When Breath Becomes Air
. by
Paul Kalanithi
เมื่อลมหายใจ กลายเป็นอากาศ
แปลโดย
โตมร ศุขปรีชา
เมื่อลมหายใจกลายเป็นอากาศ • โตมร ศุขปรีชา แปล จากเรื่อง Whe n Bre a t h Be c omes A i r โดย P a u l K a la n ithi พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ open wo rld s, ตุลาคม 2559 ราคา 230 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ศิลปกรรม พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ชญารัตน์ สุขตน • บรรณาธิการเล่ม ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ บรรณาธิการต้นฉบับ บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ • จัดท�ำโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2 6 1 8 4 7 30 e m a il: o p e n wo r ld sth a ila n d @gmail. c om f a c e book : www.fa ce b o o k.co m/ openw orlds t w it t e r: www.twitte r .co m/o penw orlds _t h w e bs it e : www.o p e n wo r lds . in. t h จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) S E - E DUCA TIO N P UB L IC CO MPAN Y LI MI TED เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 2 7 3 9 8 2 2 2 , 0 2 739 8000 โทรสาร 0 2 7 3 9 8 3 5 6-9 w e bs it e : h ttp ://www.se -ed. c om/
สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 0 2618 4730 และ 09 7174 9124 หรือ Em a il: o p e n w o rld st h a il and@gmail.c om
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ กาลนิธิ, พอล. เมื่อลมหายใจกลายเป็นอากาศ.-กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2559. 192 หน้า. 1. ปอด--มะเร็ง. 2. กาลนิธิ, พอล--ชีวประวัติ. I. โตมร ศุขปรีชา, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 616.99424 ISBN 978-616-7885-42-1 • Copyright © 2016 by Corcovado, Inc. This edition published by arrangement with Openworlds Publishing House through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd. Thai language translation copyright © 2016 by Openworlds Publishing House All rights reserved.
สารบัญ
ค�ำน�ำ 11 บทน�ำ 19 ภาค 1 เริ่มด้วยสุขภาพดี 33 ภาค 2 อย่าหยุดยั้งกระทั่งมรณา 105 บทส่งท้าย 167 ค�ำขอบคุณ 188 รู้จักผู้เขียน 190 รู้จักผู้แปล 191
เหตุการณ์ตา่ งๆ ในเล่มอ้างอิงจากสถานการณ์จริงในความทรงจ�ำ ของนายแพทย์กาลนิธิ อย่างไรก็ตาม มีการปรับเปลี่ยนชื่อคนไข้ ทั้งหมดในเล่ม (ในกรณีที่ระบุชื่อ) รวมถึงเปลี่ยนรายละเอียด ต่างๆ เกีย่ วกับคนไข้ทเี่ ข้ารับการรักษา เช่น อายุ เพศ ชนชาติ อาชีพ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ทีอ่ ยูอ่ าศัย ประวัตกิ ารรักษา และ/หรือ ผลการวินิจฉัย ข้อยกเว้นอีกประการคือ ชื่อของเพื่อนร่วมงาน มิตรสหาย และแพทย์ที่ดูแลรักษานายแพทย์กาลนิธิ ล้วนผ่าน การดัดแปลงแก้ไขเช่นกัน หากชือ่ หรือรายละเอียดทีป่ รับเปลีย่ นไป พ้องกับบุคคลใดที่ยังมีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตไปแล้ว ล้วนเป็น เพียงเหตุบังเอิญอันมิได้เจตนาทั้งสิ้น
แด่เคดี้
เธอผู้แสวงหาว่าชีวิตคืออะไรในความตาย บัดนี้ได้พานพบสายลมซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นลมหายใจ นามใหม่ไม่เป็นที่ล่วงรู้ นามเก่าจากไกล กระทั่งกาลยุติร่าง วิญญาณหาไม่ ผู้อ่านเอ๋ย! จงสร้างกาล ขณะเป็นอยู่ ทว่าก้าวสู่นิรันดร์ บารอนบรูก ฟุลเค เกรวิลล์, “เซลิกา 83”
ค�ำน�ำ เอบราแฮม เวอร์กีส1
ณ ขณะทีล่ งมือเขียนสิง่ นี้ ผมเพิง่ ตระหนักว่าค�ำน�ำของหนังสือเล่มนี้ แท้จริงควรอยู่ในฐานะค�ำตาม เพราะเมื่อเป็นเรื่องของ พอล กาลนิธิ ทุกความรูส้ กึ เกีย่ วกับเวลาล้วนกลับหัวกลับหาง ผมขอเริม่ ต้น หรือแท้จริง อาจเป็นการทิง้ ท้ายว่าผมได้รจู้ กั ตัวตนพอลเมือ่ เขาจากไปแล้ว (อดทนกับ ผมหน่อย) ผมรู้จักเขาอย่างใกล้ชิดที่สุดเมื่อเขาหาไม่แล้ว ผมพบเขาในบ่ายอันน่าจดจ�ำวันหนึ่งที่สแตนฟอร์ดในต้นเดือน กุมภาพันธ์ 2014 เขาเพิ่งตีพิมพ์บทความเด่นที่ชื่อว่า “ผมเหลือเวลาอยู่ อีกเท่าไหร่” ลงในหนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทมส์ นี่เป็นความเรียงที่ต่อมา จะปลุกการตอบสนองล้นหลาม ผู้อ่านเขียนมาหาอย่างถั่งท้น หลังจาก วันนั้น บทความนี้แพร่ไปอย่างทวีคูณ (ผมเป็นผู้ช�ำนาญการด้านโรค ติดเชื้อ ดังนั้นได้โปรดให้อภัยที่ผมไม่อาจเปรียบเปรยโดยใช้ค�ำว่า ไวรัล) หลังจากเหตุการณ์นนั้ เขามาขอพบผมเพือ่ พูดคุยและขอค�ำแนะน�ำในเรือ่ ง นายแพทย์ นักเขียน และศาสตราจารย์ประจำ�คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มีผลงานติดอันดับขายดีของ นิวยอร์กไทมส์ 1
