PIE online magazine # 13

Page 1

ISSUE Thirteen : NOVEM-BER 2014

ISSUE 13 Small Is A NEW Big ARCHIVIST Wrongdesign B SIDES Santi Taepanich Panjapol Kulpapangkorn Fiona ILLUSTRATor

FREE & ONLINE ONLY PIEEVERYDAY.com facebook.com/piemagazine2013


THANK FOR YOUR SUPPORT

02


03


EDITOR’S TALK

สุรเชษฐ์ ศิลปบรรเลง PIE MAKER

04


05


ISSUE # I3

CONTENTS

PIE ONLINE MAGAZINE

B SIDES FIRST STEP AT 999/84 and informal

Santi Taepanich REAL FOR REAL

FIONA ILLUSTRATOR

ARCHIVIST THE PRINT MAKER

Panjapol Kulpapangkorn Jewellery is at my Feet

WRONG DESIGN AND RIGHT attitude

“SMALL IS A NEW BIG”

06


PIE ONLINE MAGAZINE

100/99 ChaiyaPruk Village’ soi 55 Sukapibal 5 road, O-ngoen, saimai, bangkok, thailand , 10220

07

tel : 08 0233 5492 E-MAIL : pieonlinemag@gmail.com www.pieeveryday.com www.facebook.com/piemagazine2013 IG : PIEONLINEMAGZINE


08


If you cannot do great things, do small things in a great way.

09


PIE UPDATE Penguin Surusuru Penguin on your floor

งานบ้านช่างแสนน่าเบือ่ ถูบา้ นคนเดียวก็ดจู ะเหงาๆ แต่เมื่อมาเจอกับ Penguin Surusuru ไม้ถูพื้น สุดน่ารักกับเพนกวิ้นน้อยคอยช่วยถู งานหนักๆ ก็ดูเหมือนจะเบาลงเพราะมัวแต่เพลิดเพลินกับเจ้า ไม้ถูสุดเพี้ยนนี่แหละ เพียงแค่สวมมันเข้าไป ไม้ถูก พื้นธรรมดาๆ ก็ดูน่ารักขึ้นมาทันตาเห็น หรือจะ เอามาเป็นที่ใส่ทิชชู่ก็ยังได้ น่ารักแถมยังใช้งานได้ หลากหลายแบบนี้อยากได้จัง

ColorUp Lamps

สนุกสนานเพลินเพลินไปกับ ColorUp Lamps โคมไฟตั้งโต๊ะเปลี่ยนสีได้อย่าง ใจนึก ออกแบบโดย PEGA D&E จากไทเป วิธีใช้ก็ง่ายๆ เพียงนำ�ไปแตะ กับสิ่งของที่มีสีและบีบดวงไฟที่ทำ�จาก ซิลิโคนเบาๆ สีของไฟดวงน้อยก็จะ เปลี่ยนไปตามสิ่งนั้นๆ ไอเดียเก๋ไก๋น่าใช้ เป็นอย่างยิ่ง ติดตามได้ที่ www. pegadesign.com

010


Plant Jewelry

เครื่องประดับน่ารักน่าใส่จาก Wearable Planter เขามีแอคเซสเซอรี่สุดชิคที่ไม่เพียงแต่ เก๋ไก๋ด้วยรูปทรงเรขาคณิตสีสันสดใส โดยใช้ เทคนิค 3D printing แล้ว เครื่องประดับเขา ยังใส่ต้นไม้จิ๋วสุดน่ารักเข้าไปอีกด้วยนะ ทั้ง แหวน สร้อยคอ หรือแม้แต่ใช้ตกแต่งจักรยาน ออกแบบโดย Colleen Jordan คนรักต้นไม้ และเครื่องประดับไม่ควรพลาด ติดตามได้ที่ www.wearableplanter.com

011


The Sa : Origami Umbrella

The Sa ร่มดีไซน์ใหม่เก๋ไก๋แปลกตาด้วยรูปลักษณ์แบบทรงเรขาคณิต ออกแบบโดย Justin Nagelberg & Matthew Waldman ที่ได้ รับอิทธิพลจากงานออริกามิของญี่ปุ่น นอกจากเรื่องดีไซน์ใหม่แล้ว ฟังก์ชั่นการกางและหุบร่มก็เพียงหมุนด้ามจับเท่านั้น วัสดุที่ใช้ก็มี น้ำ�หนักเบาแต่มีความแข็งแรงในการต้านแรงลม ตัวร่มสามารถถอด ออกได้และง่ายต่อการซ่อมแซมอีกด้วย มีหลากหลายสีให้เลือกทั้ง สี ฟ้า เหลือง ดำ� เทาและขาว ใครอยากได้อาจจะต้องรอกันอีกนิดเพราะ เขาจะวางขายต้นปีหน้าโน่นแหนะ

MÖKKI : Zen Garden Lights

คงจะดีถ้าหากเราถูกรายล้อมไปด้วยสวนสวย อากาศสดชื่นเย็​็นสบาย แต่ถึงจะไม่มีก็ไม่เป็นไร เพราะเรามี MÖKKI สวนเล็กขนาดพอเหมาะที่ ดูแล้วก็ผ่อนคลายได้ไม่แพ้กัน ออกแบบโดย Studio PECA ดีไซเนอร์ สัญชาติแม็กซิกัน ซึ่งเขาได้จำ�ลองการจัดสวนขนาดย่อมบวกกับโคมไฟ ที่ดูภายนอกก็เหมือนกับก้อนหินธรรมดาๆ ที่มีรูปทรงคล้ายบ้าน แต่เมื่อ เปิดสวิชก็จะกลายเป็นโคมไฟสวยตัง้ ตระหง่านอยูก่ บั สวนเซนขนาดกระทัดรัด น่ารัก จะวางอยู่บนโต๊ะทำ�งานหรือใช้ตกแต่งในบ้านก็รู้สึกได้ถึงความ ผ่อนคลายสบายใจ

012


MUJI’S VERTICAL HOUSE

เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าประเทศญี่ปุ่นนั้นราคาที่ดินสูงมากด้วยพื้นที่มีจำ�กัด การสร้าง บ้านแต่ละหลังนัน้ ต้องคำ�นึงถึงประโยชน์มากทีส่ ดุ จึงทำ�ให้เกิดบ้านแนวตัง้ ทีม่ ขี นาด ค่อนข้างแคบแต่สูง และมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งตอนนี้มูจิแบรนด์มินิมอล ชือ่ ดังของญีป่ นุ่ เขาก็สร้างแล้วเหมือนกันนะ ลักษณะเป็นบ้าน 3 ชัน้ มีให้เลือก 7 แบบ ด้วยกันตามความต้องการของแต่ละครอบครัว ก็เรียบเท่เก๋ไก๋ตามสไตล์มจู เิ ขาล่ะ ราคา ก็เบาๆ แค่ 20-25 ล้านเยนเท่านั้นเอง T_T

013


Estimote Beacons and Stickers

เห็นสีสันสดใสแบบนี้ไม่ใช่ของเล่นสำ�หรับเด็กๆ นะ เพราะ นี่คือ Estimote Beacons สติ๊กเกอร์สุดล้ำ�นำ�สมัยที่มี ไวเลสเซ็นเซอร์ บลูทูธ และหน่วยความจำ�ที่สามารถเชื่อม ต่อกับคุณได้ เพียงแค่นำ�ไปติดกับสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะ เป็นโน๊ตบุ๊ค กระเป๋า จักรยาน หรือปลอกคอของน้องหมา สุดรักแล้วเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนของคุณ เท่านี้ก็อุ่นใจ และไม่ต้องกังวลกับเรื่องของหายอีกต่อไป แต่ถึงจะมีเทคโนโลยีล้ำ�หน้ายังไง ก็อย่าลืมระมัดวังตัวกัน ด้วยล่ะ สนใจคลิ๊กดูได้ที่ http://estimote.com

björk : Biophilia Live

เตรียมเงินกันให้พร้อม ก็เจ้าแม่เพลงอาร์ตสายหลอน björk กำ�ลังจะออกผลงานใหม่ทั้งไวนิล ดีวีดี บลูเรย์ มาสูบเงิน จากเหล่าสาวกโดยเฉพาะ กับ björk : Biophilia Live สารคดีบันทึกการแสดงสดในสตูดิโออัลบั้มที่ 8 ของเธอ โดย Nick Fenton และ Peter Strickland ที่อัดแน่น ไปด้วยบันทึกการแสดงสด อาทิ คอนเสิรต์ ที่ Alexandra Palace ณ กรุงลอนดอน การเพอฟอร์แมนซ์ในเพลง ‘biophilia’ การแสดงแบบสแตนด์อโลน ฯลฯ และอีก หลากหลายความพิเศษให้จบั จองกันแล้วในแบบพรีออร์เดอร์ และออกขายในวันที่ 24 พ.ย.57 นี้ ติดตามได้ที่ www.bjork.com

014


Another Man: Men’s Style Stories Book

015

หนังสือรวบรวมภาพถ่ายจาก Alister Mackie บรรณาธิการนิตยสาร Another Man ที่มีมากกว่า 300 ภาพ จากผลงานของช่างภาพชื่อดัง Alasdair McLellan, Willy Vanderperre และ David Sims ผู้ซึ่ง ถ่ายภาพโมเม้นต์บทสัมภาษณ์ และ แฟชั่นของเหล่าของไอค่อนชื่อดังระดับ โลก อาทิ Kate Moss, Willem Dafoe, Ezra Miller, Tom Ford ฯลฯ แค่นี้รู้แล้วว่าการันตีคุณภาพ ขนาดไหน น่าดูน่าเก็บเป็นอย่างยิ่ง


2.5D Mask

ใครอยากมีหน้าตาบ๊องแบ๊วดวงตา กลมโตเหมือนมังงะของญี่ปุ่นล่ะก็ ไม่ยาก ลองนีไ่ อเดียเก๋ๆ กับหน้ากาก แบบ 2.5D Mask ที่เขาถอดแบบ มาจากสาวน้อยในมังงะเป๊ะ แถม ยังใส่แนบเข้ากับใบหน้าได้อย่าง พอดีอีกด้วย เพราะเขามีเทมเพลต ให้ดาวน์โหลดเอามาตัดใส่เล่นกัน สนุกๆ แถมยังมีวิธีทำ�ให้ดูอย่าง ละเอียดอีกด้วยส่วนหน้าตาก็มี ให้เลือก 4 แบบด้วยกัน ดูๆ ไป แล้วก็น่ารักแบบหลอนๆ ดีเหมือน กันนะ ใครสนใจคลิ๊กเข้าไปดูได้ที่ http://2-5dmask.tumblr.com

Eyeteleporter

อยากเปลี่ยนมุมมองใหม่ๆ บ้างไหม ถ้าอยากลองเราขอนำ�เสนอ Eyeteleporter สิง่ ประดิษฐ์สดุ ล้�ำ ทีอ่ อกแบบโดย Juste Kostikovaite ทำ�จากกระดาษแข็งลูกฟูก กระจกและไม้ท่อนเล็กๆ เพียงสวมสิ่งนี้ เข้าไปเหมือนกับหน้ากาก ก็ทำ�ให้คุณสามารถเห็นสิ่งที่ไม่ปกติในระดับ สายตาที่สูงหรือต่ำ�กว่า สวมออกไปเดินข้างนอกอาจจะดูประหลาดไป สักหน่อย แต่รับรองว่าต้องได้ประสบการณ์แปลกใหม่แน่นอน อย่าง น้อยๆ ก็ต้องมีคนสนใจหันมามองคุณบ้างแน่ๆ

016


Rooftop Dancers

ผลงานชุดใหม่ของช่างภาพชื่อดังชาวฝรังเศส JR กับนักเต้นชายหญิงสวมชุด Polka-dot สีขาวดำ� จำ�นวน 40 คน แถมยังไม่ธรรมดาเพราะเขาไปถ่ายกันบนดาดฟ้าหลังคาของ Opera Garnier ในกรุง ปารีสทีม่ คี วามสูงกว่า 56 เมตร ทัง้ โชว์การเพอฟอร์แมนซ์ การแสดงท่วงท่าอย่างสวยงามและพร้อมเพรียง ทว่าเมื่อยืนเรียงแถวเป็นเส้นตรงแล้วชุดที่สวมอยู่ก็เกิดเป็นกิมมิกเท่ๆ รูปดวงตา เหมือนกับว่ากำ�ลังมีคน จ้องมองลงมาจากมุมสูงเลยล่ะ ติดตามต่อที่ www.jr-art.net

017


Noise Market 3 8-9 พฤศจิกายนนี้ มิวเซียมสยาม +Panda Records+Bioscope แท็กทีมจัดงาน Noise Market 3 ตลาดอินดี้จัดใหญ่ไซส์บิ๊ก!! สนุก กว่า..เยอะกว่า..มันกว่า..ใหญ่กว่า ทุกครั้งที่เคยจัดมา!! ตลาดน้อยส์ ของทำ�มือกว่า 50 ร้าน ดนตรี เปิดหมวกจากศิลปินอิสระ เปิด ประสบการณ์ตลาดเพลงอินดี้ ชิลล์ สนุกกับร้านหนังสือน่าอ่าน

พิเศษ ชมหนังกลางแปลงดิจิตอล “ผู้บ่าวไทบ้าน” หนังอินดี้อีสาน การแสดงทดลองประกอบหนัง ทดลองโดย ไพรัช คุ้มวัน และเมธัส ศิรินาวิน หนังสั้นเลือดใหม่จากรั้ว มหาลัยในโรงหนังเล็กติดแอร์ VDO ART WORKSHOP by Hello Filmmaker และ Eyedropper Fill ปิดท้าย Live music and animation by ตั้ม วิศุทธิ์ พรนิมิตร เจอกัน 14.00-22.30 น. มิวเซียม สยาม (ท่าเตียน) เข้าชมฟรี!!

รายละเอียดเพิ่มเติม www.facebook.com/noisemarketfest http://www.museumsiam.org/detail.php?WP =pQy4ZUN0rR9jxUv5pBO4EUOWrTZ|x3Q

018


WORLD SIGHT DAY by TOMS

ในแต่ละปี TOMS จะร่วมสนับสนุนวัน World Sight Day เพื่อให้คนทั่วโลกเกิดความตระหนักและให้ความสำ�คัญของ สายตา การดูแลรักษาดวงตา รวมถึงกลุ่มคนที่ประสบ ปัญหาทางด้านสายตา รวมไปถึงกลุ่มคนตาบอด ปีนี้ World Sight Day จัดขึ้นในวันที่ 9 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยในงาน แว่นตาทุกชิ้นที่ทุกคนซื้อไป ทางแบรนด์ TOMS จะช่วยเข้าไปดูแลและฟื้นฟูทางด้านสายตาแก่ผู้ที่ต้องการ การช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดดวงตา มีทีมแพทย์ เข้าไปทำ�การรักษา และมีการตัดแว่นให้กับผู้ป่วยเหล่านั้น ใน รูปแบบโมเดลของ “TOMS : One for One”

ข้อเท็จจริงของวัน World Sight Day ประกอบด้วย : • มีผู้คนกว่า 285 ล้านคนทั่วโลกที่ตาบอด และมีปัญหาทาง ด้านสายตา ซึ่งกว่า 80 เปอร์เซนต์ที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ • มีเด็กที่ตาบอดและมีปัญหาทางด้านสายตากว่า 19 ล้านคน • 80 เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่จะเรียนรู้ในช่วง 12 ปีแรกของชีวิต คือเรื่องวิสัยทัศน์และการมองเห็น • ผู้พิการทางสายตากว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของโลก อาศัยอยู่ ในประเทศกำ�ลังพัฒนา โดยส่วนใหญ่ของผู้คนเหล่านี้ที่ สามารถป้องกัน และรักษาให้หายจากอาการเหล่านี้ได้

019


PIE TALK

B Sides

first step at 999/84 and informal

20


architecture

21


22


สองสถาปนิ ก หน้ า ใหม่ น่ า สนใจ ที่ จ บจากมหาวิ ท ยาลั ย คุณภาพเมืองปลาดิบ ที่ผ่านมาไม่นานนี้ B Sides ได้เปิดบ้าน ที่พวกเขาได้ปรับปรุงรีนูเวตจนเก๋ไก๋ให้เหล่าศิลปินหลายสาขา มาพบปะและแสดงงาน การ Open House ในรูปแบบนี้ เมือง ไทยไม่ค่อยมีให้เห็นนัก เราเลยขอไปคุยในบ้านสวยๆ ดูมุมมอง ของพวกเขากัน

23


PIE : ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว การเรียนการสอน ในวิชาสถาปัตย์ที่โน่นเป็นอย่างไรบ้าง

