Say hi lssue August 2012
04
PIM Lobby
06
PIM Highlight
12
คนเก่ง PIM
16
Letter From OSAKA
18
เก็บโลกมาเล่า
19
New Innovation
20
PIM in Trend
22
Our Network
23
What’new
w.warintara@gmail.com
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (Panyapiwat Institute of Management) PIM Magazine : พี ไอ เอ็ม แมกกาซีน ปีที่ 3 ฉบับที่ 14 เดือนสิงหาคม 2555 สำ�นักสื่อสารองค์กร
ที่ปรึกษา: พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล บรรณาธิการบริหาร ปาริชาต บัวขาว บรรณาธิการ วรินทรา วิริยา กองบรรณาธิการ ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร มนตกานต์ วีรชัยเดชอุดม ชนิดา วนารักษ์สกุล พิสูจน์อักษร สุธาสินี พ่วงพลับ กันย์อักษร ชื่นชมภู อรทัย ทับทองห้วย ศิลปกรรม เอกภพ สุขทอง
คทาเทพ พงศ์ทอง จุฬนี ศิริขันธ์ วาร์วี ชานวิทิตกุล คทาเทพ พงศ์ทอง ชนิดา วนารักษ์สกุล
85/1 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำ�บลบางตลาด อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0 2832 0200 ถึง 14 โทรสาร 0 2832 0391 85/1 Moo 2 Chaengwattana Road Bang-Talad Nonthaburi 11120 THAILAND Tel. 0 2832 0200 to 14 Fax 0 2832 0391
ในอดีต วิกฤตเศรษฐกิจน�ำมาซึง่ ความพยายามในการลดต้นทุนของ งานบริหารจัดการลง ในปัจจุบัน ความพยายามนั้นถูกพัฒนาเป็นองค์ความรู้ที่กว้างขวาง แต่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น PIM Magazine ฉบับนี้ น�ำเสนอแนวคิดการบริหารจัดการอาคารและ ทรัพยากรกายภาพ Building and Facility Management (BFM) พร้อม ตัวอย่างชัดๆ ทีแ่ สดงการคิดแบบองค์รวม ไม่เพียงลดต้นทุน แต่ยงั พูดถึง การลงทุนเพื่อบ�ำรุงรักษา จัดการกับระบบวิศวกรรมอาคารให้มีสภาพ สมบูรณ์ รวมถึงแก้ปญ ั หาภายใต้ขอ้ จ�ำกัดยิบย่อย เพือ่ ให้สามารถใช้งาน อาคารและทรัพยากรต่างๆ ได้เต็มประสิทธิภาพ งานจัดการอาคารนับร้อยต�ำแหน่งทีว่ า่ งอยูแ่ ต่ละเดือนในเว็บไซต์หา งานชัน้ น�ำของประเทศไทย เมือ่ รวมกับจ�ำนวนอาคารสูงในกรุงเทพฯ กว่า 2,000 อาคาร ทั้งแนวโน้มการเติบโตของโครงการอสังหาริมทรัพย์ และ การก่อสร้างที่พักอาศัย ล้วนเป็นแรงผลักดันให้เรา PIM มุ่งผลิตบัณฑิต BFM มืออาชีพ โดยจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจด้านบริหารจัดการอาคาร โดยตรง เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรคุณภาพจาก PIM จะเป็นก�ำลังส�ำคัญ ในการสร้างอนาคตของประเทศ ผ่านการบริหารจัดการอาคารและ ทรัพยากรอย่างมืออาชีพ เป็นระบบ และคิดครบก่อนลงมือปฏิบัติจริงใน สถานการณ์ต่างๆ รู้จักอาจารย์รักษาการหัวหน้าสาขา BFM พร้อมนักศึกษาคนเก่ง ตบท้ายด้วยเกร็ดข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตแนวตั้ง บ้านที่ออกแบบให้คนอยู่ดี และนวัตกรรมอัจฉริยะในเมืองใหญ่ ขอให้มีความสุขและสนุกค่ะ
PIM Lobby
PIM อวยพรและเยี่ยมเยียนสื่อมวลชน
PIM โดยคุ ณ วริ น ทรา วิ ริ ย า ผู ้ ช ่ ว ย ผู้อ�ำนวยการส�ำนักสื่อสารองค์กร เข้าอวยพร เนื่องในโอกาสครบรอบก่อตั้ง 12 ปี เนชั่น แชนเนล โดยมีคุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการอ�ำนวยการ บริษทั เนชัน่ บรอดแคสติง้ คอร์ปอเรชัน่ จ�ำกัด (มหาชน) ให้เกียรติตอ้ นรับ และเข้าแสดงความยินดีกับคุณกาญจน์วดี โชควิทยานุกูล หัวหน้าข่าวการศึกษา ในวัน คล้ายวันสถาปนาหนังสือพิมพ์สยามรัฐ 62 ปี เข้าเยี่ยมเยียนคุณฐิติวรรณ ไสวแสนยากร หัวหน้าแผนกข่าวการศึกษาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คุณชนิตร ภู่กาญจน์ หัวหน้าข่าวการศึกษา และคุณดรุณี ไทยกมล หัวหน้าประชาสัมพันธ์ หนังสือพิมพ์แนวหน้า
ยินดีต้อนรับนักศึกษาแลกเปลี่ยน สู่ครอบครัว PIM
PIM โดย อ.พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รอง อธิการบดีฝ่ายบริหาร และ ดร.ญาณตา นิติธนนั น ต์ รองผู ้ อ� ำ นวยการส� ำ นั ก ส่ ง เสริ ม วิ ช าการ จั ดปฐมนิ เทศและให้ ก ารต้ อ นรั บ นักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีน วิชาเอกภาษา ไทย จาก Yunnan Normal University Business School และ Guangxi University for Nationalities เข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรภาษาไทยที่ PIM เป็นเวลา 1 ปี ตามนโยบายขยายความร่วมมือ ด้ า นการศึ ก ษา ภาษาและวั ฒ นธรรมกั บ ประเทศจีน ตลอดจนสร้างเครือข่ายความ สัมพันธ์ไทย-จีนในระดับเยาวชน ซึ่งมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ มีความโดดเด่นในการผลิตบัณฑิตด้านภาษา ที่ใช้ในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะการเรียนการ สอนภาษาไทย ในการนี้ ได้ รั บ เกี ย รติ จ าก Ms.Sophie Dong, Office of International Cooperation and Exchange เข้าร่วมงาน
4
PIM Magazine \ August 2012
PIM ต้อนรับคณะเยี่ยมชม
PIM ให้การต้อนรับคณะเยี่ยมชมจาก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย น�ำโดย รศ.ดร. เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี และคณะครู นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเมือง พลพิทยาคม จ.ขอนแก่น เข้าเยีย่ มชมสถาบัน เพื่อสานสัมพันธ์และแนวทางพัฒนาความ ร่วมมือทางการศึกษาในอนาคต
PIM Lobby
เปิดบ้าน PIM เจาะลึก แนวทางการศึกษาแบบใหม่ เยี่ยมชมศูนย์กระจายสินค้าบางบัวทอง
PIM Open House ครั้งที่ 4 เจาะลึก แนวทางการศึกษาของ Corporate University กรณีศึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิ วัฒน์ (PIM) เปิดบ้านต้อนรับคณาจารย์ชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย เข้าเยี่ยมชมสถาบัน ฟังการบรรยายและเผยแพร่ข้อมูลเชิงลึกว่า ด้วยการสนับสนุนของบริษทั ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) และพันธมิตรทีใ่ ห้การสนับสนุนองค์ ความรู้และสถานที่ฝึกงานแก่นักศึกษา PIM ตลอดจนรูปแบบการเรียนการสอน Workbased Learning และช่วงบ่ายเข้าเยี่ยมชม ศูนย์กระจายสินค้าบางบัวทอง โดย คุณเกษม โรจนประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป ให้เกียรติ ต้อนรับ
ทรู ทัช เนรมิต Call Center สนับสนุน Work-based Learning
