วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 10 ฉบับพิเศษ กรกฎาคม 2561 PANYAPIWAT JOURNAL Volume 10 Special Issue July 2018 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 10 ฉบับพิเศษ กรกฎาคม 2561 PANYAPIWAT JOURNAL Volume 10 Special Issue July 2018
จัดท�ำโดย
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 85/1 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ต�ำบลบางตลาด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0-2855-1102, 0-2855-0908 โทรสาร 0-2855-0392
พิมพ์ที่
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0-2218-3549-50 โทรสาร 0-2215-3612 http://www.cuprint.chula.ac.th E-mail: cuprint@hotmail.com
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ
ปีที่ 10 ฉบับพิเศษ กรกฎาคม 2561 Vol.10 Special Issue July 2018 ISSN 1906-7658 วารสารปัญญาภิวฒ ั น์ ได้ดำ� เนินการตีพมิ พ์เผยแพร่อย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2552 ปัจจุบนั เป็นวารสารทีอ่ ยู่ ในฐานข้อมูล TCI (Thai-Journal Citation Index Centre) กลุ่มที่ 1 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเป็น วารสารที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) โดยมีนโยบายการจัดพิมพ์ ดังนี้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นเวทีในการเผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ การจัดการธุรกิจอาหาร วิทยาการจัดการ ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ส�ำหรับคณาจารย์ ผู้วิจัย และ นักศึกษาทั้งในและต่างประเทศ 2. เพื่อเป็นแหล่งสารสนเทศและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในด้านต่างๆ อันจะน�ำมาสู่ประโยชน์ในการพัฒนา ธุรกิจและประเทศต่อไป ขอบเขตผลงานที่รับตีพิมพ์ ขอบเขตเนือ้ หา ประกอบด้วย สาขาวิชาบริหารธุรกิจ การจัดการธุรกิจอาหาร วิทยาการจัดการ ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ประเภทผลงาน ประกอบด้วย บทความวิจัย (Research article) บทความวิชาการ (Academic article) บทวิจารณ์หนังสือ (Book review) และบทความปริทัศน์ (Review article) นโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความ 1. บทความทีจ่ ะได้รบั การตีพมิ พ์ ต้องผ่านการพิจารณากลัน่ กรองจากผูท้ รงคุณวุฒิ (Peer review) ในสาขา ทีเ่ กีย่ วข้อง จ�ำนวนอย่างน้อย 2 ท่านต่อบทความ โดยผูท้ รงคุณวุฒจิ ะไม่ทราบข้อมูลของผูส้ ง่ บทความ (Double-Blind Peer review) 2. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อนและไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณา ของวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด รวมทั้งผู้เขียนบทความต้องไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่น 3. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความ รับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์แต่อย่างใด 4. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร ก�ำหนดพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ (ฉบับแรก เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ฉบับที่สอง เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม และ ฉบับที่สาม เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม)
ติดต่อกองบรรณาธิการ ส�ำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 85/1 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ต�ำบลบางตลาด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์: 0-2855-1102, 0-2855-0908 โทรสาร: 0-2855-0392 อีเมล: journal@pim.ac.th เว็บไซต์: http://journal.pim.ac.th
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 10 ฉบับพิเศษ กรกฎาคม 2561 PANYAPIWAT JOURNAL Vol.10 Special Issue July 2018 ISSN 1906-7658
ที่ปรึกษา อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี และคณบดี
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
บรรณาธิการ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
รองบรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูลทรัพย์ นาคนาคา
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
กองบรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน ศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา สัจจานันท์ รองศาสตราจารย์ ดร.ชนิดา ม่วงแก้ว รองศาสตราจารย์ ดร.ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.พร้อมพิไล บัวสุวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิตินันธุ์ ชาญโกศล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุษยา วงษ์ชวลิตกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจินดา ศรีวัฒนะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุพงศ์ อวิรุทธา ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิมพา หิรัญกิตติ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อดีตอาจารย์ประจ�ำมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ผู้ทรงคุณวุฒิภายในสถาบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาคร สมเสริฐ อาจารย์ ดร.ณตา ทับทิมจรูญ อาจารย์ ดร.กันยิกา ซอว์ อาจารย์ ดร.พิฑูร ธนบดีกิจ อาจารย์ ดร.วัชราภรณ์ เขื่อนวัง อาจารย์ ดร.สรชาติ รังคะภูต ิ อาจารย์ ดร.อนันต์ บุญปาน
คณะศิลปศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะนิเทศศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ คณะศึกษาศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร
ฝ่ายจัดการและเลขานุการกองบรรณาธิการ นางสาวเมธาวี ฮั่นพงษ์กุล นางสาวหทัยชนก เสาร์สูง
ส�ำนักวิจัยและพัฒนา ส�ำนักวิจัยและพัฒนา
ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ (Reviewers) รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษณ์ ทองเลิศ รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ รองศาสตราจารย์ ดร.จุลนี เทียนไทย รองศาสตราจารย์ ดร.ฐาปนีย์ ธรรมเมธา รองศาสตราจารย์ ดร.ทิวัตถ์ มณีโชติ รองศาสตราจารย์ ดร.นาตยา ปิลันธนานนท์ รองศาสตราจารย์ ดร.นิรมล ศตวุฒ ิ รองศาสตราจารย์ ดร.เนาวนิตย์ สงคราม รองศาสตราจารย์ ดร.ประพนธ์ เจียรกูล รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช อภิบุณโยภาส รองศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ ปานมณี รองศาสตราจารย์ ดร.พรพรรณ จันทโรนานนท์ รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณนิภา รอดวรรณะ รองศาสตราจารย์ ดร.วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ รองศาสตราจารย์ ดร.สมคิด พรมจุ้ย รองศาสตราจารย์ ดร.อรุณี อินทรไพโรจน์ รองศาสตราจารย์ ดร.อรนุช ลิมตศิร ิ รองศาสตราจารย์ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์ รองศาสตราจารย์ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ รองศาสตราจารย์ทองฟู ศิริวงศ์ รองศาสตราจารย์ประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช รองศาสตราจารย์สมชาย หิรัญกิตติ รองศาสตราจารย์อรรฆย์คณา แย้มนวล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา ชาตตระกูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญณ์ระวี อนันตอัครกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลลินี มุทธากลิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูกลิ่น อุนวิจิตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนายุ ภู่วิทยาธร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระ สินเดชารักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช ศรีอัษฎาพร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล
มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อดีตอาจารย์ประจ�ำมหาวิทยาลัยรามค�ำแหง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อดีตอาจารย์ประจ�ำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อดีตอาจารย์ประจ�ำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อดีตอาจารย์ประจ�ำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อดีตอาจารย์ประจ�ำมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก�ำแพงแสน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตอาจารย์ประจ�ำมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ สาระพัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ ดร.ธนาสิทธิ์ เพิ่มเพียร ดร.ศิริเพ็ชร ทฤษณาวดี ดร.สายพิณ ศุพุทธมงคล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อดีตอาจารย์ประจ�ำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทบรรณาธิการ การบริหารจัดการยุค Digital Transformation ปัจจุบันนับเป็นยุคของข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดน จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีซงึ่ ท�ำให้ทกุ คนสามารถ เข้าถึงแหล่งข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และสถานการณ์ตา่ งๆ ได้โดยไม่มีข้อจ�ำกัดในเรื่องเวลาหรือสถานที่ เนื่องจาก คุณลักษณะของยุคดิจทิ ลั ทีเ่ น้นไปทีค่ วามรวดเร็วในการ สื่อสาร การจัดเก็บ การเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร และ บูรณาการพัฒนาความรู้ เผยแพร่และแบ่งปันความรู้ ได้กว้างขวาง ดังนั้น การบริหารจัดการยุค Digital Transformation จึงเป็นเรือ่ งทีผ่ นู้ ำ� องค์กรให้ความส�ำคัญ และสร้าง Digital Technology มาเป็นเครือ่ งมือในการ ปรับใช้กับทุกภาคส่วนของธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจสามารถ ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงช่วย ตอบโจทย์ธรุ กิจใหม่ๆ โดยทีก่ ารบริหารจัดการกระบวนการ Digital Transformation นัน้ ขึน้ อยูก่ บั ปัจจัยและข้อจ�ำกัด ทีต่ า่ งกันในแต่ละองค์กร โดยเฉพาะปัจจัยด้านงบประมาณ ที่สูงเพื่อการก้าวกระโดดเข้าสู่เทคโนโลยีใหม่ การส�ำรวจของ Forbes พบว่า ธุรกิจกว่า 84% ประสบ ความล้มเหลวใน Digital Transformation เนื่องจาก องค์กรส่วนใหญ่ขาดปัจจัยพื้นฐานคือ ความชัดเจนของ ผู้น�ำองค์กร ความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจ การวางแผนที่เหมาะสมและเป็นระบบ และการปฏิบัติ ที่สอดคล้องกับสภาพของธุรกิจ กลยุทธ์ทสี่ ำ� คัญสูค่ วามส�ำเร็จการบริหารยุค Digital Transformation ได้แก่ - การวางรากฐานดิจิทัลขององค์กร เพื่อสามารถ น� ำ ข้ อ มู ล มาวิ เ คราะห์ แ ละประกอบการตั ด สิ น ใจให้ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
- การพั ฒ นาระบบกระแสข้ อ มู ล ทั้ ง ภายในและ ภายนอกองค์กร รวมถึงการแบ่งปันแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างกันในรูปแบบที่เปิดกว้าง - การต่อยอดหรือขยายตัวไปสูก่ ารด�ำเนินนโยบาย เชิงดิจทิ ลั ในรูปแบบทีก่ ว้างขวางและแปลกใหม่ขององค์กร - การพัฒนาบุคลากรและการปรับทักษะพื้นฐาน เพือ่ ให้บคุ ลากรมีความสามารถพร้อมรับมือกับความท้าทาย ในอนาคต ดังนั้น นักบริหารจัดการองค์กรจะต้องสามารถ พัฒนาตนไปสู่ “Digital Leader” ผูน้ ำ� การเปลีย่ นแปลง องค์กรและบุคลากรให้ทำ� งานได้ดภี ายใต้สภาพแวดล้อม ยุคดิจทิ ลั เพือ่ สร้างความแตกต่างและมุง่ สูค่ วามเป็นเลิศ ในการแข่งขันขององค์กรยุคดิจิทัล โดยเน้นการสร้าง เครือข่าย การแบ่งปันและการแลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ว่ มกัน ในวงวิชาชีพและวิชาการ เพื่อให้ก้าวข้าม ยุค Digital Transformation ตามเป้าหมายที่องค์กรธุรกิจวางไว้ โดยที่วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ได้เป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในยุค ดิจทิ ลั โดยมีการน�ำเสนอเนือ้ หาผลงานวิจยั และวิชาการ ทีเ่ กีย่ วข้องทัง้ เรือ่ ง การบริหารจัดการธุรกิจ การจัดการเรียน การสอน การจัดการเกษตร รวมประเด็นเนือ้ หาทีเ่ กีย่ วข้อง ในสาขาวิชาชีพต่างๆ อีกมากมาย ในเล่มวารสารรูปแบบ E-Journal เพื่ออ�ำนวยความสะดวกและเพิ่มศักยภาพ ในการเข้าถึงองค์ความรู้ การสืบค้นและการอ่านบทความ ในวารสารได้ตลอดเวลาในทุกที่ทั้งภายในและภายนอก ประเทศ บรรณาธิการ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล tippapornmah@pim.ac.th
สารบัญ บทความวิจัย อิทธิพลของส่วนประสมการค้าปลีกที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าปลีกประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ต ในเขตกรุงเทพมหานคร สินิทรา สุขสวัสดิ์, ทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร
1
การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพยากรณ์ระหว่างคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการทางสังคมขององค์กร กับความยั่งยืนทางเศรษฐกิจขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย อ�ำพล ชะโยมชัย
13
การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ในเขตกรุงเทพมหานคร ณัฐพัชร์ อภิรุ่งเรืองสกุล, ประสพชัย พสุนนท์
26
THE INFLUENCE OF BRAND VALUE AND FAVORITE OF THAI PRODUCTS ON ONLINE SHOPPING BEHAVIORS OF CHINESE CONSUMERS Yolamas Jeerasantikul
43
THE EFFECTS OF PERSONAL TYPES AND DECISION-MAKING MODES ON IRRATIONAL FINANCIAL 59 BEHAVIOR OF CHINESE STUDENTS UNDER THE CLASSIC SCENARIO EXPERIMENT Shaowen Wang, Haijun Lu รูปแบบการจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจส่งออกของประเทศไทยตามการขยายตัว ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภิมภ์วิมล ปรมัตถ์วรโชติ, อนันต์ สุนทราเมธากุล, อัยรดา พรเจริญ, สรายุทธ พรเจริญ
71
การพัฒนากีฬาเพื่อเป็นกลยุทธ์การตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชน มณฑิรา ชุนลิ้ม, อุษณีษ์ เสวกวัชรี
83
การตัดสินใจรับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศของคนเมียนมา โดยใช้วิธีกระบวนการตัดสินใจ แบบวิเคราะห์ลำ� ดับชั้น ธารทิพย์ ศรีธารทิพย์, สวัสดิ์ วรรณรัตน์
97
INCREASING ORGANISATIONAL SUCCESS THROUGH MANAGEMENT STYLES OF MANAGERS IN HOUSING DEVELOPMENT INDUSTRY Vissanu Zumitzavan, Pennee Kantavong
110
การศึกษาระบบบริหารจัดการโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สดเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ด ี ในการผลิต พวงเพ็ชร์ นิธยานนท์
124
การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าอาหารแช่เย็นในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ภัทรนิษฐ์ ศรีบุรีรักษ์, เปรมฤทัย แย้มบรรจง
136
กระบวนการสร้างจิตส�ำนึกระลึกรู้ทันเพื่อการควบคุมน�ำ้ หนักของบุคลากรในองค์กร ภาคภูมิ ไข่มุก, ศิรวิทย์ กุลโรจนภัทร, นัทนิชา หาสุนทรี
149
ระดับอุปนิสัยของพนักงานระดับปฏิบัติการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง ธนวันต์ สุมนศาสตร์, ชัยวุฒิ ตั้งสมชัย, อรพิณ สันติธีรากุล
164
ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรในกลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ กีรติกร บุญส่ง
180
การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ธันยวนันฐ์ เลียนอย่าง, ศรัณย์ พิมพ์ทอง, นริสรา พึ่งโพธิ์สภ
194
รูปแบบการเรียนแบบดิจิทัลโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 ศันสนีย์ เลี้ยงพานิชย์
208
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในวิชาการถ่ายภาพดิจิทัล เศรษฐา วีระธรรมานนท์, อารีรัตน์ ใจประดับ
227
การลดพฤติกรรมการคุยกันในชั้นเรียนของนักศึกษาโดยประยุกต์ใช้วิธีการสอนแบบมีส่วนร่วม ภาริกา รุ่งพิชยพิเชฐ, ณัฐพร โชตยะกุล
242
ผลสัมฤทธิ์จากการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสอนแบบบรรยายในวิชาการจัดการฟาร์ม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม พรพร โยธาวงษ์
252
การศึกษาผลการออกเสียงภาษาอังกฤษเลียนแบบเจ้าของภาษาเพื่อพัฒนาการพูดภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปิยวรรณ รัตนวารินทร์ชัย, ศุภวุฒิ มาลัยกฤษณะชลี
262
บทความวิชาการ การเขียนบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ผลงาน…ท�ำได้อย่างไร? พรชนก ทองลาด เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์องค์ประกอบส�ำหรับงานวิจัย ธีระดา ภิญโญ
279 292
แอปพลิเคชั่นมือถือเพื่อใช้จัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับพื้นฐาน ยุพดี หวลอารมณ์
305
วลีภาษาจีนที่นิยมใช้บนอินเทอร์เน็ตในปี ค.ศ. 2017 กับการสะท้อนสังคม กฤษฎี สงไข่
316
ภาวะซึมเศร้ากับพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียล อังคณา ศิริอำ� พันธ์กุล
327
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
1
อิทธิพลของส่วนประสมการค้าปลีกที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าปลีก ประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร INFLUENCE OF RETAILING MIX AFFECTING ON HYPERMARKT RETAILING CUSTOMER’S LOYALTY IN BANGKOK สินิทรา สุขสวัสดิ1์ และทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร2 Sinittra Suksawat1 and Tipparat Laohavichien2 1วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1College of Innovative Management, Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage 2Faculty of Business Administration, Kasetsart University
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของส่วนประสมการค้าปลีกที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของ ลูกค้าร้านค้าปลีกประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุม่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ในการศึกษาครัง้ นีค้ อื ลูกค้าทีเ่ คย ใช้บริการและซื้อสินค้าของร้านค้าปลีกประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร จ�ำนวน 400 คนจาก 6 พื้นที่ ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูล สถิตทิ ใี่ ช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลีย่ ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์ แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบน�ำเข้า ผลการวิจยั พบว่า ส่วนประสมการค้าปลีกภาพรวมมีความสัมพันธ์กบั ความจงรักภักดีของลูกค้าทีร่ ะดับนัยส�ำคัญ ทางสถิติ 0.01 เมือ่ พิจารณารายด้านพบว่า ส่วนประสมการค้าปลีกด้านการบริการลูกค้า ด้านการสือ่ สาร ด้านการตัง้ ราคา ด้านการคัดสรรสินค้า ด้านการตกแต่งร้านและการจัดแสดงสินค้า และด้านท�ำเลทีต่ งั้ มีความสัมพันธ์กบั ความจงรักภักดี ของลูกค้าที่ระดับนัยส�ำคัญทางสถิติ 0.01 นอกจากนี้เมื่อพิจารณาถึงอิทธิพลของส่วนประสมการค้าปลีกที่ส่งผลต่อ ความจงรักภักดีของลูกค้าพบว่า ส่วนประสมการค้าปลีกด้านการบริการลูกค้า ด้านการสื่อสาร และด้านการตั้งราคา มีอทิ ธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าตามล�ำดับทีร่ ะดับนัยส�ำคัญทางสถิติ 0.05 โดยสามารถร่วมกันอธิบายความจงรักภักดี ของลูกค้าได้รอ้ ยละ 12.3 ในขณะทีส่ ว่ นประสมการค้าปลีกด้านอืน่ ๆ ได้แก่ การคัดสรรสินค้า การตกแต่งร้านและจัดแสดง สินค้า และท�ำเลที่ตั้ง ไม่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าที่ระดับนัยส�ำคัญทางสถิติ 0.05 ค�ำส�ำคัญ: ส่วนประสมการค้าปลีก ความจงรักภักดี ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีก
Corresponding Author E-mail: sinittra@vru.ac.th
2
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Abstract
This research examine influential of retailing mix on hypermarket retailing customer’s loyalty in Bangkok. The 400 samples of this study were randomized by Multi-stage sampling method. Data were collected through questionnaire. Statistical procedures in this study were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and enter multiple regression analysis. The study demonstration overall retailing mix has relative significant at level 0.01 with customer loyalty. Furthermore, when analyzed in each retailing mix factor shows the customer service, communication mix, pricing, merchandise, store design and display and location have relative to customer loyalty at significant level 0.01. Otherwise, when considered to influence between retailing mix and customer loyalty found retailing mix on customer service, communication mix and price effected to customer loyalty at significant level 0.05 and can explain 12.3 percent of customer loyalty whereas the others retailing mix : merchandise, store design and display and location did not effected to customer loyalty. Keywords: Retailing mix, Loyalty, Hypermarket, Retailing shop
บทน�ำ
ธุ ร กิ จ ค้ า ปลี ก ของประเทศไทยมี ก ารพั ฒ นาและ เติบโตมาอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และการเปลีย่ นแปลงของพฤติกรรมผูบ้ ริโภค จากรูปแบบ ธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) ที่มีการ ด�ำเนินงานแบบครอบครัว มีลกั ษณะการจ�ำหน่ายสินค้า และบริการในรูปแบบเดิม การจัดวางสินค้าไม่ทันสมัย และส่วนใหญ่เป็นร้านค้าที่มีพื้นที่ไม่มากนัก และระบบ การบริหารจัดการภายในร้านไม่มมี าตรฐาน มีเวลาเปิดปิด ทีไ่ ม่แน่นอน ไม่มหี ลักเกณฑ์บริหารทัง้ ในด้านของการตลาด และการลงทุน รวมทัง้ คูแ่ ข่งทีม่ จี ำ� นวนน้อย แต่ในปัจจุบนั ธุรกิจค้าปลีกของประเทศไทยได้เข้าสู่รูปแบบของธุรกิจ ค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ทีม่ ลี กั ษณะการจัดวาง สินค้าและบริการที่ทันสมัย มีการบริหารจัดการที่เป็น ระบบและเป็นมาตรฐาน โดยใช้เทคโนโลยีทที่ นั สมัยมาช่วย ในการบริหารจัดการและดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการ มีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการน�ำเทคโนโลยี สมัยใหม่เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการและอ�ำนวย
ความสะดวกให้กบั ผูบ้ ริโภค (Apiprachayasakul, 2014) ซึง่ สามารถตอบสนองความต้องการของผูบ้ ริโภคได้อย่าง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสามารถน�ำเสนอสินค้าหรือ บริการใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภคได้มีโอกาสในการเลือกซื้อ สินค้าหรือบริการมากขึน้ จากเหตุผลนีท้ ำ� ให้ธรุ กิจค้าปลีก สมัยใหม่เข้ามามีบทบาทและความส�ำคัญกับชีวติ ประจ�ำวัน มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเห็นได้จากรูปแบบของธุรกิจค้าปลีก ทีเ่ กีย่ วข้องกับการด�ำรงชีวติ ของคนเรา เช่น ร้านสะดวกซือ้ ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น ปัจจุบนั ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในประเทศไทยสามารถ แบ่งออกเป็น 7 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซือ้ ร้านค้าปลีกขายสินค้าลดราคา และไฮเปอร์มาร์เก็ตหรือ ซูเปอร์เซ็นเตอร์ (Inkaew, 2010) อย่างไรก็ตามเมือ่ มอง ถึงภาพรวมของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ของประเทศไทย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า ถึงแม้อัตราการเติบโตของ ธุรกิจค้าปลีกไทยตั้งแต่ปี 2010 จนถึงปี 2015 มีการ เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตของ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ซูเปอร์มาร์เก็ตทีม่ อี ตั ราการเติบโตสูงถึง 8.5% ในปี 2558 (Positioning Magazine, 2015) แต่สำ� หรับร้านค้าปลีก สมัยใหม่ประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตหรือซูเปอร์เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นรูปแบบร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าทั่วไปและสินค้า ประเภทอาหารขนาดใหญ่ โดยมีพนื้ ทีป่ ระมาณ 150,000200,000 ตารางฟุต (Levy & Weitz, 2009) กลับมี อัตราการเติบโตทีล่ ดลงอย่างต่อเนือ่ งในทุกๆ ปี โดยในปี 2012, 2013, 2014 และ 2015 มีอตั ราการเติบโต 10%, 3.5%, 2.6% และ 1.8% ตามล�ำดับ (Positioning Magazine, 2015) ทั้งนี้เนื่องจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตหรือซูเปอร์เซ็นเตอร์นั้นมีพื้นที่ ขนาดใหญ่ ดังนัน้ การขยายสาขาหรือหาพืน้ ทีโ่ ดยเฉพาะ ในเขตเมืองหรือกรุงเทพมหานครค่อนข้างท�ำได้ยาก นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ประกอบการ ค้าปลีกรายย่อยผ่านช่องทางออนไลน์ตา่ งๆ การขยายตัว อย่างรวดเร็วของร้านสะดวกซือ้ และการแข่งขันทีค่ อ่ นข้าง รุนแรงอย่างต่อเนื่องในธุรกิจประเภทนี้ กอปรกับในยุค ปัจจุบนั ลูกค้าสามารถเข้าถึงข่าวสารและเทคโนโลยีเพือ่ ช่วยในการตัดสินใจในการซือ้ สินค้าและบริการได้งา่ ยขึน้ ซึง่ ท�ำให้ผบู้ ริโภคมีความคาดหวังทีจ่ ะได้สนิ ค้าหรือบริการ ที่มีคุณภาพเหมาะสมกับต้นทุนที่ต้องเสียไป ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านีส้ ง่ ผลให้รา้ นค้าปลีกขนาดใหญ่อย่างไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือซูเปอร์เซ็นเตอร์ต้องวางแผนและใช้กลยุทธ์ต่างๆ ที่แตกต่างเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะ ท�ำให้เกิดความพึงพอใจและความจงรักภักดีของลูกค้า ท�ำให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดและประสบความส�ำเร็จใน อนาคตต่อไป การวิจยั ครัง้ นีเ้ ป็นการศึกษาอิทธิพลของส่วนประสม การค้าปลีกทีส่ ง่ ผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าปลีก ประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร ซึง่ งาน วิจัยเรื่องนี้ช่วยให้ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่สามารถเข้าใจ พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น ซึง่ สามารถน�ำมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผน ปรับปรุง และก�ำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดต่างๆ ทีส่ ามารถตอบสนอง กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิด
3
ประโยชน์สูงสุดทั้งต่อตัวผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจ ต่อไป
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพือ่ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสม การค้าปลีกและความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าปลีก ประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร 2. เพือ่ ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมการค้าปลีก ทีส่ ง่ ผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าปลีกประเภท ไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร
สมมติฐานการวิจัย
1. ส่วนประสมการค้าปลีกในแต่ละด้าน ได้แก่ การคัดสรรสินค้า การบริการลูกค้า ท�ำเลทีต่ งั้ การตัง้ ราคา การตกแต่งร้านและการจัดแสดงสินค้า และการสื่อสาร มีความสัมพันธ์กบั ความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าปลีก ประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร 2. ส่วนประสมการค้าปลีกในแต่ละด้าน ได้แก่ การ คัดสรรสินค้า การบริการลูกค้า ท�ำเลที่ตั้ง การตั้งราคา การตกแต่งร้านและการจัดแสดงสินค้า และการสื่อสาร มีอทิ ธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าปลีกประเภท ไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร
ทบทวนวรรณกรรม
ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) หมายถึง ร้านค้าที่มีการปรับปรุงการจัดวางสินค้า การให้บริการ ทีท่ นั สมัย มีการจัดการทีเ่ ป็นระบบและมีมาตรฐาน มีการ ใช้เทคโนโลยีท่ีทันสมัยในการให้บริการลูกค้า ซึ่งแบ่ง ออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ร้านขาย สินค้าเฉพาะอย่าง (Categories Killer) ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซือ้ ร้านค้าปลีกขายสินค้าลดราคา และไฮเปอร์ มาร์เก็ตหรือซูเปอร์เซ็นเตอร์ (Levy & Weitz, 2009) การค้าปลีก (Retailing) เป็นกิจกรรมที่เพิ่มคุณค่า ให้กับสินค้าและบริการที่ขายให้กับผู้บริโภคเพื่อการใช้ ส่วนตัวหรือใช้ในครัวเรือน (Levy & Weitz, 2009) หรือ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
4
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
เป็นการน�ำเสนอสินค้าหรือบริการไปยังผูบ้ ริโภคคนสุดท้าย (Final consumers) เพือ่ การใช้ในครัวเรือนหรือใช้ในการ ส่วนตัว โดยการจัดหาสินค้าในปริมาณมากและทยอยขาย ให้กับผู้บริโภคในปริมาณน้อย (Newman & Cullen, 2002) ส่วนประสมการค้าปลีก (Retailing Mix) หมายถึง หน้าที่และกิจกรรมต่างๆ ของร้านค้าปลีกที่จะท�ำให้ ร้านค้าปลีกเป็นทีส่ นใจของลูกค้าและประสบความส�ำเร็จ ประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ การบริการลูกค้า ความ หลากหลายของประเภทสินค้า นโยบายราคา ท�ำเลทีต่ งั้ ส่วนประสมการสือ่ สารการตลาด และการออกแบบร้าน และตกแต่งร้าน (Levy & Weitz, 2009) ในขณะที่ Berman & Evan (2007) และ Hasty & Reardon (1997) กล่าวว่า ส่วนประสมการค้าปลีกคือ กลยุทธ์ การค้าปลีกที่ร้านค้าปลีกสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ โดยจะประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ได้แก่ ท�ำเลทีต่ งั้ กลยุทธ์ การตัง้ ราคา ส่วนประสมของสินค้า ส่วนประสมการสือ่ สาร และส่วนประสมการบริการลูกค้า ส่วน Berman & Evans (2007) กล่าวว่า ส่วนประสมการค้าปลีกคือ กลยุทธ์ การค้าปลีกทีร่ า้ นค้าปลีกแต่ละร้านจะต้องออกแบบให้มี ลักษณะเฉพาะที่เหมาะสมกับร้านหรือแต่ละประเทศ ซึง่ จะมีลกั ษณะเฉพาะตัวทีแ่ ตกต่างกันออกไป ประกอบ ไปด้วย 4 องค์ประกอบหลักๆ ซึ่งถูกพัฒนามาจาก ส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ สินค้า ราคา สิง่ อ�ำนวย ความสะดวก และการส่งเสริมการตลาด ซึง่ จากการทบทวน วรรณกรรมของส่วนประสมการค้าปลีกพบว่า ส่วนประสม การค้าปลีกโดยส่วนใหญ่จะศึกษาใน 4 องค์ประกอบ หลักๆ ได้แก่ สินค้า ราคา การสือ่ สารการตลาด และท�ำเล ทีต่ งั้ โดยการศึกษาถึงองค์ประกอบอืน่ ๆ จะแตกต่างกัน ไปตามลักษณะวัฒนธรรมของประเทศนัน้ ๆ ดังนัน้ ในงาน วิจัยเรื่องนี้จึงศึกษาส่วนประสมการค้าปลีกใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการคัดสรรสินค้า ด้านการตัง้ ราคา ด้านท�ำเล ที่ตั้ง ด้านการสื่อสารการตลาด ด้านการบริการลูกค้า และด้านการตกแต่งร้านและการจัดแสดงสินค้า การบริการลูกค้า (Customer Service) หมายถึง
การวางแผนหรือการจัดกิจกรรมหรือกระบวนการที่ไม่ สามารถสัมผัสได้ เพื่อตอบสนองความคาดหวังและ อ�ำนวยความสะดวกสบายให้กบั ลูกค้าและเป็นการสร้าง ความโดดเด่น สร้างความแตกต่างทางด้านการบริการ กับคู่แข่ง เช่น ความสุภาพของพนักงานขาย การให้ ข้อมูลเกีย่ วกับสินค้า ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ การช�ำระเงิน ทีจ่ อดรถ ระยะเวลาในการให้บริการ (Levy & Weitz, 2009; Hasty & Reardon, 1997) การคัดสรรสินค้า (Merchandise) หมายถึง การ เลือกสรรสินค้าที่มีคุณภาพ มีความทันสมัย มีความ หลากหลาย และตรงกับความต้องการของลูกค้า (Levy & Weitz, 2009; Hasty & Reardon, 1997) การตั้งราคา (Pricing) หมายถึง การก�ำหนดราคา เพือ่ ชักจูงลูกค้าให้เกิดความรูส้ กึ คุม้ ค่ากับเงินทีต่ อ้ งเสียไป หรือการก�ำหนดราคาตลาด หรือราคาที่เป็นมาตรฐาน ซึ่ ง การตั้ ง ราคาค้ า ปลี ก จะตั้ ง ราคาเพื่ อ ให้ ค รอบคลุ ม ต้นทุนเบือ้ งต้นของสินค้า และเพือ่ ให้ครอบคลุมค่าใช้จา่ ย ในการด�ำเนินงานของผู้ค้าปลีก เพื่อให้ธุรกิจมีกำ� ไรจาก การขายสินค้า (Levy & Weitz, 2009; Hasty & Reardon, 1997) ท�ำเลที่ตั้ง (Location) หมายถึง การสรรหาท�ำเล ที่ตั้งที่สามารถประกอบกิจกรรมทางการด�ำเนินธุรกิจได้ โดยพิจารณาถึงความสะดวกในการเดินทางโดยระบบ ขนส่งมวลชน เนือ่ งจากท�ำเลทีต่ งั้ เป็นสิง่ ส�ำคัญในการสร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีก และเป็น สิ่งที่ลูกค้าค�ำนึงถึงมากที่สุดในการที่จะซื้อสินค้า (Levy & Weitz, 2009; Hasty & Reardon, 1997; Berman & Evans, 2007) องค์ประกอบการสือ่ สาร (Communication mix) หมายถึง การให้ขอ้ มูลหรือคุณสมบัตขิ องสินค้าและบริการ ให้กบั ลูกค้าผ่านรูปแบบการสือ่ สารต่างๆ อาทิ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย เป็นต้น เพือ่ ให้ ลูกค้ารู้จัก ยอมรับ และเชื่อถือในสินค้าและบริการของ ร้านค้าปลีก (Levy & Weitz, 2009; Hasty & Reardon, 1997)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
การตกแต่งร้านและการจัดแสดงสินค้า (Store Design and Display) หมายถึง การออกแบบร้านค้าปลีกให้มี ความสะดวกสบายเมื่อใช้บริการ มีการสร้างบรรยากาศ และการตกแต่งร้านค้าที่เหมาะสมกับภาพลักษณ์ของ ลูกค้า มีการจัดแสดงสินค้าที่สวยงามและสะดวกในการ เลือกซื้อสินค้า รวมทั้งมีป้ายแสดงต�ำแหน่งของสินค้า อย่างชัดเจน (Levy & Weitz, 2009) ความจงรักภักดีคือ ความผูกพันที่ผู้บริโภคมีต่อ ตราสินค้าใดสินค้าหนึ่ง และส่งผลให้ผู้บริโภคเหล่านี้มี พฤติกรรมการกลับมาซื้อสินค้าและใช้บริการซ�้ำอย่าง ต่อเนื่อง หรือมีการแนะน�ำบอกต่อให้กับบุคคลอื่นๆ (Oliver, 1999) ซึ่งจะท�ำให้ธุรกิจประสบความส�ำเร็จ ในการบริหารองค์กรและได้รบั ก�ำไรในระยะยาว (Pearce, 1997) การวัดความจงรักภักดีสามารถวัดได้เป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติด้านทัศนคติ (Attitudinal Loyalty) คือ ความรู้สึก
5
ของผู้บริโภคที่มีความสัมพันธ์กับวัตถุหรือการบริโภค สินค้า ซึ่งหากผู้บริโภคเกิดความรู้สึกชอบหรือผูกพัน ในสินค้าก็จะท�ำให้เกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้า และมิติ ด้านพฤติกรรม (Behaviour Loyalty) คือ การกระท�ำของ ผูบ้ ริโภคต่อสินค้า เช่น การซือ้ ซ�ำ้ การบอกต่อ (Jacoby & Chesthut, 1978) เป็นต้น ในขณะที่ Lorpraditpong (2006) กล่าวว่า การวัดความจงรักภักดีจะวัดใน 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านพฤติกรรม มิติด้านทัศนคติ และมิติแบบ ผสมผสาน (Composite or Combination Loyalty) โดยในงานวิจัยเรื่องนี้จะวัดความจงรักภักดีของลูกค้า ใน 2 มิติ ได้แก่ มิติด้านทัศนคติ และมิติด้านพฤติกรรม กลุม่ ตัวอย่างร้านค้าปลีกประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตคือ ลูกค้าทีเ่ คยใช้บริการและซือ้ สินค้าของร้านค้าปลีกประเภท ไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างน้อย 1 ครัง้ ใน 1 เดือน และมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
กรอบแนวคิดการวิจัย
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
6
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
วิธีการวิจัย
1. ประชากรทีใ่ ช้ในการวิจยั ครัง้ นีค้ อื ลูกค้าทีเ่ คยใช้ บริการและซื้อสินค้าของร้านค้าปลีกประเภทไฮเปอร์ มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานครทีม่ อี ายุตงั้ แต่ 15 ปีขนึ้ ไป ซึ่งไม่ทราบจ�ำนวนที่แน่นอนของประชากร ดังนั้นผู้วิจัย จึ ง ได้ ก�ำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ William et al. (2013) ในกรณีทปี่ ระชากรมีขนาดใหญ่ และไม่ทราบจ�ำนวนของประชากรที่แน่นอน ได้จ�ำนวน กลุม่ ตัวอย่างทัง้ หมด 385 คน แต่เพือ่ ป้องกันแบบสอบถาม ทีผ่ ดิ พลาดหรือไม่สมบูรณ์ ผูว้ จิ ยั จึงได้ทำ� การส�ำรองจ�ำนวน ตัวอย่างไว้รอ้ ยละ 5 จึงท�ำให้ได้จำ� นวนกลุม่ ตัวอย่างทัง้ หมด 408 ตัวอย่าง และน�ำมาสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่ม แบบหลายขัน้ ตอน (Multi-Stage random sampling) จะท�ำให้ได้กลุ่มตัวอย่าง ดังแสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 จ�ำนวนกลุ่มตัวอย่างจ�ำแนกตามสาขาและ กลุ่มพื้นที่ สาขาที่ เก็บข้อมูล
กลุ่ม/เขต
จ�ำนวนกลุ่ม ตัวอย่าง
กลุ่ม 1: กรุงเทพกลาง
สะพานควาย
68
กลุ่ม 2: กรุงเทพใต้
บางนา
68
กลุ่ม 3: กรุงเทพเหนือ
หลักสี่
68
กลุ่ม 4: กรุงเทพตะวันออก แฟชั่นไอส์แลนด์
68
กลุ่ม 5: กรุงธนเหนือ
ดาวคะนอง
68
กลุ่ม 6: กรุงธนใต้
พระราม 2
68
รวม
408
2. การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามเกีย่ วกับข้อมูลทัว่ ไปของ ผูต้ อบแบบสอบถาม มีลกั ษณะค�ำถามแบบให้เลือกตอบ เพียงข้อเดียวและเป็นค�ำถามปลายปิด มีจ�ำนวน 5 ข้อ ส่วนที่ 2 ค�ำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อ
ส่วนประสมการค้าปลีกของร้านค้าปลีกประเภทไฮเปอร์ มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นค�ำถามทีผ่ ตู้ อบจะต้อง เลือกตอบเพียงข้อเดียวโดยสร้างค�ำถามแบบอันตรภาคชัน้ ใช้สเกลการให้คะแนนมีให้เลือก 5 ระดับความคิดเห็น ได้แก่ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยมีคะแนน 5 4 3 2 และ 1 ตามล�ำดับ มีคำ� ถามจ�ำนวน 40 ข้อ ส่วนที่ 3 ค�ำถามเกี่ยวกับความจงรักภักดีที่มีต่อ ร้านค้าปลีกประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้วิจัยบูรณาการและปรับใช้จาก Caruana (2002) เป็นค�ำถามทีผ่ ตู้ อบจะต้องเลือกตอบเพียงข้อเดียวโดยสร้าง ค�ำถามแบบอันตรภาคชัน้ ใช้สเกลการให้คะแนนมีให้เลือก 5 ระดับความคิดเห็น ได้แก่ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยมีคะแนน 5 4 3 2 และ 1 ตามล�ำดับ มีค�ำถามจ�ำนวน 9 ข้อ ผู้วิจัยตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของ เครือ่ งมือวัดโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อค�ำถาม และวัตถุประสงค์ (IOC) พบว่า ดัชนีความสอดคล้องของ ข้อค�ำถามมีค่าระหว่าง 0.50-1.00 แสดงว่าข้อค�ำถาม มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจยั (Tirakanan, 2005) และหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัดด้วยค่า สัมประสิทธิแ์ อลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha) พบว่า ความเชือ่ มัน่ ของข้อค�ำถามแต่ละด้านมีคา่ อยูร่ ะหว่าง 0.788-0.907 ซึง่ อยูใ่ นเกณฑ์ความเชือ่ มัน่ สูงและสามารถ น�ำไปใช้ในการทดสอบได้ (Srisaard, 2002) นอกจากนี้ ผูว้ จิ ยั ได้มกี ารตรวจสอบความเทีย่ งตรงเชิงโครงสร้างของ เครือ่ งมือวัดโดยการทดสอบองค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า มีคา่ อยูร่ ะหว่าง 0.411-0.821 ซึง่ มีคา่ มากกว่า 0.4 แสดงว่ามีคา่ ความเทีย่ งตรงเชิงโครงสร้างสูง (Nunnally & Bernstein, 1994) 3. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2559-24 กันยายน 2559 โดยผูว้ จิ ยั ได้เดินทางไปเก็บข้อมูลยังร้านค้าปลีกประเภท ไฮเปอร์มาร์เก็ตทั้ง 6 แห่ง ได้แบบสอบถามกลับคืนมา ทัง้ สิน้ 422 ฉบับ ท�ำการคัดเลือกแบบสอบถามทีส่ มบูรณ์
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ได้จ�ำนวนแบบสอบถามทั้งหมด 400 ฉบับ 4. การวิเคราะห์ข้อมูลได้ท�ำการวิเคราะห์โดยใช้ โปรแกรมส�ำเร็จรูปทางสถิตใิ นการวิเคราะห์ขอ้ มูล โดยสถิติ ที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ใช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูลทัว่ ไป ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิตอิ นุมาน (Inferential Statistics) ใช้ในการทดสอบ สมมติฐาน ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์ของเพียร์สนั (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคณ ู (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย
1. จากการศึกษาพบว่า ผูต้ อบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 59.5) มีอายุระหว่าง 26-35 ปี (ร้อยละ 55.3) มีระดับการศึกษาสูงสุดคือ ปริญญาตรี (ร้อยละ 64.3) มีอาชีพเป็นพนักงานบริษทั (ร้อยละ 64.8) และมีรายได้เฉลีย่ ต่อเดือน 10,000-20,000 บาท (ร้อยละ 51.0) 2. ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นส่วนประสมการค้าปลีกใน ภาพรวมอยูใ่ นระดับมากทีส่ ดุ (x = 4.30, S.D. = 0.22) และเมือ่ พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลีย่ ความคิดเห็น ด้านราคาอยูใ่ นระดับมากทีส่ ดุ (x = 4.36, S.D. = 0.37) ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นด้านการคัดสรรสินค้าอยู่ในระดับ มากทีส่ ดุ (x = 4.36, S.D. = 0.37) ค่าเฉลีย่ ความคิดเห็น ด้านการบริการลูกค้าอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.33, S.D. = 0.29) ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นด้านการตกแต่งร้าน และการจัดแสดงสินค้าอยูใ่ นระดับมากทีส่ ดุ (x = 4.32, S.D. = 0.41) ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นด้านท�ำเลที่ตั้งอยู่ใน ระดับมากที่สุด (x = 4.23, S.D. = 0.35) ส่วนค่าเฉลี่ย ความคิดเห็นด้านการสือ่ สารอยูใ่ นระดับมาก (x = 4.10, S.D. = 0.34) 3. ค่าเฉลีย่ ความคิดเห็นความจงรักภักดีพบว่า อยูใ่ น ระดับมาก (x = 4.06, S.D. = 0.30) และเมื่อพิจารณา เป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลีย่ ความจงรักภักดีดา้ นทัศนคติ ได้แก่ การเป็นสมาชิก ความผูกพันอยูใ่ นระดับมาก (x =
7
4.19, S.D. = 0.34) และค่าเฉลี่ยความจงรักภักดีด้าน พฤติกรรม ได้แก่ การซือ้ ซ�ำ้ การบอกต่อ อยูใ่ นระดับมาก (x = 3.89, S.D. = 0.37) 4. เมื่อท�ำการทดสอบสมมติฐานทางสถิติโดยใช้ค่า สัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์ของเพียร์สนั (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ได้ผลการวิจัยดังนี้ 4.1 การทดสอบสมมติฐานที่ 1 พบว่า ส่วนประสม การค้าปลีกในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความ จงรักภักดีของลูกค้าอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ 0.01 และเมือ่ พิจารณารายด้านพบว่า ส่วนประสมการค้าปลีก ทุกด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความจงรักภักดีของ ลูกค้าทีร่ ะดับนัยส�ำคัญทางสถิติ 0.01 โดยด้านการบริการ ลูกค้ามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความจงรักภักดีมากทีส่ ดุ รองลงมาคือ ด้านการสือ่ สาร ด้านการตัง้ ราคา ด้านการ คัดสรรสินค้า ด้านการตกแต่งร้านและการจัดแสดงสินค้า และด้านท�ำเลที่ตั้ง ตามล�ำดับ ดังแสดงในตารางที่ 2 4.2 การทดสอบสมมติฐานที่ 2 เป็นการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบข้อตกลง เบื้องต้นของการวิเคราะห์การถดถอยคือ ตัวแปรอิสระ ทุกตัวเป็นอิสระต่อกันเพื่อป้องกันปัญหา Multicollinearity โดยใช้การทดสอบ Collinearity จะได้คา่ สถิติ Tolerance ซึ่งจะต้องมีค่าต�่ำกว่า 0.20 และค่า VIF (Variance Inflation Factor) มากกว่า 4 (Menard, 1995 cited in Field, 2009) นอกจากนีจ้ ะต้องทดสอบ ความเป็นอิสระของค่าความคลาดเคลื่อนของตัวแบบ การถดถอยสุดท้าย ซึ่งค่าความคลาดเคลื่อนจะต้องไม่มี ความสัมพันธ์กนั โดยท�ำการทดสอบของ Durbin-Watson ซึ่งจะต้องมีค่าระหว่าง 1.50-2.50 (Vanichbuncha, 2012) ซึ่งผู้วิจัยได้ท�ำการตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้น พบว่า ผลการทดสอบเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้นของ การวิเคราะห์การถดถอย ดังนัน้ ผูว้ จิ ยั จึงท�ำการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคณ ู แบบน�ำเข้า (Enter Multiple Regression Analysis) เพื่อศึกษาอิทธิพลของส่วนประสม การค้าปลีกในแต่ละด้านทีม่ ตี อ่ ความจงรักภักดีของลูกค้า
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
8
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ร้านค้าปลีกประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ส่วนประสมการค้าปลีก ด้านการบริการลูกค้า ด้านการสื่อสาร และด้านราคา มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้า และสามารถ อธิบายความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าปลีกประเภท ไฮเปอร์มาร์เก็ตร่วมกันได้ร้อยละ 12.3 โดยส่วนประสม การค้าปลีกด้านการบริการลูกค้ามีอทิ ธิพลมากทีส่ ดุ (β = 0.166) รองลงมาคือ ด้านการสือ่ สาร (β = 0.137) และ ด้านราคา (β = 0.105) ทีร่ ะดับนัยส�ำคัญทางสถิติ 0.05
ส่วนด้านอืน่ ๆ ได้แก่ ด้านการคัดสรรสินค้า ด้านท�ำเลทีต่ งั้ ด้านการตกแต่งร้านและการจัดแสดงสินค้า ไม่มอี ทิ ธิพล ต่อความจงรักภักดีของลูกค้าที่ระดับนัยส�ำคัญทางสถิติ 0.05 ดังแสดงในตารางที่ 3 4.3 จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถเขียน เป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ ความจงรักภักดีของลูกค้า = 1.977 + 0.175 (การบริการลูกค้า) + 0.085 (การตั้งราคา) + 0.123 (การสื่อสาร)
ตารางที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมการค้าปลีกและความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าปลีกประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ต ในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวแปร 1. ด้านการคัดสรรสินค้า 2. ด้านการบริการลูกค้า 3. ด้านท�ำเลที่ตั้ง 4. ด้านการตั้งราคา 5. ด้านการตกแต่งร้านและการจัดแสดงสินค้า 6. ด้านการสื่อสาร 7. ส่วนประสมการค้าปลีกโดยรวม 8. ความจงรักภักดีของลูกค้า **
1 1 .616** .416** .284** .233** .298** .657** .220**
2
3
4
1 .496** .258** .311** .318** .701** .288**
1 .226** .141** .249** .537** .194**
1 .331** .355** .686** .234**
5
6
7
8
1 .314** 1 .687** .630** 1 .217** .265** .358** 1
นัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ตารางที่ 3 อิทธิพลของส่วนประสมการค้าปลีกที่มีต่อความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าปลีกประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ต ในเขตกรุงเทพมหานคร Model (Constant) ด้านการคัดสรรสินค้า ด้านการบริการลูกค้า ด้านท�ำเลที่ตั้ง ด้านการตั้งราคา ด้านการตกแต่งร้านและการจัดแสดงสินค้า ด้านการสื่อสาร
B 1.977 0.014 0.175 0.032 0.085 0.058 0.123
t 6.993 0.206 2.563 0.677 1.988 1.515 2.581
Sig. 0.000 0.837 0.011* 0.499 0.048* 0.131 0.010*
VIF 1.704 1.919 1.386 1.264 1.238 1.276
R = 0.369, R2 = 0.136, Adj R2 = 0.123 ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
สรุปและอภิปรายผล
1. จากสมมติฐานที่ 1 พบว่า ส่วนประสมการค้าปลีก โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความจงรักภักดีของลูกค้า และเมือ่ พิจารณารายด้านพบว่า ส่วนประสมการค้าปลีก ทุกด้าน ได้แก่ ด้านการบริการลูกค้า ด้านการสื่อสาร ด้านการตัง้ ราคา ด้านการคัดสรรสินค้า ด้านการตกแต่งร้าน และการจัดแสดงสินค้า และด้านท�ำเลทีต่ งั้ มีความสัมพันธ์ กับความจงรักภักดีของลูกค้า ซึง่ สอดคล้องกับผลการวิจยั ของ Kurniawan (2012) ได้ศึกษาเรื่อง อิทธิพลของ ส่วนประสมการค้าปลีกและการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ ทีส่ ง่ ผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้า พบว่า ส่วนประสม การค้าปลีก ได้แก่ ท�ำเลทีต่ งั้ กระบวนการซือ้ การคัดสรร สินค้า การตัง้ ราคา บรรยากาศของร้าน และการสือ่ สาร การตลาด มีอทิ ธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้า ในขณะที่ งานวิจัยของ Terblanche (2017) ท�ำการวิจัยเรื่อง อิทธิพลของส่วนประสมการค้าปลีกและความจงรักภักดี ของลูกค้าที่ส่งผลต่อปฏิสัมพันธ์ของลูกค้าภายใต้ใน สภาพแวดล้อมที่หลากหลายของร้านค้าปลีก พบว่า ส่วนประสมการค้าปลีกจะมีอทิ ธิพลต่อความต้องการของ ลูกค้าแตกต่างกันตามชนิดของร้านค้าปลีกแต่ละประเภท โดยหากเป็นร้านค้าปลีกประเภทซูเปอร์มาร์เก็ตนั้น ส่วนประสมการค้าปลีกด้านการคัดสรรสินค้าจะส่งผลต่อ ความจงรักภักดีของลูกค้า ในขณะที่การบริการลูกค้า การตกแต่งร้าน และความหลากหลายของสินค้า ไม่สง่ ผล ต่อความจงรักภักดีของลูกค้า 2. จากสมมติฐานที่ 2 พบว่า ส่วนประสมการค้าปลีก ด้านการบริการลูกค้า ด้านการสื่อสาร และด้านราคา มีอทิ ธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้า ส่วนด้านอืน่ ๆ ได้แก่ ด้านการคัดสรรสินค้า ด้านท�ำเลทีต่ งั้ ด้านการตกแต่งร้าน และการจัดแสดงสินค้าไม่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดี ของลูกค้า ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ Agarwal, Single & Goel (2014) ได้ศึกษาเรื่อง การศึกษาความ พึงพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพและความจงรัก ภักดีของลูกค้าในอุตสาหกรรมค้าปลีก และงานวิจยั ของ Siddiqi (2011) ได้ศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่าง
9
ลักษณะคุณภาพการบริการ ความพึงพอใจของลูกค้าและ ความจงรักภักดีของลูกค้าในธุรกิจธนาคารในบังคลาเทศ พบว่า คุณภาพการบริการมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ความจงรั ก ภั ก ดี แ ละระดั บ ความพึ ง พอใจของลู ก ค้ า นอกจากนีง้ านวิจยั ของ Mafini & Dhurup (2015) ได้ทำ� การวิจัยเรื่อง แรงขับเคลื่อนความจงรักภักดีของลูกค้า ในร้านค้าปลีกในแอฟริกาใต้ พบว่า การส่งเสริมการตลาด มีผลต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของลูกค้า ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Gottlieb, Brown & Drennan (2011) ซึ่งศึกษาเรื่อง อิทธิพลของคุณภาพ การบริการและประสิทธิผลของงานแสดงสินค้าที่มีต่อ การซื้อสินค้าซ�้ำหลังงานแสดงสินค้า พบว่า การสื่อสาร หรือการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการตลาดมีอทิ ธิพลทางตรง ต่อการซื้อซ�้ำหรือความจงรักภักดีของลูกค้า ในขณะที่ งานวิจยั ของ Kim et al. (2014) ได้ศกึ ษาเรือ่ ง ผลกระทบ ของกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดด้านการร่วมมือกัน ระหว่างยี่ห้อต่อความพึงพอใจ ความซื่อสัตย์และความ จงรักภักดีของลูกค้าในอุตสาหกรรมผูค้ า้ รายย่อย พบว่า ราคามีอทิ ธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจของลูกค้า และ ความพึงพอใจของลูกค้ามีอทิ ธิพลทางตรงต่อความจงรัก ภักดี 3. ส�ำหรับส่วนประสมการค้าปลีกด้านการตกแต่งร้าน และการจัดแสดงสินค้า ด้านท�ำเลทีต่ งั้ และด้านการคัดสรร สินค้า พบว่า ไม่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้า ทัง้ นีอ้ าจเนือ่ งมาจากสินค้าทีว่ างขายในร้านค้าปลีกประเภท ไฮเปอร์มาร์เก็ตนั้นส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าสะดวกซื้อ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านค้าปลีกประเภทอื่นๆ นอกจากนี้การตกแต่งร้านหรือการจัดแสดงสินค้าของ ร้ า นค้ า ปลี ก ประเภทไฮเปอร์ ม าร์ เ ก็ ต จะมี ลั ก ษณะที่ เหมือนกันทั้งบิ๊กซี โลตัส คาร์ฟู จึงท�ำให้ไม่มีอิทธิพลต่อ ความจงรักภักดีของลูกค้า ในส่วนของท�ำเลที่ตั้งนั้นอาจ เนื่ อ งมาจากมี ก ารเก็ บ ข้ อ มู ล กั บ กลุ ่ ม ตั ว อย่ า งในเขต กรุงเทพมหานครเท่านัน้ ซึง่ มีรา้ นค้าปลีกประเภทไฮเปอร์ มาร์เก็ตหรือร้านค้าปลีกประเภทร้านสะดวกซือ้ มากมาย รวมทั้ ง มี ก ารคมนาคมที่ ส ะดวกสบายทั้ ง รถโดยสาร
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
10
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ประจ�ำทาง รถไฟฟ้าหรือรถตู้โดยสาร จึงท�ำให้สามารถ หาซื้อสินค้าได้ง่ายและเดินทางไปยังร้านค้าได้สะดวก จึงมีผลท�ำให้ส่วนประสมการค้าปลีกด้านท�ำเลที่ตั้งไม่มี อิทธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้า
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
1. ควรมีการศึกษาปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติมที่อาจจะ ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้า อาทิ ความพึงพอใจ กลยุทธ์การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น ซึ่งการศึกษา หลายๆ ปัจจัยจะส่งผลให้ธรุ กิจสามารถน�ำไปเป็นแนวทาง ในการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพือ่ สร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขัน 2. ควรมีการขยายขอบเขตด้านกลุม่ ตัวอย่างในการ ศึกษาให้กว้างมากขึ้น เช่น การศึกษาในทุกภูมิภาคของ ประเทศไทย ซึง่ จะท�ำให้ทราบถึงพฤติกรรมความต้องการ ของลูกค้าที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มพื้นที่ และจะได้
น�ำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาสินค้าหรือการให้บริการ ที่เหมาะสมกับลูกค้า 3. ควรมีการศึกษาการค้าปลีกสมัยใหม่ในรูปแบบอืน่ ๆ เพิม่ เติม อาทิ ร้านสะดวกซือ้ ร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น เนือ่ งจากประเภทของร้านค้าปลีก แต่ละรูปแบบจะมีสินค้า ลักษณะการบริหารงานและ ลักษณะลูกค้าที่แตกต่างกัน 4. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบกลยุทธ์สว่ นประสม การค้าปลีกระหว่างการค้าปลีกแบบออนไลน์ (OnlineRetailing) และการค้าปลีกแบบมีหน้าร้าน (In-store Retailing) เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ในปัจจุบนั ท�ำให้ลกู ค้าเริม่ จะซือ้ สินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ มากขึน้ ดังนัน้ หากมีการศึกษากลยุทธ์ทงั้ 2 รูปแบบข้างต้น ก็จะท�ำให้ธรุ กิจสามารถดึงดูดลูกค้า สร้างความจงรักภักดี รวมทัง้ เพิม่ ช่องทางการจัดจ�ำหน่าย ซึง่ จะเป็นการพัฒนา ศักยภาพทางการแข่งขันของธุรกิจในอนาคตต่อไป
References
Agarwal, A., Singhal, A. & Goel, B. (2014). A Study of emotional satisfaction, relationship quality & customer loyalty in retail industry. International Journal of Retailing & Rural Business Perspectives, 3(1), 732-740. Apiprachayasakul, K. (2014). Introduction to retail business. Bangkok: Focus Media. [in Thai] Berman, B. & Evans, J. (2007). Retail Management: A Strategic Approach (7th ed.). Prentice-Hall International. Caruana, A. (2002). Service Loyalty: The Effects of Service Quality and the Mediating role of Customer Satisfaction. European Journal of Marketing, 36(7), 811-828. Field, A. (2009). Discovering statistics using SPSS (3rd ed.). London: SAGE Publications. Gottlieb, U., Brown, M. & Grennan, J. (2011). The influence of service quality and trade show effectiveness on post-show purchase intention. European Journal of Marketing, 45(11/12), 1642-1659. Gull, S. & Tariq, R. (2011). Impact of loyalty programs in grocery retailing on loyalty of local customers in Lahore, Pakistan: an empirical study of famous grocery retailers in local market. Interdisciplinary Journal of Contemporary Research in Business, 3(3), 1007-1019. Hasty, R. & Reardon, J. (1997). Retail Management. New York: The McGraw-Hill Companies. Inkaew, S. (2010). Retailing Management. Bangkok: Tana Press. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
11
Jacoby, J. & Chestnut, R. (1978). Brand loyalty measurement and management. New York: Wiley. Kim, K., Kim, Y., Lee, M. & Youn, M. (2014). The effects of co-brand marketing mix strategies on customer satisfaction, trust and loyalty for medium and small traders and manufacturers. E+M Ekonomie a Management, 1, 140-151. Kurniawan, R. (2012). The influence of retailing mix performance and customer relationship marketing on customer loyalty. ICBME, At Manila, Philippines, 1, 198-204. Levy, M. & Weitz, B. A. (2009). Retailing management (7th ed.). London: McGraw-Hill. Lorpraditpong, N. (2006). Customer’s satisfaction surveys manual, with case studies and techniques effective practice. Bangkok: Thailand Productivity Institute. [in Thai] Mafini, C. & Dhurup, M. (2015). Drivers of customer loyalty in South African retail stores. Journal of Applied Business Research, 31(4), 1295-1310. Newman, A. & Cullen, P. (2002). Retailing: Environment and Operations. Thompson Learning: London. Nunnally, J. C. & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory (3rd ed.). New York: McGraw-Hill. Oliver, R. L. (1999). Satisfaction: A behavioral perspective on the consumer. Boston MA: Irwin/ McGraw-Hill. Pearce, M. (1997). The True Science of Nurturing Marketing. Marketing Technique, 97(7), 6-8. Positioning Magazine. (2015). Buying Power Decline, Retailing Business Shock: Growth rate of 2015 only 3.2%. Retrieved December 17, 2015, from https://positioningmag.com/61092 [in Thai] Siddiqi, K. O. (2011). Interrelations between service quality attributes, customer satisfaction and customer loyalty in the retail banking sector in bangladesh. International Journal of Business and Management, 6(3), 12-36. Srisaard, B. (2002). Basic Research (7th ed.). Bangkok: Suviriyasan Printing. [in Thai] Terblanche, N. S. (2017). Customer interaction with controlled retail mix elements and their relationships with customer loyalty in diverse retail environments. Journal of Business and Retail Management Research (JBRMR), 11(2), 1-10. Tirakanan, S. (2005). Program Evaluation: Best Practice (6th ed.). Bangkok: Chaulalongkorn University Printing. [in Thai] Vanichbuncha, K. (2012). SPSS for Windows (20th ed.). Bangkok: Dharmasarn Printing. [in Thai] William, G. Z., Barry, J. B., Jon, C. C. & Mitch, G. (2013). Business Research Methods (9th ed.). United States: McGraw-Hill.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
12
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Name and Surname: Sinittra Suksawat Highest Education: Master of Management (Marketing), Central Queensland University, Australia University or Agency: Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage Field of Expertise: Marketing, Hospitality Management, Management Address: College of Innovative Management, Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage 1 Moo 20, Phaholyothin Rd., Klong Nueng, Klong Luang, Pathum Thani 13180 Name and Surname: Tipparat Laohavichien Highest Education: Ph.D. (Industrial Management), Clemson University, Clemson, South Carolina, USA University or Agency: Kasetsart University Field of Expertise: Industrial Management, Operations Management, Management, Business Statistics, Project Management, Quantitative Analysis in Business Address: Department of Operations Management, Faculty of Business Administration, Kasetsart University 50 Ngam Wong Wan Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
13
การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพยากรณ์ระหว่างคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการทางสังคม ขององค์กรกับความยั่งยืนทางเศรษฐกิจขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย THE STUDY OF THE PREDICTIVE RELATIONSHIP BETWEEN CORPORATE SOCIAL ENTREPRENEURSHIP AND CORPORATE ECONOMIC SUSTAINABILITY OF THAI FIRMS อ�ำพล ชะโยมชัย Ampol Chayomchai บริษัท ไดมอนด์ วี มิลส์, อินคอร์ปอเรทเต็ด – สาขาประเทศไทย Diamond V Mills, Incorporated – Thailand Office
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ทดสอบความสัมพันธ์เชิงพยากรณ์ระหว่างคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการทางสังคม ขององค์กรกับความยัง่ ยืนทางเศรษฐกิจของบริษทั ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อมูลทีใ่ ช้ในการวิเคราะห์เป็น ค่าเฉลีย่ ข้อมูล 3 ปีใน พ.ศ. 2555-2557 ของบริษทั จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จำ� นวน 402 องค์กร ประกอบด้วย 8 หมวดอุตสาหกรรม ท�ำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยวิธี Partial Least Squares ผู้วิจัยได้พัฒนาตัวแปรใหม่เชิงปริมาณเพื่อใช้วัดปัจจัยคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการทางสังคมขององค์กร ผลการวิจยั พบว่า (1) ตลาดทุนมีความสามารถในการท�ำก�ำไรทีด่ ี โดยพิจารณาจากอัตราส่วนก�ำไรต่อส่วนของผูถ้ อื หุน้ และอัตราส่วนก�ำไรต่อสินทรัพย์ทั้งหมดมีค่าเป็นบวก (2) บริษัทในตลาดหลักทรัพย์มีการด�ำเนินงานด้านสังคมหรือ สิ่งแวดล้อมไม่สูงนัก (3) ตัวแปรแฝงของงานวิจัยมีความตรงเชิงสอดคล้อง (AVE > 0.5) ส่วนการตรวจสอบโมเดล การวัดด้วยการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือพบว่า อยู่ในระดับยอมรับได้ (Cronbach’s alpha > 0.7) (4) คุณลักษณะ ความเป็นผูป้ ระกอบการทางสังคมขององค์กรมีอทิ ธิพลเชิงบวกต่อความยัง่ ยืนทางเศรษฐกิจขององค์กรอย่างมีนยั ส�ำคัญ (สัมประสิทธิ์เส้นทาง = 0.324) และคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการทางสังคมขององค์กรสามารถอธิบายความ แปรปรวนของความยัง่ ยืนทางเศรษฐกิจขององค์กรได้รอ้ ยละ 10.5 และ (5) ตัวแปรทีส่ ำ� คัญของคุณลักษณะความเป็น ผู้ประกอบการทางสังคมขององค์กรมี 8 ตัวแปร ได้แก่ จ�ำนวนความร่วมมือ/โครงการกับองค์กรอื่น การระบุการมุ่ง สังคม/ความยั่งยืนในสารจากประธานกรรมการ การส่งเสริมให้พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อม การจัดท�ำรายงานทางด้านสังคม/สิง่ แวดล้อม/ความยัง่ ยืน จ�ำนวนช่องทางในการให้ขอ้ มูลกับผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย การมี พันธกิจเพื่อสังคมในแผนกลยุทธ์หรือเป้าหมายทางธุรกิจ จ�ำนวนกิจกรรมเกี่ยวกับสังคมหรือสิ่งแวดล้อม และอันดับ บรรษัทภิบาล ค�ำส�ำคัญ: ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจขององค์กร คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการทางสังคมขององค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย Partial Least Squares Corresponding Author E-mail: ampolmarketing@gmail.com
14
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Abstract
This research examined the predictive relationship between corporate social entrepreneurship and corporate economic sustainability of the Stock Exchange of Thailand. The 3-year average data for 2012 to 2014 of 402 listed companies in all 8 sectors of Stock Exchange of Thailand (SET) was used in the analysis. Descriptive statistics and Partial Least Squares regression analysis were performed. The new quantitative variables for corporate social entrepreneurship of this study were developed. The results showed that (1) capital market had good profitability based on return on equity and return on assets were positive, (2) the social or environmental operation of companies in the stock market was not high, (3) the latent variables of this research had convergent validity (AVE > 0.5) while measurement model assessment by reliability analysis was acceptable (Cronbach’s alpha > 0.7), (4) corporate social entrepreneurship had positive significant effect on corporate economic sustainability (path coefficient = 0.324) and 10.5% of total variance of corporate economic sustainability was predicted by corporate social entrepreneurship, and (5) the important variables of corporate social entrepreneurship consisted of 8 variables included numbers of a collaboration with other parties, identifying societal orientation or sustainability orientation on president’s letter, promoting employees to participate in social/environmental activities, having a social/environmental/sustainability report, numbers of the information channel for stakeholders, having a social mission in strategic plan or business goal, numbers of social/environmental activities, and corporate governance rating. Keywords: Corporate Economic Sustainability, Corporate Social Entrepreneurship, Stock Exchange of Thailand, Partial Least Squares
บทน�ำ
ความยั่งยืน (Sustainability) ถือเป็นประเด็นที่มี ความส�ำคัญในปัจจุบนั เนือ่ งจากการเกิดปัญหาด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม (Pandey, 2014) สังคมทั่วไปมองว่า ภาคธุรกิจมุง่ สร้างผลก�ำไรโดยไม่ใส่ใจผลกระทบต่อสังคม และสิง่ แวดล้อม รวมถึงการขาดจริยธรรมในการท�ำธุรกิจ ผลที่ตามมาคือ องค์กรธุรกิจอาจไม่สามารถอยู่รอด หรือเกิดความยัง่ ยืนขององค์กรได้ หากผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย ในสังคมไม่สนับสนุนการด�ำเนินธุรกิจ ดังนั้น ภาคธุรกิจ ทีถ่ อื เป็นส่วนหนึง่ ของสังคมจ�ำเป็นต้องมีสว่ นร่วมในการ จัดการปัญหาสังคมและสิง่ แวดล้อม ซึง่ นอกจากจะส่งผลดี ต่อภาพรวมแล้วยังส่งผลดีตอ่ ความยัง่ ยืนขององค์กรอีกด้วย
(Pandey, 2014; Saul, 2011) ในอดีตที่ผ่านมาพบว่า ภาคธุรกิจใช้กิจกรรมทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อตอบสนองข้อเรียกร้องของสังคมและใช้กิจกรรม ดังกล่าวในการสร้างภาพลักษณ์องค์กร เช่น การบริจาค การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ งานจิตอาสา เป็นต้น แต่พบว่า กิจกรรมส่วนใหญ่ไม่ได้มุ่งแก้ไขปัญหาทางสังคมหรือ สิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง (Saul, 2011) องค์กรธุรกิจ สมัยใหม่ได้นำ� แนวทางการพัฒนาสูค่ วามยัง่ ยืนเข้ามาใช้ ในองค์กร ท�ำให้ธุรกิจค�ำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ มากขึ้น (McPhee, 2014; Savitz, 2013) รวมถึงเพื่อ สร้างความสามารถในการแข่งขันและความส�ำเร็จทาง ธุรกิจ (Mitchell, 2012) การศึกษาด้านคุณลักษณะ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ที่ส่งผลต่อความยั่งยืนขององค์กรพบว่า คุณลักษณะ ความเป็นผูป้ ระกอบการทางสังคมขององค์กรมีความส�ำคัญ ต่อแนวทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนทั้งในองค์กรธุรกิจ ภาครัฐ และองค์กรไม่หวังก�ำไร (Hadad & Gauca, 2014; Hervieux, Gedajlovic & Turcotte, 2010; Savitz, 2013) คุณลักษณะดังกล่าวมุ่งหาแนวทางในการแก้ไข ปัญหาสังคมและสิง่ แวดล้อม โดยการสร้างประโยชน์ตอ่ ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง (Szekely & Strebel, 2013) ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาและทดสอบความ สั ม พั น ธ์ เ ชิ ง พยากรณ์ ข องคุ ณ ลั ก ษณะความเป็ น ผู้ประกอบการทางสังคมขององค์กรกับความยั่งยืนของ องค์กร โดยมุง่ เน้นเฉพาะความยัง่ ยืนทางเศรษฐกิจ และ ศึกษาจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย เนือ่ งจากเป็นแหล่งระดมทุนขนาดใหญ่ของ ประเทศ อีกทัง้ ยังมีนโยบายส่งเสริมให้บริษทั จดทะเบียน เข้าร่วมในการพัฒนาความยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงพยากรณ์ระหว่าง คุ ณ ลั ก ษณะความเป็ น ผู ้ ป ระกอบการทางสั ง คมของ องค์กรกับความยั่งยืนทางเศรษฐกิจขององค์กรธุรกิจ ในประเทศไทย
ทบทวนวรรณกรรม
แนวคิดความยั่งยืนขององค์กร ความยั่ ง ยื น ตามความหมายของ Dow Jones Sustainability Index (DJSI) คือ การด�ำเนินงานเพื่อ สร้างมูลค่าให้กบั ผูถ้ อื หุน้ ในระยะยาวด้วยการใช้ประโยชน์ จากโอกาสของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม (Stanley, 2012) องค์กรธุรกิจจ�ำเป็นที่จะ ต้องปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลีย่ นแปลงภายนอก องค์กร ทั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปรับเปลี่ยน ความต้องการของผูบ้ ริโภคและการเปลีย่ นแปลงของกฎ ระเบียบใหม่ของภาครัฐ โดยเฉพาะกฎระเบียบทีเ่ กีย่ วข้อง
15
กับสังคมและสิง่ แวดล้อมเพือ่ รักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างต่อเนือ่ งและยัง่ ยืน (Joseph, 2013; Savitz, 2013) งานวิจยั ทีผ่ า่ นมาพบว่า ธุรกิจทีใ่ ช้กลยุทธ์มงุ่ เติบโตอย่าง ยัง่ ยืนสามารถสร้างประโยชน์ทงั้ ด้านการตลาดและการลด ต้นทุนของธุรกิจ รวมถึงการสร้างความสามารถในการ แข่งขันที่สูงขึ้น (Mathew & Rajan, 2013) จากการ ทบทวนงานวิจยั ต่างๆ พบว่า งานวิจยั หลายงานใช้ตวั ชีว้ ดั ทางการเงินในการวัดความยัง่ ยืนทางเศรษฐกิจขององค์กร เช่น การเติบโตของรายได้ อัตราส่วนก�ำไรต่อส่วนผูถ้ อื หุน้ อัตราส่วนก�ำไรต่อสินทรัพย์ทงั้ หมด อัตราก�ำไรสุทธิ เป็นต้น (Dave et al., 2013; Movassaghi & Bramhandkar, 2012; Rahman & Mazlan, 2014; Siew, Balatbat & Carmichael, 2013; Siminica, Craciun & Dinu, 2015) งานวิจัยครั้งนี้เลือกใช้ตัวแปรอัตราส่วนก�ำไรต่อ ส่วนผูถ้ อื หุน้ (Return On Equity–ROE) และอัตราส่วน ก�ำไรต่อสินทรัพย์ทั้งหมด (Return On Assets–ROA) ในการวัดความยัง่ ยืนทางเศรษฐกิจขององค์กรตามงานวิจยั ที่มีการศึกษามาก่อนหน้า ดังที่กล่าวมาข้างต้น คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการทางสังคมของ องค์กร องค์กรธุรกิจทีด่ ำ� เนินงานเพือ่ บรรลุเป้าหมายทัง้ เพือ่ สังคมและเพื่อผลประกอบการที่ดีมักพบคุณลักษณะ ความเป็นผูป้ ระกอบการทางสังคมขององค์กร (Crisan & Borza, 2012; Jiao, 2011; Savitz, 2013) การแสวงหา วิธกี ารทีจ่ ะแก้ไขปัญหาสังคมอย่างยัง่ ยืนมักเชือ่ มโยงอยูก่ บั คุณลักษณะการเป็นผูป้ ระกอบการทางสังคม โดยเริม่ ต้น จากการทีอ่ งค์กรมีพนั ธกิจเพือ่ สังคม (Crisan & Borza, 2012; Hervieux, Gedajlovic & Turcotte, 2010) งานวิจัยของ Jackson (2014) ได้ศึกษาปัจจัยด้าน คุณลักษณะผู้ประกอบการทางสังคมขององค์กรพบว่า ประกอบด้วยหลายปัจจัย ได้แก่ การมุง่ ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย การท�ำงานเชิงรุกทางสังคม บรรษัทภิบาล และความโปร่งใส รวมถึงการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร ด้าน Crisan & Borza (2012) ได้อธิบายถึงความร่วมมือระหว่างกันขององค์กร
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
16
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ต่างๆ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในคุณลักษณะผู้ประกอบการทาง สังคม งานวิจัยของ Haat, Rahman & Mahenthiran (2008) และงานวิจัยของ Ergin (2012) ได้สรุปว่า บรรษัทภิบาลมีอิทธิพลต่อผลประกอบการขององค์กร นอกจากนั้นงานวิจัยของ Gandy (2012) ได้ระบุว่า คุณลักษณะการเป็นผูป้ ระกอบการทางสังคม โดยเฉพาะ คุณลักษณะสามประการ ได้แก่ ความสามารถในการสร้าง นวัตกรรม ความกล้าเสีย่ ง และการท�ำงานเชิงรุก มีความ สัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลขององค์กร งานวิจยั นีไ้ ด้ เลือกปัจจัยทีส่ ำ� คัญของคุณลักษณะการเป็นผูป้ ระกอบการ ทางสังคมขององค์กรตามทีไ่ ด้ทบทวนวรรณกรรมไว้ขา้ งต้น ได้แก่ ความร่วมมือกับองค์กรอืน่ ภาวะผูน้ ำ� การท�ำงาน เชิงรุกทางสังคม การมุ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พันธกิจเพื่อ สังคม และบรรษัทภิบาล
ทฤษฎีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder theory) ทฤษฎีนี้ได้อธิบายถึงองค์กรสมัยใหม่ที่จ�ำเป็นจะ ต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภายในและภายนอก เนื่องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เหล่านีส้ ามารถเป็นได้ทงั้ ผูส้ นับสนุนและผูต้ อ่ ต้านองค์กร ธุรกิจ ดังนัน้ องค์กรธุรกิจสมัยใหม่จำ� เป็นต้องด�ำเนินงาน อย่างเป็นธรรมและสร้างผลประกอบการทีด่ เี พือ่ สนองตอบ ความต้องการของผู้ถือหุ้นพนักงาน คู่ค้า และนักลงทุน และยังต้องใส่ใจในประเด็นทางด้านสังคมและสิง่ แวดล้อม ทีผ่ มู้ สี ว่ นได้สว่ นเสียอืน่ ให้ความสนใจด้วย (Miles, 2012) จากการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวข้างต้น สรุป เป็นกรอบแนวคิดงานวิจัยได้ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย
วิธีการวิจัย
การวิจยั ครัง้ นีเ้ ป็นการวิจยั เชิงปริมาณ (Quantitative research) ใช้แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารและข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งฐานข้อมูลที่ใช้หลักของข้อมูลวิจัยคือ ฐานข้อมูล SETSMART และข้อมูลจากเว็บ www.settrade.com ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ บริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 8 หมวด อุตสาหกรรม ได้แก่ หมวดเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค หมวดสินค้าอุตสาหกรรม
หมวดอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง หมวดทรัพยากร หมวดเทคโนโลยี หมวดบริการ และหมวดธุรกิจการเงิน การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลตัดขวาง (Cross-sectional data) เป็นค่าเฉลี่ยของข้อมูล 3 ปี (พ.ศ. 2555-2557) จ�ำนวน 402 บริษัท ตัวแปรที่ศึกษา ผู้วิจัยได้พัฒนาตัวแปรเชิงปริมาณเพื่อใช้วัดปัจจัย คุณลักษณะความเป็นผูป้ ระกอบการทางสังคมขององค์กร และได้ผ่านการประเมินความเหมาะสมของตัวแปรจาก ผูบ้ ริหารและผูเ้ ชีย่ วชาญทางการเงินในตลาดหลักทรัพย์ ดังแสดงในตารางที่ 1 ส่วนตัวแปรตามความยั่งยืนทาง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
เศรษฐกิจขององค์กร ผู้วิจัยเลือกใช้ตัวแปร 2 ตัว ได้แก่ อัตราส่วนก�ำไรต่อส่วนผูถ้ อื หุน้ (ROE) โดยแบ่งเป็น 7 ระดับ (Categories) ตามเกณฑ์ของ Thompson (2011) (แสดงเกณฑ์ไว้ในตารางที่ 2) เนื่องจากลดปัญหาที่เกิด จากเงื่อนไขเบื้องต้นของการวิเคราะห์สมการถดถอย
17
เช่น การกระจายตัวของข้อมูลไม่เป็นแบบปกติ เป็นต้น และอัตราส่วนก�ำไรต่อสินทรัพย์ทงั้ หมด (ROA) ซึง่ ผูว้ จิ ยั แบ่งเป็น 5 ระดับ ในลักษณะเดียวกัน (รายละเอียด แสดงในตารางที่ 2)
ตารางที่ 1 ตัวแปรที่ใช้วัดคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการทางสังคมขององค์กร ปัจจัย ความร่วมมือกับ องค์กรอื่น
ตัวแปร จ�ำนวนความร่วมมือหรือโครงการ กับองค์กรอื่น การระบุการมุ่งสังคม/ความยั่งยืน ภาวะผู้น�ำ ในสารจากประธานกรรมการ การมีการส่งเสริมให้พนักงาน เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมหรือ การท�ำงานเชิงรุก สิ่งแวดล้อม ทางสังคม การมีการจัดท�ำรายงานทางด้าน สังคม สิ่งแวดล้อม หรือความยั่งยืน จ�ำนวนช่องทางในการให้ข้อมูลกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การมุ่งผู้มีส่วนได้ อัตราเงินปันผลตอบแทนต่อหุ้น ส่วนเสีย จ�ำนวนครั้งในการน�ำเสนอข้อมูล ที่ตลาดหลักทรัพย์ต่อปี การมีพันธกิจเพื่อสังคมในแผน กลยุทธ์หรือเป้าหมายทางธุรกิจ พันธกิจเพื่อสังคม จ�ำนวนกิจกรรม/โครงการเกี่ยวกับ สังคมหรือสิ่งแวดล้อม อันดับบรรษัทภิบาล บรรษัทภิบาล
สัดส่วนคณะกรรมการอิสระ ในคณะกรรมการบริหาร การแยกต�ำแหน่งประธานกรรมการ ออกจากต�ำแหน่งประธานบริหาร
สัญลักษณ์
อ้างอิง
COLL
Siminica, Craciun & Dinu (2015)
LETTER
Siminica, Craciun & Dinu (2015)
PROMO
Movassaghi & Bramhandkar (2012), Siminica, Cracium & Dinu (2015)
Aggarwal (2013), Siminica, Cracium & Dinu (2015) Jackson (2014), Siew, Balatbat & STAKE Carmichael (2013) DIV Siew, Balatbat & Carmichael (2013) Michelon (2011), Siew, Balatbat & OPP Carmichael (2013) Jackson (2014), Siminica, Cracium MISSION & Dinu (2015) REPORT
ACT
Movassaghi & Bramhandkar (2012)
CGR
Ergin (2012), Movassaghi & Bramhandkar (2012)
IND
Vintila & Gherghina (2012)
DUAL
Haat, Rahman & Mahenthiran (2008), Lipunga (2014)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
18
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ตารางที่ 2 ตัวแปรที่ใช้วัดความยั่งยืนทางเศรษฐกิจขององค์กร ตัวแปร
อัตราส่วนก�ำไรต่อส่วน ผู้ถือหุ้น (ROE)
อัตราส่วนก�ำไรต่อ สินทรัพย์ทั้งหมด (ROA)
การแบ่งระดับ (Categories)
คะแนน
7 ระดับ
5 ระดับ
การวิเคราะห์ข้อมูล งานวิจยั ใช้การวิเคราะห์สถิตพิ นื้ ฐานและการวิเคราะห์ ถดถอยวิธี Partial Least Squares (PLS regression) เพือ่ ให้เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลและตัวแปรทีน่ ำ� มา ศึกษา โดยวิธกี ารนีใ้ ช้วเิ คราะห์ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม และการศึกษามุ่งเน้น
-3 -2 -1 0 1 2 3 -2 -1 0 1 2
รายละเอียด ROE เท่ากับหรือน้อยกว่า -21 % ROE -11.0 % ถึง -20.9 % ROE -1.0 % ถึง -10.9 % ROE 0.9 % ถึง -0.9 % ROE 1.0 % ถึง 10.9 % ROE 11.0 % ถึง 20.9 % ROE เท่ากับหรือมากกว่า 21 % ROA เท่ากับหรือน้อยกว่า -11 % ROA -1.0 % ถึง -10.9 % ROA 0.9 % ถึง -0.9 % ROA 1.0 % ถึง 10.9 % ROA เท่ากับหรือมากกว่า 11 %
ศึกษาอิทธิพลของตัวแปรหรือความสัมพันธ์เชิงพยากรณ์ ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม งานวิจยั ใช้ตวั แปรแฝง CSE แทนคุณลักษณะความเป็นผูป้ ระกอบการทางสังคม ขององค์กรและตัวแปรแฝง SUS แทนความยั่งยืนทาง เศรษฐกิจขององค์กร ดังนั้นจึงได้ตัวแบบในการศึกษา ตามภาพที่ 2
ภาพที่ 2 ตัวแบบที่ใช้ในการศึกษา ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ผลการวิเคราะห์แสดงในตารางที่ 3 โดยตัวแปรที่ น่าสนใจคือ อัตราส่วนก�ำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตราส่วนก�ำไรต่อสินทรัพย์ทั้งหมด (ROA) มีค่า เป็นบวก ซึ่งถือว่าตลาดทุนยังมีความสามารถในการท�ำ ก�ำไรทีด่ ี แต่พบว่า บริษทั ในตลาดหลักทรัพย์มแี นวนโยบาย หรือการด�ำเนินงานด้านสังคมหรือสิง่ แวดล้อมยังไม่สงู นัก เพราะมีจำ� นวนบริษทั ทีม่ กี ารระบุการมุง่ ด�ำเนินงานด้าน สังคมหรือสิ่งแวดล้อม (LETTER) เฉลี่ยเพียงร้อยละ 39 มีพันธกิจด้านนี้ (MISSION) เฉลี่ยเพียงร้อยละ 43 การจัดท�ำรายงานด้านนี้ (REPORT) ยังน้อย เฉลี่ยเพียง ร้อยละ 20 ของทัง้ ตลาดหลักทรัพย์ การส่งเสริมพนักงาน เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อม (PROMO) ยังน้อย เฉลี่ยเพียงร้อยละ 30 ของทั้งตลาดหลักทรัพย์ การให้ข้อมูลที่ตลาดหลักทรัพย์ (OPP) ยังไม่มากคือ เฉลี่ยเพียง 0.69 ครั้งต่อปี ความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ (COLL) ยังไม่มากนัก เฉลี่ยเพียง 1.72 ของกลุ่มความ ร่วมมือ ส่วนจ�ำนวนกิจกรรม/โครงการด้านสังคมหรือ สิง่ แวดล้อม (ACT) ถือว่าค่อนข้างดีคอื เฉลีย่ 1.12 กิจกรรม ต่อบริษทั จ�ำนวนช่องทางการให้ขอ้ มูลกับผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย (STAKE) ก็ถอื ว่าดี เพราะมีคา่ เฉลีย่ 4.67 ช่องทางต่อบริษทั และยังพบว่า อัตราเงินปันผลตอบแทนต่อหุ้น (DIV) ก็ ถือว่าค่อนข้างดีเช่นกันคือ เฉลีย่ จ่ายปันผลร้อยละ 2.92 ด้านบรรษัทภิบาลพบว่า อันดับบรรษัทภิบาล (CGR) เฉลีย่ ค่อนข้างดี ร้อยละของกรรมการอิสระต่อกรรมการทัง้ หมด (IND) ไม่สูงเกินไป และส่วนมากบริษัทแยกต�ำแหน่ง ประธานกรรมการออกจากประธานบริหาร (DUAL)
19
ตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน Variables ROE ROA COLL LETTER ACT REPORT STAKE DIV OPP MISSION PROMO CGR IND DUAL
Mean 1.31 1.08 1.72 0.39 1.12 0.20 4.67 2.92 0.69 0.43 0.30 1.24 0.38 0.25
Std. Deviation 1.46 0.92 1.26 0.49 0.77 0.40 1.48 2.27 1.26 0.50 0.46 1.02 0.12 0.43
ผลการวิเคราะห์ PLS regression การวิเคราะห์เบือ้ งต้นใช้เกณฑ์ในการประเมินตัวแปร และตัวแบบ ได้แก่ (1) ความตรงเชิงสอดคล้อง (Convergent validity) โดยประเมินจากค่า Average Variance Extracted (AVE) ของตัวแปรแฝง ต้องมีค่าสูงกว่า 0.5 (2) การประเมินความเชือ่ มัน่ ของตัวแปรแฝง (Construct reliability) โดยดูจากค่า CR เป็นการประเมินความ สอดคล้องภายในของตัวแปร (Internal consistency) ต้องมีค่ามากกว่า 0.7 (3) ค่า Cronbach’s alpha ใช้ ตรวจสอบโมเดลการวัด (measurement model) ต้อง มีค่ามากกว่า 0.7 จึงจะถือว่ามีความสอดคล้องภายใน ของตัวแปรอยู่ในระดับยอมรับได้ (Hair et al., 2014; Ufere, Uche & Alias, 2016)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
20
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
เมื่อท�ำการวิเคราะห์ทางสถิติของตัวแบบเบื้องต้น พบว่า ค่า loading ของตัวแปรบางตัวมีค่าต�่ำกว่า 0.5 ได้แก่ ตัวแปร DIV มีคา่ loading = 0.397 ตัวแปร DUAL มีค่า loading = -0.137 ตัวแปร IND มีค่า loading = 0.248 และตัวแปร OPP มีคา่ loading = 0.432 ส่งผล
ต่อค่า AVE ของตัวแปร CSE ต�ำ่ กว่า 0.5 ซึง่ ไม่ผา่ นเกณฑ์ ที่ตั้งไว้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงปรับตัวแบบใหม่ โดยตัดตัวแปร ดังกล่าวออกจากตัวแบบ แล้วท�ำการวิเคราะห์ทางสถิตใิ หม่ จนได้ตัวแบบสุดท้ายตามภาพที่ 3
ภาพที่ 3 ผลการวิเคราะห์ PLS regression ของความสัมพันธ์เชิงพยากรณ์ของตัวแบบ จากตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์พบว่า ข้อมูลมี ความตรงเชิงสอดคล้อง มีค่า AVE ของตัวแปรแฝง ทัง้ สองตัวมีคา่ สูงกว่า 0.5 การประเมินความเชือ่ มัน่ ของ ตัวแปรแฝง โดยดูจากค่า CR พบว่า ผ่านเกณฑ์เนือ่ งจาก มีค่ามากกว่า 0.7 ส่วนค่า Cronbach’s alpha ที่ใช้ ตรวจสอบโมเดลการวัดพบว่า มีคา่ มากกว่า 0.7 ซึง่ ถือว่า มีความสอดคล้องภายในของตัวแปรในระดับยอมรับได้ ตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์ PLS regression Composite Cronbach’s Reliability (CR) alpha CSE 0.517 0.8939 0.8643 SUS 0.924 0.9605 0.9178 Var. AVE
จากตัวแบบในภาพที่ 3 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ เชิงพยากรณ์พบว่า ค่าสัมประสิทธิเ์ ส้นทาง (Path coef-
ficient) มีคา่ เป็นบวกเท่ากับ 0.324 และได้คา่ ความเชือ่ มัน่ (R2) ทีแ่ สดงถึงความสามารถของตัวแปรต้นในการอธิบาย ความแปรปรวนของตัวแปรตาม เท่ากับ 0.105 แสดงถึง คุ ณ ลั ก ษณะความเป็ น ผู ้ ป ระกอบการทางสั ง คมของ องค์กรสามารถอธิบายความแปรปรวนของความยั่งยืน ทางเศรษฐกิจขององค์กรได้ร้อยละ 10.5 ซึ่งถือว่าความ สัมพันธ์เชิงพยากรณ์ของตัวแบบไม่สงู นัก (Garson, 2016) เมือ่ วิเคราะห์ตวั แปรต่างๆ ทีม่ อี ทิ ธิพลต่อตัวแปรแฝง CSE ด้วยค่า loading ที่แสดงถึงน�้ำหนักของความสัมพันธ์ หรืออิทธิพลของตัวแปรทีม่ ตี อ่ ตัวแปรแฝง ผลการวิเคราะห์ พบว่า ตัวแปรที่มีค่า loading สูงหรือมีอิทธิพลสูง (ค่า loading เกิน 0.7) ได้แก่ ตัวแปร COLL มีค่า loading = 0.871 ตัวแปร ACT มีค่า loading = 0.837 ตัวแปร CGR มีคา่ loading = 0.729 และตัวแปร PROMO มีคา่ loading = 0.719 หมายความว่า ตัวแปรเหล่านีม้ อี ทิ ธิพล เชิงบวกต่อตัวแปร CSE อย่างมาก ส่วนตัวแปรแฝง SUS พบว่า ตัวแปร ROE และ ROA มีอิทธิพลสูงมากต่อ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ตัวแปรแฝง SUS โดยมีคา่ loading เท่ากับ 0.962 และ 0.962 ตามล�ำดับ เมือ่ ท�ำการวิเคราะห์ Bootstrap ด้วยขนาดตัวอย่าง
21
500 ตัวอย่าง ผลวิเคราะห์แสดงดังภาพที่ 4 พบว่า ค่าสถิติ t มีคา่ เท่ากับ 3.862 ซึง่ มากกว่า 1.96 แสดงว่า มีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ภาพที่ 4 ผลการวิเคราะห์จากการท�ำ Bootstrap
สรุปและอภิปรายผลการวิจัย
การวิจยั นีท้ ดสอบความสัมพันธ์เชิงพยากรณ์ระหว่าง คุ ณ ลั ก ษณะความเป็ น ผู ้ ป ระกอบการทางสั ง คมของ องค์กรกับความยั่งยืนทางเศรษฐกิจขององค์กรธุรกิจ ในประเทศไทย ประชากรที่ใช้คือ บริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จ�ำนวน 402 บริษทั ใช้ขอ้ มูลค่าเฉลีย่ 3 ปี ในปี พ.ศ. 2555-2557 โดยผูว้ จิ ยั ได้พฒ ั นาตัวแปรเชิงปริมาณขึน้ ใหม่เพือ่ ใช้วดั คุณลักษณะ ความเป็นผูป้ ระกอบการทางสังคมขององค์กร ส่วนตัวแปร ความยัง่ ยืนทางเศรษฐกิจขององค์กร งานวิจยั ใช้อตั ราส่วน ก�ำไรต่อส่วนของผูถ้ อื หุน้ และอัตราส่วนก�ำไรต่อสินทรัพย์ ทั้ ง หมดในลั ก ษณะแบ่ ง เป็ น ระดั บ คะแนนในการวั ด ผลการวิเคราะห์สถิติพื้นฐานพบว่า บริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีความสามารถ ในการท�ำก�ำไรค่อนข้างดี แต่การมุง่ นโยบายและด�ำเนินงาน ทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมยังไม่สูงมากนัก มีเพียง ด้านบรรษัทภิบาลทีอ่ ยูใ่ นเกณฑ์ดี รวมถึงจ�ำนวนช่องทาง การให้ข้อมูลกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและอัตราเงินปันผล ตอบแทนต่อหุ้นที่ค่อนข้างดีเช่นกัน
ผลการวิเคราะห์ถดถอยวิธี PLS และวิเคราะห์ Bootstrap พบว่า คุณลักษณะความเป็นผูป้ ระกอบการ ทางสังคมขององค์กรมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความยั่งยืน ทางเศรษฐกิจขององค์กรอย่างมีนัยส�ำคัญ โดยตัวแปร ที่มีความส�ำคัญและเป็นส่วนประกอบส�ำคัญในปัจจัย คุณลักษณะความเป็นผูป้ ระกอบการทางสังคมขององค์กร มี 8 ตัวแปร ได้แก่ (1) จ�ำนวนความร่วมมือหรือโครงการ กับองค์กรอืน่ (2) การระบุการมุง่ สังคม/ความยัง่ ยืนในสาร จากประธานกรรมการ (3) การมีการส่งเสริมให้พนักงาน เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อม (4) การมี การจัดท�ำรายงานทางด้านสังคม สิง่ แวดล้อม หรือความ ยั่งยืน (5) จ�ำนวนช่องทางในการให้ข้อมูลกับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย (6) การมีพนั ธกิจเพือ่ สังคมในแผนกลยุทธ์หรือ เป้าหมายทางธุรกิจ (7) จ�ำนวนกิจกรรม/โครงการเกีย่ วกับ สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และ (8) อันดับบรรษัทภิบาล ผลการวิจัยแสดงว่า บริษัทที่มีคุณลักษณะความเป็น ผู้ประกอบการทางสังคมขององค์กรทั้ง 8 ประการ ย่อมส่งผลต่อความยัง่ ยืนทางเศรษฐกิจทีว่ ดั จากอัตราส่วน ก�ำไรต่อส่วนของผูถ้ อื หุน้ และอัตราส่วนก�ำไรต่อสินทรัพย์
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
22
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับ Joseph (2013) และ Savitz (2013) ทีร่ ะบุวา่ องค์กรธุรกิจต้องปรับตัวและตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม เพือ่ ให้เติบโตอย่างยัง่ ยืน และสอดคล้องกับ Jiao (2011) และ Savitz (2013) ที่ระบุถึงองค์กรที่มุ่งด�ำเนินงาน ทั้งเพื่อสังคมและผลประกอบการ มักพบคุณลักษณะ ผู้ประกอบการทางสังคม รวมถึงสอดคล้องกับทฤษฎี ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ให้แนวทางว่า องค์กรสมัยใหม่ต้อง ด�ำเนินงานอย่างเป็นธรรมและตอบสนองต่อความต้องการ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย (Miles, 2012) ดังนั้นองค์กรธุรกิจที่มุ่งความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ควรมีนโยบาย กลยุทธ์ และแนวปฏิบัติที่ส่งเสริมและ สนับสนุนคุณลักษณะความเป็นผูป้ ระกอบการทางสังคม ขององค์กรทั้ง 8 ประการ เช่น ผู้นำ� ในองค์กรควรระบุ แนวนโยบายด้านสังคม สิ่งแวดล้อม หรือความยั่งยืนให้ ชัดเจน และก�ำหนดเป็นพันธกิจในแผนกลยุทธ์หรือใน เป้าหมายทางธุรกิจ รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับ องค์กรอืน่ ๆ และส่งเสริมพนักงานในการเข้าร่วมกิจกรรม ทางสังคมหรือสิง่ แวดล้อม อีกทัง้ การมุง่ เน้นบรรษัทภิบาล อย่างชัดเจนจนได้รบั คะแนนการจัดอันดับบรรษัทภิบาล (CG rating) ก็มีส่วนส�ำคัญต่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ขององค์กรเช่นกัน
ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย
1. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สามารถน�ำ ผลวิจัยไปใช้ในการก�ำหนดเป็นนโยบายหรือส่งเสริมให้ บริษัทจดทะเบียนมุ่งความยั่งยืนทางเศรษฐกิจได้ โดย การใช้คุณลักษณะผู้ประกอบการทางสังคมขององค์กร ทั้ง 8 ประการเป็นแนวทางในการด�ำเนินงานของบริษัท จดทะเบียน 2. บริษทั จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทมี่ งุ่ ความ ยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ควรก�ำหนดเป้าหมาย นโยบาย พันธกิจ และการด�ำเนินงานขององค์กรให้สอดคล้องกับ คุณลักษณะผู้ประกอบการทางสังคมขององค์กร เช่น การร่วมมือกับองค์กรอืน่ การท�ำกิจกรรมทางสังคมหรือ สิง่ แวดล้อม การส่งเสริมพนักงานให้รว่ มท�ำกิจกรรมทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และการมุ่งการด�ำเนินงานด้าน บรรษัทภิบาล เป็นต้น
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. เนื่องจากค่าความเชื่อมั่น (R2) มีค่าต�ำ่ อาจเป็น ข้อจ�ำกัดในการใช้ตัวแบบ ดังนั้นควรศึกษาปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติมในงานวิจัยในอนาคต 2. เสนอแนะให้ศึกษาเพิ่มเติมด้วยการศึกษาแบบ แยกรายอุตสาหกรรมและเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ ระหว่างแต่ละอุตสาหกรรมในงานวิจัยในอนาคต
References
Aggarwal, P. (2013). Sustainability reporting and its impact on corporate financial performance: A literature review. Indian Journal of Commerce & Management Studies, 4(3), 51-59. Crisan, C. M. & Borza, A. (2012). Social entrepreneurship and corporate social responsibilities. International Business Research, 5(2), 106-113. Dave, P., Wadhwa, V., Aggarwai, S. & Seetharaman, A. (2013). The impact of research and development on the financial sustainability of information technology (IT) companies listed on the S&P500 index. Journal of Sustainability Development, 6(11), 123-138. Ergin, E. (2012). Corporate governance ratings and market-based financial performance: Evidence from Turkey. International Journal of Economics and Finance, 4(9), 61-68. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
23
Esposito Vinzi, V. (2007). The PLS Approach to Data Exploration and Modeling: An everlasting matter of dispute or a playground for integrating different cultures? In PLS and Related Methods: Proceedings of the PLS’07 International Symposium (H. Martens, T. Naes and M. Martens, Eds.). Matforsk, As, Norway, 8–11. Gandy, J. D. (2012). The relationship between social entrepreneurship and organizational effectiveness (Doctoral dissertation). Texas, US: Dallas Baptist University. Garson, G. D. (2016). Partial Least Squares: Regression & Structural Equation Models. US: Statistical Associates Publishing. Haat, M. H. C., Rahman, R. A. & Mahenthiran, S. (2008). Corporate governance, transparency and performance of Malaysian companies. Managerial Auditing Journal, 23(8), 744-778. Hadad, S. & Gauca, O. (2014). Social impact measurement in social entrepreneurship organizations. Management & Marketing: Challenges for the Knowledge Society, 9(2), 119-136. Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis (7th ed.). US: Pearson Education. Hair, J. F., Hult, G. T. M., Ringle, C. M. & Sarstedt, M. (2017). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM) (2nd ed.). California: SAGE Publications. Henseler, J., Hubona, G. & Ray, P. A. (2016). Using PLS path modeling in new technology research: Updated guidelines. Industrial Management & Data Systems, 116(1), 2-20. Hervieux, C., Gedajlovic, E. & Turcotte, M. B. (2010). The legitimization of social entrepreneurship. Journal of Enterprise Communities: People, and Places in the Global Economy, 4(1), 37-67. Jackson, C. A. (2014). Corporate social responsibility training: Exploring the antecedents to corporate social entrepreneurship (Doctoral dissertation). Kansas, US: Kansas State University. Jiao, H. (2011). A conceptual model for social entrepreneurship directed toward social impact on society. Social Enterprise Journal, 7(2), 130-149. Joseph, C. (2013). Understanding sustainable development concept in Malaysia. Social Responsibility Journal, 9(3), 441-453. Lipunga, A. M. (2014). Corporate governance practices in commercial banking sector of Malawi: Evidence from annual reports. Journal of Applied Finance & Banking, 4(5), 115-133. Mathew, S. K. & Rajan, T. (2013). Sustainability as an imperative and an opportunity: The case of Infosys Limited. Emerald Emerging Markets Case Studies, 3(2), 1-16. McPhee, W. (2014). A new sustainability model: Engaging the entire firm. Journal of Business Strategy, 35(2), 4-12. Michelon, G. (2011). Sustainability disclosure and reputation: A comparative study. Corporate Reputation Review, 14(2), 79-96. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
24
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Miles, J. A. (2012). Management and Organization Theory: A Jossey-Bass reader. San Francisco: John Wiley & Sons. Mitchell, S. F. (2012). An empirical investigation: How small to mid-sized enterprises use innovation on the path toward ecological sustainability (Doctoral dissertation). New Hampshire, US: University of New Hampshire. Movassaghi, H. & Bramhandkar, A. (2012). Sustainability strategies of leading global firms and their financial performance: A comparative case based analysis. Journal of Applied Business and Economics, 13(5), 21-34. Pandey, C. L. (2014). The limits of climate change agreements: From past to present. International Journal of Climate Change Strategies and Management, 6(4), 376-390. Rahman, M. A. & Mazlan, A. R. (2014). Determinants of financial sustainability of microfinance institutions in Bangladesh. International Journal of Economics and Finance, 6(9), 107-116. Savitz, A. W. (2013). Talent, transformation, and the triple bottom line: How companies can leverage human resources to achieve sustainable growth. San Francisco: Jossey-Bass. Siew, R. Y. J., Balatbat, M. C. A. & Carmichael, D. G. (2013). The relationship between sustainability practices and financial performance of construction companies. Smart and Sustainable Built Environment, 2(1), 6-27. Siminica, M., Craciun, L. & Dinu, A. (2015). The impact of corporate sustainability strategies on the financial performance of Romanian companies in the context of green marketing. Amfiteatru Economic, 17(40), 994-1010. Stanley, S. (2012). The Evolution of Sustainability: A Public Relations and Business Argument (Master’s Thesis). California, US: University of Southern California. Saul, P. (2011). Social innovation Inc.: 5 strategies for driving business growth through social change. USA: HB Printing. Szekely, F. & Strebel, H. (2013). Incremental, radical and game-changing: Strategic innovation for sustainability. Corporate Governance, 13(5), 467-481. Thompson, B. A. (2011). Evaluation of Factors on Financial Performance of the North American Cable Industry. Doctoral dissertation, Northcentral University. Ufere, K. J., Uche, A. G. & Alias, B. B. (2016). Social determinants of voluntary carbon information disclosure in the real estate sector of Malaysia. Studia Ubb Negotia, LXI, 3, 69-83. Vintila, G. & Gherghina, S. C. (2012). An empirical examination of the relationship between corporate governance ratings and listed companies’ performance. International Journal of Business and Management, 7(22), 46-61.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
25
Name and Surname: Ampol Chayomchai Highest Education: Doctor of Business Administration, Dhurakij Pundit University University or Agency: Diamond V Mills, Incorporated – Thailand Field of Expertise: Strategic Management, Marketing Management Address: 55/140 Bankluay-sainoi Rd., Pimonrach, Bangbuathong, Nonthaburi 11110
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
26
การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ในเขตกรุงเทพมหานคร ANALYSIS OF FACTORS AFFECTING THE FINANCIAL TRANSACTION USING QR CODE PAYMENT IN BANGKOK METROPOLITAN AREA ณัฐพัชร์ อภิรุ่งเรืองสกุล1 และประสพชัย พสุนนท์2 Nattaphat Apirungruengsakul1 and Prasopchai Pasunon2 1คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 2คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร 1Faculty of Business Administration, Panyapiwat Institute of Management 2Faculty of Management Science, Silpakorn University
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยและความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการท�ำ ธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเลือกกลุม่ ตัวอย่างของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจยั พบว่า จากการสกัดปัจจัยมีผลต่อการตัดสินใจท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ด้วยวิธกี ารวิเคราะห์ องค์ประกอบ (Factor Analysis) สามารถจ�ำแนกได้ 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านอัตราค่าบริการ และปัจจัยด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้บริการ จากนัน้ ได้ทำ� การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทีม่ ผี ลต่อการท�ำ ธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code โดยวิธี Logistic Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านอัตราค่าบริการ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้บริการ อายุของผู้ใช้บริการ และการใช้ Mobile Banking Application เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท�ำธุรกรรมทางการเงิน QR Code อย่างมีนัยส�ำคัญ ค�ำส�ำคัญ: การวิเคราะห์ปัจจัย ธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code
Abstract
The objective of this research is to study the factors and relationship of factors affecting the financial transaction using QR Code payment method by selecting the sample of population in Bangkok metropolitan area. The factors that affect the financial transaction using QR Code can be classified into 3 factors: product, price, promotion and service. However, after using the Logistic Regression Analysis, the result shows that the factor of product, price, promotion, service, the age Corresponding Author E-mail: nattaphat_a@hotmail.co.th
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
27
of user, and the using mobile banking application are the significant reason which influences the decision of using QR Code payment. Keywords: Analysis of Factors, QR Code payment
บทน�ำ
แนวคิดสังคมเศรษฐกิจทีป่ ราศจากเงินสด (Cashless Society) หรือสังคมเศรษฐกิจทีไ่ ม่นยิ มถือเงินสด (Cashless Economy) ถูกกล่าวถึงครัง้ แรกในวงการธนาคารพาณิชย์ ในช่วงปี ค.ศ. 1950s ที่มองว่าเงินในอนาคตจะมีความ ส�ำคัญลดน้อยลงและถูกแทนที่ด้วยการท�ำธุรกรรมผ่าน ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคม สอดคล้อง กับความเห็นของ John Diebold1 ทีส่ นับสนุนการก่อเกิด ระบบการเงินที่ปราศจากเงินสดขึ้นมาแทนที่ระบบเดิม ในขณะนัน้ เนือ่ งจากการเติบโตทางเศรษฐกิจท�ำให้ธรุ กรรม เงินสดและเช็คเงินสดเพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างรวดเร็ว อันอาจจะน�ำไปสูก่ ารประมวลผลทีเ่ กินพิกดั และเพิม่ ภาระ ทางต้นทุนทางธุรกรรมทัง้ ผูใ้ ช้บริการและผูใ้ ห้บริการโดยไม่ จ�ำเป็น (SCB Economic Intelligence Center, 2016) ปั จ จุ บั น หลายประเทศรวมทั้ ง ประเทศไทยเริ่ ม เปลี่ ย นแปลงจากสั ง คมเงิ น สดไปสู ่ ก ารท� ำ ธุ ร กรรม การช�ำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E–Payments) ในการใช้จ่ายช�ำระค่าบริการสินค้าและบริการในชีวิต ประจ�ำวัน เช่น บัตรเครดิตและเดบิต เป็นต้น รวมทั้ง การเติบโตของจ�ำนวนผูใ้ ช้สมาร์ทโฟน และรูปแบบการใช้ ชีวติ ดิจทิ ลั ทีเ่ กิดขึน้ จากการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ โครงข่ายคมนาคมที่สามารถรองรับการท�ำงานธุรกรรม ทางการเงินที่ทันสมัยผ่านระบบบ Mobile banking และ Internet banking ในช่วงหลายปีทผี่ า่ นมาการท�ำธุรกรรมการช�ำระเงิน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E–Payments) ของประเทศไทย นับวันยิง่ ขยายตัวขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง จากข้อมูลของธนาคาร แห่งประเทศไทยพบว่า ปริมาณธุรกรรมการช�ำระเงิน 1 John
Diebold เจ้าของบริษัทที่ปรึกษาการวางเครือข่าย คอมพิวเตอร์สำ� หรับธนาคาร
ผ่านบริการ Mobile banking และ Internet banking มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ Mobile banking ที่มี แนวโน้มเพิม่ ขึน้ แบบก้าวกระโดด จาก พ.ศ. 2555 มีปริมาณ ธุรกรรม 36.29 ล้านรายการ เพิ่มขึ้นเป็น 584.98 ล้าน รายการ ในปี พ.ศ. 2559 คิดเป็นร้อยละ 121.65 ด้วยมูลค่า 5.36 ล้านล้านบาท เมื่อเทียบกับปริมาณธุรกรรมของปี พ.ศ. 2558 ที่มีปริมาณธุรกรรม 263.92 ล้านรายการ ด้วยมูลค่า 2.8 ล้านล้านบาท ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ธุรกรรมการช�ำระเงินผ่านบริการระบบ Internet Banking และ Mobile Banking ปี พ.ศ. 2555 2556 2557 2558 2559
ธุรกรรมการเงินผ่าน Internet Banking ปริมาณรายการ มูลค่ารายการ (ล้านรายการ) (ล้านล้านบาท) 125.28 14.11 161.78 19.55 188.41 20.50 186.24 23.63 240.46 29.71
ธุรกรรมการเงินผ่าน Mobile Banking ปี พ.ศ. ปริมาณรายการ มูลค่ารายการ (ล้านรายการ) (ล้านล้านบาท) 2555 36.29 0.44 2556 57.20 0.75 2557 109.35 1.36 2558 263.92 2.80 2559 584.98 5.36 ที่มา: Bank of Thailand (2017)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
28
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
จากปั จ จั ย ส� ำ คั ญ ที่ ผ ลั ก ดั น การท� ำ ธุ ร กรรมทาง การเงินผ่านระบบ Mobile banking ของประเทศไทย ให้เพิ่มขึ้นที่ได้กล่าวมาข้างต้น ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยส�ำคัญ คือ การด�ำเนินนโยบายของรัฐบาลในการช�ำระเงินแบบ อิเล็กทรอนิกส์ (National E-Payment) โดยมีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการช�ำระเงินของ ประเทศให้เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร สามารถ รองรับการโอนเงิน การจ่ายเงินระหว่างประชาชน ภาคธุรกิจ รวมถึงพัฒนาระบบภาษี และรวมศูนย์จา่ ยเงินสวัสดิการ ของรัฐ (Bank of Thailand, 2017) ด้วยเหตุผลดังกล่าว รัฐบาลจึงมีการวางแผนยุทธศาสตร์ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบการช�ำระเงิน อิเล็กทรอนิกส์หรือระบบพร้อมเพย์ (Prompt-Pay) โดย การด�ำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยในการท�ำ หน้าที่ก�ำกับดูแลและเป็นคนกลางเพื่อประสานงานกับ ภาคส่วนต่างๆ อาทิ สถาบันการเงินผู้ให้บริการเงินสด อิเล็กทรอนิกส์ ผูใ้ ห้บริการระบบขนส่งมวลชน และธุรกิจ ค้าปลีกทีเ่ ป็นภาคส่วนธุรกิจทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้องสัมพันธ์กบั ผูใ้ ช้งานเป็นจ�ำนวนมาก รวมทัง้ สร้างแรงจูงใจและความ มัน่ ใจให้กบั ประชาชนผูใ้ ช้ธรุ กรรมทางการเงินดังกล่าวมี ความปลอดภัยและมีกฎหมายรองรับ (Bank of Thailand, 2017) รวมทั้งเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กับ คนไทยได้กา้ วเข้าสูส่ งั คมทีป่ ราศจากเงินสดได้งา่ ยขึน้ และ เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจที่ปราศจาก เงินสดอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต ส�ำหรับระบบพร้อมเพย์ (Prompt-Pay) ถือเป็นบริการ ทางเลือกใหม่ให้ทางสังคมในการโอนเงินและรับโอนเงิน โดยการผูกบัญชีเงินฝากธนาคารของเรากับหมายเลข โทรศัพท์และหรือบัตรประชาชน เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการโอนเงินของประชาชน ช่วย เพิม่ โอกาสและเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขันให้กบั ภาคธุรกิจ เช่น เพิ่มช่องทางการช�ำระเงิน ลดภาระและ ต้นทุนในการจัดส่งและจัดเก็บเอกสารทางการเงินโดยใช้ ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสามารถลดภาระและ ต้นทุนในการบริหารจัดการเงินสดและการพิมพ์ธนบัตร
ของประเทศทัง้ การขนส่ง การพิมพ์ธนบัตร และการคัดแยก ธนบัตรเพื่อท�ำลาย (Bank of Thailand, 2017) ปัจจุบนั ประเทศไทยน�ำระบบการช�ำระเงินด้วย QR Code (QR Code Payment) มาใช้อย่างเป็นทางการ เพือ่ เสริมศักยภาพการแข่งขันของระบบการเงินของไทย เป็นการเพิ่มทางเลือกและความสะดวกในการช�ำระเงิน แก่ประชาชนมากกว่าการพกพาเงินสด บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือขอเลขบัญชีธนาคารของร้านค้าเพือ่ โอนเงิน (Techtalkthai, 2017) นอกจากนี้ QR Code ยังเป็นเครื่องมือช�ำระเงิน ทีส่ ำ� คัญของภาคธุรกิจ เนือ่ งจากมีตน้ ทุนต�ำ่ และสามารถ ใช้รว่ มกับระบบ Prompt-pay ได้ทนั ที โดยการส่งข้อมูล การช�ำระเงินผ่านระบบ Prompt-pay ID โดยไม่ต้อง ลงทุนซื้อเครื่องรับบัตร (Electronic Data Capture: EDC) ที่มีราคาสูง (Techsauce Team, 2016) อย่างไรก็ตาม แม้วา่ ประชาชนบางส่วนเริม่ เปลีย่ นแปลง มาใช้ระบบการช�ำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น แต่ระบบการเงินของธนาคารพาณิชย์ยังคงเป็นสังคม เงินสดและไม่มคี วามแตกต่างมากนักกับระบบที่ Diebold ได้กล่าวเตือนไว้เมื่อกว่า 50 ปีที่แล้ว สะท้อนให้เห็นว่า แม้ในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีที่เพียบพร้อมส�ำหรับการ รองรับระบบธุรกรรมการเงินที่ปราศจากเงินสด รวมถึง ได้รับการผลักดันและสนับสนุนการใช้ระบบดังกล่าว มากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา แต่นับว่าเป็นเรื่องที่ยาก ล�ำบากในการเปลีย่ นพฤติกรรมของผูค้ นทัว่ ไปทีจ่ ะยอมรับ ตัวเลขบนหน้าจออุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์แทนเงินสดทีถ่ อื ในมือ (SCB Economic Intelligence Center, 2016) จากเหตุผลข้างต้น ผูว้ จิ ยั จึงมีความสนใจศึกษาและ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการท�ำธุรกรรมทางการเงิน ผ่าน QR Code ในเขตกรุงเทพมหานคร
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยที่มีผลต่อการ ท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ในเขตกรุงเทพมหานคร
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
2. เพื่ อ วิ เ คราะห์ ค วามสั ม พั น ธ์ ข องปั จ จั ย ที่ มี ผ ล ต่อการท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ในเขต กรุงเทพมหานคร
ทบทวนวรรณกรรม
การทบทวนวรรณกรรมในการวิจัยมีดังนี้ ส่วนประกอบทางการตลาด (Marketing 4Ps) เป็นแนวคิดเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางการตลาดที่น�ำมาใช้ ในการวางแผนการตลาด ซึ่งประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ (Product) การจัดจ�ำหน่าย (Place) ราคา (Price) และ การส่งเสริมการตลาด (Promotion) (Praihooyan, 2011; Sribureeruk et al., 2017) การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) คือ การวิเคราะห์ปัจจัยที่รวมกลุ่มหรือรวมตัวแปรที่มี ความสัมพันธ์กันไว้ในกลุ่มหรือปัจจัยกลุ่มเดียวกัน โดย ตัวแปรที่อยู่ในปัจจัยเดียวกันจะมีความสัมพันธ์กันมาก ความสัมพันธ์นนั้ อาจจะเป็นในทิศทางบวก (ไปในทิศทาง เดียวกัน) หรือทิศทางลบ (ไปในทิศทางตรงกันข้าม) และ ตัวแปรต่างองค์ประกอบกันจะไม่มีความสัมพันธ์กัน (Rattanasiriwongwut, Na Vichain & Tienthong, 2010) ส�ำหรับจุดมุง่ หมายของการวิเคราะห์องค์ประกอบ มี 2 ประการ คือ 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) เพือ่ ท�ำการพิสจู น์ ตรวจสอบ หรือยืนยันทฤษฎีที่ผู้อื่นได้ค้นพบว่าตรงตาม ทฤษฎีหรือไม่ 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส�ำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) เพื่อพิสูจน์ หรือค้นหาตัวแปรแฝงที่ซ่อนอยู่ ภายใต้ตัวแปรที่สังเกต หรือวัดได้ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ (Logistic Regression Analysis) เป็นเครือ่ งมือทีน่ ำ� มาใช้วเิ คราะห์ ข้อมูลเพื่อท�ำนายเหตุการณ์หนึ่งว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ หรือมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด โดยการหาความ สัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตาม (1 ตัวแปร) และตัวแปรอิสระ (มากกว่าหรือเท่ากับ 1 ตัวแปร) โดยที่ตัวแปรตาม (Y) มีลักษณะเป็นตัวแปรเชิงกลุ่ม เมื่อได้สมการพยากรณ์
29
(แบบแผนความสัมพันธ์) แล้วสามารถน�ำไปใช้ประมาณ ค่าได้ โดยอาศัยความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) Binary Logistic Regression ตัวแปรตามทีม่ คี า่ เพียง 2 ค่า (ตัวแปรทวิ) คือ ค่า 0 และ ค่า 1 (Amornnimit, 2003) และ 2) Multinomial Logistic Regression ตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงกลุม่ ทีม่ คี า่ มากกว่า 2 ค่า เช่น 1 คือ ผ่อนชําระตามเงือ่ นไข, 2 คือ มีปญั หาผ่อนชําระบ้าง, 3 คือ เป็นหนีท้ ไี่ ม่กอ่ ให้เกิดรายได้ (Pattaphong, 2015) รูปแบบสมการการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ ส�ำหรับการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์สมการพยากรณ์ ที่ได้จากตัวแบบการวิเคราะห์จะเป็นสมการแสดงความ น่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ที่สนใจ โดย Ŷ ค่าความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ทสี่ นใจ ทัง้ นี้ สามารถท�ำให้อยูใ่ นรูปเชิงเส้น (Linear model) ได้ดังนี้
การตีความและอธิบายผลการวิเคราะห์
การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ใช้วธิ กี ารวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal Component Analysis) ด้วยการหมุนแกนปัจจัยให้ตั้งฉาก (Orthogonal Rotation) จากการใช้วิธีการ Varimax with Kaizer Normalization ซึง่ มีเกณฑ์พจิ ารณาปัจจัย คือ ค่า Eigen-values ต้องมีคา่ มากกว่า 1 และค่า Factor Loading ต้องมีค่ามากกว่า 0.640 การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ (Logistic Regression Analysis) ประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วย วิธกี ารวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ทวิ (Binary Logistic Regression) เพือ่ ท�ำนายโอกาสของการตัดสินใจทีจ่ ะเกิด กับความสนใจ (ตัวแปรเกณฑ์: Y) โดยการสร้างสมการ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
30
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
โลจิสติกส์ขึ้นจากชุดตัวแปรท�ำนาย (X’s) ซึ่งมีเกณฑ์ ทดสอบความเหมาะสมของสมการจากค่า -2LL (-2 log likelihood) มีคา่ ต�ำ่ แสดงว่าเหมาะสม หรือการพิจารณา ค่าสถิติทดสอบของ Hosmer and Lemeshow โดย พิจารณาค่าสถิติ χ2 ถ้าไม่มนี ยั ส�ำคัญทางสถิติ หรือยอมรับ สมมติฐานหลัก H0 แสดงว่า สมการหรือแบบจ�ำลองมี ความเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีเกณฑ์ทดสอบนัยส�ำคัญ ของสัมประสิทธิ์ฯ ด้วยสถิติทดสอบ 3 ตัว ดังนี้ 1) Wald statistic เป็นการทดสอบตัวแปรท�ำนาย ถ้ามีนัยส�ำคัญทางสถิติ (มีค่าน้อยกว่า α) หรือยอมรับ H1 แสดงว่าตัวแปรท�ำนายมีผลต่อความน่าจะเป็นของ เหตุการณ์ที่เราสนใจ 2) สถิติทดสอบความเหมาะสมสัมประสิทธิ์ของ แบบจ�ำลอง (χ2) ซึ่งมี 3 ค่า ได้แก่ step block และ model มีค่าเท่ากันทั้งสามค่าอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ แสดงว่าตัวแปรท�ำนายทีเ่ พิม่ เข้าไปในแบบจ�ำลองมีความ เหมาะสม 3) สถิ ติ ท ดสอบระดั บ ความสั ม พั น ธ์ ห รื อ ระดั บ สัมประสิทธิก์ ารพยากรณ์คล้ายกับ (R2) ในการวิเคราะห์ การถดถอยทัว่ ไป รวมทัง้ ยังเป็นค่าทีบ่ อกถึงความสามารถ ในการอธิบายตัวแปรตามของตัวแปรอิสระที่อยู่ในแบบ จ�ำลอง โดยค่าสถิติทดสอบระดับความสัมพันธ์ ได้แก่ Cox & Snell R2, Nagelkerke-R2 และ McFadde’R2
วิธีการวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบการสุ่มตัวอย่าง แบบง่าย (Simple random sampling) การวิเคราะห์ องค์ประกอบของปัจจัย (Factor Analysis) และการ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ Logistic Regression โดยมี ขอบเขตการวิจยั ด้านเนือ้ หาเกีย่ วกับปัจจัยทีม่ ตี อ่ การท�ำ ธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัย อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จ�ำนวน 5,686,646 คน (Department of Provincial Administration, 2017)
โดยผูว้ จิ ยั ก�ำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทางของ Yamane (1967) ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ซึ่งได้ขนาด ตัวอย่างเท่ากับ 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ส�ำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ที่วัดระดับตั้งแต่น้อยที่สุด (1) ไปถึงมากที่สุด (5) โดย แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผูต้ อบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการท�ำ ธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ
กรอบแนวคิดการวิจัย
กรอบแนวคิดในการวิจัยเป็นแนวทางส�ำคัญในการ ค้นหาปัจจัยที่มีต่อการท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ดังแสดงในภาพที่ 1
ขั้นตอนการวิจัย
1. ทบทวนวรรณกรรมเพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ผลงานวิชาการ และผลงานวิจัยจากหนังสือ วารสาร บทความที่เกี่ยวข้องเพื่อก�ำหนดแนวทางและประเด็น การศึกษา และสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย 2. ร่างแบบสอบถามให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ทางการวิจยั โดยใช้สว่ นประสมทางการตลาด (4Ps) เพือ่ เป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถามปัจจัยทีม่ ตี อ่ การท�ำ ธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการพิจารณาด้านความถูกต้องของเนือ้ หาและภาษา ที่ใช้ในแบบสอบถาม 3. ตรวจสอบคุณภาพของเครือ่ งมือ โดยการน�ำร่าง แบบสอบถาม (ข้อ 2) ให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาจ�ำนวน 3 ท่าน ในด้านพฤติกรรมศาสตร์และการวิจยั เพือ่ พิจารณา ความถูกต้องของโครงสร้างเนือ้ หา (Content Validity) ของแบบสอบถาม โดยเลือกเฉพาะข้อค�ำถามทีม่ คี า่ ดัชนี ความสอดคล้องของค�ำถามแต่ละข้อกับวัตถุประสงค์การ ศึกษา (Index of Item Objective Congruence: IOC) หรือ IOC มีค่ามากกว่า 0.5
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
31
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย 4. น�ำแบบสอบถามทีผ่ า่ นการพิจารณาและปรับปรุง จากผู้ทรงคุณวุฒิไปทดสอบกับผู้ใช้บริการธุรกิจค้าปลีก จ�ำนวน 40 คน พบว่า โดยแบบสอบถามมีตอ้ งการความ เชือ่ มัน่ (Reliability) ของสัมประสิทธิข์ องแอลฟาคอนบาค (Cronbach’s Alpha) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.906 ที่มีค่า เข้าใกล้ 1 แสดงว่าแบบสอบถามมีคา่ เชือ่ มัน่ ระดับ 0.10 5. น�ำแบบสอบถามทีผ่ า่ นการตรวจสอบความถูกต้อง และความเชือ่ มัน่ ไปเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในพืน้ ที่ กรุงเทพมหานคร จ�ำนวน 400 ชุด โดยการสุ่มตัวอย่าง แบบง่าย (Simple random sampling) และด�ำเนินการ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 11-29 กันยายน พ.ศ. 2560
ผลการวิจัย
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามจ�ำนวน 400 ชุด ผูว้ จิ ยั ได้ตรวจสอบข้อมูลพบว่า มีความสมบูรณ์ จึ ง ได้ ท� ำ การวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล โดยใช้ วิ ธี ก ารวิ เ คราะห์ องค์ประกอบหลักและประมาณค่าพารามิเตอร์ดว้ ยวิธกี าร วิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ทวิ ได้ผลการวิจัยดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลด้านประชากรศาสตร์ พบว่า (1) เพศ ส่วนมากจะเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 59.75 (2) อายุ ส่วนมากอยูใ่ นช่วงอายุ 18-36 ปี (Generation Y) คิดเป็นร้อยละ 65.00 (3) ระดับการศึกษา ส่วนมากอยู่ ในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 62.00 (4) อาชีพ ส่วนมากเป็นนักเรียนนักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 37.50 และ (5) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่วนมากมีระดับรายได้ 10,000-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 38.00 2. ผลการวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ด้ า นพฤติ ก รรมของ ประชากรศาสตร์ พบว่า 1) ผูต้ อบแบบสอบถามส่วนมาก ใช้ Mobile Banking Application ในการท�ำธุรกรรม ทางการเงินคิดเป็นร้อยละ 63.00 2) ผูต้ อบแบบสอบถาม ที่ใช้ Mobile Banking App ส่วนใหญ่ใช้มากกว่า 5 ครั้ง/เดือน คิดเป็นร้อยละ 46.03 3) เหตุผลในการ เลือกท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน Mobile Banking Application ส่วนใหญ่ตดั สินใจเลือกเพราะสะดวกสบาย สามารถท�ำธุรกรรมได้ทกุ ทีท่ กุ เวลา คิดเป็นร้อยละ 93.65 4) ประเภทของการท�ำธุรกรรมทางการเงิน ผ่าน Mobile
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
32
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Banking Application ส่วนใหญ่ใช้ตรวจสอบยอดคงเหลือ และโอนเงินระหว่างบัญชี คิดเป็นร้อยละ 55.16 และ ร้อยละ 42.46 ตามล�ำดับ ส�ำหรับผูไ้ ม่ทำ� ธุรกรรมทางการเงินผ่าน Mobile Banking Application คิดเป็นร้อยละ 37 โดยมีสาเหตุ ไม่มนั่ ใจระบบความปลอดภัยเพราะมีความกังวลเกีย่ วกับ โจรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 43.92 รองลงมาคือ การท�ำธุรกรรมผ่านช่องทางอื่น มีความสะดวกมากกว่า เช่น เคาน์เตอร์ธนาคาร ตู้ ATM คิดเป็นร้อยละ 29.05 และขั้นตอนการเปิดใช้บริการที่ ยุ่งยากซับซ้อน คิดเป็นร้อยละ 14.19 ตามล�ำดับ การตัดสินใจท�ำธุรกรรมทางการเงินด้วย QR Code ที่ดำ� เนินการโดยผ่าน Mobile Banking Application ในการสแกนรหัส QR Code เพือ่ ช�ำระเงินค่าสินค้าและ บริการ จากผูต้ อบแบบสอบถาม จ�ำนวน 400 คน พบว่า ส่วนใหญ่ตัดสินใจใช้ QR Code ในการท�ำธุรกรรมทาง การเงิน คิดเป็น 77.75 เนื่องจากเห็นว่าเป็นการอ�ำนวย ความสะดวกสบาย ลดปัญหาการปฏิเสธธนบัตรที่มี มูลค่าสูง และมีหลักฐานการช�ำระเงินที่ชัดเจนในทุก ธุรกรรมทางการเงิน ส่วนผู้ที่ตัดสินใจไม่ท�ำธุรกรรมทางการเงินด้วย QR Code ในการช�ำระเงินค่าสินค้าและบริการ คิดเป็น ร้อยละ 22.25 โดยให้เหตุผลในเรือ่ งความปลอดภัยในการ ใช้งาน และขั้นตอนการใช้งานมีความยุ่งยากซับซ้อน 3. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยในการเลือกท�ำธุรกรรม ทางการเงินผ่าน QR Code จ�ำนวน 400 คน พบว่า มีปัจจัย 3 ด้าน (ค่า Factor Loading มากกว่า 0.640) สามารถอธิ บ ายความแปรปรวนของการท�ำ ธุรกรรม ทางการเงินผ่าน QR Code ได้ร้อยละ 74.017 แต่ละ ปัจจัยจ�ำแนกตามรายละเอียดดังตารางที่ 2
3.1 ปัจจัยด้านการใช้งานผลิตภัณฑ์ มีคา่ Eigenvalues เท่ากับ 7.886 ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของการท�ำธุรกรรม ทางการเงินผ่าน QR Code ได้ร้อยละ 52.574 ได้แก่ 1) ความสะดวกสบาย 2) ลดปัญหาการปฏิเสธธนบัตร ทีม่ มี ลู ค่าสูง 3) ขัน้ ตอนการใช้งานไม่ยงุ่ ยากซับซ้อนและ เข้าใจง่าย 4) มีหลักฐานการช�ำระเงินทีช่ ดั เจนในทุกธุรกรรม ทางการเงิน 5) ลดความเสี่ยงจากการพกพาเงินสดและ ส่งมอบเงินสด 6) สามารถใช้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ 7) สามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้บริการ ผ่าน Call Center และเว็บไซต์ของธนาคาร และ 8) รองรับ การท�ำธุรกรรมด้วย QR Code ของผูป้ ระกอบการร้านค้า 3.2 ปัจจัยด้านอัตราค่าบริการ มีคา่ Eigen-values เท่ากับ 1.989 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ โดยสามารถ อธิบายความแปรปรวนของการท�ำธุรกรรมทางการเงิน ผ่าน QR Code ได้ร้อยละ 13.263 ได้แก่ 1) ฟรีค่า ธรรมเนียม 2) ค่าธรรมเนียม 2 บาท 3) ค่าธรรมเนียม 5 บาท 4) ค่าธรรมเนียม 10 บาท 3.3 ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด มีคา่ Eigenvalues เท่ากับ 1.227 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของการท�ำธุรกรรม ทางการเงินผ่าน QR Code ได้ร้อยละ 8.181 ได้แก่ 1) การโฆษณาเพือ่ ส่งเสริมและกระตุน้ การใช้บริการโดย บุคคลที่มีชื่อเสียง 2) การประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ เกีย่ วกับระบบความปลอดภัยในการใช้บริการ 3) การสะสม แต้มคะแนนเพื่อแลกของที่ระลึกจากการใช้บริการ จากปัจจัย 3 ด้านข้างต้น ที่ได้จากการวิเคราะห์ องค์ประกอบหลักด้วยวิธีการ Varimax with Kaizer Normalization จะน�ำไปวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ ปัจจัยต่างๆ เพือ่ ท�ำนายโอกาสของการตัดสินใจทีจ่ ะเกิด กับความสนใจ โดยการประมาณค่าพารามิเตอร์ดว้ ยวิธกี าร วิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ทวิในขั้นตอนต่อไป
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
33
ตารางที่ 2 ปัจจัยของการท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ในเขตกรุงเทพมหานคร Factor X S.D. Loading ปัจจัยที่ 1 ด้านการใช้งานผลิตภัณฑ์ (Eigen-values = 7.886 และ %Variance = 52.574) 1.1 ความสะดวกสบาย 0.826 4.515 0.704 1.2 ลดปัญหาการปฏิเสธธนบัตรที่มีมูลค่าสูง 0.770 4.223 0.900 1.3 ขั้นตอนการใช้งานไม่ยุ่งยากซับซ้อนและเข้าใจง่าย 0.800 4.165 0.903 1.4 มีหลักฐานการช�ำระเงินที่ชัดเจนในทุกธุรกรรมทางการเงิน 0.807 4.300 0.861 1.5 ลดความเสี่ยงจากการพกพาเงินสดและส่งมอบเงินสด 0.804 4.290 0.853 1.6 สามารถใช้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ 0.741 4.398 0.756 1.7 สอบถามการใช้บริการผ่าน Call Center และเว็บไซต์ของธนาคาร 0.656 4.360 0.733 1.8 รองรับการท�ำธุรกรรมด้วย QR Code ของผู้ประกอบการร้านค้า 0.563 4.443 0.709 ปัจจัยที่ 2 ด้านอัตราค่าบริการ (Eigen-values = 1.898 และ %Variance = 13.263) 2.1 ฟรีค่าธรรมเนียม (ธุรกรรมฯ ไม่เกิน 5,000 บาท) 0.660 4.515 0.704 2.2 ค่าธรรมเนียม 2 บาท (ธุรกรรมฯ มากกว่า 5,000–30,000 บาท) 0.896 4.223 0.900 2.3 ค่าธรรมเนียม 5 บาท (ธุรกรรมฯ มากกว่า 30,000–100,000 บาท) 0.887 4.165 0.903 2.4 ค่าธรรมเนียม 10 บาท (ธุรกรรมฯ มากกว่า 100,000 บาท) 0.872 4.300 0.861 ปัจจัยที่ 3 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้บริการ (Eigen-values = 1.227 และ %Variance = 8.181) 3.1 การโฆษณาเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการใช้บริการโดยบุคคลที่มีชื่อเสียง 0.809 3.900 0.984 3.2 การประชาสัมพันธ์และให้ความรูเ้ กีย่ วกับระบบความปลอดภัยในการใช้บริการ 0.798 4.098 0.946 3.3 การสะสมแต้มคะแนนเพื่อแลกของที่ระลึกจากการใช้บริการ 0.865 3.803 1.108 ปัจจัย
4. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยทีม่ ผี ล ต่อการท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ด้วย แบบจ�ำลองถดถอยโลจิสติกส์ทวินาม ด้วยวิธี Backward Stepwise (Wald) โดยมีสมการคาดการณ์ ความน่าจะเป็น ในการเลือกท�ำหรือไม่ท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code จากการพิจารณาค่าสถิติต่อไปนี้
ตารางที่ 3 ค่าสถิติไคสแควร์เพื่อทดสอบว่าปัจจัยด้าน ต่างๆ มีอทิ ธิพลต่อการเลือกท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code tep Block Model
Chi-square 192.917 192.917 192.917
df 5 5 5
ig. 0.000 0.000 0.000
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
34
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
จากตารางที่ 3 ค่า Chi-square ของ Model เท่ากับ 192.917 (sig. = 0.000) แสดงว่า ปัจจัยด้าน ต่างๆ มีอทิ ธิพลต่อการเลือกท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code อย่างน้อย 1 ปัจจัย ตารางที่ 4 ค่าสถิติ Nagelkerke R Square -2 Log likelihood 231.126
Cox & Snell R Square 0.383
Nagelkerke R Square 0.585
ส�ำหรับค่า -2 Log likelihood ส�ำหรับแบบจ�ำลอง ทีม่ ีตวั แปรอิสระทีม่ ีคา่ เท่ากับ 231.126 ส่วนค่า Cox & Snell R Square แสดงว่า ตัวแปรอิสระในแบบจ�ำลอง สามารถอธิบายโอกาสการเลือกท�ำธุรกรรมทางการเงิน ผ่าน QR Code ได้ร้อยละ 38.30 และค่า Nagelkerke R Square แสดงว่า ตัวแปรอิสระในแบบจ�ำลองสามารถ อธิบายโอกาสการเลือกท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ได้ร้อยละ 58.50 ดังตารางที่ 4
ตารางที่ 5 การพยากรณ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code Observed การตัดสินใจท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code Payment
ไม่ใช้ ใช้
Overall Percentage
การพยากรณ์ การตัดสินใจท�ำธุรกรรมทางการเงิน การพยากรณ์ ผ่าน QR Code Payment (ร้อยละ) ไม่ใช้บริการ ใช้บริการ 63 26 70.80 15 296 95.20 89.80
a. The cut value is .500 ผลจากการจ�ำแนกค่าเฉลี่ยของตัวแปรตามจาก ข้อมูลตัวอย่างหรือความน่าจะเป็นของการเลือกท�ำธุรกรรม ทางการเงินผ่าน QR Code ถ้ามีคา่ 1 จะจ�ำแนกว่าผูใ้ ช้ บริการตัดสินใจท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code และถ้ามีคา่ 0 จะจ�ำแนกว่าผูใ้ ช้บริการตัดสินใจไม่ทำ� ธุรกรรม ทางการเงิน QR Code จากตารางที่ 5 พบว่า ตัวแบบ
สามารถท�ำนายการตัดสินใจท�ำธุรกรรมทางการเงินฯ ได้ ถูกต้องร้อยละ 95.20 และท�ำนายการตัดสินใจไม่ท�ำ ธุรกรรมทางการเงินฯ ได้ถูกต้องถึงร้อยละ 70.80 ทั้งนี้ หากพิจารณาในภาพรวมจะเห็นได้ว่า ตัวแบบสามารถ จ�ำแนกการตัดสินใจท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ได้ถูกต้องร้อยละ 89.80
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
35
ตารางที่ 6 ตัวแปรที่มีผลต่อการตัดสินใจท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ตัวแปร ด้านผลิตภัณฑ์ Factors 1 ด้านอัตราค่าบริการ Factors 2 การส่งเสริมและสนับสนุนการใช้บริการ Factors 3 อายุของผู้ใช้บริการ X1 การใช้ Mobile Banking Application B1 Constant
B 0.727** 0.493** 0.953** 0.816** 2.540* -9.776
.E. 0.326 0.215 0.370 0.347 0.383 1.381
Wald 4.989 5.257 6.629 5.526 44.064 50.079
df 1 1 1 1 1 1
ig. 0.026 0.022 0.010 0.019 0.000 0.000
Exp(B) 2.069 1.637 2.593 2.262 12.685 0.000
หมายเหตุ *ระดับนัยส�ำคัญ 0.001 และ **ระดับนัยส�ำคัญ 0.05 ตารางที่ 6 แสดงค่าส�ำคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล โดย B คือ ค่าประมาณของ Logit (ตรงกับค่า ) ค่า S.E. คือ ค่าความคลาดเคลือ่ นมาตรฐานของสัมประสิทธิ์ ค่า Wald statistic = คือ ตัวสถิติทดสอบ ที่ใช้ทดสอบสมมติฐานหลักว่าค่าสัมประสิทธิ์แต่ละตัว มีค่าเป็นศูนย์หรือไม่ และค่า sig เป็นค่า P–value เป็น ค่าตัดสินความมีนัยส�ำคัญของการทดสอบ ดังนั้น จาก ตารางสรุปได้ว่า มีตัวแปรอิสระที่มีนัยส�ำคัญทางสถิติ ทั้งหมด 5 ตัวแปร คือ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ 2) ด้านอัตรา ค่าบริการ 3) ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้บริการ 4) อายุของผูใ้ ช้บริการ และ 5) การใช้ Mobile Banking Application ซึ่งเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท�ำ ธุรกรรมทางการเงิน QR Code อย่างมีนัยส�ำคัญและ สามารถเขียนสมการ Logistic Regression ดังต่อไปนี้ = -9.776 + 0.727 Factors1 + 0.493 Factors2 + 0.953 Factors3 + 0.816 X1 + 2.540 B1
สรุปผล
ภาพรวมเกี่ยวกับข้อมูลด้านประชากรศาสตร์และ พฤติกรรมของผูต้ อบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงอายุ 18-36 ปี เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี
มีรายได้เฉลี่ย 10,000-20,000 บาท ส่วนข้อมูลด้าน พฤติกรรมศาสตร์ผตู้ อบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้ Mobile Banking Application ในการท�ำธุรกรรมทางการเงิน ซึง่ มีการใช้งานมากกว่า 5 ครัง้ /เดือน ใช้สำ� หรับตรวจสอบ ยอดคงเหลือและโอนเงินระหว่างบัญชี โดยเหตุผลในการ ตัดสินใจท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน Mobile Banking Application คือ สะดวกสบายและสามารถท�ำธุรกรรม ได้ทุกที่ทุกเวลา ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่ท�ำ ธุรกรรมทางการเงินผ่าน Mobile Banking Application มีสาเหตุมาจากความไม่มั่นใจในระบบความปลอดภัย เพราะความกั ง วลการโจรกรรมข้ อ มู ล ทางการเงิ น ท�ำธุรกรรมผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น เคาน์เตอร์ธนาคาร ตู้ ATM รวมทั้งมีขั้นตอนการเปิดใช้บริการที่ยุ่งยาก ซับซ้อน จากการพิจารณาการตัดสินใจท�ำธุรกรรมทางการเงิน ด้วย QR Code ผ่าน Mobile Banking Application ผูต้ อบแบบสอบถามส่วนใหญ่ตดั สินใจใช้ QR Code ในการ ท�ำธุรกรรมทางการเงิน โดยให้เหตุว่าเป็นการอ�ำนวย ความสะดวกสบาย สามารถลดปัญหาการปฏิเสธธนบัตร ที่มีมูลค่าสูง และในการท�ำธุรกรรมทางการเงินทุกครั้ง จะมีหลักฐานการช�ำระเงินที่ชัดเจน ส่วนผู้ที่ตัดสินใจ ไม่ทำ� ธุรกรรมทางการเงินด้วย QR Code ผ่าน Mobile
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
36
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Banking Application เป็นผลมาจากกังวลด้านปลอดภัย ในการใช้งานและขัน้ ตอนการใช้งานมีความยุง่ ยากซับซ้อน ในส่ ว นองค์ ป ระกอบของปั จ จั ย การท� ำ ธุ ร กรรม ทางการเงินผ่าน QR Code แบ่งออกเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการใช้งานผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านอัตรา ค่าบริการ และปัจจัยด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการ ใช้บริการ ตามล�ำดับ ส�ำหรับปัจจัยทีม่ ผี ลต่อการท�ำธุรกรรมทางการเงิน ผ่าน QR Code พบว่า การใช้ Mobile Banking Application (β = 2.540) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code มากที่สุด รองลงมาคือ การส่งเสริมและสนับสนุนการใช้บริการ (β = 0.953) อายุของผู้ใช้บริการ (β = 0.816) ด้าน ผลิตภัณฑ์ (β = 0.727) และด้านอัตราค่าบริการ (β = 0.493) ตามล�ำดับ
อภิปรายผล
การใช้บริการ Mobile Banking Application มีผล ต่อการตัดสินใจท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code เพิม่ ขึน้ 12.685 กล่าวคือ หากผูใ้ ช้บริการมีความคุน้ เคย กับระบบการช�ำระเงินผ่าน Mobile Banking Application มีโอกาสทีผ่ ใู้ ช้บริการจะยอมรับการท�ำธุรกรรมผ่าน QR Code เพิ่มมากขึ้น ส่วนการส่งเสริมและสนับสนุน การใช้บริการ มีผลต่อการตัดสินใจในการท�ำธุรกรรม ทางการเงินผ่าน QR Code เพิม่ ขึน้ 2.593 เท่า โดยเฉพาะ การเพิ่มจ�ำนวนผู้ประกอบการร้านค้าที่รองรับการท�ำ ธุรกรรมทางการเงินโดยตรงจาก Mobile Banking Application เพื่อสแกนรหัส QR Code ที่จุดช�ำระเงิน รวมไปถึงกระตุ้นการใช้งานโดยการสะสมแต้มคะแนน เพื่อแลกของที่ระลึกจากการใช้บริการ นอกจากนี้ควรมี การโฆษณาประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับระบบ ความปลอดภัยในการใช้บริการ QR Code เพื่อให้ ประชาชนทุกคนมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินที่ สะดวกและปลอดภัยอย่างทัว่ ถึง เพือ่ ลดความเหลือ่ มล�ำ้ ทางเศรษฐกิจและสร้างรากฐานที่ส�ำคัญในการพัฒนา
ประเทศอย่างยั่งยืน ในขณะที่เพศมีผลต่อการตัดสินใจ ในการท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code เพิ่มขึ้น 2.262 เท่า สอดคล้องกับการศึกษาของ Chaveesuk & Vongjaturapat (2013) ศึกษาเกีย่ วกับส่วนขยายทฤษฎี รวมการยอมรั บ การใช้ เ ทคโนโลยี ส ารสนเทศพบว่ า เพศมีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี โดยผู้ชายส่วนใหญ่ ให้ความสนใจเกีย่ วกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงท�ำให้ ผูช้ ายมีความสะดวกใจต่อการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มากกว่า ผู้หญิง ส�ำหรับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มีผลต่อการตัดสินใจ ในการท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code เพิ่มขึ้น 2.069 เท่า กล่าวถึงลักษณะการใช้งานที่ส�ำคัญของ QR Code เช่น ความสะดวกสบาย ขั้นตอนการใช้งาน ไม่ยงุ่ ยากซับซ้อนและเข้าใจง่าย ในทุกธุรกรรมมีหลักฐาน การช�ำระเงินที่ชัดเจน นอกจากนี้ผู้ใช้บริการเห็นว่า การใช้ QR Code ช่วยลดปัญหาการปฏิเสธธนบัตรที่มี มูลค่าสูงหรือการทอนเงินของร้านค้า และความเสี่ยง จากมิจฉาชีพจากการพกพาเงินสด ซึง่ สอดคล้องกับแผน ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการช�ำระเงิน แบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National E-Payment Master Plan) เพือ่ ขับเคลือ่ นประเทศไปสูส่ งั คมเศรษฐกิจ ทีป่ ราศจากเงินสด นอกจากนีอ้ ตั ราค่าบริการยังมีผลต่อ การตัดสินใจในการท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code เพิม่ ขึน้ 1.637 กล่าวคือ การก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียม สามารถกระตุน้ การเปลีย่ นแปลงระบบการช�ำระเงินทีใ่ ช้ เงินสดสูร่ ะบบการช�ำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึน้ สอดคล้องกับ Padungpipatbawon (2016) ศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการธนาคาร บนโทรศัพท์มอื ถือของธนาคารกรุงไทย (KTB Netbank) พบว่า ปัจจัยด้านค่าธรรมเนียมมีผลต่อความพึงพอใจ ในการใช้บริการธนาคารบนโทรศัพท์มือถือของธนาคาร กรุงไทย ตรงกับการศึกษาของ Muangling (2015) ท�ำการศึกษาปัจจัยทีม่ ผี ลต่อความเชือ่ มัน่ ในการใช้บริการ ทางการเงินผ่าน Mobile Banking Application ของ ผูใ้ ช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ปัจจัยด้านราคามีผลในเชิงบวกกับความเชือ่ มัน่ ในการใช้ บริการทางการเงินผ่าน Mobile Banking Application จากปัจจัยทีไ่ ด้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้วา่ เทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับการท�ำธุรกรรมทางการเงินได้เริ่มเข้ามา เปลีย่ นแปลงการด�ำเนินชีวติ และทัศนคติของคนในสังคม ไทย โดยมุง่ หน้าไปในทิศทางของการท�ำธุรกรรมการเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสดกันมากขึน้ ซึง่ เป็นการลด การใช้เงินสดและปริมาณการท�ำธุรกรรมทางการเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ บัตรเครดิต บัตรเดบิต Mobile/Internet Banking และ QR Code ถือเป็นทางเลือกที่สามารถเพิ่มความสะดวก สบายและเป็นช่องทางในการท�ำธุรกรรมทางการเงินให้กบั ประชาชน รวมทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพ การแข่งขันของเศรษฐกิจของประเทศ โดยอาจจะเริม่ ต้น ในกลุม่ ธุรกิจใกล้ชดิ กับการด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวันของคน ในสังคม เช่น ธุรกิจค้าปลีก (ร้านสะดวกซื้อและร้านค้า ทัว่ ไป) และธุรกิจขนส่งมวลชน เนือ่ งจากสามารถลดต้นทุน ที่มาจากการท�ำธุรกรรมด้วยเงินสด โดยปัจจัยดังกล่าว ถือเป็นหนึง่ ในหลายปัจจัยทีจ่ ะน�ำพาประเทศไปสูแ่ นวคิด สังคมปราศจากเงินสด
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะส�ำหรับการสนับสนุนและส่งเสริมการท�ำ ธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ของประชาชนในเขต กรุงเทพมหานคร มีดังนี้ 1. ภาครัฐบาลและภาคการธนาคารควรส่งเสริม และสนับสนุนให้ประชาชนท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน Mobile Banking Application ให้มากขึน้ เพราะความ
37
คุน้ เคยในการใช้ Mobile Banking Application จะเป็น การเพิม่ โอกาสให้ผใู้ ช้บริการยอมรับการท�ำธุรกรรมผ่าน QR Code มากขึ้น 2. ธนาคารควรท�ำความร่วมมือกับผู้ประกอบการ ร้านค้า เช่น ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจขนส่ง และธุรกิจออนไลน์ เป็นต้น เพื่อกระตุ้นการท�ำธุรกรรมทางการเงินโดยตรง จาก Mobile Banking Application เพื่อสแกนรหัส QR Code ณ จุดช�ำระเงิน และท�ำให้ประชาชนรับรู้ถึง ความง่ายและสะดวกในการท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code 3. ภาครัฐบาลและภาคการธนาคารควรมีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์และให้ความรูเ้ กีย่ วกับระบบความปลอดภัย ในการใช้บริการ QR Code เพื่อให้ประชาชนทุกคนมี โอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินที่สะดวกและปลอดภัย ส�ำหรับข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ควรท�ำการศึกษากลุ่มตัวอย่างตามภูมิภาคต่างๆ ของ ประเทศ เพือ่ น�ำผลการวิจยั ทีไ่ ด้นำ� มาเปรียบเทียบปัจจัย ที่มีผลต่อพฤติกรรมการท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ของประชาชน ซึ่งจะท�ำให้ผลการศึกษาวิจัย มีขอบเขตที่กว้างขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริม และสนับสนุนการท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ของประชาชนของประเทศ และสนองต่อการด�ำเนิน นโยบายของรัฐบาลในการช�ำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (National E-Payment) โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนา โครงสร้างพืน้ ฐานระบบการช�ำระเงินของประเทศให้เป็น แบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร รวมทัง้ การก้าวเข้าสู่ สังคมเศรษฐกิจทีป่ ราศจากเงินสด (Cashless Society) ในอนาคต
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
38
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
References
Amornnimit, U. (2003). Logistic regression analysis: a choice of risk analysis. University of the Thai Chamber of Commerce Journal, 23(2), 21-35. [in Thai] Awepay. (2013). Visa and MasterCard Payment Security Innovation. Retrieved September 5, 2017, from http://www.awepay.com/visa-and-master-payment-security-innovation/ Bank of Thailand. (2011). Payment system strategy 2012–2016. Retrieved September 5, 2017, from https://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/PolicyPS/Documents/PaymentRoadmap_2559.pdf [in Thai] Bank of Thailand. (2017). Prompt-Pay: A new alternative for money transfer and money transfer services. Retrieved September 3, 2017, from https://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/ PSServices/PromptPay/Pages/default.aspx [in Thai] Bank of Thailand. (2017). PS_PT_009 Payment transactions via mobile banking and Internet banking. Retrieved September 4, 2017, from http://www2.bot.or.th/statistics/BOTWEBSTAT.aspx? reportID=688&language=TH [in Thai] Bank of Ayudhya Public Company Limited. (2017). Krungsri Ready for “PromptPay” Service Launch of Campaign “Jad Hai PromptPay” Free Fund Transfer for Life. Retrieved September 4, 2017, from http://www.krungsri.com/bank/th/NewsandActivities/Krungsri-Banking-News/ krungsri-ready-for-promptpay-service.html [in Thai] Chaveesuk, S. & Vongjaturapat, S. (2013). Extending the Unified theory of acceptance and Use of technology (UTAUT2). KMITL Information Technology Journal, 2(1), 1-13. [in Thai] Department of Provincail Administration. (2017). Number of people in the Kingdom as evidenced by the citizenship registration as of December 31, 2016. Retrieved September 4, 2017, from http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm [in Thai] Desjardins, J. (2016). The Shift to a Cashless Society is Snowballing. Retrieved September 5, 2017, from http://www.visualcapitalist.com/shift-cashless-society-snowballing/ ING. (2017). ING survey: a cashless society is coming. Retrieved September 6, 2017, from http:// www.ing.com/Newsroom/All-news/ING-survey-a-cashless-society-is-coming.htm Marketingoops. (2017). Does your brand prepare you for the Cashless Society? Retrieved September 6, 2017, from http://www.marketingoops.com/exclusive/cashless-society-to-brands/ [in Thai] Muangling, S. (2015). Factors Effecting Consumer Confidence in Mobile. Banking in the Bangkok Metropolitan Area. Master of Business Administration, Faculty of Commerce and Accountancy, Thammasat University. [in Thai] Padungpipatbawon, K. (2016). Factors Affecting Customer Satisfaction with KTB Netbank Internet Banking from Krung Thai Bank PCL. Master of Business Administration, Faculty of Commerce and Accountancy, Thammasat University. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
39
Pattaphong, D. (2015). Multinomial Logistic Regression (MLR). Retrieved September 4, 2017, from http://it.nation.ac.th/faculty/danai/download/statistics%20talks30.pdf Praihooyan, U. (2011). Applying Marketing Mixes for Improving the Library Services at Prince of Songkla University, Trang Campus. Prince of Songkla University, Trang Campus. [in Thai] Rabbit Finance Magazine. (2017). Cashless Society with The future of the Thai society. Retrieved September 3, 2017, from http://finance.rabbit.co.th/blog/cashless-society [in Thai] Rattanasiriwongwut, M., Na Vichain, S. & Tienthong, M. (2010). Second-Order Confirmatory Factor Analysis of Factors Affecting IT Officers Competence. Information Technology Journal, 6(12), 1-8. [in Thai] SCB Economic Intelligence Center. (2016). Cashless Society: Get ready for full cashless society. Retrieved September 3, 2017, from https://www.scbeic.com/th/detail/product/2602 [in Thai] Sribureeruk, P., Yambunjong, P., Nakasiri, S. & Chomtrakan, K. (2017). Consumers opinions towards marketing mix factors of pasteurized corn milk at convenience stores in Bangkok. Panyapiwat Journal, 9(2), 60-68. [in Thai] Technode. (2017). The rise of China’s cashless society: Mobile payment trends in 2017. Retrieved September 4, 2017, from http://technode.com/2017/08/15/the-rise-of-chinas-cashlesssociety-mobile-payment-trends-in-2017/ Techsauce Team. (2016). Is Thailand entering the Cashless Society? Retrieved September 4, 2017, from https://techsauce.co/fintech/moving-to-a-cashless-society/ [in Thai] Techtalkthai. (2017). Thai Bankers Association announces the payment standard for QR Code, starting with Q4. Retrieved September 6, 2017, from https://www.techtalkthai.com/ standardized-qr-code-for-electronic-payment/ [in Thai] Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. NY: Harper and Row.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
40
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Name and Surname: Nattaphat Apirungruengsakul Highest Education: M.Sc. (Agricultural Economics), Kasetsart University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: International Economics, Managerial Economics, Financial Management Address: Faculty of Business Administration, Panyapiwat Institute of Management Name and Surname: Prasopchai Pasunon Highest Education: Ph.D. (Management), Cert. in University Research Management in UK: A Part Toward a World Class Research University. New College, University of Oxford, UK University or Agency: Silpakorn University Field of Expertise: Management Science, Research Management Address: Faculty of Management Science, Silpakorn University
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
43
THE INFLUENCE OF BRAND VALUE AND FAVORITE OF THAI PRODUCTS ON ONLINE SHOPPING BEHAVIORS OF CHINESE CONSUMERS ปัจจัยที่บ่งบอกคุณค่าและความชอบในแบรนด์สินค้าไทยที่มีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมการซื้อทางอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคชาวจีน Yolamas Jeerasantikul College of Economics and Business Administration, Chongqing University, China
Abstract
According to brand value identifies product quality and price in consumer’s mind and represents consumers’ system of values, habit, taste, life style and consumption pattern, consumers will buy the brand that can give them different experience, mind benefit of cultural value and personal emotional release. Besides, consumers from different cultures react to foreign products, advertisement and information in different way. This shows the influence of attractive forces in brand value plays an important role in purchasing behavior of foreign products. The purpose of this research aims to study 1) To study brand awareness that influences purchasing decisions 2) To study brand value and favorite related to brand satisfaction 3) To study brand value and favorite related to attitudes to online shopping Thai product. 4) To study perception of Brand problems in market affecting on Brand value and favorite. To collect research sample using random samples from total experienced consumer in online shopping Thai product in China of valid 212 questionnaires used for analysis and data analyses by descriptive and quantitative statistic with SPSS 18.0 program. The results found that brand awareness influences purchasing decision. Especially, brand value and favorite factors have high correlated to brand satisfaction and attitudes to online shopping Thai product, while are little affected by perception of brand problems. Keywords: Buying Decision, Brand Value, Online Shopping, Consumer Attitude, Thai Product
Corresponding Author E-mail: yolamas@yahoo.com
44
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
บทคัดย่อ
ตามทีค่ ณ ุ ค่าในแบรนด์สนิ ค้าเป็นเครือ่ งบ่งชีค้ ณ ุ ภาพและราคาของสินค้าในใจลูกค้าและแสดงออกถึงค่านิยม นิสยั รสนิยม รูปแบบการด�ำเนินชีวติ และการบริโภคของผูบ้ ริโภคนัน้ ผูบ้ ริโภคจึงซือ้ แบรนด์สนิ ค้าทีใ่ ห้ประสบการณ์ใหม่ และคุณค่าทางจิตใจในด้านวัฒนธรรมและการผ่อนคลายอารมณ์ นอกจากนี้ผู้บริโภคในแต่ละวัฒนธรรมมีปฏิกิริยา สนองตอบต่อสินค้าต่างประเทศ ข้อมูลและโฆษณาที่ไม่เหมือนกันแสดงให้เห็นว่า อิทธิพลของแรงดึงดูดในคุณค่าของ แบรนด์สนิ ค้ามีบทบาทส�ำคัญต่อพฤติกรรมการซือ้ ดังนัน้ วัตถุประสงค์ในการวิจยั ครัง้ นีเ้ พือ่ ศึกษา 1. การรับรูข้ องแบรนด์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ 2. คุณค่าและความชอบในแบรนด์ที่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจในแบรนด์สินค้า 3. คุณค่าและความชอบในแบรนด์ทมี่ คี วามสัมพันธ์ตอ่ ทัศนคติทจี่ ะซือ้ สินค้าทางอินเทอร์เน็ต 4. การรับรูป้ ญ ั หาของแบรนด์ ในตลาดที่มีผลต่อคุณค่าและความชอบในแบรนด์ โดยสุ่มตัวอย่างจากผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในการซื้อสินค้าไทย ในประเทศจีนโดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครือ่ งมือในการเก็บข้อมูล และจ�ำนวน 212 ชุดสามารถน�ำไปวิเคราะห์ขอ้ มูล ด้วยสถิติพรรณาและมีการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ ANOVA และ Chi-square และค่า Sig สัมประสิทธิ์สหพันธ์ (R) ผลวิจัยพบว่า การรับรู้ของแบรนด์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยของคุณค่าและความชอบ ในแบรนด์มคี วามสัมพันธ์ตอ่ ความพึงพอใจในแบรนด์สนิ ค้าและทัศนคติทจี่ ะซือ้ สินค้าทางอินเทอร์เน็ตอย่างยิง่ แต่ได้รบั ผลกระทบเล็กน้อยจากการรับรู้ปัญหาของแบรนด์ในตลาด ค�ำส�ำคัญ: การตัดสินใจซื้อ คุณค่าในแบรนด์ การซื้อทางอินเทอร์เน็ต ทัศนคติผู้บริโภค สินค้าไทย
Introduction
Thailand is a diverse and innovative country. This is not only beautiful, but also modern country and good well-known for the skin care and beauty products because aesthetics is a way of life. Besides, Bangkok is a world famous tourist city and leisure shopping center and there are many kinds of product wanted, famous and popular in the World consumer market. According to the figures given in the China Tourism Research Institute reports, presently Thailand has become the number one of Top 10 destination organized by travel agencies around 15% of all. The number of Chinese mainland tourists has increased to 3.44 million calculated to 27%. Besides, the statistics of Numbers of tourist arrivals in Thailand since
March 2015, the first 3 of Top 10 foreign tourists are China (2,033,495), Malaysia (890,164) and Korea (374,808), respectively and the expansion growth is forecasted about 15-20% continuously. Therefore, the growth of Chinese tourist numbers has deep relationship with Chinese consumers’ brand awareness and value perception of Thai products and affects on online buying highly. This also is related to the growth of Thai product on online market in China by having Cultural factors as external motive. Undoubtedly, values in brand have the relationship with consumer behaviors because consumers make main buying decisions as their needs, desires and preferences that are determined by the culture and acceptance of consumers.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
The level of Thai brand awareness in Chinese’s consumers
When consumers were asked about brand they know well, they can list brands out in Spontaneous awareness level rather low and top 3 brand names in consumer’s mind are classified into five kinds that are cosmetic (beauty buffet, ele, mistine, snail cream), medicine (green balm, Tiger plaster), food (jasmine rice, mama, Tao Kae Noi, Durian crispy, red bull, Taro), rubber pillow and handicraft (Naraya). The result reveals that these products have strong brand awareness in consumers’ mind, while most of products have brand recall or recognition in very low level that affects on return to buy and brand loyalty seriously.
