หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
บทที่ 15 ทรัพย์สินทางปัญญา 15.1 ความหมายของทรัพย์สน ิ ทางปัญญา ทรัพย์สินทางปัญญาคือ "ทรัพย์สินที่ไม่ใช่วัตถุทางกายภาพ แต่ เจ้าของมีสิทธิโดยชอบธรรม ที่จะให้, ให้เช่า, โอนมอบอานาจ, หรือใช้เป็น สินจานองได้" คาว่า "ทรัพย์สินทางปัญญา" เป็นคาที่แปลมาจาก ภาษาอังกฤษคาว่า "intellectual property" ซึ่งทางทฤษฎีแยกเป็นงาน 2 กลุ่มด้วยกันคือ ทรัพย์สินทางอุสาหกรรม (industrial property) กับ เป็นลิขสิทธิ์และสิทธิ ข้าเคียง (copyright and neighbouring rights) ซึ่งทรพัย์สินทาง อุตสาหกรรมได้แก่ เครื่องหมายการค้า ชื่อทางการค้า สิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงแหล่งกาเนิดของสินค้า การออกแบบแผนผังภูมิของ วงจรรวม ความลับทางการค้า สิทธิบัตร ไม่ว่าจะเป็นสิทธบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หรืออนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ส่วนเรื่องลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียง จะเป็นงานทางด้านสุนทรียภาพ งาน หลักก็คืองานวรรณกรรมกับงานศิลปกรรม ลิขสิทธิ์ก็เหมือนทรัพย์สินทาง ปัญญาประเภทอื่นนั่นคือ เป็นทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง สิ่งที่กฎหมายให้ความ คุ้มครองก็คือ สิทธิ สิทธิหลักคือสิทธิที่จะทาซ้าหรือทาสาเนา สิทธิใน ทรัพย์สินที่มีรูปร่างจะมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รวม 4 เรื่อง ทรัพย์สิน วางหลักเกณฑ์ในการให้ความคุ้มครองไว้ แต่หลักเกณฑ์ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 376
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
ดังกล่าวไม่อาจที่จะนามาใช้บังคับแก่ทรัพย์สินทางปัญญาได้ ทรัพย์สินทาง ปัญญาต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 4 คาว่า "ลิขสิทธ์" หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทาการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทาขึ้นอันได้แก่ สิทธตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 15 คือ สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทาซ้าหรือดัดแปลง เผยแพร่ต่อ สาธารณชน ให้เช่าต้นฉบับหรือสาเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง ให้ประโยชน์อันเกิดจาก ลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น และอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในลิขสิทธิ์
15.2 กฎหมายที่เกีย ่ วข้องกับทรัพย์สน ิ ทางปัญญา 1. ลิขสิทธิ์ (Copyright) (สิทธิในการเป็นเจ้าของความคิด ที่คิดค้นได้ โดยไม่จาเป็นต้องไปจด ทะเบียน) ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property) อย่างหนึ่ง ทรัพย์สินทางปัญญามีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากทรัพย์สินที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 อันได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 377
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
และสังหาริมทรัพย์ กับสิทธิที่เกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิที่ ไม่มีรูปร่าง กล่าวคือ เป็นสิทธิหวงกันของเจ้าของที่ได้รับความคุ้มครองตาม กฎหมาย เป็นสิทธิที่จะห้ามไม่ให้ผู้อื่นนางานของเจ้าของไปใช้โดยไม่ได้ รับอนุญาต อันมิใช่สิทธิในกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ดังที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นสิทธิที่กฎหมายให้แก่ผู้สร้าง สรรค์งานหรือผู้เป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์เท่านั้น ฉะนั้นผู้ เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ในวัตถุมีรูปร่างจึงอาจจะไม่ใช่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็เป็นได้ เช่น นายสมซื้อหนสังสือหรือภาพเขียนมา นายสมก็มีเฉพาะกรรมสิทธ์ใน หนังสือหรือภาพเขียนนั้นโดยนายสมมีสิทธิใช้สอยและจาหน่ายหนังสือ หรือภาพเขียนนั้นได้ ตลอดจนมีสิทธิให้เช่าติดตามและเอาคืนจากบุคคลผู้ ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับ ทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1336 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และแม้ไม่พอใจนายสมจะทิ้ง เผา ทาลายหนังสือหรือภาพเขียนนั้นก็ได้ แต่นายสมไม่มีสิทธิที่จะนาหนังสือ นั้นไปพิมพ์ซ้าแล้วขายต่อหรือนาภาพเขียนนั้นไปดัดแปลงเป็นบัตรอวยพร ส.ค.ส. สาหรับวันขึ้นปีใหม่แล้วผลิตออกจาหน่าย เพราะสิทธิดังกล่าว กฎหมายให้ไว้แก่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม จิตรกรรมหรือศิลปกรรมเท่านั้น หากนายสมกระทาเช่นนั้นย่อมเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นได้ 2. สิทธบัตร (Patents) (สิทธิในความเป็นเจ้าของความคิด หรือผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นได้ แต่ทว่า จะต้องไปจดทะเบียนเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของเพื่อผลทางการค้าหรือ อื่นๆ ) 3. เครือ ่ งหมายการค้า (Trade Mark) เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 378
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
(เป็นตัวแสดงถึง ความเป็นผู้นาทางด้านสินค้านั้น ซึ่งจะใช้ตัวย่อ TM กากับบนชื่อสินค้านั้น ๆ เสมอ) 4. ความลับทางการค้า (Trade Secrets) (ความลับในสูตร หรือขั้นตอนในการผลิตที่เป็นเฉพาะ) ในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญากับ Software computer เราจัดว่าอยู่ใน กลุ่มของทรัพย์สินทางปัญญาประเภทลิขสิทธิ์ โดยผู้ที่ดูแลเรื่องทรัพย์สิน ทางปัญญาในประเทศไทย คือ สานักงานสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทาง ปัญญาสังกัดกระทรวงพาณิชย์นั้นเอง ความเป็นมาของ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ลิขสิทธิ์ มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2521 แล้ว แต่ทว่า พ.ร.บ. ในสมัยนั้นไม่ได้รวมความคุ้มครองเรื่อง Software Computer เอาไว้ และได้เริ่มรวมคุ้มครองลิขสิทธิ์ Software Computer เข้ากับ พ.ร.บ. นี้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา ดังนั้นหาก Software Computer ใดกระทาการซ้า ดัดแปลง คัดลอก ก่อน หน้าวันที่ 21 มีนาคม 2538 ก็ถือว่ากระทาผิดต่อพระราชบัญญัตินี้ การกระทาอย่างไรถือว่าผิด พ.ร.บ. นี้ การทาซ้า คือ "การคัดลอกหรือทาสาเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากสื่อ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 379
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
บันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสาคัญ โดยไม่มีลักษณะ เป็นการจัดทาขึ้นใหม่ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน การดัดแปลง คือ "ทาซ้าโดยเปลี่ยนแปลงรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจาลองงานต้นฉบับ ในส่วนอันเป็นสาระสาคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็น การจัดทาขึ้นใหม่" ข้อยกเว้นใน พ.ร.บ. นี้ 1.วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น 2.ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสาเนาโปรแกรม 3.ติชม วิจารณ์ หรือแนะนาผลงาน โดยมีการรับรู้ถึงเจ้าของลิขสิทธิ์ 4.เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชน โดยมีการรับรู้ถึงเจ้าของลิขสิทธิ์ 5.สาเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจานวนที่สมควร โดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อ หรือได้รับสิทธิ์อย่างถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบารุงรักษาหรือ ป้องกันการสูญหาย 6.ทาซ้า ดัดแปลง นาออกแสดง หรือทาให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการ พิจารณาของศาล หรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอานาจตามกฎหมาย หรือใช้ รายงานผลการพิจารณาดังกล่าว 7.นาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบใน การสอบ 8.ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จาเป็นแก่การใช้ 9.จัดทา สาเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สาหรับอ้างอิงหรือ ค้นคว้าหรือประโยชน์ของสาธารณชน เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 380
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
ระยะเวลาคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้ บุคคลธรรมดา คุ้มครองตลอดชีวิตและอีก 50 ปีหลังจากที่เสียชีวิต นิติบุคคล คุ้มครอง 50 ปี หรือตั้งแต่ที่เริ่มประกาศ (โฆษณา) โทษของการละเมิดลิขสิทธิ์ ในกรณีที่เราละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. นี้ มีโทษปรับระหว่าง 20,000 200,000 บาท แต่ทว่าหากการละเมิดนั้นเป็นการกระทาเพื่อการค้า ปรับ ระหว่าง 100,000 - 800,000 บาท โทษจาคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปีหรือทั้ง จาทั้งปรับ :: พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตราที่ 1-7 :: พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537เป็นปีที่ 49 ในรัชกาลปัจจุบัน มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537" มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดเก้าสิบวันนับแต่วัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 381
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ "ผู้สร้างสรรค์" หมายความว่า ผู้ทาหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใด อย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ "ลิขสิทธิ์" หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทาการใด ๆ ตาม พระราชบัญญัตินี้ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทาขึ้น "วรรณกรรม" หมายความว่า งานนิพนธ์ที่ทาขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุล สาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คาปราศรัย สุนทรพจน์ และให้ หมายความรวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย "โปรแกรมคอมพิวเตอร์" หมายความว่า คาสั่ง ชุดคาสั่งหรือสิ่งอื่นใด ที่ นาไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทางานหรือ เพื่อให้ได้รับผล อย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรม คอมพิวเตอร์ในลักษณะใด "นาฏกรรม" หมายความว่า งานเกี่ยวกับการรา การเต้น การทาท่า หรือ การแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และให้หมายความรวมถึงการแสดง โดยวิธีใบ้ด้วย "ศิลปกรรม" หมายความว่า งานอันมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดหรือ หลาย อย่างดังต่อไปนี้ (1) งานจิตรกรรม ได้แก่งานสร้างสรรค์รูปทรงที่ประกอบด้วยเส้น แสง สี หรือสิ่งอื่น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ลงบนวัสดุอย่างเดียว หรือหลายอย่าง (2) งานประติมากรรม ได้แก่งานสร้างสรรค์รูปทรงที่เกี่ยวกับปริมาตร ที่ สัมผัสและจับต้องได้ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 382
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
