gin

Page 1

B MK18 NTS E PRES

G

TIN E K MAR

CE N E FER N O C



InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

1


2

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

InStagram In Stores


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

กิตติกรรมประกาศ งานสัมมนาเชิงอภิปราย เรื่อง “InStagram In Stores เปิดเช็คลิสต์ พลิกโอกาส ร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves” สมบูรณ์ได้ด้วยความกรุณา และความ ร่วมมือจากบุคคลสำ�คัญหลายๆ ท่าน คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณ อาจารย์สุพรรณี วาทยะกร และผศ.ดร.พัลลภา ปีติสันต์ อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ ที่ช่วยแนะนำ�แนวคิด และแก้ไขข้อบกพร่องในการวิจัย รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจอันนำ�ไปสู่ความมั่นใจในการจัด สัมมนาครั้งนี้ และขอขอบพระคุณ ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทรหัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัย การจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ให้คำ�ปรึกษา ตลอดจนความช่วยเหลือในการทำ�วิจัย และทำ�ให้งานวิจัยฉบับนี้เสร็จสมบูรณ์ด้วยดี อีกทั้งขอขอบพระคุณคุณอริยะ จิระวรา หุ้นส่วนร้าน SOS-Sense of Style (Multi-Brand Store), คุณธัชพร วาจาสัตย์ เจ้าของแบรนด์ LaVanetta, คุณณิชา สมิทธิปรีชาวงษ์ เจ้าของแบรนด์ Troopers และ คุณนันทกุล ซีตันติเวช เจ้าของแบรนด์ Dallar Jewelry ที่กรุณาให้ข้อมูลและคำ�แนะนำ�ที่เป็นประโยชน์ใน การทำ�วิจัยไว้ ณ ที่นี้ คณะผู้วิจัย MK18B ทีมงาน “ InStagram In Stores”

3


4

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

เรื่อง บทนำ� วัตถุประสงค์ SWOT เนื้อหา “เนื้อหาการบรรยาย” - ส่องพฤติกรรมและความต้องการนักช้อปสินค้าแฟชั่น - ขยายโอกาส เพิ่มช่องทางด้วย Multi-Brand Stores - Tips ปังๆ ทำ�อย่างไรให้โดนใจลูกค้า

หน้า


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

Contents เรื่อง Agenda วิทยากรรับเชิญ คำ�ถามที่ใช้สัมภาษณ์วิทยากร กลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ งบประมาณ

หน้า

5


6

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

บทนำ� ปัจจุบันนับได้ว่าอินเทอร์เน็ตมีการขยายและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนเป็นอย่างมาก ทำ�ให้ เกิดการซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง ไป ส่งผลให้ร้านค้าต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนการเสนอขายสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ที่เปลี่ยนไปด้วย บริษัท คอตตอน ยูเอสเอ เผยผลสำ�รวจวิจัยตลาด “2014 COTTON USA Global Lifestyle Monitor” เกี่ยวกับพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยเสื้อผ้าของผู้บริโภคใน 10 ประเทศ โดย ผลสำ�รวจของประเทศไทย พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยมีแนวโน้มช้อปปิ้งเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี และ ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2563 ซึ่งคนไทยนิยมซื้อเสื้อผ้าผ่านโซเชียลมีเดียมากที่สุด (MGR online, 2557) แต่การที่ร้านค้าต่างๆ หันมาขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ก็มีผลต่อลูกค้าบางกลุ่มที่ยังเกิดความไม่ไว้ วางใจการซื้อขายสินค้าแบบออนไลน์เท่าที่ควร เพราะมีความต้องการที่จะเห็นสินค้ารวมถึงสัมผัสสินค้า จริงก่อนที่จะมีความมั่นใจในการตัดสินใจซื้อสินค้านั้นๆ และสินค้าที่ผู้บริโภคนิยมซื้อมากที่สุด ได้แก่ สินค้าแฟชั่น (Nuttaputch, 2558) เมื่อเกิดช่องว่างที่ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคขึ้น จึงเกิดเป็นธุรกิจร้าน ค้าที่รวมแบรนด์สินค้าแฟชั่น เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า เครื่องประดับ เป็นต้น ที่ขายผ่านช่องทาง ออนไลน์มาร่วมผนึกกำ�ลังกันวางขาย ณ จุดๆ หนึ่ง หรือสถานที่หนึ่งๆ เพื่อกลายเป็นชุมชนของบุคคล ที่ยังมีความต้องการซื้อขายสินค้าผ่านหน้าร้านค้า หรือที่เรียกว่า “Multi-Brand Stores” โดยสถานที่ แห่งนี้จะมีการวางตำ�แหน่ง และ Store Concept ตามกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ คือ นักเรียน นิสิต-นักศึกษา ไปจนถึงวัยเริ่มต้นทำ�งานถึงระดับผู้จัดการ และสไตล์ของสินค้าที่นำ�เข้ามาวางขาย ซึ่งสามารถตอบโจทย์ การมาช้อปปิ้งในที่แห่งเดียว โดยสามารถเลือกสินค้าตามสไตล์ที่เป็นรูปแบบของผู้บริโภคได้หลากหลาย แบรนด์ สะดวกสบาย และตรงใจ (Dailynews, 2558) ด้วยความน่าสนใจว่า ช่องทาง “Multi-Brand Stores” จะสามารถเป็นโอกาสหรือช่องทางใหม่ สำ�หรับร้านค้าสินค้าแฟชั่นออนไลน์หรือไม่ จึงทำ�ให้คณะนักศึกษาปริญญาโทสาขาการตลาดรุ่น18B ต้องการศึกษาและวิจัย เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ซื้อสินค้าแฟชั่นทางช่องทางต่างๆ ตลอดจนแนว โน้มการเข้า “Multi-Brand Stores” ในอนาคต เพื่อให้เจ้าของ Multi-Brand Stores และแบรนด์สินค้า แฟชั่นเกิดการพัฒนาแบรนด์ร่วมกันเพื่อตอบสนองความต้องการให้ตรงใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น รวมไป ถึงผู้เล่นรายใหม่ หรือคนที่อยากมีแบรนด์เป็นของตัวเองเกิดแรงผลักดัน และเห็นโอกาสในการทำ�ธุรกิจ เพิ่มขึ้น โดยงานสัมมนาทางการตลาด “InStagram – In Stores เปิดเช็คลิสต์ พลิกโอกาสร้านสินค้า แฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves” เพื่อให้ เจ้าของแบรนด์สินค้า และบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้ารับฟัง เพื่อ ได้รับข้อมูล และสามารถนำ�ผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้พัฒนาธุรกิจของตนเอง


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ของงานสัมมนา วัตถุประสงค์ 1.เพื่ อ นำ � เสนอพฤติ ก รรมและความต้ อ งการ ของผู้บริโภครุ่นใหม่ในการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่น ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ ช่องทางออนไลน์ และช่อง ทางออฟไลน์ 2.เพื่ อ นำ � เสนอโอกาสทางการตลาดของแบรนด์ สิ น ค้ า แฟชั่ น โดยดี ไ ซน์ เ นอร์ แ บรนด์ ไ ทยของคน รุ่นใหม่ที่ขายผ่านช่องทางออนไลน์ ไปสู่ช่องทาง Multi-Brand Stores 3.เพื่อนำ�เสนอแนวทางในการนำ�สินค้าเข้าวางขาย ในช่องทาง Multi-Brand Stores

7


8

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

CONTENT SWOT ANALYSIS S W

จุดแข็ง (Strengths)

- สมาชิกในกลุ่มเป็นนักช้อปสินค้าแฟชั่น ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ รวมถึงเป็น ลูกค้าของ Multi-Brand Stores ทำ�ให้เข้าใจลักษณะรูปแบบการซื้อ-ขายผ่าน ทั้งช่องทางออนไลน์ และหน้าร้านได้ง่ายขึ้น - จากที่สมาชิกในกลุ่มเป็นนักช้อปออนไลน์ จึงรู้จักร้านค้าออนไลน์ที่เข้า MultiBrand Stores จึงสามารถติดต่อข้อมูลได้ และได้รับความร่วมมืออย่างดี - สมาชิกในกลุ่มรู้จักเพื่อนที่เป็นนักช้อป และบอกต่อคนอื่นๆ จึงสามารถเก็บ ข้อมูลได้มาก -มี ส มาชิ ก ในกลุ่ ม ทำ � งานเกี่ ย วข้ อ งกั บ การตกแต่ ง หน้ า ร้ า นสิ น ค้ า แฟชั่ น จึ ง สามารถใช้ข้อมูลประกอบได้มาก

จุดอ่อน (Weaknesses)

- สมาชิกในกลุ่มมีคนทำ�งานที่เกี่ยวข้องกับแฟชั่นน้อย จึงต้องหาข้อมูล จากแหล่งอื่นมากขึ้น - สมาชิกในกลุม่ ไม่มปี ระสบการณ์กาขายสินค้าแฟชัน่ ผ่านช่องทางออนไลน์ และหน้าร้าน จึงไม่มีข้อมูล และประสบการณ์ที่แท้จริง


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

O

โอกาส (Opportunities)

- เป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ สำ�หรับผู้ที่มีธุรกิจเป็นของตนเองที่ต้องการ ขยายช่องทางในการขายสินค้า เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ และความคุ้นเคย แก่ลูกค้าได้แนบแน่นขึ้น - เป็นโอกาสของผู้มีฝันอยากมีแบรนด์สินค้าแฟชั่นเป็นของตนเอง แต่มีงบ ประมาณ และทรัพยากรการจัดการที่จำ�กัดได้มาเรียนรู้จากผู้ประสบความ สำ�เร็จ - เป็นโอกาสของเจ้าของพื้นที่ หรือ Multi-Brand Stores ในการพัฒนา ตนเองในการสนับสนุน และหา Unmet Needs ของเจ้าของแบรนด์สินค้า และ ลูกค้ารายย่อย เพื่อความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน - เป็นช่องทางที่เจ้าของแบรนด์สินค้าออนไลน์สามารถนำ�สินค้ามาฝากไว้กับ เจ้าของพื้นที่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องใช้ปัจจัยอื่นๆ ประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้า เช่น การสัมผัสสินค้า การทดลองสินค้า หรือ ได้รับประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์ - หัวข้อที่ทำ�การศึกษาวิจัยนี้เป็นหัวข้อใหม่ ที่เป็นกระแสและมีอิทธิพลต่อ สังคมของกลุ่มนักศึกษา และกลุ่มคนเริ่มทำ�งาน (First Jobber) ซึ่งยังไม่มี สถาบัน หรือหน่วยงานเอกชนใดนำ�เสนอข้อมูลอย่างเป็นทางการมาก่อน จึง ทำ�ให้ทราบพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มนี้ในประเทศไทยที่เป็นปัจจุบัน

T

อุปสรรค (Threats) - ธุรกิจแฟชั่น เปลี่ยนแปลงเร็วต้องปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง - ผู้เล่นในตลาดเข้าง่ายออกง่าย ทำ�ในระยะเวลาสั้นๆ ผู้ค้าหน้าใหม่ๆ เข้าสู่ธุรกิจที่ทำ�ร้านขายสินค้าแฟชั่นแบบไม่ใช่อาชีพ หรือเป็นธุรกิจหลัก ทำ�ให้ธุรกิจนี้ถูกกระจัดกระจาย เป็นความท้าทายในการสร้างตัวตน (Brand Signature) ของตลาดนี้ - เนื่องจากธุรกิจเกี่ยวกับแฟชั่นเป็นธุรกิจที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน และ ต้องมีความกระตือรือร้นให้เกิดความแปลกใหม่ตลอดเวลา การพัฒนา สินค้าแฟชั่นที่มีการแข่งขันสูง และหลากหลายช่องทาง ความรวดเร็วใน การออกสินค้าอย่างเหมาะสม เป็นความท้าทายกับการสร้างยอดขายที่ ยั่งยืน การสร้างแบรนด์ และพัฒนาร้านค้าเพื่อตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าให้ยืนยาว

