รายงานการวิจัย การเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ประจําปี ๒๕๕๕
งานกํากับดูแลที่ดี บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด
๑๗ กันยายน ๒๕๕๕
คํานํา บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด (บวท.) ในฐานะหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกํากับ ดูแลของรัฐ ให้ความสําคัญกับการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการภายใต้การกํากับดูแลที่ดีของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งหวังให้พนักงานของ บวท. เป็นส่วนหนึ่งของความสําเร็จในการกํากับดูแลที่ดีฯ ให้มากยิ่งขึ้น ใน ปีงบประมาณ ๒๕๕5 บวท. ได้จัดทําแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ขึ้น โดยมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องคือยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาแนวทาง และดําเนินงานให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางปฏิบัติที่ดี มีเป้าหมาย 1.1 มุ่งพัฒนาระบบการกํากับดูแล องค์กรให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางการกํากับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ ด้วยมาตรการและแนวทางปฏิบัติ 1.1.1 พัฒนากระบวนการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI และยุทธศาสตร์ที่ 2 ผลักดัน นโยบายการกํากับดูแลที่ดี พร้อมการขยายการปฏิบัติให้ครอบคลุมทุกระดับทั่วทั้งองค์กร มีเป้าหมาย 2.1 สร้างองค์ความรู้และการตระหนักรู้ในเรื่องการกํากับดูแลที่ดีของ บวท. ของฝ่ายจัดการและพนักงาน ด้วย มาตรการและแนวทางปฏิบัติ 2.1.2 จัดให้มีการสํารวจความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการนําไปปฏิบัติใน เรื่องการกํากับดูแลที่ดีของ บวท. และ 2.1.3 สร้างบรรยากาศขององค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมใน การปฏิบัติตามกฎหมาย และมีจริยธรรมของฝ่ายจัดการและพนักงาน บวท. จึงได้ทบทวนสภาวะแวดล้อม/ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พบว่าการมีส่วนร่วม ของบุคลากร และวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI น่าจะมีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของ การกํากับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจของ บวท. จึงได้นําการมีส่วนร่วมของบุคลากรเข้ามาร่วมศึกษาด้วย เพื่อนํา ผลการสํารวจมาเป็นแนวทางผลักดันให้การมีส่วนร่วมของบุคลากรเป็นองค์ประกอบในการพัฒนาความ ตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕๒๕๕๙ ซึ่งผลการวิจัยจะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ของ บวท. ต่อไป ดังนั้น บวท. จึงได้ทําการวิจัยเชิงสํารวจในเรื่องการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแล กิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ประจําปี ๒๕๕๕ มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕5 และจัดทํารายงานผลการสํารวจฯ ภายในเดือนกันยายน ๒๕๕5 เพื่อนําเสนอต่อคณะกรรมการ กํากับดูแลที่ดีของ บวท. และคณะกรรมการบริษัทฯ ตามลําดับ งานกํากับดูแลที่ดี บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด 17 กันยายน ๒๕๕5
ค
บทสรุปผู้บริหาร บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด ตระหนักรู้ถึงความสําคัญในด้านการกํากับดูแลกิจการ ที่ ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และเพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็น ธรรม โดยคํานึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ตลอดจนการดูแลรักษาสังคม สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ คณะกรรมการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ได้เห็นชอบแผนแม่บทด้านการ กํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท.ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ซึ่งมีความ สอดคล้องกับแผนวิสาหกิจปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ของ บวท. โดยแผนแม่บทฯ ดังกล่าวได้กําหนดยุทธศาสตร์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด มาตรการและแนวปฏิบัติ ระยะเวลาดําเนินงาน ตลอดจนหน่วยงานรับผิดชอบหลักไว้ อย่างชัดเจน เพื่อให้การดําเนินงานตามแผนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจะไปถึงความสําเร็จของการดําเนินการตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ดังกล่าวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจของพนักงาน บวท. ทุกคนและทุกระดับ สิ่งที่เป็นปัจจัยส่งเสริมความสําเร็จ หรือเป็น ส่วนที่ขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กรไปสู่จุดหมาย คือ การปฏิบัติตนของพนักงาน บวท. ที่ปฏิบัติสืบทอดกัน มาอย่างยาวนานจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ที่มุ่งเน้นให้พนักงานมีความใส่ใจ ในด้านความปลอดภัย การมีจริยธรรมเพื่อส่วนรวม การมีความรับผิดต่อตนเองและหน้าที่ การ ยอมรับในความเป็นมืออาชีพในระดับสากล และมีความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกันของพนักงาน บวท. วัฒนธรรมองค์กรจะเข้มแข็งได้นั้น จะต้องมีการปฏิบัติตนแบบมีส่วนร่วมของพนักงาน บวท. ซึ่งถือเป็น หลักการสากลที่นานาอารยองค์กรให้ความสําคัญ และเป็นประเด็นหลักที่องค์กรให้ความสนใจเพื่อ พัฒนาการบริหารจัดการเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามหลักการธรรมาภิบาล ที่องค์กร จะต้องเปิดโอกาสให้พนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล มีส่วนร่วมในการ เปิดรับฟังความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือ มีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกัน มีส่วนร่วมใน การปฏิบัติ และมีส่วนร่วมในการควบคุมโดยพนักงาน เพื่อสร้างความโปร่งใสและเพิ่มคุณภาพการ ตัดสินใจขององค์กรให้ดีขึ้น และเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุก ๆ ฝ่าย เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้น พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ทั้งนี้พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และ วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ ต่างให้ความสําคัญต่อการบริหารจัดการอย่างโปร่งใส สุจริต เปิดเผยข้อมูลและเปิดโอกาสให้พนักงาน บวท. ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบายของ บวท. การตัดสินใจทางการบริหารจัดการ รวมถึงการตรวจสอบการใช้อํานาจของผู้บริหารในทุกระดับ จากแผนการเดินทางไปพร้อมกัน เพื่อก้าวสู่จุดหมายตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ จึงมีความสําคัญต่อ บวท. ว่าจะ เดินทางไปสู่จุดหมายตามแผนแม่บทดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล โดยอาศัยการมี ส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และการ ปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ได้หรือไม่ ดังนั้น บวท. จึงกําหนดปัญหาของการวิจัยในครั้งนี้ คือ การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรม ด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับ ดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ
ง ๑. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร (SMART AEROTHAI) และความตระหนักรู้ถึง ความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท.ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ๒. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมการกํากับดูแลกิจการ ที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI กับความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ การวิจัยในครั้งนี้จะเป็นการวิจัยเชิงสํารวจในประชากรที่เป็นพนักงาน บวท. (กลุ่มเป้าหมาย คือ ฝ่ายจัดการและพนักงาน) โดยมีตัวแปรที่สําคัญ ๒ ตัว คือ ๑. การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการ ที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร (SMART AEROTHAI) เป็นตัวแปรอิสระ ๒. ตัวแปรความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ เป็นตัวแปรตาม ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๑. ทําให้ทราบถึงการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI และความ ตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ในภาพรวม ๒. ทําให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมการกํากับดูแลกิจการที่ ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร (SMART AEROTHAI) และ ความตระหนั กรู้ ถึง ความสํ าคั ญในการเตรี ย มความพร้อ มด้านการกํ ากับ ดู แ ลที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ๓. สามารถนําผลการวิจัยไปใช้ในการกําหนดมาตรการหรือแนวทางปฏิบัติ ในการมีส่วนร่วมของ พนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนใน วัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI และความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้าน การกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ให้สูงยิ่งขึ้น ๔. สามารถนําผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการกําหนดมาตรการหรือแนวทางปฏิบัติในการมีส่วน ร่วมของพนักงานในกิจกรรมต่าง ๆ การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI และ ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม เพื่อมุ่งสู่จุดหมายที่หวังไว้ (Journey to Newland) ในอนาคต ผลการสํารวจประจําปี ๒๕๕๕
จ ผลการสํารวจจากผู้ตอบแบบสอบถามที่ให้ข้อมูลครบถ้วนถูกต้องจํานวน ๙๐๓ คน คิดเป็น ร้อยละ ๙๙.๖๗ จากแบบสอบถามที่แจกจ่ายไปจํานวน ๙๐๖ คน พบว่า ๑. ด้านการมีส่วนร่วมของฝ่ายจัดการและพนักงานฯ พบว่า การมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้าน การกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๐๙ หรือคิดเป็นร้อยละ ๖๑.๘๐ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๖๘ และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน ของการมีส่วนร่วมพบว่า การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.74 มีระดับการปฏิบัติ ในระดับมาก รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.13 มีระดับ การปฏิบัติในระดับมากเช่นกัน ส่วนการมีส่วนร่วมในการให้หรือรับข้อมูล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.99 การมี ส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.82 และการมีส่วนร่วมในการควบคุมประเมินผล มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.78 มีระดับการปฏิบัติในระดับปานกลาง ตามลําดับ
ด้านการมีส่วนร่วมของฝ่ายจัดการและพนักงานฯ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๐๙
๒. ด้านการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ของฝ่าย จัดการและพนักงานฯ พบว่า การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ในกิจกรรม ด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.11 หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๒.๒๐ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47 และเมื่อพิจารณาในแต่ละ ด้านพบว่า วัฒนธรรมจริยธรรมเพื่อส่วนรวมมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.27 มีระดับการปฏิบัติในระดับมาก ที่สุด รองลงมาคือวัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อตนเองและหน้าที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 มีระดับการ ปฏิบัติในระดับมากที่สุดเช่นกัน ส่วนวัฒนธรรมความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 วัฒนธรรมความปลอดภัยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 และวัฒนธรรมการเป็นที่ยอมรับในความเป็นมืออาชีพ ในระดับสากล มีค่าเฉลี่ย 3.81 มีระดับการปฏิบัติในระดับมาก ตามลําดับ ด้านการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีค่าเฉลีย่ เท่ากับ ๔.๑๑
ฉ
๓. ด้านความตระหนักรู้ถึงความสําคัญฯ ของฝ่ายจัดการและพนักงานฯ พบว่า มี ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๙ หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๓.๘๐ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๓๐ และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ความตระหนักรู้ในการสานสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.37 มีระดับความตระหนักรู้ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ความตระหนักรู้ในการสร้างทีมงาน มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 มีระดับความตระหนักในระดับมากที่สุดเช่นกัน ส่วนความตระหนักรู้ในการ ตรวจสอบตนเองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 ความตระหนักรู้ในการเร่งสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 และ ความตระหนักรู้ในการวางรากฐานเพื่อการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 มีระดับความตระหนักรู้ใน ระดับมาก ตามลําดับ ด้านความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการเตรียมความพร้อมฯ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๙
ช สรุปได้ว่าการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI และการมีส่วนร่วมของ พนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มีผลต่อความ ตระหนักรู้ถึงความสําคัญในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม อย่างมีนัยสําคัญ สรุปผลการเปรียบเทียบระหว่างปี ๒๕๕๔ กับปี ๒๕๕๕ เกณฑ์ที่ใช้ในการวัดผลสําเร็จของการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ นั้น ได้กําหนดเกณฑ์การแปลผลเชิงปริมาณได้ดังนี้ ระดับ ร้อยละ
๑ ≤ ๘๐
๒ ๘๑-๘๕
๓ ๘๖-๙๐
๔ ๙๑-๙๕
๕ ๙๖-๑๐๐
ผลการดําเนินงานเปรียบเทียบ ปี ๒๕๕๔ กับปี ๒๕๕๕ ประเด็น สํารวจ ปี ที่ สํารวจ ๒๕๕๔
จํานวนฝ่าย จัดการและ พนักงาน (กลุ่มเป้าหมาย) ร้อยละ ๘๔.๑๙
การมีสว่ นร่วม ของ ฝ่ายจัดการและพนักงาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ระดับ
การปฏิบัตติ นใน วัฒนธรรม องค์กร SMART AEROTHAI
ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญ ของ การกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคม ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย
ระดับ
-
๘๒.๑๐
๔.๑๐
๒.๔๘
๘๒.๔๐
๔.๑๒
๓.๐๙ <๑
๘๒.๒๐
๔.๑๑
๒.๔๙
๘๓.๘๐
๔.๑๙
-
๒๕๕๕
๙๙.๖๗
๖๑.๘๐
ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่ได้จากการสํารวจในครั้งนี้ สอดคล้องตามเป้าหมายของโครงการ ๐๐๐-๐๐๖๕ และงาน ๕๕๕-๐๐๙๓ ในแผนวิสาหกิจ ประจําปี ๒๕๕๕ (ข้อ ๒.๑.๒) และเป็นไปตามเป้าหมายตาม ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ที่ ๑ และ ๒ ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี (CG) ดังนี้ ยุทธศาสตร์
มาตรการและ แนวทางปฏิบัติ 1.1.1 พัฒนากระบวนการส่งเสริม วัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI
ยุทธศาสตร์ที่ 1: พัฒนาแนวทาง และ ดําเนิน งานให้เป็นไปตามหลักการและ แนวทางปฏิบัติที่ดี ยุทธศาสตร์ที่ 2: ผลักดันนโยบายการ 2.1.2 จัดให้มีการสํารวจความตระหนักรู้ กํากับดูแลที่ดี พร้อมการขยายการปฏิบัติ ถึงความ สําคัญในการนําไปปฏิบัติในเรื่อง ให้ครอบคลุมทุกระดับทั่วทั้งองค์กร การกํากับดูแลที่ดขี อง บวท. 2.1.3 สร้างบรรยากาศขององค์กรที่ ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการ ปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรมของ ฝ่ายจัดการและพนักงาน
ค่าเป้าหมายตาม แผนแม่บทฯ ปี ๒๕๕๕ ≥ 2.5 ร้อยละความตระหนักรู้ของฝ่าย จัดการและพนักงานเพิ่มขึ้นจาก ปีงบประมาณที่ผ่านมา จัดทําข้อมูลฐาน
ผลการดําเนินงาน ในปี 2555 ทําได้ 2.49 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.40 (83.80-82.40) <1
ซ ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะจากผลการสํารวจการสํารวจการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการทีด่ ี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมของ บวท.ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ มีดังนี้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ๑. บวท. ควรมีการจัดทํานโยบายส่งเสริมการมีสว่ นร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการ กํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมในการ ให้หรือรับข้อมูล มีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจ และมีส่วนร่วมในการควบคุมประเมินผล ๒. บวท. ควรมีการจัดทํานโยบายสร้างเสริม/ส่งเสริมการปฏิบตั ิตนในวัฒนธรรมองค์กร (SMART AEROTHAI) โดยให้ความสําคัญกับวัฒนธรรมความปลอดภัย และวัฒนธรรมการยอมรับ ความเป็นมืออาชีพ ๓. บวท. ควรมีการผลักดันนโยบายสร้างความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการกํากับดูแล กิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมฯ โดยให้ความสําคัญกับรากฐานเพื่อการพัฒนาความ ตระหนักรู้ถึงความสําคัญ ข้อเสนอแนะเชิงบริหารจัดการ ๑. บวท. ควรเปิดโอกาสให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่กี่ยวข้องกับพัฒนาการกํากับ ดูแลกิจการทีด่ ี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมต่าง ๆ ของ บวท. โดยให้มีส่วนร่วมตัง้ แต่การ ร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมตัดสินใจ ร่วมควบคุม และร่วมประเมินผล เพือ่ ให้การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ทุก ฝ่าย เป็นฐานรากสําคัญการพัฒนาให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization) ๒. บวท. ควรให้การยอมรับความเป็นมืออาชีพของฝ่ายจัดการและพนักงานในทุกระดับใน ด้านต่าง ๆ เพื่อใช้ความเป็นมืออาชีพในองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์การทํางาน เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐวิสาหกิจ ให้เป็น บวท. เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจที่มีคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ๓. บวท. ควรผลักดัน/ให้การสนับสนุนกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการ กํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมฯ หรือความตระหนักรู้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของ บวท. ในขั้นตอนการวางรากฐานเพื่อการพัฒนา ที่กอ่ ให้เกิดความมั่นคง แข็งแรง …………………………………………………………
ฎ
สารบัญ บทสรุปผู้บริหาร สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ ส่วนที่ ๑. บทนํา ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐานในการวิจยั กรอบแนวคิดในการวิจยั ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รบั จากการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ข้อจํากัดของการวิจยั นิยามศัพท์ ๒. เอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง ๑. แนวคิดและทฤษฎีทีเ่ กี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของพนักงาน ๒. แนวคิดและทฤษฎีทีเ่ กี่ยวข้องกับวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ๓. แนวคิดและทฤษฎีทีเ่ กี่ยวความตระหนักรู้ถึงความสําคัญ ๔. แนวคิดเกีย่ วข้องกับการเตรียมความพร้อมสู่ดินแดนใหม่ 5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๓ วิธีดําเนินการวิจัย การกําหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือในการวิจยั ลักษณะของแบบสอบถาม การจัดทําข้อมูลและวิเคราะห์ผล สถิติทใี่ ช้ในการวิจัย
หน้า ค ฎ ฑ ด 1 1 3 4 4 5 5 7 7 9 9 11 13 19 23 24 24 27 28 30 31 33
ฏ
สารบัญ (ต่อ) ส่วนที่ ๔ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 4.1 สัญลักษณ์ทีใ่ ช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 4.2 การวิเคระห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ตอนที่ ๑ การวิเคราะห์รวบรวมแบบสอบถาม ตอนที่ ๒ การวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ ๓ การวิเคราะห์การปฏิบัติตนในการมีส่วนร่วมของพนักงาน ตอนที่ ๔ การวิเคราะห์การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ตอนที่ 5 การวิเคราะห์การปฏิบัติตนในความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของ การเตรียมความพร้อมในการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บท CG & CSR ปี 25552559 4.3 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานของการศึกษา ตอนที่ 6 การวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับ ดูแลกิจการทีด่ ีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบตั ิตน ในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ถึง ความสําคัญในการเตรียมความพร้อมในการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บท CG & CSR ปี 2555-2559 4.4 สรุปผลทดสอบสมมติฐาน ๕ สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ วิธีดําเนินการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก ภาคผนวก ก แบบสอบถามทีใ่ ช้ในการวิจัย ภาคผนวก ข การทดสอบคุณภาพแบบสอบถาม ภาคผนวก ค ผลการทดสอบทางสถิติ
หน้า 35 36 36 36 39 41 44 59
68 68
79 81 81 82 83 89 90 91 92 100 103
สารบัญ (ต่อ) ส่วนที่ ภาคผนวก ง ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเครื่องมือวัด ภาคผนวก จ คณะผู้วิจัย
ฐ หน้า 111 115
ฑ สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1-1 แผนการดําเนินการวิจัยปี 2555 7 ๒-๑ ลําดับขั้นของพฤติกรรมด้านจิตพิสัยของ แครทโวล และคณะ 18 ๓-๑ กลุ่มตัวอย่าง (ฝ่ายจัดการ) 25 ๓-๒ กลุ่มตัวอย่าง (พนักงาน) 25 4-๑ แบบสอบถามที่ได้รับกลับคืน (ฝ่ายจัดการ) 36 4-๒ แบบสอบถามทีไ่ ด้รับกลับคืน (พนักงาน) 37 4-3 จํานวนและร้อยละ ตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม 40 4-4 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การมีส่วนร่วมให้ 45 หรือรับข้อมูลในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการทีด่ ีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม 46 4-5 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การมีส่วนร่วมวางแผน และตัดสินใจในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม 4-6 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การมีส่วนร่วมแก้ 47 ปัญหาในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดแี ละการแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคม 48 4-7 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การมีส่วนร่วมปฏิบตั ิ ในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการทีด่ ีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม 4-8 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การมีส่วนร่วมในการ 49 ควบคุมประเมินผลในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม 4-9 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน วัฒนธรรมความปลอดภัย 52 ของฝ่ายจัดการและพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม 4-10 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วัฒนธรรมจริยธรรมเพื่อ 53 ส่วนรวมของฝ่ายจัดการและพนักงาน ในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
0
ฒ สารบัญตาราง (ต่อ) ตารางที่ 4-11 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน วัฒนธรรม ความรับผิดชอบต่อตนเองและหน้าที่ของฝ่ายจัดการและพนักงาน ในกิจกรรม ด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม 4-12 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน วัฒนธรรม การเป็นที่ยอมรับในความเป็นมืออาชีพของฝ่ายจัดการและพนักงาน ในกิจกรรม ด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม 4-13 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน วัฒนธรรมความเป็น น้ําหนึง่ ใจเดียวกันของฝ่ายจัดการและพนักงาน ในกิจกรรมด้านการกํากับดูแล กิจการที่ดแี ละการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม 4-14 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความตระหนักรู้ใน การตรวจสอบตนเองในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม 4-15 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความตระหนักรู้ใน การเร่งสื่อสารในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม 4-16 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความตระหนักรู้ใน การวางรากฐานเพื่อการพัฒนาในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม 4-17 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความตระหนักรู้ใน การสร้างทีมงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม 4-18 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความตระหนักรู้ใน การสานสัมพันธ์ในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม
1
หน้า 53
55
56
60
62
63
64
65
ณ สารบัญตาราง (ต่อ) ตารางที่ 4-19 การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบตั ิตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับ ดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแล ที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ 4-20 การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียม ความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตาม แผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ 4-21 การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ 4-22 สรุปผลการทดสอบสมมติฐาน
2
หน้า 69
72
76
79
ด สารบัญภาพ ภาพที่ 1-1 กรอบแนวคิดในการวิจัย 2-1 ขั้นตอนและกระบวนการเกิดความตระหนักรู้ 2-2 กรอบแนวคิดในการวิจัยจากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีทเี่ กี่ยวข้อง
หน้า
3
4 14 22
ส่วนที่๑ บทนํา ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด ตระหนักรู้ถึงความสําคัญในด้านการกํากับ ดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และเพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม โดยคํานึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ตลอดจนการดูแลรักษา สังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้เห็นชอบแนวทางดังกล่าว จึงแต่งตั้ง คณะกรรมการและคณะทํางานกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขึ้น โดยให้มี อํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ให้ เป็นไปตามแผนอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล (แผนแม่บท CG & CSR ของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙, คํานํา, ๒๕๕๕) อีกทั้ง บวท. ยังได้เล็งเห็นความสําคัญในการดําเนินการดังกล่าว จึงมีแนวทางในการ จัดทําแผนแม่บทขึ้น ประกอบด้วย แผนงานด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี (CG) และแผนงานด้านการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ตลอดจนแนวทางการส่งเสริมการดําเนินงานทั้ง CG & CSR โดยแผนแม่บทดังกล่าวมีความสอดคล้องกับแผนวิสาหกิจปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ของ บวท. (แผนแม่บท CG & CSR ของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙, บทสรุปผู้บริหาร, ๒๕๕๕) และมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑. เพื่อเป็นแผนและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนสําหรับส่งเสริมการกํากับดูแลกิจการที่ดี และความรับผิดชอบต่อสังคม ให้เกิดขึ้นในหน่วยงานและสามารถนําไปปฏิบัติและติดตามผลได้อย่าง เป็นรูปธรรม ๒. เพื่อใช้เป็นแนวทางตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ของ บวท. และเพื่อเป็นการ ป้องกันมิให้เกิดการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนอันจะทําให้เกิดความสูญเสียต่อรัฐ สังคม สิ่งแวดล้อม องค์กร ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ปฏิบัติงานภายใน บวท. ๓. เพื่อสร้างการยอมรับ ความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจและความศรัทธาให้เกิดขึ้นกับผู้ ถือหุ้นผู้รับบริการ ประชาชนทั่วไปและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก บวท. โดยมีเป้ามาย ของการดําเนินการด้าน CG & CSR ดังนี้ เป้าหมายที่ ๑ เป็นองค์กรที่มีการกํากับดูแลกิจการที่ดี การดําเนินงานมีคุณภาพและ ประสิทธิภาพโดยยึดมั่นตามหลักธรรมาภิบาล เป้าหมายที่ ๒ เป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป้าหมายที่ ๓ มีภาพลักษณ์องค์กรที่ดี เป็นที่ยอมรับของบุคลากรภายใน ผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนทั่วไป ทั้ ง นี้ ได้ กํ า หนดยุ ท ธศาสตร์ ด้ า นการกํ า กั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี แ ละการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม และกลยุทธ์ในการพัฒนาไว้ในแผนแม่บท CG & CSR ปี 2555-2559 จํานวน ๕ ประเด็น ดังนี้ ยุทธศาสตร์การกํากับดูแลกิจการที่ดี (CG) ยุทธศาสตร์ที่ ๑: พัฒนาแนวทางและดําเนินการให้เป็นไปตามหลักการและแนวทาง ปฏิบัติที่ดี ยุทธศาสตร์ที่ ๒: ผลักดันนโยบายการกํากับดูแลที่ดี พร้อมการขยายการปฏิบัติให้ ครอบคลุมทุกระดับทั่วทั้งองค์กร
๒ ยุทธศาสตร์การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) ยุทธศาสตร์ที่ ๓: ใช้ความสามารถหลักขององค์กรและรักษาความร่วมมือกับ ภายนอกในการส่งเสริม/สนับสนุนกิจกรรมที่แสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม ยุทธศาสตร์ที่ ๔: แสดงจุดยืนขององค์กรในการให้ความสําคัญต่อปัญหา สิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ร่วมการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคมและสิ่งแวดล้อม (CG&CSR) ยุทธศาสตร์ที่ ๕: สร้างกลไกที่ดีในการส่งเสริมเผยแพร่การดําเนินงานด้านการ กํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมทั้ง ได้กําหนดรายละเอียดแผนกิจกรรมด้าน CG & CSR ปี 2๕55 – 2๕5๙ -มาตรการและแนวทางปฏิบัติด้าน CG ประกอบด้วย ๑๐ กิจกรรม -มาตรการและแนวทางปฏิบัติด้าน CSR ประกอบด้วย ๑๐ กิจกรรม -มาตรการและแนวทางปฏิบัติร่วมด้าน CG & CSR ประกอบด้วย ๒ กิจกรรม แผนแม่บทการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CG & CSR) ของ บวท. ปี 2555-2559 ดังกล่าว มียุทธศาสตร์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด มาตรการและแนว ปฏิบัติ ระยะเวลาดําเนินงาน ตลอดจนหน่วยงานรับผิดชอบหลักไว้อย่างชัดเจน การจะไปถึงความสําเร็จของการดําเนินการตามแผนแม่บท CG & CSR ปี 25552559 ดังกล่าวได้ต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจกันของพนักงาน บวท. ทุกคนและทุกระดับ สิ่งที่เป็นปัจจัยส่งเสริมความสําเร็จ หรือเป็นส่วนที่ขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กรไปสู่จุดหมาย คือ การ ปฏิบัติตนของพนักงาน บวท. ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างยาวนานจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ที่มุ่งเน้นให้พนักงานมีความใส่ใจในด้านความปลอดภัย การมีจริยธรรมเพื่อส่วนรวม การ มีความรับผิดต่อตนเองและหน้าที่ การยอมรับในความเป็นมืออาชีพในระดับสากล และมีความเป็นน้ําหนึ่ง ใจเดียวกันของพนักงาน บวท. (อ้างถึงวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI, 2553) วัฒนธรรม องค์กรจะเข้มแข็งได้นั้น จะต้องมีการปฏิบัติตนแบบมีส่วนร่วมของพนักงาน บวท. ซึ่งถือเป็นหลักการ สากลที่นานาอารยองค์กรให้ความสําคัญ และเป็นประเด็นหลักที่องค์กรให้ความสนใจเพื่อพัฒนาการ บริหารจัดการเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามหลักการธรรมาภิบาล ที่องค์กรจะต้อง เปิดโอกาสให้พนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล มีส่วนร่วมในการเปิดรับ ฟังความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือ มีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกัน มีส่วนร่วมในการ ปฏิบัติ และมีส่วนร่วมในการควบคุมโดยพนักงาน (สถาบันพระปกเกล้า, ๒๕๕๐) เพื่อสร้างความโปร่งใส และเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจขององค์กรให้ดีขึ้น และเป็นที่ยอมรับร่วมกันของ ทุก ๆ ฝ่าย เพื่อ ประโยชน์สุขของผู้ถือหุ้น พนักงานและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และพระ ราชกฤษฎี ก าว่ า ด้ ว ยหลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก ารบริ ห ารกิ จ การบ้ า นเมื อ งที่ ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ ต่ า งให้ ความสําคัญต่อการบริหารจัดการอย่างโปร่งใส สุจริต เปิดเผยข้อมูล และการเปิดโอกาสให้พนักงาน บวท. ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบายสาธารณะของ บวท. การตัดสินใจทางการบริหารจัดการ รวมถึงการตรวจสอบการใช้อํานาจของผู้บริหารในทุกระดับ จากแผนการเดินทางไปพร้อมกันเพื่อก้าวสู่ จุดหมายตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ จึง มี ความสํ าคัญต่อ บวท. ว่า จะเดิ นทางไปสู่จุดหมายตามแผนแม่ บ ท ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมการ
๓
วัตถุประสงค์ของการวิจัย ๑. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI และความ ตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อ สังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ๒. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมการกํากับดูแล กิ จ การที่ ดี แ ละการแสดงความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม การปฏิ บั ติ ต นในวั ฒ นธรรมองค์ ก ร SMART AEROTHAI กับความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ สมมติฐานของการวิจัย ๑. การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕๒๕๕๙ หรือไม่ 2. การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแล ที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ หรือไม่ 3. การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕๒๕๕๙ หรือไม่ กรอบแนวคิดในการวิจัย ภาพที่ 1-1 กรอบแนวคิดในการวิจัย การเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ การมีส่วนร่วมของพนักงาน ฯ (สถาบันพระปกเกล้า,๒๕๕๐)
ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียม ความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บท CG & CSR (วิทยุการบินแห่งประเทศไทย, ๒๕๕๕)
๔ การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร (SMART AEROTHAI) (วิทยุการบินแห่งประเทศไทย, ๒๕๕๓)
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย ๑. ทําให้ทราบถึงการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการ ที่ ดี แ ละการแสดงความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม การปฏิ บั ติ ต นในวั ฒ นธรรมองค์ ก ร SMART AEROTHAI และความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ในภาพรวม ๒. ทําให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมการกํากับ ดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI และความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและ การแสดงความรั บ ผิ ด ชอบต่ อสั งคม ตามแผนแม่ บ ทด้ า นการกํ า กั บ ดู แ ลที่ ดี แ ละการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ๓. สามารถนําผลการวิจัยไปใช้ในการกําหนดมาตรการหรือแนวทางปฏิบัติในการมี ส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การ ปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI และความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการ เตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทการ กํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ให้สูงยิ่งขึ้น ๔. สามารถนําผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการกําหนดมาตรการ หรือแนวทางปฏิบัติ ในการมี ส่ ว นร่ ว มของพนั ก งานในกิ จ กรรมต่ า ง ๆ การปฏิ บั ติ ต นในวั ฒ นธรรมองค์ ก ร SMART AEROTHAI และความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อม เพื่อมุ่ งสู่จุดหมายที่หวังไว้ (Journey to Newland) ในอนาคต 5. ผลสําเร็จและความคุ้มค่าที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง ยั่งยืน และเป็นที่ไว้วางใจแก่ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ขอบเขตของการวิจัย 1. การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการสํารวจการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้าน การกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI และความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับ ดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ โดยศึกษาเฉพาะฝ่ายจัดการและ พนักงานของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด ที่ปฏิบัติงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลทุติยภูมิจากตํารา บทความ เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และใช้วิธีวิจัย เชิงปริมาณ (Quantitative Study) จากการใช้แบบสอบถาม ๑. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ๑.๑ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ฝ่ายจัดการและพนักงานของ บวท. ที่ปฏิบัติงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งหมด ๒,๘๓๗ คน
๕ ๑.๒ กลุ่มตัวอย่าง คือ ฝ่ายจัดการและพนักงานของ บวท. จํานวนทั้งสิ้น 906 คน และจําแนกกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนอัตรากําลังของแต่ละสายงาน ๒. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ๒.๑ ตัวแปรอิสระ (Independent variables) ได้แก่ ๒.๑.๑ ปั จ จั ย ส่ ว นบุ ค คล ได้ แ ก่ เพศ อายุ ระดั บ การศึ ก ษา ประสบการณ์การทํางาน สถานภาพการทํางาน สังกัดสายงาน สถานที่ปฏิบัติงาน และลักษณะการ ปฏิบัติงาน ๒.๑.๒ การสํารวจการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับ ดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ การมีส่วนร่วมให้หรือรับข้อมูล การมี ส่วนร่วมวางแผนและตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ และการมี ส่วนร่วมในการควบคุมประเมินผล ๒.๑.๓ คุณค่าร่วม SMART AEROTHAI ได้แก่ คุณค่าร่วมความ ปลอดภัย (Safety) คุณค่าร่วมจริยธรรมเพื่อส่วนรวม (Morality) คุณค่าร่วมความรับผิดชอบต่อ ตนเองและหน้าที่ (Accountability) คุณค่าร่วมการเป็นที่ยอมรับในความเป็นมืออาชีพในระดับสากล (Recognition) และคุณค่าร่วมความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน (Teamwork) ๒.๒ ตัวแปรตาม (Dependent variables) คือ ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญ ในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ ความตระหนักรู้ในการตรวจสอบตนเอง ความตระหนักรู้ในการเร่งสื่อสาร ความตระหนักรู้ในการ วางรากฐานเพื่อการพัฒนา ความตระหนักรู้ในการสร้างทีมงาน และ ความตระหนักรู้ในการสาน สัมพันธ์ ๓. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา การสํารวจการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI และความ ตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ประจําปี ๒๕๕5 นี้ ใช้เวลาในการศึกษา เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กันยายน ๒๕๕5 รวมเวลาที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น ๑5๐ วัน
แผนการดําเนินงานอธิบายเนื้องานหลักสําคัญ ๆ ที่ต้องดําเนินการ ระยะเวลาสามารถ ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ แต่จะต้องแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน ๒๕๕๕ ดังนี้ ตารางที่ 1-1 แผนการดําเนินการวิจัยปี 2555 ระยะเวลาดําเนินการ (ในปี ๒๕๕๕) ลําดับ ที่
รายละเอียด/เนื้องาน
พฤษภาคม ๒๕๕๕ สัปดาห์ ที่ ๑-๒
๑.