(3) งานภาพพิมพ์ ได้แก่งานสร้างสรรค์ภาพด้วยกรรมวิธีทางการพิมพ์ และ หมายความรวมถึงแม่พิมพ์หรือแบบพิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์ด้วย (4) งานสถาปัตยกรรม ได้แก่งานออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง งาน ออกแบบตกแต่งภายในหรือภายนอก ตลอดจนบริเวณของอาคารหรือสิ่ง ปลูกสร้างหรือ การสร้างสรรค์หุ่นจาลองของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง (5) งานภาพถ่าย ได้แก่งานสร้างสรรค์ภาพที่เกิดจากการใช้เครื่องมือ บันทึกภาพโดยให้แสงผ่านเลนซ์ไปยังฟิล์มหรือกระจก และล้างด้วยน้ายา ซึ่งมีสูตรเฉพาะ หรือด้วยกรรมวิธีใด ๆ อันทาให้เกิดภาพขึ้น หรือการ บันทึกภาพโดยเครื่องมือหรือวิธีการ อย่างอื่น (6) งานภาพประกอบ แผนที่ โครงสร้าง ภาพร่าง หรืองานสร้างสรรค์ รูปทรงสามมิติอันเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ (7) งานศิลปประยุกต์ ได้แก่งานที่นาเอางานตาม (1) ถึง (6) อย่างใด อย่าง หนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น นอกเหนือจากการชื่น ชมในคุณค่า ของตัวงานดังกล่าวนั้น เช่น นาไปใช้สอย นาไปตกแต่งวัสดุ หรือสิ่งของอันเป็นเครื่องใช้ หรือนาไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า ทั้งนี้ ไม่ว่างานตาม (1) ถึง (7) จะมีคุณค่าทางศิลปะหรือไม่ และให้ หมายความรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย "ดนตรีกรรม" หมายความว่า งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลง หรือ ขับร้องไม่ว่าจะมีทานองและคาร้องหรือมีทานองอย่างเดียว และให้ หมายความรวมถึง โน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียง ประสานแล้ว "โสตทัศนวัสดุ" หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลาดับของภาพโดย บันทึก ลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะอย่างใด อันสามารถที่จะนามาเล่นซ้าได้ อีก โดยใช้เครื่องมือ ที่จาเป็นสาหรับการใช้วัสดุนั้น และให้หมายความ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 383
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
รวมถึงเสียงประกอบงานนั้นด้วย ถ้ามี "ภาพยนตร์" หมายความว่า โสตทัศนวัสดุอันประกอบด้วยลาดับของภาพ ซึ่งสามารถนาออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์หรือสามารถบันทึกลง บนวัสดุอื่น เพื่อนาออก ฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์ และให้หมายความ รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์นั้นด้วย ถ้ามี "สิ่งบันทึกเสียง" หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลาดับของเสียงดนตรี เสียงการแสดง หรือเสียงอื่นใด โดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใด ๆ อันสามารถที่จะ นามาเล่นซ้าได้อีกโดยใช้เครื่องมือที่จาเป็นสาหรับการใช้ วัสดุนั้น แต่ทั้งนี้มิให้หมายความ รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์หรือเสียง ประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น "นักแสดง" หมายความว่า ผู้แสดง นักดนตรี นักร้อง นักเต้น นักรา และผู้ ซึ่ง แสดงท่าทาง ร้อง กล่าว พากย์ แสดงตามบทหรือในลักษณะอื่นใด "งานแพร่เสียงแพร่ภาพ" หมายความว่า งานที่นาออกสู่สาธารณชนโดย การแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุ โทรทัศน์หรือ โดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกัน "ทาซ้า" หมายความรวมถึง คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทาสาเนา ทาแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพ จากต้นฉบับ จากสาเนา หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสาคัญ ทั้งนี้ ไม่ว่า ทั้งหมดหรือบางส่วน สาหรับ ในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ หมายความถึง คัดลอกหรือทาสาเนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึก ใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสาคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการ จัดทางานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน "ดัดแปลง" หมายความว่า ทาซ้าโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม หรือจาลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสาคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการ จัดทางานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 384
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
(1) ในส่วนที่เกี่ยวกับวรรณกรรม ให้หมายความรวมถึง แปลวรรณกรรม เปลี่ยนรูปวรรณกรรมหรือรวบรวมวรรณกรรมโดยคัดเลือกและจัดลาดับ ใหม่ (2) ในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้หมายความรวมถึง ทาซ้า โดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในส่วน อันเป็นสาระสาคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทาขึ้นใหม่ (3) ในส่วนที่เกี่ยวกับนาฏกรรม ให้หมายความรวมถึง เปลี่ยนงานที่มิใช่ นาฏกรรมให้เป็นนาฏกรรม หรือเปลี่ยนนาฏกรรมให้เป็นงานที่มิใช่ นาฏกรรม ทั้งนี้ ไม่ว่า ในภาษาเดิมหรือต่างภาษากัน (4) ในส่วนที่เกี่ยวกับศิลปกรรม ให้หมายความรวมถึง เปลี่ยนงานที่เป็น รูป สองมิติหรือสามมิติ ให้เป็นรูปสามมิติหรือสองมิติ หรือทาหุ่นจาลองจากงาน ต้นฉบับ (5) ในส่วนที่เกี่ยวกับดนตรีกรรม ให้หมายความรวมถึง จัดลาดับเรียบเรียง เสียงประสานหรือเปลี่ยนคาร้องหรือทานองใหม่ "เผยแพร่ต่อสาธารณชน" หมายความว่า ทาให้ปรากฏต่อสาธารณชน โดย การแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทาให้ปรากฏด้วยเสียง และ หรือภาพ การก่อสร้าง การจาหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้ จัดทาขึ้น "การโฆษณา" หมายความว่า การนาสาเนาจาลองของงานไม่ว่าในรูป หรือ ลักษณะอย่างใดที่ทาขึ้นโดยความยินยอมของผู้สร้างสรรค์ออกจาหน่าย โดยสาเนา จาลองนั้นมีปรากฏต่อสาธารณชนเป็นจานวนมากพอสมควร ตามสภาพของงานนั้น แต่ทั้งนี้ไม่หมายความรวมถึง การแสดงหรือการทา ให้ปรากฏซึ่งนาฏกรรม ดนตรีกรรม หรือภาพยนตร์ การบรรยายหรือการ ปาฐกถา ซึ่งวรรณกรรม การแพร่เสียงแพร่ภาพ เกี่ยวกับงานใด การนา ศิลปกรรมออกแสดงและการก่อสร้างงานสถาปัตยกรรม เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 385
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ ตาม พระราชบัญญัตินี้ "อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา และให้หมายความ รวมถึงผู้ซึ่งอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญามอบหมายด้วย "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการลิขสิทธิ์ "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้ และให้มีอานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออก กฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ มาตรา 6 งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์ ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนก วรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างาน ดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทางาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎี ทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ (1) ข่าวประจาวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อัน เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 386
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
มิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ (2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย (3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คาสั่ง คาชี้แจง และหนังสือโต้ตอบ ของ กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น (4) คาพิพากษา คาสั่ง คาวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ (5) คาแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทาขึ้น ส่วนที่ 2 การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ มาตรา 8 ให้ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้น ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางาน ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติ ไทย หรืออยู่ในราชอาณาจักรหรือเป็นผู้มีสัญชาติหรืออยู่ในประเทศที่เป็น ภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วย การคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ ด้วย ตลอดระยะเวลาหรือเป็นส่วนใหญ่ ในการสร้างสรรค์งานนั้น (2) ในกรณีที่ได้มีการโฆษณางานแล้ว การโฆษณางานนั้นในครั้งแรกได้ กระทาขึ้นในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วย การคุ้มครอง ลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หรือในกรณีที่การ โฆษณาครั้งแรกได้กระทานอก ราชอาณาจักรหรือในประเทศอื่นที่ไม่เป็น ภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ ด้วย หากได้มีการโฆษณางานดังกล่าวในราชอาณาจักรหรือ ในประเทศที่ เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี อยู่ด้วยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการโฆษณาครั้งแรก หรือผู้ สร้างสรรค์เป็นผู้มีลักษณะ ตามที่กาหนดไว้ใน (1) ในขณะที่มีการโฆษณา เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 387
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
งานครั้งแรก ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ถ้าผู้สร้างสรรค์เป็นนิติ บุคคล นิติบุคคลนั้นต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย มาตรา 9 งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ทาเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็น ของผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธินางานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ได้ตามที่เป็นวัตถุประสงค์แห่งการจ้าง แรงงานนั้น มาตรา 10 งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่น ให้ ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างจะได้ตก ลงกันไว้ เป็นอย่างอื่น มาตรา 11 งานใดมีลักษณะเป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัตินี้โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ผู้ที่ได้ดัดแปลง นั้นมีลิขสิทธิ์ในงาน ที่ได้ดัดแปลงตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ทั้งนี้ไม่ กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ ที่มีอยู่ในงานของผู้สร้างสรรค์ เดิมที่ถูกดัดแปลง มาตรา 12 งานใดมีลักษณะเป็นการนาเอางานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัตินี้ มารวบรวมหรือประกอบเข้ากันโดยได้รับอนุญาตจาก เจ้าของลิขสิทธิ์ หรือเป็นการนาเอา ข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดซึ่งสามารถอ่าน หรือถ่ายทอดได้โดยอาศัยเครื่องกลหรืออุปกรณ์อื่นใด มารวบรวมหรือ ประกอบเข้ากัน หากผู้ที่ได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันได้รวบรวมหรือ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 388
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
ประกอบเข้ากันซึ่งงานดังกล่าวขึ้นโดยการคัดเลือกหรือจัดลาดับใน ลักษณะซึ่งมิได้ลอกเลียน งานของบุคคลอื่น ให้ผู้ที่ได้รวบรวมหรือประกอบ เข้ากันนั้นมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้รวบรวมหรือ ประกอบเข้ากันตาม พระราชบัญญัตินี้ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ ที่มี อยู่ในงาน หรือข้อมูลหรือสิ่งอื่นใด ของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกนามารวบรวม หรือประกอบ เข้ากัน มาตรา 13 ให้นา มาตรา 8 มาตรา 9 และ มาตรา 10 มาใช้บังคับ แก่การมี ลิขสิทธิ์ตาม มาตรา 11 หรือ มาตรา 12 โดยอนุโลม มาตรา 14 กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือ ของ ท้องถิ่นย่อมมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการจ้างหรือตามคาสั่ง หรือ ในความควบคุมของตน เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลาย ลักษณ์อักษร ส่วนที่ 3 การคุ้มครองลิขสิทธิ์ มาตรา 15 ภายใต้บังคับ มาตรา 9 มาตรา 10 และ มาตรา 14 เจ้าของ ลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้ (1) ทาซ้าหรือดัดแปลง (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน (3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสาเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง (4) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น (5) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (1) (2) หรือ (3) โดยจะกาหนด เงื่อนไข อย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกาหนดในลักษณะที่เป็นการ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 389