บริษัท ทรู ทัช จ�ำกัด ผู้น�ำการให้บริการ ด้าน Customer Service Solution ครบวงจร ในระดับสากล สนับสนุนห้อง Call Center ขนาดกลางกว่า 50 ที่นั่ง พร้อมบุคลากรสอน ภาคปฏิบตั ิ และทักษะการให้บริการอย่างใกล้ ชิด เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Work-based Learning โดยนักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติงาน จริงและได้รับเบี้ยเลี้ยงตลอดการฝึกอบรม
PIM จับมือตลาดหลักทรัพย์ฯ ยกระดับองค์ความรู้ด้านการเงิน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดย ดร.กฤษฎา เกสตระกู ล ผู ้ ช ่ ว ยกรรมการ ผูอ้ ำ� นวยการ สถาบันกองทุนเพือ่ พัฒนาตลาด ทุน ส่งมอบ “มุมความรู้ตลาดทุน” (SET Corner) พร้ อ มสื่ อ ต่ า งๆ อาทิ ต� ำ ราวิ ช าการ วารสาร และสาระความรูข้ องตลาดหลักทรัพย์ รวมกว่า 100 ปก แก่ รศ.ดร.สมภพ มานะ รังสรรค์ อธิการบดี เพื่อจัดวางในห้องสมุด PIM โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ยินดีสนับสนุน กิจกรรมให้ความรูด้ า้ นการเงินการลงทุน เพือ่ ส่งเสริมให้นกั ศึกษาและบุคลากร PIM สามารถ วางแผนการเงินการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะน�ำมาซึ่งอิสรภาพทางการเงินแก่ ตนเองในอนาคต
ศิลปศาสตร์สร้างชื่อคว้ารางวัล การแข่งขันภาษาจีนอุดมศึกษา
PIM Young Creative Program ปั้น คนทำ�เกมส์
PIM จัดโครงการ PIM Young Creative Program ครั้งที่ 1 ตอน “ปั้นคนท�ำเกมส์” เพื่อ เพิ่ ม พู น และพั ฒ นาทั ก ษะการสร้ า งเกมส์ คอมพิ ว เตอร์ ขั้ น พื้ น ฐานแก่ นั ก เรี ย นชั้ น มัธยมศึกษาตอนปลายจ�ำนวน 40 คน โดย วิทยากรนักประดิษฐ์เจ้าของรางวัลระดับโลก ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร อาจารย์ประจ�ำคณะ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี PIM
นางสาวอังศุมาลิน แซ่เฉิน นักศึกษาชัน้ ปี ที่ 2 สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ PIM คว้ารางวัลรองชนะเลิศจากส�ำนักส่งเสริม การเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติแห่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (The Office of Chinese Language Council International Hanban) และส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ อุดมศึกษา ในการแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ ภาษาจีน การตอบปัญหาความรู้รอบตัวและ แสดงความสามารถพิเศษด้านศิลปวัฒนธรรมจีน ทั้งยังได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทน ประเทศไทยเดินทางไปร่วมกิจกรรมทีป่ ระเทศ จีนเป็นเวลา 12 วัน
PIM Magazine \ August 2012
5
PIM Highlight
FM กับ BFM
FM – Facility Management คือการบริหารทรัพยากรกายภาพ หมายถึง กระบวนการท�ำงาน บริหารจัดการ ก�ำกับ การใช้และดูแลซ่อมบ�ำรุงอาคารและทรัพยากร ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง อุปกรณ์อาคาร อุปกรณ์ส�ำนักงาน สถานที่และสภาพ แวดล้อมให้มีความพร้อมและตอบสนองการใช้งาน
B คือ Building คือการจัดการอาคารให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งระบบน�้ำ ไฟฟ้า หรือปรับอากาศ บริหาร จัดการให้ทำ� งานได้ปกติราบรืน่ แต่ FM คือการจัดการทัง้ มวลทีจ่ ะท�ำให้อาคารถูกใช้งานอย่างสมบูรณ์ทสี่ ดุ ซึง่ รวมศาสตร์ ของการจัดการไว้กว้างขวางมาก ทั้งการจัดการบัญชีการเงิน จนถึงเรื่อง space planning วางแผนการใช้พื้นที่ให้ได้ ประสิทธิภาพที่สุด เช่นจัดการห้องสมุดให้ใช้งานได้ดีให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ต้องวางแผนส�ำหรับอนาคต จัดการพื้นที่ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร และมีงบประมาณที่เพียงพอ นี่คืองาน FM
เมื่อรวมเป็น BFM - Building & Facility Management จึงรวมทั้งหมดตั้งแต่ยุทธศาสตร์ที่หน่วยงานก�ำหนด จนถึง นโยบายบริหารจัดการขององค์กร ยกตัวอย่าง BFM ของอาคารส�ำนักงานต้องคิดว่าจะท�ำให้พนักงานมีความสะดวก สบายในการท�ำงานมากที่สุดจากพื้นที่ท�ำงาน ซึ่งต้องค�ำนึงต่อไปถึงเรื่องพื้นที่ที่ว่าสบายนั้น ต้องการพื้นที่เท่าไหร่ต่อคน ซึง่ การท�ำให้ทที่ ำ� งานอยูส่ บายตามเป้าหมายขององค์กร ก็อาจต่างจากองค์กรอืน่ ๆ ทีอ่ าจตัง้ เป้าไว้แค่ให้ทำ� งานได้ ไม่ใช่ ท�ำงานสบาย งานบริหารจัดการอาคาร ถือเป้าหมายขององค์กรเป็นศูนย์กลาง อาคารเป็นเครื่องมือสนับสนุนองค์กรในการเพิ่ม ประสิทธิภาพและประสิทธิผล เน้นบริหารจัดการทรัพยากรที่เป็นกายภาพและงานปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมตั้งแต่ เมื่ออาคารเริ่มใช้งานจนถึงสิ้นสุดความต้องการที่จะใช้งาน
3Ps หลัก People Place Process People คือ คน ที่ใช้อาคารสถานที่ Place คือ สถานที่ ที่มีเงื่อนไขอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ กันไป Process คือ กระบวนการ ความต้องการของผู้ใช้ที่จะใช้อาคารสถานที่นั้นๆ ท�ำอะไร 3 สิ่งนี้คือหัวใจส�ำคัญของ FM ต้องคิดว่าท�ำอย่างไรให้ 3 สิ่งนี้สอดคล้องกันอย่างดีที่สุด ตรงเป้าหมาย ขององค์กรที่สุด ไม่ใช่ประหยัดที่สุด ถูกที่สุด ด้วยวิธีการอะไรก็ตาม แต่ต้องท�ำให้ People Place และ Process เกิดความสมดุล นักบริหารอาคารและทรัพยากรกายภาพ หรือผู้จัดการอาคารจะเป็นคนที่ วางแผนประสานงานให้เกิดการใช้พื้นที่อาคารตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ดีที่สุด PIM Magazine \ August 2012
7
PIM Highlight