Paul Kalanithi
11
ตัวแทนนักเขียน บรรณาธิการ และกระบวนการตีพิมพ์ เขาปรารถนาจะ เขียนหนังสือ ซึ่งคือหนังสือ เล่มนี้ ที่คุณถืออยู่ในมือ ผมจ�ำได้ถึงแสงแดด ที่ส่องลอดต้นแมกโนเลียนอกห้องท�ำงานเข้ามาอาบไล้ฉากเหตุการณ์นี้ พอลนั่งอยู่หน้าผม มือเรียวงามของเขานิ่งงัน หนวดเคราราวประกาศก ของเขาดกเต็ม ดวงตาสีเข้มจับจ้องตรวจตราผม ในความทรงจ�ำของผม ภาพนี้มีลักษณะเหมือนภาพเขียนของเวอร์เมียร์ ซึ่งคมชัดราวใช้กล้อง ทาบเงา2 ผมจ�ำได้ว่าก�ำลังคิดว่า จงจดจ�ำเรื่องนี้ไว้ 3 เพราะสิ่งที่ตกต้อง จอตาของผมตอนนั้นล�้ำค่านัก และเพราะว่าในบริบทการวินิจฉัยโรคของ พอลนัน้ ผมเริม่ ตระหนักถึงความตาย ไม่ใช่เพียงของเขา แต่ของผมเองด้วย เราคุยกันหลายต่อหลายเรื่องในบ่ายนั้น เขาเป็นหัวหน้าแพทย์ ประจ�ำบ้าน4 สาขาประสาทศัลยศาสตร์ เราอาจเคยผ่านพบกันบ้างบางครัง้ แต่เราจ�ำไม่ได้ว่าเคยรักษาผู้ป่วยร่วมกันเลย เขาบอกผมว่าสมัยเรียน ปริญญาตรีอยู่ที่สแตนฟอร์ด เขาเรียนเอกอังกฤษและชีววิทยา จากนั้น เรียนต่อปริญญาโทด้านวรรณคดีอังกฤษ เราคุยกันถึงเรื่องที่เขามอบ ความรักให้กบั การเขียนการอ่านมาตลอดชัว่ ชีวติ ผมทึง่ เมือ่ รูว้ า่ มีโอกาสสูง เพียงใดที่เขาจะไปเป็นอาจารย์ภาษาอังกฤษ และที่จริงดูเหมือนเขาเคย มุ่งหน้าไปในเส้นทางนั้นมา ณ ช่วงหนึ่งของชีวิต แต่แล้วก็เหมือนคนอีก คนหนึง่ ทีม่ ชี อื่ เดียวกัน ผูอ้ ยูบ่ นถนนสูก่ รุงดามัสกัส5 พวกเขาต่างสัมผัสถึง กระแสเรียก พอลกลายมาเป็นแพทย์แทน แต่เป็นแพทย์ที่ฝันถึงการ
กล้องทาบเงาหรือ camera obscura เป็นอุปกรณ์ช่วยวาดภาพของจิตรกรยุคศตวรรษที่ 17-18 เป็นต้นแบบของกล้องถ่ายภาพยุคแรกๆ 3 จากประโยค You must remember this ซึ่งเป็นประโยคแรกของเพลง As Time Goes By สื่อนัยว่าเวลาก�ำลังเดินทางผ่านไป 4 แพทย์ประจ�ำบ้านหรือ resident คือแพทย์ที่ก�ำลังฝึกหัดเป็นแพทย์เฉพาะทาง 5 ผู้เขียนหมายถึงนักบุญเปาโล (ซึ่งมีชื่อในภาษาอังกฤษว่าพอลเหมือนกัน) โดยก่อนหน้า ที่จะเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ เขาเคยเป็นชาวฟาริสีที่มุ่งหน้าไปเมืองดามัสกัสเพื่อจับ ชาวคริสต์ แต่ระหว่างทางได้รับกระแสเรียกโดยได้พบกับพระเยซู 2
12
When Brea t h Be c o me s Ai r
กลับสูโ่ ลกวรรณกรรมในรูปแบบใดรูปแบบหนึง่ อาจเป็นการเขียนหนังสือ ก็ได้ในสักวันหนึ่งที่เขาคิดว่าจะมีเวลา ก็เหตุใดจะไม่มีเวลาเล่า? แต่ถึง กระนั้น บัดนี้เวลาได้กลายเป็นสิ่งที่เขามีเหลืออยู่น้อยนิดเหลือเกิน ผมจ� ำ รอยยิ้ ม สุ ภ าพกึ่ ง ขบขั น และแฝงแววซุ ก ซนของเขาได้ แม้ใบหน้าจะซูบตอบซีดเซียวเพราะมะเร็งบีบคั้น แต่การรักษาด้วยยา ชีวบ�ำบัดแบบใหม่ก็ให้ผลดี เขาจึงดูดีขึ้นเล็กน้อย เขาเคยพูดไว้สมัยเรียน แพทย์ว่าจะเป็นจิตแพทย์ แต่แล้วกลับมาตกหลุมรักประสาทศัลยศาสตร์ มันเป็นมากกว่าการตกหลุมรักความสลับซับซ้อนของสมอง และเป็นมาก ยิ่งกว่าความพึงพอใจที่จะได้ฝึกฝนมือของเขาเพื่อให้บรรลุทักษะอันเป็น เลิศ มันคือความรักและความเห็นอกเห็นใจผู้ตกทุกข์ในสิ่งที่คนเหล่านั้น ต้องพบเผชิญ และเป็นสิง่ ทีเ่ ขาอาจจะน�ำไปพัฒนาต่อได้ ผมคิดว่าสิง่ ทีพ่ อล เล่าให้ฟงั นัน้ ไม่มากเท่ากับคุณสมบัตขิ องเขาซึง่ ผมได้ยนิ จากนักเรียนทีไ่ ป ช่วยงานเขา อันได้แก่ความเชือ่ แรงกล้าในมิตทิ างศีลธรรมต่อการงานทีเ่ ขา ท�ำอยู่ แล้วจากนั้นเราก็คุยกันถึงความตายของเขา หลังพบกันครั้งนั้น เราติดต่อกันทางอีเมล แต่ไม่เคยได้พบกัน อีกเลย ไม่ใช่เพียงเพราะผมหายไปในโลกแห่งการท�ำงานให้ทนั เส้นตายและ หน้าทีร่ บั ผิดชอบของตัวเองเท่านัน้ แต่ผมยังมีความรูส้ กึ แรงกล้าว่าผมพึง ต้องเคารพในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ของเขาด้วย พอลจะอยากพบผมหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับเขา ผมรู้สึกว่าสิ่งสุดท้ายที่เขาต้องการคือหน้าที่ที่ต้องคอย บริการมิตรใหม่ แต่ผมก็นึกถึงเขาบ่อยๆ นึกถึงภรรยาของเขาด้วย ผม อยากถามเขาว่าได้เขียนหนังสือหรือเปล่า เขามีเวลาไหม ในฐานะแพทย์ ทีง่ านยุง่ เหยิง ผมต้องดิน้ รนหาเวลาเขียนหนังสือมานานหลายปี ผมอยาก บอกเขาว่า นักเขียนที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งซึ่งเข้าใจในปัญหาอันไร้ที่สิ้นสุดนี้ เคยบอกผมครั้งหนึ่งว่า “ถ้าผมเป็นประสาทศัลยแพทย์ และผมประกาศ ในงานเลีย้ งว่าต้องทิง้ แขกไปผ่าตัดเปิดกะโหลกฉุกเฉิน จะไม่มใี ครว่าอะไร เลย แต่ถ้าผมบอกว่าต้องทิ้งแขกในห้องนั่งเล่นเพื่อขึ้นไป เขียนหนังสือ นะ...” ผมใคร่อยากรู้ว่าพอลจะรู้สึกตลกกับเรื่องนี้ไหม เพราะเหนืออื่นใด Paul Kalanithi