จัดทําโครงร่างการวิจัย พร้อมสร้าง เครื่องมือวัดและทดสอบเครื่องมือวัด
สัปดาห์ ที่ ๓-๔
มิถุนายน ๒๕๕๕ สัปดาห์ ที่ ๑-๒
สัปดาห์ ที่ ๓-๔
กรกฎาคม ๒๕๕๕ สัปดาห์ ที่ ๑-๒
สัปดาห์ ที่ ๓-๔
สิงหาคม ๒๕๕๕ สัปดาห์ ที่ ๑-๒
สัปดาห์ ที่ ๓-๔
กันยายน ๒๕๕๕ สัปดาห์ ที่ ๑-๒
สัปดาห์ ที่ ๓-๔
๖ ๒. ๓. ๔. ๕. ๖.
นําเสนอ SMM เพื่อให้ข้อคิดเห็น และ นําเสนอคณะทํางาน CG & CSR เพื่อให้ความเห็นชอบ แจกแบบสอบถามและเก็บรวบรวม ตรวจความถูกต้องของข้อมูล บันทึก และวิเคราะห์ข้อมูล เขียนรายงานการวิจัย รายงานผลการวิจัยเชิงสํารวจต่อ SMM, คณะทํางานและคณะกรรมการ CG & CSR และคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อทราบ ตามลําดับ
ข้อจํากัดของการวิจัย การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI และความ ตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ มีข้อจํากัดในเรื่องเวลาที่ใช้ในการวิจัย และการเก็บรวบรวมข้อมูลกลับคืนมา จากผู้ ต อบแบบสอบถาม ดั ง นั้ น ในการทดสอบสมมติ ฐ าน จะใช้ ข้ อ มู ล จากการเก็ บ รวบรวม แบบสอบถามจากกลุ่มเป้าหมายจํานวน 906 ชุด ที่ส่งกลับคืนมาในช่วงเวลาที่กําหนดไว้ ซึ่งเพียง พอที่จะอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม นิยามศัพท์ ฝ่ายจัดการและพนักงานของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด หมายถึง บุคลากรของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด ที่ปฏิบัติงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่เป็นฝ่ายจัดการและพนักงาน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามคําพรรณนาลักษณะงาน (Job Description) การมอบหมายงาน (Job Assignment) และความรับผิดชอบในงาน (Job Responsibility) ตาม โครงสร้างใหม่ที่ประกาศ ณ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ ปัจจัยส่วนบุคคล หมายถึง คุณลักษณะส่วนบุคคลของฝ่ายจัดการและพนักงานของ บวท. ที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทํางานสถานภาพการ ทํางาน (ตามโครงสร้างใหม่ที่ประกาศ ณ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔) หน่วยงานในสังกัด สถานที่ ปฏิบัติงาน และลักษณะการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม หมายถึง การมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล มีส่วนร่วมในการเปิดรับฟังความ คิ ด เห็ น ของพนักงาน มีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือ มีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกัน มีส่วนร่วมใน การปฏิบัติ และมีส่วนร่วมในการควบคุมโดยพนักงานของพนักงาน บวท. การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI หมายถึง การปฏิบัติสืบทอด กันมาในด้านความปลอดภัย มีจริยธรรมเพื่อส่วนรวม มีความรับผิดต่อตนเองและหน้าที่ ยอมรับใน ความเป็นมืออาชีพในระดับสากล และมีความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกันของฝ่ายจัดการและพนักงานของ บวท. ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมสู่การกํากับดูแลกิจการที่ดีและ การแสดงความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม ตามแผนแม่ บ ทด้ า นการกํ า กั บ ดู แ ลที่ ดี แ ละการแสดงความ
๗
ส่วนที่ ๒ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสํารวจการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ประจําปี ๒๕๕5 คณะผู้วิจัยได้ค้นคว้าเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ๑. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของพนักงาน ๒. แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ๓. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวข้องกับความตระหนักรู้ถึงความสําคัญ ๔. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมสู่ดินแดนใหม่ 5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๑. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของพนักงาน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545 กําหนดหลักการจัดการศึกษายึดหลักให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (กระทรวง ศึกษาธิการ. 2546 : ค 5) หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมจึงเกิดขึ้น การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นรูปแบบการ บริหารที่เปิดโอกาสให้หลายบุคคลเข้ามามีส่วนร่วมเป็นกระบวนการของการให้ผู้ใต้บังคับ บัญชา และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เน้นการมีส่วนร่วมของบุคคลอย่างเข้มแข็ง ใช้ความคิด สร้างสรรค์ และความเชี่ยวชาญของกลุ่มบุคคลในการแก้ปัญหาของการบริหารอยู่บนพื้นฐานของ แนวคิดการแบ่งอํานาจหน้าที่ที่ถือว่า ผู้บริหารแบ่งอํานาจหน้าที่การบริหารให้กับผู้ใต้ บังคับบัญชา การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นความพยายามที่จะจูงใจให้ผู้ร่วมปฏิบัติงานในองค์การได้มีส่วนร่วมใน การตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบและร่วมมือในการพัฒนางานด้วยความเต็มใจเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิก ของชุมชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตัดสินใจ (อุทัย บุญประเสริฐ, 2545) โคเฮ็นและอัฟออฟ (Cohenand Uphf) ความหมายการบริหารแบบมีสว่ นร่วม หมายถึง
๘ การจูงใจให้ผรู้ ่วมปฏิบตั ิงานในองค์การได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ความรับผิดชอบ และร่วมมือใน องค์กรพัฒนาปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ การบริหารแบบมีส่วนร่วมมีขั้นตอนในการบริหารตามแนวคิดของโคเฮ็นและอัฟออฟ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจประการแรกที่จะต้องทํา คือ การกําหนดความ ต้องการและการจัดลําดับความสําคัญ ต่อจากนั้นก็เลือกนโยบายและประชากรที่เกี่ยวข้อง การตัดสินใจ ในช่วงเริ่มต้น การตัดสินใจในช่วงดําเนินการวางแผน และ การตัดสินใจในช่วงการปฏิบตั ิตามแผนที่ วางไว้ ขั้นที่ 2 การมีส่วนร่วมในการดําเนินงาน เป็นองค์ประกอบของการดําเนินงาน ได้มา จากคําถามที่ว่า ใครจะทําประโยชน์ให้แก่โครงการได้บ้างและจะทําประโยชน์ได้โดยวิธีใด เช่น การช่วยเหลือ ด้านทรัพยากร การบริหารงาน การประสานงาน และการขอความช่วยเหลือ ขั้นที่ 3 การมี ส่ ว นร่ ว มในการรับ ผลประโยชน์ เชิ ง ปริ ม าณ เชิ ง คุ ณ ภาพ และต้ อ ง พิจารณาถึงการกระจายผลประโยชน์ภายในด้วย ผลประโยชน์ของโครงการในทางบวกและผลเสียหาย ของโครงการที่เกิดขึ้นในทางลบ ซึ่งเป็นประโยชน์และเป็นโทษต่อบุคคลและสังคม ขั้นที่ 4 การมี ส่ ว นร่ ว มในการประเมิ น ผล สิ่ ง สํ า คั ญ จะต้ อ งสั ง เกต คื อ ความเห็ น (View) ความชอบ (Preference) และความคาดหวัง (Expectation) ซึ่งจะมีอิทธิพลและสามารถ เปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มต่าง ๆ ได้ การมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษา ต้องให้ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และ ชุมชน มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ตั้งแต่การวางแผนพัฒนาสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน การ พัฒนาปรับปรุงสถานศึกษาและการติดตามประเมินผล ซึ่งคุรุสภากําหนดระดับคุณภาพผู้เชี่ยวชาญ เป็นการบริหารงานแบบผู้ร่วมงานทุกคนมีส่วนร่วมมุ่งเน้นให้ทุกคนร่วมวางแผน และปฏิบัติตามแผนได้ จริง สามารถบ่งชี้ได้ชัดเจนว่า ผลงานส่วนใดเกิดจากผู้ร่วมงานคนใด ขยายผลสู่กลุ่มบุคคลใกล้เคียง กับผู้บริหารเป้าหมายปฏิบัติงานคํานึงถึงผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการและร่วมงาน ซึ่งเป็นไป ตามที่ตกลง (สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา. 2541 : 4) ประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม 1. ช่วยสร้างความสามัคคี และการต่อต้านจากพนักงานระดับต่ํา 2. ช่วยให้ทราบถึงความต้องการขององค์การทั้งหมด 3. ช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทํางานให้สูงขึ้น ลดความเฉื่อยชาในการทํางาน การย้ายงานและการหยุดงาน 4. ช่วยลดความขัดแย้ง และการต่อต้านจากพนักงานระดับต่ํา 5. ช่วยสร้างบรรยากาศในการทํางาน และทําให้สุขภาพจิตในองค์การดีขึ้น 6. ช่วยเพิ่มผลผลิตในองค์การ 7. สร้างหลักประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในองค์การ 8. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและทะนุถนอม 9. ทําให้พนักงานรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ 10. เป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา ในด้านการควบคุมงานให้ลด น้อยลง และทําให้ผลงานดีขึ้น สรุปการบริหารแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การกระจายอํานาจและความรับผิดชอบของ ผู้บริหารไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาหรือกลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กลุ่มมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ กําหนด
๙
๒. แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด (บวท.) เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวง คมนาคม ที่มีภารกิจเป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมการบินของประเทศ ด้ วยการให้ บริการควบคุมจราจรทางอากาศและสื่อสารการบินในอาณาเขตประเทศไทย โดยมีเครือข่าย เชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ นอกจากนั้นยังมีบริการภาคธุรกิจ คือ บริการเกี่ยวเนื่องกับกิจการบินทั้งใน และต่าง ประเทศ เพื่อการเพิ่มมูลค่าการลงทุนของภาค อุตสาหกรรมการบิน และรองรับการ เจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการบินให้อยู่รวมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อสนับสนุนความเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจอย่างยั่งยืนควบคู่กับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดการกระจายความเจริญทาง เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการบินไปสู่ทุกภูมิภาคของประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน (วัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI, 2553) วิสัยทัศน์ (Vision) “เป็นองค์กรแห่งความปลอดภัยในการบริการการเดินอากาศด้วยการบริหารจัดการที่ ทันสมัย การกํากับดูแลที่ดี และคํานึงถึงการลดก๊าซคาร์บอนในกิจการบิน” พันธกิจ (Mission) เพื่อให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายในวิสัยทัศน์ภายใต้หน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับ มอบหมาย บวท. กําหนดนโยบายและแนวทางในการดําเนินภารกิจดังนี้ ๑. ดําเนินงานให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตและ สร้างศักยภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมการบินของประเทศและภูมิภาค ๒. พัฒนาระบบและวิธีการ ให้มีความปลอดภัยสูงสุด โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ๓. ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างฉับไวและเสริมสร้างการมีส่วนร่วม ๔. เสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ๕. พัฒ นาความร่วมมือ กับ องค์กรชั้นนํา เพื่อ เพิ่ม บทบาทและศักยภาพในการให้ บริการ ๖. สร้างและปลูกฝังจิตสํานึกเชิงพัฒนาการให้แก่บุคลากร ๗. ส่งเสริมงานวิจัยเพื่อพัฒนาและสร้างนวัตกรรม ๘. บริหารจัดการด้วยระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) ๙. บริหารองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล ๑๐. ร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและคํานึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจาก กิจการบิน ค่านิยมและระบบคุณค่า (Value Creations) “ตระหนักถึงความปลอดภัย ใส่ใจบริการ ทํางานเป็นทีม” ๑. มุ่งสร้างความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ ๒. มุ่งกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค อย่างทั่วถึง เท่าเทียม ๓. มุ่งรักษาสิ่งแวดล้อม ๔. มุ่งถ่ายทอดเทคโนโลยี ๕. มุ่งสร้างจริยปรัชญาในอุตสาหกรรมการบิน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ปรัชญาในการดําเนินงาน
๑๐ Safety: ความปลอดภัย ให้บริการลูกค้าทั้งภายนอกและภายใน อย่างเต็มกําลังความสามารถ ด้วย สัญชาตญาณความปลอดภัยที่ตรงตามมาตรฐานสูงสุด ๑. จิตสํานึกความปลอดภัย (Safety Instinct) ๒. แรงขับเคลื่อนของความปลอดภัย (Safety Driven) ๓. มาตรฐานความปลอดภัย (Safety Standard) Morality: จริยธรรมเพื่อส่วนรวม ตั้งมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริต ในการปฏิบตั ิงาน การเป็นผู้ให้ คิดถึงประโยชน์ของ ส่วนรวมและองค์กรเป็นสิ่งสําคัญ ๑. ซื่อสัตย์ (Honest) ๒. ทําเพื่อผู้อื่นและส่วนรวม (Giver) ๓. ประโยชน์องค์กรสําคัญที่สุด (Organization First) Accountability: ความรับผิดชอบต่อตนเองและหน้าที่ รับผิดชอบ ทุ่มเท เสียสละในการปฏิบัติงาน สามารถควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบของ วินัยแห่งความถูกต้องเป็นธรรมและตรวจสอบได้ ๑. ควบคุมตนเอง (Self-control) ๒. รับผิดชอบ (Accountability) ๓. เสียสละ (Sacrifice) Recognition: การเป็นที่ยอมรับในความเป็นมืออาชีพในระดับสากล ขวนขวาย ศึกษาเรียนรู้ และคิดริเริ่มปรับปรุงพัฒนาการปฏิบตั ิงานอย่างต่อเนือ่ ง มี ความน่าเชือ่ ถือด้วยจุดยืนในวิชาชีพของงานปฏิบัติการและสนับสนุนการจราจรทางอากาศอย่างเสมอ ต้นเสมอปลาย ๑. ใฝ่รู้ (Passion of Learning) ๒. นวัตกรรม (Innovation) ๓. น่าเชื่อถือ (Trustworthy) Teamwork: ความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมแรงร่วมใจปฏิบัตงิ านเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของส่วนรวม ด้วยความเอื้อเฟื้ออาทร และมีสมั มาคารวะดุจเป็นพี่น้องกัน ๑. ผูกพันฉันท์พี่น้อง (Brotherhood) ๒. ทํางานเป็นทีม (Teamwork) ๓. ร่วมแรงร่วมใจ (Collaboration) 3. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวข้องกับความตระหนักรู้ถึงความสําคัญ แนวคิดเกี่ยวกับความตระหนักรู้ถึงความสําคัญและการวัด พจนานุกรมทางการศึกษา (Dictionary of education) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความ ตระหนักรู้หมายถึง การกระทําที่แสดงว่าจําได้ การรับรู้หรือมีความรู้ หรือมีความสํานึก (Consciousness) พจนานุกรมเวบสเตอร์ (Webster’s Dictionary. 1961) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความตระหนักรู้ หมายถึง ลักษณะหรือสภาพของความรู้สึกตัว รู้สํานึกหรือระวังระไว การรู้จักคิดหรือ ความสํานึกทางสังคมและการเมืองในระดับสูง (จันทร์ขจร มะลิจันทร์, 2554)
๑๑ รูนส์ (Runes. 1971) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความตระหนักรู้เป็นการกระทําที่เกิด จากความสํานึก กู๊ด (Good. 1973) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความตระหนักรู้ หมายถึง พฤติกรรมที่ แสดงถึงการเกิดความรู้ของบุคคล หรือการที่บุคคลแสดงความรู้สึกรับผิดชอบต่อปัญหาต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้น โวลแมน (Wolman. 1973) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความตระหนักรู้ เป็นภาวะที่บุคคล เข้าใจ หรือสํานึกถึงบางอย่างของเหตุ ประสบการณ์ หรือวัตถุสิ่งของได้ บลูม (Bloom. 1971) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความตระหนักรู้เป็นขั้นต่ําสุดของภาค อารมณ์และความรู้สึก (Affective domain) ความตระหนักรู้เกือบคล้ายกับความรู้ตรงที่ทั้งความรู้และ ความตระหนักไม่เป็นลักษณะของสิ่งเร้า ความตระหนักไม่จําเป็นต้องเน้นปรากฏการณ์หรือสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง ความตระหนักจะเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้ามาเร้าให้เกิดความตระหนัก จรินทร์ ธานีรัตน์ (๒๕๑๗) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความตระหนักรู้ หมายถึง ความรู้สึกหรือความสํานึกหาเหตุผลในพฤติกรรมที่ได้กระทําไปทุกครั้ง ประภาเพ็ญ สุวรรณ (๒๕๒๐) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความตระหนักรู้ หมายถึง การ ที่บุคคลฉุกคิดได้ หรือการเกิดขึ้นในความรู้สึกว่ามีสิ่งหนึ่ง เหตุการณ์หนึ่งหรือสถานที่หนึ่ง ซึ่งการรู้สึก ว่ามีหรือการได้ฉุกคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นความรู้สึกที่เกิดในสภาวะของจิตใจ แต่ไม่ได้หมายความว่า บุคคลนั้นสามารถจําได้หรือระลึกได้ถึงลักษณะบางอย่างของสิ่งนั้น วิชัย วงษ์ใหญ่ (๒๕๒๓) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความตระหนักรู้เป็นพฤติกรรมขั้น ต่ําสุดทาง ด้านความรู้สึก (Affective domain) แต่ความตระหนักรู้นั้นไม่ได้เกี่ยวกับความจําหรือความ ระลึกได้ ความตระหนักรู้ หมายถึง ความสามารถนึกคิด ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในสภาวะของจิตใจ จากความหมายของความตระหนักรู้ที่นักวิชาการในสาขาต่าง ๆ ให้ไว้ดังกล่าวข้างต้น พอสรุป ความหมายได้ว่า ความตระหนักรู้ หมายถึง ความสํานึกซึ่งบุคคลเคยมีการรับรู้ หรือเคยมี ความรู้มาก่อน โดยเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นจะทําให้เกิดความสํานึกขึ้นหรือเกิดความตระหนักรู้ขึ้น ความตระหนักรู้ จึงเป็นภาวะทางจิตใจที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ความคิด และความปรารถนาต่าง ๆ อันเกิดจากการรับรู้และความสํานึก ซึ่งเป็นภาวะที่บุคคลได้รับรู้ หรือได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ มาแล้ว โดยมีการประเมินค่าและตระหนักรู้ถึงความสําคัญของตนเองที่มีต่อสิ่งนั้น ๆ ความตระหนักรู้ จึงเป็นการตื่นตัวทางจิตใจต่อเหตุการณ์ หรือสถานการณ์นั้น ๆ ซึ่งหมายความว่า ระยะเวลาหรือ ประสบการณ์และสภาพแวดล้อมจะทําให้เกิดการรับรู้ (Perceptions) ขึ้น และนําไปสู่การเกิดความคิด รวบยอด การเรียนรู้และ ความตระหนักรู้ ตามลําดับ ซึ่งขั้นตอนและกระบวนการเกิดความตระหนักรู้ ดังกล่าวแสดงเป็นแผนภูมิได้ดังรูป ๒-1 การสัมผัส
การรับรู้
ความคิด รวบยอด
การเรียนรู้
ความ ตระหนักรู้ พฤติกรรม
ที่มา Good, Carter V.( 1973). Dictionary of Education. New York: MacGraw–Hill Book Company.