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
จากัด การแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้ การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (5) จะเป็นการจากัดการแข่งขัน โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ กาหนดในกฎกระทรวง มาตรา 16 ในกรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ได้อนุญาตให้ ผู้ใด ใช้สิทธิตาม มาตรา 15 (5) ย่อมไม่ตัดสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะ อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธินั้น ได้ด้วย เว้นแต่ในหนังสืออนุญาตได้ระบุเป็นข้อ ห้ามไว้ มาตรา 17 ลิขสิทธิ์นั้นย่อมโอนให้แก่กันได้ เจ้าของลิขสิทธิ์อาจโอนลิขสิทธิ์ของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคล อื่นได้ และจะโอนให้โดยมีกาหนดเวลาหรือตลอดอายุแห่งการคุ้มครอง ลิขสิทธิ์ก็ได้ การโอนลิขสิทธิ์ตามวรรคสองซึ่งมิใช่ทางมรดกต้องทาเป็นหนังสือลง ลายมือชื่อ ผู้โอนและผู้รับโอน ถ้าไม่ได้กาหนดระยะเวลาไว้ในสัญญาโอน ให้ถือว่าเป็นการโอนมีกาหนด ระยะเวลาสิบปี มาตรา 18 ผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิที่จะ แสดงว่า ตนเป็นผู้สร้างสรรค์งานดังกล่าว และมีสิทธิที่จะห้ามมิให้ผู้รับโอน ลิขสิทธิ์หรือบุคคลอื่นใดบิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลงหรือทาโดยประการอื่น ใดแก่งานนั้นจนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง หรือ เกียรติคุณของผู้ สร้างสรรค์ และเมื่อผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตายทายาทของผู้สร้างสรรค์มี สิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับตามสิทธิดังกล่าวได้ตลอดอายุแห่งการคุ้มครอง เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 390
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ เว้นแต่ จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร
ส่วนที่ 4 อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มาตรา 19 ภายใต้บังคับ มาตรา 21 และ มาตรา 22 ลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัตินี้ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็น เวลาห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย ในกรณีที่มีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้มีอยู่ตลอดอายุของ ผู้สร้างสรรค์ร่วม และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วม คนสุดท้ายถึงแก่ ความตาย ถ้าผู้สร้างสรรค์หรือผู้สร้างสรรค์ร่วมทุกคนถึงแก่ความตายก่อนที่ได้มีการ โฆษณา งานนั้น ให้ลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณา เป็นครั้งแรก ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ผู้ สร้างสรรค์ ได้สร้างสรรค์ขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่าง ระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มี อายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้ง แรก มาตรา 20 งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดย ผู้ สร้างสรรค์ใช้นามแฝงหรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้า สิบปี นับแต่ได้ สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นใน ระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณา เป็นครั้งแรก ในกรณีที่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ให้นา มาตรา 19 มาใช้บังคับโดยอนุโลม เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 391
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
มาตรา 21 ลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่ง บันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพให้มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้ สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้ มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลา ดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปี นับแต่ได้มี การโฆษณาเป็นครั้งแรก มาตรา 22 ลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้ สร้างสรรค์ งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลา ดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุ ยี่สิบห้าปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก มาตรา 23 ลิขสิทธิ์ในงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการจ้างหรือตามคาสั่ง หรือในความควบคุมตาม มาตรา 14 ให้มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้สร้างสรรค์ งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปี นับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก มาตรา 24 การโฆษณางานตาม มาตรา 19 มาตรา 20 มาตรา 21 มาตรา 22 หรือ มาตรา 23 อันเป็นการเริ่มนับอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ หมายความถึง การนางานออกทาการโฆษณาโดยความยินยอมของ เจ้าของลิขสิทธิ์ มาตรา 25 เมื่ออายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ครบกาหนดในปีใด ถ้าวันครบ กาหนดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่ตรงกับวันสิ้นปีปฏิทิน หรือในกรณี ที่ไม่อาจทราบ วันครบกาหนดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ที่แน่นอน ให้ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 392
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์ยังคงมีอยู่ต่อไปจนถึงวันสิ้นปี ปฏิทินของปีนั้น มาตรา 26 การนางานอันมีลิขสิทธิ์ออกทาการโฆษณาภายหลังจากที่ อายุ แห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์สิ้นสุดลงไม่ก่อให้เกิดลิขสิทธิ์ในงานนั้น ๆ ขึ้นใหม่ ส่วนที่ 5 การละเมิดลิขสิทธิ์ มาตรา 27 การกระทาอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม มาตรา 15 (5) ให้ถือว่าเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทา ดังต่อไปนี้ (1) ทาซ้าหรือดัดแปลง (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน มาตรา 28 การกระทาอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรือ สิ่งบันทึกเสียง อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม มาตรา 15 (5) ทั้งนี้ ไม่ว่าในส่วนที่เป็นเสียงและหรือภาพ ให้ถือว่าเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทา ดังต่อไปนี้ (1) ทาซ้าหรือดัดแปลง (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน (3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสาเนางานดังกล่าว มาตรา 29 การกระทาอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานแพร่เสียง แพร่ภาพอันมี ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม มาตรา 15 (5) ให้ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 393
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
ถือว่าเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทาดังต่อไปนี้ (1) จัดทาโสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ ภาพ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (2) แพร่เสียงแพร่ภาพซ้า ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (3) จัดให้ประชาชนฟังและหรือชมงานแพร่เสียงแพร่ภาพ โดยเรียก เก็บ เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นในทางการค้า มาตรา 30 การกระทาอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมี ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม มาตรา 15 (5) ให้ ถือว่าเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทาดังต่อไปนี้ (1) ทาซ้าหรือดัดแปลง (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน (3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสาเนางานดังกล่าว มาตรา 31 ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทาขึ้นโดยละเมิด ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทาอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากาไร ให้ถือว่า ผู้นั้นกระทาการ ละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทาดังต่อไปนี้ (1) ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือ เสนอ ให้เช่าซื้อ (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน (3) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ (4) นาหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 394
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
15.3 ขั้นตอนการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตร (Patent) หมายถึง หนังสือสาคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการ ประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ที่มี ลักษณะตามที่กฎหมายกาหนด เป็นสิทธิพิเศษ ที่ให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้นหรือ ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ มีสิทธิที่จะผลิตสินค้า จาหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การประดิษฐ์ (Invention) หมายถึง ความคิด สร้างสรรค์เกี่ยวกับ ลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกของ ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการรักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทาให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น กลไกของเครื่องยนต์ ,ยารักษาโรค, ,วิธีการในการเก็บรักษาพืชผัก ผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป เป็นต้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หมาย ถึง ความคิด สร้างสรรค์วเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างไป จากเดิม เช่น การออกแบบแก้วน้าให้มีรูปร่างเหมือนรองเท้า เป็นต้น อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) คือ หนังสือสาคัญที่รัฐออกให้เพื่อ คุ้มครองการประดิษฐ์จะ มีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็น ความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการ ประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร หรือ PCT PCT ย่อมาจาก Patent Cooperation Treaty เป็นความตกลงระหว่าง ประเทศสาหรับการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศ ที่เป็น สมาชิก เพื่ออานวยความสะดวก และลดภาระของผู้ขอรับสิทธิบัตร แทนที่ จะต้องไปยื่นคาขอรับสิทธิบัตรในประเทศต่าง ๆ แต่ละประเทศที่ผู้ขอ ประสงค์จะขอรับความคุ้มครอง โดยสามารถที่จะยื่นคาขอที่สานักงาน เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 395
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
สิทธิบัตรภายในประเทศ ของตน สานักงานสิทธิบัตรก็จะส่งคาขอไป ดาเนินการตามขั้นตอนของระบบ PCTที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ระบบ PCT นี้ไม่ได้เป็นระบบการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรที่จะส่งผลให้ ประเทศที่เป็น สมาชิกต้องรับจดทะเบียนตามไปด้วย เนื่องจาก ระบบ PCT จะมีการดาเนินการในขั้นตอนต้น ๆ ของการขอรับสิทธิบัตรเท่านั้น ไม่มี การรับจดทะเบียนแต่อย่างใด การรับจดทะเบียนสิทธิบัตร PCT เป็น อานาจอธิปไตยของแต่ละประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะขอความคุ้มครอง ซึ่งจะ มีการตรวจสอบตามขั้นตอนและเงื่อนไขของกฎหมายภายในประเทศนั้น ๆ ก่อนรับจดทะเบียนสิทธิบัตรต่อไป ซึ่งประเทศไทยสมัครเข้าเป็นภาคี สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2552 ถือเป็น สมาชิกลาดับที่ 142 ขั้นตอนการขอรับสิทธิบัตร PCT แบ่งออกเป็นขั้นตอนหลัก ๆ 2 ขั้นตอน คือ 1.ขั้นตอนระหว่างประเทศ เป็นขั้นตอนที่มีดาเนินการในเบื้องต้น เช่น การตรวจสอบ Formality การประกาศโฆษณาคาขอ PCT 2.ขั้นตอนในประเทศ เป็นขั้นตอนที่เป็นไปตามกฎหมายภายในของแต่ ละประเทศซึ่งจะตรวจสอบการประดิษฐ์และรับจดทะเบียนคาขอ PCT การจัดเตรียมคาขอ PCT ผู้ขอที่ประสงค์จะยื่นคาขอผ่านระบบ PCT จะต้องจัดเตรียมเอกสารขั้น ต่า ดังนี้ 1.แบบพิมพ์คาขอ PCT (ดาว์นโหลดได้จาก www.wipo.int/pct/en/) เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 396