9


10

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ส่องพฤติกรรมนักช้อปสินค้าแฟชั่น ระเบียบการวิจัย การสัมมนาในครั้งนี้เป็นการทำ�วิจัยทั้งเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ โดยแบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.ข้อมูลปฐมภูมิ - แบบสอบถามทั้งสิ้น 415 ชุด - การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริโภค ( In-Depth Interview) จำ�นวน 32 คน และเจ้าของแบรนด์สินค้ากับเจ้าของพื้นที่ Multi-Brand Stores รวมทั้งสิ้น 34 คน - การสนทนากลุ่ม ( Focus Group ) รวม 5 กลุ่ม - การสังเกตพฤติกรรมผู้บริโภค (Observation) โดยลง พื้นที่สำ�รวจพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ Multi-Brand Stores 2.ข้อมูลทุติยภูมิ - บทสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ - คลิปวิดีโอ - งานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากแบบสอบถามทั้ง 415 ชุด พบว่านักช้อปสินค้า แฟชั่นเป็นเพศหญิงถึง 92% ในขณะที่เพศชายมีเพียง 8% เท่านั้น ทำ�ให้เห็นได้ว่านักช้อปสินค้าแฟชั่นส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ดังนั้นในงานวิจัยครั้งนี้จึงเน้นความสำ�คัญไปที่กลุ่มนักช้อปที่เพศ หญิงเป็นหลัก


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

นักช้อป สินค้าแฟชั่น เพศหญิง แบ่งตามอายุได้ทั้งหมด 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มของนักช้อปสินค้าแฟชั่นที่เป็นเพศ หญิงแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามช่วงอายุ เนื่องจากนักช้อปแต่ละกลุ่มช่วงอายุมีความ แตกต่างกัน ดังนี้

1. กลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 16-20 ปี

เป็นกลุ่มเด็กนักเรียน มีรายได้เฉลี่ยอยู่ในช่วง น้อยกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งรายได้หลักๆของกลุ่มนี้ คือ เงินที่ได้จาก ครอบครัวหรือผู้ปกครอง

3. กลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 26-30 ปี

2. กลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 21-25 ปี

เป็นกลุ่มนักศึกษาไปจนถึงกลุ่มที่เพิ่งเริ่มทำ�งาน ( First Jobber ) โดยนักช้อปกลุ่มนี้ มีรายได้ เฉลี่ยอยู่ในช่วง 15,001 - 25,000 บาทต่อเดือน เนื่ อ งจากนั ก ช้ อ ปในกลุ่ ม นี้ เ ริ่ ม มี ร ายได้ จ ากการ ทำ�งานของตัวเอง

เป็นกลุ่มคนวัยทำ�งาน ที่ทำ�งานมาระยะหนึ่ง สำ�หรับ กลุ่มนี้รายได้เฉลี่ยอยู่ในช่วง 25,001 - 35,000 บาท ต่อเดือน รายได้หลักมาจากการทำ�งาน ซึ่งรายได้สูง กว่านักช้อปกลุ่มที่ 1 และ 2 เนื่องจากเริ่มมีความ เติบโตในหน้าที่การงาน

4. กลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 31 ปีขึ้นไป

เป็ น กลุ่ ม คนที่ ทำ � งานมาเป็ น ระยะเวลานานและส่ ว น ใหญ่เริ่มมีครอบครัว ทำ�ให้มีความรับผิดชอบหรือ ภาระหน้าที่ต่างออกไป ทำ�ให้สามารถแบ่งรายได้เฉลี่ย อยู่ใน 2 ช่วงคือ ช่วง 25,001-35,000 บาทต่อเดือน และ 55,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป

11


InStagram 12

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

รูปแบบการช้อป สินค้าแฟชั่นของ นักช้อปแต่ละกลุ่ม กลุ่มที่มีอายุ 16-20 ปี, 21-25 ปี และ 26-30 ปี มีพฤติกรรมที่เหมือนกัน คือ การชอบดูสินค้าจากช่องทาง ออนไลน์ แต่ชอบซื้อสินค้าที่หน้าร้านมากกว่า ในขณะที่กลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 31 ปีขึ้นไป จะชอบดู สิ น ค้ า จากช่ อ งทางออนไลน์ แ ละชอบซื้ อ สิ น ค้ า จากช่ อ ง ทางออนไลน์ เนื่องด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้นจึงทำ�ให้มีหน้าที่ การงานที่ต้องรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น สำ�หรับบางคนอาจ รวมไปถึ ง การมี ค รอบครั ว จึ ง เป็ น เหตุ ผ ลหลั ก ที่ ทำ � ให้ นั ก ช้ อ ปในกลุ่ ม นี้ มี เ วลาสำ � หรั บ การช้ อ ปปิ้ ง ลดน้ อ ยลง ดังนั้นนักช้อปกลุ่มนี้จึงสะดวกที่จะซื้อจากช่องทางออนไลน์ มากกว่า

ซึ่งจากที่ 3 กลุ่มแรกชอบซื้อสินค้าผ่านหน้าร้าน เนื่องจาก นักช้อปชอบการได้ลอง ได้เห็นสินค้าจริง และนักช้อปกลุ่มอายุ 31 ปี ขึ้นไป ชอบซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ เนื่องจากมีภาระที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ไม่มีเวลามากพอที่จะไปซื้อสินค้าผ่านช่องทางหน้าร้าน จุดที่น่าสนใจ คือ นักช้อปทุกกลุ่มมีพฤติกรรมอย่าง หนึ่งที่เหมือนกัน คือ เลือกดูสินค้าแฟชั่นผ่านช่องทางออนไลน์ก่อน แม้ว่าการเลือกซื้อสินค้าจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

13


14

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ช่องทาง Online ที่นักช้อป แต่ละกลุ่มชอบเลือกดู จากผลสำ�รวจพบว่านักช้อปที่มีอายุ 16-20 ปี, 21-25 ปี และ 26-30 ปี นิยมดูสินค้าแฟชั่นผ่านช่องทาง Instagram จาก การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มนักช้อป 3 กลุ่มแรกพบว่าชอบดูสินค้า ในช่องทาง Instagram เนื่องจาก

“เหมือนเน้นรูปมากกว่า สิ่งรกหูรกตาน้อย”

ส่งผลให้เหล่านักช้อปสามารถ Focus ที่การช้อปจริงๆ ไม่ตอ้ งมีสงิ่ รบกวนเด้งขึน ้ มาระหว่างการช้อปทางช่องทางออนไลน์

“รายละเอียดสินค้าครบจบในหน้าเดียว” นักช้อปทั้ง 3 กลุ่มข้างต้นมองว่าเวลาดูสินค้าใน Instagram สามารถดูทั้งรูปและเนื้อหารายละเอียด ของสินค้าต่างๆ ทั้งสี, ขนาด, เนื้อผ้า และราคาได้ ในหน้าเดียว


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

“หาสินค้าที่ต้องการได้จาก #Hashtag” เมื่อกลุ่มนักช้อปเข้าไปเลือกซื้อสินค้าใน Instagram สามารถเชื่อมโยงสินค้าที่เกี่ยวข้องได้จาก #Hashtag ที่อยู่ใต้ ภาพได้ทันที

“เลื่อนดูหลายๆ รูปได้ในหน้าเดียว” หรือฟังก์ชั่น Multiple นั่นเอง นักช้อปทั้ง 3 กลุ่มนี้บอกว่า ฟั ง ก์ ชั่ น นี้ ทำ � ใ ห้ ส า ม า ร ถ ดู รู ป ภ า พ ห ล า ย ๆ รู ป ไ ด้ ง่ า ย ขึ้ น เพราะรายละเอี ย ดของสิ น ค้ า นั้ น ๆจะยั ง อยู่ ใ นหน้ า เดิ ม แต่ มี หลากหลายแบบและหลายมุมให้สามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

15


16

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ช่องทาง Online ที่นักช้อป แต่ละกลุ่มชอบเลือกดู ในขณะที่นักช้อปที่มีอายุ 31 ปีขึ้นไป นิยมดูสินค้าผ่าน Facebook มากกว่า ช่องทาง Instagram เพราะ..

“Facebook มีครบทุกอย่างที่ต้องการแล้ว” กลุ่มนักช้อปกลุ่มนี้มองว่าฟังก์ชั่นที่ต้องการมีครบ ทั้งหมดใน Facebook ไม่ว่าจะเป็น Community ในการ ติดต่อกับเพื่อนๆ, ติดตามข่าว หรือ Video, ฟังก์ชั่น Facebook Messeger ที่ใช้ในการพูดคุยโต้ตอบรวม ไปถึงการช้อปปิ้งใน Facebook อีกด้วย

“Facebook มีกรุ๊ปชัดเจน ไปหาร้านในกรุ๊ปง่ายกว่า” กลุ่มนักช้อปกลุ่มนี้มองว่าการจะค้นหาสินค้าแฟชั่น ค้นหาใน Page, Group หรือ Community สามารถ ค้นหา Brand สินค้าได้ง่ายกว่า


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

“รูปใน Facebook ซูมได้” กลุ่มนักช้อปกลุ่มนี้ ชอบดู พร้อมกับขยายภาพ เพื่อ ดูรายละเอียดของสินค้าที่กำ�ลังสนใจอยู่ได้เพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่า ใน Instagram จะสามารถทำ�ได้แต่นักช้อปกลุ่ม นี้มองว่า Facebook มีทุกอย่างที่ต้องการครบอยู่แล้ว จึงไม่ต้องการที่จะลองใช้แอพพลิเคชั่น Instagram

“กด Like Page แล้วจะมี Page อื่นที่แนะนำ�ต่ออีกที” การที่นักช้อปกลุ่มนี้กดไลค์ Page ใน Facebook จะทำ�ให้ได้รับการแนะนำ� Page ที่คล้ายๆกันเพิ่มเติม ทำ�ให้นักช้อปได้ขยายช่องทางในการช้อปหรือการ ซื้อของตนเองได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

17


18

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

เนื้อหาที่กลุ่มนักช้อปชอบ ดูในช่องทางออนไลน์ จากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า นักช้อปที่มี อายุ 16-20 ปี, 21-25 ปี และ 26-30 ปี เนื้อหาที่ทั้ง 3 กลุ่มนี้ชอบดู แบ่งได้ 3 แบบ ได้แก่

1.

