วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559 PANYAPIWAT JOURNAL Volume 8 No.2 May-August 2016 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559 PANYAPIWAT JOURNAL Volume 8 No.2 May-August 2016
จัดท�ำโดย
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 85/1 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ต�ำบลบางตลาด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0-2837-1102, 0-2832-0908 โทรสาร 0-2832-0392
พิมพ์ที่
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0-2218-3549-50 โทรสาร 0-2215-3612 http://www.cuprint.chula.ac.th E-mail: cuprint@hotmail.com
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ
ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2559 Vol.8 No.2 May - August 2016 ISSN 1906-7658 วารสารปัญญาภิวฒ ั น์ ได้ดำ� เนินการตีพมิ พ์เผยแพร่อย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2552 ปัจจุบนั เป็นวารสารทีอ่ ยู่ ในฐานข้อมูล TCI (Thai-Journal Citation Index Centre) กลุม่ ที่ 1 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ล�ำดับที่ 126 และเป็นวารสารทีผ่ า่ นการคัดเลือกเข้าสูฐ่ านข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) โดยมีนโยบายการจัดพิมพ์ ดังนี้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นเวทีในการเผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการในสาขาวิชา บริหารธุรกิจ การจัดการธุรกิจอาหาร วิทยาการจัดการ ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี อุตสาหกรรมเกษตร นวัตกรรมการจัดการเกษตร และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ส�ำหรับคณาจารย์ ผู้วิจัย และนักศึกษาทั้งในและต่างประเทศ 2. เพื่อเป็นแหล่งสารสนเทศและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในด้านต่างๆ อันจะน�ำมาสู่ประโยชน์ในการพัฒนา ธุรกิจและประเทศต่อไป ขอบเขตผลงานที่รับตีพิมพ์ ขอบเขตเนือ้ หา ประกอบด้วย สาขาวิชาบริหารธุรกิจ การจัดการธุรกิจอาหาร วิทยาการจัดการ ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี อุตสาหกรรมเกษตร นวัตกรรมการจัดการเกษตร และ สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ประเภทผลงาน ประกอบด้วย บทความวิจัย (Research article) บทความวิชาการ (Academic article) บทวิจารณ์หนังสือ (Book review) และบทความปริทัศน์ (Review article) นโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความ 1. บทความทีจ่ ะได้รบั การตีพมิ พ์ ต้องผ่านการพิจารณากลัน่ กรองจากผูท้ รงคุณวุฒิ (Peer review) ในสาขา ทีเ่ กีย่ วข้อง จ�ำนวนอย่างน้อย 2 ท่านต่อบทความ โดยผูท้ รงคุณวุฒจิ ะไม่ทราบข้อมูลของผูส้ ง่ บทความ (Double-Blind Peer review) 2. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อนและไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณา ของวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด รวมทั้งผู้เขียนบทความต้องไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่น 3. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความ รับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์แต่อย่างใด 4. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร ก�ำหนดพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ (ฉบับแรก เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ฉบับที่สอง เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม และ ฉบับที่สาม เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม)
ติดต่อกองบรรณาธิการ ส�ำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 85/1 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ต�ำบลบางตลาด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์: 0-2837-1102, 0-2832-0908 โทรสาร: 0-2832-0392 อีเมล: journal@pim.ac.th เว็บไซต์: http://journal.pim.ac.th
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีท่ี 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2559 PANYAPIWAT JOURNAL Vol.8 No.2 May - August 2016
ISSN 1906-7658
ที่ปรึกษา อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี และคณบดี
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
บรรณาธิการ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
รองบรรณาธิการ อาจารย์ ดร.กานต์จิรา ลิมศิริธง
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
กองบรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา รองศาสตราจารย์ ดร.ชนิดา ม่วงแก้ว รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระศักดิ์ อุรัจนานนท์ รองศาสตราจารย์ ดร.บุญวัฒน์ อัตชู รองศาสตราจารย์ ดร.ประพนธ์ เจียรกูล รองศาสตราจารย์ ดร.พีระ จิระโสภณ รองศาสตราจารย์ ดร.ยุภาดี ปณะราช รองศาสตราจารย์ ดร.วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ รองศาสตราจารย์ ดร.เอ็จ สโรบล รองศาสตราจารย์ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์ Dr. Kelvin C. K. LAM ดร.ลูกจันทร์ ภัครัชพันธุ์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏก�ำแพงเพชร มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นักวิชาการอิสระ
ผู้ทรงคุณวุฒิภายในสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ รองศาสตราจารย์ ดร.จินตวีร์ เกษมศุข รองศาสตราจารย์ ดร.ชม กิ้มปาน รองศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ สิริพลวัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาคร สมเสริฐ อาจารย์ ดร.ชาญชัย ไวเมลืองอรเอก อาจารย์ ดร.วีริสา โชติยะปุตตะ อาจารย์ ดร.อนันต์ บุญปาน อาจารย์ ดร.กุลพร พูลสวัสดิ ์ อาจารย์ ดร.อุราเพ็ญ ยิ้มประเสริฐ Dr. Shang Hongyan
คณะนิเทศศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร คณะศิลปศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร วิทยาลัยนานาชาติ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาจีน
ฝ่ายจัดการและเลขานุการกองบรรณาธิการ นางสาวเมธาวี ฮั่นพงษ์กุล นางสาวหทัยชนก เสาร์สูง
ส�ำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ส�ำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
ฝ่ายจัดการและเลขานุการกองบรรณาธิการ ฉบับ Supplementary อาจารย์ Nong Renyuan
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาจีน สถาบันการจัดการปัญญาภิวฒ ั น์
ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ (Reviewers) ศาสตราจารย์ ดร.บุษบา กนกศิลปธรรม ศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษณ์ ทองเลิศ รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต จีนอนันต์ รองศาสตราจารย์ ดร.ธนัญญา วสุศรี รองศาสตราจารย์ ดร.ทิวัตถ์ มณีโชติ รองศาสตราจารย์ ดร.นิรมล ศตวุฒ ิ รองศาสตราจารย์ ดร.บุญวัฒน์ อัตชู รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช อภิบุณโยภาส รองศาสตราจารย์ ดร.วัลลภ สันติประชา รองศาสตราจารย์ ดร.วุฒิพงษ์ ค�ำวิลัยศักดิ์ รองศาสตราจารย์ ดร.อรุณี อินทรไพโรจน์ รองศาสตราจารย์ ดร.อุษา บิ้กกิ้นส์ รองศาสตราจารย์ประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช รองศาสตราจารย์สมชาย หิรัญกิตติ รองศาสตราจารย์สุวิมล แม้นจริง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญณ์ระวี อนันตอัครกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เขมมารี รักษ์ชูชีพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช ศรีอัษฎาพร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ผังนิรันดร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประทีป จินงี่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูลทรัพย์ นาคนาคา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ปานจันทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลภา สบายยิ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริพร ศุภราทิตย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรประพันธ์ ส่งเสริม ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิมล พูพิพิธ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรศักดิ์ มหัทธโนบล ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาพร ตันติสันติสม ดร.ธนายุ ภู่วิทยาธร ดร.สมชาย วงศ์รัศมี Dr. Meng Wei
มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ศูนย์บางกะดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ข้าราชการเกษียณจากมหาวิทยาลัยรามค�ำแหง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
บทบรรณาธิการ เทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ เทคโนโลยีสารสนเทศได้เอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจ
สมัยใหม่สามารถท�ำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ได้ เช่น การซื้อขายสินค้า และท�ำธุรกรรมผ่านเว็บไซต์ หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เป็น กระบวนการในการด�ำเนินธุรกิจ โดยอาศัยเทคโนโลยี เครือข่ายทีเ่ รียกว่า องค์กรเครือข่ายร่วมในการด�ำเนินงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการท�ำธุรกิจ มากยิง่ ขึน้ กระแสความนิยมของอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามี บทบาทต่อวิถีชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น จึงท�ำให้องค์กร ต่างๆ น�ำ e-Business มาใช้เป็นช่องทางในการขยาย ขอบเขตของการด�ำเนินธุรกิจกันมากยิ่งขึ้น การบริ ห ารธุ ร กิ จ สมั ย ใหม่ จึ ง ต้ อ งประยุ ก ต์ ใ ช้ เทคโนโลยี ส ารสนเทศเพื่ อ ติ ด ตามการเปลี่ ย นแปลง ของโลกซึง่ ไร้พรมแดน และการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งใน และต่างประเทศ วิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค และความแตกต่างจากคู่แข่งทั้งด้านสินค้าและบริการ ราคา สถานที่จ�ำหน่าย การส่งเสริมการขายต่างๆ และ ระบบการให้บริการทีส่ อดคล้องกับความต้องการมากทีส่ ดุ โดยที่ ก ารน� ำ เอาเทคโนโลยี ส ารสนเทศมาใช้ ใ นการ บริหารธุรกิจสมัยใหม่สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต สนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารงาน และการวิเคราะห์ การแข่งขันทางธุรกิจ อันจะก่อให้เกิดความแข็งแกร่ง ทางด้านธุรกิจ และความสามารถน�ำไปสู่การแข่งขัน ในเศรษฐกิจยุคใหม่ โดยที่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับ ธุรกิจเป็นประโยชน์ตอ่ การด�ำเนินงานด้านการเพิม่ ผลผลิต ภาพรวมขององค์กร ได้แก่ การลดค่าใช้จา่ ย ลดระยะเวลา ในการด�ำเนินงานให้สั้นลง สร้างความได้เปรียบในการ แข่งขันแก่ธุรกิจ ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในความรู้สึก ของผู้บริโภค เป็นต้น ปัจจุบนั ระบบสารสนเทศทางธุรกิจได้รบั ความสนใจ น�ำไปใช้งานอย่างแพร่หลายในหน่วยงานทั้งภาคเอกชน
และภาครั ฐ บาล ซึ่ ง ครอบคลุ ม การด� ำ เนิ น งานและ กิจกรรมของธุรกิจทีไ่ ม่ใช่เพียงเพือ่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การส่งผ่านข้อมูล และการควบคุม การปฏิบัติงานเท่านั้น แต่องค์กรต่างๆ ได้นำ� เทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในการด�ำเนินงานทางธุรกิจที่มีความ ซับซ้อนมากขึน้ มีกลุม่ เป้าหมายทีแ่ ตกต่างกันทัง้ ในแนวราบ และแนวดิง่ ในทัว่ ทุกมุมของโลก ซึง่ จะต้องเกีย่ วข้องกับ การตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงสุดเพื่อให้การบริหาร ธุรกิจสามารถธ�ำรงอยูแ่ ละเติบโตอย่างต่อเนือ่ ง ท่ามกลาง กระแสการเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็วของสถานการณ์โลก อย่างไรก็ตามการน�ำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ใน การพั ฒ นาองค์ ก รและธุ ร กิ จ ให้ ป ระสบความส� ำ เร็ จ ขององค์กรนั้นขึ้นอยู่กับความพร้อมของปัจจัยภายใน องค์กรหลายด้าน ได้แก่ ระบบของเทคโนโลยีขององค์กร งบประมาณในการพัฒนาบุคลากรทีพ่ ร้อมรับเทคโนโลยี สารสนเทศ การบริหารจัดการ สิง่ เหล่านีเ้ ป็นปัจจัยส�ำคัญ ของการน�ำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหาร ธุรกิจสมัยใหม่ให้ก้าวทันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงของ โลกไร้พรมแดน ดั ง นั้ น บทความทางวิ ช าการและบทความวิ จั ย ในด้านการบริหารจัดการธุรกิจและสาขาอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง อย่างหลากหลาย ที่เป็นประโยชน์ส�ำหรับนักวิชาการ นักวิชาชีพ และผู้สนใจทั่วไป ได้ผ่านการพิจารณาจาก ผู้ส่งคุณวุฒิและน�ำมาเผยแพร่ในวารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 นี้ยังคงมุ่งเน้นสนับสนุนและส่งเสริม การเผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย และรวบรวม องค์ความรู้ที่หลากหลาย ทันสมัย เพื่อน�ำไปสู่การใช้ ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป บรรณาธิการ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล tippapornmah@pim.ac.th
สารบัญ บทความวิจัย ปัจจัยที่ใช้ในการวางแผนองค์การธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้านการเลือกท�ำเลที่ตั้งหมู่บ้านจัดสรรยุคใหม่ รุ่งอาทิตย์ บูชาอินทร์, กฤช จรินโท
1
ความยุติธรรมในสิทธิประโยชน์ การสนับสนุน และภาพลักษณ์ตราสินค้าของผู้ให้สิทธิที่มีอิทธิพลต่อ ความส�ำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟสดในประเทศไทย กัญชพร ศรมณี, ระพีพรรณ พิริยะกุล, ชาคริต สกุลอิสริยาภรณ์
11
อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาใช้ บริการซ�้ำของลูกค้าโรงพยาบาลพระราม 2 ไชยชนะ จันทรอารีย์, มาเรียม นะมิ, อัมพล ชูสนุก
25
การประยุกต์ใช้โกลด์เดนบอล อัลกอริทึม เพื่อแก้ปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะ ในรูปแบบที่มีการใช้ ยานพาหนะร่วมกันระหว่างของบริษัท และการจัดจ้าง ตันติกร พิชญ์พิบุล, นัชชา เทียมพิทักษ์, นริศ ธรรมเกื้อกูล
41
การศึกษาโอกาสและอุปสรรคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มไทยในประเทศเมียนมาร์ ภัทรนิษฐ์ ศรีบุรีรักษ์, ศิระ นาคะศิริ, พวงเพ็ชร์ นิธยานนท์
51
关系网络、国际经验知识与中小企业国际化速度
RELATIONSHIP NETWORK, INTERNATIONAL EXPERIENTIAL KNOWLEDGE AND INTERNATIONALIZATION SPEED OF SMEs Peter Y Y Ng, Haijun Lu
63
管理者过度自信对企业投资行为的影响研究
THE INFLUENCE OF MANAGER’S OVERCONFIDENCE PERSONALITY ON THE CORPORATE INVESTMENT BEHAVIOR Qiang Yan, Haijun Lu
80
บทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การด้านพนักงานของวิสาหกิจขนาดกลาง ธนายุ ภู่วิทยาธร
90
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักศึกษาฝึกงาน กรณีศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ชลิดา ชาญวิจิตร, ประสพชัย พสุนนท์
100
ความสามารถในการเผชิญอุปสรรค ความเครียดในการท�ำงาน ต่อพฤติกรรมองค์การเชิงบวก สิริกาญจน์ เพ็ญศิริกุล
111
แนวทางการสร้างความสุขในการท�ำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภคกฤช สุวรรณมา, ธนาสิทธิ์ เพิ่มเพียร
122
การพัฒนารูปแบบวัฒนธรรมคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน นันทพร แสงอุไร, สุพรรณี สมานญาติ, นภัทร์ แก้วนาค
134
ผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT: กรณีศึกษาโครงการ Pre-Calculus 2557 นฤเทพ สุวรรณธาดา
144
แบบจ�ำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีกูเกิลแอปส์ เพื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มารยาท โยทองยศ, ศิริวรรณ ว่องวีรวุฒิ
153
ยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผล ประภาส ไชยมี
168
การรู้เท่าทันสื่อ: ประโยชน์และการน�ำไปใช้ กรณีศึกษา สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง อุราเพ็ญ ยิ้มประเสริฐ, นพมาศ ปลัดกอง, อังคณา ศิริอ�ำพันธ์กุล
183
เปรียบเทียบผลผลิตน�ำ้ ยางที่ได้จากการใช้เครื่องเจาะกับการกรีด วรวิทย์ สิริพลวัฒน์, วิวัฒน์ ไม้แก่นสาร
196
การพัฒนาระบบรับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษาส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ พงศ์กร จันทราช
205
บทความวิชาการ การจัดการ: องค์ความรู้และการพัฒนาตัวแบบทางทฤษฎี สุธินี อัตถากร
215
ความกลัวที่ส่งผลต่อการแสดงอวัจนสารอันไม่พึงประสงค์ต่อการพูดในที่สาธารณะ สุธาสินี พ่วงพลับ
227
นโยบายต่างประเทศจีนต่อแอฟริกาในศตวรรษที่ 21 วิลาสินี พิบูลย์เศรษฐ์
237
WHEN TRANSLATION IS NOT THE FINAL ANSWER TO CONVEY THE MEANING OF A MESSAGE Mett Robrue
249
แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรสู่การด�ำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน จินตวีร์ เกษมศุข
261
EFFECTS OF SOYBEAN PHYTOESTROGENS ON THE DEVELOPMENT OF AVIAN REPRODUCTIVE SYSTEM Nutdanai Boonnoon, Nattaporn Chotyakul, Nutmethee Kruepunga
272
กรอบแนวคิดของการสร้างภาพความละเอียดสูงยิ่งโดยโดเมนความถี่จากภาพความละเอียดต�่ำที่มีปัญหา เอเลียสซิง (Aliasing): ภาคทฤษฎี วรพจน์ พัฒนวิจิตร
284
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
1
ปัจจัยที่ใช้ในการวางแผนองค์การธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้านการเลือกท�ำเลที่ตั้ง หมู่บ้านจัดสรรยุคใหม่ THE FACTORS USED IN REAL ESTATE ORGANIZATION PLANNING FOR SITE SELECTION OF NEW HOUSING PROJECTS รุ่งอาทิตย์ บูชาอินทร์1 และกฤช จรินโท2 Rungathit Buchain1 and Krit Jarinto2 1,2วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 1,2Graduate School of Commerce, Burapha University
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงพื้นที่ที่ใช้ในการวิเคราะห์ท�ำเลที่ตั้งของหมู่บ้านจัดสรร 2) เพือ่ ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการเลือกท�ำเลทีต่ งั้ หมูบ่ า้ นจัดสรรขององค์การธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยใช้วธิ กี าร วิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยท�ำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักจ�ำนวน 19 คน ประกอบด้วยผู้บริหารองค์การธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิสารสนเทศ และท� ำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จากผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยหลักที่ผู้ประกอบการใช้ในการเลือกท�ำเลเพื่อการ พัฒนาโครงการหมูบ่ า้ นจัดสรรมีปจั จัยทัง้ 6 ด้าน เรียงล�ำดับจากมากทีส่ ดุ ดังนี้ 1) ด้านการเข้าถึงสิง่ อ�ำนวยความสะดวก โดยจะพิจารณาจากการเข้าถึงศูนย์การค้า ตลาด โรงเรียน และโรงพยาบาล 2) ด้านการเข้าถึงการเดินทาง จะพิจารณา จากระยะห่างจากถนน 3) ด้านการเข้าถึงแหล่งงาน จะพิจารณาจากการเข้าถึงแหล่งอุตสาหกรรม และแหล่งท่องเทีย่ ว 4) ด้านภัยพิบตั แิ ละอาชญากรรม จะพิจารณาจากการเกิดน�ำ้ ท่วมซ�ำ้ ซาก และความหนาแน่นของชุมชน 5) แผนพัฒนา เมือง จะพิจารณาจากการใช้ที่ดินตามกฎหมายผังเมือง 6) ด้านปัจจัยทางภูมิศาสตร์ จะพิจารณาจากความสูงต�่ำของ พื้นที่และทิศทางลม ค�ำส�ำคัญ: การวางแผน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การเลือกท�ำเลที่ตั้ง
Abstract
The article had objectives 1) to study factors used to analyze the spatial location of the housing projects, 2) to use the results of the study as a guideline to plan for the selection of the location of the housing project of real estate organizations. The study was a qualitative research in which the researcher collected the data by using in-depth interview. There were 19 main Corresponding Author E-mail: nooying_bu@hotmail.com
2
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
informants consisting of the executives of the real estate organizations and the experts in Geo-informatics. The collected data were analyzed through the qualitative analysis program. The findings revealed that there were 6 main factors that the entrepreneurs used for selecting the locations. They were 1) the access to the facilities which was determined by whether it was close to a shopping center, a market ,a school or a hospital; 2) the access to transportation which was determined by the distance from the roads; 3) the access to the job source which was determined by whether it was close to industry sources or attraction spots; 4) Disaster and crime which was judged from the flooded area or the density of the community; 5) City Development Plan which was determined by land-use planning laws, and 6) the geographic factor which was determined by the height of the area and the wind direction. Keywords: planning, real estate business, the selection of the location
บทน�ำ
การวางแผนการเลือกท�ำเลที่ตั้งในการพัฒนาธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ประเภทหมูบ่ า้ นจัดสรรถือเป็นกระบวนการ ที่ส�ำคัญที่น�ำไปสู่การบริหารจัดการองค์การให้ประสบ ความส�ำเร็จ และถือเป็นการลดความเสีย่ งในการด�ำเนิน ธุรกิจในล�ำดับแรกก่อนที่จะมีการด�ำเนินการในขั้นตอน อืน่ ๆ โดยเฉพาะการเลือกท�ำเลทีจ่ ะพัฒนาต่อไปในอนาคต ประกอบกับการมีรปู แบบการบริหารจัดการทีส่ อดคล้อง และตอบสนองกับกลุ่มเป้าหมาย และสถานการณ์ที่ เปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันวิธีการส�ำรวจด้านการเลือก ท�ำเลขององค์การธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทใี่ ช้กนั อยู่ ยังต้อง อาศัยก�ำลังคนในการส�ำรวจในพื้นที่ต่างๆ เพื่อน�ำข้อมูล มาประกอบการตัดสินใจ และวิเคราะห์ความคุ้มค่า ในการลงทุน ซึ่งอาจท�ำให้เกิดความล่าช้าและสิ้นเปลือง ก�ำลังคนที่จะต้องใช้ในขั้นตอนนี้ โดยผู้วิจัยได้เห็นความ ส� ำ คั ญ ของกระบวนการวางแผนในการเลื อ กท� ำ เล จึงท�ำการศึกษาปัจจัยเชิงพืน้ ทีซ่ งึ่ จะน�ำไปสูก่ ระบวนการ วิเคราะห์การวางแผนการเลือกท�ำเลโดยใช้เทคโนโลยี ภูมิสารสนเทศ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงพื้นที่ในการหาท�ำเลที่เหมาะสมในการสร้าง หมูบ่ า้ นจัดสรร ดังนัน้ การศึกษาถึงการวางแผนการเลือก ท�ำเลที่ตั้ง จึงเป็นสิ่งจ�ำเป็นอย่างยิ่งในการด�ำเนินธุรกิจ
ขององค์การธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทีจ่ ะช่วยให้การพัฒนา โครงการหมูบ่ า้ นจัดสรรนัน้ ตอบสนองความต้องการของ ผู้บริโภคได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย และใช้เป็นข้อมูล ส�ำหรับการวางแผนการเลือกท�ำเลที่จะพัฒนาต่อไปใน อนาคต
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพือ่ ศึกษาปัจจัยเชิงพืน้ ทีท่ ใี่ ช้ในการวางแผนการ เลือกท�ำเลที่ตั้งหมู่บ้านจัดสรร 2. เพือ่ ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการเลือกท�ำเล ที่ตั้งหมู่บ้านจัดสรร ขององค์การธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ทบทวนวรรณกรรม
แนวคิดทฤษฎีการวางแผน (Planning) ความหมายของการวางแผน การวางแผนเป็น ขั้นตอนแรกสุดของหน้าที่การจัดการ เป็นกระบวนการ พื้นฐานในการก�ำหนดเป้าหมาย และจัดวางวิธีการเพื่อ ด�ำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ค�ำกล่าวทีว่ า่ “ความส�ำเร็จ ของงานมาจากการวางแผนทีด่ ”ี หรือ “การวางแผนทีด่ ี เท่ากับท�ำงานส�ำเร็จไปแล้วครึง่ หนึง่ ” (ตุลา มหาพสุธานนท์, 2554: 107) ซึ่งการวางแผนจัดอยู่ในขั้นตอนแรกของ กระบวนการจัดการ จะเกีย่ วข้องกับการก�ำหนดเป้าหมาย
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
และการตั ด สิ น ใจว่ า ท� ำ อย่ า งไรเพื่ อ บรรลุ เ ป้ า หมาย การวางแผนจะช่วยในการตรวจสอบความก้าวหน้า ความร่วมมือในกิจกรรมการคาดการณ์ลว่ งหน้า และการ จัดการกับความไม่แน่นอนทีอ่ าจจะเกิดขึน้ โดยวิเคราะห์ ดูวา่ สถานการณ์ทเี่ กิดขึน้ มีผลกระทบกับองค์การด้านใดบ้าง และควรโต้ตอบสถานการณ์นนั้ อย่างไร ซึง่ แต่ละองค์การ มักจะมีการตอบรับกับสภาวะความไม่แน่นอนในวิธีที่ แตกต่างกันไป (Kinicki & Williams, 2009: 89) โดยสรุ ป การวางแผนเป็นขั้นตอนแรกของการ จัดการองค์การโดยเป็นขัน้ ตอนของการก�ำหนดนโยบาย แผนงานในระดับต่างๆ รวมถึงการก�ำหนดทิศทาง หรือ เป้าหมายขององค์การทีน่ ำ� ไปสูข่ นั้ ของการปฏิบตั งิ านและ กิจกรรมทีจ่ ะท�ำให้บรรลุเป้าหมายทีว่ างไว้ ซึง่ ผูว้ จิ ยั ได้นำ� แนวคิดด้านการวางแผนมาประยุกต์ใช้กบั องค์การธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ดา้ นการเลือกท�ำเลทีต่ งั้ ของหมูบ่ า้ นจัดสรร โดยน�ำปัจจัยเชิงพื้นที่มาใช้วิเคราะห์ในการเลือกพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้องค์การสามารถด�ำเนินโครงการบนท�ำเล ที่เหมาะสมตอบสนองความต้องการของลูกค้า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกท�ำเลที่ตั้งและการจัดการ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จากการสังเคราะห์เอกสาร และงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้อง สามารถสรุปปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกท�ำเลที่ตั้งได้ดังนี้ 1) ใกล้เขตใจกลางเมือง (Central Business District) หรือ CBD ซึ่งจากงานวิจัยของ Wu, Zhang & Dong (2013: 6-24) ทีไ่ ด้ทำ� การศึกษาการวัดความสัมพันธ์ของ ผลกระทบต่อลักษณะเฉพาะของท�ำเลที่ตั้งกับลักษณะ เฉพาะส่วนบุคคลในการก�ำหนดท�ำเลทางเลือกเพื่อการ อยูอ่ าศัยของภาคครัวเรือน ผลทีพ่ บคือ ปัจจัยด้านท�ำเล ที่ตั้งที่มีความส�ำคัญมากที่สุดคือ ความสามารถในการ เข้าถึงสินค้าหรือบริการ 2) การเข้าถึงการเดินทาง (Transportation) บทบาทของการคมนาคมขนส่งมีผล ต่อการพัฒนาทีอ่ ยูอ่ าศัยของคนในเขตเมือง (Weisbrod, Ben-Akiva & Lerman, 2007: 1-14) โดยพื้นที่เมือง ส่วนใหญ่จะอยูใ่ นพืน้ ทีท่ มี่ คี วามเหมาะสมต่อการขยายตัว
3
ของเมือง ซึ่งจะอยู่ใกล้กับเส้นทางคมนาคมสายหลัก และสายรอง 3) ใกล้บริการสาธารณะ (Public Service) ปัจจัยที่ส�ำคัญของการเลือกที่อยู่อาศัย คือ การเข้าถึง สิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน โรงพยาบาล โรงเรียน ธนาคาร สถานีต�ำรวจ สถานที่ พักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น (Frenkel, Bendit & Kaplan, 2013: 33-41) 4) ใกล้พื้นที่อุตสาหกรรม (Industry Area) ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่างโซนที่อยู่อาศัย และโซนสถานที่ท�ำงาน ได้แก่ ย่านอุตสาหกรรมจะมีผล ต่อการตัดสินใจเลือกท�ำเลในการสร้างที่อยู่อาศัยของ ผู้ประกอบการ ซึ่งจะท�ำให้ผู้อยู่อาศัยลดระยะเวลา และค่าใช้จา่ ยในการเดินทางลงได้ (Ibeas et al., 2013: 110-122) 5) ราคาที่ดิน (Land Price) การพิจารณา เลือกท�ำเลที่ตั้งของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จ�ำเป็นต้อง ค�ำนึงถึงต้นทุนในการด�ำเนินงาน ซึ่งการเลือกท�ำเลที่มี ราคาที่ดินต�่ำจะช่วยให้ลดต้นทุนในการด�ำเนินงานลงได้ (Hadavandi et al., 2010: 70-83) 6) การใช้ประโยชน์ ที่ดิน (Land use) ลักษณะของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในบริเวณใกล้เคียงกันจะเป็นตัวแปรหลักที่มีผลต่อการ ตัดสินใจ และเป็นทางเลือกของแบบจ�ำลองการเลือก ท�ำเลทีอ่ ยูอ่ าศัย (Guo & Bhat, 2007: 31-45) 7) พืน้ ที่ ควบคุมทางกฎหมาย (Non-legal areas controlled) การเลือกท�ำเลในการปลูกสร้างทีอ่ ยูอ่ าศัยควรอยูใ่ นพืน้ ที่ ที่ไม่ถูกควบคุมหรือมีเงื่อนไขในการก่อสร้าง (อนุชา กุลวิสุทธิ์, 2556: 327) แนวคิดทฤษฎีดา้ นภูมสิ ารสนเทศศาสตร์ (Geo-Informatics) ภูมสิ ารสนเทศศาสตร์ คือ ศาสตร์ทเี่ น้นการบูรณาการ เทคโนโลยีทางด้านการส�ำรวจ ด้านการท�ำแผนที่ และ การวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงพืน้ ที่ ข้อมูลเชิงบรรยายเข้าด้วยกัน เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางด้านพื้นที่ที่เกิดขึ้น บนโลก ประกอบด้วย ระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร์ (GIS) การรับรูร้ ะยะไกล (RS) และระบบก�ำหนดต�ำแหน่งบนโลก ด้วยดาวเทียม (GPS) เทคโนโลยีทั้งสามประเภทนี้มี
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
4
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ลักษณะการท�ำงานทีเ่ ป็นอิสระต่อกัน หรือสามารถน�ำมา เชือ่ มโยงร่วมกันได้สง่ ผลท�ำให้มปี ระสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้ และสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้ เช่น ในกิจการทหาร การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ การวางผังเมืองและ ชุมชน หรือแม้แต่ในเชิงธุรกิจก็ได้มีการน�ำเทคโนโลยี ภูมสิ ารสนเทศมาประยุกต์ และใช้ประกอบการวางแผน การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และ มีประสิทธิภาพ (ส�ำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและ ภูมิสารสนเทศ, 2554: 1) จากการทบทวนวรรณกรรมผู้วิจัยสามารถสร้าง กรอบแนวคิดในการวิจัยได้ดังนี้ ปัจจัยการเลือกท�ำเล หมู่บ้านจัดสรร 1. ใกล้เขตใจกลางเมือง 2. การเข้าถึงการเดินทาง 3. ใกล้บริการสาธารณะ 4. ใกล้พื้นที่อุตสาหกรรม 5. ราคาที่ดิน 6. การใช้ประโยชน์ที่ดิน 7. พืน้ ทีค่ วบคุมทางกฎหมาย
การวางแผนการ เลือกท�ำเลที่ตั้ง หมู่บ้านจัดสรร
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
วิธีการวิจัย
งานวิ จั ย นี้ ผู ้ วิจั ย ใช้วิธีก ารวิจัยเชิง คุณภาพโดยมี ขั้นตอนในการด�ำเนินการวิจัยดังนี้ 1) การเลือกผู้ให้ ข้อมูลหลัก ซึ่งงานวิจัยนี้ใช้การเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก แบบเจาะจง เป็นการเลือกผู้ให้ข้อมูลให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของการวิจยั มากทีส่ ดุ (สิน พันธุพ์ นิ จิ , 2554: 105) โดยผู้ให้ข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นผู้บริหารที่มี ประสบการณ์ในการบริหารจัดการ และการเลือกท�ำเล ในการพัฒนาโครงการหมู่บ้านจัดสรร และผู้เชี่ยวชาญ
ด้านภูมิสารสนเทศศาสตร์ รวมทั้งหมด จ�ำนวน 19 คน 2) การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยเตรียมการ ในด้านความรู้เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีด้านการวางแผน และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ รวมถึงเตรียมความรู้ ในเรื่องกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อให้เกิดความ เข้าใจในกระบวนการวิจัย ซึ่งจะน�ำไปสู่การท�ำวิจัยที่มี ความถูกต้อง และมีความครอบคลุมกับประเด็นทีต่ อ้ งการ จะศึกษาให้มากที่สุด โดยการออกแบบแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็น ข้อมูลทัว่ ไปของผูใ้ ห้สมั ภาษณ์ ส่วนที่ 2 เป็นแนวค�ำถาม เกี่ยวกับปัจจัยเชิงพื้นที่ที่ใช้ในการเลือกท�ำเลที่ตั้งของ หมู่บ้านจัดสรร 3) การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยท�ำการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยเตรียมค�ำถามกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) ลักษณะการสัมภาษณ์ แบบไม่เป็นทางการ โดยการก�ำหนดค�ำถามออกเป็น ประเด็นให้ครอบคลุม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ของการวิจยั การสัมภาษณ์แต่ละรายจะท�ำการสัมภาษณ์ จนกว่าจะไม่พบข้อสงสัยหรือไม่มีข้อมูลใหม่เกิดขึ้น ที่เรียกว่า ข้อมูลอิ่มตัว (Data Saturation) จึงหยุดการ สัมภาษณ์ (สุภางค์ จันทวานิช, 2554: 29) 4) การวิเคราะห์ ข้อมูล น�ำข้อมูลทีไ่ ด้จากการถอดความจากเครือ่ งบันทึก เสียงการสัมภาษณ์ และการบันทึกภาคสนามมาพิจารณา หลายๆ ครั้ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในภาพรวมของ ข้อมูลทีไ่ ด้ และพิจารณาประเด็นทีส่ ำ� คัญ แล้วจึงตีความ พร้อมท�ำการดึงข้อความหรือประโยคทีส่ ำ� คัญมาจัดกลุม่ และตั้งชื่อค�ำส�ำคัญ ซึ่งจะจัดเป็นประเด็นหลัก และ ประเด็นย่อยที่อยู่ภายใต้ความหมายของประเด็นหลัก โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์เชิงคุณภาพในการจัดการกับ ข้อมูล และเขียนอธิบายปรากฏการณ์จากสิ่งที่ค้นพบ อย่างละเอียด และชัดเจน โดยจะไม่มีการน�ำทฤษฎีไป ควบคุมปรากฏการณ์ทเี่ กิดขึน้ พร้อมทัง้ ยกตัวอย่างค�ำพูด ประกอบค�ำหลักส�ำคัญที่ได้ เพื่อแสดงความชัดเจนของ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ผลการวิจัย
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผูใ้ ห้ขอ้ มูลหลัก และ การวิเคราะห์ขอ้ มูลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ซึ่งจากกรอบแนวคิดการวิจัยเดิม มีการน�ำปัจจัยที่ใช้ใน การศึกษาทัง้ หมด 7 ปัจจัย คือ 1) ใกล้เขตใจกลางเมือง 2) การเข้าถึงการเดินทาง 3) ใกล้บริการสาธารณะ 4) ใกล้ พื้นที่อุตสาหกรรม 5) ราคาที่ดิน 6) การใช้ประโยชน์ ทีด่ นิ 7) พืน้ ทีค่ วบคุมตามกฎหมาย หลังจากกระบวนการ สั ม ภาษณ์ จ ากผู ้ ใ ห้ ข ้ อ มู ล หลั ก ได้ มี ค วามคิ ด เห็ น ให้ มี การปรับเปลีย่ นตัวแปรจากกรอบแนวคิดเดิม โดยปัจจัย ใกล้เขตใจกลางเมือง และใกล้บริการสาธารณะ ผู้ให้ ข้อมูลหลักมีความคิดเห็นว่าควรเปลี่ยนเป็นปัจจัยด้าน การเข้าถึงสิ่งอ�ำนวยความสะดวก ส่วนปัจจัยใกล้พื้นที่ อุตสาหกรรมควรอยู่ในปัจจัยด้านการเข้าถึงแหล่งงาน ปัจจัยราคาที่ดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ควรเป็น ปัจจัยที่น�ำมาใช้เปรียบเทียบภายหลังจากกระบวนการ วิเคราะห์โดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศแล้ว จึงถูกตัด ออกไปจากผลการวิจยั นี้ ซึง่ ปัจจัยใหม่ทไี่ ด้จากการศึกษา ในครั้งนี้พบว่า ปัจจัยเชิงพื้นที่ที่ใช้ในการวางแผนการ เลือกท�ำเลทีต่ งั้ หมูบ่ า้ นจัดสรรของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีทงั้ หมด 6 ด้าน โดยเรียงตามล�ำดับความส�ำคัญได้ดงั นี้ 1. ด้านการเข้าถึงสิ่งอ�ำนวยความสะดวก (access facilities) ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความส�ำคัญมากที่สุด ทีผ่ ปู้ ระกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ใช้เป็นเกณฑ์ในการ ตัดสินใจเลือกท�ำเลในการพัฒนาโครงการหมูบ่ า้ นจัดสรร เพราะถือเป็นแหล่งศูนย์รวมของชุมชน และมีสงิ่ อ�ำนวย ความสะดวกที่ให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าได้อย่างครบถ้วน “ท�ำเลของหมู่บ้านจัดสรรที่ใกล้สิ่งอ�ำนวยความสะดวก ต่างๆ จะเป็นส่วนกระตุ้นการตัดสินใจของผู้ซื้อ” (ผู้ให้ ข้อมูลหลัก) โดยจะพิจารณาจากปัจจัยย่อยดังนี้ 1) ระยะ ห่างจากศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าต่างๆ (distance from shopping center) ซึง่ ระยะห่างทีเ่ หมาะสมทีส่ ดุ คือ 0-5 กิโลเมตร 2) ระยะห่างจากตลาด (distance from market) ซึ่งระยะห่างที่เหมาะสมที่สุด คือ 0-2 กิโลเมตร 3) ระยะห่างจากสถานศึกษา (distance from
5
school) ซึง่ ระยะห่างทีเ่ หมาะสมทีส่ ดุ คือ 0-5 กิโลเมตร 4) ระยะห่างจากโรงพยาบาล (distance from hospital) ซึ่งระยะห่างที่เหมาะสมที่สุด คือ 0-5 กิโลเมตร
ภาพที่ 2 ปัจจัยด้านการเข้าถึงสิ่งอ�ำนวยความสะดวก 2. ด้านการเข้าถึงการเดินทาง (access to travel) ปัจจัยนีก้ เ็ ป็นส่วนส�ำคัญทีต่ อ้ งน�ำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการ เลือกท�ำเลหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งก็ให้ความส�ำคัญค่อนข้าง มาก ซึง่ จะมองเรือ่ งของถนนว่า อยูใ่ กล้กบั ถนนสายหลัก สายรองหรือไม่ และจะต้องรูเ้ ส้นทางการคมนาคมด้วยว่า ถนนแต่ละเส้นจะตัดไปทางไหนการเดินทางจะไปไหน “เพราะส่วนใหญ่ผซู้ อื้ จะมองในเรือ่ งของท�ำเลทีต่ งั้ ทีใ่ กล้ การคมนาคมเป็นหลัก” (ผูใ้ ห้ขอ้ มูลหลัก) โดยจะพิจารณา จากระยะห่างจากถนน (distance from road) เป็น ส�ำคัญ ซึง่ ระยะห่างทีเ่ หมาะสมทีส่ ดุ คือ 0-0.5 กิโลเมตร ภาพที่ 3 ปัจจัยด้านการเข้าถึงการเดินทาง 3. ด้านการเข้าถึงสถานที่ท�ำงาน (workplaces) การพิจารณาเรือ่ งของแหล่งงานจะเน้นเรือ่ งของศักยภาพ การลงทุนในแต่ละพืน้ ที่ ซึง่ การลงทุนจะส่งผลให้เกิดการ สร้างแหล่งงาน ไม่วา่ จะเป็นการประกอบธุรกิจอะไรก็ตอ้ ง มีการจ้างงาน “ดังนัน้ พืน้ ทีไ่ หนทีม่ กี ารลงทุนมากโอกาส ทีจ่ ะท�ำให้มีประชากรหลั่งไหลเข้ามาท�ำงานก็มมี ากตาม ไปด้วย” (ผู้ให้ข้อมูลหลัก) แล้วก็เป็นปัจจัยที่ท�ำให้เกิด การสนับสนุนการพัฒนาในเรื่องของที่อยู่อาศัยตามมา
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
6
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
โดยจะพิจารณาจากปัจจัยย่อย ดังนี้ 1) ระยะห่างจาก แหล่งอุตสาหกรรม (distance from industry) ซึ่ง ระยะห่างทีเ่ หมาะสมทีส่ ดุ คือ 3-6 กิโลเมตร 2) ระยะห่าง จากแหล่งท่องเที่ยว (distance from tourist attraction) ซึ่งระยะห่างที่เหมาะสมที่สุด คือ 0-5 กิโลเมตร
ภาพที่ 4 ปัจจัยด้านการเข้าถึงสถานที่ท�ำงาน 4. ด้านภัยพิบตั แิ ละอาชญากรรม (disasters) เป็น ปัจจัยที่ได้จากข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้ให้ข้อมูลหลัก และเป็นปัจจัยทีม่ คี วามส�ำคัญมาก นัน่ คือเรือ่ งของความ ปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สนิ “เมือ่ ผูอ้ ยูอ่ าศัยตัดสินใจ เลือกซื้อที่อยู่อาศัย จะต้องค�ำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย เรื่องของสิ่งที่เป็นปัญหาในอนาคตจะต้องไม่เกิด” (ผู้ให้ ข้อมูลหลัก) ดังนั้นก่อนที่จะด�ำเนินการพัฒนาโครงการ จะต้องมีการพิจารณาถึงปัจจัยนี้ด้วย ว่าตรงไหนที่เป็น พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ก็ควรจะ หลีกเลี่ยงในการสร้าง เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นใน อนาคต ซึง่ เป็นปัจจัยทีผ่ ปู้ ระกอบการไม่สามารถควบคุม ได้เลย แต่สามารถที่จะเลือกในเรื่องของท�ำเลที่ตั้งที่ลด ผลกระทบจากสิง่ แวดล้อมทีเ่ ป็นผลกระทบทีค่ วบคุมไม่ได้ โดยจะพิจารณาจาก 1) ท�ำเลที่เคยเกิดน�้ำท่วมซ�้ำซาก (Flooded) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะหลีกเลี่ยงพื้นที่ ทีม่ ปี ญ ั หาน�ำ้ ท่วมซ�ำ้ ซาก เช่น ถ้าท�ำเลนัน้ เป็นทีด่ นิ ต�ำ่ มาก และน�้ำท่วมตลอดทุกปีก็จะไม่ไปลงทุนเพราะเป็นพื้นที่ ล่อแหลมลูกค้าจะไม่ค่อยเลือก ประกอบกับการที่ลูกค้า จะซื้อบ้านเค้าเก็บเงินทั้งชีวิต ผ่อนทั้งชีวิต เพราะฉะนั้น เค้ า จะต้ อ งเลื อ กท� ำ เลที่ ดี ที่ สุ ด ซึ่ ง เรื่ อ งของภั ย พิ บั ติ หรือว่าเรือ่ งของน�ำ้ ท่วม อุทกภัยเป็นสิง่ ทีค่ าดการณ์ไม่ได้ “แต่ลกู ค้าจะมองในลักษณะพืน้ ทีต่ รงไหนทีเ่ คยเกิด และ
ถ้าเป็นท�ำเลเดิมๆ ทีท่ ว่ มแล้วท่วมซ�ำ้ ซากก็จะหลีกเลีย่ ง” (ผู้ให้ข้อมูลหลัก) แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ผู้ประกอบการก็ต้อง หาวิธีแก้ไข เช่น ต้องถมดินให้สูงขึ้น ต้นทุนก็ต้องสูงขึ้น ท�ำราคาก็ต้องสูงขึ้นตามไปด้วย 2) ความหนาแน่นของ ชุมชน (Community) ในปัจจัยนี้มีส่วนส�ำคัญในการ เลือกท�ำเลของผู้ประกอบการ คือ จะไม่เลือกท�ำเลที่ติด กับชุมชนแออัด หรือสลัม เพราะในมุมมองด้านการตลาด จะท�ำให้ภาพลักษณ์ที่มองมาจากภายนอก มีผลท�ำให้ โครงการดูไม่ดีดูไม่น่าเข้าอยู่อาศัย และจะมีผลในเรื่อง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินด้วย เมื่อผู้อยู่อาศัย ตัดสินใจเลือก ปัจจัยอย่างหนึง่ ก็คอื เรือ่ งของความปลอดภัย ซึง่ ดูจากสิง่ ทีเ่ ป็นชุมชนรอบข้าง เรือ่ งของสภาพแวดล้อม ในเรือ่ งของชุมชนหนาแน่นจะมีผลกับเรือ่ งของการพัฒนา ตัวสินค้าด้วย
ภาพที่ 5 ปัจจัยด้านภัยพิบัติและอาชญากรรม 5. แผนพัฒนาเมือง (Urban planning) ในปัจจัยนี้ จะดูในเรื่องของการพัฒนาของเมืองเป็นหลัก คือ “การ จะท�ำหมู่บ้านจัดสรรไม่ใช่แค่มองปัจจุบันแต่จะต้องมอง ไปข้างหน้าในอนาคตประมาณ 3 ปีข้างหน้า” (ผู้ให้ ข้อมูลหลัก) เพราะว่าเวลาทีโ่ ครงการแต่ละโครงการก่อนที่ จะท�ำเสร็จต้องมองไปวันข้างหน้า เพราะเป็นการขาย ในเรือ่ งของอนาคต เพราะฉะนัน้ ในการบริหารเรือ่ งท�ำเล ที่ตั้งขึ้นอยู่กับการมองเรื่องการพัฒนาเมืองเป็นหลัก ซึง่ ปัจจัยนีจ้ ะพิจารณาจากกฎหมายผังเมือง ว่าผังทีม่ กี าร ก�ำหนดการใช้ประโยชน์ทดี่ นิ ตามแผนพัฒนาเมือง มีการ ก�ำหนดว่า พืน้ ทีไ่ หนเป็นพืน้ ทีท่ ใี่ ห้ปลูกสร้างทีอ่ ยูอ่ าศัยได้ จะพิจารณาจากกฎหมายผังเมือง (law) เป็นเกณฑ์
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ภาพที่ 6 ปัจจัยด้านแผนพัฒนาเมือง 6. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ (Geography) ปัจจัยนี้ ผูป้ ระกอบการให้ความส�ำคัญค่อนข้างน้อย โดยจะพิจารณา จาก 1) ความสูงของพื้นที่ (elevation) ซึ่งจะดูเรื่อง ของสภาพพืน้ ทีว่ า่ เป็นพืน้ ทีต่ ำ�่ หรือสูง ถ้าต�ำ่ ต้องค�ำนวณ เผื่อการถม “ต้องศึกษาว่าตรงไหนมันเป็นที่ลุ่ม พื้นที่ตำ�่ หรือว่าพื้นที่ตรงไหนเป็นแอ่งกระทะ เราก็จะหลีกเลี่ยง ในการสร้าง” (ผู้ให้ข้อมูลหลัก) เพื่อลดผลกระทบที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต 2) ทิศทางลม (wind direction) ปัจจัยนีจ้ ะดูจากผลกระทบเรือ่ งของมลภาวะทางอากาศ เป็นหลักว่า เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหรือไม่
ภาพที่ 7 ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์
สรุปและอภิปรายผล
โดยสรุปปัจจัยเชิงพืน้ ทีแ่ ละการจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทใี่ ช้ในการวางแผนองค์การธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีดังนี้ 1. การเข้ า ถึ ง สิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวก (access facilities) หมายถึง ปัจจัยทีผ่ ปู้ ระกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ใช้ในการพิจารณาการเลือกท�ำเลหมูบ่ า้ นจัดสรร จากระยะการเข้าถึงสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ ได้แก่ ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ตลาด สถานศึกษา และ โรงพยาบาล ซึง่ สอดคล้องกับผลการวิจยั ของ Wu, Zhang & Dong (2013) ว่าปัจจัยด้านท�ำเลทีต่ งั้ ทีม่ คี วามส�ำคัญ มากทีส่ ดุ คือ ความสามารถในการเข้าถึงสินค้าหรือบริการ
7
สิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ 2. การเข้าถึงการเดินทาง (access to travel) หมายถึง ปัจจัยที่ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ใช้ในการพิจารณาการเลือกท�ำเลหมู่บ้านจัดสรรจาก ระยะห่างจากถนนสายหลักและสายรอง สอดคล้องกับ งานวิจัยของ Yang, Zheng & Zhu (2013: 157-166) ทีร่ ะบุวา่ ความน่าจะเป็นของทางเลือกการเดินทางในระยะ 5 กิโลเมตร 10 กิโลเมตร และ 20 กิโลเมตร จากเส้นทาง คมนาคมมีผลต่อการวางแผนเลือกท�ำเลที่อยู่อาศัยของ ผู้บริโภค 3. การเข้าถึงแหล่งงาน (workplaces) หมายถึง ปัจจัยที่ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ใช้ในการ พิจารณาการเลือกท�ำเลหมู่บ้านจัดสรรจากการเข้าถึง แหล่งอุตสาหกรรม และแหล่งท่องเที่ยว สอดคล้องกับ งานวิจัยของ Ibeas et al. (2013) ว่าความสัมพันธ์ เชิงพื้นที่ระหว่างโซนที่อยู่อาศัยและโซนสถานที่ท�ำงาน ได้แก่ ย่านอุตสาหกรรม จะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกท�ำเล ในการสร้างที่อยู่อาศัยของผู้ประกอบการ ซึ่งจะท�ำให้ ผูอ้ ยูอ่ าศัยลดระยะเวลาและค่าใช้จา่ ยในการเดินทางลงได้ 4. ภัยพิบตั แิ ละอาชญากรรม (disasters) หมายถึง ปัจจัยที่ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ใช้ในการ พิจารณาการเลือกท�ำเลหมูบ่ า้ นจัดสรรจากพืน้ ทีน่ ำ�้ ท่วม ซ�้ำซาก และความหนาแน่นของชุมชน สอดคล้องกับ แนวคิดของวิทวัส รุ่งเรืองผล (2557) ที่กล่าวว่า สิ่งที่ ต้องค�ำนึงถึงส�ำหรับการลงทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คือ การหลีกเลี่ยงท�ำเลที่จะก่อให้เกิดน�ำ้ ท่วมได้ง่าย 5. แผนพัฒนาเมือง (urban planning) หมายถึง ปัจจัยที่ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ใช้ในการ พิจารณาการเลือกท�ำเลหมู่บ้านจัดสรรจากกฎหมาย ผังเมืองว่า ท�ำเลทีส่ นใจสามารถพัฒนาเป็นหมูบ่ า้ นจัดสรร ได้หรือไม่ สอดคล้องกับแนวคิดทีว่ า่ การเลือกท�ำเลในการ สร้างที่อยู่อาศัยควรอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ถูกควบคุมหรือมี เงือ่ นไขในการก่อสร้าง (อนุชา กุลวิสุทธิ์, 2556) 6. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ (geography) หมายถึง ปัจจัยที่ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ใช้ในการ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
8
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
พิจารณาการเลือกท�ำเลหมู่บ้านจัดสรรจากความสูงต�่ำ ของภูมิประเทศ และทิศทางลม
ภาพที่ 8 ปัจจัยเชิงพื้นที่และการจัดการธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ จากการสรุปผลข้อมูลสามารถน�ำมาจัดล�ำดับความ ส�ำคัญของปัจจัยเชิงพื้นที่เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการ ตัดสินใจการเลือกท�ำเลที่ตั้งได้ ดังแสดงในตารางที่ 1
ข้อเสนอแนะ
เพื่อให้การด�ำเนินงานขององค์การธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย ตามวัตถุประสงค์ขององค์การการก�ำหนดกลยุทธ์ที่ใช้ ในการวางแผนด้านการเลือกท�ำเลทีต่ งั้ เพือ่ ใช้ในการเจาะ กลุม่ เป้าหมายจะช่วยให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ มากขึ้น ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ท�ำเลที่ตั้ง (Location Research) โดยการส่งทีมไปส�ำรวจพื้นที่เพื่อดูความ เหมาะสมของลักษณะทางกายภาพ ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ก่ อ นที่ จ ะมี ก ารลงทุ น เพื่ อ ลดความเสี่ ย งที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น 2) การท�ำวิจัยทางการตลาด (Market Research) ควร มีการปรับกลยุทธ์การขายด้วย โดยมีทีมวิจัยทางด้าน การตลาด เพื่อดูคู่แข่งว่าเป็นยังไงดูแนวโน้มของตลาด เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การลงทุน 3) การท�ำวิจัยกลุ่ม ลูกค้า (Customer Research) โดยการจ้างทีมวิจยั จาก ภายนอก (out source) เพื่อมาท�ำในเรื่องของการวิจัย กลุ่มลูกค้า เพื่อน�ำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาโครงการให้ สอดคล้องกับความต้องการกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
ตารางที่ 1 ค่าน�้ำหนักความส�ำคัญของปัจจัยการเลือก ท�ำเลที่ตั้งหมู่บ้านจัดสรร การวางแผนการเลือกท�ำเลที่ตั้ง ล�ำดับ ปัจจัย ความถี่ 1 การเข้าถึงสิ่งอ�ำนวย 29 ความสะดวก 2 การเข้าถึงการเดินทาง 26 3 การเข้าถึงสถานที่ท�ำงาน 19 4 ภัยพิบตั แิ ละอาชญากรรม 13 5 แผนพัฒนาเมือง 5 6 ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ 2
น�้ำหนัก 0.31 0.28 0.20 0.14 0.05 0.02
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
9
บรรณานุกรม
ตุลา มหาพสุธานนท์. (2554). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ: บริษัท พี เอ็น เค แอนด์ สกายพริ้นติ้งส์ จ�ำกัด. วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2557). การบริหารตลาดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์. กรุงเทพฯ: บริษัท เฟิสท์ออฟเซท (1993) จ�ำกัด. ส�ำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. (2554). ต�ำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน). สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท วิทยพัฒน์ จ�ำกัด. สุภางค์ จันทวานิช. (2554). การวิเคราะห์ขอ้ มูลในการวิจยั เชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อนุชา กุลวิสุทธิ์. (2556). ลงทุนที่ดินและการเลือกท�ำเลอสังหาริมทรัพย์. กรุงเทพฯ: บริษัท เฟิสท์ ออฟเซท (1993) จ�ำกัด. Frenkel, A., Bendit, E. & Kaplan, S. (2013). Residential location choice of knowledge-workers: The role of amenities, workplace and lifestyle. Cities, 35, 33-41. Guo, J. Y. & Bhat, C. R. (2007). Operationalizing the concept of neighborhood: Application to residential location choice analysis. Journal of Transport Geography, 15, 31-45. Hadavandi, E., Ghanbari, A., Mirjani, S. M. & Abbasian, S. (2011). An econometric panel data-based approach for housing price forecasting in Iran. International Journal of Housing Markets and Analysis, 4, 70-83. Ibeas, A., Cordera, R., dell’Olio, L. & Coppola, P. (2013). Modelling the spatial Interactions between workplace and residential location. Transportation Research, 49, 110-122. Kinicki, A. & Williams, B. K. (2009). Management 3/e. The United States: McGraw-Hill International Enterprises, Inc. Weisbrod, G., Ben-Akiva, M. & Lerman, S. (2007). Tradeoffs in residential location decisions: Transportation versus other factors. Transportation Policy and Decision-Making, 1, 1-14. Wu, W., Zhang, W. & Dong, G. (2013). Determinant of residential location choice in a Transitional housing market: Evidence based on micro survey from Beijing. Habitat International, 39, 6-24. Yang, L., Zheng, G. & Zhu, X. (2013). Cross-nested logit model for the joint choice of residential location, travel mode, and departure time. Habitat International, 38, 157-166.