๑๒ รูปที่ ๒-1 ขั้นตอนและกระบวนการเกิดความตระหนักรู้ จากภาพประกอบ ๒-1 ความตระหนักรู้เป็นผลมาจากกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process) กล่าวคือ เมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าหรือได้รับการสัมผัสจากสิ่งเร้า แล้วจะเกิดการรับรู้ และเมื่อรับรู้ในขั้นต่อ ๆ ไป ก็จะเข้าใจในสิ่งเร้านั้น คือ เกิดความคิดรวบยอดและ นําไปสู่การเรียนรู้ คือ มีความรู้ในสิ่งนั้นและนําไปสู่การเกิดความตระหนักรู้ในที่สุด ซึ่งความรู้และ ความตระหนักรู้ต่างก็นําไปสู่การกระทําหรือการแสดงพฤติกรรมของบุคคลต่อสิ่งเร้านั้น ๆ การที่ บุคคลจะเกิดความตระหนักรู้ขึ้นได้นั้นบุคคลนั้นจะต้องมีความรู้มาก่อน ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ ผู้เรียนมองเห็นความสําคัญ ความรับผิด ชอบและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิด ความตระหนักรู้ต่อสิ่งนั้น ๆ ต่อไปในที่สุด (จันทร์ขจร มะลิจันทร์, 2554) ปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักรู้ ความตระหนักรู้ (Awareness) เป็นพฤติกรรมทางด้านอารมณ์หรือความรู้สึก (Affective domain) ซึ่งคล้ายกับความรู้ (Knowledge) ซึ่งเป็นพฤติกรรมขั้นต่ําสุดของความรู้ ความคิด (Cognitive domain) ปัจจัยด้านความรู้สึกหรืออารมณ์นั้น จะมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้าน ความรู้ความคิดเสมอ (ประสาท อิศรปรีดา, ๒๕๒๓) ดังที่กล่าวมาแล้วว่าความรู้เป็นเรื่องที่เกิดจาก ข้อเท็จจริง จากประสบการณ์ การสัมผัส และการใช้จิตไตร่ตรองคิดหาเหตุผล แต่ความตระหนักรู้ เป็นเรื่องของโอกาสการได้รับการสัมผัสจากสิ่งเร้าโดยไม่ตั้งใจ การใช้จิตไตร่ตรองแล้วจึงเกิดสํานึกต่อ ปรากฏการณ์หรือสถานการณ์นั้น ๆ และในเรื่องของความตระหนักรู้นี้ จะไม่เกี่ยวข้องกับความจําหรือ การระลึกมากนัก เพียงแต่รู้สึกว่ามีสิ่งนั้นอยู่ (Conscious of something) จําแนกและรับรู้ (Recognitive) ลักษณะของสิ่งนั้นเป็นสิ่งเร้า ออกมาตรงว่ามีลักษณะเป็นเช่นไร โดยไม่มีความรู้สึกใน การประเมินเข้าร่วมด้วย และยังไม่สามารถแบ่งออกมาว่ามีลักษณะอย่างไร หรืออาจกล่าวโดยสรุปได้ ว่าความรู้หรือการศึกษาเป็นปัจจัยสําคัญที่มีผลต่อความตระหนักรู้นั่นเอง ทนงศักดิ์ ประสบกิตติคุณ (๒๕๓๕) กล่าวว่า เนื่องจากความตระหนักรู้ของแต่ละ บุคคลขึ้นอยู่กับการรับรู้ของแต่ละบุคคล ดังนั้น ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้จึงมีผลต่อความตระหนักรู้ ด้วยเช่นกัน ซึ่งได้แก่ ๑. ประสบการณ์ที่มีต่อการรับรู้ ๒. ความเคยชินต่อสภาพแวดล้อม ถ้าบุคคลใดที่มีความเคยชินต่อสภาพแวดล้อมนั้น ก็จะทําให้บุคคลนั้นไม่ตระหนักรู้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ๓. ความใส่ใจและการเห็นคุณค่า ถ้ามนุษย์มีความใส่ใจเรื่องใดมาก็จะมีความตระหนัก รู้ในเรื่องนั้นมาก ๔. ลักษณะและรูปแบบของสิ่งเร้านั้นสามารถทําให้ผู้พบเห็นเกิดความสนใจ ย่อมทําให้ ผู้พบเห็นเกิดการรับรู้และความตระหนักรู้ขึ้น ๕. ระยะเวลาและความถี่ในการรับรู้ ถ้ามนุษย์ได้รับการรับรู้บ่อยครั้งเท่าใดหรือนาน เท่าไรก็ยิ่งทําให้มีโอกาสเกิดความตระหนักรู้ได้มากขึ้นเท่านั้น ความตระหนักกับเหตุผลเชิงจริยธรรม ๑. การจําแนกระดับของความตระหนักทางสังคม (สุดใจ บุญอารีย์, ๒๕๔๑) ในระดับก่อนเกณฑ์ บุคคลจะไม่มีการตระหนักทางสังคมหรือมีก็แคบมากมักจะคิดถึง ตัวเอง เช่น ถ้าถามว่าเหตุใดจึงต้องรักษาสัญญา จะได้คําตอบว่า “ถ้าคุณไม่รักษาสัญญาคุณจะถูกตี” จะเห็นว่าทัศนะจํากัดอยู่ที่ตัวเอง ไม่คิดถึงผู้อื่น ไม่เข้าใจถึงเจตนาหรือความคาดหวังของผู้อื่น ในระดับ นี้ ถ้าเด็กพัฒนาสูงขึ้นมาอีกความคิดก็จะกว้างขึ้น โดยจะคิดถึงผู้อื่นเป็นรายบุคคล เป็นการคิดแบบ
๑๓
ในระดับที่สอง คือ ระดับตามกฎเกณฑ์ เด็กจะคิดเรื่องสัมพันธภาพการเป็นสมาชิก ของกลุ่มจะมีความสําคัญคือ อยากจะดีตามที่กลุ่มหรือสังคมต้องการ ระดับที่สองนี้จะตระหนักถึงผล ประโยชน์ของผู้อื่นและสังคม เป็นระดับแรกที่การเห็นประโยชน์ของผู้อื่นเป็นระดับที่เข้าใจว่า เหตุใด บุคคลจึงต้องเสียสละเพื่อสังคม สิ่งที่ไม่เคยตระหนักในระดับก่อนจะเริ่มมี ผู้มีพัฒนาการในระดับนี้ จะต้องการการยอมรับในการที่ตนทําดี ความแตกต่างระหว่างระดับนี้กับระดับก่อนในเรื่องกฎต่าง ๆ คือ ระดับก่อนเห็นว่ากฎต่าง ๆ เป็นเครื่องบังคับเขา แต่ในระดับนี้เห็นว่า กฎต่าง ๆ มีไว้เพื่อช่วยสังคม ที่เขาอยู่ ในระดับที่สาม คือ ระดับเหนือกฎเกณฑ์ ทัศนะจะกว้างออกไปจะไม่มองว่ามนุษย์เป็น เสมือนฟันเฟืองของเครื่องจักรในสังคม และจะต้องยอมปฏิบัติตามที่สังคมกําหนดและรับใช้สังคมที่ ตัวเองเป็นสมาชิกอยู่ แต่จะกระทําตามหลักแห่งความยุติธรรมที่เห็นว่าทุกคนในสังคมจะต้องปฏิบัติไม่ ว่าสังคมนั้นจะสนับสนุนหรือไม่ ซึ่งเรียกได้ว่ามีลักษณะเป็นสากลเพราะใช้กับคนทุกคน ความแตกต่าง ระดั บ นี้ กั บ ระดั บ ที่ แ ล้ ว คื อ ระดั บ ก่ อ นเห็ น ว่ า การกระทํ า ที่ ดี จ ะต้ อ งเป็ น การสนั บ สนุ น สั ง คม ผล ประโยชน์ของสังคมเป็นตัวกําหนดความถูกต้อง แต่ในระดับนี้เห็นว่าการกระทําที่ดี คือ การกระทําที่ สอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมหลักแห่งความยุติธรรมนี้เป็นอิสระจากสังคมที่เขาอยู่ ดังนั้นหลัก แห่งความยุติธรรมเป็นพื้นฐานของสังคม ๒. การจําแนกขั้นของความตระหนักทางสังคม การแยกระดับการหยั่งลึกทางสังคม จะช่วยในกระบวนการวัดพัฒนาการอย่างมาก ถ้าสามารถชี้ชัดถึงขั้นของการพัฒนาการได้ก็ยิ่งจะเป็นแรงสนับสนุนยิ่งขึ้น การรู้ขั้นของพัฒนาการด้าน การหยั่งลึกทางสังคมของเด็ก จะทําให้เราทราบว่าเด็กใช้เหตุผลอยู่ในสองขั้นใดควบกัน (เช่น ขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒) ในที่นี้จะอธิบายเพียง ๔ ขั้น ส่วนผู้ที่มีพัฒนาการด้านการหยั่งลึกทางสังคมในระดับ เหนือกฎเกณฑ์เกือบทั้งหมด จะใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นที่ ๕ ในระดับก่อนเกณฑ์ ความแตกต่างด้านการตระหนักทางสังคมระหว่างขั้นที่ ๑ และขั้น ที่ ๒ ได้แก่ความคิดแบบเห็นแก่ประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย หรือการตระหนักถึงทัศนะของผู้อื่น ซึ่งขั้นที่ ๑ ไม่มีผู้ใช้เหตุผล คือ จะไม่เข้าใจว่าผู้อื่นมีความคิดเป็นของตนเอง เขาจะคิดว่ามีตัวเขากับโลก ภายนอกเท่านั้น ในด้านจริยธรรมเด็กจะเข้าใจว่าตัวเขาและผู้อื่นอยู่ภายในลักษณะเผด็จการภายนอก อันเดียวกัน หากไม่รวมตัวเองเข้ากับสิ่งนี้จะดีและจะรับโทษโดยอัตโนมัติ การพิจารณาถึงความสําคัญ และสิทธิของมนุษย์ จะมีลักษณะเป็นรูปธรรมตรง ๆ และการตัดสินใจจากลักษณะพิเศษทางกายภาพ เช่น จะช่วยชีวิตผู้อื่นที่มีเครื่องประดับมากที่สุดหรือผู้ที่สูงที่สุด ในขั้นที่สอง เด็กจะสามารถพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ร่วมกันได้ เด็กจะคิดได้ว่าผู้อื่นมี ความคิดที่แตกต่างไปจากตนและแตกต่างกัน และรู้ว่าบางครั้งบุคคลคาดหวังและกระทําในสิ่งที่ขึ้นอยู่ กับผู้อื่น อย่างไรก็ตาม แม้ความคิดในเชิงการตระหนักจะกว้างขึ้น แต่ก็ยังมีข้อจํากัดคือการเข้าใจความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลผู้มีพัฒนาการในขั้นที่สองจะมองความสัมพันธ์แบบตัวต่อตัว ในแง่จริยธรรมยัง พิจารณาในสิ่งต่าง ๆ ในลักษณะกายภาพและสุขนิยม หลักสําคัญของการพัฒนาในขั้นนี้คือ จะมิได้นึก ถึงการเป็นกลุ่มหรือสังคมที่ดีงาม แต่นึกถึงเพียงประโยชน์ของบุคคลผู้ใฝ่ประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น ในขั้นที่สาม กรอบความคิด คือ แต่ละคนในกลุ่มจะต้องฟังความเห็นของทุกคนในกลุ่ม และจะต้องพยายามกระทําในสิ่งที่กลุ่มเห็นด้วย ผู้ใช้เหตุผลในขั้นนี้จะพยายามจัดพฤติกรรมของเขาให้ อยู่ในรูปแบบ ของคนดีตามความคิดของตน ในขั้นที่สี่ จะพิจารณาสัมพันธภาพเช่นกัน แต่จะขยายร่วมไปถึงการหยั่งลึกถึงระดับ สังคมแทนที่จะคิดถึงบุคคลเพียง ๒–๓ คน เขาจะพิจารณาว่าบุคคลเป็นจุดหนึ่งของระบบสังคม
๑๔
การวัดความตระหนักรู้ ความตระหนักรู้ (Awareness) เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการรู้สํานึกว่าสิ่งนั้นมีอยู่ (Conscious of something) จําแนกและรับรู้ (Recognitive) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ละเอียดอ่อนเกี่ยวกับ ด้านความรู้สึกและอารมณ์ ดังนั้น การที่จะทําการวัดและการประเมิน จึงต้องมีหลักการและวิธีการ ตลอดจนเทคนิคเฉพาะจึงจะวัดความรู้สึกและอารมณ์นั้นมีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งจะนํามากล่าวไว้ ดังนี้ คือ (ชวาล แพรัตกุล, ๒๕๒๖) ๑. วิธีการสัมภาษณ์ (Interview) อาจเป็นการสัมภาษณ์ชนิดที่โครงสร้างแน่นอน (Structure item) โดยสร้างคําถามและมีคําตอบที่เลือกเหมือน ๆ กัน แบบสอบถามชนิดเลือกตอบ และคําถามจะต้องตั้งไว้ก่อน เรียงลําดับก่อนหลังไว้อย่างดี หรืออาจเป็นแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructure item) ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์ที่มีไว้แต่หัวข้อใหญ่ ๆ ให้ผู้ตอบมีเสรีภาพในการตอบมาก ๆ ๒. แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบสอบถามอาจจะเป็นชนิดปิดหรือเปิดก็ได้ ๓. แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) เป็นเครื่องมือวัดชนิดที่ตรวจสอบว่าเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือมีไม่มีสิ่งที่กําหนดตามรายการ อาจอยู่ในรูปของการทําเครื่องหมายตอบ หรือเลือกว่า ใช่ ไม่ใช่ก็ได้ ๔. มาตรวัดอันดับคุณภาพ(Rating scale) เครื่องมือนี้เหมาะสําหรับวัดอารมณ์และ ความรู้สึก ที่ต้องการทราบความเข้าใจ (Intensity) ว่ามีมากน้อยเพียงไรในเรื่องนั้น ๕. การเข้าใจความหมายภาษา (Semantic differential technique หรือ S.D.) เทคนิคการวัดโดยใช้ความหมายของภาษาของ ชาลล์ ออสกูด เป็นเครื่องมือที่วัดได้ครอบคลุมชนิด หนึ่ง เครื่องมือชนิดนี้จะประกอบด้วยเรื่องซึ่งถือเป็น “สังกัป” และจะมีคุณศัพท์ที่ตรงข้ามกันเป็นคู่ ประกอบสังกัปนั้นหลายคู่ แต่ละคู่จะมี ๒ ขั้ว ช่องจะห่างระหว่าง ๒ ขั้วนี้ บ่งด้วยตัวเลข ถ้าใกล้ข้าง ใดมากก็จะมีคุณลักษณะตามคุณศัพท์ของขั้วนั้นมาก คุณศัพท์ที่ประกอบเป็น ๒ ขั้วนี้ แยกออกเป็น ๓ พวกใหญ่ ๆ คือ พวกที่เกี่ยวข้องกับการประเมินค่า (Evaluation) พวกที่เกี่ยวกับศักยภาพ (Potential) และพวกที่เกี่ยวกับกิจกรรม (Activity) กระบวนการวัดความตระหนักรู้ ทิศนา แขมมณี (๒๕๔๖) ได้กล่าวว่ากระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่กระตุ้นให้ผู้เรียน ให้ความสนใจ เอาใจใส่ รับรู้ เห็นคุณค่าในปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมทั้งที่ เป็นรูปธรรมและนามธรรม ขั้นตอนการดําเนินการมีดังนี้ ๑. สังเกต ให้ข้อมูลที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ เอาใจใส่ และเห็นคุณค่า ๒. วิจารณ์ ให้ตัวอย่าง สถานการณ์ ประสบการณ์ตรง เพื่อให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์หา สาเหตุและผลดีผลเสียที่เกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ๓. สรุปให้อภิปรายหาข้อมูล หรือหลักฐานมาสนับสนุนคุณค่าของสิ่งที่จะต้อง ตระหนัก และวางเป้าหมายที่จะพัฒนาตนเองในเรื่องนั้น ตาราง ๒-๑ ลําดับขั้นของพฤติกรรมด้านจิตพิสัยของ แครทโวล และคณะ ๑. การรับรู้
๑.๑ ความตระหนักรู้ ๑.๒ ความยินดีที่จะรับรู้
๑๕
๒. การตอบสนอง ๓. การเกิดค่านิยม ๔. การจัดระบบคุณค่า ๕. การสร้างลักษณะนิสัย
๑.๓ การควบคุมหรือการเลือกให้ความสนใจ ๒.๑ การยินยอมตอบตกลง ๒.๒ ความเต็มใจที่จะตอบสนอง ๒.๓ ความพอใจในการตอบสนอง ๓.๑ การยอมรับค่านิยม ๓.๒ การนิยมชมชอบในค่านิยม ๓.๓ การยึดมั่นในค่านิยม ๔.๑ การสร้างแนวความคิดของค่านิยม ๔.๒ การจัดระบบค่านิยม ๕.๑ การวางหลักทั่วไป ๕.๒ การสร้างลักษณะนิสัย
จากตาราง ๒-๑ แสดงลําดับขั้นของพฤติกรรมด้านจิตพิสัย จะเห็นได้ว่าความ ตระหนักรู้อยู่ในลําดับขั้นของการรับรู้ ซึ่งเป็นขั้นแรกหรือขั้นพื้นฐานของการพัฒนาขึ้นไปสู่ขั้นสูงต่อไป คือ ขั้นการตอบสนอง การเกิดค่านิยม การจัดระบบคุณค่า การสร้างลักษณะนิสัยตามแบบค่านิยมที่ ยึดถือตามลําดับ ลักษณะนิสัยที่จะเกิดขึ้นได้นั้น จําเป็นที่จะต้องสร้างความตระหนักรู้ให้เกิดขึ้นในตัว บุคคลนั้นก่อน เมื่อบุคคลนั้นมีความตระหนักรู้แล้วจึงจะพัฒนาไปสู่พฤติกรรมด้านจิตพิสัยที่สูงขึ้น ต่อไปได้ วิธีการสร้างแบบวัดความตระหนักรู้ มีลําดับขั้นดังนี้ คือ ๑. การรวบรวมข้อมูล ข้อมูลนั้นอาจจะนํามาจากเอกสาร บทวิเคราะห์งานการ ศึกษาวิจัย ๒. การตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่นํามาใช้ในการสร้างแบบวัดนั้นมี ความเหมาะสมกับการที่จะตอบหรือใช้วัดกับกลุ่มตัวอย่าง ๓. สร้างแบบวัดโดยการสร้างข้อคําถาม เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างได้แสดงความรู้สึกที่ แท้จริงของตนเองออกมา ๔. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบวัด ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับความตระหนักรู้ จากความหมายของความรู้และความตระหนักรู้ที่นักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ จะ พบว่าความรู้และความตระหนักรู้นั้นมีความสัมพันธ์คือ ทั้งความรู้และความตระหนักรู้ต่างเกี่ยวข้องกับ การสัมผัส และการใช้จิตไตร่ตรองทั้งสิ้น โดยความรู้เป็นเรื่องของข้อเท็จจริง กฎเกณฑ์ ฯลฯ ซึ่งได้ จากการสังเกตและรับรู้ที่ต้องอาศัยเวลา ส่วนความตระหนักรู้เป็นเรื่องของความรู้สึกที่เกิดขึ้นในภาวะ จิตที่ไม่เน้นความสามารถในการจําหรือระลึกได้ อย่างไรก็ตามการที่จะเกิดความตระหนักรู้ขึ้นมาได้ก็ ต้องผ่านการมีความรู้มาก่อนเป็นเบื้องต้น ๔. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมสู่ดินแดนใหม่ บุญชัย พงศ์รุ่งทรัพย์ ที่ปรึกษา HR เอพีเอ็มกรุ๊ป ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลง (change) ที่เกิดขึ้นในหลายๆ สถานที่ว่าช่วงนี้หันไปทางไหนก็เจอแต่คําว่า change เริ่มตั้งแต่ Obama ออกแคมเปญ Change we can believe in เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในอเมริกา ส่งผลให้ ทั่วโลกหันมาสนใจเรื่อง change กันมากขึ้น ในประเทศไทยเองก็มีการพูดถึงเรื่อง change กันอย่าง หนาหูทั้งภาครัฐและเอกชน แม้กระทั่งซีรีส์ญี่ปุ่น ยังมีเรื่อง change นายกฯมือใหม่ หัวใจประชาชน ให้ เราได้ดูได้ชมกันอีก เรียกได้ว่า change กันไปทั่วทุกหัวระแหงเลยก็ว่าได้ แน่นอนก็คงจะหลีกหนีเรื่อง
๑๖
1. evolutionary adaptation : การเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป 2. developmental change: การเปลี่ยนแปลงเพือ่ การพัฒนาปรับปรุงวิธีการหรือ กระบวนการทํางานเดิมให้ดียิ่งขึ้น 3. transitional change : การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการนําสิ่งใหม่ ระบบใหม่ มาใช้ 4. drastic action : การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบทันทีทันใด 5. transformational change : การเปลีย่ นแปลงแบบปฏิรูปหรือเปลี่ยนรูปแบบการ ดําเนินธุรกิจในการเปลี่ยนแปลงแต่ละรูปแบบ นั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อวิธีการ กระบวนการ รูปแบบ ในการทํางาน จึงทําให้คนในองค์กรต้องเปลี่ยนทั้งวิธีคดิ วิธีทํา เพื่อให้สามารถสอดรับกับความเปลี่ยน แปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและราบรื่นที่สุด ซึ่งทุกคนก็จะต้องเข้าใจถึงธรรมชาติและกระบวนการ ของการเปลี่ยนแปลงก่อนว่าเป็นอย่างไร “Bill Poole” ผู้เชี่ยวชาญและผู้เขียนหนังสือ Journey to Newland ได้เปรียบเทียบ การ เปลี่ยนแปลงเป็นเหมือนการเดินทางจากโลกเก่า (old land) ไปสู่โลกใหม่ (new land) ซึ่งประกอบไป ด้วย 8 ขั้นตอนหลักๆ คือ 1. prepare for the Journey : การเตรียมพร้อมสู่การเดินทางโดยองค์กรจะต้องมี ทิศทางของการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน ต้องรู้ว่าจะเปลี่ยนอะไร มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และ คนต้องทําอย่างไร 2. survey the territory : การสํารวจดินแดนโดยองค์กรจะต้องรู้ว่าในการที่จะ เปลี่ยนแปลงมีปจั จัยอะไรที่เอื้อหรือเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงบ้าง 3. set the guidelines : การกําหนดแนวทางโดยนําเอาข้อมูลทั้งหมดที่ได้จาก ข้อ 1 และ 2 มากําหนดแผนการเปลี่ยนแปลง 4. gather the team : การเลือกทีมงานเพื่อช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง โดย เลือกจากผู้นําและพนักงานที่มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถมีอิทธิพลต่อพนักงานคน อื่นๆ ได้ 5.choose the path : การเลือกเส้นทางโดยพิจารณาจากลักษณะของงานและคนใน แต่ละหน่วยงาน เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับงานและคนของหน่วยงาน 6.navigate the terrain : นําร่องสํารวจเส้นทางโดยต้องสร้างความสอดคล้องของ ทุก หน่วยงาน ทุกคนทั่วทั้งองค์กรในด้านความคิด วิธีการในการเปลี่ยนแปลง 7.make the transition : การดําเนินการตามแผนการเปลี่ยนแปลง 8.cross the border : การก้าวเข้าสู่ดินแดนใหม่ ซึ่งโดยปกติองค์กรจะสามารถเห็น การเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนและทัว่ ถึงอย่างน้อย 24 เดือน
๑๗ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ยากหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับความสามารถใน การนําความเปลี่ยนแปลงของผู้นําในองค์กร ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงองค์กรมักจะใช้ วิธีการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง (change management) โดยทําเป็นโครงการ คือทําแล้วจบไปไม่ ต่อเนื่อง ซึ่งในการที่จะทําให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างยั่งยืน จําเป็นต้องมองการเปลี่ยนแปลงให้ เป็นกระบวนการ ที่สําคัญต้องดึงคนเข้ามามีส่วนร่วมแทนที่จะเป็นการผลักให้คนต้องเปลี่ยนตามที่ องค์กรคาดหวัง ซึ่งจะทําให้เกิดแรงต่อต้านและทําให้การเปลี่ยนแปลงไม่ประสบผลสําเร็จ นอกจากนี้ ยังจะต้องเปลี่ยนวัฒนธรรม องค์กรจากผู้นําของผู้ตาม (leader of followers) มาเป็นผู้นําของผู้นํา (leader of leaders) ซึ่งจะทําให้การเปลี่ยนแปลงประสบผลสําเร็จจากความเป็นผู้นําของทุกคน ความเป็นผู้นําในที่นี้จะต้องนําด้วย 5 ผู้ยิ่งใหญ่ หรือ big 5 competencies ที่จะต้องมีติดตัว คือ 1. leading change : ต้องเข้าใจถึงกระบวนการ วิธีการ ในการนําการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเข้าใจถึงธรรมชาติของคนที่มีตอ่ การเปลี่ยนแปลง 2. developing leadership : พัฒนาความเป็นผู้นําที่สามารถมองได้ทั้งปัจจุบันและ อนาคต 3. building teams : ความสามารถในการสร้างทีม การทําให้คนในทีมมีวธี ีคิดและ ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน 4. valuing differences : ต้องเข้าใจและให้คุณค่ากับความแตกต่างระหว่างบุคคล และสามารถใช้ความแตกต่างนั้นให้เป็นประโยชน์ 5. optimizing communication : สื่อสารให้ได้ผลลัพธ์และชัดเจน เพื่อก่อให้เกิด ความ เข้าใจและความเชือ่ ซึ่งจะนําไปสู่การเปลีย่ นพฤติกรรมในที่สุด จะเห็นได้ว่าไม่ว่าองค์กรจะประสบกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใด หากเราเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ถงึ กระบวนการการเปลี่ยน แปลงทั้ง 8 ขั้นตอน รวมทั้งสามารถสร้าง 5 ผูย้ ิ่งใหญ่ให้เกิดกับ ผู้นําและพนักงานทุกคน ก็จะสามารถนําองค์กรให้เปลีย่ นแปลงไปสูค่ วามสําเร็จได้ (เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://www.wiseknow.com วันที่เข้าถึงข้อมูล 25 พฤษภาคม 2555) จากการศึกษาทางวิชาการทั้ง ๔ แนวคิดทฏษฎี สามารถกําหนดกรอบแนวคิดในการ วิจัย ได้ดังรูปที่ ๒-2
รูปที่ ๒-2 แสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย การเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙
๑๘ การมีส่วนร่วมของพนักงาน ฯ (สถาบันพระปกเกล้า,๒๕๕๐) การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร (SMART AEROTHAI) (วิทยุการบินแห่งประเทศไทย, ๒๕๕๓)
ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียม ความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บท CG & CSR (วิทยุการบินแห่งประเทศไทย, ๒๕๕๕)
5. งานวิจัยทีเ่ กี่ยวของ การสํารวจการรับรู้ คุณค่าร่วม SMART AEROTHAI และความตระหนักรู้ถึง ความสําคัญของการกํากับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจของ บวท. ประจําปี ๒๕๕๔ ผลการศึกษาการรับรู้ เกี่ยวกับการกํากับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจของ บวท. พบว่าฝ่ายจัดการและพนักงาน มีการรับรู้ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับการกํากับ ดูแลที่ ดีในรัฐวิสาหกิจของ บวท. อยู่ในระดับ มากที่สุด คิ ดเป็นร้อ ยละ ๘๕.๐๙ ในความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการกํากับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจของ บวท. พบว่าฝ่าย จัดการและพนักงานมีระดั บความตระหนักรู้ถึ ง ความสําคั ญของการกํากับ ดู แ ลองค์กรที่ดีฯ อยู่ใ น ระดับสูง ( X =๔.๑๒๒) หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๒.๔๔ และด้านคุณค่าร่วม SMART AEROTHAI พบว่าฝ่ายจัดการและพนักงานมีระดับความคิดเห็นในคุณค่าร่วม SMART AEROTHAI ที่มีต่อการ กํากับดูแลองค์กรที่ดีในรัฐวิสาหกิจของ บวท. อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( X =๔.๑๐๕) หรือ คิดเป็น ร้อยละ ๘๒.๑๐ สรุปได้ว่าการรับรู้เกี่ยวกับการกํากับดูแลที่ดี และความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของ การกํากับดูแลองค์กรที่ดีในรัฐวิสาหกิจของ บวท. อยู่ในระดับสูงมาก คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๗๗ หรือคิด เป็นเป้าหมายใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐.๙๔ จากการประเมินผลจากปี ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าสมมติฐานวิจัยที่ ๑ ปัจจัยบุคคลของฝ่ายจัดการ และพนั ก งาน บวท. ที่ แ ตกต่ า งกั น มี ค วามตระหนั ก รู้ ถึ ง ความสํ า คั ญ ของการกํ า กั บ ดู แ ลที่ ดี ใ น รัฐวิสาหกิจของ บวท. แตกต่างกัน มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ บางส่วน คือ อายุ ระดับ การศึกษา ประสบการณ์ทํางาน สถานภาพการทํางาน และหน่วยงานในสังกัดที่แตกต่างกัน มีความ ตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการกํากับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจของ บวท. แตกต่างกัน สมมติ ฐ านการวิ จั ย ที่ ๒ การรั บ รู้ เ กี่ ย วกั บ การกํ า กั บ ดู แ ลที่ ดี ข องฝ่ า ยจั ด การและ พนักงาน บวท. ที่แตกต่างกัน มีความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการกํากับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ ของ บวท. แตกต่างกัน มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ทุกส่วน คือ การรับคู่มือ GCG การศึกษาคู่มือ GCG การรับทราบกลไกการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ การรับทราบกรอบและ แนวทางในการดําเนินงาน ความพึงพอใจ ความสําคัญ ความพอเพียงของข่าวสาร และช่องทางการ รับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดีในรัฐวิสาหกิจของบริษัทฯ ที่แตกต่างกัน มีความ ตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการกํากับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจของ บวท. แตกต่างกัน สมมติฐานการวิจัยที่ ๓ คุณค่าร่วม SMART AEROTHAI มีอิทธิพลต่อความ ตระหนักรู้ ถึงความสําคัญ ของการกํากับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจของ บวท. มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ บางส่วน คือ คุณค่าร่วมความปลอดภัย (Safety) มีอิทธิพลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของ การกํากับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจของ บวท.
๑๙
ส่วนที่ ๓ วิธีดําเนินการวิจัย การสํารวจการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ประจําปี ๒๕๕๕ นี้ เป็นการสํารวจด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิง ปริมาณ (Survey Quantitative Research) โดยศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี บทความทางวิชาการ และรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ออกแบบกรอบแนวคิดในการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัย โดยใช้ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม แล้วนําข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้มาวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อพรรณาและค้นหาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ แล้วหาข้อสรุปผลการสํารวจต่อไป ซึ่งผู้วิจัย กําหนดแนวทางในการดําเนินการวิจัย โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑. การกําหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ๒. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ๓. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือในการวิจัย ๔. ลักษณะของแบบสอบถาม ๕. ความเชือ่ ถือได้ของเครือ่ งมือที่ใช้ในการวิจัย ๖. การจัดทําข้อมูลและวิเคราะห์ผล ๗. สถิติที่ใช้ในการวิจัย การกําหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ฝ่ายจัดการและพนักงานของ บวท. ที่ปฏิบัติงานทั้งใน ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งหมด ๒,๘37 คน (ข้อมูล ณ ๕ สิงหาคม ๒๕๕5) ได้กําหนดกลุ่ม ตัวอย่างโดยวิธี การสุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ (Yamane, 1967) กําหนดให้มีความคลาดเคลื่อน
๒๐
ตารางที่ ๓-๑ กลุ่มตัวอย่าง (ฝ่ายจัดการ) ลําดับ หน่วยงาน/สังกัด (ฝ่ายจัดการ) ๑ กรรมการผู้อาํ นวยการใหญ่ ๒ รองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ฯ และนักวิชาการ (เทียบเท่ารองกรรมการผู้อาํ นวยการใหญ่) ๓ ผู้อํานวยการใหญ่ฯ และนักวิชาการ (เทียบเท่าผู้อํานวยการใหญ่) ๔ ผู้อํานวยการฝ่ายฯ และนักวิชาการ (เทียบเท่าผูอ้ ํานวยการฝ่าย) ๕ ผู้อํานวยการกองฯ และนักวิชาการ (เทียบเท่าผูอ้ ํานวยการกอง) รวมฝ่ายจัดการ
จํานวน (คน) ๑ ๔ ๗ ๒3 6๒ 97
ตารางที่ ๓-๒ กลุ่มตัวอย่าง (พนักงาน) ลําดับ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๑๘
หน่วยงาน/สังกัด (พนักงาน) ตน. กญ. นต.กญ. สท.กญ. กธ.ธก. ธน.ธก. ธป.ธก. สธ.ธก. บส.บว. บข.วบ. บบ.วบ. มว.วบ. กผ.วบ.
จํานวน (คน) 6 8 ๔ ๑๐ ๒ 4 ๓ 6 ๑6 ๗ ๓ ๘ ๑4
๒๑ ๑๙ ๒๐
ปบ.ทส. วอ.ทส.
๑0 5
ตารางที่ ๓-๒ (ต่อ) ลําดับ ๒๑ ๒๒ ๒๓ ๒๔ ๒๕ ๒๖ ๒๗ ๒๘ ๒๙ ๓๐ ๓๑ ๓๒ ๓๓ ๓๔ ๓๕ ๓๖ ๓๗ ๓๘ ๓๙ ๔๐ ๔๑ ๔๒ ๔๓ ๔๔ ๔๕ ๔๖ ๕๗ ๔๘ ตารางที่
หน่วยงาน/สังกัด (พนักงาน)
จํานวน(คน) ๓4 ๓4 ๑0 25 ๔2 36 ๑6 ๔2 36 ๒2 16 ๔0 ๓4 ๒4 ๑1 ๑1 18 9 17 ๑3 6 6 5 ๖ 4 ๓ ๒ ๓
หน่วยงาน/สังกัด (พนักงาน)
จํานวน(คน) ๖
ศจ๑.บจ. ศจ๒.บจ. ศห.บจ. ศอ.บจ. ศส.บข. ศด.บข. ศบ.บข. ศภ.บภ๑. ศญ.บภ๑. ศร.บภ๑. ศน.บภ๑. ศช.บภ๒. ศล.บภ๒. ศอ.บภ๒. ศบ.บภ๒. ศม.บภ๒. วส.บว. วช.บว. วต.บว. ศว.บว. วว.สว. วข.สว. อว.สว. คม.มป. คป.มป. คส.มป. คก.มป. บผ.มป. ๓-๒ (ต่อ)
ลําดับ ๔๙ ผค.กอ.