Review Literature
Brand Brand means a name, term, design, symbol or other features that identify your product out of other products and are used in business, marketing, and advertising. Besides, according to Mclaughlin, brand is the perception someone holds in their head about you, a product, a service, an organization, a cause, or an idea. Therefore, brand building is the endeavor to create a strong positive perception in consumers’ mind. The quality and benefit values of product are not only very important, but also branding of product is not less important. Besides, Brand can create habit, values for consumers and society that makes it become a part of life style and is remembered. Besides, the expected material benefits are not enough to make consumer loyalty, so emotion is necessary to brand too because it impacts on
45
consumer’s loyalty and can seize consumer’s mind and difficult to explain reason. However, it is impossible that one brand will have good word-of- mouth in every country, so in some places, consumer is willing to pay high price, but in another place, may have no one show interest. Therefore, the role of brand awareness, brand value and favorite influencing purchasing behavior and satisfaction has recently attracted the attention of the present study. Besides, Yang, Song & Zhang (2015) stated that consumers with different image of each countries cause different recognition of each country products that impact on purchasing behavior. Several studies have found that brand not only meets consumer’s cultural need, but also meets social and psychology need (Chen, 2015). Moreover, consumers will build strong trust and dependence on their favor brand and harmonize between linkage thought and memory. Truly, brand choice and loyalty do not come from only product benefit, but also cause by profound culture and sprit content, so unique image of brand and emotion factors can maintain long relationship with brand. Brand awareness Brand awareness relates to ability of consumers to recall or recognize brands, logos and brand advertisement and understand difference. Besides, it plays the important part in consumers’ buying decision process. Consumer will consider only the brand that he knows. Bojei & Hoo (2011) found that brand awareness has significant relationship with repurchase intention. Therefore, it can measure the effectiveness of brand identity and brand
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
46
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
communication by the level of brand awareness. The name of brand that is in Top of Mind will have high level of brand awareness. In particular, prior studies on brand awareness noted that the factors of consumer psychology and product performance are main factors of brand maintaining and the factors of constraint and application environment are significant related to satisfied brand switch, but the main factors of unsatisfied brand switch are factor of product performance and factor of marketing activities. Therefore, brand awareness is involved in identify brand in consumers’ memory under various conditions including brand perception that refers to consumers’ ability to differentiate brand as soon as seeing packaging images and recalling brand in their memory. Moreover, it plays an important role in buying decision process and is first goal of advertising in the early months of a product’s introduction and each country choose to use promotion method according to the different limitation. For example, before you will buy, you will scan the package of goods in each brand and perceive difference that depends on the knowledge of group influences that used to the goods in the past or advertisement. On the contrary, it is impossible that one brand will have good word-of-mouth in every country, so in some places, consumer is willing to pay high price, but in another place, may have no one show interest. For example, according to country and region, the world’s top 100 brands belong to USA. Brand reached 63%, the rest 9%, 7% and 5% ranked for Germany, Japan and France respectively. Besides, Jiang, Gao & Wei (2009) revealed five factors affecting on consumers’
brand choosing: 1) consumer psychology 2) constraint and application environment 3) product category 4) product performance 5) marketing activities. Further, attitude toward brand also highly relates to the purchase attentions (Hernandez & Kuster, 2012). Hence, Brand awareness is classified into five levels accordingly: • Unaided awareness is consumer can think out that brand promptly • Aided awareness is consumer will think out when he hear, see or read about it. • Strategic awareness is brand that is in top of mind and consumer can identify it • Brand recognition is first step of brand awareness by visual or verbal method before remember it from other brand choices when consumer has no need to buy first or consumer can recognize or differentiate that brand after seeing its packaging images. • Brand recall is consumer has the need to buy first and recall a brand from memory to satisfy that need. The way to generate brand awareness in a consumer Brand awareness can measure by three kinds of awareness from consumer as follows: • Aided Awareness is consumer can match product category with company names or recognize company from list given. • Spontaneous awareness is consumer can list brands he knows without any cues when inquired. • Top of the mind Awareness is the first brand name in the consumer’s mind when asked the name of brand he know.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
Channels of Brand Awareness There are many ways of Brand communication generating brand awareness of consumer: • Advertising used through many media to motivate brand awareness to consumers such as radio ads, television commercials, internet and so on. • Guerrilla Marketing like personal contacts, a promotion of product through film, television or other media. • Social Media, the most effective way and low cost such as Facebook, blogs and etc. • Integrated marketing communications (IMC) consisted of sale promotions, directing marketing, personal selling, public relations Decision process of new product and brand choice The decision process starts from adoption process through five steps: • Awareness is the first step of learning about new product • Interest occurred after learning. At this step, company should let user free test so that consumer adopt new product faster. • Evaluation is making decision to buy or not • Trial is trying on new product • Adoption is acceptance of new product Moreover, each person has different adoption of product and speediness of adoption is classified according to behaviors below: • Innovator occupied 2.5 percent of users as pioneer adopter • Early adopter hold 13.5 percent of users,
47
regarded as fast adopted person • Early majority has 34 percent of users as modern adopter • Late majority hold 34 percent of users, as fashion follower • Laggard hold proportion of 16 percent of users as out-of-date adopter. Besides, the decision to buy new product is also depended on loyalty level of consumer that is classified into five levels as follows: • No Brand Loyalty is a person who likes to change often. • Habitual Buyer is using always, not change • Satisfied Buyer is the feeling of satisfaction to brand • Like a friend, very like and cannot lack of it • Committed Buyer is a person who has loyalty and trust towards brand and only one in mind Types of Consumer Buying Behavior Brown (2016) illustrated that it is determined by the importance and depth of interest in goods and the reason that involves in buy decision of some goods, but regardless others. Besides, it depends on personal risk, social risk and economic risk. There are four types of consumer buying behavior: • Routine Response or Programmed Behavior Low cost goods or a little buy and often buy needs very little for search and decision is made almost automatically such as milk, snack foods and etc. • Limited Decision Making Consumer has time limit for gathering information of unfamiliar brand.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
48
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
• Extensive Decision Making It is involved with unfamiliar, expensive, high complex or infrequently purchased products with high risk of economic, performance or psychology such as cars, houses, education that need a lot of time for searching information and decision. • Impulse buying No planned or review. Thus, consumer decides to buy same goods under different types of buying behavior such as the reason for dinner outside may be extensive decision for someone who does not go often or limited decision for someone. Attitude Brown (2016) mentioned that Attitudes are tangible or intangible thing that learn knowledge and positive or negative feelings from experience and interaction with others and are composed of 1) beliefs that may be positive, negative or neutral depending on person or situation and not always accurate 2) feelings or affect that consumer has toward brands or objects. 3) behavioral intention is what the consumer plans to do with respect to the object or follow other circumstances. Therefore, attitude toward brand highly relates to the purchase attentions (Hernandez & Kuster, 2012). Demographic factor Demographic factors refer to age, gender, marital status, race, education, income and occupation that use to segment consumer into smaller target markets. Suriyo (2005) stated that demographic background in aspect of gender, age, education, occupation and income also affected on consumer’s buying behavior.
Data Collection On the basis of relevant documents, other research investigations and internet sites, the researcher used the questionnaire as a tool in collecting data and statistics by using sample groups 400 Chinese consumers who ever bought Thai products and after data collection, data were analyzed reliability and significance by SPSS 18.0 in ANOVA F-test, Chi-square and Pearson’s correlation. The study focused on five economy develop areas in Chinese consumers who had minimum one experience with Thai products in China’s online shopping and ever have or not have experience with travel in Thailand. The questionnaire was conducted from March 3, 2016 to April 4, 2016 for pre-test and secondly collected data during May 2, 2016-June 2, 2016. Only 350 questionnaires were valid responses and within the responded questionnaires 212 were usable for analysis, 138 non online shopping responses and 40 incomplete responses have been eliminated: the response rate was approximately 60.57% over all. Hypothesis The propose of this research was to answer the following question in and investigate the factors of brand value and brand favor that influence Chinese consumer’s purchasing behavior, attitude to online shopping and satisfaction in brand including brand awareness of Thai product and perception of brand problems. As previous literatures and relevant theories, the following hypothesis is suggested as below: RQ 1: Does Brand awareness in Thai product be as a key factor influencing Chinese Consumer’s
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
purchasing behavior? RQ 2: Will brand value and favorite factors relate to Chinese consumer’s brand satisfaction on Thai product? RQ 3: Will brand value and favorite factors on Thai product affect attitude to online shopping Thai product? RQ 4: Will perception of Brand problems in market affect on Brand value and favorite? H1: The most popular Thai brand products on online shopping are significantly related to
49
satisfaction on Thai Product’s purchasing decisions H2: Brand value (Brand image, brand position, brand personality) factors are significantly related to Brand satisfaction H3: Brand favorite are significantly related to Brand satisfaction H4: Brand value and favorite factors are significantly related to attitude to online shopping Thai product H5: Perception of Brand problems in market will affect on Brand value and favorite
Figure 1 Analysis of the research model Result Analysis Demographic Profile Respondents A total of 212 questionnaires were used for analysis. Table 1 shows that there are 74 males and 138 females. 75% of respondents are aged between 21-30 years and 16% of them are between 31-40 years. The result of survey revealed that the majority of the respondents are a young group that is agreeable with Shanghai based iResearch reported almost 300 million people shop online in China were most age between 18-35 years old. Besides, 53.3% of respondents hold a bachelor degree and 31.1% of them hold a master degree. In the occupation item, 42.5% of respondents are student or part time job, 21.2% of them are full-time working and 20.8% of them are teacher. 23.6% of the
respondents have monthly income less than or equivalent to 1,000 RMB, 21.7% of them have income at 1,000-3,000 RMB, whereas the remaining 28.3%, 21.2% and 5.2% of them had a salary range of 3,000-5,000 RMB, 5,000 RMB and above and 10,000 RMB and above respectively. Among of them, 42.9% come from Chuanyu City group, 20.3% of them are out of five economic zones like other cities nearby economic zones, 15.6% of them come from Changjiang middle reaches megalopolis and the remaining of them come from the Delta area of Yangtze river city, Region over Bohai ring and Urban Agglomeration in the Pearl river about 9%, 7.1% and 5.2% respectively.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
50
Table 1 Reliability Statistics S.No. 1 2 3 4
Construct
Brand value Brand favor Attitude to online shopping Satisfaction to Purchasing decision
Measure Validation Measure validation was preliminary examined for reliability by computing Cronbach’s alpha coefficient for each question. The reliability is
Number of Items 10 10 2 3
Cronbach Alpha 0.981 0.981 0.982 0.981
acceptable because the Cronbach’s alpha is over 0.7. According to the use of standardized variables, Cronbach’s alpha .70 is good considering for the cutoff value to be acceptable.
Hypothesis Testing Table 2 The most popular Thai brand products on online shopping towards satisfaction on Thai Product’s purchasing decisions ANOVA Product Category
CRISPY DURIAN TAO KAE NOI NARAYA SNAIL WHITE MISTINE GREEN PALM COUNTERPAIN CREAM MEDICATED PLASTER AMULET MAMA COUGH PILL RUBBER PILOW CROCODIE BAG UV PROTECT LOTION PRICKLY HEAT POWER
F 43.589 17.61 73.047 29.167 62.214 119.74 20.993 26.731 23.896 19.704 22.537 30.368 23.886 41.439 31.963
Sig. 0.000 0.000 0.000 0.000 0.000 0.000 0.000 0.000 0.000 0.000 0.000 0.000 0.000 0.000 0.000
Frequency 117 60 68 86 37 97 42 66 42 56 44 75 35 39 33
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
51
Chi-square Test Satisfaction on purchasing decision
type suit you
motivate need
Sig. .888 .942 .872 .532 .942 .640 .026* .957 .938 .324 .483 .084 .657 .080 .131
Sig. .802 .304 .967 .671 .968 .489 .151 .803 .209 .125 .314 .740 .004* .117 .573
Product name CRISPY DURIAN TAO KAE NOI NARAYA SNAIL WHITE MISTINE GREEN PALM COUNTERPAIN CREAM MEDICATED PLASTER AMULET MAMA COUGH PILL RUBBER PILOW CROCODILE SKIN BAG UV PROTECT LOTION PRICKLY HEAT POWER From table 2, we gave the picture of product groups to aid consumers’ brand awareness and measure the trend to online buy the most. The result of H1 was shown that among these products, counter pain cream is significantly related to Thai brand product type suit for Chinese consumer. Moreover, crocodile skin bag is also significantly correlated to Thai product motivates need because luxury product
meet requirement Sig. .702 .025* .381 .010* .916 .081 .677 .517 .610 .209 .095 .181 .828 .542 .069
strengthens his recognition of image and status, while Tao Kae Noi and snail white tend to meet requirement because P-value is significant at the 0.05 level. It indicates that the kind of these products can replace or fulfill deficiency of consumers’ need and want in local product because there is no supply or disqualified product, so these products have margin in China market.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
52
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Table 3 Brand value and favorite factors influent on Thai brand product’s satisfaction Brand value factor Total Average 1. Thai brand meets your need such as Red bull and chosen 3.25 as first choice 2. Thai brand is chosen as fine gift such as Naraya bags 3.68 3. Thai brand provides service mind such as Thai Airways 3.55 4. Thai brand makes consumers touch new modern experi3.53 ence and trustworthiness such as Lotus supermarket 5. Thai brand are unique, disthinquish, universal entertainment, good product and cheap price such as Sea weed sheet 3.74 “Tao Kae Noi” 6. Chulalongkorn University are Thailand’s famous university 3.02 in your choice 7 Thai brand represents social status, personality, modern 3.42 style such as Thai silk 8. Thai brand are good appearance, pretty but different and 3.51 gives you first impression 9. Thai brand meets your urgent need such as medicine 3.53 10. Thai brand gives you pursue, forever precious, healthy, 3.79 nutritious, culture image, safety like jasmine rice Brand favorite factor 1. Thai brand can upgrade my quality life 2. Thai brand’s image and style suit me 3. I am a kind of Thai brand personality 4. Thai brand helps me obtain admire 5. Thai brand creates closed relationship with other users 6. Many sides of Thai brands suit me 7. I feel very satisfied and familiar to Thai brand and will continue to use it 8. I might buy other Thai brands and service 9. I like to recommend others to buy Thai brand and talk good points 10. No matter how persuade me to buy other brands, I still continue to use Thai brand
Total average 3.43 3.17 2.81 2.70 3.02 3.17
r
Sig.
1
.000
.427 .000 .446 .000 .429 .000 .350 .000 .436 .000 .439 .000 .325 .000 .279 .000 .289 .000 r 1 .740 .612 .645 .637 .626
Sig. .000 .000 .000 .000 .000 .000
3.30
.610 .000
3.26
.619 .000
3.26
.627 .000
3.05
.615 .000
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
From the above table 3, the result of H2 and H3 shows that brand value factors in image, position and personality of Thai brand product have brand satisfaction highly over average at 3.0 above, but except for item no.6 at 3.0. This indicates that Thai famous educational institutes have awareness less than Thai products in Chinese consumers’ perception. While brand favorite factors have a bit high
53
brand satisfaction over average, but exclude item no. 3, 4, 5, 10. It illustrates that Thai brand still have weak effect in aspect of being representative of consumer personality, admire from others, creating connection among users and loyalty towards brand. Besides, the relationship among variables is high correlation at significant level as above tables, especially for brand favorite factor.
Table 4 Brand value and favorite factors towards attitude to online shopping Thai product I Always Eager To Buy I Very Cautious To Buy Thai Product Thai Product r Sig. r Sig. First Choice 0.327 0.000 0.286 0.000 Premium Gift 0.330 0.000 0.196 0.004 Service Mind 0.330 0.000 0.162 0.019 Give new experience 0.314 0.000 0.316 0.000 Unique Taste 0.323 0.000 0.187 0.006 Famous 0.515 0.000 0.356 0.000 Show High Class 0.492 0.000 0.323 0.000 Good Appeal 0.482 0.000 0.183 0.008 Fulfill Need 0.331 0.000 0.176 0.010 Sincere, Safe 0.330 0.000 0.075 0.279 Lift Quality Life 0.575 0.000 0.235 0.001 Match my image/style 0.664 0.000 0.363 0.000 Show Selfness 0.701 0.000 0.412 0.000 Get admire 0.693 0.000 0.393 0.000 feel familiar with others use same 0.676 0.000 0.228 0.001 Many sides suit me 0.650 0.000 0.328 0.000 Very satisfied and continue to use 0.609 0.000 0.222 0.001 Would buy other Thai product/service 0.654 0.000 0.281 0.000 Like to share good points/support to buy 0.638 0.000 0.229 0.001 Still continue to use Thai product 0.650 0.000 0.285 0.000 Attitude to online shopping toward perceive brand value and favorite
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
54
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
From the table 4, the findings of H4 show that the perception in brand value and favorite factors was high correlated with the attitude to online shopping on behavior of always eager to buy Thai product significantly. Clearly, high-low relationship of variables towards this attitude that is highly shown selfness, getting admiration, feeling familiar with others use same, matching image or style, but less in giving new experience, unique taste, first choice, premium gift, service mind, sincere and safe.
Whereas, there was no significant relationship in attitude to online shopping on very cautious to buy Thai product with sincere and safety only, but other variables are significantly correlated. The result indicates that Chinese consumers who are very cautious to buy Thai product have weak perception in this point because it still may not reach high satisfaction. Besides, showing selfness and getting admiration are considered as priority.
Table 5 Perception of Brand problems in market affect on brand value and favorite Brand Very Expensive Artificial goods Rumor After services Others Sig. Sig. Sig. Sig. Sig. value 1 0.827 0.268 0.862 0.048 0.906 r -.015 -.076 -.012 .136 .008 2 0.195 0.183 0.966 0.179 0.653 r -.089 -.092 -.003 .093 .031 3 0.937 0.659 0.537 0.868 0.971 r -.005 .030 .043 .011 .002 4 0.053 0.742 0.416 0.294 0.669 r -.133 -.023 .056 .072 -.030 5 0.024 0.953 0.603 0.265 0.559 r -.155 .004 -.036 .077 -.040 6 0.552 0.973 0.505 0.399 0.375 r -.041 -.002 .046 .058 -.061 7 .466 0.629 .161 0.534 0.930 r -.050 -.033 .097 -.043 .006 8 0.517 0.900 0.685 0.638 0.838 r -.045 -.009 -.028 .032 .014 9 0.569 0.310 0.571 0.519 0.274 r -.039 .070 -.039 -.045 -.076 10 0.010 0.802 0.896 0.112 0.580 r -.177 .017 .009 .109 -.038 ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
55
Table 5 Perception of Brand problems in market affect on brand value and favorite (cont.) Brand Very expensive Artificial goods favorite Sig. Sig. 1 0.150 0.830 r -.099 -.015 2 0.030 0.932 r -.149 -.006 3 0.120 0.531 r -.107 .043 4 0.324 0.729 r -.068 .024 5 0.689 0.51 r -.028 .046 6 0.018 0.302 r -.163 .071 7 0.113 0.116 r -.109 .108 8 0.083 0.755 r -.119 .022 9 0.386 0.390 r -.060 .059 10 0.200 0.524 r -.088 .044 From Table 5, the results of H5 indicate that there are four brand problems in the market were significantly correlated to brand value and likeness factors like very expensive, after service, rumor and other. First of all, the problem of high expensive price has high affect on Thai brand value item 4, 5, 10 and brand likeness item 2 and 6. Secondly, the problem of after service has high impact on Thai brand
Rumor Sig. 0.599 .036 0.894 -.009 0.964 -.003 0.964 -.003 0.438 -.054 0.628 .033 0.960 .003 0.992 .001 0.864 -.012 0.253 .079
After service Sig. 0.588 .037 0.077 .122 0.305 .071 0.302 .071 0.133 .103 0.166 .095 0.149 .099 0.468 .050 0.351 .064 0.788 .019
Others Sig. 0.835 -.014 0.458 -.051 0.739 -0.23 0.252 -.079 0.215 -.085 0.255 -.079 0.063 -.128 0.210 -.087 0.409 -.057 0.206 -.087
value item 1. Thirdly, artificial goods, rumor and other problems are not significantly related to brand value and brand likeness. Moreover, the correlation among variables is rather below 0.1 and inverse. This indicates that if the perception of brand value and favorite increases, then the perception of brand problems would decrease a bit and it also reflects that Chinese consumers are very sensitive to very expensive price when
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
56
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
they compare with other products to purchase decision making and concern about after service. Besides, rumor is unreal affecting on consumers’ confident on product and from survey report, it still be found other problems such as no sell on website or rare to find it, low brand awareness, cannot identify between real goods and fake goods, low perception on product details due to lack of advertisement all over. Besides, sometimes consumers buy when they like it without consider about these problems. Table 6 Summary of Results Hypothesis H1 H2 H3 H4 H5
Findings Supported Supported Supported Supported Supported
Discussion
The relationship of brand loyalty with repurchase intention is built on brand value and favorite that has significant impact on brand’s satisfaction. The results show that Thai brand product has high brand satisfaction, but is not sufficient to be brand personality of Chinese consumer and create strong brand loyalty.
Conclusion
Brand awareness influences purchasing decision. Especially, brand value and favorite factors have high correlated to brand satisfaction
and attitudes to online shopping Thai product, while are little affected by perception of brand problems. It indicates that Chinese consumers pay high attention to the factors of selfness, getting admiration, feeling familiar with others use same and matching image or style that influence toward satisfaction on purchasing decision and attitudes to online shopping Thai product. By contrast, Thai brand still be weak at representative of consumer personality, admire from others, creating connection among users and loyalty towards brand. Therefore, it is an urgent thing for creating brand awareness in these sides that relate to brand loyalty because brand awareness influences on buying behavior; as a result, high awareness in brand value and brand likeness also caused brand satisfaction highly. In practical sense, the success of brand not only composes of trust, value, uniqueness and etc., but also needs sales promotion and a large number of high loyalty of consumers because sales can measure brand value and different brands have different sales force especially for the price of well known and no brand that has similar quality. Besides, brand represents credibility, value and what consumers want. As a result, the charm of brand can withstand market risks because consumers have the trust and buy products without hesitation. For example, almost every computer user in the world used Microsoft’s operating system or programs and software.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
57
References
Bojei, J. & Hoo, W. C. (2011). Factors Influencing Repurchase Intention of Smartphones. Retrieved November 25, 2015, from https://pdfs.semanticscholar.org/6f22/7eafa75c3fdcb9add57342 4b907d58a6470f.pdf Brown, A. (2016). What is consumer buying behavior. Retrieved November 25, 2015, from https:// www1.udel.edu/alex/chapt6.html Chen, L. (2015). Kuoguo Gongsi Shichang Jinru Yu Zhongguo Peiyu Zizhu Guoji Pinpai Yanjiu. Beijing: Economic Science Press. Chernatony, L. & McDonald, M. H. B. (1996). Creating Powerful Brands: The strategic route to success in consumer, industrial and service markets. Oxford: Butterworh Heinemann. Dobney.com. (n.d.). Brand equity. Retrieved November 25, 2015, from http://www.dobney.com/ Research/Brand_equity_research.htm Hernandez, A. & Kuster, I. (2012). Brand impact on purchase intention: An approach in social networks channel. Journal of Economics and Business letter, 1(2), 1-9. Jiang, X., Gao, W. & Wei, M. (2009). The Decision Influence Research on Factor of Consumers’ Brand Choosing-Based on the Empirical Analysis of China’s Female Cosmetic. Journal of East China Economic Management, 23(10), 115-120. Suriyo, W. (2005). Factor Influencing Consumer Behavior to Buy Vegetable and Fruit Drinking Juice in Bangkok. Master Dissertation, Dhurakij Pundit University. [in Thai] Thai Cosmetic brand. (n.d.). Top ten Thai brand. Retrieved November 27, 2015, from http://city. ppsj.com.cn/Thailand/top10.html [in Chinese] Thaiwebsites.com. (n.d.). Tourist Arrivals to Thailand by Nationality in 2016. Retrieved November 27, 2015, from http://www.thaiwebsites.com/tourists-nationalities-Thailand.asp Travel China Guide. (n.d.). China outbound tourism 2015 statistics. Retrieved November 27, 2015, from https://www.travelchinaguide.com/tourism/2015statistics/outbound.htm UKessays. (n.d.). Consumer buying behavior. Retrieved November 25, 2015, from https://www. ukessays.com/dissertation/examples/management/consumer-buying-behaviour.php USCMarshall. (n.d.). Consumer Behavior: The Psychology Of Marketing. Retrieved November 25, 2015, from http://www.consumerpsychologist.com/ Wikipedia. (n.d.). Brand awareness. Retrieved November 25, 2015, from https://en.wikipedia.org/ wiki/Brand_awareness Yakup, D., Mucahit, C. & Reyhan, O. (2011). The Impact of Cultural Factors on the Consumer Buying Behaviors Examined through An Empirical Study. International Journal of Business and Social Science, 2(5), 109-114. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
58
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Yang, B., Song, L. & Zhang, C. (2015). Study on the Cultural Conflicts in Cross Border Operation between Enterprises. Beijing: Economy & Management Publishing. Zhao, D. (2012). The Chinese Consumer Shopping Behavior on Taobao. Master Dissertation, Uppsala University, Sweden.
Name and Surname: Yolamas Jeerasantikul Highest Education: MBA. in Business administration, Ramklamheang University University or Agency: Chongqing University Field of Expertise: Business administration Address: College of Economics and Business Administration, Chongqing University
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
59
THE EFFECTS OF PERSONAL TYPES AND DECISION-MAKING MODES ON IRRATIONAL FINANCIAL BEHAVIOR OF CHINESE STUDENTS UNDER THE CLASSIC SCENARIO EXPERIMENT Shaowen Wang1 and Haijun Lu2 1,2Chinese Graduate School, Panyapiwat Institute of Management
Abstract
Based on classic situational experiment developed by Thaler, Kahneman and Tversky, this paper studies the relationship between personality types, decision-making style and irrational financial behaviors. The results show that personality types, and decision-making modes have significant effect on individual irrational financial behaviors. Thus, Individuals of different personality types and decision-making modes show distinct difference in their irrational financial behaviors. Besides, personality types and decision-making modes have different predictive power for various irrational financial behaviors. The finding of the paper fill the gap that most researchers focus on single psychological factor’s effect on certain irrational financial behavior, proving that irrational financial behaviors are subject to the intertwined effect of multiple psychological factors. Keywords: Personality, Irrational financial behaviors, Decision-making style
Corresponding Author E-mail: 64364814@qq.com
60
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Introduction
Traditional finance analyzes human financial behaviors with the assumption that humans are rational, and thus it assumes that maximization of utility is the essential character of human behaviors. However, it is noticed by some financial researchers that some individuals show irrational behaviors, namely behavior deviation from maximization of utility. The scholar Shefrin defined behavioral financing as “a fast-developing area concerning psychological factors’ effect on behaviors in financial industry. In this sense, behavioral finance, to some extent, abandon the classic financial assumption that humans are rational and efficient market hypothesis. Kahneman & Tversky (1979), Tversky & Kahneman (1981), Shefrin & Statman (1984), Thaler’s classic studies on these irrational financial behaviors, such as Mental Accounting, Sunk Cost, Regret Averse, Endowment Effect, Framing Bias, have made the beginning of behavioral finance. The scholars started to study the forming of the financial mechanism in which individuals show sunk cost effect in their consumption. One possible explanation is Kahneman’s “prospect theory”: in decision-making, individuals not only consider the amount of wealth but also cognitively edit and evaluate the wealth based on previous experiences. In 1981, Kahneman and his partner Amos Tversky used psychological account to explain “concert experiment” and put forward that psychological account is a process of keeping record of, editing, evaluating, budgeting financial results. Afterward, researchers both at home and abroad have made extensive
exploration into individual psychological factors’ impact on his irrational financial behaviors. Moreover, they paid special attention to personality types, emotion, self-control, attribution type, and decision-making style. Lu (2009), Wang & Zheng (2003), Zhang & Ling (2005), Duxbury, Keasey & Zhang (2005), Filbeck, Hatfield & Horvath (2005), have found individuals are likely to have irrational behaviors when they have either too intensive or too low emotion, decrease or collapse in self-control, overconfidence, external attribution tendency or overreliance on individual experience and emotion in decisionmaking. Apparently, various individual psychological factors have been studied to explain different irrational financial behaviors. However, it can be observed from the previous studies that some researches are very partial. For example, researchers have mainly focused on the relationship between an individual’s certain single psychological factor and his irrational financial behavior. These studies could be somewhat partial because an individual’s irrational financial behavior might be caused by multiple psychological factors, and moreover, different irrational behaviors might be caused by different factors. In addition, Thaler (1985) didn’t reveal the difference in different individual’s irrational behaviors, thus ignoring the very important variable of an individual in financial behavior study. Considering all above, this paper is going to study the relationship between various psychological factors and irrational financial behaviors. The research of the paper shows that the two variables’ personality types and
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
decision-making modes, have significant main effect on yet insignificant interaction with individual irrational behaviors, which signifies that the two variables are important psychological factors affecting irrational financial behaviors.
61
financial behaviors and personality types and decision-making style. Accordingly, the framework is made as follows:
Research purposes
It can be found from the literature review that there are defects in irrational financial behavior researches. For example, it is partial to explain irrational financial behaviors with a single individual psychological factor. Moreover, some scholars failed to reflect on the difference among individuals in terms of irrational financial behaviors. Therefore, this paper is going to study the relationship of different Individual psychological factors with irrational financial behaviors. An individual’s personality type, and decision-making style are quite stable and have profound impact on his behavior, so individual financial behaviors, in essence, is a financial decision-making process through collecting, processing information. Therefore, personality types, decision-making style also exert profound influence on individual irrational financial behaviors. This paper will study on psychological affecting factors, including personality types, decision-making style, to reveal their relation with irrational financial behaviors so that irrational financial behaviors can be better, comprehensively explored and understood.
Research framework
As indicated in Introduction, this paper is going to study the relationship between irrational
Research methods
1. Survey There are 160 participants surveyed, randomly picked from 3 colleges of Chengdu, including undergraduates, graduates and college staff from all across the country. These participants, 78 men and 82 women aged 19 to 50, are also from different fields and industries, including art, sport, management, economics, wine brewing, journalism and so on. 2. Research tools 2.1 Personal type In this paper, we use Chinese version of MBTI-M to test personality types. The MBTI-M contains 93 questions for testing the four functions and 8 dichotomies, namely E-I, S-N, T-F, J-P and the 16 personality types based on the dichotomies (each type is composed of 4 dichotomies, such as ISTJ). E-I is the way one direct and draw his energy, S-N informationgathering and interpretation, T-F decision-making function, and J-P how one judge and perceive the world. MBTI has been used widely in cross-culture context and the validity and efficiency test on different revised versions of MBTI (MBTI-G, MBTI-M) by Miao & Huang (2000), Cai & Zhu (2001) and Yang & Zhao (2004) have
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
62
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
shown that MBTI has excellent reliability and utility. 2.2 General Decision-making style We introduce the General decision-making modes inventory developed by Scott & Bruce (1995), including 25 questions, to test five decision making styles: DR, DI, DD, DA, and DS. Likert 5 is used to score. Among the decisionmaking style, DR tend to collect information and make decisions through logic evaluation of options; DI usually focus on salient details and make decisions through hunches or feelings; DD tend to search for other counsel and guidance; DA tend to keep delaying or avoid making decisions; DS tend to make immediate decision as quickly as possible. In this research, the total variance accounted for by the 5 styles from the inventory is up to 50.28% and the internal consistency coefficient is 0.88, which suggests that the General decision-making style inventory is reliable and of high utility in China. In the survey, participant’s score on the 5 decision-making style will be converted into standard score, and the style with highest standard score will be used as decision-making style surveyed. 2.3 Scene-questionnaires for irrational financial behaviors Based on the situational experiment for irrational financial behaviors developed by Thaler (1985), Kahneman & Tversky (1979), Tversky & Kahnernan (1981), Shefrin & Statman (1984), we set 18 scene-questionnaires in the survey. First, in order to make the experiment compatible with Chinese context, we made
changes to the experiment without altering its essential elements and characteristics. For instance, Yuan is used instead of Dollar as the monetary unit. Second, in each questionnaire, if participant surveyed choose irrational financial behavior, he would get 1 point; if otherwise, 0 point is given. The irrational behaviors to be tested are sunk cost, risk appetite, house money, framing bias, representativeness bias, disposition effect, endowment effect, WTP-WTA GAP, regret aversion, mental accounting (vacation, entertainment, cash). At last, we work out overall deviation of the irrational financial behaviors. The results show that the total variance accounted for by the 4 factors from 18 questionnaires is 5.88; the correlation between various irrational financial behaviors and their overall deviation is quite significant, ranging from 0.11 to 0.55; the correlations between each irrational behavior is between 0.01 to 0.34. 3. Data processing By the method of group survey, we provide every participant surveyed with MBTI-M, General decision-making style, and the questionnaire for irrational financial behaviors. The participant surveyed is asked to finish questions independently based on directions and afterwards, 160 pieces of valid questionnaires are collected, with 70 from males and 82 from females. At last, we conduct a statistical analysis on collected data through SPSS 12.0. We choose stepwise regression analysis in this paper because stepwise regression is variable selection method in linear regression model. Its main idea is to introduce variables one by one on the condition that the
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
sum of squares of partial regression is significant. Meanwhile, once a new variable is introduced, the variables previously introduced is tested and the insignificant variables are deleted to ensure significant ones in independent variables subset.
Results and analysis
1. Irrational financial behavioral Characteristics of different personality types and decisionmaking types We first set personality types and decisionmaking types as independent variables and irrational financial behaviors as dependent variables, then carry out a double factor variance analysis on them and finally have a test for the effect of personality types and decision-making style on irrational behaviors. Through the variance analysis, it can be found that the main effects of personality types and decision-making style on irrational financial behaviors are both significant with F(15, 275) = 1.75, p<0.05 and F(4, 275) = 2.93, p<0.05 respectively while their interaction is far less than significant. Therefore, we only need to conduct LSD on the main effects of personality types and decision-making style respectively. Table 1 contains the mean score and standard deviation of irrational financial behaviors of each personality type and decisionmaking style. According to Table 1, in terms of irrational financial behaviors, ISTJ has highest mean score, followed by ISTP, ENTP, INFP, ESFJ, INTJ, ESTJ; ESTP has lowest mean score, followed by INFJ, INTP, ESFP. Besides, it is also
63
found through LSD that the mean score of ISTJ, ISTP, ENTP, INFP, ESFJ is significantly higher than that of INFJ, ESTP, ESFP with p<0.001, p<0.01, p<0.05 respectively and that of ISTJ, ISTP, INFP is significantly higher than that of INTP with p<0.05. Moreover, the mean score of ISTJ is much higher than that of ENTJ, ISFJ, ENFP with p<0.05; the difference in mean score of ISTJ and ESFJ is also significant with p<0.05. The mean score of ESTJ is significantly higher than that of EST and INFJ with p<.005 while the difference in the mean score of INTJ and other personality types is less than significant. Based on the results, it can be concluded that among the 16 personality types, ISTJ, ISTP, INFP, ENTP, ESFJ, ESTJ are more likely to have irrational financial behaviors while ESTP, INFJ, INTP, ESFP are less likely to do so. Among the different decision-making style, DD (dependent decision-making style) has the highest mean score in terms of irrational financial behaviors, followed by DR (rational decision-making style), while DS(Spontaneous decision-making style) has the lowest score, followed DA(avoidant decision-making style). Through LSD, it can be found that the mean score of DD and DR is significantly higher than that of DA and DS, which suggests that DD and DS are more likely to have irrational financial behaviors; DS and DA are less likely to have irrational financial behaviors. There is no significant difference in the mean score of DI (intuitive decision-making style) and that of other styles.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
64
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Table 1 Mean Score and Standard Deviation of Irrational Financial Behaviors of Different Personality Types and decision-making style Type
M
S.D.
Type
M
ESTJ ISTJ INTJ ENTJ ISFJ ESFG
11.0 12.3 11.1 1.0 1.6 11.1
2.39 2.12 2.32 2.62 2.53 2.55
INFJ 9.3 ENFJ 1.9 ISTP 12.2 ESTP 9.1 INTP 9.6 ENTP 12.0
S.D.
Type
M
S.D.
2.60 2.51 2.86 3.39 1.41 2.07
ISFP ESFP INFP ENFP
1.8 9.9 11.8 1.5
2.28 2.89 2.16 3.04
Decision M Making DR 11.4 DI 1.9 DD 11.8 DA 1.6 DS 1.4
S.D. 2.52 2.56 2.20 2.49 2.85
M (Mean Score), S.D. (Standard Deviation) 2. Analysis on relationship between personality types, decision-making styles and irrational financial behaviors In order to further understand the relationship between personality types, decision making styles and irrational financial behaviors, we set personality types, decision making styles as independent variables and irrational financial behaviors as dependent variables, and then employs stepwise regression to test the predictive power of different personality types and decision-making style for irrational financial behavior. The results are shows in Table 2. In sunk cost, DS, DR, and DD can account for 13% of overall deviation, which means they have significant predictive power for sunk cost. Among them, the predictive power of DS is negative while that of DR and DD are positive. In face with risks of profit and loss, DI has significant negative predictive power for risk appetite while DR has negative predictive
power for house money. In framing bias, S-N, and DR have significant positive predictive power; that of DS is negative while that of T-F is positive. DR and DS have positive predictive power for both representativeness bias of sample scale; for endowment effect, DR and DS has positive predictive power while DR and E-I have positive one for WTP-WTA in endowment effect. DR and DA have significant negative predictive power for regret averse. DR can account for 6% of overall deviation of disposition effect, suggesting significant positive predictive power for disposition effect. In mental accounting, S-N and DS have significant predictive power for vocation accounting, in which that of S-N is positive while that of DS is negative. DD has significant positive predictive power for entertainment accounting; T-F and DS have significant predictive power for cash accounting, in which that of T-F is positive while that of DS is negative. For the overall deviation caused by
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
various irrational financial behaviors, DS, DR, DD and S-N have significant predictive power, accounting for 11% of overall deviation, with
65
DR accounting for 5.5%; DR, and DD and S-N have positive predictive power for irrational financial behavior while that DS is negative.
Table 2 Regression Analysis on Personality types and decision-making style Model Sunk Cost DS, DR, DD Risk appetite DI House money effect DR framing bias S-N, DR Representativeness bias DR, DD Endowment Effect DR, DS WTP-WTA gap DD, E-I Regret Aversion DR, DA Disposition Effect DR Mental Accounting (vacation) S-N, DS Mental Accounting (entertainment) DD Mental Accounting (cash) T-F, DS Total deviation DR, DS, DD, S-N
F 16.67*** 6.72* 7.01** 7.99*** 9.42*** 5.32** 4.90** 8.56*** 2.89*** 12.34*** 1.15** 5.84** 1.29***
R2 .13 .02 .02 .05 .05 .03 .03 .05 .06 .07 .03 .03 .11
Beta -.26***, .19**, .16** -.14* -.14** .15**, .13* .15**, .14* .14**, .12* .13*, .12* -.20***, -.13* .24*** .20***, -.14* .17** .14*, -.13* .17**, -.17**, .14*, .11*
Note: when R2 is close to 1, it means that the equation has important reference value; when R2 is close to 9, it means that the equation has lower reference value. In essence, the determination coefficient has no relation to regression coefficient, just as standard deviation has no relation to standard error. Based on the above, the more DS-oriented an individual is, the less likely decision maker is to have sunk cost, while the more DR and DD-oriented an individual is, the more likely decision maker is to have sunk cost. The more DI-oriented an individual is, the lower risk preference decision maker would have in face of
profit and loss, while the more DR-oriented an individuals is, decision maker is less likely to have house money effect. The more DR and S-N -oriented an individual is, the more likely they are to have framing bias. The more DR and DS-oriented an individuals is, the more likely decision maker is to have endowment
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
66
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
effect and the more DR-oriented and E-I an individuals is, the bigger WTP-WTA gap decision maker is likely to have. The more DR and DA-oriented an individual is, the more likely decision maker is to have regret aversion. The more DR-oriented an individual is, the more likely decision make would have disposition effect. The more S-N-oriented an individual is, the more likely decision make is to be affected by vocation accounting, while DS-oriented individuals are less likely to be affected by vocation accounting and DD-oriented individuals are very likely to be affected by entertainment accounting. The more T-F-oriented an individual is, the less likely decision make is to be affected by cash accounting, while DS-oriented individuals are less likely to be affected by Cash. Overall, the more DR, DD, S-N- oriented an individual is, the more likely decision make is going to have irrational financial behaviors, while the more DS-oriented an individuals is, decision make is less likely to have irrational behaviors.
Discussion
The results of the research show that personality types, decision-making style have shown significant main effect as well as far more less significant interaction on irrational financial behaviors, suggesting that they are crucial psychological factors affecting one’s financial behaviors. Besides, it also can be observed that individuals who attach importance to security, order and logic, such as ISTJ, ESFJ, ESFJ, ISTP, are move likely to have irrational financial behaviors, while individuals who tend
to pursue adventure, stimulus, innovation, such as ESTP, ESFP, INFJ, are less likely to have irrational financial behaviors. Among the decisionmaking types, DR and DD are very likely to have irrational financial behaviors while DS and DA are less likely to do so. Therefore, it can be concluded that the personality types and decision-making style who are likely to have irrational financial behaviors share similar characteristics in common. That is, they are rational, and logic, and rule-abiding. On the contrary, individuals who are adventurous and spontaneous tend to have less irrational financial behaviors. This phenomenon probably can be explained by the fact that the financial market itself is not rational and changes in it are hard to predict, so rational individuals (logic and rule-abiding ones) are more likely to have irrational financial behaviors. This finding will be further tested in future researches. In terms of predictive power for irrational financial behaviors, the results of the research show that different personality types and decision-making types have different predictive power. They also suggest that each psychological factor affects one’s financial behavior in different way and to different extent. Therefore, diverse perspectives and methods should be employed to study the effect of psychological factors on irrational financial behaviors. In addition, it is noteworthy that because of the diversity and complexity of psychological factors, even though irrational financial behaviors are universal and frequent among individuals, most of individuals are unaware of their tendency for, and even
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
unconsciously conduct, irrational consuming or investing behaviors. Irrational financial behaviors not only jeopardize individual pursuit for maximum economic benefit, but also unavoidably bring about negative influence on an individual’s self-cognition, social perception and emotional experience.
Conclusion
Personality types and decision-making styles have significant effect on irrational financial behaviors. Different personality types and decision-making styles exert different effect on individual irrational financial behaviors. Personality types and decision-making styles have significant predictive power for various irrational financial behaviors and their deviation. The finding of
67
the paper fills the gap that most researchers focus on single psychological factor’s effect on certain irrational financial behavior, proving that irrational financial behaviors are subject to the intertwined effect of multiple psychological factors. Therefore, in financial practice, even though irrational financial behaviors cannot be totally avoided, effort should be made to decrease the probability of such behaviors. At first, individuals should understand the characteristics and precondition of irrational financial behaviors. Secondly, individuals should actively learn and work out efficient precautious strategy and skills, to prevent from being trapped in the cognitive confusion, maximizing adverse effects of irrational financial behaviors.
References
Cai, H. J. & Zhu, Z. W. (2001). A preliminary revision of the psychological type scale (MBTI). Chinese Journal of Applied Psychology, 7, 33-37. [in Chinese] Duxbury, D., Keasey, K. & Zhang, H. (2005). Mental accounting and decision making: Evidence under reverse conditions where money is spent for time saved. Journal of Economic psychology, 26(4), 567-580. Filbeck, G., Hatfield, P. & Horvath, P. (2005). Risk Aversion and personality type. The Journal of Behavioral Finance, 6(4), 170-180. Kahneman, D. & Tversky, A. (1979). Prospect theory: an analysis of decision under risk. Econometrica, 47(2), 263-292. Lu, J. Q. (2009). Modern investment psychology. Beijing: Capital University of Economics and Business press. [in Chinese] Miao, D. M. & Huang, P. E. (2000). Validity analysis of MBTI personality type questionnaire. Journal of Chinese Psychology Acta Psychologica Sinica, 32, 324-331. [in Chinese] Scott, S. & Bruce, R. (1995). Decision-making style: the development and assessment of a~measure. Educational and Psychological Measurement, 55(5), 818-831. Shefrin, H. & Statman, M. (1984). The disposition to sell winners too early and ride losers too long: theory and evidence. Journal of Finance, 40, 777-790. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
68
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Shi, J. Y. (2010). The theory and application of behavioral finance. Dalian: Dalian University of Technology Press. [in Chinese] Thaler, R. (1985). Mental accounting and consumer choice. Market Science, 4(3), 199-214. Tversky, A. & Kahnernan, D. (1981). The framing of Decisions and the psychology of Choice. Science, 211, 453-458. Wang, L. & Zheng, X. P. (2003). Investment behavior and personality characteristics of Chinese Securities Investors. Journal of Chinese Psychology Acta Psychologica Sinica, 26, 24-27. [in Chinese] Yang, H. F. & Zhao, S. M. (2004). Research on personality types of enterprise managers. Journal of Chinese Psychology Acta Psychologica Sinica, 27, 983-985. [in Chinese] Yang, J. Q. (2015). Irrational decision-making research and prospects: from the schema theory to the prospect theory. Journal of Dongbei University of Finance and Economics, 98(2), 3-11. [in Chinese] Zhang, H. H. & Ling, W. L. (2005). Rational, emotional and individual economic decisions. Foreign Economies and Management, 27, 2-9. [in Chinese] Zhang, S. M. (2001). Research on human resource management. Beijing: China Renmin University Press. [in Chinese]
Name and Surname: Shaowen Wang Highest Education: Ph.D. Candidate, Panyapiwat Institute of Management University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Art Management, Art Finance Address: 85/1 Moo 2, Cheangwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120 Name and Surname: Haijun Lu Highest Education: Ph.D., Harbin Engineering University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Management Address: 85/1 Moo 2, Cheangwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
71
รูปแบบการจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจส่งออกของประเทศไทย ตามการขยายตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน THE CHANGE MANAGEMENT PATTERN TO ENHANCE POTENTIALITY OF AN EXPORT BUSINESS IN THAILAND FOR EXPANSION OF ASEAN ECONOMIC COMMUNITY ภิมภ์วิมล ปรมัตถ์วรโชติ1 อนันต์ สุนทราเมธากุล2 อัยรดา พรเจริญ3 และสรายุทธ พรเจริญ4 Pimvimol Poramatworachote1 Anan Suntramethakul2 Irada Phorncharoen3 and Sarayut Phorncharoen4 1,2,3คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 4คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 1,2,3Faculty of Business Administration and Management, Ubon Ratchathani Rajabhat University 4Faculty of Technology and Industry, Ubon Ratchathani Rajabhat University
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ทีส่ ง่ ผลต่อรูปแบบการจัดการการเปลีย่ นแปลงเพือ่ เพิม่ ศักยภาพด้านการเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ส่งออกของประเทศไทย ตามการขยายตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ 2) ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกและ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทีส่ ง่ ผลต่อรูปแบบการจัดการการเปลีย่ นแปลงเพือ่ เพิม่ ศักยภาพด้านการปรับโครงสร้าง ทางเศรษฐกิจให้พร้อมกับการเปลีย่ นแปลงในอนาคตของธุรกิจส่งออกของประเทศไทย ตามการขยายตัวของประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประชากรคือ ผูป้ ระกอบการทีข่ นึ้ ทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจ การค้าในเขตภาคอีสานตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ได้กลุ่มตัวอย่าง 346 คน เครื่องมือ ใช้แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.988 โดยสถิติที่ใช้ในการทดสอบ สมมติฐานคือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคณ ู (Multiple regressions analysis) ผลการวิจยั พบว่า 1) ปัจจัยเทคโนโลยี การส่งเสริมการตลาด สังคมและวัฒนธรรม และช่องทางการจัดจ�ำหน่าย มีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน 2) ปัจจัยเศรษฐกิจ การส่งเสริมการตลาด เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และนโยบายรัฐบาล มีความสัมพันธ์ ต่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ค�ำส�ำคัญ: รูปแบบการจัดการเปลี่ยนแปลง การเพิ่มศักยภาพธุรกิจส่งออก ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Corresponding Author E-mail: Pimvimol.p@ubru.ac.th
72
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Abstract
This research aims to study 1) external environment factors and marketing mix factors that affect the change management pattern in order to enhance potentiality of competitive ability export business in the future at the lower northeastern Thailand for expansion of Asean Economic Community (AEC) and 2) external environment factors and marketing mix factors that affect the change management pattern in order to enhance potentiality of economic structure adjustment supported an export business in the future at the lower northeastern Thailand for expansion of Asian Economic Community (AEC). Population is the authorized entrepreneurs by Department of Business Development, Ministry of Commerce, at provinces of the lower northeastern Thailand such as UbonRatchathani, Srisaket, Surin, and Buriram. The sampling is 346 entrepreneurs. Questionnaires are used for this research and reliability is 0.988. Moreover, statistics for testing hypotheses is multiple regression analysis. Results of this research indicate that 1) technologies, marketing promotion, society and culture, and market place affect for enhancing competitive ability, 2) economy, products, technologies, marketing promotion, and government policies affect economic structure modification supported an export business in the future. Keywords: Change Management Pattern, Potentiality of an Export Business, Asean Economic Community (AEC)
บทน�ำ
สภาพแวดล้ อ มที่ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงท� ำ ให้ ผูป้ ระกอบการต้องมีการปรับตัวให้ทนั ต่อสภาวะแวดล้อม เนือ่ งจากผลของการเปลีย่ นแปลงก่อให้เกิดการสูญเสียได้ ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน สินค้า ทักษะ เวลา ก�ำลังคน และ ทรัพยากรอืน่ ๆ ซึง่ ผูป้ ระกอบการจะต้องตัดสินใจว่าเวลาใด ควรจะมี การปรั บ เปลี่ยนกลยุท ธ์หรือเวลาใดจะต้อง ท�ำการเปลีย่ นแปลงกลยุทธ์ โดยผูป้ ระกอบการจะต้องมี การเรียนรู้และมีความคิดสร้างสรรค์ องค์การจ�ำเป็น จะต้องมีความยืดหยุน่ มีรปู แบบองค์การทีท่ นั สมัย และ มีการพัฒนาเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการบริหารความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งจ�ำเป็นต่อ ผูป้ ระกอบการอย่างยิง่ โดยเฉพาะเมือ่ โลกได้กา้ วเข้าสูย่ คุ ของข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี ซึง่ ท�ำให้การเปลีย่ นแปลง เกิดขึน้ อย่างรวดเร็วและการคาดการณ์เพือ่ เตรียมวางแผน ไว้ลว่ งหน้าท�ำได้ยาก วิวฒ ั นาการของแนวคิดทางการบริหาร
ตามภาวการณ์ต่างๆ อาทิ การบริหารแนววิทยาศาสตร์ มนุษยสัมพันธ์ เชิงระบบและตามสถานการณ์ ภาวการณ์ ซึง่ เปลีย่ นแปลงไปตามบริบท (Context) ของสังคมทัง้ ด้าน เศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ฯลฯ เป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งต้องบริหารแบบรู้เท่าทัน ทันการณ์ มีวิสัยทัศน์ โดยใช้พื้นฐานความรู้เดิมเป็น ตัวตัง้ แล้วน�ำมาวิเคราะห์เรียบเรียงพิจารณาการจัดการ ในส่วนทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลง เพือ่ ศึกษาและท�ำความเข้าใจ ลดจุดอ่อนและเพิม่ จุดแข็ง เพือ่ ให้ธรุ กิจสามารถด�ำรงอยู่ และพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ เนื่องจากประเทศอาเซียนจะเป็นเสมือนตลาดและ ฐานการผลิตเดียวทีม่ กี ารเคลือ่ นย้ายสินค้า บริการ และ การลงทุนระหว่างกันโดยเสรี ท�ำให้ธรุ กิจ SMEs ซึง่ เป็น ผูป้ ระกอบการส่วนใหญ่ในระบบเศรษฐกิจไทย และยังมี ข้อจ�ำกัดในด้านเงินทุนและเทคโนโลยีการผลิต ต้องเร่ง ปรับตัวรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่ก�ำลัง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
คืบเข้ามาใกล้ กรมส่งเสริมการส่งออกจะเป็นสื่อกลาง ในการเชือ่ มโยงนโยบายภาครัฐเพือ่ เพิม่ ขีดความสามารถ ในการแข่งขันของผูส้ ง่ ออกกับประเทศต่างๆ ในอาเซียน พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยให้ดี ยิง่ ขึน้ รวมทัง้ การน�ำเทคโนโลยีเข้ามาใช้พฒ ั นาศักยภาพ ของธุรกิจ เปิดโอกาสให้ผปู้ ระกอบการได้เรียนรูท้ งั้ ความ ต้องการทีแ่ ท้จริงของตลาดและความเคลือ่ นไหวของคูแ่ ข่ง เพือ่ เอือ้ โอกาสการขยายธุรกิจในอนาคตต่อไป (Bureau of Trade and Investment Cooperation, Department of Foreign Trade, 2014: 1-54) จากความส�ำคัญดังกล่าวกลุม่ ผูว้ จิ ยั จึงสนใจเกีย่ วกับ รูปแบบการจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มศักยภาพ การส่งออกของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ตามการขยายตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยใช้วิธีดำ� เนินงานวิจัย เพื่อแก้ไขปัญหาดังที่จะกล่าวต่อไปนี้
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกและ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อรูปแบบการ จัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจส่งออกของ ประเทศไทย ตามการขยายตัวของประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกและ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อรูปแบบการ จัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการปรับ โครงสร้างทางเศรษฐกิจให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง ในอนาคตของธุรกิจส่งออกของประเทศไทย ตามการ ขยายตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ทบทวนวรรณกรรม
Hill & Hult (2018: 438-439) ได้กล่าวถึงปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาด คือ ทางเลือกเกีย่ วกับคุณลักษณะ ของผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การกระจายสินค้า กลยุทธ์ชอ่ งทาง
73
การสื่อสารทางการตลาด และกลยุทธ์ทางด้านราคา ซึง่ บริษทั จะเสนอปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อกลุม่ ตลาดเป้าหมาย เมือ่ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดได้ถกู พัฒนา กระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ จะมี ความใกล้เคียงกัน ชีใ้ ห้เห็นว่า ปัจจัยเหล่านัน้ ล้วนมีความ ส�ำคัญทัง้ สิน้ และเมือ่ น�ำปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด มาพิจารณาโดยกว้างจะสังเกตเห็นว่า ตัวผลิตภัณฑ์เอง จะเป็นตัวสร้างความพึงพอใจให้แก่ลกู ค้าเป้าหมาย การมี ช่องทางน�ำสินค้าวางในสถานทีท่ ลี่ กู ค้าเข้าถึงการส่งเสริม การขายเพื่อสื่อสารกับลูกค้าเป้าหมาย และผลิตภัณฑ์ ได้ถกู ออกแบบและวางแผนไว้เพือ่ ผูบ้ ริโภค และตัง้ ราคา สินค้าโดยประมาณจากพฤติกรรมในการซื้อหรือมูลค่า ของสินค้าที่ผู้บริโภคใช้อยู่ในปัจจุบัน (Pongwiriton et al., 2017: 28) ประกอบกับงานวิจัยของ Tongpun & Dechprasert (2014: 94-103) กลยุทธ์ดา้ นผลิตภัณฑ์ สภาพการแข่งขันทางธุรกิจ และผลกระทบจากการเปิดเสรี ทางการค้าอาเซียนส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ กล่องกระดาษลูกฟูก กรณีศกึ ษา บริษทั ยูเนียนเปเปอร์ คาร์ตอนส์ จ�ำกัด ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัย 1) กลยุทธ์ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ด ้ า นคุ ณ ภาพผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละการน� ำ เสนอ ผลิตภัณฑ์ใหม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ กล่องกระดาษลูกฟูก 2) ด้านสภาพการแข่งขันทางธุรกิจ โดยภาพรวม ผลการทดสอบสมมติฐานแยกเป็นข้อย่อย พบว่า ด้านอุปสรรคจากผลิตภัณฑ์ที่ทดแทน อ�ำนาจ การต่อรองของผู้ซื้อ อ�ำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัย การผลิต และการแข่งขันระหว่างธุรกิจ มีผลต่อการ ตัดสินใจซือ้ ผลิตภัณฑ์กล่องกระดาษลูกฟูก เรียงตามล�ำดับ 3) ด้านผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียน ผลการทดสอบสมมติฐานแยกเป็นข้อย่อยพบว่า ด้าน ผลกระทบจากการลงทุนทีเ่ พิม่ ขึน้ มีอทิ ธิตอ่ การตัดสินใจ ซื้อผลิตภัณฑ์กล่องกระดาษลูกฟูก Gupta (2013: 34-43) ได้เสนอว่า การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายนอก คือ การทีบ่ ริษทั มีการตอบสนอง ต่อการเปลีย่ นแปลงในสภาพแวดล้อม ซึง่ สภาพแวดล้อม ภายนอกประกอบด้วยการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
74
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
เทคโนโลยี โดยสภาพแวดล้อมทางการเมือง หมายถึง การเปลีย่ นแปลงบรรยากาศการเมืองในประเทศ ตลอดจน กฎหมายเฉพาะและกฎระเบียบ สภาพแวดล้อมทาง เศรษฐกิจ หมายถึง วัฏจักรเศรษฐกิจ รูปแบบของการค้าโลก อัตราการแลกเปลีย่ นเงินตรา ราคาสินค้า การเปลีย่ นแปลง ในตลาดทุน และตลาดแรงงาน สภาพแวดล้อมทางสังคม หมายถึง รูปแบบประชากรศาสตร์ รสนิยม และอุปนิสยั สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีครอบคลุมผลกระทบของ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีกระบวนการการผลิต และ การขนส่งและการกระจายสินค้า มีงานวิจยั ของ Sarapat (2010: 21-41) อิทธิพลการค้าชายแดน ความกลมกลืน ทางวัฒนธรรม และนโยบายภาครัฐ (ด้านการส่งเสริม การค้าชายแดน และวัฒนธรรม) ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของ ชุมชนในชุมชนชายแดนพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร อิทธิพลการค้าชายแดน ความกลมกลืนทางวัฒนธรรม และนโยบายภาครัฐ (ด้านการส่งเสริมการค้าชายแดน และวัฒนธรรม) ส่งผลต่อวิถชี วี ติ ของประชาชนในชุมชน ชายแดน มีตัวแบบสมการโครงสร้างเชิงเส้นสอดคล้อง กับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ปัจจุบัน การท�ำการค้าข้ามแดนกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก สถาน ประกอบการหรือ SMEs ในแต่ละประเทศจะต้องเร่งเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขันใน 6 ด้าน คือ 1) การเป็น ผู้ประกอบการที่ดี 2) เน้นการเติบโตของธุรกิจ 3) เน้น การผลิตสูต่ ลาดต่างประเทศ 4) มุง่ พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ 5) เพิม่ ประสิทธิภาพในการผลิต และ 6) สร้างเครือข่าย ธุรกิจทัง้ ในระหว่างกลุม่ ธุรกิจประเภทเดียวกันและระหว่าง ธุรกิจในสายที่เกี่ยวข้อง บริษัทการค้าระหว่างประเทศ ที่มีขนาดใหญ่ที่มีเครือข่ายกว้างขวาง ติดต่อลูกค้าอย่าง ถึงตัว มีความเชีย่ วชาญเฉพาะ สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก ทางธุรกิจ (Business intelligence) ได้อย่างทันเหตุการณ์ และเที่ยงตรง และมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ แวดล้อมทางธุรกิจได้อย่างต่อเนือ่ งเท่านัน้ จึงจะเป็นองค์กร ที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง สามารถท�ำธุรกรรม ได้อย่างมีคณ ุ ภาพในต้นทุนและราคาต�ำ่ สามารถยืนหยัด
อยู่บนเวทีการแข่งขันโลกได้อย่างยั่งยืน นอกจากทีก่ ล่าวข้างต้นกิจกรรมต่อไปนีส้ ามารถเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขันได้ คือ 1) ศึกษาวิจยั และ พัฒนา 2) เสริมสภาพคล่องทางการเงิน 3) สร้างโอกาส เพื่อรุกตลาดใหม่ 4) สร้างโอกาสเพื่อรักษาตลาดเก่า 5) สร้างมาตรฐาน 6) สร้างพันธมิตรทางการค้าและการ ลงทุน การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้พร้อมกับการ เปลี่ยนแปลงในอนาคตที่ต้องปรับ คือ 1) การปรับ โครงสร้างการผลิต 2) การปรับโครงสร้างการค้า 3) การ ปรับโครงสร้างการเงิน 4) การปรับโครงสร้างกฎระเบียบ และภาษี 5) การปรับโครงสร้างการใช้พลังงาน 6) การปรับ โครงสร้างด้าน Logistics (ให้ตน้ ทุน Logistics ลดลงจาก 19% ต่อ GDP ในปัจจุบันเหลือ 15% ต่อ GDP ในปี พ.ศ. 2555) (Office of the National Economic and Social Development Board, 2015) การส่งเสริมสมรรถนะการท�ำธุรกิจของผูป้ ระกอบการ การค้าชายแดนไทย-ลาว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพือ่ รองรับการบูรณาการประชาคมอาเซียน พบว่า บทบาท การส่งเสริมของรัฐบาลส่งผลเชิงบวกในการปรับปรุง และพัฒนาการด�ำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ ต้องการเพิม่ มากขึน้ เนือ่ งจากผูป้ ระกอบการค้าชายแดน ได้รบั การสนับสนุนด้านการบริหารโครงสร้างพืน้ ฐานจาก ตัวแทนรัฐเรื่องภาษี แก้ปัญหาด้านค่าขนส่งสินค้าซึ่งมี ลักษณะผูกขาดใน สปป.ลาว (Thontan, 2012: 67-77) รายงานผลกระทบทางสภาพแวดล้อมของการท�ำ ข้ อ ตกลงทางการค้ า ระหว่ า งอาเซี ย นกั บ จี น ส� ำ หรั บ ประเทศในมหานครอนุภมู ภิ าคลุม่ แม่นำ�้ โขง ซึง่ อนุภมู ภิ าค ลุ่มแม่น�้ำโขง (GMS) ประกอบด้วยกัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลยูนาน ในประเทศจีน มีประสบการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็วตลอดสองทศวรรษทีผ่ า่ นมา โดยเฉพาะอย่างยิง่ การเปิดเสรีทางการค้าผ่านความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจทีใ่ กล้ชดิ ยิง่ ขึน้ (Vutha & Jalilian, 2008: 4-14) ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตและ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ความเป็นผูป้ ระกอบการต่างประเทศด้านการส่งออกของ ราชอาณาจักรตามวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) ในการด�ำเนินงานในธุรกิจต่อไปนี้ อาหารและ เครื่องดื่ม สิ่งทอ เสื้อผ้าและขนสัตว์ คอมพิวเตอร์และ เครือ่ งจักรส�ำนักงาน จากการค้นคว้าเปิดเผยว่า พืน้ ฐาน วิสาหกิจขนาดเล็กและกลางในสหราชอาณาจักร มีความ สนใจใช้เทคโนโลยีในการท�ำธุรกิจ (Abdel-Aziz Mostafa, 2003) การศึกษาเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการเชื่อมถึงกัน ของรายได้ การผลิตผลิตภัณฑ์ และความสามารถในการ แข่งขันเพือ่ ส่งออก (Awang Marikan, 2011: 114-120) และ Onchet & Tethiwat (2011: 93-101) ยังได้ ศึกษาปัจจัยยอมรับระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ด้าน การน�ำเข้า-ส่งออกในเขตการค้าชายแดน จังหวัดตาก เจ้าหน้าทีด่ า่ นศุลกากรและผูป้ ระกอบการน�ำเข้า-ส่งออก ในเขตการค้ า ชายแดน อ� ำ เภอแม่ ส อด จั ง หวั ด ตาก
75
มีระดับการยอมรับโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มี ผลต่อการยอมรับคือ ประโยชน์ที่ได้รับจากนวัตกรรม ความซับซ้อนของนวัตกรรม นโยบายของรัฐบาล และการ ปฏิบตั ติ ามพระราชบัญญัตศิ ลุ กากร และสภาพแวดล้อม ทางเทคโนโลยีสารสนเทศดีขึ้น จากการทบทวนวรรณกรรมท�ำให้พบว่า รูปแบบ การจัดการเปลีย่ นแปลงเพือ่ เพิม่ ศักยภาพการส่งออกของ ประเทศไทย ตามการขยายตัวของประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนจะขึน้ อยูก่ บั 2 ปัจจัยหลักคือ ปัจจัยสภาพแวดล้อม ภายนอก และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ดังภาพ ที่ 1 กรอบแนวความคิดการวิจัยรูปแบบการจัดการ การเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจส่งออกของ ประเทศไทยตามการขยายตัวของประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน
ภาพที่ 1 กรอบแนวความคิดการวิจัยรูปแบบการจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจส่งออกของ ประเทศไทยตามการขยายตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จากภาพที่ 1 ในการศึกษาวิจยั ในครัง้ นีป้ จั จัยสภาพ แวดล้อมภายนอกประกอบด้วย 5 ด้านคือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒธรรม ด้านการเมืองและกฎหมาย ด้านนโยบายรัฐบาล และด้านเทคโนโลยี ส่วนปัจจัย
ส่วนประสมทางการตลาดประกอบด้วย 4 ด้านคือ ด้าน ผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย และ ด้านการส่งเสริมการตลาด ที่มีผลต่อรูปแบบการจัดการ เปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจการส่งออกของ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
76
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ประเทศไทย ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจอาเซียนทีใ่ ช้ พิจารณา 2 ด้านคือ การเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขัน และการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้พร้อม กับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ขอบเขตการวิจัย
ประชากรคื อ ผู ้ ป ระกอบการที่ ขึ้ น ทะเบี ย นกั บ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตภาคอีสานตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ จ�ำนวนทั้งสิ้น 2,529 ราย กลุม่ ตัวอย่าง การก�ำหนดขนาดกลุม่ ตัวอย่างส�ำหรับ การวิจัยครั้งนี้ใช้สูตรของ Taro Yamane (Yamane, 1973: 125) ได้กลุ่มตัวอย่าง 346 ราย การสุ่มตัวอย่าง ใช้แบบการสุม่ แบบชัน้ ภูมอิ ย่างมีสดั ส่วน (Proportionate satisfied random sample)
วิธีการวิจัย
รูปแบบของการวิจัยที่ใช้คือ การวิจัยเชิงพรรณนา
(Descriptive Research) ส�ำหรับประเภทของการวิจัย เชิงพรรณนาที่เหมาะสมส�ำหรับงานวิจัยนี้คือ การวิจัย เชิงส�ำรวจ (Survey Research) และให้ผตู้ อบแบบสอบถาม ตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถาม แบบปลายปิด ทดสอบแบบสอบถามทีจ่ ะใช้ในการสอบถาม ซึง่ ประกอบด้วยตัวแปรทีอ่ ยูใ่ นกรอบแนวคิดโดยทดสอบ ความถูกต้อง (Validity) และความเชือ่ ถือได้ (Reliability) และน�ำข้อมูลดิบมาด�ำเนินการลงรหัส เพือ่ วิเคราะห์ขอ้ มูล ทางสถิติ หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ และการ ทดสอบสมมติฐานผู้ด�ำเนินการวิจัยทดสอบโดยใช้การ วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคณ ู (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย
เบือ้ งต้นเป็นการทดสอบคุณสมบัตขิ องตัวแปรโดยใช้ ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) เพื่อให้ทราบว่า มาตรวัด ในงานวิจยั ครัง้ นีม้ คี วามซ�ำ้ ซ้อนกันหรือไม่ ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ค่าสหสัมพันธ์ 1. ด้านเศรษฐกิจ 2. ด้านสังคมและวัฒนธรรม 3. ด้านการเมืองและกฎหมาย 4. ด้านนโยบายรัฐบาล 5. ด้านเทคโนโลยี 6. ด้านผลิตภัณฑ์ 7. ด้านราคา 8. ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย 9. ด้านการส่งเสริมการตลาด 10. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 11. การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้พร้อมกับ การเปลี่ยนแปลงในอนาคต
2 3 4 5 .75** .71** .73** .66** - .63** .73** .63** - .78** .67** - .67** -
6 .57** .58** .57** .61** .62** -
7 .61** .65** .51** .58** .60** .66** -
8 .61** .61** .56** .55** .65** .68** .74** -
9 .56** .61** .43** .49** .53** .60** .71** .76** -
10 .58** .62** .50** .55** .67** .55** .59** .66** .62** -
11 .65** .64** .57** .62** .63** .61** .62** .62** .61** .74**
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
-
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
จากตารางที่ 1 ชี้ให้เห็นว่า ค่าสหสัมพันธ์ บวกลบ ค่าผิดพลาด-มาตรฐาน (Standard Error) ของตัวแปร แต่ละคู่นั้นไม่รวม 1 อยู่ด้วย โดยค่า Upper Bound สูงสุดคือ .78 (ไม่เกิน 0.8) (Nunnally, 1978: 245) ส่วนค่า Lower Bound ต�่ำสุดอยู่ที่ .43 ซึ่งสามารถ
77
สรุปได้ว่า มาตรวัดในงานวิจัยครั้งนี้มีความแตกต่างกัน หมายความว่า ตัวแปรแต่ละตัวนั้นมีความแตกต่างกัน ไม่ซำ�้ ซ้อนกัน จากนัน้ ได้ตรวจสอบความเป็นเส้นตรงร่วม อย่างมาก (Multicollinearity)
ตารางที่ 2 Linear Regression Model ผลกระทบของปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกและปัจจัยส่วนประสม ทางการตลาดที่มีต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รายการ ด้านเทคโนโลยี ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย
Unstandardized Beta S.E 0.395 0.059 0.183 0.055 0.148 0.042 0.206 0.070
Standardized Beta 0.339 0.191 0.179 0.182
t-value
Sig.
6.699** 3.336** 3.550** 2.930**
0.000 0.001 0.000 0.004
หมายเหตุ N = 345, R2 = 0.577, F = 116.375, Sig = 0.000 **มีนัยส�ำคัญที่ 0.01 ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า ค่าสัมประสิทธิก์ ารตัดสินใจ (R2) มีค่าเท่ากับ 0.577 (p < 0.001) หมายถึง ตัวแปร ต่างๆ สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม คือ การเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขัน ร้อยละ 57.7 ส่วนการทดสอบสมมติฐานในแต่ละข้อสรุปผลได้ตาม
ล�ำดับนัยส�ำคัญดังนี้ ด้านเทคโนโลยี ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านสังคม และวัฒนธรรม และด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย มีอทิ ธิพล ต่อการเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขัน (p < 0.001)
ตารางที่ 3 Linear Regression Model ผลกระทบของปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกและปัจจัยส่วนประสม ทางการตลาดที่มีต่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รายการ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านเทคโนโลยี ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านนโยบายรัฐบาล
Unstandardized Beta S.E 0.258 0.064 0.236 0.047 0.226 0.065 0.207 0.068 0.128 0.062
Standardized Beta 0.230 0.234 0.184 0.155 0.118
t-value
Sig.
4.056** 4.984** 3.454** 3.017** 2.063*
0.000 0.000 0.001 0.003 0.040
หมายเหตุ N = 345, R2 = 0.582, F = 94.692, Sig = 0.000 *มีนัยส�ำคัญที่ 0.05 **มีนัยส�ำคัญที่ 0.01 ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
78
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า ค่าสัมประสิทธิก์ ารตัดสินใจ (R2) มีค่าเท่ากับ 0.582 (p < 0.001) หมายถึง ตัวแปร ต่างๆ สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม คือ การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้พร้อมกับการ เปลี่ยนแปลงในอนาคต ร้อยละ 58.2 ส่วนการทดสอบ สมมติฐานในแต่ละข้อสรุปผลได้ตามล�ำดับนัยส�ำคัญดังนี้ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้าน เทคโนโลยี และด้านผลิตภัณฑ์ มีอิทธิพลต่อการปรับ โครงสร้างทางเศรษฐกิจให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง ในอนาคต (p < 0.001) ด้านนโยบายรัฐบาลมีอิทธิพล ต่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้พร้อมกับการ เปลี่ยนแปลงในอนาคต (p < 0.01)
สรุปและอภิปรายผล
1. ปั จ จั ย สภาพแวดล้ อ มภายนอกและปั จ จั ย ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อรูปแบบการจัดการ การเปลีย่ นแปลงเพือ่ เพิม่ ศักยภาพด้านการเพิม่ ขีดความ สามารถในการแข่งขันของธุรกิจส่งออกของประเทศไทย ตามการขยายตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก 1) ด้านเทคโนโลยี ส่งผลในทิศทางบวกในการแข่งขัน ซึ่งหมายถึง ยิ่งใช้สื่อ เทคโนโลยีเพิม่ มากขึน้ ผูป้ ระกอบการยิง่ มีความสามารถ ในการแข่งขันเพิ่มขึ้น (Onchet & Tethiwat, 2011: 93-101, Gupta, 2013: 34-43) ผูป้ ระกอบการน�ำเข้าส่งออกในเขตการค้าชายแดนมีระดับการยอมรับโดยเฉลีย่ อยูใ่ นระดับมาก ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันได้ ในระดับสูง 2) ด้านสังคมและวัฒนธรรมมีอทิ ธิพลเชิงบวก ต่อความสามารถในการแข่งขันเพิม่ ขึน้ (Thontan, 2012: 67-77; Sarapat, 2010: 21-41) การสร้างความรู้และ ความเข้าใจเกีย่ วกับสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ที่ค้าขาย เนื่องจากการด�ำรงชีวิต สังคม และวัฒนธรรม ที่แตกต่างย่อมส่งผลกระทบต่อความนิยม ความรู้สึก นึกคิด และการแสดงพฤติกรรมการบริโภคอย่างชัดเจน ซึง่ ถือเป็นปัจจัยส�ำคัญทีท่ ำ� ให้เกิดความเข้มแข็งในการท�ำ ธุรกิจ
ด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า 1) ด้าน การส่งเสริมการตลาด การท�ำกิจกรรมต่างๆ เพือ่ บอกลูกค้า ถึงลักษณะสินค้า เช่น โฆษณาในสื่อต่างๆ การลดราคา ประจ�ำปี ส่งผลในทิศทางบวกกับความสามารถในการ แข่งขัน ตรงกับ Abdel-Aziz Mostafa (2003), Hill & Hult (2018: 438-439) ได้พิจารณาสื่ออินเทอร์เน็ต สามารถเข้าถึงกลุม่ เป้าหมายได้ชดั เจนและประหยัดต้นทุน และ 2) ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย คือ วิธกี ารน�ำสินค้า ไปสูม่ อื ของลูกค้า หากเป็นสินค้าทีจ่ ะขายไปหลายๆ แห่ง วิธีการขายหรือการกระจายสินค้าจะมีความส�ำคัญมาก หลักของการเลือกวิธีกระจายสินค้านั้นควรเลือกจาก สถานทีท่ ำ� เลและตัวสินค้าเป็นเกณฑ์ สิง่ เหล่านีม้ อี ทิ ธิพล ต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 2. ปั จ จั ย สภาพแวดล้ อ มภายนอกและปั จ จั ย ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อรูปแบบการจัดการ การเปลีย่ นแปลงเพือ่ เพิม่ ศักยภาพด้านการปรับโครงสร้าง ทางเศรษฐกิจให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ของธุรกิจส่งออกของประเทศไทย ตามการขยายตัวของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก 1) ด้านเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจของประเทศมีดังนี้ (1) ความสามารถในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเพื่อการ ส่งออกได้อย่างหลากหลาย (2) แรงงานที่มีคุณภาพ และค่าจ้างแรงงานขัน้ ต�ำ่ ส่งผลดีตอ่ อุตสาหกรรมของไทย และอุตสาหกรรมที่เกิดจากการลงทุนระหว่างประเทศ (3) รัฐบาลไทยมีนโยบายเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ให้การ สนับสนุนการเปิดการค้าเสรี (4) นโยบายกีดกันทางการค้า ระหว่างประเทศของประเทศมหาอ�ำนาจ ประเทศไทย จึงต้องแสวงหาตลาดส่งออกแห่งใหม่ (5) การขยายตัว ทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในโลก ท�ำให้เกิดความ ต้องการสินค้าที่มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น (6) อัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เมื่อใดค่าเงินบาทมี แนวโน้มอ่อนตัวลงก็จะเอือ้ ประโยชน์ตอ่ ภาคการส่งออก ทัง้ หมดนีส้ ง่ ผลในทิศทางบวกต่อการปรับโครงสร้างทาง เศรษฐกิจให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ประเทศไทย (Gupta, 2013: 34-43) 2) ด้านเทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อการปรับโครงสร้าง ทางเศรษฐกิจให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ในทิศทางบวก ซึง่ หมายถึง ยิง่ ใช้สอื่ เทคโนโลยีเพิม่ มากขึน้ ในการประกอบการยิง่ มีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ให้พร้อมกับการเปลีย่ นแปลงในอนาคตมากขึน้ (Onchet & Tethiwat, 2011: 93-101) ได้ศกึ ษาปัจจัยการยอมรับ ระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ด้านการน�ำเข้า-ส่งออก ในเขตการค้าชายแดน พบว่า การน�ำเทคโนโลยีใหม่ เข้ามาใช้งานในองค์กรท�ำให้จ�ำนวนพนักงานลดลงและ ท�ำงานได้เร็วขึ้น แต่ต้องเพิ่มการพัฒนาฝีมือเพื่อความ เชี่ยวชาญในเทคนิคการผลิตเพิ่มขึ้น 3) ด้านนโยบายรัฐบาล บทบาทของภาครัฐในเชิง นโยบายและมาตรการการรองรับประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนส�ำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในกลุ่มประเทศ อาเซียน (Office of Small and Medium Enterprises Promotion, 2011) ได้เสนอแนะไว้ทงั้ สิน้ 4 ยุทธศาสตร์ คือ (1) ปรับปรุงกระบวนการท�ำงานของภาครัฐให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (2) พัฒนาศักยภาพวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยให้เข้มแข็ง (3) ส่งเสริม ให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยขยายการค้าการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (4) ส่งเสริมให้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยก้าวสู่ระบบ ห่วงโซ่อุปทานระดับโลก ภาครัฐต้องส่งเสริมการลงทุน จัดการพัฒนาทักษะทางภาษาต่างประเทศ รวมถึงพัฒนา ให้แรงงานให้มรี ะเบียบวินยั ในการท�ำงานให้มากขึน้ ทัง้ หมด จึงส่งผลต่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้พร้อมกับ การเปลี่ยนแปลงในอนาคต ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ประกอบด้วย 1) ด้าน การส่งเสริมการตลาด การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ลดแลก แจกแถม การทดลองใช้สง่ ผลในทิศทางบวกต่อการปรับ โครงสร้างทางเศรษฐกิจให้พร้อมกับการเปลีย่ นแปลงใน อนาคต เนือ่ งจากเทคนิคและกลยุทธ์การขายทีเ่ ปลีย่ นแปลง การประหยัดโดยใช้สอื่ การโฆษณาฟรีโดยเฉพาะการสือ่ สาร ผ่านสือ่ อินเทอร์เน็ต (Phorncharoen, 2016: 1-17) ทีม่ ี
79
ความรวดเร็วและประหยัดต้นทุน 2) ด้านผลิตภัณฑ์สงิ่ ที่ ผูข้ ายน�ำไปเสนอขายให้ผซู้ อื้ เพือ่ น�ำไปใช้บริโภคอุปโภค สินค้าอุตสาหกรรม และการบริการ ในการออกแบบ รูปร่าง สีสัน หีบห่อ มีการใช้ตรายี่ห้อ การบริการ และ สัญลักษณ์มผี ลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีทางการค้า อาเซียน (Tongpun & Dechprasert, 2014: 94-103) ส่งผลต่อการตัดสินใจซือ้ ผลิตภัณฑ์สอดคล้องกับ Awang Marikan (2011: 114-120) และ Pongwiriton et al. (2017: 28) สินค้าที่ผลิตขึ้นในประชาคมอาเซียนได้รับ การแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ 1) บัญชีลดภาษี (Inclusion List) รายการสิ น ค้ า ที่ ป ระเทศสมาชิ ก ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนน�ำมาลดภาษีระหว่างกัน ซึง่ จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามความตกลง 2) บัญชียกเว้น ภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List) ประเทศ สมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสามารถขอสงวนสิทธิ การลดภาษีชั่วคราวได้ แต่ต้องทยอยน�ำสินค้าในบัญชีนี้ เข้ามาลดภาษีในแต่ละปีเป็นจ�ำนวนเท่าๆ กัน 3) บัญชี อ่อนไหว (Sensitive List) ประเทศสมาชิกประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนจะน�ำบัญชีรายการสินค้าอ่อนไหว เข้ามาลดภาษีช้าที่สุด 4) บัญชียกเว้นทั่วไป (General Exception) รายการสินค้าในบัญชีนี้ไม่ต้องลดภาษี ตลอดไป ได้แก่ สินค้าทีเ่ กีย่ วข้องกับการปกป้องความมัน่ คง ศีลธรรม ชีวิต และสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช สินค้าทีม่ คี ณ ุ ค่าทางประวัตศิ าสตร์ ศิลปะ และโบราณคดี (Office of Small and Medium Enterprises Promotion, 2011: 6-1, 6-28) ความต้องการและความหวัง ของผู ้ บ ริ โ ภคที่ มี ต ่ อ คุ ณ ภาพผลิ ต ภั ณ ฑ์ อุ ต สาหกรรม ประกอบไปด้วย 1) ความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์ (Product Safety) 2) ลักษณะเฉพาะที่ปรากฏของ ผลิตภัณฑ์หรือความเชือ่ ถือ (Reliability) 3) ความสะดวก หรือคุณลักษณะเสริมของผลิตภัณฑ์ (Addition Feature) 4) ประโยชน์ทไี่ ด้รบั จากผลิตภัณฑ์หรือคุณภาพทีร่ บั รูไ้ ด้ (Perceived Quality) 5) คุณลักษณะหรือหน้าที่ของ ผลิตภัณฑ์ (Product Function) 6) ลักษณะปรากฏ ของผลิตภัณฑ์ (Appearance) 7) การกระจายสินค้า
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
80
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ให้ทวั่ ถึงและเพียงพอ (Availability) 8) ราคาผลิตภัณฑ์ (Price) 9) อายุการเก็บ (Shell Life) 10) การตอบสนอง ต่อข้อร้องเรียนของผู้บริโภค (Compliant) (Chairattanamanokorn, 2016: 34-35)
ข้อเสนอแนะ
ในการเก็บข้อมูลวิจัยในครั้งนี้ได้น�ำเสนอรูปแบบ การจัดการการเปลีย่ นแปลงเพือ่ เพิม่ ศักยภาพธุรกิจส่งออก ของประเทศไทยไปประเทศเพือ่ นบ้าน ตามการขยายตัว ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง และยังช่วยแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการเตรียม ความพร้อมของธุรกิจส่งออกของประเทศไทยไปประเทศ เพือ่ นบ้าน เพือ่ รองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ซึ่งหน่วยงานที่สามารถน�ำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ประกอบด้วยส�ำนักงานอุตสาหกรรมในพืน้ ทีใ่ นเขตอีสาน ตอนล่าง ผูป้ ระกอบการอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ และส�ำนักงานแรงงานจังหวัด แต่ในการเก็บข้อมูลวิจัย ในครั้งนี้ก็ยังแสดงให้เห็นถึงปัญหาจากผู้ประกอบการ ในเรื่องของการปรับตัวและการเตรียมการเพื่อรองรับ การเปลีย่ นแปลงของธุรกิจส่งออกของประเทศไทย ทีย่ งั ต้องสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงสภาวการณ์ทกี่ ำ� ลัง มีการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกของ ประเทศไทย เพือ่ จะเป็นแรงกระตุน้ และเสริมสร้างศักยภาพ และความเข้มแข็งให้ธุรกิจส่งออกของประเทศไทยได้ อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
References
Abdel-Aziz Mostafa, R. H. (2003). Competition Strategies in International Markets: The Role of Entrepreneurial Orientation and the Internet on the Export Performance of UK Based Small and Medium Sized Enterprises. Ph.D. Thesis, Department of Marketing, University of Strathclyde, UK. Awang Marikan, D. A. (2011). Empirical Studies of Convergence in Income, Productivity and Competitiveness: The Experience of Asian Economies. Doctoral Thesis, School of Social Sciences, University of Southampton, UK. Bureau of Trade and Investment Cooperation, Department of Foreign Trade. (2014). Statistics of Thailand border trade2012-2014 (January). Bureau of Trade and Investment Cooperation, Department of Foreign Trade. [in Thai] Chairattanamanokorn, P. (2016). Business Plan for Pattita. Master of Business Administration Thesis, Department of Small and Medium–Sized Enterprises, Graduate School, Bangkok University. [in Thai] Gupta, A. (2013). Environment & PEST Analysis: An Approach to External Business Environment. International Journal of Modern Social Sciences, 2(1), 34-43. Hill, C. & Hult, G. (2018). Global Business Today (10th ed.). New York: McGraw-Hill. Nunnally, J. (1978). Psychometric theory (2nded.). New York: McGraw-Hill. Office of Small and Medium Enterprises Promotion. (2011). A Comparative Study of Policies and Measures to Support the ASEAN Economic Community for Entrepreneurs SMEs in ASEAN Countries. SMEs situations report 2011-2012. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
81
Office of the National Economic and Social Development Board. (2015). Annual Logistic Report 2015. Retrieved November 22, 2015, from www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6097 [in Thai] Onchet, P. & Tethiwat, O. (2011). Factors of Customs System Electronic Acceptation in Import-Export Business at the Border Trade Area of Tak. Master of Business Administration Thesis in Logistic, Narasuan University. [in Thai] Phorncharoen, I. (2016). The Development of OTOP E-Commerce System for Expanding ASEAN Economic Community. Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University, 6(2), 1-17. [in Thai] Pongwiriton, R., Pakvipas, P., Chongesiriroj S. & Kantawongwan, B. (2017). Marketing Mix Factors Affecting Buying Decision of Textile Handcraft from Lanna’s Ethnic Wisdom: Pgazkoenyau. Panyapiwat Journal, 9(1), 25-37. [in Thai] Sarapat, C. (2010). Influence of the Border Trade Cultural Assimilation Public policy (Border Trade and Cultural Encouragement) Affecting the Way of Life of People in the Border Community. Administration and Development, Mahasarakham University Journal, 2(2), 21-41. [in Thai] Thontan, W. (2012). Approach of Empowering Reinforcement toward Constant Competencies of Business Operation from Entrepreneur amidst Border Trade between Thai-Loa particularly North Eastern Region Areas for Preparation of Asean Community. Naresuan University Journal, 20(2), 67-77. [in Thai] Tongpun, C. & Dechprasert, N. (2014). Product Strategies, Business Competition Status, and the Effect of ASEAN Free Trade Area (AFTA) on the Decision to Purchase Crepe Paper Box: A Case Study of the Union Paper Carton Co., Ltd. Master of Business Administration Thesis in Business Administration for Executives, Burapha University. [in Thai] Vutha, H. & Jalilian, H. (2008). Environmental Impacts of the ASEAN-China Free Trade Agreement on the Greater Mekong Sub-Region. Manitoba Canada, International Instititute for Sustainable Development (IISD). Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
82
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Name and Surname: Pimvimol Poramatworachote Highest Education: MSc (Management), University of Southampton, United Kingdom University or Agency: Ubon Ratchathani Rajabhat University Field of Expertise: Real Estate Business Management, Small Medium Enterprise, Community, and Management Address: 2 Ratthani Rd., Mueang, Ubon Ratchathani Name and Surname: Anan Suntramethakul Highest Education: Ph.D. (Human Resource Development), Ubon Ratchathani Rajabhat University University or Agency: Ubon Ratchathani Rajabhat University Field of Expertise: Marketing, Community, and Management Address: 2 Ratthani Rd., Mueang, Ubon Ratchathani Name and Surname: Irada Phorncharoen Highest Education: Ph.D. (Business Administration), Ramkhamhaeng University University or Agency: Ubon Ratchathani Rajabhat University Field of Expertise: e-Commerce Technology, Supple Chain Management, and Logistics Management Address: 2 Ratthani Rd., Mueang, Ubon Ratchathani Name and Surname: Sarayut Phorncharoen Highest Education: M.Eng. (Computer Engineering, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang University or Agency: Ubon Ratchathani Rajabhat University Field of Expertise: Modern Programming, e-Commerce Technology, and Logistics Management Address: 2 Ratthani Rd., Mueang, Ubon Ratchathani
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
83
การพัฒนากีฬาเพื่อเป็นกลยุทธ์การตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชน SPORT DEVELOPMENT’S CONTRIBUTION TO THE MARKETING STRATEGY OF PRIVATE UNIVERSITY มณฑิรา ชุนลิ้ม1 และอุษณีษ์ เสวกวัชรี2 Montira Chunlim1 and Ousanee Sawagvudcharee2 1,2คณะการจัดการ มหาวิทยาลัยชินวัตร 1,2School of Management, Shinawatra University
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กีฬาเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดและรูปแบบการพัฒนากีฬาของ มหาวิทยาลัยเอกชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ก�ำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง มหาวิทยาลัยเอกชน จ�ำนวน 8 แห่ง ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกแบบกึ่งโครงสร้างกับผู้บริหารฝ่ายกิจการนักศึกษาและกีฬา 8 แห่ง จ�ำนวน 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาวะการแข่งขันด้านสถานศึกษามีลักษณะรูปแบบ มหาวิทยาลัยของรัฐกับเอกชนและกลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน มีระบบให้ทุนการศึกษาความสามารถพิเศษเช่นเดียวกัน มุ่งเน้นเหรียญรางวัลเพื่อรักษาระดับและประชาสัมพันธ์ชื่อมหาวิทยาลัย ผลงานด้านกีฬามีผลต่อการตัดสินใจเลือก เข้าศึกษาต่อและมีรูปแบบการพัฒนา 1. ด้านผลิตภัณฑ์ ชนิดกีฬาที่ส่งเสริมหลักสูตรการเรียนและฝึกอบรมระยะสั้น 2. ด้านผลตอบแทนที่ได้รับ ทุนการศึกษา ระบบจูงใจ ค่าตอบแทน สวัสดิการ 3. ด้านช่องทางการเข้าถึง สถานที่ตั้ง การจัดการเรียนการสอน การให้บริการของเจ้าหน้าที่ 4. ด้านการส่งเสริมการตลาด โครงการ/กิจกรรมด้านกีฬา การให้บริการด้านอาคาร สนามกีฬา และสิง่ อ�ำนวยความสะดวก 5. ด้านบุคลากร มีผฝู้ กึ สอนทีม่ ชี อื่ เสียง 6. ด้านกายภาพ อาคาร สนามกีฬา และสิ่งอ�ำนวยความสะดวก 7. ด้านกระบวนการ ระบบดูแลการเรียนและฝึกซ้อม การประสาน ความร่วมมือกับสมาคมกีฬา มหาวิทยาลัยเอกชนใช้กีฬาเป็นกลยุทธ์การตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์สร้างตราสินค้าของ มหาวิทยาลัยและให้ทุนการศึกษานักกีฬาที่มีชื่อเสียงเพื่อเป็นทูตตราสินค้าเป็นแบบอย่างดึงดูดนักเรียนที่ชอบเลือก เข้าศึกษาต่อ ค�ำส�ำคัญ: การพัฒนากีฬา กลยุทธ์การตลาด มหาวิทยาลัยเอกชน
Corresponding Author E-mail: montira.chun@gmail.com
84
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Abstract
This research aims to study about a usage of sport as a marketing strategy of a private University and a private University’s sport concept today. The qualitative method was applied to collect data by using a purposive sampling method as well as a semi-structured interview question from 8 private Universities with 16 interviewees. A content analysis was also applied to analyze data. The study has found that there is a same concept of a sport development for a private University marketing strategy. For example, there are scholarships for athlete-oriented talent students as well as rewards motivation. These can help the universities to remain in a good ranking and to advertise/ publicize them. Because most private universities foresee the successful of sport results could be one of the influence factors on students’ decision when they are looking for a university. Moreover, there is an adoption of Porter’s Five Force Model along with the 7Ps Marketing Mix to gain insight into students. Furthermore, some private Universities also apply a sport marketing strategy for advertising and publicizing the Universities’ Brand. They also sponsor some famous athletes as their Universities’ Brand Ambassadors’ to attract their fan in terms of making a study decision. Keywords: Sport Development, Marketing Strategy, Private University
บทน�ำ
การแข่งขันของการศึกษาระดับอุดมศึกษาเอกชน ของประเทศไทย มีการขยายตัวตามจ�ำนวนสถาบัน อุดมศึกษาไทยทีเ่ พิม่ มากขึน้ โดยเฉพาะด้านการหาเงินทุน หรือรายได้เพือ่ การด�ำเนินกิจการ การตลาดจึงมีบทบาท ส�ำคัญต่อการวางแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ตอบสนองความต้องการของกลุม่ เป้าหมายทีต่ อ้ งการ และใช้การก�ำหนดราคา การสือ่ สาร การเข้าถึงกลุม่ ลูกค้า และการจัดจ�ำหน่ายที่มีประสิทธิผลเพื่อจูงใจและให้ บริการ ซึง่ ปัจจุบนั มีการแข่งขันทางธุรกิจทีร่ นุ แรงมากขึน้ ส่งผลให้ต้องหาวิธีการต่างๆ เพื่อน�ำมาประยุกต์ใช้และ เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน อีกทั้งต้องเร่งพัฒนาคุณภาพ ใช้กลยุทธ์และเทคนิคต่างๆ เพือ่ ให้กลุม่ เป้าหมายตัดสินใจ เข้าศึกษาได้อย่างรวดเร็ว สถาบันอุดมศึกษาจึงจ�ำเป็นต้อง แสวงหาเอกลักษณ์ดา้ นคุณภาพและสร้างความแตกต่าง จากสถาบันอืน่ ดังนัน้ ตราสินค้าหรือแบรนด์จงึ ถูกน�ำมา เป็นเครือ่ งมือทางการตลาดยุคใหม่ ท�ำให้การสร้างแบรนด์
ของมหาวิทยาลัยเอกชนเป็นเรื่องส�ำคัญไม่น้อยไปกว่า การออกแบบหลักสูตรให้ตรงความต้องการของนักศึกษา คณาจารย์ทมี่ ชี อื่ เสียง อาคารสถานที่ และกิจกรรมเสริม หลักสูตรต่างๆ ซึ่งบางมหาวิทยาลัยใช้เรื่องกีฬามาเป็น ส่วนหนึ่งของการสร้างแบรนด์ โดยมหาวิทยาลัยเอกชน หลายแห่งตระหนักถึงความส�ำคัญของกีฬา และส่งเสริม ให้เยาวชนมีความสามารถด้านกีฬาควบคูไ่ ปกับวิชาการ เพือ่ สนับสนุนนักกีฬาทีม่ ผี ลงานระดับชาติและนานาชาติ ได้เข้าศึกษาต่อให้สามารถพัฒนาเป็นนักกีฬาทีมชาติ ที่สร้างชื่อเสียงและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชนของ ประเทศ สามารถช่วยสร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียง ให้กบั สถาบันให้เป็นทีร่ จู้ กั มากขึน้ โดยอาศัยการเผยแพร่ ข่าวประชาสัมพันธ์จากสื่อมวลชนผ่านช่องทางของสื่อ ต่างๆ ในสภาวะการตลาดที่มีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเอกชนขนาดเล็กที่ต้องเร่งปรับตัวจึงเป็น ประเด็นเกี่ยวเนื่องว่า กีฬามีความสัมพันธ์กับขีดความ สามารถเชิงแข่งขัน รูปแบบ และวิธกี ารใดทีส่ ามารถน�ำมา
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
พัฒนาเป็นเครือ่ งมือในการส่งเสริมการตลาดทีก่ อ่ ให้เกิด ผลส�ำเร็จในการรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชน
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาลักษณะการใช้กีฬาเป็นกลยุทธ์ทาง การตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชน 2. เพือ่ พัฒนารูปแบบการพัฒนากีฬาทีม่ ผี ลต่อการ ส่งเสริมกลยุทธ์ด้านการตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชน
ทบทวนวรรณกรรม
1. การพัฒนากีฬาในสถาบันอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งมีหลักในการพัฒนา กีฬามหาวิทยาลัยและการส่งเสริมกีฬาไว้ 2 แนวทางคือ กีฬาเพื่อสุขภาพ (Sports for health) กีฬาเพื่อความ เป็นเลิศ (Sports for excellence) เพือ่ พัฒนากีฬาของ ตนสู่ความเป็นเลิศในด้านต่างๆ สามารถเข้าร่วมแข่งขัน ระดับชาติและนานาชาติ ในการเพิ่มชื่อเสียงเกียรติยศ เป็นการสร้างความภาคภูมใิ จของนักศึกษา บุคลากร และ เป็นการประกาศศักดิศ์ รีเกียรติคณ ุ ของสถาบันฯ ทีท่ ำ� ให้ เป็นแหล่งสร้างนักกีฬาทีม่ คี วามสามารถระดับสูงได้เป็น อย่างดีและยังเป็นการเพิม่ มูลค่าให้กบั สถาบันการศึกษา (Sukayanudit, 1998) 2. การสื่อสารการตลาดกีฬา การสื่อสารการตลาดของกีฬา (Marketing of Sport) คือ การผลิตและท�ำกิจกรรมการสือ่ สารการตลาด ให้กับสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา เช่น สนามกีฬา ศูนย์ออกก�ำลังกายต่างๆ โดยใช้การสื่อสาร ผ่านกีฬา (Marketing Though Sport) ผ่านกิจกรรม การสื่อสารที่ใช้กีฬาเป็นสื่อกลางไปสู่ผู้บริโภคของตรา สินค้านัน้ เป็นผูเ้ ล่นและผูช้ มกีฬา (Milne & McDonald, 1999) โดยมีรปู แบบการเป็นผูใ้ ห้การสนับสนุนด้านกีฬา (Sports Sponsorship) 7 แบบ ได้แก่ 1) การสนับสนุน หน่วยงานหรือองค์กรที่ก�ำกับดูแล (Governing-Body Sponsorship) เป็นการให้การสนับสนุนหน่วยงานทีก่ ำ� กับ ดูแล 2) การสนับสนุนสโมสร (Term Sponsorship)
85
ให้การสนับสนุนสโมสรหรือทีมกีฬา (Term Sponsorship) 3) การสนับสนุนนักกีฬา (Athlete Sponsorship) สนับสนุนโดยใช้นกั กีฬาหรือผูฝ้ กึ สอน โดยให้นกั กีฬาและ ผูฝ้ กึ สอนท�ำการประชาสัมพันธ์สนิ ค้าและประชาสัมพันธ์ ภาพลักษณ์ของสินค้าองค์กรต่างๆ 4) การสนับสนุนผ่าน ช่องทางการสื่อสาร (Media-Channel Sponsorship) ท�ำการซือ้ สือ่ โฆษณาระหว่างทีก่ ฬี านัน้ ท�ำการแข่งขันหรือ ช่วงเวลารายการกีฬา 5) การสนับสนุนสถานที่ (Facility Sponsorship) หรือการให้สิทธิ์ในการใช้ชื่อ (NamingRight) 6) การสนับสนุนกิจกรรม (Event Sponsorship) เป็นการท�ำการตลาดกิจกรรม (Event Marketing) 7) การ สนับสนุนกีฬาแบบเจาะจงประเภทกีฬา (Sport-Specific Sponsorship) เป็นการสร้างตราสินค้าเจาะจงเฉพาะกลุม่ (Irwin, Sutton & McCarthy, 2008) การใช้ทตู ตราสินค้า (Brand Ambassador) สร้างความรู้จักและจดจ�ำตรา สินค้าคือ ชื่อมหาวิทยาลัย การเสนอให้ทุนการศึกษา และระบบจูงใจแก่ผู้มีความสามารถทางด้านกีฬาที่มี ชื่อเสียงเพื่อเป็นแบบอย่างและจูงใจให้แก่นักศึกษา และเยาวชนตัดสินใจเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้นๆ (Wattanasupachoke, 2007) 3. ทฤษฎีการแข่งขันในอุตสาหกรรม วิธกี ารบริหารเชิงกลยุทธ์เพือ่ สร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขันและการวิเคราะห์การแข่งขันด้านกีฬา ในอุตสาหกรรมการศึกษาระดับอุดมศึกษาเอกชน จะให้ ทราบส่วนแบ่งตลาดและทรัพยากรของผู้เข้ามาใหม่จะ คุกคามต่อบริษทั ทีม่ อี ยูเ่ ดิม การคุกคามของผูเ้ ข้ามาใหม่ จะขึ้นอยู่กับสิ่งกีดขวางการเข้ามาที่ปรากฏอยู่ และการ ตอบโต้ที่คาดหมายไว้จากคู่แข่งขันที่มีอยู่เดิมประเมิน สถานการณ์ความรุนแรงทางการแข่งขันของธุรกิจจากปัจจัย 5 ด้าน (Naveekarn, 2000) 1) แรงกดดันการเข้ามายัง อุตสาหกรรมของคู่แข่งขันรายใหม่ (new entrants) 2) แรงกดดันจากคูแ่ ข่งขันรายเดิมในอุตสาหกรรม (rivalry among existing firms) 3) แรงกดดันของสินค้าทดแทน (substitute) 4) แรงกดดันจากอ�ำนาจการต่อรองของ ผูซ้ อื้ (buyers) และ 5) แรงกดดันจากอ�ำนาจการเจรจา
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
86
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ต่อรองของผู้ส่งมอบ (suppliers) 4. การตลาด 7Ps กับมหาวิทยาลัยเอกชน แนวคิดการตลาด 7Ps สามารถช่วยก�ำหนด กลยุทธ์การตลาดให้กับมหาวิทยาลัยเอกชน โดยใช้การ ส่งเสริมการตลาด (Promotion) เป็นตัวกระตุ้นและ จูงใจให้เกิดความชอบและตัดสินใจซื้อควบคู่ไปกับด้าน ผลิตภัณฑ์ (Product) ด้านราคา (Price) ด้านช่องทาง การจัดจ�ำหน่าย (Place) ด้านกายภาพ (Physical Evidence) ด้านกระบวนการ (Process) การปฏิบัติด้าน บริการและการขายด้วยบุคคล (People) เพือ่ โฆษณาและ ประชาสัมพันธ์ (Advertising) (Kotler & Armstrong, 2004; Booms & Bitner, 1981) มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะ ในสภาพการแข่งขันในปัจจุบันจ�ำเป็นต้องใช้กิจกรรม การตลาดทีแ่ ตกต่างกันมาเสริมให้ตราสินค้าแข็งแกร่ง คือ 1) การรูจ้ กั ตรา (Brand awareness) คือ ผูบ้ ริโภคสามารถ ระบุตราในสภาวะที่แตกต่างกัน ซึ่งจะสะท้อนในรูป การจดจ�ำหรือระลึกได้ถงึ การท�ำงานของตรา 2) ภาพพจน์ ตรา (Brand image) (Thanarak, 2007: 98) เป็นการ รับรู้และความเชื่อของผู้บริโภค ซึ่งจะสะท้อนในด้าน ความผูกพันทีม่ อี ยูใ่ นความทรงจ�ำของผูบ้ ริโภค (Sereerat, 2009) โดยการเป็นสปอนเซอร์ในกิจกรรมต่างๆ (Event Sponsorship) เช่น การแข่งขันกีฬา การจัดคอนเสิร์ต เป็นต้น เพื่อให้ผู้บริโภครู้จักมหาวิทยาลัยได้เร็วขึ้นด้วย อีกทางหนึ่ง
วิธีการวิจัย
1. ขอบเขตของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ท�ำการเก็บข้อมูลเชิงลึก (In-Depth Interview) จากการสัมภาษณ์ผบู้ ริหารมหาวิทยาลัยเอกชน จ�ำนวน 8 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต มหาวิทยาลัย เกษมบั ณ ฑิ ต มหาวิ ท ยาลั ย กรุ ง เทพ มหาวิ ท ยาลั ย กรุงเทพธนบุรี มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี และมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ผูบ้ ริหารฝ่ายกิจการนักศึกษาหรือด้านส�ำนักกีฬา สถาบัน
ละ 2 คน จ�ำนวน 16 คน ที่มีระดับผลการแข่งขันกีฬา มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 แบ่งเป็นกลุ่ม สถาบันทีไ่ ด้รบั เหรียญรางวัลมาก เหรียญรางวัลปานกลาง และเหรียญรางวัลน้อย 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การวิจยั ครัง้ นีใ้ ช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เป็นเครื่องมือการเก็บข้อมูล โดยมีการ พัฒนากรอบค�ำถามจากการศึกษาทฤษฎี แนวคิด และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ค�ำถามแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured) เพื่อสามารถเก็บข้อมูลได้ตรงตาม วัตถุประสงค์ทตี่ อ้ งการของงานวิจยั และน�ำแบบสัมภาษณ์ ที่ได้พัฒนาขึ้น ขอความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา ผูท้ รงคุณวุฒิ และตรวจความเทีย่ งตรงของเนือ้ หา (Content Validity) 3. การเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยท�ำหนังสือขออนุญาตและนัดหมายกับ ผู้บริหารฝ่ายกิจการนักศึกษาหรือด้านส�ำนักกีฬาเพื่อ เข้าไปท�ำการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคล โดยผู้วิจัย ด�ำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเองเพือ่ ให้ได้ขอ้ มูลรายละเอียด เชิงลึก ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของผู้ให้ข้อมูล ส�ำคัญ น�ำข้อมูลมาจัดวางเรียงให้เข้าหมวดหมู่และสรุป ตามประเด็นต่างๆ จากนั้นวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) วิเคราะห์ขอ้ มูลทีไ่ ด้รว่ มกับการศึกษา แนวคิด ทฤษฎี เชื่อมโยงกันโดยการให้ความหมายหรือตีความ ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงจากเอกสาร
ผลการวิจัย
จากการศึกษาพบว่า การพัฒนากีฬาของมหาวิทยาลัย เอกชนมีกลยุทธ์สรุปได้ดังนี้ 1. มุง่ เน้นการพัฒนากีฬาเป็นหนึง่ ในหัวใจส�ำคัญ ของสถานศึกษา เพือ่ ให้เกิดจุดเด่นและง่ายต่อการจดจ�ำ โดยเฉพาะเมือ่ นักกีฬาของสถาบันได้รบั รางวัลการแข่งขัน กีฬาระดับชาติหรือระดับนานาชาติ สามารถขับเคลื่อน การประชาสัมพันธ์และสร้างชือ่ เสียงให้กบั มหาวิทยาลัย ได้ง่ายกว่าด้านวิชาการ การพัฒนากีฬาในมหาวิทยาลัย
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
จะแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) การแข่งขัน 2) สุขภาพ หรือการเรียนการสอน 3) สนามกีฬาและสิง่ อ�ำนวยความ สะดวก 2. ใช้กฬี าเป็นหนึง่ ในกลยุทธ์ดา้ นการสร้างตราสินค้า (Brand Image) ของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่รู้จักพร้อมๆ กับการใช้ทูตตราสินค้า (Brand Ambassador) โดยให้ ทุนการศึกษาแก่นกั กีฬาทีม่ ชี อื่ เสียงเพือ่ การประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย เช่น การจัดกิจกรรมด้านกีฬาหรือการสอน ทักษะทางกีฬาแก่โรงเรียนมัธยมและชุมชนเป้าหมาย เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยให้เป็นที่รู้จักได้ง่ายขึ้น 3. การสร้างระบบจูงใจนักกีฬาเพื่อจูงใจและเกิด การประชาสัมพันธ์และจดจ�ำอย่างต่อเนือ่ ง มีการก�ำหนด ระบบจูงใจนักกีฬา 5 รูปแบบ ได้แก่ 1) ทุนการศึกษาระดับ ปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา 2) ค่าตอบแทน สวัสดิการ และรางวัล 3) ระบบการดูแลนักกีฬา มหาวิทยาลัย จัดหน่วยงานช่วยเหลือนักกีฬาทุนประสบความส�ำเร็จ ในด้านเรียนและการแข่งขัน การจัดการเรียนการสอน และเวลาทีใ่ ห้บริการให้กบั ทุนนักกีฬาระดับทีมชาติในวัน อาทิตย์ การดูแลของคณาจารย์รวมไปถึงเวลาในการให้ บริการของเจ้าหน้าทีเ่ พือ่ อ�ำนวยความสะดวกแก่นกั กีฬา สามารถติดต่อธุรกรรมด้านต่างๆ (Sawagvudcharee & Yolles, 2017) 4) การสร้างสนามกีฬาและสิง่ อ�ำนวย ความสะดวก สร้างศูนย์กฬี า (Sport Complex) และจัดหา อุปกรณ์เพือ่ ให้บริการกับนักกีฬา นักศึกษา บุคลากร และ ส่งเสริมสุขภาพทีด่ ใี ห้กบั คนในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย 5) ใช้วิธีการประสานความร่วมมือกับสมาคมกีฬาหรือ สโมสร เนื่องจากนักกีฬาจะมองโอกาสในการประสบ
87
ความส�ำเร็จทางการศึกษาและด้านกีฬาว่า มหาวิทยาลัย ใดมีโอกาสมากกว่าเพราะชือ่ เสียงน�ำมาซึง่ เกียรติยศและ เงินทองหรือผลตอบแทน 4. การประชาสัมพันธ์ชื่อมหาวิทยาลัยผ่านกีฬา การประชาสัมพันธ์โดยให้ชื่อมหาวิทยาลัยปรากฏในสื่อ และเป็นที่รับรู้ของคนทั่วไปผ่านสื่อกีฬา ซึ่งกีฬาที่ใช้คือ กีฬาประเภททีมที่เป็นที่นิยมและใช้ในมหาวิทยาลัยที่มี สโมสรกีฬา ได้แก่ กีฬาฟุตบอล กีฬาฟุตซอล กีฬา วอลเลย์บอล กีฬาบาสเกตบอล และกีฬาบุคคล ได้แก่ กีฬาแบดมินตัน เป็นต้น 5. การจัดกิจกรรมเพือ่ ส่งเสริมการตลาด การเป็น เจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาและการให้บริการด้านพืน้ ที่ ผ่านการถ่ายทอดสดการแข่งขันและโฆษณา สือ่ สิง่ พิมพ์ รวมทัง้ การท�ำบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับสมาคมกีฬา สโมสรกีฬาทั้งไทยและต่างประเทศ เป็นการน�ำเสนอ ข่าวสารการกีฬากับสังคมภายนอก โดยไม่ต้องเสียเงิน ค่าโฆษณา ทั้งยังสามารถสร้างชื่อเสียงและเป็นโอกาสที่ มหาวิทยาลัยจะมีนกั กีฬาทีม่ คี วามสามารถเข้าศึกษาต่อ เพิม่ มากขึน้ รวมทัง้ สามารถจัดเพือ่ หารายได้เข้ามหาวิทยาลัย ได้อีกทางหนึ่ง
สรุปและอภิปรายผล
1. Porter’s Five Force Model กับการวิเคราะห์ ปัจจุบนั มหาวิทยาลัยเอกชนต่างๆ จ�ำเป็นต้องสร้าง ความแตกต่างเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยสามารถเริม่ จากการประยุกต์ Porter’s Five Force Model เข้ามาช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์การแข่งขัน ด้านกีฬา ดังภาพที่ 1
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
88
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ภาพที่ 1 วิเคราะห์การแข่งขันด้านกีฬาในอุตสาหกรรมการศึกษาระดับอุดมศึกษาเอกชน ที่มา: พัฒนาจาก Porter (1980) จากภาพที่ 1 สามารถอธิบายดังนี้ 1. แรงกดดันของคูแ่ ข่งขันรายใหม่ (new entrants) และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการแข่งขัน จากวิสัยทัศน์ เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยและ แนวคิดรัฐบาลไทยแลนด์ 4.0 น�ำไปสูก่ ารก�ำหนดกลยุทธ์ ดังเช่นของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เกิดแนวคิดน�ำกีฬา มาผนวกความเป็นผู้ประกอบกิจการ (Entrepreneur)
และความคิดสร้างสรรค์เป็นผูป้ ระกอบกิจการด้านการกีฬา (Sport Entrepreneur) เปลีย่ นทิศทางกีฬาเพือ่ สุขภาพ และกีฬาเพือ่ สร้างรายได้ และแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2560-2564 ยุทธศาสตร์การพัฒนา อุตสาหกรรมการกีฬาเพือ่ ความเป็นเลิศ และความส�ำเร็จ ของนักกีฬาจนถึงอาชีพอย่างยั่งยืน และเกิดการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยกีฬาแห่งชาติเพื่อยกระดับการศึกษาด้าน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
การกีฬา (Ministry of Tourism and Sports, 2017) ท�ำให้เกิดผลกระทบกับการพัฒนากีฬาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แก่ 1) เกิดการกระจุกตัวของนักกีฬาในมหาวิทยาลัย กีฬาแห่งชาติ 2) จ�ำนวนเหรียญรางวัลการแข่งขันกีฬา มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยจากแบ่งเหรียญรางวัล เปลี่ยนเป็นจ�ำนวนเหรียญรางวัล 3) การดึงตัวนักกีฬา 4) การดึงตัวผู้ฝึกสอนที่มีชื่อเสียงเป็นผลท�ำให้ผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเอกชนต้องปรับกลยุทธ์การบริหารจัดการ เช่น การเน้นกลยุทธ์บริการสถานทีแ่ ละสิง่ อ�ำนวยความสะดวก ทางกีฬาในการจัดการแข่งขันและเช่าสถานที่ จัดระบบ การศึกษาต่อให้กบั นักกีฬาในระดับบัณฑิตศึกษา การรับ นักกีฬาเข้าศึกษาต่อและเล่นกีฬาอาชีพในสโมสรกีฬา ของมหาวิทยาลัยเอกชนและระบบจูงใจนักกีฬา 2. แรงกดดันจากคู่แข่งขันด้านการกีฬาในระดับ อุดมศึกษา 1) การแข่งขันด้านการกีฬาในระดับอุดมศึกษา มี 2 รูปแบบ ได้แก่ ระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐกับ มหาวิ ท ยาลั ย เอกชน และกลุ ่ ม มหาวิ ท ยาลั ย เอกชน ด้วยกันเอง 2) การดึงนักกีฬาทีมชาติ เยาวชนทีมชาติ และผู้มีความสามารถระดับอื่นๆ เพื่อชิงเหรียญรางวัล 3) การดึงผูฝ้ กึ สอนมาสร้างทีมและดึงนักกีฬา 4) กลยุทธ์ การเลือกส่งเสริมชนิดกีฬาที่มุ่งเน้นพัฒนากีฬาประเภท บุคคลมากขึ้น 3. แรงกดดันของรูปแบบใหม่ (สินค้าทดแทน) ใน การเลือกส่งเสริมและใช้ประโยชน์จากการพัฒนากีฬา ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนและ หลักสูตรผูป้ ระกอบการด้านกีฬา (Sport Entrepreneur) 2) การสร้างสนามกีฬา ศูนย์กีฬา (Sport Complex) สิ่งอ�ำนวยความสะดวก และจัดหาอุปกรณ์เพื่อส่งเสริม และให้บริการกับนักศึกษาและชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย 3) การให้บริการสถานที่จัดการแข่งขันกีฬา (Event) เพือ่ ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยดึงผูช้ มเข้ามารูจ้ กั สถานที่ 4) กีฬาประเภทใหม่ทั้งกีฬาประเภททีมและประเภท บุคคลเพื่อสร้างความแตกต่างและมีโอกาสในการได้ เหรียญรางวัลง่าย
89
4. แรงกดดันจากอ�ำนาจการต่อรอง (จากผูซ้ อื้ ) ของ กลุ่มเป้าหมายทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชน ได้แก่ 1) ด้านนักกีฬา การให้ทนุ นักกีฬาระหว่างสถาบัน ของรัฐกับสถาบันเอกชน นักกีฬาจะเลือกไปสถาบันของรัฐ ก่อนด้วยความเป็นสถาบันใหญ่ของรัฐมีชอื่ เสียงมากกว่า จึงเป็นแม่เหล็กในการดึงดูดได้แรงกว่า มหาวิทยาลัย เอกชนจึงต้องใช้กลยุทธ์โดยก�ำหนดระบบจูงใจและ สวัสดิการทีส่ งู เพือ่ จูงใจให้นกั กีฬาทีม่ ชี อื่ เสียงเข้าศึกษาต่อ เพราะนักกีฬาจะมองทีโ่ อกาสในการประสบความส�ำเร็จ ทางการศึกษาและกีฬาว่ามหาวิทยาลัยใดมีโอกาสมากกว่า 2) ส�ำหรับนักศึกษาทัว่ ไปทีช่ นื่ ชอบกีฬาจะให้ความสนใจ หลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับกีฬา จึงต้องมี หลักสูตรการเรียนการสอนรองรับให้กับนักศึกษากลุ่มนี้ ที่ ห ลากหลายและตรงตามความต้ อ งการของตลาด ในอนาคต 3) ด้านผูป้ กครองทีเ่ ป็นผูส้ นับสนุนและปัจจัย หลักกับตัวนักศึกษาเพราะมีส่วนร่วมในการเลือกและ ตัดสินใจทั้งในด้านการเรียนและกีฬา 5. แรงกดดั น จากอ� ำ นาจการเจรจาต่ อ รองของ ผู้สนับสนุนทางการกีฬาของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ 1) ผู้ฝึกสอนทีมชาติหรือผู้ฝึกสอนที่มีชื่อเสียงของแต่ละ ชนิดกีฬา 2) โรงเรียนมัธยมที่ส่งเสริมและผลิตนักกีฬา ทั้งประเภททีมและบุคคล เช่น ฟุตบอล รักบี้ฟุตบอล ฟุตซอล บาสเกตบอล และวอลเลย์บอล 3) สโมสรกีฬา และชมรมกีฬาที่ผลิตนักกีฬาเฉพาะชนิดกีฬา เช่น กีฬา แบดมินตัน มวย 4) การสนับสนุนจากผลิตภัณฑ์ ห้างร้าน สมาคมกีฬาต่างๆ เช่น กีฬาฟุตบอล ฟุตซอล และกีฬา อืน่ ๆ ทีม่ อี งค์กรเอกชนให้ความสนับสนุนในรูปแบบของ การเป็นผู้สนับสนุน (Sponsorships) 2. รูปแบบการพัฒนากีฬาที่มีผลต่อการส่งเสริมกลยุทธ์ ด้านการตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชนจากการศึกษา พบว่า มี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. การส่งเสริมกลยุทธ์ด้านการตลาด โดยน�ำ ส่วนผสมทางการตลาด 7 ด้านมาพัฒนากลยุทธ์การตลาด ด้านกีฬา (Kotler & Armstrong, 2004; Booms & Bitner, 1981) ดังภาพที่ 2
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
90
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ภาพที่ 2 ส่วนผสมทางการตลาด Marketing Mix 7P ทางการกีฬา ที่มา: พัฒนาจากตัวแบบส่วนผสมทางการตลาด Marketing Mix 7P และผลการวิจัย (Kotler & Armstrong, 2004: 302-304; Booms & Bitner, 1981: 47-51) จากภาพที่ 2 สามารถอธิบายดังนี้ 1. ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) เน้นกีฬาทีม่ พี ลัง ในการดึงดูดกลุ่มเป้าหมายทางการศึกษา โดยท�ำการ 1) การส่งเสริมและพัฒนาประเภทกีฬาที่ตรงต่อความ ต้องการนักกีฬาและศักยภาพของมหาวิทยาลัย 2) การ พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ฝึกอบรมระยะสั้น (Short course) ผู้ประกอบการด้านการกีฬา (Sport Entrepreneur) กับกลุ่มนักกีฬาและกลุ่มนักศึกษาที่ ชื่นชอบการกีฬา 3) ให้นักกีฬาเข้าเรียนตามหลักสูตร ตามความสนใจและความต้องการในอนาคตเกี่ยวกับ อาชีพ จัดการเรียนการสอนที่เอื้อต่อนักกีฬาเพราะต้อง ท�ำการฝึกซ้อมและเข้าร่วมการแข่งขันในระดับชาติและ นานาชาติ รวมทัง้ โอกาสในการเรียนต่อในระดับทีส่ งู กว่า ปริญญาตรี 2. ด้านราคา (Price) ระบบจูงใจให้กบั นักกีฬา และผู้ฝึกสอน ได้แก่ ทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาโท
ผลตอบแทน ค่าทีพ่ กั หรือการจัดทีพ่ กั อาศัยของนักกีฬา ภายในมหาวิ ท ยาลั ย และสวั ส ดิ ก ารต่ า งๆ ที่ ใ ห้ กั บ นักกีฬาในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยและกีฬาอาชีพ 3. ด้ า นช่ อ งทางการเข้ า ถึ ง กลุ ่ ม เป้ า หมาย ในการรับนักศึกษา (Place) สถานที่ต้ังมหาวิทยาลัย สะดวกต่อการเดินทางเข้าออก มีระบบคมนาคมรองรับ หรือบริการรับส่งทั้งในการเรียนและการฝึกซ้อมกีฬา 4. ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) 1) การสนับสนุนด้านทุนการศึกษาแก่นักกีฬา เพื่อให้ โอกาสทางการศึกษากับนักศึกษาที่มีความสามารถทาง ด้ า นกี ฬ าซึ่ ง ในแต่ ล ะมหาวิ ท ยาลั ย จะมี น โยบายและ ก�ำหนดประเภททุนการศึกษาตามระดับความสามารถของ นักกีฬาสอดคล้องกับผลการวิจัยเรื่อง รูปแบบการสร้าง ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนผ่านการเป็นผูใ้ ห้การ สนับสนุนด้านกีฬาของ Panomai (2014) ที่พบว่า มหาวิทยาลัยเอกชนต่างๆ มีเกณฑ์การคัดเลือกนักกีฬา
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ของมหาวิทยาลัยให้มารับทุนคล้ายกัน เน้นเข้ามาให้การ สนับสนุนในฐานะ Sponsor กับชนิดกีฬาในระดับสากล ทีเ่ ป็นทีน่ ยิ ม 2) การด�ำเนินกิจกรรมเพือ่ ส่งเสริมสนับสนุน รวมทัง้ เป็นแรงจูงใจเพือ่ ให้ตดั สินใจเลือกหลักสูตรการเรียน การสอนได้ตามความต้องการของนักกีฬา 3) การเปิด คลินกิ กีฬาโดยให้ผฝู้ กึ สอนและนักกีฬาของมหาวิทยาลัย ออกไปฝึกสอน การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับโรงเรียน มัธยมและท้องถิ่น 4) การให้บริการด้านสนามกีฬาและ สิง่ อ�ำนวยความสะดวกแก่นกั ศึกษา บุคลากร และชุมชน โดยรอบมหาวิทยาลัย การใช้สถานทีจ่ ดั การแข่งขันกีฬา (Event) ร่วมกับสมาคมกีฬา การที่มหาวิทยาลัยเอกชน ส่งเสริมการจัดโครงการและกิจกรรมด้านกีฬาเพื่อเป็น กลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยให้คนรูจ้ กั และ เพือ่ บริการวิชาการแก่สงั คมซึง่ สอดคล้องกับแนวคิดของ Satyarak (2009) ที่พบว่า องค์ประกอบด้านการรับรู้ ชื่อเสียง มีตัวบ่งชี้ประกอบด้วยการยอมรับของสังคม การรับรูก้ จิ กรรมด้านวิชาการ กิจกรรมนักศึกษาเพือ่ สังคม กิจกรรมด้านกีฬา เนือ่ งการจัดกิจกรรมกับโรงเรียนหรือ พื้นที่ชุมชนโดยรอบของมหาวิทยาลัยเป็นการสื่อสาร ภายนอก นอกจากกลุม่ เป้าหมายหลักคือ นักเรียนนักศึกษา กลุม่ เป้าหมายรองคือ ชุมชนมีความส�ำคัญต่อการสนับสนุน ความร่วมมือด้านกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะชุมชนรอบ มหาวิทยาลัยซึ่งนับเป็นการสร้างความสัมพันธ์ และ เป็นการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยที่มีความส�ำคัญ (Suvannajata, 2003) 5. ด้านบุคลากร (People) ได้ด�ำเนินการ 1) มหาวิทยาลัยสรรหาผูฝ้ กึ สอน ผูฝ้ กึ สอนทีมชาติ นักกีฬา ทีมชาติหรือศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงมาเป็นผู้ฝึกสอนให้กับ นักกีฬาของสถาบัน เนื่องจากนักกีฬาต้องการมาอยู่กับ ผูฝ้ กึ สอนทีม่ ชี อื่ เสียง การฝึกซ้อมทีเ่ ป็นระบบทีไ่ ด้มาตรฐาน นักกีฬาทีป่ ระสบความส�ำเร็จจะต้องได้ร บั การฝึกฝนทักษะ กีฬาเพื่อพัฒนาตามจุดมุ่งหมายและการสนับสนุนที่ดี ของผูป้ กครอง ครอบครัว และเพือ่ น และความสามารถ ของโค้ชกีฬาในการฝึกซ้อมและจูงใจนักกีฬา รวมทัง้ การที่ มหาวิทยาลัยประสานความร่วมมือกับสมาคมกีฬาจะเป็น
91
แรงจูงใจต่อนักกีฬา (Lawsirirat, 2009) 2) คณาจารย์ ที่ให้การดูแลในเรื่องการเรียนการสอนเพื่อให้นักกีฬามี โอกาสในการประสบความส�ำเร็จทางด้านการเรียน 6. ด้านกายภาพและการน�ำเสนอ (Physical Evidence) โดยเน้นการลงทุนด้านสิง่ อ�ำนวยความสะดวก อาคาร สนามกีฬาที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้นักศึกษาของ มหาวิทยาลัยและคนในชุมชน และส่งเสริมการจัดการ แข่งขันกีฬาให้กบั สังคมเพือ่ ประโยชน์รว่ มกัน ซึง่ สอดคล้อง กับการศึกษาเรื่อง ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเอกชน ในสายตาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของ Boonnak (1996) พบว่า ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย เอกชนมีการจัดอาคารและสถานทีข่ องมหาวิทยาลัยเอกชน เป็นไปอย่างเหมาะสม และส่งเสริมและสนับสนุนด้านกีฬา ท�ำให้มหาวิทยาลัยเอกชนมีความมัน่ คง มีสภาพแวดล้อม ที่ดี 7. ด้ า นกระบวนการ (Process) พบว่ า 1) ระบบการดูแลเรือ่ งการเรียนการสอน การจัดอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ดูแลติดตามนักกีฬาทั้งในด้านการเรียน และการแข่งขัน เพือ่ ให้นกั กีฬามีผลงานด้านการแข่งขัน และมีผลสัมฤทธิต์ ามจุดมุง่ หมายของการศึกษา 2) ระบบ การบริหารจัดการด้านกีฬาและการฝึกซ้อมแบบทีมชาติ การฝึกซ้อมของผู้ฝึกสอนหรือนักกีฬาทีมชาติที่มาเป็น พี่เลี้ยง 3) การประสานความร่วมมือกับสมาคมกีฬา เพื่อส่งเสริมและพัฒนานักกีฬาที่มีความสามารถได้เข้า ศึกษาต่อ และให้นักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันระดับต่างๆ 4) การจัดการเรียนการสอนและเวลาที่ให้บริการ อาทิ จัดการเรียนการสอนให้กับทุนนักกีฬาระดับทีมชาติ ในวันอาทิตย์ การดูแลของคณาจารย์ การให้บริการของ เจ้าหน้าที่เพื่ออ�ำนวยความสะดวกแก่นักกีฬาสามารถ ติดต่อธุรกรรมด้านต่างๆ จากรูปแบบการพัฒนากลยุทธ์การตลาดด้าน กีฬาโดยใช้แนวคิดส่วนผสมทางการตลาดมาพัฒนา กลยุทธ์การตลาดด้านกีฬา 7P นัน้ สอดคล้องกับ Chen & Gursoy (2001 cited in Booncharoen, 2004) กล่าวว่า ในอุตสาหกรรมการบริการโดยนักวิชาการได้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
92
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
น�ำเอากลยุทธ์การตลาดหลากหลายวิธีด้วยกันมาเพื่อ แก้ปัญหาต่างๆ ประกอบด้วยด้านคุณภาพการบริการ การส่งเสริมการตลาด การประชาสัมพันธ์ และสร้าง บรรยากาศ แสดงให้เห็นถึงการเอาใจใส่ต่อลูกค้า ท�ำให้ ลูกค้าเกิดความประทับใจกลับมาใช้บริการอีกครั้ง หรือ การบอกต่อผูอ้ นื่ ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันการขยายตัว การเพิ่มขึ้นอย่างหลากหลายของสถาบัน การศึกษา ระดับสูงและการแข่งขันกันที่สูงมากขึ้น จากการเติบโต ของอุตสาหกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนที่ส�ำคัญของการท�ำ การตลาดด้านการศึกษาระดับสูง สถาบันการศึกษาจึง ต้องท�ำกิจกรรมด้านการตลาดในเชิงรุกให้เพิ่มมากขึ้น (Wail & Aayed, 2014) ทั้งนี้รูปแบบการพัฒนากีฬา ของมหาวิทยาลัยเอกชนยังสอดคล้องกับ Irwin, Sutton & McCarthy (2008) ที่มีแนวคิดรูปแบบการเป็นผู้ให้ การสนับสนุนด้านกีฬา (Sports Sponsorship) เนือ่ งจาก มหาวิทยาลัยเอกชนมีการส่งเสริมในรูปแบบการสนับสนุน สโมสร (Term Sponsorship) การสนับสนุนนักกีฬา (Athlete Sponsorship) โดยใช้นักกีฬาหรือผู้ฝึกสอน โดยให้นกั กีฬาและผูฝ้ กึ สอนท�ำการประชาสัมพันธ์สนิ ค้า และประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของสินค้าองค์กรต่างๆ สนับสนุนการจัดการแข่งขันผ่านช่องทางการสื่อสาร (Media-Channel Sponsorship) ซึ่งเป็นรูปแบบของ องค์กรที่ให้การสนับสนุนโดยการซื้อสื่อโฆษณาระหว่าง ที่กีฬานั้นท�ำการแข่งขันหรือช่วงเวลาที่เกี่ยวข้องกับ รายการกีฬา การสนับสนุนสถานที่ (Facility Sponsorship) ในการจัดแข่งขันหรือการให้สิทธิ์ในการใช้ชื่อ (Naming-Right) การสนับสนุนกิจกรรม (Event Sponsorship) คล้ายคลึงกับการท�ำการตลาดกิจกรรม (Event Marketing) และการสนับสนุนกีฬาแบบเจาะจงประเภท กีฬา (Sport-Specific Sponsorship) ซึง่ ในมหาวิทยาลัย เอกชนจะมีรปู แบบการสนับสนุนและพัฒนาเฉพาะเจาะจง ชนิดกีฬาเพียงหนึ่งชนิด 2. การบริหารตราสินค้า (Brand Management) จากการศึกษาพบว่า มีการใช้กฬี าเป็นกลยุทธ์ การตลาดเพือ่ การประชาสัมพันธ์เป็นการสร้างตราสินค้า
(Brand Image) ของมหาวิทยาลัยให้เป็นทีร่ จู้ กั เนือ่ งจาก กีฬาเป็นขัน้ ตอนแรกทีส่ ามารถประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย ได้ จากการสัมภาษณ์พบว่า มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ มีนโยบายในการใช้กีฬาน�ำการตลาดเพื่อสร้างแบรนด์ มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย จ�ำนวน 6 มหาวิทยาลัย ใช้กฬี าเป็นส่วนหนึง่ หรือกลยุทธ์รองในการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์เพราะเป็นสิ่ง ส�ำคัญมากต่อการตลาดในปัจจุบันที่จะท�ำให้ผู้บริโภค สามารถนึกถึงได้สอดคล้องกับผลการศึกษาของ Siriwan (2011) ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนมีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการเลือกเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษา เอกชน เพราะการลงทุนในการสร้างแบรนด์ให้เข้มแข็ง และการสร้างแบรนด์ทนี่ อกเหนือจากวิธกี ารโฆษณาควร หาวิธีการประชาสัมพันธ์โดยวิธีใหม่ๆ ให้มากขึ้น และ สามารถลดต้นทุนได้ (Aaker, 2002) เช่น การจัดสัมมนา การเป็นผู้สนับสนุนกีฬา จัดกิจกรรม (Event) เป็นต้น ภาพลักษณ์ (Image) ช่วยให้องค์กรธุรกิจด�ำเนินไปอย่าง ก้าวหน้าและมั่นคง ภาพลักษณ์องค์กรที่เด่นชัดและ เหมาะสมสามารถสร้างความแตกต่างและสร้างคุณค่าให้กบั สินค้าและบริการ รวมถึงสร้างความมัน่ ใจและความภักดี ต่อองค์กร (Morley, 1998 cited in Chollamark, 2003) การสร้างทูตตราสินค้า (Brand Ambassador) เพือ่ เป็นเครือ่ งมือในการช่วยเผยแพร่ชอื่ เสียงมหาวิทยาลัย เช่น การให้ทุนการศึกษาแก่นักกีฬาที่มีชื่อเสียงเพื่อเป็น ทูตตราสินค้า จากการศึกษาพบว่า มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ธนบุรีให้ทุนการศึกษาต่อแก่รัชนก อินทนนท์ นักกีฬา แบดมินตัน ซึง่ มีผลงานเป็นมือวางอันดับโลก มหาวิทยาลัย มีความคาดหวังว่าจะสามารถช่วยเสริมแบรนด์มหาวิทยาลัย ได้ ดังจะเห็นได้จากการทีร่ ชั นก อินทนนท์ ให้สมั ภาษณ์ โดยใส่ชุดนักศึกษาประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ และการ ประชาสัมพันธ์เปิดรับนักศึกษาทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ หรือโทรทัศน์ นอกจากนีม้ หาวิทยาลัยยังท�ำความร่วมมือ กับบ้านทองหยอดในการลงทุนสร้างสนามแบดมินตัน หลายสิบคอร์ท เพือ่ สนับสนุนกีฬาแบดมินตันและกีฬาอืน่ ๆ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
อย่างเป็นรูปธรรม จึงท�ำให้สร้างจุดเด่นและเอกลักษณ์ ของแบรนด์มหาวิทยาลัยในด้านการพัฒนากีฬาทีช่ ดั เจน มากขึน้ และการออกแนะแนวหลักสูตรในโรงเรียนมัธยม โดยใช้นักกีฬาเป็นส่วนหนึ่งในการประชาสัมพันธ์โดย น�ำเสนอรูปนักกีฬาที่ศึกษาอยู่ เช่น รัชนก อินทนนท์, ปัณณวิชญ์ ทองน่วม นักแบดมินตัน และศุภนร ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา เป็นนักกรีฑาทีมชาติไทย ท�ำให้ทราบว่า นักเรียนรูว้ า่ นักกีฬาคนนีเ้ รียนทีม่ หาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และมีผลต่อการสมัครเข้าเรียนแต่ไม่มาก เช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยสยามน�ำกีฬาไปกับการรับสมัครนักศึกษา โดยเลือกนักกีฬาทีม่ คี วามสามารถ หน้าตา และภาพลักษณ์ ที่ดี การใช้กลยุทธ์ด้านการให้ทุนการศึกษาแบบ ตรงจุดและระบบจูงใจรวมถึงระบบการดูแลนักกีฬา ของมหาวิทยาลัยเอกชน การดึงนักกีฬาที่มีชื่อเสียงมา ศึกษาต่อ นักกีฬาเหล่านั้นสามารถเป็นทูตตราสินค้า (brand ambassador) ได้ และสามารถสะท้อนว่า สถาบัน สร้างนักศึกษาสู่สังคมอย่างไร การมีนักกีฬาที่มีชื่อเสียง ศึกษาอยูก่ บั มหาวิทยาลัยหรือผลงานด้านกีฬามีผลต่อตลาด นักกีฬาเหล่านี้มีแฟนคลับมากขึ้นก็จะดึงดูดนักเรียน ที่ชอบกีฬาได้ ซึ่งระยะเวลาของการเรียนและการท�ำ ชือ่ เสียงให้กบั มหาวิทยาลัยมีระยะเวลายาว ความคุม้ ค่ากับ การลงทุนและเป็นการรักษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ได้มากกว่าหรือยาวนานกว่าการประชาสัมพันธ์ตามป้าย โฆษณา (Billboard) หรือสื่อต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงและ โอกาสสูญเปล่ามากกว่าด้วย ซึง่ สอดคล้องกับการศึกษา ของ Lawsirirat (2009) ศึกษาเรือ่ งการสืบหาเพชรในตม พบว่า ปัจจุบนั ประเทศต่างๆ ได้ลงทุนด้านการกีฬาเป็น จ�ำนวนมากเพือ่ ชือ่ เสียง การค้นหานักกีฬาช้างเผือกเพือ่ น�ำมาฝึกฝนพัฒนาเทคนิคการเล่นกีฬาให้เป็นนักกีฬา ที่มีผลงานอันโดดเด่นและประสบความส�ำเร็จในเวที การแข่งขันระดับนานาชาติ จึงเป็นสาเหตุของการแข่งขัน ของมหาวิทยาลัยเอกชนในด้านการดึงนักกีฬาทีม่ ชี อื่ เสียง ในปัจจุบนั ทีม่ กี ารแข่งขันทีส่ งู เนือ่ งจากนักกีฬาทีม่ ชี อื่ เสียง มีจ�ำนวนไม่มาก
93
ดังนั้น การบริหารภาพลักษณ์ขององค์กร (Brand Management) และทูตตราสินค้า (Brand Ambassador) จะช่วยให้เกิดการรับรู้ (Awareness) ต่อกลุ่มเป้าหมายได้เร็วขึ้น กระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจ ซื้ อ สิ น ค้ า ได้ เ ร็ ว ขึ้ น ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ การศึ ก ษาของ Suvannajata (2003) เรื่องการสื่อสารภาพลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยเอกชนไทยพบว่า การสื่อสารอันดับแรกที่ มหาวิทยาลัยเอกชนใช้ทวั่ ไปคือ การสือ่ สารผ่านนักศึกษา และศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยเพราะสามารถสะท้อน ไปยังชุมชนได้ เป็นการสื่อสารในองค์กรและภายนอก องค์กร โดยมุ่งเน้น 2 กลุ่มเป้าหมายหลักคือ นักเรียน ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายรอง คือ ชุมชนและสังคม ซึ่งใช้การแนะแนวศึกษาต่อเป็น อันดับแรก รองลงมาคือ การใช้สื่อบุคคลที่รู้จัก รวมทั้ง การให้ ทุ น การศึ ก ษาแก่ นั ก ร้ อ งนั ก แสดงที่ มี ชื่ อ เสี ย ง เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างกระแสความนิยม ของมหาวิทยาลัยเอกชนนั้นๆ ตราสินค้า (Brand) เป็น ที่จดจ�ำต่อกลุ่มเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจาก ตัวแทนตราสินค้ามีอิทธิพลเป็นที่ชื่นชอบและความรู้สึก ของกลุม่ เป้าหมายโดยตรง (Lothongkum, 2007) และ สอดคล้องกับผลการวิจยั เรือ่ ง รูปแบบการสร้างภาพลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยเอกชนผ่านการเป็นผู้ให้การสนับสนุน ด้านกีฬาของ Panomai (2014) ที่พบว่า ด้านนักเรียน และนักศึกษาเห็นเหมือนกันว่า มหาวิทยาลัยทีส่ นับสนุน กีฬามีผลต่อการสร้างภาพลักษณ์ทดี่ แี ละมีผลต่อการสร้าง คุณค่าและสร้างโอกาสให้นักศึกษาเข้าศึกษาต่อ
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้สามารถสรุปผลได้ดังหัวข้อต่อไปนี้ 1. การใช้กลยุทธ์เพือ่ จูงใจนักกีฬา ได้แก่ ทุนการศึกษา ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา / ค่าตอบแทน สวัสดิการ และรางวัล / ค่าที่พักส�ำหรับนักกีฬา / การเพิ่มวงเงิน คุ้มครองอุบัติเหตุ / การให้เงินเดือนค่าใช้จ่ายต่อเดือน ในชนิดกีฬาลีกหรืออาชีพ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
94
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
2. ระบบการดูแลนักกีฬา มีการจัดหน่วยงานช่วยเหลือ นักกีฬาทุนให้บริหารจัดการด้านการเรียนและการแข่งขัน ให้สัมฤทธิ์ผลตามจุดมุ่งหมายทางการศึกษา รวมทั้ง ประสานความร่วมมือกับสมาคมกีฬาหรือสโมสรให้มี โอกาสประสบความส�ำเร็จในเวทีการแข่งขัน 3. การสร้างสนามกีฬาและสิ่งอ�ำนวยความสะดวก สร้างศูนย์กีฬา (Sport Complex) และจัดหาอุปกรณ์ เพือ่ สนับสนุน ส่งเสริม และให้บริการกับนักกีฬา นักศึกษา บุคลากร รวมทั้งเพื่อให้บริการแก่สังคม 4. การประชาสัมพันธ์ชอื่ มหาวิทยาลัยผ่านกีฬาโดย การใช้กฬี าเป็นกลยุทธ์การตลาดเพือ่ การประชาสัมพันธ์ เป็นการสร้างตราสินค้า (brand image) ของมหาวิทยาลัย
ให้เป็นทีร่ จู้ กั การให้ทนุ การศึกษาแก่นกั กีฬาทีม่ ชี อื่ เสียง เพื่อเป็นทูตตราสินค้า (brand ambassador) และการ ประชาสัมพันธ์โดยให้ชื่อมหาวิทยาลัยปรากฏในสื่อและ เป็นที่รับรู้ของคนทั่วไปผ่านสื่อกีฬา 5. การจัดกิจกรรมเพือ่ ส่งเสริมการตลาดเป็นเจ้าภาพ การจั ด การแข่ ง ขั น กี ฬ าและการให้ บ ริ ก ารด้ า นพื้ น ที่ ซึง่ ในแต่ละการแข่งขันจะมีการถ่ายทอดการแข่งขันและ โฆษณา สื่อสิ่งพิมพ์ ผ่านช่องทางต่างๆ มหาวิทยาลัย เอกชนจึงมีการให้บริการสนามหรือสถานที่โดยมีค่า ธรรมเนียมและไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการสถานที่ เพื่อประชาสัมพันธ์ชื่อมหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถจัดเพื่อ หารายได้เข้ามหาวิทยาลัยได้อีกทางหนึ่ง
References
Aaker, D. A. (2002). Building Strong Brands. Bath: CPI Bath Press. Booms, B. & Bitner, M. J. (1981). Marketing Strategies and Organizational Structures for Service Firms. In J. H. Donnelly & W. R. George (Eds.). Marketing of Services. Chicago: American Marketing Association. Booncharoen, S. (2004). Development of marketing strategies for private higher education institutions. Thesis of Graduate, Chulalongkorn University. [in Thai] Boonnak, C. (1996). The Image of Private Universities from High School Students’ Viewpoint. Thesis of Graduate School, Chulalongkorn University. [in Thai] Chollamark, C. (2003). Images of Private Schools in Chonburi Province as Perceived by Guardians. Thesis of Graduate, Chulalongkorn University. [in Thai] Irwin, R. L., Sutton, W. A. & McCarthy, L. M. (2008). Sport Promotion and Sales Management. New York: Human Kinetic. Kotler, P. & Armstrong, G. (2004). Principles of marketing (10th ed.). New Jersey: Prentice Hall. Lawsirirat, C. (2009). Finding diamonds in the rough. Journal of Sports Science and Health, 10(Supplement), 73. [in Thai] Lothongkum, T. (2007). Marketing Insight, Deep penetration and marketing awareness. Bangkok: Through the line publishing. [in Thai] Milne, G. R. & McDonald, M. A. (1999). Sport Marketing: Managing the Exchange Process. Boston: Jones and Brelett. Ministry of Tourism and Sports. (2017). National Sports Development Plan No. 6 (2017–2021). Retrieved May 2, 2017, from http://mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8409 [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
95
Naveekarn, S. (2000). Strategic Management and Business Policy (5th ed.). Bangkok: Bannakit. [in Thai] Panomai, S. (2014). The Model of Brand Image Building Through Sports Supporter of Private University. Thesis of Graduate School (Sports Science), Kasetsart University. [in Thai] Porter, M. E. (1980). Competitive strategy: Techniques for analyzing industries and competitors. New York: Free Press. Satyarak, W. (2009). Branding strategy for private university. Thesis of Education (Educational Administration and Management), Srinakharinwirot University. [in Thai] Sawagvudcharee, O. & Yolles, M. (2017). Conceptual Development on Strategic Management for Organizational Improvement. Journal of Social Sciences, Humanities, and Arts, 17(3), 17-26. Sereerat, S. (2009). Marketing Management. Bangkok: Diamond in Business World. [in Thai] Siriwan, K. (2011). Marketing Factors and Images of Private Universities Conducive to Student’s Choice of Pursuing Undergraduate Study: A Case of Secondary-school Students in Bangkok and Its Vicinity. Journal of EAU Heritage, 5(Supplement), 8-15. [in Thai] Sukayanudit, V. (1998). Sports development for excellence as perceived by the Northeastern education staff and students under the Ministry of University Affairs. Thesis of Physical Education, Khon Kaen University. [in Thai] Suvannajata, T. (2003). Communication strategy for competitive advantage in private university management. Thesis of Master of Arts Program, Thammasat University. [in Thai] Thanarak, R. (2007). Image building strategies of Rajabhat University after the change of the status. Thesis of Communication Arts, Suan Dusit Rajabhat University. [in Thai] Wail, A. & Aayed, Q. (2014). Toward an Understanding of Marketing Strategies in Higher Education Institutions. Euro Asia Journal of Management, 24(1/2), 23-35. Wattanasupachoke, T. (2007). Brand Ambassador Tips. Bangkok: Business Bangkok Media. [in Thai]
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
96
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Name and Surname: Montira Chunlim Highest Education: Doctor of Business Administration Program in Management, Shinawatra University University or Agency: Shinawatra University Field of Expertise: Sport, Management, Business Address: 99 Moo 10, Bang Toey, Sam Khok, Pathum Thani 12160 Name and Surname: Ousanee Sawagvudcharee Highest Education: The Doctor of Philosophy (Ph.D.) in Business Administration, Institute of International Studies, Ramkhamhaeng University University or Agency: Shinawatra University Field of Expertise: Management, Business, Hospitality & Tourism, Change Management, Marketing, Human Resources Management, International Business etc. Address: 99 Moo 10, Bang Toey, Sam Khok, Pathum Thani 12160
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
97
การตัดสินใจรับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศของคนเมียนมา โดยใช้วิธีกระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำ� ดับชั้น THE DECISION MAKING IN MEDICAL TREATMENT IN CASE OF BURMESE BASED ON AHP APPROACH ธารทิพย์ ศรีธารทิพย์1 และสวัสดิ์ วรรณรัตน์2 Tharntip Sritharntip1 and Sawat Wannarat2 1,2คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1,2Faculty of Business Administration, Kasetsart University
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจมารับการรักษาพยาบาล ของคนเมียนมาในโรงพยาบาลในต่างประเทศ และความส�ำคัญของแต่ละปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ และ 2) เพื่อ ศึกษาการรับรู้การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของประเทศไทยส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้รับบริการรักษาพยาบาล ของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย ผู้วิจัยเก็บตัวอย่างแบบสอบถามจากกลุ่มเป้าหมายจ�ำนวน 125 คน และ วิเคราะห์ขอ้ มูลโดยใช้วธิ กี ระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำ� ดับชัน้ ผลวิจยั พบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์เป็นปัจจัย ทีส่ ง่ ผลกระทบต่อการตัดสินใจมารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลต่างประเทศมากกว่าปัจจัยด้านการรักษาพยาบาล และปัจจัยด้านการเดินทาง โดยปัจจัยค่ารักษาพยาบาล ความเชีย่ วชาญของแพทย์ และทีต่ งั้ ของโรงพยาบาลมีความส�ำคัญ และส่งผลต่อการตัดสินใจในกลุม่ ปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์ การรักษาพยาบาล และการเดินทางของกลุม่ ตัวอย่างตามล�ำดับ กลุ่มตัวอย่างรับรู้ความเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของประเทศไทยในด้านค่ารักษาพยาบาล การประกันสุขภาพ ความเชี่ยวชาญของแพทย์ ระยะเวลาในการเดินทาง และที่ตั้งของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ มารับบริการในโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย โดยผลการประเมินความสอดคล้องไม่เกิน 0.1 แสดงว่า ข้อมูลมี ความน่าเชื่อถือได้ ค�ำส�ำคัญ: การตัดสินใจ การรักษาพยาบาล เมียนมา กระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำ� ดับชั้น
Corresponding Author E-mail: sritharntip@gmail.com
98
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Abstract
The objectives of this research aim 1) to identify factors that influence Burmese in making decision for medical treatment abroad and the importance of the influencing factors 2) to study impact of perception in medical hub on making decision for medical treatment in private hospital in Thailand. The researcher collected data from Burmese who visit private hospital in Thailand for health service. Data were analyzed by using Analytic Hierarchy Process (AHP). The results revealed that the samples have given more importance to general total expense rather than medical service and travelling in making decision for medical treatment. Among the criteria, the criterion of treatment expense, doctor expertise and hospital location had highest weight in general total expense, medical service and travelling respectively. The important factor influencing perception in medical hub on making decision for medical treatment in private hospital in Thailand can be identified to be treatment expense, insurance, doctor expertise, travelling hour and hospital location. The accuracy of differentiated AHP was less than 0.10, which is acceptable and suite to use the factors as the influencing factors in making decision for medical treatment service. Keywords: Decision making, Medical Treatment, Burmese, Analytic Hierarchy Process
บทน�ำ
จากการที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้เขตการค้าเสรี อาเซียน ซึ่งก�ำหนดทิศทางการด�ำเนินงานเพื่อมุ่งสู่การ เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2563 ธุรกิจการรักษาพยาบาลเป็นธุรกิจในสาขาบริการที่เปิด เสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยประเทศ สมาชิกอาเซียนมีข้อผูกพันในการยกเลิกข้อจ�ำกัดต่างๆ ในการเข้าสู่ตลาด เพิ่มสัดส่วนการลงทุนของประเทศ สมาชิกในธุรกิจดังกล่าว และลดข้อจ�ำกัดเพื่ออ�ำนวย ความสะดวกในการเคลือ่ นย้ายแรงงานวิชาชีพทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง กับธุรกิจการรักษาพยาบาล (Office of Academic Resources, Chulalongkorn University, 2012: 9-2) Asian Medical Tourism Analysis ได้ประมาณ การมู ล ค่ า ตลาดการท่องเที่ยวเชิง การแพทย์ใ นกลุ่ม ประเทศเอเชียในปี พ.ศ. 2555 มีประมาณ 46,000 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ โดยมีนักท่องเที่ยวรวมกัน 3.4 ล้านคน เป็นนักท่องเทีย่ วทีม่ าประเทศไทย 1.5 ล้านคน (ร้อยละ 44) สามารถสร้างรายได้ประมาณร้อยละ 40 ของมูลค่าตลาด
หรือประมาณ 55,200 ล้านบาท (The Office of Small and Medium Enterprises Promotion, 2013: 15) ใน พ.ศ. 2556 ประเทศไทยสามารถสร้าง รายได้สธู่ รุ กิจหลัก ประกอบด้วยโรงพยาบาลเอกชนรวม 70,000 ล้านบาท (ร้อยละ 50) การท่องเที่ยวรวม 50,000 ล้านบาท (ร้อยละ 36) และการส่งเสริมสุขภาพ รวม 20,000 ล้านบาท (ร้อยละ 14) มีจำ� นวนผูร้ บั บริการ ชาวต่างชาติรวม 1.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วง 2 ปีก่อนหน้าร้อยละ 22 (Moolla & Karnjanakit, 2014: 102) การเปิดเสรีการรักษาพยาบาลเป็นโอกาสดีในการ ขยายการลงทุนและส่งออกบริการรักษาพยาบาลของ โรงพยาบาลไทยในตลาดอาเซียน โดยมีปจั จัยเกือ้ หนุนคือ ความต้องการบริการรักษาพยาบาลในอาเซียนทีม่ แี นวโน้ม เติบโตต่อเนือ่ ง และในประเทศทีส่ ดั ส่วนจ�ำนวนประชากร ผูส้ งู อายุมแี นวโน้มเพิม่ ขึน้ มาก (GSB Research, 2016: 5) การเป็นทีร่ จู้ กั และได้รบั การยอมรับจากต่างประเทศของ โรงพยาบาลเอกชนไทย (Sathapongpakdee, 2016: 3)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
นโยบายของรัฐบาลตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาให้ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (The Secretariat of the Cabinet, 2016) โรงพยาบาลไทย ต้องเผชิญกับความท้าทายในการเร่งปรับตัวเพื่อเตรียม รับมือกับการเปิดเสรีดงั กล่าวทีม่ แี นวโน้มแข่งขันรุนแรงขึน้ (K-Econ Analysis, 2016: 4) ใน พ.ศ. 2553-2556 นักท่องเทีย่ วและผูร้ บั บริการ ด้านสุขภาพส่วนใหญ่มาจากจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และ อาเซียน เนือ่ งจากสภาพเศรษฐกิจถดถอยในสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา การตื่นตัวในการเปิดเสรีประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน และการเกิดขึน้ ของสายการบินราคา ประหยัดในภูมิภาคอาเซียน (The Office of Small and Medium Enterprises Promotion, 2013: 11-17) โดยประเทศทีม่ าใช้บริการรักษาพยาบาลในประเทศไทย สูงที่สุดคือ เมียนมา ร้อยละ 20.8 รองลงมาคือ จีน ร้อยละ 12.2 และสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 9.6 ใน พ.ศ. 2555 (GSB Research, 2016: 3) การเลือกใช้บริการรักษาพยาบาลของผูป้ ว่ ยต่างชาติ จะพิจารณาจากหลายปัจจัย ประกอบด้วยมาตรฐานและ คุณภาพของการให้บริการทางการแพทย์ ค่าใช้จา่ ยด้าน การรักษาพยาบาลทีต่ ำ�่ กว่าประเทศอืน่ ภาวะอุตสาหกรรม การท่องเทีย่ ว และเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ (Bangkok Dusit Medical Services, 2016: 50) โดยปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลท�ำให้ผปู้ ว่ ยจากเมียนมาตัง้ ใจมารับ การรักษาที่ไทยสูงที่สุดคือ ปัจจัยด้านตราสินค้าของ โรงพยาบาล และหาข้อมูลจากบุคคลอ้างอิงที่เคยมาใช้ บริการทางการแพทย์ในไทย (Timdang & Sookcharoen, 2015: 58) ในการให้บริการด้านสาธารณสุขของเมียนมายังมี ปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล ในการให้บริการ ซึง่ ต้องใช้เวลาในการพัฒนาทักษะและ ความเชี่ยวชาญ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ล้าสมัย ระบบ การท�ำงานยังไม่เป็นสากล จ�ำนวนโรงพยาบาลไม่เพียงพอ กับความต้องการของประชาชน และปัญหาคุณภาพของ โรงพยาบาล ประชาชนเมียนมาทีม่ กี ำ� ลังซือ้ สูงและอาศัย
99
อยูใ่ นเมืองใกล้เคียงทีส่ ามารถเดินทางมารักษาทีไ่ ทยได้งา่ ย จะมารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนตามจังหวัด ชายแดนของไทย แต่ประชาชนเมียนมาในพื้นที่ที่ไกล จากจังหวัดชายแดนของไทยจะเลือกเดินทางเข้าไปรักษา พยาบาลทีโ่ รงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร (Witvorapong & Komopaisarn, 2015: 23-24) ความท้าทายของโรงพยาบาลเอกชนทีจ่ ะต้องพร้อม รับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีประเทศ ในกลุม่ อาเซียนทีม่ ศี กั ยภาพในการให้บริการรักษาพยาบาล เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น และการเติบโตของจ�ำนวน ผูป้ ว่ ยต่างชาติในกลุม่ ประเทศอาเซียนทีเ่ ข้ามาใช้บริการ รักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนในไทยอย่างต่อเนือ่ ง (Pocock & Phua, 2011: 1-12) ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่คน เมียนมาตัดสินใจมารับบริการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาล ในต่างประเทศ โดยผู้วิจัยสร้างแบบจ�ำลองในการเลือก โรงพยาบาลที่ใช้บริการรักษาพยาบาลในต่างประเทศ โดยใช้วิธีการกระบวนตัดสินใจแบบวิเคราะห์ล�ำดับชั้น ในการหาปัจจัยส�ำคัญทีใ่ ช้ในการตัดสินใจดังกล่าว โดยมี เกณฑ์หลักและเกณฑ์รองในการตัดสินใจเพือ่ หาทางเลือก คือ โรงพยาบาลในต่างประเทศทีผ่ ปู้ ว่ ยเมียนมาเลือกรับ การรักษาพยาบาล
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจ มารับการรักษาพยาบาลของคนเมียนมาในโรงพยาบาล ในต่างประเทศ และความส�ำคัญของแต่ละปัจจัยทีส่ ง่ ผล ต่อการตัดสินใจ 2. เพือ่ ศึกษาการรับรูก้ ารเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ ของไทยส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้รับบริการรักษา พยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนในไทย
ทบทวนวรรณกรรม
กระบวนการตั ด สิ น ใจแบบวิ เ คราะห์ ล� ำ ดั บ ชั้ น (Analytic Hierarchy Process: AHP) ถูกพัฒนาขึ้น
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
100
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ใน ค.ศ. 1970 โดย Thomas L. Saaty เป็นการแปลง สิ่งที่ไม่สามารถวัดค่าในเชิงปริมาณมาพิจารณาในเชิง ปริมาณโดยก�ำหนดมาตรส่วนในการพิจารณา เพือ่ ให้ได้ ค�ำตอบที่เป็นไปได้แบบมีเหตุผล โดยก�ำหนดเป้าหมาย และสร้างโครงสร้างของปัญหาทีต่ อ้ งการพิจารณาออกมา เป็นแผนภูมลิ ำ� ดับชัน้ ตามล�ำดับชัน้ ของเกณฑ์ทใี่ ช้พจิ ารณา จากเกณฑ์หลักสู่เกณฑ์รองตามล�ำดับ จัดเรียงเป็นชั้นๆ จนถึงทางเลือก และจับคูเ่ กณฑ์เปรียบเทียบเพือ่ ค�ำนวณ หาน�้ำหนักของเกณฑ์รอง เกณฑ์หลัก และทางเลือก (Schmidt et al., 2015: 1-27) หากงานวิจัยมีเกณฑ์ หลายเกณฑ์และไม่ได้มีผู้ประเมินเพียงผู้เดียว ควรใช้ โปรแกรม Expert Choice ช่วยในการค�ำนวณ (Kim, Kim & Youn, 2012: 4824-4834; Gupta, 2015: 18-32) ท�ำให้สามารถมองเห็นองค์ประกอบของปัญหาโดยรวม และเปรียบเทียบปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผลในทุกปัจจัย ที่พิจารณา ท�ำให้ผลการตัดสินใจมีความถูกต้องมากขึ้น (Jaisung & Theeranuphattana, 2012: 65-89) ในการเข้ามารับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศ ของคนไข้ตา่ งชาติทไี่ ม่ได้มาท่องเทีย่ วเชิงสุขภาพ จะเริม่ ต้น จากการประเมินประเทศทีจ่ ะเดินทางไปรับบริการรักษา โดยพิ จ ารณาจากปั จ จัยด้านเศรษฐกิจ สถานการณ์ ทางการเมือง นโยบาย และกฎระเบียบต่างๆ ระบบ สาธารณูปโภคทางด้านการแพทย์ (Smith & Forgione, 2007: 19-30) โดยพิจารณาจากค่าบริการทางการแพทย์ (Veerasoontorn & Beise-Zee, 2010: 247-264) การได้รับรองระบบคุณภาพของโรงพยาบาล คุณภาพ การดูแล ระยะเวลาการรอคอยในการรับบริการด้านรักษา พยาบาลทีร่ อได้ในประเทศตนเอง การขาดความสามารถ ในการให้บริการรักษาที่ทันสมัย (Eissler & Casken, 2013: 117-184; Veerasoontorn & Beise-Zee, 2010: 247-264) ความเชีย่ วชาญของแพทย์ (Smith & Forgione, 2007: 19-30) เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัย และ การให้บริการ (Sankrusme, 2013: 220-230) ชือ่ เสียง ของโรงพยาบาล (Veerasoontorn & Beise-Zee, 2010: 247-264) (Timdang & Sookcharoen, 2015: 58)
ชื่อเสียงของแพทย์ แพทย์อยู่ในเครือข่ายการให้บริการ เบิกจ่ายประกัน ความง่ายในการเข้าประเทศ ศาสนา ภาษา และการสื่อสาร (Abraham et al., 2011: 99-114) ชาวต่างชาติที่มาใช้บริการรักษาพยาบาลในไทย ให้ ค วามส� ำ คั ญ เรื่ อ งบริ ก ารรั ก ษาพยาบาลเป็ น หลั ก (Na Ranong, 2011: 47-81) และให้ความส�ำคัญกับ การท่องเที่ยวเพียงเล็กน้อย ปัจจัยที่ท�ำให้เกิดความ ต้องการมารับบริการทางแพทย์ในต่างประเทศคือ เมือ่ มี ปัญหาด้านสุขภาพ ไม่พงึ พอใจในการรักษาภายในประเทศ ของตน และในประเทศของตนไม่สามารถท�ำการรักษาได้ (Sookcharoen & Timdang, 2012: 40-41) พฤติกรรมในการใช้บริการรักษาพยาบาลของคน เมียนมาเมื่อมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยจะนิยมซื้อยามา รับประทานเอง ในบางรายจะไปพบแพทย์ หากมีอาการ เจ็บป่วยรุนแรงจะไปพบแพทย์ตามคลินกิ หรือโรงพยาบาล เอกชน ในกลุม่ คนเมียนมาทีม่ รี ายได้สงู จะเดินทางไปรับ การรักษาในโรงพยาบาลในต่างประเทศ เช่น ไทย หรือ สิงคโปร์ (E-Saan Centre of Business and Economic Research, 2014: 11) และให้ความส�ำคัญกับการตรวจ สุขภาพประจ�ำปี โดยร้อยละ 90 ของคนเมียนมาจะไม่มี ประกันสุขภาพ จะช�ำระค่ารักษาพยาบาลเอง (The Office of Small and Medium Enterprises Promotion, 2015: 5-5) ด้วยวัฒนธรรมของประชาชนเมียนมาที่มี ความรูส้ กึ ผูกพันกับกลุม่ (Collectivism) ในการตัดสินใจ เลือกโรงพยาบาลในการรับการรักษา จะหาข้อมูลจาก ญาติพ่ีน้อง ครอบครัว และเพื่อน มากกว่าข้อมูลจาก อินเทอร์เน็ต ซึง่ ยังให้ความเชือ่ ถือน้อยส�ำหรับประชาชน ในประเทศทีเ่ พิง่ เข้าสูเ่ ทคโนโลยีอย่างเช่นเมียนมา (Nay Lynn & Walsh, 2014: 84-94)
วิธีการวิจัย
ผู ้ วิ จั ย รวบรวมเกณฑ์ ก ารตั ด สิ น ใจรั บ การรั ก ษา พยาบาลของชาวต่างชาติจากการทบทวนวรรณกรรม ที่เกี่ยวข้อง ดังตารางที่ 1 โดยอ้างอิงจากการรวบรวม เกณฑ์การตัดสินใจ Jaisung & Theeranuphattana
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
(2012: 74) เพื่อน�ำมาเป็นแนวทางในการคัดเลือก เกณฑ์การตัดสินใจ ซึ่งประกอบด้วยค่ารักษาพยาบาล ความสามารถในการรักษา คุณภาพการให้บริการ ระยะ
101
เวลารอคอย เทคโนโลยี สิง่ อ�ำนวยความสะดวก ประเทศ ปลายทาง ประกันสุขภาพ ความเสีย่ งในการรับการรักษา ชื่อเสียงของโรงพยาบาล และแพทย์แนะน�ำ
คุณภาพการให้บริการ
ระยะเวลารอคอย
ความสามารถในการรักษา
ประเทศปลายทาง
ความเสี่ยงในการรับการรักษา
เทคโนโลยี สิ่งอ�ำนวยความสะดวก
ชื่อเสียงของ รพ.