B sides : จะมีอยู่ 5 ส่วนครับ สำ�หรับออกแบบ, วัสดุ, Structure, สิ่งแวดล้อม และประวัติศาสตร์ จริงๆ เราอยู่ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ใช่ แค่มหาลัยนี้นะ แทบจะทั่วญี่ปุ่นเลยที่ไม่มีคณะ สถาปัตยกรรม แต่จะเป็นส่วนของภาควิชาที่จะ เรียนร่วมกัน แล้วแยกกันเรียนตอนปี 4 ตอนที่ เรียนก็จะเป็นช่วงเปลี่ยน ที่ผ่านมาประเทศอื่น ส่วนใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการทำ�งาน อย่าง พวก 3D แต่ที่ญี่ปุ่นไม่ค่อยเน้นคอมพิวเตอร์ แบบ โมเดลก็จะทำ�มือแล้วก็ถ่ายรูปไปแต่งภาพใน คอมพิวเตอร์ ข้อดีก็คือเราสามารถเห็นได้ชัดเจน มีหลายสเกล 1: 500, 1:100, 1:50, 1:20 บางทีก็มี 1: 1 ด้วย แต่หลังๆ ที่มหาวิทยาลัยก็เริ่มมีการใช้ คอมพิวเตอร์กันมากขึ้น PIE : การเรียนกับวิศวกรมีประโยชน์อย่างไร

B sides : อย่างแรกเลยคือได้รู้ความลำ�บากและ เข้าใจคนที่ต้องทำ�งานกับเรา เพราะสถาปนิก จะเป็นต้องทำ�งานกับวิศวกร ต้องเข้าใจเรื่อง ระบบของวิศวกรรมด้วย และที่โน่นคนที่จะมา เป็นวิศวกรโครงสร้าง เขาก็เรียนออกแบบมาด้วย กัน ต้องทำ�สตูดิโอร่วมกัน เขาก็จะเข้าใจว่าผู้ ออกแบบต้องการอะไร ตอนที่เรียนด้วยกันก็จะ ช่วยกันตลอด

PIE : โปรเจ็กต์เรื่องแม่น้ำ� Kanda

B sides: เป็นวิชาเรียนตอนปีสาม เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ของโตเกียว อาจารย์เขาจะให้เลือก

ส่วนที่อยากวิจัยและต้องเป็นพื้นที่ใกล้แม่น้ำ� ซึ่ง โตเกียวมีความน่าสนใจตรงที่เป็นเมืองที่มีพื้นที่ สูงต่ำ�เยอะ และเหตุผลที่เลือกตรงแม่น้ำ�คันดะ เพราะเป็นแม่น้ำ�เก่าแก่ตั้งแต่สมัยเอโดะ เป็นคลอง ทถูกดัดแปลงด้วยมนุษย์เพื่อการคมนาคม ตอนที่ เราไปเดินดูเห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมเยอะ มาก ตั้งแต่สวนสาธารณะ ผนัง คอนกรีด จนไป ถึงทางด่วน เราเห็นความเก่าความใหม่อยู่ด้วย กัน ในแต่ละโซนที่แม่น้ำ�คันดะไหลผ่านก็ต่างกัน ไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ ได้เห็นความ สัมพันธ์ของคนในพื้นที่กับแม่น้ำ�สายนี้ PIE : ที่ญี่ปุ่นเขาสนใจเรื่องผังเมืองกับเรื่อง Public Space เยอะไหม

B sides : ที่ญี่ปุ่น Public Space จะไม่เหมือนของ ไทยหรือทางยุโรป เพราะว่าถ้าเอาวิธีของทางยุโรป อย่างลานกว้างแบบจตุรัส หรือแลนด์มาร์คอย่าง บันไดสเปนแบบนั้นไปใช้ที่ญี่ปุ่นมันจะไม่ค่อยเวิร์ค คนไม่ค่อยใช้กันด้วยอุปนิสัยที่มีความเป็นส่วนตัว สูงและอาจจะเป็นเพราะว่าที่ญี่ปุ่นมี 4 ฤดู ช่วง หน้าร้อนก็ร้อนมากๆ อย่างในเมืองเก่าจะมีตรอก แคบๆ เยอะ เขาจะใช้พื้นที่นี้เป็น Public Space ที่ได้ผลมากกว่า เปิดเป็นร้านค้า แกลลอรี ซึ่งมัน มีทั้งความเป็นส่วนตัวและความเป็นสาธารณะอยู่ พร้อมๆ กัน แบบนี้ที่ญี่ปุ่นจะมีเยอะมาก PIE : นิทรรศการ การออกแบบ การบรรยายหรือ อะไรที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมที่ญี่ปุ่นมีเยอะไหม

B sides : มีเยอะมาก ที่ญี่ปุ่นจะมีบริษัทที่เข้าไปนำ� เสนอสถาปนิกเพื่อให้มาจัดนิทรรศการ เขาจะให้ 24


ทั้งพื้นที่และงบประมาณมาด้วย อย่างบริษัท TOTO จะคล้ายกับ SCG ของบ้านเราค่ะ ที่ญี่ปุ่นจะมีหลาย บริษัทที่เป็นแบบนี้ เช่น จัดนิทรรศการ ออกหนังสือ และมีแกลลอรีเป็นของตัวเอง คนที่โน่นก็ไปดูกันเยอะ PIE : นิทรรศการที่ชอบ

มีนิทรรศการที่ชอบหลายอัน เช่น LLove เป็นความร่วมมือของประเทศเนเธอร์แลนด์กับญี่ปุ่น เขาใช้อาคาร เก่าแล้วเชิญสถาปนิก 8 คน ญี่ปุ่น 4 คน เนเธอร์แลนด์ 4 คน มาออกแบบห้องแต่ละห้อง จะเข้าไปดูหรือ เข้าไปเช่าพักก็ได้ และมีอีกที่ Gallery MA จะมีพื้นที่ทั้งภายนอกภายใน ให้แสดงงานโดยบางงานเป็นการ สร้างบ้านจริงๆ เคยได้ไปช่วยงานของอาจารย์เคนโกะ คุมะ เขาสร้างบ้านที่ทำ�จากขวดน้ำ�พลาสติกแต่ แปรรูปให้สามารถใส่น้ำ�ร้อนน้ำ�เย็นได้ นำ�มาต่อเป็นตัวบ้าน ถ้าใส่น้ำ�ร้อนตัวบ้านก็จะอุ่นใส่น้ำ�เย็นตัวบ้านก็ จะเย็น มันเป็นงานทดลองมาก คือที่ญี่ปุ่นบริษัทวัสดุก่อสร้างกับสถาปนิก และดีไซเนอร์เขาจะช่วยๆ กัน คิด พัฒนา เพื่อที่จะนำ�สิ่งเหล่านี้ไปใช้ต่อ 25


PIE : คุณอ๊อนไปเรียนที่มิวนิกด้วย

B sides : ไปเรียนแลกเปลี่ยนที่ TUM ค่ะ ไปอยู่ ของ อาจารย์ Richard Hordden ชาวอังกฤษ ซึ่งจะได้ เรียนเรื่องของโครงสร้างเบาๆ เป็นสถาปัตยกรรมที่ ไม่ท�ำ ร้ายโลกคล้ายๆ แนว ECO ซึง่ ทีโ่ น่นพวกเครือ่ งมือ อุปกรณ์ต่างๆ จะดีกว่าที่ญี่ปุ่น เรียนนานกว่าและ จบยากมาก ที่ญี่ปุ่นเรียนแค่ 4 ปี แต่จะยังไม่ได้ ใบอนุญาต ต้องทำ�งานก่อน 2 ปี แล้วไปสอบถึงจะได้ 26


PIE : เริ่ม B sides

ว่ามีอาคารแบบนี้อยู่ที่สามารถเข้าไปได้ด้วย จริงๆ B sides : ตอนนั้นเรียนจบแล้วก็ต้องกลับมาใช้ทุน เราก็ไปดูสถานที่ที่จะทำ� Informal ครั้งที่สองมา เราก่อตั้ง B sides ขึ้นมา 2 ปีแล้วค่ะ หลักๆ เลยก็ แล้ว เป็นโกดังแถวเจริญกรุง เป็นอาคารเก็บไม้เก่า คือเป็นสตูดิโอเกี่ยวกับงานสถาปัตกรรมต่างๆ ทั้งเล็ก ที่เอามาจากเวียดนาม ในนั้นสวยมาก พื้นที่โดย และใหญ่ ทั้งแบบถาวรอย่างอาคารหรือบ้านและแบบ รอบก็น่าสนใจ คิดว่าอาจจะทำ� Informal ช่วงต้น ชั่วคราวแบบสร้างพื้นที่สำ�หรับสร้างสรรค์ และทำ�เพื่อ ปีหน้า เป็นสตูดิโอที่ศึกษาค้นคว้าทำ�วิจัยเกี่ยวกับผังเมือง สิ่งแวดล้อมและชุมชนด้วย ความหมายจริงๆ ของ PIE : การแสดงงานในบ้านเราส่วนมากคนที่มาชม B sides คือด้าน b ของแผ่นเสียงหรือเทปคลาสเซต ก็จะเป็นดีไซเนอร์ ที่ญี่ปุ่นเป็นแบบนี้หรือเปล่า เราต้องการเปรียบเทียบเรื่องด้านที่คนมองเห็นหรือ B sides : ไม่เลยค่ะ อย่างงานของ Salvador Dali รู้จัก อาจจะมีด้านหลัง (B) หรือเบื้องหลังที่น่าสนใจ ก็มีพวกคุณป้ามาต่อแถวดูกันเยอะ หรืออย่างงาน แต่ผู้คนไม่ค่อยได้รู้หรือได้เห็นนัก ของอาจารย์ Takehiko Inoue คนทีเ่ ขียนสแลมดัง้ ก์ วันแรกไม่ได้ดูเพราะคนต่อแถวเยอะมากจนต้องมา PIE : ล่าสุด B sides เพิ่งจัดงาน Informal งาน อีกวัน คือทีโ่ น่นเขามีการโปรโมทเยอะมาก มันอาจจะ ที่ได้รีนูเวตบ้านแล้วเปิดบ้านเป็นที่แสดงงานของเหล่า อยู่ในเรื่องการศึกษาด้วย อย่าง Salvador Dali ที่ ศิลปินให้มาพบปะ โน่นม.ปลายก็ได้เรียนแล้ว เขาให้ความสำ�คัญ อาจจะ B sides : เหตุผลหนึ่งที่คิดจะทำ� Informal คือที่ญี่ปุ่น เป็นเพราะว่าพอรู้จักแล้วมันเป็นสเตตัสทางสังคม จะมี Open House คือการเชิญสถาปนิก นิตยสาร แต่กเ็ ป็นแค่สว่ นหนึง่ เพราะเขาก็มคี วามสนใจอยาก ฯลฯ มาดูบ้านจริงตอนสร้างเสร็จ ส่วนตัวคิดว่าดี รูก้ นั อยูแ่ ล้วด้วย มีเทศกาลทีม่ ชี อ่ื เสียงระดับโลกมา เพราะจะได้เห็นงานจริงๆ พอทำ�บ้านหลังนี้เสร็จ บ่อยๆ ซึง่ ญีป่ นุ่ มีงบประมาณทางด้านนีอ้ ยูแ่ ล้ว ก็ได้คุยกับเตย (สุทธิภา คำ�แย้ม) ว่าจะให้เอารูปมา จัดนิทรรศการ แต่เตยบอกว่างานอาจจะไม่พอ ก็เลย PIE : บ้านที่รีนูเวทนี้ (999/84) ทำ�อะไรบ้าง ชวนหลายๆ คน เพราะคิดว่ามีงานอย่างอื่นด้วยก็ B sides : ตอนแรกสุดอยากเปลี่ยนหลังคาเพราะมี น่าสนใจไม่ได้จ�ำ เพาะแค่งานสถาปนิกอย่างเดียว เพราะ ปัญหาเรื่องหนูและงูอยู่ใต้หลังคา (หัวเราะ) โจทย์ เราก็สนใจในงานแขนงอื่นๆ ด้วย อยากรู้ว่าคนที่นี่คดิ คือให้บ้านเหมือนบ้านตากอากาศ เพราะบ้านนี้มี ยังไงทำ�อะไรกันอยู่ แต่ละคนก็เอามางานมาพรีเซนต์ ลูกสาวสามคนแต่ไม่ได้อยู่บ้าน เวลาที่ลูกสาวกลับ คุยกันเรื่องแนวคิดการทำ�งาน คล้ายๆ กับเป็น มาเยี่ยมคุณพ่ออยากให้เหมือนมาพักผ่อน อยากให้ พิพิธภัณฑ์ เราสนใจในการใช้สถานที่ คือปกติพวก มีห้องที่มีห้องน้ำ�ในตัว มีห้องที่สามารถรองรับแขก ออฟฟิศหรืออาคารจะเข้าไปไม่ได้ อยากจะให้ทุกคนรู้ ได้ มีดาดฟ้าไว้ดูดาวด้วย เรารู้สึกว่าตัวบ้านเก่า 27


28


จะปิดมากเกินไป อยากให้บ้านสว่างขึ้น เพราะ บ้านเก่ามีต้นไม้แต่เหมือนไม่มีเพราะมันปิดหมด รู้สึกเสียดาย ซึ่งหลักๆ เลยเอากำ�แพงเก่าออก เกือบทั้งหมดเปลี่ยนเป็นกระจกกว้างให้พื้นที่ ภายในและภายนอกเชื่อมกัน แต่ก็ยังคงบ้าน แบบสี่เหลี่ยมไว้และใช้วิธีเพิ่มพื้นที่ๆ ต้องการ ที่เราต้องการต่อจากตัวบ้านเดิม และเราได้นำ� วัสดุหลากหลายมาทดลองกับตัวบ้านปกติคน ส่วนมากจะชอบผนังปูนสีขาวแต่เราลองใช้พื้นผิว ที่มีคุณสมบัติต่างกันมาเล่น ให้ดูสนุกขึ้นเหมือน มีหลายๆ บ้านอยู่ในทีเดียว เอาพวกประตู หน้าต่างอันเก่ามาใช้ด้วยเพราะว่าเสียดายมัน เป็นความทรงจำ�ของบ้านนี้ ก็มาปรับใช้ในงาน และเราสนใจบ้านแบบเบาๆ ที่ดูสบายตา

29


PIE : กลับมาทำ�งานที่เมืองไทยมีการเตรียมตัว หรือปรับตัวอย่างไรบ้าง

B sides : ปรับเยอะ เพราะว่าเรายังไม่มี ประสบการณ์กันทั้งคู่ บางอย่างที่ญี่ปุ่นทำ�ไม่ได้ แต่ที่นี่ทำ�ได้ แล้วที่ญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะใช้โครงสร้าง แบบแห้งที่ทำ�มาจากโรงงานแล้วนำ�มาประกอบ แต่ของบ้านเราจะเป็นแบบเปียกก่ออิฐ ฉาบปูน กันหน้างานเลย ที่ญี่ปุ่นจะไม่ค่อยมี และช่างบาง สายงานทางญี่ปุ่นจะมีทักษะสูงอย่างช่างไม้ที่ญี่ปุ่น ก็ดีกว่าบ้านเรา ระบบช่างที่โน่นจะเป็นครอบครัว ช่าง ทำ�กันมาหลายรุ่นมีคนดูแลหลักที่เรียกว่า มาสเตอร์ คือช่างคนไทยก่ออิฐเก่งแต่เชื่อมเหล็ก อาจจะไม่เก่งอันนี้ก็แล้วแต่ช่างด้วย และในบ้าน เราจะมีชาวต่างด้าวที่มาทำ�งาน ซึ่งค่อนข้างจะมี ผลกระทบกับสถาปนิกมาก เพราะว่าบางคนเขา ไม่ได้ทำ�มาก่อน หรือเป็นขาจรไม่ได้ทำ�ตลอดเวลา อีกอย่างที่ญี่ปุ่นถ้าเราขอทำ�อะไรเป็นแบบพิเศษ โรงงานหรือช่างที่โน่นเขาจะชอบ รู้สึกสนุกและ เห็นสิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสในการทำ�งาน ใหม่ๆ แต่ ที่บ้านเราจะไม่ชอบ ซึ่งจุดนี้ต่างกันมาก

PIE : เทคนิคของทางญี่ปุ่นกับบ้านเราต่างกันไหม

B sides : ส่วนที่เหมือนกันก็เช่นฤดูร้อน ที่ญี่ปุ่นจะ มีสุภาษิตว่า “สร้างบ้านต้องสร้างสำ�หรับหน้าร้อน” เพราะที่ญี่ปุ่นหนาวมาก แต่เขาสร้างบ้านให้โปร่ง เพราะเมื่อก่อนใส่กิโมโน หน้าร้อนก็ใส่อีกแบบ แล้ว ก็จะมีชานบ้านยื่นออกมาด้านนอกสามารถนั่งได้ บานประตูก็เลื่อนออกได้เพื่อรับลม PIE : มีอะไรที่ชอบหรือไม่ชอบในเมืองไทย

