาร์ดดิสก์พงั อย่างกูไ่ ม่กลับทีโ่ อซาก้า) ขอขอบคุณอย่างยิ่งสำ�หรับศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกสมัยใหม่ (MEARC) ที่ให้ทุนสำ�หรับช่วงเวลาในเกียวโตเพื่อให้ผมได้เขียน หนังสืออย่างจริงจัง และขอขอบคุณ อีสเธอร์ ที่หาเวลาให้ผมได้ ทั้งที่แสนยุ่ง สุดท้ายผมขอขอบคุณ โนโซมิ และทุกชีวิตที่ฟาร์ม รวมถึงบรรดานักศึกษาของผมทีไ่ ลเดน ผูบ้ ม่ เพาะนิสยั ให้ผมเห็น ความสำ�คัญของการอธิบายแทนที่จะคาดเดาเอาเอง ผมหวังว่า หนังสือเล็กๆ เล่มนี้จะเป็นก้าวหนึ่งในหนทางที่ถูกต้อง แม้ว่า ผมจะไม่กล้าคาดหวังก็ตาม ผมตั้ ง ใจเขี ย นหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ใ ห้ พ่ อ แม่ ผู้ ส นั บ สนุ น ความสนใจในญี่ปุ่นของผมเสมอมา โดยไม่รู้เลยว่าทำ�ไมมันถึง น่าสนใจนัก ผมหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะให้คำ�ตอบได้

คริสโตเฟอร์ โกโต-โจนส์



ญี่ปุ่นสมัยใหม่ •

ความรู้ฉบับพกพา

MODERN JAPAN • A

Very

Short

Introduction

by

Christopher

Goto-Jones

แปลโดย

พลอยแสง เอกญาติ


บทนำ�

. ญี่ปุ่นสมัยใหม่นั้นใหม่อย่างไร


A

Very Short Introduction

17

สำ�หรับหลายคนในปัจจุบนั ภาพจำ�ทีแ่ จ่มชัดทีส่ ดุ ของญีป่ นุ่ สมัยใหม่คอื ขุมพลังทางเศรษฐกิจ ผูว้ จิ ารณ์หลายรายเห็นว่าญีป่ นุ่ มีเศรษฐกิจยุคอุตสาหกรรม (หรือแม้แต่ยุคหลังอุตสาหกรรม) ที่ประสบความสำ�เร็จสูงสุด มีการผสมผสานระหว่างความมั่งคั่ง มหาศาลทีย่ ากเสมอเหมือนกับเสถียรภาพทางสังคมทีไ่ ม่ธรรมดา และความเป็นปึกแผ่นอย่างชัดเจน แม้ไม่นานมานีญ ้ ปี่ นุ่ จะประสบ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ อีกทัง้ ต้องเผชิญกับการเติบโตอย่างรวดเร็ว ของจีน แต่ญี่ปุ่นก็ยังคงเป็นชาติเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่อันดับสอง ของโลกตามค่าของตัวชีว้ ดั ส่วนใหญ่ เป็นรองก็เพียงสหรัฐอเมริกา เท่านั้น สินค้าและผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรมของญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่ บริโภคกันทั่วโลก นับตั้งแต่ภาพยนตร์อะนิเมชั่น เครื่องเล่นเกม เพลย์สเตชัน่ รถยนต์ เซมิคอนดักเตอร์ เรือ่ ยไปจนถึงเทคนิคการ บริหารและศิลปะการต่อสู้ ในหลายๆ แง่ ภาพลักษณ์เช่นนี้ทำ�ให้ญี่ปุ่นกลายเป็น สัญลักษณ์ของ “ความเป็นสมัยใหม่” ในโลกปัจจุบัน กระนั้น ใน สายตาของหลายคนทีไ่ ม่ใช่ผเู้ ชีย่ วชาญ ประเทศญีป่ นุ่ ก็ยงั คงเป็น


18

Modern

Japan

ปริศนา คนเหล่านี้มองว่าญี่ปุ่นเป็นเหมือนภาพตัดต่ออันสับสน ระหว่างสิ่งแปลกแยกกับสิ่งคุ้นชิน ขนบธรรมเนียมกับความเป็น สมัยใหม่ และแม้แต่ “ตะวันออก” กับ “ตะวันตก” เราจะได้เห็นว่า ความสับสนนีม้ สี าเหตุบางส่วนจากข้อสรุปหนึง่ นัน่ คือ ในขณะที่ ความเป็นสมัยใหม่ก่อให้เกิดความแปลกแยกทางวัฒนธรรม เพียงเล็กน้อยใน “โลกตะวันตก” แต่ในญี่ปุ่นและที่อื่นๆ นั้น องค์ประกอบของความเป็นสมัยใหม่ดจู ะไม่สอดคล้องหรืออาจถึง ขัน้ แปลกแยกจากวัฒนธรรมเดิม พืน้ ฐานของสมมติฐานดังกล่าว อยูท่ คี่ วามสัมพันธ์ซบั ซ้อนทีฝ่ งั รากลึกระหว่างความเป็นสมัยใหม่ กับประวัติศาสตร์ยุโรปและอเมริกา แท้จริงแล้ว ความสัมพันธ์ ซับซ้อนทีร่ บั รูไ้ ด้ดงั กล่าวเป็นหัวใจสำ�คัญของการประท้วงต่อต้าน แนวคิ ด โลกาภิ วั ต น์ แ ละทุ น นิ ย มหลายต่ อ หลายครั้ ง ในโลก ยุคปัจจุบัน สำ�หรับหลายคนแล้ว กระแสความเป็นสมัยใหม่ที่ บุกเข้ามานีด้ เู หมือนการแผ่ขยายอำ�นาจของโลกตะวันตกนัน่ เอง เพือ่ เป็นตัวอย่าง เรามาลองพิจารณาเหตุการณ์นา่ สนใจ เมื่อไม่นานมานี้กันสักหน่อยดีกว่า มุมมองต่อญี่ปุ่นสมัยใหม่ : ฟุตบอลโลกปี 2002

เกิดความคลางแคลงใจอยู่บ้างในยุโรปเมื่อญี่ปุ่นกับ เกาหลีใต้ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพร่วมจัดการแข่งขันฟุตบอล โลกรอบสุดท้ายเมือ่ ปี 2002 หรือว่าฟุตบอลโลกครัง้ แรกในเอเชียจะ เป็นเหมือนคราวทีจ่ ดั ในสหรัฐอเมริกาเมือ่ ปี 1994 ทีเ่ จ้าภาพเป็น ประเทศรํา่ รวยแต่ไม่รอู้ ะไรเลยเกีย่ วกับฟุตบอล (หรือ “ซอกเกอร์”)


A

Very Short Introduction

19

จึ ง เป็ น การจั ด งานเพื่ อ กระตุ้ น ความนิ ย มในกี ฬ าดั ง กล่ า ว ประชาชนชาวยุโรปรู้จักประเทศ “ตะวันออกไกล” ทั้งสองน้อย ยิ่งกว่าสหรัฐอเมริกาเสียอีก พวกเขารู้จักนินเทนโด โซนี่ และ แดวู รู้จักคาราเต้และเทควันโด รู้จักเพิร์ลฮาเบอร์ ฮิโรชิม่า และ สงครามเกาหลี แต่พวกเขาไม่รู้ว่า “เจ-ลีก” ของญี่ปุ่นเป็นหนึ่งใน ลีกฟุตบอลที่ทำ�เงินสูงสุดของโลก อีกทั้งยังไม่รู้ว่าทีมเกาหลีใต้ จะเอาชนะ “มหาอำ�นาจ” อย่างอิตาลีและสเปนจนผ่านเข้าไปถึง รอบรองชนะเลิศ (แล้วแพ้เยอรมนี) แถมยังได้อันดับสูงกว่าทีม ยอดนิยมก่อนการแข่งขันอย่างอังกฤษ อาร์เจนตินา และแชมป์เก่า ฝรั่งเศสด้วย สรุปก็คือ ความหลงใหล (และความสามารถ) ใน กีฬาฟุตบอลของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้กระแทกใส่หน้าชาติยุโรป เข้าอย่างจัง เป็นเรือ่ งน่าสนใจเมือ่ มาย้อนคิดว่าทำ�ไมขอบเขตความ สนใจในฟุตบอลที่เอเชียตะวันออกสร้างความประหลาดใจให้ ผู้คนได้มากมายถึงเพียงนี้ คำ�ตอบส่วนหนึ่งอยู่ในภาพจำ�ของ ญี่ปุ่นที่ “โลกตะวันตก” ได้รับรู้ ยกตัวอย่างเช่น ในระหว่างทำ� ข่าวการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนั้น บีบีซีสถานีเก่าแก่ได้ผลิต โฆษณาอันสวยงามขึ้นมา 2 ชุด เพื่อใช้โฆษณาการแข่งขัน ชุด แรกออกอากาศก่อนการแข่งขันหลายสัปดาห์ มีความยาว 2 นาทีในรูปแบบ “อะนิเมะ” ซึ่งเป็นสื่อภาพยนตร์อะนิเมชั่นแบบ ญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 60 ของการ์ตูนที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ทั่วโลก ภาพยนตร์สั้น ดังกล่าวมีเสียงบรรยายได้อารมณ์แบบทีแ่ ฟนๆ วิดโี อเกมจำ�พวก ยิงแหลกและภาพยนตร์กำ�ลังภายในคุ้นเคยกันดี “ทุกสี่ปีจะมี


20

Modern

Japan

สุดยอดวีรบุรุษจากทั้งสี่มุมโลกมาแข่งขันเพื่อชิงรางวัลยิ่งใหญ่ ที่สุดที่เคยมีมา...” ฉากหลังปรากฏตัวอักษรสวยงามทั้งคันจิ (ตัวอักษรจีนที่ใช้กันในญี่ปุ่น) และฮันกึล (ตัวอักษรเกาหลี) เต้นระริกดูขงึ ขัง จากนั้นภาพโฆษณาก็โลดแล่นมีชวี ติ ชีวาขึน้ มา เหมือนในนวนิยายวิทยาศาสตร์ ลูกบอลถูกเตะพุง่ ขึน้ ไปในอากาศ เหมือนจรวด จอคอมพิวเตอร์และแสงไฟกะพริบดังปี๊บๆ เมื่อ จับภาพลูกบอล แทงค์แก้วแบบโลกอนาคตบรรจุร่างชายผู้หนึ่ง ที่ลอยตัวอยู่ในของเหลวใส มีขาเทียมโลหะเปล่งประกายแบบ ไซบอร์ก (ปรากฏว่าเขาคือกัปตันทีมฝรัง่ เศสผูเ้ ก่งกาจเหนือมนุษย์ นามว่า ซีดาน) ตามด้วยภาพการ์ตูนของบรรดายอดนักฟุตบอล ทีด่ สู บั สนอลหม่าน (ไม่มใี ครเป็นชาวญีป่ นุ่ หรือเกาหลีเลย) พากัน วิง่ ไปตามถนนในเมือง (ญีป่ นุ่ ) ทีป่ ระดับประดาด้วยแสงไฟนีออน เพื่อไล่ล่าจรวดนั้น โฆษณาความยาวสองนาทีนสี้ วยงามมีระดับ เต็มไปด้วย การอ้างอิงถึงวัฒนธรรมสมัยนิยม และแฝงไว้ด้วยนัยที่ว่า ญี่ปุ่น เป็นยูโทเปียที่ทั้งเท่และลํ้ายุค เป็นอาณาจักรแห่งไซบอร์กและ โลกคอมพิวเตอร์เหมือนในนวนิยายวิทยาศาสตร์ แบบเดียวกับที่ วิลเลีย่ ม กิบสัน ได้เคยบรรยายไว้อย่างโดดเด่นใน นิวโรแมนเซอร์ (Neuromancer, 1984) นวนิยายวิทยาศาสตร์แนวไซเบอร์พังก์1 สุ ด คลาสสิ ก นอกจากนั้ น ดู เ หมื อ นว่ า ภาพการเล่ น ฟุ ต บอล จะไม่มีชาวญี่ปุ่นหรือเกาหลีร่วมด้วยเลย แม้จะมีคนมากมาย Cyberpunk เป็นแนวนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่เน้นความทันสมัยไฮเทคกับ ชีวิตคุณภาพตํ่า พบมากในวรรณกรรมยุคโพสต์โมเดิร์นหรือยุคหลังสมัยใหม่ โดยมีวิลเลี่ยม กิบสัน (William Gibson) ได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิก 1


A

Very Short Introduction

21

ตามท้องถนนเฝ้ามองสุดยอดนักเตะต่างชาติอย่างชื่นชมก็ตาม โฆษณาชิ้ น ที่ ส องได้ อ อกอากาศในช่ ว งเครดิ ต เปิ ด การแข่งขันแต่ละนัด ชุดนี้เป็นภาพตัดต่อที่โรแมนติกกว่าชุด แรกมากมายนัก เริ่มต้นช้าๆ ด้วยภาพวัดเหนือทะเลสาบตอน พระอาทิตย์ขึ้น ตามด้วยภาพโคลส-อัพที่ดวงตาพระพุทธรูปหิน ธงชาติญี่ปุ่นสะบัดพลิ้ว นักซูโม่ ธงเกาหลีสะบัดพลิ้ว แล้วก็ ปลาคาร์ฟ เมือ่ ถึงตรงนีก้ ม็ ลี กู ฟุตบอลถูกเตะเข้าไปสูแ่ สงสว่างวาบ ที่จะพาเราไปชมภาพอื่นๆ ที่เหลือ ภาพพระพุทธรูปอีกครั้ง ทิวทัศน์เมือง (มีแสงไฟนีออนและวัด) สนามฟุตบอล (กับผู้เล่น บราซิลคนหนึง่ ) ภาพการเต้นรำ�พืน้ เมืองของเกาหลี เดวิด เบคแฮม มีภาพการเต้นรำ�เกาหลีอกี นักซูโม่อกี วัดอีก ภาพอ้อยอิง่ จับอยูท่ ี่ เกอิชาของญี่ปุ่น (หรือกีเซียงของเกาหลี) แล้วจากนั้นก็เป็น ภาพเนิบช้าโรแมนติกของภูเขาฟูจิ เมื่อถึงตรงนี้ระดับความเร็ว เปลีย่ นไปอย่างกะทันหัน ราวกับว่าเราถูกนำ�มาสูส่ มัยใหม่ รถไฟ หัวกระสุนชินคันเซ็นโผล่มาให้เห็น มีภาพนักฟุตบอลทีร่ ะบุไม่ได้ ว่าเป็นใครอีกหลายคน รถไฟอีกหลายขบวน มีแสงไฟอีก และถนน พลุกพล่านเต็มไปด้วยจอสว่างไสว (ฉายภาพนักฟุตบอล) ภาพ การเต้นรำ�พื้นเมืองของเกาหลีอีก และตบท้ายด้วยลูกฟุตบอล ทีม่ าพร้อมแสงไฟสว่างวาบเป็นทางพุง่ รอดเสาโทริอิ (เสาศักดิส์ ทิ ธิ์ ปากทางเข้าศาลเจ้าชินโต) ต้นใหญ่ที่ตั้งตระหง่านอยู่ราวกับเป็น เสาประตู แน่นอนว่าภาพที่ใช้นี้เป็นแบบที่พบเห็นได้ทั่วไปและ ไม่สร้างสรรค์เลยสักนิด แต่ก็ด้วยเหตุนี้เองที่มันเปิดเผยความ เป็นญี่ปุ่นในสายตาโลกตะวันตกได้มากมายยิ่ง หากตัดประเด็น


22

Modern

Japan

ที่นักฟุตบอลญี่ปุ่นหายไปอย่างน่าประหลาดในโฆษณาสองชุด นีแ้ ล้ว เราได้เห็นการผสมผสานอันเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรม โบราณ (ซูโม่ เกอิชา ฟูจิ พระพุทธรูป) กับความเป็นสมัยใหม่ ยิง่ ยวด (รถไฟหัวกระสุน เมืองแห่งแสงไฟนีออน ไซบอร์ก) รวมถึง ความลึกลับกับเทคโนโลยี ญีป่ นุ่ ถูกวาดภาพให้เป็น “ประเทศอืน่ ” ที่แตกต่างชวนฉงน ซึ่งหาทางปรับ (แล้วเปลี่ยน) องค์ประกอบ ของความทันสมัยที่ผู้ชมชาติตะวันตกน่าจะคุ้นเคยกันดี เราคาด ได้ว่าผู้ชมจะตื่นตาตื่นใจเมื่อได้เห็นซูโม่กับรถไฟความเร็วสูงใน ภาพเคลื่อนไหวชุดเดียวกัน ก็แล้วทำ�ไมมันถึงเป็นเช่นนั้นเล่า หลั ก ใหญ่ ใ จความก็ คื อ ไม่ ใ ช่ แ ค่ ค วามแตกต่ า งทาง วัฒนธรรมของญี่ปุ่นเท่านั้นที่ทำ�ให้มันน่าตื่นเต้นเหลือเกิน แต่ ยังรวมถึงความจริงที่ว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ทันสมัย มีความ ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี แถมยังไม่ใช่ชาติตะวันตกอีกด้วย หาก ลองวิ เ คราะห์ ห ยาบๆ ญี่ ปุ่ น ถู ก นำ � เสนอว่ า แปลกประหลาด เพราะมีประวัตศิ าสตร์ลมุ่ ลึกของวัฒนธรรมแบบ “ตะวันออก” กับ ภาวะปัจจุบันที่มีความเป็น “ตะวันตก” อย่างผิดคาด ความเป็น สมัยใหม่กับโลกตะวันตกนั้นแยกแยะจากกันได้ยากเย็นสำ�หรับ ผู้ชม (หรือสำ�หรับบีบีซี) พู ด อี ก อย่ า งก็ คื อ คำ � ถามเกี่ ย วกั บ ความหมายและ เอกภาพของโลกสมัยใหม่ได้มอบเหตุผลพิเศษให้ผู้สังเกตการณ์ ที่ ส นใจได้ พิ นิ จ พิ เ คราะห์ ญี่ ปุ่ น ในฐานะที่ ย อมรั บ กั น อย่ า ง กว้างขวางว่าเป็นชาติ “ไม่ตะวันตก” ชาติแรกในประวัติศาสตร์ ที่มีความเป็นสมัยใหม่ แท้จริงแล้ว ประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น สมั ย ใหม่ นั บ ตั้ ง แต่ สิ้ น สุ ด การโดดเดี่ ย วตั ว เองจากนานาชาติ