แพทย์แนะน�ำมา
ประกันสุขภาพ
เกณฑ์
ค่ารักษาพยาบาล
ตารางที่ 1 เกณฑ์การตัดสินใจรับการรักษาพยาบาลที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม
X X X X X X X X
X X X X
X X X X X X X X X X
X X X
X X
X X X X
X
X
X X
X
X
X
X
ผู้วิจัย (ปี) 1. Schell, Hamel & Cesani (2013) X 2. Anvekar (2012) X 3. Peters & Sauer (2011) X 4. Adams et al. (2015) X 5. Nay Lynn & Walsh (2014) X 6. Maniam (2015) X 7. Abraham et al. (2011) 8. Eissler & Casken (2013) X 9. Chin-Tsai, In-Fun & Ya-Ling (2009) X 10. Sankrusme (2013) 11. Gan & Frederick (2011) X 12. Sookcharoen & Timdang (2012) 13. Veerasoontorn & Beise-Zee (2010) X 14. Smith & Forgione (2007) X 15. Bangkok Dusit Medical Services X (2012) 16. Horowitz, Rosenweig & Jones X (2007)
X
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
102
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ผู้วิจัยคัดเลือกเกณฑ์รองในการวิจัยจากตารางที่ 1 และจั ด กลุ ่ ม เกณฑ์ ก ารตั ด สิ น ใจโดยอ้ า งถึ ง Gan & Frederick (2011: 3-7) ทีศ่ กึ ษาแรงจูงใจในการมารักษา ในต่างประเทศ โดยจัดกลุ่มปัจจัย 3 ด้านคือ ด้าน เศรษฐศาสตร์ ได้แก่ รายได้ การมีประกัน และอายุ ซึง่ แสดงออกมาในรูปของการร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล และการได้รับผลตอบแทนพิเศษทางการเงิน ด้านการ รักษาพยาบาล ได้แก่ คุณภาพการรักษา การดูแลหลัง
การผ่าตัด ความเชื่อมั่น และชื่อเสียงของโรงพยาบาล และด้านการเดินทาง ได้แก่ จุดหมายปลายทางในการ เดินทาง ระยะเวลาการเดินทางไปโรงพยาบาลผู้วิจัยจึง จัดกลุ่มเกณฑ์หลักคือ ปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์ ปัจจัย ด้านการรักษาพยาบาล และด้านการเดินทาง และจัดเกณฑ์ การตัดสินใจรับการรักษาพยาบาลในตารางที่ 1 เป็นเกณฑ์ การตัดสินใจรอง ให้สอดคล้องกับเกณฑ์การตัดสินใจหลัก ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 โครงสร้างการวิเคราะห์เชิงล�ำดับชั้นส�ำหรับการตัดสินใจเลือกรับการรักษาพยาบาลของคนเมียนมา ผูว้ จิ ยั ก�ำหนดทางเลือกในการตัดสินใจคือ โรงพยาบาล ในไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย เนื่องจากเป็นประเทศ ในภูมิภาคอาเซียนที่พยายามผลักดันเป็นศูนย์กลาง ทางการแพทย์ และเป็นคูแ่ ข่งส�ำคัญของไทย (Nilprem, 2015: 82-83) และจากข้อมูลการสัมภาษณ์ผเู้ ชีย่ วชาญ ด้านการตลาดต่างประเทศและตัวแทนส่งคนไข้เมียนมา มารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนในไทย ซึ่งมี ประสบการณ์ด้านการตลาดต่างประเทศในธุรกิจรักษา พยาบาล 5 ปีขึ้นไป ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างการวิจัยแบบไม่ใช้ความ
น่าจะเป็น และเก็บข้อมูลแบบเจาะจงจากผู้รับบริการ ชาวเมี ย นมาที่ เ คยเข้ า รั บ บริ ก ารรั ก ษาพยาบาลใน รพ.บ�ำรุงราษฎร์ รพ.กรุงเทพดุสิตเวชการ รพ.สมิติเวช สุขุมวิท และรพ.พญาไท 2 ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มี มูลค่าอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2558 สูงที่สุด 4 อันดับแรก (Bangkok Dusit Medical Services, 2016: 116, Bumrungrad, 2016: 30, Samitivej, 2016: 63) กลุ่มตัวอย่างจะต้องเข้ารับ บริการในโรงพยาบาลดังกล่าวไม่เกิน 2 ปี คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-2559
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ในแบบจ� ำ ลองการวิ เ คราะห์ ต ามล� ำ ดั บ ชั้ น ไม่ ไ ด้ ก�ำหนดจ�ำนวนตัวอย่างทีใ่ ช้ในงานวิจยั อย่างชัดเจน ผูว้ จิ ยั ค�ำนวณหาค่า Geometric Mean (Schmidt et al., 2015: 1-27) จากข้อมูลของกลุม่ ตัวอย่างทีต่ อบกลับมา ครบถ้วน 125 ฉบับ เพื่อน�ำไปวิเคราะห์ค่าน�้ำหนักของ เกณฑ์และทางเลือกด้วยโปรแกรม Expert Choice จากการตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูลค่าน�ำ้ หนัก ของเกณฑ์ และค่าน�้ำหนักของทางเลือกในแต่ละเกณฑ์ ได้อัตราความไม่สอดคล้องน้อยกว่า 0.1 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ ปกติทยี่ อมรับได้ และแสดงถึงผลลัพธ์ทมี่ คี วามเชือ่ ถือได้ (Saaty, 1980)
ผลการวิจัย
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผูต้ อบแบบสอบถาม จ�ำนวน 125 คน เป็นเพศชาย 47 คน (ร้อยละ 37.6) และเพศหญิง 78 คน (ร้อยละ 62.4) ส่วนใหญ่มชี ว่ งอายุ ระหว่าง 36-45 ปี (ร้อยละ 69) เคยใช้บริการทีโ่ รงพยาบาล เอกชนในไทยมากกว่า 2 ครั้ง (ร้อยละ 85) เพื่อรับการ รักษาพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 34 ระบบ ทางเดินหายใจ ร้อยละ 31 กระดูกและข้อ ร้อยละ 20 การตัดสินใจรักษาพยาบาลของคนเมียนมา จากการพิจารณาน�ำ้ หนักความส�ำคัญของทางเลือก ดังตารางที่ 2 กลุม่ ตัวอย่างให้ความส�ำคัญในการตัดสินใจ รักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลในไทยมากทีส่ ดุ ร้อยละ 48.9 รองลงมาคือ โรงพยาบาลในสิงคโปร์ ร้อยละ 34.7 และ มาเลเซีย ร้อยละ 16.4 โดยปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์ (ร้อยละ 51.6) ส่งผลต่อการตัดสินใจมารับการรักษา พยาบาลมากกว่าปัจจัยด้านการรักษาพยาบาล (ร้อยละ 39.7) และปัจจัยด้านการเดินทาง (ร้อยละ 8.6) เมื่อ พิจารณาความส�ำคัญของปัจจัยย่อยด้านเศรษฐศาสตร์ พบว่า ค่าใช้จา่ ยในการรักษาพยาบาล (0.648) ส่งผลต่อ การตัดสินใจมากกว่าการประกันสุขภาพ (0.352) ส่วนปัจจัย ด้านการรักษาพยาบาลพบว่า ปัจจัยด้านความเชีย่ วชาญ ของแพทย์ (0.713) ส่งผลต่อการตัดสินใจมากกว่าชือ่ เสียง
103
ของโรงพยาบาล (0.158) และคุณภาพการรักษา (0.129) ในส่วนของปัจจัยด้านการเดินทางพบว่า กลุม่ ตัวอย่างให้ ความส�ำคัญกับที่ตั้งของโรงพยาบาล (0.857) มากกว่า ระยะเวลาในการเดินทาง (0.143) กลุม่ ตัวอย่างเป็นกลุม่ ทีเ่ คยใช้บริการทางการแพทย์ จากโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย และรับรูถ้ งึ ความ เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของประเทศไทยผ่านการ ประชาสัมพันธ์ทั้งในสื่อของโรงพยาบาล การบอกต่อ และตัวแทนส่งคนไข้ในประเทศตนเอง เมือ่ พิจารณาเกณฑ์ ในการตัดสินใจมารับการรักษากับโรงพยาบาลไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย พบว่า ปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อการตัดสินใจเลือก ใช้บริการรักษาพยาบาลในประเทศไทยมากกว่าในสิงคโปร์ และมาเลเซียคือ ระยะเวลาในการเดินทางและทีต่ งั้ ของ โรงพยาบาล ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างเลือก มารับการรักษาพยาบาลในไทยมากทีส่ ดุ โดยให้นำ�้ หนัก ความส�ำคัญกับโรงพยาบาลในไทยสูงกว่าเกณฑ์รองอื่น คือ 0.626 และ 0.644 ตามล�ำดับ เนือ่ งจากความสะดวก ในการเดินทางมาไทยที่ใกล้กว่าสิงคโปร์และมาเลเซีย ส่วนปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกรับการรักษา พยาบาลกับโรงพยาบาลในไทยคือ ความเชี่ยวชาญของ แพทย์ (0.498) ค่ารักษาพยาบาล (0.493) และการประกัน สุขภาพ (0.489) ตามล�ำดับ เมื่อพิจารณาปัจจัยด้านชื่อเสียงของโรงพยาบาล (0.416) และคุณภาพการรักษา (0.660) พบว่า กลุม่ ตัวอย่าง ให้คะแนนความส�ำคัญกับโรงพยาบาลในสิงคโปร์มากกว่า ไทยและมาเลเซีย โรงพยาบาลในไทยจึงควรปรับปรุง ชือ่ เสียงของโรงพยาบาลและคุณภาพการรักษา โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ในด้านคุณภาพการรักษาทีก่ ลุม่ ตัวอย่างให้นำ�้ หนัก ความส�ำคัญแก่โรงพยาบาลในไทยน้อยที่สุดจากปัจจัย ที่อยู่ในเกณฑ์รองทั้งหมด 7 ปัจจัย โดยกลุ่มตัวอย่างให้ น�ำ้ หนักความส�ำคัญในปัจจัยดังกล่าวในสิงคโปร์มากกว่า โรงพยาบาลในไทยและมาเลเซี ย และเป็ น ปั จ จั ย ที่ โรงพยาบาลในสิงคโปร์ได้น�้ำหนักความส�ำคัญมากที่สุด จากปัจจัยที่อยู่ในเกณฑ์รองทั้งหมด 7 ปัจจัย
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
104
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ตารางที่ 2 น�้ำหนักความส�ำคัญของทางเลือกในแต่ละเกณฑ์รอง เกณฑ์หลัก เกณฑ์รอง ปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์ ค่ารักษาพยาบาล
ปัจจัยด้านการรักษา พยาบาล
ปัจจัยด้านการเดินทาง
สรุปและอภิปรายผล
ทางเลือก ค่าน�ำ้ หนักความส�ำคัญ ล�ำดับที่ โรงพยาบาลในไทย 0.493 1 โรงพยาบาลในสิงคโปร์ 0.347 2 โรงพยาบาลในมาเลเซีย 0.160 3 การประกันสุขภาพ โรงพยาบาลในไทย 0.489 1 โรงพยาบาลในสิงคโปร์ 0.347 2 โรงพยาบาลในมาเลเซีย 0.164 3 1 ชื่อเสียงของโรงพยาบาล โรงพยาบาลในสิงคโปร์ 0.416 2 โรงพยาบาลในไทย 0.374 3 โรงพยาบาลในมาเลเซีย 0.209 0.660 1 คุณภาพการรักษา โรงพยาบาลในสิงคโปร์ โรงพยาบาลในมาเลเซีย 0.176 2 โรงพยาบาลในไทย 0.164 3 ความเชี่ยวชาญของแพทย์ โรงพยาบาลในไทย 0.498 1 โรงพยาบาลในสิงคโปร์ 0.360 2 โรงพยาบาลในมาเลเซีย 0.143 3 ระยะเวลาเดินทาง โรงพยาบาลในไทย 0.626 1 โรงพยาบาลในสิงคโปร์ 0.209 2 โรงพยาบาลในมาเลเซีย 0.165 3 ที่ตั้งของโรงพยาบาล โรงพยาบาลในไทย 0.644 1 โรงพยาบาลในมาเลเซีย 0.281 2 โรงพยาบาลในสิงคโปร์ 0.075 3
จากการให้ค่าน�้ำหนักในเกณฑ์การตัดสินใจรับการ รักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลในต่างประเทศของคน เมียนมา ปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์ อันประกอบด้วยค่ารักษา พยาบาลและการประกันสุขภาพ เป็นปัจจัยทีส่ ง่ ผลกระทบ ต่อการตัดสินใจของคนเมียนมามากกว่าด้านรักษาพยาบาล และการเดินทาง โดยให้ความส�ำคัญกับค่ารักษาพยาบาล และการประกันสุขภาพไม่แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับ การศึกษาของ Veerasoontorn & Beise-Zee (2010)
ทัง้ นี้ กลุม่ ตัวอย่างทีผ่ วู้ จิ ยั ศึกษาเป็นคนเมียนมาทีเ่ คยรับ การรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย ซึง่ รับรูค้ วามเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของประเทศไทย จากการสอบถามข้อมูลมาจากการแนะน�ำบอกต่อจาก ครอบครัว ตัวแทนส่งคนไข้ และสื่อประชาสัมพันธ์ ของโรงพยาบาลในประเทศไทย โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อ การตัดสินใจมารับการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาล ในประเทศไทยคือ ค่ารักษาพยาบาลที่สมเหตุสมผล เนือ่ งจากจุดเด่นด้านค่ารักษาพยาบาลทีไ่ ม่สงู นักเมือ่ เทียบ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
กับโรงพยาบาลในสิงคโปร์และมาเลเซีย ปัจจัยรองลงมาคือ การประกันสุขภาพ ความเชีย่ วชาญของแพทย์ในการรักษา ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Smith & Forgione (2007) และความสะดวกสบายในการเดินทางมาใช้ บริการในประเทศไทย เนือ่ งจากใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า ไปสิงคโปร์และมาเลเซีย
ข้อเสนอแนะ
จากผลการศึกษาการตัดสินใจรับการรักษาพยาบาล ในต่างประเทศของคนเมียนมา ผู้วิจัยน�ำมาก�ำหนดเป็น ข้อเสนอแนะได้ดังนี้ 1. ปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์ กลุม่ ตัวอย่างให้นำ�้ หนัก ความส�ำคัญกับปัจจัยค่ารักษาพยาบาลและการประกัน สุ ข ภาพแก่ โ รงพยาบาลในไทยมากกว่ า โรงพยาบาล ในสิงคโปร์และมาเลเซีย โรงพยาบาลเอกชนในไทยจึงควร เพิ่มเติมการอธิบายรายละเอียดของค่ารักษาพยาบาล ให้ชดั เจน เกิดความเข้าใจทีต่ รงกันก่อนเข้ารับการรักษา เพื่อให้คนเมียนมาเห็นถึงความสมเหตุสมผลของราคา ค่ารักษาพยาบาล ด้วยคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการ รักษาพยาบาลในระดับเดียวกับโรงพยาบาลในสิงคโปร์ และมาเลเซีย 2. ปัจจัยด้านการรักษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างให้ น�ำ้ หนักความส�ำคัญด้านคุณภาพการรักษาแก่โรงพยาบาล ในไทยน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง ในไทยจะได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานแล้วก็ตาม และให้นำ�้ หนักความส�ำคัญด้านชือ่ เสียงของโรงพยาบาล น้อยกว่าโรงพยาบาลในสิงคโปร์ โรงพยาบาลเอกชนในไทย จึงควรเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการรับรู้ถึงคุณภาพ การรักษาผ่านช่องทางต่างๆ เนือ่ งจากเป็นปัจจัยทีอ่ ยูใ่ น เกณฑ์หลักด้านการรักษาพยาบาลทีม่ นี ำ�้ หนักความส�ำคัญ ร้อยละ 39.7 เช่น การจัดท�ำสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ คุณภาพการรักษาด้วยเนือ้ หาทีเ่ ข้าใจง่าย และการสือ่ สาร คุณภาพการรักษาผ่านบุคลากรของโรงพยาบาลในทุก
105
ขั้นตอนของการให้บริการกับคนเมียนมาที่มารับบริการ เพื่อสร้างการรับรู้ในคุณภาพการรักษาแก่คนเมียนมา และเกิดความมัน่ ใจในการรับบริการรักษาพยาบาล รวมถึง การจัดกิจกรรมการตลาดผ่านตัวแทนของโรงพยาบาล ซึ่งตัวแทนส่วนใหญ่เป็นคนเมียนมาจะเข้าใจวัฒนธรรม ของคนเมียนมามากกว่าคนไทย โดยส่งเสริมให้แพทย์มี ส่วนร่วมในการท�ำกิจกรรมดังกล่าว เนือ่ งจากคนเมียนมา ให้ความส�ำคัญกับความเชี่ยวชาญของแพทย์ 3. ปัจจัยด้านการเดินทาง เนื่องจากคนเมียนมา เดินทางมารับการรักษาพยาบาลที่ไทยสะดวกกว่าการ เดินทางไปมาเลเซียหรือสิงคโปร์ โรงพยาบาลในไทยควร ร่วมมือกับผูป้ ระกอบการด้านการท่องเทีย่ วและสายการบิน ในการจัดแพ็กเกจค่าใช้จ่ายร่วมกัน เพื่อดึงดูดให้คน เมียนมามาใช้บริการมากขึน้ โดยชูจดุ เด่นแหล่งท่องเทีย่ ว ของไทยที่มีชื่อเสียง
ส�ำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
ผูว้ จิ ยั สนใจจะศึกษาเพิม่ เติมในกลุม่ ประเทศอาเซียน โดยเฉพาะประเทศกัมพูชาที่มีการเติบโตของรายได้ ค่ารักษาพยาบาลสูงกว่าเมียนมาในไตรมาสที่ 3 ของ พ.ศ. 2559 (K-Econ Analysis, 2017: 1) และเปรียบเทียบ การตัดสินใจรักษาพยาบาลระหว่างคนไข้เมียนมาและ กลุ่มผู้ป่วยจากประเทศในอาเซียน จากผลการศึกษาทีค่ นเมียนมาให้นำ�้ หนักความส�ำคัญ ด้านคุณภาพการรักษาแก่โรงพยาบาลในไทยน้อยที่สุด จากปัจจัยที่อยู่ในเกณฑ์รองทั้งหมด ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะ ศึกษาต่อยอดเรื่องการรับรู้ของคนเมียนมาต่อคุณภาพ การรักษาพยาบาลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับการรักษา พยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนของไทย และความสัมพันธ์ ระหว่างคุณภาพการรักษาพยาบาล และความภักดีของ คนเมียนมาในการรับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล เอกชนของไทยเพิ่มเติม
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
106
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
References
Abraham, J., Sick, B., Anderson, J., Berg, A., Dehmer, C. & Tufano, A. (2011). Selecting a Provider: What Factors Influence Patients’ Decision Making? Journal of Healthcare Management, 56(2), 99-114. Adams, K., Snyder, J., Crooks, V. & Johnston, R. (2015). Tourism Discourse and Medical Tourists’ Motivations to Travel. Tourism Review, 70(2), 85-96. Anvekar, S. R. (2012). Medical Tourism in India: A Strategic Approach Towards Effective Branding for Health Care Services Marketing. American Journal of Management, 12(2), 108-116. Bangkok Dusit Medical Services. (2012). Annual Report 2012. Retrieved November 8, 2011, from http://bdms.listedcompany.com/misc/ar/20130319-BGH-AR2012-TH.html [in Thai] Bangkok Dusit Medical Services. (2016). Annual Report 2015. Retrieved October 23, 2016, from http://bdms.listedcompany.com/misc/ar/ar2015_th.html [in Thai] Bumrungrad. (2016). Annual Report 2015. Retrieved October 23, 2016, from http://bh.listedcompany. com/misc/AR/ar2015-th.html [in Thai] Chin-Tsai, L., In-Fun, L. & Ya-Ling, H. (2009). Forecasting Thailand’s Medical Tourism Demand and Revenue from Foreign Patients. The Journal of Grey System, 4, 369-376. Eissler, L. A. & Casken, J. (2013). Seeking Health Care through International Medical Tourism. Journal of Nursing Scholarship, 45(2), 117-184. E-Saan Centre of Business and Economic Research. (2014). Consumer Behavior Habitudes in Yangon. Myanmar: A Report Based on Primary Data Analysis. Expert Choice. (2000). Advanced Decision Support Software. Pittsburgh: Expert Choice. Gan, L. L. & Frederick, J. R. (2011). Consumers’ Attitudes Toward Medical Tourism. Retrieved October 15, 2016, from http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=1837062 GSB Research. (2016). Private hospital business. Retrieved September 25, 2016, from https://www. gsb.or.th/getattachment/a55e0bb2-842e-4f62-9350-dcb8c8cfd2f2/Paper-%E0%B8%98%E0 %B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%9E%E 0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%AD% E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%99.aspx [in Thai] Gupta, H. (2015). Selection of Best Hospital for Surgery Using AHP. The IUP Journal of Operations Management, 15(3), 18-32. Horowitz, M. D., Rosensweig, J. A. & Jones, C. A. (2007). Medical Tourism: Globalization of the Healthcare Marketplace. Retrieved October 15, 2016, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/ pmc/articles/PMC2234298/
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
107
Jaisung, S. & Theeranuphattana, A. (2012). Selection of Logistics Service Providers of Hana Microelectronics Public Company Limited, the Northern Region Industrial Estate, by Applying the Analytic Hierarchy Process. Journal of Business Administration, 35(134), 65-89. [in Thai] K-Econ Analysis. (2016). Private Hospitals Grow Steadily on International Clients. Retrieved June 20, 2016, from http://library.dip.go.th/multim6/edoc/2559/25453.pdf [in Thai] K-Econ Analysis. (2017). Income from International Patients Up 3-4% in 2017. Retrieved July 30, 2017, from http://portal.settrade.com/brokerpage/IPO/Research/upload/2000000323274/ 2859-p.pdf [in Thai] Kim, W., Kim, B. & Youn, M. (2012). Usefulness of analytic hierarchy process (AHP) to determinants win-win growth factor for retailing industry in Korea. African Journal of Business Management, 6(14), 4824-4834. Lerkrujipimol, J. (2008). Marketing Strategy for Medical Tourism Promotion in Thailand. Bangkok: Prince of Songkla University. [in Thai] Lertwannawit, A. (2011). International Tourists’ Service Quality Perception and Behavioral Loyalty Toward Medical Tourism in Bangkok Metropolitan Area. The Journal of Applied Business Research, 27(6), 1-11. Maniam, G. (2015). Medical Tourism as the Result of Rising American Healthcare Costs in the Context of Healthcare Globalization. Journal of Business and Behavior Sciences, 27(2), 112-122. Moolla, O. & Karnjanakit, S. (2014). The Motivation of International Tourists for Health Tourism in Bangkok Metropolis. Academic Journal Institute of Physical Education, 6(1), 99-110. [in Thai] Na Ranong, A. (2011). Economic crisis and Thailand medical hub. NIDA Development Journal, 51(1), 47-81. [in Thai] Nay Lynn, Y. M. & Walsh, J. (2014). Decision Factors in Medical Tourism: Evidence from Burmese Visitors to a Hospital in Bangkok. Journal of Economics and Behavioral Studies, 6(2), 84-94. Nilprem, P. (2015). Thailand and the Center of Medical Hub in ASEAN Economic Community, Thailand and the center of ASEAN Economic Community Part 2. Bangkok: Thammasat University. [in Thai] Office of Academic Resources, Chulalongkorn University. (2012). Preparation for Flow of Labor in the ASEAN Community. Preparation for Flow of Labor in the ASEAN Community, Final Report. [in Thai] Peters, C. R. & Sauer, K. M. (2011). A Survey of Medical Tourism Service Providers. Journal of Marketing Development and Competitiveness, 5(3), 117-126. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
108
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Pocock, N. S. & Phua, K. H. (2011). Medical tourism and policy implication for health systems: a conceptual framework from a comparative study of Thailand, Singapore and Malaysia. Globalization and Health, 7(12), 1-12. Saaty, T. L. (1980). The Analytic Hierarchy Process. New York: McGraw-Hill. Samitivej. (2016). Annual Report 2015. Retrieved October 23, 2016, from https://www.samitivej hospitals.com/download/PDF/Annual%20Report%202558.pdf [in Thai] Sankrusme, S. (2013). Development Strategies for Taking Thailand’s Health Healing Tourism Business into the Global Market. Review of European Studies, 5(5), 220-232. Sathapongpakdee, P. (2016). Business / Industry Trends 2016-2018 Private Hospital Business. Retrieved September 25, 2016, from https://www.krungsri.com/bank/getmedia/89dc254cdd17-4fe7-aa86-39bdbed89459/IO_Hospital_2016_TH.aspx [in Thai] Schell, W., Hamel, W. & Cesani, V. (2013). A Quantitative Approach Towards the Selection of Medical Tourism Destinations. Conference: Industrial and Systems Engineering Research Annual Conference, At San Juan, Puerto Rico. Schmidt, K., Aumann, I., Hollander, I., Damm, K. & Schulenburg, J. M. (2015). Applying the Analytic Hierarchy Process in healthcare research: A systematic literature review and evaluation of reporting. BMC Medical Informatics and Decision Making, 15(112), 1-27. Smith, P. C. & Forgione, D. A. (2007). Global Outsourcing of Healthcare: A Medical Tourism Decision Model. Journal of Information Technology Case and Application Research, 9(3), 19-30. Sookcharoen, W. & Timdang, P. (2012). The Model of Arab Decision-making Process on Travelling to Thailand for Receiving Medical Services. The Hatyai Conference, May 10, 2012, Hatyai University, Songkha. [in Thai] The Office of Small and Medium Enterprises Promotion. (2013). Overview in Spa and Health Service Sector and The Importance of Thai Economy and SMEs. Final Report in Strategies and Action Plan for SMEs Promotion. [in Thai] The Office of Small and Medium Enterprises Promotion. (2015). Key Studies on SMEs in Thailand. White Paper on Small and Medium Enterprises of Thailand in 2015. [in Thai] The Secretariat of the Cabinet. (2016). Strategies to Develop Thailand as an International Medical Hub (2016-2025). Retrieved September 30, 2016, from https://cabinet.soc.go.th/soc/ Program2-3.jsp?top_serl=99321107 [in Thai] Timdang, P. & Sookcharoen, W. (2015). Factors Influencing on Intention to Receive Medical Treatment in Thailand: A Case Study in The Republic of the Union of Myanmar. Journal of the Association of Researchers, 20(3), 50-60. [in Thai] Vaidya, O. S. & Kumar, S. (2006). Analytic hierarchy process: An overview of applications. European Journal of Operational Research, 169(2), 21. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
109
Veerasoontorn, R. & Beise-Zee, R. (2010). International Hospital Outshopping: A Staged Model of Push and Pull Factors. International Journal of Pharmaceutical and Healthcare Marketing, 4(3), 247-264. Witvorapong, N. & Komopaisarn, T. (2015). Thailand’s Offshore Investment: Industry Analysis. Bangkok: Pattanasilp Print Pack. [in Thai]
Name and Surname: Tharntip Sritharntip Highest Education: Business Administration, National Institute of Development Administration University or Agency: Kasetsart University Field of Expertise: Marketing, Hospital Address: 212/12 Amorn Mansion, Soi Wat Hiranruchi, Prachadhipok Rd., Hiranruchi, Thonburi, Bangkok 10600 Name and Surname: Sawat Wannarat Highest Education: D.B.A. (Business Administration), Southern Cross University, Australia University or Agency: Kasetsart University Field of Expertise: Business Administration Address: Doctor of Philosophy Program in Business Administration, Kasetsart University, Bangkok 10900
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
110
INCREASING ORGANISATIONAL SUCCESS THROUGH MANAGEMENT STYLES OF MANAGERS IN HOUSING DEVELOPMENT INDUSTRY การเพิ่มระดับความส�ำเร็จขององค์กรผ่านรูปแบบการจัดการของผู้น�ำในอุตสาหกรรมบ้านจัดสรร Vissanu Zumitzavan1 and Pennee Kantavong2 1,2College of Local Administration, Khon Kaen University, Thailand and Researcher, Research Group on Local Affairs Administration
Abstract
This paper investigates the relationship between management styles (Leadership Styles) of the managers and external factors (Political, Economic, Sociological, Technological, and International/Globalisational Impacts: PEST+I/G), and levels of success of the housing development firms in North-eastern of Thailand. 251 samples of housing development managers were participated in the survey questionnaire. Different statistical techniques were applied to analyse data including Descriptive Statistics and Multiple Regression Analysis. Findings indicate that Transformational and Transactional leadership styles are supportive to the greater levels of success of the firms. More importantly, results also indicate that there is the mediation effect between the relationship of the management styles and level of success of the firms whilst the PEST+I/G have been found as mediator. Suggestions and recommendations are discussed together with the limitation for the future research. Keywords: Leadership Styles, Levels of Success, Management Styles, Organisational Performance
Corresponding Author E-mail: visszu@kku.ac.th
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
111
บทคัดย่อ
งานวิจยั นีศ้ กึ ษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการจัดการของผูจ้ ดั การอุตสาหกรรมบ้านจัดสรร โดยมุง่ เน้นไปที่ ปัจจัยภายนอกทีไ่ ม่สามารถควบคุมได้ ซึง่ ประกอบด้วยผลกระทบ 5 ด้าน ได้แก่ 1. การเมืองการปกครอง 2. เศรษฐกิจ 3. สังคมและวัฒนธรรม 4. เทคโนโลยี 5. ระหว่างประเทศหรือโลกาภิวตั น์ และระดับความส�ำเร็จขององค์กร กลุม่ ตัวอย่าง ประกอบไปด้วยผู้จัดการขององค์กรจ�ำนวน 251 คน ซึ่งให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม เครื่องมือทางสถิติ ได้ถูกน�ำมาประยุกต์ใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สถิติเชิงทดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดการของผู้น�ำหรือรูปแบบภาวะผู้น�ำแห่งการเปลี่ยนแปลงและผู้น�ำแลกเปลี่ยน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลประกอบการ สิง่ ส�ำคัญทีค่ น้ พบในการศึกษาครัง้ นีค้ อื ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการจัดการ ของผูน้ ำ� และระดับความส�ำเร็จขององค์กรได้ถกู ตัวแปรแทรก หรือปัจจัยภายนอกซึง่ ส่งผลกระทบระหว่างความสัมพันธ์นี้ อีกทั้งข้อเสนอแนะและข้อจ�ำกัดส�ำหรับงานวิจัยครั้งต่อไปได้ถูกกล่าวถึงในช่วงท้ายของบทความนี้ ค�ำส�ำคัญ: รูปแบบภาวะผู้นำ� ระดับความส�ำเร็จขององค์กร รูปแบบการจัดการ ผลประกอบการขององค์กร
Background
Collaborating is the new trends of being survive in today business. In 2015, the ten countries have been collaborated to generate the new community known as ‘ASEAN Economic Community; AEC’ in the Southeast Asia. The aims of AEC are composed of 1. Single market and production base, 2. Competitive economic region, 3. Equitable economic development, 4. The integration of ASEAN in term of the globalised economy (Das, Severino & Shrestha, 2013). ASEAN Economic Community is also one of the emerging community comprising ten country members; Brunei Darussalam, Cambodia, Indonesia, Laos, Malaysia, Myanmar, Philippines, Singapore, Thailand, and Vietnam. In the near future, the members are getting larger since China, India, Japan, South Korea, New Zealand and Australia will soon take part in this community. This may indicate that the population of the AEC is also tremendous approximately larger than half of the entire
population in the world. More considerably, Thailand is also one of the country member composed of 68 million people (Ministry of Social Development and Human Security, 2017). Thailand would definitely be influenced as one of the AEC member due to the increasing a number of population; especially, the expanding numbers of tourists and labours. Hence, the demands of the four necessity factors of living would then be increasing. The real estate sector is also one of the four factors. An individual needs to have one own place to live. Simultaneously, the annual government statement of expenditure in 2017 is approximately 2.73 trillion baht whilst the government has allocated the budget approximately 500,000 million baht (approximately 18% of the total annual government statement of expenditure in 2017) for the ministry of education which is one of the most important ministry in driving the key success of the country. In addition, the market capitalis-
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
112
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
tion of the real-estate sector is approximately 500,000 million baht in the stock market representing that this business sector is relatively massive regarding the amount of investment and it is important for the overall economic in the country (Department of Government Public Relations, 2017; Ministry of Finance, 2017). Furthermore, the Northeast region is the most densely-populated area in Thailand; as well as, it is the gateway of Indo-China connecting to Cambodia, Laos, and Vietnam. All essential infrastructures have been building at the moment to fulfill the needs of the fastgrowing cities in this region including hi-speed train, light rail train, internet connection, and so forth (Klungboonkrong, Jaensirisak & Satiennam, 2017).
Research Question
- To what extents are there the correlation between management styles (leadership styles), external factors (PEST+I/G), and organisational performance in the housing development of North-eastern of Thailand?
Research Objectives
- To study the association between management styles and organisational performance.
Related Literatures
Different managers may possess a variation of management styles including a variety of leadership styles. Transformational leaders are considered to be an administrative approach capable of enthralling their employees to belief,
respect, and appreciate them by concentrating on idealised influence, individualised consideration and inspirational motivation, which in turn, indicates serving as a charismatic role model and expressing a vision generated. It also recommends a need for intellectual stimulation, defined as questioning old assumptions and the status quo (Bass, 1985; Zhu, Avolio & Walumbwa, 2009). This leadership style describes the managers who are likely to focus on higher motivation development and motivate the subordinate’s motivation by inspiring vision of the future (Bass, 1990). Next, Bass et al. (2003) established that transactional leadership can be recognised as the traditional management function of leading. There are three key dimensions making up transactional leadership namely contingent rewards, management by exception-active and management by exception-passive. Contingent rewards express the extents to which the leader sets up constructive transactions or exchanges with subordinates. Transactional leadership elucidates expectations and creates the rewards for overcoming these anticipations. Alternatively, management by exception-active is related to the managers observing subordinates’ behaviour, predicting problems, and taking corrective actions before the behaviour might create complicated situations or problems. In contrast, management by exception-passive refers to the managers taking action when the behaviours of their subordinates have already created the problems (Pieterse et al., 2010). The other styles of leadership found in
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
present business corporation is laissez-fare. Antonakis & House (2013) proposed that laissezfaire refers to managers neither task-oriented nor people-oriented. This kind of managers tend not to be involved into any activities required decision-making. Thus, this kind of managers are likely to allow their subordinates to figure out how to complete the tasks on their own. They tend not to make any decisions, often hesitate to take action and are likely to be inattentive when needed. It illustrates that they are not critically encouraged, their power only derives from their position in the firm but they tend not to accomplish their responsibilities. Unsurprisingly, laissez-faire leadership tends to bring about destructive outcomes for the entire process of working (Avolio et al., 2014). Along with the findings of existing academic literatures, Chan & Chan (2005) evaluated transformational and transactional leadership styles among building professionals in construction industry. Findings suggested that five of the transformational factors and three of the transactional factors are significantly correlated with leadership outcomes of managers’ effectiveness, extra effort by subordinates’ satisfaction. Transformational and transactional leadership are demonstrated in the same individual building professionals, but to different degree and intensities. Furthermore, findings also suggested that in order to improve the professional paths, transformational leadership has been applied more frequency than transactional leadership. It was concluded that Bass’s transformational leadership theory has been applied in
113
the construction theory. It was suggested that transformational and transactional theories can be applied in industry but the transformational leadership model be a pro-development tool in optimising the relationship between leaders and subordinates. Müller & Turner (2010) scrutinised the leadership competency profiles of successful project managers in different types of projects. The intellectual, managerial and emotional competences of project managers of successful project were studied. Findings indicated that one IQ sub-dimension (i.e. critical thinking) and three EQ sub-dimensions (i.e. influence, motivation and conscientiousness) were expressed in successful managers in all types of projects. In addition, Bass & Avolio (2000) highlighted that different styles of leadership may be a predominant style at different situations. This suggests that different managers may apply different styles to manage their firms at different occasions. Moreover, Mirzakhani, Parsaamal & Golzar (2014) proposed that the manager of the firm is the one who is responsible for day-to-day decision-making, he or she must envisage the plan to be able to adapt the organisation to suit with the changing environment. In relation to uncontrollable factor, or external factor, or PEST+I/G, Frost (2003) endorsed that the abbreviation used for explaining the Political, Economic, Sociological, Technological, and International or Globalisational factors influencing the organisation. The external environments consist of variables opportunities and threats that are separate from the internal environment
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
114
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
of the organisation and it is or it may not be able to be controlled. More specifically, existing academic studies found that there is a positive connection between different styles of leadership and external factors (Political, Economic, Sociological, Technological, and International/ Globalisational Impacts: PEST+I/G) in generating the increase organisational performance (See for example, Aldridge, 2008; Jenkins, 2005; Ryan, 2008). This indicates that different styles of leadership may have different approaches of dealing with different types of external factors. In particular, in the housing development industry, to increase
the performance of the organisation, Aksin & Masini (2008) emphasised that the managers must be assured to plan the strategic moves in accordance with the trends of the development model, by focusing on evaluating the external factors (PEST+I/G) in order to manage their firms to survive in the rapid-changing business environment, and to move from traditional to sustainable.
Hypothesis
There will be no relationship between demographic profile, leadership styles, and organisational performance.
Figure 1 Theoretical Framework From Figure 1, Theoretical Framework illustrates the relationship between independent variable and dependent variable including the association with the mediator. Firstly, the relationship between demographic profiles of respondents, management styles focusing on different styles of leadership, and organisational performance has been investigated. Secondly, the external factors or PEST+I/G has been added to investigate the association with the demographic profiles of respondents, leadership styles, and organisational performance.
Research Methodology
This research is to investigate the particular situation of housing development in northeastern of Thailand. A quantitative approach has been employed containing documentary statistical records and a survey questionnaire. The questionnaire included both multiple choices and closed questions, with open-ended questions at the end, and items on a six-point Likert Scale. The samples were randomly selected using stratified random sampling technique. This means that all samples were equally selected based on different locations in different provinces.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
Research samples
The samples included managers and proprietors of the housing development firms in the North-eastern of Thailand. 544 survey questionnaires were distributed to the managers of housing development firms. The return of 251 set of questionnaires were returned representing 46.139 per cent which is greater than a level of satisfactory for the response rate of return of the survey questionnaire as underlined by Ames (2003).
115
Data Analysis
The obtained data from the questionnaires were analysed using descriptive statistics: frequency, percentage, mean and standard deviation and multiple regression analysis using SPSS.
Findings
From survey results, the obtained data were analysed by applying multiple regression analysis. The findings, investigated the connection between management styles and organisational performance, can be summarised as follows:
Table 1 Model Summary (Demographic of Respondents, Number of Employees, Leadership Styles, and PEST+I/G) Model predictors Model 1: Gender, Age, Levels of Education, Number of Employee, and Lengths of Experiences. Model 2: + Transformational Leadership, Transactional Leadership, and Laissez-Faire Leadership. Model 3: + PEST+I/G.
Dependent Variable: Organisational Performance
Table 1 showed that Model 1, with: Age, Levels of Education, Number of Employee, Lengths of Experiences as independent variables, has R2 equal to 0.232. This means that those independent variables could explain the dependent variable Organisational Performance approximately 23 percent. Subsequently, some independent variables are added to Model 2,
R2 0.232
Adjusted R2 0.217
Significant value 0.000
0.646
0.635
0.000
0.675
0.657
0.000
R2 increases to 0.646. And lastly, Model 3 shows that once the innovation is added to the organisation, R2 rise to 0.675. In addition, Hair et al. (2010) recommend that R2 is the best standard to use when comparing regression models. Therefore, it can be concluded that the set of independent variables in Model 3 is the most accurate in predicting the dependent variable.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
116
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
In addition, the result of the Adjusted R2 in Model 2 proposes that entering a set of Leadership styles could explain the variance of the dependent variable, approximately 0.635 or 63.5 percent, more precisely; and it is also clear that a set of Leadership Style significantly affects the variance of Organisational Performance. Once, Model 3, Adjusted R2 reported 0.657 or 65.7 percent, it could be concluded that a set of Leadership Styles is less impacted on Organisational Performance than a set of PEST+I/G predictor. More elaborately, the finding of the mediation effect has been investigated. Hypothesis 1: The relationship between demographics, leadership styles, and organisational performance are mediated by PEST+I/G. H0: β1, = β2 … = βk = 0, there is no significant linear relationship between the set of predictors composed of Number of Employees, Age, Gender, Education, Experience, Transformational, Transactional, Laissez-faire Leadership, PEST+I/G and the dependent variable, Organisational Performance. H1: βi ≠ 0, i = 1, 2… k, there is a significant linear relationship between the set of predictors composed of Number of Employees, Age, Gender, Education, Experience, Transformational, Transactional, Laissez-faire Leadership, PEST+I/G and the dependent variable, Organisational Performance. The results of ANOVA show a P value of 0.00 which is less than 0.05; therefore, the null hypothesis is rejected (see Table 1). It could
be concluded that Number of Employees, Demographics of Respondents, Leadership Styles, PEST+I/G have an impact on Organisational Performance. Once, a set of independent variables impact on a dependent variable, the prediction equation can be ascertained. Mediation Testing 1st Equation: Organisational Performance = α Number of Employees and Demographics of Respondents + α Leadership Styles 2nd Equation: Organisational Performance = α Number of Employees and Demographics of Respondents + α Leadership Styles + α PEST+I/G Hair et al. (2010) strongly suggest the adjusted R2 in comparing models with different numbers of independent variables. The adjusted R2 is also useful in comparing models between different data sets because it will compensate for the different sample size. Hence, in this study, the adjusted R2 is considered for comparing between two equations. It was found the adjusted R2 for the second equation is 0.657, which is greater than the adjusted R2 of the first equation, which is 0.635. This indicates that the set of independent variables in the second equation explains the dependent variables more fully than the set of independent variables in the first equation. In addition, when adding the PEST+I/G variables into the equations, the Beta Coefficient values of the Leadership Styles variables change. Thus, this suggests that the effect of Leadership Styles on Organisational Performance mediated by PEST+I/G. Hence,
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
hypothesis 1 was accepted. It can be concluded that the relationship between demographics of
117
managers, leadership styles, and organisational performance are mediated by PEST+I/G.
Table 2 Coefficient (Standardised Coefficients of 1st and 2nd Equation)
Variables
Number of Employees Age Gender Education Experience Transformational Transactional Laissez-faire Political Impact Economic Impact Sociological Impact Technological Impact International/Globalisational Impact
Standardised Coefficients (1st Equation) Adjusted Sig R2 R2 0.000 0.646 0.635 Beta Tolerance VIF 1.184 0.844 0.142 1.221 0.819 0.033 1.089 - 0.055 0.918 0.885 1.130 0.061 0.983 1.017 0.002 0.630 1.587 0.690 1.389 0.720 0.056 1.022 - 0.005 0.979 -
Discussions and Recommendations
The findings of the multiple regression analysis designated that the beta coefficient, the standardised unit of data, transformational leadership is the most powerful predictor of organisational performance. This means that the higher level of transformational leadership, the greater the level of organisational performance.
Standardised Coefficient (2nd Equation) Adjusted Sig R2 R2 0.000 0.675 0.657 Beta Tolerance VIF 1.233 0.811 0.135 1.302 0.025 0.768 1.108 - 0.041 0.902 1.159 0.066 0.863 1.063 0.000 0.941 2.254 0.642 0.444 1.648 0.607 0.010 1.067 - 0.016 0.937 1.781 0.561 0.203 0.494 2.024 0.137 0.446 2.243 0.016 1.274 0.785 0.033 3.034 0.330 0.107
This is consistent with the findings of Colbert et al. (2008), who found a positive association between transformational leadership and organisational performance. Hence, the findings proposed that the managers who are capable of successfully creating vision and a learning environment in their organisation are likely to improve their employees’ proficiency levels.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
118
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
More elaborately, transformational leadership is composed of four different perspectives which are 1. Idealised influence is defined as having transformational leaders who behave in ways bringing about their being role models for their subordinates. These leaders are admired, respected and trusted (Northouse, 2001). This suggests that managers concentrating on idealised influenced may consider connecting the participation of subordinates by convincing all organisational members through the visions of the organisation such as explaining those visions deeply and clearly to understand on what are the anticipations of the organisation. For example, in 10 years from now on, the organisation is going to shift to serve the needs of all AEC country members in term of providing places to stay and the firm would be the one of the most distinguish firm in the Southeast Asia in term of housing development company. 2. Inspirational motivation refers to the leaders’ or managers’ ability to stimulate self-reliance, motivation and a sense of purpose in their subordinates. This kind of leaders or managers could articulate a clear vision for the future, communicate anticipations of the group and establish a commitment to the goals deliberated (Bass & Avolio, 2000). This suggests that managers seeking to motivate organisational members through their inspirations may need to realise what are the most appropriate rewards to draw attention from the subordinates when considering the hierarchy of needs. Hence, some subordinates may require the basic necessities of living, some
may require greater levels of needs dependent upon needs of individuals. 3. Intellectual stimulation is related to the levels of encouraging the subordinates in developing new and different solutions to complete difficulties and find out new ways of accomplishing tasks. This kind of leaders or managers are likely to challenge the innovative ideas (Mumford et al., 2000). This may indicate that encouraging and supporting subordinates to have great opportunities to practice their capabilities and enhance skills are useful. For example, this kind of leaders or managers may need to consider supporting subordinates to develop their skills through on-the-job training and off-the-job training. More intricately, Müller & Turner (2010) found that IQ sub-dimension (i.e. critical thinking) and three EQ sub-dimensions (i.e. influence, motivation and conscientiousness) are supportive to the level of success of leadership. This is also consistent with the findings of this research that in order to influence subordinates to continue to learn, applying both IQ and EQ are relatively important to encourage and draw most of the subordinates’ capacities to continue to learn and create productivity in the organisation. 4. Individualised consideration is the extent to which the managers appear to individuals’ needs, act as mentors to the subordinates, and pay attention to the subordinates’ concerns including admit the differences of all subordinates regarding the differences in term of cultures, genders, nationalities, norms, beliefs, traditions and so forth (Sharma, 2004). Hence, this is obvious that managers are called for developing
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
all aspects of the constituents of transformational leadership; idealised influence, inspirational motivation, intellectual stimulation, and individualised consideration. Furthermore, transactional leadership is also found as variable which is positively correlated with the organisational performance. Transactional leadership composed of three different aspects which are 1. Contingent rewards refers to the managers who relate the organisational goals to rewards, explain anticipations, distribute essential resources, explain mutually agreed upon organisational goals, and provide wide variety of rewards for greater levels of performance. 2. Active management by exception relates to the managers actively observing the levels of performance of their subordinates, following the instruction of the procedure of work schedules. This kind of managers are likely to set the rewards to draw attention from the subordinates. 3. Passive management by exception is referred to as managers who are likely to be involved in the situation of the work which does not meet the criteria of the organisational goals. This kind of managers may punish the subordinates who could not complete assigned tasks or who cannot deliver the tasks to meet the standard. This is clear that all aspects of transactional leadership are imperative for all managers to keep in mind when dealing with day-to-day responsibilities in the organisation. More specifically, in the housing development industry, existing academic research found that both transformational and transactional leadership are positively correlated with the organisational
119
performance (Chan & Chan, 2005). They also suggested that transformational leadership tends to be applied in the professional path than transactional leadership. In addition, findings also indicated that PEST+I/G variables have a positive correlation with organisational performance. This suggests that all aspects of external factors which are PEST+I/G predictors are essential to be considered in managing the housing development firms. More specifically, political, economic, and international or globalisational factors are the most influential predictors in the equation when compared with other variables in the set of external factors. This would then be assured that it is important for all managers to consider these two factors to cope with the rapid-changing business environment. More elaborately, for the political impact, it may be necessarily for the managers to be ready in advance for the political changes in term of political policies. For example, there may be some changes of the political policies such as the regulations on the amount of the partition of green space of the entire housing development project (García-Gutiérrez & Martínez-Borreguero, 2016). Thus, it is important for the managers to plan beforehand on how to handle these challenges. For the economic impact, it may be imperative for the managers to be cautious with the business situation. For example, some indicators may be useful to keep an eye on such as Gross Domestic Product: GDP growth rate, and rate of interests (Tshabalala & Rankhumise, 2011). Especially, for the GDP growth rate, this indicator
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
120
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
may indicate how fruitful the economic situation is. At the same time, the rate of interests for both deposit and loan accounts would also be obvious indicators to be observed on how the economic situation is changing. For the international or globalisational impact, since the world becomes smaller, new technologies and innovation make it possible for all countries to connect with each other (Zhang, Daim & Zhang, 2017). For example, the managers may need to be aware of selecting the high quality material to build the house which must be safe to the natural environment since creating pollution in one place would definitely affect another. For instance, the housing development may need to provide the rubbish bin in each house for housing development project. At the same time, it may be essential to decontaminate the waste water before releasing it to public. Hence, this is clear that the world is becoming borderless.
Limitation and future research
Since this research method is mostly based
on the quantitative approach, it may be valuable for the future research to apply the mix-method approach to acquire the more insightful information. Furthermore, the respondents of the research are the managers of the housing development firms so that it would be more practical to extend the results of this study to probe with different positions of respondents such as customers or organisational members of the organisation to ascertain different deliberations. Last but not least, in term of cultural differences, the repetition of the findings may be useful to be assured by adopting the results of this study in different regions or countries to observe to what extents there may be the consistencies or inconsistencies in relation to the research findings.
Acknowledgement
The researchers would like to express their sincere gratitude to the Social Science Research Group on Local Affairs Administration, College of Local Administration, Khon Kaen University, for financial support.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
121
References
Aksin, O. Z. & Masini, A. (2008). Effective Strategies for Internal Outsourcing and Offshoring of Business Services: An Empirical Investigation. Journal of Operations Management, 26(2), 239-256. Aldridge, M. (2008). School Business Managers: Their Role in Distributed Leadership. Nottingham: NCSL. Ames, P. C. (2003). Gender and Learning Style Interactions in Students’ Computer Attitudes. Journal of Educational Computing Research, 3(28), 231-244. Antonakis, J. & House, R. J. (2013). A Re Analysis of the Full-Range Leadership Theory: The Way Forward. In B. J. Avolio & F. J. Yammarino. (Eds.). Transformational and Charismatic Leadership: The Road Ahead. Amsterdam. Netherlands: JAJ Press. Avolio, B. J., Sosik, J. J., Kahai, S. S. & Baker, B. (2014). E-Leadership: Re-Examining Transformations in Leadership Source and Transmission. The Leadership Quarterly, 25(1), 105-131. Bass, B. M. & Avolio, B. J. (2000). MLQ Multifactor Leadership Questionnaire. Redwood City: Mind Garden. Bass, B. M. (1985). Leadership and Performance beyond Expectations. New York: Free Press. Bass, B. M. (1990). From Transactional to Transformational Leadership: Learning to Share the Vision. Organizational dynamics, 18(3), 19-31. Bass, B. M., Avolio, B. J., Jung, D. I. & Berson, Y. (2003). Prediction Unit Performance by Assessing Transformational and Transactional Leadership. Journal of Applied Psychology, 88(2), 207-218. Chan, A. T. & Chan, E. H. (2005). Impact of Perceived Leadership Styles on Work Outcomes: Case of Building Professionals. Journal of Construction Engineering and Management, 131(4), 413-422. Colbert, A. E., Kristof-Brown, A. L., Bradley, B. H. & Barrick, M. R. (2008). CEO Transformational Leadership: The Role of Goal Importance Congruence in Top Management Teams. Academy of Management Journal, 51(1), 81-96. Das, S. B., Severino, J. M. R. & Shrestha, O. L. (2013). The ASEAN Economic Community: A Work in Progress. Singapore: Institute Of Southeast Asian Studies. Department of Government Public Relations. (2017). Annual Report 2016. Bangkok: Department of Government Public Relations. [in Thai] Frost, F. A. (2003). The Use of Strategic Tools by Small and Medium-Sized Enterprises: An Australasian Study. Strategic Change, 12(1), 49-62. García-Gutiérrez, I. & Martínez-Borreguero, F. J. (2016). The Innovation Pivot Framework: Fostering Business Model Innovation in Startups. Research-Technology Management, 59(5), 48-56. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
122
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Hair, J. F. Jr., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall. Jenkins, R. (2005). Globalisation, Corporate Social Responsibility and Poverty. International Affairs, 81(3), 525-540. Klungboonkrong, P., Jaensirisak, S. & Satiennam, T. (2017). Potential Performance of Urban Land Use and Transport Strategies in Reducing Greenhouse Gas Emissions: Khon Kaen Case Study, Thailand. International Journal of Sustainable Transportation, 11(1), 36-48. Ministry of Finance. (2017). Annual Report 2016. Bangkok: Ministry of Finance. [in Thai] Ministry of Social Development and Human Security. (2017). Annual Report 2016. Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security. [in Thai] Mirzakhani, M., Parsaamal, E. & Golzar, A. (2014). Strategy Formulation with SWOT Matrix: A Case Study of an Iranian Company. Global Business and Management Research, 6(2), 150. Müller, R. & Turner, R. (2010). Leadership Competency Profiles of Successful Project Managers. International Journal of Project Management, 28(5), 437-448. Mumford, D. M., Zaccaro, S. J., Connelly, M. S. & Marks, M. A. (2000). Leadership Skills: Conclusions and Future Directions. The Leadership Quarterly, 11(1), 155-170. Northouse, L. P. (2001). Leadership Theory and Practice. CA: Sage Publications. Pieterse, A. N., Van Knippenberg, D., Schippers, M. & Stam, D. (2010). Transformational and Transactional Leadership and Innovative Behavior: The Moderating Role of Psychological Empowerment. Journal of Organizational Behavior, 31(4), 609-623. Ryan, R. (2008). Leadership Development: A Guide for HR and Training Professionals. London: Butterworth-Heinemann. Sharma, P. (2004). An Overview of the Field of Family Business Studies: Current Status and Directions for the Future. Family Business Review, 17(1), 1741-6248. Tshabalala, D. B. & Rankhumise, E. M. (2011). What Impact Do Economic Issues Have on the Sustainability of Small, Medium and Micro Entrepreneurs. Journal of Management Policy and Practice, 12(1), 108-114. Zhang, W., Daim, T. & Zhang, Q. (2017). Understanding the Disruptive Business Model Innovation of E-Business Microcredit: A Comparative Case Study in China. Technology Analysis & Strategic Management, 1-13. Zhu, W., Avolio, B. J. & Walumbwa, F. O. (2009). Moderating Role of Follower Characteristics with Transformational Leadership and Follower Work Engagement. Group and Organization Management, 34(5), 590-619. Zumitzavan, V. & Michie, J. (2015). Personal Knowledge Management, Leadership Styles, and Organisational Performance: A Case Study of the Healthcare Industry in Thailand. Singapore: Springer. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
123
Name and Surname: Vissanu Zumitzavan Highest Education: Ph.D. in Industrial Labour Economics, Birmingham Business School, University of Birmingham, Birmingham, United Kingdom University or Agency: Lecturer and Researcher, Research Group on Local Affairs Administration, College of Local Administration, Khon Kaen University Field of Expertise: Leadership and Management, Organisational Innovation, Organisational Learning, and Organisational Performance Address: 123 Moo 6, Mittapap Rd., Mueang, Khon Kaen 40002 Name and Surname: Pennee Kantavong Highest Education: Ph.D. in International and Development Education, University of Pittsburgh, USA University or Agency: Lecturer and Researcher, Research Group on Local Affairs Administration, College of Local Administration, Khon Kaen University Field of Expertise: Adult/Non formal education, Inclusive education Address: 123 Moo 6, Mittapap Rd., Mueang, Khon Kaen 40002
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
124
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
การศึกษาระบบบริหารจัดการโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด เพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต STUDY ON MANAGEMENT SYSTEM FOR GOOD MANUFACTURING PRACTICES (GMP) OF FRESH FRUIT AND VEGETABLE PACKING HOUSE พวงเพ็ชร์ นิธยานนท์ Puangpetch Nitayanont คณะการจัดการธุรกิจอาหาร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ Faculty of Food Business Management, Panyapiwat Institute of Management
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาระบบบริหารจัดการโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สดเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและ ปรับปรุงคุณภาพโรงคัดบรรจุให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วธิ กี ารทีด่ ใี นการผลิต (Good Manufacturing Practices: GMP) การด�ำเนินงานวิจัยเชิงส�ำรวจโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สดในประเทศไทยจ�ำนวน 30 ราย พบว่า โรงคัดบรรจุแบ่งได้ 3 กลุ่มตามหลักเกณฑ์ GMP คือ กลุ่มโรงคัดบรรจุที่ยังไม่ได้รับการรับรองตามหลักเกณฑ์ GMP กลุ่มโรงคัดบรรจุ ที่ก�ำลังพัฒนาตามหลักเกณฑ์ GMP และกลุ่มโรงคัดบรรจุที่ได้รับการรับรองตามหลักเกณฑ์ GMP ผลจากการวิจัย สามารถก�ำหนดแนวทางในการบริหารจัดการส�ำหรับโรงคัดบรรจุให้เข้าสู่หลักเกณฑ์ GMP โดยใช้ต้นแบบที่เรียกว่า “THAI” เพือ่ ให้สามารถผลิตผักและผลไม้สดทีม่ คี วามปลอดภัยต่อผูบ้ ริโภค คือ Teaching training and coaching (T) เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ GMP ให้กับผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตผักและผลไม้สด Health and safety (H) เป็นการรณรงค์ให้การผลิตผักและผลไม้สดที่มีความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่ และให้ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงอันตรายของสารพิษตกค้างในผักและผลไม้สด Assessment (A) เป็นการจัดให้มรี ะบบการประเมินตนเอง (Self assessment) ตลอดห่วงโซ่เพือ่ ใช้สำ� หรับการวางแผนและปรับปรุงการด�ำเนินงาน Innovation management and marketing (I) เป็นการจัดการน�ำเอาแนวคิด กระบวนการ เทคโนโลยีของการด�ำเนินธุรกิจแบบต่างๆ น�ำมา ประยุกต์ให้เกิดนวัตกรรมและใช้ในการบริหารการตลาดให้โรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด ค�ำส�ำคัญ: ระบบบริหารจัดการ โรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต
Corresponding Author E-mail: puangpetchh@gmail.com
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
125
Abstract
This research was to study the management systems of fresh fruit and vegetable packing house to find out the guidelines for improving and developing of packing houses according to Good Manufacturing Practices (GMP). A survey research was conducted in 30 fresh fruit and vegetable packing houses in Thailand. The fresh fruit and vegetable packing houses can be categorized into 3 groups according to GMP standard system. The first group is the group without GMP system, the second group is the developing GMP system group and the last is GMP certified group. The research suggested that “THAI” model could be used as guidelines to derive safe fruit and vegetable for consumer. The details “THAI” model are as followed; Teaching, training and coaching (T) is the teaching and training knowledge of GMP standard systems for stakeholder in supply chain of fresh fruit and vegetable production. Health and safety (H) is the campaign activities about safety fresh fruit and vegetable production in supply chain in order to create consumer understanding and awareness of the hazards from pesticide residues of fruit and vegetable. Assessment (A) is the providing of self assessment system in supply chain to use as a tool for planning and improvement of work process. Innovation management and marketing (I) is a management to receive of idea, process and technology of business models and apply to create innovation for managing of packing houses. Keywords: Management system, Fresh fruit and vegetable packing house, Good Manufacturing Practices (GMP)
บทน�ำ
ผักและผลไม้สดเป็นสินค้าเกษตรที่มีความส�ำคัญ ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นสินค้ากลุ่มที่ก�ำลังมี การเจริญเติบโตอย่างมากเนือ่ งจากผูบ้ ริโภคมีความสนใจ ต่อสุขภาพมากขึ้นจึงมีความต้องการในการบริโภคผัก และผลไม้สดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ท�ำให้สามารถสร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกรผูเ้ พาะปลูกได้เป็นอย่างดี (Wannamolee, 2008; Mulsor, 2008) การผลิตผักและผลไม้สดมีผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานที่หลากหลาย ได้แก่ เกษตรกรผู้ผลิต ผู้รวบรวมผลผลิต โรงคัดแยกบรรจุ โรงงานแปรรูป ร้านค้าส่ง ร้านค้าปลีก และผู้บริโภค เป็นต้น ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียแต่ละกลุม่ จะมีบทบาทหน้าที่ ภายใต้หว่ งโซ่อปุ ทานทีแ่ ตกต่างกันไป โดยผูม้ หี น้าทีเ่ ป็น ตัวกลางทีส่ ำ� คัญหน่วยหนึง่ คือ โรงคัดบรรจุซงึ่ มีกจิ กรรม
การด�ำเนินงานด้านต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยของ ผู้บริโภคผักและผลไม้สด โรงคัดบรรจุท�ำหน้าที่จัดการ ผักหรือผลไม้สดหลังการเก็บเกีย่ วตัง้ แต่การคัดและบรรจุ ไว้ในบรรจุภณ ั ฑ์ชนิดต่างๆ เพือ่ การจ�ำหน่าย ทัง้ นีอ้ าจมี การท�ำความสะอาด การตัดแต่ง การเคลือบผิวหรือ กระบวนการอืน่ ๆ เพือ่ รักษาคุณภาพของผักหรือผลไม้สด โรงคัดบรรจุมีบทบาทส�ำคัญเบื้องต้นต่อคุณภาพของผัก และผลไม้สดก่อนทีจ่ ะจัดส่งไปแหล่งจ�ำหน่ายให้แก่ผบู้ ริโภค และเป็นตัวกลางในการผลักดันให้เกษตรกรและผูร้ วบรวม ผลผลิตผักและผลไม้สดทีม่ คี ณ ุ ภาพผ่านกระบวนการรับซือ้ รวมถึงส่งเสริมให้เกษตรกรมีการใช้สารเคมีทางการเกษตร อย่างถูกต้องเหมาะสม (Mulsor & Waisarayutt, 2008) จากการส� ำ รวจข้ อ มู ล โรงคั ด บรรจุ ผั ก และผลไม้ ส ด ในประเทศไทยในปี 2556-2558 พบว่า โรงคัดบรรจุสว่ น
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
126
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ใหญ่ยังขาดระบบการผลิตผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้สด ที่มีคุณภาพและปลอดภัยตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดี ในการผลิตอาหาร (Good Manufacturing Practices: GMP) (Aroonrungsikul & Korpraditskul, 2013; Bureau of Food, Food and Drug Administration, 2015) ส่งผลให้ผกั และผลไม้สดทีผ่ ลิตและใช้เพือ่ การบริโภค ในประเทศ มีคุณภาพต�่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และมี ความเสีย่ งในการบริโภค จากเหตุผลดังกล่าวส�ำนักอาหาร ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวง สาธารณสุขเป็นหน่วยงานภาครัฐทีร่ บั ผิดชอบและสนับสนุน ให้ผู้ประกอบการผลิตผักและผลไม้สดให้ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยเป็นการยกระดับมาตรฐานคุณภาพ สินค้าเกษตรภายใต้ห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรของ ประเทศไทยได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง การก�ำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิด และการ แสดงฉลาก เพือ่ บังคับใช้กบั โรงคัดบรรจุผกั และผลไม้สด ซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และความ ปลอดภัยในการบริโภคผักและผลไม้สดของประเทศไทย งานวิจยั นีเ้ ป็นการศึกษาวิจยั เพือ่ ยกระดับมาตรฐาน คุณภาพสินค้าเกษตรภายใต้หว่ งโซ่อปุ ทานสินค้าเกษตร ของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัจจุบนั ในการบริหารจัดการโรงคัดบรรจุผกั และผลไม้สด รวบรวมข้อมูลและประเด็นปัญหาเพือ่ ก�ำหนดเป็นแนวทาง ในการปรับปรุงระบบบริหารจัดการที่สอดคล้องกับการ ปฏิบัติงานจริงให้กับโรงคัดบรรจุตามหลักเกณฑ์ GMP ซึง่ เป็นการเตรียมการเพือ่ พัฒนายกระดับให้โรงคัดบรรจุ ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยท�ำ เป็นต้นแบบ (model) 30 ราย อีกทัง้ ข้อมูลทีไ่ ด้จากงาน วิจยั จะสามารถใช้ในการประเมินเพือ่ คาดการณ์ผลกระทบ จากการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขต่อโรงคัดบรรจุ ผักและผลไม้สดในประเทศไทย
วัตถุประสงค์การวิจัย
การศึ ก ษาครั้ ง นี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ศึ ก ษาระบบ บริหารจัดการของโรงคัดบรรจุผกั และผลไม้สด และก�ำหนด
แนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหาร จัดการให้ได้มาตรฐาน GMP เป็นการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ทบทวนวรรณกรรม
Naritoom et al. (2007) ได้ทำ� การศึกษาและจัดท�ำ ต้นแบบคูม่ อื และวีซดี ใี ช้ในการเรียนรูก้ ารผลิตผักคุณภาพ ตามหลักเกณฑ์ GAP และเพือ่ ท�ำความเข้าใจความคิดเห็น ของเกษตรกร เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้ คู่มือและวีซีดีเรื่องการผลิตผักคุณภาพตามหลักเกณฑ์ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agriculture Practices: GAP) ที่ผลิตขึ้นเพื่อการส่งเสริมระบบกลุ่ม เครือข่ายผู้ผลิตผักคุณภาพ จากการวิจัยได้มีการจัดท�ำ สือ่ ต้นแบบเรือ่ งการผลิตผักคุณภาพตามหลักเกณฑ์ GAP ส�ำหรับเกษตรกร โดยเกษตรกรทุกคนสามารถน�ำสือ่ หลัก มาศึกษาและทบทวนได้ดว้ ยตนเองตลอดเวลาทุกสถานที่ โดยมีเนือ้ หาสาระ และวิธกี ารขัน้ ตอนการปฏิบตั ิ สือ่ เสริม ความรู้ซึ่งได้แก่ แผ่นภาพพลิกการผลิตผักคุณภาพตาม หลักเกณฑ์ GAP และวีซีดีการผลิตผักคุณภาพตาม หลักเกณฑ์ GAP เพือ่ ช่วยให้เกษตรกรสามารถเตรียมพร้อม และท�ำการผลิตผักคุณภาพตามหลักเกณฑ์ GAP ได้ ด้วยตนเอง และผลิตคูม่ อื ส�ำหรับ GAP อาสาหรือพีเ่ ลีย้ ง เกษตรกรเพือ่ เป็นการตรวจสอบร่วมกัน เป็นการเปิดโอกาส ในการเรียนรูร้ ว่ มกันให้กบั กลุม่ เกษตรกรผูผ้ ลิตผักในระดับ ปฏิบัติการ การวิจัยมีการออกแบบวัดความรู้โดยใช้ ข้อสอบก่อนและหลังได้รบั ความรูจ้ ากสือ่ pre-test และ post-test จากผลการศึกษาพบว่า เมือ่ เกษตรกรได้ศกึ ษา จากสือ่ หลักคือ คูม่ อื การผลิตผักคุณภาพตามหลักเกณฑ์ GAP แล้ว และได้ศกึ ษาเพิม่ เติมจากสือ่ เสริมคือ ภาพพลิก และวีซดี ี เกษตรกรมีความรูเ้ พิม่ ขึน้ คะแนนเฉลีย่ pre-test 13.80 คะแนน และ post-test 16.74 แสดงว่าเกษตรกร กลุม่ ตัวอย่างได้รบั ความรูแ้ ละมีความเข้าใจเพิม่ ขึน้ หลังจาก มีการศึกษาจากสือ่ ต้นแบบ สือ่ หลักคือ คูม่ อื และสือ่ เสริม คือ แผ่นภาพพลิก และวีซีดีการผลิตผักคุณภาพตาม หลักเกณฑ์ GAP
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
Leartrat, Khawchaimaha & Sungsri-in (2008) ได้ศึกษาการจัดการโซ่อุปทานผักสดในจังหวัดนครปฐม โดยเริ่มตั้งแต่เกษตรกร ผู้รวบรวม โรงคัดบรรจุ และ ตลาดกลางค้าส่ง โดยวิธกี ารศึกษาเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก บริษัทส่งออก 2 บริษัท และการศึกษาเชิงพรรณากับ การวิจยั เชิงส�ำรวจ โดยเก็บข้อมูลจากกลุม่ ตัวอย่างเกษตรกร จ�ำนวน 109 ราย และผู้รวบรวม 7 ราย ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบโซ่อปุ ทานมี 2 รูปแบบคือ โซ่อปุ ทานแบบ ดั้งเดิมซึ่งเป็นรูปแบบที่มีการซื้อขายผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยทีพ่ อ่ ค้าคนกลางมารับซือ้ ผลผลิตทีแ่ ปลง น�ำไปขายต่อ ในตลาดกลางขายส่ง และทีเ่ กษตรกรน�ำผลผลิตไปขายเอง ในตลาดส่วนใหญ่เป็นผลผลิตที่บริโภคภายในประเทศ โดยผลผลิตส่วนใหญ่ยงั ขาดการจัดการหลังการเก็บเกีย่ ว ที่เหมาะสม อีกทั้งยังขาดการใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บ เกี่ยวอย่างถูกวิธี และโซ่อุปทานแบบผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีการด�ำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ผลผลิตตลอดทัง้ กระบวนการแบบครบวงจร ครอบคลุม กระบวนการผลิตจากระดับต้นน�้ำ กลางน�้ำถึงปลายน�้ำ คือตั้งแต่กระบวนการผลิตในระดับไร่นา การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกีย่ ว การคัดและตัดแต่ง การบรรจุ หีบห่อ และการส่งออก ไปจนถึงผู้บริโภคทั้งในและ ต่างประเทศ ซึง่ ส่วนใหญ่แล้วรูปแบบดังกล่าวความสัมพันธ์ ของเกษตรกรหรือผูร้ วบรวมกับผูป้ ระกอบการหรือผูส้ ง่ ออก จะเป็นการท�ำสัญญาซื้อขายผลผลิตกันหรือที่เรียกว่า การท�ำเกษตรแบบมีสญ ั ญาผูกพัน (contract farming) เกษตรกรส่วนใหญ่ตอ้ งการให้หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องช่วยเหลือ มากที่สุดในเรื่องการประกันราคา ส�ำหรับข้อเสนอแนะ ส�ำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการโซ่อปุ ทานผักสดคือ ควรผลักดันให้มกี ารรวม กลุม่ เกษตรกร ท�ำการผลิตแบบมีสญ ั ญาผูกพันและผลิต ตามระบบเกษตรที่เหมาะสม ให้ความรู้และฝึกอบรม เกษตรกรในเรื่องการผลิตโดยเฉพาะการใช้สารเคมีและ ปุ๋ย และเรื่องการตลาด Mulsor & Waisarayutt (2008) ได้ท�ำการศึกษา เกีย่ วกับการพัฒนาระบบการจัดการคุณภาพสินค้าผักสด
127
ตัดแต่งส�ำหรับห้างค้าส่งกรณีศกึ ษา โดยได้ทำ� การศึกษา เพือ่ หาแนวทางในการพัฒนาระบบการจัดการสินค้ากลุม่ ผักสดให้กบั ห้างค้าส่งกรณีศกึ ษา จากการวิจยั เชิงส�ำรวจ กับกลุ่มผู้จัดส่งสินค้าผักสด 8 ราย จาก 50 ราย และ ศูนย์กระจายสินค้าพบว่า กลุม่ ผูจ้ ดั ส่งสินค้าแบ่งได้ 3 กลุม่ คือ กลุ่มที่ยังไม่มีระบบกลุ่มพัฒนาระบบบางส่วน และ กลุม่ ทีป่ ฏิบตั ติ ามสุขลักษณะทีด่ ใี นการผลิตอาหาร (GMP) ขัน้ ตอนการตรวจรับสินค้าของห้างค้าส่งไม่มกี ารสุม่ ตรวจ สารพิษตกค้าง บริษัทรับจ้างขนส่งและกระจายสินค้า ขาดมาตรฐานและสุขลักษณะทีด่ ใี นการปฏิบตั ติ อ่ สินค้า ผลการศึกษาสามารถก�ำหนดแนวทางในการพัฒนาระบบ เป็น 3 ส่วนคือ พัฒนาแหล่งวัตถุดิบให้มีระบบบันทึก และควบคุมสารเคมีตกค้างในวัตถุดบิ พัฒนาโรงคัดบรรจุ ของกลุม่ ผูจ้ ดั ส่งสินค้าทัง้ 3 กลุม่ ให้เข้าสูห่ ลักเกณฑ์ GMP ก�ำหนดมาตรฐานทีด่ ใี นการตรวจรับและการปฏิบตั สิ ำ� หรับ บริษทั รับจ้างขนส่งและกระจายสินค้า การประเมินความ เป็นไปได้ของระบบที่พัฒนาขึ้นพบว่า การพัฒนาแหล่ง วัตถุดิบเป็นไปได้ยากเนื่องจากไม่มีแรงจูงใจเรื่องราคา และผลตอบแทนไม่แตกต่างจากการส่งตลาดกลางค้าส่ง กลุ่มผู้จัดส่งสินค้าที่ยังไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ GMP ในขณะทีป่ ระเด็นเรือ่ งราคาเป็นแรงจูงใจส�ำคัญต่อความ ส�ำเร็จในการพัฒนาระบบ
วิธีการวิจัย
การศึกษาครัง้ นีเ้ ป็นการวิจยั เชิงพรรณนา (descriptive research) โดยใช้เทคนิคการวิจยั เชิงส�ำรวจ (survey research) และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ด้วยแบบสัมภาษณ์ทสี่ ร้างขึน้ เพือ่ ตอบวัตถุประสงค์ ของการท�ำวิจยั ในครัง้ นี้ การศึกษาครัง้ นีไ้ ด้เลือกตัวอย่าง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) กับกลุม่ ประชากรดังกล่าวจ�ำนวนทัง้ สิน้ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้คือ แบบสอบถามทีส่ ร้างขึน้ เพือ่ ตอบค�ำถามตามวัตถุประสงค์ ของการวิจัยประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
128
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ส่ ว นที่ 1 ค� ำ ถามเชิ ง พรรณนา (descriptive questions) ถูกออกแบบเพื่อรวบรวมข้อมูลทั่วไปของ ผูป้ ระกอบการโรงคัดบรรจุ อีกทัง้ ยังเป็นการท�ำความรูจ้ กั และสร้างบรรยากาศก่อนการสัมภาษณ์เชิงลึกในล�ำดับ ถัดไป ส่วนที่ 2 แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ถูกออกแบบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกประกอบการศึกษา โดยเนือ้ หาของแบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วยข้อมูลทัว่ ไป ของโรงคัดบรรจุผกั และผลไม้สด ระบบการบริหารจัดการ เพือ่ ให้ผลิตภัณฑ์ผกั และผลไม้สดมีคณ ุ ภาพและปลอดภัย ต่อการบริโภค ข้อมูลเกีย่ วกับการบริหารจัดการโรงคัดบรรจุ ผักและผลไม้สด ข้อมูลเกี่ยวกับความพร้อมของโรงคัด บรรจุในการปฏิบตั ติ ามระบบบริหารจัดการทีพ่ ฒ ั นาขึน้ เป็น แบบสอบถามใช้มาตรวัดแบบลิเคิร์ท (Likert scale) และข้อเสนอแนะ การหาคุณภาพของเครื่องมือจะท�ำการหาความ เที่ยงตรงตามเนื้อหา (content validity) โดยการให้ ผูท้ รงคุณวุฒิ จ�ำนวน 3 ท่าน เป็นผูป้ ระเมินแบบสอบถาม และการหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัย (reliability) โดยน�ำไปทดลองใช้ (try out) กับโรงคัดบรรจุที่ไม่ใช่ กลุม่ ตัวอย่างเพือ่ หาความเชือ่ มัน่ ของแบบสอบถาม จ�ำนวน 3 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ใช้โปรแกรม ส�ำเร็จรูป SPSS for Windows version 16.0 ในการ วิเคราะห์เชิงพรรณนา (descriptive analysis) จะแสดง ผลการวิเคราะห์ในรูปของตารางประกอบค�ำอธิบาย ซึง่ สถิติ ที่ใช้คือ การแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) และค่าเฉลีย่ (mean) (Vanichbuncha, 2012) โดยผลจากการวิจยั จะเป็นแนวทางในการปรับปรุง ระบบบริหารจัดการที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง ให้กับโรงคัดบรรจุตามหลักเกณฑ์ GMP ซึ่งเป็นการ เตรียมการเพือ่ พัฒนายกระดับให้โรงคัดบรรจุได้มาตรฐาน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ผลการวิจัย
1. ข้อมูลทั่วไปของโรงคัดบรรจุ ผูด้ ำ� เนินกิจการโรงคัดบรรจุรอ้ ยละ 60 เป็นเพศหญิง
และร้อยละ 40 เป็นเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุในช่วง 41-50 ปี ผูด้ ำ� เนินกิจการโรงคัดบรรจุสว่ นใหญ่รอ้ ยละ 73.3 ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี แสดงให้เห็นว่าผูด้ ำ� เนิน กิจการโรงคัดบรรจุสว่ นใหญ่สำ� เร็จการศึกษาในระดับสูง กว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะสามารถปรับตัวเข้ากับ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ และเป็นผล ให้การด�ำเนินกิจการโรงคัดบรรจุสามารถเติบโตได้อย่าง รวดเร็ว ดังนั้นการส่งเสริมผู้ด�ำเนินกิจการโรงคัดบรรจุ ในกลุม่ นีจ้ งึ เป็นได้วา่ จะสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในการบริหารจัดการได้ โรงคัดบรรจุมีจ�ำนวนพนักงาน ทัง้ หมดทีป่ ระกอบด้วยพนักงานประจ�ำและพนักงานจ้าง แตกต่างกัน ซึง่ สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการจ�ำแนกขนาด โรงคัดบรรจุเป็นขนาดเล็ก (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 คน) ขนาดกลาง (11-40 คน) และขนาดใหญ่ (มากกว่า 41 คน) โดยร้อยละ 46.7 เป็นโรงคัดบรรจุขนาดกลาง รองลงมาคือ ร้อยละ 33.3 เป็นโรงคัดบรรจุขนาดเล็ก และ ร้อยละ 20 เป็นโรงคัดบรรจุขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการ โรงคัดบรรจุรอ้ ยละ 46.7 มีมลู ค่าผลผลิตทีร่ บั ซือ้ ต่อเดือน 1,000,001-5,000,000 บาท รองลงมาคือ ร้อยละ 33.3 และร้อยละ 20 มีมลู ค่าผลผลิตทีร่ บั ซือ้ ต่อเดือนน้อยกว่า 1,000,000 บาท และมากกว่า 5,000,001 บาท ตามล�ำดับ แสดงให้เห็นว่าขนาดของธุรกิจมีตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลาง และธุรกิจขนาดใหญ่ โดยธุรกิจขนาดเล็ก มีมลู ค่าผลผลิตทีร่ บั ซือ้ ต่อเดือนน้อยกว่า 1,000,000 บาท มีพนักงานจ�ำนวนน้อยกว่า 10 คน คิดเป็นร้อยละ 33.3 ธุ ร กิ จ ขนาดกลางมี มู ล ค่ า ผลผลิ ต ที่ รั บ ซื้ อ ต่ อ เดื อ น 1,000,000-5,000,000 บาท มีพนักงานจ�ำนวนตั้งแต่ 11-40 คน คิดเป็นร้อยละ 46.6 และธุรกิจขนาดใหญ่มี มูลค่าผลผลิตทีร่ บั ซือ้ ต่อเดือนมากกว่า 5,000,000 บาท มีพนักงานจ�ำนวนมากกว่า 50 คน คิดเป็นร้อยละ 20 (Mulsor, 2008) ผูป้ ระกอบการโรงคัดบรรจุสว่ นใหญ่สง่ ผักและผลไม้สดให้กับห้างค้าปลีกในประเทศในปริมาณ ทีแ่ ตกต่างกัน โดยมีการส่งผักและผลไม้สดให้หา้ งค้าปลีก ต่างๆ ได้แก่ TOP, Lotus, Makro, Big-C ตลาดสีม่ มุ เมือง และตลาดไท เป็นต้น
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
2. การบริหารจัดการของโรงคัดบรรจุ การบริหารงานของโรงคัดบรรจุจะมีทั้งแบบบริษัท แบบเจ้าของบริหารคนเดียว และแบบกลุม่ เกษตรกรหรือ สหกรณ์การเกษตร โดยการบริหารจัดการจะควบคุม กระบวนการผลิตทัง้ หมดตัง้ แต่ขนั้ ตอนการจัดซือ้ วัตถุดบิ การคัดบรรจุ และการขนส่งไปยังศูนย์กระจายสินค้าเพือ่ ส่งให้ห้างค้าปลีก วัตถุดิบที่โรงคัดบรรจุรับเข้ามาจะมา จาก 3 แหล่งคือ เกษตรกรที่เป็นคู่ค้าจัดส่งวัตถุดิบให้ โรงคัดบรรจุ โรงคัดบรรจุทำ� การผลิตวัตถุดบิ ในพืน้ ทีข่ อง
129
ตัวเอง และโรงคัดบรรจุรับวัตถุดิบมาจากผู้รวบรวม ผลผลิต จากนั้นโรงคัดบรรจุจะท�ำการคัดแยกผักและ ผลไม้สดตามเกรดของวัตถุดิบ และแยกประเภทสินค้า เพือ่ ท�ำการบรรจุภณ ั ฑ์ และน�ำเก็บเข้าห้องควบคุมอุณหภูมิ หรือเตรียมการขนส่งไปยังห้างค้าปลีกและตลาดค้าส่ง ทั่วประเทศ เมื่อห้างค้าปลีกหรือตลาดค้าส่งรับสินค้า ไปแล้วนัน้ จะท�ำการสุม่ เพือ่ ตรวจสอบสารพิษตกค้างและ แจ้งผลการพิจารณาหรือข้อร้องเรียนมายังโรงคัดบรรจุ เพื่อท�ำการแก้ไข (ภาพที่ 1)
ภาพที่ 1 กระบวนการบริหารจัดการองค์กรและการจัดการวัตถุดิบของโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด การศึกษาครัง้ นีไ้ ด้ทำ� การศึกษาโรงคัดบรรจุผกั และ ผลไม้สดจ�ำนวน 30 ราย ซึ่งเป็นโรงคัดบรรจุที่ตั้งอยู่ใน จังหวัดต่างๆ และกระจายอยู่ทั่วทุกภาคในประเทศไทย โรงคัดบรรจุเหล่านีท้ ำ� การคัดบรรจุผกั และผลไม้สดทีอ่ ยู่ ตามบัญชีแนบท้ายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เช่น ต้นหอม พริก กะหล�่ำปลี ถั่วฝักยาว มะเขือ กล้วยหอม เป็นต้น ผักและผลไม้สดที่ถูกส่งเข้ามาในโรงคัดบรรจุ จะได้มาจากเกษตรกรทีไ่ ด้รบั การรับรองและไม่ได้รบั การ รับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) การประเมินโรงคัดบรรจุจ�ำนวน 30 ราย โดยใช้ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP)
สามารถจัดกลุ่มโรงคัดบรรจุเป็น 3 กลุ่ม ตามแนวทาง ในการพัฒนาระบบของโรงคัดบรรจุคือ (1) กลุม่ ทีย่ งั ไม่ได้รบั การรับรองตามหลักเกณฑ์ GMP มีโรงคัดบรรจุจำ� นวน 11 ใน 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 36.7 โรงคัดบรรจุในกลุ่มนี้เห็นความส�ำคัญของหลักเกณฑ์ GMP แต่ ไ ม่ มี ค วามพร้ อ มในการท� ำ ตามหลั ก เกณฑ์ เนื่องจากไม่มีความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ คิดว่าการท�ำ ตามหลักเกณฑ์เป็นเรื่องยุ่งยาก ไม่มีเวลาในการจัดท�ำ หลักเกณฑ์คิดว่าการจัดท�ำ GMP เป็นการเพิ่มต้นทุน สินค้า และไม่มแี รงจูงใจในการท�ำระบบโดยโรงคัดบรรจุ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
130
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
(2) กลุ่มที่กำ� ลังพัฒนาตามหลักเกณฑ์ GMP มีโรง คัดบรรจุจ�ำนวน 10 ใน 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.3 กลุม่ นีส้ ว่ นใหญ่กำ� ลังด�ำเนินการปรับปรุงการด�ำเนินงาน ด้านต่างๆ เพื่อขอรับการรับรองตามหลักเกณฑ์ GMP (หลักเกณฑ์ GMP ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และกรมวิชาการเกษตร กระทรวง เกษตรและสหกรณ์) ซึง่ โรงคัดบรรจุเห็นว่า อุปสรรคของ การพัฒนาหลักเกณฑ์ GMP คือ ไม่มคี วามรูเ้ กีย่ วกับระบบ คิดว่าการท�ำระบบเป็นเรือ่ งยุง่ ยาก ไม่ได้รบั ความร่วมมือ จากเกษตรกรหรือผู้รวบรวม ไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือ
แหล่งจ�ำหน่ายสนับสนุน คิดว่าการจัดท�ำระบบเป็นการ เพิ่มต้นทุนสินค้า และไม่มีแรงจูงใจในการท�ำระบบ (3) กลุ่มที่ได้รับการรับรองหลักเกณฑ์ GMP มีโรง คัดบรรจุจ�ำนวน 9 ใน 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 30 เป็น กลุม่ ธุรกิจขนาดใหญ่ โรงคัดบรรจุในกลุม่ นีไ้ ด้รบั การรับรอง หลักเกณฑ์ GMP (หลักเกณฑ์ GMP ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, SAI Global และ Codex) ลักษณะการจัดการของโรงคัดบรรจุในแต่ละกลุ่ม แสดงดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 การจัดกลุ่มโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สดตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) การจัดกลุ่ม 1. กลุ่มที่ยังไม่ได้รับ การรับรองตาม หลักเกณฑ์ GMP
ลักษณะการจัดการ 1.1 มีการบริหารเป็นรูปแบบเจ้าของธุรกิจคนเดียว วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร 1.2 โครงสร้างของโรงคัดบรรจุไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ถูกสุขลักษณะตามหลักเกณฑ์ GMP ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นโรงเรือน 1.3 กระบวนการผลิตมีการกองวัตถุดบิ กับพืน้ อาคาร ไม่มมี าตรการป้องกันสัตว์และแมลงเข้าสูบ่ ริเวณผลิต 1.4 ไม่มีมาตรการการตรวจสอบการตกค้างของสารเคมีในวัตถุดิบ 1.5 การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์เพื่อให้สามารถตรวจประเมิน และทวนสอบย้อนกลับได้ยังไม่ครบถ้วน 1.6 ไม่มีการควบคุมสุขลักษณะของพนักงานที่ปฏิบัติงาน 2. กลุ่มที่กำ� ลังพัฒนา 2.1 มีการบริหารเป็นรูปแบบบริษัท สหกรณ์การเกษตร และเจ้าของคนเดียว ตามหลักเกณฑ์ 2.2 มีการปรับปรุงโครงสร้างของโรงคัดบรรจุบางส่วน เช่น มีการแบ่งพื้นที่การผลิตเป็นสัดส่วน GMP มีการสร้างโรงคัดบรรจุใหม่ที่ได้มาตรฐาน 2.3 กระบวนการผลิตมีโต๊ะและอุปกรณ์ที่เหมาะสม มีมาตรการป้องกันสัตว์และแมลงเข้าสู่บริเวณผลิต 2.4 มีมาตรการตรวจสอบการตกค้างของสารเคมีในวัตถุดิบ 2.5 มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์เพื่อให้สามารถตรวจประเมิน และทวนสอบย้อนกลับได้แต่ยังไม่ครบถ้วน 2.6 มีการควบคุมสุขลักษณะของพนักงานที่ปฏิบัติงาน 3. กลุ่มที่ได้รับ 3.1 มีการบริหารเป็นรูปแบบบริษัท 3.2 มีการด�ำเนินการผลิตสอดคล้องตามหลักเกณฑ์ GMP แบ่งการผลิตเป็นสัดส่วน การรับรองตาม หลักเกณฑ์ GMP 3.3 กระบวนการผลิตมีโต๊ะและอุปกรณ์ที่เหมาะสม มีมาตรการป้องกันสัตว์และแมลงเข้าสู่บริเวณผลิต 3.4 มีมาตรการการตรวจสอบการตกค้างของสารเคมีในวัตถุดิบ 3.5 มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถตรวจประเมิน และทวนสอบย้อนกลับครบถ้วน 3.6 มีการควบคุมสุขลักษณะของพนักงานที่ปฏิบัติงาน ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
3. ปัญหา อุปสรรค และแรงจูงใจในการพัฒนาตาม หลักเกณฑ์ GMP จากการสอบถามประเด็นปัญหาทีส่ ง่ ผลตออุปสรรค ในการพัฒนาและแรงจูงใจในการพัฒนาตามหลักเกณฑ์
131
GMP ของผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด ข้อมูลแสดงดังตารางที่ 2 โดยเรียงตามล�ำดับความส�ำคัญ จากการสอบถามความคิดเห็นของผูป้ ระกอบการโรงคัด บรรจุผักและผลไม้สด
ตารางที่ 2 ประเด็นปัญหาที่ส่งผลตออุปสรรคในการพัฒนาและแรงจูงใจในการพัฒนาตามหลักเกณฑ์ GMP ของ ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด ประเด็นปัญหาที่ส่งผลตออุปสรรค 1. การจัดท�ำระบบเป็นการด�ำเนินการที่มีต้นทุนสูง 2. การจัดท�ำระบบมีความยุ่งยาก 3. ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการจัดท�ำระบบ 4. การจัดท�ำระบบมีเอกสารที่ต้องบันทึกจ�ำนวนมาก 5. ไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐในการฝึกอบรมและสนับสนุน ในการจัดท�ำระบบ
อภิปรายผล
งานวิ จั ย นี้ ไ ด้ ท� ำ การศึ ก ษาสภาพปั จ จุ บั น ของ กระบวนการผลิต และการจัดการระบบคุณภาพตลอด ห่วงโซ่การส่งมอบสินค้ากลุ่มผักและผลไม้สด ตั้งแต่ แหล่งที่มาของวัตถุดิบผ่านกระบวนการคัดบรรจุและ การขนส่งเพือ่ รวบรวมข้อมูล และประเด็นปัญหาน�ำไปสู่ การก�ำหนดแนวทางพัฒนาระบบบริหารจัดการของโรงคัด บรรจุผักและไม้สด โดยท�ำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) ที่มีผลต่อความส�ำเร็จในการพัฒนา ระบบการจัดการคุณภาพและความปลอดภัยสินค้ากลุม่ ผักและผลไม้สด ได้ผลดังนี้ ปัจจัยภายในด้านจุดแข็ง (Strengths) ประกอบด้วย 1) สินค้ากลุ่มผักและผลไม้สดที่มีคุณภาพและมี ความปลอดภัยเป็นที่ต้องการของตลาด 2) สินค้ากลุม่ ผักและผลไม้สดทีม่ เี ครือ่ งหมายรับรอง ความปลอดภัยมีราคาที่สูงต่างจากกลุ่มผักและผลไม้สด ทั่วไป
แรงจูงใจในการพัฒนาระบบ 1. ต้องการความมั่นคงหรือความแน่นอนในการด�ำเนิน ธุรกิจ 2. ต้องการสนับสนุนการสร้างตราสินค้า 3. ท�ำให้ราคาของสินค้าเพิ่มขึ้น 4. ผู้บริโภคเชื่อมั่นในความปลอดภัยของสินค้า 5. สามารถเปลี่ยนการซื้อขายแบบประมูลเป็นแบบ ประกันราคา 3) โรงคัดบรรจุผกั และผลไม้สดบางรายมีการบริหาร จัดการโดยน�ำหลักเกณฑ์ GMP มาเป็นแนวปฏิบัติ 4) เกษตรกรผู้ผลิตผักและผลไม้สดที่ส่งเข้าโรงคัด บรรจุมีการใช้หลักเกณฑ์ GAP ปัจจัยภายในด้านจุดอ่อน (Weaknesses) ประกอบด้วย 1) เกษตรกรผูผ้ ลิตผักและผลไม้สดรายย่อยมีปริมาณ การผลิตผลผลิตไม่แน่นอน และมีคุณภาพไม่สม�่ำเสมอ 2) เกษตรกรผู้ผลิตผักและผลไม้สดบางรายที่ส่ง ผลผลิตให้โรงคัดบรรจุยังไม่ได้รับการรับรอง GAP 3) เกษตรกรขาดความตระหนักในคุณ ภาพของ ผลผลิตซึ่งอาจส่งผลต่อผู้บริโภค 4) โรงคัดบรรจุบางรายขาดความรูใ้ นการน�ำหลักเกณฑ์ GMP มาใช้ 5) โรงคัดบรรจุขาดแหล่งเงินทุนเพื่อน�ำมาพัฒนา และปรับปรุงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ GMP 6) โรงคัดบรรจุบางรายไม่ได้ดำ� เนินการตามหลักเกณฑ์ GMP
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
132
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ปั จ จั ย ภายนอกด้ า นโอกาส (Opportunities) ประกอบด้วย 1) หน่วยงานภาครัฐ เช่น ส�ำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข มีการจัดท�ำโครงการ ที่เกี่ยวข้องกับผักและผลไม้สดปลอดภัย สร้างความ ตระหนักให้ผู้บริโภคด้านความปลอดภัย ท�ำให้ผู้บริโภค เป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับมาตรฐานโรงคัดบรรจุ 2) หน่วยงานภาครัฐและห้างค้าปลีกเล็งเห็นความ ส�ำคัญของการผลิตผักและผลไม้สดที่ปลอดภัยต่อการ บริโภคโดยส่งเสริมให้โรงคัดบรรจุปฏิบตั ติ ามหลักเกณฑ์ GMP 3) ผูบ้ ริโภคตระหนักและให้ความส�ำคัญกับการบริโภค ผักและผลไม้สดปลอดภัยมากขึ้น 4) ห้างค้าปลีกทีเ่ ป็นคูค่ า้ ให้การสนับสนุนเกษตรกร และโรงคัดบรรจุให้ผลิตผักและผลไม้สดให้ได้ตามหลักเกณฑ์ GAP และ GMP ปัจจัยภายนอกด้านอุปสรรค (Threats) ประกอบด้วย 1) หน่วยงานภาครัฐไม่สามารถผลักดันให้ผลตอบแทน ด้านราคาผักและผลไม้สดเพิม่ ขึน้ ส�ำหรับสินค้าทีม่ คี ณ ุ ภาพ 2) หน่วยงานภาครัฐยังสนับสนุนด้านต่างๆ เพื่อให้ โรงคัดบรรจุสามารถด�ำเนินการตามหลักเกณฑ์ GMP ไม่เพียงพอ เช่น ห้องปฏิบตั กิ ารตรวจสอบสารพิษตกค้าง ผู้เชี่ยวชาญในการแนะน�ำให้ปฏิบัติตามระบบมาตรฐาน 3) ไม่มขี อ้ บังคับทีช่ ดั เจนในการควบคุมโรงคัดบรรจุ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ GMP ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและประเด็นปัญหา ของโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สดน�ำไปสู่การก�ำหนด แนวทางพัฒนาระบบบริหารจัดการของโรงคัดบรรจุผัก และผลไม้สดภายใต้กรอบแนวคิดในการพัฒนาโดยใช้ ต้นแบบ (Model) ที่เรียกสั้นๆ ว่า “THAI” เพื่อให้ได้ ผักและผลไม้สดทีม่ คี วามปลอดภัยต่อผูบ้ ริโภค (ภาพที่ 2)
ภาพที่ 2 แนวคิดในการพัฒนาโรงคัดบรรจุผักและ ผลไม้สดภายใต้กรอบ THAI T = Teaching , training and coaching เป็นการให้ความรู้ ฝึกอบรม การให้คำ� แนะน�ำ และ การติดตามประเมินผลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในห่ว งโซ่ การผลิตผักและผลไม้สดให้สามารถปฏิบตั ติ ามหลักเกณฑ์ GAP, GMP ข้อบังคับทางการค้า และประกาศกระทรวง สาธารณสุข เน้นการให้ความรู้ด้านระบบคุณภาพแก่ โรงคัดบรรจุเพือ่ เข้าสูห่ ลักเกณฑ์ GMP โรงคัดบรรจุทยี่ งั ไม่ได้รบั การรับรองระบบ GMP จะถูกให้ความรูโ้ ดยการ อบรมเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับระบบคุณภาพ ปรับทัศนคติ ให้เห็นความส�ำคัญของการมีระบบเพือ่ ป้องกันปัญหาด้าน คุณภาพของผักและผลไม้สดสูผ่ บู้ ริโภค โดยให้หา้ งค้าปลีก กับส่วนราชการทีเ่ กีย่ วข้องมีการประเมินระบบพร้อมทัง้ ช่วยจัดหาแหล่งเงินทุนในการพัฒนาระบบโรงคัดบรรจุ ทีก่ ำ� ลังพัฒนาหลักเกณฑ์ GMP จะให้คำ� แนะน�ำส่งเสริม ควบคูไ่ ปกับการพัฒนาส่วนทีย่ งั ไม่พร้อม และประเมินผล เป็นระยะเพื่อความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน ใช้หลัก การวางแผน (Plan: P) การท�ำตามแผน (Do: D) การ ตรวจสอบผลตามแผน (Check: C) และพัฒนาและ ปรับปรุงอย่างต่อเนือ่ ง (Action: A) การฝึกอบรมทีมงาน ของโรงคัดบรรจุตอ้ งเริม่ ตัง้ แต่ระดับเจ้าของหรือผูบ้ ริหาร จนถึงพนักงานทุกระดับ โดยเน้นหลักเกณฑ์ของ GAP และ GMP เทคนิคการสอนและฝึกอบรมต้องเป็นแบบ Teaching-based Learning คือสอนโดยมีการเรียนรูจ้ าก การปฏิบตั ใิ นลักษณะอบรมเชิงปฏิบตั กิ าร (workshop)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
และดูงานจากสถานทีจ่ ริง ส�ำหรับโรงคัดบรรจุได้รบั การ รับรองตามหลักเกณฑ์ GMP จะจัดให้มีระบบการตรวจ ประเมินตามระยะเวลาเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่า ระบบได้ด�ำเนินการตามอย่างสม�่ำเสมอเป็นการกระตุ้น การปฏิบัติงานและการรักษาระบบคุณภาพของทีมงาน H = Health and safety หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับ การประชาสัมพันธ์ตอ้ งท�ำการประชาสัมพันธ์ทกุ รูปแบบ รณรงค์ให้มกี ารผลิตผักและผลไม้สดให้มคี วามปลอดภัย ตลอดห่วงโซ่ และให้ประชาชนผูบ้ ริโภคมีความรูค้ วามเข้าใจ ถึงอันตรายของสารพิษตกค้างในผักและผลไม้สด ให้เลือก ซื้อสินค้าจากแหล่งจ�ำหน่ายที่เชื่อถือได้เท่านั้น A = Assessment จัดให้มรี ะบบการประเมินตนเอง (Self assessment) ตลอดห่วงโซ่ เพือ่ เป็นเครือ่ งมือประเมินตนเองด้านต่างๆ เพื่อน�ำไปสู่การวางแผนและปรับปรุงการด�ำเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ หัวข้อส�ำคัญที่ควรน�ำมาใช้เพื่อ ประเมินการบริหารจัดการโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด เช่น ความเป็นผูน้ ำ� การวางแผนกลยุทธ์ การมุง่ เน้นลูกค้า และการตลาด สารสนเทศและการวิเคราะห์ เป็นต้น การจัดท�ำการประเมินตนเองจะเหมาะสมกับสถานการณ์ ในช่วงหนึ่งๆ เท่านั้น จึงต้องมีการจัดท�ำเป็นระยะๆ พร้อมทั้งหาแนวทางหรือเครื่องมือ (tools) อย่างง่าย ให้กับโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด I = Innovation management and marketing เป็นการรับเอาความคิด กระบวนการ เทคโนโลยี มาเป็นแนวทางในการด�ำเนินธุรกิจ ซึ่งอาจเป็นสิ่งใหม่ หรือสิง่ ทีม่ อี ยูแ่ ล้วและน�ำมาปรับใช้ให้เหมาะสม อาจเกิด เป็นนวัตกรรมการจัดการรวมถึงการตลาดแนวใหม่ เช่น การขาย Online การขายตรง เป็นต้น การเปลีย่ นแปลง ของสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภค ท�ำให้ระบบการท�ำงานเดิมอาจล้าสมัยซึง่ อาจมีผลกระทบ ต่อระบบการค้า การตลาดของผูร้ วบรวม และโรงคัดบรรจุ ตลอดห่วงโซ่ ดังนัน้ การติดตามสถานการณ์จากสือ่ ต่างๆ
133
หรือการเยี่ยมชมโรงคัดบรรจุที่ได้มาตรฐาน (site visit) จะท�ำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงใหม่ๆ และน�ำกลับเอามาปรับใช้ในธุรกิจของตนเองจะท�ำให้ สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
สรุปผลการวิจัย
การศึกษาระบบบริหารจัดการโรงคัดบรรจุผักและ ผลไม้สดจ�ำนวน 30 ราย ซึ่งกระจายอยู่ทั่วทุกภาค ในประเทศไทย พบว่า โรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด แบ่งตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตได้ 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ยังไม่ได้รับการรับรองตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ผลิตอาหาร (Good Manufacturing Practices: GMP) กลุม่ ทีก่ ำ� ลังพัฒนาตามหลักเกณฑ์ GMP และกลุม่ ทีไ่ ด้รบั การรับรองตามหลักเกณฑ์ GMP จากการศึ ก ษาสามารถก� ำ หนดแนวทางในการ บริหารจัดการโรงคัดบรรจุให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ GMP ซึ่งสอดคล้องกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้ กรอบแนวคิด THAI โดยมีรายละเอียดดังนี้ Teaching and training and coaching (T) เป็นการให้ความรู้ ฝึกอบรม การให้คำ� แนะน�ำ และการติดตามประเมินผล ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตผักและผลไม้สดให้ สามารถปฏิบตั ติ ามระบบ GMP ข้อบังคับทางการค้าและ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข Health and safety (H) เป็นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้มกี ารผลิตผักและผลไม้สด ให้มีความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่ Assessment (A) เป็นการจัดให้มีระบบการประเมินตนเองตลอดห่วงโซ่ เพื่อเป็นเครื่องมือประเมินตนเองด้านต่างๆ น�ำไปสู่การ วางแผนและปรับปรุงการด�ำเนินงานให้บรรลุวตั ถุประสงค์ Innovation management and marketing (I) เป็นการรับเอาความคิด กระบวนการ เทคโนโลยีเป็น แนวทางในการด�ำเนินธุรกิจ ซึ่งอาจเป็นสิ่งใหม่หรือสิ่งที่ มีอยูแ่ ล้วและน�ำมาปรับใช้ให้เหมาะสม เกิดเป็นนวัตกรรม การจัดการรวมถึงการตลาดแนวใหม่ ซึ่งจะท�ำให้ธุรกิจ สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
134
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ข้อเสนอแนะ
1. ผลักดันให้ผลตอบแทนด้านราคาเพิม่ ขึน้ ส�ำหรับ ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ 2. จัดหาแหล่งทุนสนับสนุนการจัดท�ำระบบตามเกณฑ์ ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข ส�ำหรับโรงคัดบรรจุ ที่ยังไม่ได้มาตรฐาน 3. จัดผู้เชี่ยวชาญออกไปตรวจเยี่ยมโรงคัดบรรจุ
เพือ่ ให้ขอ้ แนะน�ำในการด�ำเนินการตามประกาศกระทรวง สาธารณสุข 4. จัดให้มเี จ้าหน้าทีช่ ว่ ยในการพัฒนาระบบและตรวจ ประเมินตามแนวทางของประกาศกระทรวงสาธารณสุข 5. จัดท�ำสือ่ หรือคูม่ อื เพือ่ ให้เกิดความเข้าใจในระบบ มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขมากยิ่งขึ้น
References
Aroonrungsikul, C. & Korpraditskul, R. (2013). Research on Agricultural Commodities and Food Standard for Driving Implementation Strategy along Supply Chain: Fresh Vegetable. Bangkok: The Thailand Research Fund. [in Thai] Bureau of Food, Food and Drug Administration. (2015). A Practical Manual for Primary GMP. Nonthaburi: Bureau of Food. [in Thai] Leartrat, K., Khawchaimaha, S. & Sungsri-in, A. (2008). The Supply Chain Management for fresh Vegetable in Nakhonpathom Province. Bangkok: The Thailand Research Fund. [in Thai] Mulsor, J. & Waisarayutt, C. (2008). Development of Quality and Food Safety Management System of Fresh-Cut Vegetables for Cased Study Wholesale Business. Proceeding of 46th Kasetsart university annual conference, 29 January – 1 February 2008. [in Thai] Mulsor, J. (2008). Development of Quality and Food Safety Management System of Fresh-Cut Vegetables for Cased Study Wholesale Business. Thesis Project for the Degree of Master of Science, Kasetsart University, Bangkok. [in Thai] Naritoom, C., Chinnawong, S., Chetsumon, S., Aroonrungsikul, C., Longa, N. & Jarusan, R. (2007). The Project of Study and Produce Model Handbook and VCD of the Vegetable Production in GAP System under the New Alternative for Agricultural Development Project: Quality Vegetable Production for Market of the Small Farmer Groups in Nakhon Pathom Province. Bangkok: The Thailand Research Fund. [in Thai] Vanichbuncha, K. (2012). SPSS for Windows (6th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. [in Thai] Wannamolee, W. (2008). Development of Good Agricultural Practices (GAP) for fruit and vegetables in Thailand, paper present for Training of Trainers in Good Agricultural Practices (GAP) and Benchmarking: Global GAP for Fruit and Vegetable. Sheraton Subang Hotel and Tower, Kuala Lumpur, Malaysia, 14-23 July, 2008.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
135
Name and Surname: Puangpetch Nitayanont Highest Education: M.S. (Food Science and Technology), Kasetsart University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Food Business Management, Food Quality Assurance, Food Innovation Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
136
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าอาหารแช่เย็นในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร THE STUDY OF CONSUMPTION BEHAVIOR FOR CHILLED FOOD PRODUCTS SOLD IN MODERN TRADE STORES ภัทรนิษฐ์ ศรีบุรีรักษ์1 และเปรมฤทัย แย้มบรรจง2 Pattaranit Sribureeruk1 and Premruetai Yambunjong2 1,2คณะการจัดการธุรกิจอาหาร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 1,2Faculty of Food Business Management, Panyapiwat Institute of Management
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าอาหารแช่เย็นและปัจจัยที่มีผลต่อการ ตัดสินใจซือ้ อาหารแช่เย็นในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้วธิ วี จิ ยั เชิงส�ำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม โดยวิธสี มุ่ แบบหลายขัน้ ตอน (Multi-stage Sampling) จากกลุม่ ตัวอย่างผูบ้ ริโภค จ�ำนวนทัง้ หมด 400 คน สถิตทิ ใี่ ช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลีย่ ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศหญิงอายุระหว่าง 25-34 ปี สถานภาพโสด มีอาชีพพนักงานเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ มีพฤติกรรมการซือ้ อาหารแช่เย็น ทุกวันในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อช่วงเวลา 16.01-18.00 น. และมักใช้จ่ายประมาณ 31-60 บาทต่อครั้ง และผูต้ อบแบบสอบถามให้ระดับความส�ำคัญต่อการตัดสินใจซือ้ ของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดภาพรวมในระดับมาก และด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่ายเป็นด้านที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความส�ำคัญมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านราคา ตามล�ำดับ จากการทดสอบสมมติฐานลักษณะทางประชากรศาสตร์ทมี่ ผี ลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของอาหาร แช่เย็นในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้าน ผลิตภัณฑ์ เพศ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านช่องทาง การจัดจ�ำหน่าย อายุ และอาชีพที่แตกต่างกันมีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการส่งเสริมทางการตลาด อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% แต่เพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ และระดับการศึกษา ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา ค�ำส�ำคัญ: อาหารแช่เย็น ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
Corresponding Author E-mail: pattaranitsri@pim.ac.th
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
137
Abstract
This research aims to study consumer behavior of chilled food product consumption and the influence factors affected the purchase decision of chilled food product in modern trade business in Bangkok using survey methodology. Data collection was performed by the multi-stage sampling using the questionnaire. The respondents were 400. The statistical analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way variable analysis, and paired mean comparison. The result showed that the most of respondents were single female in the ages of 25-34 years. Their occupations were company employees. The purchasing behavior of chilled food products were carried out in the supermarkets and convenience stores everyday during 4.01-6.00 pm with spent 31-60 Baht. In addition, the significance factor of the purchasing decision was the overall marketing mixed and the most importance factors were the distribution, product, promotion, and price respectively. From the assumption test of demographic characteristics influenced the marketing mixed of chilled food products in the modern trade business, the different average monthly incomes involved the marketing mixed factors in terms of product. Genders, age, and average monthly income influenced the marketing mixed factors in terms of distribution place. Age and occupation affected the marketing mixed factors in terms of promotion significantly at the 95% of confidence level. However, gender, age, average monthly incomes, occupation, and education level did not affect the marketing mixed factors in terms of price. Keywords: Chilled Food, Modern Trade Store, Food Consumption
บทน�ำ
จากสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ปจจุบัน ธุรกิจอาหารพรอ มรับประทานไดมกี ารพัฒนาผลิตภัณฑ์ พรอมกับสร้างนวัตกรรมใหมๆ ออกมาเป็นจํานวนมาก ไม่วา่ จะเปนอาหารแชเย็น (Chilled Food) อาหารแชแข็ง (Frozen Food) อาหารกระป๋อง และอาหารแหง เปน ตน ซึ่งวัตถุประสงคของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ล้วนผลิตออกมา เพือ่ ตอบสนองตอพฤติกรรมของผูบ ริโภคทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป ทั้งสิ้น ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีการขยายตัวของช่องทาง การจัดจ�ำหน่ายในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ที่ยังคง ไดรับผลตอบรับดีจากผู้บริโภค เพราะวิถีการดํารงชีวิต ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปท�ำให้ชวี ติ เรงรีบ หรือเน้นความรวดเร็ว สะดวก สบายในการรับประทานอาหาร อีกทั้งจํานวน
คนโสดและครอบครัวขนาดเล็กทีเ่ พิม่ ขึน้ สงผลใหผบู ริโภค นิยมหันมาบริโภคอาหารพรอมรับประทานที่สะดวก ตอการรับประทานมากขึน้ ทําใหผบู ริโภคสามารถเขาถึง สินคาไดงายขึ้น ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงเห็นความส�ำคัญของ อาหารพรอมรับประทานประเภทแช่เย็น และท�ำการศึกษา พฤติกรรมของผูบ้ ริโภคและปัจจัยทีม่ ผี ลต่อการตัดสินใจซือ้ อาหารแช่เย็นในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เพือ่ ผูป้ ระกอบการ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ รวมถึงการวาง กลยุทธ์ทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าอาหาร แช่เย็นในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
138
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
2. เพือ่ ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทีม่ ผี ล ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอาหารแช่เย็นในร้านค้าปลีก สมัยใหม่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ทบทวนวรรณกรรม
Sererat (1996) ได้อธิบายถึงการวิเคราะห์พฤติกรรม ผูบ้ ริโภค (Analysis consumer behavior) เป็นการค้นหา หรือวิจยั เกีย่ วกับพฤติกรรมการซือ้ และการใช้ของผูบ้ ริโภค เพื่อให้ทราบถึงลักษณะความต้องการและพฤติกรรม การซื้อ และการใช้ของผู้บริโภค ค�ำตอบที่ได้จะช่วยให้ นักการตลาดสามารถจัดกลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategies) ทีส่ ามารถสนองความพึงพอใจของผูบ้ ริโภค ได้อย่างเหมาะสม ศัพท์ตอ้ งรูเ้ กีย่ วกับ “อาหาร” ยุคใหม่ Ready-to-Eat มีชื่อเรียกอย่างย่อว่า RTE บ้างใช้ค�ำว่า Ready Meal ขณะที่ยุคเริ่มแรกเรียกว่า Meal, Ready to Eat หรือ MRE เป็นอาหารปรุงสุกเรียบร้อยแล้ว บรรจุในซอง พร้อมรับประทาน ส�ำหรับทหารอเมริกนั เวลาออกรบจับศึก แต่ครัง้ นัน้ รสชาติไม่ได้ดมี ากนัก จนกระทัง่ มีการตัง้ ชือ่ ใหม่ ในเชิงลบหลายชือ่ เช่น Meal Rejected by Everyone เป็นต้น ส่วน Chilled Food หรืออาหารแช่เย็น มีชื่อ เรียกเต็มๆ ว่า Chilled Processed Food กระบวนการ เก็บรักษาอาหารทีอ่ ณ ุ หภูมิ 8 องศาเซลเซียส หรือต�ำ่ กว่า เริม่ ต้นทีป่ ระเทศอังกฤษตัง้ แต่ปี 1960 ในปัจจุบนั Chilled Food มีสัดส่วนถึง 10% ในอุตสาหกรรมอาหารที่อยู่ ในร้านค้าปลีกของอังกฤษ ซึ่งอาหารกลุ่มนี้มีข้อดีคือ ความสดใหม่ ใกล้เคียงกับอาหารทีไ่ ม่ได้ผา่ นกระบวนการ แปรรูป แต่มขี อ้ เสียคือ ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน โดยระยะ เวลาเก็บรักษาอยูท่ ปี่ ระมาณ 3-7 วัน ทัง้ นี้ อาหารในยุค ดิจทิ ลั ทีก่ ำ� ลังได้รบั ความนิยมในขณะนี้ คือ Ready-to-Eat แบบ Frozen Food และ Chilled Food (Positioning, 2009)
จากรายงานการคาดการณ์นวัตกรรมอุตสาหกรรม (Industrial Innovation Outlook) กลุม่ อาหารพร้อมทาน พบว่า Euromonitor International คาดการณ์มูลค่า ตลาดผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานในปี พ.ศ. 2565 จะมี มูลค่าประมาณ 105,851 ล้านเหรียญสหรัฐ และร้อยละ อัตราการเติบโตเฉลีย่ ของตลาดตัง้ แต่ พ.ศ. 2561-2565 เท่ากับ 3.7 ซึ่งปัจจัยบวกในการเติบโตเป็นผลมาจาก 1. มี ต ลาดเกิ ด ใหม่ ใ นกลุ ่ ม ลาติ น อเมริ ก า และแถบ ตะวันออกกลางรวมถึงแอฟริกามีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ด้วยการเติบโตของเมือง 2. รูปแบบสังคมการท�ำงานที่ ให้ผหู้ ญิงออกไปท�ำงานนอกบ้านมากขึน้ ท�ำให้ไม่มเี วลา เตรียมและปรุงอาหารจึงต้องการความสะดวกสบาย 3. เมนูต้นต�ำรับและอาหารพื้นเมืองมีความหลากหลาย 4. ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ หม่ ๆ ที่ ส ามารถตอบโจทย์ ผู ้ บ ริ โ ภค เฉพาะกลุ่มได้ดีมากขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้การเติบโตของ ตลาดผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานทีผ่ า่ นมามีการชะลอตัว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีสัญญาณการฟื้นตัว ผู้บริโภค บริเวณภูมิภาคอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตกซึ่งเป็น ตลาดหลักของผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานมีกำ� ลังการซือ้ เพิม่ มากขึน้ จึงท�ำให้เลือกรับประทานอาหารทีร่ า้ นอาหาร เพิ่มมากขึ้นประกอบกับกระแสรักสุขภาพของผู้บริโภค ที่ท�ำให้นิยมเลือกรับประทานของปรุงสดใหม่ปลอดสาร ปรุงแต่ง (Clean Label, Additive-free/No E-numbers) หรืออาหารที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น อย่างไรก็ตามในอีก 5 ปีนั้นตลาดหลักของผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานยังคง เป็นภูมภิ าคอเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันตก และเอเชียแปซิฟกิ ซึ่งประเทศที่มีมูลค่าตลาดสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และ เยอรมนี ขณะทีร่ สั เซีย บราซิล อิหร่าน ไต้หวัน เกาหลีใต้ เม็กซิโก อินเดีย และไทยเป็นประเทศทีม่ อี ตั ราการเติบโต ของตลาดปี พ.ศ. 2561-2565 ค่อนข้างสูง (Satitkhunarat & Jantharaprathin, 2018) ดังแสดงในภาพที่ 1 และ 2 ตามล�ำดับ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
139
ภาพที่ 1 มูลค่าของผลิตภัณฑ์อาหารของโลก พ.ศ. 2560 และ พ.ศ. 2565 จ�ำแนกตามภูมิภาค ที่มา: Satitkhunarat & Jantharaprathin (2018)
ภาพที่ 2 มูลค่าตลาดอาหารพร้อมรับประทานในประเทศไทย (พันล้านบาท) ที่มา: Intelligence Center Thailand (2016) รูปแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่ส�ำคัญในปัจจุบันมี 5 ประเภท ดังนี้ 1. ห้างสรรพสินค้า (Department Store) เป็น ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ทสี่ ดุ มักตัง้ อยูก่ ลางเมือง การตกแต่ง ร้านเน้นความสวยงามและมีพนักงานบริการให้คำ� แนะน�ำ เน้นขายสินค้าคุณภาพดี สินค้าแบรนด์เนมทั้งสินค้า น�ำเข้าจากต่างประเทศและผลิตในประเทศ ราคาสินค้า จึงค่อนข้างสูง ผูน้ ำ� ตลาด เช่น Central, Robinson และ The Mall เป็นต้น 2. ดิสเคานท์สโตร์ (Discount Store / Hypermarket / Supercenter) เป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ มักต้องลงทุนศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center)
ควบคูด่ ว้ ยการเน้นกลุม่ ลูกค้ารายได้ตำ�่ ถึงปานกลาง สินค้า ทีจ่ ำ� หน่ายจึงมีความหลากหลายในราคาประหยัด มักตัง้ อยูก่ ลางเมืองหรือชานเมือง ผูป้ ระกอบการทีส่ ำ� คัญ เช่น Big C และ Tesco Lotus เป็นต้น 3. ซูเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket) จ�ำหน่ายสินค้า อาหารและของใช้ประจ�ำวันเป็นหลัก อาทิ เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้สด อาหารส�ำเร็จรูป และสินค้าอุปโภคบริโภค มีทงั้ ร้านค้าทีต่ งั้ เป็นอิสระ เช่น Foodland และทีต่ งั้ อยู่ ในห้างสรรพสินค้า เช่น Tops และ Home Fresh Mart เป็นต้น 4. ร้านสะดวกซือ้ (Convenience Stores / Express / Mini Mart) เป็นร้านค้าปลีกขนาดเล็กทีไ่ ด้รบั ความนิยม
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
140
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
และเข้ามาทดแทนร้านค้าปลีกดั้งเดิม เนื่องจากมีการ จัดร้านและการบริหารจัดการทีท่ นั สมัย มีสนิ ค้าจ�ำหน่าย หลากหลาย และท�ำเลที่ตั้งร้านมีการกระจายตัวไปตาม แหล่งชุมนุม ผู้ประกอบการที่ส�ำคัญ เช่น Jiffy, Tops mini-supermarket, Lotus Express, Mini Big C, Lawson และ Family Mart เป็นต้น 5. ร้านค้าปลีกขายสินค้าเฉพาะอย่าง (Specialty Store) เน้นขายสินค้าเฉพาะด้านที่มีคุณภาพ ราคาสูง บางร้านขายสินค้าเฉพาะแบรนด์ของตนเอง ที่ตั้งร้าน มักอยู่ในห้างค้าปลีกหรือตามแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ผูป้ ระกอบการส�ำคัญ เช่น Boots, Watsons และ Super sports (Nilkitsaranont & Sathapongphakdee, 2017) จากการศึกษาของ GSB Research (2016) พบว่า ภาพรวมของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในปี 2559 มีการ ขยายตัวเพียงเล็กน้อย เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก ก�ำลังซือ้ ของลูกค้าภายในประเทศ ในครึง่ แรกของปี 2559 มีการขยายตัวร้อยละ 2.65 และคาดว่าทั้งปี 2559 จะ สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 3.0-3.2 โดยธุรกิจค้าปลีก ประเภท Hypermarket เป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ จากก�ำลังซือ้ ของลูกค้าทีม่ รี ายได้ระดับกลางถึงล่างท�ำให้ มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้า ส�ำหรับธุรกิจค้าปลีกประเภท Supermarket ยังคงเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดีโดยเฉพาะ Supermarket ระดับ High-end เช่น Max Value และ Villa Market ซึง่ ธุรกิจค้าปลีกประเภท Convenience Store มีแนวโน้มปรับตัวดีขน้ึ เนือ่ งจากมีการปรับตัวอยู่ ตลอดเวลาและขยายสาขาอย่างต่อเนือ่ ง ส�ำหรับปี 2560 ธุรกิจค้าปลีกคาดว่า มีแนวโน้มเติบโตได้รอ้ ยละ 3.0-3.5 จากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ ส�ำหรับ ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่คาดว่า ยังคงขยายตัวได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยอดขายของผู้ประกอบการค้าปลีกสมัยใหม่ ทีค่ าดว่า จะขยายตัวจากการลงทุนขยายสาขาใหม่ และ รีโนเวตสาขาเดิม รวมทั้งการเพิ่มพื้นที่ให้เช่า ซึ่งจะช่วย ท�ำให้รายได้ของผูป้ ระกอบการจะเติบโตได้อย่างต่อเนือ่ ง แต่ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า คนไทยจะใช้เงินสด ลดน้ อ ยลง และหั น มาใช้ จ ่ า ยผ่ า นบั ต รและช่ อ งทาง
อิเล็กทรอนิกส์มากขึน้ ประกอบกับโครงการ Expansion of Card and Card Acceptance ภายใต้นโยบาย National e-Payment ทีบ่ งั คับให้ทกุ ร้านค้าทีจ่ ดทะเบียน กับกระทรวงพาณิชย์ต้องมีเครื่อง EDC เพื่อเพิ่มอัตรา การใช้บตั รอิเล็กทรอนิกส์ จากปัจจัยเหล่านีท้ ำ� ให้รา้ นค้า ต่างๆ ต้องปรับตัวสู่การค้าขายในอนาคตเพื่อให้พร้อม รองรับการจ่ายในทุกรูปแบบ ซึ่งทิศทางการแข่งขันของ ธุรกิจค้าปลีกก�ำลังก้าวสูก่ ารเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ จากเดิม ทีเ่ น้นการท�ำแบบ “แมส มาร์เก็ตติง้ ” (Mass Marketing) หั น มาโฟกั ส เป็ น เฉพาะกลุ ่ ม ลู ก ค้ า ตั ว จริ ง ของตั ว เอง หรือเป็นการท�ำตลาดแบบ “ตัวต่อตัว” (one by one) โดยแต่ละผู้ประกอบการจะต้องน�ำเสนอแคมเปญและ โปรโมชั่นให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าเฉพาะคน แต่ปจั จัยทีจ่ ะท�ำให้การตลาดรูปแบบนีป้ ระสบความส�ำเร็จ สิ่งส�ำคัญที่สุดคือ ระบบไอที ที่จะต้องมีความแข็งแกร่ง ต้องรองรับการเก็บข้อมูลมหาศาล และต้องน�ำออกมาใช้ ประโยชน์ได้งา่ ย ซึง่ การลงทุนระบบ “บิก๊ ดาต้า” (Big Data) และระบบ “คลาวด์ คอมพิวติง้ ” (Cloud Computing) ถือเป็นการลงทุนทีใ่ ช้งบประมาณค่อนข้างสูงมาก Big Data จะเป็นเทรนด์ที่ส�ำคัญของธุรกิจค้าปลีก เพราะข้อมูล การใช้จา่ ยของลูกค้าแต่ละครัง้ จะน�ำไปสูก่ ารประมวลผล เพือ่ หาไลฟ์สไตล์ ความชอบของลูกค้า และเมือ่ สามารถ วิเคราะห์ถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้าได้แม่นย�ำ ก็จะสามารถน�ำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับเป็นโปรโมชั่นให้ ตรงใจกับลูกค้าได้มากขึ้น (Positioning, 2017)
วิธีการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นผู้บริโภคอาหาร พร้อมรับประทานประเภทอาหารแช่เย็นในร้านค้าปลีก สมัยใหม่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งก�ำหนดขนาด ตัวอย่างโดยใช้สตู รค�ำนวณกรณีไม่ทราบจ�ำนวนประชากร ได้ตัวอย่างผู้บริโภคอาหารพร้อมรับประทานประเภท อาหารแช่เย็น ทัง้ หมด 400 คน และใช้วธิ สี มุ่ แบบหลาย ขั้นตอน (Multi-stage sampling) ดังนี้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ขั้นตอนที่ 1 สุ่มตัวอย่างประเภทของร้านค้าปลีก สมัยใหม่ ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้วธิ สี มุ่ เลือกเขต แบบเจาะจง (Purposive sampling) ทีเ่ ป็นซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ ขัน้ ตอนที่ 2 สุม่ เลือกร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ประเภท ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ โดยท�ำการจับฉลาก เลือก 5 เขต จากทั้งหมด 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เขตจตุจักร เขตพญาไท เขตบางรัก เขตสายไหม และเขตปทุมวัน ขั้นตอนที่ 3 สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบก�ำหนดโควตา (Quota Sampling) โดยแจกแจงแบ่งสัดส่วนตามขนาด กลุม่ ตัวอย่างแต่ละเขต ได้จำ� นวนตัวอย่างต่อหนึง่ เขตคือ 80 คน ขั้นตอนที่ 4 สุ่มตัวอย่างผู้บริโภค โดยใช้วิธีสุ่มแบบ ตามสะดวก (Convenience Sampling) โดยให้ครบ จ�ำนวน 400 คน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม มีค่า ความเชื่อมั่น (Reliability) โดยรวม 80.1 มีทั้งหมด 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ลักษณะประชากรศาสตร์ของ ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 พฤติกรรมการบริโภค อาหารพร้อมรับประทานประเภทอาหารแช่เย็น ส่วนที่ 3 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจ ซือ้ อาหารพร้อมรับประทานประเภทอาหารแช่เย็น และ ส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) การทดสอบเปรียบเทียบคู่ (t-test) ANOVA และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ (LSD)
ผลการวิจัย
ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลส�ำหรับพฤติกรรมการบริโภค สินค้าอาหารแช่เย็นในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ จังหวัด กรุงเทพมหานคร มีดังนี้ 1. ลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม จากผลการศึกษาพบว่า ผูต้ อบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง จ�ำนวน 228 คน คิดเป็นร้อยละ 57 และ
141
เพศชาย จ�ำนวน 172 คน คิดเป็นร้อยละ 43 พบว่า ส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 25-34 ปี จ�ำนวน 168 คน คิดเป็น ร้อยละ 42.0 รองลงมาเป็นช่วงอายุ 15-24 ปี อายุ 35-42 ปี อายุ 43-50 ปี อายุน้อยกว่า 15 ปี และอายุ มากกว่า 51 ปี จ�ำนวน 111 คน, 53 คน, 36 คน, 17 คน และ 15 คน ตามล�ำดับ คิดเป็นร้อยละ 27.8, 13.2, 9.0, 4.2 และ 3.8 ตามล�ำดับ มีระดับการศึกษาปริญญาตรี จ�ำนวน 237 คน คิดเป็นร้อยละ 59.2 ระดับการศึกษา ต�ำ่ กว่าปริญญาตรี จ�ำนวน 152 คน คิดเป็นร้อยละ 38.0 และการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี จ�ำนวน 11 คน คิดเป็น ร้อยละ 2.8 โดยส่วนใหญ่มีอาชีพพนักงานเอกชนและ รัฐวิสาหกิจ จ�ำนวน 154 คน คิดเป็นร้อยละ 38.5 รองลงมาเป็นนักเรียนและนักศึกษา จ�ำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 24.2 ส่วนใหญ่มรี ายได้เฉลีย่ ต่อคนต่อเดือน 15,001-20,000 บาท จ�ำนวน 117 คน คิดเป็นร้อยละ 29.2 และรายได้เฉลี่ย 9,001-15,000 บาท จ�ำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 29.0 รองลงมามีรายได้เฉลีย่ ต่อคนต่อเดือน 20,001-25,000 บาท จ�ำนวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 14.2 โดยส่วนใหญ่พบว่า มีสถานภาพโสด จ�ำนวน 252 คน คิดเป็นร้อยละ 63.0 รองลงมาเป็นสมรสและหย่าร้าง หรือแยกกันอยู่ จ�ำนวน 143 คน และ 5 คน คิดเป็น ร้อยละ 35.8 และ 1.2 ตามล�ำดับ 2. พฤติกรรมการบริโภคอาหารพร้อมรับประทาน ประเภทอาหารแช่เย็น ผลการศึกษาพบว่า กลุม่ ตัวอย่างมีความถีใ่ นการซือ้ อาหารพร้อมรับประทานประเภทอาหารแช่เย็นทุกวัน 5-6 ครั้งต่อสัปดาห์ และ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ จ�ำนวน 103 คน, 93 คน และ 85 คน คิดเป็นร้อยละ 25.8, 23.2 และ 21.2 ตามล�ำดับ ซึ่งมีการซื้อส่วนใหญ่ในช่วงเวลา 16.01-18.00 น. จ�ำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 23.8 รองลงมาช่วงเวลา 18.01-20.00 น. จ�ำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 18.2 โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีคา่ ใช้จา่ ยในการซือ้ อาหารต่อครัง้ ประมาณ 31-60 บาท จ�ำนวน 175 คน คิดเป็นร้อยละ 43.8 รองลงมาเป็น 61-90 บาท, มากกว่า 91 บาท และน้อยกว่า 30 บาท
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
142
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
จ�ำนวน 115 คน, 102 คน และ 8 คน คิดเป็นร้อยละ 28.8, 25.5 และ 2.0 ตามล�ำดับ 3. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทีม่ ผี ลต่อการตัดสินใจ ซื้ออาหารพร้อมรับประทานประเภทอาหารแช่เย็น ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคให้ระดับความส�ำคัญ
ต่อการตัดสินใจซือ้ ในภาพรวมอยูใ่ นระดับมาก โดยด้าน ช่องทางการจัดจ�ำหน่ายมีความส�ำคัญเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด และด้านราคาตามล�ำดับ ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของระดับความส�ำคัญต่อการตัดสินใจซื้อของปัจจัยส่วนประสมทาง การตลาดอาหารพร้อมรับประทานประเภทอาหารแช่เย็น ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ 1. รสชาติอร่อย 2. มีความสดใหม่ 3. สะอาดและปลอดภัย 4. บรรจุภัณฑ์ใช้สะดวก 5. มีการแสดงฉลากโภชนาการ ด้านราคา 6. ราคาคุ้มค่าเมื่อเทียบกับปริมาณ 7. ราคาคุ้มค่าเมื่อเทียบกับความอร่อย 8. ราคาคุ้มค่าเมื่อเทียบกับสารอาหารที่ได้รับ 9. ราคาคุ้มค่าเมื่อเทียบกับร้านอาหารอื่น ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย 10. สะดวกซื้อ / หาง่าย / ใกล้ที่พัก / ที่ท�ำงาน / เปิดตลอด 24 ชม. 11. จัดเรียงสินค้าเป็นหมวดหมู่ หยิบง่าย สบายตา 12. มีที่จอดรถสะดวกส�ำหรับลูกค้า ด้านการส่งเสริมทางการตลาด 13. มีการแนะน�ำสินค้าผ่านสื่อต่างๆ เช่น App, FB 14. มีโปรโมชั่น ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวม
X 4.25 4.14 4.01 4.39 4.35 4.37 4.01 3.89 4.12 4.02 4.00 4.29 4.55
S.D. 0.45 0.62 0.91 0.64 0.66 0.71 0.67 0.92 0.73 0.91 0.87 0.60 0.56
4.40 3.92 4.17 4.09 4.25 4.18
0.67 1.12 0.78 0.56 0.91 0.42
ระดับความส�ำคัญ อันดับที่ มากที่สุด 2 มาก 4 มาก 5 มากที่สุด 1 มากที่สุด 3 มากที่สุด 2 มาก 4 มาก 4 มาก 1 มาก 2 มาก 3 มากที่สุด 1 มากที่สุด 1 มากที่สุด มาก มาก มาก มากที่สุด มาก
2 3 3 2 1 -
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
4. การศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ทมี่ ผี ลต่อปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาดของอาหารพร้อมรับประทาน ประเภทอาหารแช่เย็นในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ จังหวัด กรุงเทพมหานคร เมือ่ พิจารณาระดับความส�ำคัญของปัจจัยส่วนประสม
143
ทางการตลาดของอาหารพร้อมรับประทานประเภทอาหาร แช่เย็นในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร จ�ำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ ดังแสดงในตาราง ที่ 2 และ 3 ตามล�ำดับ
ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบค่าเฉลีย่ ของระดับความส�ำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของอาหารพร้อมรับประทาน ประเภทอาหารแช่เย็นในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ จ�ำแนกตามเพศ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด
เพศ ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง
จ�ำนวน 172 228 172 228 172 228 172 228
x 4.25 4.25 4.05 3.98 4.36 4.24 4.11 4.21
S.D. 0.47 0.44 0.67 0.67 0.57 0.61 0.77 0.78
df 398
t -0.10
p-value 0.92
398
0.98
0.33
398
2.07
0.04*
398
-1.24
0.22
หมายเหตุ *มีความแตกต่างอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบค่าเฉลีย่ ของระดับความส�ำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของอาหารพร้อมรับประทาน ประเภทอาหารแช่เย็นในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ จ�ำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ ลักษณะ ประชากรศาสตร์ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ ระดับการศึกษา
ด้านผลิตภัณฑ์ F 0.39 2.98 1.05 0.77
sig 0.85 0.02* 0.40 0.46
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านช่องทาง ด้านราคา การจัดจ�ำหน่าย F sig F sig 0.41 0.85 3.65 0.00** 2.10 0.08 6.45 0.00** 1.34 0.22 1.80 0.08 1.41 0.24 0.62 0.54
ด้านการส่งเสริม ทางการตลาด F sig 7.18 0.00** 1.98 0.10 5.31 0.00** 0.82 0.44
หมายเหตุ *มีความแตกต่างอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% **มีความแตกต่างอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99% ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
144
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
4.1 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า รายได้ที่แตกต่างกันให้ระดับความส�ำคัญในการ ตัดสินใจซือ้ ต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของอาหาร พร้อมรับประทานประเภทอาหารแช่เย็นในร้านค้าปลีก สมัยใหม่ แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่พบว่า กลุ่มที่มีรายได้ 9,001-15,000 บาท/เดือน ให้ระดับ ความส�ำคัญในการตัดสินใจซื้อด้านผลิตภัณฑ์แตกต่าง จากกลุ่มที่มีรายได้มากกว่า 20,001 บาท/เดือน และ กลุ่มที่มีรายได้ 15,001-20,000 บาท ให้ระดับความ ส�ำคัญด้านผลิตภัณฑ์แตกต่างจากกลุม่ ทีม่ รี ายได้มากกว่า 20,001 บาท/เดือน โดยกลุม่ ทีม่ รี ายได้ 20,001-25,000 บาท/เดือน ให้ระดับความส�ำคัญในการตัดสินใจซื้อ ด้านผลิตภัณฑ์น้อยกว่ากลุ่มอื่น 4.2 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคาพบว่า เพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ และการศึกษา ที่แตกต่างกันให้ระดับความส�ำคัญในการตัดสินใจซื้อ ต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของอาหารพร้อม รับประทานประเภทอาหารแช่เย็นในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ไม่แตกต่างกัน 4.3 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านช่องทาง การจัดจ�ำหน่ายพบว่า เพศ อายุ และรายได้เฉลีย่ ต่อเดือน ที่แตกต่างกันให้ระดับความส�ำคัญในการตัดสินใจซื้อ ต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของอาหารพร้อม รับประทานประเภทอาหารแช่เย็นในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จาก ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่พบว่า กลุ่มอายุ น้อยกว่า 15 ปี ให้ระดับความส�ำคัญในการตัดสินใจซื้อ ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่ายแตกต่างจากทุกกลุ่มอายุ โดยกลุ่มที่มีอายุ 35-42 ปี ให้ระดับความส�ำคัญในการ ตัดสินใจซือ้ ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่ายน้อยกว่ากลุม่ อืน่ จากผลการเปรียบเทียบค่าเฉลีย่ เป็นรายคูพ่ บว่า กลุ่มที่มีรายได้น้อยกว่า 9,000 บาท/เดือน ให้ระดับ ความส�ำคัญในการตัดสินใจซือ้ ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย แตกต่างจากกลุม่ ทีม่ รี ายได้ 20,001-25,000 บาท/เดือน
กลุ่มที่มีรายได้ 9,001-15,000 บาท/เดือน ให้ระดับ ความส�ำคัญในการตัดสินใจซือ้ ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย แตกต่างจากกลุม่ ทีม่ รี ายได้มากกว่า 20,001 บาท/เดือน และกลุม่ ทีม่ รี ายได้ 15,001-20,000 บาท ให้ระดับความ ส�ำคัญในการตัดสินใจซื้อด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย แตกต่างจากกลุม่ ทีม่ รี ายได้มากกว่า 20,001 บาท/เดือน โดยกลุม่ ทีม่ รี ายได้ 20,001-25,000 บาท/เดือน ให้ระดับ ความส�ำคัญในการตัดสินใจซือ้ ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย น้อยกว่ากลุ่มอื่น 4.4 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการส่งเสริม ทางการตลาดพบว่า อายุ และอาชีพที่แตกต่างกัน ให้ระดับความส�ำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ของอาหารพร้อมรับประทานประเภทอาหารแช่เย็น ในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ แตกต่างกันอย่างมีนยั ส�ำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็น รายคูพ่ บว่า กลุม่ อายุนอ้ ยกว่า 15 ปี กลุม่ อายุ 15-24 ปี กลุ่มอายุ 25-34 ปี และกลุ่มอายุ 35-42 ปี ให้ระดับ ความส�ำคัญในการตัดสินใจซื้อด้านการส่งเสริมทาง การตลาดแตกต่างจากกลุ่มอายุ 43 ปีขึ้นไป และกลุ่มที่ มีอายุ 43-50 ปี ให้ระดับความส�ำคัญด้านการส่งเสริมทาง การตลาดแตกต่างจากกลุม่ อายุ 51 ปีขนึ้ ไป โดยกลุม่ ทีม่ ี อายุมากกว่า 51 ปี ให้ระดับความส�ำคัญในการตัดสินใจซือ้ ด้านการส่งเสริมทางการตลาดน้อยกว่ากลุ่มอื่น
อภิปรายผล
จากผลการวิจัยสามารถอภิปรายผล ดังนี้ ผู้บริโภค ให้ระดับความส�ำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ของอาหารพร้อมรับประทานประเภทอาหารแช่เย็น ในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยด้าน ช่องทางการจัดจ�ำหน่ายมีความส�ำคัญว่าเป็นเหตุผล ในการตัดสินใจซือ้ อาหารพร้อมรับประทานประเภทอาหาร แช่เย็นในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เป็นอันดับแรก เมือ่ พิจารณา เป็นรายข้อผูบ้ ริโภคให้ความคิดเห็นระดับส�ำคัญมากทีส่ ดุ เรือ่ งความสะดวกในการซือ้ / หาง่าย / ใกล้ทพี่ กั -ทีท่ ำ� งาน และเปิดตลอด 24 ชัว่ โมง รองลงมาเป็นเรือ่ งการจัดเรียง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
สินค้าเป็นหมวดหมู่ หยิบใช้งา่ ย สบายตา รวมไปถึงการมี บริเวณจุดจอดรถทีท่ ำ� ให้ลกู ค้าสะดวกมากขึน้ ซึง่ สอดคล้อง กับการศึกษาเรือ่ ง ปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ ซูเปอร์มาร์เก็ตของผูบ้ ริโภคเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ทัศนคติของผูบ้ ริโภค ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ และคุณภาพการบริการ ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ ซูเปอร์มาร์เก็ตของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร อย่างมี นัยส�ำคัญทางสถิติที่ 0.05 (Sairojphun, 2017) จากผลการทดสอบสมมติฐานสามารถอภิปรายผล ได้ดังนี้ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า กลุม่ ทีม่ รี ายได้ 9,001-15,000 บาท/เดือน ให้ระดับ ความส�ำคัญในการตัดสินใจซื้อด้านผลิตภัณฑ์แตกต่าง จากกลุ่มที่มีรายได้มากกว่า 20,001 บาท/เดือน และ กลุม่ ทีม่ รี ายได้ 15,001-20,000 บาท ให้ระดับความส�ำคัญ ด้านผลิตภัณฑ์แตกต่างจากกลุม่ ทีม่ รี ายได้มากกว่า 20,001 บาท/เดือน โดยกลุม่ ทีม่ รี ายได้ 20,001-25,000 บาท/เดือน ให้ระดับความส�ำคัญในการตัดสินใจซื้อด้านผลิตภัณฑ์ น้อยกว่ากลุม่ อืน่ หากผูป้ ระกอบการสนใจทีจ่ ะเพิม่ ช่องทาง การจัดจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทานประเภท อาหารแช่เย็นในกลุม่ ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่นนั้ ควรพิจารณา ให้ความส�ำคัญเรือ่ งความสะอาดและความปลอดภัยของ อาหาร ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อ การบริโภคอาหารแช่แข็งประเภทอาหารส�ำเร็จรูปในร้าน สะดวกซือ้ เขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล มีความสัมพันธ์กบั พฤติกรรมการตัดสินใจบริโภคอาหาร แช่แข็งประเภทส�ำเร็จรูป โดยผูบ้ ริโภคส่วนใหญ่ให้ความ ส�ำคัญในเรือ่ งความสะอาดของอาหาร ความหลากหลาย ของชนิดอาหาร ราคาที่เหมาะสม (Chueansamran & Gitkarun, 2013) อีกทั้งการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เปิดใช้ง่าย ไม่ทำ� ลายสิง่ แวดล้อม รวมไปถึงฉลากโภชนาการทีอ่ ยูบ่ น บรรจุภณ ั ฑ์เป็นสิง่ ทีล่ กู ค้าให้ความส�ำคัญและสนใจ อาจ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา พบว่า เพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ และการศึกษา ที่แตกต่างกันให้ระดับความส�ำคัญในการตัดสินใจซื้อ
145
ต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของอาหารพร้อม รับประทานประเภทอาหารแช่เย็นในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ไม่แตกต่างกันนัน้ แปลว่า ลูกค้าในปัจจุบนั ไม่เลือกซือ้ สินค้า จากราคาถูกเสมอไป แต่จะคัดสรรผลิตภัณฑ์ทดี่ มี คี ณ ุ ภาพ ในราคาทีเ่ หมาะสม และเป็นธรรม รวมถึงการแสดงป้าย ราคาที่ชัดเจนและมีจุดสแกนราคาสินค้าไว้บริการอย่าง ทัว่ ถึง สอดคล้องกับการศึกษาของ Sairojphun (2017) ปั จ จั ย ส่ ว นประสมทางการตลาดด้ า นช่ อ งทาง การจัดจ�ำหน่ายพบว่า เพศ อายุ และรายได้เฉลีย่ ต่อเดือน ที่แตกต่างกันให้ระดับความส�ำคัญในการตัดสินใจซื้อ ต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของอาหารพร้อม รับประทานประเภทอาหารแช่เย็นในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จาก ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่พบว่า กลุ่มอายุ น้อยกว่า 15 ปี ให้ระดับความส�ำคัญในการตัดสินใจซื้อ ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่ายแตกต่างจากทุกกลุ่มอายุ โดยกลุ่มที่มีอายุ 35-42 ปี ให้ระดับความส�ำคัญในการ ตัดสินใจซือ้ ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่ายน้อยกว่ากลุม่ อืน่ หากผูป้ ระกอบการธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่จะเพิม่ ช่องทาง การจัดจ�ำหน่ายสินค้ากลุม่ อาหารพร้อมรับประทานประเภท อาหารแช่เย็นนั้น จะต้องท�ำการตลาดกับกลุ่มลูกค้า พนักงานเอกชนเพศชาย อายุช่วง 35-42 ปี เนื่องจาก มีพฤติกรรมที่ไม่ค่อยปรุงอาหารเองจึงมักซื้ออาหาร พร้อมรับประทานเพือ่ ความสะดวก หากสถานทีซ่ อื้ สินค้า มีความคล่องตัวในการจอดรถ หรือมีการบริการทีป่ ระทับใจ ก็จะท�ำให้กลุ่มลูกค้าเพศชายนั้นเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ของสินค้าประเภทนี้ได้ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการส่งเสริม ทางการตลาดพบว่า อายุ และอาชีพที่แตกต่างกัน ให้ระดับความส�ำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ของอาหารพร้อมรับประทานประเภทอาหารแช่เย็น ในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 51 ปี ให้ระดับความส�ำคัญในการตัดสินใจซื้อด้านการส่งเสริม ทางการตลาดน้อยกว่ากลุ่มอื่น ดังนั้นควรมีการเพิ่มสื่อ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
146
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ในการเข้าถึงลูกค้ากลุม่ ดังกล่าว เช่น โทรทัศน์ Facebook Line เป็นต้น เพราะในยุคเทคโนโลยีสมัยใหม่ลูกค้า สามารถเข้าถึงข้อมูลได้งา่ ยเพียงปลายนิว้ จากสมาร์ทโฟน ซึง่ สอดคล้องกับ Positioning (2017) ในการท�ำโปรโมชัน่ และช�ำระสินค้าผ่านสมาร์ทโฟน รวมถึงการเก็บฐานข้อมูล ด้านการประมวลผลเพือ่ หาไลฟ์สไตล์ ความชอบของลูกค้า เพื่อพัฒนาการวางกลยุทธ์ทางการตลาดต่อไป
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคให้ระดับความส�ำคัญ ของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์อาหาร พร้อมรับประทานประเภทแช่เย็น ภาพรวมในระดับมาก และเมือ่ แยกตามรายด้านพบว่า อันดับ 1 ได้แก่ ช่องทาง การจัดจ�ำหน่าย รองลงมาเป็นด้านผลิตภัณฑ์ ด้านส่งเสริม ทางการตลาด และด้านราคา ตามล�ำดับ 2. จากการศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีผล ต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของอาหารพร้อม รับประทานประเภทอาหารแช่เย็นในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร พบว่า เพศ ทีแ่ ตกต่างกันมีระดับ ความส�ำคัญในการตัดสินใจซือ้ ด้านผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน อายุทแี่ ตกต่างกันมีระดับความส�ำคัญในการตัดสินใจซือ้ ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่ายและการส่งเสริมทางการตลาด ทีแ่ ตกต่างกัน อาชีพทีแ่ ตกต่างกันมีระดับความส�ำคัญในการ ตัดสินใจซือ้ ด้านการส่งเสริมทางการตลาดทีแ่ ตกต่างกัน และรายได้เฉลีย่ ต่อเดือนทีแ่ ตกต่างกันมีระดับความส�ำคัญ ในการตัดสินใจซื้อด้านผลิตภัณฑ์ และด้านช่องทางการ จัดจ�ำหน่ายแตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะ
ผูป้ ระกอบการควรให้ความส�ำคัญต่อปัจจัยส่วนประสม ทางการตลาดของอาหารพร้อมรับประทานประเภทอาหาร แช่เย็นดังนี้ 1. ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย ผู้บริโภคให้ความ ส�ำคัญกับการซื้อสินค้าที่สะดวก หาง่าย ใกล้ที่พักและ ทีท่ ำ� งาน ดังนัน้ ผูป้ ระกอบการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ควร ค�ำนึงถึงการเพิม่ ช่องทางการจัดจ�ำหน่ายสินค้าให้ครอบคลุม พื้นที่และมีจุดจอดรถปลอดภัย 2. ด้านผลิตภัณฑ์ โดยสิ่งที่ส�ำคัญที่สุดคือ รสชาติ ผลิตภัณฑ์ต้องมีความน่าเชื่อถือด้านเครื่องหมายรับรอง ความปลอดภัยอาหาร บรรจุภัณฑ์สะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งผู้ประกอบการต้องสร้างความเชื่อมั่นในตราสินค้าให้ เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย 3. ด้ า นการส่ ง เสริ ม ทางการตลาดที่ ผู ้ บ ริ โ ภคให้ ความสนใจมากที่สุด “ผลิตภัณฑ์มีโปรโมชั่น” การจัด กิจกรรมส่งเสริมการตลาดนีจ้ ะส่งผลให้ลกู ค้ามีความสนใจ ในการซือ้ ผลิตภัณฑ์มากขึน้ ไม่วา่ จะเป็นการลดราคาสินค้า แลกของสมนาคุณ เพิ่มส่วนลดกับธนาคารในการใช้ บัตรเครดิต โปรโมชัน่ ร่วมกับเครือข่ายโทรศัพท์ เป็นต้น เพื่อกระตุ้นการซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้น 4. ด้านราคา ผู้ประกอบการต้องให้ราคาเหมาะสม กับความคุ้มค่าที่ผู้บริโภคได้รับ เพราะลูกค้าจะมีการ เปรียบเทียบราคาของผลิตภัณฑ์กบั ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ อื่นๆ หากธุรกิจใดมีโปรโมชั่นน่าสนใจก็จะเป็นจุดขาย เพื่อดึงดูดลูกค้ามากขึ้นเช่นกัน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
147
References