FM ไม่ ใช่เรื่องใหม่ แต่ต้องเข้าใจใหม่อย่างเป็นระบบ ชีวิตพวกเราใกล้ชิดกับงาน FM มาแต่ไหนแต่ไร ในโรงเรียนมีนักการภารโรงคอยดูแลความสะอาด กวาดพื้น เก็บขยะ หรืองาน แม่บ้านท�ำความสะอาดตามอาคารส�ำนักงาน คอนโด หอพัก ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของงาน FM ทุกอาคารบน โลกมีการบริหารทั้งนั้น เพราะทุกอาคารต้องการการใช้งานได้ มีความปลอดภัย แต่งานเหล่านี้ไม่ถูกรับรู้ หรืออาจถูกเรียกด้วยชื่อ อื่น ไม่ครอบคลุมการบริหารจัดการทั้งหมด และยังไม่ได้จัดการองค์ความรู้เป็นระบบอย่าง FM อาคารสถานทีห่ รือทรัพยากรกายภาพ ประกอบด้วยพืน้ ทีอ่ าคารทัง้ ในและนอก ระบบประกอบอาคาร น�ำ้ ไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และสิง่ อ�ำนวยความสะดวก เช่น ลิฟต์ บันไดเลือ่ น ฯ เป็นปัจจัยพืน้ ฐานในการท�ำงานของทุกองค์กร ท�ำหน้าทีร่ องรับหรือสนับสนุน กิจกรรมขององค์กร เมื่อมีระบบต่างๆ เหล่านั้นแล้ว ต้องค�ำนึงถึงความต้องการดูแลบ�ำรุงรักษา ความต้องการงานบริการอาคาร ความต้องการงบประมาณ ความต้องการให้ใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ความต้องการปรับปรุงปรับเปลี่ยน และความจ�ำเป็นในการ รักษาและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะไม่วา่ การออกแบบก่อสร้างมีคณ ุ ภาพดีแค่ไหน หากใช้อย่างไม่เหมาะสม ไม่มกี ารดูแลรักษาทีด่ อี ย่างเป็นระบบ อาคารบ้าน เรือนหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นจะเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็ว
FM จะเพิ่มความสำ�คัญในอนาคตอย่างไร ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมในโลกวันนี้ ส่งผลกระทบต่อเราทุกคน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในโลกการท�ำงานทั้งภาค รัฐ เอกชน ทุกคนถูกกระตุน้ ให้ต้องท�ำทุกสิ่งด้วยเป้าหมายว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด นับตัง้ แต่หลังวิกฤติตม้ ย�ำกุง้ เป็นต้นมา สิ่งทีไ่ ม่ เคยถูกบริหารจัดการอย่างเป็นระบบอย่างบ้าน อาคาร พื้นที่ว่างเปล่า และอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ก�ำลังถูกมองด้วยมุมใหม่ เพื่อ ให้เกิดมูลค่าและประสิทธิภาพดีที่สุด บทบาทของนักบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพจึงเพิ่มความส�ำคัญขึ้นทุกวัน เราจึงคุ้นกับ ภาพที่เมื่อเดินเข้าอาคารส�ำนักงานใจกลางเมือง หรือห้างสรรพสินค้าชานเมือง แล้วมักเห็นงานแม่บ้านที่เป็นระบบ ทีมช่างซ่อม บ�ำรุงที่ก�ำลังตรวจสอบการท�ำงานของอุปกรณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบมากขึ้น นั่นคือส่วนหนึ่งของงานบริหารจัดการทรัพยากร กายภาพที่มีขอบข่ายงานโยงยาวจนเราจะต้องแปลกใจ
8
PIM Magazine \ August 2012
PIM Highlight
การจั ด การอาคารและทรั พ ยากรกายภาพ เป็ น ศาสตร์ ที่ ประกอบด้วยความรู้เฉพาะทาง 3 แขนง ได้แก่ ศาสตร์การ บริหารจัดการธุรกิจ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ขอบข่ายที่กว้างของงาน BFM จึงจ�ำเป็นอย่างมากที่ต้อง พัฒนาหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ การมีเครือข่ายทางธุรกิจที่ กว้างขวางของกลุม่ ซีพี ออลล์ จึงมีโจนส์ แลง ลาซาลล์ (Jones Lang LaSalle) พันธมิตรส�ำคัญด้านบริการอสังหาริมทรัพย์ เข้าพัฒนาหลักสูตรร่วมกับนักวิชาการด้านการศึกษาและ คณะกรรมการจากหลายวิชาชีพ อาทิ ธุรกิจการจัดการอาคาร การดูแลบริหารอสังหาริมทรัพย์ จึ ง ท� ำ ให้ ห ลั ก สู ต รนี้ ส ะท้ อ นจากอนาคตผู ้ ต ้ อ งการใช้ บัณฑิตจริงๆ ฉะนัน้ การเรียนการสอนจึงมีทงั้ ภาคทฤษฎีทเี่ ข้ม ข้นและภาคฝึกปฏิบตั งิ านทีจ่ ริงจัง เพือ่ บัณฑิต BFM ของ PIM จะมีทักษะการท�ำงานที่ตรงความต้องการของตลาดมาก
1. สร้างบัณฑิตทีม่ อี งค์ความรูด้ า้ นการบริหารธุรกิจทีเ่ พียงพอ ต่อการด�ำเนินธุรกิจ 2. มีองค์ความรูด้ า้ นงานอาคารและทรัพยากรกายภาพทีเ่ พียง พอต่อการจัดการอาคารและทรัพยากรกายภาพ 3. สามารถบูรณาการศาสตร์ของการจัดการเข้ากับศาสตร์ของ การออกแบบ การก่อสร้าง การบ�ำรุงรักษางานอาคารและ ทรัพยากรกายภาพได้อย่างเพียงพอต่อการด�ำเนินงาน 4. มีความสามารถด้ านภาษาอังกฤษที่ส ามารถใช้ใ นการ ติดต่อสื่อสารได้ในระดับดี 5. มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์รวมทั้งซอฟต์แวร์ เบื้องต้นที่ใช้ในการจัดการด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี 6. มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสามารถประยุกต์ ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 7. มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ
ด้านอาคาร สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการบ�ำรุงรักษา ด้านการให้บริการอาคาร การปฏิบัติงานอาคารให้พร้อม ส�ำหรับผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้งานอาคาร ด้านการบริหารจัดการ การวางแผนจัดการงบประมาณ การจัดการคุณภาพ งานบุคคล
10
PIM Magazine \ August 2012
PIM Highlight
ต้องตอบว่าไปทำ�งานได้หลากหลายหน้าที่ ในสายอาชีพการ บริหารจัดการอาคารฯ อาทิ
ผูจ้ ดั การอาคาร ในอาคารขนาดใหญ่ถงึ ใหญ่พเิ ศษ หลายประเภท อาทิ อาคารส�ำนักงาน อาคารชุดพักอาศัย โครงการหมู่บ้าน ศูนย์การค้า อาคารอเนกประสงค์ อาคารการศึกษา และอาคาร สันทนาการ เป็นต้น ผู้จัดการส่วนปฏิบัติการ (Operations Manager) ของบริษัทผู้ ให้บริการงานอาคาร (Facility Service Provider) เจ้าหน้าที่/ผู้จัดการงานอาคารสถานที่ หรืองานด้านทรัพยากร กายภาพ ของหน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจ องค์กรบริหารส่วนท้อง ถิ่น กรมโยธาธิการ ท�ำหน้าที่ในการจัดการ อาคารราชการ อาคาร สาธารณะ รวมไปถึงพื้นที่บริการสาธารณะของเมือง
อาคารส�ำนักงานประเภทอาคารสูงในกรุงเทพฯ กว่า 2,000 อาคาร อาคารชุดพักอาศัยกว่า 2,000 โครงการ หมูบ่ า้ น / อาคารห้างสรรพสินค้า / อาคารของ บมจ. ซีพี ออลล์ ทั่วประเทศ ร้านค้าปลีก 7-Eleven ศู น ย์ ก ระจายสิ น ค้ า และส� ำ นั ก งาน / อาคารและ อสังหาริมทรัพย์ของ CP Land ทัว่ ประเทศ / อาคารและองค์กรขนาด ใหญ่ประเภทอื่นๆ ที่มีผู้ใช้งานอาคารจ�ำนวนมาก
PIM Magazine \ August 2012
11
คนเก่ง PIM
PIM แมกกาซีน แนะนำ�นักศึกษาคนเก่ง PIM มาหลายคน แล้ว ฉบับนี้ขอพาไปรู้จักอาจารย์ผู้ทำ�หน้าที่สอนคนเก่งกัน บ้าง อ.โอ๊ต - ฐาปณีย์เป็นอาจารย์สาวที่เต็มไปด้วยพลัง รักการสอน และรักการต่อกรกับนักศึกษามากด้วยเช่นกัน ถ้าได้คุยกับอาจารย์จะรู้ว่าอาจารย์เป็นคนเปิดเผย ตั้งใจ และค่อนข้างมันส์มาก ประวัติการศึกษา
จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จากคณะสถาปัตยกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) เรียน จบปริ ญ ญาโท จากภาควิ ช าสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนือ้ หาทีเ่ รียน คือ การจัดการสถาปัตยกรรม เน้นไปทาง Construction Management - การบริหารงานก่อสร้าง กับ Facility Management – การบริหารทรัพยากรกายภาพ
