เงินไม่ใช่พระเจ้า

Page 1

คำ�นำ�ผู้แปล

จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่และนักต่อต้าน ลัทธิบชู าตลาดคนแรกๆ ทีม่ อี ทิ ธิพลระดับโลก เคยกล่าววาทะน่าคิดเอาไว้วา่ ทุนนิยมคือความเชื่ออันน่าพิศวงว่าคนที่ชั่วช้าที่สุดจะท�ำสิ่งที่ชั่วช้า ที่สุดเพื่อประโยชน์สูงสุดของทุกคน

บางคนฟังแล้วหัวเราะเยาะว่าเคนส์ช่างไม่รู้อะไรเลย เพราะไม่ใช่ ทุนนิยมหรอกหรือที่สร้างความมั่งคั่งมหาศาล ยกระดับคุณภาพชีวิตของ คนจนหลายร้อยคนทั่วโลก แรงจูงใจทางการเงินของผู้ประกอบการที่ต้อง แข่งขันเพื่อความอยู่รอดกระตุ้นให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์อ�ำนวยความสะดวกจ�ำนวนนับไม่ถ้วนอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่เคยมีครั้งใดที่ระบบทุนนิยมถูกตั้งค�ำถาม เท่ากับหลังเกิดวิกฤตหลายด้านอย่างพร้อมเพรียงกันภายในทศวรรษแรก ของศตวรรษที่ 21 ความรุนแรงและลักษณะของวิกฤตการเงิน วิกฤตอาหาร วิกฤต พลังงาน และวิกฤตสิ่งแวดล้อม ล้วนชี้นิ้วไปยังภาคธุรกิจว่าเป็นตัวการ ส�ำคัญ ส่งผลให้คนทั่วไปเริ่มตั้งค�ำถามว่า ตลาดมีประสิทธิภาพและจัดการ ตัวเองได้จริงหรือ ตลอดจนเริ่มมองเห็นปัญหาที่เกิดจากความเหลื่อมล�้ำ 6

What Money Ca n ’t Bu y


และกรณีที่เอกชนบางรายได้ประโยชน์ แต่สังคมส่วนรวมเสียประโยชน์ หรือต้องแบกรับต้นทุนที่มองไม่เห็น ที่มองไม่เห็นส่วนหนึ่งเพราะตลาดไม่ให้ “ราคา” กับ “คุณค่า” ที่ คนในสังคมยึดถือร่วมกัน ตลาดไม่สามารถจัดการกับอะไรก็ตามที่แปลง เป็นมูลค่าทางการเงินไม่ได้ นักเศรษฐศาสตร์หลายคนมองว่า ระบบตลาดมี “ข้อบกพร่อง” และ “ความล้มเหลว” หลายประการโดยธรรมชาติ ดังนัน้ รัฐจึงไม่ได้มหี น้าทีเ่ พียง ก�ำกับดูแลให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมเท่านัน้ แต่ตอ้ งด�ำเนินนโยบาย และมาตรการต่างๆ เพื่อบรรเทาความล้มเหลวของตลาดด้วย สมมติฐานซ่อนเร้นซึง่ มักจะอยูใ่ ต้มมุ มองนีค้ อื เมือ่ ใดทีต่ ลาดท�ำงาน ได้ดี มันก็จะจัดการได้ทุกเรื่อง เพราะเป็นกลไกที่ดีที่สุดแล้วที่เรามีในการ จัดสรรทรัพยากรทุกประเภท ดังนั้นเราจึงต้องหาทางแก้ไขข้อบกพร่อง ของตลาด หาทางแปลงคุณค่าต่างๆ ที่เรามองว่าส�ำคัญ เช่น คุณภาพน�้ำ คุณภาพอากาศ ฯลฯ ออกมาเป็นมูลค่าทางการเงิน จะได้ใช้กลไกตลาดใน การจัดการได้ แต่ในยุคที่ตลาดและ “ลัทธิบูชาตลาด” ก�ำลังแทรกซึมเข้าไปใน ทุกมิติของชีวิต อาจารย์ไมเคิล แซนเดล นักปรัชญาการเมืองจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ย�้ำเตือนเราด้วยตัวอย่างหลากหลายกรณีในหนังสือ เล่มนี้ว่า ตลาดไม่ได้เป็นแค่กลไกเฉยๆ แต่มันมีปทัสถานบางอย่างในตัว มั น ตั้ ง อยู ่ บ นสมมติ ฐ าน – และสนั บ สนุ น – วิ ธี ป ระเมิ น คุ ณ ค่ า ของสิ่งที่ก�ำลังแลกเปลี่ยน นักเศรษฐศาสตร์มักจะคิดเอาเองว่า ตลาดไม่แตะต้องหรือมอบมลทินใดๆ ให้กับสินค้าที่มันก�ำกับ แต่ ความเชือ่ นีไ้ ม่จริง ตลาดทิง้ ร่องรอยของมันไว้บนปทัสถานทางสังคม แรงจูงใจของตลาดมักจะบั่นทอนหรือเบียดบังแรงจูงใจนอกตลาด ออกไป

M i ch a el S a n d el

7


พูดง่ายๆ คือ แรงจูงใจที่จะ “ท�ำเพื่อเงิน” อาจบดบังแรงจูงใจอื่นที่ เรามองว่าส�ำคัญ เช่น ส�ำนึกพลเมือง ความรัก ความเอือ้ อาทร ความสามัคคี ฯลฯ ฉะนั้นคนในสังคมจึงต้องปรึกษาหารือกันอย่างจริงจังว่า อะไรบ้างที่ เงินซื้อไม่ได้ หรือไม่ควรซื้อได้ จะได้ขีดเส้นกันไม่ให้ตลาดก้าวเข้ามา หันมาดูเมืองไทย ประเทศซึ่งเป็นป้อมปราการของทุนนิยมแบบ ล้าหลังทีเ่ รียกกันว่า “ทุนนิยมพวกพ้อง” ต่อเนือ่ งยาวนานนับร้อยปี อันตราย ของลัทธิบูชาตลาดอาจสะท้อนให้เห็นผ่านค่านิยมที่บิดเบี้ยวอันตั้งอยู่บน ความไม่เข้าใจการท�ำงานของระบบตลาดที่ควรเป็น มากกว่าจะเกิดจาก รูปธรรมการรุกรานของตลาดเข้าไปในคุณค่าต่างๆ ดังทีอ่ าจารย์ยกตัวอย่าง ในกรณีของสหรัฐอเมริกา ยกตั ว อย่ า งเช่ น การที่ ค นในสั ง คมโดยรวมยั ง นั บ หน้ า ถื อ ตา “คนรวย” โดยไม่ตงั้ ค�ำถามถึง “ทีม่ า” ของความมัง่ คัง่ ว่าเกิดจากการแข่งขัน โดยสุจริตในสนามแข่งขัน หรือเกิดจากการล็อบบี้ภาครัฐให้ออกกฎหมาย หรือนโยบายที่กีดกันคู่แข่งหรือมอบอ�ำนาจผูกขาดให้แก่ตนเอง อย่างไรก็ตาม เมืองไทยวันนีก้ ม็ หี ลายกรณีซงึ่ สะท้อนการแทรกซึม ของวิธีคิดแบบตลาดในทางที่ “เบียดบังแรงจูงใจนอกตลาด” ออกไปอย่าง น่ากังวลดังเช่นกรณีต่อไปนี้ • ปรากฏการณ์ “ซื้อปริญญา” อย่างกว้างขวาง (ทั้งการซื้อทางตรงและ ทางอ้อมผ่านการจงใจใช้มาตรฐานที่หละหลวมของมหาวิทยาลัย) • การยก “ความต้องการของผู้บริโภค” เป็นข้ออ้างระหว่างละเลย “มาตรฐานวิชาชีพ” ในหลายวงการ โดยเฉพาะสื่อมวลชน • การเติบโตของลัทธิทางศาสนาที่ใช้การตลาดน�ำหน้าธรรมะ • การมองการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ (ซีเอสอาร์) อย่างผิดมหันต์วา่ เป็นเรือ่ งของกิจกรรม “คืนก�ำไร” สูส่ งั คม โดยไม่เกีย่ ว อะไรเลยกับกระบวนการแสวงก�ำไรของบริษัท

