Issue June 2013
06 13 14 16 18 20 21 22
PIM Highlight PIM Underline คนเก่ง PIM Letter From OSAKA เรื่องจีนจากซีหนาน เก็บโลกมาเล่า : เกษตรกรรมอัจฉริยะ New Innovation : ชุดหุ่นยนต์การเกษตร Our Network : MITR PHOL GROUP สวัสดีสมาชิก PIM Magazine ... ต้อนรับสายฝนอันชุ่มฉ�่ำ PIM Magazine ฉบับนี้เปิดตัวสมาชิกใหม่ของ PIM "คณะนวัตกรรมการ จัดการเกษตร หรือ Innovative Agricultural Management (IAM)" คณะ น้องใหม่ทเี่ กิดจากความร่วมมือของกลุม่ ธุรกิจพืชครบวงจร หรือ ซีพี ครอป (CP Crop) ซึ่งมีประสบการณ์ 30 ปีในธุรกิจพืชครบวงจร มาผสานกับ หลักสูตร Work-based Learning ของ PIM เกิดเป็นคณะที่จะสร้าง นักจัดการเกษตรมืออาชีพ ด้วยการเรียนกับมืออาชีพของซีพี ครอป และ องค์กรพันธมิตรที่เป็นที่รู้จักของสังคมเป็นอย่างดี
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (Panyapiwat Institute of Management) PIM Magazine : พี ไอ เอ็ม แมกกาซีน ปีที่ 4 ฉบับที่ 20 เดือนมิถุนายน 2556 สำ�นักสื่อสารองค์กร ที่ปรึกษา พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล บรรณาธิการบริหาร ปาริชาต บัวขาว บรรณาธิการ วรินทรา วิริยา กองบรรณาธิการ ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร มนตกานต์ วีรชัยเดชอุดม วาร์วี ชานวิทิตกุล ภูริมาศ สว่างเมฆ พิสูจน์อักษร สุธาสินี พ่วงพลับ กันย์อักษร ชื่นชมภู อรทัย ทับทองห้วย ศิลปกรรม เอกภพ สุขทอง
คทาเทพ พงศ์ทอง ชนติกาญ วนารักษ์สกุล จุฬนี ศิริขันธ์ คทาเทพ พงศ์ทอง ชนติกาญ วนารักษ์สกุล ภูริมาศ สว่างเมฆ
85/1 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำ�บลบางตลาด อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0 2832 0200 ถึง 14 โทรสาร 0 2832 0391 85/1, Moo 2, Chaengwattana Road, Bang-Talad, Pakkred, Nonthaburi, 11120 THAILAND Tel. 0 2832 0200 to 14 Fax 0 2832 0391 www.pim.ac.th www.facebook/pimfanpage
งานนี้ PIM ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจการเกษตรเครือ เจริญโภคภัณฑ์หลายท่าน แต่จับตามองกันให้ดีที่ท่านคณบดีมือใหม่ ป้ายแดง อ.มนตรี คงตระกูลเทียน ซึ่งปัจจุบันด�ำรงต�ำแหน่งรองประธาน กรรมการกลุม่ พืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ คร�ำ่ หวอดในวงการมากว่า 33 ปี เห็นแบบนี้มั่นใจได้เลยค่ะ ว่า IAM คณะน้องใหม่ของเราต้องเข้มข้น ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติแน่นอน เมื่อถามว่าท�ำไมต้องเป็น "นวัตกรรมการจัดการเกษตร" คงเพราะอีกไม่กี่ปี ข้างหน้า ประชากรโลกจะมีจ�ำนวนถึงหกพันล้านคน การที่จ�ำนวนคน มากมายขนาดนัน้ ท�ำให้วนั นีเ้ ราต้องเตรียมรับมือการบริโภคทรัพยากร โดย เฉพาะอาหารที่เป็นสิ่งส�ำคัญที่ต้องมีปริมาณเพียงพอ และคุณภาพที่ดีพอ ส� ำ หรั บ คนบนโลก หมายความว่ า โลกเราต้ อ งการนั ก บริ ห ารจั ด การ ทรัพยากรเก่งๆ จ�ำนวนมาก และหนึ่งในนั้นคือนักจัดการเกษตร ซึ่งจะเป็น ผู้บริหารทรัพยากรอาหารเลี้ยงดูเราๆ ท่านๆ ตั้งแต่ปัจจุบันนี้และต่อไปใน อนาคต เกริ่นมาเยอะขนาดนี้ อยากรู้ลึกรู้จริงติดตามได้ในเล่มเลยค่ะ คอลัมน์อื่นๆ ก็ไม่น้อยหน้า คนเก่ง PIM คว้าน้องใหม่ IAM มาเปิดใจว่า ท�ำไมถึงได้แหวกกระแสวัยรุ่นมาสนใจด้านการเกษตร และคนเก่ง PIM "ตัม้ และอัฐ" คิดอย่างไรกับ "สถาบันใหม่และคณะใหม่" ถึงตัดสินใจมาเรียน ที่ PIM รักษาสุขภาพให้ดีเตรียมรับมือกับอนาคตกันนะคะ เป็นห่วงเช่นเคย บก.แอมป์
3
อิ ง กั บ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ ดๆ เปิ ด โอกาสให้ บุคลากรทุกสายอาชีพ ทั้ง IT และ Non IT สามารถสอบเพื่อวัดระดับความรู้ด้าน ไอที ปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษาเป็น เครือข่ายศูนย์สอบกระจายอยูท่ กุ ภูมภิ าค มากกว่า 16 แห่ง โดย PIM เป็นหนึ่งใน เครือข่าย และจัดสอบปีละ 2 ครัง้ ในเดือน เมษายน และตุลาคมของทุกปี ผู้ที่สอบ ผ่านจะได้รบั ประกาศนียบัตรรับรองความ สามารถที่พร้อมประกันคุณภาพระดับ สากล เพื่อเบิกทางในการสมัครงานและ ท� ำ งานในองค์ ก รชั้ น น� ำ ทั้ ง ในและต่ า ง ประเทศ
PIM ยกทีมคนไอทีคุณภาพ ร่วมงาน สวทช. ในพิธีมอบ ประกาศนียบัตรผู้สอบผ่าน IT Passport ปี 2556
คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา PIM รับประกาศนียบัตรผู้สอบผ่านโครงการ มาตรฐานวิ ช าชี พ ไอที (Information Technology Professional Examination: ITPE) ประจ�ำปี 2555 ณ อุทยาน วิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี โดยนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรี ว่ า การกระทรวงวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยีเป็นประธานในพิธี โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างภาคี 7 ประเทศ ได้ แ ก่ ญี่ ปุ ่ น มาเลเซี ย มองโกเลีย พม่า ฟิลปิ ปินส์ เวียดนาม และ ไทย ทีม่ งุ่ ยกระดับมาตรฐานบุคลากรด้าน ไอที ใ ห้ มี คุ ณ ภาพเที ย บเท่ า มาตรฐาน สากล เพื่อเตรียมพร้อมด้านแรงงานใน การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ITPE เป็นโครงการจัดสอบทีไ่ ม่ยดึ ติดหรือ 4
โภคภั ณ ฑ์ น� ำ ที ม สื่ อ มวลชนเยี่ ย มชม ฟาร์มอย่างใกล้ชิด พร้อมผู้บริหาร อาทิ ดร.เอนก ศิลปพันธุ์ รองกรรมการผูจ้ ดั การ บริหาร สายงานวิจัยและพัฒนา กลุ่ม ธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ รศ.ดร.วรวิทย์ สริพลวัฒน์ รองคณบดี ฝ่ายวิชาการ และคุณเกรียงไกร อังอ�ำนวย ศิริ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ งานวิจัยและ ปรับปรุงพันธุ์ข้าวลูกผสม บริษัท เจริญ โภคภั ณ ฑ์ เ มล็ ด พั น ธุ ์ จ� ำ กั ด เพื่ อ ให้ สื่อมวลชนได้ทราบถึงความพร้อมของ การเปิ ด หลั ก สู ต ร คณะนวั ต กรรมการ จัดการเกษตร (The Faculty of Innovative Agricultural Management : IAM) ตามรู ป แบบการเรี ย นการสอนแบบ Work-based Learning หรือการเรียนรู้ ทฤษฎีควบคู่การฝึกปฏิบัติ พร้อมกล่าว บรรยายการด� ำ เนิ นการสนั บสนุ น ด้า น การปฏิ บั ติ ง านของฟาร์ ม ก� ำ แพงเพชร หนึ่งในสถานที่ฝึกปฏิบัติให้กับนักศึกษา ระดับปริญญาตรีรุ่นแรก ในปีการศึกษา 2556 และรายละเอี ย ดความรู ้ เ ชิ ง นวัตกรรมการเกษตรตามแบบฉบับของ เครือเจริญโภคภัณฑ์ มุง่ สร้าง “นักจัดการ เกษตร” รุ ่ น ใหม่ ที่ ส ามารถบู ร ณาการ ความรู ้ ความช� ำ นาญด้ า นเกษตร เศรษฐศาสตร์การเกษตร และการบริหาร PIM น�ำสื่อมวลชนสัญจร จัดการเกษตร ใช้ในการจัดการการผลิตที่ เยี่ยมชมฟาร์มก�ำแพงเพชร มีคุณภาพ และประสิทธิภาพเพื่อความ (PIM Press Tour) ครั้งที่ 1 ส�ำเร็จในการด�ำเนินการธุรกิจเกษตรของ ณ บริ ษั ท เจริ ญ โภคภั ณ ฑ์ เ มล็ ด พั น ธุ ์ องค์กรได้อย่างสมบูรณ์ จ�ำกัด จ.ก�ำแพงเพชร คณะเยี่ยมชมน�ำ โดย อาจารย์ ม นตรี คงตระกู ล เที ย น คณบดี คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร (IAM) PIM และรองประธานกรรมการ กลุ ่ ม ธุ ร กิ จ พื ช ครบวงจร เครื อ เจริ ญ