Chueansamran, U. & Gitkarun, T. (2013). Factors influencing consumers choice of quick – frozen meals offered in convenience stores around Bangkok. SDU Res. J., 9(3), 211-224. [in Thai] GSB Research. (2016). Government Savings Bank’s Report of Trend and Situation Business and Industry on December 2016 (Quarter 4). Retrieved February 28, 2018, from https://www. gsb.or.th/getattachment/8f77ddd6-7c71-47f8-a4d5-33754ff059e0 [in Thai] Intelligence Center Thailand. (2016). Ready to eat food in Thailand. Retrieved May 10, 2018, from http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail.php?id=124 [in Thai] Nilkitsaranont, P. & Sathapongphakdee, P. (2017). Trend of Business / Industry 2017-2019 Modern Trade. Retrieved February 28, 2018, from https://www.krungsri.com/bank/getmedia/ f1e844b6-74af-44df-9ba4-23dc9d0f7427/IO_Modern_Trade_2017_TH.aspx [in Thai] Positioning. (2009). You want to know vocabulary about “Modernistic Food”. Retrieved February 28, 2018, from https://positioningmag.com/11467 [in Thai] Positioning. (2017). Thai Retailer: Trend of Modern Trade in 2018 “O2O – Big Data”. Retrieved February 28, 2018, from https://www.brandbuffet.in.th/2017/12/thai-retail-associationreported-last-nine-month-of-retail-and-trends-forecast-2018/ [in Thai] Sairojphun, J. (2017). Factors Affecting the Decision to use Supermarket of Consumers in Bangkok. M.B.A. Independent Study, Bangkok University. [in Thai] Satitkhunarat, S. & Jantharaprathin, N. (2018). Report of Industry Innovation trend: Ready to eat group. Retrieved May 10, 2018, from http://stiic.sti.or.th/wp-content/uploads/2018/01-draft-2.pdf [in Thai] Sererat, S. (1996). Consumer Behavior (Unabridge ed.). Bangkok: Pattanasuksa Printing. [in Thai]
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
148
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Name and Surname: Pattaranit Sribureeruk Highest Education: M.Sc. Home Economics, Kasetsart University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Consumer Behavior, Food Product Development, Sensory Evaluation Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120 Name and Surname: Premruetai Yambunjong Highest Education: Ph.D. Tropical Agriculture, Kasetsart University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Food and Nutrition, Food Business Management Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
149
กระบวนการสร้างจิตส�ำนึกระลึกรู้ทันเพื่อการควบคุมน�ำ้ หนักของบุคลากรในองค์กร CONTROLLING EMPLOYEE WEIGHT IN ORGANIZATION USING A NOVEL PROCESS OF MINDFULNESS-BASED CONSCIOUS AWARENESS (MB-CA) ภาคภูมิ ไข่มุก1 ศิรวิทย์ กุลโรจนภัทร2 และนัทนิชา หาสุนทรี3 Pharkpum Kaimuk1 Siravit Koolrojanapat2 and Natnicha Hasoontree3 1,2,3สาขาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 1,2,3Development Administration, Suan Sunandha Rajabhat University
บทคัดย่อ
การวิจยั นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ สร้างกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” จัดการกับน�ำ้ หนักของบุคลากรในองค์กร ให้ห่างไกลจากการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยคัดเลือกผู้เข้าร่วมการวิจัยทั้งสิ้น 30 คน มาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม 10 คน (ไม่เข้าร่วมกระบวนการ) และกลุ่มทดลอง 20 คน (เข้าร่วมกระบวนการ) ผู้วิจัยได้ติดตามวัดผล ด้านสรีรวิทยาและการมีกจิ กรรมทางกายของทัง้ 2 กลุม่ ตลอดช่วงระยะเวลาด�ำเนินการวิจยั ผลการวิจยั มีดงั นี้ (1) ในช่วง ด�ำเนินกระบวนการพบว่า การมีกจิ กรรมทางกายเฉลีย่ ของกลุม่ ควบคุมไม่เกิดการเปลีย่ นแปลงของการมีกจิ กรรมทางกาย ส่วนกลุ่มทดลองเกิดการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมทางกายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน และค่าเฉลี่ยของการมีภาวะ เนือยนิง่ ก็มแี นวโน้มลดลงอย่างต่อเนือ่ ง ส่วนผลการวิจยั (2) ในช่วงติดตามความคงอยูข่ องผลหลังจบกระบวนการพบว่า กลุ่มควบคุมไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงของการมีกิจกรรมทางกาย ส่วนกลุ่มทดลองมีการใช้กิจกรรมทางกายเพิ่มสูงขึ้น อย่างต่อเนือ่ ง และค่าเฉลีย่ ของการมีภาวะเนือยนิง่ ก็มแี นวโน้มลดลงอย่างต่อเนือ่ ง (3) (4) จากแบบสอบถามก่อน-หลัง การวิจยั และการสัมภาษณ์เจาะลึกรายบุคคลของกลุม่ ทดลอง แสดงให้เห็นว่าผูเ้ ข้าร่วมการวิจยั ได้รบั ความรูจ้ ากกระบวนการ และสามารถน�ำความรู้ที่ได้ไปปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ ค�ำส�ำคัญ: จิตส�ำนึกระลึกรู้ทัน จิตส�ำนึกแห่งสุขภาพ ฟีลฟิต การจัดการสุขภาพ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง น�ำ้ หนักเกิน
Corresponding Author E-mail: pharkpum@gmail.com
150
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Abstract
The aim of this experimental research is to create a novel process known as “Mindfulness-Based Conscious Awareness” that can be used to manage employee body weight within an organization and prevent risks of Non-Communicable Diseases. This study selected 30 participants. The participants were put into two groups with ten being in the control group (not using the “Mindfulness-Based Conscious Awareness” Process) and the remaining 20 in the experimental group (using the “Mindfulness-Based Conscious Awareness” Process). The researcher monitored and measured the participants’ physiology and physical activity throughout the duration of the study. Results of the study showed that (1) During the use of the Process, the average physical activity of the control group maintained a normal level. The average physical activity of the experimental group increased notably and average sedentary time decreased continuously. (2) Monitoring the persistence of the effects after the Process ended, the physical activity of the control group maintained a normal level. The physical activity of the experimental group continued to increase despite the process being over and the average sedentary time continued to decrease. (3) (4) the pre- and post-experimental questionnaires and individual in-depth interviews of the experimental group showed that participants gained knowledge from the process to the point that it could be adapted to create health benefits. Keywords: Mindfulness, Health Conscious, Feelfit®, Health Management, NCDs, Overweight
บทน�ำ
ในอดีตผูค้ นจะเกิดอาการเจ็บป่วยและเสียชีวติ จาก โรคติดเชื้อ (Infectious Disease) เป็นส่วนใหญ่หรือที่ เรียกกันว่า โรคติดต่อ (Communicable Disease) แต่ในปัจจุบันกลับแตกต่างออกไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง ผูค้ นในสังคมจะเกิดอาการเจ็บป่วยและเสียชีวติ จากโรค ไม่ตดิ ต่อเรือ้ รัง (NCDs: Non-Communicable Disease) หรือทีเ่ รียกกันแบบย่อว่า โรค NCDs โดยข้อมูลจากองค์การ อนามัยโลกพบว่า จ�ำนวนผูเ้ สียชีวติ จากโรคไม่ตดิ ต่อเรือ้ รัง เฉลี่ยทั่วโลกมีจ�ำนวนมากถึง 38 ล้านคนต่อปี (World Health Organization, 2015) โดยเฉพาะในส่วนของ ประเทศไทยพบว่าในปี พ.ศ. 2552 มีประชากรเสียชีวติ จากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากกว่า 300,000 คน หรือ คิดเป็นร้อยละ 73 ของการเสียชีวิตของประชากรไทย ทัง้ หมดในปี พ.ศ. 2552 ซึง่ ถือเป็นมูลค่าความเสียหายทาง เศรษฐกิจมากถึง 200,000 ล้านบาทต่อปี (Thamma-
rangsi, Wongwattanakul & Suriyawongpaisarn, 2014) ปัญหาทีเ่ กิดจากโรคไม่ตดิ ต่อเรือ้ รังก�ำลังทวีความ รุนแรงมากขึ้นส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ การด�ำรงชีวติ ของผูค้ นทัง้ ในด้านครอบครัวและด้านสังคม โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในด้านนโยบายของระบบสาธารณสุข รวมถึงการบริหารจัดการเพื่อมุ่งเป้าหมายการพัฒนา ในด้านต่างๆ ของประเทศ ดังนัน้ การหากระบวนการเพือ่ ป้องกันและแก้ไขโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงเป็นสิ่งที่ส�ำคัญ อย่างยิ่งที่ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้น
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพือ่ สร้างกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” ให้ สามารถใช้เพื่อการควบคุมน�้ำหนักร่างกายของบุคลากร ในองค์กร 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการควบคุม การลดน�้ำหนักของบุคลากรในองค์กร
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
3. เพือ่ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาของการ มีกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) กับช่วงเวลา เนือยนิ่ง (Sedentary) ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
ทบทวนวรรณกรรม
กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) หมายถึง การขยับเคลือ่ นไหวร่างกาย ซึง่ ส่งผลให้รา่ งกายต้องการใช้ พลังงานแคลอรีเ่ พิม่ เติมมากกว่าในขณะพัก โดยกิจกรรม ทางกายหมายรวมถึงกิจกรรมที่ท�ำระหว่างการท�ำงาน การเล่น การท�ำงานบ้าน การออกก�ำลัง การเล่นกีฬา ต่างๆ ซึง่ กิจกรรมทางกายนัน้ จะมีหน่วยของการตรวจวัด ค่าการใช้พลังงานของกิจกรรมเรียกว่า เมตส์ (METs: Metabolic Equivalents) โดย 1 METs หมายถึง ค่าการใช้ออกซิเจนขณะนัง่ นิง่ เฉยเป็นเวลา 1 นาที ซึง่ มีคา่ โดยประมาณเท่ากับ 3.5 มิลลิลติ ร (ออกซิเจน) / กิโลกรัม (น�ำ้ หนักตัว) / นาที โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ ค�ำแนะน�ำในการท�ำกิจกรรมทางกายในกลุ่มคนทั่วไป อายุระหว่าง 18-64 ปี ควรท�ำกิจกรรมทางกายระดับ หนักปานกลาง (Moderate) แบบแอโรบิคอย่างน้อย 150 นาทีตอ่ สัปดาห์ หรือท�ำกิจกรรมทางกายอย่างหนักมาก (Vigorous) แบบแอโรบิคอย่างน้อย 75 นาทีตอ่ สัปดาห์ หรือท�ำทั้ง 2 แบบร่วมกัน พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary / Inactivity) หมายถึง กลุม่ ของพฤติกรรมในขณะตืน่ ทีเ่ กิดขึน้ ระหว่าง การนั่ ง หรื อ การเอนนอนที่ มี ค วามต้ อ งการในการใช้ พลังงานต�ำ่ ในระดับน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.5 METs เช่น นั่งอยู่เฉยๆ นั่งดูโทรทัศน์ ยืนนิ่ง นอนเอนหลัง เป็นต้น หลักในการจัดการน�ำ้ หนัก 3อ. เป็นหลักการทีเ่ หมาะ ส�ำหรับใช้จัดการควบคุมน�้ำหนักของร่างกายในแต่ละ บุคคล แบ่งออกเป็น อ.อาหาร อ.ออกก�ำลังกาย และ อ.อารมณ์ แต่สว่ นทีใ่ ห้ผลอารักขาบุคคลเพือ่ ความยัง่ ยืน ในการจัดการสุขภาพหรือ Key Success Factor นั้น คือ อ.อารมณ์ การเปลีย่ นแปลงของสมองเมือ่ ฝึกสติ (Mindfulness) การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสมองเมื่อฝึกสติ
151
โดยใช้ภาพถ่ายของสมองด้วยวีธกี ารเรโซแนนซ์แม่เหล็ก แบบเพื่อตรวจวัดการท�ำงานและโครงสร้างของสมอง (f-MRI: Functional Magnetic Resonance Imaging) พบว่า ผูฝ้ กึ สติมกี ารท�ำงานของสมองกลีบหน้าส่วนหน้า และสมองส่วน Anterior Cingulate Cortex มากกว่า ผูท้ ไี่ ม่เคยฝึกสติมาก่อน ซึง่ แสดงให้เห็นว่า ผูท้ เี่ คยฝึกสติ มีกระบวนการท�ำงานในการหันเหความสนใจจากสิง่ เร้าได้ดี มีสมาธิกบั สิง่ ทีอ่ ยูต่ รงหน้า และมีกระบวนการตอบสนอง ทางอารมณ์ที่ดีกว่าผู้ที่ไม่เคยฝึกสติ ซึ่งสอดคล้องกับผล ของการวิจัยทางคลินิกที่พบว่า ผู้ฝึกสติมีความสามารถ ในการตั้งมั่นต่อความสนใจ (Sustained Attention) ต่อสิง่ ใดสิง่ หนึง่ ได้ยาวนานขึน้ และถูกรบกวนความสนใจ จากสิ่งเร้าอื่นๆ ลดน้อยลง (Barinaga, 2003) กระบวนการสนทนากลุ่ม แบบ World Café Conference เป็นกระบวนการสนทนาทีแ่ บ่งผูร้ ว่ มสนทนา ออกเป็นกลุ่มย่อย แต่ละกลุ่มจะมีวิทยากรกระบวนการ เป็นผู้นำ� การสนทนา ผู้เข้าร่วมการสนทนามีสิทธิในการ พูด การคิด การแสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน การสนทนาจะด�ำเนินไปอย่างไร้ความขัดแย้ง ใช้หลักการ ของเหตุ แ ละผลในการน� ำ เสนอความคิ ด เพื่ อ ให้ เ กิ ด มุมมองใหม่ วิธีการใหม่ ประสบการณ์ใหม่ องค์ความรู้ ใหม่ๆ ที่สังเคราะห์ได้จากการถอดบทเรียนจากการท�ำ กระบวนการ และความรู้ท่ีได้จะเกิดจากการบูรณาการ ความคิดเห็นต่างๆ ผสานกันจนเกิด “ปัญญาร่วม” (Brown & Isaacs, 2009) ประโยชน์ของการฝึกสติ (Mindfulness Meditation) เพื่อการจัดการน�้ำหนักของร่างกายอย่าง ยั่งยืน สติ คือ ความระลึกชอบ ท�ำให้บุคคลนั้นรู้สึกตัว ในทุกๆ ความคิดและการกระท�ำทีเ่ กิดขึน้ ในชีวติ ประจ�ำวัน สติมิได้เกิดขึ้นจากการนึกหรือการคิด แต่จะเกิดขึ้นเอง เมื่อมีเหตุให้เกิดครบถ้วน และเมื่อเกิดสติจนส่งผลให้ สามารถรู้ถึงร่างกายและรู้ถึงจิตใจของตัวเองในปัจจุบัน ขณะแบบไม่ปรุงแต่งต่อเติมได้แล้ว จึงเป็นเหตุใกล้ให้เกิด สมาธิในบุคคล (Pamotecho, 2012)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
152
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
Ritskes et al. (2003) ได้ทำ� การทดลองในกลุม่ วิจยั โดยให้ฝึกสติด้วยวิธีการแบบเซ็น (Zen) เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และในปี 2007 Farb et al. ได้ทำ� การทดลอง ในกลุ่มวิจัยโดยใช้วิธีการ MBSR (Mindfulness-Base Stress Reduction) เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เช่นเดียวกัน ได้ผลจากการศึกษาตรงกันว่ามีการท�ำงานของสมองบริเวณ กลีบหน้าส่วนหน้าเพิม่ ขึน้ ซึง่ สมองส่วนนีม้ คี วามสัมพันธ์ กับการรูส้ กึ ตัว (Nakawiro, Losathien & Suttijit, 2013) และผลที่ได้ยังสอดคล้องกับการศึกษาทางคลินิกว่าด้วย เรือ่ งจิตบ�ำบัดด้วยสติแบบ MBSR ว่าสามารถเพิม่ การมีสติ อยูก่ บั ปัจจุบนั ได้ (Jha, Krompinger & Baime, 2007) Kearney et al. (2012) ได้ท�ำการวิจัยเกี่ยวกับ การฝึกสมาธิซึ่งมีผลต่อปัญหาในการรับประทานอาหาร (EE: Emotional Eating and UE: Uncontrolled Eating) โดยการวิจัยนี้ได้กลุ่มวิจัยจากโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ในสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกระบวนการ MindfulnessBased stress reduction (MBSR) ซึ่งเป็นการฝึกนั่ง สมาธิ ฝึกเดินสมาธิ ฝึกพัฒนาเรื่องความเมตตา ฟังสื่อ บรรยายธรรมะ และให้เข้าฟังการบรรยายจากผูเ้ ชีย่ วชาญ ด้านการฝึกสมาธิ 1 ครัง้ ต่อสัปดาห์ หลังจบกระบวนการ พบว่า กลุม่ วิจยั มีการพัฒนาทางด้านการจัดการความเครียด ได้ดีขึ้น แต่กลับมีน�้ำหนักและค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่ เพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย Mason et al. (2016) ได้ท�ำการวิจัยเปรียบเทียบ วิธีการลดน�้ำหนักที่จะได้ผลกับบุคคลวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะ อ้วน (Obesity) โดยเปรียบเทียบระหว่างการควบคุม อาหารอย่างเดียวกับการสอนและให้ความรูเ้ รือ่ งการเลือก รับประทานคูไ่ ปกับการฝึกสติ คัดเลือกกลุม่ วิจยั เป็นบุคคล วัยผูใ้ หญ่ทมี่ คี า่ ดัชนีมวลกาย 30-45 ขนาดของเส้นรอบพุง (Waist circumference) เพศชายมากกว่า 102 เซนติเมตร และเพศหญิงมากกว่า 88 เซนติเมตร โดยกลุ่มวิจัยจะ ต้องไม่เป็นโรคเบาหวาน ไม่เคยเข้าร่วมคอร์สลดน�ำ้ หนัก หรือการวิจยั เพือ่ จัดการน�ำ้ หนักร่างกายมาก่อน จากนัน้ ให้
กลุม่ วิจยั เข้ากระบวนการฝึกสติ (MB-EAT: MindfulnessBase Eating Awareness Training Program) เป็น ระยะเวลา 12 สัปดาห์ คณะผู้วิจัยได้ติดตามผล 2 ช่วง คือ 12 เดือน และ 18 เดือน พบว่า กลุ่มวิจัยที่ได้รับ ความรูเ้ รือ่ งการเลือกรับประทานอาหารควบคูก่ บั การฝึกสติ มีน�้ำหนักโดยรวมของร่างกายลดลง และได้แนะน�ำว่า กระบวนการฝึกสติจะได้ผลมากยิ่งขึ้นถ้าหากผสมผสาน กับการให้ความรู้ด้านการออกก�ำลังกาย (Exercise)
วิธีการวิจัย
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวตั ถุประสงค์เพือ่ สร้างกระบวนการ ใหม่ทมี่ ชี อื่ ว่ากระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” ซึง่ เป็น กระบวนการทีใ่ ช้การสนทนากลุม่ พัฒนาเป็นรูปแบบของ World Café เพือ่ ให้กลุม่ ทดลองได้รบั ความรูท้ เี่ กีย่ วข้อง กับการจัดการควบคุมน�้ำหนักร่างกาย ผสานกับการฝึก เพือ่ พัฒนาการใช้หลักวิถพี ทุ ธเข้ามาช่วยเสริมเพือ่ ให้เกิด ความยั่งยืนในระยะยาวโดยการฝึกสติในชีวิตประจ�ำวัน กลุ่มทดลองสามารถสอบถามข้อสงสัยจากผู้เชี่ยวชาญ ระดมสมอง ให้กำ� ลังใจ แลกเปลีย่ น และแสดงความคิดเห็น ระหว่างกันในกลุ่มทดลอง โดยมีวิทยากรกระบวนการ เป็นผู้ด�ำเนินการสนทนาและตอบค�ำถามไขข้อสงสัย ภาพรวมของความรู้ที่กลุ่มวิจัยได้รับจะอยู่ในขอบเขต ของการจัดการสุขภาวะให้เหมาะสมในด้านต่างๆ และ สร้างเสริมความมั่นคงทางด้านจิตใจแก่กลุ่มทดลอง โดยผู้วิจัยจะติดตามวัดผลทางด้านสรีรวิทยา และการมี กิจกรรมทางกายของกลุม่ ทดลองและกลุม่ ควบคุมในทุกๆ ระยะด�ำเนินการ จึงได้แบ่งการศึกษาออกเป็นการวัดผล ทั้งในเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นบุคลากรจากองค์กรทางด้าน การรักษาพยาบาลและองค์กรทางด้านการสร้างเสริม
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
สุขภาพ มีนำ�้ หนักของร่างกายอยูใ่ นเกณฑ์ภาวะน�ำ้ หนักเกิน (BMI > 23-24.9) อายุระหว่าง 15-59 ปี ซึง่ จัดอยูใ่ นกลุม่ ประชากรวัยแรงงาน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มทดลอง เป็นบุคลากรจากองค์กรทางด้าน การรักษาพยาบาล 10 คน และบุคลากรจากองค์กร ทางด้านการสร้างเสริมสุขภาพ 10 คน โดยทั้ง 20 คน ได้เข้าร่วมกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรู้ทัน” ตลอด ระยะเวลา 3 เดือน 2. กลุ่มควบคุม เป็นบุคลากรจากองค์กรทางด้าน การรักษาพยาบาล 5 คน และบุคลากรจากองค์กร ทางด้านการสร้างเสริมสุขภาพ 5 คน โดยทั้ง 10 คน มิได้เข้าร่วมกระบวนการใดๆ
153
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย อุปกรณ์ตรวจวัดระดับกิจกรรมทางกายในการวิจยั นี้ คือ อุปกรณ์ฟีลฟิต (FeelFit®) ซึ่งสามารถติดตามและ แยกระดับความหนักเบาของกิจกรรมทางกายของบุคคล รวมถึงทราบจ�ำนวนก้าวเดิน และระยะทางที่เกิดขึ้น ตลอดระยะเวลาทีต่ ดิ ตัง้ เครือ่ งไว้อกี ด้วย โดยต�ำแหน่งติดตัง้ ที่มีความแม่นย�ำสูงสุดคือ ณ จุดกึ่งกลางของบริเวณเอว ด้านข้างล�ำตัว แสดงผลในรูปแบบของระยะเวลาเป็นนาที ในแต่ละระดับความหนักเบาของกิจกรรมผ่านหน้าจอ ของตัวเครื่อง
ภาพที่ 1 แสดงอุปกรณ์ตรวจวัดระดับกิจกรรม ทางกายฟีลฟิต (FeelFit®) การวิเคราะห์ข้อมูล 1. เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจในกระบวนการ ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยการทดสอบที (T-Test) 2. เปรียบเทียบผลการมีกิจกรรมทางกายระหว่าง กลุม่ ควบคุมและกลุม่ ทดลองด้วยการทดสอบที (T-Test) 3. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการมีกิจกรรม ทางกายในชีวิตประจ�ำวันกับช่วงเวลาเนือยนิ่งของกลุ่ม
ควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ ด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย
ผู้วิจัยได้ติดตามวัดผลทางด้านสรีรวิทยาและการมี กิจกรรมทางกายของกลุม่ ทดลองและกลุม่ ควบคุมในทุกๆ ระยะด�ำเนินการ และน�ำมาวิเคราะห์ผลตามระเบียบวิธี ทางสถิติ ดังนี้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
154
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ตอนที่ 1 เปรียบเทียบผลของกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” ในช่วงเริม่ กระบวนการจนกระทัง่ จบช่วงกระบวนการ (สัปดาห์ที่ 1-12)
ภาพที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบดัชนีมวลกายเฉลี่ย ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในสัปดาห์ที่ 1, 4, 8, 12 การเปลีย่ นแปลงดัชนีมวลกายเฉลีย่ ของกลุม่ ควบคุม ในสัปดาห์ที่ 1, 4, 8, 12 นั้น ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างชัดเจนและมีแนวโน้มที่ดัชนีมวลกายเฉลี่ยจะเพิ่ม
สูงขึน้ ส่วนกลุม่ ทดลองนัน้ เกิดการเปลีย่ นแปลงของดัชนี มวลกายที่ลดลงอย่างชัดเจน
ภาพที่ 3 แสดงการเปรียบเทียบเส้นรอบพุงเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในสัปดาห์ที่ 1, 4, 8, 12 การเปลีย่ นแปลงของเส้นรอบพุงเฉลีย่ ของกลุม่ ควบคุม ในสัปดาห์ที่ 1, 4, 8, 12 นั้นไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
อย่างชัดเจนของเส้นรอบพุง ส่วนกลุม่ ทดลองนัน้ เกิดการ เปลี่ยนแปลงของเส้นรอบพุงที่ลดลงอย่างชัดเจน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
155
ภาพที่ 4 แสดงการเปรียบเทียบการมีกิจกรรมทางกายเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในสัปดาห์ที่ 4, 8, 12 การมี กิ จ กรรมทางกายเฉลี่ ย ของกลุ ่ ม ควบคุ ม ในสัปดาห์ที่ 4, 8, 12 นั้นไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง ชัดเจนของการมีกิจกรรมทางกาย ส่วนกลุ่มทดลองนั้น
เกิดการเปลีย่ นแปลงของกิจกรรมทางกายเฉลีย่ ทีเ่ พิม่ ขึน้ อย่างชัดเจน
ภาพที่ 5 แสดงการเปรียบเทียบการมีภาวะเนือยนิ่งเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในสัปดาห์ที่ 4, 8, 12 การเปลีย่ นแปลงของการมีภาวะเนือยนิง่ เฉลีย่ ของกลุม่ ควบคุม ในสัปดาห์ที่ 4, 8, 12 นัน้ ไม่เกิดการเปลีย่ นแปลง อย่างชัดเจนของการมีภาวะเนือยนิง่ ส่วนกลุม่ ทดลองนัน้
เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาวะเนือยนิ่งเฉลี่ยที่ลดลง อย่างชัดเจน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
156
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ตอนที่ 2 เปรียบเทียบผลของกระบวนการ “จิตส�ำนึก ระลึกรูท้ นั ” หลังจบกระบวนการและติดตามผลการคงอยู่
ของกระบวนการต่อเนื่องไปอีก 8 สัปดาห์ (สัปดาห์ที่ 12-20)
ภาพที่ 6 แสดงการเปรียบเทียบดัชนีมวลกายเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในสัปดาห์ที่ 12, 16, 20 การคงอยู่ของดัชนีมวลกายเฉลี่ยของกลุ่มควบคุม ในสัปดาห์ที่ 12, 16, 20 นั้นเกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างชัดเจน มีแนวโน้มที่น�้ำหนักตัวเฉลี่ยจะเพิ่มสูงขึ้น
ส่วนกลุม่ ทดลองนัน้ เกิดการเปลีย่ นแปลงของดัชนีมวลกาย มีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง
ภาพที่ 7 แสดงการเปรียบเทียบเส้นรอบพุงเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในสัปดาห์ที่ 12, 16, 20 การคงอยู่ของเส้นรอบพุงเฉลี่ยของกลุ่มควบคุม ในสัปดาห์ที่ 12, 16, 20 นั้นไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างชัดเจน มีแนวโน้มทีจ่ ะทรงตัว ส่วนกลุม่ ทดลองนัน้
เกิดการเปลีย่ นแปลงของเส้นรอบพุง มีแนวโน้มทีจ่ ะลดลง อย่างต่อเนื่อง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
157
ภาพที่ 8 แสดงการเปรียบเทียบการมีกิจกรรมทางกายเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในสัปดาห์ที่ 12, 16, 20 การคงอยูข่ องการมีกจิ กรรมทางกายเฉลีย่ ของกลุม่ ควบคุม ในสัปดาห์ที่ 12, 16, 20 นัน้ ไม่เกิดการเปลีย่ นแปลง อย่างชัดเจน มีแนวโน้มทีจ่ ะทรงตัว ส่วนกลุม่ ทดลองนัน้
เกิดการเปลีย่ นแปลงของการมีกจิ กรรมทางกาย มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ภาพที่ 9 แสดงการเปรียบเทียบการมีภาวะเนือยนิ่งเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในสัปดาห์ที่ 12, 16, 20 การคงอยู่ของการมีภาวะเนือยนิ่งเฉลี่ยของกลุ่ม ควบคุม ในสัปดาห์ที่ 12, 16, 20 นัน้ ไม่เกิดการเปลีย่ นแปลง อย่างชัดเจน มีแนวโน้มทีจ่ ะทรงตัว ส่วนกลุม่ ทดลองนัน้
เกิดการเปลีย่ นแปลงของการมีภาวะเนือยนิง่ มีแนวโน้ม ลดลงอย่างต่อเนื่อง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
158
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ตอนที่ 3 เปรียบเทียบผลของกระบวนการ “จิตส�ำนึก ระลึกรู้ทัน” โดยใช้แบบสอบถาม 2 ชุด (15 ข้อ และ 26 ข้อ) เพื่อตรวจวัดประสิทธิผลในด้านต่างๆ ในช่วง ก่อนเริม่ กระบวนการ (Pre-Test) (สัปดาห์ที่ 1) และหลัง จากช่วงติดตามผลการคงอยูข่ องกระบวนการ “จิตส�ำนึก ระลึกรู้ทัน” (Post-Test) (สัปดาห์ที่ 20) จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) ค่าสถิติทดสอบที (t-test Statistic) และค่า Sig. (2-tailed) ของแบบสอบถามตรวจวัด ประสิทธิผลกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” ชุดที่ 1 (15 ข้อ) ซึง่ มุง่ เน้นทีก่ ระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” พบว่า ผูเ้ ข้าร่วมวิจยั ในกลุม่ ทดลองรูส้ กึ ว่า กระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” นัน้ เป็นประโยชน์ และไม่เป็นการ เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ที่เข้าร่วมกระบวนการนี้ วิทยากรเป็นผูม้ คี วามรู้ สามารถถ่ายทอดความรูไ้ ด้อย่าง มีประสิทธิภาพ ผู้เข้าร่วมการวิจัยในกลุ่มทดลองได้รับ หลักการในการจัดการน�ำ้ หนักและความรูใ้ หม่ๆ ทีเ่ กีย่ วกับ การดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน จากการเปรียบเทียบการเปลีย่ นแปลงของค่าตัวแปร ด้านความรูค้ วามเข้าใจและความรูส้ กึ ทีม่ ตี อ่ กระบวนการ ในสัปดาห์ที่ 1 (Pre-test) กับค่าตัวแปรด้านความรู้ ความเข้าใจและความรูส้ กึ ทีม่ ตี อ่ กระบวนการในสัปดาห์ ที่ 20 (Post-test) เพือ่ ตรวจวัดความเปลีย่ นแปลงของผล จากกระบวนการทีม่ ตี อ่ ผูเ้ ข้าร่วมการวิจยั ในกลุม่ ทดลอง ผลปรากฏว่าค่าจากการทดสอบทางสถิตแิ สดงให้เห็นว่า ผูเ้ ข้าร่วมการวิจยั ในกลุม่ ทดลองนัน้ มีความเปลีย่ นแปลง ในทุกข้อค�ำถามแตกต่างกันทีร่ ะดับความมีนยั ส�ำคัญ .05 และจากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) ค่าสถิติทดสอบที (t-test Statistic) และค่า Sig. (2-tailed) ของแบบสอบถามตรวจวัด ประสิทธิผลกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” ชุดที่ 2 (26 ข้อ) ซึ่งมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และความรู้ความเข้าใจ ในหลักการที่ได้รับจากกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึก รูท้ นั ” พบว่า ผูเ้ ข้าร่วมวิจยั ในกลุม่ ทดลองมีความรูส้ กึ ว่า กระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรู้ทัน” สามารถช่วยให้ น�้ำหนักตัวลดลงได้จริง เครื่องตรวจวัดกิจกรรมทางกาย
ฟีลฟิต ช่วยให้มีการใช้กิจกรรมทางกายมากขึ้น มีภาวะ เนือยนิง่ ลดลง ผูเ้ ข้าร่วมการวิจยั ในกลุม่ ทดลองสามารถ เลือกรับประทานอาหารได้ดีขึ้น สามารถห้ามใจเมื่อพบ อาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ รวมถึงมีความสามารถในการ แยกแยะภาวะ “หิวจริง” กับ “หิวปลอม” ออกจากกันได้ ผู้เข้าร่วมการวิจัยในกลุ่มทดลองมีความสุขที่ได้ใช้ชีวิต ภายใต้กระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” มีความมัน่ ใจว่า “ความรู”้ และ “สติ” ทีไ่ ด้รบั การฝึกฝนจากกระบวนการ จะคงอยู่ต่อไป สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ อื่นๆ ในชีวิตประจ�ำวันได้ อีกทั้งยังมั่นใจว่าจะสามารถ น�ำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ต่อในองค์กรได้ในอนาคต จากการเปรียบเทียบการเปลีย่ นแปลงของค่าตัวแปร ด้านผลลัพธ์แ ละความรู้ค วามเข้าใจในหลักการจาก กระบวนการในสัปดาห์ที่ 1 (Pre-test) กับค่าตัวแปร ด้านผลลัพธ์แ ละความรู้ค วามเข้าใจในหลักการจาก กระบวนการในสัปดาห์ที่ 20 (Post-test) เพื่อตรวจวัด ความเปลีย่ นแปลงของผลจากกระบวนการทีม่ ตี อ่ ผูเ้ ข้าร่วม การวิจยั ในกลุม่ ทดลอง ผลปรากฏว่าค่าจากการทดสอบ ทางสถิตแิ สดงให้เห็นว่า ผูเ้ ข้าร่วมการวิจยั ในกลุม่ ทดลองนัน้ มีความเปลีย่ นแปลงในแต่ละข้อค�ำถามแตกต่างกันทีร่ ะดับ ความมีนยั ส�ำคัญ .05 เว้นแต่ในหัวข้อ “ความรูส้ กึ ตัวทุกครัง้ ทีจ่ ะทานอาหารทีม่ ปี ระโยชน์...” นัน้ ไม่มคี วามแตกต่างกัน ที่ระดับความมีนัยส�ำคัญ .05 ตอนที่ 4 สัมภาษณ์เจาะลึกผู้เข้าร่วมกระบวนการ ในกลุ่มทดลอง ตรวจวัดประสิทธิผลจากกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” หลังจากช่วงติดตามผลการคงอยู่ ของกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” (สัปดาห์ที่ 20) ผูว้ จิ ยั ท�ำการสัมภาษณ์เจาะลึกผูเ้ ข้าร่วมกระบวนการ ในกลุม่ ทดลองทีละคน หลังจากช่วงติดตามผลการคงอยู่ ของกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” ในสัปดาห์ที่ 20 จากการประมวลค�ำตอบและวิเคราะห์อย่างละเอียด ผูว้ จิ ยั ได้ผลของค�ำตอบเป็นประเด็นส�ำคัญๆ หลายประเด็น ด้วยกันสามารถสรุปได้วา่ กระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึก รู้ทัน” เป็นกระบวนการอบรมเผยแพร่ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจทีถ่ กู ต้องในการควบคุมน�ำ้ หนัก ใช้วธิ กี ารเข้าหา
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
กลุม่ ผูเ้ ข้าร่วมกระบวนการด้วยวิธกี ารละมุนละม่อม อาทร และหวังดี แม้การให้ความรูด้ ว้ ยวิธกี ารทีไ่ ม่มกี ารบังคับนี้ จะดูซำ�้ ๆ จ�ำเจ และไม่เห็นผลในช่วงแรก แต่ในระยะยาว สามารถเห็นผลได้ชัดเจนยั่งยืน และเนื่องจากการลด น�้ำหนักตามระเบียบวิธีของกระบวนการ สามารถท�ำได้ ต่อเนือ่ งยาวนานตลอดชีวติ โดยไม่รบกวนกิจวัตรประจ�ำวัน หรือหน้าทีก่ ารงานใดๆ กระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” จึงเป็นกระบวนการที่น่าสนใจ ในอันที่จะน�ำไปพัฒนา บุคลากรของหน่วยงานและบุคลากรของชาติให้มสี ขุ ภาพ ที่ดีในภาพรวมต่อไป
อภิปรายผล
ข้ อ ความรู ้ ที่ น ่ า สนใจอย่ า งยิ่ ง จากกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” นัน่ คือ ผูว้ จิ ยั สามารถแบ่งผูเ้ ข้าร่วม การวิจัยในกลุ่มทดลองออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ตาม รูปแบบการพัฒนาการจัดการตนเองเมือ่ ผ่านกระบวนการ ดังนี้ 1. บุคคลกลุ่มที่ 1: ผู้เข้าร่วมวิจัยในกลุ่มทดลอง ที่สามารถท�ำความเข้าใจและดูดซับความรู้ความเข้าใจ จากกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” ได้ในระดับพอใช้ มีการตอบสนองต่อแรงขับของกระบวนการในระยะแรก
159
แต่จะขาดแรงผลักดันจากภายในตนเอง เมือ่ ผ่านช่วงต้น ของกระบวนการไปแล้วจะมีระดับของ “จิตส�ำนึกระลึก รู้ทัน” ลดลงทันที 2. บุคคลกลุ่มที่ 2: ผู้เข้าร่วมวิจัยในกลุ่มทดลอง ที่สามารถท�ำความเข้าใจและดูดซับความรู้ความเข้าใจ จากกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรู้ทัน” ได้ในระดับ ปานกลาง มีการตอบสนองต่อแรงขับของกระบวนการ ในระยะแรก และมีแรงผลักดันจากภายในตนเองแต่ยัง ไม่มากเพียงพอให้สามารถรักษาระดับของ “จิตส�ำนึก ระลึกรู้ทัน” ได้ยาวนานต่อไป 3. บุคคลกลุ่มที่ 3: ผู้เข้าร่วมวิจัยในกลุ่มทดลอง ที่สามารถท�ำความเข้าใจและดูดซับความรู้ความเข้าใจ จากกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรู้ทัน” ได้ในระดับดี มีการตอบสนองต่อแรงขับของกระบวนการในระยะแรก และมีแรงผลักดันจากภายในตนเองอย่างต่อเนือ่ งสามารถ รักษาระดับของ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” ได้ยาวนานอย่าง ยั่งยืน เมื่อเวลาผ่านไปแรงขับจากสถานการณ์ทางด้าน สุขภาพสิน้ สุดลง ระดับของจิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ทีม่ ใี นจิตใจ จะลดระดับลงอย่างช้าๆ แต่ระดับของจิตส�ำนึกระลึก รูท้ นั ทีม่ ใี นจิตใจจะไม่จางหายไป สามารถระลึกรูข้ นึ้ มาใหม่ ได้ด้วยจิตส�ำนึกระลึกรู้ทันของตัวเอง
ภาพที่ 10 แสดงการเปรียบเทียบผลจากกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรู้ทัน” ในบุคคลกลุ่มที่ 1, 2 และ 3 ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
160
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
บุคคลในกลุม่ ที่ 1, 2 และ 3 จะมีความแตกต่างกัน ในระยะท้ า ยหลั ง จากสิ้ น สุ ด แรงขั บ ทางด้ า นสุ ข ภาพ ในกลุ่มที่ประสบความส�ำเร็จในการเข้ากระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” (บุคคลกลุม่ ที่ 3) จะสามารถรักษา สุขภาพของตนเองได้ดแี ละมีความยัง่ ยืนต่อเนือ่ งมากกว่า บุคคลในกลุ่มที่ 2 และบุคคลในกลุ่มที่ 2 ก็จะสามารถ รักษาสุขภาพของตนเองได้ดีกว่าบุคคลในกลุ่มที่ 1 โดยเมื่ อ น� ำ ค่ า ทางสถิ ติ ที่ ไ ด้ จ ากการตรวจวั ด มา พิจารณาจะเห็นว่า จากผูเ้ ข้าร่วมการวิจยั ในกลุม่ ทดลอง ทีผ่ า่ นกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” มีบคุ คลกลุม่ ที่ 1 (ระดับพอใช้) คิดเป็นร้อยละ 20 บุคคลกลุ่มที่ 2 (ระดับปานกลาง) คิดเป็นร้อยละ 30 และบุคคลกลุม่ ที่ 3 (ระดับดี) คิดเป็นร้อยละ 50 ของผูเ้ ข้าร่วมการวิจยั ในกลุม่ ทดลอง สามารถสะท้อนถึงผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรู้ทัน” ซึ่งมีผู้ประสบความส�ำเร็จในการ จัดการน�้ำหนักร่างกายหลังจากเข้าร่วมกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรู้ทัน” ดังนั้น คุณค่าของกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึก รูท้ นั ” นัน้ นอกจากจะช่วยให้ผเู้ ข้าร่วมประสบความส�ำเร็จ ในด้านการจัดการน�ำ้ หนักของร่างกายผ่านหลักการ 3อ. (อ.อาหาร อ.ออกก�ำลังกาย และ อ.อารมณ์) อย่างเป็น ปัจจุบันแล้ว ในกลุ่มที่ยังไม่ประสบความส�ำเร็จหรือใน บางกลุ่มอาจยังไม่เห็นว่า ถึงเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติ ตามหลักการอย่างจริงจังก็ยังสามารถน�ำความรู้จาก กระบวนการทีม่ ตี ดิ ตัวกลับมาใช้ได้ในห้วงเวลาทีเ่ หมาะสม และสามารถประสบผลส�ำเร็จในการจัดการสุขภาพได้ เพราะกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรูท้ นั ” คือ กระบวนการ ที่ถือเป็นปัจจัยหลักแห่งความส�ำเร็จ (Key Success) ของการจัดการสุขภาพ (Health Management) โดย สามารถบูรณาการการฝึกสติในชีวติ ประจ�ำวันเข้าไปเพือ่ ช่วยการบ่มเพาะสติในแต่ละบุคคล ให้เลือกสิง่ ดี ท�ำสิง่ ดี ท�ำในสิง่ ทีเ่ หมาะสมได้อย่างยัง่ ยืน ซึง่ จากกระบวนการนี้ ถือเป็นการฝึกฝน อ.อารมณ์ ให้แข็งแกร่ง และส่งผลด้าน การควบคุม อ.อาหาร และ อ.ออกก�ำลังกาย ให้เกิดขึ้น ได้อย่างดี จนกลายเป็นจิตส�ำนึกแห่งสุขภาพ (Health
Conscious) ที่จะเฝ้าอารักขาให้บุคคลในแต่ละกลุ่ม สามารถดูแลสุขภาพและสามารถเลือกท�ำสิง่ ทีเ่ หมาะสม ได้ตอ่ เนือ่ งยาวนานจนเกิดความยัง่ ยืน แม้วา่ กระบวนการ จะจบลงไปแล้วก็ตาม กล่าวคือ กระบวนการ “จิตส�ำนึก ระลึกรู้ทัน” คือ การใช้หลักการของอารมณ์ความรู้สึก ทางด้านจิตใจ สติ การระลึกรู้ทัน ความต้องการของ ร่างกาย เพื่อที่จะเลือกท�ำในสิ่งที่ถูกต้อง และละเว้นใน สิ่งที่ไม่ถูกต้องในชีวิตประจ�ำวันที่สอดรับกับการใช้ชีวิต ประจ�ำวันของกลุ่มบุคคลที่อยู่ในองค์กรปัจจุบันทั้งใน ภาครัฐและภาคเอกชน
สรุปผล
กระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรู้ทัน” (MB-CA: Mindfulness-Based Conscious Awareness) นั้น ถูกสร้างขึ้นเป็นนวัตกรรมกระบวนการเพื่อส่งเสริมการ จัดการสุขภาพ (Health Management) เชิงบูรณาการ ในบุคคลทีเ่ กิดปัญหาเสียสมดุลจากการใช้ชวี ติ ประจ�ำวัน ซึง่ มีผลกระทบโดยตรงต่อสมดุลของ 3อ. นัน่ คือ อ.อาหาร อ.ออกก�ำลังกาย และ อ.อารมณ์ โดยหลักการของ กระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรู้ทัน” มุ่งเน้นสร้างเสริม และพัฒนาบุคคลในมุมของ อ.อารมณ์ ซึ่งมีผลต่อการ จัดการควบคุมน�้ำหนักร่างกายให้ประสบความส�ำเร็จ ได้อย่างดียิ่ง เนื่องจาก อ.อารมณ์ คือ สติระลึกรู้ที่จะ ตามอารักขาร่างกายของบุคคลนั้นๆ ให้มีความสามารถ ในการเลือกท�ำสิง่ ทีถ่ กู ต้อง ละเว้นสิง่ ทีไ่ ม่ถกู ต้อง รวมถึง ความสามารถในการจัดการเลือกสิง่ ต่างๆ ในชีวติ ประจ�ำวัน ได้อย่างเหมาะสม เช่น การเลือกรับประทานอาหาร การเลือกวิธกี ารออกก�ำลังกาย การเลือกวิธที จี่ ะใช้กจิ กรรม ทางกายอย่างเหมาะสม การรูถ้ งึ วิธกี ารจัดการกับตนเอง เมื่อได้เลือกในสิ่งที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น และผลจาก การพัฒนาบุคคลด้าน อ.อารมณ์ จากกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรู้ทัน” สามารถช่วยให้บุคคลสามารถ จัดการกับน�ำ้ หนักร่างกายของตนเองได้เป็นอย่างดี ส่งผล ให้ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเจ็บป่วยจากโรค
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ในกลุ่มไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs: Non-Communicable Disease) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในด้านของการบริหาร การพัฒนาเชิงนโยบายทัง้ ภาครัฐและภาคเอกชนจะเห็น
161
ได้วา่ สามารถช่วยลดปัญหาใหญ่ดา้ นการรักษาพยาบาล ในระบบสาธารณสุขของประเทศทีอ่ าจเกิดขึน้ ได้ในอนาคต หากขาดการเตรียมการรับมืออย่างเหมาะสม
ภาพที่ 11 แสดงการสรุปนวัตกรรมกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึกรู้ทัน
ข้อเสนอแนะส�ำหรับการท�ำวิจัยครั้งต่อไป
1. เสนอแนะให้ท�ำกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึก รู้ทัน” ในองค์กรที่มีนโยบายด้านสุขภาพที่แตกต่าง ออกไปจากองค์กรด้านการให้การรักษาพยาบาลและ องค์กรด้านสร้างเสริมสุขภาพทัง้ ภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อศึกษาผลจากกระบวนการที่มีต่อบุคคลในองค์กร
ที่มีนโยบายด้านสุขภาพว่าจะเกิดผลลัพธ์เหมือนหรือ แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร 2. เสนอแนะให้ท�ำกระบวนการ “จิตส�ำนึกระลึก รู้ทัน” ภาครัฐและภาคเอกชนในภูมิภาคที่แตกต่างกัน เพือ่ ศึกษาผลจากกระบวนการทีม่ ตี อ่ บุคคลในแต่ละภูมภิ าค ว่าจะเกิดผลลัพธ์เหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
162
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
References
American College of Sport and Medicine. (2005). ACSM’s resource manual for guidelines for exercise testing and prescription (5th ed.). Lippincott Williams & Wilkins. Arnin, J., Anopas, D., Triponyawasin, P., Yamsa-ard, T. & Wongsawat, Y. (2014). Development of a Novel Classification and Calculation Algorithm for Physical Activity Monitoring and Its Application. APSIPA 2014 Asia-Pacific, 1-4. Barinaga, M. (2003). Buddhism and neuroscience: Studying the well-trained mind. Science, 302, 44-46. Brown, J. & Isaacs, D. (2009). The World Café (translated by Thanasukthaworn, C. & SamaPutti, K.). Bangkok: Plan Printing. [in Thai] Farb, N. A., Segal, Z. V., Mayberg, H., Bean, J., McKeon, D., Fatima, Z. & Anderson, A. K. (2007). Attending to the present: mindfulness meditation reveals distinct neural modes of self-reference. Soc Cogn Affect Neurosci, 2(4), 313-322. Hu, M. B., Bai, P. D., Wu, Y. S., Zhang, L. M., Xu, H., Na, R., Jiang, H. W. & Ding, Q. (2015). Higher Body Mass Index Increases the risk for Biopsy-Mediated Detection of Prostate Cancer in Chinese Men. PLOS ONE, 10(4), e0124668. Jha, A. P., Krompinger, J. & Baime, M. J. (2007). Mindfulness training modifies subsystems of attention. Cogn Affect Behav Neurosci, 7(2), 109-119. Kearney, D. J., Milton, M. L., Malte, C. A., McDermott, K. A., Martinez, M. & Simpson, T. L. (2012). Participation in mindfulness-based stress reduction is not associated with reductions in emotional eating or uncontrolled eating. Nutrition Research, 32(6), 413-420. Lazar, S. W., Kerr, C. E., Wasserman, R. H., Gray, J. R., Greve, D. N., Treadway, M. T., McGarvey, M., Quinn, B. T., Dusek, J. A., Benson, H., Rauch, S. L., Moore, C. I. & Fischl, B. (2005). Meditation experience is associated with increased cortical thickness. Neuroreport, 16(17), 1893-1897. Luders, E., Toqa, A. W., Lepore, N. & Gaser, C. (2009). The underlying anatomical correlates of long-term meditation: larger hippocampal and frontal volumes of grey matter. Neuroimage, 45(3), 672-678. Mason, A. E., Epel, E. S., Aschbacher, K., Lustig, R. H., Acree, M., Kristeller, J., Cohn, M., Dallman, M., Moran, P. J., Bacchetti, P., Laraia, B., Hecht, F. M. & Daubenmier, J. (2016). Reduced reward-driven eating accounts for the impact of a mindfulness-based diet and exercise intervention on weight loss: Data from the SHINE randomized controlled trial. Appetite, 100, 86-93. McGill, H. C. Jr., Herderick, E. E., McMahan, C. A., Zieske, A. W., Malcolm, G. T., Tracy, R. E. & Strong, J. P. (2002). Atherosclerosis in youth. Minerva Pediatrica, 54(5), 437-447. Nakawiro, D., Losathien, P. & Suttijit, S. (2013). Mindfulness-Base Psychotherapy. Faculty of Medicine, Chiang Mai University. [in Thai] Pamotecho, P. (2012). Main Way (2nd ed.). Bangkok: Amarin Dharma Publishing. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
163
Ritskes, R., Ritskes-Hoitinga, M., Stødkilde-Jørgensen, H., Bærentsen, K. & Hartman, T. (2003). MRI scanning during Zen meditation: the picture of enlightenment? Constructivism in the Human Sciences, 8(1), 85-89. Thammarangsi, T., Wongwattanakul, W. & Suriyawongpaisarn, W. (2014). NCDs Situation Report, Health Crisis, Social Crisis. Bangkok: Bureau of Health Policy Research and Disease Control Network Program International Health Policy Development Office. [in Thai] World Health Organization. (2010). Global Recommendations on Physical Activity for Health. Geneva: WHO Press. World Health Organization. (2015). Physical Activity and Adults. Retrieved July 10, 2016, from http://www.who.int/dietphysicalactivity/factsheet_adults/en/ World Health Organization. (2015). Physical Activity: Fact Sheet Nº385. Retrieved July 17, 2016, from http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs385/en/ Name and Surname: Pharkpum Kaimuk Highest Education: Master Degree of Management (Entrepreneurship and Innovation), Mahidol University University or Agency: Ph.D. Student in Faculty of Development Administration, Suan Sunandha Rajabhat University Field of Expertise: Health Management, Marketing, Sale and Service Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120 Name and Surname: Siravit Koolrojanapat Highest Education: Ph.D. (Meas and Eval), Chulalongkorn University University or Agency: Suan Sunandha Rajabhat University Field of Expertise: Statistics and Research Address: 1 Uthongnok Rd., Dusit, Bangkok 10300 Name and Surname: Natnicha Hasoontree Highest Education: Ph.D. of Administration and Development, Suan Sunandha Rajabhat University University or Agency: Suan Sunandha Rajabhat University Field of Expertise: Change Management, Organization development Address: 1 Uthongnok Rd., Dusit, Bangkok 10300
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
164
ระดับอุปนิสัยของพนักงานระดับปฏิบัติการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง HABIT LEVEL OF EMPLOYEES AT ELECTRICITY GENERATING AUTHORITY OF THAILAND MAE MOH MINE BY APPLYING THE SEVEN HABITS OF HIGHLY EFFECTIVE PEOPLE PRINCIPLE ธนวันต์ สุมนศาสตร์1 ชัยวุฒิ ตั้งสมชัย2 และอรพิณ สันติธีรากุล3 Thanawan Sumonsart1 Chaiwuth Tangsomchai2 and Orapin Santidhirakul3 1,2,3คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1,2,3Faculty of Business Administration, Chiang Mai University
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูงของพนักงานระดับ ปฏิบตั กิ าร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุม่ ตัวอย่าง จ�ำนวน 320 คน จากผลการศึกษาพบว่า ผูต้ อบแบบสอบถามมีคา่ เฉลีย่ ในทุกอุปนิสยั และกลุม่ อุปนิสยั อยูใ่ นระดับมาก โดยมีคะแนนตามล�ำดับดังนี้ ค่าเฉลี่ยอุปนิสัยที่ 7 ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ สูงที่สุด รองลงมาคือ อุปนิสัยที่ 4 คิดแบบ ชนะ/ชนะ ล�ำดับถัดมาคือ อุปนิสัยที่ 1 บี-โปรแอคทีฟ บัญชีออมใจ ความสมดุลในการด�ำเนินชีวิต อุปนิสัยที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ อุปนิสัยที่ 5 เข้าใจผู้อื่นก่อน แล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา อุปนิสัยที่ 3 ท�ำสิ่งที่ส�ำคัญก่อน และอุปนิสยั ที่ 6 ผนึกพลังประสานความต่าง และเมือ่ พิจารณาเป็นกลุม่ อุปนิสยั พบว่า กลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะส่วนตน มีคา่ เฉลีย่ สูงทีส่ ดุ ตามด้วยกลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะในสังคม และภาพรวมเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผลสูง ตามล�ำดับ ค�ำส�ำคัญ: เจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ
Abstract
The purpose of this study was to explore level of Seven Habits of Highly Effective People Principle of Employees at Mae Moh Mine Electricity Generating Authority of Thailand. The questionnaires were employed to collect data from 320 samples. The study found that all individual habits and group of habits were ranked at high level. Considering in individual habit, the employees had high level of Habit 7: Sharpen the Saw, Habit 4: Think Win/Win, Habit 1: Be Proactive, Emotional Bank Account, Life Balance Habit, Habit 2: Begin with the End in Mind, Corresponding Author E-mail: thanawan.su@egat.co.th
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
165
Habit 5: Seek First to Understand, Then To be Understood, Habit 3: Put First Things First and Habit 6: Synergize, respectively. Considering the group of habits, the result showed that Private Victory, Public Victory and Overall Habits were all ranked at highest scores with highest to lowest scores respectively. Keywords: Seven Habits of Highly Effective People Principle, Electricity Generating Authority of Thailand, Mae Moh Mine
บทน�ำ
เหมืองแม่เมาะนั้นมีหน้าที่ในการขุดขนถ่านหิน ลิกไนต์ เพื่อส่งเป็นเชื้อเพลิงให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะในการ ผลิตกระแสไฟฟ้า (Electricity generating authority of Thailand, 2015) ซึ่งปัจจุบันก�ำลังเผชิญกับความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ในอนาคตอันใกล้ โดยการที่เหมือง แม่เมาะจะรับมือกับความเปลีย่ นแปลงและความท้าทาย ต่างๆ ได้นนั้ ก็ขน้ึ อยูก่ บั บุคลากร เนือ่ งจากกิจกรรมต่างๆ ของทุกองค์กรนัน้ ย่อมต้องอาศัยทักษะความสามารถของ บุคลากรในการขับเคลื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงาน ในระดับปฏิบตั กิ าร ซึง่ เป็นผูท้ มี่ คี วามใกล้ชดิ เกีย่ วข้องกับ ภารกิจต่างๆ ในระดับปฏิบตั กิ ารเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ การที่จะสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้กับเหมืองแม่เมาะ จึ ง จ�ำ เป็ น ที่ จ ะต้ องมีก ารพัฒ นาทัก ษะความสามารถ และแนวคิดให้แก่พนักงานในระดับปฏิบัติการ เพื่อให้ พร้อมทีจ่ ะปรับตัวรับมือกับความท้าทายต่างๆ ในอนาคต ซึ่งหนึ่งในหลักการพัฒนาที่จะช่วยส่งเสริมทักษะความ สามารถดังที่ได้กล่าวไปนั้นคือ การพัฒนาตามหลักการ เจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง โดยหลักการ เจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผลสูงนัน้ สามารถทีจ่ ะใช้ เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้มี พฤติกรรมที่จะส่งผลให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผล การท�ำงานนัน้ สูงขึน้ พร้อมทีจ่ ะรับกับความเปลีย่ นแปลง ต่างๆ ได้
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาค่าเฉลี่ยระดับเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มี
ประสิทธิผลสูง ตามหลักการของ Stephen R. Covey ของพนักงานระดับปฏิบัติการเหมืองแม่เมาะ 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ และหาความสัมพันธ์ ระหว่างค่าเฉลี่ยระดับอุปนิสัยกับคุณลักษณะทั่วไปของ พนักงานระดับปฏิบัติการเหมืองแม่เมาะ
ทบทวนวรรณกรรม
ทฤษฎีเกีย่ วกับเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผลสูง (The 7 Habits of Highly Effective People) (Covey, 2004) แนวคิดและทฤษฎีจากศึกษาของ Stephen R Covey เรือ่ งเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผลสูง เพือ่ ให้ เกิดประสิทธิผลทัง้ ในส่วนบุคคลและระหว่างแต่ละบุคคล จากภายในสู่ภายนอกบุคคลควรมี 7 อุปนิสัย ดังนี้ อุปนิสัยที่ 1 บี-โปรแอคทีฟ (Be Proactive) คือ การตระหนั ก ถึ ง ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ พฤติ ก รรมที่ ต น แสดงออกจากการตัดสินใจเลือกอย่างมีสติ โดยไม่ป้าย ความผิดไปยังสภาพแวดล้อม อุปนิสัยที่ 2 เริ่มต้นด้วย จุดหมายในใจ (Begin with the End in Mind) คือ การก�ำหนดเป้าหมาย แล้วสร้างกรอบของการกระท�ำว่า กิจกรรมใดบ้างทีต่ อ้ งด�ำเนินการเพือ่ ให้ได้ผลลัพธ์เป็นไป ตามเป้าหมาย อุปนิสัยที่ 3 ท�ำสิ่งที่ส�ำคัญก่อน (Put First Things First) คือ การจัดล�ำดับความส�ำคัญในการ ด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ ของชีวติ ดังนี้ 1) เรือ่ งเร่งด่วนและ ส�ำคัญ 2) เรือ่ งส�ำคัญแต่ไม่เร่งด่วน และ 3) เรือ่ งเร่งด่วน แต่ไม่ส�ำคัญ อุปนิสัยที่ 4 คิดแบบชนะ/ชนะ (Think Win/Win) เป็นแนวคิดในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น โดยมี กรอบความคิดทีแ่ สวงหาผลประโยชน์รว่ มกัน โดยมองว่า
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
166
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ความส�ำเร็จของผู้หนึ่งไม่ได้แลกมาจากการกีดกันความ ส�ำเร็จของผูอ้ นื่ อุปนิสยั ที่ 5 เข้าใจผูอ้ นื่ ก่อนแล้วจึงให้ผอู้ นื่ เข้าใจเรา (Seek First to Understand, Then to be Understood) เป็นหลักในการติดต่อสือ่ สารระหว่างบุคคล อย่างมีประสิทธิผล โดยการรับฟังผูอ้ น่ื อย่างเข้าอกเข้าใจ ซึง่ จะท�ำให้เราเข้าใจสิง่ ต่างๆ จากกรอบความคิดของผูน้ นั้ อุปนิสัยที่ 6 ผนึกพลังประสานความต่าง (Synergy) เป็นการผนึกร่วมมือกันอย่างสร้างสรรค์ เพือ่ บรรลุเป้าหมาย โดยแก่นส�ำคัญของการผนึกพลังประสานความต่างคือ การมองเห็นคุณค่าของความแตกต่างน�ำไปสู่การแก้ ปัญหาที่เหมาะสม อุปนิสัยที่ 7 ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ (Sharpen the Saw) คือ การหมัน่ พัฒนาตนเองอยูเ่ สมอ โดยการพัฒนาตนเองนั้นสามารถท�ำได้ใน 4 ด้าน คือ ร่างกาย จิตวิญญาณ สติปญ ั ญา และสังคม เพือ่ ท�ำให้เกิด การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม โดยนอกจากอุปนิสยั ทัง้ เจ็ดแล้ว ยังมีอุปนิสัยพื้นฐานที่เกี่ยวโยงและสนับสนุนอุปนิสัย ทั้งเจ็ด ดังนี้ บัญชีออมใจ (Emotion Bank account) เป็นอุปนิสัยที่ใช้เป็นตัวแทนเพื่ออธิบายระดับของความ ไว้วางใจความเชือ่ ใจในสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซึง่ จะ ช่วยเพิม่ ประสิทธิผลในการสือ่ สารระหว่างกัน ความสมดุล ในการด�ำเนินชีวติ (Life Balance) เป็นการรักษาสมดุล ในกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ทุ่มเท ลงไปในด้านใดด้านหนึ่งจนท�ำให้ด้านอื่นๆ ขาดหายไป U-sit (2011) ได้ศึกษาเรื่อง การวัดค่าเฉลี่ยระดับ อุปนิสยั ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชี ย งใหม่ โดยใช้ ห ลั ก การเจ็ ด อุ ป นิ สั ย ส� ำ หรั บ ผู ้ ท รง ประสิทธิผลยิ่ง โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ที่กำ� ลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-4 คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ�ำนวน 369 คน พบว่า ค่าเฉลี่ยอุปนิสัยที่ 1 บี-โปรแอคทีฟ อุปนิสัย ที่ 7 ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ และอุปนิสัยที่ 4 คิดแบบ ชนะ/ชนะนั้นอยู่ในระดับมากตามล�ำดับ ส่วนค่าเฉลี่ย บัญชีออมใจ ความสมดุลในการด�ำเนินชีวติ อุปนิสยั ที่ 5 เข้าใจผู้อื่นก่อน แล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา อุปนิสัยที่ 2
เริม่ ต้นด้วยจุดมุง่ หมายในใจ อุปนิสยั ที่ 6 ผนึกพลังประสาน ความต่าง และอุปนิสัยที่ 3 ท�ำสิ่งที่ส�ำคัญก่อนนั้นอยู่ใน ระดับค่อนข้างมากตามล�ำดับ และเมือ่ วิเคราะห์ในรูปแบบ กลุ่มอุปนิสัยพบว่า กลุ่มอุปนิสัยเพื่อชัยชนะในสังคม และกลุ่มอุปนิสัยเพื่อชัยชนะส่วนตนนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดั บ ค่ อ นข้ า งมากตามล� ำ ดั บ และเมื่ อ พิ จ ารณาค่ า สัมประสิทธิ์ส หสัมพันธ์ระหว่างเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ ผู้มีประสิทธิผลสูงพบว่า ทุกค่าเฉลี่ยระดับอุปนิสัยนั้น มีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกัน และเมื่อพิจารณา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ ผู้มีประสิทธิผลสูงและคุณลักษณะทั่วไป 3 ด้านพบว่า ทุกค่าเฉลีย่ ระดับอุปนิสยั นัน้ มีความสัมพันธ์ในทิศทาง เดียวกันกับอายุ ชั้นปี และเกรดเฉลี่ย ยกเว้นอุปนิสัย ที่ 4 คิดแบบชนะ/ชนะ อุปนิสัยที่ 6 ผนึกพลังประสาน ความต่าง และอุปนิสัยที่ 7 ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอนั้น มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับเกรดเฉลี่ย เมื่อพิจารณาคุณลักษณะทั่วไปที่มีผลต่อค่าเฉลี่ย ระดับอุปนิสัยพบว่า อายุที่ต่างกันมีค่าเฉลี่ยระดับบัญชี ออมใจ ความสมดุลในการด�ำเนินชีวติ และกลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะในสังคมแตกต่างกัน ชัน้ ปีทกี่ ำ� ลังศึกษาทีต่ า่ งกัน มีคา่ เฉลีย่ ระดับบัญชีออมใจ ความสมดุลในการด�ำเนินชีวติ กลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะส่วนตน กลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะ ในสังคม และภาพรวมเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผล สูงแตกต่างกัน Kanjanawattanakool (2012) ได้ศึกษาเรื่อง การวัดค่าเฉลีย่ ระดับอุปนิสยั ของพนักงานสังกัดส�ำนักงาน การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค เขต 1 (ภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง เพื่อเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ย ระดับอุปนิสยั กับคุณลักษณะทัว่ ไป โดยกลุม่ ตัวอย่างของ การศึกษาคือ พนักงานส�ำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ จ�ำนวน 238 คน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยอุปนิสัย ที่ 7 ลับเลือ่ ยให้คมอยูเ่ สมอ อุปนิสยั ที่ 1 บี-โปรแอคทีฟ บัญชีออมใจ อุปนิสยั ที่ 4 คิดแบบชนะ/ชนะ ความสมดุล
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ในการด�ำเนินชีวิต อุปนิสัยที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมาย ในใจ อุปนิสยั ที่ 5 เข้าใจผูอ้ นื่ ก่อน แล้วจึงให้ผอู้ นื่ เข้าใจเรา อุปนิสยั ที่ 3 ท�ำสิง่ ทีส่ ำ� คัญก่อน อยูใ่ นระดับมากตามล�ำดับ และเมือ่ วิเคราะห์ในรูปแบบกลุม่ อุปนิสยั พบว่า ค่าเฉลีย่ ระดับกลุม่ อุปนิสยั ชัยชนะส่วนตน และความสมดุลในการ ด�ำเนินชีวติ มีคา่ อยูใ่ นระดับมากตามล�ำดับ เมือ่ พิจารณา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ ผูม้ ปี ระสิทธิผลสูงพบว่า ค่าเฉลีย่ ระดับอุปนิสยั ส่วนใหญ่ มีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกันในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง เจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูงและคุณลักษณะ ทั่วไป 3 ด้านพบว่า ทุกค่าเฉลี่ยระดับอุปนิสัยมีความสัมพันธ์ในทิศทาง เดียวกันกับคุณลักษณะทั่วไปด้านจ�ำนวนเพื่อนร่วมงาน ที่ท�ำงานเกี่ยวข้องด้วยเป็นประจ�ำ ยกเว้นบัญชีออมใจ ความสมดุลในการด�ำเนินชีวิต และอุปนิสัยที่ 3 ท�ำสิ่งที่ ส�ำคัญก่อน ทุกค่าเฉลี่ยระดับอุปนิสัยมีความสัมพันธ์ในทิศทาง เดียวกันกับคุณลักษณะทั่วไปด้านระดับความเต็มใจ เข้าร่วมกิจกรรมที่ทางองค์กรจัดให้ ยกเว้นบัญชีออมใจ มีเพียงความสมดุลในการด�ำเนินชีวิต และอุปนิสัยที่ 6 ผนึกพลังประสานความต่างที่มีความสัมพันธ์ในทิศทาง เดียวกันกับคุณลักษณะทัว่ ไปด้านประสบการณ์การเรียนรู้ เกี่ยวกับหลักการเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง เมื่อพิจารณาคุณลักษณะทั่วไปที่มีผลต่อค่าเฉลี่ย ระดับอุปนิสัยพบว่า ล�ำดับในครอบครัว/จ�ำนวนพี่น้อง แตกทีต่ า่ งกัน มีคา่ เฉลีย่ ระดับความสมดุลในการด�ำเนินชีวติ กลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะส่วนตน และภาพรวมเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูงแตกต่างกัน สถานภาพสมรส ทีต่ า่ งกันมีคา่ เฉลีย่ ระดับกลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะส่วนตน และภาพรวมเจ็ ด อุ ป นิ สั ย พั ฒ นาสู ่ ผู ้ มี ป ระสิ ท ธิ ผ ลสู ง แตกต่างกัน ลักษณะครอบครัว/การอยู่อาศัยร่วมกัน ทีต่ า่ งกันมีคา่ เฉลีย่ ระดับกลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะส่วนตน แตกต่างกัน จ�ำนวนสมาชิกในครอบครัวทีต่ า่ งกันมีคา่ เฉลีย่ ระดับภาพรวมเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง
167
แตกต่างกัน จ�ำนวนเพือ่ นร่วมงานทีท่ ำ� งานเกีย่ วข้องด้วย เป็นประจ�ำที่ต่างกันมีค่าเฉลี่ยระดับกลุ่มอุปนิสัยเพื่อ ชัยชนะส่วนตน กลุ่มอุปนิสัยเพื่อชัยชนะในสังคมและ ภาพรวมเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผลสูงแตกต่างกัน รายได้เฉลีย่ ต่อเดือนทีต่ า่ งกันมีคา่ เฉลีย่ ระดับความสมดุล ในการด�ำเนินชีวิตและกลุ่มอุปนิสัยเพื่อชัยชนะส่วนตน แตกต่างกัน Taphao (2012) ได้ศกึ ษาเรือ่ ง การวัดค่าเฉลีย่ ระดับ อุปนิสยั ของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนภูมิพล โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสัยส�ำหรับ ผูท้ รงประสิทธิผลยิง่ โดยกลุม่ ตัวอย่างในการศึกษาครัง้ นี้ คือ พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เขื่อน ภูมพิ ลจ�ำนวน 200 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุม่ ตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยระดับอุปนิสัยที่ 7 การลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ อุปนิสยั ที่ 4 การคิดแบบชนะ/ชนะ อุปนิสยั แสดงพืน้ ฐาน ทางอารมณ์ อุปนิสัยที่ 1 บี-โปรแอคทีฟ อุปนิสัยแสดง ความสมดุลในการด�ำเนินชีวิต อุปนิสัยที่ 2 การเริ่มต้น ด้วยจุดหมายในใจ และอุปนิสยั ที่ 5 เข้าใจผูอ้ นื่ ก่อนจะให้ ผู้อื่นเข้าใจเรา อยู่ในระดับมาก ตามล�ำดับ และอุปนิสัย ที่ 3 การท�ำตามล�ำดับความส�ำคัญ และอุปนิสัยที่ 6 การผนึกพลังประสานความต่าง อยูใ่ นระดับค่อนข้างมาก ตามล�ำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นกลุ่มอุปนิสัยพบว่า กลุ่มอุปนิสัยเพื่อชัยชนะส่วนตน และกลุ่มอุปนิสัยเพื่อ ชัยชนะในสังคมมีคา่ เฉลีย่ เท่ากัน ซึง่ อยูใ่ นระดับมาก เมือ่ พิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างเจ็ดอุปนิสัย พัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูงพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับอุปนิสัย ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับ ปานกลาง และเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ระหว่ า งเจ็ ด อุ ป นิ สั ย พั ฒ นาสู ่ ผู ้ มี ป ระสิ ท ธิ ผ ลสู ง และ คุณลักษณะทั่วไป 2 ด้านพบว่า มีเพียงค่าเฉลี่ยระดับอุปนิสัยความสมดุลในการ ด�ำเนินชีวิต อุปนิสัยที่ 2 การเริ่มต้นด้วยจุดหมายในใจ อุปนิสยั ที่ 3 การท�ำตามล�ำดับความส�ำคัญ และกลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะส่วนตนมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับ อายุ และอายุงาน และมีเพียงค่าเฉลีย่ ระดับอุปนิสยั ที่ 1
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
168
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
บี-โปรแอคทีฟนั้นมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับ อายุงาน เมื่อพิจารณาคุณลักษณะทั่วไปที่มีผลต่อค่าเฉลี่ย ระดับอุปนิสัยพบว่า อายุที่ต่างกันมีค่าเฉลี่ยระดับกลุ่ม อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะส่วนตนแตกต่างกัน สถานภาพสมรส ที่ต่างกันมีค่าเฉลี่ยระดับความสมดุลในการด�ำเนินชีวิต กลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะส่วนตน กลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะ ในสังคมและภาพรวมเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผล สูงแตกต่างกัน ระดับการศึกษาทีต่ า่ งกันมีคา่ เฉลีย่ ระดับ กลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะในสังคมและภาพรวมเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผลสูงแตกต่างกัน อายุงานทีต่ า่ งกัน มีค่าเฉลี่ยระดับบัญชีออมใจ ความสมดุลในการด�ำเนิน ชีวิต และกลุ่มอุปนิสัยเพื่อชัยชนะส่วนตนแตกต่างกัน ต�ำแหน่งงานที่ต่างกันมีค่าเฉลี่ยระดับกลุ่มอุปนิสัยเพื่อ ชัยชนะในสังคมและภาพรวมเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มี ประสิทธิผลสูงแตกต่างกัน
วิธีการวิจัย
ขอบเขตการศึกษา: เป็นการศึกษาระดับอุปนิสัย ของพนักงานระดับปฏิบัติการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผลสูง และความสัมพันธ์กบั คุณลักษณะ ทัว่ ไปในด้านต่างๆ ประกอบไปด้วย เพศ อายุ สถานภาพ
สมรส ระดับการศึกษาสูงสุด อายุงาน สังกัด ระดับ ต�ำแหน่งงาน รูปแบบการท�ำงาน จ�ำนวนเพื่อนร่วมงาน ทีท่ ำ� งานเกีย่ วข้องด้วยเป็นประจ�ำ จ�ำนวนผูใ้ ต้บงั คับบัญชา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ขององค์กร การสมัครเข้าร่วมกิจกรรมโดยสมัครใจ ความเต็มใจในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางองค์กรจัดให้ และประสบการณ์การเรียนรูห้ ลักการเจ็ดอุปนิสยั พัฒนา สู่ผู้มีประสิทธิผลสูง ประชากรและกลุม่ ตัวอย่าง: ประชากรในการศึกษา ครั้งนี้คือ พนักงานระดับปฏิบัติการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ 2 หน่วยงานหลัก ซึ่งประกอบด้วย ฝ่ายการผลิตเหมืองแม่เมาะ และฝ่าย วางแผนและบริหารแม่เมาะ รวมทัง้ สิน้ 760 คน (Electricity generating authority of Thailand, 2015) ใช้วธิ กี ารสุม่ ตัวอย่างแบบโควตา โดยการเก็บแบบสอบถาม ก�ำหนดตัวอย่างตามตารางของทาโร ยามาเน่ กรณีที่มี ประชากรไม่เกิน 1,500 คน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ใช้ขนาดกลุม่ ตัวอย่างจ�ำนวน 320 คน ใน 2 หน่วยงานหลัก ของเหมืองแม่เมาะ ตามสัดส่วนจ�ำนวนคนในแต่ละฝ่าย ดังตารางที่ 1 โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ซึง่ สถานทีเ่ ก็บรวบรวมข้อมูลคือ เหมือง แม่เมาะ จังหวัดล�ำปาง
ตารางที่ 1 แสดงจ�ำนวนพนักงานระดับปฏิบตั กิ าร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ (2 หน่วยงานหลัก) และขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนประชากร หน่วยงาน ฝ่ายการผลิตเหมืองแม่เมาะ ฝ่ายวางแผนและบริหารแม่เมาะ รวม
จ�ำนวนประชากร 555 205 760
จ�ำนวนกลุ่มตัวอย่าง 234 86 320
ร้อยละ 73 27 100
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ผลการวิจัย
ส่วนที่ 1 คุณลักษณะทั่วไป: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 96.60 อายุระหว่าง 22-39 ปี คิดเป็นร้อยละ 45.00 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 68.80 จบการศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส. หรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 54.70 และมีอายุงานมากกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 59.10 สังกัดฝ่ายการผลิตเหมืองแม่เมาะ คิดเป็นร้อยละ 73.00 โดยมีระดับของต�ำแหน่งงาน เป็นระดับ 7 คิดเป็นร้อยละ 47.80 มีตำ� แหน่งงานเป็น พนักงานทัว่ ไป คิดเป็นร้อยละ 75.60 โดยท�ำงานในช่วง เวลาท�ำการ (8.00-16.00 น.) คิดเป็นร้อยละ 86.30 มีจำ� นวนเพือ่ นร่วมงานทีท่ ำ� งานเกีย่ วข้องด้วยเป็นประจ�ำ มากกว่า 20 คน คิดเป็นร้อยละ 51.60 และส่วนใหญ่ ไม่มีผู้ใต้บังคับบัญชา คิดเป็นร้อยละ 45.00 ซึ่งมีรายได้ เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 50,001 บาทขึ้นไป คิดเป็น
169
ร้อยละ 43.80 ซึ่งเคยมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของ องค์กร คิดเป็นร้อยละ 69.40 และเคยสมัครเข้าร่วม กิจกรรมโดยสมัครใจ คิดเป็นร้อยละ 80.60 ซึ่งมีระดับ ความเต็มใจเข้าร่วมกิจกรรมทีท่ างองค์กรจัดให้อยูใ่ นระดับ เต็มใจ คิดเป็นร้อยละ 61.30 และไม่เคยเรียนรู้เกี่ยวกับ หลักการเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง คิดเป็น ร้อยละ 55.90 ส่วนที่ 2 ผลการศึกษาค่าเฉลี่ยของระดับอุปนิสัย ตามหลักเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง: กลุ่ม ตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของระดับบัญชีออมใจ ความสมดุล ในการด�ำเนินชีวติ และเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผล สูง ดังแสดงในตารางที่ 2 และมีคา่ เฉลีย่ ของกลุม่ อุปนิสยั เพื่อชัยชนะส่วนตน กลุ่มอุปนิสัยเพื่อชัยชนะในสังคม และภาพรวมเจ็ ด อุ ป นิ สั ย พั ฒ นาสู ่ ผู ้ มี ป ระสิ ท ธิ ผ ลสู ง ดังแสดงในตารางที่ 3
ตารางที่ 2 แสดงระดับค่าเฉลี่ยอุปนิสัยตามหลักการเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูงของ Stephen R. Covey อุปนิสัย อุปนิสัยที่ 7 ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ อุปนิสัยที่ 4 คิดแบบชนะ/ชนะ อุปนิสัยที่ 1 บี-โปรแอคทีฟ บัญชีออมใจ ความสมดุลในการด�ำเนินชีวิต อุปนิสัยที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ อุปนิสัยที่ 5 เข้าใจผู้อื่นก่อน แล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา อุปนิสัยที่ 3 ท�ำสิ่งที่สำ� คัญก่อน อุปนิสัยที่ 6 ผนึกพลังประสานความต่าง
ค่าเฉลี่ย 4.868 4.860 4.783 4.748 4.744 4.683 4.644 4.599 4.505
แปลผล มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก
อันดับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ตารางที่ 3 แสดงระดับค่าเฉลี่ยอุปนิสัยตามหลักการเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูงแยกตามกลุ่มอุปนิสัย กลุ่มอุปนิสัย อุปนิสัยกลุ่มชัยชนะส่วนตน อุปนิสัยกลุ่มชัยชนะในสังคม ภาพรวมเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง
ค่าเฉลี่ย 4.733 4.719 4.706
แปลผล มาก มาก มาก
อันดับ 1 2 3
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
170
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ตารางที่ 4 แสดงผลการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม (t-Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบจ�ำแนกทางเดียว (One-way ANOVA) อุปนิสัย/กลุ่มอุปนิสัย คุณลักษณะทั่วไป เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาสูงสุด อายุงาน สังกัด ระดับของต�ำแหน่งงาน ต�ำแหน่งงาน รูปแบบการท�ำงาน จ�ำนวนเพื่อนร่วมงานที่ท�ำงาน เกี่ยวข้องด้วยเป็นประจ�ำ จ�ำนวนผู้ใต้บังคับบัญชา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ขององค์กร การสมัครเข้าร่วมกิจกรรมโดย สมัครใจ ความเต็มใจในการเข้าร่วม กิจกรรมที่ทางองค์กรจัดให้ การเรียนรู้หลักการเจ็ดอุปนิสัย พัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง
ความสมดุล กลุ่มอุปนิสัย กลุ่มอุปนิสัย ภาพรวมเจ็ดอุปนิสัย บัญชี ในการด�ำเนิน เพื่อชัยชนะ เพื่อชัยชนะ พัฒนาสูผ่ ู้มี ออมใจ ชีวิต ส่วนตน ในสังคม ประสิทธิผลสูง X X X X ✓ ✓
X X X X X X X
X X
X X
X X
✓
✓
✓
X X
✓
X
✓
✓
✓
✓
✓
X
X ✓
X X
✓
✓
✓
✓
X
X X X
X
X
X
X
X
X X
X X
X X
X X
X X
X
X
X
X
X
✓
✓
✓
✓
✓
✓
X
✓
✓
✓
X
X
X
X
X
X
หมายเหตุ: X หมายถึง ไม่มีผลต่อระดับค่าเฉลี่ยอุปนิสัย/กลุ่มอุปนิสัย ✓ หมายถึง มีผลต่อระดับค่าเฉลี่ยอุปนิสัย/กลุ่มอุปนิสัย ค่านัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลีย่ ของระดับ อุปนิสยั ตามหลักการเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผลสูง จ�ำแนกตามคุณลักษณะทั่วไป: จากตารางที่ 4 พบว่า คุณลักษณะดังต่อไปนี้ที่แตกต่างกันส่งผลให้ค่าเฉลี่ย ของระดับอุปนิสัยตามหลักการเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มี ประสิทธิผลสูงแตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ ทีร่ ะดับ 0.05 1) สถานภาพสมรสทีต่ า่ งกันมีคา่ เฉลีย่ ของ กลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะส่วนตน กลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะ ในสังคม และภาพรวมเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผล สูงแตกต่างกัน 2) ระดับการศึกษาสูงสุดทีต่ า่ งกันมีคา่ เฉลีย่ กลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะในสังคมแตกต่างกัน 3) อายุงาน ทีต่ า่ งกันมีคา่ เฉลีย่ บัญชีออมใจ กลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะ ในสังคม และภาพรวมเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผล สูงแตกต่างกัน 4) สังกัดที่ต่างกันมีค่าเฉลี่ยบัญชีออมใจ กลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะส่วนตน กลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะ ในสังคม และภาพรวมเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผล สูงแตกต่างกัน 5) ต�ำแหน่งงานที่ต่างกันมีค่าเฉลี่ยความ สมดุลในการด�ำเนินชีวติ กลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะส่วนตน และภาพรวมเจ็ ด อุ ป นิ สั ย พั ฒ นาสู ่ ผู ้ มี ป ระสิ ท ธิ ผ ลสู ง แตกต่างกัน 6) รูปแบบการท�ำงานทีต่ า่ งกันมีคา่ เฉลีย่ บัญชี ออมใจ และความสมดุลในการด�ำเนินชีวิตแตกต่างกัน 7) การสมัครเข้าร่วมกิจกรรมโดยสมัครใจทีต่ า่ งกันมีคา่ เฉลีย่ บัญชีออมใจ ความสมดุลในการด�ำเนินชีวติ กลุม่ อุปนิสยั เพื่อชัยชนะส่วนตน กลุ่มอุปนิสัยเพื่อชัยชนะในสังคม และภาพรวมเจ็ ด อุ ป นิ สั ย พั ฒ นาสู ่ ผู ้ มี ป ระสิ ท ธิ ผ ลสู ง แตกต่างกัน 8) ความเต็มใจในการเข้าร่วมกิจกรรมทีท่ าง องค์กรจัดให้ทตี่ า่ งกันมีคา่ เฉลีย่ บัญชีออมใจ กลุม่ อุปนิสยั เพื่อชัยชนะส่วนตน กลุ่มอุปนิสัยเพื่อชัยชนะในสังคม และภาพรวมเจ็ ด อุ ป นิ สั ย พั ฒ นาสู ่ ผู ้ มี ป ระสิ ท ธิ ผ ลสู ง แตกต่างกัน ส่วนที่ 4 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอุปนิสยั ตามหลั ก การเจ็ ด อุ ป นิ สั ย พั ฒ นาสู ่ ผู ้ มี ป ระสิ ท ธิ ผ ลสู ง ด้วยกันเอง และระหว่างอุปนิสยั ตามหลักการเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูงกับคุณลักษณะทั่วไปด้าน จ�ำนวนผูใ้ ต้บงั คับบัญชา ระดับความเต็มใจเข้าร่วมกิจกรรม
171
ทีท่ างองค์กรจัดให้ และอายุงาน โดยใช้วธิ หี าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สนั : ผลการวิเคราะห์คา่ สหสัมพันธ์ ระหว่างอุปนิสัย และกลุ่มอุปนิสัยพบว่า อุปนิสัยและ กลุม่ อุปนิสยั ส่วนใหญ่มคี วามสัมพันธ์กนั ในระดับปานกลาง ยกเว้นกลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะส่วนตนทีม่ คี วามสัมพันธ์ กับมีความสัมพันธ์กบั อุปนิสยั ที่ 1 บี-โปรแอคทีฟ อุปนิสยั ที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ อุปนิสัยที่ 3 ท�ำสิ่งที่ ส�ำคัญก่อน และอุปนิสัยที่ 7 ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ อยูใ่ นระดับสูง ส่วนกลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะในสังคมนัน้ มีความสัมพันธ์กับอุปนิสัยที่ 4 คิดแบบชนะ/ชนะ และ อุปนิสัยที่ 5 เข้าใจผู้อ่ืนก่อน แล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา อุปนิสัยที่ 6 ผนึกพลังประสานความต่าง อุปนิสัยที่ 7 ลับเลือ่ ยให้คมอยูเ่ สมออยูใ่ นระดับสูงเช่นกัน ส่วนภาพรวม เจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผลสูงนัน้ มีความสัมพันธ์ กับอุปนิสัยที่ 1 บี-โปรแอคทีฟ อุปนิสัยที่ 2 เริ่มต้นด้วย จุดมุง่ หมายในใจ อุปนิสยั ที่ 3 ท�ำสิง่ ทีส่ ำ� คัญก่อน อุปนิสยั ที่ 4 คิดแบบชนะ/ชนะ อุปนิสัยที่ 5 เข้าใจผู้อื่นก่อน แล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา อุปนิสัยที่ 6 ผนึกพลังประสาน ความต่างอยู่ในระดับสูงเช่นกัน โดยมีความสัมพันธ์กับ กลุ่มอุปนิสัยเพื่อชัยชนะส่วนตน และกลุ่มอุปนิสัยเพื่อ ชัยชนะในสังคมในระดับสูงมาก โดยการวิเคราะห์ค่า สหสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทั่วไปกับอุปนิสัยพบว่า จ�ำนวนผู้ใต้บังคับบัญชานั้นไม่มีความสัมพันธ์อย่างมี นัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 กับอุปนิสัย และกลุ่มอุปนิสัยใดๆ โดยระดับความเต็มใจเข้าร่วม กิจกรรมทีท่ างองค์กรจัดให้นนั้ มีความสัมพันธ์อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติที่ 0.01 กับบัญชีออมใจ ความสมดุล ในการด�ำเนินชีวิต อุปนิสัยที่ 1 บี-โปรแอคทีฟ อุปนิสัย ที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ อุปนิสัยที่ 3 ท�ำสิ่งที่ ส�ำคัญก่อน อุปนิสยั ที่ 4 คิดแบบชนะ/ชนะ อุปนิสยั ที่ 7 ลับเลือ่ ยให้คมอยูเ่ สมอ กลุ่มอุปนิสยั ชัยเพือ่ ชนะส่วนตน กลุม่ อุปนิสยั ชัยเพือ่ ชนะในสังคม และเจ็ดอุปนิสยั พัฒนา สูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผลสูง ในขณะทีอ่ ายุงานนัน้ มีความสัมพันธ์ ในทางตรงกันข้ามอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ 0.01 กับ อุปนิสัยที่ 5 เข้าใจผู้อ่ืนก่อน แล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
172
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
กลุม่ อุปนิสยั ชัยเพือ่ ชนะในสังคม และเจ็ดอุปนิสยั พัฒนา สูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผลสูง และมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้าม อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ 0.05 กับอุปนิสัยที่ 6 ผนึก พลังประสานความต่าง อุปนิสยั ที่ 7 ลับเลือ่ ยให้คมอยูเ่ สมอ และกลุ่มอุปนิสัยชัยเพื่อชนะส่วนตน
อภิปรายผล
สามารถอภิปรายผลในแต่ละอุปนิสัยได้ดังนี้ บัญชี ออมใจ: ผลการศึกษาพบว่า พนักงานระดับปฏิบัติการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะมี ค่ า เฉลี่ ย ระดั บ บั ญ ชี อ อมใจอยู ่ ใ นระดั บ มากและเป็ น อุปนิสัยที่กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนสูงเป็นล�ำดับที่ 4 ของ อุปนิสัยทั้งหมดไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาของ U-sit (2011) เรื่อง การวัดระดับอุปนิสัยของนักศึกษาคณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้หลักการ เจ็ดอุปนิสยั ส�ำหรับผูท้ รงประสิทธิผลยิง่ ซึง่ พบว่า มีคา่ เฉลีย่ บัญชีออมใจอยู่ในระดับค่อนข้างมาก แต่สอดคล้องกับ ผลการศึกษาของ Kanjanawattanakool (2012) เรือ่ ง การวัดระดับอุปนิสยั ของพนักงานสังกัดส�ำนักงานการไฟฟ้า ส่วนภูมภิ าค เขต 1 (ภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ หลักการเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง และ Taphao (2012) เรือ่ ง การวัดระดับอุปนิสยั ของพนักงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขือ่ นภูมพิ ล โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสัยส�ำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยบัญชีออมใจอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในอุปนิสัยย่อยของการศึกษานี้ พบว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับอุปนิสัยย่อยในข้อความว่า “ฉันเป็นคนรักษาสัญญา และให้ความส�ำคัญต่อข้อผูกพัน” สูงที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ U-sit (2011), Kanjanawattanakool (2012) และ Taphao (2012) ความสมดุลในการด�ำเนินชีวิต: ผลการศึกษาพบว่า พนั ก งานระดั บ ปฏิ บั ติ ก าร การไฟฟ้ า ฝ่ า ยผลิ ต แห่ ง ประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ มีคา่ เฉลีย่ ระดับความสมดุล ในการด�ำเนินชีวติ อยูใ่ นระดับมาก และเป็นอุปนิสยั ทีก่ ลุม่ ตัวอย่างให้คะแนนสูงเป็นล�ำดับที่ 5 ของอุปนิสยั ทัง้ หมด
ไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาของ U-sit (2011) เรื่อง การวัดระดับอุปนิสยั ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสยั ส�ำหรับ ผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง ซึ่งพบว่า มีค่าเฉลี่ยความสมดุล ในการด�ำเนินชีวติ อยูใ่ นระดับค่อนข้างมาก แต่สอดคล้อง กับผลการศึกษาของ Kanjanawattanakool (2012) เรื่อง การวัดระดับอุปนิสัยของพนักงานสังกัดส�ำนักงาน การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค เขต 1 (ภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง และ Taphao (2012) เรื่อง การวัดระดับอุปนิสัยของ พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนภูมิพล โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสัยส�ำหรับผู้ทรง ประสิทธิผลยิง่ ซึง่ ทัง้ สองการศึกษานีพ้ บว่า มีระดับความ สมดุลในการด�ำเนินชีวิตในระดับมาก ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในอุปนิสัยย่อยของการศึกษานี้ พบว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับอุปนิสัยย่อยในข้อความว่า “ฉันทุ่มเทในสิ่งที่ฉันท�ำ แต่ไม่ถึงกับท�ำให้หมดแรงหรือ หมดสภาพ” สูงที่สุดสอดคล้องกับการศึกษาของ U-sit (2011) และ Kanjanawattanakool (2012) แต่ไม่ สอดคล้องกับการศึกษาของ Taphao (2012) ซึ่งพบว่า มีระดับอุปนิสยั ย่อยในข้อ “เวลาท�ำงานฉันค�ำนึงถึงจุดสนใจ และความต้องการของคนทีฉ่ นั ก�ำลังท�ำงานให้” สูงทีส่ ดุ อุปนิสัยที่ 1 บี-โปรแอคทีฟ: ผลการศึกษาพบว่า พนั ก งานระดั บ ปฏิ บั ติ ก าร การไฟฟ้ า ฝ่ า ยผลิ ต แห่ ง ประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ มีคา่ เฉลีย่ ระดับอุปนิสยั ที่ 1 บี-โปรแอคทีฟอยู่ในระดับมาก และเป็นอุปนิสัยที่กลุ่ม ตัวอย่างให้คะแนนสูงเป็นล�ำดับที่ 3 ของอุปนิสยั ทัง้ หมด สอดคล้องกับผลการศึกษาของ U-sit (2011) เรื่อง การวัดระดับอุปนิสยั ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสยั ส�ำหรับ ผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง Kanjanawattanakool (2012) วัดระดับอุปนิสยั ของพนักงานสังกัดส�ำนักงานการไฟฟ้า ส่วนภูมภิ าค เขต 1 (ภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ หลักการเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง และ Taphao (2012) เรือ่ ง การวัดระดับอุปนิสยั ของพนักงาน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขือ่ นภูมพิ ล โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสัยส�ำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง ทีท่ ำ� การศึกษา ซึง่ พบว่า มีระดับอุปนิสยั ที่ 1 บี-โปรแอคทีฟ อยู่ในระดับมากเช่นกัน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในอุปนิสัยย่อยจากการศึกษานี้ พบว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับอุปนิสัยย่อยในข้อความว่า “ฉันรับผิดชอบต่ออารมณ์และการกระท�ำของฉันมากกว่า ที่จะโทษผู้อื่นหรือสิ่งรอบข้าง” สูงที่สุด ซึ่งไม่สอดคล้อง กับการศึกษาของ U-sit (2011), Kanjanawattanakool (2012) และ Taphao (2012) ทีพ่ บว่า มีระดับอุปนิสยั ย่อย ในข้อความว่า “ฉันควบคุมชีวิตตัวเองได้” สูงที่สุด อุปนิสยั ที่ 2 เริม่ ต้นด้วยจุดมุง่ หมายในใจ: ผลการศึกษา พบว่า พนักงานระดับปฏิบัติการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ มีคา่ เฉลีย่ ระดับอุปนิสยั ที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจอยู่ในระดับมากและ เป็นอุปนิสัยที่กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนสูงเป็นล�ำดับที่ 6 ของอุปนิสยั ทัง้ หมด ซึง่ ไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาของ U-sit (2011) เรื่อง การวัดระดับอุปนิสัยของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้ หลักการเจ็ดอุปนิสยั ส�ำหรับผูท้ รงประสิทธิผลยิง่ ซึง่ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอุปนิสัยที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ อยูใ่ นระดับค่อนข้างมาก แต่สอดคล้องกับการศึกษาของ Kanjanawattanakool (2012) เรื่อง การวัดระดับ อุปนิสยั ของพนักงานสังกัดส�ำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค เขต 1 (ภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้หลักการ เจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง และ Taphao (2012) เรือ่ งการวัดระดับอุปนิสยั ของพนักงานการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนภูมิพล โดยใช้ หลักการเจ็ดอุปนิสยั ส�ำหรับผูท้ รงประสิทธิผลยิง่ ทีพ่ บว่า ระดับอุปนิสัยที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจอยู่ใน ระดับมากเช่นกัน ทัง้ นีเ้ มือ่ พิจารณาในอุปนิสยั ย่อยของการศึกษานีพ้ บว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับอุปนิสัยย่อยในข้อความว่า “ฉันรู้ว่า ฉันต้องการความส�ำเร็จอะไรในชีวติ ” สูงทีส่ ดุ ซึง่ สอดคล้อง กับการศึกษาของ U-sit (2011), Kanjanawattanakool
173
(2012) และ Taphao (2012) อุปนิสัยที่ 3 ท�ำสิ่งที่ส�ำคัญก่อน: ผลการศึกษา พบว่า พนักงานระดับปฏิบตั กิ าร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ มีคา่ เฉลีย่ ระดับอุปนิสยั ที่ 3 ท�ำสิง่ ทีส่ ำ� คัญก่อนอยูใ่ นระดับมาก และเป็นอุปนิสยั ทีก่ ลุม่ ตัวอย่างให้คะแนนสูงเป็นล�ำดับที่ 8 ของอุปนิสยั ทัง้ หมด สอดคล้องกับการศึกษาของ Kanjanawattanakool (2012) เรื่อง การวัดระดับอุปนิสัยของพนักงานสังกัด ส�ำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค เขต 1 (ภาคเหนือ) จังหวัด เชียงใหม่ ทีค่ น้ พบว่า ระดับอุปนิสยั ที่ 3 ท�ำสิง่ ทีส่ ำ� คัญก่อน อยูใ่ นระดับมาก แต่ไม่สอดคล้องกับการศึกษาของ Taphao (2012) เรือ่ ง การวัดระดับอุปนิสยั ของพนักงานการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนภูมิ และ U-sit (2011) เรื่อง การวัดระดับอุปนิสัยของนักศึกษาคณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้หลักการ เจ็ดอุปนิสยั ส�ำหรับผูท้ รงประสิทธิผลยิง่ ทีค่ น้ พบว่า ระดับ อุปนิสยั ที่ 3 ท�ำสิง่ ทีส่ ำ� คัญก่อนอยูใ่ นระดับค่อนข้างมาก ทัง้ นีเ้ มือ่ พิจารณาในอุปนิสยั ย่อยของการศึกษานีพ้ บว่า มีคา่ เฉลีย่ ของระดับอุปนิสยั ย่อยในข้อความว่า “สิง่ ต่างๆ ทีฉ่ นั ท�ำทุกวันมีความหมายและเป็นส่วนหนึง่ ทีช่ ว่ ยให้ฉนั ไปสูเ่ ป้าหมายทีว่ างไว้ในชีวติ ” สูงทีส่ ดุ ซึง่ สอดคล้องกับ การศึกษาของ U-sit (2011), Kanjanawattanakool (2012) และ Taphao (2012) อุ ป นิ สั ย ที่ 4 คิ ด แบบชนะ/ชนะ: ผลการศึ ก ษา พบว่า พนักงานระดับปฏิบตั กิ าร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ มีคา่ เฉลีย่ ระดับอุปนิสยั ที่ 4 คิดแบบชนะ/ชนะอยู่ในระดับมาก และเป็นอุปนิสัยที่ กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนสูงเป็นล�ำดับที่ 2 ของอุปนิสัย ทัง้ หมดตามหลักการเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผลสูง สอดคล้องกับการศึกษาของ U-sit (2011) เรือ่ ง การวัด ระดั บ อุ ป นิ สั ย ของนั ก ศึ ก ษาคณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสยั ส�ำหรับ ผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง Kanjanawattanakool (2012) เรื่อง การวัดระดับอุปนิสัยของพนักงานสังกัดส�ำนักงาน การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค เขต 1 (ภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
174
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
และ Taphao (2012) เรื่อง การวัดระดับอุปนิสัยของ พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนภูมิพล ซึ่งมีระดับอุปนิสัยที่ 4 คิดแบบชนะ/ชนะ อยู่ในระดับมากเช่นกัน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในอุปนิสัยย่อยของการศึกษานี้ พบว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับอุปนิสัยย่อยในข้อความว่า “ฉันให้ความร่วมมือกับผู้อื่น” สูงที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับ การศึกษาของ U-sit (2011), Kanjanawattanakool (2012) และ Taphao (2012) อุปนิสยั ที่ 5 เข้าใจผูอ้ นื่ ก่อน แล้วจึงให้ผอู้ นื่ เข้าใจเรา: ผลการศึกษาพบว่า พนักงานระดับปฏิบตั กิ าร การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ มีคา่ เฉลีย่ ระดับ อุปนิสัยที่ 5 เข้าใจผู้อื่นก่อนแล้วจึงให้ผู้อ่ืนเข้าใจเรา อยูใ่ นระดับมาก และเป็นอุปนิสยั ทีก่ ลุม่ ตัวอย่างให้คะแนน สูงเป็นล�ำดับที่ 7 ของอุปนิสยั ทัง้ หมด ซึง่ ไม่สอดคล้องกับ ผลการศึกษาของ U-sit (2011) เรือ่ ง การวัดระดับอุปนิสยั ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสัยส�ำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง ซึ่งพบว่ามีค่าเฉลี่ยอุปนิสัยที่ 5 เข้าใจผู้อื่นก่อน แล้วจึง ให้ผู้อื่นเข้าใจเราอยู่ในระดับค่อนข้างมาก แต่สอดคล้อง กับการศึกษาของ Kanjanawattanakool (2012) เรือ่ ง การวัดระดับอุปนิสยั ของพนักงานสังกัดส�ำนักงานการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ และ Taphao (2012) เรือ่ ง การวัดระดับอุปนิสยั ของพนักงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขือ่ นภูมพิ ล ที่พบว่า มีระดับอุปนิสัยที่ 5 เข้าใจผู้อื่นก่อน แล้วจึงให้ ผู้อื่นเข้าใจเราอยู่ในระดับมากเช่นกัน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในอุปนิสัยย่อยของการศึกษานี้ พบว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับอุปนิสัยย่อยในข้อความว่า “เวลาฟัง ฉันพยายามท�ำความเข้าใจผู้พูดจากมุมมอง ของผู้พูด ไม่ใช่แค่จากมุมมองของฉันเท่านั้น” สูงที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Kanjanawattanakool (2012) แต่ไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาของ U-sit (2011) และ Taphao (2012) ที่พบว่า มีระดับอุปนิสัยย่อยใน ข้อความว่า “ฉันพยายามท�ำความเข้าใจถึงมุมมองของ
ผู้อื่น” อุปนิสยั ที่ 6 ผนึกพลังประสานความต่าง: ผลการศึกษา พบว่า พนักงานระดับปฏิบัติการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ มีคา่ เฉลีย่ ระดับอุปนิสยั ที่ 6 ผนึกพลังประสานความต่างอยู่ในระดับมาก และ เป็นอุปนิสัยที่กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนสูงเป็นล�ำดับที่ 9 หรือล�ำดับสุดท้ายของอุปนิสยั ทัง้ หมด ซึง่ ไม่สอดคล้องกับ ผลการศึกษาของ U-sit (2011) เรือ่ ง การวัดระดับอุปนิสยั ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสัยส�ำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง Kanjanawattanakool (2012) เรือ่ ง การวัดระดับอุปนิสยั ของพนักงานสังกัดส�ำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค เขต 1 (ภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ และ Taphao (2012) เรือ่ งการวัดระดับอุปนิสยั ของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนภูมิพล ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในอุปนิสัยย่อยของการศึกษานี้ พบว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับอุปนิสัยย่อยในข้อความว่า “ฉันเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการแสวงหาแนว ความคิดและวิธแี ก้ไขปัญหาทีแ่ ปลกใหม่และดีกว่า” สูงทีส่ ดุ ซึง่ ไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาของ U-sit (2011) ซึง่ พบว่า อุปนิสยั ย่อยในข้อความว่า “ฉันให้ความส�ำคัญและค้นหา สิง่ ทีอ่ ยูภ่ ายในใจของผูอ้ นื่ ” นัน้ สูงทีส่ ดุ แต่สอดคล้องกับ การศึกษาของ Kanjanawattanakool (2012) และ Taphao (2012) อุปนิสัยที่ 7 ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ: ผลการศึกษา พบว่า พนักงานระดับปฏิบตั กิ าร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ มีคา่ เฉลีย่ ระดับอุปนิสยั ที่ 7 ลับเลือ่ ยให้คมอยูเ่ สมออยูใ่ นระดับมาก และเป็นอุปนิสยั ที่กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนสูงเป็นล�ำดับที่ 1 หรือสูงที่สุด ของอุปนิสัยทั้งหมด สอดคล้องกับการศึกษาของ U-sit (2011) เรื่อง การวัดระดับอุปนิสัยของนักศึกษาคณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้หลักการ เจ็ดอุปนิสัยส�ำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง Kanjanawattanakool (2012) เรือ่ ง การวัดระดับอุปนิสยั ของพนักงาน สังกัดส�ำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค เขต 1 (ภาคเหนือ)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
จังหวัดเชียงใหม่ และ Taphao (2012) ได้ศึกษาเรื่อง การวัดระดับอุปนิสยั ของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) เขือ่ นภูมพิ ล ทีพ่ บว่า ระดับอุปนิสยั ที่ 7 ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ อยู่ในระดับมากเช่นกัน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในอุปนิสัยย่อยของการศึกษานี้ พบว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับอุปนิสัยย่อยในข้อความว่า “ฉันให้ความส�ำคัญกับสุขภาพทางกายและความเป็นอยู่ ที่ดีของฉัน” สูงที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Taphao (2012) แต่ไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาของ U-sit (2011) และ Kanjanawattanakool (2012) ที่ ค้นพบว่า มีคา่ เฉลีย่ ของระดับอุปนิสยั ย่อยในข้อความว่า “ฉันใช้เวลาในการหาความหมายและความสุขในชีวิต” สูงที่สุด อุปนิสัยกลุ่มชัยชนะส่วนตน: ผลการศึกษาพบว่า พนั ก งานระดั บ ปฏิ บั ติ ก าร การไฟฟ้ า ฝ่ า ยผลิ ต แห่ ง ประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ มีคา่ เฉลีย่ ระดับกลุม่ อุปนิสยั ชัยชนะส่วนตนอยู่ในระดับมาก ไม่สอดคล้องกับผล การศึกษาของ U-sit (2011) เรือ่ ง การวัดระดับอุปนิสยั ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสัยส�ำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง ซึ่งพบว่า มีค่าเฉลี่ยอุปนิสัยกลุ่มชัยชนะส่วนตนอยู่ใน ระดับค่อนข้างมาก แต่สอดคล้องกับการศึกษาของ Kanjanawattanakool (2012) เรือ่ ง การวัดระดับอุปนิสยั ของพนักงานสังกัดส�ำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค เขต 1 (ภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ และ Taphao (2012) เรือ่ ง การวัดระดับอุปนิสยั ของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขือ่ นภูมพิ ล ทีพ่ บว่า กลุม่ อุปนิสยั ชัยชนะส่วนตนอยู่ในระดับมากเช่นกัน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในอุปนิสัยย่อยของการศึกษานี้ พบว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับอุปนิสัยย่อยในข้อความว่า “ฉันให้ความส�ำคัญกับสุขภาพทางกาย และความเป็นอยู่ ที่ดีของฉัน” สูงที่สุด ไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาของ U-sit (2011) และ Kanjanawattanakool (2012) ที่ ค้นพบว่า มีคา่ เฉลีย่ ของระดับอุปนิสยั ย่อยในข้อความว่า “ฉันควบคุมชีวิตตัวเองได้” สูงที่สุด และไม่สอดคล้อง
175
กับการศึกษาของ Taphao (2012) ทีค่ น้ พบว่า มีคา่ เฉลีย่ ของระดับอุปนิสยั ย่อยในข้อความว่า “ฉันรูว้ า่ ฉันต้องการ ความส�ำเร็จอะไรในชีวิต” สูงที่สุด อุปนิสัยกลุ่มชัยชนะในสังคม: ผลการศึกษาพบว่า พนั ก งานระดั บ ปฏิ บั ติ ก าร การไฟฟ้ า ฝ่ า ยผลิ ต แห่ ง ประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ มีคา่ เฉลีย่ ระดับกลุม่ อุปนิสยั ชัยชนะในสังคมอยู่ในระดับมาก ไม่สอดคล้องกับผล การศึกษาของ U-sit (2011) เรือ่ ง การวัดระดับอุปนิสยั ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสัยส�ำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง ซึ่งพบว่า มีค่าเฉลี่ยอุปนิสัยกลุ่มชัยชนะในสังคมนั้น อยูใ่ นระดับค่อนข้างมาก แต่สอดคล้องกับการศึกษาของ Kanjanawattanakool (2012) เรือ่ ง การวัดระดับอุปนิสยั ของพนักงานสังกัดส�ำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค เขต 1 (ภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ และ Taphao (2012) เรือ่ ง การวัดระดับอุปนิสยั ของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขือ่ นภูมพิ ล ทีพ่ บว่า กลุม่ อุปนิสยั ชัยชนะส่วนตนอยู่ในระดับมากเช่นกัน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในอุปนิสัยย่อยของการศึกษานี้ พบว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับอุปนิสัยย่อยในข้อความว่า “ฉันให้ความส�ำคัญกับสุขภาพทางกาย และความเป็นอยู่ ทีด่ ขี องฉัน” สูงทีส่ ดุ ซึง่ ไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาของ U-sit (2011) ทีค่ น้ พบว่า มีคา่ เฉลีย่ ของระดับอุปนิสยั ย่อย ในข้อความว่า “ฉันใช้เวลาในการหาความหมายและ ความสุขในชีวติ ” สูงทีส่ ดุ ไม่สอดคล้องกับการศึกษาของ Kanjanawattanakool (2012) และ Taphao (2012) ที่ค้นพบว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับอุปนิสัยย่อยในข้อความ ว่า “ฉันให้ความร่วมมือกับผู้อื่น” สูงที่สุด ภาพรวมเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง: ผลการศึกษาพบว่า พนักงานระดับปฏิบตั กิ าร การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ มีค่าเฉลี่ย ระดับภาพรวมเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผลสูงอยู่ ในระดับมาก ไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาของ U-sit (2011) เรื่อง การวัดระดับอุปนิสัยของนักศึกษาคณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้หลักการ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
176
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
เจ็ดอุปนิสยั ส�ำหรับผูท้ รงประสิทธิผลยิง่ ซึง่ พบว่า มีคา่ เฉลีย่ ระดับภาพรวมเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผลสูงอยู่ ในระดับค่อนข้างมาก แต่สอดคล้องกับการศึกษาของ Kanjanawattanakool (2012) เรือ่ ง การวัดระดับอุปนิสยั ของพนักงานสังกัดส�ำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค เขต 1 (ภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ Taphao (2012) เรื่อง การวัดระดับอุปนิสยั ของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนภูมิพล พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับ ภาพรวมเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูงอยู่ใน ระดับมากเช่นกัน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในอุปนิสัยย่อยของการศึกษานี้ พบว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับอุปนิสัยย่อยในข้อความว่า “ฉันให้ความส�ำคัญกับสุขภาพทางกาย และความเป็นอยู่ ทีด่ ขี องฉัน” สูงทีส่ ดุ ซึง่ ไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาของ U-sit (2011) ทีค่ น้ พบว่า มีคา่ เฉลีย่ ของระดับอุปนิสยั ย่อย ในข้อความว่า “ฉันใช้เวลาในการหาความหมายและ ความสุขในชีวติ ” สูงทีส่ ดุ ไม่สอดคล้องกับการศึกษาของ Kanjanawattanakool (2012) ที่ค้นพบว่า มีค่าเฉลี่ย ของระดับอุปนิสยั ย่อยในข้อความว่า “ฉันให้ความร่วมมือ กับผูอ้ นื่ ” สูงทีส่ ดุ แต่สอดคล้องกับการศึกษาของ Taphao (2012)
สรุป
จากการศึกษาพบว่า คุณลักษณะทัว่ ไปของพนักงาน นัน้ มีทงั้ ทีส่ ง่ ผลและไม่สง่ ผลต่ออุปนิสยั และกลุม่ อุปนิสยั ตามหลั ก การเจ็ ด อุ ป นิ สั ย พั ฒ นาสู ่ ผู ้ มี ป ระสิ ท ธิ ผ ลสู ง โดยการทีจ่ ะพัฒนาระดับอุปนิสยั ของพนักงานตามหลักการ เจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผลสูงนัน้ จ�ำเป็นทีจ่ ะต้อง เกิดการผลักดันทั้งจากองค์กรและตัวพนักงานเองดังนี้ 1. การผลักดันจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ 1.1 สนับสนุนการน�ำหลักการเจ็ดอุปนิสยั พัฒนา สู่ผู้มีประสิทธิผลสูงมาเป็นกรอบในการพัฒนาพนักงาน โดยประยุกต์กบั นโยบายด้านทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร ถ่ายทอดให้กับพนักงานในองค์กรทุกระดับโดยเฉพาะ
อย่างยิง่ ในระดับปฏิบตั กิ าร ให้เกิดการรับรูแ้ ละตระหนัก ถึงความส�ำคัญของแนวคิดนี้ รวมทั้งการปฏิบัติตนเป็น แบบอย่างโดยผู้บริหาร โดยก่อนที่จะน�ำหลักการนี้ไป ประยุกต์ใช้ ควรมีการจัดอบรมให้ความรูเ้ กีย่ วกับหลักการ เจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูงให้กับพนักงาน ในทุกระดับ เพือ่ ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และตระหนัก ถึงประโยชน์ในการน�ำไปปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นการช่วยลด ความเห็นต่างของพนักงาน และสร้างความรูส้ กึ ถึงการเป็น ส่วนส�ำคัญขององค์กรให้กบั พนักงาน จนน�ำไปสูก่ ารปฏิบตั ิ ทีเ่ ป็นไปในทิศทางเดียวกันทัว่ ทัง้ องค์กร ส่งผลให้องค์กร ประสบความส�ำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ 1.2 การที่ค่าเฉลี่ยระดับอุปนิสัยที่ 7 ลับเลื่อย ให้คมอยู่เสมอของพนักงานระดับปฏิบัติการ การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะนั้นมีค่าเฉลี่ย อยูใ่ นระดับมากเป็นล�ำดับทีห่ นึง่ ของอุปนิสยั ตามหลักการ เจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง แสดงให้เห็นถึง จุดแข็ง (Strength) ของทรัพยากรบุคคลในองค์กร ซึง่ ควร ทีจ่ ะส่งเสริมอุปนิสยั นีใ้ ห้ดยี งิ่ ขึน้ ไป โดยการปลูกฝังแนวคิด การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตามหลักการของวงจร แดมมิ่ง (Deming Cycle) ซึ่งประกอบไปด้วย 1. Plan (การวางแผน) 2. Do (การปฏิบัติตามแผน) 3. Check (การตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน) และ 4. Act (การ ปรับปรุงแก้ไข) เนื่องจากอุปนิสัยที่ 7 นี้มีค่าเฉลี่ยมาก เป็นล�ำดับที่หนึ่งสะท้อนถึงจุดแข็งที่พนักงานมีและยัง เป็นอุปนิสยั ส�ำคัญทีเ่ ป็นพืน้ ฐานในการพัฒนาทุกอุปนิสยั อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยในการยกระดับการ บริหารงานของเหมืองแม่เมาะเพื่อมุ่งไปสู่ Thailand Quality Class (TQC) และ Thailand Quality Award (TQA) เพือ่ ความยัง่ ยืนของเหมืองแม่เมาะและการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต่อไป 2. การผลั ก ดั น จากพนั ก งานระดั บ ปฏิ บั ติ ก าร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ 2.1 ค่าเฉลีย่ ระดับอุปนิสยั ที่ 6 ผนึกพลังประสาน ความต่าง ควรได้รับการพัฒนาปรับปรุงถึงแม้ว่าจะ ค่าเฉลีย่ อยูใ่ นระดับมาก แต่มคี า่ เฉลีย่ เป็นล�ำดับสุดท้ายของ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
อุปนิสยั ตามหลักการเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสูผ่ มู้ ปี ระสิทธิผลสูง ซึง่ พนักงานสามารถทีจ่ ะพัฒนาอุปนิสยั นีไ้ ด้โดยการริเริม่ ด้วยตนเอง ในการพิจารณาเข้าร่วมกิจกรรมที่เราสนใจ และส่งเสริมให้ตัวเราได้ท�ำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น การเล่นกีฬาช่วงพักกลางวันหรือหลังเลิกงาน การร่วม กิจกรรมสันทนาการ การร่วมเป็นสมาชิกของชมรมต่างๆ เป็นต้น เพือ่ เปิดโอกาสให้ตนเองได้เห็นมุมมองและความคิด ของผูอ้ นื่ มากขึน้ ได้เรียนรูซ้ งึ่ กันและกัน จนเกิดเป็นการ ยอมรับความแตกต่างของแต่ละคน พร้อมที่จะส่งเสริม เกื้อกูลซึ่งกันและกัน 2.2 พิจารณาเลือกหลักการเจ็ดอุปนิสยั พัฒนาสู่ ผู้มีประสิทธิผลสูงดังต่อไปนี้ บัญชีออมใจ ความสมดุล ในการด�ำเนินชีวิต อุปนิสัยที่ 1 บี-โปรแอคทีฟ อุปนิสัย ที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ อุปนิสัยที่ 3 ท�ำสิ่งที่ ส�ำคัญก่อน และอุปนิสัยที่ 7 ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ ซึง่ เป็นกลุม่ อุปนิสยั เพือ่ ชัยชนะส่วนตนทีจ่ ะส่งผลโดยตรง ในการพัฒนาตนเอง ซึง่ สามารถเริม่ จากการเลือก 3 อุปนิสยั ที่มีความสอดคล้องกับอุปนิสัยของตนเองที่จะช่วยให้ การพัฒนาอุปนิสยั นัน้ ๆ สามารถท�ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เนือ่ งจากมีอปุ นิสยั ของตนเองทีส่ อดคล้อง กับอุปนิสยั ทีเ่ ลือกมาเป็นทุนเดิมอยูแ่ ล้ว โดยหนึง่ ในตัวเลือก ทีค่ วรพิจารณาคือ อุปนิสยั ความสมดุลในการด�ำเนินชีวติ เนือ่ งจากเป็นอุปนิสยั ส�ำคัญทีจ่ ะเป็นพืน้ ฐานให้การพัฒนา อุปนิสัยอื่นๆ นั้นเป็นไปอย่างมั่นคง
ข้อเสนอแนะ
1. จากการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับอุปนิสัยที่ 1 บี-โปรแอคทีฟ ของพนักงานระดับปฏิบตั กิ าร การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะนั้นมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในลักษณะอุปนิสัยย่อย พบว่า ลักษณะอุปนิสยั ย่อย “ฉันทุม่ เทความสามารถในสิง่ ที่ฉันสามารถท�ำได้มากกว่าในสิ่งที่ฉันไม่สามารถท�ำได้” มีค่าเฉลี่ยต�่ำที่สุดในกลุ่มอุปนิสัยย่อยของอุปนิสัยที่ 1 ซึ่งในการพัฒนาลักษณะอุปนิสัยย่อยในด้านนี้สามารถ ท�ำได้โดยการสนับสนุนของผูบ้ งั คับบัญชาขัน้ ต้นในการที่
177
จะสังเกตความสามารถและความถนัดในการปฏิบตั งิ าน ของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการ พิจารณามอบหมายงานให้สอดคล้องกับความสามารถ และความถนัดของพนักงาน ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการดึง ศักยภาพของพนักงานออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตอ่ องค์กร และตัวพนักงานเองได้มากที่สุด 2. จากการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับอุปนิสัยที่ 2 เริม่ ต้นด้วยจุดมุง่ หมายในใจของพนักงานระดับปฏิบตั กิ าร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะนั้น มี ค ่ า เฉลี่ ย อยู ่ ใ นระดั บ มาก เมื่ อ พิ จ ารณาในลั ก ษณะ อุปนิสยั ย่อยพบว่า ลักษณะอุปนิสยั ย่อย “ฉันเริม่ ต้นแต่ละ สัปดาห์ด้วยเป้าหมายที่ชัดเจนว่า ฉันต้องการท�ำอะไร ให้สำ� เร็จ” มีคา่ เฉลีย่ ต�ำ่ ทีส่ ดุ ในกลุม่ อุปนิสยั ย่อยของอุปนิสยั ที่ 2 ซึง่ ในการพัฒนาลักษณะอุปนิสยั ย่อยในด้านนีส้ ามารถ ท�ำได้โดยการน�ำหลักการบริหารสมรรถนะการท�ำงาน (Performance Management) เข้ามาประยุกต์ใช้ ซึง่ มี องค์ประกอบทีส่ ำ� คัญ 3 ส่วนดังนี้ 1. การก�ำหนดตัวชีว้ ดั ในการปฏิบตั งิ านทีส่ อดคล้องกับตัวชีว้ ดั ผลการด�ำเนินงาน ขององค์กร (Key Performance Indicator หรือ KPI) 2. การแสดงค่าปัจจุบนั ของตัวชีว้ ดั โดยเทียบกับเป้าหมาย ให้ผเู้ กีย่ วข้องได้รบั ทราบอย่างชัดเจนและต่อเนือ่ ง (Visual Board) 3. การพูดคุยระหว่างผู้บังคับบัญชาขั้นต้นและ ผู ้ ป ฏิ บั ติ ง านเพื่ อ ขั บ เคลื่ อ นตั ว ชี้ วั ด ในการปฏิ บั ติ ง าน (Performance Dialogue) ซึง่ Performance Dialogue ถือเป็นหัวใจส�ำคัญที่จะช่วยก�ำหนดเป้าหมายในการ ปฏิบตั งิ านให้กบั ตัวพนักงานเอง จากการขับเคลือ่ นของ ผู้บังคับบัญชาขั้นต้นในการที่จะพูดคุยติดตามผลการ ด�ำเนินงานของพนักงานเป็นระยะๆ มีการรับฟังปัญหา และข้อขัดข้อง พร้อมทั้งสนับสนุนและให้ค�ำแนะน�ำ ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยมีกรอบของการพูดคุยเป็น KPI ทีเ่ กิดจากการเห็นพ้องยอมรับทัง้ จากผูบ้ งั คับบัญชา ขัน้ ต้นและตัวผูป้ ฏิบตั งิ านเอง ซึง่ จะช่วยให้การพูดคุยนัน้ มีความกระชับชัดเจน ส่งผลให้สามารถบริหารงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเน้นย�้ำให้ผู้ปฏิบัติงานทราบ และตระหนักถึงเป้าหมายในการปฏิบัติงานของตนเอง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
178
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
3. จากการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับอุปนิสัยที่ 3 ท�ำสิง่ ทีส่ ำ� คัญก่อนของพนักงานระดับปฏิบตั กิ าร การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะนั้นมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในลักษณะอุปนิสัยย่อย พบว่า ลักษณะอุปนิสยั ย่อย “ฉันไม่ยอมให้กจิ กรรมต่างๆ ที่ส�ำคัญที่ต้องท�ำในชีวิตหายไปเพราะกิจกรรมที่วุ่นวาย ในแต่ละวัน” มีค่าเฉลี่ยต�ำ่ ที่สุดในกลุ่มอุปนิสัยย่อยของ
อุปนิสยั ที่ 3 ซึง่ ในการพัฒนาลักษณะอุปนิสยั ย่อยในด้านนี้ สามารถท�ำได้โดยการพิจารณาให้ความส�ำคัญกับตัวเราเอง เป็นอันดับแรก โดยยึดหลักว่า “ก่อนที่เราจะแบ่งปัน หรือช่วยเหลือผูอ้ นื่ ได้นนั้ เราต้องดูแลตัวเราเองให้ได้กอ่ น” เมื่อพิจารณาได้เช่นนี้แล้วก็จะสามารถท�ำให้พนักงาน แต่ละคนสามารถจัดล�ำดับให้ความส�ำคัญและปฏิบัติ กิจกรรมที่ส�ำคัญในชีวิตของตนเองได้อย่างครบถ้วน
References
Covey, S. R. (2004). The 7 habit of highly effective people. UK: Simon & Schuster. Electricity generating authority of Thailand. (2015). 2015 Annual report of Electricity Generating Authority of Thailand Mae Moh Mine. Lampang: Electricity Generating Authority of Thailand Mae Moh Mine. [in Thai] Electricity generating authority of Thailand. (2015). History of Maemoh Power Plant. Retrieved December 1, 2015, from http://maemoh.egat.com/index.php/his [in Thai] Kanjanawattanakool, W. (2012). Measuring Habit Level of Employees of Provincial Electricity Authority Area 1 (North) Chiang Mai Province, by Applying the Seven Habits of Highly Effective People Principle. Master of business administration, Chiang Mai University. [in Thai] Taphao, S. (2012). Measuring Habit Level of Employees at Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT), Bhumibol Dam by Applying the Seven Habits of Highly Effective People Principle. Master of business administration, Chiang Mai University. [in Thai] U-sit, S. (2011). Measuring Habit Level of Engineering Students, Chiang Mai University, by Applying the Seven Habits of Highly Effective People Principle. Master of business administration, Chiang Mai University. [in Thai]
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
179
Name and Surname: Thanawan Sumonsart Highest Education: Bachelor Degree of Engineering, Thammasat University University or Agency: Chiang Mai University Field of Expertise: Chemical Engineering Address: 16 Moo 13, Prajaotanjai Rd., Tontongchai, Mueang, Lampang 52000 Name and Surname: Chaiwuth Tangsomchai Highest Education: Ph.D. West Virginia University, USA University or Agency: Chiang Mai University Field of Expertise: Finance and Banking Address: Department of Finance and Banking, Faculty of Business Administration, Chiang Mai University 239 Huakiew Rd., Suthep, Mueang, Chiangmai 50200 Name and Surname: Orapin Santidhirakul Highest Education: Ph.D. Adamson University, Philippines University or Agency: Chiang Mai University Field of Expertise: Management Address: Department of Management, Faculty of Business Administration, Chiang Mai University 239 Huakiew Rd., Suthep Mueang, Chiangmai 50200
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
180
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรในกลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ EMPLOYEE ENGAGEMENT IN FURNITURE BUSINESS GROUP กีรติกร บุญส่ง Keeratikorn Boonsong คณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ Faculty of Management Sciences, Panyapiwat Institute of Management
บทคัดย่อ
การวิจยั เรือ่ งความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรในกลุม่ ธุรกิจเฟอร์นเิ จอร์นี้ ใช้วธิ กี ารวิจยั เชิงปริมาณ กล่าวคือ ได้พัฒนาตัวแบบวิจัยขั้นต้นแล้วสร้างข้อค�ำถามที่ได้คุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสุ่มตัวอย่างในกลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ แห่งหนึง่ เพือ่ ท�ำการยืนยันตัวแบบในการวิจยั ซึง่ ประกอบด้วย 3 ส่วนส�ำคัญคือ ส่วนที่ 1 ปัจจัยสร้างความผูกพันของ พนักงานต่อองค์กร ประกอบด้วย 4 กลุ่มย่อยคือ ลักษณะงาน (Job Characteristics) บุคคลและสังคมในองค์กร (People and Social) ระบบองค์กร (Organization Practice) และสภาพแวดล้อมขององค์กร (Organization Climate) โดยแต่ละปัจจัยมีคา่ น�ำ้ หนักการเกิดความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรเป็น .62, .70, .63 และ .76 ตามล�ำดับ ส่วนที่ 2 วัดระดับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรได้ที่ระดับร้อยละ 81.80 และส่วนที่ 3 ผลลัพธ์ของความผูกพัน โดยในการทดสอบตัวแบบพบว่า ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรมีความสัมพันธ์กับผลงาน (Performance) ที่ระดับ .78 โดยการวัดผลงานท�ำได้ 3 ระดับคือ ระดับบุคคล (Individual Performance) ระดับทีม (Team Performance) และระดับองค์กร (Organization Performance) ส�ำหรับกลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์นี้น�ำข้อค้นพบ ผลการวิจยั ไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างความผูกพันได้ตามล�ำดับดังนี้ (1) พัฒนาระบบบริการภายใน (Internal Service) (2) พัฒนาระบบการบริหารผลงาน (Performance Management System) (3) พัฒนาโอกาสความก้าวหน้าในงาน (Career Growth) (4) พัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการท�ำงาน (Instrument) และ (5) ก�ำหนดปริมาณงานที่ เหมาะสมกับต�ำแหน่ง (Job Volume) ค�ำส�ำคัญ: ความผูกพันของพนักงาน ความผูกพัน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ องค์กร ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์
Corresponding Author E-mail: keeratikornboo@pim.ac.th
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
181
Abstract
This research illustrates how importance of employee engagement in furniture business group. The research methodology was conducted as a quantitative research; in other words, the model of primary research was developed in terms of forming the qualitative questions. Data collation was thoroughly analyzed from questionnaires via a random selected subject of the furniture business group. To confirm the research model that consisted of three important key parts; was as follow: part 1) the factors founding of employee engagement to the organization that having 4 sub-groups, those were: Job Characteristics, People and Social, organization Practice, and Organization Climate. Each factor had its own weight at 0.62, 0.70, 0.63, and 0.76 respectively, part 2) level-measuring of employee engagement to the organization was at 81.80 percentage, part 3) the consequence of employee engagement to the organization was related to Performance at 0.78 whilst judging on performance-assessment with three categories; Individual Performance, Team Performance, and Organization Performance. The significant findings of this study from the furniture business group can lead efficiently to establish the engagement as follow: (1) to develop the Internal Service Systems, (2) to develop the Performance Management System, (3) to develop the opportunity of Career Growth, (4) to develop the Instrument at work, and (5) to define the Job Volume in an appropriate position. Keywords: Employee engagement, Engagement, Human Resource Management, Organization, Furniture Business
บทน�ำ
จากการศึกษาวิจยั ของ Deloitte University (2017) จากองค์กรชัน้ น�ำทัว่ โลกพบว่า การจัดล�ำดับความส�ำคัญ ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรในปัจจุบัน และอนาคต ได้ยกให้การสร้างความผูกพันของพนักงาน ต่อองค์กร อยู่ในล�ำดับที่ 1 ใน 5 เสมอ เนื่องจาก ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยทีม่ คี วามสัมพันธ์กบั ความส�ำเร็จ ขององค์กร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรยุคใหม่ ต้องอาศัยการจูงใจที่สร้างจากภายในตัวบุคคลเอง และ องค์กรควรมีส่วนสร้างขึ้นอย่างเหมาะสม ซึ่งไม่สามารถ ใช้มาตรการบังคับ สร้างกติกาโดยปราศจากการมีสว่ นร่วม หรือการเห็นพ้องต้องกันจากพนักงาน ธุรกิจเฟอร์นเิ จอร์เป็นธุรกิจทีม่ คี วามส�ำคัญต่อระบบ เศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็น
ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก ใช้พนักงานที่มีฝีมือในประเทศเป็นส่วนใหญ่ และกว่า ร้อยละ 90 เป็นผูป้ ระกอบการคนไทยทีม่ ศี กั ยภาพในการ พัฒนาเพื่อการส่งออก มีโรงงานผลิตกว่า 12,000 แห่ง และมีการจ้างงานกว่า 280,000 คน (The Federation of Thai Industries, 2011) โดยทีก่ ำ� ลังคนดังกล่าวต้อง ใช้ทกั ษะทัง้ ในการออกแบบ การผลิต และความสามารถ ในการตลาด การขายทัง้ ในและต่างประเทศ ธุรกิจนีต้ อ้ ง ใช้พลังจากความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ การผลิต และการให้บริการทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ซึง่ เกิดขึน้ จากพนักงาน ทีม่ คี ณ ุ ภาพ มีความผูกพันกับงานและองค์กรเป็นเบือ้ งต้น องค์กรธุรกิจที่ใช้เป็นหน่วยในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นกลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ที่จัดตั้งขึ้นมากว่า 30 ปี มีพนักงานกว่า 25,000 คน ในโรงงานผลิตจ�ำนวน 3 แห่ง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
182
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
มีหน้าร้านทัง้ ทีต่ งั้ อยูใ่ นห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า และ หน้าร้านที่ตั้งแยกต่างหาก (Stand Alone) การด�ำเนิน ธุรกิจดังกล่าวนัน้ บริษทั ตระหนักถึงความส�ำคัญอย่างยิง่ ว่า ความส�ำเร็จในการด�ำเนินธุรกิจ ทั้งในการออกแบบ การผลิต การจ�ำหน่าย การบริการ และอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ขึน้ อยูก่ บั การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การให้พนักงานได้แสดงออกถึง ศักยภาพสูงสุด บริษัทจึงเน้นการสร้างความผูกพันของ พนักงานต่อองค์กรเป็นกลยุทธ์ที่ส�ำคัญของบริษัท ซึ่ง สอดคล้องกับ Balain & Sparrow (2009) ทีว่ า่ ความผูกพัน ท�ำให้บุคคลมีความยึดมั่นในข้อตกลงในงานและองค์กร มีแรงจูงใจที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุผลในระดับที่สูงขึ้น สองระดับคือ ผูกพันต่องาน (Job Engagement) กับ ผูกพันกับองค์กร (Organizational Engagement)
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการด�ำเนินการ ดังนี้ 1. เพื่อก�ำหนดปัจจัยที่ใช้ในการสร้างความผูกพัน ของพนักงานต่อองค์กร และเสนอตัวแบบส�ำรวจความ ผูกพันของพนักงานต่อองค์กร 2. เพือ่ วัดระดับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร เสนอแนวทางและจัดล�ำดับความส�ำคัญในการสร้าง ความผูกพันในองค์กร
การทบทวนวรรณกรรม
นักบริหารทรัพยากรมนุษย์รจู้ กั และพยายามบริหาร ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรมาแล้วตั้งแต่เมื่อ 20 ปีกอ่ น เพียงแต่ถกู เรียกในชือ่ การสร้างความพึงพอใจ ให้กบั บุคลากร (Employee Satisfaction) บ้าง การสร้าง ความจงรักภักดีต่อองค์กร (Loyalty) บ้าง หรือในชื่อ อืน่ ๆ แล้วจึงพัฒนาเป็นระบบมากยิง่ ขึน้ ในชือ่ ทีร่ จู้ กั อย่าง เป็นทางการทัว่ ไปว่า การสร้างความผูกพันของพนักงาน ต่อองค์กร (Suthammanon, 2017) การสร้ า งความผู ก พั น ของพนั ก งานต่ อ องค์ ก ร หมายถึง การท�ำให้พนักงานร่วมกันท�ำงานอย่างมีความสุข เกิดการสร้างผลการด�ำเนินงานทีด่ ี พนักงานมีความรูส้ กึ ที่ดีและแสดงพฤติกรรมที่ดีต่องาน ผู้ร่วมงาน องค์กร พร้อมจะทุ่มเท สนับสนุนเป้าหมายที่ท้าทายขององค์กร ท�ำให้เกิดผลการปฏิบัติงานทั้งในระดับบุคคล ทีม และ องค์กรอย่างดีเยีย่ ม (Cook, 2008; Balain & Sparrow, 2009) จากความหมายของความผูกพันของพนักงาน ต่อองค์กรข้างต้นจึงสามารถศึกษารายละเอียดได้เป็น 3 ส่วนคือ ส่วนทีห่ นึง่ ศึกษาปัจจัยทีท่ ำ� ให้เกิดความผูกพัน ของพนักงานต่อองค์กร ส่วนทีส่ อง ศึกษาว่าจะวัดระดับ ความผูกพันได้จากสิ่งใดบ้าง ส่วนที่สาม ศึกษาว่าความ ผูกพันนั้นส่งผลต่อการปฏิบัติงานทั้งระดับบุคคล ทีม และองค์กรอย่างไร โดยสามารถแสดงได้ดว้ ยภาพต่อไปนี้
ภาพที่ 1 กรอบความคิดความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร ที่มา: ปรับปรุงจาก Balain & Sparrow (2009), Heskett, Sasser & Wheeler (2008), Macey et al. (2009), DDI (2015) และ AON Hewitt (2017) จากกรอบความคิดข้างต้น ผู้วิจัยจึงใช้เป็นแนวทาง ในการทบทวนวรรณกรรมและการพัฒนากรอบความคิด ในการวิจัยดังจะได้น�ำเสนอต่อไป
1. ปัจจัยสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร มีสถาบันและนักวิชาการได้ศกึ ษาปัจจัยทีท่ ำ� ให้เกิดความ ผูกพันของพนักงานต่อองค์กรมากมาย ในทีน่ จี้ ะได้นำ� เสนอ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ปัจจัยที่ได้รับการยอมรับสูง ประกอบด้วย 4 มิติใหญ่ๆ คือ 1.1 มิตเิ กีย่ วกับลักษณะงาน (Job Characteristics) (AON Hewitt, 2017; DDI, 2015; Bedarkar & Pandita, 2014) ประกอบด้วย - ความท้าทาย หมายถึง เป็นงานทีม่ คี ณ ุ ค่า น่าสนใจ - มีอสิ ระ คล่องตัว หมายถึง มีอสิ ระในเชิง วิชาชีพ มีความยืดหยุ่น คล่องตัว - มีอำ� นาจตัดสินใจ หมายถึง ได้รบั มอบหมาย งานชัดเจนควบคู่กับการตัดสินใจในงาน - ขอบเขตงานชัดเจน หมายถึง ระยะหน้าที่ ความรับผิดชอบชัดเจน ไม่ซับช้อน - ท�ำงานตรงกับความสามารถ หมายถึง ได้รบั การพัฒนามีความรูค้ วามสามารถให้สามารถท�ำงานได้ - ปริมาณงาน หมายถึง ปริมาณงานทีไ่ ด้รบั มอบหมายไม่มากหรือน้อยเกินไป - ความหลากหลายของงาน หมายถึง การมี โอกาสได้ทำ� งาน และร่วมงานกับผูอ้ นื่ ทีม่ คี วามหลากหลาย - วางแผนงานล่วงหน้าได้ หมายถึง สามารถ รู้งานได้ล่วงหน้า และวางแผนงานได้เป็นส่วนใหญ่ - มีดลุ ยภาพในชีวติ หมายถึง สามารถบริหาร จัดการงานได้สมดุลกับการมีชีวิตส่วนตัว 1.2 มิตบิ คุ คลและสังคมในองค์กร (People and Social) (AON Hewitt, 2015, 2017; RobertsonSmith & Markwiek 2009; Willis Tower Watson, 2017) ประกอบด้วย - บทบาทของหัวหน้างาน หมายถึง การ สือ่ สาร ความใกล้ชดิ การได้รบั การสนับสนุนการท�ำงาน จากหัวหน้างาน - บทบาทของผูบ้ ริหารระดับกลาง หมายถึง การวางตัวใกล้ชิด การสื่อสารวิสัยทัศน์ แผนงาน และ การสนับสนุนให้งานบรรลุเป้าหมายจากผูบ้ ริหารระดับกลาง - ความสัมพันธ์ในองค์กร หมายถึง ความ ใกล้ชิด ช่วยเหลือสนับสนุนกันระหว่างหน่วยงานและ ในทีมงานด้วยกันเอง
183
- การยอมรับความหลากหลายในองค์กร หมายถึง องค์กรสามารถบริหารความแตกต่างด้านอายุ อาชีพ ประสบการณ์ที่แตกต่างในทีมงานและระหว่าง หน่วยงานให้สามารถร่วมกันปฏิบัติงานได้ดี 1.3 มิตริ ะบบองค์กร (Organization Practice) (Hay Group, 2009; AON Hewitt, 2015, 2017; DDI, 2015; Willis Tower Watson, 2017) ประกอบด้วย - ค่าตอบแทน หมายถึง การตอบแทนการ ท�ำงานทั้งในรูปแบบเงินและไม่ใช่เงิน ที่มีความสัมพันธ์ กับผลงาน และความสามารถของบุคคล - การช่วยเหลือการท�ำงานอื่นๆ หมายถึง การจัดค่าช่วยเหลือการท�ำงานในลักษณะพิเศษอื่นๆ เช่น การเดินทาง ที่พัก การอ�ำนวยความสะดวก - ความก้าวหน้าในงาน หมายถึง โอกาส ได้รับการเลื่อนต�ำแหน่ง ปรับระดับ ตามผลงานและ ความสามารถ - การพัฒนาบุคคล หมายถึง การสนับสนุน ให้พนักงานได้รบั การเรียนรูพ้ ฒ ั นาในรูปแบบต่างๆ ทัง้ ที่ เป็นรูปแบบชัดเจน หรือผสมผสานกับการท�ำงาน - การบริหารผลงาน หมายถึง การก�ำหนด กลยุทธ์แผนงาน โดยมีการสือ่ สาร ท�ำงานให้สอดประสานกัน - การชืน่ ชม หมายถึง การแสดงออกซึง่ การ ยอมรับ ยกย่อง มีรางวัลส�ำหรับผู้ที่มีผลการปฏิบัติงาน และมีการเพิ่มพูนความสามารถ - ระบบการสนับสนุนในการท�ำงาน หมายถึง ระบบหน่วยงานสนับสนุนอืน่ ในองค์กรทีใ่ ห้การสนับสนุน การท�ำงาน เช่น ระบบจัดซือ้ ระบบการเงินบัญชี ระบบ สารสนเทศ เป็นต้น 1.4 สภาพแวดล้อมขององค์กร (Organizational Climate) (Willis Tower Watson, 2017; AON Hewitt, 2017; Robinson, Perryman & Hayday, 2004) ประกอบด้วย - วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง การสร้าง วัฒนธรรมองค์กรทีเ่ ป็นแบบแผนพฤติกรรมของบุคลากร ในองค์กรที่สามารถตอบสนองกลยุทธ์และแผนธุรกิจ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
184
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
- ชือ่ เสียงขององค์กร หมายถึง ชือ่ เสียงบริษทั สินค้า บริการ เป็นที่รู้จัก ได้รับการยอมรับในสังคม - ความมัน่ คงขององค์กร หมายถึง การรับรู้ เชือ่ มัน่ ในความเติบโตก้าวหน้าตามกลยุทธ์ขององค์กรได้ อย่างยั่งยืน - บรรยากาศการท�ำงานเป็นทีม หมายถึง ความกระตือรือร้น การให้ความร่วมมือสนับสนุนกัน ระหว่างหน่วยงาน มีการเรียนรู้และแก้ปัญหาร่วมกัน - การให้ความส�ำคัญกับความคิดริเริ่มและ ข้อเสนอ หมายถึง การสร้างโอกาสให้มีการน�ำเสนอ ความคิดริเริม่ การได้ทดลองปฏิบตั จิ ากบุคลากรในแต่ละ ส่วนงาน - การสื่อสาร หมายถึง มีช่องทาง วิธีการ ทีจ่ ะท�ำให้ขอ้ มูล ข่าวสารในองค์กรกระจายให้เป็นทีร่ บั รู้ อย่างทั่วถึงและลุ่มลึกเพียงพอกับการท�ำงาน และการ เตรียมความพร้อมส�ำหรับอนาคต - ความรับผิดชอบต่อสังคมและความยัง่ ยืน หมายถึง การรับรู้ มีสว่ นร่วมในการท�ำประโยชน์ให้สงั คม ในเชิง CSR หรือการสร้างความยัง่ ยืนกล่าวคือ มีประโยชน์ ต่อสังคม ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียและมีผลทางตรงหรือทางอ้อม กลับมามีผลดีต่อธุรกิจ อย่างไรก็ตามปัจจัยสร้างความผูกพันข้างต้น ได้รับความส�ำคัญแตกต่างกันไปตามภูมิภาคของโลก ระดับพนักงานและประเภทของธุรกิจอีกด้วย (AON Hewitt, 2017; Willis Tower Watson, 2017) ดังนั้น การน�ำปัจจัยดังกล่าวไปใช้ควรจะต้องศึกษาเชิงลึกอย่าง เหมาะสมเฉพาะองค์กร เพราะแต่ละองค์กรมีปจั จัยอืน่ ๆ เช่น วัฒนธรรมองค์กร ภาวะผูน้ ำ� ระบบบริหารจัดการอืน่ ทีม่ คี วามแตกต่างกันและส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน ต่อองค์กร (Federman, 2009) โดยตรง 2. ประเภทหรื อ ลั ก ษณะของความผู ก พั น ของ พนักงานต่อองค์กร ตัวแปรส่วนนีม้ คี วามส�ำคัญในการใช้ วัดระดับความผูกพันพนักงานต่อองค์กร ซึง่ มีผทู้ ศี่ กึ ษาไว้ แตกต่างกันพอสมควร โดยทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั ดีคอื AON Hewitt (2015) ได้เรียกส่วนนีว้ า่ เป็น Engagement Outcomes ประกอบด้วย 3 ลักษณะคือ
- “Say” หมายถึง พนักงานกล่าวถึงองค์กร ผู้ร่วมงาน ลูกค้า และองค์กรในทางบวก - “Stay” หมายถึง พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง ขององค์กร ประสงค์จะอยู่เป็นสมาชิกขององค์กร - “Strive” หมายถึง พนักงานมีแรงจูงใจ มุง่ มัน่ ทุ่มเทเพื่อผลส�ำเร็จ ในขณะที่ Hay Group (2009) วัดความผูกพัน ของพนักงานต่อองค์กรเป็น 2 ลักษณะคือ - “Engagement” หมายถึง ยึดมัน่ ในข้อตกลง (Commitment) การมุ่งมั่น พยายามในการท�ำงาน - “Enablement” หมายถึง พร้อมรับบทบาท ภารกิจทีส่ งู ขึน้ มีคณ ุ ค่ามากขึน้ และพร้อมให้การสนับสนุน ผู้อื่น อาจกล่าวได้ว่า ลักษณะของความผูกพันของ พนักงานต่อองค์กรมีได้สองลักษณะคือ เป็นความรู้สึก (Feeling) นึกคิด ทัศนคติ และเป็นพฤติกรรม (Behavior) ที่ดี เป็นบวกหรือเป็นคุณประโยชน์ต่องาน ผู้ร่วมงาน องค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้วิจัยมีความเห็นคล้อยตาม การจั ด ลั ก ษณะความผู ก พั น ในลั ก ษณะตรงประเด็ น เช่นนี้คล้ายคลึงกับแบบที่ Macey et al. (2009) และ Robinson, Perryman & Hayday (2009) ทีจ่ ดั ลักษณะ ความผูกพันเป็น 2 ลักษณะคือ - ความรู้สึกผูกพัน (Feel Engaged) หมายถึง ความรูส้ กึ กระตือรือร้น จัดล�ำดับความส�ำคัญ มุง่ มัน่ ทุม่ เท และมีความสุขกับบรรยากาศหรือความรู้สึกนี้ มีความ เชื่อมั่นต่อองค์กรและแสวงหาโอกาสพัฒนาองค์กร - พฤติกรรมผูกพัน (Behave Engaged) หมายถึง การลงมือท�ำงานแบบเชิงรุก พร้อมเปลีย่ นแปลง พัฒนา ตนเอง มีขอบเขตความรับผิดชอบในงานสูงขึ้น พร้อม ช่วยเหลือสนับสนุนและท�ำงานให้ได้ผลมากกว่าทีก่ ำ� หนดให้ อนึ่ง ประเภทหรือลักษณะของความผูกพันของ พนักงานต่อองค์กรข้างต้น สามารถน�ำมาสร้างตัววัด ทีจ่ ะสะท้อนระดับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรได้ เป็นอย่างดี ดังปรากฏในการศึกษาทั่วโลกของ AON Hewitt (2017) พบว่า พนักงานสะท้อนความผูกพันผ่าน “Say” ทีร่ ะดับร้อยละ 68.0 สะท้อนผ่าน “Stay” ทีร่ ะดับ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ร้อยละ 59.0 และ “Strive” ที่ระดับร้อยละ 63.0 โดย ภาพรวมของโลกอยูท่ รี่ ะดับร้อยละ 63.0 และประเทศไทย อยู่ที่ระดับร้อยละ 65.0 เท่านั้น 3. ผลลัพธ์ของความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร ในส่วนนีม้ หี ลายส�ำนักและนักวิชาการได้ศกึ ษาไว้เช่นกัน กล่าวคือ AON Hewitt (2015, 2017) กล่าวถึงผลของ ความผูกพันมี 4 มิติคือ - ท�ำให้องค์กรรักษาผูม้ คี วามสามารถ (Talent) ไว้ได้ ท�ำให้มีความรู้สึกที่ดี ไม่มีการสูญเสียเวลาในการ ท�ำงาน - ท�ำให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัย ในงาน (Productivity and Safety) - สร้างความพึงพอใจ และรักษาลูกค้าไว้ได้ - ส่งผลต่อผลประกอบการขององค์กรที่วัดด้วย ความส�ำเร็จทางรายได้ ยอดขาย การเติบโต และผล ตอบแทนที่มีต่อผู้ถือหุ้น ในขณะที่ Hay Group (2009) กล่าวถึงผลลัพธ์ ของความผูกพันใน 3 ลักษณะคือ - ผลต่อพนักงาน (Employee Performance) หมายถึง ท�ำให้พนักงานมีผลงานที่สูงขึ้นและองค์กร สามารถรักษาพนักงานไว้ได้ - ผลต่อลูกค้า (Customer Performance) หมายถึง ลูกค้าได้รับบริการที่ดี มีความพึงพอใจ
185
- ผลต่อผลประกอบการ (Financial Performance) หมายถึง รายได้ และการเติบโตของรายได้ องค์กรดีขึ้น ในลักษณะทีใ่ กล้เคียงกัน Macey et al. (2009) กล่าวถึงผลลัพธ์ของความผูกพันทีเ่ กิดกับผลงาน ทัง้ ทีจ่ บั ต้องได้ (Tangible Performance) เช่น ประสิทธิภาพงาน การบรรลุเป้าหมาย และผลงานทีจ่ บั ต้องไม่ได้ (Intangible Performance) เช่น ความเชือ่ ถือในตราสินค้า (Brand) ความพอใจของลูกค้า เกิดนวัตกรรม และลดความเสี่ยง สูงได้ โดยท้ายที่สุดก็เสนอว่า เกิดผลดีกลับไปสู่ผู้ถือหุ้น เช่นกัน จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า การศึกษาความผูกพันของ พนักงานต่อองค์กรควรมีองค์ประกอบครบทั้ง 3 ข้อคือ ปัจจัยสร้างความผูกพัน ประเภทหรือลักษณะของความ ผูกพัน และผลลัพธ์ของความผูกพัน
กรอบแนวคิดในการวิจัย
เพื่อให้การวิจัยได้สาระที่ครบถ้วน ซึ่งมีประโยชน์ ในการสร้างตัวแบบส�ำรวจความผูกพันของพนักงาน และผูว้ จิ ยั สามารถให้คำ� แนะน�ำการน�ำผลของการส�ำรวจ ความผูกพันไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ผู้วิจัยจะท�ำการศึกษา โดยใช้ตัวแบบเบื้องต้น แสดงได้ดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2 กรอบความคิดในการวิจัย ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
186
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
จากตัวแบบข้างต้นแสดงความสัมพันธ์ขององค์ ประกอบส�ำคัญ 3 ส่วนคือ 1. ส่วนปัจจัยสร้างความผูกพัน (Drivers) ประกอบ ด้วย 4 ส่วนย่อยๆ คือ 1.1 ด้านลักษณะงาน (Job Characteristics) ประกอบด้วย - การให้อ�ำนาจตัดสินใจ - มีอิสระ และคล่องตัว - มีคำ� อธิบายงานและขอบข่ายงานทีช่ ดั เจน - ท�ำงานตรงกับความรู้ ความสามารถ - ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการท�ำงาน - ปริมาณงาน - งานทีม่ คี วามหลากหลาย (งานประจ�ำกับ งานโครงการ) - งานใหม่ แ ละงานไม่ ส ามารถวางแผน ล่วงหน้าได้ - งานที่ท้าทาย 1.2 ด้านบุคคลและสังคมในองค์กร (People and Social) ประกอบด้วย - บทบาทของผู้บริหารระดับสูง - บทบาทของผู้บริหารระดับกลาง - บทบาทของผู้บริหารระดับต้น - ความสัมพันธ์ในองค์กร - ความหลากหลายในองค์กร 1.3 ด้านระบบองค์กร (Organization Practice) ประกอบด้วย - ค่าตอบแทน - เบีย้ เลีย้ งและเงินช่วยเหลือในการปฏิบตั งิ าน ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของงาน - ความก้าวหน้าในงาน - ระบบการพัฒนาและแหล่งความรู้ที่ช่วย ในการพัฒนา (Learning and Development) - ระบบบริหารผลงาน (Performance Management System) - ระบบการชื่นชมผลงาน
- ระบบการสนับสนุนการปฏิบัติงานอื่น (Human Resource, Information Technology, Finance, Purchasing) 1.4 ด้านสภาพแวดล้อมขององค์กร (Organization Climate) ประกอบด้วย - การสร้างวัฒนธรรมองค์กร - ชื่อเสียงขององค์กร - ความมั่นคงขององค์กร - บรรยากาศการท�ำงานเป็นทีม - การให้ความส�ำคัญกับข้อเสนอและความคิด ริเริ่ม - ช่องทางในการสื่อสารข่าวสารภายใน - Customer Social Responsibility and Sustainability 2. ส่วนการแสดงถึงความผูกพัน (Engaged) ซึ่ง แสดงออกเป็น 2 ลักษณะคือ 2.1 ด้านทัศนะต่อองค์กร (Feeling) ประกอบด้วย - ความรู้สึกเป็นเจ้าของ/ภาคภูมิใจ - พร้อมพัฒนาและรับการเปลี่ยนแปลง - เชื่อมั่นและยอมรับนโยบายขององค์กร - มีความไว้เนื้อเชื่อใจกันแบบพี่น้อง - การเห็นคุณค่าต่อตัวพนักงาน 2.2 ด้านพฤติกรรมที่แสดงออก (Behavior) ประกอบด้วย - การทุม่ เทให้กบั การท�ำงาน (เข้างานก่อน เวลา เลิกงานหลังเวลา) - การท�ำงานทีป่ ริมาณมากขึน้ และความยาก มากขึ้น - การมีส่วนร่วมในการท�ำงาน - ชื่นชม ปกป้องประโยชน์ขององค์กร - ช่วยเหลือและให้การสนับสนุนซึง่ กันและกัน 3. ส่วนผลงาน (Performance) ซึง่ เป็นผลลัพธ์ของ ความผูกพันต่อองค์กรแบ่งออกเป็น 3.1 ระดับบุคคล (Individual Performance) คือ งานตามเป้าหมายทีก่ ำ� หนด รวมถึงงานทีเ่ พิม่ ขึน้ ทีอ่ าจ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า 3.2 ระดับทีมงาน (Team Performance) คือ งานตามเป้าหมายทีท่ มี งานก�ำหนดและงานทีเ่ พิม่ ขึน้ ทีอ่ าจ ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า 3. ระดั บ องค์ ก ร (Business Performance) ประกอบด้วย - ผลประกอบการมีความก้าวหน้า - มีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นสม�ำ่ เสมอ - ความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มขึ้น - เป็นผู้น�ำตลาดเฟอร์นิเจอร์ - ท�ำประโยชน์ให้สังคมและความยั่งยืน
วิธีวิจัย
การวิจยั นีเ้ ป็นการวิจยั เชิงปริมาณกล่าวคือ เก็บข้อมูล ด้วยแบบสอบถามทีส่ ร้างขึน้ จากกรอบความคิดในการวิจยั แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทัว่ ไปเกีย่ วกับผูต้ อบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ ต�ำแหน่ง อายุงาน หน่วยงานทีส่ งั กัด ส่วนที่ 2 แบบสอบถามให้ผู้ตอบแบบสอบถาม แสดงทัศนะต่อปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความผูกพัน จ�ำนวน 49 ข้อ วัดระดับความผูกพัน จ�ำนวน 12 ข้อ และผลลัพธ์ที่เกิดจากความผูกพัน จ�ำนวน 12 ข้อ โดย แต่ละข้อเป็นมาตรวัด 5 ระดับคือ 1 หมายถึง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 2 หมายถึง ไม่เห็นด้วย 3 หมายถึง ไม่แน่ใจ 4 หมายถึง เห็นด้วย 5 หมายถึง เห็นด้วยอย่างยิ่ง ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเป็นค�ำถามปลายเปิด ให้เสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม แบบสอบถามผ่ า นการตรวจสอบความตรงของ เนือ้ หาและภาษา (Content and Language Validity) โดยผู้เชี่ยวชาญจ�ำนวน 5 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร ในองค์กรกลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ จ�ำนวน 2 คน และ
187
คณาจารย์ประจ�ำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขา วิชาการบริหารคนและกลยุทธ์องค์การ จ�ำนวน 3 คน พิจารณาข้อค�ำถามได้ผลดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item-Objective Congruence: IQC) มากกว่า 0.75 ขึ้นไป และท�ำการตรวจสอบความเชื่อมั่น (Reliability) จากการสุม่ ตัวอย่าง 30 คน ได้คา่ สัมประสิทธิ์ (Cronbach’s Coefficient Alpha) รายปัจจัยมากกว่า 0.75 ขึ้นไป และภาพรวมที่ 0.97 ซึง่ เป็นแบบสอบถามทีม่ คี ณ ุ ภาพดี ใช้ในการส�ำรวจความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรได้ ในการเก็บข้อมูล แม้ Krejcie & Morgan ได้กำ� หนด ไว้ว่า กรณีประชากรไม่เกิน 3,000 คน สามารถใช้สุ่ม ตัวอย่างเพียง 375 ตัวอย่างนั้น (Tirakanan, 2005) ในการวิจัยครั้งนี้ต้องการน�ำผลไปใช้จริงในองค์กร จึงใช้ วิธกี ารสุม่ ตัวอย่างตามความแตกต่างของประชากร ซึง่ มี ลักษณะเฉพาะและซับซ้อนสูง จึงใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบ แบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ซึ่งมาจาก พนักงานที่ครอบคลุมช่วงอายุ อายุงาน ระดับต�ำแหน่ง และกลุ่มธุรกิจ จ�ำนวน 823 ตัวอย่าง แล้ววิเคราะห์ ข้อมูลโดยการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสร้างความ ผูกพันของพนักงานต่อองค์กร ลักษณะของความผูกพัน และผลลัพธ์ของความผูกพัน การวิเคราะห์ปัจจัยย่อย ด้วยการหา Factor Loading การวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และค่าความสัมพันธ์ของแต่ละปัจจัยย่อย และการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าความ สัมพันธ์ (Correlation) ซึ่งจะได้นำ� เสนอในล�ำดับต่อไป
ผลการวิจัย
การเก็บข้อมูลโดยการส�ำรวจด้วยแบบสอบถาม จ�ำนวน 823 ตัวอย่าง เป็นเพศหญิง 416 คน และเพศชาย 407 คน อายุนอ้ ยกว่า 25 ปี ร้อยละ 2.8 อายุ 25-35 ปี ร้อยละ 31.6 อายุ 35-45 ปี ร้อยละ 51.6 และอายุ มากกว่า 45 ปี ร้อยละ 14 และพนักงานกว่าร้อยละ 50 มีอายุงานเกินกว่า 10 ปี โดยมีผลการวิจัยภาพรวมดังนี้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
188
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ภาพที่ 3 รายงานผลภาพรวมความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร จากภาพที่ 3 จะเห็นว่า การประเมินความผูกพัน ของพนักงานต่อองค์กรแบ่งเป็น 3 ส่วน ตามกรอบความคิด ในการวิจัยคือ 1. ส่วนที่ 1 ปัจจัยสร้างความผูกพันของพนักงาน ต่อองค์กรภาพรวมได้รบั การประเมินในระดับร้อยละ 75.85 แบ่งเป็นมิติย่อยๆ 4 มิติ ดังนี้ 1.1 ด้านลักษณะงาน (Job Characteristic) ได้รับการประเมินในระดับร้อยละ 77.60 1.2 ด้านบุคคลและสังคมในองค์กร (People and Social) ได้รับการประเมินระดับร้อยละ 77.20 1.3 ด้านระบบองค์กร (Organization Practice) ได้รับการประเมินระดับร้อยละ 69.40 1.4 ด้านสภาพแวดล้อมขององค์กร (Organization Climate) ได้รับการประเมินระดับร้อยละ 79.20 จะเห็นได้ว่าทั้ง 4 มิติ ถูกประเมินในระดับสูง 2. ส่วนที่ 2 วัดระดับความผูกพันพบว่า ภาพรวม อยูใ่ นระดับร้อยละ 81.80 ซึง่ อยูใ่ นระดับสูง เมือ่ พิจารณา
ในมิติย่อย 2 มิติคือ 2.1 ด้านความรูส้ กึ ผูกพัน (Feeling) พบว่า มีผล ประเมินที่ระดับร้อยละ 80.20 2.2 ด้านพฤติกรรมที่ผูกพัน (Behavior) ได้รับ ผลการประเมินระดับร้อยละ 83.6 3. ส่วนที่ 3 ผลลัพธ์ของความผูกพันพบว่า ภาพรวม ได้รับผลการประเมินระดับร้อยละ 80.70 เมื่อพิจารณา ในแต่ละมิติย่อย 3 มิติ พบว่า 3.1 ด้านผลงานระดับบุคคล (Individual Performance) ผลการประเมินอยู่ในระดับร้อยละ 80.33 3.2 ด้านผลงานระดับทีม (Team Performance) ผลการประเมินอยู่ในระดับร้อยละ 75.40 3.3 ด้านผลงานระดับองค์กร (Business Performance) ผลการประเมินอยู่ในระดับร้อยละ 82.05 จะเห็นได้ว่า ผลการประเมินทุกมิติค่อนข้างสูง ผูว้ จิ ยั จึงท�ำการทดสอบตัวแบบโดยการหาความสัมพันธ์ ระหว่างผลการประเมินแต่ละส่วนได้รับผลดังต่อไปนี้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
189
ภาพที่ 4 ตัวแบบความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ จากตัวแบบข้างต้น ความผูกพันต่อองค์กรของ พนักงานองค์กรกลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านลักษณะงาน (Job characteristics) มีนำ�้ หนัก องค์ประกอบ (Factor Loading) เท่ากับ .62 2. ด้านบุคคลและสังคมในองค์กร (People and Social) มีน�้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) เท่ากับ .70 3. ด้านระบบองค์กร (Organization Practice) มีน�้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) เท่ากับ .63 4. ด้านสภาพแวดล้อมขององค์กร (Organization Climate) มีน�้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) เท่ากับ .76 โดยที่ปัจจัยสร้างความผูกพันต่อองค์กรที่มีน�้ำหนัก ความส�ำคัญ เรียงตามล�ำดับดังนี้ ล�ำดับที่หนึ่ง (.76) ด้านสภาพแวดล้อมขององค์กร (Organization Climate) ล�ำดับที่สอง (.70) ด้านบุคคลและสังคมในองค์กร
(People and Social) ล�ำดับทีส่ าม (.63) ด้านระบบองค์กร (Organization Practice) และล�ำดับทีส่ ี่ (.62) ด้านลักษณะงาน (Job characteristics) อนึ่ง ปัจจัยทั้ง 4 ด้าน สามารถอธิบายการส่งผลให้ เกิดความผูกพันต่อองค์กรได้ที่ระดับความส�ำคัญ .78 และผลคะแนนความผูกพัน (Engagement Score) พบว่า พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรในระดับสูงคือ มีระดับ คะแนนเฉลี่ย 4.09 จากคะแนนเต็ม 5.00 หรือคิดเป็น ร้อยละ 81.8 ซึ่งถือเป็นระดับความผูกพันที่ค่อนข้างสูง ระดับของความผูกพันดังกล่าวมีผลต่อการปฏิบตั งิ าน ทัง้ ระดับบุคคล ทีมงาน และองค์กร โดยทีพ่ นักงานเห็นว่า ภาพความส�ำเร็จเกิดขึน้ อย่างชัดเจนทีส่ ดุ ทีผ่ ลประกอบการ หรือผลงานระดับบุคคล .69 รองลงมาคือ ระดับทีม .67 และสุดท้ายระดับองค์กร .64 แสดงให้เห็นถึงการรับรู้ ของพนักงานว่า ผลส�ำเร็จของงานเกิดจากการท�ำงานที่ ตนเองรับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
190
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
กล่าวได้ว่าภาพที่ 4 เป็นตัวแบบอธิบายการสร้าง ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรกลุม่ ธุรกิจเฟอร์นเิ จอร์ ที่ใช้ในการศึกษา การน�ำผลไปใช้ยกระดับความผูกพัน ให้สงู ขึน้ ในอนาคต พิจารณาได้จากปัจจัยสร้างความผูกพัน ด้านทีม่ นี ำ�้ หนักสูงสุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมขององค์กร
ก่อน
อนึง่ ในทางปฏิบตั เิ พือ่ ให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ ควรวิเคราะห์นำ�้ หนักในรายข้อและเลือกทีม่ นี ำ�้ หนักหรือมี ความสัมพันธ์กบั ระดับความผูกพันสูงก่อน ดังภาพต่อไปนี้
ภาพที่ 5 แนวทางการน�ำผลไปใช้ยกระดับความผูกพันพนักงานต่อองค์กรในอนาคต ภาพที่ 5 แสดงถึงการวิเคราะห์ปจั จัยส�ำคัญทีบ่ ริษทั ควรพัฒนาปรับปรุงเร่งด่วนในระดับองค์กร โดยใช้หลักการ ทีว่ า่ เป็นปัจจัยทีม่ ผี ลต่อความผูกพันในระดับสูง แต่มผี ล การประเมินค่อนข้างต�่ำพบว่า ควรล�ำดับความเร่งด่วน 5 อันดับแรกในการด�ำเนินการ ดังนี้ 1. ปัจจัยเรือ่ งระบบบริการภายใน (Internal Service) (ค่าเฉลี่ย 3.44, ค่าความสัมพันธ์ .52) 2. ปัจจัยเรื่องระบบการบริหารผลงาน (Performance Management System) (ค่าเฉลี่ย 3.61, ค่า ความสัมพันธ์ .57) 3. ปัจจัยเรือ่ งโอกาสความก้าวหน้าในงาน (Career Growth) (ค่าเฉลี่ย 3.59, ค่าความสัมพันธ์ .47) 4. ปัจจัยเรื่องเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการท�ำงาน (Instrument) (ค่าเฉลี่ย 3.58, ค่าความสัมพันธ์ .40)
5. ปัจจัยเรื่องปริมาณงานที่เหมาะสมกับต�ำแหน่ง (Job Volume) (ค่าเฉลี่ย 3.61, ค่าความสัมพันธ์ .41)
อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
การวิจยั นีไ้ ด้คน้ พบว่า ตัวแบบความผูกพันของพนักงาน ต่อองค์กรประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ ส่วนแรก ปัจจัยสร้างความผูกพันต่อองค์กรมี 4 องค์ประกอยย่อย คือ 1. ด้านลักษณะงาน (Job Characteristic) มีนำ�้ หนัก ความส�ำคัญต่อความผูกพัน 0.62 2. ด้านบุคคลและสังคม ในองค์กร (People and Social) มีนำ�้ หนักความส�ำคัญ ต่อความผูกพัน 0.70 3. ด้านระบบองค์กร (Organization Practice) มีน�้ำหนักความส�ำคัญต่อความผูกพัน 0.63 และ 4. ด้านสภาพแวดล้อมขององค์กร (Organization Climate) มีน�้ำหนักความส�ำคัญต่อความผูกพัน 0.76
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ซึ่งสูงที่สุดจากทั้งหมด 4 มิติ ดังนั้น ภายใต้เวลาและ ทรัพยากรทีจ่ ำ� กัดองค์กรสามารถเลือกด�ำเนินการตามปัจจัย ทีม่ คี วามส�ำคัญสูงก่อน จะสามารถยกระดับความผูกพัน ของพนักงานต่อองค์กรให้สูงขึ้น และสามารถพิจารณา ในรายละเอียด ปัจจัยส�ำคัญทีอ่ งค์กรควรพัฒนาปรับปรุง เร่งด่วนโดยใช้หลักการที่ว่าเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความ ผูกพันในระดับสูง แต่มผี ลการประเมินค่อนข้างต�ำ่ 5 ข้อ ทีน่ ำ� เสนอใว้ ซึง่ เป็นมิตใิ หม่ทไี่ ม่พบในงานวิจยั ทีท่ ำ� เรือ่ ง ความผูกพันของส�ำนักหลักอืน่ ๆ เช่น Aon Hewitt, Hay Group หรือ Willis Tower Watson เป็นต้น ในการวัดระดับความผูกพันดังกล่าว ประกอบด้วย 2 มิติย่อยคือ ด้านทัศนะต่อองค์กร (Feeling) และด้าน พฤติกรรมปฏิบตั งิ าน (Behavior) โดยทัง้ สองมิตขิ า้ งต้น มีความสัมพันธ์ในทางบวกระดับ 0.78 กับผลลัพธ์ของ ความผูกพันทีว่ ดั ได้ 3 ระดับคือ ระดับบุคคล (Individual Performance) ระดับทีม (Team Performance) และ ระดับองค์กร (Business Performance) ยืนยันตัวแบบ ขั้นต้นตามกรอบความคิดในการวิจัย นอกจากนี้การวิจัยนี้ยังพบอีกว่า สามารถวัดระดับ ความผู ก พั น พนั ก งานต่ อ องค์ ก รได้ ภ าพรวมที่ ร ะดั บ ร้อยละ 81.80 ซึง่ สูงมากกว่าค่าเฉลีย่ ของโลกทีอ่ ยูท่ รี่ ะดับ ร้อยละ 63 และของประเทศไทยที่ระดับร้อยละ 65 (AON Hewitt, 2017) เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมือ่ พิจารณาเปรียบเทียบกับสถาบัน ทีจ่ ดั ท�ำความผูกพันพนักงานต่อองค์กร พบว่า มีลกั ษณะ แตกต่างกันทั้งในด้านปัจจัยสร้างความผูกพัน การวัด ระดับความผูกพัน และผลลัพธ์ของความผูกพัน (AON Hewitt, 2017; Hay Group, 2009; Willis Tower Watson, 2017) อีกทั้งจากการศึกษาของ Federman
191
(2009) แสดงให้เห็นว่าแต่ละองค์กรยังมีปัจจัยที่ส่งผล ต่อความผูกพันทีม่ คี วามแตกต่างได้อกี หลายปัจจัย ดังนัน้ องค์กรใดมีความประสงค์จะน�ำตัวแบบส�ำรวจความผูกพัน ของพนักงานต่อองค์กรจากงานวิจัยนี้ไปปรับใช้ ควรมี การเก็บข้อมูลทดสอบตัวแบบให้ได้ผลชัดเจนเฉพาะ องค์กรนัน้ ๆ ก่อนแล้วจึงจะสามารถน�ำไปใช้เพือ่ ยกระดับ ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเติบโตขององค์กรเป็นไปอย่างรวดเร็วเป็นสิง่ ทีด่ ี และปรารถนาในทุกองค์กรธุรกิจ แต่ทว่าการขยายตัว รวดเร็วเกินไปในก�ำลังคนทีไ่ ม่เหมาะสมกับพนักงานเป็น สาเหตุหนึง่ ได้เช่นกันทีจ่ ะท�ำให้พนักงานเกิดความรูส้ กึ ได้วา่ ท�ำงานหนัก แต่ยงั ไม่มคี วามก้าวหน้าในงานเท่าทีต่ นเอง คาดหวัง จึงสะท้อนออกมาได้จากผลการวิจัยที่พบว่า ปัจจัยด้านระบบองค์กร (Organization Practice) มีระดับ คะแนนเฉลีย่ ต�ำ่ กว่าปัจจัยด้านอืน่ ๆ อาจเนือ่ งจากความ คาดหวังของพนักงานที่มีต่อองค์กรในด้านระบบบริการ ภายใน ระบบการบริหารผลงาน โอกาสความก้าวหน้า ในงาน เครือ่ งมืออุปกรณ์ทใี่ ช้ในการท�ำงาน และปริมาณ งานที่เหมาะสมกับต�ำแหน่ง เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ
1. การประเมินความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร มิใช่เป็นการท�ำเพียงครั้งคราว แต่ต้องมีการด�ำเนินการ อย่างต่อเนื่อง เพื่อองค์กรน�ำผลลัพธ์ที่ได้มาปรับปรุง และต้องท�ำให้เห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรม 2. องค์ ก รใดที่ ต ้ อ งการบริ ก ารลู ก ค้ า ให้ เ ป็ น เลิ ศ ต้องการมีความผูกพันกับลูกค้าในระยะยาว ควรเริม่ จาก การสร้างความผูกพันของพนักงานภายในองค์กร เพราะ เป็นปัจจัยทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ทีท่ ำ� ให้ลกู ค้าผูกพันได้ในระยะยาว
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
192
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
References
AON Hewitt. (2015). Aon Hewitt’s Model of Employee Engagement. Retrieved August 7, 2017, from https://www.aonhewitt.co.nz/getattachment/77046028-9992-4d77-868a-32fbf622fec6/file. aspx?disposition=inline AON Hewitt. (2017). Trends in Global Employee Engagement. Retrieved August 7, 2017, from https://www.aonhewitt.com.au/Home/Resources/Reports-and-research/2017-Trends-inGlobal-Employee-Engagement-report Balain, S. & Sparrow, P. (2009). Engaged to Perform: A New Perspective on Employee Engagement. Lancaster: Lancaster University Management School. Bedarkar, M. & Pandita, D. (2014). A study on the drivers of employee engagement impacting employee performance. Social and Behavioral Sciences 133, 106-115. Cook, S. (2008). The Essential Guide to Employee Engagement Better Business Performance through Staff Satisfaction. London and Philadelphia: Kogan Page. Deloitte University. (2017). 2017 Human Capital Trends: A Government Perspective. Retrieved August 7, 2017, from https://www2.deloitte.com/content/dam/Deloitte/us/Documents/ public-sector/us-fed-2017-government-hc-trends-supplement.pdf Deloitte University. (2017). Rewriting the Rules for the digital age: 2017 Human Capital Trends. Retrieved August 7, 2017, from https://www2.deloitte.com/content/dam/Deloitte/us/ Documents/human-capital/hc-2017-global-human-capital-trends-us.pdf Development Dimension International. (2015). Employee Engagement: The Key to Realizing Competitive Advantage. Retrieved August 7, 2017, from www.ddiworld.com Federman, B. (2009). Employee Engagement: A Roadmap for Creating Profits, Optimizing Performance, and Increasing Loyalty. San Francisco: John Wiley & Sons. Hay Group. (2009). Engaging and Enabling Employees to Improve Performance outcomes. Retrieved August 7, 2017, from http://info-now.com/typo3conf/ext/p2wlib/pi1/press2web/html/ userimg/EEA_EXPO_2010/Proceedings/SurveysandPolls-HayGroup-Agnew.pdf Heskett, J. L., Sasser, W. E. Jr. & Wheeler, J. (2008). The Ownership Quotient: Putting the Service Profit Chain to Work for Unbeatable Competitive Advantage. Boston: Harvard Business School. Macey, H. W., Schneider, B., Barbara, M. K. & Young, A. S. (2009). Employee Engagement. Oxford, UK: Wiley-Blackwell. Robinson, D., Perryman, S. & Hayday, S. (2004). The Drivers of Employee Engagement. Retrieved August 7, 2017, from https://www.employment-studies.co.uk/system/files/resources/ files/408.pdf ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
193
Robertson-Smith, G. & Markwick, C. (2009). Employee Engagement: A Review of Current Thinking. Retrieved August 7, 2017, from https://www.employment-studies.co.uk/system/files/resources/ files/469.pdf Suthammanon, L. (2017). Strategic Human Resource Management for Sustainable Organization. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai] The Federation of Thai Industries. (2011). Report on the analysis of the capabilities of the ASEAN Economic Community (AEC): Furniture industry. Retrieved August 7, 2017, from www.smi. or.th [in Thai] Tirakanan, S. (2005). Research Methodology in Social Sciences: Practical approach. Bangkok: Book Center of Chulalongkorn University. [in Thai] Willis Tower Watson. (2017). Finding from the 2016 Global Talent Management. New Jersey: Compensation Association.