8

What Money Ca n ’t Bu y


• ค�ำถามหนาหูจากหลายคนที่ไม่น่าเชื่อว่าเกิดในระบอบประชาธิปไตย สมัยใหม่ว่า เหตุใดคนที่ไม่เสียภาษีจึงสมควรมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และท�ำไมผู้เสียภาษีจึงต้องช่วยคนที่ไม่เสียภาษีด้วย ผู้แปลมองว่า ปัญหาใหญ่ในสังคมไทยไม่ได้มีแต่การแทรกซึม ของวิธีคิดแบบตลาดเข้าไปในที่ที่มันไม่ควรจะอยู่เท่านั้น แต่ความไม่เข้าใจ บทบาทและประโยชน์ของกลไกตลาดที่ถูกต้องก็เป็นปัญหาใหญ่ไม่แพ้กัน เหตุนี้เราจึงมีรัฐบาลที่สามารถด�ำเนินนโยบายเอื้อประโยชน์ระยะสั้นที่ บ่อนท�ำลายกลไกตลาดและความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว โดย ได้รับเสียงแซ่ซ้องสนับสนุนอย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มต่อต้าน ทุนนิยมแบบสุดขัว้ ทีร่ ณรงค์เรียกร้องให้รฐั ยึดกิจการส�ำคัญต่างๆ มาท�ำเอง แทนทีจ่ ะเสนอวิธแี ก้ไขข้อบกพร่องของตลาด และก�ำกับดูแลให้แรงจูงใจของ เอกชนสอดคล้องกับประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าเดิม ความสามารถในการแยกแยะระหว่างกรณีที่ตลาดเป็นกลไกที่ เหมาะสม (เพียงแต่มีข้อบกพร่อง) กับกรณีที่มันไม่เหมาะสม จึงส�ำคัญ ไม่แพ้การมองให้เห็น “ขีดจ�ำกัดทางศีลธรรม” ของตลาดดังที่อาจารย์ชี้ชัด ในหนังสือเล่มนี้ ผู้แปลขอขอบคุณคุณพลอยแสง เอกญาติ บรรณาธิการเล่ม และ ผองเพื่อนผู้ร่วมก่อตั้งส�ำนักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์สทุกท่าน เหนือสิ่งอื่นใด ขอขอบคุณอาจารย์ ไมเคิล แซนเดล แบบเดียวกับที่ขอบคุณเมื่อครั้ง แปลหนังสือ ความยุติธรรม นั่นคือ ขอขอบคุณที่ท่านฉายไฟให้เห็นความ ส�ำคัญของปรัชญาในชีวติ จริง ความสนุกสนานของการถกประเด็นสาธารณะ และความงดงามของการครุ่นคิดถึง “ชีวิตที่ดี” อย่างยากจะลืมเลือน ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่าน

สฤณี อาชวานันทกุล “คนชายขอบ” | http://www.fringer.org 10 กุมภาพันธ์ 2556 M i ch a el S a n d el

9


what money can T BUY The Moral Limits of Markets by

Michael J. Sandel

เงินไม่ใช่พระเจ้า: ขีดจำ�กัดทางศีลธรรมของตลาด แปลโดย

สฤณี อาชวานันทกุล


บทนำ� ตลาดกับศีลธรรม


มีบางสิ่งที่เงินซื้อไม่ได้ แต่สมัยนี้มีไม่มากนัก วันนี้แทบทุกอย่าง ซื้อได้ด้วยเงิน บางตัวอย่างเช่น • ยกระดั บ ห้ อ งขั ง : 82 เหรี ย ญสหรั ฐ ต่ อ คื น ในเมื อ ง ซานตาอานา รั ฐ แคลิ ฟ อร์ เ นี ย และเมื อ งอื่ น อี ก บางแห่ ง นักโทษที่ไม่ได้กระท�ำความผิดคดีอุกฉกรรจ์ สามารถจ่ายเงิน ซือ้ ห้องขังทีด่ กี ว่าเดิม – สะอาดและเงียบสงบ ไกลจากห้องขัง ของนักโทษที่ไม่จ่ายเงิน1 • ค่าธรรมเนียมการใช้เลนรถยนต์ร่วมโดยสาร (car pool lane) ในกรณีที่ขับมาคนเดียว: 8 เหรียญสหรัฐในชั่วโมงเร่งด่วน มินนิอาโพลิสและเมืองอื่นๆ ก�ำลังพยายามบรรเทาปัญหา รถติด ด้วยการยอมให้รถยนต์ทไี่ ม่มผี โู้ ดยสารเข้ามาวิง่ ในเลน ของรถยนต์ร่วมโดยสารได้ โดยจ่ายค่าธรรมเนียมที่ผันแปร ตามระดับความหนาแน่นของการจราจร2 M i ch a el S a n d el

13


• บริการอุ้มบุญของมารดาชาวอินเดีย: 6,250 เหรียญสหรัฐ คู ่ ชี วิ ต ในโลกตะวั น ตกที่ ต ้ อ งการหาแม่ อุ ้ ม บุ ญ หั น ไปใช้ บริ ก ารนี้ ใ นอิ น เดี ย มากขึ้ น เรื่ อ ยๆ ในอิ น เดี ย การอุ ้ ม บุ ญ เป็นเรื่องถูกกฎหมาย และสนนราคาก็ถูกกว่าราคาตลาด ในสหรัฐอเมริกาถึง 3 เท่า3 • สิทธิอพยพไปพ�ำนักในสหรัฐอเมริกา: 500,000 เหรียญสหรัฐ ชาวต่างชาติที่ลงทุน 500,000 เหรียญสหรัฐและสร้างงาน อย่ า งน้ อ ยสิ บ ต�ำแหน่ ง ในพื้ น ที่ ที่ มี อั ต ราการว่ า งงานสู ง จะมีสทิ ธิได้ “กรีนการ์ด” (green card) ซึง่ มอบสถานะผูพ้ �ำนัก ถาวรให้4 • สิทธิยงิ แรดด�ำใกล้สญ ู พันธุ:์ 150,000 เหรียญสหรัฐ แอฟริกาใต้ เริ่มอนุญาตให้เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ขายสิทธิฆ่าแรดจ�ำนวน จ�ำกัดให้กับนักล่า เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เจ้าของฟาร์มหันมา เลี้ยงและปกป้องสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ชนิดนี5้ • หมายเลขโทรศัพท์มือถือของแพทย์: 1,500 เหรียญสหรัฐ ขึ้นไปต่อปี แพทย์ “ตามสั่ง” ที่เพิ่มจ�ำนวนขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี เสนอบริการให้คนไข้โทร.ปรึกษาทางโทรศัพท์มือถือ รับนัด และให้เข้าพบภายในวันเดียวกัน ส�ำหรับคนไข้ที่ยินดีจ่าย ค่าธรรมเนียมรายปีตั้งแต่ 1,500-25,000 เหรียญสหรัฐ6 • สิทธิปล่อยคาร์บอนหนึง่ ตันสูช่ นั้ บรรยากาศ: 13 ยูโร (ประมาณ 18 เหรี ย ญสหรั ฐ ) สหภาพยุ โ รปบริ ห ารจั ด การตลาดค้ า การปล่อยคาร์บอน ให้บริษัทต่างๆ ซื้อและขายสิทธิที่จะก่อ มลพิษ7 • การรับลูกของคุณเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง: ? ถึ ง แม้ ว ่ า มหาวิ ท ยาลั ย จะไม่ ป ระกาศราคา ผู ้ บ ริ ห าร มหาวิ ท ยาลั ย ที่ ดี ที่ สุ ด บางแห่ ง ก็ บ อกกั บ หนั ง สื อ พิ ม พ์ 14

