Journal 1-2554

Page 1

สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย www.ThaiOrnamentalPlant.org

วารสาร ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน พ.ศ. 2554

ไม้ประดับ Journal of the Society for Ornamental Plants of Thailand

เกาะอะวาจิ 8

ชมสวนและดอกไม้ บน

มาสร้างระบบนิเวศให้เฟินกัน

10

14

พืชกลุ่มใกล้เคียงเฟิน สกุล Huperzia ราคา 30 บาท


ทักทาย: Open garden… นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา  มีเหตุการณ์ทั้งดีและร้ายหลายอย่างในบ้านเรา  เริ่มตั้งแต่ปัญหาเรื่องการเมืองที่ยังไม่จบสักที และไม่รู้ว่าจะจบเมื่อไร  รวมทั้งการสูญเสียบุคคลสำคัญอีกหลายท่าน  เหตุการณ์ทั้งดีทั้งร้ายเหล่านี้เป็นสิ่งที่เตือนให้เราได้คิดว่า ทุกสิ่งมีทั้งในมุมบวกและลบ เมื่อก่อนดิฉันยอมรับว่า  ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในความคิดมักจะติดลบอยู่เสมอ  ทำให้ทุกอย่างดูเครียดไปหมด  ได้แต่คิดว่า “ทำไมเขาเป็นแบบนั้น  ทำไมไม่เป็นแบบนี้”  จนนอนไม่หลับ  เป็นอย่างนี้เกือบทุกวัน  งานก็ทำได้ไม่ดี  สมองก็ไม่แล่น  วันๆ ก็นั่งจับเจ่ากับ หน้าจอคอมพิวเตอร์  รีบทำงานให้เสร็จและบ่นในใจว่า “เมื่อไรจะเสร็จซะทีนะ” ในที่สุดก็ป่วยด้วยโรคเครียด  พานทำให้ท้องอืด กินข้าวไม่ได้  กินยาสารพัดก็ไม่ดีขึ้น  และแล้ววันหนึ่งผู้ใหญ่ที่ดิฉันเคารพรักก็โทรศัพท์มาหาเพื่อถามไถ่สารทุกข์สุกดิบต่างๆ ดิฉันก็บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ มากมายที่อึดอัดใจ  ท่านก็ปลอบใจว่า “ทำเท่าที่ทำได้เถอะ  คนเรามีความสามารถก็จริง  แต่ต้องดูกำลังกาย ของเราด้วย  หากมันเกินกว่าที่เราจะทำได้  ก็ต้องยอมรับในจุดนั้น  เดี๋ยวจะป่วยไม่สบายนะจ๊ะ  ต้องปล่อยวางซะบ้าง” หลังจากนั้นมาดิฉันก็นั่งทบทวนสิ่งต่างๆ  ที่ผ่านเข้ามาว่าทำไมเราถึงเครียดได้ขนาดนี้  ลองจดบันทึกสิ่งต่างๆ ลงบนกระดาษ  และดูว่า สิ่งใดที่เราสามารถทำได้  สิ่งใดที่เกินกว่าความสามารถ  แล้วจัดแผนงานให้เป็นไปได้  เริ่มจัดการกับงานไปทีละอย่าง  มองทุกสิ่งรอบๆ ตัว ในแง่บวกและคอยเตือนตัวเองเสมอว่า “ไม่เครียดนะๆ” ทำเช่นนี้เรื่อยมา  จนสามารถจัดสรรงานต่างๆ  ให้เสร็จลุล่วงลงได้  แม้จะช้าบ้าง แต่ก็ช่วยให้เราสบายตัวขึ้นมาก  สุขภาพก็ดี  กินอิ่ม  นอนหลับ  สิ่งสำคัญคือ  ค้นพบสัจธรรมว่า “การที่คนเราไม่เครียด  คิดบวก มันช่วยให้ชีวิตเราดีขึ้นจริงๆ” หากใครกำลังเครียดกับการงานหรือคนรอบข้าง  ลองหันมามองในแง่บวก และทำแบบดิฉันบ้างก็ได้นะคะ  รับรองว่าได้ผลดีจริงๆ  ค่ะ สำหรับงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี  พ.ศ. 2553 ที่เพิ่งผ่านไป เมื่อวันที่ 3 เมษายน  คงทราบผลการเลือกตั้งนายกสมาคมฯคนใหม่กันแล้วนะคะ ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ  และถ้าต้องการอัพเดตข่าวสารของสมาคมฯ คลิกอ่านเพิ่มเติมใน facebook สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทยค่ะ วิฬาร์น้อย u_chira@yahoo.com

ชื่อภาพ “ชุ่มชื้น”  ของคุณพรสุข

ศุภรานนท์รัตน์

สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย ยินดีต้อนรับสมาชิกผู้รักและชื่นชอบการปลูกต้นไม้ทุกท่าน เพื่อร่วมกันพัฒนาและสร้างสีสันให้วงการไม้ประดับในเมืองไทย www.ThaiOrnamentalPlant.org

สนับสนุนโดย

TONG EK Ltd., Part.

Facebook สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย สนใจสมัครสมาชิก คลิกที่ www.ThaiOrnamentalPlant.org หรือติดต่อคุณเทียนชัย เทียนทองถาวร โทรศัพท์ 08-6512-6999


คณะกรรมการสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุ บริพัตร ที่ปรึกษา ศ. ดร.ระพี สาคริก ดร.อนันต์ ดาโลดม ศ. ดร.ธีระ สูตะบุตร ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ผศ.ดร. ม.ล.อโณทัย ชุมสาย นางเมตตา อุทกะพันธุ์ นายเกษม จันทรประสงค์ นายโอฬาร พิทักษ์ นายกสมาคมฯ นายอุดม ฐิตวัฒนะสกุล อุปนายก นายสุรัตน์ วัณโณ รศ. ดร.อรดี สหวัชรินทร์ เลขาธิการ น.อ.(พิเศษ) ช่อ วาตะ เหรัญญิก นางสลิดา พิเรนทร นายทะเบียนพันธุ์ไม้ ผศ. ดร.จิรายุพิน จันทรประสงค์ นายทะเบียนสมาชิก ดร.เฌอมาลย์ วงศ์ชาวจันท์ บรรณาธิการที่ปรึกษา นายประพันธ์ ประภาสะวัต บรรณาธิการ/ นางสาวอุไร จิรมงคลการ เว็บเอดิเตอร์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ นายทศพร บุญศุขะ นายอรรถ ประพันธ์วัฒนะ นางสาววรัปศร อัคนียุทธ กิจกรรม ผศ.สุนทร เล้าเรืองศิลป์ชัย ปฏิคม นายสมพงษ์ ทวีสุข ประชาสัมพันธ์ นายถวิล สุวรรณมณี ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์ นายชนะชัย ประไพภูมิ กรรมการกลาง นางสาวมัลลิกา สุคนธรักษ์ นางเนาวรัตน์ ลี้อิสสระนุกูล นางยุพดี เลื่อนฉวี นางสาวประพีร์ วัณโณ นางอรวรรณ วิชัยลักษณ์ นายสาโรช โสภณางกูร รศ.เอื้อมพร วีสมหมาย รศ.ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์ รศ. ดร.พัฒนา สุขประเสริฐ นายวรวิทย์ อังสุหัตถ์ นางทัศนีย์ วัณโณ นายเปรม ณ สงขลา นายต้นวงศ์ คุณะเกษม ดร.ทยา เจนจิตติกุล ดร.ศศิวิมล แสวงผล นางจงวัฒนา พุ่มหิรัญ นายปราโมทย์ โรจน์เรืองแสง ดร.เศรษฐพงศ์ เลขะวัฒนะ นายสุเมธ วิริยกิจ ผศ. ดร.พัชรียา บุณกอแก้ว ผศ.กนกวรรณ ถนอมจิตร นายวรพันธ์ บำรุงไทยชัยชาญ นายอภินันท์ บุณยรัตพันธุ์ นางสาวภัทรา แสงดานุช นายวีระ โดแวนเว นางภูริพันธุ์ สุวรรณเมฆ เจ้าหน้าที่การเงิน นายสุวัฒน์ จินดา เจ้าหน้าที่ธุรการ นายเทียนชัย เทียนทองถาวร ซับเอดิเตอร์ นางสาวพิมพา จิตตประสาทศีล ศิลปกรรม นายธีระยุทธ ช่างคิด