PIM เปิดตัวหลักสูตร ปริญญาโท บริหารธุรกิจ ภาคภาษาอังกฤษ (iMBA)
Austrian Schaerf World Group
PIM เตรี ย มเปิ ด หลั ก สู ต รปริ ญ ญาโท บริหารธุรกิจ ภาคภาษาอังกฤษ (iMBA) ในเดือนสิงหาคมนี้ ในงานมีการบรรยายในหัวข้อ “Oriental Wisdom & Management in AEC” การ บริหารจัดการ การท�ำธุรกิจในโลกตะวัน ออกเพือ่ รองรับ AEC โดยคุณก่อศักดิ์ ไชย รัศมีศักดิ์ ประธานบริหารกลุ่ม CP ALL และผู้เขียนหนังสือ “Oriental CEO” ซึ่ง ได้รับความนิยมในหลายประเทศ, ท่าน ทูตวีรศักดิ์ ฟูตระกูล อดีตเอกอัครราชทูต ไทย ประจ�ำประเทศสหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น และเป็นอาจารย์พิเศษหลักสูตร iMBA และอาจารย์พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รองอธิการบดี PIM โดยมีผู้ร่วมงานจาก หลายสาขาอาชีพและองค์กร iMBA PIM มี 6 รายวิชาซึ่งเกี่ยวกับ Business in China and AEC, รวมทั้งมีการ ฝึกงานในต่างประเทศในทวีปเอเชียเป็น เวลา 1-3 เดือน มีหลักสูตรภาษาที่จัดไว้ ให้นกั ศึกษาเรียนโดยทีไ่ ม่มคี า่ ใช้จา่ ยเพิม่ เช่ น หลั ก สู ต รภาษาอั ง กฤษ จี น ญี่ ปุ ่ น นอกจากนี้ iMBA PIM ยั ง ร่ ว มมื อ กั บ University of International Business and Economics (UIBE) หนึ่ ง ใน มหาวิทยาลัยชั้นน�ำของประเทศจีน เรามี สโลแกนว่า “AEC Stance, China Connection, Global Wisdom”
Nanjing Tianqu บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ Investment & Management โบรคเกอร์ จ�ำกัด
คณะผู้บริหาร โรงพยาบาลศิครินทร์
ผู้บริหารบริษัท เอสเอสยูพี กรุงเทพ 1991 จ�ำกัด
คุณมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากร และชุมชน 5
Hig PIM hlig ht
ฉบับเปิดตัว
คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร (Innovative Agricultural Management - IAM) ปณิธาน IAM Innovation นวัตกรรมและ การสร้างสรรค์
Action Learning
ความรู้สู่การปฏิบัติ
Morality
ความบริบูรณ์พร้อม
การเกิดขึ้นของ IAM
ความสำ�เร็จของ PIM ในการสร้างบุคลากรด้านการจัดการธุรกิจค้าปลีก ให้แก่กลุ่มซีพี ออลล์ จึงทำ�ให้ท่านประธานธนินทร์ เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP Group) และคุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีพี ออลล์ เห็นโอกาสว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์ควรสร้างบุคลากรทางการเกษตรเพื่อตอบสนองสังคมเช่นกัน โดยเน้นสร้างผู้มีความรู้ความสามารถ ด้านการเกษตรและการจัดการ สามารถปฏิบัติงานได้ทันทีหลังจากสำ�เร็จการศึกษาแล้วเช่นเดียวกับหลักสูตรอื่นของ PIM ด้วย จากความสำ�เร็จของ PIM และความแข็งแกร่งของ CP Group จึงเกิดเป็น คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร ซึ่งมีชื่อภาษาอังกฤษว่า The Faculty of Innovative Agricultural Management หรือเรียกย่อๆ ว่า “ไอแอม” ตามตัวย่อภาษาอังกฤษ “IAM” เริ่มการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 นี้เป็นต้นไป
6
CP Crop
PIM
องค์ความรู้ 30 ปี ของธุรกิจพืชครบวงจร ธุรกิจพันธุ์ข้าว ยาง ปาล์ม ฯลฯ
Work-based Learning เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติงานจริง
ประสบการณ์นักบริหารมืออาชีพ อ.มนตรี คงตระกูลเทียน รองประธานกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร และ คณบดี IAM
เรียนรู้จากมืออาชีพ
กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร หรือที่รู้จักกันในนาม “ซีพี ครอป (CP Crop)” ด�ำเนินธุรกิจพืชครบวงจรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพันธุ์ข้าว ยาง ปาล์ม ปัจจัยการผลิตทางเกษตรและธุรกิจวิศวกรรมทาง ด้านการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เช่น ระบบโรงสีข้าวทันสมัย โดยด�ำเนินธุรกิจมากว่า 30 ปี เป็นกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจรที่มี ความรู้ เทคโนโลยีที่สะสมมานาน มีการพัฒนา สร้างนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อาทิ เมล็ดพันธุข์ า้ วลูกผสม เมล็ดพันธุข์ า้ วสาย พันธุ์ผสม ยางธรรมชาติและปาล์มน�้ำมันสายพันธุ์ใหม่ๆ และ ยังมีนวัตกรรมระบบการจัดการเกษตรทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ทีส่ ำ� คัญ คื อ มี บุ ค ลากรทางการเกษตรที่มีค วามรู้ค วามสามารถและ ประสบการณ์เป็นจ�ำนวนมาก PIM มีระบบการเรียนการสอนที่ทันสมัย ซึ่งก็คือ Work-based Learning เรียนรูท้ ฤษฎีควบคูฝ่ กึ ปฏิบตั งิ านจริง ภายใต้แนวคิด สร้างมืออาชีพด้วยมืออาชีพ เมื่อ CP Crop องค์ประกอบชั้นยอด และ PIM ส่วนผสมชั้นดี เกิดเป็น IAM หลักสูตรนวัตกรรมการจัดการเกษตรทีแ่ ข็งแรงทัง้ ความรูท้ ฤษฎีและภาคปฏิบตั ทิ นี่ กั ศึกษาจะได้เรียนรูก้ ารเกษตร
ภาคทฤษฎี พร้อมทั้งโอกาสลงมือท�ำงานในภาคสนามจริงร่วม กับบุคลากรมืออาชีพของ CP Crop
โอกาสพิเศษที่ IAM
นักศึกษารุ่นแรกของ IAM เป็นผู้มีพื้นฐานทางการเกษตร และ เป็ น ผู ้ ที่ รั ก สนใจ รู ้ คุ ณ ค่ า การเกษตร มี ค วามต้ อ งการจะ พัฒนาการเกษตรไทยให้ทันสมัย นักศึกษา IAM รุ่นแรกทั้ง 50 คน จะได้รับทุนการศึกษาจาก เครือเจริญโภคภัณฑ์ กลุ่มซีพี ออลล์ และกลุ่มบริษัทน�้ำตาล มิตรผล พันธมิตรส�ำคัญในการพัฒนาการศึกษาการเกษตร ซึ่งมีความต้องการบุคลากรการเกษตรรุ่นใหม่ที่เป็นนักจัดการ เกษตรร่วมกัน นักศึกษาจะได้รับความรู้ทางด้านวิทยาการเกษตรพื้นฐานที่ ส�ำคัญ การจัดการธุรกิจ การใช้นวัตกรรมทันสมัยหลายสาขา จากคณาจารย์ผทู้ รงคุณวุฒิ บุคลากรมืออาชีพของเครือซีพแี ละ จากพันธมิตร โดยการดูแลจากคณาจารย์อย่างใกล้ชิด