Translated Thai References
Geo-Informatics and Space Technology Development Agency. (2011). Textbook of Space Technology and Geo-Informatics. Bangkok: Amarin Printing & Publishing. [in Thai] Janthavanit, S. (2011). Data Analysis in Qualitative Research. Bangkok: Printing of Chulalongkorn University. [in Thai] Kulwisut, A. (2013). Investment land and selecting a location property. Bangkok: First Offset (1993). [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
10
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�าเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Mahapasuthanon, T. (2011). Management. Bangkok: PNK and Sky Printing. [in Thai] Phanpinid, S. (2011). Social Science Research Technic. Bangkok: Vitthayaphat. [in Thai] Rungruengphon, V. (2014). Marketing management in real estate enterprise. Bangkok: First Offset (1993). [in Thai]
Name and Surname: Rungathit Buchaintra Highest Education: Master of Science, Major in Geographic Technology, Burapha University University or Agency: Graduate School of Commerce, Burapha University Field of Expertise: Geo-Informatics, Organization Development Address: Burapha University, Chon Buri Campus 169 Long-Hard Bangsaen Rd., Saen Sook, Mueang, Chon Buri 20131 Name and Surname: Krit Jarinto Highest Education: Doctor of business administration, Burapha University University or Agency: Graduate School of Commerce, Burapha University Field of Expertise: Business Administration, Organization Development and Human Capability Management Address: Burapha University, Chon Buri Campus 169 Long-Hard Bangsaen Rd., Saen Sook, Mueang, Chon Buri 20131
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
11
ความยุติธรรมในสิทธิประโยชน์ การสนับสนุน และภาพลักษณ์ตราสินค้าของผู้ให้สิทธิที่มี อิทธิพลต่อความส�ำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟสดในประเทศไทย THE INFLUENCE OF THE ADVANTAGE OF FRANCHISOR JUSTICE, SUPPORT AND FRANCHISOR BRAND IMAGE ON THE SUCCESS OF THE FRESH ROASTED COFFEE FRANCHISE BUSINESS IN THAILAND กัญชพร ศรมณี1 ระพีพรรณ พิริยะกุล2 และชาคริต สกุลอิสริยาภรณ์3 Kanchaporn Sonmanee1 Rapepun Piriyakul2 and Chakrit Skulitsariyaporn3 1,2,3คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง 1,2,3Faculty of Business Administration, Ramkhamhaeng University
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “ความยุติธรรมในสิทธิประโยชน์ การสนับสนุน และภาพลักษณ์ตราสินค้าของผู้ให้สิทธิที่มี อิทธิพลต่อความส�ำเร็จของผูป้ ระกอบการธุรกิจแฟรนไชส์รา้ นกาแฟสดในประเทศไทย” มีวตั ถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ถึงความยุติธรรมของผู้ให้สิทธิ การสนับสนุนจากผู้ให้สิทธิ และภาพลักษณ์ตราสินค้าที่เกิด กับผู้รับสิทธิธุรกิจแฟรนไชส์ 2) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของผู้ประกอบการ ซึ่งประกอบด้วยความแข็งแกร่ง และสมรรถนะของผู้รับสิทธิธุรกิจแฟรนไชส์ 3) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการด�ำเนินงานของผู้รับสิทธิธุรกิจ แฟรนไชส์ และ 4) เพือ่ ศึกษาปัจจัยทีส่ ง่ ผ่านสมรรถนะของผูร้ บั สิทธิธรุ กิจแฟรนไชส์สผู่ ลประกอบการ การศึกษาครัง้ นี้ ก�ำหนดให้หน่วยวิเคราะห์เป็นผูป้ ระกอบการทีร่ บั สิทธิแฟรนไชส์รา้ นกาแฟสดในประเทศไทย จ�ำนวน 265 ผูป้ ระกอบการ เป็นการวิจยั เชิงปริมาณ โดยวิเคราะห์สมการโครงสร้าง เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั เชิงปริมาณเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ตัวแปรเหตุ ความยุตธิ รรม การสนับสนุน และภาพลักษณ์ตราสินค้า ตัวแปรส่งผ่าน ประกอบด้วย ความแข็งแกร่งและ สมรรถนะของผูร้ บั สิทธิ ตัวแปรตาม คือ ความส�ำเร็จของผูป้ ระกอบการทีร่ บั สิทธิแฟรนไชส์ ผลการวิจยั เชิงปริมาณพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.50 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 26-30 ปี ร้อยละ 37.74 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 65.29 ระยะเวลาเปิดด�ำเนินกิจการภายใต้สิทธิบัตร แฟรนไชส์ ระยะเวลา 1-3 ปี ร้อยละ 66.04 จ�ำนวนเงินลงทุนในช่วงเริม่ กิจการครัง้ แรก จ�ำนวน 400,001-500,000 บาท ร้อยละ 37.36 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยจากยอดขายกาแฟสดต่อเดือน 200,001-300,000 บาท ร้อยละ 31.34 จ�ำนวนพนักงานในร้านกาแฟสด จ�ำนวน 4-6 คน ร้อยละ 57.73 จากการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ตัวแบบสมการโครงสร้าง พบว่า ความยุติธรรมของผู้ให้สิทธิยังไม่อยู่ ในระดับที่มีอิทธิพลต่อความแข็งแกร่งและสมรรถนะของผู้รับสิทธิในธุรกิจแฟรนไชส์ ส่วนตัวแปรการสนับสนุนจาก ผู้ให้สิทธิและภาพลักษณ์ตราสินค้าของผู้ให้สิทธิมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความแข็งแกร่งและสมรรถนะของผู้รับสิทธิธุรกิจ Corresponding Author E-mail: kanchapornson@pim.ac.th
12
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
แฟรนไชส์ ส่วนความแข็งแกร่งของผูร้ บั สิทธิและสมรรถนะของผูร้ บั สิทธิมอี ทิ ธิพลเชิงบวกต่อความส�ำเร็จของผูร้ บั สิทธิ ในธุรกิจแฟรนไชส์อย่างมีนัยส�ำคัญ ค�ำส�ำคัญ: ความยุติธรรม การสนับสนุน ภาพลักษณ์ตราสินค้า แฟรนไชส์ ร้านกาแฟสด
Abstract
In this dissertation, the researcher has four objectives. The first objective is to examine (1) the level of perception of whether justice is done by franchisors in relation to the brand image support lent to franchisees. The second objective is to study (2) business strength as consisting of franchise strength and competency. The third objective is to investigate (3) the performance efficiency of franchisees. Finally, the fourth objective is to consider (4) factors transmitting franchise competency to turnover. In this research investigation, 265 franchisees of fresh roasted coffee business in the Kingdom of Thailand (Thailand) were designated as the unit of analysis. In this quantitative research investigation, the researcher conducted structural equation modeling (SEM) analysis. The research instrument was a questionnaire with items pertaining to causal variables, equity, support and brand image. Mediators consisted of the strength and competency of franchisees. The dependent variable was the success of franchisees. Findings on the basis of quantitative research were as follows: A majority of slightly more than three fifths of the respondents were females (61.50 percent) with a plurality of slightly more than a third being between the ages of twenty-six and thirty (37.74 percent). A majority of almost two thirds were holders of a bachelor’s degree (65.29 percent). For slightly more than two thirds, the operational period under the franchise patent had been from one to three years (66.04 percent). For more than a third, the amount of investment money at the commencement of business was from 400,001 to 500,000 baht (37.36 percent). A plurality of almost a third of the respondents had an average monthly income from the sale of fresh roasted coffee from 200,001 to 300,000 baht (31.34 percent). A majority of almost three fifths employed from four to six personnel in their businesses (57.73 percent). In conducing path analysis in applications of SEM, the researcher found that the advantage of justice being given by franchisors to franchisees was not evinced at a level sufficient to influence the strength and competency of the franchises. On the other hand, the variables of the support lent to franchisees and the brand image purveyed by the franchisors to the franchisees exhibited positive influences on the strength and competency of the franchises. Finally, it was found that franchise strength and competency exhibited positive influence on franchise success at a statistically significant level. Keywords: Justices, Support, Brand Image, Franchise, Fresh Roasted Coffee’s ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
บทน�ำ
กิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับการซือ้ ขายสินค้าหรือบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและยังเป็น ตัวกลางเชือ่ มโยงการกระจายสินค้าจากแหล่งผลิตไปยัง ผูบ้ ริโภค คือ ธุรกิจค้าปลีก ซึง่ เป็นกิจกรรมทีม่ คี วามส�ำคัญ ต่ อ ระบบเศรษฐกิ จ ของประเทศไทยที่ ส ามารถสร้ า ง รายได้ และยังช่วยขับเคลือ่ นเศรษฐกิจของประเทศไทย ธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยมีมากถึง 12,451 สาขา (สมาคมผูค้ า้ ปลีกไทย, 2558) ทัง้ ขนาดเล็ก ใหญ่ รวมถึง ขนาดกลางและขนาดย่อม SEMs (Small and Medium Enterprise) ทีม่ คี วามคล่องตัวในการปรับสภาพให้เข้ากับ สถานการณ์ของประเทศ ใช้เงินลงทุนที่น้อย แต่ละ ประเภทมีวธิ กี ารด�ำเนินงานทีแ่ ตกต่างกัน เพือ่ การเติบโต อย่างยัง่ ยืน และเข้าถึงกลุม่ เป้าหมายได้อย่างทัว่ ถึง ธุรกิจ ในระบบแฟรนไชส์ (Franchise) เป็นวิธีการขยายสาขา ที่ผู้ประกอบการนิยมน�ำมาใช้ในการพัฒนาและขยาย สาขาได้อย่างรวดเร็ว และยังลดข้อจ�ำกัดในเรื่องต่างๆ ลงได้ เช่น เงินทุน เวลา ระบบการด�ำเนินงาน เป็นต้น ปั จ จุ บั น ธุ ร กิ จ นี้ ก� ำ ลั ง ได้ รั บ ความนิ ย มเป็ น อย่ า งมาก จะเห็นได้จากจ�ำนวนผูป้ ระกอบการทีม่ อี ยูใ่ นประเทศไทย ถึง 485 ราย มีมูลค่าการตลาดกว่า 184,120 ล้านบาท แนวโน้มมีอตั ราเพิม่ มากขึน้ ถึงร้อยละ 20-30 ธุรกิจแบบ แฟรนไชส์ร้านกาแฟสดแม้จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ ทีค่ นไทยก็สามารถเป็นเจ้าของได้ดว้ ยเงินลงทุนทีไ่ ม่สงู มาก เช่น ร้านแบล็คแคนยอน เป็นธุรกิจคนไทยรายแรกที่ บุกเบิกธุรกิจแบบแฟรนไชส์รา้ นกาแฟสดและกลายเป็น ต�ำนานในที่สุด ในปัจจุบนั ธุรกิจแฟรนไชส์รา้ นกาแฟสดมีหลากหลาย ตราสินค้าที่เป็นทางเลือกส�ำหรับการตัดสินใจลงทุน และมี ค วามแตกต่ า งกันในหลายด้านที่ใ ห้บ ริก ารกับ ผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ เช่น มีเครื่องชงกาแฟวางไว้ หน้าร้าน เพือ่ ให้ผบู้ ริโภคได้สมั ผัสถึงกระบวนการชงกาแฟ การขายควบคู่กับเบเกอรี่ อาหารคาว ที่ผ่านมาการท�ำ ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟสดประสบความส�ำเร็จช้า ด้วยสาเหตุที่หลากหลาย เช่น ผู้ให้สิทธิเลือกปฏิบัติกับ
13
ผูร้ บั สิทธิ ผูร้ บั สิทธิรายใดมีศกั ยภาพมากกว่าก็จะให้ความ ใส่ใจมาก ท�ำให้ผู้รับสิทธิรายอื่นไม่ได้รับความยุติธรรม ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ท�ำให้การด�ำเนินงานมีปัญหา และอาจท�ำให้ผู้รับสิทธิหลุดจากวงจรไปในที่สุด ดังนั้น การศึกษาถึงความยุตธิ รรมในสิทธิประโยชน์ การสนับสนุน และภาพลักษณ์ตราสินค้าของผู้ให้สิทธิที่มีอิทธิพลต่อ ความส�ำเร็จของผูป้ ระกอบการธุรกิจแฟรนไชส์รา้ นกาแฟสด ในประเทศไทย จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจเพราะธุรกิจ แบบแฟรนไชส์รา้ นกาแฟสดก�ำลังเติบโต แต่ยงั มีขอ้ ขัดแย้ง ทีท่ ำ� ให้ธรุ กิจยังไม่เติบโตเท่าทีค่ วร เพราะมีปญั หาเรือ่ งของ ความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้นกับผู้รับสิทธิ องค์ความรู้ ข้อมูล และความรูจ้ ากงานวิจยั เรือ่ งนีอ้ าจช่วยให้ผปู้ ระกอบการ ธุรกิจแบบแฟรนไชส์สามารถด�ำเนินกิจการได้อย่างมี ประสิทธิภาพและยั่งยืนเหมือนร้านกาแฟสดอเมซอน ร้านกาแฟสดสตาร์บัคส์ ร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่น เป็นต้น
วัตถุประสงค์การวิจัย
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับ การรับรูถ้ งึ ความยุตธิ รรม การสนับสนุน และภาพลักษณ์ ตราสินค้าของผู้ให้สิทธิที่เกิดกับผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ 2) ศึกษาเกีย่ วกับความแข็งแกร่งของผูร้ บั สิทธิ ประกอบ ด้วยความแข็งแกร่งและสมรรถนะของผูร้ บั สิทธิแฟรนไชส์ 3) ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการด�ำเนินธุรกิจของ ผู้รับสิทธิ และ 4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผ่านสมรรถนะของ ผู้รับสิทธิสู่ผลประกอบการ
ทบทวนวรรณกรรม
ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นวิธกี ารขยายตลาดและช่องทาง การจ�ำหน่ายสินค้าของกิจการอีกช่องทางหนึง่ Felstead (1993) กล่าวว่า ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่ต้องการ ขยายกิจการ โดยผ่านผู้ประกอบการอิสระที่เรียกว่า “แฟรนไชส์ซี (Franchisee)” โดยมีความสัมพันธ์กัน ระหว่างผู้ให้สิทธิกับผู้รับสิทธิ การด�ำเนินกิจการภายใต้ ตราสินค้า การบริหารจัดการในลักษณะทีเ่ ฉพาะเจาะจง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
14
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
อย่างต่อเนือ่ ง โดยการจ่ายค่าธรรมเนียมนิยม (Royalty Fee) ตามข้อตกลงการขยายธุรกิจโดยผ่านตัวแทนเป็น วิธีการลดปัญหาในหลายๆ ด้าน ซึ่งหากผู้ประกอบการ ไม่มีความรู้ ความสามารถ และข้อมูลด้านต่างๆ เช่น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ วัฒนธรรมท้องถิ่น การสื่อสาร กฎหมาย รวมถึงการจ้างงาน จะใช้วิธีการ ขยายสาขาโดยผ่ า นผู ้ ป ระกอบการในพื้ น ที่ ที่ มี ค วาม เชีย่ วชาญเฉพาะในแต่ละพืน้ ที่ (Abell, 1990: 5; Aydin & Kacker, 1990) แต่การด�ำเนินธุรกิจแบบแฟรนไชส์ แต่ละบริษทั จะมีกฎ กติกา เงือ่ นไขทีแ่ ตกต่างกัน ผูร้ บั สิทธิ จ�ำเป็นต้องศึกษาและท�ำความเข้าใจข้อมูลต่างๆ อย่าง ละเอียด อาจท�ำให้ผู้รับสิทธิขาดอิสระในการบริหาร จัดการ (Go & Christensen, 1989) ช่วงเวลาทีผ่ า่ นมา จึงเป็นโอกาสทีด่ ขี องธุรกิจแฟรนไชส์รา้ นกาแฟสดในการ ขยายสาขา เพราะมีผใู้ ห้ความสนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจ ประเภทนีเ้ ป็นจ�ำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามการท�ำธุรกิจใดๆ ต่างมีความเสีย่ งทัง้ สิน้ ธุรกิจร้านกาแฟสดก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้จะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่การท�ำธุรกิจ ตามกระแสผู้ประกอบการอาจไม่ประสบความส�ำเร็จ ตามทีค่ าดหวังไว้ ดังนัน้ ผูท้ สี่ นใจจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจ ร้านกาแฟสดควรศึกษาข้อมูลบางส่วนไว้บา้ ง เช่น เงินลงทุน ท�ำเลที่ตั้ง ความรู้ในศาสตร์ของกาแฟสด เพราะเป็นสิ่ง ที่จะช่วยในเรื่องการขาย การบริการ การพัฒนา และ ปรับปรุงธุรกิจให้ประสบความส�ำเร็จได้ดยี งิ่ ขึน้ และตัง้ แต่ ปี พ.ศ. 2540 ถึงปัจจุบันได้มีนักลงทุนจากต่างประเทศ ได้เข้ามาสร้างตราสินค้าในประเทศไทยมากขึ้น เช่น คอฟฟีเ่ วิลด์ คอฟฟีบ่ นี ส์ ทัง้ บริหารเองและแบบแฟรนไชส์ ที่ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และหลากหลายในการ เข้าถึงกลุม่ ผูบ้ ริโภค เช่น กลุม่ นักเดินทางโดยการเปิดให้ บริการในสถานีบริการน�้ำมัน เช่น อเมซอนกับสถานี บริการน�ำ้ มัน ปตท. อินทนิลกับสถานีบริการน�ำ้ มันบางจาก เป็ น การลงทุ น ท� ำ ธุ ร กิ จ โดยอาศั ย ชื่ อ เสี ย งของสถานี บริการน�ำ้ มัน ส่งผลท�ำให้รา้ นกาแฟสดเล็กๆ ขยายตัวไป อย่างรวดเร็ว จึงเป็นโอกาสเหมาะและเป็นทางเลือกให้ กับผู้ประกอบการทั้งในรูปแบบการซื้อสิทธิแฟรนไชส์
หรือการเข้าร่วมลงทุนกับบริษัทที่ผู้ประกอบการจะต้อง ศึกษาข้อมูล เงือ่ นไข สัญญา แผนการตลาด สิทธิประโยชน์ รวมทัง้ ประวัตคิ วามเป็นมาของบริษทั อย่างรอบคอบแล้ว เปรียบเทียบกับบริษทั ชัน้ น�ำก่อนตัดสินใจลงทุนท�ำธุรกิจ แบบแฟรนไชส์ (Thai Franchise focus Association: TFA, 2558) Gelderen & Frese (1998) ได้นยิ ามและรวบรวม องค์ประกอบการเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ให้ประสบ ความส�ำเร็จไว้ว่า ต้องเป็นผู้ที่คิดริเริ่มก่อตั้งกิจการ หรือเป็นเจ้าของกิจการเพือ่ สร้างก�ำไรจากการด�ำเนินงาน และมีความพึงพอใจกับสิ่งที่ได้รับ โดยผู้ประกอบการ ต้องมีบุคลิกภาพที่ส�ำคัญต่อการด�ำเนินธุรกิจ 6 ข้อคือ เป็นตัวของตัวเอง ความกล้าได้กล้าเสีย มีนวัตกรรม มีความแกร่งในการแข่งขัน มีการเรียนรู้อย่างสม�ำ่ เสมอ และมีความมุ่งมั่นต่อความส�ำเร็จ สอดคล้องกับ Miller (1983) อธิบายไว้วา่ ผูป้ ระกอบการทางธุรกิจต้องด�ำเนินงาน เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ หรือสร้างนวัตกรรมและมองหา ช่องทางใหม่ๆ เมื่อมีโอกาสในการเข้าสู่ตลาด ซึ่งผู้ ประกอบการจะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะคือ ต้องสร้าง นวัตกรรมทีแ่ ตกต่างอย่างสม�ำ่ เสมอ กล้าได้กล้าเสีย่ งกับ สถานการณ์ทไี่ ม่แน่นอน และต้องท�ำธุรกิจเชิงรุกให้มาก โดยเฉพาะในสถานการณ์คับขัน ดังนั้น ผู้ประกอบการ จึงเป็นองค์ประกอบที่มีความส�ำคัญในการสร้างความ ส�ำเร็จให้กับธุรกิจ การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก ขนาดเล็กหรือขนาดย่อม โดยเฉพาะผูป้ ระกอบการธุรกิจ แฟรนไชส์ให้ประสบความส�ำเร็จนัน้ ต้องได้รบั การสนับสนุน ปัจจัยด้านต่างๆ ที่มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับ การบริหารจัดการธุรกิจ เพราะผู้ประกอบการมีหน้าที่ ในการบริหารจัดการ การวางแผน การควบคุมกิจการ การเลือกท�ำเลทีต่ งั้ การฝึกอบรม การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ และยอมรับความเสี่ยงจากการด�ำเนินธุรกิจ โดยส่วนใหญ่การเป็นผู้ประกอบการแฟรนไชส์รายใหม่ จะมีเรื่องของผลก�ำไร ความส�ำเร็จ ชื่อเสียง พันธมิตร และความเจริญเติบโตทางธุรกิจ เป็นแรงจูงใจที่ส�ำคัญ ในการเป็นผู้ประกอบการ จากข้อมูลดังกล่าวการเป็น
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ผูป้ ระกอบการทีม่ ปี ระสิทธิภาพและประสบความส�ำเร็จ ได้นนั้ ผูป้ ระกอบการต้องมีการพัฒนาทักษะและความรู้ ในด้านต่างๆ เช่น การบริหารจัดการ การวางแผน การสือ่ สาร และมีประสบการณ์เกีย่ วกับธุรกิจนัน้ ๆ เพือ่ ให้ สามารถพึง่ ตนเองได้ (Byrd & Megginson, 2009) และ ในปัจจุบันมีคนจ�ำนวนไม่น้อยสนใจอยากมีกิจการเป็น ของตนเองทั้งบุคคลทั่วไป พนักงานองค์กร ข้าราชการ บ�ำนาญ เพือ่ สร้างรายได้และฐานะให้กบั ตนเอง ธุรกิจระบบ แฟรนไชส์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง และมีความเสี่ยงต�่ำ ไม่จำ� เป็นต้องมีประสบการณ์มากใช้เงินลงทุนน้อย อาศัย ความมีชอื่ เสียงเดิมของเจ้าของผูใ้ ห้สทิ ธิทมี่ คี วามน่าเชือ่ ถือ และได้รบั การยอมรับมาก่อน มีสว่ นส�ำคัญในการช่วยให้ ผูป้ ระกอบการประสบความส�ำเร็จได้ยงิ่ ขึน้ ซึง่ ธุรกิจระบบ แฟรนไชส์ในปัจจุบนั มีหลากหลายประเภททีผ่ ปู้ ระกอบการ สนใจและสามารถเลือกลงทุนได้ตามความรู้ ความถนัด และความสามารถส่ ว นบุ ค คลที่ ผ ่ า นมาธุ ร กิ จ แบบ แฟรนไชส์ในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและ ประสบความส�ำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น ธุรกิจ ร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น เพราะบริษัทผู้ให้สิทธิ ในการสนับสนุนมีความแข็งแกร่งพอที่ช่วยให้ผู้รับสิทธิ สามารถด�ำเนินกิจการให้ประสบความส�ำเร็จได้อย่าง รวดเร็ว และยัง่ ยืนด้วยปัจจัยการสนับสนุนในการบริหาร จัดการ รวมถึงความน่าเชื่อถือในเรื่องของภาพลักษณ์ ในตัวสินค้าหรือการบริการ และความมีชื่อเสียง ซึ่งเป็น ที่ยอมรับอยู่ก่อนแล้วท�ำให้ผู้ที่จะประกอบธุรกิจแบบ แฟรนไชส์รายใหม่ได้รับความสะดวกในเรื่องของข้อมูล สนับสนุนการท�ำธุรกิจโดยใช้เวลาในการศึกษาหาความรู้ ประสบการณ์เกีย่ วกับการประกอบธุรกิจไม่มากก็สามารถ รับสิทธิได้ ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ก�ำลังเติบโตอยู่ในปัจจุบัน และด�ำเนินการโดยคนไทยทีเ่ ราต้องให้การสนับสนุนคือ ธุรกิจแฟรนไชส์ “ร้านกาแฟสด” ทีก่ ำ� ลังมีศกั ยภาพและ ได้รับความนิยมมากจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจ ในการเป็นผู้ประกอบการหรือเป็นเจ้าของกิจการด้วย ตนเอง ธุรกิจนีม้ บี คุ คลเกีย่ วข้องเพียง 2 ฝ่ายคือ ผูใ้ ห้สทิ ธิ และผู้รับสิทธิ ในการท�ำธุรกิจประเภทนี้มักจะประสบ
15
ความส�ำเร็จช้าหรืออาจจะไม่ประสบผลส�ำเร็จ ด้วยสาเหตุ ทีผ่ ใู้ ห้สทิ ธิเลือกปฏิบตั กิ บั ผูร้ บั สิทธิ ท�ำให้ผรู้ บั สิทธิรายอืน่ ไม่ได้รบั ความยุตธิ รรมในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องและการสนับสนุน ท�ำให้การด�ำเนินงานมีปญ ั หา ดังนัน้ ในการด�ำเนินธุรกิจ แบบแฟรนไชส์ ผู้รับสิทธิต้องได้รับความยุติธรรมจาก ผูใ้ ห้สทิ ธิ เพราะความยุตธิ รรมส่งผลต่อความรูค้ วามสามารถ ของผูป้ ระกอบการ สอดคล้องกับ Jensen & Meckling (1976) ได้ศกึ ษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ประกอบด้วยฝ่ายทีม่ อบอ�ำนาจ และฝ่ายทีร่ บั มอบอ�ำนาจ ในการบริหารหรือตัดสินใจลงทุนเพื่อสร้างผลประโยชน์ สอดคล้องกับการด�ำเนินธุรกิจแบบแฟรนไชส์เพราะ ทัง้ 2 ฝ่ายได้ทำ� ข้อตกลงร่วมกัน โดยฝ่ายมอบอ�ำนาจจะ ถ่ายทอดข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้องกับการด�ำเนินธุรกิจ และความ ยุติธรรมในองค์กรส่งผลถึงความแข็งแกร่งของผู้รับสิทธิ ธุรกิจแฟรนไชส์ สอดคล้องกับ Schyns & Wolfram (2008) ได้ศึกษาพบว่า ผู้น�ำจะให้ความส�ำคัญกับผล การด�ำเนินงานของผู้ตามเป็นหลัก แต่ผู้ตามจะให้ความ ส�ำคัญกับความพึงพอใจในการท�ำงาน ความผูกพัน และ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากพฤติกรรมที่ให้การสนับสนุน การใส่ใจในเรือ่ งการเป็นทีป่ รึกษาให้คำ� แนะน�ำในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการด�ำเนินงาน รวมถึง การสนับสนุนการให้สทิ ธิทางการค้าซึง่ เป็นองค์ประกอบ ที่ส�ำคัญในการสร้างความส�ำเร็จให้กับผู้ประกอบการ ทีร่ บั สิทธิแฟรนไชส์ และ Foo et al. (1998) ได้กล่าวว่า การสนับสนุนของบริษทั ผูใ้ ห้สทิ ธิดา้ นต่างๆ อย่างสมเหตุ สมผลแก่ผรู้ บั สิทธิ ท�ำให้ผรู้ บั สิทธิสามารถท�ำก�ำไรและมี โอกาสประสบความส�ำเร็จได้มากทีส่ ดุ และความพึงพอใจ ยังเป็นองค์ประกอบที่ส�ำคัญอย่างหนึ่งในการวัดระดับ คุณภาพความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธิ ในระยะยาว สอดคล้องกับ Schyns & Wolfram (2008) กล่าวว่า พฤติกรรมทีใ่ ห้การสนับสนุนการใส่ใจ การเป็น ทีป่ รึกษาให้คำ� แนะน�ำข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้องกับการด�ำเนินงาน ที่เป็นประโยชน์ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง ในองค์การ และ Nyadzayo & Matanda (2011) ได้ศึกษาพบว่า การสร้างตราสินค้าเป็นข้อได้เปรียบเชิง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
16
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
แข่งขัน โดยเฉพาะธุรกิจแฟรนไชส์ การสร้างความสัมพันธ์ ในตราสินค้าของธุรกิจแฟรนไชส์มสี ว่ นท�ำให้ธรุ กิจประสบ ความส�ำเร็จ จากการศึกษาพบว่า ธุรกิจระบบแฟรนไชส์ มีบทบาทส�ำคัญในการส่งเสริมให้ธุรกิจมีคุณค่าเพื่อให้ ผู้รับสิทธิรับรู้ถึงคุณค่าในตราสินค้า และผู้ให้สิทธิต้อง ให้การสนับสนุนในการแบ่งปันข้อมูลของตราสินค้าอย่าง ทั่วถึง และ Altinary et al. (2014) ได้ศึกษาพบว่า ความสามารถของผู ้ รั บ สิ ท ธิ แ ละการสื่ อ สารที่ ดี เ ป็ น เครือ่ งมือในการแลกเปลีย่ นความรูแ้ ละสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างกัน รวมถึงการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และน่า เชื่อถือจะช่วยสนับสนุนให้ผู้รับสิทธิมีความเชื่อมั่นและ ไว้วางใจในเรือ่ งผลประโยชน์ทไี่ ด้รบั และสามารถน�ำไปสู่ การพัฒนาความสัมพันธ์ในอนาคตได้ Nadaillac (2003) ให้คำ� จ�ำกัดความเกีย่ วกับสมรรถนะว่าเป็นสิง่ ทีต่ อ้ งลงมือ ปฏิบตั แิ ละท�ำให้เกิดขึน้ กล่าวคือความสามารถทีใ่ ช้เพือ่ ให้เกิดการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัว ขับเคลือ่ นทีท่ ำ� ให้เกิดความรู้ การเรียนรูท้ กั ษะ และเจตคติ ที่ช่วยให้สามารถเผชิญและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ได้จริง สอดคล้องกับ Dubois & Rothwell (2004) กล่าวว่า สมรรถนะเป็นคุณลักษณะที่ทุกคนมีและน�ำมา ใช้ได้อย่างเหมาะสมเพือ่ ผลักดันให้ผลการปฏิบตั งิ านบรรลุ ตามเป้าหมาย ซึ่งคุณลักษณะเหล่านั้น ได้แก่ ความรู้ ทักษะ บุคลิกภาพ แรงจูงใจทางสังคม ลักษณะนิสัย ส่วนบุคคล ตลอดจนรูปแบบความคิด วิธกี ารคิด จากการ ทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวพบว่า การด�ำเนินธุรกิจให้ ประสบผลส�ำเร็จได้นนั้ ผูร้ บั สิทธิตอ้ งได้รบั ความยุตธิ รรม รวมถึงการสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และภาพลักษณ์ ตราสินค้าของผู้ให้สิทธิเป็นปัจจัยในการสร้างความ แข็งแกร่งให้ธรุ กิจมีสมรรถนะส่งผลต่อความส�ำเร็จในการ เป็นผู้ประกอบการธุรกิจแบบแฟรนไชส์ร้านกาแฟสด
วิธีการวิจัย
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาถึงปัจจัยสนับสนุน ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ความส� ำ เร็ จ ของผู ้ ป ระกอบการธุ ร กิ จ แฟรนไชส์รา้ นกาแฟสด ได้แก่ ความยุตธิ รรมของผูใ้ ห้สทิ ธิ
การสนับสนุน และภาพลักษณ์ตราสินค้าของผู้ให้สิทธิ ผ่านตัวแปรส่งผ่าน ประกอบด้วยความแข็งแกร่งและ สมรรถนะของผู ้ รั บ สิ ท ธิ โดยใช้ วิ ธี วิ จั ย เชิ ง ปริ ม าณ (Quantitative research)
ประชากร
ประชากร คือ ผูป้ ระกอบการแฟรนไชส์รา้ นกาแฟสด A จ�ำนวน 360 สาขา และร้าน B จ�ำนวน 300 สาขา รวมทั้งหมด 660 สาขา
ขนาดตัวอย่าง
วิธที ี่ 1 ค�ำนวณเพือ่ ประกัน Model กับกลุม่ ตัวอย่าง ที่น้อยที่สุดที่ยอมรับได้ของ Westland (2010) โดยใช้ สูตรการค�ำนวณขนาดตัวอย่าง ดังนี้ n >= 50*32 – 450*r + 1100 วิธีที่ 2 ค�ำนวณเพื่อประกันขนาดตัวอย่าง โดยใช้ สูตรของ Yamane (1973) ค�ำนวณ ดังนี้ = =
N 1 + NE2
660
5 2 1 + 650 × f p 180 ≈ 265
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยได้ก� ำหนดตัว แปรที่ใช้ในการวิจัยไว้ ดังนี้ 1) ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย ความยุตธิ รรมของผูใ้ ห้สทิ ธิ การสนับสนุนจากผู้ให้สิทธิ และภาพลักษณ์ตราสินค้า 2) ตัวแปรส่งผ่าน ประกอบด้วยความแข็งแกร่งของผูร้ บั สิทธิ สมรรถนะของผู้รับสิทธิ 3) ตัวแปรตาม ประกอบด้วย ความส�ำเร็จของผู้รับสิทธิ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างเป็นกรอบแนวความคิดที่เป็น
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
แนวทางในการพัฒนาแบบสอบถาม เพื่อเก็บรวบรวม ข้อมูลจากประชากรกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการวิจัยเชิง ส�ำรวจ การสร้างมาตรวัดของเครือ่ งมือทีเ่ ป็นตัวแปรหลัก ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ มาตรวัดข้อมูลลักษณะ ทางประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม และ รายการมาตรวัดตัวแปรทีใ่ ช้ในการวิจยั ครัง้ นี้ ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระ ตัวแปรส่งผ่าน และตัวแปรตาม
สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิ เ คราะห์ ข ้อมูลส�ำหรับ การวิจัยเชิง ปริมาณ ตามความเหมาะสมของข้อมูลและวัตถุประสงค์ส�ำหรับ งานวิจัย ดังนี้ 1. วิเคราะห์โดยน�ำมาแจกแจงในรูปของความถี่ (frequency) และสถิติเชิงพรรณา เช่น ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. ใช้วธิ กี ารวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ของความยุติธรรมในสิทธิประโยชน์ การสนับสนุน และ ภาพลักษณ์ตราสินค้าของผู้ให้สิทธิที่มีอิทธิพลต่อความ ส�ำเร็จของผู้ประกอบการ 3. สถิ ติ อ นุ ม านหรื อ สถิ ติ อ ้ า งอิ ง (Inferential Statistics) ด้วยตัวแบบสมการโครงสร้าง โดยเก็บรวบรวม ข้อมูลจากผูป้ ระกอบการแฟรนไชส์รา้ นกาแฟสด จึงแบ่ง แบบสอบถามเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 สอบถามข้อมูล ทัว่ ไปเกีย่ วกับลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผูร้ บั สิทธิ แฟรนไชส์ โดยใช้วธิ ี Check List และส่วนที่ 2 สอบถาม เกีย่ วกับการแสดงความคิดเห็นของผูร้ บั สิทธิ ตัวแปรทีใ่ ช้ ในการศึกษาทั้งหมด 6 ตัวแปร ตามหลักของ Likert Scale 5 ระดับ ประกอบด้วยความยุตธิ รรม การสนับสนุน ภาพลักษณ์ตราสินค้าของผู้ให้สิทธิ ความแข็งแกร่ง สมรรถนะ และความส�ำเร็จของผู้รับสิทธิ
ผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ด�ำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยวิธีการทางสถิติ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
17
และน�ำผลลัพธ์ทไี่ ด้มาวิเคราะห์และประมวลผล แบ่งการ เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผูร้ บั สิทธิ พบว่า ผูต้ อบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.5 มีอายุระหว่าง 26-30 ปี ร้อยละ 37.74 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 65.29 ระยะเวลาเปิดด�ำเนินกิจการภายใต้สิทธิบัตรแฟรนไชส์ 1-3 ปี ร้อยละ 66.04 จ�ำนวนเงินลงทุนในช่วงแรก จ�ำนวน 400,001-500,000 บาท ร้อยละ 37.36 รายได้ เฉลี่ยจากยอดขายต่อเดือน 200,001-300,000 บาท ร้อยละ 31.34 พนักงาน จ�ำนวน 4-6 คน ร้อยละ 57.73 ส่วนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ถึงความยุติธรรมในสิทธิ ประโยชน์ การสนับสนุน และภาพลักษณ์ตราสินค้าของ ผู้ให้สิทธิ ตัวแปร ความยุติธรรมด้านการแบ่งปัน ความยุติธรรมด้านกระบวนการ ความยุติธรรมด้านปฏิสัมพันธ์ การแบ่งปันความรู้ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้าง พื้นฐานในการด�ำเนินธุรกิจ การแบ่งปันข้อมูลด้าน Value Chain เอกลักษณ์ตราสินค้า การรับรู้ตราสินค้า ความแข็งแกร่งของผู้รับสิทธิ สมรรถนะของผู้รับสิทธิ ความส�ำเร็จของผู้รับสิทธิ แฟรนไชส์
X แปลผล 3.800 มาก 3.820 มาก 3.540 มาก 3.750 มาก 3.760 3.880
มาก มาก
4.090 4.200 4.050 3.940
มาก มาก มาก มาก
4.050
มาก
1) ความยุติธรรมด้านการแบ่งปัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก (เท่ากับ 3.80) พบว่า ข้อมูลที่ให้ส่วนใหญ่ ผู้รับสิทธิยอมรับได้ในระดับดีที่สามารถน�ำไปด�ำเนิน ธุรกิจได้ 2) ความยุติธรรมด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ย
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
18
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
อยู่ในระดับมาก (เท่ากับ 3.82) พบว่า ข้อมูลที่ได้รับ มีผลต่อการตัดสินใจในการด�ำเนินธุรกิจและได้รบั ข้อมูล อย่างรวดเร็วไม่มีความล�ำเอียง 3) มาตรฐานของความ ยุ ติ ธ รรมด้ า นปฏิ สั ม พั น ธ์ มี ค ่ า เฉลี่ ย อยู ่ ใ นระดั บ มาก (เท่ากับ 3.54) โดยภาพรวมข้อมูลความคิดเห็นของ ผู้รับสิทธิที่มีต่อผู้ให้สิทธิให้เกียรติ เคารพศักดิ์ศรี และ รับฟังความคิดเห็น และการแบ่งปันความรู้อย่างเป็น กันเอง 4) การแบ่งปันความรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (เท่ากับ 3.75) โดยภาพรวมข้อมูลความคิดเห็นของ ผู้รับสิทธิที่มีต่อผู้ให้สิทธิที่ให้การช่วยเหลือในการจัด โครงสร้าง และกลุ่มที่ได้รับสิทธิด้วยกันมีการประชุม เพือ่ แลกเปลีย่ นข้อมูลกับผูใ้ ห้สทิ ธิเป็นอย่างดี 5) การให้ ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานในการด�ำเนินธุรกิจ มีคา่ เฉลีย่ อยูใ่ นระดับมาก (เท่ากับ 3.76) พบว่า ผูใ้ ห้สทิ ธิ ในการให้ค�ำปรึกษา แนะน�ำเกี่ยวกับการจัดโครงสร้าง องค์กร และการจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างเหมาะสม ในระดับมาก 6) การแบ่งปันข้อมูลด้าน Value Chain มีคา่ เฉลีย่ อยูใ่ นระดับมาก (เท่ากับ 3.88) พบว่า การรับรู้ การสนับสนุนข้อมูลเกีย่ วกับการเข้าถึงแหล่งความรูท้ นี่ ำ� ไปใช้ในการจัดการธุรกิจมีความเหมาะสม สอดคล้อง และ การให้ความรูใ้ นเรือ่ งทรัพยากร สนับสนุนการด�ำเนินงาน เป็นไปด้วยความเหมาะสม และรวดเร็วได้เป็นอย่างดี 7) ภาพลั ก ษณ์ ต ราสิ น ค้ า มี ค ่ า เฉลี่ ย อยู ่ ใ นระดั บ มาก (เท่ากับ 4.09) พบว่า ผู้ให้สิทธิมีความสามารถในการ สร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าอย่างโดดเด่น และมีความมุง่ มัน่ ในการพัฒนาอัตลักษณ์ของตราสินค้าอย่างต่อเนื่อง 8) การรับรูต้ ราสินค้า มีคา่ เฉลีย่ อยูใ่ นระดับมาก (เท่ากับ 4.20) โดยภาพรวมข้อมูลความคิดเห็นของผู้รับสิทธิที่มี ผู้ให้สิทธิในการส่งเสริมผู้รับสิทธิในเรื่องภาพลักษณ์ ตราสินค้าที่ประทับใจเป็นอย่างดี และตราสินค้าที่ท่าน ท�ำอยู่มีความโดดเด่น 9) ความแข็งแกร่งของผู้รับสิทธิ มีคา่ เฉลีย่ อยูใ่ นระดับมาก (เท่ากับ 4.05) พบว่า ผูร้ บั สิทธิ สามารถด�ำเนินธุรกิจด้วยความแข็งแกร่งในระดับดี และ ท่ามกลางการแข่งขันทีร่ นุ แรงต่อไปได้ 10) สมรรถนะของ ผูร้ บั สิทธิมคี า่ เฉลีย่ อยูใ่ นระดับมาก (เท่ากับ 3.94) พบว่า
ผู้รับสิทธิได้รับความรู้ ความสามารถ และแรงจูงใจที่ สามารถด�ำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี และได้รบั ประสบการณ์ จากผูใ้ ห้สทิ ธิทที่ ำ� ให้มคี วามเชีย่ วชาญได้อย่างมีประสิทธิภาพ 11) ความส�ำเร็จของผู้รับสิทธิแฟรนไชส์มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก (เท่ากับ 4.05) โดยภาพรวมข้อมูลความคิดเห็น ของผู้รับสิทธิ พบว่า รายได้ที่ผู้รับสิทธิได้รับมีอัตรา การเติบโตทีพ่ งึ พอใจอยูใ่ นระดับมากและสามารถปรับแต่ง ผลิตภัณฑ์ และบริการในรูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างสม�ำ่ เสมอ ส่วนที่ 3 ผลการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐาน
สรุปผลทดสอบตามสมมติฐาน
ความยุตธิ รรมในสิทธิประโยชน์ การสนับสนุน และ ภาพลักษณ์ตราสินค้าของผู้ให้สิทธิที่มีอิทธิพลต่อความ ส�ำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ส่งผลถึงความ แข็งแกร่งของผู้รับสิทธิ ซึ่งรวมถึงการแบ่งผลประโยชน์ ที่ทั้ง 2 ฝ่าย ต้องมีความเชื่อใจกันและกัน ในเรื่องของ ผลประโยชน์ทไี่ ด้รบั นัน้ ต้องมีความยุตธิ รรม ส่วนของความ ไว้วางใจมีความส�ำคัญ และมีอทิ ธิพลต่อผลการปฏิบตั งิ าน ของผู้รับสิทธิที่สามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าประสงค์ ด้วยเชือ่ ใจกัน ซึง่ ผลลัพธ์ทไี่ ด้ยอ่ มส่งผลในทิศทางทีด่ ตี อ่ องค์กร เพราะต่างฝ่ายต่างไว้ใจ เชือ่ ใจกันและกัน ซือ่ สัตย์ ตามสัญญาและเงือ่ นไข เพราะทัง้ สองฝ่ายต่างต้องพึง่ พา
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
อาศัยกัน ความไว้วางใจยังสะท้อนถึงความคาดหวังเชิงบวก ต่อสิง่ ทีจ่ ะได้รบั ส่วนการสนับสนุนจากผูใ้ ห้สทิ ธิมอี ทิ ธิพล เชิงบวกต่อการด�ำเนินกิจการของผู้รับสิทธิ และมีความ พึงพอใจกับการสนับสนุนจากผู้ให้สิทธิในการท�ำธุรกิจ พร้ อ มเรี ย นรู ้ วิ ธี ถึ ง วิ ธี ก ารด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ จากผู ้ ใ ห้ สิ ท ธิ ในระหว่างด�ำเนินธุรกิจร่วมกัน ส่วนภาพลักษณ์ตราสินค้า จากผูใ้ ห้สทิ ธิมอี ทิ ธิพลเชิงบวกต่อสมรรถนะการด�ำเนินงาน ของผู ้ รั บ สิ ท ธิ ธุ ร กิ จ แฟรนไชส์ ใ นระดั บ ดี ถึ ง การรั บ รู ้ ข้อมูลข่าวสารด้านภาพลักษณ์ในตราสินค้าของผูใ้ ห้สทิ ธิ ส่วนความแข็งแกร่งของผูใ้ ห้สทิ ธิมอี ทิ ธิพลในเชิงบวกต่อ ความส�ำเร็จของผูร้ บั สิทธิธรุ กิจแฟรนไชส์ ซึง่ ผลการวิจยั ปั จ จั ย ด้ า นการสนั บ สนุ น ความแข็ ง แกร่ ง ของธุ ร กิ จ แฟรนไชส์ให้สามารถด�ำเนินธุรกิจได้ทา่ มกลางการแข่งขัน ทีร่ นุ แรง และสามารถปรับเปลีย่ นธุรกิจให้มคี วามสอดคล้อง กับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องได้ ซึง่ ผูร้ บั สิทธิตอ้ งมีความรู้ ความสามารถ ความตัง้ ใจ และ ความสามารถในการตัดสินใจในสภาวะการบีบบังคับ ที่ต้องมีภาวะผู้น�ำโดดเด่น และสมรรถนะของผู้รับสิทธิ มีอทิ ธิพลเชิงบวกต่อความส�ำเร็จของผูป้ ระกอบการทีร่ บั สิทธิแฟรนไชส์ ผลการวิจยั พบว่า สมรรถนะของผูร้ บั สิทธิ ส่งผลต่อความส�ำเร็จในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ แฟรนไชส์ กล่าวโดยสรุป ในการศึกษาความยุติธรรมในสิทธิ ประโยชน์ การสนับสนุน และภาพลักษณ์ตราสินค้าของ ผู้ให้สิทธิ จากการทบทวนวรรณกรรม และผลการวิจัย ข้างต้นพบว่า ปัจจัยด้านความยุตธิ รรมจากผูใ้ ห้สทิ ธิยงั ไม่ สนับสนุนงานวิจยั ดังกล่าว ส่วนการสนับสนุนภาพลักษณ์ ตราสินค้าจากผู้ให้สิทธิส่งผลเชิงบวกต่อการด�ำเนินงาน ของผู้รับสิทธิ
อภิปรายผล
จากผลการศึกษาเกี่ยวกับความยุติธรรมในสิทธิ ประโยชน์ การสนับสนุน และภาพลักษณ์ตราสินค้าของ ผู้ให้สิทธิที่มีอิทธิพลต่อความส�ำเร็จของผู้ประกอบการ ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟสดในประเทศไทย ได้แก่
19
ความยุตธิ รรม การสนับสนุน ภาพลักษณ์ตราสินค้าของ ผูใ้ ห้สทิ ธิ ความแข็งแกร่ง สมรรถนะ และความส�ำเร็จของ ผูป้ ระกอบการแฟรนไชส์ สามารถอภิปรายผลการศึกษา ได้ดังนี้ การอภิปรายผลการวิจยั ครัง้ นี้ ได้แบ่งเนือ้ หาออกเป็น 4 ข้อ ตามวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1. ศึกษาระดับการรับรูถ้ งึ ความยุตธิ รรมของผูใ้ ห้สทิ ธิ การสนับสนุนจากผู้ให้สิทธิ และภาพลักษณ์ตราสินค้า ของผู้ให้สิทธิที่เกิดกับผู้รับสิทธิ 1.1 อภิปรายผลระดับการรับรูถ้ งึ ความยุตธิ รรม ของผู ้ ใ ห้ สิ ท ธิ ความยุ ติ ธ รรมด้ า นการแบ่ ง ปั น ด้ า น กระบวนการ และด้านปฏิสัมพันธ์ พบว่า มีตัวแปรแฝง 3 ตัว ที่เกี่ยวข้องกับการด�ำเนินธุรกิจกับผู้รับสิทธิ มีค่า R Squares เท่ากับ 1.00 จากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ตัวแปรทั้ง 3 มีอิทธิพลต่อผู้รับสิทธิ มีค่าเท่ากับ 0.442, 0.425 และ 0.402 1.2 อภิปรายผลระดับการรับรู้ถึงการสนับสนุน จากผูใ้ ห้สทิ ธิดา้ นการแบ่งปันความรู้ การให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับ โครงสร้างพื้นฐานในการด�ำเนินธุรกิจ และการแบ่งปัน ข้อมูลด้าน Value Chain พบว่า มีตัวแปรแฝง 3 ตัว ที่เกี่ยวข้องกับการด�ำเนินธุรกิจกับผู้รับสิทธิ มีค่า R Squares เท่ากับ 1.00 จากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ตัวแปรทั้ง 3 มีอิทธิพลต่อผู้รับสิทธิ มีค่าเท่ากับ 0.438, 0.431 และ 0.324 1.3 อภิปรายผลระดับการรับรู้ถึงภาพลักษณ์ ตราสินค้าของผู้ให้สิทธิที่มีต่อผู้รับสิทธิ พบว่า มีตัวแฝง 2 ตัวที่เกี่ยวข้องกับการด�ำเนินธุรกิจกับผู้รับสิทธิ มีค่า R Squares เท่ากับ 1.00 จากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ตัวแปรทั้ง 2 มีอิทธิพลต่อผู้รับสิทธิ มีค่าเท่ากับ 0.581 และ 0.546 2. เพื่อศึกษาถึงความแข็งแกร่งของผู้รับสิทธิ 2.1 ความแข็ ง แกร่ ง ของผู ้ รั บ สิ ท ธิ มี อิ ท ธิ พ ล เชิงบวกต่อความส�ำเร็จของผู้ประกอบการที่รับสิทธิ แฟรนไชส์ ในภาพรวมอยู่ในระดับดี และผู้ให้ข้อมูลมี ความเห็นทีค่ ล้ายคลึงกันมาก เมือ่ พิจารณาความแข็งแกร่ง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
20
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ของผู้รับสิทธิประกอบด้วยทุนทรัพย์ สติปัญญา และ แรงจูงใจที่ส่งผลต่อความส�ำเร็จของผู้รับสิทธิ 3. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการด�ำเนิน ธุรกิจ 3.1 ประสิ ท ธิ ภ าพของการด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ แบบ แฟรนไชส์ มี ป ั จ จั ย สนั บ สนุ น ด้ า นความยุ ติ ธ รรมจาก ผูใ้ ห้สทิ ธิอย่างเท่าเทียม สอดคล้อง และเหมาะสม จากผล การทดสอบสมมติฐานด้านความยุติธรรมจากผู้ให้สิทธิ มีอทิ ธิพลเชิงบวกต่อความแข็งแกร่งของผูร้ บั สิทธิ พบว่า ไม่สนับสนุน โดยมีคา่ สัมประสิทธิเ์ ส้นทาง เท่ากับ 0.001 t-stat ที่ 0.009 3.2 ประสิ ท ธิ ภ าพของการด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ แบบ แฟรนไชส์มีปัจจัยสนับสนุนความยุติธรรมจากผู้ให้สิทธิ ในด้านการแบ่งปันข้อมูล ด้านกระบวนการด�ำเนินงาน และด้านปฏิสมั พันธ์กบั ผูร้ บั สิทธิอย่างเท่าเทียม รวดเร็ว เหมาะสม จากผลการทดสอบสมมติฐานด้านความยุตธิ รรม จากผูใ้ ห้สทิ ธิมอี ทิ ธิพลเชิงบวกต่อสมรรถนะของผูร้ บั สิทธิ พบว่า ไม่สนับสนุน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.097 t-stat ที่ 0.984 4. เพื่อศึกษาปัจจัยส่งผ่านสมรรถนะของผู้รับสิทธิ สู่ผลประกอบการ 4.1 ปัจจัยส่งผ่านด้านสมรรถนะของผู้รับสิทธิ มีอทิ ธิพลเชิงบวกต่อความส�ำเร็จของผูป้ ระกอบการทีร่ บั สิทธิแฟรนไชส์ โดยมีคา่ สัมประสิทธิเ์ ส้นทางเท่ากับ 0.375 t-stat ที่ 3.795 ดังนั้น ความยุติธรรมในสิทธิประโยชน์ การสนับสนุน และภาพลักษณ์ตราสินค้าของผู้ให้สิทธิ ที่มีอิทธิพลต่อความส�ำเร็จของผู้ให้สิทธิส่งผลถึงความ แข็งแกร่งของผู้รับสิทธิ ซึ่งรวมถึงการแบ่งผลประโยชน์ ที่ 2 ฝ่ า ยต้ อ งมี ค วามเชื่ อ ใจกั น และกั น ในเรื่ อ งของ ผลประโยชน์ทไี่ ด้รบั นัน้ ต้องมีความยุตธิ รรม Greenberg (1990), Moorman (1991), Folger & Cropanzano (1998), Colquitt et al. (2001) ความยุตธิ รรมในองค์กร ส่งผลต่อความรู้ ความสามารถของผูป้ ระกอบการ Liden & Maslyn (1998) ผู้ให้สิทธิกับผู้รับสิทธิต้องสร้าง ความสัมพันธ์กันโดยมีพื้นฐานมาจากความไว้วางใจ
ความเชีอ่ ใจในการให้ผรู้ บั สิทธิใช้รปู แบบการด�ำเนินงาน ในด้านต่างๆ ของผู้รับสิทธิในการติดต่อประสานงาน เพื่อพัฒนาธุรกิจ โดยความยุติธรรมในองค์กรส่งผลถึง ความแข็งแกร่งของผู้ประกอบการธุรกิจแบบแฟรนไชส์ Schyns & Wolfram (2008) ผูใ้ ห้สทิ ธิจะให้ความส�ำคัญ กับผลการด�ำเนินงานของผู้รับสิทธิเป็นหลัก ซึ่งมีความ พึงพอใจในการท�ำงาน ความผูกพัน และสามารถด�ำเนิน ธุรกิจได้จากผู้ให้สิทธิให้การสนับสนุน การใส่ใจ การให้ ค�ำแนะน�ำในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการด�ำเนินงาน ของธุรกิจทีเ่ ป็นประโยชน์น�ำไปสูก่ ารสร้างความสัมพันธ์ ที่เข้มแข็งในองค์การกับผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ ส่วนความ ไว้วางใจมีความส�ำคัญและมีอทิ ธิพลต่อผลการปฏิบตั งิ าน ของผูร้ บั สิทธิทสี่ ามารถปฏิบตั งิ านได้ ซึง่ ผลลัพธ์ทไี่ ด้ยอ่ ม ส่งผลในทิศทางที่ดีต่อองค์กร เพราะต่างฝ่ายต่างไว้ใจ เชือ่ ใจกันและกัน ซือ่ สัตย์ตามสัญญาและเงือ่ นไข เพราะ ทัง้ สองฝ่ายต่างต้องพึง่ พาอาศัยกัน ความไว้วางใจยังสะท้อน ถึงความคาดหวังเชิงบวกต่อสิ่งที่จะได้รับ Morgan & Zeffane (2003) โดยความไว้วางใจจะมีอยู่ ถ้าฝ่ายหนึง่ มีความมั่นใจในความน่าเชื่อถือและความซื่อสัตย์ของ อีกฝ่าย ความไว้วางใจเป็นปัจจัยส�ำคัญทีน่ ำ� ไปสูผ่ ลส�ำเร็จ ในการปฏิ บั ติ ง านของผู ้ ป ระกอบการให้ เ ป็ น ไปตาม เป้าประสงค์ขององค์กร ส่วนการสนับสนุนจากผูใ้ ห้สทิ ธิ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการด�ำเนินกิจการของผู้รับสิทธิ โดย Coyle-Shapiro & Conway (2005) พบว่า การสนับสนุนจากผู้ให้สิทธิคือ สิ่งที่องค์การกระท�ำตาม สัญญาในเรื่องที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ถึง การรับรูถ้ งึ ระดับการสนับสนุนจากผูใ้ ห้สทิ ธิ Foo et al. (1998) และ Roh & Yoon (2009) ผูร้ บั สิทธิแฟรนไชส์ มีความพึงพอใจกับการสนับสนุนจากผู้ให้สิทธิในการท�ำ ธุรกิจ พร้อมเรียนรู้วิธีการด�ำเนินธุรกิจจากผู้ให้สิทธิ ในระหว่างด�ำเนินธุรกิจร่วมกัน ผูใ้ ห้สทิ ธิตอ้ งมอบอ�ำนาจ ในการท� ำงานให้กับผู้รับสิทธิเพื่อให้การท� ำงานดีขึ้น Nyadzayo & Matanda (2011) พบว่า การสร้าง ตราสิ น ค้ า เป็ น ข้ อ ได้ เ ปรี ย บในเชิ ง แข่ ง ขั น ทางธุ ร กิ จ โดยเฉพาะธุรกิจแฟรนไชส์ เพือ่ ท�ำความเข้าใจและสร้าง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ความสัมพันธ์ในตราสินค้าของธุรกิจแฟรนไชส์สอดคล้อง กับ Randall (2000), Assael (1998) และ Schiffman & Kanuk (2000) พบว่า การรับรู้เกี่ยวกับภาพลักษณ์ ตราสินค้าของผูร้ บั สิทธิในทิศทางเดียวกันถึงกระบวนการ ในการเลือกการจัดองค์การ และการตีความเกีย่ วกับสิง่ เร้า จนเกิดเป็นภาพรวมของสิ่งนั้นๆ การรับรู้ของผู้บริโภค แต่ ล ะคนที่ เ ปิ ด รั บ สิ่ ง เร้ า และอยู ่ ภ ายใต้ ส ถานการณ์ เดียวกัน อาจมีการเลือกสรร การจัดการ และการตีความ ที่แตกต่างกัน เนื่องจากการเลือกรับรู้ขึ้นอยู่กับความ ต้องการ ค่านิยม ความคาดหวังของบุคคลแต่ละคน เป็นส�ำคัญ ส่วนความแข็งแกร่งของผู้รับสิทธิมีอิทธิพล ในเชิงบวกต่อความส�ำเร็จของผู้ประกอบการที่รับสิทธิ แฟรนไชส์ ซึ่งผลการวิจัยปัจจัยด้านการสนับสนุนความ แข็งแกร่งผู้รับสิทธิให้สามารถด�ำเนินธุรกิจได้ท่ามกลาง การแข่งขันที่รุนแรง และสามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจให้มี ความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างต่อเนื่องได้ ซึ่งต้องมีความรู้ ความตั้งใจ และความ สามารถตัดสินใจในสภาวะการบีบบังคับทีต่ อ้ งมีภาวะผูน้ ำ� ที่โดดเด่น Thompson (2004) และ Studdard & Munchus (2009) พบว่า ผู้ประกอบการที่แข็งแกร่งจะ ต้องมีความสามารถในเชิงความรู้ มีภาวะผูน้ �ำเชิงกลยุทธ์ มี วิ ธี คิ ด วิ ธี ป ฏิ บั ติ และมุ ่ ง เน้ น ไปที่ ค วามคาดหมาย ส่วนสมรรถนะของแฟรนไชส์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความ ส�ำเร็จของผูป้ ระกอบการทีร่ บั สิทธิแฟรนไชส์ ผลการวิจยั พบว่า สมรรถนะของผูร้ บั สิทธิสง่ ผลต่อความส�ำเร็จในการ เป็นผูป้ ระกอบการแฟรนไชส์ Altinary & Wang (2011) พบว่า ผู้ประกอบการที่มีความรู้ มีทักษะ มีความตั้งใจ มีแนวคิดในการท�ำงานเชิงบวกที่ส่งผลต่อความส�ำเร็จ
21
ขององค์การ และผู้ประกอบการที่มีการศึกษาจะส่งผล ต่อความส�ำเร็จในเชิงบวกสอดคล้องกับการด�ำเนินงาน จากผลการวิจยั พบว่า ปัจจัยด้านความยุตธิ รรม ภาพลักษณ์ ตราสินค้า การสนับสนุนจากผูใ้ ห้สทิ ธิไม่สนับสนุนงานวิจยั ดังกล่าว เช่น การสร้างตราสินค้าของกาแฟ A ที่อยู่ ภายใต้ตราสินค้าของสถานีบริการน�้ำมัน ส่วนกาแฟ B สามารถเจาะตลาด และตราสินค้าของตนชัดเจน กระจาย ไปทั่วโลกโดยคนไทย จากงานวิจัยยังพบว่า ปัจจัยด้าน ความยุติธรรมจากผู้ให้สิทธิไม่สนับสนุนความแข็งแกร่ง และสมรรถนะของผู้รับสิทธิ ซึ่งทั้ง 2 ตราสินค้าจะมี ความแตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะเชิงการประยุกต์ใช้ในการจัดการ
จากผลการศึกษาเกี่ยวกับความยุติธรรมในสิทธิ ประโยชน์ การสนับสนุน และภาพลักษณ์ตราสินค้าของ ผู้ให้สิทธิที่มีอิทธิพลต่อความส�ำเร็จของผู้ประกอบการ ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟสดในประเทศไทย ผู้วิจัยมี ข้อเสนอแนะดังนี้ 1. น�ำข้อมูลทีไ่ ด้จากการศึกษาในครัง้ นีไ้ ปใช้ในการ ศึกษาธุรกิจแบบแฟรนไชส์ประเภทอื่นๆ เพื่อประกอบ การวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารจัดการ หรือการขยาย เครือข่าย 2. น�ำทฤษฎี และน�ำความรู้ที่ได้จากผลการศึกษา ข้อมูลเชิงประจักษ์ไปประยุกต์ใช้ประกอบการวางแผน เชิงกลยุทธ์ถึงความส�ำเร็จของผู้ประกอบการในธุรกิจ ค้าปลีก SMEs รวมถึงการสร้างความสามารถในการแข่ง ทางธุรกิจได้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
22
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
บรรณานุกรม
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย. (2558). การเติบโตของกลุ่มธุรกิจค้าปลีก. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2558, จาก http://www. manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx Thai Franchise Association: TFA. (2558). รูปแบบแฟรนไชส์. สืบค้นเมือ่ 1 กรกฎาคม 2558, จาก http://www. thaifranchisecenter.com/document/show.php?docuID=249 Abell, M. (1990). The international franchise option. London: Waterlow. Altinay, L. & Wang, C. L. (2011). The influence of an entrepreneur’s socio-cultural characteristic on the entrepreneurial orientation of small firms. Journal of Small Business and enterprise Development, 8(4), 373-394. Altinay, L., Brookes, M., Yeung, R. & Aktas, G. (2014). Franchisees’ perceptions of relationship development in franchise partnerships. Journal of Service Marketing, 28(6), 509-519. Assael, H. (1998). Consumer behavior and marketing action (6th ed.). Cincinnati, OH: South-Western College Publishing. Aydin, N. & Kacker, M. (l990). International outlook of US-based franchisers. International Marketing Review, 5(2), 43-53. Byrd, M. J. & Megginson, L. C. (2009). Small business management: An entrepreneur’s guidebook (6th ed.). New York: McGraw-Hill. Colquitt, J. A., Conlon, D. E., Wesson, M. J., Porter, C. O. & Ng, K. Y. (2001). Justice at the millennium: A meta-analysis review of 25 years of organizational justice research. Journal of Applied Psychology, 86(3), 425-445. Coyle-Shapiro, J. A. M. & Conway, N. (2005). Exchange relationship: Examining psychological contracts and perceived organization support. Journal of Applied Psychology, 90(4), 774-781. Dubois, D. D. & Rothwell, W. J. (2004). Competency-based human resource management. Palo Alto, CA: Davies-Black Publishing. Felstead, A. (1993). The corporate paradox: Power and control in the business franchise. London: Routledge. Folger, R. & Cropanzano, R. (1998). Organization justice and human resource management. Riverside County, CA: Sage. Foo, J. F. K., Chan, P. S., Hwa, L. C. & Har, A. T. M. (1998). A survey of franchisee perception of franchisor support in Singapore. Washington, DC: International Council of Small Business. Gelderen, M. V. & Frese, M. (1998). Strategy Process as a characteristic of small scale business in a longitudinal study. In Reunalds, P. D., Bygrave, W. D., Carter, N. M., Manigart, S., Mason, C. M., Meger, G. D. & Z, D. G. S. (Eds.). Frontier of Entrepreneurship Research (pp. 234-248). Babson Park, MS: Babson College. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
23
Go, F. & Christensen, J. (1989). Going Global. Cornell Hotel and Restaurant Administration Quarterly, 30(3), 73-79. Greenberg, J. (1990). Organization justices: Yesterday, today and tomorrow. Journal of Management, 16(2), 399-432. Jensen, M. C. & Meckling, W. H. (1976). Theory of the firm: Managerial behavior, agency costs and ownership structure. Journal of Financial Economic, 3, 305-360. Liden, R. C. & Maslyn, J. (1998). Multidimensionality of leader-member exchange: An empirical assessment through scale development. Journal of management, 24(1), 43-72. Miller, D. (1983). The correlates of entrepreneurship in three types of firms. Management Science, 29(7), 770-791. Moorman, C., Zaltman, G. & Deshpande, R. (1992). Relationships between providers and users of market research: The dynamics of trust within and between organization. Journal of Marketing Research, 29(3), 314-328. Moorman, R. H. (1991). Relationship between organization justices and organizational citizenship behaviors: Do fairness perception influence employee citizenship. Journal of Applied Psychology, 76, 845-855. Morgan, D. E. & Zeffane, R. (2003). Employee involvement, organizational change and trust in management. International of Human Resource Management, 14(1), 55-75. Nadaillac, A. D. (2003). Competency system. Bangkok: SEAMEO. Nyadzayo, M. & Matanda, M. J. (2011). Brand relationships and brand equity in franchising. Industrial Marketing Management, 40(7), 1103-1115. Randall, G. (2000). Branding: A practical guide to planning your strategy. London: Kogan Page. Roh, Y. E. & Yoon, J. H. (2009). Franchisor’s ongoing support and franchisee’s satisfaction: a case of ice cream franchising Korea. International journal of Contemporary Hospitality Management, 21(1), 85-99. Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (1991). Consumer behavior (4th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall. Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (2000). Consumer behavior (7th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prantice Hall. Schyns, B. & Wolfram, H. J. (2008). The Relationship between leader-member exchange and outcomes as rated by leaders and followers. Leadership & Organization Development Journal, 29(7), 631-646. Studdard, N. L. & Munchus, G. (2009). Entrepreneurial firms’ acquisition of knowledge using proactive help-seeking behavior. International Journal of Entrepreneurial Behavior & Research, 15(3), 242-261. Thompson, J. L. (2004). The facets of the entrepreneur: Identifying entrepreneurial potential. Management Decision, 42(2), 243-258. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
24
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�าเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Westland, J. C. (2010). Lower bounds on sample size in structural equation modeling. Electronic Commerce Research and Applications, 9(6), 476-487. Yamane, T. (1973). Statistics an introduction analysis (2nd ed.). New York: Harper & Row Publisher.