รูปภาพ Presenter เนื่องจากเหล่านักช้อปรู้สึกว่าเมื่อสินค้าอยู่ ที่ตัวคน จะทำ�ให้สินค้านั้นมีชีวิตชีวามากขึ้น ทำ�ให้รู้สึกอยากได้ อยากซื้อมากขึ้น

2. รูปภาพ Macro

คือรูปภาพที่ถ่ายให้เห็นรายละเอียดของสินค้า อย่างชัดเจน เห็นถึงเนื้อผ้าว่า หยาบ หนา หรือ ละเอียด ซึ่งรูปภาพแบบนี้เป็นรูปภาพที่แสดง รายละเอียดของสินค้าได้ดีที่สุด

3. รูปภาพที่มี Influencer

เป็นผู้สวมใส่สินค้าเหล่านั้น เช่น ดารา หรือ Net Idol เพราะว่านักช้อปบางคนจะมี Influencer ในดวงใจ อยู่แล้ว ทำ�ให้อยากใส่เสื้อผ้าในรูปแบบเดียวกับคนที่ นักช้อปชอบ


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

เนื้อหาในส่วนที่เป็น

19

ข้อความใน Instagram

จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า ข้อความที่ นักช้อปทั้ง 3 กลุ่มนี้ชอบดู คือ ข้อความ ที่มีรายละเอียดสินค้า+ราคา และ ข้อความ ที่ มี ร ายละเอี ย ดสิ น ค้ า +ราคา+#Hashtag เ พื่ อ ที่ เ ห ล่ า นั ก ช้ อ ป จ ะ ไ ด้ ส า ม า ร ถ ก ด #Hashtagและหาสิ น ค้ า ที่ ต้ อ งการได้ จ าก #Hashtag เหล่านี้ โดยสามารถเชื่อมโยงไปสู่ ร้านค้าอื่นๆ หรือสินค้าจากแหล่งอื่นๆ ได้ตาม ที่นักช้อปต้องการค้นหา

เนื้อหาใน Facebook ที่กลุ่มอายุ 31 ปีขึ้นไป ชอบดู จากงานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งพบว่ า เนื้อหาที่นักช้อปกลุ่มนี้ชอบคือ รูปภาพจาก Presenter ที่ทำ�ให้รู้สึกว่าสินค้ามีชีวิตชีวา และน่าซื้อมากขึ้น และ อีกรูปแบบหนึ่งคือการ Review สินค้าผ่าน Facebook Live ที่ นักช้อปรู้สึกมีความน่าเชื่อถือ หรือเชื่อใจใน แบรนด์เหล่านั้นว่าไม่ได้หลอกลวงผู้บริโภค


20

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ช่วงเวลาที่มีการใช้งาน Instagram มากที่สุด

คือ ช่วงเวลา 17:00 - 22:00 น. และวันที่คน มีปฏิสัมพันธ์มากที่สุดคือ ช่วงเย็นวันศุกร์และ วันเสาร์เป็นช่วงไปปาร์ตี้ สังสรรค์ กินข้าวกัน

ช่วงเวลาที่มีการ ใช้งาน Facebook มากที่สุด คือ ช่วงเวลา 16:00 - 20:00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลา ที่ ค นกำ � ลั ง เลิ ก งานและอยู่ ร ะหว่ า งทางกลั บ บ้ า นทำ � ให้ มี เ วลาสำ � หรั บ เปิ ด โซเชี ย ลได้ อ ย่ า งเต็ ม ที่ โ ดยวั น ที่ ค นมี ปฏิสัมพันธ์มากที่สุดคือ วันพุธ เนื่องจากเป็นช่วงกลาง สัปดาห์ ส่วนวันที่มีปฏิสัมพันธ์น้อยที่สุด คือ วันเสาร์ เพราะคนส่วนใหญ่จะใช้เวลากับกิจกรรมนอกบ้านจนไม่มี เวลาดูโซเชียล เพราะฉะนั้ น สำ � หรั บ เจ้ า ของแบรนด์ ห รื อ เจ้ า ของ กิจการต่างๆ ที่มีสินค้าเป็นของตนเอง ก็จะต้องวิเคราะห์ให้ ดีก่อนว่ากลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มไหน เพื่อที่จะได้เลือกเนื้อหา สำ�หรับสื่อสารไปสู่กลุ่มลูกค้าได้อย่างถูกช่องทางและเหมาะ สม ซึ่งก็จะเป็นผลดีต่อแบรนด์


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

นักช้อปทุกกลุ่มชอบดูสินค้า แฟชั่นผ่านช่องทาง Online แต่ทั้ง 3 กลุ่ม ยังคงชอบ ซื้อสินค้าที่หน้าร้าน

แม้ว่าช่องทาง Online จะมีความสะดวกสบาย และลดเวลาในการเดิ น ทางแต่ นั ก ช้ อ ปอาจได้ รั บ ประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับการซื้อสินค้าของ Online ซึ่งจากที่สัมภาษณ์นักช้อปสินค้าแฟชั่น พบว่านักช้อป เหล่ า นี้ จ ะมี ค วามคาดหวั ง ในการซื้ อ สิ น ค้ า แฟชั่ น ทาง Online ดังนี้ “ให้คำ�แนะนำ�ลูกค้าได้” กลุ่มนักช้อปคาดหวังว่าหาก มีข้อสงสัยใดเกี่ยวกับสินค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขนาดหรือ รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับสินค้า ทางแม่ค้าจะสามารถ ตอบข้อสงสัยให้ได้ “แก้ไขปัญหาให้ได้” กลุ่มนักช้อปกล่าวว่า เมื่อซื้อ สินค้าแล้วหากมีปัญหาเกิดขึ้น ก็คาดหวังว่าทางแบรนด์ จะให้ความช่วยเหลือ และแก้ปัญหาให้กับลูกค้า “ระบุรายละเอียดสินค้าชัดเจน” กลุ่มนักช้อปคาด หวั ง ว่ า จะได้ อ่ า นรายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ สิ น ค้ า ทุ ก อย่ า ง ไม่ว่าจะเป็น ขนาด เนื้อผ้า หรือราคาจบภายในที่เดียว เพราะทางกลุ่มนักช้อปไม่ต้องการที่จะทักแม่ค้าไปเพื่อ สอบถามข้อมูล แต่ต้องการทักไปเพื่อต้องการปิดการ ขายหรือซื้อสินค้าเท่านั้น “สินค้าเหมือนที่ลงรูปไว้” กลุ่มนักช้อปคาดหวังว่า สิ น ค้ า ที่ ไ ด้ รั บ จะมี ลั ก ษณะเหมื อ นกั บ รู ป ภาพที่ ท าง แบรนด์ ไ ด้ ล งภาพโฆษณาเอาไว้ ไ ม่ ใ ช่ ว่ า สวยแค่ ใ น รูปภาพ แต่สินค้าที่ได้รับจริงกลับเป็นอีกแบบหนึ่ง “ได้สินค้าตรงตามเวลาที่กำ�หนด” เมื่อกลุ่มนักช้อป สั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทาง Online ก็คาดหวังว่าจะได้รับ สินค้าเร็วที่สุด หรือได้รับสินค้าตรงตามกำ�หนดที่ตกลง กับทางแม่ค้าไว้ “Update สินค้า อยู่ตลอด” กลุ่มนักช้อปชอบที่ แบรนด์มีการอัพเดทสินค้ารุ่นใหม่ๆอยู่สม่ำ�เสมอ เพื่อที่ จะสามารถเข้าไปดูและเลือกซื้อสินค้าได้บ่อยๆ เป็นการ ตอบสนองความต้ อ งการในการซื้ อ สิ น ค้ า ตามความ สะดวกของกลุ่มนักช้อปจริงๆ

จากข้างต้นคือสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังจากกลุ่มนักช้อป เมื่อซื้อสินค้าผ่านช่องทาง Online แต่ความเป็นจริง เมื่อกลุ่มนักช้อปซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านช่องทาง Online จริงๆกลับได้รับประสบการณ์ ดังนี้ “ตอบช้า” กลุ่มนักช้อปคาดหวังให้เจ้าของแบรนด์ หรือร้านค้าตอบกลับข้อมูลที่ต้องการภายในวันนั้นๆ หรือหากกลุ่มนักช้อปแจ้งโอนเงิน ก็คาดหวังให้เจ้าของ แบรนด์ตอบกลับภายใน 1 ชั่วโมง “แม่ค้าพูดจาไม่ดี” กลุ่มนักช้อป พบว่าเมื่อทักแม่ค้า ไป แม่ค้ากลับพูดจาไม่ดี ไม่มีใจรักบริการ ทำ�ให้นักช้อป เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีและไม่อยากซื้อสินค้าจากแบรนด์ๆ นั้นอีก “ลงรายละเอียดไม่ครบ” เวลาที่กลุ่มนักช้อปกำ�ลัง เลือกสินค้า แล้วถูกใจ แต่ปรากฎว่ามีข้อมูล หรือมีแต่ไม่ ครบ จึงยังไม่สามารถตัดสินใจซื้อได้ในทันที อาจจะต้อง มีการแอดไลน์ไปถามข้อมูลเพิ่มเติมอีก จึงอาจจะสร้าง ความไม่พึงพอใจให้กับกลุ่มนักช้อป “สินค้าไม่เหมือนที่คิดไว้” เมื่อได้รับสินค้าแล้วนักช้อ ปกลับพบว่าสินค้าที่ได้รับไม่ตรงกับที่เห็นในโลกOnline เนื่ อ งจากหลายๆแบรนด์ มี ก ารตกแต่ ง รู ป ภาพเพื่ อ ให้ สินค้าดูน่าสนใจมากขึ้น หรือคุมโทนเป็นสีของแบรนด์ อีกทั้งการดูสินค้าผ่านมือถือแค่ระบบต่างกัน (IOS/ Android) การแสดงสีรูปภาพก็มีความแตกต่างกัน “ได้ของช้า” ปัญหานี้อาจเกิดขึ้นได้จาก 2 ส่วน ส่วนแรกคือ จากเจ้าของแบรนด์ที่มีการบริหารจัดการ ล่าช้า ส่วนที่สองคือ การขนส่งต่างๆ อาทิไปรษณีย์ไทย ที่อาจมีปัญหาในการขนส่งเกิดขึ้น และทำ�ให้สินค้าไปถึง ลูกค้าไม่ทันตามที่คาดหวังไว้ “ของหาย ส่งผิด แพ็คไม่ดี” สืบเนื่องมาจากปัญหา การได้รับสินค้าล่าช้า กลุ่มนักช้อปพบว่าบางครั้งสินค้า ที่สั่งไปมีการส่งผิด ไม่ได้รับ หรือสินค้าเสียหาย ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงทำ�ให้กลุ่มนักช้อปสินค้าแฟชั่น ชื่นชอบซื้อสินค้าผ่านทางหน้าร้านมากกว่า

21


22

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

สิ่งที่ร้านค้า Online ควรทำ� เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับ ลูกค้า มี 5 ข้อ ดังนี้ 1.มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า เช่น การออกบูท ทำ�ให้ เจ้าของร้านค้าได้เจอลูกค้า พบปะพูดคุยกัน และสามารถนำ� ความคิดเห็นของกลุ่มลูกค้ามาปรับปรุงสินค้าให้ดียิ่งขึ้นได้ 2.ตอบกลับลูกค้าเร็ว (เวลาตอบกลับการสอบถาม ข้อมูลภายใน 1 วัน, แจ้งโอนเงินภายใน 1 ชม.)

3.ลงรายละเอียดสินค้าชัดเจนครบถ้วน

4.มีการอัพเดทคอลเลคชั่นสม่ำ�เสมอ (ควรมีการ ออกคอลเลคชั่นใหม่เดือนละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย) 5. คุณภาพมาตรฐานคงที่ แต่ในความเป็นจริงในปัจจุบันร้านค้าออนไลน์ต่างๆ ยังไม่สามารถทำ�ได้ตามความคาดหวังของลูกค้าอย่างที่ควร จะเป็น จึงทำ�ให้กลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มนักช้อป เกิดการผิดหวัง จากการช้อปสินค้าออนไลน์ และทำ�ให้เปลี่ยนพฤติกรรมไป ซื้อสินค้าจากช่องทางหน้าร้าน


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

เหตุผลที่กลุ่มนักช้อปชอบ ซื้อสินค้าจากหน้าร้าน

23

จากการสัมภาษณ์กลุ่มนักช้อปที่ชอบซื้อสินค้าที่หน้าร้านพบว่า

“ได้สัมผัส ได้ลอง ได้จับเนื้อผ้า” ทำ�ให้รู้ว่าเนื้อผ้า เป็นแบบที่นักช้อปชอบหรือไม่ ซึ่งนักช้อปแต่ละคนจะมีความชอบเนื้อผ้าที่แตกต่างกันไป

“ได้ของทันทีไม่ต้องรอรับจากไปรษณีย์” การที่ไปซื้อสินค้าที่หน้าร้านแน่นอนว่ากลุ่มนักช้อปจะได้รับของ ทันทีไม่ต้องรอและบางครั้งไม่มีคนคอยรับของที่บ้าน

“ได้เดิน Shopping ดูของไปเรื่อยๆ” ถือว่าเป็นความสุขอย่างหนึ่งของกลุ่มนักช้อป ที่ได้เดิน ช้อปปิ้งดูสินค้าซึ่งหากเจอที่สินค้าถูกใจก็สามารถซื้อเพิ่มได้