๒๒ ๕๐ ๕๑ ๕๒ ๕๓ ๕๔ ๕๕ ๕๖ ๕๗ ๕๘ ๕๙ ๖๐ ๖๑ ๖๒ ๖๓ ๖๔ ๖๕ ๖๖ ๖๗
ผจ.กอ. ผว.กอ. สอ.สส. วส.สส. บค.ทบ. ลข.ทบ. สก.ทบ. พบ.พส. พว.พส. พก.พส. งน.งบ. บช.งบ. งป.งบ. ผก.ศป. ฟท.ศป. อส.ศป. บก.บท. กพ.บท. รวมพนักงาน รวมฝ่ายจัดการและพนักงานทั้งสิ้น
๓ ๓ 9 ๖ ๖ ๑2 7 ๑8 ๓ ๑1 ๘ ๗ ๓ ๑0 19 ๒3 ๑2 ๑๒ 809 906
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลของการศึกษาการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแล กิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูล ในส่วนการทดสอบแบบสอบถามเพื่อทําการทดสอบ (Pre-test) จํานวน 6๐ ชุด กับ ฝ่ายจัดการและพนักงานที่คัดเลือกไว้เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยสํานักเลขานุการคณะกรรมการกํากับ ดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการสํารวจ แจก แบบสอบถาม อธิบายวิธีการตอบแบบสอบถามและกําหนดวันเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนําแบบสอบถาม ที่เก็บรวบรวมได้ไปทดสอบความเชื่อถือได้ของเครื่องมือวัด (Reliability) เพื่อปรับปรุงแบบสอบถามจน ได้เครื่องมือวัดที่มีประสิทธิภาพ หลังจากนั้นในส่วนการเก็บข้อมูลจริง สํานักเลขานุการคณะกรรมการ กํากับดูแลที่ดีของ บวท. มอบหมายให้คณะทํางานกํากับดูแลที่ดี กญ. เป็นผู้นําแจกแบบสอบถามไปยัง หน่วยงานต่าง ๆ กําหนดเวลาเก็บแบบสอบถาม 30 วัน ส่งกลับคืนภายในวันที่ 31 กรกฎาคม ๒๕๕๕ เมื่อได้แบบสอบถามกลับคืนครบตามจํานวนแล้ว จะนําแบบสอบถามไปตรวจสอบความสมบูรณ์และ ความถูกต้องของข้อมูลก่อนนําไปวิเคราะห์ผล เพื่อหาข้อสรุปในการศึกษาต่อไป ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามวัดการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้าน การกํ า กั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี แ ละการแสดงความรั บผิ ดชอบต่ อ สั ง คม การปฏิ บั ติ ต นในวั ฒนธรรมองค์ ก ร SMART AEROTHAI และความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับ
๒๓
๑. ศึกษาจากแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพือ่ กําหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ขอบเขต ของการวิจัย และสร้างเครือ่ งมือที่ใช้ในการวิจัยให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๒. นําข้อมูลทีไ่ ด้มาสร้างแบบสอบถามฝ่ายจัดการและพนักงาน ลักษณะเป็นคําถาม แบบปลายปิดและปลายเปิด ๓. นําร่างแบบสอบถามไปทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC: Index of Item Objective Congruence) จากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ๓ ท่าน ซึง่ เป็นอาจารย์ประจําหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบณ ั ฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล รัตนโกสินทร์ ประกอบด้วย พลเอก ดร.บัณฑิต พิริยาสัยสันติ อาจารย์ ดร. อํานวย บุญยรัตนไมตรี และ อาจารย์ ดร. วรรณารัตน์ อัศวเดชาชาญยุทธ์ พิจารณาตรวจสอบ โดยพิจารณาเลือกข้อคําถาม ที่มีค่า IOC≥ 0.66 ขึ้นไป และขอคําแนะนําในการแก้ไข ผลการพิจารณาค่า IOC = 1.00 ๔. นําแบบทดสอบที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาแล้วไปทําการทดสอบ กับกลุม่ ฝ่ายจัดการและพนักงานที่คัดเลือกไว้เป็นกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 6๐ คน 5. นําแบบสอบถามที่เก็บรวบรวมได้ ทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability : ∞) โดยพิจารณาเลือกข้อคําถามที่มีค่าความเชื่อถือได้ ≥ ๐.๔๐ขึ้นไป ผลการพิจารณาค่าความเชื่อถือ ได้ของแบบสอบถามการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมทั้งชุด = 0.95 การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ทั้งชุด = 0.93 และความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งชุด = 0.94 ตามลําดับ 6. ปรับปรุงรูปแบบสอบถามอีกครั้ง แล้วนําเสนอผูเ้ ชีย่ วชาญหรือผูท้ รงคุณวุฒิ เพื่อ แก้ไขปรับปรุงจนได้เครื่องมือวัดที่มปี ระสิทธิภาพ 7. นําแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ไปสอบถามกลุม่ ตัวอย่าง 906 คน รูปที่ ๓-๑ วิธีการสร้างเครือ่ งมือที่ใช้ในการวิจัย
ศึกษาแนวคิดทฤษฎีทีเ่ กี่ยวข้อง เขียนนิยามปฏิบตั ิการเพื่อสร้างข้อคําถาม วิพากษ์และปรับแก้ข้อคําถามกับที่ปรึกษา ตรวจสอบความเที่ยงตรงโดยที่ผ้เู ชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ความเที่ยงตรงที่มี ความเที่ยงตรง (IOC) ≥ 0.66
ไม่ผ่านเกณฑ์
๒๔
ปรับปรุงข้อคําถาม ผ่าน
ตัดทิ้ง
ความเชื่อถือได้ของ แบบสอบถาม
ผ่าน
ปรับปรุงแบบสอบถามจนได้เครื่องมือวัดที่มีประสิทธิภาพ
ลักษณะของแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเพื่อการวิจัยปริมาณในครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่มี คําถามชนิดปลายปิดและปลายเปิด โดยแบบสอบถามปลายปิดแบ่งออกเป็น ๕ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ เป็นแบบสอบถามข้อมูลปัจจัยด้านบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็น คําถามปลายปิด มี ๘ ข้อ เป็นข้อคําถามที่กําหนดคําตอบไว้ล่วงหน้า ให้ผู้ตอบเลือกตอบในข้อที่ตรงกับ ความเป็นจริงเกี่ยวกับ เพศ อายุ ประสบการณ์การทํางาน สถานะหรือสถานภาพการจ้าง ระดับ ตําแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด สถานที่ปฏิบัติงาน และลักษณะงาน ส่วนที่ ๒ แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของฝ่ายจัดการและพนักงานในกิจกรรมด้าน การกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ผู้ศึกษาได้สร้างแบบสอบถามการปฏิบตั ิ ในการมีส่วนร่วมออกเป็น 5 ด้าน รวม 17 ข้อ โดยแบ่งประเด็นคําถามการมีส่วนร่วมดังนี้ 1) การมี ส่วนร่วมให้หรือรับข้อมูล 2) การมีส่วนร่วมวางแผนและตัดสินใจ 3) การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา 4) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ และ 5) การมีส่วนร่วมในการควบคุมประเมินผล เป็นข้อคําถามมีคําตอบ ให้เลือกตอบระดับการปฏิบัติ (Rating Scale) โดยให้คะแนนเป็น ๕ ระดับ คือ ปฏิบัติน้อยที่สุด ปฏิบัติน้อย ปฏิบัติปานกลาง ปฏิบัติมาก และปฏิบัติมากที่สุด โดยมีมาตรวัด ดังนี้ ๕ หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ๔ หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ๓ หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง
๒๕ ๒ หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ๑ หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยที่สุด ส่วนที่ ๓ แบบสอบถามการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ผู้ศึกษาได้สร้างแบบสอบถามการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กรออกเป็น 5 ด้าน รวม 24 ข้อ โดยแบ่ง ประเด็นคําถาม ดังนี้ 1) วัฒนธรรมความปลอดภัย 2) วัฒนธรรมจริยธรรมเพื่อส่วนรวม 3) วัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อตนเองและหน้าที่ 4) วัฒนธรรมการเป็นที่ยอมรับในความเป็นมืออาชีพ และ 5) วัฒนธรรมความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน เป็นข้อคําถามมีคําตอบให้เลือกตอบระดับการปฏิบัติ (Rating Scale) โดยให้คะแนนเป็น ๕ ระดับ คือ ปฏิบัติน้อยที่สุด ปฏิบัติน้อย ปฏิบัติปานกลาง ปฏิบัติมาก และปฏิบัติมากที่สุด โดยมีมาตรวัด ดังนี้ ๕ หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ๔ หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ๓ หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ๒ หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ๑ หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยที่สุด ส่วนที่ ๔ แบบสอบถามความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของฝ่ายจัดการและพนักงาน ผู้ศึกษาได้สร้างแบบสอบถามการ ปฏิบัติในความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคมออกเป็น 5 ด้าน รวม 22 ข้อ โดยแบ่งประเด็นคําถาม ดังนี้ 1) ความตระหนักรู้ในการ ตรวจสอบตนเอง 2) ความตระหนักรู้ในการเร่งสื่อสาร ๓) ความตระหนักรู้ในการวางรากฐานเพื่อการ พัฒนา 4) ความตระหนักรู้ในการสร้างทีมงาน และ 5) ความตระหนักรู้ในการสานสัมพันธ์ เป็นข้อ คําถามมีคําตอบให้เลือกตอบระดับการปฏิบัติ (Rating Scale) โดยให้คะแนนเป็น ๕ ระดับ คือ ปฏิบัติน้อยที่สุด ปฏิบัติน้อย ปฏิบัติปานกลาง ปฏิบัติมาก และปฏิบัติมากที่สุด โดยมีมาตรวัด ดังนี้ ๕ หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ๔ หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ๓ หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ๒ หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ๑ หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยที่สุด ส่วนที่ ๕ ข้อเสนอแนะอื่น ๆ เป็นส่วนที่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็น และ ให้ข้อ เสนอแนะเพิ่มเติม การจัดทําข้อมูลและวิเคราะห์ผล การจัดทําข้อมูล เมื่ อ ได้ ทํ า การรวบรวมแบบสอบถามทั้ ง หมดที่ ไ ด้ เ รี ย บร้ อ ยแล้ ว คณะผู้ วิ จั ย ได้ นํ า แบบสอบถามทั้งหมดมาดําเนินการดังนี้ ๑. การตรวจสอบข้อมูล (Editing) คณะผู้วิจัยตรวจสอบดูความสมบูรณ์ของการตอบ แบบ สอบถาม และทําการคัดแยกแบบสอบถามที่ไม่สมบูรณ์ออก ๒. นําแบบสอบถามที่ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว มาลงรหัสเพื่อประมวลผลข้ อมูลด้ว ย โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูปสําหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS for Windows) ๓. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ๔. ประมวลผลตามจุดมุ่งหมายของการศึกษาวิจัย การวิเคราะห์ผล
๒๖ สําหรับการวิเคราะห์ผลนั้น ได้ทําการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามทั้ง 4 ส่วน ดังนี้ 1. แบบสอบถามข้อมูลปัจจัยด้านบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ใช้ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) เพื่อใช้เปรียบเทียบและอธิบายข้อมูลทั่วไปของปัจจัยส่วน บุคคล 2. แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของฝ่ายจัดการและพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับ ดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ใช้คะแนนเฉลี่ย ( X ) ของผู้ตอบแบบสอบถาม นํามาแปลความหมายการมีส่วนร่วม โดยคํานวณหาค่าช่วงของการวัดการปฏิบัติ ดังนี้ วิธีการแปลผลใช้เกณฑ์คะแนนดังนี้ (วิชิต อู่อ้น, 2550, หน้า 114) คะแนนสูงสุด-คะแนนต่ําสุด = 5-1 = 0.8 จํานวนชั้น 5 ระดับคะแนน ความหมาย ระดับ 5 ค่าเฉลี่ย 4.21-5.00 มีส่วนร่วมมากที่สุด ระดับ 4 ค่าเฉลี่ย 3.41-4.20 มีส่วนร่วมมาก ระดับ 3 ค่าเฉลี่ย 2.61-3.40 มีส่วนร่วมปานกลาง ระดับ 2 ค่าเฉลี่ย 1.81-2.60 มีส่วนร่วมน้อย ระดับ 1 ค่าเฉลี่ย 1.00-1.80 มีส่วนร่วมน้อยที่สุด 3. แบบสอบถามการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ใช้คะแนน เฉลี่ย ( X ) ของผู้ตอบแบบสอบถามนํามาแปลความหมายการปฏิบัติ โดยคํานวณหาค่าช่วงของการ วัดการปฏิบัติ (คํานวณเช่นเดียวกับแบบสอบถามการมีส่วนร่วมฯ) ดังนี้ ระดับคะแนน ความหมาย ระดับ 5 ค่าเฉลี่ย 4.21-5.00 มีการปฏิบัตมิ ากที่สุด ระดับ 4 ค่าเฉลี่ย 3.41-4.20 มีการปฏิบัตมิ าก ระดับ 3 ค่าเฉลี่ย 2.61-3.40 มีการปฏิบัตปิ านกลาง ระดับ 2 ค่าเฉลี่ย 1.81-2.60 มีการปฏิบัตินอ้ ย ระดับ 1 ค่าเฉลี่ย 1.00-1.80 มีการปฏิบัตินอ้ ยที่สุด 4. แบบสอบถามความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการ แสดงความรั บผิ ดชอบต่ อ สัง คมฯ ใช้ ค ะแนนเฉลี่ย ( X ) ของผู้ต อบแบบสอบถาม นํา มาแปลความ หมายความตระหนั ก รู้ ถึ ง ความสํ า คั ญ โดยคํ า นวณหาค่ า ช่ ว งของการวั ด การปฏิ บั ติ (คํ า นวณ เช่นเดียวกับแบบสอบถามการมีส่วนร่วมฯ) ดังนี้ ระดับคะแนน ความหมาย ระดับ 5 ค่าเฉลี่ย 4.21-5.00 มีความตระหนักรู้ถึงความสําคัญมากที่สุด ระดับ 4 ค่าเฉลี่ย 3.41-4.20 มีความตระหนักรู้ถึงความสําคัญมาก ระดับ 3 ค่าเฉลี่ย 2.61-3.40 มีความตระหนักรู้ถึงความสําคัญปานกลาง ระดับ 2 ค่าเฉลี่ย 1.81-2.60 มีความตระหนักรู้ถึงความสําคัญน้อย ระดับ 1 ค่าเฉลี่ย 1.00-1.80 มีความตระหนักรู้ถึงความสําคัญน้อยที่สุด ส่วนที่ ๕ ข้อเสนอแนะอื่น ๆ ได้ใช้คะแนนความถี่ของผู้ตอบแบบสอบถามที่นําเสนอ ข้อเสนอแนะนํามาจัดกลุ่มประเด็ นเสนอแนะในเรื่องต่าง ๆ ใหม่โดยคํานวณหาค่าช่วงของการวัด ข้อเสนอแนะ ดังนี้ ระดับคะแนนร้อยละ ๑.๐๐ - ๒๐.๐๐ มีข้อเสนอแนะในประเด็นนั้น ๆ น้อยที่สุด ระดับคะแนนร้อยละ ๒๑.๐๐ - ๔๐.๐๐ มีข้อเสนอแนะในประเด็นนั้น ๆ น้อย
๒๗ ระดับคะแนนร้อยละ ๔๑.๐๐ - ๖๐.๐๐ มีข้อเสนอแนะในประเด็นนั้น ๆ ปานกลาง ระดับคะแนนร้อยละ ๖๑.๐๐ - ๘๐.๐๐ มีข้อเสนอแนะในประเด็นนั้น ๆ มาก ระดับคะแนนร้อยละ ๘๑.๐๐ - ๑๐๐.๐๐ มีข้อเสนอแนะในประเด็นนั้น ๆ มากที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล วิ เคราะห์ ข้อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากการเก็บ รวบรวมข้อ มูล โดยใช้ใ นโปรแกรมคอมพิ ว เตอร์ สําเร็จรูปสําหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS for Windows) วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ดังนี้ ๑. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ใช้อธิบายคุณลักษณะทั่วไปของ ผู้ตอบแบบสอบถาม โดยใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) อธิบาย คุณลักษณะประชากรศึกษาและการรับรู้เกี่ยวกับการกํากับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจของ บวท. ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean: X ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) ในการวิเคราะห์ข้อมูลการมี ส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การ ปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI และความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียม ความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับ ดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ๒. สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัว แปรอิสระและตัวแปรตามในสมมติฐานต่าง ๆ สมมติฐาน 1 การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความ ตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) วิธี Enter Method โดยกําหนดค่านัยสําคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ไว้ที่ระดับ 0.05 สมมติฐานย่อย 1.1 การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อม ด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ใช้การวิเคราะห์สมการถดถอย พหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) วิธี Enter Method โดยกําหนดค่านัยสําคัญทาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ไว้ที่ระดับ 0.05 สมมติฐานย่อย 1.2 การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อ ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) วิธี Enter Method โดยกําหนดค่านัยสําคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ไว้ที่ระดับ 0.05 เกณฑ์ในการแปลความหมาย เกณฑ์ในการแปลความหมายมีผล/มีอิทธิพลต่อกัน (R Square) ดังนี้ ขนาดอิทธิพล 0.91-1.00 หมายถึง มีผล/มีอิทธิพลต่อกันสูงมาก ขนาดอิทธิพล 0.71-0.90 หมายถึง มีผล/มีอิทธิพลต่อกันสูง ขนาดอิทธิพล 0.31-0.70 หมายถึง มีผล/มีอิทธิพลต่อกันปานกลาง ขนาดอิทธิพล 0.01-0.30 หมายถึง มีผล/มีอิทธิพลต่อกันต่ํา
๒๘ ขนาดอิทธิพล 0.00 หมายถึง ไม่มผี ล/มีอิทธิพลต่อกัน เกณฑ์ในการแปลความหมายความสัมพันธ์กัน (R) ดังนี้ ขนาดความสัมพันธ์ 0.91-1.00 หมายถึง มีความสัมพันธ์กันสูงมาก ขนาดความสัมพันธ์ 0.71-0.90 หมายถึง มีความสัมพันธ์กันสูง ขนาดความสัมพันธ์ 0.31-0.70 หมายถึง มีความสัมพันธ์กันปานกลาง ขนาดความสัมพันธ์ 0.01-0.30 หมายถึง มีความสัมพันธ์กันต่ํา ขนาดความสัมพันธ์ 0.00 หมายถึง ไม่มีความสัมพันธ์กัน (ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2541 อ้างถึงในศรัณยา เลิศพุทธิรักษ์, 2553, หน้า 217)
3
ส่วนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาวิจัยเรื่องการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ในครั้งนี้ ผู้ศึกษานําข้อมูลที่ได้จากการตอบ แบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง คือ ฝ่ายจัดการและพนักงาน บวท. ที่ปฏิบัติงานส่วนกลางและ ส่วนภูมิภาค จํานวนทั้งสิ้น ๙๐๖ คน แล้วนํามาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ และ ขอนําเสนอผลการศึกษาวิจัยโดยใช้ภาพและตารางประกอบคําบรรยาย รายละเอียดดังต่อไปนี้ 4.1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 4.2 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ตอนที่ 1 การวิเคราะห์รวบรวมแบบสอบถาม ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 3 การวิเคราะห์การปฏิบัติตนในการมีส่วนร่วมของพนักงาน ตอนที่ 4 การวิเคราะห์การปฏิบตั ิตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ตอนที่ 5 การวิเคราะห์การปฏิบัติตนในความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการ เตรียมความพร้อมในการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผน แม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี๒๕๕๕๒๕๕๙ 4.3 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานของการศึกษา ตอนที่ 6 การวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแล กิจ การที่ ดีแ ละการแสดงความรับผิดชอบต่ อ สั ง คม การปฏิ บัติ ต นในวัฒนธรรมองค์ กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแล ที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ 3 4.4 สรุปผลการทดสอบสมมติฐาน
4.1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ในการนําเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ได้กําหนดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ n แทน X แทน SD แทน *P ≤ 0.05 แทน
จํานวนกลุม่ ตัวอย่าง ค่าเฉลี่ยระดับของอุดมคติ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่านัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
R R2 Sig. * H0 H1
แทน แทน แทน แทน แทน แทน
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจ ความน่าจะเป็นสําหรับบอกค่านัยสําคัญทางสถิติ ความมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สมมติฐานหลัก (Null Hypothesis) สมมติฐานรอง (Alternative Hypothesis)
4.2 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ตอนที่ 1 การวิเคราะห์รวบรวมแบบสอบถาม การวิเคราะห์รวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืน จากแบบสอบถามที่แจกไปจําวน 906 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนที่มีขอ้ มูลครบถ้วนถูกต้อง จํานวน 903 คนคิดเป็นร้อยละ 99.67 จําแนกตามหน่วยงาน ดังตารางที่ 4-1 ตารางที่ 4-๑ แบบสอบถามที่ได้รับกลับคืน (ฝ่ายจัดการ) ลําดับ หน่วยงาน/สังกัด (ฝ่ายจัดการ) จํานวน ร้อยละ ๑ กรรมการผู้อํานวยการใหญ่ 1/1 100.00 ๒ รองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ฯ และนักวิชาการ 4/4 100.00 (เทียบเท่ารองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่) ๓ ผู้อํานวยการใหญ่ฯ และนักวิชาการ (เทียบเท่าผูอ้ ํานวยการใหญ่) 7/7 100.003 ๔ ผู้อํานวยการฝ่ายฯ และนักวิชาการ (เทียบเท่าผูอ้ ํานวยการฝ่าย) 23/23 100.00 ๕ ผู้อํานวยการกองฯ และนักวิชาการ (เทียบเท่าผูอ้ ํานวยการกอง) 62/62 100.00 รวมฝ่ายจัดการ 97/97 100.00 ตารางที่ 4-๒ แบบสอบถามที่ได้รับกลับคืน (พนักงาน) ลําดับ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖
หน่วยงาน/สังกัด (พนักงาน) ตน. กญ. นต.กญ. สท.กญ. กธ.ธก. ธน.ธก. ธป.ธก. สธ.ธก. บส.บว. บข.วบ. บบ.วบ.
จํานวน ร้อยละ 6/6 100.00 8/8 100.00 4/4 100.00 10/10 100.00 2/2 100.00 4/4 100.00 3/3 100.00 6/6 100.00 16/16 100.00 7/7 100.00 3/3 100.00
๑๗ มว.วบ. ๑๘ กผ.วบ. ๑๙ ปบ.ทส. ๒๐ วอ.ทส. ๒๑ ศจ๑.บจ. ๒๒ ศจ๒.บจ. ๒๓ ศห.บจ. ๒๔ ศอ.บจ. ๒๕ ศส.บข. ๒๖ ศด.บข. ๒๗ ศบ.บข. ๒๘ ศภ.บภ๑. ๒๙ ศญ.บภ๑. ๓๐ ศร.บภ๑. ๓๑ ศน.บภ๑. ๓๒ ศช.บภ๒. ตารางที่ 4-๒ (ต่อ) ลําดับ ๓๓ ๓๔ ๓๕ ๓๖ ๓๗ ๓๘ ๓๙ ๔๐ ๔๑ ๔๒ ๔๓ ๔๔ ๔๕ ๔๖ ๕๗ ๔๘ ๔๙ ๕๐ ๕๑
8/8 14/14 10/10 5/5 34/34 34/34 10/10 25/25 42/41 36/36 16/16 42/41 36/36 22/22 16/16 40/39 หน่วยงาน/สังกัด (พนักงาน)
ศล.บภ๒. ศอ.บภ๒. ศบ.บภ๒. ศม.บภ๒. วส.บว. วช.บว. วต.บว. ศว.บว. วว.สว. วข.สว. อว.สว. คม.มป. คป.มป. คส.มป. คก.มป. บผ.มป. ผค.กอ. ผจ.กอ. ผว.กอ.
