aj.yui

Page 1

B MK18 NT E PRES

G

TIN E K MAR

CE N E FER N O C



InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 1


2

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

InStagram In Stores


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 3

กิตติกรรมประกาศ งานสัมมนาเชิงอภิปราย เรื่อง “InStagram In Stores เปิดเช็คลิสต์ พลิกโอกาส ร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves” สมบูรณ์ได้ด้วยความกรุณา และความ ร่วมมือจากบุคคลสำ�คัญหลายๆ ท่าน คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณ ผศ.ดร.พัลลภา ปีติ สันต์ และอาจารย์สุพรรณี วาทยะกร อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ ที่ช่วยแนะนำ�แนวคิด และแก้ไขข้อบกพร่องในการวิจัย รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจอันนำ�ไปสู่ความมั่นใจในการจัด สัมมนาครั้งนี้ และขอขอบพระคุณ ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทรหัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัย การจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ให้คำ�ปรึกษา ตลอดจนความช่วยเหลือในการทำ�วิจัย และทำ�ให้งานวิจัยฉบับนี้เสร็จสมบูรณ์ด้วยดี อีกทั้งขอขอบพระคุณคุณอริยะ จิระวรา หุ้นส่วนร้าน SOS-Sense of Style (Multi-Brand Store), คุณธัชพร วาจาสัตย์ เจ้าของแบรนด์ LaVanetta, คุณณิชา สมิทธิปรีชาวงษ์ เจ้าของแบรนด์ Troopers และ คุณนันทกุล ซีตันติเวช เจ้าของแบรนด์ Dallar Jewelry ที่กรุณาให้ข้อมูลและคำ�แนะนำ�ที่เป็นประโยชน์ใน การทำ�วิจัยไว้ ณ ที่นี้ คณะผู้วิจัย MK18B ทีมงาน “ InStagram In Stores”


4

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

เรื่อง

หน้า

เจ้าของพื้นที่ (Multi-Brand Stores) - SOS ( Sense Of Style ) - FABLAB

6 8

เจ้าของแบรนด์ (Brands) - Lookbook:) (แบรนด์เสื้อผ้า) - Dotlineplain (แบรนด์เสื้อผ้า) - Pudee (แบรนด์เสื้อผ้า

10 14 18


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 5

Contents เรื่อง

หน้า

เจ้าของแบรนด์ (Brands) - Magic Cup (แบรนด์ชุดชั้นใน) - Gotcha (แบรนด์กระเป๋า) - Troopers (แบรนด์กระเป๋า) - Dallar Jewelry (แบรนด์เครื่องประดับ)

21 23 26 28

สคริปต์งานสัมมนา

30

คำ�ถามสัมภาษณ์วิทยากร

43


6

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

SOS

Sense Of Style

Multi-brand Store “ผนึกกำ�ลังดันแบรนด์สินค้า แฟชั่นไทยให้เติบโต”

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีเด็กวัยรุ่นมากมายที่มีความใฝ่ฝันจะเปิดธุรกิจส่วนตัว หรือบรรดา พนักงานบริษัทที่ต้องการมีอาชีพเสริม และหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากธุรกิจหนึ่งก็คือ การขายสินค้าแฟชั่นทางโลกออนไลน์ อย่างไรก็ตามการเปิดขายสินค้าแฟชั่นทางโลกออนไลน์ต่าง ก็มีข้อจำ�กัดอยู่มากมาย อย่างเช่น การที่ผู้บริโภคไม่สามารถเห็นและสัมผัสสินค้าจริง ไม่สามรถ ทดลองสวมใส่ หรือแม้ระทั่งการเกิดปัญหาระหว่างการขนส่ง เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เอง Multi-brand Store ที่มี Concept ในการรวบรวมสินค้าแฟชั่นจากแบรนด์ต่างๆ โลกออนไลน์ มาไว้ในที่เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ไปจนถึงเครื่องประดับ จึงได้กำ�เนิดขึ้นมาเพื่อที่จะเติมเต็มช่องว่าง ในความต้องการของผู้บริโภค และหนึ่งใน Multi-brand Store ที่มีการพูดถึงมากที่สุด ในบรรดาผู้ บริโภคก็คือร้าน SOS - Sense Of Style นั้นเอง จุดเริ่มต้นของ SOS - Sense Of Style จุดเริ่มต้นของ SOS - Sense Of Style เกิดจากคุณ โบว์ หนึ่งในหุ้นส่วนซึ่งเคยขายเสื้อผ้าในโลกออนไลน์มาก่อนและ พบว่าลูกค้าหลายๆ รายพูดตรงกันว่าอยากลองอยากเห็นสินค้า ก่อนซื้อ จากจุดนี้เองทำ�ให้เกิดการร่วมหุ้นกันและเกิดขึ้นมาเป็น ร้าน SOS - Sense Of Style โดยมี Store concept ว่า Simple Luxury มีการตกแต่งด้วยลายหินอ่อน เพื่อสื่อถึงความ หรูหรา มีระดับ ซึ่งเป็น Identity ของ SOS - Sense Of Style ที่ทุกๆ สาขาจะต้องมีเหมือนกัน เปิดตัว Sense by SOS ด้วย Concept Simple Luxury ของร้าน SOS Sense Of Style ที่เสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่นจะมีความหรูหรา สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ในกลุ่มๆ หนึ่งเท่านั้น จึงทำ�ให้เกิด Sub-brand ที่มี Concept Easy everyday เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอีก กลุ่มนึง ที่ต้องการเสื้อผ้าที่สามารถใส่ได้ทุกโอกาส และมีสไตล์ การแต่งตัวที่เด็กลงมาเมื่อเทียบกับ Brand แม่อย่าง SOS Sense Of Style


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 7

กลยุทธ์เด่นของ SOS - Sense Of Style จากการสัมภาษณ์ คุณ บิ๊ก อริยะ จิรวรา หนึ่งในหุ้น ส่วนของ SOS - Sense Of Style พบว่า SOS - Sense Of Style เป็นแบรนด์ที่ไม่หยุดนิ่ง มีการขยายสาขาออกไป เรื่อยๆ และมองหาโอกาสใหม่ๆเสมอไม่ว่าจะเป็น ในประเทศ ทั้ง ในเขตกรุงเทพ และต่างจังหวัด หรือแม้กระทั่งต่างประเทศ โดย ในปัจจุบันมีแบรนด์สินค้าแฟชั่นที่เข้ามาวางขายในร้าน SOS Sense Of Style และ Sense by SOS รวมทั้งสิ้นกว่า 300 แบรนด์ ซึ่งจุดเด่นของร้าน SOS - Sense Of Style และ Sense by SOS คือการ Promote แบรด์สินค้าทุกแบรนด์ในร้านโดย ใช้ผู้ที่มีชื่อเสียงต่างๆ ทั้งดารา Celebity ในการ Promote อีก หนึ่งกลยุทธ์เด่นคือ การทำ�สินค้า House brand ของทางร้าน เองในโอกาสพิเศษต่างๆเพื่อให้เป็นของขวัญแก่ลูกค้า อย่างเช่น หมวก กระเป๋าผ้า เป็นต้น ซึ่งได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าดี มาก จนต้องจัดทำ�ขึ้นเพื่อวางขายให้กับลูกค้าที่ต้องการ ความสำ�เร็จและเป้าหมายของ SOS - Sense Of Style จากการเริ่มต้นธุรกิจนี้มาในปี 2015 ในปัจจุบัน SOS - Sense Of Style มีสาขา ทั้งสิ้น 5 สาขาตามทำ�เลที่ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงได้ง่ายอย่าง เช่น สยามแสควร์ เซนทรัลลาดพร้าว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเปิด Sense by SOS อีก 2 สาขาด้วยกัน และกำ�ลังมีแผนที่จะขยายสาขาเพิ่มอีกในอนาคตเพื่อ รองรับแบรนด์สินค้าจากโลกออนไลน์ ต่างๆที่มีการเติบโตที่มากขึ้นเช่นเดียวกัน สำ�หรับเป้าหมายในอนาคตของ SOS - Sense Of Style นั้นก็คือการผลักดัน แบรนด์สินค้าแฟชั่นไทยให้เติบโตไปสู่เวทีระดับโลก ให้คนนึกถึงสินค้าแฟชั่นไทย ไม่ใช่เพียงแค่นึกถึงแบรนด์สินค้าระดับโลก อย่าง ZARA หรือ H&M

เครดิตการสัมภาษณ์คุณอริยะ จิรวรา หุ้นส่วนร้าน SOS - Sense Of Style โดย นายสุปภพ เอกคณานุวงศ์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล 5850007 MK18A (4+1)


8

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

FABLAB

Thailand’s Fabulous Multi-Brand Stores

นับว่าเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สำ�หรับช่วงปีที่ผ่านมา มีธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยม จากกลุ่มสาวๆ เป็นอย่างมาก ได้แก่ ร้านขายสินค้าแฟชั่นประเภท Multi-Brand Store ที่อยู่ใจกลาง เมือง อาทิ สยามสแควร์ เซ็นทรัลเวิร์ล ลาดพร้าว หรือเอกมัย เป็นต้น โดยหนึ่งในร้านที่เป็นที่นิยม ในกลุ่มหญิงสาวเหล่านั้น ก็คือร้าน “FABLAB” ที่เป็น Multi-Brand Store เจ้าแรกๆ ที่มีบทบาท ในวงการนี้ ซึ่งมี คุณศิรดา หันนาคินทร์ (คุณจิ๊บ) นักธุรกิจสาวเป็นผู้ก่อตั้งร้านแห่งนี้ จุดเริ่มต้นของ “FABLAB” คุณศิรดา หันนาคินทร์ (คุณจิ๊บ) นักธุรกิจสาวรุ่นใหม่ไฟแรง วัย 26 ปี ผู้ดำ�รงตำ�แหน่ง กรรมการผู้จัดการบริษัท แฟ้บแล็บ กรุ๊ป จำ�กัด หรือเจ้าของ “FABLAB” มัลติแบรนด์สโตร์ อัน เป็นศูนย์รวมเทรนด์แฟชั่นฝีมือนักออกแบบรุ่นใหม่ ก่อนที่จะมาเป็น “FABLAB” อย่างเต็มตัว คุณ จิ๊บได้ทำ�งานประจำ�และธุรกิจส่วนตัวควบคู่กันไป แต่ค้นพบว่าตนเองไม่สามารถโฟกัสทั้งสองอย่าง ได้ในเวลาเดียวกัน คุณจิ๊บเองก็มองว่าเป็นเรื่องที่เสี่ยงที่จะออกมาทำ�ธุรกิจของตนเองเลยเพียงอย่าง เดียว แต่การที่ไม่ออกมาทำ�อะไรของตนเองเสียที ก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน ทั้งนี้คุณจิ๊บยังเคยมี ประสบการณ์ในการทำ�แบรนด์เสื้อผ้าของตนเองและขายผ่าน ทางอินสตาแกรมอีกด้วย ด้วยทุนเดิมที่มีความสนใจและรักในแฟชั่น ประกอบกับประสบการณ์ ด้านการทำ�แบรนด์เสื้อผ้าขายในออนไลน์เป็นของตนเอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้คุณจิ๊บอยากริเริ่มก่อ ตั้ง FABLAB ขึ้นมา ทำ�ไมต้อง “FABLAB” ? “FABLAB ย่อมาจาก Fabulous Laboratory เรามองว่าห้องแล็บ คือ สถานที่สำ�หรับประดิษฐ์ ทดลอง คิดค้น สิ่งใหม่ๆ ซึ่งที่ FABLAB คือสถานที่ที่ทุก คนได้ทดลอง คิดค้นสิ่งใหม่ๆ และเทรนด์ ใหม่ๆ สำ�หรับคนที่รักในแฟชั่น ไม่ว่าจะ เป็นเจ้าของแบรนด์ที่ได้ทดลองตลาดของ ตนเอง ลูกค้าได้ทดลองแบรนด์ที่ยังไม่เคย ได้ลอง เพราะเป็นแบรนด์สินค้าจากช่อง ทางออนไลน์ สำ�หรับห้างสรรพสินค้าเอง ก็จะได้ดู Performance ของแบรนด์ที่อยู่ ในร้านของเราด้วย” คุณจิ๊บกล่าว


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 9

สิ่งที่ทำ�ให้เราไม่เหมือนใคร “FABLAB” จะเป็นสถานที่ที่มีความแปลกใหม่ตลอดเวลา ทุกครั้งที่ลูกค้าเดินเข้ามาในร้าน จะพบว่ามีแบรนด์ใหม่ๆ หรือ สินค้าใหม่ๆ อยู่เสมอ รวมไปถึงความหลากหลายในตัวสินค้า อีกด้วย “สำ�หรับภาพลักษณ์ของ “FABLAB” จะมีความเป็น Professional และเป็น Business ที่มีลักษณะจริงจังขึ้นมา อีกระดับหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การถ่ายแบบ Lookbook หรือ Styling ต่างๆ ที่เราประชาสัมพันธ์ออกไป จะมีรูปลักษณ์ที่ จริงจัง” คุณจิ๊บกล่าว -โลเคชั่น หรือตำ�แหน่งที่ตั้งของร้าน จะตั้งอยู่ในตัวห้าง เท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างกับ Multi-Brand Store เจ้าอื่นๆ โดย จะสอดคล้องกับการมี Position ทางการตลาดที่แตกต่าง กันกับเจ้าอื่นเช่นกัน โดย “FABLAB” จะจับกลุ่มเป้าหมาย ที่มีระดับสูงกว่า และโตกว่าร้านอื่นๆ ซึ่งกลุ่มลูกค้าหลักของ “FABLAB” จะเป็น กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยหรือผู้หญิง วัยทำ�งาน (First Jobber) -การประชาสัมพันธ์สินค้าในร้าน ทาง “FABLAB” จะมีการ ประชาสัมพันธ์ให้กับแบรนด์ที่อยู่ในร้านอย่างสม่ำ�เสมอ โดย ช่องทางหลักจะเป็นช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Official Website หรือ Social Media ก็ตาม ซึ่งจะมี Celebrity และ Influencer เป็นผู้ประชาสัมพันธ์ให้กับแต่ละแบรนด์ โดย “FABLAB” จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้ทั้งหมด เกณฑ์ในการเลือกร้านต่างๆ ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกใน “FABLAB” สำ�หรับร้านที่ต้องการจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ “FABLAB” คุณจิ๊บได้มีการกำ�หนดเกณฑ์หลักๆ ไว้ทั้งหมด 3 เกณฑ์ด้วยกัน เกณฑ์ที่สำ�คัญอันดับแรกนั่นก็คือ สินค้า จะต้องมีสไตล์เป็นของตนเอง เป็นรูปแบบที่มีเอกลักษณ์ และ แสดงความเป็นตัวตนได้อย่างชัดเจน อันดับถัดมา สินค้า เหล่านั้นจะต้องมีคุณภาพดี เมื่อมีการออกแบบสินค้าของ ตนเองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องมีจัดการในด้านการผลิต ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการผลิตจากโรงงานตนเอง หรือ เป็นการสั่งผลิตจากแหล่งต่างๆ แต่จะต้องไม่ใช่รูปแบบที่ไปรับ ของหิ้วต่อๆ กันมา หรือเป็นของก็อบปี้มาจากยี่ห้ออื่นๆ และ เกณฑ์สุดท้ายก็คือ คอนเซ็ปท์ของสินค้าว่าตรงกับ “FABLAB” หรือไม่ เพื่อดูว่ากลุ่มลูกค้าจะต้องเป็นกลุ่มเดียวกัน จึงจะยิ่งส่งเสริมกันในการขายมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ทั้งนี้ในทาง กลับกันหากกลุ่มลูกค้าเป็นคนละกลุ่มกันก็จะส่งผลเสียให้ กับทางแบรนด์นั่นเอง เครดิตการสัมภาษณ์คุณศิรดา หันนาคินทร์ เจ้าของ “FABLAB” โดย นางสาวเจมินี่น์ เจนอารีวงศ์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล 5850376 MK18B

ความท้าทายที่เราต้องเผชิญ สำ�หรับมุมมองคนภายนอกอาจมองเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ ถ้าได้ลองเข้ามาในธุรกิจจริงๆ แล้ว จะรู้เลยว่า การทำ� Multi-Brand ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด สิ่งที่ยากที่สุดคือ People Management หรือการบริหารจัดการคน/ ความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทีมงานของ “FABLAB” เอง ลูกค้า รวมไปถึง Stakeholder ของร้าน ต่างก็มีความ ต้องการและความคาดหวังที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งทาง “FABLAB” ก็จะต้องเข้าไปดูแลและบริหารความต้องการ/ ความสัมพันธ์เหล่านั้น นอกจากนี้ยังมีความยากในเรื่อง Operation หรือระบบการจัดการหลังบ้านต่างๆ ที่มีค่อน ข้างยาก เพราะ “FABLAB” เองเป็นเจ้าแรกๆ ในตลาด จึง ยังไม่มีระบบหลังบ้านใดๆ ที่เป็นต้นแบบที่ทางร้านสามารถ นำ�มาปรับใช้ได้ จึงต้องสร้างระบบขึ้นมาเองทั้งหมดตั้งแต่ ต้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบัญชี หรือระบบคลังสินค้าก็ตาม

มุมมองสำ�หรับอนาคตของ “FABLAB” “ในตอนนี้ทางทีมกำ�ลังสร้างให้ตลาด online ของ “FABLAB” ให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น โดยจิ๊บมองว่าใน อนาคตช่องทางนี้จะสามารถไปได้อีกไกล หากเป็นไปได้ อาจต่อยอดไปในตลาดต่างประเทศ และอาจมีการขยาย สาขาและแบรนด์ต่างๆ ที่จะเข้ามาในร้าน รวมไปถึงการเพิ่ม สาขาไปในห้างสรรพสินค้าที่ต่างจังหวัดอีกด้วย” คุณจิ๊ บกล่าว และคุณจิ๊บเองยังมองว่าหากเป็นไปได้ในอนาคต อาจมีการจับมือร่วมกันระหว่าง Multi-Brand Store แต่ละเจ้าในเมืองไทย เพื่อทำ�ให้ช่องทางนี้มีความยั่งยืนและ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข กรณีศึกษาของ FABLAB สะท้อนให้เห็นถึง รูปแบบธุรกิจ รูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในยุคปัจจุบัน โดย เป็นการเชื่อมโยงความต้องการกันระหว่างเจ้าของพื้นที่ Multi-Brand Store และ เจ้าของแบรนด์ต่างๆ ที่ต้องการ เข้ามาเช่าพื้นที่หน้าร้าน หรือมีช่องทางการจัดจำ�หน่าย เพิ่มเติมในรูปแบบ Offline Store โดยเป็นการเพิ่มโอกาส ในการจำ�หน่ายให้กับเจ้าของแบรนด์สินค้าต่างๆ รวมไป ถึงการทำ�ให้ลูกค้ารู้จักกับแบรนด์ และมีความมั่นใจในตัว แบรนด์มากยิ่งขึ้นอีกด้วย


10 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

Lookbook :)

ในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่าร้านเสื้อผ้าแฟชั่นมีการ แข่งขันสูงมาก ไม่ใช่แค่เฉพาะช่องทางออฟไลน์แต่ยังรวมไป ถึงช่องทางออนไลน์ที่กำ�ลังเป็นที่นิยม สำ�หรับผู้ที่คิดอยาก ริเริ่มทำ�ธุรกิจมักจะนึกถึงการเปิดร้านเสื้อผ้าทางออนไลน์ใน Facebook หรือ Instagram แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำ�แล้ว ประสบความสำ�เร็จเฉกเช่นเดียวกับ แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่น อย่าง Lookbook:) จากการสัมภาษณ์คุณวนิชชา ตรีทิพย์สถิตย์ หรือคุณ จีนหนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์ Lookbook:) ร่วมกันกับเพื่อน สนิทอีก 2 คน คือ คุณสุภัค ธงชัยวัฒนอำ�พล (โบว์) และ คุณอิงครัต อุนนกิตติ (อิ๊งค์) ที่เกิดอยากจะทำ�ธุรกิจอะไร ซักอย่างร่วมกัน โดยเริ่มต้นจากสิ่งที่ทั้ง 3 คนชอบเหมือนๆ กัน คือ เรื่องของเสื้อผ้าแฟชั่นและอยากแบ่งปันสไตล์เสื้อผ้า แบบที่ชอบแก่คนอื่น ๆ จึงทำ�ให้แบรนด์ Lookbook:) เกิด ขึ้น ซึ่งนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2554 ในช่วงแรกจะเน้นขายออนไลน์ เป็นหลักและ Lookbook:) ก็ถือเป็นแบรนด์แรกๆที่เริ่มทำ�ใน ช่วงที่การซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์กำ�ลังโต ต่อมา ก็ลองเข้าไปขายใน Siam Brandname มาถึง Facebook Page และปัจจุบันก็ทาง Instagram จึงทำ�ให้ถือเป็นจุด กำ�เนิดของ Lookbook:) มาจนถึงปัจจุบัน คุณจีนเล่าถึง Lookbook:) ว่าเหมือนกับ “หนังสือ แฟชั่น” ที่ทางแบรนด์อยากจะนำ�เสนอเป็นหนังสือสไตล์ Lookbook:) ให้แก่ทุก ๆ คนได้ติดตามอัพเดทไปพร้อม ๆ กันในแต่ละ Concept ของแบรนด์ ทุกครั้งที่ออก Collections ใหม่จะมีการถ่ายแบบนำ�เสนอสไตล์ อารมณ์ และ บรรยากาศที่ทำ�ให้ผู้บริโภครู้สึกเข้าถึงและอินไปกับเสื้อผ้าใน Theme ของ Collections นั้น ๆ นับได้ว่าเป็นกลยุทธ์หนึ่ง ที่ทาง Lookbook:) ได้ทำ�ออกมาตามเพื่อแสดงความเป็นตัว ตนของ Lookbook:)

สิ่งที่น่าสนใจอีกสิ่งคือ จะมีแบรนด์เสื้อผ้าซักกี่แบรนด์ที่ มีการเปิด Pre-Order สินค้าในแต่ละ Collections และได้ รับการตอบรับดีเกินคาดทุกครั้ง การเปิดรับ Order เต็ม ทุกครั้งจนถึงขั้นมี Pageใน Facebook ที่มีการ Trade สินค้าแบรนด์ Lookbook:) โดยเฉพาะเพื่อ Trade สินค้า กันในกลุ่มลูกค้าหลังจากที่ Page ของ Lookbook:) ปิด รับ Order ไปแล้ว สำ�หรับผู้ที่ไม่สามารถจองสินค้าได้ทัน จน ปัจจุบัน Lookbook:) มีการกำ�หนดกติกาทั้งเวลาและวัน เปิดรับจองเป็นรอบ ๆ และให้สิทธิกับผู้ที่ทำ�ตรงตามกติกา มาก่อนได้ก่อน (First in First Out) ทั้งนี้ในการทำ�ธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นย่อมมีคู่แข่งทางธุรกิจค่อน ข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น Concept หรือสไตล์ แต่คุณจีนได้ แสดงถึงมุมมองของ Lookbook:) ว่าบางที Concept ของ แต่ละแบรนด์จะออกมาคล้าย ๆ กัน ต้องยอมรับก่อนว่าสิ่ง ที่เกิดในปัจจุบันนี้แบรนด์เสื้อผ้ามีค่อนข้างเยอะ แบรนด์ต้อง ปรับตัวอยู่เสมอ แม้ว่า Lookbook:) จะเป็นแบรนด์แรก ๆ และอยู่มานานลูกค้าค่อนข้างจะจดจำ�แบรนด์ได้ ซึ่งเดิมการ ออก Collections เสื้อผ้า 2 เดือนต่อ 1 Collection ก็ ต้องออกถี่ขึ้น ซึ่งจุดประสงค์เพื่อต้องการให้ลูกค้ามองเห็น Lookbook:) มากขึ้น ติดตามแบรนด์อยู่เรื่อย ๆ ไม่หาย ไป หรือทิ้งช่วงให้รู้สึกว่าแบรนด์ไม่มีการอัพเดท ในเรื่องการ ถูก Copy สินค้าเป็นเรื่องปกติ ถ้าจะต้องคุยกับทุก ๆ คน ที่ Copy คงเป็นไปไม่ได้ ที่ทำ�ได้คือแค่เปลี่ยนมุมมองใหม่ว่า ถ้าลูกค้าอยากซื้อแบรนด์ Lookbook:) ยังไงก็ซื้อ Lookbook:) ทำ�ให้ต้องหันมาสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งมากขึ้น มากกว่า ซึ่งก็ตรงกับความเป็น Lookbook:) ที่ว่า เราไม่ ได้ขายแค่เสื้อผ้า เราขาย Concept ขายความเป็น Lookbook:)