13
เขา สามารถบอกคนอื่นได้ว่าเขาจะไปผ่าตัดสมองจริงๆ! มันฟังขึ้น! จากนั้นเขาอาจจะออกไปเขียนหนังสือแทนก็ได้ ขณะที่พอลก�ำลังเขียนหนังสือเล่มนี้ เขาตีพิมพ์บทความสั้น อันโดดเด่นในนิตยสาร สแตนฟอร์ดเมดิซีน ฉบับที่อุทิศเนื้อหาให้กับ ความคิดเรื่องเวลา ผมเขียนบทความลงในฉบับเดียวกันด้วย งานของ ผมอยู่ติดกับงานของเขา แม้ผมจะเพิ่งมารู้ว่าเขาเขียนในเล่มนี้ก็ตอนที่ได้ อ่านนิตยสาร เมือ่ อ่านถ้อยค�ำของเขา ผมสะดุดใจเป็นครัง้ ทีส่ องต่อบางสิง่ ซึ่งเคยเผยร่องรอยเอาไว้แล้วในบทความที่ตีพิมพ์ใน นิวยอร์กไทมส์ ทว่าหนนี้ผมตระหนักลึกซึ้งยิ่งกว่าเดิม กล่าวคือ ผมพบว่างานเขียนของ พอลนัน้ น่าทึง่ ยิง่ เขาสามารถเขียนเรือ่ งอะไรก็ได้ และมันจะทรงพลังเสมอ แต่เขา ไม่ได้ แค่เขียนอะไรก็ได้ เขาก�ำลังเขียนถึงเวลาและความหมาย ของเวลาต่อตัวเขาในขณะนี้ ท่ามกลางบริบทแห่งความป่วยเจ็บของเขา ซึ่งท�ำให้ทั้งหมดนั้นแสนเศร้าอย่างไม่น่าเชื่อ แต่เรื่องที่ผมอยากนึกย้อนกลับไปหาในงานของเขาคือ ร้อยแก้ว อันไม่อาจลืมเลือน เขาปั่นเส้นด้ายทองค�ำออกมาจากปากกา ผมอ่านงานของพอลซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า พยายามจะเข้าใจสิ่งที่เขา น�ำเสนอ แรกสุด มันมีท่วงท�ำนองดนตรี สะท้อนก้องส�ำเนียงของ กัลเวย์ คินเนลล์6 จนเกือบคล้ายเป็นล�ำน�ำกวี (“หากวันหนึ่งมันเกิดขึ้น / เธอพบ ว่าเธออยู่กับคนรัก / ในร้านกาแฟที่สุดปลาย / ของสะพานปองต์มิราโบ ณ บาร์สังกะสี7 / ที่ซึ่งไวน์ขาวนิ่งงันอยู่ในแก้วผายกว้างที่ตั้งอยู่...”8
Galway Kinnell กวีอเมริกันผู้ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ บาร์ที่หน้าเคาน์เตอร์ปูด้วยสังกะสี ในกรุงปารีสสมัยก่อน ถ้าหน้าเคาน์เตอร์เป็นไม้ หากเครื่องดื่มหกเลอะจะท�ำความสะอาดยาก จึงนิยมปูด้วยสังกะสีหรือทองแดง บาร์สังกะสี ปรากฏในงานเขียนจ�ำนวนมากของนักเขียนหลายคนที่เคยไปเยือนปารีส รวมทั้งเฮมิงเวย์ ด้วย 8 จากบทกวีชื่อ Little Sleep’s-Head Sprouting Hair in the Moonlight ของคินเนลล์ ซึ่งมี เนื้อหากล่าวถึงความตาย 6 7
14
When Brea t h Be c o me s Ai r
ถ้อยความเหล่านี้ตัดตอนจากบทกวีของคินเนลล์ที่ผมเคยได้ยินเขาอ่าน ในร้ า นหนั ง สื อ ที่ ไ อโอวาซิ ตี้ โดยไม่ ไ ด้ ก ้ ม หน้ า ลงมองกระดาษเลย) แต่กระนั้นก็ยังมีรสชาติของสิ่งอื่นอีก บางสิ่งจากดินแดนเก่าแก่ จากยุค สมัยก่อนบาร์สังกะสี และแล้วในที่สุดผมก็นึกออกในอีกไม่กี่วันต่อมา เมือ่ ผมหยิบงานของเขาขึน้ มาอีกครัง้ งานเขียนของพอลเตือนให้ผมร�ำลึก ถึงงานของ โธมัส บราวน์ ในปี 1642 บราวน์เคยเขียนผลงานร้อยแก้วชื่อ รีลิจิโอ เมดิชี 9 ด้วยตัวสะกดและออกเสียงแบบโบราณ ในฐานะแพทย์ หนุ่ม ผมลุ่มหลงหนังสือเล่มนั้น เฝ้าอ่านราวกับชาวนาพยายามจะระบาย น�้ำออกจากหนองน�้ำที่พ่อของเขาท�ำไม่ส�ำเร็จ แม้จะเป็นความพยายามที่ ไร้ประโยชน์ แต่กระนัน้ ผมก็กระหายจะเรียนรูค้ วามลับของมัน ผมโยนมัน ทิ้งไปด้วยความสิ้นหวัง แล้วหยิบขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ไม่แน่ใจว่ามันจะให้ อะไรผมหรือเปล่า แต่สมุ้ เสียงของถ้อยค�ำเหล่านัน้ ท�ำให้รสู้ กึ ว่ามันให้อะไร บางอย่าง ผมรู้สึกว่าผมขาดเครื่องมือชิ้นส�ำคัญที่ใช้รับสารอันจะท�ำให้ ตัวอักษรเหล่านั้นร�่ำร้องและสื่อความหมายออกมา ไม่ว่าผมจะพยายาม หนักเพียงใด สิ่งต่างๆ ก็ยังคงมืดมน คุณคงถามว่าท�ำไมเล่า? ท�ำไมผมถึงอุตสาหะอ่าน? ใครจะสนใจ รีลิจิโอ เมดิช?ี เอาเถอะ วีรบุรุษของผมอย่าง วิลเลียม ออสเลอร์ สนก็แล้วกัน ออสเลอร์เป็นบิดาแห่งการแพทย์สมัยใหม่ เขาเสียชีวิตในปี 1919 เขารัก หนังสือเล่มนี้ เขาวางมันไว้ที่หัวนอน และขอให้ฝังหนังสือ รีลิจิโอ เมดิชี ไปพร้อมกับเขา ไม่ว่าจะพยายามอย่างไร ผมก็ไม่เห็นสิ่งที่ออสเลอร์เห็น แต่หลังพยายามหลายครั้ง ผ่านไปหลายสิบปี ในที่สุดหนังสือก็เผยตัวตน ต่อผม (การที่ฉบับตีพิมพ์ใหม่ใช้ตัวสะกดตามแบบปัจจุบันนั้นช่วยได้มาก ทีเดียว) ผมค้นพบว่ากลยุทธ์คือให้อ่านออกเสียง ซึ่งท�ำให้จังหวะจะโคน
Religio Medici หรือ The Religion of a Doctor ตีพิมพ์ในศตวรรษที่ 17 เป็นเสมือน ภาพวาดทางจิตวิทยาของบราวน์ 9
Paul Kalanithi
15