“ใช้บัตรเครดิตได้” การที่สามารถชำ�ระเงินด้วยบัตรเครดิต ก็เป็นอีกหนึ่ง ปั จ จั ย ที่ ทำ � ให้ ก ลุ่ ม นั ก ช้ อ ปชอบซื้ อ สิ น ค้ า จากทางหน้ า ร้ า น เนื่ อ งจากในความเป็ น จริ ง การซื้ อ สิ น ค้ า ผ่ า นช่ อ งทางOnline จะต้องชำ�ระเงินโดยการโอนเงินเท่านั้น แต่การสัมภาษณ์เชิงลึก กลั บ พบว่ า กลุ่ ม นั ก ช้ อ ปจะรู้ สึ ก ไม่ ค่ อ ยดี เ มื่ อ ต้ อ งชำ � ระสิ น ค้ า โดยการจ่ายเงินสดออกผ่านมือ ทำ�ให้ซื้อสินค้าได้น้อยกว่าทาง หน้าร้าน ที่สามารถชำ�ระด้วยบัตรเครดิตได้ อีกทั้งในปัจจุบัน สิ ท ธิ พิ เ ศษที่ ทางธนาคารใช้ ดึ งดู ดใจให้ ใ ช้ ผ่ านบั ต รเครดิต ก็มี มากมาย เช่น สะสมแต้ม เป็นต้น


24

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

อุปสรรคในการเปิด หน้าร้าน มีดังนี้ 1.การเปิ ด หน้ า ร้ า นจะต้ อ งใช้ เ งิ น ลงทุ น และ ค่าใช้จ่ายสูง

2.ต้ อ งมี สิ น ค้ า หลากหลายแบบจำ � นวนมาก รวมถึ ง สิ น ค้ า หลากหลายมากพอที่ จ ะวางที่ ห น้ า ร้ า น รวมไปถึงปริมาณสินค้าคงคลังต้องเพียงพอสำ� หรับ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าที่ หน้าร้าน 3.การบริหารจัดการยุ่งยาก เนื่องจากต้องมีการ วางแผนจัดวางสินค้า การตกแต่งร้าน เรื่องของการ บริหารจัดการ Stock ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากอย่างมาก สินค้าคงคลังต้องเพียงพอสำ�หรับตอบสนองความต้อง การของลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าที่หน้าร้าน 4.ต้องหาพนักงาประจำ�หน้าร้านนอกจากความ ยุ่ ง ยากในเรื่ อ งของการบริ ห ารจั ด การแล้ ว และการ เปิ ด หน้ า ร้ า นยั ง ต้ อ งหาพนั ก งานมาดู แ ลสิ น ค้ า ในร้ า น ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถหาพนักงานที่ตั้งใจทำ�งาน และไว้วางใจได้

25


MultiBrand 26

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

นิยามของ Multi-Brand Stores Multi-Brand Stores มีคำ�นิยามมากมายหลากหลายรูปแบบ ในต่างประเทศ Amsterdam Fashion Institute ได้กล่าวไว้ว่า “Multi-Brand Stores คือร้านค้าที่เสนอแบรนด์ สินค้าแฟชั่นไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าไปจนถึงเครื่องประดับ หลากหลายแบรนด์ ไว้ในที่เดียว โดยอาจจะมีแบรนด์ ของทางร้านเองอีกด้วย”

จาก Swedish School of Textiles กล่าวไว้ว่า

Multi-Brand Stores คือ ร้านค้าที่เป็นศูนย์รวมสินค้า แฟชั่นหลากหลายแบรนด์ โดยมีสินค้าหลักเป็นเสื้อผ้า”


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ในมุมมองของประเทศไทย จาก ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำ�นวยการบริหารสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า

Multi-Brand Stores คือ ในกลุ่มสินค้าแฟชั่น คือร้านค้าแฟชั่นที่เป็นศูนย์รวมของสินค้า แฟชั่นโดยที่แบรนด์ของร้านค้าเป็นตัวนำ�แบรนด์สินค้า”

ดั ง นั้ น จากผู้ เ ชี่ ย วชาญและผู้ ที่ มี ป ระสบการณ์ จากหลากหลายแหล่ง ทางกลุ่มได้สรุปนิยามออกมาดังนี้

Multi-Brand Stores คือ ห้างขนาดเล็กที่มีการรวบรวมสินค้าแฟชั่นจากโลก

Online หลากหลายแบรนด์ไว้ในที่ที่เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า หรือเครื่องประดับ”

Stores

27


28

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ตัวอย่างของร้าน Multi-Brand Stores ต่างประเทศ “Colette”Multi-Brand Stores จากประเทศฝรั่งเศส ซึ่ง ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

29


30

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ตัวอย่างของร้าน Multi-Brand Stores ต่างประเทศ

“A LAND” Multi-Brand Stores จาก ประเทศเกาหลี ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2005


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

31


32

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ตัวอย่างของร้าน Multi-Brand Stores ในประเทศ

SOS (Sense of Style) ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปีค.ศ. 2015 ซึ่งในปัจจุบัน มีทั้งหมด 5 สาขาแล้ว นอกจากนี้ SOS ยังได้มีการขยายแบรนด์ลูก หรือ Sub-brand ทีช่ อื่ ว่า Sense by SOS ด้วยอีก 2 สาขา โดยปั จ จุ บั น มี แ บรนด์ สิ น ค้ า ภายใต้ ร้ า นทั้ ง หมด กว่า 300 แบรนด์

33


34

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ตัวอย่างของร้าน Multi-Brand Stores ในประเทศ

CAMP ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 โดย มี ก ารเปิ ด สาขาแรกที่ ส ยามและปั จ จุ บั น มี ก าร ขยายสาขาที่ ส องที่ เ มกะบางนาจโดยมี แ บรนด์ สินค้าภายใต้ร้าน CAMP กว่า 150 แบรนด์


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

35


36

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ตัวอย่างของร้าน Multi-Brand Stores ในประเทศ

MATCHBOX ก่อตั้งมาเมื่อปีค.ศ. 2016 ปัจจุบันนี้มีทั้งหมด 2 สาขาแล้ว โดยสาขา ล่า สุด เพิ่งเปิด เมื่อต้น เดือ นเมษายนที่ผ่า นมา ซึ่งทั้ง 2 สาขา ของร้านนี้ ตั้งอยู่ที่สยามแสควร์


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

37


38

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

กลุ่ ม ลู ก ค้ าหลั ก ขอ ง Multi-Brand Stores ไม่เคยซื้อ เคยซื้อ จากผลการสำ�รวจ จากกลุ่มตัวอย่าง 415 ชุด มี กลุ่มตัวอย่างที่เคยซื้อสินค้าใน Multi-Brand Stores 225 คน หรือคิดเป็น 54.2%

โดยพวกเราพบว่ า กลุ่ ม นั ก ช้ อ ปที่ ซื้ อ สิ น ค้ า ใน Multi-Brand Stores เหล่านี้มากที่สุด คือกลุ่มนักช้อป ที่มีอายุ 26-30 ปีค่ะ รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักช้อปอายุ 16-20 ปี และ 21-25 ปี ส่วนกลุ่มนักช้อปอายุตั้งแต่ 31 ปีขึ้นไปเราพบว่ามีสัดส่วนที่น้อยที่สุด


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

39

ทัศนคติหรือมุมมองเกี่ยวกับ ร้าน Multi-Brand Stores มุมมองจากกลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 16-20 ปี

“รู้สึกราคาแพง ร้านดูดีไม่กล้าเข้า” “ไม่รู้จักแบรนด์ที่อยู่ในร้าน” “จะไปซื้อเวลาใส่ไปในโอกาสพิเศษ”

นักช้อปกลุ่มนี้ก็คือน้องๆ วัยเรียนที่ยังมีรายได้ไม่ สูงนัก พวกเขามีมุมมองว่าสินค้าในร้านจะค่อนข้างมีราคาสูง และพวกเขาเองก็ ไ ม่ ไ ด้ รู้ จั ก แบรนด์ ที่ อ ยู่ ใ นร้ า นมากนั ก นอกจากนี้ยังมองว่าสินค้าในร้านจะดูหรูหราไม่เหมาะกับที่ เค้าจะใส่ในชีวิตประจำ�วันแต่จะเหมาะสำ�หรับใส่ไปออกงาน หรือโอกาสพิเศษต่างๆ มากกว่า ดังนั้น นักช้อปกลุ่มนี้เค้าจะเข้าไปเลือกซื้อสินค้าใน ร้าน Multi-Brand Store เมื่อเค้าต้องการหาชุดไปออกงาน หรือโอกาสพิเศษต่างๆ เพราะแต่เดิมหากเค้าจะต้องหาชุด พิเศษเค้าจะต้องไปตามร้านที่สั่งตัดชุดต่างๆ แต่ในปัจจุบัน เค้าเลือกที่จะมาเลือกซื้อสินค้าในร้าน Multi-Brand Store เหล่านี้


40

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ทัศนคติหรือมุมมองเกี่ยวกับ ร้าน Multi-Brand Stores มุมมองจากกลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 21-25 ปี

“ราคาค่อนข้างสูงแต่เทียบกับคุณภาพแล้วโอเค” “ขายชุดสำ�หรับไปออกงาน” นักช้อปกลุ่มนี้ คือกลุ่มที่เพิ่งเริ่มชีวิตการทำ�งาน หรือเป็นกลุ่ม First Jobber นั่นเอง สำ�หรับกลุ่มนี้จะเริ่มมี รายได้เป็นของตนเองแล้ว ซึ่งกลุ่มนักช้อปมองว่า สินค้าใน ร้านมีราคาค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบกับคุณภาพแล้ว กลุ่ม นักช้อปมองว่าเหมาะสม และนอกจากนี้ยังมองว่า ซึ่งสไตล์ ของชุดส่วนใหญ่ในร้านนี้ จะเป็นชุดที่เหมาะสำ�หรับใส่ใน โอกาสพิเศษ เช่น งานแต่ง หรืองานพิเศษต่างๆ พวกเขาก็จะ เลือกซื้อที่ร้านเหล่านี้


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

มุมมองจากกลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 21-25 ปี “คุณภาพดีกว่าแบรนด์ระดับโลก เพราะพวกนั้นผลิตเป็นล๊อตใหญ่ๆ” “ใส่ในวันหยุด ใส่ไปออกงาน” “ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ” “ซื้อแล้วเอาไปขายต่อได้ราคาดีกว่าซื้อจากร้านทั่วไป” ทั้งสองกลุ่มนี้จะมีมุมมองที่ใกล้เคียงกัน นั่นคือ กลุ่มนักช้อป มองว่า สินค้าใน Multi-Brand Stores จะราคาสูงกว่าพวกสินค้าแบรนด์ ระดับโลกทัว่ ไป แต่พวกเขาเองก็มองว่า คุณภาพเองก็สงู กว่าเช่นเดียวกัน เนื่องจากสินค้าแบรนด์ระดับโลก จะมีการจะผลิตเสื้อผ้า ในปริมาณ มาก แต่สำ�หรับ สินค้าใน Multi-Brand Stores จะผลิตในจำ�นวนที่ น้อยกว่า ซึ่งในเวลาทำ�งานกลุ่มนักช้อปจะเลือกใส่เสื้อผ้าที่เป็นแบรนด์ ระดับโลก แต่เมื่อถึงวันหยุดหรือเวลาท่องเที่ยวจะเลือกใส่เสื้อผ้าจาก Multi-Brand Stores นอกจากนี้ เหล่านักช้อปกลุ่มนี้ยังมองว่า เสื้อผ้า หรือสินค้าที่ซื้อจาก Multi-Brand Stores ยังสามารถขายต่อได้อีก ด้วย ซึ่งราคาสินค้านั้นจะลดลงจากราคาเต็ม 30-40% เท่านั้น

41


42

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

นั กช้ อ ปเหล่ า นี้ เ ข้ า ไปดู สิ น ค้ า ใน Multi-Brand Stores เพราะอะไร กลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 16-20 ปี เข้าไปดูสินค้า ใน Multi-Brand Stores เพราะ Concept ของร้าน Multi-Brand Stores โดยพวกเขาจะเลือกเข้า Multibrand Stores ที่มี Concept หรือ Style ตรงกับ พวกเขา เพื่อแสดงความเป็นตัวตนของพวกเขาเอง