100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 97.62 100.00 100.00 97.62 100.003 100.00 100.00 95.24
จํานวน ร้อยละ 34/34 100.00 24/24 100.00 11/11 100.00 11/11 100.00 18/18 100.00 9/9 100.00 17/17 100.00 13/13 100.00 6/6 100.00 6/6 100.00 5/5 100.00 6/6 100.00 4/4 100.00 3/3 100.00 2/2 100.00 3/3 100.00 6/6 100.00 3/3 100.00 3/3 100.00
๕๒ สอ.สส. ๕๓ วส.สส. ๕๔ บค.ทบ. ๕๕ ลข.ทบ. ๕๖ สก.ทบ. ๕๗ พบ.พส. ๕๘ พว.พส. ๕๙ พก.พส. ตารางที่ 4-๒ (ต่อ) ลําดับ ๖๐ ๖๑ ๖๒ ๖๓ ๖๔ ๖๕ ๖๖ ๖๗
หน่วยงาน/สังกัด (พนักงาน) งน.งบ. บช.งบ. งป.งบ. ผก.ศป. ฟท.ศป. อส.ศป. บก.บท. กพ.บท. รวมพนักงาน รวมฝ่ายจัดการและพนักงาน
9/9 6/6 6/6 12/12 7/7 18/18 3/3 11/11
100.00 100.00 100.00 100.00 100.003 100.00 100.00 100.00
จํานวน 8/8 7/7 3/3 10/10 19/19 23/23 12/12 12/12 809/806 906/903
ร้อยละ 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 99.67
ทั้งสิ้น ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม การวิ เ คราะห์ ปัจจั ยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามที่ ใ ห้ข้อ มูล ครบถ้ วนถู กต้อ ง จํานวน 903 คน จากแบบสอบถามที่แจกไป จํานวน 906 คน คิดเป็นร้อยละ 99.67 จําแนก ตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทํางาน สถานภาพการทํางาน สังกัดสายงาน สถานที่ปฏิบัติงาน และลักษณะการปฏิบัติงาน วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ (F) และค่า ร้อยละ (%) ดังรายละเอียดตามตารางที่ 4-3
4
ตารางที่ 4-3 จํานวนและร้อยละ ตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ปัจจัยส่วนบุคคล
จํานวน คน
ร้อยละ
492 411 903
54.50 45.50 100.00
64 259 451 129 903
7.10 28.70 49.90 14.30 100.00
42 477 374 10 903
4.70 52.80 41.40 1.10 100.00
57 159 160 183 266 78 903
6.30 17.60 17.70 20.30 29.50 8.60 100.00
1. เพศ ชาย หญิง รวม 2. อายุ 20 - 30 ปี 31 – 40 ปี 41 – 50 ปี 51 - 60 ปี รวม 3. ระดับการศึกษา ต่ํากว่าระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก รวม 4. ประสบการณ์ทํางาน น้อยกว่า ๕ ปี 5 – 10 ปี 11 – 15 ปี 16 - 20 ปี 21 – 25 ปี มากกว่า 25 ปี รวม
ตารางที่ 4-3 (ต่อ) ปัจจัยส่วนบุคคล 5. สถานภาพการทํางาน ฝ่ายจัดการ
จํานวน คน
ร้อยละ
97
10.74
4
พนักงาน รวม 6. สังกัดสายงาน นักวิชาการ สายงานบริหารจราจรทางอากาศ สายงานวิศวกรรมจราจรทางอากาศ สายงานพัฒนาธุรกิจ สายงานมาตรฐานความปลอดภัย สายงานทรัพยากรบุคคล สายงานสํานักตรวจสอบภายใน สายงานการเงิน สายงานกลยุทธ์และสือ่ สารองค์กร สายงานอํานวยการ สายงานสํานักกรรมการผู้อํานวยการ ใหญ่ รวม 7. สถานที่ปฎิบัติงาน ทุ่งมหาเมฆ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ ศูนย์ควบคุมการบินเชียงใหม่ ศูนย์ควบคุมการบินพิษณุโลก ศูนย์ควบคุมการบินอุดรธานี ศูนย์ควบคุมการบินอุบลราชธานี ศูนย์ควบคุมการบินนครราชสีมา ตารางที่ 4-3 (ต่อ) ปัจจัยส่วนบุคคล 7. สถานที่ปฎิบัติงาน (ต่อ) ศูนย์ควบคุมการบินภูเก็ต ศูนย์ควบคุมการบินหาดใหญ่ ศูนย์ควบคุมการบินสุราษฎร์ธานี ศูนย์ควบคุมการบินหัวหิน รวม 8. ลักษณะการปฏิบัตงิ าน Daywork เข้ากะ
806 903
89.26 100.00
22 246 142 85 45 64 7 28 45 196 23
2.40 27.20 15.70 9.40 5.00 7.10 0.80 3.10 5.00 21.70 2.50
903
100.00
531 41 108 33 34 21 11 13
58.80 4.50 12.00 3.70 3.80 2.30 1.20 1.40
จํานวน คน
ร้อยละ
34 29 23 15 903
3.80 4.30 2.50 1.70 100.00
672 231
74.40 25.60
4
รวม
903
100.00
จากตารางที่ 4-3 ผลการศึกษาทางด้านปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามที่ เป็นฝ่ายจัดการและพนักงาน บวท. ที่ปฏิบัติงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จํานวนทั้งสิ้น ๙๐3 คน ด้านเพศ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเพศชาย มีจํานวน 492 คน คิดเป็นร้อยละ 54.50 ส่วนเพศหญิง มีจํานวน 411 คน คิดเป็นร้อยละ 45.50 ด้านอายุ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุ 40-50 ปี จํานวน 451 คน คิดเป็นร้อยละ 49.90 รองลงมา คือ ผู้ที่มีอายุ 31 – 40 ปี จํานวน 259 คน คิดเป็น ร้อยละ 28.70 ผู้ที่มีอายุ 51 – 60 ปี จํานวน 129 คน คิดเป็นร้อยละ 14.30 และผู้ที่มีอายุ 20 - 30 ปี มีจํานวนน้อยที่สุด จํานวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 7.10 ตามลําดับ ด้านระดับการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จํานวน 477 คน คิดเป็นร้อยละ 52.80 รองลงมาคือการศึกษาระดับปริญญาโท จํานวน 3744 คน คิดเป็นร้อยละ 41.40 การศึกษาต่ํากว่าระดับปริญญาตรี จํานวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 4.70 และการศึกษาระดับปริญญาเอก มีจํานวนน้อยที่สุด จํานวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 1.10 ตามลําดับ ด้านประสบการณ์ทํางาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทํางาน 21-25 ปี จํานวน 266 คน คิดเป็นร้อยละ 29.50 รองลงมา คือ ประสบการณ์ทํางาน 16 – 20 ปี จํานวน 183 คน คิดเป็นร้อยละ 20.30 ประสบการณ์ทํางาน 11 – 15 ปี จํานวน 160 คน คิดเป็นร้อยละ 17.70 ประสบการณ์ทํางาน 5 – 10 ปี จํานวน 159 คน คิดเป็นร้อยละ 17.60 ประสบการณ์ทํางานมากกว่า 25 ปี จํานวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 8.60 และ ประสบการณ์ทํางานน้อยกว่า 5 ปี มีจํานวนน้อยที่สุด จํานวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 6.30 ตามลําดับ ด้านสถานภาพการทํางาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นพนักงานมากกว่าฝ่ายจัดการ โดยพนักงาน มีจํานวน 857 คน คิดเป็นร้อยละ 94.90 ส่วนฝ่ายจัดการ มีจํานวน 46 คน คิด เป็นร้อยละ 5.10 ด้านสังกัดสายงาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่สังกัดสายงานบริหารจราจร ทางอากาศ จํานวน 246 คน คิดเป็นร้อยละ 27.20 รองลงมา คือ สายงานอํานวยการ จํานวน 196 คน คิดเป็นร้อยละ 21.70 สายงานวิศวกรรมจราจรทางอากาศ จํานวน 142 คน คิดเป็น ร้อยละ 15.70 สายงานพัฒนาธุรกิจ จํานวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 9.40 สายงานทรัพยากร บุคคล จํานวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 7.10 สายงานมาตรฐานความปลอดภัยและสายงานกล ยุทธ์และสื่อสารองค์กร จํานวนเท่ากันคือ 45 คน คิดเป็นร้อยละ 5.00 สายงานการเงิน จํานวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 3.10 สายงานสํานักกรรมการผู้อํานวยการใหญ่จํานวน 23 คน คิดเป็น ร้อยละ 2.50 สายงานนักวิชาการ จํานวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 2.40 และสายงานสํานัก ตรวจสอบภายใน มีจํานวนน้อยที่สุด จํานวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 0.80 ตามลําดับ ด้ า นสถานที่ ป ฏิ บั ติ ง าน พบว่ า ผู้ ต อบแบบสอบถามส่ ว นใหญ่ ป ฏิ บั ติ ง านที่ ทุ่ ง มหาเมฆจํานวน 531 คน คิดเป็นร้อยละ 58.80 รองลงมา คือ สุวรรณภูมิ จํานวน 108 คน คิด เป็นร้อยละ 12.0 ดอนเมืองจํานวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 4.50 ศูนย์ควบคุมการบินหาดใหญ่ จํานวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 4.30 ศูนย์ควบคุมการบินภูเก็ตและศูนย์ควบคุมการบินพิษณุโลก
์
และด้านลักษณะการปฏิบัติงาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถมเป็น Daywork มากกว่าเข้า กะ โดย Daywork มีจํานวน 672 คน คิดเป็นร้อยละ 74.40 ส่วนเข้ากะ มีจํานวน 231 คน คิด เป็นร้อยละ 25.60 ตอนที่ 3 การวิเคราะห์การปฏิบัติตนในการมีส่วนร่วมของพนักงาน ในการศึกษาการปฏิบัติตนในการมีส่วนร่วมของฝ่ายจัดการและพนักงานในกิจกรรมด้าน การกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ผู้ศึกษาได้สร้างแบบ สอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Likert’s scale) คือ มีการปฏิบัติตนในการมีส่วนร่วมใน ระดับมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จํานวน 5 ประเด็นการมีส่วนร่วม รวม 17 ข้อ โดยแบ่งประเด็นคําถามการมีส่วนร่วมดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมให้หรือรับข้อมูล 2) การมี ส่วนร่วมวางแผนและตัดสินใจ 3) การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา 4) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ และ 5) การมีส่วนร่วมในการควบคุมประเมินผล วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ (F) ค่าร้อย ละ (%) ค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ดังรายละเอียดตามตารางที่ 4-4 ถึง 4-8
ตารางที่ 4-4 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน การมีส่วนร่วมให้หรือรับข้อมูลในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม ระดับการปฏิบตั ิ ข้อคําถาม
มากที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
มาก (จํานวน) (ร้อยละ)
ปานกลาง (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อย (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อยที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
ค่าเฉลี่ย (X)
ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD)
28 3.1 24 2.7 36 4.0 95 10.5
160 17.7 163 18.1 192 21.3 483 53.5
373 41.3 312 34.6 368 40.8 249 27.6
280 31.0 296 32.8 240 26.6 60 6.6
62 6.9 108 12.0 67 7.4 16 1.8
2.79
0.92
2.67
0.99
2.88
0.96
3.64
0.82
2.99
0.76
ระดับ การปฏิบัติ
การมีส่วนร่วมให้หรือรับข้อมูล
๑. ท่านมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ เพื่อ การพัฒนา ต่อ บวท. ๒. ท่านมีส่วนร่วมในการให้ข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการตัดสินใจ ของ บวท. ๓. ท่านมีโอกาสให้ข้อมูลข่าวสารที่ท่านเห็นว่าเป็นเรือ่ งสําคัญ ตามช่องทางต่าง ๆ ของ บวท. ๔. ท่านรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากผู้บริหาร ระดับสูง ผูบ้ งั คับบัญชา หรือเพื่อนพนักงาน รวมการมีส่วนร่วมให้หรือรับข้อมูล
มีส่วนร่วม ปานกลาง มีส่วนร่วม ปานกลาง มีส่วนร่วม ปานกลาง มีส่วนร่วม มาก มีส่วนร่วม ปานกลาง
ข้อคําถาม
ระดับการปฏิบตั ิ
ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบน
ระดับ
4
ตารางที่ 4-5 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน การมีส่วนร่วมวางแผนและตัดสินใจกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
การมีส่วนร่วมวางแผนและตัดสินใจ ๑. ท่านมีโอกาสได้ร่วมวางแผนและกําหนดเป้าหมายการดําเนินการต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน ๒. ท่านมีส่วนร่วมวางแผนในการพัฒนางานด้านต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ ของ บวท. ๓. ท่านมีโอกาสในการตัดสินใจปัญหาร่วมกับผู้บังคัญชา / เพื่อนพนักงาน
มากที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
มาก (จํานวน) (ร้อยละ)
ปานกลาง (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อย (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อยที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
27 3.0 31 3.4 43 4.8
187 20.7 172 19.0 259 28.7
320 35.4 315 34.9 356 39.4
255 28.2 267 29.6 169 18.7
114 12.6 118 13.1 76 8.4
รวมการมีส่วนร่วมวางแผนและตัดสินใจ
(X)
การปฏิบัติ (SD)
2.73
1.02
2.70
1.03
3.03
1.00
2.82
0.92
มีส่วนร่วม ปานกลาง มีส่วนร่วม ปานกลาง มีส่วนร่วม ปานกลาง มีส่วนร่วม ปานกลาง
ข้อคําถาม
ระดับการปฏิบตั ิ
ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบน
ระดับ
4
ตารางที่ 4-6 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม
การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ๑. ท่านมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพื่อการแก้ไขปัญหาร่วมกับ ผู้บังคับบัญชา / เพื่อนพนักงาน ๒. ท่านมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของท่าน เพื่อแก้ไขปัญหาของหน่วยงาน ๓. บวท. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ท่านมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น หรือบอกข้อปัญหา รวมการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
มากที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
มาก (จํานวน) (ร้อยละ)
ปานกลาง (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อย (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อยที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
42 4.7 45 5.0 39 4.3
300 33.2 288 31.9 285 31.6
361 40.0 359 39.8 357 39.5
153 16.9 170 18.8 164 18.2
47 5.2 41 4.5 58 6.4
(X)
การปฏิบัติ (SD)
3.15
0.93
3.14
0.93
3.09
0.96
3.13
0.84
มีส่วนร่วม ปานกลาง มีส่วนร่วม ปานกลาง มีส่วนร่วม ปานกลาง มีส่วนร่วม ปานกลาง
ข้อคําถาม
ระดับการปฏิบตั ิ
ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบน
ระดับ
4
ตารางที่ 4-7 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม
มากที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ๑. ท่านมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานตามหน้าที่เพื่อบรรลุเป้าหมายของ บวท. 121 โดยสมบูรณ์ 13.4 ๒. ท่านปฏิบัติตนตามแนวปฏิบัติที่ดีต่าง ๆ อย่างเต็มใจ โดยปราศจาก 187 อคติ หรือบนเงื่อนไขแห่งความขัดแย้ง 20.7 ๓. ท่านมีส่วนร่วมในการปกป้องผลประโยชน์ของ บวท. 214 23.7 ๔. ท่านมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของ บวท. 132 14.6 รวมการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ
มาก (จํานวน) (ร้อยละ)
ปานกลาง (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อย (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อยที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
394 43.6 481 53.3 450 49.8 373 41.3
312 34.6 188 20.8 182 20.2 309 34.2
59 6.5 35 3.9 50 5.5 72 8.0
17 1.9 12 1.3 7 0.8 17 1.9
(X)
การปฏิบัติ (SD)
3.60
0.87
3.88
0.82
3.90
0.85
3.59
0.90
3.74
0.70
มีส่วนร่วม มาก มีส่วนร่วม มาก มีส่วนร่วม มาก มีส่วนร่วม มาก มีส่วนร่วม มาก
ระดับการปฏิบตั ิ ข้อคําถาม
มากที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
มาก (จํานวน) (ร้อยละ)
ปานกลาง (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อย (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อยที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
ค่าเฉลี่ย (X)
ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD)
ระดับ การปฏิบัติ
4
ตารางที่ 4-8 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน การมีส่วนร่วมในการควบคุมประเมินผลในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
การมีส่วนร่วมในการควบคุมประเมินผล ๑. ท่านมีส่วนร่วมในการกําหนดหลักการหรือแนวทางการควบคุมการใช้ และการกระจายทรัพยากรของ บวท. ๒. ท่านมีส่วนในการควบคุมการใช้และการกระจายทรัพยากรของ บวท.
2.82
1.01
2.86
0.99
2.66
1.03
รวมการมีส่วนร่วมในการควบคุมประเมินผล
2.78
0.94
คะแนนรวมการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแล กิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
3.09
0.68
๓.ท่านมีส่วนในการประเมินผลการใช้และการกระจายทรัพยากรของ บวท.
35 3.9 29 3.2 33 3.7
189 20.9 210 23.3 148 16.4
352 39.9 362 40.1 336 37.2
229 25.4 211 23.4 255 28.2
98 10.9 91 10.1 131 14.5
มีส่วนร่วม ปานกลาง มีส่วนร่วม ปานกลาง มีส่วนร่วม ปานกลาง มีส่วนร่วม ปานกลาง มีส่วนร่วม ปานกลาง
4
5
จากตารางที่ 4-4 ถึง 4-8 พบว่า การมีส่วนร่วมของฝ่ายจัดการและพนักงานใน กิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.09 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมเท่ากับ 0.68 และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านของการมีส่วนร่วมแล้ว พบว่า การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ มี ค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.74 มีระดับการปฏิบัติในระดับมาก ลองลงมาคือการมีส่วนร่วมในการ แก้ปัญหา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.13 มีระดับการปฏิบัติในระดับมากเช่นกัน ส่วนการมีส่วน ร่วมให้หรือรับข้อมูล มีค่าเฉลี่ย 2.99 การมีส่วนร่วมวางแผนและตัดสินใจมีค่าเฉลี่ย 2.82 และ การมีส่วนร่วมในการควบคุมประเมินผล มีค่าเฉลี่ย 2.78 มีระดับการปฏิบัติในระดับปานกลาง แต่เมื่อพิจารณาในองค์ประกอบย่อยของการมีส่วนร่วมในแต่ละด้าน พบว่า การมีส่วน ร่วมในการปฏิบัติ ฝ่ายจัดการและพนักงานมีส่วนร่วมในการปกป้องผลประโยชน์ของ บวท. มาก ที่สุด รองลงมาคือ ปฏิบัติตนตามแนวปฏิบัติที่ดีต่าง ๆ อย่างเต็มใจ โดยปราศจาก อคติ หรือบน เงื่อนไขแห่งความขัดแย้ง ปฏิบัติงานตามหน้าที่เพื่อบรรลุเป้าหมายของ บวท.โดยสมบูรณ์ และมี ส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของ บวท. ตามลําดับ ในด้านการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ฝ่ายจัดการและพนักงานมีส่วนร่วมในการตัด สินใจ เพื่อการแก้ไขปัญหาร่วมกับ ผู้บังคับบัญชา /เพื่อนพนักงาน รองลงมาคือ มีโอกาสแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นของท่าน เพื่อแก้ไขปัญหาของหน่วยงานใกล้เคียงกัน และส่งเสริมและสนับสนุนให้ท่านมีส่วน ร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือบอกข้อปัญหา ตามลําดับ ในด้านการมีส่วนร่วมให้หรือรับข้อมูล ฝ่ายจัดการและพนักงานรับฟังความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากผู้บริหารระดับสูง ผู้บังคับบัญชา หรือ เพื่อนพนักงานมากที่สุด รองลงมาคือ มีโอกาสให้ข้อมูลข่าวสารที่ท่านเห็นว่าเป็นเรื่องสําคัญตามช่องทางต่าง ๆ ของ บวท. มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ต่อ บวท. และมีส่วน ร่วมในการให้ข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการตัดสินใจของ บวท. ตามลําดับ ในด้านการมีส่วนร่วมวางแผนและตัดสินใจ ฝ่ายจัดการและพนักงานมีโอกาสในการ ตัดสินใจปัญหาร่วมกับผู้บังคัญชา/เพื่อนพนักงานมากที่สุด รองลงมาคือ มีโอกาสได้ร่วมวางแผน 5 และกําหนดเป้าหมายการดําเนินการต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน และมีส่วนร่วมวางแผนในการ พัฒนางานด้านต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของ บวท. ตามลําดับ ในด้านการมีส่วนร่วมในการควบคุมประเมินผล ฝ่ายจัดการและพนักงานมีส่วนในการ ควบคุมการใช้และการกระจายทรัพยากรของ บวท. มากที่สุด รองลงมาคือ มีส่วนร่วมในการ กําหนดหลักการหรือแนวทางการควบคุมการใช้และการกระจายทรัพยากรของ บวท. และมีส่วน ในการประเมินผลการใช้และการกระจายทรัพยากรของ บวท. ตามลําดับ ตอนที่ 4 การวิเคราะห์การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ในการศึกษาการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ของฝ่าย จัดการและพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ผู้ศึกษาได้สร้างแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Likert’s scale) คือ มีการ ปฏิบัติตนในการมีส่วนร่วมในระดับมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จํานวน 5 ประเด็นวัฒนธรรมองค์กร รวม 24 ข้อ โดยแบ่งประเด็นคําถามวัฒนธรรมองค์กร ดังนี้ 1) วัฒนธรรมความปลอดภัย 2) วัฒนธรรมจริยธรรมเพื่อส่วนรวม 3) วัฒนธรรมความรับผิดชอบ
X
ตารางที่ 4-9 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน วัฒนธรรมความปลอดภัยของฝ่ายจัดการและพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับ ดูแลกิจการทีด่ ีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ระดับการปฏิบตั ิ ข้อคําถาม
วัฒนธรรมความปลอดภัย ๑. ท่านวางแผนการทํางานล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ๒. ท่านถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องตระหนักถึง ความปลอดภัยในการทํางาน ๓. ท่านปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และรักษามาตรฐานของการ ทํางานอย่างเคร่งครัด ไม่ให้เกิดความเสี่ยงและความเสียหายต่อ บวท. ๔. ในการใช้ชีวิตประจําวันท่านคํานึงถึงความปลอดภัยในทุก ๆ เรื่อง ๕. ท่านคิดว่างานที่ทําอยู่ในปัจจุบันดีอยู่แล้ว ยังมีความจําเป็นต้องปรับปรุง
มากที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
มาก (จํานวน) (ร้อยละ)
ปานกลาง (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อย (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อยที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
ค่าเฉลี่ย (X)
ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD)
149 16.5 177 19.6 231 25.6 200 22.1 225 24.9
549 60.8 574 63.6 539 59.7 548 60.7 443 49.1
205 22.7 152 16.8 122 13.5 151 16.7 235 26.0
0 0.0 0 0.0 11 1.2 4 0.4 0 0.0
0 0.0 0 0.0 0 0.0 0 0.0 0 0.0
3.94
0.62
4.03
0.60
4.10
0.66
4.05
0.64
3.99
0.71
4.02
0.47
รวมวัฒนธรรมความปลอดภัย
ระดับ การปฏิบัติ
มีการ ปฏิบัติมาก มีการ ปฏิบัติมาก มีการ ปฏิบัติมาก มีการ ปฏิบัติมาก มีการ ปฏิบัติมาก มีการ ปฏิบัติมาก
ข้อคําถาม
ระดับการปฏิบตั ิ
ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบน
ระดับ
5
ตารางที่ 4-10 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วัฒนธรรมจริยธรรมเพือ่ ส่วนรวมในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
วัฒนธรรมจริยธรรมเพื่อส่วนรวม ๑. ท่านทํางานด้วยจิตสํานึกแห่งความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ ๒. ท่านปฏิบัติงานโดยยึดกรอบธรรมาภิบาลของ บวท. อย่างเคร่งครัด ๓. ท่านให้ความช่วยเหลือหน่วยงานและผู้ร่วมงานโดยอย่างสม่ําเสมอ ๔. ท่านรัก หวงแหน หรือแสดงออกถึงการปกป้องชื่อเสียงของ บวท. ๕. ท่านไม่ใช้อํานาจหน้าที่เพื่อประโยชน์ของตนหรือพรรคพวก
มากที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
มาก (จํานวน) (ร้อยละ)
ปานกลาง (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อย (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อยที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
413 45.7 307 34.0 287 31.8 360 39.9 569 63.0
398 44.1 471 52.2 494 54.7 420 46.5 238 26.4
67 7.4 101 11.2 99 11.0 93 10.3 88 9.7
14 1.6 11 1.2 12 1.3 11 1.2 7 0.8
11 1.2 13 1.4 11 1.2 19 2.1 1 0.1
รวมวัฒนธรรมจริยธรรมเพื่อส่วนรวม
(X)
การปฏิบัติ (SD)
4.32
0.78
4.16
0.78
4.15
0.76
4.21
0.83
4.51
0.71
4.27
0.62
มีการปฏิบัติ มากที่สุด มีการปฏิบัติ มาก มีการปฏิบัติ มาก มีการปฏิบัติ มากที่สุด มีการปฏิบัติ มากที่สุด มีการปฏิบตั ิ มากที่สุด
ระดับการปฏิบตั ิ ข้อคําถาม
มากที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
มาก (จํานวน) (ร้อยละ)
ปานกลาง (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อย (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อยที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
ค่าเฉลี่ย (X)
ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD)
ระดับ การปฏิบัติ
5
ตารางที่ 4-11 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน วัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อตนเองและหน้าที่ในกิจกรรมด้านการกํากับดูแล กิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
วัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อตนเองและหน้าที่ ๑. ท่านทํางานอย่างโปร่งใสและมีจิตสํานึกรับผิดชอบ ๒. ท่านยอมเสียสละผลประโยชน์ของตนเอง และยอมเสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อ บวท. ๓. ท่านมุ่งมั่นในการทํางานให้สําเร็จ แม้จะพบอุปสรรคหรือปัญหาในการทํางาน ๔. ท่านเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานและปฏิบัติ ภายใต้กรอบของระเบียบอย่างเคร่งครัด ๕. เมื่อทํางานผิดพลาด ท่านไม่ปัดความรับผิดชอบให้ผู้อื่น
386 42.7 235 26.0 308 34.1 250 27.7 647 71.7
427 47.3 483 53.5 499 55.3 495 54.8 207 22.9
47 5.2 159 17.6 69 7.6 111 12.3 49 5.4
17 1.9 15 1.7 14 1.6 22 2.4 0 0.0
26 2.9 11 1.2 13 1.4 25 2.8 0 0.0
รวมวัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อตนเองและหน้าที่
4.25
0.87
4.01
0.78
4.19
0.76
4.02
0.86
4.66
0.58
4.23
0.60
มีการปฏิบัติ มากที่สุด มีการปฏิบัติ มาก มีการปฏิบัติ มาก มีการปฏิบัติ มาก มีการปฏิบัติ มากที่สุด มีการปฏิบตั ิ มากที่สุด
ระดับการปฏิบตั ิ ข้อคําถาม
วัฒนธรรมการเป็นที่ยอมรับในความเป็นมืออาชีพ ๑. ท่านแสดงความคิดเห็นและมีข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาวิธีการทํางานใหม่ ๆ ๒. ท่านมีการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้กับผู้อื่นในทุก ๆ โอกาส
มากที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
มาก (จํานวน) (ร้อยละ)
ปานกลาง (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อย (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อยที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
ค่าเฉลี่ย (X)
ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD)
88 9.7 118 13.1
366 40.5 438 48.5
344 38.1 293 32.4
64 7.1 39 4.3
41 4.5 15 1.7
3.44
0.92
3.67
0.82
ระดับ การปฏิบัติ
มีการปฏิบัติ มาก มีการปฏิบัติ มาก
5
ตารางที่ 4-12 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วัฒนธรรมการเป็นที่ยอมรับในความเป็นมืออาชีพในกิจกรรมด้านการกํากับดูแล กิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
๓. ท่านขวนขวายที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการ ทํางานและเป็นประโยชน์ต่อ บวท. ๔. ท่านชอบเรียนรู้งานใหม่ หรือค้นหาวิธีการทํางานใหม่ ๆ
157 17.4 460 50.9
458 50.7 309 34.2
239 26.5 133 14.7
21 2.3 1 0.1
28 3.1 0 0.0
รวมวัฒนธรรมการเป็นที่ยอมรับในความเป็นมืออาชีพ
3.77
0.87
มีการปฏิบัติ มาก
4.36
0.73
3.81
0.63
มีการปฏิบัติ มากที่สุด มีการปฏิบตั ิ มาก
ระดับการปฏิบตั ิ ข้อคําถาม
วัฒนธรรมความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน ๑. ท่านรู้จักการให้อภัยต่อกัน ๒. ท่านยอมรับความสามารถและใช้ทักษะที่ดีเด่นของแต่ละคน เพื่อช่วยกัน ทํางานสําเร็จ ๓. ท่านมีสัมมาคารวะและรู้จักกาลเทศะ ๔. ท่านร่วมแรงร่วมใจอย่างเต็มความสามารถ ไม่ว่าในสถานการณ์ปกติ หรือ วิกฤติของ บวท.