Translated Thai References
Thai Franchise Association: TFA. (2015). Model franchise. Retrieved July 1, 2015, from http://www. thaifranchisecenter.com/document/show.php?docuID=249 [in Thai] Thai Retailers Association. (2015). The growth of the retail business. Retrieved March 4, 2015, from http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.asp [in Thai]
Name and Surname: Kanchaporn Sonmanee Highest Education: MBA (Business Management), Ramkhamhaeng University University or Agency: Ramkhamhaeng University Field of Expertise: Organization Management Address: Faculty of Management Science, Ramkhamhaeng University Name and Surname: Rapepun Piriyakul Highest Education: Ph.D. (Computer Engineering), Kasetsart University University or Agency: Ramkhamhaeng University Field of Expertise: Computer Engineering Address: Faculty of Science, Ramkhamhaeng University Name and Surname: Chakrit Skulitsariyaporn Highest Education: Ph.D. (Business Administration), Ramkhamhaeng University University or Agency: Ramkhamhaeng University Field of Expertise: Business Management Address: Faculty of Business, Ramkhamhaeng University
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
25
อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ�้ำของลูกค้าโรงพยาบาลพระราม 2 THE INFLUENCE OF SERVICE QUALITY ON TRUST, SATISFACTION AND CUSTOMER POSITIVE WORD OF MOUTH AND REVISIT OF RAMA II HOSPITAL ไชยชนะ จันทรอารีย์1 มาเรียม นะมิ2 และอัมพล ชูสนุก3 Chaichana Chantra-ari1 Mariam Nami2 and Ampon Shoosanuk3 1,2คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 3คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 1,2Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon 3School of Business Administration, Bangkok University
บทคัดย่อ
งานวิจยั นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ พัฒนา และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุอทิ ธิพลของคุณภาพ การให้บริการต่อความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการของลูกค้าโรงพยาบาลพระราม 2 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผูว้ จิ ยั ใช้ระเบียบวิธกี ารวิจยั เชิงปริมาณโดยท�ำการวิจยั เชิงประจักษ์ ใช้แบบสอบถามเป็นเครือ่ งมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากลูกค้าโรงพยาบาลพระราม 2 จ�ำนาน 528 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลีย่ การหาค่าส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการ โครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยูใ่ นเกณฑ์ดี ค่าสถิตไิ คสแควร์ (χ2) เท่ากับ 877.200 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 847 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.229 ไคสแควร์สัมพัทธ์ (χ2/df) เท่ากับ 1.035 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.934 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.912 ค่าดัชนีความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยก�ำลังสองของส่วน ที่เหลือมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.026 ค่าดัชนีค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.110 นอกจากนีผ้ ลการวิจยั แสดงว่า (1) คุณภาพการให้บริการปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลทางบวกต่อความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ ได้แก่ ความรวดเร็วในการตอบสนอง ความเชือ่ ถือและไว้วางใจ การรับประกัน และความเอาใจใส่ลกู ค้าเป็นรายบุคคล (2) คุณภาพการให้บริการปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจ ได้แก่ ความรวดเร็วในการตอบสนอง ความเชือ่ ถือ และไว้วางใจ ความเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคล (3) ความไว้เนื้อเชื่อใจมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจ (4) ความ พึงพอใจมีอิทธิพลทางบวกต่อการบอกต่อ (5) ความพึงพอใจมีอิทธิพลทางบวกต่อการกลับมาใช้บริการซ�ำ้ ค�ำส�ำคัญ: คุณภาพการให้บริการ ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ การกลับมาใช้บริการซ�้ำ Corresponding Author E-mail: chaichana730@gmail.com
26
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Abstract
The objectives of this research were to develop and validate the causal relationship model of the influence of service quality on trust, customer satisfaction, customer positive word of mouth and revisit of Rama II Hospital with empirical data. The researcher used quantitative method which involved empirical research. The instrument of research was a questionnaire used to collect data from 528 customers of Rama II Hospital. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and structural equation model analysis. It was found that the model was consistent with the empirical data. Goodness of fit measures were found to be Chi-square (χ2) = 877.200; Degree of freedom = 847; p-value = 0.229; Relative Chi-square (χ2/df) = 1.035; Goodness of Fit Index (GFI) = 0.934; Adjusted Goodness of Fit Index AGFI) = 0.912; Comparative Fit Index (CFI) = 1.000; Standardized Root Mean Square Residual (SRMR) = 0.026; and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.110. It was also found that (1) Service quality factors have a positive influence on trust include responsiveness reliability assurance and empathy; (2) Service quality factors have a positive influence on Customer Satisfaction include responsiveness reliability assurance and empathy; (3) Trust have a positive influence on Customer Satisfaction; (4) Customer Satisfaction have a positive influence on Positive Word of Mouth; (5) Customer Satisfaction have a positive influence on Revisit. Keywords: Service Quality, Trust, Customer Satisfaction, Positive Word of Mouth, Revisit
บทน�ำ
การมีสุขภาพดีเป็นเรื่องที่ทุกคนปรารถนา คงไม่มี ใครอยากจะเจ็บป่วย แต่การเจ็บป่วยเป็นเรือ่ งทีห่ ลีกเลีย่ ง ไม่ได้ ดังนั้น การเลือกโรงพยาบาลในการรักษานั้น ย่อมต้องเลือกโรงพยาบาลที่มีความพร้อม และเต็มไป ด้วยบุคลากร และอุปกรณ์ด้านการแพทย์ที่ครบครัน รวมถึงการบริการทีเ่ ต็มไปด้วยความเอาใจใส่ เพราะเรือ่ ง ของการบริการมีความส�ำคัญเป็นอันดับแรก เพราะการที่ คนไข้มคี วามรูส้ กึ อยากจะมารักษามาจากการได้ยนิ แบบ ปากต่อปากมากกว่าการเห็นจากสือ่ ทีเ่ รามุง่ เน้น ขณะที่ การประชาสัมพันธ์จะเป็นการเสริมเพื่อให้คนไข้ได้รับรู้ ว่าบริการดีอย่างไร ดังนัน้ โรงพยาบาลจ�ำเป็นต้องมีการ พัฒนาเทคโนโลยีอยู่ตลอด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการรักษา รวมถึงมีการพัฒนาบุคลากรด้านการแพทย์ ให้มีความรู้ความสามารถมากพอที่จะให้การดูแลคนไข้
อย่างเต็มที่ ปัทมพร บุพพะกสิกร (2548) หากสถานพยาบาลใดให้ความส�ำคัญกับการตรวจ ประเมินเพื่อรับรองคุณภาพ แสดงว่าสถานพยาบาลนั้น มี น โยบายในการพั ฒ นาคุ ณ ภาพการบริ ห ารจั ด การ และการบริการอย่างต่อเนือ่ ง แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่า การพั ฒ นาคุ ณ ภาพบริ ก ารของสถานพยาบาลนั้ น ๆ มีมาตรฐานจริง พิจารณาจากอะไร วิธีในเบื้องต้นก็คือ จากการผ่านกระบวนการรับรองคุณภาพต่างๆ ซึง่ ปัจจุบนั มีอยู่ด้วยกันหลายมาตรฐาน เช่น มาตรฐานการรับรอง กระบวนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล หรือ Hospital Accreditation (HA) มาตรฐาน ISO 9001 2008 มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ รวมถึงมาตรฐาน สากลอืน่ ๆ ทีส่ ำ� คัญ เช่น มาตรฐาน Joint Commission International (JCI) โดยแต่ ล ะมาตรฐานแม้ จ ะมี รายละเอียดทีต่ า่ งกันแต่กม็ งุ่ เน้นทีก่ ารพัฒนากระบวนการ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
บริการและการรักษาพยาบาลให้สามารถยืนยันได้ว่า สถานพยาบาลนั้ น ๆ มี คุ ณ ภาพตามมาตรฐานจริ ง การพัฒนาจนผ่านการรับรองจากสถาบันที่น่าเชื่อถือ เหล่านี้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดก็คือ ประชาชน หรือ ผูป้ ว่ ยทีม่ ารับบริการนัน่ เอง (โรงพยาบาลเวชธานี, 2557)
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่ อ พั ฒ นาโมเดลความสั ม พั น ธ์ เ ชิ ง สาเหตุ อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการต่อความไว้เนื้อเชือ่ ใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการ ของลูกค้าโรงพยาบาลพระราม 2 2. เพื่ อ ตรวจสอบความสอดคล้ อ งของโมเดล ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุอทิ ธิพลของคุณภาพการให้บริการ ต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และ การกลับมาใช้บริการของลูกค้าโรงพยาบาลพระราม 2 กับข้อมูลเชิงประจักษ์
กรอบแนวคิดและสมมติฐานการวิจัย
การพัฒนากรอบแนวคิด คุณภาพการให้บริการ ปัจจัยพื้นฐานที่ผู้ใช้บริการตัดสินคุณภาพการให้ บริการ โดยมี 10 ข้อ การเก็บข้อมูลจะมี 2 ด้านคือ ด้านการรับรู้ และด้านความหวัง ดังนี้ 1. ความไว้วางใจได้ (Reliability) หมายถึง ความ ถูกต้องในการให้บริการ เช่น สามารถให้บริการลูกค้าได้ อย่างถูกต้องโดยไม่มขี อ้ ผิดพลาด และสามารถให้บริการ ลูกค้าได้ตามที่สัญญาไว้ 2. การตอบสนอง (Responsiveness) หมายถึง ความตัง้ ใจ และพร้อมทีจ่ ะให้บริการลูกค้าได้เป็นอย่างดี และยังรวมไปถึงการแก้ปญ ั หาในการให้บริการด้วย เช่น ในขณะที่พนักงานก�ำลังให้บริการอยู่นั้น สามารถแก้ ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว ตรงตาม ความต้องการของลูกค้าได้ถูกต้อง 3. ความสามารถของผู้ให้บริการ (Competence) หมายถึง การแสดงคุณสมบัติของผู้ให้บริการที่มีทักษะ
27
ความรูค้ วามสามารถในการให้บริการต่อผูร้ บั บริการ เช่น พนักงานผู้ให้บริการลูกค้าจะมีความช�ำนาญและความ สามารถในการให้บริการ 4. เข้าถึงการบริการ (Access) หมายถึง การทีผ่ รู้ บั บริการมีความสะดวกในการสื่อสาร เช่น ผู้ใช้บริการ สามารถติดต่อได้ตลอดเวลา ผู้ให้บริการจะต้องอ�ำนวย ความสะดวกในด้านเวลา ด้านสถานที่ให้กับลูกค้า และ ไม่ให้ลูกค้าต้องรอคอยเป็นเวลานาน 5. ความมีอธั ยาศัย (Courtesy) หมายถึง ผูใ้ ห้บริการ จะต้องมีความเอือ้ เฟือ้ มีไมตรี มีความสุภาพ เป็นมิตรกับ ลูกค้า ให้เกียรติลกู ค้า รวมไปถึงการแต่งกายทีเ่ หมาะสม ของพนักงาน 6. การติดต่อสือ่ สาร (Communication) หมายถึง เป็นความสามารถในการติดต่อสือ่ สารระหว่างผูใ้ ห้บริการ กับผูร้ บั บริการ โดยจะต้องใช้ภาษาทีเ่ ข้าใจง่าย และรับฟัง ความต้องการของผูใ้ ช้บริการ เช่น การให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับ การบริการ รายละเอียดอัตราค่าบริการ 7. ความน่าเชื่อถือ (Credibility) หมายถึง ความมี ชือ่ เสียงของสถานทีใ่ ห้บริการ ความน่าเชือ่ ถือได้จากการ ให้บริการด้วยความจริงใจ ความน่าไว้วางใจ ความซือ่ สัตย์ 8. ความปลอดภัย (Security) หมายถึง การส่งมอบ บริการให้แก่ผรู้ บั บริการได้อย่างปลอดภัย ไม่มคี วามเสีย่ ง อันตราย และปัญหาใดๆ ได้แก่ ความปลอดภัยต่อร่างกาย และทรัพย์สิน 9. การเข้าใจ และการรู้จักผู้ใช้บริการ (Understanding/Knowing the Customer) หมายถึง การท�ำ ความเข้าใจผู้ใช้บริการ และเรียนรู้ความต้องการของ ผู้ใช้บริการ ให้ความสนใจผู้ใช้บริการเป็นพิเศษ 10. ลักษณะทางกายภาพ (Tangible) หมายถึง ลักษณะทางกายภาพขององค์การที่สามารถจับต้องได้ เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่ พนักงาน จากปัจจัยทั้ง 10 ประการ ได้น�ำไปพัฒนาเป็น เครื่ อ งมื อ ประเมิ น คุ ณ ภาพการให้ บ ริ ก าร ที่ เ รี ย กว่ า “SERVQUAL” ซึง่ จะประกอบไปด้วยปัจจัยในการประเมิน คุณภาพการให้บริการให้เหลือเพียง 5 ประการ ดังนี้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
28
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
(Parasuraman, Zeithaml & Berry, 1988) 1. สิง่ ทีส่ มั ผัสได้ (Tangible) หมายถึง ลักษณะทาง กายภาพทีเ่ ห็นได้ เช่น สถานทีใ่ ห้บริการมีความสวยงาม สะดวกสบาย ทันสมัย เป็นต้น 2. ความน่ า เชื่ อ ถื อ และไว้ ว างใจ (Reliability) หมายถึง ผูใ้ ห้บริการสามารถท�ำให้ผรู้ บั บริการ เกิดความ ไว้วางใจได้ว่า การให้บริการมีความถูกต้อง 3. ความรวดเร็วในการตอบสนอง (Responsiveness) หมายถึง ผูใ้ ห้บริการมีการตอบสนองต่อผูใ้ ช้บริการ ทันที เมื่อผู้ใช้บริการมีความต้องการ 4. การรับประกัน (Assurance) หมายถึง พนักงาน ที่ให้บริการมีความรู้ ความสามารถ และมีจริยธรรม ในการให้บริการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ ว่าจะได้รับการบริการที่เป็นไปตามมาตรฐาน 5. การเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคล (Empathy) หมายถึง ความเห็นอกเห็นใจ และความเข้าใจถึงความ ต้องการของผู้ใช้บริการ หรือผู้รับบริการเป็นรายบุคคล ความไว้เนื้อเชื่อใจ พื้นฐานของความสัมพันธ์ทางการติดต่อสื่อสาร ในการให้บริการแก่ลกู ค้าและองค์การ จ�ำเป็นต้องเรียนรู้ ทฤษฎี ความสัมพันธ์ใกล้ชิด ความคุ้นเคย เพื่อให้ได้มา ซึ่งความไว้เนื้อเชื่อใจของลูกค้า ซึ่งประกอบด้วย 5C ได้แก่ (Stern, 1997) 1. การสื่อสาร พนักงานควรจะสื่อสารกับลูกค้า และท�ำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกอุ่นใจ พนักงานต้องแสดง ความเปิดเผยจริงใจและพร้อมทีจ่ ะให้ความช่วยเหลือแก่ ลูกค้าเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเต็มใจ 2. การดูแลและการให้ (Caring and Giving) ความใส่ใจและการให้ ทั้งสองสิ่งนี้เป็นคุณสมบัติของ ความสัมพันธ์ใกล้ชิด ประกอบไปด้วยความเอื้ออาทร ความอบอุ่น และความรู้สึกปกป้อง ซึ่งจะท�ำให้ลูกค้า มีความรู้สึกที่ดี นั่นหมายความว่า องค์การควรแสดง ความรูส้ กึ เหล่านี้ ซึง่ สิง่ เล็กๆ น้อยๆ สามารถสังเกตเห็น ได้จากลูกค้า 3. การให้ สั ญ ญาใจกั บ ลู ก ค้ า (Commitment)
องค์การควรยอมเสียผลประโยชน์บางอย่างเพื่อรักษา ความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A บอกลูกค้าว่า ถ้าคุณไม่พอใจสินค้าของเราไม่วา่ กรณีใดๆ โปรดคืนสินค้านัน้ ให้กบั เราทันที เพือ่ เปลีย่ นสินค้า หรือ คืนเงินในราคาทีค่ ณ ุ ซือ้ ไป นัน่ คือการแสดงให้ลกู ค้าเห็น ถึงความรับผิดชอบด้วยการยอมสูญเสียเพียงบางส่วน แต่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจเพิ่มขึ้นมาก 4. ความสะดวกสบาย (Comfort) หรือความเข้ากัน ได้ หรือความตรงกัน จะท�ำให้ลูกค้ารู้สึกสะดวกสบาย นัน่ ก็คอื ลูกค้าเกิดความรูส้ กึ ทีด่ ี อบอุน่ มัน่ ใจ เมือ่ เข้ารับ บริการ ดังนัน้ อาจกล่าวได้วา่ ลูกค้าประเมินความสะดวก สบาย จากการได้รับการบริการที่ดีจากองค์การ 5. การแก้ไขสถานการณ์ขดั แย้ง (Conflict Resolution) และการให้ความไว้เนื้อเชื่อใจ (Trust) องค์การ ควรจะท�ำให้ลกู ค้ามีความรูส้ กึ เหมือนอยูท่ บี่ า้ น ซึง่ คงจะ ดีกว่าการทีอ่ งค์การต้องมาแก้ไขข้อขัดแย้งกับลูกค้า นัน่ คือ องค์การควรจะแสดงความรับผิดชอบล่วงหน้าด้วยการ บอกต่อกับลูกค้าก่อนว่า ถ้าลูกค้าพบ หรือสงสัยสิ่งหนึ่ง สิ่งใด หรือไม่ชอบใจในตัวสินค้าและบริการจนกระทั่ง ลูกค้าคิดว่า ตนก�ำลังถูกเอาเปรียบให้ลูกค้าสอบถาม พนักงานได้ทันทีเพื่อให้พนักงานได้ชี้แจงโดยเร็วก่อนที่ ลูกค้าจะมีความรู้สึกที่ไม่ดีหรือไม่พอใจ ความพึงพอใจของลูกค้า ทฤษฎีทไี่ ด้รบั การยอมรับมากทีส่ ดุ ของความพึงพอใจ คือ ทฤษฎีจูงใจ (Motivation Theory) ของ Maslow (1970) หรือที่เรียกว่า ทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับการจูงใจ (Maslow’s General Theory of Human Motivation) ซึ่งมาสโลว์ได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับสิ่งจูงใจจากความ ต้องการของมนุษย์ไว้วา่ มนุษย์มคี วามต้องการตลอดเวลา ความต้องการใดทีไ่ ด้รบั การตอบสนองแล้ว สิง่ จูงใจก็จะ หมดลง แต่ถ้าความต้องการในส่วนที่ยังไม่ได้รับการ ตอบสนองนัน้ จะเป็นสิง่ จูงใจแทน โดยมาสโลว์ได้จดั ล�ำดับ ความต้องการของมนุษย์จากระดับต�่ำจนถึงระดับสูง แบ่งเป็น 5 ขั้น ดังนี้ 1. ความต้องการด้านร่างกาย (Physiological
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
Needs) เป็นความต้องการพืน้ ฐานเพือ่ การด�ำรงชีวติ เช่น ปัจจัย 4 (อาหาร ทีอ่ ยูอ่ าศัย ยารักษาโรค เครือ่ งนุง่ ห่ม) ความต้องการเหล่านี้จะต้องได้รับการตอบสนองจนเกิด ความพึงพอใจก่อน จึงเกิดความต้องการในระดับทีส่ งู ขึน้ 2. ความต้ อ งการด้ า นความปลอดภั ย (Safety Needs) เป็นความต้องการทีเ่ กิดขึน้ หลังจากความต้องการ ด้านร่างกายได้รับการตอบสนองจนเกิดความพึงพอใจ แล้วไม่รู้สึกกังวลกับความต้องการด้านร่างกายอีกต่อไป หลั ง จากนี้ ค วามต้ อ งการทางด้ า นความปลอดภั ย จึ ง เกิดขึ้น เช่น ความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ อันตรายจาก อาชญากรรม และความมั่นคงในการท�ำงาน 3. ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (Social Needs) เป็นความต้องการที่ได้รับการยอมรับ และ ความรักจากกลุ่มต่างๆ เช่น อยากเข้าร่วม และได้รับ การยอมรับจากสังคม การได้รับมิตรภาพ และความรัก จากเพื่อนร่วมงาน 4. ความต้ อ งการให้ ผู ้ อื่ น เห็ น คุ ณ ค่ า ของตั ว เอง (Esteem Needs) เป็นความต้องการล�ำดับสูงขึ้น ซึ่ง ความต้องการในขั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภูมิใจ ในตัวเอง ได้แก่ ความต้องการอยากเด่นเป็นที่ยอมรับ เป็นที่ยกย่องสรรเสริญของบุคคลทั่วไปในสังคม 5. ความต้องการทีไ่ ด้รบั ความส�ำเร็จตามความนึกคิด ของตนเอง (Self - Actualization Needs) เป็นความ ต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์ ซึ่งคนส่วนมากอยากจะได้ อยากจะเป็ น ตามจิ น ตนาการของแต่ ล ะคนซึ่ ง จะไม่ เหมือนกัน การบอกต่อ รูปแบบของการสือ่ สารของสององค์ประกอบหลักๆ ของ Duncan & Moriarty (1998) คือ ผูส้ ง่ (จุดเริม่ ต้น) และผู้รับข่าวสาร เมื่อรูปแบบได้ถูกน�ำไปประยุกต์กับ การสือ่ สารการบอกต่อกับผูบ้ ริโภค องค์ประกอบเหล่านี้ ถูกตีความเหมือนผูส้ ง่ และผูร้ บั ข้อมูล การบอกต่อข้อมูล ข่าวสาร การบอกต่อส่งจากผู้ส่งไปถึงผู้รับ สิ่งที่ตามมา คือ การตัดสินใจสั่งซื้อของลูกค้า (ผู้รับ) ว่าจะซื้อหรือ ไม่ซอื้ แต่กอ่ นทีผ่ ซู้ อื้ (ผูร้ บั ) ตัดสินใจสัง่ ซือ้ กระบวนการ
29
กลัน่ กรองก็จะเกิดขึน้ เพือ่ ช่วยประเมินค่าของการบอกต่อ กระบวนการกลั่นกรองเกิดขึ้นใน “กล่องด�ำ” กล่องด�ำ นีแ้ ทนรูปแบบของความคิดของอิทธิพลของการบอกต่อ ภายในกล่องด�ำจะมีปจั จัยต่างๆ จ�ำนวนมากซึง่ พิจารณา อิทธิพลของการบอกต่อ การกลับมาใช้บริการซ�ำ้ Ehrenberg (1972) ได้ประยุกต์การน�ำทฤษฎีทาง คณิตศาสตร์ The NDB Theory และ The LSD Theory มาใช้ในการค�ำนวณออกมาเป็นตัวเลขทางสถิติ ทีเ่ กีย่ วข้องกับอัตรา (จ�ำนวนที)่ ซือ้ ซ�ำ้ อย่างสม�ำ่ เสมอใน สินค้าอุปโภคบริโภคในอุตสาหกรรมต่างๆ ทีห่ ลากหลาย อาทิเช่น อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ท�ำความสะอาด สบู่ ยาสีฟนั ทิชชู ทีส่ ามารถหาซือ้ ได้ตามร้านสะดวกซือ้ ทัว่ ไป Ehrenberg (1972) ยังกล่าวต่อว่า พฤติกรรมของ ผูบ้ ริโภคมีความสลับซับซ้อนมาก โดยก่อนการซือ้ สินค้า ผูบ้ ริโภคจะต้องมีทศั นคติทดี่ ตี อ่ ตัวสินค้า และประสบการณ์ ที่ดีจากการทดลองใช้สินค้ามาก่อนหน้านี้ และอิทธิพล ภายนอกอื่นๆ เช่น การโฆษณา การส่งเสริมการขาย (การลด แลก แจก แถม) การโน้มน้าวของพนักงานขาย การตั้งราคาที่จูงใจ การบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามเรียบร้อย รวมทัง้ การบอกต่อ (Word of mouth) ซึง่ ปัจจัยทัง้ หมดนี้ จะส่งผลไปถึงการตัดสินใจซื้อสินค้า การใช้สินค้า และ ความพึงพอใจหลังจากทีไ่ ด้ใช้สนิ ค้าจนกระทัง่ แปรเปลีย่ น เป็นทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้า การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุอิทธิพล ของคุณภาพการให้บริการต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความ พึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการของ ลูกค้าโรงพยาบาลพระราม 2 ผู้วิจัยได้คัดเลือกตัวแปร ส�ำหรับการวิจัยในครั้งนี้จากทฤษฎีและแนวคิดในเรื่อง คุณภาพการให้บริการ ความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ�้ำ ซึ่งประกอบ ไปด้วย (1) ตัวแปรแฝงภายนอก คือ คุณภาพการให้ บริการทีป่ ระกอบไปด้วย 5 มิตติ วั แปร คือ สิง่ ทีส่ มั ผัสได้ ความรวดเร็วในการตอบสนอง ความน่าเชือ่ ถือและไว้วางใจ การรับประกัน การเอาใจใส่ลกู ค้าเป็นรายบุคคล (2) ตัวแปร
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
30
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
แฝงภายใน คือ ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจของ ลูกค้า การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ�ำ้ ตัวแปร แฝงภายนอกประกอบไปด้วย (1) คุณภาพการให้บริการ ด้านสิง่ ทีส่ มั ผัสได้ (TAN) ประกอบด้วย 5 ตัวแปรสังเกตได้ ได้แก่ โรงพยาบาลพระราม 2 มีอุปกรณ์และเครื่องมือ อ� ำ นวยความสะดวกทั น สมั ย (TAN1) โรงพยาบาล พระราม 2 มีการตกแต่งทั้งภายในและภายนอกมีความ สวยงาม (TAN2) รถพยาบาล รถเข็นผู้ป่วยอยู่ในสภาพ พร้อมใช้งาน (TAN3) เจ้าหน้าทีแ่ ต่งกายเรียบร้อย (TAN4) หน้าโรงพยาบาลมีป้ายที่ชัดเจน (TAN5) (2) คุณภาพ การให้บริการด้านความรวดเร็วในการตอบสนอง (RES) ประกอบด้วย 6 ตัวแปรสังเกตได้ ได้แก่ พนักงานต้อนรับ กุลีกุจอเมื่อท่านมาถึง (RES1) บุคลากรให้ค�ำแนะน�ำ การรักษาได้อย่างรวดเร็ว (RES2) บุคลากรมีความพร้อม ในการให้คำ� ปรึกษา (RES3) บุคลากรตอบสนองได้อย่าง รวดเร็ว (RES4) บุคลากรตอบสนองการร้องขอได้อย่าง รวดเร็ว (RES5) บุคลากรแก้ปัญหาเรื่องต่างๆ ได้อย่าง รวดเร็ว (RES6) (3) คุณภาพการให้บริการด้านความน่า เชื่อถือและไว้วางใจ (REL) ประกอบด้วย 5 ตัวแปร สังเกตได้ ได้แก่ มีบคุ ลากรเพียงพอต่อการให้บริการ (REL1) บุคลากรให้ข้อมูลไม่เกิดข้อผิดพลาด (REL2) บุคลากร แสดงความจริงใจในการรักษาพยาบาล (REL3) บุคลากร ให้บริการในระยะเวลาที่เหมาะสม (REL4) บุคลากร แสดงออกถึงความซื่อสัตย์สุจริต (REL5) (4) คุณภาพ การให้บริการด้านการรับประกัน (ASS) ประกอบด้วย 5 ตัวแปรสังเกตได้ ได้แก่ ท่านมัน่ ใจค�ำแนะน�ำการรักษา (ASS1) ท่านมั่นใจการวินิจฉัยโรคอย่างแม่นย�ำ (ASS2) โรงพยาบาลรู้จักขั้นตอนการบริการ (ASS3) บุคลากรมี ความรู้ในการวินิจฉัยโรค (ASS4) โรงพยาบาลได้รับ
มาตรฐาน HA (ASS5) (5) คุณภาพการให้บริการด้าน การเอาใจใส่ลกู ค้า (EMP) ประกอบด้วย 5 ตัวแปรสังเกตได้ ได้แก่ บุคลากรเอาใจใส่เป็นรายบุคคล (EMP1) มีกล่อง รับฟังความคิดเห็น (EMP2) บุคลากรแสดงความเห็นอก เห็นใจ (EMP3) บุคลากรเข้าใจความต้องการเฉพาะ ของท่าน (EMP4) บุคลากรสามารถติดต่อท่านกลับได้ (EMP5) ตัวแปรแฝงภายในประกอบด้วย (1) ความไว้เนือ้ เชื่อใจ (TRU) ประกอบด้วย 6 ตัวแปรสังเกตได้ ได้แก่ ด�ำเนินธุรกิจด้วยความซือ่ สัตย์ (TRU1) ไว้วางใจต่อบริการ ทางการแพทย์ (TRU2) ท�ำในสิง่ ทีถ่ กู ต้อง ตรงไปตรงมา (TRU3) ความไว้เนื้อเชื่อใจต่อโรงพยาบาล (TRU4) ให้บริการด้วยความซื่อตรง (TRU5) มีความมั่นใจเป็น อย่างมากต่อบริการ (TRU6) (2) ความพึงพอใจของลูกค้า (SAT) ประกอบด้วย 9 ตัวแปรสังเกตได้ ได้แก่ พอใจ ในการวินจิ ฉัยโรค (SAT1) พอใจต่อบริการทีร่ วดเร็ว (SAT2) พอใจต่อระยะเวลารักษาโรค (SAT3) พอใจต่อความสุภาพ (SAT4) พอใจต่อการช่วยเหลือ (SAT5) พอใจต่อสถานที่ (SAT6) พอใจต่อทีจ่ อดรถ (SAT7) พอใจต่อความปลอดภัย (SAT8) พอใจในภาพรวม (SAT9) (3) การบอกต่อ (WOM) ประกอบด้วย 5 ตัวแปรสังเกตได้ ได้แก่ แนะน�ำ คนรู้จัก (WOM1) พูดถึงประสบการณ์ดีๆ แก่คนรู้จัก (WOM2) พูดถึงประสบการณ์ดีๆ แก่ญาติ (WOM3) พูดถึงประสบการณ์ดีๆ แก่เพื่อน (WOM4) แก้ต่างให้ เมือ่ ได้ยนิ ในแง่ลบ (WOM5) (4) การกลับมาใช้บริการซ�ำ้ (RVS) ประกอบด้วย 5 ตัวแปรสังเกตได้ ได้แก่ กลับมา ใช้บริการเมื่อเจ็บป่วย (RVS1) รักษาพยาบาลครั้งต่อไป (RVS2) กลับมาใช้บริการแม้ค่ารักษาสูงขึ้น (RVS3) กลับมาตรวจสุขภาพประจ�ำปีซำ�้ (RVS4) ใช้บริการต่อไป แม้จะมีคู่แข่งเข้ามา (RVS5)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
31
ภาพที่ 1 โมเดลเชิงสาเหตุอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ�้ำของลูกค้าโรงพยาบาลพระราม 2 ผูว้ จิ ยั ก�ำหนดสมมติฐานการวิจยั ทัง้ สิน้ 15 สมมติฐาน ดังนี้ 1. คุณภาพการให้บริการในด้านสิ่งที่สัมผัสได้มี อิทธิพลทางบวกต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ 2. คุณภาพการให้บริการในด้านความรวดเร็วในการ ตอบสนองมีอิทธิพลทางบวกต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ 3. คุณภาพการให้บริการในด้านความน่าเชือ่ ถือและ ไว้วางใจมีอิทธิพลทางบวกต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ 4. คุ ณ ภาพการให้บ ริก ารในด้านการรับ ประกัน มีอิทธิพลทางบวกต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ 5. คุณภาพการให้บริการในด้านการเอาใจใส่ลูกค้า เป็นรายบุคคลมีอิทธิพลทางบอกต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ 6. คุณภาพการให้บริการในด้านสิ่งที่สัมผัสได้มี อิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้าโรงพยาบาล พระราม 2 7. คุณภาพการให้บริการในด้านความรวดเร็วในการ ตอบสนองมีอทิ ธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้า โรงพยาบาลพระราม 2 8. คุณภาพการให้บริการในด้านความน่าเชือ่ ถือและ
ไว้วางใจมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้า โรงพยาบาลพระราม 2 9. คุณภาพการให้บริการในด้านการรับประกันมี อิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้าโรงพยาบาล พระราม 2 10. คุณภาพการให้บริการในด้านการเอาใจใส่ลกู ค้า เป็นรายบุคคลมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของ ลูกค้าโรงพยาบาลพระราม 2 11. ความไว้เนื้อเชื่อใจมีอิทธิพลทางบวกต่อความ พึงพอใจของลูกค้า 12. ความไว้เนื้อเชื่อใจมีอิทธิพลทางบวกต่อการ บอกต่อ 13. ความไว้เนื้อเชื่อใจมีอิทธิพลทางบวกต่อการ กลับมาใช้บริการซ�้ำ 14. ความพึงพอใจของลูกค้ามีอิทธิพลทางบวกต่อ การบอกต่อ 15. ความพึงพอใจของลูกค้ามีอิทธิพลทางบวกต่อ กลับมาใช้บริการซ�้ำ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
32
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
วิธีดำ� เนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยด�ำเนินการโดยใช้การวิจัยเชิง ปริมาณ ซึง่ เป็นการวิจยั เชิงประจักษ์ โดยใช้แบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการ โรงพยาบาลพระราม 2 ส�ำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมลิสเรล Nunnally (1978) แนะน�ำว่า การวิเคราะห์โมเดลลิสเรลด้วยวิธี ประมาณค่าแบบ Maximum Likelihood ควรมีขนาด ตัวอย่างอย่างน้อยเป็น 10 เท่าของตัวแปร สังเกตได้จาก การประเมินจ�ำนวนตัวแปรสังเกตได้ของโมเดลการวิจยั นี้ พบว่า จ�ำนวนตัวแปรสังเกตได้เท่ากับ 51 ตัวแปร ดังนัน้ ขนาดตัวอย่างของการวิจัยนี้ควรมีค่าอย่างน้อยเท่ากับ 51 x 10 = 510 โดยได้รบั แบบสอบถามทีส่ มบูรณ์ และ สามารถน�ำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ จ�ำนวนทั้งสิ้น 528 ชุด
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
การวิจยั ในครัง้ นีใ้ ช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครือ่ งมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึง่ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ตอ่ เดือน ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นเกีย่ วกับคุณภาพการให้บริการ ต่อโรงพยาบาลพระราม 2 (Service Quality) ปรับใช้ จาก Parasuraman, Zeithaml & Berry (1988) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความไว้เนื้อเชื่อใจ ของผูใ้ ช้บริการโรงพยาบาลพระราม 2 (Trust) ปรับใช้จาก Morgan & Hunt (1994) แบบสอบถามความคิดเห็น เกี่ ย วกั บ ความพึ ง พอใจของผู ้ ใ ช้ บ ริ ก ารโรงพยาบาล พระราม 2 (Satisfaction) ปรับใช้จาก Oliver (1997)
แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบอกต่อของ ผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพระราม 2 (Word of mouth) ปรับใช้จาก Fornell & Wernerfelt (1987) แบบสอบถาม เกีย่ วกับการกลับมาใช้บริการซ�ำ้ ของผูใ้ ช้บริการโรงพยาบาล พระราม 2 (Revisit) ปรับใช้จาก Ittner & Larcker (1996) เป็นมาตรประเมินค่า (Rating Scale) โดยแบ่ง ค่าคะแนนออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ มากทีส่ ดุ (5 คะแนน) มาก (4 คะแนน) ปานกลาง (3 คะแนน) น้อย (2 คะแนน) และน้อยที่สุด (1 คะแนน)
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
ผูว้ จิ ยั ท�ำการตรวจสอบคุณภาพของเครือ่ งมือ ได้แก่ การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยวิธีดัชนี ความ สอดคล้องของข้อค�ำถาม และวัตถุประสงค์จากผูเ้ ชีย่ วชาญ 3 ท่าน และท�ำการตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) ของแบบสอบถามก่อนน�ำไปใช้จริง (n=50) และข้อมูล ทีเ่ ก็บจริงของผูใ้ ช้บริการโรงพยาบาลพระราม 2 (n=528) ทั้ ง นี้ ตั ว แปรแฝงทุ ก ตั ว มี ค ่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ แ อลฟ่ า ของ ครอนบาค มากกว่า 0.7 และค่าอ�ำนาจจ�ำแนกรายข้อ ของทุกข้อค�ำถาม (Corrected Item-Total Correlation) มีคา่ มากกว่า 0.3 ผูว้ จิ ยั ได้ทำ� การวิเคราะห์ความตรงเชิง โครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) โดยตรวจสอบความตรง แบบรวมศูนย์ (Convergent Validity) ผลการวิเคราะห์ ข้อมูลพบว่า ค่าองค์ประกอบมาตรฐาน (Standardized Factor Loading) ของแต่ละตัวแปรสังเกตได้มคี า่ มากกว่า 0.5 ความแปรปรวนทีส่ กัดได้เฉลีย่ (Average Variance Extracted) ของแต่ละตัวแปรแฝงมีคา่ มากกว่า 0.5 และ ค่าความเที่ยงเชิงโครงสร้าง (Construct Reliability) ของแต่ละตัวแปรแฝงมีค่ามากกว่า 0.7 โดยผลจากการ วิเคราะห์ขอ้ มูลได้มกี ารตัดบางข้อค�ำถามออกจากการวัด ตัวแปรเพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์ที่ก�ำหนด
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
33
ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ค่าความเที่ยง และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ตัวแปร สิ่งที่สัมผัสได้ (TAN) ความรวดเร็วในการตอบสนอง (RES) ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ (REL) การรับประกัน (ASS) การเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคล (EMP) ความไว้เนื้อเชื่อใจ (TRU) ความพึงพอใจของลูกค้า (SAT) การบอกต่อ (WOM) การกลับมาใช้บริการซ�ำ้ (RVS)
Cronbach’s Alpha .691 .888 .835 .813 .874 .907 .904 .931 .919
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
ผูว้ จิ ยั ใช้วธิ กี ารวิเคราะห์ขอ้ มูลด้วยสถิตเิ ชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สถิติพหุตัวแปรโดยใช้โมเดลสมการ โครงสร้างในการทดสอบสมมติฐานของโมเดลคุณภาพ การให้ บ ริ การต่ อ ความไว้ เ นื้ อ เชื่ อ ใจ ความพึ ง พอใจ การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ�้ำของลูกค้า โรงพยาบาลพระราม 2 อิทธิพลของคุณภาพการให้ บริการ ก่อนการวิเคราะห์ข้อมูลของสถิติ พหุตัวแปร ส�ำหรับการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผูว้ จิ ยั ได้ทำ� การตรวจสอบข้อตกลงเบือ้ งต้น อันได้แก่ (1) การแจกแจง แบบปกติของข้อมูล (Normality) (2) ความเป็นเอกพันธ์ ของการกระจาย (Homoscedasticity) และ (3) ความ สัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม (Linearity) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ข้อมูลของ ตัวแปรทั้งหมดเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น
ผลการวิจัย
กลุม่ ตัวอย่างเป็นผูใ้ ช้บริการโรงพยาบาลพระราม 2 จ�ำนวนทั้งสิ้น 528 คน ส่วนใหญ่เป็น (1) เพศหญิง
Average Variance Construct Extracted (AVE) Reliability (CR) 0.529 0.849 0.570 0.869 0.505 0.836 0.414 0.811 0.540 0.854 0.592 0.897 0.497 0.855 0.705 0.895 0.775 0.916
คิดเป็นร้อยละ 41.10 (2) มีอายุ 18-30 ปี คิดเป็น ร้อยละ 28.41 (3) มีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็น ร้อยละ 52.65 (5) มีอาชีพ พนักงานบริษัท/ลูกจ้าง เอกชน คิดเป็นร้อยละ 41.10 และ (6) รายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 41.86 กลุม่ ตัวอย่าง ทีต่ อบแบบสอบถามมีความเห็นต่อคุณภาพการให้บริการ ในมิติด้านสิ่งที่สัมผัสได้ (TAN) มีค่าเฉลี่ย 3.472 อยู่ใน ระดับปานกลาง มิติด้านความรวดเร็วในการตอบสนอง (RES) มีค่าเฉลี่ย 3.347 อยู่ในระดับปานกลาง มิติด้าน ความน่าเชือ่ ถือและไว้วางใจ (REL) มีคา่ เฉลีย่ 3.438 อยูใ่ น ระดับปานกลาง มิตดิ า้ นการรับประกัน (ASS) มีคา่ เฉลีย่ 3.484 อยู่ในระดับปานกลาง มิติด้านการเอาใจใส่ผู้รับ บริการเป็นรายบุคคล (EMP) มีค่าเฉลี่ย 3.321 อยู่ใน ระดับปานกลาง ด้านความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ (TRU) มีคา่ เฉลีย่ 3.396 อยูใ่ นระดับปานกลาง ความพึงพอใจของผูใ้ ช้งาน (SAT) มีค่าเฉลี่ย 3.376 อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการ บอกต่อ (WOM) มีคา่ เฉลีย่ 3.350 อยูใ่ นระดับปานกลาง และด้านการกลับมาใช้บริการซ�ำ้ (RVS) มีคา่ เฉลีย่ 3.270 อยู่ในระดับปานกลาง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
34
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ภาพที่ 2 โมเดลสมการโครงสร้างหลังการปรับแสดงโมเดลเชิงสาเหตุอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการต่อ ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ�ำ้ ของลูกค้าโรงพยาบาลพระราม 2 ตารางที่ 2 อิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมคุณภาพการให้บริการต่อความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ�ำ้ ของลูกค้าโรงพยาบาลพระราม 2
หมายเหตุ: DE = Direct Effect, IE = Indirect Effect, TE = Total Effect, * หมายถึง นัยส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .05, (1.960 ≤ t-value < 2.576) ** หมายถึง นัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t-value ≥ 2.576) ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
จากภาพที่ 2 และตารางที่ 1 ผลการศึกษาแสดงว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ใน เกณฑ์ดี ค่าสถิตไิ คสแควร์ (χ2) เท่ากับ 877.200 ทีอ่ งศา อิสระ (df) เท่ากับ 847 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.229 ไคสแควร์สมั พัทธ์ (χ2/df) เท่ากับ 1.035 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.934 ค่าดัชนีวดั ระดับความกลมกลืนทีป่ รับแก้ (AGFI) เท่ากับ 1.035 ค่าดัชนีความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยก�ำลังสองของส่วนที่เหลือ มาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.026 ค่าดัชนีค่าความ คลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.110 นอกจากนีผ้ ลการวิจยั ยังพบว่า (1) ความ รวดเร็วในการตอบสนองมีอิทธิพลทางบวกต่อความ ไว้เนื้อเชื่อใจ (2) ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจมีอิทธิพล ทางบวกต่อความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ (3) การรับประกันมีอทิ ธิพล ทางบวกต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ (4) ความเอาใจใส่ลูกค้า เป็นรายบุคคลมีอิทธิพลทางบวกต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ (5) ความรวดเร็วในการตอบสนองมีอทิ ธิพลทางบวกต่อ ความพึงพอใจของลูกค้า (6) ความน่าเชือ่ ถือและไว้วางใจ มีอทิ ธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้า (7) ความ เอาใจใส่ลกู ค้าเป็นรายบุคคลมีอทิ ธิพลทางบวกต่อความ พึงพอใจของลูกค้า (8) ความไว้เนือ้ เชือ่ ใจมีอทิ ธิพลทางบวก ต่อความพึงพอใจของลูกค้า (9) ความพึงพอใจของลูกค้า มีอทิ ธิพลทางบวกต่อการบอกต่อ และ (10) ความพึงพอใจ ของลูกค้ามีอิทธิพลทางบวกต่อการกลับมาใช้บริการซ�้ำ เมือ่ พิจารณาค่า R2 พบว่า (1) ตัวแปรความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ สามารถถูกอธิบายด้วยตัวแปรคุณภาพการให้บริการได้ ร้อยละ 90.70 (2) ตัวแปรความพึงพอใจของลูกค้า สามารถถูกอธิบายด้วยตัวแปรคุณภาพการให้บริการได้ ร้อยละ 90.60 (3) ตัวแปรการบอกต่อของลูกค้าสามารถ ถูกอธิบายด้วยตัวแปรความไว้เนื้อเชื่อใจ และตัวแปร ความพึงพอใจของลูกค้าได้ร้อยละ 90.16 (4) ตัวแปร การกลับมาใช้บริการซ�ำ้ ของลูกค้าถูกอธิบายด้วยตัวแปร ความไว้เนื้อเชื่อใจ และตัวแปรความพึงพอใจของลูกค้า ได้ร้อยละ 88.80
35
อภิปรายผลการวิจัย
คุณภาพการให้บริการในมิติความรวดเร็วในการ ตอบสนองมีอิทธิพลทางบวกต่อความไว้เนื้อเชื่อใจของ ลูกค้าอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่า สัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.254 ซึง่ สอดคล้องกับงาน วิจัยของ Shpëtim (2012) และเป็นไปตามทฤษฎีของ Parasuraman, Zeithaml & Berry (1988) กล่าวคือ คุณภาพการให้บริการในมิติของความรวดเร็วในการ ตอบสนอง เกี่ยวข้องกับบุคลากรทางการแพทย์มีความ พร้อมในการให้ค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับการรักษาได้อย่าง รวดเร็ว เช่น บุคลากรทางการแพทย์สามารถแก้ปัญหา เฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ลกู ค้าเกิดความมัน่ ใจ ต่อบริการทางการแพทย์เกิดความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ เช่นเดียว กับที่โรงพยาบาลพระราม 2 บุคลากรทางการแพทย์ สามารถตอบสนองการร้องขอของลูกค้าในเรือ่ งต่างๆ ได้ อย่างรวดเร็ว ท�ำให้ลูกค้ามั่นใจเป็นอย่างมากต่อบริการ ทางการแพทย์ทไี่ ด้รบั จากโรงพยาบาลพระราม 2 เสมอมา สรุปได้ว่า เมื่อลูกค้ารับรู้ถึงคุณภาพการให้บริการในมิติ ความรวดเร็วในการตอบสนองที่เพิ่มมากขึ้นแล้วก็จะ ส่งผลท�ำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจที่สูงขึ้นตามไปด้วย คุณภาพการให้บริการในมิตกิ ารรับประกันมีอทิ ธิพล ทางบวกต่อความไว้เนือ้ เชือ่ ใจของลูกค้า อย่างมีนยั ส�ำคัญ ทางสถิตทิ รี่ ะดับ .01 โดยมีคา่ สัมประสิทธิเ์ ส้นทางเท่ากับ 0.302 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Shpëtim (2012) และเป็นไปตามทฤษฎีของ Parasuraman, Zeithaml & Berry (1988) กล่าวคือ คุณภาพการให้บริการในมิตขิ อง การรับประกันเกีย่ วข้องกับการทีโ่ รงพยาบาลพระราม 2 มีบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้ค�ำแนะน�ำ และการให้ ค�ำปรึกษาที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลของโรงพยาบาล อาทิเช่น บุคลากรทางการแพทย์มคี วามรู้ ความสามารถ ในการวินจิ ฉัยโรค และการรักษาโรคตามมาตรฐานสากล ส่งผลให้ลกู ค้าเกิดความไว้วางใจต่อบริการทางการแพทย์ ที่ได้รับ ส่งผลให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เช่น บุคลากร ทางการแพทย์รู้จักวิธีขั้นตอนการบริการ และวิธีการ บริการที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลของโรงพยาบาล
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
36
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ท�ำให้ลูกค้ารับรู้ถึงขั้นตอนการรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง ตรงไปตรงมาตามมาตรฐาน HA ทีท่ างโรงพยาบาลได้รบั สรุปได้ว่า เมื่อลูกค้ารับรู้ต่อคุณภาพการให้บริการในมิติ การรับประกันเพิ่มมากขึ้นแล้วก็จะส่งผลให้เกิดความ ไว้เนื้อเชื่อใจที่สูงขึ้นตามไปด้วย คุณภาพการให้บริการในมิติการเอาใจใส่ลูกค้าเป็น รายบุคคลมีอิทธิพลทางบวกต่อความไว้เนื้อเชื่อใจของ ลูกค้า อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่า สัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.253 ซึ่งสอดคล้องกับ งานวิจัยของ Shpëtim (2012) และเป็นไปตามทฤษฎี ของ Parasuraman, Zeithaml & Berry (1988) กล่าวคือ คุณภาพการให้บริการในมิตกิ ารเอาใจใส่ลกู ค้า เป็นรายบุคคลเกีย่ วข้องกับการทีโ่ รงพยาบาลพระราม 2 มีบุคลากรทางการแพทย์ที่สามารถเข้าใจความต้องการ เฉพาะของลูกค้าได้อย่างชัดเจน เช่น บุคลากรทางการแพทย์ แสดงความเห็นอกเห็นใจ เมื่อลูกค้าต้องรอคอยเพื่อรับ บริการเป็นเวลานาน ส่งผลให้ลกู ค้าเกิดความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ ต่อบริการทางการแพทย์ทไี่ ด้รบั นอกจากนีโ้ รงพยาบาล ยั ง มี ช ่ อ งทางให้ ลู ก ค้ า แสดงความคิ ด เห็ น เพื่ อ น� ำ ไป ปรับปรุงการให้บริการทีด่ ขี นึ้ ท�ำให้ลกู ค้ามัน่ ใจอย่างมาก ต่อบริการทางการแพทย์ทไี่ ด้รบั จากโรงพยาบาลพระราม 2 ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สรุปได้ว่า เมื่อลูกค้ารับรู้ต่อ คุณภาพการให้บริการในมิติความเอาใจใส่ลูกค้าเป็น รายบุคคลเพิ่มมากขึ้นแล้วก็จะส่งผลให้เกิดความไว้เนื้อ เชื่อใจที่สูงขึ้นตามไปด้วย คุณภาพการให้บริการในมิติความรวดเร็วในการ ตอบสนองมีอทิ ธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้า อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .01 โดยมีคา่ สัมประสิทธิ์ เส้นทางเท่ากับ 0.183 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Markovic & Jankovic (2013) และเป็นไปตามทฤษฎี ของ Parasuraman, Zeithaml & Berry (1988) กล่าวคือ คุณภาพการให้บริการในมิติของความรวดเร็ว ในการตอบสนอง เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพระราม 2 มีพนักงานต้อนรับกุลกี จุ อเมือ่ ลูกค้ามาถึง ส่งผลให้ลกู ค้า เกิดความพึงพอใจต่อบริการที่รวดเร็วของโรงพยาบาล
พระราม 2 อาทิเช่น บุคลากรทางการแพทย์มคี วามพร้อม ในการให้ค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งใช้ระยะเวลาในการรักษาพยาบาลที่สั้น ส่งผล ให้ลกู ค้าเกิดความพึงพอใจต่อบริการทางการแพทย์เป็น อย่างมาก และเมื่อลูกค้าร้องขอในเรื่องต่างๆ บุคลากร ทางการแพทย์สามารถตอบสนองลูกค้าได้ทนั ที จึงท�ำให้ ลูกค้าพึงพอใจเป็นอย่างมากต่อโรงพยาบาลพระราม 2 สรุปได้ว่า เมื่อลูกค้ารับรู้ต่อคุณภาพการให้บริการในมิติ ความรวดเร็วในการตอบสนองเพิม่ มากขึน้ แล้วก็จะส่งผล ให้เกิดความพึงพอใจของลูกค้าที่สูงขึ้นตามไปด้วย คุณภาพการให้บริการในมิตคิ วามเชือ่ ถือและไว้วางใจ มีอทิ ธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้า อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .01 โดยมีคา่ สัมประสิทธิเ์ ส้นทาง เท่ากับ 0.263 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Markovic & Jankovic (2013) และเป็ น ไปตามทฤษฎี ข อง Parasuraman, Zeithaml & Berry (1988) กล่าวคือ คุณภาพการให้บริการในมิติของความน่าเชื่อถือและ ไว้วางใจเกีย่ วข้องกับโรงพยาบาลพระราม 2 ทีม่ บี คุ ลากร ทางการแพทย์เพียงพอต่อการให้บริการ เช่น บุคลากร ทางการแพทย์ให้บริการข้อมูลโดยไม่เกิดข้อผิดพลาด ในแต่ละแผนกทีล่ กู ค้าใช้บริการ ส่งผลให้ลกู ค้าเกิดความ พึงพอใจเป็นอย่างมากต่อบริการทางการแพทย์ที่ได้รับ เช่นเดียวกับที่โรงพยาบาลพระราม 2 มีบุคลากรทาง การแพทย์ให้บริการรักษาโรคได้ภายในระยะเวลาที่ เหมาะสม และรักษาข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าไว้เป็น ความลับ ด้วยความซือ่ สัตย์สจุ ริตส่งผลให้ลกู ค้าเกิดความ พึงพอใจต่อบริการทางการแพทย์ทไี่ ด้รบั จากโรงพยาบาล พระราม 2 สรุปได้ว่า เมื่อลูกค้ารับรู้ถึงคุณภาพการให้ บริการในมิติความน่าเชื่อถือและไว้วางใจที่เพิ่มมากขึ้น แล้วก็จะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจที่สูงขึ้นตามไปด้วย คุณภาพการให้บริการในมิติการเอาใจใส่ลูกค้าเป็น รายบุคคลมีอทิ ธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้า อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .01 โดยมีคา่ สัมประสิทธิ์ เส้นทางเท่ากับ 0.233 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Markovic & Jankovic (2013) และเป็นไปตามทฤษฎี
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ของ Parasuraman, Zeithaml & Berry (1988) กล่าวคือ คุณภาพการให้บริการในมิติของการเอาใจใส่ ลูกค้าเป็นรายบุคคล เกีย่ วข้องกับโรงพยาบาลพระราม 2 ที่มีบุคลากรทางการแพทย์มีความเอาใจใส่ลูกค้าเป็น รายบุคคล อาทิเช่น บุคลากรทางการแพทย์แสดงความ เห็นอกเห็นใจ เมือ่ ลูกค้ารอคอยเพือ่ รับบริการเป็นเวลานาน ส่งผลให้ลกู ค้าเกิดความพึงพอใจเป็นอย่างมากต่อบริการ ทางการแพทย์ ที่ ไ ด้ รั บ เช่ น เดี ย วกั บ ที่ โ รงพยาบาล พระราม 2 มีบุคลากรทางการแพทย์ที่สามารถเข้าใจ ความต้องการเฉพาะของลูกค้าได้อย่างชัดเจน ส่งผลให้ ลูกค้าเกิดความพึงพอใจต่อระดับการให้ความช่วยเหลือ ของบุคลากรทางการแพทย์ นอกจากนีท้ างโรงพยาบาล ยังมีช่องทางให้ลูกค้าเสนอแนะความคิดเห็นเพื่อน�ำไป ปรับปรุงการให้บริการทีด่ ขี นึ้ ส่งผลให้เกิดความพึงพอใจ ในภาพรวมของโรงพยาบาลพระราม 2 สรุปได้วา่ เมือ่ ลูกค้า รับรู้ถึงคุณภาพการให้บริการในมิติการเอาใจลูกค้าเป็น รายบุคคลทีเ่ พิม่ มากขึน้ แล้วก็จะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจ ของลูกค้าที่สูงขึ้นตามไปด้วย ความไว้เนือ้ เชือ่ ใจมีอทิ ธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจ ของลูกค้า อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมี ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.291 ซึ่งสอดคล้องกับ งานวิจัยของ Lai, Kan & Ulhas (2013) และเป็นไป ตามทฤษฎีของ Morgan & Hunt (1994) กล่าวคือ หากโรงพยาบาลพระราม 2 ด�ำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส แสดงให้เห็นถึงความซื่อสัตย์สุจริต มอบการให้บริการที่ ซื่อตรงและจริงใจ สามารถท�ำให้ลูกค้าเกิดความไว้เนื้อ เชื่อใจวางใจได้ต่อโรงพยาบาล ส่งผลให้ลูกค้าเกิดความ พึงพอใจต่อบริการทางการแพทย์เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ลูกค้าที่ใช้บริการมีความมั่นใจอย่างมากต่อบริการทาง การแพทย์ที่สามารถวินิจฉัยปัญหาของโรคโดยแพทย์ ผูช้ ำ� นาญการ ส่งผลให้เกิดความพึงพอใจต่อโรงพยาบาล ท�ำให้สามารถสรุปได้วา่ เมือ่ ลูกค้าเกิดความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ ทีเ่ พิม่ มากขึน้ จะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจต่อโรงพยาบาล พระราม 2 ที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ความพึงพอใจของลูกค้ามีอิทธิพลทางบวกต่อการ
37
