KKU Alumni Magazine Vol.1 # 2015

Page 1


25 มกราคม 2558 เปนวาระครบรอบ 51 ป มข. ของเรา มีกิจกรรมมากมายเพื่อเฉลิมฉลองในหลากหลายรูปแบบ ตลอดเดื อ นมกราคม และที่ ม อดิ น แดงของเราก็ มี ก าร เปลี่ยนแปลงในหลายๆ สิ่ง เรื่องหนึ่งที่นาจะมีความสําคัญ ไมนอยคือการเปลี่ยนแปลงทีมผูบริหารของมหาวิทยาลัย ที่ รองศาสตราจารย ดร.กิ ต ติ ชั ย ไตรรั ต นศิ ริ ชั ย ดํารงตําแหนงอธิการบดีครบวาระในวันที่ 5 กุมภาพันธ 2558 และไดรับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกลาฯ ใหดํารงตําแหนง อธิการบดีอกี วาระหนึง่ แมอธิการบดีเปนคนเดิม แตนโยบาย ภารกิจและยุทธศาสตรที่เปลี่ยนไป ความทาทายที่รออยู ขางหนา ทีมบริหารที่มีการเปลี่ยนแปลงไป นาจะมีผลและ มีความเปลี่ยนแปลงตอมหาวิทยาลัยของเราอยูไมนอย

ในช ว งเดื อ นมกราคม ดอกกาลพฤกษ เ ริ่ ม ผลิ บ าน ในเดื อ นกุ ม ภาพั น ธ ถึ ง มี นาคมบานสะพรั่ ง ทั่ ว มอดิ น แดง กลีบขาวชมพูระเรื่อทําใหมอดินแดงของเราดูสดชื่นสดใส แตก็มิ ใชเฉพาะกาลพฤกษที่เบงบาน ดอกไมนานาพันธุก็ เบงบานหมายจะบอกถึงกาลเวลาที่ลวงเลยไปอีกคราหนึ่ง บานส ง ท า ยความหนาวเย็ น และต อ นรั บ อุ ณ หภู มิ ที่ สู ง ขึ้ น ในฤดูรอน กาลพฤกษ จึงเปนดอกไมแหงกาลเวลาที่คอยยํ้า เตือนใจพวกเราเสมอ แตกระนัน้ มิใชมเี ฉพาะกาลพฤกษทเี่ บง บานในรัว้ มอดินแดงของเรา นอกรัว้ มข. กาลพฤกษกเ็ บงบาน เฉกเชนศิษยเกาของเราไดจบออกไป ทําหนาที่พัฒนาตนเอง และสังคมอยูอยางสมํ่าเสมอ เปนกาลพฤกษที่ชูชอสงางาม

อธิบายขยายปก


วารสาร

มอดินแดงสัมพันธ์

Khon Kaen University Alumni Magazine

“มอดินแดง” อีก 4 ปี จากนี้ไป

ตามที่สภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ในคราวการประชุมครั้งที่ 11/2557 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2557 ได้มีมติเห็นชอบให้ รองศาสตราจารย์กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นอธิการบดีคนที่ 11 (เป็นวาระที่สอง) และได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย ให้ดำ�รงตำ�แหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นไป และมีระยะเวลาในการ ดำ�รงตำ�แหน่ง 4 ปี ในฐานะทีเ่ ป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น (วิศวกรรมศาสตร์ รุน่ ที่ 11) ได้รบั เกียรติ จากประชาคมของมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้ความไว้วางใจผมทำ�หน้าทีพ่ ฒ ั นามหาวิทยาลัย ของพวกเราให้มีความเจริญรุดหน้าในทุกมิติ เพื่อขับเคลื่อนให้ “มอดินแดง” แห่งนี้ เป็นเสาหลักให้กับภาคอีสาน ประเทศชาติ ตลอดจนภูมิภาคอาเซียนและสากลโลก ดั ง กระแสพระราชดำ � รั ส แห่ ง พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ในวันเสด็จพระราชดำ�เนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2510 ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งว่า “การตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งนั้นเป็นคุณอย่างยิ่ง เพราะทำ�ให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภูมิภาคที่สำ�คัญที่สุดส่วนหนึ่งของประเทศ ซึ่งต่อไปจะเป็นผลดีแก่การพัฒนายกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคนี้ เป็นอย่างยิ่ง ความสำ�เร็จในการตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงเป็นความสำ�เร็จ ที่ทุกคนควรจะยินดี”

อธิการบดี ถึงน้องพี่

มอดินแดง

รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย

อธิการบดี

KKU 11 (อ่านต่อหน้า 2)

บรรณาธิการแถลง

บัญชา พระพล บรรณาธิการ KKU 38

วารสารมอดินแดงสัมพันธ์ ฉบับนี้เข้าสู่ปีที่ 3 เป็นฉบับรับศักราชใหม่ 2558 และเป็นห้วงเวลา แห่งการก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 51 ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 25 มกราคม ที่ผ่านมา พี่น้องเรา ชาวศิษย์เก่า มข. ก็ได้มาร่วมงานคืนสู่เหย้า เฮา ฮัก มข.กันอย่างล้นหลาม และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ก็เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารวาระ 2558-2562 นำ�โดย รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิรชิ ยั อธิการบดี (มข.รุน่ ที่ 11) เป็นอธิการบดีตอ่ อีกวาระ และทีมผูบ้ ริหารมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ยังคงเป็นศิษย์เก่า มข. เพื่อดูแล สร้างสรรค์ และพัฒนา มหาวิทยาลัยของเรา ให้ก้าวหน้าและยั่งยืน มอดินแดงสัมพันธ์ฉบับนีย้ งั คงเข้มข้นและคึกคัก ด้วยเนือ้ หาและบรรดาศิษย์เก่าทีเ่ ราคัดสรรมาไว้ในเล่ม หากท่านมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวารสารสามารถติดต่อมายังผมโดยตรงทาง bancph@kku.ac.th หรือ คุณสุจิตตรา อรุณวัน สำ�นักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ โทร 043-202750 1 มอดินแดงสัมพันธ์

“ขวัญเมืองขอนแก่น ไม่มีใดแม้นเหมือน “มอดินแดง”

วิทยา จริยา ปัญญา


อธิ ก ารบดี ถึ ง น้ อ งพี่ มอดิ น แดง ผมจึงได้มีการนำ�เสนอแผนยุทธศาสตร์ต่อสภามหาวิทยาลัย โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการดำ�เนินงาน มหาวิทยาลัยในอีก 5-20 ปีข้างหน้าเข้ามาประกอบการพิจารณา อาทิเช่น การรวมตัวกันของประชาคมอาเซียนและยุทธศาสตร์ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ของประเทศไทย การเพิ่ม ขึ้นของประชากรโลกและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ความมัน่ คงด้านทรัพยากรอาหาร พลังงาน นํา้ และการเปลีย่ นแปลง ภูมิอากาศปัจจัยทางเศรษฐกิจของประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) กรอบแผน อุดมศึกษา ระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) นโยบาย และยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559) ทั ก ษะนั ก ศึ ก ษาในศตวรรษที่ 21 และประการที่ สำ � คั ญ คื อ ความคาดหวังของประชาคมที่มีต่อมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผมจึงได้กำ�หนดยุทธศาสตร์ เพื่อขับเคลื่อน “มอดินแดง” แห่ ง นี้ ใ ห้ บ รรลุ ต ามเป้ า หมายและความคาดหวั ง ของสั ง คมไว้ เป็น 10 ยุทธศาสตร์ 37 กลยุทธ์ 192 มาตรการ/โครงการ โดยจำ�แนกออกตาม 4 เสาหลักของยุทธศาสตร์ที่กำ�หนดไว้โดย สภามหาวิทยาลัยขอนแก่นดังนี้ เสาหลักที่ 1 Green and Smart Campus เป็นการพัฒนา โครงสร้ า งพื้ น ฐาน ภู มิ ทั ศ น์ และระบบบริ ห ารจั ด การต่ า งๆ ของมหาวิ ท ยาลั ย ให้ มี ค วามโดดเด่ น มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและ ประสิทธิผลที่ดี ในเสาหลักนี้จะประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวจะมุ่ง เน้นการพัฒนาพื้นที่และสิ่งแวดล้อมให้เป็นแคมปัสที่เขียวและ สะอาด พัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดเพื่อให้ มข. เป็นสังคมคาร์บอนตํ่า และการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ของมหาวิทยาลัยให้สมบูรณ์ ยุ ท ธศาสตร์ ที่ 2 เป็ น อุ ท ยานการเรี ย นรู้ ต ลอดชี วิ ต ของสังคม ยุทธศาสตร์นี้จะมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ให้มีประสิทธิภาพ มีความมั่นคง และปลอดภัยพัฒนาแหล่ง เรียนรูแ้ ละการพักอาศัยทีน่ �ำ สมัย พัฒนาหอสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ มี ชี วิ ต พั ฒ นาอุ ท ยานศิ ล ปวั ฒ นธรรม การพั ฒ นาอุ ท ยาน การเกษตร และการพัฒนาอุทยานการกีฬา เพื่อให้ประชาคมและ สังคมได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้ ได้ตลอดชีวิตภายใต้ความเข้มแข็ง และความพร้อมด้านวิชาการของ “มอดินแดง” ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ จะมุ่ ง เน้ น การพั ฒ นาระบบบริ ห ารจั ด การองค์ ก รที่ เ ป็ น เลิ ศ การพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลที่สนับสนุนการขับเคลื่อนไป สู่มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำ�ระดับโลก การพัฒนาระบบการประกัน คุณภาพที่ดีและได้มาตรฐานสากล การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ด้านชุมชนสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร การจัดหารายได้จาก การบริหารจัดการทรัพยากรทรัพย์สินและทรัพย์สินทางปัญญา