7
ที่
IAM เรียนจัดการเกษตรอย่างมีนวัตกรรม ภาษา สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทย์ทั่วไปและคณิตศาสตร์ ศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
วิชาทั่วไปและ
เรียนวิชาด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์เกษตร วิชาทางเศรษฐศาสตร์และการจัดการธุรกิจ วิชาเกี่ยวกับนวัตกรรมทันสมัย การฝึกงาน วิชาชีพ 106 หน่วยกิต
คณิตศาสตร์ มนุษยศาสตร ์ สังคมศาสตร ์ ภาษา
ป
ไ าษ ทั่ว
ึก ิวชาศ
22 % 78% ีพ ิชาช
์ สตร ร า ศ า ต วิทยละเกษ แ
ว
ประกอบการ
ันสม
มท
ัย
17%
วิชาการจัดการฟาร์มทันสมัย วิชาการตลาดเกษตร วิชากฎหมายและมาตรฐานการเกษตร วิชาบัญชี การเงิน วิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารการตลาด
กรร
37%
31% 15%
ฝึกงานสถาน
นวัต
ะ ร์แล ิจ ต ส ฐศา รธุรก ศเ รษ รจัดกา กา
เกษตร วิชาภูมิอากาศ รวัชพืช วิชาการจัดกา
วิชาเกษตรกรรมแม่นย�ำสูง
IAM ให้ความส�ำคัญกับวิชาการเกษตรและ
วิชาด้านธุรกิจในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน เพราะ การท�ำงานต้องผสานความรูท้ งั้ สองด้านเข้าด้วย กันอย่างเหมาะสม
1. 2. 8
ดังนั้นในหลักสูตรการเรียน 4 ปี นักศึกษา IAM ต้องเรียนทั้งหมด 136 หน่วยกิต โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มีภาษา สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทย์ทั่วไปและคณิตศาสตร์ หมวดวิ ช าชี พ เรี ย นวิ ช าด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ วิทยาศาสตร์เกษตร 31% วิชาทางเศรษฐศาสตร์และ การจั ด การธุ ร กิ จ 37% วิ ช าเกี่ ย วกั บ นวั ต กรรม ทันสมัย 17% และการฝึกงาน 15%
IAM จัดการเกษตรอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เราต้องการให้พื้นฐานความเข้าใจแก่นักศึกษา ว่าสถานการณ์ด้านการเกษตรของไทยนั้นเปลี่ยนแปลงไปแล้ว มีสิ่งใหม่ๆ เรื่องใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของนักจัดการเกษตรรุ่นใหม่ อ.วิวัฒน์ ไม้แก่นสาร รองคณบดี คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร
ปัจจุบัน นอกเหนือไปจากความรู้พื้นฐานด้านเกษตรแล้ว ยังมีความรู้ใหม่ เทคโนโลยีใหม่ และนวัตกรรมหลากสาขาที่รอให้ นักจัดการการเกษตรรุ่นใหม่น�ำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้บริหารงานการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนี่เองคือความคิดสร้างสรรค์ของ IAM
เรียนรู้จากต้นน้ำ�สู่ปลายน้ำ�กับ CP Crop + มิตรผล, คูโบต้า, ธุรกิจยาง และองค์กรพันธมิตร CP Crop และองค์กรพันธมิตรจะเปิดโอกาสให้เรียนรูอ้ ย่างกว้างขวางมาก เช่น ถ้านักศึกษาสนใจเรือ่ งข้าว ก็จะได้เรียนรูต้ งั้ แต่การ พัฒนาสายพันธุ์ข้าว การส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ การใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย ตั้งแต่การเตรียมดินที่ถูกวิธี การเพาะกล้าด้วย เครื่องเพาะกล้า การปลูกข้าวด�ำ เครื่องด�ำนาอัตโนมัติ การดูแลสุขภาพพืช การเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักร การจัดการหลังการเก็บ เกีย่ ว เช่น การจัดซือ้ การอบเมล็ดพันธุ์ การอบข้าวเปลือก การสีขา้ วด้วยเครือ่ งจักรทันสมัย การจัดการขนส่งข้าวสูต่ ลาดในประเทศ และการส่งออก การตลาดและการค้าข้าว จนถึงการแปรรูป พูดง่ายๆ ว่าจะได้เรียนรู้และฝึกงานในขอบเขตที่กว้างขวางมาก ครบ กระบวนการในระบบธุรกิจเกษตรตั้งแต่ต้นน�้ำสู่ปลายน�้ำ พืชอืน่ ๆ ก็เช่นกัน นักศึกษาจะได้เรียนรูโ้ ดยความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ ทีส่ นับสนุนรวมตัวเป็นเครือข่ายทางการศึกษา เปิด โอกาสให้นักศึกษา IAM เข้าฝึกงาน เช่น เรียนรู้เรื่องอ้อยกับกลุ่มบริษัทน�้ำตาลมิตรผล เรียนรู้จักรกลเกษตรของพืชต่างๆ กับบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด เรียนรู้เรื่องยางธรรมชาติกับกลุ่มธุรกิจในสภาการยาง เป็นต้น
9
เรียนรูอ้ ย่างเยอะกว่าจะได้เป็นนักจัดการเกษตร ช่วงแรก IAM เปิดสอนด้านพืช โดยเน้นพืชเศรษฐกิจหลักได้แก่ ข้าว ยาง ปาล์ม อ้อย และ มันสำ�ปะหลัง เพราะพืชหลัก 5 ชนิดนี้ เมื่อรวมพื้นที่ปลูกแล้วมีประมาณ 110 ล้านไร่ จาก พื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศ 150 ล้านไร่
110 ล้านไร่
40 ล้านไร่
ถึงเรียน 5 พืชเศรษฐกิจนี้เป็นหลัก แต่หลักสูตรการเรียนจะทำ�ให้นักศึกษามีพื้นฐานที่นำ� ความรู้ไปใช้กับพืชอื่นๆ เช่นพืชสวน หรือพืชไร่อื่นๆ เช่น ข้าวโพด และถั่วต่างๆ ได้
การเรียนด้านสัตว์ มีวิชาพื้นฐานเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์เชิงอุตสาหกรรม ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ� ซึ่งสามารถเลือกเรียนเป็นวิชาเลือกได้ เพื่อความครบถ้วนขององค์ความรู้ด้านวิทยาการเกษตร จึงออกแบบหลักสูตรโดยบูรณาการขึ้นเป็นวิชาใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น วิชา การจัดการสุขภาพพืชนั้นเป็นการรวมวิชาการจัดการวัชพืช วิชากีฏวิทยาและวิชาโรคพืชเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งวิชา เพื่อลดภาระด้าน เวลาและจำ�นวนหน่วยกิตให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง
10
วิชาด้านบริหารจัดการ
วิชาด้านเศรษฐศาสตร์และการจัดการ เช่น วิชาบัญชีและการ เงิน IAM จะไม่สอนให้เป็นนักการบัญชีนักการเงิน แต่สอนให้ เข้ า ใจหลั ก การ สามารถใช้ ข ้ อ มู ล ทางบั ญ ชี ท างการเงิ น มา วิเคราะห์ผลการด�ำเนินงาน ใช้วางแผนการด�ำเนินงาน การ ตัดสินใจในการลงทุน เป็นต้น วิชาส่วนนี้จะสร้างพื้นฐานด้าน การจัดการให้แก่นกั ศึกษา ซึง่ มีวชิ าทีส่ ำ� คัญๆ คือ วิชาการจัดการ ฟาร์มทันสมัย วิชาการเพิ่มประสิทธิภาพและการวัดผลงาน วิชาการรวบรวมวัตถุดิบ การแปรรูป/โลจิสติกส์ ซัพพลายเชน วิชาการตลาดเกษตร ตลาดซื้อขายล่วงหน้า วิชากฎหมายและ มาตรฐานการเกษตร วิชาบัญชี การเงิน การวิเคราะห์ การ ตั ด สิ น ใจลงทุ น วิ ช าการจั ด การทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ วิ ช าการ ประชาสัมพันธ์และการสื่อสารการตลาด เป็นต้น