B sides : รู้สึกว่าโชคดีที่ตอนนี้เมืองไทยมีกระแส พวกอนุรักษ์ ซึ่งมันยังมีวิถีแบบนั้นอยู่ แต่ที่ไม่ชอบ คือคอนโดที่มันขึ้นมาด้วยเงิน คนมาลงทุนซื้อเพิื่อ เกงกำ�ไร แต่คนที่อยู่จริงๆ นั้นมีแค่ไหน เมืองไทย ยังอยู่ในช่วงที่เลือกว่าจะเก็บหรือไม่เก็บอะไร อย่าง ห้างสรรพสินค้า หรือตึกต่างๆ ถ้ามันเยอะหรือล้ำ� เส้นไปก็จะไม่น่าอยู่

30


31


PIE : ลูกค้าคนไทยกับญี่ปุ่น

B sides : คิดว่าไม่เหมือนกัร เราคิดว่าถ้าเป็น ที่ญี่ปุ่นเขาน่าจะสรุปสิ่งที่ต้องการมาระดับนึง เราก็จะรู้ว่าต้องอยู่ในงบประมาณเท่าไหร่ มี เวลาแค่ไหน ที่ไทยบางทีตัดสินใจแล้ว เขา พร้อมจะเปลี่ยนใจตลอด (หัวเราะแห้งๆ) ไม่ ค่อยชัดเจน และไม่ค่อยบอกเรื่องงบประมาณที่

มีหรือแต่ก็แล้วแต่คนลูกค้าคนไทยมีความ น่าสนใจตรงที่มีความรู้เรื่องวัสดุต่างๆ เรา ก็จะทำ�งานง่าย เพราะที่ญี่ปุ่นจะไม่มีร้าน แบบโฮมโปรหรือบุญถาวร กระบวนการ ทำ�งานส่วนใหญ่ บริษํทก่อสร้างมักจะเป็น ผู้จัดการแทบทั้งหมด 32


PIE : บ้านในฝัน

B sides : อยากมีบ้านเล็กๆ มีสวนกับพื้นที่ภายนอก แต่ใจก็แอบ อยากเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆตอนนี้เราอยู่คอนโดแต่ก็อยากย้ายไปอยู่ บริเวณเมืองเก่าหรือย่านชุมชน ชอบสไตล์แบบนั้น ในแง่ของการอยู่ อาศัยคอนโดเนี่ย ส่วนตัวพวกเราคิดว่ามันเป็นการแยกตัวออกมาจาก สังคมมากเกินไป แยกตัวออกจากสิ่งที่ควรอยู่ด้วยกัน บางคนคิดว่า อยู่ชุมชนแล้วอันตราย แต่เรากลับคิดว่าชุมชนปลอดภัยกว่าด้วยซ้ำ� 33


INFORMAL 01

ในแง่ที่มีเพื่อนบ้านหรือคนในชุมชุนที่รู้จักและ ช่วยเหลือกันซึ่งก็แล้วแต่คนชอบ อย่างที่ญี่ปุ่น จะมีแชร์เฮาส์ เป็นบ้านที่ให้คนเข้ามาเช่าอยู่ ร่วมกัน สามารถคุยกับเพื่อนๆ ได้ ถ้ามีปัญหา เขาก็ช่วยๆ กัน ตอนนี้ที่ญี่ปุ่นมีออฟฟิศแบบ แชร์ด้วย จะมีอยู่หลายสาขาต่างจุดต่างๆ ถ้า เป็นสมาชิกเราก็สามารถเข้าไปใช้ที่สาขาไหน ก็ได้

PIE : ชอบอะไรในความเป็นไทย

B sides : เมืองไทยอาหารอร่อย มีพวกรถเข็น เยอะ แล้วก็ชอบตึกเก่า ชอบที่ขายอาหารที่มี หลังคาอย่างเดียวข้างล่างโล่งมีร้านอาหารขาย หลายๆ ร้านตามย่านธุรกิจคล้ายๆ โรงอาหาร เราว่าดีมากคนสามารถเข้าไปได้ง่ายๆ เหมือน เป็นที่สาธารณะที่ง่ายแต่ให้ประโยชน์กับคนทั่วไป ได้เยอะ 34


INFORMAL 01

PIE : ดีไซเนอร์ไทยกับญี่ปุ่น

B sides : คิดว่าเหมือนกันนะ แต่ดีไซเนอร์ไทยหรือคน ทำ�งานด้านศิลปะในไทยอาจจะดูคล้ายกัน อย่างเรื่อง เสื้อผ้าการแต่งตัวภายนอก เดินมานี่จะดูออกเลย แต่ ญี่ปุ่นจะดูไม่ค่อยออก (หัวเราะ) b-platform.com www.facebook.com/pages/B-SIDES/642351315861560

35


36


37


PIE TALK

38


documentary movie

Santi Taepanich REAL FOR REAL

39


40


ยังมีผู้คนอีกมากมายในสังคมที่น่าสนใจ น่า พูดคุย แต่คุณไม่มีทางเห็นเขาเหล่านั้นได้ ในจอทีวี ในนิตยสารเก๋ๆ หรือแม้แต่ในโลก โซเชียล สิง่ ทีจ่ ะนำ�พาตัวคุณไปพบเขาเหล่านัน้ ได้มีเพียงการก้าวเท้าออกไปเสาะหาเท่านั้น พี่แต้-สันติ แต้พานิช เป็นคนที่ชอบทำ�แบบนั้น และวันอังคารที่ 11 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ชั้น 5 จะมีการฉายสารคดีหลาย เรือ่ งหลายตอนทีพ่ เี่ ขาได้ไปบันทึกการพูดคุย กับผู้คนเหล่านั้น ในชื่องานว่า “สร้างเสริม ประสบการณ์ ชีวิต (ส.ป.ช.)” วันนี้เราเลย มาขอแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตจากพี่เขา ก่ อ นที่ จ ะไปดู ชี วิ ต อี ก หลายชี วิ ต ที่ น่ า สนใจ ในหนังสารคดีของพี่เขากัน

41


PIE : จุดเริ่มต้นของการทำ�หนัง “สร้างเสริม ประสบการณ์ ชีวิต (ส.ป.ช.)”

ผมอยากฟังประสบการณ์ชีวิตของคนครับ ยิ่ง คนมีอายุมากๆ ผ่านชีวิตมาเยอะๆ ยิ่งน่ารับ ฟังครับ รับฟังก่อน เชื่อไม่เชื่อ อันนั้นเดี๋ยว เรามาคิดอีกที ผมเคยคิดอยากทำ�เรื่องของคน ที่ใกล้จะตาย อยากไปนั่งคุยกับเขา อยากรู้ว่า เขาคิดอะไรบ้าง เขาคิดอะไรได้ในเวลานี้ สำ�หรับผม ประสบการณ์ชีวิตของคนอื่น มี ประโยชน์มากครับ ช่วยสอนเรา เตือนเรา ทำ�ให้เราได้คิด เพราะบางทีเราก็ลืมไป PIE : เนื้อหาหลักของหนัง “สร้างเสริม ประสบการณ์ ชีวิต” คืออะไรครับ

สองสามอย่างที่ได้เรียนรู้จากการมีชีวิต ครับ ผมทำ� ส ป ช ตามแก่นอันนี้ PIE : คัดเลือกบุคคลที่จะมาสัมภาษณ์ในหนัง อย่างไรบ้าง

เรื่องนี้ตั้งใจว่า ขอเป็นผู้ใหญ่ครับ มีอายุมากๆ ผ่านร้อนผ่านหนาวผ่านฝนมาจนพอเข้าใจใน สภาพอากาศ หรือคนที่เรารู้สึกอยากฟังความ คิดของท่าน คนที่เรารู้สึกว่าท่านพูดความจริง น่ะครับ

PIE : ปัญหาที่เจอบ่อยๆ ในการทำ�หนังของพี่

ความไม่แน่นอน คือ สิ่งที่แน่นอนครับ สิ่งที่ เราคิดพอทำ�ไปจะไม่เป็นอย่างที่เราคิดครับ ยิ่งการทำ�อะไรแบบนี้ต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่นๆ อีกหลายคน เราต้องฝึกวิชาหายใจเบาๆ ครับ

PIE : หนังของพี่มีหลายเรื่องที่สัมภาษณ์คน ทั่วไปในสังคม อย่าง Gossip Loso หรือ Live in Bangkok ทำ�ไมถึงเลือกสัมภาษณ์ คน ธรรมดามากกว่าดาราหรือศิลปินครับ

ดาราศิลปินชือ่ ดังเขาจะยินดีกบั งานเล็กๆ แบบนี้ หรือครับ หายากนะทีม่ จี ติ ใจเมตตาแบบนัน้ นุน่ วรนุช อัม้ -พัชราภา ติก๊ -เจษฎาภรณ์ จะยินดีเหรอ ครับ (หัวเราะ) แต่ผมก็เคยทำ� ตัวกู-ของกู นะ อันนัน้ ก็เป็นงานรวมฮิตคนมีชื่อเสียง รวมยอด คนมีฝีมือของไทยเลย ยอดในยุทธภพ งานนั้น ได้เรียนรู้เยอะมาก อีกอย่างหนึ่งคือหนังแบบผม ทำ�กันสองคนก็ได้นะ ใช้คนไม่มาก PIE : ในหนังของพี่ มีบุคคลที่น่าสนใจและมี ความสามารถเยอะ พี่ไปหาคนเหล่านี้เจอได้ อย่างไรครับ

เวลาไปตามที่ต่างๆ ผมชอบมองเห็นอะไรแบบนี้ นะ ไม่รู้ทำ�ไมชีวิตเขาชอบมาเข้าตา ผมชอบมอง

42


43


44


เห็นชีวติ แปลกๆ คนเศร้าๆ ยิง่ ชอบไปเห็น คล้ายคนที่ชอบเห็นผี

PIE : การได้พูดคุยกับผู้คนที่หลากหลาย ให้อะไร กับพี่บ้าง

เมือ่ ก่อนทำ�หนังสักเรือ่ งมันยุง่ กว่าสมัยนี้ ตอนนี้ เป็นโชคดีของคนทำ�งานด้านนี้แล้วนะครับ สื่อออนไลน์ฟรีๆ มีทั่วโลก มีช่องทีวีมากมาย รอรับงาน อุปกรณ์ถ่ายทำ�ก็ดีล้ำ�นำ�สมัย แถม ราคาไม่แพง ไม่มีข้ออ้างอันใดอีกแล้วที่เราจะ เอามาใช้ว่าไม่พร้อม สมองกับหัวใจน้องสู้หรือ เปล่าเท่านั้นเอง

ทำ�ให้เราไม่เห็นแก่ตัวครับ ได้ฟังความคิดคนอื่น ได้เห็นชีวติ ของคนอืน่ ๆ ช่วยสอนเราหลายอย่างนะ เหมือนได้ไปเรียน แต่เป็นการเรียนรู้ที่เหมาะกับ ธรรมชาติในตัวเราด้วย คือเรียนจากชีวิตจริง ตอนออกไปทำ�เรือ่ ง “กรุงเทพ ทีร่ กั ” ดึกๆ ไปเดิน ถ่ายอยูส่ นามหลวง คลองหลอด ไปซอยพัฒน์พงษ์ เห็นชีวิตคนในเวลากลางคืน ตีสามพอผมกลับ บ้าน สติกลับมาสงบเลย 55 รู้สึกพอใจในสิ่งที่ ตนเองมีเลยครับ บางภาพ บางเสียง มันช่วย เตือนสติเรานะ

PIE : นอกจากทำ�หนังสารคดีแล้วพี่ทำ�งาน อะไรอย่างอื่นอีกบ้างครับ

PIE : ทำ�ไมคนเราต้องสร้างเสริมประสบการณ์ ชีวิต

PIE : ในความคิดพี่ ทำ�ไมหนังสารคดีในบ้าน เราถึงมีน้อยเหลือเกินครับ

รับจ้างทั่วไปในวงการสร้างสรรค์นี้ละครับ ผมทำ�ได้หลายหน้าที่นะ ผมเล่นได้หลาย ตำ�แหน่งครับ

45

มีคนบอกว่า ประสบการณ์ชีวิต เป็นสิ่งสำ�คัญ ในการใช้ชีวิต ผมคิดว่าจริงนะ ผมเชื่อ ตอน เด็กๆ เคยเรียนวิชานี้ โตมาเขาน่าจะให้เรียนอีก


แต่ปรับวิธีให้เหมาะสมกับอายุของเรา เช่น วิธีตายให้สบายใจ วิชาตัวเบา วิชาเป็นคน ธรรมดา (หัวเราะ) ถึงเราจะอายุมากขึ้นๆ แต่ ก็ต้องเรียนรู้อยู่เสมอ ใช่ไหม หรือไม่ใช่วะ PIE : หนังของพี่สะท้อนวิธีคิดในการใช้ชีวิต ของคนแบบต่างๆ แล้วตัวพี่เองมีวิธีการคิดใน การใช้ชีวิตอย่างไรบ้างครับ

ผมพยายามใช้สันติวิธีอยู่ครับ ใช้อาวุธเท่าที่ จำ�เป็น คือ อยู่ที่ชอบ อยู่ไปตามมีตามเกิด ใช้ ชีวิตไปตามยถากรรมครับ คืออะไรเข้ามาก็ พยายามยิ้มรับมัน และหวังว่ามันจะยิ้มตอบ

46


47


www.facebook.com/sorporchormovie www.facebook.com/staepanich

48


49


Chonthicha (Fiona) Wan

Fiona Illustrator PIE GALLERY

50


GALLERY SHOW CASE

51


52


วันนี้เรามาดูงานภาพประกอบน่ารักๆ กับงานของ น้องชลธิชา ฟีโอน่า วัน (Fiona) น้องเขาเพิ่งจะได้ รางวัลรองชนะเลิศ และ Popular Vote จากการ ประกวดออกแบบห้องพักของโรงแรม Beat Hotel ลองไล่ไปดูงานชิ้นอื่นๆ ของน้องเขาก็น่าสนใจไม่แพ้ กัน เลยขอมาลงใน Pie Gallery เล่มนี้ซะเลย ไปชม กันได้เลยครับ

ภายในที่มีการจัดวางอย่างลงตัว ตอนนั้นเราก็ไม่ เคยรู้มาก่อนเลยว่าโลกนี้มีอาชีพวาดภาพประกอบ Central Saint Martins College of Art and Design (CSM) ในเครือ University of the Arts เห็นแล้วก็รู้สึกตื่นเต้นเพราะเป็นอะไรที่แปลกใหม่ เราสามารถเพิ่มมิติและคุณค่าของงานวาด โดย London ค่ะ การนำ�ไปออกแบบเป็นของใช้ในชีวิตประจำ�วัน PIE : เริ่มทำ�ภาพประกอบมานานหรือยัง ทำ�ไมถึง เพิ่มสีสันให้ชีวิตที่จำ�เจ PIE : เรียนจบจากที่ไหนครับ

ชอบงานภาพประกอบ

ถ้าพูดถึงทำ�เป็นอาชีพก็ไม่นานมากค่ะ เริ่มทำ�ภาพ ประกอบอย่างเต็มตัวตอนเรียนปีสองที่มหาลัย แล้วก็รับทำ�ฟรีแลนซ์มาเรื่อยๆ เหตุผลที่ชอบงาน ภาพประกอบเพราะชอบทำ�งานที่บอกเล่าเรื่องราว ชวนให้คิด เป็นงานที่สนุกและท้าทาย สามารถ ทำ�ได้ในหลายรูปแบบค่ะ จริงๆ ชอบวาดรูปตั้งแต่ เด็กนะคะ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าโตไปแล้วอยากจะทำ� อะไร จนวันหนึ่งสมัยวัยรุ่น พี่สาวเอาแมกกาซีน เล่มหนึง่ มาให้ดู (เสียดายทีจ่ �ำ ไม่ได้แล้วว่าเล่มไหน) ในรูปมีภาพประกอบบนผนังห้องและของตกแต่ง 53

PIE : การเรียนและใช้ชีวิตในต่างประเทศให้ แรงบันดาลใจเราอย่างไรบ้าง

ตอนอยู่ที่ CSM ก็ได้เรียนรู้และร่วมงานกับเพื่อนๆ ที่มากจากหลากหลายวัฒนธรรม มีโอกาสแลก เปลี่ยนความคิดเห็นและแชร์ผลงานกัน สิ่งเหล่านี้ ช่วยให้เรามองโลกในมุมมองใหม่ๆ ได้เห็น ขั้นตอนการทำ�งานของคนต่างชาติ ได้ฟังการ บรรยายจากบุคคลที่ประสบความสำ�เร็จในวงการ หลายๆ ท่าน อีกทั้งลอนดอนก็เป็นเมื่องที่อุดม สมบูรณ์ในเรื่องของศิลปะและดีไซน์ มีพิพิธภัณฑ์


