05 MBA Connected

Page 1

คิดนอกกรอบแบบผู้ชายชื่อ “ตัน”

Biz on the Move สูตรลับความสำ�เร็จตามแบบฉบับ “แม็กนั่ม”

Logistics Intelligence โลจิสติกส์ 3 ประเด็นสำ�หรับประเทศไทย เพื่อเตรียมตัวขึ้นชกในเวที AEC HR Focus ลายผิววิทยา : เครื่องมือเพื่อการพัฒนาผู้บริหาร


Business System Development Program หลักสูตรเพ�อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบงานธุรกิจ

หลักสูตรระยะสั้นที่สรางผูเชี่ยวชาญในการออกแบบและพัฒนา ระบบงานธุรกิจบนพื้นฐานของการบูรณาการดานทรัพยากร บุคคล เทคโนโลยี และกระบวนการทางธุรกิจเขาดวยกันอยาง กลมกลืน --------------------------------------------------------------------ทักษะสำคัญทีอ่ งคกรทุกระดับตองมี เพ�อความสำเร็จอยางยัง่ ยืน A key to optimize your margins with ZERO investment A short cut to build up corporate’s core capability

ระยะเวลาอบรม 3.5 เดือน รวม 15 สัปดาห เรียนสัปดาหละ 2 วัน (ทุกวันศุกร-เสาร) ตั้งแตเวลา 09.00 - 16.00 น. จำนวนผูเขาอบรม: ไมเกิน 45 ทาน คุณสมบัติผูสมัคร: สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีไมจำกัดสาขา มีประสบการณการทำงานไมนอยกวา 2 ป ควรมีความถนัดดานการใชคอมพิวเตอร ดานการคำนวณ และการส�อสาร

สมัครเขาอบรม หรือสอบถาม รายละเอียดหลักสูตร

An opportunity to develop a better process with professional mentors เหมาะสำหรับ:

ผูบริหารขององคกรทุกระดับ ผูจัดการโครงการ ผูจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ผูจัดการโรงงาน ผูจัดการบัญชีและการเงิน นักวิเคราะหระบบ พนักงานบริษัทที่ปรึกษาระบบงานธรุกิจ

สถาบันการจัดการปญญาภิวัฒน (PIM) 85/1 หมู 2 ถนนแจงวัฒนะ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท

0 2832 0413 bsd@pim.ac.th www.pim.ac.th/bsd

วิทยากรมากประสบการณจากองคกรชั้นนำ - SCG Accounting Services - SCG Logistics Management - KPMG Phoomchai Audit - Deloitte Touche Tohmatsu Jaiyos - Pantavanij - GoSoft (Thailand)

- CP ALL - Pricewaterhouse Coopers Thailand (PwC) - Ernst & Young International - IBM Thailand - Freewill Solutions - ผูเชี่ยวชาญจากสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ และนักวิชาการผูเชี่ยวชาญดานการพัฒนาระบบงาน จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ

Increase your profit with zero investment


โดยทัว่ ไปเรามักจะถูกครอบง�ำจากประสบการณ์เก่าๆ และกรอบความคิดแบบเดิมโดยไม่รู้ตัว และสิ่งแรก ที่จะสกัดกั้นความคิดของเราก็คือค�ำว่า “มันเป็นไป ไม่ได้” ครั้งหนึ่งคนทั้งโลกเชื่อว่าโลกแบน จนกระทั่ง มีคนๆ หนึ่งที่คิดต่างและมีความกล้าที่จะค้นหาความ จริง ครั้งหนึ่งคนทั้งโลกเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของ จักรวาล จนกระทั่งมีคนๆ หนึ่งกล้าที่จะเผยแนวคิด ที่ว่าดวงอาทิตย์ต่างหากที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล หลายครั้งเราถูกครอบง�ำด้วยความเชื่อเดิมๆ ครั้งหนึ่งไม่มีใครเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถขึ้นไปเดิน บนดวงจันทร์ได้ หรือจะมียานพาหนะที่สามารถพามนุษย์เดินทางรอบโลกได้ด้วยความเร็วเหนือ เสียงที่ 2,179 กิโลเมตร/ชั่วโมง สิ่งเหล่านี้เคยถูกกล่าวหาว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน ที่แน่ๆ ก็คือ ค�ำว่า “มันเป็นไปไม่ได้” คงจะไม่ได้อยู่ในความคิดของบุคคลที่คิดนอกกรอบแบบเดิมๆ และมีความกล้า เหล่านั้น

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อาจารย์พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รศ.ดร.สมโรตม์ โกมลวนิช คุณสยาม โชคสว่างวงศ์ รศ.ดร.เรืองศักดิ์ แก้วธรรมชัย คุณปาริชาต บัวขาว

คอลัมนิสต์กิตติมศักดิ์

ดร.เลิศชัย สุธรรมานนท์ ดร.กิตติ เศรษฐวรพันธุ์ อาจารย์วิเชศ คำ�บุญรัตน์

บรรณาธิการ

ดร.ภญ.ธัญญา สุพรประดิษฐ์ชัย

หัวหน้ากองบรรณาธิการ ธมลวรรณ อัศเวศน์

กองบรรณาธิการ

ภัทรกมล ภู่เจริญ ฑิมภ์พร พรตรีสัตย์ ภัททิรา ภาสะเตมีย์ วรานี จรูญลักษณ์คนา นฤมล ปันเป็ง อรุณรัตน์ มงคลพิทักษ์กุล

ศิลปกรรม

วาร์วี ชานวิทิตกุล เอกภพ สุขทอง จุฬนี ศิริขันธ์

“Intelligence trap” หรือหลุมพรางของความฉลาดที่ Dr. Edward de Bono ผู้ที่เป็นทั้งนักคิด นักเขียนและนักวิชาการที่ทั่วโลกยอมรับได้กล่าวไว้ คือความฉลาดเป็นหลุมพรางที่ท�ำให้คนไม่กล้า ที่จะคิดอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม เพราะคนที่มีประสบการณ์มากหรือมีความรู้มากจะเหมือนกับ น�้ำชาที่ล้นถ้วย คือมักจะเชื่อมั่นในความรู้และประสบการณ์แบบเดิมๆ ของตนเองและมักจะคิดหา ทางออกของปัญหาในรูปแบบเดิมๆ เพราะเคยใช้วิธีการเหล่านั้นแล้วสามารถแก้ปัญหาได้ ทั้งที่ ปัจจัยหรือตัวแปรที่ทำ� ให้เกิดปัญหาเดียวกันนั้นในปัจจุบันสลับซับซ้อนกว่ามากเมื่อเทียบกับในอดีต นิตยสาร MBA Connected by PIM ฉบับนี้ได้รับเกียรติอย่างสูงจาก คุณตัน ภาสกรนที กรรมการ ผู้อ�ำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จ�ำกัด นักธุรกิจแนวหน้าของไทยซึ่งมีแนวทางในการด�ำเนินธุรกิจ ที่เป็นแบบฉบับของตนเอง และเป็นผู้ที่ท�ำให้เชื่อมั่นได้ว่าความกล้าที่จะคิดต่างหรือคิดนอกกรอบ (อย่างสร้างสรรค์) ไม่ใช่เรื่องเฉพาะส�ำหรับนักโฆษณาที่ต้องสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เท่านั้น แต่ความกล้าที่จะคิดนอกกรอบจ�ำเป็นมากส�ำหรับทุกคน และจ�ำเป็นมากอย่างที่สุดส�ำหรับ สังคมไทยที่ก�ำลังเผชิญกับปัญหาเรื้อรังอย่างเช่นในปัจจุบัน ในห้องเรียนทุกค�ำถามมักจะมีคำ� ตอบทีถ่ กู เพียงค�ำตอบเดียว แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ถ้าต้องการ หาเพียงค�ำตอบเดียวอาจเป็นการติดอยู่กับกรอบความคิดเดิมๆ เพราะค�ำตอบที่ถูกอาจมีได้มากกว่า 1 ค�ำตอบ ในการเดินทางไปเชียงใหม่เราอาจใช้เวลา 1 ชั่วโมง 1 วัน หรือ 1 เดือน ขึ้นอยู่กับพาหนะ และเส้นทางการเดินทางที่เราเลือก เคยมีคนถามเล่นๆ ว่า “ถ้าคุณมีเงิน 10 บาท แล้วซื้อขนมไป 3 บาท คุณจะได้รับเงินทอนเท่าไร” โดยทั่วไปเราคงตอบเหมือนกันว่าได้รับเงินทอน 7 บาท แต่ถ้า ในความเป็นจริงเรามีเหรียญห้าบาท 2 เหรียญ ก็จะได้เงินทอน 2 บาท และหากเรามีเหรียญหนึ่ง บาท 10 เหรียญ ก็คงจะไม่ได้รับเงินทอนเลยเพราะเราจะจ่ายเงินพอดี คงไม่แปลกที่จะกล่าวว่าโลก ในห้องเรียนกับโลกแห่งความเป็นจริงนั้นแตกต่างกัน ขอปิดท้ายบทบรรณาธิการฉบับนี้ด้วยค�ำกล่าวของ Dr. Edward de Bono ที่ว่า “If you always think the way you always thought, you’ll always get what you always got—the same old ideas.” ถ้าคุณยังใช้วิธีคิดในแบบเดิมๆ อย่างที่คุณเคยคิด ผลลัพธ์ก็คือคุณจะได้แต่ ไอเดียแบบเดิมๆ อย่างที่คุณเคยได้ ดร.ภญ.ธัญญา สุพรประดิษฐ์ชัย บรรณาธิการ

3


สัมมนา ยกเครื่องโลจิสติกส์ ไทยสู่การ แข่งขันระดับอาเซียน สัมมนา ทิศทางค้าปลีก 56 และนโยบายด้าน การบริหารสินค้า

ผ่านพ้นไปพร้อมกับความยิ่งใหญ่ ตื่นตาตื่นใจกับบรรดาบูธสินค้า คับคั่งที่ร่วมกันมาแจก ชง ชิม กันอย่างเต็มที่ในงานสัมมนาใหญ่ “ทิศทางค้าปลีก 56 และนโยบายด้านการบริหารสินค้า” จัดโดย บริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) ร่วมกับสถาบันการจัดการ ปัญญาภิวัฒน์ (PIM) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2555 ณ อาคาร หอประชุม PIM โดยมี คุณปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ และคุณยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) ให้เกียรติมาเสวนาว่าด้วยเรื่อง การสร้ า งสิ น ค้ า Private Brand การปรั บ ตั ว ขยายตลาด E-commerce และการปรับรูปแบบของร้านและการจัดการ สินค้าตามพฤติกรรมผู้บริโภค โดยบรรยากาศภายในงานเต็มไป ด้วยความสนุกสนาน แฝงไปด้วยความรู้ โดยมีผู้ร่วมงานเนืองแน่น กว่า 800 คน