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 11

เพราะ “Lookbook:)” เป็น มากกว่าคำ�ว่า “หนังสือแฟชั่น” คุณจีนกล่าวว่า Concept ของ Lookbook:) คือ เสื้อผ้าตามสไตล์ของพวกเรา หรือเสื้อผ้าที่สามารถใส่ได้ง่าย ๆ ใส่ได้ทุกวัน ดังนั้นการออก Collections จะมีการสร้าง เป็น Theme มีการ Mix & Match เพื่อทำ�เป็น Reference ในการแต่งชุดใน Everyday Look ในแต่ละคนซึ่งแต่ละ Collections จะมีกลิ่นอายของความเป็นสไตล์ Lookbook:) การสร้างแบรนด์ให้แข็งแรงเป็นอีกสิ่งที่คุณจีนและเพื่อนๆ คิดว่าทำ�ให้มีโอกาสดี ๆ เข้ามาสำ�หรับ Lookbook:) เนื่องจากได้รับคำ�เชิญชวนจากเจ้าของพื้นที่เจ้าแรกอย่าง SOS ที่นับได้ว่าปัจจุบันเป็น Multi-Brand Store ที่วัยรุ่น ทุ ก คนรู้ จั ก และเด็ ก สยามคุ้ น เคยกั บ ชื่ อ นี้ อ ย่ า งดี แ ล้ ว ก็ ว่ า ได้ ได้หันกลับมาตระหนักว่าอาจจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะ สามารถ Serve ลูกค้าใหม่ที่ยังเกิดความไม่มั่นใจในแบรนด์ และสินค้าของทาง Lookbook:) ให้ได้ลองสัมผัสและเข้าใจ ในความเป็น Lookbook:) ลูกค้าบางคนอาจจะเคยสั่งเสื้อผ้า กับทาง Lookbook:) แต่ด้วยความที่สินค้ามี Demand มากกว่า Supply ทำ�ให้ไม่อาจจะตอบสนองได้อย่างทั่วถึง ทาง Lookbook:) จึงอยากหาช่องทางที่สามารถ Serve ลูกค้าในส่วน โดยเสื้อผ้าที่ขายที่ SOS ก็จะไม่ใช่เสื้อผ้า New Collection แบบทางออนไลน์ แต่เป็นแบบที่ Lookbook:) เห็นว่าเป็นแบบที่สามารถขายได้เรื่อย ๆ อาจจะเป็นอีกช่อง ทางนอกเหนือจากช่องทางออนไลน์รู้จัก Lookbook:) ถ้า หากเราไม่คว้าโอกาสนี้ลูกค้าก็มีโอกาสปันใจไปให้แบรนด์อื่น จนลืม Lookbook:) ก็เป็นได้ นับได้ว่าตอนนี้แบรนด์ Lookbook:) ได้เข้าไปอยู่ที่ร้าน Multi-Brand Store อย่าง SOS Siam soi 6 | Sense by SOS | Central Ladprao และ แบรนด์น้องใหม่มาแรงอย่างร้าน CAMP ที่ Mega Bangna ที่พึ่งเปิดตัวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2560 แต่ทั้งนี้ในการเข้าสู่ ตลาดออฟไลน์ของ Lookbook:) ก็ต้องดู Concept กับ ร้าน Multi-Brand Store ด้วยว่าเข้ากันหรือไม่

ถึงกระนั้นแล้ว Lookbook:) ได้ถูกทาบทามจากผู้จัดงาน จากทางประเทศสิงคโปร์มาติดต่อให้ไปออกบูธที่งาน Public Garden ร้านที่ ฮาจิเลน (Haji lane Singapore) ที่เป็น เหมือนเป็นการรวม Multi-Brand ของไทยแต่เปลี่ยนสถาน ที่ไปขายที่สิงคโปร์ นับว่าเป็นอีกหนึ่งบทบาทในการแสดง ความเป็นสไตล์ Lookbook:) ที่ต่างประเทศจนทำ�ให้มีฐาน ลูกค้าที่สิงคโปร์ที่รอคอยแบรนด์ Lookbook:) ไปออกบูธ อยู่เนือง ๆ ทั้งนี้ Lookbook:) ยังคงต้องเข้าใจถึงพฤติกรรม การซื้อของกลุ่มลูกค้าเป็นหลัก ว่ากลุ่มลูกค้าต่างประเทศ ไหนใช่หรือไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลัก ต้องวิเคราะห์ต่อไปด้วย ว่ากลุ่มลูกค้าของประเทศใดมีกำ�ลังซื้อและแบบเสื้อผ้าของ ประเทศใดตรงกับ Lookbook:) ซึ่งประเทศสิงคโปร์ตอบ โจทย์ที่สุด แต่ไม่ได้นับว่าเป็นช่องทางขายหลักแค่เพียงเน้น สร้าง Awareness มากกว่า คุณจีนกล่าว


12 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

นอกจากนั้น Lookbook ยังไม่เคยหยุดนิ่ง มักจะคอย หาอะไรแปลกใหม่ หรือสร้างความ WOW!! ให้กับลูกค้าอยู่ เสมอ ดังจะเห็นได้จากแฟนคลับที่คอยตามจองทุก Collections ดังนั้นคุณจีนจึงกล่าวถึงความรู้สึกในบทสัมภาษณ์ นี้อีกว่า Lookbook:) ไม่ได้ให้ความสำ�คัญกับช่องทาง ออนไลน์เพียงอย่างเดียว แต่ก้าวเข้าไปอยู่ที่ Multi-Brand Stores อีกทางเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้ Lookbook:) ได้ ทำ�ความรู้จักกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด แม้ว่ายอดขายจะมาจาก ทางออนไลน์ 60% และออฟไลน์ 40% โดยประมาณหรือ การขายออนไลน์อย่างเดียวก็ประสบความสำ�เร็จแล้ว แต่ก็ ไม่ได้ชะล่าใจในตรงนั้น วันนี้ลูกค้าบางคนต้องการซื้อในช่องทางออฟไลน์ แม้ แบรนด์จะมีช่องทางออนไลน์อยู่เป็นหลัก เมื่อ Option หรือ Trend ความต้องการของลูกค้ามาแบบนี้ หากแบรนด์มอง ข้ามไปเลือกทำ�แต่ช่องทางออนไลน์เหมือนเดิม แน่นอนว่า ส่งผลต่อยอดขายที่ลดลงแน่นอน เพราะความต้องการของ ลูกค้าบางคนอยากลองเสื้อผ้าก่อน ซึ่งปัจจุบันที่ที่สามารถ ลองเสื้อผ้าก่อนซื้อได้คือในห้างสรรพสินค้าทั่วไป แต่หาก เสื้อผ้าไม่ใช่สไตล์ที่ลูกค้าชอบซึ่งลูกค้าชอบสไตล์ Lookbook:) ซึ่งลองไม่ได้ก็อาจ Switch ไปซื้อแบรนด์ที่ใกล้เคียง กับ Lookbook:) ที่สามารถลองได้ก็เป็นได้ ดังนั้นไม่ได้มีแค่ ความ Variety ของแบบสินค้าหรือคุณภาพสินค้าเท่านั้น แต่ ต้องมี Product Experience ด้วย โดยที่ผ่านมาที่ลูกค้าจะ ได้มีโอกาสลองสินค้าได้หรือพบปะเจ้าของแบรนด์ก็คือการ ออกบูธ เช่น ตลาดนัด LOL และ TGIF หากวันนี้การลงทุน เช่าพื้นที่กับร้าน Multi-Brand Store สามารถให้ลูกค้าได้ มาลองสินค้า ได้มาลอง Mix & Match เสื้อผ้ากับแบรนด์ อื่น ก็ถือว่า Win-Win ทั้งฝั่งผู้ซื้อผู้ขายแต่ละแบรนด์ ทำ�ให้ Multi-Brand Store เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยขยายช่อง ทางและเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้นแม้ไม่ได้มี Potential มากเท่ากับช่องทางออนไลน์


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 13

สำ�หรับเป้าหมายระยะสั้นของ Lookbook:) คุณจีนเผย ว่าอยากให้แบรนด์ Lookbook:) กลายเป็นแนว Total Look หรือต้องการให้ Lookbook:) กลายเป็นส่วนหนึ่ง ของทุก ๆ คนในทุก ๆ วัน กล่าวคือเวลาจะออกไปไหนก็ขอ ให้ Lookbook:) อยู่ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเวลาสวมใส่เสื้อผ้า รองเท้า หรือแม้กระทั่​่งกระเป๋า ก็ขอให้มี Lookbook:) อยู่ ซึ่งก็คือการอยากที่จะขยายกลุ่ม Product Line ให้มาก ขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ Lookbook:) ได้แตกไลน์ออกมาเป็น ทั้งกระเป๋าแบรนด์ A Treasure Box มีแบรนด์รองเท้า The First Base เพื่อให้เวลาที่ทำ�การ โปรโมท Collection ต่าง ๆ ก็จะสามารถ Mix & Match สินค้าของ Lookbook:) อีกทั้งปีนี้ก็ยังมีแพลนที่จะแตกไลน์เพิ่มอีกไลน์ ซึ่งเป็นไลน์ สินค้าที่ให้ความรู้สึกว่า Lookbook:) โตขึ้น อารมณ์กึ่ง ๆ ชุดราตรี เนื่องจากเดิมหากเราเปรียบ Lookbook:) เสมือน เป็นผู้หญิง ก็คงจะเป็นผู้หญิงที่มีสไตล์ที่ค่อนข้างชัดเจน มี ภาพลักษณ์ออกเป็นคุณหนูหวานๆ คลาสสิค เรียบง่าย มองได้นาน ดูแล้วเพลินตา เสื้อผ้าของ Lookbook:) ก็เป็น เสื้อผ้าที่ใส่ได้จริงในทุกวันไม่ซ้ำ�แบบใคร ไม่เน้นแค่ดีไซน์แต่ สามารถ Mix & Match ได้อย่างหลากหลายและลงตัว ส่วนเป้าหมายในระยะยาวก็มีการมองไปถึงเรื่องของการ เข้ามาของ E-Commerce มากขึ้น ที่ทุกธุรกิจต้องก้าวให้ ทันตามการเปลี่ยนแปลง พัฒนาให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงและ ง่ายต่อการเข้าใจ โดยอยากที่จะสร้าง Website แต่ก็ไม่ใช่ Website ให้สามารถให้คนจองสินค้าอย่างเดียวเท่านั้น แต่ หมายถึงการสร้างอีกหนึ่งสื่อที่คนสามารถมาเช็คสถานะของ แบรนด์ ณ ตอนนี้ว่าเป็นอย่างไร รวมถึงอยากศึกษาเรื่อง การทำ� Customer Data Base มากขึ้นเพื่อนำ�มาใช้พัฒนา แบรนด์ Lookbook:) ให้เข้าไปอยู่ในใจของลูกค้ามากยิ่งขึ้น และให้ลูกค้ารู้สึกไว้ใจ เป็นเสมือนเพื่อนที่เข้าใจไปด้วยกันใน ทุกที่ จะไปไหนก็คิดถึง Lookbook:) ซึ่งตอนนี้ก็อยู่ในช่วง พัฒนา ถ้าอนาคตสามารถจัดการกลุ่มลูกค้าได้ดี ก็มองว่า มันก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เราจะสามารถรักษาฐานลูกค้าเดิมที่รักและ ไว้ใจ Lookbook:) เอาไว้ได้

จากการสัมภาษณ์คุณจีนนับว่าเราเข้าใจการทำ�ธุรกิจ การมองภาพรวมและมองด้านบวกเพื่อพัฒนาตัวเองได้อย่าง มาก มีข้อคิดก่อนจะจากกันไปจากคุณจีนว่า อยากให้ แบรนด์ใหม่ ๆ รวมถึงร้าน Multi-Brand ตระหนักถึงความ สำ�คัญของ Loyalty Program ที่ไม่ใช่แค่บัตรสะสมแต้ม แต่เป็นมากกว่านั้นเพื่อสร้างความเป็นคนรุ่นใหม่ อีกทั้งการ สร้างแบรนด์เป็นสิ่งสำ�คัญ โดยอยากจะส่งต่อความเป็นตัว ตนของแบรนด์แนว Lookbook:) คือพยายาม Serve ให้ ทุกคนได้เข้าใจและเข้าถึงได้มากที่สุดโดยเลือกที่จะตอบทุก ความต้องการของลูกค้า โดยที่ยังให้ความสำ�คัญกับลูกค้า ออนไลน์ของเราเป็นหลักให้มากที่สุดเพราะทุกท่าน Lookbook:) ถึงได้พัฒนาสินค้าดี ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง กรณีศึกษาของเสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์ Lookbook:) ทำ�ให้เรา รู้ว่าสิ่งสำ�คัญในการทำ�ธุรกิจท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง คือการสร้างแบรนด์ การสร้างความแข็งแกร่งมาจากข้างใน โดยรู้จักตัวตนของแบรนด์ตัวเองก่อนที่จะมองในมุมที่กว้าง ขึ้นไปยังแบรนด์อื่น การคำ�นึงถึงความต้องการของลูกค้าและ รักษาฐานลูกค้าหลักเป็นสิ่งสำ�คัญ แต่ต้องไม่ลืมที่จะมอง หาช่องทางในการขยายช่องทางการขายและปรับตัวตามสิ่ง แวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ไว้ใจ Lookbook:) เอาไว้ได้

เครดิตการสัมภาษณ์คุณวนิชชา ตรีทิพย์สถิตย์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์ Lookbook:) โดย นางสาววลัยลักษณ์ บุญสม นักศึกษาปริญญาโท สาขาการตลาดวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล 5850398 MK18B


14 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

Dotlineplain

ช่องทางออนไลน์อย่างเดียวไม่พอ ตลาดของสินค้าแฟชั่นเป็นตลาดที่ยังสามารถขยายตัวได้เรื่อยๆ เพราะทุกคนต้องการบริโภคสินค้าแฟชั่น เพื่อแสดงความเป็นตัวตน มีเอกลักษณ์ อีกทั้งตลาดของสินค้าแฟชั่นยังหมุนเร็วจนผู้ที่ลงเล่นตลาดนี้ หรือกำ�ลัง จะลงเล่นจะต้องตามให้ทัน หรือวิ่งแซงหน้าคู่แข่งให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้์ จุดเริ่มต้น Dotlineplain เสื้อผ้าสไตล์เรียบง่าย แต่แฝงความมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ที่เริ่มแรกมาจากความ ต้องการของเจ้าของ “คุณภัทรพร อ่อนนุช” หรือคุณแนน ได้เล่าให้ฟังว่าหลังจากเรียนจบทางศิลปะ ด้านการ ออกแบบ คุณแนนอยากทำ�ในสิ่งที่ได้ร่ำ�เรียนมา ซึ่งเป็นสิ่งที่ชอบ และถนัดมากที่สุด จึงมองหาสินค้าที่สามารถ ทำ�ได้เองทุกขั้นตอน สิ่งแรกที่คุณแนนนึกถึง คือ “เสื้อผ้า” เนื่องจากเวลาจะซื้อเสื้อผ้าแต่ละครั้ง เสื้อผ้าที่ขาย ทั่วไปมีแบบที่ตนเองชอบน้อยมาก รวมถึงการสังเกตเพื่อนๆ ที่เรียนศิลปะด้วยกัน ที่จะชอบเสื้อผ้าแบบเรียบง่าย ไม่เชย แต่มีเอกลักษณ์ และดูดี หรือแบบมินิมอล (Minimal) ซึ่งเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้วในเมืองไทยยังมีเสื้อผ้า สไตล์นี้น้อยมาก คุณแนนจึงเริ่มธุรกิจด้วยเสื้อผ้าสไตล์มินิมอล และเริ่มขายผ่านช่องทางออนไลน์ เพราะค่าใช้ จ่ายถูกกว่าการฝากขายหน้าร้าน หรือมีหน้าร้านของตนเอง คอนเซ็ปต์ของ Dotlineplain นอกจากมาจากรูป แบบที่คุณแนนชอบแล้ว ยังตั้งชื่อในแบบที่คนศิลปะด้วยกัน จะเข้าใจทันที และบ่งบอกลักษณะเสื้อผ้าได้อย่างชัดเจน โดย คุณแนนเล่าให้ฟังว่าตอนที่เรียนศิลปะนั้น บทเรียนเริ่มต้น ของการเรียนศิลปะ คือ จุด – เส้น – ระนาบ จึงเป็นที่มาของ Dot – Line – Plane แต่ดัดแปลงคำ�ว่า Plane เป็น Plain คือ ความเรียบง่าย โดยเริ่มต้นเสื้อผ้าของ Dotlineplain จึงมี 3 ประเภท คือ ลายจุด ลายทาง และลายพื้น ตามชื่อ แบรนด์ที่ได้ตั้งไว้ และคงคอนเซ็ปต์มาอย่างต่อเนื่องจนลูกค้า รู้จัก และจำ�ชื่อของ Dotlineplain ได้ ออนไลน์ดีอย่างไร ช่วงเริ่มต้นของ Dotlineplain เป็นช่วงที่คนรุ่นใหม่ขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ทั้งทำ�เป็นงาน ประจำ� หรือทำ�เป็นอาชีพเสริม เพราะสามารถเริม ่ ต้นธุรกิจด้วยต้นทุนทีไ่ ม่สงู มาก ทำ�ทุกอย่างบนมือถือไม่วา่ จะเป็น การขายสินค้า พูดคุยกับลูกค้า หรือการโปรโมทสินค้าก็สามารถผ่านทางมือถือแบบสมาร์ทโฟนได้ และด้วยความ มุง่ มัน ่ ตัง้ ใจของคุณแนนจึงยึดงานออกแบบ และการขายเสือ้ ผ้าเป็นงานประจำ�ของคุณแนน โดยเริม่ จากการเปิดเพจ หน้า Facebook เพราะเป็น Social Media ในชีวิตประจำ�วันของคนไทยส่วนใหญ่ นอกจากนี้ Facebook ยัง สนับสนุนให้ผู้ใช้สามารถเปิดเพจเพื่อเป็นเหมือนหน้าร้านออนไลน์ได้ด้วย Dotlineplain ก็เป็นร้านค้าออนไลน์ แรกๆ ที่เป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่หันมาขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่าการมองหาหน้าร้าน หรือช่องทาง ออฟไลน์


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 15

ลู ก ค้ า ส่ ว นใหญ่ ช อบดู รู ป ภาพที่ เ ป็ น ไลฟ์ ส ไตล์ ใ น ชีวิตประจำ�วัน รูปภาพที่คุณแนนนำ�เสนอผ่านทางใน Facebook ส่วนใหญ่จึงเป็นแบบเรียบง่าย ดูเป็นธรรมชาติ ใส่ได้ หลากหลายโอกาส ช่วยให้ลูกค้าเห็นโอกาสที่จะใส่เสื้อผ้าของ Dotlineplain หรือการช่วย Mix & Match เสื้อผ้าของ Dotlineplain กับสินค้าแฟชั่นอื่นๆ เพื่อให้ลูกค้าอยากซื้อ เสื้อผ้าของ Dotlineplain มากขึ้ แต่การขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์นั้น ยังมี ความเสี่ยงที่ลูกค้าอาจจะมั่นใจเรื่องขนาด ซื้อแล้วจะใส่ได้ หรือไม่ คุณแนนจึงสร้างความมั่นใจให้ลูกค้ากล้าซื้อเสื้อผ้า ของ Dotlineplain ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ด้วยการ บอกรายละเอียดของเสื้อผ้าของชัดเจน ขนาดของทุกส่วน ของเสื้อผ้า เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจ และตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น ซึ่ง เป็นวิธีช่วยลดการเปลี่ยน – คืนสินค้าไปได้มากทีเดียว ถึงจุดเปลี่ยน...สร้างความต่าง การเป็นร้านแรกๆ ที่มีเสื้อผ้าสไตล์มินิมอล เมื่อเปิด มาได้ระยะหนึ่ง คุณแนนพบว่าเสื้อผ้าของ Dotlineplain ถูกก๊อปปี้บ่อยๆ แม้ว่าการตั้งราคาของ Dotlineplain จะตั้ง อย่างสมเหตุสมผล สอดคล้องกับคุณภาพ ไม่ถูกไม่แพง ทุกคนสามารถซื้อได้ แต่หลังจากถูกก๊อปปี้ เสื้อผ้าเบสิคที่ ราคาไม่แพงของ Dotlineplain ก็อาจจะกลายเป็นตัวที่แพง เมื่อเทียบกับของก๊อปปี้ คุณแนนจึงตัดสินใจหนี เพื่อหาจุด ต่าง เปลี่ยนแปลงทุกๆ ส่วน ด้วยการ Rebrand โดยเริ่มจาก การพัฒนาสินค้า ตั้งแต่คัดเลือกเนื้อผ้าที่มีคุณภาพมากขึ้น เปลี่ยนวิธีการตัดเย็บให้มีคุณภาพมากขึ้น และเพิ่มแบบ สินค้าเพื่อขยายกลุ่มลูกค้า และทำ�ให้ชัดเจนขึ้น แต่อย่างไร ก็ตาม การขายผ่านช่องทางออนไลน์ ลูกค้าไม่ได้เห็นสินค้า จริง ไม่ได้จับเนื้อผ้า หรือดูคุณภาพการตัดเย็บ ทำ�ให้คุณแน นมองว่าการเปลี่ยนแปลงอีกสิ่งหนึ่งที่ควรเพิ่มขึ้นมา คือ การ เพิ่มช่องทางการขาย เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นถึงความแตกต่าง ของ Dotlineplain จึงถึงเวลาที่ Dotlineplain จะต้องเพิ่ม เติม คือ ช่องทางการขายแบบหน้าร้าน หรือแบบออฟไลน์


16 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ขยายโอกาสจากออนไลน์สู่ออฟไลน์ จากร้ า นบนโลกออนไลน์ สู่ ห น้ า ร้ า นแบบออฟไลน์ สิ่งที่ตามมา คือ ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น แต่การจะไปเปิดหน้า ร้านของตัวเองนั้นยังมีข้อจำ�กัดอีกหลายอย่าง ในขณะที่ คุณแนนตัดสินใจที่จะเพิ่มช่องทางการขาย โดยการมองหา หน้าร้านนั้น คุณแนนก็ได้รับการติดต่อจากร้านค้าที่เป็น ศูนย์รวมสินค้าแฟชั่นหลากหลายแบรนด์ในร้านเดียว หรือ Multi-Brand Stores ขอตรวจสอบคุณภาพ และกำ�ลัง การผลิต เมื่อผ่านการตรวจสอบจึงสามารถนำ�สินค้าเข้ามา ขายได้ คุณแนนเล่าให้ฟังว่าหลังจากได้รับการติดต่อมา คุณ แนนตัดสินใจทันทีอย่างไม่ลังเล เพราะได้ Rebranding มา แล้ว ทั้งการพัฒนาคุณภาพ รวมถึงการเพิ่มกำ�ลังการผลิต เพื่อให้เพียงพอต่อการขายทุกช่องทาง และมองว่าครั้งนี้เป็น โอกาสที่จะเปิดตัวให้ลูกค้าเห็นถึงความแตกต่าง ความเป็น เอกลักษณ์ คงคอนเซ็ปต์ของ Dotlineplain อีกทั้งลูกค้า สามารถสัมผัส ทดลองใส่ ยิ่งเพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้าที่เคย ดู หรือซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ และยังเพิ่มโอกาสการขายไป ในกลุ่มที่ไม่เคยรู้จัก Dotlineplain มาก่อนด้วย

ปัจจุบัน Dotlineplain วางสินค้าขายผ่านร้าน CAMP และ FABLAB โดยลักษณะของ Multi-Brand Stores ของทั้งสองที่แตกต่างกัน คุณแนนมองว่า จะต้องนำ�สินค้าไปวางให้ถูกที่ เหมาะสมกับคอนเซ็ปต์ของ Multi-Brand Stores และลูกค้าที่เข้า Multi-Brand Stores นั้นด้วย จึงวางสินค้าแตกต่างกันในแต่ละที่ เพื่อจับ กลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน และเพื่อใช้พื้นที่หน้าร้านแสดงเอกลักษณ์ของ Dotlineplain อย่างเต็มที่ หลังจากนำ�สินค้าเข้า Multi-Brand Stores แล้ว คุณแนนพบว่าลูกค้าของ Dotlineplain ซื้อเสื้อผ้า ผ่านทางหน้าร้านมากขึ้น จนรายได้ทางหน้าร้านสูงกว่าช่องทางออนไลน์ แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะมากขึ้น และค่าใช้จ่ายที่ สูงกว่าการขายผ่านช่องทางออนไลน์ แต่คุณแนนกล่าวว่า คุ้มค่ากว่าการขายเพียงช่องทางออนไลน์ช่องทางเดียว เพราะหน้าร้านสามารถทำ�ให้ลูกค้ามั่นใจสินค้ามากขึ้น อีกทั้งยังช่วยขยายฐานลูกค้าที่ไม่รู้จัก Dotlineplain มา ก่อน ซึ่งมาจากช่องทางการขายที่เพิ่มขึ้นมา และการช่วยโปรโมทสินค้าของ Multi-Brand Stores ด้วย แม้ว่าจะมีช่องทางการขายแบบหน้าร้านเพิ่มเข้ามา แต่ลูกค้าทางออนไลน์ก็ยังมีอยู่ สิ่งที่คุณแนนยังคงไว้ นอกจากเรื่องคุณภาพแล้ว คือ ราคา ที่ไม่ว่าลูกค้าที่ซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ หรือซื้อผ่านหน้าร้านจะได้ราคาเท่า กัน หรือหากมีการทำ�โปรโมชั่น ลูกค้าทั้งทางออนไลน์ และหน้าร้านก็จะได้รับโปรโมชั่นเดียวกัน นอกจากนี้การบ ริหารสต๊อคสินค้าก็เป็นสิ่งสำ�คัญเช่นเดียวกัน จากการที่ลูกค้าส่วนใหญ่ชอบซื้อสินค้าทางหน้าร้าน ดังนั้น การ เติมสินค้าให้เต็มสต๊อคจึงสำ�คัญมาก แต่สต๊อคสินค้าสำ�หรับช่องทางออนไลน์ก็เตรียมพร้อมเช่นกัน เพื่อลูกค้า สะดวกช่องทางไหน ก็สามารถซื้อผ่านช่องทางนั้นได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องสินค้าขาดสต๊อค