Name and Surname: Keeratikorn Boonsong Highest Education: Master Degree in Applied Management, National Institute of Development Administration University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Human Resource Management, Human Resource Development, Competency based HRM, Performance Management, Employee Engagement Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
194
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น CAUSAL FACTORS OF THE PROPER ONLINE GAMING BEHAVIORS OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS ธันยวนันฐ์ เลียนอย่าง1 ศรัณย์ พิมพ์ทอง2 และนริสรา พึ่งโพธิ์สภ3 Tanyavanun Lianyang1 Saran Pimthong2 and Narisara Peungposop3 1,2,3สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1,2,3Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม การเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาตอนต้น กลุม่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ในการวิจยั ครัง้ นี้ เป็นนักเรียน ที่ก�ำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ หลายขั้นตอน (Multistage random sampling) รวม 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวัด ตัวแปรเชิงสาเหตุและผลของพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม วิเคราะห์ขอ้ มูลด้วยวิธกี ารวิเคราะห์เส้นทาง โดยใช้โปรแกรม AMOS (Analysis for Moment Structure) ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมทีพ่ ฒ ั นาขึน้ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามรูปแบบ ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม และทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม โดยตัวแปรปัจจัยทางจิตสังคม ได้แก่ ตัวแปรกลุ่มสถานการณ์ ตัวแปรจิตลักษณะเดิม และตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ที่น�ำมาศึกษาในโมเดลส่งผลทางบวกต่อพฤติกรรม การเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม และค่าสัมประสิทธิก์ ารพยากรณ์ของพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม ของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า มีคา่ เท่ากับ 0.53 กล่าวคือ ตัวแปรปัจจัยทางจิตสังคม สามารถร่วมกันอธิบาย ความแปรปรวนของพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้ร้อยละ 53 อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมขึ้นอยู่กับจิตลักษณะตาม สถานการณ์ (เจตคติตอ่ พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม) มากทีส่ ดุ รองลงมาคือ จิตลักษณะเดิมหรือลักษณะ ภายในตน (ลักษณะมุง่ อนาคตและควบคุมตน) และตัวแปรด้านสถานการณ์ (การควบคุมการเล่นเกมออนไลน์ในครอบครัว) ตามล�ำดับ โดยทัง้ จิตลักษณะเดิมหรือลักษณะภายในตน (ลักษณะมุง่ อนาคตและควบคุมตน) และตัวแปรด้านสถานการณ์ (การควบคุมการเล่นเกมออนไลน์ในครอบครัว) ยังส่งผ่านจิตลักษณะตามสถานการณ์ (เจตคติต่อพฤติกรรมการเล่น เกมออนไลน์อย่างเหมาะสม) เช่นเดียวกัน ค�ำส�ำคัญ: ปัจจัยเชิงสาเหตุ พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น Corresponding Author E-mail: tanyavanunlia@pim.ac.th
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
195
Abstract
The purpose of this research was to study model of causal relationship that effect to the proper online gaming behaviors of lower secondary school students. The sample of 400 students was selected by Multi-stage random sampling. The research instruments were six level Likert Scale type of questionnaire, It was a measure of the cause and effect of proper online gaming behaviors. AMOS program was applied to analyze the data using Path Analysis technique. The result revealed that the developed behavior model of the proper online gaming behavior of lower secondary school students is consistent with empirical data according to interactionism model and ethical trees theory in the proper online gaming behaviors depends on the psychological states the most (the attitude toward proper online gaming behaviors) followed by the psychological characteristics or features within them (future orientation and self control) and the situational factors (online family game controls) respectively. In addition, they have a direct influence on the proper online gaming behavior and sends psychological states as well (the attitude toward proper online gaming behaviors) Keywords: Analysis of Causal Factors the Proper, Online Gaming Behaviors, Lower Secondary School Students
บทน�ำ
สังคมโลกปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาท ในการเชือ่ มโยงข้อมูลข่าวสาร โดยบุคคลทัว่ ไปทุกมุมโลก สามารถติดต่อสือ่ สารถึงกันได้เพียงเสีย้ ววินาที โดยผ่าน เครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ ท�ำให้เข้าสู่ยุคการสื่อสาร ไร้พรมแดน หรือเรียกว่า “ยุคโลกาภิวตั น์” เมือ่ โลกาภิวตั น์ เข้ามาสู่ทุกภาคส่วนของสังคมโลก ท�ำให้ทุกประเทศ สามารถติดต่อสื่อสาร และรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้ อย่างสะดวกและรวดเร็ว เสมือนอยู่ในประเทศเดียวกัน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์นนั้ ก้าวหน้าและพัฒนาอย่างรวดเร็ว ซึ่งก่อให้เกิดผลดีและผลกระทบต่อสังคม โดยเฉพาะ การใช้ระบบอินเทอร์เน็ตที่เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมโยงกันทั่วโลก และปัจจุบันมี การน�ำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายและ กว้างขวาง อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การสืบค้น ข้อมูล การซื้อขายสินค้าออนไลน์ การประชุมทางไกล ผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference) การเล่นเกม
ออนไลน์ ฯลฯ (Chula Weekly, 2010) ซึง่ ในขณะเดียวกัน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นแหล่งอาชญากรรม รูปแบบใหม่ สามารถก่อให้เกิดปัญหาหากน�ำไปใช้ในทาง ทีไ่ ม่เหมาะสม อาทิ ปัญหาเยาวชนลอกเลียนพฤติกรรม จากเกมออนไลน์ อันเนื่องมาจากการเล่นเกมออนไลน์ เป็นกิจกรรมที่เด็กและวัยรุ่นนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ส�ำหรับเกมออนไลน์เป็นสือ่ ทีม่ รี ปู แบบเนือ้ หาทีเ่ ป็นสากล และจากผลของความสะดวกในการเข้าถึงเกมออนไลน์ ทีม่ แี รงดึงดูดจากรูปแบบของเกมทีส่ นุกสนานเพลิดเพลิน เนื้อหาท้าทาย มีความสวยงาม ผู้เล่นสามารถแข่งขัน และคุยกับกลุม่ เพือ่ นโดยผ่านตัวละครในเกมออนไลน์ได้ ทั้งที่นั่งเล่นอยู่ที่ใดก็ตามจึงก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่ เหมาะสมและติดเกมออนไลน์ได้ดที สี่ ดุ (Sennan, 2006) จากผลส�ำรวจของสถาบันเด็กและวัยรุน่ ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต พบว่า พ.ศ. 2556 มีเด็กติดเกมมาก ถึง 2.5 ล้านคน จากจ�ำนวนเด็กทั้งหมด 18 ล้านคน ในประเทศไทย ซึง่ นับเป็นตัวเลขทีส่ งู มาก โดยผลกระทบ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
196
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ในด้านลบทีเ่ กิดจากเกมออนไลน์ ได้แก่ ไม่มเี วลาทบทวน บทเรียน ผลการเรียนลดลง สุขภาพเสือ่ มโทรม มีปญ ั หา ทางด้านสายตาเป็นเวลานาน มีอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง มากขึ้น และมีการพูดโกหก เป็นต้น (Chula Weekly, 2010) นอกจากนี้ Biggins (2009: 7) พบว่า วัยรุ่นมี ค่าใช้จา่ ยทีเ่ กิดขึน้ จากการเล่นเกมออนไลน์และความใส่ใจ ตัง้ ใจเรียนและผลการเรียนทีล่ ดต�ำ่ ลง สอดคล้องกับปัญหา ทีน่ กั เรียนหลงลืมการเรียนมัวแต่เล่นเกมออนไลน์สง่ ผลให้ ผลการเรียนแย่ (Young, 2004) แต่ในมุมมองทีก่ ลับกัน อย่างไรก็ตามการเล่นเกมออนไลน์นอกจากจะส่งผล ทางลบดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การเล่นเกมออนไลน์ก็ ยังมีผลทางบวกเช่นกัน หากเด็กมีพฤติกรรมเสพเกม ออนไลน์อย่างเหมาะสม ซึง่ เป็นพฤติกรรมทีน่ า่ ปรารถนา ไม่เบียดเบียนตนเอง จะเป็นการเบียดเบียนตนเองน้อยลง ทัง้ ทางด้านเศรษฐกิจ สุขภาพร่างกาย และความปลอดภัย ของตนเอง อีกทัง้ เกมออนไลน์ถอื ได้วา่ เป็นเทคโนโลยีทเี่ ป็น นวัตกรรมที่มีทั้งแง่บวกและแง่ลบ ซึ่งการรับนวัตกรรม โดยไม่เบียดเบียนตนเอง และไม่เบียดเบียนผูอ้ นื่ ใช้อย่าง เหมาะสม ถูกต้องตามกาลเทศะ ใช้อย่างมีประโยชน์ จะท�ำให้มปี ระโยชน์อย่างยิง่ ยวด ซึง่ ในปัจจุบนั เทคโนโลยี การสื่อสาร เช่น อินเทอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยีที่สะดวก รวดเร็ ว และเข้ า ถึ ง ตั ว วั ย รุ ่ น ได้ ง ่ า ยและตลอดเวลา เทคโนโลยีเหล่านีม้ คี ณ ุ มากมายถ้าใช้อย่างเหมาะสม เช่น การใช้อนิ เทอร์เน็ตในการค้นคว้าหาความรู้ การส่งข่าวสาร ทางอีเมล การเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม โดยค�ำนึง ถึงคุณประโยชน์ที่จะได้รับและรู้จักประมาณในการเล่น ให้อยูใ่ นปริมาณทีเ่ หมาะสมไม่นานเกินไปและละเว้นการเล่น ทีจ่ ะท�ำให้ตนเองเดือดร้อน จะช่วยท�ำให้เกิดความบันเทิง เพลิดเพลิน คลายเครียด และเสริมทักษะบางอย่าง เช่น การฝึกคิดวิเคราะห์แก้ปญ ั หา การท�ำงานประสานระหว่าง มือและตา เป็นต้น ดังที่ Ramasut (2009: 292) ได้ยก กรณีตวั อย่างเกีย่ วกับผลกระทบเชิงบวกว่า ในต่างประเทศ มีการน�ำเกมออนไลน์ไปบูรณาการกับการเรียนรูท้ างวิชาการ เพือ่ ให้เด็กได้ฝกึ ทักษะควบคูไ่ ปด้วย เช่น ประเทศแคนาดา มีการผลิตเกมผจญภัยที่ต้องใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์ โดยออกแบบให้มีความซับซ้อนและน่าสนใจ ซึ่งก็มีเด็ก
ให้ความสนใจเล่นเป็นจ�ำนวนมาก ฯลฯ นอกจากนี้เกม ยังถือเป็นพื้นฐานที่ส�ำคัญของ Creative Economy ผูเ้ ล่นเกมหลายคนสามารถพัฒนาตนเองจากการเล่นเกม ไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เช่น เป็นนักพัฒนาเกม ฯลฯ ซึ่งจากการที่ผู้วิจัยศึกษางานวิจัยในอดีตส่วนใหญ่ เป็นการศึกษาพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ในเชิงลบ เช่น พฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ ซึ่งข้อค้นพบที่ได้ มักเป็นตัวแปรเชิงลบที่ยากต่อการน�ำไปพัฒนาต่อยอด เช่น สาเหตุทที่ ำ� ให้วยั รุน่ ติดเกมออนไลน์พบว่า สาเหตุของ การติดเกมออนไลน์สว่ นใหญ่มาจากเจตคติหรือการรับรู้ ที่มีต่อการเล่นเกมออนไลน์ ในเรื่องของเนื้อหาของเกม คอมพิวเตอร์ให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และชวนให้ ติดตาม ตลอดจนเด็กขาดการควบคุมตนเอง รวมถึงบุคคล รอบข้าง ได้แก่ พ่อแม่ พี่น้อง เพื่อน ที่มีอิทธิพลส�ำคัญ ท�ำให้วัยรุ่นเล่นเกมจนกลายเป็นเด็กติดเกม (Supaket et al., 2008: 317-330; Tipwareerom, Paowattana & Lapwongwattana, 2013: 31-45) ดังนั้นผู้วิจัยจึง เห็นว่า มีประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษาว่าในขณะที่มี วัยรุน่ กลุม่ หนึง่ ติดเกมออนไลน์ แต่ทำ� ไมวัยรุน่ อีกกลุม่ หนึง่ ซึง่ เล่นเกมออนไลน์เหมือนกันนัน้ เล่นแล้วไม่เกิดผลเสียกับ ตนเองและบุคคลรอบข้างหรือแม้แต่กบั สังคม มีปจั จัยใดบ้าง ที่เกี่ยวข้องในการอธิบายและท�ำนายพฤติกรรมการเล่น เกมออนไลน์อย่างเหมาะสมของกลุม่ เด็กวัยรุน่ ทัว่ ไป ผูว้ จิ ยั จึงต้องการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเล่น เกมออนไลน์อย่างเหมาะสมโดยเฉพาะนักเรียนระดับชัน้ มัธยมศึกษาตอนต้น เพือ่ หาข้อเท็จจริงส�ำคัญเพือ่ ให้เห็น ความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ในภาพรวมที่แสดงถึง ความเชื่อมโยงเชิงเหตุและผลระหว่างตัวแปรได้อย่าง ครอบคลุมและชัดเจนต่อพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ อย่างเหมาะสมของเยาวชน โดยการศึกษาในงานวิจัยนี้ ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ตอ่ ผูท้ มี่ สี ว่ นเกีย่ วข้อง โดยการน�ำ ไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผน ควบคุม และส่งเสริม เยาวชนให้เล่นเกมออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้ ถล�ำลึกจนกลายเป็นเด็กติดเกมจนท�ำให้อาจส่งผลกระทบ ทางลบกับเยาวชน ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพือ่ ศึกษาความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของ ปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้องกับพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่าง เหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2. เพือ่ ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลพฤติกรรม การเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์
สมมติฐานของการวิจัย
1. โมเดลพฤติ ก รรมการเล่ น เกมออนไลน์ อ ย่ า ง เหมาะสมของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาตอนต้นสอดคล้อง กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. ตัวแปรจิตลักษณะเดิม (ลักษณะมุ่งอนาคตและ ควบคุมตน และสุขภาพจิต) มีอิทธิพลโดยตรงทางบวก ต่อพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม 3. ตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ (เจตคติต่อ พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม และ การรูเ้ ท่าทันเกมออนไลน์) มีอทิ ธิพลโดยตรงทางบวกต่อ พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม 4. ตั วแปรสถานการณ์ท างสัง คม (สัมพันธภาพ ในครอบครัว การควบคุมการเล่นเกมออนไลน์ในครอบครัว และอิทธิพลของเพือ่ นในการเล่นเกมออนไลน์) มีอทิ ธิพล โดยตรงทางบวกและมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านตัวแปรจิต ลักษณะตามสถานการณ์ตอ่ พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ อย่างเหมาะสม
กรอบแนวคิดในการวิจัย
จากการศึกษาทบทวนเอกสารและวรรณกรรมที่ เกีย่ วข้องกับการศึกษาปัจจัยเชิงเหตุของพฤติกรรมการเล่น เกมออนไลน์อย่างเหมาะสม ผู้วิจัยได้น�ำแนวคิดทฤษฎี ปฏิสมั พันธ์นยิ ม (Interactionism model) (Magnusson
197
& Endler, 1977: 18-21; Bhanthumnavin, 2009) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่กล่าวว่า พฤติกรรมใดๆ ของมนุษย์ย่อม เกิ ด จากสาเหตุ ห ลายด้ า นทั้ ง สถานการณ์ ภ ายนอก จิตลักษณะเดิมที่ติดตัวบุคคลมา และจิตลักษณะตาม สถานการณ์ร่วมกัน ซึ่งเป็นการวิเคราะห์พฤติกรรม ที่มุ่งศึกษาสาเหตุของพฤติกรรม ที่มีความสอดคล้องกับ การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์มาเป็นกรอบในการศึกษา วิจัย ประกอบกับผู้วิจัยได้น�ำทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม (Bhanthumnavin, 1995: 2-3; Bhanthumnavin, 2000: 2-3) มาร่วมในการอธิบายพฤติกรรมการเล่นเกม ออนไลน์อย่างเหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น เนื่องจากเป็นกรอบแนวคิดแบบสหวิทยาการ ในปัจจัยเชิงสาเหตุสำ� คัญแบบบูรณาการ และเป็นทฤษฎี ทางจิตวิทยาสังคมที่ได้รับการยอมรับและใช้กันอย่าง กว้างขวางในการท�ำความเข้าใจและท�ำนายพฤติกรรม ของบุคคล และน�ำมาประยุกต์ใช้ในพฤติกรรมต่างๆ ที่ หลากหลาย ซึง่ สอดคล้องกับการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ ตามแนวพฤติกรรมศาสตร์ ส�ำหรับงานวิจยั ในอดีตเกีย่ วกับ พฤติกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับการเล่นเกมออนไลน์ทใี่ ช้แนวคิด ทฤษฎีขา้ งต้นนัน้ ได้มกี ารศึกษาเกีย่ วกับปัจจัยเชิงสาเหตุ ด้านสถานการณ์ทางสังคม และการมีภมู คิ มุ้ กันทางจิตที่ เกีย่ วข้องกับพฤติกรรมการใช้อนิ เทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์ และปลอดภัยของนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาใน โรงเรียนทีเ่ ข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้ อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย (Sareerasart, 2011) ดังนั้นจากแนวคิดและหลักการรวมถึงงานวิจัย ดังกล่าวนั้น ตัวแปรที่น่าจะส่งผลต่อพฤติกรรมการเล่น เกมออนไลน์อย่างเหมาะสมของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษา ตอนต้น จากทฤษฎีดงั กล่าวข้างต้นผูว้ จิ ยั สามารถก�ำหนด โมเดลการวิจัยของเส้นทางการเล่นเกมออนไลน์อย่าง เหมาะสม ดังภาพที่ 1
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
198
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ภาพที่ 1 ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ท�ำให้ทราบเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และ ส่งผลต่อพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม 2. ผลการวิจัยสามารถน�ำไปใช้เป็นแนวทางในการ วางแผนและควบคุมเพื่อปรับพฤติกรรมการเล่นเกม ออนไลน์อย่างเหมาะสมในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ที่อยู่ในบริบทเดียวกันให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
วิธีดำ� เนินการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาของพฤติกรรมการเล่น เกมออนไลน์อย่างเหมาะสม เป็นนักเรียนที่ก�ำลังศึกษา ชัน้ มัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2560 โดยมีคณ ุ สมบัติ เบื้องต้นคือ ต้องเป็นนักเรียนที่เล่นเกมออนไลน์อย่าง เหมาะสม ซึง่ มีลกั ษณะของพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ โดยใช้เวลาการเล่นเกมออนไลน์เป็นเวลาไม่เกิน 3 ชัว่ โมง
ต่อวัน จ�ำนวนวันในการเล่นเกมออนไลน์ของนักเรียน ไม่เกิน 5 วัน ต่อ 1 สัปดาห์ และเกรดเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.5 ขึน้ ไป (Ministry of Public Health Department of Mental Health, Institute of Mental Health, Children and Teens, 2013; Pornnapadol et al., 2014: 3-14) ส�ำหรับวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้การสุ่ม ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) โดยขั้นแรกใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) สุ่มโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จากส�ำนักเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา มัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร เขตละ 2 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 4 โรงเรียน และโรงเรียนในเขต ปริมณฑลจากส�ำนักงานเขตพืน้ ที่ เขต 3 เขต 4 และเขต 6 เขตละ 1 โรงเรียน รวมทัง้ สิน้ 3 โรงเรียน จ�ำนวนโรงเรียน ทั้งหมดที่เป็นกลุ่มตัวอย่างรวม 7 โรงเรียน หลังจากนั้น โรงเรียนทีเ่ ป็นตัวแทนกลุม่ ตัวอย่างจะใช้การสุม่ เพือ่ เลือก
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ตัวแทนห้องเรียนของระดับชั้นปี ระดับชั้นปีละ 2 ห้อง ดังนัน้ โรงเรียนทีส่ มุ่ ได้จะมีประชากรตัวแทนเป็นห้องเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 อย่างละ 2 ห้อง รวมทั้งสิ้น 42 ห้องเรียน ห้องละประมาณ 20-30 คน จากนั้น ท�ำการเก็บข้อมูลจากนักเรียนทุกคนในห้องเรียนที่สุ่ม โดยจ�ำแนกตามโรงเรียนที่ตกอยู่ในกรอบตัวอย่างได้ จ�ำนวน 400 คน โดยใช้กฎอัตราส่วนระหว่างหน่วยตัวอย่าง ต่อจ�ำนวนตัวแปรสังเกต ควรจะเป็น 20 หน่วยตัวอย่าง ต่อ 1 ตัวแปรสังเกต (Linderman, Merenda & Gold, 1980; Weiss, 1972 cited in Wirathchai, 1999: 54) โดยตัวแปรในงานวิจัยนี้มีตัวแปรสังเกตจ�ำนวน 18 ตัว เครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบวัดตัวแปร เชิงสาเหตุและผลเกีย่ วกับพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ อย่างเหมาะสม จ�ำนวน 9 แบบวัด ซึ่งแบบวัดทุกชุดได้ ท�ำการวิเคราะห์เพื่อหาคุณภาพรายข้อ และหาคุณภาพ ของแบบวัดแต่ละชุด โดยตรวจสอบความเที่ยงตรงของ เนื้อหา (Content Validity) และค่าความสอดคล้อง ระหว่างข้อค�ำถามกับวัตถุประสงค์ (Item-Objective Congruency Index: IOC) ตั้งแต่ 0.80 ขึ้นไป โดย ผูท้ รงคุณวุฒจิ ำ� นวน 5 ท่าน จากนัน้ น�ำข้อเสนอแนะของ ผูท้ รงคุณวุฒไิ ปปรับปรุงแบบสอบถาม และน�ำไปทดลอง ใช้กับกลุ่มนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจ�ำนวน 100 คน และน�ำคะแนนทีไ่ ด้จากการทดลองใช้แบบวัดมาวิเคราะห์ หาคุณภาพรายข้อ (Item-Total Correlation) หรือค่า r โดยมีเกณฑ์ว่า ค่า r ควรมีค่ามากกว่า 0.20 ขึ้นไป และ ค่าความเชือ่ มัน่ (Reliability) หาด้วยค่าสัมประสิทธิแ์ อลฟา ของครอนบาค (Saiyot & Saiyot, 1985: 170-171) โดยค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยด�ำเนินการติดต่อขอความอนุเคราะห์จาก โรงเรียนเพื่อขอความร่วมมือในการขอใช้ชั่วโมงเรียน คาบกิจกรรมให้นกั เรียนมัธยมศึกษาตอนต้นทีไ่ ด้รบั เลือก เป็นกลุ่มตัวอย่าง ท�ำแบบสอบถามและแบบวัดต่างๆ
199
ในช่วงเวลาที่ก�ำหนดไว้ในระหว่างเดือนพฤศจิกายนธันวาคม 2560 การวิเคราะห์ข้อมูล ผูว้ จิ ยั ด�ำเนินการวิเคราะห์ขอ้ มูลทีเ่ ก็บรวบรวมมาได้ จากแบบสอบถาม จ�ำนวน 400 ชุด ด้วยการน�ำมา ประมวลผลซึ่งใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยผู้วิจัยได้ ท�ำการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ประมวลผลโดยใช้ โปรแกรมส�ำเร็จรูป โดยใช้สถิติที่น�ำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิตอิ นุมาน (Inferential Statistics) ด้วยการวิเคราะห์ อิทธิพลเชิงสาเหตุ (Path analysis) (Wirathchai, 1999) เพือ่ ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรสาเหตุทมี่ ี อิทธิพลต่อพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งใช้การวิเคราะห์ โมเดลด้วย AMOS (Analysis for Moment Structure) โดยการตรวจสอบโมเดลการวัดโดยการวิเคราะห์ปัจจัย เชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) และหลังจากนัน้ ท�ำการตรวจสอบโมเดลสมการโครงสร้าง โดยมีคา่ สถิตสิ ำ� คัญทีใ่ ช้ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืน ของโมเดลหรือรูปแบบ (Arbuckle, 2009 cited in Chuchom, 2014: 38) หากค่าสถิตทิ คี่ ำ� นวณได้ไม่เป็นไป ตามเกณฑ์ทกี่ ำ� หนดจ�ำเป็นต้องมีการปรับโมเดล โดยอาศัย เหตุผลเชิงทฤษฎีและค่าดัชนีปรับแต่งโมเดล (Model modification indices) จนกว่าจะได้โมเดลที่มีความ สอดคล้องกลมกลืนของโมเดลตามสมมติฐานกับข้อมูล เชิงประจักษ์
ผลการวิจัย
ผูว้ จิ ยั จะน�ำเสนอผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลตามสมมติฐาน ผลการวิเคราะห์แบบจ�ำลองโครงสร้างความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่าง เหมาะสม 1. โมเดลพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่าง เหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ส�ำหรับผลการวิจยั ครัง้ นีเ้ บือ้ งต้นพบว่า แบบจ�ำลอง ตามสมมติฐานยังไม่มคี วามกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
200
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ผูว้ จิ ยั ได้ดำ� เนินการปรับแก้แบบจ�ำลองโดยการพิจารณา ถึงความเป็นไปได้ทางทฤษฎีตลอดจนการอภิปรายผล ปรากฏผลการวิเคราะห์แบบจ�ำลองโครงสร้างความสัมพันธ์
เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่าง เหมาะสมดังภาพที่ 2 และตารางที่ 1
ภาพที่ 2 ผลการวิเคราะห์แบบจ�ำลองความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของ พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมของนักเรียน ตารางที่ 1 การวิเคราะห์ค่าสถิติจากการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุกับข้อมูลเชิง ประจักษ์ ค่าสถิติตรวจสอบ 1. χ2-Test χ2
เกณฑ์การพิจารณา p > 0.05
ค่าสถิติในโมเดล 0.34
<2
1.10
0.95 ≥ 0.95 ≥ 0.95 < 0.05 ≥ 200
0.99 0.97 1.00 0.02 581
2. df
3. GFI 4. AGFI 5. CFI 6. RMSEA 7. HOELTER (0.05)
≥
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
จากภาพที่ 2 และตารางที่ 1 การทดสอบ ความกลมกลืนของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม หลังจาก ปรับแก้แบบจ�ำลองแล้วพบว่า โมเดลมีความสอดคล้อง กลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยค่าสถิติที่ตรวจสอบ ข้างต้นทุกค่าเป็นไปตามเกณฑ์ 2. อิทธิพลสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเล่น เกมอย่างเหมาะสม
201
เมื่อได้โมเดลพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ อย่างเหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มี ความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์แล้ว ประมาณค่าขนาดอิทธิพลในแบบจ�ำลอง และแสดงค่า อิทธิพลทางตรง (DE) อิทธิพลทางอ้อม (IE) และอิทธิพล รวม (TE) ของตัวแปรสาเหตุทมี่ ผี ลต่อพฤติกรรมการเล่น เกมออนไลน์อย่างเหมาะสมได้ผลดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของตัวแปรสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรม การเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม ตัวแปรผล (R2) ONLINE (0.53) ATT (037) LIT (0.37)
อิทธิพล DE IE TE DE IE TE DE IE TE
ATT 0.38* 0.38*
ตัวแปรสาเหตุ LIT FU 0.31* 0.12* 0.43* 0.32* 0.32*
0.40* 0.61* 0.61*
*ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ
จากตารางที่ 2 พบว่า เจตคติตอ่ พฤติกรรมการเล่น เกมออนไลน์อย่างเหมาะสม (ATT) ลักษณะมุ่งอนาคต และควบคุมตน (FU) และการควบคุมการเล่นเกมออนไลน์ ในครอบครัว (CON) มีอทิ ธิพลทางตรงเชิงบวกต่อพฤติกรรม การเล่นเกมอย่างเหมาะสม (ONLINE) อย่างมีนยั ส�ำคัญ ที่ 0.05 โดยมีคา่ สัมประสิทธิอ์ ทิ ธิพลเท่ากับ 0.38, 0.31 และ 0.17 ตามล�ำดับ สอดคล้องกับสมมติฐานข้อที่ 2ข้อที่ 4 ของงานวิจัยเพียงบางส่วน นอกจากนี้ยังพบว่า
CON 0.17* 0.15* 0.32* 0.40*
0.05
การควบคุมการเล่นเกมออนไลน์โดยครอบครัว (CON) และลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตน (FU) มีอิทธิพล ทางอ้อมต่อพฤติกรรมการเล่นเกมอย่างเหมาะสม (ONLINE) โดยส่งอิทธิพลผ่านเจตคติตอ่ พฤติกรรมการเล่นเกมอย่าง เหมาะสม (ATT) อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.15 และ 0.12 ตามล�ำดับ และการควบคุมการเล่นเกมออนไลน์โดย ครอบครัว (CON) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการรู้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
202
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
เท่าทันเกมออนไลน์อย่างมีนัยส�ำคัญที่ 0.05 โดยมีค่า สัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.61 โดยมีความสอดคล้อง กับสมมติฐานข้อที่ 4 ของงานวิจัยเพียงบางส่วน
อภิปรายผล
จากผลการวิจยั ครัง้ นี้ โมเดลตามสมมติฐานทีป่ รับแล้ว มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ ตัวแปรสาเหตุทงั้ 4 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวน ของพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมของ นักเรียนได้รอ้ ยละ 53 ทีเ่ หลืออีกร้อยละ 47 เป็นอิทธิพล ของตัวแปรที่ไม่ถูกเลือกเข้ามาในโมเดล ถ้าสามารถน�ำ ตัวแปรอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้องเข้ามาวิเคราะห์ดว้ ยอาจท�ำให้โมเดล สามารถอธิบายพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่าง เหมาะสมของนักเรียนได้เพิม่ ขึน้ และจากตัวแปรทีผ่ วู้ จิ ยั เลือกมาศึกษาพบว่า เจตคติต่อพฤติกรรมการเล่นเกม ออนไลน์อย่างเหมาะสม ลักษณะมุง่ อนาคตและควบคุมตน และการควบคุมการเล่นเกมออนไลน์ในครอบครัวมีอทิ ธิพล ทางตรงทางบวกต่อพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่าง เหมาะสมของนักเรียน นอกจากนีล้ กั ษณะมุง่ อนาคตและ ควบคุมตนและการควบคุมการเล่นเกมออนไลน์มอี ทิ ธิพล ทางอ้อมทางบวกผ่านเจตคติต่อพฤติกรรมการเล่นเกม ออนไลน์อย่างเหมาะสมของนักเรียน ซึง่ สามารถอภิปราย ผลการศึกษาได้ดังนี้ 1. เจตคติตอ่ พฤติกรรมการเล่นเกมอย่างเหมาะสม มีอิทธิพลทางตรงทางบวกต่อพฤติกรรมการเล่นเกม อย่างเหมาะสมของนักเรียน นัน่ คือการทีบ่ คุ คลมีเจตคติ ต่อพฤติกรรมการเล่นเกมอย่างเหมาะสมสูงย่อมท�ำให้ เกิดพฤติกรรมการเล่นเกมอย่างเหมาะสมสูงตามไปด้วย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเจตคติเป็นบ่อเกิดแห่งพฤติกรรม และยังเป็นสิง่ ทีใ่ ช้ชวี้ ดั พฤติกรรมบุคคลได้เป็นอย่างดี ท�ำให้ เชือ่ ได้วา่ หากบุคคลมีเจตคติทดี่ ตี อ่ สิง่ ใดแล้วมักส่งผลให้ บุคคลนั้นมีแนวโน้มของพฤติกรรมไปในทิศทางที่ดีด้วย นอกจากนี้โดยส่วนใหญ่แล้ว ปัจจัยเชิงสาเหตุทางด้าน จิตลักษณะตามสถานการณ์มักมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม อย่างเด่นชัดกว่าตัวแปรทางจิตและตัวแปรสถานการณ์
ทัว่ ไป โดยเฉพาะเจตคติซงึ่ เป็นลักษณะทางจิตใจของบุคคล ทีม่ คี วามสอดคล้องในลักษณะพาดพิงกับพฤติกรรมของ บุคคลมากกว่าลักษณะทางจิตประเภทอืน่ ๆ (Pimthong, 2014) ส�ำหรับผลการศึกษาทีแ่ สดงว่าเจตคติตอ่ พฤติกรรม การเล่นเกมอย่างเหมาะสมซึ่งนับเป็นพฤติกรรมที่น่า ปรารถนาพบว่า มีความสอดคล้องกับผลการวิจยั ในอดีต ที่ศึกษาเกี่ยวกับเจตคติที่มีต่อพฤติกรรมที่น่าปรารถนา ซึ่งมักพบว่า มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและเป็นตัวท�ำนาย ที่ส�ำคัญล�ำดับต้นๆ ของพฤติกรรม (Vongpinpetch & Vasuwat, 2010; Sodmanee et al., 2010; Sareerasart, 2011; Bhanthumnavin, 2015) 2. ลั ก ษณะมุ ่ ง อนาคตและควบคุ ม ตนมี อิ ท ธิ พ ล ทางตรงทางบวกต่อพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่าง เหมาะสมและมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการเล่น เกมออนไลน์อย่างเหมาะสมของนักเรียน ผ่านเจตคติตอ่ พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมของนักเรียน ผลการวิจยั ในส่วนนีจ้ งึ แสดงให้เห็นว่า ยิง่ นักเรียนเป็นผูท้ มี่ ี ลักษณะมุง่ อนาคตควบคุมตนสูงเท่าใด ยิง่ ส่งผลให้นกั เรียน เป็นผูท้ มี่ เี จตคติทดี่ มี ากต่อพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ อย่างเหมาะสม และยิง่ ส่งผลให้เป็นผูท้ มี่ พี ฤติกรรมการเล่น เกมออนไลน์อย่างเหมาะสมมากขึน้ ในท้ายสุด นอกจากนี้ ผลวิจัยนี้มีความสอดคล้องใกล้เคียงกันกับผลงานวิจัย ทีพ่ บในอดีตทีม่ พี ฤติกรรมด้านบวกทีเ่ ป็นพฤติกรรมทีน่ า่ ปรารถนาเช่นเดียวกันกับพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ อย่างเหมาะสม ซึ่งในอดีตมักปรากฏว่า จิตลักษณะเดิม อันได้แก่ ลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตน มีความ เกีย่ วข้องกับจิตลักษณะตามสถานการณ์คอื เจตคติทดี่ ตี อ่ พฤติกรรมน่าปรารถนา เช่น การมีเจตคติทดี่ ตี อ่ พฤติกรรม เสี่ยงอย่างมีสติ (Bhanthumnavin, 2015) นอกจากนี้ สอดคล้องกับงานวิจยั ของ Virotvithayagan (2008: 149) พบว่า ลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตนของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้น มีอิทธิพลทางตรงไปยังพฤติกรรม การใช้เทคโนโลยี นัน่ แสดงให้เห็นว่า ความสามารถในการ คาดการณ์ไกล การเล็งเห็นความส�ำคัญของสิง่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต รวมทั้งการควบคุมตนเองเพื่อได้ประโยชน์ที่
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ยิ่งใหญ่กว่าหรือส�ำคัญกว่าที่จะมีมาในอนาคตนั้นส่งผล ต่อพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมของ นักเรียน 3. การควบคุมการเล่นเกมออนไลน์ในครอบครัว มีอิทธิพลทางตรงทางบวกต่อพฤติกรรมการเล่นเกม ออนไลน์ อ ย่ า งเหมาะสมและมี อิ ท ธิ พ ลทางอ้ อ มต่ อ พฤติ ก รรมการเล่ น เกมออนไลน์ อ ย่ า งเหมาะสมของ นักเรียน ผ่านเจตคติต่อพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ อย่างเหมาะสมของนักเรียน ผลการวิจยั ในส่วนนีจ้ งึ แสดง ให้เห็นว่า ยิ่งนักเรียนมีการควบคุมการเล่นเกมออนไลน์ จากครอบครัวสูงเท่าใด ยิ่งส่งผลให้นักเรียนเป็นผู้ที่มี เจตคติที่ดีมากต่อพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่าง เหมาะสม และยิ่งส่งผลให้เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมการเล่น เกมออนไลน์อย่างเหมาะสมมากขึ้นในท้ายสุด ทั้งนี้อาจ มีผลมาจากการที่บุคคลมีครอบครัวที่เข้ามามีบทบาท เกี่ยวข้องกับการรับสื่อของตนเองโดยจงใจไม่ว่าจะโดย วิธีใดวิธีหนึ่งย่อมท�ำให้บุคคลนั้นมีพฤติกรรมการรับสื่อ ได้อย่างเหมาะสม โดยผลการศึกษาทีแ่ สดงว่า การควบคุม การเล่นเกมออนไลน์ในครอบครัวมีอทิ ธิพลต่อพฤติกรรม เล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมของเด็ก ซึง่ การเล่นเกม ออนไลน์และการใช้อินเทอร์เน็ตนั้นถือเป็นสื่อมวลชน ประเภทหนึ่ง หากครอบครัวมีการควบคุมอิทธิพลจาก สื่อมวลชนอย่างเหมาะสม จะท�ำให้เยาวชนมีพฤติกรรม การเปิดรับสื่อมวลชนอย่างเหมาะสมเช่นกัน จึงพบว่า ผลการวิ จั ย นี้ มี ค วามสอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ในอดี ต ที่ ค้นพบว่า การควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตจากผู้ปกครอง มีอทิ ธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนให้เพือ่ นใช้อนิ เทอร์เน็ต อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย และมีอิทธิพลทางอ้อม ผ่านเจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่าง สร้างสรรค์และปลอดภัย (Sareerasart, 2011) รวมถึง งานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับครอบครัวมีอิทธิพลต่อการรับ สื่อมวลชนของเด็กและเยาวชนไทย (Intune, 2009)
ข้อเสนอแนะในการน�ำผลการวิจัยไปใช้
จากผลการวิจยั นีน้ บั ได้วา่ มีประโยชน์ตอ่ หน่วยงาน
203
ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงองค์กรพัฒนา ต่างๆ ที่ท�ำงานเกี่ยวข้องกับงานที่ส่งเสริมและพัฒนา พฤติกรรมที่พึงประสงค์โดยน�ำไปก�ำหนดแนวทาง และ นโยบายในการท�ำ งานเพื่ อ ท� ำ ให้ เ กิ ด การพั ฒ นาและ สนับสนุนให้เยาวชนเป็นผูม้ พี ฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ อย่างเหมาะสม เช่น เจตคติต่อพฤติกรรมการเล่นเกม ออนไลน์เหมาะสม เป็นปัจจัยส�ำคัญอันดับแรกทีส่ ง่ ผลต่อ พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษา ตอนต้น ดังนัน้ การพัฒนาและสร้างจิตลักษณะให้เยาวชน เล็งเห็นถึงความส�ำคัญของการมีพฤติกรรมเล่นเกมออนไลน์ อย่างเหมาะสมมีส่วนท�ำให้นักเรียนจะได้ใช้เป็นเกราะ ก�ำบังต่อการถล�ำลึกเข้าไปเล่นเกมมากจนกลายเป็นคน ติดเกมซึง่ ไม่เป็นผลดีทงั้ ต่อตนเอง ต่อผูค้ นรอบข้าง และ ต่อสังคม ดังนั้นจึงต้องหากลวิธีในการส่งเสริมให้มีการ พัฒนาให้นักเรียนเป็นผู้มีเจตคติต่อพฤติกรรมการเล่น เกมออนไลน์เหมาะสมมากยิง่ ขึน้ โดยท�ำให้นกั เรียนเห็น ประโยชน์ของการเล่นเกมออนไลน์อย่างเป็นประโยชน์ รวมทั้งความรู้สึกพอใจ ชอบใจ ในการเล่นเกมออนไลน์ ความพร้อมทีจ่ ะเล่นเกมออนไลน์อย่างถูกต้องเหมาะสม ดังนั้นการส่งเสริมนักเรียนให้มีเจตคติที่ดีต่อพฤติกรรม การเล่นเกมออนไลน์เหมาะสมแล้วย่อมส่งผลให้อยากมี พฤติกรรมเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมยิง่ ๆ ขึน้ ไป ท�ำให้ เกิดผลกระทบทางบวกต่อตนเอง ครอบครัว คนรอบข้าง สังคม และประเทศชาติตอ่ ไป กอปรกับหากได้มกี ารส่งเสริม ให้มีการพัฒนาให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีการมุ่งอนาคตและ ควบคุมตนควบคู่กันไปด้วยแล้วจะยิ่งท�ำให้เยาวชนมี พฤติกรรมเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมมากยิง่ ๆ ขึน้ ไป ดังนัน้ การส่งเสริมให้มกี ารจัดกิจกรรมหรือจัดการอบรม ทีเ่ กีย่ วข้องกับความสามารถในการคาดการณ์ไกล เล็งเห็น ความส�ำคัญของสิง่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต รวมทัง้ ส่งเสริม การควบคุมตนเองของนักเรียนให้มพี ฤติกรรมในการเล่น เกมออนไลน์ทเี่ หมาะสมกับสภาพการณ์ เพือ่ ได้ประโยชน์ ที่ยิ่งใหญ่กว่า หรือส�ำคัญกว่าที่จะมีมาในอนาคต แทน การเล่นเกมออนไลน์ที่มากเกินไปจนอาจเกิดผลร้ายกับ ตนเองทั้งทางการเรียนและการเข้าสังคม โดยการท�ำให้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
204
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
นักเรียนเห็นโทษของการเล่นเกมออนไลน์อย่างไม่เหมาะสม ซึง่ เป็นโทษกับนักเรียน เช่น การใช้เวลาเล่นเกมออนไลน์ นานเกินไปเป็นการบัน่ ทอนสุขภาพร่างกาย อีกทัง้ ยังส่งผล ถึงผลสัมฤทธิท์ างการเรียน เป็นต้น ซึง่ จากการทีน่ กั เรียน ตระหนักถึงคุณและโทษของการเล่นเกมออนไลน์แล้วนัน้ นักเรียนจะสามารถหลีกเลี่ยงการเล่นเกมออนไลน์นาน เกินไป พร้อมที่จะเล่นในเวลาที่ก�ำหนด หรืองดการเล่น เกมออนไลน์ในวันหยุดและหันไปท�ำกิจกรรมอืน่ ๆ แทน ก่อให้เกิดความพอดีในชีวิต ส่งผลให้นักเรียนมีสุขภาพ ทีด่ ี การเรียนไม่ตกต�ำ่ สุขภาพจิตดี ไม่สร้างปัญหาให้กบั ครอบครัวและสังคมรอบข้าง
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. การวิจยั ครัง้ นีส้ ามารถน�ำไปใช้เป็นพืน้ ฐานในการ สร้างชุดฝึกอบรมทางจิตลักษณะที่ส�ำคัญให้กับนักเรียน เพื่อพัฒนาให้เกิดพฤติกรรมการเล่นเกมอย่างเหมาะสม
โดยท�ำการวิจัยเชิงทดลองเพื่อประเมินผลชุดฝึกอบรม 2. การวิจยั ครัง้ นีศ้ กึ ษาเฉพาะนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษา ตอนต้น ซึ่งอยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนต้น ตอนกลาง ผู้วิจัยจึง ขอเสนอแนะให้มกี ารศึกษาเพิม่ ในกลุม่ นักเรียนมัธยมศึกษา ตอนปลาย เพื่อเป็นการเปรียบเทียบของแต่ละช่วงวัย นอกจากนี้สามารถท�ำการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรม การเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมระหว่างนักเรียนเขต กรุงเทพมหานคร กับนักเรียนในต่างจังหวัดว่ามีพฤติกรรม การเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมแตกต่างกันหรือไม่ 3. ตัวแปรทีผ่ วู้ จิ ยั น�ำมาศึกษาในครัง้ นีส้ ามารถอธิบาย ความแปรปรวนของนักเรียนได้เพียงร้อยละ 53 ทีเ่ หลือ เป็นตัวแปรอืน่ ทีไ่ ม่ได้นำ� มาศึกษาในโมเดลการวิจยั ครัง้ นี้ ดังนัน้ ผูว้ จิ ยั จึงเสนอให้มกี ารศึกษาตัวแปรอืน่ ๆ โดยอาศัย ผลการวิจยั ต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องเป็นแนวทางในการก�ำหนด ตัวแปรในโมเดลการวิจยั เช่น แรงจูงใจใฝ่สมั ฤทธิ์ ความเชือ่ อ�ำนาจในตนในการกระท�ำพฤติกรรม เป็นต้น
References
Arbuckle, J. L. (2009). AMOS 22.0 User’s Guide. Chicago, IL: SPSS. Bhanthumnavin, D. (1995). Tree theory, ethics and individual development. Bangkok: Promotion Academic Documents National Institute of Development Administration. [in Thai] Bhanthumnavin, D. (2000). Ethical tree theory: research and development (2nd ed.). Chulalongkorn University Printing. [in Thai] Bhanthumnavin, D. (2009). Principles and methods of document processing for excellence in behavioral research (2nd ed.). Bangkok: AA Public Company. [in Thai] Bhanthumnavin, D. (2015). Antecedents of Mindful Risk-Taking Behavior in Secondary School Students: A Path Analysis Approach. Journal of Behavioral Science, 21(1), 75-94. [in Thai] Biggins, O. (2009). Building Up the Virtual Community in Online Games and “Onlineaholics” Behaviour of Adolescents in Bangkok Metropolitan. Journal of the Internet, 23(70), 7-21. [in Thai] Chuchom, O. (2014). Model of causal relationship and effect of teacher commitment. Research Report. Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University. [in Thai] Chula Weekly. (2010). Explore the issue of children addicted to online games in Bangkok, almost 30% into the drugs adversely affect learning and health. The Journal of Chula Weekly, 53(35), 6. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
205
Intune, S. (2009). Psychosocial factors and effects on stress management of reading behavior in adolescent students. M.Sc. (Applied Research Applied Psychology), Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University. [in Thai] Linderman, R. H., Merenda, P. F. & Gold, R, Z. (1980). Introduction to Bivariate and Multivariate Analysis. Glenview, Illinois: Scott, Foresman and Company. Magnusson, D. & Endler, N. S. (1977). Personality at the Crossroad: Current Issues in Interactionism Psychology. New Jersey: LEA Publisher. Ministry of Public Health Department of Mental Health, Institute of Mental Health, Children and Teens. (2013). Chart showing percentage of children Game in Thailand. Retrieved November 25, 2017, from http://www.icamtalk.com [in Thai] Pimthong, S. (2014). A Cross-Cultural Study of Psychosocial Factors Correlated with Sufficient Consumption Behavior of Students in Thailand and Malaysia. Research Report. Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University. [in Thai] Pornnapadol, C., Sornpaisarn, B., Kamkliang, K. & Pattana-amorn, S. (2014). The Development of Game Addiction Screening Test (GAST). J Psychiatr Assoc Thailand, 59(1), 3-14. [in Thai] Ramasut, P. (2009). Immunization of online games for Thai youth. Bangkok: National Research Council of Thailand. [in Thai] Saiyot, L. & Saiyot, A. (1985). Principles of educational research. Bangkok: Suksaporn. [in Thai] Sareerasart, W. (2011). The relationship among social situation and psychological immunity to internet Behavior focusing on safety and usefulness of female students in high schools with and without internet safety project. Master of Science Degree in Applied Behavioral Science Research, Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University. [in Thai] Sennan, T. (2006). Behavior and impact of the game online addiction: case study of student. Thesis, Master of Arts Program in Journalism, Chulalongkorn University. [in Thai] Sodmanee, A., Yoelao, D., Ginyi, P., Thanachanon, S. & Kateum, P. (2010). Integrative Factors Related to the Ethical Behavior of Community Leaders in the Central Region: Phase. Research Report. Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University. [in Thai] Supaket, P., Munsawaengsub, C., Nanthamongkolchai, S. & Apinuntavetch, S. (2008). Factors Affecting Computer Game Addiction and Mental Health of Male Adolescents in Mueang District, Si Sa Ket Province. Journal of Public Health, 38(3), 317-330. [in Thai] Tipwareerom, W., Paowattana, A. & Lapwongwattana, P. (2013). Factors Predicting Sexual Risk Behaviors of Adolescent Boys in Phitsanulok Province. Journal of Public Health Nursing, 27(1), 31-45. [in Thai]
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
206
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Virotvithayagan, C. (2008). Antecedents and Consequences of Sufficient Behavior of Junior Secondary Students in schools with Sufficiencecy Economy Project. Thesis, Master of Arts (Social Development), National Institute of Development Administration. [in Thai] Vongpinpetch, V. & Vasuwat, C. (2010). The development of the causal relationship model. Of behavior Environmental conservation affecting quality of life of undergraduate students. Chiangmai Province. Research Report No. 237. Chiang Mai: Payap University. [in Thai] Weiss. (1972). Canonical correlation analysis in counseling psychology. Journal of Counseling Psychology, 19, 241-252. Wirathchai, N. (1994). Linear Structural Analysis (Lisrel): Analytical Statistics for Social Research and Behavioral Science. Bangkok: Chulalongkorn University Publisher. [in Thai] Wirathchai, N. (1999). Linear Structural Analysis (Lisrel): Analytical Statistics for Social Research and Behavioral Science. Bangkok: Chulalongkorn University Publisher. [in Thai] Young, K. S. (2004). Internet Addiction: A new Clinical Phenomenon and Its Consequences. The American Behavior Scientist, 48(4), 402-416.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
207
Name and Surname: Tanyavanun Lianyang Highest Education: Ph.D. Research in Applied Behavioral Science (emphasis Research), Srinakharinwirot University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Applied Behavioral Science Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120 Name and Surname: Saran Pimthong Highest Education: Ph.D., major in Social Development and Environmental Management, National Institute of Development Administration University or Agency: Behavioral Sciences Research Institute, Srinakharinwirot University Field of Expertise: Applied Behavioral Science Address: 114 Sukumvit 23, Wattana, Bangkok 10110 Name and Surname: Narisara Peungposo Highest Education: Ph.D., major in Demography, Chulalongkorn University University or Agency: Behavioral Sciences Research Institute, Srinakharinwirot University Field of Expertise: Applied Behavioral Science Address: 114 Sukumvit 23, Wattana, Bangkok 10110
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
208
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
รูปแบบการเรียนแบบดิจิทัลโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 DIGITAL LEARNING MODEL BY PROBLEM-BASED LEARNING IN THAILAND AGE 4.0 ศันสนีย์ เลี้ยงพานิชย์ Sunsanee Liangpanit คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา Faculty of Science and Technology, Nakhon Ratchasima Rajabhat University
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนแบบดิจิทัลโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ในยุค ไทยแลนด์ 4.0 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรูแ้ บบดิจทิ ลั โดยใช้ปญ ั หาเป็นฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 3) ศึกษาพฤติกรรม การใช้เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั สนับสนุนการเรียนรูใ้ นยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยมีกลุม่ ตัวอย่างคือ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการบริหารโครงการ ซอฟต์แวร์ จ�ำนวน 39 คน การวิเคราะห์ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนแบบดิจิทัลโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 ประกอบด้วย ขัน้ ตอนคือ การจัดกลุม่ ผูเ้ รียน การศึกษาโจทย์ปญ ั หา การระบุปญ ั หา การวิเคราะห์ปญ ั หา การตัง้ สมมติฐาน การก�ำหนด ประเด็นการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้า และการสังเคราะห์เพื่อสรุปองค์ความรู้ในแต่ละขั้นตอนได้เลือกใช้เทคโนโลยี ดิจิทัลเข้ามาช่วย เช่น Moodle, Google document, Social media เป็นต้น 2) ผลการจัดการเรียนรู้แบบดิจิทัล โดยใช้ปญ ั หาเป็นฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 2.1) ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของกลุม่ ตัวอย่างหลังเรียน ด้วยรูปแบบการเรียนแบบดิจทิ ลั โดยใช้ปญ ั หาเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .05 2.2) ความ พึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก 3) พฤติกรรมและความต้องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สนับสนุนการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 มี 5 ด้าน คือ 3.1) ด้านการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลพบว่า เรียนรู้จาก การค้นหาข้อมูลด้วย Search engine มีคา่ เฉลีย่ มากทีส่ ดุ คือ 4.49 3.2) ด้านเครือ่ งมือสนับสนุนการเรียนรูพ้ บว่า การใช้ ระบบ LMS/CMS มีคา่ เฉลีย่ มากทีส่ ดุ คือ 3.42 3.3) ด้านรูปแบบข้อมูลทีน่ ยิ มใช้ในการเรียนรูพ้ บว่า ไฟล์ประเภท PDF มีคา่ เฉลีย่ มากทีส่ ดุ คือ 4.59 3.4) ด้านประเภทของเว็บไซต์ทเี่ ข้าไปเรียนรูพ้ บว่า เว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐมีคา่ เฉลีย่ มากที่สุดคือ 4.67 และ 3.5) ด้านอุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์ที่นิยมใช้พบว่า โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ 4.74 ค�ำส�ำคัญ: การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ไทยแลนด์ 4.0 เทคโนโลยีดิจิทัล
Corresponding Author E-mail: sunsaneel@hotmail.com
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
209
Abstract
The purposes of this research were to 1) develop a digital learning model of problem-based learning (PBL) in Thailand age 4.0.; 2) study the result of digital learning on problem-based learning; 3) study the behavior of using digital technology to support learning in Thailand age 4.0. The sampling group was 39 students majoring in Information Technology enrolled in the software project management course. The data of this study were analyzed by using mean, standard deviation and t-test. The results of the research were as follows: 1) the digital learning model by PBL has 8 stages: grouping, problem study, problem identification, problem analysis, hypothesis, problem determination. Learn, study, and synthesize to summarize knowledge. Each step has the use of digital technology such as Moodle, Google document, Social media etc.; 2) the results of digital learning management using PBL were divided into 2 parts as follows: 2.1) Learning achievement of the sampling group after using the PBL method was higher than before use with statistical significance at the .05 level.; 2.2) The sampling group was satisfied learning by PBL method in the high level. 3) Behavior and demand for digital technology support learning in Thailand 4.0. There are 5 aspects: 3.1) the learning by using digital technology found that learning from Search engine with the most average. 4.49 3.2) learning tools found that using LMS/CMS was the most mean of 3.42. 3.3) the most popular data format used in learning was the PDF file type. The most average is 4.59 3.4) for the types of websites to learn that the government agencies. The average is 4.67 and 3.5) the most popular device or hardware is the mobile phone/tablet. The average was 4.74. Keywords: Problem-based Learning, Thailand 4.0, Digital Technology
บทน�ำ
การจัดการเรียนรูใ้ นยุคศตวรรษที่ 21 เน้นให้ผเู้ รียน มีพฒ ั นาการ สามารถแสวงหาความรูด้ ว้ ยตัวเอง เน้นการ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากทรัพยากรการเรียนรู้ ต่างๆ โดยผู้เรียนจะสามารถใช้ความรู้ไปบูรณาการกับ ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี และทักษะชีวิตและอาชีพ (Panich, 2014) จากอดีตถึงปัจจุบันมีทฤษฎีการเรียนรู้เกิดขึ้น หลายทฤษฎี หนึ่งในทฤษฎีการเรียนรู้ที่ได้รับความนิยม และสอดคล้องกับยุคศตวรรษที่ 21 คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ แบบสร้างสรรค์นยิ ม (Constructivist Learning Theory) ทีเ่ ชือ่ ว่า การเรียนรูจ้ ะเกิดขึน้ เมือ่ ผูเ้ รียนได้สร้างองค์ความรู้
ด้วยตนเองผสมผสานจากความรู้เดิมและความรู้ใหม่ ที่รับเข้ามา (Makmee, 2011) จากทฤษฎีการเรียนรู้นี้ ท�ำให้เกิดรูปแบบการจัดการเรียนรูท้ เี่ น้นให้ผเู้ รียนมีสว่ นร่วม ในการเรียนมากขึ้นกว่ารูปแบบการเรียนรู้ในยุคก่อน เช่น รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบการเรียนรู้ แบบช่วยเหลือกัน รูปแบบการเรียนรู้โดยค้นคว้าอิสระ รวมถึงรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ซึ่งเป็น รูปแบบการเรียนรู้ที่น่าสนใจจะเห็นได้จากมีงานวิจัย ทีเ่ กีย่ วข้องเป็นจ�ำนวนมาก การจัดการเรียนรูโ้ ดยใช้ปญ ั หา เป็นฐาน เป็นการใช้ปัญหาเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ โดยผูส้ อนต้องเตรียมโจทย์ปญ ั หาให้ผเู้ รียนได้ลงมือปฏิบตั ิ โดยศึกษาโจทย์ปญ ั หา ร่วมกันคิดวิเคราะห์ และหาความรู้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
210
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
เพิม่ เติม จากนัน้ ท�ำความเข้าใจเพือ่ ให้สามารถตอบโจทย์ ปัญหาและสรุปองค์ความรูจ้ ากโจทย์นนั้ ได้ ลักษณะส�ำคัญ ของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานคือ การให้ผู้เรียน เป็นจุดศูนย์กลางการเรียนรูอ้ ย่างแท้จริง มีการแบ่งกลุม่ ผู้เรียน ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นการเรียนรู้ ผู้สอนเป็น ผู ้ ค อยให้ ค�ำ แนะน� ำ ตั้ ง โจทย์ ป ั ญ หา และจั ด เตรี ย ม ทรัพยากรการเรียนรูห้ รือแนะน�ำแหล่งสืบค้น ผูเ้ รียนเป็น ผู้แก้ปัญหาด้วยตนเอง และการประเมินผลจะประเมิน จากสถานการณ์จริง และผลลัพธ์ที่เกิดจากการเรียนรู้ (Suwannoi, 2015) ผูเ้ รียนในปัจจุบนั มีความแตกต่างจากยุคก่อนเนือ่ งจาก สภาพแวดล้ อ มและเทคโนโลยี ที่ มี ก ารเปลี่ ย นแปลง ผูเ้ รียนในยุคปัจจุบนั มักใช้เวลาส่วนใหญ่อยูบ่ นเว็บ มือถือ สมาร์ทโฟน เน้นการสือ่ สารผ่านอินเทอร์เน็ต มักจะชอบ ท�ำอะไรเร็วๆ มีความอดทนต�่ำ สนใจที่จะคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหามากกว่าการท่องจ�ำ ชอบสื่อ ชอบศึกษาหา ข้อมูลในเรื่องที่สนใจด้วยตนเองผ่านเว็บ และมีความ สามารถในการใช้เทคโนโลยีดีกว่ายุคก่อน (Panichpan & Ruenwongsa, 2015) ดังนัน้ การจัดการเรียนการสอน ส�ำหรับผูเ้ รียนในยุคปัจจุบนั จ�ำเป็นต้องมีการเปลีย่ นแปลง โดยมีการน�ำเครื่องมือหรือเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจ อยากเรียน ในขณะที่ครู หรือผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ให้ค�ำแนะน�ำ และ ต้องมีประสบการณ์การเรียนรูใ้ หม่ๆ รวมทัง้ การใช้เครือ่ งมือ หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมพร้อมที่จะให้ค�ำแนะน�ำกับ ผูเ้ รียน สอดคล้องกับปัจจุบนั เป็นยุคไทยแลนด์ 4.0 รัฐบาล ได้กำ� หนดทิศทางการพัฒนา หนึง่ ในวาระการพัฒนาคือ การเตรียมคนไทย 4.0 ให้พร้อมก้าวสู่โลกที่ 1 มีวาระ การขับเคลือ่ นทีส่ ำ� คัญคือ การปฏิรปู การศึกษา โดยต้อง น�ำไปสูก่ ารปรับเปลีย่ นใน 3 เรือ่ ง คือ 1) การปรับเปลีย่ น เป้าหมายและระบบการบริหารจัดการการเรียนรูท้ งั้ ระบบ 2) การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และทักษะครู และ 3) การปรับเปลี่ยนหลักสูตรและรูปแบบการสอน เน้น การสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสอื่ ดิจทิ ลั และปรับ วิธีการ เพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้และปรับตัวผู้เรียน
ให้สามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต (Strategy and Planning Division, 2016) ปัจจุบันสถาบันการศึกษา มีการปรับหลักสูตร ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน รวมถึงการสร้างและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีที่มีความ เหมาะสมตามยุคสมัย เพื่อเป็นการพัฒนานักศึกษาให้มี คุณลักษณะตามที่ตั้งไว้ การเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มีรายวิชาการบริหาร โครงการซอฟต์แวร์ที่นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียน ในรายวิชาดังกล่าวจะมีเนื้อหาส่วนหนึ่งที่กล่าวถึงคือ เรื่องการประมาณการขนาดของซอฟต์แวร์ด้วยวิธีการ นับจ�ำนวนฟังก์ชนั ซึง่ อยูใ่ นเนือ้ หาการประมาณการต้นทุน โครงการซอฟต์แวร์ จากการเรียนการสอนในเนือ้ หาเรือ่ ง การประมาณการขนาดของซอฟต์แวร์ด้วยวิธีการนับ จ�ำนวนฟังก์ชนั ทีผ่ า่ นมา พบว่า นักศึกษาขาดความเข้าใจ ในเนือ้ หาเนือ่ งจากการประมาณการขนาดของซอฟต์แวร์ ด้วยวิธีการนับจ�ำนวนฟังก์ชันมีหลายขั้นตอน มีตาราง การอ้างอิงเพือ่ การค�ำนวณหาผลลัพธ์หลายตาราง การคิด วิเคราะห์ของนักศึกษาเพื่อจ�ำแนกลักษณะฟังก์ชันของ ระบบงานยังไม่ดี เนือ่ งจากฟังก์ชนั ของระบบงานมีหลาย ประเภท นอกจากนี้นักศึกษายังขาดทักษะการค�ำนวณ และขาดความรู้พื้นฐานในเรื่องที่เรียนมาแล้ว เนื่องจาก จ�ำไม่ได้ ท�ำให้ไม่สามารถน�ำมาช่วยในการวิเคราะห์ได้ กล่าวคือ ไม่สามารถน�ำความรู้ในรายวิชาที่เรียนมาแล้ว มาช่วยในการวิเคราะห์ได้ เช่น การวิเคราะห์ระบบเพื่อ จ�ำแนกระบบย่อยและฟังก์ชันการท�ำงาน ดังนัน้ งานวิจยั นีไ้ ด้พฒ ั นารูปแบบการเรียนแบบดิจทิ ลั โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 เพื่อเป็นการ พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ ปัญหาด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ส่งผลให้เกิด การเรียนรู้ โดยสามารถค้นคว้า ท�ำความเข้าใจในเนือ้ หา โดยรูปแบบการจัดการเรียนรูน้ จี้ ะเน้นการน�ำสือ่ /เทคโนโลยี ดิจิทัลที่หลากหลายในปัจจุบันมาเป็นเครื่องมือในแต่ละ ขัน้ ตอนของการเรียนรู้ ซึง่ จะช่วยให้นกั ศึกษามีความสนใจ มีอสิ ระในการเรียนรูจ้ ากแหล่งเรียนรูต้ า่ งๆ ซึง่ จะช่วยให้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นได้ โดยผู้วิจัย ใช้รปู แบบการวิจยั เชิงทดลอง (Experimental research) ด�ำเนินการทดลองโดยใช้รูปแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน และหลังเรียน (One–group pretest–posttest design) มีการศึกษาถึงความพึงพอใจของนักศึกษาทีม่ ตี อ่ รูปแบบ การจัดการเรียนรูแ้ บบดิจทิ ลั โดยใช้ปญ ั หาเป็นฐานฯ และ นอกจากนีย้ งั ศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั สนับสนุนการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วย
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนแบบดิจิทัลโดยใช้ ปัญหาเป็นฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 2. เพือ่ ศึกษาผลการจัดการเรียนรูแ้ บบดิจทิ ลั โดยใช้ ปัญหาเป็นฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สนับสนุนการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0
ทบทวนวรรณกรรม
1. การจัดการเรียนรูโ้ ดยใช้ปญั หาเป็นฐาน (ProblemBased Learning: PBL) มีนักวิชาการได้กล่าวถึงหรือ ความหมายของ PBL ดังนี้ Barrow (2000) กล่าวว่า PBL เป็นการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ แสวงหา และรวบรวมความรูใ้ หม่ทสี่ ามารถน�ำไปใช้งานได้ โดยผู้เรียนไม่ต้องมีความรู้เรื่องนั้นมาก่อน Suwannoi (2015) กล่าวว่า PBL เป็นรูปแบบ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้ แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียน สร้างความรู้ใหม่จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลก เป็นบริบทของการเรียนรูเ้ พือ่ ให้ผเู้ รียนเกิดทักษะในการ คิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา นอกจากนี้ Makmee (2011) ยังกล่าวว่า PBL ท�ำให้ผเู้ รียนเกิดทักษะในการคิด วิเคราะห์ คิดแก้ปญ ั หา และคิดอย่างสร้างสรรค์ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน มากขึ้น สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่ง
211
ทรัพยากรเรียนรู้ ส่วนของผูส้ อนก็จะลดบทบาทของการ เป็นผู้ควบคุมลง จากหลักการของ PBL ที่เน้นการใช้ปัญหาเป็น จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการคิด วิเคราะห์และแก้ปญ ั หา ปัจจุบนั มีนกั วิชาการหลายท่าน ได้ท�ำการศึกษา การทดลองโดยใช้รูปแบบการจัดการ เรียนรูแ้ บบ PBL ซึง่ มีขนั้ ตอนหรือรูปแบบหลายรูปแบบ โดยผูว้ จิ ยั ได้ศกึ ษาและสรุปขัน้ ตอนการจัดการเรียนรูท้ จี่ ะ ใช้ในงานวิจัยนี้ (Suwannoi, 2015; Makmee, 2011; Lekakul, 2013) ดังนี้ 1) จัดกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย 2) กลุม่ ผูเ้ รียนศึกษาโจทย์ปญ ั หา ท�ำความเข้าใจ โจทย์ รวมทั้งค�ำศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) กลุ่มผู้เรียนช่วยกันระบุปัญหาในโจทย์ที่ให้ 4) กลุ่มผู้เรียนระดมสมอง วิเคราะห์แยกแยะ ปัญหาเป็นประเด็นต่างๆ แล้วน�ำมาอภิปรายหาสาเหตุ ที่มาของปัญหาโดยใช้ความรู้เดิม 5) กลุม่ ผูเ้ รียนร่วมกันอภิปรายและตัง้ สมมติฐาน เพือ่ ใช้แก้ปญ ั หานัน้ รวมทัง้ จัดล�ำดับของสมมติฐานโดยใช้ ความรู้เดิม 6) กลุ ่ ม ผู ้ เ รี ย นร่ ว มกั น ก� ำ หนดประเด็ น หรื อ วัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ จะประเมินว่าความรูส้ ว่ นใดรูแ้ ล้ว ส่วนใดต้องค้นคว้าเพิม่ 7) ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่างๆ 8) ผู้เรียนน�ำข้อมูลที่ค้นคว้ามาอภิปรายร่วมกัน วิเคราะห์ สังเคราะห์เพือ่ พิสจู น์สมมติฐาน และสรุปเป็น แนวคิดหรือองค์ความรู้ต่อไป 2. การศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 ไทยแลนด์ 4.0 เป็นโมเดลขับเคลือ่ นประเทศไทย สูค่ วามมัง่ คัง่ มัน่ คง และยัง่ ยืน เป็นการเปลีย่ นเศรษฐกิจ แบบเดิมไปสูเ่ ศรษฐกิจทีข่ บั เคลือ่ นด้วยนวัตกรรม จากการ ที่ประเทศไทยมีกลไกในการขับเคลื่อนประเทศชุดใหม่ ภายใต้ ไ ทยแลนด์ 4.0 โดยมี เ ป้ า หมายหลั ก 4 มิ ติ คือ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความอยู่ดีมีสุขทางสังคม
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
212
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
การยกระดับคุณค่ามนุษย์ และการรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยรัฐบาลได้ก�ำหนดทิศทางการพัฒนาเพื่อขับเคลื่อน ไทยแลนด์ 4.0 หนึ่งในวาระการพัฒนาคือ การเตรียม คนไทย 4.0 ให้พร้อมก้าวสู่โลกที่ 1 โดยคนไทยเป็น มนุษย์ทสี่ มบูรณ์ในศตวรรษที่ 21 ซึง่ มีวาระการขับเคลือ่ น ที่ส�ำคัญคือ การปฏิรูปการศึกษาเพื่อเตรียมคนไทยสู่ โลกที่ 1 โดยต้องน�ำไปสู่การปรับเปลี่ยนใน 3 เรื่อง คือ 1) การปรับเปลีย่ นเป้าหมายและระบบการบริหารจัดการ การเรียนรูท้ งั้ ระบบ 2) การปรับเปลีย่ นกระบวนทัศน์และ ทักษะครู และ 3) การปรับเปลีย่ นหลักสูตรและรูปแบบ การสอน เน้นการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสอื่ ดิจทิ ลั และปรับวิธีการ เพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้และปรับตัว ผู้เรียนให้สามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต (Strategy and Planning Division, 2016) การศึกษาในยุค 4.0 นอกจากจะส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้แล้ว ยังเน้นการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ (Untachai, 2016) สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ Panich (2011) ได้กล่าวไว้คือ สอนให้น้อย เรียนรู้ ให้มาก เรียนรูด้ ว้ ยตัวผูเ้ รียนโดยตรง เน้นร่วมมือมากกว่า การแข่งขัน และเน้นการเรียนรูเ้ ป็นทีมมากกว่ารายบุคคล ปัจจุบันมีนักวิชาการได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา ในยุค 4.0 ไว้หลายแนวคิด เช่น แนวคิดเชิงสร้างสรรค์ และผลิตภาพ แนวคิดการพัฒนาผูเ้ รียนให้เต็มศักยภาพ และสร้างนวัตกรรม แนวคิดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการ ปฏิรูปอุตสาหกรรมยุคที่ 4 (Sinlarat, 2016) อย่างไรก็ตามการศึกษาในปัจจุบนั เน้นการพัฒนา คนให้มสี มรรถนะ มีทกั ษะในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นทักษะ ในการคิดวิเคราะห์ ยังคงมีการปรับหลักสูตร ปรับรูปแบบ การจัดการเรียนการสอน รวมถึงการสร้างและเลือกใช้ สือ่ เทคโนโลยีทมี่ คี วามเหมาะสมตามยุคสมัย เพือ่ พัฒนา และให้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3. เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ประเทศไทยยุ ค เศรษฐกิ จ และสั ง คมดิ จิ ทั ล เน้นการน�ำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือส�ำคัญ ในการขับเคลือ่ นการพัฒนาประเทศ จะเห็นได้จากมีแผน
พัฒนาดิจทิ ลั เพือ่ เศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2559 หนึง่ ใน ยุทธศาสตร์ทเี่ กีย่ วข้องคือ พัฒนาก�ำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Ministry of Digital Economy and Society, 2016) ในส่วนของการศึกษา มีการตืน่ ตัว มีการประยุกต์ใช้และน�ำเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาช่วยในการจัดการเรียนรู้ เช่น การเรียนการสอน แบบออนไลน์ การสร้างและใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ รวมทัง้ การน�ำเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั มาประยุกต์ใช้ในการบริหาร จัดการเรียนรู้ ซึ่งเทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลในปัจจุบันได้ พัฒนา มีระบบและเครื่องมือที่สามารถเลือกใช้งานได้ ตามความเหมาะสมและความต้องการ ยกตัวอย่างดังนี้ ระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ หรือระบบ อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) Laohajaratsang (2002) ได้ กล่าวถึงความหมายของระบบอีเลิรน์ นิง่ เป็น 2 ลักษณะ คือ ความหมายโดยทัว่ ไป หมายถึง การเรียนในลักษณะใด ก็ไดทใี่ ช้การถ่ายทอดเนือ้ หาผ่านทางอุปกรณอเิ ล็กทรอนิกส์ ซึง่ เนือ้ หาสารสนเทศอาจอยูใ นรูปแบบคอมพิวเตอร์ชว่ ยสอน (Computer-Assisted Instruction: CAI) การสอน บนเว็บ (Web-Based Instruction) การเรียนออนไลน (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรืออาจอยูในลักษณะอื่นๆ เช่น การประชุมวีดิทัศน (Videoconference) หรือการเรียนจากวีดิทัศนตาม อัธยาศัย (Video On-Demand) และให้ความหมาย เฉพาะเจาะจงว่าหมายถึง การเรียนเนือ้ หาหรือสารสนเทศ ส�ำหรับการสอนหรือการอบรม ซึ่งใช้การน�ำเสนอด้วย ตัวอักษร ภาพนิง่ ผสมกับการใช้ภาพเคลือ่ นไหว วีดทิ ศั น์ และเสียง โดยอาศัยเทคโนโลยีเว็บในการถ่ายทอดเนือ้ หา รวมทัง้ ใช้เทคโนโลยีการจัดหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนต่างๆ สื่อดิจิทัล (Digital media) เป็นสื่อกลางในการ ถ่ายทอดข้อมูลจากผู้ส่งสารไปผู้รับสาร โดยส่วนใหญ่ มักหมายถึง สือ่ อิเล็กทรอนิกส์ทที่ ำ� งานโดยใช้รหัสดิจทิ ลั โดยมีทั้งสื่อแบบออฟไลน์ (Offline) และแบบออนไลน์ (Online) เช่น ซีด/ี ดีวดี เี พลงหรือภาพยนตร์ สือ่ คอมพิวเตอร์ ช่วยสอน (CAI) บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บ (Web base
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
instruction: WBI) อีบกุ๊ (e-book) เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-document) และสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook) ไลน์ (Line) ยูทูป (Youtube) ทวิตเตอร์ (Twitter) เป็นต้น สือ่ ต่างๆ เหล่านีถ้ กู น�ำมาใช้ประโยชน์ ในด้านต่างๆ มากขึน้ เช่น เพือ่ การประชาสัมพันธ์ขอ้ มูล การท�ำการตลาด รวมทั้งสื่อเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการ เรียนรู้ ซึง่ มีจำ� นวนเพิม่ มากขึน้ เนือ่ งจากมีชอ่ งทางในการ เข้าถึงข้อมูลมากขึ้นและง่ายขึ้น เช่น สามารถค้นหา ความรู้จากสื่อต่างๆ ที่สามารถแสดงผลลัพธ์ผ่านทาง เว็บบราวเซอร์ (Web browser) บนระบบอินเทอร์เน็ต การเข้าถึงผ่านทางคอมพิวเตอร์ โน้ตบุก๊ แท็บเล็ต มือถือ หรืออุปกรณ์พกพาอื่นๆ
วิธีการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา ทีล่ งทะเบียนเรียนจ�ำนวน 39 คน ในรายวิชา การบริหารโครงการซอฟต์แวร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะ เจาะจง (Purposive Sampling) 2. ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น คือ รูปแบบการเรียนแบบดิจทิ ลั โดยใช้ ปัญหาเป็นฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 ตัวแปรตาม คือ ผลการจัดการเรียนรูแ้ บบดิจทิ ลั โดยใช้ปญ ั หาเป็นฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 และพฤติกรรม การใช้เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั สนับสนุนการเรียนรูใ้ นยุคไทยแลนด์ 4.0 3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลเพือ่ วิเคราะห์การจัด การเรียนรู้ ในการด�ำเนินการทดลองผู้วิจัยใช้รูปแบบ การวิจยั เชิงทดลอง ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุม่ เดียว
213
ทดสอบก่อนและหลัง โดยด�ำเนินการทดลองกับกลุ่ม ตัวอย่างตามขั้นตอนรายละเอียดดังนี้ 3.1.1 จัดเตรียมกลุ่มตัวอย่างเพื่อเข้ารับ การทดลอง โดยการทดลองนี้ใช้เวลาทั้งหมด 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 คาบ คาบละ 50 นาที 3.1.2 ด�ำเนินการประเมินผลการเรียนรู้ ก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จ�ำนวน 20 ข้อ ให้เวลา 1 ชั่วโมง 3.1.3 ผู้สอนเตรียมโจทย์ปัญหา เตรียม ทรัพยากรการเรียนรู้ เตรียมสภาพแวดล้อมหรือห้องเรียน ให้เหมาะกับกิจกรรมการเรียนรู้ 3.1.4 ด�ำเนินการจัดการเรียนรูโ้ ดยใช้ปญ ั หา เป็นฐานกับกลุม่ ตัวอย่างตามแผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ 1) ผู ้ ส อนแนะน� ำ เนื้ อ หาเรื่ อ งการ ประมาณการขนาดของซอฟต์แวร์ดว้ ยวิธกี ารนับจ�ำนวน ฟังก์ชัน และวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) ผู้สอนแบ่งกลุ่มตัวอย่าง 5 กลุ่ม กลุม่ ละ 7-8 คน และให้สมาชิกในกลุม่ เลือกประธานกลุม่ และเลขานุการกลุ่ม 3) ผูส้ อนแจกโจทย์ปญั หาให้แต่ละกลุม่ ท�ำความเข้าใจโจทย์รวมทัง้ ค�ำศัพท์เฉพาะต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง 4) สมาชิกในกลุม่ ร่วมกันระบุปญ ั หา คิดวิเคราะห์ แตกประเด็นปัญหา หาสาเหตุวธิ กี ารแก้ไข ปัญหาโดยตัง้ สมมติฐาน จัดล�ำดับสมมติฐานและก�ำหนด จุดประสงค์เพื่อตรวจสอบสมมติฐาน 5) สมาชิกในกลุม่ ค้นคว้าเพิม่ เติมจาก แหล่งทรัพยากรการเรียนรูต้ า่ งๆ ทัง้ ทีผ่ สู้ อนจัดเตรียมให้ และค้นคว้าอิสระ 6) สมาชิกในกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อสรุปค�ำตอบส�ำหรับปัญหา 7) น�ำเสนอ และอภิปรายร่วมกัน 8) สรุปองค์ความรู้ 3.1.5 ด�ำเนินการประเมินผลการเรียนรู้ หลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ฉบับเดิม แล้วบันทึกเป็นคะแนนหลังเรียน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
214
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
3.2 การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาความพึง พอใจของกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยด�ำเนินการเก็บรวบรวม ข้อมูลเพือ่ ศึกษาความพึงพอใจของกลุม่ ตัวอย่างหลังจาก เสร็จสิน้ กระบวนการจัดการเรียนรูแ้ ละการท�ำแบบทดสอบ หลังเรียน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม ความพึงพอใจจากรูปแบบการจัดการเรียนรูโ้ ดยใช้ปญ ั หา เป็นฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูลเพือ่ ศึกษาพฤติกรรม การใช้เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ในการค้นคว้าหาความรู้ โดยผูว้ จิ ยั เก็บข้อมูลจากการสังเกตการท�ำกิจกรรมในแต่ละกลุ่ม และแบบสอบถามการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุน การเรียนรู้ของนักศึกษาแต่ละคน 4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4.1 แผนการจัดการเรียนรูโ้ ดยใช้ปญ ั หาเป็นฐาน ผูว้ จิ ยั ใช้เนือ้ หาเรือ่ งการประมาณการขนาดของซอฟต์แวร์ ด้วยวิธีการนับจ�ำนวนฟังก์ชัน ในรายวิชาการบริหาร โครงการซอฟต์แวร์ ก�ำหนดระยะเวลาในการท�ำกิจกรรม 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 คาบ คาบละ 50 นาที การสร้าง แผนการจัดการเรียนรู้เริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหาของ ผู้เรียนจากการเรียนเรื่องการประมาณการขนาดของ ซอฟต์แวร์ด้วยวิธีการนับจ�ำนวนฟังก์ชัน จากนั้นศึกษา เนื้อหาและรายละเอียดของเนื้อหาเพื่อแบ่งหัวข้อย่อย ตั้งโจทย์ปัญหา ก�ำหนดรายละเอียดกิจกรรมการเรียนรู้ ในแต่ ล ะหั ว ข้ อ โดยใช้ ป ั ญ หาเป็ น ฐาน จากนั้ น ส่ ง ให้ ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะ และปรับแก้ไข 4.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ก่อนและหลังเรียน การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนรูก้ อ่ นและหลังการจัดการเรียนรูจ้ ะใช้แบบ ทดสอบชนิดเลือกตอบแบบ 4 ตัวเลือก ตามขอบเขต ของเนื้อหา จ�ำนวน 20 ข้อ หาค่าความเที่ยงตรงของ แบบสอบถาม (IOC) และค่าความเชือ่ มัน่ ของแบบทดสอบ โดยใช้สตู รของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder-Rechardson) KR-20 (Tiantong, 2011: 216)
4.3 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการ เรียนรูโ้ ดยใช้ปญ ั หาเป็นฐานของกลุม่ ตัวอย่าง โดยนิยาม ที่สร้างขึ้นมีระดับความพึงพอใจ 5 ระดับ ได้แก่ ระดับ ความพึงพอใจมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.51-5.00) มาก (ค่าเฉลี่ย 3.51-4.50) ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.51-3.50) น้อย (ค่าเฉลี่ย 1.51-2.50) และน้อยที่สุด (ค่าเฉลี่ย 1.00-1.50) (Srisaard, 2011: 103) 4.4 แบบสอบถามการใช้ เ ทคโนโลยี ดิ จิ ทั ล สนับสนุนการเรียนรู้ในการสร้างแบบสอบถาม เริ่มจาก การศึกษาและรวบรวมข้อมูลเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ในปัจจุบนั ที่สามารถน�ำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าหรือเรียนรู้ด้วย ตนเองแล้วท�ำการสังเคราะห์ จากนัน้ จึงออกแบบสอบถาม พฤติกรรมการใช้งาน ความต้องการ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ โดยนิยามระดับความคิดเห็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับมากทีส่ ดุ (ค่าเฉลีย่ 4.51-5.00) มาก (ค่าเฉลีย่ 3.51-4.50) ปานกลาง (ค่าเฉลีย่ 2.51-3.50) น้อย (ค่าเฉลีย่ 1.51-2.50) และน้อยทีส่ ดุ (ค่าเฉลีย่ 1.00-1.50) (Srisaard, 2011: 103) 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 5.1 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนจากการจัดการเรียนรูแ้ บบดิจทิ ลั โดยใช้ปญ ั หาเป็นฐาน โดยใช้สถิตคิ า่ t-test แบบ Dependent (Paired Samples t-test) 5.2 การวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุม่ ตัวอย่าง และการวิเคราะห์ขอ้ มูลการใช้เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั สนับสนุน การเรียนรู้ ใช้สถิติ ค่าเฉลีย่ เลขคณิต (X) และค่าเบีย่ งเบน มาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย
1. การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบดิจิทัลโดยใช้ ปัญหาเป็นฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 สรุปขั้นตอนได้ดัง ตารางที่ 1
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
215
ตารางที่ 1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
ระยะเวลา
กิจกรรม
เครื่องมือที่ใช้
จัดกลุ่มผู้เรียน
5-10
- ผู้สอนแนะน�ำเนื้อหาและวิธีการเรียน - Moodle (CMS/LMS) - ผู้สอนจัดกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย - ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกประธานและเลขานุการกลุ่ม
ศึกษาโจทย์ปัญหา ท�ำความเข้าใจ โจทย์ รวมทั้งค�ำศัพท์ต่างๆ ที่ เกี่ยวข้อง
5-10
- ผู้สอนแจกโจทย์ปัญหาในรูปแบบเอกสาร และไฟล์ - เอกสารโจทย์ปัญหา ที่แชร์ไว้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง - Moodle (CMS/LMS) - กลุ่มผู้เรียนท�ำความเข้าใจโจทย์ - แหล่งสืบค้นออนไลน์อื่นๆ เช่น - กลุ่มผู้เรียนท�ำความเข้าใจค�ำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง Google
ระบุปัญหาในโจทย์ที่ให้
5-10
- กลุ่มผู้เรียนช่วยกันระบุปัญหาจากโจทย์โดยผู้เรียน - Moodle (CMS/LMS) ทุกคนเข้าใจปัญหา - Google document - เลขานุการกลุ่มจดบันทึก
ระดมสมอง วิเคราะห์แยกแยะปัญหา อภิปรายหาสาเหตุ ที่มาโดยใช้ความรู้ เดิม
10-15
- กลุ่มผู้เรียนช่วยกันวิเคราะห์แยกแยะปัญหาเป็น ประเด็นต่างๆ แล้วน�ำมาอภิปรายหาสาเหตุ ที่มา ของปัญหา โดยใช้ความรู้เดิม - เลขานุการกลุ่มจดบันทึก
อภิปราย ตั้งสมมติฐานเพื่อใช้แก้ ปัญหา จัดล�ำดับของสมมติฐานโดยใช้ ความรู้เดิม
5-10
- กลุ่มผู้เรียนร่วมกันอภิปรายและตั้งสมมติฐาน - Moodle (CMS/LMS) เพื่อใช้แก้ปัญหานั้น รวมทั้งจัดล�ำดับของสมมติฐาน - Google document โดยใช้ความรู้เดิม - เลขานุการกลุ่มจดบันทึก
ก�ำหนดประเด็นหรือวัตถุประสงค์ การเรียนรู้เพื่อพิสูจน์สมมติฐาน ที่ตั้งไว้
5-10
- กลุ่มผู้เรียนร่วมกันก�ำหนดประเด็นหรือวัตถุประสงค์ - Moodle (CMS/LMS) การเรียนรู้เพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ จะประเมิน - Google document ว่าความรู้ส่วนใดรู้แล้ว ส่วนใดต้องค้นคว้าเพิ่ม - เลขานุการกลุ่มจดบันทึก
ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่างๆ
20-30
- ผู้เรียนแต่ละคนศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก - Moodle (CMS/LMS) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่างๆ - File sharing - Search engine - Social media - CAI/Web-base/e-book - สื่ออื่นๆ
น�ำข้อมูลที่ค้นคว้ามาอภิปราย วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อพิสูจน์ สมมติฐาน และสรุปเป็นแนวคิด หรือองค์ความรู้
15-20
- กลุ่มผู้เรียนน�ำข้อมูลที่ค้นคว้ามาอภิปรายร่วมกัน วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อพิสูจน์สมมติฐาน - กลุ่มผู้เรียนช่วยกันสรุปเป็นแนวคิดหรือองค์ความรู้ - กลุ่มผู้เรียนน�ำเสนอ - กลุ่มผู้เรียนเผยแพร่องค์ความรู้
- Moodle (CMS/LMS) - Google document
- Moodle (CMS/LMS) - Google document - Powerpoint - Webpage/WBI - Facebook/Line/Youtube/ Instagram/Google+
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
216
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
2. ผลการจัดการเรียนรูแ้ บบดิจทิ ลั โดยใช้ปญ ั หาเป็น ฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน และความพึงพอใจจากการจัดการเรียน การสอน มีรายละเอียดดังนี้ 2.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิท์ างการเรียน ก่อนและหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบดิจิทัล โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 พบว่า กลุ่ม ตัวอย่างได้คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ทุกคน ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ กลุม่ ตัวอย่างระหว่างคะแนนทดสอบก่อนและหลังเรียน
แสดงรายละเอียดดังตารางที่ 2 จากตารางที่ 2 สรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของกลุม่ ตัวอย่างจ�ำนวน 39 คน ก่อนเรียนมีคา่ คะแนนเฉลี่ย 6.72 จากคะแนนเต็ม 20 ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 1.87 และหลังเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ย 12.49 จากคะแนนเต็ม 20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.34 เมื่อ ทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังเรียนพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นัน่ คือผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของกลุม่ ตัวอย่างหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ก่อนเรียน หลังเรียน
X
S.D.