4

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ร่วมกับศูนย์นวัตกรรมโลจิสติกส์ จัดงานเสวนาพิเศษ “Boost Thai Logistics Services to ASEAN Scale ยกเครื่องโลจิสติกส์ ไทยสู่การแข่งขันระดับอาเซียน” เมื่อวันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม 2555 ณ ห้องกมลร�ำลึก อาคารธาราสาทร ถนนสาทร โดยมีกูรูใหญ่แห่ง วงการโลจิสติกส์ 2 ท่านให้เกียรติมาเป็นวิทยากร ท่านแรกคือ ดร.ธนิตย์ โสรัตน์ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท วี-เซิร์ฟ และรอง ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มาให้แนวคิดด้านการ พัฒนาแรงงานฝีมือ พร้อมทั้งการบริการด้านโลจิสติกส์ ทั้งภายใน ประเทศและต่ า งประเทศ เพื่ อ เพิ่ ม ศั ก ยภาพให้ กั บ ธุ ร กิ จ ด้ า น โลจิสติกส์ของประเทศไทย วิทยากรอีกท่านได้แก่ อาจารย์พิษณุ เหรียญมหาสาร อดีตรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ และทีป่ รึกษาด้าน การศึกษา บริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) แนะน�ำลู่ทางการท�ำ ธุ ร กิ จ ในประเทศจี น เพื่ อ สร้ า งความมั่ น ใจให้ ผู ้ ป ระกอบการ ด้านโลจิสติกส์ และกล่าวถึงปัจจัยหลักๆ 3 ด้านในการท�ำธุรกิจ เพื่อต้อนรับ AEC คือ 1. ด้านการค้า 2. ด้านการเชื่อมโยง 3. ด้าน การผลิต โดยระหว่างการเสวนามีการซักถามประเด็นต่างๆ อย่าง เข้มข้น จนแทบไม่อยากจะกลับกันเลยทีเดียว


Panyapiwat MBA ตอกย�้ำความแตกต่างด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการน�ำประสบการณ์จริงจากผู้บริหารจริง มาให้ความรู้แก่เหล่านักศึกษาในทุกๆ วิชาเรียน ซึ่งวิทยากรพิเศษทุกท่านล้วนแล้วแต่เป็นผู้บริหารระดับสูงจากหลากหลาย สาขาธุรกิจ ให้เกียรติมาถ่ายทอดประสบการณ์และความรูห้ ลากหลายแง่มมุ โดยทางหสักสูตรยังได้เปิดโอกาสให้บคุ คลภายนอก ได้เข้า sit-in ร่วมฟังการบรรยายได้อีกด้วย 19 สิงหาคม 55

16 กันยายน 55

Senior Vice President บริษัท เบอรลี่ ยุคเกอร จำกัด (มหาชน)

Regional Director-East Asia บริษัท เมอรริซันท (ประเทศไทย) จำกัด หัวขอ: Business Sustainability and Brand Building 13 ตุลาคม 55

คุณอธิคม รุงภูวภัทร

หัวขอ: การจัดการโลจิสติกสในธุรกิจคาปลีก

19 สิงหาคม 55

คุณนันทนัช พิชญสกุล

ผูจัดการฝายการตลาด UPS Parcel Delivery Service Limited หัวขอ: Trading Border 15 กันยายน 55

คุณชัยสุชา โชติพฤกษ

MBA in Retail Business Management and Logistics Management รุนพี่ ป 2

คุณเสกสรรค ดารากร ณ อยุธยา ผูอำนวยการพัฒนาเครือขายจัดจำหนาย บริษัท เอสซีจี เน็ตเวิรค แมเนจเมนท จำกัด

หัวขอ: บทบาทหนาที่ของผูจัดการยุคใหมและแนวทาง สูความสำเร็จในการบริหารงานในธุรกิจคาปลีก

13 ตุลาคม 55

คุณธิติ โตวิวัฒน

คุณกฤตพล คงประสม

กรรมการผูจัดการใหญ บริษัท ธรรมสรณ จำกัด หัวขอ: Entrepreneurship “กวาจะมาเปน ธรรมสรณ”

กรรมการผูจัดการ บริษัท โคขุน โพนยางคำ จำกัด หัวขอ: Entrepreneurship “กวาจะมาเปนโคขุนโพนยางคำ”

28 กรกฎาคม 55

8 กันยายน 55

ผูจัดการทั่วไป บริษัท ซีพี ออลล จำกัด (มหาชน)

Chief Commercial Officer บริษัท บีทาเกน จำกัด

คุณสกุล สุขสวัสดิ์

คุณอนงค ศรีสุวรรณศร

หัวขอ: การทำสื่อประชาสัมพันธใหตรงใจ ผูบริโภค

1 กันยายน 55

ดร.กฤษฎา เสกตระกูล

ผูชวยกรรมการผูอำนวยการ สถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ตลาดหลักทรัพยแหงประเทศไทย หัวขอ: การจัดทำงบประมาณการเงิน

2 กันยายน 55

คุณกมล ลิ้มประเสริฐ

Organization Development Manager SCG Cement Co., Ltd. หัวขอ: ภาวะผูนำกับการทำงานเปนทีม

MBA in Retail Business Management and Logistics Management ป 1

หัวขอ: การลงทุนและทำตลาดใน ประเทศเวียดนาม

8 กันยายน 55

คุณสุรินทร ทองคำ

กรรมการผูจัดการ บริษัท ออนไลนมายมีเดีย จำกัด หัวขอ: Digital Marketing 8 กันยายน 55

คุณพงศกร สัจจิพานนท CP Intertrade Co., Ltd.

หัวขอ: ธุรกิจคาขาวตางประเทศของ บริษัท CP Intertrade Co., Ltd.

5


9 กันยายน 55

8 กันยายน 55

ผศ.ดร.สรายุทธ นาทะพันธ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ที่ปรึกษาดาน Financial Investment หัวขอ: ประโยชนจากการระดมทุน ในตลาดหลักทรัพย 9 กันยายน 55

คุณนิทัศน อรุณทิพยไพฑูรย

Senior Vice President Human Resource and Loss Prevention บริษัท โฮม โปรดักส เซ็นเตอร จำกัด (มหาชน) หัวขอ: สถานการณแรงงานไทยในธุรกิจคาปลีก

MBA in Retail Business Management and Logistics Management ป 1

คุณนาฎฤดี อาจหาญวงศ

Human Resource Director Unilever Thai Holdings Limited หัวขอ: HR Trends 2012-2013 9 กันยายน 55

คุณสุพล วงศรุงโรจนกิจ

ที่ปรึกษาดานการตลาด บริษัท กิมจั๊ว กรุป จำกัด หัวขอ: Channel Distribution

28 กรกฎาคม 55

ดร.ศิริลักษณ เมฆสังข ที่ปรึกษา บริษัท ซีพี ออลล จำกัด (มหาชน) หัวขอ: เครื่องมือและการเลือกใชเพื่อ การพัฒนาองคการ

18 สิงหาคม 55

คุณเกสินี ตันประเสริฐ ที่ปรึกษาดานการบริหารการเปลี่ยนแปลง และนักพัฒนาองคการ

28 กรกฎาคม 55

คุณเกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร

หัวขอ: Change & Rebranding

กรรมการผูจัดการ บริษัท อำพลฟูดส โพรเซสซิ่ง จำกัด

หัวขอ: การพัฒนาองคกร การเปลี่ยนแปลงในบริบท โลกดวยการสรางวัฒนธรรมและบริหาร ความเปลี่ยนแปลง

4 สิงหาคม 55

คุณปกรณพงษ อรรถบท ผูอำนวยการพัฒนาองคกร บริษัท ไทยน้ำทิพย จำกัด

หัวขอ: การบริหารการเปลี่ยนแปลงผานการสงเสริม คานิยมองคกร กรณีศึกษาไทยน้ำทิพย

4 สิงหาคม 55

คุณศราวดี แสงสุข

ผูจัดการสำนักบริหารคุณภาพ บริษัท เจริญโภคภัณฑ จำกัด (มหาชน)

หัวขอ: การพัฒนาองคการและบริหารความ เปลี่ยนแปลงดวย TQA, TQM, Sigma

5 สิงหาคม 55

ดร.คณาภรณ กัมพลกัญจนา

18 สิงหาคม 55

MBA in Strategic Human Resource and Organization Management

คุณสุภาพร จันทรจำเริญ

ผูอำนวยการทรัพยากรบุคคล บริษัท เอสซีจี เคมิคอลล จำกัด หัวขอ: พัฒนาขีดความสามารถในการแขงขันสูระดับ ภูมิภาค ดวยการสรางนวัตกรรมแบบ SCG

25 สิงหาคม 55

คุณวิธพล เจาะจิตต

กรรมการผูจัดการ บริษัท เมอรเซอร (ประเทศไทย) จำกัด หัวขอ: แนวโนมการจัดการทรัพยากรมนุษย สูประชาคมอาเซียนและโลกาภิวัฒน

6 ตุลาคม 55

คุณศักดิ์ดา หวานแกว

Administration & Human Resources Manager

TIPS Co., Ltd.