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 17

สำ�หรับแผนในอนาคต คุณแนนมองว่าหน้าร้านแบบออฟ ไลน์เป็นส่วนที่สำ�คัญสำ�หรับสินค้าแบบ Dotlineplain คุณแนนจึง อยากมีร้านเป็นของตัวเองที่ชื่อ “Dotlineplain” จึงออกแบบเสื้อผ้า ให้หลากหลายรูปแบบเพิ่มมากขึ้น ควบคู่กับการพัฒนาสินค้า สร้าง ความแตกต่าง เพราะการจะมีหน้าร้านเป็นของตัวเองนั้น แม้ว่า Multi-Brand Stores ช่วยเติมเต็มความต้องการของ ลูกค้า ขยายโอกาสให้กับแบรนด์ Dotlineplain มากขึ้น แต่สิ่งที่ไม่ ควรหยุด คือ การพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง หาจุดที่ยังไม่มีใครทำ� มาตอบโจทย์ลูกค้า และลงมือทำ�ก่อนใคร สร้างความแตกต่าง และ สร้างเอกลักษณ์ของตัวเองให้ลูกค้าเกิดการจดจำ�ได้ นอกจากนี้ช่อง ทางออนไลน์ก็ยังจำ�เป็นที่จะต้องทำ�ควบคู่กันกับช่องทางหน้าร้าน หรือออฟไลน์ด้วย เพราะในปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่จะเห็นสินค้า ผ่านทางช่องทางออนไลน์ก่อน ดังนั้นหากช่องทางออนไลน์สามารถ สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้ จะช่วยส่งผลให้ทั้งทางออนไลน์ และ ออฟไลน์มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถรักษาฐานลูกค้าได้ อย่างยาวนาน

เครดิตการสัมภาษณ์คุณภัทรพร อ่อนนุช เจ้าของแบรนด์ Dotlineplain โดย นางสาวภัทรา อุดมกัลยารักษ์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล 5850391 MK18B


18 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

PUDEE

ตามใจลูกค้า แต่ไม่สูญเสียความ เป็นตัวเอง ทำ�ให้ PUDEE แบรนด์ เสื้อผ้าของเธอถูกพูดถึงมากที่สุด อาจจะเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้ว สำ�หรับในยุคดิจิตอล ที่โลกหมุนเร็วยิ่งกว่าจรวดนาซ่า และ ดาวหลายดวงเกิดขึ้น ใหม่ทุกวัน ไม่ว่าดาวจะรุ่ง หรือดาวจะร่วง บางดวงอยู่จนนา ซ่าค้นพบ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นไม่ได้จะเล่าประวัติความเป็น มาของดาวดวงไหน แต่ในที่นี้ผู้เขียนเปรียบดาวเป็นวัยรุ่น ไทย บอกได้อย่างเต็มปากเต็มคำ�ว่า วัยรุ่นไทยโดยส่วนมาก หันมาทำ�ธุรกิจของตัวเอง และคงหนีไม่พ้นธุรกิจยอดฮิต คือ การขายเสื้อผ้าออนไลน์ แต่จะมีสักกี่คนที่ทำ�ตามฝัน และ ทำ�มันจนประสบความสำ�เร็จ คุณเบลล์ - ธนันญาฐ์ อภิ เชษฐ์พงศ์ ผู้ก่อตั้ง PUDEE เสื้อผ้าใส่ง่ายแต่เก็บดีเทลทุก เม็ด เรื่องคุณภาพไม่ต้องพูดถึง ไม่แพ้แบรนด์เนมชื่อดัง เธอ คือคนหนึ่งที่ทำ�มันจนประสบความสำ�เร็จ จนเป็นที่รู้จักของ สาวๆ และวันนี้เราจะทำ�ความรู้จักกับเธอและแบรนด์ PUDEE ให้มากขึ้น เริ่มต้นจากความชอบ ผลักดันให้แบรนด์เสื้อผ้าของตัวเอง เกิดขึ้นจริง ถ้าพูดถึงร้าน PUDEE ผู้หญิงหลายคนต้องร้องอ๋อแน่ๆ คุณเบลล์ - ธนันญาฐ์ อภิเชษฐ์พงศ์ ผู้ก่อตั้ง PUDEE ได้ เล่าให้เราฟังว่า PUDEE เปิดจากความชอบซื้อเสื้อผ้า ชอบ การแต่งตัว แต่หาเสื้อผ้าแบบที่ชอบไม่ได้ในท้องตลาดเลย ตัด เอง ทำ�ขึ้นมาเอง ทำ�คนเดียว และเริ่มมา 3-4 ปีแล้ว เสื้อผ้า เป็นแนวเรียบๆ กลางๆ ไม่หวานมาก ไม่เปรี้ยวมาก เน้นใส่ ง่าย ใส่ได้ทุกโอกาส ที่ใช้ชื่อผู้ดีเพราะ ตามคอนเซ็ปร้าน ว่า ใส่แล้วดูดี เรียบๆ แต่ก็ลุยๆได้ ที่ตั้งชื่อเป็นภาษาไทยเพราะ รู้สึกว่ามันจำ�ง่าย เวลาคนอื่นพูดแล้วมันจำ�ง่าย ติดปาก เน้น ขายนักศึกษา วัยทำ�งาน ทำ�คนเดียวทั้งหมด ตั้งใจจะออก COLLECTION ใหม่ทุก 3 เดือน แต่ไม่มีเวลาเพราะทำ�งาน ประจำ�ด้วย ปีที่แล้วเลย 5 เดือน ออกCOLLECTIONครั้งนึง

รู้ใจลูกค้า ตั้งแต่แรกเราชัดเจนมาตลอดว่าลูกค้าของเราคือใคร ลูกค้าของเราจะเป็นสาวที่ไม่ได้ตามเทรนด์มากนัก จะเน้นใส่ ง่าย ใส่สบาย ใส่ไปเรียนไปทำ�งานได้ ตอนแรกเราตั้งใจจะทำ� แค่เสื้อเชิ้ต แต่พอหลังๆ ลูกค้าเริ่มถามหาแบบอื่น เลยทำ�แบบ อื่นมาเพิ่ม ซึ่งกระแสตอบรับก็ดีมาก ส่วนมากเบลล์จะดูจาก โปรไฟล์รูปของลูกค้า(หัวเราะ) แล้วเราก็จะเห็นว่าไลฟ์สไตล์ เค้าเป็นอย่างไร และ รู้ว่าเค้าใส่เสื้อผ้าสไตล์ไหน แล้วถ้าลูกค้า บอกว่าอยากได้แบบนี้จัง ร้านมีไหมคะ เราก็จะนำ�มาเก็บเป็น ข้อมูลเพื่อออกแบบในคอลเลคชั่นถัดไป เป็นไอเดียที่มาจาก ความเห็นของลูกค้า และเรียกลูกค้าใหม่ๆได้เช่นเดียวกัน โดดเด่นด้วยคุณภาพ และ ตามใจลูกค้า ออนไลน์มีปัญหาเรื่องใส่ไม่ได้ขอเปลี่ยนไซส์ ก็เลยมี การส่งกลับไปกลับมา เสียค่าส่งหลายรอบ พอซื้อไปแล้วมี ปั ญ หาก็ ก ลั บ มาสั่ ง ตั ด แทนเพราะที่ ร้ า นมี บ ริ ก ารตั ด ตาม ขนาด เราเลยตามใจลูกค้า ให้ลูกค้าวัดตัวมาเลย ซึ่งมันเป็น การบริการที่ลูกค้าชอบ แบรนด์อื่นไม่ค่อยมี แม้แต่แบรนด์ที่ มีหน้าร้านเองก็ไม่ค่อยมีตรงนี้ เพราะแต่ละคนไซส์ไม่เท่ากัน บางคนสะโพกใหญ่ แต่เอวเล็ก ทำ�ให้ใส่ไม่พอดี เราจึงมีบริการ ตัดตามไซส์ให้ เบลล์คิดว่านั่นเป็นสิ่งหนึ่งที่ลูกค้าชอบ และ กลับมาซื้ออีก แม้เราจะทำ�ออนไลน์ แต่เราไม่ได้ขายแล้วทิ้งไป เรายังยอมรับทุก Feedback และลูกค้า ถ้าอันไหนที่เรา สามารถช่วยลูกค้าได้ อย่างเช่น ตัดตามไซส์แต่ละคน เราก็ทำ� ทำ�ให้ลูกค้าปลื้ม และ ชมเรื่องคุณภาพของทางร้านอีกด้วย


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 19

มีปัญหาเข้ามาบ้างแต่ให้คิดว่าปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ไข ขายทางออนไลน์ มีปัญหาเรื่องใส่ไม่ได้ขอเปลี่ยน ไซส์ ก็เลยมีการส่งกลับไปกลับมา เสียค่าส่งหลายรอบ พอ ซื้อไปแล้วมีปัญหาก็กลับมาสั่งตัดแทนเพราะที่ร้านมีบริการ ตัดตามขนาด ก็ช่วยทำ�ให้ลูกค้ากลับมาซื้อของเราอีก เป็นการบริการที่ไม่เหมือนเจ้าอื่น แต่พอช่วงหลังเราหน้าร้าน ก็ดีขึ้นเพราะลูกค้าก็มาที่หน้าร้านเลย ได้เลือกได้ลอง ไม่ได้หยุดแค่ที่โลกออนไลน์ มีไปขายตามงาน ออกบูธ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น TGIF MARKET หรือ LOL MARKET และตามช่วงเทศกาลต่างๆ ถ้ามีเวลาว่างก็จะไปตลอด ไม่ได้ขายทางออนไลน์อย่างเดียว ล่าสุดคือได้พื้นที่ที่ร้าน CAMP เป็นโอกาสดีๆที่ได้นำ�เสื้อผ้า ตัวเองมาที่ออฟไลน์ เพราะปกติขายแต่ออนไลน์ การได้มา วางที่ CAMP ลูกค้าก็สามารถมาลอง อยากสัมผัสเนื้อผ้าได้ ได้สัมผัสเอง บางครั้งลูกค้าต้องการเสื้อผ้า ด่วนๆ ร้านพวก นี้ก็เป็นร้านที่ลูกค้านึกถึงเป็นอันดับต้นๆ เค้าก็มาซื้อได้เลยที่ CAMP เพราะได้สินค้าเลยแล้วก็ได้ลองด้วย CAMP เลยเป็น อีกช่องทางหนึ่งให้ลูกค้าได้มารู้จักร้านเรา เป็นการเพิ่มช่อง ทางการขายสินค้าให้ลูกค้าได้มีโอกาสเห็นขอเรามากขึ้น คน ไม่รู้จักก็จะรู้จักเราบางขึ้น ได้เห็นมากขึ้น คนไปกับซื้อของ กับเพื่อน แต่มีแค่คนเดียวที่ FOLLOWER พอเพื่อนๆดึงๆ กันไปก็ทำ�ให้เขาได้เห็นของๆเรา จากที่ไม่รู้จักก็รู้จักมากขึ้น เป็นการเปิดโอกาสให้กับร้าน สนใจ อยากขยายอยู่ ต้องดู สถานที่ ถ้ามีที่ที่น่าสนใจก็จะไปเปิดเพิ่มอีก ขายดีไม่ดีบ้างสลับกันไป ทำ�โปรโมชั่นบ้างให้ลูกค้าไม่เบื่อ จากเมื่อก่อนเวลามี COLLECTION ใหม่ คนก็จะมา พร้อมกันทาง ONLINE แต่พอมีหน้าร้าน จะมีครึ่งนึงที่ขอไป ดูสินค้าที่หน้าร้านก่อนค่อยตัดสินใจ ออนไลน์เลยตกมานึด นึง หน้าร้านเพิ่มมาเป็นพอๆกัน แต่หน้าร้านมีค่าใช้จ่าย พอ หักแล้วเลยไม่ได้ยอดเน็ทๆเหมือนออนไลน์ ยังคุ้มอยู่ ตอนนี้ ยังไม่ขาดทุน เพราะเราไม่ได้บวกกำ�ไรเยอะ ไม่ได้ขายแพงมาก เลยไม่สามารถมี โปรโมชั่น 30 -40% ได้ ก็ไม่ไหว หลักๆจะ เล่นโปรโมชั่นตาม CAMP ทั้งในออนไลน์ ออฟไลน์ BOOST POST FACEBOOK เวลาที่ออก COLLECTION ใหม่ๆ คิดว่า INSTRAGRAM ทำ�แล้วไม่ค่อยได้ผล จึงทำ� INSTRAGRAM ค่อนข้างน้อย จะเน้น FACEBOOK มากกว่า หลังๆคือเรา เอานางแบบเป็นวัยรุ่นคนดัง ทั้งที่เรารู้จักเอง แล้วก็จากเพื่อน ของเพื่อนมาใส่ ก็ทำ�ให้ลูกค้าเห็น และอยากใส่ตาม ก็ช่วยเรา ไปได้อีกทาง เราจะทำ�โปรโมชั่นตอนที่ออกคอลเลคชั่นใหม่ คือจะลด 10% ประมาณ 2 อาทิตย์ ลูกค้าเก่าๆ เราก็จะลด ให้ แต่ถ้าหน้าใหม่ซื้อเยอะ เราก็จะลดให้ด้วย ไม่คิดค่าส่งบ้าง คือเราเป็นคนที่คอยตอบไลน์ลูกค้าเอง ทำ�ให้เราจำ�ได้ว่าคน ไหนคือลูกค้าเก่าใหม่ บางคนซื้อตามเพื่อนก็มี


20 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ช่องทางใหม่ที่ร้าน CAMP เป็ น การเพิ่ ม ช่ อ งทางการขายสิ น ค้ า ให้ ลู ก ค้ า ได้ มี โอกาสเห็นของเรามากขึ้น คนไม่รู้จักก็จะรู้จักเราบางขึ้น ได้ เห็นมากขึ้น คนไปกับซื้อของกับเพื่อน แต่มีแค่คนเดียวที่ Follower พอเพื่อนๆดึงๆกันไปก็ทำ�ให้เขาได้เห็นของๆเรา จากที่ไม่รู้จักก็รู้จักมากขึ้น เป็นการเปิดโอกาสให้กับร้าน เรา ก็จะร่วมโปรโมชั่นกับที่ร้าน อย่างที่ร้าน CAMP เปิดสาขา ใหม่ที่ เมกะบางนา เราก็จะมีโปรโมชั่นร่วมเปิดร้านกับเค้า ด้วย ทำ�ให้ดึงลูกค้าหน้าใหม่ได้เช่นเดียวกัน

สุดท้ายนี้ ข้อคิดของเบลล์ สำ�หรับเด็กรุ่นใหม่ที่อยาก มีธุรกิจเสื้อผ้าเป็นของตนเอง หัวใจสำ�คัญ คือ การบริการ หลังการขาย เสื้อผ้าต้องสะท้อนตัวของแบรนด์และลูกค้า ต้องมีเอกลักษณ์ การออกอีเวนท์ ช่วยส่งเสริมความน่า เชื่อถือให้กับธุรกิจออนไลน์ สินค้า ถ้าตามใจเรามากเกินไป ขายได้ แต่ได้ช้า การจับแนวทางลูกค้าจึงสำ�คัญ การทำ�งาน ประจำ�ควบคู่กับธุรกิจส่วนตัว คือสิ่งที่เป็นไปได้ แต่ต้องขยัน เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า

ทิศทางของแบรนด์ PUDEE กับความพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง ในระยะสั้นตั้งใจจะเพิ่มสาขาไปเรื่อยๆก่อนถ้ามีโอกาส ระยะยาวอยากไปเปิด ตลาดต่างประเทศไปออกบู ธหรื อไป เปิดร้าน เช่น ไปเปิดที่ต่างประเทศอย่าง สิงคโปร์ เพราะเห็น คนไทยหลายๆคนเริ่มไปออกบูธที่นู่นกันแล้ว แล้วเรารู้สึกว่า น่าสนใจ เลยอยากไป

เครดิตการสัมภาษณ์คุณธนันญาฐ์ อภิเชษฐ์พงศ์ เจ้าของแบรนด์ PUDEE โดย นางสาวพบยินดี พุดซ้อน นักศึกษาปริญญาโท สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล 5850383 MK18B


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 21

Magic Cup

Multi-Brand Stores เส้นทางสู่การมีหน้าร้าน

ท่ามกลางกระแสนิยมที่ใครๆก็อยากมีธุรกิจของตัวเอง ที่ต่างต้องการเป็นอิสระ เสรีจากการทำ�งานประจำ�ที่แสนซ้ำ�ซาก และจำ�เจ เวลาในแต่ละวันหมดไปกับเดินทางและ การทุ่มเททำ�งานให้องค์กร จึงไม่น่าแปลกใจ ว่าหันไปทางไหนก็มีแต่ผู้ประกอบการราย ใหม่เกิดขึ้นมากมายเต็มไปหมด ทั้งตามกระแส ทำ�เป็นอาชีพเสริมไม่จริงจัง หรือทำ�แล้ว ไม่ตอบโจทย์ในตลาดก็ล้มหายจากกันไป แล้วก็มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาในตลาด หมุนเวียนกันไป ซึ่งการเริ่มต้นของแต่ละธุรกิจ คงไม่พ้นกับคำ�ถามที่ว่า อยากมีธุรกิจแต่ ไม่รู้จะทำ�อะไรดี คุณพิมพลอย เปลื้องมณฑิล (เหมียว) Director of HR โรงแรม Eastin Grand Sathorn Bangkok ก็เป็นหนึ่งในหลายๆคนทีฝันอยากมีธุรกิจของตัวเอง ได้เล่า ที่มาของ Magic Cup มาจากจุดเริ่มต้นว่าเป็นคนที่ชอบการแต่งตัว แล้วมีครั้งหนึ่งต้องใส่ เสื้อเปิดหลัง แต่กลับหาเสื้อชั้นในที่เหมาะกับการใส่เสื้อเปิดหลังได้ยากมาก เพราะเมื่อ 5 ปี ที่แล้ว แฟชั่นการใส่เสื้อเปิดหลังยังไม่ได้แพร่หลายมากเหมือนตอนนี้ รูปแบบของเสื้อชั้นใน จึงถูกออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานแบบปิดไว้ภายใน จึงแทบไม่มีเสื้อชั้นในคุณภาพที่ใส่ โชว์หลัง หรือมีก็ไม่มีแบบให้เลือกมากนัก จนบังเอิญไปเจอ เสื้อชั้นในราคาประมาณ 300 บาท ในร้านเล็กๆแห่งหนึ่ง เมื่อซื้อมาใส่พบว่าคุณภาพดีมาก สามารถใส่ได้หลายงาน ก็เลย มานั่งคิดว่า ในตลาดเสื้อชั้นในที่ผลิตขึ้นมาเพื่อโชว์แผ่นหลัง (Backless) ยังมีน้อยอยู่ อีกทั้งมีความคิดว่า เสื้อชั้นในก็เป็นแฟชั่นได้เหมือนเสื้อผ้าต่างๆ ทำ�ไมไม่มีใครเอาเสื้อชั้นใน แบบต่างๆ ที่สามารถใส่โชว์ได้มาประยุกต์ใส่กับชุดต่างๆในชีวิตประจำ�วันให้ดูบ้าง เลยเป็น ที่มาของการสร้างร้าน Magic Cup ร้านขายเสื้อชั้นในออนไลน์ Magic Cup เน้น Concept ที่แก้ปัญหาเรื่องเสื้อชั้นในให้ผู้หญิง คุณเหมียวเล่าให้ฟังว่า Concept ของร้าน Magic Cup จะเป็น Exposable Lingerie เป็นเหมือนชุดชั้นในที่ใส่แบบเปิดเผยได้ เพราะเสื้อผ้าแฟชั่นในปัจจุบันมีหลาก หลายมาก เสื้อบางตัวเหมาะกับเสื้อชั้นในไร้สาย เสื้อบางตัวก็เหมาะกับเสื้อชั้นในสายไขว้ เสื้อบางตัวต้องการใส่เสื้อในแฟชั่นทำ�ให้ทั้งชุดดูสวยมากขึ้น Magic cup อยากให้ผู้หญิง มีความสุขกับการใส่เสื้อ โดยไร้กังวลว่าดูโป๊ไป หรือดูอนาจาร แต่เป็นความสนุกกับการ mix แอนด์ match เสื้อผ้า และเสื้อชั้นในให้มีความสวยงาม ทันสมัย มีเสน่ห์น่าค้นหา เริ่มแรกสินค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม backless ต่อมาเพิ่มสินค้ามากขึ้นให้มีความหลาก หลาย จึงทำ�ให้ปัจจุบัน กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่คือ วัยรุ่น คุณแม่ และกลุ่ม Pretty Motor Show ซึ่งเรียกได้ว่าแทบจะเป็นทุกกลุ่มของผู้หญิง จึงเรียกได้ว่า Magic cup สามารถ ตอบสนอง Insight ของผู้หญิงยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดีถึงความต้องการแสดงความมั่นใจ มีลูกเล่น และมีเสน่ห์เฉพาะตัว


22 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ตอนที่เราเริ่มทำ�ก็ยังไม่มั่นใจว่าผลตอบรับจะดีหรือไม่ดี แต่ เรามีแผนที่ชัดเจนมาตั้งแต่แรกว่าทำ�ใน 5 ระยะ และตอนนี้ เราก็ทำ�ได้ตามแผนที่วางไว้ทุกอย่าง คือในเฟสแรกขาย Online พอเข้าเฟส2-3 เข้า Multi-Brand และเฟสที่ 4-5 ออก Pop Up Stores ที่เมืองนอก การมีแผนทำ�ให้เรามี ทิศทางที่ ชัดเจน แล้วตอนนี้ก็ได้ทำ�ตามแผนทุกอย่าง สำ�หรับ Short Term Plan ตอนนี้คือไป Multi-Brand Stores หลายๆร้าน ก่อน แล้วในอนาคตวางแผนไว้เป็น Pop Up ที่จะขายส่ง และ เปิดตลาดประเทศเพื่อนบ้าน อาจจะเป็น มาเลเซีย สิงคโปร์ เพราะการเช่าพื้นที่ใน Multi-Brand Stores มีลูกค้าที่เป็น ชาวต่างชาติมาก ทำ�ให้มั่นใจได้ว่า Magic Cup น่าจะมี โอกาสที่ต่างประเทศสูง รู้จัก Multi-Brand Stores อย่างไร สมัยก่อนยังไม่มี Multi-Brand Stores มากขนาดนี้ แต่ เคยเห็นร้าน Multi-Brand Stores ที่ต่างประเทศ รู้สึกว่ามัน มีเสน่ห์ และชอบที่สามารถสร้าง Multi-Brand Stores ต่างๆ ให้ประสบความสำ�เร็จ และขายไปทั่วโลก โดยเน้นการถ่ายรูป ถึงแม่แบบไม่ได้โดดเด่นมาก แต่รูปภาพต่างๆ ทำ�ให้เกิด demand ได้เลยสนใจ Multi-Brand Stores ตั้งแต่นั้นมา ทำ�ไมต้อง Multi-Brand Stores ตอนที่วางแผนธุรกิจก็จะเริ่มที่ Online ก่อน แล้วจึงค่อย เข้าสู่ Multi-Brand Stores เพราะมองว่าช่องทาง Online สามารถสร้างอะไรได้เยอะ และมีศักยภาพในการขายเยอะ มาก เช่นการซื้อขายทำ�ได้ 24 ชั่วโมง ไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่ ปิดการขายและจ่ายเงินได้ทันที แต่การขายสินค้าแฟชั่นโดย เฉพาะเสื้อชั้นในที่ต้องมีความพอดีกับผู้ใส่ จำ�เป็นต้องมีหน้า ร้ า นมาช่ ว ยสนั บ สนุ น สำ � หรั บ ลู ก ค้ า ที่ ต้ อ งการลองสิ น ค้ า การวางสินค้าขายใน Multi-Brand Stores ช่วยสร้างภาพ ลักษณ์ให้กับร้านดูน่าเชื่อถือมากขึ้น แม้ว่ายอดขายหน้า ร้านจะไม่ได้มากเท่าออนไลน์ เพราะต้องเสียค่าพื้นที่ แต่สิ่ง ที่ได้กลับมาคือ กลุ่มลูกค้าที่เดินเข้ามาดูสินค้าแบรนด์อื่นๆ ลูกค้ากลุ่มใหม่ๆโดยเฉพาะคนต่างชาติ ทำ�ให้ Multi-Brand Stores เหมือนมาช่วยเติมเต็มเส้นทางความฝันของ Magic Cup ที่ต้องการไปเปิดตลาดในต่างประเทศให้ได้ ตั้งแต่เปิด ร้านใน Multi-Brand Stores มา ก็มียอดขายเพิ่มขึ้น 30% และมียอดคนกด Follower เพิ่มขึ้น เรามีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งคิดว่าน่าจะมาเสริมกันระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ บางที เมื่อมาดูสินค้าแฟชั่นแล้วเค้าเห็นแบรนด์เรา พอลองแล้วชอบ ก็มีการบอกต่อ และกลับมาซื้อออนไลน์ อีกทั้งการเข้า Multi-Brand Stores มีการประชาสัมพันธ์และการทำ�การ ตลาดที่ดีกว่าทำ�คนเดียวที่ Multi-Brand Stores