A

Very Short Introduction

23

ตอนกลางศตวรรษที่ 19 เรือ่ ยมาจนถึงปัจจุบนั ถือเป็นบันทึกของ ประเทศหนึ่งที่ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเผชิญ กับมหาอำ�นาจตะวันตกและการเปิดรับแนวคิดกับเทคโนโลยี ของโลกสมัยใหม่ไปด้วยพร้อมๆ กัน การเจรจาต่อรองทั้งในแง่ การเมื อ งและปรั ช ญาถื อ เป็ น กุ ญ แจสำ � คั ญ ของยุ ค สมั ย นี้ ประสบการณ์ของญีป่ นุ่ ได้มอบเลนส์ทนี่ า่ ตืน่ ใจให้เราได้ทอดมอง ไปเห็นวิถีหลากหลายที่ประเทศใช้ตอบสนองปัญหาอันซับซ้อน ของการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม ปรัชญา สังคม การเมือง และวิ ท ยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง เมื่ อ มั น เกิ ด ขึ้ น เพราะ การมาถึงอย่างฉับพลัน (และไม่ได้รับเชิญ) ของเรือปืนใหญ่ สัญชาติอเมริกัน ผมไม่อาจหวังว่าหนังสือ ญี่ปุ่นสมัยใหม่ : ความรู้ฉบับ พกพา เล่ ม นี้ จ ะทำ � หน้ า ที่ นำ � เสนอภาพรวมของช่ ว งเวลาอั น น่าตื่นเต้นและสำ�คัญยิ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นได้อย่างพอเพียง แต่ มั น จะพิ จ ารณาชุ ด คำ � ถามที่ ว่ า การเรี ย กญี่ ปุ่ น เป็ น สั ง คม “สมัยใหม่” มีความหมายอย่างไร และประเภทของความเป็น “สมัยใหม่” ที่ว่านี้มีความสำ�คัญอย่างไรต่อคนญี่ปุ่นกลุ่มต่างๆ ในช่วงเวลาทีแ่ ตกต่างกัน ขณะเดียวกันก็จะท้าทายข้อสรุปทัว่ ไป เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นบางเรื่อง เช่น คำ�กล่าวอ้างบ่อยครั้ง ว่ า ญี่ ปุ่ น ตั ด ขาดตั ว เองโดยสิ้ น เชิ ง จากโลกภายนอกตลอด ช่วงเวลายาวนานทีเ่ รียกว่า สะโคคุ (ศตวรรษที่ 17 – 19) ส่งผลให้การ เปิดรับวัฒนธรรมอืน่ เป็นองค์ประกอบสำ�คัญสูค่ วามเป็นสมัยใหม่ ของญีป่ นุ่ เราจะพิจารณาวิถที คี่ วามต่อเนือ่ งและการเปลีย่ นแปลง ด้านวัฒนธรรมและสังคมมีปฏิกิริยาต่อกันในช่วงเวลาดังกล่าว


24

Modern

Japan

แม้เมื่อเผชิญกับลักษณะอันผิดแผกจากธรรมดาอย่างชัดแจ้ง เช่น บทสรุปหายนะของสงครามโลกครั้งที่สองในย่านแปซิฟิก ข้ อ มู ล นี้ จึ ง เท่ า กั บ เป็ น การท้ า ทายต่ อ ข้ อ สรุ ป ที่ ว่ า ญี่ ปุ่ น หลั ง สงครามมีความไม่ต่อเนื่องด้านวัฒนธรรม และท้ายที่สุด แม้ว่าข้อมูลจำ�นวนมากในที่นี้จะจับอยู่ที่ วิถีซึ่งชนชั้นผู้นำ�ด้านการเมือง ปรัชญา และสังคม มีส่วนในการ เปลี่ยนผ่านอย่างลึกซึ้งของสังคมญี่ปุ่น และคำ�ถามเรื่องความ ร่วมสมัยของมันอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็ยังมีความจำ�เป็น ที่เราต้องมองไปยังวิถีซึ่งผู้คนทั่วไปเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง เหล่ า นี้ และไม่ ใ ช่ แ ค่ ใ นฐานะผู้ รั บ สภาพท่ า มกลางกระแส ประวัติศาสตร์ภาพใหญ่ แต่ในฐานะตัวการผู้มีบทบาทในการ สร้างชาติสมัยใหม่เพื่อตัวของพวกเขาเอง หากมองในบางแง่ แนวโน้มสูก่ ารตัดสินใจร่วมกันในระดับชาตินถี้ อื เป็นปัจจัยสำ�คัญ อย่างหนึ่ง (และเป็นปริศนาหลัก) ของความเป็นสมัยใหม่ พูดอีกอย่างก็คอื นีค่ อื หนังสือเล่มเล็กเกีย่ วกับการทีญ ่ ปี่ นุ่ ไปข้องเกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่ แต่ก็ยังเป็นหนังสือว่าด้วย การพิ จ ารณาความหมายและมิ ติ ข องความเป็ น “สมั ย ใหม่ ” ผ่ า นประสบการณ์ ข องญี่ ปุ่ น ด้ ว ย มั น ไม่ ใ ช่ ก รณี ที่ ค วามเป็ น สมัยใหม่ เกิดขึ้น กับญี่ปุ่นเฉยๆ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงผ่าน อุ ต สาหกรรม การตรากตรำ � ทำ � งานหนั ก การเสี ย เลื อ ดเนื้ อ และความคิดสร้างสรรค์ที่ญี่ปุ่นหล่อหลอมตัวเองจนกลายเป็น ประเทศที่เจริญก้าวหน้าและมีความเป็นสมัยใหม่อย่างที่เรา รู้ จั ก กั น ในทุ ก วั น นี้ ในขณะที่ ค วามหมายของสมั ย ใหม่ ยั ง คง เป็ น ที่ ถ กเถี ย งและท้ า ทายกั น อยู่ ตั ว อย่ า งของญี่ ปุ่ น จะช่ ว ย


A

Very Short Introduction

25

ภาพประกอบ 1 ศาลเจ้าชินโตบนดาดฟ้า

ให้เห็นถึงความจำ�เป็นในการรวบรวมประสบการณ์หลากหลาย ของประเทศต่ า งๆ เมื่ อ พยายามทำ � ความเข้ า ใจกั บ มิ ติ แ ละ ความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ของมัน ความเป็นสมัยใหม่และ โลกตะวันตกอาจเชือ่ มโยงกันอยูจ่ ริง แต่มนั ไม่ใช่สงิ่ เดียวกันแน่ๆ ว่าแต่ “สมัยใหม่” คืออะไรกันแน่ มันเป็นความเข้าใจ (ผิด) ทั่วไปที่ว่า “สมัยใหม่” นั้น โดยพื้นฐานแล้วหมายถึงเวลาชั่วขณะหนึ่ง หรือเป็นยุคหนึ่ง ในประวัติศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับยุคปัจจุบัน แม้ว่าความหมายนี้


26

Modern

Japan

อาจใช้ได้ในชีวิตประจำ�วันทั่วไป แต่จะเป็นเรื่องที่น่าสนใจและ มี ป ระโยชน์ ม ากกว่ า หากเราพิ จ ารณาคำ � นี้ ใ นแง่ เ ทคนิ ค และ เนื้อหาสาระมากขึ้น ภายใต้กรอบคิดเช่นนี้ คำ�ว่า “สมัยใหม่” หมายถึง กลุ่มชุดของค่านิยมส่วนรวม (norms) และวิถีปฏิบัติ (practices) ในด้านภูมิปัญญา สังคม การเมือง และวิทยาศาสตร์ ทีม่ คี วามเฉพาะเจาะจงตามสมควร การกำ�หนดให้ค�ำ ว่า “สมัยใหม่” เป็นกลุ่มหัวข้อที่เกี่ยวเนื่องกันในเชิงหลักการมากกว่าแค่เป็น เพียงช่วงเวลาหนึ่งเช่นนี้ ทำ�ให้เราสามารถติดตามการเกิดขึ้น ของมันในช่วงเวลาต่างๆ ในประเทศต่างๆ หรือวัฒนธรรมต่างๆ ได้ เช่น ยุโรปเป็นสมัยใหม่ก่อนญี่ปุ่นใช่ไหม ญี่ปุ่นเป็นสมัยใหม่ ก่อนรัสเซียหรือไม่ ถ้าใช่ เป็นเพราะเหตุใด นอกจากนั้น มันยัง เปิดทางให้เราถามคำ�ถามชวนคิดเกี่ยวกับปัจจุบัน เช่นญี่ปุ่น มีความเป็นสมัยใหม่จริงหรือ หากจริง เราจะอธิบายได้อย่างไร ว่า ทำ�ไมญี่ปุ่นถึงแตกต่างจากอังกฤษเหลือเกิน เรายังจะได้ ตอบคำ�ถามสำ�คัญทีว่ า่ มีองค์ประกอบใดบ้างในความเป็นสมัยใหม่ ทีส่ �ำ คัญ และมีอะไรบ้างทีเ่ ป็นความบังเอิญทางวัฒนธรรม และท้าย ทีส่ ดุ หากการเกิดขึน้ ของความเป็นสมัยใหม่สามารถพิจารณาได้ เช่นนี้ เป็นไปได้หรือไม่ทจี่ ะชีช้ ดั ถึงภาวะทีเ่ รียกว่า “โพสต์โมเดิรน์ ” หรือ “หลังสมัยใหม่” ความเป็นสมัยใหม่ในบางแห่งได้ผ่านพ้น ไปแล้วอย่างนั้นหรือ มันไม่ได้เกิดขึ้นในปัจจุบันแล้วหรืออย่างไร มีที่ไหนบ้างที่ความเป็นสมัยใหม่ยังมาไม่ถึง แนวคิดเช่นนี้ทำ�ให้เกิดคำ�ถามที่ค่อนข้างสุ่มเสี่ยงใน เชิงจริยธรรมอยู่บ้าง เช่น ถ้าเรายอมรับว่าสมัยใหม่เป็นระดับ ขั้นหนึ่งในการพัฒนา เราจะหลีกเลี่ยง (หรือควรหลีกเลี่ยง) ที่จะ


A

Very Short Introduction

27

ตัดสินการพัฒนาประเทศเทียบกับมาตรฐานนี้ได้อย่างไร พูดอีก อย่างก็คือ แนวคิดความเป็นสมัยใหม่ได้นำ�ความคิดอันต่อเนื่อง ของกระบวนการทางประวัติศาสตร์ซึ่งดำ�เนินมาถึงจุดสูงสุดใน อุดมคติแบบยุโรป-อเมริกันร่วมสมัยเข้ามาด้วยหรือไม่ เราจะได้ เห็นกันในบทที่ 3 ว่าคำ�ถามเหล่านี้เป็นสิ่งที่ปัญญาชนชาวญี่ปุ่น วิตกกันมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1940 ขณะที่พวกเขาพยายาม หาทาง “เอาชนะกระบวนการสมัยใหม่” ความรู้สึกอยากเอาชนะ ความเป็นสมัยใหม่นี้เกี่ยวข้องอย่างซับซ้อนกับโครงการสร้าง จักรวรรดิญปี่ นุ่ ในเอเชีย ในยุคหลังสงคราม แนวคิดนีก้ ก็ ลายเป็น สิง่ ทีเ่ ชือ่ มโยงอยูก่ บั ความรูส้ กึ ทีอ่ ยากให้ญปี่ นุ่ และเอเชีย “ปฏิเสธ” สหรัฐอเมริกา เมื่อคำ�นึงถึงว่าแนวคิดความเป็น “สมัยใหม่” ดูเหมือน มีความสำ�คัญมากเพียงใด เราจะเอ่ยถึงความหมายและเนื้อหา ของมันได้อย่างไรบ้าง น่าเสียดายทีย่ งั ขาดความเห็นร่วมเกีย่ วกับ มิติแท้จริงของความเป็นสมัยใหม่ แม้ว่าผู้แสดงความคิดเห็น ส่วนใหญ่จะเห็นพ้องเกี่ยวกับชนิดของลักษณะเฉพาะที่เราควร จะใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเรื่องนี้ เช่น สังคมหนึ่งอาจถูก ตัดสินว่ามีความเป็นสมัยใหม่หากแสดงออกถึงสัญลักษณ์ของ การเป็นสังคมอุตสาหกรรมหรือสังคมเมือง ระบบเศรษฐกิจอาจ มีความเป็นสมัยใหม่หากมันกระตุ้นให้เกิดเศรษฐกิจระบบตลาด ที่จัดการด้วยหลักเกณฑ์แบบทุนนิยม ระบบการเมืองสมัยใหม่ ควรจัดเป็นรูปแบบของรัฐชาติแบบรวมศูนย์ รองรับด้วยชาตินยิ ม แบบประชานิยม และระบบรัฐบาลแบบตัวแทน (อาจเป็นแบบ ประชาธิปไตยก็ได้) ที่ให้ความสำ�คัญกับเจตจำ�นงของประชาชน


28

Modern

Japan

ระบบการเมืองเช่นนี้ตั้งอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า “จิตสำ�นึกสมัยใหม่” ซึ่งรวมถึงการยอมรับในศักดิ์ศรีและสิทธิอันไม่อาจแบ่งแยกได้ ของปัจเจกชน ทั้งนี้โดยถือเอาว่าพวกเขามีระดับความรู้หนังสือ และการเข้าถึงข้อมูล (ผ่านการศึกษาและพื้นที่สาธารณะ) ที่ ทำ � ให้ ผู้ ค นตั ด สิ น ใจได้ อ ย่ า งมี เ หตุ ผ ลเกี่ ย วกั บ สิ่ ง ที่ พ วกเขา ต้องการสูงสุด การเน้นยํา้ เรือ่ งความมีเหตุมผี ลเป็นพืน้ ฐานสำ�คัญ สมั ย ใหม่ ค วรมี ลั ก ษณะของความเป็ น เหตุ เ ป็ น ผลมากกว่ า ความเชือ่ (หรืออาจเป็นศาสนา) และด้วยการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีอนั เป็นตัวขับเคลือ่ นสังคม คนยุคใหม่มพี ลังเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการควบคุมธรรมชาติ ปล่อยอาวุธทำ�ลายล้าง และ ช่วยชีวิตมนุษย์ผ่านยาสมัยใหม่ เครื่องจักรอุตสาหกรรมทำ�ให้ โลกเล็ ก ลงและเปิ ด ทางสู่ โ ลกที่ มี ก ารเชื่ อ มโยงกั น อย่ า งมี ความหมาย รถไฟเป็นผู้นำ�ยุคสมัยใหม่ให้แพร่กระจายไปอย่าง ทั่วถึง ลั ก ษณะเหล่ านี้ ห ลายประการดู เ หมื อ นจะถื อ กำ � เนิ ด ในยุ ค เรื อ งปั ญ ญาของยุ โ รป (European Enlightenment) สมัยศตวรรษที่ 18 และนั่นก็ไม่ใช่เหตุบังเอิญเสียด้วย ผู้แสดง ความคิดเห็นหลายคนลงความเห็นว่า ยุคดังกล่าวเป็นจุดกำ�เนิด ของสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแนวคิดความเป็นสมัยใหม่ กั บ กระบวนการเกิ ด ยุ ค เรื อ งปั ญ ญาคล้ า ยจะมี จุ ด ยึ ด เหนี่ ย ว ร่วมกันในกระบวนการและแรงบันดาลใจสู่ความเป็นสากลนิยม ของหลั ก การ อย่ า งไรก็ ต าม เป็ น เรื่ อ งสำ � คั ญ ที่ ต้ อ งจดจำ � ไว้ ว่ า มี ค วามแตกต่ า งระหว่ า งการพิ จ ารณาจุ ด กำ � เนิ ด ในเชิ ง ประวัติศาสตร์ของกลุ่มแนวคิดนี้ในยุโรปกับการอ้างว่าแนวคิด


A

Very Short Introduction

29

ดังกล่าวเป็นของยุโรปโดยแก่นแท้ การอ้างเช่นนั้นดูจะสวนทาง กับจิตวิญญาณสากลของยุคเรืองปัญญา อย่างไรก็ตาม ทั้งผู้ สนับสนุนและผู้ต่อต้านการแพร่กระจายไปทั่วโลกของความเป็น สมั ย ใหม่ ทั้ ง ในและนอกยุ โ รปมั ก จะก่ อ ให้ เ กิ ด ความสั บ สนนี้ มันอาจดีกว่าที่จะมองความเป็นสมัยใหม่ในฐานะการตอบสนอง ที่เป็นไปได้อย่างหลากหลายต่อโลกอุตสาหกรรมทุนนิยม เราจะได้เห็นกันว่าประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นสมัยใหม่ มี จุ ด ยื น ที่ ห ลากหลายในคำ � ถามสำ � คั ญ ด้ า นการเมื อ ง ไล่ จ าก ผู้ พ ยายามปฏิ เ สธองค์ ป ระกอบทั้ ง หลายของความเป็ น สมัยใหม่เพราะอยากปฏิเสธความเป็นตะวันตก ผูพ้ ยายามรักษา ขนบธรรมเนียมญี่ปุ่นขณะที่รับเอาแนวคิด “ปลอดค่านิยม” ของ ความมีเหตุมีผลแบบสมัยใหม่ ไปจนถึงพวกส่งเสริมการละทิ้ง ขนบธรรมเนียมญี่ปุ่นไปทั้งหมดด้วยแนวคิดพื้นฐานว่ามีเพียง การเปลี่ ย นเป็ น แบบตะวั น ตกเท่ า นั้ น ที่ จ ะทำ � ให้ ญี่ ปุ่ น มี ค วาม เป็นสมัยใหม่อย่างแท้จริง ในบางแง่มุม ความกังวลด้านสังคม วัฒนธรรมเกีย่ วกับความเป็นตัวตนและทีท่ างของขนบธรรมเนียม ในสังคมเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของยุคสมัยใหม่ ไม่เพียงในญี่ปุ่น แต่เป็นทุกหนแห่ง ยุคสมัยใหม่ไม่ได้มลี กั ษณะเด่นเพียงแค่ความ ก้าวลาํ้ ด้านวิทยาศาสตร์ แต่ยงั มีความไร้กฎเกณฑ์ทางสังคมและ ความวุ่นวายทางการเมืองด้วย แท้จริงแล้ว สำ�หรับหลายคน สิ่งที่ทำ�ให้กระบวนการ เปลี่ยนสู่ความเป็นสมัยใหม่กลายเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นและชวน วิตกทุกข์รอ้ น ก็คอื ปฏิกริ ยิ าอันทรงพลังระหว่างขนบธรรมเนียม กับความเป็นสมัยใหม่นั่นเอง ในบางแง่มุม ความเป็นสมัยใหม่


30

Modern

Japan

ถูกวางรูปแบบให้อยู่ตรงข้ามกับขนบธรรมเนียม หรือก็คือการ เอาชนะรูปแบบการดำ�เนินชีวิตตามขนบธรรมเนียม (ซึ่งถูก มองว่า “ไร้เหตุผล”) นั่นเอง อย่างไรก็ดี คงเป็นการตีความสุดขั้ว เกินไปหากจะบอกว่ายุคสมัยใหม่ควรปราศจากขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมโดยสิ้นเชิง จอร์จ ออร์เวลล์ ได้จำ�ลองผลลัพธ์จาก การคิดเช่นนั้นไว้อย่างโด่งดังในนวนิยายชื่อ 1984 ของเขาแล้ว พูดอีกอย่างก็คือ ยุคสมัยใหม่ไม่ควรปิดกั้นความหลากหลาย ทางวัฒนธรรม แต่คนสมัยใหม่ควรหลอมรวมกับวัฒนธรรมของตน ในรูปแบบใหม่ๆ โดยมองว่าสิง่ เหล่านัน้ เป็น ธรรมเนียม (traditions) ไม่ใช่ ความจริง (truths) กระนั้ น กระบวนการต่ อ รองเพื่ อ ให้ ไ ด้ ม าซึ่ ง ความ สัมพันธ์อันมั่นคงและแข็งแรงระหว่างวัฒนธรรมกับความเป็น สมัยใหม่นนั้ เต็มไปด้วยอุปสรรค ส่วนหนึง่ เพราะว่าไม่มมี าตรฐาน ความเป็ น สมั ย ใหม่ ที่ ป ราศจากวั ฒ นธรรมโดยสิ้ น เชิ ง เพื่ อ ใช้ ประเมินความสำ�เร็จ ไม่วา่ เราจะชอบหรือไม่กต็ าม ผูล้ งความเห็น ส่ ว นใหญ่ มี แ นวโน้ ม ที่ จ ะหั น ไปใช้ ตำ � นานยุ ค เรื อ งปั ญ ญาของ ยุโรปในฐานะต้นแบบ และนั่นก็จะพาเราหวนคืนสู่อันตรายของ ยุคจักรวรรดินยิ มอีกครัง้ ดังนัน้ เรือ่ งสำ�คัญสำ�หรับความเป็นสมัย ใหม่ก็คือการเรียนรู้วิธีแยกแยะมันให้ได้ ต่อให้มันดูแตกต่างจาก ทีเ่ ราเคยพบเจอมาก็ตาม เพราะหากทำ�ไม่ได้กอ็ าจเสีย่ งต่อการที่ เราจะไปด่วนตัดสินว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรมทั้งหมดเป็น หลักฐานถึงความเป็นสมัยใหม่ที่มีอุปสรรคขัดขวางอยู่