กลุ่มนักช้อปที่มีอายุ 21-25 ปี 26-30 ปี และอายุ 31 ปีขึ้นไป เข้าไปดูในสินค้าใน Multi-Brand Stores เพราะ ตามแบรนด์สินค้ามาจากสื่อ Online โดยนักช้อปเหล่านี้จะมีการดูสินค้าในโลก Online ก่อน หากชอบสินค้าใด จะมีการ Capture รูปภาพในมือถือ ของตนเองเอาไว้ และเมื่อถึงที่ Multi-Brand Stores ก็จะ ทำ�การเปิดรูปที่ Capture เอาไว้ในมือถือ ให้กับพนักงาน ที่ร้านดู ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่า การสื่อสารกับนักช้อปใน ช่องทาง Online ก็ยังมีความสำ�คัญอยู่มาก ดังนั้นผู้ ประกอบการที่วางแผนต้องการนำ�สินค้าเข้าไปวางขายใน Multi-Brand Stores ก็จำ�เป็นที่จะต้องให้ความสำ�คัญ กับการสื่อสารผ่านช่องทาง Online อยู่เช่นเดิม


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

43

นั กช้ อ ปเหล่ า นี้ เ ข้ า ไปซื้ อ สิ น ค้ า ใน Multi-Brand Stores เพราะอะไร ปั จ จั ย ที่ ส่ ง ผลมากที่ สุ ด ให้ นั ก ช้ อ ปซื้ อ สิ น ค้ า Design หรือ รูปแบบของสินค้า เพราะว่า กลุ่มนักช้อป จะเลือกรูปแบบหรือ Design ที่เป็น Style ของกลุ่ม นักช้​้อปจริงๆ เพื่อเป็นการตอกย้ำ�ตัวตน และ บุคคลิก ของพวกเขา

พฤติกรรมที่น่าสนใจ หลังจากที่ได้มีการเก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่มนัก ช้อปที่เคยซื้อสินค้าใน Multi-Brand Stores ทางทีมผู้วิจัย พบพฤติกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อนักช้อปมีการวางแผนเอาไว้ว่า ในวันเสาร์ตั้งใจเข้าไปซื้อแบรนด์สินค้า A แต่ปรากฎว่า เมื่อ เข้าไปที่ร้านแล้ว เดินเข้าไปดูสินค้าแบรนด์ A แต่ Shelf ข้างๆมี สินค้าแบรนด์ B ที่เป็นสไตล์เสื้อผ้าสวย ดีไซน์ดี ใกล้เคียงกับ แบรนด์ A กลับกลายเป็นว่า นักช้อปได้สินค้าทั้งจาก แบรนด์ A และ แบรนด์ B แบบไม่ได้ตั้งใจอีกด้วย บางครั้งหากนักช้อปเห็นสินค้าแบรนด์อื่นแล้วมีความ สนใจ ถึงแม้จะไม่ได้ซื้อในทันที แต่เขาก็ยังจำ� แบรนด์ที่เขาสนใจไว้แล้วจึงกลับไป Follow แบรนด์นั้นต่อใน Instagram เมื่ อ นั ก ช้ อ ปเคยซื้ อ สิ น ค้ า จากหน้ า ร้ า นแล้ ว มี ค วาม พึงพอใจต่อไปในอนาคต นักช้อปก็จะกล้าที่จะซื้อผ่านช่องทาง ออนไลน์ เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในแบรนด์สินค้านั้นๆ


44

TO DO

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

1

สินค้าต้อง มีเอกลักษณ์ และ ความแตกต่าง

2

คุณภาพของ สินค้าต้อง ได้มาตรฐาน

3

เนื่องจาก Multi-Brand Stores เป็นร้านค้า ที่มีแบรนด์สินค้าอยู่มากมายหลากหลายแบรนด์ ดัง นั้นผู้ประกอบการจำ�เป็นที่จะต้องสร้างเอกลักษณ์ให้ กับแบรนด์สินค้าของตนเพื่อให้มีความโดดเด่นละเป็นที่ จดจำ�ของบรรดาผู้บริโภค

จากผลการวิจัยพบว่าผู้บริโภคมีความคาด หวังในคุณภาพของสินค้าใน Multi-Brand Stores ว่ า จะต้ อ งมี คุ ณ ภาพที่ เ หนื อ กว่ า สิ น ค้ า แฟชั่ น ระดั บ โลก ดังนั้นผู้ประกอบการควรที่จะให้ความสำ�คัญด้าน คุณภาพของสินค้าเพื่อตอบสนองต่อความคาดหวัง ของผู้บริโภค

ออกแบบสินค้า รุ่นใหม่ๆ แบบใหม่ๆ อย่างสม่ำ�เสมอ

การออกแบบสินค้าใหม่ๆอยู่อย่างสม่ำ�เสมอ จะมีผลต่อความมั่นใจของผู้บริโภค เนื่องจากแบรนด์ๆ นั้นจะเป็นแบรนด์ที่ไม่หยุดนิ่ง นอกจากนี้การออกแบบ สินค้าใหม่ๆอย่างสม่ำ�เสมอจะทำ�ให้แบรนด์เป็นเหมือน ผู้นำ�ด้านแฟชั่น ซึ่งจะทำ�ให้มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง


LIST

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

4

กำ � ลั ง ก า ร ผ ลิ ต สิ น ค้ า เ ข้ า ร้ า น ต้องเพีย งพอ

6

จากผลการวิ จั ย พบว่ า บรรดาผู้ บ ริ โ ภคเข้ า ไป เลือกดูสินค้าใน Multi-Brand Stores ก็เพราะว่าติดตาม แบรนด์สินค้ามาจากโลก Online ดังนั้น ผู้ประกอบการก็ ควรที่จะทำ�แบรนด์ของตนให้เป็นที่รู้จักในโลก Online จน มีฐานลูกค้าที่ติดตามแบรนด์ในระดับหนึ่งก่อนที่จะตัดสิน ใจวางขายสินค้าใน Multi-Brand Stores

ทำ�แบรนด์ให้เป็น ที่จดจำ�ได้ จาก Online ก่อน

5

45

การวางขายสินค้าใน Multi-Brand Stores ก็ เปรียบเสมือนการขยายช่องทางในการขาย ดังนั้นกำ�ลัง การผลิตจะต้องเพียงพอ กับความต้องการของลูกค้า ทั้งจากฝั่ง Online และฝั่ง Multi-Brand Stores

มีการจัดทำ�บัญชี แ ล ะ มี เ งิ น ทุ น ห มุ น เ วี ย น เ พื่ อ ป้องกันความเสี่ย ง

การขยายโอกาสทางธุ ร กิ จ ย่ อ มต้ อ งใช้ เ งิ น ลงทุน และปริมาณของสินค้า ที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นผู้ ประกอบการควรมี ก ารจั ด ทำ � บั ญ ชี แ ละมั่ น ใจว่ า มี เ งิ น ทุนหมุนเวียนที่เพียงพอเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการ ขยายธุรกิจ


46

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

DON'T! ระวังเรื่อง Concept ของร้านว่า ตรงกับสินค้าของเราหรือไม่ ก่อนที่จะตัดสินใจเลือก Multi-Brand Stores ที่ จะนำ�สินค้าเข้าไปวางขาย ผู้ประกอบการควรรู้ Concept ของ Multi-Brand Stores ร้านนั้นๆ ว่าเหมาะสมกับสินค้า ของท่านหรือไม่ เพราะหาก Concept ของ Multi-Brand Stores ไม่เหมาะสมกับสินค้าที่จะวางขาย จะทำ�ให้ผู้บริโภค มองภาพลักษณ์ของสินค้าแบรนด์ท่านผิดไปได้

ห้ามคิดว่าเข้า Multi-Brand Stores แล้วจะไม่ทำ�ฝั่ง Online เนื่องจากผู้บริโภคยังมีพฤติกรรมที่ติดตามสินค้า มาจากโลก Online รวมทั้ง เมื่อผู้บริโภคซื้อสินค้าที่ MultiBrand Stores แล้วเกิดความมั่นใจก็มีแนวโน้มจะกลับไป ซื้อสินค้าแบรนด์นั้นๆ ใน Online ต่อไป ดังนั้นผู้ประกอบ การทั้งหลายควรที่จะให้ความสำ�คัญทั้งฝั่ง Online และฝั่ง Multi-Brand Stores ในสัดส่วนที่เท่ากัน


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

47


48

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

Tips ปังๆ

ทำ � อ ย่ า งไ ร ใ ห้ โดนใจลูกค้า เมื่อเรากำ�ลังจะได้เข้าไปอยู่ใน Multi Brand Stores แล้วเราจะทำ�อย่างไรดีให้สินค้าเราดูน่าสนใจและดึงดูด


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ควรมี Product อะไรบ้าง สินค้าที่ผู้บริโภคตั้งใจซื้อ (Needs)

เป็นสินค้าที่ตามแฟชั่น นำ�เทรนด์สุดๆ มีแค่แบรนด์ เราแบรนด์เดียวเท่านั้น ลูกค้าต้องมาซื้อของเรา เพราะฉะนั้น สินค้าประเภทนี้ควรมีติดราวไว้ ประมาณ 2-3 แบบ ซึ่งเป็น จุดเด่นของแบรนด์ สื่อถึงเอกลักษณ์ของแบรนด์ได้อย่าง ชัดเจน และราคาจะสูงกว่าตัวอื่นๆ

สินค้าที่อยากซื้อ (Wants)

เป็นสินค้าที่ไม่ได้ตามแฟชั่นมากนัก แต่ไม่ได้ตกเทรนด์ เป็นสินค้าที่ใส่ในชีวิตประจำ�วันได้ ราคาจะอยู่ที่ระดับกลางๆ และ เป็นตัวทำ�กำ�ไร สินค้าประเภทนี้ควรมีมากที่สุด เพราะลูกค้าที่ ไม่ได้ตั้งใจซื้อจะมาซื้อแบรนด์เรา เพราะอาจจะเห็นสินค้าโดยไม่ ตั้งใจ และเลือกซื้อก็เป็นได้

สินค้าซื้อง่าย (Impulse)

สินค้าประเภทนี้คือสินค้าราคาถูก ในราคาไม่เกิน 300 บาท เพราะซื้อง่ายจ่ายคล่อง ถ้าในแบรนด์เสื้อผ้า คือ เสื้อยืด ถ้าเป็นแบรนด์กระเป๋า คือ กระเป๋าใส่เศษเห รียญใบเล็กๆ หรือเป็นสินค้าที่อยู่ในชีวิตประจำ�วัน ใช้ได้ ตลอด เปลี่ยนง่าย ซื้อบ่อย

สินค้า ลดราคา (Promotion)

ควรมีสินค้าที่จัดโปรโมชั่นอยู่ในราวบ้าง เพื่อที่จะ เรียกลูกค้าได้บ้าง ถ้าไม่ใช่ช่วง Season Sale อาจจะเป็น ลดราคา 10 % สำ�หรับนักเรียน นักศึกษา เป็นต้น