จะมีการทำ�การโฆษณา ให้โดยมีดารา Net Idol ใส่สินค้า และรีวิวร้านของเรา มีถ่ายรูปสินค้าเราทุกๆเดือน อีกทั้งมี ระบบการจัดการสินค้าที่ทันสมัย ทำ�ให้เราสามารถตรวจนับ สินค้าและยอดขายได้โดยไม่ต้องเข้าไปที่ร้าน และไม่ต้องเสีย เงินจ้างพนักงานเพราะที่ Multi-Brand Stores จะช่วยดูแล ในส่วนตรงนี้ ในอนาคตอยากเปิดที่ Multi-Brand Stores ร้านไหนก็ได้หลายๆสาขา เพื่อสร้าง Traffic, ภาพลักษณ์ ของแบรนด์ และสามารถมีที่ให้ลูกค้าลองสินค้าได้ สิ่งที่อยากฝากไว้ สำ�หรับใครที่ใฝ่ฝันอยากมีธุรกิจของตัวเองแล้วยังไม่รู้ว่า จะทำ�อะไร แนะนำ�ว่าให้เริ่มจาก Market Problem เพราะถ้า เราไม่เริ่มจากปัญหาที่ตลาดมีจริงๆ เราจะเป็นเพียงผู้เข้าไป แย่ง Margin จากที่อื่น เราจะช้าไม่ทันกับธุรกิจ และเราจะไม่มี Direction ที่แท้จริง แต่เหมียวเห็นปัญหาแล้วเริ่มทำ� เหมียว มี Direction ที่จะแก้ปัญหาเรื่องเสื้อในให้กับผู้หญิง มันจะ ทำ�ให้เราทำ�ไปได้เรื่อยๆ ที่สำ�คัญเราต้องมี Consistency สูง และ Hungry for Business อยู่ตลอดทำ�ให้เราตื่นตัว และไม่ เหนื่อย หรือท้อเมื่อเจออุปสรรค แล้วอย่าจมกับความทุกข์ เมื่อเจออุปสรรค ให้ค่อยๆหาทางแก้ไป และที่สำ�คัญเมื่อตั้งใจ จะทำ�อะไรแล้วให้ Take Action ให้เร็ว มั่นใจในสิ่งที่เราเลือก แล้วลงมือทำ� ถ้าหาข้อมูลมากเราจะเริ่มหมดไฟ หากอยากทำ� อะไรตอนนี้ให้มุ่งมั่นตั้งใจ มี Passion แล้วลงมือทำ�เลย

เครดิตการสัมภาษณ์คุณุพิมพลอย เปลื้องมณฑิล เจ้าของแบรนด์ Magic Cup โดย นางสาวพรทิศา หฤทัยวรกุล นักศึกษาปริญญาโท สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล 5850384 MK18B


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 23

GOTCHA GOTCHA … GOT U!!

ก่อนที่จะมาเป็นแบรนด์ “GOTCHA” แบรนด์ กระเป๋ า ที่ นิ ย มเป็ น อย่ า งมากในกลุ่ ม นั ก ศึ ก ษาและวั ย ทำ�งาน First jobber จนถึงวัยกลางคน ก่อตั้งโดย คุณชนากานต์ วราสภานนท์ หรือคุณมาย ได้เล่าที่มา ของแบรนด์กระเป๋า GOTCHA ว่า ก่อนหน้านี้เพื่อนของ คุณมายทำ�แบรนด์เสื้อผ้าและมาชวน แต่คุณมายก็ ไม่ได้ตัดสินใจทำ�ร่วมกัน เพราะเห็นว่าเพื่อนทำ�เองแล้ว เลยตัดสินใจเดินไปพาหุรัดแล้วก็เริ่มสั่งตัดเย็บถุงผ้า ตั้งแต่วันนั้นเลย เริ่มตั้งแต่ถุงผ้า Tole bag ธรรมดา และหลังจากนั้น โชคดีว่า ได้ไปเจอแบบทำ�กระเป๋า หลัง จากนั้นจึงเริ่มจากทำ�กระเป๋ามาตั้งแต่แรก และที่เลือก เป็นกระเป๋าก็เพราะว่าส่วนตัวมีความชอบกระเป๋าอยู่ แล้ว และกระเป๋าเวลาจะถือออกไปไม่ง่าย ใส่เสื้อยืดกาง เกงยีนส์มีกระเป๋าอีกซักใบก็คงดี ที่มาของชื่อ “GOTCHA” คือมันเป็นคำ�แสลง ที่มันแปลว่าเรา Got U นะในทุกๆวันที่คุณใช้ เรา สามารถ Support คุณได้ไม่ว่าคุณจะไปไหนก็ตาม คือ ด้วยความเป็นแบรนด์นี้มันไม่ใช่กระเป๋าที่แบบผู้หญิง หวานไปเลยแต่เป็นเหมือนกับกระเป๋าที่ใช้ได้ในทุกวัน มี ความทะมัดทะแมง เป็นผู้หญิงสไตล์ลุยๆหน่อย

กระเป๋าของแบรนด์ GOTCHA จะเป็น PU ทุก ชนิด เพราะทำ�ความสะอาดได้ง่ายกว่าหนังแท้ สามารถ โดนน้ำ�ได้ทำ�ความสะอาดง่าย ด้วยเรื่องของราคาเริ่ม ต้น 375 บาท สำ�หรับกระเป๋าที่ขายที่ดีที่สุดคือ MINI SIGNATURE อยู่ที่ 1,399 บาท สามารถใช้ได้สองด้าน นับว่าเป็นจุดเด่นของแบรนด์ GOTCHA อีกทั้งในบาง รุ่นมีสายสะพายให้ถึง 2 แบบ ทำ�ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ อย่างไม่ลังเล “GOTCHA” เริ่มขายผ่านช่องทางออนไลน์ ลูกค้า feedback เกี่ยวกับสินค้าค่อนข้างบ่อย อาจ เป็นเพราะสินค้ามีค่อนข้างเยอะ บางทีอาจมีปัญหาบ้าง บางครั้งส่งสีผิดบ้าง แต่ก็เปลี่ยนให้ลูกค้าใหม่เนื่องจาก เป็นความผิดของเราเอง และบางครั้งลูกค้าซื้อไปแล้ว อย่างเปลี่ยนสีก็ให้เปลี่ยน หรือตัดสายเพิ่มสายสะพาย ตามความสูงลูกค้าทาง GOTCHA ก็ทำ�ได้ สำ�หรับ Promotion ส่วนใหญ่จะเน้นทาง ออนไลน์เป็นหลัก ตามเทศกาลต่างๆ อย่างเช่นช่วงเปิด เทอม จะมีส่วนลดให้สำ�หรับนักเรียน/นักศึกษา และ บางทีมี Gimmick เล็กน้อย ล่าสุดมีการจัดกิจกรรม ฉลองยอด FOLLOWERS ครบ 50K และสำ�หรับหน้า ร้าน Multi-Brand Store จะช่วยโฆษณาอย่างเช่น Midyear Sale จะจัด Promotion ไม่บ่อยเมื่อเทียบ กับทางออนไลน์ แต่ถ้าหน้าร้าน Multi-Brand Stores ลดราคา ทางออนไลน์ก็จะลดราคาด้วย


24 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

นอกจากนั้นไปออกบูธ ไม่ว่า จะเป็นงาน LOL TGIF หรือ ZAAP ON SALE ทั้งสามงานนี้ จะคุ้มค่า เวลาไปตลอด เหมือนคัดมาแล้วว่างานนี้เป็นคนของ กลุ่มลูกค้าของเราอยู่แล้ว และจำ�นวนคนเดินต่อค่า เช่าบูธถือว่าคุ้มมาก หลังจากออกบูธ ทำ�ให้ MultiBrand Stores เข้ามาติดต่อเพื่อไปขายที่ร้าน หลังจาก ตัดสินใจเข้า Multi-Brand Store ทำ�ให้แบรนด์ GOTCHA มีลูกค้าสนใจมากขึ้น มียอด FOLLOWERS เพิ่มขึ้น เพราะทาง Multi-Brand Store มีการโฆษณา โดยให้เหล่า Net Idol ดารา สะพายหรือถือกระเป๋าถ่าย รูปโปรโมทให้ ทำ�ให้ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 70%-80% เข้า Multi-Brand Store ก็พอ? คุณมายมองว่า ยังไม่เพียงพอ เพราะการเข้า multi-Brand มันดีต่อยอดขาย เนื่องจากทาง MultiBrand Store ช่วยในการทำ� Marketing สามารถดึง ลูกค้าไปหลายๆที่ ทำ�ให้ได้เลือกเห็นแบรนด์เรา บางครั้ง เวลาลูกค้าไปเดินสามารถเห็นสินค้าเราโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่ถ้าไปออกบูธ เจ้าของแบรนด์ได้ Interact กับลูกค้า เอง ได้มีปฏิสัมพันธ์ ได้รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรมากกว่า สามารถนำ�ไปปรับปรุงพัฒนา ต่อยอดสินค้าของเราได้ เพิ่มไปอีก

สำ�หรับเป้าหมายระยะสั้นจริงๆก็คือ อยากเพิ่ม ยอดขาย โดยอยากเพิ่มยอดขายเพิ่มขึ้นจากการนำ� สินค้ากระจายเข้า Multi Brand Store ก่อน และถ้า มองในเป้าหมายระยะยาว คือ การเปิดร้านของตัวเอง เปิดเป็น Shop เพื่อให้เราสามารถดูแลลูกค้าได้หลังจาก นั้นจะเข้าไปเปิดในห้าง แต่ไม่ใช่แบบกิน GP


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 25

ถ้าเทียบระหว่างการขายสินค้าผ้าทางออนไลน์และออฟไลน์ คุณมายมองว่าทางออฟไลน์มีการ ซื้อมากกว่า ลูกค้าต้องการเห็นสินค้ามากๆ ส่วนมากคือลูกค้าจะตัดสินใจซื้อเมื่อลูกค้าได้ลองสะพาย ก่อน สำ�หรับช่องทางออนไลน์ขายดีไหมขายดีแต่ด้วยความที่ว่าถ่ายรูปกระเป๋านั้นไม่สามารถเห็น ขนาด ของกระเป๋าชัดเจน สะพายออกมาจะเป็นแบบไหนยังไง? กระเป๋าเล็กไปกว่าตัวของลูกค้าที่ซื้อแค่ไหน? ซึ่ง เวลาขายหน้าร้าน จะเห็นภาพมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นสี หรือขนาดของกระเป๋า เพราะสีของกระเป๋าบางที ใกล้เคียงกันมาก ลูกค้าต้องการไปเห็นที่หน้าร้านอีกที และช่องทางออนไลน์จะตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าต่าง จังหวัดซะส่วนใหญ่ สุดท้ายนี้คุณมายต้องการให้ GOTCHA เป็นแบรนด์ที่คนไทยนึกถึง…เวลานึกถึงกระเป๋า และไม่ใช่ แบรนด์ที่ขายแต่กระเป๋า แต่เป็นแบรนด์ที่นึกถึงการบริการลูกค้ามากกว่าที่จะเน้นขายกระเป๋า เพราะทุก ครั้งลูกค้าซื้อแล้วจบ แต่เราอยากให้ลูกค้ากลับมาซื้ออีก อยากให้เป็นลูกค้าติดแบรนด์ โดยลูกค้าประทับ ใจกลับมาซื้อเพราะการบริการของเรามากกว่า…

เครดิตการสัมภาษณ์คุณชนากานต์ วราสภานนท์ (คุณมาย) เจ้าของแบรนด์ Gotcha โดย นางสาวอรวรรณ ชัยวงษ์วิบูลย์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการตลาดวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล 5850403 MK18B


26 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

Troopers กระเป๋าเป้แบรนด์ไทยของ คนรุ่นใหม่ หัวใจเด็กแนว

Troopers เกิดจากการรวมตัวกันของเพื่อนซี้ 3 คน คือ คุณโอบ ณิชา สมิทธิปรีชาวงษ์, คุณนิ้ง สลิลทิพย์ สุขเจริญไกรศรี และคุณใบตอง มอนชู ที่ชื่นชอบในสิ่งเดียวกัน นั่นคือกระเป๋าเป้ โดยเริ่มไอเดียจากใน คลาสเรียนจนต่อยอดออกมาเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กว่า 6 หลักต่อเดือน ภายในเวลาเพียง 2 ปี กว่าจะถึงวันนี้ คุณโอบ หนึ่งในหุ้นส่วนของ Troopers เล่าให้ฟังว่า สิ่งที่ทำ�ให้ประสบความสำ�เร็จ มาจากความตั้งใจจริง ใส่ใจทุก รายละเอียดและรู้ตัวตนของเราชัดเจน เล็งช่องว่างและลงมือทำ� คุณโอบ กล่าวว่า Troopers เริ่มจากไอเดีย ในวิชาเรียนตอนปริญญาตรี โดยเมื่อจบคลาสตน และเพื่อนเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจจึงชักชวนกันต่อย อดลงมือทำ�จริง โดยในช่วงก่อนที่จะเริ่มทำ�ธุรกิจทั้ง 3 คนพบว่ากระเป๋าเป้ที่เป็นแบรนด์คนไทยทำ�เองยังไม่มี ส่วนมากจะเป็นแบรนด์ที่มาจากต่างประเทศ และมีโทน สีที่ค่อนข้างมืด จึงเกิดเป็นไอเดียในการทำ�กระเป๋าเป้ ของวัยรุ่นที่มีดีไซน์เป็นเอกลักษณ์ มีรูปทรงความ วินเทจผสมผสานกับญี่ปุ่น พร้อมด้วยโทนสีที่สดใส ฉูดฉาด และหลากหลายแตกต่างจากท้องตลาดใน ตอนนั้นออกมา กลุ่มเป้าหมายต้องชัดและเข้าใจในลูกค้า กลุ่มเป้าหมายหลักของTroopers คือ กลุ่ม นักเรียนนักศึกษา และกลุ่มคนที่ทำ�งานในสายครีเอทีฟ ที่ชอบความแตกต่าง สำ�หรับเหตุผลที่ตั้งกลุ่มคนเหล่า นี้เป็นเป้าหมายหลัก คุณโอบได้เล่าว่า ด้วยความที่เรา เริ่มทำ�แบรนด์จากความชอบ เราก็เลยจะเข้าใจกลุ่มคน ที่จะชอบสินค้าของเราเหมือนกันว่าเขาต้องการอะไร รวมทั้งราคาที่ตั้งไม่สูงเกินที่คนกลุ่มนี้จะเข้าถึงได้ เพราะ ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเด็กช่วงมัธยม หรือ First Jobber ที่อาจจะยังมีรายได้ไม่สูงนัก สำ�หรับช่องทางหลักที่เข้า ถึงลูกค้าก็คือ ช่องทางออนไลน์ เกือบจะ 100% เพราะ กลุ่มเป้าหมายที่เราตั้งไว้ ก็จะค่อนข้างเข้าถึง online อยู่แล้ว โดยเราก็เน้นการ represent สินค้าของเรา โดย Create Content เพื่อ inspire ให้คนอยากออก ไปเที่ยวด้วย ไม่ได้เน้นแค่รูปสินค้า บอกราคาแล้วจบ ซึ่งก็ทำ�ให้เราแตกต่างจากเจ้าอื่นๆ และเป็นที่รู้จักเพิ่ม มากขึ้นในวงกว้าง เช่น พอเราไปออกรายการทีวี ก็จะ มีลูกค้าที่เป็นผู้ใหญ่มาซื้อให้ลูก ให้หลาน เพิ่มเป็นต้น

จุดที่ทำ�ให้เราเป็น Top of Mind ของลูกค้า คุณโอบกล่าวว่า ด้วยความที่สินค้าของเรา ค่อนข้างแตกต่างและติดตา อีกทั้งเป็นเจ้าแรกๆ ทำ�ให้ เวลาเราไปออกงานตามที่ต่างๆ หรือเมื่อลูกค้าเห็นสินค้า ของเรา ก็จะจำ�ได้ว่าอันนี้เป็นของ Troopers แต่ด้วย ความที่กระเป๋าเป้ ไม่ได้เป็นสินค้าที่คนจะเปลี่ยนบ่อยๆ เพราะกระเป๋าหนึ่งใบคนก็ใช้ได้เป็นปี ดังนั้นจึงมองว่า การทำ� Brand ให้อยู่ได้ยาวนานจึงเป็นสิ่งสำ�คัญ ทำ�ให้ เราต้องคอยหาลูกค้าใหม่ๆ และพัฒนาสินค้าให้ดีและ หลากหลายขึ้นเรื่อยๆ ตลอดเวลา


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 27

หัวใจสำ�คัญของการขายของ Online คือ Branding เพราะของใน Online ส่วนใหญ่ค่อนข้างมี ความคล้ า ยคลึ ง กั น สิ่ ง แรกที่ เ ราต้ อ งใส่ ใ จอาจจะเป็ น การคิ ด ว่ า เราจะขายอะไรเพื่ อ ให้ มี ค วามแตกต่ า งจาก เจ้าอื่นๆ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่คุณโอบถือว่าเป็นหัวใจสำ�คัญ สำ�หรับการขายของออนไลน์ ก็คือ การทำ� Branding เพราะเป็นจุดที่ทำ�ให้สินค้าของเราแตกต่างจากเจ้าอื่น มาก โดย Troopers จะเน้นความเป็น International เช่น การใช้นางแบบต่างชาติ การเน้นรูปการท่องเที่ยว ในต่างประเทศหรือการใช้ข้อความภาษาอังกฤษในการ ลงรูป ซึ่งทำ�ให้เราแตกต่างจากแบรนด์อื่นที่เป็นคู่แข่ง Multi-Brand Store อีกหนึ่งช่องทางที่ทำ�ให้Brand เราเป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะลูกค้าย่อมอยากเห็นและสัมผัสของจริง การเข้าไปใน Multi-Brand Stores ก็จะช่วย support ในส่วนนี้ แต่ข้อดีหลักๆจะเป็นเรื่องการช่วย ในการสร้าง Awareness ของแบรนด์ให้ลูกค้าได้รู้จัก เรามากขึ้นมากกว่า แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือ เราต้องเลือก เข้าร้านที่ Concept ตรงกับสินค้าของเราเป็นสำ�คัญ เพราะถ้าเราเลือกที่จะเข้าทุกร้าน นอกจากค่าใช้จ่ายที่ สูงแล้ว ก็อาจเสี่ยงกับการที่สินค้าของเราอาจขายได้ ยากด้วยเพราะกลุ่มลูกค้าของร้านเหล่านั้นไม่ใช่คนที่จะ ซื้อของเรา

สิ่งที่ชอบและสิ่งที่มาจากตัวตนของเรานำ�สู่ความสำ�เร็จ โอบคิดว่า การจะทำ�แบรนด์อะไรก็ตามเราควร ทำ�มันจากสิ่งที่เราชอบ เพราะมันจะทำ�ให้เรามี Passion และตั้งใจทำ�มันออกมาให้ดีที่สุด ถึงแม้มันอาจจะพลาด บ้างแต่ก็ถือเป็นประสบการณ์ชีวิตที่อย่างน้อยเราก็ได้ ทำ�เต็มที่กับมันจริงๆ อีกเรื่องคือเราควรทำ�อะไรที่ไม่ เลียนแบบคนอื่น ไม่ใช่เห็นคนอื่นทำ�แล้วดี เราทำ�บ้าง ซึ่ง แม้มันจะสร้างรายได้ แต่มันก็ไม่ได้สร้างความภาคภูมิใจ ให้เรา การที่เราทำ�อะไรที่แตกต่างและมาจาก Passion มันก็จะทำ�ให้เรารู้ว่าจะต้องพัฒนาตรงไหนเพื่อให้เรา ไปได้ไกลยิ่งขึ้น รวมทั้งเราก็ต้องคอยพัฒนาตัวเองไป เรื่อยๆ อัพเดทเทรนด์อยู่เสมอ ส่วนตัวโอบคิดว่า บาง ครั้งการเติบโตเร็วไป ก็อาจทำ�ให้เรากดดันตัวเองมาก เกิน ให้เราค่อยๆเติบโตไปกับมันแต่อยู่ไปนานๆดีกว่าค่ะ :)

เครดิตการสัมภาษณ์คุณณิชา สมิทธิปรีชาวงษ์ เจ้าของแบรนด์ Troopers โดย นางสาวจินตรัตน์ ชัยนิมิตวัฒนา นักศึกษาปริญญาโท สาขาการตลาดวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล 5850374 MK18B


28 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

Dal-

เครื่องประดับสัญชาติไทย สู่เป้าหมายตลาดสากล”

ในทุกวันนี้ ถ้าเราพูดถึงสินค้าแฟชั่น ทุกคนก็จะ นึกถึงเสื้อผ้าเป็นหลัก แต่สินค้า Accessories คงจะ เป็นส่วนน้อยที่ทุกคนนึกถึง แต่สำ�หรับ คุณนันทกุล ซีตันติเวช (ออย) เจ้าของร้าน Dallar Jewelry ไม่ได้ คิดแบบนั้น เพราะเธอมีแนวคิดว่า เครื่องประดับเหล่า นี้ก็สามารถเป็นงานแฟชั่นได้ เพียง ทำ� Design ของ เครื่องประดับให้ไม่ซ้ำ�ใคร มีความเป็นเอกลักษณ์ คน เห็นแล้วจะต้องรู้ได้ทันทีว่าเป็นแบรนด์ Dallar จุดเริ่มต้นที่เกิดจากความถนัดในการออกแบบสินค้า และความชื่นชอบในสินค้าแฟชั่น Dallar Jewelry นั้นเริ่มต้นจากความชื่นชอบ ส่วนตัวของคุณออย เนื่องจากเธอเรียนจบมาทาง ด้านJewelry และเธอมีความฝันว่าอยากจะมี Brand Jewelry เป็นของตัวเอง เธอจึงเริ่มลงมือทำ�และพัฒนา Product ให้มีคุณภาพมากขึ้นเรื่อยๆจนมาเป็น Dallar ทุกวันนี้” จุดแข็งของ Brand ก็คือ การที่สินค้าในร้านเป็น แบบ ที่ทางคุณออย Design เองทั้งหมด เครื่องประดับที่ทางคุณออยทำ� จะเป็นเครื่องประดับที่มี รูปแบบ Design ที่สวยงาม เด่นชัด และสินค้านี้ ก็ ส ามารถทำ � ให้ ค นสนุ ก ที่ จ ะใช้ ห รื อ เปลี่ ย นใส่ ใ น ทุกๆวัน เพราะสินค้าของทางร้านไม่ใช่แค่ Jewelry ที่ ใส่ติดมือเหมือนกับลักษณะของงานเงินที่เราสามารถ เห็นโดยทั่วไป แต่ Dallar Jewelry ได้วาง Concept ไว้คือ “เครื่องประดับเหล่านี้จะต้องเป็นสินค้าแฟชั่น เป็น เหมือนเสื้อผ้าที่สามารถเปลี่ยนแบบใส่ได้ในทุกๆวัน” อย่างที่คุณออยได้บอกแล้วว่าจุดแข็งของ Dallar คือการออกแบบสินค้าเอง ซึ่งขึ้นตอนต่างๆตั้งแต่ออก แบบสินค้าจนถึงขั้นตอนการผลิต คุณออยจะเป็นผู้ที่ เข้าไปมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ซึ่งเธอได้กล่าวว่า “การ ออกแบบสินค้าแต่ละชิ้น จะต้องมีความละเอียดอ่อน เราจะต้องทำ�สินค้าให้เป็นชิ้นที่ดีที่สุด จนเราไม่อยากจะ ขายสินค้าชิ้นนี้ แต่ทุกคนกลับต้องการได้ครอบครอง สินค้าชิ้นนี้”