วิชานวัตกรรมใหม่ๆ
เมือ่ นีค่ อื หลักสูตรนวัตกรรมการจัดการเกษตร หลายวิชาทีเ่ รียน จึงต้องเกีย่ วกับการเกษตรทีม่ นี วัตกรรมและเทคโนโลยีทนั สมัย ตัวอย่างวิชาที่นักศึกษา IAM จะได้เรียน เช่น การเรียนวิชา ภูมิอากาศเกษตร จะมีความรู้ในการประมวลข้อมูลฝนฟ้า อากาศจากภาพถ่ายดาวเทียม หรือ วิชาเกษตรกรรมแม่นย�ำสูง (Precision Agriculture) ทีน่ ำ� เอาระบบภูมศิ าสตร์สารสนเทศที่ ใช้ข้อมูลเป็นภาพถ่ายจากดาวเทียม (GIS) มาท�ำงานร่วมกับ ระบบก�ำหนดต�ำแหน่งบนโลก (GPS) ควบคุมจักรกลเกษตรเช่น รถแทรกเตอร์กับเครื่องใส่ปุ๋ย ให้สามารถใส่ปุ๋ยลงในแปลง เกษตรได้ตามระดับความสมบูรณ์ของดิน ซึ่งผ่านการวิเคราะห์ ที่ควบคุมผ่านระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วย ระบบสือ่ สารไร้สายอย่าง Wi-Fi หรือ 3G ตัวอย่างนีแ้ ค่วชิ าเดียว ในการเรียนจริงๆ จะมีอีกหลากหลาย
11
IAM กับสังคม
ในอนาคตอันใกล้ เพียงไม่เกิน 16-17 ปี จำ�นวนประชากรโลกจะแตะหลักหกพันล้านคน นั่นหมายถึงหกพันล้านปากท้องที่ต้องเลี้ยงดู ความมั่นคงทางอาหารและ ความมั่นคงด้านพลังงานของโลก จำ�เป็นต้องได้รับการวางแผน และบริหารจัดการ
ขณะที่ประชากรเพิ่มจ�ำนวนขึ้นทุกนาที แต่พื้นที่ผลิตทรัพยากรการเกษตรมีอยู่อย่างจ�ำกัด เมื่อโลกเราเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกอาหาร มากไปกว่านี้ไม่ได้แล้ว จึงต้องเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นในพื้นที่จ�ำกัดนั่นเอง การจัดการเกษตรจะเป็นวิชาชีพทีม่ คี วามส�ำคัญในการสร้างความมัน่ คงทางอาหาร พลังงาน และสิง่ แวดล้อมให้แก่สงั คม อาจพูด ได้ว่า นักจัดการเกษตร หรือ IAM ของ PIM จะเป็นนักวิชาชีพที่มีบทบาทส�ำคัญในการขับเคลื่อนการเกษตรของประเทศให้ ตอบสนองอย่างยั่งยืนต่อความต้องการของสังคมได้
สลัดภาพเกษตรกรยุคเก่า
แม้วันนี้ มีเกษตรกรจ�ำนวนหนึ่งประสบความส�ำเร็จในอาชีพการเกษตร มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมดี ใช้เทคโนโลยีทันสมัยมา ประยุกต์ท�ำการเกษตรให้สะดวกสบาย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง แต่ภาพของเกษตรกรผู้ท�ำงานหนัก หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน มี ชีวิตยากล�ำบากยังคงเป็นภาพจ�ำของคนส่วนใหญ่ นี่จึงเป็นภารกิจหนึ่งของ IAM ที่จะถ่ายทอดความจริงเกี่ยวกับนวัตกรรม การจัดการเกษตร เพื่อให้สังคมเห็นและเข้าใจว่าโลกของนักการเกษตรยุคใหม่ มีผลตอบแทนที่ดี มีเกียรติและศักดิ์ศรีในวิชาชีพ ที่น่าภาคภูมิใจ และมีคุณค่าต่อสังคมอย่างยิ่ง 12
PIM Underline
อ.มนตรี คงตระกูลเทียน
คณบดีคณะใหม่ล่าสุดของ PIM ชือ่ ของ อ.มนตรี คงตระกูลเทียน อาจไม่เป็นทีร่ จู้ กั โดยทัว่ ไป แต่ ถ้าในแวดวงธุรกิจเกษตรระดับชาติ ชือ่ นีค้ อื นักบริหารทีเ่ ก่งกาจ เปี่ยมด้วยประสบการณ์ 33 ปี ในแวดวงธุรกิจภาคเกษตรเครือ เจริญโภคภัณฑ์ ปัจจุบันด�ำรงต�ำแหน่ง รองประธานกรรมการ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ท�ำให้เมื่อรับ ต�ำแหน่งคณบดีคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร ของ PIM จึง มั่นใจได้ว่า IAM จะมีหลักสูตรและการบริหารที่เข้มแข็ง เพื่อ สร้างนักจัดการการเกษตรมืออาชีพให้แก่ประเทศได้ “ผมลงพืน้ ทีด่ ว้ ยตัวเอง เพือ่ ค้นหานักศึกษาช้างเผือก ทีส่ นใจ รัก ภูมใิ จในอาชีพเกษตร มีพนื้ ฐานการเกษตร หรือเป็นลูกหลาน เกษตรกร มีวุฒิภาวะดี มีความคิดริเริ่ม มีความมุ่งมั่นที่จะท�ำให้ ประเทศไทยและอาเซียนเป็นเกษตรทันสมัย มีศักยภาพพร้อมที่ จะท�ำธุรกิจการเกษตรรุ่นใหม่บอกลาความยากจน จุดเด่นของหลักสูตรมุ่งสร้างบัณฑิตนักจัดการเกษตร เน้น การสอนให้ รู ้ เ รื่ อ งเกี่ ย วกั บ พื ช ส� ำ คั ญ ทางเศรษฐกิ จ มี ข ้ า ว ยางพารา อ้อย มันส�ำปะหลัง ปาล์ม และทุเรียน เป็นวิชาพื้นฐาน ทางการเกษตร เรียนรู้นวัตกรรมทันสมัยที่มีการใช้เครื่องมือ และห้องปฏิบัติการจะไปเรียนกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักศึกษาจะได้เรียนรูก้ ารรวบรวม การจัดซือ้ การจัดการวัตถุดบิ รู้เรื่องบัญชี การเงินและการวางแผนธุรกิจ รู้การจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ รู้เรื่องการเป็นนักประชาสัมพันธ์ที่ดี” ประวัติการศึกษา
ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์เกษตร (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาโทการจัดการธุรกิจเกษตร UNIVERSITY OF THE PHILIPPINES โดยได้รับทุนร็อกกี้เฟลเลอร์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
13
ปกติ ค อลั ม น์ ค นเก่ ง PIM จะแนะน� ำ นั ก ศึ ก ษาคนเก่ ง ของ สถาบันฯ แต่ PIM Magazine ฉบับเปิดตัวคณะนวัตกรรมการ จัดการเกษตร (IAM) ฉบับนี้จะพาไปรู้จักว่าที่นักศึกษารุ่นแรก ของ IAM เติบโตจากสังคมที่แตกต่างกัน แต่มีความคิดความ อ่านน่าสนใจไม่แพ้กันเลย
ตั้ม ชัชวีร์ นามวัฒน์
เด็ ก กรุ ง เทพฯ เรี ย นจบจากสายวิ ท ย์ - คณิ ต จากโรงเรี ย น วัดบวรนิเวศ โตมาในครอบครัวท�ำการค้าและข้าราชการ แต่ สนับสนุนอย่างมากให้มาเรียนในคณะนวัตกรรมการจัดการ เกษตร คณะใหม่ล่าสุดของ PIM โดยได้รับทุนเพชรเกษตร ทุนการศึกษายกเว้นค่าเล่าเรียนส�ำหรับนักเรียนทีม่ เี กรดเฉลีย่ 3.00 ขึ้นไป
ชัดเจน เลือก IAM เพราะชอบงานบริหาร
รูจ้ กั คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตรจากการแนะน�ำของคุณป้า ที่ ได้ฟังบรรยายจาก อ.มนตรี คงตระกูลเทียน คณบดีเอง ตอนแรกที่ ได้ฟงั ก็ไม่แน่ใจว่าจะใช่ตวั ผม ใช่สงิ่ ทีผ่ มอยากเรียนจริงๆ หรือเปล่า ตอนแรกก็กลัวว่าจะต้องไปลงมือท�ำอย่างนัน้ เลยเหรอ แต่กไ็ ม่ใช่ไป เรียนท�ำเกษตรทัง้ หมด เพราะเรียนหลายแบบ แล้วถ้าให้ลงมือท�ำก็ คิดว่าดีกว่าได้นั่งเรียนแค่ในห้องเรียน พอได้ขอ้ มูลมากขึน้ เลยเข้าใจว่าเป็นหลักสูตรด้านบริหาร เลยคิดว่า ชอบ ไม่ได้ไปเลือกสอบหรือแอดมิชชั่นที่อื่นเลย ตั้งใจมาเรียนที่นี่ เลย เพราะผมอยากเรียนด้านบริหาร ชอบอะไรที่เป็นการจัดการ ความคิด แล้วคณะนีจ้ ะท�ำให้เกิดทัง้ ความคิดและการลงมือท�ำ เลย คิดว่าน่าจะใช่ทางผม คงเรียนไม่น่าเบื่อ