49


50

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

เลือก LOCATION อย่างไรดี


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

หน้าร้านจะเป็นสิ่งที่ลูกค้าเห็นเป็นอันดับแรก โดยร้านค้า ทั่วไปจะใช้ตู้กระจกเป็นตัวสื่อสาร และบอกเล่าตัวตนของแบรนด์ แต่ถ้าเป็น Muti-Brand Stores พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ให้เช่า ซึ่ง ถ้าเราได้พื้นที่เช่าตรงส่วนนี้ ลูกค้าจะเห็นแบรนด์ของเราทั้งทาง หน้าร้านและในร้านด้วย เราจึงควรจะโชว์สินค้าของเราให้ลูกค้า เห็นจากภายนอกด้วย โดยอาจจะติดป้าย หรือการแขวนที่มอง เห็นได้จากทางนอกร้านด้วย การเดินเข้าร้านของลูกค้า ลูกค้าส่วนใหญ่จะวนทางซ้าย เพราะฉะนั้นทำ�เลที่ดีจึงอยู่ที่ราวทางซ้ายมือ จุดที่ลูกค้าจะเห็น มากที่สุดเช่นเดียวกัน คือ จุดที่ตรงประตูทางเข้า และอีกจุดหนึ่ง ที่สำ�คัญไม่แพ้กัน คือ จุดชำ�ระเงิน เพราะระหว่างที่ลูกค้ารอชำ�ระ เงิน จะกวาดสายตาไปรอบๆ แต่สินค้าที่จะวางจุดนี้ได้ ต้องเป็นจุด ที่สินค้าราคาถูกเท่านั้น เพราะลูกค้าเสียเงินให้กับสินค้าที่เลือก มาก่อนหน้านี้แล้ว ลูกค้าจึงไม่อยากเสียเงินเพิ่มอีกถ้าสินค้าของ เราราคาไม่ถึง 300 บาท และเป็นสินค้าที่เลือกง่าย ซื้อง่าย ก็ควร จะเลือกทำ�เลตรงนี้ สิ่งสำ�คัญที่สุดที่เราจะเลือกทำ�เลได้ดีที่สุด นั่นคือการดู ทิศทางการเดินของลูกค้ากับจุดที่ลูกค้าสนใจเห็นเป็นอันดับแรก

51


52

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

เรีย ง PRODUCT

ตัวอย่างการเรียงสินค้าประเภทเสื้อผ้า ซึ่งเป็น ประเภทสินค้าที่นิยมขายกันมากที่สุด การเช่าพื้นที่ ใน Muti-Brand Stores นั้น เราจะได้พื้นที่ประมาณ 1 เมตร เราจะทำ�ให้สินค้าดูน่าสนใจ และต่างจากแบรนด์ อื่นได้ไม่ยาก ขั้นแรก ก่อนการออก Collection ควร จะมีเรื่องราว หรือมีตัวตนของเราอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น สินค้าที่อยู่ในราวที่บอกตัวตนของแบรนด์ ควรจะมีอยู่ ในราวประมาณ 60% ส่วนสีรองอาจจะมีแค่ 15% และ สีเบสิคที่ทุกแบรนด์ต้องมี เพราะเป็นสีที่ลูกค้าซื้อได้ง่าย สัดส่วนประมาณ 25%

สีรอง 15%

ตัวอย่าง สมมติเรื่องราวเป็นลายดอกสำ�หรับ Summer ควรจะให้ลายดอกเป็น 50% ส่วนสีเขียว และฟ้า ซึ่งเป็นสีรองควรนำ�มาใส่เพื่อให้ราวดูโดดเด่นขึ้น ทำ�ให้ไม่ดูน่าเบื่อประมาณ 15% และสีเบสิคคือสีดำ� ขาว และครีม ควรมีสัดส่วนที่ 25%


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

สีรอง 15%

ถ้าสินค้าไม่มีลาย มีแต่สีพื้นเป็นหลัก เช่น สีแดง สีชมพู ควรให้​้น้ำ�หนักที่ 50% ตามด้วยสีเบสิค สีครีม สีโอรส 25% และเพื่อไม่ให้ราวดูน่าเบื่ออาจ ใส่สีฟ้าเพิ่มเข้าไป

แต่ถ้าสีในแบรนด์มีไม่มาก เพราะเพิ่งเริ่มแบรนด์ ได้ไม่นาน สามารถทำ�ได้โดยจัดวางสินค้าไม่ให้แน่น และ เรียงตามประเภทอย่างชัดเจน ถึงมีไม่กี่สีก็ยังสวยได้

53


54

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

เรีย ง PRODUCT

การเรียงสินค้านั้นทำ�ได้ไม่ยาก ควรจำ�ไว้ว่าลูกค้า จะมองสินค้าจากซ้ายไปขวา ดังนั้นสิ่งที่อยู่ราวฝั่งซ้ายสุด และอยู่ข้างหน้าเพื่อให้ลูกค้าเห็นสินค้าเต็มๆ ควรเป็นสินค้า ที่มิกซ์แอนด์แมทช์ไว้แล้ว เช่น การนำ�เสื้อ กระโปรงหรือ กางเกง และแจ๊คเก็ตมาแขวนไว้ในไม้แขวนเดียว เพื่อเพิ่ม โอกาสทางการขายและลูกค้าเห็น และรู้สึกอยากแต่งแบบนี้ ก็อาจจะซื้อทั้งลุคเลย ถัดไปคือสินค้าท่อนบน ต่อด้วยท่อน ล่าง และแจ๊คเกต และสุดท้ายคือเดรส ถ้าแบรนด์ไหนมีสินค้า เซลล์ควรเอาไว้ท้ายสุด แต่ถ้าช่วงนั้นเป็นช่วงลดราคาควรจะ นำ�สินค้าลดราคามาอยู่หน้าสุดหรือซ้ายสุด และสินค้าราคา ปกติควรจะอยู่ท้ายสุดหรือทางขวามือ และอย่าลืมว่าลูกค้า จะมองสินค้าจากทางซ้ายมือ แต่ก็เลือกที่จะหยิบด้วยมือขวา มากกว่า ถ้าวางสินค้าแยกประเภทชัดเจน ไม่แน่น ไม่แออัด เกินไป ก็จะเป็นโอกาสทางการขายมากขึ้น


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ตกแต่ง

นอกจากการเรียงสินค้าแล้ว ยังมีอีกสิ่งหน่ึงที่ สามารถทำ�ได้เช่นเดียวกัน คือการตกแต่งราว โดยที่จะ ต้องไม่รบกวนสินค้าแบรนด์อื่น และได้รับอนุญาตจาก เจ้าของ Multi-Brand Stores แล้วเท่านั้น ถ้าป้ายชื่อ แบรนด์ของเราที่ทางเจ้าของ Multi-Brand Stores จัด ไว้ให้ ไม่บ่งบอกถึงตัวตนของแบรนด์ เราสามารถทำ�ป้าย เองมาประดับตกแต่งติดไว้ที่ราวแขวนได้ เพื่อบ่งบอก ตั ว ตนของแบรนด์ ห รื อ สามารถนำ � รู ป นางแบบที่ ใ ส่ เสื้อผ้าของแบรนด์ ติดบนราวแขวน หรือแขวนไว้กับ ไม้แขวนเสื้อได้เลย จะทำ�ให้ลูกค้าเห็นภาพมากขึ้นว่าใส่ เสื้อตัวนั้น แล้วจะออกมาเป็นอย่างไร หรือการทำ�ป้าย บอกเล่า ถึงเทรนด์ปัจจุบัน หรือคุณลักษณะพิเศษของ แบรนด์ แขวนไว้ที่ราวก็สามารถทำ�ได้เช่นกัน หรือการ แขวนป้ายราคา หรือป้ายลดราคาก็ทำ�ได้เช่นกัน เพราะ เมื่อลูกค้าเห็นป้ายราคา หรือป้ายลดราคา จะสามารถ ดึงดูดลูกค้าเข้ามาดูสินค้าได้มากขึ้น แต่อย่าลืมว่าลูกค้า ใช้เวลา 12 วินาทีในการอ่านป้าย และใช้เวลาเพียง 4 วินาที ในการตัดสินใจ ดังนั้นป้ายต้องชัดเจน ตัวใหญ่ เห็นเด่นชัด

55


56

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

กำ�หนดการจัดงาน (Agenda) เวลา

กำ�หนดการ

13.00 – 13.30 น. 13.30 – 13.40 น.

ลงทะเบียน พิธีกรกล่าวต้อนรับ ประธานกล่าวเปิดการสัมมนา

13.40 – 14.45 น.

Session 1 เริ่มหัวข้อการสัมมนา

- ส่องพฤติกรรม และความต้องการ นักช้อปสินค้าแฟชั่นผ่านช่องทาง Online - ขยายโอกาส เพิ่มช่องทาง ด้วย Multi-Brand Stores - Tips ปังๆ ทำ�อย่างไรให้โดนใจลูกค้า

14.45 –15.00 น.

ผู้นำ�เสนอ นางสาวระริน พิเชษฐศิลป์

นางสาววลัยลักษณ์ บุญสม นางสาวอรวรรณ ชัยวงษ์วิบูลย์ นายสุปภพ เอกคณานุวงศ์ นางสาวเจมินี่น์ เจนอารีวงศ์ นางสาวพบยินดี พุดซ้อน

พักรับประทานอาหารว่าง Session 2 เสวนาแลกเปลี่ยนความลับ การสร้างแบรนด์จาก Instagram สู่ In Stores

นางสาวระริน พิเชษฐศิลป์ นางสาวเจมินี่น์ เจนอารีวงศ์

15.45 - 16.00 น.

Q&A

นางสาวระริน พิเชษฐศิลป์

16.00 - 16.10 น.

ประธานกล่าวปิดงาน

นางสาวระริน พิเชษฐศิลป์

15.00 –15.45 น.

- คุณอริยะ จิรวรา (หุ้นส่วนร้าน SOS-Sense Of Style :Multi Brand Store) - คุณธัชพร วาจาสัตย์ (Brand: Lavanetta) - คุณณิชา สมิทธิปรีชาวงษ์ (Brand: Troopers) - คุณนันทกุล ซีตันติเวช (Brand: Dallar Jewelry)


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

:

57


58

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

คำ�ถามสัมภาษณ์วิทยากร จุดเริ่มต้น ที่มาของร้าน อะไรที่เป็นตัวตัดสินใจ เริ่มต้นเปิด Multi-Brand Stores?

จุดเริ่มต้น ที่มาของแบรนด์ ที่มาของชื่อ

กลุ่มเป้าหมายของ ร้าน SOS เป็นใคร และมีลักษณะเป็นแบบไหน Character ของ ร้าน SOS ถ้าเป็น ดาราคุณคิดว่าเหมือนใคร

กลุ่มเป้าหมายของ Brand แต่ละคน มองว่าเป็นใคร และมีลักษณะเป็นแบบไหน Character ของ Brand ถ้าให้เปรียบเทียบดารา คุณคิดว่าเหมือนใคร

อะไรคือความท้าทาย ในการบริหารจัดการ อะไรคือจุดเด่นของแบรนด์ อะไรคือความยากใน การบริหารแบรนด์ให้ ประสบความสำ�เร็จ หรือเป็นที่รู้จัก

อะไรคือจุดเด่นของร้าน

เคยเจอปัญหาอะไรที่ หนักสุดในการเปิดหน้าร้าน และมีวิธีการแก้ไขอย่างไร

เคยเจอปัญหาอะไรที่ หนักสุดในการ เปิดร้านทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ และมีวิธี แก้ไขอย่างไร

อยากฝากอะไรให้คน ที่อยากมีแบรนด์ขายสินค้า (ข้อแนะนำ�,ข้อควรระวัง, Tips ดีๆ)


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

กลุ่มเป้าหมาย ที่จะเข้าฟังสัมมนา ผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 100 ท่าน ประกอบด้วย

15% 50% 15%

ผู้ประกอบการธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดเล็ก(SMEs) ได้แก่ เจ้าของแบรนด์สินค้าแฟชั่น

10%

บุคคลทั่วไป และอาชีพอิสระ

นักการตลาด นักวิชาการ และอาจารย์

1%

สื่อมวลชน

พนักงานภาครัฐ และเอกชน

9%

นิสิต - นักศึกษา

59


60

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

สื่อโฆษณาและ ประชาสัมพันธ์ (Media Implemented)

Poster A3

กระดาษขนาด A3 พิมพ์ 4 สี เพื่อ ประชาสัมพันธ์การจัดงานสัมมนาตามจุด ต่างๆ ดังนี้ - ติดโปสเตอร์บริเวณที่มีผู้คน เดินไปมา เช่น ลานจอดรถ หน้าลิฟต์ และ ภายในอาคารแต่ละชั้นตั้งแต่ชั้น 2 ขึ้นไป - ติดโปสเตอร์ตามสถานที่ที่คาด ว่าจะมีกลุ่มเป้าหมายพบเห็นได้ง่าย