เราไม่สามารถทำ�ได้ทุกอย่าง บางอย่างเราก็ยัง ต้องพึ่ง Supplier การผลิตสินค้าขายตั้งแต่เปิดร้านมา อุปสรรคที่คุณออยเจอหลักๆมี 2 ประเด็นใหญ่ คือ ระบบภายในของทางร้าน เนื่องจากตั้งแต่เรียนจบมาคุณออยไม่เคยทำ�งาน ประจำ� ไม่เคยอยู่ภายใต้ใคร เหมือนเป็นนายตัวเอง ทำ�ให้ ยังไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของการจัดการต่างๆ และ ทุกอย่างที่เริ่มทำ�ยังไม่ค่อยชัดเจน เช่นยังไม่มีเอกสาร ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งทำ�ให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาในภายหลัง แต่สุดท้ายคุณออยก็ได้พัฒนาและ เรียนรู้งานตรงนั้นเพิ่มเติม เพื่อนำ�มาบริหารจัดการ ร้านให้ดีขึ้น โดยการจัดการแก้ไขปัญหาในส่วนนี้ของ คุณออยคือ ค่อยๆเรียนรู้การจัดการไปพร้อมๆกับ การทำ� Brand เพราะคุณออยได้บอกว่าการบริหาร งานและบริหารคนนั้นอยากที่สุด เพราะกว่าเราจะคิด Product ออกมาเราต้องคิดทุกอย่างให้รอบคอบ ว่า ทำ�ออกมาแล้วต้นทุนเป็นอย่างไร คุ้มทุนหรือไม่ ไม่ใช่ คิดแต่จะผลิต เพราะถ้าเกิดว่าสินค้าที่ทำ�ขายออกมา แล้วขายไม่ได้ ก็จะไม่มีเงินคอย Support ให้กับลูกจ้าง ในบริษัท ดังนั้นเรื่องบริหารจัดการ คุณออยก็ต้อง ค่อยๆเรียนรู้ และปรับการบริหารต่างๆให้เข้ากับร้าน ของ Dallar Supplier ถึงแม้ว่าเครื่องประดับเหล่านี้คุณออยจะเป็นคน ออกแบบเอง แต่บางขั้นตอนคุณออยก็ไม่สามารถทำ� เองได้ จึงต้องหา Supplier เอง ซึ่ง Supplier แต่ละเจ้า ที่เคยเจอมาก็มีปัญหาที่แตกต่างกันไป เจอที่ดีบ้างและ ที่ไม่ดีบ้าง ซึ่งคุณออยก็ต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆกันกับ Supplier เจ้านั้นๆ


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 29

กว่าคุณออยจะเจอ Supplier คู่ใจในทุกวันนี้ คุณ ออยต้องเจอปัญหาในการหา Supplier มามากพอ สมควร เนื่องจากว่าสินค้า Jewelry เป็นสินค้าที่ค่อน ข้างเฉพาะกลุ่ม และเฉพาะทาง ดังนั้นการหา Supplier ที่ฝีมือดีมาทำ�จึงค่อนข้างยาก และ Supplier ที่ทำ�สินค้าเครื่องประดับ ก็ค่อนข้างจะมีอารมณ์ที่ แปรปรวน มีความอินดี้อยู่ในตัว อย่าง Supplier เจ้า แรกที่คุณออยเคยเจอ ก็จะมีปัญหาในเรื่องการผลิต เช่นบางครั้งผลิตช้า ไม่ได้ตามจำ�นวนที่สั่งไป, ขอเบิก เงินล่วงหน้าในการสั่งผลิต จนสุดท้ายบางคนได้รับ เงินไปแล้วก็หายเข้ากลีบเมฆไปเลย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ หลายๆ Brand ก็คงมักจะพบเจอ จนในที่สุดคุณออยก็ได้มาเจอกับ Supplier เจ้า ปัจจุบัน ซึ่งคุณออยก็ได้บอกว่า ถึง Supplier เจ้านี้ จะไม่ได้ 100% แบบที่ต้องการ แต่คุณออยก็ได้เรียนรู้ เรื่องการบริหารจัดการในการทำ� Brand มาแล้วเกือบ 3 ปี ดังนั้นคุณออยจึงได้ทำ�เอกสารเหมือนกับเป็นข้อ ตกลงกับ Supplier ว่าจุดร่วมที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะพอใจซึ่ง กันและกันอยู่ตรงไหน และทำ�การจัดการให้เป็นไปตาม ข้อตกลงที่ได้คุยกันไว้ ซึ่งพอได้ทำ�การจัดการแบบนี้ ก็ สามารถช่วยลดปัญหาของ Supplier ได้มากขึ้น

แผนระยะยาว : ในมุมมองของคุณออย Dallar เป็น แค่ Mock up ของแบรนด์ 1 แบรนด์ เพราะจริงๆแล้ว คุณออยอยากจะตั้งตัวเองเป็น Studio ซึ่ง Studio นี้ จะประกอบไปด้วยหลายแบรนด์ โดย Brand Dallar คือ 1 ในนั้น ซึ่งจริงๆแล้วตอนนี้คุณออยก็มี Brand เสื้อผ้าอีก 1 Brand ด้วยเช่นกัน โดยในอนาคตคุณออยก็มีแผนว่าอยากจะทำ� Brand ตัวเองไปขายที่ต่างประเทศด้วย เช่นที่ประเทศ สิงคโปร์ กรณีศึกษาของ Dallar Jewelry สะท้อนให้ เห็นว่า จริงๆแล้วสินค้าแฟชั่นทุกประเภท ยังมีช่องทาง และโอกาสเติบโตในตลาดอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นตลาด ในประเทศ หรือตลาดต่างประเทศ เพียงแต่ว่าเจ้าของ Brand จะต้องมีความเข้าใจใน Brand ของตัวเอง และต้องทำ� Brand ของตัวเองให้มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำ� ใคร เป็นที่จดจำ� เมื่อผู้บริโภคเห็นสามารถรู้ได้ทันที ว่าเป็นของ Brand เรา แต่ความเป็นเอกลักษณ์นี้ต้อง สามารถปรับเปลี่ยนตามแฟชั่นและความต้องการของผู้ บริโภคได้เช่นกัน

ในอนาคตมีแผนที่จะขยายหน้าร้านเพิ่ม ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เนื่องจาก Brand Dallar ทางคุณออยเป็นผู้ออก แบบเองจึงทำ�ให้สินค้ามีความเป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจน ดังนั้นคุณออยจึงได้มีแผนไว้เป็น 2 ระยะ ทั้งแผนระยะ สั้น และแผนระยะยาว แผนระยะสั้น : ทางคุณออยบอกว่า ก็คงจะพัฒนา Dallar ให้เป็นผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายมากยิ่ง ขึ้น และหาจุดอ่อนจุดแข็งและนำ�มาพัฒนาตัว Product ในส่วนที่เรายังไม่มี เครดิตการสัมภาษณ์คุณนันทกุล ซีตันติเวช เจ้าของแบรนด์ Dallar Jewelry โดย นางสาวระริน พิเชษฐศิลป์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการตลาดวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล 5850397 MK18B


30 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

สคริปต์งานสัมมนา

“InStagram In Stores เปิดเช็คลิสต์ พลิกโอกาส ร้านสินค้าแฟชั่น จาก Online สู่ On Shelves” วันที่ 11 พฤษภาคม 2560

ระริน - สวัสดีท่านผู้มีเกียรติทุกท่านค่ะ วันนี้ดิฉันนางสาวระริน พิเชษฐศิลป์ หรือทุกท่านสามารถเรียกว่า ลี่ ก็ได้ นะคะ ปัจจุบันดำ�รงตำ�แหน่ง Account Executive อยู่ที่เอเยนซี่โฆษณา บริษัทเฟมไลน์ จำ�กัด วันนี้ขอต้อนรับ ทุกท่านเข้าสู่งานสัมมนาวิชาการ ภายใต้หัวข้อ InStagram In Stores เปิดเชคลิสต์ พลิกโอกาส ร้านสินค้าแฟชั่น จาก Online สู่ On Shelves ค่ะ ซึ่งหัวข้อในวันนี้ ก็จะเป็นการแนะนำ�ช่องทางใหม่ๆให้กับร้านสินค้าแฟชั่นออนไลน์ ว่าจริงๆแล้วปัญหาที่ผู้บริโภคพบเจอมีอะไรบ้าง และมีช่องทางหรือเครื่องมือไหนบ้างที่สามารถตอบโจทย์แก้ปัญหา ในส่วนนี้ได้ แต่ก่อนอื่น ลี่ขอแนะนำ�ผังต่างๆของชั้นนี้ให้ทุกท่านก่อนนะคะสำ�หรับห้องน้ำ� ห้องน้ำ�หญิงถ้าทุกท่านเดินออกจาก ห้องให้เลี้ยวไปทางด้านซ้าย ส่วนห้องน้ำ�ชาย เมื่ออกจากห้องไป ให้เลี้ยวทางด้านขวาค่ะ ส่วนทางหนีไฟ ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉิน ทุกท่านไม่ต้องตกใจไปนะคะ ทางหนีไฟของเราอยู่ใกล้มาก เพียงแค่ออกจากห้อง แล้วเดินออกนอกประตู เดินตามทางเลยลิฟท์ไป บันไดหนีไฟจะอยู่ทางด้านซ้ายค่ะ และสุดท้ายรบกวนทุกท่านปิด เสียงอุปกรณ์การสื่อสารเพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนในการสัมมนาครั้งนี้ด้วยนะคะ โดยในวันนี้ Agenda ของเราแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ ซึ่งส่วนแรกก็จะพูดในเรื่องพฤติกรรมของนักช้อปสินค้าแฟชั่น ว่า ความต้องการของนักช้อปเหล่านี้เป็นอย่างไร ปกติเค้าชอบซื้อของผ่านช่องทางไหนบ้าง มีปัญหาในการช้อปเรื่อง ไหนบ้าง ซึ่งก็จะนำ�ไปสู่หัวข้อที่ 2 ซึ่งก็คือการขยายโอกาสช่องทางการขายด้วย Multi-Brand Stores ว่าจริงๆแล้ว ช่องทางนี้ สามารถมาช่วย Support ร้านของเราได้อย่างไร และสุดท้ายเราก็จะมาตบท้ายด้วย Tips ปังๆ ว่าจะทำ� อย่างไรให้ร้านของเราโดนใจลูกค้า ซึ่งใน พาร์ทแรกนี้เราก็จะมีกิจกรรมคำ�ถาม มีของรางวัลมาแจกทุกท่านด้วยนะคะ และเรายังมี Checklist ให้ทุกท่านได้ลองสำ�รวจตัวเองว่า ตอนนี้ Brand ของเราอยู่ในจุดไหน หรือพร้อมที่จะดำ�เนิน ธุรกิจนี้ไปในแนวทางใดได้บ้าง จากนั้นก็จะเข้าสู่ช่วง Break ให้ทุกท่านได้ไปยืดเส้นยืดสายพร้อมรับประทานขนม ว่าง ส่วนในพาร์ทที่สองจะเป็นในส่วนของการเสวนา ซึ่งในวันนี้เราได้เชิญแขกรับเชิญที่มีประสบการณ์ตรงด้านการขาย สินค้าผ่านทางช่องทาง Online และหุ้นส่วนของ Multi Brand Store ชื่อดังมาร่วมเสวนากับเราในวันนี้ค่ะ ถ้าผู้ร่วม ฟังท่านไหนมีคำ�ถามที่อยากถามอยู่ในใจลองคิดกันไว้ก่อนได้เลยนะคะ เพราะพาร์ทนี้ เราจะเปิดโอกาสให้ทุกท่านได้ ส่งคำ�ถามขึ้นมาพูดคุยกับแขกรับเชิญได้ค่ะ โดยเรามีโพสต์อิทแนบไว้ในแฟ้มของทุกท่านค่ะ พร้อมในนั้นยังมีแบบ ประเมินสำ�หรับการจัดสัมมนาในครั้งนี้ รบกวนทุกท่านช่วยประเมินให้ด้วยนะคะ โดย 4 คือท่านพึงพอใจมากที่สุด ส่วนที่เหลือก็จะลดหย่อนลงมาตามสัดส่วนค่ะ และทุกท่านอย่าลืมถ่ายภาพบรรยากาศในงาน โพสต์ลง IG พร้อม #คำ�ว่า InStragramInStores เพื่อลุ้นรับของ รางวัลหลังจบงาน โดยถ้าใครได้รับยอดไลค์สูงสุดจะเป็นผู้ชนะค่ะ ลำ�ดับถัดไปขอเรียนเชิญ ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ขึ้นมาให้เกียรติกล่าวเปิดงานในครั้งนี้ด้วยค่ะ ขอเรียนเชิญค่ะ ------------------------ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร กล่าวเปิดงาน------------------------ทุกท่านรู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ขายของใน Instagram มากที่สุด!! โดยเฉพาะสินค้าประเภทสินค้า แฟชั่น ซึ่งการขายสินค้าแฟชั่นใน Instagram ของไทยจึงกลายเป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริมที่ยอดฮิตสำ�หรับ ใครหลายๆคนโดยเฉพาะ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง โดยลักษณะการใช้งาน Instagram ของคนไทย แบ่งได้เป็น 60% เพื่อค้นพบสิ่งใหม่ๆ 59% เพื่อสร้างการรับรู้ และ 49% มีการซื้อสินค้าแบรนด์ที่ติดตาม แต่ปัญหาของการค้าขายสินค้าแฟชั่นมันก็มีอยู่ว่า การมีแค่ช่องทาง online ช่องทางเดียวมันไม่เพียงพอค่ะ


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 31

MC (ช่วงแรก) เพราะจริงๆแล้วผู้บริโภคก็ยังมีปัญหากับสินค้าออนไลน์หลายส่วนเหมือนกัน เช่น ลูกค้าไม่สามารถลองใส่สินค้าได้ ลูกค้าไม่สามารถสัมผัสเนื้อผ้าของสินค้าได้ ดังนั้นในปัจจุบัน จึงเกิดเครื่องมือใหม่ๆที่ไว้สำ�หรับ Support แก้ไขการ ค้าขายบนโลกออนไลน์เพิ่มเข้ามา หลายๆท่านคงสงสัยว่าหัวข้อนี้มีความสำ�คัญ หรือประเด็นในเรื่องใดที่น่าสนใจ ลี่ขอบอกเลยว่า ทุกท่านที่อยากทำ� ธุรกิจขายสินค้าแฟชั่น ต้องได้ข้อมูลดีๆ ที่สามารถนำ�ไปปรับใช้กับร้านของคุณได้อย่างแน่นอนค่ะ สำ�หรับหัวข้อของเราในวันนี้ ก็คือ Instagram in Stores เปิดเชคลิสต์ พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่น จาก Online สู่ On Shelves งั้นก่อนอื่น ลี่ขอกล่าวถึงที่มาว่าทำ�ไมเราถึงสนใจที่ทำ�งานวิจัยในหัวข้อนี้ โดยจากการศึกษาข้อมูลตลาดช้อปปิ้งเราพบว่า ตลาด E-Commerce นั้นมีมูลค่ามากถึง 2.1 ล้านล้านบาท ซึ่ง ถือว่าเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูง โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมในตลาด E-Commerce อันดับ 1 นั่นก็คือสินค้าแฟชั่นซึ่ง ได้ส่วนแบ่งของตลาดนี้ไปถึง 60% ซึ่งตลาด E-Commerce ในทีนี้ ยกตัวอย่างเช่น Facebook Instagram Line ซึ่งเราจะเห็นว่าร้านค้า Online ต่างๆก็หันมาขายของบนตลาดนี้กันเป็นจำ�นวนมาก พอพูดถึง Instagram ก็จะพบว่า ปัจจุบันทั่วโลกนั้นมีผู้ใช้งาน Instagram ในแต่ละเดือนมากกว่า 600 ล้านคน ซึ่ง เมื่อเรามาดูเฉพาะผู้ใช้งาน Instagram ในประเทศไทยพบว่ามีผู้ใช้งานมากถึง 7.8 ล้านคน ซึ่งอัตราการเติบโตนั้นสูง ถึง 74% โดยผู้ใช้งานสามารถแบ่งหลักๆได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรก คือ ผู้ใช้ทั่วไปและร้านค้า 89.26% กลุ่มที่สอง ผู้มีอิทธิพลบนโลก 10.48% และกลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่ม ดารา ผู้มีชื่อเสียง 0.26% ซึ่งแนวโน้มธุรกิจ Online Shopping ของไทยในระยะข้างหน้านั้น ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ช่องทางนี้น่า จะเป็นช่องทางการตลาดที่เข้ามามีบทบาทต่อการดำ�เนินธุรกิจของผู้ประกอบการไทยมากขึ้น ซึ่งสะท้อนได้จาก ปัจจุบันบรรดาผู้ประกอบการธุรกิจหลายราย ทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่ เอสเอ็มอี หรือแม้แต่ธุรกิจ Online Shopping ของต่างชาติ สนใจเข้ามาทำ�การตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ในไทยกันมากขึ้น และพฤติกรรมการซื้อสินค้า และบริการผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ดังนั้น สัญญาณดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงภาพรวมตลาด Online Shopping ไทยที่มี โอกาสเติบโตสูง และมีแนวโน้มแข่งขันรุนแรงขึ้น เช่นกัน ดังนั้นจากข้อมูลที่ลี่ได้เกริ่นมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรมของนักช้อป หรือโอกาสการเติบโตของตลาดสินค้า แฟชั่นนั้นดูน่าสนใจเป็นอย่างมาก แต่รายละเอียดลึกๆ และเทคนิคดีๆนั้นจะเป็นอย่างไร ขอเสียงปรบมือให้กับพรี เซนเตอร์ของเรา คุณตุ๊กและคุณพลอยได้เลยค่ะ


32 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

Presenter 1,2 CUSTOMER BEHAVIOR PART ตุ๊ก - สวัสดีค่ะ ดิชั้น นางสาวอรวรรณ ชัยวงษ์วิบูลย์ หรือเรียกสั้นๆว่า ตุ๊ก ก็ได้ค่ะ ปัจจุบันประกอบธุรกิจ ส่วนตัวขายสินค้าออนไลน์ ภายใต้แบรนด์ TintinToysค่ะ พลอย - สวัสดีค่ะ ดิชั้น นางสาววลัยลักษณ์ บุญสม หรือเรียกสั้นๆว่า พลอยก็ได้ค่ะ ปัจจุบันดำ�รงตำ�แหน่งนัก บัญชีร้าน Farm Design บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำ�กัด ค่ะ ตุ๊ก - พวกเราสองคนจะรับหน้าที่หลัก พาทุกท่านเข้าสู่โลกของสินค้าแฟชั่นไปพร้อมๆ กันในวันนี้ค่ะ :) พลอย - แต่ก่อนอื่นเลยก่อนที่เราจะมาเริ่มล้วงลึกและรู้จักพฤติกรรมนักช้อปสินค้าแฟชั่นกัน พลอยขอเล่าให้ทุก ท่านฟังถึงที่มาของข้อมูลในงานสัมมนาครั้งนี้ก่อนค่ะ ข้อมูลของงานสัมมนาในครั้งนี้ เราได้มาจากการวิจัยทั้งเชิง ปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยข้อมูลสำ�หรับงานวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น ข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิค่ะ ในส่วน ของข้อมูลปฐมภูมิเราได้มาจากการแจกแบบสอบถามทั้งสิ้น 415 ชุด การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริโภคทั้งสิ้นจำ�นวน 32 คน การสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าของแบรนด์สินค้าและเจ้าของพื้นที่ Multi-Brand Stores รวมทั้งสิ้นอีกกว่า 34 คน ตุ๊ก - และเก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม หรือ Focus Group ทั้งหมด 5 กลุ่มด้วยกันค่ะ รวมไปถึงการที่พวก เราได้ลงพื้นที่ไปสำ�รวจพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หน้าร้าน Multi-Brand Stores จริงๆ ถัดมาในส่วนของข้อมูล ทุติยภูมิ พวกเราได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากบทสัมภาษณ์ จากผู้ประกอบการ รวมไปถึงคลิปวิดีโอ และ งานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วยค่ะ พลอย - จากแบบสอบถามทั้ง 415 ชุด เราพบว่านักช้อปสินค้าแฟชั่นเป็นผู้หญิงถึง 92% ในขณะที่เป็นผู้ชาย เพียงแค่ 8% เท่านั้น จะเห็นได้ว่านักช้อปสินค้าแฟชั่นส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง ดังนั้นในงานวิจัยครั้งนี้เราจึงเน้นความ สำ�คัญไปที่กลุ่มนักช้อปที่เป็นผู้หญิงเป็นหลักค่ะ ตุ๊ก - โดยเราได้แบ่งกลุ่มของนักช้อปสินค้าแฟชั่นที่เป็นผู้หญิง ออกเป็น 4 กลุ่มตามช่วงอายุ เนื่องจากนักช้อป แต่ละกลุ่มช่วงอายุมีความแตกต่างกัน โดยกลุ่มแรกคือ กลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 16-20 ปี เป็นน้องๆ นักเรียนนั่นเองค่ะ ที่มีรายได้เฉลี่ย อยู่ในช่วงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งรายได้หลักๆ ของกลุ่มนี้คือ ค่าขนม ที่ได้ จากคุณพ่อคุณแม่นั่นเองค่ะ :) พลอย - สำ�หรับกลุ่มที่ 2 คือกลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 21-25 ปี หรือกลุ่มน้องๆนักศึกษาไปจนถึงกลุ่มที่พึ่งเริ่ม ทำ�งานหรือ First jobber นั่นเองค่ะ โดยนักช้อปในกลุ่มนี้จะมีรายได้เฉลี่ยอยู่ในช่วง 15,001 ถึง 25,000 บาทต่อ เดือนค่ะ เนื่องจากนักช้อปในกลุ่มนี้เริ่มมีรายได้จากการทำ�งานเอง ไม่ใช่ได้จากผู้ปกครองเหมือนนักช้อปกลุ่มแรกค่ะ ตุ๊ก - ถัดมาค่ะ สำ�หรับนักช้อปกลุ่มที่ 3 ได้แก่ กลุ่มที่มีอายุ 26-30 ปี เป็นกลุ่มคนวัยทำ�งาน ที่ทำ�งานมาระยะ นึงแล้วค่ะ สำ�หรับกลุ่มนี้ จะมีรายได้เฉลี่ย อยู่ในช่วง 25,001 - 35,000 บาทต่อเดือน เป็นรายได้จากการทำ�งาน ของพวกเค้าเองค่ะ ซึ่งในส่วนของรายได้ ก็จะสูงกว่ากลุ่มที่ 1 และ 2 ค่ะ เนื่องจากเริ่มมีความเติบโตในหน้าที่การงาน เพิ่มมากขึ้น พลอย - และกลุ่มสุดท้ายได้แก่กลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 31 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มคนที่ทำ�งานมาเป็นระยะเวลานานแล้วค่ะ และส่วนใหญ่จะเริ่มมีครอบครัว ทำ�ให้มีความรับผิดชอบหรือภาระหน้าที่ต่างๆมากกว่านักช้อปในสามกลุ่มแรกค่ะ ในส่วนของรายได้พบว่านักช้อปกลุ่มนี้จะมีรายได้เฉลี่ยอยู่ในสองช่วงด้วยกันค่ะนั้นก็คือ ช่วง 25,001-35,000 บาท และ 55,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ขึ้นอยู่กับประเภทของงานที่ทำ�ค่ะ ตุ๊ก - หลังจากที่เราเห็นแล้วว่ามีกลุ่มนักช้อปหลักๆ ทั้งหมด 4 กลุ่มนะคะ ซึ่งในแต่ละกลุ่ม ก็จะมีความแตกต่าง กันออกไป ทีนี้ เรามาดูกันดีกว่าค่ะ …พลอยว่ารูปแบบการช้อปสินค้าแฟชั่นของนักช้อปแต่ละกลุ่มเป็นแบบใดบ้าง เหมือนหรือ แตกต่างกันอย่างไรบ้างค่ะ? พลอย - ได้เลยค่ะตุ๊ก สำ�หรับรูปแบบการช้อปสินค้าแฟชั่นของนักช้อปกลุ่มที่มีอายุ 16-20 ปี, 21-25 ปี, และ 2630 ปี จะมีพฤติกรรมที่เหมือนกันค่ะ นั้นก็คือ นักช้อปเหล่านี้จะชอบที่จะดูสินค้าจากช่องทาง Online แต่เมื่อซื้อสิน ค้าเนี้ยจะชอบซื้อที่หน้าร้านมากกว่าค่ะ