ตั้งตารอเรียนสถาปัตย์ มน.
พ่อของอาจารย์เป็นวิศวกรและเป็นครูด้วย เลยเห็นวิธีการ ท�ำงานของพ่อมาตัง้ แต่เด็ก ว่าวงการก่อสร้างเป็นยังไง ไปดูไซต์ งานก่อสร้างกับพ่อบ่อยๆ ตอนตัดสินใจเลือกระหว่างวิศวะกับ สถาปัตย์ พิจารณาจากการที่เราได้เห็นของจริงตอนไปดูไซต์ งานก่อสร้างกับพ่อแล้วคิดว่าถ้าให้ไปบุกป่าฝ่าดงแบบนั้น คง ท�ำไม่ได้แน่ๆ ไม่ชอบ อีกอย่างพูดตรงๆ อาจารย์ไม่ได้เก่ง คณิตศาสตร์มากขนาดจะไปเรียนวิศวะได้ วิศวะเป็นศาสตร์ที่ ค่อนข้างเป๊ะ เหนือจินตนาการได้ประมาณนึง แล้วโดยส่วนตัว เป็นคนที่มีความคิดความเข้าใจในแบบของตัวเองมาก คาดว่า น่าจะยากถ้าต้องไปเรียนอะไรที่มันเป๊ะขนาดนั้น ก็เลยเลือก เรียนสถาปัตย์ พอเข้ามาเรียนก็ยิ่งรู้สึกว่าเราเลือกถูกทางจริงๆ สถาปัตย์จะมีแก่นทีเ่ ราต้องยึด นอกนัน้ เราสามารถจินตนาการ ต่อไปได้ นอกจากนีย้ งั ได้เรียนรูก้ ระบวนการคิดอย่างเป็นล�ำดับ ขัน้ ตอน เพราะว่าสถาปัตย์ไม่ได้สอนแค่วา่ การออกแบบอาคาร ต้องท�ำยังไง ไม่ได้สอนว่าการออกแบบอาคารต้องเป็นแบบนี้ แบบนั้น แต่สอนกระบวนการ วิธีคิด ก่อนที่จะเกิดสิ่งหนึ่งขึ้น มา ซึ่งเราสามารถเอาไปปรับใช้กับชีวิตได้ทุกอย่างเลย
ผู้จัดการอาคารที่ดีไม่ ใช่คนที่เก่งที่สุด ฉลาดที่สุด ไม่ ต้องการคนที่มีอีโก้เยอะๆ เพราะผู้จัดการอาคาร คือ นักประสานงานที่ดี เราเรียนมาทั้ง 3 ศาสตร์ ไม่ ใช่เรียน เพื่อจะไปประกอบอาชีพเหล่านั้นนะ แต่เรียนเพื่อจะไป คุยกับคนเหล่านั้นได้รู้เรื่อง 12
PIM Magazine \ August 2012
คนเก่ง PIM อาจารย์เป็นคนพิษณุโลก เรียนอนุบาลจนจบปริญญาตรีที่พิษณุโลก สมัยนั้นพอรู้ข่าวว่าจะเปิด สถาปัตย์ มน. ตอนนั้นเรียนอยู่ประมาณ ม.ต้น ก็ตั้งตารอจริงๆ เพราะเป็นคนติดบ้านมาก จนสอบ โควตาติด แล้วได้เรียนสมใจ สนุกมาก (ลากเสียงยาว) ไม่คิดลาออกอะไรเลย ชอบท�ำกิจกรรม ท�ำทุก อย่างที่เค้าให้ท�ำ แล้วก็เต็มที่ทุกกิจกรรม ไม่เคยรังเกียจรังงอน
เลือกเรียนเพื่อต่อยอดเป้าหมาย
อาจารย์เชื่อว่าวิชาสถาปัตย์ เป็นวิชาชีพ ต้องปฏิบัติ เราเรียนรู้วิธีการคิด ขั้นตอนการปฏิบัติ พอเรียน จบได้มีโอกาสปฏิบัติวิชาชีพเป็นสถาปนิกอยู่ช่วงหนึ่ง ปัญหาที่พบคือ สถาปนิกส่วนใหญ่ (รวมทั้งตัว เองด้วย) ไม่คอ่ ยมีทกั ษะด้านการบริหารจัดการ แน่นอนทักษะด้านนีเ้ ป็นเรือ่ งส�ำคัญทีจ่ ะท�ำให้โครงการ หรืองานอะไรก็ตามมันด�ำเนินต่อไปได้และเกิดความส�ำเร็จ สถาปนิกเน้นทักษะการปฏิบตั ิ พอไปปฏิบตั ิ ก็เอาใจเป็นที่ตั้ง หลายครั้งท�ำงานแล้วล้มเหลว แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนนะคะ เลยคิดว่าควรจะเรียนรู้เพิ่มเติม ด้านการบริหารจัดการด้านสถาปัตยกรรม เพือ่ เอาไปใช้ทำ� งาน ความจริงศาสตร์นเี้ ราเรียนรูด้ ว้ ยตัวเอง ได้แต่ต้องอาศัยเวลา ลองผิดลองถูก แต่กว่าจะถึงวันนั้น เราอาจจะหมดไฟท�ำงานไปแล้ว เลยคิดว่า ควรเรียน อย่างน้อยถ้าเอาไปจัดการใครไม่ได้ ก็เอาความรู้มาจัดการตัวเองได้ก็ยังดี
ไม่เคยอยากเป็นครู
เริ่มแรกเลย ไม่คิดอยากเป็นอาจารย์ เพราะพ่อแม่เป็นครูแล้วล�ำบาก พอเรียนจบ แม่ก็พยายามบังคับ จะให้เป็นอาจารย์ แต่ก็ไม่ส�ำเร็จ จนมีช่วงหนึ่งไปเป็นอาจารย์พิเศษที่ มน. เพราะอาจารย์ไม่พอ สอน อยู่สองสามคลาส เอ้ย! สนุก ติดใจ ยอมรับนะว่าตอนนั้นสอนไม่รู้เรื่องหรอก พูดก็เร็วรัวกว่านี้มาก แต่ มีความสุขมาก เริม่ ค้นพบว่านีอ่ าจเป็นงานทีเ่ ราชอบ เลยคิดว่าถ้าได้เรียนป.โทก็ควรจะเรียนอะไรทีเ่ อา กลับไปใช้ได้จริงๆ พอเรียนจบ ป.โทก็ไปสอนทีส่ าขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวัน ออก วิทยาเขตอุเทนถวาย สอนหลายวิชามาก เรื่องหนักใจก็มีแต่ก็สนุกมาก เพราะนักศึกษาอุเทนฯ มี ความต่างออกไปท�ำให้อาจารย์ตอ้ งคิดหาวิธมี ารับมือ ทีน่ ที่ ำ� ให้ได้เรียนรูว้ า่ อย่าเอาตัวเองเป็นทีต่ งั้ ควร ดูเป้าหมายทีเ่ ราต้องการเข้าไปจัดการว่าเป็นอย่างไร แล้วเลือกวิธที เี่ หมาะสมกับเขา เมือ่ นัน้ ถึงจะบรรลุ เป้าหมายของเราได้
นอกจากวิชาชีพยังปลูกความคิด
อาจารย์คดิ อย่างหนึง่ ว่า การศึกษาภาคมหาวิทยาลัยจะให้ความรูส้ ำ� หรับประกอบอาชีพก็เป็นส่วนหนึง่ ความช�ำนาญจะได้เมื่อออกไปฝึกปฏิบัติตอนท�ำงาน ไปเรียนรู้ให้เก่งขึ้น สิ่งที่ปลูกฝังให้เด็กในฐานะ อาจารย์ คือ คิดให้เป็นคน คิดให้เป็นมนุษย์ อย่าเอาแต่ได้ เวลาสอนย�้ำตลอด หวังแค่ให้รู้จักผิดชอบ ชั่วดี เอาเปรียบคนอื่นได้นะแต่อย่าเยอะ แล้วก็อย่าให้ใครมาเอาเปรียบเราเยอะ นิดหน่อยพอได้ อย่า เห็นแก่ตัวเกินไป ถ้าเหลือบ่ากว่าแรงก็บอก อะไรช่วยได้ก็ช่วย
อาจารย์ BFM ของ PIM
ต้องขอบคุณ อ.ธีรพล กับ อ.ธงชัย สร้างเด็กมาเป๊ะมาก มีวนิ ยั ซึ่งถ้าหากเด็กๆ มีวนิ ยั จนกลายเป็นนิสยั จริงๆ ก็จะมีประโยชน์กับตัวเขาเองและสังคมมาก
สิ่งสำ�คัญที่สุดที่บอกเด็กเสมอ
ผู้จัดการอาคารที่ดีไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด ฉลาดที่สุด ไม่ต้องการคนที่มีอีโก้เยอะๆ เพราะผู้จัดการอาคาร คือ นักประสานงานที่ดี เราเรียนมาทั้ง 3 ศาสตร์ ไม่ใช่เรียนเพื่อจะไปประกอบอาชีพเหล่านั้นนะ แต่ เรียนเพื่อจะไปคุยกับคนเหล่านั้นได้รู้เรื่อง เรียนเพื่อจะไปจัดการได้ เป้าหมายไม่ใช่แค่ดูแลกายภาพ ของอาคารให้ดีที่สุดอย่างเดียว แต่เป้าหมายสูงสุด คือ ต้องการให้ผู้เข้ามาใช้อาคารภายใต้การดูแล ของเราปลอดภัย สะดวกสบาย และเป็นสุข เพราะฉะนั้นสิ่งส�ำคัญของผู้ที่จะเป็นผู้จัดการอาคารที่ดี คือต้องมีไอคิวดีประมาณนึง คิดแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดี ชัดเจน แต่มีความประนีประนอม ที่ส�ำคัญอีคิวต้องดีมากๆ คุยกับเค้าให้รู้เรื่อง ใจเย็นๆ สมาธิดีๆ อย่าจิตตก อยากได้อะไรบอกไปตรงๆ แต่ต้องท�ำอย่างมีมารยาท
เป้าหมายต่อไปในชีวิต
ความที่เป็นคนที่เชื่อว่าท�ำทุกๆ วันให้ผ่านไปให้ดีและมีความสุขที่สุด เลยไม่ค่อยวางแผนอะไรยาว มากๆ ชอบเรียนรู้และหาทางแก้ปัญหาสิ่งที่อยู่ตรงหน้ามากกว่า PIM Magazine \ August 2012
13
but as the enviable opportunity to learn to know the liberating influence of beauty in the realm of the spirit for your own personal joy and to the profit of the community to which your later work belongs.