มากที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
มาก (จํานวน) (ร้อยละ)
ปานกลาง (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อย (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อยที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
ค่าเฉลี่ย (X)
ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD)
267 29.6 287 31.8 328 36.3 341 37.8
472 52.3 504 55.8 479 53.0 447 49.5
115 12.7 86 9.5 70 7.8 81 9.0
24 2.7 13 1.4 13 1.4 14 1.6
25 2.8 13 1.4 13 1.4 20 2.2
4.03
0.88
4.15
0.76
4.21
0.76
4.19
0.83
ระดับ การปฏิบัติ
มีการปฏิบัติ มาก มีการปฏิบัติ มาก มีการปฏิบัติ มากที่สุด มีการปฏิบัติ มาก
5
ตารางที่ 4-13 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วัฒนธรรมความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกันในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการทีด่ ี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
๕. ท่านไม่ชอบทํางานแบบต่างคนต่างอยู่
426 47.2
324 35.9
153 16.9
0 0.0
0 0.0
รวมวัฒนธรรมความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน
มีการปฏิบัติ มากที่สุด มีการปฏิบตั ิ มาก
0.74
4.18
0.61
ค่าเฉลี่ย (X)
ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD)
ระดับ การปฏิบัติ
4.10
0.47
มีการปฏิบตั ิ มาก
5
4.30
ตารางที่ 4-13 (ต่อ) ระดับการปฏิบตั ิ ข้อคําถาม
มากที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
คะแนนรวมวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ของฝ่ายจัดการและ พนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคม
มาก (จํานวน) (ร้อยละ)
ปานกลาง (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อย (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อยที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
5
5 จากตารางที่ 4-9 ถึง 4-13 พบว่า วัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ของ ฝ่ายจัดการและพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สั ง คม มี ร ะดั บ การปฏิ บั ติ อ ยู่ ใ นระดั บ มาก มี ค่ า เฉลี่ ย รวมเท่ า กั บ 4.10 มี ค่ า เบี่ ย งเบน มาตรฐานรวมเท่ากับ 0.47 และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านของวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI พบว่า วัฒนธรรมจริยธรรมเพื่อส่วนรวม มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.27 มีระดับการ ปฏิบัติในระดับมากที่สุด รองลงมาคือวัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อตนเองและหน้าที่ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.23 มีระดับการปฏิบัติในระดับมากที่สุดเช่นกัน ส่วนวัฒนธรรมความเป็นน้ําหนึ่งใจ เดียวกัน มีค่าเฉลี่ย 4.18 วัฒนธรรมการเป็นที่ยอมรับในความเป็นมืออาชีพ มีค่าเฉลี่ย 3.81 และ วัฒนธรรมความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ย 4.02 มีระดับการปฏิบัติในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณาในองค์ประกอบย่อยของวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ใน แต่ละด้าน พบว่า วัฒนธรรมจริยธรรมเพื่อส่วนรวม ฝ่ายจัดการและพนักงานไม่ใช้อํานาจหน้าที่ เพื่อประโยชน์ของตนหรือพรรคพวกมากที่สุด รองลงมาคือ ทํางานด้วยจิ ตสํานึกแห่งความ ซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต ต่ อ หน้ า ที่ รั ก หวงแหน หรื อ แสดงออกถึ ง การปกป้ อ งชื่ อ เสี ย งของ บวท. ปฏิบัติงานโดยยึดกรอบธรรมาภิบาลของ บวท. อย่างเคร่งครัด และให้ความช่วยเหลือหน่วยงาน และผู้ร่วมงานโดยอย่างสม่ําเสมอตามลําดับ ในวัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อตนเองและหน้าที่ ฝ่ายจัดการและพนักงานไม่ปัด ความรับผิดชอบให้ผู้อื่นเมื่อทํางานผิดพลาดมากที่สุด รองลงมาคือ ทํางานอย่างโปร่งใสและมี จิ ต สํ า นึ ก รั บ ผิ ด ชอบ มุ่ ง มั่ น ในการทํ า งานให้ สํ า เร็ จ แม้ จ ะพบอุ ปสรรคหรื อปั ญหาในการทํ างาน ปฏิบัติงานและปฏิบัติ ภายใต้กรอบของระเบียบอย่างเคร่งครัด และยอมเสียสละผลประโยชน์ของ ตนเอง และยอมเสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อ บวท. ตามลําดับ ในวัฒนธรรมความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน ฝ่ายจัดการและพนักงานไม่ชอบทํางานแบบ ต่างคนต่างอยู่มากที่สุด รองลงมาคือ มีสัมมาคารวะและรู้จักกาลเทศะ ร่วมแรงร่วมใจอย่างเต็ม ความสามารถ ไม่ว่าในสถานการณ์ปกติ หรือวิกฤติของ บวท. ยอมรับความสามารถและใช้ ทักษะที่ดีเด่นของแต่ละคนเพื่อช่วยกันทํางานสําเร็จ และรู้จักการให้อภัยต่อกัน ตามลําดับ ในวัฒนธรรมความปลอดภัย ฝ่ายจัดการและพนักงานปฏิบัติงานด้วยความละเอียด รอบคอบ และรักษามาตรฐานของการทํางานอย่างเคร่งครัด ไม่ให้เกิดความเสี่ยงและความ เสียหายต่อ บวท. มากที่สุด รองลงมาคือ คํานึงถึงความปลอดภัยในทุก ๆ เรื่องในชีวิต ประจําวัน ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องตระหนักถึงความปลอดภัยใน การทํ า งาน ปรั บ ปรุ ง งานที่ ทํา อยู่ใ นปั จ จุบั นซึ่ ง ดีอ ยู่แ ล้ ว ให้ดี ยิ่ ง ขึ้ น และวางแผนการทํ า งาน 5 ล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ตามลําดับ ในวัฒนธรรมการเป็นที่ยอมรับในความเป็นมืออาชีพ ฝ่ายจัดการและพนักงานชอบ เรียนรู้งานใหม่ หรือค้นหาวิธีการทํางานใหม่ ๆ มากที่สุด รองลงมาคือ ขวนขวายที่จะเรียนรู้ เพิ่มเติมในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการทํางานและเป็นประโยชน์ต่อ บวท. แลกเปลี่ยนและ แบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้กับผู้อื่นในทุก ๆ โอกาส และแสดงความคิดเห็นและมีข้อเสนอแนะเพื่อ พัฒนาวิธีการทํางานใหม่ ๆ ตามลําดับ ตอนที่ 5 การวิเคราะห์การปฏิบัติตนในความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการ เตรียมความพร้อมในการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผน แม่บท CG & CSR ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙
ในการศึกษาความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมของฝ่ายจัดการและพนักงาน ผู้ศึกษาได้สร้างแบบสอบถามแบบมาตรา ส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Likert’s scale) คือ มีการปฏิบัติตนในความตระหนักรู้ถึง ความสําคัญในระดับมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จํานวน 5 ประเด็นความ ตระหนักรู้ถึงความสําคัญ รวม 22 ข้อ โดยแบ่งประเด็นคําถามความตระหนักรู้ ดังนี้ 1) ความ ตระหนักรู้ในการตรวจสอบตนเอง 2) ความตระหนักรู้ในการเร่งสื่อสาร ๓) ความตระหนักรู้ใน การวางรากฐานเพื่อการพัฒนา 4) ความตระหนักรู้ในการสร้างทีมงาน และ 5) ความตระหนักรู้ ในการสานสัมพันธ์ วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ (F) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( X ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ดังรายละเอียดตามตารางที่ 4-14 ถึง 4-18
ตารางที่ 4-14 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความตระหนักรู้ในการตรวจสอบตนเองในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ระดับการปฏิบตั ิ ข้อคําถาม
ความตระหนักรู้ในการตรวจสอบตนเอง ๑. ท่านรู้จักระบบการกํากับดูแลกิจการที่ดี ของ บวท. ซึ่งมุ่งเน้นเรื่องการ บริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การตรวจสอบภายในการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. ท่านรู้จักการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ของ บวท. ซึ่งใช้แนวทาง มาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 ๓. ท่านพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูง ผู้บังคับบัญชา หรือตลอดจนพนักงานทุกระดับและทุกสายงาน ที่เกี่ยวข้องกับการกํากับ ดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ๔. ท่านปฏิบัติงานสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งถือเป็นความสําคัญใน การกํากับดูแลกิจการที่ดี บวท. และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
มากที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
มาก (จํานวน) (ร้อยละ)
ปานกลาง (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อย (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อยที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
ค่าเฉลี่ย (X)
ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD)
ระดับ การปฏิบัติ
265 29.3
490 54.3
147 16.3
1 0.1
0 0.0
4.13
0.68
มีความ ตระหนักมาก
253 28.0 229 25.4
464 54.7 610 67.6
154 17.1 64 7.1
2 0.2 0 0.0
0 0.0 0 0.0
4.11
0.67
4.18
0.54
มีความ ตระหนักมาก มีความ ตระหนักมาก
222 24.6
596 66.0
85 9.4
0 0.0
0 0.0
4.15
0.56
มีความ ตระหนักมาก
ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบน
ระดับ
6
ตารางที่ 4-14 (ต่อ) ข้อคําถาม
ระดับการปฏิบตั ิ
ความตระหนักรู้ในการตรวจสอบตนเอง ๕. ท่านคิดว่า บวท. มีความพร้อมในการดําเนินระบบการกํากับดูแล กิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในปัจจุบันและ อนาคต ๖. ท่านพร้อมสําหรับการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับระบบ การกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้ แผนแม่บท CG & CSR ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ๗. ท่านต้องการแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบการกํากับ ดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม รวมความตระหนักรู้ในการตรวจสอบตนเอง
(X)
การปฏิบัติ (SD)
มากที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
มาก (จํานวน) (ร้อยละ)
ปานกลาง (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อย (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อยที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
230 25.5
532 58.9
141 15.6
0 0.0
0 0.0
4.10
0.63
มีความ ตระหนักมาก
267 29.6
526 58.3
108 12.0
2 0.2
0 0.0
4.17
0.63
มีความ ตระหนักมาก
280 31.0
467 51.7
156 17.3
0 0.0
0 0.0
4.14
0.68
4.14
0.46
มีความ ตระหนักมาก มีความ ตระหนัก มาก
ระดับการปฏิบตั ิ ข้อคําถาม
มากที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
มาก (จํานวน) (ร้อยละ)
ปานกลาง (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อย (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อยที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
ค่าเฉลี่ย (X)
ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD)
ระดับ การปฏิบัติ
6
ตารางที่ 4-15 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความตระหนักรู้ในการเร่งสื่อสารในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
ความตระหนักรู้ในการเร่งสื่อสาร ๑. ท่านพอใจการตรวจสอบความพร้อมของตนเองและของ บวท. ใน เรื่องการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ๒. ท่านทราบหรือไม่ว่า บวท. กําลังดําเนินการพัฒนาระบบการกํากับ ดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ของ บวท. ๓. ท่านต้องการให้ บวท. ประชาสัมพันธ์ให้ทราบเกี่ยวกับแผนการกํากับดูแล กิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ภายใต้แผนแม่บท CG & CSR ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ รวมความตระหนักรู้ในการเร่งสื่อสาร
209 23.1 181 20.0 291 32.2
568 62.9 660 73.1 476 52.7
126 14.0 62 6.9 136 15.1
0 0.0 0 0.0 0 0.0
0 0.0 0 0.0 0 0.0
4.09
0.60
มีความ ตระหนักมาก
4.13
0.50
มีความ ตระหนักมาก
4.17
0.67
มีความ ตระหนักมาก
4.13
0.46
มีความ ตระหนัก มาก
ระดับการปฏิบตั ิ ข้อคําถาม
ความตระหนักรู้ในการวางรากฐานเพื่อการพัฒนา ๑. ท่านมีส่วนร่วมในการวางรากฐานเพื่อพัฒนาการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมใน บวท. ๒. ท่านคาดหวังว่า บวท. ควรมีกระบวนการสรรหาผู้บริหารระดับสูง ในด้าน
มากที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
มาก (จํานวน) (ร้อยละ)
ปานกลาง (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อย (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อยที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
ค่าเฉลี่ย (X)
ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD)
ระดับ การปฏิบัติ
198 21.9 532
552 61.1 275
153 16.9 96
0 0.0 0
0 0.0 0
4.05
0.62
มีความ ตระหนักมาก
4.48
0.68
มีความ ตระหนักมาก
6
ตารางที่ 4-16 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความตระหนักรู้ในการวางรากฐานเพื่อการพัฒนาในกิจกรรมด้านการกํากับดูแล กิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
๓. ท่านสามารถแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาการกํากับดูแลกิจการที่ดีและ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ในช่วงการประเมินผลการปฏิบัติงาน ๔. ท่านมีส่วนในการสร้างระบบบริหารงานกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมแบบมีส่วนร่วม ๕. ท่านมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อให้เกิดแนวคิดการวางรากฐานและ พัฒนาการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม รวมความตระหนักรู้ในการวางรากฐานเพื่อการพัฒนา
58.9
30.5
10.6
0.0
0.0
267 29.6 214 23.7 176 19.5
399 44.2 370 41.0 376 41.6
237 26.2 319 35.3 351 38.9
0 0.0 0 0.0 0 0.0
0 0.0 0 0.0 0 0.0
4.03
0.75
มีความ ตระหนักมาก
3.88
0.76
มีความ ตระหนักมาก
3.81
0.74
มีความ ตระหนักมาก
4.05
0.55
มีความ ตระหนักมาก
ระดับการปฏิบตั ิ ข้อคําถาม
ความตระหนักรู้ในการสร้างทีมงาน ๑. ท่านพร้อมร่วมเป็นทีมงาน CG & CSR เพื่อเป็นกําลังในการขับเคลื่อนระบบ การกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ๒. ท่านให้ความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนระบบการกํากับดูแลกิจการที่ดีและ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ของ บวท. ร่วมกับผู้บริหารและพนักงานทุก หน่วยงาน ๓. ท่านชื่นชอบการทํางานเป็นทีม ทํางานไปในทิศทางเดียวกัน มีการ
มากที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
มาก (จํานวน) (ร้อยละ)
ปานกลาง (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อย (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อยที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
ค่าเฉลี่ย (X)
ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD)
487 53.9
325 36.0
91 10.1
0 0.0
0 0.0
4.44
0.67
205 22.7
583 64.6
113 12.5
2 0.2
0 0.0
4.10
0.59
291
541
69
2
0
4.24
0.59
ระดับ การปฏิบัติ
มีความ ตระหนักมาก ที่สุด มีความ ตระหนักมาก มีความ
6
ตารางที่ 4-17 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน ความตระหนักรู้ในการสร้างทีมงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
ประสานงานทั้งภาคปฏิบัติงานและส่วนสนับสนุนอื่นๆ
32.2
59.9
7.6
0.2
0.0
รวมความตระหนักรู้ในการสร้างทีมงาน
4.26
0.46
มีความ ตระหนัก มากที่สุด
6
ตารางที่ 4-18 จํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความตระหนักรู้ในการสานสัมพันธ์ในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดแี ละ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ระดับการปฏิบตั ิ ข้อคําถาม
ความตระหนักรู้ในการสานสัมพันธ์ ๑. ท่านคิดว่าการเป็นบรรษัทภิบาลที่ดี ในเรื่องการกํากับดูแลกิจการที่ดี ของ บวท. ควรสานสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิเช่น ปปช. ปปท. กพร. กลต. เป็นต้น ๒. ท่านคิดว่าการเป็นบรรษัทบริบาลที่ดี ในเรื่องการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคม ควรสานสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น ทอท. กสทช บพ. อต. กองทัพฯ สายการบิน เป็นต้น ๓. ท่านประสงค์จะร่วมสร้างเครือข่ายการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วน
มากที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
มาก (จํานวน) (ร้อยละ)
ปานกลาง (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อย (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อยที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
ค่าเฉลี่ย (X)
ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD)
620 68.7
245 27.1
38 4.2
0 0.0
0 0.0
4.64
0.56
มีความ ตระหนักมาก ที่สุด
319 35.3
519 57.5
65 7.2
0 0.0
0 0.0
4.28
0.59
มีความ ตระหนักมาก ที่สุด
268 29.7
569 63.0
65 7.2
1 0.1
0 0.0
4.22
0.57
มีความ ตระหนักมาก ที่สุด
ระดับ การปฏิบัติ
๔. ท่านเห็นว่า บวท. ดําเนินการด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม เพียงหน่วยงานเดียว จะสําเร็จไม่ได้อย่างแน่นอน
355 39.3
483 53.5
62 6.9
3 0.3
0 0.0
4.32
0.61
น้อย (จํานวน) (ร้อยละ)
น้อยที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
ค่าเฉลี่ย (X)
ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD)
รวมความตระหนักรู้ในการสานสัมพันธ์
4.37
0.45
รวมความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการเตรียมความพร้อมใน การกํ า กั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี และการแสดงความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม ตามแผนแม่บท CG & CSR ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙
4.19
0.30
มีความ ตระหนักมาก ที่สุด
6
ตารางที่ 4-18 (ต่อ) ระดับการปฏิบตั ิ ข้อคําถาม
มากที่สุด (จํานวน) (ร้อยละ)
มาก (จํานวน) (ร้อยละ)
ปานกลาง (จํานวน) (ร้อยละ)
ระดับ การปฏิบัติ มีความ ตระหนักมาก ที่สุด มีความ ตระหนัก มาก
6
6
จากตารางที่ 4-14 ถึง 4-18 พบว่า ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของฝ่ายจัดการ และพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มี ระดับความตระหนักอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.19 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมเท่ากับ 0.30 และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านของความตระหนักรู้ถึงความสําคัญแล้ว พบว่า ความตระหนักรู้ในการสานสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.37 มีระดับความตระหนักในระดับ มากที่สุด รองลงมาคือ ความตระหนักรู้ในการสร้างทีมงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 มีระดับ ความตระหนักในระดับมากที่สุด ความตระหนักรู้ในการตรวจสอบตนเอง มีค่าเฉลี่ย 4.14 ความ ตระหนักรู้ในการเร่งสื่อสาร มีค่าเฉลี่ย 4.13 และความตระหนักรู้ในการวางรากฐานเพื่อการ พัฒนา มีค่าเฉลี่ย 4.05 มีระดับการปฏิบัติในระดับมาก ตามลําดับ แต่เมื่อพิจารณาในองค์ประกอบย่อยของความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในแต่ละด้าน พบว่า ความตระหนักรู้ในการสานสัมพันธ์ ฝ่ายจัดการและพนักงานคิดว่าการเป็นบรรษัทบริบาลที่ ดี ในเรื่องการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ควรสานสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชนเช่น ทอท. กสทช บพ. อต. กองทัพฯ สายการบิน เป็นต้น มากที่สุด รองลงมา คือ เห็นว่า บวท. ดําเนินการด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เพียงหน่วยงานเดียวจะสําเร็จไม่ได้อย่างแน่นอน ควรสานสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชน อาทิเช่น ปปช. ปปท. กพร. กลต. เป็นต้น และประสงค์จะร่วมสร้างเครือข่ายการ กํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มี ส่วนได้ส่วนเสียกับ บวท.ตามลําดับ ในด้านความตระหนักรู้ในการสร้างทีมงาน ฝ่ายจัดการและพนักงานพร้อมร่วมเป็น ทีมงาน CG & CSR เพื่อเป็นกําลังในการขับเคลื่อนระบบการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. รองลงมาคือ ชื่นชอบการทํางานเป็นทีมให้ทํางานไป ในทิศทางเดียวกัน มีการประสานงานทั้งภาคปฏิบัติงานและส่วนสนับสนุนอื่นๆ และให้ความ ร่วมมือในการปรับเปลี่ยนระบบการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ของ บวท. ร่วมกับผู้บริหารและพนักงานทุกหน่วยงาน ตามลําดับ ในด้านความตระหนักรู้ในการตรวจสอบตนเอง ฝ่ายจัดการและพนักงานพร้อมที่จะ รับฟังความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูง ผู้บังคับบัญชา หรือตลอดจนพนักงานทุกระดับและทุก สายงาน ที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมมาก ที่สุด รองลงมาคือ พร้อมสําหรับการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับระบบการกํากับ ดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้แผนแม่บท CG & CSR ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ปฏิบัติงานสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งถือเป็นความสําคัญในการกํากับดูแล กิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ต้องการแสดงความคิดเห็นหรือ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม รู้จัก ระบบการกํากับดูแลกิจการที่ดี ของ บวท. ซึ่งมุ่งเน้นเรื่องการบริหารความเสี่ยง การควบคุม ภายใน การตรวจสอบภายใน การบริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ และการจั ด การเทคโนโลยี สารสนเทศ รู้จักการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ซึ่งใช้แนวทางมาตรฐานการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 และ คิดว่า บวท. มีความพร้อมในการดําเนิน ระบบการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตามลําดับ
ในด้านความตระหนักรู้ในการเร่งสื่อสาร ฝ่ายจัดการและพนักงานต้องการให้ บวท. ประชาสัมพันธ์ให้ทราบเกี่ยวกับแผนการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคมของ บวท. ภายใต้แผนแม่บท CG & CSR ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ มากที่สุด รองลงมาคือ กําลังดําเนินการพัฒนาระบบการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ของ บวท. และพอใจการตรวจสอบความพร้อมของตนเองและของ บวท. ในเรื่องการกํากับดูแล กิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามลําดับ ในด้านความตระหนักรู้ในการวางรากฐานเพื่อการพัฒนา ฝ่ายจัดการและพนักงาน คาดหวังว่า บวท. ควรมีกระบวนการสรรหาผู้บริหารระดับสูง ในด้านพัฒนาการกํากับดูแล กิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นการเฉพาะ มากที่สุด รองลงมาคือ มีส่วน ร่วมในการวางรากฐานเพื่อพัฒนาการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ใน บวท. สามารถแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม ในช่วงการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีส่วนในการสร้างระบบบริหารงานกํากับดูแล กิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมแบบมีส่วนร่วม และมีโอกาสแลกเปลีย่ นความรู้ เพื่อ ให้เ กิ ดแนวคิ ดการวางรากฐานและพั ฒนาการกํากับ ดูแ ลกิจการที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม ตามลําดับ
4.3 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานของการศึกษา ตอนที่ 6 การวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแล กิจ การที่ ดีแ ละการแสดงความรับผิดชอบต่ อ สั ง คม การปฏิ บัติ ต นในวั ฒนธรรมองค์ กร SMART 6 AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแล ที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ สมมติฐานการวิจัย ในการวิเคราะห์สมมติฐานการวิจัย การมีส่วนร่วมของพนักงานใน กิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนใน วัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียม ความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการ กํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ใช้สถิติ วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) วิธี Enter Method โดยสามารถเขียนเป็นสมมติฐานทางสถิติ ดังนี้ H0: การมีส่วนร่วมของพนักงานฯ และการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กรฯ ไม่มีผลต่อ ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมฯ H1: ด้านการมีส่วนร่วมของพนักงานฯ และการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กรฯ มีผลต่อ ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมฯ ตารางที่ 4-19 การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความ
ตัวพยากรณ์
สัมประสิทธิถ์ ดถอย B Beta 0.167 0.382
t
Sig.
13.694 0.000* การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการ กํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม 0.226 0.360 12.919 0.000* การปฏิบัตติ นในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI Constant = 2.746 Standard Error of the Estimate = 0.240 7 R = 0.587 R2 = 0.344 F = 235.980 Sig = 0.000 จากตารางที่ 4-19 ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ พบว่า การมีส่วนร่วมของ พนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติ ตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการ เตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บท ด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ซึ่ง อยู่ในระดับปานกลาง (R2 = 0.344 หรือ 34.40%) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี ความคลาดเคลื่อนของการทํานาย (Standard Error of the Estimate = 0.240 หรือ 24.00%) ดังนั้น ผลการทดสอบที่ได้จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งเมื่อพิจารณาตามด้าน ของการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคม และการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI พบว่า การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการ กํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 โดยตัวแปรการมีส่วนร่วมของพนักงานฯ มีค่า B เท่ากับ 0.167 มีค่า t เท่ากับ 13.694 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.000 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ถึง ความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรการปฏิบัติตนในวัฒนธรรม องค์กร B เท่ากับ 0.226 มีค่า t เท่ากับ 12.919 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.000 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 ดังนั้น สามารถแสดงสมการได้ดังนี้
Unstandardized Yˆ = 2.746 + 0.167X1* + 0.226X2* เมื่อ Yˆ = ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับ ดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมฯ X1 = การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและ7 การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม X2 = การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI จากสมการข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี แ ละการแสดงความรั บผิ ดชอบต่ อ สั ง คม และการปฏิ บั ติ ต นในวั ฒนธรรมองค์ ก ร SMART AEROTHAI เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วยแล้ว ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการ เตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บท ด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ จะ เปลี่ยนแปลง ดังนี้ การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม เท่ากับ 0.167 หมายความว่า การมีส่วนร่วมของพนั กงานฯ เปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้น 1 หน่วย ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลทีด่ ี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมจะเพิ่มขึ้น 0.167 หน่วย การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร เท่ากับ 0.226 หมายความว่า การปฏิบัติตนใน วัฒนธรรมองค์กรฯ เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียม ความพร้อ มด้ านการกํ ากั บ ดูแ ลที่ดีและการแสดงความรับผิ ดชอบต่อสั งคม จะเพิ่ม ขึ้น 0.226 หน่วย ดังนั้น จะต้องทดสอบสมการความถดถอยของการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้าน การกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อมีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อม ด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ว่าเป็นจริงหรือไม่ ดัง สมการ Standardized Yˆ = 0.382X1* + 0.360X2* เมื่อ Yˆ = ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับ ดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมฯ X1 = การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม X2 = การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI จากสมการ Standardized พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยของตัวแปรการมีส่วนร่วมของพนักงานฯ เท่ากับ 0.382 ค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยของตัวแปรการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กรฯ เท่ากับ 0.360
7
แสดงให้เห็นว่ามีข้ อมูลเพี ยงพอที่จะปฏิเสธสมมติฐานหลัก (H0) ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 จึงสรุปได้ว่าปัจจัยด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การ ปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญใน การเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผน แม่บ ทด้ านการกํากับดู แลที่ ดีและการแสดงความรับ ผิดชอบต่อ สังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕๒๕๕๙ ในรูปแบบเชิงเส้น ดังนั้น ผลการทดสอบที่ได้จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ สมมติฐานย่อย 1.1 หากพิจารณาในองค์ประกอบย่อยของการมีส่วนร่วมของพนักงาน ที่ มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมฯ ใช้สถิติวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) วิธี Enter Method โดยสามารถเขียนเป็นสมมติฐานทางสถิติ ดังนี้ H0: การมีส่วนร่วมของพนักงาน ไม่มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียม ความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมฯ ด้านการมีส่วนร่วมของพนักงาน มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการ H1: เตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมฯ ตารางที่ 4-20 การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการ กํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ สัมประสิทธิถ์ ดถอย t Sig. B Beta 0.071 0.181 4.123 0.000* การมีส่วนร่วมให้หรือรับข้อมูล 0.033 0.102 1.958 0.050* การมีส่วนร่วมวางแผนและตัดสินใจ -0.006 -0.016 -0.325 0.745 การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา 0.147 0.345 10.174 0.000* การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ 0.007 0.033 0.600 0.549 การมีส่วนร่วมควบคุมประเมินผล Constant = 3.333 Standard Error of the Estimate = 0.2537 R = 0.524 R2 = 0.274 F = 67.725 Sig = 0.000 จากตารางที่ 4-20 ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ พบว่า การมีส่วนร่วมของ พนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มีผลต่อ ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ซึ่งอยู่ในระดับต่ํา (R2 = 0.274 หรือ 27.40%) อย่างมี ตัวพยากรณ์
ตัวแปรการมีส่วนร่วมให้หรือรับข้อมูล มีค่า B เท่ากับ 0.071 มีค่า t เท่ากับ 4.123 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.000 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 ตัวแปรการมีส่วนร่วมวางแผนและตัดสินใจ มีค่า B เท่ากับ 0.033 มีค่า t เท่ากับ 1.958 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.050 ซึ่งเท่ากับ 0.05 ตัวแปรการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา มีค่า B เท่ากับ -0.006 มีค่า t เท่ากับ -0.325 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.745 ซึ่งมากกว่า 0.05 ตัวแปรการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ มีค่า B เท่ากับ 0.147 มีค่า t เท่ากับ 10.174 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.000 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 ตัวแปรการมีส่วนร่วมควบคุมประเมินผล มีค่า B เท่ากับ 0.007 มีค่า t เท่ากับ 0.600 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.549 ซึ่งมากกว่า 0.05 ดังนั้น สามารถแสดงสมการได้ดังนี้ Unstandardized Yˆ = 3.333 +0.071X1*+ 0.033X2*-0.006X3+ 0.147X4*+0.007X5 เมื่อ Yˆ = ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับ ดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมฯ X1 = การมีส่วนร่วมให้หรือรับข้อมูล X2 = การมีส่วนร่วมวางแผนและตัดสินใจ 7 X3 = การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา X4 = การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ X5 = การมีส่วนร่วมควบคุมประเมินผล จากสมการข้างต้นแสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบของการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรม ด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย แล้ว ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการ แสดงความรั บผิ ดชอบต่ อสั งคม ตามแผนแม่ บ ทด้ า นการกํ า กั บ ดู แ ลที่ ดี แ ละการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ จะเปลี่ยนแปลง ดังนี้ การมีส่วนร่วมให้หรือรับข้อมูล เท่ากับ 0.071 หมายความว่า การมีส่วนร่วมให้หรือรับ ข้อมูลของพนักงานฯ เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียม ความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมจะเพิ่มขึ้น 0.071 หน่วย การมีส่วนร่วมวางแผนและตัดสินใจ เท่ากับ 0.033 หมายความว่า การมีส่วนร่วม วางแผนและตัดสินใจของพนักงานฯ เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย ความตระหนักรู้ถึง ความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคมจะเพิ่มขึ้น 0.033 หน่วย
การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา เท่ากับ 0.058 หมายความว่า การมีส่วนร่วมในการ แก้ปัญหาของพนักงานฯ เปลี่ยนแปลงลดลงขึ้น 1 หน่วย ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการ เตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมจะลดลง 0.006 หน่วย การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ เท่ากับ 0.147 หมายความว่า การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ของพนักงานฯ เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความ พร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมจะเพิ่มขึ้น 0.147 หน่วย การมีส่วนร่วมควบคุมประเมินผล เท่ากับ 0.007 หมายความว่า การมีส่วนร่วมวาง ควบคุมประเมินผลของพนักงานฯ เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญ ในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมจะเพิ่มขึ้น 0.007 หน่วย 7 ดังนั้ น จะต้องทดสอบสมการความถดถอยขององค์ประกอบของการมีส่วนร่ วมของ พนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติ ตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการ เตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บท ด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ว่า เป็นจริงหรือไม่ ดังสมการ Standardized Yˆ = 0.181X1*+ 0.102X2*-0.016X3+0.345X4*+ 0.023X5 เมื่อ Yˆ = ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับ ดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมฯ X1 = การมีส่วนร่วมให้หรือรับข้อมูล X2 = การมีส่วนร่วมวางแผนและตัดสินใจ X3 = การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา X4 = การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ X5 = การมีส่วนร่วมควบคุมประเมินผล จากสมการ Standardized พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยของตัวแปรการมีส่วนร่วมให้หรือรับข้อมูล เท่ากับ 0.181 ค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยของตัวแปรการมีส่วนร่วมวางแผนและตัดสินใจ เท่ากับ 0.102 ค่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ ค วามถดถอยของตั ว แปรการมี ส่ ว นร่ ว มในการแก้ ปั ญ หา เท่ า กั บ -0.016 ค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยของตัวแปรการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ เท่ากับ 0.345 ค่าสั มประสิทธิ์ ความถดถอยของตัว แปรการมีส่วนร่ว มควบคุ มประเมินผล เท่ากับ 0.023