คณะใหม่ สถาบันยังไม่ดัง ไม่กลัวหรือ
ไม่ครับ ผมกลับคิดว่าคณะนี้เพียบพร้อม อาจมีจุดด้อยที่เป็นคณะ ใหม่ ยังไม่มีชื่อเสียง แต่ความรู้จากอาจารย์อย่างท่านคณบดี ท่าน มีประสบการณ์ 33 ปี ท�ำให้เชื่อว่าเมื่อเรียนจบออกมาจะสามารถ เป็นได้ทั้งผู้บริหารและผู้จัดการ คือเป็นทั้งผู้คิดและผู้ท�ำได้ครับ อีกอย่าง ผมคิดว่าการเรียนบริหารแต่ถ้าไม่มีธุรกิจของที่บ้าน เราก็ จะเริ่มต้นยาก แต่ที่นี่เรียนจบแล้วมีโอกาสจะได้ท�ำงานกับบริษัทที่ ใหญ่ที่สุดอย่างซีพี อยากให้มองว่าคณะนี้พร้อมรับคนที่มีความ สามารถ อย่ากลัวว่ามันไม่มีชื่อเสียง แล้วจะท�ำให้เราไม่ประสบ ความส�ำเร็จ 14
อัฐ อัจฉราภรณ์ นิลผาย
สาวน้อยสายเลือดเกษตรกรเต็มตัว มาไกลจากอ�ำเภอนามน จังหวัด กาฬสินธุ์ อยู่กับพ่อแม่ ตายาย และน้องชายหนึ่งคน ในครอบครัว เกษตรยุคปัจจุบันที่พอว่างจากฤดูท�ำเกษตร แม่ก็ไปขายข้าวแกง พ่อก็เข้ากรุงเทพฯ มาค้าขาย
เติบโตอย่างแข็งแกร่งในครอบครัวเกษตรกร
พ่อแม่ตายายคือเกษตรกร ท�ำนาปลูกข้าว ท�ำไร่ปลูกอ้อย ปลูกมัน ส�ำปะหลัง ครอบครัวเกษตรกรขยันขันแข็ง เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ หน้า หนาวปลูกผักสวนครัว และเพาะเห็ดนางฟ้าขาย คุ้นเคยกับงาน เกษตรกรรม ช่วยพ่อแม่ทำ� นาใส่ปยุ๋ มาตัง้ แต่เด็ก เมือ่ ถามว่ามาเรียน IAM ต้องลงมือท�ำเกษตรจริงๆ ด้วยนะ เธอตอบว่า “หนูไม่กลัว เพราะหนูทนแดดทนฝนอยู่แล้ว”
นอกจากเลือกเพราะโอกาสในอนาคต ยังเลือกเพราะนี่คือความชอบ
ก่อนจะรูจ้ กั IAM ก็สนใจจะเรียนต่อใน 2 สาย คือ สายวิทยาศาสตร์ สุขภาพในงานพยาบาล และสายเกษตรศาสตร์ตามวิถชี วี ติ ทีโ่ ตมา แต่จงั หวะพอดีเมือ่ พีจ่ ากมิตรผลมาแนะน�ำหลักสูตร IAM พร้อมทุน การศึกษาจากมิตรผล ก็สนใจเลยหาข้อมูลต่อในเว็บไซต์ของ สถาบันฯ โอกาสต่างๆ น่าสนใจก็จริง แต่ที่ส�ำคัญคือ พอคิดว่า ตัวเองมีพื้นฐานด้านเกษตร แล้วถ้าการเรียนทั้งนวัตกรรมและการ จัดการจะท�ำให้ต่อไป เรามีความรู้มาส่งเสริมสังคมเกษตรให้มีการ พัฒนาต่อไป ก็น่าจะเป็นงานที่ท�ำแล้วมีความสุข อัฐเรียนจบสายวิทย์-คณิต จากโรงเรียนสมเด็จพิทยาคม จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนตัดสินใจอย่างมุ่งมั่นมาเรียนในคณะ นวัตกรรมการจัดการเกษตร PIM โดยรับทุนการศึกษาจากเครือ บริษัทน�้ำตาลมิตรผล ที่จะเรียนภาคปฏิบัติกับมิตรผลโดย เฉพาะ และโอกาสการท�ำงานกับเครือบริษัทน�้ำตาลมิตรผล เมื่อเรียนจบ 15
1 ปีเต็มแห่งการใช้ชีวิตที่โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่นของน้องๆ ทุนรุ่น 2 ได้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว PIM Magazine ไม่รอช้า ฉกตัว 3 ใน 5 คนที่สามารถปลีกเวลาจากภารกิจเรียนและทำ�รายงานเก็บหน่วยกิตก่อนจบการศึกษา มาดูกันเลยว่าเขาเกี่ยวประสบการณ์และความทรงจำ�เริ่ดๆ อะไรกลับมาฝากบ้าง เล่าให้ฟังหน่อยว่าปีหนึ่งไปทำ�อะไรมาบ้าง อั้ม เพียบค่ะ ตั้งแต่ที่พวกพี่รุ่น 1 กลับไป เราก็เริ่มปั่นจักรยานส�ำรวจเส้นทางกัน 3 วันแรกเราก็เจอหมดแล้ว ทั้งกงสุล ธนาคารกรุงเทพ ปราสาทโอซาก้า ได้ไปดูซากุระด้วย ส่วนแสงสีตอนกลางคืน พวกร้านทาโกะยากิ ร้านบุฟเฟต์หรือขายของ ต้องขี่จักรยานไป 3-4 กิโลเพราะย่านที่พักเขาปิดไฟเข้านอนกันเงียบตั้งแต่ 2 ทุ่มค่ะ พอเริ่มเปิดเรียนก็ได้เจอเพื่อนต่างชาติ เจออาจารย์ญี่ปุ่น ที่สอนเป็นภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น ต้องปรับตัวกับคันจิ ไวยากรณ์ เรียนสนุกอยู่ 3 เดือนก็ได้เวลาเริ่มท�ำงาน ก็เหนื่อยค่ะ แต่คนญี่ปุ่น ใจดี ช่วยสอนงานว่าท�ำอย่างนี้ถูกอย่างนี้ไม่ถูก มีไปเที่ยวกับเพื่อนบ้าง ที่โรงเรียนก็จะมีทัศนศึกษาทุกสามเดือนครั้ง ส่วนใหญ่ก็ พาไปเที่ยววัด หลิว ได้ประสบการณ์เยอะมากค่ะ มีอาสาสมัครคนญี่ปุ่นที่มาช่วยเราในเรื่องของ ภาษา เหมือนเป็นบัดดีก้ บั เรา แล้วก็มเี พือ่ นนานาชาติเยอะเลย ได้แลกเปลีย่ น ความคิดเห็น เปิดโลกกว้างมากขึ้น รู้สึกตัวเองโตขึ้น คิดเยอะขึ้น รู้แล้วค่ะว่า คนเราไม่ใช่แค่มาเรียนแล้วกลับบ้าน นั่นยังไม่พอส�ำหรับการเรียนรู้ในชีวิต ตอนนี้ก็ยังติดต่อเพื่อนๆ ที่โน่นอยู่ค่ะ 16
เป็นอาหารญี่ปุ่นที่ผมชอบมากครับ (kamatama udon)
ประทับใจอะไรที่สุด เพชร ผมประทับใจหลายเรื่องครับ แต่ถ้าให้เลือก ขอเลือกตอนที่ไปท�ำเรื่องผ่อนผันทหารที่ญี่ปุ่นครับ การผ่อนผันในต่างประเทศ ขึ้นชื่อ ว่ามีขั้นตอนที่เข้มข้นดุเดือดและท้าทายมาก ตอนนั้นผมเพิ่งลงจากเครื่องบินได้ไม่ถึงอาทิตย์เองครับ เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็น จุดเริ่มต้นให้ผมตระหนักถึงความส�ำคัญของการพึ่งตนเอง ไม่ว่าจะอยู่เมืองไทยหรือที่ใดในโลกก็ตามครับ หลิว ประทับใจสวนสนุก Universal Studios Japan มากๆ ถ้ามีโอกาสก็จะไปอีกแน่นอน แล้วก็ประทับใจอาสาสมัครค่ะ เราเห็น วัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างหนึ่งจากเค้า คือการให้ความใส่ใจกับคนอื่นมากๆ โดยเฉพาะคนที่เค้าดูแลอยู่ คนที่ร้านก็เหมือนกัน ไปช่วง แรกๆ เค้า Brief งานเราเยอะมาก เพราะเค้าต้องการให้เราเรียนรู้ได้เยอะที่สุด ที่ร้านต้องท�ำงานแข่งกับเวลา ทุกอย่างต้องเร็ว แต่ คนที่ร้านก็คอยช่วยแนะน�ำตลอด อั้ม อัม้ ประทับใจโออิชเิ ซ็นเซ อาจารย์ที่ YMCA ทีค่ อยดูแลพวกเราทัง้ 5 คน แล้วก็เจ้าของร้านทีเ่ มตตาและให้โอกาสอัม้ มาก ก่อนกลับ อั้มก็ไปขอบคุณเค้า ร้องไห้เลย เค้ามักจะสอนอั้มว่า ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา ต้องตรงต่อเวลา ต้องเรียบร้อย
เซเว่นที่ญี่ปุ่นต่างจากเมืองไทยอย่างไร อั้ม ชอบตรงที่ไม่ว่าคนปกติหรือคนพิการก็สามารถเข้าเซเว่นที่ญี่ปุ่นได้ บ้านเราจะมีบันได คนพิการนั่งรถเข็นไม่สามารถเข้าเซเว่นได้ ด้วยตัวเอง แต่ที่ญี่ปุ่นไม่มีบันได หรือถ้ามีก็ยังมีทางลาดให้เข้าได้ เพชร ค่าแรงในการฝึกงาน/ท�ำงานที่เซเว่นสูงมากครับถ้าเทียบกับบ้านเรา แล้วผู้ร่วมงานก็มีตั้งแต่คุณยายวัยเกษียณ (72 ปี) นักศึกษา ปริญญาเอก หรือผู้จัดการธนาคาร อีกเรื่องที่ต่างคือ ทุกร้านเป็นร้านแฟรนไชส์ ซึ่งหมายความว่าเจ้าของร้านคือผู้มีอ�ำนาจ ตัดสินใจสูงสุด