(ต่อจากหน้า 1) การพัฒนาระบบบริหารจัดการศิษย์เก่าสัมพันธ์ การพัฒนาระบบ รักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาวิทยาเขตหนองคายเป็นประตูสู่ อนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับวิทยาเขต หนอคายอย่างแท้จริง จึงได้จัดให้มีมาตรการที่สำ�คัญ 2 มาตรการ ประกอบด้วย การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานและระบบบริหารจัดการ และการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มศี กั ยภาพด้านวิชาการและวิจยั ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำ�คัญต่อการพัฒนาวิทยาเขตหนองคาย เสาหลักที่ 2 Excellence Academy เป็นการพัฒนาให้ “มอดินแดง” เป็นองค์กรที่เป็นเลิศทางศิลปวิทยาการในเสาหลัก นี้จะประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 5 เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิต ซึ่งจะมุ่งเน้นในการผลิต “บัณฑิตที่มีคุณภาพให้กับสังคมเพื่อเพิ่ม

ศักยภาพ” ในด้านการแข่งขันของประเทศ โดยมีมาตรการต่างๆ ดังนี้ การพัฒนาหลักสูตรทีส่ ามารถผลิตบัณฑิตออกไปเป็นผูน้ �ำ ของ สังคม การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่สำ�หรับการเรียนรู้ ตลอดชีวติ พัฒนาระบบการรับเข้าทีม่ คี วามหลากหลาย การพัฒนา นักศึกษาอย่างสร้างสรรค์ ให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคม และการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการใหม่ให้แก่นักศึกษา จะมุ่งเน้น ยุทธศาสตร์ที่ 6 เป็เป็นนองค์ องค์กกรทีรทีเ่ ป็่เป็นเลิ นเลิศด้ศาด้นการวิ านวิจัยจยั จะมุ การสร้างนวัตกรรมและพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ภายใต้มาตรการดังนี้ การสร้างความเข้มแข็งในงาน วิจัยที่เป็นความโดดเด่นของ มข. ไปสู่ระดับสากล การพัฒนา ศักยภาพนักวิจัยให้สามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพ การปรับปรุง

2 มอดินแดงสัมพันธ์


ห่ ว งใยและดู แ ลชุ ม ชนในมิ ติ ต่ า งๆ และในเสาหลั ก นี้ จ ะ ประกอบด้วย 2 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุ ท ธศาสตร์ ที่ 8 เป็ น ศู น ย์ ก ลางการทำ � นุ บำ � รุ ง ศิ ล ป วัฒนธรรม ยุทธศาสตร์เป็นความโดดเด่นของ “มอดินแดง” ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา และมีความพร้อมที่จะยก ระดับให้เป็นศูนย์กลางของการทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรมของ กลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงได้ ภายใต้มาตรการ ดังต่อไปนี้ การพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการ งานด้านทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรม และการอนุรักษ์ สืบสาน และสร้างคุณค่าศาสนา ศิลปวัฒนธรรมไทยและอนุภูมิภาค ลุ่มนํ้าโขง

ยุทธศาสตร์ที่ 9 เป็นองค์กรที่มีความห่วงใยต่อสังคม ซึ่งเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่ “มอดินแดง” ทำ�ได้อย่างดีเยี่ยม มาโดยตลอดนับแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัย การดำ�เนินการภาย ใต้ยุทธศาสตร์นี้จึงเป็นการพัฒนาและรักษาบทบาทของการ เป็นผู้นำ�ในเรื่อง “ความห่วงใยต่อสังคม” ของ “มอดินแดง” ให้มีคุณภาพที่ดีต่อไป โดยมีมาตรการต่างๆ ดังนี้ การสร้าง ความห่วงใยต่อสังคมภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นและชุมชน ภายนอก การพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นองค์กรที่นำ�เสนอ ทางเลื อ กที่ ดี และมี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม และการ สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ที่สำ�คัญของอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง เสาหลักที่ 4 Creative Economy เป็นเสาหลักที่มุ่งเน้น การใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมจากการเรียนการสอนและ งานวิจัยเชิงสร้างสรรค์พัฒนาให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่ เ ป็ น ประโยชน์ ต่ อ ชุ ม ชน สั ง คม และประเทศ โดยมี ยุทธศาสตร์เดียวที่รองรับการขับเคลื่อนเสาหลักนี้ ยุ ท ธศาสตร์ ที่ 10 ศู น ย์ ก ลางเศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ ของภูมิภาคจากความโดดเด่นของผลงานสร้างสรรค์ของ “มอดินแดง” จะถูกนำ�ไปถ่ายทอดให้กับประชาคมและสังคม โดยการพั ฒ นาโครงสร้ า งพื้ น ฐานและทรั พ ยากรบุ ค คล เพือ่ การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ด้วยศิลป์และศาสตร์ของมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยในอีก 4 ปี ข้ า งหน้ า บรรลุ ต ามเป้ า ประสงค์ ต่ า งๆ ข้ า งต้ น ได้ จึงได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาคมที่เกี่ยวข้องกับ มหาวิทยาลัย โดยแบ่งเวทีการรับฟังความคิดเห็นออกเป็น 7 เวทีประกอบด้วย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย/คณะ/สถาบัน/ สำ�นัก/ศูนย์ หัวหน้าสำ�นักงานคณะ/สถาบัน/สำ�นัก/ศูนย์ ผูน้ �ำ นักศึกษาและสภานักศึกษาทัง้ ระดับมหาวิทยาลัยและคณะวิชา สภาคณาจารย์/สภาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง หน่วย งานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดขอนแก่น ผูบ้ ริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา วิทยาเขตหนองคาย และกรรมการ ส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยขอนแก่น และนำ�เอาข้อเสนอแนะ ต่างๆ มาจัดทำ�เป็นแผนพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่นฉบับ สมบูรณ์ เพื่อใช้ในการขับเคลื่อน “มอดินแดง” ต่อไป ทุกเสาหลักและยุทธศาสตร์ทจี่ ดั ทำ�ขึน้ ล้วนมีความสำ�คัญ มีความสัมพันธ์ มีความเชื่อมโยง และเกี่ยวร้อยกันและกัน เหมือนกับจิก๊ ซอดังรูป จึงจะทำ�ให้การขับเคลือ่ น “มอดินแดง” บรรลุตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ ได้ รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

3 มอดินแดงสัมพันธ์

รื่นรมย์งามสมเป็นแหล่ง ชาวมอดินแดงพร้อมเพรียงแรงภูมิใจ

โครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและสร้างบรรยากาศการวิจัย ที่เอื้อต่อการผลิตผลงานที่มีคุณภาพ และการนำ�ผลงานวิจัย และนวัตกรรมสูก่ ารสร้างมูลค่าและการใช้ประโยชน์เพือ่ สังคม ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนามหาวิทยาลัยไปสูค่ วามเป็นสากล เป็นยุทธศาสตร์ทจี่ ะสร้างพืน้ ที่ให้กบั “มอดินแดง” เป็นทีร่ จู้ กั ในสังคมวงกว้าง ภายใต้มาตรการดังนี้ การจัดสภาพแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นสากล การเตรียมความพร้อม ของมหาวิทยาลัยเพือ่ เข้าสูอ่ าเซียนและสากล และการเตรียม ความพร้อมของนักศึกษา บุคลากร และคณาจารย์เพื่อเข้าสู่ อาเซียนและสากล เสาหลักที่ 3 Culture and Care Community เสาหลักนี้ มีเป้าประสงค์ที่จะขับเคลื่อนให้ “มอดินแดง” เป็นสังคม ทีม่ กี ารส่งเสริมการทำ�นุบ�ำ รุงศิลปะ วัฒนธรรม ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่


ศิ ษ ย์ เ ก่ า ค น เ ด่ น นายอุฤทธิ์ ศรีหนองโคตร (มข.รุ่นที่ 11) รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำ�คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปี 2557 ประวัติการศึกษา - ปริญญาตรี วิศกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศกรรมอุตสาหการ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.รุ่นที่ 11) - ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) มหาวิทยาลัยขอนแก่น - กำ�ลังศึกษาระดับปริญญาเอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ประวัติการทำ�งาน - 2557 - ปัจจุบัน รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม - 2556 - 2557 เลขาธิการสำ�นักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม - 2554 - 2556 รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและนํ้าตาล กระทรวงอุตสาหกรรม - 2553 - 2554 รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม งานด้านสังคม - 2538 - 2541 ประธานชมรมศิษย์เก่าวิศวะ มข.ภาคอีสาน - 2539 - 2542 เลขาธิการสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลงานด้านการพัฒนา - โครงการยกระดับความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมวัตถุดิบ โดยการจัดทำ�แผนแม่บทการพัฒนาแหล่งนํ้า สำ�หรับการผลิตอ้อย ร่วมกับคณะวิศกรรมศาสตร์ มข. - โครงการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาด้านอ้อย ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ มข. - โครงการพั ฒ นาระบบบริ ห ารจั ด การข้ อ มู ล ทะเบี ย นชาวไร่ อ้ อ ยและหั ว หน้ า กลุ่ ม ชาวไร่ อ้ อ ย ร่ ว มกั บ คณะวิศกรรมศาสตร์ มข. - โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักรกลการเกษตรสำ�หรับการขุดตออ้อย ร่วมกับคณะวิศกรรมศาสตร์ มข. - โครงการศึกษาวิธีคำ�นวณต้นทุนการผลิตอ้อย ร่วมกับคณะวิทยาการจัดการ มข. รางวัลเกียรติยศ - รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำ�คณะวิศวกรรมศาสตร์ ประจำ�ปี 2557 4 มอดินแดงสัมพันธ์


ศิ ษ ย์ เ ก่ า ค น เ ด่ น ดร.มงคลชัย สมอุดร (มข.รุ่นที่ 20)