และแกลลอรีที่มีคุณภาพอยู่หลายแห่ง ซึ่งเป็นแหล่ง รวบรวมแรงบันดาลใจที่ดีเยี่ยม อยู่ที่โน่นได้เรียนรู้ วัฒนธรรมที่ไม่เคยรู้มาก่อน แต่ในขณะเดียวกัน ก็ ทำ�ให้เราเห็นคุณค่าของความเป็นไทยมากขึ้นค่ะ

เคยใฝ่ฝนั แล้ว ยังได้รางวัลรองชนะเลิศ และ Popular Vote กลับบ้านให้ครอบครัวภูมิใจด้วย (เข้าไปดูงานได้ที่ http://www.fionawan.com/ Stay-in-the-art-of-Bangkok)

PIE : สไตล์ภาพประกอบและเทคนิคที่ชอบใช้

PIE : กลับมาทำ�งานภาพประกอบในเมืองไทย ปรับ ตัวยากไหม มีปัญหาอะไรบ้าง

งานส่วนมากจะออกแนวสดใสค่ะ ชอบใช้เทคนิค ผสม แล้วแต่ความต้องการของแต่ละงาน ช่วงนี้ ใช้สีน้ำ�บนกระดาษและวาดในคอมพิวเตอร์ ค่อนข้างบ่อยค่ะ

ตอนกลับมาใหม่ๆ ยังไม่ค่อยรู้จักใครในวงการ เลย พยายามไปงานนิทรรศการและงานแสดงสินค้าต่างๆ เพื่อพบปะพี่ๆ เพื่อนๆ ที่ทำ�งานออกแบบและภาพ ประกอบในไทยค่ะ หลายๆ คนก็ให้กำ�ลังใจและคำ� แนะนำ�ที่ดีมาก หลังจากกลับมาทำ�งานที่ไทยแล้วก็ PIE : งานของตัวเราเองที่ภูมิใจนำ�เสนอ เร็วๆ นี้ได้เข้ารอบประกวดออกแบบห้องพัก Beat ต้องแบ่งเวลาในการทำ�งานภาพประกอบ บวกกับงาน ธุรกิจครอบครัวด้วย ซึ่งทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกันโดย Hotel Young Artist Competition 2014 ภายใต้ สิ้นเชิง แรกๆ ก็ยังปรับตัวไม่ถูก แต่ตอนนี้ทุกอย่าง โจทย์ “Stay in the Art of Bangkok” ค่ะ โดย คณะกรรมการต้องการให้สอ่ื ความเป็นไทยในรูปแบบ เริ่มลงตัวแล้วค่ะ ถ้าเราทำ�อะไรที่เรารัก เหนื่อยขนาด ที่เป็นเอกลักษณ์ มีเวลาคิดคอนเซ็ปต์และทำ�ชิ้นงาน ไหนก็สู้อยู่แล้ว เพียงแค่สามวัน แต่ก็ได้ทำ�อย่างเต็มที่ งานนี้ได้ PIE : ศิลปินที่ชอบ แรงบันดาลใจมาจากขนมไทยค่ะ เพราะเห็นว่า อาหารไทยเป็นที่นิยมไปทั่วโลก แต่ขนมไทยกลับยัง จริงๆ ชอบงานของศิลปินหลายท่านเลยนะคะ มีตง้ั แต่ ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ขนมไทยมีรูปลักษณ์ที่สวยงามใน ศิลปินในประวัติศาสตร์ไปจนถึงนักวาดภาพประกอบ ที่ติดตามผลงานอยุูในปัจจุบันค่ะ โดยรวมแล้วชอบ เชิงศิลปะอยู่แล้ว เราเลยสนุกกับการจินตนาการ ขนมนาๆ ชนิดให้เป็นสิ่งมีชีวิตบนผนังห้อง มีการ งานที่มีเนื้อหา รูปทรง และสีสันที่ไม่ยึดติดกับความ เล่นคำ�เล็กๆ น้อยๆ เพิ่มอารมณ์ขันแบบไทยๆ เช่น เป็นจริงมากจนเกินไป ชักชวนให้ใช้จินตนาการค่ะ คาแรกเตอร์กล้วยบวชชี ทีก่ �ำ ลังนัง้ สมาธิอยูใ่ นศาลาค่ะ นอกจากนักวาดภาพประกอบแล้วยังชื่นชมผลงาน นอกจากจะได้เห็นผลงานตัวเองในห้องพักอย่างที่ คนทำ�แอนิเมชั่น และคอนเซ็ปอาร์ตหลายๆ ท่านที่ 54


www.fionawan.com www.facebook.com/charmumu

ผลิตงานให้ Pixar และซีรีย์ของ CN เช่น Adventure Time และ Steven Universe เห็นแล้วรู้สึก อยากจะพัฒนาฝีมอื ทำ�แอนนิเมชัน่ ให้ดีขึ้นทันที งานของ Studio Ghibli เราก็ชอบมากๆ เพราะ เป็นสไตล์ทีมีเสน่ห์ และมีเนื้อหา น่าสนใจค่ะ

PIE : งานอดิเรก

ชอบทำ� Needle Felting ค่ะ ทำ�แล้วเพลินมาก เป็นคนชอบ ทำ� Craft อยู่แล้ว ก็เลยหาอะไร ใหม่ๆ ทำ�อยู่เสมอ ช่วงนี้ชอบ วาดนามบัตรของตัวเองค่ะ ว่าง เมื่อไหร่ก็วาดไปเรื่อยๆ 55

PIE : แผนในอนาคต

ตั้งใจจะพัฒนาฝีมือตัวเองไปเรื่อยๆ หวังว่าจะมีโอกาสที่จะร่วมงานกับคน เก่งๆ ในอนาคต และมีโอกาสทำ�งาน ภาพประกอบทั้งในไทยและใน ระดับสากล เร็วๆ นี้ว่างแผนจะเปิด Online Shop ชื่อว่า Charmumu ด้วยค่ะ :)


56


57


58


59


60


61


62


63


64


65


66


67


PIE TALK

Archivist

THE PRINT MAKER

68


CRAFT PRINTING STUDIO

69


70


71


ถ้าเป็นงานทำ� Silk Screen เสือ้ กระเป๋าธรรมดาเราคงไม่ตอ้ งพูด คุยอะไรกันมาก แต่สองสาวที่เรามาคุยวันนี้พวกเธอเรียกตัวเอง ว่า Archivist (ผู้เก็บรักษาหรือผู้ดูแล) พวกเธอเป็นผู้ชื่นชอบใน งานทำ�มือ งานพิมพ์ซิลค์สกรีน งานศิลปะ สตูดิโอของพวกเธอ ทำ�งาน Silk Screen ที่ต่างออกไปอย่างไร เธอเก็บรักษาและ ดูแลอะไร เรามาขอฟังคำ�ตอบจาก คุณมิน-มิญชญา ชโยสัมฤทธิ์ และ คุณวุ้น-คณาพร ผาสุข สองผู้เก็บรักษาแห่ง Archivist

เป็นการออกแบบข้อมูล ออกแบบวิธีการเล่าข้อมูล วุ้น : เราทั้งสองคนเรียนนิเทศศิลป์ ศิลปากร วุ้น ต่างๆ ซึ่งเราก็พยายามหาวิธีการใหม่ในการเล่าด้วย เป็นรุ่นน้องพี่มิน ตอนเรียนก็เห็นงานพี่มินมา มีโปรเจ็กต์ที่ทำ�ตอนปีแรกๆ เป็นการเก็บภาพการนอน ตลอด ชอบมาก เห็นงานพี่มินมาตั้งแต่ก่อนเข้า หลับของตัวเอง คือมินจะไม่ได้มีความสนใจเรื่องสิ่งมหาวิทยาลัย แต่ตอนเรียนยังไม่สนิทกันมาก พอ แวดล้อมหรืออะไรที่ใหญ่ๆ ที่คนอื่นเขาทำ�กันขนาดนั้น เรียนจบวุน้ ก็ท�ำ งานกราฟฟิกเฮ้าส์ ทำ�พวกสิง่ พิมพ์ งานของมินจะเน้นที่เรื่องของตัวเรามากกว่า อย่างงาน ต่างๆ ส่วนพี่มินก็ไปเรียนต่อที่อังกฤษ หนึ่ง มินจะพาตัวเองไปอยู่ในที่ต่างๆ แล้วพยายามเก็บ ข้อมูลบริเวณนั้น เช่นมินไปถึงที่ลอนดอนแล้วชอบสี PIE : ไปเรียนที่ไหน สาขาอะไรครับ ของใบไม้ที่นั้นมาก มินเลยไปยืนถือป้ายให้คนแถวนั้น มิน : เรียนที่ Saint Martin (Central Saint Martins เขาเก็บใบไม้มาให้เรา แต่เราต้องห้ามพูดนะ คนก็จะ College of Art and Design) คอร์สที่เรียนก็เป็น เก็บใบไม้มาให้เรา เราก็เอาใบไม้เหล่านั้นมาทำ�งานต่อ กราฟฟิกดีไซน์ ที่มินเรียนจะเป็น Info Graphic แต่ช่วงปีแรกที่โน่นเขาจะเรียนรวมๆ กัน ยังไม่ PIE : ก่อนมินจะไปเรียน มีความคิดอยู่แล้วหรือเปล่าว่า แยกสาย เราก็จะได้เรียนพื้นฐานหลายๆ อย่าง อยากเจอวิธีการคิดการทำ�งานแบบนี้ แล้วอาจารย์เขาจะดูเราไปเรื่อยๆ ว่าเราเหมาะ มิน : เคยได้ยินมาบ้าง ว่าที่ Saint Martin เขาเน้นวิธี จะพัฒนาไปทางไหน การคิด ให้ความสำ�คัญกับขั้นตอนการทำ�งาน ไม่ได้ดู แต่งานที่เสร็จออกมา PIE : เรียนอะไรกันมาครับ

PIE : ช่วงนั้นงานของมินเป็นอย่างไร

มิน : เป็น Information Design มินชอบเก็บข้อมูล สนุกกับการเฝ้าดูอะไรบางอย่างแล้วมาวิเคราะห์

PIE : ช่วงนั้นแนวคิดไหนที่มินสนใจ

มิน : ช่วงนั้นก็พยายามวิเคราะห์ตัวเอง ในตอนนั้น 72


เราเริ่มรู้สึกเบื่อ ก็มาถามตัวเองว่าเพราะอะไร ซึ่งเราก็มาคิดว่าเป็นเรื่องขั้นตอนการทำ�งาน เรื่องของอุปกรณ์ การทำ�งาน ที่เริ่มเปลี่ยนไป มินเลยเลือกทำ�โปรเจ็กต์ Hand vs Machine เราก็มาคิดเรื่องการใช้เวลา การใช้ สมาธิกบั งาน คิดถึงอุปกรณ์การทำ�งานยุคใหม่ทท่ี �ำ ให้ตวั งานออกมาได้เร็วขึน้ แต่กท็ �ำ ให้เรามีเวลาพิถพี ถิ นั กับ งานน้อยลง เราก็หาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องสมาธิสั้น เรื่องการทำ�งานด้วยมือ เรื่องการใช้เวลาในชีวิต เก็บข้อมูล เยอะมาก และต้องมาวิเคราะห์หาการนำ�เสนอที่ใหม่และน่าสนใจด้วย พยายามหาวิธีทางกราฟฟิกที่จะพูด เรื่องเวลา ลองทำ�หลายอย่าง จนสุดท้ายก็ออกมาเป็นการทำ�งานมือกับงานคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ มา เปรียบเทียบกัน 73


PIE : มินชอบทำ�งานมือ

มิน : ชอบทำ�อะไรซ้ำ�ๆ ชอบใช้เวลากับงาน ยิ่งตอนทำ� Hand vs Machine เวลาที่ทำ�ใน ส่วนที่ใช้มือ เวลาได้ใช้เวลากับชิ้นงาน มันเกิด สมาธิ เกิดความคิดขึ้นในช่วงเวลาตรงนั้น

PIE : เริ่มกลับมางานสกรีนได้อย่างไร

มิน : ตอนก่อนกลับมินก็ได้ไปดูงานแฟร์สายกราฟฟิก ที่โน่น (Pick Me Up Festival) ซึ่งเขาจะมีดีไซเนอร์ นักวาดภาพประกอบมาโชว์งานและบางสตูดิโอเขา ก็ใช้เทคนิคการสกรีน ซึ่งตอนนั้นที่โน่นก็เริ่มเป็นที่ นิยม เหมือนว่าเริ่มงานและจบงานได้เองในตัว ก็ PIE : ตอนนั้นวุ้นก็ติดต่อกับมินอยู่หรือเปล่า สนใจอยากทำ�แต่ตอนนั้นต้องกลับไทยแล้ว ช่วงแรก ก็ทำ�งานงานกราฟฟิกเล็กๆ น้อยๆ ไปเรื่อย จนมีวัน คิดอย่างไรกับงานของมิน วุ้น : วุ้นกับพี่มินก็คุยกันอยู่ตลอด ที่วุ้นคิดคือพี่ หนึ่งเพื่อนชวนไปเรียนสกรีนเสื้อ เขาสอนแบบสั้นๆ มินเป็นคนพูดน้อยนะ แต่ในตัวเขามีอะไรเยอะ วันเดียว เป็นพื้นฐานเลย ดีมากเลยนะ เขาสอนให้ ตัวงานของพี่มินก็เหมือนกัน ถึงมันจะดูน้อย เราทำ�สกรีนโดยใช้ทุนน้อยที่สุดด้วย หลังจากนั้นก็ แต่มันมีอะไรซ้อนอยู่ข้างในเยอะมาก ทั้งวิธีคิด กลับมาลองผิดลองถูก ทำ�เองบ้าง ทำ�ให้เพื่อนบ้าง และขั้นตอนการทำ�งาน พิมพ์ได้บา้ งไม่ได้บา้ ง ก็เจอปัญหาหลายอย่าง ตอนนัน้ 74


ก็มีโครงการ Print Exchange เป็นงานพิมพ์ที่เราส่งไป ซื้อบางคนก็รู้จักวิธีการทำ�งานแบบนี้ คนที่ไม่รู้จักเรา แล้วจะได้งานของคนอื่นกลับมา งานนี้เราต้องเสียเงิน ก็อธิบายให้ฟังว่าทำ�อะไรยังไง ช่วงนั้นงานเราขายถูก มาก คนซื้อในงานนั้นถือว่าโชคดีมาก แต่ช่วงปีแรก สมัครนะ แต่ก็ทำ� วุ้นทำ�งานไปด้วยแล้วมาช่วยพี่มินตอนกลางคืน แล้ว PIE : วุ้นเข้ามาทำ�ตอนไหน งานมันไม่ทัน ในที่สุดก็ตัดสินใจออกจากงาน มิน : ตอนแรกมินทำ�กับเพื่อนอีกคนหนึ่ง เป็นนักวาด ภาพประกอบ ทำ�มาสักพักหนึ่ง ตอนนั้นวุ้นทำ�งานเป็น PIE : ชื่อ Archivist ครีเอทีฟที่บริษัทอมรินทร์ เขาได้บูธในงานแฟร์งานหนึ่ง วุ้น : วุ้นเป็นคนคิด เพราะพี่มินเขาออกตัวว่าไม่ถนัด เลยลองไปออกบูธดู แล้ววุ้นชอบดูซีรีส์เกี่ยวกับพวกแต่งบ้านและในนั้นเขา วุ้น : เราก็เห็นงานพี่มิน ก็บอกพี่มินว่า “งานพี่มาอยู่ใน มีคนทำ�อาชีพดูแลรักษาของอย่างใดอย่างหนึ่งเป็น เมืองไทย จะรู้ได้ยังไงว่าคนชอบหรือเปล่า” และงาน พิเศษ คนพวกนี้เขาจะเนี๊ยบ ใส่ถุงมือ ผ้ากันเปื้อน พิมพ์สกรีนสไตล์นี้มันยังไม่มีคนทำ�เท่าไหร่ น่าจะให้ พิถีพิถัน เขาจะเรียกว่า “Archivist” เราก็ชอบชื่อ คนได้เห็นมากกว่านี้ พอไปออกบูธก็สนุกมาก คนที่มา นี้กัน ซึ่งภาษาไทยจะแปลชื่อนี้ว่า “อารักษ์” 75