สารบัญ:

Contents

น”  ชื่อภาพ  “ยอดอ่อนใบเฟิ ระเทศ ี่ยงป ของคุณบุญญาพัฒน์ เท

กิจกรรม: Activities แวดวงไม้ประดับ: Plants Social เปิดหูเปิดตา: Go Tra vel ในสวน: In the Garden เล่าเรื่องต้นไม้: Plants Gossip ไขปัญหา: Q & A Garden สัตว์ในสวน: Animals in Garden

4 6 8 10 14 17 18

อุดมการ์เด้นกรุ๊ป

ใส่ใจ ห่วงใยปัญหาภัยธรรมชาติ

พิมพ์ที่ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เจ้าของลิขสิทธิ์ สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย ที่อยู่ บ้านก้ามปู เลขที่ 5/6 ซอยสมาคมแพทย์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10240 หรือ ตู้ปณ. 1081 ไปรษณีย์เกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ 10903 โทรศัพท์ 08-6512-6999 ข้อความและรูปภาพทั้งหมดในวารสารเล่มนี้ เจ้าของลิขสิทธิ์สงวนสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัติ การคัดลอกส่วนใดๆในวารสารเล่มนี้ไปเผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจาก เจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน ยกเว้นการอ้างอิงเพื่อการศึกษาและการวิจารณ์

www.UdomGarden.com


กิจกรรม: Activities

ภาพ : เนาวรัตน์  ลี้อิสสระนุกูล

กอล์ฟการกุศล เมื่อวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา สมาคมฯได้จัดการแข่งขันกอล์ฟ 1 การกุศล  ชิงถ้วยรางวัลจาก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์  บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ  ณ  สนามกอล์ฟกรุงกวี  โดยรายได้จากการจัดงาน ครั้งนี้จะนำมาใช้ในการกิจกรรมของสมาคมฯที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งเราได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทางสมาคมฯขอขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนันสนุนเป็นอย่างดีค่ะ

2 3

1. ถ้วยรางวัลและส่วนหนึ่งของของรางวัลในการแข่งขันกอล์ฟการกุศลในครั้งนี้ 2. คณะกรรมการบางส่วนที่มาร่วมงาน 3. คุณเกษม  จันทรประสงค์  ที่ปรึกษาสมาคมฯเป็นตัวแทนมอบรางวัลให้ผู้ชนะการแข่งขัน

ทัศนศึกษาที่ไต้หวัน 1

ห่างหายกันไปนานกับกิจกรรมทัศนศึกษาต่างประเทศ ในครั้งนี้ขอพาไปสถานที่ใกล้ๆที่ไต้หวันกันก่อนค่ะ  ทริปนี้จัดขึ้น เมื่อวันที่ 20-24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา  มีสมาชิกร่วมเดินทาง จำนวน 13 ท่าน  สถานที่ที่เราไปเที่ยวมีหลายแห่ง  ที่โดดเด่นคือ งาน Taipei International Floral Exposition 2010 ที่เริ่มจัดมา ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2553 ถึง 25 เมษายน 2554 พร้อมกับแวะเที่ยวที่ตลาดจิวเฟิน  ซึ่งเป็นตลาดร้อยปีของไต้หวัน และอีกหลายแห่ง  ที่พลาดไม่ได้คือ  ตลาดต้นไม้ที่หมู่บ้านจางฮั่ว ทีมงานที่ร่วมเดินทางในครั้งนี้เก็บภาพมาให้ชมกันค่ะ 4

2

3

5 ภาพ  :  เนาวรัตน์  ลี้อิสสระนุกูล 1. สวนโชว์ของเมืองไทยที่มีพระพุทธรูปยืนที่ประดับไม้ใบเขียวทั้งองค์ 2. หลังคาต้นไม้ในหมู่บ้านจางฮั่ว  เมืองที่ชาวบ้านมีอาชีพปลูกต้นไม้ขายกันทั้งเมือง 3. ก้อนหินรูปคล้ายคนสวมมงกุฏ  ชื่อ Queen’s Head เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตั้งอยู่ในอุทยาน Yehliu  สวนหินริมมหาสมุทรแปซิฟิก 4. ซุ้มสวนแนวตั้งที่ใช้บีโกเนียดอกช่วยดึงดูดสายตา 5. อีกมุมหนึ่งในงาน


งานสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 34

เรื่องและภาพ  :  อุไร  จิรมงคลการ

เพิ่งผ่านไปสดๆ  ร้อนๆ  กับงานประจำปีของสมาคมฯ  ครั้งที ่ 34  ที่จัดขึ้นเมื่อวันที ่ 4-6 มีนาคม 2554 ด้วยคอนเซ็ปต์ “บ้านร้อนผ่อนคลายด้วยไม้ประดับ” และ “รวมพลคนรักเฟิน” ในครั้งนี้ทางสมาคมฯย้ายสถานที่จัดจากด้านทิศเหนือ ของหอประชุมใหญ่ไปเป็นทางทิศใต้ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางกว่าเดิม  อีกทั้งมีร้านค้าและนักสะสมเฟินที่มาร่วมกิจกรรมกับเรา มากมาย  และยังมีการประกวดภาพถ่ายในหัวข้อ “Fern in Nature” ทำให้งานคึกคัก  โดยมีวิทยากรหลายท่าน มาให้ความรู้เรื่องการปลูกเฟินให้ทุกท่านไปลองปฏิบัติกัน  และทุกๆ  วันยังมีการจับฉลากแจกของรางวัลดีๆ  มากมาย ให้ผู้ที่มาร่วมงานในครั้งนี้กันอีกด้วย