ไม่อาจหลุดรอดไปได้ “เราพาความอัศจรรย์ใจไปกับเรา ทว่าเราแสวงหามัน ภายนอกตัวเรา มีแอฟริกาทั้งทวีป แต่สิ่งน่าอัศจรรย์ของแอฟริกาอยู่ใน ตัวเรา เราคือชิ้นส่วนของธรรมชาติที่กล้าหาญและรักการผจญภัย ซึ่งเขา ผู้ศึกษาจะได้เรียนรู้ทีละหัวข้ออย่างชาญฉลาด ถึงสิ่งที่ผู้อื่นได้ลงแรง ในหนังสือที่แบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ไม่รู้จักสิ้นสุด” เมื่อคุณมาถึงประโยค สุดท้ายในหนังสือของพอล จงอ่านออกมาดังๆ คุณจะได้ยินประโยคยาว แบบเดียวกัน พร้อมกับจังหวะที่คุณคิดว่าคุณอาจเคาะเท้าตามได้... ทว่า ก็เป็นเช่นเดียวกับบราวน์ คุณจะไม่เข้าใจมันอยู่ดี ส�ำหรับผม พอลคือ บราวน์ที่กลับมาเกิดใหม่ (หรือหากคิดว่าเวลาที่เคลื่อนไปข้างหน้าเป็น มายาคติของเราเอง อาจเป็นไปได้ว่าบราวน์คือกาลนิธิที่กลับชาติมาเกิด ก็ได้ ใช่ มันเป็นเรื่องชวนเวียนศีรษะมาก) พอลเสียชีวิตหลังจากนั้น ผมไปร่วมงานร�ำลึกถึงเขาที่โบสถ์ สแตนฟอร์ด โบสถ์แห่งนี้เป็นพื้นที่ดีงามซึ่งผมมักจะไปตอนที่ไม่มีคน เพื่อไปนั่งชื่นชมแสงสว่างและความเงียบ เป็นที่ที่ผมได้ฟื้นฟูตัวเองใหม่ เสมอ ในงานคนแน่นมาก ผมนั่งอยู่ริมฝั่งหนึ่ง ฟังเพื่อนสนิทที่สุด สาธุคุณ และพี่น้องของเขาเล่าเรื่องอันจับใจด้วยน�้ำเสียงสั่นเครือเป็นครั้งคราว ใช่ พอลจากไปแล้ว แต่น่าแปลกที่ผมรู้สึกว่าเพิ่งได้รู้จักกับเขามากยิ่งกว่า ตอนทีเ่ ขามายังห้องท�ำงานของผม และเกินกว่าบทความจ�ำนวนหนึง่ ทีเ่ ขา เขียน เขาก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างจากเรื่องราวที่ผู้คนบอกกล่าวกันในโบสถ์ อนุสรณ์ที่สแตนฟอร์ด ยอดโดมเสียดฟ้านั้นเป็นสถานที่อันเหมาะสมที่จะ ร�ำลึกถึงชายผูห้ นึง่ ซึง่ บัดนีร้ า่ งของเขาอยูใ่ ต้ผนื โลก แต่อย่างไรก็ตาม เขา มีชวี ติ อยู่ อย่างแน่ชดั เขาก่อตัวขึน้ ในรูปของภรรยาผูน้ า่ รักและลูกสาวทีย่ งั เป็นทารก ในรูปของพ่อแม่และญาติพี่น้องผู้เศร้าโศก ในใบหน้าของกลุ่ม เพือ่ น เพือ่ นร่วมงาน และอดีตคนไข้ทเี่ นืองแน่นในทีน่ นั้ เขาอยูใ่ นงานเลีย้ ง รับรองที่จัดขึ้นต่อจากนั้น ณ ที่กลางแจ้งซึ่งทุกคนมารวมตัวกัน ผมเห็น ใบหน้ายิ้มแย้มมากมายที่ดูสงบ ราวกับพวกเขาได้เป็นพยานถึงบางสิ่งที่ สวยงามเหลือเกินในโบสถ์นั้น บางทีใบหน้าของผมก็อาจเป็นเช่นนั้นด้วย 16
When Brea t h Be c o me s Ai r
เราได้คน้ พบความหมายในพิธกี รรมของงาน ในพิธกี รรมของการกล่าวสดุดี ในน�้ำตาที่แบ่งปันร่วมกัน ยังมีความหมายอื่นอีกในงานรับรองที่เราดื่ม ดับกระหาย หล่อเลี้ยงร่างกาย และพูดคุยกับคนแปลกหน้า ผู้ที่เราต่าง เชื่อมโยงใกล้ชิดกันผ่านพอล แต่ ก ลั บ กลายเป็ น ตอนที่ ผ มได้ รั บ ต้ น ฉบั บ ที่ คุ ณ ถื อ อยู ่ ใ นมื อ ตอนนี้ แ ละผ่ า นมาแล้ ว สองเดื อ นหลั ง จากพอลเสี ย ชี วิ ต ที่ ผ มรู ้ สึ ก ว่ า ในที่สุดก็ได้รู้จักเขาจริงๆ รู้จักเขาดีกว่าเมื่อครั้งที่ผมเคยได้รับพรให้เรียก เขาว่าเพื่อน หลังอ่านหนังสือที่คุณก�ำลังจะอ่านนี้ ผมสารภาพว่าผมรู้สึก ไร้ความสามารถ งานเขียนชิ้นนี้เขียนขึ้นอย่างซื่อสัตย์และจริงแท้ ท�ำให้ ผมแทบลืมหายใจ จงเตรียมพร้อม นั่งลง รับฟังเสียงแห่งความกล้าหาญ รอดูว่า หนังสือเล่มนี้กล้าหาญเพียงใดที่จะเปิดเผยตัวตนด้วยหนทางนี้ แต่เหนือ อื่นใด จงมองให้เห็นว่ามันเป็นเช่นไรที่คุณยังสามารถมีชีวิตอยู่ และสร้าง ผลกระทบใหญ่หลวงต่อคนอื่นๆ หลังคุณตายจากไปแล้วได้ด้วยถ้อยค�ำ ของคุณ ในโลกของการสื่อสารอันเซ็งแซ่ ซึ่งเรามักจมอยู่กับหน้าจอของ เราเอง ปักหลักจดจ้องอยูก่ บั วัตถุสเี่ หลีย่ มอันวุน่ วายในมือ ความสนใจของ เราถูกกลืนกินด้วยสิ่งที่มีอายุสั้น จงหยุดนิ่ง แล้วสัมผัสรับรู้ถึงบทสนทนา กับเพื่อนร่วมงานหนุ่มผู้จากไปของผม เขายังคงอยู่อย่างไร้กาลเวลา ในความทรงจ�ำ จงฟังเสียงของพอล ฟังสิ่งที่คุณอยากตอบกลับในความ เงียบระหว่างถ้อยค�ำ ในนัน้ มีสงิ่ ทีเ่ ขาอยากบอก ผมได้รบั รูแ้ ล้ว และหวังว่า คุณจะได้สัมผัสรับรู้เช่นกัน มันคือของขวัญ และตอนนี้ผมขอถอยออกมา เพื่อจะได้ไม่ยืนกั้นขวางระหว่างคุณกับพอล
Paul Kalanithi
17
บทนำ�
เว็บสเตอร์ถูกครอบง�ำด้วยความตายยิ่ง แลเห็นหัวกะโหลกอยู่ใต้ผิวหนัง สัตว์ไร้ทรวงอกอยู่ใต้พื้นดิน เอนหลังพร้อมแสยะยิ้มอย่างไร้ริมฝีปาก ที. เอส. อีเลียต, “เสียงกระซิบแห่งอมตะ”