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 33

ตุ๊ก - ส่วนกลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 31 ปีขึ้นไป จะมีพฤติกรรมที่แตกต่างจาก 3 กลุ่มแรกค่ะ นั่นก็คือ กลุ่มนี้จะ ชอบดูสินค้าจากช่องทาง Online และชอบซื้อสินค้าจากช่องทาง Online เช่นเดียวกันค่ะ เนื่องจากด้วยอายุที่เพิ่ม มากขึ้น ทำ�ให้มีหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบสูงขึ้น สำ�หรับบางท่านอาจรวมไปถึงภาระหน้าที่ ที่สูงขึ้นในในด้าน ครอบครัวอีกด้วยค่ะ จึงเป็นเหตุผลหลักที่ทำ�ให้นักช้อปในกลุ่มนี้มีเวลาสำ�หรับการช้อปปิ้งลดน้อยลง ดังนั้นพวก เค้าจึงสะดวกที่จะซื้อจากช่องทาง Online มากกว่าค่ะ :) พลอย - ซึ่งจากที่ 3 กลุ่มแรกชอบซื้อสินค้าผ่านหน้าร้านเนื่องจาก นักช้อปชอบการได้ลอง ได้เห็นสินค้าจริง และ นักช้อปกลุ่มอายุ 31 ปีขึ้นไปชอบซื้อสินค้าผ่านทาง Online เนื่องจากมีภาระที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ไม่มีเวลามาก พอที่จะไปซื้อสินค้าผ่านช่องทางหน้าร้าน ตุ๊ก - จุดที่น่าสนใจก็คือ จะเห็นได้ว่านักช้อปทุกกลุ่มมีพฤติกรรมอย่างนึงที่เหมือนกันค่ะ คือ นักช้อปทุกกลุ่มจะมีการเลือกดูสินค้าแฟชั่นผ่านช่องทาง Online ก่อนถึงแม้ว่าการเลือกซื้อสินค้าจะมีรูปแบบที่ แตกต่างกันไปบ้าง ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าช่องทาง Online แบบไหนกันนะ ที่นักช้อปแต่ละกลุ่มชอบเลือกดูค่ะ พลอย - จากผลสำ�รวจเราพบว่านักช้อปที่มีอายุ 16-20 ปี 21-25 ปี และ 26-30 ปี จะนิยมดูสินค้าแฟชั่นผ่าน Instagram ในขณะที่นักช้อปที่มีอายุ 31 ปีขึ้นไปจะนิยมดูสินค้าผ่าน Facebook มากกว่าค่ะ ตุ๊ก - จากที่พลอยเล่าให้ทุกท่านฟังไปแล้ว เรามาดูกันว่า เพราะเหตุใดนักช้อป 3 กลุ่มแรกถึงชอบดูใน Instagram และ กลุ่มสุดท้ายถึงชอบดูใน ใน Facebook ค่ะ >>> จากผลสำ�รวจเราพบว่ากลุ่มนักช้อป 3 กลุ่มแรก ชอบดูสินค้าในช่องทาง Instagram เพราะ.. “เหมือนเน้นรูปมากกว่า สิ่งรกหูรกตาน้อย” ทำ�ให้เหล่านักช้อปสามารถ Focus ที่การช้อปปิ้งจริงๆ ไม่ต้องมีสิ่ง รบกวนต่างๆ เด้งขึ้นมาระหว่างการช้อป นั่นเองค่ะ พลอย - “รายละเอียดสินค้าครบจบในหน้าเดียว” นักช้อปสามกลุ่มนี้ค่ะมองว่า เวลาเค้าดูสินค้าใน Instagram เค้า สามารถดูทั้งรูปและเนื้อหารายละเอียดของสินค้าต่างๆ ทั้ง Size สี ขนาด เนื้อผ้าและราคาได้ในหน้าเดียวค่ะ ตุ๊ก - ถัดมาค่ะ “หาสินค้าที่ต้องการได้จาก #Hashtag” เมื่อกลุ่มนักช้อปเข้าไปเลือกซื้อสินค้าใน Instagram เค้าสามารถลิงค์สินค้าที่เกี่ยวข้องได้จาก #Hashtag ที่ใต้ภาพได้เลยค่ะ เช่น ถ้าตุ๊กเข้าไปเลือกดูสินค้าจาก ร้าน เสื้อผ้าแบรนด์ A ตุ๊กก็สามารถคลิกที่ #Hashtag นี้ เพื่อไปดูสินค้าที่เกี่ยวข้องจาก Tag นี้ได้เลยค่ะ พลอย - “เลื่อนดูหลายๆ รูปได้ในหน้าเดียว” ซึ่งจริงๆแล้วก็คือฟังก์ชั่นการดูรูปแบบ Multiple นั้นเองค่ะ นักช้อป ทั้งสามกลุ่มนี้บอกว่ามันทำ�ให้เค้าสามารถดูรูปภาพหลายๆรูป ได้ง่ายขึ้นค่ะ เพราะรายละเอียดของสินค้านั้นๆก็จะยัง อยู่ในหน้าเดิม แต่มีหลากหลายแบบหลายมุมให้สามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ตุ๊ก - และนี่ก็คือเหตุผลที่นักช้อป 3 กลุ่มแรก ชื่นชอบการดูสินค้าใน Instagram นะคะพลอย พลอย - อืมมม แล้วทำ�ไมกลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 31 ปีขึ้นไปถึงชอบดูสินค้าทาง Facebook มากกว่าละคะตุ๊ก? ตุ๊ก -นั่นก็เป็นเพราะว่า “Facebook มีครบทุกอย่างที่ต้องการแล้ว” อันดับแรกเลยก็คือ กลุ่มนี้มองว่าฟังก์ชั่ นทุกอย่างที่เค้าต้องการมีครบทั้งหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Community ในการติดต่อกับเพื่อนๆ, การดูพวกสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตามข่าว หรือ Video, ฟังก์ชั่น Facebook Messenger ที่ใช้ในการพูดคุยโต้ตอบ ก็ตาม รวมไปถึง การช้อปปิ้งใน Facebook ด้วยก็ตาม พลอย - นอกจากนี้ค่ะ นักช้อปกลุ่มนี้ยังบอกว่า “Facebook มีกรุ๊ปชัดเจน ไปหาร้านในกรุ๊ปง่ายกว่า” เค้ามองว่าการที่เค้าจะค้นหาสินค้าแฟชั่น เค้าค้นหาใน Page, Group หรือ Community เค้าจะสามารถค้นหา Brand สินค้าได้ง่ายกว่านั้นเองค่ะ ตุ๊ก - “รูปใน Facebook ซูมได้” กลุ่มนี้มองว่า พวกเค้าชอบที่จะดูรูปไปด้วย และซูมดูรายละเอียดของสินค้าที่ กำ�ลังช้อปปิ้งอยู่ได้เพิ่มมากขึ้น ในส่วนนี้จริงๆแล้วใน Instagram ก็สามารถทำ�ได้เช่นกันนะคะ แต่ทั้งนี้อย่างที่ได้ กล่าวไปในช่วงแรกว่า นักช้อปกลุ่มนี้มองว่า Facebook มีทุกอย่างที่เค้าต้องการครบอยู่แล้ว จึงไม่ได้ต้องการที่จะ ไปลองใช้ Application Instagram ค่ะ พลอย - “กด Like Page แล้วจะมี Page อื่นที่แนะนำ�ต่ออีกที” การที่นักช้อปกลุ่มนี้กดไลค์ Page ใน Facebook จะทำ�ให้เค้าได้รับการแนะนำ� Page ที่คล้ายๆกันเพิ่มเติม แต่ซึ่งตอนนี้ทาง Instagram ก็มีรูปแบบนี้แล้วเหมือนกันค่ะ >>> ในตอนนี้เราก็รู้กันแล้วนะค่ะว่า มีทั้งกลุ่มนักช้อปที่ชอบ ดูใน Instagram และ Facebook ทีนี้พลอยจะพา ทุกคนล้วงลึกลงไปอีกค่ะว่า แล้วเนื้อหาแบบไหนกันล่ะที่กลุ่มนักช้อปชอบดูในแต่ละช่องทาง


34 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ตุ๊ก - ผลจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เราพบว่านักช้อปที่มี อายุ 16-20 ปี, 21-25 ปี, และ 26-30 ปี เนื้อหาในส่วนแรกที่ทั้ง 3 กลุ่มนี้ชอบดูคือ คือรูปภาพค่ะ สำ�หรับรูปภาพที่นักช้อปชอบดูแบบแรกคือ รูปภาพ Presenter ค่ะ เนื่องจากเหล่านักช้อปรู้สึกว่า เมื่อสินค้าอยู่ที่ตัวคนจะทำ�ให้สินค้านั้นมีชีวิตชีวามากขึ้น ทำ�ให้รู้สึกอยาก ได้ อยากซื้อมากขึ้นค่ะ พลอย - และรูปภาพแบบที่สองที่นักช้อปชอบก็คือ รูปภาพ Macro หรือก็คือรูปภาพที่ถ่ายให้เห็นรายละเอียดของ สินค้าอย่างชัดเจน เห็นถึงเนื้อผ้าว่า หยาบ หนา หรือละเอียด ซึ่งรูปภาพแบบนี้เป็นรูปภาพที่แสดงรายละเอียดของ สินค้าได้ดีที่สุดค่ะ ตุ๊ก - และสุดท้ายค่ะ เป็นรูปภาพที่มี Influencer เป็นผู้สวมใส่สินค้าเหล่านั้นคือ ไม่ว่าจะเป็น ดารา หรือเหล่า Net Idol ต่างๆ ก็ตาม เพราะว่าบางคนจะมี Influencer ที่อยู่ในดวงใจอยู่แล้ว ก็เลยอยากจะใส่เสื้อผ้าในรูปแบบ เดียวกับคนที่พวกเค้าชอบค่ะ พลอย - ในส่วนของเนื้อหาที่เป็นข้อความใน Instagram จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าข้อความที่นักช้อปที่ทั้ง 3 กลุ่มนี้ชอบดูคือข้อความที่มีรายละเอียดสินค้า+ราคา และ ข้อความที่มีรายละเอียดสินค้า+ราคา #Hashtag เพื่อที่ เหล่านักช้อปจะได้สามารถกด #Hashtag และหาสินค้าที่ต้องการได้จาก #Hashtag เหล่านี้ โดยสามารถลิงค์ไปสู่ ร้านค้าอื่นๆ หรือสินค้าจากแหล่งอื่นๆที่นักช้อปต้องการค้นหานั่นเองค่ะ ตุ๊ก - หลังจากที่เราได้ทราบกันแล้วนะคะว่า เนื้อหาข้อมูลแบบไหนที่เหล่านักช้อปทั้ง 3 กลุ่มแรก ชอบจาก Instagram ทีนี้เรามาลองดูอีกมุมกันค่ะว่า นักช้อปกลุ่มสุดท้าย หรือกลุ่มอายุ 31 ปีขึ้นไป ชอบดูเนื้อหาอะไรใน Facebook กันบ้างค่ะ จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า เนื้อหาที่นักช้อปกลุ่มนี้ชอบคือ รูปภาพจาก Presenter ที่ ทำ�ให้รู้สึกว่าสินค้ามีชีวิตชีวา และน่าซื้อมากขึ้น และ อีกรูปแบบหนึ่งคือการ Review สินค้าผ่าน Facebook Live ที่ทำ�ให้รู้สึกมีความเชื่อมั่น หรือเชื่อใจในแบรนด์เหล่านั้นว่าไม่ได้หลอกลวงผู้บริโภคอีกด้วยค่ะ พลอย - หลังจากที่เราได้รู้ถึงช่องทาง Online และเนื้อหา ที่นักช้อปแต่ละกลุ่มชอบเลือกดูไปแล้วนะคะ แล้วเราควร ลงเนื้อหาของ Brand เราในช่วงเวลาไหนละคะ ตุ๊ก ตุ๊ก - สำ�หรับช่วงเวลาที่มีการใช้งาน Instagram มากที่สุด คือช่วงเวลา 5 โมงเย็น ถึง 4 ทุ่ม และวันที่คน Engage มากที่สุดคือ ช่วงเย็นวันศุกร์และวันเสาร์ค่ะ หรือช่วงไปปาร์ตี้ สังสรรค์ กินข้าวกัน พลอย - สำ�หรับช่วงเวลาที่คนมี Engage ใน Facebook มากที่สุดคือช่วงเวลา 4 โมงเย็น-2ทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงเวลา ที่คนเลิกงานแล้วอยู่ระหว่างทางกลับบ้านมีเวลาสำ�หรับเปิด Social ได้อย่างเต็มที่นั้นเองค่ะ และวันที่คน Engage มากที่สุดคือ วันพุธนั้นเนื่องจากเป็นช่วงกลางสัปดาห์ และวันที่มี Engage น้อยที่สุด คือวันเสาร์ เพราะคนส่วน ใหญ่จะใช้เวลากับกิจกรรมนอกบ้านจนไม่มีเวลาดูโซเชียล ตุ๊ก - เพราะฉะนั้นสำ�หรับเจ้าของแบรนด์หรือเจ้าของกิจการต่างๆ ที่มีสินค้าเป็นของตนเอง ก็จะต้องวิเคราะห์ให้ ดีก่อนนะคะว่ากลุ่มลูกค้าของเราเป็นกลุ่มไหน เพื่อที่จะได้เลือกเนื้อหาสำ�หรับสื่อสารไปสู่กลุ่มลูกค้าได้อย่างถูกช่อง ทางและเหมาะสมค่ะ ซึ่งก็จะเป็นผลดีต่อแบรนด์สินค้าของทุกท่านนั่นเองค่ะ พลอย - แต่อย่างที่เราบอกไปข้างต้นค่ะนักช้อปทุกกลุ่มชอบดูสินค้าแฟชั่นผ่านช่องทาง Online ก็จริง แต่ทำ�ไมนัก ช้อป 3 กลุ่มนี่ถึงยังชอบไปซื้อสินค้าที่หน้าร้านกันนะ ทั้งๆที่สามารถซื้อผ่านช่องทาง Online ได้ทันทีเลยด้วยซ้ำ� ตุ๊ก - นั่นก็เป็นเพราะว่านักช้อปเหล่านี้เคยเจอประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับการซื้อของ Online ไงล่ะคะพลอย จากการที่เราสัมภาษณ์นักช้อปสินค้าแฟชั่นมาเราพบว่า นักช้อปเหล่านี้จะมีความคาดหวังในการซื้อสินค้าแฟชั่น ทาง Online ว่า.. พลอย - “ให้คำ�แนะนำ�ลูกค้าได้” นักช้อปบอกว่า เค้าคาดหวังว่าหากเค้ามีข้อสงสัยใดเกี่ยวกับสินค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Size หรือรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับสินค้า ทางแม่ค้าจะสามารถตอบข้อสงสัยให้เค้าได้ ตุ๊ก - “แก้ไขปัญหาให้ได้” นักช้อปกล่าวไว้ว่า เมื่อเค้าซื้อสินค้ามาแล้ว หากมีปัญหาเกิดขึ้น เค้าก็คาดหวังไว้ว่า ทางแบรนด์จะให้ความช่วยเหลือ และแก้ปัญหาให้กับพวกเค้าได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าตุ๊กซื้อเสื้อผ้าจากแบรนด์ A เป็น เสื้อเชิ๊ตสีฟ้า แต่ปรากฎว่า สีที่ส่งมาเป็นสีชมพู ตุ๊กในฐานะนักช้อปก็คาดหวังว่า ทางแบรนด์จะช่วย Support ให้ สามารถส่งกลับไปเปลี่ยนกับทางแบรนด์ได้ พลอย - “ระบุรายละเอียดสินค้าชัดเจน” นักช้อปเค้าคาดหวังว่า เค้าจะได้อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าทุกอย่าง ไม่ ว่าจะเป็น Size ขนาด เนื้อผ้า หรือราคา จบภายในที่เดียว เพราะเค้าไม่ได้อยากที่จะทักแม่ค้าไปเพื่อถามรายละเอียด สินค้าเพิ่มเติม หากเค้าทักไปเค้าต้องการที่จะปิดการซื้อเลยค่ะ


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 35

ตุ๊ก - “สินค้าเหมือนที่ลงรูปไว้” ข้อนี้สำ�คัญมากนะคะ :) นักช้อปคาดหวังไว้ว่า สินค้าที่เค้าจะได้รับ จะมีลักษณะ เหมือนกับรูปภาพที่ทางแบรนด์ได้ลงภาพโฆษณาเอาไว้ค่ะ ไม่ใช่ว่าสวยแค่ในรูปภาพ แต่ของจริงกลับเป็นอีกแบบหนึ่ง ก็จะทำ�ให้ลูกค้าเกิดความผิดหวังขึ้นได้ค่ะ พลอย - “ได้สินค้าตรงตามเวลาที่กำ�หนด” แน่นอนค่ะเมื่อนักช้อปสั่งซื้อสินค้าทาง Online เค้าก็คาดหวังว่าจะได้รับ สินค้าเร็วที่สุด หรือได้รับสินค้าตรงตามกำ�หนดที่ตกลงกับทางแม่ค้าไว้นั้นเองค่ะ ตุ๊ก - “Update สินค้า อยู่ตลอด” เหล่านักช้อปชอบที่จะให้ร้านค้าหรือแบรนด์มีการอัพเดทสินค้า รุ่นใหม่ๆออกมา อยู่เสมอ เพื่อที่จะได้เข้าไปดูและช้อปสินค้าได้บ่อยๆ เป็นการตอบสนองความต้องการในการช้อปของพวกเค้านั่นเอง ค่ะ พลอย - ทั้งหมดนี่ก็คือสิ่งคาดหวังที่ทางนักช้อปคาดว่าจะได้รับเมื่อซื้อสินค้าทาง Online นั้นเองค่ะ แต่รู้มั้ยคะว่าเมื่อนักช้อปทั้งหลายซื้อสินค้าแฟชั่นในช่องทาง Online จริงๆ เค้าเจอประสบการณ์อะไรกัน ตุ๊ก - อย่างแรกเลยค่ะ “ตอบช้า” กลุ่มนักช้อป คาดหวังให้เจ้าของแบรนด์ หรือร้านค้าตอบกลับเค้ามาภายในวันนั้นๆ ที่นักช้อป หรือหากเค้าโอนเงินให้กับเจ้าของแบรนด์ เค้าก็มีความคาดหวังว่าจะมีการตอบกลับมาภายใน 1ชั่วโมง พลอย - “แม่ค้าพูดจาไม่ดี” นักช้อปหลายๆคนค่ะกลับพบว่าเมื่อทักแม่ค้าไป แม่ค้ากลับพูดจาไม่ดี ไม่มีใจรักบริการ ทำ�ให้นักช้อปเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีและไม่อยากซื้อสินค้าจากแบรนด์ๆนั้นอีกค่ะ ตุ๊ก - “ลงรายละเอียดไม่ครบ” เวลาที่เค้ากำ�ลังเลือกสินค้า แล้วถูกใจ แต่ปรากฎว่ามีข้อมูล ไม่ครบ จึงยังไม่ สามารถตัดสินใจซื้อได้เลย อาจจะต้องมีการแอดไลน์ไปถามข้อมูลเพิ่มเติมอีก จึงอาจสร้างความไม่พึงพอใจให้กับ พวกเค้าค่ะเนื่องจากเค้าจะรู้สึกถึงความยุ่งยาก พลอย - “สินค้าไม่เหมือนที่คิดไว้” เมื่อได้รับสินค้าแล้วนักช้อปกลับพบว่าสินค้าที่ได้รับเนี้ยมันไม่ตรงกับที่เค้าเห็นใน โลก Online เนื่องจากหลายๆแบรนด์ก็จะมีการตกแต่งรูปภาพเพื่อให้สินค้าดูน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งการดูสินค้าผ่านมือ ถือแค่คนละระบบ IOS/Android สีรูปภาพก็มีความแตกต่างกันแล้ว ตุ๊ก - “ได้ของช้า” ปัญหานี้อาจเกิดขึ้นได้จาก 2 ส่วนด้วยกันค่ะ ส่วนแรกคือ จากเจ้าของแบรนด์ที่มีการบริหาร จัดการล่าช้าไปหรืออีกส่วนคือ พวกการขนส่งต่างๆ อาทิ ไปรษณีย์ไทย ที่อาจมีปัญหาในการขนส่งเกิดขึ้น และ ทำ�ให้สินค้าไปถึงลูกค้าไม่ทันตามที่คาดหวังเอาไว้ พลอย - “ของหาย ส่งผิด แพ็คไม่ดี” ต่อเนื่องมาจากปัญหาได้รับของช้านะค่ะ นักช้อปก็ยังเจอว่าบางทีสินค้าที่สั่งไป มีการส่งผิด หรือไม่ก็สินค้าเสียหาย ตุ๊ก -ด้วยเหตุผลเหล่านี้เองค่ะที่ทำ�ให้นักช้อปสินค้าแฟชั่นทั้งหลายชื่นชอบที่จะมาซื้อสินค้าทางหน้าร้านมากกว่า พลอย - เพราะฉะนั้น สิ่งที่ร้านค้า Online ควรทำ� ทั้งหมด 5 ข้อดังนี้ (พูดสลับข้อกัน) ตุ๊ก -1.มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า เช่น การออกบูท ทำ�ให้เราได้เจอลูกค้า พบปะพูดคุยกัน พลอย -2.ตอบกลับลูกค้าเร็ว (เวลาตอบกลับ: สอบถามข้อมูล ภายใน 1 วัน, แจ้งโอนเงินภายใน 1 ชม.) ตุ๊ก -3.ลงรายละเอียดสินค้าชัดเจนครบถ้วน พลอย -4. มีการอัพเดทคอลเลคชั่นสม่ำ�เสมอ (อย่างน้อยคอลเลคชั่นเดือนละครั้ง) ตุ๊ก -5. คุณภาพมาตรฐานคงที่ พลอย - แต่สำ�หรับความเป็นจริงในปัจจุบันแล้ว พวกร้านค้า Online ต่างๆ ยังไม่สามารถทำ�ได้อย่างที่ควรจะเป็น จึงทำ�ให้กลุ่มลูกค้า หรือนักช้อป เกิด PAIN POINT และผิดหวังจากการช้อปออนไลน์ และทำ�ให้เค้าหันไปซื้อสินค้าจากหน้าร้านแทน แล้วเพราะอะไรกันล่ะ เค้าถึงชอบที่จะซื้อสินค้าจากหน้าร้าน? ตุ๊ก -จากการที่เราสัมภาษณ์นักช้อปที่ชอบซื้อสินค้าที่หน้าร้านมาเราพบว่า..... “ได้สัมผัส ได้ลอง ได้จับเนื้อ ผ้า” ทำ�ให้รู้ว่าเนื้อผ้าแบบนี้ เป็นแบบที่เราชอบรึเปล่า ซึ่งนักช้อปแต่ละคนก็จะมีความชอบเนื้อผ้าที่แตกต่างกันไปค่ะ พลอย - “ได้ของทันทีไม่ต้องรอรับจากไปรษณีย์” การที่ไปซื้อสินค้าที่หน้าร้านแน่นอนว่านักช้อปจะได้ของทันทีไม่ ต้องรอ และบางทียังพบว่ามีนักช้อปที่ไม่มีคนคอยรับของอยู่ที่บ้านด้วยค่ะ ตุ๊ก - “ได้เดิน Shopping ดูของไปเรื่อยๆ” ถือว่าเป็นความสุขอย่างหนึ่งของเหล่านักช้อปเลยนะคะ ได้เดินช้อป ปิ้งดูของซึ่งหากเจอที่ถูกใจก็สามารถช้อปได้เพิ่มอีกด้วยค่ะ พลอย - “ใช้บัตรเครดิตได้” การชำ�ระเงินด้วยบัตรเครดิตก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำ�ให้นักช้อปชอบซื้อของหน้าร้าน ค่ะ เพราะการซื้อของในโลก Online ส่วนใหญ่จะต้องชำ�ระเงินโดยการโอนเงินค่ะ ซึ่งนักช้อปหลายๆคนไม่อยากที่จะใช้เงินในส่วนนั้นแต่อยากจะใช้เงินผ่านบัตรเครดิตมากกว่า เนื่องจากไม่ต้องการใช้เงินสดจำ�นวนมากๆในครั้งเดียวค่ะ อีกอย่างการใช้ผ่านบัตรเครดิตมีสิทธิพิเศษต่างๆดึงดูดใจ จากทางธนาคารอีกด้วย