A

Very Short Introduction

31

โครงสร้างของหนังสือ หนั ง สื อ เล่ ม นี้ แ บ่ ง บทโดยยึ ด ตามยุ ค สมั ย เป็ น หลั ก บทที่ 1 ว่าด้วยการเผชิญหน้าสองทางของญี่ปุ่น ทางแรกคือ การเผชิ ญ หน้ า กั บ โลกตะวั น ตกเมื่ อ พลเรื อ จั ต วาเพอร์ รี่ แ ห่ ง สหรัฐอเมริกามาถึงในปี 1853 เพือ่ เปิดญีป่ นุ่ “ผูแ้ ยกตัวโดดเดีย่ ว” สู่การค้านานาชาติ ทางที่สองคือการเผชิญกับกระแสความคิด สมัยใหม่และพลังขับเคลื่อนทางสังคมที่ก่อตัวขึ้นแล้วในญี่ปุ่น ยุคโทคุงาวะ ซึง่ เป็นยุคทีส่ มัยใหม่กบั โลกตะวันตกมาซ้อนทับกัน แต่ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ความเป็นสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ของญี่ ปุ่ น เป็ น สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น เอง บทนี้ บ อกเล่ า ส่ ว นหนึ่ ง ใน เรื่ อ งราวของญี่ ปุ่ น สมั ย ใหม่ ที่ ถู ก มองข้ า มอยู่ บ่ อ ยครั้ ง แต่ มี ความสำ�คัญมาก นั่นคือความต่อเนื่องกับอดีต บทที่ 2 ขยับสู่ยุคเมจิ เผยให้เห็นว่าญี่ปุ่นพยายาม อย่างไรในการเปลี่ยนตัวเองสู่ชาติจักรวรรดินิยมสมัยใหม่ได้ใน ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 บางครั้งเรียกยุคนี้ว่า ยุคเรืองปัญญา ของญี่ ปุ่ น เมื่ อ คนญี่ ปุ่ น เปิ ด รั บ ความเป็ น สมั ย ใหม่ แ ละองค์ ประกอบของมันอย่างกระตือรือร้น บทที่ 3 เดินหน้าสู่ต้นศตวรรษที่ 20 ช่วงเวลาที่ญี่ปุ่น ผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำ�นาจจักรวรรดินิยมของเอเชีย เอาชนะ จีน (1895) และรัสเซีย (1905) จากนั้นก็สร้างจักรวรรดิใหญ่ใน สงครามที่เรียกว่ามหาเอเชียบูรพา บทนี้เน้นเป็นพิเศษเรื่องที่ โครงการสร้างจักรวรรดิได้รับแรงหนุน (และแรงต้าน) จากการ พัฒนาอุตสาหกรรมและแนวคิดการเมืองสมัยใหม่ ปัจจัยสำ�คัญ


32

Modern

Japan

อย่างหนึ่งของยุคนี้คือการที่ปัญญาชนและผู้นำ�การเมืองซึ่งมี อิทธิพลมากบางคนพยายามตีความสงครามของญี่ปุ่นว่าเป็น ความพยายามเอาชนะความเป็นสมัยใหม่ บทที่ 4 เกี่ยวข้องกับตอนจบของสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำ�ลังฝ่ายสัมพันธมิตร และการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่าง รวดเร็วของญีป่ นุ่ ในยุคหลังสงคราม การวิพากษ์การปฏิรปู สังคม และการเมืองอันหลากหลายที่เกิดขึ้นในตอนนั้น โดยจับตาเป็น พิเศษกับการที่สังคมและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นพยายามทำ�ความ เข้าใจกับความเป็นจริงใหม่หลังสงคราม บางทีอาจเป็นการเคลือ่ น สู่ตัวตนของญี่ปุ่นในยุคหลังสมัยใหม่ด้วย บทที่ 5 เป็นการถกเถียงเรื่องตัวตนและบทบาทของ ญี่ปุ่นในโลกยุคหลังสงครามเย็น โดยเน้นคำ�ถามสำ�คัญเกี่ยวกับ ความสามารถและความตั้งใจของญี่ปุ่นในการสลายภาพตำ�นาน จักรวรรดินยิ มของตนและ “ความรูส้ กึ ตกเป็นเหยือ่ ” เรือ่ งเหล่านี้ ยังคง “สดใหม่” อยูใ่ นญีป่ นุ่ ร่วมสมัยและเป็นตัวตัดสินภารกิจเพือ่ “ความเป็นปกติสุข” ในระบบโลกสากล ท้ายที่สุด บทส่งท้าย จะพิจารณาความหมายของการ ใช้ชีวิตในญี่ปุ่นในช่วงต้นของศตวรรษที่ 21


A

Very Short Introduction

ภาพประกอบ 2 แผนที่ญี่ปุ่น

33


34

ภาพประกอบ 3 แผนที่เอเชียตะวันออก

Modern

Japan



บทที่ 1

. การเผชิญหน้ากับโลกสมัยใหม่ของญี่ปุ่น


A

Very Short Introduction

37

หากมองแวบแรก ต้ น กำ � เนิ ด ของญี่ ปุ่ น สมั ย ใหม่ ดู จ ะ สอดคล้องอย่างเหมาะเจาะกับการปรากฏตัวอย่างน่าตื่นตะลึง ของนายพลเรือจัตวาเพอร์รี่ในปี 1853 ก่อนหน้านั้น ญี่ปุ่นคล้าย เป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบศักดินา ซ่อนตัวอยู่ในภาวะ โดดเดีย่ วตัวเองจากโลกมา 250 ปี หลังจากเพอร์รมี่ าเยือนญีป่ นุ่ ได้ 50 ปี ประเทศนี้ก็เกิดการปฏิรูปขึ้นอย่างแท้จริง มีเศรษฐกิจแบบ อุตสาหกรรมสมัยใหม่ มีรฐั บาลภายใต้รฐั ธรรมนูญ และเริม่ จะเป็น จักรวรรดิอาณานิคม ในสายตาผูว้ จิ ารณ์หลายคน การปฏิรปู อย่าง รวดเร็วน่าทึง่ นีเ้ กิดจากการทีญ ่ ปี่ นุ่ ได้เผชิญหน้าอย่างชวนสะพรึง กับเทคโนโลยีและพลังของประเทศตะวันตกทีเ่ หนือกว่า หากมอง เช่นนั้น การกระทำ�ของเพอร์รี่ก็คือการบุกตะลุยญี่ปุ่นสมัยเก่า และบีบบังคับให้ออกสูโ่ ลกสมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม เราจะได้เห็นกัน ในบทนี้ว่าความเป็นจริงไม่ได้เรียบง่ายขนาดนั้น


38

Modern

การมาเยือนของเพอร์รี่

Japan

หลังจากผนวกเท็กซัสในปี 1845 ก่อสงครามกับเม็กซิโก และปิ ด ท้ า ยด้ ว ยการรวมแคลิ ฟ อร์ เ นี ย เข้ า มาเป็ น สหพั น ธรั ฐ ในเดือนกันยายน 1850 ในปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “ตื่นทอง” (gold rush) สหรัฐอเมริกาก็ขยายดินแดนไปทางตะวันตกอย่าง กระตือรือร้น ความมุ่งมั่นในเชิงจักรวรรดินิยมของสหรัฐอเมริกา และความปรารถนาที่จะแข่งขันกับสหราชอาณาจักรเพื่อโอกาส ในการค้าขายกำ�ไรงามที่เอเชียได้กระตุ้นให้สหรัฐอเมริกามอง เลยไปไกลยิง่ ขึน้ จนข้ามมหาสมุทรแปซิฟกิ ไปถึงญีป่ นุ่ เช่นนีแ้ ล้ว การมาถึงของพลเรือจัตวาเพอร์รี่กับ “เรือสีดำ�” ในตำ�นาน 4 ลำ� ในเดือนกรกฎาคม 1853 ก็ดูเหมือนก้าวย่างที่เป็นธรรมชาติ อย่างยิ่ง เพอร์รี่ขึ้นชื่อในวงการนาวิกโยธินเรื่องความมุ่งมั่นใน กระบวนการความเป็นสมัยใหม่และเชี่ยวชาญด้านเรือกลไฟ มากเป็นพิเศษ แม้แต่ก่อนหน้าการเดินทางอันโด่งดังสู่ญี่ปุ่น ด้วยเรือหลวงมิสซิสซิปปี้ เขาก็ได้รับฉายา “บิดาแห่งทัพเรือ กลไฟ” แล้ว การปรากฏตัวของเรือกลไฟสีด�ำ 4 ลำ�เป็นสิง่ คุกคาม เจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นในอ่าวอุระงะ (ใกล้เอโดะหรือโตเกียว ในปัจจุบัน) จนต้องดำ�เนินการด้วยขั้นตอนที่ไม่เคยมีมาก่อน นั่ น คื อ ยอมอนุ ญ าตให้ เ พอร์ รี่ ขึ้ น ฝั่ ง และนำ � จดหมายจาก ประธานาธิบดีสหรัฐ มิลลาร์ด ฟิลมอร์ มามอบให้ ตราบจนถึง ตอนนั้น นโยบายโดดเดี่ยวตัวเองอย่างเป็นทางการ (สะโคคุ) ห้ามชาวต่างชาติเดินทางเข้าตัวเกาะหลักของญี่ปุ่น นอกเหนือ


A

Very Short Introduction

39

จากพ่อค้าชาวดัตช์กลุ่มเล็กๆ ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่บนเกาะ เดจิมะซึ่งเป็นเกาะถูกสร้างขึ้นใกล้เมืองชายแดนอย่างนางาซากิ นับตั้งแต่ปี 1641 จดหมายดังกล่าวบรรจุชุดข้อเรียกร้องให้ เปิ ด เสรี ก ารค้ า มากขึ้ น และเพอร์ รี่ ก็ จ ากอุ ร ะงะไปพร้ อ มกั บ คำ�มั่นเสมือนลางบอกเหตุว่าจะกลับมาในปีหน้าพร้อมกองเรือ ที่ใหญ่กว่านี้ พร้อมความมุ่งมั่นที่จะบีบบังคับหากญี่ปุ่นยังคง แข็งขืน แท้จริงแล้ว สหรัฐอเมริกาเป็นผู้มาทีหลัง เรือยุโรปเคย พยายามจะเปิดประเทศญีป่ นุ่ มาก่อนหน้านัน้ อย่างน้อย 50 ปีแล้ว เรือรัสเซียเริ่มแสดงความสนใจในเกาะฮอกไกโดที่อยู่ทางเหนือ ตั้งแต่ปี 1792 อังกฤษที่ประกาศความยิ่งใหญ่ในจีนได้อย่าง น่าสะพรึงกลัว ก็ลอ่ งเรือมาทีอ่ า่ วอุระงะในปี 1818 เพือ่ ขอร้องอย่าง แบ่งรับแบ่งสู้ให้เปิดรับความสัมพันธ์ด้านการค้า แต่คำ�ขอของ ประเทศเหล่านี้ถูกปฏิเสธ ในปี 1825 รัฐบาลโชกุน หรือบาคุฟุ หันมาใส่ใจเรือ่ งการปรากฏตัวของเรือต่างชาติ จนมีการออกคำ�สัง่ ให้เจ้าเมืองชายฝั่งต่อต้านการรุกรานจากต่างชาติด้วยกำ �ลัง หากจำ�เป็น และในปี 1837 เรือสินค้าลำ�หนึ่งของสหรัฐอเมริกา ก็โดนระเบิด ในช่วง 50 ปีแรกของศตวรรษที่ 19 บาคุฟุเชื่อ จริงจังว่าสามารถกีดกันโลกตะวันตกออกไปได้ ตราบจนกระทัง่ มี ทูตจากกษัตริยช์ าวดัตช์ พระเจ้าวิลเลีย่ มที่ 3 ในปี 1844 พยายาม อธิ บ ายกั บ โชกุ น ว่ า โลกได้ เ ปลี่ ย นแปลงไปแล้ ว นั บ ตั้ ง แต่ ก าร ขับไล่ชาวยุโรปออกไปจนหมดในศตวรรษที่ 17 บาคุฟุจึงเริ่ม ทบทวนจุดยืนของญี่ปุ่นบนโลกนี้อีกครั้ง ชัยชนะรวบยอดของ อังกฤษเหนือจีนในสงครามฝิ่นเมื่อปี 1842 ดูเหมือนจะพิสูจน์


40

Modern

Japan

ความจริ ง นี้ หากอั ง กฤษสามารถยํ่า ยี ป ระเทศใหญ่ อ ย่ า งจี น ได้อย่างง่ายดายปานนั้น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเล็กกว่าและมีความ สำ�คัญน้อยกว่าจะรอดพ้นชะตากรรมเดียวกันได้อย่างไร ยกเว้นว่า พวกตนจะผูกสัมพันธ์ด้านการทหารอย่างจริงจังกับมหาอำ�นาจ ตะวันตก บาคุฟุ จึงรีบยกเลิกคำ�สัง่ ให้ยงิ เรือต่างชาติทนั ที ในช่วง เวลานี้เองที่เพอร์รี่เข้ามาถึงอ่าวอุระงะเป็นครั้งแรก เมื่อเพอร์รี่กลับมาพร้อมเรือ 9 ลำ�ในเดือนกุมภาพันธ์ 1854 เขาค้นพบว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลพร้อมจะลงนามในสนธิ สัญญาคานางาวะ (31 มีนาคม 1854) สนธิสัญญานี้เปิดท่าเรือ ชิโมดะและฮาโกดาเตะ รวมถึงจัดให้มสี ถานทีต่ งั้ สถานกงสุลสหรัฐ แห่งแรกบนเกาะหลักของญี่ปุ่น ทาวน์เซนด์ แฮร์ริส จะเข้ามารับ ตำ�แหน่งนีท้ ชี่ โิ มดะในเดือนกรกฎาคม 1856 สนธิสญ ั ญาคานางาวะ เสมือนการเปิดประตูเขื่อน มหาอำ �นาจนักล่าจักรวรรดินิยม ชาวยุโรปก็รีบขอข้อตกลงคล้ายกันอย่างรวดเร็ว ทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และรัสเซีย ล้วนลงนามในสัญญาใหม่หลัง การมาเยือนหนที่สองของเพอร์รี่ เมื่อถึงปี 1858 ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคแห่งสัญญาไม่เท่าเทียม อย่างเต็มตัว ญี่ปุ่นพบว่าตัวเองอยู่ในสถานการณ์คล้ายกับจีน หลังสงครามฝิ่น แม้ไม่มีการยิงกระสุนจริงสักนัด (ยกเว้นเรื่อง สำ � คั ญ ที่ ม หาอำ � นาจตะวั น ตกเห็ น พ้ อ งกั น นั่ น คื อ ห้ า มค้ า ฝิ่ น กับญี่ปุ่น) ญี่ปุ่นสูญเสียอำ�นาจควบคุมภาษีการค้า ต้องยอม เปิดพรมแดนรับการค้าและการพาณิชย์กับโลกตะวันตก และ ถึ ง กั บ ยอมมอบสิ ท ธิ ส ภาพนอกอาณาเขตให้ กั บ มหาอำ � นาจ ตะวันตก (ซึ่งหมายความว่าต่างชาติได้รับยกเว้นจากกฎหมาย


A

Very Short Introduction

41

ญี่ปุ่นแม้อยู่บนแผ่นดินญี่ปุ่นก็ตาม) อย่างไรก็ดี แทนที่จะถูกบีบ ด้วยความพ่ายแพ้ทางการทหาร มาตรการเหล่านี้ถูกบังคับใช้ กับญี่ปุ่นจากพื้นฐานที่ว่าญี่ปุ่นไม่ใช่สมาชิกผู้เท่าเทียมกับชาติ ตะวันตกในสังคมนานาชาติ ญี่ปุ่นไม่ใช่ชาติประชาธิปไตยที่ พัฒนาด้านอุตสาหกรรมและมีความทันสมัย ดังทีเ่ ราจะได้เห็นกัน ต่อไปว่าการดูถูกเหยียดหยามเช่นนี้เป็นพลังขับเคลื่อนสำ�คัญ ต่อการพัฒนาความรู้สึกชาตินิยมรุนแรงในช่วงปลายศตวรรษ ที่ 19 รวมถึงเป็นปัจจัยสำ�คัญที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่ที่จะตามมา ญี่ปุ่นพยายามอย่างถึงที่สุดเพื่อยุติสัญญา ที่ไม่เท่าเทียมเหล่านี้ เป็นเรือ่ งสำ�คัญทีต่ ้องบันทึกไว้วา่ ออกจะเป็นการกล่าว เกินจริงไปสักหน่อยหากจะบอกว่าการดูถูกเหยียดหยามเหล่านี้ ทำ�ลายความรูส้ กึ ภาคภูมใิ จในชาติของญีป่ นุ่ ทีม่ มี าอย่างต่อเนือ่ ง หรือมีอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว เนื่องจากก่อนช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ญีป่ นุ่ ยังเป็นประเทศทีม่ ลี กั ษณะแบ่งแยกเป็นส่วนๆ และไม่มกี าร รวมศูนย์ หากยึดโยงเข้าด้วยกันผ่านสายสัมพันธ์แห่งความภักดี การพึ่งพิงทางการทหาร และสัญลักษณ์ทางศาสนาเท่านั้น การ ดูถูกเหยียดหยามจากสัญญาที่ไม่เท่าเทียมกลับเป็นรากฐาน ในกระบวนการสร้างสำ�นึกร่วมสมัยในความรู้สึกถึงความเป็น ชาติญี่ปุ่นในหลายทางด้วยกัน ความสำ � คั ญ ของพลั ง อำ � นาจร่ ว มสมั ย ที่ เ กิ ด จากการ พัฒนาอุตสาหกรรม ซึง่ สือ่ ผ่านกองทัพเรือของเพอร์รใี่ นเหตุการณ์ เหล่านี้ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ภาพของ “เรือสีดำ�” กลายเป็น สัญลักษณ์ในญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว เป็นตัวแทนการคุกคามของ