What Mon ey Ca n ’t Bu y


เดอะวอลล์สตรีตเจอร์นัล ว่า พวกเขารับนักเรียนที่ไม่ดีเด่น แต่ผู้ปกครองร�่ำรวย และมีแนวโน้มที่จะบริจาคเงินมหาศาล ให้กับมหาวิทยาลัย8 ไม่ใช่ทุกคนที่มีเงินซื้อสิ่งเหล่านี้ แต่วันนี้มีหนทางท�ำเงินใหม่ๆ มากมาย ถ้าคุณอยากหารายได้พิเศษ ต่อไปนี้เป็นบางส่วนของวิธีใหม่ ถอดด้าม • ให้เช่าพื้นที่บนหน้าผาก (หรือส่วนอื่นของร่างกายคุณ) เพื่อ แสดงโฆษณา: 777 เหรียญสหรัฐ สายการบินแอร์นิวซีแลนด์ จ้ า งคนสามสิ บ คนให้ โ กนหั ว และติ ด รอยสั ก ชั่ ว คราวที่ ขึ้ น สโลแกน “อยากเปลีย่ น? มาทีน่ วิ ซีแลนด์ส”ิ (Need a change? Head down to New Zealand.)9 • ท� ำ ตั ว เป็ น หนู ท ดลองให้ กั บ บริ ษั ท ยาในการทดลอง ความปลอดภัยของยา: 7,500 เหรียญสหรัฐ ค่าตอบแทน จะสูงหรือตำ�่ กว่านีก้ ไ็ ด้ ขึน้ อยูก่ บั ว่าขัน้ ตอนทีใ่ ช้ทดสอบยานัน้ ช�ำแรกแทรกซึมเข้าไปในร่างกายขนาดไหน และท�ำให้รู้สึก อึดอัดเพียงใด10 • รบในโซมาเลียหรืออัฟกานิสถานภายใต้สังกัดบริษัททหาร รับจ้าง: 250 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ถึง 1,000 เหรียญสหรัฐ ต่อวัน ค่าตอบแทนขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ ประสบการณ์ และ สัญชาติ11 • ยืนต่อคิวข้ามคืนในสภาคองเกรส เพื่อจองที่ให้กับนักล็อบบี้ ที่อยากเข้าร่วมการประชุมของคณะกรรมาธิการ: 15-20 เหรียญสหรัฐต่อชัว่ โมง นักล็อบบีจ้ า้ งบริษทั รับเข้าคิว ซึง่ จะไป จ้างคนไร้บ้านและคนประเภทอื่นๆ ให้มาต่อคิวอีกทอดหนึ่ง12

M i ch a el S a n d el

15


• อ่านหนังสือ ในกรณีที่คุณเป็นเด็กเกรดสอง (ประถมศึกษา ปีที่สอง – ผู้แปล) ในโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ดัลลัสซึ่งผลการเรียน ไม่ดี: 2 เหรียญสหรัฐ โรงเรียนหลายแห่งจ้างเด็กอ่านหนังสือ โดยจ่ายเงินให้ตามจ�ำนวนเล่มที่อ่าน13 • ลดความอ้วนสิบสี่ปอนด์ในสี่เดือน ในกรณีที่คุณเป็นโรคอ้วน: 378 เหรียญสหรัฐ บริษทั และบริษทั ประกันสุขภาพหลายแห่ง มอบแรงจูงใจทางการเงินให้คนไปลดนำ�้ หนักและดูแลสุขภาพ ให้ดีกว่าเดิม14 • ซื้อประกันชีวิตของผู้ชราหรือผู้ป่วย จ่ายเบี้ยประกันรายปี ระหว่างที่ผู้ประกันตนยังมีชีวิตอยู่ แล้วเก็บสินไหมทดแทน เมื่ อ เขาตาย: อาจได้ ห ลายล้ า นเหรี ย ญสหรั ฐ (ขึ้ น อยู ่ กั บ เงือ่ นไขในกรมธรรม์) การเดิมพันด้วยชีวติ ของคนแปลกหน้า รูปแบบนี้ กลายเป็นอุตสาหกรรมขนาด 30,000 ล้านเหรียญ สหรัฐ ยิ่งคนแปลกหน้าตายเร็วเท่าไร นักลงทุนยิ่งได้ก�ำไร มากเท่านั้น15 เราใช้ชีวิตอยู่ในยุคที่เงินซื้อได้เกือบทุกอย่าง ตลอดระยะเวลา สามทศวรรษที่ผ่านมา ตลาดและคุณค่าของตลาดได้ครอบง�ำชีวิตของเรา อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เราไม่ได้มาถึงจุดนี้ด้วยการตัดสินใจของตนเอง มันแทบจะโถมทับเราจนไร้ทางเลือก หลังสงครามเย็นสิ้นสุด ตลาดและวิธีคิดแบบตลาดก็ได้รับอภิสิทธิ์ ไร้เทียมทาน ซึ่งก็เข้าใจได้ ไม่มีกลไกจัดการการผลิตและกระจายสินค้า อื่นใดอีกแล้วที่ประสบความส�ำเร็จในการสร้างความมั่งคั่งและความเจริญ รุง่ เรืองได้เท่ากับกลไกตลาด แต่แล้วระหว่างทีป่ ระเทศต่างๆ ทัว่ โลกทยอย อ้าแขนรับกลไกตลาดในการจัดการเศรษฐกิจ ปรากฏการณ์อื่นก็ก�ำลัง เกิ ด ขึ้ น คู ่ กั น ค่ า นิ ย มของตลาดมี บ ทบาทสู ง ขึ้ น เรื่ อ ยๆ ในชี วิ ต สั ง คม เศรษฐศาสตร์กลายเป็นวิชาแห่งอ�ำนาจ 16