1

2

4

8

11

5

3

7

6

9

10

1. ซุ้มด้านหน้าของงาน 2. มุมสวนพรรณไม้คลายร้อนที่ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก ร้านนกฮูก 3. คุณพูนศักดิ์  วัชรากร นักสะสมเฟินแห่งจันทบุรี มาเล่าประสบการณ์การเดินป่าสำรวจเฟิน 4. รางวัลยอดเยี่ยมในการประกวดวาดภาพดอกไม้ ของฉันเป็นของ ด.ญ.รสธร  ชาญชนะโยธิน จาก โรงเรียนสาธิตเกษตรฯ 5. รางวัลชนะเลิศภาพถ่าย  ชื่อ “ชุ่มชื้น”  ของคุณพรสุข ศุภรานนท์รัตน์ 6. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ  1  ชื่อ “Good morning,

ferns” ของคุณปาลิดา  ดำรงทวีศักดิ์ 7. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ  2  ชื่อ “สง่างาม” ของคุณอนุรักษ์  แพทย์กิจ 8. รางวัลพิเศษประเภทเฟินแปลกและหายาก ชื่อ “บัวแฉก” ของคุณเฉลิม  อัชชมานะ 9. นายกสมาคมฯและคณะกรรมการถ่ายภาพร่วมกับ เด็กนักเรียนที่ได้รับรางวัลประกวดวาดภาพดอกไม้ของฉัน 10. ของรางวัลซึ่งได้รับความเอื้อเฟื้อจากสำนักพิมพ์ บ้านและสวน 11. สปอนเซอร์สำคัญที่มอบของรางวัลจับฉลาก ให้ผู้ที่ลงทะเบียนร่วมงานรวมพลคนรักเฟิน


งานดีๆ จากสมาคมภูมิสภาปนิก

แวดวงไม้ประดับ: Plants Social

เรื่อง  :  อรรถ  ภาพ : สังวาล

ผลงานชิ้นนี้อยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์  “Green Operations” หรือปฏิบัติการสีเขียว (เล็กๆ) เยียวยาโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการจาก องค์กรวิชาชีพ  ภายในงานสถาปนิก’ 54  ณ อาคารชาเลนเจอร์  เมืองทองธานี  เมื่อ 8-13 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา  มีการจัดสวนให้เป็น  กึ่งนิทรรศการที่สะท้อนแนวความคิดกระตุ้นให้คนหันมาเห็นความสำคัญของการปลูกต้นไม้  โดยคุณชัยยุทธ  เทียนวุฒิชัย  นายกสมาคม  ภูมิสถาปนิกประเทศไทยกล่าวว่า “ทางสมาคมฯ ขอเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้คนไทยหันกลับมาปลูกต้นไม้ที่บ้านบ้าง  เพียงคนละต้น  สองต้นก็ยังดี ไม่ต้องมองว่าการจัดสวนหรือเรื่องภูมิทัศน์ต้องเป็นเรื่องยุ่งยากเสมอไป” 1

2

3

4

1. งาน Installation Art “Healing Nature” จัดแสดงขอนไม้กว่าพันชิ้นที่ต่อเข้ากับสายน้ำเกลือที่ดูแล้ว กระตุกความคิดเรื่องธรรมชาติได้ดีทีเดียว 2. โซนแรกคือ  อากาศ Air/Temperature แสดงให้เห็นว่าพืชบางชนิด  เช่น  ต้นลิ้นมังกร  มีความสามารถ ในการจัดการมลพิษ  ช่วยปรับสมดุลธรรมชาติและฟอกอากาศ  ทำให้บรรยากาศของโลกเย็นลง 3. ในโซนของพืชอาหารที่มีทั้งกะหล่ำประดับ  พริก  และพืชผักสวนครัวอีกหลายชนิด  นอกจากจะกินได้แล้ว ยังใช้จัดสวนประดับบ้านได้ 4. นำสาหร่ายมาใส่ในโถและติดหลอดไฟไว้ด้านบน  ดูน่าสนใจทีเดียว  สะท้อนให้เห็นถึงพลังงานทางเลือก ที่ได้จากพืช  เช่น  น้ำมันที่เกิดจากปาล์มน้ำมัน  และแสดงตัวอย่างการทดลองใหม่ๆ ที่ประยุกต์ใช้พลังงาน จากสาหร่ายเซลล์เดียว

มหกรรมสินค้าเกษตรไทย

เรื่องและภาพ  :  อรรถ

1

ภายในงาน “มหกรรมส่งเสริมสินค้าเกษตรไทย“ ที่จัดขึ้นโดยกรมส่งเสริมการเกษตร ที่เซ็นทรัลปาร์ค  ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพระราม 2 เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีการจัดประกวดหลากหลายไม่ว่าจะเป็นจัดสวนด้วยกล้วยไม้  ประกวดกล้วยไม้กระถาง จัดสวนผัก  ซึง่ เป็นนโยบายทีด่ ที ร่ี ณรงค์ให้คนหันกลับมาปลูกผักเพือ่ ใช้บริโภคกันในครัวเรือน งานนี้มีไอเดียดี  ดีไซน์เด็ดอะไร  มาชมกันครับ 2

3

4

1. ส่วนหนึ่งของผลงานจากคุณบรรจง  สินธิน้อย  ใช้กระบะแขวนบนระแนงเป็นสวนผักแนวตั้ง ที่ได้ไอเดียในการใช้พื้นที่  จึงได้รางวัลที่ 1 ไปครอง 2. รางวัลที่ 2  โดยคุณพรเทพ  โปร่งจิต  ที่เนรมิตให้เป็นสวนผักหลังบ้าน  สร้างบรรยากาศด้วยรั้วไม้ไผ่และ โอ่งดินเผา 3. การจัดสวนผักกระถางแขวน  อีกหนึ่งไอเดียที่นำไปใช้ที่บ้านได้ง่าย  สามารถยกไปแขวนในที่ที่ได้รับแสงแดด และยังใช้ประดับบ้านได้ด้วย 4. ไฮไลท์หลักของงานที่แปลงโฉมราวสะพานสระน้ำในสวนให้เป็นสวนแนวตั้ง  ที่เต็มไปด้วยสีสันของกล้วยไม้ นานาชนิด  ตื่นตาตื่นใจไม่น้อยเลยทีเดียว


ร้านนกฮูก สำหรับท่านที่ชอบตกแต่งสวน ในสไตล์บาหลี  ตอนนี้ทางร้านมี คอลเล็คชั่นใหม่ให้ท่านเลือกมากมาย ทั้งตุ๊กตาหินทราย  โคมไฟ  น้ำล้น และประติมากรรมรูปแบบต่างๆ อีกมากมาย สาขา 1 ถนนกาญจนาภิเษก เยื้องปั๊ม ปตท. สาขา 2 ศูนย์ไม้ดอกไม้ประดับ ซอยช้าง นนทบุรี สาขา 3 ศูนย์การ์เด้นเซ็นเตอร์ ริมถนนกาญจนาภิเษก โทร.  0-2525-0107, 08-1890-9324, 08-6101-2995 แฟ็กซ์  0-2968-1808

www.littletreegarden.com


เปิดหูเปิดตา: Go Tra vel

ชมสวนและดอกไม้บนเกาะอะวาจิ เรื่องและภาพ  :  อรรถ  ประพันธ์วัฒนะ

เถาของพืชวงศ์องุ่น (Vitaceae) ชนิดหนึ่งกำลังเลื้อยไปตาม โครงสร้างใบที่เปลี่ยนเป็นสีแดง ตัดกับสีเทาของผนัง กลายเป็นของตกแต่ง ตามธรรมชาติ

> สวนในส่วนของ Hyakudanen สร้างเป็นระเบียงดอกไม้ บนภูเขา  ประดับด้วยเบญจมาศหลากหลายพันธุ์ที่ออกดอก ตลอดปี  เป็นไฮไลท์ที่น่าตื่นตาตื่นใจมาก  และช่วงนั้นเริ่ม เข้าสู่ฤดูใบไม้เปลี่ยนสี  จึงเริ่มเห็นสีแดงแต่งแต้มตาม จุดต่างๆ ทั่วทั้งภูเขา