42

Modern

Japan

มหาอำ � นาจตะวั น ตก อี ก ทั้ ง เป็ น การคุ ก คามต่ อ ญี่ ปุ่ น ยุ ค เก่ า ที่ กำ� ลั ง พ่ า ยแพ้ ต่ อกระแสวั ฒ นธรรมร่ ว มสมั ย และเทคโนโลยี เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่น่าตื่นเต้นเกี่ยวกับการกลับมาหนที่สอง ของเพอร์รี่ในปี 1854 สะท้อนถึงเรื่องนี้ได้ดี บันทึกร่วมสมัย ได้บรรยายถึงการทีเ่ จ้าหน้าทีญ ่ ปี่ นุ่ จัดการแข่งขันซูโม่เพือ่ ต้อนรับ เจ้ า หน้ า ที่ อ เมริ กั น โดยคาดว่ า น่ า จะเป็ น ความพยายามข่ ม ชาวต่างชาติดว้ ยพลังและศิลปะการต่อสูข้ องคนญีป่ นุ่ อย่างไรก็ดี มีรายงานว่าผู้แทนสหรัฐไม่ประทับใจเลยสักนิดกับการแสดง ดังกล่าว กลับรูส้ กึ ว่าน่าขัน ด้านผูแ้ ทนสหรัฐฯ เองก็ได้ตอ่ รางรถไฟ ยาว 100 เมตรเป็ น วงกลมและประกอบรถไฟหั ว จั ก รไอนํ้า ขนาดย่อส่วน 1 ใน 4 เท่าของรถไฟจริงมอบเป็นของขวัญให้ เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นได้นั่งเล่น นี่คือสิ่งยืนยันถึงผลกระทบอันสร้าง ความแตกตืน่ จากเทคโนโลยีอตุ สาหกรรมทีท่ �ำ ให้รถไฟของเล่นนี้ กลายเป็นสิ่งที่มีอำ�นาจคุกคามยิ่งกว่าพลังดิบของซูโม่ เพอร์ รี่ อ าจรู้ อ ยู่ แ ล้ ว ถึ ง ผลกระทบที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น จาก เรือสีดำ�กับรถไฟเล็กนี้ ก่อนออกเดินทางมาปฏิบัติทำ�ภารกิจ เพอร์รไี่ ด้อา่ นเอกสารเท่าทีม่ เี กีย่ วกับญีป่ นุ่ ยุคโทคุงาวะ เขาถึงกับ คิดว่าจะปรึกษาผู้ขึ้นชื่อว่าเชี่ยวชาญประเทศญี่ปุ่นอย่าง ฟิลิปป์ ฟรานซ์ วอน ซีโบลด์ (Philipp Franz von Siebold) ผู้เคยอยู่ใน ถิน่ ชาวดัตช์บนเกาะเดจิมะมานานแปดปีกอ่ นกลับมาอยูท่ ไี่ ลเดน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ถึงกระนั้นข้อมูลเกี่ยวกับประเทศที่ลึกลับ และโดดเดีย่ วตัวเองแห่งนีม้ นี อ้ ยมาก มีชาวตะวันตกเพียงน้อยนิด ที่มีข้อมูลตรงเกี่ยวกับญี่ปุ่น และแม้แต่ผู้ที่มี (เช่นซีโบลด์เอง) ก็ได้ พบเห็น สิ่งแวดล้อมด้ านสังคมและการเมืองของดิน แดน


A

Very Short Introduction

43

ภาพประกอบ 4 เรือกลไฟของพลเรือจัตวาเพอร์รี่มาถึงอ่าวอุระงะในปี 1853 ดังปรากฏในภาพพิมพ์แกะไม้

ประหลาดนีเ้ พียงจำ�กัด บูรพนิยมกำ�ลังโตเต็มที่ ความหลงใหลใน “ความเร้นลับแบบตะวันออก” แต้มสีข้อมูลส่วนใหญ่ เรื่องราว เกี่ยวกับญี่ปุ่นจากปากคำ�ชาวตะวันตกช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ให้ภาพอาณาจักรที่ปกครองด้วยระบอบศักดินา อุตสาหกรรม และความทันสมัยยังไม่เคยกลํ้ากราย ข้อมูลส่วนใหญ่ยังระบุว่า ชาวญี่ปุ่นยังดีกว่า “คนเถื่อน” ชาติอื่นๆ ที่นักล่าจักรวรรดินิยม ชาวยุโรปในเอเชียและแอฟริกาได้พบเจอ ชาวญี่ปุ่นเป็นคนมี วัฒนธรรม สะอาดและสุภาพเรียบร้อยเสมอ ทาวน์เซนด์ แฮร์ริส เองก็เคยบรรยายถึงญี่ปุ่นไว้อย่างโด่งดังว่าเป็นการผสานรวม ยุคทองของความเรียบง่ายและความซื่อตรงเข้าไว้ด้วยกัน ข้อมูลของเพอร์รี่ผิดพลาดในหลายแง่ซึ่งล้วนสำ�คัญยิ่ง


44

Modern

Japan

ลองพิจารณาดูเถิดว่าเพอร์รรี่ วู้ า่ ญีป่ นุ่ เป็นรัฐจักรวรรดิทปี่ กครอง โดยจักรพรรดิ (ในประเทศตะวันตกยุคนั้นมักเรียกว่า “มิกะโดะ”) แต่ เ ขากลั บ ไม่ เ คยรู้ ถึ ง ความแตกต่ า งระหว่ า งราชสำ � นั ก ของ จักรพรรดิกับรัฐบาลบาคุฟุของโชกุน เพอร์รี่ออกจากญี่ปุ่นในปี 1854 โดยเชื่อว่าตนเองได้ลงนามในสัญญากับตัวแทนจักรพรรดิ แต่ความจริงเขาได้พบกับตัวแทนบาคุฟตุ ่างหาก ความแตกต่าง นี้สำ�คัญยิ่ง และมีผลสะท้อนอย่างยิ่งต่อวิถีประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ร่วมสมัย สถาบันบาคุฟุเป็นหนึ่งในลักษณะสำ�คัญของระบบ การเมืองสมัยโทคุงาวะ ทำ�ให้มันแตกต่างจากการปกครองแบบ ศักดินาซึง่ เป็นลักษณะของประวัตศิ าสตร์ยโุ รป แม้แต่ตอนปลาย ทศวรรษ 1850 กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำ�ประเทศญีป่ นุ่ อย่าง ทาวน์เซนด์ แฮร์รสิ ก็ยงั ยืนยันทีจ่ ะเรียกโชกุนว่า “พระจักรพรรดิ แห่งญี่ปุ่น” หากเพอร์รี่สับสนกับเรื่องพื้นฐานอย่างตัวตนของผู้มี อำ�นาจสูงสุดแห่งญี่ปุ่นเช่นนี้ แล้วในเรื่องอื่นเขาจะขาดความรู้ ความเข้าใจมากมายถึงเพียงไหนเล่า พูดอีกอย่างก็คือ อะไรคือ ลักษณะแท้จริงของญี่ปุ่นที่เพอร์รี่ได้พบในทศวรรษ 1850 และ มันเป็นยุคก่อนสมัยใหม่เช่นที่เขาคิดจริงหรือ การรวมประเทศญี่ปุ่น และกำ�เนิดสันติภาพในยุคโทคุงาวะ สถาบันส่วนใหญ่ที่เป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นตอนกลาง ศตวรรษที่ 19 ได้รบั การก่อตัง้ ขึน้ ตอนต้นศตวรรษที่ 17 โดยผูก้ อ่ ตัง้


A

Very Short Introduction

45

ระบบการปกครองโทคุงาวะ ซึ่งชื่อยุคก็ตั้งตามชื่อของบุคคล ผู้นี้ด้วย นั่นคือ โทคุงาวะ อิเอยะสุ ผู้รวมญี่ปุ่นได้ในที่สุดหลังศึก เซคิงาฮาระในตำ�นานเมื่อปี 1600 และหลานของอิเอยะสุชื่อ โทคุงาวะ อิเอมิท์ซึ ผู้ปกครองในตำ�แหน่งโชกุนตั้งแต่ปี 1623 ถึง 1651 สันติภาพในยุคโทคุงาวะเกิดขึ้นหลังช่วงเวลายาวนาน ที่มีการสู้รบกันเป็นกลุ่มๆ เรียกว่า หลังจากยุคเซ็นโกคุ (ยุคไฟ สงคราม) ซึง่ เริม่ ต้นด้วยศึกโอนิน (ปี 1467-1477) เมือ่ เมืองหลวง เก่าแก่เกียวโตถูกทำ�ลายย่อยยับ จนกระทั่งมีการรวมญี่ปุ่นและ ทำ�ให้เกิดความสงบสุขด้วย “ผู้รวมประเทศทั้งสาม” ได้แก่ โอดะ โนบุนางะ โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ และก็มาถึง โทคุงาวะ อิเอยะสุ ผู้ตั้ง คณะรัฐบาลที่เอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) ในช่วงปีต้นๆ ของ ศตวรรษที่ 17 ในช่วงศตวรรษที่มีการสู้รบเกือบตลอดเวลานี้เอง ทีญ ่ ปี่ นุ่ ได้เผชิญกับการก้าวขึน้ มามีอ�ำ นาจของชนชัน้ นักรบซามูไร และไดเมียวซึ่งเป็นนายของนักรบเหล่านี้ รวมถึงความปั่นป่วน จากพระนักรบแห่งวัดพุทธมากมายหลายแห่ง กระบวนการนองเลือดของการรวมชาติเริม่ ต้นด้วยการ ขยายอาณาเขตอย่างไร้กฎเกณฑ์ของ โอดะ โนบุนางะ เริ่มจาก จังหวัดโอวาริทเี่ ป็นบ้านเกิดของเขา (ใกล้เมืองนาโกย่าในปัจจุบนั ) นักประวัติศาสตร์มักจะวาดภาพให้โนบุนางะเป็นคนโหดเหี้ยม และเห็นแก่ตัว เป็นความจริงอย่างแน่นอนที่เขาเล่นงานหมู่บ้าน ใกล้เคียงอย่างโหดร้ายและทำ�ลายวัดพุทธจำ�นวนนับไม่ถ้วน เผาห้องสมุดโบราณ รวมถึงฆ่าพระสงฆ์กับผู้ศรัทธา อย่างไรก็ตาม คงเป็นเรือ่ งผิดหากนำ�เสนอภาพโนบุนางะ


46

Modern

Japan

ในฐานะทรราชโหดเหี้ยมเพียงอย่างเดียว เขาเป็นผู้กำ�หนด รูปแบบการปกครองแบบศักดินาหลวมๆ ทั่วพื้นที่กึ่งปกครอง ตนเอง บวกกั บ กลไกการเก็ บ ภาษี แ บบราชการกึ่ ง รวมศู น ย์ นอกจากนัน้ เขายังเป็นผูเ้ ริม่ กระบวนการปลดอาวุธชาวนา นำ�ไปสู่ การตัง้ กำ�แพงแบ่งแยกทางด้านสังคมและการเมืองระหว่างชนชัน้ ซามูไรกับกลุม่ อืน่ ๆ ทีเ่ หลือ ผูส้ บื ทอดตำ�แหน่งต่อจากโนบุนางะคือ โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ ได้ต่อยอดจากแนวทางนี้โดยสนับสนุนให้มี “การล่าดาบ” (sword hunt) ทั่วประเทศในปี 1588 เมื่อถึงต้น ศตวรรษที่ 17 ก็กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมายที่ใครอื่นนอกจาก สมาชิกในชนชัน้ ซามูไรจะพกดาบ การพกดาบสองเล่มกลายเป็น สิทธิพเิ ศษและสัญลักษณ์ของซามูไรซึง่ เป็นคนกลุม่ น้อยในสังคม สิ่ ง ที่ ไ ม่ เ คยปรากฏมาก่ อ นก็ คื อ โนบุ น างะปฏิ เ สธ ตำ�แหน่งโชกุน ซึ่งตามธรรมเนียมเป็นตำ�แหน่งที่แต่งตั้งโดย จักรพรรดิ นับตั้งแต่ มินาโมโตะ โยริโตโมะ ได้รับตำ�แหน่งนี้ ในปี 1192 เป็นการเริ่มต้นรัฐบาลบาคุฟยุ ุคคามาคุระ โนบุนางะ ตัดสินใจเช่นนี้เพราะปรารถนาจะแสดงออกว่าเขาไม่ได้ขึ้นตรง ต่อจักรพรรดิที่เกียวโต (ว่าเขาไม่ใช่ “แม่ทัพคนป่าเชื่องๆ” ของ จักรพรรดิ) แต่เขาเชือ่ มโยงโดยตรงกับแผ่นดินญีป่ นุ่ (หรือเทงกะ อาณาจักรใต้สวรรค์) โดยไม่จำ�เป็นต้องมีราชวงศ์เป็นตัวกลาง พูดอีกอย่างคือ โนบุนางะต้องการให้ญปี่ นุ่ รับรูส้ ทิ ธิของเขาในการ ปกครองแบบ เรียลโพลิติก (realpolitik) กล่าวคือ อำ�นาจในการ ปกครองของเขาเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอทีจ่ ะทำ�ให้กฎของเขา กลายเป็นความชอบธรรม แทนทีจ่ ะพึง่ ศาสนาหรือพลังสนับสนุน จากราชสำ�นักที่แทบไม่มีอำ�นาจใดๆ เลย อย่างไรก็ตาม ความ


A

Very Short Introduction

47

เป็นไปได้อันสุดโต่งนี้ได้ถูกดับฝันโดยผู้สืบทอดของโนบุนางะ เองในยุคหลัง นั่นคือ โทคุงาวะ อิเอยะสุ ผู้ยอมรับตำ�แหน่งโชกุน จากจักรพรรดิในปี 1603 เพื่อใช้เป็นหนทางสร้างความเป็น ปึ ก แผ่ น และทำ � ให้ อ าณาจั ก รใหม่ ข องเขาเป็ น สิ่ ง ถู ก ต้ อ ง ตามกฎหมาย ในท้ายทีส่ ดุ ช่วงสงบสันติของยุคโทคุงาวะก็เกิดขึน้ โดยได้รับความเห็นชอบจากองค์จักรพรรดิ ผู้รับช่วงอำ�นาจต่อจากโนบุนางะคือ โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ เขาเป็นผู้นำ�ที่สร้างตัวขึ้นมาเองและรับใช้โนบุนางะมาตั้งแต่ปี 1557 แม้ฮิเดโยชิไม่ได้ถือกำ�เนิดในครอบครัวชั้นสูง แต่ก็ไต่เต้า ขึ้นสู่ตำ�แหน่งสูงอย่างรวดเร็วด้วยมันสมองด้านกลยุทธ์ เขาได้ เสริมความเข้มแข็งให้กบั ความสำ�เร็จของโนบุนางะด้วยการสร้าง ระบบพันธมิตรที่ซับซ้อน เมื่อถึงทศวรรษ 1590 ฮิเดโยชิเป็นเจ้า แห่งกลุ่มไดเมียวที่ยิ่งใหญ่ระดับประเทศอย่างไม่อาจโต้เถียงได้ ไดเมียวแต่ละคนผูกพันกับเขาด้วยคำ�สาบานว่าจะจงรักภักดี สำ�นึกในบุญคุณ เป็นหนี้บญ ุ คุณ และให้ความยำ�เกรง เขาบริหาร อาณาจักรร่วมกันกับกลุ่มนายพลผู้ภักดี และขุนศึกที่จ้างมาอีก จำ�นวนมาก อย่างไรก็ตาม ความสำ�เร็จของการสร้างพันธมิตร อย่างไม่เคยมีมาก่อนนี้เสี่ยงต่อการทำ�ลายตัวเอง เนื่องจาก ส่วนหนึ่งของระบบดังกล่าวตั้งอยู่บนการปูนบำ�เหน็จและการ ลงโทษในช่วงสงคราม ฮิเดโยชิกังวลว่าสันติภาพจะเป็นเหตุ ให้ระบบความจงรักภักดีนี้พังทลาย หากปราศจากผลประโยชน์ ที่ได้จากการรบมาแจกจ่ายให้คนที่อยู่ภายใต้การดูแล จะเหลือ อะไรเป็นฐานความชอบธรรมของฮิเดโยชิอีกเล่า เขาแตกต่าง จากโนบุนางะตรงทีต่ วั เขาวิง่ เต้นขอตำ�แหน่งโชกุนจากจักรพรรดิ


48

Modern

Japan

เพื่อเพิ่มความชอบธรรมให้กับตนเอง แต่ก็ถูกปฏิเสธ ในการ พยายามครั้งสุดท้าย ฮิเดโยชิขอให้ อาชิคางะ โยชิอะกิ ผู้ถูกปลด (แต่ยงั คงมีต�ำ แหน่งโชกุนทีไ่ ร้อ�ำ นาจแม้ถกู ขับจากราชสำ�นักโดย โนบุนางะ) รับเขาอยู่ในอุปการะ เพื่อที่เขาจะได้รับทอดตำ�แหน่ง ต่อไป โยชิอะกิปฏิเสธ ในตอนท้าย ฮิเดโยชิกไ็ ด้รบั ตำ�แหน่ง คัมปะกุ (ที่ปรึกษาพระจักรพรรดิที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาแล้ว) เดิม ตำ�แหน่งนี้เป็นของตระกูลฟูจิวาระ เราจะเห็นได้ว่าฮิเดโยชิติดอยู่ในการเมืองที่ซับซ้อน และอ่อนไหวระหว่างอำ�นาจกับตำ�แหน่ง ซึ่งดำ�รงอยู่ในหมู่ผู้นำ� การทหารของญี่ปุ่นกับราชสำ�นักมาหลายศตวรรษ แท้จริงแล้ว ปั ญ หาการจั ด ระบบการเมื อ งนี้ จ ะคงอยู่ ภ ายใต้ ฉ ากหน้ า ของ สันติภาพในยุคโทคุงาวะ และจะโผล่ขึ้นมาอีกครั้งอย่างรุนแรง ในเหตุการณ์หลังการมาเยือนของพลเรือจัตวาเพอร์รใี่ นศตวรรษ ที่ 19 ในบางแง่ซึ่งเราจะได้เห็นกันในภายหลังนั้น แรงผลักนี้ จะปรากฏไปตลอดจนถึงสงครามแปซิฟิกในช่วงครึ่งแรกของ ศตวรรษที่ 20 ในญี่ปุ่นร่วมสมัยเอง บทบาทและสถานะของ จักรพรรดิได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการโดยรัฐธรรมนูญ หลังสงคราม แต่กระนัน้ สถาบันนี้ (ญีป่ นุ่ เป็นประเทศเดียวในโลก ทีย่ งั มีผนู้ �ำ เป็นจักรพรรดิ) ก็ยงั คงมีสทิ ธิพเิ ศษยิง่ ใหญ่และอำ�นาจ ในเชิงสัญลักษณ์เหนือความชอบธรรมของรัฐบาล (ซึ่งปัจจุบัน ขึน้ ตรงต่ออำ�นาจอธิปไตยของประชาชน ไม่ใช่ตอ่ จักรพรรดิแล้ว) เมื่อขาดตำ�แหน่งและเสถียรภาพที่ปรารถนา ฮิเดโยชิ จึงพยายามขับเคลื่อนพลังร่วมของ “ญี่ปุ่น” ด้วยการบุกเกาหลี ในปี 1592 และ 1597 เป็นสิ่งสำ�คัญที่ต้องเข้าใจว่าการบุกเหล่านี้