36 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ตุ๊ก - เป็นยังไงกันบ้างคะ เห็นอย่างนี้แล้วหลายๆ ท่านคงอยากที่จะเปิดหน้าร้านเป็นของตัวเองแล้วใช่มั้ยคะ ตุ๊ก เองก็เชื่อว่าการเปิดหน้าร้านเป็นของตัวเองก็เป็นเหมือนความฝันหรือเป้าหมายของใครหลายๆคนด้วยเช่นกันค่ะ แต่ อย่างที่เราทราบกันดีค่ะว่าการเปิดหน้าร้านจริงๆนั้นมันไม่ง่ายเลย พลอย - อย่างแรกเลยค่ะ การเปิดหน้าร้านเนี้ยจะต้องใช้เงินลงทุนและค่าใช้จ่ายสูงอีกด้วยค่ะ ตุ๊ก - ต้องมีสินค้าหลากหลายแบบ จำ�นวนมาก จะต้องมีสินค้าหลากหลายมากพอ ที่จะวางในร้านค่ะ รวมไป ถึงปริมาณ Stock ด้วยเช่นกันค่ะที่ต้องมีเพียงพอสำ�หรับตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เข้ามาจับจ่ายสินค้า ที่หน้าร้าน พลอย - การบริหารจัดการยุ่งยากค่ะ ไหนจะต้องวางแผนจัดวางสินค้า การตกแต่งร้าน เรื่องของการบริหารจัดการ Stock ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากเลยทีเดียว ตุ๊ก -ต้องหาพนักงานประจำ�หน้าร้าน นอกจากความยุ่งยากในเรื่องของการบริหารจัดการแล้ว การเปิดหน้าร้าน ยังต้องหาพนักงาน มาดูแลสินค้าในร้านของเราอีกด้วยค่ะ ซึ่งเรื่องคนก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยนะคะ ที่จะเจอพนักงานที่ ตั้งใจทำ�งาน และไว้วางใจได้ค่ะ พลอย - ด้วยเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลนี้เองที่ทำ�ให้ทางกลุ่มของเราสนใจร้าน Multi-Brand ที่เป็นเหมือนเครื่องมือ ทางการตลาดที่จะช่วยขยายช่องทางการขายและเติมเต็มช่องว่างของอุปสรรคในการเปิดหน้าร้านเป็นของตัวเองค่ะ ซึ่งในส่วนถัดไปจะขอเชิญคุณภูมิและคุณเจมาช่วยแนะนำ�ให้ทุกๆท่านรู้จักกับ Multi-Brand Store มากยิ่งขึ้นค่ะ

Presenter 3,4 MULTI-BRAND STORES PART เจ - สวัสดีค่ะ ดิชั้น นางสาวเจมินี่น์ เจนอารีวงศ์ หรือเรียกสั้นๆว่า เจ ก็ได้ค่ะ ปัจจุบันดำ�รงตำ�แหน่ง HR Supervisor บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำ�กัด ค่ะ ภูมิ - สวัสดีครับ ผม นายสุปภพ เอกคณานุวงศ์ หรือเรียกสั้นๆว่า ภูมิก็ได้ครับ ปัจจุบันเป็นนักศึกษาปริญญาโทในหลักสูตร 4+1 สาขาวิชาการตลาด อยู่ที่วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัย มหิดลครับ เจ - แล้วก่อนที่เราจะพาทุกท่านไปดูว่าร้าน Multi-brand จะช่วยขยายโอกาสทางการขายอย่างไร เรามาอธิบายให้ทุกท่านทราบก่อนค่ะว่า Multi-brand Store คืออะไร ภูมิ – กลุ่มของเราได้มีการค้นคว้าความหมายของ Multi-brand store จากหลายแหล่งข้อมูลด้วยกันครับ เริ่มต้นจากแหล่งแรกก่อน จาก Amsterdam Fashion Institute บอกว่า Multi-brand store คือร้านค้าที่เสนอ แบรนด์สินค้าแฟชั่นไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าไปจนถึงเครื่องประดับ หลากหลายแบรนด์ ไว้ในที่เดียว โดยอาจจะมีแบรนด์ ของทางร้านเองด้วย ครับ เจ - จาก Swedish School of Textiles กล่าวไว้ว่า Multi-brand store คือ ร้านค้าที่เป็น ศูนย์รวมสินค้าแฟชั่นหลากหลายแบรนด์ โดยมีสินค้าหลักเป็นเสื้อผ้าค่ะ ภูมิ - จาก ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำ�นวยการบริหารสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า Multi-brand store ในกลุ่มสินค้าแฟชั่น คือร้านค้าแฟชั่นที่เป็นศูนย์รวมของสินค้าแฟชั่นโดยที่แบรนด์ของร้านค้าเป็นตัวนำ�งแบรนด์ สินค้า เจ - จากคำ�นิยามของคำ�ว่า Multi-brand Store จากผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่มีประสบการณ์ทั้งหลายเราได้สรุปออกมาเป็นนิยามของคำ�ว่า Multi-brand Store ในความหมายของกลุ่มเรา ดังนี้ค่ะ “ห้างขนาดเล็กที่มีการรวบรวมสินค้าแฟชั่นจากโลก ออนไลน์ หลากหลายแบรนด์ไว้ในที่ที่เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า หรือเครื่องประดับ” นั่นเองค่ะ ภูมิ - ซึ่งจริงๆแล้ว Multi-brand Store ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นมาในประเทศไทยนะครับแต่เกิดขึ้นมานานแล้ว ในต่างประเทศครับ ยกตัวอย่างเช่น ร้าน Colette ครับเป็นร้าน Multi-brand สัญชาติฝรั่งเศสที่ ก่อมาตั้งแต่ปี 1997


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 37

เจ - มาดูอีกมุมหนึ่ง จากฝั่ง Asia กันดีกว่าค่ะ เช่นร้าน A-Land จากประเทศเกาหลี ที่ก่อมาตั้งแต่ปี 2005 ปัจจุบัน ปัจจุบันร้านนี้ก็อายุ 12 ปี แล้วค่ะ ภูมิ - ก่อนที่เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ Multi-brand Store ในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้น ว่ามีร้านอะไรกันบ้างนะ ครับ เรามี Clip VDO สั้นๆที่จะช่วยให้ทุกท่านได้เห็นถึงภาพบรรยากาศของ Multi-brand Store ใน ประเทศไทยกันก่อนครับ ขอเชิญรับชมได้เลยครับ CLIP 2 นาที ภูมิ - หลังจากที่ทุกท่านได้เห็นภาพบรรยากาศของ Multi-brand Store ไปแล้วเดี๋ยวเราจะพาทุกท่านมา ทำ�ความรู้จักกับ Multi-brand Store ในประเทศไทย ที่นักช้อปมีการพูดถึงมากที่สุด 3 อันดับ แรกนะครับ เจ - เรามาดูร้านแรกกันก่อนค่ะ ร้าน SOS (Sense of Style) ซึ่งร้านนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2015 แล้วค่ะ ซึ่งในปัจจุบันนี้ มีทั้งหมด 5 สาขาแล้วค่ะ นอกจากนี้ SOS ยังได้มีการขยายแบรนด์ลูก หรือ Sub-brand ที่ชื่อว่า Sense by SOS ด้วยอีก 2 สาขาค่ะ โดยปัจจุบัน มีแบรนด์สินค้าภายใต้ร้านทั้งหมดกว่า 300 แบรนด์แล้วค่ะ ภูมิ - Multi-brand store ร้านที่สองนั้นก็คือร้าน CAMP นั้นเองครับ เป็นร้านที่ก่อตั้งมาเมื่อปี 2016 ที่ผ่านมานี่เองครับโดยมีการเปิดสาขาแรกที่สยามและปัจจุบันมีการขยายสาขาที่สอง ที่เมกะบางนาครับ โดยมีแบรนด์สินค้าภายใต้ร้าน CAMP กว่า 150 แบรนด์ครับ เจ - และร้านสุดท้ายนะคะ ร้าน MATCHBOX ค่ะ ก่อตั้งมาเมื่อปี 2016 เหมือนกับร้าน CAMP ค่ะ ปัจจุบันนี้มีทั้งหมด 2 สาขาแล้วค่ะ โดยสาขาล่าสุดเพิ่งเปิดล่าสุดเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้เองค่ะ ภูมิ - หลังจากที่เรารู้จักกับ Multi-brand Store ในประเทศไทย กันไปบ้างแล้ว ถัดมาจึงอยากให้ทุกท่าน เห็นภาพกว้างๆ ครับ ว่าตอนนี้ ในประเทศไทยมีร้านแบบนี้ทั้งหมดกี่ร้านแล้ว และเติบโต รวดเร็วมากเพียงใด โดย Multi-brand Store ในยุคแรกๆนะครับก็คือร้าน The wonder room ที่ก่อตั้งในปี 2013 ครับ ในปีถัดมาก็ได้มี Multi-brand Store ที่มี concept ชัดเจนในการรวบรวม สินค้าแฟชั่นจากโลก ออนไลน์ เกิดขึ้นมาครับนั้นก็คือร้าน HOF นั้นเองครับ และในปีถัดมาครับ ปี 2015 ซึ่งถือเป็นปีที่ Multi-brand Store เริ่มได้รับความนิยมและถูกรู้จักในวงกว้างในปีนี้ก็ได้ มี Multi-brand Store เกิดขึ้นมาอีก 2 ร้านครับนั้นก็คือ ร้าน SOS และ ร้าน FABLAB นั้นเองครับ เจ - และในปี 2016 ที่ผ่านมานี่เองค่ะ ถือว่าเป็นปีที่มี Multi-brand Store เกิดขึ้นเยอะอย่างก้าวกระโดด เลยค่ะ เป็น 2 เท่าจากปีก่อนหน้านี้เลยค่ะ เจ - ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า คนกลุ่มไหนกันนะ ที่เป็นลูกค้าหลักของ Multi-brand Store กัน จากผลการสำ�รวจ จากกลุ่มตัวอย่าง 415 ชุด มีกลุ่มตัวอย่างที่เคยซื้อสินค้าใน Multi-brand Store 225 คน หรือคิดเป็น 54.2% ค่ะ โดยพวกเราพบว่ากลุ่มนักช้อปที่ซื้อสินค้าใน Multi-brand Store เหล่านี้มาก ที่สุด คือกลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 26-30 ปีค่ะ รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักช้อปอายุ 16-20 ปี และ 21-25 ปีค่ะ ภูมิ - ส่วนกลุ่มนักช้อปอายุตั้งแต่ 31 ปีขึ้นไปเราพบว่ามีสัดส่วนที่น้อยที่สุดครับ ทั้งนี้ก็สอดคล้องกับผลงานวิจัยในช่วงต้นนะครับ ที่กล่าวว่ากลุ่มนักช้อปอายุตั้งแต่ 31 ปีขึ้นไปชอบที่จะซื้อของใน ช่องทาง ออนไลน์ มากกว่านั้นเองครับ ภูมิ – ต่อมา พวกเรามาดูกันดีกว่าครับว่า นักช้อปแต่ละกลุ่มเค้ามีทัศนคติหรือมุมมองเกี่ยวร้าน Multi-brand Store เหล่านี้ว่าอย่างไรบ้าง เริ่มที่กลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 16-20 ปี กันก่อนนะครับ นักช้อปกลุ่มนี้ก็คือน้องๆวัยเรียนที่ยังมีรายได้ไม่สูงนักครับ เค้าจึงมองว่าสินค้าในร้านจะ ค่อนข้างมีราคาสูง และเค้าก็ไม่ได้รู้จักแบรนด์ที่อยู่ในร้านมากนัก นอกจากนี้เค้ายังมองว่าสินค้าในร้านจะดู หรูหราไม่เหมาะกับที่เค้าจะใส่ในชีวิตประจำ�วันแต่จะเหมาะสำ�หรับใส่ไปออกงานหรือโอกาส พิเศษต่างๆ มากกว่า ดังนั้นครับ นักช้อปกลุ่มนี้เค้าจะเข้าไปเลือกซื้อสินค้าในร้าน Multi-brand Store เมื่อเค้าต้องการหาชุดไปออกงานหรือโอกาสพิเศษต่างๆ เพราะแต่เดิมหากเค้าจะต้องหา ชุดพิเศษเค้าจะต้องไปตามร้านที่สั่งตัดชุดต่างๆ แต่ในปัจจุบันเค้าเลือกที่จะมาเลือกซื้อสินค้าใน ร้าน Multi-brand store เหล่านี้ครับ เจ - สำ�หรับกลุ่มถัดมานะคะ กลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 21-25 ปี กลุ่มนี้ก็คือกลุ่มที่เพิ่งเริ่มชีวิตการทำ�งาน ไม่นานมากนักค่ะ หรือ เป็นกลุ่ม First Jobber นั่นเอง สำ�หรับกลุ่มนี้จะเริ่มมีรายได้เป็นของ ตัวเองแล้วค่ะ ซึ่งพวกเค้ามองว่า สินค้าในร้านมีราคาค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบกับคุณภาพแล้ว


38 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

เค้ามองว่าเหมาะสม และนอกจากนี้นะคะ เค้ายังมองว่า ชุดส่วนใหญ่ในร้านนี้ จะเป็นชุดที่ เหมาะสำ�หรับใส่ไปออกงานค่ะ ดังนั้นส่วนใหญ่เวลาที่เค้าจะต้องไปออกงาน เช่น งานแต่ง หรืองานพิเศษต่างๆ ก็จะเลือกช้อปที่ร้านเหล่านี้ค่ะ ภูมิ - สำ�หรับนักช้อปกลุ่มที่มีอายุ 26-30 ปี และ ตั้งแต่ 31 ปีขึ้นไป จะมีมุมมองที่เหมือนๆกันครับ นั้นก็คือ เค้ามองว่าสินค้าในร้าน Multi-brand store จะราคาสูงกว่าพวกสินค้าแบรนด์ ZARA, H&M แต่เค้าก็มองว่าคุณภาพก็ดีกว่า เพราะ ZARA, H&M จะผลิตเสื้อผ้าเป็นล็อตใหญ่ๆ แต่ใน Multi- brand store จะผลิตในจำ�นวนที่น้อยกว่า ดังนั้นเค้าจึงมองว่าสินค้าจาก Multi-brand store ราคาสูงก็จริงแต่ก็เหมาะสมกับคุณภาพครับ ซึ่งในเวลาทำ�งานเค้าจะเลือกใส่เสื้อผ้าจาก ZARA, H&M หรือ Uniqlo แต่เมื่อเวลาวันหยุดหรือเวลาที่เค้าไปท่องเที่ยวเค้าจะเลือกใส่เสื้อผ้าจาก Multibrand store นั้นเองครับ เจ – นอกจากนี้นะคะ เหล่านักช้อปกลุ่มนี้ยังมองว่า เสื้อผ้าหรือสินค้าที่พวกเค้าซื้อจาก Multi- brand store ยังสามารถขายต่อได้อีกด้วยค่ะ เนื่องจากเป็นเรื่องปกติใช่มั้ยคะ ที่เวลาเราซื้อเสื้อผ้ามาแล้ว บางทีก็เบื่อ และอยากได้ชุดใหม่ เราก็สามารถนำ�ชุดที่เราซื้อมาแล้ว ไปขายต่อใน Social Media เช่น FB, IG ได้ค่ะ จะมีกรุ๊ปและเพจที่คอยรับซื้อสินค้ามือสองของกลุ่มเหล่านี้อยู่แล้วค่ะ เจ - เราได้ฟังมุมมองของนักช้อปในแต่ละกลุ่มกันไปแล้วนะคะ เรามาดูกันต่อดีกว่าค่ะ ว่า นักช้อปเหล่านี้เค้าเข้าไปดูสินค้าใน Multi-brand Store เพราะอะไร.. มาดูที่กลุ่มแรกกันก่อนเลย สำ�หรับกลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 16-20 ปี เข้าไปดูสินค้าใน Multi-brand Store เพราะ Concept ของร้าน Multi-brand Store ค่ะ เค้าเลือกที่จะเข้า Multi-brand Store ที่มี Concept ตรงกับตัวเค้า ค่ะ หรือมี style เสื้อผ้า ที่เป็น Style การแต่งกายในแบบ ของเค้าจริงๆ เพื่อแสดงความเป็นตัวตนของพวกเค้าเองค่ะ ภูมิ - กลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 21-25 ปี 26-30 ปี และอายุ 31 ปีขึ้นไป เค้าเข้า Multi-brand store เหล่านี้เพราะว่าเค้าตามแบรนด์สินค้ามาจากสื่อ ออนไลน์ โดยนักช้อปเหล่านี้ครับจะมีการดูสินค้า ในโลก ออนไลน์ ก่อนถ้าชอบสินค้าตัวไหน เค้าจะ cap รูปหน้าจอไว้ครับ แล้วพอมาถึงที่ร้านก็ จะเปิดรูปที่ cap ไว้ให้พนักงานที่ร้านดู ดังนั้นครับจะเห็นได้ว่า การสื่อสารกับนักช้อปในสื่อ ออนไลน์ ก็ยังมีความสำ�คัญอยู่มากเลยทีเดียว ดังนั้นผู้ประกอบการทั้งหลายที่วางแผนอยากจะนำ� สินค้าเข้าไปวางขายใน Multi-brand store ก็จำ�เป็นทีจะต้องให้ความสำ�คัญกับการสื่อสารผ่าน ช่องทาง ออนไลน์ อยู่เช่นเดิม นอกจากนี้เรายังควรจะมั่นใจว่าพนักงานของ Multi-brand store ร้านที่เราวางขายสินค้าจะสามารถแนะนำ�นักช้อปที่ต้องการมาซื้อสินค้าของเราได้ด้วยนั้นเองครับ เล่นเกมส์ เจ –และก็กลับเข้าสู่ช่วงกิจกรรมพิเศษ กันอีกครั้งนึงนะค้าาาา เมื่อรู้แล้วว่านักช้อปเหล่านี้เข้าไปดูสินค้าเพราะอะไร ทีนี้ เรามาทายกันดีกว่าค่ะว่า พวกเค้าเหล่านี้เข้าไปช้อปหรือซื้อสินค้าใน Multi-brand Store เพราะอะไร ...... ภูมิ – ข้อ 1 คุณภาพ ข้อ 2 ถูกใจ และข้อ 3 พอใจราคา พร้อมแล้วววววว ยกครับ!! เฉลยก็คือ ปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดให้นักช้อปซื้อสินค้า นั่นก็คือ Design หรือ รูปแบบของสินค้า นั่นเองคร้าบบบบบ เพราะอะไรกันนะครับ เจ เจ – ปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดคือ Design เพราะว่า กลุ่มนักช้อปจะเลือกรูปแบบหรือ Design ที่เป็น Style ของเค้า จริงๆ ค่ะ เพื่อเป็นการตอกย้ำ�ตัวตนของเค้าค่ะ ซึ่งปัจจัยนี้เป็นปัจจัยหลักเลย (ไม่ใช่เรื่องของราคา หรือ คุณภาพ) เจ - หลังจากที่เราได้มีการไปเก็บข้อมูล เราได้ค้นพบพฤติกรรมที่น่าใจจากกลุ่มนักช้อปที่ซื้อของที่ร้าน Multi-Brand ว่า “วางแผนไว้ก่อนละว่าจะซื้ออะไรบ้าง แต่พอไปถึงหน้าร้านจริงๆ ซื้อ มากกว่าที่คิดไว้ตลอดเลย” ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเจตั้งใจเข้าไปซื้อแบรนด์สินค้า A ค่ะ แต่ปรากฎ ว่า เมื่อเข้าไปที่ร้านแล้ว ซื้อแบรนด์ A เสร็จแล้ว แต่ข้างๆ ที่เป็นแบรนด์ B เสื้อผ้าก็สวย ดีไซน์ ถูกใจ เจก็ได้เพิ่มมาอีกตัว แบบไม่ได้ตั้งใจเฉยเลยค่ะ ภูมิ - พฤติกรรมที่น่าใจที่พบอีกแบบก็คือ “พอไปดูสินค้าที่หน้าร้าน เจอสินค้าแบรนด์อื่นที่น่าสนใจ กลับมา Follow แบรนด์นั้นต่อใน Instagram” ต่อเนื่องมาจากพฤติกรรมเมื่อกี้เลยครับ บางครั้ง ถ้านักช้อปเห็นสินค้าแบรนด์อื่นแล้วสนใจ ถึงแม้เค้าจะไม่ได้ซื้อทันที แต่เค้าก็ยังจะจำ�แบรนด์ที่ เค้าสนใจไว้แล้วกลับไปFollow แบรนด์นั้นต่อใน Instagram นั้นเองครับ


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 39

เจ - และจากการสัมภาษณ์ยังพบอีกว่า “พอซื้อแบรนด์นี้ที่หน้าร้านแล้วพอใจ ต่อไปเวลาจะซื้อ แบรนด์เดิม ก็กล้าที่จะซื้อ ออนไลน์” ยกตัวอย่างเมื่อสักครู่ที่เจบังเอิญซื้อแบรนด์ B ครั้งแรกที่ หน้าร้าน Multi-Brand ในอนาคต เจก็กล้าที่จะซื้อแบรนด์ B ในช่องทางออนไลน์ค่ะ เล่นเกมส์ ภูมิ - ที่นี้เราก็มีกิจกรรมพิเศษมาให้ทุกท่านร่วมสนุกกันนะครับ เราอยากให้ทุกท่านลองทายดูครับว่าสินค้าที่ นักช้อปนิยมซื้อจาก Multi-brand Store มากที่สุดคือสินค้าอะไรครับ…. เฉลย….เสื้อ เจ – มาดูเฉลยกันดีกว่าค่ะว่าทำ�ไม เสื้อถึงเป็นเสื้อผ้าชิ้นที่ ซื้อบ่อยที่สุด … นั่นก็เพราะว่า อันดับแรกค่ะ ผู้หญิงอย่างเราๆ เนี่ยไม่ชอบใส่เสื้อซ้ำ� เพราะกลัวคนจำ�ได้ค่ะ เพราะว่าเสื้อเนี่ย เป็นเสื้อผ้าชิ้นที่คนจำ�ได้มากที่สุด หากใส่ซ้ำ� เพื่อนก็จะนึกออกขึ้นมาทันทีเลยค่ะ เหล่านักช้อปจึงเลือกช้อปเสื้อผ้าชิ้นนี้มากที่สุดนั่นเองค่ะ ภูมิ - นอกจากนี้นะครับ เค้ายังเลือกซื้อเพราะว่าจะได้ ไปเข้ากับชุดอื่นได้ง่ายที่สุดค่ะ สามารถไป Mix & Match กับชุดที่เค้ามีอยู่ได้ง่ายด้วยครับ เจ - และสุดท้ายค่ะ พวกเค้ามองว่า ราคาของเสื้อถูกกว่า สินค้าอื่นๆ เช่น กางเกง กระเป๋า รองเท้า เป็นต้นค่ะ เลยซื้อเสื้อได้บ่อยกว่า สินค้าแบบอื่นๆ ค่ะ ภูมิ - ในส่วนถัดมา ภูมิก็อยากจะเล่าให้ทุกท่านเห็นรายละเอียดมากขึ้น เพื่อช่วยให้ทุกท่านสามารถตัดสินใจได้ง่าย ยิ่งขึ้นว่าจะเข้า Multi-brand Store หรือไม่ครับ นั่นก็คือค่าใช้จ่ายและเงื่อนไขในการเข้า Multi-brand Store ครับ เจ - อันดับแรกคือ เรื่องค่าเช่าพื้นที่ค่ะ เกณฑ์หลักๆ สำ�หรับค่าเช่าพื้นที่นั้น มีทั้งหมด 3 รูปแบบด้วยกัน ค่ะ แบบแรกคือ เก็บเพียงแค่ค่าเช่าพื้นที่อย่างเดียวค่ะ ซึ่งหลักๆ แล้วราคาจะอยู่ในช่วง 10,000 – 30,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละ Location ด้วยเช่นกันนะคะ และในแบบที่สอง คือ เก็บค่า GP% (Gross Profit) สำ�หรับสินค้าที่แบรนด์สามารถขายได้ ซึ่งเกณฑ์ของแต่ละร้านก็จะมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสินค้าด้วยเช่นกันค่ะ และแบบสุดท้ายคือ มีทั้ง ค่าเช่าพื้นที่และGP% ซึ่งในแบบสุดท้ายนี้ ค่า GP ก็จะไม่สูงมากนัก เป็นเพียงแค่การจ่ายค่าบริหารจัดการเท่านั้นเองค่ะ ภูมิ - อันดับถัดมาคือ ระยะสัญญาครับ โดยหลักๆ แล้วจะมีทั้งหมด 3 แบบด้วยกัน ได้แก่ 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี ซึ่งหากระยะสัญญายิ่งยาว ราคาค่าใช้จ่ายต่อเดือนก็จะยิ่งถูกลงครับ เจ - ถัดมาค่ะ สำ�หรับขนาดราวภายในร้านใน Multi-brand Store ความกว้างประมาณ 1 เมตรค่ะ โดยในพื้นที่ที่แบรนด์ของเราเช่า สามารถตกแต่งพื้นที่ของตนเองได้ด้วยนะคะ แต่ทั้งนี้ต้องขออนุญาตจากเจ้าของ Multi-brand ด้วยเช่นกันนะคะ โดยยังคงอยู่ใน Concept ของร้านเหล่านั้นด้วยนะคะ ภูมิ - ในส่วนของการชำ�ระเงิน หากลูกค้าต้องการชำ�ระผ่านบัตรเครดิต ทางเจ้าของแบรนด์จะต้อง รับผิดชอบค่าธรรมเนียมในส่วนนี้เองครับ สำ�หรับการทำ� Sales promotion หากทางแบรนด์ต้องการทำ�สามารถ ทำ�ได้ตามความต้องการ แต่ถ้าเป็น Promotion ที่ทางร้านจัดทำ�ขึ้น ทางแบรนด์สามารถเลือกที่จะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมได้ครับ เจ – หลังจากที่ทุกท่านได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับ Multi-brand Store มาพอสมควรแล้วนะคะ ในตอนนี้ทางเจและภูมิ ก็อยากที่จะแชร์ถึง ข้อแนะนำ� และ ข้อควรระวังสำ�หรับผู้ประกอบการ หรือเจ้าของแบรนด์ที่ตัดสินใจอยากจะเข้าสู่โลกของ Multi-brand แล้วค่ะ ภูมิ - ข้อที่ควรจะทำ�ข้อแรก คืออะไรครับเจ เจ – อันดับแรกก่อนเลยนะคะ สินค้าต้องมีเอกลักษณ์ และมีความแตกต่าง ค่ะ เจขออนุญาตยกตัวอย่างจาก Case Trooper ซึ่งเป็นแบรนด์กระเป๋าที่มี Style โดดเด่นไม่ซ้ำ�ใคร ค่ะ เป็นกระเป๋าเป้ ที่มีสีสันโดดเด่น และการออกแบบที่ไม่เหมือนกับเจ้าอื่นๆ ทั่วไปค่ะ และตัวอย่างอีก 1 Case นะคะ ก็คือ สินค้าเครื่องประดับ หรือ Jewelry ค่ะ จากร้าน Dallar ค่ะ ที่เจ้าของ ออกแบบสินค้าเอง และบริหารทุกอย่างด้วยตนเองจากต้นจนจบเลยค่ะ จากการที่เจ้าของแบรนด์เป็นผู้ออกแบบสินค้าเองในทุกๆ แบบ จึงเป็นการตอกย้ำ�ความ เป็นเอกลักษณ์ และมีความแตกต่างไม่ซ้ำ�ใคร ของสินค้านั่นเองค่ะ ซึ่งในช่วงหลังเบรคนี้ เราจะได้มาสนทนากับเจ้าของแบรนด์ทั้ง 2 นี้เชิงลึกในช่วงเสวนาค่ะ