1

ในครัง้ นีผ้ มพามาชมงานสถาปัตยกรรมและดอกไม้สวยใกล้ๆ บ้านเรากันบ้างนะครับ  สถานทีแ่ ห่งนี้ เป็นผลงานของสถาปนิกเอเชียชื่อก้อง  ทาดาโอะ  อันโด (Tadao Ando) กับการออกแบบสถานที่  จัดประชุมยูเมบุไต (The Awaji Yumebutai International Conference Center)  ซึ่งเป็น ศูนย์ประชุมและรีสอร์ทที่โอบล้อมด้วยภูเขาและธรรมชาติ  และยังเคยเป็นสถานที่จัดงาน Awaji Flower Exposition “Japan Flower 2000” มาแล้ว จุดเด่นของสถานทีแ่ ห่งนี ้ คือ  การออกแบบสไตล์โมเดิรน์ ทีเ่ ห็นพืน้ ผิวของวัสดุ  เช่น  งานโครงสร้าง ปูนเปลือยตามแบบฉบับของผูอ้ อกแบบ  และยังมีหลายโซนให้เลือกเดิน  ทั้งส่วนของ Observation Terrace, Shell Garden, Promenade  เรียกได้ว่าเดินจนเมื่อยกันเลยทีเดียว  ตอนผมไป  ฟ้าฝน ไม่ค่อยเป็นใจสักหน่อย  ต้องเดินกางร่มปะทะลมหนาวกลางสวนกว้าง  แต่ก็ไม่ผิดหวัง  ถึงจะยิ่งสูง ยิง่ หนาว  แต่กย็ ง่ิ สวยครับ  ไม่นกึ ว่าเบญจมาศหลากหลายพันธุม์ าอยูร่ วมๆ กันจะสวยได้ขนาดนี ้ ด้วยการออกแบบแปลงปลูกเป็นกริด (Grid) ยกระดับสูงต่ำตามความลาดชันของภูเขา  และที่สำคัญมีใบไม้เปลี่ยนสีให้ตื่นตาตื่นใจอีกด้วย  มาชมภาพไปพร้อมๆ กันเลยครับ


1

2

3

4

1.-2. สวนแนวตั้งด้านหน้าที่นำกระถางปลูกต้นไม้มายึดติด กับแผงระบบเพื่อล็อกกระถางโดยเฉพาะ  พร้อมติดตั้งระบบ รดน้ำอัตโนมัติไว้เรียบร้อยแล้ว 3. บนทาวเวอร์ที่เป็นลิฟท์รับส่งจากด้านล่างและสะพานเชื่อม มีไม้เลือ้ ยทีใ่ บกำลังเปลีย่ นเป็นสีแดง  จากบนนีส้ ามารถมองเห็น อ่าวโอกาซ้าได้ในมุมกว้าง 4.-6. จุดเด่นอีกอย่างของส่วนนี้คือ Shell Garden น้ำตกขั้นบันไดขนาดใหญ่วางขนานไปกับแปลงดอกไม้ มีน้ำไหลลงเขาตลอดเวลา  และที่น่าสนใจคือการกรุพื้นบ่อ ด้วยเปลือกหอยเชลล์กว่าล้านชิ้น  คู่กับน้ำพุกว่าล้านหัว 7.-8. ไม้กระถางและต้นไม้ตดั แต่งเป็นรูปสัตว์บนแปลงไม้ดอก นานาชนิด  ช่วยเพิ่มความสดใสให้พื้นที่ได้ดีจริงๆ

5

7

6

7

8


ในสวน: In the Garden

มาสร้างระบบนิเวศให้เฟินกัน เจ้าของ-จัดสวน  :  คุณชัชชัย  อินทร์อักษร เรื่อง  :  เกซอนลา ภาพ :  นิตยสารบ้านและสวน

ใครที่เป็นสมาชิก คนรักเฟินตัวยงคงต้องถูกใจ สวนเฟินสวยๆ แห่งนี้ ที่เรานำมาฝากแน่นอนค่ะ พร้อมแล้วตามเข้าไปดู ด้วยกันเลย

คุณชัชชัย  อินทร์อักษร  เล่าถึงที่มาของความชื่นชอบเฟินว่า สมัยเด็กๆ อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่  เขาชอบไปขุดเฟินก้านดำจากลำธารมาเลี้ยง แต่ไม่ทันไรก็ตายหมด  จึงคิดมาตลอดว่าวันหนึ่งจะต้องเลี้ยงเฟินพวกนี้ให้ได้ จนกระทั่งเมื่อ  4  ปีก่อนได้อ่านหนังสือ “ปลูกเฟินอย่างมืออาชีพ” ของคุณภัทรา  แสงดานุช  และคุณวีระ  โดแวนเว  จึงจุดประกายความฝัน ที่จะหาเฟินมาเลี้ยงอย่างจริงจัง > เบรกสีเขียวในสวนโดยใช้ใม้ใบหลากสี  ได้แก่  บีโกเนีย  พรมญีป่ นุ่ ซึ่งชอบสภาพแวดล้อมแบบเดียวกันปลูกแซมตามมุมต่างๆ


เริ่มต้นเสาะหา คุณชัชชัยเริ่มจากเดินทางไปสวนเฟินหลายแห่งเพื่อขอ  คำแนะนำเรื่องการปลูกเลี้ยง  รวมทั้งค้นข้อมูลทางเว็บไซต์และเริ่ม  สะสมเฟินเรื่อยมา  แต่ทุกอย่างไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด  เลี้ยงรอดบ้าง  ตายบ้าง  เพราะยังไม่มคี วามเข้าใจธรรมชาติวา่ ต้นไม้ตอ้ งอยูอ่ ย่างไร  เมื่อปรับมาเรื่อยๆ ในที่สุดก็เข้าใจว่า  หัวใจสำคัญคือการสร้างระบบ  นิเวศให้เหมาะสมกับเฟิน  หากสร้างระบบนิเวศให้สมบูรณ์ได้  เฟินก็  ต้องอยู่รอด

เริ่มสร้างระบบนิเวศ พื้นที่ว่างหลังบ้านขนาด  2.50  x  3  เมตร  ที่มีแต่พื้น  คอนกรีต  เมื่อทำโรงเรือนเฟินจึงต้องต่อเติมโครงหลังคาสูงขึ้นมา  4 เมตร  มุงซาแรนช่วยพรางแสงและให้อากาศถ่ายเท  จากนั้น  เตรียมพืน้ ด้านล่างให้เก็บความชืน้ ได้  กำหนดขอบเขตพืน้ ทีท่ ต่ี อ้ งการ  จัดสวนและก่ออิฐสูงขึ้นมา  20  เซนติเมตร  จากนั้นเททรายอัดลง  ไปก่อนเทปูนบางๆ  และทำรางระบายน้ำโดยรอบ  โรยหินเกล็ด  หนาประมาณ  1  นิ้ว  พื้นที่ส่วนที่เหลือโรยเปลือกสนนิวซีแลนด์  ทับอีกครั้งเพื่อช่วยรักษาความชื้น  หลังจากปรับปรุงพื้นที่ไม่นาน  ปรากฏว่าเฟินเริ่มเจริญเติบโตได้ดี  โดยเฉพาะเฟินก้านดำ  ส่วน  เฟินชายผ้าสีดาก็เริ่มงดงามขึ้น