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
2.รายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิ บทสรุปการประดิษฐ์ และรูป เขียน (ถ้ามี) ตามหลักเกณฑ์ที่ PCT กาหนด เป็นภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาไทย (กรณีเป็นภาษาไทยจะต้องส่งคาแปลเป็นภาษาอังกฤษภายใน 1 เดือน) การยื่นคาขอผ่านระบบ PCT การยื่นคาขอ PCT สามารถนาเอกสารคาขอไปยื่นต่อกรมทรัพย์สินทาง ปัญญา พร้อมทั้งชาระค่าธรรมเนียมตามที่ PCT กาหนด ดังนี้ 1. ค่าธรรมเนียมคาขอ PCT(1,330 สวิสฟรังก์ กรณีที่เป็นบุคคลสัญชาติ ไทย ลดค่าธรรมเนียมเหลือเพียง 10%) 2.ค่าธรรมเนียมการตรวจค้น(ตามที่สานักงานสิทธิบัตรในประเทศที่ผู้ขอ ประสงค์ จะขอให้มีการตรวจค้นกาหนดอยู่ระหว่าง 280–2,380 เหรียญ สหรัฐ) 3. ค่าใช้จ่ายในการดาเนินการประมาณ 3,000 บาท
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 397
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
15.4 การสืบค้นทรัพย์สินทางปัญญาผ่านระบบอินเตอร์เน็ต แนวคิดการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา แนวความคิดหรือเหตุผลในการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทาง ปัญญามีหลากหลายเหตุผล แตกต่างกัน โดยเหตุผลหลัก ๆ มีดังนี้ เหตุผลทางเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการประดิษฐ์โดยให้ความคุ้มครองหรือสิทธิพิเศษ ทางเศรษฐกิจในการหาประโยชน์แต่เพียงผู้เดียวภายในระยะเวลาหนึ่ง หลักจากหมดอายุความคุ้มครองนั้น ทรัพย์สินททางปัญญานั้นถือว่าเป็น สมบัติสาธารณะ (public domain) ที่ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์ ได้ ซึ่งสิ่งจูงใจทางด้านเศรษฐกิจดังกล่าวจะกระตุ้นให้มีการเผยข้อค้นพบ ใหม่ ๆ ต่อสาธารณะ เพราะการเปิดเผยการประดิษฐ์จะทาให้บุคคลอื่นใน สังคมสามารถศึกษาและเข้าใจเกี่ยวกับการประดิษฐ์นั้น โดยสามารถนาไป ปรับปรุงหรือพัฒนาต่อไปได้ อันจะนามาซึ่งความก้าวหน้าทางวิทยาการ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 398
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
ต่อไปอย่างต่อเนื่องเป็นพลวัตร และจะมีผลพ่วงต่อเนื่องไปยังการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และในแง่ของผู้ประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์ก็ จะมีกาลังใจหรือกาลังทรัพย์ในการพัฒนาการประดิษฐ์หรืองานสร้างสรรค์ ใหม่ ๆ ออกสู่สังคมเรื่อย ๆ เนื่องจากมีรางวัลตอบแทนในการลงทุนลงแรง นอกจากนี้ การให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญายังเป็นการกระตุ้นให้ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการลงทุนเพื่อที่จะทาให้มีการพัฒนาเศณษฐ กิจและสังคมมาก ตัวอย่างเช่น ระบบสิทธิบัตรมีส่วนช่วยต่อการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศในการทาการตลาดและการหาประโยชน์ ในเชิงพาณิชย์จากการประดิษฐ์หลายประการ เช่น ช่วยสร้างแรงจูงใจใน การสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะทาให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ การเพิ่มผลผลิต และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ช่วยในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ เอื้ออานวยต่อการใช้ประโยชน์ สิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีใหม่ในทาง อุตสาหกรรมและยังส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งการลงทุนจากต่างชาติ หรือ ช่วยเป็นตัวเร่งในการหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ของสิ่งประดิษฐ์และมี ความสามารถในการถ่ายโอนการใช้ที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น เหตุผลทางด้านศีลธรรม วัตถุประสงค์ที่สาคัญอีกประการหนึ่งของทรัพย์สินทางปัญญา คือ การให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประดิษฐ์และผู้สร้างสรรค์ โดยเหตุผลในเชิง ความยุติธรรมและเป็นธรรม กล่าวคือ ผู้ประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์ที่ได้ลงทุน ลงแรงทั้งเงินทอง เวลา และสติปัญญาในการประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์ ไม่ ต้องการให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบโดยการเอาทรัพย์สินทางปัญญาของ บุคคลอื่นไปโดยมิชอบ รัฐจึงมีความจาเป็นต้องเข้ามาแทรกแซงโดยการให้ ความคุ้มครองทางกฎหมาย เพราะหากปราศจากการให้ความคุ้มครองทาง กฎหมาย ก็จะเป็นการบั่นทอนกาลังใจของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาใน เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 399
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
การสร้างผลงานดีออกสู่สังคม เพราะผู้ประดิษฐ์หรือผู้สร้างสรรค์อาจรู้สึก ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสังคม นอกจากนี้ กฎหมายทรัพย์สินทาง ปัญญายังประสงค์จะให้เกียรติแก่ผู้สร้างสรรค์และผู้ประดิษฐ์ในการแสดง ชื่อว่าตนเองเป็นผู้ประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์ โดยเฉพาะระบบลิขสิทธิ์นั้น ผู้ สร้างสรรค์มีสิทธิที่จะห้ามผู้อื่นมิให้กระทาการบิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลง หรือกระทาการให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของผู้สร้างสรรค์ และถือว่า สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้สร้างสรรค์หรือผู้ประดิษฐ์ได้ ลักษณะเฉพาะของทรัพย์สินทางปัญญา ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นแนวความคิดในเชิง เศรษฐศาสตร์และกฎหมายที่ต้องการสร้างกลไกจูงใจให้ผู้ประดิษฐ์หรือ สร้างสรรค์เปิดเผยความรู้ต่อสาธารณะ โดยให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประดิษฐ์ และผู้สร้างสรรค์ในรูปแบบของโดยมีสิทธิผูกขาดทางกฎหมาย เพื่อเป็นสิ่ง แลกเปลี่ยน ดังนั้น จึงต้องมีกฎหมายมารองรับสิทธิดังกล่าวให้เหมือนกับ ทรัพย์สินประเภทอื่นทั่วไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสิทธิในทรัพย์สินทาง ปัญญามีลักษณะเฉพาะตัวบางอย่างที่แตกต่างจากทรัพย์สินทั่วไปที่มี รูปร่างจับต้องได้ จึงจาเป็นมีกฎมหมายที่ให้ความคุ้มครองในรูปแบบเฉพาะ (Sui Generic Law) ลักษณะเฉพาะของทรัพย์สินทางปัญญา มีดังนี้ ทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง โดยทั่วไปทรัพย์สินทุกคนรู้จักคุ้นเคยกัน คือ อสังหาริมทรัพย์และ สังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีรูปร่างหรือจับต้องได้ (tangible property) แต่ทรัพย์สินทางปัญญาถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างหรือไม่ สามารถจับต้องได้ (intangible property) ซึ่งโดยลักษณะแล้วยากที่ผู้ใด เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 400
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
จะครอบครองไว้ได้ แม้จะแฝงตัวอยู่ในทรัพย์สินที่จับต้องได้ แต่ด้วยระบบ กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองและปกป้องทรัพยสินทางปัญญาจึงสามารถถือ ครองหรือครอบครองได้ นอกจากนี้ การให้ความคุ้มครองและใช้ประโยชน์ ทรัพย์สินทางปัญญาจาเป็นต้องมีกลไกและระบบที่แตกต่างจากระบบ ทรัพย์สินทั่วไปในบางกรณี ดังนั้น จึงมีกฎหมายเฉพาะรองรับหรือให้ความ คุ้มครองแตกต่างจากทรัพย์สินในความหมายทั่วไป ข้อมูลหรือสารสนเทศ ลักษณะพิเศษที่สาคัญของทรัพย์สินทางปัญญาประการหนึ่ง คือ ทรัพย์สินทางปัญญาถือว่าเป็นข้อมูลหรือสารสนเทศซึ่งมีลักษณะเป็นสินค้า กึ่งสาธารณะ (quasi public goods) ที่ไม่สามารถกีดกันบุคคลอื่นในการ ใช้ประโยชน์ได้ โดยส่วนใหญ่ทรัพย์สินทางปัญญามักจะมิใช่สินค้าโดย ตัวเอง แต่ทรัพย์สินทางปัญญามักจะเป็นตัวสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าหรือ บริการ จึงมักจะแฝงตัวอยู่ในสินค้าหรือบริการนั้น ดังนั้น ระบบกฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญาจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองข้อมูลหรือ สารสนเทศที่มีค่าเหล่านี้ เพื่อให้เจ้าของข้อมูลหรือสารสนเทศสามารถใช้ ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจได้ ก็คล้ายกับระบบทรัพย์สินทั่วไป เพราะจาก ลักษณะของทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นข้อมูลสารสนเทศ เจ้าของทรัพย์สิน ทางปัญญาจะปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองได้ลาบาก โดยเฉพาะ ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์หรือการประดิษฐ์ที่ลอกเลียนได้ง่าย ซึ่งหากไม่ให้ ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาบุคคลอื่นก็สามารถนาทรัพย์สินทาง ปัญญาเหล่านั้นไปใช้เประโยชน์ได้ง่าย สิทธิผูกขาดทางกฎหมาย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ทรัพย์สินทางปัญาเป็นกลไกทางกฎหมายที่จะ ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมปรารกฎแก่สังคม การให้ความคุ้มครองแก่ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 401
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญาให้เท่าเทียมกับทรัพย์สินอื่นทั่วไป เป็นการให้สิทธิแต่ เพียงผู้เดียวในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินททางปัญญานั้น อย่างไรก็ ตาม สิทธิผูกขาดนั้นก็เป็นสิทธิที่จากัดเงื่อนเวลาและมีเงื่อนไขที่จากัดการ ใช้สิทธิผูกขาดโดยมิชอบ เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาจึงมีสิทธิอยู่อย่าง จากัด โดยสิทธิผูกขาดที่ได้รับมักเป็นกลุ่มของสิทธิในการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น สิทธิในการใช้ สิทธิในการผลิต สิทธิในการทาซ้า สิทธิในการ จาหน่ายจ่ายแจก หรือสิทธินาเข้า เป็นต้น ทั้งนี้ ตามหลักการแล้ว สิทธิ ดังกล่าวอาจได้รับการขยายความคุ้มครองในประเทศอื่นด้วย หากมี พันธกรณีระหว่างประเทศให้ความคุ้มครอง ซึ่งพันธกรณีระหว่างประเทศ อาจเกิดขึ้นในสองลักษณะ คือ ความตกลงแบบทวิภาคี (bilateral agreement) หรือความตกลงแบบพหุภาคี (multilateral agreement) การใช้ประโยชน์พร้อมกันหลายคนในเวลาเดียวกัน แม้ว่าทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง ทรัพย์สินทาง ปัญญาก็สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้เหมือนกับทรัพย์สินประเภทอื่น เพียงแต่กลไกและวิธีการใช้ประโยชน์อาจแตกต่างกัน เนื่องจาก ลักษณะเฉพาะของทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นเพียงข้อมูลหรือสารสนเทศ ซึ่งการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็ไม่ได้ทาให้บุคคล ที่เหลือไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญานั้นได้ กล่าวอีกนัย หนึ่ง คือ ทรัพย์สินทางปัญญาสามารถใช้ได้โดยหลายบุคคลใน ขณะเดียวกัน ดังนั้น ทรัพย์สินทางปัญญาจึงสามารถช่วยก่อให้เกิดรายได้ และอานวยความสะดวกในการดาเนินธุรกิจอย่างมากมายมหาศาล ซึ่ง บ่อยครั้งอาจทารายได้มากกว่าสินค้าที่มีรูปร่าง เช่น คอมพิวเตอร์โปรแกรม หรือดนตรี เป็นต้น หากเจ้าของรู้จะใช้ประโยชน์และบริหารจัดการ ทรัพย์สินทางปัญญาอย่างถูกต้องและเหมาะสม เช่น ในบางกรณีการขยาย กิจการ เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ไม่จาเป็นต้องลงทุนเอง แต่อาจ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 402