A

Very Short Introduction

49

ไม่ใช่สงครามระดับชาติสมัยใหม่แบบที่เห็นกันในยุโรปหลังการ ปฏิวัติฝรั่งเศส แต่เป็นแบบสงครามครูเสดโดยกองทัพซามูไร ผูห้ วังจะได้ก�ำ ไรจากการผจญภัย ไม่มกี องทัพแห่งชาติญปี่ นุ่ อีกทัง้ คนส่วนใหญ่ของประเทศก็ถูกปลดอาวุธไปอย่างเป็นระบบแล้ว ในช่วง “ล่าดาบ” ฮิเดโยชิรู้ว่าความภักดีของไดเมียวบางคนกับ ซามูไรของพวกเขาขึ้นอยู่กับผลประโยชน์สมํ่าเสมอจากการรบ อย่างไรก็ตาม การบุกเกาหลีกลายเป็นหายนะ แทนทีจ่ ะได้ยกฐานะ ความล้มเหลวกลับทำ�ให้คลังทรัพย์สินของตระกูลลดฮวบและ เสือ่ มเสียต่อฐานะจอมพลผูแ้ ข็งแกร่ง เป็นการเปิดทางให้ โทคุงาวะ อิเอยะสุ ได้ขึ้นมาสืบอำ�นาจแทน อย่างไรก็ดี การบุกเกาหลี ที่ ล้ ม เหลวของฮิ เ ดโยชิ ไ ด้ เ น้ น ยํ้ า ถึ ง แนวโน้ ม ที่ รั ฐ เกิ ด ใหม่ ทั้งหลายมักเบี่ยงประเด็นปัญหาในประเทศโดยใช้การผจญภัย ต่างแดนเข้ามาดึงความสนใจแทน กรณีของญี่ปุ่นมักมีเกาหลี เป็นเป้าหมายแรก ซึง่ เราก็จะได้เห็นกันอีกครัง้ ในช่วงเปลีย่ นผ่าน สู่ศตวรรษที่ 20 ความกั ง วลใจเกี่ ย วกั บ ชาวต่ า งชาติ ข องฮิ เ ดโยชิ ยั ง พบเห็นได้ในการกระทำ�ของเขาที่มีต่อผู้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ นิกายเยซูอติ ซึง่ เริม่ เข้ามาในคิวชูเมือ่ กลางศตวรรษที่ 16 ขณะที่ โนบุนางะค่อนข้างยอมรับชาวคริสเตียนมากกว่า ทั้งนี้อาจมี สาเหตุจากที่เขาต่อต้านอำ�นาจของวัดพุทธและไม่เห็นชอบกับ ความสำ�คัญในเชิงศาสนาของจักรพรรดิก็เป็นได้ ส่วนฮิเดโยชิ รู้สึกว่าการปรากฏตัวของชาวยุโรปเหล่านี้น่าสงสัยและเป็นภัย คุกคาม โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นหลังจากสเปนล่าฟิลิปปินส์เป็น เมืองขึ้นสำ�เร็จ ต่อมาในปี 1597 ฮิเดโยชิหันมาเล่นงานพวก


50

Modern

Japan

เยซูอิต โดยจับผู้เผยแพร่ศาสนาและชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนศาสนา จำ�นวนหนึ่งตรึงไม้กางเขนก่อนจะขับชาวคริสต์ออกจากญี่ปุ่น ในปี 1598 การกระทำ�นี้เป็นลางบอกเหตุก่อนเกิด สะโคคุ-เรอิ (คำ�สั่งปิดประเทศ) อันโด่งดังในปี 1635 และยังคงใช้บังคับอยู่ จนกระทั่งพลเรือจัตวาเพอร์รี่แห่งสหรัฐเดินทางมาถึง คำ�สั่งนี้ ห้ามนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก โดยอ้างว่าเป็นศาสนา ที่อันตรายและจ้องล้มล้างสถาบัน ห้ามชาวญี่ปุ่นทุกคนออกนอก ประเทศและประกาศให้สญ ั ญากับมหาอำ�นาจยุโรปทัง้ หมดเป็นสิง่ ผิดกฎหมาย ยกเว้นชาวดัตช์ (ในเขตการค้าเล็กจิว๋ บนเกาะเดจิมะ เมืองนางาซากิ) คำ�สั่งนี้ยังจำ�กัดการติดต่อกับเพื่อนบ้านของ ญี่ปุ่นด้วย อย่างน้อยก็ในหลักการ (แต่ทำ�ไม่ได้ในทางปฏิบัติ) จำ�กัดการค้าขายกับจีนให้มีได้แค่ทางหมู่เกาะริวกิว (ปัจจุบันคือ โอกินาว่า) และการค้ากับเกาหลีให้อยูแ่ ค่เกาะเล็กๆ อย่างท์ซชึ มิ ะ แม้ออกจะเป็นการพูดเกินจริงหากจะบอกว่า สะโคคุ ได้โดดเดีย่ ว ญีป่ นุ่ ยุคโทคุงาวะจากโลกภายนอกอย่างสิน้ เชิง แต่กค็ งบอกได้วา่ มันลดการรับรูข้ อ้ มูลเกีย่ วกับยุโรปซึง่ ยุคเรืองปัญญากำ�ลังเริม่ ต้น ขึน้ และเป็นการเปิดฉากพัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์และปรัชญา สมัยใหม่อีกด้วย หลังจากฮิเดโยชิเสียชีวิตในปี 1598 ขุนศึกของเขาก็ ไม่อาจรักษาความมั่นคงไว้ได้ เนื่องจากระบบพันธมิตรซับซ้อน ซึง่ ยึดโยงญีป่ นุ่ อยูน่ นั้ ผูกติดอยูก่ บั ตัวตนของฮิเดโยชิดว้ ย ผลก็คอื การต่อสู้แย่งอำ�นาจ ในตอนท้ายเป็น โทคุงาวะ อิเอยะสุ ผู้ขึ้นมา มีอำ�นาจสูงสุดหลังการรบในตำ�นานที่เซคิงาฮาระในปี 1600 ซึ่ง เขาได้จัดทัพของตนเองและพันธมิตรเข้ารบกับกองกำ�ลังฝ่าย


A

Very Short Introduction

51

ตรงข้ามที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มที่ยังจงรักภักดีต่อตระกูลโทโยโทมิ หลังชัยชนะได้ 3 ปี จักรพรรดิก็เสนอตำ�แหน่งโชกุนให้อิเอยะสุ และเขาก็ตอบรับ ในขณะทีจ่ กั รพรรดิยงั คงแยกตัวอยูใ่ นพระราชวัง ที่เกียวโตเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ รัฐบาลบาคุฟขุ องตระกูล โทะคุงาวะปกครองญี่ปุ่นอย่างสงบสุขจากฐานอำ�นาจในเอโดะ ตั้ งแต่ ปี 1603 ถึ ง 1863 เมื่ อ ได้ รั บ มอบตำ � แหน่ ง โชกุ น จาก จักรพรรดิแล้ว ตำ�แหน่งนีก้ ก็ ลายเป็นมรดกตกทอด นัน่ คือสาเหตุ ที่ยุคสมัยนี้ได้ชื่อตามตระกูลโทคุงาวะ (หรือบางครั้งก็ตั้งตาม ชื่อเมืองปกครอง นั่นคือเอโดะ) และรัฐบาลนี้เองที่เป็นผู้ต้อนรับ พลเรือจัตวาเพอร์รี่ในปี 1853 และ 1854 ลักษณะทั่วไปของสันติภาพในยุคโทคุงาวะ และกำ�เนิดของความเป็นสมัยใหม่

ลั ก ษณะทั่ ว ไปด้ า นสั ง คมและการเมื อ งของยุ ค โทคุ ง าวะถู ก กำ � หนดโดยอิ เ อยะสุ แ ละหลานชายของเขา ชื่ออิเอมิท์ซึ ทั้งสองพยายามยุติสภาวะสงครามที่รุมเร้าญี่ปุ่น มานานหลายศตวรรษ ด้วยการสร้างสถาบันขึ้นมาเป็นทางออก ให้กบั ปัญหาด้านการเมืองทีม่ มี ายาวนาน กล่าวคือ ความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและลำ�ดับชั้นทางอำ�นาจระหว่างกลุ่มต่างๆ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างจักรพรรดิกับโชกุน ความสัมพันธ์ระหว่าง โชกุนกับไดเมียว ความสัมพันธ์ระหว่างไดเมียวกับซามูไรลูกสมุน ความสัมพันธ์ระหว่างซามูไรกับประชาชนกลุ่มอื่น และความ สัมพันธ์ระหว่างประชาชนญี่ปุ่นกับโชกุน


52

Modern

Japan

ทางแก้ ใ นลั ก ษณะสถาบั น ที่ จั ด ตั้ ง โดยโทคุ ง าวะมั ก รวมกันอยู่ภายใต้ชื่อ บาคุฮัน ไทเซ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าเป็น โครงสร้างการเมืองแบบศักดินาที่เชื่อมโยง บาคุฟุ (รัฐบาลใน กระโจมหรือรัฐบาลทหาร) กับฮัน (อาณาจักรที่ปกครองโดย ไดเมียว) ในไทเซ (ระบบ) หนึ่งเดียว อย่างไรก็ตาม คำ�ถามว่า ระบบนีเ้ ป็นแบบศักดินาอย่างแท้จริงหรือไม่นนั้ ยังเป็นทีถ่ กเถียง กันอยู่ หนึ่งในหัวข้อหลักของการโต้เถียงนี้ ซึ่งสอดคล้องกับ ยุคสมัยใหม่ คือพลวัตเชิงอำ�นาจระหว่างพระจักรพรรดิกับโชกุน นั บ เป็ น เรื่ อ งผิ ด ปกติ สำ � หรั บ ระบบศั ก ดิ น าที่ มี ผู้ นำ � สถาบั น แยกกันสองรายในแกนกลางของอำ�นาจ นัน่ คือผูน้ �ำ จักรวรรดิกบั ผู้ถืออำ�นาจโชกุน ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างสองสถาบัน เป็ น สาเหตุ อั น มี ลั ก ษณะเฉพาะของความไร้ เ สถี ย รภาพใน ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น อิเอยะสุแก้ปัญหาความตึงเครียดด้วยวิธีที่ได้ผลในเชิง ปฏิบัติมาก นั่นคือ แทนที่จะแค่ยอมรับว่าความชอบธรรมของ รั ฐ บาลบาคุ ฟุ ขึ้ น อยู่ กั บ การที่ ร าชสำ � นั ก หลวงให้ ก ารรั บ รอง (ถือเป็นการสื่อโดยนัยถึงความตํ่าต้อยกว่าของตำ�แหน่งโชกุน) อิเอยะสุกลับประกาศอย่างชัดเจนด้วยว่าราชสำ�นักอยูไ่ ด้กเ็ พราะ พึง่ พารัฐบาลบาคุฟุ การพึง่ พาเช่นนีไ้ ปไกลเกินบทบัญญัตดิ งั้ เดิม ของโชกุนคนแรกๆ (นัน่ คือการเป็นดาบข้างกายจักรพรรดิในการ ปกป้องอาณาจักร) ในช่วงต้นของยุคสมัยใหม่ ราชสำ�นักหลวง ตกตํ่าและเสี่ยงต่อการล่มสลาย จริงๆ แล้วยังถึงขั้นพึ่งตระกูล โทคุงาวะในการช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อความอยู่รอด อิเอยะสุยอ่ มไม่ปล่อยให้ราชสำ�นักหลวงล่มสลาย แต่น�ำ


A

Very Short Introduction

53

มันมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับตนเอง เมื่อเขาเป็นฝ่ายหาเงินทุน มาให้ราชสำ�นัก (และให้อยู่ที่เกียวโตซึ่งห่างไกลจากรัฐบาลใหม่ ของเขาที่ เ อโดะ) เช่ น นี้ ก็ ส ามารถเพิ่ ม เกี ย รติ แ ละสถานะ ให้ราชสำ�นักได้ แต่ก็เท่ากับยิ่งตอกยํ้าถึงความสำ�คัญในฐานะ สัญลักษณ์ และแยกราชสำ�นักออกจากอำ�นาจแท้จริงอย่างชัดเจน ยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน เขาก็ทำ�ให้จักรพรรดิต้องพึ่งพารัฐบาล บาคุฟุเพื่อยกระดับความชอบธรรมของตนเอง ในการตอบแทน การสนั บ สนุ น ของเขา ราชสำ � นั ก ได้ ย อมสละสิ้ น ซึ่ ง อำ � นาจ ที่ ห ลงเหลื อ อยู่ แม้ แ ต่ อำ � นาจในการมอบรางวั ล เกี ย รติ ย ศ ระบบการปกครองโทคุงาวะได้เปลี่ยนราชสำ�นักให้กลายเป็น เหมือนระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญสมัยใหม่ในหลายๆ แง่ ด้ ว ยกั น (แม้ ว่ า ญี่ ปุ่ น จะยั ง ไม่ มี รั ฐ ธรรมนู ญ จนถึ ง ปี 1868 และรั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ ปี 1868 ก็ ม อบอำ � นาจให้ จั ก รพรรดิ มากกว่ า ที่ พ ระองค์ เ คยได้ ภ ายใต้ ก ารปกครองยุ ค โทคุ ง าวะ มากมายนัก) แท้จริงแล้ว อิเอยะสุไม่พอใจกับโครงสร้างทีม่ คี วามเป็น สมัยใหม่อย่างน่าประหลาดใจนี้ และเขาก็พยายามอย่างมากที่ จะมอบความชอบธรรมให้ตำ�แหน่งโชกุนทั้งในด้านศาสนาและ จิตวิญญาณ โดยไม่ขนึ้ ตรง (และอาจถึงขัน้ แข่งขัน) กับราชสำ�นัก เขาได้ตั้งสถานที่สำ�คัญทางศาสนาแห่งใหม่ใกล้เอโดะ (เช่นศาล ของเขาเองที่นิกโก้) ซึ่งในที่สุดก็กลายเป็นสถานที่เคารพบูชา ระดับชาติที่มีสถานะเท่าเทียมกับศาลหลวงตามประเพณี รวม ถึงศาลใหญ่ที่อิเสะ อันที่จริงเจ้าหน้าที่ราชสำ�นักยังถูกบังคับให้ มาเคารพศาลโทคุงาวะโดยไม่ได้รบั สิทธิพเิ ศษใดๆ ด้วย อิเอยะสุ


54

Modern

Japan

เหมื อ นกั บ โนบุ น างะตรงที่ อ ยากให้ รั ฐ บาลบาคุ ฟุ ข องตน เกี่ยวโยงโดยตรงกับเทงกะ (อาณาจักรใต้สวรรค์) โดยไม่ต้อง พึ่งตัวกลางอย่างราชวงศ์ การปกครองยุคโทคุงาวะไม่เพียงลด อำ�นาจจักรพรรดิเป็นแค่เครื่องมือในการบริหาร แต่ยังเดินไป ตามกระบวนการสร้างสำ�นึกความเป็นชาติทไี่ ม่ตอ้ งการจักรพรรดิ เลยแม้แต่น้อย กระบวนการทั้งสองนี้ขัดแย้งกันเองอยู่ในบางแง่ และสันติภาพในยุคโทคุงาวะก็ไม่เคยประสบความสำ�เร็จในการ พัฒนาสำ�นึกความเป็นชาติแบบปราศจากจักรพรรดิได้ ความ ล้ ม เหลวนี้ เ องที่ ย้ อ นกลั บ มาสร้ า งภาวะสำ � คั ญ สู่ ค วามวุ่ น วาย ของการปฏิวัติในศตวรรษที่ 19 เมื่ อ ได้ ท างออกอั น มั่ น คงเกี่ ย วกั บ คำ � ถามถึ ง ความ สัมพันธ์ระหว่างจักรพรรดิกับโชกุนแล้ว ปัญหาถัดไปคือความ สัมพันธ์ระหว่างโชกุนกับไดเมียว ในเชิงปฏิบัติ นี่อาจเป็นเรื่อง สำ�คัญและกดดันที่สุดหลังศึกเซคิงาฮาระ เนื่องจากระบบบริหาร ใดๆ ทีไ่ ม่อาจรวบรวมขุนศึกได้อย่างจริงจัง (และคุมได้ในระดับทีน่ า่ พอใจ) ย่อมถึงกาลย่อยยับ ดังนัน้ เพือ่ ให้ได้ผล อิเอยะสุเลือกใช้วธิ ี ผสมผสานระหว่างการให้รางวัลกับการลงโทษ ชักจูงใจและมอบ อำ�นาจให้พวกที่แสดงความจงรักภักดีต่อเขาในศึกเซคิงาฮาระ (เรียกว่า ฟุได ไดเมียว) ในขณะที่ผลักไสและปลดพวกที่แข็งขืน ต่อเขา (เรียกว่า โทซามะ ไดเมียว) ในทางปฏิบัติ มันหมายถึง การขั บ ไดเมี ย วออกจากอาณาเขตเดิ ม (เท่ า กั บ ตั ด พวกเขา ออกจากฐานอำ�นาจในระดับรากหญ้า) ริบดินแดนของเจ้านาย หลายคน โอนย้ายอาณาเขตกว้างใหญ่ให้ตระกูลโทคุงาวะเอง และมอบดินแดนที่เหลือให้กับไดเมียวกลุ่มเล็กลงไปอีก ผลก็คือ


A

Very Short Introduction

55

มีการจัดกลุม่ ใหม่ของไดเมียวประมาณ 180 คน แต่ละคนสาบาน ว่าจะจงรักภักดีต่อตระกูลโทคุงาวะ ไดเมียวเหล่านี้ถูกสั่งห้าม ไม่ให้สร้างปราสาทในพื้นที่ปกครองมากกว่าหนึ่งหลัง และห้าม เป็นพันธมิตรกันเองด้วย ในระดับเป็นทางการ (แม้จะไม่ใช่ในทาง ปฏิบัติ) พวกเขาเกี่ยวโยงกันผ่านสถาบันระดับชาติคือสถาบัน โชกุนเท่านั้น พวกฟุได ไดเมียว เป็นเจ้าแห่งอาณาจักรที่อยู่ใกล้ เอโดะและดินแดนของโทคุงาวะมากที่สุด ในขณะที่ โทซามะ ไดเมียว มีแนวโน้มจะได้อยู่แถวชายขอบ เช่น ดินแดนรอบนอก ของซัตสึมะและโจชู อิเอยะสุปกป้องตัวเองด้วยวิธีนี้ แต่ก็ต้องแลกกับการที่ ไม่สามารถจับตามองไดเมียวผู้มีแนวโน้มต่อต้านเขาได้อย่าง ใกล้ชิด ในกรณีที่โชคร้าย มีการผสมผสานกันของปัจจัยหลายๆ อย่าง พื้นที่เหล่านี้ยังมีแนวโน้มที่จะได้พบเจอ (และค้าขาย) กับ มหาอำ�นาจต่างชาติด้วย แม้จะพยายามแค่ไหน ฮิเดโยชิก็ไม่ สามารถกวาดล้างชาวคริสต์ออกไปจากคิวชูได้หมด และนโยบาย ปิดประเทศ หรือ สะโคคุ-เรอิ ของอิเอมิท์ซึก็ไม่ได้ตัดขาดการ ติดต่อกับโลกภายนอกไปเสียทั้งหมด เมื่อถึงศตวรรษที่ 19 ซัตสึมะและโจชูมีอำ�นาจเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลผ่านการเปิดตัว เรียนรู้จากโลกภายนอกมากกว่าเมืองอื่น ในเชิงปฏิบัติ กระบวนการรวมอำ�นาจนี้ถือว่าอ่อนด้อย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแผนการโดยจงใจที่จะลดผู้ต่อต้านกระบวนการ รวมอำ � นาจ แต่ ส่ ว นหนึ่ ง ยั ง เป็ น เพราะระดั บ การรวมอำ � นาจ ประเภทที่ทำ�กันในนครรัฐสมัยใหม่ยังเข้ามาไม่ถึงญี่ปุ่น ที่สำ�คัญ คือ อาณาเขตท้องถิน่ มีอสิ ระด้านการเงินในระดับสูง แม้วา่ ไดเมียว