ประวัติการศึกษา - ศิลปศาสตรบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น - นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรเกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจยั ทางพฤติกรรมศาสตร์กบั การพัฒนาบุคคล) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) - Doctor of Philosophy (Vocational Education) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประวัติการทำ�งาน - เริ่มต้นรับราชการตำ�แหน่งอาจารย์ นักวิชาการศึกษา ศึกษานิเทศก์และผู้บริหารสถานศึกษา มากกว่า 10 ปี - 2546 - 2552 ผู้อำ�นวยการวิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา - 2553 - 2555 ผู้อำ�นวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา - 2555 - ปัจจุบัน ผูอ้ �ำ นวยการสำ�นักวิจยั และพัฒนาการอาชีวศึกษา (ระดับ9) สำ�นักงานคณะกรรมการ อาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ รางวัลเกียรติยศ - รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2552 - รางวัลผูบ้ ริหารสถานศึกษาทีเ่ ป็นแบบปฏิบตั ทิ ดี่ ี (The Best Practice) ด้านการบริหารจัดการและขับเคลือ่ น งานวิจัยสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา - รางวัลบุคคลคุณธรรมแห่งปี ประจำ�ปี 2557 - รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำ�คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปี 2557

5 มอดินแดงสัมพันธ์

เปรียบแล้วก็ปานวิมานหล้า ชื่นราตรีทิวาสรรมาได้

ผู้อำ�นวยการสำ�นักวิจัยและพัฒนาอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำ�คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปี 2557


แ ว ด ว ง ศิ ษ ย์ เ ก่ า

คืนสู่เหย้า “50 ปี เฮาฮัก มข.” ร่วมยินดีกับศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัล คื น วั น ที่ 25 มกราคม 2558 สมาคมศิ ษ ย์ เ ก่ า มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น นำ � โดย ผู้ ช่ ว ยศาสตราจารย์ นพ.วิ นั ย ตั น ติ ย าสวั ส ดิ กุ ล นายกสมาคมศิ ษ ย์ เ ก่ า ฯ ได้จัดงาน “50 ปี เฮาฮัก มข.” ขึ้น ณ ศูนย์ประชุมอเนก ประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดี

ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน และกล่าวแสดง ความยินดีกับศิษ ย์เก่าที่ ได้รับการเชิดชูเกียรติ ให้ ได้รับ รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำ�คณะ ประจำ�ปี 2557 และศิษ ย์เก่าแห่งความภูมิ ใจ ประจำ�ปี 2558 ท่ า มกลางศิ ษ ย์ เ ก่ า คณะต่ า งๆ ที่ ม าร่ ว มงาน กว่า 1,500 คน

6 มอดินแดงสัมพันธ์


แ ว ด ว ง ศิ ษ ย์ เ ก่ า จำ � นวน 37 ท่ า น ปิ ด ท้ า ยด้ ว ยละครเวที วั น ทอง เดอะมิวสิคัล ในโอกาสนี้ ศิษ ย์เก่า มข. ได้บริจาคเงินให้กับ สมาคมศิ ษ ย์ เ ก่ า ฯ เพื่ อ สมทบทุ น การสร้ า งอาคาร ที่ ทำ � การของสมาคมศิ ษ ย์ เ ก่ า ฯ หลั ง ใหม่ ดั ง นี้ ชมรมศิษย์เก่า มข. จังหวัดชลบุรี จำ�นวน 20,000 บาท, ศิษย์เก่า มข. รุ่นที่ 12 จำ�นวน 200,000 บาท, สมาคม ศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จำ�นวน 100,000 บาท และนายสิ ท ธิ ชั ย ลี เ กษม นายกสมาคมศิ ษ ย์ เ ก่ า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จำ�นวน 100,000 บาท

เมื่อคำ�นึงซึ้งในหทัย - ใฝ่ฝัน...

งานเริ่มด้วยการแสดงของวงดนตรี Unity Band ต่ อ ด้ ว ยการมอบโล่ ร างวั ล แก่ ศิ ษ ย์ เ ก่ า ดี เ ด่ น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำ�คณะ ประจำ�ปี 2557 ซึ่ ง ปี นี้ ม หาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ นได้ คั ด เลื อ กศิ ษ ย์ เ ก่ า ที่มีประวัติและผลงานโดดเด่นเป็นที่ยอมรับ และ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม รวมทั้งคณะ ของตนเองและมหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น เพื่ อ รั บ รางวัล รวม 15 ท่าน และการมอบรางวัลศิษย์เก่า แห่งความภูมิใจ ประจำ�ปี 2558 ที่สมาคม/ชมรมศิษย์ เก่าคณะต่าง ๆ และชมรมศิษย์เก่า มข.จังหวัดต่าง ๆ ได้คัดเลือกและเสนอชื่อไปที่สมาคมฯ เพื่อพิจารณา

7 มอดินแดงสัมพันธ์


แ ว ด ว ง ศิ ษ ย์ เ ก่ า

คืนสู่เหย้า เกษตรศาสตร์ มข. วันที่ 24 มกราคม 2558 สมาคมศิษย์เก่าคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น นำ � โดย ศ.ดร.เมธา วรรณพั ฒ น์ นายกสมาคมฯ ได้จดั งาน “คืนสูเ่ หย้า...เกษตรศาสตร์ มข.” เพือ่ ให้ ศิษ ย์เก่าได้กลับมาเยี่ยมเยือนและจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ แก่คณะฯ และมหาวิทยาลัย โดยช่วงเช้าได้มีการทำ�บุญเลี้ยง พระเพล การแสดงมุ ทิ ต าจิ ต แด่ ค ณาจารย์ อ าวุ โ ส และการ ประชุมสามัญประจำ�ปีของสมาคมฯ และช่วงคํ่าศิษ ย์เก่าคณะฯ รุ่นที่ 8, 18, 28, 38 และ 48 ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยง สังสรรค์ ณ สนามหญ้าหน้าตึก AG01 คณะเกษตรศาสตร์ โดยมี รศ.ดร.เอนก โตภาคงาม อดีตคณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ให้เกียรติ

เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมมอบโล่รางวัลแก่ศิษย์เก่าดีเด่น และศิษย์เก่าเกียรติยศด้านต่าง ๆ ประจำ�ปี 2558 จากนั้นเป็นการ แสดงของเจ้าภาพ ต่อด้วยการแสดงของวงดนตรี “ทิดเขียว On The Ground” ปิดท้ายด้วยการร้องเพลงประจำ�คณะฯ ร่วมกัน ของศิษย์เก่าที่มาร่วมงาน โอกาสนี้ ศิษ ย์เก่าคณะเกษตรศาสตร์ ได้บริจาคเงินให้กับ สมาคมฯ ดังนี้ ศิษย์เก่า รุ่น 8 จำ�นวน 111,888 บาท, ศิษย์เก่า รุ่น 18 จำ�นวน 180,000 บาท, ศิษย์เก่ารุ่น 28 จำ�นวน 100,000 บาท, คุณอุไร สุวรรณวงศ์ 10,000 บาท, ศิษย์เก่า รุ่นที่ 5 จำ�นวน 15,000 บาท

8 มอดินแดงสัมพันธ์


ชมรมศิษย์เก่าบุรีรัมย์ จัดกิจกรรมการกุศลและพบปะสังสรรค์วันสถาปนา มข. ชมรมศิษ ย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดบุรีรัมย์ จัดกิจกรรมการกุศลและพบปะสังสรรค์ เนื่องในวันสถาปนา มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น 25 มกราคม 2558 มี ศิ ษ ย์ เ ก่ า หลากหลายคณะร่วมกิจกรรมกว่า 50 คน โดยในภาคกลาง วันมีกจิ กรรมเลีย้ งอาหารเทีย่ งทีบ่ า้ นบุรรี มั ย์ (บ้านพักคนชรา) และในภาคคํ่ า จั ด กิ จ กรรมพบปะสั ง สรรค์ ที่ โ รงแรม ธาดาชาโตว์ อ.เมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ผศ.กำ � พล สิ น ธุ รั ต น์ ประธานชมรมศิ ษ ย์ เ ก่ า มข. จ.บุรีรัมย์ (มข. รุ่นที่ 7) กล่าวว่า “การจัดกิจกรรมพบปะ สังสรรค์ ในครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีและถือเป็นก้าวแรก ที่งดงามน่าชื่นใจ แม้เราจะมีศิษย์เก่า มข. ที่เป็นคนบุรีรัมย์ จำ�นวนนับพันคน แต่การรวมตัวครั้งแรกนี้ น่าจะเป็นก้าว

แรกที่จะสามารถเชื่อมต่อไปยังศิษย์เก่าท่านอื่นๆ ในอนาคต แท้ที่จริงการพบปะกันของศิษย์เก่า มข. มีอยู่อย่างต่อเนื่อง มาโดยตลอด แต่ไม่เป็นทางการ เป็นการเฉพาะกลุ่ม หรือ เคยมีการพบปะกันกลุ่มใหญ่ๆ อยู่บ้าง แต่ครั้งนี้หลังจากการ จัดตั้งชมรมศิษย์เก่า มข. จังหวัดบุรีรัมย์ ก็จะเป็นจุดเปลี่ยน ที่สำ�คัญและน่าจะทำ�ให้เราชาว มข. บุรีรัมย์ ได้พบปะกัน มากขึ้น บ่อยขึ้น หรือได้ร่วมกันทำ�กิจกรรมดีๆ เพื่อสังคม โดยการหารื อ ในเบื้ อ งต้ น อาจจะมี ก ารจั ด กิ จ กรรมพบปะ สั ง สรรค์ กั น อี ก รอบในช่ ว งเทศกาลสงกรานต์ ที่ จ ะถึ ง นี้ เพื่อร่วมกันทำ�กิจกรรมที่ดีแก่ส่วนรวม และเป็นการพบปะกัน เพื่อสานสายใยพี่น้องมอดินแดงในถิ่นบุรีรัมย์”

พี่ศิษย์เก่า มข. ร่วมประเพณีพาน้องใหม่สักการะพระธาตุพนม

นายคมสิน ศรีมานะศักดิ์ ประธานชมรมศิษย์เก่า มข. จั ง หวั ด นครพนม และนายสุ ขุ ม หาบุ ศ ย์ ผู้ แ ทนชมรม ศิษ ย์เก่า มข. จังหวัดมุกดาหาร พร้อมด้วยศิษ ย์เก่า มข. ในพื้นที่จังหวัดนครพนมและมุกดาหาร ได้ร่วมงานประเพณี พาน้องใหม่สักการะพระธาตุพนม ที่ทางองค์การนักศึกษา

มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อน.มข.) ร่วมกับสโมสรนักศึกษา ทั้ง 22 คณะ/วิทยาลัย จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2558 ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม โดยประธานชมรมศิษย์เก่า มข. จังหวัดนครพนม ได้กล่าว ต้อนรับและเชิญชวนนักศึกษาเที่ยวชมจังหวัดนครพนมด้วย

9 มอดินแดงสัมพันธ์

ขวัญชาวมอดินแดง ไม่เคยแห้งแล้งเพราะแรงใจมั่น

แ ว ด ว ง ศิ ษ ย์ เ ก่ า


ร อ บ รั้ ว ม อ ดิ น แ ด ง

คอนเสิร์ตโรงเรียนของหนูสร้างรายได้กว่าล้านบาท มอบ มข. เพื่อการกุศล ปู พงษ์สิทธิ์ คำ�ภีร์ ศิลปินชื่อดังเพลงเพื่อชีวิต จับกีต้าร์แสดงมหกรรมคอนเสิร์ต การกุศล “โรงเรียนของหนู ปี 2" แฟนเพลงยังแห่เข้าร่วมกันอย่างล้นหลาม สนับสนุนโครงการ โรงเรียนของหนู มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อสมทบทุนสร้างห้องสมุดโรงเรียนบ้านดงกลาง ตำ � บลบ้ า นโต้ น อำ � เภอพระยื น จั ง หวั ด ขอนแก่ น ด้ ว ยความร่ ว มมื อ จาก มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่น สิงห์อาสา และเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2558 ณ เวที ก ลางแจ้ ง ลานวั ฒ นธรรม สำ � นั ก วั ฒ นธรรม มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น และ คณะกรรมการดำ�เนินงานคอนเสิร์ตโรงเรียนของหนู นำ�รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตการกุศล จำ�นวน 1,028,963.83 บาท สมทบทุนโครงการมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อสังคม ภายใต้ โครงการ 50 ปีมหาวิทยาลัยขอนแก่น 50 ห้องสมุดเพื่อน้อง พร้อมรายงานผลการปฏิบัติงาน แก่ รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อนำ�ไปปรับปรุง ห้องสมุด รวมทั้งพัฒนาครูบรรณารักษ์ให้ 50 โรงเรียน

ประเพณีโต้วาทีน้องใหม่ มข. ปีที่ 7 ชมรมพัฒนาผู้นำ� ร่วมกับ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น และชุมนุมนิติ วาที คณะนิติศาสตร์ จัดการแข่งขันโต้วาที “ประชันวาทะ ปะทะวาที” ประเพณีโต้วาที น้องใหม่ ปีที่ 7 ระหว่างวันที่ 23-26 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ นักศึกษาน้องใหม่ได้ฝกึ ทักษะการพูดในทีป่ ระชุมชน การใช้ทกั ษะการคิดและการพูด และ เพือ่ เป็นการเสริมศักยภาพในทางภาษาแก่นกั ศึกษาน้องใหม่ อีกทัง้ เพือ่ เป็นการเฟ้นหานัก พูด ทีล่ านกิจกรรม ศูนย์อาหารและบริการ 1 (คอมเพล็กซ์) ซีง่ ในอดีตมีการจัดโต้วาทีนอ้ ง ใหม่และได้ขาดหายไป ชมรมพัฒนาผูน้ � ำ จึงได้รเิ ริม่ จัดขึน้ อีกครัง้ นับเป็นปีที่ 7 ทีจ่ ดั อย่าง ต่อเนื่อง

10 มอดินแดงสัมพันธ์


ร อ บ รั้ ว ม อ ดิ น แ ด ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับวัดไชยศรี เทศบาลตำ�บลสาวถี และชาวชุ ม ชนสาวะถี พร้ อ มด้ ว ยเครื อ ข่ า ยด้ า นศิ ล ปวั ฒ นธรรม ร่วมสืบสานประเพณีอีสานในงาน "งานบุญเดือน 3 สินไซ บุญข้าวจี่ วิถีวัฒนธรรมอีสาน" ประจำ�ปี 2558 เมื่อวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2558 ณ วัดไชยศรี ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น พร้อมกันนี้ได้จัดให้มีพิธี สมโภชพระศรี 50 ปี มข. พระไม้ที่เชื่อกันว่ามีขนาดหน้าตักกว้างที่สุด ในภาคอีสานอีกด้วย การสร้างพระพุทธรูป ไม้ที่ ได้กำ�หนดรูปแบบการสร้างจากฐานความรู้งานวิจัยที่ศึกษาเรื่องพระพุทธรูป ไม้ ในภาคอีสาน มีกระบวนการ มีส่วนร่วมจากบุคลากรและชุมชนหลายฝ่าย ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและคัดเลือกไม้มงคล ตลอดจนกระบวนการแกะสลักองค์พระซึ่งมุ่งสะท้อน ความงดงามของพระพุทธรูปผ่านศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน จึงสำ�เร็จเป็นพระพุทธรูปไม้สักทองทั้งองค์ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2.40 ซม. สูง 3.20 ม. นับเป็นพระพุทธรูปไม้องค์ใหญ่ทสี่ ดุ ทีส่ ะท้อนอัตลักษณ์ของอีสาน ตามต้นแบบของหลวงพ่อพระใสทีส่ ร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งอาณาจักรล้านช้าง มีชื่อว่า “หลวงพ่อพระศรี 50 ปี มข.” หรือ “พระศรีปัญญาสภูริฐาน” หมายถึง หลวงพ่อพระศรีที่ประดิษ ฐานไว้ ณ แหล่งภูมิปัญญาของแผ่นดิน ในวาระ 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

องค์การนักศึกษาจัดประกวด “ดาวรุ่งลูกทุ่งมอดินแดง” ฉลองครบรอบ 50 ปี มข.

องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดประกวดวงดนตรีลูกทุ่งพร้อมหางเครื่อง “ดาวรุ่งลูกทุ่งมอดินแดงคอนเทสต์” ระดับมัธยมศึกษา เฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปี การสถาปนามหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีครูเพลงชื่อดังร่วมให้คะแนนตัดสินการประกวด ประกอบด้วย ครูสมชาย ตรุพิมาย, ครูวสุ ห้าวหาญ, ครูสลา คุณวุฒิ, ครูชุติเดช ทองอยู่ (ครูเทียม ชิงช้าสวรรค์), ครูเรืองยศ พิมพ์ทอง (ครูเรืองยศ ชิงช้า สวรรค์) และ อาจารย์ผจญ พีบุ้ง (ผอ. KKU Band) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มข. ในรอบชิงชนะเลิศ จัดการประกวดในวันที่ 23 มกราคม 2558 ณ เวที กลางแจ้ง หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น การจัดการแข่งขันกำ�หนดให้โรงเรียนที่เข้าประกวด เล่นเพลงลุกทุ่งในจังหวะช้า 1 เพลง เพลงลูกทุ่งในจังหวะเร็ว 1 เพลง และเพลงประจำ�มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1 เพลง การประกวดวงดนตรีลูกทุ่งและหางเครื่อง ระดับมัธยมศึกษา ดางรุง่ ลูกทุง่ มอดินแดง รอบชิงชนะเลิศ มีโรงเรียนทีเ่ ข้าร่วมการประกวด 7 โรงเรียน ผลการประกวดเป็นดังนี้ ชนะเลิศ โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ กรุงเทพมหานคร, รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนนํ้าพองศึกษา จังหวัดขอนแก่น, รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนโคกสลุงวิทยา จังหวัดลพบุรี, รอง ชนะเลิศอันดับ 3 โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จังหวัดขอนแก่น, รองชนะเลิศอันดับ 4 โรงเรียนเซิมพิทยาคม จังหวัดหนองคาย, ชมเชย โรงเรียน วาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และโรงเรียนขามแก่นนคร จังหวัดขอนแก่น

11 มอดินแดงสัมพันธ์

กาลพฤกษ์งามนั่น หยัดยืนเป็นขวัญน้อมชีวันบูชา

มข. พุทธาภิเษกพระศรี 50 ปี มข. ยิ่งใหญ่ พร้อมสืบสานประเพณีบุญข้าวจี่


มหาวิ ท ยาลั ย แห่ ง การวิ จั ย

รศ.ดร. มนต์ชัย ดวงจินดา

มข. พัฒนาไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ใหม่ “KKU 50” เลี้ยงง่าย โตไว ไข่ดก ต้นทุนตํ่า ปั จ จุ บั น อาชี พ การเลี้ ย งสั ต ว์ ได้ รั บ ความนิ ย มอย่ า ง แพร่ ห ลายในเกษตรกรไทย ซึ่ ง การเลี้ ย งดู ต้ อ งเอาใจใส่ เป็ น อย่ า งดี ผู้ เ ลี้ ย งจำ � เป็ น ต้ อ งเรี ย นรู้ แ ละศึ ก ษาถึ ง ข้ อ ดี ข้อเสีย รวมทั้งปัจจัยต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการผลิต สัตว์และการตลาดให้ถ่องแท้ จึงจะได้รับผลผลิตที่คุ้มค่า และมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ� เช่นเดียวกันกับการเลี้ยงไก่พื้น เมืองที่ รองศาสตราจารย์ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา คณบดีคณะ เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะผู้อำ�นวยการ ศูนย์เครือข่ายวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง) มหาวิทยาลัยขอนแก่น และทีมงาน ร่วมกับสำ�นักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. และบริษั ทตะนาวศรี ไก่ ไทย (ภาคเอกชน) ได้รว่ มลงทุนในการพัฒนาสายพันธุ์ ไก่พนื้ เมือง ไทย KKU 50 ขึ้นอีก 4 สายพันธ์ ซึ่งเป็นไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ ใหม่ที่เลี้ยงง่าย โตไว ไข่ดก และต้นทุนตํ่า รองศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา ผู้อำ�นวย การศูนย์เครือข่ายวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้น เมือง) มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยถึงการพัฒนาสายพันธ์ ไก่ KKU 50 ว่า ศูนย์เครือข่ายวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ฯ ได้ประกาศสายพันธุ์ ไก่ที่พัฒนาขึ้นก่อนหน้านี้แล้ว 2 สาย พันธุ์หลัก คือ ไก่ประดู่หางดำ� มข.55 และ ไก่สายพันธุ์ชี KKU 10 ในส่วนของ ไก่ไทย KKU 50 เป็นไก่สายพันธุ์ ใหม่ที่เรา พัฒนาขึ้น และได้ประกาศพันธุ์ ในปี 2557 ในวาระครบ รอบ 50 ปี ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และครบรอบ 50 ปี ของคณะเกษตรศาสตร์ด้วย ไก่ไทย KKU 50 มีต้นกำ�เนิดมาจากไก่พื้นเมือง คือ ไก่ชี ซึ่งมีขนสีขาว จากนั้น ก็สร้างลูกผสมกับไก่ทางการค้า เมื่อได้ ลู ก ผสมแล้ ว เราได้ มี ก ารคั ด เลื อ กพั น ธุ์ ใ ห้ เ ป็ น สายพั น ธุ์ แ ท้ ปัจจุบันเราได้ขึ้นมาอีก 4 สายพันธุ์แท้ ได้มีการประกวด ชื่อแล้ว คือ แก่นทอง สร้อยนิล สร้อยเพชร และไข่มุกอีสาน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะต่อท้ายด้วย KKU 50