หัวขอ: ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ และบริหารทรัพยากรมนุษย

Assistant Manager, Corporate Planning Section

Thai Bridgestone Co., Ltd. หัวขอ: International HR in Global Company

บุคคลภายนอกสนใจเข้าร่วม sit-in ในห้องเรียน MBA ลงทะเบียนได้ที่ คุณอรุณรัตน์ มงคลพิทักษ์กุล โทร. 02 832 0471 หรือ arunratmon@pim.ac.th 6


วันที่ 24 สิงหาคม 2555

คุณมุกดา ไพรัชเวทย์ กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจอาหาร และทีมผู้บริหาร จากบริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ประเทศไทย) จำ�กัด

วันที่ 30 สิงหาคม 2555

คุณบุญฤทธิ์ ศรีอบเชย Chief Finance Office (Senior Vice President) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เอ็นเตอร์ ไพรส์ (ไต้หวัน) จำ�กัด

และ Ph.D. Adam Goh, Professor มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

วันที่ 5 กันยายน 2555

ดร.อุษณีย์ เจริญพิพัฒน์ผล ที่ปรึกษาพิเศษประจำ�สำ�นักงานประเทศไทย ของมหาวิทยาลัยริทซุเมคันเอเชียแปซิฟิก (APU) ประเทศญี่ปุ่น

วันที่ 28 กันยายน 2555

ทีมผู้บริหารจาก บริษัท ไทยอินตัน จำ�กัด (ผลิตภัณฑ์เม็ดอมอินตันนู้ดมินท์)

และ ทีมผูบ้ ริหารจาก บริษทั นมสดแดรีฟ ่ าร์ม จำ�กัด (ผลิตภัณฑ์ นมอัดเม็ด “Dairy Farm”)

วันที่ 19 ตุลาคม 2555

ทีมผู้บริหารจาก บริษัท เรดดี้แพลนเน็ต จำ�กัด www.readyplanet.com

7


ก้าวสู่ความเป็น “มืออาชีพ” ด้วยการเรียนรู้จาก “มืออาชีพตัวจริง” Create professionals by professionals

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับห้องเรียน MBA

ในแบบ “Real World Practice – Oriented” เรียนผ่าน Current Business Issues ที่เชื่อมโยงทฤษฎีสู่การแก้ปัญหาธุรกิจในภาคปฏิบัติ โอกาสในการสร้างเครือข่ายเพื่อต่อยอดความร่วมมือทางธุรกิจ เรียนรู้จากคณาจารย์ชั้นนำ� และผู้บริหารมืออาชีพ

เปิดรับสมัครนักศึกษา

และผู้ที่ต้องการสอบชิงทุนการศึกษาตั้งแต่บัดนี้ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

โทรศัพท์ : 02 832 0280 โทรศัพท์มือถือ : 081 481 7317 E-mail : mba@pim.ac.th website : www.pim.ac.th/mba 85/1 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 M.B.A. in Strategic

Human Resource and Organization Management

สู่เส้นชัยความสำ�เร็จ ด้วยกลยุทธ์การบริหารทีมงานและองค์กรอย่างมืออาชีพ

M.B.A. in Business

Administration Logistics Management

เกาะติดกระแสโลจิสติกส์ เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจอย่างทันท่วงที

M.B.A. in Business

Administration Retail Business Management รู้จริง ทำ�จริง จากมืออาชีพตัวจริง


คิดนอกกรอบ แบบผู้ชายชื่อ

“ตัน”

ถ้า

พูดถึงนักธุรกิจที่เก่ง กล้า และขึ้นชื่อเรื่องการ มีแนวทางท�ำธุรกิจเป็นของตัวเอง เชื่อว่าหนึ่งใน ชื่ อ ที่ แ ล่ น เข้ า มาในความคิ ด ของผู ้ อ ่ า นต้ อ งมี ชื่อของ คุณตัน ภาสกรนที อย่างแน่นอน Cover Story ฉบับนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อ�ำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จ�ำกัด นักธุรกิจ ผู้เรียกเสียงฮือฮาได้แทบทุกความเคลื่อนไหว ด้วยลีลาและ ชั้นเชิงการท�ำธุรกิจที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง 9


ฉีกกรอบการตลาดแบบเดิมๆ คุณตันกล่าวว่าเป็นคนทีช่ อบท�ำอะไรแตกต่าง เพราะเชือ่ ว่าบนโลก นี้ ไม่มีอะไรผิดไม่มีอะไรถูก เกิดมาหนึ่งชีวิต เราต้องลองต้องกล้าที่ จะแตกต่าง และความเป็นคนกล้าได้กล้าเสีย แนวทางการท�ำธุรกิจ จึงมาจาก Seven Senses ล้วนๆ ยกตัวอย่างธุรกิจเครื่องดื่ม เป็น ที่รู้กันดีว่าคุณตันเป็นผู้บุกเบิกตลาดชาเขียวในประเทศไทย แต่ พยายามสร้างความแปลกใหม่ให้ตลาดชาเขียวด้วยการเพิม่ รสชาติ ใหม่ๆ เช่น ชาเขียวผสมเก๊กฮวย รวมถึงใช้แคมเปญทางการตลาด ที่ไม่ซ�้ำใคร เช่น ส่งฝาอิชิตันเพื่อร่วมลุ้นไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นกับ คุณตัน และคุณโน้ส อุดม แต้พานิช โดยเหตุผลทีเ่ ลือกคุณโน้ส อุดม แทนนักแสดงทีก่ ำ� ลังอยูใ่ นกระแสนิยม เพราะต้องการจะเน้นความ เป็นเพือ่ น อยากให้ลกู ค้าทีร่ ว่ มเดินทางไปกับอิชติ นั ได้รบั ความเป็น กันเอง และกลับมาด้วยรอยยิ้ม

นอกจากเครื่องดื่มชาเขียว ยังสร้างสินค้าใหม่ๆ อีกมากมาย เช่น เครือ่ งดืม่ น�ำ้ สมุนไพร Double Drink เครือ่ งดืม่ สมุนไพรทีท่ ำ� ให้ลมื ความรู้สึกเดิมๆ ว่าน�้ำสมุนไพรต้องขม ตรงกันข้าม Double Drink เป็นเครือ่ งดืม่ สมุนไพรทีอ่ ร่อย และได้ประโยชน์ เช่น น�ำ้ อัญชันผสม เบอร์รี่ มองเผินๆ อาจรู้สึกว่า 2 ส่วนผสมนี้ไม่น่าจะเข้ากันได้ แต่ สินค้าทุกตัวได้รบั ผลการตอบรับทีด่ เี กินคาด แม้แต่ธรุ กิจร้านอาหาร อย่างร้าน Tokiya เป็น Fusion Steak House ซึง่ ตกแต่งแบบญีป่ นุ่ ด้วยมุมมองว่าแม้แต่รา้ นอาหารจีนยุคใหม่กไ็ ม่ได้ตกแต่งด้วยสีแดง แล้ว ฉะนั้นร้านสเต๊กคงไม่จ�ำเป็นต้องตกแต่งแบบตะวันตกเช่นกัน สิ่งเหล่านี้สะท้อนแนวคิดการท�ำธุรกิจที่แตกต่าง ด้วยเหตุผลว่า เพราะโลกเปลี่ยนทุกวัน หากยึดติดอยู่กับกรอบเดิมๆ ก็จะไม่เกิด อะไรใหม่ๆ เราต้องรู้จักที่จะคิดนอกกรอบบ้าง

“ผมว่าเราต้องกล้าที่จะเสี่ยง ออกสินค้ามา 10 “เกิดเป็นคนต้องมีล้มบ้างเป็นธรรมดา แต่คน ตัว เจ๊งไป 9 ตัว เหลือรอดตัวเดียวก็ ไม่เป็นไร เราล้มแล้วต้องลุก ก่อนลุกต้องเก็บเกี่ยวให้ได้ อย่างน้อยได้ลอง จะได้รู้ว่าอะไรเวิร์ค” อะไรขึ้นมา” อีกหนึง่ สิง่ ทีถ่ อื เป็นกุญแจแห่งความส�ำเร็จคือการสร้างแบรนด์ คุณ ตันกล่าวว่าการสร้างแบรนด์เป็นสิง่ ส�ำคัญมาก ไม่ได้ให้ความส�ำคัญ กับการสร้างแบรนด์อชิ ติ นั ให้แข็งแรงแค่เพียงอย่างเดียว เพราะคุณ ตันเองถือเป็นตัวแทนของสิง่ ทีท่ ำ� อยู่ เมือ่ คิดถึงชาเขียวย่อมจะคิดถึง ความเป็นญี่ปุ่น และเมื่อคิดถึงญี่ปุ่นย่อมต้องคิดถึงคุณตัน เพราะ คุณตัน = ชาเขียว = ความเป็นญี่ปุ่น

นีค่ อื ค�ำพูดทีค่ ณ ุ ตันพร�ำ่ บอกตัวเองทุกครัง้ เวลาพบปัญหา หากย้อน ไปช่วงปลายปีที่แล้ว ชาวไทยต้องประสบกับปัญหามหาอุทกภัย อิชิตันเองก็หนีไม่พ้นภัยธรรมชาติครั้งนั้นเช่นกัน ซึ่งคุณตันบอกว่า วิกฤติครั้งนั้นท�ำให้เรียนรู้ว่า “มนุษย์เราใช้ธรรมชาติเยอะเกินไป ธรรมชาติเลยต้องเตือน” และวิกฤติครั้งนั้นท�ำให้ตระหนักว่า ธรรมชาติอยู่ได้และอยู่ได้อย่างดีหากไม่มีมนุษย์ แต่มนุษย์เองต่าง หากที่ไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากธรรมชาติ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ คุณตันริเริ่มสร้าง “ตันแลนด์ : ดินแดนแห่งสมดุล” ขึ้นมา ด้วย ชีวิต (ติด) คิดบวก กว่าจะมาถึงวันนี้ เส้นทางธุรกิจที่ไม่เคยโรยด้วยกลีบกุหลาบ ผ่าน งบลงทุนสูงถึง 30 ล้านบาท ด้วยความปรารถนาให้ทกุ คนตระหนัก วิกฤติมาก็หลายครั้ง ล้มๆ ลุกๆ มาก็หลายหน แต่ใจที่ไม่ยอมแพ้ ถึงความรุนแรงของวิกฤติธรรมชาติ ที่ต้องการความร่วมมือ แก้ไข เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ให้ทุกคนเคารพต่อธรรมชาติมากขึ้น ท�ำให้ผ่านวิกฤติ และยังผงาดอยู่ในวงการธุรกิจได้จนทุกวันนี้ 10