What Mon ey Ca n ’t Bu y


วั น นี้ ต รรกะของการซื้ อ และการขายไม่ จ�ำกั ด อยู ่ เ พี ย งสิ น ค้ า ที่ จับต้องได้อกี ต่อไป แต่ครอบง�ำชีวติ ทัง้ ชีวติ มากขึน้ เรือ่ ยๆ ถึงเวลาแล้วทีจ่ ะ ถามว่า เราอยากใช้ชีวิตแบบนี้หรือไม่ ยุคแห่งลัทธิตลาดเหนือทุกสิ่ง ช่ ว งเวลาหลายปี ก ่ อ นเกิ ด วิ ก ฤตการเงิ น ปี 2008 คื อ ยุ ค แห่ ง ศรัทธาอันแรงกล้าต่อตลาดและการผ่อนปรนกฎเกณฑ์ คือยุคที่ตลาด อยูเ่ หนือทุกสิง่ (market triumphalism) ยุคนีเ้ ปิดฉากตอนต้นทศวรรษ 1980 เมือ่ โรนัลด์ เรแกน (Ronald Reagan) กับ มาร์กาเรต แทตเชอร์ (Margaret Thatcher) ประกาศความเชื่อของเขาและเธอว่า ตลาดคือกุญแจสู่ความ เจริญและเสรีภาพ มิใช่รัฐบาล กระแสนี้ด�ำเนินต่อไปในทศวรรษ 1990 ด้วยแนวคิดเสรีนิยมที่เป็นมิตรกับตลาดของ บิล คลินตัน (Bill Clinton) กับ โทนี แบลร์ (Tony Blair) พวกเขาผ่อนกระแสให้เบาลง แต่ตอกย�ำ้ ศรัทธาว่า ตลาดคือวิธีหลักในการบรรลุประโยชน์สาธารณะ วั น นี้ ศ รั ท ธานั้ น ก�ำลั ง เป็ น ที่ กั ง ขา ยุ ค ที่ ต ลาดอยู ่ เ หนื อ ทุ ก สิ่ ง ได้จบสิ้นลงแล้ว วิกฤตการเงินไม่เพียงท�ำให้คนข้องใจว่าตลาดสามารถ จัดสรรความเสีย่ งได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงหรือ แต่ยงั จุดชนวนความรูส้ กึ ที่แพร่หลายว่า ตลาดได้ตัดขาดจากศีลธรรม และเราต้องหาทางเชื่อมมัน เข้ า กั บ ศี ล ธรรมให้ ไ ด้ ดั ง เช่ น ในอดี ต แต่ ก็ ไ ม่ ชั ด เจนว่ า การเชื่ อ มนั้ น หมายความว่าอะไร และเราควรท�ำอะไร บางคนบอกว่ า ความล้ ม เหลวทางศี ล ธรรมที่ อ ยู ่ ใ จกลางลั ท ธิ ตลาดเหนือทุกสิ่ง คือความโลภซึ่งท�ำให้คนเสี่ยงอย่างไร้ความรับผิดชอบ มุมมองนีบ้ อกว่าทางออกคือการควบคุมความโลภ ยืนกรานให้นายธนาคาร และผู ้ บ ริ ห ารภาคการเงิ น ซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต และรั บ ผิ ด ชอบมากกว่ า เดิ ม เรียกร้องให้รัฐบังคับใช้กฎเกณฑ์ก�ำกับดูแลที่สมเหตุสมผล เพื่อป้องกัน ไม่ให้วิกฤตแบบนี้เกิดขึ้นอีก M i ch a el S a n d el

17


การมองแบบนั้นอย่างดีที่สุดก็เป็นการวินิจฉัยเพียงส่วนเดียว จริงอยู่ที่ความโลภมีบทบาทต่อวิกฤตการเงิน แต่เดิมพันใหญ่กว่านั้นมาก การเปลี่ยนแปลงที่ชี้ชะตาเราที่สุดในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา หาใช่การ เพิม่ ขึน้ ของความโลภ หากเป็นการขยายตัวของตลาดและคุณค่าของตลาด เข้าไปในมิติของชีวิตซึ่งไม่ใช่กงการอะไรของมัน เราต้ อ งท�ำมากกว่ า การประณามความโลภถ้ า จะรั บ มื อ กั บ สถานการณ์นี้ เราต้องคิดใหม่ว่าตลาดควรมีบทบาทอะไรในสังคมของเรา เราต้องมีววิ าทะสาธารณะว่าการคุมตลาดให้อยูใ่ นทีท่ างของมันหมายความ ว่าอะไร และการจะมีวิวาทะนี้ได้ แปลว่าเราต้องคิดเรื่องขีดจ�ำกัดทาง ศีลธรรมของตลาดอย่างถี่ถ้วน เราต้องถามว่ามีอะไรบ้างหรือไม่ที่ไม่ควร ซื้อได้ด้วยเงิน การขยายตัวของตลาดและวิธีคิดที่เอาตลาดเป็นศูนย์กลางเข้าไป ในมิติต่างๆ ของชีวิต ซึ่งในอดีตเคยถูกก�ำกับด้วยปทัสถาน (norms) นอก ตลาดนั้น คือการพัฒนาที่ส�ำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในยุคของเรา ลองดูความแพร่หลายของโรงเรียน โรงพยาบาล และเรือนจ�ำ ที่แสวงก�ำไร การโยกย้ายการท�ำสงครามให้ไปเป็นความรับผิดชอบของ บริษัทกองก�ำลังรับจ้างเอกชน (ในอิรักและอัฟกานิสถาน ทหารรับจ้าง เอกชนมีจ�ำนวนมากกว่าทหารในกองทัพอเมริกัน16) ลองดูการเติบโตของบริษัทรักษาความปลอดภัยที่เข้ามาบดบัง รั ศ มี ข องกองก�ำลั ง ต�ำรวจแห่ ง ชาติ โดยเฉพาะในสหรั ฐ อเมริ ก าและ สหราชอาณาจั กร ซึ่ ง เจ้ า หน้ า ที่ รักษาความปลอดภัยเอกชนมีจ�ำนวน มากกว่าต�ำรวจร่วมสองเท่า17 หรือลองดูการตลาดเชิงรุกของบริษัทยาที่ขายยาให้กับผู้บริโภค ในประเทศร�่ำรวย (ถ้าคุณเคยดูโฆษณาโทรทัศน์คั่นรายการข่าวภาคค�่ำ ในสหรัฐอเมริกา ก็ไม่ผิดที่คุณจะหลงคิดว่า วิกฤตการแพทย์ที่รุนแรงที่สุด ในโลกคือโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศซึ่งก�ำลังระบาดอย่างรุนแรง ไม่ใช่ โรคมาลาเรีย โรคตาบอดจากพยาธิฟิลาเรีย หรือโรคเหงาหลับ) 18