บอกต่อของลูกค้า อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .01 โดยมีคา่ สัมประสิทธิเ์ ส้นทางเท่ากับ 0.923 ซึง่ สอดคล้อง กับงานวิจยั ของ Araslı & Baradarani (2014) และเป็นไป ตามทฤษฎีของ Oliver (1997) กล่าวคือ หากโรงพยาบาล พระราม 2 บริหารจัดการระดับการให้ความช่วยเหลือ ของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ โดยเริ่ม ตัง้ แต่ความสุภาพของบุคลากร ระยะเวลาในการรักษาโรค ที่รวดเร็ว ตลอดจนให้ความส�ำคัญต่อการรักษาความ ปลอดภัย และหากลูกค้าพึงพอใจต่อบริการทีไ่ ด้รบั ก็จะ ท�ำให้ลกู ค้าเกิดความประทับใจ ลูกค้าก็จะน�ำไปบอกต่อ หรือพูดถึงประสบการณ์ดๆี ทีไ่ ด้รบั มีการแนะน�ำครอบครัว ญาติ เพื่อนร่วมงาน หรือบุคคลอื่นๆ ให้เลือกใช้บริการ โรงพยาบาลพระราม 2 และหากโดยภาพรวมแล้วลูกค้า มีความพึงพอใจทัง้ หมด ลูกค้าจะยินดีแก้ตา่ งให้ หากได้ยนิ บุคคลอืน่ ๆ พูดถึงโรงพยาบาลพระราม 2 ในแง่ลบ ท�ำให้ สามารถสรุปได้ว่า เมื่อลูกค้าเกิดความพึงพอใจที่เพิ่ม มากขึ้น จะส่งผลท�ำให้บอกต่อที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ความพึงพอใจของลูกค้ามีอิทธิพลทางบวกต่อการ กลับมาใช้บริการซ�ำ้ ของลูกค้า อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติ ทีร่ ะดับ .01 โดยมีคา่ สัมประสิทธิเ์ ส้นทางเท่ากับ 1.037 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Choo & Petrick (2014) และเป็นไปตามทฤษฎีของ Oliver (1997) กล่าวคือ หากโรงพยาบาลพระราม 2 ปรับปรุงการให้บริการ ทางการแพทย์ที่รวดเร็วมากขึ้นกว่านี้ก็จะท�ำให้ลูกค้า เกิดความพึงพอใจและกลับมาใช้บริการอีก และหาก โรงพยาบาลพระราม 2 บริหารจัดการการให้ความ ช่วยเหลือของบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องของ ความสุภาพในการให้บริการ ยิ้มแย้มแจ่มใส ว่องไว ตลอดจนมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้จะท�ำให้ลูกค้า พึงพอใจ เกิดความประทับใจ และเกิดความผูกพันต่อ โรงพยาบาล ก่อให้เกิดความจงรักภักดีตามมา ลูกค้าก็จะ กลับมาใช้บริการโรงพยาบาลอีกถึงแม้วา่ ราคาค่าห้องพัก จะสูงขึน้ ตามสภาวะเศรษฐกิจก็ตาม สรุปได้วา่ หากลูกค้า โรงพยาบาลพระราม 2 เกิดความพึงพอใจทีเ่ พิม่ มากขึน้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
38
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
จะส่งผลท�ำให้กลับมาใช้บริการซ�้ำที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
ข้อเสนอแนะเพื่อการน�ำไปใช้
จากผลการวิจัยผู้วิจัยเสนอแนะให้กับโรงพยาบาล พระราม 2 ส่งเสริมและมุ่งเน้นด้านคุณภาพการให้ บริการเพื่อก่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ ของผูใ้ ช้บริการ การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ�้ำ ที่มากขึ้น ดังต่อไปนี้ 1. โรงพยาบาลพระราม 2 ควรมุ่งเน้นคุณภาพ การให้บริการในมิตคิ วามน่าเชือ่ ถือและไว้วางใจ โดยฝึก อบรมบุคลากรทางการแพทย์เกีย่ วกับการให้ขอ้ มูลลูกค้า โดยไม่เกิดข้อผิดพลาด ควรมีบุคลากรทางการแพทย์ ที่ พ ร้ อ มทุ ก แผนก มี ก ารให้ บ ริ ก ารด้ ว ยความจริ ง ใจ ให้แสดงออกถึงความซื่อสัตย์สุจริต โดยรักษาข้อมูล ส่วนตัวไว้เป็นความลับ บุคลากรทางการแพทย์ให้บริการ ด้วยความเชื่อถือและไว้วางใจได้ 2. โรงพยาบาลพระราม 2 ควรมุ่งเน้นคุณภาพ การให้บริการในมิตกิ ารรับประกัน โดยฝึกอบรมบุคลากร ทางการแพทย์ให้รู้จักขั้นตอนการบริการ และวิธีการ บริการที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลของโรงพยาบาล มุ่งเน้นการให้ค�ำแนะน�ำ การให้ค�ำปรึกษาของบุคลากร เป็นไปตามมาตรฐานสากล มุ่งเน้นให้แพทย์วินิจฉัยโรค ได้อย่างแม่นย�ำตามมาตรฐานสากล มุ่งเน้นให้บุคลากร ทางการแพทย์มีความรู้ความสามารถในการวินิจฉัยโรค ในระดับเบือ้ งต้นได้ มุง่ เน้นมาตรฐานสากล HA ตลอดเวลา 3. โรงพยาบาลพระราม 2 ควรมุ่งเน้นคุณภาพ การให้บริการในมิตคิ วามรวดเร็วในการตอบสนองโดยจัด อบรมวิธกี าร ขัน้ ตอนในการรักษาอย่างเป็นระบบ อบรม การให้บริการด้วยหัวใจบริการ เพื่อให้เกิดความพร้อม อยูต่ ลอดเวลาในขณะปฏิบตั หิ น้าที่ ตลอดจนให้บคุ ลากร
มีความรูเ้ บือ้ งต้นเกีย่ วกับการรักษาพยาบาลได้เป็นอย่างดี มีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว และควรมี การเปรียบเทียบการให้บริการด้วยความรวดเร็วกับคูแ่ ข่ง อยู่เสมอ เพื่อน�ำไปปรับปรุงคุณภาพการให้บริการที่ รวดเร็วขึ้น 4. โรงพยาบาลพระราม 2 ควรมุ่งเน้นคุณภาพ การให้บริการในมิติการเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคล โดยมุง่ เน้นให้บคุ ลากรสนใจลูกค้าเป็นรายบุคคล มุง่ เน้น ให้ลูกค้ามีข้อเสนอแนะผ่านกล่องรับฟังความคิดเห็น เพื่อน�ำไปปรับปรุงบริการที่ดีขึ้น มุ่งเน้นให้บุคลากรทาง การแพทย์แสดงความเห็นอกเห็นใจเมือ่ เห็นลูกค้ารอคอย เพื่อรับบริการที่นาน มุ่งเน้นความเข้าใจความต้องการ ของลูกค้าได้อย่างชัดเจน
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
1. เนือ่ งจากผลการวิจยั ในครัง้ นีเ้ ป็นไปตามสมมติฐาน ทีต่ งั้ ไว้จำ� นวน 10 สมมติฐาน จาก 15 สมมติฐาน ผูว้ จิ ยั จึงเสนอแนะว่า ควรท�ำการวิจัยซ�้ำโดยใช้กรอบแนวคิด เดียวกันนี้กับโรงพยาบาลอื่นๆ ที่มีลักษณะการด�ำเนิน ธุรกิจคล้ายกันเพื่อเป็นการยืนยันผลการวิจัย 2. ควรมี ก ารศึ ก ษาถึ ง ปั จ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การ บริการทีเ่ น้นรายละเอียดมากยิง่ ขึน้ เช่น ด้านการแพทย์ เฉพาะทาง รวมถึงศึกษาถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น ระบบ เทคโนโลยีทางการแพทย์ให้มปี ระสิทธิภาพ ประชาสัมพันธ์ ตามสือ่ ต่างๆ เป็นต้น โดยน�ำผลการศึกษาทีไ่ ด้ไปพัฒนา ระบบการให้บริการของโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ เพือ่ ตอบสนองความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ ความพึงพอใจของลูกค้า การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ�ำ้ และสอดคล้อง กับความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
39
บรรณานุกรม
ปัทมพร บุพพะกสิกร. (2548). เพียงเพื่อความพอใจของลูกค้า. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2558, จาก http://www. vibhavadi.com/news199.html โรงพยาบาลเวชธานี. (2557). “เจซีไอ” ค�ำตอบของโรงพยาบาลคุณภาพ. สืบค้นเมือ่ 28 เมษายน 2557, จาก http:// www.vejthani.com/web-thailand/JCI_for_hospital.php Araslı, H. & Baradarani, S. (2014). European Tourist Perspective on Destination Satisfaction in Jordan’s Industries. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 109, 1416-1425. Choo, H. & Petrick, J. F. (2014). Social interactions and intentions to revisit for agritourism service encounters. Tourism Management, 40, 372-381. Duncan, T. & Moriarty, S. E. (1998). A communication-based marketing model for managing relationships. Journal of Marketing, 62(3), 1-13. Ehrenberg, A. S. C. (1972). Repeat-buying: Theory and applications. Amsterdam: North-Holland Publishing company. Fornell, C. & Wernerfelt, B. (1987). Defensive marketing strategy by customer complaint management: a theoretical analysis. Journal of Marketing Research, 24(4), 337-346. Ittner, C. D. & Larcker, D. F. (1996). Measuring the impact of quality initiatives on firm financial performance. Advances in the Management of Organizational Quality, 1, 1-37. Lai, J. Y., Kan, C. W. & Ulhas, K. R. (2013). Impacts of employee participation and trust on e-business readiness, benefits, and satisfaction. Information Systems and eBusiness Management, 11(2), 265-285. Markovic, S. & Jankovic, S. R. (2013). Exploring the relationship between service quality and customer satisfaction in croatian hotel industry. Tourism and Hospitality Management, 19(2), 149-164. Maslow, A. H. (1970). Motivation and personality. New York: Harper & Row. Morgan, R. M. & Hunt, S. D. (1994). The commitment-trust theory of relationship marketing. The Journal of Marketing, 58(3), 20-38. Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed). New York: McGraw Hill. Oliver, R. L. (1997). Satisfaction: A behavioral perspective on the consumer. New York: McGraw-Hill. Parasuraman, A., Zeithaml, V. A. & Berry, L. L. (1988). A multiple item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40. Shpëtim, Ç. (2012). Exploring the relationships among service quality, satisfaction, trust and store loyalty among retail customers. Journal of Competitiveness, 4(4), 16-35. Stern, N. (1997). Promoting an effective market economy in a changing world. Centre for Economic Performance, London School of Economics and Political Science London: UK. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
40
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�าเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Translated Thai References
Buppakasikorn, P. (2015). Just to customer satisfaction. Retrieved April 1, 2015, from http://www. vibhavadi.com/news199.html [in Thai] Vejthani hospital. (2014). “JCI” answer of hospital quality. Retrieved April 28, 2014, from http:// www.vejthani.com/web-thailand/JCI_for_hospital.php [in Thai]
Name and Surname: Chaichana Chanatra-ari Highest Education: Bachelor of Business Administration, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon University or Agency: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon Field of Expertise: Business Administration Address: 209 Suanphak Rd., Chimplee, Taling Chan, Bangkok 10170 Name and Surname: Mariam Nami Highest Education: Doctor of Philosophy, Ramkhamhaeng University University or Agency: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon Field of Expertise: Business Administration Address: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon 88 Pisanurok Rd., Jitlada, Dusit, Bangkok 10300 Name and Surname: Ampon Shoosanok Highest Education: Doctor of Philosophy, Ramkhamhaeng University University or Agency: Bangkok University Field of Expertise: Business Administration Address: 100/63, Moo 6, Baanpuk, Amphur Meuang, Chonburi 20130
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
41
การประยุกต์ใช้โกลด์เดนบอล อัลกอริทึม เพื่อแก้ปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะ ในรูปแบบที่มีการใช้ยานพาหนะร่วมกันระหว่างของบริษัท และการจัดจ้าง AN APPLICATION OF GOLDEN BALL ALGORITHM TO SOLVE THE CLOSE-OPEN MIXED VEHICLE ROUTING PROBLEM ตันติกร พิชญ์พิบุล1 นัชชา เทียมพิทักษ์2 และนริศ ธรรมเกื้อกูล3 Tantikorn Pichpibul1 Natcha Tiempitak2 and Naris Thamkuakool3 1,2,3คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 1,2,3Faculty of Business Administration, Panyapiwat Institute of Management
บทคัดย่อ
บทความวิจยั ฉบับนีผ้ วู้ จิ ยั ได้น�ำเสนอโกลด์เดนบอล อัลกอริทมึ ซึง่ สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปญ ั หา การจัดเส้นทางยานพาหนะ ในรูปแบบที่มีการใช้ยานพาหนะร่วมกันระหว่างของบริษัท และการจัดจ้าง โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างเส้นทางยานพาหนะที่สามารถลดต้นทุนการขนส่งสินค้าทั้งหมดของระบบโลจิสติกส์ ผู้วิจัยได้ ท�ำการทดสอบโกลด์เดนบอล อัลกอริทึม ที่นำ� เสนอด้วย 17 ตัวอย่าง ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า โกลด์เดนบอล อัลกอริทึม ที่น�ำเสนอเหนือกว่าวิธีการที่ดีที่สุดที่มีอยู่ และค�ำตอบที่ดีที่สุดยังถูกค้นพบทุกตัวอย่าง นอกจากนี้ยังพบ ค�ำตอบใหม่ที่ดีที่สุดใน 12 ตัวอย่างอีกด้วย ค�ำส�ำคัญ: ปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะ โกลด์เดนบอล อัลกอริทึม
Abstract
In this paper, we have presented a golden ball (GB) algorithm, which can be applied to solve the close-open mixed vehicle routing problem. The problem objective is to construct a feasible set of vehicle routes that minimizes the total transportation cost of logistics system. We have tested the proposed GB algorithm with 17 problem instances. The computational results indicate that the proposed GB algorithm is superior to the best existing algorithm, and the best solutions are obtained for all instances. Moreover, new best solutions for 12 instances are also found. Keywords: Vehicle routing problem, Golden ball algorithm Corresponding Author E-mail: tantikornpic@pim.ac.th
42
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
บทน�ำ
ปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะ ในรูปแบบที่มี การใช้ยานพาหนะร่วมกันระหว่างของบริษัท และการ จัดจ้าง (Close-Open Mixed Vehicle Routing Problem: COMVRP) เป็นหนึ่งในปัญหาที่เป็นที่รู้จัก กันดี ซึ่งถูกน�ำเสนอโดย Liu & Jiang (2012) โดยเป็น การผสมผสานระหว่างปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะ ในรูปแบบทีม่ กี ารใช้ยานพาหนะของบริษทั (Capacitated Vehicle Routing Problem: CVRP) น�ำเสนอโดย Dantzing & Ramser (1959) และปัญหาการจัดเส้นทาง ยานพาหนะ ในรูปแบบที่มีการใช้ยานพาหนะของการ จัดจ้าง (Open Vehicle Routing Problem: OVRP) น�ำเสนอโดย Sariklis & Powell (2000) ลักษณะของปัญหา COMVRP นั้นจะเหมือนกับ ปัญหา CVRP และ OVRP ซึง่ สามารถอธิบายได้โดยเป็น ปัญหาที่ต้องการก�ำหนดเส้นทางการขนส่งสินค้าของ กลุ่มยานพาหนะ ไปยังกลุ่มลูกค้าที่ทราบจ�ำนวนความ ต้องการสินค้าที่แน่นอน เส้นทางการขนส่งสินค้าของ ยานพาหนะแต่ละคันจะแสดงด้วยรหัสของลูกค้าเรียงไป ตามล�ำดับ ปัญหา COMVRP ประกอบด้วยคลังสินค้า 1 แห่ง กลุม่ ยานพาหนะทีม่ ชี นิดเดียวกัน (มีความจุเท่ากัน) และกลุ่มลูกค้าที่ต�ำแหน่งกระจายอยู่รอบๆ คลังสินค้า เป้าหมายของการแก้ปัญหานี้คือ การสร้างเส้นทาง การขนส่งสินค้าที่มีต้นทุนในการขนส่งสินค้าต�่ำที่สุด ต้นทุนในปัญหานีจ้ ะประกอบด้วยต้นทุนทีใ่ ช้ในการเดินทาง (traveling cost) และต้นทุนที่ใช้ในการด�ำเนินงาน (operating cost) โดยจะต้องขนส่งสินค้าให้ลูกค้าครบ ตามจ�ำนวนทุกราย เส้นทางการขนส่งสินค้าที่มีความแตกต่างกันของ แต่ละปัญหา ถูกแสดงดังภาพที่ 1
(1) ปัญหา CVRP
(2) ปัญหา OVRP
(3) ปัญหา COMVRP ภาพที่ 1 เส้นทางการขนส่งสินค้าของแต่ละปัญหา สิง่ ทีเ่ หมือนกันของทุกปัญหาคือ ยานพาหนะทุกคัน จะต้องออกเดินทางจากคลังสินค้าเสมอ หลังจากเสร็จสิน้ การขนส่งสินค้าแล้ว ส�ำหรับปัญหา CVRP ยานพาหนะ ทุกคันจะต้องกลับมาจอดที่คลังสินค้า เนื่องจากเป็น ยานพาหนะของบริ ษั ท ดั ง แสดงในภาพที่ 1.1 ซึ่ ง ยานพาหนะคันแรกจะออกเดินทางจากคลังสินค้า 1 ไปยังลูกค้ารหัส 5 ลูกค้ารหัส 3 และกลับไปยังคลัง สินค้า 1 ต่อมายานพาหนะคันทีส่ องจะออกเดินทางจาก คลังสินค้า 1 ไปยังลูกค้ารหัส 4 รหัส 2 รหัส 6 และ กลับไปยังคลังสินค้า 1 ส�ำหรับปัญหา OVRP ยานพาหนะ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ทุกคันจะไม่กลับมาจอดที่คลังสินค้า ดังแสดงในภาพ ที่ 1.2 เนื่องจากเป็นยานพาหนะของการจัดจ้าง ดังนั้น หลังจากเสร็จสิน้ การขนส่งสินค้าแล้ว ยานพาหนะแต่ละคัน ก็จะเดินทางกลับไปยังจุดจอดของตัวเอง เช่น ทีพ่ กั หรือ ลานจอดต่างๆ และส�ำหรับปัญหา COMVRP ยานพาหนะ ของบริษัททุกคันจะต้องกลับมาจอดที่คลังสินค้า และ ยานพาหนะของการจัดจ้างจะไม่กลับมาจอดทีค่ ลังสินค้า ดังแสดงในภาพที่ 1.3 ดังนั้นในปัญหานี้ สิ่งที่จะต้อง ท�ำการวิเคราะห์จึงเกี่ยวข้องกับการค�ำนวณหาเส้นทาง การขนส่งสินค้าที่เหมาะสมกับยานพาหนะที่มีอยู่ทั้ง 2 แบบให้มากที่สุด
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. ศึกษาปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะ ในรูปแบบ ที่มีการใช้ยานพาหนะร่วมกันระหว่างของบริษัท และ การจัดจ้าง 2. ศึกษาลักษณะ และการท�ำงานของโกลด์เดนบอล อัลกอริทึม 3. ออกแบบ และพัฒนาโกลด์เดนบอล อัลกอริทึม ทีส่ ามารถลดต้นทุนการขนส่งของปัญหาต้นแบบมาตรฐาน ของปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะ ในรูปแบบทีม่ กี ารใช้ ยานพาหนะร่วมกันระหว่างของบริษทั และการจัดจ้างได้
ทบทวนวรรณกรรม
วิ ธี ก ารที่ น� ำ มาใช้ เ พื่ อ แก้ ป ั ญ หาการจั ด เส้ น ทาง ยานพาหนะนั้น ได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ วิธี Exact Algorithm, วิธี Heuristic และวิธี Metaheuristic วิธี Exact algorithm เป็นวิธกี ารทีใ่ ช้ในการค�ำนวณ หาค�ำตอบ โดยการใช้สมการคณิตศาสตร์ในการแก้ปญ ั หา ยกตัวอย่างเช่น วิธี Branch and cut (Lysgaard, Letchford & Eglese, 2004) และวิธี Branch and cut and price (Fukasawa et al., 2006) วิธีการนี้ จ�ำเป็นต้องใช้เวลาในการประมวลผลนาน เมื่อจ�ำนวน ของลูกค้าเพิ่มมากขึ้น วิธี Heuristic เป็นอีกวิธีการที่ใช้ในการค�ำนวณ
43
หาค�ำตอบ ซึ่งจะใช้เวลาในการประมวลผลน้อยมาก ยกตัวอย่างเช่น วิธี Savings (Clarke & Wright, 1964) และวิธี Sweep (Wren & Holliday, 1972) ค�ำตอบ ที่ได้จากวิธีการนี้อาจไม่ใช่คำ� ตอบที่ดีที่สุด วิธี Metaheuristic เป็นวิธีการที่มีการพัฒนาขึ้น เพือ่ ใช้คำ� นวณหาค�ำตอบทีด่ กี ว่าวิธี Heuristic ภายใต้เวลา ทีเ่ หมาะสม ยกตัวอย่างเช่น วิธี Simulated annealing (Kirkpatrick, Gelatt & Vecchi, 1983), วิธี Tabu search (Rochat & Taillard, 1995), วิธี Genetic algorithm (Gen & Cheng, 1997), วิธี Particle swarm optimization (Kennedy & Eberhart, 1995) และวิธี Ant colony optimization (Dorigo, Maniezzo & Colorni, 1996) ค�ำตอบที่ได้จากวิธีการนี้อาจไม่ใช่ ค�ำตอบที่ดีที่สุดเช่นกัน ในปัจจุบันการพัฒนาวิธี Metaheuristic เป็นไป อย่างรวดเร็ว มีวิธีการใหม่ๆ ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักวิจัย จากทั่วโลกอยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่น วิธี Gravitational search algorithm (Rashedi, Nezamabadi-pour & Saryazdi, 2009), วิธี Coral reefs optimization algorithm (Salcedo-Sanz et al., 2014), วิธี Firefly algorithm (Yang, 2009), วิธี Glowworm swarm optimization algorithm (Krishnanand & Ghose, 2009) และโกลด์เดนบอล อัลกอริทึม (Golden ball algorithm) โดย Osaba, Diaz & Onieva (2014) เป็นต้น จากวิธกี ารเหล่านีพ้ บว่า โกลด์เดนบอล อัลกอริทมึ เป็นวิธีการเดียวที่ถูกน�ำมาใช้แก้ปัญหา CVRP และยัง ถูกน�ำมาปรับปรุงให้สามารถแก้ปญ ั หา CVRP ได้ดยี งิ่ ขึน้ โดย Ruttanateerawichien, Kurutach & Pichpipul (2014) ทัง้ ยังถูกน�ำมาใช้แก้ปญ ั หา OVRP โดย Pichpibul (2015) ซึ่งจากงานวิจัยดังกล่าวพบว่า โกลด์เดนบอล อัลกอริทมึ สามารถค�ำนวณหาค�ำตอบทีด่ ที สี่ ดุ ของปัญหา CVRP และ OVRP ได้ ดังนัน้ จึงเป็นแรงจูงใจให้ผวู้ จิ ยั ได้ ท�ำการศึกษาและพัฒนาวิธีการนี้ให้สามารถใช้ค�ำนวณ หาค�ำตอบที่ดีที่สุดของปัญหา COMVRP
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
44
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
วิธีการวิจัย
จากขัน้ ตอนการท�ำงานของโกลด์เดนบอล อัลกอริทมึ ที่น�ำเสนอ แสดงดังภาพที่ 2 วิธีการนี้เป็นการจ�ำลอง การแข่งขันในฟุตบอลลีก โดยในฟุตบอลลีกจะประกอบ ไปด้วยทีมสโมสรต่างๆ และในทีมสโมสรก็จะประกอบ ไปด้วยนักฟุตบอลหลายๆ คน หลังจากทีมฟุตบอลถูก สร้างขึ้นครบตามจ�ำนวนที่ก�ำหนด ฤดูกาลแข่งขันก็จะ เริ่มต้น ทุกทีมฟุตบอลจะถูกจับคู่แข่งขันกันในลักษณะ ของฟุตบอลลีก ทีมทีม่ นี กั ฟุตบอลทีด่ กี จ็ ะมีโอกาสชนะสูง เพราะความแข็งแกร่งของทีมขึ้นอยู่กับคุณภาพของ นักฟุตบอลในทีม ก่อนการแข่งขันทุกครั้งนักฟุตบอล ทุกคนในแต่ละทีมจะได้รบั โอกาสในการฝึกซ้อมเพือ่ เพิม่ ความสามารถของตนเอง และนั ก ฟุ ต บอลแต่ ล ะคน สามารถย้ายทีมได้โดยผ่านขั้นตอนการซื้อขาย เริ่มต้น สร้างทีมฟุตบอล เริ่มฤดูกาลการแข่งขัน ฝึกซ้อมร่างกาย ฝึกซ้อมแผนการ แข่งขันฟุตบอล ไม่
จบฤดูกาล แข่งขัน? ใช่ สิ้นสุดจ�ำนวน ฤดูกาล ไม่ ซื้อขายนักฟุตบอล
ใช่
จบ
ภาพที่ 2 ขั้นตอนการท�ำงานของโกลด์เดนบอล อัลกอริทึม ที่น�ำเสนอ
หากน� ำ แนวความคิ ด ดั ง กล่ า วมาประยุ ก ต์ ใ ช้ กั บ ปัญหา COMVRP แสดงดังภาพที่ 3 จะพบว่า ทีมฟุตบอล 1 ทีมจะถูกแทนด้วยกลุม่ ของยานพาหนะทัง้ หมด ได้แก่ ยานพาหนะคันที่ 1 และคันที่ 2 ส่วนยานพาหนะแต่ละคัน จะถูกแทนด้วยนักฟุตบอลแต่ละคน โดยรายละเอียดของ โกลด์เดนบอล อัลกอริทึม ที่น�ำเสนอในแต่ละขั้นตอน มีดังต่อไปนี้ สร้างทีมฟุตบอลจากปัญหาต้นแบบมาตรฐาน ใน ขั้นตอนนี้จะสุ่มสร้างทีมฟุตบอลขึ้นมาจ�ำนวน n2 ทีม โดยตัวแปร n จะแทนจ�ำนวนลูกค้า ในแต่ละทีมจะ ท�ำการสร้างจ�ำนวนนักฟุตบอลขึ้นมาจ�ำนวน k – 1 คน โดยตัวแปร k จะแทนจ�ำนวนยานพาหนะที่ใช้ในการ ขนส่งสินค้า และนักฟุตบอลแต่ละคนจะถูกแทนด้วย รหั ส ของลู ก ค้ า เรี ย งไปตามล� ำ ดั บ ในการขนส่ ง สิ น ค้ า นอกเหนือจากการสร้างนักฟุตบอลแบบสุ่มตามจ�ำนวน ดังกล่าวแล้ว ในงานวิจยั นีย้ งั ได้สร้างนักฟุตบอลทีม่ คี วาม สามารถสูงคนที่ k ขึ้นมา โดยใช้วิธีการของ Pichpibul & Kawtummachai (2012, 2013) อีกด้วย ฝึกซ้อมร่างกาย จากทีมฟุตบอลและนักฟุตบอล ทีถ่ กู สร้างขึน้ นักฟุตบอลซึง่ เป็นตัวแทนของยานพาหนะ จะท�ำการฝึกซ้อมร่างกายของตนเอง เพื่อเพิ่มศักยภาพ ของแต่ละบุคคล ซึง่ ในปัญหานีจ้ ะใช้วธิ กี ารเปลีย่ นล�ำดับ การขนส่งสินค้าภายในยานพาหนะแต่ละคันด้วยวิธีการ ของ Groër, Golden & Wasil (2010) อันประกอบ ด้วยวิธี Swap และวิธี Insert แสดงดังภาพที่ 4 วิธี Swap เป็นการเปลี่ยนแปลงล�ำดับในการขนส่งสินค้า ของยานพาหนะแต่ละคัน โดยการสุ่มเลือกรหัสของ ลูกค้ามา 2 ราย และท�ำการสลับต�ำแหน่ง ส่วนวิธี Insert เป็นการเปลี่ยนแปลงล�ำดับในการขนส่งสินค้า โดยการ สุ่มเลือกรหัสของลูกค้ามา 1 ราย และสุม่ เลือกต�ำแหน่ง เพื่อท�ำการย้ายรหัสของลูกค้ารายดังกล่าวไป ขั้นตอนนี้ จะท�ำให้เกิดยานพาหนะคันใหม่ขึ้นอีก 1 คัน ซึ่งจะต้อง น�ำมาเปรียบเทียบกันระหว่างก่อนและหลังฝึกซ้อม ถ้ายานพาหนะคันใหม่มคี ำ� ตอบทีด่ ขี นึ้ ก็จะถูกน�ำไปแทนที่ ยานพาหนะคันเก่าโดยทันที
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
45
1 ค�ำตอบของปัญหา COMVRP
(1) วิธี Swap และแสดงผลลัพธ์
1 ทีมฟุตบอล
(2) วิธี Insert และแสดงผลลัพธ์ ภาพที่ 4 ตัวอย่างการฝึกซ้อมร่างกาย
ภาพที่ 3 ตัวอย่างทีมฟุตบอล ฝึกซ้อมแผนการจากทีมฟุตบอลและนักฟุตบอล ทีถ่ กู สร้างขึน้ นักฟุตบอลซึง่ เป็นตัวแทนของยานพาหนะ จะท�ำการฝึกซ้อมแผนการระหว่างนักฟุตบอลภายในทีม ด้วยกัน เพือ่ เพิม่ ศักยภาพโดยรวมของทีม ซึง่ ในปัญหานี้ จะใช้ วิ ธี ก ารเปลี่ ย นล� ำ ดั บ การขนส่ ง สิ น ค้ า ระหว่ า ง ยานพาหนะด้วยวิธีการของ Groër, Golden & Wasil (2010) อันประกอบด้วยวิธี Swap และวิธี Insert แสดงดังภาพที่ 5 วิธี Swap เป็นการเปลีย่ นแปลงล�ำดับ ในการขนส่งสินค้าระหว่างยานพาหนะ 2 คัน โดยหลังจาก การสุ่มจับคู่ยานพาหนะ ก็จะท�ำการสุ่มเลือกรหัสของ ลูกค้าระหว่างยานพาหนะแต่ละคันมาคันละ 1 ราย และ ท�ำการสลับต�ำแหน่ง ส่วนวิธี Insert เป็นการเปลีย่ นแปลง ล�ำดับในการขนส่งสินค้า โดยการสุม่ เลือกรหัสของลูกค้า มา 1 ราย ในยานพาหนะคันที่ 1 และสุ่มเลือกต�ำแหน่ง ในยานพาหนะคันที่ 2 เพื่อท�ำการย้ายรหัสของลูกค้า รายดังกล่าวไป ขัน้ ตอนนีจ้ ะท�ำให้เกิดยานพาหนะคันใหม่ ขึ้นอีก 2 คัน ซึ่งจะต้องน�ำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ก่อนและหลังฝึกซ้อม ถ้ายานพาหนะคันใหม่ทั้ง 2 คัน มีคำ� ตอบโดยรวมทีด่ ขี นึ้ ก็จะถูกน�ำไปแทนทีย่ านพาหนะ คันเก่าทั้ง 2 คันโดยทันที
แข่งขันฟุตบอล ทีมฟุตบอลแต่ละทีมจะท�ำการ แข่งขันกัน โดยการจับคู่ทีมฟุตบอล 2 ทีมมาแข่งขันกัน ในฟุตบอลลีก และห้ามไม่ให้มกี ารแข่งขันซ�ำ้ กัน หลังจาก เสร็จสิ้นการแข่งขันในแต่ละนัด ทีมที่มีค�ำตอบดีกว่าจะ ถือเป็นฝ่ายชนะได้คะแนน 3 คะแนน และทีมแพ้จะได้ 0 คะแนน ส่วนกรณีที่มีคำ� ตอบเท่ากัน ทั้งสองทีมจะได้ ทีมละ 1 คะแนน การแข่งขันในแต่ละฤดูกาลจะเสร็จสิน้ ลง ก็ต่อเมื่อทุกทีมได้ถูกจับคู่แข่งขันกันจนหมดแล้ว
(1) วิธี Swap และ Insert
(2) แสดงผลลัพธ์ ภาพที่ 5 ตัวอย่างการฝึกซ้อมแผนการ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
46
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ซื้ อ ขายนั ก ฟุ ต บอล เมื่ อ สิ้ น สุ ด ฤดู ก าลแข่ ง ขั น ทีมฟุตบอลทีม่ คี ะแนนสูงกว่าจะมีโอกาสในการแลกเปลีย่ น นักฟุตบอลทีม่ คี วามสามารถสูงจากทีมทีม่ คี ะแนนน้อยกว่า เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับทีมของตัวเองมากยิ่งขึ้น แข่งขันซ�ำ้ กัน หลังจากเสร็จสิน้ การแข่งขันในแต่ละนัด ทีมทีม่ คี ำ� ตอบดีกว่าจะถือเป็นฝ่ายชนะได้คะแนน 3 คะแนน และทีมแพ้จะได้ 0 คะแนน ส่วนกรณีที่มีคำ� ตอบเท่ากัน ทั้งสองทีมจะได้ทีมละ 1 คะแนน การแข่งขันในแต่ละ ฤดูกาลจะเสร็จสิน้ ลงก็ตอ่ เมือ่ ทุกทีมได้ถกู จับคูแ่ ข่งขันกัน จนหมดแล้ว ซื้ อ ขายนั ก ฟุ ต บอล เมื่ อ สิ้ น สุ ด ฤดู ก าลแข่ ง ขั น ทีมฟุตบอลทีม่ คี ะแนนสูงกว่าจะมีโอกาสในการแลกเปลีย่ น นักฟุตบอลทีม่ คี วามสามารถสูงจากทีมทีม่ คี ะแนนน้อยกว่า เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับทีมของตัวเองมากยิ่งขึ้น
ผลการวิจัย
วิ ธี ก ารที่ ผู ้ วิ จั ย ได้ น� ำ เสนอถู ก พั ฒ นาขึ้ น โดยใช้
โปรแกรม Visual Basic รุน่ 6.0 และถูกน�ำไปประมวลผล บนคอมพิวเตอร์รุ่น Intel® Core™ i7 CPU 860 ที่ สัญญาณนาฬิกา 2.80 GHz ด้วยหน่วยความจ�ำ 1.99 GB ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Windows XP โดยผู้วิจัย ได้ใช้ 17 ตัวอย่าง จากปัญหาต้นแบบมาตรฐานของ Augerat et al. (1995) ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุม่ ปัญหา คือ กลุ่ม A, B, P และ Christofides & Eilon (1969) ซึ่งประกอบด้วย 1 กลุ่มปัญหาคือ กลุ่ม E โดยแต่ละ ปัญหาจะมีคุณลักษณะแสดงดังตารางที่ 1 และจะถูก เขียนแทนด้วยอักษรย่อ ยกตัวอย่างเช่น ปัญหา A-32-k5 ตัวอักษร A แทนกลุ่มของปัญหา, n แทนจ�ำนวนลูกค้า และ k แทนจ�ำนวนยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสินค้า อีกทั้งยังมีเงื่อนไขเพิ่มเติม ได้แก่ ระยะทางไกลสุดที่ ยานพาหนะสามารถเดินทางได้ (D) จ�ำนวนยานพาหนะ ที่สามารถใช้ได้ของบริษัท (k1) และจ�ำนวนยานพาหนะ ที่สามารถใช้ได้ของการจัดจ้าง (k2)
ตารางที่ 1 คุณลักษณะของปัญหา CVRP, OVRP และ COMVRP CVRP OVRP ปัญหา n k1 k2 k1 A-n32-k5 32 5 0 0 A-n33-k5 33 5 0 0 A-n33-k6 33 6 0 0 A-n34-k5 34 5 0 0 A-n36-k5 36 5 0 0 B-n50-k8 50 8 0 0 B-n51-k7 51 7 0 0 B-n52-k7 52 7 0 0 B-n56-k7 56 7 0 0 B-n57-k7 57 7 0 0 P-n21-k2 21 2 0 0 P-n22-k8 22 8 0 0 E-n22-k4 22 4 0 0 E-n30-k3 30 3 0 0 E-n33-k4 33 4 0 0 E-n51-k5 51 5 0 0 E-n76-k10 76 10 0 0 ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
k2 5 5 6 5 5 8 7 7 7 7 2 8 4 3 4 5 10
D 246.89 176.68 175.83 201.73 236.53 232.11 186.69 158.17 186.22 197.65 132.10 109.71 110.47 215.12 262.48 135.77 129.29
COMVRP k1 3 3 3 3 3 4 4 4 4 4 1 5 2 2 2 3 5
k2 2 2 3 2 2 4 3 3 3 3 1 3 2 1 2 2 5
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ตัวแปรของโกลด์เดนบอล อัลกอริทมึ ได้ถกู ก�ำหนดขึน้ โดยมีรายละเอียดดังนี้ จ�ำนวนทีมฟุตบอลเท่ากับจ�ำนวน n ทีม โดยตัวแปร n จะแทนจ�ำนวนลูกค้า, จ�ำนวน 2 นักฟุตบอลเท่ากับจ�ำนวน k คน โดยตัวแปร k จะแทน จ�ำนวนยานพาหนะ, จ�ำนวนนักฟุตบอลทีม่ คี วามสามารถ สูงเท่ากับ 1 คน, จ�ำนวนรอบที่ใช้ในการค�ำนวณหา นักฟุตบอลที่มีความสามารถสูงเท่ากับ 1,000 รอบ, จ�ำนวนรอบทีใ่ ช้ในการฝึกซ้อมร่างกาย และแผนการเท่ากับ 10 รอบ, จ�ำนวนฤดูกาลแข่งขันเท่ากับ 10 ฤดูกาล และ จ�ำนวนรอบทีใ่ ช้ในการค�ำนวณโกลด์เดนบอล อัลกอริทมึ
47
เท่ากับ 1,000 รอบ เพือ่ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโกลด์เดนบอล อัลกอริทึมที่น�ำเสนอ ผู้วิจัยจึงได้น�ำค�ำตอบที่ดีที่สุด ในแต่ละปัญหาจากวิธีการของ Letchford, Lysgaard & Eglese (2007) และวิธกี ารของ Liu & Jiang (2012) มาท� ำ การเปรี ย บเที ย บค� ำ ตอบ แสดงดั ง ตารางที่ 2 โดยในการอภิปรายผลจะใช้การค�ำนวณหาค่าร้อยละ ผลต่าง (Percentage deviation: %Dev) เพื่อท�ำการ เปรียบเทียบค�ำตอบระหว่างวิธีการที่ให้ค�ำตอบที่ดีที่สุด (BKS) และวิธีการที่น�ำเสนอ (GB) แสดงดังสมการที่ 1
ตารางที่ 2 ผลการทดลองของปัญหา CVRP, OVRP และ COMVRP CVRP OVRP COMVRP ปัญหา 1 3 1 3 2 GB %Dev BKS GB %Dev BKS GB3 %Dev BKS A-n32-k5 787.08 787.08 0.000 487.31 487.31 0.000 1063.53 1063.53 0.000 A-n33-k5 662.11 662.11 0.000 424.54 424.54 0.000 1004.49 994.91 -0.954 A-n33-k6 742.69 742.69 0.000 462.43 462.43 0.000 1170.88 1169.29 -0.136 A-n34-k5 780.94 780.94 0.000 508.17 508.17 0.000 1102.98 1102.17 -0.073 A-n36-k5 802.13 802.13 0.000 519.46 519.46 0.000 1096.35 1096.35 0.000 B-n50-k8 1315.38 1315.38 0.000 720.43 720.43 0.000 1739.95 1721.05 -1.086 B-n51-k7 1035.04 1035.04 0.000 625.14 625.14 0.000 1494.54 1494.54 0.000 B-n52-k7 749.97 749.97 0.000 441.19 441.19 0.000 1208.93 1202.70 -0.515 B-n56-k7 712.92 712.92 0.000 420.49 420.49 0.000 1169.84 1168.22 -0.138 B-n57-k7 1157.73 1157.73 0.000 646.36 646.36 0.000 1620.51 1549.48 -4.383 P-n21-k2 212.71 212.71 0.000 163.88 163.88 0.000 383.46 383.46 0.000 P-n22-k8 600.83 600.83 0.000 345.87 345.87 0.000 1183.87 1183.87 0.000 E-n22-k4 375.28 375.28 0.000 252.61 252.61 0.000 700.94 700.93 -0.001 E-n30-k3 535.80 535.80 0.000 393.51 393.51 0.000 733.24 730.83 -0.329 E-n33-k4 837.67 837.67 0.000 511.26 511.26 0.000 1065.46 1057.05 -0.789 E-n51-k5 524.61 524.61 0.000 416.06 416.06 0.000 929.70 921.28 -0.906 E-n76-k10 835.26 835.26 0.000 567.14 567.14 0.000 1750.26 1693.47 -3.245 1 BKS:
วิธี Branch-and-cut algorithm ของ Letchford, Lysgaard & Eglese (2007) วิธี Memetic algorithm ของ Liu & Jiang (2012) 3 GB: วิธี Golden ball algorithm ที่น�ำเสนอ 2 BKS:
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
48
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
%Dev = GB – BKS BKS
×
100
(1)
จากผลการทดลองในตารางที่ 2 ในกรณีของปัญหา CVRP และ OVRP เนื่องจากค�ำตอบของ Letchford, Lysgaard & Eglese (2007) เป็นหนึ่งในวิธี Exact algorithm จึงแสดงให้เห็นว่า ค�ำตอบทีไ่ ด้จากโกลด์เดน บอล อัลกอริทมึ ทีน่ ำ� เสนอสามารถค้นพบค�ำตอบทีด่ ที สี่ ดุ หรือต้นทุนการขนส่งที่ถูกที่สุด โดยสามารถค�ำนวณหา ค�ำตอบได้เท่ากับวิธีการของ Letchford, Lysgaard & Eglese (2007) ทัง้ หมด นอกจากนัน้ ในกรณีของปัญหา COMVRP โกลด์เดนบอล อัลกอริทมึ ทีน่ ำ� เสนอยังสามารถ ค�ำนวณหาค�ำตอบได้เท่ากับวิธีการของ Liu & Jiang (2012) เป็นจ�ำนวน 5 ตัวอย่าง และยังค้นพบค�ำตอบใหม่ ที่ดีกว่าเดิมได้ถึง 12 ตัวอย่างอีกด้วย
สรุปและอภิปรายผล
บทความวิจยั ฉบับนี้ ผูว้ จิ ยั ได้นำ� เสนอการศึกษา และ พัฒนาโกลด์เดนบอล อัลกอริทึม เพื่อน�ำมาประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะในรูปแบบ ที่มีการใช้ยานพาหนะร่วมกันระหว่างของบริษัท และ การจัดจ้าง ซึ่งผู้วิจัยได้ท� ำการทดลองโดยใช้ปัญหา ต้นแบบมาตรฐานของ Augerat et al. (1995) และ Christofides & Eilon (1969) จ�ำนวน 17 ตัวอย่าง และท�ำการเปรียบเทียบกับวิธีการที่ให้ค�ำตอบที่ดีที่สุด ของ Letchford, Lysgaard & Eglese (2007) และของ Liu & Jiang (2012) จากผลการทดลองพบว่า วิธีการ ทีน่ ำ� เสนอของผูว้ จิ ยั มีประสิทธิภาพสูง และเป็นทีน่ า่ พอใจ ในเรื่องของการลดต้นทุนการขนส่ง ในส่วนของค�ำตอบ ที่ได้นั้นก็ยังสามารถค�ำนวณหาค�ำตอบที่ดีที่สุดได้ทุก ตัวอย่าง และนอกจากนี้ยังค้นพบค�ำตอบที่ดีที่สุดใหม่ ใน 12 ตัวอย่างอีกด้วย
บรรณานุกรม
Augerat, P., Belenguer, J., Benavent, E., Corbern, A., Naddef, D. & Rinaldi, G. (1995). Computational results with a branch and cut code for the capacitated vehicle routing problem. Grenoble, France: Universite Joseph Fourier. Christofides, N. & Eilon, S. (1969). An algorithm for the vehicle dispatching problem. Operational Research Quarterly, 20(3), 309-318. Clarke, G. & Wright, J. W. (1964). Scheduling of vehicles from a central depot to a number of delivery points. Operations Research, 12(4), 568-581. Dantzig, G. B. & Ramser, J. H. (1959). The truck dispatching problem. Management Science, 6(1), 80-91. Dorigo, M., Maniezzo, V. & Colorni, A. (1996). Ant system: optimization by a colony of cooperating agents. IEEE Transactions on Systems, Mans, and Cybernetics, 26(1), 29-41. Fukasawa, R., Longo, H., Lysgaard, J., Poggi de Aragão, M., Reis, M., Uchoa, E. & Werneck, R. F. (2006). Robust Branch-and-Cut-and-Price for the Capacitated Vehicle Routing Problem. Mathematical Programming, 106, 491-511. Gen, M. & Cheng, R. (1997). Genetic algorithms and engineering design. New York: John Wiley & Sons. Groër, C., Golden, B. & Wasil, E. (2010). A library of local search heuristics for the vehicle routing problem. Mathematical Programming Computation, 2(2), 79-101. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
49
Kennedy, J. & Eberhart, R. (1995). Particle swarm optimization. In: Proceedings of IEEE International Conference on Neural Networks, pp. 1942-1948. Kirkpatrick, S., Gelatt, J. & Vecchi, M. (1983). Optimization by simulated annealing. Science, 220(4598), 671-680. Krishnanand, K. N. & Ghose, D. (2009). Glowworm swarm optimization for simultaneous capture of multiple local optima of multimodal functions. Swarm Intelligence, 3(2), 87-124. Letchford, A. N., Lysgaard, J. & Eglese, R. W. (2007). A branch-and-cut algorithm for the capacitated open vehicle routing problem. Journal of the Operational Research Society, 58, 1642-1651. Liu, R. & Jiang, Z. (2012). The close-open mixed vehicle routing problem. European Journal of Operational Research, 220(2), 349-360. Lysgaard, J., Letchford, A. N. & Eglese, R. W. (2004). A new branch-and-cut algorithm for the capacitated vehicle routing problem. Mathematical Programming Series A, 100(2), 423-445. Osaba, E., Diaz, F. & Onieva, E. (2014). Golden ball: a novel meta-heuristic to solve combinatorial optimization problems based on soccer concepts. Applied Intelligence, 41(1), 145-166. Pichpibul, T. & Kawtummachai, R. (2012). An improved Clarke and Wright savings algorithm for the capacitated vehicle routing problem. ScienceAsia, 38, 307-318. Pichpibul, T. & Kawtummachai, R. (2013). A Heuristic Approach Based on Clarke-Wright Algorithm for Open Vehicle Routing Problem. The Scientific World Journal, 2013, 1-11. Pichpibul, T. (2015). Improving Vehicle Routing Decision for Travel Agency in Chonburi, Thailand. Lecture Notes in Electrical Engineering, 349, 251-258. Rashedi, E., Nezamabadi-pour, H. & Saryazdi, S. (2009). GSA: A Gravitational Search Algorithm. Information Sciences, 179(13), 2232-2248. Ruttanateerawichien, K., Kurutach, W. & Pichpibul, T. (2014). An Improved Golden Ball Algorithm for the Capacitated Vehicle Routing Problem. Bio-Inspired Computing - Theories and Applications. Communications in Computer and Information Science, 472, 341-356. Rochat, Y. & Taillard, É.D. (1995). Probabilistic diversification and intensification in local search for vehicle routing. Journal of Heuristics, 1, 147-167. Salcedo-Sanz, S., Gallo-Marazuela, D., Pastor-Sánchez, A., Carro-Calvo, L., Portilla-Figueras, A. & Prieto, L. (2014). Offshore wind farm design with the Coral Reefs Optimization algorithm. Renewable Energy, 63, 109-115. Sariklis, D. & Powell, S. (2000). A Heuristic Method for the Open Vehicle Routing Problem. The Journal of the Operational Research Society, 51(5), 564-573. Wren, A. & Holliday, A. (1972). Computer scheduling of vehicles from one or more depots to a number of delivery points. Operational Research Quarterly, 23(3), 333-344. Yang, X. S. (2009). Firefly algorithms for mult-imodal optimization. In: Proceedings of the 5th International Symposium on Stochastic Algorithms: Foundations and Applications, pp. 169-178. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
50
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�าเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Name and Surname: Tantikorn Pichpibul Highest Education: Ph.D. in Engineering, Sirindhorn International Institute of Technology, Thammasat University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Supply Chain and Logistics Management, Decision Support System, Heuristic and Metaheuristic Algorithms Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120 Name and Surname: Natcha Tiempitak Highest Education: Ph.D in Technopreneurship and Innovation Management, Chulalongkorn University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Innovation in Technology, Innovation Management, Strategic Management, Productivity and Quality Management Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120 Name and Surname: Naris Thamkuakool Highest Education: Ph.D. in Business Administration, Kasetsart University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Innovation, Strategic Management Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
51
การศึกษาโอกาสและอุปสรรคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มไทยในประเทศเมียนมาร์ OPPORTUNITIES AND THREATS OF THAI’S BEVERAGE IN MYNMAR ภัทรนิษฐ์ ศรีบุรีรักษ์1 ศิระ นาคะศิริ2 และพวงเพ็ชร์ นิธยานนท์3 Pattaranit Sribureeruk1 Sira Nakasiri2 and Puangpetch Nitayanont3 1,2,3คณะการจัดการธุรกิจอาหาร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 1,2,3Faculty of Food Business Management, Panyapiwat Institute of Management
บทคัดย่อ
การตลาดเครื่องดื่มส�ำเร็จรูปในประเทศเมียนมาร์ ในปี 2557 เมียนมาร์เป็นตลาดการส่งออกอันดับ 4 ของ ประเทศไทย เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน มีมูลค่า 32,403.97 ล้านบาท และมีแนวโน้มอัตราการขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.56 ส�ำหรับพฤติกรรมการซื้อสินค้ากลุ่มเครื่องดื่มส�ำเร็จรูป จากผู้ตอบแบบสอบถาม 300 คน พบว่าส่วนใหญ่มีพฤติกรรมความถี่ในการบริโภคเครื่องดื่มส�ำเร็จรูป 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยสินค้าเหล่านี้จะซื้อจาก ร้านสะดวกซือ้ ซูเปอร์มาร์ท และมินมิ าร์ท โดยสินค้าทีน่ ำ� เข้าจากประเทศไทยโดยเฉพาะน�ำ้ ผลไม้พร้อมดืม่ ทีม่ ยี อดจ�ำหน่าย สูงสุด ได้แก่ น�ำ้ ส้ม เมือ่ วิเคราะห์โอกาสทางการจ�ำหน่าย พบว่าสินค้าไทยเป็นทีร่ จู้ กั และได้รบั การยอมรับว่าเป็นสินค้า มีคุณภาพเป็นที่นิยม มีต้นทุนการขนส่งต�่ำกว่าประเทศอื่นๆ และสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของเมียนมาร์ คล้ายไทย ท�ำให้เข้ากับสภาพความเป็นอยู่ของชาวเมียนมาร์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นกลุ่มคนชั้นกลาง นักธุรกิจ ตามเมืองเศรษฐกิจใหญ่ๆ และนักท่องเทีย่ วมีการขยายจ�ำนวนเพิม่ มากขึน้ ท�ำให้ผปู้ ระกอบการไทยมีโอกาสการลงทุนเพิม่ แต่อปุ สรรคยังพบอยูบ่ า้ ง เช่น ถนนมีสภาพช�ำรุด ประปาไฟฟ้ายังขาดแคลน ทีด่ นิ มีราคาสูงมาก และนักลงทุนต่างชาติ ต้องอาศัยคนท้องถิ่นในการลงทุนท�ำธุรกิจ ค�ำส�ำคัญ: เครื่องดื่มไทย พฤติกรรมการซื้อ การวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรค
Abstract
Ready to drink beverage market in Myanmar in 2014, Myanmar is the fourth largest market of Thailand in ASEAN with the volume of 32,403.97 million baht and it’s expected to grow up to 23.56% in the following year. For consumer behavior in this market, derived from the survey of 300 people, most people consume and purchase ready to drink products 1 to 3 times per week from convenience stores, supermarkets, and mini marts. The products imported from Thailand especially ready to drink fruit juices are the best seller in the market. A study of marketing opportunity found that Thai products are popular and perceived as high quality among consumers. Besides, the relatively low logistic cost compared to others, the similarity in climate and weather conditions of the two countries makes Thai products fit well with Myanmar life style. Moreover,
52
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
the number of middle class, SME, and tourists that have recently grown rapidly contributes a great incentive to Thai business owners and investors to expand their businesses and investment. However, underdeveloped basic infrastructure such as roads, water supply, electricity, as well as the skyrocketing land price and the limit of foreign investors’ right are still major obstacles. Keywords: Thai’s beverage, Buying behavior, Opportunities and threats analysis
บทน�ำ
อุตสาหกรรมเครือ่ งดืม่ ของไทยสามารถส่งออกไปยัง ประเทศในภูมภิ าคอาเซียนได้เป็นอันดับ 2 คิดเป็นมูลค่า 1.7 พันล้านดอลลาร์ ส่วนสิงคโปร์ที่ครองอันดับหนึ่ง ส่งออกได้มากถึง 2.9 พันล้านดอลลาร์ ประเทศไทย ส่วนใหญ่ส่งออกเครื่องดื่มประเภทน�้ำผลไม้ น�้ำอัดลม เครื่องดื่มชูก�ำลัง และแอลกอฮอล์ ไปยังประเทศที่มี พรมแดนติดกับประเทศไทย เช่น เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว ในปี 2558 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ได้เริม่ มีผลบังคับใช้ ซึง่ ท�ำให้การค้าระหว่างประเทศ ในกลุ่ม AEC สะดวกขึ้น ท�ำให้มีการคาดการณ์ว่าความ ต้องการบริโภคของประเทศเมียนมาร์ก็จะสูงขึ้นตาม ไปด้วย ส่วนใหญ่ประเทศเมียนมาร์น�ำเข้าสินค้าจาก ประเทศจีนเป็นอันดับ 1 มีสดั ส่วนเกือบร้อยละ 40 ของ มูลค่าการน�ำเข้าทั้งหมดของเมียนมาร์ ขณะที่ไทยเป็น อันดับ 2 มีสัดส่วนร้อยละ 23 ของมูลค่าการน�ำเข้า ทั้งหมดของเมียนมาร์ ทั้งนี้สินค้าไทยมีภาพลักษณ์ที่ดี ในสายตาของชาวเมียนมาร์ เนือ่ งจากชาวเมียนมาร์มองว่า สินค้าไทยเป็นสินค้าระดับบน มีคุณภาพสูง รูปลักษณ์ สวยงามและทันสมัย ซึง่ มีสว่ นช่วยเสริมภาพลักษณ์และ บุคลิกภาพให้แก่ผู้ใช้ นอกจากนี้เมียนมาร์ยังเป็นตลาด ส่งออกหลักของเครือ่ งดืม่ ไม่มแี อลกอฮอล์ (Soft Drink) ของประเทศไทยอีกด้วย ในการวิจัยครั้งนี้ได้แบ่งตลาดเครื่องดื่มส�ำเร็จรูปใน ประเทศเมียนมาร์เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ 1. เครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ (Soft Drink) 2. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Alcoholic Drinks) โดยทั้ง 2 ประเภทแบ่งออกเป็นสินค้าย่อยในแต่ละกลุ่ม
ดังต่อไปนี้ ตลาดเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ในประเทศ เมียนมาร์ประกอบไปด้วย 6 ประเภทหลักคือ 1. น�้ำดื่มบรรจุขวด (Bottled Water) 2. น�้ำอัดลม (Carbonates) 3. น�้ำดื่มชนิดเข้มข้น (Concentrates) 4. น�้ำผลไม้ (Juice) 5. กาแฟและชาพร้อมดืม่ (RTD Coffee and Tea) 6. เครื่องดื่มเพื่อกีฬาและให้พลังงาน (Sport and Energy Drink) ตลาดเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ในประเทศเมียนมาร์ ประกอบไปด้วย 4 ประเภทหลักคือ 1. เบียร์ (Beer) 2. เครื่องดื่มแบบพรีมิกซ์พร้อมดื่ม (RTDs/Highstrength Premixes) 3. สุรา (Spirits) 4. ไวน์ (wine)
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. ศึกษาพฤติกรรมการซือ้ และบริโภคเครือ่ งดืม่ ไทย ในประเทศเมียนมาร์ 2. ศึกษาโอกาสและอุปสรรคเครือ่ งดืม่ ไทยในประเทศ เมียนมาร์
ทบทวนวรรณกรรม
ตลาดส่งออกเครื่องดื่มของประเทศไทยในปี 2557 ที่ผ่านมามีมูลค่าการส่งออกเครื่องดื่ม 1,355.4 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 8.0 (YoY) ขณะทีใ่ นช่วง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
5 เดือนแรกของปี 2558 การส่งออกเครื่องดื่มของไทย ยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยมีมูลค่า 656.2 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 (YoY) แบ่งเป็นเครื่องดื่ม ไม่มแี อลกอฮอล์สดั ส่วนประมาณร้อยละ 68 ซึง่ ส่วนใหญ่ เป็นเครื่องดื่มประเภทชูก�ำลัง ส�ำหรับตลาดส่งออกที่ ส�ำคัญของไทย ได้แก่ ประเทศในอาเซียนซึ่งมีสัดส่วน ร้อยละ 87 ของมูลค่าการส่งออกเครื่องดื่มของไทย (เฉพาะกลุ่ม CLMV มีสัดส่วนตลาดสูงถึงร้อยละ 75 โดยประเทศไทยส่งออกไปยังเมียนมาร์ ร้อยละ 19.7) เนื่องจากพฤติกรรมและรสนิยมการบริโภคเครื่องดื่ม ของประชาชนมีความใกล้เคียงกัน อีกทั้งมูลค่าการส่ง ออกไปยังตลาดดังกล่าวก็ยงั เพิม่ ขึน้ ต่อเนือ่ งตามก�ำลังซือ้ ของประชาชนที่มีผลจากเศรษฐกิจที่เติบโตสูง รวมถึง จ�ำนวนนักลงทุนและนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น (ศูนย์วิจัย กสิกรไทย, 2558) ปัจจุบันตลาดอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เมี ย นมาร์ มี ค วามน่ า สนใจมากขึ้ น เนื่ อ งจากรั ฐ บาล วางแผนจะท�ำการเพิม่ รายได้ตอ่ หัวต่อเดือนของประชากร ชาวเมียนมาร์จากเดิม 50,000 จ๊าด ให้เป็น 80,000100,000 จ๊าด ซึง่ หมายถึงก�ำลังซือ้ ทีเ่ พิม่ ขึน้ และเมียนมาร์ ให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาประเทศเพื่อให้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยว โดยตั้งเป้าเพิ่มจ�ำนวนนักท่องเที่ยวขึ้นจาก 3.5 ล้านคนในปี 2557 เป็น 7.5 ล้านคนในปี 2563 ยิ่งไปกว่านั้น กว่า 80% ของเครื่องดื่มในเมียนมาร์นิยม น�ำเข้าจากประเทศไทย เพราะชื่นชอบในรสชาติและ คุณภาพทีไ่ ด้รบั การยอมรับ จึงเป็นโอกาสของผูป้ ระกอบการ ไทยทีจ่ ะเข้าไปเจาะตลาดทัง้ คนท้องถิน่ และนักท่องเทีย่ ว ในเมียนมาร์ (ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, 2558) และ หากวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) เป็นการวิเคราะห์สภาพอุตสาหกรรม สามารถวิเคราะห์จากสภาพการณ์ 2 ด้านคือ ภายใน และภายนอก เพื่อให้รู้จักตนเองและสภาพแวดล้อม โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก มี 2 ประเด็น ทีต่ อ้ งวิเคราะห์คอื โอกาส (Opportunity) และอุปสรรค (Threat) ซึ่งในการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก
53