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การขยายกิจการก็อาจ ดาเนินการไปได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ลักษณะสาคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทรัพย์สินทางปัญญายังถือว่าเป็นกลุ่มของสิทธิ ซึ่งในบางกรณีสามารถ อนุญาตให้ใช้สิทธิหนึ่งสิทธิใดที่แตกต่างกันได้โดยมิได้กระทบกระเทือนถึง สิทธิอื่น ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา โดยทั่วไป ทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ลิขสิทธิ์ (copyrights) และ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (industrial property) โดยลิขสิทธิ์มุ่งให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้สร้างสรรค์งานซึ่งใช้ ทักษะและแรงงานในการสร้างงานอันมีที่มาจากงานวรรณกรรมและ ศิลปกรรม โดยการกาหนดสิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่ผู้สร้างสรรค์ที่มีความคิด ริเริ่ม และสาหรับทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมเป็นความคิดสร้างสรรค์ของ มนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งรวมถึงการประดิษฐ์คิดค้น การ ออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิค ในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวกับตัวสินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบ และรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ และ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและ ถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกาเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขัน ทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม สามารถแบ่งย่อยออกเป็นประเภทเฉพาะดังนี้ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า แบบผังภูมิวงจรรวม ความลับทางการค้า ชื่อทางการค้า และสิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งอาจได้รับความคุ้มครอง จากมรัพย์สินทางปัญญาหลายประเภท เช่น โทรศัพท์มือถือ รูปร่างและการ ออกแบบภายนอกของโทรศัพท์มือถืออาจได้รับความคุ้มครองจากสิทธิบัตร เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 403
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
การออกแบบผลิตภัณฑ์วงจรรวมของโทรศัพท์อาจได้รับความคุ้มครอง แบบผังภูมิวงจรรวม การผลิตโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์อาจได้รับความ คุ้มครองจากสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร หรือความลับทางการค้า และครื่องหมายการค้าของบริษัท ผู้ผลิตหรือจาหน่ายโทรศัพท์มือถืออาจ ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายเครื่องหมายการค้า เป็นต้น ในส่วนต่อไปเป็นการอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินทาง ปัญญาแต่ละประเภท แต่เนื่องจากเนื้อหาของทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละ ประเภทมีรายละเอียดค่อนข้างมาก จึงจะมุ่งเน้นอธิบายเฉพาะองค์ประกอบ ที่สาคัญ ลิขสิทธิ์ (Copyrights) ในปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ ร้อยละ 80-90 ของอุตสาหกรรมด้าน ลิขสิทธิ์ คือ บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ภาคอุตสาหกรรมที่สร้างสรรค์ รวมถึง อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ดนตรี แพร่ภาพ แพร่ เสียง สถาปัตยกรรม โฆษณา แฟชั่น ศิลปะ และหัตถกรรม เป็นต้น ซึ่ง คานวณแล้วมีมูลค่าถึงประมาณร้อยละ 3-6 ของผลผลิตมวลรวมของ ประเทศ (GDP) จึงอาจกล่าวได้ว่าเราสามารถพบเห็นและใช้ประโยชน์งาน ลิขสิทธิ์แทบจะทุกวัน ไม่ว่าในหน้าที่การงานหรือเพื่อความบันเทิง และใน บางกรณีงานลิขสิทธิ์เหล่านี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเหรือค วามเป็นอยู่ของเราโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น ลิขสิทธิ์จึงมีความสาคัญอย่างมากต่อ ระบบเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยทั่วไปลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่ เพียงผู้เดียวที่จะกระทาการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทาขึ้น กล่าว อีกนัยหนึ่งคือ ลิขสิทธิ์เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหกะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง โดยมีพระราชบัญญัติ
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 404
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยมีสาระสาคัญ ดังนี้ หลักเกณฑ์ให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ในการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์นั้น พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ได้ กาหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ ไว้ ดังนี้ เป็นการแสดงออกซึ่งความคิด หลักการที่สาคัญของกฎหมายลิขสิทธิ์ คือ สิ่งที่จะได้รับความคุ้มครองตาม กฎหมายลิขสิทธิ์นั้นต้องเป็นการแสดงออกซึ่งความคิดให้ปรากฎในรูป แบบอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะปรากฎในรูปแบบใด เช่น การเขียน หรือ พิมพ์ความคิดลงบนแผ่นกระดาษ การบันทึกเสียงเพลงและดนตรีลงบน เทปบันทึกเสียง หรือการแกะสลักงานออกเป็นรูปร่าง เป็น สาหรับตัว ความคิดนั้นเอง จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์แต่ประการ ใด ซึ่งกฎหมายลิขสิทธิ์ มาตรา 6 ระบุไว้ชัดเจนว่าการคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่ ครอบคลุมถึงความคิด หรือขั้นตอนกรรมวิธีหรือระบบ หรือวิธีใช้งานหรือ ทางาน หรือแนวคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาตร์ หรือ คณิตศาสตร์ ซึ่งหลักการนี้ของระบบลิขสิทธิ์จึงแตกต่างจากระบบสิทธิบัตร ที่ให้ความคุ้มครองความคิด ดังนั้น หากต้องการคุ้มครองความคิดควร คานึงถึงระบบสิทธิบัตร เป็นการสร้างสรรค์ด้วยตนเองหรือความคิดริเริ่ม หลักการสาคตัญประการต่อมาคือ ผู้สร้างสรรค์ได้ใช้ความรู้ความสามารถ ของตนเองในการสร้างสรรค์งานนั้นขึ้นมาด้วยตนเองเป็นสาคัญ หรืออาจ กล่าวได้ว่างานนั้นเกิดจากความคิดริเริ่มของผู้สร้างสรรค์โดยมิได้ ลอกเลียนแบบงานของผู้ใด อย่างไรก็ตาม งานที่สร้างสรรค์นั้น ไม่ จาเป็นต้องมีงานใหม่ที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน เช่น หากศิลปินสองคนวาด ภาพธรรมชาติที่เดียวกันโดยมิได้ลอกเลียนแบบกัน ทั้งสองคนก็อาจเป็น เจ้าของงานที่ตนเองสร้างสรรค์ขึ้น อย่างไรก็ตาม มีบางแนวความคิดถือว่า เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 405
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
การสร้างสรรค์ด้วยตนเองนั้นจะต้องมีความรู้ ความชานาญ ความสามารถ และความอุตสาหะพยายาม ตลอดจนวิจารณญาณของตนเอง โดยมิได้ คัดลอกงานจากที่อื่น จากหลักการดังกล่าวข้างต้น พบว่าความใหม่และ คุณภาพของงานจึงไม่ใช่สาระสาคัญของงานลิขสิทธิ์ เป็นงานสร้างสรรค์ตามที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง งานที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์นั้น นอกจากจะเป็นงาน สร้างสรรค์ด้วยตนเองและแสดงออกซึ่งความคิดแล้วตามที่ได้กล่าวมา ข้างต้น องค์ประกอบที่สาคัญอีกประการหนึ่งของการได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ คือ ต้องเป็นงานที่กฎหมายให้การรับรองด้วย งานที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้การรับรองอาจแบ่งออกได้ 2 ประเภทหลัก ดังนี้ 1. งานลิขสิทธิ์ทั่วไป (Copyrights Works) ได้แก่ - วรรณกรรม หมายความว่า งานนิพนธ์ที่ทาขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คาปราศรัย สุนทรพจน์ และให้ หมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย - งานนาฎกรรม หมายความว่า งานเกี่ยวกับการรา การเต้น การทาท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้น เป็นเรื่องราว และให้หมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ ด้วย - งานศิลปกรรม หมายความรวมถึง งานด้านจิตรกรรม งาน ประติมากรรม งานสถาปัตยกรรม งานภาพ พิมพ์ งานภาพประกอบแผนที่ งานภาพถ่ายแผนที่หรือโครงสร้าง และ ศิลปะประยุกต์ของงาน ดังกล่าว - งานดนตรีกรรม หมายความว่า งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้น เพื่อบรรเลงหรือขับร้อง ไม่ว่าจะมีทานอง
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 406
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
และคาร้องหรือมีทานองอย่างเดียว และให้หมายความ รวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยก และเรียบเรียงเสียประสานแล้ว - งานโสตทัศนวัสดุ หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลาดับของภาพโดย บันทึกลงในวัสดุ ไม่ว่า จะมีลักษณะอย่างใด อันสามารถที่จะนามาเล่นซ้าได้อีก โดยใช้เครื่องมือ ที่จาเป็นสาหรับการใช้ วัสดุนั้น และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบงานนั้นด้วย ถ้ามี - งานภาพยนตร์ หมายความว่า โสตทัศนวัสดุ อันประกอบด้วย ลาดับของ ภาพ ซึ่งสามารถนาออก ฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์ หรือสามารถบันทึกลงบนวัสดุอื่น เพื่อนา ออกฉายต่อเนื่องได้อย่าง ภาพยนตร์ และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์นั้นด้วย ถ้ามี - งานสิ่งบันทึกเสียง หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลาดับของ เสียงดนตรี เสียงการแสดงหรือ เสียงอื่นใด โดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใด ๆ อันสามารถที่จะ นามาเล่นซ้าได้อีก โดย ใช้เครื่องมือที่จาเป็นสาหรับการใช้วัสดุนั้น แต่ทั้งนี้มิให้หมายความ รวมถึงเสียงประกอบ ภาพยนตร์หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุ - งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หมายความว่า งานที่นาออกสู่สาธารณชน โดยการแพร่เสียงทาง วิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือ โดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึง 2. งานลิขสิทธิ์สืบเนื่อง (Derivative Works) ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 407
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
- งานดัดแปลง หมายถึง งานที่เกิดจากการทาซ้างานต้นฉบัน โดยเปลี่ยน รูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจาลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสาคัญ โดยไม่มี ลักษณะเป็นการจัดทางาน ขึ้นใหม่ ทั้งนี้ การกระทาดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่นการนาภาพวาดไปพิมพ์ เป็นลวดลายบนกระเบื้องหรือเสื้อยืด นวนิยายแปล การทางานสองมิติ เป็นงานสามมิติ หรือการ ปรับปรุงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น - งานรวบรวม หมายถึง งานที่เป็นการนาเอางานอันมีลิขสิทธิ์มารวบรวม หรือประกอบเข้ากัน โดย การคัดลอกหรือจัดลาดับในลักษณะซึ่งมิได้ลอกเลียนงานของบุคคลอื่น ทั้งนี้ การกระทา ดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่น พจนานุกรม ปาทานุ กรม หนังสือรวบรวม ข้อเท็จจริง หรือฐานข้อมูล เป็นต้น นอกจากจะเป็นงานที่กฎหมายให้การรับรองตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นแล้ว เงื่อนไขที่สาคัญอีกประการหนึ่งคือ งานที่จะ ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชนด้วย เช่น กฎหมายลิขสิทธิ์จะไม่ให้ความ คุ้มครองแก่ภาพลามกอนาจาร หรือนวนิยามเสื่อมเสียศีลธรรม เป็นต้น เพราะเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์และนโยบายของระบบกฎหมายลิขสิทธิ์ และระบบกฎหมายในภาพรวม การให้ความคุ้มครองแก่งานประเภท ดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมแต่ประการใด อนึ่งแม้จะไม่มี กฎหมายกาหนดไว้อย่างชัดเจน แต่ก็มีคาพิพากษารองรับหลักการดังกล่าว นี้แล้ว (คาพิพากษาฎีกาที่ 3705/2530) เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 408