56

Modern

Japan

มีภาระที่ต้องแบ่งรายได้ไปทำ�งานสาธารณะและรายจ่ายอื่นๆ แต่ก็ไม่มีมาตรฐานภาษีที่ใช้กันอย่างต่อเนื่องหรือแบบรวมศูนย์ ดังนั้น การกระจายความมั่งคั่งไปทั่วอาณาจักรจึงเป็นสิ่งสำ�คัญ อย่างไรก็ตาม การปกครองในยุคโทคุงาวะก็ยังสร้างภาระทาง การเงิน (และทางยุทธศาสตร์) อันสำ�คัญยิ่งต่อไดเมียวทุกคน ในช่วงปลายทศวรรษ 1630 โทคุงาวะ อิเอมิท์ซึ ได้นำ�ระบบ ซันคิน โคไต ของ “การเข้าเวรสลับปี” มาบังคับให้ไดเมียวทุกคนใน ญี่ปุ่นมีบ้านพักในเอโดะเช่นเดียวกับในพื้นที่ปกครอง ยิ่งกว่านั้น ไดเมียวยังต้องมาอาศัยอยู่ในเอโดะแบบปีเว้นปี และครอบครัว ปัจจุบันก็ต้องพักอยู่ที่เอโดะอย่างถาวรด้วย แม้ว่าความเป็นอยู่ จะดี แต่ครอบครัวของไดเมียวก็ถอื ว่าเป็นตัวประกันชัน้ ดีทเี่ อโดะ ระบบซันคิน โคไตมีผลกระทบสำ�คัญหลายอย่างต่อ พัฒนาการของญี่ปุ่นสมัยใหม่ อันดับแรกคือ ความจำ�เป็นที่ต้อง มีบ้านพักใหญ่สองแห่ง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ห่างกันมาก ประกอบกับ ความจำ�เป็นทีต่ อ้ งมี “ขบวน” พร้อมผูต้ ดิ ตามเต็มยศเมือ่ เดินทาง จากแห่งหนึ่งไปอีกแห่งแบบปีเว้นปี กลายเป็นภาระหนักทาง การเงินของไดเมียว และถือเป็นการควบคุมการเพิ่มอิทธิพล ไปในตัว นอกจากนั้น ระบบตัวประกันยังทำ�ให้ไดเมียวที่แข็งขืน หมดกำ � ลั ง ใจที่ จ ะต่ อ ต้ า นตระกู ล โทคุ ง าวะ แม้ อ ยู่ ใ นภาวะที่ สามารถทำ�ได้ก็ตาม เราไม่ควรดูแคลนอิทธิพลของปัจจัยเหล่านี้ ในการสร้างความมัน่ คง โดยเฉพาะในช่วงปีแรกๆ ของยุคโทคุงาวะ เมื่ อ บาดแผลจากศึ ก สงครามที่ ย าวนานหลายศตวรรษยั ง คง สดใหม่อยูใ่ นความทรงจำ�ของขุนศึกบางส่วน อย่างไรก็ดี ในระยะ ยาวแล้ว ผลกระทบด้านการเงินของการจัดการเช่นนีจ้ ะทำ�ให้เกิด


A

Very Short Introduction

57

ความตึงเครียดทางสังคมและการเมือง ซึง่ นำ�ไปสูค่ วามเสือ่ มของ การปกครองแบบโทคุงาวะตั้งแต่ก่อนเพอร์รี่จะมาเยือนด้วยซํ้า ผลกระทบสำ�คัญอีกประการของซันคิน โคไต คือการ ทีร่ ะบบนีส้ นับสนุนการพัฒนาสำ�นึก “ความเป็นชาติ” ซึง่ อาจเป็น ครั้งแรกในญี่ปุ่น ไดเมียวทั้งหมด ไม่ว่าจะมาจากไหนหรือว่ามี ความคิดความเชื่อเช่นไร ต่างต้องมาใช้เวลาอยู่ในเอโดะถึงครึ่ง หนึง่ ของเวลาทัง้ หมด เท่ากับเป็นการเสริมสถานะของเมืองแห่งนี้ ในฐานะเมืองหลวงญี่ปุ่น (แม้ว่าเกียวโตจะยังคงเป็นเมืองหลวง ในทางทฤษฎี) และพวกเขาก็ถูกบังคับด้วย กฎหมายแห่งชาติ ให้ยอมเช่นนัน้ ดังนัน้ ซันคิน โคไต จึงไม่เพียงสนับสนุนให้ไดเมียว กับบริวารรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์กรระดับชาติ แต่ยัง เสริมข้อเท็จจริงทีว่ า่ อำ�นาจศูนย์กลางในองค์กรนัน้ คือสถาบันทาง โลกอย่างบาคุฟุ แทนทีจ่ ะเป็นผูม้ อี �ำ นาจตามประเพณีและศาสนา อย่างราชวงศ์ นอกจากนัน้ การต้องใช้เวลาถึงครึง่ หนึง่ อยูไ่ กลจาก ถิ่นฐานก็ลดความใกล้ชิดระหว่างไดเมียวกับเครือข่ายสนับสนุน ในท้องถิ่นที่เคยมีมาอย่างมหาศาล ไดเมียวหรือเจ้านายระดับ ท้องถิ่น ค่อยๆ กลายเป็นบุคคลสำ�คัญระดับชาติ ผลกระทบสำ�คัญข้างเคียงอีกอย่างของระบบซันคิน โคไต คือการทีม่ นั ทำ�ให้ประเทศอันกระจัดกระจายนีเ้ ต็มไปด้วยเส้นทาง คมนาคมและโอกาสในการค้ า ขบวนไดเมี ย วกั บ ผู้ ติ ด ตาม แบบรายปีได้ร้อยรวมเศรษฐกิจของอาณาจักรไว้ด้วยกันตลอด เส้นทางทีเ่ คลือ่ นผ่าน ส่งผลให้มกี ารเติบโตอย่างรวดเร็วของเมือง ค้าขายและสถานีการค้า เช่นเดียวกับการพัฒนาหนึ่งในระบบ ถนนหนทางที่น่าประทับใจที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ความสำ�เร็จที่


58

Modern

Japan

น่าตืน่ ตาตืน่ ใจทีส่ ดุ คือ การเติบโตพุง่ พรวดของโอซาก้าตามแนว เส้นทางหลวงชื่อดัง โทไคโด ซึ่งเชื่อมระหว่างเกียวโตกับเอโดะ เช่นเดียวกับการก่อสร้างทางหลวง นาคะเซ็นโด ผ่านเทือกเขา แอลป์ของญี่ปุ่น ในแง่ของความเป็นจริง ระบบซันคิน โคไต ได้ เริ่มต้นการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติซึ่งเติบโตอย่างน่าตกใจ ตลอดศตวรรษที่ 17 และวางรากฐานให้กบั การพัฒนาสูค่ วามเป็น สมัยใหม่ด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ 19 ความคล่ อ งตั ว ในการเดิ น ทางอั น เกิ ด จากระบบการ เข้าเวรสลับปียังไปกระตุ้นกระบวนการเกิดเมืองใหญ่อีกด้วย เมื่อถึงสิ้นศตวรรษที่ 17 เอโดะกลายเป็นเมืองใหญ่ที่สุดบนโลก มีประชากรเกิน 1 ล้านคน โตเกียวในปัจจุบันก็ยังคงเป็นหนึ่งใน เมืองใหญ่ที่สุดของโลกและมีประชากรชาวเมืองกว่า 35 ล้านคน เมืองท้องถิ่นอย่างเกียวโตและโอซาก้ามีขนาดเท่าลอนดอนหรือ ปารีสในตอนนัน้ โดยมีประชากรประมาณ 350,000 คน ในปัจจุบนั โอซาก้าก็ยังคงเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของญี่ปุ่น โดยรวมแล้ว ตอนปลายศตวรรษที่ 17 ประชากรญีป่ นุ่ ร้อยละ 10 โดยประมาณ อาศัยอยู่ในเมืองที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ทำ�ให้ญี่ปุ่นกลายเป็น หนึ่งในประเทศที่มีความเจริญแบบเมืองใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่ง ของโลก ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีเสถียรภาพทางสังคมที่เกิดขึ้นใหม่ (และการสิ้นสุดของศึกสงครามต่อเนื่อง) การค้าภายในที่เพิ่มขึ้น ผูค้ นอ่านออกเขียนได้มากขึน้ และความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี การเกษตร ส่งผลให้ประชากรญี่ปุ่นเพิ่มจำ�นวนขึ้นเท่าตัวในช่วง ศตวรรษที่ 17 จนสูงถึง 33 ล้านคนโดยประมาณในช่วงเปลีย่ นผ่าน สู่ศตวรรษที่ 18 เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ในตอนนั้นประชากร


A

Very Short Introduction

59

อังกฤษอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านคน และจะไม่สูงถึง 30 ล้านคน จนถึงช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ระดับการเติบโตเช่นนี้ไม่ได้ยั่งยืนในญี่ปุ่น อย่างน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตลาดภายในประเทศมีข้อเสียเปรียบอย่าง หนักจากการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติของตัวเกาะเอง และโดยเฉพาะจากความจริงที่ว่ารัฐบาลบาคุฟุได้กีดกันการค้า ไม่เฉพาะกับยุโรปเท่านั้นแต่ยังรวมถึงเอเชียภาคพื้นทวีปด้วย ผลก็คือเกิดความชะงักงันด้านเศรษฐกิจและประชากร ซึ่งไม่มี การเติบโตขึ้นเลยตลอดศตวรรษสุดท้ายในยุคโทคุงาวะ ดังนั้น เมื่อชาติตะวันตกมาเยือนเป็นครั้งที่สองในฐานะส่วนหนึ่งของ โลกาภิวัตน์ขั้นที่สอง การพัฒนาของญี่ปุ่นจึงอยู่ในขั้นดีกว่าการ เพาะเมล็ ด ทุ น นิ ย มเพี ย งเล็ ก น้ อ ย แม้ ว่ า จะมี ค วามก้ า วหน้ า ด้านวัฒนธรรมและศิลปะอย่างมหาศาล แต่โดยพื้นฐานแล้ว ความชะงักงันดังกล่าวก็ทำ�ให้เกิดภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจใน ศตวรรษที่ 19 แท้จริงแล้วศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 19 เกิดภัยแล้งในวงกว้าง อัตราการเสียชีวิตของทารกเพิ่มขึ้น และ เกิดความไม่สงบในสังคมเพิ่มขึ้น ญี่ปุ่นวนเวียนอยู่ตรงขอบ ของวิกฤตและการปฏิรูปตั้งแต่ก่อนเพอร์รี่มาถึงด้วยซํ้า ในทาง ตรงข้าม ประชากรอังกฤษในช่วงเวลาเดียวกันได้พุ่งสูงขึ้นจน เทียบเท่าญี่ปุ่น และเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกับจักรวรรดิของ อังกฤษก็แผ่ขยายไปทั่วโลกอย่างหิวกระหาย ความรูส้ กึ เป็นอันหนึง่ อันเดียวกันในระดับชาติทเี่ พิม่ ขึน้ และการติดต่อถึงกันได้ง่ายขึ้นในแง่ภูมิศาสตร์ในระดับที่ไม่เคย มีมาก่อน กลับตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ระหว่างชนชั้นในสังคม


60

Modern

Japan

ญีป่ นุ่ ยุคโทคุงาวะ แท้จริงแล้ว หนึง่ ในปัจจัยอันทรงพลังมากทีส่ ดุ ของสั ง คมยุ ค โทคุ ง าวะคื อ การตั้ ง ระบบแบ่ ง ชนชั้ น ที่ เ รี ย กว่ า ชิ-โน-โค-โช ซึ่งตัดสินสถานะและหน้าที่ของประชาชนส่วนใหญ่ รวมถึงความสัมพันธ์ของพวกเขากับไดเมียวด้วย โครงสร้าง สีช่ นั้ นีย้ กให้ซามูไร (ชิ) อยูบ่ นยอดสุดของการจัดอันดับ ชาวนา (โน) มีสถานะรองลองมา จากนั้นก็เป็นช่างฝีมือ (โค) และสุดท้าย คือพ่อค้า (โช) อยู่ระดับล่างสุด ตำ�แหน่งของคนในระบบการ จัดอันดับนีต้ ดั สินจากชาติก�ำ เนิด และการเลือ่ นระดับหลังจากนัน้ ก็เป็นเรื่องยากสุดขีดหรือเป็นไปไม่ได้เลย ระบบนี้ถือว่ามีความ ยุติธรรมตามลัทธิขงจื๊อที่นำ�เสนอโดยนักคิดสร้างสรรค์ในยุค โทคุงาวะ เช่น ผู้เชี่ยวชาญแนวคิดขงจื๊อใหม่ ฮายาชิ ราซัน หลักคิดแบบขงจือ๊ เน้นความสำ�คัญของศรัทธาและความ จงรักภักดี โดยเฉพาะอย่างยิง่ การกำ�หนดบทบาทอย่างเหมาะสม ในสังคม ผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่าง สมเหตุสมผลและเป็นธรรมชาติ เช่นเดียวกับที่สวรรค์โน้มลงมา หาดิน หรืออย่างพ่อมีหน้าที่ปกครองลูก ในขณะที่ลูกมีหน้าที่ กตั ญ ญู ต่ อ พ่ อ ความสั ม พั น ธ์ นี้ ถู ก มองว่ า เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ กฎธรรมชาติ ที่ ไ ม่ อาจแบ่ ง แยกได้ ดั ง นั้ นจึ ง ไม่ เ ปิ ด โอกาสให้ ถูกท้าทายโดยความตั้งใจของมนุษย์ ในบริบทของการปกครอง ยุคโทคุงาวะทีย่ งั ใหม่อยู่ แนวคิดต่อเสถียรภาพเช่นนีม้ ปี ระโยชน์ มาก และช่ ว ยปรั บ ความเข้ ม งวดและการขาดความยื ด หยุ่ น ทางสังคมในระบบ ชิ-โน-โค-โช ได้อีกด้วย ฮายาชิ ราซัน ยังเน้น เป็นพิเศษด้วยว่า ความจงรักภักดีของผู้คนเป็นสิ่งที่ต้องมอบ ให้โชกุน (ไม่ใช่จักรพรรดิผู้ที่เขาลดบทบาททางการเมืองลง)


A

Very Short Introduction

61

ทำ � ให้ เ กิ ด การยกระดั บ โชกุ น เป็ น พ่ อ ของประเทศได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพยิ่ง พูดอีกอย่างคือการปกครองในยุคโทคุงาวะ ใช้ประโยชน์จากรูปแบบหน้าที่ทางการเมืองอันสมเหตุสมผล และควบคุมโดยรัฐบาล หากมองในเวทีโลก ญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งใน สังคมที่ “สมัยใหม่” ที่สุดในช่วงเวลานั้น สิ่งที่เรียกกันว่า “คตินิยมโทคุงาวะ” (Tokugawa ideology) ยังนำ�แนวคิดบางส่วนมาจากพุทธศาสนาด้วย หลังจาก ฮิเดโยชิได้ตัดกำ�ลังรบของวัดพุทธจำ�นวนหนึ่งไปในช่วงปลาย ศตวรรษที่ 16 โทคุงาวะ อิเอยะสุ ตามด้วยอิเอมิท์ซึ ก็ได้นำ� ศาสนาพุทธกลับมาอยู่ในกระแสด้วยการบังคับให้คนธรรมดา ทั้งหลายในแผ่นดินต้องไปลงทะเบียนกับวัดพุทธ บางทีการ กระทำ�นีอ้ าจเกิดขึน้ โดยไม่ตงั้ ใจ แต่การเป็นผูด้ แู ลศาสนาพุทธของ ตระกูลโทคุงาวะคือวิธีต้านฐานะศักดิ์สิทธิ์ของจักรพรรดิตาม ศาสนาชินโต อันเป็นศาสนาพื้นถิ่นของญี่ปุ่นที่มีรากฐานจาก คัมภีรโ์ คะจิกิ (ค.ศ. 712) ตามคัมภีร์นี้ จักรพรรดิเป็นผู้สืบทอด สายตรงของเทพีแห่งดวงอาทิตย์ อะมะเตะระสุ-โอมิกะมิ ดังนั้น จึงควรได้รบั การยกย่องเป็นเทพผูม้ ชี วี ติ อย่างไรก็ตาม จากมุมมอง ของลำ�ดับชัน้ ทางสังคม ศาสนาพุทธ (โดยเฉพาะนิกายเซน) ยังมี บทบาทอีกประการหนึง่ ผ่านอิทธิพลของนักคิดอย่าง ซูสกุ ิ โชซัน นั่นคือหลักความอดทนอดกลั้นและความไม่แบ่งแยกซึ่งนำ�ไปสู่ เสถี ย รภาพ ทั้ ง ยั ง ลดความขั ด แย้ ง และการแข็ ง ขื น ในระบบ ชิ-โน-โค-โช อีกด้วย เซนได้รับความนิยมเป็นพิเศษในหมู่ซามูไร ผูค้ น้ พบว่าพวกตนปราศจากบทบาทด้านการทหารในสังคมญีป่ นุ่ เป็นครั้งแรกในรอบหลายศตวรรษ แท้จริงแล้ว ความสัมพันธ์