Social Media

ใช้วิธีการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง ดังนี้ - Facebook สร้างเพจเพื่อประชาสัมพันธ์ งานสัมมนา โดยอัพเดตข้อมูลข่าวสาร เช่น โพสต์ Print AD ลง Facebook และแชร์ ต่อ เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง ในชื่อ เพจhttps://www.facebook.com/ multifashionbrandstore/ - Facebook Page: CMMU, CMMU Thai Program - Instagram สร้างพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่ง ในการ ประชาสัมพันธ์งานสัมมนา


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

61

Website - Zipeventapp: เปิดเป็นช่องทางในการลงทะเบียน และประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ https:// www.zipeventapp.com/e/Instagram-In-Store-Online-to-on-Shelves - สัมมนาดีดีดอทคอม: http://seminardd.com/s/39463 - Pantip: www.pantip.com โดยติด #เจ้าของธุรกิจ #แฟชั่น #MultiBrandStores - Kapook: https://hilight.kapook.com/view/152426 - Sanook: http://campus.sanook.com/1384841/ - Allevents: https://allevents.in/bangkok/596269520575071 - Khaosod: https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_318472 - Brandbuffet: https://www.brandbuffet.in.th/2017/05/instragram-stories-marketing-cmmu/

E-mail

เพื่ อ เป็ น ช่ อ งทางในการอั พ เดตข้ อ มู ล ข่าวสารของกิจกรรม และใช้เป็นช่องในการ ส่งข้อมูลสำ�หรับผู้เข้าร่วมสัมมนา


62

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

งบประมาณค่าใช้จ่าย ÅํÒ ´Ñº

Çѹ ·Õ่

ÃÒÂÅÐàÍÕ ´ÃÒÂÃѺ ¡ÅØ Á Multi Brand Stores

¨ํÒ ¹Ç¹(ºÒ·)

1

3/23/2017 à¡็º à§Ô¹ ·ÕÁ §Ò¹Ãͺ·Õ่ 1 9*1,000

9,000.00

2

4/26/2017 à¡็º à§Ô¹ ·ÕÁ §Ò¹Ãͺ·Õ่ 2 9*500

4,500.00

3

à§Ô¹ ʹѺ ʹع ¨Ò¡ÁËÒÇÔ· ÂÒÅÑÂ

3,000.00

4

à§Ô¹ ʹѺ ʹع ¨Ò¡ Sponsor "⪡غ ØÊ«Ö âÁ⹡ҵÒÃÔ"

5,000.00

5

¹้ํÒ ÊÔ§Ë 180 ¢Ç´*7

1,260.00

6

Farm Design Cake 100 ªÔ้¹ *80

8,000.00

7

Farm Design Moo Moo Box 50 ¡Å ͧ*70

3,500.00

8

¡Òá¿àºÍà ´ Õ้

1,950.00

9

Ever Fresh ¹้ํÒ ÂÒÅ Ò §·ํÒ ¤ÇÒÁÊÐÍÒ´ 129 ¢Ç´*60

11,661.00

10

Ever Fresh ·ÔªªÙ à» Â ¡·ํÒ ¤ÇÒÁÊÐÍÒ´ 144 «Í§*38

5,472.00

11

Sampling ¢¹ÁÂÙ¡ Ô 100 «Í§àÅ็¡

-

12

Sampling Hi-Herb 150 ¡Å ͧàÅ็¡

53,343.00

ÅํÒ ´Ñº

Çѹ ·Õ่

ÃÒÂÅÐàÍÕ ´ÃÒ¨ Ò Â Multi Brand Stores

¨ํÒ ¹Ç¹(ºÒ·)

1

3/8/2017

á¡ Ç ª§¡Òá¿ÊµÒà º Ѥ Ê ãË ´ Ã.©Ñµ êÑÂ

2

4/1/2017

¤ Ò «Õà ็ͤẺÊͺ¶ÒÁ

(256.00)

3

4/1/2017

¤ Ò Ã¶ä»ÃѺ ºÑµ à Voucher ¢Í§ Major

(140.00)

4

4/11/2017 ¤ Ò ·Õ่¨Í´Ã¶ä»ÊÑÁ ÀÒɳ Milin

5

4/17/2017 ¤ Ò àª Ò Ë Í§·ํÒ ÃÒ§ҹ (JOINT BKK)

6

4/20/2017 ¤ Ò Ã¶ä»ÃѺ ºÑµ à Voucher ¢Í§ Coffee World

(100.00)

7

4/22/2017 ¤ Ò «Õà ็ͤẺÊͺ¶ÒÁ

(60.00)

8

4/22/2017 ¤ Ò Ã¶ä»à¡็º ẺÊͺ¶ÒÁ·Õ่ Siam

(269.00)

9

4/29/2017 ¤ Ò ºÑµ à Voucher ¢Í§ SOS

(300.00)

10

5/7/2017

¤ Ò »Ò¡¡Ò+á¿ Á +ÍØ» ¡Ã³ » ÃСͺ©Ò¡

(690.00)

11

5/8/2017

¤ Ò ºÙ· â¾Ê Facebook

(385.00)

12 13 14

5/9/2017 5/9/2017 5/9/2017

¤ Ò ¡Å ͧãÊ à¤ ¡ + ª ͹ + ¶Ø§ ¤ Ò »ÃÔ้¹ · â»ÃªÑÇ Ã A4 (˹ Ò ËÅѧ) 130 á¼ ¹ +Ẻ»ÃÐàÁÔ¹ 130 ªØ´ ¤ Ò ÍØ» ¡Ã³ à¾Ô่Á àµÔÁ à·»ãÊ à·»â¿Á

15

5/11/2017

¤ Ò ´Í¡äÁ äËÇ È ÒžÃÐÀÙÁ Ô,È ÒžÃоÃËÁ

(170.00)

16

5/11/2017

¤ Ò àªÊàµÍà ¡ ÃÔÅÅ · ÕÁ §Ò¹áÅÐᢡÃѺ àªÔ­

(1,716.00)

17

5/11/2017

¤ Ò »ÃÔ้¹ · Checklist

(132.00)

18

5/11/2017

¤ Ò Ã¶ä»ÃѺ cake Farm design

(109.00)

19

5/11/2017

¤ Ò ´Í¡äÁ ã Ë á ¢¡ÃѺ àªÔ­ 150*4

(600.00)

(1,845.00)

(160.00) (1,700.00)

(284.00) (1,960.00) (798.00)

20

¤ Ò â·ÃÈѾ· ÊÑÁ ÀÒɳ á ºÃ¹´ /Confirm ¼Ù à¢ Ò Ã Ç ÁÊÑÁ Á¹Ò

(1,000.00)

21

¤ Ò Prop/ Backdrop

(5,000.00) (17,674.00) 35,669.00


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ประเมินผลการสัมมนา

63


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

64

ประเมินผลการสัมมนา ระดับความพึงพอใจ ต่อเนื้อหาสัมมนา 1. ความเหมาะสมและความน่าสนใจของเนื้อหา

90.38%

2. การเรียบเรียง จัดลำ�ดับของเนื้อหา เพื่อความเข้าใจ

90.77%

3. ความชัดเจนของรายละเอียดเนื้อหา

89.23%

4. การจับประเด็น การยกตัวอย่างกรณีศึกษามาใช้ตรงกับหัวข้อการสัมมนา

88.85%

5. เนื้อหามีประโยชน์ สามารถประยุกต์ใช้งานจริง

92.31%

ระดับความพึงพอใจ ต่อผู้ดำ�เนินรายการ น.ส. ระริน พิเชษศิลป์ 1. มีความกระตือรือร้น ดึงดูดความสนใจผู้เข้าสัมมนาฯ

2. ทักษะไหวพริบ ความสามารถควบคุมสถานการณ์เฉพาะหน้า

91.54% 91.92%

3. สามารถชักจูงเข้าสัมมนาฯให้อยู่ในประเด็นที่สำ�คัญได้เป็นอย่างดี

90.77%

4. มีความเหมาะสมในการใช้ภาษาและความสุภาพในการดำ�เนินรายการ

90.00%

5. การสรุปประเด็นเชื่อมโยง ประเด็นสอดคล้องกับหัวข้อสัมมนาฯ

91.15%


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

65

ระดับความพึงพอใจ ต่อผู้บรรยาย 1. บุคลิกภาพ ท่าทาง โทนเสียงในการบรรยาย 2. เนื้อหาที่นำ�เสนอมีรายละเอียดที่ครบถ้วน ดึงดูด และน่าสนใจ

86.15% 89.62%

3. มีการเรียบเรียงและจัดลำ�ดับขั้นตอน ของ เนื้อหา ได้เป็นอย่างดีเพื่อให้มีความเข้าใจง่าย

90.00%

4. สามารถใช้ประเด็นของเนื้อหามาเป็นตัวนำ� ในการดำ�เนินการสัมมนาฯได้เป็นอย่างดี

90.38%

5. เนื้อหาที่นำ�เสนอตรงกับวัตถุประสงค์ของการ จัดงานและผู้เข้าสัมมนาฯบรรลุวัตถุประสงค์นั้น น.ส.อรวรรณ ชัยวงษ์วิบูลย์

6. เนื้อหาเหมาะสมกับระดับความรู้ และความ เข้าใจของผู้ฟัง

90.77%

7. เนื้อหานำ�เสนอเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าฟังสัมมนาฯ เป็นอย่างดีและสามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้จริง

1. บุคลิกภาพ ท่าทาง โทนเสียงในการบรรยาย

91.54%

86.15%

2. เนื้อหาที่นำ�เสนอมีรายละเอียดที่ครบถ้วน ดึงดูด และน่าสนใจ

90.77%

3. มีการเรียบเรียงและจัดลำ�ดับขั้นตอน ของ เนื้อหา ได้เป็นอย่างดีเพื่อให้มีความเข้าใจง่าย

90.77%

4. สามารถใช้ประเด็นของเนื้อหามาเป็นตัวนำ� ในการดำ�เนินการสัมมนาฯได้เป็นอย่างดี

90.38%

5. เนื้อหาที่นำ�เสนอตรงกับวัตถุประสงค์ของการ จัดงานและผู้เข้าสัมมนาฯบรรลุวัตถุประสงค์นั้น

น.ส.วลัยลักษณ์ บุญสม

93.08%

6. เนื้อหาเหมาะสมกับระดับความรู้ และความ เข้าใจของผู้ฟัง 7. เนื้อหานำ�เสนอเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าฟังสัมมนาฯ เป็นอย่างดีและสามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้จริง

91.15% 89.62% 91.92%


66

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ระดับความพึงพอใจ ต่อผู้บรรยาย 1. บุคลิกภาพ ท่าทาง โทนเสียงในการบรรยาย

91.80%

2. เนื้อหาที่นำ�เสนอมีรายละเอียดที่ครบถ้วน ดึงดูด และน่าสนใจ 3. มีการเรียบเรียงและจัดลำ�ดับขั้นตอน ของ เนื้อหา ได้เป็นอย่างดีเพื่อให้มีความเข้าใจง่าย 4. สามารถใช้ประเด็นของเนื้อหามาเป็นตัวนำ� ในการดำ�เนินการสัมมนาฯได้เป็นอย่างดี 5. เนื้อหาที่นำ�เสนอตรงกับวัตถุประสงค์ของการ จัดงานและผู้เข้าสัมมนาฯบรรลุวัตถุประสงค์นั้น นายสุปภพ เอกคณานุวงศ์

6. เนื้อหาเหมาะสมกับระดับความรู้ และความ เข้าใจของผู้ฟัง

94.14% 92.19% 91.41% 93.75% 91.80%

7. เนื้อหานำ�เสนอเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าฟังสัมมนาฯ เป็นอย่างดีและสามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้จริง

94.14%

1. บุคลิกภาพ ท่าทาง โทนเสียงในการบรรยาย 2. เนื้อหาที่นำ�เสนอมีรายละเอียดที่ครบถ้วน ดึงดูด และน่าสนใจ