76


PIE : ตอนแรกที่คิดไว้ Archivist จะทำ�อะไรบ้าง

Archivist : ฟุ้งมากช่วงนั้น ตอนนั้นคิดเยอะมาก นอกจาก สกรีนและพิมพ์งานแล้วก็อยากจะทำ�เรื่องของสะสม เหมือน เป็นคิวเรเตอร์ดว้ ย คิดจะเป็นแบบมืออาชีพเลย แต่ตอนนีย้ งั นะ (หัวเราะ) ดูแลและเก็บผลงานของศิลปินหรือคนที่มาพิมพ์งาน กับเรา อยากมีแกลลอรี่แสดงงาน โชว์ผลงานที่มาพิมพ์กับเรา หรือนอกจากนั้นด้วย นี่คืดเป้าหมายตอนแรกเลย แต่ตอนนี้ พิมพ์งานก็จะไม่ทันแล้ว (หัวเราะ) PIE : Archivist ต่างจากร้านสกรีนอื่นๆ ยังไง

Archivist : นี่คือสิ่งที่เราพยายามจะบอกมาตลอด ว่าเรา ต่างจากร้านสกรีนทั่วไปยังไง อย่างร้านทั่วไปที่เขารับสกรีนเขา อาจจะไม่ยอมทำ�เทคนิคแปลกๆ ให้ เพราะมันเสียเวลาของเขา แต่กลับเราถ้าเทคนิคนั้นมันน่าสนใจ เป็นไปได้ ลูกค้าอยากมา ลองเราก็ยินดี ซึ่งอาจจะเหมือนกับดีไซเนอร์ ศิลปินหรือลูกค้า ทีอ่ ยากได้งานสกรีนทีแ่ ตกต่างๆ มีลกู เล่นใหม่ๆ มีสสี ะท้อนแสง มีเกล็ดทอง มีสที เ่ี ครือ่ งพิมพ์อาจจะพิมพ์ไม่ได้ และทีน่ ไ่ี ด้เปรียบ กว่าต่างประเทศ ตรงที่เครื่องมือเราหาง่าย ราคาจับต้องได้ มีอะไรให้ลองได้เยอะ เวลาที่ศิลปินมาทำ�งานกับเรา เราก็จะ อธิบายถึงธรรมชาติของการทำ�สกรีนด้วยว่าทำ�อะไรได้บ้าง มี ข้อจำ�กัดยังไง ใช้เทคนิคยังไงเพื่อจะซับพอร์ตงานของเขา ตรง ไหนทำ�ได้ทำ�ไม่ได้ แล้วด้วยความที่เราทำ�กราฟฟิกด้วย เราก็ สนใจเรื่องเนื้อกระดาษด้วย มีชนิดของกระดาษที่หลากหลาย ให้เลือกเพื่อให้ตรงกับชนิดของงาน 77


78


79


มินิมัล มันน้อย พอน้อยแล้วอะไรมันผิดนิดนึงก็ ไม่ได้เลย ส่วนทีว่ นุ้ ว่ายากอีกงานหนึง่ คือ งานของเตย Archivist : ต้องมีความอดทน แล้วมันเป็นงานที่ (สุทธิภา คำ�แย้ม) ซึ่งงานเตยละเอียดมากๆ ส่วนตัว ใช้แรงเยอะ ต้องมีความละเอียด ทีส่ �ำ คัญเลยคิดว่า เตยก็เป็นคนละเอียดมากด้วย และการซีลค์สกรีนมัน ต้องมีความพอดี คือต้องเร็วในเวลาที่ควรเร็ว ต้อง ก็มีธรรมชาติของมัน ที่จะไม่เนี๊ยบกริ๊บขนาดนั้น แต่ ช้าในเวลาที่ควรช้า มันมีความเป็นงานฝีมือเยอะ ออกมาก็พอใจ พิมพ์มาห้าสิบแผ่น เตยเลือกไปแค่ แปดแผ่น (หัวเราะ) ตอนนีก้ เ็ รียนรูก้ ารพิมพ์แบบใหม่ๆ อย่างการพิมพ์สันของนามบัตร อันนี้ก็หาข้อมูลยาก PIE : เจอปัญหาอะไรบ้าง เหมือนกัน ไม่ค่อยมีใครบอกว่าทำ�ยังไง เราก็มาลอง วุ้น : ตอนที่วุ้นต้องทำ�งานประจำ�ไปด้วยเนี่ย ก็ ทำ�ในแบบของตัวเองดู จะทำ�งานไม่ทัน เพราะกระบวนการมันเยอะ คนอื่นอาจจะเห็นว่าตอนพิมพ์มันเร็ว แต่มันมี กระบวนการเตรียมงานก่อนนี้อีกเยอะ เหมือนกับ PIE : เห็นตอนนี้ Archivist อยู่ในกลุ่มของ Make บางคนอาจจะยังไม่เข้าใจเรื่องของการพิมพ์แบบ Collective และเพิ่งไปจัด Workshop ที่ Practive นี้ ถ้าเป็นลูกค้าแบบบริษัทเขาอาจจะอยากแก้งาน ด้วย คิดยังไงบ้างกับเรื่องการรวมกลุ่มทางการ ออกแบบในตอนนี้ ซึ่งถึงกระบวนการหนึ่งมันจะแก้ยากแล้ว มันไม่ เหมือนงานคอมพิวเตอร์ จำ�นวนคนเราก็น้อยด้วย Archivist : ดีนะ ในบ้านเราอาจจะยังมีไม่เยอะ แต่ ในต่างประเทศมีมานานแล้วกับเรื่องแบบนี้ ซึ่งได้ ส่วนมากก็เจอแต่งานที่ด่วนๆ เยอะ ประโยชน์เรื่องคอนเน็กชั่น การทำ�อะไรคนเดียว มันออกจะเหงาๆ ไปหน่อย ได้มีกลุ่มหรือเจอนัก PIE : ที่ทำ�มางานแบบไหนยากที่สุด ออกแบบคนอื่นก็สนุกสนานขึ้น อย่างเรา ตอนแรก วุ้น : มันก็ยากคนละแบบ แล้วแต่เทคนิคของ แต่ละงาน งานของพี่มินเองก็ยาก เพราะงานมัน เราทำ�งานให้เตย พอในนิทรรศการเปิดบ้านของ PIE : การทำ� Silk Screen ต้องมีอะไรบ้าง นอกจากอุปกรณ์

80


81


82


83


84


ส่วนของ Archivist เอง เราก็อยู่ในช่วงทดลอง ดู เรื่องทุนเรื่องกำ�ไร เราก็เอาเงินมาลงกัน ไปซื้อ กระดาษ ทำ�งานให้ลูกค้า แล้วมาดูว่าเราเหลือ เท่าไหร่ คุม้ ไหม เราก็ท�ำ แผนธุรกิจนะ ดูจากสตูดโิ อ ใหญ่แล้วเอามาย่อส่วนปรับใช้ในแบบของเรา เรียนรู้จากประสบการณ์ด้วย งานไหนขาดทุน มากๆ งานไหนคุ้มไม่คุ้ม ควรจะรับงานหรือ PIE : ตอนนี้กระแสงาน Craft มาแรงมาก ทำ�งานยังไง ลูกค้าเรามีหลายอาชีพมาก มีตั้งแต่ คิดว่ายังไง Archivist : กระแสนี้มันเริ่มมาสักพักแล้ว ตั้งแต่ ลูกค้าทั่วไป ศิลปิน มีลูกค้าที่เป็นนักออกแบบ วุ้นทำ�งานอยู่อมรินทร์ นักเขียน บ.ก. เขาก็พูดกัน สถาปนิก เขาเอาไปแต่งร้านอาหาร แต่งบ้าน เรื่องพวกนี้แล้ว ตอนออกบูธคนก็ให้ความสนใจ ตัวอย่างหรือบ้านของลูกค้าเขาอีกที เราก็พยายาม มาก ส่วนหนึ่งคนอาจจะสนใจเรื่องที่มาที่ไปของ จะหาทางปล่อยผลงานหลายๆ ทาง แล้วคนที่เริ่ม สิ่งที่เขาเห็นมากขึ้น ว่ามีวิธีขั้นตอนยังไง เริ่มให้ หันมาซื้องานศิลปะหรืองานพิมพ์เขาจะหางาน ความสำ�คัญกับที่มาของสิ่งที่เขาใช้มากขึ้น และ ใหม่ๆ มากขึ้นเรื่อย เป็นการสะสมเหมือนการ ต้องการใช้เวลาให้มากขึ้นกับสิ่งที่เขาชอบ ตอน สะสมซีดี แผ่นเสียง เล่นของเก่า เราก็จะนำ�เสนอ เราจัด Workshop คนก็สนใจที่จะมาลองกันเยอะ งานพิมพ์ใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ กระแสนี้มันก็ส่งผลดีกับเรานะ แต่เราก็พยายาม ทำ�งานที่มีคุณภาพ ให้ Archivist เป็นอะไรที่อยู่ PIE : แผนในอนาคตของ Archivist นานกว่ากระแส ด้วยตัวงานที่เป็นกระดาษ งาน Archivist : นอกจากงานพิมพ์ที่ทำ�อยู่ ก็กำ�ลังทำ� ฝีมือ นานไปมันจะมีคุณค่าเพิ่มขึ้น คลาสสิกขึ้น สตูดิโอใหม่ที่ชั้นล่าง แล้วจะทำ� Workshop เปิด แล้วเราไม่ได้ทำ�งานแบบตามกระแสมากขนาดนั้น ให้คนทีส่ นใจมาลองทำ�งานสกรีนกันดู ให้เขาเข้าใจ เรือ่ งการสกรีนมากขึน้ ให้ลองเทคนิคต่างๆ ในการ อยู่แล้วด้วย ทำ�สกรีน แล้วจะมีการให้ศิลปินหรือคนที่จะทำ� ผลงานจากการซีลค์สกรีนเช่าสตูดโิ อเพือ่ ทีจ่ ะทำ�งาน PIE : เรื่องความอยู่รอดของสตูดิโอออกแบบที่ เราก็จะมีเครื่องมือต่างๆ ให้ใช้ แล้วเราก็จะช่วย ทำ�งาน Craft ในบ้านเรา Archivist : เราก็สงสัยอยู่นะว่าคนอื่นเขาอยู่ยังไง ดูแลเรื่องความสะดวกและให้คำ�ปรึกษาด้วย B sides ชื่อ Infomal เตยก็ชวนพวกเราไปแสดง งานด้วย พอเราไปแสดงงานที่ Infomal ก็เจอกับไผ่ (ปัญจพล กุลปภังกร) ซึ่งเขากำ�ลังทำ�กลุ่ม Make Collective เขาก็ชวนเราอีกต่อหนึ่ง มันเป็นเรื่อง คอนเน็กชั่น ที่นำ�พาเราไปเจอโอกาสต่างๆ

85


archivistproject.com www.facebook.com/Archivistproject

86


87


Panjapol Kulpapangkorn

Jewellery is at my Feet PIE TALK

88


Contemporary Jewelry Artist

89


งานเครื่ องประดั บในบ้านเรายังคงถูก จำ�กัด ใน กรอบของคำ�ว่าแฟชั่น และนางกวักในบ้านเราก็ ยังอยูใ่ นกรอบของคำ�ว่าเครือ่ งลางของขลัง วันนี้ เรามาคุยกับศิลปินงานเครือ่ งประดับร่วมสมัยหน้า ใหม่ไฟแรงที่ได้รับรางวัลระดับโลก เขาคนนี้เป็นทั้ง ศิลปิน Contemporary Art Jewelry ที่ทั่วโลก จับตามอง เป็นทัง้ ผูต้ งั้ กลุม่ งานฝีมอื สุดเก๋ Make Collective เป็นอาจารย์ และล่าสุดเป็นเจ้าของ แบรนด์โปรดักส์สุดเท่ This Means That สุด ขนาดนี้อย่าไปเสียเวลา ไปดูมุมมองความคิดของ คุณไผ่-ปัญจพล กุลปภังกร กันเลย 90


91


PIE : ไผ่เรียนจบที่ลาดกระบัง

เรียนโปรดักส์ดีไซน์ครับ สถาปัตฯ อุตสาหกรรม แต่ตอนจบเลือกทำ�งาน Metal Design และบังเอิญ ได้มีโอกาสเรียนกับอาจารย์ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์ อาจารย์เขาเพิ่งกลับมาจากอเมริกา ซึ่งผมก็ได้ เรียนเรื่อง Jewelry Art กับแก ตอนนั้นตื่นเต้น มาก เพราะการเรียนโปรดักส์ดีไซน์ มันต้องไป รองรับระบบอุตสาหกรรม ไปรองรับตลาด ต้อง มองเรื่องจำ�นวนการผลิต กลุ่มเป้าหมาย แต่ Jewelry Art สามารถทำ�จำ�นวนน้อยได้ ชิ้นเดียว เลยยังได้ เหมือนเขามาเปิดโลกเราเลย ตอนที่จบ ก็เลยทำ�งาน Jewelry Art ที่เกี่ยวกับเด็กที่ติดเชื้อ HIV โดยให้น้องๆ เหล่านี้ เขาวาดรูปเขียนกลอน สื่อบางอย่างออกมา แล้วผมก็นำ�ไปใช้เป็นวัสดุใน การทำ� Jewelry Art PIE : จบมาแล้วทำ�งานอะไรก่อน

จบมาก็ทำ�งานเป็นดีไซเนอร์บริษัทออกแบบ เครือ่ งประดับ แต่ท�ำ ได้แค่สามเดือนก็ลาออกครับ เพราะรู้สึกว่ามันเป็นการทำ�งานตามสั่ง ไม่ได้ ดีไซน์งานที่เป็นตัวเราจริงๆ บวกกับตอนนั้นก็ มีปัญหาชีวิตหลายอย่างด้วย เลยตัดสินใจขอที่ บ้านไปเรียนภาษา ก็ยังคิดอะไรไม่ออกครับว่าจะ ไปเรียนหรือทำ�อะไรต่อ แล้วไปเจอแฟนเราที่นั่น (ซึ่งตอนนี้ก็ทำ� This Means That ด้วยกัน) ช่วง นั้นเขาเรียน Graphic Design เขาก็พาเราไปดูที่ มหาวิทยาลัยที่เขาเรียน ผมก็ได้เห็นบรรยากาศ

การเรียนที่โน่น คือเขาไม่ได้ทำ�กราฟฟิกกันแค่ ในคอมพิวเตอร์ เขามีการตัดกระดาษ พิมพ์สกรีน ไปดูห้องเวิร์คช็อปที่เขาทำ�งานแล้วชอบมาก เลย ขอให้พาไปดูมหาวิทยาลัยแนว Jewelry บ้าง อยู่ในแถบสก็อตแลนด์ เราไปดูแล้วแบบ...สวรรค์ เลย หลังจากนั้นก็พยายามหาข้อมูลว่าจะเรียน ที่ไหนดี กลับมาอ่านหนังสือเตรียมสอบ ขยันมาก ช่วงนั้น PIE : ตกลงได้เรียนที่ไหน

ที่เบอร์มิงแฮม ชอบอาจารย์และสไตล์การทำ�งาน ของที่นั่น แล้วเขาให้ทุนด้วยหลังจากเห็นผลงาน ของเรา แต่ผมก็ไม่ได้มพี น้ื ฐานอะไรมากนะ ตอนนัน้ ถ้าเทียบความรู้คงเท่ากับเด็กเรียน Jewelry ปีสอง ในบ้านเรา คือเชือ่ มน้�ำ ประสานยังไม่ตดิ เลย เทคนิค แย่มาก แต่ทางมหาวิทยาลัยเขาคงชอบแนวคิดใน ผลงานของเรามากกว่า PIE : ส่งงานประกวด ได้รางวัลเยอะมาก แถมได้ รางวัลใหญ่มากอย่าง Talente ด้วย เล่าให้ฟงั หน่อย

ช่วงตอนทีเ่ รียนส่งงานประกวดเยอะครับ คือ Talente เป็นงานประกวดสำ�หรับนักออกแบบทีเ่ พิง่ ทำ�โปรเจ็กต์ ขึ้นมา จัดที่ มิวนิค เยอรมัน มีการประกวดกันหก สาขา ของผมป็นสาขา Jewelry โดยมีข้อจำ�กัด ว่าผู้ส่งอายุห้ามเกิน 35 ปี และส่งได้ครั้งเดียวใน ชีวิต ถ้าส่งไปแล้วไม่เข้ารอบก็ห้ามส่งอีกเลย ก่อน ที่จะส่งประกวดก็เคยไปเที่ยวงานนั้นก่อนปีหนึ่ง 92


93


บรรยากาศของงานก็สนุกมากเขาจะเป็นเฟสติวัล เป็นแฟร์ใหญ่ทั้งเมืองเลย ตามร้าน แกลลอรี หรือ แม้แต่บ้านร้างๆ เขาก็จะจัดเป็นนิทรรศการเต็ม ไปหมด นักออกแบบก็จะมาจากทัว่ โลกเลย ก็ตดั สินใจ ส่งไปแล้วเขาก็เงียบไปนานมาก ผมก็ไม่คิดอะไรจน กลับมาที่เมืองไทย PIE : กลับมาไทยแล้วเพิ่งจะรู้ผล