ผมพลิกภาพซีทีสแกนดู ผลการวินิจฉัยนั้นชัดเจน ปอดเป็นปื้นด้วย เนื้องอกนับไม่ถ้วน กระดูกสันหลังผิดรูป พูตับหายไปทั้งยวง มะเร็งแพร่ ไปเป็นวงกว้าง ผมเป็นแพทย์ประจ�ำบ้านสาขาประสาทศัลยศาสตร์ทกี่ ำ� ลัง เรียนแพทย์เฉพาะทางปีสดุ ท้าย ตลอดหกปีทผี่ า่ นมา ผมเคยดูภาพสแกน แบบนี้มามากมาย เพื่อมองหาโอกาสรักษาที่จะท�ำประโยชน์ให้ผู้ป่วยได้ แต่ผลการสแกนนี้ต่างออกไป เพราะมันเป็นของผมเอง ผมไม่ได้อยูใ่ นห้องฉายรังสีโดยสวมชุดแพทย์และเสือ้ กาวน์สขี าว ผมอยู่ในชุดผู้ป่วย มีสายโยงติดกับเสาน�้ำเกลือ ก�ำลังใช้คอมพิวเตอร์ ทีพ่ ยาบาลทิง้ ไว้ให้ในห้องพักของโรงพยาบาล โดยมีลซู ี อายุรแพทย์ผเู้ ป็น ภรรยาของผมอยู่ข้างๆ ผมย้อนดูผลสแกนแต่ละแผ่นอีกครั้ง แผ่นปอด แผ่นกระดูก แผ่นตับ ไล่จากบนลงล่าง จากซ้ายไปขวา จากหน้าไปหลัง เหมือนที่ผมได้รับการฝึกฝนมาให้ท�ำเช่นนั้น ราวกับผมอาจค้นพบบางสิ่ง ที่จะเปลี่ยนแปลงผลการวินิจฉัยได้กระนั้น เรานอนอยู่ด้วยกันบนเตียงในโรงพยาบาล Paul Kalanithi
21
ลูซีพูดเบาๆ ราวกับก�ำลังอ่านบท “คุณคิดว่าเป็นไปได้ไหมที่จะ เป็นอะไรอื่น” “ไม่” ผมตอบ เรากอดกันแน่นเหมือนคู่รักหนุ่มสาว ในปีที่ผ่านมา เราทั้งคู่ต่าง สงสัย ทว่าปฏิเสธที่จะเชื่อหรือกระทั่งพูดคุยกันในเรื่องที่ว่ามะเร็งก�ำลัง ก่อตัวภายในร่างผม ราวหกเดือนก่อน ผมเริ่มน�้ำหนักลดและมีอาการปวดหลังอย่าง ร้ายกาจ เมื่อผมแต่งตัวในตอนเช้า รูเข็มขัดของผมเลื่อนถอยมาหนึ่งรู แล้วก็กลายเป็นสองรู ผมไปหาแพทย์ผู้ดูแลเบื้องต้นประจ�ำตัวผม ซึ่งเป็น เพื่อนร่วมชั้นเรียนเก่าที่สแตนฟอร์ด น้องชายของเธอเสียชีวิตกะทันหัน ขณะยั ง เป็ น แพทย์ ป ระจ� ำ บ้ า นสาขาประสาทศั ล ยศาสตร์ ห ลั ง ละเลย สัญญาณการติดเชื้อร้ายแรง ดังนั้นที่ผ่านมาเธอจึงตรวจผมอย่างใส่ใจ ประหนึง่ แม่ดแู ลลูก แต่เมือ่ ผมไปถึง ผมพบแพทย์อกี คนหนึง่ ในห้องท�ำงาน ของเธอ เพื่อนร่วมชั้นของผมลาคลอด ผมอยู่ในชุดผู้ป่วยผ้าบางๆ สีน�้ำเงิน เล่าอาการให้เธอฟังขณะอยู่ บนเตียงตรวจโรคอันเย็นเฉียบ “จริงอยู”่ ผมบอก “ถ้านีเ่ ป็นค�ำถามทดสอบ ใบประกอบโรคศิลป์ ชายวัยสามสิบห้าที่มีอาการน�้ำหนักลดและปวดหลัง ฉับพลันอย่างอธิบายไม่ได้ ค�ำตอบที่เห็นได้ชัดคือมะเร็ง แต่บางทีผมอาจ แค่ท�ำงานหนัก ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ผมอยากตรวจเอ็มอาร์ไอให้แน่ใจ” “ฉันว่าเราควรจะเอกซเรย์ก่อน” เธอว่า เอ็มอาร์ไอส�ำหรับอาการ ปวดหลังนั้นราคาแพง และในช่วงหลังมานี้ เรื่องใหญ่ระดับชาติคือต้อง เน้นลดค่าใช้จ่ายส�ำหรับการสแกนที่ไม่จ�ำเป็น แต่คุณค่าของการสแกน ขึ้ น อยู ่ กับ สิ่ ง ที่เราต้องการตรวจหา ส่ว นใหญ่แล้วเอกซเรย์ไม่ค่อยมี ประโยชน์หากต้องการตรวจมะเร็ง แต่กระนั้น ส�ำหรับแพทย์จ�ำนวนมาก ถือเป็นเรื่องไม่ถูกหลักการเท่าไหร่ที่จะสั่งตรวจเอ็มอาร์ไอในกระบวนการ ขั้นต้นแบบนี้ เธอพูดต่อว่า “เอกซเรย์อาจไม่ละเอียดมากพอ แต่ดีกว่า ถ้าจะเริ่มจากตรงนั้น” 22
When Brea t h Be c o me s Ai r
“ถ้าเราท�ำเอกซเรย์แบบงอและเหยียดล่ะครับ บางทีผลวินิจฉัยที่ เข้าเค้าหน่อยอาจเป็นอิสธมิก สปอนไดโลลิสธีสิส1 ก็ได้นะครับ” จากภาพสะท้อนบนผนังกระจก ผมเห็นเลยว่าเธอก�ำลังกูเกิล หาข้อมูลอยู่ “มั น เป็ น อาการกระดู ก สั น หลั ง แตกร้ า วที่ พ บได้ ใ นคนราวห้ า เปอร์เซ็นต์ และมักจะท�ำให้เกิดอาการปวดหลังในคนหนุ่มสาวน่ะครับ” “โอเค ถ้าอย่างนั้นฉันจะสั่งตรวจแบบนั้นแล้วกันค่ะ” “ขอบคุณครับ” ผมพูด เหตุใดยามใส่เสื้อกาวน์ศัลยแพทย์ผมจึงมีอ�ำนาจมากมาย แต่ เมือ่ อยูใ่ นชุดคนไข้กลับดูวา่ ง่ายน่ะหรือครับ ความจริงก็คอื ผมรูเ้ รือ่ งอาการ ปวดหลังมากกว่าเธอ ครึง่ หนึง่ ของช่วงเวลาทีผ่ มร�ำ่ เรียนในฐานะประสาท ศัลยแพทย์เกีย่ วข้องกับความผิดปกติของกระดูกสันหลัง แต่กไ็ ม่แน่ อาการ กระดูกสันหลังเคลือ่ น อาจ เป็นไปได้มากกว่าจริงๆ มันเกิดกับคนหนุม่ สาว ในอัตราส่วนสูงทีเดียว ส่วนมะเร็งกระดูกสันหลังในช่วงวัยสามสิบกว่า น่ะหรือ โอกาสที่จะเกิดขึ้นอาจไม่เกินหนึ่งในหมื่น ต่อให้พบได้บ่อย กว่านั้นร้อยเท่าก็ยังน้อยกว่ากระดูกสันหลังเคลื่อนอยู่ดี บางทีผมอาจจะ ตื่นตระหนกเกินไปก็ได้ ผลเอกซเรย์ดูปกติดี เราสันนิษฐานว่าอาการเป็นผลมาจากการ ท�ำงานหนักและร่างกายที่เริ่มเสื่อมไปตามวัย เรานัดหมายเพื่อติดตาม อาการ เสร็จแล้วผมก็กลับไปดูแลผูป้ ว่ ยรายสุดท้ายของวัน น�ำ้ หนักของผม ไม่ลดเร็วเท่าเดิม อาการปวดหลังเริ่มทานทนได้ การกินยาแก้อักเสบ ไอบูโพรเฟนในปริมาณทีพ่ อดีชว่ ยให้ผมผ่านแต่ละวันไปได้ และอย่างไรเสีย คืนวันที่ผมจะต้องท�ำงานหนักหน่วงวันละสิบสี่ชั่วโมงก็เหลืออีกไม่นาน แล้ว การเดินทางของผมจากนักศึกษาแพทย์ไปเป็นอาจารย์ดา้ นประสาท
isthmic spondylolisthesis โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนชนิดหนึ่ง ซึ่งกระดูกสันหลังข้อบน เหลื่อมไปด้านหน้าเมื่อเทียบกับกระดูกสันหลังข้อล่าง