คนเก่ง PIM
หนุ่มเฮฮา รักความสนุก คนปทุมธานี เรียนจบม.ปลาย ที่โรงเรียนธรรมศาสตร์ คลองหลวงวิทยาคม สายอังกฤษธุรกิจ ชอบเข้าร้านหนังสือ ดูหนังสือธรรมะ อ่าน ปรัชญาพุทธศาสนา และอ่านดวง! เลือก PIM
หลังผิดหวังจากสอบแอดมินชัน่ เลือกคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็รสู้ กึ ท้อ มาก เลยไปลงเรียนที่มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง แต่ก็ยังไม่ค่อยอยากเรียน จนน้าแนะน�ำและ ชวนมาเรียน BFM ทีแรกไม่รู้เลยว่ามันคืออะไร ไม่รู้จัก เป็นสาขาใหม่ แต่ก็ลองเรียนรู้ ด้วย การแนะน�ำของน้า ซึง่ ศึกษาแล้วเห็นว่าประเทศเรามีความต้องการสายอาชีพผูจ้ ดั การอาคาร อยู่เยอะมาก และ BFM ที่ PIM เป็นหลักสูตรปริญญาตรี เรียนจบแล้วก็มีงานท�ำ ต่างจากที่ อื่นที่ยังเปิดเฉพาะหลักสูตรปริญญาโท
จากนักเรียนเป็นนักศึกษา เกือบ 2 สองปี ชีวิตตอนนี้ก็เปลี่ยนไป
ต่างกันมาก ตอนนั้นอยู่บ้าน อาจไปเที่ยวกับเพื่อนบ้าง แต่ชีวิตก็เรียบๆ พอมาเรียนได้รู้จัก เพื่อนรู้จักระบบมหาวิทยาลัย การเรียนการสอน กับคณะครูอาจารย์ ท�ำกิจกรรมกับเพื่อน มี มิตรภาพไมตรี รูส้ กึ ว่าดีขนึ้ คือมีความมัน่ ใจโตมากขึน้ เมือ่ ก่อนอยูบ่ า้ นก็พงึ่ แม่ แต่พอมาเรียน อยู่หอก็ต้องพึ่งตัวเองมากขึ้น
การเรียนไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
ตอนแรกที่มาเรียนก็ตกใจ เพราะเนื้อหาบางส่วนยาก ไม่มีพื้นฐาน คือเรียนเรื่องอาคารแต่ผม ไม่รเู้ ลยว่าอาคารประกอบด้วยอะไรบ้าง รูแ้ ค่วา่ มีประตู หน้าต่าง ไม่รวู้ า่ มีระบบประกอบอาคาร ภายในแบบไหน มีวิธีการบริหารจัดการอย่างไร แต่พอเรียนไปเรื่อยๆ ได้เรียนจากผู้มี ประสบการณ์ทเี่ ชีย่ วชาญด้าน FM ทีม่ าแชร์ประสบการณ์ ก็เข้าใจมากขึน้ สนุกทีไ่ ด้เรียน รูส้ กึ ว่าน่าจะท�ำได้ รุ่นผมมีเพื่อนเรียนทั้งหมด 14 คน เพื่อนๆ ก็เรียนสนุกบ้าง ตามความเป็นจริงก็มีซีเรียสบ้าง เครียดบ้าง เพราะเนื้อหาที่เรียนเป็นเนื้อหาที่มีรายละเอียดเยอะ แล้วอาจารย์ก็สั่งการบ้าน เยอะ ซึง่ ผมเข้าใจเพราะเป็นสายวิชาเฉพาะ เพือ่ นๆ อาจจะซีเรียสเรือ่ งงาน แต่ความจริงเนือ้ หา ไม่ได้ยากมากนัก แต่ขั้นตอนมันเยอะ
ฝึกฝนวินัยไม่ ให้เสียความเป็นตัวเอง
ปกติเป็นคนท�ำงานจริงจัง แต่ถ้าเล่นก็เล่น ใส่ให้เต็มที่ทุกๆ เรื่อง ถึงส่วนตัวเป็นคนเฮฮา แต่ เรือ่ งเรียนทีต่ อ้ งจริงจัง ผมก็จะจริงจังกับมัน การเรียนที่ PIM ท�ำให้รวู้ า่ ตัวเองมีพฒ ั นาการมาก ขึน้ ต้องขอบคุณอาจารย์ทคี่ อยดูแลด้วย พวกเราได้พฒ ั นาตัวเอง มีบคุ ลิกภาพทีด่ ขี นึ้ มีความ มัน่ ใจมากขึน้ เพราะการเป็นผูจ้ ดั การอาคารต้องมีความเป็นผูน้ ำ� ต้องติดต่อกับคนหลากหลาย ต้องท�ำให้คนอื่นเชื่อถือเราได้
ฝันของว่าที่ผู้จัดการอาคารมืออาชีพ
ตอนนี้ผู้จัดการอาคารต่างคิดว่าจะท�ำอย่างไรให้อาคารของเขาเป็นที่หนึ่ง อย่างมีข่าวไฟไหม้ ตึกหรืออาคารที่ระบบโครงสร้างไม่ดีก็ท�ำให้เกิดความเสียหายเยอะ ต่อไปพวกผมนี่แหละที่ เรียนจบออกไป จะเข้าไปดูไปก�ำกับตรงนั้น ปัญหาและอุบัติเหตุในอาคารคงลดไปได้เยอะ อีกอย่างคืองานผูจ้ ดั การอาคารนัน้ ต้องติดต่อทัง้ วิศวกรและสถาปนิก เช่นว่าสถาปนิกออกแบบ มาแบบนี้ ผมก็ต้องรู้ว่าวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะกับอาคารนี้ สามารถปรับปรุงได้ดีหรือไม่ การ เลือกสรรวัสดุสามารถท�ำให้อาคารมีประสิทธิภาพการใช้งานมากขึ้นหรือไม่อย่างไร ต้อง จัดการการเงินเพราะต้องท�ำงบประมาณการซ่อมบ�ำรุง ผู้จัดการอาคารต้องรู้ว่าจะจัดการให้ ต้นทุนน้อยที่สุดได้อย่างไร
เรียน BFM ทำ�ให้เห็นอนาคต มั่นใจว่ามีงานทำ� พอรู้ว่าตลาดแรงงานในสาขานี้ ผู้จัดการ อาคารยังมีอยู่น้อย แต่วันนี้ตึกอาคารบ้านช่องมีขึ้นเยอะมาก แต่ ไม่มีผู้จัดการอาคาร คือสร้างคนไม่พอกับสร้างอาคาร นี่คือแรงผลักดันหนึ่งที่ทำ�ให้ผมตั้งใจเรียน BFM
Letter from OSAKA
ที่ศาลเจ้าฟ
ุชิมิ หรือศ าลเจ
้าพ่อสุนัขจ
ิ้งจอก
จดหมายร้อนๆ จากโอซาก้ามาแล้วจ้า... ขณะที่เราเขียนจดหมายฉบับนี้ แสงแดดในโอซาก้าก�ำลังร้อนแรงเต็มที่ แตงโมกลายเป็นผลไม้ยอดนิยม และตามท้องถนนจะมีสาวๆ ในชุดยูกาตะ เดินกันขวักไขว่ เดือนกรกฎาคมที่นี่มีงานเทศกาลแทบทุกอาทิตย์ โดดเด่น ที่สุดคงเป็นการเปิดเส้นทางเดินเท้าขึ้นภูเขาฟูจิ ซึ่งแบ่งความสูงไว้ถึง 10 ระดับ ดึงดูดทั้งนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นและจากทั่วโลกให้มาสัมผัส ประสบการณ์บนยอดเขาที่สูงที่สุด และเป็นสัญลักษณ์ของแดนอาทิตย์อุทัย แห่งนี้ แม้เราจะอยู่ไกลจากภูเขาฟูจิ และยังไม่มีโอกาสไปเดินกับเขาบ้าง แต่ มีอีกเทศกาลซึ่งเราตั้งหน้าตั้งตารอ คือเทศกาลแสดงดอกไม้ไฟ ที่รุ่นพี่ในร้าน สาขาที่เพชรท�ำงาน บอกว่าเราสามารถรอชมกันได้ที่หน้าร้าน เพราะอยู่หน้า สถานที่จัดงานพอดี
ีกว่า...