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
สิทธินักแสดง (Performer Rights) กฎหมายลิขสิทธิ์บทบัญญัติเฉพาะที่จะให้ความคุ้มคอรงสิทธิของ นักแสดง เพิ่มให้นักแสดงทั้งหลายต้องถูกเอารัดเอาเปรียบในทางธุรกิจ ซึ่ง นักแสดงที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์หมายความรวมถึงผู้ แสดง นักดนตรี นักร้อง นักเต้น นักรา และผู้แสดงท่าทาง ร้อง กล่าวพากย์ แสดงตามบท หรือในลักษณะอื่นใด สาหรับของเขตของการให้ความคุ้มครองนั้นคล้ายคลึงกับการให้ ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ กล่าวคือ นักแสดงจะมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นสิทธิในทางเศรษฐกิจในการกระทาอันเกี่ยวกับการแสดงของตน และมีสิทธิในการรับค่าตอบแทน ดังนี้ แพร่เสียงแพร่ภาพ หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งการแสดง เว้นแต่จะเป็น การแพร่เสียงแพร่ภาพหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนจากสิ่งบันทึกการแสดง ที่มีการบันทึกไว้แล้ว บันทึกการแสดงที่ยังไม่มีการบันทึกไว้แล้ว ทาซ้าซึ่งสิ่งบันทึกการแสดงที่มีผู้บันทึกไว้ โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก นักแสดงหรือสิ่งบันทึกการแสดงที่ได้รับอนุญาตเพื่อวัตถุประสงค์อื่น หรือ สิ่งบันทึกการแสดงที่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดสิทธินักแสดง สิทธิได้รับค่าตอบแทนจากการที่มีบุคคลใดได้รับผลประโยชน์จากสิ่ง บันทึกเสียงการแสดงนั้น หรือในขณะที่เรียกร้องสิทธิ หรือการบันทึกเสียง การแสดงหรือส่วนใหญ่ของการบันทึกเสียงการแสดงนั้นเกิดขึ้นใน ราชอาณาจักร หรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการ คุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย สิทธิของนักแสดงมีอายุการคุ้มครอง 50 ปี นับแต่ที่มีการแสดงหรือมีการ บันทึกการแสดง ทั้งนี้นักแสดงที่จะได้รับความคุ้มครองนั้น จะต้องมีสัญชาติ ไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือการแสดงหรือส่วนใหญ่ขอการ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 409
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
แสดงนั้นเกิดขึ้นในราชอาณาจักร หรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดง ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย สิทธิบัตร (Patent) ในทางทฤษฎีแล้ว ระบบสิทธิบัตรเป็นสัญญาทางสังคมระหว่างรัฐบาล กับผู้ประดิษฐ์ โดยเงื่อนไขหลักของสัญญา คือ การแลกเปลี่ยนระหว่างการ เปิดเผยความรู้กับสิทธิผูกขาดทางกฎหมายในการทา ผลิต จาหน่าย หรือ แสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ภายในระยะเวลาหนึ่งอันจากัด เพื่อเป็น การตอบแทนผู้ประดิษฐ์ และหลังจากระยะเวลาที่รัฐให้ความคุ้มครองสิ้นสุด ลง ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยไม่มีข้อจากัด เพื่อการ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยให้ ผลประโยชน์ตอบแทนทางเศรษฐกิจในรูปสิทธิผูกขาดทางกฎหมายแก่ผู้ ประดิษฐ์ ดังนั้น ระบบสิทธิบัตรจึงเป็นกลไกทางเศรษฐศาสตร์ที่ใช้กฎหมาย สิทธิบัตรเป็นเครื่องมือโดยมีเป้าหมาย คือ การให้สิ่งจูงใจทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการแข่งขันการพัฒนาการประดิษฐ์และนวัตกรรมอย่างเป็นพล วัตร สาหรับระบบสิทธิบัตรในประเทศไทยนั้น พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายหลักที่ให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์และการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยเหตุผลใตการตรา พระราชบัญญัติสิทธิบัตร เพื่อส่งเสริมให้มีการค้นคว้าวิจัยและประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ เป็นประโยชน์และเป็นความก้าวหน้าทางเทคนิคในเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมในประเทศ และเพื่อให้ผู้ประดิษฐ์และ ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ได้รับความคุ้มครอง โดยห้ามมิให้บุคคลอื่น ลอกเลียนแบบ หรือเลียนแบบการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์โดย มิได้ค่าตอบแทน เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 410
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ได้ให้นิยาม “สิทธิบัตร” ในเชิง รูปธรรมว่าหมายถึง หนังสือสาคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครอง การประดิษฐ์ คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกาหนด โดย หลักการแล้ว สิทธิบัตร จึงเป็นสิทธิตามกฎหมายที่จากัดขอบเขตอยู่ใน ประเทศเท่านั้น ดังนั้น สิทธิบัตรที่ออกโดยประเทศใดก็มีผลใช้บังคับใน ประเทศนั้น การจะขอรับความคุ้มครองในประเทศใดก็จาเป็นต้องไปขอรับ สิทธิบัตรในประเทศนั้น ๆ ด้วย กฎหมายสิทธิบัตรได้กาหนดรูปแบบของการให้ความคุ้มครองแก่การ ประดิษฐ์ไว้ ดังนี้ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ อนุสิทธิบัตร สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Utility Patent) สิทธิบัตรการประดิษฐ์เป็นสิทธิบัตรที่ให้ความคุ้มครองแก่การประดิษฐ์ ซึ่ง ตามกฎหมายได้ให้นิยามว่าหมายความถึง การคิดค้นหรือคิดทาขึ้น อันเป็น ผลให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทา ใด ๆ ที่ทาให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี สิทธิบัตรการประดิษฐ์จะให้ความคุ้มครองสิ่งดังนี้ ผลิตภัณฑ์ แม้ว่ากฎหมายสิทธิบัตรจะมิได้กาหนดนิยามความหมายไว้ แต่ โดยทั่วไปมักจะครอบคลุมถึง เครื่อจักรกล เครื่องสาเร็จ ผลิตผล อุปกรณ์ เครื่องมือ และส่วนประกอบ เป็นต้น กรรมวิธีนั้นกฎหมายกาหนดนิยามว่าหมายความถึง วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิต การเก็บรัษาให้คงสภาพ หรือให้มีคุณภาพดีขึ้น หรือการปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้น ๆ ด้วย เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 411
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
การทาให้ผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีดีขึ้น หมายความถึง ความคิดสร้างสรรค์ ที่แก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น สิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า ผู้บริโภคมักจะให้ความสาคัญกับรูปร่าง ภายนอกของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์บางประเภท เช่น รองเท้า เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องประดับหรือตกแต่ง เป็นต้น และมีสินค้าอีกไม่น้อยที่ รูปร่างภายนอกของสินค้าอาจสร้างความประทับใจ หรือดึงดูดลูกค้าให้ สนใจเลือกซื้อสินค้าได้ ดังนั้น แบบผลิตภัณฑ์จึงกลางเป็นปัจจัยหนึ่งใน วงการค้าในปัจจุบัน หลายบริษัทประสบความสาเร็จกับความสามารถใน การออกแบบผลิตภัณฑ์ และได้กลายเป็นจุดแข็งหรือข้อได้เปรียบของ บริษัทในการแข่งขันในตลาด ระบบการให้คุ้มครองการออกแบบ ผลิตภัณฑ์จึงกลายเป็นปัจจัยหลักประการหนึ่งในการดาเนินธุรกิจของ บริษัทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในระบบทรัพย์สินทางปัญญาของไทย การออกแบบผลิตภัณฑ์อาจได้รับ ความคุม ้ ครองหลายรูปแบบ เช่น ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิบัตรการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ ในส่วนของการคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ได้อธิบาย หลักเกณฑ์ไปแล้วข้างต้น สาหรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ กฎหมายสิทธิบัตรยังให้ความคุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์แตกต่างจาก สิทธิบัตรการประดิษฐ์ กล่าวคือ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จะให้ ความคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะหรือรูปแบบภายนอก ของผลิตภัณฑ์ ซึ่งมักจะให้คามสาคัญกับความสวยงาม ในขระที่สิทธิบัตร การประดิษฐ์มักจะให้คุณค่ากับผลในทางเทคนิคของการประดิษฐ์มากกว่า ความสวยงามของการประดิษฐ์ ดังนั้น หลักเกณฑ์และเงื่อนไขจึงมีความ แตกต่างกันในบางประเด็น ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 412
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) อนุสิทธิบัตร คือ หนังสือสาคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ใน ทานองเดียวกับสิทธิบัตร แต่ระบบอนุสิทธิบัตรจะมีวิธีการขอรับความ คุ้มครองที่ง่ายกว่า เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และขอบเขตการให้ความ คุ้มครอง คล้าย ๆ กัน กล่าวคือ อนุสิทธิบัตรเป็นการประดิษฐ์ที่มีเทคนิตไม่ สูงมากนัก อาจจะเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่สามารถขอรับ สิทธิบัตรได้เนื่องจากไม่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้นเพียงพอ ข้อแตกต่าง อีกประการหนึ่ง คือ ขั้นตอนการขอรับอนุสิทธิบัตรจะใช้เวลาสั้นกว่า สิทธิบัตรการประดิษฐ์มาก เนื่องจากใช้ระบบจดทะเบียนแทนการใช้ระบบที่ ต้องมีการตรวจสอบก่อนการรับจดทะเบียน ดังนั้น ผู้ขอรับอนุสิทธิบัตรจึง ต้องตรวจสอบเงื่อนไขความใหม่ของอนุสิทธิบัตรให้ดีก่อนยื่น เพราะจะไม่ มีการตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบก่อนให้อนุสิทธิบัตร ฉะนั้น สิทธิที่ได้อาจ ถูกยกเลิกหรือลบล้างได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ขออาจร้องขอให้ตรวจสอบ เงื่อนไขความใหม่ของคาขออนุสิทธิบัตรได้ นอกจากนี้ อายุการให้ความ คุ้มครองอนุสิทธิบัตรจะสั้นกว่าสิทธิบัตรด้วย ทั้งนี้ กฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้ขอนรับสามารถเลือกได้ว่า การประดิษฐ์นั้น จะขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรหรือนุสิทธิบัตร แต่จะขอความคุ้มครองทั้ง สองอย่างพร้อมกันไม่ได้ และผู้ขอรับอาจเปลี่ยนการขอรับความคุ้มครอง ได้แต่ต้องก่อนมีการประกาศโฆษณาคาขอนั้น ๆ ความลับทางการค้า (Trade Secret) ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจปัจจุบัน การคุ้มครองความลับทางการค้า นับว่าเป็นสิ่งที่มีความสาคัญอย่างยิ่งต่อธุรกิจ โดยทั่วไป ข้อมูลทางธุรกิจที่ เป็นความลับที่เสริมสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขันนั้นถือว่าเป็น ความลับทางการค้า
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 413
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
ความลับทางการค้าประกอบด้วย ความลับในการผลิต ความลับทาง อุตสาหกรรม และความลับทางธุรกิจ การใช้ข้อมูลความลับโดยไม่ได้รับ อนุญาตโดยบุคคลอื่นนอกจากผู้ที่มีสิทธิ ถือว่าเป็นการกระทาที่ไม่เป็น ธรรมและละเมิดบทบัญญัติความลับทางการค้า โดยทั่วไปการคุ้มครอง ความลับทางการค้ามักจะอยู่ในรูปของการปกป้องการแข่งขันที่ไม่เป็น ธรรม หรืออาจเป็นกฎหมายพิเศษเฉพาะว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลความลับ กฎหมายความลับทางการค้ามักจะใช้บังคับกับลูกจ้างของบริษัท คู่สัญญา ในทางการค้า พันธมิตรทางการค้า หรือคู่แข่งทางการค้าในอนาคตเสีย เป็นส่วนใหญ่ ดังจะดูได้จากคดีและประสบกาณณ์ต่าง ๆ ในต่างประเทศ สิ่งทีไ ่ ด้รับความคุ้มครองความลับทางการค้าค่อนข้างกว้างขวาง โดยรวมถึงวิธีการขายหรือ จัดจาหน่ายสินค้า รายละเอียดของลูกค้า กล ยุทธ์การโฆษณา รายชื่อลูกค้า และกระบวนการผลิต เป็นต้น การวิเคราะห์ ว่าอะไรเป็นข้อมูลความลับทางการค้าหรือไม่ ขึ้นกับสถานการณ์ในแต่ละ กรณี ความลับทางการค้าอาจเกิดจากการรวบรวมลักษณะพิเศษหรือ องค์ประกอบอื่น ๆ ของข้อมูลที่เป็นสาธารณะอยู่แล้ว โดยการให้ กระบวนการให้การนาข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์และมีมาตรการป้องกัน รักษาความลับ ตัวอย่างของความลับทางกาค้าที่มีชื่อเสียง เช่น สูตร น้าอัดลมของบริษัทโค้ก หรือ source code ของโปรแกรมวินโดว์ของ บริษัทไมโครซอฟท์ เป็นต้น ทั้งนี้ ความลับทางการค้าไม่เหมือนกับสิทธิบัตร กล่าวคือ ความลับ ทางการค้าได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องจดทะเบียน ดังนั้น ความลับ ทางการค้าจึงได้รับความคุ้มครองโดยไม่จากัดระยะเวลาความคุ้มครอง ด้วยเหตุนี้ การคุ้มครองความลับทางการค้าอาจจูงใจหรือดึงดูดบริษัทต่าง ๆ ค่อนข้างมากกว่าทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น อย่างไรก็ตาม กฎหมายได้กาหนดเงื่อนไขของการให้ความคุ้มครองความลับทางการค้า ไว้ เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่า การปฏิบัติตามเงื่อนตามกฎหมาย อาจมี เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 414