1
Paul Kalanithi
23
ศัลยศาสตร์ก�ำลังจะสิ้นสุดลง หลังร�่ำเรียนมาสิบปี ผมตั้งใจจะมุ่งมั่นต่ออีก สิบห้าเดือนจนกว่าจะหมดวาระในฐานะแพทย์ประจ�ำบ้าน ผมได้รับความ นับถือจากรุน่ พี่ ได้รางวัลอันทรงเกียรติระดับชาติ และได้รบั เสนองานจาก มหาวิทยาลัยใหญ่ๆ หลายแห่ง ผูอ้ ำ� นวยการประจ�ำหลักสูตรทีส่ แตนฟอร์ด เพิ่งนั่งจับเข่าคุยกับผมว่า “พอล ผมคิดว่าคุณจะเป็นตัวเลือกหมายเลข หนึ่งไม่ว่าคุณจะสมัครงานที่ไหน แต่อยากให้คุณรู้ไว้ว่า เราก�ำลังจะเริ่ม หาคนอย่างคุณมาประจ�ำอยูท่ คี่ ณะ แน่นอนว่ายังไม่รบั ประกันแน่ชดั หรอก แต่ผมอยากให้คุณลองพิจารณาดู” ในวัยสามสิบหกปี ผมมาถึงยอดเขาแล้ว ผมเห็นดินแดนแห่ง พันธสัญญา จากกิเลอาดถึงเจอริโค2 ไปจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผมเห็นเรือคาทามารันล�ำงามบนผืนทะเลแห่งนั้น ซึ่งผมกับลูซีและลูกๆ ทีเ่ ราคงจะมีจะแล่นมันออกไปในวันหยุดสุดสัปดาห์ ผมเห็นภาพว่าอาการ ปวดหลั ง จะบรรเทาเมื่ อ ตารางงานผ่ อ นลงและผมเริ่ ม จั ด การกั บ ชี วิ ต ได้ดีขึ้น ผมเห็นภาพว่าในท้ายที่สุด ตัวเองจะกลายเป็นสามีในแบบที่ผม เคยสัญญาไว้ แล้วอีกไม่กี่สัปดาห์ถัดมา ผมก็เริ่มมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง ผมไปกระแทกกับอะไรตอนท�ำงานหรือเปล่า ซี่โครงร้าวด้วยเหตุอะไร สักอย่างใช่ไหม บางคืนผมตื่นขึ้นมาพร้อมผ้าปูที่นอนเปียกชุ่มและเหงื่อ โซมกาย น�ำ้ หนักของผมเริม่ ลดลงอีก คราวนีล้ ดฮวบกว่าเก่า จากหนึง่ ร้อย เจ็ดสิบห้าปอนด์เหลือหนึ่งร้อยสี่สิบห้าปอนด์ ผมเริ่มมีอาการไอเรื้อรัง แทบไม่ต้องสงสัยอีกแล้ว บ่ายวันเสาร์หนึ่ง ลูซีกับผมนอนอาบแดดอยู่ที่ สวนโดลอเรสในซานฟรานซิสโกขณะรอไปเจอน้องสาวของเธอ ลูซเี หลือบ มองหน้าจอโทรศัพท์ของผม ซึ่งก�ำลังแสดงผลการสืบค้นฐานข้อมูลทาง การแพทย์เกี่ยวกับ “ความถี่ของมะเร็งในคนวัย 30-40 ปี” “อะไรนี่?” เธอว่า “ฉันไม่รู้เลยว่าคุณกังวลขนาดนี้” 2
Gilead และ Jericho เป็นดินแดนในอิสราเอลซึ่งปรากฏอยู่ในไบเบิล
24
When Brea t h Be c o me s Ai r
ผมไม่ตอบ ผมไม่รู้จะพูดอะไร “คุณอยากเล่าให้ฉันฟังไหม” เธอถาม เธอรูส้ กึ แย่เพราะก่อนหน้านีเ้ ธอก็เคยกังวลเรือ่ งนีเ้ ช่นกัน เธอรูส้ กึ แย่เพราะผมไม่เคยคุยเรือ่ งนีเ้ ลย เธอรูส้ กึ แย่เพราะชีวติ ทีผ่ มสัญญากับเธอ ไว้เป็นแบบหนึ่ง แต่ผมกลับมอบชีวิตอีกแบบให้เธอ “บอกฉันทีท�ำไมคุณถึงไม่ปรับทุกข์กับฉัน” เธอถาม ผมปิดโทรศัพท์ “ไปหาไอศกรีมกินกันเถอะ” ผมพูด เราวางแผนลาหยุดในสัปดาห์ถัดมาเพื่อไปเยี่ยมเพื่อนเก่าสมัย เรียนในนิวยอร์ก บางทีหากได้นอนเต็มอิ่มสักคืนและได้ดื่มค็อกเทล แก้วสองแก้วอาจช่วยให้เราเชื่อมโยงกันได้อีกครั้ง และลดแรงกดดัน ในชีวิตแต่งงานของเราได้ แต่ลซู มี แี ผนอืน่ “ฉันไม่ไปนิวยอร์กกับคุณนะ” เธอประกาศไม่กวี่ นั ก่อนการเดินทาง เธอจะไปอยู่ที่อื่นสักหนึ่งสัปดาห์ เธออยากใช้เวลา พิจารณาสถานะการแต่งงานของเรา เธอพูดด้วยน�้ำเสียงราบเรียบ ซึ่งยิ่ง ท�ำให้ผมวิงเวียนมากขึ้นอีก “อะไรนะ?” ผมว่า “ไม่เอา” “ฉันรักคุณมาก นั่นคือเหตุผลที่ท�ำให้ทุกอย่างสับสน” เธอพูด “แต่ฉนั คิดว่าเราอาจต้องการบางสิง่ ทีแ่ ตกต่างกันในความสัมพันธ์ของเรา ฉันรู้สึกเหมือนเราเชื่อมโยงกันแค่ครึ่งเดียว ฉันไม่อยากรับรู้เรื่องความ กังวลของคุณเพราะความบังเอิญ เวลาฉันบอกคุณว่าฉันรู้สึกโดดเดี่ยว คุณดูจะไม่คิดว่านั่นเป็นปัญหา ฉันคงต้องท�ำอะไรสักอย่างที่ต่างไป จากเดิม” “เดีย๋ วอะไรๆ ก็จะดีเอง” ผมว่า “เป็นเพราะเรือ่ งเรียนแพทย์เท่านัน้ แหละ” อะไรๆ แย่ขนาดนั้นเลยหรือ? ประสาทศัลยศาสตร์นั้นเป็นหนึ่ง Paul Kalanithi
25
ในสาขาเฉพาะทางที่เรียนหนักและต้องทุ่มเทสุดตัว แน่นอนว่ามันย่อม ก่อความเครียดในชีวิตแต่งงานของเรา มีหลายต่อหลายคืนที่ผมกลับจาก ท�ำงานดึก หลังลูซเี ข้านอนไปแล้ว ผมล้มตัวพังพาบทีพ่ นื้ ห้องนัง่ เล่น หมด เรี่ยวแรง และมีหลายต่อหลายเช้าที่ผมออกไปท�ำงานตั้งแต่ยังมืด ก่อนที่ เธอจะตื่น แต่ตอนนี้งานของเราก�ำลังรุ่งเรืองถึงขีดสุด มหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่ตอ้ งการตัวเรา ทัง้ ผมในสาขาประสาทศัลยศาสตร์และลูซใี นสาขา อายุรศาสตร์ เราฝ่าฟันและรอดพ้นช่วงเวลายากล�ำบากทีส่ ดุ ในการเดินทาง ของเรามาแล้ว เราไม่ได้ถกเถียงเรือ่ งนีก้ นั มานับสิบครัง้ หรอกหรือ เธอไม่รู้ หรอกหรือว่าเธอหยิบยกเรือ่ งนีข้ นึ้ มาในช่วงจังหวะทีย่ ำ�่ แย่สดุ ๆ เธอไม่เห็น หรอกหรือว่าผมเหลือเวลาเรียนเฉพาะทางอีกเพียงปีเดียว