การสร้ า งตั น แลนด์ ท� ำ ให้ เ กิ ด ค� ำ ถามมากมายตามมา โดย เฉพาะค�ำถามว่าตันแลนด์จะคืน ทุนเมื่อไหร่ ค�ำตอบคือ “ไม่รู้” แม้ตอบไม่ได้ว่าตันแลนด์แห่งนี้ จะคื น ทุ น เมื่ อ ไหร่ แต่ นั่ น ไม่ ส�ำคัญ เพราะคุณตันมองว่าทุก สิ่งทุกอย่างที่ท�ำ สุดท้ายจะเห็น ผลของมันเอง ในวันนี้สิ่งที่คุณ ตันท�ำ คือต้องการให้ทุกคนได้ เรี ย นรู ้ ว ่ ามนุ ษ ย์ เศรษฐกิจ สังคม และ ธรรมชาติ จะอยู่ร่วมกันอย่างดีได้อย่างไร และมั่ น ใจว่ า ตั น แลนด์ จ ะสามารถสร้ า ง ความประทับใจให้กับทุกคนได้ แล้วเมื่อถึง วันนั้น ยอดขายและก�ำไรจะมาเอง นอกจากกลยุ ท ธ์ ก ารคิ ด นอกกรอบแล้ ว ความใฝ่รถู้ อื เป็นปัจจัยส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ประสบ ความส�ำเร็จในวันนี้ เพราะเรียนจบแค่ ม.3 จึงมีความเชื่อว่าความรู้ไม่ได้อยู่แค่ในต�ำรา คนเราเรียนรู้ได้จากสิ่งต่างๆ รอบตัว คนรอบข้าง บุคคลตัวอย่าง หนังสือ และสิ่งส�ำคัญที่สุดคือประสบการณ์ คุณตันเปรียบความรู้ กับหนังสือท�ำอาหาร “ต่อให้เราซื้อหนังสือท�ำอาหารจากเชฟที่เก่ง ที่สุด เลือกวัตถุดิบที่ดีที่สุด และท�ำอาหารตามสูตรทุกอย่าง แต่ อาหารที่ได้นั้นอาจจะไม่อร่อยเลยก็ได้ เพราะตัวเราเองนั้นขาด ประสบการณ์ สุดยอดของคนที่ประสบความส�ำเร็จนั้นมองด้วย สายตาไม่อาจเห็นได้ ต้องลงมือท�ำเอง ชั่วโมงบินเป็นสิ่งส�ำคัญ นั่น จึงเป็นเหตุผลที่ท�ำให้ค�ำว่า “เข้าใจ” แตกต่างกับค�ำว่า “ท�ำได้” และท�ำให้ค�ำว่า “ท�ำได้” กับค�ำว่า “ท�ำได้ดี” แตกต่างกัน”

จะพบว่ า ชี วิ ต เรานั้ น ดี ม ากแค่ ไหนแล้ ว ชี วิ ต คนเราควรจะ ด�ำเนินอย่างพอเพียง แต่ไม่ได้ หมายความว่ า พอเพี ย งอย่ า ง เดียวจะเพียงพอ คนเราต้องพอ มีและพอใจด้วย พอมีคือเมื่อ ชีวิตประสบปัญหา ต้องมีพอที่ จะใช้ และพอใจคือต้องมีความ สุขกับสิง่ ทีม่ ี โดยทัง้ หมดต้องอยู่ บนพื้นฐานของค�ำว่าพอเพียง

Work-Life Balance

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายท่านคงสงสัยว่า คุณตันมีวิธีการสร้างสมดุลชีวิตอย่างไร เพราะภาพคุ ้ น ตาคื อ ภาพที่ คุ ณ ตั น ท�ำงานหนัก ไม่ว่าจะเป็นการออกสินค้า ตัวใหม่ๆ ท�ำแคมเปญการตลาด ตลอด จนกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ทั้งที่บาง อย่างไม่ต้องลงมาด้วยตัวเองก็ได้ แต่เรา จะเห็นคุณตันทุกครั้ง ซึ่งคุณตันบอกว่า ไม่เคยรูส้ กึ เหนือ่ ยกับการท�ำงาน เพราะชอบท�ำงาน มองการท�ำงาน เป็นงานอดิเรกอย่างหนึง่ และโชคดีทที่ ำ� งานกับภรรยา จึงท�ำให้ไม่มี ปัญหาเรื่องไม่มีเวลาให้กัน แม้หลายคนบอกว่าสามีภรรยาไม่ควร ท�ำงานด้วยกัน แต่คุณตันพิสูจน์ให้เห็นว่าสามีภรรยานั้นสามารถ ท�ำงานด้วยกันได้ เช่นที่คุณตันและภรรยาท�ำงานร่วมกันมาตั้งแต่ ต้น แต่ทั้งนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของค�ำว่า “เข้าใจ” อย่าไปยึดติดว่า ในหนึ่งปีต้องไปเที่ยวด้วยกันกี่ครั้ง หรือต้องมีรูปแบบในการอยู่ ด้วยกันแบบไหน อยู่กันแบบง่ายๆ สบายๆ แต่เข้าใจกันเท่านั้นก็ เพียงพอ

เมื่อถามคุณตันว่า ชีวิตนี้ถือว่าประสบความส�ำเร็จแล้วหรือยัง เรา กุญแจสู่ความส�ำเร็จ ได้รับตอบโดยไม่ลังเลเลยว่า สิง่ ทีค่ ณ ุ ตันฝากถึงผูอ้ า่ นเรือ่ งการท�ำธุรกิจคืออย่ากลัวความล้มเหลว “ส�ำหรับคนที่จบ ม.3 ชีวิตนี้หวังแค่ว่าไม่มีหนี้ อย่าหวังจะรวยเร็ว ก้าวแรกในการท�ำธุรกิจคือก้าวที่ส�ำคัญที่สุด ก็รวยแล้ว เพราะฉะนั้นมาถึงจุดนี้ ผมถือว่าชีวิต คนที่ท�ำธุรกิจทุกคนต้องออกไปเจอ ไปล้ม ไปผิดพลาด เพราะตัว เรายังเล็ก หากวันหนึง่ ต้องล้มก็ยงั ล้มไม่แรง ทุกความส�ำเร็จของคน ผมเลยค�ำว่าประสบความส�ำเร็จแล้ว” เราล้วนมีขั้นตอน “เปรียบการท�ำธุรกิจเหมือนการทอดปลา จะ คุณตันบอกว่าเราไม่ควรเอาชีวิตไปเทียบกับใคร เพราะถ้ามัวแต่ ทอดปลาให้อร่อย ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่ เปรียบเทียบกับคนอืน่ มีเท่าไหร่กไ็ ม่พอ เปรียบว่าเราขับรถฮอนด้า ต้องเลือกปลาทีส่ ด น�ำ้ มันทีจ่ ะทอดต้องใหม่ ไฟทีจ่ ะใช้ตอ้ งร้อน แต่ แล้วมัวแต่มองแต่คนที่ขับเมอร์เซเดสเบนซ์ เราจะไม่มีทางมีความ ใจเราต้องห้ามร้อน เวลาทอดก็ห้ามพลิกไปพลิกมา เพราะไม่อย่าง สุข แต่ควรหันไปมองข้างหลัง แล้วจะพบคนที่ขับมอเตอร์ไซค์ คน นั้นสุดท้ายก็พัง” สรุปง่ายๆ คือการท�ำธุรกิจนั้นต้องใช้เวลากว่าจะ ที่เดินเท้าเปล่า หรือคนพิการที่ต้องการเพียงแค่จะเดินให้ได้ แล้ว ประสบความส�ำเร็จ และเวลาคือสิ่งส�ำคัญที่สุดในการท�ำธุรกิจ 11


สูตรลับความสำ�เร็จตามแบบฉบับ

“แม็กนั่ม”

ตลอดปี 2555 นี้ ปรากฏการณ์ที่เรียกว่าเป็นทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ คงหนีไม่พ้น ปรากฏการณ์ “แม็กนั่มฟีเวอร์” ไอศกรีมหมายเลข 1 ของโลก ที่สร้างกระแส แรงสั่น สะเทือน เป็นวงกว้างทั้งโลกออนไลน์ และสื่อต่างๆ กลายเป็นค�ำถามให้กับคนในแวดวง การตลาดว่าเกิดอะไรขึ้นกับ “แม็กนั่ม” ไอศกรีมแท่งละ 40 บาทแท่งนี้ ซึ่ง Biz on the move ฉบับนี้ เราได้รับเกียรติจากคุณสุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ รองประธานกรรมการ บริหาร กลุ่มธุรกิจอาหาร และไอศกรีม บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จ�ำกัด มาเล่า ถึงเบื้องหลังความส�ำเร็จอย่างถล่มทลายของไอศกรีม “แม็กนั่ม”

อะไรทีท่ �ำให้ “แม็กนัม่ ” สามารถปลุกกระแส จนกลายมาเป็นกรณีศึกษา

คุณสุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ รองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจอาหาร และไอศกรีม บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จ�ำกัด เริ่มต้น เล่าว่า “แม็กนั่มอยู่ในไทยมานาน แต่โจทย์ใหญ่ของแคมเปญ คือ ท�ำอย่างไรคนไทยจะหันมารักการกินไอศกรีมเพิ่มขึ้น การรีลอนช์ แม็กนั่มครั้งนี้ เราทุ่มเงินถึง 100 ล้านบาท ถือเป็นการจัดเต็มครั้งใหญ่” ซึ่งสาเหตุหลักที่ไอศกรีมแม็กนั่มสามารถสร้างปรากฏการณ์ “แมกนั่มฟีเวอร์” จนกลายเป็นกระแสฮือฮาได้นั้น มาจากสูตรการตลาด 5 ข้อ คือ

12


4. สร้างกระแสก่อนขายจริง

กลยุทธ์ใหม่ที่ยูนิลีเวอร์น�ำมาใช้เป็นครั้งแรก โดยใช้ดารา เฟซบุ๊ค อินสตาแกรม เป็นช่องทางสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคน อายุต�่ำกว่า 40 ปี คนท�ำงานรุ่นใหม่ และนักศึกษา เพื่อท�ำให้เกิด กระแสทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ ผลจากการสร้างกระแส ก่อนขายจริง ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน ถึง 22 มิถุนายน 2555 ซึ่ ง เป็ น วั น เปิ ด ตั ว สิ น ค้ า อย่างเป็นทางการ เกิดเป็น ปรากฏการณ์ “แม็กนั่ม ฟีเวอร์” ทัง้ ในโลกออนไลน์ และออฟไลน์ ส่ ง ผลให้ ยอดขายเดื อ นแรกถล่ ม ทลาย “1 เดือน ขายได้ มากกว่ายอดขาย 1 ปี” ก่ อ นท� ำ การตลาดเลยที เดียว

1. สินค้า

ชูจุดขายใหม่ โดยใช้ช็อกโกแลตจากเบลเยียมแท้เป็นส่วนผสม จุด กระแสความสนใจให้ผู้บริโภคอยากทดลองชิม และช่วยเพิ่มมูลค่า ให้สนิ ค้า พร้อมใช้คำ� ว่า “ฟิน” มาเป็นตัวแทนสะท้อนถึงความรูส้ กึ จากการได้กินไอศกรีมแม็กนั่ม