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
ความยากลาบากและมีต้นทุนที่สูงกว่าที่พิจารณาในตอนแรก ซึ่งเงื่อนไข ตามกฎหมายเหล่านี้ อาจแตกต่างกันไปแล้วแตกกรณี อย่างไรก็ตาม ใน บริษัทชั้นนาทั้งหลายมักจะใช้ความลับทางการค้า ควบคู่กับสิทธิบัตรและ ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น โดจพิจารณาจากความเหมาะสมของสิ่งที่ ต้องการจะปกป้องและกลยุทธ์ทางการค้า ความลับทางการค้าที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยหลักการความลับทางการค้าย่อมได้รับความคุ้มครองทันที หาก ข้อมูลความลับทางการค้าเข้าเงื่อนไขที่จะเป็นความลับทางการค้าได้ตาม กฎหมาย ซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะดังนี้ ข้อมูลทางการค้านั้นยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยังเข้าไม่ถึงได้ใน หมู่บุคคล ซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลความลับ ทางการค้าไม่จาเป็นต้องเป็นข้อมูลความลับขั้นสุดยอดหรือเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่ เคยมีใครเคยรู้มาก่อน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นข้อมูลที่ชอบ ด้วยกฎหมาย ข้อมูลการค้านั้นต้องมีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากเป็นความลับ ทั้งนี้ การมีประโยชน์ในทางพาณิชย์ หมายถึง การดารงคงอยู่ของธุรกิจ การค้าที่กระทาอยู่ หรือที่กาลังจะกระทาต่อไปขึ้นอยู่กับข้อมูลนั้น และผู้ เป็นเจ้าของข้อมูลได้ใช้เวลา ความพยายาม และค่าใช้จ่ายอย่างมากจึงจะ ได้ข้อมูลนั้นมา ข้อมูลการค้านั้น ผู้ควบคุมความลับทางการค้านั้นได้ใช้มาตรการที่ เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับซึ่งผู้ควบคุมความลับทาการค้าหมายถึง เจ้าของความลับทางการค้า หรือผู้ครอบครอง ควบคุมหรือดูแลความลับ ทางการค้า เช่น หากจาเป็นต้องการเปิดเผย ความลับ อาจทาสัญญาเก็บ รักษาความลับกับผู้ที่จะล่วงรู้ความลับนั้น หรือการวางกฎระเบียบในการ เก็บรักษาความลับ เป็นต้น ตัวอย่างของความลับทางการค้ามี ดังนี้ การรวมรวมข้อมูล เช่น รายชื่อลูกค้า และผู้จัดจาหน่าย มีข้อสังเกตว่า ยิ่ง ข้อมูลมากยิ่งจะถือว่าเป็นความลับทางการค้าตามกฎหมาย เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 415
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
การออกแบบ ภาพวาด แผนผัง พิมพ์เขียว และแผนที่ วิธีการทางาน กระบวนการผลิตและซ่อมแซม รวมทั้งเทคนิตและโนว์ฮาว์ กระบวนการติดตามเอกสาร สูตรการผลิตสินค้า กลยุทธ์ททางธุรกิจ แผนธุรกิจ วิธีการทาธุรกิจ แผนการตลาด ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลบุคลากร ตารางการผลิตและซ่อมบารุง คู่มือการฝึกอบรม การทางาน และซ่อมบารุง ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ และข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมวิจัยและพัฒนาของ บริษัท เป็นต้น
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 416
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
เครื่องหมายการค้า (Trademark) ปัจจุบันนี้ เครื่องหมายการค้าได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในระบบ เศรษฐกิจการค้า และนับวันจะยิ่งทวีบทบาทสาคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในด้านการตลาด เนื่องจากเครื่องหมายการค้าทาหน้าที่เป็น สื่อกลางที่สาคัญในการซื้อขายระหว่างผู้ผลิตสินค้ากับผู้บริโภคสินค้า โดย จะเป็นสัญญลักษณ์แทนตัวผู้ผลิตสินค้า บอกแหล่งที่มาของสินค้า รวมทั้ง แสดงคุณภาพของสินค้าด้วย ซึ่งผู้ซื้อสินค้าและเลือกซื้อสินค้าโดยการ จดจาเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้านั้น ๆ ทั้งนี้ เครื่องหมายการค้ามีประโยชน์ทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค กล่าวคือ ประโยชน์ต่อผู้ผลิต เครื่องหมายการค้าสามารถใช้ประโยชน์ในการ โฆษณาสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถรับรู้และจดจาเครื่องหมายการค้า ได้โดยง่าย ติดหูติดตา เพื่อประโยชน์ในการแข่งขัน และการขยายตลาด การค้า ดังนั้น การสร้างหรือประดิษฐ์เครื่องหมายการค้า จึงควรให้มี ลักษณะที่สามารถจดจาเรียกขานได้ง่าย และมีความทันสมัยอยู่เสมอ ประโยชน์ต่อผู้บริโภค เมื่อสินค้าของแต่ละเจ้าของมีเครื่องหมายการค้าที่ แตกต่างกัน จะทาให้ผู้บริโภคสามารถทราบตัวผู้ผลิตและแหล่งที่มาของ สินค้ารวมทั้งคุณภาพของสินค้า โดยการพิจารณาเครื่อหมายการค้าที่ใช้ กับสินค้านั้น ๆ ทาให้สามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างถูกต้องตรงตามความ ต้องการ รสนิยมการบริโภค และสภาพเศรษฐกิจของแต่ละบุคคล ดังนั้น วัตถุประสงค์หลักของเครื่องหมายการค้า คือ การระบุแหล่งที่มาของ สินค้าและบริการ และแยกความแตกต่างสินค้าหรือบริการจากสินค้าหรือ บริการอื่น เครื่องหมายการค้าส่วนใหญ่จะรู้จักและคุ้นเคยกันในชื่อของคา ว่ายี่ห้อ ตรา โลโก้ หรือแบรนด์ กล่าวได้ว่าเครื่องหมายการค้าเป็น ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งจัดอยู่ในประเภททรัพย์สิน เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 417
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
อุตสาหกรรม ซึ่งแทบทุกประเทศทั่วโลกได้มีกฎหมายรับรองและคุ้มครอง สิทธิไว้สาหรับประเทสไทยมีพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เครื่องหมายและเครื่องหมายการค้า สิ่งที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเครื่องหมายการค้า คือ เครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าหรือบริการซึ่งกฎหมายเครื่องหมายการค้าได้ให้ นิยามคาว่า เครื่องหมาย ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คา ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ หลายอย่างรวมกัน แต่ไม่หมายความรวมถึงแบบผลิตภัณฑ์ตามกฎหมายว่า ด้วยสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้าที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเครื่องหมายการค้า แบ่งได้ 4 ประเภท หลัก ดังนี้ เครื่องหมายการค้า (Trade mark) คือเครื่องหมายที่ใช้กับสินค้า เพื่อแสดง ให้เห็นว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น แตกต่างจากสินค้าของผู้อื่น เช่น เครื่องหมายโค้ก เครื่องหมายโรเล็กซ์ เครื่องหมายไนกี้ หรือเครื่องหมายโซนี่ เป็นต้น ซี่งเครื่องหมายการค้าถือ ว่าเป็นปัจจัยสาคัญในการดาเนินธุรกิจของผู้ประกอบการและองค์กร เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้กับการบริการ เพื่อแสดงให้เห็นว่า บริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างจากบริการของ ผู้อื่น โดยบริการอาจจะเป็นบริการด้านการเงิน บริการด้านสายการบิน บริการการท่องเที่ยว บริการโรงแรม และบริการโฆษณา เป็นต้น ตัวอย่าง ของเครื่องหมายบริการที่จดทะเบียน เช่น เครื่องหมายการบินไทย เครื่องหมายธนาคารกรุงเทพ หรือเครื่องหมายโรงแรมเอราวัณ เป็นต้น เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือ เครื่องหมายบริการที่ใช้หรือจะใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 418
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
หรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคล หรือ องค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น เครื่องหมาย ปูนซีเมนต์ เครื่องหมาย สโมสรไลอ้อน หรือเครื่องหมาย NBA เป็นต้น โดยทั่วไป เครื่อหมายร่วม มักจะมีการกาหนดมาตรฐานร่วมในการใช้เครื่องหมายร่วม และเปิดโอกาส ให้สมาชิกสามารถเลือกใช้เครื่องหมายร่วมได้ หากได้ปฏิบัติตามมาตรฐาน นั้น ทั้งนี้ เครื่องหมายร่วมมีข้อมีตกลงที่มีการทาตลาดร่วมกันในกลุ่มบริษัท เครื่อหมายรับรอง (Certification mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้ในการ รับรองสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น โดยเป็นการรับรองเกี่ยวกับ แหล่งกาเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่นใด ของสินค้านั้น หรือเพื่อรับรองเกี่ยวกับสภาพ คุณภาพ ชนิด หรือ คุณลักษณะอื่นใดของบริการนั้น เช่น เครื่องหมายแม่ช้อยนางรา เชลล์ชวนชิม หรือเครื่องหมาย Woolmark เป็นต้น กล่าวคือ เจ้าของ เครื่องหมายรับรองมีการกาหนด มาตรฐานสาหรับการใช้เครื่องหมาย รับรองไว้ ดังนั้น ในการอนุญาตให้จดทะเบียนเครื่องหมายรับรองมักจะ พิจารณาความสามารถในการรับรองของผู้ขอรับเครื่องหมายรับรองด้วย ชื่อทางการค้า (Trade Name) ในการดาเนินธุรกิจทุกอย่างต้องมีชื่อ เพื่อให้ลูกค้าเรียกขานหรือระบุ แหล่งที่มาของสินค้าได้ ซึ่งชื่อมักจะเป็นที่นิยมกันมากกว่าเครื่องหมาย การค้า โดยเฉพาะในธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ชื่อทางการค้าอาจเป็น จุดเริ่มต้นของเครื่องหมายการค้า โดยปกติชื่อทางการค้ามักใช้กับชื่อของ ธุรกิจหรือห้างร้านต่าง ๆ หรือในบางกรณีใช้กับสินค้าหรือบริการ เช่น บริษัทไมโครซอฟท์ โรงแรมเอราวัณ กาแฟบ้านไร่ น้าพริกเผาแม่ประนอม Honda Accord yahoo.com หรือ Apple Computer เป็นต้น
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 419
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
โดยทั่วไป คนมักจะสับสนระหว่างเครื่งหมายการค้าและชื่อทางการ ค้า โดยนึกว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งในหลายกรณีอาจเป็นสิ่งเดียวกันก็ได้ หากมีการนาชื่อทางการค้าไปใช้อย่างเครื่องหมายการค้า ตามระบบ กฎหมายไทย ชื่อทางการค้าได้รับความคุ้มครองภายใต้ระบบกฎหมาย ละเมิด (torts) ซึ่งระบุไว้ในมาตรา 18 ประกอบกับ มาตรา 420 และ 421 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ สาคัญของการได้มาซึ่งสิทธิในชื่อทางการค้า คือ การใช้ชื่อทางการค้านั้น อย่างสุจริต โดยไม่ได้มีเงื่อนไขมากมายอย่างกรณีเครื่องหมายการค้า กล่าวคือ ชื่อทางการค้านั้นอาจจดทะเบียนกับกระรวงพาณิชย์หรือไม่ก็ได้ ชื่อทางการค้านั้นอาจซ้าซ้อนหรือคล้ายคลึงกับชื่อทางการค้าอื่นที่จด ทะเบียนอยู่แล้วหรือใช้อยู่ก่อนก็ได้ หรือชื่อทางการค้าสามารถใช้กับชื่อ สามัญหรือพรณนาสินค้าก็ได้ เป็นต้น แบบฟังภูมิวงจรรวม (integrated-Circuit Layout Design) กฎหมายว่าด้วยการให้ความคุ้มครองแบบผังภูมิวงจรรวมเกิดจาก การที่ประเทศไทย ต้องอนุวัติการตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีตามข้อ 35 ถึงข้อ 38 แห่งความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับ การค้า (TRIPS) ในภาคผนวกท้ายของความตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งกาหนดให้ประเทศสมาชิกต้องให้ความคุ้มครองแบบผังภูมิวงจร รวมในมาตรฐานสากล ทั้นี้ การให้ความคุ้มครองแบบผังภูมิวงจรรวมมี ลักษณะผสมผสานระหว่างระบบลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิวงจรรวม พ.ศ. 2543 ให้ความ คุ้มครองแก่แบบผังภูมิวงจรรวม (integrated-circuit layout design) โดย กฎหมายให้คาจากัดความ “วงจรรวม” (semiconductor chip) ว่า หมายความถึงผลิตภัณฑ์สาเร็จรูป หรือกึ่งสาเร็จรูปที่ทาหน้าที่ทาง เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 420
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