โดยกลุ่ม “แก่นทอง” จะมีสีนํ้าตาลชัดเจน เราเรียกว่า สี อำ � พั น เพราะจะเป็ น สี อ อกทองนิ ด ๆ ความโดดเด่ น ของแก่นทอง คือเป็นไก่ที่ ให้ ไข่ดกมาก โดยเฉลี่ยในหนึ่งปี ให้ ไข่กว่า 200 ฟอง ซึ่งเหมาะที่จะทำ�เป็นไก่ที่เลี้ยงเพื่อผลิตไข่ อย่างเช่นไข่อินทรีย์ หรือแปลงไข่จากไก่หลังบ้าน ส่วนของกลุ่ม “สร้อยเพชร” เป็นไก่ที่มีขนสีดำ�แต่มี สร้ อ ยคอ แผงคอเป็ น สี ข าว ซึ่ ง จะมี ลั ก ษณะสวยงาม และจะมี ค วามโดดเด่ น ที่ เ ป็ น ลั ก ษณ์ ส องด้ า น คื อ เรื่ อ ง การเจริญเติบโต และเรื่องของการให้ ไข่ดก เพราะฉะนั้น จะเหมาะกับกลุ่มเกษตรกรที่อยากจะมี ไก่ที่ ใช้ ได้ ทั้งเลี้ยง เพื่อเป็นเนื้อและเลี้ยงเพื่อผลิตไข่ ตัวที่ 3 กลุ่มของ “สร้อยนิล” จะเป็นกลุ่มที่มีขนสีขาว มี ส ร้ อ ยคอสี ดำ � กลุ่ ม สร้ อ ยนิ ล มี ค วามโดดเด่ น สองด้ า น เช่นกัน คือสามารถเลี้ยงเพื่อการเจริญเติบโตก็ได้และก็เลี้ยง ให้ ไ ข่ ก็ ไ ด้ ในขณะที่ ก ลุ่ ม “สร้ อ ยเพชร” ลั ก ษณะเด่ น มีขนสีดำ�และมีสร้อยคอสีขาว จะมีสองลักษณะเด่นเช่นกัน ในส่ ว นของความแตกต่ า งของกลุ่ ม สร้ อ ยเพชร คื อ เมื่ อ นำ�ไปผสมพันธุ์กับไก่ทางการค้าใดๆ ก็ตาม จะได้ลักษณะ เด่ น ที่ มี ข นสี ดำ � กลั บ ออกมา ซึ่ ง สามารถที่ จ ะนำ � ลู ก ผสม

12 มอดินแดงสัมพันธ์


13 มอดินแดงสัมพันธ์

ดั่งไม้ยืนต้นทนแห้งแล้ง ขวัญชาวมอดินแดงล้นอุรา

จากกลุ่ ม สร้ อ ยเพชรไปเป็ น ตลาดชุ ม ชนได้ เพราะคน ทางภาคอีสานและภาคเหนือจะชอบไก่ที่มีขนสีดำ� ส่วนสายพันธ์สุดท้ายคือ “ไข่มุกอีสาน” ลักษณะเด่น จะมีสีขาวปลอดตลอดทั้งตัว มีแข้งสีเหลือง ลักษณะสีสัน จะคล้ายกับไก่ชีซึ่งเป็นพันธ์พื้นเมืองแท้ แต่เนื่องจากเรา เป็นไก่พันธุ์สังเคราะห์สายใหม่ที่สร้างขึ้น ไก่ไข่มุกอีสาน จะมีการเจริญเติบโตที่เร็วขึ้น ต้นทุนการผลิตที่ตํ่าลง และเป็ น ตั ว ที่ เ รากำ � ลั ง จะผลิ ต เป็ น ไก่ ไ ทยบอยเลอร์ ในอนาคต ไทยบอยเลอร์คือไก่เนื้อไทย ซึ่งจะมีศักยภาพ มากในการส่ ง ออกในตลาดในกลุ่ ม อาเซี ย นและกลุ่ ม ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะสนใจไก่ลูกผสมไก่บ้านไทย เป็นต้น รศ.ดร.มนชัย ดวงจินดา กล่าวเสริมว่า ในอนาคต คนจะให้ความสนใจในเรื่องของการบริ โภคอาหารที่เป็น อาหารพื้นบ้าน อาหารที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาก ขึ้น เรื่องของไก่พื้นเมืองกำ�ลังถูกจัดเป็นอาหารสุขภาพ เนื่องจากมีคอเลสเตอรอลตํ่ากว่าไก่เนื้อทั่วไป มีรสชาติ ที่อร่อยกว่าโดยที่ ไม่ต้องใส่ผงชูรส เลี้ยงค่อนข้างง่าย เป็ น การเข้ า สู่ ชุ ม ชนและช่ ว ยเหลื อ เกษตรกรโดยตรง ก็จะทำ�ให้ผู้บริ โภคหันมาสนใจอาหารลักษณะนี้มากขึ้น

เพราะฉะนั้นแนวทางในการส่งเสริมและแนวทางในการ จั บ มื อ กั บ ภาคเอกชนและภาคเกษตรกร ก็ จ ะเป็ น รู ป แบบที่ชัดเจนขึ้น คงจะไม่ ใช่ลักษณะของที่เราเรียกว่า เกษตรพั น ธสั ญ ญา ที่ มี แ ต่ ท างภาคบริ ษั ทเป็ น ผู้ ได้ ป ระโยชน์ แ ต่ ฝ่ า ยเดี ย ว ตอนนี้ เ นื่ อ งจากสายพั น ธุ์ ยังอยู่ ในส่วนที่ดูแลรับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัย และ ภาคเอกชนจะมาดูแลในเรือ่ งของการตลาด ประสบการณ์ การผลิ ต อาจจะเป็ น ภาคเกษตรกรหรื อ ว่ า ชุ ม ชนต่ า งๆ การจัดการในลักษณะแบบนี้ก็จะทำ�ให้เกิดความยั่งยืนใน การผลิตไก่บ้านไทย “ศั ก ยภาพของไก่ พื้ น เมื อ งเรา ในกลุ่ ม ประเทศ อาเซียนและในกลุม่ ต่างประเทศ ก็มคี วามต้องการสูงมาก ตอนนี้ไม่วา่ จะเป็นประเทศลาว กัมพูชา พม่าหรือเวียดนาม หรือแม้แต่มาเลเซีย นิยมบริโภคไก่พื้นเมืองและลูกผสม พื้นเมืองเป็นส่วนใหญ่ จะไม่ค่อยสนใจบริโภคไก่เนื้อทั่วไป ไก่เนื้อทั่วไปต้องเลี้ยงในโรงเรือน Evap หรือโรงเรือน ปรั บ อากาศ ซึ่ ง ต้ น ทุ น ค่ อ นข้ า งสู ง เพราะฉะนั้ น การส่งออกในรูปของสายพันธุ์ลูกผสมต่างๆ ของไก่บ้าน ไทยกับประเทศเพื่อ นบ้านก็เป็นไปได้สูง ส่ว นในเรื่อ ง ของคุณภาพเนื้อ ตอนนี้มีหลายประเทศให้ความสนใจ เช่นประเทศที่ ไกลออกไป อย่างประเทศญี่ปุ่น ประเทศ อิสราเอล กลุ่มพวกนี้เขาต้องการบริ โภคไก่ที่มีลักษณะ เหนียวนุ่มเล็กน้อย เช่นไก่บ้าน เป็นต้น เพราะฉะนั้น ในอนาคตเรื่องของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองไทย ค่อนข้างมี อนาคตที่สดใส และก็เป็นอาชีพอีกอาชีพหนึ่งที่เกษตรกร น่าจะให้ความสนใจ และต้องการที่จะสร้างประโยชน์ และทำ�ให้เกิดการแก้ปัญหาเหลื่อมลํ้าในสังคม และก็ ทำ�ให้มีรายได้มากขึ้นเป็นอย่างดี” รองศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา กล่าวทิ้งท้าย


ม ห า วิ ท ย า ลั ย เ พื่ อ ชุ ม ช น

งานวิจัยยางนากับการบูรณาการเพื่อสังคม ดร.สมพร เกษแก้ว (มข. รุ่นที่ 26)