กเบกันด โ ต โ ว ย ี ไปเที่ยวเก
16
PIM Magazine \ August 2012
เราแต่ละคนเริ่มไปฝึกงานที่ร้าน 7-Eleven กันอย่างจริงจังแล้ว โดยทุกคน ต้องไปถึงร้านก่อนเวลาเข้ากะ 10 นาที เพื่อเปลี่ยนชุด เตรียมความพร้อม การ ตรงต่อเวลาเป็นเรื่องที่คนญี่ปุ่นให้ความส�ำคัญมาก ว่าไปแล้วดูเหมือนคน ญี่ปุ่นจะมี 2 บุคลิก คือในเวลางานจะเคร่งเครียด จริงจัง แต่หลังเลิกงาน กลายเป็นคนยิ้มแย้ม หัวเราะ และใจดีมากๆ เจ้าของร้านได้กรุณาสอนงาน และค่อยๆ มอบหมายงานให้เรารับผิดชอบมากขึ้น อั้มได้ท�ำงานที่แคชเชียร์ เพิ่มขึ้นจาก 30 นาทีเป็น 2 ชั่วโมง เรียนรู้ตั้งแต่การช�ำระด้วยเงินสดเบื้องต้น การใช้บัตรสมาชิกหรือที่เรียกว่า Nanaco และบัตรเครดิต อุปสรรคที่เจอคือ ปุ่มเครื่องมือต่างๆ ทุกชิ้นล้วนเป็นคันจิ ยังคงกดผิดอยู่บ่อยครั้ง (ท�ำให้ต้อง ขยันท่องคันจิเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า) แต่เครื่องก็มีปุ่มที่ สามารถแก้ไขหรือลบ รายการที่สแกนซ�้ำออกได้โดยไม่ต้องแก้ใบเสร็จให้ยุ่งยาก แถมยังมีระบบ เตือนเมื่อมีเงินจ�ำนวนมากอยู่ในเครื่อง นอกจากนั้นภายในร้านยังมีกล้อง วงจรปิดบันทึกทั้งภาพและเสียงกระจายอยู่ทุกมุมของร้าน เรียกได้ว่า ปลอดภัยเป็นพิเศษทีเดียว
Letter from OSAKA
ทุกคนพร้อมใจท�ำท่าสุนัขจิ ้งจอก ที่ศาลเจ้าฟุชิมิ อิรานิ
ถึงโตเกียวแล้วค่ะ
บริการของร้าน 7-Eleven ที่นี่น่าตื่นตาตื่นใจมาก หลิวถึงกับตะลึงและมึนไปพักใหญ่เมื่อ พบว่าร้านไม่เพียงขายสินค้าและรับช�ำระเงินเท่านั้น แต่ยังมีบริการจัดส่งจดหมาย พัสดุ ต่างๆ แถมด้วยเครื่องสารพัดประโยชน์ ท�ำได้ทั้งถ่ายเอกสาร สแกน อัดรูป และส่งแฟ็กซ์ ในเครื่องเดียวให้ลูกค้าบริการตัวเองโดยพนักงานก็ต้องรู้วิธีใช้อย่างดีกรณีที่ลูกค้า ต้องการความช่วยเหลือ อีกหน้าที่หนึ่งที่ท�ำให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตของคนญี่ปุ่น คือการคัดเลือกอาหารหมดอายุ ออกจากชั้นวาง สินค้าอายุยาวเช่น อาหารแช่แข็ง ราเม็งถ้วย จะมีวันหมดอายุบอกเป็น วันเดือนปี แต่อาหารสด เช่น แซนวิช โอนิกิริ (ข้าวปั้นห่อสาหร่าย) วันหมดอายุจะ ละเอียดขึ้นว่าหมดกี่โมงกี่นาที เราต้องเก็บออกจากชั้นวางก่อนเวลาหมดอายุ 5-10 นาที โดยหลังจากบันทึกการเก็บแล้ว สินค้าเหล่านี้จะถูกทิ้งลงถังขยะทันที เวลาผ่านไปเร็วมากจริงๆ เผลอแป๊บเดียวเข้าเดือนที่สี่แล้ว เราได้เรียนรู้จากการท�ำงาน จริง ได้เห็นอะไรมากขึ้นจริง เหนื่อยจริง และสนุกจริงๆ ขอจบจดหมายฉบับนี้พร้อมกับ ภาพถ่ายที่เราไปเที่ยวเกียวโต โกเบกับอาสาสมัครชาวญี่ปุ่นแต่เพียงเท่านี้ก่อน พบกัน ใหม่ฉบับหน้าจ้า
สภาพอาก
าศแบบไหน
สาวญี่ปุ่นก
็ไม่หวั่น
บัว เพชร แมท หลิว อั้ม
ซาก้า
ร้านเซเว่นในโอ
PIM Magazine \ August 2012
17
เก็บโลกมาเล่า อ.คทาเทพ พงศ์ทอง ajarnkathathep@hotmail.com
ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ทีเ่ ป็นข้อจ�ำกัดให้เรา ทุกคนใช้ชีวิตกันในแนวราบ เว้นเสียแต่ว่าจะฝืน กฎธรรมชาติ ไปปีนเขา หรืออยู่ในยานอวกาศ มหานครส�ำคัญของโลก ไม่ว่าจะเป็น ลอนดอน ปารีส ปักกิง่ เซีย่ งไฮ้ ฮ่องกง นิวยอร์ก โตเกียวหรือ แม้กระทัง่ กรุงเทพมหานคร ก็ประสบปัญหาพืน้ ที่ ไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในแนวราบ และเป็น ที่มาของป่าคอนกรีตที่อุดมไปด้วยหมู่ตึกระฟ้า ผลส�ำรวจของบริษัทเรียลเอสเตทแห่งหนึ่งพบว่า อีก 10 ปีข้างหน้า ร้อยละ 75 ของประชากรแต่ละ ประเทศจะโถมตัวเข้าสู่เมืองหลวง ด้วยเหตุผลที่ ว่าเมืองหลวงหรือเมืองส�ำคัญทางเศรษฐกิจและ การท่องเทีย่ วนัน้ เป็นทีม่ าของรายได้ทสี่ งู กว่าการ ท�ำงานในชนบทหรือต่างจังหวัด เมืองหลวงหรือ เมืองส�ำคัญต่างๆ จึงต้องเตรียมรองรับจ�ำนวน ประชากรที่เพิ่มขึ้นจากการย้ายถิ่นเข้ามาอาศัย และท�ำงาน ด้วยการจัดการระบบสาธารณูปโภค และที่พักอาศัยให้เพียงต่อต่อการขยายตัวที่ว่านี้ ซึ่ ง กระแสการใช้ ชี วิ ต ในเมื อ งหลวงหรื อ เมื อ ง ส�ำคัญทัว่ โลกได้มกี ารปรับตัวมาสักระยะหนึง่ แล้ว เริม่ จากประเทศเล็กๆ “สิงคโปร์” ประเทศเล็กๆ ใน กลุม่ ประเทศ ASEAN มีพนื้ ทีโ่ ดยรวม 697 ตาราง กิโลเมตร มีพื้นที่เป็นเกาะแวดล้อมด้วยน�้ำทะเล สิงคโปร์ได้ชอื่ ว่าเป็นประเทศทีม่ รี าคาทีด่ นิ สูงมาก ด้วยข้อจ�ำกัดของพื้นที่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ใน สิงคโปร์มีการแข่งขันที่รุนแรง และราคาที่ดิน ถี บ ตั ว สู ง ขึ้ น ทุ ก ปี พร้ อ มกั บ การเกิ ด ขึ้ น ของ ตึกระฟ้าและที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมที่ เพิม่ ขึน้ ทุกปี เพือ่ รองรับการขยายตัวของเมืองและ เศรษฐกิจ ชาวสิงคโปร์สว่ นหนึง่ จึงไปซือ้ ทีด่ นิ ทาง แถบประเทศมาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย ทีม่ พี นื้ ทีไ่ ม่ ห่างกัน อาทิ เกาะบาตัม ในอินโดนีเซีย ทีส่ ามารถ เดินทางด้วยเรือโดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง เป็นต้น ความน่าสนใจอีกอย่างของการพยายาม แก้ปัญหาข้อจ�ำกัดด้านพื้นที่ของสิงคโปร์ คือ ความพยายามเพิม่ พืน้ ทีป่ ระเทศด้วยการถมทะเล
18
PIM Magazine \ August 2012