ครับ กลับมาก็ยังไม่รู้ว่าจะทำ�งานอะไร เหมือน เริ่มต้นใหม่ เห็น ATTA (อัตตา) Gallery เปิดรับ คนอยู่เลยมาสมัคร เป็นคนดูแลการจัดงานและ ประสานงานแกลลอรี ในบ้านเราแกลลอรีในสาย Jewelry Art ที่ชัดเจนจริงๆ ก็น่าจะมีแต่ที่นี่

ช่วงนั้นทาง Talente เขาก็ประกาศชื่อคนเข้ารอบ ทางเว็บไซต์ ก็เห็นแล้วแหละว่ามีชื่อเรา แต่คิดว่า คงไม่ได้ เพราะรูปทีโ่ ชว์ในเว็บเป็นรูปงานของคนอืน่ และรายชื่อที่เห็นก็เก่งๆ ทั้งนั้น ผมเลยไม่ได้สนใจ จริงๆ คนที่เข้ารอบต้องบินไปรอการประกาศผลใน งานที่เยอรมัน แต่ความที่ไม่ค่อยมีเงินด้วยเลยไม่ ได้ไป พี่ที่เป็นเจ้าของ ATTA Gallery (คุณเจื้อย อตินุช ตันติวิท) เขาเป็นคอลเล็กเตอร์ระดับโลก จะไปงานแบบนี้ทุกปีอยู่แล้ว คืนวันงานเขาส่ง ข้อความมาหาว่า เราได้รางวัล Talente ตอนนี้ใน งานเขาประกาศหากันอยู่ว่าเราอยู่ไหน (หัวเราะ) ตอนนั้นก็ยังไม่มั่นใจนะว่าเราได้ ตื่นมาดูใน Facebook ตอนเช้าถึงรู้ว่าได้จริงๆ 94


PIE : ผลงานที่ได้รางวัล Talente : Jewelry is on my feet

ชื่องาน Jewelry is on my feet ครับ โปรเจ็กต์ นี้มันผ่านการคิดนานพอสมควร ประมาณปีหนึ่ง เริ่มจากที่ผมใส่รองเท้าแตะเดินไปตามที่ต่างๆ ในลอนดอนสี่วัน และถ่ายภาพเท้าเก็บไว้ หลัง จากนั้นก็ตัดรองเท้าคู่นั้นเป็นสิบส่วนซึ่งมันจะมี ร่องรอยที่ต่างกันไปในแต่ละส่วน ที่เกิดจากการ เดินของเรา เกิดจากความทรงจำ�ของเราทีเ่ ดินทาง ไปในแต่ละที่ ผมคิดว่าเครื่องประดับไม่ใช่แค่ เรือ่ งความสวยงาม แต่มนั มีเรือ่ งของความทรงจำ� อยู่ด้วย เลยใช้แนวคิดนี้ทำ�งานต่อ โดยปล่อยเป็น แคมเปญ มีโปสเตอร์ มีเสือ้ ยืดทำ�เอง หลังจากนัน้ 95

ผมก็เดินทางจากอังกฤษไปงาน Schmuck ทีเ่ ยอรมัน ซึง่ Schmuck เป็นงานแฟร์สว่ นหนึง่ ของงาน Talente แต่เป็นสาย Jewelry อย่างเดียว ระหว่างเดินทาง ผมก็เก็บของต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ ที่เราใช้ในชีวิต ประจำ�วันไปเรือ่ ยๆ แล้วนำ�มาติดทีเ่ สือ้ ยืด เอากล้อง ตัวเล็กๆ ติดไว้ที่เสื้อด้วย เพื่อจะถ่ายผู้คนที่มาคุย หรือพบเจอกับเรา ดูปฏิกริยาของเขาที่มีกับงานเรา เป็นงานที่ทำ�ให้คนอื่นๆ มีส่วนรวมกับเราด้วย หลัง จากนั้นเราก็เอากลับมาพรีเซนต์ที่มหาวิทยลัย จริงๆ ที่เราทำ�มันก็ไม่ได้ใหม่อะไรนะ แต่อาจจะต่างจาก คนอืน่ ทีเ่ ขาทำ�เป็นเครือ่ งประดับชิน้ เดียว หลังจากนัน้ พัฒนาโปรเจ็กต์ Jewelry is on my feet ต่อ ด้วยการให้คนส่งสิ่งของชิ้นเล็กๆ เข้ามา ผมก็จะ


ประกอบมันเป็นงาน Jewelry Art ส่งกลับไปให้ เหมือน เขาส่งของที่เขามีความทรงจำ�บางอย่างกับมัน และได้ Jewelry Art ชิ้นหนึ่งกลับไป โปรเจ็กต์นี้ก็ทำ�ต่อเนื่องมา เรื่อยๆ ทุกวันนี้ก็ทำ�อยู่ PIE : เรียนที่ต่างประเทศมีความต่างอย่างไรกับบ้านเรา

จริงๆ การไปเรียนที่โน่น มันเป็นการหาตัวเองมากกว่า เพราะที่ผมไปเรียนจะเข้าเรียนน้อยมาก ส่วนมากอยู่กับ การคิดงานและพูดคุยกับตัวเองมากกว่า ได้ลองผิดลอง ถูกกับสิ่งที่ตัวเองคิด ได้พัฒนาความคิดไปในแบบของ เราเอง ทำ�ให้เราและความคิดของเราโตขึ้น และอาจารย์ ที่สอนผมเขาทำ�งานอยู่ที่เบอร์ลินจะบินมาสอนไม่บ่อย จะมีปรึกษารุ่นพี่ที่จบไปแล้วบ้าง แต่สไตล์งานจริงๆ ก็ของใครของมัน เลยทำ�ให้ต้องแก้ไขพัฒนางานด้วย ตัวเองก่อน และตอนนั้นผมรู้จักกับศิลปิน Fine Art เยอะ ได้ความรู้ มุมมองจากเพื่อนๆ เหล่านี้ด้วย PIE : สไตล์ของไผ่ จะจำ�กัดแนวว่าอะไร

ผมว่ามันเป็น Mix Media นะ เรื่องวัสดุที่ใช้ผมก็ไม่ชอบ พวกเหล็กเท่าไหร่ รู้สึกว่าเราไม่ถนัดทางนี้ ผมจะชอบ ทำ�งานกับของที่เราพบเจอในชีวิตประจำ�วัน มันเหมือน การจดบันทึกแบบหนึ่ง เหมือนเราเห็นแล้วนึกถึงบาง ช่วงเวลาที่เราเคยใช้มัน แต่เราเปลี่ยนเรื่องราวของมัน เปลีย่ นบริบทของมัน งานผมจะมีความเป็นการจดบันทึก หรือการเป็นสารคดีด้วย 96


97


98


PIE : การคิดงานของไผ่

ผมจะคิดเยอะๆ ก่อนเลยครับ เน้นเรื่องแนวคิดก่อน ที่ผมสอนจะมีเด็กๆ ที่ทำ�งานแบบทำ�ไปก่อนแล้วเอา คอนเซ็ปต์มาแปะทีหลัง ซึ่งอ่านแล้วรู้ว่ามันไม่จริง แต่ ผมก็ไม่ได้บอกว่าวิธีไหนถูกหรือผิดนะครับ สำ�หรับตัว ผมเองมากกว่า ที่จะใช้เวลากับการคิดการนำ�เสนอ เยอะมาก พอคิดได้ชัดเจนแล้วก็ทำ�เลย สมัยก่อนตอน เด็กๆ ที่ชอบใส่เป็น Gimmick ว่าอันนี้คืออันนั้น สี นี้เป็นแบบนี้ แต่พอไปเรียนที่อังกฤษวิธีคิดมันเปลี่ยน หมดเลย ตัวงานที่ออกมาสุดท้ายมันอาจจะเป็นอะไร ก็ได้ อาจจะไม่ต้องบอกสิ่งที่เราคิดทั้งหมดก็ได้ ให้ พื้นที่คนดูได้คิด แต่กระบวนการก่อนที่จะมาเป็นสิ่งนี้ ต้องชัดเจน ผมจะชอบทำ�งานแบบนี้

99


100


101


PIE : โอเค งั้นขอกลับมาถามตอนที่เริ่มมาอยู่ที่ ATTA Gallery หน่อย

ต่างประเทศที่มาโชว์งาน ก็ได้คุยกับเขา พาเขาไปเที่ยว ได้คอนเน็กชั่นจากตรงนี้เยอะมาก บางคนตอนนี้ก็สนิท กันมาก มีศิลปินจากเดนมาร์ก เขาบอกผมว่าถ้าไป ที่โน่นเขาจะพาไปเที่ยวสตูดิโอของเพื่อนๆ เขา แล้ว ก็ได้ไปจริงๆ ได้ไปดูสตูดิโอส่วนตัวของศิลปินที่โน่น เกือบทุกคน สุดยอดมากๆ คอนเน็กชั่นแบบ...แรงมาก (หัวเราะ) อีกส่วนหนึ่งเราก็ทำ�งาน Jewelry Art ของ ตัวเองไปเรื่อยๆ ด้วย

ตอนแรกก็ตื่นตาตื่นใจครับ ได้เห็นชิ้นงาน Jewelry Art จริงๆ อยู่ตรงหน้า จับต้องได้ บางชิ้นเราเห็นแต่ ในหนังสือ น่าเสียดาย เด็กๆ ที่เรียนสายนี้น่าจะมา ดูกันมากกว่านี้เพราะไม่มีคนมาดู งานบางชิ้นราคา สูงมากหาดูยาก และคุณสามารถหยิบมาติดเสื้อคุณ ได้เลย น่าจะมาดูกันเยอะๆ ส่วนงานที่ผมทำ�ที่ ATTA Gallery ก็ทำ�ทุกอย่างเลยครับ ติดต่อ เซ็ตอัพงาน จัดงานแสดง ทำ�แคตตาล็อกเอง สนุกดี ได้เห็นงาน PIE : หลังจากได้รางวัล Talente ชาวต่างชาติเขาก็ ของศิลปินหลายคน แล้วเราทำ�หน้าที่ดูแลศิลปิน เริ่มรูจ้ ักเรามากขึ้นใช่ไหม 102


จริงๆ มันมีอีกงานคือ งานบรรยายในโรงนาที่ชื่อ Schmucksymposium Zimmerhof ในปี 2013 งานนี้เขาจะคัดเลือกคนทำ� Jewelry Art ที่น่าสนใจ มาบรรยาย แล้วงานนี้เขาจะเปลี่ยนคนที่ทำ�หน้าที่ คัดเลือกทุกปี ในปีทแ่ี ล้วเขาก็เลือกผมไป ซึง่ ก็กดดัน เหมือนกันเพราะมีแต่คนเก่งๆ ทั้งนั้น หลังจากงาน นั้นคนก็รู้จักเราและโปรเจ็กต์ Jewelry is on my feet มากขึ้น PIE : โปรเจ็กต์ Do you have a light?

ตอนนั้นที่เดนมาร์กเขาชวนให้เราไปร่วมงาน แล้ว 103

เขาอยากได้ชิ้นงาน Jewelry Art ที่ราคาไม่สูงมาก เพื่อให้เข้าถึงคน เราก็ยังอยากใช้สิ่งของรอบๆ ตัวมา ทำ�แล้วเรามีไฟแช็กเยอะ เลยทำ�โปรเจ็กต์ “Do you have a light?” ขึ้นมา โดยนำ�ไฟแช็กมาทำ�เป็นงาน Jewelry Art นอกจากที่โชว์ที่เดนมาร์กแล้ว ก็มีงาน ครบรอบของ ATTA Gallery ด้วย ก็ทำ�เป็น Do you have a light? in Bangkok ด้วย หลังจากนั้นก็มีการ เอาโปรเจ็กต์ตัวนี้มาทำ�ต่อ โดยการเอาไฟแช็กมาต่อ กันเป็นรูปหัวใจ ใช้ชื่อว่า I Light You แล้วตัว I Light You เนี่ย มันเริ่มขายได้ เพราะก่อนนี้ตัว Jewelry is on my feet มันไม่ได้เป็นงานขาย เนื่องจากเราให้


คนเขาส่งของเขามาให้ ถ้าเราทำ�เป็นงานแล้วขาย ผมว่ามันไม่แฟร์ พอทำ�ตัว I Light You ออกมา สี่ตัวแรกก็ขายได้ คนซื้อเป็นชาวต่างชาติ PIE : โปรเจ็กต์ 7 days a week with assco prof Wipha

โปรเจ็กต์นเ้ี ริม่ ด้วยความไม่ตง้ั ใจ คือช่วงหลังจาก ที่ผมกลับมาจากอังกฤษ แม่เริ่มทำ�ตัวแปลก เริ่ม แต่งตัวแปลก แต่งตัวตามสีของแต่ละวัน ผมเลย ถ่ายวิดีโอสิ่งที่แม่ทำ�ในแต่ละวัน ส่งไปให้พี่สาวที่ เป็นหมอเพื่อไปวิเคราะห์อาการ แล้วหลังจากนั้น ไม่นานมันมีงานชื่อ Suspend-En in Green ที่ เขาให้พูดอะไรก็ได้เกี่ยวกับสีเขียว ผมเลยเริ่มทำ� วิดีโอของแม่ทุกวันพุธที่แม่ใส่เสื้อผ้าสีเขียว ใส่ เครื่องประดับสีเขียว และคอยสัมภาษณ์แม่ว่า สีเขียวคืออะไร และแม่ผมตอบแค่ สีเขียวคือ วันพุธ ซึ่งทางโน้นเขาก็ชอบ วิดีโอเซตนี้เลย ถูกนำ�ไปโชว์ในประเทศต่างๆ และผมก็เลยทำ� โปรเจ็กต์นี้ต่อเป็น 7 days a week with assco prof Wipha เป็นการถ่ายวิดีโอแม่ของผมเป็น ระยะเวลาสามเดือน ซึ่งตัวนี้มันเป็นงานวิดโี อ และเมือ่ เราต้องแสดงงานในแกลลอรีทต่ี อ้ งมี การขาย ก็เลยต้องทำ�หนังสือขึ้นมาและทำ� Jewelry ที่จับต้องได้ขึ้นมาด้วย โดยตัว Jewelry จะนำ�แบบมาจากเครือ่ งประดับจริงของคุณแม่ผม มาผสมกันสร้างฟอร์มใหม่ขน้ึ มา และทำ�แบ่งเป็น 7 สีให้เข้ากับคอนเซ็ปต์

PIE : Miss Well-Come และ This Means That

คือผมชอบงาน Jewelry Art แต่เมื่อเป็น Jewelry Art ในแกลลอรีราคาค่อนข้างสูง คนจะเข้าถึงยาก หน่อย เลยปรึกษากับแฟนว่าเราทำ�ยังไงดี ที่จะทำ� อะไรที่ขายง่ายๆ คนเข้าใจง่ายๆ เห็นแล้วรู้เลยว่า คืออะไร และผมอยากทำ�ของแต่งบ้าน ก็คิดถึง คำ�ว่า Welcome แล้วนึกถึงนางกวักที่เรียกสิ่งดีๆ เข้าบ้านจนได้ Miss Well-Come ออกมา ส่วนคำ�ว่า This Means That มันมาจากหนังสือครับ มันเป็น หนังสือเกี่ยวกับการตีความงานศิลปะ แบบ “สิ่งนี้ หมายถึง สิ่งนั้น” อะไรแบบนี้ พอเราได้ทำ� Miss Well-Come ออกมาก็ได้รับการตอบรับดีมาก ดี จนทำ�ไม่ทัน เพราะมันเป็นงานมือน่ะครับ หล่อเอง แล้วมานัง่ เก็บรายละเอียด แต่ละชิน้ จะมีรายละเอียด ต่างกัน พอทำ�ตรงนี้ก็รู้ว่าคนไทยก็ชอบเสพงาน ศิลปะ งานออกแบบ แต่ขอให้เข้าใจง่ายหน่อยแค่ นั้นเอง PIE : กลุ่ม Make Collective

คือทาง Art 4D เขาติดต่อมาว่าจะให้พน้ื ทีเ่ ราในงาน Bangkok Design Festival ที่ศูนย์การประชุมแห่ง ชาติสริ กิ ติ ์ิ และให้เราติดต่อสตูดโิ ออืน่ ๆ มาแจมด้วย ก็รวมมาได้ 6 สตูดิโอ จริงๆ ห้าสตูดิโอแรกเป็น เพื่อนกันอยู่แล้ว อย่างพี่ฮง-โลหะมีค่าหรือมีตั้มมุมานะสตูดโิ อ ทัง้ ห้าสตูดโิ อก็จะมีทง้ั งานไม้ งานปัก งานโลหะ งานเครือ่ งประดับ เลยอยากหาอีกสตูดโิ อ ที่เป็นงานกราฟฟิก แล้วมาเจอพี่มิน Archivist ที่