บริษทั ท�ำให้ผปู้ ระกอบการสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ ที่มีผลกระทบจากการด�ำเนินธุรกิจทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ เช่น ด้านเศรษฐกิจในเรื่องอัตรา การขยายตัวของนโยบายทางการเงิน งบประมาณต่างๆ ด้านสังคม เช่น ระดับการศึกษา อัตราการรูห้ นังสือของ ชุมชน ด้านการเมือง เช่น มติคณะรัฐมนตรี นโยบาย ทางการเมืองและผู้น�ำประเทศ รวมถึงด้านเทคโนโลยี เช่ น นวั ต กรรมการพั ฒ นาเครื่ อ งมื อ อุ ป กรณ์ ต ่ า งๆ เป็นต้น ซึง่ ปัจจัยเหล่านีท้ ำ� ให้มผี ลกระทบต่อโอกาสของ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องน�ำข้อดีเหล่านี้มาสร้างให้บริษัท เข้มแข็งขึน้ และอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมทีเ่ กิดความ เสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม บริษัทควรจะท�ำการ หลีกเลี่ยงหรือปรับสภาพเพื่อให้บริษัทมีความพร้อม ในการเผชิญต่อสู้กับปัญหาและข้อจ�ำกัดที่มีผลกระทบ ต่างๆ (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, 2555) จากการศึ ก ษาการตลาดของ Euro Monitor International (2014) พบว่า เครื่องดื่มที่ปราศจาก แอลกอฮอล์ในปี 2556 มีส่วนแบ่งทางการตลาดของ เมียนมาร์ในแต่ละประเภทดังนี้ 1. น�้ำดื่มบรรจุขวด ผู้ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาด สูงที่สุดคือ Loi Hein Co., Ltd. ซึ่งมีตราสินค้าคือ Alphine c และ Life โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดเกิน กว่าครึ่งหนึ่งคือ ร้อยละ 61 ส่วนอันดับที่ 2 คือ Pinya Manufacturing Co., Ltd. ภายใต้ตราสินค้า Max2O โดยมีส่วนแบ่งร้อยละ 17 2. น�้ ำ อัดลม ส่ว นแบ่งทางการตลาดสูงที่สุ ดคือ Coca-cola ซึง่ มีสว่ นแบ่งร้อยละ 17 รองลงมาคือ Pepsi ร้อยละ 12 และ Star Cola ร้อยละ 10 เท่ากันกับ Blue Mountain จะเห็นได้ว่าในส่วนของน�้ำอัดลมส่วนแบ่ง ทางการตลาดใกล้เคียงกัน 3. น�ำ้ ผลไม้ ส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุดคือ Tipco Food Public Company Co., Ltd. ซึง่ มีตราสินค้าคือ Tipco โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาด ร้อยละ 20 อันดับ ที่ 2 คือ EAC Europe & Asia Commercial Co., Ltd.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
54
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ภายใต้ตราสินค้า Asia โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาด ที่ร้อยละ 14 และมี Green Circle Co., Ltd. ภายใต้ ตราสินค้า Veve และ Malee Sampran Co., Ltd. ภายใต้ตราสินค้า Malee มีส่วนแบ่งทางการตลาด ร้อยละ 9 ตลาดส่วนนีเ้ ป็นตลาดทีม่ มี ลู ค่าทางการตลาด สูงสุดในกลุ่มเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ 4. กาแฟและชาพร้อมดื่มมีกลุ่มบริษัท Unilever เป็นผู้มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงที่สุด ภายใต้ตราสินค้า Lipton ส่วนตราสินค้ายี่ห้อ Sunflower มีส่วนแบ่ง ทางการตลาดเป็นอันดับ 2 ร้อยละ 29 และ Oishi ของ บริษัท Thai Beverage PCL เป็นอันดับ 3 มีส่วนแบ่ง ทางการตลาดร้อยละ 14 5. เครื่องดื่มเพื่อกีฬาและให้พลังงาน ตราสินค้า Shark และ Red Bull เป็นสินค้าที่มีส่วนแบ่งทาง การตลาดสูงทีส่ ดุ โดย Shark ของ Osotspa Co., Ltd. มีสว่ นแบ่งทางการตลาดร้อยละ 27 ส่วน Red Bull ของ Red Bull GmbH Co., Ltd. มีส่วนแบ่งทางการตลาด ร้อยละ 22 และมี Carabao Dang จาก Carabao Tawandang Co., Ltd. มี ส ่ ว นแบ่ ง ทางการตลาด ร้อยละ 13 จึงเห็นได้วา่ เครือ่ งดืม่ ในกลุม่ นีเ้ ป็นเครือ่ งดืม่ ที่ได้รับความนิยมสูงมากจากประเทศไทย ซึ่งแสดงดัง ภาพที่ 1 และภาพที่ 2 ตามล�ำดับ
ภาพที่ 1 ส่วนแบ่งทางการตลาดเครื่องดื่มที่ปราศจาก แอลกอฮอล์ ปี 2556 ในเมียนมาร์ ที่มา: Euro Monitor International (2014)
ภาพที่ 2 ยอดการขายปี 2556 เครื่องดื่มปราศจาก แอลกอฮอล์ในเมียนมาร์ หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่มา: Euro Monitor International (2014) จากการศึกษากลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้รับ ความนิยมสูงสุดคือ เบียร์ คิดเป็นร้อยละ 92 ของตลาด ทั้ ง หมด อั น ดั บ ที่ ส องคื อ เหล้ า คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 8 ส่วนเครื่องดื่มแบบพรีมิกส์พร้อมดื่ม และไวน์ มีปริมาณ การบริโภคน้อยมากไม่ถึงร้อยละ 1 โดยมีส่วนแบ่งทาง การตลาดในแต่ละประเภทดังนี้ 1. เบียร์ ส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุดคือ Myanmar Beer ของ Myanmar Co., Ltd. มีสว่ นแบ่งทางการตลาด สูงสุดที่ร้อยละ 64 รองลงมาคือ Tiger ของ Heineken NV Co., Ltd. มีสว่ นแบ่งทางการตลาดร้อยละ 18 และ มีตราสินค้า Dargon, Mandala และ ABC Stout มีส่วนแบ่งทางการตลาด ร้อยละ 3 และ 2 ตามล�ำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตภายในประเทศเมียนมาร์ 2. เครื่องดืม่ แบบพรีมกิ ซ์พร้อมดืม่ พบผูม้ ีสว่ นแบ่ง ทางการตลาดรายใหญ่เพียงเจ้าเดียวคือ Siam Winery Trading Plus Co., Ltd. โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาด ร้อยละ 80 3. สุรา พบว่าตราสินค้า Grand Royal ของบริษทั IBTC Group มีสว่ นแบ่งทางการตลาดสูงสุดทีร่ อ้ ยละ 27 รองลงมาคือ Mandalay Rum ของ Victory Myanmar Group Co., Ltd. ส่วนแบ่งทางการตลาดที่ร้อยละ 10
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
และ Myanmar ของ Peace Myanmar Group Co., Ltd. มีส่วนแบ่งตลาดที่ร้อยละ 7 4. ไวน์ ตราสินค้า Aythaya ของ Myanmar 1st Vineyaed Co., Ltd. ส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ 18 และไวน์ Red Mountain Estate ของ Red Mountain Estate Vineyards and Winery Co., Ltd. มีสว่ นแบ่ง ทางการตลาดที่ใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 17 และไวน์ Meriot ของ Casella Wines Pty Co., Ltd. มีสว่ นแบ่ง ทางการตลาดร้อยละ 5 ตามล�ำดับ
ภาพที่ 3 ส่วนแบ่งทางการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในเมียนมาร์ ปี 2556 ที่มา: Euro Monitor International (2014)
ภาพที่ 4 ยอดการขายปี 2556 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในเมียนมาร์ หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่มา: Euro Monitor International (2014)
55
วิธีการวิจัย
ทีมผูว้ จิ ยั ได้ทำ� การส�ำรวจพฤติกรรมการบริโภคและ การซื้อสินค้ากลุ่มเครื่องดื่มส�ำเร็จรูปในครั้งนี้จากผู้ตอบ แบบสอบถามชาวเมียนมาร์ จ�ำนวน 300 คน โดยมี เกณฑ์การคัดเลือกผลิตภัณฑ์เพือ่ เป็นตัวแทนการส�ำรวจ ประกอบด้วย 1. เป็นสินค้าทีผ่ ปู้ ระกอบการไทยมีศกั ยภาพในการ ผลิต ในด้านวัตถุดบิ เครือ่ งจักร Knowhow หรือความรู้ ในการผลิตและพัฒนา 2. เป็นสินค้าทีม่ มี ลู ค่าตลาดในประเทศเป็นเป้าหมาย สูงหรือมีแนวโน้มการผลิตสูง 3. เป็นสินค้าประเทศเป้าหมายยังไม่สามารถผลิตได้ แต่มีมูลค่าการน�ำเข้าสูง 4. เป็นสินค้าทีอ่ ยูใ่ นกระแสความต้องการ (Trend) มีช่องทางทางการตลาด 5. เป็นสินค้าที่ผู้ประกอบการ SMEs มีโอกาสการ แข่งขันสูง โดยไม่ผูกขาดกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ในการจัดแบ่งพฤติกรรมการเลือกสินค้าของผูบ้ ริโภค ชาวเมียนมาร์นนั้ ทีมผูว้ จิ ยั ได้จดั แบ่งออกเป็น 3 กลุม่ คือ 1. กลุ่มที่มีก�ำลังซื้อต�่ำ คือกลุ่มผู้บริโภคที่อาศัย ตามชนบท มีพฤติกรรมการเลือกซือ้ สินค้าเฉพาะทีจ่ ำ� เป็น ต่อการด�ำรงชีพ เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง เครื่องดื่ม น�้ำมันพืช โดยมักซื้อตามร้านที่เป็นแบบดั้งเดิม 2. กลุ่มที่มีก�ำลังซื้อปานกลาง คือกลุ่มผู้บริโภคที่มี รายได้ปานกลาง ท�ำงานประจ�ำ โดยซื้อสินค้าคล้ายกับ กลุ่มที่ 1 แต่มีการซื้อในราคาที่สูงขึ้นและร้านค้าที่ซื้อ นอกจากร้านค้าแบบดั้งเดิมแล้วยังมีการซื้อตามร้านค้า กลุ่มสมัยใหม่อีกด้วย 3. กลุม่ ทีม่ กี ำ� ลังซือ้ สูง คือกลุม่ ผูบ้ ริโภคทีเ่ ป็นเจ้าของ กิจการ มีธุรกิจส่วนตัว พนักงานบริษัทหรือเจ้าหน้าที่ ระดับสูง ซึง่ ส่วนมากบริโภคสินค้าทีม่ คี ณ ุ ภาพสูง โดยมัก ซื้อจากร้านค้าสมัยใหม่ แต่กลุ่มอาหารสดนั้นยังคงซื้อ ตามร้านค้าแบบดั้งเดิม การเลือกสุ่มตัว อย่างใช้วิธีการสุ่มตัว อย่างแบบ เจาะจง เพื่อเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคที่สามารถ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
56
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ตัดสินใจซือ้ ทีแ่ ท้จริง และให้มกี ารกระจายตัวอย่างทัว่ ถึง โดยผูต้ อบแบบสอบถามเป็นชาวเมียนมาร์ทมี่ อี ายุระหว่าง 13-65 ปี ทั้งสิ้น 300 คน แบ่งออกเป็น 2 เมือง ได้แก่ เมืองย่างกุ้ง จ�ำนวน 150 คน และมัณฑะเลย์ จ�ำนวน 150 คน การประมวลผลด้วยสถิตเิ ชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) โดยใช้อัตราส่วนร้อยละ (percentage) และ ความถี่ (frequency) โดยเก็บข้อมูลจากสถานที่ดังนี้ หน้าซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต แหล่งชุมชนที่มีผู้อยู่อาศัยหนาแน่น ซึ่งผู้ที่ตอบแบบสอบถามจะต้องเป็นผู้บริโภคและผู้ซื้อ สินค้าให้กับครอบครัว
ผลการวิจัย
ชาวเมียนมาร์นิยมดื่มชาเป็นอย่างมาก เนื่องจากมี วัฒนธรรมการดื่มชา ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากการเป็น เมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ โดยร้านน�้ำชาในประเทศ เมียนมาร์นั้นมีอยู่ทั่วไปตามตลาดสด ย่านที่อยู่อาศัย ร้านข้างทาง สถานศึกษา และสถานที่ราชการ หาง่าย ทัง้ ในเมืองหรือชนบท ซึง่ ชาวเมียนมาร์เรียกร้านน�ำ้ ชาว่า “ละแพะ-เหย่-ส่าย” ซึ่งมักเปิดราว 04.00 น. และปิด ประมาณ 21.00 น. ส่วนใหญ่วตั ถุประสงค์การมานัง่ ทาน ทีร่ า้ นน�ำ้ ชา เพือ่ พบปะพูดคุยเรือ่ งธุระส่วนตัว เจรจาธุรกิจ สนทนาเรือ่ งการบ้านการเมือง ตลอดจนเรือ่ งการเกิด แก่ เจ็บ ตายของคนรู้จัก ซึ่งในปัจจุบันชาวเมียนมาร์มีการ บริโภคเครื่องดื่มที่มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น เช่น น�้ำอัดลม น�้ำผลไม้ กาแฟ ชานมไข่มุก ท�ำให้มีธุรกิจ ร้านกาแฟสมัยใหม่เกิดขึ้นมากมาย ปัจจุบันร้านกาแฟในเมืองใหญ่แบบตะวันตกได้มี เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเมืองย่างกุ้งซึ่งได้รับความนิยม เนื่ อ งจากเป็ น สถานที่ที่วัยรุ่นนิยมมาพบปะสัง สรรค์ คนที่มีอินเทอร์เน็ตที่บ้านก็สามารถมาใช้ที่ร้านกาแฟได้ เครือ่ งดืม่ แอลกอฮอล์ทชี่ าวเมียนมาร์สว่ นใหญ่นยิ ม บริโภคนั้นเป็นเบียร์ยี่ห้อท้องถิ่น “Myanmar Beer” แต่ถ้ายี่ห้อ “Dagon Beer” จะนิยมในจังหวัดอื่นๆ เพราะมีราคาที่ไม่สูงนัก ส่วนไวน์ วิสกี้ ยังเป็นเครื่องดื่ม
ส�ำหรับผู้ที่มีรายได้ค่อนข้างสูง ซึ่งในช่วงเทศกาลทาง ศาสนา เช่น เข้าพรรษา ชาวเมียนมาร์ก็ไม่ดื่มเครื่องดื่ม ประเภทแอลกอฮอล์เช่นเดียวกับชาวไทย เพราะส่วนใหญ่ ชาวเมียนมาร์นับถือศาสนาพุทธและเคร่งครัดต่อการ ปฏิบัติตนตามหลักค�ำสอนพระพุทธศาสนา ส่วนเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์นั้น ชาวเมียนมาร์ มีความสนใจเพิม่ มากขึน้ ตัง้ แต่มกี ารเปิดประเทศ เพราะ มีการน�ำเข้าของเครื่องดื่มประเภทนี้เป็นจ�ำนวนมาก ทั้ ง ในกลุ ่ ม ที่ เ ป็ น น�้ ำ อั ด ลม น�้ ำ ผลไม้ เครื่ อ งดื่ ม ผสม คาร์บอเนต กาแฟ เครื่องดื่มบรรจุกระป๋อง เครื่องดื่ม บ�ำรุงก�ำลัง รวมถึงน�ำ้ แร่ โดยปัจจุบันชาวเมียนมาร์นิยม ซื้อน�้ำดื่มที่บรรจุขวดจากประเทศไทยเพราะเชื่อว่ามี ความสะอาดและได้มาตรฐานกว่าทีผ่ ลิตภายในประเทศ โดยผลจากการพิ จ ารณาผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ ครื่ อ งดื่ ม ส�ำเร็จรูปทีน่ า่ สนใจมีคณ ุ สมบัตติ ามเกณฑ์ดงั กล่าวข้างต้น สามารถสรุปได้ดังนี้ ตารางที่ 1 ผลการคัดเลือกผลิตภัณฑ์เครือ่ งดืม่ ส�ำเร็จรูป เพื่อเป็นตัวแทนสินค้าในการส�ำรวจ เกณฑ์การคัดเลือก 1. ผู้ประกอบการไทย มีศักยภาพ 2. มูลค่าตลาดใน เมียนมาร์ 3. มูลค่าการน�ำเข้าใน เมียนมาร์สูง 4. อยู่ในกระแสความ ต้องการตลาด
เครื่องดื่มส�ำเร็จรูป ชาพร้อมดื่ม น�้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำ� ลัง น�ำ้ ผัก-ผลไม้ 100% เบียร์ สุรา น�้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำ� ลัง น�ำ้ ผลไม้ เครื่องดื่มชูกำ� ลัง น�ำ้ ผลไม้
เบียร์ ชาพร้อมดื่ม เครื่องดื่มชูกำ� ลัง เครื่องดื่มชนิดเข้มข้น 5. ผู้ประกอบการ SMEs เครื่องดื่มชนิดเข้มข้น มีโอกาสการแข่งขัน
ซึง่ ผลการส�ำรวจข้อมูลทัว่ ไปของผูต้ อบแบบสอบถาม ดังแสดงในตารางที่ 2
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
36.0 41.7 2.0 20.3 39.3 18.3 15.3 5.7 13.7 7.7 69.3 4.3 26.3 37.3 37.0 25.7
ที่มา: คณะผู้วิจัย, ส�ำรวจวันที่ 1-20 สิงหาคม 2557
ตารางที่ 3 ร้อยละความถีก่ ารบริโภคเครือ่ งดืม่ ส�ำเร็จรูป ชาวเมียนมาร์ ความถี่การบริโภคเครื่องดื่ม ส�ำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์
น�้ำผลไม้พร้อมดื่ม ชา กาแฟ น�้ำปั่น นมพร้อมดื่ม นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เครื่องดื่ม Low Calories / Sugar Free เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไวน์ เหล้า เบียร์
ไม่เคยบริโภค
67.0 27.0 3.0 3.0
< 1 ครั้ง/เดือน
32.0 35.0 33.0
1-3 ครั้ง/เดือน
80.0 20.0
1-3 ครั้ง/สัปดาห์
เพศ หญิง ชาย อายุ < 30 ปี 31-40 ปี > 41 ปี รายได้ของครอบครัวต่อเดือน (บาท) < 16,000 บาท 16,001-26,000 บาท 26,000-40,000 บาท > 40,001 บาท ระดับการศึกษา ต�่ำกว่าระดับปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี อื่นๆ อาชีพ แม่บ้าน / พ่อบ้าน พนักงานเอกชน เจ้าของธุรกิจ นักเรียน / นักศึกษา รับราชการ อาชีพอิสระอื่นๆ ลักษณะที่พัก บ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนต์ พาหนะที่ใช้เดินทาง เดิน รถยนต์ / รถจักรยานยนต์ส่วนตัว รถประจ�ำทาง / รถรับจ้าง
ร้อยละ
4-6 ครั้ง/สัปดาห์
ข้อมูลทั่วไป
จากตารางที่ 2 พบว่า ผูต้ อบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เพศหญิง ร้อยละ 80 อายุอยูร่ ะหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 35 มีระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 41.7 ส่วนใหญ่มีอาชีพแม่บ้าน/พ่อบ้าน ร้อยละ 39.3 โดยมี รายได้เฉลีย่ ของครอบครัวต่อเดือนน้อยกว่า 16,000 บาท อาศัยอยู่ในบ้านเดี่ยวส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.3 และมักใช้ วิธกี ารเดินทางด้วยการเดิน ร้อยละ 37.3 และใช้พาหนะ ด้วยรถยนต์และรถจักรยานยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 37.0 ทีมผู้วิจัยได้สอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภค เครือ่ งดืม่ ส�ำเร็จรูป ชาวเมียนมาร์ โดยแยกตามประเภท ของเครื่ อ งดื่ ม เป็ น ดั ง นี้ เครื่ อ งดื่ ม น�้ ำ ผลไม้ พ ร้ อ มดื่ ม เครื่องดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มนมพร้อมดื่ม นมเปรี้ยว โยเกิรต์ น�ำ้ ปัน่ เครือ่ งดืม่ Low Calories / Sugar Free และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไวน์ เหล้า เบียร์ โดยมี รายละเอียดแยกตามรายผลิตภัณฑ์ดงั แสดงในตารางที่ 3
ทุกวัน
ตารางที่ 2 ร้อยละข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
57
8.3 8.7 43.3 12.0 2.3 25.3 5.0 6.7 32.0 22.0 7.3 27.0 8.3 3.3 48.7 24.7 4.3 10.7 5.0 0.7 14.6 5.0 9.0 65.7 2.0 0.0 5.3 3.7 3.3 85.7
ที่มา: คณะผู้วิจัย, ส�ำรวจวันที่ 1-20 สิงหาคม 2557
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
58
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
จากตารางที่ 3 พบว่า ผูต้ อบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมความถี่ในการบริโภคเครื่องดื่มส�ำเร็จรูป น�้ำผลไม้พร้อมดื่ม ชา กาแฟ เครื่องดื่มปั่น นมพร้อมดื่ม นมเปรีย้ ว และโยเกิรต์ 1-3 ครัง้ ต่อสัปดาห์ ร้อยละ 43.3, 32.0 และ 48.7 ตามล�ำดับและเครือ่ งดืม่ Low calories / Sugar free เครือ่ งดืม่ แอลกอฮอล์ ไวน์ เหล้า และเบียร์ ผูต้ อบแบบสอบถามไม่เคยบริโภค ร้อยละ 65.7 และ 85.7 ตามล�ำดับ ซึ่งสอดคล้องกับส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (2557) จึงท�ำให้ทมี วิจยั ได้ทำ� การส�ำรวจพฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มชนิดเข้มข้นและ น�้ำผลไม้พร้อมดื่มชาวเมียนมาร์ ดังแสดงในตารางที่ 4 ตารางที่ 4 ร้อยละพฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มน�ำ้ ผลไม้ พร้อมดื่มชาวเมียนมาร์ พฤติกรรมการซื้อ สถานที่ซื้อ บาร์ซา่ / คอมเพล็กซ์ / ช็อปปิง้ เซ็นเตอร์ / มอลล์ ซูเปอร์มาร์ท / มินิมาร์ท / ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของช�ำ ไม่เคยซื้อ จ�ำนวนครั้งในการซื้อ 4-7 ครั้ง / สัปดาห์ 1-3 ครั้ง / สัปดาห์ 1-3 ครั้ง / เดือน < 1 ครั้ง / เดือน ไม่เคยซื้อ ขนาดที่ซื้อ < 250 ml. 251-500 ml. 501-750 ml. > 751 ml. จ�ำนวนคนที่ร่วมรับประทาน ทานคนเดียว 2-5 คน 6-10 คน >10 คน
น�้ำผลไม้ พร้อมดื่ม 19.0 36.0 19.3 25.7 5.3 35.7 31.0 2.3 25.7 34.0 61.0 0.4 4.0 19.7 77.0 3.1 0.0
ที่มา: คณะผู้วิจัย, ส�ำรวจวันที่ 1-20 สิงหาคม 2557
ทีมวิจยั ได้ทำ� การส�ำรวจพฤติกรรมการซือ้ ของผูต้ อบ แบบสอบถามเครื่องดื่มน�้ำผลไม้พร้อมดื่มส่วนใหญ่ซื้อที่ ซูเปอร์มาร์ท / มินมิ าร์ท / ร้านสะดวกซือ้ ร้อยละ 36.0 โดยซื้อเพื่อรับประทาน 2-5 คน ร้อยละ 77 ซึ่งขนาด ส่วนใหญ่ที่ซื้อนั้นมีขนาด 251-500 ml. ร้อยละ 61.0 และมีความถีใ่ นการซือ้ 1-3 ครัง้ ต่อสัปดาห์ ร้อยละ 35.7 ดังนั้นทีมผู้วิจัยจึงวิเคราะห์ถึงข้อมูลทางการตลาดที่ น�ำ้ ผลไม้พร้อมดืม่ มีมลู ค่ายอดขาย 102 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยบริษัทที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงที่สุดคือ Tipco Food Public Co., Ltd. และได้ท�ำการส�ำรวจเชิงลึก สินค้าทีน่ ำ� เข้าจากประเทศไทย โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือก แบบใหม่ โดยการเก็ บ ข้ อ มู ล เพื่ อ สอบถามต� ำ แหน่ ง ของสินค้า คัดเลือกจากสินค้าที่มีศักยภาพสูง มียอด การส่งออกสูงและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นสินค้า ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงในประเทศเมียนมาร์ และ เป็นสินค้าที่มีแนวโน้มความต้องการในตลาดสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์กลุม่ น�ำ้ ผลไม้พร้อมดืม่ รสส้ม ทางทีมผูว้ จิ ยั ได้ คัดเลือกตราสินค้า 3 อันดับแรกคือ ทิปโก้ มาลี และ Cyprina ทีมผู้วิจัยได้ท�ำการเก็บข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถาม ทีเ่ มืองย่างกุง้ จ�ำนวน 100 คน โดยเก็บข้อมูลจากผูต้ อบ แบบสอบถามแบบบังเอิญ ในบริเวณที่มีผู้คนหนาแน่น สัญจรผ่านไปมา เช่น หน้าร้านค้า ในร้านอาหาร ซึง่ เก็บ ข้อมูลในช่วงวันที่ 1-15 พฤศจิกายน 2557 โดยส่วนใหญ่ ผูต้ อบแบบสอบถามเป็นเพศชาย ร้อยละ 62.4 ช่วงอายุ 23-32 ปี ร้อยละ 46.2 มีรายได้มากกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 52.3 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 54.3 ท�ำอาชีพพนักงานบริษัท ร้อยละ 38.3 และพักอาศัยอยูใ่ นคอนโดมิเนียม ร้อยละ 26.0 ซึง่ ผูว้ จิ ยั ได้ท�ำการสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลการรับรู้ในตราสินค้า และต� ำ แหน่ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ น�้ ำ ส้ ม พร้ อ มดื่ ม โดยผู ้ ต อบ แบบสอบถามระลึกถึงตราสินค้าผลิตภัณฑ์นำ�้ ส้มพร้อมดืม่ ทิปโก้เป็นอันดับแรก ซึ่งส่วนใหญ่ซื้อที่ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือซูเปอร์มาร์ท ร้อยละ 58.3 ซึ่งมีความถี่ในการซื้อ เครื่องดื่ม 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 29.8) ซึ่งมักจะ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ซื้อ 1 กล่องต่อครั้ง (ร้อยละ 40.0) และบริโภคคนเดียว (ร้อยละ 30.5) ส่วนใหญ่ผตู้ อบแบบสอบถามมีคา่ ใช้จา่ ย ในการซื้อเครื่องดื่มประเภทน�้ำส้มพร้อมดื่มในเดือน ที่ผ่านมาเป็นจ�ำนวนเงิน 101-300 บาท (ร้อยละ 46.8) โดยมีผลการส�ำรวจเชิงลึกด้านการระลึกถึงตราสินค้า และต�ำแหน่งของผลิตภัณฑ์ ดังแสดงในตารางที่ 5 ตารางที่ 5 ร้อยละ ข้อมูลการรับรู้ในตราสินค้าและ ต�ำแหน่งผลิตภัณฑ์นำ�้ ส้มพร้อมดืม่ ยีห่ อ้ ทิปโก้ มาลี และ Cyprina ข้อมูลการรับรู้ การระลึกถึงตราสินค้า ต�ำแหน่งของผลิตภัณฑ์ a. ราคาถูก b. แบบผลิตภัณฑ์ c. คุณภาพดี d. คุ้มค่า e. รสชาติดี f. สีของน�้ำส้มมีความสวยงาม g. ลักษณะน�้ำส้มที่ดี (Juicy) h. ให้ความสดชื่น
ยี่ห้อน�้ำส้มพร้อมดื่ม ทิปโก้ มาลี Cyprina 50.0 35.6 14.4 37.7 44.4 42.3 38.6 47.3 43.7 41.7 42.0
37.7 31.9 36.6 38.6 31.1 36.6 38.9 34.8
24.6 23.6 21.1 22.9 21.6 19.7 19.4 23.2
ทีม่ า: คณะผูว้ จิ ยั , ส�ำรวจวันที่ 1-15 พฤศจิกายน 2557
สรุปและอภิปรายผล
แนวโน้มการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของชาว เมียนมาร์นนั้ มีพฤติกรรมทีน่ ยิ มบริโภคอาหารทีป่ ลอดภัย ปลอดสารพิษ ในกลุม่ ผูบ้ ริโภคทีม่ รี ายได้คอ่ นข้างปานกลาง ถึงสูง แต่ถา้ ผูท้ มี่ รี ายได้นอ้ ยจะมองว่าเป็นอาหารทีม่ รี าคา ค่อนข้างสูง สิน้ เปลือง หาบริโภคยาก เพราะมีจดั จ�ำหน่าย ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งเท่านั้น เช่น Market Place by City Mart ซึง่ เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตทีช่ าวต่างชาตินยิ ม ไปซือ้ สินค้ารวมถึงชาวเมียนมาร์ทมี่ รี ายได้สงู ส่วนสินค้า ที่น�ำเข้าจากประเทศไทยจะได้รับความนิยมเนื่องจาก เป็นสินค้าที่มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย รวมถึงยังมี
59
รสชาติอร่อย ท�ำให้ผู้บริโภคกลุ่มที่มีรายได้ปานกลาง จึงนิยมซื้อสินค้าที่น�ำเข้าจากประเทศไทย และเหตุผล ของชาวเมียนมาร์ทนี่ ยิ มบริโภคอาหารเพือ่ สุขภาพนัน้ คือ เพือ่ ต้องการให้รา่ งกายมีสขุ ภาพดี แข็งแรง และสามารถ ป้องกันตนเองจากการเจ็บป่วยได้ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมซื้อ สินค้าจ�ำพวกอาหารและผักปลอดสารพิษ ขนมปังโฮลวีท วิตามิน และอาหารเสริมต่างๆ จากการวิจัยเบื้องต้นทีมผู้วิจัยได้ท�ำการวิเคราะห์ โอกาสและอุปสรรคในการขยายตลาดเครือ่ งดืม่ ส�ำเร็จรูป ในประเทศเมี ย นมาร์ ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ กรมส่ ง เสริ ม อุตสาหกรรม (มปท.) โดยแบ่งออกตามรายด้านดังนี้ โอกาส 1. เมียนมาร์มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเป็น ประชาธิปไตยและมีนโยบายเปิดประเทศจึงเป็นโอกาส ในการเข้าไปท�ำธุรกิจ 2. สินค้าไทยเป็นทีร่ จู้ กั และได้รบั การยอมรับว่าเป็น สินค้าที่มีคุณภาพและเป็นที่นิยม ดังนั้นไม่ต้องเปลี่ยน ฉลากหรือบรรจุภณ ั ฑ์เพราะอาจท�ำให้ภาพลักษณ์ดเู หมือน ของปลอมซึง่ เป็นสิง่ ทีผ่ ปู้ ระกอบการสะดวกและควบคุม ค่าใช้จ่ายง่าย 3. ผู้บริโภคในเมียนมาร์ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจาก สื่อโทรทัศน์และรายการบันเทิงจากประเทศไทยท�ำให้มี การเลียนแบบการบริโภคสินค้า 4. การค้ า ขายตามแนวชายแดนมี ก ารยอมรั บ สกุลเงินบาท ท�ำให้การค้าขายสะดวก ลดต้นทุน และ ลดความเสี่ยงเรื่องอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา 5. ประเทศไทยมีระดับการพัฒนาประเทศสูงกว่า เมียนมาร์หลายปี การผลิตสินค้าในประเทศไทยจึงมี ประสิทธิภาพและเป็นทีต่ อ้ งการของผูบ้ ริโภคในเมียนมาร์ 6. ประเทศไทยได้ เ ปรี ย บทางยุ ท ธศาสตร์ ด ้ า น เศรษฐกิจของเมียนมาร์เหนือกว่าประเทศอื่น เช่น จีน อินเดีย บังกลาเทศ ซึ่งชาวเมียนมาร์เข้าท�ำงานในฐานะ แรงงานในประเทศไทย ท�ำให้เกิดความคุ้นเคยและ ยอมรับในสินค้าของไทยทั้งในด้านราคาและคุณภาพ 7. มีการแข่งขันจากประเทศตะวันตกอยูใ่ นระดับต�ำ่
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
60
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ทั้งนี้เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง จึงเป็นโอกาส ของไทยในการยึดครองตลาดและมีคู่แข่งน้อย ซึ่งคู่แข่ง ที่สำ� คัญคือ จีนและมาเลเซีย 8. กลุ่มคนชั้นกลางของเมียนมาร์ก�ำลังขยายตัว ซึ่งท�ำให้มีก�ำลังการซื้อที่เพิ่มขึ้น รวมถึงนักท่องเที่ยว นักธุรกิจที่ลงทุนในเมืองเศรษฐกิจใหญ่ เช่น เนปิดอร์ ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเมียวดี 9. ประเทศไทยได้เปรียบด้านการขนส่งจากไทยไป เมียนมาร์ ซึ่งมีต้นทุนขนส่งต�่ำกว่าประเทศอื่นๆ 10. เมียนมาร์เป็นตลาดใหญ่ในการรองรับสินค้าไทย และมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน 11. เมียนมาร์มีค่าจ้างแรงงานต�ำ่ 12. สภาพภูมิประเทศและอากาศของเมียนมาร์ คล้ายไทย ท�ำให้สินค้าไทยสามารถเข้ากับสภาพความ เป็นอยู่ของชาวเมียนมาร์ได้เป็นอย่างดี 13. เมียนมาร์มีประชากรมากเป็นโอกาสส�ำหรับ สินค้าอุปโภคบริโภค อุปสรรค 1. การขนส่งยังใช้ถนนเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่มี สภาพช�ำรุด ท�ำให้ต้องมีการพัฒนาอีกมาก 2. ประเทศเมียนมาร์ยังมีปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อย อยู่บ้างและมีความเป็นชาตินิยมสูง 3. จากการเปิดประเทศท�ำให้มสี นิ ค้าจากประเทศอืน่ เข้ามาแข่งขันกับสินค้าประเทศไทย 4. ปัญหาด้านโครงสร้างปัจจัย 4 เช่น ประปา ไฟฟ้า ยังขาดแคลน และที่ดินในเมียนมาร์มีราคาสูงจึงเป็น อุปสรรคต่อการลงทุน 5. กฎระเบียบต่างๆ เน้นการปกป้องคนในประเทศ นักลงทุนต่างชาติต้องอาศัยคนท้องถิ่นในการลงทุนท�ำ ธุรกิจ 6. ประชากรเมียนมาร์มีจำ� นวนมากแต่กำ� ลังซื้อต�ำ่ 7. ขาดข้ อ มู ล ภาครั ฐ เพื่ อ ประกอบการตั ด สิ น ใจ ในการลงทุน 8. กฎระเบียบทางการค้ามีการเปลี่ยนแปลงบ่อย การปฏิบตั งิ านหน่วยราชการล่าช้าขาดการประสานงาน
ที่ดีระหว่างภายในหน่วยงาน 9. มีมาตรการกีดกันทางการค้า เช่น จ�ำกัดปริมาณ การน�ำเข้าสินค้า เป็นต้น 11. แรงงานส่วนมากเป็นแรงงานภาคเกษตร ยังขาด ทักษะ ท�ำให้ต้องใช้เงินทุนและระยะเวลาในการพัฒนา ฝีมือ ท�ำให้ผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 12. ระบบการเงินการธนาคารยังอยูร่ ะหว่างพัฒนา ให้ ไ ด้ ม าตรฐานสากล ธนาคารพาณิ ช ย์ ยั ง ไม่ พั ฒ นา เท่าที่ควร มีสาขาน้อยและเงินทุนจ�ำกัด รวมทั้งยังไม่มี ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ท างการเงิ น เพื่ อ รองรั บ ธุ ร กรรมระหว่ า ง ประเทศได้ 13. ความรูท้ างด้านเทคโนโลยีทางอาหารและความ ปลอดภัยอาหารยังไม่เพียงพอ
ข้อเสนอแนะ
การท� ำ ธุ ร กิ จ ในประเทศเมี ย นมาร์ จ� ำ เป็ น ต้ อ งมี เครือข่ายและความสัมพันธ์ในระดับชั้น การลงทุนใน ประเทศเมียนมาร์ควรเป็นการลงทุนระยะยาวและต้อง สร้างโอกาสและกระจายรายได้กลับคืนเมียนมาร์ สิ่งที่ ควรพิจารณา ได้แก่ สภาพทางสังคมและทางวัฒนธรรม ของประชาชนในเมืองนัน้ ๆ ว่ามีความร่วมมือหรือส่งเสริม ต่อคนต่างชาติ หรือนักลงทุนต่างชาติอย่างไร นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาเกีย่ วกับต้นทุนทางตรงและทางอ้อมอืน่ ๆ ได้แก่ ค่าแรงงานแฝง ค่าเบีย้ ใบ้รายทาง และภาษีทอ้ งถิน่ อืน่ ๆ อีกทัง้ ยังต้องพิจารณาต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ซึง่ เป็น ปัจจัยส�ำคัญโดยเฉพาะกรณีทบี่ างท้องถิน่ มีระบบผูกขาด ผู้ให้บริการขนส่ง เมื่อพิจารณาสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ พบว่าด้าน สังคมและวัฒนธรรมของเมียนมาร์และสภาพการแข่งขัน ยังถือว่าเป็นโอกาสของสินค้าไทยที่จะท�ำตลาดต่อไป ในอนาคตได้ อย่างไรก็ตามปัจจัยสภาพแวดล้อมด้าน เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และกฎหมาย มีความเป็นไปได้ทจี่ ะ เป็นทัง้ โอกาสและอุปสรรคขึน้ กับเงือ่ นไขอืน่ ๆ ประกอบ เช่น ประเภทของสินค้า รูปแบบการเข้าสูต่ ลาดในประเทศ เมียนมาร์ เป็นต้น
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
61
บรรณานุกรม
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (มปท). การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT Analysis) รายอุตสาหกรรม. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2559, จาก http://www.dip.go.th/Portals/0/AEC/SWOT_Analysis%E0%B8 %82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0% B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0 %B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2.pdf กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2555). เตรียมพร้อม SMEs สู่ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารอุตสาหกรรมสาร, 54(2), 5-23. ประชาชาติธรุ กิจออนไลน์. (2558). ส่องศักยภาพตลาด “CLMVI” โอกาสรุง่ อาหาร-เครือ่ งดืม่ ไทย. สืบค้นเมือ่ 5 มิถนุ ายน 2559, จาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1434115923 ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2557). ส่วนที่ 3 ผลการศึกษาที่น่าสนใจของ SMEs ไทย บทที่ 5 โครงการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศอาเซียน +6 ระยะที่ 2. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2559, จาก http://www.oic.go.th/fileweb/cabinfocenter2/Drawer039/general/dat0000/00000080.pdf ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2558). อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2559, จาก http://www. kasikornbank.com/SME/Documents/KSMEAnalysis/IndustrySolution_FoodsAndBeverages_ 2015.pdf Euro Monitor International. (2014). Markets of the Future in Myanmar. Retrieved June 5, 2016, from http://www.euromonitor.com/markets-of-the-future-in-myanmar/report
Translated Thai References
Department of Industrial Promotion. (2012). Preparing SMEs to AEC (ASEAN Economic Community). Department of Industrial Promotion Journal, 54(2), 5-23. [in Thai] Department of Industrial Promotion. (n.d.). The analysis of strength, weakness, opportunity and threat (SWOT Analysis) in industries. Retrieved March 25, 2016, from http://www.dip.go.th/ Portals/0/AEC/SWOT_Analysis%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B 8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0% B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0 %B8%82%E0%B8%B2.pdf [in Thai] Kasikorn Research Center. (2015). Food and Beverage. Retrieved June 18, 2016, from http://www. kasikornbank.com/SME/Documents/KSMEAnalysis/IndustrySolution_FoodsAndBeverages_ 2015.pdf [in Thai] Office of Small and Medium Enterprises Promotion. (2014). Part 3, the study result of Thai SMEs, Chapter 5 the study of consumer’s behavior in an Asean+6 countries phase 2. Retrieved June 5, 2016, from http://www.oic.go.th/fileweb/cabinfocenter2/drawer039/general/ data0000/00000080.pdf [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
62
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�าเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
PRACHACHAT online (2015). The potential market “CLMVI” and opportunity of Thai food and Beverage. Retrieved June 5, 2016, from http://www.prachachat.net/news_detail.php? newsid=1434115923 [in Thai]
Name and Surname: Pattaranit Sribureeruk Highest Education: M.Sc. Home Economics, Kasetsart University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Consumer Behavior, Food Product Development, Sensory Evaulation Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120 Name and Surname: Sira Nakasiri Highest Education: M.B.A. General Management, Huachiew Chalermprakiet University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Marketing, Food Retail Business, Consumer Behavior Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120 Name and Surname: Puangpetch Nitayanont Highest Education: M.Sc. Food Science and Technology, Kasetsart University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Food Business Management, Food Law, Food Retail Business Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
63
关系网络、国际经验知识与中小企业国际化速度
RELATIONSHIP NETWORK, INTERNATIONAL EXPERIENTIAL KNOWLEDGE AND INTERNATIONALIZATION SPEED OF SMEs 伍又宜1 吕海军2
Peter Y Y Ng1 and Haijun Lu2
1,2正大管理学院中国研究生院 1,2Chinese
Graduate School, Panyapiwat Institute of Management
摘要 中小企业早期和快速国际化现象越来越受到研究者的关注。关系网络是影响中小企业 国际化速度的一个重要因素。论文旨在通过对中国中小企业的实证研究增加对于关系网络与 中小企业国际化速度之间的关系的理解。在文献回顾的基础上,研究者提出了关系网络、国 际经验知识和中小企业国际化速度之间的关系的假设。然后,通过问卷调查收集了317家中国 中小企业的样本数据,利用SPSS统计软件进行实证检验。研究发现,关系网络对中小企业国 际化速度有正向影响,其中关系网络的结构因素对后者的影响更为显著。国际经验知识在关 系网络与国际化速度的关系中起中介作用。 关键词:关系网络,经验知识,国际化速度,中小企业
Abstract
Recently, researchers pay more attention on the early and rapid internationalization of SMEs. Relationship network is viewed as a vital factor influencing the internationalization speed of SMEs. The aim of this research is to enhance understandings of the relationship between relationship network and internationalization speed of SMEs. Based on literature review, hypotheses about relationship network, international experiential knowledge and internationalization speed are put forword. Then, sampled data of 317 Chinese SMEs were collected through questionnaire survey, and the empirical test was carried out by using SPSS. It is found that the relationship network, especially network structure, has a positive impact on the speed of the internationalization of SMEs. The international experiential knowledge plays an intermediary role in the relationship between the relationship network and the speed of internationalization. Keywords: Relationship network, Experiential knowledge, Internationalization speed, SMEs Corresponding Author E-mail: pyyng@beria.com.hk
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
64 引言
20世纪70年代末,以Johanson和Vahlne
来的国际化网络理论开启了一种新的企业理
为代表的北欧学者提出了国际化阶段理论
论研究范式。Johanson & Mattsson (1988),
(Uppsala 模型)。该理论在中小企业国际化
Gulati(1999), Coviello & Munro(1995),
现象研究中具有广泛的影响。该理论认为心
Sepulveda, & Gabrielsson (2013)等学者
理距离是阻碍企业国际化的重要因素,要克
纷纷从理论和实践研究了企业国际化成长过
服心理距离,需要企业逐渐积累与外国市场
程中关系网络存在的价值,并探讨了关系网
相关的经验知识,以帮助其业务活动进入外
络中知识、信息和资源的获取。不过,已有
国市场。而20世纪80年代和90年代以后,一
研究中缺乏专门针对中小企业国际化速度与
些中小企业从成立之初就积极地开展国际化
关系网络和经验知识的关系的研究。
经营,出现了许多国际新创企业
(International new ventures) 和天生全
实证研究增加对于关系网络与中小型企业国
球化企业 (Born globals)。企业国际化过
际化速度之间的关系的理解,例如,关系网
程加速发展,他们更早地开始出口,达到更
络在推动中小企业国际化速度的相关决策中
高的国际化水平和程度也比过去更快。而且
扮演什么角色?其作用机制如何?对于快速
小企业的早期国际化现象在世界各地都存
成长中的大量中国中小企业来说,国际化发
在,并不是发生在某个国家,或具体的某个
展不仅是其适应日益开放的中国市场和日益
行业 (Rialp, Rialp & Knight, 2005)。
全球化的商业环境的最好也是最现实的选
本研究的目的是通过对中国中小企业的
企业早期和快速国际化现象的大量出现
择,也是企业自身发展到一定程度突破资源
对国际化阶段发展理论带来了挑战。为什么
和能力限制的必然方向。本研究针对中国中
没有规模和资源优势的中小企业可以快速积
小企业国际化速度的理论和实证分析为中国
累国际化所需的知识和能力?一些研究聚焦
中小企业发展和构建网络能力,更好地参与
于交通、通讯和计算机技术进步是如何使国
国际化竞争提供了基础,对于中国中小企业
际创业者在国际上快速创建它们的企业
的国际化战略的制定和实施具有理论指导意
(Knight & Cavusgil, 1996; Oviatt &
义。
McDougall, 1999)。一些研究认为小型企业
的国际创业是因其拥有某些有价值的资产,
来国内外在关系网络、国际经验知识和中小
如联盟、网络结构,从而拥有独特的资源能
企业国际化速度之间的关系的研究成果,提
提供可持续的优势 (Oviatt & McDougall,
出这三者关系的假设。然后,通过问卷调查
1994; Oviatt & McDougall,2005)。还有
收集样本数据,利用SPSS统计软件进行实证
一些研究关注企业家的作用,因为企业家的
检验,并分析结果。研究发现,关系网络对
国际工作经验和国际社会关系网络有助于他
中小企业国际化速度有正向促进作用,关系
们发现市场机会和创新需求、产生冒险意识
网络中的结构因素对国际化速度的促进尤其
与超前行动 (Reuber & Fischer,1997)。
显著,关系因素对后者的促进作用不显著。
而网络理论与国际化过程理论相结合发展起
国际经验知识在关系网络与国际化速度的关
本文在文献回顾的基础上,整理了近年
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
65
系中起中介作用。关系网络通过帮助企业获
间发生着各种形式的资源交换。Dyer & Singh
取国际经验知识,从而促使企业加快国际化
(1998), Gulati (1998) 等人在前人研究的
进程。
基础上,秉承资源观研究的传统,把网络带 来的能使企业获得竞争优势的异质性资源定
文献回顾与假设
义为“网络资源”。Chetty & Campbell-Hunt
1. 关系网络与中小企业国际化速度的关系
(2004)的研究揭示,网络是国际化初期与之
大量国际新创企业和天生全球化企业方
后的国际扩展过程中的重要工具与资源。在
面的文献关注了社会网络作为国际化过程的
中小企业国际化快速发展的各个阶段,网络
关键解释因素的重要性。任何企业都只有在
的重要性不可低估。在企业成立之前,它的
一定的社会关系中才能生存。企业与其他企
创立者依靠他们个人的网络获得资产、正统
业如客户、供应商、中介商、竞争者之间形
性、以及对初创企业随后的发展提供支持。
成的商业网络就是企业间的社会关系网络,
当企业打算开始进入国际市场时,网络通过
是企业的社会资本。企业间信息资源的共享
提供主要的人力和组织资源帮助他们克服自
和技术与经验的交流都需要通过企业之间的
身的缺陷。初创阶段之后,企业继续依赖网
网络来实现。Coviello & Munro(1995)发
络来获取无形的资源,如商业知识、战略信
现,企业可以通过与广泛的已建成的国际网
息,和其他有用的资源。在 Zain & Ng
络加强联系而快速国际化。在国际化背景
(2006) 对四家马来西亚企业的多案例实证
下,获得社会网络既是一个促进因素
分析中,其中的一个软件企业Edusoft就是在
(Arenuis, 2005),又是一个调节因素
国际化的后期阶段通过授予澳大利亚2家经销
(Oviatt & McDougall, 2005),也是企业家
商负责公司营销的权利,从而依靠新开发的
无法获得的资源的替代品 (Chetty & Agndal,
网络成员来加速其后续的市场扩张的。
2007)。企业关系网络与各种国际化结果有正
向的关联:通过改善市场知识的获取克服心
鲍升华,李巍 (2008) 认为网络资源的价值
理距离从而加速新创企业国际化的速度
在于它可以帮助企业规避信息不足的风险、
(Arenuis, 2005);通过商业关系学习减轻
快速筛选有价值的市场机会。企业在选择国
外来者劣势和外部人劣势 (Johanson &
际市场时往往选择那些自己已经建立了社会
Vahlne, 2003,2009);促进和提供竞争优势
网络的市场,以充分利用社会网络所提供的
(Gulati, 1998;Uzzi, 1997);改善整个企
信息便利,并通过社会网络来获得更多的市
业绩效 (Johanson & Vahlne, 2003, 2006);
场机会 (Uzzi,1997)。 Zain & Ng (2006)
帮助企业获得国际化各个阶段所需资源
的研究发现,外国市场渗透不仅仅依靠战略
(Chetty & Campbell-Hunt, 2004);鉴别和
决策,还是由通过网络关系创造的机会来促
开发国际创业机会,建立信任 (Benito &
进的。由于软件企业规模小且缺乏资源,对
Welch, 1994;鲍升华,李巍,2008);建立
他们来说很难通过自己的力量扩展其国际运
产品和服务的分销渠道等。
营活动。因此,他们通常在国际化过程中将
经营活动外部化,依赖网络关系来选择市场
网络是资源流动的通道,网络中各节点之
网络帮助企业鉴别国际机会,建立信任。
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
66
和进入模式,接触其他的关系和建立的渠
中心位置的企业更可能获取有用的知识。网
道,获得当地市场知识,获得初始的可信
络密度代表了网络中各节点间连接的紧密程
度,降低成本和风险等。
度。某节点联结两个并不相互联系的节点,
中小企业通过与其他中小企业之间建立网
这种网络是稀疏的。这种网络在产生新信息
络关系,以及与大型跨国公司之间建立网络
方面比密集的网络更好,因为稀疏的网络联
关系可以快速地实现国际化。赵锦春,冯德连
结完全不同的节点而密集的网络通过冗余的
(2009) 指出,在规模经济递增的前提下,
联结联系节点。然而,在推动国际化上,密
天生国际化企业与大型跨国公司通过多层次
集网络的冗余联结更有优势。(Oviatt &
的网络化组织实现联系。由大型跨国公司制
McDorgall, 2005)。
定技术创新的方向,而天生国际化企业利用
自身的国际化视角和快速的国际化进程及时
(Granovetter,1973)。强联结是持久的,包
变换企业发展方向,为大型跨国公司提供技
括情感投资、信任、可靠性、和为了保持联
术支持和科技研发。不过,网络关系的建立
结而磋商的愿望。企业在创业初期通常主要
本身是需要大量的时间和努力的。一旦与其
依靠强联结。弱联结是与客户、供应商、竞
他企业间的网络关系建成后,就很容易获得
争者和其他伙伴的商业联系。因为不需要太
其他企业的信任及知识,并达成高度的承诺
多投资,一个企业的弱联结往往比强联结的
及交互性的关系。因此,如果网络是国际性
数量多。弱联结通常是信息和专有知识的重
的,那么在网络中的企业国际化的速度就会
要来源,提供了通往更多样化的信息的通道
加快。
(Granovetter, 1985)。而且,弱联结的维护
企业的关系网络包括结构维度和关系维
成本较低,意味着较少的投入和更快进入外
度。其中,结构维度中有三个子维度,网络
国市场 (Aldrich, 1999)。关系维度中还要
规模、网络位置和网络密度;关系维度中有
考虑关系的稳定性。一般认为,关系建立得
两个子维度,关系强度和关系稳定性。
越久,越有利于成员间建立相互信任和共有
网络规模主要体现为关系网络中企业的
规范,降低相互的监督成本,减少对机会主
数量。企业网络的规模越大,企业国际创业
义行为的担忧,提高行动的一致性,交流重
速度越快,国家范围增加越快。而且,有了
要的信息或资源,从而促进绩效,当然也包
大规模的网络,从外国获得的企业收入的部
括国际化成果。关系稳定不一定需要很长的
分相对来说也大,企业因而更快地投入国际
时间来交往,但是肯定需要双方的信任和了
化 (Oviatt & McDougall, 2005)。网络位
解,并且有继续长期合作的愿望,从而构成
置是企业与其他企业的市场活动形成的结
双方持久和有效的关系。
果,同时也构成了企业后续发展的机会和某
基于以上分析,本研究提出如下假设:
些约束。Burt (1992) 的结构洞理论提供了
H1:企业关系网络能使企业更快地实现
一个网络位置对企业的影响的分析工具。处
国际化
于结构洞的企业或个人往往在关键性信息的
获得,时机和传播上具有便利性。占据网络
际化速度正相关
关系强度可以划分为强联结和弱联结
H1a:企业关系网络的结构因素与企业国
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
H1b:企业关系网络的关系因素与企业国
际化速度正相关
67
中小企业国际化成长的重要路径 (叶文忠, 岳检,2013)。对国际创业者来说,学习过 程,对于帮助他们克服外来人劣势是非常关
2. 关系网络与国际经验知识的关系
键的。因为外来人劣势很大程度上与企业缺
国际经验知识被定义为企业开展国际化
乏当地市场知识有关 (Lord & Ranft, 2000)
所需的各种知识、技能、信息等资
新创企业大多是资源贫乏的中小企业。这种
源。Eriksson et al. (1997) 将经验区分
企业要国际化发展,比大型成熟的跨国公司
为两种:特定市场经验和运营经验。特定市
更依赖于商业伙伴网络。
场经验与具体市场的条件相关,不易转移到
其他市场去使用,包括外国商业知识和外国
特别是机会知识。企业之间的交易过程帮助
机构知识。商业知识是关于在特定市场上的
某一企业了解伙伴企业,例如伙伴企业可能
和该市场中特定客户的竞争情况知识。机构
拥有的资源是什么,值得信赖吗?这是一种
知识是关于特定国家的政府结构和该国的规
经验学习过程。这一过程导致信任、承诺和
则、条例、规范和价值的知识。运营经验指
共同经历的形成。信任与承诺都是国际化的
的是企业组织和发展国际业务运营的方法,
先决条件 (Johanson & Vahlne,2009)。学
从事国际运营的能力和资源,被称为国际化
习和承诺与鉴别和利用机会密切相关。因为
知识。本文采用这种对经验知识的分类,但
有些信息和知识是只在关系中传播的,关系
为了使概念更清晰,将国际化知识明确为国
网络的各方有获得这些信息和知识的权利。
际化经营知识。因此国际经验知识被划分为
在国际创业活动中,这种知识是发现机会的
国际化经营知识、外国商业知识和外国机构
重要来源。当网络延伸到国家边界以外,发
知识。
现和利用机会就意味着国际化或增加国际投
在驱动创业的因素中,知识是最重要的,
进入或在国际市场扩展需要获得外国市
入 (Schweizer, Vahlne & Johanson, 2010)
场知识和组织学习的重要性已经被很多学者
拥有一个可以获得重要资源的国际联盟网
认识到。不过,关于企业需要在国外运营才
络对于从事国际商务活动越来越重要。小型
能积累起国际化所需知识的观点却正在受到
企业通常广泛地使用外部网络来克服其在知
网络分析的冲击。Johanson & Vahlne
识获取和创造方面的劣势
(2009) 认为经验学习依然是商业网络观的
McDougall,1994; Schweizer, Vahlne &
国际化过程中的基本机制,不过经验学习可
Johanson,2010)。除了有利于鉴别机会,提
以由除了自身经营以外的其他学习方式作为
供商业建议,和帮助协商,网络有时也将网
补充,例如网络。
络中的重要公司的名字和信誉出借给商业交
易活动使用。
国际化关系网络有助于企业的知识获取、
(Oviatt
&
经验学习和机会创造,从而形成独特的竞争
优势,为开展国际创业创造了条件。总体来
的,也因此与其他的网络成员间接相
说,国际化网络机制具有“学习优势”,尤
关。Johanson & Vahlne (2003) 基于商业
其是经验知识(隐性知识) 的学习优势,是
网络的观点,提出关系专用性知识的概念。
关系网络内伙伴的知识基础是相互关联
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
68
这类知识是通过两个伙伴间的相互作用而发
可以说,经验知识是 Johanson & Valhne
展出来的,包括有关每个企业的异质资源和
(1977) 年国际化过程模型的核心。该模型
能力的知识。事实上,关系特征的变化可能
有两个基本假设:尽量将风险水平控制在最
对一般关系知识的发展产生积极的影响
低的情况下实现长期利润;企业由于缺乏解
(Johanson & Vahlne,2009)。
决国际化问题的既有经验或路径,所以倾向
网络一方面是内部成员获取知识的重要
于选择与母国心理距离比较近的国家开展国
来源,另一方面也是保存知识价值的一种方
际经营。公司来自国内市场的经验知识对于
式。Oviatt & McDougall (1994) 认为除了
一个位于心理距离较大的市场来说价值有限
通过商业秘密方式保护,增加知识的不可模
(Johanson & Vahlne,1977)。他们认为缺
仿性和限制使用许可方式外,使用网络治理
乏外国市场知识会阻碍国际扩张。如果企业
结构通常也可以用于限制知识的利用。
遇到某个事件,如一个不请自来的出口订
基于以上分析,本研究提出以下假设:
单,国际化过程会被推动或拉动,否则会一
H2:关系网络与企业国际化经验知识的
直在国内经营。即便进入了国际市场,他们
获取呈正向关系
也会在逐渐积累了外国市场知识后才会进入
到下一个发展阶段。
H2a:关系网络有利于企业获取国际化经
营知识
分揭示了企业的知识经验可以对企业的国际
H2b:关系网络有利于企业获取外国机构
许多国际化理论都从各自研究的角度部
知识
化过程产生积极效应这一事实。企业经验知
识有助于克服企业开始进行海外经营的困
H2c:关系网络有利于企业获取外国商业
知识的
难, 降低经营的不确定性并提高经营绩效 (鲍升华,李巍,2008) Oviatt & McDougall
3. 国际经验知识与企业国际化速度的关系
(1994) 的国际新创企业理论中知识是一种
无论是否采纳网络观,国际经验知识在
独特的资源和成功的国际新创企业的4个必要
企业国际化过程中都扮演重要的角色。在采
和充分条件之一。在Oviatt & McDougall
纳网络观以前,学术界对企业和国际化扩张
(2005) 的国际化速度影响因素模型中知识
的认识是建立在国家市场是一个个有边界的
作为调节因素影响国际创业者感知和利用创
实体的基础上的。根据这个观点,进入一个
业机会的速度。Eriksson et al. (1997)
国家的市场意味着要跨越经济的、制度的、
对经验知识促进国际化的机制进行了探讨。
文化的障碍从而成为一个市场内部人
他们认为企业在母国市场上发展日常活动和
(Johanson & Vahlne,2003)。这些障碍的
结构来管理运营组织,但这样的日常活动和
大小通常通过心理距离
(Johanson &
过程不足以激励其海外经营。只有当企业在
Vahlne,1977) 来衡量。要克服心理距离,
国外经营了,获得成功或者失败,他们的日
企业需要积累足够的经验知识。国际化过程
常活动和管理结构才得以修正,形成适合于
就是经验性知识开发和投入之间相互作用形
海外经营的经验知识。在国际化的早期阶
成的结果 (Johanson & Vahlne,2003)。
段,企业关于国际化的知识积累存量很有
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
69
限。这限制了国际化企业的学习和制约了他
用国际增长机会。”
们在国际市场上采取步骤。外国环境越新,
国际化企业要增长相关知识并将此知识应用
业的国际化速度。Bell et al.(2003) 利用
于外国市场就越困难。外国市场与企业的知
企业采用不同新颖性和复杂性的知识来解
识存量的关系越接近,这些知识运用到国外
释企业国际化速度。传统企业在外国市场
就越适合。这种情况下,国际化速度可以很
运用的技术较为成熟,通常逐渐地国际化
快 (Eriksson et al., 2000)。
(Uppsala 模式)。知识密集型企业使用的是
Eriksson et al. (2000) 进一步研究了
复杂的知识来设计一种新产品,改进一种生
在知识学习和积累基础上公司的国际化过
产方法或实现更为有效的服务配送。例如,
程。他们指出,在国际化过程中变化和多样
计算机辅助设计(CAD)计算机辅助制造
化对于知识的积累是有正面积极作用的。由
(CAM),新的纤维用于服装产业等。这类企业
于经验是通过在不同市场上从事商业活动而
国际化速度比传统企业快,因为他们通常拥
获得的,而市场是不同质的,这意味着企业
有可在多个国家利用的竞争优势。第三种是
通过面对不同的商业条件比在相同的条件下
知识为基础的企业。他们的存在完全依赖于
能学习更多的知识。而且,有效学习的一个
一些新的复杂技术的出现。例如,ICT和生物
前提条件之一是具备重复的潜力。当获得经
技术。企业可以开发技术财产或购买技术。
验和将这些经验知识投入实际运用时,企业
没有这些技术,企业就不存在。知识为基础
能测试、调整、抛弃和调适其经验以满足其
的企业可能以高速国际化。然而,知识密集
国际化需求。其中最重要的是企业的商业活
型企业的国际化步伐可能取决于他们是技术
动在外国市场上的持续时间以及重复。因
创新者还是接受者。前者的国际化速度比后
此,在一个特定时期内基于多样化和重复的
者要快。
经验性知识越多,对国际化速度的影响越大
综合以上分析,本研究提出以下假设:
(Chetty, Johanson & Martín, 2014)。
H3:国际经验知识对国际化速度有正向
促进作用
知识密度也可能影响企业国际化的速
此外,企业所拥有的知识类型也影响企
度。Autio, Sapienza & Almeida (2000)指
H3a:国际化经营知识对国际化速度有正
出知识密度对于国际化的放大/增强效应的两
向促进作用
个原因:“(1) 将创造和利用知识作为优势
来源的企业比更依赖于有形资源的企业更可
促进作用
能开发对于适应新环境以及在新环境中成功
增长的学习技能。(2) 知识,特别是显性知
促进作用
识,是流动资源,为国际扩张提供了有弹性
的平台。知识可以在国际市场以低成本与固
创业、国际化过程、国际化速度的中介作用
定资产相结合,如分销渠道或制造资源;这
被广泛地提及。例如 Eriksson et al.
样,比起仅仅依靠固定资产的企业来说,知
(2000)指出,所有的变化结果都通过国际化
识密集型企业能通过这样的结合更灵活地利
知识起中介作用,所以值得更详细地观察一
H3b:外国机构知识对国际化速度有正向 H3c:外国商业知识对国际化速度有正向 在一些实证研究中,知识作为促进国际
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
70
下这种知识。Johanson & Mattsson(1988)
国际化速度构念的时间和范围维度,且易于
认为,企业的国际化成长就是企业在国际市
操作,因此本研究采取这一方法测量。
场网络中与相关主体建立、发展关系的过
程,不同国家间企业联系越紧密,企业就越
研究成果 (Oviatt & McDougal,2005;
能增加自身的国际化经验和知识,成长速度
盛意,2009;Granovetter,1973),确定了
也就越快。
关系网络的测量方法。各子维度的测量题项
本研究认为,关系网络带来了过去需要
及数目如下:网络规模4个 (企业发展了很
亲自到外国经营才能获得的经验知识,而各
多合作伙伴;企业发展的合作伙伴来自于不
种经验知识对于企业提高国际市场进入和扩
同的文化背景;企业与各种中介机构建立联
张速度来说是必不可少的。因此,提出以下
系以获得服务和信息;企业与各级职能部门
假设:
有良好的关系),网络位置6个 (企业经常占
据合作关系的中心位置;企业经常成为其他
H4:国际化经验知识是关系网络与企业
国际化速度的关系的中介因素
企业的关系网络是自变量。综合已有的
合作伙伴的沟通桥梁;企业能够很顺利地和 合作伙伴沟通;企业相对于同行的竞争力更
研究设计
强;企业所在的行业处于产业链上游;企业
1. 变量与测量
的战略对合作伙伴有很大影响),网络密度3
本研究的被解释变量为企业的国际化速
个 (公司与国际市场业务有关的客户、同
度。在物理学中,速度被定义为距离与所用
行、潜在客户、相关朋友之间联系很密切;
时间之比。如果参照这个定义,那么大部分
公司与国际市场业务有关的共同投资的合伙
已有研究中对速度测量的内容效度就有问题
人、风险投资人、投资开发银行之间联系很
了,因为不少学者将国际化速度定义为从企
密切;公司与国际市场业务有关的企业联合
业开始创立到首次进入国际市场时所花费的
会、本国政府机关、外国政府机关之间联系
时间。Chetty, Johanson, & Martín (2014)
很密切),关系强度6个 (企业经常与合作伙
认为,这种方法一方面只关注了企业创业到
伴交流;企业与合作伙伴有多种形式的非正
国际化开始以前的一段时间,而没有考虑国
式交流;企业与合作伙伴的信息交流是及时
际化开始以后的发展,对速度的定义和测量
的;企业与合作伙伴的信息交流是可靠的;
都基于有限的时间视角;另一方面,只将时
企业能从合作伙伴那里获得企业发展所需的
间作为速度的测量指标忽略了国际化过程的
资源;合作伙伴对企业进入外国市场的帮助
核心方面,例如市场知识和投入,也就是速
很明显),关系稳定性5个 (企业对合作伙伴
度定义中的分子。这种单维度观无法全面掌
比较满意;企业关注合作伙伴的需要,考虑
握国际化速度的复杂性。Zhou (2007) 用企
合作伙伴的利益;企业与合作伙伴之间的关
业在外国市场销售额达到20%的年份减去企业
系是长期的;企业与合作伙伴是互惠的,相
创立的年份来测量国际化速度,这种方法既
互依赖的;企业与合作伙伴会进一步合作)。
考虑了成立到初次进入国际市场的时间,又
考虑了进入国际市场后的扩张速度,兼顾了
Eriksson et al. (1997) 的经 Hadley &
国际经验知识是中介变量。参考基于
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
71
Wilson (2003)发展和修正的量表,本研究
据的信度刚好符合;当系数小于 0.35 时,
设定国际经验知识有三种类型:国际化经营
说明该问卷数据的信度不能接受。本文也采
知识,有5个测量题项 (公司高级管理层拥
用这一衡量标准。企业关系网络量表和国际
有国际经验;公司容易确定外国商业机会;
经验知识量表的信度分析结果分别见表 1,
公司拥有专有知识;公司具备国际市场计划
关系网络与国际经验知识各测量题项的
和实施经验;公司易于针对外国市场调整市
Cronbach's Alpha 系数均大于 0.7,说明量
场营销组合),外国机构知识,4个题项 (公
表信度较高。
司了解外国语言方面的知识;公司了解外国 法律方面的知识;公司了解外国规范方面的
表1 量表信度与效度分析结果
知识;公司了解外国标准方面的知识),外国 影响因素
商业知识5个题项 (公司拥有外国竞争者情 况的知识;公司拥有外国分销渠道的知识;
关系网络的结构因素
0.903
关系网络的关系因素
0.875
关系网络量表总体
0.933
国际化经营知识
0.827
外国机构知识
0.807
外国商业知识
0.880
国际经验知识量表总体
0.937
公司拥有外国商业联系的知识;公司拥有外 国客户需求的知识;公司拥有外国销售开发 的知识)。 2. 数据收集与预测试
本研究采用网络问卷调查方法收集所需
数据,被调查者为已经开展了国际化运营活
Bartlett Cronbach's KMO 值 球形检验 Alpha Sig.
.900
.000
.942
.000
动的中国中小企业的中高层管理人员。在正 式调查前设计了初始问卷,于 2015 年 7
月份初步收集了153份问卷用于预测试分析。
相关文献,并在学术专家和企业高层管理人
网络调查过程中可以通过软件过滤部分无效
员中进行了咨询,并在此基础上进行了问卷
问卷,不过仍然存在电脑无法识别的无效问
的调整和修订。在正式调查前进行小规模测
卷。因此对回收的问卷进行了人工筛选,剔
试本身也是为了提高问卷的合理性,使本调
除了问卷关键数据填答缺漏者,填答数据过
查研究成果更加完善和科学。因此根据一般
于规律的,无法查证的企业或经查证与问卷
经验,本研究设计的量表题项具有较好的内
填写内容不符的,答案前后矛盾的等无效问
容效度。为检验量表的结构效度,进行了
卷 24 份。预测试获得有效问卷 129 份,
KMO (Kaiser-Meyer-Olkin) 样本充分性测
有效回收率 84.3%。
度和巴特莱特球体检验 (Bartlett's Test
本文的调查问卷题项参考了国内外大量
预测试数据主要用于量表信度和效度分
of sphericity),结果如表1。KMO 指标的
析,以确定量表是否合适。根据大量的国内
取值一般在0-1之间。.当 KMO 值在 0.9 以
外文献,学者们普遍认为 Cronbach's Alpha
上时,表明非常适合;0.8-0.9 之间,表示
系数大于等于0.7表示该量表题项的可靠性较
很适合;0.7-0.8 之间,表明适合;0.6-0.7
高;当系数位于 0.35-0.7 之间,表明该数
之间,说明基本上符合;0.5-0.6 之间,表
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
72
明只是刚好达到标准要求;小于 0.5 的所
有值都表示不合格。企业关系网络变量KMO值
卷 382 份。按照前述方法检查回收问卷中
是 0.900,巴特莱特球体检验的x²统计值的
有无问题,剔除其中的无效问卷,剩余有效
显著性概率是 .000,表示变量之间有一定
问卷317份,有效回收率83%。
2015 年10月进行正式问卷调查,回收问
的相关性,能做因子分析。国际经验知识变 量KMO值为 0.942,巴特莱特球体检验的x²
研究发现
统计值的显著性概率是 .000,表示该变量
具有一定的相关性,能做因子分析。
进行检验。首先检验了自变量关系网络与因
接下来,采用主成分分析方法,得到不同
变量企业国际化速度的关系。分别检验结构
题项因子载荷系数。企业关系网络因子载荷
维度和关系维度的变量与因变量国际化速度
均高于要求值 0.5,国际经验知识因子载荷
的关系,再汇总检验企业关系网络与国际化
也均高于要求值 0.5,表示国际经验知识变
速度的关系。检验所用的线性回归方程
量指标选取较好,都可得到保留。
是:Y=cX+e。
本研究采用 SPSS19.0 分析软件对假设
表2 企业关系网络与国际化速度的回归检验结果 假设
H1a
H1b
H1
模型
平方和
df
均方
F
Sig.