ไปไกลอีกนิด มหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง มีภูมิประเทศเป็นเกาะ ที่ประสบปัญหาข้อจ�ำกัด ของพืน้ ที่ มหานครโตเกียวมีหมูต่ กึ ระฟ้าหนาแน่น มากที่สุดอยู่ที่ย่าน Shinjuku ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ศาลาว่าการมหานครโตเกียวหรือ TMG Building รวมอยู่ด้วย ญี่ปุ่นไม่ใช่เพียงแค่มีตึกสูงจ�ำนวน มาก แต่มคี วามก้าวหน้าในการก่อสร้างตึกสูงเพือ่ รองรับการเกิดภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผ่นดินไหว ปีนี้ ญีป่ นุ่ เปิดโตเกียว สกาย ทรี ทีส่ งู ถึง 634 เมตร ซึ่งได้ท�ำลายสถิติ แคนตันทาวเวอร์ ในจีน ที่สูง 600 เมตรไปได้ และกลายเป็นตึกทีส่ งู ทีส่ ดุ ในโลก ในทันที แต่ “ยิ่งสูง ยิ่งหนาว” เพราะอีกไม่ช้า ตึก ดูไบ เบิร์จ คาลิฟา ในสหรัฐอาหรับเอมิเรทส์ จะ น�ำความสูง 828 เมตร มาท�ำลายสถิตขิ องโตเกียว สกาย ทรี ถึงเราทุกคนยังเดินอยูใ่ นแนวราบ แต่ขอ้ จ�ำกัดใน ของพืน้ ที่ ท�ำให้หลายคนจ�ำเป็นจะต้องยอมรับวิถี ชีวติ แนวตัง้ เข้ามาสูช่ วี ติ พืน้ ทีท่ แี่ คบลง เราก็ตอ้ ง ปรับตัวให้เข้ากับกิจกรรมในวิถีเมืองที่เปลี่ยนไป การเดินในสวนบนดาดฟ้า การหย่อนใจกับสวน แนวตั้ง การเดินตลาดในตึกสูง แม้กระทั่งการวิ่ง ออกก�ำลังกายที่ไม่ได้สัมผัสของกลิ่นอายของ อากาศธรรมชาติในยามเช้า ไม่ใช่เรื่องแปลก ประหลาดอีกต่อไป เพราะวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปให้ สอดรับกับแนวคิด “แนวตัง้ ” ว่าต้องใช้พนื้ ทีใ่ ห้คมุ้ ค่าทีส่ ดุ ภายใต้ขอ้ จ�ำกัด และราคาดุจทองค�ำของ ที่ดินยุคเศรษฐกิจกระจุกตัวในเมืองหลวงนั่นเอง พบเก็บโลกมาเล่าได้ใหม่ฉบับหน้า ตอนนี้ไปหา อาหารอร่อยๆ ในภัตตาคารหรูบนดาดฟ้า เห็นมุม เมือง 360 องศากันสักแห่งไหมครับ “ผมจะพาไป เอง”
New Innovation ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร porpostbox@hotmail.com
กรุงเทพฯ รถเยอะขึ้นทุกที ปัญหาที่ตามมาอย่างชัดเจนคือ ปัญหาที่จอดรถ วันหยุดสุดสัปดาห์จะไปห้างดังๆ ก็ต้องกลุ้มใจคอยลุ้นว่า จะมีที่จอดหรือเปล่า รถต่อคิวรอจอด ยาวล้นออกมาถึงบนถนน ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และส่งผลให้รถติด จนเชื่อว่าหลาย คนฝันอยากให้มีอาคารจอดรถแบบโลกอนาคต ที่มีระบบบริการจอดรถอัตโนมัติ ไม่ต้องขับรถวนไปมาหาที่จอด ความฝันทีว่ า่ นีเ้ ริม่ มีเค้าโครงความจริงขึน้ มาแล้ว ทีพ่ พิ ธิ ภัณฑ์รถยนต์ในเมืองวูลฟ์ สเบิรก์ (Wolfsburg) ประเทศเยอรมนี ได้ใช้เทคโนโลยีสำ� หรับ จัดเก็บรถยนต์รูปแบบใหม่ โดยใช้แขนกลล�ำเลียงรถยนต์ไปยังช่องพักรถ ซึ่งในตึกเดียวนี้สามารถเก็บรถยนต์ได้ถึงหลักพันคัน
ตอนนี้ เ ทคโนโลยี ดั ง กล่ า วได้ น� ำ ไปประยุ ก ต์ ใ ช้ กั บ รถใหม่ ที่ เ ตรี ย มน� ำ ไป จ�ำหน่ายให้กบั ลูกค้า แต่คดิ ว่าอีกไม่นานหลังจากนี้ เทคโนโลยีดงั กล่าวคงถูก น�ำไปใช้กับตึกจอดรถทั่วไปบ้าง คาดว่าอาจช่วยให้รถติดน้อยลง เพราะมีที่ จอดเป็นสัดเป็นส่วน เมื่อถึงวันนั้นชีวิตคนกรุงเทพฯ คงดีขึ้นมาก
PIM Magazine \ August 2012
19
PIM in Trend
คฤหาสถ์หลังใหญ่พร้อมสวนอังกฤษบนที่ดิน 18 ไร่ วิลล่าริมทะเล คอตเทจริมทะเลสาบ กระท่อมน้อยปลายนา บ้านไม้ยกใต้ถุนสูง คอนโดหรูชั้น 36 ชมวิวแม่น้ำ� บ้านดินทำ�เองกับมือ ทาวน์เฮาส์ทาวน์โฮมบ้านจัดสรรชานเมือง ตึกแถวขายของริมถนน เพิงหมาแหงน ขายลาบน้ำ�ตกข้างทาง ไปจนถึงบ้านฝาไม้อัดผสมสังกะสี ในชุมชนแออัด ฯลฯ เหล่านั้นคือชื่อเรียกระบุต�ำแหน่งแห่งที่และรูปแบบของที่อยู่อาศัย ซึ่งถูกออกแบบตามความต้องการใช้ประโยชน์ บนเงื่อนไขปัจจัยที่แตกต่าง กัน บางหลังใหญ่โต สวยงาม หรูหรา ปลอดโปร่ง ขณะที่บ้านจัดสรรหลังเล็กความโอ่อ่าโอ่โถงย่อมลดดีกรีลงมามาก แต่ยังคงคุณสมบัติส�ำคัญ ส�ำหรับการเป็นบ้านทีด่ ไี ด้ไม่ต่างกัน แม้แต่เพิงหมาแหงนมุงจาก และห้องแถวตอกแบ่งห้องด้วยฝาไม้อดั ก็ถอื ว่าได้รบั การออกแบบเช่นกัน แต่ ความจ�ำกัดของพืน้ ที่ การเงิน และการเข้าถึงโอกาสทางสังคม คือเงือ่ นไขส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ทอี่ ยูอ่ าศัยในชุมชนแออัดเติบโตอย่างผ่านการออกแบบ ที่ดูเหมือนไร้การออกแบบ ที่อยู่อาศัยที่ดีไม่ใช่แค่สร้างด้วยวัสดุชั้นดี ออกแบบด้วยสถาปนิกชื่อดัง แต่ต้องเป็นที่อยู่อาศัยที่ออกแบบให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม รู้จัก ความร้อนความชื้น ทิศทางลมและแสงแดด สร้างด้วยวัสดุที่ไม่เป็นพิษ เพราะบ้านคือพื้นที่ส่วนตัวที่ปลอดภัย ส�ำหรับพักผ่อน ค้นหา ศึกษา หลบจากความวุน่ วาย บ้านจึงเป็นทีท่ ี่ ส�ำคัญทีต่ อ้ งได้รบั การออกแบบอย่างเข้าใจ เช่นนัน้ แม้ในทีๆ่ อัตคัดแร้นแค้นทีส่ ดุ ก็ควรได้รบั การออกแบบ เพื่อรักษาหรือยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคน กระแสส�ำคัญของโลกวันนีค้ อื เมืองส�ำคัญๆ ของโลกค�ำนึงถึงความอยูด่ มี สี ขุ ของชาวเมืองมากขึน้ ผูบ้ ริหารเมืองให้ความส�ำคัญกับการออกแบบ ภาพรวมของเมืองอย่างจริงจัง ก�ำหนดกรอบเกณฑ์สร้างบรรยากาศเมืองให้เหมาะกับการอยูอ่ าศัยและใช้ชวี ติ ในแง่มมุ ต่างๆ เพือ่ คนอยูม่ คี ณ ุ ภาพ ชีวิตและคุณภาพจิตดี ถ้าใครก�ำลังตั้งค�ำถามว่าการออกแบบที่อยู่อาศัยจ�ำเป็นแค่ไหน? ค�ำตอบคือ จ�ำเป็นเท่าที่ที่อยู่อาศัยคือ 1 ในปัจจัยพื้นฐาน 4 อย่างของมนุษย์ และทุกคนควรได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีเพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
20
PIM Magazine \ August 2012
PIM in Trend
บ้านผีเสื้อเพื่อเด็กกำ�พร้า
บ้านส�ำหรับพักอาศัยของสถานเลี้ยงรับเด็กก�ำพร้า (Ole Jorgen’s Orphanage) บ้านหนองบัว จังหวัดตาก เป็นบ้านไม้ไผ่สาน ที่ผสมทักษะของชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ ที่ออกแบบโดยสตูดิโอ สถาปนิกที่เชี่ยวชาญ จนได้บ้านสานไม้ไผ่วัสดุในท้องถิ่น หลังคา ปีกผีเสือ้ เพือ่ ระบายอากาศ และใช้เก็บน�ำ้ ฝนส�ำหรับใช้ในหน้าแล้ง เป็นการออกแบบโดยค�ำนึงถึงสภาพแวดล้อม ความยั่งยืนและ ต้นทุนก่อสร้างไม่สูง
บ้านหนังสัตว์ของชาวมองโกล
กี ร ์ กระโจมพั ก อาศั ย ของชาวมองโกล ใช้ เ วลาประกอบ ประมาณ 1 ชั่วโมง รื้อเก็บครึ่งชั่วโมง โครงสร้างท�ำด้วยไม้ ปิดผนัง ด้วยหนังสัตว์และขนสัตว์ ความที่ตั้งอยู่บนพื้นที่หนาวเย็นอย่าง มาก ชาวมองโกลจึงท�ำอาหารในกระโจมเลย ส่วนบนหลังคาจึงมี ปล่องระบายอากาศ การประกอบและรื้อเก็บที่สะดวกจ�ำเป็น ส�ำหรับวิถีชีวิตท�ำปศุสัตว์แบบร่อนเร่ มีส่วนประกอบน้อยขนย้าย ได้ สอดคล้องกับวิถีชีวิตเร่ร่อน
คอนโด 1 ห้อง แต่ 2 ชั้น
คอนโดมิเนียมเป็นที่อยู่อาศัยราคาแพง แต่คนในเมืองใหญ่ ยอมจ่ายเพือ่ ได้อยูใ่ นท�ำเลทีเ่ ดินทางไปท�ำงานและใช้ชวี ติ สะดวก สบาย จากห้องทรงกล่องสี่เหลี่ยมแบน ตอนนี้ห้องสตูดิโอขนาด 28 ตร.ม. ความสูง 2.4 เมตรมาตรฐาน ก�ำลังขยายขึน้ ไปในอากาศ เป็น 4 เมตร เพราะที่ว่างในอากาศท�ำให้คนอยู่หายใจได้โล่งขึ้น อยู่ได้โปร่งตาขึ้น