แสดงให้เห็นว่ามีข้ อมูลเพี ยงพอที่จะปฏิเสธสมมติฐานหลัก (H0) ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 จึงสรุปได้ว่าปัจจัยด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มีผล ต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ในรูปแบบเชิงเส้น ดังนั้น ผลการทดสอบที่ได้จึงเป็นไปตาม 7 สมมติฐานที่ตั้งไว้ สมมติฐานย่อย 1.2 หากพิจารณาในองค์ประกอบย่อยของการปฏิบัติตนในวัฒนธรรม องค์กร SMART AEROTHAI ที่มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความ พร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมฯ ใช้สถิติวิเคราะห์สมการ ถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) วิธี Enter Method โดยสามารถ เขียนเป็นสมมติฐานทางสถิติ ดังนี้ H0: การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กรฯ ไม่มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญใน การเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมฯ H1: การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กรฯ มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการ เตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมฯ ตารางที่ 4-21 การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนัก รู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ สัมประสิทธิถ์ ดถอย t Sig. B Beta 0.135 0.214 6.619 0.000* วัฒนธรรมความปลอดภัย 0.045 0.093 1.746 0.081 วัฒนธรรมจริยธรรมเพือ่ ส่วนรวม -0.029 -0.059 -1.040 0.299 วัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อตนเอง 0.081 0.174 4.650 0.000* วัฒนธรรมยอมรับความเป็นมืออาชีพ 0.096 0.198 4.102 0.000* วัฒนธรรมความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน Constant = 2.869 Standard Error of the Estimate = 0.260 R = 0.482 R2 = 0.232 F = 54.225 Sig = 0.000 จากตารางที่ 4-21 ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ พบว่า การปฏิบัติตนใน วัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียม ความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการ กํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ซึ่งอยู่ใน ตัวพยากรณ์
7
ตัวแปรวัฒนธรรมความปลอดภัย มีค่า B เท่ากับ 0.135 มีค่า t เท่ากับ 6.6019 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.000 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 ตัวแปรวัฒนธรรมจริยธรรมเพื่อส่วนรวม มีค่า B เท่ากับ 0.045 มีค่า t เท่ากับ 1.174 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.081 ซึ่งมากกว่า 0.05 ตัวแปรวัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อตนเอง มีค่า B เท่ากับ -0.029 มีค่า t เท่ากับ -1.040 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.299 ซึ่งมากกว่า 0.05 ตัวแปรวัฒนธรรมยอมรับความเป็นมืออาชีพ มีค่า B เท่ากับ 0.081 มีค่า t เท่ากับ 4.650 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.000 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 ตัวแปรวัฒนธรรมความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน มีค่า B เท่ากับ 0.096 มีค่า t เท่ากับ 4.102 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.000 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 ดังนั้น สามารถแสดงสมการได้ดังนี้ Unstandardized Yˆ = 2.869 +0.0135X1*+ 0.045X2-0.029X3+ 0.081X4*+0.096X5* เมื่อ Yˆ = ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับ ดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมฯ X1 = วัฒนธรรมความปลอดภัย X2 = วัฒนธรรมจริยธรรมเพื่อส่วนรวม X3 = วัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อตนเอง X4 = วัฒนธรรมยอมรับความเป็นมืออาชีพ X5 = วัฒนธรรมความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน จากสมการข้างต้นแสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบของการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วยแล้ว ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการ เตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บท ด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ จะ 7 เปลี่ยนแปลง ดังนี้ วัฒนธรรมความปลอดภัย เท่ากับ 0.135 หมายความว่า วัฒนธรรมความปลอดภัย ของพนักงานฯ เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความ พร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมจะเพิ่มขึ้น 0.135 หน่วย วัฒนธรรมจริยธรรมเพื่อส่วนรวม เท่ากับ 0.045 หมายความว่า วัฒนธรรมจริยธรรม เพื่อส่วนรวมของพนักงานฯ เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการ เตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมจะเพิ่มขึ้น 0.045 หน่วย
วัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อตนเอง เท่ากับ -0.029 หมายความว่า วัฒนธรรมความ รับผิดชอบต่อตนเองของพนักงานฯ เปลี่ยนแปลงลดลง 1 หน่วย ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญ ในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมจะลดลง 0.029 หน่วย วัฒนธรรมยอมรับความเป็นมืออาชีพ เท่ากับ 0.081 หมายความว่า วัฒนธรรมยอมรับ ความเป็นมืออาชีพของพนักงานฯ เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญ ในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมจะเพิ่มขึ้น 0.081 หน่วย วัฒนธรรมความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน เท่ากับ 0.096 หมายความว่า วัฒนธรรมความ เป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกันของพนักงานฯ เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย ความตระหนักรู้ถึง ความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคมจะเพิ่มขึ้น 0.096 หน่วย ดัง นั้ น จะต้ อ งทดสอบสมการความถดถอยขององค์ ป ระกอบของการปฏิ บั ติต นใน วัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อมีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการ เตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บท ด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ว่า เป็นจริงหรือไม่ ดังสมการ Standardized Yˆ = 0.214X1*+ 0.093X2-0.059X3+0.174X4*+ 0.198X5* เมื่อ Yˆ = ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับ ดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมฯ X1 = วัฒนธรรมความปลอดภัย X2 = วัฒนธรรมจริยธรรมเพื่อส่วนรวม 7 X3 = วัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อตนเอง X4 = วัฒนธรรมยอมรับความเป็นมืออาชีพ X5 = วัฒนธรรมความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน จากสมการ Standardized พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยของตัวแปรวัฒนธรรมความปลอดภัย เท่ากับ 0.214 ค่าสั มประสิทธิ์ค วามถดถอยของตัว แปรวัฒ นธรรมจริ ยธรรมเพื่ อ ส่วนรวม เท่ ากับ 0.093 ค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยของตัวแปรวัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อตนเอง เท่ากับ 0.059 ค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยของตัวแปรวัฒนธรรมยอมรับความเป็นมืออาชีพ เท่ากับ 0.174 ค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยของตัวแปรวัฒนธรรมความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกันเท่ากับ 0.198
แสดงให้เห็นว่ามีข้ อมูลเพี ยงพอที่จะปฏิเสธสมมติฐานหลัก (H0) ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 จึงสรุปได้ว่าปัจจัยการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความ ตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ในรู ป แบบเชิง เส้ น ดั ง นั้ น ผลการทดสอบที่ ไ ด้จึ ง เป็ น ไปตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้
4.4 สรุปผลการทดสอบสมมติฐาน ตารางที่ 4-22 สรุปผลการทดสอบสมมติฐาน สมมติฐาน สมมติฐาน 1 การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการ ที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัตติ นใน วัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อ ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้าน การกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตาม แผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ตารางที่ 4-22 (ต่อ) สมมติฐาน สมมติฐานย่อย 1.1 การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการ ที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มีผลต่อความ ตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการ กํากับดูแลที่ดแี ละการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผน แม่บทด้านการกํากับดูแลทีด่ ีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ สมมติฐานย่อย 1.2 การปฏิบัตติ นในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มี ผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความ พร้อมด้านการกํากับดูแลทีด่ ีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙
ผลการทดสอบสมมติฐาน ยอมรับสมมติฐาน H1
8
ผลการทดสอบสมมติฐาน ยอมรับสมมติฐาน H1
ยอมรับสมมติฐาน H1
๘๑
ส่วนที่ ๕ สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การสํารวจการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ประจําปี ๒๕๕5 นี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI และความ ตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ๒. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมการกํากับดูแล กิ จ การที่ ดี แ ละการแสดงความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม การปฏิ บั ติ ต นในวั ฒ นธรรมองค์ ก ร SMART AEROTHAI กับความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ วิธีดําเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ฝ่ายจัดการและพนักงานของ บวท. ที่ปฏิบัติงานทั้งใน ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งหมด ๒,๘37 คน (ข้อมูล ณ ๕ สิงหาคม ๒๕๕5) ได้กําหนดกลุ่ม ตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ (Yamane, 1967) กําหนดให้มีความคาดเคลื่อนของ กลุ่มตัวอย่างที่ยอมให้เกิดขึ้นเท่ากับ ๐.๐๓ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 798 คน สํารองกลุ่มตัวอย่าง เพิ่มเติมอีก 108 คน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 906 คน และจําแนกกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วน อัตรากําลังของแต่ละสายงาน ได้แบบสอบถามกลับคืนรวมทั้งสิ้น 903 แบบสอบถาม คิดเป็นร้อยละ 99.67 เครื่องมือที่ใช้ในการสํารวจเป็นแบบสอบถามประกอบด้วยคําถามประเภทเลือกตอบ แบบนามบัญญัติที่เป็นสเกลเรียงลําดับ และแบบมาตราประมาณค่า ๕ ระดับ (Rating Scale) เนือ้ หา ของแบบสอบถามแบ่งออกเป็น ๕ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ ๒ แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของฝ่ายจัดการและพนักงานในกิจกรรมด้าน การกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ส่วนที่ ๓ แบบสอบถามการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ส่วนที่ ๔ แบบสอบถามความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมฯ ส่วนที่ ๕ ข้อเสนอแนะอื่น ๆ ทําการทดสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดกับฝ่ายจัดการและพนักงาน บวท. โดยผ่าน กระบวนการ 2 ขั้นตอน คือ ๑. ขั้นตอนคุณภาพของเครื่องมือวัดความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC: Index of Item Objective Congruence) โดยผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิในระเบียบวิธีวิจัย ๓ ท่าน โดยค่า IOC = 1.0
๘๒ 2. ขั้นตอนการทดสอบความเชื่อถือได้ของเครื่องมือวัด (Reliability : ∞) โดยกลุ่ม จํานวน 6๐ คน โดยค่าความเชื่อถือได้ของเครื่องมือวัดการมีส่วนร่วมฯ เท่ากับ 0.95 การปฏิบัติตนใน วัฒนธรรมองค์กรเท่ากับ 0.93 และความตระหนักรู้ถึงความสําคัญฯ เท่ากับ 0.94 ตามลําดับ การวิเคราะห์ข้อมูล คณะผู้ทําการสํารวจฯ ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายคุณลักษณะทั่วไปของผู้ตอบ แบบสอบถาม โดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์ข้อมูลการมีส่วนร่วมของพนักงานใน กิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรม องค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้าน การกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ใช้ค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติเชิงอนุมาน เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ในสมมติฐานทั้ง 3 สมมติฐาน โดยกําหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติ ณ ระดับ ๐.๐๕ ดังนี้ สมมติฐาน ๑. การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อ ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) วิธี Enter Method โดยกําหนดค่านัยสําคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ไว้ที่ระดับ 0.05 สมมติฐานย่อย 1.1 การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อม ด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ใช้การวิเคราะห์สมการถดถอย พหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) วิธี Enter Method โดยกําหนดค่านัยสําคัญทาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ไว้ที่ระดับ 0.05 สมมติฐานย่อย 1.2 การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อ ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) วิธี Enter Method โดยกําหนดค่านัยสําคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ไว้ที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย ผลการสํารวจสามารถสรุปผลได้เป็น ๓ ตอน ดังนี้ ๑. สรุปผลการสํารวจ ๒. อภิปรายผล ๓. ข้อเสนอแนะ ๑. สรุปผลการสํารวจ คุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
๘๓ พบว่าข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศชายมากกว่า เพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31-50 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโท มี ประสบการณ์ทํางาน 5-25 ปี เป็นพนักงานมากกว่าฝ่ายจัดการ สังกัดสายงานบริหารจราจรทาง อากาศ รองลงมาคือสายงานอํานวยการ และสายงานวิศวกรรมจราจรทางอากาศ ปฏิบัติงานที่ ทุ่งมหาเมฆ สุวรรณภูมิ และดอนเมือง มีลักษณะการปฏิบัติเป็น Daywork มากกว่าเข้ากะ ด้านการมีส่วนร่วมของฝ่ายจัดการและพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแล กิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม พบว่ า ฝ่ า ยจั ด การและพนั ก งานมี ก ารมี ส่ ว นร่ ว มของฝ่ า ยจั ด การและพนั ก งานใน กิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มีระดับการปฏิบัติอยู่ใน ระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย ( X )รวมเท่ากับ 3.09 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) รวมเท่ากับ 0.68 และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านของการมีส่วนร่วมแล้ว พบว่า การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ย ( X ) สูงสุดเท่ากับ 3.74 มีระดับการปฏิบัติในระดับมาก รองลงมาคือการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา มีค่าเฉลี่ย ( X ) สูงสุดเท่ากับ 3.13 มีระดับการปฏิบัติในระดับมากเช่นกัน ส่วนการมีส่วนร่วมให้หรือ รับข้อมูล มีค่าเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ 2.99 การมีส่วนร่วมวางแผนและตัดสินใจมีค่าเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ 2.82 และการมีส่วนร่วมในการควบคุมประเมินผล มีค่าเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ 2.78 มีระดับการปฏิบัติ ในระดับปานกลาง ด้านการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI พบว่ า ฝ่ า ยจั ด การและพนั ก งานมี ก ารปฏิ บั ติ ต นในวั ฒ นธรรมองค์ ก ร SMART AEROTHAI ของฝ่ายจัดการและพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความ รั บผิ ดชอบต่ อ สั ง คม มี ร ะดั บ การปฏิ บั ติ อ ยู่ ใ นระดั บ มาก มี ค่ า เฉลี่ ย ( X ) รวมเท่ า กั บ 4.11 มี ค่ า เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) รวมเท่ากับ 0.47 และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านของวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI พบว่า วัฒนธรรมจริยธรรมเพื่อส่วนรวม มีค่าเฉลี่ย ( X ) สูงสุดเท่ากับ 4.27 มีระดับการปฏิบัติในระดับมากที่สุด รองลงมาคือวัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อตนเองและหน้าที่ มี ค่าเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ 4.23 มีระดับการปฏิบัติในระดับมากที่สุดเช่นกัน ส่วนวัฒนธรรมความเป็นน้ํา หนึ่งใจเดียวกัน มีค่าเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ 4.18 วัฒนธรรมความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ 4.02 และวัฒนธรรมการเป็นที่ยอมรับในความเป็นมืออาชีพ มีค่าเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ 4.02 มีระดับ การปฏิบัติในระดับมาก ด้านความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมฯ พบว่าฝ่ายจัดการและพนักงานมีความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของฝ่ายจัดการและ พนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มีระดับความ ตระหนักอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( X ) รวมเท่ากับ 4.19 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) รวม เท่ากับ 0.30 และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านของความตระหนักรู้ถึงความสําคัญแล้ว พบว่า ความ ตระหนักรู้ในการสานสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ย ( X ) สูงสุดเท่ากับ 4.37 มีระดับความตระหนักในระดับมาก ที่สุด รองลงมาคือ ความตระหนักรู้ในการสร้างทีมงาน มีค่าเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ 4.26 มีระดับความ ตระหนักในระดับมากที่สุดเช่นกัน ส่วนความตระหนักรู้ในการตรวจสอบตนเอง มีค่าเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ 4.14 ความตระหนักรู้ในการเร่งสื่อสาร มีค่าเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ 4.13 และความตระหนักรู้ใน
๘๔
X
ผลการทดสอบสมมติฐาน สมมติฐาน ๑ การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อ ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย (R2 = 0.344 หรือ 34.40%) อย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความคลาดเคลื่อนของการทํานาย (Standard Error of the Estimate = 0.240 หรือ 24.00%) ดังนั้นผลการทดสอบที่ได้จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ สมมติฐานย่อย 1.1 การมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อม ด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย (R2 = 0.253 หรือ 25.30%) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความคลาดเคลื่อนของการทํานาย (Standard Error of the Estimate = 0.407 หรือ 40.70%) ดังนั้นผลการทดสอบที่ได้จึงเป็นไปตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้ สมมติฐานย่อย 1.2 การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อ ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย (R2 = 0.232 หรือ 23.20%) อย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความคลาดเคลื่อนของการทํานาย (Standard Error of the Estimate = 0.260 หรือ 26.00%) ดังนั้นผลการทดสอบที่ได้จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ๒. อภิปรายผลการสํารวจ ในการอภิปรายผลการสํารวจการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแล กิ จ การที่ ดี แ ละการแสดงความรั บผิ ดชอบต่ อ สั ง คม การปฏิ บั ติ ต นในวั ฒนธรรมองค์ ก ร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดู แลที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ นั้น ได้กําหนดเกณฑ์การแปลผลเชิงปริมาณ ดังนี้ คะแนนเฉลี่ย 4.21-5.00 3.41-4.20 2.61-3.40 1.81-2.60 1.00-1.80
96-100 91-95 86-90 81-85 ≤ 80
ร้อยละ(%) 5
ระดับ 4 3 2 1
การสํารวจการมีส่วนร่วมของฝ่ายจัดการและพนักงาน
ในกิจกรรมด้านการกํากับ
๘๕ ดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ นี้ อยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 2 : ผลักดัน นโยบายการกํากับดูแลที่ดี พร้อมการขยายการปฏิบัติให้ครอบคลุมทุกระดับทั่วทั้งองค์กร มาตรการ และแนวทางปฏิบัติที่ 2.1.3 สร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรม ของฝ่ายจัดการและพนักงาน ซึ่งกําหนดตัวชี้วัดไว้ คือ คะแนนประเมินระดับชั้นความสําเร็จด้านการ สร้างบรรยากาศขององค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรมของฝ่ายจัดการ และพนักงาน โดยในปี 2555 นี้เป็นการจัดทําข้อมูลฐาน จากการสํารวจพบว่าฝ่ายจัดการและพนักงาน มีคะแนนการมีส่วนร่วมในกิจกรรม สร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรม มีค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมอยู่ ในระดับปานกลางเท่ากับ 3.09 คิดเป็นร้อยละ 61.80 คํานวณระดับของความสําเร็จฯ ดังนี้ ระดับของความสําเร็จฯ = 1.0 x 61.80 = 0.77 80.00 ดังนั้น ระดับของความสําเร็จฯ จึงอยู่ไม่เกินระดับ ๑ (0.77<1.00) การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ของฝ่ายจัดการและ พนักงาน ในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการ กํ า กั บ ดู แ ลที่ ดี แ ละการแสดงความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ นี้ อยู่ ใ น ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : พัฒนาแนวทางและดําเนินการให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางปฏิบัติที่ดี มาตรการและแนวทางปฏิ บั ติ ที่ 1.1.1 พั ฒ นากระบวนการส่ ง เสริ ม วั ฒ นธรรมองค์ ก ร SMART AEROTHAI ซึ่งกําหนดตัวชี้วัดไว้ คือ ค่าคะแนนประเมินระดับวัฒนธรรมองค์กร (SMART AEROTHAI) โดยกําหนดค่าเป้าหมายไว้ ≥ 2.5 จากการสํารวจพบว่าฝ่ายจัดการและพนักงาน มีคะแนนการปฏิบัติตนในวัฒนธรรม องค์กร SMART AEROTHAI ในปี 2555 มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติตนอยู่ในระดับระดับมาก เท่ากับ 4.11 คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 82.20 เที ย บเป็ น ระดั บ ของความสํ า เร็ จ ฯ คํ า นวณได้ จ ากค่ า กึ่ ง กลางของระดั บ วัฒนธรรมองค์กรที่คะแนนสํารวจอยู่ในช่วงของระดับนั้น x คะแนน(ร้อยละ)ที่สํารวจได้ หารด้วย คะแนนกึ่งกลางของคะแนน(ร้อยละ)ในระดับนั้น ดังนี้ ระดับของของความสําเร็จฯ = 2.5 x 82.20 = 2.49 82.50 ดังนั้น ระดับของวัฒนธรรมองค์กร จึงอยู่ระหว่างระดับ 2 กับระดับ 3 (2.49) เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสํารวจคะแนนประเมินความคิดเห็นในคุณค่าร่วม SMART AEROTHAI ในปี 2554 พบว่ า ฝ่ า ยจั ด การและพนั ก งานมี ค วามคิ ด เห็ น ในคุ ณ ค่ า ร่ ว ม SMART AEROTHAI ที่มีต่อการกํากับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจของ บวท. อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.10 คิดเป็นร้อยละ 82.00 คํานวณเป็นระดับของของความสําเร็จฯ แล้ว อยู่ในระดับ 2 กับระดับ 3 (2.48) จะเห็นว่าระดับของวัฒนธรรมองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเพียง 0.01 ซึ่ง มี ทั้ ง ระดั บ /ค่ า เฉลี่ ย /คะแนนร้ อ ยละใกล้ เ คี ย งกั น มาก ต่ า งกั น เพี ย งเล็ ก น้ อ ย แสดงให้ เ ห็ น ว่ า ระดั บ วัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI อยู่ในระดับทรงตัว ไม่แข็งแรงขึ้นหรืออ่อนแอลง ส่วนความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และ
๘๖ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ นี้ อยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 2 : ผลักดันนโยบายการกํากับดูแลที่ดี พร้อมการขยายการปฏิบัติให้ครอบคลุมทุกระดับทั่วทั้งองค์กร มาตรการและแนวทางปฏิบัติที่ 2.1.๒ จัดให้มีการสํารวจความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการนําไปปฏิบัติเรื่องการกํากับดูแลที่ดีของ บวท. ซึ่งกําหนดตัวชี้วัดไว้ คือ จํานวนร้อยละของฝ่ายจัดการและพนักงานมีการตระหนักรู้ถึงความสําคัญใน การนําไปปฏิบัติเรื่องการกํากับดูแลที่ดีของ บวท. ผลการสํารวจพบว่าฝ่ายจัดการและพนักงานที่เป็นประชากรในการสํารวจความ ตระหนักรู้ถึงความสําคัญฯ จากจํานวนฝ่ายจัดการและพนักงานรวมทั้งสิ้น ๒,๘37 คน (ข้อมูล ณ ๕ สิงหาคม ๒๕๕5) กําหนดความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.03 คํานวณกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร ยา มาเน่ (Yamane, 1967) ได้กลุ่มตัวอย่าง 798 คน สํารองเพิ่ม 108 คน รวมทั้งสิ้น 906 คน รวบรวมแบบสอบถามกลับคืนรวมทั้งสิ้น 903 แบบสอบถาม คิดเป็นร้อยละ 99.67 ของฝ่ายจัดการ และพนักงานมีการตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการนําไปปฏิบัติเรื่องการกํากับดูแลที่ดีของ บวท. และมี ระดับความตระหนักอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 แต่ในปี 2554 ผลการสํารวจความ ตระหนักรู้ถึงความสําคัญฯ จากฝ่ายจัดการและพนักงานที่เป็นประชากรในการสํารวจฯ ทั้งสิ้น 1,050 คน กําหนดความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.03 ได้แบบสอบถามกลับคืนรวมทั้งสิ้น 884 แบบสอบถาม คิดเป็นร้อยละ 84.19 ของฝ่ายจัดการและพนักงานมีการตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการนําไปปฏิบัติ เรื่องการกํากับดูแลที่ดีของ บวท. และมีระดับความตระหนักอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 จะเห็นว่าจํานวนร้อยละของฝ่ายจัดการและพนักงานมีการตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการนําไปปฏิบัติ เรื่องการกํากับดูแลที่ดีของ บวท. ในปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.48 ส่วนคะแนนความตระหนักรู้ถึง ความสําคัญในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่ในระดับ มากเช่นกั น เมื่อ เปรีย บเที ยบระหว่างปี 2554 กับ 2555 พบว่ามีค่าเฉลี่ยแตกต่า งกั นนั้นมีเ พี ยง เล็กน้อย (4.19 - 4.12 = 0.07) แสดงให้เห็นว่าฝ่ายจัดการและพนักงานมีการพัฒนาความตระหนักรู้ถึงความสําคัญ ของการกํากับดูแลที่ดีขึ้นเล็กน้อย สําหรับการทดสอบสมมติฐานการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการกํากับดูแล กิ จ การที่ ดี แ ละการแสดงความรั บผิ ดชอบต่ อ สั ง คม การปฏิ บั ติ ต นในวั ฒนธรรมองค์ ก ร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้ านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย (R2 = 0.274 หรือ 27.40%) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความคลาดเคลื่อนของการทํานาย (Standard Error of the Estimate = 0.253 หรือ 25.30%) ตัวแปรการมีส่วนร่วมที่มีผลต่อความตระหนักรู้ถึง ความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมฯ ที่ มีนัยสําคัญทางสถิติ คือ การมีส่วนร่วมให้หรือรับข้อมูล การมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจ และ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ส่วนการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนัก รู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕๒๕๕๙ ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย (R2 = 0.232 หรือ 23.20%) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความคลาดเคลื่อนของการทํานาย (Standard Error of the Estimate = 0.260 หรือ 26.00%) ตัวแปรการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ที่มีผลต่อความตระหนักรู้
๘๗
แต่เมื่อเปรียบเทียบกับผลการวิจัยปี 2554 ซึ่งผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ฝ่ายจัดการและพนักงานให้ความสําคัญกับวัฒนธรรมความปลอดภัยเพียงวัฒนธรรมเดียว แต่ผลการ ทดสอบปี 2555 ให้ความสําคัญกับ 3 วัฒนธรรม คือ วัฒนธรรมความปลอดภัย วัฒนธรรมยอมรับ ความเป็นมืออาชีพ และวัฒนธรรมความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าในปี 2555 นี้ ฝ่าย จัดการและพนักงานให้ความสําคัญกับวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับยอมรับความเป็นมืออาชีพและความเป็น น้ําหนึ่งใจเดียวกันเพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อพิจราณาภาพรวมในกิจกรรมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม จะพบว่าการมีส่วนร่วมของพนักงาน และการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (R2 = 0.344 หรือ 34.40%) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความคลาดเคลื่อนของการทํานาย (Standard Error of the Estimate = 0.240 หรือ 24.00%) แสดงให้เห็นว่าการที่จะทําให้ฝ่ายจัดการและ พนั กงานมีความตระหนั กรู้ ถึง ความสําคัญในกิจกรรมด้านการกํากับ ดูแ ลที่ดี และการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมนั้น ต้องให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของฝ่ายจัดการและพนักงานอย่างมาก ร่วมกับ การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI อย่างเข้มแข็ง จึงจะช่วยให้การกํากับดูแล กิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. เป็นที่ไว้วางใจแก่ผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย พนักงาน และประชาชน
๓. ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะจากผลการสํารวจการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ มีดังนี้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ๑. บวท. ควรมีการจัดทํานโยบายส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมด้านการ กํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมในการให้ หรือรับข้อมูล มีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจ และมีส่วนร่วมในการควบคุมประเมินผล ๒. บวท. ควรมี การจัดทํานโยบายสร้า งเสริม /ส่ง เสริ ม การปฏิบัติ ตนในวั ฒนธรรม องค์กร SMART AEROTHAI โดยให้ความสําคัญกับวัฒนธรรมความปลอดภัย และวัฒนธรรมการ ยอมรับความเป็นมืออาชีพ ๓. บวท. ควรมีการผลักดันนโยบายสร้างความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการ กํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมฯ โดยให้ความสําคัญกับรากฐานเพื่อการ พัฒนาความตระหนักรู้ถึงความสําคัญ
๘๘ ข้อเสนอแนะเชิงบริหารจัดการ ๑. บวท. ควรเปิ ด โอกาสให้ พ นั ก งานเข้ า มามี ส่ วนร่ วมในกิ จ กรรมที่ กี่ ย วข้ อ งกั บ พัฒนาการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมต่าง ๆ ของ บวท. โดยให้มี ส่วนร่วมตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมตัดสินใจ ร่วมควบคุม และร่วมประเมินผล เพื่อให้การมีส่วนร่วม ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เป็นฐานรากสําคัญการพัฒนาให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization) ๒. บวท. ควรให้การยอมรับความเป็นมืออาชีพของฝ่ายจัดการและพนักงานในทุก ระดับในด้านต่างๆ เพื่อใช้ความเป็นมืออาชีพในองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์การทํางาน เป็น เครื่ อ งมื อ ในการพั ฒ นาองค์ ก ร โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง การพั ฒ นาคุ ณ ภาพการบริ ห ารจั ด การภาค รัฐวิสาหกิจ ให้เป็น บวท. เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจที่มีคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ๓. บวท. ควรผลักดัน/ให้การสนับสนุนกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ถึงความสําคัญ ของการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมฯ หรือความตระหนักรู้ในกิจกรรม ต่างๆ ของ บวท. ในขั้นตอนการวางรากฐานเพื่อการพัฒนา ที่ก่อให้เกิดความมั่นคง แข็งแรง
90
เอกสารอ้างอิง จันทร์ขจร มะลิจันทร์. (2554). ผลของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเมตาคอกนิชั่น ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ความตระรู้ในการคิด และ การกํากับตนเองในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องวิธีเรียง สับเปลี่ยน และวิธีจัดหมู่. กรุงเทพมหานคร : วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพือ่ การวิจัย. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร. ทนงศักดิ์ ประสบกิตติคุณ. (2534). การประเมินค่าความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดตราด. กรุงเทพมหานคร : วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ทิศนา แขมมณี. (2546). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม : จากทฤษฎีสู่ การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : เมทีทิปส์. บุญชัย พงศ์รงุ่ ทรัพย์. (2552). คอลัมน์ HR CORNER. HR เอพีเอ็มกรุ๊ป. วันที่ค้นข้อมูล 15 กรกฎาคม 2555, เข้าถึงได้จากhttp://www.wiseknow.com/blog/2009/ 05/22/2535/. บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด. (2553). วัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI. บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด. (2554). รายงานการวิจัยการรับรู้ คุณค่าร่วม SMART AEROTHAI และความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการกํากับดูแลทีด่ ี ในรัฐวิสาหกิจของ บวท. บทสรุปผู้บริหาร. บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด. (2555). แผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม 2555-2559 . คํานํา. บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด. (2555). แผนแม่บทด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม 2555-2559 . บทสรุปผูบ้ ริหาร. ประสาท อิศรปรีดา. (2523). จิตวิทยาการเรียนรู้กับการสอน. กรงเทพฯ : กราฟิคอาร์ต. สถาบันพระปกเกล้า. ทศธรรม ตัวชีว้ ัดการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ศูนย์การพิมพ์ แก่นจันทร์, 2550. สุดใจ บุญอารีย์. (2541). การฝึกเหตุผลเชิงจริยธรรม : ทฤษฎีการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ.
เอกสารอ้างอิง (ต่อ) วิชิต อูอ่ ้น. (2550). การวิจยั และการสืบค้นข้อมูลทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: พรินท์แอทมี (ประเทศไทย). อุทัย บุญประเสริฐ. (2545). การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร. Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. NJ: Prentice Hall.