104


105


เขาทำ�งาน Silk Screen คือผมชอบงานส่วนตัวของ พี่มินอยู่แล้ว เลยชวนมาทำ�ด้วยกัน และโชคดีมากที่ บูธของ Archivist นี่คนสนใจเยอะเลย

ของเขามากกว่า จริงๆ ก็น่าเสียดาย เพราะช่างฝีมือ ก็ลดน้อยลงเรื่อยๆ ไปตามยุคสมัย ในสมัยนี้ช่างฝีมือ ก็ต้องไปสนับสนุนโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเรื่องค่าแรง หรือค่าฝีมือก็ถูกมาก ถูกกดราคาและกำ�ลังถูกแทนที่ PIE : วงการ Jewelry Art บ้านเราเป็นไงบ้าง ด้วยเครื่องจักร แล้วคนที่ซื้อเครื่องประดับก็ไม่สนใจ ยังแคบอยู่มากครับ ในบ้านเรายังรู้จักเครื่องประดับ ด้วยว่าจะเป็นงานฝีมือ ไม่สนวิธีการทำ� สนใจแค่ กันในเชิงแฟชั่นมากกว่า ยังไม่มีคนรู้จักเครื่องประดับ หน้าตา รูปร่างเป็นยังไง ราคาเท่าไหร่ วัสดุอะไร ซึ่ง แบบเป็นงาน Fine Art เท่าไหร่ คือเน้นที่มูลค่าของ ทำ�ให้ช่างที่มีฝีมือหรือวิชาบางอย่างหายไป ซึ่งใน วัสดุอย่างเพชรพลอย ทอง อะไรแบบนั้น คนที่ไป ต่างประเทศคุณค่าของคนทำ�งานที่ใช้ทักษะนี้สูงมาก เรียนด้านนี้ กลับมาทำ�งานในบ้านเรามันก็ค่อนข้าง กำ�ลังเป็นที่ต้องการ เขาจะให้เกียรติคนทำ�งานฝีมือ อยู่ยาก มันเป็นคำ�ถามเลยว่าเรียนจบมาทางนี้แล้ว และพยายามอนุรักษ์ไว้ จะทำ�อะไร ซึ่งตัวผมก็พยายามหาคำ�ตอบอยู่ว่าจะทำ� ยังไง ไม่ใช่ในเฉพาะประเทศไทยหรอก ทั่วโลกก็เป็น PIE : แกลลอรี่และงานนิทรรศการของงานแนว เหมาะกัน เพราะสาขานี้เพิ่งเกิดขึ้นจริงจังห้าสิบปีมา Jewelry Art ในบ้านเรา นี้เอง ยังใหม่มากแต่ก็ค่อยๆ โตขึ้นมาเรื่อยๆ ส่วน ตอนนี้มีที่เดียว ที่ผมรู้นะคือ ATTA Gallery ที่นี่แสดง หนึ่งตอนนี้ผมก็เป็นอาจารย์ ก็ตั้งใจจะสร้างรุ่นน้องๆ งาน Jewelry Art เยอะมาก บ่อยด้วย เปล่ยนโชว์ทุก เพิ่มขึ้นมาด้วย เพราะผมเคยมีอาจารย์ที่ดีมาเปิดโลก เดือน ศิลปินเมืองนอกบินมาแสดงงานหลายคน มา ให้เราไปเจออะไรดีๆ มากมาย ผมอยากเป็นอาจารย์ ทัง้ บรรยายและ Workshop และถ้ามาที่ ATTA Gallery แบบนั้นบ้าง คุณสามารถคุยกับศิลปินและคนทำ�งานทางนี้ได้ โดยตรง ได้ข้อมูลที่คุณไม่ได้หาได้ง่ายๆ แน่นอน PIE : ช่างฝีมือในบ้านเราก็ดูมีเยอะนะ ซึ่งคนยังให้ความสนใจน้อยมาก มีแต่หน้าเดิมๆ ในมุมผมนะ ผมว่าช่างฝีมือเก่งกว่าผมอีก เขาขึ้นรูป น่าเสียดายมาก โดยเฉพาะนักศึกษาทีเ่ รียนทางด้านนี้ อะไรก็ได้ แบบไหนก็ได้ แต่เขาจะทำ�ตามแบบแผน ควรจะมาอย่างยิ่ง

106


107


PIE : ศิลปะให้ประโยชน์กับสังคมจริงหรือ

ศิลปะให้ประโยชน์กับสังคมหรือเปล่าผม ไม่รู้นะ แต่ที่แน่ๆ ศิลปะเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม และผมเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ในโลกนี้ไม่ใช่แค่ศิลปะ มันมีประโยชน์ใน ตัวของตัวมันเอง

108


PIE : แผนในอนาคต

www.facebook.com/panjaime www.facebook.com/thismeansthat

ก็คงทำ�งานศิลปะไปเรือ่ ยๆ ผมมีความเชือ่ ว่าถ้าเราตัง้ ใจทำ�งาน ไปเยอะๆ ผลงานของเราคงดีพอที่จะอยู่ในรายชื่อของศิลปินที่ คนอยากดูงาน คนจะติดตาม แล้วงานเราจะเป็นแรงบันดาลใจ ให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ มีศิลปินหลายคนที่เป็นแรงบันดาลใจให้ ผมทำ�งาน ผมเลยอยากจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นบ้าง

109


PIE TALK

Wrong design AND RIGHT attitude

110


BOOK DESIGNER

111


112


ถ้าคุณเป็นนักอ่าน ในชั้นวางหนังสือของคุณต้องมีผลงาน ออกแบบของ Wrong design หรือคุณเบิ้ม-กรมัยพล สิรมิ งคลรุจกิ ลุ ดีไซเนอร์ผอู้ อกแบบปกหนังสือมาแล้วมากมาย (มากมายจริงๆ นะ) ด้วยสไตล์ทชี่ ดั เจน และการสือ่ สารทีเ่ รียบ ง่ายทำ�ให้งานของคุณเบิ้มโดนเด่ดและแตกต่าง วันนี้เราจะมา เปิดอ่านหนังสือปกสวยที่ชื่อ “Wrong design” ด้วยกัน ว่าเบื้องหลังปกนิ่งๆ เท่ๆ นี้ มีเนื้อหาน่าสนใจอะไรบ้าง 113


PIE : พี่เบิ้มจบสายโฆษณา แต่มาทำ�หนังสือ

ตอนนั้นที่เรียนนิเทศน์เรายังไม่แน่ใจเหมือนกันว่า จะทำ�งานอะไร ตอนนั้นโฆษณามันบูมเลยมาเรียน ทางนี้ จบออกมาเราก็มาทำ�อีเว้นต์กอ่ น ทำ�แบบเป็น ฟรีแลนซ์ เราทำ�มาสักพักก็รู้สึกเบื่อๆ พอดีตอนนั้น เราไปเรียนคอมพิวเตอร์ด้วย เรียนพวกโปรแกรม จัดหน้า พวก Photoshop ทั่วไป เรียนแบบพื้นฐาน มากๆ นี่แหละ ที่มาทำ�หนังสือเพราะมีเพื่อนเราเป็น เลขาฯ กองบรรณาธิการที่นิตยสาร OPEN มาชวน เราก็สนใจ PIE : ตอนทำ� OPEN

PIE : ทำ�งานกับพี่ภิญโญ แรกๆ เป็นอย่างไรบ้าง

คือพี่โยเขามาทางงานเขียน งานเนื้อหา เรื่องคอลัมน์ ในเรื่องดีไซน์บางอย่างก็เป็นความรู้ใหม่สำ�หรับพี่เขา เหมือนกัน สำ�หรับตัวเราก็เพิ่งเริ่มเหมือนกัน แต่พี่โย เขาใจกว้างมาก เราอยากทำ�อะไร ลองอะไร เขาก็จะ ปล่อยให้ทำ� พี่โยเขาเป็นเจ้านายที่ดีมาก ส่วนหนึ่งที่ งานเราออกมาชัดเจนเพราะพี่เขาด้วย PIE : พี่คุ่น (ปราบดา หยุ่น) มาเป็นอาร์ตไดเรกเตอร์

ทำ�ไปสักเกือบปีได้ ตอนนั้น OPEN ก็ปรับรูปแบบ หลายอย่าง คือพี่คุ่นเขาเขียนงานให้ OPEN อยู่แล้ว เราก็รู้จักเขามาบ้าง และพี่คุ่นเขาก็เข้ามาทำ�กับ OPEN ด้วย เราก็โชคดีที่ได้เรียนรู้จากเขา เห็นวิธีคิด งานของเขา เพราะพี่เขามาทำ�ประจำ�เลย รูปแบบของ นิตยสารก็สนุกขึ้น สดใสขึ้น วิธีที่เรียนรู้คือเราก็สังเกต ตอนพี่เขาทำ�งาน จะไม่มีการมาเรียกให้เราดู หรือ สอนกันโดยตรง ให้ครูพักลักจำ�เอาและเวลาจะปิดเล่ม งานทั้งเล่มต้องมารวมที่เรา เราก็จะเห็นงานของพี่เขา ด้วย เราก็ลองเปิดดูว่าพี่เขาทำ�อะไรยังไง ให้วิธี ให้ โครงสร้างยังไง เหมือนเรานั่งแกะแบบของพี่เขา แล้ว เราว่าพี่คุ่นค่อนข้างสมบูรณ์มากในตัวของแก เพราะ แกเรียนดีไซน์มาด้วย เป็นทั้งนักเขียนด้วย นักอ่าน ด้วย มิติด้านหนังสือแกมีครบ และตอนนั้นเราก็ พยายามชดเชยด้วยการทำ�งานหนักหน่อย ละเอียด กับงาน ให้เวลากับงานมากหน่อย

จริงๆ งานของนิตยสาร OPEN ก็ไม่ยากมาก แต่ ด้วยความที่เราไม่เคยมีประสบการณ์การทำ�งาน ด้านดีไซน์ก็เลยเหนื่อยหน่อย งานพื้นฐานอย่างการ เว้นตัดตก เข้าสันหนังสือ การส่งไฟล์งานนี่เราไม่รู้ เลย ตอนนั้นก็รู้สึกว่ายากมาก แต่พี่โย (ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา) บ.ก. นิตยสาร OPEN เขาก็ให้พี่ที่ ทำ�อาร์ตของนิตยสาร GM มาช่วย เราก็พยายาม เรียนรู้จากพี่เขา ดูว่าพี่เขาทำ�อะไรยังไง ตอนนั้น เราก็ยังไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร นิตยสาร OPEN ก็เป็น นิตยสารแนวที่ค่อนข้างใหม่ เราก็ไม่คุ้นเคย เคย อ่านแต่ Star Soccer ตอนแรกปรับตัวยังไม่ได้ หลังจากนั้นพี่โยก็เรียกคุย เมื่อก่อนเราก็เด็กด้วย คือไม่ชอบทำ�อะไรก็เลิก แต่พอมาทำ�ที่ OPEN เรา คิดว่าจะลองดูสักตั้ง อยากพยายามทำ�ให้ดี เราก็ขอ โอกาสพี่เขาอีกเดือนหนึ่ง ถ้าไม่ได้ก็จะออก ก็ทำ�กัน PIE : พอนิตยสาร OPEN ปิดตัวลง มาจนได้ พี่โยเขาให้โอกาส ก่อนหน้านั้นเราทำ�ทั้งงานนิตยสารและหนังสือของ 114


115


OPEN อยู่แล้ว ตอนนั้นเราก็เริ่มเปลี่ยนทางมา เป็นหนังสือชัดเจนขึน้ ธรรมชาติของงานนิตยสาร กับหนังสือมันก็ต่างกัน แรกๆ ก็ใส่เต็มที่เลย ใส่หน้าสี แทรกกระดาษนั่นนี่ เอาสวยเข้าว่า โดยที่ยังไม่รู้ว่ามันจะมีปัญหาเรื่องหน้ายก เราก็ ต้องมาคุยกับทางโรงพิมพ์ด้วย ทางโรงพิมพ์ นี่ช่วยเราได้มากเลย ก็มีความเข้าใจมากขึ้น ทำ�ให้เราไม่เน้นเฉพาะทางด้านดีไซน์เท่านั้น มันมีเรื่องการใช้งานจริง มีความเป็นโปรดักส์ อยู่ด้วย PIE : การทำ�นิตยสารกับหนังสือต่างกันอย่างไร

ตอนนั้นวิถีชีวิตเปลี่ยนเหมือนกันนะ จากที่เราทำ� นิตยสารที่ต้องแข่งกับเวลา ต้องปิดเล่มทุกเดือน ส่งรูปไปสแกนที่โรงพิมพ์ แทบจะไม่มีเวลาเลย พอ มาทำ�หนังสือแบบพ็อกเก็ตบุ๊คมันยืดหยุ่นกว่า มี เวลามากขึ้น เริ่มไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน เราก็ได้ ไปดูโน่นดูนี่มากขึ้น เริ่มมีเวลาหาข้อมูลต่างๆ มาก ขึ้น เพราะเราไม่ได้เรียนดีไซน์มา พื้นฐานด้านนี้เรา อาจจะน้อยกว่าคนอื่น แล้วมาทำ�งานแบบต้องคิด ต้องดีไซน์ เราเลยต้องออกไปข้างนอกมากขึ้น ไป ดูนิทรรศการ ดูงานศิลปะ ฟังบรรยาย มีงานอะไร ใหม่ๆ เราก็ไปดู อ่านหนังสือมากขึ้นด้วย หาสิ่ง ต่างๆ มาใส่ในหัว 116


PIE : ชื่อ Wrong Design

อย่างที่บอกว่าเราทำ�งานกับพี่โย เขาไม่ค่อยแก้ งานเรา ทั้งที่เราก็รู้ว่าบางอันเขาก็ไม่ได้ชอบ แต่ เขาก็เชื่อใจเรา เราคิดว่าคนทำ�งานออกแบบแล้ว โดนติ โดนคอมเม้นต์บ่อยๆ โดนแก้งานบ่อยๆ จะทำ�ให้เสียความมั่นใจอะไรบางอย่างนะ จน กลายเป็นคนทำ�งานแบบ Play Save ไป แต่เรา โชคดีที่ทำ�งานแบบที่เราชอบได้ พอหนังสือของ OPEN ออกไป คนอ่านหรือสำ�นักพิมพ์อื่นก็จะ เห็นว่ามันมีความแตกต่าง มีการเล่าเรื่องอะไร บางอย่างบนปก สำ�นักพิมพ์อื่นเขาก็เลยมาติดต่อ ให้เราทำ�งานให้ ตอนแรกก็ดีใจ แต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง 117

เราไปทำ�งานให้สำ�นักพิมพ์ที่หนึ่ง เขาก็แก้แบบเยอะ มาก แก้ไป 6-7 แบบ แล้วมาเลือกแบบที่ 1 อะไร แบบนี้ แล้วเขาให้เราคิดชือ่ เพือ่ จะลงในเครดิต เพราะ ไม่อยากให้รู้ว่าใช้คนของ OPEN ตอนนั้นเราก็เด็กๆ กบฏๆ อยากใช้ชอ่ื ประชดเขา (หัวเราะ) เลยใช้ชอ่ื ว่า ดีไซน์ผิดแล้วกัน กลายเป็น Wrong Design PIE : ไปเรียนที่อังกฤษ

ตอนนั้นทำ� OPEN สักสี่ปีเราเริ่มเบื่อๆ เริ่มอยาก หาอะไรใหม่ ที่ไปเราไม่ได้อยากเรียนสายกราฟฟิก เพราะเรารู้ระดับหนึ่งแล้วว่างานกราฟฟิกจริงๆ มัน ไม่ใช่คอมพิวเตอร์หรอก มันต้องการเรื่องความคิด