94.53%

3. มีการเรียบเรียงและจัดลำ�ดับขั้นตอน ของ เนื้อหา ได้เป็นอย่างดีเพื่อให้มีความเข้าใจง่าย

92.19%

4. สามารถใช้ประเด็นของเนื้อหามาเป็นตัวนำ� ในการดำ�เนินการสัมมนาฯได้เป็นอย่างดี

92.58%

5. เนื้อหาที่นำ�เสนอตรงกับวัตถุประสงค์ของการ จัดงานและผู้เข้าสัมมนาฯบรรลุวัตถุประสงค์นั้น น.ส.เจมินี่น์ เจนอารีวงศ์

95.70%

6. เนื้อหาเหมาะสมกับระดับความรู้ และความ เข้าใจของผู้ฟัง 7. เนื้อหานำ�เสนอเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าฟังสัมมนาฯ เป็นอย่างดีและสามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้จริง

94.53% 93.36% 94.92%


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

67

ระดับความพึงพอใจ ต่อผู้บรรยาย 1. บุคลิกภาพ ท่าทาง โทนเสียงในการบรรยาย

น.ส.พบยินดี พุดซ้อน

83.20%

2. เนื้อหาที่นำ�เสนอมีรายละเอียดที่ครบถ้วน ดึงดูด และน่าสนใจ

90.62%

3. มีการเรียบเรียงและจัดลำ�ดับขั้นตอน ของ เนื้อหา ได้เป็นอย่างดีเพื่อให้มีความเข้าใจง่าย

89.45%

4. สามารถใช้ประเด็นของเนื้อหามาเป็นตัวนำ� ในการดำ�เนินการสัมมนาฯได้เป็นอย่างดี

89.45%

5. เนื้อหาที่นำ�เสนอตรงกับวัตถุประสงค์ของการ จัดงานและผู้เข้าสัมมนาฯบรรลุวัตถุประสงค์นั้น

90.62%

6. เนื้อหาเหมาะสมกับระดับความรู้ และความ เข้าใจของผู้ฟัง 7. เนื้อหานำ�เสนอเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าฟังสัมมนาฯ เป็นอย่างดีและสามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้จริง

91.41% 93.36%


68

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ระดับความพึงพอใจ ต่อผู้ดำ�เนินรายการ (ช่วงเสวนา) 1. มีความกระตือรือร้น ดึงดูดความสนใจผู้เข้าสัมมนาฯ

2. ทักษะไหวพริบ ความสามารถควบคุมสถานการณ์เฉพาะหน้า 3. สามารถชักจูงเข้าสัมมนาฯให้อยู่ในประเด็นที่สำ�คัญได้เป็นอย่างดี 4. มีความเหมาะสมในการใช้ภาษาและความสุภาพในการดำ�เนินรายการ 5. การสรุปประเด็นเชื่อมโยง ประเด็นสอดคล้องกับหัวข้อสัมมนาฯ

93.08% 94.62% 93.85% 92.69% 93.08%

น.ส. ระริน พิเชษศิลป์

น.ส.เจมินี่น์ เจนอารีวงศ์ 1. มีความกระตือรือร้น ดึงดูดความสนใจผู้เข้าสัมมนาฯ

2. ทักษะไหวพริบ ความสามารถควบคุมสถานการณ์เฉพาะหน้า 3. สามารถชักจูงเข้าสัมมนาฯให้อยู่ในประเด็นที่สำ�คัญได้เป็นอย่างดี 4. มีความเหมาะสมในการใช้ภาษาและความสุภาพในการดำ�เนินรายการ 5. การสรุปประเด็นเชื่อมโยง ประเด็นสอดคล้องกับหัวข้อสัมมนาฯ

94.23% 94.62% 94.23% 95.38% 94.23%


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

69

ระดับความพึงพอใจ ต่อการบรรยาย โดยวิทยากร 95.38%

คุณอริยะ จิรวรา (SOS)

95.00% 95.38%

91.15% คุณณิชา สมิทธิปรีชาวงษ์ (Troopers)

91.92% 91.92%

94.62%

คุณธัชพร วาจาสัตย์ (La Vanetta)

93.08% 94.23%

คุณนันทกุล ซีตันติเวช (Dallar Jewelry)

92.31% 91.92% 93.85%

วิทยากรรับเชิญเหมาะสมกับหัวข้อสัมมนาฯ การตอบข้ อ ซั ก ถามและเสริ ม คุ ณ ค่ า ให้ กั บ เนื้ อ หาอย่ า งสอดคล้ อ งเหมาะ สม การตอบข้อซักถามมีประโยชน์ต่อการนำ�ไปใช้งาน


70

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ระดับความพึงพอใจ ต่อการจัดสัมมนา 89.23%

1. รูปแบบการจัดสัมมนาฯ

85.38%

2. บรรยากาศ และ ภาพรวมของการจัดงาน

86.15%

3. โสตทัศนูปกรณ์ (ระบบเสียง แสง ฯลฯ) 4. การบริการของทีมนักศึกษาป. โท ในการให้ข้อมูล

92.69% 89.23%

5. ระบบการสมัครเข้าร่วมสัมมนาฯ

91.15%

6. ระบบการลงทะเบียนในวันสัมมนาฯ

88.85%

7. รูปแบบการประชาสัมพันธ์และออกแบบการสื่อสารที่เหมาะสมชัดเจน

90.38%

8. งานสัมมนาฯในครั้งนี้ตรงกับความคาดหวังของผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ

90.00%

9. ความพึงพอใจในภาพรวมในการสัมมนาฯในครั้งนี้

ประเมินความรู้ที่ ได้จากการสัมมนา 63.85% 88.85% 90.38%

1. ก่อนเข้าสัมมนาฯ ท่านทีความรู้ในหัวข้อดังกล่าวอยู่แล้ว 2. หลังเข้าสัมมนาฯ ท่านมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้เพิ่มขึ้น 3. ความรู้มีประโยชน์สามารถนำ�ไปประยุกต์ในการทำ�งานและธุรกิจได้


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จับมือ เลือกอาชีพ, จับมือทำ� ร้านค้าออนไลน์

การทำ�การตลาด บน Facebook

เกี่ยวกับโลก ออนไลน์การตลาด อยากให้ต่อยอด จากหัวข้อนี้

อยากให้แชร์ข้อมูล Inside ด้านธุรกิจมากกว่า การแชร์ข้อมูลเบื้องต้นของ Brand รวมถึง ประสบการณ์ต่างๆ แบ่งปันสัดส่วน ธุรกิจ 60% ข้อมูลทั่วไป 40%

Digital Marketing ที่โฟกัสลงลึก ของแต่ละ Platform (Line, FB etc)

พฤติกรรมความต้องการ ของคนยุคใหม่ว่า คนยุคนี้ ต้องการอะไร หรือมีอะไรที่ คนไทยยุคนี้ต้องการ อยู่ตลอดเวลา เส้นทางการ โปรโมทแบรนด์สินค้า ว ่าเริ่มอย่างไร โปรโมททางไหน ได้ผลดีที่สุด

การสร้างแบรนด์ ของตัวเอง

Branding 4.0, Unmet Need, Laddering

หัวข้อสัมมนา ด้านการตลาด ที่ท่านสนใจ

ขั้นตอน การทำ�แบรนด์, วิธีการ โปรโมทแบรนด์

วิธีการบริหาร ทรัพยากรบุคคล Gen Z ให้ทำ�งาน กับองค์กรด้วย ทัศนคติที่ดี ศึกษาคู่แข่ง ปิดจุดด้อย เสริมจุดเด่น ได้ด้วยวิธีไหน

เน้นเรื่อง การonline ดีแล้ว เพราะการตลาด Online เป็น ที่น่าสนใจ

71


72

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ข้อเสนอแนะ เพิ่มเติมอื่นๆ และภาพรวมการ จัดสัมมนาในครั้งนี้

ในส่วนของตัวพิธีกรบาง ท่านความลื่นไหลในการพูด ยังมีไม่มาก ควรปรับปรุง ให้ดูมีความมั่นใจในการนำ� เสนอของตัวเอง

อยากให้ลงรายละเอียดใน การสัมมนามากกว่านี้อาจ ลงรายละเอียดด้านกลุ่ม สินค้าเฉพาะมากกว่านี้

ไม่มีขนมของว่างตอนแรกเลย หิว!, ฮามุก Touch Screen มากๆ, Presenter ตะกุกตะกัก แต่น้ำ�เสียงน่าฟัง, ไมค์อู้อี้มากๆ อยากให้มีเนื้อหา เชิงลึกมากกว่านี้, อยากให้มีสอนเทคนิค การขายมากกว่านี้

อยากฟัง วิทยากรรับเชิญ นานกว่านี้

พูดช้าๆ ลงนิด

ไม่ควรจัดใน วันเวลาเดียวกัน หลายๆงาน มันต้องเลือก หัวข้อน่าสนใจ แต่จัดเวลาตรงกัน เลยต้องเลือกเข้า ห้องใดห้องหนึ่ง

อากาศในห้องสัมมนา ร้อนไปนิดหน่อย / ขอบคุณสำ�หรับความรู้ ที่มีประโยชน์และของว่าง อร่อยมาก

ควรมีที่นั่งรอชั้น 1

ปรับปรุง การจัดที่นั่ง เดินยาก

ตรงต่อเวลามากกว่านี้

ไม่ควร Mention ถึง Brand H&M หรือ Zara ว่าผลิตเยอะแล้วคุณภาพ ไม่ดี เพราะ Lead ให้ผู้ฟัง รู้สึกไม่ดีกับ Brand นั้นๆ


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ข้อเสนอแนะ เพิ่มเติมอื่นๆ และภาพรวมการ จัดสัมมนาในครั้งนี้ ควรมองลูกค้านี้เป็น Mass และการ ทำ�การตลาดที่เป็น Mass ให้มากขึ้น เนื่องจาก Niche Market เป็นการทำ� ตลาดแคบ และเข้าใจยาก ทำ�ให้ความ รู้ที่ได้จากสัมมนาแคบ ใช้ได้จริงน้อย เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอย่างนั้น

หัวเราะใส่ไมค์พร้อมกันดังสุดๆ ไม่ค่อยโอเค

การจัดวางเก้าอี้สำ�หรับผู้ฟังไม่สะดวกมากค่ะ อยากให้แนะนำ�การสร้าง และโปรโมทแบรนด์จากพื้นฐาน จะพัฒนาแบรนด์อย่างไร และวิธีการเข้าถึงลูกค้ าทางออนไลน์ และ Multi-Brand มีความแตกต่างกัน นำ�เสนอได้อย่างชัดเจนดีค่ะ

พิธีกรพูดเร็วมาก บางทีฟังไม่ทัน

อยากให้ upload คลิปงานสัมมนา

การประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้, คนด้านหลังมองไม่เห็นเวที และวิทยากร ดีมากค่ะ ได้ความรู้มากกว่าที่คาดไว้ แขกรับเชิญมาน่ารักมากๆค่ะ

สถานที่เหมาะสมกับจำ�นวนผู้เข้าร่วมให้มากกว่านี้, เน้นประชาสัมพันธ์, ห้องเล็กข้างหลังมองไม่เห็น Presenter พูดเร็วเกินไป ทำ�ให้จดหรือฟังไม่ทัน และรู้สึกอึดอัดในการฟัง

73


74

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

เบื้องหลังการสัมมนา


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

75


76

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

77


78

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

79


80

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

81


82

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

83


84

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

85


86

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

87


88

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

89


90

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

91


92

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ภาคผนวก


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

แบบสอบถาม พฤติกรรมและทัศนคติ การซื้อสินค้าแฟชั่น

93


94

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

95


96

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

97


98

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

เอกสารประกอบการบรรยาย


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

เอกสารประกอบการสัมมนา

99


100

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

101


102

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

103


104

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

105


106

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

107


108

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

รายชื่อผู้เข้าร่วมสัมมนา


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

109


110

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

111


112

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

113


114

InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนงานสัมมนา


InStagram In Stores” เปิดเช็คลิสต์พลิกโอกาสร้านสินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves

115




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.