回归
85.186
1
85.186
11.249
.026
残差
30422.183
446
68.211
总计
30507.369
447
回归
23.340
1
23.340
.341
.559
残差
30484.029
446
68.350
总计
30507.369
447
回归
58.237
1
58.237
7.853
.035
残差
30449.132
446
68.272
总计
30507.369
447
用回归做检验,假如c显著,则假设成
成立。企业关系网络的关系因素与企业国际
立。一般以 Sig 值<0.05为显著,Sig值
化速度的关系检验结果显示,Sig 值为
<0.01 为非常显著,通常情况下以 0.05 为
0.559>0.05,说明企业关系网络的关系因素
标准。企业关系网络的结构因素与国际化速
对企业国际化速度没有显著影响,原假设1b
度的关系的检验结果如表2所示,Sig 值为
不成立。因为假设1a成立,而假设1b不成
0.026<0.05,因此企业关系网络的结构因素
立,要判断假设1是否成立,需汇总分析假设
对企业国际化速度有显著影响,原假设 1a
1a 和假设1b。结果 (表2) 显示,Sig 值为
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
73
0.035<0.05,因此企业关系网络对企业国际
的回归方程的检验,用下面的方程来表示:
化速度有显著影响。
M=aX+β。假如系数a显著,说明X确实可以预
自变量关系网络与因变量国际化速度之
测M,但仍然没有说明中介效应的存在,还需
间存在正向相关,是中介效应检验的前提条
要继续进行下一步的检验。假如a不显著,那
件。中介效应 (X→M→Y) 的检验在此基础
就需要进行 sobel 检验。中介变量有三个
上还需要检验关系网络与国际经验知识的正
维度:国际化经营知识、外国机构知识与外
向相关关系是否存在,以及国际经验知识与
国商业知识,分别将这三个中介变量作为因
国际化速度的正向相关关系是否存在。
变量进行回归分析,结果见表 3。
先做自变量 (X) 和中介变量 (M) 之间
表3 企业关系网络与国际经验知识的回归检验结果 假设
H2a
H2b
H2c
H2
模型
平方和
df
均方
F
Sig.
回归
206.956
1
206.956
782.994
.000
残差
117.884
446
.264
总计
324.840
447
回归
182.692
1
182.692
427.091
.000
残差
190.781
446
.428
总计
373.473
447
回归
205.095
1
205.095
534.066
.000
残差
171.276
446
.384
总计
376.371
447
回归
198.091
1
198.091
728.675
.000
残差
121.246
446
.272
总计
319.337
447
企业关系网络与国际化经营知识之间的
归检验结果显示,Sig 值为 0.000<0.05,
回归结果显示,Sig 值为 0.000<0.05,说
说明企业关系网络对获取外国商业知识有显
明企业关系网络对获取国际化经营知识有显
著影响,原假设2c成立。因为假设
著影响,原假设2a成立。企业关系网络与外
2a、2b、2c 都成立,假设2肯定也成立。但
国机构知识之间的回归检验结果显示,Sig
为了论证的严谨性,还是进行了汇总分析,
值为 0.000<0.05,说明企业关系网络对获
检验结果见表3。结果显示,Sig 值为 0.000
取外国机构知识有显著影响,原假设 2b 成
<0.05,企业关系网络对企业国际经验知识
立。企业关系网络与外国商业知识之间的回
的获取有显著影响,原假设 2 成立。
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
74
表4 国际经验知识与国际化速度的回归检验结果 假设
H3a
H3b
H3c
H3
模型
平方和
df
均方
F
Sig.
回归
299.386
2
149.693
18.205
.011
残差
30207.983
445
67.883
总计
30507.369
447
回归
97.185
2
48.592
.711
.492
残差
30410.184
445
68.337
总计
30507.369
447
回归
234.572
2
117.286
16.724
.018
残差
30272.797
445
68.029
总计
30507.369
447
回归
226.574
2
113.287
8.665
.039
残差
30280.795
445
68.047
总计
30507.369
447
接下来,需要做中介变量 (M) 与因变量
结果显示,Sig 值为 0.018<0.05。说明外
(Y) 之间的回归方程检验 (M→Y)。采用的回
国商业知识对国际化速度有显著影响,原假
归方程:Y=C’X+bM+E’ 。这个回归方程检验
设 3c 成立。因为假设 3a、3c 成立,假设
的结果要与假设 2 的结果共同分析,假如
3b 不成立。要判断假设 3 是否成立,需汇
a 显著、b 也显著,那么就可以证明中介效
总分析假设 3a、假设3b和假设 3c。回归检
应存在;假如a和b中有一个不显著,另一个
验结果如表4显示,Sig 值为 0.039<0.05。
显不显著不知道,则需要进行 sobel 检
说明b显著,国际经验知识对国际化速度有显
验,sobel 检验显著,那么中介效应存在。
著影响,原假设3成立。
分别检验中介变量的三个维度变量与国
综合上面的回归检验结果,假设1、假设
际化速度之间的关系,检验结果如表4。国际
2、假设3成立,系数a和b都显著,因此存在
化经营知识对国际化速度的关系的回归结果
显著的中介效应,假设4成立。
显示,Sig 值为 0.011<0.05。说明国际化 经营知识对国际化速度有显著影响,原假设
总结与讨论
3a 成立。外国机构知识与国际化速度之间
的关系的回归检验结果显示,Sig 值为
速度的影响进行了经验研究,并验证了关系
0.492>0.05。说明外国机构知识对国际化速
网络通过国际经验知识的中介作用影响中小
度没有显著影响,原假设3b不成立。外国商
企业国际化速度。所有的假设中,除了 H1b,
业知识与国际化速度之间的关系的回归检验
H3b 的检验结果是不显著外,其他各个假设
本文对企业关系网络对中小企业国际化
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
75
的检验结果都是显著的。
关于货物贸易、服务贸易、投资、知识产权
H1b 不显著说明关系网络的关系维度因
保护等国际条约与公约,使得在国际商务领
素 (关系强度和关系稳定性) 对中国中小企
域的行为有了可以共同遵守的国际准则,也
业国际化速度的影响不大。建立强联结关系
使发生商业纠纷时有了处理问题的共同标
也代表着伙伴之间的关系是持久的稳定的。
准。这大大减少了外国机构知识的复杂性。
不过,本研究的验证结果表明中国中小企业
的快速国际化不是由稳定的强联结推动的。
影响模型中主要的自变量与因变量之间的关
这从反面印证了 Granovetter 等学者关于
系,也没有影响中介变量发挥作用。研究发
强联结和弱联结在企业国际化中发挥的作用
现,关系网络对企业国际化速度有正向促进
的观点。强联结维系着群体、组织内部的关
效应,其中,关系网络的结构维度因素 (网
系,弱联结在群体、组织之间建立纽带联
络规模、网络位置和网络密度) 对企业国际
系。社会网络中的行动者之间的弱联结能比
化速度的促进作用很显著 (H1 和H1a假设成
强联结更可能带来多样化的信息
立)。这说明,对中小企业国际化速度快慢起
(Granovetter, 1973)。而这种多样化信息
关键作用的网络因素是网络的规模、企业在
正是企业国际化经验缺乏的有益补充,让企
网络中所处的位置,企业在网络中与其他节
业可以通过不同的渠道获得国际市场的供
点联系的紧密程度。网络规模越大,企业在
需、资金、人员、技术等信息,发现国际经
网络中越处于中心位置、与其他网络中的企
营的机会和弥补自身国际化经营经验不足的
业的联系越紧密,越可能推动企业快速国际
缺陷,克服外部人劣势,从而可以较快地进
化。
入国际市场。从这个意义上说,打算国际化
的企业应该更多地发展弱联结,尤其是与外
进作用的需要结合中介效应来分析。企业规
国企业之间的联系。
模越大,与企业联系的供应商、客户、竞争
H3b 没有通过检验,说明比起国际化经
者、合作者的数量越多,在网络内部流动的
营知识和外国商业知识而言,外国机构知识
各种信息和知识越丰富,企业国际化信息和
并不是影响中国中小企业对外扩张速度的主
知识来源越广泛,越能帮助企业发现国际化
要因素。这可能与当今经济全球化背景下,
的机会;企业在网络中越处于中心位置,其
各国市场同质化程度较高有关。比如,国际
越能掌握一些关键信息和把握国际化的最好
商务活动中英语被广泛应用,已经成为一种
时机;与其他网络节点的联系越紧密,相互
国际商务的通用语言,精不精通各国的语言
信任感越强,越能对企业国际化提供强有力
并不重要。只要会英语,就能找到沟通的方
的支持。实证检验发现,中国中小企业的关
法。许多商业合同都选择英语为合同语言。
系网络与三个国际经验知识的子维度之间的
法律、规范和标准方面虽然各国差异较大,
正向关系都非常显著,说明企业国际化所需
但一方面,进入外国市场的战略决策是受到
的经验知识可以从关系网络中获得和满足。
多种因素的影响的,一般不会因为不了解外
国法律法规而取消;另一方面国际上有大量
中,国际化经营知识和外国商业知识对加快
以上两个假设的检验结果不显著并没有
关系网络对企业国际化速度是如何起促
三种国际经验知识对国际化速度的影响
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
76
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
企业国际化速度的作用明显,而外国机构知
任,鉴别和利用国际创业机会,从而加速国
识的作用不明显。这说明,在企业实施国际
际化过程。而关系网络对中小企业国际化速
化战略的过程中,最需要了解的或是对其国
度的影响可以通过国际经验知识起中介作
际化战略最有意义的是拟进入的外国市场的
用。网络在企业经验知识的获取方面具有
有关产品、消费者、竞争者、产业等的信息
“学习优势”,能帮助他们克服由于缺乏当
和如何在一个多元化的国际环境和市场中开
地市场知识而导致的外来人劣势,是中小企
展经营活动的知识。尽管 H3b 不成立,但
业国际化成长的重要路径。
H3仍然通过了检验,说明国际经验知识是推
动企业国际化速度加快的很重要的因素。由
量相对于中国30多万家中小企业总量来说非
此可知,成为一个关系网络的一部分能帮助
常有限,要从中得出一般性的结论似乎还需
企业克服外部人劣势,获得国际化所需的经
要更多的实证数据。本文部分使用了现有文
验知识,而国际经验知识的获取能促进企业
献提供的代理变量。这些文献一般是以外国
国际化速度的加快,从而,国际经验知识在
企业为研究对象的成果,不一定符合中国企
关系网络与国际化速度之间的关系中起中介
业的情况,因此可能出现研究结论的偏差。
作用,H4成立。
此外,根据已有文献的研究成果,对中小企
综上,企业关系网络的建立和发展有助
业国际化速度的影响因素还有很多,如企业
于加速中小企业国际化的速度,因为网络是
所在地区和行业特征、企业产品的知识特
一种替代性的资源,弥补了中小企业资源缺
征、企业的国际化战略导向、企业家的社会
乏,规模小的劣势,使其可以凭借网络渠道
关系等等。因此,未来的研究需要将这些因
获得国际化各个阶段所需资源,伙伴间的信
素考虑进来。
本研究的局限性主要是由于样本企业数
参考文献 鲍升华,李巍.(2008).基于信息与知识视角的中小企业国际化问题研究. 湖北社会科学, (8), 88-90. 盛意. (2009).中国中小企业国际化关系网络研究 (未出版之博士论文).中南大学商学院. 叶文忠,岳检.(2013). 基于知识学习的集群中中小企业国际化成长研究. 湖南工业大学学报
(社会科学版), 18(4), 31-36. 赵锦春,冯德连.(2009).中小企业国际化制约因素的研究综述与趋势.阜阳师范学院学报(社会
科学版), (6), 100-103.
Aldrich, H. (1999). Organizations evolving. London: Sage Publications. Arenius, P. (2005). The psychic distance postulate revised: From market selection to speed of market penetration. Journal of International Entrepreneurship, (3), 115-131. Autio, E., Sapienza, H. J. & Almeida, J. G. (2000). Effects of age at entry, knowledge intensity, and imitability on international growth. Academy of Management Journal, 43(5), 909-924. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
77
Bell, J., McNaughton, R., Young, S. & Crick, D. (2003). Towards and integrative model of small firm internationalisation. Journal of International Entrepreneurship, (1), 339-362. Benito, G. R. G. & Welch, L. S. (1994). Foreign market servicing: Beyond choice of entry mode. Journal of International Marketing, 2(2), 7-27. Burt, R. S. (1992). Structural holes: The social structure of competition. Cambridge, MA: Harvard University Press. Chetty, S. & Agndal, H. (2007). Social capital and its influence on changes in internationalization mode among small and medium-sized enterprises. Journal of International Marketing, 15(1), 1-29. Chetty, S. & Campbell-Hunt, C. (2004). A strategic approach to internationalization: A traditional versus a “Born-Global” approach. Journal of International Marketing, 12(1), 57–81. Chetty, S., Johanson, M. & Martín, O. M. (2014). Speed of internationalization: Conceptualization, measurement and validation. Journal of World Business, 49, 633–650. Coviello, N. E. & Munro, H. J. (1995). Growing the entrepreneurial firm: Networking for international market development. European Journal of Marketing, 29(7), 4-61. Dyer, J. H. & Singh, H. (1998). The relational view: Cooperative strategy and sources of interorganizational competitive advantage. Academy of Management Review, 23(4), 660-679. Eriksson, K., Johanson, J., Majkgård, A. & Sharma, D. D. (1997). Experiential knowledge and cost in the internationalization process. Journal of International Business Studies, 28(2), 337-360. Eriksson, K., Johanson, J., Majkgård, A. & Sharma, D. D. (2000). Effect of variation on knowledge accumulation in the internationalization process. International Studies of Management & Organization, 30(1), 26-44. Granovetter, M. S. (1973). The strength of weak ties. The American Journal of Sociology, 78(6), 1360-1380. Granovetter, M. S. (1985). Economic action and social structure: The problem of embeddedness. American Journal of Sociology, 91(3), 481–510. Gulati, R. (1998). Alliances and networks. Strategic Management Journal, 19(4), 293–317. Gulati, R. (1999). Network location and learning: The influences of network resources and firm capabilities on alliance formation. Strategie Management Journal, 20, 1172-1193. Hadley, R. D. & Wilson, H. I. M. (2003). The network model of internationalisation and experiential knowledge. International Business Review, 12, 697-717. Johanson, J. & Mattsson, L. G. (1988). Internationalization in industrial system-A network approach. Edited by Hood, N. & Vahlne, J. E. Strategies in Global Competition. London: Croom Helm, 287-314. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
78
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Johanson, J. & Vahlne, J. E. (2003). Business relationship learning and commitment in the internationalization process. Journal of International Entrepreneurship, 1(1), 83-101. Johanson, J. & Vahlne, J. E. (2006). Commitment and opportunity development in the internationalization process: A note on the Uppsala Internationalization Process Model. Management International Review, 46(2), 165-178. Johanson, J. & Vahlne, J-E. (2009). The Uppsala internationalization process model revisited: From liability of foreignness to liability of outsidership. Journal of International Business Studies, 40, 1411-1431. Johanson, J. & Valhne, J. E. (1977). The Internationalization process of the firm – A model of knowledge development and increasing foreign market commitments. Journal of International Business Studies, 8, 23-32. Knight, G. A. & Cavusgil, S. T. (1996). The Born Global Firm: A Challenge to Traditional Internationalization Theory. Advances in International Marketing, 8, 11-26. Lord, M. D. & Ranft, A. L. (2000). Organizational learning about new internatinoal markets: Exploring the internal transfer of local market knowledge. Journal of International Business Studies, 31(4), 573-589. Oviatt, B. M. & McDougall, P. P. (1994). Toward a theory of international new ventures. Journal of International Business Studies, 25(1), 45-64. Oviatt, B. M. & McDougall, P. P. (1999). A framework for understanding accelerated international entrepreneurship. In R. Wright (Ed.), Research in global strategic management. Stamford, CT: JAI Press, 23-40. Oviatt, B. M. & McDougall, P. P. (2005). Defining international entrepreneurship and modeling the speed of internationalization. Entrepreneurship: Theory & Practice, 9, 537-553. Reuber, A. R. & Fischer, E. (1997). The influence of the management team’s international experience on the internationalization behaviors of SMEs. Journal of International Business Studies, 28(4), 807-825. Rialp, A., Rialp, J. & Knight, G. A.. (2005). The phenomenon of early internationalizing firms: what do we know after a decade (1993-2003) of scientific inquiry?. International Business Review, 14, 147-166. Schweizer, R., Vahlne, J. E. & Johanson, J. (2010). Internationalization as an entrepreneurial process. Journal of International Entrepreneurship, 8, 343-370. Sepulveda, F. & Gabrielsson, M. (2013). Network development and firm growth: A resource-based study of B2B Born Globals. Industrial Marketing Management, 42, 792-804. Uzzi, B. (1997). Social structure and competition in interfirm networks: The paradox of embeddedness. Administrative Science Quarterly, 42, 35-67. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
79
Zain, M. & Ng, S. I. (2006). The impacts of network relationships on SMEs’ internationalization process. Thunderbird International Business Review, 48(2), 183–205. Zhou, L. (2007). The effects of entrepreneurial proclivity and foreign market knowledge on early internationalization. Journal of World Business, 42, 281-293.
Translated Chinese References
Bao, S. H. & Li, W. (2008). A study on internationalization issues of SMEs based on information and knowledge perspectives. Hubei Social Science, (8), 88-90. Sheng, Y. (2009). A study on the relationship network for Chinese SMEs’ internationalization (unpublished Ph. D. dissertation). Business School, Central South University. Ye, W. Z. & Yue, J. (2013). Knowledge learning based internationalization of SMEs in clusters. Journal of Hunan Industrial University (Social Science), 18(4), 31-36. Zhao, J. C. & Feng, D. L. (2009). A review and trends on the restriction factors of the internationalization of SMEs. Journal of Fuyang Normal College (Social Science), (6), 100-103.
Name and Surname: Peter Yau Yee Ng (伍又宜) Highest Education: Master of Science in International Real Estate, Hong Kong Polytechnic University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Costing & Project Management and real estate development consultant Address: 3/F, 101 King’s Rd., North Point, Hong Kong Name and Surname: Haijun Lu (吕海军) Highest Education: Ph.D. in Management Science and Engineering at School of Economics and Management, Harbin Engineering University, Harbin City, China University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Strategic Management and Management of Innovation Address: No.3 Shangyuancun, Haidian District, Beijing, P.R. China
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
80
管理者过度自信对企业投资行为的影响研究
THE INFLUENCE OF MANAGER’S OVERCONFIDENCE PERSONALITY ON THE CORPORATE INVESTMENT BEHAVIOR 阎强1 吕海军2
Qiang Yan1 and Haijun Lu2
1,2正大管理学院中国研究生院 1,2Chinese
Graduate School, Panyapiwat Institute of Management
摘要
以MM理论为基础的传统投资理论,是以一系列理性假说为前提的。然而随着行为财务
理论的兴起和传播,越来越多的研究表明,传统投资理论存在着很大的局限性。因此,本文 在行为财务理论相关研究基础上,构建了一个利用过度自信假设解释企业投资问题的模型, 通过此模型,本文深入分析了管理者过度自信影响企业投资行为的作用机理,并回顾了相关 研究文献,深度探究管理者过度自信与企业投资效率的潜在联系,为以后公司治理提供参考 性建议。 关键词: 管理者过度自信,企业投资行为,模型,公司治理
Abstract
The traditional investment theory based on the MM theory is based on a series of rational hypothesis. However, with the rise and spread of behavioral financial theory, more and more research shows that the traditional investment theory has a lot of limitations. Therefore, based on relevant research of the behavioral finance theory, this paper constructed the potential link between a use overconfidence hypothesis to explain corporate investment model. Through this model, this paper makes a thorough analysis of the management mechanism of overconfidence on corporate investment behavior, and summarizes the relevant research literature. The paper delves deeper the potential linkages between managers overconfidence and corporate investment efficiency, and provides reference suggestions for corporate governance in the future. Keywords: Manager overconfidence, Corporate investment behavior, Model, Corporate governance Corresponding Author E-mail: wacs1998@sina.com
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
81
引言
本文研究的意义在于:第一,传统金融理论研
从宏观层面来看,投资是推动经济发展
究的是管理者理性条件下的投资决策,本文
的三大马车之一,决定一国经济持续健康发
研究放松了传统主流研究理性假设前提,从
展的主要因素,而企业投资关系着国家宏观
管理者非理性视角分析企业投资行为,使研
政策制定以及实施,对国家宏观经济运行起
究更贴近于现实。这不仅丰富和完善了企业
着重要作用;从微观主体来看,企业投资是
投资理论,也有助于真实了解个体决策、心
企业为了实现利益最大化把资源进行配置的
理特征与企业投资之间的内在联系。第二,
过程,决定着企业的竞争力、盈利能力,是
大部分研究得出的结论都是管理者过度自信
企业进行扩大再生产的基础。而关于企业投
会导致企业投资的非效率,然而本文发现,
资行为的研究大都是基于传统金融理论开
过度自信的管理者会强化自己的认知,促使
展,从 Modigliani & Miller (1958) 提出
其增加本来投资较少的项目,这也说明管理
经典的MM理论开始,到随后的代理理论
者过度自信并不完全会对企业带来负面影响
(Jensen & Meckling,1976)、信号理论等
(姜付秀,张敏,陆正飞,陈才东,2009)。
一系列理论的提出,这些理论解释了企业投
因此,本研究有助于更深层次理解管理者过
资行为异化以及其导致的现金流敏感问题,
度自信影响企业投资决策的作用机理。
提高了对金融决策的合理水平。然而传统金
融理论自始至终遵循着企业管理者都是理性
型研究;第三部分是管理者过度自信影响企
的、自私的假说前提,没有考虑经济主体的
业投资的作用机理分析;第四部分是管理者
心理因素对企业投资的影响。为此,近些年
过度自信影响企业投资的经验证据;第五部
关于企业投资理论发展的一个重要方向就是
分是结语。
后文的结构安排如下:第二部分是理论模
放松传统理论中的前提假设,从行为金融理 论角度分析企业投资相关问题。
1. 理论模型
行为金融突破了传统金融理论市场完全
企业管理者是企业经营过程中各种决策
有效的假设,以更能逼真反映资本市场活动
的最终确定人,根据企业特性,企业经营要
的事实解释了许多“异常”现象,吸引更多
在投资、融资、并购等方面进行严谨的决
学者深入研究,并取得了突飞猛进的进展。
策,而这种决策的制定又是对未来不确定因
而近几年,管理者非完全理性对企业投资决
素的评估,这也是为什么会造成管理者过度
策造成的影响日益受到学者们的重视,公司
投资的本质原因。目前,学者们对管理者过
行为金融得到了长足的发展。管理者非理性
度自信的认识是对理性假说的拓展,从管理
特征主要包括过度自信、从众行为、后悔厌
者的非理性视角,学者们从全新的角度诠释
恶等等,而在这些非理性特征中最突出、最
了资本市场中资源配置扭曲现象
稳固、最核心的就是过度自信 (De bondt &
(Heaton,2002)。在梳理文献的过程中,本研
Thaler,1995)。因此,本文以管理者过度自
究发现虽然管理者过度自信对企业投资决策
信为研究视角,从行为金融学的理论出发,
有很大影响,但是相关经验研究并不充足。
检验管理者过度自信对企业投资的影响。
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
82
1.1 模型假设
结论更加的准确、更加严谨。
为了更清晰了解管理者过度自信与企
总之,这些假设的设定,都是为了使
业投资行为的关系,本研究建立一个简单的 模型进行分析。延续前者的主体思路,为了
更好的考察管理者过度自信对企业投资决策
型分析
的影响,避免其他因素的干扰,本文在研究
前重新进行了范围界定,具体做出以下假设:
过于乐观,并决定立刻对此项目进行投资,
(1) 资本市场是有效的。在这种情况
投资收益为f (K),f (K) 是递增且凹函数,
下,证券价格能够完全反映市场中所有信
即f (K)’>0,f(K)’’<0,&为企业管理者
息,其价格就是证券的内在价值反映。企业
过度自信变量,则管理者对所投资项目的预
在有效市场下,不会扭曲企业的内在价值,
期收益为 (1+&) f(K)。但是,企业进行投
但是当管理者对企业的内在价值的评估具有
资时,如果自有资金不能满足企业投资需
多种意见时,这就说明管理者心理状态不同
要,需要依靠外部融资,就会产生融资成
或者认知存在偏差。
本,这部分成本需要从企业投资收益中减去。
(2) 企业管理者分为理性和非理性两
如果企业自有资金为Q,项目投资需要资金为
种类型,其中非理性主要表现为过度投资。
K,且Q<K,那么需要从外部融资 (K-Q),这
过度自信的管理者往往会高估自己的能力,
些资金的成本为C (K-Q,&),且C’>0,
对所得到的信息过度信任,从而做出错误判
C’’>0,外部融资成本是外部融资额和管理
断;过度自信的管理者高估项目的收益,或
者过度自信程度的函数,外部融资成本越高
者低估项目的风险。
代表管理者过度自信程度越高。
(3) 忽略代理问题,假定管理者以股
1.2 管理者过度自信对企业投资影响的模
假设管理者对企业某项目的未来价值
然而,管理者过度自信的表现形式并
东价值最大化为主要目标。因为代理冲突的
不仅仅是高估投资收益,也会低估风险。其
存在,企业的代理人管理者和委托人股东利
实投资收益和风险一起评估投资收益。投资
益不对称,使管理者的目标——股东价值最
收益的比较是对项目未来现金流的现值,而
大化不能够实现。为了更好的观察管理者过
现值的计算需要折现率进行折现,假设市场
度自信对企业投资决策的影响,本文中对委
折现率为m,管理者可能会低估项目风险,对
托代理不予考虑,认为管理者和股东的利益
折现率的评价为g,即m>g。综上,管理者过
一致。
度自信对于其目标函数的影响是高估投资收
(4) 企业管理者拥有企业绝对的决策
益,低估风险。
权。本文考察管理者过度自信对企业投资的
假设,过度自信的管理者的目标函数
影响,如果管理者在企业决策中不能起到决
为:
策作用,即使管理者过度自信程度加深,也
MaxMR= (1+&) f (K) / (1+g)
没有研究必要。因此,本文假设公司约束机
—K—C (K-Q,&) (1)
制对企业管理者并不能有效地约束管理者,
管理者对企业的投资决策具有绝对的话语权。
当企业内部资金不足时,C>0。因为C变量包
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
其中,当企业内部资金充足时,C=0;
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
83
含着的管理者过度自信因素,对目标函数的
另外,对 (2) 继续进行二阶求导:
分析全部要考虑在内。由于资金充足和资金
dK/dQ= (1+g) C11 (K-Q,&)’’/
不足只是成本C的取值为零或非零,具体的分
[(1+g) C11 (K-Q,&)’’- (1+&) f11
析逻辑都是一样的,因此,本研究重点分析
(K)’’]
当企业资金不足,需要考虑成本的情况。
(K-Q,&)’’]/[ (1+g) C 11 (K-Q,
为此,本文从自由现金流和收益风险
dK/d&=[f 1 (K) - (1+g) C 12
两个角度,利用模型推导,检验管理者过度
&)’’- (1+&) f11 (K)’’]
自信对企业投资的影响。从现金流角度考虑
是为了针对融资成本的高低,反映管理者过
管理者做出的投资决策和企业内部资金的敏
度自信程度。对于管理者过度自信造成的收
感度很高,当企业内部资金不能满足项目投
益以及成本偏差,本研究需要分析以下几种
资需要时,过度自信的管理者对外部融资比
情况:
较反感,即使净现值为正的项目,管理者也
其中,dK/dQ>0,表示过度自信的
1. 高估收益
会抵制,从而造成项目投资资金不足,带来
管理者高估企业项目收益时,会
投资不足。
形成自己的投资估计模型:
2. 低估风险
过度自信的管理者会过度相信自
MaxMR= (1+&) f (K) / (1+m)
—K—C (K-Q,&) (2)
己的判断,而其判断又往往会低估项目的风
对 (1) 求导可得一阶条件:
险。低估的风险就是对折现率的高低估计,
f (K)’= (1+C') (1+ m) / (1+
从而使未来现金流的现值评估过高。
&) (3)
数为:
理性的管理者对项目收益的预测
可以定义为&=0,其最大化的目标函数:
MaxMR=f (K0) / (1+m) —K—C
(K0-Q)
这时,过度自信的管理者目标函 MaxMR=f (K) / (1+g) —K—C
(K-Q,&) (4)
其中,g=m (1-&)
f (K0)’=1+m
对 (1) 求导可得一阶条件:
通过模型 (2),可以发现,当外
f (K)’= (1+C') (1+ g)
部融资的边际成本C’<&时,f (K)’< f
理性的管理者对项目收益的预测,
(K0)’,K0是使收益最大化的理想投资。因
其最大化的目标函数:
为f (K)’’>0,则K>K0,表示相比理性的管
理者,过度自信的管理者为了达到同等的收
(K-Q)
益额,其需要投资更多的资金,造成企业过
f (K0)’=1+g
度投资。但是如果外部融资的成本更多,达
当C’=m&/[1+ m (1-&)],f (K)
到边际成本大于管理者过度自信变量时,即
=f (K0),理性投资和过度自信投资的投资水
C’>&,过度自信的管理者又会造成投资不
平是一样的。
足。
MaxMR=f (K0) / (1+g) —K—C
当C’<m&/[1+ m (1-&)],f (K)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
84
<f (K0) <1,企业投资的边际价值小于1,企
下,通过与理性管理者相比,过度自信的管
业将过度投资。
理者会偏向于导致非效率投资。
当C’>m&/[1+ m (1-&) ],(K)
>f (K0),企业投资小于理性投资水平,企业
2. 管理者过度自信影响企业投资行为的理论
将投资不足。
分析
3. 高估收益,同时低估风险
管理者高估企业项目收益时,会
通过把企业资源主要以资金的形式进行投放
企业投资是企业价值增长的主要来源,
形成自己的投资估计模型:
而获取预期收益。管理者进行投资决策使企
业的投资变化,从而实现企业价值的提升。
MaxMR= (1+&) f (K) / (1+g)
—K—C (K-Q,&) (5)
从行为金融角度来看,管理者过度自信在坚
对 (1) 求导可得一阶条件:
信自己控制企业能力的同时,对不确定事件
f (K)’= (1+C') (1+g) / (1+&)
的发生概率也会给予过高的评价。管理者过
理性的管理者对项目收益的预测,
度自信影响企业投资可以通过收益与风险体
其最大化的目标函数:
MaxMR=f (K0) / (1+g) —K—C
(K-Q)
现,也可以通过融资所获现金流体现,两者 研究途径和视角不同,但结果是一样的。
1. 收益和风险 管理者过度自信会影响企业收益和风
f (K0)’=1+g
当C’= (1+2g) &/[1+ m (1-&)],
险的估计。过度自信的管理者在进行投资决
f (K) =f (K0),理性投资和过度自信投资
策时,按照投资准则只选择净现值为正的投
的投资水平是一样的。
资项目。在选择投资项目之前,企业会预测
当C’< (1+2g) &/[1+ m (1-&)],
项目未来的净现金流量,并确定适当的折现
f (K) <f (K0) <1,企业投资的边际价值小
率来计算现值。通过对现值和项目现在内部
于1,企业将过度投资。
价值大小的比较,确定项目的可投性。因
当C’> (1+2g) &/[1+ m (1-&)],
此,只要能够准确预计到所要投资项目的未
(K) >f (K0),企业投资小于理性投资水平,
来净现金流量。然而,在现实资本市场,投
企业将投资不足。
资项目的现金流量并不能简单地得到。例
如,对企业未来收入的测算,可能需要销售
1.3 结论
量、原材料价格等,这些都是未来发生后才
本章节,本研究建立了一个简单模型
能确定,充满了不确定性。因此,通过精确
分析管理者过度自信与企业投资的关系。本
的计算未来现金流量来评价企业项目的可行
研究从收益和风险两个角度来度量管理者过
性似乎是不能够实现。因此,在实际决策过
度自信,管理者过度自信会高估决策项目的
程中,对投资项目的净现值的预测需要企业
收益,也会低估从事项目的风险程度,本研
管理者自身能力以及对各种环境的反映。当
究以此分为三种情况,只考虑风险、只考虑
管理者过度自信时,由于管理者对自身和周
收益和同时考虑风险和收益。在各种情况
围环境认知存在偏差,过高的估计自身对企
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
85
业的控制能力,对未来充满自信,相信项目
否存在充裕的现金流。过度自理者认为企业
未来能够带来更高的收益,而这个收益与实
的价值在股票市场被低估,如果发行股票进
际值存在着偏差。
行融资将负担较高的融资成本,因此,企业
同时,管理者过度自信还会低估所要
更乐意从内部进行融资。如果企业存在着充
投资的项目的风险程度。在资本市场中,风
足的现金流就不会受外部融资的影响,但是
险与收益存在着相反的关系,高风险就会获
当企业内部资金不足时,企业管理者拒绝从
得高收益,低风险就会获得低收益。项目的
外部以高的融资成本进行融资,就不得不放
投资性取决于未来预期的现金流和折现率,
弃一些净现值为正的投资项目。另外,由于
而投资项目的未来的风险程度和折现率存在
当企业风险和投资项目风险相同时,折现率
着紧密的联系,风险程度越高则折现率就越
和资本成本相同。资本成本一般会通过融资
高,投资项目的现值就越小;反之,风险程
成本来度量,如果企业存在足够多的自由现
度越低则折现率越低,投资项目的现值就越
金时,过度自信的管理者会低估企业的融资
大。在以往的测算过程中,项目的风险往往
成本,从而衡量项目现值的折现值也会被低
以企业资本成本计算,当企业为投资项目进
估,项目的净现值被高估,企业更乐意加大
行融资时,如果企业的风险和投资项目风险
企业投资。
相同时,那么企业往往以资本成本作为折现
率;但是当项目的风险高于企业整体风险
角度分析了管理者过度自信是影响企业投资
时,投资项目的现值就会降低,折现率高于
行为的重要因素之一。管理者过度自信的心
资本成本,如果仍旧以资本成本测算投资项
理特征往往过高的估计自身的经营管理能
目的现值,就会产生错误偏差。由于过度自
力,在对投资项目的净现值判断时往往会过
信的管理者任职的偏差,同样会对项目的风
高的估计未来现金流量,从而导致净现值被
险进行错误评估,对自己过分的信任,会对
高估;同时过低的估计投资项目的风险,采
风险和回报产生积极的预测,从而投资项目
用较低的折现率,过高的估计投资项目的净
的净现值被错误的夸大,产生投资扩张动
现值。总体上说,管理者由于过度自信会有
机。
增加企业投资的冲动,从而导致企业投资的
2. 自由现金流
增加。
管理者通过未来现金流和折现率来测
算投资项目的净现值,从而决定企业的投资
通过从风险和收益、自由现金流两个
因此,从两个角度分析了管理者过度
自信与企业投资的关系,具体框架图如1。
水平。但是企业投资的决定还要考虑企业是
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
86
高估收益
低估风险
风险与收益 管理者过度自信
企业投资行为 自由现金流
未来现金流
折现率
图1 管理者过度自信影响企业投资的作用机理图 3. 管理者过度自信影响企业投资行为的经验
同收益,而较少考虑其带来的负面影响,对
证据
未来潜在利益的高估使管理者愿意承担更高
传统的公司财务理论以信息不对称理论
的收购价格,从而导致企业利益从并购公司
和委托代理理论解释了企业投资以及投资异
股东流向被并购公司股东。随后,Heaton
化现象,两者都是从自由现金流角度分析,
(2002) 把管理者过度自信引入到企业投资
但是结果却是相反的。信息不对称理论认为
研究框架再次重新解释了这一问题。与
充裕的现金流可以抑制投资不足,促进企业
Heaton (2002) 思想相一致的是 Baker &
价值的提升;而委托代理理论认为充足的现
Wurgler (2006),他认为管理者的最大化目
金流可能导致委托代理冲突,损害企业价
标是其“感知”的企业最大化价值,同时还
值。两个理论研究虽然存在矛盾,但都表明
考虑“感知”的资本成本,在理性条件下,
了现金流对企业投资行为产生影响,但具体
投资产生的边际价值等于真实资本。但是当
的作用机理仍不清楚。
管理者过度自信时,投资产生的边际价值大
于真实资本,企业产生过度投资倾向。
信息不对称理论和委托代理理论都是基
于管理者理性,并没考虑管理者非理性因
Heaton (2002) 和 Baker & Wurgler
素。Roll (1986) 首次在公司财务理论中考
(2006) 都是分析的委托代理问题不存在情
察了管理者过度自信,提出了经典的“狂妄
况,管理者过度自信会导致非效率投资。然
自大学说”。他认为管理者往往自以为是,
而假设严重偏离了现实,现实中,委托代理
对自身能力过高的估计,从而在进行并购投
以及信息不对称都是普遍存在的,一些学者
资决策时倾向于支付更高价格。主要是因为
开始放松假设,探讨管理者过度自信对企业
过度自信的管理者会高估并购可能带来的协
投资的影响。例如,Ben-David、Graham &
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
87
Harvey (2007) 在研究管理者过度自信与企
企业绩效并未起到积极的作用。过度自信作
业投资时,进行了细分,不仅把管理者过度
为一种心理认知偏差,在项目评估时通常会
自信分为长期过度自信和短期过度自信,企
使管理者高估收入,低估风险和成本费用,
业投资也分为了资本支出和项目投资,其
产生控制幻觉,高估自己掌控局面的能力和
中,主要研究的是长期过度投资和短期过度
经营管理能力,进而采取激进的投资策略,
自信对资本支出的影响。研究结果发现,管
导致企业内部投资规模、投资水平和对外投
理者过度自信中的长期过度自信与资本支出
资频率较高。投资效果最终会反映在公司绩
呈显著正相关,长期过度自信的管理者会发
效上,过度自信下的投资往往是低效率的,
生更多的资本支出,而短期过度自信与资本
这样的投资行为会降低企业绩效,甚至给企
支出并没有显著关系。Goel & Thakor
业带来经营风险。胡国柳,周遂 (2013) 在
(2008) 通过数理模型研究了管理者过度自
区分企业产权性质的基础上,分析了管理者
信与企业投资行为的关系。如果管理者过度
过度自信心理与过度投资行为的关系,检验
自信不显著,则可能会导致投资不足。同时
了会计稳健性对管理者过度自信心理和过度
也发现,管理者过度自信对企业投资的影响
投资行为的治理作用。通过实证检验发现,
并不是单调的,随着过度自信越明显,企业
管理者过度自信心理会对企业过度投资行为
投资不足会逐渐被消除,但是当管理者过度
产生正向影响。由于国有企业在融资渠道上
自信显著时,就会产生过度投资。
比民营企业更具优势,国有企业持有的自由
国外学者在行为金融领域的研究起步早、
现金流规模远高于民营企业,导致了国有企
理论深、考虑比较全面,中国参考国外已有
业管理者的过度自信心理引发的投资过度状
的研究文献,在此基础上进行拓展,并结合
况比民营企业更为严重。
中国的实际情况,形成了符合中国企业实际 发展需要的行为金融理论,并在此基础上进
4. 结语
行大量的实证检验。郝颖、刘星,林朝南
(2005) 以沪、深两市上市公司为研究对象,
定着企业可持续发展能力。本文构建了一个
分析了管理者过度自信对企业投资决策的影
利用过度自信假设解释企业投资问题的模
响。结果发现,在实施股权激励的企业中,
型,用模型推理出过度自信与企业投资存在
有大概四分之一的管理者具有过度自信的行
着显著关系,以此为基础,本文深入探究管
为特征,与适度自信的管理者相比,管理者
理者过度自信影响企业投资的作用机理。同
过度自信自信度对企业投资水平呈正相关,
时,大量学者们的研究也已经说明,管理者
另外由于中国上市公司特殊的治理结构和股
过度自信会对企业投资产生影响,甚至会造
权结构,管理者过度自信会产生过度投资行
成企业投资的扭曲。
为,导致资源配置的非效率。叶玲,王亚星
(2013) 考察了管理者过度自信对企业投资
投资行为的研究得到了初步的结论,但更多
及企业绩效的影响。其预期,管理者过度自
的是带有一种探索性、尝试性,难免出现一
信的企业投资规模更大,但投资规模扩大对
些不足,有待我们进一步的检验和拓展。从
企业投资作为企业重要的经济活动,决
虽然本文有关管理者过度投资影响企业
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
88
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
研究对象来看,现有关于管理者过度自信与
之间的偏差也大相径庭。因此,未来将研究
企业投资的研究几乎都是以整体企业管理者
对象扩大每个企业或行业的企业管理者,探
为研究对象,从总体层面来解说管理者过度
究不同行业管理者过度自信的影响,这样才
自信的影响。然而总体是以一系列个体组
能准确揭示过度自信对企业投资决策影响的
成,总体可以反映个体整个趋势走向,但并
全貌,为符合情况的企业提供有效的监督机
不能保证每个个体都有相似的结果。并且即
制依据。
使当个体和总体具有相同或相似结果,两者 参考文献 郝颖,刘星,林朝南.(2005). 我国上市公司高管人员过度自信与投资决策的实证研究.中国管
理科学,13(5),142-148 胡国柳,周遂. (2013). 会计稳健性、管理者过度自信与企业过度投资.东南大学学报 (哲学
社会科学版),15(2),50-55 姜付秀,张敏,陆正飞,陈有才.(2009). 管理者过度自信、企业扩张与财务困境. 经济研究,(1), 131-143. 叶玲,王亚星. (2013). 管理者过度自信、企业投资与企业绩效——基于我国A股上市公司的 实证检验. 山西财经大学学报,35(1),116-124
Baker, M. & Wurgler, J. (2006). Investor sentiment and cross-section of stock returns. Journal of Finance, 61(4), 1654-1680. Ben-David, I., Graham, J. R. & Harvey, C. R. (2007). Managerial Overconfidence and Corporate Policies. NBER Working Paper. De Bondt, W. F. M. & Thaler, R. H. (1995). Financial decision-making In markets and firms: a behavioral perspective. Hand book of the Economics of Finance. Goel, A. M. & Thakor, A. V. (2008). Overconfidence, CEO Selection, and Corporate Governance. General Information, 63(6), 2737-2784. Heaton, J. B. (2002). Managerial Optimism and Corporate Finance. Financial Management, (31), 33-45. Jensen, M. C. & Meckling, W. H. (1976). Theory of the Firm: Managerial Behavior, Agency Costs and Ownership Structure. Journal of Financial Economics, (3), 305-360. Modigliani, F. & Miller, M. H. (1958). The Cost of Capita, Corporation Finance and the Theory of Investment. The American Economic Review, 48(3), 261-297. Roll, R. (1986). The hubris hypothesis of corporate takeovers. Journal of Business, 59(2), 197-216.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
89
Translated in Chinese
Hao, Y., Liu, X. & Lin, C. N. (2005). An Empirical Research on the General Manager Overconfidence and Investment Decision for the Listed Companies. Chinese Journal of Management Science, 13(5), 142-148. [in Chinese] Hu, G. L. & Zhou, S. (2013). Accounting Conservatism Managers Overconfidence and Excessive investment. Journal of Southeast University (Philosophy and Social Science), 15(2), 50-55. [in Chinese] Jiang, F. X., Zhang, M., Lu, Z. F. & Chen, C. D. (2009). Managerial Overconfidence, Firm Expansion and Financial Distress. Economic Research Journal, (1), 131-143. [in Chinese] Ye, L. & Wang, Y. X. (2013). Managerial Overconfidence, Investment and Enterprise Performance-Empirical Evidence from Chinese A-share Listed Companies. Journal of Shanxi Finance and Economics University, 35(1), 116-124. [in Chinese]
Name and Surname: Qiang Yan (阎强) Highest Education: EMBA, Cheung Kong Graduate School of Business University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Business Administration Address: Level 7, Guangdian shibaida International Mansion, Shuncheng Street, Chengdu, Sichuan Province, P.R. China Name and Surname: Haijun Lu (吕海军) Highest Education: Ph.D. in Management Science and Engineering at School of Economics and Management, Harbin Engineering University, Harbin City, China University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Strategic Management and Management of Innovation Address: No.3 Shangyuancun, Haidian District, Beijing, P.R. China
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
90
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
บทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การด้านพนักงาน ของวิสาหกิจขนาดกลาง THE ROLES OF HR AFFECTING EMPLOYEES EFFECTIVENESS OF MID- SIZED ENTERPRISES ธนายุ ภู่วิทยาธร Tanayu Puwittayathorn คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี Faculty of Management Sciences, Suratthani Rajabhat University
บทคัดย่อ
การวิจยั ครัง้ นี้ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ศึกษาบทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ทสี่ ง่ ผลต่อประสิทธิผลองค์การด้านพนักงาน ของวิสาหกิจขนาดกลาง เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จ�ำนวน 170 คน โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้สถิติแบบความถดถอยเชิงพหุ (Multiple regression Analysis) วิธีการแบบ ล�ำดับชั้น (Stepwise) ผลการวิจัยพบว่า บทบาทด้านการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร และบทบาทด้านการเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การด้านพนักงานวิสาหกิจขนาดกลาง ซึง่ สามารถอธิบายความแปรปรวนประสิทธิผลองค์การ ด้านพนักงานของวิสาหกิจขนาดกลางได้ 58.9% อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส�ำหรับบทบาทด้านการเป็น ที่พึ่งของพนักงาน และบทบาทด้านการเป็นผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงไม่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การด้านพนักงาน ค�ำส�ำคัญ: บทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ ประสิทธิผลองค์การด้านพนักงาน วิสาหกิจขนาดกลาง
Abstract
This research aims to study of the roles of HR affecting employee effectiveness of medium enterprises. The sample group of this study were 170 samples. Data were collected by questionnaires and the reliability at 0.97 and were analyzed using multiple regression analysis and stepwise. The study results found that: administrative expert and strategic partner affected employee effectiveness of medium enterprises. Which could explain employee’s effectiveness 58.9% percent of employee effectiveness variance at statistically significant level of 0.05. Employee champion and change agent did not affect employee effectiveness. Keywords: The roles of HR, Employee effectiveness, Mid-Sized Enterprise Corresponding Author E-mail: tanayu136@gmail.com
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
บทน�ำ
ธุรกิจ SMEs หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นับได้วา่ มีความส�ำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ในหลายๆ ด้าน เป็นแหล่งการจ้างงานขนาดใหญ่ของ ประเทศ เนือ่ งจากครอบคลุมเกือบทุกภาคอุตสาหกรรม จ�ำนวนกิจการกว่าร้อยละ 90 ของธุรกิจในประเทศไทย (เดโช ธนโชคจินดา, 2550) ประกอบกับยุทธศักดิ์ สุภสร (2557) ได้กล่าวถึงความส�ำคัญของ SMEs ที่มีจ�ำนวน 2.89 ล้านรายทั่วประเทศ มีการจ้างงาน 9.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 78.2 ของการจ้างงานรวมทัง้ ประเทศ และ สร้างมูลค่าเพิม่ ให้แก่ประเทศไม่นอ้ ยกว่า 3.4 ล้านล้านบาท จากตัวเลขดังกล่าวท�ำให้เห็นว่า วิสาหกิจมีความส�ำคัญ ต่อเศรษฐกิจประเทศไทยเป็นอย่างมาก จัดว่ามีบทบาท ส�ำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยในภาวะปัจจุบัน ปัญหาของวิสาหกิจ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เช่น ปัญหาการขาดองค์ความรู้ หรือรูปแบบการจัดการ ให้เหมาะสมกับองค์การ ปัญหาด้านการขาดบุคลากร ในด้านงานบุคคลทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ปัญหาโครงสร้างองค์การ ไม่เป็นระบบ ปัญหาการวางแผนอัตราก�ำลัง และการ สรรหาและคัดเลือกพนักงานใหม่ ปัญหาด้านการพัฒนา บุคลากรทีเ่ ป็นระบบ เป็นต้น สอดคล้องกับอารี เพ็ชรรัตน์ (2553) ปัญหาด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของ วิสาหกิจในจังหวัดสุราษฎร์ธานีก็ได้รับผลกระทบด้าน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในด้านจ�ำนวนบุคลากร ไม่เพียงพอกับปริมาณงาน ขาดบุคลากรทีม่ คี วามสามารถ ขาดการพั ฒ นาบุ ค ลากร (ภั ท รา นาคน้ อ ย, 2551) แต่อย่างไรก็ตาม การบริหารทรัพยากรมนุษย์มคี วามส�ำคัญ ต่อความส�ำเร็จขององค์การ โดยหน้าที่ของการปฏิบัติ งานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ ซึ่งเป็น บทบาทของหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบด้านทรัพยากรมนุษย์ คือ นักทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งบทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ จะเปลีย่ นจากบทบาทผูเ้ ชีย่ วชาญด้านบริหารในปัจจุบนั เป็นบทบาทการเป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ บทบาทด้าน การเป็นผูน้ ำ� การเปลีย่ นแปลง และบทบาทด้านการเป็น ที่พึ่งของพนักงานมากขึ้น (กนกวรรณ ด�ำดัด, 2549;
91
Ulrich, 1997) ถ้าหากองค์การสามารถพัฒนาบทบาท หน้าที่ของ HR ให้สามารถปรับเปลี่ยน พัฒนาตนเอง และระบบงาน อีกทั้งต้องท�ำหน้าที่สนับสนุนช่วยเหลือ ฝ่ายบริหาร พนักงาน ซึ่งบทบาทที่กล่าวมาข้างต้นย่อม ส่งผลต่อความส�ำเร็จขององค์การ (วีระวัฒน์ ปันนิตามัย, 2549) ประกอบกับ Guest & Conway (2011) ที่ได้ กล่าวถึงผลลัพธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีความ สัมพันธ์กับตัวชี้วัดทางด้านความส�ำเร็จขององค์การ โดยที่เครื่องมือหนึ่งที่ใช้วัดความส�ำเร็จขององค์การ คือ การวัดประสิทธิผลองค์การด้านพนักงาน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ สังเคราะห์ประสิทธิผลองค์การด้านพนักงานจากงานวิจยั ของจิรประภา อัครบวช (2550) ซึ่งได้พัฒนาแนวทาง การวัดในงานทรัพยากรมนุษย์ที่องค์การได้ใช้เพื่อวัด การปฏิบตั งิ านด้านทรัพยากรมนุษย์ โดยน�ำตามแนวคิด ของ HR Bridge HR Scorecard และ Balanced Scorecard มาดัดแปลง ประกอบการศึกษางานวิจยั ของ สมศักดิ์ สวัสดี (2557) ทีไ่ ด้ศกึ ษาประสิทธิผลขององค์การ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึง่ ผูว้ จิ ยั ได้สงั เคราะห์ แนวคิดที่เกี่ยวข้องข้างต้น สามารถสรุปประสิทธิผล ด้านพนักงาน คือ ระดับความสามารถขององค์การของ การบรรลุเป้าหมาย หรือความส�ำเร็จที่ได้ก�ำหนดไว้ ประกอบด้วยความมั่นคงในการท�ำงานของพนักงาน ความรู้ของพนักงาน และความพึงพอใจของพนักงาน ด้านค่าตอบแทน จากความพยายามในการปรับเปลี่ยน บทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ จึงเป็นทีน่ า่ สนใจว่า บทบาท นักทรัพยากรมนุษย์ บทบาทใดทีจ่ ะส่งผลต่อประสิทธิผล องค์การด้านพนักงานของวิสาหกิจขนาดกลาง
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาบทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลองค์การด้านพนักงานของวิสาหกิจขนาดกลาง
แนวคิดบทบาทนักทรัพยากรมนุษย์
จากการทบทวนวรรณกรรมผู ้ วิ จั ย สามารถสรุ ป บทบาทของนักทรัพยากรมนุษย์ของ Ulrich (1997)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
92
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
4 ด้าน คือ บทบาทด้านการเป็นหุน้ ส่วนธุรกิจ (Strategic Partner) บทบาทด้านการเป็นผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) บทบาทด้านการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน การบริหาร (Administrative Expert) และบทบาทด้าน การเป็นที่พึ่งของพนักงาน (Employee Champion) ซึ่งผู้วิจัยได้สรุปความหมายของบทบาทมีดังต่อไปนี้ 1. บทบาทด้านการเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ (Strategic Partner) หมายถึง เป็นผูท้ มี่ คี วามเข้าใจการเปลีย่ นแปลง สภาพแวดล้อมทางธุรกิจทีส่ ง่ ผลกระทบต่อองค์การ อีกทัง้ มีความรู้ เข้าใจกลยุทธ์องค์การ และร่วมคิด วางแผน และ ช่วยเหลือในการก�ำหนดกลยุทธ์องค์การร่วมกับผูบ้ ริหาร แต่ละระดับ จนสามารถเชื่อมโยง น�ำเสนอ และสร้าง ขัน้ ตอนการปฏิบตั ขิ องกลยุทธ์ดา้ นการบริหารทรัพยากร มนุษย์ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์การ 2. บทบาทด้ า นการเป็ น ผู ้ น� ำ การเปลี่ ย นแปลง (Change Agent) หมายถึง เป็นผูต้ ดิ ตามความเคลือ่ นไหว ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์การ คิดริเริ่ม และ ผลักดันให้เกิดการเปลีย่ นแปลงภายในองค์การ โดยการ สือ่ สารความจ�ำเป็นของการเปลีย่ นแปลง อีกทัง้ โน้มน้าวใจ ผู้บริหาร พนักงาน ให้ยอมรับแนวทางการปฏิบัติด้าน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการปรับโครงสร้าง องค์กร ฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องและ เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงขององค์การ 3. บทบาทด้านการเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการบริหาร (Administrative Expert) หมายถึง เป็นผู้ที่สามารถ วางแผน จัดระบบ และให้ค�ำแนะน�ำในการด�ำเนินการ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ อีกทั้งบริหารจัดการ และปรับปรุงกฎ ระเบียบ หรือนโยบายขององค์การให้ ทั น สมั ย และสอดคล้องกับ สถานการณ์ นอกจากนี้ สามารถสร้างระบบและกระบวนการ จัดเตรียมและ บริการ รวมถึงการแจ้งข้อมูลและเอกสารทีเ่ กีย่ วข้องกับ
งานด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ไว้อย่างมีระบบ และมี ประสิทธิภาพ 4. บทบาทด้ า นการเป็ น ที่ พึ่ ง ของพนั ก งาน (Employee Champion) หมายถึง เป็นผู้ที่มีความ สัมพันธ์อันดีและสามารถสร้างความผูกพันต่อองค์การ กับพนักงานทุกระดับ ด้วยการรับฟัง ช่วยเหลือ อ�ำนวย ความสะดวกในการท�ำงาน และแก้ไขปัญหาระหว่าง พนักงาน รวมถึงให้ค�ำแนะน�ำให้บุคลากรปฏิบัติตาม กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างถูกต้อง อีกทัง้ มีสว่ นร่วมในการปรับปรุงประสิทธิภาพการท�ำงาน และพัฒนาคุณภาพชีวิตการท�ำงานของพนักงานได้
วิธีการด�ำเนินการวิจัย
ประชากรที่ศึกษาในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ วิสาหกิจ ขนาดกลางในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จ�ำนวน 304 แห่ง (ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, 2554) ส�ำหรับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักทรัพยากรมนุษย์ ผู้ซึ่ง ปฏิบตั หิ น้าทีด่ า้ นทรัพยากรมนุษย์ของวิสาหกิจในจังหวัด สุราษฎร์ธานี จ�ำนวน 170 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่ม ตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามประเภทธุรกิจ โดยใช้การก�ำหนดขนาด ของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie & Morgan (1970) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบ มาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ซึ่ง ตรวจสอบความเทีย่ งตรงเชิงเนือ้ หา (Content validity) จากผู ้ เ ชี่ ย วชาญด้ า นการบริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ในวิสาหกิจ จ�ำนวน 3 ท่าน มีค่า IOC เท่ากับ 1.00 มีค่าอ�ำนาจจ�ำแนกอยู่ระหว่าง 0.41-0.86 และค่าความ เชื่อมั่น
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
บทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ 1. ด้านการเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ (Strategic Partner) 2. ด้านการเป็นผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) 3. ด้านการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร (Administrative Expert) 4. ด้านการเป็นที่พึ่งของพนักงาน (Employee Champion)
93
ประสิทธิผลองค์การด้านพนักงาน 1. ความมั่นคงในการท�ำงาน 2. ความรู้ของพนักงาน 3. ความพึงพอใจของพนักงานด้าน ค่าตอบแทน
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
ผลการวิจัย
จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีรูปแบบธุรกิจเป็นบริษัทจ�ำกัด ร้อยละ 64.1 และมีระยะเวลาที่เปิดด�ำเนินการ 5 ถึง 10 ปี ร้อยละ 22.9 ส�ำหรับผลการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ 1. บทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทัง้ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ ด้านการเป็นผู้น�ำการ เปลี่ยนแปลง ด้านการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร และด้านการเป็นทีพ่ งึ่ ของพนักงาน โดยรวมอยูใ่ นระดับ มาก (= 3.70) เมือ่ พิจารณารายด้านพบว่า ด้านการเป็น ทีพ่ งึ่ ของพนักงาน (= 3.86) มีคา่ เฉลีย่ มากทีส่ ดุ รองลงมา ด้านการเป็นหุน้ ส่วนธุรกิจ (= 3.70) (Reliability) โดยใช้ เกณฑ์สมั ประสิทธิแ์ อลฟ่าของ Cronbach (Cronbach’s coefficient of alpha) มีคา่ ความเชือ่ มัน่ ของแบบสอบถาม เท่ากับ .97 จากนั้นน�ำแบบสอบถามมาใช้เก็บรวบรวม ข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์แบบ ถดถอยเชิงพหุ (Multiple regression Analysis) และ วิธกี ารแบบล�ำดับชัน้ (Stepwise) ด้านการเป็นผูน้ ำ� การ เปลีย่ นแปลง (= 3.64) และด้านการเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญด้าน การบริหาร (= 3.60) ตามล�ำดับ
2. ประสิทธิผลองค์การด้านพนักงานของวิสาหกิจ ขนาดกลางทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงในการ ท�ำงานของพนักงาน ด้านความรูข้ องพนักงาน และด้าน ความพึงพอใจของพนักงานด้านค่าตอบแทน โดยรวม อยู่ในระดับมาก (= 3.69) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความมั่นคงในการท�ำงานของพนักงาน (= 3.85) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาด้านความรู้ของพนักงาน (= 3.61) และด้านความพึงพอใจของพนักงานด้านค่า ตอบแทน (= 3.61) ตามล�ำดับ 3. บทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ทสี่ ง่ ผลต่อประสิทธิผล ด้านพนักงานของวิสาหกิจ พบว่า บทบาทด้านการเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร และบทบาทด้านการเป็น หุน้ ส่วนธุรกิจ ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การด้านพนักงาน วิสาหกิจขนาดกลาง และสามารถอธิบายความแปรปรวน ประสิทธิผลองค์การด้านพนักงานของวิสาหกิจขนาดกลาง ได้ 58.9% อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ 0.05 ส�ำหรับ บทบาทด้านการเป็นทีพ่ งึ่ ของพนักงาน และบทบาทด้าน การเป็นผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง ไม่ส่งผลต่อประสิทธิผล องค์การด้านพนักงานของวิสาหกิจขนาดกลาง โดยมี รายละเอียดดังตารางที่ 1
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
94
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ตารางที่ 1 บทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การด้านพนักงานของวิสาหกิจขนาดกลาง ตัวแปร ค่าคงที่ บทบาทด้านการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร บทบาทด้านการเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ P-Value = .000 F-Value = 119.55 R2 = .589 *มีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากตารางที่ 1 ผู้วิจัยท�ำการทดสอบ Multicollinearity ปรากฏว่ า ค่ า VIF ของตั ว แปรบทบาท นักทรัพยากรมนุษย์ ทั้ง 2 ตัวแปร มีค่า 2.57 ซึ่งน้อย กว่า 10 แสดงว่าไม่มีปัญหาด้านความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรอิสระด้วยกันสูงเกินไป (Black, 2013) และ สามารถเขียนสมการท�ำนายประสิทธิผลองค์การด้าน พนักงานของวิสาหกิจขนาดกลาง ได้ดังนี้ ประสิทธิผลองค์การด้านพนักงาน = 1.335 + .375* (บทบาทด้านการเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการบริหาร) + .271* (บทบาทด้านการเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ)
สรุปและอภิปรายผล
จากผลการวิจยั บทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ทสี่ ง่ ผล ต่อประสิทธิผลด้านพนักงานของวิสาหกิจ พบว่า บทบาท ด้านการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร และบทบาท ด้านการเป็นหุน้ ส่วนธุรกิจ ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การ ด้านพนักงานวิสาหกิจขนาดกลาง ดังตารางที่ 1 ซึง่ ผูว้ จิ ยั ได้ศึกษาแนวคิดที่มีความสอดคล้อง และศึกษาแนวทาง การน�ำไปใช้ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. บทบาทด้านการเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการบริหาร จากผลการวิจัยบทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ที่ ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การด้านพนักงานในจังหวัด สุราษฎร์ธานี ผลการวิจัยพบว่า บทบาทด้านการเป็น ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการบริหาร ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การ
B 1.335 .375 .271
Beta .477 .335
T 8.561* 5.986* 4.201*
VIF 2.57 2.57
ด้านพนักงาน สอดคล้องกับ Sang Long, Khairuzzaman Wan Ismail & Mohd Amin (2011) บทบาท นักทรัพยากรของวิสาหกิจในประเทศมาเลเซียให้ความ ส�ำคัญกับการเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการบริหาร เช่นเดียวกัน กับบทบาทนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสถานบัน การเงินทีจ่ ดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย (วรรณี พิเชษฐสุภกิจ, 2550) นอกจากนี้ บทบาทด้าน ผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานของวิสาหกิจขนาดใหญ่ ในจั ง หวั ด ขอนแก่ น ที่ เ ป็ น ผู ้ เ ชี่ ย วชาญในระบบงาน กระบวนการ และการด�ำเนินการด้านการบริหารทรัพยากร มนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล (ตรีนวลนุช กองผาพา, 2552) รวมถึงต้องเป็นผู้รู้ลึก และรู้จริง ในงานด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ รวมทัง้ เป็นนักปฏิบตั ิ มืออาชีพ (Lemmergaard, 2009) นอกจากนีเ้ มือ่ พิจารณา ผลการวิจยั รายด้านของบทบาทด้านการเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญ ด้านการบริหารของวิสาหกิจค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ บทบาท นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีส่วนช่วยในการปรับปรุง ประสิทธิภาพในการท�ำงานของพนักงานให้ดขี นึ้ สอดคล้อง กับสัชฌกร ศรีอรัญญ์ (2553) และใกล้เคียงกันกับบทบาท ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจขนาดกลาง ของภาคตะวั น ตกของประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า ธุ ร กิ จ ขนาดกลางส่วนมากจะเน้นปฏิบัติหน้าที่ของนักบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาทักษะและความรู้ของ พนักงาน และคงมีหน้าที่หลักในการด�ำเนินงานด้าน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
การบริหารทรัพยากรมนุษย์เกี่ยวกับบริหารจัดการและ ปรับปรุงกฎ ระเบียบ หรือนโยบายขององค์การให้ทนั สมัย McEvoy & Buller (2013) รวมถึงงานด้านเอกสารที่ เกีย่ วข้องกับงานด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Robbins & Judge, 2015) ซึ่งผู้วิจัยคิดว่าบทบาทด้านการเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารนั้นเป็นบทบาทพื้นฐานที่ จ�ำเป็นอย่างมากส�ำหรับนักทรัพยากรมนุษย์ ที่ต้องเป็น ผูว้ างแผน จัดระบบการด�ำเนินงานด้านบริหารทรัพยากร มนุษย์ในองค์การ 2. บทบาทด้านการเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ จากผลการวิจัยบทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ที่ ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การด้านพนักงานในจังหวัด สุราษฎร์ธานี บทบาทด้านการเป็นหุน้ ส่วนธุรกิจส่งผลต่อ ประสิทธิผลองค์การด้านพนักงานสอดคล้องกับ Gautam (2015) พบว่า บริษัทที่มีการบูรณาการการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ในระดับสูงแตกต่างกัน ท�ำให้ ด้านผลการด�ำเนินงานองค์การในด้านความพึงพอใจของ พนักงานแตกต่างกันกับบริษทั ทีม่ กี ารบูรณาการการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ในระดับต�ำ่ อย่างมีนยั ส�ำคัญ ทางสถิติ ประกอบกับตรีนวลนุช กองผาพา (2552) ได้ สรุปบทบาทด้านการเป็นหุ้นส่วนธุรกิจของนักบริหาร ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ข องวิ ส าหกิ จ ขนาดใหญ่ ใ นจั ง หวั ด ขอนแก่น ทีต่ อ้ งมีสว่ นร่วมก�ำหนดกลยุทธ์ดา้ นทรัพยากร มนุษย์เพื่อให้องค์การเผชิญกับสภาพแวดล้อมภายนอก ที่ท้าทาย และสามารถน�ำพาธุรกิจไปสู่ความส�ำเร็จทาง การแข่งขันได้ และทิศทางบทบาทนักบริหารทรัพยากร มนุษย์ด้านการเป็นหุ้นส่วนธุรกิจบทบาทนี้ นักบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในองค์การ และลักษณะการด�ำเนินงานธุรกิจขององค์การ รวมถึง ความเคลื่อนไหวของคู่แข่ง และความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกตลอดเวลา นักบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ต้องสามารถก�ำหนดกลยุทธ์ และวางแผนตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) และเป้าหมาย (Goal) ขององค์การได้อย่าง ถูกต้อง และทันต่อเหตุการณ์ (เกรย์ เดสเลอร์, 2552)
95
ซึง่ ผูว้ จิ ยั คิดว่า บทบาทด้านการเป็นหุน้ ส่วนธุรกิจนัน้ เป็น บทบาทที่นักทรัพยากรมนุษย์ต้องศึกษาสภาพแวดล้อม ภายนอกองค์การ แล้วน�ำมาปรับเปลี่ยนการด�ำเนินงาน ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การเพือ่ ให้ทนั ต่อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
ข้อเสนอแนะเพื่อการน�ำไปใช้
1. จากผลการวิ จั ย พบว่ า บทบาทด้ า นการเป็ น ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการบริหารส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การ ด้านพนักงานของวิสาหกิจขนาดกลาง ดังนั้นวิสาหกิจ ขนาดกลางต้องส่งเสริมให้นกั ทรัพยากรมนุษย์มสี ว่ นช่วย ในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการท�ำงานของพนักงาน และต้องให้นักทรัพยากรมนุษย์จัดเตรียมเอกสารต่างๆ ของงานทรัพยากรมนุษย์ไว้อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะ ระบบสารสนเทศด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เช่น ระบบงานทะเบียนประวัติ ระบบการวางแผนก�ำลังคน ระบบเงินเดือน ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ระบบ การฝึกอบรบ และการพัฒนาบุคลากร เป็นต้น 2. จากผลการวิจยั พบว่า บทบาทด้านการเป็นหุน้ ส่วน ธุรกิจ ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การด้านพนักงานของ วิสาหกิจขนาดกลาง ดังนัน้ วิสาหกิจขนาดกลางต้องส่งเสริม ให้นักทรัพยากรมนุษย์มีความเข้าใจการเปลี่ยนแปลง ของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร อีกทั้งต้องมีบทบาทในการช่วยเหลือในการวางแผน กลยุทธ์ของวิสาหกิจ รวมถึงต้องมีบทบาทในการน�ำเสนอ แนวทางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ให้กบั วิสาหกิจ เช่น กลยุทธ์การวางแผนสรรหาบุคลากร กลยุทธ์ การวางแผนการคัดเลือกบุคลากร กลยุทธ์การพัฒนา บุคลากร กลยุทธ์การประเมินผลการปฏิบตั งิ าน เป็นต้น ตลอดจนน�ำกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ไปปฏิบตั ิ ได้อย่างมีประสิทธิผล
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารทรัพยากร มนุษย์เชิงกลยุทธ์ของวิสาหกิจขนาดกลาง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
96
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
2. การวิจัยครั้งนี้ ศึกษาเฉพาะวิสาหกิจในจังหวัด สุราษฎร์ธานี ดังนัน้ งานวิจยั ครัง้ ต่อไปควรศึกษาบทบาท นั ก ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ที่ ส ่ ง ผลต่ อ ประสิ ท ธิ ผ ลองค์ ก าร
ด้านพนักงานของวิสาหกิจขนาดกลางในภาคใต้ตอนบน หรือทั้งประเทศ
บรรณานุกรม
กนกวรรณ ด�ำดัด. (2549). บทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ในมุมมองของผู้บริหารระดับสูง และในมุมมองของผู้บริหารหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในบรรษัทข้ามชาติ: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง บริษัทข้ามชาติญี่ปุ่น บริษัทข้ามชาติสหรัฐอเมริกา และบริษัทข้ามชาติสวิตเซอร์แลนด์. ภาคนิพนธ์โครงการ บัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. เกรย์ เดสเลอร์. (2552). กรอบความคิดส�ำหรับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ แปลโดยช�ำนาญ ปิยวนิชวงษ์ และคณะ. กุรงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น. จิรประภา อัครบวร. (2550). การศึกษาการจัดท�ำตัวชี้วัดในงานทรัพยากรมนุษย์ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการงานบุคคล สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย. เดโช ธนโชคจินดา. (2550). ปัจจัยความส�ำเร็จในการด�ำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมในโครงการสร้าง ผูป้ ระกอบการใหม่. วิทยานิพนธ์วทิ ยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาความสามารถทางการแข่งขัน เชิงอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. ตรีนวลนุช กองผาพา. (2552). บทบาทการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ ศึกษากรณีวิสาหกิจขนาดใหญ่ในจังหวัด ขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ภัทรา นาคน้อย. (2551). การใช้งบการเงินเพื่อการบริหารของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ในกลุ่มอุตสาหกรรมของจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. ยุทธศักดิ์ สุภสร. (2557). ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร เพื่อ SMEs ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2557, จาก http:// www.mbamagazine.net/index.php/entrepreneur/357-smes วรรณี พิเชษฐสุภกิจ. (2550). บทบาทนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสถานบันการเงินทีจ่ ดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในประเทศไทย. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ, 3(6), 51-59. วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2549). การพัฒนาโมเดลสมรรถนะเพือ่ การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์. วารสารการจัดการ ภาครัฐและภาคเอกชน, 13(1), 1-13. สมศักดิ์ สวัสดี. (2557). รูปแบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์สง่ ผลต่อประสิทธิผลขององค์การวิสาหกิจขนาดกลาง และ ขนาดย่อม. ดุษฎีนพิ นธ์ปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาวิชาการพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. สัชฌกร ศรีอรัญญ์. (2553). บทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามการรับรู้ของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ จ�ำกัด (มหาชน): กรณีศึกษาพนักงานไทยพาณิชย์ (มหาชน) ส�ำนักงานใหญ่. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
97
ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2554). ข้อมูลทั่วไปแจกแจงตามรูปแบบกิจกรรม ทางเศรษฐกิจและรูปแบบของการประกอบกิจการรายจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2557, จาก http://119.63.93.73/smephase3/ReportViewer.aspx?Filename=Report2 อารี เพ็ชรรัตน์. (2553). ระบบงาน HR ใน SMEs ผ่านมุมมองของที่ปรึกษา. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2557, จาก http.//www.aree-associates.com Black, K. (2013). Business Statistics, Binder Ready Version: For Contemporary Decision Making (7th ed.). New York: John Wiley & Sons. Gautam, D. K. (2015). Strategic integration of HRM for organizational performance: Nepalese reality. South Asian Journal of Global Business Research, 4(1), 110-128. Guest, D. & Conway, N. (2011). The impact of HR practices, HR effectiveness and a ‘strong HR system’ on organisational outcomes: a stakeholder perspective. International Journal of Human Resource Management, 22(8), 1686-1702. Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610. Lemmergaard, J. (2009). From administrative expert to Strategic parner. Employee Relations, 31(2), 182-96. McEvoy, G. M. & Buller, P. F. (2013). Human resource Management practices in Mid-Sized enterprises, American Journal of Business, 28(1), 86-105. Robbins, S. P. & Judge, T. (2015). Organizational behavior (16th ed.). New Jersey: Prentice Hall. Sang Long, C., Khairuzzaman Wan Ismail, W. & Mohd Amin, S. (2011). Internal consultation skill and linkage with the critical strategic roles of HR practitioners in Malaysia. Journal of Management Development, 30(2), 160-174. Ulrich, D. (1997). Measuring Human Resource: An Overview of practice and prescription for results. Human Resource Management, 36(3), 303-320.