91
ภาคผนวก ก แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย
ภาคผนวก ข การทดสอบคุณภาพแบบสอบถาม
ภาคผนวก ค ผลการทดสอบทางสถิติ
ภาคผนวก ง ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเครื่องมือวัด
ภาคผนวก จ คณะผู้วิจัย
แบบสอบถาม (1) เรื่อง “การมีส่วนร่วมของพนักงาน การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI และความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการเตรียมความพร้อมในการกํากับดูแลทีด่ ีและ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บท CG & CSR ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙” .................................................... สํานักกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ ได้จัดทําแบบสอบถาม เพื่อสํารวจข้อมูลการมีส่วนร่วมของพนักงาน การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI และความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการเตรียมความ พร้อมในการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทการกํากับดูแลกิจการ ที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CG & CSR) ของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ของฝ่ายจัดการและพนักงาน โดยขอความร่วมมือจากฝ่ายจัดการและพนักงานทุกท่าน ช่วยกรุณากรอกแบบสอบถาม ให้ข้อมูลตามความเป็นจริง ของท่านให้ครบทุกข้อ และข้อมูลทั้งหมดจะได้มีการประมวลผลเสนอต่อบริษัทฯ เพื่อประโยชน์ทางการ ศึกษาวิจัยเท่านั้น โดยความคิดเห็นของท่านจะถือเป็นความลับและไม่มผี ลกระทบต่อการปฏิบัติงานของท่าน วัตถุประสงค์ : ๑. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมต่าง ๆ การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI และความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการเตรียมความพร้อมในการ กํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมตามแผนแม่บท CG & CSR ของ บวท. ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ๒. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมต่าง ๆ การปฏิบัติตนใน วัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI กับความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียม ความพร้อมการกํากับดูแลกิจการที่ดแี ละการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมตามแผนแม่บท CG & CSR ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ประโยชน์ที่ได้รับ : ทําให้ทราบถึงการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมต่างๆ การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI และความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมการกํากับ ดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ตามแผนแม่บท CG & CSR ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ให้เป็นที่ไว้วางใจแก่ผู้ถือหุ้น พนักงาน และผูม้ ีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน กลุ่มเป้าหมาย : ฝ่ายจัดการ และพนักงาน บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด ทุกท่าน จัดทําโดย : งานกํากับดูแลที่ดี / สํานักกรรมการผู้อํานวยการใหญ่
-๒๑. แบบสอบถามชุดนี้มีทั้งหมด ๕ ส่วน ส่วนที่ ๑ : ข้อมูลเบื้องต้นของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ ๒ : แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมต่างๆ ส่วนที่ ๓ : แบบสอบถามการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ส่วนที่ ๔ : แบบสอบถามการเตรียมความพร้อมการเตรียมความพร้อมในการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ของ บวท. ส่วนที่ ๕ : ข้อเสนอแนะ ๒. โปรดส่งแบบสอบถามกลับคืนที่ งานการกํากับดูแลที่ดี/สํานักกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ ชั้น ๗ อาคาร อํานวยการ สํานักงานใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด ภายในวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ส่วนที่ ๑ : ข้อมูลเบื้องต้นของผู้ตอบแบบสอบถาม คําชี้แจง โปรดทําเครื่องหมาย 9 ลงใน หน้าข้อความที่เป็นจริงเกี่ยวกับตัวท่าน ๑. เพศ
ชาย
หญิง
๒. อายุ
๒๐ – ๓๐ ปี
๓๑ – ๔๐ ปี
๔๑- ๕๐ ปี ๕๑-๖๐ ปี
๓. ระดับการศึกษา ต่ํากว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท
ปริญญาเอก
๔. ประสบการณ์ทํางาน ไม่เกิน ๕ ปี ๕ ปี ไม่เกิน ๑๐ ปี ๑๐ปี ไม่เกิน ๑๕ ปี ๑๕ ปี ไม่เกิน ๒๐ ปี ๒๐ ปี ไม่เกิน ๒๕ ปี มากกว่า ๒๕ ปี ๕. สถานภาพการทํางาน ฝ่ายจัดการ ๖. สังกัดสายงาน (ตามประกาศโครงสร้างบริษัทฯ)
๗. สถานที่ปฏิบัติงาน
๘. ลักษณะการปฎิบัติงาน
พนักงาน
สายนักวิชาการ สายบริหารจราจรทางอากาศ สายวิศวกรรมจราจรทางอากาศ สายพัฒนาธุรกิจ สายมาตรฐานความปลอดภัย สายทรัพยากรบุคคล สํานักตรวจสอบภายใน สายการเงิน สายกลยุทธ์และสื่อสารองค์กร สายอํานวยการ สํานักกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ ทุ่งมหาเมฆ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ ศูนย์ควบคุมการบินเชียงใหม่ ศูนย์ควบคุมการบินพิษณุโลก ศูนย์ควบคุมการบินอุดรธานี ศูนย์ควบคุมการบินอุบลราชธานี ศูนย์ปฏิบัติการฯ นครราชสีมา ศูนย์ควบคุมการบินภูเก็ต ์ ศูนยควบคุ มการบินหาดใหญ่ ศูนย์ควบคุมการบินสุราษฎร์ธานี ศูนย์ควบคุมการบินหัวหิน Daywork
เข้ากะ -๓-
ส่วนที่ ๒ แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของพนักงาน คําชี้แจง โปรดทําเครื่องหมาย 9 ลงใน ที่ตรงกับการปฏิบัติของท่านมากที่สุดเพียงคําตอบเดียวและกรุณา ตอบข้อมูลให้ครบทุกข้อ (มากที่สุด = ๕ มาก = ๔ ปานกลาง = ๓ น้อย = ๒ น้อยที่สุด = ๑) ประเด็น
ระดับการปฏิบัติ มากที่สุด
การมีส่วนร่วมในการให้/รับข้อมูล ๑. ท่านมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ เพื่อการ พัฒนา ต่อ บวท. ๒. ท่านมีส่วนร่วมในการให้ขอ้ เท็จจริง เพื่อประกอบการตัดสินใจของ บวท. ๓. ท่านมีโอกาสให้ข้อมูลข่าวสารที่ท่านเห็นว่าเป็นเรื่องสําคัญ ตามช่องทาง ต่าง ๆ ของ บวท. ๔. ท่านรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากผูบ้ ริหารระดับสูง ผู้บังคับบัญชา หรือเพื่อนพนักงาน การมีส่วนร่วมในการการวางแผนและตัดสินใจ ๑. ท่านมีโอกาสได้ร่วมวางแผนและกําหนดเป้าหมายการดําเนินการต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน ๒. ท่านมีส่วนร่วมวางแผนในการพัฒนางานด้านต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ ของ บวท. ๓. ท่านมีโอกาสในการตัดสินใจปัญหาร่วมกับผู้บังคัญชา / เพื่อนพนักงาน การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ๑. ท่านมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพื่อการแก้ไขปัญหาร่วมกับ ผู้บังคับบัญชา / เพื่อนพนักงาน ๒. ท่านมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของท่าน เพื่อแก้ไขปัญหาของหน่วยงาน ๓. บวท. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ท่านมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น หรือบอกข้อปัญหา การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ๑. ท่านมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานตามหน้าที่เพื่อบรรลุเป้าหมายของ บวท. โดยสมบูรณ์ ๒. ท่านปฏิบัติตนตามแนวปฏิบัติที่ดีต่าง ๆ อย่างเต็มใจ โดยปราศจาก อคติ หรือบนเงื่อนไขแห่งความขัดแย้ง ๓. ท่านมีส่วนร่วมในการปกป้องผลประโยชน์ของ บวท. ๔. ท่านมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของ บวท. การมีส่วนร่วมในการควบคุม/ประเมินผล ๑. ท่านมีส่วนร่วมในการกําหนดหลักการหรือแนวทางการควบคุมการใช้ และการกระจายทรัพยากรของ บวท. ๒. ท่านมีส่วนในการควบคุมการใช้และการกระจายทรัพยากรของ บวท. ๓. ท่านมีส่วนในการประเมินผลการใช้และการกระจายทรัพยากรของ บวท. -๔-
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
ส่วนที่ ๓ แบบสอบถามการปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ระดับการปฏิบัติ
ประเด็นวัฒนธรรม มากที่สุด
ความปลอดภัย ๑. ท่านวางแผนการทํางานล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ๒. ท่านถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องตระหนัก ถึงความปลอดภัยในการทํางาน ๓. ท่านปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และรักษามาตรฐานของการ ทํางานอย่างเคร่งครัด ไม่ให้เกิดความเสี่ยงและความเสียหายต่อ บวท. ๔. ในการใช้ชวี ิตประจําวันท่านคํานึงถึงความปลอดภัยในทุก ๆ เรื่อง ๕. ท่านคิดว่างานที่ทําอยู่ในปัจจุบันดีอยู่แล้ว ไม่จําเป็นต้องปรับปรุงอะไร จริยธรรมเพื่อส่วนรวม ๑. ท่านทํางานด้วยจิตสํานึกแห่งความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ ๒. ท่านปฏิบัติงานโดยยึดกรอบธรรมาภิบาลของ บวท. อย่างเคร่งครัด ๓. ท่านให้ความช่วยเหลือหน่วยงานและผู้ร่วมงานโดยอย่างสม่ําเสมอ ๔. ท่านรัก หวงแหน หรือแสดงออกถึงการปกป้องชื่อเสียงของ บวท. ๕. ท่านใช้อํานาจหน้าที่เพื่อประโยชน์ของตนหรือพรรคพวก ความรับผิดต่อตนเองและหน้าที่ ๑. ท่านทํางานอย่างโปร่งใสและมีจิตสํานึกรับผิดชอบ ๒. ท่านยอมเสียสละผลประโยชน์ของตนเอง และยอมเสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อ บวท. ๓. ท่านมุ่งมั่นในการทํางานให้สําเร็จ แม้จะพบอุปสรรคหรือปัญหาในการทํางาน ๔. ท่านเป็นผูท้ ี่ปฏิบัติงานและปฏิบัติ ภายใต้กรอบของระเบียบอย่างเคร่งครัด ๕. เมื่อทํางานผิดพลาด ท่านมักปัดความรับผิดชอบให้ผู้อื่น การเป็นที่ยอมรับในความเป็นมืออาชีพในระดับสากล ๑. ท่านแสดงความคิดเห็นและมีข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาวิธีการทํางานใหม่ ๆ ๒. ท่านมีการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้กับผู้อื่นในทุก ๆ โอกาส ๓. ท่านขวนขวายที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการ ทํางานและเป็นประโยชน์ต่อ บวท. ๔. ท่านไม่ชอบเรียนรู้งานใหม่ หรือค้นหาวิธีการทํางานใหม่ ๆ ความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน ๑. ท่านรู้จักการให้อภัยต่อกัน ๒. ท่านยอมรับความสามารถและใช้ทักษะที่ดีเด่นของแต่ละคน เพื่อช่วยกัน ทํางานสําเร็จ ๓. ท่านมีสมั มาคารวะและรู้จักกาลเทศะ ๔. ท่านร่วมแรงร่วมใจอย่างเต็มความสามารถ ไม่ว่าในสถานการณ์ปกติ หรือวิกฤติของ บวท. ๕. ท่านชอบทํางานแบบต่างคน ต่างอยู่ -๕-
มาก
ปานกลาง น้อย
น้อยที่สุด
ส่วนที่ ๔ แบบสอบถามความตระหนักรูถ้ ึงความสําคัญของการเตรียมความพร้อมในการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บท CG & CSR ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ระดับการปฏิบัติ ประเด็นความตระหนักรู้ถึงความสําคัญ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย ของการเตรียมความพร้อม การตรวจสอบตัวเอง ๑. ท่านรู้จักระบบการกํากับดูแลกิจการที่ดี ของ บวท. ซึ่งมุ่งเน้นเรื่อง การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ๒. ท่านรู้จักการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ของ บวท. ซึ่งใช้แนวทาง มาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 ๓. ท่านพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูง ผู้บังคับบัญชา หรือตลอดจนพนักงานทุกระดับและทุกสายงาน ที่เกี่ยวข้องกับการ กํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ๔. ท่านปฏิบัติงานสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งถือเป็นความสําคัญ ในการกํากับดูแลกิจการทีด่ ี บวท. และการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคม ๕. ท่านคิดว่า บวท. มีความพร้อมในการดําเนินระบบการกํากับดูแล กิจการที่ดแี ละการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ๖. ท่านพร้อมสําหรับการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับระบบ การกํากับดูแลกิจการที่ดแี ละการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้แผนแม่บท CG & CSR ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ๗. ท่านต้องการแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบการ กํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การเร่งสื่อสาร ๑. ท่านพอใจการตรวจสอบความพร้อมของตนเองและของ บวท. ใน เรื่องการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ๒. ท่านทราบหรือไม่ว่า บวท. กําลังดําเนินการพัฒนาระบบการกํากับ ดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ของ บวท. ๓. ท่านต้องการให้ บวท. ประชาสัมพันธ์ให้ทราบเกี่ยวกับแผนการกํากับ ดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ภายใต้แผนแม่บท CG & CSR ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙
-๖-
น้อยที่สุด
ประเด็นความตระหนักรู้ถึงความสําคัญ ระดับการปฏิบัติ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย ของการเตรียมความพร้อม การวางรากฐานเพื่อพัฒนา ๑. ท่านมีส่วนร่วมในการวางรากฐานเพื่อพัฒนาการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมใน บวท. ๒. ท่านคาดหวังว่า บวท. ควรมีกระบวนการสรรหาผู้บริหารระดับสูง ใน ด้านพัฒนาการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคมเป็นการเฉพาะ ๓. ท่านสามารถแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ในช่วงการประเมินผลการปฏิบัติงาน ๔. ท่านมีส่วนในการสร้างระบบบริหารงานกํากับดูแลกิจการที่ดีและ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมแบบมีส่วนร่วม ๕. ท่านมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อให้เกิดแนวคิดการวางรากฐานและ พัฒนาการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การสร้างทีมงาน ๑. ท่านพร้อมร่วมเป็นทีมงาน CG & CSR เพื่อเป็นกําลังในการขับเคลือ่ น ระบบการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ของ บวท. ๒. ท่านให้ความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนระบบการกํากับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ของ บวท. ร่วมกับผู้บริหาร และพนักงานทุกหน่วยงาน ๓. ท่านชื่นชอบการทํางานเป็นทีม ทํางานไปในทิศทางเดียวกัน มีการ ประสานงานทั้งภาคปฏิบัติงานและส่วนสนับสนุนอื่นๆ การสานสัมพันธ์ ๑. ท่านคิดว่าการเป็นบรรษัทภิบาลที่ดี ในเรือ่ งการกํากับดูแลกิจการที่ดี ของ บวท. ควรสานสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิเช่น ปปช. ปปท. กพร. กลต. เป็นต้น ๒. ท่านคิดว่าการเป็นบรรษัทบริบาลที่ดี ในเรื่องการแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคม ควรสานสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น ทอท. กสทช บพ. อต. กองทัพฯ สายการบิน เป็นต้น ๓. ท่านประสงค์จะร่วมสร้างเครือข่ายการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มี ส่วนได้ส่วนเสียกับ บวท. ๔. ท่านเห็นว่า บวท. ดําเนินการด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เพียงหน่วยงานเดียว จะสําเร็จไม่ได้ อย่างแน่นอน -๗-
น้อยที่สุด
ส่วนที่ ๕ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ***ขอขอบคุณผู้กรอกแบบสอบถามทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการสํารวจข้อคิดเห็นครัง้ นี*้ ** งานกํากับดูแลที่ดี สํานักกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ โทรศัพท์ ๙๒๒๕, ๙๔๖๐ โทรสาร ๘๔๑๖
กรอบแนวคิดในการวิจัย การมีส่วนร่วมของพนักงาน การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI และความ ตระหนักรู้ถึงความสําคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบ
ต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. ปี ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ การมีส่วนร่วมของพนักงาน -การมีส่วนร่วมในการให้/รับข้อมูล -การมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจ -การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา -การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ -การมีส่วนร่วมในการควบคุมและประเมินผล
การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI
ความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของ การเตรียมความพร้อมใน การกํากับดูแลกิจการที่ดีและ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม -การตรวจสอบตัวเอง -การเร่งสื่อสาร -การวางรากฐานเพื่อการพัฒนา -การสร้างทีมงาน -การประสานสัมพันธ์
-ความปลอดภัย -จริยธรรมเพื่อส่วนรวม -ความรับผิดชอบต่อตนเองและหน้าที่ -การเป็นที่ยอมรับในความเป็นมืออาชีพใน ระดับสากล -ความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน
สมมติฐานการวิจัย ๑. การมีส่วนร่วมของพนักงานมีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการเตรียมความพร้อมในการ กํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. (๒๕๕๕-๒๕๕๙) ๒. การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของ การเตรียมความพร้อมในการกํากับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแผนแม่บทด้านการกํากับ ดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บวท. (๒๕๕๕-๒๕๕๙)
ผลการทดสอบเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม : การมีส่วนร่วมของฝ่ายจัดการและพนักงาน ****** Method 1 (space saver) will be Item-total Statistics Scale Scale Mean Variance if Item if Item Deleted Deleted GIVEINF1 58.7333 104.3684 GIVEINF2 58.8667 103.4395 GIVEINF3 58.5167 107.3726 GIVEINF4 58.2000 109.8576 PLANDEC1 58.8833 105.1895 PLANDEC2 58.8667 104.7616 PLANDEC3 58.4667 105.3718 CORPLOB1 58.4167 104.6540 CORPLOB2 58.4333 105.1989 CORPLOB3 58.5333 106.3209 PRACTIC1 58.1167 109.0540 PRACTIC2 57.8833 112.6133 PRACTIC3 57.8833 111.9692 PRACTIC4 57.9500 112.8619 CTRLEVA1 58.7833 101.4607 CTRLEVA2 58.6833 104.6946 CTRLEVA3 58.9167 100.0438
used for this analysis ****** Corrected ItemTotal Correlation .7524 .8100 .6321 .5356 .7321 .7359 .7380 .7904 .7931 .7267 .6716 .5057 .5556 .4672 .7814 .7156 .8222
Alpha if Item Deleted .9422 .9410 .9447 .9464 .9427 .9426 .9426 .9415 .9415 .9428 .9440 .9467 .9460 .9472 .9417 .9431 .9408
R E L I A B I L I T Y A N A L Y S I S - S C A L E (A L P H A) Reliability Coefficients N of Cases = 60.0 N of Items = 17 Alpha = .9466
ผลการทดสอบเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม : การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI ****** Method 1 (space saver) will be used for this analysis ****** Item-total Statistics Scale Scale Corrected Mean Variance ItemAlpha if Item if Item Total if Item Deleted Deleted Correlation Deleted SAFETY1 100.5667 73.7751 .6929 .9283 SAFETY2 100.7167 75.7319 .5544 .9309 SAFETY3 100.2500 77.2076 .6393 .9294 SAFETY4 100.2667 76.6056 .6049 .9298 SAFETY5 100.9500 77.9805 .3740 .9342 MOREL1 99.8000 77.9932 .6350 .9297 MOREL2 99.8667 76.8294 .7451 .9283 MOREL3 100.0000 76.6780 .6927 .9287 MOREL4 99.8333 77.3616 .6454 .9294 MOREL5 99.7833 78.6133 .3704 .9337 ACCOUNT1 99.8167 77.2370 .7194 .9287 ACCOUNT2 99.9333 77.0463 .6547 .9292 ACCOUNT3 99.9167 76.3150 .7390 .9281 ACCOUNT4 99.9667 74.7446 .7728 .9271 ACCOUNT5 99.7167 79.7658 .4629 .9318
ผลการทดสอบเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม : การปฏิบัติตนในวัฒนธรรมองค์กร SMART AEROTHAI (ต่อ) ****** Method 1 (space saver) will be used for this analysis ****** Item-total Statistics Scale Scale Corrected Mean Variance ItemAlpha if Item if Item Total if Item RECOGNI1 100.6167 75.7658 .5142 .9319 RECOGNI2 100.5500 76.6246 .5547 .9306 RECOGNI3 100.4167 76.5862 .5582 .9306 RECOGNI4 99.9333 78.4362 .4449 .9322 TEAMWRK1 100.1500 75.8246 .6960 .9284 TEAMWRK2 100.0333 77.1175 .6468 .9293 TEAMWRK3 100.0500 77.3025 .5301 .9309 TEAMWRK4 100.0000 77.4576 .6497 .9294 TEAMWRK5 99.9833 76.2879 .5261 .9313 R E L I A B I L I T Y A N A L Y S I S - S C A L E (A L P H A) Reliability Coefficients N of Cases = 60.0 N of Items = 24 Alpha = .9328
ผลการทดสอบเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม : ความตระหนักรูถ่ ึงความสําคัญฯ ****** Method 1 (space saver) will be used for this analysis ****** Item-total Statistics Scale Scale Corrected Mean Variance ItemAlpha if Item if Item Total if Item Deleted Deleted Correlation Deleted CHKSELF1 82.3500 135.7229 .5703 .9343 CHKSELF2 82.6833 133.1692 .5909 .9341 CHKSELF3 82.0333 134.6429 .6856 .9328 CHRSELF4 82.0333 134.4734 .7540 .9321 CHKSELF5 82.5167 134.0845 .5307 .9352 CHKSELF6 82.1333 134.1175 .6663 .9329 CHKSELF7 82.4667 134.5921 .5565 .9346 COMMU1 82.4000 130.8203 .7655 .9311 COMMU2 82.2833 132.5794 .6901 .9324 COMMU3 82.0833 133.4675 .7057 .9324 FOUNDAT1 82.9000 133.1424 .5329 .9354 FOUNDAT2 82.4333 135.1650 .4631 .9365 FOUNDAT3 82.6500 133.7568 .6439 .9332 FOUNDAT4 82.8833 132.0709 .6048 .9339 FOUNDAT5 83.0833 135.1624 .4352 .9373 TEAMBLD1 82.3500 131.9602 .7480 .9316 TEAMBLD2 82.1000 133.7186 .7779 .9317 TEAMBLD3 81.8833 135.1556 .6636 .9331 RELATET1 82.1500 134.6042 .5714 .9343 RELATET2 82.1333 134.2531 .5846 .9341 RELATET3 82.1333 133.8463 .7057 .9324 RELATET4 82.2667 131.8599 .5552 .9352 R E L I A B I L I T Y A N A L Y S I S - S C A L E (A L P H A) Reliability Coefficients N of Cases = 60.0 N of Items = 22 Alpha = .9365
คาเฉลยการมสวนรวมฯ วฒนธรรมองคกร S M A R T A E R O T H A I และ ความตระหนกรถงความสาคญฯ ( รายตวแปรยอยหร#อรายขอคาถาม) Descriptive Statistics Maximu N Minimum m
รวมใหหรอรบขอมล 1 รวมใหหรอรบขอมล 2 รวมใหหรอรบขอมล 3 รวมใหหรอรบขอมล 4 รวมวางแผนและตดส3นใจ 1 รวมวางแผนและตดส3นใจ 2 รวมวางแผนและตดส3นใจ 3 รวมในการแกป7ญหา 1 รวมในการแกป7ญหา 2 รวมในการแกป7ญหา 3 รวมในการปฏ3บต31 รวมในการปฏ3บต32 รวมในการปฏ3บต33 รวมในการปฏ3บต34 รวมควบค;มประเม3นผล 1 รวมควบค;มประเม3นผล 2 รวมควบค;มประเม3นผล 3 ความปลอดภย 1 ความปลอดภย 2 ความปลอดภย 3 ความปลอดภย 4 ความปลอดภย 5 จร3ยธรรมเพAอสวนรวม 1 จร3ยธรรมเพAอสวนรวม 2 จร3ยธรรมเพAอสวนรวม 3 จร3ยธรรมเพAอสวนรวม 4 จร3ยธรรมเพAอสวนรวม 5 ความรบผ3ดชอบตอตนเอง 1 ความรบผ3ดชอบตอตนเอง 2 ความรบผ3ดชอบตอตนเอง 3 ความรบผ3ดชอบตอตนเอง 4 ความรบผ3ดชอบตอตนเอง 5 ยอมรบความเปCนมออาชDพ 1 ยอมรบความเปCนมออาชDพ 2 ยอมรบความเปCนมออาชDพ 3 ยอมรบความเปCนมออาชDพ 4 ความเปCนนEFาหนGAงใจเดDยวกน 1 ความเปCนนEFาหนGAงใจเดDยวกน 2 ความเปCนนEFาหนGAงใจเดDยวกน 3 ความเปCนนEFาหนGAงใจเดDยวกน 4 ความเปCนนEFาหนGAงใจเดDยวกน 5 ตรวจสอบตวเอง 1 ตรวจสอบตวเอง 2 ตรวจสอบตวเอง 3 ตรวจสอบตวเอง 4 ตรวจสอบตวเอง 5 ตรวจสอบตวเอง 6 ตรวจสอบตวเอง 7 เรงสAอสาร 1 เรงสAอสาร 2 เรงสAอสาร 3 วางรากฐานเพAอพฒนา 1 วางรากฐานเพAอพฒนา 2 วางรากฐานเพAอพฒนา 3 วางรากฐานเพAอพฒนา 4 วางรากฐานเพAอพฒนา 5 สรางทDมงาน 1 สรางทDมงาน 2 สรางทDมงาน 3 สานสมพนธK1 สานสมพนธK2 สานสมพนธK3 สานสมพนธK4
903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903 903
Valid N (listwise)
903
1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 3 3 2 2 3 1 1 1 1 1 1 1 1 1 3 1 1 1 2 1 1 1 1 3 2 2 3 3 3 2 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 2 2 3 3 2 2
5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5
Mean 2.79 2.67 2.88 3.64 2.73 2.70 3.03 3.15 3.14 3.09 3.60 3.88 3.90 3.59 2.82 2.86 2.66 3.94 4.03 4.10 4.05 3.99 4.32 4.16 4.15 4.21 4.51 4.25 4.01 4.19 4.02 4.66 3.44 3.67 3.77 4.36 4.03 4.15 4.21 4.19 4.30 4.13 4.11 4.18 4.15 4.10 4.17 4.14 4.09 4.13 4.17 4.05 4.48 4.03 3.88 3.81 4.44 4.10 4.24 4.64 4.28 4.22 4.32
Std. Deviation .918 .991 .960 .824 1.021 1.029 1.001 .935 .933 .959 .867 .823 .849 .899 1.010 .990 1.030 .623 .603 .656 .636 .714 .777 .778 .755 .835 .711 .867 .783 .757 .864 .577 .925 .818 .871 .730 .882 .760 .763 .833 .742 .667 .670 .540 .563 .634 .629 .682 .602 .502 .666 .622 .680 .747 .760 .739 .670 .593 .591 .560 .589 .569 .612
คาเฉลยการมสวนรวมฯ วฒนธรรมองคกร S M A R T A E R O T H A I และ ความตระหนกรถงความสาคญฯ ( ภาพรวมรายตวแปร) Descriptive Statistics
TGIVE TPLAN
N 903 903
Minimum 1.00 1.00
Maximum 5.00 5.00
Mean 2.9950 2.8202
Std. Deviation .75834 .92142
TCORP
903
1.00
5.00
3.1277
.83657
TPRAC
903
1.00
5.00
3.7431
.69526
TCTRL
903
1.00
5.00
2.7807
.94211
TPARTY
903
1.00
5.00
3.0934
.67745
TSAFE
903
3.00
5.00
4.0193
.46817
TMORE
903
1.00
5.00
4.2687
.61897
TACCO
903
1.80
5.00
4.2281
.60189
TRECO
903
1.50
5.00
3.8095
.63328
TTEAM
903
1.60
5.00
4.1779
.61406
TSMART
903
2.16
5.00
4.1107
.47269
TCHKE
903
2.86
5.00
4.1394
.45657
TCOMM
903
3.00
5.00
4.1318
.46401
TFOUN
903
3.00
5.00
4.0512
.54930
TTEAMB
903
2.67
5.00
4.2591
.45522
TRELA
903
2.75
5.00
4.3666
.45416
TNEWLAND
903
3.27
5.00
4.1896
.29647
Valid N (listwise)
903
ผลการทดสอบสมมต+ฐานท 1 Variables Entered/Removed(b) Variables Variables Entered Removed TSMART, . TPARTY(a) a All requested variables entered. b Dependent Variable: TNEWLAND
Model 1
Method Enter
Model Summary Adjusted R R R Square Square .587(a) .344 .343 a Predictors: (Constant), TSMART, TPARTY
Std. Error of the Estimate .24039
Model 1
ANOVA(b)
Model 1
Regression Residual Total
Sum of Squares 27.272 52.007
df 2 900
79.279
Mean Square 13.636 .058
F 235.980
Sig. .000(a)
902
a Predictors: (Constant), TSMART, TPARTY b Dependent Variable: TNEWLAND Coefficients(a)
Model 1
(Constant) TPARTY TSMART
Unstandar dized Coefficient s
Standardiz ed Coefficient s
B 2.746 .167
Std. Error .073 .012
.226
.017
a Dependent Variable: TNEWLAND
t
Sig.
Beta .382
37.797 13.694
.000 .000
.360
12.919
.000
ผลการทดสอบสมมต+ฐานท 1.1 Variables Entered/Removed(b)
Model 1
Variables Entered
Variables Removed
TCTRL, TPRAC, TGIVE, TCORP, TPLAN(a)
Method
.
Enter
a All requested variables entered. b Dependent Variable: TNEWLAND Model Summary Adjusted R Std. Error of R R Square Square the Estimate .524(a) .274 .270 .25330 a Predictors: (Constant), TCTRL, TPRAC, TGIVE, TCORP, TPLAN
Model 1
ANOVA(b)
Model 1
Regression Residual Total
Sum of Squares 21.727 57.553 79.279
df 5 897
Mean Square 4.345 .064
F 67.725
Sig. .000(a)
902
a Predictors: (Constant), TCTRL, TPRAC, TGIVE, TCORP, TPLAN b Dependent Variable: TNEWLAND Coefficients(a) Unstandar dized Coefficient s
Standardiz ed Coefficient s
B 3.333 .071
Std. Error .049 .017
TPLAN
.033
.017
TCORP
-.006
.018
TPRAC
.147
.014
TCTRL
.007
.012
Model 1
(Constant) TGIVE
a Dependent Variable: TNEWLAND
t
Sig.
Beta .181
68.491 4.123
.000 .000
.102
1.958
.050
-.016
-.325
.745
.345
10.174
.000
.023
.600
.549
ผลการทดสอบสมมต+ฐานท 1.2 Variables Entered/Removed(b)
Model 1
Variables Entered TTEAM, TSAFE, TRECO, TMORE, TACCO(a)
Variables Removed
Method
.
Enter
a All requested variables entered. b Dependent Variable: TNEWLAND Model Summary Adjusted R Std. Error of R R Square Square the Estimate .482(a) .232 .228 .26052 a Predictors: (Constant), TTEAM, TSAFE, TRECO, TMORE, TACCO
Model 1
ANOVA(b)
Model 1
Regression Residual Total
Sum of Squares 18.401 60.878 79.279
df 5 897
Mean Square 3.680 .068
F 54.225
Sig. .000(a)
902
a Predictors: (Constant), TTEAM, TSAFE, TRECO, TMORE, TACCO b Dependent Variable: TNEWLAND Coefficients(a) Unstandar dized Coefficient s
Standardiz ed Coefficient s
B 2.869 .135
Std. Error .085 .020
TMORE
.045
TACCO TRECO TTEAM
Model 1
(Constant) TSAFE
t
Sig.
Beta .214
33.709 6.619
.000 .000
.026
.093
1.746
.081
-.029
.028
-.059
-1.040
.299
.081
.017
.174
4.650
.000
.096
.023
.198
4.102
.000
a Dependent Variable: TNEWLAND
ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเครื่องมือวัด อาจารย์ประจําหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัย ราชมงคลรัตนโกสินทร์
ดร. อํานวย บุญยรัตนไมตรี การศึกษา ปริญญาเอก ปร.ด. (รัฐศาสตร) มหาวิทยาลัยรามคําแหง ปริญญาโท รม. (รัฐศาสตร) มหาวิทยาลัยรามคําแหง
คณะผู้ดําเนินการวิจัย หัวหน้าโครงการ
นางสาววราภรณ์ ทรงเจริญ
ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการ นางสาวสุมณฑา เชิดชื่น นางสาวทิพาภรณ์ นิปกากร ชีวิต ผู้ร่วมวิจัย ผู้อํานวยการกอง
นางพิมลวรรณ สถิตยุทธการ ดร.วัชระ ยาคุณ
ผู้อํานวยการสํานักกรรมการ ผู้อํานวยการใหญ่ นักวิชาการ ระดับผู้อํานวยการฝ่าย ผู้อํานวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล และคุณภาพ นักวิชาการ ระดับ ผู้จดั การงานวิศวกรรม /
กญ. นางพจนา ศรีอําไพ นางสาวจีรพรรณ ณ สงขลา
ผู้จดั การงานบริหารทั่วไป / กญ. เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป / กญ.