2. แพ็กเกจจิ้ง หรือ บรรจุภัณฑ์

ปรับให้ดูหรูหราขึ้นเข้ากับภาพลักษณ์ใหม่ของตราสินค้า

3. “The Faces of Magnum”หรือ แมกนั่ม แอมบาสเดอร์

ด้วยการน�ำดารา คนดัง ระดับแนวหน้า 5 คน คือ อนันดา เอเวอร์ ริ่งแฮม, ชมพู่-อารยา เอ-ฮาร์เก็ต, โอปอล์-ปาณิสรา พิมพ์ปรุ, พลอย-ชวพร เลาหพงศ์ชนะ และเต๋อ-ฉันทวิชช์ ธนะเสวี ซึ่งทั้ง 5 คน มีความเป็น “โซเชี่ยล แม็กเน็ท” หรือแรงดึงดูดในสังคม ออนไลน์ โดยทั้ง 5 คน มีกลุ่มแฟนคลับรวมกันแล้วไม่ต�่ำกว่า 3 ล้านคน โดยใช้โซเชี่ยลมีเดีย เฟซบุ๊ค ที่คนไทยนิยมมาก และ อินสตราแกรม ซึ่งเป็นแอพพลิเคชันที่คนไทยใช้ติดตามดาราที่ ชื่นชอบ มาเป็นเครื่องมือสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ยัง สร้างกิจกรรมต่อยอดกับผูบ้ ริโภค ในชือ่ กิจกรรม “ฟิน โฟโต้” โดย ให้ผู้บริโภคถ่ายภาพ อาการฟินกับไอศกรีมแม็กนั่ม ผ่านโปรแกรม อินสตาแกรม ซึ่งส่วนใหญ่จะแชร์ต่อบนเฟซบุ๊กอยู่แล้ว

5. ช่องทาง จ�ำหน่าย

อาจเป็นเรื่องตกม้าตายได้ ง่ายๆ หากสร้างกระแสได้ แล้วแต่ไม่มีสินค้าวางขาย ยูนิลีเวอร์จึงเพิ่มช่องทาง ขายของไอศกรีมแม็กนั่ม จากเดิมกระจุกอยู่เฉพาะ แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว มาเป็ น กระจายทั่ ว ประเทศทุ ก ช่องทาง โดยวางขายทั้ง คอนวีเนียนสโตร์ ร้านค้า ทัว่ ไป พร้อมสือ่ ตกแต่งเป็น รูปแบบ เพื่อสร้างจุดเด่น ณ จุดขาย นับว่าแคมเปญรีลอนช์ไอศกรีมแม็กนัม่ ครัง้ นี้ น่าจะเป็นบทสะท้อน กลไกลการตลาดของยุคนี้ได้เป็นอย่างดี ว่าหากจะท�ำการตลาดให้ ประสบความส�ำเร็จนั้น นักการตลาดต้องคิดให้หลุดกรอบจาก กลยุทธ์แบบเดิมๆ ดังเช่นไอศกรีมแม็กนัม่ ทีไ่ ด้อาศัยทัง้ โลกออนไลน์ และออฟไลน์ การเข้าใจอินไซต์กลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง เพื่อที่ จะเลื อ กใช้ เ ครื่ อ งมื อ การตลาดที่ เ หมาะสมจนสามารถรี ลอนช์ แบรนด์ได้อย่างงดงาม 13


โลจิสติกส์ 3 ประเด็นสำ�หรับประเทศไทย เพื่อเตรียมตัวขึ้นชกในเวที AEC ทุกวันนี้คงไม่มีใครที่ไม่รู้ว่าอีกเพียง 3 ปี AEC ก็จะเริ่มมีผลต่อ ภูมิภาคอาเซียนของเรา ซึ่งจากผลดังกล่าวเป็นที่เข้าใจกันว่าการ รวมกลุ่มของประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาคมเศรษฐกิจ จะท�ำให้เกิด การเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในภูมภิ าคอาเซียน ทัง้ นีป้ ระเทศไทยในฐานะทีเ่ ป็นสมาชิกของประชาคมดังกล่าวก็จะ ต้องได้รบั ผลกระทบอย่างแน่นอน ดังนัน้ การเตรียมตัวเพือ่ ต้อนรับ การมาของ AEC จึงต้องเริ่มขึ้นนับตั้งแต่ตอนนี้ เราต้องมองตัวเอง ให้ชัดเจนขึ้น คิดและท�ำให้ต่างจากเดิม เพื่อที่เราจะได้เดินบทเส้น ทาง AEC ได้อย่างสวยงามและยั่งยืน Logistics Intelligence ฉบับนี้ ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.เรืองศักดิ์ แก้วธรรมชัย คณบดี คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญา ภิวัฒน์ ซึ่งท่านได้แสดงทรรศนะว่า มีกูรูหลายท่านได้ออกมาให้ ความเห็นต่อ AEC ในสองด้านคือมีทั้งที่จะรุ่งและจะร่วง ส่วนตัว แล้วยังไม่กล้าฟันธงว่าจะรุ่งหรือจะร่วง เนื่องจากเป็นเรื่องที่ยังมา ไม่ถึง แต่ที่อยากจะเขียนถึงในครั้งนี้คือประเด็นที่ว่า ถ้าจะไม่ให้ ประเทศไทยร่วง เราควรจะท�ำอะไร และท�ำอย่างไรดีในการออกไป แข่งขันกับหลายๆ ประเทศ ซึง่ การแข่งขันครัง้ นี้ ท่านคิดว่าเป็นการ ออกไปชกมวย ทีอ่ าจจะชนะหรือแพ้กไ็ ด้ขนึ้ อยูก่ บั ฝีมอื แต่ไม่วา่ จะ แพ้หรือชนะก็ตาม ยังไงก็จะต้องมีการเจ็บตัวแน่นอนเนือ่ งจากเป็น กีฬาชกมวย ซึง่ มีทงั้ ต่อยโดนคูแ่ ข่งและโดนคูแ่ ข่งต่อย ถ้าเตรียมตัวดี ก็อาจจะชนะและเจ็บตัวน้อยลง ถ้าเตรียมตัวไม่ดีก็จะเจ็บหนัก พร้อมกับเดินลงจากเวทีในฐานะผู้แพ้ซึ่งเจ็บทั้งกายและเจ็บทั้งใจ 14

ทีนมี้ าดูประเด็นทีจ่ ะท�ำให้ประเทศไทยเจ็บตัวน้อยลงและสามารถ เอาชนะคู่แข่งขันได้ว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งท่านจะขอกล่าวในส่วนที่เป็น ประเด็นทางด้านโลจิสติกส์เท่านั้น ไม่ก้าวล่วงเข้าไปในสาขาอื่น ประเด็นที่ว่ามีอยู่ 3 ประเด็นดังต่อไปนี้

ประเด็นที่ 1: ท�ำอุตสาหกรรมการเกษตรและ เตรียมตัวด้านโลจิสติกส์การเกษตร

ประเทศไทยเรามีศกั ยภาพด้านการเกษตรทีส่ งู มากเนือ่ งจากมีความ อุดมสมบูรณ์ แต่การจัดการในเรื่องการเกษตรยังมีปัญหา ทุกท่าน คงทราบดีวา่ การจัดการโลจิสติกส์เป็นการจัดการแบบองค์รวม และ จ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องดูวา่ ห่วงโซ่อปุ ทานของผลิตภัณฑ์การเกษตร แต่ละชนิดมีการไหลจากต้นน�้ำไปยังปลายน�้ำอย่างไร ประเด็นนี้ ประเทศไทยของเรามีความสามารถในการจัดการทีด่ ใี นระดับหนึง่ โดยภาคเอกชนท�ำได้ดีกว่าภาครัฐ ปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถยก ตัวอย่างได้เช่นการส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ของภาครัฐ โดยไม่ได้ค�ำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม จึงท�ำให้มีผลิตภัณฑ์ออก มามากมายในแต่ละฤดูกาล ท�ำให้มีราคาตกต�่ำตามกฏอุปสงค์อุปทาน ซึ่งถ้ามีการวางแผนที่ดีโดยค�ำนึงถึงการปลูกในพื้นที่ที่ เหมาะสม ในช่วงเวลาที่เหมาะสม และในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะ สามารถจัดการผลผลิตที่ออกมาได้เป็นอย่างดี รวมทั้งการแปรรูป ให้เป็นผลิตภัณฑ์ทมี่ มี ลู ค่าสูงขึน้ และสามารถจัดเก็บไว้ขายได้ทงั้ ปี ก็เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่ควรพิจารณา


สิ่งที่ประเทศไทยควรท�ำก่อนการขึ้นชกในเวที AEC: ศึกษาระบบ ห่วงโซ่อปุ ทานการเกษตรแต่ละชนิดอย่างละเอียดและท�ำการเสริม ความสามารถในการแข่ ง ขั น โดยการวางแผนด้ า นโลจิ ส ติ ก ส์ การเกษตร เริ่มจากวัตถุดิบไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม และน�ำ สู่ตลาดในช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะต้องมีการวางแผนด้าน การจัดท�ำคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าทั้งส่วนกลางและส่วน ภูมิภาคเพิ่มเติม

ประเด็นที่ 2: ลบจุดอ่อนเพื่อเพิ่มจุดแข็ง ด้านการขนส่งทางราง

เมือ่ ทุกท่านเหลือบมองแผนทีข่ องทวีปเอเชียอย่างเร็วๆ ซึง่ ถึงแม้วา่ จะไม่ได้ตั้งใจดูมากนักก็ตาม จะพบว่าประเทศไทยตั้งอยู่เกือบจะ ตรงกลางของประเทศในกลุม่ AEC พอดี ไม่วา่ จะขึน้ บนไปลาวและ จีน ลงล่างไปมาเลเซียและสิงคโปร์ ซ้ายไปพม่าและอินเดีย ขวาไป ลาวกับเวียดนาม นี่ถือเป็นสิ่งที่พระเจ้ามอบให้มา แต่เป็นการมอบ พร้อมกับการให้การบริหารจัดการการขนส่งทางรางแบบด้อย คุณภาพ ท่านจึงพบว่าประเทศไทยมีระบบการขนส่งทางรางที่แย่ เอามากๆ ซึง่ ในทางเศรษฐศาสตร์นนั้ การสร้างความสามารถในการ แข่งขันด้วยการลดต้นทุนเป็นสิง่ ทีต่ อ้ งท�ำเป็นอย่างแรก และระบบ การขนส่งที่มีต้นทุนต�่ำมากๆ ก็คือระบบราง ซึ่งมีต้นทุนที่ต�่ำกว่า การใช้รถบรรทุกในระบบถนน นอกจากนั้นการขนส่งทางรางยังมี มลภาวะต�่ ำ อี ก ด้ ว ย แต่ น ่ า เสี ย ดายที่ ก ารขนส่ ง ระบบรางของ ประเทศไทยได้กลายเป็นจุดอ่อนที่ส�ำคัญ สิ่งที่ประเทศไทยควรท�ำก่อนการขึ้นชกในเวที AEC: พัฒนาโครง ข่ายระบบรางแบบความเร็วสูง อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะท�ำเส้นทาง รถไฟความเร็วสูงเป็นรูปคล้ายกากบาท โดยมีเส้นวิ่งจากเหนือลง ใต้ โดยมีรางที่วิ่งมาจากตะวันออกไปตะวันตกมาตัด ก็จะท� ำให้ ประเทศไทยสามารถเป็ น ศู น ย์ ก ลางด้ า นการขนส่ ง ทางรางใน ภูมิภาคที่มีต้นทุนต�่ำลง สามารถแข่งขันได้