t
df
Sig. (2-tailed)
6.72 12.49
1.87 2.34
16.69
38
.000
2.2 ความพึงพอใจจากการจัดการเรียนการสอน แบบดิจิทัลโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 พบว่า กลุม่ ตัวอย่างมีคา่ เฉลีย่ ความพึงพอใจอยูใ่ นระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 3.98 และมีค่า S.D. เท่ากับ 0.66 เมือ่ พิจารณารายละเอียดพบว่า รายการทีม่ คี วามพึงพอใจ มากทีส่ ดุ คือ กิจกรรมการเรียนรูฯ้ ส่งเสริมกระบวนการคิด วิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา โดยมีค่าเฉลี่ย 4.25 รองลงมา คือ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติมากขึ้น และ ทรัพยากรการเรียนรูแ้ ละสือ่ เทคโนโลยีทนั สมัยและเพียงพอ ต่อการเรียนรู้โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ 4.15 รายการ ประเมินทีม่ คี วามพึงพอใจมากในล�ำดับถัดมาคือ ผูเ้ รียน ได้รบั ความรูค้ วามเข้าใจในเนือ้ หาจากกระบวนการจัดการ เรียนรู้ฯ มากขึ้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ สามารถ สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน และผู้เรียนมี
ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรูโ้ ดยใช้ปญ ั หาเป็นฐาน โดยมีคา่ เฉลีย่ เท่ากันคือ 4.00 ผลการประเมินความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก รายละเอียดแสดงในตารางที่ 3 3. ผลการศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สนับสนุนการเรียนรูใ้ นยุคไทยแลนด์ 4.0 เป็นการประเมิน พฤติกรรมและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ผลการศึกษาพฤติกรรม 5 ด้านประกอบด้วย 3.1 ด้านการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมีค่า เฉลีย่ รวม 4.03 โดยรายการประเมินทีม่ คี า่ เฉลีย่ มากทีส่ ดุ คือ เรียนรู้จากการค้นหาข้อมูลเบื้องต้นจาก Search engine มีค่าเฉลี่ย 4.49 รองลงมาคือ เรียนรู้จากระบบ การจัดการเรียนการสอน (LMS/CMS) เช่น Moodle มีคา่ เฉลีย่ 4.41 และเรียนรูจ้ ากเว็บไซต์ตา่ งๆ ทีใ่ ห้ความรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.10 รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 4
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
217
ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานฯ รายการประเมิน
ค่าเฉลี่ย
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ มีลำ� ดับขั้นตอนเข้าใจได้ง่าย 2. กิจกรรมการเรียนรู้ฯ ส่งเสริมกระบวนการคิด วิเคราะห์เพื่อแก้ ปัญหา 3. กิจกรรมการเรียนรู้ฯ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม 4. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติมากขึ้น 5. ผู้เรียนได้รับความรู้ความเข้าใจเนื้อหาจากกระบวนการจัดการ เรียนรู้ฯมากขึ้น 6. ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้จากแหล่งเรียนรู้ ต่างๆ 7. ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาจากโจทย์ได้ถูกต้อง 8. การได้รับความช่วยเหลือในการท�ำกิจกรรมระหว่างผู้เรียนและ ผู้สอน 9. สภาพแวดล้อมในการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสม 10. ทรัพยากรการเรียนรู้และสื่อเทคโนโลยีทันสมัยและเพียงพอต่อ การเรียนรู้ 11. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียน ให้แก่ผู้เรียน 12. ผูเ้ รียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรูโ้ ดยใช้ปญ ั หาเป็นฐาน รวมเฉลี่ย
3.95 4.25
ส่วนเบี่ยงเบน ระดับ มาตรฐาน ความพึงพอใจ 0.69 มาก 0.64 มาก
3.90 4.15 4.00
0.64 0.59 0.56
มาก มาก มาก
3.90
0.55
มาก
3.85 3.75
0.75 0.64
มาก มาก
3.85 4.15
0.81 0.67
มาก มาก
4.00
0.73
มาก
4.00 3.98
0.65 0.66
มาก มาก
ตารางที่ 4 ผลประเมินพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลฯ ด้านการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รายการประเมิน
ค่าเฉลี่ย
ด้านการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เรียนรู้จากระบบการจัดการเรียนการสอน (LMS/CMS) เช่น Moodle เรียนรู้จากการค้นหาข้อมูลเบื้องต้นจาก Search engine เรียนรู้จากสื่อดิจิทัลแบบออฟไลน์ เช่น ความรู้จาก CD/DVD, CAI, E-book เรียนรู้จากเว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้ความรู้
4.03
ค่าเบี่ยงเบน ระดับ มาตรฐาน ความคิดเห็น 0.68 มาก
4.41
0.64
มาก
4.49
0.64
มาก
3.13
0.66
ปานกลาง
4.10
0.79
มาก
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
218
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
3.2 ด้านเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้ มีค่า เฉลี่ยรวม 3.80 มีรายการประเมินเครื่องมือสนับสนุน การเรียนรู้ 5 ประเภทคือ ระบบจัดการเรียนรู้/ระบบ จัดการเนือ้ หา (LMS/CMS) เครือ่ งมือค้นหาข้อมูล (Search engine) สื่อสังคม (Social media) สื่อดิจิทัลแบบ ออฟไลน์ (Offline digital media) และเว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้ความรู้ โดยในส่วนของระบบจัดการเรียนรู้/ระบบ จัดการเนื้อหา (LMS/CMS) พบว่า รายการที่มีระดับ ความคิดเห็นมากที่สุดคือ Moodle มีค่าเฉลี่ย 4.90 รองลงมาคือ Joomla มีคา่ เฉลีย่ 4.38 และ Wordpress มีคา่ เฉลีย่ 3.74 ในส่วนของเครือ่ งมือค้นหาข้อมูล (Search engine) รายการทีม่ คี า่ เฉลีย่ มากทีส่ ดุ คือ Google มีคา่
เฉลี่ย 4.87 รองลงมาคือ Bing มีค่าเฉลี่ย 4.64 และ Yahoo มีค่าเฉลี่ย 4.56 ในส่วนของสื่อสังคม (Social media) พบว่า รายการประเมินทีม่ คี า่ เฉลีย่ มากทีส่ ดุ คือ Facebook มีค่าเฉลี่ย 4.82 รองลงมาคือ YouTube มีค่าเฉลี่ย 4.79 และ Line มีค่าเฉลี่ย 4.62 ในส่วนของ สือ่ ดิจทิ ลั แบบออฟไลน์ (Offline digital media) พบว่า รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ E-book มีค่า เฉลี่ย 4.13 รองลงมาคือ CAI มีค่าเฉลี่ย 4.00 และ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์มีค่าเฉลี่ย 3.92 และในส่วนของ เว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้ความรู้มีค่าเฉลี่ย 4.00 รายละเอียด แสดงดังตารางที่ 5
ตารางที่ 5 ผลประเมินพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลฯ ด้านเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้ รายการประเมิน ด้านเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้ ระบบจัดการเรียนรู้/ระบบจัดการเนื้อหา (LMS/CMS) Edmodo Joomla Moodle Mambo Wordpress LMS/CMS อื่นๆ เครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search engine) ask Bing google sanook Yahoo Search engine อื่นๆ
ค่าเฉลี่ย 3.80 3.42 2.64 4.38 4.90 3.03 3.74 1.82 4.10 4.00 4.64 4.87 4.54 4.56 2.00
ค่าเบี่ยงเบน ระดับ มาตรฐาน ความคิดเห็น 0.54 มาก 0.51 ปานกลาง 0.49 ปานกลาง 0.49 มาก 0.31 มากทีส่ ุด 0.49 ปานกลาง 0.79 มาก 0.51 น้อย 0.49 มาก 0.51 มาก 0.49 มากทีส่ ุด 0.34 มากทีส่ ุด 0.51 มากทีส่ ุด 0.64 มากทีส่ ุด 0.46 น้อย
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
219
ตารางที่ 5 ผลประเมินพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลฯ ด้านเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้ (ต่อ) รายการประเมิน สื่อสังคม (Social media) Line Twitter YouTube Facebook Instagram Social media อื่นๆ สื่อดิจิทัลแบบออฟไลน์ (Offline digital media) CAI E-book เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ สื่อดิจิทัลแบบออฟไลน์อื่นๆ เว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้ความรู้ 3.3 ด้านรูปแบบข้อมูลที่นิยมน�ำมาใช้ในการ เรียนรูม้ คี า่ เฉลีย่ รวม 3.83 โดยรายการประเมินทีม่ คี า่ เฉลีย่ มากทีส่ ดุ คือ ไฟล์เอกสารประเภท PDF มีคา่ เฉลีย่ 4.59 รองลงมาคือ ไฟล์วดิ โี อมีคา่ เฉลีย่ 4.41 และไฟล์จากการ สร้างด้วย Microsoft Office มีคา่ เฉลีย่ 4.38 รายละเอียด แสดงดังตารางที่ 6 3.4 ด้านประเภทของเว็บไซต์ทมี่ กั จะเลือกเข้าไป หาข้อมูลและอ้างอิงมีค่าเฉลี่ยรวม 4.09 โดยรายการ ประเมินทีม่ คี า่ เฉลีย่ มากทีส่ ดุ คือ เว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐ
ค่าเฉลี่ย 4.06 4.62 4.03 4.79 4.82 4.00 2.13 3.42 4.00 4.13 3.92 1.62 4.00
ค่าเบี่ยงเบน ระดับ มาตรฐาน ความคิดเห็น 0.50 มาก 0.54 มากทีส่ ุด 0.67 มาก 0.41 มากทีส่ ุด 0.39 มากทีส่ ุด 0.51 มาก 0.47 น้อย 0.57 ปานกลาง 0.51 มาก 0.61 มาก 0.66 มาก 0.49 น้อย 0.65 มาก
มีคา่ เฉลีย่ 4.67 รองลงมาคือ เว็บไซต์หน่วยงานภาคเอกชน มีคา่ เฉลีย่ 4.64 และเว็บไซต์กลุม่ องค์กรมีคา่ เฉลีย่ 4.03 รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 6 3.5 ด้านอุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์ที่นิยมใช้มีค่า เฉลีย่ รวม 3.97 โดยรายการประเมินทีม่ คี า่ เฉลีย่ มากทีส่ ดุ คือ โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ตมีค่าเฉลี่ย 4.74 รองลงมา คือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะมีค่าเฉลี่ย 4.59 และโน้ตบุ๊กมี ค่าเฉลี่ย 4.54 รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 6
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
220
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ตารางที่ 6 ผลประเมินพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ฯ ด้านรูปแบบข้อมูลทีน่ ยิ มน�ำมาใช้ในการเรียนรู้ ด้านประเภท ของเว็บไซต์ที่มักเลือกเข้าไปหาข้อมูลและอ้างอิง และด้านอุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์ที่นิยมใช้ รายการประเมิน
ค่าเฉลี่ย
ด้านรูปแบบข้อมูลที่นิยมน�ำมาใช้ในการเรียนรู้ ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เสียง ไฟล์ภาพ ไฟล์เอกสารประเภท PDF ไฟล์จากการสร้างด้วย Microsoft Office ไฟล์ประเภทอื่นๆ ด้านประเภทของเว็บไซต์ที่มักจะเลือกเข้าไปหาข้อมูลและอ้างอิง เว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐ เว็บไซต์หน่วยงานภาคเอกชน เว็บไซต์หรือบล็อกส่วนบุคคล เว็บไซต์กลุ่มองค์กร วิกิพีเดีย ด้านอุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์ที่นิยมใช้ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต อุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์อื่นๆ
3.83 4.41 3.85 4.03 4.59 4.38 1.74 4.09 4.67 4.64 3.90 4.03 3.23 3.97 4.59 4.54 4.74 2.03
สรุปและอภิปรายผล
1. การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบดิจิทัลโดยใช้ ปัญหาเป็นฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 ผู้วิจัยได้ออกแบบ และพัฒนารูปแบบการเรียนแบบดิจิทัลโดยใช้ปัญหา เป็นฐาน โดยมี 8 ขัน้ ตอน เริม่ จาก 1) การจัดกลุม่ ผูเ้ รียน 2) การศึกษาโจทย์ปัญหา 3) การระบุปัญหา 4) การ วิเคราะห์แยกแยะปัญหา 5) การอภิปรายหาสาเหตุ
ค่าเบี่ยงเบน ระดับ มาตรฐาน ความคิดเห็น 0.58 มาก 0.59 มาก 0.67 มาก 0.54 มาก 0.59 มากทีส่ ุด 0.63 มาก 0.44 น้อย 0.49 มาก 0.48 มากทีส่ ุด 0.49 มากที่สดุ 0.50 มาก 0.54 มาก 0.43 ปานกลาง 0.55 มาก 0.64 มากที่สดุ 0.55 มากที่สดุ 0.44 มากที่สดุ 0.58 น้อย
ตัง้ สมมติฐาน 6) การก�ำหนดประเด็นการเรียนรูเ้ พือ่ ทดสอบ สมมติฐาน 7) การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และ 8) การ อภิปรายและสรุปองค์ความรู้ ในแต่ละขัน้ ตอนมีรายละเอียด กิจกรรมให้ผเู้ รียน ซึง่ เป็นไปตามทฤษฎีการเรียนรูโ้ ดยใช้ ปัญหาเป็นฐาน เป็นการเน้นผูเ้ รียนให้คดิ วิเคราะห์แก้ปญั หา ในขณะเดียวกันงานวิจยั นีไ้ ด้เน้นการใช้สอื่ หรือเทคโนโลยี ดิจทิ ลั ในการด�ำเนินกิจกรรมในแต่ละขัน้ ตอน เช่น การใช้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ระบบการจัดการเรียนรู้ (CMS/LMS) การใช้เครือ่ งมือสืบค้น (Search engine) การใช้บริการเว็บไซต์พมิ พ์งานออนไลน์ (Google document) การใช้สอื่ สังคม (Social media) และสือ่ ดิจทิ ลั อืน่ ๆ ทัง้ แบบออนไลน์ (Online) และแบบ ออฟไลน์ (Offline) สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 และเป็นไปตามโมเดลประเทศไทย 4.0 (Strategy and Planning Division, 2016) ที่เน้นการ พัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21 โดยมีวาระการขับเคลือ่ นทีส่ ำ� คัญคือ การปฏิรปู การศึกษา ซึง่ น�ำไปสูก่ ารเปลีย่ นแปลง หนึง่ ในการเปลีย่ นแปลงนีค้ อื การปรับเปลี่ยนหลักสูตรและรูปแบบการสอน เน้นการ สร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั และปรับวิธกี าร เพือ่ สร้างทักษะการเรียนรู้ ส่งผลให้สามารถพัฒนาตนเอง ได้ตลอดชีวิต นอกจากนี้รูปแบบการเรียนแบบดิจิทัลโดยใช้ ปัญหาเป็นฐานในงานวิจยั นีซ้ งึ่ เน้นการใช้สอื่ หรือเทคโนโลยี ดิจิทัลในการด�ำเนินกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนของการ เรียนรู้ ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจ เนื่องจาก ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 จะมีความสนใจในเนื้อหาหรือ ทฤษฎีความรู้ (Content หรือ Subject Matter) เพียงแค่ 20 นาทีโดยเฉลี่ย หากเกินกว่านั้นจะให้ความสนใจ สิง่ เร้าอืน่ แทน เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Pulsawat, 2015) ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนโดยการใช้ สือ่ ดิจทิ ลั จะช่วยให้ผเู้ รียนมีความสนใจทีจ่ ะเรียนรูม้ ากยิง่ ขึน้ และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ Gerdruang (2017) ที่กล่าวถึงการส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อ รองรับสังคมไทยในยุคดิจทิ ลั โดยกล่าวว่า การเปลีย่ นผ่าน การเรียนรู้จากยุคเดิมสู่ยุคดิจิทัลต้องจัดการเรียนรู้โดย ค�ำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเรียน การท�ำงาน และ การด�ำรงชีวิต เน้นการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริม การค้นคว้าด้วยตนเองโดยน�ำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในการจัดการเรียนรู้ให้มากที่สุด ครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะ แนวทางในการเรียนรูต้ ามหลักสูตร และเน้นการสร้างสรรค์ ปรับแต่งการเรียนรู้ การคิดเชิงวิพากษ์ และการแก้ปญ ั หา ที่ซับซ้อน เน้นการใช้เครือข่ายออนไลน์ในการจัดการ
221
เรียนรู้ สร้างสถานการณ์จำ� ลองให้ผเู้ รียนพบประสบการณ์ จริง เนื้อหาการเรียนรู้ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บน เครือข่ายออนไลน์ สามารถสร้างองค์ความรู้ แบ่งปัน ความรู้และเนื้อหาผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งสอดคล้อง กับหลักการเรียนรูโ้ ดยใช้ปญ ั หาเป็นฐานในรูปแบบดิจทิ ลั 2. ผลการจัดการเรียนรูแ้ บบดิจทิ ลั โดยใช้ปญ ั หาเป็น ฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน และความพึงพอใจจากการจัดการเรียน การสอน สรุปได้ดังนี้ 2.1 จากการจัดการเรียนรู้แบบดิจิทัลโดยใช้ ปัญหาเป็นฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ย นของผู ้ เ รี ย นหลั ง เรี ย นสู ง กว่ า ก่ อ นเรี ย น อาจเนื่องมาจากการที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ ค้นคว้า อภิปราย เพื่อหาค�ำตอบของปัญหา ท�ำให้ค้นพบองค์ความรู้ด้วย ตนเอง เกิดความเข้าใจในเนือ้ หาจึงสามารถท�ำแบบทดสอบ ได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับงานวิจยั ของ Nanthachai & Lichanporn (2011) ที่ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการสอน ในรูปแบบ PBL ในรายวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร โดยพบว่ า ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นหลั ง เรี ย นสู ง กว่ า ก่อนเรียนอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ (p≤0.05) 2.2 ผลการวัดความพึงพอใจของผูเ้ รียนจากการ จัดการเรียนการสอนแบบดิจิทัลโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก อาจเนื่องมาจาก รูปแบบการจัดการเรียนการสอนทีเ่ น้นผูเ้ รียนเป็นส�ำคัญ กระบวนการจั ด การเรี ย นการสอนแตกต่ า งไปจาก รูปแบบเดิมทีต่ อ้ งรับฟังการบรรยายอย่างเดียว โดยผูเ้ รียน มีอสิ ระในการคิดวิเคราะห์ วางแผน ลงมือปฏิบตั เิ พือ่ แก้ ปัญหาด้วยตนเอง เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่าง สมาชิกในกลุม่ ท�ำให้ผเู้ รียนเกิดความสนใจ กระตือรือร้น และพยายามทีจ่ ะหาค�ำตอบทีถ่ กู ต้องให้ได้ ในขณะเดียวกัน ได้เน้นการใช้สื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุน การเรียนรู้ ซึ่งในปัจจุบันมีสื่อหรือเทคโนโลยีดิจิทัลให้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
222
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
เลือกใช้หลายประเภท ท�ำให้ผเู้ รียนมีอสิ ระสามารถเลือก สือ่ ทีใ่ ห้ความรูไ้ ด้ตามความสนใจ และความสะดวกในการ ใช้งานผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ ส่งผลให้ผู้เรียนเกิด ความรูแ้ ละความเข้าใจในเนือ้ หาและมีความพึงพอใจต่อ วิธีการสอนอยู่ในระดับมาก 3. การศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สนับสนุนการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 มีการศึกษา พฤติกรรมความต้องการใช้งาน 5 ด้าน ผลการวิจยั พบว่า ด้านการเรียนรูโ้ ดยใช้เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั รายการทีม่ รี ะดับ ความคิดเห็นมากที่สุดคือ เรียนรู้จากการค้นหาข้อมูล เบื้องต้นจาก Search engine รองลงมาคือ เรียนรู้จาก ระบบการจัดการเรียนการสอน (LMS/CMS) เช่น Moodle ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นน้อยที่สุดคือ เรียนรู้ จากสื่อดิจิทัลแบบออฟไลน์ เช่น ความรู้จาก CD/DVD, CAI, E-book แสดงให้เห็นว่า ผูเ้ รียนสนใจหาข้อมูลจาก แหล่งข้อมูลออนไลน์มากกว่าสื่อดิจิทัลแบบออฟไลน์ ผู้สอนจึงควรเสริมความรู้ในเรื่องของเทคนิคการสืบค้น และควรแชร์ข้อมูลความรู้แบบออนไลน์ หรือแนะน�ำ แหล่งความรู้ออนไลน์ให้กับผู้เรียน เพื่อให้การเรียนรู้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนด้านเครื่องมือสนับสนุนการ เรียนรูพ้ บว่า ผูเ้ รียนให้ความสนใจกับระบบจัดการเรียนรู/้ ระบบจัดการเนื้อหา (LMS/CMS) โดยสนใจโปรแกรม Moodle มากที่สุด อาจเนื่องมาจากเป็นโปรแกรมที่ ได้รับความนิยมและมีความคุ้นเคยในการใช้งานมาก่อน ส่วนเครื่องมือในการค้นหาข้อมูลที่สนใจมากที่สุดคือ Google ส�ำหรับสื่อสังคม (Social media) จะให้ความ สนใจกับ Facebook มากทีส่ ดุ รองลงมาคือ YouTube และ Line ตามล�ำดับ ซึ่งเป็นไปตามความนิยมในยุค ปัจจุบัน นอกจากนี้ยังสนใจสื่อดิจิทัลแบบออฟไลน์โดย สนใจ E-book มากทีส่ ดุ รองลงมาคือ CAI และเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ ตามล�ำดับ ส่วนด้านรูปแบบข้อมูลทีน่ ยิ ม น�ำมาใช้ในการเรียนรู้มากที่สุดคือ ไฟล์เอกสารประเภท PDF รองลงมาคือ ไฟล์วิดีโอซึ่งง่ายต่อการเรียนรู้และ
ไฟล์จากการสร้างด้วย Microsoft Office นอกจากนี้ ในด้านประเภทของเว็บไซต์ทมี่ กั จะเลือกเข้าไปหาข้อมูล และอ้างอิงคือ เว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐ เว็บไซต์หน่วยงาน ภาคเอกชน และเว็บไซต์กลุม่ องค์กร ตามล�ำดับ และด้าน อุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์ที่นิยมใช้พบว่า นิยมใช้โทรศัพท์ มือถือ/แท็บเล็ตในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้มากที่สุด อาจ เนือ่ งจากสะดวกและรวดเร็ว เพราะในปัจจุบนั เครือ่ งมือ เหล่านี้มีราคาถูกลง มีประสิทธิภาพในการใช้งานดีขึ้น มีการพัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆ ทีท่ ำ� ให้เข้าถึงข้อมูลได้งา่ ย และเร็ว รองลงมาคือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และโน้ตบุ๊ก ตามล�ำดับ จากผลพฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ผู้เรียนมีความสนใจและ เลือกใช้สื่อดิจิทัลออนไลน์เพื่อการเรียนรู้โดยเลือกใช้สื่อ เทคโนโลยีที่ง่าย คุ้นเคย และได้รับความนิยม อย่างไร ก็ตามผูส้ อนควรให้คำ� แนะน�ำในการเข้าถึงสือ่ เทคโนโลยี ประเภทต่างๆ และการน�ำสือ่ ออกมาใช้โดยไม่ผดิ กฎหมาย จรรยาบรรณ หรือ พ.ร.บ. ต่างๆ รวมถึงเรื่องการแสดง ความคิดเห็นในสือ่ สังคมออนไลน์ดว้ ย ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้ผเู้ รียน สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่าง ปลอดภัยในยุคปัจจุบัน
ข้อเสนอแนะ
1. ผู้สอนควรเตรียมความพร้อมของห้องเรียนและ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ให้เหมาะสม เพียงพอ และ พร้อมใช้งาน เพื่อให้สามารถด�ำเนินกิจกรรมได้อย่างมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2. สามารถน�ำรูปแบบการจัดการเรียนรูโ้ ดยใช้ปญ ั หา เป็นฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0 ไปประยุกต์ใช้ในหัวข้อ หรือรายวิชาอื่นๆ ได้ 3. ควรให้ความส�ำคัญกับการคัดเลือกสมาชิกเพื่อ จัดกลุม่ โดยสมาชิกต้องสามารถด�ำเนินการกระบวนการ กลุ่มได้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
223
References
Barrow, H. S. (2000). Problem-based learning applied to Medical Education (Rev. ed.). Illinois: School of Medicine, Southern Illinois University. Gerdruang, A. (2017). Empowering Learning in the 21st Century for Thailand Society in the Digital Age. Lampang Rajabhat University Journal, 6(1), 173-184. [in Thai] Laohajaratsang, T. (2002). Design e-Learning: Principles of web design and creation for teaching and learning. Bangkok: Arunkanpim. [in Thai] Lekakul, A. (2013). Problem-Based Learning. Retrieved July 1, 2017, from http://teachingresources. psu.ac.th/document/2548/Le_Kha_Kun/PBL.pdf [in Thai] Makmee, P. (2011). Problem-based Learning. EAU Heritage Journal: social science and humanities, 5(1), 7-14. [in Thai] Ministry of Digital Economy and Society. (2016). Digital Development for Economic and Social Development Plan 2016. Retrieved July 3, 2017, from http://www.mdes.go.th/assets/ portals/1/files/590613_4Digital_Economy_Plan-Book.pdf [in Thai] Nanthachai, N. & Lichanporn, I. (2011). The Study Process by PBL Method in Food Science and Technology. Pathum Thani: Rajamangala University of Technology Thanyaburi. [in Thai] Panich, V. (2011). 21st Century Learning Path for Disciples. Bangkok: Tathata Publication. [in Thai] . (2014). 21st Century Learning Management Framework. The lecture notes on the 21st century teaching development program. Chiangmai: Chiangmai University. [in Thai] Panichpan, P. & Ruenwongsa, P. (2015). 21st Century teachers with Generation Z Students. Retrieved October 20, 2017, from http://fda.sut.ac.th/doc-training/58/02-genz_1.pdf [in Thai] Pulsawat, B. (2015). Digital Education with 21st Century Learners. Digital Age Magazine. Retrieved October 20, 2017, from https://www.digitalagemag.com/digital-education-การศึกษาบนโลกดิจทิ ลั กับผู้เรียนในศตวรรษที่-21/ [in Thai] Sinlarat, P. (2016). Thai education 4.0 is more than education. Retrieved July 4, 2017, from http:// www.dpu.ac.th/ces/upload/content/ [in Thai] Srisaard, B. (2011). Preliminary research (9th ed.). Bangkok: Suveriyasan. [in Thai] Strategy and Planning Division. (2016). Blueprint and Action Plan for Thailand 4.0, Models drive Thailand towards sustainable and prosperous wealth. Retrieved July 3, 2017, from http:// bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/Thailand204.0model1.pdf [in Thai] Suwannoi, P. (2015). Problem-based Learning. Documentation for the development of teaching and learning projects. Khonkaen: KhonKaen university. [in Thai] Tiantong, M. (2011). Design and development of computer lessons. Bangkok: Textbook production center, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. [in Thai] Untachai, T. (2016). Thai education direction. Retrieved July 1, 2017, from https://www.cpw.ac.th/ CPW_Document/knowledge-147201721320160824134013.pdf [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
224
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Name and Surname: Sunsanee Liangpanit Highest Education: M.Sc. Information Technology, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok University or Agency: Nakhon Ratchasima Rajabhat University Field of Expertise: Information technology Address: Faculty of Science and Technology, Nakhon Ratchasima Rajabhat University, Nai Mueang, Mueang, Nakhon Ratchasima 30000
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
227
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในวิชาการถ่ายภาพดิจิทัล THE DEVELOPMENT OF BLENDED LEARNING IN DIGITAL PHOTOGRAPHY COURSE เศรษฐา วีระธรรมานนท์1 และอารีรัตน์ ใจประดับ2 Settha Veerathunmanon1 and Areerut Jaipadub2 . 1,2คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 1,2School of Digital Media and Cinematic Arts, Bangkok University
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรูแ้ บบผสมผสานในวิชาการถ่ายภาพดิจทิ ลั เน้นการศึกษาการจัดการเรียนรู้ แบบผสมผสานทัง้ ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบตั ิ โดยมีการจัดการเรียนการสอนบนเว็บไซต์ (Web-Based Instruction) และการเรียนการสอนแบบดัง้ เดิม (Face to Face Instruction) ซึง่ ด�ำเนินการวางแผนและออกแบบการเรียนการสอน โดยคณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และบริษัท พิก โปรสคูล (PIXPROsCOOL) เป็นผู้ จัดเตรียมระบบบนเว็บไซต์ การวิจยั ในครัง้ นีม้ วี ตั ถุประสงค์หลักเพือ่ ทดลองใช้รปู แบบการจัดการเรียนรูแ้ บบผสมผสาน ในวิชาการถ่ายภาพดิจิทัล และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียน และความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบ การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในวิชาการถ่ายภาพดิจิทัล งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยแบ่ง เป็น 2 ส่วน ทางด้านการวิจยั เชิงคุณภาพใช้การศึกษาเอกสาร ศึกษากลุม่ หรือบุคคลด้วยการสังเกต การสนทนากลุม่ การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณนั้นใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักศึกษา วิชาการถ่ายภาพดิจทิ ลั ก่อนเรียนจ�ำนวน 436 คน และหลังเรียนจ�ำนวน 463 คน รูปแบบของการเรียนรูใ้ นรายวิชานี้ เป็นการผสมผสานการเรียนการสอนแบบดัง้ เดิมทีม่ กี ารปฏิสมั พันธ์กนั แบบเผชิญหน้า 30% และการเรียนบนเว็บไซต์ 70% ผลสัมฤทธิก์ อ่ นการเรียนอยูใ่ นระดับน้อย (ค่าเฉลีย่ 2.43) ส่วนผลสัมฤทธิห์ ลังการเรียนอยูใ่ นระดับมาก (ค่าเฉลีย่ 3.81) ความคาดหวังต่อการจัดการเรียนรูอ้ ยูใ่ นระดับมาก (ค่าเฉลีย่ 4.00) และความพึงพอใจอยูใ่ นระดับมากเช่นกัน (ค่าเฉลีย่ 3.73) แต่ต�่ำกว่าความคาดหวัง การเรียนรู้แบบผสมผสานในวิชาการถ่ายภาพดิจิทัลมีทั้งจุดเด่น และจุดด้อย ควรมี การพัฒนาทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน เนื้อหา และผู้สอน ค�ำส�ำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการถ่ายภาพดิจิทัล การเรียนออนไลน์
Corresponding Author E-mail: areerut.j@bu.ac.th
228
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Abstract
The development of blended learning in digital photography course focused on blended learning between theory and practical by using Web-Based Instruction and Face to Face Instruction. Course outline was planned and designed by School of Digital Media and Cinematic Arts, Bangkok University and PIXPROsCOOL Company who provided the website system. This purpose of this study was to experiment blended learning in digital photography course and student achievement and academic satisfaction with blended learning in digital photography course who were sample groups. This research used mixed-method which is divided in to qualitative research with document analysis, observation, focus group and in-depth interview and quantitative research with pre and post survey; 436 and 463 samples. The format of blended learning in digital photography course is the combination of traditional classroom which is face to face instruction for 30% and web-based instruction for 70%. The achievement of blended learning before learning was in low level (mean 2.43) and after learning was in high level (mean 3.81). The expectation to the learning management was in high level (mean 4.00) while satisfaction was in high level (mean 3.73) but lower than expectation. The blended learning has both distinctive and weak point which should be developed in learning management, content and teacher. Keywords: Blended Learning, Digital Photography Course, Online Learning
บทน�ำ
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาท ส�ำคัญในการน�ำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาในลักษณะ ต่างๆ อาทิ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instructor) ระบบสื่อผสม (Multimedia) ระบบสารสนเทศ (Information System) ระบบฐาน ข้อมูล (Data System) ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น อีกทัง้ ยังสอดคล้องกับการสร้างทักษะการเรียนรูใ้ นศตวรรษ ที่ 21 (Model of 21st Century Outcomes and Support Systems) ซึง่ ผูเ้ รียนต้องมีความสามารถในการ แสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และปฏิบัติงาน ได้หลากหลาย โดยอาศัยความรูใ้ นหลายด้าน อาทิ ความรู้ ด้านสารสนเทศ ความรู้เกี่ยวกับสื่อ และความรู้ด้าน เทคโนโลยี (Panit, 2012) กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ก�ำหนดความสามารถ
ในการใช้เทคโนโลยีเป็นสมรรถนะที่ส�ำคัญที่ผู้เรียนพึงมี และปฏิบัติได้ โดยผู้เรียนจะต้องมีความสามารถในการ เลือก และใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ อีกทั้งยังต้องมีทักษะ กระบวนการทางเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาตนเองและ สังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การท�ำงาน การแก้ ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสม และมีคณ ุ ธรรม (Ministry of Education, 2008) ทัง้ นี้ การจัดการศึกษา ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนา ตนเองได้ และถือว่าผูเ้ รียนมีความส�ำคัญทีส่ ดุ กระบวนการ จั ด การศึ ก ษาต้ อ งส่ ง เสริ ม ให้ ผู ้ เ รี ย นสามารถพั ฒ นา ตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ ส�ำหรับการจัด กระบวนการเรียนรู้นั้นให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องด�ำเนินการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้ สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน โดยค�ำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดให้มกี ารฝึก ทักษะ กระบวนการคิดการจัดการ การเผชิญสถานการณ์
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
และการประยุกต์ความรูม้ าใช้เพือ่ ป้องกัน และแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ท�ำได้ คิดเป็น ท�ำเป็น รักการอ่าน และ เกิดการใฝ่รอู้ ย่างต่อเนือ่ ง มีการเรียนการสอนโดยผสมผสาน สาระความรูต้ า่ งๆ อย่างได้สดั ส่วนสมดุลกัน รวมทัง้ ปลูกฝัง คุณธรรมค่านิยมทีด่ งี าม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอ�ำนวย ความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ เพื่อน�ำไปสู่เป้าหมายของการเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข (Ministry of Education, 2002) Ministry of Education (2002) ได้เสนอว่า ผูเ้ รียน ต้องมีสิทธิ์ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ท�ำได้ เพื่อให้มี ความรู้ และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการ ศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต ดังนั้น จึงถือได้ว่าการแสวงหาความรู้ และ การสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยการใช้เทคโนโลยีอย่าง ถูกต้องเหมาะสมเป็นคุณสมบัตสิ ำ� คัญทีค่ วรสร้างให้เกิดขึน้ กับผู้เรียนทุกคน จากการทีส่ งั คมโลกในทุกวันนีม้ กี ารเปลีย่ นแปลงไป อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์นนั้ เนือ้ หา บทความ ความรู้ หรือทฤษฎี ทีเ่ กีย่ วกับระบบสารสนเทศทีใ่ ช้ในการจัดการเรียนการสอน ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา หากผู้สอนยังยึด ตนเองเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ และไม่มกี ารปรับปรุง แก้ไขให้ก้าวทันกับเทคโนโลยีด้วยแล้ว ผู้เรียนก็อาจจะ ได้รับความรู้ที่ไม่ทันสมัย ไม่ทันต่อเหตุการณ์ และการ เปลีย่ นแปลงทางสังคม ดังนัน้ การจัดการศึกษาในปัจจุบนั ต้องมีลกั ษณะทีเ่ ป็นระบบเปิดมากขึน้ ส่งเสริมการศึกษา ตลอดชีวติ เน้นการศึกษาเป็นรายบุคคล เน้นเทคโนโลยี ทางการศึกษาในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Ministry of Education, 2008) นอกจากนี้ ค วามเจริ ญ ก้ า วหน้ า ทางด้ า นระบบ อินเทอร์เน็ตยังท�ำให้สามารถเข้าถึงข้อมูล และข่าวสาร ต่างๆ ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่
229
เห็นได้ชดั ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) ซึง่ ผูเ้ รียนสามารถเรียนได้ทกุ สถานที่ ทุกเวลา และไม่จำ� กัดจ�ำนวนผูเ้ รียน (Detchaisee, 2010) ประกอบ กับสือ่ สังคมออนไลน์ (Social Media) ทีเ่ ข้ามามีบทบาท ในการด�ำเนินชีวิต ซึ่งสื่อเหล่านี้ได้กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิด ความสนใจ และเข้าไปใช้งานเป็นจ�ำนวนมาก (Armstrong & Franklin, 2008) โดยสื่อเหล่านี้มีลักษณะเด่นที่ช่วย ส่งเสริมการเรียนการสอน อาทิ เป็นสือ่ ประเภทสองทาง (Two-Way Communication) ท�ำให้ผู้เรียนสามารถ มีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับผู้สอนได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งยังเป็นสื่อที่สามารถรวบรวมเอาสื่อหลากหลาย ประเภทมาบูรณาการ (Integrate) เข้าด้วยกัน อาทิ สไลด์ รูปภาพ บทความ วิดโี อ เสียงบันทึก เสียงดนตรี เป็นต้น (Computer Institute, Ramkamhaeng University, 2009) ตัวอย่างของสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ Facebook, Twitter, Youtube และ Weblog เป็นต้น จากการศึ ก ษางานวิ จั ย เกี่ ย วกั บ การสอนโดยใช้ Weblog ของ Sungjaroon (2007) และ Plaengsorn (2008) พบว่า การสอนโดยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ และ สะท้อนความรูโ้ ดยใช้ Weblog ช่วยให้ผเู้ รียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงขึน้ และสูงกว่าการสอนด้วยวิธกี ารบรรยาย อีกทัง้ การบันทึกความรูใ้ น Weblog ช่วยให้เกิดความคงทน ในการเรียนสูงกว่าการจดบันทึกโดยใช้สมุด จากข้อมูลทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีนั้นได้เปลี่ยนบทบาทจากเทคโนโลยีที่เน้น การถ่ายทอดเนือ้ หาสาระแทนผูส้ อน หรือการเรียนรูจ้ าก เทคโนโลยี (Learning from Technology) มาสู่การ เรียนรูก้ บั เทคโนโลยี (Learning with Technology) ที่ เรียนรูจ้ ากการคิดของตนเอง ซึง่ เทคโนโลยีจะเปลีย่ นมาเป็น สิ่งสนับสนุน และส่งเสริมการคิด เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ทีช่ ว่ ยท�ำให้ผเู้ รียนเกิดการเรียนรูท้ มี่ ปี ระสิทธิภาพมากขึน้ ซึง่ สอดคล้องกับการเรียนรูแ้ บบผสมผสาน หรือทีเ่ รียกว่า Blended Learning เป็นการผสมผสานของการเรียน การสอนแบบดัง้ เดิมในชัน้ เรียน (Traditional Classroom
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
230
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Instruction) กับการเรียนการสอนทีน่ าํ เอาความก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยีสื่อคอมพิวเตอร์แบบออนไลน์เข้ามา มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ แม้ว่าไม่ได้อยู่ภายในชั้นเรียน ถึงแม้ว่าการเรียนแบบดั้งเดิมในชั้นเรียนนั้นมีข้อดี อยูห่ ลายประการ เช่น เป็นการเรียนแบบเผชิญหน้าระหว่าง ผู้เรียนกับผู้สอนในชั้นเรียน ประเมินผลง่าย สะดวก เพราะเป็นการวัดว่าผูท้ เี่ รียนจดจ�ำเนือ้ หาทีไ่ ด้เรียนไปแล้ว ได้มากเพียงใด เข้าใจวิธีการแก้ปัญหาโจทย์แบบที่สอน ไปแล้วหรือไม่ เป็นต้น แต่กย็ งั มีขอ้ จ�ำกัดในหลายด้าน เช่น ถูกจ�ำกัดให้เรียนเฉพาะในห้องเรียน บางสถาบันจ�ำกัด จ�ำนวนนักเรียน หรือจ�ำกัดอายุของผูเ้ รียน รวมถึงค่าใช้จา่ ย ที่สูงกว่าการเรียนแบบออนไลน์ ฉะนั้นการเรียนรู้แบบ ผสมผสาน (Blended Learning) น่าจะเป็นการเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึง่ ทีช่ ว่ ยให้ผเู้ รียนมีผลสัมฤทธิท์ างการเรียน สูงขึ้น หลายสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยได้เริ่มน�ำ เทคโนโลยีทที่ นั สมัยเข้ามาใช้ประกอบในการเรียนการสอน อาทิ ระบบ E-Learning การใช้ Social Media ในการ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ การเรียนการสอนกับนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัย เป็นต้น อีกทั้งยังให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายให้กับ นักศึกษาเพื่อเชื่อมต่อเข้าใช้ระบบอินเทอร์เน็ตภายใน มหาวิทยาลัยได้ตลอดเวลาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การทีส่ ถาบันการศึกษาในประเทศไทยได้เล็งเห็นถึง ความส�ำคัญของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยการน�ำ เทคโนโลยีการเรียนออนไลน์ (Online) ผ่านเว็บไซต์ (Web-Based Instruction) เพื่อสนับสนุนการเรียน การสอนโดยเน้นการมีปฏิสมั พันธ์จากการเรียนออนไลน์ ผ่านเว็บร่วมกับการผสมผสานทฤษฎีการสอน (Mixing Theories of Learning) เข้าด้วยกัน เพื่อตอบสนอง ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมตามศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ (Singpromma, 2013) ซึ่งด้วยวิธีนี้จะเอื้อให้ผู้เรียนมี อิสระในการเรียน และสามารถบริหารเวลาของตนเอง
ได้วา่ จะเรียนเมือ่ ไหร่ ทีไ่ หน และสามารถวางแผนการใช้ สารสนเทศให้เกิดประโยชน์ และตรงกับความต้องการ มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาถึงรูปแบบ การจัดการเรียนรูโ้ ดยการน�ำเทคโนโลยีการเรียนออนไลน์ ผสมผสานกับการเรียนแบบดัง้ เดิม ซึง่ เรียกว่า Blended Learning เพือ่ ต้องการศึกษาถึงผลสัมฤทธิท์ างการเรียน และความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการจัด การเรียนการสอนในรูปแบบดังกล่าว โดยรายวิชาทีน่ ำ� มา ใช้เป็นรายวิชาน�ำร่อง คือ วิชาการถ่ายภาพดิจทิ ลั (Digital Photography) ซึง่ เป็นวิชาบังคับในสาขาภาพยนตร์ ดูแล และบริหารจัดการเรียนการสอนโดยคณะดิจิทัลมีเดีย และศิลปะภาพยนตร์ และจัดเตรียมระบบบนเว็บไซต์ โดยบริษทั พิก โปรสคูล (PIXPROsCOOL) ซึง่ ในรายวิชา มีการเรียนการสอนครัง้ แรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 โดยจัดการเรียนการสอนให้กบั นักศึกษาของคณะดิจทิ ลั มีเดียและศิลปะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ ลงทะเบียนเรียนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ทัง้ นี้ ผูว้ จิ ยั จึงได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบผสมผสาน รวมทัง้ ศึกษาแนวคิดเกีย่ วกับการพัฒนา รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อน�ำมาเป็นแนวทางในการ พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 และเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดต่อนักศึกษา ทีไ่ ด้ลงทะเบียนเรียนในวิชานี้ และในรายวิชาอืน่ ๆ ต่อไป ในอนาคต
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบผสมผสานในวิชาการถ่ายภาพดิจิทัล 2. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ ผสมผสานในวิชาการถ่ายภาพดิจทิ ลั และศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางด้านการเรียน และความพึงพอใจของนักศึกษาที่มี ต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในวิชาการ ถ่ายภาพดิจิทัล
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
แนวคิดและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาเรือ่ งการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบผสมผสานในวิชาการถ่ายภาพดิจทิ ลั ผูว้ จิ ยั ได้ศกึ ษา แนวคิด และทฤษฎีเพือ่ ใช้เป็นแนวทางในการศึกษา ดังนี้ 1. แนวคิ ด เกี่ ย วกั บ การพั ฒ นารู ป แบบการเรี ย น การสอน 2. แนวคิดเกีย่ วกับการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ต 3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน แนวคิดเกีย่ วกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน Uttaranun (1989) ได้กล่าวถึงความส�ำคัญของ รู ป แบบการเรี ย นการสอนว่ า เป็ น สิ่ ง ที่ ช ่ ว ยครู ผู ้ ส อน ด�ำเนินการสอนได้อย่างสะดวก ราบรื่น ลดปัญหาที่จะ เกิดขึน้ ในการสอน และประการส�ำคัญคือ ช่วยให้ผเู้ รียน เกิดการเรียนรู้ เปลีย่ นแปลงพฤติกรรม และเจตคติไปใน แนวทางทีต่ อ้ งการอย่างมีประสิทธิภาพ รูปแบบการเรียน การสอนควรมีลักษณะส�ำคัญ ดังนี้ (1) มีแนวคิดหรือหลักการพืน้ ฐาน รูปแบบการสอน ควรมีลกั ษณะส�ำคัญคือ มีหลักการพืน้ ฐานเป็นส่วนประกอบ ซึง่ รูปแบบการเรียนการสอนหนึง่ อาจมีเพียงแนวคิดเดียว หรื อ อาจจะมี ห ลากหลายแนวคิ ด แบบพหุ วิ ท ยาการ (Multidisciplinary) แนวคิดและหลักการพืน้ ฐานเหล่านี้ จะใช้เป็นหลักหรือแนวทางในการเลือกก�ำหนด และ จัดระเบียบความสัมพันธ์ขององค์ประกอบให้สอดคล้อง ต่อเนื่องกัน (2) มีองค์ประกอบทีส่ มั พันธ์กนั ตลอดรูปแบบการเรียน การสอน เป็นหน้าที่ของผู้ออกแบบการสอนจะต้อง มีความรู้ ประสบการณ์ ความละเอียดรอบคอบ และ คิดวิเคราะห์ จะต้องค�ำนึงถึงองค์ประกอบทั่วไปและ องค์ประกอบเฉพาะสาขา จะต้องเลือกให้เหมาะสมคือ มีความสัมพันธ์และส่งผลโดยตรงต่อการเรียนรูข้ องผูเ้ รียน อย่างสอดคล้องต่อเนื่องกันเป็นล�ำดับกับแนวคิดหรือ หลักการพื้นฐาน นอกจากนี้ รู ป แบบการเรี ย นการสอนควรมี
231
ลักษณะของการให้ความส�ำคัญขององค์ประกอบทัง้ หมด ร่วมกันกล่าวคือ ในรูปแบบการเรียนการสอนหนึง่ แต่ละ องค์ประกอบจะมีความสัมพันธ์กนั และร่วมกันส่งผลต่อ ผู้เรียน ซึ่งกล่าวได้ว่า รูปแบบการสอนนั้นเป็นรูปแบบ การสอนที่มีประสิทธิภาพ (3) มี ก ารพั ฒ นาหรื อ ออกแบบอย่ า งเป็ น ระบบ เริม่ ตัง้ แต่ศกึ ษาวิเคราะห์ขอ้ มูล และก�ำหนดองค์ประกอบ ทีส่ ำ� คัญ จัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบให้สอดคล้อง น�ำแผนการจัดองค์ประกอบไปทดลองใช้เพื่อตรวจสอบ ความเป็นไปได้ในการปฏิบตั ิ และรับรองผลทีเ่ กิดกับผูเ้ รียน ว่าสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการ จึงจะยอมรับว่าการจัดองค์ประกอบนีเ้ ป็นรูปแบบการเรียน การสอนที่มีประสิทธิภาพ (4) มีผลต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของผูเ้ รียนทัง้ เฉพาะ เจาะจง และทั่วไป ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนแต่ละ รูปแบบจะส่งผลต่อผูเ้ รียนต่างกันออกไปตามแนวคิด และ หลักการของรูปแบบการเรียนการสอนนัน้ ดังนัน้ ก่อนที่ จะน�ำรูปแบบการสอนไปใช้ควรพิจารณาความสอดคล้อง กับพฤติกรรมทีต่ อ้ งการ มิฉะนัน้ ผลลัพธ์ทเี่ กิดขึน้ อาจจะ ไม่เป็นไปตามที่กำ� หนดไว้ (5) มีแนวทางการน�ำไปใช้ รูปแบบการเรียนการสอน จะต้องมีการก�ำหนดแนวทางการน�ำไปใช้อย่างชัดเจน เพือ่ สะดวกกับครูผสู้ อนในการน�ำไปปฏิบตั ิ เช่น การเตรียม ของครูผสู้ อน บทบาทของครูผสู้ อน การจัดสภาพแวดล้อม ในห้องเรียน เป็นต้น จะช่วยให้มองเห็นภาพ และสามารถ ปฏิบตั ไิ ด้งา่ ย ส่งผลให้การสอนตามรูปแบบมีประสิทธิภาพ บรรลุผลตามที่ต้องการมากขึ้น จากข้ า งต้ น จะเห็ น ได้ ว ่ า รู ป แบบการสอนของ Uttaranun (1989) สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา การจัดการเรียนรู้ได้ ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงเนื้อหา แนวคิดและหลักการพื้นฐานให้สัมพันธ์กัน เพื่อท�ำให้ ผู้เรียนเข้าใจถึงแก่นแท้ขององค์ความรู้ที่ได้รับ แต่ทั้งนี้ รูปแบบการสอนจะต้องค�ำนึงถึงพฤติกรรมของผูเ้ รียนด้วย เพือ่ ให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามทีผ่ สู้ อนได้ตงั้ ใจไว้ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
232
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
แนวคิ ด เกี่ ย วกั บ การเรียนการสอนบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต รีลัน และกิลลานี (Relan & Gillani, 1997) ได้ให้ ความหมายไว้วา่ การเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นการประยุกต์อย่างแท้จริงของการใช้วิธีการต่างๆ มากมาย โดยใช้เว็บเป็นทรัพยากรเพือ่ การสือ่ สาร และใช้ เป็นโครงสร้างส�ำหรับการแพร่กระจายการศึกษา คลาร์ก (Clark, 1996) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นการสอน รายบุคคล โดยการใช้ข่ายงานคอมพิวเตอร์สาธารณะ หรือข่ายงานส่วนบุคคล ใช้โปรแกรมค้นดูในการเสนอผล และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยผ่านทางข่ายงานคอมพิวเตอร์ คาน (Khan, 1997) ได้ให้ความหมายไว้วา่ การเรียน การสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นโปรแกรมการเรียน การสอนในรูปแบบของสือ่ หลายมิติ (Hypermedia) ทีน่ ำ� คุณลักษณะ และทรัพยากรต่างๆ ทีม่ อี ยูใ่ นเวิลด์ไวด์เว็บ มาใช้ประโยชน์ในการจัดสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้ เกิดการเรียนรู้ พาร์สัน (Parson, 1997) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นการสอน โดยใช้เว็บทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนเท่านั้นในการส่ง ความรู้ไปยังผู้เรียน การสอนลักษณะนี้มีหลายรูปแบบ และมีค�ำที่เกี่ยวข้องกันหลายค�ำ เช่น วิชาออนไลน์ (Courseware Online) และการศึกษาทางไกลออนไลน์ (Distance Education Online) เป็นต้น Na Songkla (1999) ได้ให้ความหมายไว้วา่ การเรียน การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) เป็นการผนวก คุณสมบัติไฮเปอร์มีเดียเข้ากับคุณสมบัติของเครือข่าย เวิลด์ไวด์เว็บเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติ ทีไ่ ม่มขี อ้ จ�ำกัดด้านระยะทาง และเวลาทีแ่ ตกต่างกันของ ผู้เรียน (Learning Without Boundary) Malithong (2005) ได้ให้ความหมายไว้วา่ การเรียน การสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นการใช้เว็บในการเรียน การสอน โดยอาจใช้เว็บเพือ่ การน�ำเสนอบทเรียนในลักษณะ สือ่ หลายมิตขิ องวิชาทัง้ หมดตามหลักสูตร หรือใช้เป็นเพียง
การน�ำเสนอข้อมูลบางอย่างเพื่อประกอบการสอนก็ได้ รวมทัง้ ใช้ประโยชน์ตา่ งๆ ของการสือ่ สารทีม่ อี ยูใ่ นระบบ อินเทอร์เน็ต เช่น การพิมพ์ขอ้ ความโต้ตอบกันทางไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ และการพูดคุยด้วยข้อความ และเสียง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็น การเรียนการสอนโดยน�ำเอาจุดเด่นของโลกออนไลน์มา สนับสนุนการเรียนรูข้ องผูเ้ รียนให้เกิดความสะดวกสบาย และเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการเรียน การสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตยังเป็นการเรียนทีไ่ ม่มี ข้อจ�ำกัดทางด้านสถานที่และเวลา ท�ำให้ผู้เรียนเข้าถึง บทเรียนได้อย่างทั่วถึง แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน หรือ Blended Learning ปัจจุบนั เป็นยุคดิจทิ ลั (Digital Age) ผูเ้ รียนรุน่ ใหม่ เป็นรุ่นเครือข่ายออนไลน์ (Net Generation) ซึ่งจะ เรียนได้ดีเมื่อมีส่วนร่วม และรู้สึกสนุกกับการเรียนที่มี การโต้ตอบทั้งในสถานการณ์จ�ำลอง หรือเกมที่แสดง บทบาทเสมือนจริงบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีการเรียนรู้ ด้วยตนเองทุกทีท่ กุ เวลาผ่านโทรศัพท์มอื ถือและแท็บเล็ต ผูเ้ รียนยุคใหม่จงึ ต้องการเรียนรูแ้ บบใหม่ซงึ่ เป็นการเรียนรู้ ส่วนบุคคล (Personalized Learning) โดยรับรูว้ า่ บุคคล มีความแตกต่างกันทั้งด้านสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ (Personal Learning Environment) เครือข่ายทางการ เรียนรู้ (Personal Learning Network) และเครื่องมือ ในการเรียนรู้บนเว็บ (Personal Web Tool) บุคคลมี อุปกรณ์สอื่ สาร และคอมพิวเตอร์แบบพกพา มีเครือข่าย และมี ก ารสื่ อ สารทางเครื อ ข่ า ยคอมพิ ว เตอร์ ใ นกลุ ่ ม มีการร่วมมือกันตามความสนใจ และมีเป้าหมายเดียวกัน ในโลกของสังคมออนไลน์ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนมีเสียง ที่สามารถเล่าเรื่องราวของตนเองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยผ่านโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์แบบพกพามากยิง่ ขึน้ ทัง้ ทางเฟซบุก๊ ทวิตเตอร์ และยูทวิ บ์ (YouTube) จึงเกิด นวัตกรรมการเรียนการสอนที่เรียกว่า “การเรียนรู้แบบ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ผสมผสาน” ดริสคอลล์ (Driscoll, 2002) อธิบายว่า การเรียนรู้ แบบผสมผสานเป็นการรวมหรือผสมผสานเทคโนโลยี ของเว็บ (Web-Based Technology) เข้าด้วยกันกับ การเรียนการสอนในชัน้ เรียนแบบดัง้ เดิม (Face to Face Instruction) เช่น การเรียนทีจ่ ดั ขึน้ ตามความสนใจของ ผูเ้ รียนในห้องเรียนเสมือนสด (Live Virtual Classroom Self-Paced Instruction) การเรี ย นแบบร่ ว มมื อ (Collaborative Learning) เรียนกับสื่อภาพวีดิทัศน์ ที่บีบอัดภาพและเสียง (Streaming Video) เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของการจัดการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับซอยล์และมูเนน (Collis & Moonen, 2001) ที่กล่าวว่า การเรียนรู้แบบผสมผสานเป็นการ ผสมผสานระหว่างการเรียนแบบเผชิญหน้ากับการเรียน แบบออนไลน์เข้าด้วยกัน ซึ่งมีทั้งส่วนประกอบที่เป็น การเรียนในห้องเรียน และการเรียนแบบออนไลน์ โดยใช้ องค์ประกอบของการเรียนแบบออนไลน์เติมเต็มช่องว่าง ของการเรียนในห้องเรียน
วิธีการด�ำเนินการวิจัย
งานวิจยั ชิน้ นีใ้ ช้ระเบียบวิธวี จิ ยั แบบผสมผสาน โดยแบ่ง เป็น 2 ส่วน ทางด้านการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การศึกษา เอกสาร ศึกษากลุ่ม หรือบุคคลด้วยการสังเกต ตัวอย่าง ส�ำหรับการสนทนากลุ่มเป็นนักศึกษาจ�ำนวน 10 กลุ่ม กลุม่ ละ 5 คน โดยการสุม่ แบบเจาะจง รวมทัง้ สิน้ 50 คน ซึง่ ใช้คำ� ถามแสดงความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอน ความคิ ด เห็ น ต่ อ เนื้ อ หา และความคิ ด เห็ น ต่ อ ผู ้ ส อน ส่วนตัวอย่างส�ำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญ ทางด้านเนือ้ หาจ�ำนวน 3 คน และผูเ้ ชีย่ วชาญทางด้านสือ่ จ�ำนวน 3 คน โดยมีเกณฑ์ในการเลือกโดยพิจารณาจาก ประสบการณ์ และมีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสิ้น 6 คน ซึ่งถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอน แบบผสมผสาน การประเมินผล และแนวทางในการสอน วิชานี้ในอนาคต ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณนั้นตัวอย่างประกอบด้วย
233
นักศึกษาวิชาการถ่ายภาพดิจทิ ลั ก่อนเรียนจ�ำนวน 436 คน และหลังเรียนจ�ำนวน 463 คน และการวิเคราะห์ทางสถิติ ทีม่ ตี วั แปรต้นเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ในรายวิชาการถ่ายภาพดิจทิ ลั ซึง่ เป็นการเรียนการสอน แบบดั้ ง เดิ ม ในชั้ น เรี ย น (Traditional Classroom Instruction) กับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Classroom Instruction) ตัวแปรตามเป็นผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาการถ่ายภาพดิจทิ ลั และความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการจัด การเรียนการสอน และตัวแปรแทรกเป็นความรูพ้ นื้ ฐาน ของนักศึกษาเกีย่ วกับการถ่ายภาพดิจทิ ลั ประสบการณ์ ในการเรียนแบบออนไลน์ของนักศึกษา และการจัดสรร เวลาในการเรียนของนักศึกษา เป็นต้น โดยแบ่งการท�ำ แบบสอบถามออกเป็นแบบสอบถามก่อนและหลังการเรียน ซึ่งแบบสอบถามก่อนการเรียน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 เป็นความพร้อม ในการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ ส่วนที่ 3 เป็น ความคาดหวังต่อการเรียนการสอน ส่วนแบบสอบถาม หลังการเรียน แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูล ส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 เป็นความพึงพอใจต่อการเรียน การสอน ส่วนที่ 3 เป็นความรูพ้ นื้ ฐานเกีย่ วกับการถ่ายภาพ ดิจิทัล ส่วนที่ 4 เป็นความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อ รายวิชา
ผลการวิจัย
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในวิชา การถ่ายภาพดิจิทัล เป็นการเรียนรู้ที่ผสมผสานระหว่าง การเรียนการสอนแบบดั้งเดิมในชั้นเรียน (Traditional Classroom Instruction) ที่ ผู ้ ส อนและผู ้ เ รี ย นมี ปฏิสมั พันธ์กนั แบบเผชิญหน้า (Face to Face Instruction) 30% โดยผูส้ อนจะเจอกับนักศึกษาในวันเปิดเรียน วันแรก (Orientation Class) ซึ่งทางผู้สอนได้แนะน�ำ และอธิบายถึงวิธกี ารเรียนการสอนอย่างละเอียด รวมถึง อธิบายขัน้ ตอนในการเข้าระบบผ่านทางเว็บไซต์ไปจนถึง การสร้างกลุ่มสังคมออนไลน์ เพื่อใช้เป็นช่องทางในการ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
234
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และใช้ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง โดยในวันนั้นจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามข้อสงสัย ทีเ่ กีย่ วข้องกับรูปแบบการเรียนการสอน เพือ่ ให้นกั ศึกษา เกิดความเข้าใจในการเรียนแบบผสมผสาน และเตรียมตัว ในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหลังจากนั้น นักศึกษาจะได้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการในการเรียนรู้ การใช้กล้อง จ�ำนวน 3 คาบเรียน เพือ่ ให้นกั ศึกษารูจ้ กั และ คุน้ เคยกับอุปกรณ์กอ่ นทีจ่ ะลงมือปฏิบตั จิ ริงในภาคสนาม ส่วนอีก 70% นั้นจะเป็นการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) โดยนอกจากนักศึกษาจะ สามารถเข้าไปดูเนื้อหาการเรียนผ่านทางเว็บได้แล้วนั้น ทางเว็บยังมีระบบส่งการบ้านและตรวจการบ้าน เพือ่ ให้ ผู้เรียนได้ส่งงานให้ผู้สอนได้โดยตรง และรวดเร็วยิ่งขึ้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของ นักศึกษาทีม่ ตี อ่ รูปแบบการจัดการเรียนรูแ้ บบผสมผสาน ในวิชาการถ่ายภาพดิจิทัล การวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ก่อนเรียนนักศึกษามีระดับความรู้พื้นฐานการถ่ายภาพ ดิจทิ ลั โดยรวมอยูใ่ นระดับน้อย ค่าเฉลีย่ เท่ากับ 2.43 เมือ่ หลังเรียนนักศึกษามีความรู้พื้นฐานการถ่ายภาพดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 ระดับ ความรู้ที่เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอน พบว่า ก่อนเรียนนักศึกษามีความคาดหวังต่อการจัด การเรียนรู้แบบผสมผสานในวิชาการถ่ายภาพดิจิทัล ในด้านการเรียนการสอนอยูใ่ นระดับมาก โดยมีคา่ เฉลีย่ เท่ากับ 4.00 แต่หลังเรียนนักศึกษาเกิดความพึงพอใจ ที่น้อยกว่าความคาดหวังไว้ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.73 โดยนั ก ศึ ก ษามี ค วามคาดหวั ง ต่ อ การเรี ย นการสอน (ก่อนเรียน) แตกต่างจากความพึงพอใจต่อการเรียน (หลังเรียน) มากทีส่ ดุ คือ ได้รบั ความรู้ ความเข้าใจในการ เรียนถ่ายภาพดิจิทัลมากยิ่งขึ้น (C5) รองลงมาคือ มีสื่อ และเทคโนโลยีมมี าตรฐาน ทันสมัย และพร้อมใช้งาน (C3) ส่วนความพึงพอใจต่อผูส้ อนพบว่า ก่อนเรียนนักศึกษา มีความคาดหวังต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน
ในวิชาการถ่ายภาพดิจิทัลในด้านผู้สอนอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 แต่หลังเรียนนักศึกษาเกิด ความพึงพอใจที่น้อยกว่าความคาดหวังไว้ ซึ่งมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3. 81 โดยนักศึกษามีความคาดหวังต่อการเรียน การสอน (ก่อนเรียน) แตกต่างจากความพึงพอใจต่อ การเรียน (หลังเรียน) รายวิชาการถ่ายภาพดิจทิ ลั มากทีส่ ดุ คือ เป็นผู้ที่มีความสามารถในการสอน ถ่ายทอดความรู้ ได้อย่างเหมาะสม (T2) รองลงมาคือ เป็นผูม้ จี รรยาบรรณ ของความเป็นครู และเป็นแบบอย่างที่ดี (T5) ส่วนความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ ผสมผสานพบว่า ก่อนเรียนนักศึกษามีความคาดหวังต่อ การจัดการเรียนรูแ้ บบผสมผสานในวิชาการถ่ายภาพดิจทิ ลั อยูใ่ นระดับมาก โดยมีคา่ เฉลีย่ เท่ากับ 3.81 แต่หลังเรียน นักศึกษาเกิดความพึงพอใจที่น้อยกว่าความคาดหวังไว้ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62 โดยนักศึกษามีความคาดหวัง ต่อการเรียนการสอน (ก่อนเรียน) แตกต่างจากความพึง พอใจต่อการเรียน (หลังเรียน) รายวิชาการถ่ายภาพดิจทิ ลั มากทีส่ ดุ คือ ระบบการประเมินผลงาน และการคัดเลือก ผลงานเพือ่ จัดแสดง (B5) รองลงมาคือ การเรียนการสอน ผ่านเว็บไซต์ (Web-Based Instruction) (B3) นอกจากนีน้ กั ศึกษาทีม่ คี วามตัง้ ใจในการเรียน และ ท�ำกิจกรรมจะมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน รายวิชาการถ่ายภาพดิจิทัลที่สูงกว่านักศึกษาที่มีความ ตั้งใจในการเรียน และท�ำกิจกรรมน้อย และนักศึกษาที่ มีกล้องดิจทิ ลั ทีม่ ศี กั ยภาพพร้อมทีจ่ ะใช้ในการฝึกปฏิบตั ิ ส่วนตัวนอกเวลาชั้นเรียนมีผลท�ำให้นักศึกษามีความรู้ พืน้ ฐานการถ่ายภาพดิจทิ ลั หลังเรียนสูงกว่านักศึกษาทีม่ ี แต่ไม่พร้อม/ไม่มีแต่พร้อมที่จะจัดหา และไม่สามารถ จัดหาได้ ส่วนนักศึกษาทีม่ เี ครือ่ งคอมพิวเตอร์และ/หรือ มีกล้องดิจทิ ลั ทีม่ ศี กั ยภาพพร้อมทีจ่ ะใช้ในการฝึกปฏิบตั ิ ส่วนตัวนอกเวลาชั้นเรียนมีผลท�ำให้นักศึกษามีความพึง พอใจต่อการเรียนการสอนรายวิชาการถ่ายภาพดิจิทัล สูงกว่านักศึกษาทีม่ แี ต่ไม่พร้อม/ไม่มแี ต่พร้อมทีจ่ ะจัดหา และไม่สามารถจัดหาได้ ดังนัน้ นักศึกษามีความคาดหวังมาก และเกิดความ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
พึงพอใจมาก แต่ในเชิงค่าเฉลี่ยความพึงพอใจยังอยู่ใน เกณฑ์ทตี่ ำ�่ กว่าความคาดหวัง จึงเห็นได้วา่ ความพึงพอใจ ของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ในวิชาการถ่ายภาพดิจิทัลต�่ำกว่าความคาดหวังที่ตั้งไว้ อย่างเห็นได้ชัดทั้งในภาพรวม และรายด้านทั้ง 3 ด้าน ทั้งด้านการเรียนการสอน ด้านผู้สอน และด้านการจัด
235
การเรียนการสอนแบบผสมผสาน อย่างไรก็ตามยังมีเรือ่ ง ของปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษา ทั้งความตั้งใจในการเรียนและท�ำกิจกรรม ความพร้อม และศักยภาพของกล้องดิจิทัลและเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่นักศึกษาใช้อีกด้วย
ตารางที่ 1 ค่าเฉลีย่ และส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรูร้ ายวิชาการถ่ายภาพดิจทิ ลั ระหว่างก่อนกับหลังเรียน
ผลลัพธ์การเรียนรู้
ความตั้งใจในการเรียนและท�ำกิจกรรม ความรู้พื้นฐานการถ่ายภาพดิจิทัล
การเรียนรายวิชาการถ่ายภาพดิจิทัล ก่อนเรียน หลังเรียน สถิติทดสอบที ส่วน ส่วน (ค่าพี) ค่าเฉลี่ย เบี่ยงเบน ค่าเฉลี่ย เบี่ยงเบน มาตรฐาน มาตรฐาน 4.30 0.762 4.08 0.782 4.273 (<0.001)** 2.43 1.003 3.81 0.716 29.936 (<0.001)**
สรุปความคิดเห็นจากผูเ้ ชีย่ วชาญด้านสือ่ การศึกษา ในประเด็นความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ ผสมผสานในรายวิชาการถ่ายภาพดิจิทัล ผู้เชี่ยวชาญ ด้านสื่อการศึกษาคิดว่า การเรียนการสอนในลักษณะนี้ จ�ำเป็นกับระบบการศึกษาของประเทศไทยมาก เพราะ ประเทศไทยยังขาดบุคลากรครูที่มีคุณภาพ ถ้ามีครูที่มี คุณภาพจ�ำนวนน้อย ก็หนั มาท�ำบทเรียนออนไลน์ เด็กก็ จะได้รับความรู้จากครูที่เก่งๆ ในทางตรงกันข้ามการที่ ให้เด็กมานั่งเรียนแบบตัวต่อตัวกับครูที่ไม่เก่ง แบบไหน จะเป็นประโยชน์กบั เด็กมากกว่ากัน แต่อย่างแรกต้องให้ ครูมานั่งเรียนออนไลน์ก่อน เพราะจะได้ทราบถึงระบบ การเรียนการสอน เป็นการเปิดโลกทัศน์ของครูผู้สอน ไปในตัว อุปสรรคของบ้านเราอีกอย่างก็คอื ระบบอินเทอร์เน็ต ยังเข้าไม่ถงึ ทัว่ ทุกที่ แต่ในระดับมหาวิทยาลัยน่าจะท�ำได้ ซึง่ ทางส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พยายาม จัดท�ำ e-learning แต่ตอนนี้ยังเป็นเพียงโปรแกรม
powerpoint การเรียนออนไลน์มีข้อเสียเปรียบอยู่บ้าง คือ การเรียนการสอนขาดบรรยากาศ เวลาเรียนทีห่ อ้ งเรียน ครูสามารถสร้างบรรยากาศในการเรียนได้ แม้ครูสอน ออนไลน์ดี สร้างบรรยากาศได้ แต่ก็ยังไม่มีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างครูกับนักศึกษา ต้องเป็นห้องเรียนขนาดเล็ก ประมาณ 20-30 คน เวลาเราตั้งค�ำถามแล้วมีนักศึกษา คนหนึ่งตอบ เพื่อนๆ ในห้องเรียนก็จะมีปฏิสัมพันธ์กับ กิจกรรมที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้น ท�ำให้นอกห้องเรียนไป คุยกันต่อได้ ยังรู้สึกว่าวิชานี้มีทั้งข้อดีและข้อไม่ดีในการ น�ำมาเรียนออนไลน์ เพราะแม้การมีตัวอย่างด้วยภาพ มีคำ� อธิบายประกอบกับการทีอ่ าจารย์พาเดินไปถ่ายภาพ ด้วยกันแล้วได้บรรยากาศ คิดว่าแบบหลังจะดีกว่าเยอะ ส่วนความคิดเห็นต่อเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ การศึกษามีความคิดเห็นว่า ชอบเนื้อหาการเรียน และ ชอบตรงที่อาจารย์มีการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้า และนอกจากนีย้ งั ชอบทีม่ กี ารสร้างเครือข่ายผ่านทางสือ่ สังคมออนไลน์ เพือ่ ใช้ชว่ ยในการติดต่อระหว่างอาจารย์
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
236
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
กับนักศึกษา เป็นการเพิม่ ช่องทางมากยิง่ ขึน้ เช่น ตัง้ กลุม่ ในเฟซบุ๊ก แต่สิ่งที่น่าจะขาดไปก็คือ การท�ำงานร่วมกัน ระหว่างนักศึกษา เพราะปกติอาจารย์จะสั่งงานเดี่ยว หรือถ้าสามารถเพิม่ ช่องทางให้นกั ศึกษาวิจารณ์งานของ กันและกันได้กอ่ นทีจ่ ะส่งอาจารย์ ก็จะท�ำให้นกั ศึกษาได้ เรียนรู้ มีการถกเถียงถึงหลักการและทฤษฎี ท�ำให้นกั ศึกษา ได้ต่อยอดความรู้มากขึ้น ส่วนข้อเสนอแนะ ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อการศึกษา แนะน�ำว่า ควรจะมีอาจารย์มานัง่ เรียนออนไลน์พร้อมกัน กับนักศึกษา และเตรียมค�ำถามมาอภิปรายกัน ซึ่งอาจ จะเป็นอาทิตย์ละ 2 ชั่วโมง หรืออย่างน้อยเดือนละครั้ง เห็นด้วยอย่างยิง่ กับการประเมินทีว่ ดั จากผลงาน เพราะ ในรายวิชานี้เป็นวิชาเน้นการปฏิบัติ 100% แต่ปัญหา ก็คอื พิสจู น์ไม่ได้วา่ นักศึกษาถ่ายภาพเองหรือไม่ แต่วธิ แี ก้ คงท�ำได้เพียงแจ้งให้นกั ศึกษาทราบถึงกฎระเบียบ จริยธรรม ในการท�ำงาน อย่างไรก็ตามทางคณะอาจารย์ตอ้ งช่วยกัน เป็นหูเป็นตา แต่ชนื่ ชมทีว่ ชิ านีเ้ ป็นวิชาปฏิบตั ิ วิชาทีต่ อ้ ง ใช้ทกั ษะแต่นำ� มาสอนแบบออนไลน์ ท�ำให้วชิ าประเภทนี้ จับต้องได้จริง เรียนรู้ได้จริง
สรุปผลการศึกษา
ส่วนที่ 1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ในวิชาการถ่ายภาพดิจิทัลนั้น ได้ด�ำเนินการวางแผน การจัดการเรียนการสอนโดยคณะดิจทิ ลั มีเดียและศิลปะ ภาพยนตร์ กับบริษัท พิก โปรสคูล (PIXPROsCOOL) ผู้จัดเตรียมระบบบนเว็บไซต์ โดยการเรียนการสอน ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายวิธี ได้แก่ บรรยาย (Lecture) บนเว็บไซต์ อภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการอบรมเชิง ปฏิบัติการในการเรียนรู้การใช้กล้อง นอกจากนี้ยังมี กิ จ กรรมอื่ น เพิ่ ม เติ ม เช่ น การมอบหมายงานเดี่ ย ว การน�ำเสนอผลงานในรูปแบบโครงงานภาพถ่าย (Term Project) ด้ วยการผสมผสานของลัก ษณะการเรียน การสอนที่มีสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันคือ ด้านแรกเป็น ลักษณะของสิง่ แวดล้อมทางการเรียนการสอนแบบดัง้ เดิม
ในชั้นเรียน (Traditional Classroom Instruction) ที่ ผูส้ อนและผูเ้ รียนมีปฏิสมั พันธ์กนั แบบเผชิญหน้า (Face to Face Instruction) 30% อีกด้านหนึง่ เป็นการนาํ เอา ลักษณะของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนการสอนที่นําเอา ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสื่อคอมพิวเตอร์แบบ ออนไลน์เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน (Web-Based Instruction) 70% เพือ่ ให้ผเู้ รียนเกิดการ เรียนรู้แม้ว่าไม่ได้อยู่ภายในชั้นเรียน ส่วนที่ 2 ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของนักศึกษาพบว่า ก่อนเรียนนักศึกษามีระดับความรู้พื้นฐานการถ่ายภาพ ดิจทิ ลั โดยรวมอยูใ่ นระดับน้อย ค่าเฉลีย่ เท่ากับ 2.43 เมือ่ หลังเรียนนักศึกษามีความรู้พื้นฐานการถ่ายภาพดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 ระดับ ความรู้ที่เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 ส่วนความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อ รูปแบบการเรียนการสอนนัน้ นักศึกษามีความคาดหวังมาก และเกิดความพึงพอใจมาก แต่ในเชิงค่าเฉลี่ยความพึง พอใจยังอยูใ่ นเกณฑ์ทตี่ ำ�่ กว่าความคาดหวัง จึงเห็นได้วา่ ความพึงพอใจของนักศึกษาทีม่ ตี อ่ การจัดการเรียนรูแ้ บบ ผสมผสานในวิชาการถ่ายภาพดิจทิ ลั ต�ำ่ กว่าความคาดหวัง ทีต่ งั้ ไว้อย่างเห็นได้ชดั ทัง้ ในภาพรวม และรายด้านทัง้ 3 ด้าน ทั้งด้านการเรียนการสอน ด้านผู้สอน และด้านการจัด การเรียนการสอนแบบผสมผสาน อย่างไรก็ตามยังมีเรื่องของปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อ ความพึงพอใจของนักศึกษาทั้งความตั้งใจในการเรียน และท�ำกิจกรรม ความพร้อม และศักยภาพของกล้อง ดิจิทัล และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นักศึกษาใช้อีกด้วย ส่วนที่ 3 การพัฒนาการจัดการเรียนรูแ้ บบผสมผสาน ในวิชาการถ่ายภาพดิจทิ ลั ทางด้านการจัดการเรียนการสอน ควรเพิ่มระยะเวลาในการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ในวิชาการถ่ายภาพดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น หรืออาจารย์ควร ให้เวลานอกเหนือจากระยะเวลาในการเข้าเรียนเพื่อให้ ค�ำปรึกษากับนักศึกษาให้มากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษา ได้เกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นในรายวิชา เนื่องจากในส่วน การเรียนในทางปฏิบัติมีระยะเวลาให้นักศึกษาเรียนรู้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
น้อยเกินไป และนักศึกษาบางคนยังขาดความรู้พื้นฐาน เกีย่ วกับการถ่ายภาพ ท�ำให้ไม่เข้าใจในประเด็นต่างๆ ได้ ชัดเจน แต่สำ� หรับคนทีม่ พี นื้ ฐานการถ่ายภาพมาแล้วก็จะ สามารถเรียนได้เข้าใจอย่างต่อเนือ่ ง โดยจะปะติดปะต่อ การเรียนปฏิบัติกันเองได้อีกรอบหนึ่ง นอกจากนี้ควรมี การจัดหมวดหมู่เนื้อหารายวิชาในการเรียนการสอน อย่างชัดเจน ล�ำดับเนื้อหาก่อนหลังอย่างชัดเจน รวมถึง เนื้อหารายวิชาในแต่ละบทควรมีความละเอียด และ เข้าใจต่อการเรียนการสอนแบบผ่านเว็บมากขึ้น และ ลดการบ้านให้น้อยลง เนื่องจากมีการสั่งการบ้านเยอะ การแบ่งหัวข้องานเป็นบทๆ ในแต่ละสัปดาห์ให้นกั ศึกษา ท�ำไม่มคี วามชัดเจนและยากเกินไป ท�ำให้นกั ศึกษาไม่คอ่ ย อยากท�ำส่ง รวมถึงในเรื่องการจัดเวิร์คช็อป ควรไปอยู่ ตอนท้ายของการเรียน เพราะหากนักศึกษาเรียนก่อน ไม่เข้าใจจะสามารถซักถามได้ ทางด้านผู้สอนควรให้ผู้เรียนและผู้สอนได้เรียน แบบพบหน้ากันมากขึ้น เพราะอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้มี ความรู้ สอนเข้าใจดี สื่อสารกับนักศึกษาตลอด และ ค่อนข้างเอาใจใส่ แต่ทางวิชาการถ่ายภาพซึ่งเป็นวิชาที่ มีการปฏิบัติเยอะ นักศึกษายังมีข้อซักถามอีกมาก และ อาจารย์ผู้สอนยังไม่สามารถตอบค�ำถามได้อย่างรวดเร็ว เนือ่ งจากนักศึกษาแต่ละกลุม่ มีความรูพ้ นื้ ฐานทีแ่ ตกต่างกัน คนทีม่ คี วามรูพ้ น้ื ฐานมาก่อนแล้วก็จะไม่คอ่ ยมีขอ้ ซักถาม แต่ในทางกลับกันนักศึกษาทีไ่ ม่มคี วามรูพ้ นื้ ฐานเกีย่ วกับ การถ่ายภาพมาก่อนจะมีขอ้ สงสัยต่างๆ ทีต่ อ้ งการซักถาม กับผูส้ อนเป็นอย่างยิง่ หากไม่ได้รบั ค�ำตอบก็จะเกิดความ สงสัย และไม่สามารถเรียนบทต่อๆ ไปได้เข้าใจอย่าง ต่อเนื่อง ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ในวิชาการถ่ายภาพดิจิทัล จุดเด่น - เกิดความสะดวกสบายต่อการเรียน ประหยัดเวลา สามารถเลือกเวลา สถานที่เรียนเอง - เนื้อหาสามารถย้อนดูได้หลายรอบ เนื่องจาก เป็นการเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์
237
- อาจารย์อธิบายได้เข้าใจดี อธิบายเรือ่ งยากให้เป็น เรือ่ งง่ายได้ ถ้าเรียนในห้องอาจารย์อธิบายไปแล้วบางคน ไม่กล้าถามในห้องเรียน แต่ถ้าเรียนออนไลน์สามารถ ย้อนดูได้ หรือส่งข้อความถามหากมีข้อสงสัย - การแยกการสอนระหว่างกล้องประเภท Mirrorless กับกล้อง DSLR เนือ่ งจากนักศึกษาแต่ละคนจะใช้กล้อง ที่แตกต่างกัน การสอนแบบแยกประเภทของกล้องจะ ท�ำให้นักศึกษาเข้าใจถึงระบบการท�ำงานของกล้องได้ดี ยิ่งขึ้น - เนือ้ หาการเรียนของวิชาถ่ายภาพดิจทิ ลั นี้ อาจารย์ มีการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้า - การสร้างเครือข่ายผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อช่วยในการติดต่อระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาเป็น การเพิ่มช่องทางมากยิ่งขึ้น - การปลู ก ฝั ง การหาความรู ้ ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ผู ้ เ รี ย น ผู้เรียนมีเวลาในการคิดพิจารณาอย่างรอบคอบมากขึ้น ในการจัดเตรียมหรือหาความรู้อย่างลึกซึ้ง และชัดเจน ตลอดจนใส่ใจในการหาค�ำตอบ จุดด้อย - เกิดปัญหาเรื่องการโต้ตอบระหว่างผู้สอนและ ผูเ้ รียน เนือ่ งจากช่วงทีเ่ รียนผ่านสือ่ ออนไลน์ เมือ่ นักศึกษา เกิดข้อสงสัยในประเด็นใดประเด็นหนึง่ นักศึกษาไม่สามารถ ซักถาม และได้รับค�ำตอบได้อย่างทันท่วงที เนื่องจาก เวลาไม่ตรงกัน - การแบ่งหัวข้องานให้นกั ศึกษาท�ำ ไม่มคี วามชัดเจน หัวข้อของแต่ละงานบางครัง้ ยากเกินไปท�ำให้ไม่มนั่ ใจว่า ภาพที่ถ่ายออกมาถูกหรือไม่ เริ่มท�ำให้นักศึกษาไม่ค่อย อยากท�ำส่ง - การสอนออนไลน์ยังไม่สามารถน�ำมาใช้ได้กับ รายวิชาถ่ายได้ดี และเป็นทางเลือกสุดท้ายทีค่ วรใช้หาก เกิดกรณี อาทิ ห้องเรียนไม่เพียงพอหรืออาจารย์ผู้สอน ไม่สามารถมาสอนได้ หรือนักเรียนทีอ่ ยูท่ างไกล หรืออยู่ ต่างประเทศไม่สามารถมานั่งเรียนได้ การศึกษาแบบ ออนไลน์จึงเหมาะสม
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
238
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
- ด้านมนุษยสัมพันธ์ เนือ่ งจากการเรียนนอกชัน้ เรียน ไม่ได้ท�ำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์อย่างแท้จริง จึ ง ส่ ง ผลให้ ผู ้ เ รี ย นในรู ป แบบนี้ ข าดการใช้ ข ่ า ยงาน คอมพิวเตอร์สาธารณะ หรือข่ายงานส่วนบุคคล โดยใช้ โปรแกรมค้นดูในการเสนอผลอาจเกิดความพึงพอใจต�่ำ เนื่องจากขาดการเข้ากลุ่มทางสังคม เช่น กลุ่มวัยรุ่นที่ ต้องการเข้ากลุ่มทางสังคมโดยการพบปะกันในสังคม แห่งความเป็นจริง - ด้ า นการมี ส ่ ว นร่ ว มทางการเรี ย น การเรี ย น ลักษณะนีไ้ ม่สามารถสร้าง หรือสนับสนุนการแลกเปลีย่ น การเชื่อมโยงทางความคิดระหว่างผู้เรียนรวดเร็วเท่ากับ การเรียนภายในชั้นเรียน - ด้านความชักช้า หรือผัดวันประกันพรุง่ ของผูเ้ รียน การเรียนระบบออนไลน์อาจก่อให้เกิดนิสัยการผัดวัน ประกันพรุ่ง เช่น การเข้าไปเรียนตามความพึงพอใจ เข้าศึกษาบทเรียนล่าช้ามักคิดว่าสามารถเข้าไปศึกษา เมื่อใดก็ได้
อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในวิชา การถ่ายภาพดิจิทัลพบว่า มีการใช้รูปแบบการเรียน การสอนผ่านเว็บ มีระบบส่งการบ้าน และตรวจการบ้าน ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายวิธี ได้แก่ บรรยาย (Lecture) การฝึกปฏิบัติ (Practice) และ อภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) ได้สอดคล้องกับ แนวคิดของแวน แดม (Van Dam, 2003) ที่ได้กล่าวถึง ลักษณะการเรียนการสอนแบบผสมผสานว่ามี 3 ลักษณะ คือ การเรียนการสอนแบบเผชิญหน้า เป็นการเรียนการสอน ที่ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ในสถานที่เดียวกัน เวลาเดียวกัน และการเรียนด้วยตนเองบนเว็บ การเรียนการสอนชนิดนี้ เป็นการเรียนการสอนแบบต่างเวลา หรือการเรียนแบบ ร่วมมือโดยที่ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน แต่ไม่ได้เชือ่ มต่อกับผูเ้ รียนคนอืน่ หรือผูส้ อนในเวลาเดียวกัน และการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายเป็นการใช้เทคโนโลยี ในการจัดการเรียนการสอน โดยที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่
ในเวลาเดียวกัน แต่ตา่ งสถานทีก่ นั เป็นรูปแบบการเรียน การสอนแบบประสานเวลา ซึ่งเป็นรูปแบบการสอน แบบใหม่อีกรูปแบบหนึ่งภายใต้กระแสแห่งพัฒนาการ ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เป็นรูปแบบของการปรับใช้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับการเรียนการสอนแบบปกติ เพื่ อ ให้ เ กิ ด การเรี ย นรู ้ ที่ ก ้ า วไกลเกิ ด ทั้ ง ประสิ ท ธิ ผ ล และมีประสิทธิภาพทางการเรียนรูม้ ากยิง่ ขึน้ ซึง่ รูปแบบ ดังกล่าวนีเ้ รียกว่า “การเรียนรูแ้ บบผสมผสาน (Blended Learning)” เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่ผสมผสานโมดูล (Module) การเรียนการสอนหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน เป็นลักษณะของการผสมผสานการเรียนทางไกล (Distance Learning) ผ่านระบบเครือข่ายร่วมกับการเรียนแบบ เผชิญหน้า ท�ำให้เกิดการเรียนรูท้ มี่ ปี ระสิทธิภาพมากกว่า การนั่งฟังการบรรยายในชั้นเรียนปกติ ทั้งนี้จะให้ความ ส�ำคัญกับการเลือกใช้สื่อที่เหมาะสม และถูกต้องตาม จุดประสงค์การเรียนรูใ้ นลักษณะต่างๆ เพือ่ เพิม่ ศักยภาพ การเรียนการสอนมากขึ้น นอกจากนีด้ า้ นผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากขึ้น ในทุกๆ ด้าน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของออสเบิร์น (Ausburn, 2004) ทีไ่ ด้ศกึ ษาเกีย่ วกับการสร้างสิง่ แวดล้อม ทางการเรียนรู้แบบผสมผสานในหลักสูตรการออกแบบ เบื้องต้นส�ำหรับผู้ใหญ่ และท�ำการเปรียบเทียบกับกลุ่ม ที่ศึกษาจากการเรียนรู้ภายในชั้นเรียนเพียงอย่างเดียว พบว่า โดยทั้งสองกลุ่มมีลักษณะคล้ายคลึงกันในด้าน พื้นฐานของหลักสูตรทางการใช้เทคโนโลยี ทักษะทาง ด้านทิศทาง ประสบการณ์ และการทราบถึงวัตถุประสงค์ ทางการเรียน แต่พบว่า ผู้เรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบ การเรียนรู้แบบผสมผสานมีความสามารถในการรับรู้ ด้วยตนเอง เกิดการรับรูต้ ระหนักถึงการก�ำกับตนเองไปสู่ เป้าหมายของการเรียนรู้ และการทบทวนความรู้ และ ทักษะทางด้านเทคโนโลยีของตนเองอยูเ่ สมอ นอกจากนี้ ผลการวิจัยในครั้งนี้ยังใกล้เคียงกับงานวิจัยของบอยล์ และคณะ (Boyle et al., 2003) ที่ใช้การผสมผสาน ระหว่างการเรียนรู้แบบดั้งเดิม (Traditional) ร่วมกับ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
การเรียนรูโ้ ดยใช้แหล่งการเรียนรูบ้ นเครือข่าย (Online Resources) และสนับสนุนการเรียนรู้ทางด้านเนื้อหา (Tutorial Support) พบว่า การเรียนการสอนโดยใช้ คอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อสนับสนุน การเรียนรู้ทางเนื้อหาเพื่อสอนเนื้อหาใหม่มีผลต่อการ ช่วยพัฒนาการเรียนรูใ้ ห้ผเู้ รียนประสบผลส�ำเร็จเป็นราย บุคคลมากขึ้นกว่าการสอนแบบดั้งเดิม (Traditional) เพียงอย่างเดียว ข้อเสนอแนะในการน�ำไปใช้ 1. สถาบันการศึกษาน�ำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูล พืน้ ฐานในการก�ำหนดนโยบายด้านการบริการสารสนเทศ ในสถาบันการศึกษา เพือ่ สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน แบบผสมผสานโดยเตรียมสภาพแวดล้อมของสถาบัน การศึกษาให้สามารถบริการระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพของสัญญาณอยู่ในระดับดี เพือ่ ให้ผเู้ รียนสามารถเข้าถึงบทเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. หน่วยงานสนับสนุนการสอนควรจัดให้มหี น่วยงาน ให้บริการ และให้ค�ำแนะน�ำรวมถึงการจัดฝึกอบรม การผลิตสื่อให้กับอาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ในการพัฒนาบทเรียนที่สามารถเรียกดูจากเครือข่าย อินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์แบบพกพา และ/หรือ
239
อุปกรณ์สื่อสารในรูปแบบต่างๆ ได้ 3. ผู้สอนสามารถน�ำวิธีการจัดเรียนการสอนแบบ ผสมผสานไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียนกับรายวิชา อื่นๆ ได้ ซึ่งผู้สอนสามารถสร้างระบบการจัดการเรียน การสอนควบคูก่ บั การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน ได้อย่างสะดวก ข้อเสนอแนะส�ำหรับการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษาผลการเรียนด้วยรูปแบบการเรียน การสอนแบบสาธิตร่วมกับบทเรียนบนเครื่องช่วยงาน ส่วนบุคคลแบบดิจทิ ลั กับตัวแปรอืน่ ๆ เช่น ความรับผิดชอบ ในการเรียนความคงทนในการเรียน เมื่อท�ำการเรียน แบบสาธิตร่วมกับบทเรียนบนเครื่องช่วยงานส่วนบุคคล แบบดิจิทัล เป็นต้น 2. ควรมีการพัฒนาเนือ้ หา กิจกรรมการเรียนการสอน ผ่านบทเรียนบนเครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล และ/หรืออุปกรณ์สื่อสารที่มีความสามารถเข้าถึงระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทีเ่ หมาะสม และหลากหลายกับวิธี การเรียนการสอนแบบต่างๆ เช่น การเรียนรูแ้ บบร่วมมือ การเรียนรู้แบบสืบค้น การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นต้น
References
Armstrong, J. & Franklin, T. (2008). A review of current and developing international practice in the use of social networking (Web 2.0) in higher education. Retrieved July 2, 2016, from http://www.franklin-consulting.co.uk Ausburn, L. J. (2004). Design components most valued by adult learnners in blended online education environments: An Amerian perspective. Educational Media International, 41(4), 327-337. Boyle, T., Bradley, C., Chalk, P., Jones, R. & Pickard, P. (2003). Using blended learning to improve student success rates in learning to program. Journal of Educational Media, 28(2-3), 165-178. Clark, G. (1996). Glossary of CBT/WBT Terms. Retrieved July 2, 2016, from www.clark.net.pub Collis, B. & Moonen, J. (2001). Flexible learning in a digital world: Experiences and expectations. London: Routledge. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
240
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Computer Institute, Ramkamhaeng University. (2009). Twitter. Retrieved August 20, 2016, from http://computer.ru.ac.th [in Thai] Detchaisee, U. (2010). Teachers’ manual in learning management plan. Learning Group of Occupation and Technology. Bangkok: Wattanapanit Publishing. [in Thai] Driscoll, J. (2002). The potential of reflective practice to develop individual orthopaedic nurse practitioners and their practice. Journal of Orthopaedic Nursing 5, 95-103. Khan, B. H. (1997). Web-Based Instruction. Englewood Cliffs, NJ: Educational Technology Publications. Malithong, K. (2005). Technology and Communication for Education. Bangkok: Aroon Printing. [in Thai] Ministry of Education. (2002). The Act of National Education 1999 Revision (2nd ed.). Bangkok: The Teachers Council of Thailand. [in Thai] Ministry of Education. (2008). Core Curriculum of Fundamental Education 2008. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand. [in Thai] Na Songkla, J. (1999). Innovation of learning management via worldwide network. Bangkok: Chulalongkorn University Printing. [in Thai] Panit, W. (2012). How to Create Knowledge for Students in the 21st Century. Bangkok: Tatata Publishing. [in Thai] Parson, R. (1997). An Investigation into Instruction available on the world wide. Retrieved July 18, 2016, from http://www.academia.edu/405017/An_Investigation_Into_Instruction_Available_ on_World_Wide_Web_1997 Plaengsorn, B. (2008). Result of learning via simulation on web by blog in order to reflect learning which affects educational achievement and attitude about drug of the 2nd Year of secondary school students. Master of Education Thesis, Field of Audiovisual Education, Chulalongkorn University. [in Thai] Relan, A. & Gillani, B. (1997). Web-based Instruction and the traditional classroom: similarities and difference. Retrieved May 25, 2016, form http://www.c3l.uni-oldenburg.de/cde/support/ readings/relan97.pdf Singpromma, W. (2013). Learning development of the subject of mixed media presentation through website and lecture for the 3rd year of high school students. In class research, Faculty of Education, Department of Vocational Education, Field of Business and Computer Studies, Kasetsart University. [in Thai] Sungjaroon, S. (2007). Result of learning on website by blog which affects learning achievement and endurance of learning English of secondary school students. Master of Education Thesis, field of Audiovisual Education, Chulalongkorn University. [in Thai] Uttaranun, S. (1989). Technique of learning management systematically in the field of administration. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai] Van Dam, N. (2003). The e-Learning Fieldbook. NY: McGraw Hill Company. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
241
Name and Surname: Settha Veerathunmanon Highest Education: Master of Film and Television, Bond University (Australia) University or Agency: Bangkok University Field of Expertise: Film and Digital Media Address: 41/100 Soi Nawamin 111, Nawamin Rd., Nawamin, Bueng Kum, Bangkok 10230 Name and Surname: Areerut Jaipadub Highest Education: Master of Documentary Practice, Brunel University London (England) University or Agency: Bangkok University Field of Expertise: Documentary Film Address: 323/45, Vibhavadi Rangsit Rd., Lak Si, Bangkok 10210
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
242
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
การลดพฤติกรรมการคุยกันในชัน้ เรียนของนักศึกษาโดยประยุกต์ใช้วธิ กี ารสอนแบบมีสว่ นร่วม APPLICATION OF PARTICIPATORY LEARNING PROCESS FOR CLASSROOM CHATTING REDUCTION ภาริกา รุ่งพิชยพิเชฐ1 และณัฐพร โชตยะกุล2 Parika Rungpichayapichet1 and Nattaporn Chotyakul2 1,2คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 1,2Faculty of Agro Industry, Panyapiwat Institute of Management
บทคัดย่อ
งานวิจยั เรือ่ งการลดพฤติกรรมการคุยกันในชัน้ เรียนของนักศึกษาโดยประยุกต์ใช้วธิ กี ารสอนแบบมีสว่ นร่วมนี้ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ เปรียบเทียบผลของการใช้วธิ กี ารสอนแบบปกติและแบบมีสว่ นร่วมต่อพฤติกรรมการคุยกันในชัน้ เรียน และผลสัมฤทธิก์ ารศึกษาของนักศึกษาปริญญาตรีชนั้ ปีที่ 1 ก่อนและหลังการเรียนรูแ้ บบมีสว่ นร่วมในรายวิชาหลักการ แปรรูปอาหาร จ�ำนวน 29 คน โดยมีเครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม แบบบันทึก พฤติกรรมก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม และแบบทดสอบปรนัยก่อนการเรียน (pre-test) และหลังการเรียน (post-test) ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยการสอดแทรกกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การแข่งขันเล่นเกมตอบค�ำถาม การชมคลิปวิดีโอที่มีเนื้อหา สอดคล้องกับบทเรียน การมอบหมายงานให้นำ� เสนอหน้าชัน้ เรียน รวมถึงการจัดสอบย่อย (quiz) สามารถลดพฤติกรรม การคุยกันในชั้นเรียนของนักศึกษาได้ และท�ำให้บรรยากาศในห้องเรียนมีความสนุกสนาน นักศึกษารู้สึกสนุก กระตือรือร้น ตั้งใจรับความรู้และสามารถจดจ�ำเนื้อหาได้ดี ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษามีแนวโน้มสูงขึ้น ค�ำส�ำคัญ: การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม พฤติกรรมการคุยกันในชั้นเรียน ผลสัมฤทธิ์การศึกษา
Corresponding Author E-mail: parikarun@pim.ac.th
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
243
Abstract
The purposes of this study were 1) to compare the effect of two learning processes, Lecture-based learning and Participatory learning (PL), on the reduction of classroom chatting behavior of students and 2) to examine the relationship between Participatory learning and student’s academic achievement. The study was conducted on undergraduate freshman for total of 29 students who registered in the subject ‘Principles of Food Processing’. PL designed course syllabus, chatting behavior collected form and pre-test/post-test exam papers were used as the major instruments. Simple descriptive analysis and t-test were applied. The finding of this research showed that classroom chatting could be reduced by applying PL in the class. The energetic activities such as games, interactive competitions, multimedia visualization, flipped classroom and quiz promoted a good environment for the classroom, enhanced a deeper learning of students which improved their academic achievement. Keywords: Participatory learning, Chatting behavior, Academic achievement
บทน�ำ
ตามที่ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ ระบุไว้ในคูม่ อื การประกันคุณภาพการศึกษาว่า “พันธกิจ ที่สำ� คัญที่สุดของสถาบันอุดมศึกษาคือ การผลิตบัณฑิต หรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผเู้ รียนมีความรู้ ในวิชาการและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่ ก�ำหนด” ซึง่ ในปัจจุบนั สถาบันอุดมศึกษาส่วนมากได้นำ� ระบบการศึกษาทีเ่ น้นผูเ้ รียนเป็นศูนย์กลางมาใช้เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพในการเรียนการสอน โดยมีจุดมุ่งหวังเพื่อ ให้นักศึกษาได้รับความรู้และสามารถน�ำความรู้จากใน ห้องเรียนไปใช้ในภาคปฏิบัติและในการท�ำงาน อย่างไร ก็ตามกระบวนการเรียนการสอนทีม่ ปี ระสิทธิภาพเป็นเพียง หนึง่ ปัจจัยทีช่ ว่ ยเสริมให้นกั ศึกษาได้รบั ความรูใ้ นระหว่าง การเรียนเท่านัน้ จุดมุง่ หมายทีส่ ำ� คัญคือ การสร้างความ สนใจและความตัง้ ใจเรียนของนักศึกษาในระหว่างการเรียน ถือเป็นปัจจัยส�ำคัญทีจ่ ะท�ำให้เกิดผลสัมฤทธิท์ างการเรียน ของนักศึกษา การคุยกันในชั้นเรียน เป็นพฤติกรรมของผู้เรียนที่ แสดงถึงการขาดความสนใจในบทเรียน และเป็นปัญหา และอุปสรรคต่อการเรียนรูเ้ นือ่ งจากการคุยกันท�ำให้ผสู้ อน
ไม่สามารถด�ำเนินการสอนได้อย่างราบรื่น เพราะต้อง หยุดการสอนเพือ่ ตักเตือน อีกทัง้ ยังเป็นการรบกวนสมาธิ เพื่อนนักศึกษาที่ก�ำลังตั้งใจเรียนอยู่ด้วย และผู้เรียนที่ ตั้งใจเรียนเกิดความเบื่อหน่าย และอาจส่งผลให้ไม่ได้ รับความรู้ตามเนื้อหา ไม่เข้าใจงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่สามารถส่งงานตามก�ำหนดเวลา ส่งผลให้ผลการเรียน มีแนวโน้มต�่ำลง ดังนั้นปัญหาการคุยกันในชั้นเรียนจึง จัดเป็นปัญหาส�ำคัญที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีกประการหนึง่ ทีส่ มควรได้รบั การแก้ไข จากการศึกษาของ Watanasin, Lerkjarijumpon & Phomsiri (2009: 30) พบว่า สาเหตุทที่ ำ� ให้ผเู้ รียนพูดคุยกันในชัน้ เรียนเกิดจาก เนือ้ หารายวิชาและวิธกี ารสอนทีไ่ ม่นา่ สนใจ เช่น การสอน ต่อเนื่องยาวนานแบบไม่มีพัก ผู้สอนบรรยายไม่รู้เรื่อง หรือออกนอกประเด็น รวมถึงผู้สอนบรรยายเนื้อหา อย่างเดียวไม่มกี จิ กรรมอืน่ หรือสิง่ จูงใจอืน่ ๆ ทีท่ ำ� ให้ผเู้ รียน เกิดความสนใจหรือมีสว่ นร่วมในการเรียนการสอน ดังนัน้ หากปรับแก้วธิ กี ารสอนให้มกี จิ กรรมทีช่ ว่ ยกระตุน้ ให้ผเู้ รียน เกิดความสนใจ และมีสว่ นร่วมในการเรียนมากขึน้ อาจช่วย ลดปัญหาการคุยกันในชั้นเรียนได้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
244
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้วิธีการสอนแบบ ปกติและแบบ PL ต่อพฤติกรรมการคุยกันในชั้นเรียน ของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ในรายวิชาหลักการ แปรรูปอาหาร 2. เพือ่ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิก์ ารศึกษาในรายวิชา หลักการแปรรูปอาหารของนักศึกษาปริญญาตรีชนั้ ปีที่ 1 ก่อนและหลังการทดลองใช้การสอนแบบ PL
ทบทวนวรรณกรรม
การเรียนรูแ้ บบมีสว่ นร่วม (Participatory Learning, PL) มีรากฐานมาจากวิธีการเรียนรู้ 2 รูปแบบ ได้แก่ การเรียนรู้จากการกระท�ำ (Learning by doing) และ การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) โดยการเรียนรู้จากการกระท�ำ ได้รับการเผยแพร่โดย Dewey นักปรัชญาการศึกษา เป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่ดึงความสามารถในการคิดแก้ปัญหาผ่านการเรียนรู้ ทีเ่ รียกว่า Active learning ต่อมาได้พฒ ั นาเป็นรูปแบบ การเรียนรู้ที่เน้นการแก้ปัญหา (Problem Solving) และการเรียนรูโ้ ดยร่วมมือกัน (Cooperative Learning) (Chanintayutwong, 2000: 76) โครงสร้างพืน้ ฐานของ PL ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) การเรียนรูเ้ ชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) และ 2) กระบวนการกลุ่ม (Group Process) โดย การเรียนรู้เชิงประสบการณ์มีลักษณะส�ำคัญคือ อาศัย ประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นหลัก และเป็นการเรียนรู้ เชิงรุก กล่าวคือ ผู้เรียนต้องท�ำกิจกรรมตลอดการเรียน การสอน โดยอาศัยการสือ่ สารทุกรูปแบบทีช่ ว่ ยให้เกิดการ แลกเปลีย่ น การวิเคราะห์และการสังเคราะห์การเรียนรู้ การมีปฏิสมั พันธ์กนั ทัง้ ระหว่างผูเ้ รียนกับผูเ้ รียนและผูเ้ รียน กับผู้สอนซึ่งจะช่วยให้เกิดการขยายตัวของเครือข่าย ความรู้ โดย Kolb (1984 cited in Chanintayutwong, 2000: 13) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบทีส่ ำ� คัญ 4 ประการ ของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ 1.1 ประสบการณ์ (Experience) เป็นขั้นตอนที่
ผูส้ อนพยายามกระตุน้ ให้ผเู้ รียนดึงประสบการณ์ของตัวเอง ออกมาใช้ในการเรียนรู้ และแบ่งปันประสบการณ์นนั้ ให้กบั ผูอ้ นื่ ซึง่ มีขอ้ ดีเนือ่ งจากผูส้ อนไม่เสียเวลาในการยกตัวอย่าง ให้ผู้เรียนฟัง และผู้เรียนรู้สึกมีส่วนร่วมและรับรู้ข้อมูล เพิ่มขึ้นจากประสบการณ์ของผู้อื่น ทั้งยังเป็นการสร้าง สัมพันธภาพที่ดีในกลุ่มผู้เรียน 1.2 การสะท้อนและอภิปราย (Reflection and Discussion) เป็นขัน้ ตอนทีใ่ ห้ผเู้ รียนสามารถแสดงความ คิดเห็นและความรูส้ กึ ของตนเอง แลกเปลีย่ นกับสมาชิก ในกลุ่ม ท�ำให้เกิดการเรียนรู้ที่กว้างขวางขึ้น และช่วย พัฒนาการควบคุมอารมณ์ การยอมรับความคิดเห็นต่าง จากผู้อื่น โดยในการอภิปรายผู้สอนจะเป็นผู้ก�ำหนด ประเด็นการวิเคราะห์ 1.3 ความคิดรวบยอด (Concept) เป็นขัน้ ทีผ่ เู้ รียน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาจากหลายๆ ทาง จนเกิด ความคิ ด รวบยอด ท� ำ ให้ เ กิ ด การพั ฒ นาองค์ ค วามรู ้ เปลี่ยนแปลงเจตคติที่ช่วยท�ำให้ผู้เรียนปฏิบัติได้ง่ายขึ้น 1.4 การทดลอง/การประยุกต์แนวคิด (Experimentation/Application) เป็นขั้นที่ผู้เรียนได้ทดลอง ใช้ความคิดรวบยอดในรูปแบบต่างๆ ซึง่ ช่วยให้ผเู้ รียนได้ รู้จักการประยุกต์ใช้ความรู้และน�ำไปใช้ได้จริง ส่วนการเรียนรูด้ ว้ ยกระบวนการกลุม่ เป็นการเรียนรู้ พื้นฐานที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมสูงสุดและท�ำให้ บรรลุงานสูงสุด เนือ่ งจากการเรียนรูแ้ บบกลุม่ จะช่วยให้ ผูเ้ รียนทุกคนได้มบี ทบาทหน้าที่ และมีสว่ นร่วมภายในกลุม่ ส่งผลให้สามารถบรรลุงานตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนได้ วางไว้ ทัง้ นี้ Chanintayutwong (2000: 76) ได้กล่าวว่า การออกแบบกลุ่มที่มีประสิทธิภาพควรค�ำนึงถึงความ ยากง่ายของการมีส่วนร่วม และการจัดสรรบทบาทของ สมาชิกกลุม่ รวมถึงความลึกซึง้ ของการแสดงความคิดเห็น หรือผลงาน โดยหลักในการจัดกิจกรรมเพือ่ การเรียนรูท้ มี่ ี ประสิทธิภาพควรค�ำนึงถึงความต้องการหรือความสนใจ ของผูเ้ รียนและเปิดโอกาสให้ผเู้ รียนมีสว่ นร่วมในการเรียน ให้มาก เน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วย ตนเอง ผ่านการสืบค้นหา วิจยั เชิงปฏิบตั กิ าร หรือเรียนรู้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
จากประสบการณ์ เสริมสร้างทักษะที่จะน�ำสิ่งที่เรียนรู้ ไปใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน เรียนรูว้ ธิ คี ดิ ของตนเองและสามารถ ปรับเปลีย่ นวิธคี ดิ ได้อย่างเหมาะสม เปิดโอกาสให้ผเู้ รียน ได้ประเมินตัวเองอย่างสม�ำ่ เสมอและต่อเนือ่ ง เพือ่ ให้ผเู้ รียน ได้รู้จุดเด่น จุดด้อยของตนเองเพื่อพร้อมที่จะปรับปรุง พัฒนาตนเองให้เหมาะสมยิง่ ขึน้ (Phuvipadawat cited in Watanasin, Lerkjarijumpon & Phomsiri, 2009: 30) การเรียนรูแ้ บบมีสว่ นร่วม (Participatory Learning, PL) เป็นการจัดการเรียนรูท้ มี่ งุ่ เน้นให้ผเู้ รียนมีสว่ นร่วมใน กิจกรรมการสอนมากขึน้ ในทุกขัน้ ตอน กระตุน้ กระบวนการ คิดวิเคราะห์แก้ปญ ั หา และเสริมสร้างการเรียนรูจ้ ากการ ลงมือปฏิบตั ใิ ห้กบั ผูเ้ รียน การจัดการเรียนการสอนแบบ PL ในชั้นเรียนสามารถท�ำได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้ กระบวนการกลุ่มเพื่อผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยน ความรู้ประสบการณ์ รวมถึงร่วมอภิปรายและเรียนรู้ การรับผิดชอบตามหน้าทีท่ ไี่ ด้รบั (Thinhanwong, 2015: 11) จากการศึกษาของ Tanasittikosol & Phaksunchai (2015: 880-888) พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบ ผสมผสาน (Active Learning และ Tutorial) ที่เน้น การมีส่วนร่วมของผู้เรียนมีส่วนช่วยให้นักศึกษาระดับ ปริญญาตรีชนั้ ปีที่ 1 มีความรูค้ วามเข้าใจในเนือ้ หาเพิม่ ขึน้ อีกทั้งได้พัฒนาทักษะการคิดและแนวคิดในการใช้ชีวิต ขณะที่ Yakeaw (2013: 15) รายงานว่า การใช้การเรียนรู้ แบบมีส่วนร่วมในรายวิชาหลักการตลาดท�ำให้นักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชัน้ สูงมีความสุข สนุกสนาน มีความกระตือรือร้นในการเรียน เข้าใจ และจดจ�ำเนือ้ หา ในบทเรียนได้ดี เป็นผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของ นักศึกษาสูงขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญ พฤติกรรมการคุยกันในชั้นเรียนนั้นพบว่า เกิดจาก หลายปัจจัย ได้แก่ 1) เนื้อหารายวิชาและวิธีการสอนที่ ไม่นา่ สนใจ เช่น นัง่ เรียนนานเกินไปไม่มกี ารพัก 2) ในแง่ ของลักษณะอาจารย์ผสู้ อนพบว่า หากผูส้ อนสอนไม่รเู้ รือ่ ง พูดนอกเรือ่ งมากเกินไป หรือพูดเรือ่ งตนเองเป็นส่วนใหญ่ จะท�ำให้นกั ศึกษาเบือ่ และเริม่ พูดคุยกันเอง 3) เพือ่ นร่วม ชั้นเรียนและลักษณะนักศึกษา หากนักศึกษาเป็นคน
245
สมาธิสั้น ไม่อยากเรียน ได้นั่งกับเพื่อนที่เป็นคนชอบคุย ก็จะคุยต่อเนื่อง และปัจจัยสุดท้ายคือ ความสัมพันธ์ ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หากผู้สอนรับฟังความคิดเห็น ให้ความเป็นกันเองและเมตตากับนักศึกษาจะท�ำให้ นักศึกษาตั้งใจเรียน (Watanasin, Lerkjarijumpon & Phomsiri, 2009: 31) Charoenkul (2015: 1326-1338) พบว่า การแก้ ปรับพฤติกรรมการเรียนในชัน้ เรียนสามารถท�ำด้วยการใช้ แบบทดสอบและการมอบหมายงาน โดยท�ำการศึกษากับ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสติ ทีเ่ ป็นกลุม่ เป้าหมาย จ�ำนวน 30 คน ใช้แบบทดสอบปรนัยก่อนการเรียน (pre-test) และแบบทดสอบปรนัยหลังการเรียน (posttest) พร้อมทั้งแบบบันทึกพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานเป็นเครือ่ งมือในการวิจยั จากผลการศึกษา พบว่า การให้นักศึกษาท�ำแบบทดสอบทั้งก่อนและหลัง การเรียน และการมอบหมายงาน ท�ำให้นักศึกษาใส่ใจ ในการเรียนมากขึ้น เนื่องจากมีคะแนนเป็นตัวกระตุ้น และจูงใจในการเข้าเรียนและสนใจเรียนมากขึ้น Yakeaw (2013: 15) ประยุกต์ใช้แผนการสอนแบบ มีสว่ นร่วม ร่วมกับการใช้แบบสังเกตพฤติกรรมเพือ่ พัฒนา พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชัน้ สูงจ�ำนวน 21 คน พบว่า นักศึกษามีพฤติกรรม การเรียนที่ดีข้ึน กล่าวคือนักศึกษามีความกระตือรือร้น ทีจ่ ะเข้าใจในบทเรียน เนือ่ งจากมีความสุขและสนุกสนาน กับกิจกรรมที่จัด ส่งผลให้จดจ�ำเนื้อหาได้ดี มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถท�ำข้อสอบได้ผลสัมฤทธิท์ ดี่ ขี นึ้ ดังนัน้ การจัดการเรียนการสอนทีเ่ น้นให้ผเู้ รียนเกิดความ สนใจหรือมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนโดยการจัดให้ มีกจิ กรรมร่วมกัน จึงมีแนวโน้มช่วยลดปัญหาการคุยกัน ในชั้นเรียนได้
วิธีการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ ลงทะเบียนในรายวิชาหลักการแปรรูปอาหาร จ�ำนวน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
246
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
29 คน และคัดเลือกกลุม่ ตัวอย่าง 10 คน ทีม่ พี ฤติกรรม ไม่ตงั้ ใจเรียน พูดคุยระหว่างเรียน ไม่มสี ว่ นร่วมในกิจกรรม การเรียน เพือ่ สังเกตและบันทึกพฤติกรรมในระหว่างการ ศึกษา โดยมีเครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั คือ 1) แผนการจัด การเรียนการสอนแบบมีสว่ นร่วม 2) แบบบันทึกพฤติกรรม ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม 3) แบบทดสอบปรนัยก่อนการเรียน (pre-test) และ แบบทดสอบปรนัยหลังการเรียน (post-test) 2. วิธกี ารด�ำเนินการวิจยั และขัน้ ตอนในการสร้างเครือ่ งมือ 2.1 คณะผูว้ จิ ยั ได้รว่ มกันก�ำหนดกรอบแนวคิดของ การจัดการเรียนการสอนแบบมีสว่ นร่วมตามหลักการส�ำคัญ ของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และออกแบบกิจกรรม และสือ่ การเรียนรูต้ ามกรอบแนวคิดของการจัดการเรียน การสอนแบบมีสว่ นร่วม จากนัน้ น�ำแผนการจัดการเรียนรู้ ทีส่ ร้างเสร็จให้ผทู้ รงคุณวุฒติ รวจสอบความตรงเชิงเนือ้ หา ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าภาควิชา อาจารย์ผู้รับผิดชอบ รายวิชา และอาจารย์ผสู้ อนเพือ่ ตรวจสอบความสอดคล้อง ของกิจกรรมและสือ่ การเรียนรูต้ ามกรอบแนวคิดของการ จัดการเรียนการสอนแบบมีสว่ นร่วมตลอดจนความถูกต้อง ของการใช้ภาษา จากนัน้ ผูว้ จิ ยั ได้นำ� มาปรับปรุงก่อนน�ำไป ใช้จริง 2.2 แบบบันทึกและสังเกตพฤติกรรมการคุยกันใน ชัน้ เรียนของนักศึกษา และแบบบันทึกพฤติกรรมการเรียน เช่น ความตั้งใจต่อการเรียน และการมีส่วนร่วมในการ เรียน 2.3 แบบทดสอบวัดความรูผ้ ลสัมฤทธิท์ างการเรียน ก่อนและหลังการทดลองสอนแบบมีส่วนร่วม 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล 3.1 ทดสอบนักศึกษาก่อนเรียน โดยใช้แบบทดสอบ วัดความรูผ้ ลสัมฤทธิท์ คี่ ณะผูว้ จิ ยั สร้างขึน้ กับกลุม่ ประชากร จ�ำนวน 29 คน ในสัปดาห์แรกของการเรียนการสอน และสัปดาห์แรกหลังสอบกลางภาค 3.2 คณะผูว้ จิ ยั ด�ำเนินการสอนตามแผนการจัดการ
เรียนรู้ที่วางไว้กับกลุ่มประชากร พร้อมท�ำการสังเกต พฤติ ก รรมของกลุ ่ ม ตั ว อย่ า งผู ้ เ รี ย นตามแบบสั ง เกต พฤติกรรม 3.3 ทดสอบนักศึกษาหลังเรียน โดยใช้แบบทดสอบ วัดความรู้ผลสัมฤทธิ์และหลักเกณฑ์เดียวกันกับแบบ ทดสอบก่อนเรียน 4. การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลคะแนนที่ได้จากผลการท�ำแบบทดสอบวัด ความรูผ้ ลสัมฤทธิท์ างการเรียนทัง้ ก่อนและหลังการทดลอง น�ำมาวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยของคะแนน ก่อนเรียนและหลังเรียน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test และสรุปข้อมูลจากการบันทึกการสังเกตพฤติกรรม
ผลการวิจัย
ผลวิเคราะห์พฤติกรรมการคุยกันในชั้นเรียน เมื่อจัด การเรียนการสอนแบบ PL ตามที่งานวิจัยได้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาการลด พฤติกรรมการคุยกันในชั้นเรียน โดยการประยุกต์ใช้วิธี การเรียนรู้แบบ PL นั้น คณะผู้วิจัยได้วางแผนการเรียน การสอนทีเ่ น้นให้ผเู้ รียนเป็นศูนย์กลาง ด้วยการสอดแทรก กิจกรรมการเรียนรูแ้ บบต่างๆ นอกเหนือจากการบรรยาย เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ซึ่งกิจกรรม ประกอบไปด้วย 1) กิจกรรมถาม-ตอบ เพือ่ ดึงความสนใจและตรวจสอบ ความเข้าใจในเนื้อหาของผู้เรียน 2) Group reports และ Flipped classroom โดยการมอบหมายหัวข้องาน (assignment) ให้กลุ่ม นักศึกษาไปศึกษาค้นคว้าข้อมูล และออกมาน�ำเสนอ หน้าชั้นเรียน 3) Feedback เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความ คิดเห็น 4) กิจกรรมเกม และ Interactive learning competition ได้แก่ การจัดให้มกี ารแข่งขันเล่นเกมตอบค�ำถาม ภายในชั้นเรียน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
5) การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ภายนอก (Internet of things) เช่น เปิดคลิปวิดีโอสาธิตหลักการท�ำงานของ เครื่องมือ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจภาพรวมของ เนื้อหาอย่างเป็นรูปธรรม 6) เชิญผูเ้ ชีย่ วชาญภายนอก (Guest speaker) มาให้ ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ 7) กิจกรรม Wrap up และ Review ซึง่ เป็นการสรุป ความรู้ และทบทวนบทเรียนก่อนและหลังเรียน แผนการเรียนการสอนทีเ่ ตรียมไว้ได้นำ� ไปใช้กบั กลุม่ นักศึกษาที่เป็นประชากร จ�ำนวน 29 คน โดยแบ่งแผน การเรียนการสอนออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงก่อนสอบ กลางภาค และช่วงหลังสอบกลางภาค โดยในสัปดาห์แรก ของการเรียนการสอน และสัปดาห์แรกหลังสอบกลางภาค คณะผูว้ จิ ยั ได้ทำ� การสอนแบบเน้นการบรรยาย (Lecturebased learning) ขณะทีส่ ปั ดาห์อนื่ ๆ เป็นการสอนแบบ PL เพื่อสังเกตพฤติกรรมการคุยกันในชั้นเรียนทั้งก่อน และหลังการสอนแบบ PL โดยพบว่า พฤติกรรมการคุยกัน ในชั้นเรียนของกลุ่มตัวอย่างในระหว่างการจัดการเรียน การสอนแบบบรรยายเป็นหลักในช่วงที่ 1 (ก่อนสอบ กลางภาค) พบว่า กลุม่ ตัวอย่างจะให้ความสนใจผูบ้ รรยาย และเนือ้ หาในช่วงต้นของแต่ละคาบเรียน จากนัน้ จะเริม่ พูดคุยกันในช่วงกลางของการบรรยาย (30 นาทีหลังเริม่ บรรยาย) หรือเมือ่ เนือ้ หาค่อนข้างยากและเป็นการค�ำนวณ และกลับมาสนใจผูส้ อนอีกครัง้ หากผูส้ อนหยุดพักบรรยาย หรือเปิดหัวข้อสนทนาอื่นๆ เพื่อดึงความสนใจ ทั้งนี้ ระยะเวลาและความถี่ของการพูดคุยของกลุ่มตัวอย่าง ระหว่างเรียนนั้นไม่แน่นอน อาจเป็นช่วงสั้นๆ 3-5 นาที หรือต่อเนือ่ งนาน 7-10 นาที ในทุกช่วงทีส่ งั เกตพฤติกรรม (30 นาที) เมื่อปรับการเรียนการสอนเป็นแบบ PL พบว่า พฤติกรรมการคุยกันในชั้นเรียนของกลุ่มตัวอย่างลดลง เนือ่ งจากกิจกรรมทีไ่ ด้สอดแทรกในแผนการเรียนรูช้ ว่ ยดึง ความสนใจ และกระตุน้ ให้นกั ศึกษาตืน่ ตัวและเกิดการมี ส่วนร่วมในชัน้ เรียน เช่น การใช้สอื่ วิดโี อแสดงการท�ำงาน ของเครือ่ งมือหรือกระบวนการผลิตอาหาร ท�ำให้นกั ศึกษา
247
เพลิดเพลินและร่วมกันวิพากษ์เนื้อหาในสื่อวิดีโอ ส่วน กิจกรรมเล่นเกมตอบค�ำถาม ท�ำให้นักศึกษาสนุกสนาน ต้องการแข่งขันให้ชนะเพื่อน ส่งผลให้บรรยากาศใน ห้องเรียนไม่นา่ เบือ่ หรือการให้ตวั แทนนักศึกษาออกมา แสดงการค�ำนวณโจทย์ตัวอย่างหน้าชั้นเรียนซึ่งจะช่วย นักศึกษาให้เกิดความเข้าใจมากขึน้ การสอดแทรกกิจกรรม การเรียนรูน้ อกเหนือการบรรยายจะเริม่ ขึน้ ตามแผนการ จัดการเรียนรูท้ วี่ างไว้ เช่น หลังการบรรยาย 20-30 นาที หรือก่อนการเข้าสู่บทเรียนเพื่อกระตุ้นนักศึกษาให้เกิด ความพร้อมในการเรียนรู้ ส�ำหรับพฤติกรรมการคุยกัน ในชัน้ เรียนของกลุม่ ตัวอย่างช่วงที่ 2 (สัปดาห์แรกหลังสอบ กลางภาค) ซึง่ เป็นการสอนทีเ่ น้นการบรรยายพบว่า กลุม่ ตัวอย่างจะมีพฤติกรรมคล้ายสัปดาห์แรกของการเรียน การสอนแต่จะมีความถี่และระยะเวลาการคุยลดลงเมื่อ เทียบกับครั้งแรก ทั้งนี้ในสัปดาห์ถัดไปที่เป็นการสอน แบบ PL ได้มีการสอดแทรกกิจกรรม เช่น แข่งขันเล่น เกมตอบค�ำถาม หรือการท�ำข้อสอบย่อย (quiz) เมือ่ ผูส้ อน พิจารณาว่า นักศึกษาหรือกลุ่มตัวอย่างเริ่มไม่ตั้งใจและ ไม่มสี มาธิในบทเรียน รวมถึงการเว้นช่องว่างในสือ่ การสอน เพื่อให้นักศึกษาเติมข้อความที่ผู้สอนคิดว่าเป็นประเด็น ส�ำคัญก็เป็นหนึง่ ในวิธกี ารดึงความสนใจให้นกั ศึกษาอยูก่ บั บทเรียน นอกจากนีผ้ วู้ จิ ยั พบว่า การให้นกั ศึกษาน�ำเสนอ ผลงานหน้าชัน้ เรียนตามหัวข้อทีไ่ ด้รบั มอบหมายและฝึก ตัง้ ค�ำถามให้เพือ่ นร่วมชัน้ มีสว่ นร่วมในการวิเคราะห์และ วิพากษ์เนื้อหา เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดพฤติกรรมการคุยได้ โดยบรรยายกาศในห้องเรียนทีม่ กี ารจัดการเรียนการสอน แบบ PL แสดงในภาพที่ 1 จะเห็นได้ว่า การใช้วิธีการสอนแบบ PL จะช่วย ปรับบรรยากาศในห้องเรียนให้มีความสนุกสนาน และ ส่งเสริมการเรียนรู้ เนื่องจากท�ำให้นักศึกษารู้สึกตื่นตัว และตัง้ ใจเรียน วิธกี ารสอนทีห่ ลากหลายท�ำให้นกั ศึกษาต้อง เตรียมพร้อมรับความรู้ ส่งผลให้ลดพฤติกรรมการคุยกัน ในชัน้ เรียนได้ โดยจะช่วยลดระยะเวลาคุยต่อเนือ่ งเป็นแค่ ช่วงสั้นๆ ประมาณ 1-2 นาที และลดความถี่ในการพูด คุยกัน เนื่องจากต้องเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
248
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ช่วยในการสอน
Group report & Flipped classroom
Interactive learning เติมค�ำในช่องว่าง
Games
ถาม-ตอบ
Feed back หลังการน�ำเสนอ
Wrap up and review
Interactive learning competition แข่งเขียนค�ำตอบ
ภาพที่ 1 บรรยากาศการเรียนการสอนแบบ PL ในรายวิชาหลักการแปรรูปอาหาร ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ผลวิเคราะห์ผลสัมฤทธิก์ ารศึกษาของนักศึกษา
จากการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษา พบว่า ผลคะแนนเฉลี่ยด้านผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ก่อนและหลังการใช้แผนการเรียนรูแ้ บบ PL ในช่วงแรก ของการศึกษา (ก่อนสอบกลางภาค) มีความแตกต่าง อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ 0.05 โดยคะแนนเฉลีย่
249
ของการทดสอบหลังการใช้ PL สูงกว่าก่อนการใช้ PL แสดงให้เห็นว่า การเรียนการสอนแบบ PL ช่วยให้นกั ศึกษา มีผลสัมฤทธิท์ างการศึกษาสูงขึน้ ขณะทีใ่ นช่วงที่ 2 ของ การศึกษาไม่พบความแตกต่างอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติ ทีร่ ะดับ 0.05 ของคะแนนเฉลีย่ ของการทดสอบก่อนการใช้ PL สูงกว่าผลการทดสอบหลังการใช้ PL (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 คะแนนเฉลีย่ ผลสัมฤทธิท์ างการศึกษาก่อนและหลังการใช้แผนการเรียนรูแ้ บบ PL ในช่วงแรกและช่วงทีส่ อง ของการศึกษา (n=29) ช่วงที่ 1* ก่อน PL 7.0 1.6 9.0 4.0
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต�่ำสุด t-test *มีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ
อภิปรายผล
ช่วงที่ 2 หลัง PL 8.2 1.3 10.0 5.5
4.08
ก่อน PL 5.7 1.6 8.0 3.0
หลัง PL 5.0 2.2 8.0 1.0 1.47
0.05
จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้ แบบมีสว่ นร่วมช่วยปรับลดพฤติกรรมการคุยกันในชัน้ เรียน ของนักศึกษาได้ เนื่องจากนักศึกษาใช้เวลาส่วนใหญ่ ในการมีสว่ นร่วมในชัน้ เรียน เช่น การแข่งขันเล่นเกมตอบ ค�ำถาม การจับกลุ่มวิเคราะห์และวิพากษ์ข้อมูลที่ได้ชม จากคลิปวิดโี อ หรือทีเ่ พือ่ นน�ำเสนอหน้าชัน้ เรียน เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ช่วยเปลี่ยนบรรยากาศในห้องเรียนให้มี ความสนุกสนาน ท�ำให้นักศึกษารู้สึกสนุกสนาน และ กระตือรือร้น ตั้งใจรับความรู้และสามารถจดจ�ำเนื้อหา ได้ดขี นึ้ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิท์ างการศึกษามีแนวโน้มสูงขึน้ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Yakeaw (2013: 15) นอกจากนี้การมอบหมายงาน เช่น การน�ำเสนอข้อมูล หน้าชั้นเรียนในรายกลุ่ม และการจัดสอบย่อย (quiz) จะช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาตั้งใจเรียน เพราะมีคะแนน
เป็นแรงจูงใจ (Charoenkul, 2015: 1326-1338) อย่างไรก็ตามในงานวิจยั ครัง้ ต่อไปควรค�ำนึงถึงความยากง่าย และความเหมาะสมของกิจกรรมกับเนื้อหา และการ จัดสรรบทบาทของสมาชิกในกลุม่ รวมถึงการแบ่งสมาชิก เป็นกลุม่ ย่อย 2-3 คน เพือ่ เพิม่ โอกาสในการแลกเปลีย่ น ความคิด โดยก�ำหนดบทบาทให้กับสมาชิกในแต่ละคน ให้ชัดเจนขึ้น จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนได้ แสดงออกถึงความสามารถและศักยภาพของตนเอง สะท้อนความเข้าใจ และเน้นการท�ำกิจกรรมทีช่ ว่ ยกระตุน้ ให้ผเู้ รียนมีสมาธิและความสนใจในการเรียนมากขึน้ ซึง่ จะ ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสุขและสนุกในการเรียน เมื่ อ พิ จ ารณาผลสั ม ฤทธิ์ ก ารเรี ย นก่ อ นและหลั ง การเรียนรูแ้ บบมีสว่ นร่วมจะเห็นได้วา่ พฤติกรรมการคุยกัน ในชั้นเรียนที่ลดลงมีแนวโน้มท�ำให้ผลสัมฤทธิ์การศึกษา ของนักศึกษาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
250
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษานั้นมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ความพร้อมหรือการเตรียมตัวของนักศึกษา เจตคติ ของนักศึกษาต่อรายวิชานั้นๆ ความยากง่ายของเนื้อหา รายวิชา รวมถึงรูปแบบวิธีการสอน (Siraphatthada, 2010: 53) ซึ่งจากผลการศึกษาในช่วงที่ 2 ผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาก่อนและหลังการเรียนแบบ PL ทีแ่ ตกต่าง อย่างไม่มีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 อาจมีผลมาจากปัจจัยอื่นร่วมด้วยอย่างไรก็ตามรูปแบบ การเรียนแบบ PL จึงควรได้รบั การส่งเสริมให้ใช้ในการจัด การเรียนการสอนต่อไปในรายวิชาอืน่ ๆ เพือ่ ช่วยให้ผเู้ รียน เกิดแรงจูงใจในการเรียนและมีสว่ นช่วยสร้างบรรยากาศ
ในการเรียนที่เสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
สรุปผล
1. พฤติกรรมการคุยกันในชัน้ เรียนของกลุม่ นักศึกษา ตัวอย่างในรายวิชาหลักการแปรรูปอาหาร มีแนวโน้ม ลดลงเมื่อจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมจากการ สังเกตและประเมินผลของผู้วิจัย 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในรายวิชาหลักการ แปรรูปอาหารของนักศึกษาทีเ่ ป็นประชากรจ�ำนวน 29 คน ก่อนและหลังการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมมีความ แตกต่างกัน โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
References
Chanintayutwong, W. (2000). Training Manual by Bureau of Mental Health Promotion and Development. Nonthaburi: Wongkamol production. [in Thai] Charoenkul, V. (2015). To adjust the learning behavior of the students in the classroom and work/ homework handing-in of psychology for Self-Development of the students in Liberal Arts Public Administration Program, Suan Dusit Rajabhat University Trang Extension Unit. The 6th Hatyai National Conference, 26 June 2015. Hatyai University [in Thai] Siraphatthada, Y. (2010). The Learning behavioral and effectiveness Development of Students in Principles of Marketing Study by the Active Learning Teaching. Retrieved November 12, 2017, from http://www.ssru.ac.th [in Thai] Tanasittikosol, M. & Phaksunchai, M. (2015). The management style of teaching combined with the attitude of the Department of Physics of undergraduates. Veridian E-Journal, 8(3), 880-888. [in Thai] Thinhanwong, S. (2015). Participatory Learning: From Theory to Practice in Children’s Literature Course. Journal of Humanities and Social Sciences, 17(1), 1-11. [in Thai] Watanasin, R., Lerkjarijumpon, N. & Phomsiri, S. (2009). Chatting in classrooms. Bangkok: Suan Dusit University. [in Thai] Yakeaw, L. (2013). Application of Participatory Teaching on Learning Behavior and Learning Achievement in Principle of Marketing. Retrieved September 27, 2017, from http://online. lannapoly.ac.th/Research/FileUpload/20150204_145456.pdf [in Thai]
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
251
Name and Surname: Parika Rungpichayapichet Highest Education: Ph.D. of Agricultural Sciences, University of Hohenheim, Germany University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Food Science and Technology Address: 85/1 Moo 2, Cheangwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120 Name and Surname: Nattaporn Chotyakul Highest Education: Ph.D. of Food Science and Technology, Oregon State University, USA University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Food Science and Technology Address: 85/1 Moo 2, Cheangwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
252
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ผลสัมฤทธิ์จากการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสอนแบบบรรยาย ในวิชาการจัดการฟาร์ม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม THE EFFECTS OF FLIPPED CLASSROOM COMBINATION WITH LECTURE-BASED METHOD ON LEARNING ACHIEVEMENT IN THE FARM MANAGEMENT COURSE OF UNDERGRADUATE STUDENTS IN THE FARM TECHNOLOGY MANAGEMENT PROGRAM พรพร โยธาวงษ์ Paraporn Yotavong คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ Faculty of Agro Industry, Panyapiwat Institute of Management
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ศึกษาผลสัมฤทธิ์จากการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสอนแบบบรรยาย ในวิชา การจัดการฟาร์ม ของนักศึกษาทีล่ งทะเบียนเรียนวิชาการจัดการฟาร์ม ในภาคเรียนที่ 2 เทอม 2.1 ปีการศึกษา 2559 จ�ำนวน 36 คน ทีไ่ ด้มาโดยการเลือกอย่างเจาะจง เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการทดลองคือ แผนการเรียนรู้ 4 แผน คือ 1) การฝึก ทักษะการจับใจความและสรุป 2) การฝึกทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการสืบค้นข้อมูลความรู้ด้วยเทคโนโลยี สารสนเทศ 3) การฝึกทักษะการท�ำงานเป็นทีม และ 4) การฝึกทักษะการน�ำเสนอหน้าชัน้ เรียน ใช้เวลาในการทดลอง 10 คาบ ระยะเวลา 10 สัปดาห์ ด�ำเนินการทดลองแบบกลุ่มทดลองเดียว (One group Pretest-Posttest Design) วัดผลก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยสถิติทดสอบค่าทีแบบอิสระ (t-test) ผลจากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของนักศึกษาจากการท�ำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิจ์ ากการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสอนแบบบรรยาย ในวิชาการจัดการฟาร์ม จากการท�ำ แบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติ .01 ซึง่ เป็นไปตามสมมติฐานทีต่ งั้ ไว้ จากผลการประเมิน ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกิจกรรมการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน พบว่า ระดับความพึงพอใจมากที่สุดคือ วิธี การใช้สอื่ วีดทิ ศั น์ (VDO) ในการสอน (4.43±0.55) ส่วนระดับความพึงพอใจทีน่ อ้ ยทีส่ ดุ จากการประเมินของนักศึกษา คือ บทเรียนออนไลน์ผา่ น e-learning (4.11±0.46) เนือ่ งจากระบบอินเทอร์เน็ตของสถาบันมีปญ ั หาขัดข้องในการใช้งาน บ่อยครั้ง ค�ำส�ำคัญ: ห้องเรียนกลับด้าน การเรียนรู้ด้วยตนเอง
Corresponding Author E-mail: parapornyot@pim.ac.th
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
253
Abstract
This research aimed to study the effect of Flipped Classroom Combination with Lecture-Based Method on Learning Achievement in The Farm Management Course approach on 36 students from Farm Management subject in semester 2 (2.1/2559) were selected by purposive sampling. The experimental instruments consisted of lesson plans by using 4 plans of Flipped Classroom 4 plan 1) Comprehension and summarization 2) Search engine 3) Teamwork skills and 4) presentation. The duration of the experiment was ten periods over a span of ten weeks. The experimental research was conducted by using One Group Pretest-Posttest Design. The data was analyzed by mean; standard deviation and t-test for dependent group. The results were shown as follows: students learned by using Flipped Classroom approach had the students mean score of the post-test achievement higher than the pre-test mean score at the significant level of .01. The satisfaction of students towards learned by using Flipped Classroom Combination with Lecture-Based Method on Learning Achievement in The Farm Management Course. The highest level of satisfaction was found. Is the method of using video (VDO) in teaching (4.43 ± 0.55) and the lowest level of satisfaction from online lesson through e-learning (4.11 ± 0.46). Keywords: Flipped Classroom, Self-directed learning
บทน�ำ
พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไข เพิม่ เติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวดที่ 4 มาตราที่ 22 ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็ม ศักยภาพ และมาตราที่ 24 (6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดได้ ทุกที่ ทุกเวลา มีการประสานความร่วมมือกับทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ (Ministry of Education, 2002) ในสังคมปัจจุบนั ทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การได้ความรู้มีหลายวิธีการ ดังนั้นการสอนจึง ควรพิจารณาปรับเปลีย่ นวิธเี พือ่ ให้สอดคล้องกับยุคสมัย ให้ได้ผลลัพธ์ทมี่ ปี ระสิทธิภาพ และน�ำมาสร้างนวัตกรรม รูปแบบใหม่ขึ้นมาใช้ (Pahay, 2009) แต่การสอนใน ปัจจุบนั นัน้ ส่วนมากเป็นวิธแี บบบรรยาย เนือ่ งจากเนือ้ หา ทีม่ ากและเวลาทีจ่ ำ� กัด ท�ำให้ขอ้ มูลทีใ่ ช้สอนบางส่วนยัง ไม่เป็นปัจจุบัน การเรียนการสอนอยู่ในลักษณะที่ผู้สอน เป็นศูนย์กลาง เป็นผูเ้ ลือกเนือ้ หา วิธกี ารสอน การประเมิน
ผลการเรียนรู้ ท�ำให้ผู้เรียนจ�ำต้องยึดหลักจดจ�ำเนื้อหา ทีผ่ สู้ อนน�ำเสนอเท่านัน้ ท�ำให้ไม่เกิดการพัฒนาทักษะด้าน กระบวนการคิด การค้นคว้า ส่งผลให้ไม่สามารถน�ำไป ประยุกต์ใช้กับการท�ำงานในชีวิตจริงได้ จากปั ญ หาดั ง กล่ า วจึ ง น� ำ มาสู ่ ท ฤษฎี ก ารเรี ย น การสอนแนวใหม่ทเี่ รียกว่า ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) เป็นรูปแบบการสอนที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ผ่ า นการเรี ย นด้ ว ยตั ว เองนอกชั้ น เรี ย นผ่ า นสื่ อ วิ ดี โ อ อินเทอร์เน็ต ส่วนการเรียนในชัน้ เรียนปกติจะมีการสืบค้น ข้อมูลร่วมกันกับเพื่อนร่วมชั้น โดยมีผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะ ซึง่ การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านนัน้ จะมุง่ เน้น การสร้างองค์ความรูด้ ว้ ยตัวผูเ้ รียนเองตามทักษะรายบุคคล ตามความสามารถในการสืบค้นผ่านสื่อเทคโนโลยีไอซีที (Information and Communication Technology) ทีม่ อี ยูห่ ลากหลายในปัจจุบนั เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ทีม่ อี ยูใ่ ห้เข้ากับการเรียนการสอน สิง่ ทีเ่ คยเป็นกิจกรรม ในชัน้ เรียนจะถูกท�ำทีบ่ า้ น สิง่ ทีเ่ คยท�ำทีบ่ า้ นจะน�ำมาท�ำ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
254
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ทีช่ นั้ เรียน ซึง่ จะเพิม่ ความสนใจของนักเรียนได้มสี ว่ นร่วม มากขึ้น (Pongsawat & Jeerungsuwan, 2015) ในงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้น�ำเทคนิคการสอนแบบ ห้องเรียนกลับด้านมาประยุกต์ใช้ในรายวิชาการจัดการฟาร์ม ซึ่งเป็นวิชาเอกบังคับส�ำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึง่ เนือ้ หารายวิชาเกีย่ วข้องกับกระบวนการผลิต การจัดการ ฟาร์ม การจัดการด้านการเลีย้ งสัตว์ และหลักสวัสดิภาพ สัตว์ (Animal Welfare) ในรายวิชานี้ประกอบไปด้วย ภาคบรรยายและปฏิบัติการภาคสนาม จึงได้นำ� รูปแบบ การเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนแบบ บรรยายเข้ามาใช้ โดยนักศึกษาจะมีสว่ นร่วมในการเรียน จากการค้นคว้าข้อมูลเนื้อหาในรายวิชาจากสื่อรูปแบบ ต่างๆ ทัง้ ในรูปแบบวิดโี อและสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ต เพือ่ น�ำมาสรุปข้อมูลดังกล่าว ผ่านการคิดวิเคราะห์รว่ มกัน กับเพื่อนร่วมชั้นและอาจารย์ผู้สอน
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพือ่ ประเมินผลสัมฤทธิข์ องการเรียนแบบห้องเรียน กลับด้านร่วมกับการสอนแบบบรรยาย ในวิชาการจัดการ ฟาร์ม 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อ การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสอนแบบ บรรยาย ในวิชาการจัดการฟาร์ม
ขอบเขตของงานวิจัย
งานวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่ม ทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The Single Group, Pretest- Posttest Design) ควบคูไ่ ปกับ ผลประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ประชากร ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชัน้ ปีที่ 1 คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ได้มาโดยการเลือกอย่างเจาะจงคือ นักศึกษา ทีล่ งทะเบียนเรียนวิชาการจัดการฟาร์ม ในภาคเรียนที่ 2 เทอม 2.1 ปีการศึกษา 2559 จ�ำนวน 36 คน
ตัวแปรต้น คือ การเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับการสอนแบบบรรยายในวิชาการจัดการฟาร์ม ตั ว แปรตาม คื อ ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นแบบ ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสอนแบบบรรยายในวิชา การจัดการฟาร์ม ระยะเวลาในการวิจยั จ�ำนวน 10 สัปดาห์ ในภาคเรียน ที่ 2 เทอม 2.1 ปีการศึกษา 2559
ทบทวนวรรณกรรม
ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) หมายถึง รูปแบบหนึ่งของการสอนโดยผู้เรียน เรียนรู้งานที่ได้รับ ผ่านการเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง ผ่านเอกสารประกอบการสอน หรือสื่อวิดีทัศน์ นอกชั้นเรียนหรือที่บ้าน ส่วนการเรียน การสอนในชั้นเรียนตามปกตินั้นจะเป็นการสืบค้นหา ความรูท้ ไี่ ด้รว่ มกันกับเพือ่ นร่วมชัน้ เรียน โดยมีครูผสู้ อน เป็นผู้ช่วยเหลือชี้แนะแนวทาง (Phetaurai, 2013) แนวคิดนี้ถูกคิดค้นขึ้นจากประสบการณ์สอนใน ชัน้ เรียนของครูวชิ าเคมี 2 คนคือ Jonathan Bergmann และ Aaron Sams ของโรงเรียน Woodland Park High School รัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึง่ ได้ เขียนหนังสือชือ่ Flip Your Classroom: Reach Every Student in Every Class Every Day จากการทีน่ กั เรียน หลายๆ คนไม่สามารถเข้ามาในชั้นเรียนได้ตามเวลา อันเนือ่ งมาจากหลายสาเหตุ เช่น นักเรียนทีเ่ ป็นนักกีฬา นักเรียนทีต่ อ้ งท�ำงานนอกเวลา หรือกิจกรรมต่างๆ ทีต่ อ้ ง ใช้เวลาในการเดินทาง หรือในบางรายวิชาทีเ่ นือ้ หามีมาก ไม่สามารถเข้าใจได้ทั้งหมดในชั่วโมงเรียน ดังนั้นจึงมี แนวคิดในการเลือกเทคโนโลยีที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และจัดให้มกี จิ กรรมต่างๆ เชือ่ มโยง เช่น การใช้อเี มลเป็นช่องทางติดต่อระหว่างผูส้ อน และนักเรียน โดยมีการตัง้ ค�ำถามเชือ่ มโยงเนือ้ หาการสอน Jonathan และ Aaron กล่าวว่า รูปแบบวิธกี ารเรียน การสอนแบบห้องเรียนกลับด้านนัน้ เป็นวิธกี ารทีค่ รอบคลุม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่มีในปัจจุบัน ท�ำให้ผสู้ อนมีปฏิสมั พันธ์กบั นักเรียนได้มากกว่าการสอน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
แบบบรรยายหน้าชัน้ เรียนเพียงอย่างเดียว จึงเกิดแนวคิด ห้องเรียนกลับด้านคือ กระบวนการเรียนและการบ้าน ทัง้ หมดจะพลิกกลับ จากการทีเ่ คยฟังบรรยายและจดบันทึก ในชั้นเรียน เปลี่ยนเป็นการเรียนรู้ที่บ้านผ่านสื่อที่ผู้สอน เป็นคนสร้างขึน้ ก่อนมาอภิปรายในชัน้ เรียนโดยมีผสู้ อน เป็นผู้ชี้แนะ (Hongkhuntod, 2013) Thongsoontorn (2014) ได้ศกึ ษาการเรียนการสอน แบบ Flipped Classroom เพื่อย่นระยะเวลาในการ เรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานสาระ The Earth’s Structures ของนักเรียน ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2/A ฝ่าย English Program เพื่อแก้ ปัญหาการมีเวลาเรียนในชัน้ เรียนไม่พอพบว่า มีนกั เรียน ที่ไม่ผ่านการทดสอบ (คะแนนต�่ำกว่า 10 คะแนน) 11.11% ของประชากรทีใ่ ช้ในการวิจยั ทัง้ หมด ขณะทีม่ ี นักเรียนได้คะแนน 15 คะแนนขึ้นไป (ท�ำข้อสอบได้ 75% หรือมากกว่า) 81.48% ของประชากรทั้งหมด สรุปได้ว่า วิธีการสอนแบบ Flipped Classroom เป็น วิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพโดยสามารถท�ำให้นักเรียน มีความรูค้ วามเข้าใจในเนือ้ หาได้ไม่แพ้การเรียนการสอน แบบบรรยาย (Lecture-Based Instruction) ทีใ่ ช้สอน กันทั่วไปในชั้นเรียน Phetaurai (2013) ศึกษาการจัดการเรียนแบบ ผสมผสานในวิชากระบวนการแปรรูปยางในภาคการศึกษา ที่ 1/2556 พบว่า มีนักศึกษาร้อยละ 12.14 ที่สอบ ไม่ผา่ นเกณฑ์การประเมิน เนือ่ งจากคะแนนสอบกลางภาค และหรือปลายภาคในระดับต�ำ่ หรือขาดการท�ำแบบทดสอบ หลังเรียนทาง Moodle e-learning หรือขาดการเข้าร่วม ภาคปฏิบตั ิ นอกจากนีพ้ บภาพรวมนักศึกษาเกินร้อยละ 50 ได้คะแนนรวมในระดับต�่ำ และการประเมินภาพรวม ความพึงพอใจของนักศึกษาพบว่า การเรียนแบบผสมผสาน โดยใช้กจิ กรรมทีห่ ลากหลายในห้องเรียน และการใช้สอื่ อิเล็กทรอนิกส์นอกห้องเรียน นักศึกษามีระดับความพึง พอใจในระดับมาก ความพึงพอใจต่อกิจกรรมหรือเกม ในห้องเรียนและการติดต่อสือ่ สารทาง Facebook มากทีส่ ดุ และความพึงพอใจต่อการใช้ระบบ Moodle e-learning น้อยที่สุด
255
Changkwanyeun & Sittiwong (2016) ศึกษา การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ การเรียนรูแ้ บบโครงงาน รายวิชาคอมพิวเตอร์สารสนเทศ ขั้นพื้นฐาน ส�ำหรับนิสิตปริญญาตรี จ�ำนวน 112 คน พบว่า การสร้างแผนการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียน กลับด้านร่วมกับการเรียนรูแ้ บบโครงงาน ควรต้องค�ำนึง ในการสร้างแผนการจัดการเรียน ซึ่งจะประกอบด้วย ชื่อแผนการจัดการเรียนรู้ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ชื่อเรื่อง ของแผนการจัดการเรียนรู้ ชั้นที่สอน จ�ำนวนคาบที่ใช้ ในการสอน สาระรายวิชา วัตถุประสงค์ สาระของเนือ้ หา กิจกรรมสื่อและอุปกรณ์ การวัดและการประเมินผล Google Classroom คูม่ อื การใช้งาน Google Classroom แบบวัดผลสัมฤทธิท์ างการเรียน พร้อมเฉลยแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในส่วนของผลการประเมิน คุณภาพของแผนการสอนการจัดการเรียนการสอนแบบ ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานโดย ผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก และผลการหาประสิทธิผล ของการสอนการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียน กลับด้านร่วมกับการเรียนรูแ้ บบโครงงาน คือ 0.55 ผ่าน ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ Sutbonit, Tayraukham & Kumpol (2013) ท�ำการเปรียบเทียบ ความรับผิดชอบต่อการเรียน เจตคติ ต่อการเรียน และผลสัมฤทธิท์ างการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ทีไ่ ด้รบั การจัดกิจกรรม การเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตาม แนวคิดห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) มีความ รับผิดชอบต่อการเรียน เจตคติตอ่ การเรียน และผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนยั ส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบปกติมคี วามรับผิดชอบต่อการเรียน เจตคติตอ่ การเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .01 และผลของนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียน กลับทาง (Flipped Classroom) มีความรับผิดชอบต่อ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
256
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
การเรียน เจตคติตอ่ การเรียน และผลสัมฤทธิท์ างการเรียน สูงกว่านักเรียนทีไ่ ด้รบั การจัดกิจกรรมการเรียนรูแ้ บบปกติ อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 Lage, Platt & Treglia (2000) พบว่า การสอน แบบดั้ ง เดิ ม ไม่ เ หมาะสมกั บ การเรี ย นรู ้ บ างรู ป แบบ จึ ง ออกแบบวิ ธี ก ารที่ ใ กล้ เ คี ย งกั น ที่ พ วกเขาเรี ย กว่ า Inverted Classroom เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนผ่านสื่อ ต่างๆ ก่อนเข้าชัน้ เรียน โดยมอบหมายงานทีจ่ ะมีการสุม่ เก็บคะแนนในบางครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่ามีการเตรียม การเรียนในชัน้ เรียนเป็นการอภิปรายกลุม่ ย่อยโดยใช้หลัก เศรษฐศาสตร์ ผลการทดลองพบว่า ผู้เรียนมีแรงจูงใจ มากขึ้นกว่าการสอนในรูปแบบดั้งเดิม Schoolwires (2013) อธิบายว่า การจัดการเรียน การสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) มีองค์ประกอบส�ำคัญ 4 ด้าน ดังนี้ 1. Experiential Engagement คือ การน�ำเข้าสู่ ประสบการณ์ โดยครูแนะน�ำวิธกี ารเรียนรูใ้ ห้กบั นักเรียน 2. Concept Exploration คือ การส�ำรวจความรู้ เพื่อสร้างมโนทัศน์ โดยครูแนะน�ำให้นักเรียนเรียนรู้จาก กิจกรรมที่หลากหลาย เช่น สื่อวีดิทัศน์การบรรยาย สื่อบันทึกเสียง เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ 3. Meaning Making คือ การสร้างความรู้ที่มี ความหมาย โดยนักเรียนสรุปองค์ความรู้จากสื่อที่ครู มอบหมายให้ศึกษา
4. Demonstration & Application คือ การสาธิต และประยุกต์ใช้ โดยนักเรียนน�ำเสนอความรูแ้ ละการน�ำ ความรู้ไปใช้ ถึงแม้ว่าการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน จะเกิดประโยชน์กับนักเรียนอย่างเต็มที่ แต่ผู้สอนเอง ต้องเข้าใจวัตถุประสงค์และการจัดการเรียนการสอน ในรูปแบบนี้ ผูส้ อนจะต้องเข้าใจเนือ้ หาทีส่ อนอย่างชัดเจน พร้อมทัง้ ชีแ้ นะแนวทาง ติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน แต่ละคน และให้ค�ำแนะน�ำอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่ใน ชัน้ เรียน เพราะการเรียนรูผ้ า่ นเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำ� ให้ สามารถเพิ่มช่องทางค�ำแนะน�ำได้หลากหลาย ไม่จ�ำกัด เพิ่งแค่ภายในชั้นเรียน
วิธีการวิจัย
1. นักศึกษาท�ำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) โดยข้อสอบจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1) ความรูพ้ นื้ ฐานด้าน การจัดการฟาร์มทีเ่ คยเรียนผ่านมาแล้ว และ 2) ความรู้ ทีก่ ำ� ลังจะเรียนด้านการจัดการฟาร์ม และหลักสวัสดิภาพ สัตว์ (Animal Welfare) 2. น�ำข้อมูลทีไ่ ด้จากการท�ำแบบทดสอบของนักศึกษา มาวิเคราะห์ผล เพื่อด�ำเนินการจัดแผนการเรียนรู้แบบ ห้องเรียนกลับด้าน จ�ำนวน 4 แผน (ดังตารางที่ 1) เพื่อ วางแผนการสอนเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ (Lesson plan)
ตารางที่ 1 แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน แผนการเรียนรู้ 1. การฝึกทักษะการจับใจความและสรุป 2. การฝึกทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการสืบค้น ข้อมูลความรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. การฝึกทักษะการท�ำงานเป็นทีม 4. การฝึกทักษะการน�ำเสนอหน้าชั้นเรียน
รายละเอียด ให้นักศึกษาอ่านท�ำความเข้าใจบทเรียนด้วยตนเอง และเขียนสรุป ลงกระดาษ โดยอาจารย์เป็นคนตรวจให้คะแนน ให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อที่ อาจารย์มอบหมายให้ อาจารย์มอบหมายหัวข้อในการน�ำเสนอเป็นกลุ่มให้แบ่งหน้าที่ สืบค้นข้อมูลมาอภิปรายกันก่อนน�ำเสนอต่อหน้าชั้นเรียน นักศึกษาทุกคนต้องออกมาน�ำเสนอหน้าชั้นเรียนผ่านการประเมิน จากอาจารย์ด้วยแบบประเมินการน�ำเสนอ (Rubric score)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
3. การเก็บรวบรวมข้อมูลและด�ำเนินการทดลอง ผู้วิจัยด�ำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยได้ดำ� เนินการวิจยั เพือ่ ศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสอนแบบ บรรยายในวิชาการจัดการฟาร์ม โดยอาศัยเครือ่ งมือเก็บ รวบรวมข้อมูลดังนี้ 3.1 แผนการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน จ�ำนวน 4 แผน ดังตารางที่ 1 3.2 แบบประเมิ น การน� ำ เสนอหน้ า ชั้ น เรี ย น (Rubric score) 3.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วย 3.3.1 แบบทดสอบย่อย (Pre-test, Posttest, Quiz, Pop Quiz) 3.3.2 ข้อสอบกลางภาค 3.3.3 ข้อสอบปลายภาค 3.4 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา ทีม่ ตี อ่ การจัดการเรียนรูปแบบห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ผ่าน google drive 4. การวิเคราะห์และสถิติ 4.1 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาคือ การ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลีย่ และค่าส่วนเบีย่ งเบน มาตรฐานของคะแนนสอบย่อย คะแนนสอบกลางภาค
257
และคะแนนสอบปลายภาค 4.2 วิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล โดยใช้ ค ่ า เฉลี่ ย และค่ า ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน จากคะแนนการท�ำแบบสอบถาม ในการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละคนต่อ รูปแบบกิจกรรมการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ การสอนแบบบรรยายโดยการแปลความหมายของผล การวิเคราะห์จากค่าเฉลีย่ และค่าส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน ก�ำหนดเกณฑ์ตั้งแต่มากที่สุดถึงน้อยที่สุด
ผลการวิจัย
จากการท�ำแบบทดสอบก่อนเรียนของนักศึกษา ทั้งหมด 36 คน พบว่า มีผู้ได้คะแนนต�ำ่ กว่าร้อยละ 50 จ�ำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 8.33 คะแนน ตัง้ แต่รอ้ ยละ 51-79 คะแนน จ�ำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 27.78 และร้อยละคะแนนมากกว่า 79 จ�ำนวน 23 คน คิดเป็น ร้อยละ 63.89 พบว่า ยังมีนกั ศึกษาบางส่วนขาดความรู้ ความเข้าใจในพื้นฐานด้านการจัดการฟาร์ม และหลัก สวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) จึงได้นำ� ข้อมูลที่ได้ จากการท�ำแบบทดสอบก่อนเรียนมาออกแบบเพื่อจัด กิจกรรมการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสอน แบบบรรยาย โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 4 แผน เพือ่ วางแผนการสอนเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ (Lesson plan) ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ผลที่ได้จากแผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน แผนการเรียนรู้ 1. การฝึกทักษะการจับใจความและสรุป 2. การฝึกทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการ สืบค้นข้อมูลความรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. การฝึกทักษะการท�ำงานเป็นทีม
4. การฝึกทักษะการน�ำเสนอหน้าชั้นเรียน
ผลที่ได้ นักศึกษาส่วนใหญ่สามารถจับประเด็นเนือ้ หาและสรุปใจความส�ำคัญได้ นักศึกษาสามารถสืบค้นข้อมูลจากโจทย์ที่ได้รับโดยใช้เทคโนโลยี สารสนเทศได้ นักศึกษาแต่ละกลุ่มสามารถแบ่งหน้าที่กันท�ำงานเป็นอย่างดี และ สามารถรายงานหน้าชั้นเรียน ตอบประเด็นปัญหาจากเพื่อนร่วมชั้นได้ เป็นอย่างดี นักศึกษาทุกคนสามารถน�ำเสนอหน้าชั้นเรียนได้อย่างดีโดยได้รับ การประเมินจาก Rubric score
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
258
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
จากผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา ต่อกิจกรรมการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ การสอนแบบบรรยาย ในวิชาการจัดการฟาร์ม พบว่า ผลการประเมินอยู่ในช่วง 4.11-4.43 โดยการประเมิน ทัง้ 4 หัวข้อ พบว่า ระดับความพึงพอใจมากทีส่ ดุ ในหัวข้อ เนือ้ หาบทเรียน มีคา่ เฉลีย่ อยูท่ ี่ 4.40±0.6 โดยวิธกี ารใช้ สื่อวีดิทัศน์ (VDO) ในการสอน มีระดับความพึงพอใจ มากที่สุดคือ 4.43±0.55 ล�ำดับความพึงพอใจต่อมา ในหั ว ข้ อ การจั ด กิ จ กรรมในห้ อ งเรี ย น ค่ า เฉลี่ ย อยู ่ ที่ 4.34±0.63 โดยการฝึกทักษะการรายงานหน้าชั้นเรียน
ในการสอนมีระดับความพึงพอใจมากทีส่ ดุ คือ 4.41±0.6 ล�ำดับความพึงพอใจต่อมาในหัวข้อวิธกี ารสอนในห้องเรียน มีคา่ เฉลีย่ อยูท่ ี่ 4.32±0.6 โดยเทคนิคการสอนของผูส้ อน มีระดับความพึงพอใจคือ 4.32±0.6 และล�ำดับความพึง พอใจน้อยที่สุดในหัวข้อกิจกรรมออนไลน์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.19±0.46 โดยการสอบผ่านโปรแกรม Socrative มี ระดับความพึงพอใจมากทีส่ ดุ คือ 4.27±0.54 และระดับ ความพึงพอใจทีน่ อ้ ยทีส่ ดุ จากการประเมินของนักศึกษา ในหัวข้อบทเรียนออนไลน์ผา่ น e-learning ค่าเฉลีย่ อยูท่ ี่ 4.11±0.46
ตารางที่ 3 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาทั้งหมด 36 คน จากการท�ำแบบทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียน การทดสอบ ก่อนเรียน หลังเรียน
n 36 36
mean 77.85 88.02
S.D. 249.65 69.11
จากตารางที่ 3 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิท์ างการเรียน ของนักศึกษาจากการท�ำแบบทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียน พบว่า ผลการทดสอบก่อนเรียนของนักศึกษา มีคะแนนเฉลีย่ อยูท่ ี่ 77.85 คะแนน ในการทดสอบหลังเรียน พบว่า นักศึกษามีผลคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 88.02 คะแนน เมื่อน�ำคะแนนมาเปรียบเทียบพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนในวิชาการจัดการฟาร์มจากการท�ำแบบทดสอบ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติ .01 ระดับคะแนนรวมของนักศึกษา อยู่ระหว่าง D+ ถึง A โดยคะแนน D+ มีจ�ำนวนนักศึกษา 4 คน คิดเป็น ร้อยละ 11.1 และระดับคะแนน A มีจ�ำนวนนักศึกษา 9 คน คิดเป็นร้อยละ 25 โดยระดับที่มีจ�ำนวนนักศึกษา ได้มากทีส่ ดุ คือ B+ จ�ำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 27.8 และระดับที่มีจ�ำนวนนักศึกษาได้น้อยที่สุดเท่ากันคือ C และ C+ จ�ำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5.6
t
df
sig
6.05
35
0.00**
สรุปและอภิปรายผล
1. จากการท�ำแบบทดสอบก่อนเรียนของนักศึกษา ทั้งหมด พบว่า มีผู้ได้คะแนนต�่ำกว่าร้อยละ 50 จ�ำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 8.33 คะแนน ตัง้ แต่รอ้ ยละ 51-79 คะแนน จ�ำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 27.78 และร้อยละ คะแนนมากกว่า 79 จ�ำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 63.89 พบว่า ยังมีนักศึกษาบางส่วนขาดความรู้ความเข้าใจ ในพืน้ ฐานด้านการจัดการฟาร์ม และหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) สอดคล้องกับ Phetaurai (2013) จากการสังเกตพฤติกรรมในห้องเรียนพบว่า นักศึกษา ส่วนใหญ่อาศัยการจ�ำเป็นหลัก จึงท�ำให้ไม่สามารถน�ำวิชา ที่เคยเรียนมาแล้วมาบูรณาการกับวิชาที่เรียนอยู่ได้ 2. ผลที่ได้จากแผนการจัดการเรียนการสอนเป็น ระยะเวลา 10 สัปดาห์ โดยใช้แผนการเรียนรู้ 4 แผน พบว่า การฝึกทักษะการจับใจความและสรุป นักศึกษา
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ส่วนใหญ่สามารถจับประเด็นเนื้อหาและสรุปใจความ ส�ำคัญได้สอดคล้องกับ Burapapichitpai (2015) พบว่า การจัดการเรียนตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางนั้นเป็น รูปแบบที่ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง เน้นทีอ่ งค์ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะทีเ่ กิดกับตัวผูเ้ รียน การฝึกทักษะการเรียนรูด้ ว้ ยตนเองผ่านการสืบค้นข้อมูล ความรูด้ ว้ ยเทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาสามารถสืบค้น ข้อมูลจากโจทย์ที่ได้รับโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ การฝึกทักษะการท�ำงานเป็นทีม นักศึกษาแต่ละกลุ่ม สามารถแบ่งหน้าที่กันท�ำงานเป็นอย่างดี และสามารถ รายงานหน้าชัน้ เรียน ตอบประเด็นปัญหาจากเพือ่ นร่วมชัน้ ได้เป็นอย่างดี และการฝึกทักษะการน�ำเสนอหน้าชัน้ เรียน นักศึกษาทุกคนสามารถน�ำเสนอหน้าชั้นเรียนได้อย่างดี โดยได้รบั การประเมินจาก rubrics สอดคล้องกับ Udom thawee (2013) กล่าวว่า การเรียนรูต้ ามแนวคิดห้องเรียน กลับทางท�ำให้ผเู้ รียนมีความเข้าใจมากขึน้ มีการน�ำเสนอ ผลงานของตนเอง และมีการพัฒนาการเรียนรู้มากขึ้น การเรียนรูปแบบนีจ้ ะช่วยพัฒนาทักษะการคิดเชิงบูรณาการ และความรู้สึกที่ดีต่อการเรียน 3. จากผลการประเมินความพึงพอใจในของนักศึกษา โดยการประเมินทัง้ 4 หัวข้อพบว่า ระดับความพึงพอใจ มากทีส่ ดุ ในหัวข้อเนือ้ หาบทเรียน มีคา่ เฉลีย่ อยูท่ ี่ 4.40±0.6 โดยวิธีการใช้สื่อวีดิทัศน์ (VDO) ในการสอน มีระดับ ความพึงพอใจมากที่สุดคือ 4.43±0.55 เนื่องจากผู้สอน ได้นำ� สือ่ วิดโี อทีเ่ กีย่ วข้องกับเนือ้ หาทีเ่ รียนมาใช้ในการสอน เป็นวิดโี อสัน้ ๆ ท�ำให้นกั ศึกษามีความสนใจและระยะเวลา ไม่นาน ท�ำให้นกั ศึกษายังคงมีความสนใจอยู่ ซึง่ สอดคล้อง กับ Udomthawee (2013) ทีพ่ บว่า กิจกรรมการเรียนรู้ มีสอื่ การเรียนรูท้ หี่ ลากหลายท�ำให้นกั เรียนมีความสนุกสนาน ในการเรียนรู้ ล�ำดับความพึงพอใจต่อมาในหัวข้อการจัด กิจกรรมในห้องเรียน ค่าเฉลีย่ อยูท่ ี่ 4.34±0.63 โดยการ ฝึกทักษะการรายงานหน้าชั้นเรียนในการสอน มีระดับ ความพึงพอใจมากที่สุดคือ 4.41±0.6 สอดคล้องกับ Phetaurai (2013) กล่าวว่า นักศึกษามีความพึงพอใจ ในการท�ำงานกลุ่ม เนื่องจากนักศึกษาไม่ต้องท�ำงาน
259
คนเดียว สามารถช่วยกันคิดวิเคราะห์เป็นกลุ่ม ล�ำดับ ความพึงพอใจต่อมาในหัวข้อวิธีการสอนในห้องเรียน มีคา่ เฉลีย่ อยูท่ ี่ 4.32±0.6 โดยเทคนิคการสอนของผูส้ อน มีระดับความพึงพอใจคือ 4.32±0.6 และล�ำดับความพึง พอใจน้อยที่สุดในหัวข้อกิจกรรมออนไลน์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.19±0.46 โดยการสอบผ่านโปรแกรม Socrative มีระดับ ความพึงพอใจมากที่สุดคือ 4.27±0.54 สอดคล้องกับ Phetaurai (2013) พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่ กับโทรศัพท์มือถือแบบ Smartphone ในการออนไลน์ ในชีวิตประจ�ำวันเป็นส่วนมาก ท�ำให้นักศึกษาเข้าถึง ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ส่วนระดับความพึงพอใจทีน่ อ้ ยทีส่ ดุ จากการประเมินของนักศึกษา ในหัวข้อบทเรียนออนไลน์ ผ่าน e-learning ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.11±0.46 เนื่องจาก นักศึกษามีขอ้ เสนอแนะให้ปรับปรุงข้อมูลใน e-learning บางอาทิตย์ไม่ตรงกับการสอนอาทิตย์นั้น และระบบ อินเทอร์เน็ตของสถาบันมีปัญหาขัดข้องในการใช้งาน บ่อยครั้ง ซึ่งสอดคล้องกับ Phetaurai (2013) จึงท�ำให้ นักศึกษาเกิดความเบื่อหน่ายในการใช้งาน 4. ผลจากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิท์ างการเรียน ของนักศึกษา จากการท�ำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลัง พบว่า ผลการทดสอบก่อนเรียนของนักศึกษามีคะแนนเฉลีย่ อยู่ที่ 77.85 คะแนน ในการทดสอบหลังเรียนพบว่า นักศึกษามีผลคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 88.02 คะแนน เมื่อน�ำ คะแนนมาเปรียบเทียบพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาการจัดการฟาร์ม จากการท�ำแบบทดสอบ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ สอดคล้องกับงานวิจัย ของ U-sen, Portjanatanti & Rorbkorb (2017) ที่ เ ปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นของนั ก เรี ย น ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนทีไ่ ด้รบั การจัดกิจกรรม การเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนทีไ่ ด้รบั จากการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ .01 5. ระดับคะแนนรวมของนักศึกษา จ�ำนวน 36 คน ในวิชาการจัดการฟาร์ม อยู่ระหว่าง D+ ถึง A โดย
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
260
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
คะแนน D+ มีจำ� นวนนักศึกษา 4 คน คิดเป็นร้อยละ 11.1 และระดับคะแนน A มีจ�ำนวนนักศึกษา 9 คน คิดเป็น ร้อยละ 25 โดยระดับทีม่ จี ำ� นวนนักศึกษาได้มากทีส่ ดุ คือ B+ จ�ำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 27.8 และระดับที่มี จ�ำนวนนักศึกษาได้นอ้ ยทีส่ ดุ เท่ากันคือ C และ C+ จ�ำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5.6
สรุป
จากการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสอน แบบบรรยาย ในวิชาการจัดการฟาร์ม ในภาคเรียนที่ 2 เทอม 2.1 ปีการศึกษา 2559 จ�ำนวน 36 คน เมื่อมี การท�ำแบบทดสอบก่อนเรียนพบว่า นักศึกษาส่วนหนึ่ง ยังขาดความรูค้ วามเข้าใจในพืน้ ฐานด้านการจัดการฟาร์ม และหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) อาจเกิด จากนักศึกษาอาศัยการจ�ำเป็นหลัก จึงไม่สามารถน�ำวิชา ที่เคยเรียนมาแล้วมาบูรณาการกับรายวิชาที่เรียนอยู่ได้ จากผลดังกล่าวจึงน�ำมาสูก่ ารวางแผนการเรียนการสอน 10 สัปดาห์ โดยใช้แผนการเรียนรู้ 4 แผน พบว่า นักศึกษา
มีฝึกทักษะการจับใจความและสรุปได้ดี สามารถสืบค้น ข้อมูลจากโจทย์ที่ได้รับโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ มีทกั ษะการท�ำงานเป็นทีม นักศึกษาแต่ละกลุม่ สามารถ แบ่งหน้าที่กันท�ำงานเป็นอย่างดี และนักศึกษาทุกคน สามารถน�ำเสนอหน้าชัน้ เรียนได้อย่างดี ตอบประเด็นปัญหา จากเพื่อนร่วมชั้นได้ จากผลการประเมินความพึงพอใจ ของนักศึกษาต่อกิจกรรมการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน พบว่า ระดับความพึงพอใจมากที่สุดคือ วิธีการใช้ส่ือ วีดิทัศน์ (VDO) ในการสอน ส่วนระดับความพึงพอใจ ที่น้อยที่สุดจากการประเมินของนักศึกษาคือ บทเรียน ออนไลน์ผ่าน e-learning เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ต ของสถาบันมีปญ ั หาขัดข้องในการใช้งานบ่อยครัง้ ผลจาก การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา จากการท�ำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนในวิชาการจัดการฟาร์มจากการ ท�ำแบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนยั ส�ำคัญ ทางสถิติ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
References
Burapapichitpai, P. (2015). The Flipped Classroom and Learning Management in Thailand. Department of Educational Technology, Faculty of Education, Kasetsart University. [in Thai] Changkwanyeun, A. & Sittiwong, T. (2016). The Flipped Classroom and Project Based Learning on the Introduction to Computer Information Science for Undergraduate Students. Division of Research Administration. Research Naresuan, 12. [in Thai] Hongkhuntod, A. (2013). Flipped Classroom. Retrieved August 17, 2016, form https://porntippalacheewa. wordpress.com/2014/05/07/%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9 %80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8 %B1%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-flipped-classroom/ Lage, M. J., Platt, G. J. & Treglia, M. (2000). Inverting the Classroom: A Gateway to Creating an Inclusive Learning Environment. The Journal of Economic Education, 31(1), 30-43. Ministry of Education. (2002). National Education Act B.E. 2002. Bangkok: Express Transportation Organization of Thailand. [in Thai] Pahay, S. (2009). The Flipped Classroom: New Classrooms Dimension in the 21st Century. Retrieved August 17, 2017, from http://phd.mbuisc.ac.th/academic/flipped%20classroom2.pdf [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
261
Phetaurai, W. (2013). Achievement of Blended Learning in Rubber Processing for Undergraduate Student in Rubber and Polymer Technology Program. Classroom research. Faculty of Engineering and Agro-Industry, Maejo University. [in Thai] Pongsawat, P. & Jeerungsuwan, N. (2015). The Instruction Design Flipped Classroom Model by Using WebQuest Activities to Develop Learning Skills in The 21st Century for Students in Higher Education. Technical Education Journal King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 6(1), 151-158. [in Thai] Schoolwires. (2013). The Flipped Classroom: A New Way to Look at Schools. Retrieved September 1, 2017, from https://www.rjuhsd.us/site/handlers/filedownload.ashx?moduleinstanceid=1 702&dataid=2257&FileName=White_Paper_on_Flipped_Class.pdf Sutbonit, S., Tayraukham, S. & Kumpol, B. (2013). Comparison of Learning Responsibilities Attitudes towards Learning and Learning Achievement in Science subject of Matthayomsueksa 1 Students Who Learned Using Flipped Classroom Activities and Traditional Learning Activities. Journal of Education Mahasarakhan University, (Special Issue), 164-178. [in Thai] Thongsoontorn, P. (2014). The Flipped Classroom. Classroom research. Assumption College. [in Thai] Udomthawee, W. (2013). The Development of Integrative Thinking and Learning Achievement of Grade 9 Students on North and South America Geography Using Problem-Based Learning and Flipped Classroom Technique. Master’s Thesis in Education, Khon Kaen University. [in Thai]. U-sen, N., Portjanatanti, N. & Rorbkorb, N. (2017). Effect of Flipped Classroom Approach on Science Achievement, Self-Directed Learning and Scientific Attitudes of Grade 11 Students. Journal of Education Prince of Songkla University, 28, 156-165. [in Thai]
Name and Surname: Paraporn Yotavong Highest Education: Ph.D. Zoology, Kasetsart University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Entomology, Toxicology, Behavior, Zoology, Farm management Address: 1/34 Soi Vipavadee 60, Vipavadee Rd., Bangkok 10900
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
262
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
การศึกษาผลการออกเสียงภาษาอังกฤษเลียนแบบเจ้าของภาษาเพื่อพัฒนาการพูด ภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ A STUDY OF IMITATING ENGLISH NATIVE LANGUAGE SPEAKER’S PRONUNCIATION TO IMPROVE ENGLISH SPEAKING ABILITY OF THAI STUDENTS IN THE FACULTY OF ENGINEERING, KASETSART UNIVERSITY ปิยวรรณ รัตนวารินทร์ชัย1 และศุภวุฒิ มาลัยกฤษณะชลี2 Piyawan Ratanavarinchai1 and Suphawut Malaikrisanachalee2 1โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1Kasetsart University Laboratory School, Kasetsart University 2Department of Civil Engineering, Faculty of Engineering, Kasetsart University
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาผลการออกเสียงภาษาอังกฤษเลียนแบบเจ้าของภาษาเพื่อพัฒนาการพูดภาษา อังกฤษของนักศึกษาไทย โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ศึกษาและประเมินผลการออกเสียงภาษาอังกฤษและการใช้ระดับเสียง สูงต�่ำของนักศึกษา โดยใช้เทคนิคการออกเสียงภาษาอังกฤษเลียนแบบเจ้าของภาษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บันทึกตัวอย่างเสียงของนักศึกษาไทย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งก�ำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี โท และเอก จ�ำนวน 20 คน และบันทึกตัวอย่างเสียงของครูสอนภาษาอังกฤษ ซึง่ เป็นเจ้าของภาษา จ�ำนวน 1 คน ผูว้ จิ ยั ได้รวบรวมบันทึกตัวอย่างเสียงทัง้ หมดไปประมวลผลด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ สัญญาณเสียงด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์และประเมินบันทึกตัวอย่างเสียงของนักศึกษาเปรียบเทียบกับเจ้าของ ภาษา ผลการวิจยั พบว่า กลุม่ ตัวอย่างนักศึกษาในงานวิจยั ชิน้ นี้ ส่วนใหญ่ออกเสียงประโยคค�ำถามทีต่ อ้ งการค�ำตอบ ว่าใช่หรือไม่ (Yes/No Question) เป็นระดับเสียงต�่ำในประโยค (Falling Intonation) การออกเสียงภาษาอังกฤษ และการใช้ระดับเสียงสูงต�ำ่ ในประโยคของกลุม่ ตัวอย่างนักศึกษา ก่อนและหลังฟังการอ่านออกเสียงโดยเจ้าของภาษา มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยลักษณะสัญญาณเสียงและรูปแบบระดับเสียงสูงต�ำ่ ในประโยค (Sentence Intonation) มีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้นตามจ�ำนวนครั้งที่ฟัง มีการใช้ระดับเสียงสูงในประโยคค�ำถามที่ต้องการค�ำตอบว่าใช่หรือไม่ เลียนแบบเจ้าของภาษา แสดงให้เห็นถึงผลจากการใช้เทคนิคการออกเสียงภาษาอังกฤษเลียนแบบเจ้าของภาษาต่อ ประสิทธิภาพการพูดภาษาอังกฤษของกลุม่ ตัวอย่างนักศึกษาในงานวิจยั นี้ แต่อย่างไรก็ตามความสามารถและพัฒนาการ ในการออกเสียงภาษาอังกฤษขึน้ อยูก่ บั นักศึกษาแต่ละคน นอกจากนีย้ งั พบปัญหาเกีย่ วกับการอ่านค�ำศัพท์บางค�ำ เช่น Corresponding Author E-mail: piyawan.rchai@gmail.com
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
263
“Drive” อ่านว่า ไร้, “Nephew” อ่านว่า เนพ-พิว, “Lorry” อ่านว่า ลอ-เร่, “Thursday” อ่านเป็น “Tuesday”, “With” อ่านว่า วิด เป็นต้น สุดท้ายนี้ ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางพัฒนาและเตรียมความพร้อมด้านทักษะการพูด การสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยสาขาวิศวกรรมศาสตร์ในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในภูมิภาคอาเซียน ต่อไป ค�ำส�ำคัญ: การออกเสียงภาษาอังกฤษ การใช้ระดับเสียงสูงต�่ำ การเลียนแบบเสียงเจ้าของภาษา
Abstract
This research presented a study of imitating English native language speaker’s pronunciation to improve English speaking ability of Thai students. The objective was to investigate and assess their English pronunciation and intonation based on an imitating English native language speaker’s pronunciation technique. The research instruments included twenty speech records of Thai undergraduate and graduate students in the Faculty of Engineering, Kasetsart University and one speech record of native English teacher at the Kasetsart University Laboratory School, Kasetsart University. Every record was collected and processed using the speech analysis software. Students’ speech records were evaluated and compared with native language speaker’s. Results indicated that most Thai student participants in this study used the falling intonation in yes/no questions. There existed some differences in the English pronunciation and sentence intonation before and after listening to the English native language speaker. The speech signal and sentence intonation exhibited a rising pattern imitating native language speaker and tended to improve with the number of times listened. The study also showed that the English native language speaker’s pronunciation technique could improve English speaking ability of Thai student participants in this research. However, the level of improvement gained varied depending on each participant. In addition, a few pronunciation mistakes were found in the following words: drive, nephew, lorry, Thursday, with etc. Finally, the researchers have proposed some guidelines for developing and preparing English speaking and communication skills of Thai engineering students for their future professional engineer in ASEAN. Keywords: Pronunciation, Intonation, Imitating English Native Language Speaker
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
264
บทน�ำ
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
การเปิดเสรีอาเซียนโดยเฉพาะการก้าวสู่ “ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community) หรือ “AEC” ในปี พ.ศ. 2558 ก่อให้เกิดความตื่นตัว ทุกภาคส่วนของประเทศไทย ภาครัฐ เอกชน ตลอดจน ประชาชนต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับกับผลกระทบ จากการเปิดเสรีต่างๆ ใน 5 สาขา ประกอบด้วยสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และเงินทุนในภูมิภาค อาเซียน และแน่นอนว่าผลกระทบจากการเปิดกว้างทาง ด้านอาชีพและแรงงานครัง้ ใหญ่ของประเทศไทยนี้ สาขา อาชีพวิศวกรย่อมได้รบั ผลกระทบจากการเปิดเสรีเช่นกัน วิศวกรต่างชาติที่จะเข้ามาท�ำงานในประเทศไทย ซึ่งได้ ขึน้ ทะเบียนวิศวกรวิชาชีพต่างด้าวจดทะเบียน (Registered Foreign Professional Engineer) มีโอกาสสูงที่จะ เคลือ่ นย้ายเข้ามาท�ำงานในประเทศไทย ในขณะเดียวกัน วิศวกรไทยทีข่ นึ้ ทะเบียนวิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Engineer) ก็มีโอกาสออก ไปท�ำงานประเทศอื่นได้โดยเสรี โดยตามข้อตกลงของ ประชาคมอาเซียน ภาษาทีจ่ ะใช้เป็นภาษากลางในการติดต่อ สื่อสารกันคือ ภาษาอังกฤษ ซึ่งเรื่องของภาษานี้ถือเป็น ข้อเสียเปรียบทีช่ าวต่างชาติได้จากเรา เพราะคนไทยนัน้ มีข้อจ�ำกัดในเรื่องของภาษามากกว่าหลายประเทศใน อาเซียน โดยเฉพาะประเทศคูแ่ ข่งส�ำคัญในอาเซียนอย่าง สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ดังนั้น บุคลากรไทยจ�ำเป็นต้องพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ให้สงู ขึน้ เพือ่ สร้างความเข้มแข็งและยกระดับความสามารถ ในการแข่งขันกับชาติอาเซียนอื่น ปัจจุบันนักศึกษาไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะสาขา วิศวกรรมศาสตร์ยังขาดทักษะการพูดการสื่อสารภาษา อังกฤษ โดยเฉพาะการออกเสียงค�ำศัพท์ (Pronunciation) การใช้ระดับเสียงสูงต�่ำ (Intonation) ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน องค์ประกอบส�ำคัญในการพูดการสื่อสารภาษาอังกฤษ อย่างมีประสิทธิภาพ จากผลการส�ำรวจความสามารถ ในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ พบว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ท�ำคะแนนได้นอ้ ยทีส่ ดุ (Duangloi, 2015) โดยปกติปญั หา
การออกเสียงมักเป็นผลมาจากความแตกต่างระหว่าง ระบบเสียงทีแ่ ตกต่างกันระหว่างระบบเสียงของภาษาแม่ กับระบบเสียงของภาษาต่างประเทศ ไม่วา่ จะเป็นความ แตกต่างในระดับเสียงแต่ละเสียงไปจนถึงความแตกต่าง ในระดับสัทสัมพันธ์อย่างโครงสร้างพยางค์และท�ำนองเสียง ซึ่งนักศึกษาไทยที่เรียนภาษาอังกฤษหลีกไม่พ้นปัญหา เหล่านีเ้ ช่นกัน อาทิ การออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยส�ำเนียง และรูปแบบภาษาไทย ซึง่ ไม่เน้นระดับเสียงสูงต�ำ่ ในประโยค (Sentence Intonation) ไม่เน้นเสียงหนักในค�ำ (Word Stress) ไม่เน้นเสียงหนักในประโยค (Sentence Stress) เป็นต้น (Hirst & Di Cristo, 1998; Luksaneeyanawin, 1983) การเน้นเสียงและระดับเสียงในภาษาอังกฤษถือเป็น ปัญหาส�ำคัญของการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย เพราะถ้าออกเสียงหนัก (Stress) ผิดพยางค์กอ็ าจจะเกิด ความเข้าใจผิดในค�ำหรือประโยคนัน้ ได้งา่ ย ท�ำให้การพูด การสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยผิดเพี้ยนไป สื่อความหมายผิดและขาดประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเป็น เรือ่ งส�ำคัญทีต่ อ้ งวิจยั เพือ่ พัฒนาการพูดการสือ่ สารภาษา อังกฤษของนักศึกษาไทย การฝึกพูดภาษาอังกฤษให้มี โทนเสียงสูงต�ำ่ ได้เหมือนเจ้าของภาษาอย่างมีประสิทธิภาพ ยิง่ ขึน้ การวิจยั นีจ้ งึ มุง่ ศึกษาแนวทางปรับปรุงการออกเสียง ภาษาอังกฤษ (Pronunciation) การลงเสียงหนัก (Stress) และระดับเสียงสูงต�ำ่ (Intonation) ในประโยคให้ถกู ต้อง โดยใช้เทคนิคการออกเสียงภาษาอังกฤษเลียนแบบเจ้าของ ภาษา (Imitating English Native Language Speaker’s Pronunciation Technique) (Ding, 2007; Lázaro Ibarrola, 2010; Stevick, 1989; Tominaga, 2009) พร้ อ มน� ำ โปรแกรมวิ เ คราะห์ เ สี ย งด้ ว ยคอมพิ ว เตอร์ (Scientific Speech Analysis Software) (Charnvivit et al., 2003; Onsuwan, Duangmal & Panpraneet, 2014) มาใช้ประเมินประสิทธิภาพการออกเสียงภาษา อังกฤษและการใช้ระดับเสียงสูงต�่ำของนักศึกษาไทย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาและประเมินผลการออกเสียงภาษา อังกฤษและการใช้ระดับเสียงสูงต�่ำของนักศึกษาไทย โดยใช้ เ ทคนิ ค การออกเสี ย งภาษาอั ง กฤษเลี ย นแบบ เจ้าของภาษา 2. เพื่อเสนอแนะแนวทางพัฒนาและเตรียมความ พร้อมด้านทักษะการพูดการสื่อสารภาษาอังกฤษของ นักศึกษาไทย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมในภูมิภาคอาเซียนต่อไป
ทบทวนวรรณกรรม
Crystal (1975) ให้ความส�ำคัญของการใช้ระดับเสียง สูงต�ำ่ (Intonation) ในการพูดภาษาอังกฤษ โดยอธิบาย ว่าระดับเสียงสูงต�ำ่ เป็นการเชือ่ มโยงของระบบท�ำนองเสียง (Prosodic System) ต่างๆ ได้แก่ ระดับเสียง (Tone) เสียงสูงต�ำ่ (Pitch-Range) ความดังของเสียง (Loudness) จังหวะ (Rhythm) และท�ำนองความเร็ว (Tempo) การใช้ระดับเสียงสูงต�ำ่ ช่วยให้การพูดภาษาอังกฤษเหมือน เจ้าของภาษา การออกเสียงโดยไม่เน้นระดับเสียงสูงต�่ำ หรือลงเสียงสูงต�ำ่ ผิดอาจเป็นปัญหามากกว่าการออกเสียง ภาษาอังกฤษผิดเพี้ยนเพียงเล็กน้อย เว้นแต่ผู้พูดจะมี ปัญหาด้านการออกเสียงพยัญชนะ การพูดภาษาอังกฤษ ของคนไทยพูดมักลงเสียงสูงท้ายประโยค ซึง่ หมายถึงผูพ้ ดู ก�ำลังถามค�ำถามในภาษาอังกฤษ (Crystal, 1975) ดังนัน้ การเน้นเสียงผิดพยางค์และการใช้ระดับเสียงไม่ถูกต้อง ก็จะเกิดความเข้าใจผิดและสื่อความหมายผิดได้ งานศึ ก ษาวิ จั ย หลายชิ้ น เป็ น การศึ ก ษาวิ จั ย เพื่ อ พัฒนาการเรียนการสอนการออกเสียง ยกตัวอย่างเช่น Larsen-Freeman (2000) ศึกษาการเรียนการสอน แบบฟัง-พูดนั้นเป็นการฝึกผู้เรียนให้เรียนรู้รูปแบบของ โครงสร้างทางภาษาผ่านบทสนทนาที่ผู้เรียนได้ฟังและ ฝึกพูดเลียนเสียงจากเจ้าของภาษาซ�ำ้ ๆ เพือ่ ท�ำให้ผเู้ รียน จดจ�ำบทสนทนาได้ขึ้นใจ Val Loon (2002: 83-88) ทดลองใช้วิธีลงเสียงหนักเบา และการออกเสียงภาษา
265
อังกฤษเลียนแบบเจ้าของภาษา โดยเชือ่ มโยงการออกเสียง ทีส่ มั พันธ์กบั ชนิดของค�ำ (Part of Speech) และโครงสร้าง ประโยค ซึ่งผลปรากฏว่า สามารถพัฒนาให้เกิดความ ตระหนักในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไวยากรณ์กับการ ออกเสียงและสามารถน�ำทั้งสองส่วนมาเสริมกันได้เป็น อย่างดี Hardison (2004: 34-52) ศึกษาประสิทธิผลของ การฝึกท�ำนองเสียง (Prosody) โดยใช้คอมพิวเตอร์ชว่ ย โดยให้ผเู้ รียนภาษาฝรัง่ เศษทีพ่ ดู ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ใช้เวลาฝึกออกเสียงตามท�ำนองเสียงที่ถูกต้องโดยใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชว่ ยเป็นเวลา 3 สัปดาห์ พร้อมเก็บ และวิเคราะห์ขอ้ มูลด้วยรูปแบบการทดสอบก่อนและหลัง (Pretest-Posttest Design) โดยให้เจ้าของภาษาประเมิน ผูเ้ รียนจากเสียงทีบ่ นั ทึกไว้และใช้แบบสอบถามประเมินผล ผลการศึกษาพบว่า ผูเ้ รียนมีความตระหนักเกีย่ วกับการ ออกเสียงมากขึน้ และมีความมัน่ ใจมากขึน้ ในการออกเสียง ภาษาต่างประเทศ Huang (2010: 148-150) เสนอให้ผสู้ อนไม่ควรทิง้ วิธีการอ่านออกเสียง (Read-Aloud) โดยข้อมูลการฝึก ปฏิบตั ใิ นชัน้ เรียนทีผ่ า่ นมาพบว่า การอ่านออกเสียงเป็น เรือ่ งจ�ำเป็นอย่างมากในการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ Huang ยังได้อธิบายว่า การอ่านออกเสียงมีส่วนช่วย การเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ ดังนี้ (1) ฝึกปฏิบตั ิ การออกเสียง (2) พัฒนาการพูดภาษาอังกฤษ (3) ถ่ายทอด ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ทัศนคติ และส�ำนวนผ่าน การออกเสียง (4) เสริมสร้างทักษะด้านไวยากรณ์และ ค�ำศัพท์ และ (5) ปรับบรรยากาศในห้องเรียนโดยเฉพาะ ในหลักสูตรการเรียนการสอนที่เข้มข้น ดั ง นั้ น ผู ้ วิ จั ย จึ ง สนใจศึ ก ษาการออกเสี ย งภาษา อังกฤษ การลงเสียงหนัก และระดับเสียงสูงต�ำ่ ในประโยค ให้ถูกต้อง โดยใช้เทคนิคการออกเสียงภาษาอังกฤษ เลียนแบบเจ้าของภาษาเพือ่ พัฒนาการพูดภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
266
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
วิธีการวิจัย
การวิจยั นีเ้ ป็นการศึกษาและประเมินผลการออกเสียง ภาษาอังกฤษและการใช้ระดับเสียงสูงต�่ำในประโยค เลียนแบบเจ้าของภาษา โดยผู้วิจัยได้พิจารณาเลือกครู สอนภาษาอังกฤษ ซึง่ เป็นเจ้าของภาษา (Native English Teacher) ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วจิ ยั และพัฒนาการศึกษา จ�ำนวน 1 คน และเลือก กลุม่ ตัวอย่างนักศึกษาไทย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งก�ำลัง ศึกษาในระดับปริญญาตรี โท และเอก ปีการศึกษา 2558 ช่วงอายุตั้งแต่ 18 ถึง 36 ปี แบ่งเป็นเพศหญิง 5 คน และเพศชาย 15 คน จ�ำนวนทัง้ สิน้ 20 คน รายละเอียด สรุปไว้ในตารางที่ 1 ทั้งนี้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาครั้งนี้มีความแตกต่างของระดับการศึกษา เช่น จ�ำนวนปีที่เคยเรียนภาษาอังกฤษ อาจมีผลกระทบ และความล�ำเอียงต่อการเก็บข้อมูลได้ ขัน้ ตอนการด�ำเนิน การวิจัย มีดังนี้ 1. จัดเตรียมประโยคภาษาอังกฤษ จ�ำนวน 7 ประโยค ซึ่งเป็นประโยคค�ำถามที่ต้องการค�ำตอบว่าใช่หรือไม่ (Yes/No Question) และมีรูปแบบระดับเสียงสูงใน ประโยค (Rising Intonation) ดังนี้ (1) Are many bacteria resistant to penicillin? (2) Does your nephew arrive on Thursday? (3) Can she drive a lorry? (4) Have you read this report? (5) Are you going to join our tour tomorrow? (6) Are you coming with me? (7) Did you have a good time last weekend? 2. ให้ครูสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นเจ้าของภาษา อ่านออกเสียงประโยคค�ำถามภาษาอังกฤษ จ�ำนวน 7 ประโยคในข้อ 1 โดยอ่านทีละประโยค ต่อเนื่องกัน จนครบทั้ง 7 ประโยค 3. ท�ำการเก็บบันทึกตัวอย่างเสียงของเจ้าของภาษา รวม 1 ชุด 4. ให้นักศึกษาไทย ระดับปริญญาตรี โท และเอก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ คนที่ 1 อ่านออกเสียงประโยคค�ำถาม
ภาษาอังกฤษ จ�ำนวน 7 ประโยคในข้อ 1 โดยอ่านทีละ ประโยค ต่อเนื่องกันจนครบทั้ง 7 ประโยค 5. ท�ำการเก็บบันทึกตัวอย่างเสียงของนักศึกษา คนที่ 1 รวม 1 ชุด 6. ให้นักศึกษาไทย ระดับปริญญาตรี โท และเอก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ฟังการอ่านออกเสียงประโยคค�ำถาม ภาษาอังกฤษ จากบันทึกตัวอย่างเสียงของเจ้าของภาษา ในข้อ 3 จ�ำนวน 1 เที่ยว 7. ให้นักศึกษาไทย ระดับปริญญาตรี โท และเอก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ อ่านออกเสียงประโยคค�ำถามภาษาอังกฤษ ในข้อ 1 ซ�้ำอีกครั้ง โดยอ่านทีละประโยค ต่อเนื่องกัน จนครบทั้ง 7 ประโยค 8. ท�ำการเก็บบันทึกตัวอย่างเสียงของนักศึกษา คนที่ 1 หลังฟังการอ่านออกเสียงโดยเจ้าของภาษา รวม 1 ชุด 9. ด�ำเนินการตามข้อ 6-8 ซ�้ำอีกครั้ง จะได้บันทึก ตัวอย่างเสียงของนักศึกษาคนที่ 1 หลังจากฟังการอ่าน ออกเสียงโดยเจ้าของภาษา จ�ำนวนรวม 2 ชุด 10. รวบรวมบันทึกตัวอย่างเสียงของนักศึกษาคนที่ 1 ทั้งก่อนฟังการอ่านออกเสียงโดยเจ้าของภาษา (ข้อ 5) จ�ำนวน 1 ชุด และหลังฟังการอ่านออกเสียงโดยเจ้าของ ภาษา (ข้อ 9) จ�ำนวน 2 ชุด รวมจ�ำนวนบันทึกตัวอย่าง เสียงทั้งหมด 3 ชุดต่อนักศึกษา 1 คน 11. ด�ำเนินการตามข้อ 4-10 ซ�้ำ จนครบจ�ำนวน นักศึกษาทั้งสิ้น 20 คน ดังนั้นบันทึกตัวอย่างเสียงของ นักศึกษาทัง้ หมด ก่อนและหลังฟังการอ่านออกเสียงโดย เจ้าของภาษา จะมีจำ� นวนทั้งสิ้น 60 ชุด 12. น�ำบันทึกตัวอย่างเสียงทั้งหมด 61 ชุด (รวม เจ้าของภาษา) ไปประมวลผลด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ สัญญาณเสียงด้วยคอมพิวเตอร์ (Scientific Speech Analysis Software) 13. วิเคราะห์และประเมินสัญญาณเสียงของนักศึกษา เปรียบเทียบกับเจ้าของภาษา
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ผลการวิจัยและอภิปรายผล
1. การวิเคราะห์สัญญาณเสียงของเจ้าของภาษา ผลการประมวลบันทึกตัวอย่างเสียงของเจ้าของ ภาษา ซึง่ อ่านออกเสียงประโยคค�ำถามทีต่ อ้ งการค�ำตอบ ว่าใช่หรือไม่ (Yes/No Question) จ�ำนวน 7 ประโยค ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์สัญญาณเสียงด้วยคอมพิวเตอร์ แสดงดังภาพที่ 1 สัญญาณเสียงของเจ้าของภาษาทั้ง 7 ประโยค แสดงด้วยความถี่ (Frequency) ของคลื่น สัญญาณเสียงหน่วยเฮิรตซ์ (Hertz, Hz) กับเวลาหน่วย วินาที (Second, Sec) จากภาพจะเห็นได้ว่า ลักษณะ สัญญาณเสียงของเจ้าของภาษามีรูปแบบระดับเสียงสูง ในประโยค (Rising Intonation) 2. การศึ ก ษาบั น ทึ ก ตั ว อย่ า งเสี ย งของนั ก ศึ ก ษา ก่อนฟังการอ่านออกเสียงโดยเจ้าของภาษา ผลการวิเคราะห์บนั ทึกตัวอย่างเสียงของนักศึกษา พบว่า กลุม่ ตัวอย่างจากนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรี โท และเอก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่วนใหญ่ออกเสียงประโยค ค�ำถามทีต่ อ้ งการค�ำตอบว่าใช่หรือไม่ (Yes/No Question) เป็นระดับเสียงต�่ำในประโยค (Falling Intonation) ตัวอย่างสัญญาณเสียงของนักศึกษาแสดงดังภาพที่ 2 และ 3 การใช้ระดับเสียงสูงต�่ำในประโยคค�ำถาม “Are you coming with me?” ของนักศึกษาคนที่ 1 และ 6 และประโยคค�ำถาม “Did you have a good time last weekend?” ของนักศึกษาคนที่ 18 และ 19 แสดง ให้เห็นว่า ลักษณะสัญญาณเสียงและรูปแบบระดับเสียง ของนักศึกษาทัง้ สีค่ นแตกต่างจากเจ้าของภาษาอย่างชัดเจน 3. การศึ ก ษาบั น ทึ ก ตั ว อย่ า งเสี ย งของนั ก ศึ ก ษา หลังฟังการอ่านออกเสียงโดยเจ้าของภาษา ผลการเปรียบเทียบการออกเสียงภาษาอังกฤษ และการใช้ระดับเสียงสูงต�ำ่ ในประโยคของกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษา ก่อนและหลังฟังการอ่านออกเสียงโดยเจ้าของ ภาษาพบว่า ลักษณะสัญญาณเสียงและรูปแบบระดับเสียง ก่อนฟังการอ่านออกเสียงโดยเจ้าของภาษามีความแตกต่าง กับสัญญาณเสียงและรูปแบบระดับเสียงหลังฟังการอ่าน
267
ออกเสียงโดยเจ้าของภาษา โดยลักษณะสัญญาณเสียง และรูปแบบระดับเสียงสูงต�่ำในประโยคมีพัฒนาการ ในทางทีด่ ขี นึ้ ตามจ�ำนวนครัง้ ทีฟ่ งั มีการใช้ระดับเสียงสูง (Rising Intonation) ในประโยคค�ำถามทีต่ อ้ งการค�ำตอบ ว่าใช่หรือไม่ เลียนแบบเจ้าของภาษา ภาพที่ 4 แสดงตัวอย่างสัญญาณเสียงของนักศึกษา คนที่ 10 และ 14 ซึง่ แสดงถึงพัฒนาการด้านการออกเสียง ภาษาอังกฤษและการใช้ระดับเสียงสูงต�ำ่ ในประโยคค�ำถาม “Are you going to join our tour tomorrow?” หลังฟังการอ่านออกเสียงโดยเจ้าของภาษา จากภาพจะ เห็นได้วา่ ลักษณะสัญญาณเสียงและรูปแบบระดับเสียง ในประโยคของนักศึกษามีความใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา ตามจ�ำนวนครั้งที่ฟัง 4. การใช้เทคนิคการออกเสียงภาษาอังกฤษเลียนแบบ เจ้าของภาษา ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การใช้เทคนิคการ ออกเสียงภาษาอังกฤษเลียนแบบเจ้าของภาษามีผลต่อ ประสิทธิภาพการพูดภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาในงานวิจัยนี้ ดังตัวอย่างสัญญาณเสียงของ นักศึกษาแสดงในภาพที่ 2 ถึง 4 แต่อย่างไรก็ตามความ สามารถและพัฒนาการในการออกเสียงภาษาอังกฤษ เลียนแบบเจ้าของภาษา ขึ้นอยู่กับนักศึกษาแต่ละคน นอกจากนีผ้ วู้ จิ ยั ยังพบว่า นักศึกษาบางคนมีปญั หาการอ่าน ค�ำศัพท์บางค�ำ เช่น “Drive” อ่านว่า ไร้, “Nephew” อ่านว่า เนพ-พิว, “Lorry” อ่านว่า ลอ-เร่, “Thursday” อ่านเป็น “Tuesday”, “With” อ่านว่า วิด เป็นต้น แม้ได้ฟงั เสียงเจ้าของภาษาแล้วก็ตาม ทัง้ นีอ้ าจเป็นเพราะ การอ่านและพูดประโยคภาษาอังกฤษของนักศึกษาบางคน ยังคงสะกดค�ำตามความคุ้นเคยและหรือภูมิหลังความรู้ ภาษาอังกฤษของตัวเอง 5. แนวทางพัฒนาและเตรียมความพร้อมด้านทักษะ การพูดการสื่อสารภาษาอังกฤษ ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางพัฒนาและเตรียม ความพร้อมด้านทักษะการพูดการสือ่ สารภาษาอังกฤษของ นักศึกษาไทย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
268
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยส่งเสริมการฟังเสียงพูด ภาษาอังกฤษจากเจ้าของภาษา ไม่วา่ จะผ่านทางโทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนตร์ เพลง สื่อออนไลน์ต่างๆ พร้อมกับการ เปิดบทบรรยายภาษาอังกฤษประกอบ ฝึกการออกเสียง เลียนแบบเจ้าของภาษาอย่างต่อเนื่องสม�ำ่ เสมอ เพื่อให้ นักศึกษามีความตระหนักเกี่ยวกับการออกเสียงมากขึ้น มีความมั่นใจในการออกเสียงภาษาอังกฤษมากขึ้น และ เป็นการเตรียมความพร้อมในการพูดการสื่อสารภาษา อังกฤษของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ในการประกอบ วิชาชีพวิศวกรรมในภูมิภาคอาเซียนต่อไป
สรุปผลการวิจัย
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลการออกเสียงภาษา อังกฤษเลียนแบบเจ้าของภาษาเพือ่ พัฒนาการพูดภาษา อังกฤษของนักศึกษาไทย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลการวิจยั แสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้ ส่วนใหญ่ออกเสียงประโยคค�ำถามที่ต้องการค�ำตอบว่า ใช่หรือไม่ (Yes/No Question) เป็นระดับเสียงต�่ำใน ประโยค (Falling Intonation) การออกเสียงภาษาอังกฤษ และการใช้ระดับเสียงสูงต�่ำในประโยคของกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษา ก่อนและหลังฟังการอ่านออกเสียงโดยเจ้าของ ภาษามี ค วามแตกต่ า งกั น อย่ า งชั ด เจน โดยลั ก ษณะ สัญญาณเสียงและรูปแบบระดับเสียงสูงต�่ำในประโยค (Sentence Intonation) มีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น ตามจ�ำนวนครั้งที่ฟัง มีการใช้ระดับเสียงสูงในประโยค ค�ำถามทีต่ อ้ งการค�ำตอบว่าใช่หรือไม่ เลียนแบบเจ้าของ ภาษา แต่อย่างไรก็ตามความสามารถและพัฒนาการ ในการออกเสียงภาษาอังกฤษขึน้ อยูก่ บั นักศึกษาแต่ละคน
นอกจากนี้ยังพบปัญหาเกี่ยวกับการอ่านค�ำศัพท์บางค�ำ ของนักศึกษาด้วยเช่นกัน ผูว้ จิ ยั ขอเสนอแนะว่า นักศึกษาไทยสาขาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ควรได้รบั การส่งเสริม และพัฒนาทักษะการพูดการสือ่ สารภาษาอังกฤษ ซึง่ เป็น ภาษากลางในการติดต่อสือ่ สารในภูมภิ าคอาเซียน ผูว้ จิ ยั ได้ เ สนอแนะแนวทางพั ฒ นาและเตรี ย มความพร้ อ ม ด้านทักษะการพูดการสือ่ สารภาษาอังกฤษของนักศึกษา โดยการฟังเสียงพูดภาษาอังกฤษจากเจ้าของภาษา ไม่วา่ จะผ่านทางโทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนตร์ เพลง สือ่ ออนไลน์ ต่างๆ พร้อมกับการเปิดบทบรรยายภาษาอังกฤษประกอบ ฝึกการออกเสียงเลียนแบบเจ้าของภาษาอย่างต่อเนื่อง สม�่ำเสมอ เพื่อให้นักศึกษามีความตระหนักเกี่ยวกับการ ออกเสียงมากขึ้น มีความมั่นใจในการออกเสียงภาษา อังกฤษมากขึน้ เป็นการเตรียมความพร้อมในการพูดการ สือ่ สารภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมร่วมกับวิศวกรต่างชาติ ในภูมิภาคอาเซียนในอนาคต สร้างความเข้มแข็งให้แก่ วิศวกรไทย และยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศให้สูงขึ้น อนึง่ การศึกษาครัง้ นีม้ ขี อ้ จ�ำกัดบางประการ กล่าวคือ จ�ำนวนกลุม่ ตัวอย่างนักศึกษาครัง้ นีย้ งั มีจำ� นวนน้อย (20 คน) อาจไม่เป็นตัวแทนของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และลักษณะประโยคทีเ่ ลือกใช้ ในการศึกษา (ประโยคค�ำถาม) มีเพียงชนิดเดียว อาจท�ำให้ การสรุปผลไม่ชัดเจนหรือไม่ตรงกับความเป็นจริงได้ หากมีการเก็บข้อมูลของกลุม่ ตัวอย่างกลุม่ เดิมเพิม่ มากขึน้ อาจจะช่วยให้ผู้วิจัยได้รับผลที่ชัดเจนและตรงกับความ เป็นจริงมากยิ่งขึ้น
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
269
References
Charnvivit, P., Thubthong, N., Maneenoi, E., Luksaneeyanawin, S. & Jitapunkul, S. (2003). Recognition of intonation patterns in Thai utterance. Eurospeech 2003, Geneva, 1-4. Crystal, D. (1975). Prosodic features and linguistic theory. In D. Crytal. The English Tone of Voice. London: Edward Arnold. Ding, Y. R. (2007). Text memorization and imitation: the practices of successful Chinese learners of English. System, 35(1), 271-280. Duangloi, M. (2015). Factors affecting English reading problems of students in Rajamangala University of Technology Krungthep. Journal of Technical Education Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 3(1), 153-167. Hardison, D. M. (2004). Generalization of computer-assisted prosody training: quantitative and qualitative findings. Language Learning & Technology, 8(1), 34-52. Hirst, D. J. & Di Cristo, A. (1998). Intonation systems: a survey of twenty languages. Cambridge: Cambridge University Press. Huang, L. (2010). Reading aloud in the foreign language teaching. Asian Social Science, 6(4), 148-150. Larsen-Freeman, D. (2000). Techniques and principles in language teaching (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press. Lázaro Ibarrola, A. (2010). Imitating English oral texts: a useful tool to learn English pronunciation? Porta Linguarum, 16, 49-63. Luksaneeyanawin, S. (1983). Intonation in Thai. Ph.D. Thesis, University of Edinburgh, UK. Onsuwan, C., Duangmal, J. & Panpraneet, P. (2014). Production and perception of Thai lexical tone and intonation in children. 12th International Conference on Thai Studies, University of Sydney. Stevick, E. (1989). Success with foreign languages: seven who achieved it and what worked for them. Hemel, Hempstead: Prentice Hall International. Tominaga, Y. (2009). An analysis of successful pronunciation learners: in search of effective factors on pronunciation teaching. Journal of Pan-Pacific Association of Applied Linguistic, 13(1), 127-140. Val Loon, J. (2002). Improving pronunciation of adult ESL students. TESL Canada Journaurevue TESL du Canada, 20(1), 83-88.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
270
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ตารางที่ 1 สรุปรายละเอียดกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาไทย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาคนที่ 1 นักศึกษาคนที่ 2 นักศึกษาคนที่ 3 นักศึกษาคนที่ 4 นักศึกษาคนที่ 5 นักศึกษาคนที่ 6 นักศึกษาคนที่ 7 นักศึกษาคนที่ 8 นักศึกษาคนที่ 9 นักศึกษาคนที่ 10 นักศึกษาคนที่ 11 นักศึกษาคนที่ 12 นักศึกษาคนที่ 13 นักศึกษาคนที่ 14 นักศึกษาคนที่ 15 นักศึกษาคนที่ 16 นักศึกษาคนที่ 17 นักศึกษาคนที่ 18 นักศึกษาคนที่ 19 นักศึกษาคนที่ 20
ก�ำลังศึกษาระดับ ป.เอก ป.ตรี (ปี 4) ป.ตรี (ปี 1) ป.ตรี (ปี 1) ป.ตรี (ปี 1) ป.ตรี (ปี 4) ป.ตรี (ปี 4) ป.ตรี (ปี 4) ป.ตรี (ปี 4) ป.ตรี (ปี 4) ป.โท ป.โท ป.เอก ป.โท ป.เอก ป.ตรี (ปี 4) ป.ตรี (ปี 4) ป.ตรี (ปี 4) ป.ตรี (ปี 4) ป.ตรี (ปี 4)
อายุ 36 22 18 18 18 22 22 22 22 22 30 25 34 23 26 22 22 22 22 22
เพศ ชาย ชาย ชาย หญิง ชาย ชาย ชาย ชาย ชาย ชาย ชาย ชาย ชาย หญิง ชาย หญิง หญิง ชาย หญิง ชาย
จบการศึกษาระดับอุดมศึกษา โรงเรียนรัฐบาลในประเทศไทย โรงเรียนรัฐบาลในประเทศไทย โรงเรียนรัฐบาลในประเทศไทย โรงเรียนรัฐบาลในประเทศไทย โรงเรียนรัฐบาลในประเทศไทย โรงเรียนรัฐบาลในประเทศไทย โรงเรียนเอกชนในประเทศไทย โรงเรียนรัฐบาลในประเทศไทย โรงเรียนรัฐบาลในประเทศไทย โรงเรียนเอกชนในประเทศไทย โรงเรียนรัฐบาลในประเทศไทย โรงเรียนรัฐบาลในประเทศไทย โรงเรียนรัฐบาลในประเทศไทย โรงเรียนรัฐบาลในประเทศไทย โรงเรียนเอกชนในประเทศไทย โรงเรียนเอกชนในประเทศไทย โรงเรียนรัฐบาลในประเทศไทย โรงเรียนเอกชนในประเทศไทย โรงเรียนรัฐบาลในประเทศไทย โรงเรียนรัฐบาลในประเทศไทย
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
271
ภาพที่ 1 สัญญาณเสียงของเจ้าของภาษาในการอ่านประโยคค�ำถามที่ต้องการค�ำตอบว่าใช่หรือไม่ (Yes/No Question) จ�ำนวน 7 ประโยค
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
272
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ภาพที่ 2 ตัวอย่างสัญญาณเสียงของนักศึกษาคนที่ 1 และ 6 ในการอ่านประโยคค�ำถาม “Are you coming with me?”