มากมาย เราเลยไปเรียนคอร์สสิ่งทอสำ�หรับออกแบบภายใน พอเรียน แล้วมันได้ประโยชน์มากเลย การสร้างแพทเทิร์น ทำ�วอลเปเปอร์ การ คิดโจทย์ที่อาจารย์ให้ ตอนนั้นเหมือนเราได้ไปเจอวิธีการแก้โจทย์ใน การดีไซน์ที่เป็นรูปธรรม มันมีอยู่ครั้งหนึ่งคือใกล้วันส่งงานแล้ว แต่เรา ยังคิดงานไม่ออก อาจารย์เขาก็ถามเราว่าเลิกเรียนแล้วไปไหน เราก็ บอกไปว่า ไปสถานี ลงรถไฟ ผ่านสวน ไปร้านอาหาร ล้างจาน กลับ ห้องพัก อาจารย์ก็ถามต่อว่าแล้วคุณเห็นอะไรบ้าง เราก็บอกเห็นคน เห็นกระรอก เห็นรถบัส เห็นท่อน้ำ�เพราะที่ล้างจานมันมีท่อน้ำ�อยู่ตรง หน้า เขาก็บอกให้เราเอาสิ่งพวกนี้มาคิดงาน สิ่งนี้มันเริ่มทำ�ให้เราเห็น วิธีคิดงาน วิธีหาแรงบันดาลใจ ที่คนเขาบอกว่าแรงบันดาลใจ มันมี จริงๆ PIE : สไตล์งานกับฟอร์มที่เรียบง่าย

ด้วยความที่เราไม่มีเทคนิคดีไซน์อะไรมากมาย ความสามารถเรามี จำ�กัด เราเลยชอบใช้ฟอร์มง่ายๆ มาเล่าเรื่อง มันอาจจะเป็ความโชค ดีด้วย ที่การดีไซน์ที่เรียบง่ายมันไปได้ดีกับงานหนังสือ ซึ่งแรกๆ ที่ เราทำ�ฟอร์มพวกนี้ รู้สึกว่าเราไม่ประดิษฐ์กับมันเกินไป เพราะมีหลาย ครั้งที่พยายามประดิษฐ์มันมากๆ แล้วมันออกมาไม่เป็นตัวเรา เหมือน เราเล่นท่ายากเกินไป ซึ่งก็มีคนมาสัมภาษณ์แล้วบอกว่าเห็นงานแบบนี้ แล้วรู้ว่าเราเป็นคนทำ� เป็นสไตล์ของเราอะไรแบบนี้ จริงๆ เราอาจจะ แค่ชนิ มือ สายตาเราคุน้ เคยกับฟอร์มแบบนี้ แล้วก็คดิ ว่าถ้าเราสามารถ สื่อสารเล่าเรื่องด้วยอะไรที่เรียบง่ายมันน่าจะดี เหมือนรูปหัวใจที่คน ใช้เยอะๆ ที่พอมาอยู่กับตัว I N Y ก็กลายเป็นโลโก้ I Love New York โดยที่ฟอร์มรูปหัวใจเนี่ย มันก็มีความใหม่ขึ้น อยู่ที่เราจะหยิบฟอร์ม ตัวนั้นไปอยู่ที่ปริบทไหน อย่างโลโก้ Green Peace ตัวล่าสุดที่เป็นสี เขียวไล่ไปสีดำ� เราชอบวิธีคิดแบบนี้

118


119


120


121


122


PIE : ขั้นตอนการคิด การออกแบบ

มันต้องอ่านก่อนนะ จะมากจะน้อยก็แล้วแต่ ด้วย ความทีห่ นังสือทีเ่ ราทำ�มันมีหลายแนว เนือ้ หาหนัก มากๆ อย่างแนวเศรษฐศาสตร์ เราก็อ่านไม่ไหว เราก็ใช้วิธีสื่อสารกับบรรณาธิการ บางทีก็ให้เขา เขียนบทย่อให้ แล้วเราก็มาอ่านตีความเอา แต่มัน ก็จะต่างกับแนวเรื่องสั้นหรือนิยาย แนวนี้ต้องอ่าน อย่างเดียว เพราะบางทีสิ่งที่เป็น Key ของเรื่อง มันอาจจะอยู่ในบทสุดท้ายก็ได้ เรามองว่าหนังสือ คือสินค้าอย่างหนึ่งนะ สินค้าที่คนซื้อมีเวลาให้กับ มันมากพอสมควร ฉะนั้นเราจะหลอกคนอ่าน ไม่ได้เลย แล้วคนอ่านหนังสือเขาจะมีภาพในหัว มีจินตนาการของเขาเองด้วย ถ้าดีไซน์ของเราหลุด จากคนอ่านมากเกินไปมันก็ไม่ดี ถึงคนเราจะคิด อะไรไม่เหมือนกัน แต่เราว่ามันก็มีอะไรบางอย่าง ที่ใกล้เคียงกันบ้าง เราเลยต้องใช้เวลาในการดีไซน์ พอสมควรเพื่อจะหาสิ่งนั้นออกมา มีคนชอบถาม ว่าการดีไซน์หนังสือให้ดีทำ�ยังไง อันนี้เราไม่รู้นะ แต่เราว่าทำ�ให้พอดี อันนี้ยากกว่า ยิ่งในยุคนี้ที่เด็ก เห็นงานดีไซน์สวยๆ เยอะ ทำ�งานได้สวยขึ้น ดีขึ้น เราว่าหลายๆ คนมาทำ�หนังสือ มาออกแบบเขา 123

ก็สามารถทำ�ออกมาได้สวยนะ แต่สิ่งที่ยากขึ้นคือ การทำ�งานให้พอดีกับโจทย์ พอดีกับตัวเนื้อหาของ หนังสือเล่มนั้นๆ PIE : พี่เป็นคนละเอียดมาก

เพราะตอนแรกๆ เราพยายามมาก ให้เวลากับมันเยอะ เลยทำ�อะไรนานๆ ละเอียดๆ ได้ ทำ�งานจับจดได้ เมื่อเป็นแบบนี้เวลามีเด็กมาขอฝึกงาน เราก็ไม่ค่อย อยากจะรับ เพราะน้องๆ ที่เข้ามาก็อยากทำ�งาน สวยๆ ปกเท่ๆ แต่งานหนังสือจริงๆ มันเริ่มจาก การเคาะคำ� การเว้นเข้าสัน ตัดตก ขนาดตัวหนังสือ ต้องทำ� Lay-Out ที่น่าเบื่อๆ ก่อน เคยรับมาเขามา นั่งทำ�อะไรแบบนี้เขาก็ไม่มีความรู้ แล้วก็ต้องอ่าน เป็น ไม่ต้องชอบอ่านหนังสือก็ได้ แต่ต้องอ่านเป็น PIE : การทำ�งานกับนักเขียน

เราก็ศึกษาตัวนักเขียนเยอะ คุยกับเขา พยายาม หาความเป็นเขา ซึ่งถ้าเราหยิบคาแรกเตอร์ของนัก เขียนคนนั้นๆ มาลงในงานได้มันจะทำ�ให้หนังสือ มีความชัดเจนขึ้น นักเขียนที่ทำ�งานด้วยกันบ่อยๆ เราก็จะรู้สไตล์ของเขาในระดับหนึ่ง ว่าเขาชอบแบบ


ไหนแต่เราก็จะมีระยะห่างด้วย โดยให้ บ.ก. คั่นกลาง เพราะบางที นักเขียนเขาอยู่กับงานเขียนนั้นมานาน อาจจะเป็นปีๆ เขาก็จะมี ภาพในหัวค่อนข้างชัด ว่าอยากได้ดีไซน์ยังไง ปกเป็นแบบไหน แต่ เราคิดว่ามันเป็นหน้าที่ของเรา เลยต้องระวังเรื่องนี้ ยิ่งลูกค้าใหม่ๆ ที่มาทำ�งานกับเรา จะต้องคุยกับเขาเยอะเป็นพิเศษ ต้องดูว่าสิ่งที่เขา ต้องการตรงกับวิธีของเราหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าเราอีโก้นะ แต่งานบาง อย่างเราก็ทำ�ไม่เป็น งานบางอย่างสายตาเราจะมองไม่เห็น 124


PIE : ออกแบบโดยคิดถึงการตลาดแค่ไหน

เราไม่ค่อยได้มองเรื่องนี้นะ เราจะคิดเรื่องความ สวย ทำ�ยังไงให้มันสนุก ในตอนแรกทุกคนอาจ จะคิดแหละว่าอยากให้หนังสือขายดี แต่พอ ทำ�งานกันสักพัก นักเขียนก็อยากได้ปกที่สวย ปกทีเ่ ขาชอบ เราก็อยากได้ปกทีด่ ี โชคดีทว่ี งการ หนังสือคนมันน้อย ไม่ค่อยมีเรื่องการตลาดมาก เหมือนงานออกแบบสายอื่น เลยเน้นที่ความ ชอบกันมากกว่า 125


PIE : การทำ�งานน้อยๆ คนอาจจะมองว่าไม่มีอะไร

ในสายอื่นเราไม่แน่ใจนะ แต่ในงานหนังสือการออกแบบ จะมากหรือน้อยมันก็ปกปิดเรื่องความคิดในตัวงานไม่ได้ มูลค่าทางความคิดมันไม่ใช้เรื่องปริมาณ ไม่ใช่ว่าทำ�ใน ปริมาณเยอะแล้วจะมีคุณค่ามากกว่าหรืองานแบบน้อยๆ จะมีคุณค่าน้อยกว่า คนที่ทำ�งานกับเราเขาจะเห็นอยู่ว่า เราใช้เวลากับมันมาก คิดกับมันมาก เพราะเราเชื่อใน ไอเดียแรก มันเปลี่ยนอยู่ตลอด บางทีตอนเก็บไฟล์แล้ว มือไปโดนค่าสีมันเปลี่ยน เราก็เอ๊ะ สีนี้มันลงตัวกว่า หรือ ที่เราทำ�ปกสามก๊กเราใช้ฟอร์มของไม้ไผ่มาเรียง เราส่ง ไฟล์ให้ลูกค้าเสร็จก็มานั่งลบจนเหลือไม่ไผ่อันเดียวแล้วมัน สวย เราก็ลองมาปรับดู เราว่าความน้อยที่ออกมามันผ่าน กระบวนการคิดที่เยอะมาแล้วทั้งนั้นแหละ ผลงานแบบที่ ลูกค้าไม่เลือก แบบที่ดีไซเนอร์เองไม่ได้เสนอออกไป เรา ว่ามันเยอะนะ แต่คนอาจจะไม่ได้เห็นมันแค่นั้นเอง และ การทำ�ปกแบบน้อยๆ เนี่ย คือเราพยายามจะเหลือพื้นที่ บางอย่างให้คนอ่านได้คิด

126


127


PIE : ดูพี่จะชอบงานญี่ปุ่น

เห็นงานญี่ปุ่นแล้วเราเก็ต เราเข้าใจ ที่เข้าใจคือ ไม่ใช่เราเก่งนะ คือเราชอบ เราทำ�ได้ ทำ�น้อยๆ แบบนี้ วิธีการทำ�งานคนญี่ปุ่นเขาละเอียดอ่อน เขาให้ความสำ�คัญกับวิธีคิดเยอะมาก ประเทศ เขามีเซ็นต์ในการดีไซน์สูง ไม่ใช่แค่เรื่องภาพ แต่ เขาเข้าใจเรื่องมนุษย์ เรื่องการใช้งาน ไปญี่ปุ่น เราชอบดูนิตยสารนะ มันสนุก ส่วนหนังสือเราไม่ เข้าใจ มันมีเส้นแบ่งเรื่องภาษา เรื่องภาษามันมีผล กับหนังสือนะ อย่างปกหนังสือ ถ้าเขียนเป็นภาษา อาหรับเราก็จะสื่อสารกับหนังสือนั้นไม่ได้ มันเป็น เรื่องการอ่าน การสื่อสารด้วย ไม่จำ�เป็นต้องบอก หมด เราสามารถจัดความสำ�คัญของมันได้ แบ่ง สัดส่วนของมันให้พอดี เราบอกลูกค้าตลอดว่า คนอ่านมองปกโดยรวม ไม่ได้มองที่ชื่อหนังสือ มันใหญ่หรือชื่อนักเขียนใหญ่ เขามองภาพรวมถ้า ภาพรวมดีเขาจะเข้ามาเอง แล้วสิ่งที่เราจะบอก เอาไว้ด้านหลังก็ได้ ให้เขาเดินเข้ามาดูก่อน PIE : ช่วงนี้พี่ทำ�ปกหนังสือไปกี่ปกแล้ว

เฉพาะเดือนนี้กับเดือนที่แล้ว ก่อนงานสัปดาห์ หนังสือก็ประมาณ 30 ปก

ใช้งานดีๆ รู้สึกงานสถาปัตกรรมมันเปลี่ยนชีวิต ของคนได้ เปลี่ยนชุมชนได้ วันหนึ่งเราไปรอดูสี ที่โรงพิมพ์ นั่งอ่านนิตยสารเจอคอลัมน์ที่พี่ยรรยง บุญ-หลง เขียนเรื่องสถาปัตฯ เราติดต่อไปเลย ว่าอยากรวมเล่มงานเขียนของพี่เขา PIE : พี่ทำ�งานบรรณาธิการด้วย

เรายังไม่ได้ทำ�เยอะนะ ทำ�เฉพาะเนื้อหาที่เรา อยากทำ� เราว่า บ.ก. เป็นยังไงหนังสือก็เป็นอย่างนัน้ มันจะสะท้อนตัวตนของ บ.ก. คนนั้นออกมา ตอน ที่ทำ�หนังสือ เราก็ชอบเรื่องประวัติศาสตร์ งาน ออกแบบ งานสถาปัตฯ แล้วเราว่าการทำ�งาน หลายอย่างมันน่าสนใจ เราได้ทำ�ทั้งงานออกแบบ ทั้งงาน บ.ก. ความรู้ทางด้านออกแบบก็มาช่วยให้ หนังสือทำ�งานมากขึ้น น่าอ่านมากขึ้น แต่งาน บ.ก. ค่อนข้างเหนื่อย เราต้องหาข้อมูลเยอะ เพราะคนอ่านเดี๋ยวนี้เขาสามารถหาข้อมูลได้ เรา ต้องรู้จริง เวลานักเขียนส่งงานมาให้ เราต้องมา อ่านดูว่าตรงไหน เช็คให้ถูกต้อง PIE : อนาคตข้างหน้า

เรายังสนุกกับงานหนังสืออยู่ สนุกกับงานออกแบบ ทำ�มานานจนคนเริ่มรู้ว่ามีคนทำ�อาชีพนักออกแบบ PIE : งานอื่นๆ ที่พี่อยากทำ�นอกจากงานหนังสือ ปกหนังสือ เพราะสมัยก่อนคนยังไม่รู้จักเท่าไหร่ เพิ่งมาเจอเหมือนกันว่าเราอยากทำ�งานสถาปัตฯ ซึ่งเราก็ยังโชคดีที่เลือกงานได้บ้าง ได้ทำ�งานที่เรา งานออกแบบบ้านออกแบบอาคาร ชอบบ้านญี่ปุ่น โอเค อนาคตคงพยายามรักษาตัวงานให้ดีขึ้นไป เล็กๆ ที่มีพื้นที่ไม่มาก ที่เขาออกแบบฟังก์ชั่นการ เรื่อยๆ 128


129


PIE : สิ่งสำ�คัญในการออกแบบปกหนังสือ

ต้องเข้าใจธรรมชาติของงานก่อน งานทุกชนิด มีธรรมชาติของมัน อย่างงานปกซีดีอาจจะต้อง ฟังเพลง คุยกับศิลปิน งานโปรดักส์อาจจะต้อง รู้เรื่องการใช้งานของสิ่งนั้น เข้าใจคนที่เราจะ สือ่ สาร ยิง่ ในยุคนีด้ ว้ ยสือ่ ต่างๆ เด็กจะเห็นงาน ที่ประสบความสำ�เร็จแล้วเยอะ เห็นงานสวยๆ เยอะ แต่ต้องเรียนรู้ด้วยว่าศิลปินเหล่านั้นเขา ก็ผ่านอะไรมาเยอะพอสมควร งานเขาถึงเป็น

แบบนั้น กว่าจะหาตัวเอง เจอลายเส้นของ ตัวเอง มันเจอปัญหาและใช้เวลามาเยอะ ฉะนั้นต้องเข้าใจเรื่องพื้นฐานของสิ่งนั้น ต้องมี ความรับผิดชอบ ทำ�งานหนัก เข้าใจคนอ่าน งานมันไม่ได้ตัดสินที่สวยหรือไม่สวยอย่างเดียว อย่างหนังสือที่เขาเขียนเรื่องละครช่องสาม คน ซื้อเขาก็อยากเห็นหน้าณเดชบนปก เราก็ไม่ควร ไปว่าเขาว่าหนังสือไม่สวย มันคือการสื่อสาร อย่างหนึ่ง 130


www.facebook.com/Kornmaipol

131


PIE TEAM : 080 233 5492, 086 918 6216 www.pieeveryday.com facebook.com/piemagazine2013 pieonlinemag@gmail.com 100/99 chaiyapruk village, soi 55 ,Sukapibal 5 O-ngoen ,Saimai ,Bangkok 10220

SELF PUBLISHING PROJECT BY PIEONLINE MAGAZINE www.facebook.com/PIEZINE

104


105


See You Soon 106


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.