ประเด็นที่ 3: สร้างก�ำลังคนด้านโลจิสติกส์

ในปัจจุบัน ประเทศที่จะเข้าเป็นสมาชิกของ AEC นั้นมีระดับการ ศึกษาของประชาชนที่ต่างกัน ดังนั้นเมื่อเปิด AEC แล้ว ก็จะเกิด การไหลของแรงงานทีม่ ศี กั ยภาพสูงกว่าไปยังทีท่ มี่ ศี กั ยภาพต�ำ่ กว่า อย่างแน่นอน โดยแรงงานทีจ่ ะขาดแคลนแน่นอนในอนาคตคือแรง งานด้านโลจิสติกส์ เนือ่ งจากมีการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจอย่าง รวดเร็วในภูมิภาคนี้ สิ่งที่ประเทศไทยควรท�ำก่อนการขึ้นชกในเวที AEC: ส่งเสริมการ สร้างแรงงานด้านโลจิสติกส์อย่างเป็นระบบทัง้ ระดับล่าง (แรงงาน) ระดับกลาง (บริหารจัดการ) และระดับสูง (วางแผนเชิงกลยุทธ์) โดยเฉพาะในสาขาทีป่ ระเทศไทยมีความโดดเด่นเช่นด้านโลจิสติกส์ การเกษตร โลจิสติกส์อาหาร และโลจิสติกส์ด้านค้าปลีก ทั้งสามประเด็นดังกล่าว ถ้าประเทศไทยท�ำได้ทั้งสามข้อก็จะชนะ น๊ อ คคู ่ ต ่ อ สู ้ ไ ด้ แน่นอนครับ ถ้า ท�ำได้สองข้อน่า จะชนะคะแนน ถ้าท�ำได้ขอ้ เดียว น่าจะเสมอแบบ เจ็บตัวพอสมควร แต่ ถ ้ า ท� ำ ไม่ ไ ด้ สั ก ข้ อ ก็ น ่ า จะ แ พ ้ น ๊ อ ค ห นึ่ ง แ น ่ น อ น ค รั บ ฟันธง!!!

15


ดร.เลิศชัย สุธรรมานนท์ ผู้อำ�นวยการหลักสูตร MBA S-HRM

ลายผิววิทยา

เครื่องมือเพื่อการพัฒนาผู้บริหาร การวัดบุคคลด้วยลายผิววิทยาเพื่อการพัฒนาผู้บริหาร ในองค์กรธุรกิจที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยชี้ขาดความสามารถการแข่งขันที่ยั่งยืน การพัฒนาบุคคลจึงได้รับ การออกแบบให้เหมาะสมกับความหลากหลายของบุคคลมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริหาร และผู้มีความสามารถสูง (Talent Management) ซึ่งกระบวนการในการพัฒนาผู้บริหารดังกล่าว โดยทั่วไปจะมีดังนี้ 2. การประเมินผูบริหาร

- ประเมินผลงาน - ประเมินสมรรถนะการเปนผูนำ & Value (180degree)

1.ระบุตำแหนงงานที่สำคัญ

5. ติดตามความคืบหนา / ปรับปรุงแผน

Management Development

4. ดำเนินการตามแผนพัฒนาผูบริหาร

จากภาพข้างต้น กระบวนการพัฒนาผู้บริหารเริ่มจากการระบุ ต�ำแหน่งงาน เป้าหมาย การประเมินผูบ้ ริหาร การสัมภาษณ์เชิงลึก เพือ่ วางแผนการพัฒนาร่วมกัน การด�ำเนินการตามแผนพัฒนา และ การติดตามผล ในกระบวนการดังกล่าวทุกขั้นตอนมีความส�ำคัญ โดยเฉพาะในขัน้ ตอนที่ 2 ซึง่ ก็คอื การประเมินผูบ้ ริหาร ถือว่ามีความ ส�ำคัญ มีความซับซ้อน และต้องใช้ศลิ ปะอย่างยิง่ โดยปกติแล้วการ ประเมินบุคคลจะประกอบด้วยสองมิติที่ส�ำคัญ คือ

ด้านผลงาน (Performance) ซึง่ สามารถประเมินได้

จากผลงานในอดีต โดยผูบ้ งั คับบัญชาเป็นผูป้ ระเมินว่าผลงานแต่ละ ชิ้นนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ และได้รับความพึงพอใจในระดับใด

ด้านสมรรถนะ (Competency) ซึ่งมักประเมินจาก การทดสอบ การประเมินโดยผู้บังคับบัญชาเพียงผู้เดียว หรืออาจ

16

3. สัมภาษณเชิงลึก เพื่อวางแผนพัฒนาผูบริหาร

ที่มา : PIM HR Excellence Center

ท�ำการประเมินแบบ 360° กล่าวคือเป็นการประเมินทัง้ จากผูบ้ งั คับ บัญชา เพื่อนร่วมงานในระดับเดียวกัน และผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ อย่างไรก็ตาม พบว่า การประเมินบุคคลในมิตนิ มี้ คี วามคลาดเคลือ่ น สูง ทั้งนี้ความคลาดเคลื่อนอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความ ไม่สมบูรณ์แบบของแบบประเมิน หรือแม้แต่อคติของผู้ประเมิน ท�ำให้ผลที่ออกมานั้นไม่สามารถน�ำมาใช้ชี้วัดได้ 100% ด้วยสาเหตุต่างๆ ที่ได้น�ำเสนอมา ท�ำให้ในปัจจุบันมีการน�ำเครื่อง มืออีกชนิดหนึ่งมาช่วยในการประเมิน และพัฒนาผู้บริหาร เพื่อที่ ผูบ้ ริหารแต่ละท่านจะได้ทำ� งานทีต่ วั เองถนัด และเหมาะกับตัวเอง ทัง้ นีเ้ พือ่ ประโยชน์สงู สุดทัง้ ต่อองค์กร และต่อตัวผูบ้ ริหารเอง เครือ่ ง มือที่ว่านั้นก็คือ ลายผิววิทยา หรือ Dermatoglyphics ซึ่งเป็น ทางออกหนึ่งที่ใช้แทน หรือเสริมแบบประเมิน หรือแบบทดสอบ ด้านสมรรถนะได้


จึ ง อาจกล่ า วได้ ว ่ า ลายนิ้ ว มื อ สามารถบอกสิ่งที่เป็น Personality ลายผิววิทยาคืออะไร Test รวมกับ Ability Test ที่นิยมใช้อยู่ในการ ลายผิว หรือ ลายนิ้วมือ ลายฝ่ามือ และลาย ฝ่าเท้า ที่มีติดตัวกับแต่ละบุคคล มีการศึกษาค้นคว้ามาแล้วกว่า วัด และประเมินผลของบุคคล 200 ปี จนเรียกว่าเป็นวิชาลายผิววิทยา ซึ่งลายผิวเป็นเอกลักษณ์ ข้อได้เปรียบที่น่าพิจารณาส�ำหรับวิธีการใช้ลายผิววิทยา คือ เฉพาะบุคคล และลายผิวจะบ่งบอกถึงการผิดปกติทางพันธุกรรม 1. ลายผิ ว วิ ท ยาเป็ น เอกลั ก ษณ์ เ ฉพาะบุ ค คล ที่ ไ ม่ มี ค วาม ได้ เช่น คนทีเ่ ป็นโรคกลุม่ ดาวน์ จะมีลายมือพิเศษจากคนปกติทวั่ ไป แปรปรวนไปตามสภาพแวดล้อม และปัจจัยต่างวัฒนธรรมที่ นอกจากลายผิววิทยาจะใช้ในการระบุตัวบุคคลในงานสืบสวน สอบสวนมาเป็นเวลานานแล้ว ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ลายนิ้วมือ นัน้ มีความสัมพันธ์กบั ระบบประสาทและสมอง ดังนัน้ ในปัจจุบนั จึง มีการพัฒนาทางวิชาลายผิวจนมีความลึกซึง้ มากขึน้ ทีเ่ ปรียบเทียบ กัน จนบอกได้ว่าใครมีศักยภาพที่เป็นต้นทุนติดตัวทุกคนมาใน ลักษณะใด โดยสื่อสารให้เข้าใจง่าย แบ่งเป็นศักยภาพนก 5 ชนิด ได้แก่ เหยี่ยว ห่านป่า นกยูง นกกระจอกเทศ และนกแก้ว โดย แต่ละบุคคลอาจมีหลายๆ นกประกอบกัน และอาจมีนกเพียงชนิด เดียวที่โดดเด่น ลายนิ้วมือจึงบอกบุคลิกภาพโดยไม่ต้องใช้แบบ ทดสอบทางจิตวิทยาที่เคยนิยมมาแต่เดิม อนึ่ง ลายนิ้วมือยังมีสิ่งที่ เหนือกว่า คือ บอกถึงศักยภาพเฉพาะด้านได้อีก 8 ด้าน คือ ด้าน ตรรกะ ด้ า นภาษา ด้ า นมิ ติ สั ม พั น ธ์ ด้ า นร่ า งกายและความ เคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความเข้าใจตนเอง และด้านธรรมชาติวิทยา นอกจากนั้น ลายนิ้วมือยังบอกถึงความ ไวต่อการเรียนรู้ วิธกี ารเรียนรู้ และวิธกี ารสือ่ สารอีกด้วย ลายผิวจึง เป็นเครื่องมือชี้ศักยภาพที่มีในทรัพยากรมนุษย์โดยแท้

เป็นต้นก�ำเนิดของแบบทดสอบต่างๆ 2. ลายผิววิทยามีความเที่ยง กล่าวคือ จะท�ำซ�้ำกี่ครั้งก็ได้ค่าเดิม ต่างจากการใช้แบบทดสอบหรือแบบประเมินทีม่ กั มีการเรียน รู ้ เ พิ่ ม มากขึ้ น ในการทดสอบครั้ ง หลั ง ๆ ท� ำ ให้ ผ ลมี ค วาม แปรปรวนมากขึ้น 3. ลายผิววิทยาสามารถบอกรูปแบบ และวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะ สมกับบุคคล

ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงอาจกล่าวได้ว่า การใช้ลายผิววิทยา หรือ Dermatoglyphics ถือเป็นอีกเครือ่ งมือหนึง่ ทีถ่ อื ว่ามีประสิทธิภาพ สูง และมีความเที่ยงตรงมาก ลายผิววิทยาจึงกลายเป็นเครื่องมือ ประเมิน เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แห่งยุคสมัยที่แท้จริง อ้างอิง • ศูนย์วิเคราะห์ศักยภาพปัญญธารา (2555) ถอดรหัสสมองเพื่อค้นหาศักยภาพใน ตัวคุณ. • ศูนย์วิเคราะห์ศักยภาพปัญญธารา (2555) ทายนิสัยคนผ่านเบญจวิหค. • ศูนย์ให้ค�ำปรึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (2555) การพัฒนาผู้บริหาร.