40 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ภูมิ - ข้อ 2 ครับ สินค้าที่จะนำ�ไปวางขายในร้าน Multi-brand Store ควรจะเป็นสินค้าที่มีคุณภาพในระดับที่เหนือกว่าแบรนด์แฟชั่นระดับโลกอย่างเช่น Zara และ H&M ครับเพราะ อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่านักช้อปเค้ามีความคาดหวังว่าสินค้าใน Multi-brand Store จะมีคุณภาพเหนือกว่า Zara และ H&M ดังนั​ั้นเจ้าของแบรนด์ทุกท่านก็จำ�เป็นต้องคำ�นึงถึงเรื่องของคุณภาพเพื่อจะได้สามารถตอบสนอง ความคาดหวังของเหล่านักช้อปได้นั้นเองครับ เจ – ข้อ3 ออกแบบสินค้ารุ่นใหม่ๆ แบบใหม่ๆ อย่างสม่ำ�เสมอ เจขออนุญาตยกตัวอย่างจาก Case Lookbook :) ค่ะ Lookbook เป็นแบรนด์ที่มีจุดเริ่มต้นจากโลก ออนไลน์ เช่นเดียวกันกับหลายๆ ที่ ค่ะ แต่จุดที่ทำ�ให้เค้าโดดเด่นมากกว่าเจ้าอื่นๆก็เพราะว่า เค้ามีการออก Collection ใหม่อย่าง สม่ำ�เสมอค่ะ โดยเฉลี่ยแล้วจะออก Collection ใหม่ ทุกๆ 2 อาทิตย์ค่ะ แต่ไม่พอเพียงเท่านั้นค่ะ เค้ายังมีการออก Special Collection หรือ Surprise Collection อยู่เรื่อยๆ โดยไม่ให้ลูกค้าตั้งตัวค่ะ ซึ่งในส่วนนี้ ถือเป็นการตอบสนองความต้องการของกลุ่มนักช้อป ที่ชอบการอัพเดทสินค้าอยู่เสมอๆ นั่นเองค่ะ ภูมิ - ข้อ 4 ทำ�แบรนด์ให้เป็นที่จดจำ�ได้ จาก ออนไลน์ ก่อน เนื่องจากเหล่านักช้อปจะเข้ามาเลือกดูสินค้าใน Multi-brand Store ก็เพราะว่าเค้าตามแบรนด์มาจากโลก ออนไลน์ ดังนั้นเราควรที่จะทำ�แบรนด์ของเราให้เป็นที่จดจำ�ในโลก ออนไลน์ ก่อนนั้นเองครับ ยกตัวอย่างเช่น ร้าน Lavanetta ซึ่งมีการทำ�แบรนด์ในโลก ออนไลน์ มาก่อน 2 ปี จนมีฐานลูกค้าในระดับนึง และจึงตัดสินใจเข้า Multi-brand Store ในเวลาต่อมาครับ เจ – ข้อแนะนำ�ส่วนถัดมา นั่นก็คือเรื่อง กำ�ลังการผลิตสินค้าเข้าร้านค้าต้องเพียงพอ สำ�หรับข้อนี้นะคะ จะต้องเป็นข้อที่ควร ระมัดระวังมากๆ ค่ะ เพราะว่าการเข้าไปขายใน Multi-brand ก็คือการเพิ่มช่องทางการขาย ดังนั้น กำ�ลังการผลิตจะต้องเพียงพอ กับความต้องการของลูกค้า ทั้งจากฝั่ง ออนไลน์ และฝั่งหน้าร้านด้วยเช่นกันค่ะ ภูมิ - และสุดท้ายครับก่อนที่เราจะเข้าร้าน Multi-brand Store เราก็ควรที่จะ มีการจัดทำ�บัญชีและ เงินทุนหมุนเวียนเพื่อกันความเสี่ยงในการทำ�ธุรกิจนั้นเองครับ ภูมิ - หลังจากที่เรารู้แล้วว่า สิ่งที่ควรจะทำ� มีอะไรบ้าง ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าครับว่า มีข้อควรระวังอะไรบ้างหากท่านต้องการจะนำ�สินค้าไปวางขายใน Multi-brand Store เจ - ข้อแรกค่ะ เจ้าของแบรนด์จะต้องระวังเรื่อง Concept ของร้าน ว่าเหมาะกับสินค้าของเราหรือไม่ค่ะ เราจะต้องเลือกร้านที่มี Concept ตรงกับ Brand หรือ สินค้าของเราค่ะ ถ้าไม่ตรงกัน เราก็ไม่มีความจำ�เป็นที่จะต้องเข้าไปวางขาย เพราะไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ของเราค่ะ นั่นเองค่ะ ภูมิ - ห้ามคิดว่าเข้า Multi-Brand Store แล้วจะไม่ทำ�ฝั่ง ออนไลน์ เพราะอย่างที่กล่าวไปครับว่านักช้อปทั้งหลายจะตามแบรนด์มาจากโลก ออนไลน์ ดังนั้นเจ้าของอบรนด์ทุกท่านก็ ควรที่จะให้ความสำ�คัญทั้งฝั่ง ออนไลน์ และ หน้าร้านในสัดส่วนที่เท่าๆกันครับ เจ – หลังจากที่พูมและเจ ได้เล่าให้ทุกท่านฟัง เกี่ยวกับรายละเอียดเพื่อช่วยให้เจ้าของกิจการ หรือ เจ้าของแบรนด์ทุกท่านให้ตัดสินใจง่ายขึ้น ว่าจะเข้า หรือไม่เข้า Multi-Brand Store ดีกันนะ ที่นี้ค่ะ สำ�หรับผู้ที่ตัดสินใจแล้วว่า อยากจะเข้า Multi-Brand พวกเราก็มีเคล็ดลับเพิ่มเติม สำ�หรับ การทำ�แบรนด์ของเราให้โดดเด่นใน Multi-Brand ที่มีสินค้ามากมาย หลากหลาย รูปแบบด้วยกันค่ะ ขอเชิญทุกท่าน เข้าสู่ช่วงพิเศษ ช่วงถัดไป จาก Presenter อีกท่านได้เลยค่ะ


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 41

Presenter 5 TIPS PART สวัสดีค่ะ ดิฉัน พบยินดี พุดซ้อน เรียกสั้นๆว่า ตอง ปัจจุบันทำ�งานเป็น Visual Merchandiser ให้กับ แบรนด์แฟชั่นค่ะ วันนี้ตองจะมาเสนอ Tips ปังๆ ทำ�อย่างไรให้โดนใจลูกค้า เมื่อเรากำ�ลังจะได้เข้าไปอยู่ใน Multibrand stores แล้วเราจะทำ�อย่างไรดีให้สินค้าเราดูน่าสนใจและดึงดูดใจค่ะ ขั้นแรก คือเราต้องมี Product ของเราค่ะ ซึ่งProduct ที่เรามีควรมี อย่างแรกคือ สินค้าที่ผู้บริโภคตั้งใจซื้อ เป็น สินค้าที่ลูกค้าอยากได้มากกก ตามแฟชั่น นำ�เทรนด์สุดๆ แล้วต้องมีแค่แบรนด์เราแบรนด์เดียวเท่านั้นที่มีสินค้านี้ ลูกค้าต้องมาซื้อของเรา เดินตรงเข้ามาซื้อของเราโดยเฉพาะ อาจจะเปิดจาก instagram แล้วถามจากพนักงานเลย ค่ะ ว่าอยากได้ตัวนี้ สีนี้ แบบนี้ เพราะฉะนั้นสินค้าประเภทนี้ควรมีติดราวไว้ ประมาณ 2-3 แบบ พอกรุ้มกริ่มเป็น จุดเด่นของแบรนด์ สื่อถึงเอกลักษณ์ของแบรนด์ได้อย่างชัดเจนค่ะ ราคาจะสูงกว่าตัวอื่นๆ เรียกได้ว่าเป็นตัวชูโรงค่ะ มาถึงสินค้าประเภทที่ 2 คือ สินค้าที่อยากซื้อ สินค้าประเภทนี้ เป็นสินค้าที่ไม่ได้ตามแฟชั่นมากนัก แต่ก็ไม่ ได้ตกเทรนด์ เป็นสินค้าที่ใส่ในชีวิตประจำ�วันได้ ไม่ฟู่ฟ่าอลังการ ราคาจะอยู่ที่ระดับกลางๆ เป็นตัวทำ�กำ�ไร สินค้า ประเภทนี้ ควรมีมากที่สุด เพราะลูกค้าที่ไม่ได้ตั้งใจจะมาซื้อแบรนด์เรา อาจจะเห็นได้โดยไม่ตั้งใจและเลือกซื้อก็เป็นได้ ถัดมาค่ะ คือสินค้าประเภทสินค้าซื้อง่าย สินค้าประเภทนี้คือสินค้าราคาถูกกก ในราคาไม่เกิน 300 บาท ซื้อ ง่ายจ่ายคล่อง ถ้าเป็นในแบรนด์เสื้อผ้าก็เป็นพวกเสื้อยืด ถ้าเป็นแบรนด์กระเป๋าก็จะเป็นพวกกระเป๋าใส่เศษเหรียญ เป็นสินค้าที่อยู่ในชีวิตประจำ�วัน ใช้ได้ตลอด เปลี่ยนง่าย ซื้อบ่อย มาถึงประเภทสุดท้ายคือ สินค้าลดราคา โดยรวมแล้ว เราควรมีสินค้าที่จัดโปรโมชั่นอยู่ในราวบ้าง พอที่จะ เรียกลูกค้าได้บ้าง ถ้าไม่ใช่ช่วง season sale ก็อาจจะเป็น ลดราคา 10 %สำ�หรับนักเรียน นักศึกษา เป็นต้นค่ะ ถัดมานะคะ เมื่อมีโอกาสได้เข้าไปใน Mutibrand stores แล้วเนี่ย เราจะเลือกทำ�เล เลือกราวส่วนไหน ถึงจะดีที่สุด ตองก็มี เคล็ดลับ มาบอกค่ะ มาเริ่มเดินตามตองกันไปเลยค่ะ เริ่มจากหน้าร้านนะคะ แน่นอนค่ะว่า หน้าร้านจะเป็น สิ่งที่ลูกค้าเห็นเป็นอันดับแรก ตามร้านค้าทั่วไปเนี่ย เค้าจะใช้ ตู้กระจกเป็นตัวสื่อสารและบอกเล่าตัวตนของแบรนด์ ค่ะ แต่ถ้าเป็น Mutibrand stores พื้นที่ตรงนี้ก็เป็นพื้นที่เช่าเช่นกันค่ะ ซึ่งถ้าเราได้ที่ตรงนี้ เราจะได้ลูกค้าที่เห็นทั้งหน้า ร้านและในร้าน เราก็ควรจะโชว์สินค้าของเราให้ลูกค้าเห็นจากภายนอกด้วย โดยอาจจะติดเป็นป้าย หรือการแขวนที่ มองเห็นได้จากทางนอกร้านเลยค่ะ พอลูกค้าเดินเข้าร้าน ทุกท่านทราบไหมคะว่า ลูกค้าส่วนใหญ่เนี่ย เค้าจะวนทางซ้ายค่ะ เพราะฉะนั้นทำ�เลทองของเรา ก็จะอยู่ที่ราวทางซ้ายมือนั่นเองค่ะ จุดที่ลูกค้าจะเห็นมากที่สุดคือจุดที่ตรงประตูทางเข้า และตามทางเดิน นั่นก็คือจุดทางซ้ายมือค่ะ ถือว่าเป็นทำ�เลทอง เลยทีเดียว ถ้าพื้นที่เช่าส่วนนั้นว่าง ขอบอกเลยค่ะว่าควรรีบจับจองที่สุด และอีกจุดหนึ่งที่สำ�คัญไม่แพ้กันนะคะ คือ จุดชำ�ระเงินของลูกค้าค่ะ เพราะระหว่างที่ลูกค้ารอชำ�ระเงินเนี่ย เค้าจะมองซ้ายมองขวา มองเพลินๆ เหลือบไปเห็น สินค้าของเราได้ค่ะ แต่บอกเทคนิคไว้ก่อนนะคะ ว่าจุดนี้ต้องเป็นจุดที่สินค้าราคาถูกเท่านั้นถึงจะเวิค เพราะลูกค้าเสีย เงินให้กับสินค้าที่เลือกมาก่อนหน้านี้แล้ว ลูกค้าจะไม่อยากเสียเงินเพิ่มอีกเยอะ ถ้าสินค้าของเราราคาไม่ถึง 300 บาท และเป็นสินค้าที่เลือกง่าย ซื้อหาง่าย ตามที่ตองได้กล่าวไปตอนต้นแล้วนั้น ก็ควรจะเลือกทำ�เลตรงนี้เลยค่ะ จำ�ไว้แค่ว่า สิ่งสำ�คัญที่สุดที่เราจะเลือกทำ�เลได้กิ๊บได้เก๋ก็คือ ดูทิศทางการเดินของลูกค้า กับ จุดที่ลูกค้า สนใจเห็นเป็นอันดับแรกๆค่ะ แต่ในบางกรณี ถ้าเราได้ทำ�เลไม่ดี เลือกไม่ทันเจ้าอื่น เราจะทำ�อย่างไรดีให้สินค้าของเราดึงดูดลูกค้า น่าสนใจ ตองก็ มีทริคมาแนะนำ�ให้ทุกท่านเช่นกันค่ะ


42 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ในการเรียงโปรดักต์ตองขออณุญาตยกตัวอย่างเป็นสินค้าประเภทเสื้อผ้านะคะ เพราะ สินค้าประเภทนี้เป็น สินค้าที่นิยมขายกันมากที่สุด แต่สินค้าประเภทอื่นก็ไม่ต้องน้อยใจนะคะ เพราะเราสามารถเอาทริคนี้ไปปรับใช้ได้ เช่นเดียวกันค่ะ อย่างที่ทราบกันนะคะว่า การที่เราเช่าพื้นที่ใน Mutibrand stores นั้น เราจะได้พื้นที่ราวประมาณ 1 เมตร เราจะทำ�ให้สินค้าเราดูน่าสนใจและแตกต่างจากเจ้าอื่นได้ไม่ยาก ขั้นแรก ก่อนที่เราออกคอลเลคชั่นมา เราก็ จะมีเรื่องราว ตัวตนของเราอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นสินค้าที่อยู่ในราวที่บอกตัวตนเรา ควรจะมีอยู่ในราวประมาณ 60% ส่วนสีรองอาจจะมีแค่ 15% ค่ะ ถัดมาคือสีเบสิค ที่ทุกร้านต้องมี เพราะเป็นสีที่ลูกค้าซื้อง่าย สัดส่วนประมาณ 25% อย่างเช่นรูปตัวอย่างนี้นะคะ เรื่องราวจะเป็นลายดอก Summer เค้าจะให้ลายดอกเป็น 50% ส่วนสีเขียวและฟ้านำ�มา ใส่เพื่อให้ราวดูโดดเด่นขึ้นทำ�ให้ไม่ดูน่าเบื่อประมาณ 15% และสีเบสิคคือสีดำ� ขาว และ ครีม มีสัดส่วนที่ 25%ค่ะ ตัวอย่างที่ 2 เช่นเดียวกันค่ะ ไม่มีลาย มีแค่สีพื้นที่หลักๆแล้วคือสีแดง ชมพู ให้น้ำ�หนักไป 50% ตามด้วยสีเบสิค ครีม โอโรส 25% และเพื่อไม่ให้ราวดูน่าเบื่อใส่สีฟ้าไปหน่อย รับรองว่าโป๊ะเชะค่ะ บางท่านสงสัยว่า แต่ถ้าสีในแบรนด์ฉันมีไม่เยอะเลย เพิ่งเปิดแบรนด์ได้ใหม่ๆ ทำ�อย่างไรดี ดูจากตัวอย่างนี้ได้ค่ะ เค้า จะวางสินค้าไม่แน่น และ เรียงตามประเภทอย่างชัดเจน ถึงมีสามสีแต่ก็ยังสวยได้ แต่ทีนี้จะเรียงตามประเภทอย่างไรล่ะ ตองก็มีทริคให้อีกแล้วค่ะ การเรียงสินค้านั้นทำ�ได้ไม่ยาก ให้จำ�ไว้ว่าลูกค้าจะมองสินค้าจากซ้ายไปขวา เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยู่ราวฝั่งซ้าย สุดและอยู่ข้างหน้าให้ลูกค้าเห็นเต็มๆ ควรเป็นสินค้าของเราที่มิกซ์แอนด์แมทช์ไว้แล้ว เช่นเราควรเอาเสื้อ กระโปรง แจ๊คเก็ตมาแขวนไว้ในไม้แขวนเดียว เพื่อเพิ่มโอกาสทางการขายและลูกค้าเห็นก็ เอ๊ะ ฉันอยากแต่งลุคนี้จัง ซื้อทั้งลุค เลยดีกว่า ถัดไปก็คือสินค้า ท่อนบน ตามด้วย ท่อนล่าง และแจ๊คเกต และตบท้ายด้วย เดรสค่ะ ถ้าแบรนด์ไหนมี สินค้าเซลล์ก็เอาไว้ท้ายสุดเลยค่ะ แต่ถ้าช่วงนั้นเป็นช่วงลดราคาเราก็ควรจะเอาสินค้าลดราคามาอยู่หน้าสุดซ้ายสุด และสินค้าราคาเต็มอยู่ทางขวามือท้ายสุดค่ะ อย่าลืมนะคะว่าลูกค้าจะมองสินค้าจากทางซ้ายมือ แต่ก็เลือกที่จะหยิบ ด้วยมือขวามากกว่า ถ้าเราวางสินค้าแยกประเภทชัดเจน ไม่แน่น ไม่แออัดก็จะเป็นโอกาสทางการขายมากขึ้นค่ะ นอกจากเราจะเรียงสินค้า แล้วเนี่ย ยังมีทริปอีกอย่างนึงที่เราสามารถทำ�ได้เช่นเดียวกันนะคะ คือการตกแต่งราวค่ะ เราสามารถทำ�ได้เช่นกันค่ะ โดยที่จะต้องไม่รบกวนสินค้าแบรนด์อื่น และ ได้รับอนุญาติจากเจ้าของพื้นที่แล้วเท่านั้น ค่ะ ถ้าป้ายชื่อร้านของเราที่ทางเจ้าของพื้นที่จัดหาให้ไม่บ่งบอกถึงตัวตนของเรา เราสามาถทำ�ป้ายเองมาหนีบไว้ที่ราว เพื่อบ่งบอกตัวตนเราได้ค่ะ หรือเราสามารถปริ้นรูปนางแบบที่ใส่เสื้อผ้าของเรา ติดบนราว หรือแขวนไว้ที่ราวกับไม้ แขวนเสื้อได้เลยค่ะ จะทำ�ให้ลูกค้าเห็นภาพมากขึ้นว่าใส่เสื้อตัวนี้แล้วจะออกมาเป็นอย่างไร หรือการทำ�ป้ายบอกเล่า ถึงเทรนด์ ถึงคุณลักษณะพิเศษของเสื้อแบรนด์เรา แขวนไว้ที่ราวก็ทำ�ได้เช่นกัน การแขวนป้ายราคา หรือบอกว่า สินค้าตัวนี้ลดราคาก็ทำ�ได้เช่นกันค่ะ เพราะลูกค้าถ้าเห็นราคาแต่ไกลจากป้ายก่อน ซึ่งจะดึงดูดลูกค้าเข้ามาดูสินค้า ของเราได้มากขึ้นค่ะ อย่าลืมนะคะว่าลูกค้าใช้เวลา 12 วินาทีในการอ่านป้าย เพราะฉะนั้นป้ายต้องชัดเจน ตัวใหญ่ เด่นชัด และลูกค้าใช้เวลาเพียง 4 วินาทีเท่านั้นในการตัดสินใจ แน่นอนค่ะว่า ป้ายต้องชัดเจน เข้าใจง่ายเท่านั้น ทั้งหมดนี้ก็เป็นทิปส์เล็กๆน้อยๆที่ตองเอามาฝากทุกท่านนะคะ หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกท่านไม่มากก็น้อย นะคะ ขอบคุณมากค่ะ


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 43

MC (ปิดช่วงแรก) Wrap Up : เป็นอย่างไรบ้างคะทุกท่าน ได้ข้อมูลของพฤติกรรมผู้บริโภค และ Tips แจ่มๆจากพรีเซนเตอร์ของเราไป แล้ว ก็หวังว่าจะมีประโยชน์ในการนำ�ไปปรับใช้กับธุรกิจของทุกท่านนะคะ (อธิบายเรื่องเช็คลิสต์) เอาละค่ะ ก่อนที่เราจะไปพักเบรคกัน ลี่ขอเกริ่นก่อนเลยว่า พาร์ทเสวนาของเรามีแขกรับเชิญสุดแซ่บมาร่วม ถึง 4 ท่านเลยค่ะ ท่านแรกคือ คุณบิ๊ก อริยะ จิรวรา หุนส่วนร้าน Multi Brand SOS คุณแพร ธัชพร วาจาสัจย์ เจ้าของร้าน Lavanetta คุณโอบ ณิชา สมิทธิปรีชาวงษ์ เจ้าของร้าน Trooper และท่านสุดท้าย คุณออย นันทกุล ซีตันติเวช เจ้าของร้าน Dallar Jewerly เป็นอย่างไรคะ แขกรับเชิญของเรา น่าติดตามทุกคนเลยเนอะ แต่ตอนนี้ขอให้ทุกท่านอดใจรออีกนิดนะคะ ทางเรา มีของว่างแจกให้ทุกท่านและให้เวลาทุกท่านไปยืดเส้นยืดสายประมาณ 15 นาที แล้วเรากลับมาเจอกันอีกครั้งนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

คำ�ถามสัมภาษณ์วิทยากร MC : จุดเริ่มต้น /ที่มาของร้าน / อะไรที่เป็นตัวตัดสินใจเริ่มต้นเปิด Multi-Brand Stores ? MC : จุดเริ่มต้น / ที่มาของแบรนด์ (ที่มาของชื่อ …. ได้แรงบันดาลใจมาจากไหน) MC : กลุ่มเป้าหมายของร้าน SOS เป็นใคร และมีลักษณะเป็นแบบไหน Character ของร้าน SOS ถ้าเป็นดาราคุณคิดว่าเหมือนใคร MC : กลุ่มเป้าหมายของ Brand แต่ละคน มองว่าเป็นใคร และมีลักษณะเป็นแบบไหน Character ของ Brand ถ้าให้เปรียบเทียบดาราคุณคิดว่าเมือนใคร MC : อะไรคือจุดเด่นของร้าน MC : อะไรคือจุดเด่นของแบรนด์ MC : อะไรคือความท้าทายในการบริหารจัดการ MC : อะไรคือความยากในการบริหารแบรนด์ให้ประสบความสำ�เร็จ หรือเป็นที่รู้จัก


44 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves 45


46 InStagram

In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.