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
273
ภาพที่ 3 ตัวอย่างสัญญาณเสียงของนักศึกษาคนที่ 18 และ 19 ในการอ่านประโยคค�ำถาม “Did you have a good time last weekend?”
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
274
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ภาพที่ 4 ตัวอย่างสัญญาณเสียงของนักศึกษาคนที่ 10 และ 14 ในการออกประโยคค�ำถาม “Are you going to join our tour tomorrow?”
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
275
Name and Surname: Piyawan Ratanavarinchai Highest Education: M.A., King Mongkut’s University of Technology Thonburi University or Agency: Kasetsart University Laboratory School Center for Educational Research and Development Field of Expertise: English Language Teaching Address: 50 Ngam Wang Wan Rd., Latyao, Chatuchak, Bangkok 10900 Name and Surname: Suphawut Malaikrisanachalee Highest Education: Ph.D., University of Wisconsin-Madison, Wisconsin, USA University or Agency: Department of Civil Engineering, Faculty of Engineering, Kasetsart University Field of Expertise: Spatial/Temporal Data Modeling for Transportation, Geographic Information System (GIS) in Transportation, Logistic and Optimization Modeling, Infrastructure Asset Management and Inventory Address: 50 Ngam Wang Wan Rd., Latyao, Chatuchak, Bangkok 10900
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
279
การเขียนบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ผลงาน…ท�ำได้อย่างไร? WRITING RESEARCH ARTICLES FOR PUBLICATION…HOW TO DO IT? พรชนก ทองลาด Bhornchanok Thonglard คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏล�ำปาง Faculty of Management Science, Lampang Rajabhat University
บทคัดย่อ
สถาบันอุดมศึกษามีพันธกิจหลักที่ส�ำคัญหลายด้านในพันธกิจด้านการวิจัย สถานศึกษาควรสนับสนุนและ ส่งเสริมให้นักศึกษา บุคลากรของสถาบันให้มีการด�ำเนินการวิจัยเพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่ และสามารถน�ำไปใช้ ในการปฏิบตั งิ านเพือ่ พัฒนาองค์กรในด้านต่างๆ ดังนัน้ ผลงานวิจยั ทีแ่ ล้วเสร็จควรน�ำไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์อย่าง คุม้ ค่า การเขียนบทความวิจยั เพือ่ เผยแพร่ผลงานอาจเผยแพร่ในทีป่ ระชุมวิชาการระดับชาติ นานาชาติ หรือการเผยแพร่ ในวารสารวิชาการทีผ่ า่ นการประเมินวารสารตามเกณฑ์คณ ุ ภาพวารสาร ซึง่ เป็นการเผยแพร่ทไี่ ด้รบั การยอมรับมากทีส่ ดุ โดยน�ำมาประมวลให้ครอบคลุมสาระตามกระบวนการวิจัย ซึ่งเกิดจากต้นทางของคุณภาพวิทยานิพนธ์ หรือผลงาน วิจัย ค�ำส�ำคัญ: การเขียนบทความวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัย
Abstract
Higher education institutions have a primary mission of several important aspects. In the research mission, institutions should encourage and support students, personnel of the institutes for research operations in order to search for new knowledge and can be used in practical applications for enterprise development in various areas. Therefore, research results should be done to spread the benefits worthily. Writing research papers for publication may be published in the National Conference, International Conference or published in academic journals. By processing the thesis covers the research process from the source of quality theses. Keywords: Writing Research Articles, Published Research
Corresponding Author E-mail: iamnok119@gmail.com
280
บทน�ำ
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
เงื่อนไขการส�ำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ตามเกณฑ์ ม าตรฐานของส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา (สกอ.) ได้กำ� หนดเกณฑ์สำ� เร็จการศึกษา ว่า ต้องมีการเผยแพร่วทิ ยานิพนธ์ ท�ำให้สถาบันอุดมศึกษา ในระดับบัณฑิตศึกษาต้องจัดท�ำมาตรการต่างๆ เพื่อหา แนวทางขับเคลื่อนการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ นอกจากนี้ ยังรวมถึงการเข้าสู่ต�ำแหน่งทางวิชาการของผู้สอนใน สถานศึกษาว่า ต้องมีการเผยแพร่ผลงานเพื่อประกอบ การขอเข้าสูต่ ำ� แหน่ง ทัง้ นีร้ ปู แบบการเผยแพร่อาจท�ำได้ หลากหลาย เช่น 1) การเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการ ระดับชาติ หรือนานาชาติ (Conference) เป็นการส่ง บทความวิจยั เข้าร่วมการน�ำเสนอในการประชุมวิชาการ ในรูปแบบโปสเตอร์หรือแบบปากเปล่า โดยบทความ จะต้องผ่านการพิจารณาประเมินคุณค่าและความถูกต้อง จากผูท้ รงคุณวุฒใิ นสาขาทีเ่ กีย่ วข้อง และบทความทีไ่ ด้รบั อนุมตั ใิ ห้เข้าร่วมการน�ำเสนอจะได้รบั การตีพมิ พ์รวมเล่ม ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (Proceedings) หรือ 2) การเผยแพร่ในวารสารวิชาการ เจ้าของบทความ สามารถลงทะเบียนและท�ำการส่งเอกสารต้นฉบับเพื่อ ตีพิมพ์ รวมถึงการติดตามผลผ่านเว็บไซต์ของแต่ละ วารสาร ผลการพิจารณาเป็นไปได้ทงั้ การยอมรับให้ตพี มิ พ์ (Accept) หรือส่งกลับมาแก้ไข (Revise) หรืออาจถูก ปฏิเสธ (Reject) ถ้าได้รบั การตีพมิ พ์เจ้าของบทความจะ ได้รบั บทความเสมือนจริงส่งกลับมาให้ตรวจทานอีกครัง้ เจ้าของบทความควรรีบตรวจแก้ไขและส่งกลับคืนอย่าง รวดเร็ว กรณีสง่ กลับมาให้แก้ไข ควรรีบด�ำเนินการตรวจ แก้ไขและส่งกลับตามระยะเวลาทีก่ ำ� หนด ซึง่ อาจต้องแก้ไข หลายรอบแต่จะมีโอกาสได้รบั การตีพมิ พ์ กรณีทบี่ ทความ ถูกปฏิเสธ ควรแก้ไขตามทีผ่ พู้ จิ ารณาผลงาน (Reviewer) และสามารถส่งไปวารสารอื่นได้ จากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนในฐานะผู้ผลิต บทความวิจยั เพือ่ การเผยแพร่ การเป็นผูป้ ระเมินบทความ วิจยั เพือ่ เผยแพร่ รวมถึงการพบปัญหาในการจัดท�ำบทความ วิจัยของเจ้าของบทความต่างๆ จึงได้รวบรวมแนวคิด
หลักการ การเขียนบทความวิจัย เทคนิคการตีพิมพ์ บทความในวารสาร เพือ่ เป็นส่วนหนึง่ ของการขับเคลือ่ น การเผยแพร่ผลงานวิจัยให้เกิดประโยชน์ต่อไป
ความหมายและองค์ประกอบของบทความวิจยั
ในการจัดท�ำบทความวิจัยให้ถูกต้อง จะต้องเข้าใจ ความหมายและองค์ประกอบของบทความวิจัย เพื่อ ความชัดเจนในการศึกษาและการน�ำไปใช้ 1. ความหมายของบทความวิจัย บทความวิจัย (Research Article) เป็นเอกสารทางวิชาการประเภทเดียว กับรายงานการวิจยั หรือวิทยานิพนธ์ แต่จะมีคณ ุ ลักษณะ ต่างจากรายงานวิจยั 3 ประการ คือ 1) ความยาวมีจำ� นวน น้อยกว่ารายงานการวิจยั ทัง้ นีเ้ ป็นไปตามข้อก�ำหนดของ หน่วยงานที่จัดท�ำวารสารแต่ละฉบับ ซึ่งจะระบุจ�ำนวน หน้าบทความวิจัยไว้ โดยบทความวิจัยนี้จัดท�ำขึ้นเพื่อ น�ำเสนอในวารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ หรือการประชุมสัมมนา 2) ต้องมีความทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์ และ 3) ต้อง ผ่านการตรวจสอบเนื้อหาและรูปแบบการจัดพิมพ์ตาม เกณฑ์มาตรฐานของวารสาร หรือคณะกรรมการในกอง บรรณาธิการ 2. บทความวิจัย คือ การเขียนแบบวิชาการ (Academic Writing) มีลักษณะส�ำคัญ 13 ประการ คือ (Prasitratasin, 2009) 1) เขียนโดยนักวิชาการ (Scholars) เพื่อนัก วิชาการอื่นๆ 2) เรื่องที่เขียนเป็นเรื่องที่ชุมชนวิชาการ (Academic Community) สนใจ 3) เนือ้ หาทีเ่ ขียนต้องเสนอในรูปของการให้เหตุผล ที่ท�ำให้เกิดความรู้ใหม่ (Informed Argument) 4) ข้อเท็จจริง หรือหลักฐานได้มาจากการวิจัย ของผู้เขียนเอง 5) เป็นการรายงานผลการวิจยั (ต้องท�ำวิจยั ก่อน) 6) เน้นสมมติฐานและวิธีด�ำเนินการวิจัย 7) เน้นการทดสอบทฤษฎี 8) เน้นการได้ทฤษฎีใหม่ (ได้คำ� อธิบายใหม่)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
9) เน้นการน�ำผลไปใช้เฉพาะเรื่อง 10) บทความมาจากการน�ำประเด็นเด่นทีค่ น้ พบ มาเขียน 11) มีลักษณะเล็กแต่ลึก 12) มีจุดยืนหรือข้อสรุปของตนเอง 13) การเขียนบทความวิจัย ผู้เขียนต้องรู้จัก 4 ประการคือ ต้องรู้จักสรุปความ (Summarize) ต้อง รูจ้ กั ประเมิน (Evaluate) ต้องรูจ้ กั วิเคราะห์ (Analyze) และต้องรู้จักสังเคราะห์ (Synthesize) ส่วน Jankong (2014: 1) ได้สรุปถึงความหมาย ของบทความวิจัยว่า เป็นบทความที่เป็นผลงานต่อเนื่อง สกัดมาจากงานวิจัย บทความประเภทนี้เป็นบทความที่ ประมวลสรุปกระบวนการวิจัยให้มีความกระชับและสั้น เพือ่ น�ำเสนอในวารสาร สือ่ สิง่ พิมพ์ หรือทีป่ ระชุม สัมมนา โดยการพิมพ์เผยแพร่จะต้องผ่านการตรวจสอบเนื้อหา สาระ และรูปแบบการจัดพิมพ์ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ของวารสาร หรือคณะกรรมการประเมิน จากความหมายดังกล่าวจะเห็นได้วา่ บทความวิจยั เป็นการน�ำข้อมูลที่ได้จากวิทยานิพนธ์หรือรายงานวิจัย มาประมวลให้ครอบคลุมสาระตามรูปแบบของแหล่ง เผยแพร่ก�ำหนด โดยเขียนให้กระชับ ครบถ้วน ชัดเจน สอดคล้อง และกลมกลืนอย่างมีศาสตร์และศิลป์ (Science and Arts) แห่งความสัมพันธ์เชื่อมโยง องค์ประกอบของบทความวิจยั การจัดท�ำบทความ วิจัย ควรจัดท�ำโดยค�ำนึงถึงองค์ประกอบดังต่อไปนี้ 2.1 ชือ่ เรือ่ ง (Title) เป็นประตูบานแรกทีจ่ ะดึงดูดใจ ผูอ้ า่ น ควรตัง้ ชือ่ เรือ่ งให้สนั้ ใช้คำ� เฉพาะเจาะจง กะทัดรัด สือ่ ความหมายเฉพาะเรือ่ ง ชือ่ เรือ่ งทีศ่ กึ ษาอาจจะตัง้ ขึน้ ใหม่ จากข้อค้นพบทีโ่ ดดเด่นมาเขียน หรือตัง้ ชือ่ เรือ่ งให้ตรงกับ ประเด็นของปัญหา ในชือ่ เรือ่ งต้องมีคำ� ส�ำคัญ (Keywords) เพื่อประโยชน์ต่อการสืบค้นของผู้ใช้ผลงานวิจัย
281
2.2 ชือ่ ผูว้ จิ ยั ให้ระบุชอื่ เต็ม นามสกุลเต็ม ทัง้ ภาษา ไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งระบุหลักสูตร สาขาวิชา หน่วยงาน หรือสถาบันทีส่ งั กัด หมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร และอีเมลที่สามารถติดต่อได้ 2.3 บทคัดย่อ (Abstract) ให้มีทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ ควรศึกษาว่าบทคัดย่อก�ำหนดให้เขียนได้ ทัง้ หมดกีค่ ำ� โดยทัว่ ไปความยาวไม่เกินอย่างละ 250 ค�ำ หรือ 10 บรรทัด โดยมีเฉพาะสาระส�ำคัญครบถ้วน ตรงประเด็น ประกอบด้วยจุดประสงค์การวิจัย ตัวแปร ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัย วิธีการ รวบรวมข้อมูล วิธีการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ 2.4 ค�ำส�ำคัญ (Keywords) ให้ระบุคำ� ส�ำคัญซึ่งมัก จะมาจากชือ่ เรือ่ งและวัตถุประสงค์การวิจยั เพือ่ น�ำไปใช้ เป็นค�ำค้นในระบบฐานข้อมูล โดยระบุทงั้ ภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษใส่ท้ายบทคัดย่อ ส่วนมากจะไม่เกิน 5 ค�ำ 2.5 ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา เป็นการ อธิบายภูมหิ ลังทีม่ า ความส�ำคัญของปัญหา (Background Problem and Significance of the Study) ทีน่ ำ� ไปสู่ การศึกษาวิจยั มีการร้อยเรียงเนือ้ หาอย่างเชือ่ มโยง ไม่ใช้ วิธกี ารตัดต่อหรือปะติดปะต่อ การเขียนควรให้ได้ขอ้ ความ ทีส่ ะท้อนถึงการลืน่ ไหลของความคิด เช่น ในหนึง่ ย่อหน้า ควรมีประโยคแรกเป็นประโยคหลัก ตามด้วยประโยค สนับสนุนและลงท้ายด้วยประโยคสรุป เป็นต้น สิง่ ส�ำคัญ ในการศึกษาจะต้องระบุแหล่งอ้างอิงหรือแหล่งทีม่ าของ ความรู้ที่น่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ แนวทางที่น่าสนใจ ในการเขียนความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหาคือ เน้นการเขียนตามหลักการสามเหลี่ยมหัวกลับคือ จาก สภาพปัญหาหรือสภาพปัจจุบัน เชื่อมโยงสู่อุดมการณ์ ทฤษฎี หรือหลักการนั้นๆ ส่งทอดสู่ประเด็นที่ต้องการ ศึกษา หรือค�ำถามวิจยั อันเนือ่ งมาจากสถานการณ์กำ� หนด โจทย์วิจัย ซึ่งอาจแสดงได้ดังภาพที่ 1
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
282
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ภาพที่ 1 หลักการเขียนความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา (Thonglard, 2016: 301) 2.6 วัตถุประสงค์การวิจยั (Research Objectives or Purposes of the Study) เป็นการแจกแจงประเด็น ต่างๆ จากชือ่ เรือ่ งแล้วระบุเป็นข้อความทีผ่ วู้ จิ ยั ต้องการ ศึกษาอย่างชัดเจนว่า จะศึกษาเรือ่ งอะไรกับใคร ในแง่มมุ ใด ในการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องสอดคล้องและ อยู่ในกรอบของชื่อเรื่อง อาจจะเป็นองค์ประกอบย่อย ของชื่อเรื่อง หรือเลือกบางตัวมาตั้งเป็นวัตถุประสงค์ที่ สามารถท�ำได้ หรือทีน่ า่ สนใจ ในการตัง้ วัตถุประสงค์ของ การวิจยั ถือว่าเป็นพระเอกของเรือ่ งทีก่ ำ� ลังศึกษา เพราะเป็น แกนกลางในการเชือ่ มโยงกระบวนการวิจยั (Process of Research) ตัง้ แต่ชอื่ เรือ่ ง ความเป็นมาและความส�ำคัญ ของปัญหา ระเบียบวิธวี จิ ยั ผลการศึกษา จนถึงการสรุป
อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 2.7 การประมวลเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Literature Review) ในการประมวลเอกสารและงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้อง นอกจากจะต้องเขียนให้ถกู ต้องตามหลักวิชาการ ตัง้ แต่การอ้างอิงตามระบบ เขียนให้เป็นมาตรฐานสากล คือ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ที่มีระบบระเบียบ และมี จุดมุ่งหมายที่จะสื่ออย่างชัดเจน จนน�ำไปสู่การพัฒนา เป็นกรอบแนวคิด (Conceptual Framework) หรือ กรอบทฤษฎี เพื่อการทดสอบโมเดลสมมติฐานต่อไป ในทีน่ ขี้ อน�ำเสนอแผนภาพการเขียนเอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสะท้อนถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงของ ตัวแปรที่ก�ำลังศึกษาได้ชัดเจนขึ้น
ภาพที่ 2 การสะท้อนความสัมพันธ์เชื่อมโยงเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Thonglard, 2016: 305) ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
2.8 กรอบแนวคิดและสมมติฐานการวิจัย กรอบ แนวคิ ด ในการวิ จั ย (Conceptual Framework) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหตุและ ตัวแปรผลที่เกิดจากการประมวลเอกสารและงานวิจัย ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ส่ ว นสมมติ ฐ านการวิ จั ย (Research Hypothesis) เป็นการคาดการณ์ความสัมพันธ์ลว่ งหน้า อย่างมีเหตุมีผลโดยอิงทฤษฎี การประมวลเอกสารและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิด ในการเขียน สมมติฐานการวิจัยจะต้องระบุความสัมพันธ์ของตัวแปร อาจจะผิดหรือถูกก็ได้ จึงต้องมีการทดสอบ 2.9 ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ขั้นตอนนี้เป็นการบ่งชี้ถึงความเชื่อถือได้ของงานวิจัย บางคนเคยกล่าวว่า เป็นวิธีที่ประกันความอกหักในการ ท� ำวิ จั ย หมายความว่า ผลงานวิจัยจะเป็นที่เ ชื่อถือ ยอมรับได้นั้นขึ้นอยู่กับวิธีการวิจัยหรือระเบียบวิธีวิจัย ถ้าท�ำให้ถกู ต้องตามระเบียบวิธวี จิ ยั ย่อมประสบผลส�ำเร็จ ในการผลิตผลงานวิจัย มีความน่าเชื่อถือ และเผยแพร่ เพื่อตีพิมพ์ได้ ดังนั้น วิธีการวิจัยจะต้องระบุชนิดหรือ ประเภทการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง รวมถึง การได้มาของกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ วิธีด�ำเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ เนื่องจากระเบียบวิธีวิจัยเป็นปัจจัยส�ำคัญในการสร้าง ความน่าเชื่อถือของการวิจัย จึงควรให้ความส�ำคัญของ ระเบียบวิธีวิจัย เช่น (Srihapark, 2015) เครือ่ งมือการวิจยั ถ้าเป็นงานวิจยั เชิงปริมาณต้องเป็น เครื่องมือวิจัยที่เป็นมาตรฐาน (Standard) ถ้าเป็นไปได้ ควรใช้ของต่างประเทศ ทีไ่ ด้รบั การแปลเป็นภาษาไทยแล้ว ถ้ายังไม่ได้รบั การแปลต้องท�ำเรือ่ งขอแปล โดยทีน่ กั วิจยั ต้ อ งสามารถเข้ า ถึ ง ต้ น ฉบั บ ของเครื่ อ งมื อ วิ จั ย ให้ ไ ด้ หากศึกษาเพียงรายงานเอกสารที่อ้างถึงจะเข้าใจเพียง มุมมองสิง่ ทีผ่ เู้ ขียนหยิบยกมาอ้างถึงท�ำให้เข้าใจคลาดเคลือ่ น จากต้นฉบับได้ ซึ่งการค้นหาบทความเครื่องมือต้นฉบับ ใช้เครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยช่วยประสานกับแหล่ง
283
ทีม่ ตี น้ ฉบับให้กบั นักวิจยั ได้ แต่หากมีความจ�ำเป็นต้องสร้าง เครือ่ งมือเอง เครือ่ งมือทีส่ ร้างขึน้ เองต้องแสดงให้เห็นว่า มีการผ่านความน่าเชื่อถือของเครื่องมือไว้อย่างชัดเจน ส่วนเครื่องมือเชิงคุณภาพ ซึ่งแม้จะมีแนวทางของ เครือ่ งมือทีเ่ ป็นแบบมีโครงสร้างหรือกึง่ โครงสร้าง แต่ตวั ของนักวิจัยผู้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นเครื่องมือส�ำคัญที่ ต้องแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์และการลดอคติของ งานวิจยั เชิงคุณภาพทีต่ อ้ งสามารถแสดงให้เห็นว่า นักวิจยั ได้เข้าใกล้ขอ้ มูลมากทีส่ ดุ หรือเกิดความไว้วางใจ (Trust) ของผู้ให้ข้อมูลกับนักวิจัย รวมทั้งการตรวจสอบข้อมูล สามเส้า (Triangulation) ของนักวิจัย ที่ท�ำให้ข้อมูลมี ความน่าเชื่อถือ ซึ่งนักวิจัยต้องประกาศอย่างชัดเจน ในด้านกลุ่มตัวอย่าง ต้องชัดเจนมีทั้งเกณฑ์การคัดเข้า (Inclusion Criteria) เกณฑ์คดั ออก (Exclusion Criteria) ขนาดจ�ำนวนและการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ถ้าเป็นบทความที่ตีพิมพ์ ในฐานวารสารทางสุขภาพ เช่น PubMed หรือ Health Science มักจะใช้สถิตทิ างระบาดวิทยา เช่น OR, AOR นักวิจัยควรมีความเข้าใจการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ OR, AOR หรือการตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการ โครงสร้าง เพื่อพิสูจน์โมเดลสมมติฐานกับข้อมูลเชิง ประจักษ์ นักวิจัยควรมีความเข้าใจการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ Structural equation modelling เป็นต้น 2.10 การน�ำเสนอ ข้อค้นพบ อภิปรายผล และ ข้อเสนอแนะ ในการน�ำเสนอข้อค้นพบทางการวิจัย หรือผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Results) เป็นการน�ำเสนอ ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ข้อมูลในการออกแบบ วิจัย เพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่เกิดขึ้น และเมื่อค้นพบตาม ผลการศึกษาแล้วจะเชือ่ มโยงสูก่ ารอภิปรายผลว่า ผูว้ จิ ยั ได้นำ� หลักคิด ทฤษฎีทเี่ กิดจากการประมวลเอกสารและ งานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้องมาสนับสนุนข้อค้นพบอย่างไร รวมถึง การสะท้อนสมรรถนะการคิดเชิงวิพากษ์ของผู้วิจัยด้วย เพี่อให้เห็นความเชื่อมโยงของประเด็นเหล่านี้ จึงเสนอ เป็นแผนภาพได้ดังนี้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
284
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ภาพที่ 3 ความสัมพันธ์เชื่อมโยงข้อค้นพบ การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะการวิจัย (Thonglard, 2016: 309) จากการน�ำเสนอข้อค้นพบ อภิปราย (Discussion) และข้อเสนอแนะ (Recommendation) มีข้อสังเกต ที่น่าสนใจคือ ผลที่ได้จากการตอบค�ำถามของการวิจัย จะตอบตรงประเด็น ซึ่งค�ำตอบจะแคบเพราะตอบตาม ค�ำถามของการวิจัย เมื่ออภิปรายผลจะน�ำผลที่เกิดขึ้น มาขยายเชื่อมโยงสู่ภาพกว้างของการประมวลเอกสาร และงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้อง ซึง่ มีหลักการคล้ายกับการเขียน
ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหาคือ กล่าวถึง ภาพกว้างและสรุปลงสูป่ ระเด็นทีต่ อ้ งการศึกษา แต่ประเด็น ข้อค้นพบและอภิปรายผลจะจับประเด็นของค�ำตอบ แล้วขยายสูก่ ารประมวลเอกสารทีเ่ กิดขึน้ จึงเป็นการขยาย ข้อค้นพบที่เกิดขึ้นขยายไปสู่ภาพกว้างของการประมวล เอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแสดงเป็นแผนภาพได้ดังนี้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
285
ภาพที่ 4 หลักการเขียนข้อค้นพบและการอภิปรายผล (Thonglard, 2016: 310) 2.11 แหล่งที่มาของความรู้ แหล่งที่มาของความรู้ ในที่นี้คือ การอ้างอิงและบรรณานุกรม ทุกครั้งที่อ้างอิง ในเนื้อหาต้องปรากฏในบรรณานุกรม (Reference or Bibliography) ตามหลักการอ้างอิงของแต่ละสถาบัน เมื่ออ้างอิงลักษณะใดแล้วจะต้องเป็นรูปแบบเดียวกัน ในการอ้างอิงเป็นสิง่ ส�ำคัญยิง่ ในการสะท้อนถึงจริยธรรม วิชาการ และจริยธรรมของนักวิจัย ซึ่งในวงวิชาการ บางครัง้ ต้องการพิจารณาว่า ผูว้ จิ ยั มีภมู ริ มู้ ากเพียงใดมักจะ ดูจากแหล่งทีม่ าของความรูห้ รือการอ้างอิง ในการอ้างอิง ควรเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้ และไม่ควรล้าสมัยจนเกินไป เช่น อาจค้นคว้าแหล่งทีม่ าของความรูค้ วรเกิน 5 ปี และ อาจมีการยกเว้นบ้าง กรณีเป็นทฤษฎีหรือการอ้างอิง ต้นตอของข้อมูล เป็นต้น การเขียนเอกสารอ้างอิง นักวิจยั ควรศึกษาเครือ่ งมือ ช่วยให้สามารถจัดการความยุ่งยากในการท�ำรายการ อ้างอิงหรือรายการบรรณานุกรม ทัง้ การอ้างอิงในเนือ้ หา (In-text citation) หรือที่เรียกว่า Cite While You Write และการอ้างอิงท้ายรายงานการวิจยั เพือ่ การผลิต ผลงานออกมาได้สะดวก รวดเร็ว ยิง่ ขึน้ ซึง่ ก็คอื Program EndNote การใช้โปรแกรม EndNote ในการช่วยเขียน เอกสารอ้างอิง ในการตีพิมพ์ต่างประเทศมีความส�ำคัญ และจ�ำเป็นมากทีต่ อ้ งใช้ และใช้ตามแบบฟอร์มทีว่ ารสาร ก�ำหนด (Srihapark, 2015)
การตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยในวารสาร
การตีพมิ พ์เผยแพร่บทความวิจยั ในวารสารระดับชาติ และนานาชาติ มีการรวบรวมจากคูม่ อื การตีพมิ พ์เผยแพร่ ผลงานวิจยั และวิชาการของ Phrachomklao College of Nursing (2015) ซึ่งมีหัวข้อประกอบด้วยขั้นตอน การเตรียมบทความวิจยั (Manuscript) การเลือกแหล่ง ตีพิมพ์เผยแพร่ในที่นี้จะเน้นเฉพาะการตีพิมพ์เผยแพร่ ผลงานวิจยั ในวารสาร เนือ่ งจากเป็นสือ่ กลางในการสือ่ สาร ระหว่างนักวิชาการทัง้ ในระดับชาติและนานาชาติ ช่วยให้ นักวิชาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ ได้มีเวทีสื่อสารกัน โดยไม่ตอ้ งรูจ้ กั กัน ซึง่ มีรายละเอียดการตีพมิ พ์ในวารสาร ดังนี้ การเลือกแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ 1. ควรเลือกวารสารในสาขาทีต่ รงกับสาขาทีด่ ำ� เนิน งานวิจัย และลองค้นหาบทความที่มีลักษณะใกล้เคียง กับบทความของผูว้ จิ ยั ทีจ่ ะขอตีพมิ พ์ เพือ่ น�ำมาพิจารณา แนวทางเกีย่ วกับวิธกี ารเขียน รูปแบบการน�ำเสนอเนือ้ หา รูป กราฟ ตาราง เพื่อสร้างความมั่นใจในการส่งผลงาน ตีพิมพ์และพิจารณาโอกาสการตอบรับของวารสาร 2. ควรเลือกวารสารทีไ่ ด้รบั การยอมรับในระดับชาติ หรือนานาชาติ ซึง่ สามารถพิจารณาจากองค์กรหรือสถาบัน ทีเ่ ป็นผูจ้ ดั ท�ำวารสาร กรณีทตี่ อ้ งการน�ำบทความตีพมิ พ์ ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ สามารถศึกษา
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
286
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
รายชือ่ วารสารวิชาการทีไ่ ด้รบั การยอมรับจากฐานข้อมูล ของ สกอ. ดังนี้ 2.1 วารสารวิชาการระดับชาติ 1) การตรวจสอบรายชื่อวารสารวิชาการ ระดับชาติ ในฐานข้อมูล TCI สามารถค้นจาก http:// www.kmutt.ac.th/jif/public_html/search.html 2) ควรตรวจสอบค่า Impact Factor และ การตรวจสอบ ranking วารสารตามสาขา คลิกที่ ThaiJournal Impact Factors 2.2 วารสารวิชาการระดับนานาชาติ 1) การตรวจสอบรายชื่อวารสารวิชาการ ระดับนานาชาติ ก. การตรวจสอบชื่ อ วารสารวิ ช าการ (Journal) สายสังคมศาสตร์ (Social Science) จาก ฐานข้อมูล SJR SCImago Journal & Country Rank เมือ่ ต้องการสืบค้นจากฐานข้อมูล SJR www.scimagojr. com ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฐานข้อมูล Scopus ข. การตรวจสอบวารสารวิชาการสาย วิทยาศาสตร์ ในฐานข้อมูล Scopus ฐานข้อมูล Scopus ส่วนใหญ่จะเป็นวารสารสายวิทยาศาสตร์ มีการจัดแบ่ง หมวดวิชาออกเป็น 4 หมวด คือ Life Sciences, Physical Sciences, Health Sciences, and Social Sciences & Humanities ซึ่งแบ่งเป็นหมวดย่อยๆ อีก 27 วิชาหลัก และมากกว่า 300 วิชารอง ส�ำหรับ สังคมศาสตร์ ตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ http://www. elsevier.com/subjects/social-sciences/title/s เมื่อเข้าไปในหมวดวิชาแล้วจะพบรายชื่อหนังสือและ วารสารด้านสังคมศาสตร์ เรียงตามล�ำดับตัวอักษร A-Z ค. การตรวจสอบวารสารวิชาการในฐาน ข้อมูลของ Thompson Reuters ซึ่งเป็น Web of Science ของ Thompson Reuters สามารถเข้าไปที่ เว็บไซต์ http://ip-science.thomsonreuters.com/mjl/ จะพบข้อความ Master of Journal list บนหน้าเว็บ ด้านล่างจะพบข้อความ Journal lists for Researchable Databases ระบุฐานข้อมูลต่างๆ ที่เข้าไปสืบค้น
รายชือ่ วารสารวิชาการ เช่น Arts & Humanities Citation Index, Social Sciences Citation Index, Current Contents/Social & Behavior Science ฯลฯ 3. ควรเลือกวารสารที่มีค่า Impact Factor สูง การพิจารณาคุณภาพของวารสาร สามารถพิจารณาได้จาก ดัชนีอา้ งอิงของวารสารว่าอยูใ่ นฐานข้อมูลใด ซึง่ ฐานข้อมูล ทีน่ ยิ มในปัจจุบนั คือ ฐานข้อมูลทีม่ กี ารคิดค่าดัชนีอา้ งอิง (Impact Factor) หรือ Journal Impact Factor (JIF) ค่า Impact Factor ซึ่งเป็นดัชนีผลกระทบการอ้างอิง วารสาร วัดจากจ�ำนวนครัง้ โดยเฉลีย่ ทีบ่ ทความของวารสาร วิชาการนัน้ ได้รบั การอ้างอิงในแต่ละปี ข้อมูลของไทยคือ ดัชนีอ้างอิง Thailand Citation Index (TCI) ซึ่งดูแล โดยศูนย์อ้างอิงดัชนีวารสารไทย ส�ำหรับฐานข้อมูลของ ต่างประเทศ ได้แก่ ดัชนีอ้างอิง SCImago ซึ่งอยู่ใน ฐานข้อมูลของ Scopus ของบริษทั Elsevier และต้นต�ำรับ คือดัชนีอา้ งอิง ISI ซึง่ เป็นของบริษทั ใหญ่ผใู้ ห้บริการด้าน ข้อมูล คือ Thomson Reuters การตรวจสอบค่า Impact Factor ของวารสารวิชาการระดับนานาชาติ สามารถ ตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ http://www.uk.sagepub. com/isiranking/default.sp เทคนิ ค การตี พิ ม พ์ เ ผยแพร่ บ ทความวิ จั ย ใน วารสารระดับนานาชาติ เทคนิคการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสาร วิชาการระดับนานาชาติ มีข้อแนะน�ำที่น่าสนใจดังนี้ (Srihapark, 2015) 1. สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคือ การประเมินคุณภาพ ผลงานวิจยั ว่า ผลงานวิจยั มีคณ ุ ภาพหรือไม่ โดยพิจารณา จาก 1.1 วิธีวิจัย (Methodology) มีความถูกต้อง แม่นย�ำตามระเบียบวิธีวิจัย 1.2 กลุ ่ ม ตั ว อย่ า ง สามารถเป็ น ตั ว แทนของ ประชากรได้ ตามระเบียบวิธวี จิ ยั และสามารถมีผลกระทบ ในวงกว้าง 1.3 ถ้าเป็นการทดลองในมนุษย์ ผลงานวิจยั ต้อง ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มีหนังสือ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
รับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ 2. เมือ่ ประเมินแล้วว่าผลงานวิจยั มีคณ ุ ภาพในระดับ ทีจ่ ะสามารถตีพมิ พ์ลงวารสารต่างประเทศได้แล้ว เขียน บทความวิจัยฉบับร่างเป็นภาษาไทย “การเขียนจะต้อง เขียนให้คมทัง้ วิธวี จิ ยั และผลการวิจยั ” การเขียนวิธวี จิ ยั ให้คม หมายถึง การแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือ ในการวิจัย วิธีการวิจัยต้องถูกต้องแม่นย�ำตามระเบียบ วิธวี จิ ยั ส่วนการเขียนผลงานวิจยั ให้คม หมายถึง การหยิบ ประเด็นให้แหลมคม ให้เห็นผลการวิจยั ในครัง้ นีม้ คี วามรู้ ใหม่ หรือเกิดสิง่ ใหม่ๆ แตกต่างจากผลงานวิจยั อืน่ ๆ นักวิจยั ต้องอ่านผลงานวิจยั ทัง้ ในและต่างประเทศให้มากพอจึงจะ เห็นความต่าง และจะสามารถหยิบประเด็นแหลมคม ของผลงานวิจัยของตนเองได้ 3. การจัดเตรียมต้นฉบับเพือ่ น�ำเสนอข้อมูลวารสาร ต่างประเทศ ต้องให้กระชับ ไม่นำ� เสนอยาวเกินไป ส่วนใหญ่ ไม่เกิน 12 หน้า โดยนักวิจัยควรศึกษาวิธีการน�ำเสนอ ข้อมูลจากวารสารต่างประเทศหลายๆ ฉบับ แล้วเลือก หยิบรูปแบบทีน่ ำ� เสนอข้อมูลทีเ่ หมาะกับงานวิจยั ทีก่ ำ� ลัง ศึกษา เมือ่ ได้ผลงานวิจยั ทีค่ มชัดแล้วให้พจิ ารณาชือ่ เรือ่ ง ของการวิจัยอีกครั้งหนึ่งแล้วก�ำหนด “ชื่อเรื่องวิจัยให้ คมชัด” 4. เมือ่ ได้ฉบับภาษาไทยแล้ว นักวิจยั แปลเป็นฉบับ ภาษาอังกฤษฉบับร่างด้วยตนเอง หรือในกรณีของผู้ที่ มีความช�ำนาญในภาษาอังกฤษก็สามารถท�ำต้นฉบับ ในภาษาอังกฤษได้เลย อย่างไรก็ตามการอ่านผลงานวิจยั ต่างประเทศจ�ำนวนมากๆ ทีค่ ล้ายคลึงกับงานวิจยั ทีก่ ำ� ลัง ศึกษา “เพือ่ ศึกษาการใช้สำ� นวนภาษาอังกฤษ” จะท�ำให้ สามารถเขียนเป็นต้นฉบับของผลงานวิจัยด้วยส�ำนวน ที่ราบรื่น และที่ส�ำคัญควรให้เจ้าของภาษาตรวจความ ถูกต้องของการใช้ภาษาอังกฤษในเชิงวิชาการอีกครั้ง เช่น ผู้ให้สัมภาษณ์ (Srihapark, 2015) ได้ใช้เครือข่าย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการตรวจสอบความถูกต้อง ของการใช้ภาษา
287
5. เทคนิคการยอมรับ (Submitted) ให้ตพี มิ พ์ของ วารสารระดับนานาชาติ 5.1 ศึกษาวารสารทีจ่ ะตีพมิ พ์วา่ รับตีพมิ พ์ผลงาน วิจัยประเด็นใด ซึ่งวารสารจะแจ้งวัตถุประสงค์ไว้อย่าง ชัดเจน โดยเลือกวารสารที่มีความสอดคล้องบทความ วิจัย จ�ำนวน 4-5 วารสาร ที่ระดับความถี่ที่บทความ ในวารสารนัน้ จะได้รบั การอ้างถึง หรือถูกน�ำไปใช้ (Impact Factor) แตกต่างกัน แล้วให้เลือกลงวารสารทีม่ ี Impact Factor สูงกว่าไว้ ซึ่งการถูกปฏิเสธ (Rejected) ของ วารสารนานาชาติเป็นเรื่องปกติ การยื่นเสนอตีพิมพ์ลง วารสารครัง้ แรก ควรยืน่ เสนอในวารสารทีม่ รี ะดับ Impact Factor สูงเกินกว่าที่เราประเมินบทความของเราเผื่อไว้ ซึ่งหากได้รับการปฏิเสธจากวารสารแรกจึงค่อยส่งลง วารสารที่เลือกไว้ต่อไป แต่ไม่ส่งไปพร้อมกันหลายๆ วารสาร เพราะผิดจรรยาบรรณนักวิจัย จะต้องมั่นใจ ก่อนว่า วารสารทีแ่ รกปฏิเสธก่อนจึงจะส่งไปวารสารอืน่ ต่อไป และการเลือกวารสารควรเลือกทีอ่ ยูใ่ นฐาน Scopus และ SCI ได้ทงั้ การเพิม่ คุณค่าให้กบั ผลงานวิจยั และป้องกัน วารสารลวง 5.2 การ Submitted นักวิจัยต้องฝึกการส่ง ในระบบออนไลน์ (Submitted Online) และการเตรียม ใบปะหน้าทีเ่ รียกว่า จดหมายแนะน�ำตัวหรือ Cover Letter และประวัติของผู้ร่วมวิจัยให้พร้อม ต้องศึกษาวิธีการ เขียนและเตรียมไว้รอ รวมทัง้ เสนอชือ่ ผูป้ ระเมินบทความ (Reviewer) เตรียมไว้ดว้ ยเนือ่ งจากบางวารสารต้องการ ในขั้นตอนการ Submitted Online นักวิจัยจะได้รับ การตอบรับอัตโนมัตวิ า่ ได้นำ� ผลงานวิจยั เข้าระบบ (ซึง่ ยัง ไม่ใช่การตอบรับลงตีพมิ พ์) จากนัน้ บทความวิจยั จะผ่าน ผู้ประเมินคุณภาพบทความเบื้องต้น (Editor) ซึ่งถ้า Editor พิจารณาประมาณ 3-4 วัน ถ้าส่งจดหมายมา (Mail) ส่วนใหญ่จะปฏิเสธ แต่หากหรือเกิน 2 สัปดาห์ ส่วนใหญ่บทความจะถูกส่งต่อไปยังผูเ้ ชีย่ วชาญพิจารณา บทความ (Peer Review) ต่อไป และเข้าสูก่ ระบวนการ พิจารณาคุณภาพบทความ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
288
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
5.3 การเป็นผูว้ จิ ยั หลัก (Co-responding) และ ผูว้ จิ ยั ในการ Submitted บทความตีพมิ พ์ จะมีให้กรอก ข้อมูล Co-responding และผูว้ จิ ยั ซึง่ โดยหลักการแล้ว Co-responding จะเป็นผูท้ มี่ คี วามส�ำคัญมากกว่าการมี รายชื่อเป็นนักวิจัยล�ำดับที่ 1 Co-responding จะเป็น ผู ้ ที่ว ารสารติ ด ต่ อกลั บ และเป็นผู้ท�ำ หน้าที่ติดต่อกับ วารสารทั้งการปรับแก้ตามข้อเสนอแนะหรือเรื่องอื่นๆ จนกระทั่งบทความได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ส่วนผู้วิจัย ทุกคนที่ปรากฏรายชื่อในบทความวิจัยต้องรับรู้และ ให้การยินยอมในการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งบาง วารสารเมือ่ Submitted ไปแล้วจะมีจดหมายเป็นหนังสือ สอบถามผู้ร่วมวิจัยเกี่ยวกับการ Submitted วารสาร ฉบับนั้นด้วย
จริยธรรมในการเผยแพร่ผลงานวิจัย
National Research Council of Thailand (2011: 2) ได้กล่าวถึงจริยธรรมการวิจัย (Research Ethics) หมายถึง ประมวลหลักประพฤติปฏิบตั ทิ ดี่ ใี นการ วิจัยที่นักวิจัยควรยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้ได้รับการยอมรับ ว่าเป็นผู้มีคุณธรรมคือ คุณงามความดี และมีจริยธรรม คื อ ความถู ก ต้ อ งด้ ว ยศี ล ธรรม ดั ง นั้ น ในการเขี ย น บทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ผลงานควรศึกษาเก้าค�ำถาม ที่ต้องรู้ค�ำตอบเกี่ยวกับจริยธรรมในการเผยแพร่ผลงาน วิจยั ดังนี้ (National Research Council of Thailand, 2011) และถูกเรียบเรียงโดย Institute of Research and Development, Walailak University (2014) ซึ่งเก้าค�ำถามมีดังนี้ 1. การท�ำสิ่งใดบ้างที่เข้าข่ายผิดจริยธรรมในการ เผยแพร่ผลงานวิจัย? ตอบ การกระท�ำทีผ่ ดิ จริยธรรมในการน�ำเสนอผลงาน วิจัยมีได้หลายลักษณะ ที่เป็นปัญหากันมากในปัจจุบัน ได้แก่ การสร้างข้อมูลเท็จ (Fabrication) การปกปิด บิดเบือนให้ผิดไปจากความเป็นจริง (Falsification) การคัดลอกผลงาน แอบอ้างความคิดของผู้อื่นมาเป็น ของตน (Plagiarism) และการน�ำผลงานหรือข้อเขียน
ของตนเองกลับมาใช้ซำ�้ ซ้อนให้ผอู้ นื่ เข้าใจว่าเป็นงานใหม่ (Self-plagiarism) 2. บทความที่ลงเอกสารประชุมวิชาการไปแล้ว (Conference Proceeding) สามารถน�ำไปส่งวารสาร ได้อีกหรือไม่? ตอบ ไม่สามารถท�ำได้ เพราะเข้าข่าย Self-plagiarism ดังนัน้ หากต้องการเผยแพร่ผลงานในวารสารตามฐานข้อมูล เช่น ISI, Scopus, PubMed, TCI ซึ่งสามารถสืบค้น เข้าถึงได้กว้างขวางกว่าการตีพิมพ์ในเอกสารประชุม วิชาการ จึงควรเลือกการประชุมวิชาการที่มีการตีพิมพ์ ร่วมกับวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลเหล่านี้เป็นฉบับพิเศษ หรือตีพมิ พ์เฉพาะบทคัดย่อควบคูก่ บั การน�ำเสนอผลงาน แบบบรรยายและโปสเตอร์ในการประชุมวิชาการ โดย ไม่เขียนบทความฉบับเต็ม 3. ประโยคที่ปรากฏในบทความเดิมแล้วน�ำมาใช้ ในบทความใหม่ ถือเป็นการซ�ำ้ ซ้อนหรือไม่? ตอบ บทความวิจัยที่คัดลอกข้อความจากบทความ ที่ตีพิมพ์ไปแล้ว ส่วนใดส่วนหนึ่งในบทน�ำ การทบทวน เอกสาร ระเบียบวิธีวิจัย ผลและการอภิปราย บทสรุป โดยไม่ระบุแหล่งอ้างอิง ถือว่าเข้าข่าย Plagiarism หาก ต้องการสื่อใจความเดียวกันต้องเขียนประโยคใหม่ที่ใช้ ภาษาต่างไปจากเดิม หรือท�ำการ Paraphrase 4. รูปภาพหรือกราฟทีป่ รากฏในบทความทีเ่ ผยแพร่ ไปแล้ว สามารถน�ำมาใช้ในบทความใหม่ได้อีกหรือไม่? ตอบ รูปภาพ หรือกราฟทีไ่ ม่ได้ผลิตขึน้ เองโดยผูเ้ ขียน บทความวิจยั ต้องมีการอ้างอิงระบุแหล่งทีม่ าเสมอ และ กรณีทมี่ กี ารตีพมิ พ์เผยแพร่ไปแล้วต้องได้รบั อนุญาตจาก ส�ำนักพิมพ์ แม้ว่าจะเป็นรูปจากงานของผู้เขียนเอง 5. งานวิจยั ทีเ่ คยเผยแพร่เป็นภาษาไทยแล้ว สามารถ แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วเผยแพร่เป็นบทความใหม่ได้ หรือไม่? ตอบ วารสารโดยทัว่ ไปรับพิจารณาเฉพาะงานทีไ่ ม่เคย ตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน ไม่ว่าในภาษาใดๆ แต่มีบางวารสาร ทีท่ ำ� Official Translation รับพิจารณา หรือเชิญบทความ ที่น่าสนใจที่เผยแพร่ในภาษาอื่นๆ มาแปลเพื่อเผยแพร่
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ในวงกว้างมากขึ้น ผู้เขียนจึงต้องศึกษาจากค�ำแนะน�ำ วารสารและระบุให้บรรณาธิการทราบในจดหมายน�ำส่ง บทความ รวมทั้งระบุในตัวบทความด้วยว่าเคยเผยแพร่ มาก่อนในภาษาใด เอกสารใด 6. การละเมิดสิทธิความเป็นผูน้ พิ นธ์ (Authorship) คืออะไร? ตอบ การไม่ใส่ชื่อผู้มีส่วนร่วมในการผลิตผลงาน วิจัยให้ครบถ้วน หรือเพิ่มชื่อผู้ที่ไม่ได้มีส่วนด้านแนวคิด ออกแบบงานวิจยั วิเคราะห์ขอ้ มูลและแปลผล อภิปรายผล เขียนบทความและตรวจแก้ ลงไปร่วมเป็นเจ้าของบทความ ทัง้ ทีเ่ จ้าตัวรับรูห้ รือไม่รบั รูเ้ พือ่ ประโยชน์ทางใดทางหนึง่ นอกจากนี้การแบ่งเปอร์เซ็นต์ผลงานและการวางล�ำดับ ผู้เขียนที่ไม่สอดคล้องกับการท�ำงานร่วมกันจริง ก็ถือ เป็นการละเมิดสิทธิความเป็นผูน้ พิ นธ์ ในกรณีผใู้ ห้ความ ช่วยเหลือด้านภาษาผูอ้ ำ� นวยความสะดวกในการท�ำวิจยั และผูบ้ ริหารทีส่ นับสนุนไม่ถอื เป็นผูน้ พิ นธ์ผลงาน ให้ระบุ ชื่อในกิตติกรรมประกาศเท่านั้น 7. วารสารที่ระบุว่ามี Impact Factor แสดงว่า อยู่ในฐานข้อมูล ISI ใช่หรือไม่? ตอบ วารสารทีร่ ะบุวา่ ตนเองมีคา่ Impact Factor ไม่จำ� เป็นต้องอยูใ่ นฐานข้อมูล ISI เนือ่ งจากปัจจุบนั มีคา่ Impact Factor ของหลายสถาบัน อีกทัง้ หลายวารสาร ทีไ่ ม่อยูใ่ นฐานข้อมูลได้ทำ� การค�ำนวณค่าเอง หรือแอบอ้าง ค่า Impact Factor มาใช้เพือ่ ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ดังนัน้ ก่อนตัดสินใจส่งงานไปวารสารใด ต้องมีการตรวจเช็คภูมิ หลังวารสารนัน้ ให้ดเี สียก่อน ในการตรวจสอบว่าวารสาร อยูใ่ น Scopus หรือไม่ทำ� ได้ที่ http://www.scimagojr. com/journalsearch.php 8. วารสารใน Beall’s list คืออะไร? การส่งผลงาน ไปตีพิมพ์ในวารสารใน Beall’s list จะส่งผลอย่างไร? ตอบ Beall’s list (http://scholarlyoa.com/ publishers/) เป็นรายชื่อของวารสารและส�ำนักพิมพ์ ทีม่ พี ฤติกรรมไม่พงึ ประสงค์ เข้าข่ายผิดจริยธรรมในการ เผยแพร่ผลงานวิจยั ผูเ้ ขียนทีส่ ง่ ผลงานไปตีพมิ พ์ในวารสาร ใน Beall’s list ทั้งโดยตั้งใจหรือโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
289
นอกจากต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ในวารสารที่ ไม่อยู่ในเกณฑ์คุณภาพแล้ว ผลงานจะไม่เป็นที่ยอมรับ ในวงวิชาการ นักศึกษาไม่สามารถใช้บทความประกอบ การขอจบการศึกษา อาจารย์ไม่สามารถใช้ประกอบการ ประเมินผลงานหรือขอต�ำแหน่งวิชาการได้ 9. การน� ำ งานวิ จั ย ที่ ท� ำ ไว้ ข ณะเรี ย นปริ ญ ญาโท และเอก หรือที่ท�ำงานเดิม มาท�ำต่อและเขียนบทความ เผยแพร่ สามารถท�ำได้หรือไม่? ตอบ การท�ำงานวิจยั ต่อเนือ่ งสามารถท�ำได้ โดยเมือ่ เผยแพร่บทความต้องระบุให้ชดั ว่า ผูเ้ ขียนสังกัดมากกว่า หนึ่งสถาบัน และต้องไม่ละเมิดสิทธิความเป็นผู้นิพนธ์ ของอาจารย์ที่ปรึกษา นักศึกษา หรือเพื่อนร่วมงาน ในที่ท�ำงานเดิม อีกทั้งต้องระบุแหล่งทุนวิจัยให้ถูกต้อง ชัดเจนในกิตติกรรมประกาศว่า งานแต่ละส่วนได้รับทุน จากแหล่งใด (ปัจจุบนั วารสารโดยทัว่ ไปยอมรับการระบุ สังกัดมากกว่าหนึง่ แห่งของผูเ้ ขียนแต่ละคน และแหล่งทุน มากกว่าหนึ่งแหล่งส�ำหรับบทความแต่ละเรื่อง)
ข้อเสนอแนะ
ผู ้ เ ขี ย นบทความวิ จั ย จะต้ อ งเตรี ย มความพร้ อ ม ในการพัฒนาบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ผลงานให้เป็นที่ ยอมรับและได้มาตรฐาน ส่วนสถานศึกษาจะต้องหา มาตรการสนับสนุนการผลิตผลงานสูก่ ารตีพมิ พ์ เผยแพร่ หรือแม้แต่การพัฒนาหลักสูตร หรือบางรายวิชา เช่น ประเด็นปัญหาพิเศษ การสัมมนารายวิชาต่างๆ สามารถ เตรียมความพร้อมนักศึกษาให้ท�ำการพัฒนาบทความ และเผยแพร่ เช่น ในระหว่างศึกษาการทบทวนวรรณกรรม ที่เกี่ยวข้องสามารถน�ำประเด็นที่ศึกษาจากการทบทวน วรรณกรรมประมวลสู่การพัฒนาเป็นบทความวิชาการ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างภาคทฤษฎีและภาค ปฏิบัติ (Cooper, Orrell & Bowden, 2010: 12) เป็นการเชื่อมโยงเพื่อประโยชน์ของนักศึกษาระหว่าง วิชาการในปัจจุบนั และการเป็นผูผ้ ลิตผลงานทางวิชาการ ที่มีคุณค่าสู่สังคม นักศึกษามีโอกาสที่จะใช้ความรู้ทาง ทฤษฎีที่ได้รับผสมผสานกับการศึกษาทางวิชาการและ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
290
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
จากประสบการณ์จริง อย่างไรก็ดีภายใต้การบริหารจัดการบทความวิจัย เพือ่ เผยแพร่ให้ได้มาตรฐาน มีขอ้ คิดทีน่ า่ สนใจว่า ใครคือ ผู้ใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยนี้ ถ้ากระบวนการศึกษา สามารถบูรณาการภารกิจของสถานศึกษาทัง้ เรือ่ งการจัด การเรียนการสอน การวิจยั การบริการวิชาการแก่ชมุ ชน การท�ำนุบำ� รุงศิลปวัฒนธรรม ให้เป็นเรือ่ งยึดโยงการวิจยั เพื่อมุ่งพัฒนาสังคม เพื่อแก้ปัญหาร่วมกันให้สังคมเกิด ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในกระบวนการเรียนการสอน ของสถานศึกษาควรยึดโจทย์วจิ ยั ในสังคมหรือชุมชนเป็น ตัวตัง้ เช่น ในปัจจุบนั กลุม่ ธุรกิจการค้าปลีกในประเทศไทย มีความส�ำคัญกับระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ถ้าภาค ธุรกิจด้านค้าปลีกได้มีโอกาสได้เข้ามาพัฒนารูปแบบวิธี การเรี ย นการสอนร่ ว มกั บ สถาบั น การศึ ก ษามากขึ้ น จะท�ำให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ ได้โดยตรง (Kanchanapiboon & Phoemphian, 2016: 168) หรือเน้นการเรียนการสอนผูกพันกับสังคม (Socially-engaged Pedagogy) มีตัวอย่างการท�ำงาน วิชาการเพือ่ สังคมจ�ำนวนไม่นอ้ ยทีเ่ ปิดโอกาสให้นกั ศึกษา เข้าไปมีสว่ นร่วมทัง้ การบริการวิชาการ การวิจยั การจัด การเรียนการสอน และท�ำนุบำ� รุงศิลปวัฒนธรรม ซึง่ เป็น การออกแบบการเรียนการสอนที่ให้ประสบการณ์และ ทักษะต่างๆ เช่น การท�ำงานเป็นทีม การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแก่นกั ศึกษาในการท�ำงานและ การใช้ชีวิตจริง และยังส่งผลต่อการเรียนรู้ ผลลัพธ์ ทางการศึกษา (Learning Outcome) ของนักศึกษา รวมทั้งอาจารย์ผู้สอน ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยมีนโยบาย รูปแบบการจัดหลักสูตร การออกแบบการจัดการเรียน การสอนทีแ่ ตกต่างกัน (Knowledge Network Institute of Thailand, 2016) เพือ่ เสริมสร้างนวัตกรรมทางสังคม ให้ เ ป็ น สั ง คมที่ มี คุ ณ ภาพ การเผยแพร่ ผ ลงานวิ จั ย
ในลักษณะนี้จะท�ำให้หนุนเสริมศักยภาพของนักวิจัย ของภาคีทเี่ กีย่ วข้องได้อย่างน่าสนใจยิง่ ประเด็นทีน่ า่ คิด ต่อมาคือ ท�ำอย่างไรเพื่อให้มหาวิทยาลัยต่างๆ มีขีด ความสามารถเพิ่มขึ้นเพื่อท�ำภารกิจของมหาวิทยาลัย ทุกด้านได้อย่างสมบูรณ์ โดยเน้นการเรียนรูท้ ตี่ อบสนอง สังคม ไม่ใช่เพียงแค่ห้องเรียนสี่เหลี่ยม ดังนั้น อาจารย์ ควรมีการทบทวนการเรียนการสอนที่ควรน�ำนักศึกษา ลงพื้นที่ปฏิบัติจริงในสถานการณ์ของชุมชน ตามบริบท ของแต่ละมหาวิทยาลัยและต้องมีผลสะท้อน (Reflection) การเรียนรูร้ ว่ มกับชุมชนผ่านกระบวนการเรียนรูแ้ ละวิจยั จึงต้องหวนคิดว่าในศตวรรษที่ 21 นี้ควรจัดการเรียนรู้ วิชาอะไร ซึง่ อาจไม่ตอ้ งใช้หลายวิชาให้สามารถบูรณาการ กับชุมชนได้ ให้ผู้เกี่ยวข้องและชุมชนเกิดการเรียนรู้จริง เกิดการเปลี่ยนแปลงตัวตน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการ ผลิตผลงานวิจัยเพื่อเผยแพร่อย่างทรงคุณค่า
สรุป
การเขี ย นบทความวิ จั ย เพื่ อ เผยแพร่ ผ ลงานเป็ น การแสดงให้เห็นว่า ผูว้ จิ ยั ได้สร้างสรรค์ผลงานวิจยั ทีผ่ า่ น กระบวนการพัฒนา การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตลอดจน มีจรรยาบรรณนักวิจัย รวมถึงการบริหารจัดการความรู้ ตามรู ป แบบการน� ำ เสนอผลงานของแต่ ล ะแหล่ ง ที่ ก�ำหนดขึน้ จึงเป็นการเพิม่ คุณค่าแก่งานวิจยั คือ น�ำไปสู่ การใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางและเป็นที่ยอมรับ ในวงวิชาการ เพราะผ่านกระบวนการพิจารณากลัน่ กรอง ตามเกณฑ์มาตรฐานการเผยแพร่ ผู้เขียนบทความวิจัย จึงต้องศึกษารายละเอียดต่างๆ เกีย่ วกับการรับรองคุณภาพ ของบทความวิจัยก่อนเผยแพร่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ กว้างขวาง ตามเป้าหมายของการเขียนบทความวิจยั เพือ่ เผยแพร่ผลงาน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
291
References
Cooper L., Orrell J. & Bowden, M. (2010). Work Integrated Learning: A Guide to Effective Practice. London: Routledge. Institute of Research and Development, Walailak University. (2014). Ten questions that need answers about ethics in the dissemination of research results. Retrieved June 3, 2016, from http://masterorg.wu.ac.th/source/detail.php?newss_id=2928&paths=ird [in Thai] Jankong, W. (2014). Academic articles and articles on the same or different. Booklet of Health Sciences, 3. [in Thai] Kanchanapiboon, K. & Phoemphian, T. (2016). Practical guidelines on Work-integrated Learning according to the desirable characteristics of the students in Bachelor Degree of Business Administration and the enterprises’ needs. Panyapiwat Journal, 8(3), 168. [in Thai] Knowledge Network Institute of Thailand. (2016). Socially-engaged Pedagogy. Retrieved August 1, 2016, from http://knit.or.th/conference/conference/sm_index.php?sm_id=73&menu=2 [in Thai] National Research Council of Thailand. (2011). Ethics and professional practice and research. Retrieved July 2, 2016, from http://www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2014011710032931.pdf [in Thai] Phrachomklao College of Nursing. (2015). Guide published academic research and national and international. Retrieved April 30, 2015, from http://www.pckpb.ac.th/main/index. php?option-com_content&view-category&id [in Thai] Prasitratasin, A. (2009). Writing research papers for publication in academic journals. Graduate School, Chiang Mai Rajabhat University. [in Thai] Srihapark, S. (2015). Interview published research experience. “Technical Research published in the international journal”. Retrieved December 20, 2016, from http://kmbcnkk.blogspot. com/2015/08/800x600-normal-0-false-false-false-en.html [in Thai] Thonglard, B. (2016). Managerial Accounting. Lampang: Lampang Rajabhat University. [in Thai] Name and Surname: Bhornchanok Thonglard Highest Education: Doctor of Philosophy (Business Administration) Ph.D., Ramkhamhaeng University University or Agency: Lampang Rajabhat University Field of Expertise: Accounting, Management Address: Faculty of Management Science, Chumphu, Mueang, Lampang 52100
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
292
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์องค์ประกอบส�ำหรับงานวิจัย TECHNIQUES FOR INTERPRETING THE RESULTS OF FACTOR ANALYSIS IN RESEARCH WORK ธีระดา ภิญโญ Terada Pinyo คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ Faculty of Education, Panyapiwat Institute of Management
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์องค์ประกอบเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้ลดจ�ำนวนตัวแปรหลายๆ ตัวในการศึกษา ด้วยการรวมกลุ่มตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันไว้เข้าด้วยกัน โดยต้องมีความสัมพันธ์กันในระดับมากซึ่งอาจจะอยู่ ในทิศทางเดียวกัน (ทิศทางเป็นบวก) หรืออยู่ในทิศทางตรงกันข้าม (ทิศทางเป็นลบ) ก็ได้ ส่วนตัวแปรที่อยู่คนละ องค์ประกอบจะไม่มีความสัมพันธ์กันหรือมีความสัมพันธ์กันน้อยมาก โดยมีข้อตกลงเบื้องต้น ได้แก่ จ�ำนวนตัวแปร ทีค่ ดั เลือกมาวิเคราะห์องค์ประกอบควรมีจำ� นวนมากกว่า 30 ตัวแปร และกลุม่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ควรมากกว่าจ�ำนวนตัวแปร อย่างน้อย 5-10 เท่า การใช้สถิตินี้ท�ำให้นักวิจัยสามารถอธิบายความหมายของแต่ละองค์ประกอบด้วยตัวแปรที่ เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือมากขึ้น ค�ำส�ำคัญ: การวิเคราะห์องค์ประกอบ ความสัมพันธ์ งานวิจัย
Abstract
Factor analysis is a statistical technique applying for reducing the number of variables when there are bunches of variables involved. This can be done by grouping the related variables under the condition that the relationship of those being grouped must be at a high level in either the same (positive) or different (negative) direction. The entire groups must have no or very low level of relationship. The preliminary conditions for this application are that: the number of selected variables should greater than 20; and the sample size must be 5 or 6 six times of the number of variables concerned. Therefore, this technique enables the researcher to interpret the meaning of each variable easier, more accurate and more reliable. Keywords: Factor analysis, Relationship, Research work Corresponding Author E-mail: therada.pi@hotmail.co.th
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
บทน�ำ
การวิเคราะห์องค์ประกอบหรือการวิเคราะห์ปัจจัย เป็นวิธีการทางสถิติวิธีหนึ่งที่ใช้วิเคราะห์ตัวแปรหลาย ตัวแปร (Multivariate Statistical Method) โดยมี การน�ำไปใช้ประโยชน์ในเกือบทุกวงการ อาทิ สังคมศาสตร์ มานุษยวิทยาและโบราณคดี กระบวนการวิเคราะห์ องค์ประกอบถือก�ำเนิดขึน้ มาในต้นศตวรรษที่ 20 ค้นพบ โดย Spearman (1904 cited in Watpon.com, n.d.) แต่ในสมัยนัน้ ยังเป็นวิธกี ารทีย่ งุ่ ยาก ซับซ้อน และเสียเวลา มากในการวิเคราะห์ ดังนั้นการวิเคราะห์องค์ประกอบ จึงยังไม่เป็นทีแ่ พร่หลายในหมูน่ กั วิจยั สมัยนัน้ จนกระทัง่ คอมพิวเตอร์ได้ถอื ก�ำเนิดขึน้ มาและมีโปรแกรมส�ำเร็จรูป ทางคอมพิวเตอร์ทจี่ ะช่วยเหลือ การวิเคราะห์องค์ประกอบ จึงได้แพร่หลายออกไปและเป็นที่นิยมในหมู่นักวิจัยกัน อย่างกว้างขวาง Daniel (1988 cited in Watpon.com, n.d.) ได้อธิบายว่า “การวิเคราะห์องค์ประกอบถูกออกแบบมา เพื่อใช้ตรวจสอบโครงสร้างของชุดตัวแปรและเพื่อใช้ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในรูปของจ�ำนวน ที่น้อยที่สุดของตัวแปรแฝงที่สังเกตไม่ได้ ซึ่งตัวแปรแฝง ทีส่ งั เกตไม่ได้เหล่านีจ้ ะถูกเรียกว่า องค์ประกอบ” สอดคล้อง กับ Joreskog & Sorbom (1989) ได้อธิบายเพิ่มเติม ว่า “แนวคิดที่ส�ำคัญภายใต้รูปแบบของการวิเคราะห์ องค์ประกอบคือ มีตัวแปรบางตัวที่ไม่สามารถสังเกต หรือวัดได้โดยตรง หรืออาจเรียกได้ว่า เป็นตัวแปรแฝง หรือองค์ประกอบตัวแปรที่ไม่สามารถสังเกตหรือวัดได้ โดยตรงนัน้ สามารถอ้างอิงได้ทางอ้อมจากข้อมูลของตัวแปร ที่สังเกตได้ การวิเคราะห์องค์ประกอบเป็นกระบวนการ ทางสถิตสิ ำ� หรับเปิดเผยตัวแปรแฝงทีม่ อี ยู่ โดยศึกษาผ่าน ความแปรปรวนระหว่างชุดของตัวแปรที่สังเกตได้” การวิเคราะห์องค์ประกอบหรือการวิเคราะห์ปัจจัย จึงเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้ส�ำหรับการลด จ�ำนวนตัวแปรทีใ่ ช้ในการศึกษาในเรือ่ งทีส่ นใจซึง่ มีจำ� นวน ตัวแปรหลายๆ ตัวให้เหลือจ�ำนวนตัวแปรน้อยลง โดยวิธกี าร
293
รวมกลุม่ ตัวแปรทีม่ คี วามสัมพันธ์กนั ไว้ในกลุม่ หรือปัจจัย หรือองค์ประกอบเดียวกัน โดยตัวแปรทีอ่ ยูใ่ นองค์ประกอบ เดียวกันต้องมีความสัมพันธ์กนั มากและความสัมพันธ์นนั้ อาจจะอยู่ในทิศทางเดียวกัน (ทิศทางเป็นบวก) หรืออยู่ ในทิศทางตรงกันข้าม (ทิศทางเป็นลบ) ก็ได้ ส่วนตัวแปร ที่อยู่คนละองค์ประกอบจะไม่มีความสัมพันธ์กันหรือมี ความสัมพันธ์กันน้อยมาก โดยองค์ประกอบหนึ่งๆ เป็น ตัวแปรแฝง (variable) อันเป็นคุณลักษณะทีส่ ำ� คัญทีผ่ วู้ จิ ยั สนใจศึกษา โดยรูปแบบของการวิเคราะห์องค์ประกอบ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง ส�ำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) เป็น รูปแบบเพื่อใช้ค้นหาองค์ประกอบร่วมหรือปัจจัยร่วม ทีจ่ ะสามารถอธิบายความสัมพันธ์รว่ มกันระหว่างตัวแปร ทัง้ หมด โดยทีอ่ งค์ประกอบร่วมทีค่ น้ หาได้มจี ำ� นวนน้อย กว่าจ�ำนวนตัวแปร และ 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) เป็นรูปแบบเพือ่ ใช้ทดสอบสมมติฐานเกีย่ วกับโครงสร้าง ขององค์ประกอบว่า องค์ประกอบแต่ละตัวประกอบด้วย ตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรแต่ละตัวควรมีน�้ำหนัก ความสัมพันธ์มากน้อยเพียงใด ตรงกับโมเดลหรือทฤษฎี ที่ใช้พิสูจน์หรือไม่ ซึ่งในบทความนี้ขอเสนอเฉพาะการ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส�ำรวจแบบ PCA (Principal Component Analysis) จากทีก่ ล่าวมาจะเห็นว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบ ใช้ ส� ำ หรั บ การวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ตั ว แปรที่ สั ง เกตได้ จ�ำนวนมาก สามารถจัดระเบียบและอธิบายกลุม่ ตัวแปร ได้อย่างเหมาะสมด้วยหลักการความสัมพันธ์ของตัวแปร เน้นการน�ำตัวแปรที่เหมาะสมไปใช้ในการวิเคราะห์และ อธิบายปรากฏการณ์ทสี่ นใจได้ สร้างแนวคิดและแนวทาง การพัฒนาองค์ความรู้ได้อย่างกว้างขวางเป็นปัจจุบัน ช่วยในการวางแผนและการบริหารจัดการต่างๆ ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ผู้วิจัยควรให้ความส�ำคัญกับ ข้อตกลงเบือ้ งต้นในหลักการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วย
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
294
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ข้อตกลงเบือ้ งต้นของการใช้สถิตกิ ารวิเคราะห์ องค์ประกอบส�ำหรับการวิจัย
ในการท�ำวิจัยเมื่อต้องการใช้สถิติการวิเคราะห์ องค์ประกอบ ผู้วิจัยจ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงข้อควรระวัง ในการใช้ (Stevens, 1992, 1996; Tabachnick & Fidell, 2001; Munro, 2001 cited in Singchongchai, 2006) ดังนี้ 1. ตัวแปรที่คัดเลือกมาวิเคราะห์องค์ประกอบต้อง เป็นตัวแปรที่มีค่าต่อเนื่อง หรือมีค่าในมาตราระดับช่วง (Interval scale) และมาตราอัตราส่วน (Ratio scale) เนื่องจากตัวแปรควรมีความสัมพันธ์กัน ส่วนตัวแปรที่มี ระดับการวัดแบบกลุ่ม ผู้วิจัยต้องปรับให้เป็นตัวแปรหุ่น (dummy variable) เสียก่อน 2. ตัวแปรทีค่ ดั เลือกมาวิเคราะห์องค์ประกอบควรมี ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในระดับสูง (r = 0.30-0.70) โดยรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบและตัวแปร อยู่ในรูปเชิงเส้น (linear) เท่านั้น 3. จ�ำนวนตัวแปรทีค่ ดั เลือกมาวิเคราะห์องค์ประกอบ ควรมีจ�ำนวนมากกว่า 30 ตัวแปร 4. กลุม่ ตัวอย่างควรมีขนาดใหญ่และควรมีมากกว่า จ�ำนวนตัวแปร ซึ่งมักมีค�ำถามว่า ควรมากกว่ากี่เท่า มีบางแนวคิดที่เสนอแนะให้ใช้จ�ำนวนข้อมูลมากกว่า จ�ำนวนตัวแปรอย่างน้อย 5-10 เท่า หรืออย่างน้อยทีส่ ดุ สัดส่วนจ�ำนวนตัวอย่าง 3 ราย ต่อ 1 ตัวแปร 5. กรณีทใี่ ช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principle Component Analysis) ตัวแปรแต่ละตัว หรือข้อมูลไม่จ�ำเป็นต้องมีการแจกแจงแบบปกติ แต่ถ้า ตัวแปรบางตัวมีการแจกแจงเบ้ค่อนข้างมาก และมีค่า ต�่ำสุด และค่าสูงสุดผิดปกติ (Outlier) ผลลัพธ์ที่ได้อาจ จะไม่ถูกต้อง
ขั้นตอนของการวิเคราะห์องค์ประกอบ ดังนี้
การวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยขัน้ ตอนหลัก 4 ขัน้ ตอน
1. การสร้างเมตริกซ์สหสัมพันธ์ (Covariance Matrix or Correlation Matrix) ของตัวแปรทุกคู่
โดยใช้คา่ สัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์ (Pearson Correlation Coefficient) ในการจัดกลุม่ ตัวแปรด้วยหลักเกณฑ์ 1) ถ้า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรคู่ใดมีค่าใกล้เคียง +1 หรือ -1 แสดงว่า ตัวแปรคูน่ นั้ มีความสัมพันธ์กนั มาก จึงควรอยูใ่ นองค์ประกอบ (Factor) เดียวกัน 2) ถ้าค่า สัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์ของตัวแปรคูใ่ ดมีคา่ ใกล้ 0 แสดงว่า ตัวแปรคูน่ นั้ ไม่มคี วามสัมพันธ์กนั หรือมีความสัมพันธ์กนั น้อยมากจึงควรอยู่คนละองค์ประกอบ (Factor) และ 3) ถ้าตัวแปรที่ไม่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่นหรือมี ความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่นที่เหลืออยู่น้อยมาก ควรอยู่ คนละองค์ประกอบ (Factor) หรือควรตัดตัวแปร เหล่านั้นออกจากการวิเคราะห์ต่อไป 2. การสกัดองค์ประกอบ (Factor Extraction) มีวตั ถุประสงค์เพือ่ หาจ�ำนวนองค์ประกอบทีส่ ามารถใช้แทน ตัวแปรทัง้ หมดทุกตัวได้ วิธกี ารสกัดมีหลายวิธโี ดยแต่ละ วิธใี ห้ผลลัพธ์แตกต่างกัน ได้แก่ 1) วิธอี งค์ประกอบหลัก (Principal Component Analysis: PCA) เป็นเทคนิค ทีอ่ าศัยหลักความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างตัวแปรทีใ่ ช้เป็น ข้อมูลองค์ประกอบหลัก ด้วยการสร้างการรวมกันของ ตัวแปรเชิงเส้น (Linear Combination) โดย องค์ประกอบ ที่ 1 จะเป็น Linear Combination แรก และอธิบาย ความผันแปรได้มากที่สุดหรือมีความแปรปรวนสูงสุด องค์ประกอบที่ 2 จะเป็น Linear Combination ของ ตัวแปร และอธิบายความผันแปรได้อันดับที่สอง โดย องค์ประกอบที่ 2 จะต้องตั้งฉาก (orthogonal) กับ องค์ประกอบที่ 1 หรือกล่าวว่า องค์ประกอบทัง้ สองไม่มี ความสัมพันธ์กนั และ 2) วิธอี งค์ประกอบร่วม (Common Factor Analysis: CFA) เป็นการสกัดปัจจัยโดยใช้ ปัจจัยร่วมเป็นวิธที ใี่ ช้การประมาณค่าความร่วมกันเป็นฐาน โดยการวิเคราะห์หาสัมประสิทธิค์ วามสัมพันธ์พหุกำ� ลังสอง (Squared Multiple Correlation Coefficient) ของ ตัวแปรนัน้ กับตัวแปรทุกตัวมาใช้ประมาณค่าความร่วมกัน และท�ำการสกัดปัจจัย จากนัน้ ประมาณค่าความร่วมกัน ครัง้ ที่ 2 ไปแทนค่าความร่วมกันครัง้ ที่ 1 ท�ำการวิเคราะห์ เช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งค่าความร่วมกันที่วิเคราะห์ได้ ในครั้งหลังสุดกับค่าความร่วมกันที่วิเคราะห์ได้ก่อนครั้ง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
หลังสุด มีคา่ แตกต่างกันน้อยมากหรือเกือบไม่แตกต่างกัน ในทางปฏิ บั ติ ผลลั พ ธ์ ที่ ไ ด้ จ ากการวิ เ คราะห์ องค์ประกอบจะช่วยในการตัดสินใจเกีย่ วกับจ�ำนวนของ Factor 1 2 3 4 5
Eigenvalue 2.5439 1.2654 1.0025 .5463 .2391
องค์ประกอบ โดยพิจารณาจากค่า “Eigenvalue > 1” ดังตัวอย่างผลลัพธ์จากการสกัดองค์ประกอบ
% of variance 52.8 19.3 10.2 9.8 7.9
จากตัวอย่างข้างต้นองค์ประกอบที่มีค่า Eigenvalue > 1 มี 3 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบที่ 1, 2 และ 3 โดยเปอร์เซ็นต์ของความแปรปรวนสะสมของ ทั้ง 3 องค์ประกอบเท่ากับ 82.3% หมายความว่า ทัง้ 3 องค์ประกอบนีส้ ามารถอธิบายความแปรปรวนร่วม ของกลุ่มตัวอย่างได้ 82.3% 3. การหมุนแกนองค์ประกอบ (Factor Rotation) เนือ่ งจากก่อนการหมุนแกนตัวแปรแต่ละตัวมีคา่ Factor loading สูงท�ำให้สามารถเป็นสมาชิกขององค์ประกอบ ได้มากกว่า 1 องค์ประกอบ การหมุนแกนจึงเป็นขัน้ ตอน ทีจ่ ะด�ำเนินการแยกตัวแปรให้เห็นเด่นชัดว่าตัวแปรหนึง่ ๆ ควรจะจัดอยู่ในกลุ่มหรือในองค์ประกอบใด เนื่องจาก ในการสกัดองค์ประกอบหรือปัจจัยจะได้องค์ประกอบ หลายองค์ประกอบ ซึง่ แต่ละองค์ประกอบจะเกิดการรวม ของตัวแปรแบบเชิงเส้นตรง แต่ปญ ั หาทีเ่ กิดขึน้ คือ ตัวแปร หนึ่งๆ อาจจะเป็นสมาชิกในหลายองค์ประกอบซึ่งยาก ต่อการให้ความหมายขององค์ประกอบและการก�ำหนด ชื่อองค์ประกอบหรือปัจจัยหรืออาจได้ความหมายของ แต่ละปัจจัยไม่ชัดเจน การหมุนแกนจะเป็นวิธีการที่จะ ท�ำให้สมาชิกของแต่ละตัวแปรในองค์ประกอบหรือ ปัจจัยหนึง่ ๆ ชัดเจนขึน้ วิธกี ารหมุนแกนปัจจัยสามารถ แบ่งออกได้เป็น 2 วิธีใหญ่ๆ คือ 1) การหมุนแกนแบบ มุมฉาก (Orthogonal) เป็นวิธกี ารหมุนแกนแบบทีใ่ ห้แกน ของปัจจัยหมุนจากต�ำแหน่งเดิมในลักษณะตั้งฉากกัน
295
Cumulative % of variance 52.8 72.1 82.3 92.1 100.0
ตลอดเวลาที่มีการหมุนแกน เรียกว่า เป็นการหมุนแกน แบบที่ปัจจัยแต่ละปัจจัยไม่มีความสัมพันธ์กันเลย และ 2) การหมุนแกนแบบมุมแหลม (Oblique Rotation) เป็น วิธกี ารหมุนแกนแบบสามารถทีจ่ ะระบุระดับความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยโดยการก�ำหนดจ�ำนวนองศาของมุมแหลม ตัง้ แต่ 0 ถึง 90 องศา (ถ้าก�ำหนดเป็น 0 องศา แสดงว่า ให้ปัจจัยมีความสัมพันธ์กันสูงสุด และถ้าก�ำหนดเป็น 90 องศา แสดงว่าให้ปจั จัยไม่มคี วามสัมพันธ์กนั เลยและ จะกลายเป็นการหมุนแกนแบบมุมฉาก) 4. การแปลผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ ในขัน้ ตอน สุดท้ายเป็นการให้ความหมายแต่ละองค์ประกอบด้วย การก�ำหนดชือ่ โดยพิจารณาว่า ในปัจจัยนัน้ ๆ ประกอบด้วย ตัวแปรอะไรบ้างทีเ่ ป็นสมาชิกอยูก่ ล่าวคือ อาจตัง้ ชือ่ ตาม ความคล้ายคลึงกันของทุกตัวแปรที่อยู่ในองค์ประกอบ หรือตามโครงสร้างของทฤษฎีที่ได้ศึกษามาหรืออาจตั้ง ชื่อใหม่สอดคล้องกับแนวคิดของตนเอง
ตัวอย่างการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานวิจยั
ผูว้ จิ ยั ต้องการค้นหาองค์ประกอบความต้องการของ ผู้ประกอบการที่พึงประสงค์ของวิทยาศาสตรบัณฑิต จ�ำนวน 12 ตัวแปร (ผู้วิจัยขอใช้ตัวแปรจ�ำนวนนี้เพื่อ ใช้เป็นตัวอย่างและง่ายในการอธิบาย) โดยสอบถาม ผูป้ ระกอบการในพืน้ ทีก่ รุงเทพมหานคร จ�ำนวน 120 คน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
296
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
A1 ความขยันอดทนในการปฏิบัติงาน A2 ความเสียสละต่อหน้าที่การงาน A3 การใช้เหตุผลในการปฏิบัติงาน A4 ความเป็นผู้น�ำในการปฏิบัติงาน A5 ความซื่อสัตย์ A6 จรรยาบรรณในวิชาชีพ A7 กิริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย A8 ความอ่อนน้อมต่อผูบ้ งั คับบัญชา/เพือ่ นร่วมงาน A9 ความตรงต่อเวลา A10 การปฏิบัติตามระเบียบองค์การ A11 ความรู้ความสามารถในการน�ำความรู้ที่เรียน มาใช้ A12 การเรียนรู้สิ่งใหม่ แบบที่ 1 การค้นหาจ�ำนวนองค์ประกอบหรือปัจจัย ที่ไม่จ�ำกัดจ�ำนวนผลลัพธ์ สรุปได้ดังนี้ 1) จากข้อมูลจ�ำนวน 120 ตัวอย่าง แสดงค่าเฉลี่ย และค่าเบีย่ งเบนมาตรฐานของตัวแปรทัง้ หมด 12 ตัวแปร เช่น A5 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.5583 และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ .6711 หมายความว่า ความซือ่ สัตย์ของ วิทยาศาสตรบัณฑิตเป็นตัวแปรทีผ่ ปู้ ระกอบการพึงประสงค์ มากกว่าตัวแปรอืน่ ๆ โดยมีคา่ เฉลีย่ เท่ากับ 4.5583 และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .6711 Descriptive Statistics A1 A2 A3 A4 A5 A6 A7 A8 A9 A10 A11 A12
Mean 4.3250 4.1583 4.3417 4.2667 4.5583 4.5167 4.1583 4.2251 4.5000 4.3917 4.0667 4.1250
Std. Deviation Analysis N .6103 120 .6351 120 .7159 120 .7530 120 .6711 120 .6480 120 .7559 120 .7499 120 .6610 120 .6896 120 .7964 120 .7622 120
2) แสดงค่า KMO และการทดสอบ Bartlett
จากตารางพบว่า ค่า KMO (Kaiser–Meyer– Olkin) เป็นค่าวัดความเหมาะสม (adequacy) ของ ข้อมูลในการวิเคราะห์องค์ประกอบมีค่าเท่ากับ 0.839 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.5 และเข้าใกล้ 1 (Kerlinger, 1986) สรุปได้ว่า ข้อมูลชุดนี้มีความเหมาะสมในการใช้เทคนิค การวิเคราะห์องค์ประกอบหรือปัจจัย ส�ำหรับการทดสอบ Bartlett (Bartlett’s Test of Sphericity) ได้ตั้งสมมติฐาน ดังนี้ H0 : ตัวแปร 12 ตัวแปร (A1, A2,…A12) ไม่มี ความสัมพันธ์กัน H1 : ตัวแปร 12 ตัวแปร (A1, A2,…A12) มีความ สัมพันธ์กัน จากตารางได้คา่ สถิตทิ ดสอบ (Chi-Square) เท่ากับ 557.693 และค่า p-value เท่ากับ .000 แสดงว่า ตัวแปร 12 ตัวแปรมีความสัมพันธ์กนั จึงมีความเหมาะสม ในการใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบหรือปัจจัยต่อไป 3) ตารางแสดงค่า Communalities ค่า Communalities เป็นค่าสัดส่วนของค่าความ แปรปรวนที่สามารถอธิบายได้โดย common factor (Factor ทั้งหมด: F1, F2,…F12) หรือคือค่า สหสัมพันธ์ พหุ คู ณ (Multiple Correlation) ของตั ว แปรกั บ องค์ประกอบหรือ factor
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
297
จากตารางค่า Initial Communalities ของวิธี Principal Component จะก�ำหนดค่าของตัวแปรทุกตัว เท่ากับ 1 ส่วนค่า Extraction Communalities ของ ตัวแปรหลังจากได้สกัดปัจจัยแล้วพบว่า ตัวแปร A1 มีคา่ communalities สูงที่สุดเท่ากับ .775 และตัวแปร A7 มีค่า communalities ต�่ำที่สุดเท่ากับ .421 แสดงว่า ตัวแปรสามารถจัดอยูใ่ นองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึง่ ได้อย่างชัดเจน โดยองค์ประกอบร่วมนี้สามารถอธิบาย ความแปรปรวนของตัวแปรได้ร้อยละ 42.1-77.5
4) ตาราง Total Variances Explained
จากตารางอธิบายได้ว่า 4.1) Component หมายถึง องค์ประกอบหรือ ปัจจัยซึ่งโดยทั่วไปจะสกัดให้มีจ�ำนวนปัจจัย = จ�ำนวน ตัวแปร ในตัวอย่างนี้มี 12 ตัวแปร จึงมี 12 ปัจจัย หรือ 12 Component นั่นเอง 4.2) Initial eigenvalues - Total ในทีน่ พี้ จิ ารณาเฉพาะองค์ประกอบ
ที่มีค่า eigenvalues มากกว่า 1 ซึ่งพบว่า มีเพียง 3 องค์ประกอบคือ Component ที่ 1, 2 และ 3 - % of Variance หมายถึง เปอร์เซ็นต์ ที่แต่ละองค์ประกอบสามารถอธิบายความผันแปรได้ เดิมมีตัวแปรทั้งหมด 12 ตัวแปร ตัวแปรแต่ละตัวมีค่า Communality เริม่ ต้นเป็น 1 ทุกตัว จึงมีความผันแปร ทั้งหมดเท่ากับ 12 จึงค�ำนวณได้จากเปอร์เซ็นต์สัดส่วน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
298
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ของค่า eigenvalues กับความผันแปรทัง้ หมด (12) เช่น % of Variance ขององค์ประกอบที่ 1 5.008 x 100 = 12 = 41.732% หมายความว่า องค์ประกอบ ที่ 1 สามารถอธิบายความผันแปรทั้งหมดได้ 41.732% % of Variance ขององค์ประกอบที่ 2 1.440 x 100 = 12 = 12.000% หมายความว่า องค์ประกอบ ที่ 2 สามารถอธิบายความผันแปรทั้งหมดได้ 12.000% % of Variance ขององค์ประกอบที่ 3 1.027 x 100 = 12 = 8.556% หมายความว่า องค์ประกอบ ที่ 3 สามารถอธิบายความผันแปรทั้งหมดได้ 8.556% - Cumulative % หมายถึง ผลรวมสะสม ของ % of Variance เช่น % Cumulative ของ 2 องค์ประกอบ = 41.732 + 12.003 = 53.735 และ % Cumulative ของ 3 องค์ประกอบ = 41.732 + 12.005 + 8.556 = 62.291 4.3) Extraction Sums of Squared Loadings เมื่อสกัดองค์ประกอบ โดยวิธี Principal Component แล้วจะแสดงเฉพาะองค์ประกอบที่มีค่า eigenvalues มากกว่า 1 4.4) Rotation Sums of Squared Loadings แสดงค่า Eigenvalue, % of Variance และ Cumulative % ขององค์ประกอบต่างๆ เมือ่ ท�ำการหมุนแกนปัจจัย ไปในลักษณะที่ปัจจัยต่างๆ ยังคงตั้งฉากกัน หรือเป็น อิสระกัน ในตัวอย่างนี้เลือกวิธี Varimax ที่นิยมที่สุด เป็นวิธีหมุนแกนปัจจัยโดยเป็นวิธีที่ท�ำให้ผลรวมความ แปรปรวนของน�ำ้ หนักองค์ประกอบระหว่างองค์ประกอบ มีค่าสูงสุด ท�ำให้แต่ละองค์ประกอบแยกจากกันอย่าง ชัดเจน โดยพยายามให้ตวั แปรมีคา่ น�ำ้ หนักองค์ประกอบ สูงที่สุดหรือต�่ำที่สุดในแต่ละองค์ประกอบ ซึ่งพบว่า ค่า Eigenvalue, % of Variance ขององค์ประกอบที่ 1 เมือ่ หมุนแกนน้อยกว่าเมือ่ ยังไม่ได้หมุนแกน หรือขณะที่ องค์ประกอบที่ 2 มีค่ามากกว่าองค์ประกอบที่ 1 แต่ Cumulative ของทั้ง 2 องค์ประกอบยังคงเท่าเดิม
5) Component Matrix
จากตาราง Component Matrix แสดงค่า สัมประสิทธิ์ หรือที่เรียกกันว่า Factor loading เป็น ค่าทีแ่ สดงความสัมพันธ์ของตัวแปรกับองค์ประกอบหรือ Factor ทั้ง 3 Factor โดยที่ยังไม่มีการหมุนแกนปัจจัย ซึ่งในตัวอย่างนี้ใช้เทคนิค Principal Component Analysis ซึง่ ท�ำให้ Factor ตัง้ ฉากกัน หรือเป็นอิสระกัน ซึ่งท�ำให้ค่า Factor loading เป็นค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของตัวแปรกับองค์ประกอบ เช่น ค่า Factor loading ของตัวแปร A2 กับ องค์ประกอบที่ 1, 2 และ 3 เท่ากับ .669, .386 และ .388 ตามล�ำดับ ค่า Factor loading ของตัวแปร A5 กับ องค์ประกอบที่ 1, 2 และ 3 เท่ากับ .648, .419 และ .283 ตามล�ำดับ ค่า Factor loading ของตัวแปร A8 กับ องค์ประกอบที่ 1 เท่ากับ .721 (องค์ประกอบ 2 และ 3 มีค่าต�่ำกว่า 0.2 จึงไม่ปรากฏค่าในตาราง)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
การพิจารณาว่าตัวแปรใดควรอยูใ่ นองค์ประกอบหรือ Factor ใด ให้พจิ ารณาจากค่า Factor loading ถ้าค่า Factor loading ของตัวแปรใน Factor ใดมีค่ามาก (เข้าสู่ +1 หรือ -1) และของ Factor อืน่ ๆ มีคา่ Factor loading ต�ำ่ (เข้าสูศ่ นู ย์) จะจัดตัวแปรให้อยูใ่ น Factor ทีม่ คี า่ Factor loading สูง แต่ถ้าค่า Factor loading ใน Factor ต่างๆ แตกต่างกันไม่ชดั เจน ท�ำให้ไม่สามารถจัดตัวแปรได้ ควรท�ำการหมุนแกนปัจจัย โดยในที่นี้เลือกหมุนแบบ ยังคงให้ Factor ทั้ง 2 ตั้งฉากกัน หรือเป็นอิสระกันได้ โดยค่า Factor loading ควรมีคา่ ไม่ตำ�่ กว่า 0.3 (Burns & Grove, 1993; Stevens, 1996) ซึ่งแสดงผลลัพธ์ ในตาราง Rotation Component Matrix 6) ตาราง Rotation Component Matrix
299
จากตาราง Rotation Component Matrix แสดงค่า Factor loading เมือ่ มีการหมุนแกนปัจจัยโดยวิธี Varimax ซึง่ พบว่า ค่า Factor loading เปลีย่ นแปลงไป เมื่อเทียบกับค่า Factor loading เมื่อยังไม่มีการหมุน แกนแล้วท�ำให้ค่า Factor loading ของบาง Factor มี ค่ามากเมื่อเทียบกับของ Factor อื่นๆ สรุป องค์ประกอบความต้องการของผูป้ ระกอบการ ทีพ่ งึ ประสงค์ของวิทยาศาสตรบัณฑิต มี 3 องค์ประกอบ หรือ 3 ปัจจัย โดยแต่ละองค์ประกอบ ประกอบด้วยตัวแปร ต่างๆ ไม่เท่ากัน ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ประกอบด้วย 5 ตั ว แปร ได้ แ ก่ A11, A4, A12, A7 และ A8 องค์ประกอบที่ 2 ประกอบด้วย 4 ตัวแปร ได้แก่ A6, A5, A9 และ A10 องค์ประกอบที่ 3 ประกอบด้วย 3 ตัวแปร ได้แก่ A1, A2 และ A3 โดยองค์ประกอบทัง้ 3 อธิบายความแปรปรวนของตัวแปรทัง้ หมดได้ 23.139%, 20.932% และ 18.220% ตามล�ำดับ 7) ตาราง Component Transformation Matrix แสดงค่า Rotation matrix ที่ใช้ในการหมุนแกนปัจจัย เพื่อเปลี่ยนค่า loading factor ในตารางข้อ 5 เป็นค่า Factor loading ใหม่ในตารางข้อ 7 โดยการหมุนแกน ใช้วิธี Varimax
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล มี 3 องค์ประกอบหรือ 3 ปัจจัย แต่ละองค์ประกอบ ประกอบด้วยตัวแปรต่างๆ ดังแสดงในภาพที่ 1
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
300
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ภาพที่ 1 องค์ประกอบความต้องการของผู้ประกอบการที่พึงประสงค์ของวิทยาศาสตรบัณฑิตจ�ำนวน 12 ตัวแปร แบบที่ 2 การค้นหาจ�ำนวนองค์ประกอบหรือปัจจัย ที่ก�ำหนดขนาดขององค์ประกอบ (2 องค์ประกอบ) ผลลัพธ์ที่แตกต่าง สรุปได้ดังนี้ 1) ตารางแสดงค่า Communalities
จากตารางค่า Initial Communalities ของวิธี Principal Component จะก�ำหนดค่าของตัวแปรทุกตัว เท่ากับ 1 ส่วนค่า Extraction Communalities ของ ตัวแปรหลังจากได้สกัดปัจจัยแล้วพบว่า ตัวแปร A10 มีค่า communalities ต�่ำที่สุดเท่ากับ .376 แสดงว่า ตัวแปรทัง้ 12 ตัวน่าจะสามารถจัดอยูใ่ นองค์ประกอบใด องค์ประกอบหนึ่งได้อย่างชัดเจน 2) ตาราง Total Variances Explained อธิบาย ได้ว่า 2.1) Initial eigenvalues - Total ในทีน่ พี้ จิ ารณาเฉพาะองค์ประกอบ ทีม่ คี า่ eigenvalues มากกว่า 1 ซึง่ พบว่า มี 2 องค์ประกอบ คือ Component ที่ 1 และ 2 ตามจ�ำนวนที่กำ� หนด
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
- % of Variance หมายถึง เปอร์เซ็นต์ ที่แต่ละองค์ประกอบสามารถอธิบายความผันแปรได้ ค�ำนวณได้จากเปอร์เซ็นต์สัดส่วนของค่า eigenvalues กับความผันแปรทัง้ หมด (12) เช่น % of Variance ของ องค์ประกอบที่ 1 = 5.00812x 100 = 41.732% หมายความ ว่า องค์ประกอบที่ 1 สามารถอธิบายความผันแปรทัง้ หมด ได้ 41.732% % of Variance ขององค์ประกอบที่ 2 = 1.44012x 100 = 12.000% หมายความว่า องค์ประกอบ ที่ 2 สามารถอธิบายความผันแปรทั้งหมดได้ 12.000% - Cumulative % หมายถึง ผลรวมสะสม ของ % of Variance เช่น % Cumulative ของ 2 องค์ประกอบ = 41.732 + 12.003 = 53.735 3) ค่า Component Matrix
301
จากตาราง Component Matrix แสดงค่า สัมประสิทธิ์ หรือที่เรียกกันว่า Factor loading เป็น ค่าทีแ่ สดงความสัมพันธ์ของตัวแปรกับองค์ประกอบหรือ Factor ทั้ง 2 Factor โดยที่ยังไม่มีการหมุนแกนปัจจัย ซึ่งในตัวอย่างนี้ใช้เทคนิค Principal Component Analysis ซึง่ ท�ำให้ Factor ตัง้ ฉากกัน หรือเป็นอิสระกัน ซึ่งท�ำให้ค่า Factor loading เป็นค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของตัวแปรกับองค์ประกอบ เช่น ค่า Factor loading ของตัวแปร A9 กับ องค์ประกอบที่ 1 และ 2 เท่ากับ .715 และ .291 ค่า Factor loading ของตัวแปร A2 กับ องค์ประกอบที่ 1 และ 2 เท่ากับ .669 และ .386 ค่า Factor loading ของตัวแปร A8 กับ องค์ประกอบที่ 1 เท่ากับ .721 (องค์ประกอบที่ 2 มีค่า ต�่ำกว่า 0.2 จึงไม่ปรากฏค่าในตาราง) การพิจารณาว่าตัวแปรใดควรอยูใ่ นองค์ประกอบหรือ Factor ใด ให้พจิ ารณาจากค่า Factor loading ถ้าค่า Factor loading ของตัวแปรใน Factor ใดมีค่ามาก (เข้าสู่ +1 หรือ -1) และของ Factor อืน่ ๆ มีคา่ Factor loading ต�ำ่ (เข้าสูศ่ นู ย์) จะจัดตัวแปรให้อยูใ่ น Factor ทีม่ คี า่ Factor loading สูง แต่ถ้าค่า Factor loading ใน Factor ต่างๆ แตกต่างกันไม่ชดั เจน ท�ำให้ไม่สามารถจัดตัวแปรได้ ควรท�ำการหมุนแกนปัจจัย โดยในที่นี้เลือกหมุนแบบ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
302
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ยังคงให้ Factor ทั้ง 2 ตั้งฉากกัน หรือเป็นอิสระกันได้ ซึ่งแสดงผลลัพธ์ในตาราง Rotation Component Matrix 4) ตาราง Rotation Component Matrix
สรุป องค์ประกอบความต้องการของผูป้ ระกอบการ ทีพ่ งึ ประสงค์ของวิทยาศาสตรบัณฑิต มี 2 องค์ประกอบ หรือ 2 ปัจจัย โดยแต่ละองค์ประกอบ ประกอบด้วย ตัวแปรต่างๆ ไม่เท่ากัน โดยพิจารณาจากค่า Factor loading มากกว่า 0.5 ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ประกอบ ด้วย 6 ตัวแปร ได้แก่ A5, A1, A2, A9, A3 และ A6 องค์ประกอบที่ 2 ประกอบด้วย 6 ตัวแปร ได้แก่ A11, A12, A4, A7, A8 และ A10 โดยองค์ประกอบที่ 1 และ 2 อธิบายความแปรปรวนของตัวแปรทั้งหมดได้ 27.729% และ 26.006% ตามล�ำดับ 5) ตาราง Component Transformation Matrix
จากตาราง Rotation Component Matrix แสดงค่า Factor loading เมือ่ มีการหมุนแกนปัจจัยโดย วิธี Varimax ซึง่ พบว่า ค่า Factor loading เปลีย่ นแปลง ไปเมือ่ เทียบกับค่า Factor loading เมือ่ ยังไม่มกี ารหมุน แกนแล้วท�ำให้ค่า Factor loading ของบาง Factor มี ค่ามากเมื่อเทียบกับของ Factor อื่นๆ
จากตารางแสดงค่า Rotation matrix ทีใ่ ช้ในการ หมุนแกนปัจจัยเพือ่ เปลีย่ นค่า loading factor ในตาราง ข้อ 4 เป็นค่า Factor loading ใหม่ในตารางข้อ 5 โดย การหมุนแกนใช้วิธี Varimax ผลการวิเคราะห์ข้อมูล มี 2 องค์ประกอบหรือ 2 ปัจจัย โดยแต่ละองค์ประกอบ ประกอบด้วยตัวแปร ต่างๆ ดังแสดงในแผนภาพที่ 2
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
303
ภาพที่ 2 องค์ประกอบความต้องการของผู้ประกอบการที่พึงประสงค์ของวิทยาศาสตรบัณฑิต จากจ�ำนวน 12 ตัวแปร และต้องการเพียง 2 องค์ประกอบ
บทสรุป
การวิเคราะห์องค์ประกอบหรือการวิเคราะห์ปัจจัย เป็ น วิ ธี ก ารทางสถิ ติ ที่ ใ ช้ วิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล เชิ ง ปริ ม าณ เพื่อลดจ�ำนวนตัวแปรให้เหลือน้อยลง โดยรวมตัวแปร ทีม่ คี า่ ความร่วมกัน (communalities) สูงให้อยูใ่ นกลุม่ หรือองค์ประกอบเดียวกัน ท�ำให้ตัวแปรที่รวมอยู่ใน
ปัจจัยเดียวกันจะมีความสัมพันธ์กันสูง แต่จะมีความ สัมพันธ์ในระดับต�่ำกับตัวแปรที่อยู่ต่างปัจจัยกัน โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ช่ ว ยอธิ บ ายความหมายของแต่ ล ะ องค์ประกอบด้วยตัวแปรทีเ่ กีย่ วข้อง และสามารถน�ำไปใช้ ประโยชน์ในงานด้านต่างๆ ได้ อาทิ งานด้านการวางแผน งานด้านการบริหารจัดการ
References
Burns, N. & Grove, S. K. (1993). The practice of nursing research: conduct, critique, & utilization (4th ed.). Philadephia: W.B. Saunders company. Byrne, B. M. (2001). Structural equation modeling with AMOS: basic concepts, applications, and programming. NJ: Lawrence Erlbaum Associates. Joreskog, K. G. & Sorbom, D. (1989). LISREL 8: A Guide to the Program SPSS. Chicago: SPSS. Kerlinger, F. N. (1986). Foundations of Behavioral Research (3rd ed.). USA: Hort, Rinehart and Winson. Pinyo, T. (2013). Component Analysis of the Needs of Entrepreneurs towards the Bachelor of Science. Faculty of Science and Technology, Suan Sunandha Rajabhat University. [in Thai] Rangsungnoen, G. (2011). Factor analysis by SPSS and AMOS for Research. Bangkok: Se-Education. [in Thai] Singchongchai, P. (2006). Principles and Using of Multivariate Statistical Analysis for Nursing Research. Songkla: Chanmuang Press. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
304
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Stevens, J. (1992). Applied multivariate statistics for the social sciences (2nd ed.). Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates. Stevens, J. (1996). Applied multivariate statistics for the social sciences (3rd ed.). Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates. Tabachnick, B. G. & Fidell, L. S. (2001). Using multivariate statistics. Boston: Allyn and Bacon. Vanichbuncha, K. (2017). Advanced Statistical Analysis by SPSS for Windows. Bangkok: Chulalongkorn University Book Center. [in Thai] Wangsin, N. (2010). The Causal Relationship of Variables Affecting Teaching- learning Behaviors of Teachers at Yasothon Educational Area District Office 1: Route Analysis. Thesis, Master of Education, Graduate School, Ubon Ratchathani Rajabhat University. [in Thai] Watpon.com. (n.d). Factor Analysis. Retrieved August 20, 2017, from www.watpon.in.th/spss23/ spss11.pdf
Name and Surname: Terada Pinyo Highest Education: M.Ed. (Educational Research), Chulalongkorn University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Fields of Expertise: Applied Statistics, Research Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
305
แอปพลิเคชั่นมือถือเพื่อใช้จัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับพื้นฐาน MOBILE APPLICATIONS FOR TEACHING ELEMENTARY CHINESE ยุพดี หวลอารมณ์ Yupadee Huanarom ส�ำนักการศึกษาทั่วไป สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ The Office of General Education, Panyapiwat Institute of Management
บทคัดย่อ
บทความนีน้ ำ� เสนอแอปพลิเคชัน่ มือถือบนระบบปฏิบตั กิ ารแอนดรอยด์เพือ่ ใช้เป็นสือ่ การสอนภาษาจีนระดับ พืน้ ฐานในผูเ้ รียนระดับอุดมศึกษา โดยมีสาระส�ำคัญคือ 1) ใช้ทกั ษะทางภาษาเป็นเครือ่ งมือก�ำหนดประเภทแอปพลิเคชัน่ 2) ผลิตสือ่ การสอนภาษาจีนโดยใช้แอปพลิเคชัน่ บัตรค�ำศัพท์ออนไลน์ 3) เปรียบเทียบในการใช้สทั อักษรจีนในการเรียน การสอน ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาและกระตุ้นการเรียนรู้ภาษาจีนทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ลดข้อจ�ำกัดในด้านสถานที่และเวลาในการเรียนรู้ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่ต้องการความทันสมัยและ การเรียนรู้ด้วยตนเอง ค�ำส�ำคัญ: เรียนภาษาจีน แอปพลิเคชั่น สื่อการสอน
Abstract
This article presents the mobile application that uses an android system as a teaching materials in Basic Chinese module for the learners in higher education. The objectives in this article are: 1) to use Chinese language skills identify the type of application as a tool 2) to produce Chinese teaching materials by using the developed application that bases on flash cards 3) to compare the Pinyin usage through learning and teaching contexts. The analytical results aim to propose the guidelines for learning and teaching in Chinese language development and stimulate Chinese language learning both inside and outside classroom. Moreover, those results will decrease the limitations in terms of places and time of learning. Significantly, the article will present the Chinese language application to meet the learner’s requirement that focuses on modernization and being a self-directed learning. Keywords: Chinese learning, Mobile Applications, Teaching Media Corresponding Author E-mail: yupadeehua@pim.ac.th
306
บทน�ำ
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ปัจจุบนั รูปแบบการเข้าถึงสือ่ สารสนเทศของประชาชน เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง จากเดิมรับรู้ข่าวสาร ข้อมูล ผ่านหนังสือ เอกสารรูปแบบกระดาษ ได้เปลีย่ นเป็นการ รับรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ อย่างชัดเจนคือ การใช้สมาร์ทโฟนของประชาชนในชีวติ ประจ�ำวันก็มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก อุปกรณ์ดังกล่าวมีขนาดเล็ก สะดวกต่อการพกพา และ ง่ายต่อการสืบค้นข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกทัง้ สมาร์ทโฟนยังสามารถ ติดตั้งซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการ ที่ใช้งานได้ทันทีภายหลังดาวน์โหลดเสร็จสิ้น น�ำมาซึ่ง ความสะดวกสบายในการใช้งาน ดังนัน้ รูปแบบการติดต่อ สื่อสาร การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึง ได้รบั ความนิยมอย่างแพร่หลาย ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) เผยผลส�ำรวจพฤติกรรม ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 2559 (it24hrs, 2016) พบว่า ผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตทัง้ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดใช้อนิ เทอร์เน็ต เพื่อจุดประสงค์ในการพูดคุยผ่าน Social Network (ร้อยละ 86.8) รองลงมาเป็นการดูวดิ โี อผ่าน YouTube (ร้อยละ 66.6) การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 55.7) การค้นหาข้อมูล (ร้อยละ 54.7) และการท�ำธุรกรรม ทางการเงิน (ร้อยละ 45.9) ตามล�ำดับ (it24hrs, 2016) การศึกษาไทยก็ได้นำ� ประโยชน์ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน เช่น เทคโนโลยี การสอนทางไกล การอบรมหลักสูตรออนไลน์ การเรียน ผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (electronic learning) ซึง่ เป็นรูปแบบหนึง่ ในการเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง ลดการพึง่ พา จากผู้สอน แต่เพิ่มทักษะการเรียนรู้และค้นคว้าด้วย ตนเองในผูเ้ รียนมากขึน้ โดยทัว่ ไปรูปแบบการเรียนภาษา ต่างประเทศมีองค์ประกอบที่ส�ำคัญรวม 4 ทักษะคือ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และทักษะ การเขียน จากประสบการณ์ผเู้ ขียนในฐานะผูส้ อนภาษาจีน เป็นภาษาต่างประเทศเห็นว่า ผูเ้ รียนระดับต้นควรได้รบั การฝึกฝนจากผู้สอนที่มีประสบการณ์ เนื่องจากผู้เรียน
จ�ำเป็นต้องมีความรูค้ วามเข้าใจพืน้ ฐานเกีย่ วกับการออกเสียง ระบบสัทอักษรภาษาจีน (พินอิน)1 โครงสร้างอักษรจีน และหลักภาษา ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมและต่อยอด การเรียนต่อในระดับทีส่ งู ขึน้ ขณะเดียวกันผูเ้ รียนทีม่ พี นื้ ฐาน ก็ควรจะต้องมีเครื่องมือหรือตัวช่วยในการทบทวนหรือ เรียนรูเ้ พิม่ เติม ซึง่ ปัจจุบนั รูปแบบการเรียนหรือการเรียนรู้ ได้เปลี่ยนแปลงไปตามความนิยมและเทคโนโลยีที่ได้รับ การพัฒนา กล่าวคือ ผูเ้ รียนสามารถเรียนรูน้ อกชัน้ เรียน ผ่านสือ่ การเรียนทีห่ ลากหลายได้ดว้ ยตนเอง โดยไม่จำ� กัด เวลาและสถานที่
สื่อการสอนภาษาจีนในยุคศตวรรษที่ 21
ในกระบวนการการเรี ย นการสอนภาษาจี น มี องค์ประกอบที่ส�ำคัญคือ สื่อการสอน ซึ่งแบ่งได้สอง ประเภทหลัก ได้แก่ ผู้สอนชาวไทยหรือผู้สอนชาวจีน ที่ช�ำนาญด้านการสอนและสื่อการสอน ซึ่งอาจเป็นสื่อ ประเภทหนังสือเรียน สื่อโสตวีดิทัศน์ ซึ่งสื่อการสอน มีบทบาทส�ำคัญในล�ำดับการสอนและการรับรูข้ องผูเ้ รียน (Chutarong, 2017) ภายหลังเมื่อภาษาจีนได้รับความ นิยมอย่างแพร่หลายในนานาประเทศทัว่ โลก เทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลงน�ำมาซึ่งความทันสมัยในการเรียนรู้ด้วย ตนเอง และในศตวรรษที่ 21 สมาร์ทโฟนจึงเป็นอุปกรณ์ ส�ำคัญในการเรียนภาษาจีน บทความนี้ผู้เขียนจะยกตัวอย่างแอปพลิเคชั่นเรียน ภาษาจีนบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) เนือ่ งจากแอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบตั กิ ารส�ำหรับอุปกรณ์ สื่อสารเคลื่อนที่ พัฒนาโดยบริษัท Google เป็นระบบ ปฏิบตั กิ ารทีเ่ ปิดเผยซอฟต์แวร์ตน้ ฉบับ (open source) ดังนั้นนักพัฒนาทั่วโลกจึงสามารถใช้งานเพื่อสร้างสรรค์ แอปพลิเคชั่นต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย ซึ่งผู้ใช้งาน โทรศัพท์มือถือในไทยมีความนิยมใช้ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์เพิม่ มากขึน้ (Saraubon, 2013) จากการส�ำรวจ 1
สัทอักษรจีน หรือพินอิน คือ การถอดเสียงอ่านในระบบภาษาจีน โดยใช้ตัวอักษรโรมันก�ำกับการออกเสียง (Jingwen, 2008)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
Google Play ตลาดแอปพลิเคชัน่ ณ วันที่ 30 มกราคม 2561 โดยใช้ค�ำส�ำคัญ “Chinese Learning” ในการ ค้นหาและก�ำหนดให้แสดงเฉพาะทีผ่ ใู้ ช้ให้คะแนนทีร่ ะดับ
307
4 ดาวขึ้นไป แบบไม่มีค่าบริการพบว่า 10 อันดับแรก ที่ตรงกับเงื่อนไข สามารถสรุปได้ดังตารางด้านล่างนี้
ตารางที่ 1 แสดง 10 อันดับแอปพลิเคชั่นยอดนิยมในการเรียนภาษาจีน ล�ำดับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
ชื่อแอปพลิเคชั่น Hello Chinese Chinese Skill Speak Chinese Learn Chinese Offline Read Chinese, Learn Chinese Pleco Chinese Dictionary Chinese Communication เรียนภาษาจีนในชีวิตประจ�ำวัน เรียนภาษาจีน 6000 ค�ำ เรียนภาษาจีน-วลีสำ� นวน
คะแนน 4.9 4.8 4.8 4.5 4.5 4.5 4.5 4.5 4.4 4.4
ประเภท รวมทักษะ รวมทักษะ รวมทักษะ การพูด การอ่าน พจนานุกรม การพูด การพูด ค�ำศัพท์ การพูด
ที่มา: Google Play (2018) จากตารางที่ 1 ผู้เขียนได้วิเคราะห์การท�ำงานของ แอปพลิเคชั่นทั้งหมด และจ�ำแนกตามล�ำดับการสอน ภาษาจีนในผู้เรียนระดับพื้นฐานได้ดังต่อไปนี้ 1. แอปพลิเคชัน่ เรียนพินอิน รูปแบบแอปพลิเคชัน่ ชนิดนี้ เนื้อหาจะเป็นแบบมัลติมีเดียที่ผู้เรียนหรือผู้ใช้สามารถ เรียนรูไ้ ด้จากรูปภาพ เสียง และตัวอักษร โดยระบบเสียง จะเริ่มต้นจากสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ และการผสม พินอินทีส่ มบูรณ์ ตัวอย่างแอปพลิเคชัน่ “Hello Chinese” 2. แอปพลิเคชั่นสอนค�ำศัพท์ภาษาจีน พบว่า การ ออกแบบค�ำศัพท์ในแอปพลิเคชั่นแบ่งประเภทได้ดังนี้ 2.1 ค�ำศัพท์ตามจุดประสงค์การใช้งาน เช่น ค�ำทักทาย การแนะน�ำตัว การบอกเวลา เป็นต้น ตัวอย่างแอปพลิเคชัน่ “Chinese Skill” 2.2 ค�ำศัพท์ตามระดับผู้เรียน ซึ่งใช้เกณฑ์การสอบ
วัดระดับความรูภ้ าษาจีน (HSK)2 ก�ำหนดจ�ำนวนค�ำศัพท์ ตัวอย่างแอปพลิเคชัน่ “Hello Chinese” “เรียนภาษาจีน 6000 ค�ำ” 2.3 ค�ำศัพท์ในสถานการณ์เฉพาะ ได้แก่ ค�ำศัพท์ ในชีวติ ประจ�ำวัน ค�ำศัพท์ธรุ กิจ ค�ำศัพท์เฉพาะทาง ตัวอย่าง แอปพลิชั่น “Chinese Communication” 3. แอปพลิเคชัน่ สอนรูปประโยคภาษาจีน ใช้รปู ประโยค แบ่งตามสถานการณ์ โดยมากเป็นประโยคทีป่ ระกอบขึน้ จากค�ำศัพท์ 6-8 ค�ำ ง่ายต่อการจ�ำและมักเป็นประโยค ส�ำเร็จรูปในสถานการณ์ตา่ งๆ เช่น การทักทาย การซือ้ สินค้า 2
HSK ย่อมาจาก Hanyu Shuiping Kaoshi เป็นการสอบวัด ระดับความสามารถภาษาจีนส�ำหรับผู้ที่ไม่ใช้ภาษาจีนเป็น ภาษาแม่ ข้อสอบข้อเขียนแบ่งเป็นระดับ 1-6
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
308
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
การรับประทานอาหาร เป็นต้น ตัวอย่างแอปพลิเคชั่น “เรียนภาษาจีนในชีวิตประจ�ำวัน” 4. แอปพลิเคชัน่ ประเภทพจนานุกรม เป็นการน�ำเสนอ วิธกี ารใช้คำ� ศัพท์ ตัวอย่างส�ำนวนและประโยคในการเปิดใช้ แอปพลิเคชัน่ เพือ่ การเรียนการสอนดังทีไ่ ด้กล่าวมาข้างต้น พบว่า ผู้เรียนจะต้องเข้าใจการออกเสียงภาษาจีนและมี พืน้ ฐานการอ่านสัทอักษรภาษาจีน เนือ่ งจากค�ำศัพท์ตา่ งๆ จะน�ำเสนอในรูปแบบสัทอักษรภาษาจีน เรียงเป็นประโยค จากค�ำศัพท์ และบางประโยคจะต้องมีความรู้พื้นฐาน เกีย่ วกับไวยากรณ์จนี ดังนัน้ เพือ่ ประสิทธิภาพในการเรียน ของผู ้ เ รี ย น ผู ้ ส อนควรจะได้ ท ดลองใช้ เ พื่ อ ทดสอบ ประสิทธิภาพก่อนน�ำไปใช้จริง ตัวอย่างแอปพลิเคชั่น “Pleco Chinese Dictionary”
ลักษณะแอปพลิเคชั่นกับการเรียนภาษาจีน
แบ่งประเภทของแอปพลิเคชัน่ ตามทักษะทางภาษา3 ได้ดังนี้ 1. ทักษะการฟังการพูด ในการเรียนภาษาจีนทักษะ การฟังการพูดถือเป็นทักษะหนึ่งที่ส�ำคัญ เนื่องจากเป็น ทักษะที่จะต้องใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล ลักษณะ แอปพลิเคชั่นที่พบ ได้แก่ เรียนภาษาจีนผ่านค�ำศัพท์ ในสถานการณ์ตวั อย่าง เรียนรูค้ ำ� ศัพท์หมวด โดยผูเ้ รียน สามารถฝึกฟังและออกเสียงตาม 2. ทักษะการอ่าน เมื่อผู้เรียนมีพื้นฐานในการออกเสียง การเรียนรูใ้ นล�ำดับต่อไปควรจะได้รบั การพัฒนาในทักษะ การอ่าน ซึ่งเป็นทักษะส�ำคัญที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ด้วย ตนเอง ลักษณะแอปพลิเคชัน่ ทีพ่ บ ได้แก่ เรียนภาษาจีน ผ่านบทความ ส�ำนวน ซึง่ ผูเ้ รียนจะสามารถพัฒนาตนเอง ได้ดขี นึ้ หากมีพนื้ ฐานการอ่านสัทอักษรจีน และมีพนื้ ฐาน อักษรจีนในระดับเบื้องต้น
3
ทักษะทางภาษา ประกอบด้วยทักษะสัมพันธ์ ได้แก่ ทักษะ การฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน (Wu, 2009)
3. ทักษะการเขียน ผู้เรียนจะต้องใช้เวลาในการจดจ�ำ ตัวอักษรผ่านล�ำดับขีด หมวดน�ำของอักษร แอปพลิเคชัน่ ทีพ่ บ ได้แก่ เรียนอักษรจีนผ่านการลากเส้นประ โดยผูเ้ รียน จะต้องลากเส้นตามที่โปรแกรมก�ำหนด โดยโปรแกรม ยึดหลักล�ำดับขีดตามกฎการเขียนอักษรจีน 4. ทักษะการแปล การเรียนภาษาจีนชัน้ ต้น ผูเ้ รียนจ�ำเป็น ต้องมีเครื่องมือในการตรวจสอบความหมาย การใช้งาน ของค�ำศัพท์ ซึ่งแอปพลิเคชั่นที่สามารถตอบโจทย์คือ แอปพลิเคชั่นพจนานุกรม ซึ่งปัจจุบันมีทั้งพจนานุกรม ไทย-จีน จีน-ไทย จีน-อังกฤษ อังกฤษ-จีน 5. การสอบวัดระดับ การเรียนเพื่อการสอบวัดระดับ ความรู้ แอปพลิเคชั่นที่พบจะถูกแบ่งตามระดับความรู้ ของผูเ้ รียน กล่าวคือ ผูเ้ รียนชัน้ ต้น ผูเ้ รียนชัน้ กลาง และ ผูเ้ รียนชัน้ สูง ผูส้ อนสามารถแนะน�ำแอปพลิเคชัน่ เหล่านี้ ให้ผเู้ รียนได้โดยใช้มาตรฐานของส�ำนักการส่งเสริมการเรียน การสอนภาษาจีนนานาชาติ (ฮั่นปั้น) ซึ่งแบ่งได้ทั้งหมด 6 ระดับคือ HSK1 ถึง HSK6
การผลิตสื่อการสอนภาษาจีนพื้นฐานในกลุ่ม ผู้เรียนระดับอุดมศึกษา โดยแอปพลิเคชั่น Quizlet
การเรียนภาษาจีนในระดับการศึกษาต่างๆ ของไทย มีเป้าหมายทีแ่ ตกต่างกัน ผูเ้ รียนในระดับอุดมศึกษาเรียน เพื่อน�ำใช้ประกอบอาชีพ ซึ่งต้องการทักษะการพูดและ การฟังเป็นส�ำคัญ สือ่ การสอนจึงต้องพัฒนาให้สอดคล้อง กับผูเ้ รียนแต่ละหลักสูตร Wasinanon (2016) กล่าวว่า สถาบันอุดมศึกษายังคงนิยมใช้ตำ� ราและแบบเรียน ด้าน สือ่ การสอนภาษาจีน ผูส้ อนนิยมใช้สอื่ จาก powerpoint และสื่อออนไลน์ Quizlet คือ เว็บไซต์สำ� หรับเรียนบัตรค�ำ http:// Quizlet.com เป็นโปรแกรมที่สามารถใช้ผ่านเว็บไซต์ จากคอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชั่นบนมือถือ ใช้เรียนรู้ ค�ำศัพท์ผ่านบัตรค�ำ (Flashcard) (Quizlet, 2018)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
309
รู ป แบบบั ต รค� ำ ภาษาจี น จากโปรแกรมบน เว็บไซต์ Quizlet
ภาพที่ 1 การออกแบบชุดค�ำศัพท์ หมวดการทักทายจาก Quizlet ที่มา: Quizlet (2018)
ภาพที่ 2 ประยุกต์ใช้บัตรค�ำสร้างเป็นค�ำศัพท์หมวด ที่มา: Quizlet (2018)
ภาพที่ 3 แบบฝึกหัดจับคู่ค�ำศัพท์และความหมาย แบบมีตัวเลือก ที่มา: Quizlet (2018)
1. สามารถสร้างชุดค�ำศัพท์ โดยก�ำหนดเนือ้ หาเป็น หมวดหมู่ ในแต่ละชุดไม่จ�ำกัดจ�ำนวนค�ำศัพท์ 2. สามารถพิมพ์อักษรจีน สัทอักษร และเพิ่มค�ำ อธิบายภาษาไทย แทรกรูปภาพ และก�ำหนดเสียงอ่าน โดยไม่จำ� เป็นต้องมีพนื้ ฐานการเขียนซอฟต์แวร์ หรือติดตัง้ ซอฟต์แวร์เพิ่มเติม 3. สามารถประยุกต์สงั่ พิมพ์เป็นตารางค�ำศัพท์ หรือ ค�ำศัพท์หมวดได้ 4. ใช้เพื่อฝึกออกเสียง ระบบจะอ่านออกเสียงและ ผู้ใช้สามารถฟังเสียงอ่านซ�้ำได้ 5. ทุ ก ชุ ด ของบั ต รค� ำ มี แ บบทดสอบที่ อ อกแบบ อั ต โนมั ติ โ ดยระบบของเว็ บ ไซต์ เช่ น จั บ คู ่ ค� ำ ศั พ ท์ ทายถูกผิด การสะกดค�ำ จากองค์ประกอบของบัตรค�ำทีผ่ เู้ ขียนได้สรุปไว้ขา้ งต้น บัตรค�ำแบบอิเล็กทรอนิกส์มคี วามแตกต่างทีว่ สั ดุในการผลิต แต่จดุ ประสงค์การใช้งานเพือ่ กระตุน้ และพัฒนาการเรียนรู้ ของผูเ้ รียนเป็นส�ำคัญ ซึง่ ใน Quizlet จะเพิม่ ความท้าทาย ด้านการเรียนรูด้ ว้ ยตนเองให้ผเู้ รียนเพิม่ ขึน้ ผ่านแบบทดสอบ หรือแบบฝึกหัดทีส่ ามารถให้ขอ้ มูลย้อนกลับ และแจ้งผูเ้ รียน เรื่องความถูกต้องภายหลังการเรียนได้ทันที และผู้เรียน ยังสามารถแบ่งปันผลการเรียนไปยังสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Line เป็นต้น โดย Quizlet แตกต่าง จากแอปพลิเคชั่นที่ผู้เขียนได้น�ำเสนอไว้ในตารางที่ 1 ทีผ่ สู้ อนสามารถออกแบบชุดค�ำศัพท์ให้เชือ่ มโยงกับเนือ้ หา บทเรียนได้มากกว่าแอปพลิเคชัน่ ส�ำเร็จรูปทีโ่ ดยมากจะมี เนือ้ หาทีจ่ ำ� กัด Manomaivibool (2010) แนะน�ำการเรียน ภาษาจีนพืน้ ฐานมุง่ เพือ่ ออกเสียงและสนทนาในช่วงแรก ผูส้ อนควรมุง่ สอนด้วยอักษรถอดเสียง ผูเ้ รียนจะได้ไม่พะวง กับตัวหนังสือจีน จากการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องและ ประสบการณ์การสอนของผูเ้ ขียนพบว่า ผูเ้ รียนชาวไทย ยังมีปญ ั หาในการออกเสียงพยัญชนะและสระในภาษาจีน ดังจะเห็นได้จากการศึกษาของ Wunnasinthop (2011: 97-98) เรือ่ ง ศึกษาปัจจัยทีม่ ผี ลต่อการออกเสียง พยัญชนะ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
310
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
สระ และวรรณยุกต์ในภาษาจีนกลาง ของนักศึกษาวิชาเอก ภาษาจีนและนักศึกษาคณะแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัย หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พบว่า นักศึกษาวิชาเอกภาษาจีน และนักศึกษาคณะแพทย์แผนจีนไม่สามารถอ่านพยัญชนะ ที่ไม่สามารถเทียบเสียงในภาษาไทยได้ และไม่สามารถ อ่านสระประสมทีอ่ อกเสียงลักษณะควบกล�ำ้ ได้ ซึง่ มีสาเหตุ มาจากไม่เข้าใจกฎเกณฑ์การออกเสียงในระบบสัทอักษรจีน และยังมีการศึกษาของ Suphasa & Qi (2017) เรื่อง การศึกษาปัญหาการออกเสียงภาษาจีนของนักศึกษา สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ พบว่า ผูเ้ รียนภาษาจีนระดับต้น กลาง และสูง มีปัญหาในการออกเสียงเสียง x, zh, ch, sh, r, z, c, s ซึง่ เสียงพยัญชนะ ch และ sh เป็นเสียงทีผ่ เู้ รียน ทัง้ สามระดับต่างมีสถิตกิ ารออกเสียงผิดอยูใ่ นระดับสูงสุด ของจ�ำนวนพยัญชนะทีผ่ เู้ รียนออกเสียงผิดทัง้ หมด ดังนัน้ การสอนการออกเสียงในภาษาจีนโดยใช้ระบบพินอิน ถือว่าเป็นสิ่งส�ำคัญในการเรียนส�ำหรับผู้เรียนภาษาจีน ชัน้ ต้น สอดคล้องกับงานของนักวิชาการจ�ำนวนมากต่าง ให้ความสนใจวิจยั ค้นคว้าเพือ่ เข้าใจปัญหาการออกเสียง และเสียงที่ผู้เรียนมักออกเสียงผิด เพื่อเป็นข้อมูลในการ พัฒนาการสอนการออกเสียงภาษาจีนให้มปี ระสิทธิภาพ และการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
สือ่ การสอนพินอินบนบัตรค�ำในประเทศไทยจะเพิม่ เสียง อ่านภาษาจีนด้วยการใช้สทั อักษรไทย โดยมีจดุ ประสงค์ ให้ผู้เรียนสามารถเทียบเสียงได้ ทั้งนี้สื่อการสอนถูก ออกแบบให้ผู้เรียนสามารถจดจ�ำค�ำศัพท์ และสามารถ ออกเสียงในระบบภาษาจีนได้อย่างถูกต้อง
การสอนสัทอักษร (พินอิน) ผ่านบัตรค�ำรูปแบบ วัสดุสิ่งพิมพ์
ภาพที่ 5 การสอนพินอินผ่านบัตรค�ำ โดยใช้ระบบสัทอักษรพินอิน ที่มา: Learning East Chinese Education Center (2018)
ปัจจุบนั สือ่ การสอนภาษาจีนได้รบั การพัฒนาให้ดขี นึ้ อย่างต่อเนือ่ งทัง้ ในรูปแบบสือ่ สิง่ พิมพ์ สือ่ อิเล็กทรอนิกส์ โดยสื่อการสอนสัทอักษรแต่ละชนิดมีองค์ประกอบบน บัตรค�ำ ได้แก่ รูปภาพ ค�ำศัพท์ภาษาจีน เสียงอ่านพินอิน และค�ำอธิบาย ทัง้ นีใ้ นการจัดล�ำดับหรือสัดส่วนบนบัตรค�ำ จะแตกต่างกันตามระดับภาษาของผู้เรียน เช่น บัตรค�ำ ส�ำหรับผูเ้ รียนชัน้ ต้นจะแสดงอักษรพินอินด้วยขนาดใหญ่ ใช้สัดส่วนบนบัตรค�ำค่อนข้างมาก ล�ำดับต่อมาแสดง ความหมาย และใช้รปู ภาพทีส่ อื่ ถึงค�ำศัพท์เป็นตัวช่วยให้ ผู้เรียนจ�ำค�ำศัพท์ได้ดีย่ิงขึ้น ผู้เขียนได้สังเกตและพบว่า
ภาพที่ 4 การสอนพินอินผ่านบัตรค�ำโดยใช้ระบบ สัทอักษรไทยสะกดเสียงอ่านภาษาจีน ที่มา: Sairung Publisher (2018)
ซึง่ ในภาพที่ 4 บัตรค�ำทีแ่ สดงได้ใช้สทั อักษรไทยสะกด เสียงอ่านภาษาจีน ในขณะภาพที่ 5 ไม่มีสัทอักษรไทย สะกดเสียงอ่านภาษาจีน ความแตกต่างของทัง้ สองภาพ ผูเ้ ขียนในฐานะผูส้ อนภาษาจีนเห็นว่า การใช้สทั อักษรไทย เขียนเสียงอ่านภาษาจีนอาจใช้ได้ในการสอนและการฝึก ออกเสียงในระยะเริ่มต้น เนื่องจากผู้เรียนต้องใช้การ เทียบเสียงหรือน�ำเสียงภาษาจีนเปรียบเทียบกับภาษาแม่
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
เพื่อสร้างความเข้าใจให้ตนเองขณะฝึกออกเสียง แต่ใน ระยะยาวอาจมี ข ้ อ จ� ำ กั ด ในการสะกดบางเสี ย งอ่ า น เนื่องจากการออกเสียงในระบบภาษาไทยและภาษาจีน มีความแตกต่างกัน บางเสียงในภาษาจีนไม่สามารถใช้ สัทอักษรไทยสะกดได้ ซึ่งวิธีการสอนเช่นนี้อาจท�ำให้ ผูเ้ รียนไม่พยายามเรียนรูแ้ ละจดจ�ำการใช้พนิ อินทีถ่ กู ต้อง ซึง่ สอดคล้องกับงานวิจยั ในชัน้ เรียนของ Liang (2013) เรือ่ ง การใช้สัทอักษรไทยช่วยอ่านออกเสียงภาษาจีนเพื่อแก้ ปัญหาทักษะการอ่านภาษาจีนของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษา ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ วิทยาลัย พบว่า คะแนนเฉลีย่ การอ่านเรือ่ งเทศกาลตรุษจีน ของนักเรียนที่อ่านตามระบบพินอิน มีคะแนนสูงกว่า นักเรียนทีใ่ ช้สทั อักษรภาษาไทยช่วยก�ำกับเสียงการอ่าน อย่างมีนัยส�ำคัญ ดังนัน้ การสร้างมาตรฐานการเรียนพินอินโดยผูส้ อน จึงมีความส�ำคัญและมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยตรง เนื่องจากผู้เรียนภาษาจีนจะเริ่มต้นเรียนการ ออกเสียงโดยมีพินอินเป็นตัวถอดเสียง ผู้เรียนจึงต้องใช้ ความพยายามเพือ่ ให้เรียนรูร้ ะบบการออกเสียงให้สำ� เร็จ และเครือ่ งมือทีจ่ ะช่วยให้ผเู้ รียนสามารถเรียนรูไ้ ด้อย่างมี ประสิทธิภาพคือ สือ่ การสอนทีเ่ หมาะสมกับความต้องการ ของผู้เรียน เนื่องจากกระบวนการทบทวนของผู้เรียน โดยมากเป็นเวลาที่อยู่นอกชั้นเรียน และแอปพลิเคชั่น บนมือถือจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เนือ่ งจากเป็นอุปกรณ์ทผี่ เู้ รียนให้ความส�ำคัญและอยูใ่ กล้ชดิ ผู้เรียนมากที่สุด อีกทั้งมีโปรแกรมส�ำเร็จรูปจ�ำนวนมาก ที่สามารถใช้งานได้ทันทีภายหลังการติดตั้งบนมือถือ เมือ่ ผูเ้ รียนสามารถผสมค�ำและมีความรูค้ วามเข้าใจระบบ การออกเสียงและสัทอักษรระดับหนึง่ แล้ว ขัน้ ตอนการจัด การเรียนรูข้ นั้ ต่อไปคือ การฝึกอ่านค�ำศัพท์ทผี่ สมค�ำแบบ สมบูรณ์ (มีพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์) ในขัน้ ตอนนี้ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้กฎการเขียนพินอิน กฎการผันเสียง วรรณยุกต์ ซึง่ มีความซับซ้อนยิง่ ขึน้ แอปพลิเคชัน่ ทีจ่ ำ� เป็น ในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ค�ำศัพท์หมวดขัน้ พืน้ ฐาน ซึง่ อาจเกีย่ วข้องกับชีวติ ประจ�ำวัน ผูเ้ รียนจะซึมซับการเขียน
311
ที่ถูกต้องจากการอ่านพินอินที่เขียนแบบถูกต้อง การสื่อสารด้วยภาษาคือ การเรียบเรียงค�ำต่างๆ เป็นประโยค ซึง่ ผูเ้ รียนภาษาจีนชัน้ ต้นจะสามารถเรียบเรียง ประโยคได้ถกู ต้อง เมือ่ ผ่านการเรียนรูโ้ ครงสร้างประโยค อาศัยการจ�ำประโยคสั้นๆ หรือประโยคส�ำเร็จรูปและ พัฒนาเป็นประโยคที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น ตลอดจน ปรับเปลีย่ นตามสถานการณ์ ซึง่ กระบวนการเรียนรูท้ งั้ หมด ล้วนต้องใช้เวลาและการเรียนที่มีวินัย
ข้อดีของการใช้แอปพลิเคชั่นมือถือเพื่อการ เรียนภาษาจีนในและนอกชั้นเรียน
สือ่ การสอนภาษาจีนประเภทแอปพลิเคชัน่ บนมือถือ เป็นสือ่ มัลติมเี ดียทีส่ ามารถเปิดซ�ำ้ ได้หลายครัง้ อีกทัง้ ให้ เสียงทีช่ ดั เจนใกล้เคียงกับเสียงเจ้าของภาษา (ภาษาจีน) จึงสามารถเสริมสร้างพัฒนาการด้านการฟังให้กบั ผูเ้ รียน การออกแบบสื่ อ ที่ ส วยงามสามารถกระตุ ้ น การอ่ า น องค์ประกอบต่างๆ จะช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ สื่อดิจิทัลมีบทบาทส�ำคัญมากในกระบวนการการเรียน การสอน เนือ่ งจากเป็นตัวกลางทีช่ ว่ ยให้การสือ่ สารระหว่าง ผู้สอนและผู้เรียนด�ำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ ผูเ้ รียนเข้าใจเนือ้ หาบทเรียนได้ถกู ต้องและบรรลุผลส�ำเร็จ ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุง่ หมายทีก่ ำ� หนดไว้ได้ (Saitong, 2014)
ข้อจ�ำกัดของการใช้แอปพลิเคชั่นมือถือเพื่อ การเรียนภาษาจีน
สื่อการสอนเป็นตัวช่วยที่ดีส�ำหรับผู้สอน และเป็น เครือ่ งมือส�ำคัญในการทบทวน ฝึกฝนให้กบั ผูเ้ รียน แต่ดว้ ย ข้อจ�ำกัดของแอปพลิเคชั่นแบบไม่มีค่าบริการ เนื้อหาที่ สามารถเข้าถึงได้อาจถูกจ�ำกัด และบางครั้งพบโฆษณา ระหว่างใช้งานซึ่งอาจรบกวนสมาธิของผู้เรียน หรือบาง แอปพลิเคชั่นจ�ำเป็นต้องเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตามแอปพลิเคชัน่ ทัว่ ไปมีขอ้ มูลส่วนหนึง่ ทีผ่ พู้ ฒ ั นา เปิดให้ใช้งานและเพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน ภาษาจีนชั้นต้น สิ่งเหล่านี้จึงสามารถต่อยอดการเรียนรู้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
312
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ด้วยตนเองให้ผเู้ รียนได้ระดับหนึง่ ดังนัน้ ผูส้ อนในบทบาท ผูส้ นับสนุน (Facilitator) ควรประยุกต์การจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนจะ ต้องให้ค�ำแนะน�ำการใช้งาน สาธิต และติดตามผลอย่าง สม�่ำเสมอ ทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ ผู้สอนจะได้พิจารณาและออกแบบกิจกรรม โดยผู้สอน สามารถเลือกรูปแบบการสอนให้สอดคล้องกับความสนใจ ของผูเ้ รียนในชัน้ เรียน ประกอบไปด้วยผูเ้ รียนทีม่ รี ปู แบบ การเรียนที่หลากหลาย ดังนั้นแนวทางหนึ่งในการเลือก รูปแบบการสอนทีเ่ หมาะสมควรมาจากการส�ำรวจรูปแบบ การเรียนรู้ของผู้เรียนก่อนออกแบบกิจกรรม การน�ำสือ่ แอปพลิเคชัน่ บนมือถือใช้ในการจัดการเรียน การสอนสามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน โดยพิจารณาจากทฤษฎีการเรียนรู้ของโรเบิร์ต กาเย่ (Robert Mills Gagné) (Zhu, 2017) ในหลักการ น�ำเสนอเนือ้ หาและจัดกิจกรรมการเรียนรูแ้ บบปฏิสมั พันธ์ 9 ประการ ดังนี้ 1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention) ของผู้เรียน ภาษาจีนชัน้ ต้นด้วยภาพทีช่ ดั เจน สือ่ ถึงความหมายของ ค�ำศัพท์ และเสียงประกอบบทเรียนทีใ่ กล้เคียงกับเจ้าของ ภาษา สร้างความคุ้นเคยทางเสียง 2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective) เมือ่ ผูเ้ รียน ทราบถึงวิธีการเรียนภาษาจีนและขั้นตอนในการฝึกฝน และทบทวน ผูเ้ รียนก็จะสามารถวางแผนการเรียนล่วงหน้า และเลือกศึกษาเพิ่มเติมในส่วนที่สนใจหรือที่ขาดความ เข้าใจ ท�ำให้การเรียนและการสอนมีประสิทธิภาพมากขึน้ 3. ทบทวนความรูเ้ ดิม (Activate Prior Knowledge) ผูเ้ รียนได้ฝกึ ฝนและทบทวนค�ำศัพท์หรือรูปประโยคเดิม ความถีจ่ ะช่วยให้เกิดความมัน่ ใจในการใช้ภาษา โดยผ่าน การฝึกซ�ำ้ จากชุดแบบฝึกหัดที่หลากหลาย 4. น�ำเสนอเนือ้ หาใหม่ (Present New Information) ผูส้ อนมีสอ่ื การสอนทีห่ ลากหลายนอกจากต�ำราและเอกสาร ประกอบการสอน ทัง้ ภาพ และเสียง อย่างไรก็ตามผูส้ อน ควรพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเป็นส�ำคัญ เพื่อให้การ เลือกใช้สื่อเหมาะสมกับผู้เรียนมากที่สุด
5. ชีแ้ นะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) ผูส้ อน แนะน�ำแอปพลิเคชัน่ ทีเ่ หมาะสมกับระดับผูเ้ รียน กระตุน้ การเรียนรู้ของผู้เรียนและช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจ เนื้อหาที่เรียนได้ง่ายและเร็วขึ้น 6. กระตุน้ การตอบสนองของบทเรียน (Elicit Response) การเรียนรู้เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในชั้นเรียน และเรียนรูเ้ พิม่ นอกชัน้ เรียน เมือ่ ผูเ้ รียนได้ใช้แอปพลิเคชัน่ จะเกิดการรับรูม้ ากกว่าการนัง่ ฟังการบรรยาย หรือการเรียน การสอนแบบเดิม 7. ให้ขอ้ มูลย้อนกลับ (Provide Feedback) การเรียนรู้ ด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชั่นที่อยู่ภายใต้ค�ำแนะน�ำของ ผู้สอน ท�ำให้ผู้เรียนรับทราบความก้าวหน้าในการเรียน ของตนเอง และผูส้ อนยังสามารถติดตามการเรียนรูข้ อง แต่ละบุคคลได้ และยังเป็นข้อมูลทีเ่ ป็นประโยชน์กบั ผูเ้ รียน 8. ทดสอบความรูใ้ หม่ (Assess Performance) ทดสอบ ความรู้ความสามารถของผู้เรียน เพราะท�ำให้ทั้งผู้เรียน และผู้สอนได้ทราบถึงความรู้ความเข้าใจที่มีต่อบทเรียน นั้นๆ 9. สรุปและน�ำไปใช้ (Review and Transfer) เป็น ขัน้ ตอนส�ำคัญจากผูส้ อนทีจ่ ะช่วยส่งเสริมและสร้างความ มั่นใจในการใช้ภาษาให้กับผู้เรียน เพื่อเป็นแนวทางให้ ผู้เรียนได้น�ำไปปรับใช้กับบทเรียนถัดไป หรือถ่ายโอน การใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้
ผลการน� ำ สื่ อ การสอนชนิ ด แอปพลิ เ คชั่ น บนมือถือปรับใช้ในการสอนภาษาจีนในฐานะ ภาษาต่างประเทศ Wang (2017) ศึกษาเรื่อง การใช้แอปพลิเคชั่น บนมือถือเพื่อการเรียนค�ำศัพท์ภาษาจีนของนักศึกษา ต่างชาติ มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศซีอัน (Xi’an International Studies University) พบว่า นักศึกษา ต่างชาติกลุ่มเป้าหมายที่ใช้แอปพลิเคชั่นเพื่อการเรียน ภาษาจีนมีจุดประสงค์การใช้งานเพื่อแก้ปัญหาที่พบใน ชัน้ เรียน และผูเ้ รียนจ�ำนวน 47.62% ระบุแอปพลิเคชัน่ ประเภทบัตรค�ำมีสว่ นช่วยในการเรียนรูค้ ำ� ศัพท์ในระดับสูง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
Cui (2016) ศึกษาเรือ่ ง การประยุกต์ใช้แอปพลิเคชัน่ มือถือในการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ กรณีศกึ ษาโรงเรียนจีนในประเทศฟิลปิ ปินส์ พบว่า 72% ของผูเ้ รียนทัง้ หมดใช้แอปพลิเคชัน่ ในชัน้ เรียน โดย 96% ใช้เพือ่ แก้ปญั หาในการเรียน ซึง่ แอปพลิเคชัน่ 3 อันดับแรก ที่ผู้เรียนใช้มากที่สุด ได้แก่ Pleco 97% (ประเภท พจนานุกรม) Hanping 77% (ประเภทสอนเขียนอักษรจีน) HSK/YCT 36% (เตรียมสอบวัดระดับ) และการใช้งาน ล้วนมาจากการแนะน�ำของผู้สอน Dou (2016) ศึกษาเรือ่ ง การใช้แอปพลิเคชัน่ มือถือ เรียนภาษาจีนในรูปแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วมพบว่า การสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศสามารถใช้ แอปพลิเคชั่น หรือการสอนบนระบบเครือข่ายร่วมกับ การสอนภาษาจีนแบบดัง้ เดิม (มีครูเป็นผูบ้ รรยาย) เนือ่ งจาก ผูเ้ รียนจะมีสว่ นร่วมมากขึน้ ในกิจกรรมระหว่างผูเ้ รียนกับ ผู้เรียน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับ สื่อการสอน ซึ่งผู้เรียนสามารถเข้าถึงความรู้ได้มากขึ้น Sriyanalug (2016) ศึกษาเรือ่ ง การใช้สอื่ เทคโนโลยี สารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเองของนิสิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สรุปว่า รูปแบบการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการ เรียนรูภ้ าษาจีนด้วยตนเองทีเ่ หมาะสมส�ำหรับนิสติ ระดับ
313
อุดมศึกษา ควรเป็นการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสื่อเสริมจากการเรียนในห้องเรียน โดยผู้สอนเป็น ผู้แนะน�ำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับระดับ ความสามารถของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาทักษะทางด้านภาษาได้ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
บทสรุป
การเรียนรูข้ องผูเ้ รียนมีการเปลีย่ นแปลงตามยุคสมัย การเลือกใช้สื่อการสอนภาษาจีนในยุคศตวรรษที่ 21 ควรมีความหลากหลายในด้านของการน�ำเสนอเนื้อหา ทันสมัย ขณะเดียวกันต้องสอดคล้องกับระดับความรู้ ภาษาจีนของผูเ้ รียน เลือกใช้แอปพลิเคชัน่ ให้เหมาะสมกับ ทักษะทางภาษา สอดคล้องกับจุดประสงค์ในการเรียนรู้ โดยเฉพาะการเรียนภาษาจีนระดับพื้นฐาน สื่อการสอน จะต้องมีเนือ้ หาถูกต้อง เป็นมาตรฐานสากล เพือ่ ให้ผเู้ รียน สามารถเรียนรูภ้ าษาจีนในระดับทีส่ งู ขึน้ ได้และประยุกต์ใช้ ในการสือ่ สารเป็น ซึง่ สือ่ การสอนทีผ่ สู้ อนเลือกใช้จะช่วย สร้างสิง่ แวดล้อมในการเรียนรูด้ ว้ ยตนเองและเป็นเครือ่ งมือ ทีจ่ ะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนประสบความส�ำเร็จ มากขึ้น
References
Chutarong, W. (2017). Educational Textbooks for the Development of Chinese Language Skills of Higher Education Students. Journal of Graduate Research, 8(1), 3. [in Thai] Cui, X. (2016). Mobilephone Application in Chinese International Education. Master’s thesis, Yangzhou University. [in Chinese] Dou, X. (2016). Mobile Phone Application in Interactive Teaching of Chinese as a Foreign Language. Inner Mongolia Autonomous Region. Master’s thesis, Inner Mongolia Teaching University. [in Chinese] Google Play. (2018). Education. Retrieved January 30, 2018, from https://play.google.com/store/ apps/category/EDUCATION?hl=th it24hrs. (2016). Thailand Internet User Profile 2016. Retrieved March 8, 2018, from https://www. it24hrs.com/2016/etda-thailand-internet-user-profile-2016 [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
314
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Jingwen, R. (2008). Chinese Talk. Bangkok: Amarin Printing & Publishing. [in Thai] Learning East Chinese Education Center. (2018). “Animals and Colors” Flashcard. Retrieved March 22, 2018, from http://www.learningeast.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5398404 44&Ntype=5 [in Thai] Liang, F. (2013). The use of Thai phonetics to read Chinese pronunciation to solve Chinese reading skills of Mathayom Suksa 1 students, Academic Year 2556 Prince Royals College. Retrieved March 14, 2018, from https://academic.prc.ac.th/TeacherResearch/ResearchDetail.php?ID=1187 [in Thai] Manomaivibool, P. (2010). Chinese 1. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai] Quizlet. (2018). Greeting in Chinese. Retrieved April 10, 2018, from https://quizlet.com/284922598/ flash-cards [in Thai] Sairung Publisher. (2018). Vegetables and Fruits Flashcard. Retrieved March 22, 2018, from http:// www.booktime.co.th/new/upload/bkt_file/1407000006_8858720702221inside.jpg [in Thai] Saitong, P. (2014). Infographic Animation Design for Instruction. Art and Architecture Journal Naresuan University, 5(2), 119. [in Thai] Saraubon, K. (2013). App Android Evolution. Bangkok: Media Network. [in Thai] Sriyanalug, K. (2016). Using Information Technology for Chinese Language (Mandarin) Self-Learning in Students from Faculty of Humanities and Social Sciences at Burapha. Journal of Humanities and Social Sciences Burapha University, 24(46), 1. [in Thai] Suphasa, T. & Qi, X. (2017). Error analysis in Chinese Pronunciation of Business Chinese Students, International College, Chiang Mai Rajabhat University. Journal of Graduate Research, 8(1), 115-116. [in Thai] Wang, Y. (2017). Research of Mobile Phone Software for Chinese Vocabulary Learning. Master’s thesis, Xi’an International Studies University. [in Chinese] Wasinanon, N. (2016). The Study of Thailand’s Systematic Chinese Teaching Management if Higher Education. Chinese Studies Journal, 9(2), 279. [in Thai] Wu, Y. (2009). Evolution and Development of Chinese as a Second Language/Foreign Language Teaching Model. Journal of East China Normal University, (2), 89-93. [in Chinese] Wunnasinthop, S. (2011). Factors affecting the HCU Chinese major and traditional Chinese Medicine students’ productions of the Chinese consonant sounds, vowel, and tones. HCU Journal, 14(28), 97-98. [in Thai] Zhang, S. (2017). Application of Pinyin in Teaching Chinese as a Foreign Language. Master’s thesis, Hunan Normal University. [in Chinese] Zhu, Q. (2017). The Development on Listening and PINYIN Writing Abilities of Year 1. Dusit Commercial Vocational College Students with Gagne’s Model. Master’s thesis, Dhurakij Pundit University. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
315
Name and Surname: Yupadee Huanarom Highest Education: MTCSOL (Master of Teaching Chinese to Speaker of Other Languages), Tianjin Normal University, China University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Teaching Methodology Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
316
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
วลีภาษาจีนที่นิยมใช้บนอินเทอร์เน็ตในปี ค.ศ. 2017 กับการสะท้อนสังคม SOCIAL REFLECTION OF CHINESE PHRASES COMMONLY USED ON THE INTERNET IN 2017 กฤษฎี สงไข่ Kritsadee Songkhai สาขาภาษาและภาษาศาสตร์ประยุกต์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอู่ฮั่น College of Chinese Language and Literature, Wuhan University
บทคัดย่อ
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกโซเชียลหรือโลกออนไลน์มีอิทธิต่อสังคมในปัจจุบันค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นด้าน การซื้อขายสินค้า การสื่อสาร ความบันเทิง หรือข่าวสารข้อมูลต่างๆ โลกออนไลน์สามารถเชื่อมต่อทุกการสื่อสาร ให้เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย การสื่อสารที่รวดเร็วและง่ายดายนี้เป็นที่มาของค�ำศัพท์ใหม่ๆ อีกหลายค�ำ ในประเทศจีนก็มโี ลกออนไลน์เช่นกัน และโลกออนไลน์เหล่านีไ้ ด้มาพร้อมกับค�ำศัพท์ใหม่ๆ ทีเ่ พิม่ จ�ำนวนมากขึน้ ซึง่ ผูเ้ ขียน เล็งเห็นความน่าสนใจของค�ำเหล่านี้ พร้อมทั้งมีคำ� อีกหลายค�ำที่ยังไม่มีการบัญญัติในพจนานุกรมจีน-ไทย และยังไม่มี ผู้ศึกษาหรือเป็นที่รู้จักมากนักในไทย ผูเ้ ขียนจึงได้ตดั สินใจศึกษาวิจยั ในหัวข้อ “ภาษาจีนทีน่ ยิ มใช้บนอินเทอร์เน็ตในปี ค.ศ. 2017 กับการสะท้อน สังคม” เนื่องด้วยภาษาและวัฒนธรรมเป็นสิ่งคู่กัน ภาษาในแต่ละยุคสมัยจะสะท้อนถึงวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ ในยุคนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเนื้อหาจะมีการศึกษาประเภทภาษาจีนที่ใช้บนอินเทอร์เน็ต และวลีภาษาจีน 5 วลี อันเป็นที่นิยมในปี ค.ศ. 2017 พร้อมกับการแปลความหมาย บอกเล่าความเป็นมา ยกประโยคตัวอย่าง รวมถึง การวิเคราะห์วลีที่สะท้อนถึงสังคมจีนในปัจจุบัน ค�ำส�ำคัญ: ภาษาจีน อินเทอร์เน็ต สังคม 2017
Abstract
Social media and Internet usage have changed the modus operandi of trading, communication, information and entertainment. The Internet has no concept of distance, and online communication is instantaneous using many new words which are not found in a Thai-Chinese dictionary. These new additions to the vocabulary reflect the modern concepts of Chinese society.