ได้เจอน้องรุ่น 3 ไหม ฝากอะไรไว้ให้พวกเขาบ้าง อั้ม เจอค่ะ ช่วยกันขนของอย่างเมามัน น้องพักอยู่อีกที่ ห่างกันคนละมุมเมืองเลย ก็แนะน�ำวิธีขึ้นรถเมล์ รถไฟ ก่อนกลับก็พาไปลอง นั่ง แล้วก็พาน้องไปปราสาทโอซาก้าด้วย หลิว พาน้องเทีย่ วเลยค่ะ ไปดูเส้นทาง สถานทีต่ า่ งๆ ส่วนข้าวของก็ให้มาเลือกเลยว่าจะเอาอะไร ก็ทงิ้ ไว้ให้เลย แล้วก็แนะน�ำให้นอ้ งเก็บ เกี่ยวประสบการณ์เยอะๆ มันไม่ได้มีโอกาสแบบนี้ทุกคน หนึ่งปีเลยนะที่ได้มาอยู่ที่นี่ ก็แนะน�ำว่าจะดูแลตัวเองยังไง ใช้ชีวิตยังไง
เรื่องที่ ได้เรียนรู้จากการไปฝึกงานครั้งนี้ หลิว เรือ่ งแรกคือการใช้ชวี ติ ต่างแดนค่ะ เราควรจะศึกษาวัฒนธรรมของเขาก่อนจะไป อย่างเรือ่ งกินเนีย่ คนญีป่ นุ่ เค้าจะกินด้วยตะเกียบ จะใช้ช้อนได้ก็ต่อเมื่อกินแกงกะหรี่เท่านั้น หลิวไม่รู้ไปขอช้อนเขา ก็เสียมารยาทโดยไม่รู้ตัวไปเลย อีกเรื่องคือได้เรียนรู้เรื่องการ เข้าหาคนโดยเฉพาะผูใ้ หญ่คะ่ ทีญ ่ ปี่ นุ่ ไม่เหมือนบ้านเรา ต่อให้สนิทกันแค่ไหน ก็ไม่สามารถคุยเหมือนคุยกับเพือ่ นได้คะ่ ต้องใช้รปู ประโยคส�ำหรับพูดกับผู้ใหญ่เท่านั้น อั้ม การตรงต่อเวลาเป็นเรื่องแรกเลยค่ะ คนญี่ปุ่นถือเรื่องนี้มาก นัดเวลาไหนควรไปถึงก่อนสัก 15 นาที ถ้าไปก่อนนานกว่านั้นก็ไม่ดี เพราะอาจจะไปรบกวนเขาอีก ภาษาญีป่ นุ่ ของอัม้ ก็ดขี นึ้ ค่ะ เรียกว่าสือ่ สารได้ (แต่อย่าพูดเร็วมากนะคะ ฟังไม่ทนั ) เรือ่ งส�ำคัญทีส่ ดุ ที่เรียนรู้คือ การรู้จักตัวเองมากขึ้น รู้ว่าอะไรเป็นข้อจ�ำกัดของเรา เราพลาดตรงไหน จุดนี้เรายังท�ำไม่ได้นะ ดังนั้นจงถาม ต้อง กล้าพูด กล้าถาม เพื่อนไม่ได้อยู่กับเราตลอดเวลา และการถามก็ไม่ใช่เรื่องน่าอาย เพชร 1. วินัยคือสิ่งที่จ�ำเป็นในการใช้ชีวิตที่ต่างแดน 2. การได้รับโอกาสมากกว่าผู้อื่น มิได้หมายความว่าเราจะเหนือกว่าคนอื่น 3. สาวไต้หวันสวยมากครับ
เป็นภาพวันรับใบ
ประกาศจบการศึกษ
าครับ
เป
งส่งขอ
คืนเลี้ย
กาศค่ำ� ็ บรรยา น
ครับ
นที่ร้าน
ร่วมงา งเพื่อน
17
เรื่องจีนจากซีหนาน
สถานที่ท่องเที่ยวประทับใจ สถานที่ท่องเที่ยวที่ประทับใจคือ “ฉือชี่โข่ว” (磁器口) อยู่ในเมืองฉงชิ่ง เป็นสถานที่ ท่องเที่ยวมีชื่อเสียงของเมือง มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติ ฉือชี่โข่วเป็น แหล่งท่องเทีย่ วแบบอารมณ์ยอ้ นยุค คลาสสิก อารมณ์ธรรมชาติโบราณๆ มาทีน่ จี่ ะได้ ชมทั้งสิ่งของโบราณและอาหารขึ้นชื่ออย่าง “ซวนล่าเฝิ่น” (酸辣粉) เป็นอาหาร ประเภทเส้นก๋วยเตีย๋ ว มีความเผ็ดเล็กน้อยใส่ถวั่ กับหมูสบั ตัวเส้นคล้ายวุน้ เส้นแต่เส้น หนากว่า ถ้ามาถึงต้องทานให้ได้ และต้องเดินชมให้ทวั่ หากใครมีชอื่ จีน ทีน่ มี่ รี า้ นเขียน ชือ่ จีนเป็นอักษรจีนโบราณด้วย สวยงามมากครับ แล้วยังมีการแกะสลักชือ่ ลงบนตรา ปั๊มด้วย ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความคลาสสิกมากครับ ถ้าใครชื่นชอบท่องเที่ยว แบบอารมณ์ศิลปะเก่าๆ คลาสสิกๆ ถ้าได้มาฉงชิ่งต้องมาเยือนที่นี่ให้ได้ครับผม พงศกร ตรงปัญญาโชติ
เดือนเมษายนเป็นฤดูที่ดีที่สุดของมหานครฉงชิ่ง ลมแผ่วๆ ในฤดูใบไม้ผลิ ท�ำให้เย็น กายสบายใจ และในช่วงเวลาแห่งการผลิบานนี้เอง มีสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ไกลจาก มหาวิทยาลัยซีหนานนัก สามารถเดินจากประตูทางด้านทิศเหนือไปประมาณ 600 เมตร ก็ถึงบริเวณริมแม่น�้ำเจียหลิงเจียง ที่นี่เราจะได้เจอผู้คนทุกเพศทุกวัยตั้งแต่เด็ก จนถึ ง ผู ้ สู ง อายุ ที่ ริ ม แม่ น�้ ำ จะได้ เ ห็ น การเล่ น ไพ่ น กกระจอก วั ฒ นธรรมอั น เป็ น เอกลักษณ์ ในทัศนะของชาวจีนการเล่นไพ่นกกระจอกถือเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ด้วยสภาพภูมปิ ระเทศเป็นภูเขาท�ำให้แม่นำ�้ เจียหลิงเป็นช่องลมพัดผ่าน จึงมีลมเหมาะ แก่การเล่นว่าวของเด็กๆ
18
บริเวณริมน�้ำมีโต๊ะไว้บริการ เราสามารถเช่าโต๊ะนั่งแค่คนละห้าหยวนเท่านั้น และ บริการน�้ำชาฟรีด้วย ส่วนใหญ่ผมสั่งชามะลิกลิ่นหอมชื่นใจ ยังมีของทานเล่นท้องถิ่น ที่มีรสชาติแปลกดี ซึ่งเป็นรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองนี้คือ “หมา-ล่า” (麻辣) โดยมีเครือ่ งเทศฮวาเจียวทีท่ ำ� ให้เกิดความรูส้ กึ เผ็ดชาปากทุกครัง้ นอกจากรสชาติเป็น เอกลักษณ์แล้ว ยังมีกลิน่ ฉุนแรงตลบอบอวลไปทัว่ ตลาด แต่เมือ่ น�ำมาปรุงอาหารแล้วมีรสชาติหอมอร่อยน่าประหลาดใจ สิง่ ทีผ่ ม มักจะซื้อทานก็คงต้องเป็น “หมา-ล่าช่วน” (麻辣串) เป็นไส้กรอกลูกชิ้น เครื่องใน เต้าหู้ เห็ดชนิดต่างๆ ผักชนิดต่างๆ มาเสียบไม้ และน�ำไปต้มกับน�้ำหมา-ล่าแล้วหาบมาขายถึงที่นั่งเลยครับ
เรื่องจีนจากซีหนาน บันทึกประสบการณ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2-3 สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ PIM ระหว่างเรียนและใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยซีหนาน นครฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
ในวันสุดสัปดาห์ผมกับเพือ่ นไปนัง่ เล่นริมน�ำ้ อยูบ่ อ่ ยๆ เพือ่ นชาวจีนยังสอนเล่นไพ่นกกระจอก ผมจึงได้เรียนรูว้ ฒ ั นธรรมทีม่ มี านาน กว่าพันปี และผมกับเพือ่ นชาวจีนก็เช่าเตาปิง้ ย่าง เลยได้ปง้ิ ไปพูดคุยกันไปอย่างสนุกสนาน กินอิม่ ก็เอนหลังนอนรับลมเย็นๆ ทีพ่ ดั ผ่านช่องเขา ช่างเป็นอากาศที่บริสุทธิ์เย็นสบายจริงๆ สถานที่ท่องเที่ยวที่ผมชอบที่สุดจึงไม่จ�ำเป็นต้องเดินทางไปไกลหรือต้องมีชื่อเสียงก็ได้ เพียงแค่เป็นสถานที่ที่ทุกครั้งไปแล้วท�ำให้ มีความสุข เดินทางสะดวก สามารถไปได้ตลอดเมื่ออยากจะไป ทินกร สมบุญมา การมาประเทศจีนครั้งนี้ นอกจากการเรียนในห้องเรียน สิ่ง ส�ำคัญที่สุดคือได้เรียนรู้วัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ และรู้จัก สถานทีต่ า่ งๆ ในประเทศจีน ผมจึงตัง้ ใจว่าทุกสุดสัปดาห์ตอ้ งไป เที่ยวสักที่หนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นเมืองและมณฑลใกล้ๆ ฉงชิ่ง โดย เฉพาะด้านที่ผมสนใจคือประวัติศาสตร์และธรรมชาติ ก่อนเดินทางทุกครั้ง ผมให้ความส�ำคัญกับการเตรียมตัว อย่าง เช่นสัปดาห์นจี้ ะไปเฉิงตูโดยรถไฟ สามารถเข้าไปเช็คและซือ้ ตัว๋ ในเว็บไซต์ www.12306.cn นี้ได้ โดยเราสามารถเลือกขบวน รถไฟแบบช้า 4 ชม. คือ รหัส K และแบบเร็ว 2 ชม. รหัส T ซึ่ง แล้วแต่โอกาสครับ ว่ารีบหรือไม่รีบ