บ้านที่อยู่กับความเปลี่ยนแปลงของน้ำ�
น�้ำท่วมครั้งใหญ่ ความตื่นตัวเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ น�้ำแข็งทั่วโลกเริ่มละลาย ความกังวลเรื่องผืนดินส�ำหรับ อยูอ่ าศัย ท�ำให้คนหลายกลุม่ โดยเฉพาะกลุม่ ทีอ่ ยูร่ มิ น�ำ้ หรืออยูต่ ำ�่ กว่าระดับน�้ำทะเลอย่างประเทศเนเธอร์แลนด์ ต้องคิดหนักเรื่อง สร้างบ้านที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง บ้านลอยน�้ำเกิดขึ้นหลาย แห่งทัว่ โลก มีเทคโนโลยีกอ่ สร้างแตกต่างกันไป แต่ทเี่ หมือนกันคือ บ้านเหล่านี้ตั้งอยู่บนน�้ำพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในวันที่ระดับ น�้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น PIM Magazine \ August 2012
21
Our Network เรื่องเล่าขององค์กรบิ๊กไซส์
มนตกานต์ วีรชัยเดชอุดม montakanwer@cpall.co.th
กลับมาอีกครั้งแล้วค่ะ สมาชิกชาว PIM ทุกคน เปิดเทอม กันแล้ว น้องหลายคนคงเริ่มรียนและหลายคนคงเริ่มฝึก ปฏิบัติงานกันแล้ว เหนื่อยได้แต่อย่าท้อนะ พี่ทุกคนเป็น กำ�ลังใจให้เสมอค่ะ ฉบับนี้คอลัมน์ “เรื่องเล่าขององค์กรบิ๊กไซส์” พี่ขอเล่าเกี่ยวกับ องค์ ก รชั้ น น� ำ ระดั บ บิ๊ ก ด้ า นการบริ ห ารจั ด การอาคารและ อสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่งประกาศปรับโฉมรีแบรนดิ้ง (Rebranding) ไปเมื่อไม่นานนี้ เพื่อให้ครอบคลุมกับธุรกิจการให้บริการ ด้านการบริหารจัดการอาคารและอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น แน่นอนว่าเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก Plus+ หรือ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จ�ำกัด นั่นเอง Plus+ หรือ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จ�ำกัด เป็นบริษัทในเครือ ที่อยู่ภายใต้การบริหารของกลุ่มแสนสิริ ซึ่งปัจจุบันให้บริการ ด้านอสังหาริมทรัพย์อย่างครบวงจร มีบริการด้านบริหารงาน ขาย บริหารจัดการอาคารส�ำนักงานและที่อยู่อาศัย รวมถึงให้ บริการด้านค�ำแนะน�ำ ศึกษาและวิจัยข้อมูลตลาด ศึกษาความ เป็นไปได้ทางการเงิน วางแผนงานพัฒนารูปแบบโครงการ อสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท และศึกษาด้านกายภาพเพื่อเสริม ความมั่นใจในการลงทุนของลูกค้า ด้วยความส�ำเร็จมากว่า 15 ปีในวงการผู้ให้บริการบริหารด้าน อสังหาริมทรัพย์ จึงปฏิเสธไม่ได้เลย ว่า Plus+ เป็นหนึ่งในผู้น�ำ ด้านการบริหารและพัฒนาอสังหา ริมทรัพย์ทลี่ กู ค้าต่างให้ความ มัน่ ใจในคุณภาพของบริการอย่างแท้จริง ซึง่ พิสจู น์ความส�ำเร็จ นี้ได้จากรางวัล Thailand Property Award 2011 นอกจากนี้ Plus+ ยังขยายขอบข่ายการให้บริการไปยังต่างจังหวัด ที่เป็น ศูนย์กลางการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ เพือ่ ตอบสนองความ ต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ทั้งที่ หัวหิน พัทยา และภูเก็ต ถึงตรงนี้ คงอยากรูแ้ ล้วใช่มยั้ คะว่าโครงการไหนบ้างที่ Plus+ มี ส่วนผลักดันให้วงการนีเ้ ติบโตอย่างไม่หยุดยัง้ ไม่ตอ้ งรอค�ำตอบ นานถึงเล่มหน้า ตัวอย่างโครงการอยู่ในบรรทัดถัดไปแล้วค่ะ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทิสโก้ ทาวเวอร์ อาคารส�ำนักงานใหญ่ บมจ.ทิสโก้ คริสตัล ปาร์ค หมู่บ้านระดับไฮเอนด์ Sena Fes คอมมิวนิตี้มอลล์แห่งใหม่บนถนนเจริญกรุง เดอะโคฟ พัทยา คอนโดมิเนียมระดับพรีเมียม เป็นต้น คุณชาญ ศิริรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายบริหารทรัพยากรอาคารและวิศวกรรม บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จ�ำกัด
22
PIM Magazine \ August 2012
เห็นรายชื่อโครงการเหล่านี้แล้ว แน่ใจได้เลยว่า Plus+ ต้องมี ทีมงานสายปฏิบตั กิ ารทีเ่ ข้มแข็งพร้อมให้นอ้ งๆ เข้าไปเรียนรูง้ าน ด้านการบริหารจัดการอาคารได้เต็มทีเ่ ต็มความรู้ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้ากับเรื่องเล่าไม่มีวันหมดขององค์กร ระดับบิ๊ก
หลักสูตรการจัดการอาคารและทรัพยากรกายภาพ คณะบริหารธุรกิจ
ËÅÑ¡ÊÙµÃáááÅÐËÅÑ¡ÊÙµÃà´ÕÂÇ ã¹»ÃÐà·Èä·Â·ÕèÁØ‹§à¹Œ¹ÊÙ‹¡ÒÃ໚¹ ¹Ñ¡¨Ñ´¡ÒÃÍÒ¤ÒÃÁ×ÍÍÒªÕ¾ ½ƒ¡§Ò¹¡ÑººÃÔÉÑ·Ï ¼ÙŒãËŒºÃÔ¡ÒáÒúÃÔËÒÃÍÒ¤ÒêÑé¹¹Ó âÍ¡ÒÊàÃÔèÁ¡Ò÷ӧҹÊÒµç㹴ŒÒ¹ ¡ÒúÃÔËÒèѴ¡ÒÃÍÒ¤Òà Áշع¡ÒÃÈÖ¡ÉÒÊÓËÃѺ¹Ñ¡àÃÕ¹àÃÕ¹´Õ âÍ¡ÒÊÈÖ¡ÉÒµ‹Íʶһ˜µÂ¡ÃÃÁÈÒʵÃÁËҺѳ±Ôµ ã¹Ê¶ÒºÑ¹ªÑ鹹Ӣͧ»ÃÐà·È ºÃÔËÒøØáԨ ¤ÇÒÁÃÙŒ´ŒÒ¹¡ÒÂÀÒ¾áÅÐÊÔè§áÇ´ÅŒÍÁ ¡ÒèѴ¡ÒÃÍÒ¤ÒÃáÅзÃѾ ÊÔ¹
µÑÇÍ‹ҧͧ¤ ¡Ã·Õè¹Ñ¡ÈÖ¡ÉÒࢌÒÃѺ¡Òýƒ¡ÀÒ¤»¯ÔºÑµÔ
www.pim.ac.th www.facebook.com/pimfanpage â·ÃÈѾ· 0 2832 0200-14
¤³ÐºÃÔËÒøØáԨ ÊÒ¢Ò¡ÒèѴ¡ÒÃÍÒ¤ÒÃáÅзÃѾÂҡáÒÂÀÒ¾ ʶҺѹ¡ÒèѴ¡Òû˜ÞÞÒÀÔÇѲ¹ (Panyapiwat Institute of Management) 85/1 ËÁÙ‹ 2 ¶¹¹á¨Œ§ÇѲ¹Ð ºÒ§µÅÒ´ »Ò¡à¡Ãç´ ¹¹·ºØÃÕ 11120
ขอเชิญรวมฟงการบรรยายพิเศษ
โครงการ Modern Executive Relationship Program
ทิศทางคาปลีกป 56 และนโยบายดานการบริหารสินคา
โดย คุณปยะวัฒน ฐิตะสัทธาวรกุล
กรรมการผูจัดการ บริษัท ซีพี ออลล จำกัด (มหาชน)
และ คุณยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล
รองกรรมการผูจัดการ สำนักบริหารการตลาด บริษัท ซีพี ออลล จำกัด (มหาชน)
วันศุกรที่ 21 กันยายน 2555
เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ Convention Hall 1-6 ชั้น 3 สถาบันการจัดการปญญาภิวัฒน (PIM) ถ.แจงวัฒนะ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมไดที่
วันศุกรที่ 21 กันยายน 2555 เวลา 13.00-16.00น. สำรองที่นั่ง ณ2555 Convention Hall 1-6 ชั้น 3 ภายในวันศุกรที่ 14 กันสถาบั ยายนนการจั ดการปญญาภิวัฒน (PIM) คุณสุพจี ขำโสภี / คุณศิริมนัส ริมชลา (ดานบริหารเครือขาถนนแจ ยทางธุรกิงจวั-1) ฒนะ
สำนักบริหารเครือขายทางธุรกิจ บริษัท ซีพี ออลล จำกัด (มหาชน) โทรศัพท 0 2677 1026 ถึง 7 โทรสาร 0 2677 1095 E-Mail: supajeecom@cpall.co.th สัมมนาไมเสียคาใชจาย