1

2

3

4

5

เริ่มสะสม พอจัดระบบได้เหมาะสมก็เริ่มสะสมเฟินชนิดต่างๆ  ไม่ว่า  จะเป็นเฟินกลุม่ สร้อยนางกรองหรือช้องนางคลี่  (Huperzia) ทัง้ จาก  ประเทศออสเตรเลีย  มาดากัสการ์  หมู่เกาะโซโลมอน  หรือแม้แต่  ภูมภิ าคเอเชียอย่างญีป่ นุ่   รวมทัง้ สกุลกนกนารี  (Selaginella)  และ  หวายทะนอย  (Psilotum)  จากประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งชอบอากาศเย็น  แต่ก็สามารถเติบโตได้ดี  รวมทั้งชายผ้าสีดาชนิดต่างๆ  (Platycerium)  และเฟินข้าหลวงหลังลาย  (Asplenium)  เราจะเห็นได้ว่า  นอกจากเฟินที่ปลูกเลี้ยงในกระถางแล้ว  ตามริมกำแพง  ก้อนหิน  และมุมต่างๆ  ก็ยังมีเฟินที่งอกจากสปอร์ปลิวไปเกาะอย่างเป็น  ธรรมชาติ สมดุลของระบบนิเวศ  ความเอาใจใส่  ศึกษาและสังเกต  ความเป็นไปของเฟิน  จึงทำให้เกิดเป็นสวนแสนสวยแห่งนี้ขึ้นมา  ในที่สุดค่ะ

1. ภายในโรงเรือนหลังบ้าน  ด้านบนแขวนเฟินสายชนิดต่างๆ  ด้านล่างจัดตกแต่ง  เป็นสวนเฟินกระถาง  มีเปลือกสนนิวซีแลนด์คลุมเพื่อรักษาความชื้น 2. เฟินสายหลากชนิดช่วยกรองแสงที่ส่องลงมาด้านล่าง  ทั้งยังช่วยลดแรงกระแทก  จากน้ำฝนได้ด้วย 3. พื้นสวนบางส่วนปลูกมอสส์คลุม  แซมด้วยเฟินกนกนารี 4. มุมสวนกระถางหน้าบ้าน  ใช้อิฐมอญปูพื้นและก่อผนังให้เป็นสัดส่วน  วางกระถาง  เฟินให้ลดหลั่นกันอย่างเป็นธรรมชาติ 5. กลุ่มไม้กระถางวางบนพื้นอิฐมอญที่ปูรักษาความชื้นในสวน

Tips

1. โรงเรือนปลูกเลี้ยงเฟินควรโปร่ง  ระบายอากาศได้ดี มีความชื้นเหมาะสม  สภาพแสงประมาณ 50% 2. เฟินก้านดำซึ่งค่อนข้างบอบบางไม่ควรให้โดนฝนโดยตรง วิธีช่วยที่ดีคือ  แขวนเฟินชายผ้าสีดาไว้ด้านบนและปลูกเฟินก้านดำ ด้านล่าง  เพื่อลดแรงกระแทกของน้ำฝนที่ตกลงมา 3. คุณสมบัติของเครื่องปลูกที่ดีคือ  โปร่ง  ระบายน้ำได้ดี  ชื้นแต่ ไม่แฉะ  หากปลูกในกรุงเทพฯควรเลือกเครื่องปลูกที่เก็บความชื้น ได้ดีเป็นพิเศษ  ถ้าเป็นเครื่องปลูกที่มีกาบมะพร้าวสับเป็น ส่วนประกอบควรเปลี่ยนปีละครั้ง เข้าไปหาข้อมูลและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ปลูกเฟินได้ที่ www.ilovefern.com 11


Warasan March30_3_54.indd 12

3/30/11 3:47:46 PM


Warasan March30_3_54.indd 13

3/30/11 3:47:48 PM


เล่าเรื่องต้นไม้: Plants Gossip

พืชกลุ่มใกล้เคียงเฟินสกุล Huperzia

เรื่องและภาพ : ภัทรา  แสงดานุช

พืชกลุ่มใกล้เคียงเฟินสกุล Huperzia อยู่ในวงศ์ Lycopodiaceae ในเมืองไทยประกอบด้วย 3 สกุล คือ Huperzia, Lycopodiella และ Lycopodium

4.  Huperzia goebelii (ชื่อไทย/ชื่อการค้า: ช้องบลู) พบทางภาคตะวันออกในจังหวัดตราด  ภาคใต้พบในจังหวัด ยะลา  กระจายพันธุ์ในมาเลเซีย  เกาะสุมาตรา  เกาะบอร์เนียว

ในที่นี้ขอกล่าวถึงสกุล  Huperzia  เท่านั้น  เพราะเป็นพืชที่นิยม นำมาปลูกเลี้ยงเป็นไม้ประดับอย่างแพร่หลาย  ด้วยลักษณะของ ต้นและใบที่ห้อยยาวเป็นเส้นสาย  จึงมักเรียกชื่อทางการค้าว่า “เฟินสาย”  ซึ่งอันที่จริงพืชดังกล่าวไม่ใช่เฟิน  เป็นเพียงพืชกลุ่ม ใกล้เคียงเฟิน  (fern allies)  ที่มีลักษณะบางอย่างร่วมกับเฟิน พืชกลุ่มใกล้เคียงเฟินกลุ่มนี้มีลักษณะห้อยยาวเป็ นเส้นสาย ส่วนมากมีกำเนิดเป็นพืชอิงอาศัยตามคาคบไม้  เดิมจัดไว้ในสกุล Lycopodium  แต่ปัจจุบันนักพฤกษศาสตร์ได้จัดให้พืชที่มีลักษณะ ดังกล่าวไว้ในสกุล  Huperzia  ทั้งหมด ลักษณะเด่นของสกุล  Huperzia  คือ  เป็นพืชอิงอาศัย  ลำต้น ใต้ดินไม่ทอดเลื้อย  สตรอบิลัสซึ่งทำหน้าที่สร้างสปอร์ไม่มีก้านชู พิเศษ  ขณะที่พืชสกุล  Lycopodium  มีลำต้นใต้ดินทอดเลื้อย  และ สตรอบิลัสมีก้านชูพิเศษ

5.  Huperzia hamiltonii (ชื่อไทย/ชื่อการค้า: ช้องเมรี) พบทั่วไปทุกภาค กระจายพันธุ์ในเนปาล อินเดีย ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน  มาเลเซีย  ไต้หวัน

สำหรับ  Huperzia  ที่พบในประเทศไทยมี  13  ชนิด  ได้แก่

1.  Huperzia  carinata  (ชื่อไทย/ชื่อการค้า:  หางหนู  หาง

6.  Huperzia laxa พบทางภาคใต้ ใ นจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช  กระจายพั น ธุ ์ ใ น มาเลเซีย  คาดว่าเป็นลักษณะหนึง่ ของ Huperzia ทีม่ ชี อ่ื ทางการค้า ว่า  นางกลาย 7.  Huperzia  nummulariifolia (ชื่อพ้อง: Lycopodium nummulariifolium) (ชื่อไทย/ชื่อการค้า: ระย้าเกล็ดหอย  ยมโดย เกล็ดหอย) พบทางภาคใต้ในจังหวัดนครศรีธรรมราช  นราธิวาส  ยะลา กระจายพันธุ์ในคาบสมุทรมลายู  เกาะชวา  เกาะสุมาตรา  ฟิจิ 8.  Huperzia phlegmaria (ชื่อพ้อง: Lycopodium phlegmaria) (ชื่อไทย/ชื่อการค้า: ช้องนางคลี่) พบทั่วไปทุกภาค  กระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียไปจนถึงแอฟริกา

เปียเจ๊ก สร้อยนารี สร้อยนางกรอง) พบทางภาคตะวันออกในจังหวัดชลบุร ี จันทบุร ี ตราด  ภาคใต้ พบในจั ง หวั ด ระนอง  สุ ร าษฎร์ ธ านี   พั ง งา  นครศรี ธ รรมราช กระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของจีน  อินโดจีน  มาเลเซีย  ไปจนถึง โพลีนีเซีย

9.  Huperzia pinifolia พบทางภาคใต้ในจังหวัดนครศรีธรรมราช  กระจายพันธุ์ในเกาะ บอร์เนียว  เกาะชวา

2.  Huperzia  cryptomerina พบทางภาคเหนือในจังหวัดเชียงใหม่  กระจายพันธุ์ในเกาหลี ญี่ปุ่น  ไต้หวัน  อินเดีย

10.  Huperzia pulcherrima พบทางภาคเหนือในจังหวัดเชียงใหม่  กระจายพันธุ์ในอินเดีย ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น

3.  Huperzia   dalhousiana   (ชื ่ อ ไทย/ชื ่ อ การค้ า : หาง สิงห์บลู) พบทางภาคใต้ในจังหวัดยะลา  กระจายพันธุ์ในมาเลเซีย  เกาะ บอร์เนียว  ไปจนถึงตอนเหนือของรัฐควีนส์แลนด์  ออสเตรเลีย

11.  Huperzia  serrata (ชื่อไทย/ชื่อการค้า: ช้องนางคลี่ ใบจัก) พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดเลย  ภาคใต้พบใน จังหวัดนครศรีธรรมราช  กระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย  หมู่เกาะใน มหาสมุทรแปซิฟิก  อเมริกากลาง  เป็น Huperzia เพียงชนิดเดียว ที่ขึ้นบนพื้นดิน  แต่ไม่มีลำต้นทอดเลื้อยอยู่ใต้ดิน

14


12.  Huperzia  squarrosa  (ชื่อไทย/ชื่อการค้า: หางสิงห์ หางค่าง) พบทั ่ ว ไปทุ ก ภาค  กระจายพั น ธุ ์ ใ นทวี ป เอเชี ย  หมู ่ เ กาะใน มหาสมุทรแปซิฟิก  ทางเหนือของรัฐควีนส์แลนด์  มาดากัสการ์ 13.  Huperzia  tetrasticha  (ชื่อไทย/ชื่อการค้า:  สร้อยนางกรองเหลี่ยม) พบทางภาคใต้ในจังหวัดนราธิวาส  ยะลา  กระจายพันธุ์ใน คาบสมุทรมลายู  อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์

เอกสารอ้างอิง ทวีศักดิ์ บุญเกิด, รสริน พลวัฒน์ และปริญญนุช ดรุมาศ. 2548. รายงานการวิจัย การศึกษาทบทวนพืชวงศ์ Lycopodiaceae  ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กองทุนรัชดาภิเษก สมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Boonkerd, T. and Pollawatn, R. 2000. Pteridophytes in   Thailand. Office of Environmental Policy and Planning,: Bangkok, Thailand.

Huperzia carinata

H. dalhousiana

H. goebelii

H. nummulariifolia

H. phlegmaria

H. serrata

H. squarrosa

H. tetrasticha

สตรอบิลัสของสกุล Huperzia ที่นำมาขยายพันธุ์

15


POPPER

วัสดุปลูกน้ำหนักเบา ผลิตจากดินเหนียวธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีเจือปน มีโพรงอากาศภายใน ช่วยให้น้ำหนักเบา อุ้มน้ำได้ดี เหมาะสำหรับ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เช่น กล้วยไม้ สับปะรดสี อโกลนีมา ฟิโลเดนดรอน

ผลิตโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัดวิวรรณเทคโนโลยี

137 หมู่ 2 ตำบลสบแม่ข่า อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230

โทรศัพท์ 0-5336-8366, 08-6654-0490 โทรสาร 0-5336-8366


ไขปัญหา: Q & A garden

ทิลแอนด์เซีย (Tillandsia) เลี้ยงง่ายหรือยาก?

เรื่อง : hydrophile ภาพ : สำนักพิมพ์บ้านและสวน

Q

เดินตลาดต้นไม้ที่จตุจักรเมื่อหลายปีก่อน  สายตาก็พลัน ไปเห็นต้นไม้ชนิดหนึ่งไม่อยู่ในกระถาง  แต่กลับผูกมัดติดอยู่กับ เชื อ กห้ อ ยแขวนโตงเตง  บ้ า งก็ ว างกองรวมกั น ในตะกร้ า   เอ๊ ะ !  นี่มันต้นอะไรกันนะ  ไม่เคยเห็น  เลยเดินเข้าไปสอบถามแม่ค้า ว่ า  “นี ่ ต ้ น อะไรจ๊ ะ ” ก็ ไ ด้ ค ำตอบกลั บ มาว่ า  “ทิ ล แอนด์ เ ซี ย หรื อ สับปะรดอากาศจ้ะ”  ในใจคิดว่า  แปลกดีนะ  ต้นไม้อะไรไม่ต้อง ปลูกลงดินก็อยู่ได้  เลยซื้อมาลองปลูกกับเขาบ้าง แต่ ม ี ข ้ อ สงสั ย อยู ่ ค ่ ะ   ข้ อ แรก  คื อ   ปลู ก

เลี ้ ย งอย่ า งไร  ต้ อ งรดน้ ำ ทุ ก วั น หรื อ เปล่ า เพราะ ไม่ได้ปลูกลงกระถางเลย  กลัวเจ้าต้นทิลแอนด์เซียนี้ จะตายซะก่อน  ข้อสอง  คือ  ขนสีขาวที่ปกคลุมอยู่ ทุกส่วนของต้น  คืออะไรคะ...? Tillandsia cyanea

A

Tillandsia ionantha

ทิลแอนด์เซียหรือสับปะรดอากาศ  เป็นหนึ่งในสมาชิก วงศ์สับปะรดสี  (Bromeliaceae)  มีลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดเจนคือ ทั ่ ว ทั ้ ง ต้ น และแผ่ น ใบมี เ กล็ ด หรื อ ขนสี ข าวที ่ เ รี ย กว่ า   ไทรโคม (trichome) ปกคลุม  ซึ่งทำหน้าที่ดูดซับอาหารแทนราก  ส่วน รากนั้นทำหน้าที่เพียงยึดเกาะเท่านั้น  บางชนิดต้องใช้วัสดุปลูก บางชนิดก็ผูกติดกับขอนไม้แล้วแขวนไว้ในบริเวณที่ได้รับแสงแดด รดน้ำบ้าง  ให้ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำเจือจางบ้าง  ก็สามารถออกดอก ผลิใบให้เราได้ชื่นใจได้ ธรรมชาติของทิลแอนด์เซียไม่ต้องการน้ำ