Translated Thai References
Akaraborworn, C. (2007). A study of the performance indicators in human resources (Research Report). Bangkok: Personnel Management Association of Thailand. [in Thai] Dessler, G. (2009). Paradigms for human resources management Trans Piyawanichwong, C. et al. Bangkok: Pearson Education. [in Thai] Dumdad, K. (2006). Roles and Functions of Human Resources Department in Executives perspective and Human Resources Professional’s perspective in Transnational Corporation: A Comparative Study of Japanese, U.S. and Swiss Corporations. Thesis Master of Sciences Human Resource and Organization Development, National Institute of Development Administration. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
98
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Kongphapa, T. (2009). The Role of Modern Human Resource Management: A Case Study of Large Enterprises in Khon Kaen Province. Thesis Master of Arts Program in Development Administration Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University. [in Thai] Naknoi, P. (2008). The financial statements for the management of enterprises, small and medium enterprises. And small enterprises in the industrial sector of the province. Thesis Master of Business Administration thesis Business Administration, Walailak University. [in Thai] Office of Small and Medium Enterprises Promotion. (2011). General information distribution model based on economic activity and patterns of business by province. Retrieved November 15, 2014, from http://119.63.93.73/smephase3/ReportViewer.aspx?Filename= Report2 [in Thai] Pannitamai, V. (2006). Developing Competency Modeling’s for Human Resource Management. Journal of Public and Private Management, 13(1), 1-13. [in Thai] Phetrat, A. (2010). HR systems in SMEs through the perspective of a consultant. Retrieved November 12, 2014, from http.//www.aree-associates.com [in Thai] Pichetsuphakit, W. (2007). The Roles of Human Resource Executives of The Financial Roles of Human Resource Executives of The Financial Institute Listed in The Stock Exchange of Thailand. RMUTT Global Business and Economics Review, 3(6), 51-59. [in Thai] Savasde, S. (2014). Human Resource Management Model Affecting To Productivity In SMEs. Doctor of Philosophy Program in Organization Development and Human Capability Management, Burapha University. [in Thai] Sriaran, S. (2010). The role of human resource management based on the recognition of a banker Thailand (Thailand): Thailand Case Study of Siam Commercial Employees Public Company Limited. Thesis Master of Public Administration Department of Public Administration Graduate, Dhurakij Pundit University. [in Thai] Supasorn, Y. (2014). Dr.Yuthasak Supasorn To sustainable SMEs. Retrieved November 15, 2014, from http://www.mbamagazine.net/index.php/entrepreneur/357-smes [in Thai] Tanachockchinda, D. (2007). The Key Success Factors of in Small and medium-sized enterprises on New Entreprenurs Creation (NEC) Project. Thesis Master of Science Program, King Mongkut’s University of Technology Thonburi. [in Thai]
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
99
Name and Surname: Tanayu Puwitthayathorn Highest Education: Doctor of Philosophy Organization Development and Human Capability Management, Burapha University University or Agency: Suratthani Rajabhat University Field of Expertise: Organization Development and Human Resource Management Address: 272 Moo 9, Surat-Nasan Rd., Khun Taleay, Meuang Surat Thani 84100
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
100
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักศึกษาฝึกงาน กรณีศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันอุดมศึกษาเอกชน FACTORS THAT INFLUENCE THE PERFORMANCE OF THE INTERNS case study: FACULTY OF ENGINEERING AND TECHNOLOGY private higher education institution ชลิดา ชาญวิจิตร1 และประสพชัย พสุนนท์2 Chalida Chanwichit1 and Prasopchai Pasunon2 1คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 2คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร 1Faculty of Engineering and Technology, Panyapiwat Institute of Management 2Faculty of Management Science, Silpakorn University
บทคัดย่อ
การวิจยั ครัง้ นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ ศึกษาปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบตั งิ านของนักศึกษาฝึกงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี จ�ำนวน 50 คน โดยให้สถานประกอบการตอบแบบสอบถามประเมินการปฏิบตั งิ าน ของนักศึกษาฝึกงานรายบุคคล สถิตทิ ใี่ ช้ในการวิเคราะห์คอื การวิเคราะห์การถดถอยพหุคณ ู (Multiple Regression Analysis) โดยวิธกี ารทดสอบระดับนัยส�ำคัญที่ 0.05 งานวิจยั มีการศึกษาตัวแปรอิสระ 4 ปัจจัย ได้แก่ ด้านการท�ำงาน เป็นทีม ด้านความรู้ ด้านสมรรถนะ และด้านพฤติกรรมการท�ำงาน พบว่า ปัจจัยด้านความรู้ ได้แก่ มีความรูค้ วามเข้าใจ งานทีไ่ ด้รบั มอบหมายและสามารถปฏิบตั ไิ ด้ตรงตามทีก่ ำ� หนด มีองค์ความรูใ้ นสาขาวิชาอย่างครอบคลุมและเป็นระบบ มีความใฝ่รู้หรือพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีทักษะในด้านการท�ำความเข้าใจและแยกแยะปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่าง มีล�ำดับความส�ำคัญ มีทกั ษะการค้นหาวิธแี ก้ไขปัญหาให้ส�ำเร็จด้วยดีอย่างเป็นขัน้ ตอน มีทกั ษะกระบวนการแก้ปัญหา อย่างมีประสิทธิภาพ และน�ำสิง่ ทีไ่ ด้เรียนรูม้ าประยุกต์หรือต่อยอดในการท�ำงานหรือน�ำเสนอเป็นแนวคิดใหม่ๆ ในการ พัฒนางานหรือหน่วยงานได้ มีอทิ ธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบตั งิ านของนักศึกษา ผลการศึกษาสามารถน�ำผลทีไ่ ด้ ไปประยุกต์ใช้ในการก�ำหนดแผนการพัฒนานักศึกษา และออกแบบจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ค�ำส�ำคัญ: ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน นักศึกษาฝึกงาน
Corresponding Author E-mail: chalidacha@pim.ac.th
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
101
Abstract
The objective of this research was to study the factors that influence the performance of the student, Faculty of Engineering and Technology of 50 students by questionnaires of the individual student. The statistics used analysis stepwise multiple regression method to test the significant level of 0.05. The initial findings indicate that four factors include teamwork, knowledge, competencies and behaviors. The result show factor of knowledge are cognitive tasks assigned and can be treated exactly as prescribed, Knowledge in the field of comprehensive and systematic, knowledge or develop themselves, Have skills in understanding and identifying the problem or situation has priority, With the skills to find solutions to accomplish with a good step, problem solving skills effectively and take what they have learned to adapt or extend the functionality or to offer a new concept in the development or agency. Influence on the efficiency in the performance of students. The result, which can be applied in determining a student’s development plan. And activities designed to increase knowledge. Keywords: Performance, Interns
บทน�ำ
การฝึกงานเป็นโอกาสอันดีที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้ วิธีการท�ำงานในองค์การที่เป็นมืออาชีพ และปรับตัวให้ เข้ากับวัฒนธรรมขององค์การ ซึง่ มีความแตกต่างจากชีวติ ทีเ่ รียนแต่ทฤษฎีเพียงอย่างเดียว ทางสถาบันอุดมศึกษา เอกชนแห่งหนึ่งได้เล็งเห็นถึงความส�ำคัญดังกล่าว จึงมี รูปแบบการเรียนการสอนทีม่ งุ่ เน้นให้นกั ศึกษาเรียนรูท้ ฤษฎี ควบคูก่ บั การปฏิบตั งิ านจริง (Work-based Education) โดยมีการฝึกงานคิดเป็น 40% ของเวลาเรียน เพื่อให้ นักศึกษาเรียนรู้การท�ำงานตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 และเพิ่มพูน สะสมประสบการณ์จนถึงชัน้ ปีที่ 4 ซึง่ การปฏิบตั งิ านของ นักศึกษาจะเป็นเส้นทางในการพัฒนาการสร้างบัณฑิต ทีม่ ปี ระสิทธิภาพ อีกทัง้ ยังท�ำให้องค์การบรรลุเป้าหมาย และเกิดประสิทธิภาพในที่สุด แต่การที่นักศึกษาฝึกงาน จะเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการฝึกงานได้มากหรือ น้อยนั้นขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของแต่ละคน ดังนั้นในการวิจัยนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ประสิ ท ธิ ภ าพการปฏิ บั ติ ง านของนั ก ศึ ก ษาฝึ ก งาน คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ซึง่ สามารถจะเป็น
แนวทางในการปรับปรุงและเพิม่ พูนประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานของนักศึกษา รวมทั้งเป็นแนวทางเพื่อการ วางแผนและพัฒนาบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสถาบันฯ ให้เหมาะสมต่อไป
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่ อ ศึ ก ษาปั จ จั ย ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ประสิ ท ธิ ภ าพ การปฏิบตั งิ านของนักศึกษาฝึกงานคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี
ทบทวนวรรณกรรม
แนวคิดเกีย่ วกับประสิทธิภาพมีนกั วิชาการได้กล่าวถึง หลายท่านดังนี้ สัญญา สัญญาวิวฒ ั น์ (2544) ได้กล่าวถึง ประสิทธิภาพว่าหมายถึง การวัดผลการท�ำงานของ องค์กรนัน้ ท�ำงานได้ปริมาณมากน้อยแค่ไหน คุณภาพงาน ดีมากน้อยแค่ไหน ใช้เงิน ใช้เวลา ใช้แรงงานไปมากน้อย แค่ไหน เป็นผลดีตอ่ ผูร้ บั บริการมากน้อยแค่ไหน โดยรวม ความมีประสิทธิภาพ จึงหมายถึงการท�ำงานให้ได้ปริมาณ และคุณภาพมาก องค์กรมีความสมัครสมานสามัคคี
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
102
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
มีสันติภาพ และความสุขร่วมกันเป็นผลดีต่อส่วนรวม และผูร้ บั บริการ แต่ใช้เวลา แรงงาน และงบประมาณน้อย นอกจากนี้ ทิพาวดี เมฆสวรรค์ (2538) ได้กล่าวถึง ประสิทธิภาพไว้ว่ามีความหมายรวมถึง ผลิตภาพและ ประสิทธิภาพ โดยประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่วัดได้หลายมิติ ตามแต่วตั ถุประสงค์ทตี่ อ้ งการพิจารณาคือ 1) ประสิทธิภาพ ในมิตขิ องกระบวนการบริหาร (Process) ได้แก่ การท�ำงาน ทีไ่ ด้มาตรฐาน รวดเร็ว ถูกต้อง และใช้เทคนิคทีส่ ะดวกขึน้ กว่าเดิม 2) ประสิทธิภาพในมิติของผลผลิตและผลลัพธ์ ได้แก่ การท�ำงานที่มีคุณภาพเกิดประโยชน์ต่อสังคม เกิดผลก�ำไร ทันเวลา ผู้ปฏิบัติงานมีจิตส�ำนึกที่ดีต่อการ ท�ำงานและให้บริการเป็นที่พอใจของลูกค้า หรือผู้มารับ บริการ ดังนัน้ ประสิทธิภาพในการปฏิบตั งิ านจึงหมายถึง การกระท� ำ ของแต่ ล ะบุ ค คล ที่ มี ค วามสามารถและ ความพร้อม พยายามทุม่ เทอย่างเต็มใจในการปฏิบตั งิ าน ของตนอย่างคล่องแคล่ว ด้วยความมีระเบียบมีกฎเกณฑ์ ปฏิบัติงานให้เสร็จทันเวลารวดเร็วถูกต้อง มีคุณภาพ และมาตรฐาน ดังนัน้ ปัจจัยใดมีอทิ ธิผลต่อประสิทธิภาพ ในการปฏิบตั งิ านจากการศึกษาทฤษฎี ตลอดจนเอกสาร งานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งเพื่ อ สร้ า งกรอบแนวคิ ด การวิ จั ย เรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยแนวคิดเกีย่ วกับทีมงานทีม่ ปี ระสิทธิภาพ มีนกั วิชาการ ได้กล่าวถึงความหมายของการท�ำงานเป็นทีม และทีมงาน ที่มีประสิทธิภาพไว้หลายท่าน อาทิ Francis & Young (1979) ได้กล่าวถึงทีมว่าหมายถึง กลุ่มบุคคลผู้มีพลัง มีความผูกพันรับผิดชอบทีจ่ ะท�ำงานให้บรรลุวตั ถุประสงค์ ร่วมกัน สมาชิกในทีมเป็นผู้ที่ร่วมท�ำงานด้วยกันได้ดี และรูส้ กึ เพลิดเพลินทีจ่ ะท�ำงานนัน้ สามารถผลิตผลงาน ที่มีคุณภาพสูง รวมถึงวิชัย โถสุวรรณจินดา (2535) ทีม หมายถึง กลุ่มของบุคคลที่ท�ำงานร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์ กันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ช่วยกันท�ำงานเพื่อให้บรรลุ เป้าหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ร่วมงาน ต่างมีความพอใจในการท�ำงานนั้น ส�ำหรับการสร้าง ทีมงานนั้นสรุปได้ว่า หมายถึง ความพยายามท�ำให้กลุ่ม สามารถเรียนรูก้ ารวินจิ ฉัยปัญหาเพือ่ ปรับปรุงความสัมพันธ์
ต่างๆ ในการท�ำงานให้ดขี นึ้ ทัง้ เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึง่ ความสัมพันธ์เหล่านีจ้ ะมีผลต่อการท�ำงานให้เสร็จตาม เป้าหมาย ดังนั้น ผู้บริหารงานที่จะประสบความส�ำเร็จ จ�ำเป็นจะต้องหล่อหลอมทีมงานให้เป็นน�ำ้ หนึง่ ใจเดียวกัน รูจ้ กั หาวิธจี งู ใจทีใ่ ห้เขาเหล่านัน้ ท�ำงานด้วยความสมัครใจ และเต็มใจ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยของ Mayo (1933) ได้ท�ำการศึกษาและพบว่า องค์ประกอบที่ส�ำคัญที่สุด ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการท�ำงานคือ การสร้าง ความรูส้ กึ เป็นเอกลักษณ์ของกลุม่ การได้รบั การสนับสนุน จากสังคม และความเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน จากแนวคิดและงานวิจยั เกีย่ วกับการท�ำงานเป็นทีม ของนักวิชาการที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า การท�ำงาน เป็นทีมเป็นองค์ประกอบส�ำคัญของประสิทธิภาพของ การท�ำงาน เนื่องจากวิธีการท�ำงานของทีมที่จะท�ำงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน สามารถผลิตผลงานที่มี คุณภาพสูง รวมถึงมีปฏิสมั พันธ์กนั ระหว่างสมาชิกในกลุม่ ช่วยกันท�ำงานเพือ่ ให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน ดังนัน้ ผูว้ จิ ยั จึงสนใจที่จะศึกษาปัจจัยด้านการท�ำงานเป็นทีมที่จะมี อิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักศึกษา ฝึ ก งาน นอกจากการท� ำ งานเป็ น ที ม ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานแล้วยังมีปัจจัยด้านความรู้ ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ โดยอักษร สวัสดี (2542) ได้ให้ความหมายของความรู้ว่าหมายถึง เรื่องที่เกี่ยวกับ การระลึกถึงสิ่งเฉพาะ วิธีการ และกระบวนการต่างๆ รวมถึงแบบกระบวนการของโครงการวัตถุประสงค์ในด้าน ความรู้ โดยเน้นในเรื่องของกระบวนการทางจิตวิทยา ของความจ�ำ อันเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับ การจัดระเบียบ โดยก่อนหน้านั้น Bloom (1956) ได้ เสนอแนวคิดเกีย่ วกับการรับรูห้ รือพุทธิพสิ ยั (cognitive domain) ของคน ว่าประกอบด้วยความรูต้ ามระดับต่างๆ รวม 6 ระดับ ซึง่ อาจพิจารณาจากระดับความรูใ้ นขัน้ ต�ำ่ ไปสู่ระดับของความรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป โดย Bloom (1956) ได้แจกแจงรายละเอียดของแต่ละระดับไว้ดังนี้ 1) ความรู้ หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจ�ำและการ ระลึกได้ถงึ ความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ตา่ งๆ ซึง่ เป็น
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ความจ�ำที่เริ่มจากสิ่งง่ายๆ ที่เป็นอิสระแก่กันไปจนถึง ความจ� ำ ในสิ่ ง ที่ ยุ ่ ง ยากซั บ ซ้ อ นและมี ค วามสั ม พั น ธ์ ระหว่ า งกั น 2) ความเข้ า ใจหรื อ ความคิ ด รวบยอด (Comprehension) เป็นความสามารถทางสติปัญญา ในการขยายความรู้ ความจ�ำ ให้กว้างออกไปจากเดิม อย่างสมเหตุสมผล การแสดงพฤติกรรมเมื่อเผชิญกับ สือ่ ความหมาย และความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 3) การน�ำไป ปรับใช้ (Application) เป็นความสามารถในการน�ำ ความรู้ (knowledge) ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (comprehension) ในเรื่องใดๆ ที่มีอยู่เดิมไปแก้ไข ปัญหาที่แปลกใหม่ของเรื่องนั้น โดยการใช้ความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิง่ วิธกี ารกับความคิดรวบยอดมาผสมผสาน กับความสามารถในการแปลความหมาย รวมถึงการสรุป หรือการขยายความสิ่งนั้น 4) การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถและทักษะที่สูงกว่าความเข้าใจ และ การน�ำไปปรับใช้ โดยมีลักษณะเป็นการแยกแยะสิ่งที่ จะพิ จ ารณาออกเป็ น ส่ ว นย่ อ ยที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั น รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ เพื่อดูว่า ส่ว นประกอบปลี กย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ อันจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิง่ หนึง่ สิง่ ใดอย่างแท้จริง 5) การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการ รวบรวมส่วนประกอบย่อยๆ หรือส่วนใหญ่ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้เป็นเรื่องราวอันหนึ่งอันเดียวกัน การสังเคราะห์ จะมีลักษณะของการเป็นกระบวนการรวบรวมเนื้อหา สาระของเรือ่ งต่างๆ เข้าไว้ดว้ ยกัน เพือ่ สร้างรูปแบบหรือ โครงสร้างทีย่ งั ไม่ชดั เจนขึน้ มาก่อน อันเป็นกระบวนการ ที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ภายในขอบเขตของสิ่ง ที่ก�ำหนดให้ 6) การประเมินผล (Evaluation) เป็น ความสามารถในการตัดสินเกี่ยวกับความคิด ค่านิยม ผลงาน ค�ำตอบ วิธกี าร และเนือ้ หาสาระเพือ่ วัตถุประสงค์ บางอย่าง โดยมีการก�ำหนดเกณฑ์ (criteria) เป็นฐาน ในการพิจารณาตัดสิน การประเมินผล จัดได้ว่าเป็น ขั้นตอนที่สูงสุดของพุทธิลักษณะ (characteristics of cognitive domain) ทีต่ อ้ งใช้ความรูค้ วามเข้าใจ การน�ำ
103
ไปปรับใช้ การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์เข้ามา พิจารณาประกอบกันเพือ่ ท�ำการประเมินผลสิง่ หนึง่ สิง่ ใด นอกจากนี้ วัชรี ธุวธรรม และคณะ (2526) ได้ กล่าวถึง กลุม่ สมาชิกท�ำงานร่วมกันในกลุม่ เล็กๆ ในการ พิจารณาสถานการณ์และผลทีไ่ ด้รบั องค์ประกอบส�ำคัญ ทีม่ อี ทิ ธิพลต่อการท�ำงานอย่างมีประสิทธิภาพประกอบด้วย 1) มีความสนใจในงานที่กระท�ำ 2) มีทักษะและความ สามารถที่จ�ำเป็นส�ำหรับงานนั้น 3) รู้สึกผูกพันกับสิ่งที่ กระท�ำอยู่ 4) ได้รับความรู้สึกพอใจจากงานที่กระท�ำ 5) มีความเข้าใจเพียงพอว่าตนต้องท�ำอะไรและอย่างไร 6) มีเวลาพอที่จะท�ำงานนั้นให้เสร็จ 7) วางแผนอย่าง พอเพียงว่าอะไรจ�ำเป็นต้องท�ำ 8) จัดเวลาอย่างเหมาะสม และพอใจ 9) สามารถมองเห็นกระบวนการในการท�ำงาน จากทีก่ ล่าวมาข้างต้น สรุปได้วา่ ความรูเ้ ป็นองค์ประกอบ ส�ำคัญของประสิทธิภาพของการท�ำงาน เนือ่ งจากความรู้ คือ การเรียนรู้ การน�ำไปปรับใช้ รวมถึงการสังเคราะห์ ซึ่งเป็นทักษะและความสามารถที่จำ� เป็นส�ำหรับงาน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาปัจจัยด้านความรู้ ที่ จ ะมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ประสิ ท ธิ ภ าพการปฏิ บั ติ ง านของ นักศึกษาฝึกงาน นอกจากปัจจัยด้านความรู้ที่มีอิทธิพล ต่ อ ประสิ ท ธิ ภ าพการปฏิ บั ติ ง านแล้ ว ยั ง มี ป ั จ จั ย ด้ า น สมรรถนะที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ โดยสมรรถนะ (Competency) คือ ความรู้ ทักษะ และพฤตินิสัย ที่จ�ำเป็นต่อการท�ำงานของบุคคลให้ประสบผลส�ำเร็จ สูงกว่ามาตรฐานทัว่ ไป ซึง่ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ประการดังนี้ 1) ความรู้ (Knowledge) คือ สิง่ ทีอ่ งค์กร ต้องการให้ “รู้” เช่น ความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย ปกครอง 2) ทักษะ (Skill) คือ สิ่งที่องค์กรต้องการให้ “ท�ำ ” เช่น ทักษะด้าน ICT ทักษะด้านเทคโนโลยี การบริหารสมัยใหม่ เป็นสิ่งที่ต้องผ่านการเรียนรู้ และ ฝึกฝนเป็นประจ�ำจนเกิดเป็นความช�ำนาญในการใช้งาน 3) พฤตินสิ ยั ทีพ่ งึ ปรารถนา (Attributes) คือ สิง่ ทีอ่ งค์กร ต้องการให้ “เป็น” เช่น ความใฝ่รู้ ความซือ่ สัตย์ ความรัก ในองค์กร และความมุ่งมั่นในความส�ำเร็จ สิ่งเหล่านี้ จะอยู่ลึกลงไปในจิตใจ ต้องปลูกฝังสร้างยากกว่าความรู้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
104
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
และทักษะ แต่ถา้ หากมีอยูแ่ ล้วจะเป็นพลังผลักดันให้คน มีพฤติกรรมทีอ่ งค์กรต้องการ และพงษ์ศกั ดิ์ พรณัฐวุฒกิ ลุ (2543) ได้อธิบายความหมายของสมรรถนะ คือ สิ่งซึ่ง แสดงคุณลักษณะและคุณสมบัตขิ องบุคคล รวมถึงความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมที่แสดงออกมา ซึ่งท�ำให้บรรลุผล ส�ำเร็จในการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ สูงกว่ามาตรฐานทั่วไป สุทัศน์ น�ำพูลสุขสันต์ (2546: 2 อ้างในพนอพันธุ์ จาตุ ร งคกุ ล , 2550) ให้ ค วามหมายสมรรถนะ คื อ คุณลักษณะทั้งในด้านทักษะความรู้และพฤติกรรมของ บุคคล ซึ่งจ�ำเป็นต่อการปฏิบัติงานในต�ำแหน่งหนึ่งๆ ให้ประสบความส�ำเร็จ รวมถึงสมใจ ลักษณะ (2543) กลาวว่า ปจจัยสําคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพในการ ทํางานเพื่อบรรลุผลสําเร็จของการดําเนินงาน ไดแก่ 1) ปัจจัยดา นองคก าร การจัดการภายในองคการเพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพภายในองคการ ตองเสริมสรางความรู ความเขาใจในภาพรวมของการทาํ งานอย่างมีประสิทธิภาพ และเสนอแนวคิด แนวปฏิบตั ใิ นวิธกี ารปรับปรุงการบริหาร และการจัดการ 2) ปจจัยดานบุคคล ถือเปนหัวใจของ การพัฒนาประสิทธิภาพในการทํางาน ไดแก ปรัชญา และอุดมการณใ นการพิชติ ปญ หาอุปสรรคในการทาํ งาน และการสรางความเชือ่ มัน่ ของตนเอง ซึง่ วรจิตร หนองแก (2540) ไดเสนอวา การปฏิบตั งิ านของบุคคลจะถูกกําหนด โดย 3 สวน ดังนี้ 1. ลักษณะเฉพาะบุคคล แบงเปน 3 กลุม คือ 1.1 ลักษณะเกีย่ วกับอายุ เพศ เชือ้ ชาติ เผา พันธุ 1.2 ลั ก ษณะเกี่ ย วกั บ ความรู ความสามารถ ความถนัด 1.3 ความชํานาญของบุคคล 2. ระดับความพยายามในการทํางาน ซึ่งเกิดจาก แรงจูงใจในการทาํ งาน ไดแ ก ความตอ งการ แรงผลักดัน อารมณ ความรูสึก ความสนใจ ความตั้งใจ เพราะคนที่ มีแรงจูงใจสูงในการทาํ งานจะมีความพยายามในการทีจ่ ะ อุทิศกําลังกายและกําลังใจใหการทํางานมากกวาผูที่มี แรงจูงใจต�่ำ
3. แรงสนับสนุนจากองคก ารหรือหนว ยงาน ซึง่ ไดแ ก คาตอบแทน ความยุตธิ รรม การติดตอสือ่ สาร และวิธกี าร มอบหมายงานซึ่งมีผลตอกําลังใจผูปฏิบัติงาน จากที่ กล่าวมาแล้วข้างต้นสรุปได้วา่ สมรรถนะเป็นองค์ประกอบ ส� ำ คั ญ ของประสิ ท ธิ ภ าพของการท� ำ งาน เนื่ อ งจาก การพัฒนาประสิทธิภาพในการทํางานสิ่งที่ส�ำคัญคือ ด้านบุคคล ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะบุคคลที่จะมีทักษะ ความรู ความสามารถ ความถนัด ผูว้ จิ ยั จึงสนใจทีจ่ ะศึกษา ปัจจัยด้านความสมรรถนะที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของนักศึกษาฝึกงาน นอกจากปัจจัย ดังกล่าวแล้วยังมีปัจจัยด้านพฤติกรรมการท�ำงานที่มี อิทธิพลต่อประสิทธิภาพ โดย Beach (1975) กลาววา คุณลักษณะที่สําคัญ อยางหนึง่ สําหรับผูท ปี่ ระสบความสําเร็จในการทํางาน คือ ความรับผิดชอบ ความซือ่ สัตย ทัศนคติทดี่ ี ความอดทน ความเชื่อมั่นในตัวเอง ความรอบคอบ ความมีวินัยและ ทักษะในการเขาสังคม ซึ่งเปนสวนหนึ่งของบุคลิกภาพ ทีต่ อ งการของหนวยงาน นอกจากนี้ ชูศกั ดิ์ เจนประโคน (2544) ไดแบ่งประเภทของพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ในหนาที่ที่สําคัญๆ เปน 6 ประเภท คือ 1) ความรอบรู และวิจารณญาณ 2) ทักษะดา นมนุษยสัมพันธ 3) ทักษะ ดา นการปฏิบตั งิ าน 4) ทักษะดา นการเปน ผูน าํ 5) ความ รับผิดชอบที่มีตองาน และ 6) แรงจูงใจในการทํางาน รวมถึง Baruch (1968) ได้ให้ความหมายของพฤติกรรม การท�ำงานไว้ว่า สิ่งที่บุคคลแสดงออกเพื่อตอบโต้สิ่งใด สิง่ หนึง่ ในขณะปฏิบตั งิ านซึง่ สามารถสังเกตวัดได้ตรงกัน ไม่ว่าการแสดงออกหรือการตอบสนองนั้นจะเกิดขึ้น ภายในหรือภายนอกร่างกายก็ตาม พฤติกรรมการท�ำงาน ที่แสดงออกนี้อาจเป็นไปได้ทั้งในด้านจิตใจ (Psychological Withdrawal) เช่น นัง่ ฝันกลางวันไปเรือ่ ย ไม่ตงั้ ใจ ท�ำงาน หรือแสดงออกมาด้วยการกระท�ำ (Psychological Withdrawal) เช่น การขาดงานโดยพลการ กลับบ้านก่อนเวลา หยุดพักนานเกินไป อู้งาน ท�ำงาน ช้าลง แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง จนถึงขั้นลาออก ส่วนพฤติกรรมการท�ำงานที่แสดงออกในแง่ดีก็มีเช่นกัน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
เช่น ท�ำงานในหน้าที่อย่างเต็มที่ และท�ำงานให้มากกว่า ที่ได้รับมอบหมาย จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นสรุปได้ว่า พฤติ ก รรมการท� ำ งานเป็ น องค์ ป ระกอบส� ำ คั ญ ของ ประสิทธิภาพของการท�ำงานเนื่องจากพฤติกรรมเป็น สวนหนึ่งของบุคลิกภาพที่ตองการของหนวยงานที่จะ ท�ำให้การปฏิบัติงานสําเร็จ เช่น การมีความรับผิดชอบ ความซือ่ สัตย์ ความมีวนิ ยั ผูว้ จิ ยั จึงสนใจทีจ่ ะศึกษาปัจจัย ด้านพฤติกรรมการท�ำงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของนักศึกษาฝึกงาน
ค�ำถามการวิจัย
ปัจจัยการท�ำงานเป็นทีม ความรู้ สมรรถนะ และ พฤติกรรมการท�ำงาน ปัจจัยใดมีอทิ ธิพลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของนักศึกษาฝึกงาน กรณีศึกษาคณะ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันอุดมศึกษา เอกชนแห่งหนึ่ง
วิธีการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรทีศ่ กึ ษาในงานวิจยั ครัง้ นี้ คือ นักศึกษา ฝึกงานคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นปีที่ 4 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยสุ่มตัวอย่างจ�ำนวน ทั้งสิ้น 50 คน จากนักศึกษาทั้งสิ้น 95 คน ณ เดือน ตุลาคม 2558 2. เครื่องมือในการวิจัย การวิจยั ครัง้ นีใ้ ช้เครือ่ งมือแบบสอบถาม (Questionnaires) ซึง่ เป็นข้อมูลปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบตั งิ านของนักศึกษาฝึกงานรายบุคคล โดยผูว้ จิ ยั ได้ใช้มาตรวัดแบบ rating scale เป็นค�ำถามแบบปลายปิด
105
เป็นอันตรภาค/ช่วง (Interval scale) ก�ำหนดค่าน�ำ้ หนัก เป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ 1 ถึง 5 คะแนน โดยระดับ 5 มี ร ะดั บ การปฏิ บั ติ ม ากที่ สุ ด และระดั บ 1 มี ร ะดั บ การปฏิบัติน้อยที่สุด โดยแบบสอบถามแสดงถึงปัจจัย ทีม่ อี ทิ ธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบตั งิ านของนักศึกษา มี 4 ปัจจัย ได้แก่ การท�ำงานเป็นทีม ความรู้ สมรรถนะ และพฤติกรรมการท�ำงาน
ผลการวิจัย
จากการวิเคราะห์ขอ้ มูลการศึกษาปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพล ต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักศึกษาฝึกงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นปีที่ 4 มีผล ดังรายละเอียดดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ปจั จัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบตั งิ านของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์และ เทคโนโลยี ผลการศึ ก ษาค่ า เฉลี่ ย ของปั จ จั ย ที่ มี อิ ท ธิ พ ล ต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักศึกษาฝึกงาน ระดับบุคคลพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบตั งิ านสูงสุดคือ พฤติกรรมการท�ำงาน (ค่าเฉลีย่ = 4.32 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.612) รองลงมาเป็น ปัจจัยการท�ำงานเป็นทีม (ค่าเฉลีย่ = 4.06 ค่าเบีย่ งเบน มาตรฐาน = 0.610) สมรรถนะ (ค่าเฉลี่ย = 4.04 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.658) และความรู้ (ค่าเฉลี่ย = 3.87 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.675) ตามล�ำดับ ส่วนผลประสิทธิภาพการปฏิบตั งิ านของนักศึกษาโดยรวม อยูใ่ นระดับมาก (ค่าเฉลีย่ = 4.06 ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน = 0.740) แสดงดังในตารางที่ 1
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
106
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ปจั จัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบตั งิ านของนักศึกษาฝึกงานคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี ชั้นปีที่ 4 ข้อความ
X 4.06 3.87 4.04 4.32 4.06
การท�ำงานเป็นทีม (X1) ความรู้ (X2) สมรรถนะ (X3) พฤติกรรมการท�ำงาน (X4) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยรวม (Y)
S.D. 0.610 0.675 0.658 0.612 0.740
ตารางที่ 2 ค่าสัมประสิทธิ์ของสมการการถดถอยของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักศึกษา ฝึกงานคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นปีที่ 4 Unstandardized Standardized t Sig. Coefficients Coefficients Model B Std. Error Beta 1 (Constant) -.159 .432 -.369 .714 การท�ำงานเป็นทีม .351 .200 .289 1.750 .087 ความรู้ .369 .154 .336 2.396 .021* สมรรถนะ .247 .199 .220 1.246 .219 พฤติกรรมการท�ำงาน .085 .179 .071 .478 .635 *มีนัยส�ำคัญที่ 0.05, R = 0.845 R2 = 0.714, Adjusted R2 = 0.688, Std. error of the estimate = 0.413 Durbin-Watson 1.91 สมการถดถอยพหุคูณ: Yc = -0.159 + 0.369 X2 Y = ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักศึกษาฝึกงานคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นปีที่ 4 2. ผลการวิเคราะห์ปจั จัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์และ เทคโนโลยี จากตารางที่ 2 พบว่า กลุ่มตัวแปรอิสระที่มี นั ย ส� ำ คั ญ ต่ อ ตั ว แปรตาม หรื อ ปั จ จั ย ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักศึกษาฝึกงาน คือ ตัวแปรอิสระด้านความรูข้ องนักศึกษา มีคา่ (B = 0.369,
p<0.05) ส่วนปัจจัยด้านการท�ำงานเป็นทีม (B = 0.351, p>0.05) สมรรถนะ (B = 0.247, p>0.05) และพฤติกรรม การท�ำงาน (B = 0.085, p>0.05) ไม่มผี ลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของนักศึกษาฝึกงาน ผลการวิเคราะห์ ความถดถอยแบบพหุคูณ อธิบายได้ว่าตัวแปรพยากรณ์ ที่สามารถพยากรณ์ตัวแปรเกณฑ์ (ประสิทธิภาพการ ปฏิบตั งิ านของนักศึกษาฝึกงาน) ได้แก่ ตัวแปรพยากรณ์
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ด้านความรูข้ องนักศึกษาซึง่ สามารถเขียนสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้ Yc = -0.159 + 0.369 X2 ค่าความชัน 0.369 หมายความว่า ถ้าความรู้ของ นักศึกษาฝึกงานเพิ่มขึ้น 1 หน่วยประสิทธิภาพการ ปฏิบตั งิ านของนักศึกษาฝึกงานจะเพิม่ ขึน้ 0.369 หน่วย ค่าจุดตัด -0.519 หมายความว่า ถ้าความรูข้ องนักศึกษา ฝึกงานเป็น 0 แล้วประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ นักศึกษาฝึกงานจะเป็น -0.519
สรุปและอภิปรายผล
คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี สถาบั น อุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึง่ มุง่ เน้นการเพิม่ พูนประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของนักศึกษา แต่ประสิทธิภาพในการ ปฏิบตั งิ านของนักศึกษาขึน้ อยูก่ บั ตัวนักศึกษาเอง ดังนัน้ ผูว้ จิ ยั สนใจทีจ่ ะศึกษาปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบตั งิ านของนักศึกษา โดยปัจจัยทีศ่ กึ ษาประกอบ ด้วยปัจจัยการท�ำงานเป็นทีม ความรู้ สมรรถนะ และ พฤติกรรมการท�ำงาน พบว่า ปัจจัยด้านความรู้ ได้แก่ มีความรู้ความเข้าใจงานที่ได้รับมอบหมายและสามารถ ปฏิบัติได้ตรงตามที่ก�ำหนด มีองค์ความรู้ในสาขาวิชา อย่างครอบคลุมและเป็นระบบ มีความใฝ่รู้หรือพัฒนา ตนเองอยู่เสมอ มีทักษะในด้านการท�ำความเข้าใจและ แยกแยะปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างมีล�ำดับความ ส�ำคัญ มีทักษะการค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาให้ส�ำเร็จด้วยดี อย่างเป็นขัน้ ตอน มีทกั ษะกระบวนการแก้ปญ ั หาอย่างมี ประสิทธิภาพ และน�ำสิง่ ทีไ่ ด้เรียนรูม้ าประยุกต์หรือต่อยอด ในการท�ำงานหรือน�ำเสนอเป็นแนวคิดใหม่ๆ ในการพัฒนา งานหรือหน่วยงานได้ มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานของนักศึกษาอย่างมีนัยส�ำคัญที่ระดับ 0.05 ซึง่ สอดคล้องกับแนวคิดของ Gilmer (1967) ซึง่ มีแนวคิด เกี่ยวกับประสิทธิภาพการท�ำงานว่าเกิดจากพฤติกรรม ที่สะสมอยู่ในตัวเอง ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ความรู้ (Knowledge) ขีดความสามารถ (Capacity) สิง่ กระตุน้ (Motives)
107
1. ความรู้ (Knowledge) คือ ความรู้เกี่ยวกับ การท�ำงานอันเป็นผลมาจากการศึกษาเล่าเรียน ฝึกอบรม และทั ก ษะในการท� ำ งานจากการผ่ า นประสบการณ์ การท�ำงานมา 2. ขีดความสามารถ (Capacity) คือ ขีดความสามารถ เชิงกายภาพและปัญญาที่คนท�ำงานมี 3. สิ่งกระตุ้น (Motives) คือ ค่านิยม ความเชื่อ ความชื่นชม ความชอบ ความไม่ชอบ ฯลฯ โดยปัจจัยด้านความรู้ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ การปฏิ บั ติ ง านของนั ก ศึ ก ษาเป็ น ไปตามแนวคิ ด ของ Gilmer คือ ความรู้เกี่ยวกับการท�ำงานเป็นพฤติกรรม ที่ ส ะสมอยู ่ ใ นตั ว บุ ค คล ดั ง นั้ น เราจึ ง ควรส่ ง เสริ ม ให้ นักศึกษาได้มีการพัฒนาความรู้จากการเรียน ฝึกอบรม และประสบการณ์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และท�ำให้เกิด ประสิ ท ธิ ภ าพในการปฏิ บั ติ ง าน ซึ่ ง จะต้ อ งวางแผน ออกแบบจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับการปฏิบัติงานของนักศึกษาฝึกงาน ดังทฤษฎีมองมนุษย์ให้เป็นทุน หรือทุนมนุษย์: Human Capital Theory ของ Cohn & Geske (1990) เป็ น ทฤษฎี ท างเศรษฐศาสตร์ ที่ ถู ก น� ำ มาใช้ ม ากที่ สุ ด โดยพิจารณาถึงผลผลิตทีไ่ ด้รบั จากพนักงานเปรียบเทียบ กั บ สิ่ ง ที่ ไ ด้ ล งทุ น ไปในรู ป แบบของการฝึ ก อบรมและ การศึกษา เป็นการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของต้นทุน (Cost-effectiveness Analysis) ทฤษฎีนี้แสดงความ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งการเรี ย นรู ้ ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น กั บ ผลผลิ ต ของ พนักงานที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย และ Becker (1964) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ทเี่ ชีย่ วชาญในศาสตร์ดา้ นทุนมนุษย์ ได้ศกึ ษาค้นคว้าเกีย่ วกับการจัดการในทุนมนุษย์ ซึง่ ก็คอื การลงทุนในมนุษย์เป็นการลงทุนในตัวบุคคล เพิม่ ศักยภาพ บุคคล เพื่อไปเพิ่มคุณค่าผลผลิตในรูปของการสร้าง คุณค่าและการฝึกอบรม ซึ่งเป็นการลงทุนที่ส�ำคัญที่สุด ในการลงทุนของมนุษย์ จึงเป็นการตอกย�้ำให้เห็นถึง ความส�ำคัญของปัจจัยด้านความรูท้ เี่ ราจะต้องสนับสนุน ให้นักศึกษาฝึกงานได้พัฒนาความรู้ของตนเองอยู่เสมอ ซึง่ เป็นการลงทุนทางการศึกษาท�ำให้มคี วามรูค้ วามสามารถ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
108
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
เพิ่มขึ้น และเกิดประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชน ผู ้ วิ จั ย มี ข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบตั งิ าน ของนักศึกษา คือ ปัจจัยด้านความรู้ ซึง่ สามารถน�ำผลวิจยั ไปก�ำหนดแผนการพัฒนานักศึกษา และออกแบบจัด กิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ 2. การศึ ก ษาในครั้ ง นี้ มี เ กณฑ์ ก ารศึ ก ษาเฉพาะ
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านัน้ และเพือ่ ให้ เกิดการค้นพบใหม่ๆ ควรมีการขยายผลการวิจยั ในปัจจัย ตัวแปรด้านอืน่ ๆ ทีม่ อี ทิ ธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบตั ิ งานของนักศึกษา เช่น ค่านิยม ความเชื่อ (Motives) เพื่อประโยชน์ในการสร้างรูปแบบการพัฒนานักศึกษา 3. การวิจยั นีเ้ ป็นการวิจยั เชิงปริมาณเท่านัน้ ดังนัน้ ควรท�ำวิจัยในเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ยิ่ง โดยอาจใช้วิธีการจัดการระดมสมอง สัมภาษณ์ 4. การศึกษาวิจัยควรเพิ่มเติมถึงความสัมพันธ์ของ ประสิทธิภาพการปฏิบตั งิ านของนักศึกษาของทัง้ สถาบัน อุดมศึกษาเอกชน เพื่อเป็นการขยายผลการวิจัย
บรรณานุกรม
กิตติพันธ์ รุจิรกุล. (2529). พฤติกรรมผู้นำ� ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โอ. เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์. ชูศักดิ์ เจนประโคน. (2544). การประเมินคางานและการประเมินพนักงาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง. ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2538). การส่งเสริมประสิทธิภาพในส่วนราชการ. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือน. นพพงษ์ บุณจิตราดุลย์. (2529). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์. พงษ์ศักดิ์ พรณัฐวุฒิกุล. (2543). การน�ำ Competencies สู่ภาคปฏิบัติ. วารสารการบริหารฅน, 21(4), 23-28. พนอพันธ์ จาตุรงคกุล. (2550). การศึกษาสมรรถนะการท�ำงานและความพึงพอใจของพนักงานฝ่ายผลิต กรณีศึกษา บริษัท พีเคจํากัด (ชื่อสมมติ) ที่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในนิคมอุตสาหกรรม. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2558, จาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/09162/chapter2.pdf วรจิตร หนองแก. (2540). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานตามบทบาทของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจ�ำหมูบ่ า้ น ในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2535). ความลับองคการ : พฤติกรรมองคการสมัยใหม่ (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ดีไลท. วัชรี ธุวธรรม และคณะ. (2526). ระบบพัฒนาประสิทธิภาพการท�ำงาน. กรุงเทพฯ: กรมการฝึกหัดครูกระทรวง ศึกษาธิการ. สมใจ ลักษณะ. (2543). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทํางาน. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏ สวนสุนันทา. สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2544). ทฤษฎีองค์กรประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อักษร สวัสดี. (2542). ความรูความเขาใจ และความตระหนักในการอนุรักษสิ่งแวดลอมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย: กรณีศึกษาในเขตบางกะป กรุงเทพฯ. ภาคนิพนธ ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. Baruch, B. (1968). New ways in discipline. New York: Randon House. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
109
Beach, D. S. (1975). Personnel: The Management of People at Work (2nd ed.). New York: Macmilland Company. Becker, G. S. (1964). Human Capital: A Theoretical and Empirical Analysis with Special Reference to Education. New York: Columbia University Press. Bloom, B. A. (1956). Taxonomy of Education Objective Handbook I: Cognitive Domain. New York: David Mc Kay Company. Cohn, E. & Geske, T. G. (1990). The Economics of Education (3rd ed.). New York: Pergamon Press. Francis, D. & Young, D. (1979). Improving Work Groups. California: University Associates. Gilmer, V. H. B. (1967). Industrial and Organizational Psychology. Hogakusha: McGraw Hill. Mayo, E. (1933). The Human Problems of an Industrial Civilization. New York: Macmillan.