What Mon ey Ca n ’t Bu y


ลองดูโฆษณาเชิงพาณิชย์ที่บุกเข้าไปในโรงเรียนรัฐ การขาย “สิทธิการตั้งชื่อ” สวนสาธารณะและสาธารณสมบัติ การขายไข่และอสุจิ “ดีไซเนอร์” ส�ำหรับผสมเทียม การจ้างแม่อุ้มบุญในโลกก�ำลังพัฒนา การซื้อและขายสิทธิก่อมลพิษของบรรษัทและประเทศ และระบบการ ระดมทุนของนักการเมืองในฤดูเลือกตั้ง ซึ่งจวนเจียนจะยอมให้ซื้อขาย การเลือกตั้งอยู่รอมร่อ การใช้ตลาดจัดสรรสุขภาพ การศึกษา ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงของชาติ ความยุติธรรมทางอาญา การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม สันทนาการ การสืบพันธุ์ และสินค้าสาธารณะอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่เรา ไม่เคยได้ยินเลยเมื่อสามสิบปีก่อน แต่วันนี้เรากลับมองเป็นเรื่องธรรมดา ทุกอย่างซื้อได้ ท�ำไมเราต้องกังวลว่าก�ำลังเคลื่อนเข้าสู่สังคมที่ทุกอย่างซื้อได้? มีสองเหตุผลครับ เหตุผลแรกเกี่ยวกับความเท่าเทียม เหตุผล ที่ ส องเกี่ ย วกั บ คอร์ รั ป ชั่ น (ผู ้ เ ขี ย นใช้ “คอร์ รั ป ชั่ น ” ในความหมาย “ความเสื่อม” ตลอดหนังสือเล่มนี้ – ผู้แปล) ลองดูเรื่องความเท่าเทียมก่อน ในสั ง คมที่ ทุ ก อย่ า งซื้ อ ได้ ชี วิ ต ของคนเบี้ ย น้ อ ยหอยน้ อ ยจะล�ำบาก ยากแค้นมากขึน้ ยิง่ เงินซือ้ อะไรๆ ได้มากเท่าไร ความมัง่ คัง่ (หรือไม่มงั่ คัง่ ) ก็ยิ่งทวีความส�ำคัญมากขึ้น ถ้ า หากข้ อ ได้ เ ปรี ย บเพี ย งอย่ า งเดี ย วของความมั่ ง คั่ ง คื อ ความสามารถในการซื้อเรือยอชต์ รถสปอร์ต และสถานที่พักผ่อนหรูๆ ความเหลื่อมล�้ำทางรายได้และความมั่งคั่งก็จะไม่สลักส�ำคัญอะไรมากนัก แต่เมื่อเงินซื้อสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น อิทธิพลทางการเมือง บริการ ทางการแพทย์ชั้นเลิศ บ้านในถิ่นปลอดภัยแทนบ้านในถิ่นอาชญากรรม การได้ไปเรียนในโรงเรียนชัน้ น�ำแทนโรงเรียนคุณภาพต�ำ่ ในสถานการณ์เช่น นี้ ความส�ำคัญของการกระจายรายได้และความมัง่ คัง่ ได้ขยายใหญ่ขนึ้ เรือ่ ยๆ เมื่อสิ่งดีๆ ในชีวิตทั้งหมดซื้อขายได้ การมีเงินก็ก�ำหนดทุกอย่างในโลก M i ch a el S a n d el

19


ปรากฏการณ์นี้ได้อธิบายว่า เหตุใดที่ในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา จึ ง เป็ น ช่ ว งเวลาที่ ค รอบครั ว ยากจนกั บ ครอบครั ว ชนชั้ น กลางประสบ ความล�ำบากเป็นพิเศษ ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนไม่เพียงถ่างกว้าง ขึน้ แต่การแปลงทุกอย่างเป็นสินค้ายิง่ ท�ำให้ความเหลือ่ มลำ�้ เจ็บปวดรุนแรง กว่าเดิม เพราะท�ำให้เงินส�ำคัญมากขึ้น เหตุ ผ ลที่ ส องที่ เ ราควรลั ง เลว่ า จะยอมให้ ทุ ก สิ่ ง แปะป้ า ยราคา หรือไม่นั้น อธิบายยากกว่าข้อแรก มันไม่ใช่เรื่องของความเท่าเทียม และความเป็นธรรม แต่เป็นเรื่องของแนวโน้มที่จะเกิดการบ่อนท�ำลาย โดยตลาด การแปะป้ายราคาให้กับสิ่งดีๆ ในชีวิต ท�ำให้สิ่งเหล่านั้น เสื่อมทรามได้ เพราะตลาดไม่เพียงจัดสรรสินค้าต่างๆ แต่ยังแสดงออกและ ส่งเสริมทัศนคติบางประการต่อสินค้าที่เปลี่ยนมือกัน การจ่ายเงินจ้างเด็ก ให้ อ ่ า นหนั ง สื อ อาจท�ำให้ เ ด็ ก อ่ า นหนั ง สื อ มากขึ้ น แต่ ข ณะเดี ย วกั น ก็สอนให้เด็กมองว่าการอ่านเป็นงาน แทนที่จะเป็นบ่อเกิดความพึงพอใจ จากภายใน การขายที่นั่งนักศึกษาปีหนึ่งให้กับคนที่เสนอราคาสูงสุด อาจท�ำให้ ม หาวิ ท ยาลั ย มี ร ายได้ ม ากขึ้ น แต่ ก็ บ ่ อ นเซาะความสั ต ย์ ซื่ อ ของมหาวิทยาลัยและคุณค่าที่ปริญญาได้มอบให้ การจ้างทหารรับจ้าง จากต่างแดนมารบในสงครามของเรา อาจท�ำให้พลเมืองของเราไม่ล้มตาย แต่ท�ำให้การเป็นพลเมืองเสื่อมความหมาย นักเศรษฐศาสตร์มักจะคิดเอาเองว่าตลาดนั้นไร้ชีวิต ไม่ส่งผลใดๆ ต่อสินค้าที่มันแลกเปลี่ยน แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิด ตลาดทิ้งร่องรอย ของมั น เอาไว้ บางครั้ ง คุ ณ ค่ า ของตลาดก็ เ บี ย ดขั บ คุ ณ ค่ า นอกตลาด ที่ควรค่าแก่การใส่ใจ แน่นอน คนเราเห็นไม่ตรงกันว่าคุณค่าใดบ้างที่ควรค่าแก่การ ใส่ใจ และท�ำไมเราถึงควรใส่ใจ ฉะนั้นก่อนจะตัดสินใจว่าเงินควรซื้ออะไรได้ และไม่ได้ เราต้องตัดสินใจก่อนว่าคุณค่าใดบ้างทีค่ วรเป็นตัวก�ำกับมิตติ า่ งๆ ของชีวิตสังคมและชีวิตพลเมือง หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยการคิดเรื่องนี้อย่าง ถี่ถ้วน 20