ไม่เห็นหรือว่า ผมรักเธอ และเราใกล้จะได้มีชีวิตร่วมกันในแบบที่เราต้องการเสมอมา อยู่รอมร่อแล้ว “ถ้าเป็นแค่เรือ่ งเรียน ฉันรับมือได้” เธอว่า “เรามากันไกลถึงขนาดนี้ แล้ว แต่ปญ ั หาก็คอื ถ้าหากว่ามัน ไม่ใช่ แค่เรือ่ งเรียนล่ะ? คุณคิดจริงๆ หรือ ว่าอะไรๆ จะดีขึ้นถ้าคุณได้เป็นประสาทศัลยแพทย์สายวิชาการเต็มตัว?” เพือ่ ให้มที างเลือกมากขึน้ ผมเสนอให้ยกเลิกการเดินทาง แล้วไป พบนักบ�ำบัดชีวิตคู่ตามที่ลูซีเคยแนะน�ำไว้เมื่อหลายเดือนก่อน แต่เธอ ยืนยันว่าต้องการเวลาอยู่ตามล�ำพัง ณ จุดนั้น ม่านหมอกความสับสน จากไปแล้ว เหลือเพียงร่องรอยความเจ็บปวด ก็ได้ ผมบอก หากเธอ ตัดสินใจจะไป ผมคิดว่าความสัมพันธ์ของเราคงสิ้นสุด หากปรากฏว่าผม เป็นมะเร็ง ผมจะไม่บอกเธอ เธอจะได้เป็นอิสระและใช้ชวี ติ ตามทีเ่ ธอเลือก ก่อนไปนิวยอร์ก ผมแอบนัดแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็ง บางชนิดที่พบได้บ่อยในคนหนุ่มสาว (มะเร็งอัณฑะหรือ? ไม่ใช่ มะเร็ง ผิวหนังหรือ? ไม่ใช่ มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือ? ไม่ใช่เลย) งานด้านประสาท ศัลยศาสตร์ยุ่งเหยิงเหมือนเช่นเคย คืนวันพฤหัสเคลื่อนผ่านสู่เช้าวันศุกร์ ขณะที่ผมติดอยู่ในห้องผ่าตัดนานสามสิบหกชั่วโมงต่อเนื่องพร้อมกับ บรรดาผู้ป่วยที่อาการซับซ้อนอย่างยิ่ง ทั้งหลอดเลือดโป่งพอง การผ่าตัด 26
When Brea t h Be c o me s Ai r
บายพาสเส้นเลือดในสมอง โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ ผมสูดหายใจ อย่างขอบคุณเงียบๆ เมือ่ แพทย์ประจ�ำโรงพยาบาลเข้ามา ท�ำให้ผมมีเวลา เอนหลังพิงก�ำแพงสักครู่ หากผมจะหาเวลาไปเอกซเรย์ทรวงอกก็คงต้อง เป็นระหว่างทางที่ผมออกจากโรงพยาบาลและตรงกลับบ้านก่อนมุ่งหน้า ไปสนามบิน ผมคิดว่าไม่ว่าจะเป็นหรือไม่เป็นมะเร็ง ก็ไม่มีเหตุผลให้ต้อง ยกเลิกการเดินทาง เพราะถ้าเป็น นี่ย่อมเป็นโอกาสสุดท้ายที่ผมจะได้พบ กับเพื่อน ผมรี บ กลั บ บ้ า นไปเอากระเป๋ า ลู ซี ขั บ รถพาผมไปสนามบิ น และบอกผมว่าเธอนัดเวลาให้เราไปบ�ำบัดชีวิตคู่แล้ว จากประตูขึ้นเครื่อง ผมส่งข้อความหาเธอ “ผมอยากให้คุณอยู่ ที่นี่ด้วย” ไม่กี่นาทีต่อมา มีข้อความตอบกลับ “ฉันรักคุณ ฉันจะรออยู่ที่นี่ ตอนคุณกลับมา” หลังของผมเกร็งแข็งอย่างเลวร้ายระหว่างบิน เมือ่ ผมไปถึงสถานี แกรนด์เซ็นทรัลเพือ่ จับรถไฟไปยังบ้านเพือ่ นทีอ่ ยูน่ อกเมือง ความเจ็บปวด แล่นเป็นริว้ ไปทัว่ ร่าง ในช่วงสองสามเดือนทีผ่ า่ นมา ผมมีอาการปวดเกร็ง ทีห่ ลังในหลายระดับ จากปวดนิดหน่อยจนสามารถเพิกเฉยกับมันได้ ปวด ถึงขั้นต้องหยุดพูดเพื่อกัดฟัน จนถึงปวดรุนแรงขนาดที่ผมต้องลงไปนอน ขดบนพื้นแล้วกรีดร้องออกมา ทว่าความปวดหนนี้อยู่ในระดับสูงสุด ผมล้มตัวนอนลงบนม้านั่งแข็งๆ ในพื้นที่ส�ำหรับนั่งรอ รู้สึกว่ากล้ามเนื้อ หลังบิดเบี้ยว ผมหายใจควบคุมความเจ็บปวดซึ่งไอบูโพรเฟนช่วยอะไร ไม่ได้เลย พร้อมกับนึกชือ่ กล้ามเนือ้ แต่ละมัดขณะทีม่ นั กระตุกเกร็งเพือ่ กลัน้ น�้ำตา อีเรกเตอร์สไปนี รอมบอยด์ ลาทิสซิมุส พิริฟอร์มิส... พนักงานรักษาความปลอดภัยเดินเข้ามาหา “คุณครับ คุณนอน ตรงนี้ไม่ได้” “ผมขอโทษ” ผมพูด พยายามเปล่งค�ำพูดออกมา “ปวด...หลัง... มาก” Paul Kalanithi
27
“แต่คุณนอนตรงนี้ไม่ได้” ผมขอโทษ แต่ผมก�ำลังจะตายเพราะมะเร็ง ถ้อยค�ำเหล่านั้นค้างคาอยู่ที่ปลายลิ้น แต่หากผมไม่ได้เป็นอย่าง นั้นล่ะ? บางทีนี่อาจเป็นอาการที่เกิดกับคนปวดหลังทั่วไปก็ได้ ผมรู้เรื่อง อาการปวดหลังเยอะ รู้ถึงกายวิภาคของมัน สรีระของมัน รู้ถึงค�ำศัพท์ ทีผ่ ปู้ ว่ ยใช้บรรยายอาการเจ็บปวดแบบต่างๆ แต่ผมไม่เคยรูเ้ ลยว่ามัน รูส้ กึ อย่างไร บางทีนี่อาจเป็นความเจ็บปวดพวกนั้น บางทีนะ หรือไม่บางที ผมอาจไม่อยากเอ่ยสิ่งที่เป็นลางร้าย บางทีผมแค่ไม่อยากพูดค�ำว่า มะเร็ง ออกมา ผมดึงตัวเองขึ้นแล้วโซซัดโซเซไปที่ชานชาลา เวลาล่วงเข้าบ่ายแก่ๆ แล้วตอนทีผ่ มไปถึงบ้านเพือ่ นทีโ่ คลด์สปริง ซึง่ อยูบ่ ริเวณแม่นำ�้ ฮัดสัน ห่างออกไปห้าสิบไมล์ทางเหนือของแมนฮัตตัน เพือ่ นสนิทสิบกว่าคนทีร่ จู้ กั กันมาหลายปีเข้ามาทักทาย การต้อนรับรืน่ เริง นั้นผสานไปกับเสียงเจี๊ยวจ๊าวของเด็กๆ ที่ก�ำลังมีความสุข หลังกอด ทักทายกันแล้ว พายุเยียบเย็นมืดด�ำก็พัดเข้ามาหาผม “ลูซีไม่มาเหรอ” “มีงานด่วนน่ะ” ผมตอบ “นาทีสุดท้ายเลย” “โธ่ แย่จัง” “จะว่าอะไรไหมถ้าฉันขอตัวเอากระเป๋าไปเก็บและพักสักหน่อย” ผมหวังไว้ว่าจะได้นอนหลับ พัก และผ่อนคลายอย่างเต็มที่ ในช่วงสองสามวันนีท้ ไี่ ด้อยูน่ อกห้องผ่าตัด พูดสัน้ ๆ ก็คอื ได้ลมิ้ รสชีวติ ปกติ ธรรมดา ซึง่ อาจท�ำให้อาการอ่อนล้าและปวดหลังกลับสูร่ ะดับปวดเกร็งปกติ แต่หลังผ่านไปวันสองวัน เห็นได้ชัดว่ามันไม่บรรเทาลงเลย ผมนอนจนเลยเวลามือ้ เช้า ก่อนจะเดินงุม่ ง่ามลงมายังโต๊ะอาหาร กลางวันเพื่อจ้องมองสตูกาสซูเลและขาปูจานโตซึ่งผมกินไม่ลงสักอย่าง เมื่อถึงมื้อเย็น ผมหมดแรง พร้อมเข้านอนอีกครั้ง บางครั้งผมอ่านหนังสือ ให้เด็กๆ ฟัง แต่ส่วนใหญ่พวกเด็กจะวิ่งเล่นไปรอบๆ ตัวผม กระโดด 28