มาก  หากสภาพพื้นที่ปลูกอยู่ใต้ร่มไม้  มีพรรณไม้ ชนิดอืน่ ๆ อยูด่ ว้ ย  แม้ได้รบั แสงแดดมากก็สามารถ เติ บ โตอยู ่ ไ ด้   ถ้ า เป็ น ช่ ว งฤดู ร ้ อ นหรื อ ฤดู ห นาว ควรรดน้ำวันเว้นวันก็เพียงพอ  แต่ถ้าอากาศร้อน จัด  ควรฉีดพ่นน้ำในบริเวณพื้นที่ปลูกบ้าง  เพื่อ ลดความร้อนในอากาศลง  หากเป็นช่วงฤดูฝนซึ่งมี ความชื้นในอากาศสูง  ควรให้น้ำ  3  วันต่อ  1  ครั้ง หรือในกรณีที่มีฝนตกชุกไม่จำเป็นต้องให้น้ำ  และ ระวังเรื่องต้นเน่า  ควรเลี้ยงในบริเวณที่มีอากาศ ถ่ายเทดี

Tillandsia funckiana

ทิลแอนด์เซียที่รู้จักกันดี  คือ  เคราฤๅษี  หรือ Spanish Moss (Tillandsia usneoides)  นิยมนำมาประดับสวน  ปัจจุบัน ยังมีทิลแอนด์เซียชนิดอื่นๆ อีกมากมายให้ซื้อไปปลูกเลี้ยงกันค่ะ หากต้องการข้อมูลการปลูกเลี้ยงเพิ่มเติม  ลองอ่านในหนังสือ “มือใหม่หัดปลูกทิลแอนด์เซีย ”  ของสำนักพิมพ์บ้านและสวน แล้วจะพบคำตอบว่า  ทิลแอนด์เซียเลี้ยงง่ายจริงๆ 17


สัตว์ในสวน: Animals in Garden

นกจับแมลง (Flycatcher)

จนมองดูได้ยาก  ถึงกระนั้นก็มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง  เช่น  กลุ่ม นกจับแมลง  ซึ่งมีขนาดตัวไม่ใหญ่ไปกว่านกกระจอก เรื่องและภาพ  :  วิชญนันท์  ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ชอบเกาะนิ่งอยู่บนกิ่งไม้เป็นเวลานาน  เมื่อพบเหยื่อ เมื ่ อ ลมหนาวย่ า งกรายเข้ า มาเปลี ่ ย นความ จึงบินออกไปโฉบแมลงแล้วกลับมาเกาะที่เดิม  สมกับชื่อ ร้ อ นอบอ้ า วให้ ก ลายเป็ น อากาศที ่ อ บอุ ่ น กำลั ง ดี “Flycatcher” ประเทศเขตร้ อ นอย่ า งเมื อ งไทยก็ ก ลายเป็ น แหล่ ง นกจับแมลงทีเ่ รียกได้วา่ เป็นนกสามัญประจำบ้าน พั ก พิ ง สำคั ญ ของสั ต ว์ ท ี ่ อ พยพหนี ห นาวมาจาก ที่ชอบมาอาศัยอยู่ตามสวนของทุกบ้านในช่วงฤดูหนาว ประเทศทางเหนือเป็นประจำทุกปี  โดยเฉพาะสัตว์ปกี ได้แก่  นกจับแมลงสีน้ำตาล (Asian Brown Flycatcher อย่ า งนก  ที ่ ส ามารถบิ น อพยพได้ ไ กลหลายพั น ชื่อวิทยาศาสตร์:  Muscicapa dauurica)  และ  นกจับ  กิโลเมตรจากบ้านเกิดไปยังถิ่นอาศัยที่เหมาะสมใน แมลงคอแดง (Taiga Flycatcher  ชื ่ อ วิ ท ยาศาสตร์ : ช่วงฤดูหนาว  จากนั้นจึงบินกลับไปยังบ้านเกิดของ Ficedula albicilla)  ทัง้ สองชนิดมีสตี นุ่ ๆ ดูไม่นา่ สนใจ ชนิด พวกมันอีกครั้งเพื่อออกลูกออกหลาน  แล้วเจริญ แรกชอบเกาะอยูต่ ามกิง่ ไม้คอ่ นข้างสูง  ลำตัวตัง้ ตรง  มีจดุ เด่น รอยตามเส้นทางอพยพเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า  จากรุ่น คือวงรอบตาและแถบเคราจางๆ สีขาว  ปากค่อนข้างกว้าง หนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง หลายคนอาจไม่รู้ว่า  เกือบครึ่ง และแบน  จะงอยปากล่างด้านในเป็นสีเนื้อ  ส่วนชนิดหลัง หนึ่งของนกที่พบในบ้านเราเป็นนกอพยพตามฤดูกาล มักเกาะอยู่ตามตอไม้หรือกิ่งไม้ในที่ค่อนข้างโล่งและไม่สูง ที่พบได้เฉพาะฤดูหนาวเท่านั้น  หากสังเกตตามต้นไม้ จากพื้นดินมากนัก  ด้านในของขนหางคู่นอกเป็นสีขาว รอบๆ  บ้านในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา  อาจรู้สึกว่ามี ซึ่งจะเห็นได้ชัดตอนมันกระดกหางขึ้น  -  ลง  ในช่วงฤดู นกตัวเล็กๆ มาอาศัยอยู่ตามต้นไม้ในรั้วบ้านมากเป็น ผสมพันธุ์เพศผู้จะมีคอสีส้ม  นกจับแมลงชนิดนี้มัก พิเศษก็ได้นะครับ... ลงมาจับเหยื่อบนพื้นดินบ่อยๆ นกจั บ แมลงสี ค ล้ ำ บ้านที่มีต้นไม้ใหญ่หนาแน่นสามารถดึงดูดนก อ ี ก ช น ิ ด ท ี ่ พ บ ไ ด ้ ใ น ช ่ ว ง ฤ ด ู ห น า ว   ค ื อ อพยพได้ไม่ยาก  ส่วนใหญ่เป็นนกขนาดเล็กที่กินแมลงเป็นอาหาร นกจั บ แมลงสี ฟ ้ า  (Verditer Flycatcher มีอุปนิสัยคล่องแคล่วว่องไวกระโดดไปมาตามกิ่งไม้อย่างไม่หยุดนิ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์:  Eumyias thalassina)