What Mon ey Ca n ’t Bu y


ตัวอย่างค�ำตอบที่ผมหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะมอบให้คือ เมื่อเรา ตัดสินใจว่าของบางอย่างควรซือ้ ขายกันได้ เราก็ตดั สินโดยนัยว่าจะมองมัน เป็นสินค้า เป็นเครือ่ งมือแห่งการท�ำก�ำไรและใช้สอย แต่การให้คณ ุ ค่าแบบนี้ 18 ไม่เหมาะสมกับของทุกชนิด ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดคือมนุษย์ การค้าทาส นัน้ น่ารังเกียจเดียดฉันท์เพราะปฏิบตั ติ อ่ มนุษย์ราวกับเป็นสินค้าให้ซอื้ ขาย ได้ในการประมูล การปฏิบัติเช่นนี้ไม่ให้คุณค่าแก่มนุษย์ในทางที่เหมาะสม ว่าเป็นคนที่มีศักดิ์ศรีและควรค่าแก่การนับถือ ไม่ใช่เครื่องมือท�ำก�ำไรหรือ สิ่งของเพื่อการใช้สอย สิ่ ง อื่ น และธรรมเนี ย มปฏิ บั ติ อื่ น ที่ เ ราให้ คุ ณ ค่ า ก็ เ ช่ น เดี ย วกั น เราไม่ยอมให้เด็กๆ เป็นสิ่งที่ซื้อขายกันในตลาด ต่อให้ผู้ซื้อไม่กระท�ำ ทารุณกรรมต่อเด็กที่ซื้อไป การมีตลาดค้าเด็กก็จะแสดงและส่งเสริมวิธี ตีค่าพวกเขาที่ผิด เราไม่ควรมองเด็กเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค หากเป็นผู้ ที่ควรค่าแก่ความรักและการดูแลเอาใจใส่ หรือลองนึกถึงสิทธิและหน้าที่ ของพลเมือง ถ้าหากคุณถูกสั่งให้ไปท�ำหน้าที่ลูกขุน คุณไม่อาจจ้างวาน คนอืน่ ไปท�ำแทนได้ นอกจากนี้ เรายังไม่ยอมให้พลเมืองขายเสียงของตนเอง ต่อให้คนอื่นอยากซื้อเสียงของพวกเขาก็ตาม ท�ำไมถึงเป็นเช่นนั้นล่ะ? ก็เพราะเราเชื่อว่าหน้าที่พลเมืองไม่ใช่ทรัพย์สินเอกชน หากเป็นความ รับผิดชอบต่อสาธารณะ การโยกย้ายไปให้คนอื่นท�ำแทนเท่ากับลดคุณค่า ของมัน และให้ค่ามันในทางที่ผิด ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นประเด็นที่กว้างกว่า นั่นคือ สิ่งดีๆ บางสิ่งในชีวิตจะถูกบิดเบือนหรือลดทอนคุณค่าถ้าถูกแปลงเป็นสินค้า ฉะนัน้ การตัดสินใจว่าเรือ่ งไหนเป็นกงการของตลาด เรือ่ งไหนเราควรกันมัน ออกไปให้หา่ ง จึงหมายความว่า เราต้องตัดสินใจว่าจะให้คณ ุ ค่ากับสิง่ ต่างๆ อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพ การศึกษา ชีวิตครอบครัว ธรรมชาติ ศิลปะ หน้าที่พลเมือง และอื่นๆ เหล่านี้เป็นค�ำถามทางศีลธรรมและการเมือง ไม่ใช่ค�ำถามทางเศรษฐศาสตร์เพียงอย่างเดียว ถ้าจะคลี่คลายประเด็นได้ เราต้องถกเถียงไปทีละประเด็นว่าสิ่งเหล่านี้มีความหมายอะไรในทาง ศีลธรรม และอะไรคือวิธีตีค่าที่เหมาะสม M i ch a el S a n d el

21


นีค่ อื การถกเถียงทีเ่ ราไม่เคยมีในยุคแห่งตลาดเหนือทุกสิง่ ผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัวและไม่เคยตัดสินใจท�ำคือ เราเปลี่ยนจากการ มี เศรษฐกิจระบบตลาด (market economy) ไปสู่การ เป็น สังคมตลาด (market society) ความแตกต่างคืออย่างนี้ครับ เศรษฐกิจระบบตลาดคือเครื่องมือ ส�ำหรับการจัดการกิจกรรมต่างๆ ที่สร้างผลผลิต มันเป็นเครื่องมือที่มีค่า และมีประสิทธิผล ขณะที่สังคมตลาดคือวิถีชีวิตที่คุณค่าของตลาดซึมลึก เข้าไปในกิจกรรมมนุษย์ทุกมิติ มันคือพื้นที่ซึ่งความสัมพันธ์ทางสังคม ถูกประกอบสร้างขึ้นใหม่ในรูปลักษณ์ของตลาด การถกเถียงที่ใหญ่ที่สุดซึ่งหายไปจากการเมืองร่วมสมัย คือการ ถกเถียงเรื่องบทบาทและขอบเขตของตลาด เราอยากมีเศรษฐกิจระบบ ตลาดหรือสังคมตลาด? ตลาดควรมีบทบาทอย่างไรในชีวิตสาธารณะ และความสัมพันธ์ส่วนตัว? เราจะตัดสินใจได้อย่างไรว่าอะไรบ้างที่ควร ซื้อขายได้? อะไรควรถูกก�ำกับโดยคุณค่านอกตลาด? อ�ำนาจของเงินตรา ควรสิ้นสุดลงที่ใด? ทั้งหมดนั้นคือค�ำถามที่หนังสือเล่มนี้พยายามตอบ ในเมื่อมันแตะ วิสัยทัศน์ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันในเรื่องสังคมที่ดีกับชีวิตที่ดี ผมจึงไม่อาจ สัญญาว่าจะมีค�ำตอบสุดท้าย แต่อย่างน้อยก็หวังว่าจะกระตุน้ ให้เกิดวิวาทะ สาธารณะในประเด็นเหล่านี้ และให้กรอบปรัชญาส�ำหรับใช้ขบมันให้แตก คิดใหม่เรื่องบทบาทของตลาด ต่ อ ให้ คุ ณ เห็ น ด้ ว ยว่ า เราต้ อ งรั บ มื อ กั บ ค�ำถามใหญ่ ๆ ว่ า ด้ ว ย ศีลธรรมของตลาด คุณก็อาจยังสงสัยว่าวาทกรรมสาธารณะของเราจะรับมือ กับงานนี้ได้หรือ ข้อกังวลนี้ชอบธรรมครับ ความพยายามใดๆ ก็ตามที่จะ คิดใหม่เรื่องบทบาทและขอบเขตของตลาด ควรเริ่มต้นที่การยอมรับว่ามี อุปสรรคอันหนักหนาสาหัสสองประการด้วยกัน 22

What Mon ey Ca n ’t Bu y


อุ ป สรรคแรกคื อ อิ ท ธิ พ ลและอภิ สิ ท ธิ์ ข องวิ ธี คิ ด แบบตลาด ซึ่งยังคงมีอยู่ แม้เวลานี้จะอยู่ในควันหลงหลังจากความล้มเหลวครั้งใหญ่ ที่สุดของตลาดในรอบแปดสิบปีที่ผ่านมา อุปสรรคที่สองคือความคับแค้น และกลวงเปล่าของวิวาทะสาธารณะของเรา สถานการณ์ทั้งสองนี้ใช่ว่าจะ ไม่เกี่ยวข้องกันอย่างสิ้นเชิง อุปสรรคประการแรกนั้นน่าฉงน ตอนที่วิกฤตการเงินปี 2008 เกิดขึ้นใหม่ๆ วิกฤตดังกล่าวถูกมองอย่างแพร่หลายว่าเป็นค�ำพิพากษา ทางศี ล ธรรม สั ง คมทุ ก ค่ า ยอุ ด มการณ์ ท างการเมื อ งได้ โ อบอุ ้ ม ตลาด อย่างไร้ซึ่งวิจารณญาณตลอดระยะเวลาสามทศวรรษ การซวนเซจวน ล่มสลายของสถาบันการเงินอเมริกันซึ่งครั้งหนึ่งเคยยิ่งยงไร้เทียมทาน ตลอดจนความจ�ำเป็นที่รัฐต้องเข้ามาอุ้มภาคการเงินด้วยเงินของผู้เสีย ภาษี ดูน่าจะกระตุ้นให้สังคมทบทวนเรื่องตลาดเป็นแม่นมั่น แม้แต่ อลัน กรีนสแปน (Alan Greenspan) ผู้ซึ่งเคยด�ำรงสถานะบาทหลวงแห่งลัทธิ ตลาดเหนือทุกสิ่งสมัยเป็นประธานธนาคารกลาง ก็ยังยอมรับว่า “รู้สึก เหลือเชื่อแทบช็อก” เมื่อพบว่าความเชื่อมั่นของเขาในพลังของตลาดเสรี ที่จะแก้ไขตัวเองนั้น กลับกลายเป็นความเข้าใจผิด19 หน้าปก ดิอีโคโนมิสต์ นิ ต ยสารสั ญ ชาติ อั ง กฤษ กองเชี ย ร์ ข องตลาดเสรี แสดงภาพต�ำรา เศรษฐศาสตร์หลอมละลายกลายเป็นวุ้นภายใต้พาดหัว “เศรษฐศาสตร์ ไปผิดทางอย่างไร”20 ยุ ค แห่ ง ลั ท ธิ ต ลาดเหนื อ ทุ ก สิ่ ง ได้ พ บกั บ จุ ด จบในห้ ว งหายนะ แน่นอนว่าได้เวลาแห่งการช�ำระสะสางทางศีลธรรมแล้ว อันหมายถึงฤดู แห่งการคิดใหม่ เลิกเมามายในศรัทธาต่อตลาด แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ ก็ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง ความล้มเหลวอย่างมโหฬารของตลาดการเงินมิได้บนั่ ทอนศรัทธา ในตลาดโดยรวมแต่อย่างใด ทีจ่ ริงวิกฤตการเงินท�ำให้รฐั เสียความน่าเชือ่ ถือ มากกว่าธนาคาร ในปี 2011 ผลการส�ำรวจความคิดเห็นพบว่า ประชาชน ชาวอเมริ กั น ประณามรั ฐ บาลกลางมากกว่ า สถาบั น การเงิ น อเมริ กั น