62

Modern

Japan

ใกล้ชดิ ระหว่างเซนกับซามูไรซึง่ พบเห็นได้ทวั่ ไปในนวนิยายและ ภาพยนตร์ยุคปัจจุบันนั้น คือการนำ�เสนอวิถีของซามูไรที่หันมา นับถือศาสนาในช่วงที่บ้านเมืองอยู่ในความสันติ ซามูไรกับเซน ไม่เคยเกี่ยวพันกันเลยในยุคเซ็นโกคุที่ซามูไรยังรบพุ่งกันอยู่ อย่างไรก็ดี เมือ่ ถึงศตวรรษที่ 18 ระบบสังคมยุคโทคุงาวะ เริ่ ม กลายเป็ น เหยื่ อ ความสำ � เร็ จ ของตนเอง เสถี ย รภาพเริ่ ม ดูเหมือนการสกัดกัน้ และปัญหาของการจัดทีท่ างหรือแม้แต่การ สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีความสำ�คัญขึ้นมา โดย เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเศรษฐกิจชะงักงัน ผู้แสดงความคิดเห็นด้าน สังคมเริ่มสังเกตถึงความยากจนและความทุกข์ยากที่เพิ่มขึ้น ในเมืองทั้งสองแห่งและเขตชนบท เมืองที่เกิดใหม่สกปรก และ ชนบทก็มีภัยแล้งและความอดอยากไปทั่ว งานหนักของชาวนา (ที่มีมากถึงร้อยละ 80 ของประชากร) ดูเหมือนจะมีแต่เพิ่ม ขึ้น ในขณะเดียวกัน ชนชั้นพ่อค้าที่เกิดใหม่ก็ค่อยๆ รํ่ารวยขึ้น แม้ว่าจะมีฐานะตํ่าต้อยอยู่ล่างสุดของระบบศักดินาทางสังคม ใน ขณะเดียวกัน ซามูไรผู้โดยพื้นฐานเป็นหน่วยต้นทุนสำ�คัญของ ระบบโทคุงาวะ ก็กำ�ลังลำ�บากจากการขาดแหล่งรายได้ที่เคยมี แม้ว่าจะอยู่ลำ�ดับชั้นสูงสุดของระบบศักดินา ซามูไรกลับสูญเสีย ทรัพย์ที่จำ�เป็นต้องใช้เพื่อแสดงอำ�นาจไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้ง เมื่อไม่มีสงครามไว้ประกาศคุณค่า (และค่านิยมในปรัชญาที่ เชื่อมั่น) ซามูไรก็สูญเสียความเคารพนับถือจากคนอื่นในสังคม เนื่องจากสถานะของซามูไรถูกตัดสินจากชาติกำ�เนิด (ประมาณ ร้อยละ 6 ของประชากร) แทนความสามารถ ความรู้สึกรังเกียจ ทีเ่ กิดกับบุคคลไร้ความสามารถก็ยงิ่ แพร่หลาย จนกระทัง่ “ความ


A

Very Short Introduction

63

สามารถแบบซามูไร” กลายเป็นถ้อยคำ�ดูถูกเหยียดหยามไปใน ที่สุด กระบวนการนี้ถูกเร่งด้วยการตีสองหน้าอย่างชัดเจนของ ซามูไร ผู้ขมวดคิ้วใส่คุณค่าในเชิงวัตถุของชนชั้นชาวกรุงที่เกิด ใหม่ แต่ตัวเองกลับเป็นผู้อุปการะอย่างออกนอกหน้าที่สุดของ อุกิโยะ (โลกที่ล่องลอย) แหล่งบันเทิงเริงรมย์ที่เติบโตรวดเร็ว ในเมืองใหญ่ สิง่ ทีย่ อ้ นแย้งก็คอื การไปใช้บริการของซามูไรช่วยเร่ง พัฒนาการอย่างใหญ่หลวงในด้านศิลปะ รูปแบบศิลปะทีม่ ชี อื่ เสียง ที่สุดของญี่ปุ่นสมัยใหม่ตอนต้นบางส่วนมีกำ�เนิดในช่วงนี้เอง โดยเฉพาะ อุกโิ ยะเอะ (ภาพของโลกทีล่ อ่ งลอย) และโรงละครคาบุกิ อย่างหลังยังทำ�หน้าที่อีกประการในฐานะบ้านของนักแสดงผู้ สวมบทบาทโสเภณีชั้นสูง ผู้อาศัยอยู่ในอุกิโยะนั้น ในทางปฏิบัติ ถือว่าอยู่นอกระบบชิ-โน-โค-โช เนื่องจากพวกเขาเป็นตัวแทน อาชีพทีเ่ กิดใหม่ นัน่ คือการค้าขายและศิลปะ ซึง่ ไม่อาจกำ�หนดให้ เข้าในกรอบตามธรรมเนียมได้อย่างง่ายดาย แหล่งบันเทิงเหล่านี้ ยังคงเป็นสีสันของเมืองใหญ่ๆ ในญี่ปุ่นจวบจนปัจจุบัน และกลุ่ม คนมีชื่อเสียงที่นั่นก็ทรงอิทธิพลยิ่งขึ้นด้วย สำ�หรับผู้วิจารณ์ในยุคปัจจุบันบางคน เช่นนักทฤษฎี การเมืองผูม้ ชี อื่ เสียง มารุยามะ มาซาโอะ แท้จริงแล้วสถานการณ์ ที่ยากลำ�บากในศตวรรษที่ 18 ได้เปิดทางให้เมล็ดความเป็นสมัย ใหม่ของญี่ปุ่นได้รับการหว่าน มารุยามะและคนอื่นๆ ชี้อย่าง เฉพาะเจาะจงไปยังงานของ โอกิว โซไร ผู้บุกเบิกสิ่งที่เรียกว่า โคะกะคุ (การเรียนรู้แบบโบราณ) โซไรเป็นตัวแทนความท้าทาย สำ�คัญต่อแนวคิดดั้งเดิมของลัทธิขงจื๊อใหม่ แม้จะมาจากกรอบ แนวคิดแบบขงจื๊อเองก็ตาม เขาเห็นด้วยว่ารากฐานของการคิด


64

Modern

Japan

และการกระทำ�ทีถ่ กู ต้องอาจพบได้ในวรรณกรรมคลาสสิกของจีน โบราณ แต่เขาเถียงว่าการยึดติดตามตัวอักษรในแบบไม่พัฒนา หรืออนุรักษนิยมถือเป็นความผิดพลาด เขาโต้ว่าเป็นหน้าที่ทาง ประวัติศาสตร์ของผู้นำ�ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายในการตีความและปรับ ใช้เนื้อความเหล่านั้น โดยขึ้นอยู่กับความรอบรู้ในตัวบทแท้จริง แต่ยังต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมพิเศษในขณะนั้นด้วย พูดอีก อย่างคือ โซไรเถียงว่าแม้แต่ระบบการเมืองแบบขงจื๊อก็ควรมี แรงขับเคลื่อนและยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่จำ�เป็นในสังคม การยึ ด ติ ด อยู่ กั บ อดี ต เพี ย งเพราะอยากรั ก ษารู ป แบบอั น มี เสถียรภาพในยุคก่อนนั้นถือว่าผิดทำ�นองคลองธรรม แม้ไม่อาจ พู ด ได้ ว่ า โซไรเรี ย กร้ อ งให้ รั ฐ บาลบาคุ ฟุ กลายเป็ น รั ฐ บาล สมัยใหม่ที่มีความรับผิดชอบและตอบสนองต่อความต้องการ ของประชาชน เคารพสิทธิดา้ นสังคมและการเมืองของประชาชน ญี่ปุ่น แต่นักประวัติศาสตร์บางคนก็ยืนยันว่าแนวคิดของเขาได้ เตรียมเบิกทางสำ�หรับการพัฒนาดังกล่าวในยุคสมัยใหม่ เป้าหมายเฉพาะเจาะจงในคำ�วิจารณ์ของโซไรคือ การ คงอยู่ ข องสิ่ ง ที่ เ ขาพิ จ ารณาว่ า เป็ น การกระทำ � ทางสั ง คมที่ ผิดยุคผิดสมัย เช่น ท่าทีอวดโอ้ของซามูไรที่มีต่อชนชั้นพ่อค้าซึ่ง มีจำ�นวนมากขึ้นเรื่อยๆ แท้จริงแล้วบทบาทของซามูไรในสังคม โทคุงาวะคือสิ่งที่ต้องกังวลสนใจเป็นหลัก เนื่องจากการคงอยู่ อย่างต่อเนื่องของชนชั้นนี้เป็นสิ่งที่ให้เหตุผลได้ยากขึ้นเรื่อยๆ ลางบอกเหตุอย่างหนึง่ เกิดขึน้ หลังปี 1702 เรียกกันว่า เหตุการณ์ ที่อะโก หรือ การล้างแค้นของโรนิน (ซามูไรไม่มีนาย) 47 คน ในปัจจุบันเรื่องเล่าอันมีชื่อเสียงนี้กลายเป็นตำ�นานประจำ�ชาติ


A

Very Short Introduction

65

ของญีป่ นุ่ ไปแล้ว ซามูไร 47 คนล้างแค้นให้กบั การตายของไดเมียว ผู้เป็นนาย (เจ้าเมืองอะโก) หลังจากเขาถูกบีบให้กระทำ�เซ็ปปุกุ (ฆ่าตัวตายโดยวิธีคว้านท้อง และเป็นที่รู้จักกันในภาษาที่หยาบ กว่าว่า ฮารา-คิริ หรือการผ่าท้อง) แม้การปกครองในยุคโทคุงาวะ จะห้ามการล้างแค้นอย่างเด็ดขาด ซามูไรผู้จงรักภักดีก็วางแผน ปฏิบัติการดังกล่าวอยู่ถึง 22 เดือน โดยรู้ทั้งรู้ว่าพวกตนอาจต้อง เสียชีวติ ไม่วา่ แผนจะประสบความสำ�เร็จหรือไม่ ในทีส่ ดุ พวกโรนิน ก็ลงมือตามแผนและสังหารไดเมียวผู้เป็นสาเหตุการเสียชีวิต ของเจ้านายได้สำ�เร็จ จากนั้นพวกเขาก็เข้ามอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ บ้านเมืองและอาสากระทำ�เซ็ปปุกุเป็นบทลงโทษในความผิด ที่พวกเขาก่อขึ้น กรณีดงั กล่าวทำ�ให้เกิดความวุน่ วายขนานใหญ่ในยุคนัน้ และมั น ยั ง คงเป็ น ส่ ว นสำ � คั ญ ของเอกลั ก ษณ์ ค วามเป็ น ชาติ ญี่ปุ่นมาจนถึงสมัยใหม่ สำ�หรับโซไรแล้ว ไม่ว่าโรนิน 47 คนจะ ประกอบกิจอันกล้าหาญขนาดไหน การกระทำ�ของพวกเขาก็ได้ แสดงออกถึงความรูส้ กึ กตัญญูอย่างผิดยุคผิดสมัยทีม่ ตี อ่ ไดเมียว ผูห้ นึง่ แทนทีจ่ ะเคารพในกฎหมายของแผ่นดิน โรนิน 47 คนเป็น สัญลักษณ์ของยุคก่อนความเป็นชาติ และพวกเขาก็แสดงออกว่า คุ ณ ค่ า แต่ ดั้ ง เดิ ม ของชนชั้ น ซามู ไ รอาจเป็ น อุ ป สรรคต่ อ การ พัฒนาสู่ความเป็นสมัยใหม่ของญี่ปุ่นได้เพียงไร อย่างไรก็ตาม สำ�หรับประชากรกลุ่มอื่นๆ (รวมถึงซามูไรอื่นๆ อีกหลากหลาย กลุ่ม) การกระทำ�ของโรนินเหล่านี้เป็นตัวแทนของแนวคิดบูชิโด (วิถีนักรบ) และแสดงออกว่าคุณค่าดั้งเดิมของความจงรักภักดี เสียสละ อดทน และไว้เกียรติ ยังไม่ได้ถกู ลบล้างไปโดยสันติภาพ


66

Modern

Japan

ภาพประกอบ 5 โรนินแต่งกายเป็นตำ�รวจ ดังทีป่ รากฏในฉากละครเรือ่ ง จูชนิ กุระ เป็นภาพพิมพ์แกะไม้ ช่วงปี 1804 - 1812


A

Very Short Introduction

67

ในยุคโทคุงาวะ แท้จริงแล้ว เหตุการณ์ที่อะโกได้กลายเป็นหนึ่ง ในหัวข้อที่โด่งดังที่สุดในวัฒนธรรมญี่ปุ่น เป็นแรงบันดาลใจให้ นักเขียนบทคาบุกแิ ละบุนระกุ เช่นเดียวกับศิลปินต่างๆ ตราบจน ถึงปัจจุบนั นักเขียนบทละครทีม่ ผี ยู้ กย่องว่ายิง่ ใหญ่ทสี่ ดุ ในญีป่ นุ่ ชื่อ จิคะมัตสึ ได้เขียนบทที่มีชื่อเสียงที่สุดของเรื่อง จูชินกุระ และ บรรดาศิ ล ปิ น อุ กิ โ ยะเอะผู้ ยิ่ ง ใหญ่ ข องญี่ ปุ่ น ล้ ว นสร้ า งผลงาน ภาพชุ ด จากเรื่ อ งนี้ ไม่ ว่ า จะเป็ น ฮิ โ รชิ เ กะ โฮคุ ไ ซ คุ นิ ส ะดะ และแน่นอนว่าต้องมีคุนิโยชิด้วย ในวัฒนธรรมร่วมสมัย มีทั้ง ภาพยนตร์ นวนิยาย มังงะ (นวนิยายภาพ) อะนิเมะ และแม้แต่ วิดิโอเกม ที่อุทิศให้กับตำ�นานนี้ ส่วนสุสานของโรนินก็ได้กลาย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำ�คัญไป พูดอีกอย่างคือ ความตึงเครียดระหว่างคุณค่าดัง้ เดิมและ คุณค่าทางสังคมใหม่ ซึง่ โดยปกติเชือ่ มโยงกับกระบวนการพัฒนา สู่ความเป็นสมัยใหม่ ได้กลายเป็นองค์ประกอบสำ�คัญของสังคม ยุคโทคุงาวะตอนต้นศตวรรษที่ 18 ภาพโรแมนติกของซามูไรใน ฐานะบริวารผู้นับถือหลักปรัชญาและมีเกียรติ ยินดีที่จะสละชีวิต ให้เจ้านายเหนือหัว กลายเป็นเรือ่ งของวัฒนธรรมสมัยนิยม ไม่ใช่ เพียงสำ�หรับมวลชนไว้เสพเท่านั้น ซามูไรเองก็นิยมด้วย แต่ อุดมคติเหล่านีต้ รงข้ามอย่างสิน้ เชิงกับประสบการณ์จริงของชีวติ ในญี่ปุ่นยุคโทคุงาวะ ซามูไรส่วนใหญ่ไม่เคยชักดาบสู้รบด้วยซํ้า การล้างแค้นถูกห้ามเด็ดขาด ความจงรักภักดีควรจะรวมศูนย์อยู่ ที่โชกุนและเทงกะ แทนที่จะเป็นเจ้านายท้องถิ่น ซามูไรในเมือง กลายเป็นผู้บริโภคที่เสื่อมลงเรื่อยๆ ในขณะที่ซามูไรหัวเมืองก็ สูญเสียสถานะไปอย่างรวดเร็ว สำ�หรับหลายคนแล้ว ซามูไรเป็น


68

Modern

Japan

ภาระมากกว่าสัญลักษณ์ทางสังคม ดังนัน้ จึงนับเป็นเรือ่ งย้อนแย้ง เมือ่ เหตุการณ์ทอี่ ะโกเข้าไปทำ�ลายความสงบเรียบร้อยทางสังคม ไปชั่วขณะ แต่ในทางปฏิบัติแล้วเหตุการณ์ดังกล่าวได้กลายเป็น ปัจจัยสำ�คัญในการปลูกฝังจิตสำ�นึกความเป็นชาติสมัยใหม่ไป อย่างรวดเร็ว บาคุมัตสึและการปฏิรูปเมจิ ดังนั้นเมื่อพลเรือจัตวาเพอร์รี่มาถึง ญี่ปุ่นก็เป็นสังคมที่ ซับซ้อนและพรุนไปด้วยความขัดแย้งอยูก่ อ่ นแล้ว มันมีคณ ุ สมบัติ หลายประการของประเทศสมัยใหม่ มีกลไกรัฐที่ครอบคลุมทั้ง ประเทศภายใต้การควบคุมทางโลกโดยรัฐบาลบาคุฟุที่เอโดะ ซึ่งในทางกลับกันก็พึ่งอำ�นาจทางศาสนาของราชวงศ์ในเกียวโต เพื่อให้ได้รับความชอบธรรม หลังจากหลายศตวรรษแห่งสันติ และเสถี ย รภาพอย่ า งที่ ไ ม่ เ คยมี ม าก่ อ น ญี่ ปุ่ น ก็ มี เ ศรษฐกิ จ ตลาดภายในประเทศที่ประสบความสำ�เร็จ เพียงแต่เป็นแบบที่ ยังอยู่นอกระบบตลาดภูมิภาคเอเชีย วัฒนธรรมระดับชาติกำ�ลัง เบ่ ง บานโดยเฉพาะในเมื อ งใหญ่ ที่ มี ก ารจั ด การดี เ ยี่ ย มอย่ า ง เอโดะและโอซาก้ า อย่ า งไรก็ ต าม พื้ น ฐานด้ า นปรั ช ญาและ เศรษฐกิจของอาณาจักรนี้ก็กำ�ลังผุกร่อนและความตึงเครียด ทางสั ง คมก็ ซึ ม เซาะระบบชนชั้ น ที่ ผิ ด ยุ ค ผิ ด สมั ย และไม่ ยืดหยุ่น รัฐบาลบาคุฟุไม่มีระบบภาษีที่รวมศูนย์หรือต่อเนื่อง ไม่มีระบบการเคลื่อนย้ายกำ�ลังพลในระดับชาติ และมีความ สามารถจำ�กัดในการควบคุมความสัมพันธ์ของเขตกึ่งปกครอง


A

Very Short Introduction

69

ตนเองกั บ โลกภายนอก พู ด อี ก อย่ า งคื อ เพอร์ รี่ ไ ด้ ม าพบ ประเทศที่กำ�ลังอยู่ในกระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นสมัยใหม่ ซึ่ ง กำ � ลั ง วุ่ น วายกั บ ช่ ว งเวลาแรกเริ่ ม ในการใช้ ร ะบอบการ ปกครองที่ จ งใจออกแบบมาเพื่ อ ส่ ง เสริ ม ภาวะหยุ ด นิ่ ง และ เสถียรภาพ เป็นระบบการปกครองบนจุดเปลี่ยนเพื่อการปฏิรูป นักประวัติศาสตร์ตั้งชื่อช่วงเวลาระหว่างปี 1853 – 1868 ว่า บาคุมัตสึ หรืออวสานสถาบันโชกุน การมาถึงของเพอร์รี่เสมือนตัวเร่งปฏิกิริยาในส่วนผสม ที่แปรปรวน ไปกระตุ้นและก่อให้เกิดชุดเหตุการณ์ที่ท้ายสุดก็ หักมุมกลายเป็นการล้มรัฐบาลบาคุฟุ และนำ�ไปสูก่ ารตัง้ จักรพรรดิ เป็นผูม้ อี �ำ นาจสูงสุดในประเทศอธิปไตยสมัยใหม่ หลังจากผ่านไป สองศตวรรษกับการค่อยๆ ฟูมฟักอำ�นาจสิทธิ์ขาดทางการเมือง ในญีป่ นุ่ และโดดเดีย่ วราชสำ�นักหลวงให้เป็นแค่หน่วยสัญลักษณ์ บางทีการกระทำ�ทีน่ า่ สงสัยทีส่ ดุ ในชุดเหตุการณ์นอี้ าจเกิดขึน้ จาก การกำ�กับควบคุมของบาคุฟเุ อง อันดับแรก หลังจากเพอร์รมี่ าถึง ครั้งแรกในปี 1853 หัวหน้าคณะมนตรี (chief councillor) ของ บาคุฟุ อาเบะ มาซาฮิโระ ได้ท�ำ ในสิง่ ทีไ่ ม่เคยปรากฏมาก่อน นัน่ คือ ขอความเห็นจากไดเมียวว่าควรตอบสนองต่อคำ�ขาดของเพอร์รี่ อย่างไรดี แม้ว่าความตั้งใจของเขาอาจเป็นการสร้างความเห็น ชอบร่วมกันในระดับชาติ ซึ่งเป็นสิ่งสำ�คัญยิ่งเมื่อเผชิญกับภัย คุกคาม แต่ผลกระทบของมันกลายเป็นเหมือนการบ่งชีว้ า่ บาคุฟุ ขาดอำ�นาจที่จำ�เป็นในฐานะผู้นำ�ในช่วงวิกฤต แท้จริงแล้วผล ทีต่ ามมาคือ อาเบะถูกบีบให้ลาออก ไม่มคี วามเห็นร่วม และกลุม่ ไดเมียวทรงอำ�นาจที่ไม่ชอบชาวต่างประเทศก็ก้าวขึ้นมาบนเวที