When Brea t h Be c o me s Ai r
โลดเต้นและร้องตะโกน (“เด็กๆ ท่าทางลุงพอลต้องการพักนะ ท�ำไมไม่ไป เล่นกันตรงโน้นล่ะ”) ผมนึกถึงวันเวลาที่ไปเป็นพี่เลี้ยงในค่ายฤดูร้อน เมือ่ ราวสิบห้าปีกอ่ น ผมนัง่ อยูร่ มิ ฝัง่ ทะเลสาบในแคลิฟอร์เนียเหนือกับกลุม่ เด็กๆ ที่ร่าเริงและใช้ผมเป็นเครื่องกั้นในเกมชิงธงอันซับซ้อน ขณะที่ผม อ่านหนังสือเรื่อง ความตายกับปรัชญา ผมเคยหัวเราะให้กับโมงยามนั้น ที่แลดูไม่เข้ากันเอาเสียเลย เด็กหนุ่มวัยยี่สิบปีคนหนึ่งนั่งอยู่ท่ามกลาง ต้นไม้ ทะเลสาบ ภูเขาแสนงาม มีเสียงนกร้องผสานไปกับเสียงเริงรื่น ของเด็กๆ วัยสี่ขวบ จมูกของเด็กหนุ่มฝังจมอยู่ในหนังสือเล่มเล็กๆ ทีว่ า่ ด้วยความตาย ทว่ามาถึงตอนนี้ ในห้วงขณะนี้ ผมรูส้ กึ ได้ถงึ โลกคูข่ นาน เพียงแค่เปลีย่ นจากทะเลสาบทาโฮเป็นแม่นำ�้ ฮัดสัน เด็กๆ ไม่ใช่ลกู ของคน แปลกหน้า แต่เป็นลูกของเพื่อนผมเอง และแทนที่จะเป็นหนังสือเกี่ยวกับ ความตายที่ตัดขาดผมออกจากบรรยากาศอันมีชีวิตชีวาที่รายล้อมอยู่ กลับเป็นร่างกายของผมเอง—ที่ก�ำลังจะตาย ในคืนที่สาม ผมคุยกับไมก์ผู้เป็นเจ้าบ้าน ผมบอกเขาว่าคงต้อง เปลี่ยนแผนการท่องเที่ยวให้สั้นลงและจะกลับบ้านในวันรุ่งขึ้น “นายดูไม่ค่อยสนุกเลย” เขาว่า “ทุกอย่างเรียบร้อยดีไหม” “เรามานั่งดื่มวิสกี้กันหน่อยดีไหม” ผมว่า เมื่ออยู่หน้าเตาผิง ผมพูดว่า “ไมก์ ฉันคิดว่าฉันเป็นมะเร็ง แล้วไม่ใช่ชนิดที่รับมือง่ายด้วย” นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมพูดออกมาดังๆ “เอาละ” เขาว่า “นี่ไม่ใช่เรื่องอ�ำเล่นอะไรใช่ไหม” “ไม่ใช่” เขาชะงักไป “ฉันไม่รู้จะพูดอะไรจริงๆ” “เอ่อ ฉันว่าอย่างแรกคือควรจะบอกว่าฉันยังไม่รู้ ข้อเท็จจริง ที่แน่ชัดว่าตัวเองเป็นมะเร็งหรือเปล่า ฉันแค่มั่นใจอย่างนั้น อาการ หลายอย่างบ่งชี้แบบนั้น ฉันจะกลับบ้านพรุ่งนี้เพื่อหาค�ำตอบให้ชัดเจน และหวังว่าตัวเองจะคาดผิด” Paul Kalanithi
29
ไมก์เสนอจะส่งกระเป๋าของผมตามกลับไปทางไปรษณีย์ ผมจะได้ ไม่ ต ้ อ งแบกมั น ไปด้ ว ย เขาขั บ รถพาผมไปสนามบิ น ในเช้ า วั น รุ ่ ง ขึ้ น แล้วอีกหกชั่วโมงถัดมา ผมก็ร่อนลงที่ซานฟรานซิสโก โทรศัพท์ของผม ดังขึ้นเมื่อก้าวออกจากเครื่องบิน แพทย์ผู้ดูแลเบื้องต้นประจ�ำตัวผม โทรมาแจ้งผลเอกซเรย์ทรวงอก ปอดของผมแทนที่จะชัดกลับดูพร่าเลือน ราวกับเปิดรูรับแสงของกล้องไว้นานเกินไป เธอบอกว่าเธอไม่แน่ใจนักว่า นั่นแปลว่าอะไร เธอน่าจะรู้ว่ามันแปลว่าอะไร ผมรู้ ลูซมี ารับผมทีส่ นามบิน แต่ผมรอจนกระทัง่ เราถึงบ้านจึงค่อยบอก เธอ เรานัง่ บนม้านัง่ และเมือ่ ผมบอกเธอ เธอรูอ้ ยูแ่ ล้ว เธอซบศีรษะกับไหล่ ของผม แล้วระยะห่างระหว่างเราก็หายลับไป “ผมต้องการคุณ” ผมกระซิบ “ฉันจะไม่มีวันจากคุณไป” เธอพูด เราโทรหาเพื่ อ นสนิ ท หนึ่ ง ในประสาทศั ล ยแพทย์ ป ระจ� ำ โรงพยาบาล และขอให้เขารับผมเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล ผมรับสายรัดแขนพลาสติกทีผ่ ปู้ ว่ ยใส่ และสวมมันไว้บนชุดผูป้ ว่ ย สีฟา้ ของโรงพยาบาลทีผ่ มคุน้ เคยดี แล้วเดินผ่านนางพยาบาลทีผ่ มรูจ้ กั ชือ่ ไปยังห้องหนึง่ เป็นห้องเดียวกับทีผ่ มเคยพบเห็นผูป้ ว่ ยมาแล้วหลายร้อยคน ตลอดช่วงเวลาหลายปี ในห้องนี้ ผมเคยนั่งอยู่กับผู้ป่วย และอธิบายการ วินิจฉัยขั้นสุดท้าย รวมถึงการผ่าตัดอันซับซ้อน ในห้องนี้ ผมเคยแสดง ความยินดีกับผู้ป่วยที่รักษาโรคหาย และได้เห็นความสุขของพวกเขา หวนคืนมาสู่ชีวิต ในห้องนี้ ผมเคยประกาศการตายของผู้ป่วย ผมเคย นั่งอยู่ที่เก้าอี้ ล้างมือในอ่าง เขียนค�ำอธิบายบนกระดาน เปลี่ยนปฏิทิน ผมเคยแม้กระทั่งนึกอยากเอนกายนอนบนเตียงและหลับไปในห้วงเวลา ที่เหน็ดเหนื่อยถึงขีดสุด มาบัดนี้ผมนอนอยู่ที่นั่น ตาสว่าง พยาบาลสาวคนหนึ่งซึ่งผมไม่เคยเห็นโผล่หน้าเข้ามา 30
When Brea t h Be c o me s Ai r
“อีกประเดี๋ยวแพทย์จะมาตรวจนะคะ” และพร้อมกับถ้อยค�ำนั้น อนาคตที่ผมเคยวาดหวังไว้ อนาคต ที่ก�ำลังจะเกิดขึ้น หลายทศวรรษแห่งความมุมานะทุ่มเท ได้ระเหยหายไป หมดสิ้น
Paul Kalanithi
31