มองว่ารัฐบาลกลางเป็นต้นเหตุของปัญหาเศรษฐกิจทีป่ ระเทศก�ำลังเผชิญ – ในอัตราส่วนมากกว่าสองต่อหนึ่งเท่า21 วิกฤตการเงินผลักไสให้สหรัฐอเมริกาและเศรษฐกิจโลกส่วนใหญ่ เข้าสูภ่ าวะถดถอยทางเศรษฐกิจครัง้ รุนแรงทีส่ ดุ ตัง้ แต่เกิดเศรษฐกิจถดถอย รุนแรงครั้งใหญ่ (Great Depression ในทศวรรษ 1930 – ผู้แปล) และ ส่งผลให้ผู้คนจ�ำนวนหลายล้านต้องตกงาน แต่แล้วมันก็ไม่ได้ฉุดให้คน คิดใหม่เรื่องตลาดในระดับรากฐาน ผลพวงทางการเมืองที่โดดเด่นที่สุด ในสหรัฐอเมริกาจากวิกฤตนี้กลับกลายเป็นกระแสมาแรงของขบวนการ ทีปาร์ตี้ (Tea Party) ความเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐและการอ้าแขนอุ้มตลาดเสรี ของพวกเขาคงท�ำให้โรนัลด์ เรแกน (อดีตประธานาธิบดีอเมริกนั ในทศวรรษ 1980 ยุคที่ลัทธิตลาดเหนือทุกสิ่งมีอิทธิพลถึงขีดสุด – ผู้แปล) เขินอาย ชิดซ้ายไปเลย ในฤดูใบไม้รว่ งปี 2011 ขบวนการ “ยึดภาคการเงิน” (Occupy Wall Street) ก่อหวอดประท้วงในหลายเมืองทั่วทั้งสหรัฐอเมริกาและ ทั่วโลก เป้าของการประท้วงเหล่านี้อยู่ที่ธนาคารขนาดใหญ่และอ�ำนาจ ของภาคธุรกิจ รวมถึงความเหลือ่ มลำ�้ ทางรายได้และความมัง่ คัง่ ทีถ่ า่ งกว้าง กว่าเดิม ถึงแม้จะมีอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน นักกิจกรรมของทีปาร์ตี้และ ขบวนการยึดภาคการเงินต่างก็เป็นกระบอกเสียงให้กับความโกรธแค้น ที่ประชาชนมีต่อรัฐซึ่งเอาภาษีไปอุ้มภาคการเงินให้รอดจากวิกฤต22 ถึงแม้จะมีเสียงประท้วงเหล่านี้ วิวาทะทีจ่ ริงจังเกีย่ วกับบทบาทและ ขอบเขตของตลาดก็ยังแทบไร้ที่ยืนในชีวิตการเมืองของเรา นักการเมือง ทั้งเดโมแครตและรีพับลิกันยังคงทุ่มเถียงกันเรื่องภาษี การใช้จ่ายของรัฐ และงบประมาณขาดดุ ล เช่ น ที่ ทุ ่ ม เถี ย งกั น ตลอดมา เพี ย งแต่ ต อนนี้ แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันมากกว่าเดิม และมีความสามารถน้อยนิดในการสร้าง แรงบันดาลใจหรือหว่านล้อม ความรู้สึกสิ้นหวังต่อการเมืองดิ่งลึกลง กว่าเดิมในขณะที่พลเมืองรู้สึกอึดอัดใจกับระบบการเมืองที่ไม่อาจบรรลุ ประโยชน์สาธารณะ หรือรับมือกับค�ำถามต่างๆ ที่ส�ำคัญที่สุด สภาวะอันเลวร้ายในการก�ำหนดวาทกรรมสาธารณะ คืออุปสรรค ประการที่สองในการถกเถียงถึงขีดจ�ำกัดทางศีลธรรมของตลาด ในห้วง 24