สถานีรถไฟ พอถึงสถานีก็แค่ยื่นพาสปอร์ตขอรับตั๋วได้เลย สถานที่ท่องเที่ยวสุดประทับใจของผม คือมณฑลยูนนาน เขต ปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา หรือชนชาติไตลื้อมีวิถี ชีวิตไม่แตกต่างจากคนไทยในภาคเหนือเลย ทั้งการพูดจา อาหารการกิน การแต่งกาย และที่พักอาศัย ผู้คนที่นั่นเป็นมิตร ครับ ผมมีโอกาสไปร่วมเทศกาลวันตรุษจีนทีน่ นั่ โดยมีเพือ่ นชาว ไตลื้อเป็นไกด์พาเที่ยว และได้พาไปกินข้าวที่บ้านวันตรุษจีน ตอนแรกผมก็แนะน�ำตัวว่าเป็นคนไทยมาจากเชียงใหม่ คนใน บ้านฮือฮามาก ครอบครัวนีค้ นเยอะมาก มากันถึง 20 คน อาหาร ที่จัดเลี้ยงมี หนังปอง แอ็บหมู ไส้อั่ว ฯลฯ แต่ละคนใส่ชุดไตลื้อ สวยงาม ความรูส้ กึ ตอนนัน้ เหมือนผมได้กลับมาบ้านมากินข้าว กับญาติพี่น้องเลยครับ
ส่วนโรงแรมที่พักก็เข้าเว็บไซต์ www.qunar.com แค่บอก ต�ำแหน่งเมืองและสถานที่ที่อยากไปพักใกล้ๆ ก็จะแสดงข้อมูล ให้หมดเลย แถมลดราคาให้อีกด้วย แต่ก่อนจ่ายเงินเราก็ต้อง การท่ อ งเที่ ยวทุ กอาทิ ตย์ ข องผมนอกจากจะได้ พบกั บ ผู ้ค น โทรไปสอบถามรายระเอียดก่อนว่า มีหอ้ งราคานีอ้ ยูไ่ หมและจะ มากมายแล้ว ยังได้เจอกับประสบการณ์ใหม่ๆ ซึง่ ไม่วา่ จะดีหรือ เข้าพักเมื่อไหร่ ถึงจะจ่ายเงิน ถึงวันเดินทางก็แค่ขึ้นรถเมล์ไป ร้าย ก็เป็นครูสอนผมในการออกเดินทางครั้งต่อไป
ศัพท์รถไฟจีน โดยกิตติศักดิ์ รถไฟ “หั่วเชอ” (火车), สถานีรถไฟ “หั่วเชอจ้าน” (火车站) ทั้งนี้ในจีนก็มีรถไฟหลายแบบ โดยขึ้นต้นด้วยอักษรย่อภาษาอังกฤษ รหัส K รถเร็ว “ไคว่เชอ” (快车) แต่ไม่ได้เร็วสมชื่อนะครับ เป็นรถไฟที่ช้าที่สุดเพราะจอดเกือบทุกสถานี รหัส T ด่วนพิเศษ “เท่อไคว่” (特快) มีความเร็วกว่าแบบ K นิดหน่อยเพราะจอดเฉพาะสถานีส�ำคัญ รหัส Z รถด่วนสายตรง “จื๋อต๋า” (直达) จะเร็วกว่าสองแบบแรก โดยวิ่งระหว่างเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง รหัส D รถด่วนพิเศษสายสั้น “ต้งเชอ” (动车) จัดว่าเป็นรถไฟความเร็วสูง วิ่งเฉพาะเมืองใหญ่ๆ รหัส C รถความเร็วสูงทางใกล้ “เฉิงจี้ต้งเชอ” (城际动车) วิ่งได้เร็ว 300 กม./ชม. แต่มีเฉพาะเส้นสั้นๆ รหัส G รถความเร็วสูงทางไกล “เกาซู่ต้งเชอ” (高速动车) เป็นรถไฟความเร็วสูงทางไกลที่เร็วที่สุด กิตติศักดิ์ ค�ำเครือ 19
อ.คทาเทพ พงศ์ทอง ajarnkathathep@hotmail.com
Smart Farm เกษตรกรรมอัจฉริยะ หนึง่ ในปัจจัยสีท่ สี่ ำ� คัญต่อความอยูร่ อดของมนุษย์คอื “อาหาร” ซึง่ การท�ำเกษตรกรรมเป็นแหล่งอาหารหลัก ทีม่ นุษย์ตงั้ แต่สมัย บรรพกาลสั่งสมและสืบทอดมาถึงปัจจุบัน เพราะไม่สามารถ แสวงหาอาหารจากธรรมชาติได้เพียงพอต่อความต้องการของ อัตราการเกิด มนุษย์จงึ ต้องคิดว่าท�ำอย่างไรจึงจะมีอาหารเพียง พอต่อความต้องการ นี่คือค�ำถามส�ำคัญที่ไม่อาจรอค�ำตอบได้ นาน เพราะค�ำตอบคือ “ชีวิต”
ใหญ่ของไทย ก็พฒ ั นาเทคโนโลยีเพือ่ รองรับกับความแปรปรวน ของสภาพดินฟ้าอากาศ แมลง และโรคศัตรูพืชที่เพิ่มขึ้น
สินค้าเกษตรรายใหญ่โดยเฉพาะผลไม้รสดี ไม่ต่างจากหลาย ประเทศในยุโรปที่ผลิตผลไม้และดอกไม้เมืองหนาวที่สวยจน เหมือนของประดิษฐ์ เช่นเดียวกัน ญี่ปุ่น ก็มีทั้งนักพัฒนาและ พ่อค้าตัวฉกาจรายหนึ่งของโลกที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้พืชผลทาง การเกษตร แม้กระทั่งเอกชนผู้ผลิตข้าวและสินค้าเกษตรราย
หลายท่านทีป่ ลูกผัก เก็บผลไม้ ในแท็บเล็ตอยูท่ กุ เช้า เห็นจะต้อง ลองหาที่ทางปลูกต้นไม้ใบเขียวจริงๆ กันดูสักที นอกจากจะ เพลิดเพลินและได้ความภูมิใจแล้ว บางทีลองค้นหาเทคโนโลยี เกษตรง่ายๆ ใกล้ตัวมาใช้ อาจจะสนุกและน่าตื่นใจกว่าเก็บผัก ในแอพก็เป็นได้
ระบบอัจฉริยะนี้สามารถค�ำนวณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นต้นทุน การเพาะปลูกและเพาะเลี้ยงสัตว์ได้อย่างแม่นย�ำ พร้อมกับ ค�ำนวณการให้ปุ๋ยแก่พืช ให้อาหารสัตว์ ได้อย่างพอดีและตรง เวลา รวมทั้ ง ควบคุ ม อุ ณ หภู มิ ไ ด้ ต ามสภาวะแวดล้ อ มที่ เปลีย่ นแปลงไปได้ จึงท�ำให้เกษตรกรท�ำงานได้งา่ ยขึน้ ลดความ จากสังคมหาของป่า ล่าสัตว์ เปลี่ยนเป็นสังคมเกษตรกรรม กังวลในการคาดเดาผลผลิต แม้ระบบนี้การันตีผลผลิตได้ค่อน มนุษย์เรียนรูก้ ารเพาะปลูก เลีย้ งสัตว์ ไม่ตอ้ งเร่รอ่ นไปหาอาหาร ข้างแม่นย�ำ แต่การลงทุนสูงจึงท�ำให้เกษตรกรรมอัจฉริยะยัง เลือกตั้งรกรากในเขตอุดมสมบูรณ์ใกล้แหล่งน�้ำ เพราะน�้ำเป็น ไม่ใช่ทางเลือกในหลายชุมชนเกษตร ทรัพยากรส�ำคัญในการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์และเลี้ยงชีพ จึง แต่ในประเทศทีเ่ ศรษฐกิจดีๆ และพืน้ ทีร่ าบส�ำหรับเพาะปลูกหา ไม่แปลกทีช่ มุ ชนเก่าแก่ทวั่ โลกถือก�ำเนิดในบริเวณแม่นำ�้ ส�ำคัญ ได้ยากยิ่ง "Vertical Farming หรือ เกษตรกรรมแนวตั้ง" จึงเป็น วันนี้ มีระบบ “Smart Farm หรือ เกษตรกรรมอัจฉริยะ” หรือบาง อีกทางเลือกหนึง่ ในการเพาะปลูกและท�ำการเกษตร ดังตัวอย่าง ครั้งเรียกว่า เทคโนโลยีการเกษตร คือการน�ำความรู้ด้านการ ที่ก�ำลังจะเกิดขึ้นในเมืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วย เพาะปลู ก เลี้ ย งสัต ว์ และการท�ำประมง มาบูร ณาการกั บ เทคโนโลยีของระบบ Smart Farm และการปลูกแบบ 3 มิติ เทคโนโลยี เกิดเป็นการท�ำเกษตรทีม่ ปี ระสิทธิภาพ เช่นทีเ่ กิดขึน้ พร้อมเทคโนโลยีที่ครบถ้วน ควบคุมการใช้พลังงาน หรือการใช้ ในสหรั ฐ อเมริ ก าที่ มี พื้ น ที่ เ พาะปลู ก กว้ า งใหญ่ ไ พศาล, จี น พลังงานแสงอาทิตย์ในอาคาร ตลอดจนระบบการจัดการน�้ำ มหาอ�ำนาจที่ทวีความส�ำคัญในการเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตร และของเสียทีม่ ปี ระสิทธิภาพ จึงถูกน�ำมาใช้ในเมืองทีท่ กุ ตาราง ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก, ออสเตรเลีย อีกหนึ่งผู้ส่งออก นิ้วมีราคายิ่งกว่าทอง
20
ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร porpostbox@hotmail.com