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมือ่ ปี 2504 ทีว่ า่ “ไม้ยางนาในประเทศไทยได้ถกู ตัดฟัน ใช้สอย และทำ�เป็นสินค้ากันเป็นจำ�นวนมากขึ้นทุกปี เป็นที่น่าวิตกว่า หากมิ ได้ทำ�การบำ�รุงส่งเสริมและดำ�เนินการปลูกไม้ยางนา ขึน้ แล้ว ปริมาณไม้ยางนาอาจจะลดน้อยลงไปทุกที จึงควรทีจ่ ะ ได้มีการดำ�เนินการวิจัยเกี่ยวกับการปลูกยางนาเพื่อนำ�ความรู้ ไปใช้ในการปฏิบัติ” หลั ง จากนั้ น มี ห น่ ว ยงานหลายภาคส่ ว น ได้ ร่ ว มกั น ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยางนาเรื่อยมา เกิดองค์ความรู้มากมาย เกี่ยวกับสายพันธุ์ต่างๆ ของไม้ตระกูลยาง สัณฐานวิทยา แมลงศัตรู การใช้ประโยชน์ ในด้านต่างๆ อย่างหลากหลาย แต่องค์ความรู้เหล่านี้ก็ไม่ได้มีองค์กรใดที่จะรับผิดชอบในการ ถ่ายทอดสู่สังคมเพื่อให้เห็นคุณค่าของไม้ยางนาอย่างแท้จริง และถูกต้อง บวกกับไม้ยางนาถูกกำ�หนดให้เป็นไม้หวงห้ามและ คุ้มครอง ห้ามการตัด โค่น ทำ�ลายหรือห้ามกระทำ�การใดๆ ทีเ่ ป็นสาเหตุให้เกิดการตาย ปลูกได้แต่ตดั ไปใช้ประโยชน์ ไม่ได้ ถ้าไม่ได้ขออนุญาตจากหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบรวมทั้ง การขออนุญาตมีความยุง่ ยากและใช้เงิน ซึง่ อาจเป็นอีกสาเหตุ หนึง่ ทีท่ �ำ ให้ประชาชนไม่อนุรกั ษ์และไม่สนใจทีจ่ ะปลูกเพิม่ เติม ต้นยางนาที่มีเหลืออยู่ก็มักจะถูกลักลอบตัดนำ�มาใช้ประโยชน์ เรื่อยมา จนปัจจุบันบางพื้นไม่พบต้นยางนาเหลืออยู่เลย ในช่วงปี พ.ศ. 2552-54 ดร.สมพร เกษแก้ว ได้มีโอกาส ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับภาคีเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านหลายครัง้

รูปที่ 1 ศึกษาเรียนรู้กับภาคีเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน

ได้รบั ทราบปัญหาและโจทย์วจิ ยั ทีส่ �ำ คัญๆ หลายอย่าง ทีจ่ ะใช้ ในการศึกษาวิจยั เพือ่ สร้างองค์ความรู้ นวัตกรรมแล้วถ่ายทอด สู่สังคม ชุมชน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ปฏิบัติตามและ สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยเฉพาะด้านพลังงานทดแทนจาก ต้นยางนา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา การศึกษาวิจัยไม้ยางนา เพื่ อ ใช้ เ ป็ น พลั ง งานทดแทนและด้ า นอื่ น ๆ ก็ เ ริ่ ม ต้ น ขึ้ น การศึ ก ษาและสำ � รวจแหล่ งไม้ ย างนาในเขตขอนแก่ น และ จังหวัดใกล้เคียง วิธีการเจาะเก็บนํ้ามัน การศึกษาสารองค์ ประกอบ การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพ การพัฒนาเป็นนํ้ามัน เชื้อเพลิง และอื่นๆ

รูปที่ 2 การศึกษาวิจัยไม้ยางนาในด้านต่างๆ

จากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยางนานี้ ได้สร้างบัณฑิตและ มหาบัณฑิตสู่สังคมหลายท่าน นอกจากนี้ยังสร้างเครือข่าย ของนักวิชาการหลายสาขาให้มาทำ�งานร่วมกัน

รูปที่ 3 นักวิชาการหลายสาขาร่วมทำ�วิจัยยางนา

14 มอดินแดงสัมพันธ์


นาครั้งนี้เป็นตัวบ่งชี้ได้ว่า ผู้คนเริ่มสำ�นึก รับรู้ถึงคุณค่าที่ มีอยู่มากมายของไม้ยางนา ที่นอกจากจะทำ�ให้ธรรมชาติ ระบบนิเวศน์และระบบสิง่ แวดล้อมดีขนึ้ แล้ว ยังเป็นแหล่ง พลังงาน อาหาร ยา เวชสำ�อางให้กับสังคมและชุมชนได้ อีกด้วย นีเ่ ป็นแค่เพียงตัวอย่างหนึง่ ของการศึกษาวิจยั เพือ่ เพิ่มมูลค่าแก่ทรัพยกรของแผ่นดิน ให้มีการใช้ประโยชน์ อย่างถูกต้องและเหมาะสม ให้สงั คม ชุมชนเรียนรูเ้ พือ่ การ พึง่ พาตนเองได้อย่างยัง่ ยืนต่อไป ยังมีตวั อย่างในลักษณะ แบบนี้อีกมากมายในสังคมไทย ปัจจุบันเครือข่ายการ ศึกษาวิจัยไม้ยางนายังคงดำ�เนินต่อไปในหลายๆมิติเพื่อ สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆและนวัตกรรมใหม่ๆ สู่สังคมแม้ว่า จะมีอุปสรรคมากมายด้านงบประมาณในการศึกษาวิจัย

รูปที่ 4 ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมต่างๆ จากการศึกษาวิจัยยางนา

รูปที่ 5 การถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมจากการศึกษาวิจัยสู่สังคมและชุมชนในรูปแบบต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์, โทรทัศน์, วิทยากรบรรยาย อบรม, บริการวิชาการนอกสถานที่, จัดแสดงโครงงาน นิทรรศการ

รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อไปที่ ดร.สมพร เกษแก้ว ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่ 123/16 ถนนมิตรภาพ ตำ�บลในเมือง อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40002 เบอร์โทรศัพท์ 098-6192650, 083-3700784 อีเมล์ somkat@kku.ac.th, sompornkatekaew@gmail.com 15 มอดินแดงสัมพันธ์

สามัคคีกันใฝ่ฝันศรัทธา ทั่วฟ้าแห่งเรา

องค์ความรู้และนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจาการ ศึกษาวิจยั (รูปที่ 4) ได้ถกู ถ่ายทอดสูส่ งั คม ชุมชนในหลาย รูปแบบ (รูปที่ 5) ส่งผลให้สังคมหลายภาคส่วนเกิดการ ตื่นตัว เรียนรู้และปฏิบัติตาม โดยเฉพาะไม้ยางนา ได้ เกิดโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากมาย เช่น ชาวจังหวัด บุรีรัมย์และชาวอีสานใต้ปลูกไม้ยางนา 10 ล้านต้นถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โครงการยางนาคืนถิน่ ของ จังหวัดมหาสารคาม โครงการปลูกยางนา 9,999,999 ต้น ในจังหวัดขอนแก่น เพือ่ การมีสขุ ภาพดี สิง่ แวดล้อมดีและ คุณภาพชีวติ ดีของชาวจังหวัดขอนแก่น นอกจากนีย้ งั เกิด ชมรม เครือข่ายยางนาภาคประชาชนอื่นๆ อีกมากมาย การตื่นตัวของภาคสังคมและประชาชนเกี่ยวกับไม้ยาง


ศิ ษ ย์ เ ก่ า เ ล่ า ใ ห้ ฟั ง คุณเฉลิมชัย วงศ์นาคเพ็ชร์ (มข.13) ก่อนอืน่ ผมต้องขอแนะนำ�ตัวก่อนว่า ผมเป็นคนกรุงเทพมหานครโดยกำ�เนิด อยูข่ อนแก่น ตั้งแต่เข้าเรียนปี พ.ศ. 2519 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน - อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 สมัย (พ.ศ. 2549 - 2552) - อดีตกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยขอนแก่น 4 สมัย (พ.ศ. 2547 - 2558) - ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษั ท อินเตอร์ วอเตอร์ทรีทเม้นท์ จำ�กัด และ บริษัท อินเตอร์ วอเตอร์ คอนซัลแตนท์ จำ�กัด ทำ�ธุรกิจ เป็นที่ปรึกษา/ออกแบบ/จำ�หน่ายและ ติดตั้ง ผลิตภัณฑ์และงานด้านนํ้าทั้งหมดทั้ง เรื่องนํ้าดี และ นํ้าเสีย สำ�นักงานและโรงงาน ตั้งอยู่ในอำ�เภอเมืองจังหวัดขอนแก่น

ผมจบชั้ น มั ธ ยมปลายจากโรงเรี ย นอำ � นวยศิ ล ป์ พ ระนคร แล้วเอนทรานส์เข้ามาเรียนที่ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ เป็นรุ่น ที่ 13 ของคณะวิศวฯและของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี 2519 ซึ่งใน ช่วงเวลานั้นบ้านเมือง ของเรากำ�ลังอยู่ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมือง เมื่อเดินทางมาถึงสถานีรถไฟขอนแก่น และ พี่ๆ กำ�ลังต้อนรับน้องๆ ทีเ่ พิง่ ลงจากรถไฟมานัน้ ก็ได้เกิดเหตุระเบิด (ซึง่ เป็นผลจากวิกฤตการณ์ การเมือง) จนกระทั่งพี่รุ่นที่ 12 เสียชีวิตไป 2 รายและยังมีพี่ๆ ที่ได้รับ บาดเจ็บอีกหลายราย โดยเพื่อนๆผมไม่มีใครได้รับบาดเจ็บแม้แต่คน เดียวซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นสปิริตของพี่ๆทุกคนที่รักและเอาใจใส่ดูแลน้องๆ เป็นอย่างดี ในช่ ว งที่ เ ป็ น นั ก ศึ ก ษานั้ น ชี วิ ต ผมเปลี่ ย นไปจากเดิ ม มาก จากนักเรียนที่ต้องขึ้นรถเมล์ ไปโรงเรียน กลายเป็นนักศึกษาที่เดินไป เรียนและเดินกลับระหว่างหอ 8 กับตึกคณะทุกวันวันละหลายรอบ การใช้ชีวิตอยู่กับเพื่อนๆ เกือบ 24 ชม.ต่อวัน การเชียร์และระบบ Seniority ทีร่ นุ่ น้องต้องเคารพรุน่ พีแ่ ละในทำ�นองกลับกันเมือ่ เป็นรุน่ พีก่ ็ ต้องเอาใจใส่ดูแลน้องๆ เช่นกัน จากคนที่หัดเล่นกีตาร์สนุกๆ กลายเป็น นักดนตรีวง ส.ม.ข. (ย่อมาจากสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบันเปลี่ยนไปเรียกว่าองค์การนักศึกษาแทน) และวงดนตรีของรุ่น และคณะอีก 2 วง เรื่องนี้ผมขอขยายความสักนิดนึงนะครับ คือสมัย ก่อนเวลาที่นักศึกษาจะทำ�กิจกรรมอะไรต่างๆ ที่ต้องใช้เงิน พวกเราก็ มักจะหารายได้ด้วยการขายเสื้อที่สกรีนเป็นลวดลายหรือรูปร่างต่างๆ หรือการเหมาจัดฉายภาพยนตร์ ในโรงภาพยนตร์ ในเมืองแล้วขายตั๋ว