What Mon ey Ca n ’t Bu y


ยามที่การถกเถียงทางการเมืองส่วนใหญ่มีแต่การแข่งตะโกนด่ากันทาง เคเบิลทีวี การเชือดเฉือนด้วยค�ำพูดทางวิทยุ และการสาดอุดมการณ์ใส่กัน ในทีป่ ระชุมสภา ก็ยากทีเ่ ราจะมีววิ าทะสาธารณะทีม่ เี หตุมผี ลว่าด้วยค�ำถาม ทางศีลธรรมซึง่ เป็นประเด็นร้อน ตัง้ แต่วธิ ใี ห้คณ ุ ค่าทีถ่ กู ต้องกับการสืบพันธุ์ เยาวชน การศึกษา สุขภาพ สิ่งแวดล้อม ความเป็นพลเมือง และสิ่งอื่นๆ ที่เราปรารถนา แต่ผมเชื่อว่าการถกเถียงนั้นเป็นไปได้ และมันจะฟื้นชีวิต สาธารณะของเราให้กลับขึ้นมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง บางคนมองว่าการเมืองที่เต็มไปด้วยความอาฆาตพยาบาทของ เรานั้น มีความเชื่อมั่นทางศีลธรรมมากเกินไป คนจ�ำนวนมากเกินไป เชื่ อ อย่ า งหนั ก แน่ น เกิ น ไปและแข็ ง กร้ า วเกิ น ไป จนพยายามยั ด เยี ย ด ความเชื่อของพวกเขาให้กับคนอื่น ผมคิดว่าการมองแบบนี้ท�ำให้อ่าน สถานการณ์ของเราผิด ปัญหาของการเมืองเราคือมีการถกเถียงทาง ศีลธรรมน้อยเกินไป ไม่ใช่มากเกินไป การเมืองของเราร้อนแรงเกินขีด เพราะส่วนใหญ่มันกลวงเปล่า ไร้ซึ่งเนื้อหาทางศีลธรรมและจิตวิญญาณ มันไม่รับมือกับค�ำถามใหญ่ๆ ที่คาใจคน ความกลวงเปล่า ทางศีล ธรรมของการเมืองร่วมสมัยมีบ ่อเกิด อยู่หลายบ่อ บ่อเกิดหนึ่งคือความพยายามที่จะลบล้างแนวคิดเรื่อง “ชีวิต ที่ดี” ออกจากวาทกรรมสาธารณะ เราพยายามหลีกเลี่ยงการทะเลาะ เบาะแว้งระหว่างนิกายหรือส�ำนักต่างๆ โดยมักยืนกรานให้คนละทิง้ ความเชือ่ ส่วนตัวทางศีลธรรมและจิตวิญญาณเวลาเข้าสู่พื้นที่สาธารณะ แต่ถึงแม้ ความลังเลที่จะยอมรับข้อถกเถียงว่าด้วยชีวิตที่ดีเข้าสู่วงการเมืองจะมี เจตนาดี มันก็เปิดทางให้ลทั ธิตลาดเหนือทุกสิง่ และการใช้เหตุผลแบบตลาด ครอบง�ำความคิดคนต่อไป ในแง่หนึ่ง การใช้เหตุผลแบบตลาดยังท�ำให้ชีวิตสาธารณะของเรา สิ้นไร้การถกเถียงทางศีลธรรมด้วย เสน่ห์ส่วนหนึ่งของตลาดมาจากการ ที่มันไม่ตัดสินว่ารสนิยมที่ตอบสนองนั้นดีหรือเลว ตลาดไม่ถามว่าวิธีตีค่า สินค้าบางวิธีดีกว่าหรือสูงส่งกว่าวิธีอื่นหรือไม่ ถ้าหากมีคนยินดีจ่ายเงิน ซือ้ บริการทางเซ็กซ์หรือซือ้ ไต และมีผบู้ รรลุนติ ภิ าวะยินดีขาย ค�ำถามเดียว M i ch a el S a n d el

25


ที่ นั ก เศรษฐศาสตร์ ถ ามคื อ “เท่ า ไหร่ ” ตลาดไม่ ต�ำหนิ ติ เ ตี ย นหรื อ เตือนใคร ไม่แยกแยะระหว่างรสนิยมสูงส่งกับรสนิยมสามานย์ คนซื้อกับ คนขายต่างตัดสินใจเองว่าจะให้มูลค่าเท่าไรกับสิ่งที่ก�ำลังเปลี่ยนมือ จุดยืนที่ไม่ตัดสินใดๆ ในเรื่องคุณค่า คือหัวใจของการใช้เหตุผล แบบตลาด และเป็นเหตุผลหลักที่มันได้รับความนิยมชมชอบ แต่การที่ เราลังเลไม่อยากรับมือกับประเด็นทางศีลธรรมและจิตวิญญาณ พร้อมกับ การที่เราโอบอุ้มตลาดนั้นมีต้นทุนที่สูงมาก มันดูดพลังศีลธรรมและความ เป็นพลเรือนออกจากวาทกรรมสาธารณะจนสูญสิ้น ส่งผลให้การเมือง กลายเป็ น เรื่ อ งเทคนิ ค และการจั ด การซึ่ ง กระทบกั บ สั ง คมหลายแห่ ง ทุกวันนี้ การถกเถียงเรื่องขีดจ�ำกัดทางศีลธรรมของตลาดจะช่วยให้เรา สามารถตัดสินใจร่วมกันทัง้ สังคมว่า เรือ่ งใดบ้างทีต่ ลาดควรรับใช้ประโยชน์ สาธารณะ และเรือ่ งใดบ้างทีไ่ ม่ควรใช้ตลาด การถกเถียงนีจ้ ะท�ำให้การเมือง ของเรากลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ด้วยการเชื้อเชิญแนวคิดชีวิตที่ดีเข้าสู่ พืน้ ทีส่ าธารณะ ถ้าไม่ท�ำอย่างนัน้ แล้วการถกเถียงจะเดินต่อไปได้อย่างไร? ถ้าหากคุณเห็นด้วยว่าการซื้อหรือขายบางสิ่งได้บิดเบือนหรือบั่นทอนมัน คุณก็ต้องเชื่อว่ามีวิธีตีค่าบางวิธีที่เหมาะสมกว่าวิธีอื่น ไม่มีเหตุผลที่จะ พูดว่ากิจกรรมบางอย่างถูกบิดเบือน – สมมติว่าเป็นการเลี้ยงดูบุตร หรือ การเป็นพลเมือง ตราบใดที่คุณไม่คิดว่ามีวิธีเป็นผู้ปกครองหรือพลเมือง บางวิธีที่ดีกว่าวิธีอื่น การตัดสินทางศีลธรรมท�ำนองนี้อยู่ภายใต้ขีดจ�ำกัดบางประการ ของตลาดที่เรายังมองเห็นได้ เราไม่ยอมให้พ่อแม่ขายบุตรของตัวเอง หรือยอมให้พลเมืองขายเสียง เหตุผลประการหนึ่งที่เราไม่ยอม ถ้าพูดกัน ตรงๆ คือเป็นเรื่องของความรู้สึก เราเชื่อว่าการขายสิ่งเหล่านี้เท่ากับตีค่า มันในทางที่ผิด และปลูกฝังทัศนคติแย่ๆ ให้กับคน การจะพิจารณาขีดจ�ำกัดทางศีลธรรมของตลาดอย่างถี่ถ้วน ท�ำให้ เราหลีกเลี่ยงค�ำถามเหล่านี้ไม่ได้เลย มันแปลว่าเราจะใช้เหตุผลด้วยกัน 26

What Mon ey Ca n ’t Bu y


ในทีส่ าธารณะ ว่าเราจะตีคา่ สินค้าทางสังคมทีเ่ ราให้คณ ุ ค่าสูงมากอย่างไรดี เราไม่ควรหลงผิด คิดว่าวาทกรรมสาธารณะจะท�ำให้เราเห็นพ้องต้องกันได้ ในทุกประเด็นร้อนแรง ต่อให้เป็นวาทกรรมที่ดีเลิศประเสริฐศรีที่สุดก็ตาม แต่มันจะท�ำให้ชีวิตสาธารณะของเรามีสุขภาพดีกว่าเดิม และท�ำให้เรา ตระหนักมากขึ้นถึงราคาของการใช้ชีวิตในสังคมที่ทุกอย่างซื้อได้ เวลาที่เราคิดถึงศีลธรรมของตลาด แวบแรกเราจะนึกถึงธนาคาร ในภาคการเงินและความประพฤติที่บ้าบิ่นของสถาบันเหล่านี้ และนึกถึง กองทุนเก็งก�ำไรระยะสัน้ (hedge fund) การใช้เงินภาษีอมุ้ ภาคการเงิน และ การปฏิรูปกฎเกณฑ์ก�ำกับดูแล แต่ความท้าทายทางศีลธรรมและการเมือง ที่เราเผชิญหน้าในวันนี้แพร่หลายและเป็นโลกียวิสัยกว่านั้น – เราจะต้อง คิดใหม่เรื่องบทบาทและขอบเขตของตลาดในธรรมเนียมปฏิบัติทางสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และชีวิตประจ�ำวัน

M i ch a el S a n d el

27


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.