ชุดหุ่นยนต์สำ�หรับงานด้านการเกษตร “หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน” เป็นค�ำเปรียบเปรย หมายถึง ภาระงานอันหนัก มักหมายถึงชาวไร่ชาวนา ซึ่งในเวลาท�ำไร่ท�ำนาหลังต้องสู้ กับแดด และหน้าต้องก้มลงดิน อย่างไรก็ดีนิยามของค�ำนี้อาจเปลี่ยนแปลงไป เมื่อมีนวัตกรรมมาช่วยท�ำงาน คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยโตเกียว ได้ออกแบบชุดหุ่นยนต์ส�ำหรับงานด้านการเกษตร เพื่อวิถีชีวิตเกษตรกรแบบ เดิมๆ โดยชุดต้นแบบนี้มีน�้ำหนักราว 25 กิโลกรัม ประกอบไปด้วย มอเตอร์ 8 ตัว และเซ็นเซอร์ จ�ำนวน 16 ชุด ซึ่งชุดหุ่นยนต์นี้จะ ช่วยให้ชาวนาชาวไร่สามารถยกของหนักได้ ช่วยพยุงเมื่อก้มหรือเงยท�ำให้ไม่ปวดหลัง รวมถึงช่วยพยุงยกแขนในงานต่างๆ แม้ว่าในชุดต้นแบบนี้ยังมีขนาดที่เทอะทะอยู่ แต่การพัฒนายังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องท�ำให้ชุดมีขนาดที่เล็กลงเรื่อยๆ คาดว่าใน อีกสองปีข้างหน้าจะพร้อมจ�ำหน่ายให้เกษตรกรซื้อไปใช้งานได้จริงๆ
21
เรื่องเล่าขององค์กรบิ๊กไซส์
มนตกานต์ วีรชัยเดชอุดม montakanwer@cpall.co.th
กลับมาอีกครั้งกับคอลัมน์ เล็กๆ พร้อมเรือ่ งเล่าขององค์กร ระดับบิ๊กฉบับรับหน้าฝนและสีเขียว สดใสของธรรมชาติ ด้วยบรรยากาศพาไป ในฉบับนี้ พี่ๆ ขอน�ำเรื่องราวขององค์กรยักษ์ ใหญ่ในอุตสาหกรรมอ้อย น�ำ้ ตาล และชีวพลังงานของ ไทย ทีป่ ระสบความส�ำเร็จในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพือ่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจและสังคมรอบข้าง มาเล่าให้ฟัง แน่นอนว่า หากน้องๆ คนไหนต้องการเติมความหวานให้กบั ชีวติ คงจะไม่มีใครไม่รู้จักองค์กรแห่งนี้ “กลุ่มมิตรผล” นั่นเอง “กลุ่มมิตรผล” เริ่มต้นจากธุรกิจในครัวเรือนขนาดเล็กที่จังหวัด ราชบุรี เมื่อ พ.ศ.2489 ด้วยการผลิตน�้ำเชื่อมเข้มข้นส่งขายให้ โรงงานผลิตน�้ำตาล ประสบการณ์ธุรกิจน�้ำตาลที่เพิ่มมากขึ้น จากธุรกิจเล็กจึงพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมโรงงานที่สามารถผลิต น�้ำตาลทรายเป็นของตัวเองในอีก 10 ปีต่อมา และขยายโรงงาน เพือ่ รองรับความต้องการน�ำ้ ตาลทรายทีเ่ พิม่ มากขึน้ ปัจจุบนั กลุม่ มิตรผลมีโรงงานผลิตน�้ำตาลในประเทศไทยทั้งหมด 6 แห่ง จนวันนี้ได้กลายเป็นบริษัทผู้ผลิตและส่งออกน�้ำตาลอันดับหนึ่ง ของประเทศไทย และยังโกอินเตอร์อย่างไม่หยุดยัง้ ด้วยการขยาย ฐานการผลิตไปยังต่างประเทศ ไม่วา่ จะเป็นประเทศจีน ลาว หรือ ออสเตรเลีย
“ธุรกิจไฟฟ้าชีวมวล” ด้วยการน�ำชานอ้อย จากกระบวนการผลิต น�้ำตาลและชีวมวลทาง การเกษตรมาแปรรู ป เป็ น พลั ง งานไฟฟ้ า เพื่ อ น� ำ กลั บ มา หมุนเวียนใช้ในกระบวนการผลิตน�้ำตาล และอุตสาหกรรมอืน่ ๆ ของมิตรผล อีกทัง้ ส่วนทีเ่ กินใช้ ก็จำ� หน่าย เข้าระบบของการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าส่วน ภูมิภาค สร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศไทย หรือ แม้แต่ “ธุรกิจวัสดุทดแทนไม้” จากการน�ำชานอ้อยที่เหลือจาก กระบวนการผลิตมาผลิตเป็นไม้ปาร์ติเกิล (ไม้อัดชานอ้อย) ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ส่งเสริมการสร้างจิตส�ำนึกด้านการ รั ก ษาสิ่ ง แวดล้ อ มและเป็ น การสร้ า งรายได้ ใ ห้ แ ก่ เ กษตรกร ในชุมชนอีกทางหนึ่ง หน่ ว ยงานส� ำ คั ญ ที่ ท� ำ ให้ อ งค์ ก รนี้ พั ฒ นานวั ต กรรมได้ อ ย่ า ง ต่อเนื่อง คือ “ศูนย์นวัตกรรมและการวิจัย” ที่เน้นการพัฒนา ผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการไร่อ้อย พร้อมทั้ง ส่งเสริมการถ่ายทอดความรูด้ งั กล่าวคืนสูแ่ ต่ละชุมชน โดยผลงาน วิจัยของศูนย์ฯ ต้องขอบอกว่าไม่ธรรมดา รับประกันคุณภาพได้ จากรางวัลทั้งในและต่างประเทศมากมาย อาทิ “ชุดตรวจโรค ใบขาวในอ้อย” ซึง่ ถือเป็นนวัตกรรมชิน้ แรกของโลก และ “Sugarcane Information Management System (SIMS) หรือการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมศิ าสตร์ เพือ่ บันทึกข้อมูลส�ำหรับการ จัดการไร่อ้อยที่ให้ผลสูง” ซึ่งได้รับรางวัล ICT Excellence Awards 2008 เป็นต้น นอกจากนี้ มิตรผลยังเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่พร้อมมอบทุนการ ศึกษาให้กับบุตรหลานของมิตรผล โดยน้องๆ ที่เรียนจบแล้ว มี โอกาสเข้าท�ำงานกับมิตรผลอีกด้วย
เห็นมั้ยคะน้องๆ ว่าองค์กรความหวานแห่งนี้ เป็นองค์กรที่พร้อม เสียงสะท้อนจากความส�ำเร็จของ “มิตรผล” มิได้มาจากกลุ่ม ส�ำหรับการเรียนรู้และปฏิบัติงานอย่างไม่จบสิ้นในทุกด้านไม่ว่า ลูกค้าของมิตรผลทัง้ ภายในและต่างประเทศเท่านัน้ แต่รวมไปถึง จะเป็ น สายโรงงาน หรื อ งานด้ า นวิ จั ย และพั ฒ นานวั ต กรรม เสียงสะท้อนจากชุมชนทีม่ ติ รผลได้เข้าไปมอบองค์ความรูใ้ นการ การเกษตร หากน้องๆ รุ่นใหม่ไฟแรงคนไหนสนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ง พัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืนทั้งด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี “มิตรผล” ไม่ได้เป็นเพียงองค์กรที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการ ของสมาชิก PIM ในคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร คณะน้อง ปลูกอ้อยและผลิตน�้ำตาล เพราะให้ความส�ำคัญกับการพัฒนา ใหม่ลา่ สุดของเรา อย่ารอช้า รีบสมัครเข้ามาเรียนรูว้ า่ เกษตรกรรม ธุรกิจต่อเนื่องจากอ้อยเพิ่มเติม เพื่อต่อยอดผลผลิตทางธุรกิจ แห่งอนาคตเป็นอย่างไร แล้วจะรูว้ า่ โลกของการเรียนรูต้ ลอด 4 ปี จนกลายเป็นผู้น�ำแห่งองค์กรนวัตกรรมแบบครบวงจร ไม่ว่าจะ แบบ Work-based Learning ไม่ได้จ�ำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน เป็น “ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนเอทานอล” จากการน�ำโมลาส เท่านั้น มาใช้เป็นวัตถุดบิ ในการผลิตเอทานอลบริสทุ ธิ์ ผสมน�ำ้ มันเบนซิน แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้ากับเรือ่ งเล่าขององค์กรขนาดยักษ์ทเี่ ต็ม ในรูปแบบของแก๊สโซฮอลล์ ช่วยลดการใช้น�้ำมันฟอสซิล หรือ เปี่ยมไปด้วยเรื่องเล่าที่ไม่มีวันหมด 22
สอบถามรายละเอยีดเพมิเตมิ
โทร 0 2832 0200 ถงึ 14 www.pim.ac.th