ให้กับประชาชนทั่วไปเป็นต้น ตัวผมเองได้ ใช้พื้นฐานความสามารถ ด้านการเล่นดนตรีมาทำ�กิจกรรมที่เกิดประโยชน์เช่น เล่นดนตรีในงาน หารายได้เพื่อการกุศลของรุ่นพี่บ้าง ครูบาอาจารย์บ้าง เพื่อนๆ บ้าง แต่ที่เป็นความภาคภูมิ ใจมาถึงทุกวันนี้ ก็คือเหตุการณ์เมื่อปี 2521 จังหวัดขอนแก่นประสบภัยนํ้าท่วมใหญ่ ชาวบ้านต้องอพยพครอบครัว และสัตว์เลี้ยงมาพักอาศัยอยู่ ในบริเวณคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เช่นที่ตึกคณะวิศวฯบ้าง คณะเกษตรศาสตร์บ้าง วิทยาศาสตร์บ้าง หรือแม้กระทัง่ ทีอ่ าคารสโมสรนักศึกษาเอง ซึง่ การทีช่ าวบ้านต้องอพยพ มาอยูต่ า่ งบ้านต่างถิน่ ก็เกิดความเครียดและความกังวล ผมและเพือ่ นๆ ก็ ได้ร่วมกันเล่นดนตรีเพื่อสร้างบรรยากาศสนุกสนานและเป็นกันเอง ให้กับชาวบ้านโดยเฉพาะเด็กๆที่เราพยายามชวนมาร่วมเล่นเกมส์ เช่น เกมส์ปลาเล็กปลาใหญ่ เป็นต้น นอกจากนี้ผมและเพื่อนๆ ก็ยังรวบรวม เงินเท่าที่จะมีซื้อสมุด ดินสอ ไม้บรรทัด มาเป็นของรางวัลให้กับเด็กๆ ที่มาเล่นเกมส์กับพวกเรา กิจกรรมเหล่านี้ช่วยบรรเทาความกังวลและ ความเครียดให้กับชาวบ้านได้มากจนกระทั่ง ส.ม.ข. เองก็เห็นว่าเป็น ประโยชน์และได้ช่วยจัดหาของรางวัลมาร่วมด้วยในภายหลัง นอกเหนือไปจากเล่นดนตรีแล้ว ผมเองก็ยังเป็นนักกีฬาบริดจ์ ของมหาวิทยาลัย และได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยหลายครัง้ ซึง่ กีฬาบริดจ์นมี้ ปี ระโยชน์มากในภายหลังเมือ่ ผมเริม่ ทำ�ธุรกิจ เพราะเป็น กีฬาทีฝ่ กึ ให้จดจำ�และฝึกให้วางแผนและตัดสินใจ รวมทัง้ การยอมรับผล ของการคิดและตัดสินใจด้วย

16 มอดินแดงสัมพันธ์


ให้กับกรมทรัพยากรนํ้าบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ในความรู้สึกต่อมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้น ผมไม่สามารถ บอกได้ว่าเพราะเหตุผลใด ผมถึงมีความรู้สึกรัก และผูกพันต่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่นแห่งนี้ อาจเป็นเพราะครูอาจารย์ที่ท่าน ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ ให้ อาจเป็นเพราะความกดดันจาก การเรียน อาจเป็นเพราะเพือ่ นๆ พีๆ่ น้องที่ใช้ชวี ติ ด้วยกันในหอพัก ตลอดระยะเวลามากกว่า 4 ปี อาจเป็นเพราะระบบเชียร์และระบบ Seniority หรืออาจเป็นเหตุผลอื่นๆ แต่จะเป็นเพราะเหตุใดก็ตาม ผมรักและภูมิใจในสถาบันแห่งนี้มาตลอดไม่เคยเปลี่ยนแปลง ท้ายที่สุดอยากฝากบอกน้องๆ ว่าความสำ�เร็จที่แต่ละคนได้ รับในวันนี้นั้น คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าส่วนหนึ่งมาจากการศึกษา ในมหาวิทยาลัยขอนแก่นแห่งนี้ สำ�หรับตัวผมเอง ไม่มีวันไหนเลย ที่ รู้ สึ ก ว่ า ได้ ต อบแทนบุ ญ คุ ณ ของมหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น เพียงพอแล้ว ผมอยากเชิญชวนให้นอ้ งๆ ศิษย์เก่าทุกท่าน หาโอกาส มาสนับสนุนและผลักดันมหาวิทยาลัยขอนแก่นของเราให้กา้ วต่อไป ข้างหน้า สมกับเป็นสถานศึกษาชั้นนำ�ของชาติครับ

17 มอดินแดงสัมพันธ์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยแห่งความสุข

ในส่วนหน้าที่การงานนั้น ผมเริ่มทำ�ธุรกิจของตนเองเมื่อปี 2526 หลังจากที่เป็นลูกจ้างมา 2 บริษัทฯ งานที่ทำ�ผมเจาะจงลง ไปเรื่องเดียวคือเรื่องนํ้า ทั้งนํ้ากินนํ้าใช้ นํ้าประปา นํ้าดื่ม นํ้ากลั่น นํ้าเพื่อการเกษตร นํ้าเพื่อการอุตสาหกรรม ฯลฯ ระหว่างทำ�งาน ก็มีโอกาสได้ ไปศึกษาดูงานโรงงานผลิตเครื่องสูบนํ้า และระบบ ประปา มาแล้วมากกว่า 10 ประเทศ ความสำ � เร็ จ และความภาคภู มิ ใ จคื อ ได้ ใ ช้ ค วามรู้ แ ละ ประสบการณ์มาพัฒนาเรื่องระบบประปาหมู่บ้านในประเทศไทย โดย เป็นผู้พัฒนา/ปรับปรุงและออกแบบระบบประปาหมู่บ้านให้ กับสำ�นักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (ชื่อย่อว่า รพช. ปัจจุบันหน่วย งานนี้ถูกยุบไปแล้ว แต่แบบมาตรฐานก็ยังคงใช้งานอยู่) เพื่อใช้ ก่อสร้างให้กบั หมูบ่ า้ นต่างๆทัว่ ประเทศ และเป็นผูส้ ร้างและพัฒนา หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้งานและการบำ�รุงรักษา ระบบประปาหมู่บ้าน” ให้กับหน่วยงานต่างๆทั้ง รพช. และกรม โยธาธิการ (เดิม) และผมเคยฝึกอบรมผู้ดูแลระบบประปาของ หน่วยงานทั้ง 2 นี้มาแล้วมากกว่า 10,000 หมู่บ้านทั่วประเทศ ปัจจุบัน ผมเองก็ยังช่วยสร้างและพัฒนาหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องระบบประปาและระบบปรับปรุงคุณภาพนํ้า


ร อ บ รั้ ว ม อ ดิ น แ ด ง

ขอนแก่นมาราธอนนานาชาติ ครั้งที่ 12 มข. จัดยิ่งใหญ่

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม 2558 มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดการแข่งขัน “ขอนแก่นมาราธอนนานาชาติ ครั้งที่ 12” โดยปล่อยตัว นักวิ่งกว่า 2 หมื่นคน รวมกว่า 44 ประเทศทั่วโลก ณ จุดเริ่มต้น ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น การแข่งขันขอนแก่นมาราธอนนานาชาติได้รับการรับรองมาตรฐาน “AIMS” ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับรองมาตรฐานเส้นทางวิ่งระดับ สากล โดยเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 เรื่อยมาจนปัจจุบัน มีพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่องทั้งด้านมาตรฐานการจัดการแข่งขัน เส้นทางวิ่ง การบริหารจัดการ และการบริการต่างๆ การแข่งขันมี 4 ประเภท ได้แก่ มาราธอน 42.195 กิโลเมตร ฮาล์ฟมาราธอน 21.10 กิโลเมตร มินิมาราธอน 11.55 กิโลเมตร และประเภทเดินวิ่งเพื่อสุขภาพ 4.5 กิโลเมตร

ทำ�บุญตักบาตร สถาปนา 51 ปี มข. พระสงฆ์ 500 รูปและเจริญพระพุทธมนต์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดพิธที �ำ บุญตักบาตรพระสงฆ์ 500 รูป และพิ ธี เ จริ ญ พระพุ ท ธมนต์ เ นื่ อ งในวั น สถาปนามหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่น ครบรอบ 51 ปี เมื่อวันเสาร์ที่ 24 มกราคม 2558 โดย พระเทพกิตติรังษี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุ อารามหลวง ที่ ป รึ ก ษาเจ้ า คณะจั ง หวั ด ขอนแก่ น เป็ น ประธานฝ่ า ยสงฆ์ พร้อมด้วยพระเถรานุเถระชั้นผู้ ใหญ่ สร้างความเป็นสิริมงคล แด่ชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ บริเวณพิธีสะพานขาว จากนั้น ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และถวายภัตตาหาร เช้า ณ บริเวณชั้น 1 อาคารสิริคุณากร เพื่อความเป็นสิริมงคล และอุ ทิ ศ ส่ ว นกุ ศ ลให้ ผู้ ล่ ว งลั บ โดยมี หลวงปู่ บุ ญ มา สุ ชี โ ว วั ด ป่ า สุ ข เกษม จ.หนองบั ว ลำ � ภู , หลวงปู่ คำ � มี ปั ญ ญธโร