17


ในปัจจุบันนี้มีกลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ๆ ถูกคิดค้นขึ้นอย่างมากมาย เชื่อหรือ ไม่ว่าหนึ่งในกลยุทธ์ที่ ได้รับการกล่าวขานถึงมากที่สุดคือ Ocean Strategy หรือ กลยุทธ์น่านน�้ำ ซึ่ง Believe it or not ฉบับนี้จะขอน�ำเสนอให้ท่าน ผู้อ่านได้เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างกลยุทธ์น่านน�้ำสีต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร

กลยุทธ์น่านน�้ำสีแดง (Red Ocean Strategy) เป็นกลยุทธ์

การท�ำธุรกิจที่มีคู่แข่งขันสูง โดยมุ่งเน้นจะเอาชนะคู่แข่งคนอื่น เพื่อที่จะแย่งชิงลูกค้า มาให้ได้มากที่สุด และท�ำให้ได้ก�ำไรมากที่สุดโดยที่แนวทางส่วนใหญ่ก็จะมุ่งเน้น ไปที่ดูว่าคู่แข่งท�ำอะไรบ้างและบริการของคู่แข่งเป็นอย่างไร เมื่อคู่แข่งออกสินค้า หรือบริการอะไรใหม่ออกมาก็จะท�ำตามและออกสินค้าใหม่ออกมาเช่นเดียวกัน เพื่อไม่ให้น้อยหน้าและแย่งลูกค้าซึ่งกันและกัน

กลยุทธ์น่านน�้ำสีคราม (Blue Ocean Strategy)

เป็นกลยุทธ์ที่ก�ำหนดขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันแบบดั้งเดิม ผู้ ประกอบการต้องพยายามพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่าง หรือต้อง สร้างความต้องการใหม่ๆ (New Demand) ขึ้นมาเสมอ โดยใช้ นวัตกรรม (Innovation) ใหม่ขับเคลื่อนแรงจูงใจ พร้อมทั้งมุ่งเน้น ความต้องการของลูกค้าเป็นหลักและการสร้างคุณค่าควบคู่กันไป ไม่มุ่งเน้นการเอาชนะคู่แข่ง เน้นการท�ำให้คู่แข่งล้าสมัย ก�ำหนด ขอบเขตการตลาดใหม่

กลยุทธ์นา่ นน�ำ้ สีขาว (White Ocean Strategy)

เป็นกลยุทธ์ทมี่ งุ่ เน้นเพือ่ ให้เกิดประโยชน์กบั ทุกฝ่าย ไม่วา่ จะเป็น ผูป้ ระกอบ การ ลูกค้า และสังคม ซึง่ ต้องประกอบด้วย คุณธรรม จริยธรรม และความซือ่ สัตย์ เป็นการสร้างมาตรฐานและบรรทัดฐานใหม่ให้เกิดขึ้นในกลุ่มธุรกิจและสังคมองค์กร ต้องไม่มงุ่ เน้นการท�ำก�ำไรอย่างเดียวโดยไม่คำ� นึงถึงโลกทีเ่ ราอาศัยอยู่ หรือโดยไม่คำ� นึง ถึงคนทั้งในองค์กรและผู้คนที่อาศัยอยู่ในโลกใบนี้ โดยยึดมั่นความดีงามเป็นหัวใจ ส�ำคัญ

กลยุทธ์น่านน�้ำสีเขียว (Green Ocean Strategy) เป็นการ

ด�ำเนินธุรกิจทีต่ อบสนองความต้องการของตลาดทีใ่ ส่ใจต่อสิง่ แวดล้อมเพือ่ ให้ได้มาซึง่ ก�ำไรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และโอกาสในการเข้าถึงตลาดที่มีความต้องการเรื่อง การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ภายใต้วิถีแห่งการบริโภค ที่ยั่งยืนซึ่งเป็นกระแสหลักของโลก แหล่งที่มา : www.marketeer.co.th www.whiteoceansociety.com www.siamturakij.com www.logisticscorner.com



Blue Ribbon

ฉบับนี้ ขอติดโบใหญ่ๆ และขอแสดงความยินดีกับ “คุณสุธา คลายโศรก” Panyapiwat MBA รุ่นที่ 5 ของเรา ที่คว้าทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทบัณฑิตศึกษา ระดับปริญญาโท ประจ�ำปี 2555 จากส�ำนักงานคณะ กรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มาครอบครอง ติด 1 ใน 120 คน จากการน�ำเสนอโครงการจากคณาจารย์ นิสิต และนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งในปีนี้ถือเป็นการเข้าชิงชัยได้ส�ำเร็จเป็นรุ่นแรก ในหัวข้อระบบโลจิสติกส์ ด้วยโครงการ วิจยั เรือ่ ง “กระบวนการกระจายสินค้าเพือ่ บรรเทาความเดือดร้อนของผูป้ ระสบภัย” โดยมี ดร.กิตติ เศรษฐวรพันธ์ อาจารย์ ประจ�ำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขา การจัดการโลจิสติกส์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ด้วยวัยเพียงไม่ถึง 26 ปี แต่ คุณสุธา คลายโศรก หรือคุณโอ๊ต สามารถคว้าทุนวิจัยระดับประเทศมาครอบครองได้ สร้างชื่อเสียง และความภาคภูมิใจให้กับ Panyapiwat MBA ของเราเป็นอย่าง มาก เรามาท�ำความรู้จักกับ Panyapiwat MBA คนเก่งของเราให้ มากขึ้นดีกว่า

คนเก่งแนะนำ�ตัวเองหน่อย

ตอบรับกับปัญหาทีเ่ กิดขึน้ จริงในสังคม จึงได้ปรึกษากับอาจารย์วา่ จะเน้นโลจิสติกส์ทางน�้ำ เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัญหาอุทกภัย ณ ขณะนั้น โดยมุ่งเน้นไปในเรื่องของการบรรเทาความเดือดร้อน ให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย โดยได้ที่ปรึกษาหลัก คือ ดร.กิตติ เศรษฐวรพันธุ์ ซึ่งเป็นอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านโลจิสติกส์ โดยตรง

ตอนนี้ก�ำลังเรียนคณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีก เป้าหมายสูงสุดของโครงการวิจัย ผลของโครงการวิจัยนี้ เรามองในเรื่องการให้ความช่วยเหลือ และ ปี 2 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ การบรรเทาความเดือดร้อนของผูป้ ระสบอุทกภัย ทัง้ ในรูปแบบฉับ ก่อนจะมาเป็นโครงการวิจัยนี้ พลัน ซ�้ำซาก รวมถึงแผนระยะยาวที่โครงการนี้สามารถน�ำมาปรับ โครงการวิจัยนี้เกิดขึ้นโดยทางอาจารย์ประจ�ำหลักสูตร MBA ได้ ใช้ เพื่อให้ภาครัฐและประชาชนเตรียมความพร้อม และรับมือกับ แนะน�ำถึงเรื่องของทุนวิจัย ซึ่งในช่วงนั้นก�ำลังเปิดรับสมัครให้น�ำ การเกิดอุทกภัยในระยะยาว ทั้งในส่วนของภัยธรรมชาติ และการ เสนอหัวข้อรวมทั้งโครงร่างเพื่อการขอทุนท�ำวิจัย ผมจึงเริ่มจาก ปรับตัวอยู่ร่วมกับน�้ำให้มากขึ้น จากปัญหาน�้ำทะเลที่ทุกวันนี้มี ศึกษาสถานการณ์รอบด้านเพือ่ ค้นหาถึงหัวข้อวิจยั ทีเ่ ป็นทีต่ อ้ งการ ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ 20


แรงสนับสนุน จากรอบข้าง

จากความส�ำเร็จเบื้องต้นของทุนที่ ได้ รั บ มา ต้ อ งขอขอบคุ ณ แรง สนั บ สนุ น ทั้ ง ในส่ ว นของบริ ษั ท ซี พี อ อลล์ จ� ำ กั ด (มหาชน), สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, รองอธิการบดี อ.พรวิทย์ พัชรินทร์ ตนะกุล, คณบดีคณะบริหารธุรกิจ รศ.ดร.เรืองศักดิ์ แก้วธรรมชัย ใน ส่วนของเอกสารส�ำคัญ อาจารย์ ประจ� ำ หลั ก สู ต ร MBA ผู ้ จุ ด ประกายเรื่องทุน วช. และที่ขาดไม่ ได้ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ดร.กิตติ เศรษฐวรพันธุ์ ที่ให้เกียรติเป็นที่ ปรึกษาตลอดการจัดท�ำโครงร่าง วิจัย

ความรู้ที่ ได้รับจาก Panyapiwat MBA สามารถนำ�มาประยุกต์ ใช้กับโครงการวิจัยได้ อย่างไร

สิง่ ทีไ่ ด้รบั จาก Panyapiwat MBA ความรูใ้ นทางทฤษฎีกเ็ ป็นทางหนึง่ ที่ ส ามารถน� ำ มาอ้ า งอิ ง น� ำ มา ประยุกต์ แต่ความรู้และสิ่งที่ท�ำให้ เราเห็นภาพมากขึ้น นั่นคือความรู้ จากประสบการณ์ ข องอาจารย์ ผู้สอนก็ดี หรือวิทยากรพิเศษจาก องค์กรชั้นน�ำระดับประเทศ ทั้งใน ส่วนขององค์กรพันธมิตร รวมทั้ง CP ALL เอง ซึ่งมีธุรกิจในเครือหลายประเภท มีประสบการณ์และ ความรูท้ สี่ งั่ สมมายาวนานพร้อมถ่ายทอดสูช่ นั้ เรียน ซึง่ ให้เกียรติมา บรรยายถึงประสบการณ์การท�ำงานและกรณีศกึ ษาต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ จริงในองค์กร การได้โอกาสฟังบรรยายจากบุคคลทีม่ ปี ระสบการณ์ การท�ำงานสูงๆ จะมีมมุ มองทีท่ ำ� ให้บางครัง้ เราเกิดความคิด ทีอ่ ยาก