นกจับแมลง ตะโพกเหลืองเพศผู้


นกจับแมลงคอน้ำตาลเพศผู้

นกจับแมลงคอแดง

นกจับแมลงคอแดงเพศผู้

ซึ่งมีลำตัวสีฟ้าครามสมชื่อ  เพศผู้มีสีสันสดใสกว่าเพศเมีย  นกจับแมลงชนิดนี้มีขนาดใหญ่กว่า สองชนิดแรกและมักเกาะตามกิ่งโล่งๆ บนต้นไม้สูงหรือยอดไม้  ทำให้เห็นตัวได้ไม่ยากในช่วง ฤดูอพยพราวเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม  และปลายฤดูกาลระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีโอกาสพบนกจับแมลงหลากหลายชนิดที่สุด  แต่นกเหล่านี้มักแวะพักให้เห็นเพียง ไม่กว่ี นั เพือ่ สัง่ สมพลังงานก่อนทีจ่ ะออกเดินทางต่อ  นกอพยพทีพ่ บได้งา่ ยทีส่ ดุ คือ  นกจับแมลง  สีคล้ำ  (Dark-sided  Flycatcher  ชื่อวิทยาศาสตร์:  Muscicapa sibirica)  ลักษณะคล้ายนก จับแมลงสีน้ำตาล  แต่มีลายที่ข้างอกเข้มกว่า  ชอบเกาะตามยอดไม้เด่นๆ  และนกจับแมลง  ตะโพกเหลือง  (Yellow-rumped  Flycatcher  ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficedula zanthopygia) เพศผู้มีตัวสีดำสนิทตัดกับท้องสีเหลืองสดสวยงามมาก ยังมีนกจับแมลงที่มีสีสันสวยงามอีกหลายชนิดที่สามารถพบได้ในช่วงนี้  เช่น  นกจับแมลง  สีฟ้าท้องขาว  (Blue-and-white  Flycatcher  ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyanoptila cyanomelana) นกจับแมลงคอน้ำตาลแดง  (Hill  Blue  Flycatcher  ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyornis banyumas) และชนิดอื่นๆที่ใกล้เคียงกัน  แต่พบได้ไม่บ่อยนัก นกเหล่านี้ช่วยควบคุมประชากรแมลงตามธรรมชาติไม่ให้มีมากเกินไป  ส่วนใหญ่จะอพยพ มาหากินซ้ำที่เดิมทุกปี  การมีกล้องส่องทางไกลติดมือไว้ส่องดู  ก็น่าจะสร้างความเพลิดเพลิน ได้ไม่น้อยเลยทีเดียวครับ

นกจับแมลงสีฟ้าเพศผู้

นกจับแมลงสีฟ้าท้องขาวเพศผู้

19


สนับสนุนโดย

นิตยสาร

สับปะรดสี โดย  อภิรักษ์  กลั่นแก้ว  ราคา 539 บาท

ผู้ที่ชื่นชอบความแปลกใหม่ในสีสันและรูปลักษณ์ที่หลากหลาย  คงไม่ปฏิเสธไม้ประดับที่ชื่อ “สับปะรดสี” กันเป็นแน่  แม้ต้นสับปะรดสีที่เลี้ยงไว้จะสวยบ้างไม่สวยบ้าง  แต่คงไม่ใช่สิ่งสำคัญ อีกต่อไป  หากคุณรักและชื่นชอบด้วยใจจริง  ก็ต้องทะนุบำรุงให้เติบโตผลิดอกติดผลให้นำไปขยายพันธุ์ เพิ่มได้อย่างแน่นอน  หากใครกำลังมองหาเคล็ดลับการปลูกสับปะรดสีและอยากเลือกชนิดที่ชอบ ไปปลูก  ลองอ่าน “สับปะรดสี” เล่มนี้  รับรองว่าประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

มือใหม่ไม้ปลูกง่าย : Easy Plants  โดย ธัญนันท์  วีระกุล  ราคา 155 บาท

แต่ละคนล้วนมีประสบการณ์ความประทับใจที่แตกต่างกัน  สำหรับใครที่สนุกกับการได้ศึกษา ค้นคว้า  พยายามทุกวิถีทางจนประสบความสำเร็จในสิ่งนั้น  ย่อมเป็นความประทับใจที่ไม่มีวันลืม เช่นเดียวกับ คุณธัญนันท์  วีระกุล  ที่มีความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการ เพื่อปลูกต้นไม้ที่ชอบให้สำเร็จจนได้  จึงอยากถ่ายทอดประสบการณ์ดีๆ ให้ผู้ที่ชอบปลูกต้นไม้ทุกท่าน ได้ลองไปปฏิบัติกัน ซึ่งเนื้อหาในเล่มล้วนเป็นสิ่งที่สามารถทำได้จริงๆ

มือใหม่หัดปลูกทิลแอนด์เซีย : Easy Tillandsia  โดย ธิวลักษณ์  บุนนาค  ราคา 155 บาท

ทิลแอนด์เซียหรือสับปะรดอากาศ  เป็นหนึ่งในสมาชิกวงศ์สับปะรดสี (Bromeliaceae) ที่มีลักษณะเด่น ที่น่าสนใจคือ  ทุกส่วนของต้นมีเกล็ดหรือขนสีขาวที่เรียกว่า  ไทรโคม (trichome) ปกคลุม  ทำหน้าที่ดูดซับ อาหารแทนราก  ส่วนรากนั้นทำหน้าที่เพียงยึดเกาะเท่านั้น  ปัจจุบันมีทิลแอนด์เซียหลายชนิดทั้งชนิดแท้และ พันธุ์ผสมให้ผู้สนใจเลือกไปปลูกกัน  หนังสือ “มือใหม่หัดปลูกทิลแอนด์เซีย” เล่มนี้  รวบรวมข้อมูลที่สำคัญ ทั้งประวัติความเป็นมา  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  เทคนิคการปลูกเลี้ยงดูแลรักษา  พร้อมแนะนำ ร้านค้าไว้ให้ผู้ที่กำลังคิดจะปลูกเลี้ยงได้ลองศึกษากัน  แล้วจะพบคำตอบว่า  ทิลแอนด์เซียเลี้ยงไม่ยาก อย่างที่คิด

Terrarium : สวนสวยในแก้วใส โดย เอกวิทย์  หาสนนท์  ราคา 285 บาท

พบกับ 24 ไอเดียจาก  คุณเอกวิทย์  หาสนนท์  ที่หันมาจัดสวนโดยการจำลอง ระบบนิเวศเล็กๆ ในธรรมชาติ  มาเป็นสวนจิ๋วในภาชนะใสอย่างขวดโหล  แก้ว  หลอดทดลอง  ตู้ปลา หรือจะเป็นภาชนะเก่าเก็บเหลือใช้  พร้อมขั้นตอนการจัดและงบประมาณ  เพื่อให้ผู้สนใจนำไป ดัดแปลงวิธีการได้อีกมากมาย  เหมาะกับผู้รักธรรมชาติแต่ไม่มีพื้นที่สวนหรือผู้ที่ชอบการแต่งบ้าน ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมืออาชีพ  หากนึกอยากจำลองเรื่องราวสนุกๆ  ของสวนไว้ใกล้ๆ  ตัว มาลองทำ “สวนสวยในแก้วใส”  กันดีกว่า

ไอเดียสร้างสวน โดย สาโรช  โสภณางกูร และรสสุคนธ์ (โรหิตรัตนะ) ภิบาลกุล  ราคา 395 บาท

11 สวนหลากหลายรูปแบบที่ตรงใจคนรักสวน  รวมทั้งมุมสวนเล็กๆ  ในบ้านจัดสรรอีก 7 มุม เช่น  มุมพักผ่อน  มุมศาลา  มุมน้ำตก  ฯลฯ  ที่จัดโดย  อาจารย์สาโรช  โสภณางกูร  และบรรดา ลูกศิษย์  ผู้อ่านที่มีพื้นที่เล็กในบ้านสามารถนำไอเดียเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้  รวมทั้งดีเทลของสวน รูปแบบต่างๆ  เช่น  ทางเดิน  น้ำพุ  น้ำผุด  น้ำพ่น  น้ำล้น  น้ำไหล  ซุ้มและศาลา  ตลอดจนงาน ระบบและงานโครงสร้าง  เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังมองหารูปแบบสวน  ปรับปรุงสวน  หรือต้องการ จัดสวนมุมเล็กๆ ด้วยตัวเอง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.