วั ด ขั น ธเสมาราม จ.อุ ด รธานี , หลวงพ่ อ เมื อ ง พลวั ฒ โฑ วั ด ป่ า มั ช ฌิ ม วาส จ.กาฬสิ น ธุ์ , หลวงปู่ บั ว ทอง อั ต ตทั น โต วั ด ป่ า อรั ญ วิ เ วก จ.อุ ด รธานี , หลวงพ่ อ ทวี ปุ ญ ญปั ญ โญ วั ด ป่ า สั น ติ ธ รรม จ.เลย, หลวงพ่ อ วิ ชิ ต ชิ ต มาโร วั ด ป่ า หนองกุ ง ศรี จ.กาฬสิ น ธุ์ , หลวงพ่ อ สุ ธ รรม สุ ธั ม โม วั ด ป่ า หนองไผ่ จ.สกลนคร, พระอาจารย์ บุ ญ เกิ ด อริ โ ย วัดอัมพวันม่วงน้อย จ.กาฬสินธุ์, พระอาจารย์นิคม นิคมวโร วั ด เวฬุ วั น จ.กาฬสิ น ธุ์ และพระอาจารย์ ป รี ดี ผลญาโน วัดป่ากิตติญานุสรณ์ จ.ขอนแก่น เจริญพระพุทธมนต์และให้พร เนื่องในโอกาสพิเศษครบรอบ 51 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

18 มอดินแดงสัมพันธ์


50 ปี 50 ล้านบาท กองทุน “มอดินแดง” เพื่อเป็นทุนการศึกษา นามผู้บริจาค ชื่อ - สกุล.......................................................................................................... รหัส .............................................

ฉีกตามรอยปรุ

คณะ ...................................................................... สาขาวิชา ............................................. ที่อยู่ ......................... ....................................................................................................................................................................................... ข้าพเจ้ามีความประสงค์ ให้พิมพ์ ไม่ให้พิมพ์ชื่อในรายนามผู้บริจาค ข้าพเจ้ามีความประสงค์บริจาค/สนับสนุนกิจกรรมของมหาวิทยาลัย สมทบทุนกองทุนมอดินแดง 1. เพื่อทุนการศึกษา เป็นจำ�นวนเงิน............................บาท 2. เพื่อสนับสนุนจัดทำ�วารสาร “มอดินแดงสัมพันธ์” เป็นจำ�นวนเงิน............................บาท ขั้นตอน/วิธีการชำ�ระเงิน (สามารถเลือกทำ�รายการได้ 5 ช่องทาง) 1. โอนเงินเข้าบัญชี (กรุณาส่งสำ�เนาใบโอนเงิน ไปทีส่ �ำ นักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทรสาร 043-202750) ชื่อบัญชีกองทุนมอดินแดง ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยขอนแก่น บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 551-2-69277-5 บัญชีกองทุนมอดินแดง ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขามหาวิทยาลัยขอนแก่น บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 438-1-18341-2 2. ธนาณัติหรือตั๋วแลกเงิน สั่งจ่ายในนาม “มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำ�นักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์” 3. สั่งจ่ายเช็คกองทุนมอดินแดง สั่งจ่ายในนาม “กองทุนมอดินแดง มหาวิทยาลัยขอนแก่น” 4. บัตรเครดิต VISA/MASTER ธนาคาร .............................................................................................................. หมายเลขบัตร ( - - ) เลขหลัง3บัหลัตรก วันหมดอายุ ..................../................................./........................ สำ�หรับเจ้าหน้าที่ธนาคาร ลายมือชื่อตามบัตรเครดิต ....................................................... ผู้รับเงิน/ผู้มอบอำ�นาจ 5. ใบนำ�ฝากชำ�ระเงิน จำ�นวนเงิน .......................................................................... บาท ........................................................... ตัวอักษร ....................................................................................... ชื่อผู้นำ�ฝาก / Deposit by .............................................................................................................. โทรศัพท์ / Telephone .............................................................................................................. หมายเหตุ : ชำ�ระเงินได้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ และ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ทุกสาขาทั่วประเทศ ส่งหลักฐานการชำ�ระเงินที่ : สำ�นักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 E-mail:kkuoaa@kku.ac.th เงินบริจาคของท่านสามารถนำ�ไปลดหย่อนภาษี และขอรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ได้


ใบอนุญาตเลขที่ ปข.4/177

ถ้าฝากส่งในประเทศต้องผนึกตราไปรษณียากร

บริการธุรกิจตอบรับ

สำ�นักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตู้ ปณ. 177 มหาวิทยาลัยขอนแก่น

“มอดินแดงสัมพันธ์” แจ้งข่าวการรับวารสาร - แจ้งเปลี่ยนที่อยู่

เปลี่ยนแปลงในหลายๆ สิ่ง เรื่องหนึ่งที่นาจะมีความสําคัญ แตก็มิ ใชเฉพาะกาลพฤกษที่เบงบาน ดอกไมนานาพันธุก็ ไมนอยคือการเปลี่ยนแปลงทีมผูบริหารของมหาวิทยาลัย เบงบานหมายจะบอกถึงกาลเวลาที่ลวงเลยไปอีกคราหนึ่ง “โครงการตามหาลู กเจ้าพ่อมอดินแดง” ที่ รองศาสตราจารย ดร.กิ ต ติ ชั ย ไตรรั ต นศิ ริ ชั ย บานส ง ท า ยความหนาวเย็ น และต อ นรั บ อุ ณ หภู มิ ที่ สู ง ขึ้ น กรุณดําากรอกชื ยู่ ลูกคเจ้รบวาระในวั าพ่อมอดินทีน่ แดง มข.นธที2558 ่ท่านรู้จักในฤดูรอน กาลพฤกษ จึงเปนดอกไมแหงกาลเวลาที่คอยยํ้า รงตําแหน่องอธิทีก่อารบดี 5 กุมภาพั เพือ่ และได ทีจ่ ะได้รับนพระมหากรุ �ำ เข้าระบบฐานข้ มูลศิษย์าฯเก่ใหาสำด�ําหรั ดต่งอ และจั ดส่งวารสารไปให้ ย่างทั เช่นเดียวกับท่ทานเี่ บง ณาธิคุณอโปรดเกล รงตํบาติแหน เตือนใจพวกเราเสมอ แตกอระนั น้ มิว่ ใถึชมงเี ฉพาะกาลพฤกษ อธิสกนัารบดี กี วาระหนึง่ แมอธิกชืารบดี เปนคนเดิ นอกรัว้ มข. กาลพฤกษกเ็ บพงบาน รหั กศึกอษา ่อ-นามสกุ ล ม แตนโยบาย บานในรัว้ มอดิ ที่อนยูแดงของเรา ่ หมายเลขโทรศั ท์ ภารกิจและยุทธศาสตรที่เปลี่ยนไป ความทาทายที่รออยู เฉกเชนศิษยเกาของเราไดจบออกไป ทําหนาที่พัฒนาตนเอง ขางหนา ทีมบริหารที่มีการเปลี่ยนแปลงไป นาจะมีผลและ และสังคมอยูอยางสมํ่าเสมอ เปนกาลพฤกษที่ชูชอสงางาม มีความเปลี่ยนแปลงตอมหาวิทยาลัยของเราอยูไมนอย อธิบายขยายปก

ฉีกตามรอยปรุ

(กรุณาเขียนตัวบรรจง) คำ�นำ�หน้า ..................... ชือ่ - สกุล .......................................................................รหัสนักศึกษา ......................................... ชือ่ - นามสกุลเดิม (ในกรณีทมี่ กี ารเปลีย่ นแปลง) ................................................................................................................... คณะ ............................................................................... สาขาวิชา ....................................................................................... ที่อยู่ปัจจุบัน ...................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................ ทีท่ �ำ งาน ...................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์ : บ้าน ................................................................... ที่ทำ�งาน ............................................................... โทรสาร ................................................................. พท์มอื ถือ ..................................................................................... 25 มกราคม 2558 เปนวาระครบรอบ 51 ป มข.โทรศั ของเรา ในช ว งเดื อ นมกราคม ดอกกาลพฤกษ เ ริ่ ม ผลิ บ าน มีกิจกรรมมากมายเพื ่อเฉลิมฉลองในหลากหลายรูปแบบ ในเดื อ นกุ ม ภาพั น ธ ถึ ง มี นาคมบานสะพรั่ ง ทั่ ว มอดิ น แดง E-mail: .................................................................................. อ นมกราคม และที่ ม อดิ น แดงของเราก็ มี ก าร กลีบขาวชมพูระเรื่อทําใหมอดินแดงของเราดูสดชื่นสดใส ทีตลอดเดื ่อยู่ที่สะดวกในการติ ดต่อ ที่บ้าน ที่ทำ�งาน


กองบรรณาธิการ ที่ปรึกษา

รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย รศ.เพียรศักดิ์ ภักดี รศ.ดร.นิยม วงศพงษคํา ผศ.นพ.วินัย ตันติยาสวัสดิกุล

บรรณาธิการ

นายบัญชา พระพล

กองบรรณาธิการ

นายภาสกร เตือประโคน นายสิทธิชัย ยินดีชาติ นายธนายุทธ สังขอินทร นายปรีดี ศรีตระกูล

เลขานุการกองบรรณาธิการ นางสาวรัชนี เกตุแกว นางสุจิตตรา อรุณวัน

อธิการบดี KKU 11 รองอธิการบดีฝายพัฒนานักศึกษาและศิษยเกาสัมพันธ KKU 15 รองอธิการบดีฝายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ KKU 21 นายกสมาคมศิษยเกามหาวิทยาลัยขอนแกน KKU 12 ผูชวยอธิการบดีฝายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ KKU 38 KKU 39 KKU 43 KKU 44 สํานักงานศิษยเกาสัมพันธ สํานักงานศิษยเกาสัมพันธ สํานักงานศิษยเกาสัมพันธ

พิมพที่: หจก. โรงพิมพคลังนานาวิทยา โทร.043-328589-91



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.