70

Modern

Japan

ระดับชาติ พร้อมกับพูดถึงบทบาทสำ�คัญของจักรพรรดิในฐานะ ผู้นำ�ชาติที่แข็งแกร่งกว่าเดิมในช่วงเวลาวิกฤตอย่างที่ไม่เคย ประสบมาก่อน เหตุการณ์ที่สองนั้นน่าประหลาดใจยิ่งกว่า หลังจาก เพอร์ รี่ ย้ อ นกลั บ มาและตั้ ง ทาวน์ เ ซนด์ แฮร์ ริ ส เป็ น กงสุ ล สหรัฐอเมริกาประจำ�ชิโมดะ ก็หนั ไปเจรจากันเรือ่ งข้อตกลงการค้า ในตอนนั้นโชกุน โทคุงาวะ อิเอซาดะ กำ�ลังป่วยใกล้ตาย และ ปัญหาเรื่องผู้สืบทอดก็ยังแก้ไม่ตก ผู้รับตำ�แหน่งต่อจากอาเบะ คือ ฮอตตะ มาซาโยชิ มีงานยากในการเจรจาหาทางแก้ปัญหา คูแ่ ฝดนี้ เขากับ ฟุได ไดเมียว ต้องการรับข้อตกลงการค้าของแฮร์รสิ และแต่งตัง้ ให้เด็กหัวอ่อนวัย 12 ปี โทคุงาวะ อิเอโมชิ ทายาทของ เมืองคีซงึ่ เป็นสายตระกูลโทคุงาวะ ขึน้ เป็นโชกุน แต่โชคร้ายเพราะ ความอ่อนแอที่เห็นได้ชัดของบาคุฟุในช่วงเวลายากลำ�บากนี้ ทำ�ให้ โทซามะ ไดเมียว (โดยเฉพาะเมืองซัตสึมะ) ร่วมกับเมือง ที่ต่อต้านต่างชาติอื่นๆ (เช่น มิโตะ ซึ่งแท้จริงก็เป็นสายตระกูล โทคุงาวะ) ตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์กับทางเลือกทั้งสองนี้ โดยต้องการ ปฏิเสธสนธิสญ ั ญาและปรารถนาทีจ่ ะตัง้ โทคุงาวะ โยชิโนบุ (บุตร ของไดเมียวแห่งมิโตะ โทคุงาวะ นาริอากิ) เป็นโชกุนแทน เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง ฮอตตะได้กระทำ�การอัน น่าประหลาดใจด้วยการเดินทางไปเกียวโตเพื่อขอให้จักรพรรดิ โคเมอิ ใ ห้ ก ารรั บ รองสนธิ สั ญ ญาของแฮร์ ริ ส และเห็ น ชอบกั บ ตัวเลือกผู้สืบทอดตำ�แหน่งโชกุนของบาคุฟุ เป็นครั้งแรกในรอบ หลายศตวรรษทีจ่ ักรพรรดิถกู ดึงเข้ามาในวังวนการตัดสินใจทาง การเมือง แต่นับเป็นโชคร้ายของฮอตตะที่จักรพรรดิมีทัศนคติ


A

Very Short Introduction

71

ต่ อ ต้ า นต่ า งชาติ อ ย่ า งชั ด เจน และเป็ น ผู้ ส นั บ สนุ น โทคุ ง าวะ โยชิโนบุ ไดเมียวแห่งซัตสึมะและมิโตะทีฝ่ กั ใฝ่จกั รวรรดินยิ มมาก ขึ้นเรื่อยๆ ได้แซงหน้ามากระซิบข้างหูจักรพรรดิโคเมอิก่อนแล้ว ฮอตตะผู้ถูกเหยียดหยามได้กลับไปยังเอโดะ การกระทำ�ของเขา ได้ท�ำ ลายความชอบธรรมของบาคุฟไุ ปอย่างมหันต์ ทัง้ เมือ่ มีค�ำ สัง่ จากจักรพรรดิทตี่ รงข้ามกับความปรารถนาของรัฐบาลโชกุน เขา จึงตัดสินใจลาออก แม้ว่า อี นาโอสุเกะ ผู้สืบตำ�แหน่งต่อจากฮอตตะจะ พยายามแก้ปัญหาด้วยความรุนแรง แต่ความเสียหายต่อความ ชอบธรรมของบาคุฟุกเ็ กิดขึน้ แล้ว และเป็นไปไม่ได้ทจี่ ะทำ�ให้ทกุ อย่างกลับเป็นเช่นเดิม การกระทำ�ที่ไม่ประนีประนอมของอีต่อ ไดเมียวหัวรุนแรงมีแต่จะผลักให้กลุม่ ต่อต้านต่างชาติแยกตัวออก ไปมากขึ้น และส่งพวกเขาเข้าไปหากลุ่มต่อต้านบาคุฟุ-ยกย่อง ราชวงศ์มากกว่าเดิม ภายใน 2 ปี กลุ่มซามูไรจากเมืองมิโตะก็ ลอบสังหารอีกลางเมืองเอโดะ และหลังจากนั้นบาคุฟกุ ็ถูกบังคับ ให้อ�ำ นวยความสะดวกต่อเหล่าไดเมียวมากทีส่ ดุ เช่น ในปี 1862 โชกุนยกเลิกระบบซันคิน โคไตในที่สุด และให้ไดเมียวใช้เงินที่ สะสมไว้ไปกับการป้องกันประเทศโดยสร้างกองทหารภายใน เขตแดนของตนเอง ในขณะทีก่ ารประกาศเช่นนีอ้ าจตัง้ ใจอำ�นวย ความสะดวกให้ไดเมียว แต่ผลกระทบก็คือการกระจายอำ�นาจ ทางการเมืองออกจากเอโดะ ด้วยการยกเลิกภาระทางการเงินที่ หนักที่สุดสำ�หรับไดเมียวหัวรั้น และในขณะเดียวกันก็เป็นการ ส่งเสริมให้ไดเมียวเหล่านี้สร้างกองทัพส่วนตัวอันทรงพลังขึ้น ฉากหน้าทีแ่ สดงความเป็นอันหนึง่ อันเดียวกันของประเทศในยุค


72

Modern

Japan

โทคุงาวะกำ�ลังพังทลายลง เมื่อถึงทศวรรษ 1860 บาคุฟุตกอยู่ภายใต้ภัยคุกคาม จากสามด้านพร้อมกัน ภัยแรกคือภาระที่ต้องปกครอง โทซามะ ไดเมียว ซึ่งแสดงความไม่พอใจมากขึ้นเรื่อยๆ และควบคุม ได้ยากขึ้นเรื่อยๆ ภัยที่สองคือมีความเสี่ยงอย่างแท้จริงที่จะเกิด ความวุ่นวายทางสังคมจากซามูไรหนุ่มหรือ ชิชิ (บุรุษผู้มีจุด มุ่งหมาย) ผู้เรียกตัวเองว่า “ผู้จงรักภักดี” เพราะพวกเขาตั้งใจจะ คืนอำ�นาจการปกครองญี่ปุ่นให้กับราชวงศ์ โดยเชื่อว่าบาคุฟุ ช่วงชิงอำ�นาจจากจักรพรรดิโดยไม่ถกู ต้อง ในทางปฏิบตั ิ เราอาจ พบเจอเหล่าชิชิได้ในดินแดนโทซามะ โดยเฉพาะที่เมืองซัตสึมะ และโจชู แม้ว่าบางส่วนอาจพบเจอได้ในพื้นที่ชั้นในเช่น มิโตะ คนเหล่านี้รวมตัวกันภายใต้สโลแกน ซนโน โจอิ (หนุนจักรพรรดิ ขั บ คนเถื่ อ น) แต่ ภ ายใต้ ก ารนำ � ของนั ก ปราชญ์ ซ ามู ไ รอย่ า ง โยชิดะ โชอิน (จากโจชู) และซาคาโมโตะ เรียวมะ (จากโทะสะ) ทำ�ให้พวกชิชิ ยิ่งเชื่อมั่นในมุมมองต่อโลกตะวันตก โดยเห็นว่า เทคโนโลยีของตะวันตกนั้นแฝงพลังอำ�นาจที่เพียงพอจะโค่น บาคุฟแุ ละป้องกันประเทศจากการถูกรุกรานได้ด้วย ภัยคุกคาม ที่สามต่อบาคุฟมุ าจากภายนอกประเทศ นั่นคือความกดดันจาก มหาอำ�นาจตะวันตก อย่างไรก็ตาม เมื่อมองหลายๆ ด้านแล้ว ความกดดันจากภายนอกนี้แท้จริงก็เป็นส่วนหนึ่งในบริบทของ ภัยคุกคามอีกสองด้านมากกว่าจะเป็นภัยคุกคามด้วยตัวของมัน เอง ภายใต้อิทธิพลของบรรยากาศที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ในเกียวโต จักรพรรดิโคเมอิเ องก็เ ริ่มยํ้าอำ �นาจของราชวงศ์


A

Very Short Introduction

73

ในปี 1862 พระองค์ได้สง่ คำ�ขออย่างเป็นทางการถึงโชกุนในฐานะ ที่เป็น “ผู้บัญชาการทหารสูงสุดผู้ปราบคนเถื่อน” ของพระองค์ ให้ไล่คนเถื่อนตะวันตกออกไปจากญี่ปุ่น โดยกำ�หนดเส้นตาย ในวันที่ 25 มิถุนายน 1863 เมื่อเส้นตายผ่านพ้นไป บาคุฟไุ ม่ได้ พยายามดำ�เนินการใดๆ ตามคำ�ขอ อย่างไรก็ตาม ในส่วนอื่นๆ ของญี่ปุ่น “ผู้จงรักภักดี” ที่ต่อต้านบาคุฟุ พากันอึดอัดใจ ซามูไร ในเมื อ งโจชู ผู้ มุ่ ง มั่ น ติ ด อาวุ ธ ตนเองด้ ว ยปื น ไฟของตะวั น ตก ได้เปิดฉากยิงใส่เรืออเมริกนั นอกชายฝัง่ การตอบโต้เป็นไปอย่าง รวดเร็วและรุนแรง หนึ่งในผลลัพธ์ก็คือดินแดนโจชูกลายเป็น แม่เหล็กสำ�หรับพวกหัวขบถและผู้จงรักภักดี ปีต่อมาพวกเขา ตั้งกองทัพและเคลื่อนไปทางเกียวโต มุ่งมั่นที่จะ “ปลดแอก” จักรพรรดิจากเงื้อมมือของบาคุฟุ ภายใต้การนำ�ของซามูไรเมืองโทะสะชื่อ ซาคาโมโตะ เรี ย วมะ ดิ น แดนโทซามะอย่ า งโจชู แ ละซั ต สึ ม ะเริ่ ม รู้ สึ ก ว่ า พวกเขามีความสนใจร่วมกันอยูม่ าก ไม่เพียงมีความแค้นมานาน กับตระกูลโทคุงาวะ แต่ยงั มีสดั ส่วนของซามูไรสูงผิดปกติ (มากถึง ร้อยละ 25 ของประชากร) ซามูไรเหล่านี้ต่างก็มีแนวคิดแบบ “ผู้จงรักภักดี” ยิ่งกว่านั้น อาณาจักรรอบนอกเหล่านี้ยังมีข้อ ได้เปรียบตรงทีอ่ ยูห่ า่ งไกลจากเอโดะ จึงได้เก็บเกีย่ วข้อมูลความรู้ ของโลกตะวันตกและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาอย่างระมัดระวังและ กระตือรือร้นนับแต่การมาเยือนของเพอร์รี่ เมือ่ ถึงกลางทศวรรษ 1860 พวกเขาก็พฒ ั นากำ�ลังทหารสมัยใหม่ขนึ้ มาได้อย่างรวดเร็ว ซึง่ อย่างน้อยก็เท่าเทียมกับกองทัพของบาคุฟุ แต่ทรี่ ดุ หน้าไปกว่า นั้นคือ ซามูไรจากโจชู เช่น ทากาสุงิ ชินซากุ ได้จัดตั้งหน่วย


74

Modern

Japan

ทหารที่ประกอบด้วยผู้ที่ไม่ใช่ซามูไร นับเป็นการยุติข้อห้ามอายุ 250 ปี ที่ห้ามชนชั้นนอกเหนือจากซามูไรพกอาวุธ กองทหาร ของทากาสุงิอาจเป็นกองทัพ “ของประชาชน” สมัยใหม่กองทัพ แรกของญี่ปุ่นก็เป็นได้ ในปี 1866 โจชูและซัตสึมะตกลงเป็นพันธมิตรลับ (และ ผิดกฎหมาย) ร่วมเป็นร่วมตายกัน ในปีเดียวกันนั้น โทคุงาวะ อิเอโมชิ เสียชีวติ จากโรคหัวใจ โทคุงาวะ โยชิโนบุ แห่งเมืองมิโตะ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโชกุน โยชิโนบุตัดสินใจยกทัพบุกโจชู เพื่อลงโทษฐานกระทำ�การไม่เหมาะสมและเป็นการเชือดไก่ให้ ลิงดู เขาเป็นผู้นิยมความเป็นสมัยใหม่ และบาคุฟุก็ได้รับความ ช่วยเหลือค่อนข้างมากจากสหรัฐอเมริกาและฝรัง่ เศสในการสร้าง กองทัพสมัยใหม่ อย่างไรก็ดี เมือ่ บาคุฟเุ ข้าไปประชิดโจชูทอี่ ยูด่ า้ น ตะวันตกเฉียงใต้สุดของประเทศ เมืองซัตสึมะกลับปฏิเสธคำ�สั่ง เรียกทัพอย่างคาดไม่ถึง ผลก็คือ กองทัพบาคุฟุพ่ายให้กับโจชู และถูกบีบให้ถอยทัพอย่างน่าอดสูตลอดเส้นทางจนถึงเอโดะ เป็น ครั้งแรกในรอบหลายศตวรรษที่บาคุฟุถูกตราหน้าว่าอ่อนด้อย เชิงการทหารในการปกครองอาณาจักร ข้ออ้างสุดท้ายและเป็น ข้ออ้างพืน้ ฐานทีส่ ดุ ทีใ่ ช้สร้างความชอบธรรมได้ถกู ทำ�ลายลงแล้ว ในอี ก หลายเดื อ นต่ อ มาได้ เ กิ ด ความวุ่ น วายในสั ง คมยกใหญ่ และการลุกฮือของชาวบ้านทั่วประเทศ สะท้อนถึงวิกฤตความ ชอบธรรมที่ ถู ก ทำ � ลายลงจากภาพกองทั พ บาคุ ฟุ ที่ พ่ า ยแพ้ ถอยร่นกลับบ้าน และแล้วก็เกิดลางร้ายของการเปลี่ยนแปลง เมื่อจักรพรรดิโคเมอิสิ้นพระชนม์ในปี 1867 พระโอรสได้สืบทอด บัลลังก์และเสด็จขึ้นเป็นจักรพรรดิเมจิในเดือนกุมภาพันธ์ 1867


A

Very Short Introduction

75

ควั น หลงจากการพ่ า ยแพ้ ข องบาคุ ฟุ ทำ � ให้ โ ทะสะ พยายามอีกครั้งที่จะเป็นตัวกลางเกลี้ยกล่อมให้โชกุนโยชิโนบุ ยอมรับความจำ�เป็นทีต่ อ้ งปฏิรปู การเมืองทัง้ หมด การตัง้ รัฐสภา ในแบบปรัสเซีย และการคืนอำ�นาจสิทธิขาดในการปกครองให้ จักรพรรดิ แท้จริงแล้ว โยชิโนบุดเู หมือนจะเห็นด้วยกับการปฏิรปู เหล่านี้ อย่างไรก็ตาม มันสายเกินไปแล้วสำ�หรับบาคุฟุ ไดเมียว แห่งซัตสึมะและโจชูได้ตัดสินใจที่จะฉกฉวยโอกาสนี้ในการรวบ อำ�นาจมาจัดการเสียเอง ด้วยก้าวที่กล้าในเดือนธันวาคม 1867 ทัพผสมของสองเมืองได้เดินหน้าสู่เกียวโต เข้ายึดเมือง และ ควบคุมพระราชวังหลวง ภายในหนึง่ เดือน พวกเขาก็เกลีย้ กล่อม ให้จักรพรรดิองค์ใหม่ประกาศเรียกคืนอำ�นาจแห่งจักรวรรดิและ ใช้พระราชอำ�นาจยกเลิกบาคุฟใุ นเดือนมกราคมปี 1868 โชกุ น โยชิ โ นบุ แ ข็ ง ขื น ต่ อ คำ � สั่ ง ดั ง กล่ า ว และเริ่ ม ความขัดแย้งที่จบลงด้วยการนองเลือดซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ ศึ ก โบะชิ น อั น ที่ จ ริ ง ศึ ก ครั้ ง นี้ จ บลงภายในเวลาไม่ กี่ เ ดื อ น เมื่ อ การโจมตี เ กี ย วโตโดยโยชิ โ นบุ ถู ก ต้ า นกลั บ ไปได้ อ ย่ า ง ง่ายดาย และเขาก็ถูกบีบให้ต้องล่าถอยกลับสู่เอโดะ เมืองเอโดะ เองถูกตีแตกในเดือนเมษายนปี 1868 เมื่อขุนศึกระดับตำ�นาน ของโยชิโนบุอย่าง คัตสึ ไคชู มอบเมืองให้กบั กองทัพหลวงโดยไม่ ต่ อ ต้ า น เห็ น ได้ ชั ด ว่ า เป็ น เพราะเขาคิ ด ว่ า ความเป็ น อั น หนึ่ ง อันเดียวและสันติสุขมีความสำ�คัญมากกว่าการรักษาบาคุฟุไว้ นี่ เ องคื อ การปฏิ รู ป เมจิ ซึ่ ง ได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลทั้ ง จากวิ วั ฒ นาการสู่ ความเป็ น สมั ย ใหม่ แ ละการเกิ ด กองทั พ ใหญ่ ที่ ใ ช้ อ าวุ ธ แบบ ตะวันตกและควบคุมด้วยแผนยุทธศาสตร์แบบยุโรป


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.