Corresponding Author E-mail: 2220261713@qq.com
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
317
Chinese language used on the Internet in 2017 represents changing social patterns. This language content will be studied, and five popular phrases now in common use online will be interpreted and analyzed. Keywords: Chinese, Internet, Society, 2017
บทน�ำ
ทั่ วทุ กมุ ม โลกมีก ารพัฒ นาของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) อย่างก้าวกระโดด จนเกิดเป็น แอปพลิเคชัน่ ต่างๆ มากมาย หลายแอปพลิเคชัน่ ช่วยให้ การด�ำรงชีวิตสะดวก รวดเร็ว และง่ายดายมากขึ้น ในประเทศจีนเองก็มีแอปพลิเคชั่นเกิดขึ้นมาอย่าง หลากหลายเช่นกัน อาทิ 1. ด้านการซือ้ ขายสินค้าออนไลน์ (E-commerce) เช่น 1.1 Taobao (淘宝) 1.2 Alibaba (阿里巴巴) 1.3 Jingdong (京东) 2. ด้านการค้นคว้าหาข้อมูล (web browser) เช่น Baidu (百度) ทีม่ รี ปู แบบคล้ายคลึงกับ Google (กูเกิล) 3. ด้านการแบ่งปันแชร์ขอ้ มูลข่าวสาร หรือเรือ่ งราว ส่วนตัว สื่อสังคมออนไลน์ของจีน เช่น 3.1 Weibo (微博) มีลกั ษณะคล้ายกับ Twitter (ทวิตเตอร์) 3.2 Renrenwang (人人网) มีลักษณะคล้าย กับ Facebook (เฟซบุ๊ก) 4. แอปพลิเคชั่นด้านการท่องเที่ยว เช่น 4.1 Ctrip (携程旅行) 4.2 Qunar (去哪儿旅行) 4.3 Tuniu (途牛旅游) ซึ่งแอปพลิเคชั่นข้างต้นล้วนเป็นแอปพลิเคชั่นที่ ช่วยในการจองตั๋วเครื่องบิน รถไฟ โรงแรม หรือซื้อขาย ทริปท่องเที่ยว เป็นต้น 5. แอปพลิเคชั่นด้านความบันเทิง เช่น 5.1 Youku (优酷)
5.2 Aiqiyi (爱奇艺) Youku (优酷) และ Aiqiyi (爱奇艺) มีลกั ษณะ คล้ายกับ Youtube ยูทปู (Shandong China Business Information Center in Qingdao, 2016) รายชื่อแอปพลิเคชั่นข้างต้นเป็นเพียงแค่ตัวอย่าง บางส่วนเท่านั้น ยังมีอีกหลายแอปพลิเคชั่นที่ยังไม่ได้ กล่าวถึง เมือ่ มีตวั กลางทีช่ ว่ ยให้การติดต่อสือ่ สารเกิดขึน้ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ก็คงไม่แปลกที่จะมีคำ� วลี หรือประโยคใหม่ๆ เกิดขึน้ มาพร้อมกัน ดังนัน้ การศึกษา ค�ำศัพท์ที่เกิดขึ้นใหม่ และยังไม่มีบัญญัติในพจนานุกรม ไทย-จีน จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจศึกษาภาษาและ วัฒนธรรมจีนมากยิ่งขึ้น
เนื้อหา
1. ภาษาจีนที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ภาษาจี น ที่ ใ ช้ ใ นอิ น เทอร์ เ น็ ต นั บ วั น ยิ่ ง มี จ� ำ นวน เพิ่มมากขึ้น บางค�ำเกิดขึ้นมาใช้ได้ไม่นานก็หายไปตาม กาลเวลา แต่บางค�ำก็ยงั คงมีการใช้งานอยูจ่ นถึงปัจจุบนั เมื่อมีค�ำหรือวลีใหม่ๆ เกิดขึ้นจึงมีการจัดหมวดหมู่ของ ค�ำเหล่านี้ ส� ำ หรั บ การศึ ก ษานี้ ไ ด้ แ บ่ ง ประเภทภาษาจี น ในอินเทอร์เน็ต ตามแบบของ Chen (2008) ที่ได้แบ่ง ประเภทค�ำศัพท์ไว้ 4 ประเภทคือ แบบที่ใช้ตัวอักษรจีน แบบใช้ตัวย่อ แบบใช้ตัวเลข และแบบใช้สัญลักษณ์ พร้อมกับผู้เขียนจะยกตัวอย่างค�ำศัพท์ของปัจจุบันมา ประกอบการอธิบายเป็นหลัก ประเภทภาษาจีนในอินเทอร์เน็ต 1) แบบทีใ่ ช้ตวั อักษรจีน สามารถแบ่งได้ 4 แบบคือ 1.1 แบบน�ำค�ำศัพท์เดิมมาเพิ่มความหมายใหม่
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
318
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
หรือน�ำค�ำศัพท์เดิมมาประสมกันจนเป็นค�ำความหมายใหม่ เช่น (1) 恐龙 (kǒng lóng) ค�ำนีค้ วามหมายเดิม ไดโนเสาร์ ภายหลังใช้ในอินเทอร์เน็ตมีความหมายเพิม่ เติม หมายถึง ผู้หญิง หน้าตาไม่ดี (Zhao, 2017) (2) 高富帅 (gāo fù shuài) หมายถึง ผูช้ าย รูปร่างหน้าตาดี มีฐานะ เกิดจากการน�ำค�ำ 3 ค�ำทีม่ อี ยูเ่ ดิม คือ 高 富 帅 มาเรียงต่อกันจนเป็นความหมายใหม่ โดยค�ำนีม้ ที มี่ าจากภาพวาดการ์ตนู ผูช้ าย ญีป่ นุ่ ทีม่ หี น้าตาหล่อเหล่า ดูดี มีฐานะ และได้ปรากฏบน หน้าเว็บไซต์ของประเทศจีน จนชาวเน็ตให้นยิ ามรูปนีว้ า่ 高富帅 (gāo fù shuài) เป็นการแทนความหมายของ ผู้ชายรูปร่างหน้าตาดี มีฐานะ หรือผู้ชายในอุดมคติของ สาวๆ หลายๆ คน ทีน่ อกจากต้องสูงหล่อแล้ว ยังต้องมีเงิน อีกด้วย ค�ำนี้มีความหมายตรงกันข้ามกับค�ำว่า 矮矬穷 (ǎi cuó qióng) ที่หมายถึง เตี้ย ไม่มีฐานะ และหน้าตา ยังขี้เหร่อีก (Tu Si Li, 2017) (3) 喜大普奔 (xǐ dà pǔ bēn) หมายถึง ถ้ามีเรื่องที่น่ายินดีต้องประกาศหรือบอกให้คนอื่นได้รู้ เช่นกัน เช่น ฉันสอบเข้ามหาวิทยาลัยดังได้แล้ว เรื่องนี้ ต้องบอกให้ทบี่ า้ นยินดีดว้ ย หรือต้องลงเฟซบุก๊ ให้คนอืน่ ได้รู้ได้ยินดีด้วย ค�ำนีเ้ กิดจากการน�ำตัวอักษรตัวแรกของ 4 ส�ำนวนมารวมกัน ได้แก่ 喜闻乐见 (xǐ wén lè jiàn) 、 大快人心 (dà kuài rén xīn)、 普天同庆 (pǔ tiān tóng qìng)、 奔走相告 (bēn zǒu xiàng gào)
จนเกิด
เป็นค�ำความหมายใหม่ (Ming, 2013) การสร้างค�ำทีใ่ ช้ในอินเทอร์เน็ตรูปแบบนี้ จะน�ำค�ำศัพท์ที่มีอยู่เดิมมาเพิ่มความหมายใหม่ หรือน�ำ ค�ำศัพท์เดิมมาประสมกันจนเป็นความหมายใหม่ เพือ่ ให้ สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่ต้องการจะสื่อสารในปัจจุบัน นอกจากตั ว อย่ า งข้ า งต้ น แล้ ว ก็ ยั ง มี ภ าษาจี น ที่ ใ ช้ ใ น อินเทอร์เน็ตอีกจ�ำนวนมากที่ใช้วิธีการสร้างค�ำแบบนี้ แต่สงิ่ ทีน่ า่ สนใจไม่นอ้ ยไปกว่ารูปแบบของ ประโยคก็คือ ค�ำตัวอย่างในข้อ (1) และข้อ (2) ค�ำว่า
(ไดโนเสาร์) และ 高富帅 (ผู้ชายรูปร่างหน้าตาดี มีฐานะ) สามารถสะท้อนภาพสังคมในปัจจุบันที่ผู้คนให้ ความส�ำคัญกับวัตถุภายนอก ไม่ว่าจะเป็นเงินทองหรือ หน้าตา มากกว่าความดีงามของจิตใจ และคงปฏิเสธไม่ได้ ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมของทุกวันนี้ 1.2 แบบการน�ำตัวอักษรจีนมารวมกับภาษา อังกฤษ จนเกิดเป็นค�ำใหม่ เช่น 幸福 ing หมายถึง ก�ำลังมีความสุข เกิดจาก ประสมกันของค�ำ 2 ค�ำคือ ค�ำว่า 幸福 (xìng fú ความสุข) และ ing (Chen, 2008) รูปแบบการสร้างค�ำแบบนี้จะเห็นได้จาก ข้อถัดไปว่า ภาษาจีนที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตจ�ำนวนไม่น้อย ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาอังกฤษ ซึ่งเราจะพบเห็นได้ ในภาษาไทยที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตด้วยเช่นกัน เช่น ค�ำว่า สายเปย์ ซึ่งหมายความว่า จ่ายให้ไม่อั้น แต่จะมีข้อแตกต่างคือ ในภาษาไทยจะไม่ นิยมเขียนภาษาไทยหนึง่ ค�ำ และภาษาอังกฤษหนึง่ ค�ำ เช่น จะไม่เขียนว่า สาย pay แต่จะเขียนทับศัพท์วา่ สายเปย์ 1.3 แบบค�ำพ้องเสียง 1.3.1 สร้างค�ำโดยใช้ค�ำที่ออกเสียงคล้าย หรือค�ำทีพ่ อ้ งเสียงกับภาษาอังกฤษ มาสร้างค�ำขึน้ ใหม่ เช่น (1) 粉丝 (fěn sī) หมายถึง เส้นหมี่ แต่ความหมายทีใ่ ช้ในอินเทอร์เน็ตยังหมายถึง แฟนคลับ ซึง่ มาจากการพ้องเสียงกับค�ำว่า fans (แฟนคลับ) ในภาษา อังกฤษ (2) 黑客 (hēi kè) หมายถึง แฮกเกอร์ มาจากการพ้องเสียงกับค�ำว่า hacker (แฮกเกอร์) ในภาษา อังกฤษ เป็นต้น 1.3.2 สร้างค�ำโดยใช้ค�ำที่ออกเสียงคล้าย หรือพ้องเสียงกับภาษาจีนค�ำเดิม มาสร้างค�ำขึน้ ใหม่ เช่น (1) 果酱 (guǒ jiàng) หมายถึ ง แยมผลไม้ แต่ความหมายทีใ่ ช้ในอินเทอร์เน็ตยังหมายถึง ชมเกินไปแล้ว เป็นการพูดถ่อมตัว เมือ่ ได้รบั ค�ำชม มาจาก ค�ำว่า 过奖 (guò jiǎng) ที่แปลว่า ชมเกินไปแล้ว โดย ยึดหลักน�ำค�ำใหม่ที่ออกเสียงคล้ายค�ำเดิมมาเลียนเสียง 恐龙
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
แทนความหมาย (2) 稀饭 (xī fàn) หมายถึง ข้าวต้ม แต่ความหมายทีใ่ ช้ในอินเทอร์เน็ตยังหมายถึง ชอบ มาจาก ค�ำว่า 喜欢 (xǐ huān) ที่แปลว่า ชอบ โดยยึดหลักการ ออกเสียงคล้ายค�ำเดิมมาเลียนเสียงแทนความหมาย เป็นต้น (Zhao, 2017) แม้จะมีการน�ำค�ำอีกค�ำที่ออกเสียง คล้ายกับค�ำเดิมมาใช้แทนความหมาย แต่ความหมายของ ค�ำเดิมก็ยงั มีการใช้อยู่ ส่วนค�ำใหม่ทนี่ ำ� มาแทนความหมาย เดิมนั้น โดยส่วนใหญ่จะนิยมใช้เพียงแค่ช่วงเวลาหนึ่ง เท่านั้น รูปแบบการสร้างค�ำแบบนีจ้ ะมีให้เห็น ในภาษาไทยที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตด้วย เช่น (1) ร�ำคาญ จะใช้ค�ำว่า ล�ำไย แทน (2) ตอแหล (ไม่สุภาพ) ที่หมายถึง การโกหก จะใช้คำ� ว่า สตอ หรือสตอเบอรี่ เป็นต้น จากตัวอย่างข้างต้น ส�ำหรับภาษาไทย เราจะสังเกตได้ว่า ค�ำว่า ล�ำไย และสตอ มาแทนค�ำเดิม ทีห่ ยาบคาบ ไม่สภุ าพ หรือค�ำทีไ่ ม่ตอ้ งการพูดออกมาตรงๆ ผู้เขียนเห็นว่า สังคมไทยไม่นิยมพูดตรงๆ หรือบางครั้ง ล�ำบากใจทีจ่ ะพูดตรงๆ ซึง่ มีความคล้ายคลึงกับประเทศ ญีป่ นุ่ ทีม่ กั จะพูดอ้อมๆ และจะตรงข้ามกับลักษณะการพูด ของตะวันตกที่มักจะพูดตรงๆ ไม่อ้อมค้อม 1.4 สร้างค�ำโดยใช้คำ� อุทานหรือค�ำสร้อย เช่น (1) 哇噻 (wa sāi) แปลว่า โอโห้ (2) 哦 (ò) แปลว่า โอ๋ (3) 嘻嘻 (xī xī) แปลว่า อิอิ ฮิฮิ เป็นต้น รูปแบบนี้เป็นการสร้างค�ำ โดยใช้ค�ำสร้อย หรือค�ำอุทาน ในภาษาไทยเองก็มีรูปแบบนี้ด้วยเช่นกัน เช่น อิอิ หุหุ คริคริ งิงิ งุงิ ชิมิ กริ้กริ้ บุยบุย บรัยบรัย เป็นต้น 2) แบบทีใ่ ช้ตวั อักษรย่อ หมายถึง การใช้ตวั อักษร ของภาษาอังกฤษ หรือพินอินของภาษาจีนมาสร้างค�ำใหม่ แบ่งได้ 2 แบบคือ 2.1 ค�ำทีย่ อ่ มาจากอักษรของภาษาอังกฤษ เช่น
319
(1) GF หมายถึง แฟนสาว ย่อมาจากค�ำว่า girl friend ในภาษาอังกฤษ (2) PK ย่อมาจาก player kill (player kill ในภาษาอังกฤษแปลว่า ฆ่าผูเ้ ล่น นิยมใช้ในเกมออนไลน์) แต่ในภาษาจีน PK หมายถึง การแข่งขันหรือต่อสูร้ ะหว่าง สองฝ่าย เช่น ปาล์มมี่ร้องเพลงแข่งขัน กับปาน ธนพร ก็จะใช้ว่า ปาล์มมี่ PK ปาน ธนพร จะตรงกับค�ำว่า VS (ใครต่อสู้กับใคร) ที่ใช้ในภาษาไทย รูปแบบดังกล่าวเป็นการน�ำตัวย่อจากภาษา อังกฤษมาสือ่ ความหมาย ในภาษาไทยก็พบการใช้ภาษา ในลักษณะแบบนี้อยู่บ้าง แต่มีไม่มากนัก เช่น VS (ใคร ต่อสู้กับใคร) FC (แฟนคลับ) หรือค�ำศัพท์ทใี่ ช้สงั่ ซือ้ สินค้าในเฟซบุก๊ เช่น CF (confirm) ตกลง หรือตกลงซื้อชิ้นนี้ CC (cancel) ยกเลิก หรือยกเลิกการซื้อ ชิ้นนี้ เป็นต้น 2.2 ค�ำที่ย่อจากเสียงพินอินของภาษาจีน เช่น (1) ใช้ GG แทนความหมาย พี่ชาย ซึ่งมา จากค�ำว่า 哥哥 (gē gē) หมายถึง พี่ชาย (2) ใช้ JS แทนความหมาย พ่อค้าหน้าเลือด มาจากค�ำว่า 奸商 (jiān shāng) หมายถึง พ่อค้าหน้าเลือด (3) ใช้ PFPF แทนความหมาย เลื่อมใส ศรัทธา นับถือ มาจากค�ำว่า 佩服佩服 (pèi fú pèi fú) หมายถึง เลื่อมใส ศรัทธา (4) ใช้ ZT แทนความหมาย โพสต์ (โพสต์ ข้อความหรือรูปภาพในสื่อโซเชียลต่างๆ) มาจากค�ำว่า 转贴 (zhuǎn tiē) หมายถึง โพสต์ (Zhao, 2017) รูปแบบข้างต้นจึงเป็นการใช้เสียงพยัญชนะ พินอินตัวแรกมาประสมกันเพื่อแสดงความหมาย 3) แบบที่ใช้ตัวเลขแทนความหมาย 3.1 ใช้ตัวเลขล้วนแทนความหมาย เช่น (1) การใช้ตวั เลข 6666 แทนความหมายว่า สุดยอด ซึง่ เป็นได้ทงั้ ความหมายในเชิงบวกทีม่ คี วามหมาย ตรงคือ สุดยอดจริงๆ และเชิงลบที่มีความหมายเชิง ประชดประชัน เป็นค�ำทีม่ าจากเกม League of Legends
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
320
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
และนิยมใช้ในเกมออนไลน์ ทีม่ าของ 6666 เกิดขึน้ ในปี ค.ศ. 2015 ในขณะการแข่งขันเกม League of Legends ผู้ชม การแข่งขันได้พมิ พ์ขอ้ ความว่า 6666 เพือ่ ต้องการบอกว่า ผูเ้ ล่นเล่นได้สดุ ยอดมาก ซึง่ จริงๆ แล้วการออกเสียงของ เลข 6 ในภาษาจีน ออกเสียงคล้องกับค�ำว่า 溜溜溜溜 (สุดยอด) และนอกจากนี้เลข 6 ยังออกเสียงสระ เดียวกันกับค�ำว่า 牛 หนิว (niú) แปลว่า วัว ควาย ซึง่ ในภาษาจีนมีความหมายนัยหมายถึง สุดยอด ยอดเยีย่ ม อีกด้วย (Zhen, 2010) (2) การใช้เลข 88 แปลว่า ลาก่อน เลข 8 ในภาษาจีนออกเสียงว่า ปา (bā) ซึ่งจะออกเสียงคล้าย กับค�ำว่า Bye ในภาษาอังกฤษ และเมือ่ น�ำเลข 8 มาวาง คู่กัน จึงมีความหมายว่า Bye Bye รูปแบบดังกล่าวเป็นการใช้ตัวเลขแทน ความหมาย ตัวอย่างในข้างต้นเป็นเพียงแค่บางส่วน เท่านั้น ภาษาจีนที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่ตัวเลข 0-9 ทุกตัวล้วนมีความหมาย จนสามารถน�ำมาเรียงกันจน เป็นประโยคได้ ซึ่งการสร้างค�ำแบบนี้เราจะพบเห็นได้ น้อยมากในภาษาไทย จะมีอยู่บ้างก็เช่น 5555 ใช้แทน การหัวเราะ หรือ ฮ่าๆ และมีจุดน่าสนใจคือ เลข 5555 ในภาษาจีน กลับเป็นการร้องสะอึกสะอืน้ ไม่ใช่การหัวเราะ แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทย-จีน 3.2 ตัวเลขประสมกับตัวอักษร เช่น (1) 3 q หมายถึง ขอบคุณ มาจากค�ำว่า Thank you ในภาษาอังกฤษ เลข 3 ในภาษาจีนออกเสียง ว่า ซาน 三 (sān) คล้ายเสียง Thank ของภาษาอังกฤษ และเมือ่ น�ำมารวมกับตัวอักษร Q ทีอ่ อกเสียงว่า คิว ก็จะ กลายเป็น ซานคิว ออกเสียงคล้าย แท้งกิว้ Thank You ของภาษาอังกฤษนั่นเอง (Chris, 2017) รูปแบบนี้เป็นการรวมกันระหว่างตัวเลข และตัวอักษรเพื่อสื่อความหมาย ซึ่งจะไม่ค่อยพบเห็น รูปแบบนี้ในภาษาไทยที่ใช้บนอินเทอร์เน็ต
4) แบบที่ ใ ช้ สั ญ ลั ก ษณ์ การแสดงความหมาย ในภาษาจีนที่ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เป็นการน�ำสัญลักษณ์ ต่างๆ หรือรูปภาพ gif มาสือ่ ถึงอารมณ์ โกรธ เศร้า เสียใจ ดีใจ เป็นต้น เช่น ( ^_ ^) (╯ ^╰) ซึ่งในอินเทอร์เน็ต รูปหรือสัญลักษณ์นั้นมีมากมายหลายรูปแบบด้วยกัน รู ป แบบการสร้ า งค� ำ ของภาษาจี น ที่ ใ ช้ ใ น อินเทอร์เน็ตนั้น การใช้อักษรย่อหรือตัวเลขเป็นการ สื่อสารโต้ตอบที่ง่าย และรวดเร็วกว่าการพิมพ์เป็นค�ำ หรือหากเป็นการน�ำค�ำเดิมมาเพิ่มความหมายใหม่ หรือ ประสมค�ำใหม่กจ็ ะเป็นไปในทางสนุกสนาน ประชดประชัน หรือตอบสนองกับเหตุการณ์ในช่วงนัน้ ซึง่ รูปแบบการสร้าง ค�ำเหล่านี้จะมีความต่างกับภาษาจีนในยุคสมัยก่อนที่ การสร้างค�ำจะแฝงไปด้วยความงดงามทางภาษา มีความ ลึกซึ้งกินใจในเนื้อหา ประเทศจีนในยุคสมัยก่อน มีนักกวีที่มีชื่อเสียง มากมาย เช่น 屈原 (qū yuán), 李白 (lǐ bái), 杜甫 (dù fǔ), 白居易 (bái jū yì) ซึ่งในประเทศจีนคงไม่มี ใครไม่รจู้ กั บุคคลเหล่านี้ และเป็นบุคคลทีย่ ากจะหาตัวได้ ในยุคปัจจุบัน ในยุคที่โซเชียลเน็ตเวิร์ค คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์ยงั ไม่เกิดขึน้ การสือ่ สารนอกจากการพูดแล้ว ก็จะเป็นการสื่อสารผ่านข้อความตัวอักษรหรือภาพวาด โดยการตวัดปลายพูก่ นั ลงบนกระดาษเพือ่ ส่งต่อบอกเล่า สื่อสารเรื่องราวต่างๆ เพราะในยุค สมัยก่อนยังไม่มี เทคโนโลยีการถ่ายรูป หรือการอัดวิดีโอ ดังนั้นวิธีที่จะให้เห็นภาพได้ชัดเจนที่สุดคือ การ พรรณนา รวมถึงการเปรียบเทียบ ท�ำให้ความงามของ โครงกลอน กวี ในสมัยก่อนมีความงดงาม ลึกซึ้งกินใจ และสร้างสรรค์ ซึง่ จะแตกต่างกับโครงกลอนในยุคปัจจุบนั ทีน่ ยิ ม ใช้ข้อความสั้นๆ ได้ใจความ สามารถสื่อสารได้รวดเร็ว หรือมักเป็นข้อความที่โดนใจ เข้ากับเหตุการณ์ ไม่ก็จะ เป็นแนวสนุกสนานเสียมากกว่าไม่ได้เน้นความงดงาม ทางภาษาเหมือนเช่นยุคสมัยก่อน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
321
ภาพที่ 1 ประเภทภาษาจีนที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต 2. วลีภาษาจีนบนอินเทอร์เน็ตที่นิยมในประเทศจีน ในปี ค.ศ. 2017 ในที่นี้ผู้เขียนเลือกศึกษาและวิเคราะห์วลีภาษาจีน 5 วลีทนี่ ยิ มใช้ในอินเทอร์เน็ต ในปี ค.ศ. 2017 ข้อมูลจาก baidu baike ไป่ตไู้ ป่เคอ (百度百科) เพือ่ เป็นขอบเขต ในการศึกษาและวิเคราะห์ ซึง่ ได้แก่ 照骗、 我可能XX1 了假XX2、 皮皮虾我们走、 厉害了 word 哥、 全都 是套路
1. 照骗 (zhào piàn) รูปหลอก 照骗 (zhào piàn) หมายถึง รูปถ่ายบุคคล สิง่ ของ หรือสถานที่ที่ดูสวยงามเกินกว่าความเป็นจริง หรือรูป ทีผ่ า่ นการตกแต่งจากแอปพลิเคชัน่ ต่างๆ จนท�ำให้ผทู้ ไี่ ด้ ดูรูปภาพแล้วพบเห็นกับบุคคล วัตถุ หรือสถานที่จริง รูส้ กึ เหมือนโดนหลอก เพราะของจริงไม่สวยเหมือนในรูป หรืออาจจะแปลตรงๆ ว่า รูปหลอก ก็ได้ (Zhou & Wang, 2013) ซึง่ ค�ำว่า 照骗 (zhào piàn) เกิดจากการประสมค�ำ มาจากค�ำว่า 照片 (อ่านออกเสียงได้ 2 แบบ คือ zhào piānr, zhào piàn การออกเสียงทัง้ 2 แบบ มีความหมาย เหมือนกัน) แปลว่า รูป และ 骗 (piàn) แปลว่า โกหก
(รูปถ่าย) + 骗 (โกหก) = รูปหลอก ค�ำนี้มีที่มาจาก 百度贴吧 (bǎi dù tiē ba) เว็บบอร์ดที่ใช้สื่อสารตั้งค�ำถามตอบ เพื่อแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น คล้ายเว็บบอร์ดกระทูพ้ นั ทิปของประเทศไทย เหตุการณ์มีอยู่ว่า มีผู้ที่ซื้อสินค้าจาก Taobao รายหนึ่งได้ตั้งกระทู้รีวิวสินค้า ชี้ถึงความเหมือนและ ความต่างของสินค้าจริงและภาพโฆษณา เนือ่ งจากสินค้า ที่ได้รับนั้นแตกต่างจากรูปที่โฆษณาเป็นอย่างมาก เช่น รูปโฆษณาเสือ้ ผ้าทีใ่ ช้นางแบบรูปร่างหน้าดีเป็นพรีเซนเตอร์ สวมใส่เสื้อผ้า แต่เมื่อผู้ซื้อซื้อใส่เองแล้ว กลับไม่สวย เหมือนนางแบบ จนท�ำให้เกิดค�ำว่า 照骗 (zhào piàn) ขึน้ การซือ้ ขายสินค้าออนไลน์ หรือธุรกิจอีคอมเมิรซ์ (E-Commerce) ในประเทศจี น ได้ รั บ ความนิ ย มมา ก่อนหน้าประเทศไทยเป็นเวลาหลายปี จะเห็นได้จาก ความส�ำเร็จของ Taobao ธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่มีมูลค่า สูงสุดในประเทศจีน ซึง่ มีมลู ค่าสูงถึง 34,000 ล้านเหรียญ ดอลลาร์สหรัฐฯ (TTC Shanghai, 2016) ในปัจจุบัน ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศจีนได้รับความนิยมเป็น อย่างมาก เนื่องจากสินค้าหลายอย่างมีราคาถูกกว่า ท้องตลาด และสามารถซื้อหาได้อย่างรวดเร็ว ง่ายดาย 照片
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
322
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
และประหยัดเวลา เพียงแค่นงั่ คลิกผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มอื ถือ สินค้าก็จะส่งตรงมาถึงหน้าบ้านโดย ทันที การซือ้ ขายในธุรกิจอีคอมเมิรซ์ นัน้ ผูข้ ายจะแสดง รายละเอียดสินค้าพร้อมรูปภาพเพือ่ เป็นตัวช่วยประกอบ การตัดสินใจซื้อสินค้าของลูกค้า และแน่นอนว่า ผู้ขาย ส่วนใหญ่จะต้องเลือกรูปภาพที่สวยงามที่สุดใช้ในการ โฆษณา โดยใช้วธิ กี ารปรับแต่งรูปภาพก่อนลงโฆษณาจริง มีหลายร้านถึงขนาดยอมจ่ายเงินจ้างช่างภาพมืออาชีพ มาถ่ายภาพ เนื่องจากรูปโฆษณาที่สวยงามจะส่งผล โดยตรงกับยอดขายสินค้า ดังนัน้ ในขณะทีเ่ ทคโนโลยีกำ� ลัง ก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว เราสามารถปรับแต่งรูปภาพ ให้สวยได้ดงั่ ใจต้องการ เพราะฉะนัน้ ผูข้ ายควรตระหนัก ถึงความซือ่ สัตย์ตอ่ ตนเองและลูกค้า รูปทีใ่ ช้โฆษณาควร เป็นรูปสมจริงกับสินค้า แต่ทงั้ นีใ้ นระบบธุรกิจอีคอมเมิรซ์ ต่างๆ เช่น Taobao Tmall Jingdong หรือ Amazon ซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศจีนก็มีช่องทางป้องกันให้ลูกค้า โดยลูกค้าที่ได้ซื้อและรับของไปแล้ว สามารถถ่ายภาพ พร้อมรีวิวสินค้าได้ ซึ่งจะเป็นข้อมูลให้ลูกค้าคนอื่นๆ ที่ สนใจสินค้าชิ้นนี้ด้วย เราจะเห็นได้ว่าที่มาของค�ำว่า 照骗 (zhào piàn) เกิดในช่วงทีธ่ รุ กิจอีคอมเมิรซ ์ ของประเทศจีนก�ำลัง เป็นทีน่ ยิ ม และเป็นช่วงทีแ่ อปพลิเคชัน่ แต่งรูปภาพได้รบั ความนิยม ซึง่ สือ่ ให้เห็นว่า สังคมในปัจจุบนั ให้ความใส่ใจ กับรูปลักษณ์ หน้าตาภายนอกทีไ่ ด้ลงผ่านโซเชียลมากกว่า ความเป็นจริง 2. 我 可能 XX1 了 假 XX2 wǒ kěnéng XX1 le
jiǎ
XX2
ฉัน น่าจะ XX1 แล้ว ปลอม XX2 ในโครงประโยคนี้ ผู้เขียนได้เพิ่มเลขยกก�ำลัง1 และ2 ลงไปท้าย XX เพือ่ ช่วยให้งา่ ยต่อความเข้าใจ ซึง่ XX1 แทนค�ำกริยา และ XX 2 แทนกรรมที่มารองรับกริยา ด้านหน้า ความหมายของโครงประโยคนี้มี 2 ความหมาย คือ
1. เชิงปลอบใจตัวเอง เช่น เมือ่ เกิดความผิดพลาด หรือไม่ประสบความส�ำเร็จ 2. หมายถึงการเปรียบเทียบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้ว แต่มีความรู้สึกเหมือนยังไม่ได้เกิด ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (1) 我可能拿到1了假试卷2。 (wǒ kě néng ná dào le jiǎ shì juàn) สงสัยว่าข้อสอบทีฉ่ นั ได้สอบ น่าจะเป็นข้อสอบ ปลอม (2) 我可能复习1了假书2。
(wǒ kě néng fù xí le jiǎ shū)
หนังสือทีฉ่ นั อ่านก่อนสอบเนีย่ สงสัย/น่าจะ เป็นหนังสือปลอม เหตุทพ่ี ดู เช่นตัวอย่างข้อ (1) และ (2) เนือ่ งจาก ผลคะแนนสอบที่ออกมาไม่ดี เลยพูดเชิงตลกขบฮาปน ประชดประชัน และมีนยั ปลอบใจตัวเองว่า สงสัยทีส่ อบ ไปเนี้ย ข้อสอบปลอมแน่ๆ หรือก่อนสอบหนังสือที่อ่าน ทบทวนเนี่ยของปลอม คะแนนเลยออกมาแย่ขนาดนี้ (3) 我可能睡1了假觉2。
(wǒ kě néng shuì le jiǎ jiào)
ทีน่ อนหลับไปเมือ่ กี้ เหมือนนอนปลอมๆ เลย (นอนก็เหมือนไม่ได้นอน) (Yanlis, 2017) ซึง่ 我可能XX1了假XX2 เป็นวลีทนี่ ยิ มน�ำมา ใช้ท�ำรูปการ์ตูนหรืออีโมติคอน (Emoticon) ที่มาของ 我可能 XX1 了假 XX2 มี 5 แบบ ด้วยกันคือ (1) เกิดจากแอปพลิเคชั่นเกมออนไลน์ 电竞圈 (diàn jìng quān) ภายในแอปพลิเคชัน ่ นีจ้ ะมีเกมออนไลน์ อยู่เยอะมาก ในวันหนึ่งในขณะการแข่งขันเกม CSGO มีผเู้ ล่นคนหนึง่ ทีม่ นี สิ ยั ชอบดืม่ เหล้า ในครัง้ นัน้ เขาได้แพ้ เกมการแข่งขัน และเขาได้พดู วลีขนึ้ มาว่า “ฉันน่าจะดืม่ เหล้าปลอมเข้าไป เหล้าปลอมท�ำร้ายฉัน” 我可能是喝 了假酒、 假酒害人啊 (wǒ kě néng shì hē le jiǎ jiǔ、
หรือแปลว่า สงสัยเหล้าที่ดื่มไปเนี่ย เหล้าปลอมแน่ๆ เลยท�ำให้ฉันเล่มเกมแพ้ คล้ายการแก้ jiǎ jiǔ hài rén ā)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
อาการเขินอาย ปนตลกขบขันทีไ่ ม่สามารถชนะได้ หรืออีก นัยหนึ่งหมายถึง การปลอบใจตัวเอง แล้วเอาความผิด โยนให้เหล้าแทน (2) เกิดจากข่าวการขายเหล้าเถื่อนในประเทศ รัสเซียทีค่ อ่ นข้างเป็นกระแสในประเทศจีนทีม่ ผี ขู้ ายเหล้า รายหนึ่ง ได้ผลิตเหล้าโดยใช้น�้ำยาแอลกอฮอล์เช็ดล้าง สิง่ ของไปผสมกับเหล้า จนท�ำให้ผทู้ ซี่ อื้ ไปดืม่ เสียชีวติ เป็น จ�ำนวนมาก ข่าวนี้ได้รับการแชร์ต่อๆ กันในประเทศจีน จนเป็นกลายเป็นกระแสบน 微博 (wēi bó) จนเกิดเป็น วลีว่า 我可能喝了假酒 (wǒ kě néng hē le jiǎ jiǔ) หมายความว่า ฉันน่าจะดื่มเหล้าปลอมเข้าไป (3) มาจากเรือ่ งราวของนักท่องเทีย่ วคนหนึง่ ทีไ่ ด้ มีโอกาสไปเที่ยวมณฑลซีอาน พร้อมทั้งเข้าชมสุสาน จิน๋ ซีฮอ่ งเต้ แต่เมือ่ เขาได้เข้าชมสุสานจิน๋ ซีฮองเต้ เขากลับ รู้สึกผิดหวังอย่างมาก เนื่องจากไม่เหมือนที่คาดหวังไว้ เขาเลยได้ โ พสข้ อ ความว่ า 我可能看了假兵马俑 (wǒ kě néng kàn le jiǎ bīng mǎ yǒng) แปลว่า สงสัย สุสานจิน้ ซีฮอ่ งเต้ทฉี่ นั ไปดูคงจะเป็นของปลอม จนท�ำให้ ประโยคนี้เกิดเป็นกระแสขึ้นมาอีกครั้ง (4) มาจากนาย Shan Ni Ruo หนึ่งในสมาชิก ทีม SKT ผู้เล่นเกมออนไลน์ League of Legends ในการแข่งขันเกมออนไลน์ครัง้ หนึง่ นาย Shan Ni Ruo ได้เล่นเกมแพ้ หลังจากที่เขาแพ้ เขาจึงพูดขึ้นมาว่า 他们这是假优势 (tā men zhè shì jiǎ yōu shì) 他们 拿的都是假人头 (tā men ná de dōu shì jiǎ rén tóu)
ความหมายคือ ที่ฝ่ายตรงข้ามชนะน่ะ ไม่ใช่ความจริง ที่ชนะน่ะของปลอม คล้ายเป็นการปลอบใจตัวเอง หรือ การแก้เขินติดตลกนั้นเอง (5) เกิดจากการสอบเข้ามหาวิทยาลัยหรือการสอบ แอดมิชชั่น (Admission) ภาษาจีนเรียกว่า 高考 (gāo kǎo) การสอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในประเทศจีน ถือว่า หินและโหดมาก เนื่องจากจ�ำนวนประชากรจีนที่เยอะ ท�ำให้การแข่งขันค่อนข้างสูง ส่งผลให้ผู้ที่จะเข้าสอบ เต็มไปด้วยความเครียดและกดดัน นักเรียนที่จะสอบ เข้ามหาวิทยาลัยต้องอ่านหนังสืออย่างหนัก เรียกได้ว่า
323
อดตาหลับขับตานอนกันเลยทีเดียว เพราะหากสอบ ไม่ตดิ ก็ตอ้ งรอถึงปีหน้าถึงจะมีโอกาสได้สอบใหม่อกี ครัง้ การสอบครั้งนี้คนจีนถือว่าเป็นใบเบิกทางการเปลี่ยน เส้นทางชีวิตกันเลยทีเดียว และหลังจากการประกาศ ผลสอบคะแนนการสอบเข้ามหาวิทยาลัย แน่นอนว่าต้อง มีทั้งคนที่สมหวังและผิดหวัง มีนักเรียนที่ผิดหวังจาก การสอบเข้า ได้ทำ� รูปการ์ตนู ล้อเลียนพร้อมกับข้อความ เขียนว่า 我可能复习了假书 (wǒ kě néng fù xí le jiǎ shū) แปลว่า หนังสือทีฉ ่ นั ทบทวน น่าจะเป็นหนังสือปลอม 我可能拿到了假试卷 (wǒ kě néng ná dào le jiǎ shì
ข้อสอบทีฉ่ นั ได้สอบ น่าจะเป็นข้อสอบปลอม เป็นต้น จนท�ำให้ประโยคนี้เกิดเป็นกระแสและเป็นที่รู้จักขึ้นมา (Wang, 2017) จากประโยค 我可能XX1了假 XX2 เป็นค�ำที่ฮิต ติดปาก เนื่องจากมีที่มาหลายแบบ และหลายกระแส จะเห็นได้ว่าที่มาของค�ำนี้ ในแบบที่ (1) และแบบที่ (4) จะมาจากผูเ้ ล่นเกมออนไลน์ ซึง่ ในประเทศจีนนัน้ การเล่น เกมออนไลน์หรือการชมการถ่ายทอดสดการแข่งขัน เกมออนไลน์เป็นที่นิยมมากในหมู่วัยรุ่นหรือคนท�ำงาน หากจะให้ผเู้ ขียนเปรียบเทียบ ผูเ้ ขียนคิดว่าสามารถเปรียบ ได้กับกีฬาฟุตบอล ดังเช่นตัวอย่าง เกม League of Legends ในประเทศจีนทีจ่ ะมีหลายๆ ค่าย หรือหลายๆ ทีม ในแต่ละทีมจะมีทงั้ ตัวจริงและตัวส�ำรอง และหากเป็นทีม ที่มีชื่อเสียงก็จะมีการอัดฉีดเม็ดเงินสนับสนุนทีม และมี โค้ชประจ�ำทีม ส่วนรายได้ของแต่ละทีมนั้นจะมาจาก แฟนคลับและเงินรางวัลที่ชนะจากการแข่งขัน ทางทีม อาจจะมีรูปแบบธุรกิจต่างๆ ผลิตของที่ระลึกมาขายให้ กับแฟนคลับ และนอกจากนี้ในการแข่งขันแต่ละครั้ง ก็จะมีการขายบัตรเข้าชม ซึ่งในบางครั้งที่เป็นนัดส�ำคัญ ราคาบัตรก็จะพุ่งราคาอยู่ที่ 400-1,200 หยวน เราจะเห็นได้ว่า เกมออนไลน์ในประเทศจีนมี อิทธิพลต่อภาษาอยู่ไม่น้อย 3. 皮皮虾我们走 (pí pí xiā wǒ men zǒu) เป็นภาษาจีนใช้ในอินเทอร์เน็ตทีใ่ ช้พดู กันสนุกปากเท่านัน้ หรืออาจจะพูดได้วา่ เป็นค�ำฮิตติดปาก พูดกันเล่นๆ ไม่ได้ juàn)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
324
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
มีความหมาย ส่วนโครงประโยคคือ XXX我们走 (XXX wǒ men zǒu) ในที่นี้ XXX จะสามารถแทนได้ด้วย คน สัตว์ สิ่งของ ค�ำนี้มีที่มาจากเกม 游戏王 (yóu xì wáng) โดยในขณะการแข่งขันเกม 游戏王 มีผเู้ ล่นคนหนึง่ พูดว่า 源龙星, 我们走源龙星 (源龙星 yuán long xīng เป็น ชือ่ ตัวการ์ตนู ตัวหนึง่ ในเกมนี)้ แปลว่า Yuan Xing Rong บุก เดินไป แต่ตอนหลังได้ใช้ค�ำว่า 皮皮虾 (pí pí xiā) ที่แปลว่า กั้ง มาแทนชื่อตัวการ์ตูน 源龙星 (yuán long xīng) จนกลายเป็นประโยค 皮皮虾, 我们走 (ไอกั้ง พวกเราบุก, ไอกั้งพวกเราเดิน) (Yanlis, 2017) ประโยคนีเ้ ป็นทีน่ ยิ มถึงขนาดมีการน�ำมาแต่งเป็น เพลงชื่อ 皮皮虾我们走 ถือเป็นค�ำฮิตอีกหนึ่งที่มีที่มา จากเกมออนไลน์ 4. 厉害了word哥 (lì hài le word gē) หรือ 厉害 了我的哥 (lì hài le wǒ de gē) เป็นค�ำชมเชยบุคคลอื่น ถึงความสามารถ น่านับถือ เป็นค�ำสุภาพ หรืออาจจะ แปลเป็นไทยว่า สุดยอดเลยพี่ โดยค�ำนี้มีที่มาจาก ในขณะที่นักศึกษาทหาร คนหนึ่งก�ำลังเล่นเกม 王者荣耀被 (wáng zhě róng yào bèi) อยู่นั้น บังเอิญผู้คุมเดินผ่านมา และได้มาช่วย นักศึกษาเล่น แถมยังเล่นได้ดีมาก จนนักศึกษาที่อยู่ใน เหตุการณ์พูดว่า 厉害了我的哥 (lì hài le wǒ de gē) หมายถึง สุดยอดเลยพี่ จนกลายเป็นวลีฮิตใหม่ และ ภายหลังได้แผลงมาเป็น 厉害了word 哥 (IT Zhi Jia Qing Dao, 2016) 5. 全都是套路 ทั้งหมดล้วนเป็นแผนการ 全都
是 套路
Quándōu shì tàolù
ทั้งหมด คือ แผนการ 套路 เดิมหมายถึง กระบวนท่าร�ำมวยจีน แต่ ภายหลังมีความหมายเพิม่ เติม หมายถึง วิธกี าร กลอุบาย เราจะอธิบายให้เห็นได้ชัดขึ้นจากตัวอย่างต่อไปนี้ เช่น 城市套路深, 我要回农村 (chéng shì tào lù shēn, wǒ yào huí nóng cūn)
แปลว่า ทางในเมืองเนีย่ ลึก เดินยาก
(ยากลึกหยั่งถึง) ฉันกลับบ้านนอกคอกนาของฉันดีกว่า เปรียบการใช้ชวี ติ ในเมืองว่ายาก ผูค้ นมากหน้าหลายตา ใจคนก็ยากที่จะเข้าถึง และได้มีประโยคพูดแก้กลับว่า 农村路也滑, 人心更复杂 (nóng cūn lù yě huá, rén xīn gèng fù zá)
แปลว่า ถนนในชนบทก็ลื่นนะ ใช่ว่าจะ เดินง่าย แต่ใจคนนัน้ ลืน่ ยิง่ กว่าถนน เป็นความหมายเชิง เปรียบเทียบว่า ใจคนในชนบทก็ไม่ได้ตา่ งจากคนในเมือง หรอก และท้ายสุดมีประโยคออกมาว่า 少一点套路, 多一点真诚. (shǎo yī diǎn tào lù duō yī diǎn zhēn chéng) ลดแผนการกลอุบายให้น้อยหน่อย เพิ่มความ จริงใจให้มากขึ้น (Lin, 2017)
สรุปผล
ภาษาจีนที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากมายหลาย รูปแบบด้วยกัน ซึง่ ได้แบ่งเป็น 4 แบบดังข้างต้น และเรา สามารถวิเคราะห์การใช้ภาษาจีนบนอินเทอร์เน็ตได้ดงั นี้ 1. การสร้างค�ำแบบใช้อกั ษรเดิมแต่เพิม่ ความหมาย ใหม่ จะใช้ได้ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน เพื่อให้เกิดค�ำ ที่เข้ากับเหตุการณ์ในปัจจุบัน 2. การสร้างค�ำแบบใช้ตวั เลข และตัวย่อโดยส่วนใหญ่ จะใช้ในภาษาเขียน (การพิมพ์บนแป้นคอมพิวเตอร์หรือ โทรศัพท์มอื ถือ) เป็นการสร้างค�ำทีท่ ำ� ให้การสือ่ สารง่ายดาย และรวดเร็ว 3. การสร้างแบบสัญลักษณ์จะใช้เฉพาะกับภาษา เขียน (การพิมพ์บนแป้นคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มอื ถือ) ซึง่ แบบนีเ้ กิดจากสัญลักษณ์ตา่ งๆ ทีส่ ามารถพิมพ์ได้จาก แป้นพิมพ์ เราจะสังเกตได้ว่า การสร้างค�ำแบบตัวย่อ ตัวเลข และสัญลักษณ์จะเกิดจากการพิมพ์ทงี่ า่ ยและรวดเร็วบน แป้นพิมพ์ และจะใช้สัญลักษณ์หรืออักขระที่สามารถ พิมพ์ได้บนแป้นประสมกันจนเป็นความหมาย ซึ่งเกิด จากเทคโนโลยีในสมัยปัจจุบัน หากเป็นสมัยก่อนก็คงมี แต่การเขียนลงบนกระดองเต่า กระดาษ หรือสลักบนหิน จึงท�ำให้ไม่มรี ปู แบบข้างต้น ซึง่ ในอนาคตหากมีรปู แบบอืน่
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ที่ทันสมัยกว่า ภาษาและรูปแบบการสร้างภาษาเหล่านี้ ก็จะเปลีย่ นไปอีกตามยุคสมัย และเทคโนโลยีทเี่ ปลีย่ นไป และอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ ภาษาจีนที่นิยมใช้บน อินเทอร์เน็ตจะมีค�ำศัพท์ วลี และประโยคอยู่หลายค�ำ ที่มีจุดก�ำเนิดจากเกม จากตัวอย่างที่ผู้เขียนยกมานั้น 3 ใน 5 ของประโยคตัวอย่าง ได้แก่ 我可能XX1了假 XX2、 皮皮虾我们走, 厉害了 word 哥 ล้วนเป็นวลีที่มีที่มา เกีย่ วข้องกับเกมออนไลน์ทงั้ สิน้ ซึง่ จะแตกต่างกับภาษาไทย ที่ใช้บนอินเทอร์เน็ต จะมีการเกิดหรือสร้างค�ำใหม่จาก เกมออนไลน์นนั้ น้อยมาก หรือแทบจะไม่มเี ลย การสร้าง ค�ำใหม่ในอินเทอร์เนตของไทยนัน้ โดยส่วนใหญ่จะมีขา่ ว ทีเ่ ป็นปัญหาสังคม ค�ำพูดดารา รายการทีวี หรือภาพยนตร์ เสียมากกว่า สภาพสังคมที่ต่างกันก็จะเกิดรูปแบบการสร้างค�ำ
325
และค�ำที่ต่างกัน เพื่อให้คำ� เข้ากับยุคสมัย ซึ่งทั้งนี้ภาษา ในอินเทอร์เนตส่วนใหญ่จะใช้เพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เมือ่ กาลเวลาผ่านไป ค�ำหลายค�ำก็มกั จะสูญหาย อาจจะ มีบางส่วนที่หลงเหลือบ้าง แต่ก็ไม่มากนัก การเกิดค�ำใหม่บนอินเทอร์เน็ตเหล่านี้แน่นอนว่า เกิดขึน้ ได้ในทุกภาษาทีเ่ ทคโนโลยีกา้ วไปถึง และแน่นอน ว่าการเกิดขึ้นของค�ำศัพท์ใหม่ๆ จะส่งผลกระทบกับ ภาษาเดิมจนอาจจะถึงขั้นท�ำให้ภาษาวิบัติ แต่ถึงแม้จะ เป็นเช่นนั้น เราก็ไม่สามารถห้ามได้ ซึ่งสิ่งที่ท�ำได้น่าจะ เป็นการรณรงค์ให้ใช้ภาษาอย่างถูกต้อง หรือแม้กระทั่ง การจัดท�ำพจนานุกรมรวบรวมหรือเก็บข้อมูลของภาษา นัน้ ๆ รวมไปถึงภาษาถิน่ แต่โดยส่วนใหญ่ภาษาทีเ่ กิดขึน้ ใหม่ เหล่านีใ้ ช้ได้ไม่นานก็สญ ู หายไปตามกาลเวลา และภาษา ก็จะยังคงเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตราบจนภาษานั้นยังไม่ตาย
References
Chen, J. (2008). Research on network catchwords. Guangxi: Guangxi University. [in Chinese] Chen, X. (2001). The types, characteristics and trends of word types in network language. Nanjing: Journal of Nanjing Xiaozhuang University. [in Chinese] Chris, D. (2017). 3Q. Retrieved September 25, 2017, from https://baike.baidu.com/item/3q/3816756 [in Chinese] IT Zhi Jia Qing Dao. (2016). Retrieved September 20, 2017, from https://baike.baidu.com/redirect/ e9f8hi86KQxbAjRrqqDBtjZYcKb5r0Avi1RbpKL-ZObV4hPLtwAq4aGeVIwli1-PCLWen3mzp72d pOB-EKWBaErktFBQnu73rsJMemCfQSaeCVo [in Chinese] Liao, Y. (2009). Analysis of the psychological motivation of the popularity of network catchwords. Journal of Mudanjiang Institute of Education, 409, 1-116. [in Chinese] Lin, L. (2017). Fixed pattern. Beijing: Workers’ Daily. [in Chinese] Liu, Q. (2006). Cultural study of network language. Hubei: Huazhong Normal University. [in Chinese] Ming, Q. (2013). Internet Idioms “The news is so exhilarating that everyone is celebrating”. Chongqing Economic Times. Retrieved September 20, 2017, from http://www.chinanews.com/ cul/2013/08-12/5152706.shtml [in Chinese] Shandong China Business Information Center in Qingdao. (2016). Popular Mobile Applications in China. Retrieved August 4, 2016, from http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/misc/ detail.php?SECTION_ID=633&ID=16527 [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
326
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Sun, L. (2007). Network language Online functional variants of conversation style. Guizhou: Guizhou Social Sciences. [in Chinese] TTC Shanghai. (2016). Insights into Chinese E-Commerce Market. Retrieved September 15, 2016, from http://www.ditp.go.th/contents_attach/150637/150637.pdf [in Thai] Tu Si Li. (2017). Handsome. Retrieved September 17, 2017, from https://baike.baidu.com/item/% E9%AB%98%E5%AF%8C%E5%B8%85/5487667 [in Chinese] Wang, X. Y. (2017). The 10 biggest buzzwords of 2017. The cover News Cheng Du. Retrieved September 24, 2017, from http://news.163.com/17/0113/19/CAMCKR7C00018AOR.html?baike [in Chinese] Yanlis. (2017). I might XX a fake XX. Retrieved July 16, 2017, from https://baike.baidu.com/item/ 我可能XX了假XX/20387444?fr=aladdin [in Chinese] Yanlis. (2017). Pipi shrimp let’s go. Retrieved July 8, 2017, from https://baike.baidu.com/item/皮 皮虾,我们走/20414774?fromtitle=皮皮虾我们走&fromid=20412084&fr=aladdin [in Chinese] Zhao, R. (2017). Network language. Retrieved July 7, 2017, from https://baike.baidu.com/item/ 网络语言 [in Chinese] Zhen, X. L. (2010). Cultural Connotation of Chinese Numbers. Shan Dong: Qufu Normal University. [in Chinese] Zhou, Q. & Wang, Y. (2013). The positive discourse analysis on the popular language of network evaluation system based on the theory of functional linguistics. Journal of Shijiazhuang University of Economics, 321, 1-53. [in Chinese]
Name and Surname: Kritsadee Songkhai Highest Education: Master of Teaching Chinese to Speakers of Other Languages (MTCSOL), Nankai University University or Agency: Wuhan University Field of Expertise: Linguistics and Applied Linguistic Address: Radchadomnone Rd., Nimuang, Mueang, Nakhonsithammarat 80000
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
327
ภาวะซึมเศร้ากับพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียล DEPRESSION AND SOCIAL MEDIA BEHAVIOR อังคณา ศิริอ�ำพันธ์กุล Angkana Siriumpankul ส�ำนักการศึกษาทั่วไป สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ The Office of General Education, Panyapiwat Institute of Management
บทคัดย่อ
ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะทางจิตใจทีแ่ สดงถึงความผิดปกติไปจากเดิม เช่น หดหู่ ท้อแท้ สิน้ หวัง เบือ่ หน่าย เศร้า ขาดสมาธิ ขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง รวมถึงมีทัศนคติทางลบต่อตัวเองและสังคมรอบข้าง มีความผิดปกติทางกาย เช่น นอนไม่หลับหรือหลับยาก อ่อนเพลีย เหม่อลอย เก็บตัวมากขึ้น ไม่ร่าเริงแจ่มใส ส่งผลเสียต่อการด�ำเนินชีวิต ประจ�ำวันทัว่ ไป การท�ำงาน และการสร้างความสัมพันธ์กบั ผูอ้ นื่ ท�ำให้ขาดความสุข ซึง่ อาจน�ำไปสูป่ ญ ั หาการฆ่าตัวตายได้ การที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาท ต่อวิถีการด�ำรงชีวิตของคนในสังคมแทบทุกกลุ่ม เนื่องจากวิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันที่ต้องแข่งขัน เร่งรีบและต้อง ปรับตัวกันอย่างรวดเร็ว การใช้สอื่ โซเซียลกลายมาเป็นส่วนหนึง่ ในการติดต่อสือ่ สารทีต่ อบโจทย์ของการด�ำเนินชีวติ ยุคนี้ และให้อารมณ์ความรู้สึกที่เสมือนจริง แต่ปัจจุบันมีข้อค้นพบว่า การใช้มันมากจนเกินไปเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิด ภาวะซึมเศร้าได้ เพราะในสังคมออนไลน์อาจท�ำให้บคุ คลเกิดการรับรูต้ วั ตนของตนเองผ่านการเปรียบเทียบตัวตนของ ผูอ้ นื่ ส่งผลกระทบกับผูท้ มี่ อี ารมณ์ออ่ นไหว อาจเกิดทัศนคติทางลบต่อตนเอง บางคนเกิดความรูส้ กึ ท้อแท้และสิน้ หวัง ดังนัน้ ทุกคนจึงควรตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวทีเ่ กิดขึน้ และร่วมกันหาแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าวก่อนจะ กลายเป็นปัญหาทีร่ นุ แรงมากขึน้ ในอนาคต หน่วยย่อยของสังคม เช่น สถาบันครอบครัวเป็นส่วนส�ำคัญทีส่ ดุ ทีส่ ามารถ ป้องกันปัญหานีไ้ ด้ รวมถึงสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทีค่ วรมีบทบาทในการให้ความรูถ้ งึ วัตถุประสงค์ วิธีการใช้ และผลกระทบของสื่อโซเซียลในมุมมองต่างๆ ที่เหมาะสม ค�ำส�ำคัญ: ภาวะซึมเศร้า สื่อโซเชียล
Corresponding Author E-mail: angkanasir@pim.ac.th
328
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Abstract
Depression is defined as a state of mind that express an abnormalities such as depression, discourage, hopeless, boring, sadness, less of concentration, low self-esteem. They also have negative attitudes towards themselves and society. In addition, there are a physical disorder such as insomnia, exhausted, distraught, recluse. They usually have negative effects on everyday life, working and building relationships with others, leading of less happiness and it may lead to commit the suicide. Nowadays Thailand is moving to the Digital Society which the IT are widely used and play crucial role in daily life. Due to the life style of modern people, they have to compete for working in any aspects of their life. They cannot avoid using Social media as a way to communicate with the others because it is very convenient, rapidly and it goes along well with the rush activity of modern life style. As a result, it builds a virtual emotion. However, it is found that over using social media is one of causes that lead to being depression especially the ones have sensitive emotions. There may be a negative attitude towards yourself, feel discouraged and hopeless. So it is a time that everyone should realize about this problem and seek a solution together and try to find a way to prevent it before it will become a serious problem in the future of our society the most important institute which can effectively solve this problem is a family, and then education, government institute private sector. They should share their role and work together to find some method to prevent the depression in our society and give some useful advice for social media using in appropriate way. Keywords: Depression, Social media
บทน�ำ
สื่ อ โซเชี ย ล หรื อ สื่ อ สั ง คมออนไลน์ เ ข้ า มาเป็ น ส่วนหนึ่งของสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ประเทศไทยได้กา้ วเข้าสูย่ คุ ดิจทิ ลั Thailand 4.0 ซึง่ เป็น ยุคทีเ่ ทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร (Information and Communications Technology) ได้เข้ามามี บทบาทต่อวิถกี ารด�ำรงชีวติ ของคนในสังคมแทบทุกกลุม่ เนื่องจากมีการแข่งขันและต้องปรับตัวกันอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดความสะดวกสบายในการติดต่อสนทนาสือ่ สาร กันผ่านแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่เปรียบดั่งโลกเสมือนจริง กับคนใหม่ๆ มากหน้าหลายตากันอย่างแพร่หลาย และ ก่อให้เกิดการขยายตัวด้านการค้าขายออนไลน์ แต่ทว่า
สือ่ โซเชียลหรือสือ่ สังคมออนไลน์เริม่ ส่งผลด้านลบในสังคม มากขึน้ ไม่วา่ จะเป็นการเกิดพฤติกรรมเลียนแบบหรือสร้าง ความคึกคะนองและใช้ความรุนแรงมากขึ้น ทั้งค�ำพูด และการกระท�ำในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการระบายออก ทางอารมณ์โดยขาดการวิเคราะห์ไตร่ตรองอย่างทีป่ รากฏ เป็นข่าวต่างๆ มากมาย แต่ทั้งนี้ยังมีอีกพฤติกรรมหนึ่ง ทีเ่ กิดขึน้ จากการใช้สอื่ โซเชียลมากเกินไปหรือการหมกมุน่ อยูก่ บั ความรูส้ กึ ทีแ่ สดงออกผ่านโลกออนไลน์มากเกินไป จนส่งผลกระทบให้ผใู้ ช้เกิดพฤติกรรมเก็บตัว ไม่สงุ สิงกับ โลกภายนอกจนกลายเป็นคนขีเ้ หงา หรืออาจถึงขัน้ มีภาวะ ซึมเศร้าโดยไม่รตู้ วั และอาจพัฒนารุนแรงถึงขัน้ กลายเป็น โรคซึมเศร้าได้ โดยโรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่มี
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ผูเ้ ป็นจ�ำนวนไม่นอ้ ย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยข้อมูลในสัปดาห์สุขภาพจิต ปี 2560 (1-7 พฤศจิกายน 2560) ว่า มีคนไทยถึง 1.5 ล้านคนที่ป่วย เป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นสถิติที่สูงขึ้นสี่แสนรายจากสถิติ ปี 2557 ที่พบเพียง 1.1 ล้านคน หรือร้อยละ 36 ในรอบสามปี ขณะที่ทั่วโลกพบว่า มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กว่า 300 ล้านคน (Phaichareon, 2017) โดยโรคซึมเศร้า มักส่งผลเสียแก่ผปู้ ว่ ย เช่น กลายเป็นคนเศร้าสร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บอ่ ย มองอะไรก็รสู้ กึ ว่าแย่ไปหมด รูส้ กึ ท้อแท้ มีสมาธิความจ�ำแย่ลง ประสิทธิภาพในการท�ำงาน ลดลง ไม่ร่าเริง แจ่มใส จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจา กับใคร บางคนอาจมีอาการหลงผิดหรือประสาทหลอน ร่วมด้วย ท�ำให้เกิดผลเสียต่อทัง้ ตัวบุคคลและเกิดปัญหา สังคมเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะ ซึมเศร้า หรือผลกระทบจากการใช้สอื่ โซเซียลทีม่ ากเกินไป จนก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า ตลอดจนการเสนอแนะแนวทาง การแก้ไข และป้องกันปัญหาดังกล่าวจึงเป็นอีกหนทางหนึง่ ในการช่วยจ�ำกัดขอบเขตของปัญหาภาวะซึมเศร้าใน สังคมไทยได้
ความหมาย สาเหตุ และลักษณะของภาวะ ซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้า หรือ Depression มาจากค�ำว่า Deprivere ในภาษาละตินมีความหมายว่า กดต�่ำหรือ จมลงต�่ำกว่าต�ำแหน่งเดิม (Blazer, 1982 cited in Bunrattanapa & Buathong, 2007: 15) ซึ่งได้มีผู้ให้ ความหมายของภาวะซึมเศร้าไว้ดังนี้ ภาวะซึมเศร้า หมายถึง ภาวะจิตใจที่แสดงออกถึงความผิดปกติของ อารมณ์ เช่น อารมณ์เศร้า ไม่มคี วามสุข เบือ่ หน่าย หดหู่ ท้อแท้ สิน้ หวัง เซือ่ งซึม นอนไม่หลับ เบือ่ อาหาร ขาดสมาธิ วิตกกังวล มองโลกในแง่ลบ ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหา สุขภาพจิตทีส่ ามารถเกิดขึน้ ได้กบั ทุกคนทัง้ คนปกติ ผูป้ ว่ ย ทางกาย และผูป้ ว่ ยทางจิตเวช อาจเกิดขึน้ ได้ตงั้ แต่ภาวะ ซึมเศร้าธรรมดาจนถึงภาวะซึมเศร้ารุนแรง หากไม่ได้รบั การรักษาจะป่วยเป็นโรคซึมเศร้าในทีส่ ดุ ซึง่ โรคซึมเศร้า
329
เป็นความผิดปกติของจิตใจ โดยมีภาวะซึมเศร้าร่วมกับ ขาดความเคารพตนเอง รวมทั้งมีภาวะสิ้นยินดีคือ ไม่มี ความพึงพอใจในกิจกรรมที่โดยปกติเป็นที่น่าพึงพอใจ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตและอาจน�ำไปสู่การฆ่า ตัวตายในที่สุด ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้ารุนแรงหรือเป็น โรคซึมเศร้าและไม่ได้รบั การรักษาจะจบชีวติ ด้วยการฆ่า ตัวตาย ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองป่วย เป็นโรคซึมเศร้า และไม่ตระหนักถึงอันตรายทีอ่ าจเกิดขึน้ หากไม่ได้รบั การรักษา ภาวะซึมเศร้ามีสาเหตุมาจากหลาย ปัจจัย อาทิ ความผิดปกติทางพันธุกรรม ความผิดปกติ ของสารชีวเคมีในสมอง ปัญหาทางด้านจิตใจ และปัจจัย ทางสิ่งแวดล้อม จะเห็นได้ว่า สาเหตุของการเกิดภาวะ ซึมเศร้าเกิดจากปัจจัยภายในและภายนอก ทัง้ ทีส่ ามารถ ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ (Hongsrisuwan, 2016) Lueboonthawatchai & Lueboonthawatchai (2010) ได้อธิบายความหมายของภาวะซึมเศร้าว่าหมายถึง กลุม่ อาการความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น อารมณ์ซมึ เศร้า ความรู้สึกเบื่อหน่าย หดหู่ ร่วมไปกับความรู้สึกท้อแท้ หมดหวัง สิ้นหวัง ท่าทางการเคลื่อนไหวช้า เซื่องซึม เบื่ออาหาร น�ำ้ หนักลด นอนไม่หลับ จนอาจน�ำไปสู่การ ท�ำร้ายตัวเองหรือการฆ่าตัวตาย โดยโรคซึมเศร้ามักส่ง ผลเสียแก่ผู้ป่วย เช่น กลายเป็นคนเศร้าสร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บอ่ ย มองอะไรก็รสู้ กึ ว่าแย่ไปหมด รูส้ กึ ท้อแท้ มีสมาธิความจ�ำแย่ลง ประสิทธิภาพในการท�ำงาน ลดลง ไม่ร่าเริง แจ่มใส จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจา กับใคร บางคนอาจมีอาการหลงผิดหรือประสาทหลอน ร่วมด้วย จากเอกสาร “วันอนามัยโลก 2560 : ซึมเศร้า... เราคุยกันได้” (Vasupanrajit, 2017) ให้ความหมายว่า โรคซึมเศร้า เป็นโรคความผิดปกติทางอารมณ์ มีอาการหลัก คือ 1) อารมณ์เศร้า ท้อแท้ ซึม หงอย ทั้งที่ตัวเองรู้สึก หรือคนอืน่ ก็สงั เกตเห็น 2) เบือ่ ไม่อยากท�ำอะไร หรือท�ำ อะไรก็ไม่สนุกเพลิดเพลินเหมือนเดิม ร่วมกับมีอาการ เหล่านีร้ ว่ มกันอย่างน้อย 5 อาการ ได้แก่ 1) เบือ่ อาหาร หรือกินมากเกินไป 2) หลับยาก หลับๆ ตื่นๆ หรือหลับ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
330
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
มากไป 3) คิดช้าพูดช้า ท�ำอะไรช้าลง หรือหงุดหงิด กระวนกระวาย ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ 4) รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยใจ ไม่มีแรง 5) รู้สึกตนเองไร้ค่า 6) สมาธิความ คิดอ่านช้าลง 7) คิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรืออยากท�ำร้าย ตนเอง อาการเหล่านี้เป็นอยู่เกือบทั้งวัน เป็นติดต่อกัน จนถึง 2 สัปดาห์ และท�ำกิจวัตรประจ�ำวัน เข้าร่วม กิจกรรมด้านสังคม ท�ำหน้าที่การงานไม่ได้เหมือนเดิม หรือมีความทุกข์ทรมานใจอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้สาเหตุหรือที่มาของโรคซึมเศร้านั้น คนทั่วไป มักจะเข้าใจว่ามาจาก “ความกดดัน” แต่จริงๆ แล้วเป็น เพียงแค่สว่ นหนึง่ เท่านัน้ “ความกดดันทัง้ จากครอบครัว การงาน การเรียน เรือ่ งพวกนีท้ ำ� ให้เราเสียใจและเศร้าใจได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นโรคซึมเศร้า คนที่เป็นโรคนี้เป็น คนทีม่ คี วามเสีย่ งระดับหนึง่ อยูแ่ ล้ว และเมือ่ มาเจอเรือ่ ง พวกนีเ้ ข้า จึงท�ำให้กลายเป็นโรคซึมเศร้า” โดยความเสีย่ ง ทีท่ ำ� ให้เกิดโรคนีน้ นั้ มีทงั้ เรือ่ งของพันธุกรรม ซึง่ เป็นเรือ่ ง ของยีนทีผ่ ดิ ปกติ เรือ่ งของฮอร์โมนทีท่ ำ� ให้ผหู้ ญิงมีโอกาส เสี่ยงมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการอบรม เลี้ยงดู หากมีการพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเด็กก็จะมี แนวโน้มความเสี่ยงสูงเช่นกัน รวมถึงลักษณะนิสัยที่มัก มองตนเองในแง่ลบ มองอดีตแล้วเห็นแต่ความบกพร่อง ของตนเอง หรือมองโลกในแง่ร้าย เป็นต้น ซึ่งอาการ ของโรคทีเ่ ห็นชัดเจนคือ มักเบือ่ หน่าย คนทัว่ ไปมักคิดว่า คนเป็นโรคซึมเศร้าต้องเศร้าร้องไห้เสียใจ แต่มอี ยูจ่ ำ� นวน ไม่น้อยที่ไม่ได้ร้องไห้ ซึมเศร้า แต่เป็นแบบเซ็ง เบื่อ ไม่กระปรีก้ ระเปร่า ไม่มชี วี ติ ชีวา ไม่มคี วามเพลิดเพลินใจ สิ่งที่ต้องสังเกตคือ นิสัยเราเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่ โดยอาจมีคนทักว่า “ท�ำไมเงียบลง ผอมลง ท�ำไมช่วงนี้ ไม่พูดไม่จา ดูซึมๆ ไป” สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องท�ำให้ เราก็ต้องหันกลับมามองตัวเอง สังเกตตัวเองว่า ตัวเรา เปลีย่ นไปจริงหรือไม่ ช่วงทีเ่ ริม่ เป็นแรกๆ อาจจะสังเกต ไม่เห็น แต่อาการจะเห็นชัดขึน้ อารมณ์ตา่ งๆ จะเหมือน กราฟที่ค่อยๆ ตกลงมา ซึ่งลักษณะอาการที่ส�ำคัญคือ อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป ที่พบบ่อยคือ จะกลายเป็นคน เศร้าสร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย เรื่องเล็กๆ
น้อยๆ ก็ดเู หมือนจะอ่อนไหวไปหมด ความคิดเปลีย่ นไป มองอะไรก็รู้สึกว่าแย่ไปหมด มองชีวิตที่ผ่านมาในอดีต ก็เห็นแต่ความผิดพลาดความล้มเหลวของตนเอง สมาธิ ความจ�ำแย่ลง จะหลงลืมง่าย จิตใจเหม่อลอยบ่อย ท�ำอะไร ไม่ได้นานเนือ่ งจากสมาธิไม่มี มีอาการทางร่างกายต่างๆ ร่วม ทีพ่ บบ่อยคือ จะรูส้ กึ อ่อนเพลีย ไม่มเี รีย่ วแรง ซึง่ เมือ่ พบ ร่วมกับอารมณ์รสู้ กึ เบือ่ หน่ายไม่อยากท�ำอะไร ก็จะท�ำให้ คนอื่นดูว่าเป็นคนขี้เกียจ ปัญหาด้านการนอนก็พบบ่อย เช่นกัน มักจะหลับยาก นอนไม่เต็มอิ่ม หลับๆ ตื่นๆ บางคนตื่นแต่เช้ามืดแล้วนอนต่อไม่ได้ ความสัมพันธ์กับ คนรอบข้างเปลีย่ นไป ผูท้ เ่ี ป็นโรคนีม้ กั จะดูซมึ ลง ไม่รา่ เริง แจ่มใสเหมือนก่อน จะเก็บตัวมากขึน้ ไม่คอ่ ยพูดจากับใคร การงานแย่ลง ความรับผิดชอบต่อการงานก็ลดลง ถ้าเป็น แม่บ้านงานบ้านก็ไม่ได้ท�ำ หรือท�ำเพียงให้ผ่านๆ ไป คนที่ท�ำงานส�ำนักงานก็จะท�ำงานที่ละเอียดไม่ได้เพราะ สมาธิไม่มี (Lhortrakul, n.d.) อาการส�ำคัญคือ อารมณ์เศร้า ผูป้ ว่ ยจะซึมเศร้า หดหู่ สะเทือนใจร้องไห้ง่าย ในผู้ป่วยไทยอาจไม่บอกว่าเศร้า แต่จะบอกว่ารู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด จิตใจห่อเหี่ยว ไม่มี ความสุขสบายใจหรือสดชืน่ เหมือนเดิม อารมณ์หงุดหงิด พบได้บอ่ ยและมักรุนแรง จนผูป้ ว่ ยบอกว่าไม่เหมือนเดิม รู้สึกทนเสียงดังหรือมีคนรบกวนไม่ได้ อยากอยู่คนเดียว เงียบๆ อาการทีพ่ บบ่อย ได้แก่ อาการนอนไม่หลับ ทีเ่ ป็น ลักษณะจ�ำเพาะของโรคซึมเศร้าคือ การตืน่ กลางดึกแล้ว หลับต่อไม่ได้หรือหลับไม่สนิท (terminal insomnia) ผูป้ ว่ ยส่วนใหญ่จะเบือ่ อาหาร น�ำ้ หนักลดลงชัดเจน รูส้ กึ อ่อนเพลียตลอดทั้งวัน ผู้ป่วยหญิงอาจมีประจ�ำเดือน ผิดปกติไป (Lhortrakul, 2004) โรคนีไ้ ม่ทราบสาเหตุทแี่ น่ชดั ส่วนใหญ่มาจากปัญหา “กาย จิต สังคม” ทางกาย เช่น ผู้ป่วยมีความผิดปกติ ของระดับสารเคมีที่เซลล์สมองสร้างขึ้นเพื่อรักษาสมดุล ของอารมณ์ มีประวัตโิ รคซึมเศร้าในครอบครัว ซึง่ การรักษา จะใช้ยาช่วยปรับระดับสารเคมีในสมอง ทางจิตใจ ผูป้ ว่ ย จะมีความคิดด้านลบกับทุกสิง่ ในการแก้ไขจะใช้พฤติกรรม บ�ำบัดโดยนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ และทางสังคม จาก
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
ปัญหาครอบครัว การท�ำงาน การเรียน ยาเสพติด เป็นต้น (Wipulakorn, 2017) จากการนิยามความหมายของภาวะซึมเศร้าข้างต้น สรุปได้ว่า ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะทางจิตใจที่แสดงถึง ความผิดปกติไปจากเดิม เช่น หดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง เบือ่ หน่าย เศร้า ขาดสมาธิ ขาดความภาคภูมใิ จในตัวเอง รวมถึงมีทัศนคติด้านลบต่อตัวเองและสังคมรอบข้าง มีความผิดปกติทางกาย เช่น นอนไม่หลับหรือหลับยาก อ่อนเพลีย เหม่อลอย เก็บตัวมากขึ้น ส่งผลกระทบ ทางจิตใจ เช่น หดหู่ ท้อแท้ ไม่ร่าเริงแจ่มใส สิ้นหวัง ส่งผลเสียต่อการด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวันทัว่ ไป การท�ำงาน และการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น ท�ำให้ขาดความสุข ซึง่ อาจน�ำไปสูป่ ญ ั หาการฆ่าตัวตายได้ ทัง้ นีม้ ขี อ้ ค้นพบว่า ปัจจัยภายนอกทีเ่ ริม่ เข้ามามีบทบาทในการก่อให้เกิดภาวะ ซึมเศร้าในสังคมไทยในปัจจุบนั และทวีความรุนแรงมาก ยิ่งขึ้นนั้น ได้แก่ การใช้สื่อโซเชียลมากเกินไป
ความสัมพันธ์ของการใช้สื่อโซเชียลกับภาวะ ซึมเศร้า
สื่อโซเชียลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจ�ำวัน ของผูค้ นในยุคนี้ การพบปะ พูดคุยให้ความรูส้ กึ เสมือนจริง มีการค้นพบว่า สือ่ โซเชียลเป็นสาเหตุสว่ นหนึง่ หรือปัจจัย ที่อาจก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น ผลงานวิจัยที่ กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้โซเชียลมีเดียกับ ภาวะซึมเศร้าของวัยรุน่ ในสหรัฐอเมริกา โดยทีมนักวิจยั ได้เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามประชาชนชาวอเมริกัน ในปี 2014 จ�ำนวน 1,787 ราย ที่มีอายุตั้งแต่ 19-32 ปี เกี่ยวกับการใช้งานโซเชียลมีเดียในแพลตฟอร์มต่างๆ ได้แก่ Facebook, YouTube, Twitter, Google Plus, Instagram, Snapchat, Reddit, Tumblr, Pinterest, Vine และ LinkedIn โดยให้เขียนรายละเอียดการใช้งาน ของแต่ละคนซึง่ ค�ำตอบของผูใ้ ช้งานจะได้รบั การประเมิน โดยเครือ่ งมือประเมินภาวะซึมเศร้า ผลสรุปทีไ่ ด้คอื คนที่ ติดการใช้งานโซเชียลมีเดียเกิน 58 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มี โ อกาสที่ จ ะเกิ ด ความรู้สึก โดดเดี่ยวมากถึง 3 ครั้ง
331
(ต่อสัปดาห์) และถ้าใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน มีโอกาสที่จะรู้สึกเหงามากกว่าปกติถึง สองเท่า บางคนหมกมุน่ กับความเหงาทีร่ นุ แรง หนุม่ สาว ที่รู้สึกโดดเดี่ยวทางสังคมจะเริ่มหันมาใช้โซเชียลมีเดีย และเป็นไปได้วา่ การใช้โซเชียลมีเดียวท�ำให้เกิดความรูส้ กึ โดดเดีย่ วไปจากโลกแห่งความเป็นจริงมากขึน้ นอกจากนี้ ยังมีรายงานวิจัยของ Edinburgh Napier University ที่พบว่า เฟซบุ๊กเป็นสิ่งที่ท�ำให้คนเครียดและวิตกกังวล เพิม่ ขึน้ การศึกษาครัง้ นีท้ ำ� การส�ำรวจนักศึกษา 200 คน เกีย่ วกับการเล่นเฟซบุก๊ พบว่า กลุม่ คนทีม่ เี พือ่ นในเฟซบุก๊ มาก เสีย่ งต่อความเครียดและความรูส้ กึ หดหูส่ งู กว่าคนทีม่ เี พือ่ น ในเฟซบุก๊ น้อยกว่า โดยผูท้ เี่ ล่นจะได้รบั ผลเชิงลบมากกว่า การปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ และครอบครัวในโลกของ ความจริง ผูเ้ ล่นเฟซบุก๊ มักจะซ่อนความเครียดและความ กระวนกระวายจากการถูกปฏิบตั ใิ นรูปแบบต่างๆ จากเพือ่ น และบุคคลอื่นในเฟซบุ๊ก เช่น การถูกปฏิเสธ วิตกกังวล อิจฉาต่อการใช้ชวี ติ ของคนอืน่ เป็นต้น (Sae-Tung, 2013) และยังพบว่า ผู้ที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตในปริมาณมาก จะมีแนวโน้มอาการหดหู่ เหงา และโดดเดีย่ วเพิม่ มากขึน้ สภาพจิตใจย�่ำแย่ลง (Eijnden et al., 2008) ผลกระทบทางสุขภาพจิตของผู้ที่ติดสมาร์ทโฟน หรือเทคโนโลยีอย่างหนักนัน้ มีความสัมพันธ์เกีย่ วข้องกับ ความวิตกกังวลและโรคซึมเศร้า ดังผลงานวิจยั มหาวิทยาลัย Northwestern ในชิคาโกทีพ่ บความสัมพันธ์ระหว่างผูท้ ี่ เป็นโรคซึมเศร้าและระยะเวลาทีใ่ ช้สมาร์ทโฟน ผลงานวิจยั พบว่า ระดับของอาการซึมเศร้าทีเ่ กิดขึน้ มีความสัมพันธ์ กับปริมาณของเวลาทีใ่ ช้สมาร์ทโฟน ยิง่ การใช้ระยะเวลา มากขึ้น ระดับของอาการซึมเศร้าก็จะมากขึ้นไปด้วย ค่าเฉลีย่ ของระยะเวลาของผูท้ ใี่ ช้สมาร์ทโฟนและมีอาการ ซึมเศร้าคือ 68 นาทีตอ่ วัน ส่วนผูท้ ไี่ ม่ได้มอี าการซึมเศร้า แล้วค่าเฉลีย่ ของระยะเวลาเพียงแค่ 17 นาทีตอ่ วันเท่านัน้ (Mohr, 2015) ส�ำหรับการวิจัยในประเทศไทยนั้น มีผลงานวิจัย ที่ศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีกับภาวะ สุ ข ภาพใจของนั ก เรี ย นระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาในจั ง หวั ด
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
332
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
กาญจนบุรี เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ของพฤติกรรม การสือ่ สารเทคโนโลยีกบั ภาวะซึมเศร้าของนักเรียนพบว่า ปริมาณเวลาในการใช้การสือ่ สารไม่มผี ลต่อภาวะซึมเศร้า แต่ปัจจัยที่มีผลมากที่สุดคือ การเสพติดการสื่อสาร ทั้งโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีผลท�ำให้เกิดภาวะ ซึมเศร้าได้มากขึ้น ข้อค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่า ปริมาณ การใช้งานในการสือ่ สารมากหรือน้อยอาจไม่สำ� คัญเท่ากับ ภาวะความรู้สึกต้องการในลักษณะ “เสพติด” อันเป็น ตัวแปรส�ำคัญที่สะท้อนการให้คุณค่าความส�ำคัญ และ ผูกมัดการสือ่ สารเทคโนโลยีกบั ชีวติ ของตนเองอยูต่ ลอด เวลา เทคโนโลยีการสือ่ สารจึงเปรียบเสมือนเป็นเครือ่ งมือ ส�ำคัญที่ช่วยลดและสร้างปัญหาทางจิตใจให้คนในยุค ปัจจุบนั ได้ในเวลาเดียวกัน (Philnil, 2012) เช่นเดียวกับ งานวิจยั ทีศ่ กึ ษาผลกระทบของอินเทอร์เน็ตต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนไทยในกลุ่มเด็กและ เยาวชนพบว่า ในกลุม่ เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ หากได้รบั สือ่ อินเทอร์เน็ตจะได้รบั ผลดีมากกว่าผลเสีย แต่ถา้ ใช้งาน มากเกินไปจะส่งผลไม่ดีต่อร่างกายและจิตใจตามมาได้ (Suwannakoot & Prasertsin, 2009) การใช้เทคโนโลยี การสื่อสารแม้ว่าจะช่วยให้ผู้ใช้งานรู้สึกดีขึ้น แต่หากมี การเสพติดแล้วจะท�ำให้มคี วามสุขลดลง เพิม่ ความเสีย่ ง ในการเกิ ด ภาวะซึ ม เศร้ามากขึ้น ดัง นั้นอิท ธิพลของ เทคโนโลยีในการสือ่ สารมีผลต่อสุขภาวะจิตใจของคนเรา ได้ทงั้ ในทางบวกและทางลบ สอดคล้องกับผลการศึกษา อื่นๆ และแนวคิดการเสพติดเทคโนโลยีการสื่อสารที่ ยืนยันว่า การเสพติดเทคโนโลยีจะส่งผลให้จติ ใจผูใ้ ช้งาน ย�่ำแย่ลงไป (Eijnden et al., 2008) ทั้งนี้ปรากฏการณ์ ภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการใช้สื่อโซเชียลมากเกินไป เป็นภาวะทางจิตที่สามารถอธิบายโดยอาศัยทฤษฎีทาง จิตวิทยาได้ดังนี้
ทฤษฎีทางจิตวิทยากับภาวะซึมเศร้า
จากข้อมูลข้างต้นทีไ่ ด้อธิบายเกีย่ วกับสาเหตุหรือปัจจัย ต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า รวมถึงผลงานวิจัย ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้โซเชียลมีเดียกับ ภาวะซึมเศร้า จึงอาจอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย
ทฤษฎีทางจิตวิทยา 2 ทฤษฎีดังนี้ 1. ทฤษฎีจติ วิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) ทฤษฎีน้ีกล่าวถึงว่า ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะหมดหวัง ไร้ที่พึ่งพิง ไร้อ�ำนาจ ซึ่งเกิดหลังการเจ็บป่วยล้มเหลว หรือโดดเดี่ยว โดยทฤษฎีนี้ให้ความสนใจองค์ประกอบ ทีก่ ระตุน้ ให้เกิดภาวะซึมเศร้าตัง้ แต่แรกเกิดจนตลอดชีวติ ของบุคคล ทั้งการแสดงออก ผลกระทบต่อความรู้สึก นึกคิด อารมณ์ ตลอดจนความขัดแย้งต่างๆ ที่เป็นเหตุ แห่งความไม่สมหวัง (Bunrattanapa & Buathong, 2007: 17) เมือ่ บุคคลประสบกับการสูญเสีย ไม่วา่ จะเป็น การสูญเสียจริงหรือการสูญเสียทีผ่ ปู้ ว่ ยเข้าใจไปเอง มีผล ท�ำให้ตวั ตน (ego) ลดต�ำ่ ลงหรือถูกท�ำลายลงไป ซึง่ ตัวตน เป็นตัวกลางในการแสดงออกของบุคลิกภาพ เป็นทีต่ งั้ ของ สติและเป็นสือ่ กลางระหว่างสัญชาตญาณกับสิง่ แวดล้อม ภายนอก ซึง่ ประกอบด้วยการรับรู้ (perception) ความจ�ำ (memory) การตัดสินใจ (judgment) ความมีเหตุผล (reasoning) การแก้ปัญหา (problem solving) และ การตัดสินใจในการกระท�ำ (decision making) ซึง่ เกีย่ วข้อง กับความมีเหตุผล (logical) และความถูกต้องเหมาะสม (correct) เมื่อตัวตนลดต�่ำลงหรือถูกท�ำลาย จึงท�ำให้ ไม่สามารถทีจ่ ะคิดปลดปล่อยตนเองออกจากภาวะซึมเศร้า และความรู้สึกสูญเสีย เกิดการยับยั้งไม่ให้มีการต่อสู้ เพื่อปกป้องตนเอง รู้สึกผิดและบันดาลโทสะ ขาดความ สามารถในการควบคุมตนเอง ไม่สามารถคิดจัดการกับ การเปลีย่ นแปลงครัง้ ส�ำคัญ ท�ำให้เกิดความคิดในทางลบ ต่อตนเอง รู้สึกไร้ค่า ไม่มีความหมายใดๆ (Dryden & Golden, 1987 cited in Kamkum, 2011) นอกจากนี้ นักจิตวิเคราะห์หลายท่านอธิบายสาเหตุของภาวะซึมเศร้า ไว้ตา่ งกัน โดยอธิบายว่า อารมณ์เศร้าเป็นอารมณ์ผสมผสาน ของความสุขหลายๆ อย่าง ตั้งแต่ความรู้สึกกลัว เกลียด โกรธ ละอาย และความรู้สึกผิด โดยที่อารมณ์โกรธเป็น อารมณ์ดิบขั้นพื้นฐาน (Primitive) ที่สุดปรากฏให้เห็น แม้เด็กทารก ส่วนความรูส้ กึ ผิดเป็นอารมณ์ละเอียดอ่อน และสลับซับซ้อนมากทีส่ ดุ จะเกิดขึน้ ได้กเ็ ฉพาะในบุคคลทีม่ ี มโนธรรม (Superego) ก่อร่างขึน้ แล้ว (Tantiphalacheeva, 1993)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
2. ทฤษฎีด้านความคิดและการรับรู้ (Cognitive Theory) ทฤษฎีนอี้ ธิบายว่า ภาวะซึมเศร้าเกิดจากมีแนว ความคิด และการรับรู้ในทางลบเกี่ยวกับตนเอง โลก และอนาคต โดย เบค (Beck, 1973: 6) กล่าวว่า แนวความคิดนี้และทัศนคติเกี่ยวกับตนเองและสังคม จะได้รบั การพัฒนามาตัง้ แต่วยั เด็ก โดยเขาชีใ้ ห้เห็นแนว ความคิดเกีย่ วกับตนเองทางลบ เช่น ความรูส้ กึ มีปมด้อย รูส้ กึ ไร้คา่ ไม่มนั่ คง และจะตีความเรือ่ งต่างๆ ในลักษณะ ของความพ่ายแพ้ น่าอายอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นผู้ที่มี แนวโน้มทีจ่ ะตีความสถานการณ์ดงั กล่าวเป็นความเจ็บปวด และคับข้องใจเท่านั้น แต่บุคคลเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะ ตีความสถานการณ์ดังกล่าวว่าเป็นความพ่ายแพ้ รู้สึก เกลียดตัวเอง รูส้ กึ ผิดและไร้คา่ ซึง่ การตีความทีบ่ ดิ เบือน จากความเป็นจริงท�ำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้วา่ ภาวะซึมเศร้าดังกล่าว ได้ขยายวงกว้างในสังคมปัจจุบันเนื่องจากสังคมไทยได้ ก้าวเข้าสูย่ คุ ดิจทิ ลั Thailand 4.0 ซึง่ เป็นยุคทีเ่ ทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technology) ได้สง่ ผลต่อวิถกี ารด�ำรงชีวติ ของคนในสังคมแทบทุกกลุม่ ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากมีการแข่งขัน และต้องปรับตัวกันอย่างรวดเร็ว โดยส�ำนักงานพัฒนา ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจทิ ลั เพือ่ เศรษฐกิจและ สังคม เผยผลส�ำรวจพฤติกรรมผูใ้ ช้อนิ เทอร์เน็ตปี 2560 พร้อมผลส�ำรวจมูลค่าอีคอมเมิร์ซไทยปี 2559 และการ คาดการณ์มูลค่าอีคอมเมิร์ซไทยปี 2560 ชี้ยอดการซื้อ สินค้าและบริการทางออนไลน์เติบโตต่อเนื่อง ส�ำหรับ โซเชียลมีเดียทีค่ นไทยนิยมใช้มากทีส่ ดุ ได้แก่ YouTube (97.1%), Facebook (96.6%), Line (95.8%), Instagram (56%), Pantip (54.7%), Twitter (27.6%) และ WhatsApp (12.1%) และยังพบว่า 61.1% จากผู้ตอบ ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเฉลี่ย 3.06 ชั่วโมง/วัน 30.8% มีปริมาณการใช้เท่าเดิม และมีเพียง 8.1% ทีใ่ ช้ ลดลงเฉลี่ยที่ 2.24 ชั่วโมง/วัน ส่วนสถานที่ที่นิยมใช้ อินเทอร์เน็ตมากที่สุดยังคงเป็นที่บ้าน คิดเป็น 85.6%
333
รองลงมาคือ ทีท่ ำ� งาน 52.4% ตามมาด้วยการใช้ระหว่าง เดินทาง 24% เพิม่ ขึน้ จาก 14% ในปีกอ่ น ขณะทีก่ ารใช้ อินเทอร์เน็ตทีส่ ถานศึกษาลดลงจาก 19.7% เป็น 17.5% ในปีนี้ ส่วนกิจกรรมทีน่ ยิ มท�ำเมือ่ ใช้อนิ เทอร์เน็ตมากทีส่ ดุ 5 อันดับแรก ได้แก่ การใช้โซเชียลมีเดีย (86.9%) การค้นหา ข้อมูล (86.5%) การรับส่งอีเมล (70.5%) การดูทีวีและ ฟังเพลงออนไลน์ (60.7%) และการซื้อสินค้าออนไลน์ (50.8%) (Electronic Transactions Development Agency (Public Organization), 2017) จะเห็นว่าการใช้โซเชียลมีเดีย อาทิ Facebook, Instagram, Twitter และ Line ทีป่ ระกอบด้วยการรวม กลุ่มกันเพื่อใช้พื้นที่ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งระหว่าง สมาชิกและบุคคลอื่นๆ ในสังคมเพื่อแบ่งปันข้อมูลและ โต้ตอบกัน ตลอดจนการสนทนาติดต่อสือ่ สารผ่านระบบ เทคโนโลยีที่เป็นการพูดคุยกันผ่านทางอุปกรณ์สื่อสาร ทีค่ สู่ นทนาไม่ได้พบปะหน้าตากันโดยตรง ได้รบั ความนิยม และขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และสอดรับกับวิถีชีวิตของผู้คนใน สังคมสมัยใหม่โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มวัยเริ่ม ท�ำงาน ดังจะเห็นได้จากสถิตกิ ลุม่ ผูใ้ ช้อนิ เทอร์เน็ตต่อวัน สูงสุดทีเ่ ป็นกลุม่ Gen Y และ Gen Z (ในวันหยุด) และ เป็นการใช้งานโซเชียลมีเดียถึง 86.9% ท�ำให้การใช้สื่อ โซเชียลมีเดียกลายเป็นส่วนหนึง่ ของวิถแี ห่งการด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวันของผูค้ นยุคนีไ้ ปแล้วอย่างไม่ทนั รูต้ วั บางคนใช้ เวลาหลายชัว่ โมงต่อวันเพือ่ อยูใ่ นสังคมทีเ่ ป็นโลกเสมือน (Virtual society) ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยหรือติดตาม อ่านข้อความในเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างไม่รู้จัก เหน็ดเหนือ่ ยหรือเบือ่ หน่าย แต่กลับมีความรูส้ กึ สนุกสนาน เพลิดเพลินไปกับมัน ซึง่ ก็จดั ว่าเป็นการใช้งานตอบโจทย์ ตามวัตถุประสงค์ที่เราตั้งไว้ว่า การใช้สื่อโซเชียลที่ช่วย เพิ่มความสะดวกสบายในชีวิตเราในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะ เป็นการหาข้อมูลต่างๆ ที่จำ� เป็นให้กับเรา เช่น ข่าวสาร สาระความรู้ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวมความบันเทิง ให้ความรู้สึกสนุกสนาน ผ่อนคลาย รวมถึงการรู้สึกว่า ได้เข้าไปอยูห่ รือเข้าไปรับรูเ้ กีย่ วกับสังคมใหม่ๆ ทีใ่ นชีวติ จริง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
334
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
เราอาจไม่มโี อกาสได้เข้าถึงเลย และเมือ่ เราใช้สงั คมออนไลน์ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจ�ำวันของเรา เราสร้าง ความสัมพันธ์กับคนใหม่มากหน้าหลายตา บ้างก็เป็น คนแปลกหน้า บ้างก็เป็นเพือ่ นทีห่ า่ งหายกันไปนาน เมือ่ พิจารณาถึงข้อดีของการใช้เฟซบุก๊ อาจกล่าวได้วา่ ท�ำให้ คนที่อยู่ห่างไกลกัน หรือไม่ได้พบกันได้มีโอกาสติดต่อ สื่อสาร โดยสามารถสื่อสารผ่านข้อความหรือมัลติมีเดีย ได้สะดวก รวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถสื่อสารให้ผู้รับสาร ได้ทลี ะหลายคน โดยเสียค่าใช้จา่ ยน้อยกว่าเมือ่ เทียบกับ ค่าเดินทางเพือ่ พบปะกัน การโทรศัพท์หรือการส่งเอกสาร อย่างไรก็ตามข่าวและข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสียของเฟซบุ๊ก ที่เห็นประจักษ์ก็มีอยู่ไม่น้อย (Sae-Tung, 2013) แต่เมือ่ เราใช้ระยะเวลากับมันมากเกินไปจนบางครัง้ กลายเป็นหมกมุ่นอยู่กับความรู้สึกที่แสดงออกผ่านโลก ออนไลน์ เราอาจกลายเป็นคนทีม่ ปี ญั หาทางสุขภาพจิต เช่น มีพฤติกรรมเก็บตัว ไม่สงุ สิงกับโลกภายนอก จนกลายเป็น คนขี้เหงา หรืออาจถึงขั้นซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัว ส่วนหนึ่ง เพราะการอยู่ในสังคมออนไลน์แบบที่ตนเองต้องการ การยอมรับจะเป็นเหมือนการส่งเสริมให้บุคคลคนนั้น สร้าง Self-concept (อัตมโนทัศน์) ของตนเอง ตลอดจน ประมวลความมีคณ ุ ค่าของตนว่าอยูใ่ นระดับใด โดยสังคม ออนไลน์ถอื เป็นช่องทางในการสร้างความเห็นหรือความเชือ่ โดยรวมต่อตัวเองผ่านการประเมินโดยผูอ้ นื่ ด้วยการแสดง ความคิดเห็นต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นการคอมเม้นท์ การกดไลค์ เป็นต้น และในสังคมออนไลน์นเี้ องยังสามารถท�ำให้บคุ คล รับรูค้ วามเป็นตัวตนของผูอ้ นื่ แล้วท�ำการเปรียบเทียบกับ ผู้อื่นได้โดยง่าย จึงอาจส่งผลกระทบกับผู้ที่มีอารมณ์ อ่อนไหวหลังจากได้รับรู้ถึงชีวิตของคนอื่นและเกิดการ เปรียบเทียบกับตนเอง และพิจารณาว่า มันแตกต่าง จนกลายเป็นรูส้ กึ ว่าคนอืน่ ดีกว่า เก่งกว่า ฉลาดกว่า เกิด ทัศนคติดา้ นลบต่อตนเอง บางคนท้อแท้ หมดหวังขึน้ ได้
บทสรุป: แนวทางการป้องกันหรือแก้ไขปัญหา ภาวะซึมเศร้าจากการใช้สอื่ โซเชียลมากเกินไป สังคมไทยยังคงต้องเผชิญความเสีย่ งกับภาวะซึมเศร้า
จากการใช้สื่อโซเชียล หรือการใช้งานอินเทอร์เน็ตมาก เกินไป ซึง่ จัดว่าเป็นปัจจัยทีเ่ ราสามารถควบคุมได้ ไม่เหมือน ปัจจัยของโรคซึมเศร้าทีเ่ กิดจากพันธุกรรม หรือสารเคมี ในสมองที่ผิดปกติที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่ท้ังนี้ การทีเ่ ราจะสามารถควบคุมหรือจ�ำกัดความเสีย่ งในการ เกิดโรคซึมเศร้า หรือภาวะทางจิตอื่นๆ ที่มีสาเหตุจาก การใช้สอื่ โซเชียล หรือการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากเกินไป ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วม ช่วยกัน โดยสถาบันครอบครัวถือเป็นสถาบันหลักในการ เริ่มปลูกฝังความมีวินัยในการใช้สื่อโซเชียล และช่วย ป้องกันพฤติกรรมเสพติดได้ ด้วยการจัดสรรเวลาคุณภาพ ในครอบครัว ดังผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาการใช้เวลา คุณภาพในครอบครัว การติดสือ่ สังคมออนไลน์ และปัจจัย ทีม่ คี วามเกีย่ วข้องของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยให้กลุ่มตัวอย่าง จ�ำนวน 348 คน จาก 6 โรงเรียน ตอบแบบสอบถาม ซึง่ ประกอบด้วยแบบเก็บข้อมูลทัว่ ไป แบบทดสอบการติด สื่อสังคมออนไลน์ และแบบวัดการใช้เวลาคุณภาพใน ครอบครัว ใช้สถิตเิ ชิงพรรณาในการบรรยายข้อมูลทัว่ ไป ใช้สถิติ t-test, ANOVA และ Chi-square ที่ระดับ นัยส�ำคัญทางสถิติที่ 0.05 เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กบั การใช้เวลาคุณภาพในครอบครัว และการติด สื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงใช้การวิเคราะห์การถดถอย แบบพหุ (multivariate logistic regression) เพื่อ วิเคราะห์หาปัจจัยท�ำนายการใช้เวลาคุณภาพในครอบครัว ในระดับต�่ำและการติดสื่อสังคมออนไลน์ ผลการศึกษา พบว่า จากนักเรียน 348 คน มีการใช้เวลาคุณภาพอยูใ่ น ระดับปานกลาง สูง และต�ำ่ คิดเป็นร้อยละ 48.9, 34.2 และ 17.0 ตามล�ำดับ และอยู่ในกลุ่มไม่ติดสื่อสังคม ออนไลน์ คลั่งไคล้ และติดสื่อสังคมออนไลน์ คิดเป็น ร้อยละ 38.2, 33.9 และ 27.9 ตามล�ำดับ นอกจากนี้ พบว่า ระดับผลการเรียนเฉลีย่ ทีต่ ำ�่ สถานภาพสมรสระหว่าง บิดากับมารดาแบบหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ และระยะเวลา ต่อสัปดาห์ที่ใช้ร่วมกับผู้ปกครองหลักสัมพันธ์กับการใช้ เวลาคุณภาพในครอบครัว ขณะทีป่ จั จัยทีม่ คี วามสัมพันธ์
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
กับการติดสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ การใช้เวลาคุณภาพ ในครอบครัวในระดับต�ำ่ ศึกษาในระดับชัน้ เรียนทีส่ งู กว่า ใช้สมาร์ทโฟนและใช้เวลาในการเข้าถึงสือ่ สังคมออนไลน์ นาน
ข้อเสนอแนะ
สถาบันครอบครัวทีม่ บี ทบาทส�ำคัญมากในการจ�ำกัด ขอบเขตการใช้สอื่ โซเซียลทีเ่ หมาะสม เฝ้าระวังพฤติกรรม การใช้งานทีเ่ ข้าข่ายอาการเสพติดเทคโนโลยีเพือ่ ป้องกัน ไม่ให้เกิดผลทางด้านลบต่อสุขภาพจิตของวัยรุน่ ผูป้ กครอง ควรตระหนักถึงความส�ำคัญโดยการจัดสรรเวลาคุณภาพ ในครอบครัว ดูแลพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนและระยะ เวลาในการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่น ส่งเสริม การใช้การสือ่ สารทีเ่ กิดประโยชน์ทงั้ ในด้านจิตใจ การสร้าง ความสัมพันธ์ และการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามช่วงวัย รวมถึงส่งเสริมกิจกรรมทางเลือกอืน่ ทีน่ อกเหนือจากการ ใช้สอื่ สังคมออนไลน์เพือ่ ป้องกันปัญหาการเสพติดสังคม ออนไลน์จนละเลยการใช้ชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริง
335
นอกจากครอบครั ว จะใช้ เ วลาคุ ณ ภาพกั บ สมาชิ ก ใน ครอบครัวแล้ว ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมช่วยกันไม่ว่า จะเป็นสถาบันการศึกษา และภาครัฐทีค่ วรมีบทบาทในการ ให้ความรู้ถึงวัตถุประสงค์ วิธีการใช้ และผลกระทบของ สือ่ โซเซียลในมุมมองต่างๆ ทีเ่ หมาะสม (การรูเ้ ท่าทันสือ่ ) รวมถึงการปลูกจิตส�ำนึกในการใช้สื่อโซเชียล การมีสติ ในการโพสต์เพราะสิง่ ทีโ่ พสต์ออกไปแล้วอาจน�ำพาผลเสีย อื่นๆ ตามมาได้ นอกจากนี้ควรส่งเสริมการประยุกต์ใช้ สื่อโซเซียลให้กว้างมากขึ้น เช่น ใช้ในการเรียนการสอน การท�ำงาน หรือมีเวทีส�ำหรับกีฬาประเภท E-sports เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้โซเชียลได้มีความรู้เท่าทันสื่อโซเชียล และสามารถสร้างบรรยากาศใหม่ๆ แก่ผใู้ ช้งาน ไม่ตอ้ งจ�ำเจ กับสิ่งเดิมๆ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน ควรเปิดช่องทางหรือศูนย์การให้คำ� ปรึกษาแนะน�ำเกีย่ วกับ การส่งเสริมสุขภาวะทางจิตเมือ่ เกิดการเสพติดสือ่ โซเชียล ในพืน้ ทีใ่ ห้มากขึน้ ซึง่ จะเป็นส่วนหนึง่ ในการช่วยป้องกัน หรือหลีกเลี่ยงภาวะซึมเศร้าจากการใช้สื่อโซเชียลมาก เกินไปได้
References
Beck, A. (1973). The Diagonsis and Management of Depression. England: University of Pennsylvania Press. Bunrattanapa, K. & Buathong, R. (2007). Relationships between depression and coping behavior of undergraduate students in Nakhon Pathom Rajabhat University. Master of Science (Community Health), Graduate School Nakhon Pathom Rajabhat University. [in Thai] Eijnden, V., Meerkerk, G., Vermulst, A. A., Spijkerman, R. & Engels, R. C. (2008). Online Communication, Compulsive Internet Use, and Psychosocial Well-Being Among Adolescents: A Longitudinal Study. Developmental Psychology, 44(3), 655-665. Electronic Transactions Development Agency (Public Organization). (2017). ETDA reveals survey results of Internet behavior using and ecommerce value, Thailand is ready to become an ecommerce hub in ASEAN. Retrieved February 28, 2018, from www.etda.or.th [in Thai] Hongsrisuwan, N. (2016). Depressive disorder. HCU Journal, 19(38), 105-118. [in Thai] Kamkum, P. (2011). The effects of Psychoeducation program on Medication Adherence among Patients with Depression. Master of Nursing Science Department of Mental Health and Psychiatric Nursing, Faculty of Nursing, Thammasat University. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
336
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
Lhortrakul, M. (2004). Mental Health Articles: Depressive disorder. Retrieved April 24, 2018, from https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=859 [in Thai] Lhortrakul, M. (n.d.). Depressive disorder. Retrieved April 24, 2018, from https://med.mahidol.ac. th/th/news/announcements/08052015-0943-th [in Thai] Lin, L. Y., Sidani, J. E., Shensa, A., Radovic, A., Miller, E., Colditz, J. B., Hoffman, B. L., Giles, L. M. & Primack, B. A. (2016). Association between Social Media Use and Depression among U.S. Young Adults. Depress Anxiety, 33(4), 323-331. Lueboonthawatchai, O. & Lueboonthawatchai, P. (2010). Psychosocial treatment for depressive disorder. Bangkok: Chulalongkorn University press. [in Thai] Mohr, D. C. (2015). Mobile Phone Sensor Correlates of Depressive Symptom Severity in Daily-Life Behavior: An Exploratory Study. Journal of Medical Internet Research, 17(7), 1-11. Phaichareon, N. (2017). The Department of Mental Health identifies 1.5 million Thais as depressive disorders. Retrieved February 28, 2018, from www.benarnews.org/thai/news/TH-healthdepression-11062017153047.html [in Thai] Philnil, T. (2012). Communication Technology Use Behavior and Mental Health of Secondary School Students in Kanchanaburi Province. Thammasat University journal, 34(2), 134-149. [in Thai] Sae-Tung, S. (2013). Jub Jong Mong Facebook. Retrieved April 17, 2018, from http://www.klb.dmh. go.th/modules.php?m=article&gr=&op=detail&researchId=1876 [in Thai] Srisatit, T. & Sae-trakul, A. (2009). Mue Tue Nai Mue Dek. Bangkok: Consumer Protection Institute in Telecommunications National Broadcasting and Telecommunication Commission. [in Thai] Sukplum, C. (2005). Interpersonal communication. Bangkok: Odeanstore. [in Thai] Suwannakoot, P. & Prasertsin, A. (2009). The impact of internet on physical health and mental health of Thai children case study in Bangkok. Bangkok: Ministry of Social Development and Human security. [in Thai] Tantiphalacheeva, K. (1993). Psychiatric Textbook. Bangkok: Thammasat University. [in Thai] Vasupanrajit, A. (2014). Quality Family Time and Social Media Addiction of Lower Secondary School Students in Bangkok Metropolitan School. Master of Science, Department of Psychiatry Chulalongkorn University. [in Thai] . (2017). World Health Day 2017, Depression: Let’s talk. Retrieved April 19, 2018, from http://www.thaidepression.com/www/who_depress/1_who.pdf [in Thai] Wipulakorn, P. (2017). Ministry of Public Health warning “Depression syndrome” suggests families notice 9 symptoms. Retrieved April 24, 2018, from https://news.thaipbs.or.th/content/ 268828 [in Thai]
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
337
Name and Surname: Angkana Siriumpankul Highest Education: Master of science (Industrial Organization Psychology), Ramkamhaeng University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Psychology Address: 98/214 Perfect Park Ratchapruk Soi 6 RattanathibetRatchaphruek, Bang Rak Noi, Mueang, Nonthaburi 11000
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
338
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ค�ำแนะน�ำในการเตรียมบทความ การจัดพิมพ์บทความ
- ความยาวของบทความ 10-12 หน้ากระดาษ A4 พิมพ์หน้าเดียว ก�ำหนดระยะห่างจากขอบกระดาษ 1 นิ้ว (2.54 ซม.) เท่ากันทุกด้าน - บทคัดย่อและบรรณานุกรม พิมพ์ 1 คอลัมน์ เนื้อหาบทความ พิมพ์ 2 คอลัมน์ ย่อหน้า 1 ซม. - ตัวอักษรใช้รูปแบบ TH Sarabun PSK โดยใช้ขนาดและชนิดต่างๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ข้อความ
ขนาด ชนิด ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) 18 (CT) ตัวหนา ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ - ตัวพิมพ์ใหญ่) 16 (CT) ตัวหนา ชื่อผู้เขียน 14 (CT) ตัวหนา ชื่อสังกัดหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัย 14 (CT) ตัวธรรมดา Corresponding Author E-mail 12 (LJ) ตัวธรรมดา หัวข้อของบทคัดย่อ/Abstract 16 (LJ) ตัวหนา เนื้อหาบทคัดย่อ/Abstract 16 (LRJ) ตัวธรรมดา ค�ำส�ำคัญ/Keywords 16 (LJ) ตัวธรรมดา หัวข้อเรื่อง (ไม่ล�ำดับเลข) 16 (LJ) ตัวหนา หัวข้อย่อย 16 (LJ) ตัวหนา เนื้อเรื่อง 16 (LRJ) ตัวธรรมดา บรรณานุกรม 16 (LJ) ตัวธรรมดา ชื่อตาราง (ระบุไว้บนตาราง) 16 (LJ) ตัวหนา ชื่อรูป ชื่อแผนภูมิ (ระบุชื่อไว้ใต้รูป แผนภูมิ) 16 (CT) ตัวหนา CT = Centre Text, LJ = Left Justified, RJ = Right Justified, LRJ = Left & Right Justified
ส่วนประกอบของบทความ
1) ชื่อเรื่องบทความ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2) ชื่อผู้เขียนทุกคน พร้อมระบุ หน่วยงานที่สังกัด (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 3) บทคัดย่อ (Abstract) ความยาวไม่เกิน 250 ค�ำ และค�ำส�ำคัญ (Keywords) 3-5 ค�ำ (ทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ) ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
339
4) เนื้อเรื่อง 4.1) บทความวิชาการ ประกอบด้วย บทน�ำ เนื้อหา และบทสรุป 4.2) บทความวิจัย ประกอบด้วย บทน�ำ วัตถุประสงค์ ทบทวนวรรณกรรม วิธีการวิจัย ผลการวิจัย อภิปราย และสรุปผลการวิจัย 5) เอกสารอ้างอิง 6) หากมีรปู ภาพ แผนภูมิ ตารางประกอบ หรืออืน่ ๆ ต้องมีหมายเลขก�ำกับในบทความ อ้างอิงแหล่งทีม่ าของ ข้อมูลให้ถูกต้อง ชัดเจน และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ใช้รูปภาพสีหรือขาว-ด�ำ ที่มีความคมชัด และส่งภาพถ่าย ต้นฉบับหรือไฟล์รูปภาพ แนบมาพร้อมกับบทความ
การอ้างอิงเอกสาร
1) การอ้างอิงในเนือ้ หา เพือ่ บอกแหล่งทีม่ าของข้อความนัน้ ให้ใช้วธิ กี ารอ้างอิงแบบนาม-ปี โดยระบุชอื่ ผูเ้ ขียน ปีพิมพ์ และเลขหน้าของเอกสาร ไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังของข้อความที่ต้องการอ้างอิง เช่น Shaw (2017: 185) ….. หรือ ..... (Srikanchai & Watcharanun, 2017: 220) หรือ ..... (Kraikunasai et al., 2017: 172) 2) การอ้างอิงท้ายบทความ ให้รวบรวมเอกสารที่ใช้อ้างอิงไว้ท้ายบทความ เรียงตามล�ำดับอักษรชื่อผู้เขียน โดยใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงตามระบบ APA ดังนี้ วารสารและนิตยสาร รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), หน้าแรก-หน้าสุดท้าย. ตัวอย่าง: Kraikunasai, J., Chongcharoen, K., Ngudgratoke, S. & Pukchanka, P. (2017). A Causal Model of Administrative Factors Affecting Educational Quality in Vocational School. Panyapiwat Journal, 9(2), 171-184. [in Thai] Rabbani, M., Aghabegloo, M. & Farrokhi-Asl, H. (2016). Solving a bi-objective mathematical programming model for bloodmobiles location routing problem. International Journal of Industrial Engineering Computations, 8(1), 19-32. หนังสือ รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. เมืองที่พิมพ์: ส�ำนักพิมพ์. ตัวอย่าง: Ritcharoon, P. (2016). Principles of measurement and evaluation. Bangkok: House of Kermyst. [in Thai] Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
340
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
บทความ/เอกสารที่น�ำเสนอในการประชุมวิชาการ รูปแบบ: ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่องบทความ/เอกสาร. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ). ชื่อหัวข้อหรือเรื่อง การประชุม. ชื่อการประชุม. (หน้า–). สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์. ตัวอย่าง: Biswas, M. (2008). Confirmatory Factor Analysis of Iso Ahola’s Motivational Theory An Appilicaiton of Structural Equation Modeling. Conference on Tourism in India–Challenges Ahead (pp. 177-188). Kozhikode: Indian Institute of Management Kozhikode. Nasution, H. N. & Mavondo, F. T. (2005). The impact of service quality on customer value in the hotel industry. ANZMAC Conference 2005, 5-7 December 2005. Fremantle, Western Australia: ANZMAC. บทความจากหนังสือพิมพ์ รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์, เดือน วันที่). ชื่อเรื่อง. ชื่อหนังสือพิมพ์, หน้าที่น�ำมาอ้าง. ตัวอย่าง: Sriwattanachai, R. (2014, October 24). The Prefabricated Generation of Seasoning Sauce Market. Posttoday Newspaper, p. B3-B4. [in Thai] วิทยานิพนธ์ รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ชื่อปริญญา, สถาบันการศึกษา. ตัวอย่าง: Seangsri, W. (2009). An Analysis and Development of School Network Administration Model in Northeastern Rural Area. Doctoral Dissertation, Chulalongkorn University. [in Thai] Koufteros, X. A. (1995). Time-Based Manufacturing: Developing a Nomological Network of Constructs and Instrument Development. Doctoral Dissertation, University of Toledo, Toledo, OH. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบ: ชื่อผู้เขียน. (ปีที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต). ชื่อเรื่อง. สืบค้นเมื่อ......., จาก URL Address ตัวอย่าง: Department of Land Transport. (2013). Transport statistics report in 2013. Retrieved May 20, 2015, from http://apps.dlt.go.th/statistics_web/brochure/statreport113.pdf Shannon, C. E. & Weaver, W. (2010). Communication Theory: Model of Communication. Retrieved December 2, 2016, from http://communicationtheory.org/shannon-and-weaver-model-ofcommunication/
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
Panyapiwat Journal Vol.10 Special Issue July 2018
341
การสัมภาษณ์ รูปแบบ: นามสกุลผูถ้ กู สัมภาษณ์, อักษรตัวแรกของชือ่ ผูถ้ กู สัมภาษณ์. (วัน เดือน ปีทสี่ มั ภาษณ์). สัมภาษณ์. ต�ำแหน่ง. หน่วยงานที่สังกัดหรือที่อยู่. ตัวอย่าง: Chueathai, P. (2017, January 30). Interview. Vice President. Rajamangala University of Technology Lanna. [in Thai] Saiwanich, S. (2017, January 31). Interview. Vice Governor. Tak province. [in Thai]
การส่งบทความ
ผู้สนใจเสนอบทความสามารถจัดส่งบทความถึงกองบรรณาธิการวารสารปัญญาภิวัฒน์ ผ่านระบบ “Paper Submission” ได้ที่เว็บไซต์ http://journal.pim.ac.th
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
342
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 10 ฉบับพิเศษ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม 2561
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)