จะท�ำในบางสิ่งที่ในบางครั้งทฤษฏี ตามต�ำราก็ไม่สามารถสอนเราได้ และนีค่ อื จุดเด่น ของ Panyapiwat MBA ที่น�ำประสบการณ์มาสร้าง ประสบการณ์

อยากจะฝากอะไรถึง รุ่นน้อง Panyapiwat MBA

การเรียน MBA นั้น สิ่งที่ต้องรู้คือ “ทฤษฎีตามต�ำรา” แต่สิ่งที่ควรรู้ คือ “ทฤษฎีนอกต�ำรา” ซึ่งทฤษฎี นอกต�ำรานัน้ หาได้งา่ ยมาก อยูร่ อบ ตัวเรา อยู่ที่คนใกล้ชิดเรา พ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ ครูบาอาจารย์ สื่อต่างๆ สิ่งที่ผมก�ำลังจะบอกก็คือ ความส�ำคัญของการเรียนนั้น มิใช่ อยู่แค่ในห้องเรียน หรืออยู่ที่ตัว หนังสือในต�ำรา แต่สงิ่ ทีม่ ปี ระโยชน์ และท�ำให้เราประสบความส�ำเร็จ นั่ น คื อ การที่ เราสามารถคิ ด เป็ น ท� ำ เป็ น น� ำ สิ่ ง ที่ เรี ย นมาใช้ เ พิ่ ม ศั ก ยภาพการท� ำ งานของตนเอง และองค์กร รวมถึงเมื่อใดก็ตามที่ เราเก่งพอ เราก็จะสามารถช่วย พัฒนาบุคคลรอบข้าง และสังคมที่ เราอยู่ให้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น

ขอปรบมื อ ดั ง ๆ อีกครั้งให้กับ

ศิ ษ ย์ ค นเก่ ง ของ Panyapiwat MBA การได้รับทุนจากส�ำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ครั้งนี้ แสดงถึงศักยภาพของว่าที่ มหาบั ณ ฑิ ต ของ Panyapiwat MBA ว่ามากด้วยความสามารถด้านวิชาการ รวมถึงมีความคิด สร้างสรรค์ สามารถหยิบยกสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้น น�ำมาหา แนวทางแก้ไขที่สามารถน�ำไปใช้ได้จริง อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อส่วนรวมต่อไป 21


มองเผินๆ ก็นึกว่าภาพ นี้มีแต่เหล่ามหาบัณฑิต ต้องพิศดูให้ดถี งึ ได้เห็น ว่ามีรศ.ดร.เรืองศักดิ์ แก้วธรรมชัยอยู่ด้วย กลมกลื น เชี ย วนะคะ อาจารย์โต๋

ขอเอ่ยค�ำนี้ดังๆ พร้อมมอบเสียงปรบมือให้กับ Panyapiwat MBA รุ่นที่ 3 ที่เข้ารับปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตไปเมื่อวันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2555 ซึ่งถือเป็นอีกก้าวของความส�ำเร็จ ส�ำหรับรุ่นพี่ Panyapiwat MBA ทุกท่าน เรียกได้ว่าปีนี้ถือเป็นปีที่โชคดีของเหล่ามหาบัณฑิตรุ่นที่ 3 เพราะแดดร่มลมตกทั้งวันตั้งแต่เช้าจนจบพิธี แม้ว่าจะมีข่าวเตือนถึงพายุแกมีอยู่เป็นระลอกๆ ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคใดๆ เริ่มต้นงานตอนเช้า เหล่ามหา บัณฑิตพร้อมใจกันมาถ่ายภาพกับเพื่อน (ต่างวัย) ร่วมรุ่น ครอบครัว ตามซุ้มต่างๆ ที่ได้รับการเนรมิตไว้รอ เหล่ามหาบัณฑิตอย่างสวยงาม จากนั้นประมาณ 8.30 น. จึงเริ่มทยอยขึ้นถ่ายภาพหมู่ทางการบนสแตนด์ ร่วมกับคณาจารย์และผูบ้ ริหาร ซึง่ เรียกได้วา่ เป็นภาพแห่งความทรงจ�ำเลยทีเดียว เพราะคงไม่มชี ว่ งเวลาใด ทีท่ กุ ท่านจะสามารถมารวมตัวกันเพือ่ ถ่ายภาพเป็นทีร่ ะลึกได้พร้อมเพรียงกันแบบนีอ้ กี แล้ว จากนัน้ ก็ปล่อย ให้เหล่ามหาบัณฑิตไปพักผ่อนตามอัธยาศัย เพื่อกลับมารวมตัวกันอีกครั้งตอน 10.30น. ซึ่งถือเป็นช่วงเริ่ม งานประสาทปริญญาบัตรอย่างเป็นทางการ การเปิดตัวเหล่ามหาบัณฑิตและบัณฑิต จะให้เปิดตัวแบบธรรมดาก็คงไม่ได้ เราจึงขอเปิดตัวแบบ อลังการด้วยวงโยธวาทิต เพื่อน�ำมหาบัณฑิตและบัณฑิตเดินผ่านซุ้มประตูเพื่อเข้าสู่หอประชุม ปัญญาภิวัฒน์ นอกจากนี้ยังมีความพิเศษอีกอย่างที่เรามอบให้กับมหาบัณฑิต บัณฑิต และ ครอบครัว คือการอนุญาตให้ผู้ปกครองของมหาบัณฑิต และบัณฑิตแต่ละท่านเข้าร่วมพิธีในหอ ประชุมด้วย เพราะการรับปริญญาถือเป็นก้าวส�ำคัญอีกก้าวหนึง่ ในชีวติ ทีเ่ ชือ่ ว่าทุกคนย่อมอยาก ให้คนที่เรารักและรักเรา ได้เป็นส่วนหนึ่งในความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้แน่ งานประสาทปริญญาบัตรในปี 2555 นี้ สถาบันฯ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี มาเป็นประธานในพิธี เพื่อประสาทปริญญาบัตรให้กับมหาบัณฑิต และบัณฑิตทุกท่าน นอกจากนี้แม้ท่านผู้บริหารจากบริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) หลายท่าน จะมีภารกิจมากมาย แต่ก็ได้สละเวลาเข้าร่วมงานประสาทปริญญาบัตรเพื่อเป็นเกียรติ ร่วมแสดง ความยินดีกับมหาบัณฑิตและบัณฑิตทุกคนในพิธีประสาทปริญญาบัตรในครั้งนี้ด้วย หลังจากพิธปี ระสาทปริญญาบัตรเสร็จสิน้ ก็จบงานกันแบบเบาๆ ด้วย Paper Brew ทีท่ างทีมงาน เตรียมไว้ เพื่อเป็นการแสดงความยินดีกับเหล่ามหาบัณฑิตและบัณฑิต ซึ่งหลังจากออกจากหอ ประชุมแล้ว มหาบัณฑิตและบัณฑิตยังคงถ่ายรูปเล่นต่ออย่างสนุกสนานกันจนเย็นย�่ำ Alumni’s Corner ขอแสดงความยินดีกับเหล่ามหาบัณฑิตคนเก่งทุกท่าน และขอให้มหาบัณฑิตทุกท่าน ประสบความส�ำเร็จในก้าวต่อๆ ไป แล้วพบเรื่องราวดีๆ ได้ใหม่ฉบับหน้านะคะ

22

วันนี้ที่รอคอย ฝ่าฟันมาเพื่อสิ่งนี้


เหล่ามหาบัณฑิตกับซุ้ม MBA ดูแลกันจนนาทีสุดท้าย ติดตามความสนุกครั้งต่อไปได้ทาง ค้นหาค�ำว่า “Panyapiwat MBA” 23


C

g

in

om

on

So

"AEC Stance, China Connection, Global wisdom" Rising of Asian economies calls for a new generation of Asian business leaders who have a global vision to integrate resources and create values for customers all over the world. Instead of teaching western management theories or merely applying these theories to a Thai context, the iMBA in PIM creates and imparts knowledge from the perspective of an Asian business executive about how to envisage, germinate, configurate, and grow a truly global business. The establishment of AEC and integration of the regional economy requires a better understanding of business environment of Thailand vis a vis its regional partners, as well as personal exchange and rapport of young business leaders. The iMBA of PIM aims for a diversified international student body, provides special course modules of the regional economies, and encourages cross cultural networking with its oversea immersion program. In education industry, the information technology revolutionizes the modality of teaching and learning, enhances the international mobility of educational institutions and global competition of universities. MBA programs all over the world have also been challenged for their relevance to the business practice. The iMBA of PIM leverages the support of its business network to create a deep learning experiences with hand on practices in business labs, on site classrooms of company visit, and corporate mentor system.

2 Integration Labs

24 Field Trips

Oversea Immersion

Prof. Dr. Tang Zhimin

Ph.D. Economics, Cambridge University, U.K Vice Dean of Business Administration Director of China ASEAN Studies Center

Create Professionals by Professionals Panyapiwat Institute of Management Telephone: Mobile: E-mail: Website:

662 832 0486 6689 235 9999 imba@pim.ac.th www.pim.ac.th

24 Field Trips

See real business relevant to the course contents every week in the entire course work period

2 Integration Labs China ASEAN Module

Solve real business problems in a firm for a month such as “New Product Launch”, “Process Improvement”

China ASEAN Module

6 course module focused on the business context of a particular country

Oversea Immersion

Live in a foreign country for a month with a partner university for project & networking

High Job Placement

9 Benefits of Studying

Corporate Mentors

Incorporation with UIBE

One of the TOP 10 universities in China offering EMBA

Corporate Mentors

Every student will be assigned a senior manager as a mentor for advices on his/her business career

Flexible Schedule Incorporation with UIBE

Free Language Classes

High Job Placement

Career & networking activities Priority to be employed by our corporate partners

Flexible Schedule

Most course work be conducted on Friday evening and weekends

Free Language Classes

Free courses on Chinese, Japanese, English and Thai Earn a certificate for language proficiency


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.