อิเล็กทรอนิกส์ อันประกอบด้วยชิ้นส่วนที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการ ปฏิบัติการทางอิเล็กทรอนิกส์รวมอยู่ด้วย และส่วนเชื่อมต่อที่เชื่อมชิ้นส่วน เหล่านั้นทั้งหมด หรือบางส่วนเข้าด้วยกัน ซึ่งได้จัดวางเป็นชั้นลักษณะที่ ผสานรวมกันอยู่บนหรือในวัตถุกึ่งตัวนาชิ้นเดียวกัน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไป ว่า “ชิบ” (chip) ซึ่งใช้กันอย่างกว้างขวางในผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่อคอมพิวเตอร์ เครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์ เครื่อง คิดเลข และนาฬิกา เป็นต้น และ “ระบบผังภูมิ” หมายความถึงแบบแผนผัง หรือภาพที่ทาขึ้น ว่าจะปรากฎในรูปแบบใดเพื่อให้เห็นถึงการจัดวางเป็น วงจรรวมในลักษณะสามมิติ การจดทะเบียนโดเมนเนม (Domain Name) ในโลกปัจจุบันอินเทอร์เน็ตนามาซึ่งการแข่งขันในมิติใหม่ โดยการ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ทาการตลาดสินค้าหรือบริการ ได้ทั้วโลกบนช่องทางอินเทอร์เนตด้วยต้นทุนที่ต่า ผลที่ตามมาก็คือ เกิด ผู้ประกอบการหรือธุรกิจใหม่ที่ใช้ประกอบกิจการบนอินเทอร์เน็ตจานวน มาก มักนิยมเรียกว่ “ธุรกิจ.com” ธุรกิจ.com นี้ ได้เข้ามาแข่งขันกับ ผู้ประกอบการที่มีอยู่เดิม ดังนั้ ผู้ประกอบการที่มีอยู่เดิมจึงได้หันมาใช้สื่อบน อินเทอร์เน็ตด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความเสียเปรียบกับผู้ประกอบการรายใหม่ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันกันอย่างมาก ขั้นตอนแรกของการเริ่มประกอบการบนอินเทอร์เน็ต คือ ผู้ประกอบการต้องหาที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต (internet address) หรือรู้จักกัน ในชื่อทางเทคนิคว่า “โอเมนเนม” ซึ่งเป็นระบบการแปลงมี่อยู่บน อินเทอร์เน็ตจากข้อมูลทางเ ทคนิตในรูปดิจิตอลมาเป็นตัวอักษรที่คน สามารถสื่อสารเข้าใจได้ง่ายกว่า เช่น www.yahoo.com เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 421
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
www.amazom.com เป็นต้น ดังนั้นการเลือกและใช้โดเมนเนมจึงมี ความสาคัญมากต่อการทาการตลาดของธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต การได้ โดเมนเนมจะใช้กระบวนการจดทะเบียน ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรทา ความเข้าใจระบบโมเมนเนม และกระบวนการจดทะเบียนโดเมนเนมเพื่อ สามารถประกอบกิจการบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบัน ระบบโดเมนเนมเพื่อการค้าสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท หลัก ดังนี้ โดเมนเนมลาดับต้น หรือโดเมนเนมสากล (Generic Top Level Domain Name) การจดทะเบียนโดเมนเนมลาดับต้น ซึ่งจะเป็นจาพวก .com .net .org .gov .edu เป็นต้น ดาเนินการโดย Network Solution Inc. ที่ได้รับอนุญาตให้ ดาเนินการโดยรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบัน The Internet Corporation for Assigned Names and Numbers (ICANN) ทาหน้าที่แทน ทั้งนี้ การจด ทะเบียนโดเมนเนมสามารถดานเนิการได้โดยผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท Network Solutions Inc. ที่ www.networksolutions.com หรือ ว็บไซต์ที่ ได้รับอนุญาตให้รับจดทะเบียนโดเมนเนมได้ เช่น 2000domain.net หรือ www.register.com เป็นต้น โดเมนเนมลาดับรอง หรือโอเมนเนมท้องถิ่น (Second Level Domain Name) หน่วยงานที่ทาหน้าที่รับจดทะเบียนโมเมนเนมลาดับรองหรือโอเมนเนมใน ประเทศไทย คือ ไทยนิก (THNIC) ซึง่ สามารถติดต่อได้ทางอินเทอร์เน็ตที่ เว็บไซต์ของไทยนิกที่ http://www.thnic.net และการจดทะเบียนชื่อ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 422
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
โดเมนเนมลาดับที่สามภายใต้ .th ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ THNIC มี ดังนี้ co.th สาหรับการพาณิชย์และธุรกิจ ผู้สมัครขอลงทะเบียนโดเมนเนม ภายใต้หมวดหมู่นี้ จะต้องเป็นองค์กรพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือบริษัทต่างประเทศที่มีตัวแทนอยู่ในประเทศไทย และตัวแทนนั้นจะต้อง จดทะเบียนในประเทศไทย และได้รับการโอนสิทธิในการลงทะเบียนโดเมน เนมจากบริษัทแม่ในต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อย in.th สาหรับหน่วยงานทุกประเภท และบุคคลทั่วไป ac.th สาหรับสถาบันการศึกษาที่จดทะเบียนในประเทศไทย go.th สาหรับการใช้ของภาครัฐบาล เช่น กระทรวงหรือหน่วยงานรัฐบาล ของไทย net.th สาหรับผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ISP) ซึ่งได้รับอนุญาตให้ เกิดบริการจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท) หรือผู้ได้รับสิทธิ์ในการ ให้บริการจาก ISP โดยมีหนังสือยืนยันจาก ISP นั้น ๆ or.th สาหรับองค์กรที่ไม่แสวงผลกาไร mi.th สาหรับหน่วยงานทางทหาร
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คือ ชื่อหรือสัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นใดที่บอกแหล่ง ผลิตของสินค้า โดยสามารถสื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพ หรือคุณลักษณะพิเศษแตกต่างจากสินค้าที่ผลิตในแหล่งผลิตอื่น เช่น มะขามหวานเพชรบูรณ์ ที่ประกอบด้วยคาว่า มะขามหวาน ซึ่งบอกว่าสินค้า เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 423
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
คืออะไร และคาว่าเพชรบูรณ์ ซึ่งบอกแหล่งผลิตมะขามหวานดังกล่าว และ ยังสื่อให้คนทั่วไปเข้าใจว่ามะขามหวานดังกล่าวมีคุณภาพสูงมีรสชาติ หวานและไม่แฉะ อันเป็นคุณลักษณะเฉพาะของมะขามหวานเพชรบูรณ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากดินที่เหมาะสมสาหรับการปลูกมะขามและปริมาณ น้าฝนที่พอเหมาะพอดีในจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบกับฝีมือการเพาะปลูก ของเกษตรกรชาวเพชรบูรณ์ ซึ่งมีกรรมวิธีในการปลูกโดยเฉพาะ จึงทาให้ มะขามที่ปลูกในจังหวัดเพชรบูรณ์มีความหวานมากกว่าท้องถิ่นอื่น ฉะนั้น สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบหรือปัจจัย สาคัญสองประการคือ ธรรมชาติกับมนุษย์ในแหล่งหรือท้องที่นั้น โดย ธรรมชาตินั้นสร้างสิ่งแวดล้อมหรือวัตถุดิบให้แก่การผลิตสินค้า ส่วนมนุษย์ นั้นใช้ทักษะ ความชานาญ และภูมิปัญญาในการผลิตสินค้านั้น ทั้งสอง ปัจจัยจึงได้ก่อให้เกิดสินค้าที่มีคุณภาพหรือคุณลักษณะพิเศษเฉพาะ ด้วย เหตุนี้ สิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จึงเป็นสิทธิชุมชน หรือสิทธิของกลุ่มคน ที่อยู่ในท้องถิ่นที่ผลิตสินค้านั้น ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย คือ องค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลท้องถิ่น และรวมถึง งานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. ภูมิปัญญาฯ ประเภทองค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลท้องถิ่น เช่น การผลิต อาหารและเครื่องดื่ม การผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร การผลิตผลิตภัณฑ์ จากวัสดุเหลือใช้ และการผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ หิน โลหะ แก้ว เซรามิค ดินเผา เครื่องหนัง และอื่นๆ 2. ภูมิปัญญาฯ ประเภทงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น เรื่องเล่าพื้นบ้าน เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 424
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
กวีนิพนธ์พื้นบ้าน ปริศนา พื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน การฟ้อน ราพื้นบ้าน ละครพื้นบ้าน จิตกรรมพื้นบ้าน ประติมากรรมพื้นบ้าน หัตถกรรมพื้นบ้าน เครื่องแต่งกายพื้นบ้าน และสิ่งทอพื้นบ้าน ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยที่ได้รับการจดแจ้งแล้ว จะถูกรวบรวมไว้เป็น ฐานข้อมูลสาหรับให้ ประชาชนผู้สนใจได้ค้นหาข้อมูล หรือติดต่อกับผู้แจ้ง ข้อมูล เพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจ อันเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิ ปัญญาฯ ให้มีการนาไปใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดในเชิง พาณิชย์ นอกจากนี้ ผู้แจ้งข้อมูลภูมิปัญญาฯ อาจนาหนังสือรับรองที่ทาง กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ไปแสดงต่อธนาคารหรือสถาบันการเงิน ต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นทุนกับกรม ทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อหรือหลักประกัน ในการชาระหนี้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินนั้น แปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน การแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน เกิดจากการที่รัฐบาลได้ กาหนดให้มี “นโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน” ขึ้น เพื่อเป็นการสร้าง โอกาสให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะคนยากจนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนใน ระบบ โดยการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีอยู่มาแปลงเป็นทุน เพื่อให้เกิด การสร้างงาน สร้างรายได้ และกระตุ้นให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ ส่งผล ให้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน โดยสินทรัพย์ที่ถูก กาหนดให้สามารถนามาแปลงเป็นทุนได้นั้น ปัจจุบันมีทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่ ที่ดินและทรัพย์สินติดกับที่ดิน, หนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินสาธารณะ และหนังสือรับรองอื่นๆ, สัญญาเช่าและเช่าซื้อ, เครื่องจักร, ทรัพย์สิน เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 425
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
ทางปัญญา, หนังสืออนุญาตให้นาพื้นที่ทางทะเลที่ได้รับอนุญาตเพาะเลี้ยง สัตว์น้า และสวนยางพารา ในส่วนของสินทรัพย์ประเภททรัพย์สินทางปัญญา รัฐบาลได้มอบหมาย ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาในฐานะเป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบงาน ด้านทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศเป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการ ดาเนินการตาม “นโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน” และเพื่อให้การ ดาเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของ นโยบายรัฐบาล กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดทา “โครงการแปลง ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน” เพื่อรองรับการดาเนินงานภายใต้นโยบาย ของรัฐบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสให้กับเจ้าของทรัพย์สินทาง ปัญญาที่ได้จดทะเบียน หรือแจ้งข้อมูลไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา สามารถใช้เอกสารแสดงสิทธิเหล่านั้นเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ และนา ทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และเกิด มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างสูงสุด อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้มีการ คิดค้นสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มมากขึ้น
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 426
หน่วยที่ 4 กฎหมายและจริยธรรม บทที่ 15: ทรัพย์สินทางปัญญา
ใบงาน บทที่ 15 ทรัพย์สน ิ ทางปัญญา ให้นักศึกษาทารายงานค้นคว้าข้อมูล ตามหัวข้อต่อไปนี้ 1. อธิบายความหมายของทรัพย์สินทางปัญญา 2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญามีอะไรบ้าง อธิบายพอ สังเขป 3. บอกถึงแนวคิดการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาพอสังเขป 4. อธิบายเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย 5. อธิบายการจดทะเบียนโดเมนเนม
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)
หน้า 427