Translated Thai References
Bunchintradul, N. (1986). Principles of Management Studies. Bangkok: Printing Center. [in Thai] Chaturonkul, P. (2007). A study of performance and satisfaction Staff cases PK Limited (alias), a manufacturer of auto parts industrial. Retrieved December 26, 2015, from http:// digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/09162/chapter2.pdf [in Thai] Hnongkag, W. (1997). Factors that influence the performance of primary health care role of village health volunteers clans. Master thesis, Khon-kaen University. [in Thai] Jenpakhon, C. (2001). The evaluation and assessment of staff. Bangkok: Ramkhamhaeng University. [in Thai] Laksana, S. (2000). The improvement in operating performance. Bangkok: Faculty of Management, Suan Sunandha Rajabhat University. [in Thai] Meksawan, T. (1995). Promoting efficient government. Bangkok: Office of Civil Service Commission. [in Thai] Pornnuttawutkul, P. (2000). Competencies bringing into practice. Members of Management Journal, 21(4), 23-28. [in Thai] Rujirakul, K. (1986). The educational behavior. Bangkok: O. S. Printing House. [in Thai] Sanyawiwad, S. (2001). The theory and performance. Bangkok: Department of Sociology and Anthropology, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University. [in Thai] Sawadee, A. (1999). Knowledge Concentration of mind awareness and conservation of the environment High school students: a case study in Bangkapi, Bangkok. Paper Arts Major Social Development, Social Development Board. NIDA. [in Thai] Thosuwanchinda, W. (1992). The Secret Organisation the behavior of modern organizations (2nd ed.). Bangkok: A Delight. [in Thai] Thuwatham, W. et al. (1983). The development of a performance. Bangkok: Department of Teacher Education Ministry of Education. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
110
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�าเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Name and Surname: Chalida Chanwichit Highest Education: M.Eng (Industrial engineering), King Mongkut’s University of Technology North Bangkok University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Industrial engineering Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120 Name and Surname: Prasopchai Pasunon Highest Education: Ph.D. (Management), Cert. in University Research Management in UK: A Part Toward a World Class Research University. New College, University of Oxford, UK University or Agency: Silpakorn University Field of Expertise: Management Science Address: Faculty of Management Science Sillapakorn University
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
111
ความสามารถในการเผชิญอุปสรรค ความเครียดในการท�ำงาน ต่อพฤติกรรมองค์การเชิงบวก ADVERSITY QUOTIENT, JOB STRESS TOWARD POSITIVE ORGANIZATIONAL BEHAVIOR สิริกาญจน์ เพ็ญศิริกุล Sirikarn Pensirikul คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ Graduate School of Human Resource Development, National Institute of Development Administration
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟัน อุปสรรค ความเครียดในการท�ำงาน และพฤติกรรมองค์การเชิงบวกของพนักงานในองค์การ รวมทั้งศึกษาอ�ำนาจ ในการพยากรณ์พฤติกรรมองค์การเชิงบวกของความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค และความเครียด ในการท�ำงานของพนักงานในองค์การ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานในองค์การภาครัฐ และภาคเอกชนต่างประเภทกัน 5 องค์การ แบบสอบถามที่ได้รับคืนจากทุกองค์การ จ�ำนวนรวม 580 คน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ขอ้ มูล ได้แก่ สถิตพิ รรณนา (Descriptive Statistics) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สนั (Person’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า (ก) ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรม องค์การเชิงบวก (ข) ความเครียดในการท�ำงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมองค์การเชิงบวก (ค) ความสามารถ ในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดในการท�ำงาน (ง) ความสามารถในการเผชิญ และฝ่าฟันอุปสรรคสามารถท�ำนายพฤติกรรมองค์การเชิงบวกของพนักงานในองค์กร ผลที่พบนี้ท�ำให้เสนอแนะได้ว่า เพื่อให้พนักงานมีพฤติกรรมองค์การเชิงบวกเพิ่มขึ้น องค์การควรส่งเสริมพัฒนาให้พนักงานมีทักษะความสามารถ ในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคเพิ่มขึ้น ซึ่งผลที่ได้คือ พนักงานจะมีความเครียดในการท�ำงานลดลงพร้อมกันไป ค�ำส�ำคัญ: ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค ความเครียดในการท�ำงาน พฤติกรรมองค์การเชิงบวก
Abstract
The objectives of this study were to examine the relationships among adversity quotient, job stress, and positive organizational behaviors of employees. In addition, it was aimed at studying the predictive power of adversity quotient, job stress, on positive organizational behaviors. Questionnaires were utilized to collect data from employees of public and private organizations, Corresponding Author E-mail: p.sirikarn@yahoo.com
112
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
of which 580 completed questionnaires were returned. The methodologies including Descriptive Statistics, Person’s Product Moment Correlation and Multiple Regression Analysis were used for data analysis. Data Analysis demonstrated that: (a) adversity quotient was positively related to positive organizational behavior (b) job stress was negatively related to positive organizational behaviors (c) adversity quotient was negatively related to job stress and (d) adversity quotient exerted predictive power on positive organizational behaviors. The findings could provide suggestion that in order to increase positive organizational behaviors, organizations should induce or develop adversity quotient, which result in job stress reduction simultaneously. Keywords: Adversity Quotient, Job Stress, Positive Organization Behavior
บทน�ำ
การบริหารและจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ เป็ น หั ว ใจของการปฏิ บั ติ ง านซึ่ ง มี บ ทบาทส� ำ คั ญ ต่ อ ความส�ำเร็จและความล้มเหลวขององค์การ (วิภาดา คุปตานนท์, 2551) นักบริหารและการจัดการยุคใหม่ จึงต้องการเรียนรู้พฤติกรรมของบุคคลภายในองค์การ ที่เรียกว่า พฤติกรรมองค์การ ในเชิงวิชาการ พฤติกรรมองค์การเป็นการศึกษา เกี่ยวกับบุคคล กลุ่มคน และโครงสร้างที่มีผลกระทบ ต่อการด�ำเนินงาน ตลอดจนความคิด ความรู้สึก และ พฤติกรรมของบุคคลภายในองค์การ ซึง่ สามารถน�ำมาใช้ เพื่อปรับปรุงประสิทธิผลในการด�ำเนินงานขององค์การ ให้ดีขึ้น (ธนวรรณ ตั้งสินทรัพย์ศิริ, 2550) ช่วงหลายปี มานีม้ กี ารกล่าวถึงพฤติกรรมองค์การเชิงบวก ซึง่ มุง่ ศึกษา ประยุกต์ใช้พฤติกรรมด้านบวกของบุคคล เพื่อช่วยเพิ่ม ผลการด�ำเนินงานทีม่ ปี ระสิทธิภาพมากขึน้ โดยการเน้น พัฒนาทีจ่ ดุ แข็งหรือด้านดีของบุคคล (Luthans, 2008) แนววิธีคิดเชิงบวกจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับองค์การ องค์การทีม่ พี ฤติกรรมเชิงบวกจะท�ำให้บคุ ลากรในองค์การ มีความหวัง ความมั่นใจ และสามารถปรับตัวต่อการ เปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ได้ (สุมาลินี มธุรพจน์พงศ์, 2555) โดยทัว่ ไปพฤติกรรมองค์การเชิงบวกเป็นสิง่ ทีส่ ามารถ เรียนรู้ พัฒนา และเปลี่ยนแปลงได้ (Luthans, 2002)
ซึง่ ในชีวติ การท�ำงานบุคคลต้องพบเจอกับปัญหาอุปสรรค ต่างๆ มากมาย ต้องอาศัยความสามารถในการเผชิญและ ฝ่าฟันอุปสรรค (Adversity Quotient) เพื่อช่วยให้ บุคคลสามารถผ่านสิ่งต่างๆ ได้ คนที่มีความสามารถ ในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคสูงจะช่วยเป็นแรงขับ ให้องค์การ กระท�ำพฤติกรรมทีส่ ง่ ผลในทางบวก มีคณ ุ ค่า มีความอดทน มีความสร้างสรรค์ ชอบเรียนรู้ แก้ไขปัญหา ยอมรับความท้าทาย มองโลกในแง่ดี และพัฒนาตนเอง ตลอดเวลา ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค (AQ) สามารถท�ำนายความส�ำเร็จของบุคคลและมีความ ส�ำคัญมากกว่าความเฉลียวฉลาดทางปัญญา (IQ) และ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เพราะบางคนมีความฉลาด ทางสติปัญญาสูง มีความฉลาดทางอารมณ์ครบทุกด้าน ก็ยังไม่สามารถประสบความส�ำเร็จได้ ความสามารถ ในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคเป็นสิง่ ทีอ่ ยูภ่ ายในมนุษย์ ทุกคน ที่สามารถปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงได้ และยัง ช่ ว ยให้ บุ ค คลตอบสนองต่ อ เหตุ ก ารณ์ วิ ก ฤตได้ ดี ขึ้ น เพิ่มคุณค่าให้ทั้งตัวบุคคลและองค์การ (Stoltz, 1997) ความเครียดก็เป็นอีกปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลกับบุคคล ซึง่ ในการ ท�ำงานถ้าบุคคลเกิดความเครียดในการท�ำงานจะส่งผล ต่อพฤติกรรมการท�ำงาน ทัศนคติ ความพึงพอใจในงาน ประสิทธิภาพ คุณภาพ การหยุดงาน และการลาออก จากงานได้ (Greenberg, 2005)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ในทีน่ ผี้ วู้ จิ ยั จึงได้สนใจศึกษาความเกีย่ วข้องสัมพันธ์ ระหว่างความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค ความเครียดในการท�ำงาน และพฤติกรรมองค์การเชิงบวก เพื่ อ ที่ จ ะพั ฒ นาบุ ค ลากรในองค์ ก ารให้ มี พ ฤติ ก รรม ด้านบวก มีความสามารถในการเอาชนะปัญหาต่างๆ ในการท�ำงาน เป็นแรงขับเคลื่อนให้องค์การต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพือ่ ศึกษาความสามารถในการท�ำนายพฤติกรรม องค์การเชิงบวกของความสามารถในการเผชิญและ ฝ่าฟันอุปสรรค และความเครียดในการท�ำงาน 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถ ในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค ความเครียดในการท�ำงาน และพฤติกรรมองค์การเชิงบวกของพนักงาน
สมมติฐานในการวิจัย
สมมติฐานที่ 1 ความสามารถในการเผชิญและ ฝ่าฟันอุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรม องค์การเชิงบวกของพนักงานในองค์การ สมมติฐานที่ 2 ความเครียดในการท�ำงานมีความ สัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมองค์การเชิงบวกของพนักงาน ในองค์การ สมมติฐานที่ 3 ความสามารถในการเผชิญและ ฝ่าฟันอุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียด ในการท�ำงาน สมมติฐานที่ 4 ความสามารถในการเผชิญและ ฝ่าฟันอุปสรรค และความเครียดในการท�ำงานสามารถ ท�ำนายพฤติกรรมองค์การเชิงบวกได้
ทบทวนวรรณกรรม
1. พฤติกรรมองค์การเชิงบวก (Positive Organization Behavior) พฤติกรรมองค์การ (Organization behavior) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติของบุคคล ในรูปแบบของการท�ำงานที่มีผลกระทบต่อโครงสร้าง
113
ต่างๆ ภายในองค์การทั้งด้านความสามารถ ทัศนคติ การรับรูต้ า่ งๆ โดยพฤติกรรมองค์การเชิงบวก (Positive organization behavior: POB) เป็นการน�ำศาสตร์ทาง จิตวิทยาเชิงบวกมาใช้ในองค์การ มุง่ ศึกษาและประยุกต์ ใช้ จุ ด แข็ ง ของบุ ค คลและความสามารถทางจิ ต ใจที่ สามารถวัด พัฒนาได้ และมีประสิทธิภาพในการจัดการ ปรับปรุงผลการปฏิบตั งิ านในสถานทีท่ ำ� งาน (Luthans, 2008) โครงสร้างหลักของพฤติกรรมองค์การเชิงบวกคือ ทุนจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychological Capital: PsyCap) ซึง่ ประกอบด้วย (1) สมรรถนะแห่งตน (Selfefficacy) (2) ความหวัง (Hope) (3) การมองโลกใน แง่ดี (Optimism) (4) การฟื้นคืนสภาพ (Resilience) (Luthans & Youssef, 2007) การศึกษาครัง้ นีพ้ จิ ารณา ศึกษาพฤติกรรมองค์การเชิงบวกตามองค์ประกอบทัง้ 4 นี้ 2. ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค (Adversity Quotient) Stoltz (1997) ผูร้ เิ ริม่ เสนอแนวคิด ความสามารถ ในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค (Adversity Quotient: AQ) อธิบายว่าเป็นทักษะของบุคคลในการตอบสนองต่อ เหตุการณ์ความทุกข์ยากล�ำบาก ด้วยความอดทนต่อ อุปสรรคต่างๆ และเมื่อเกิดอุปสรรคสามารถจัดการกับ ปัญหา ก้าวไปสู่จุดหมายข้างหน้าได้ ศาสตร์ของความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟัน อุปสรรค อยูบ่ นแนวคิดของทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ และ มีการน�ำมาประยุกต์ใช้จริงในทางปฏิบัติ ซึ่งมีการวิจัย และประยุกต์ใช้ในทางปฏิบตั เิ ป็นเวลาหลายปี ท�ำให้ทราบ ว่าปัจจัยที่ท�ำให้บุคคลและองค์การประสบความส�ำเร็จ ได้คอื ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคทีม่ ี อยูใ่ นตนเองของแต่ละบุคคล ซึง่ รวมถึงความสามารถของ บุคคลเมื่อเจอกับปัญหาว่า สามารถจะเอาชนะวิกฤตได้ หรื อ ยอมแพ้ และทั ก ษะความสามารถในการเผชิ ญ และฝ่ า ฟั น อุ ป สรรคยั ง เป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ ช ่ ว ยปรั บ ปรุ ง การตอบสนองต่ออุปสรรคของบุคคลให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้นด้วย (Stoltz & Weihenmayer, 2006) ส�ำหรับองค์ประกอบของความสามารถในการ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
114
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
เผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของบุคคล Stoltz (1997) ระบุ ว่าประกอบด้วย (1) การควบคุม (Control) เป็นการรับรู้ ความสามารถในการจัดการกับภาวะเหตุการณ์ที่ยาก ล�ำบาก (2) จุดเริม่ ต้นและความเป็นเจ้าของ (Origin and Ownership) เป็นความสามารถในการหาสาเหตุของ ปัญหาและความรับผิดชอบต่อปัญหา วิเคราะห์ค้นหา สาเหตุ รับผิดชอบในส่วนของตน ไม่ผลักภาระไปให้คนอืน่ เรียนรูใ้ นสถานการณ์ทผี่ ดิ พลาดต่างๆ (3) การแพร่กระจาย ของปัญหา (Reach) เป็นความสามารถกั้นพื้นที่ของ ปัญหาให้อยู่ในขอบเขตที่จ�ำกัดได้ ไม่ขยายพื้นที่ของ ปัญหาไปสูส่ ว่ นอืน่ ๆ ทีไ่ ม่เกีย่ วข้อง (4) ความยืดเยือ้ ของ ปัญหา (Endurance) เป็นการรับรู้ว่าปัญหาจะเกิดขึ้น ถาวรหรือชั่วคราว ในการเผชิญกับปัญหาแต่ละบุคคล จะมีรูปแบบการจัดการปัญหาที่แตกต่างกัน การศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า ความรับ ผิดชอบในงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถ ในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค (พรสุภา วสุนธรา, 2549) วรัญญพร ปานเสน (2550) พบว่า ผู้ที่มีความสามารถ ในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคสูงมีผลปฏิบตั งิ านสูงกว่า ผู้ที่มีความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคต�่ำ ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคยังสามารถ ท� ำ นายผลการปฏิ บั ติ ง าน แรงจู ง ใจ การมี อ� ำ นาจ การเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ การมีผลิตผล พลังงาน ความหวัง ความสุข ความแข็งแรงทางอารมณ์ สุขภาพ ทางกาย ความมั่นคง เจตคติ การปรับปรุงตัวเองตลอด เวลา ความสามารถในการฟื้นตัว การมีอายุยืน และ การโต้ตอบต่อการเปลี่ยนแปลงได้ (Stoltz, 1997) การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยจึงคาดได้ว่า ความสามารถในการ เผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ พฤติกรรมองค์การเชิงบวก (สมมติฐานที่ 1) 3. ความเครียดในการท�ำงาน (Job Stress) สุขภาพเป็นสิ่งที่ส�ำคัญทั้งระดับบุคคล องค์กร และสังคม สถานที่ท�ำงานสามารถสร้างความพึงพอใจ ให้บุคลากรในองค์การ แต่ก็สามารถสร้างความเครียด และน�ำไปสูส่ ขุ ภาพทีไ่ ม่ดไี ด้เช่นกัน จากงานวิจยั ทีผ่ า่ นมา
ระบุวา่ สถานทีท่ ำ� งานเป็นหนึง่ ปัจจัยทีอ่ าจเป็นอันตราย ต่อสุขภาพ ถ้าองค์การสามารถลดความเครียดและ ส่งเสริมสุขภาพในเชิงบวกให้บุคลากรในองค์การได้ จะท�ำให้เกิดความเป็นดีอยู่ดีเกิดประโยชน์ทั้งตัวบุคคล และองค์การ (Cartwright & Cooper, 2014) ในการ ศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้พิจารณาความเครียดในการท�ำงาน ตามแนวคิดของ Cooper & Marshall (1976 cited in Rossi, Quick & Perrewé, 2009) ที่ได้เสนอ องค์ประกอบของความเครียดในการท�ำงานใน 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้องกับตัวงาน (Intrinsic to the job) ซึ่งรวมทั้งปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม ทางกายภาพ เงือ่ นไขการท�ำงานหรือความกดดันด้านเวลา (2) ด้านบทบาทหน้าที่ (Role in the organization) ทีม่ คี วามคลุมเครือไม่ชดั เจนหรือมีความขัดแย้งในบทบาท (3) ด้านความส�ำเร็จและการพัฒนาอาชีพ (Career Development) ได้แก่ การขาดความก้าวหน้าในสาย อาชีพ ความไม่มนั่ คงในงาน หรือขาดโอกาสในการเรียนรู้ (4) ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Relationships at work) ความสัมพันธ์ในการท�ำงานที่ไม่ดีระหว่าง หั ว หน้ า งานหรื อ เพื่ อ นร่ ว มงาน มี ก ารกลั่ น แกล้ ง กั น ในสถานที่ท�ำงาน (5) ด้านโครงสร้างและบรรยากาศ ในองค์การ (Organizational structure and climate) ทัง้ บรรยากาศในการท�ำงาน การมีสว่ นร่วมในการตัดสินใจ และการเมื อ งในองค์ ก ารที่ ไ ม่ ส อดคล้ อ งเหมาะสม (Beheshtifar & Nazarian, 2013) ผลการศึกษาทีผ่ า่ นมาพบว่า พฤติกรรมองค์การ เชิงบวกด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองมีความ สั ม พั น ธ์ ท างลบกั บ ความเครี ย ดในการท� ำ งาน เช่ น จุฬาลักขณ์ ปรีชากุล (2549) การศึกษานี้จึงคาดได้ว่า ความเครียดในการท�ำงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับ พฤติกรรมองค์การเชิงบวก (สมมติฐานที่ 2) ส�ำหรับความเกี่ยวข้องระหว่างความสามารถ ในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคกับความเครียดในการ ท�ำงาน จากการศึกษาของศุภนุช สุดวิไล (2550) พบว่า ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค และ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ความเครียดในการท�ำงานมีความสัมพันธ์กันทางลบ ซึง่ สอดคล้องกับผลการศึกษาของนฤมล เรืองรุง่ ขจรเดช (2550) ที่พบว่า ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟัน อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดในการ ท� ำ งาน ในการศึ ก ษาครั้ ง นี้ ผู ้ วิ จั ย จึ ง ตั้ ง สมมติ ฐ านว่ า ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคมีความ สัมพันธ์ทางลบกับความเครียดในการท�ำงาน (สมมติฐาน ที่ 3) นอกจากนีก้ ารศึกษาของ Stoltz (1997) ยังพบว่า ผูบ้ ริหารทีม่ กี ารตอบสนองต่อวิกฤตในการปรับโครงสร้าง องค์การ จะมีความแกร่งและอดทนได้มากกว่า เมือ่ เทียบ กับผูบ้ ริหารทีม่ คี วามแกร่งน้อยกว่า การศึกษาของ Werner (cited in Stoltz, 1997) ทีศ่ กึ ษาบุคคลทีม่ คี วามบอบช�ำ้ ในชีวิตวัยเด็กพบว่า เพียง 1 ใน 3 ของบุคคลเหล่านั้น สามารถไปสู่จุดมุ่งหมายความส�ำเร็จได้ เพราะมีความ
115
ยืดหยุน่ หรือความสามารถในการฟืน้ ตัวกลับสูส่ ภาพปกติ อย่างรวดเร็ว (Stoltz, 1997) การประมวลเอกสาร ดังกล่าวมานี้ทำ� ให้คาดได้ว่า ความสามารถในการเผชิญ และฝ่าฟันอุปสรรค และความเครียดในการท�ำงาน สามารถท�ำนายพฤติกรรมองค์การเชิงบวกได้ (สมมติฐาน ที่ 4)
กรอบแนวคิดของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ท�ำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปร โดยมีแนวคิดความสามารถในการเผชิญและ ฝ่าฟันอุปสรรคของ Stoltz (1997) ความเครียดในการ ท�ำงานของ Cooper & Marshall (1976 cited in Rossi, Quick & Perrewé, 2009) และพฤติกรรม องค์การเชิงบวกของ Luthans (2002) มีกรอบแนวคิด ดังแสดงในภาพที่ 1 ดังนี้
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดของการวิจัย ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
116
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
วิธีการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานส่วนของส�ำนักงาน ในองค์การหลากหลายรูปแบบ ประกอบด้วยองค์การ ภาครัฐ 1 แห่ง และองค์การธุรกิจภาคเอกชน 4 แห่ง ได้แก่ องค์การด้านการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ องค์การด้านการจัดการโลจิสติกส์ องค์การด้านการให้ บริการทีพ่ กั และองค์การให้บริการทรัพย์สนิ ทางปัญญา ปรากฏว่ามีผู้ให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถามและ ส่งคืน รวมจ�ำนวนทั้งสิ้น 580 คน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั ใช้แบบสอบถาม 4 ฉบับ มีมาตรประเมิน 5 หน่วย “น้อยที่สุด” ถึง “มากที่สุด” ได้แก่ (1) แบบสอบถามพฤติกรรมองค์การเชิงบวก ใช้แบบสอบถาม Psychological Capital ของ Luthans (2002) ใน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ สมรรถนะแห่งตน ความหวัง การมองในแง่ดี และการฟื้นคืนสภาพ โดย ผู้วิจัยได้น�ำมาแปลเป็นภาษาไทยและปรับข้อค�ำถามให้ เหมาะสมกับบริบทและขอบเขตทีจ่ ะศึกษา จ�ำนวน 24 ข้อ (2) แบบสอบถามความเครียดในการท�ำงาน ผูว้ จิ ยั ได้สร้าง แบบสอบถามขึ้นมาเอง ตามแนวคิดของ Cooper & Marshall (1976 cited in Rossi, Quick & Perrewé, 2009) ใน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านลักษณะงาน ด้านบทบาทหน้าที่ ด้านความส�ำเร็จและการพัฒนา อาชีพ ด้านความสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และด้าน โครงสร้างและบรรยากาศในองค์การ จ�ำนวน 25 ข้อ (3) แบบสอบถามความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟัน อุปสรรค ใช้แบบสอบถาม Adversity Quotient Profile ของ Stoltz (1997) มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การควบคุม ปัญหา จุดเริม่ ต้นและความเป็นเจ้าของของปัญหา การแพร่ กระจายของปัญหา และการยืดเยือ้ ของปัญหา โดยผูว้ จิ ยั ได้นำ� มาแปลเป็นภาษาไทยและปรับข้อค�ำถามให้เหมาะสม กับกลุ่มตัวอย่างของพนักงานในองค์กร จ�ำนวน 20 ข้อ (4) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับต�ำแหน่งงาน
3. การตรวจคุ ณ ภาพของแบบสอบถามและ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามทั้งหมดมีการตรวจสอบคุณภาพ ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและโครงสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และได้นำ� แบบสอบถามไปทดลองใช้กบั พนักงาน ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน จ�ำนวน 50 คน และหาความ เชื่อมั่นได้ของแบบสอบถาม (Reliability) วิเคราะห์หา อ�ำนาจจ�ำแนกรายข้อ (t-Value Discrimination) และ วิเคราะห์ความสัมพันธ์รายข้อ (Item-Total Correlation) แบบสอบถามความสามารถและการเผชิญอุปสรรคมีคา่ ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 แบบสอบถามความเครียด ในการท� ำ งานมี ค ่ า ความเชื่ อ มั่ น เท่ า กั บ 0.91 และ แบบสอบถามพฤติกรรมองค์การเชิงบวกมีคา่ ความเชือ่ มัน่ เท่ากับ 0.83 สถิตทิ ใี่ ช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูล ได้แก่ สถิตพิ รรณนา (Descriptive Statistics) ในการหาคุณลักษณะทั่วไป ของกลุม่ ตัวอย่าง การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สนั (Person’s Product Moment Correlation) เพื่อ หาความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาและการวิเคราะห์ ความถดถอยพหุคณ ู (Multiple Regression Analysis) ในการหาอ�ำนาจการพยากรณ์ท�ำนายตัวแปรที่ศึกษา 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผูว้ จิ ยั ท�ำหนังสือขอความอนุเคราะห์ในการตอบ แบบสอบถาม ส่งไปยังฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ ต่างๆ ที่ผู้วิจัยเลือกเข้าไปท�ำการวิจัยในครั้งนี้ โดยชี้แจง รายละเอียดและขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ใ นองค์ ก ารเป็ น ผู ้ แ จกและรวบรวม แบบสอบถาม
ผลการวิจัย
1. ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการ เผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคกับพฤติกรรมองค์การเชิงบวก ผลการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรที่ศึกษาพบว่า ความสามารถในการเผชิญและ ฝ่าฟันอุปสรรคกับพฤติกรรมองค์การเชิงบวกมีความ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
สัมพันธ์กนั ในทางบวกอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติ (r = .388, p < .01) เมือ่ พิจารณารายด้านพบว่า ความสามารถในการ เผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคในแต่ละด้านมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับพฤติกรรมองค์การเชิงทางบวกทุกด้าน ทัง้ ด้าน สมรรถนะแห่งตน ด้านความหวัง ด้านการมองในแง่ดี ด้านการฟื้นคืนสภาพ (r = .373, .366, .250, .179, p < .01 ตามล�ำดับ) 2. ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งความเครี ย ดในการ ท�ำงานกับพฤติกรรมองค์การเชิงบวก ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลพบว่า ความเครียดในการ ท�ำงานกับพฤติกรรมองค์การเชิงบวกมีความสัมพันธ์กัน ในทางลบอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ 0.01 (r = -.109, p < .01) เมือ่ วิเคราะห์ความเครียดในการท�ำงานในแต่ละ ด้านพบว่า พฤติกรรมองค์การเชิงบวก ด้านความหวัง มีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดในการท�ำงานด้าน ลักษณะงาน ด้านบทบาทหน้าที่ ด้านสัมพันธภาพระหว่าง บุคคล และด้านโครงสร้างบรรยากาศในองค์การอย่างมี นัยส�ำคัญทางสถิติ (r = -.100, -.102, -.104, -.084, p < .05 ตามล�ำดับ) และยังพบว่า ความเครียดในการ ท�ำงานด้านลักษณะงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรม องค์การเชิงบวก ด้านการมองในแง่ดี ด้านการฟืน้ คืนสภาพ และพฤติกรรมองค์การเชิงบวกโดยรวมอย่างมีนยั ส�ำคัญ ทางสถิติ (r = -.199, -.146, -.156, p < .01 ตามล�ำดับ) ความเครี ย ดในการท� ำ งานด้ า นบทบาทหน้ า ที่ ยั ง มี ความสั ม พั น ธ์ ท างลบกั บ พฤติ ก รรมองค์ ก ารเชิ ง บวก ด้านความหวัง ด้านการมองในแง่ดี ด้านการฟืน้ คืนสภาพ และพฤติกรรมองค์การเชิงบวกโดยรวมอย่างมีนยั ส�ำคัญ ทางสถิติ (r = -.102, -.175, -.128, -.140, p < .01 ตามล�ำดับ) ความเครียดในการท�ำงานด้านสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคลยังมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรม องค์การเชิงบวกด้านความหวัง ด้านการมองในแง่ดี ด้านการฟื้นคืนสภาพและพฤติกรรมองค์การเชิงบวก โดยรวมอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ (r = -.104, -.106, -.089, -.088 p < .05 ตามล�ำดับ)
117
3. ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการ เผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคกับความเครียดในการท�ำงาน ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลพบด้วยว่า ความสามารถ ในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคกับความเครียดในการ ท�ำงานมีความสัมพันธ์กันในทางลบอย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิติ (r = -.156, p < .01) เมื่อพิจารณารายด้าน พบความสัมพันธ์ทางลบของความสามารถในการเผชิญ และฝ่าฟันอุปสรรคด้านการควบคุมปัญหากับความเครียด ในการท�ำงานด้านลักษณะงาน ด้านบทบาทหน้าที่ (r = -.111, -.124, p < .01 ตามล�ำดับ) และด้านสัมพันธภาพ (r = -.106, p < .05) ส่วนความสามารถในการเผชิญ และฝ่าฟันอุปสรรคด้านการแพร่กระจายของปัญหาพบว่า มีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดในการท� ำงาน ในทุกด้านอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติ ได้แก่ ด้านลักษณะงาน ด้านบทบาทหน้าที่ ด้านความส�ำเร็จและการพัฒนาอาชีพ ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (r = -.194, -.183, -.181, -.178, p < .01 ตามล�ำดับ) และด้านโครงสร้าง บรรยากาศในองค์การ (r = -.087, p < .05) 4. อ� ำ นาจในการท� ำ นายพฤติ ก รรมองค์ ก าร เชิงบวกของความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟัน อุปสรรคและความเครียดในการท�ำงาน ผลการวิ เ คราะห์ ค วามถดถอยพหุ คู ณ พบว่ า ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคโดยรวม สามารถท�ำนายพฤติกรรมองค์การเชิงบวกได้รอ้ ยละ 15.0 และมีคา่ สัมประสิทธิค์ วามถดถอย (B) เท่ากับ .364 มีคา่ ความคงทีเ่ ท่ากับ 61.083 มีความคลาดเคลือ่ นมาตรฐาน ในการท�ำนายเท่ากับ .036 แต่ไม่พบอ�ำนาจในการท�ำนาย พฤติกรรมองค์การเชิงบวกของความเครียดในการท�ำงาน ที่มีค่าถึงระดับที่ยอมรับได้ทางสถิติ
สรุปและอภิปรายผลการวิจัย
การศึกษาในครัง้ นีพ้ บว่า ความสามารถในการเผชิญ และฝ่าฟันอุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรม องค์การเชิงบวก และมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียด ในการท�ำงาน โดยพบผลสอดคล้องว่า ความเครียด
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
118
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ในการท�ำงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมองค์การ เชิงบวก นอกจากนี้พบว่า ความสามารถในการเผชิญ และฝ่าฟันอุปสรรคสามารถท�ำนายพฤติกรรมองค์การ เชิงบวกของพนักงานได้ ผลทีพ่ บนีส้ อดคล้องกับงานวิจยั ทีผ่ า่ นมา เช่น งานวิจยั ของพรสุภา วสุนธรา (2549) ที่พบว่าความสามารถ ในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางบวก กับความรับผิดชอบในงานด้านการยอมรับในการกระท�ำผิด ของตนและปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด รองลงมาคือ ด้าน การท�ำงานโดยค�ำนึงถึงคุณภาพการท�ำงาน นัน่ คือ บุคคล ที่มีความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคสูง จะมีความสามารถในการควบคุมต่อภาวะกดดันหรือ สถานการณ์ที่ยากล�ำบากได้ (Control) สามารถหา หนทางแก้ไข เพือ่ ทีจ่ ะน�ำตนเองก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆ นัน้ ไปได้ แต่บคุ คลทีม่ คี วามสามารถในการเผชิญและฝ่าฟัน อุปสรรคต�ำ่ จะไม่มพี ลังในการควบคุมปัญหา ไม่สามารถใช้ พลังทีม่ อี ยูใ่ นตนเองมาแก้ไขปัญหา ท�ำให้เกิดการหลีกหนี และล้มเลิก คนทีม่ คี วามสามารถในการเผชิญและฝ่าฟัน อุปสรรคสูงจะสามารถหาสาเหตุของปัญหา (Origin and Ownership) เมื่อพบว่า ปัญหาเกิดขึ้นจากตนเองก็จะ รับผิดชอบปัญหานัน้ หาทางแก้ไขอย่างมีสติ รับผิดชอบ ในส่วนของตน ไม่โยนความรับผิดชอบให้ผู้อื่น เรียนรู้ สถานการณ์ทผี่ ดิ พลาดต่างๆ เพือ่ น�ำไปสูก่ ารแก้ไข (Stoltz & Weihenmayer, 2006) ซึ่งในการท�ำงานบุคลากร ทุกคนในองค์การอาจเจอกับปัญหาอุปสรรคได้ตลอด บุคคลทีม่ จี ติ ใจทีเ่ ข้มแข็ง มีพลังไปสูเ่ ป้าหมายจะกล้าเผชิญ กับอุปสรรคในการท�ำงานอย่างไม่ย่อท้อ ทุ่มเทเพื่อไป ข้างหน้า รับรูแ้ ละใช้ศกั ยภาพในตนเอง แสดงพฤติกรรม ต่างๆ ในทางบวก ท�ำให้เกิดประสิทธิภาพในการท�ำงาน ซึ่งการศึกษาของอาทิตา กลับเพิ่มพูน (2549) พบว่า ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคมีความ สั ม พั น ธ์ กั บ การมองโลกในแง่ ดี แ ละบุ ค ลิ ก ภาพแบบ การแสดงตัว แบบเปิดกว้างต่อประสบการณ์ แบบ ประนีประนอม และแบบมีจิตส�ำนึก งานวิจยั ของนักวิชาการต่างประเทศ เช่น Seligman,
Peterson, Maier และ Dweck (Stoltz, 1997) ศึกษาพบว่า การรับรู้การไร้ความสามารถของบุคคล เป็นสาเหตุให้คนยอมแพ้ปัญหา คือ เมื่อบุคคลไม่เชื่อ ความสามารถในตนเองรับรู้ว่าตนเองไม่มีความสามารถ ไม่เชือ่ ประสิทธิภาพของตนเอง จะเป็นพลังทีจ่ ะขัดขวาง ในการกระท�ำสิง่ ต่างๆ ส่วนบุคคลทีร่ บั รูว้ า่ ตนเองมีความ สามารถจะสามารถเผชิญกับปัญหา ค้นหาหนทางแก้ไข เพื่อก้าวผ่านสิ่งนั้นไปได้ นอกจากนี้ งานวิจัยของศุภนุช สุดวิไล (2550) พบว่า ความสามารถในการเผชิญและ ฝ่าฟันอุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียด ในการท�ำงาน โดยความเครียดเป็นตัวกระตุน้ และขัดขวาง พฤติกรรม ถ้าพนักงานมีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถ แก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ ก็จะมีความเครียดทีน่ อ้ ยลง มีพลัง ไปสู่จุดมุ่งหมาย แต่การจัดการความเครียดที่เหมาะสม จะเป็นสิง่ ทีช่ ว่ ยให้เกิดพลัง เกิดความสามารถในการแก้ไข ปัญหาต่างๆ ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคเป็น ศาสตร์ทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้จริงที่มีการยืนยัน จากการปรับใช้กบั บุคคลในองค์การต่างๆ ทัว่ โลก ท�ำให้ ความสามารถในการเผชิ ญ และฝ่ า ฟั น อุ ป สรรคเป็ น แนวคิดใหม่ที่จะช่วยให้บุคคลประสบความส�ำเร็จได้ ถ้าพนักงานมีความเชื่อมั่นในตนเองว่า สามารถผ่าน หรือแก้ไขอุปสรรคต่างๆ ได้ ก็จะมีความเครียดทีน่ อ้ ยลง มีความท้าทายมากขึ้น มีพลังที่จะเอาชนะสิ่งต่างๆ ไปสู่ จุดมุ่งหมาย โดยบุคคลที่มีความสามารถในการเผชิญ อุปสรรคสูง ความเครียดที่ต�่ำ จะเป็นคนที่มีพฤติกรรม องค์การเชิงบวก ตามผลทีพ่ บในการศึกษานี้ โดยพฤติกรรม องค์การเชิงบวกเป็นสิง่ ทีอ่ ยูใ่ นตัวบุคคลทีส่ ามารถวัดและ พัฒนาได้ เป็นสิง่ ทีช่ ว่ ยบุคคลในการจัดการการปฏิบตั งิ าน ให้มีประสิทธิภาพ (Luthan, 2008)
ข้อเสนอแนะในการน�ำผลวิจัยไปใช้
1. องค์การควรส่งเสริมพัฒนาให้พนักงานมีความ สามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ จะท�ำให้ พนักงานมีพฤติกรรมองค์การเชิงบวกเพิม่ ขึน้ ซึง่ พนักงาน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ที่มีความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคเพิ่ม มากขึน้ จะมีความเครียดในการท�ำงานลดลงพร้อมกันไป โดยองค์การอาจเน้นพัฒนาทักษะความรู้ในการท�ำงาน ในการจัดการ ควบคุม และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ในองค์การ ไม่ปล่อยให้ปัญหายืดเยื้อจนยากที่จะแก้ไข ในภายหลัง 2. ในการควบคุ ม หรื อ ปรั บ ลดความเครี ย ดของ พนักงาน องค์การสามารถพิจารณาปรับแก้ที่ (1) ตัวงาน (Intrinsic to the job) (2) บทบาทหน้าที่ (Role in the organization) (3) การพัฒนาอาชีพ (Career Development) (4) ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Relationships at work) และ (5) ด้านโครงสร้างและ บรรยากาศในองค์การ (Organizational structure) ซึ่งการศึกษาครั้งนี้พบว่า เป็นองค์ประกอบส�ำคัญของ ความเครียดในการท�ำงาน
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ผูส้ นใจควรศึกษาหาวิธกี ารพัฒนาความสามารถ
119
ในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค โดยอาจท�ำการวิจัย เชิงทดลอง หรือการวิจัยประเมินผลการอบรมพัฒนา เพื่อค้นหาวิธีการที่ดีที่สุด ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล ในการพั ฒ นาความสามารถในการเผชิ ญ และฝ่ า ฟั น อุปสรรค รวมทั้งตรวจสอบผลของการอบรมพัฒนาที่ เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมองค์การเชิงบวกของพนักงาน ให้แน่ชัดอีกครั้งหนึ่ง 2. ควรมีการศึกษาทดสอบความเป็นมาตรฐานของ แบบสอบถามทั้ง 3 ฉบับ แม้การศึกษาครั้งนี้จะพบว่า แบบสอบถามทัง้ 3 ฉบับมีคณ ุ ภาพดี แต่คา่ ความสัมพันธ์ และค่าอ�ำนาจในการท�ำนายตัวแปรผลยังไม่สูงเด่นชัด นอกจากนี้แบบสอบถามทั้ง 3 ฉบับอิงแนวคิดทฤษฎี ของตะวันตกอย่างมาก จึงควรมีการทดสอบความเป็น มาตรฐานในหลายกลุ่มประชากรและตัวอย่าง รวมทั้ง อาจปรับข้อค�ำถามให้องิ แนวคิดทางตะวันออก เพือ่ ให้ได้ แบบวัดที่เหมาะสมกับพนักงานไทยที่ทำ� งานในองค์การ ประเทศไทย
บรรณานุกรม
จุฬาลักขณ์ ปรีชากุล. (2549). การศึกษาปัจจัยชีวสังคมทีเ่ กีย่ วข้องกับการรับรูค้ วามสามารถของตนเองและความเครียด ในการท�ำงานของตัวแทนประกันชีวิตบริษัทเมืองไทยประกันชีวิตจ�ำกัด. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ธนวรรณ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์. นฤมล เรืองรุ่งขจรเดช. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค การสนับสนุน ทางสังคมและความเครียดในการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษาบริษัทพัฒนาโปรแกรมระบบงานแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. พรสุภา วสุนธรา. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคกับความรับผิดชอบ ในงานของนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ. วรัญญพร ปานเสน. (2550). ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค ความผูกพันใจต่อเป้าหมายและวิธีการ สร้างอิทธิพลทีส่ ง่ ผลต่อผลการปฏิบตั งิ านของนักธุรกิจอิสระของธุรกิจขายตรงหลายชัน้ . วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิภาดา คุปตานนท์. (2551). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ เทคนิคการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย รังสิต. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
120
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ศุภนุช สุดวิไล. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองความสามารถในการเผชิญ และฝ่าฟันอุปสรรค และความเครียดในการท�ำงานของพนักงานในบริษทั เอกชนแห่งหนึง่ . สารนิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สุมาลินี มธุรพจน์พงศ์. (2555). ความหวังการมองโลกในแง่ดี และความสามารถในการฟืน้ คืนได้: ตัวแปรท�ำนายผลงาน ความพึงพอใจ ความสุขในการท�ำงานและความผูกพันกับองค์การ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 5(3), 306-318. อาทิตา กลับเพิ่มพูน. (2549). การมองโลกในแง่ดี บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ และความสามารถในการเผชิญและ ฝ่าฟันอุปสรรค ศึกษาเฉพาะกรณีหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. Beheshtifar, M. & Nazarian, R. (2013). Role of occupational stress in Organization. Journal of Contemporary Research in Business, 4(9), 648-657. Cartwright, S. & Cooper, C. (2014). Bridging occupational, organizational and public health. Dordrecht: Springer. Greenberg, J. (2005). Managing behavior in organization. New York: Pearson Education. Luthans, F. & Youssef, C. M. (2007). Emerging positive organizational behavior. Journal of Management, 33(3), 321-349. Luthans, F. (2002). The need for and meaning of positive organizational behavior. Journal of Organizational Behavior, 23(6), 695-706. Luthans, F. (2008). Organization behavior (11th ed.). Singapore: McGraw-hill. Rossi, A. M., Quick, J. C. & Perrewé, P. L. (2009). Stress and Quality of Working Life: The Positive and the Negative. Charlotte, N.C.: Information Age. Stoltz, P. G. & Weihenmayer, E. (2006). The Adversity Advantage: Turning Everyday Struggles into Everyday Greatness. New York: Simon & Schuster. Stoltz, P. G. (1997). Adversity Quotient: Turning obstacles into opportunities. New York: John Wiley and sons.
Translated Thai References
Glubpermpoon, A. (2006). Optimism, the big five personality types and adversity quotient: a case study of a government organization. Master’s Thesis, Thammasat University. [in Thai] Kuptarnon, W. (2008). Management and organizational behavior: Modern management techniques. Bangkok: Rangsit University. [in Thai] Maturapodpong, S. (2012). Hope, optimism, and resilience as predictors of performance, job satisfaction, work happiness, and organizational commitment. Veridian E-Journal, 5(3), 306-318. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
121
Parnsen, W. (2007). Affect of Adversity Quotient, Goal Commitment and Influence Tactics on Performance of Independent Business Owner in Multilevel Direct Marketing. Master’s Thesis, Thammasat University. [in Thai] Preechakul, J. (2006). A Study of Biosocial Factors as related to Self-efficacy and Job Stress of MuangThai Life Assurance Agents. Independent Study, Srinakharinwirot University. [in Thai] Ruangrungkhajondech, N. (2007). The relationship between adversity quotient, social support and job stress: a case study of software house. Master’s Thesis, Thammasat University. [in Thai] Sudwilai, S. (2007). A Study of the Relationship between Perceived Self-Efficacy, Adversity Quotient, and Job Stress in a Private Company. Independent Study, Thammasat University. [in Thai] Tangsinsapsiri, T. (2007). Organization Behavior. Bangkok: Thanathud printing. [in Thai] Wasoontara, P. (2006). Relationships between Adversity Quotient (AQ) and Responsibility on the Job of Programmers. Master’s Thesis, King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok. [in Thai]
Name and Surname: Sirikarn Pensirikul Highest Education: Master’s Degree in Humane Resource Development University or Agency: National Institute of Development Administration (NIDA) Field of Expertise: Humane Resource Development Address: 27 Sukumvit 103, Bangna, Bangkok 10260
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
122
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
แนวทางการสร้างความสุขในการท�ำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ร้านสะดวกซื้อในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล A CASE STUDY OF CREATING OPERATIONAL EMPLOYEES HAPPINESS GUILDELINE IN THE WORKPLACE: SOME CONVENIENCE STORES LOCATED IN BANGKOK AND METROPOLITAN ภคกฤช สุวรรณมา1 และธนาสิทธิ์ เพิ่มเพียร2 Pakakit Suwanmar1 and Thanasit Phoemphian2 1,2คณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 1,2Faculty of Management Sciences, Panyapiwat Institute of Management
บทคัดย่อ
การวิจยั นี้ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ (1) ศึกษาระดับความสุขในการท�ำงานของพนักงานระดับปฏิบตั กิ ารร้านสะดวกซือ้ แห่งหนึ่ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2) ศึกษาเปรียบเทียบความสุขในการท�ำงานของพนักงานระดับ ปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อ จ�ำแนกตามวุฒิการศึกษา ระดับต�ำแหน่งงาน และประสบการณ์การท�ำงาน (3) เพื่อเสนอ แนวทางการสร้างความสุขในการท�ำงานของพนักงานระดับปฏิบตั กิ ารร้านสะดวกซือ้ แห่งหนึง่ ในพืน้ ทีก่ รุงเทพมหานคร และปริมณฑล กลุม่ ตัวอย่างในการวิจยั เป็นพนักงานระดับปฏิบตั กิ ารร้านสะดวกซือ้ แห่งหนึง่ จ�ำนวน 403 คน โดยใช้ วิธกี ารสุม่ ตัวอย่างแบบสองขัน้ ตอน เครือ่ งมือการวิจยั ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ขอ้ มูล โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่มผู้บังคับบัญชา ของพนักงานระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง จ�ำนวน 12 คน ผลการศึกษาจ�ำแนกตามวัตถุประสงค์พบว่า (1) พนักงานระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อ มีความสุขในการ ท�ำงานในระดับมากเกือบทุกองค์ประกอบ ยกเว้นองค์ประกอบทางด้านกายที่มีระดับความสุขในการท�ำงานน้อย (2) เมือ่ เปรียบเทียบความสุขในการท�ำงานของพนักงานระดับปฏิบตั กิ ารร้านสะดวกซือ้ จ�ำแนกตามวุฒกิ ารศึกษา พบว่า พนักงานทุกระดับการศึกษามีความสุขในการท�ำงาน โดยเฉพาะระดับปริญญาตรีมคี วามสุขมากทีส่ ดุ หากจ�ำแนกตาม ระดับต�ำแหน่งงานของพนักงานทั้งหมด พบว่า ผู้จัดการมีความสุขในการท�ำงานมากที่สุดในทุกๆ ด้าน และจ�ำแนก ตามประสบการณ์การท�ำงาน พบว่า พนักงานที่มีประสบการณ์การท�ำงาน 6-10 ปี มีความสุขในการท�ำงานมากกว่า ระดับอื่น (3) แนวทางการสร้างความสุขในการท�ำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง ผู้วิจัย พบว่ามีทั้งหมด 7 แนวทางในการสร้างความสุข ได้แก่ 1) ใส่ใจ 2) ส่งเสริม 3) สร้างภูมิ 4) สื่อสาร 5) สานสัมพันธ์ 6) สนุกสนาน และ 7) สังสรรค์ ค�ำส�ำคัญ: ความสุขในการท�ำงาน พนักงานระดับปฏิบัติการ ร้านสะดวกซื้อ Corresponding Author E-mail: pakakit@hotmail.com
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
123
Abstract
The purpose of this case study research is to (1) study operational employees happiness levels in the workplace, (2) to compare operational employees happiness classified by educational level, positional level, and working experience, and (3) to recommend the guideline of creating operational employees happiness in the workplace. The population sample were 403 operational employees. This research used stratified random sampling method and used a set or five rating scale questionnaire to collect data. The researcher used one-way variance analysis to analyze data. In addition, the researcher also analyzed content from group discussion of 12 operational employee supervisors. The results of the study were 1) level of operational employees happiness more in high level, 2) the researcher found that when comparing operational employees educational level, positional level and working experience, undergraduate operational employees were the most happiest group and other educational level were just happy. Managerial position was happier than other positions. Moreover, operational employees, who had 6-10 years of working experience, were the most happiest group at work, and 3) the researcher found that there were seven ways of creating happiness at work for operational employees including 1) empathy, 2) encouragement, 3) building strength, 4) communication, 5) corporation, 6) fun, 7) party. Keywords: Happiness in workplace, Operational employees, Convenience Stores
บทน�ำ
มนุษย์ทกุ คนบนโลกใบนีล้ ว้ นแล้วแต่ตอ้ งการความสุข ในชีวติ ด้วยกันทัง้ สิน้ เห็นได้จากค�ำอวยพรในทุกเทศกาล ทุกโอกาส ทีม่ กั จะอวยพรขอให้มคี วามสุข ดังทีเ่ ดวิด ฮูม นักปรัชญาชาวอังกฤษให้เหตุผลว่า “จุดมุง่ หมายทีย่ งิ่ ใหญ่ ในความพากเพียรอุตสาหะทั้งมวลของมนุษย์ ก็คือการ ได้ รั บ ความสุ ข ” ทาล เบน-ซาฮาร์ (Ben-Shahar, 2007: 58) ความสุขในการท�ำงานเป็นอีกหนึง่ ความส�ำคัญ ของการด�ำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกคน เพราะการท�ำงาน เป็นส่วนส�ำคัญในการด�ำเนินชีวิตของมนุษย์ เห็นได้ว่า ในการท�ำงาน เราจะใช้ชวี ติ และให้เวลามากกว่าการอยูก่ บั ครอบครัว หากทุกคนมีความสุขในการท�ำงาน ผลงาน ทีไ่ ด้จะมีประสิทธิภาพ คุณภาพในทุกๆ ด้าน เห็นได้จาก แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉ บั บ ที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ที่มุ่งเน้นถึงความเชื่อมโยงระหว่าง
ทุน 6 ทุน ได้แก่ ทุนธรรมชาติ ทุนกายภาพ ทุนสังคม ทุนมนุษย์ ทุนการเงิน และทุนวัฒนธรรม ซึง่ เห็นได้อย่าง ชัดเจนว่า ทุนทั้ง 6 นั้นมีส่วนท�ำให้คุณภาพชีวิตและ ความสุขของมนุษย์เกิดขึ้น ปัจจุบันร้านสะดวกซื้อมีจ�ำนวนสาขาและลูกค้า ทีเ่ ข้ามาใช้บริการเป็นจ�ำนวนมาก และเป็นทีน่ ยิ ม องค์การ จึงต้องท�ำให้พนักงานมีใจอยากให้บริการ อันจะส่งผลต่อ ประสิทธิภาพของการท�ำงาน (ส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะ องค์กร, 2556) นอกจากนี้ร้านสะดวกซื้อควรให้ความส�ำคัญและ ใส่ใจกับเรื่องความสุขในการท�ำงานของพนักงานระดับ ปฏิบตั กิ ารร้านสะดวกซือ้ เพราะเป็นปัจจัยส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ ธุรกิจการบริการเติบโต มั่นคง อันจะส่งผลให้ลูกค้าเกิด ความพึงพอใจต่อการได้รับบริการจากพนักงาน ซึ่งตัว พนักงานต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุขเป็นอันดับต้น
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
124
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
จึงสามารถหยิบยื่นการบริการที่ดี ดังนั้นพนักงานระดับ ปฏิบตั กิ ารร้านสะดวกซือ้ ทุกระดับต้องมีความสุข สามารถ ให้บริการด้วยความสุข มีความคิดทีเ่ ป็นบวก เป็นประโยชน์ ต่อตนเอง ต่อเพือ่ นร่วมงาน และลูกค้า ในการให้บริการ พนักงานที่ปฏิบัติงานภายในร้าน ถือว่าเป็นส่วนส�ำคัญ ที่สุดขององค์การ เพราะเป็นหน้าด่านที่ต้องให้บริการ และรับมือกับลูกค้า ดังนัน้ เมือ่ พนักงานระดับปฏิบตั กิ าร ร้านสะดวกซื้อมีความสุข ก็สามารถส่งต่อความสุขไปถึง ลูกค้า ท�ำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและเกิดความพึง พอใจ ผูว้ จิ ยั จึงได้สนใจศึกษาแนวทางการสร้างความสุข ในการท�ำงานของพนักงานระดับปฏิบตั กิ ารร้านสะดวกซือ้ แห่งหนึ่ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่ อ ศึ ก ษาระดั บ ความสุ ข ในการท� ำ งานของ พนักงานระดับปฏิบตั กิ ารร้านสะดวกซือ้ แห่งหนึง่ ในพืน้ ที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสุขในการท� ำงาน ของพนักงานระดับปฏิบตั กิ ารร้านสะดวกซือ้ จ�ำแนกตาม วุฒิการศึกษา ระดับต�ำแหน่งงาน และประสบการณ์ การท�ำงาน 3. เพือ่ เสนอแนวทางการสร้างความสุขในการท�ำงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ทบทวนวรรณกรรม
Kjerulf (2014) กล่าวว่า ความสุขในการท�ำงาน คือความรู้สึกของความสุขที่รับจากการท�ำงาน การรู้สึก สนุกสนาน การได้งานทีย่ งิ่ ใหญ่และรูส้ กึ ถึงความภาคภูมใิ จ
จากการได้ท�ำงาน การเห็นคุณค่าของงานที่ท�ำร่วมกับ บุคคลอื่นๆ ศิรนิ นั ท์ กิตติสขุ สถิต และคณะ (2555) ให้ความหมาย ของความสุขของคนท�ำงานไว้คือ ประสบการณ์และ ความรู้สึกของคนท�ำงานที่ต้องการให้ตนเป็นที่ยกย่อง และยอมรับจากคนทัว่ ไป การได้ทำ� งานในทีท่ ำ� งานทีม่ นั่ คง มีความก้าวหน้า เข้าถึงโอกาสในการพัฒนาอย่างทั่วถึง ผู้บังคับบัญชามีความเมตตาและกรุณา มีเพื่อนร่วมงาน ที่จริงใจ ได้รับสวัสดิการที่พอเพียง และได้รับความ ปลอดภัยจากการท�ำงาน ถ้าคนท�ำงานได้รับสิ่งต่างๆ ดังกล่าวอย่างบ่อยครั้งและต่อเนื่อง ก็จะท�ำงานอย่างมี ความสุข องค์การควรมีสขุ ภาวะทีด่ ี 3 มิติ คือ ใจ กาย สังคม องค์การสามารถน�ำมาพัฒนาประยุกต์ให้เกิดการจัด กิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพการท�ำงานเพื่อให้เกิด ความสุขแก่พนักงานได้เป็นอย่างดี ความสุขในการท�ำงาน สามารถเกิดขึ้นได้จากองค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านใจ คือ อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของตัวบุคคลที่ส่งผลกับ ตนเอง ประกอบด้วยความภูมใิ จในตนเอง การเห็นคุณค่า ในตนเอง เจตคติต่องานที่ท�ำ ด้านกาย คือ ความพร้อม ของสุขภาพกาย ความสามารถในการท�ำงาน และด้าน สังคมและองค์การ คือ สัมพันธภาพในการท�ำงาน นโยบาย การบริหารงานและค่านิยมร่วม สภาพแวดล้อมและ สิง่ อ�ำนวยความสะดวกในการท�ำงาน และความเหมาะสม ของค่ า ตอบแทน (รวมศิ ริ เมนะโพธิ , 2550: 31) นอกจากนีผ้ วู้ จิ ยั ได้ศกึ ษาและทบทวนวรรณกรรม ท�ำให้ ได้พบองค์ประกอบของความสุขในการท�ำงานเพิ่มเติม ดังนี้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
125
วิธีการวิจัย
/
/
/
/
/
/
/
/
/
Warr (2007)
/
Chamorro-Premuzic, Bennett & Furnham (2007)
/
/ / /
Chiumento Institution (2006)
/ / / /
Anderson (2004)
/ / / /
Biswas-Diener (2003)
นิสารัตน์ ไวยเจริญ และคณะ (2554)
/ / / /
/ / / / /
สิรินธร แซ่ฉั่ว (2553)
1. ความภูมิใจในตนเอง ใจ 2. การเห็นคุณค่าในตนเอง 3. เจตคติต่องานที่ท�ำ 1. ความพร้อมของสุขภาพกาย กาย 2. ความสามารถในการท�ำงาน 1. สัมพันธภาพในการท�ำงาน 2. นโยบายการบริหารงานและ ค่านิยมร่วม สังคมและ องค์การ 3. สภาพแวดล้อมและสิ่งอ�ำนวย ความสะดวกในการท�ำงาน 4. ความเหมาะสมของค่าตอบแทน
สสส. (2552)
องค์ประกอบ
นันทรัตน์ อุ่ยประเสริฐ (2552)
ความสุข ในการ ท�ำงาน
รวมศิริ เมนะโพธิ (2550)
ตารางที่ 1 องค์ประกอบความสุขในการท�ำงาน
/ /
/
/
/
/
/
/
/
/
/ /
ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) กับกลุ่มตัวอย่างพนักงานระดับปฏิบัติการร้าน สะดวกซือ้ แห่งหนึง่ ในพืน้ ทีก่ รุงเทพมหานครและปริมณฑล จ�ำนวน 403 คน ใช้การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิง เนือ้ หา (Content Validity) โดยให้ผเู้ ชีย่ วชาญตรวจสอบ ความถูกต้อง และความครบถ้วนสมบูรณ์ ค่าดัชนีความ สอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์และเนื้อหา และน�ำค่า คะแนนระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทุกท่านมา คัดเลือกรายข้อ โดยคัดเลือกเฉพาะข้อค�ำถามทีม่ คี า่ ดัชนี ความสอดคล้องตัง้ แต่ 0.5 ขึน้ ไป จัดท�ำเป็นต้นฉบับและ น�ำไปทดลองใช้กับกลุ่มที่มีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอย่าง
ในการวิจัย จ�ำนวน 30 คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของ เครือ่ งมือด้วยการหาค่าความเชือ่ มัน่ (Reliability) และ ค่าอ�ำนาจจ�ำแนก (Discrimination) และการเก็บข้อมูล เชิงคุณภาพ (Qualitative Data) โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้บังคับบัญชาของพนักงานระดับ ปฏิบตั กิ ารร้านสะดวกซือ้ แห่งหนึง่ ในพืน้ ทีก่ รุงเทพมหานคร และปริมณฑล จ�ำนวน 12 คน แยกเป็นระดับผู้ช่วย ผู้จัดการเขต 8 คน และระดับผู้จัดการเขต 4 คน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1. วิ เ คราะห์ ลั ก ษณะส่ ว นบุ ค คลของผู ้ ต อบ แบบสอบถามระดับความสุขในการท�ำงาน โดยแจกแจง รายละเอียดของตัวแปรทีศ่ กึ ษาโดยใช้สถิตพิ รรณนา คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
126
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 2. วิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ด้ า นความสุ ข ในการท� ำ งาน โดยแจกแจงรายละเอียดของตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้สถิติ พรรณนา คือ ค่าเฉลีย่ (Mean) ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 3. วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปร ที่ศึกษาในความสุขในการท�ำงาน โดยใช้สถิติอ้างอิง ทดสอบ ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เมือ่ พบว่ามีความแตกต่างระหว่าง กลุ่มใช้การทดสอบเป็นรายคู่ 4. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ในรูปแบบของการ พรรณนาและสรุปแยกออกเป็นแนวทางการสร้างความสุข ในการท�ำงาน
ผลการวิจัย
จากการศึกษาผู้วิจัยได้น�ำเสนอผลการศึกษาข้อมูล ในการวิจัยออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1. การวิเคราะห์ขอ้ มูลส่วนบุคคลของพนักงานระดับ ปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.7 มีอายุอยู่ในช่วง 21-30 ปี ร้อยละ 50.4
ส่วนใหญ่สถานภาพโสด ร้อยละ 70 จบการศึกษาระดับ ต�่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 75.7 ระดับต�ำแหน่งงาน ในปัจจุบนั พบว่า เป็นผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การร้าน / ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การ ร้านฝึกหัด ร้อยละ 38.0 ด้านประสบการณ์การท�ำงาน มากที่สุดคือ 1-5 ปี ร้อยละ 42.2 และกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มรี ายได้เฉลีย่ รวมต่อเดือนที่ 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 60.8 2. การวิเคราะห์ข้อมูลด้านความสุขในการท�ำงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อ จ�ำแนก ตามวุฒิการศึกษา ระดับต�ำแหน่งงานในปัจจุบัน และ ประสบการณ์การท�ำงาน ผลวิจัยความสุขในการท�ำงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อ พบว่า มีความสุขในการท�ำงานด้านใจ ความภูมิใจในตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเอง เจตคติตอ่ งานทีท่ ำ� ความสามารถ ในการท�ำงาน สังคมและองค์กร นโยบายการบริหารงาน และค่านิยมร่วม สภาพแวดล้อมและสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกในการท�ำงาน และความเหมาะสมของค่าตอบแทน อยู่ในระดับมาก ส่วนทางด้านกาย และสัมพันธภาพ ในการท�ำงานมีความสุขอยู่ในระดับปานกลาง และ ความสุขด้านความพร้อมของสุขภาพกายอยูใ่ นระดับน้อย แสดงผลตามตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ภาพรวมของความสุขในการท�ำงาน จ�ำแนกตามวุฒิการศึกษา ระดับต�ำแหน่งงานในปัจจุบัน และ ประสบการณ์การท�ำงาน องค์ประกอบของความสุขในการท�ำงาน
ความสุข 1. ใจ 1.1 ความภูมิใจในตนเอง 1.2 การเห็นคุณค่าในตนเอง 1.3 เจตคติต่องานที่ท�ำ 2. กาย 2.1 ความพร้อมของสุขภาพกาย 2.2 ความสามารถในการท�ำงาน
M 3.69 4.11 4.18 3.96 4.19 3.05 2.16 3.94
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
S.D. 0.43 0.51 0.54 0.62 0.57 0.63 1.08 0.62
ระดับความสุขในการท�ำงาน มาก มาก มาก มาก มาก ปานกลาง น้อย มาก
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
127
ตารางที่ 2 ภาพรวมของความสุขในการท�ำงาน จ�ำแนกตามวุฒิการศึกษา ระดับต�ำแหน่งงานในปัจจุบัน และ ประสบการณ์การท�ำงาน (ต่อ) องค์ประกอบของความสุขในการท�ำงาน 3. สังคมและองค์กร 3.1 สัมพันธภาพในการท�ำงาน 3.2 นโยบายการบริหารงานและค่านิยมร่วม 3.3 สภาพแวดล้อมและสิง่ อ�ำนวยความสะดวกในการท�ำงาน 3.4 ความเหมาะสมของค่าตอบแทน
M 3.90 3.50 4.30 3.99 3.82
S.D. 0.50 0.52 0.56 0.61 0.90
ระดับความสุขในการท�ำงาน มาก ปานกลาง มาก มาก มาก
(n = 403) 3. การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความสุขในการ ท�ำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อ ได้แก่ 1) จ�ำแนกตามวุฒิการศึกษาพบว่า ความสุข ในการท�ำงานของพนักงานระดับปฏิบตั กิ ารร้านสะดวกซือ้ ด้านความสุขด้านใจ (ความภูมใิ จในตนเอง, การเห็นคุณค่า ในตนเอง, เจตคติตอ่ งานทีท่ ำ� ) ด้านกาย (ความสามารถ ในการท�ำงาน) ด้านสังคมและองค์การ (สัมพันธภาพ ในการท�ำงาน) มีระดับความสุขในการท�ำงานแตกต่างกัน โดยปริญญาตรีมีความสุขมากกว่าวุฒิการศึกษาต�่ำกว่า ปริญญาตรี ที่ระดับนัยส�ำคัญทางสถิติ .05 ส่วนความสุขทางด้านกาย (ความพร้อมของ สุขภาพกาย) ด้านสังคมและองค์การ (นโยบายการบริหาร งานและค่านิยมร่วม, สภาพแวดล้อมและสิง่ อ�ำนวยความ สะดวกในการท�ำงาน, ความเหมาะสมของค่าตอบแทน) มีระดับความสุขในการท�ำงานไม่แตกต่างกัน 2) จ�ำแนกตามระดับต�ำแหน่งงานในปัจจุบัน พบว่า ความสุขในการท�ำงานของพนักงานระดับปฏิบตั กิ าร ร้านสะดวกซือ้ มีระดับความสุขในการท�ำงานแตกต่างกัน ทุกองค์ประกอบ ทีร่ ะดับนัยส�ำคัญทางสถิติ .05 โดยด้าน ความสุขด้านใจ (ความภูมิใจในตนเอง, การเห็นคุณค่า ในตนเอง, เจตคติตอ่ งานทีท่ ำ� ) ด้านกาย (ความสามารถ ในการท�ำงาน) ด้านสังคมและองค์การ (สัมพันธภาพ ในการท�ำงาน) ผูจ้ ดั การมีความสุขมากกว่าพนักงาน และ
ผู้ช่วยผู้จัดการ ด้ า นกาย (ความพร้ อ มของสุ ข ภาพกาย) ผู้จัดการมีความสุขมากกว่าพนักงาน และด้านสังคมและองค์การ (นโยบายการ บริหารงานและค่านิยมร่วม) ผูจ้ ดั การมีความสุขมากกว่า ผู้ช่วยผู้จัดการ (สภาพแวดล้อมและสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกในการท�ำงาน, ความเหมาะสมของค่าตอบแทน) พนักงาน และผูจ้ ดั การมีความสุขมากกว่าผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การ 3) จ�ำแนกตามประสบการณ์การท�ำงานพบว่า ความสุขในการท�ำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ร้านสะดวกซื้อด้านสังคมและองค์การ (สภาพแวดล้อม และสิง่ อ�ำนวยความสะดวกในการท�ำงาน) มีระดับความสุข ในการท�ำงานไม่แตกต่าง ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ มีระดับความสุขใน การท�ำงานแตกต่างกัน ที่ระดับนัยส�ำคัญทางสถิติ .05 ทัง้ ในด้านความสุขด้านใจ (ความภูมใิ จในตนเอง, การเห็น คุณค่าในตนเอง) ด้านกาย (ความสามารถในการท�ำงาน) พนักงานที่มีประสบการณ์การท�ำงาน 6-10 ปี และ 10 ปีขนึ้ ไป มีความสุขมากกว่าพนักงานทีม่ ปี ระสบการณ์ น้อยกว่า 1 ปี และ 1-5 ปี ด้านใจ (เจตคติต่องานที่ท�ำ) พนักงานที่มี ประสบการณ์การท�ำงาน 6-10 ปี มีความสุขมากกว่า พนักงานที่มีประสบการณ์ 1-5 ปี และพนักงานที่มี ประสบการณ์ 10 ปีขึ้นไป มีความสุขมากกว่าพนักงาน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
128
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 1 ปี และ 1-5 ปี ด้านกาย พนักงานทีม่ ปี ระสบการณ์การท�ำงาน 6-10 ปี มีความสุขมากกว่าพนักงานที่มีประสบการณ์ น้อยกว่า 1 ปี และพนักงานทีม่ ปี ระสบการณ์ 10 ปีขนึ้ ไป มีความสุขมากกว่าพนักงานที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 1 ปี และ 1-5 ปี (ความพร้อมของสุขภาพกาย) พนักงาน ทีม่ ปี ระสบการณ์ 10 ปีขนึ้ ไป มีความสุขมากกว่าพนักงาน ที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 1 ปี ด้ า นสั ง คมและองค์ ก าร (ความเหมาะสม ของค่าตอบแทน) พนักงานที่มีประสบการณ์การท�ำงาน 10 ปีขนึ้ ไปมีความสุขมากกว่าพนักงานทีม่ ปี ระสบการณ์ น้อยกว่า 1 ปี และ 1-5 ปี (นโยบายการบริหารงานและ ค่านิยมร่วม) พนักงานที่มีประสบการณ์ 10 ปีขึ้นไป มีความสุขมากกว่าพนักงานที่มีประสบการณ์ 1-5 ปี 4) แนวทางความสุขในการท�ำงานของพนักงาน ระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อ จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้บังคับบัญชาของพนักงานระดับ ปฏิบตั กิ ารร้านสะดวกซือ้ แห่งหนึง่ ในพืน้ ทีก่ รุงเทพมหานคร และปริมณฑล ผลการวิจยั พบแนวทางการสร้างความสุข ดังนี้ (1) การให้ความใส่ใจ คือ การให้ความสนใจ เรื่องความเป็นอยู่ เรื่องสุขภาพกาย เรื่องงาน รวมถึง การให้ความใส่ใจต่อเรื่องความรู้สึกของพนักงาน ให้ ความส�ำคัญกับความต้องการ ผลประโยชน์ และเรื่อง ความสัมพันธ์ที่ดี (2) การส่งเสริม คือ การทีผ่ บู้ งั คับบัญชามีการ ส่งเสริมให้พนักงานได้มีโอกาสพัฒนาตนเองในส่วน ของความก้าวหน้า การมีส่วนร่วมกับกิจกรรมบริษัทที่ เปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ การท�ำงานเป็นทีม รวมถึงการส่งเสริมให้พนักงานเติบโต พัฒนา และก้าวหน้า ในหน้าที่การงาน (3) การสร้างภูมิ คือ การมีความรูใ้ นการดูแล สุขภาพร่างกาย การสร้างทัศนคติที่ดี ปรับทัศนคติที่ดี ในการท�ำงาน รักและให้ความส�ำคัญกับงานที่ท�ำ รู้จัก แยกแยะเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัว
(4) การสื่ อ สารที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ คื อ กระบวนการการถ่ายทอด ส่งถ่ายโอนความหมายของ สารให้เข้าใจเป็นไปในรูปแบบที่เป็นกันเอง ใช้ถ้อยค�ำ ข้อความที่เป็นบวกหลากหลายช่องทาง และทั่วถึง (5) การสานสัมพันธ์ คือ การจัดกิจกรรม สานสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน ในรูปแบบของวัฒนธรรม ภายในร้าน เช่น การจัดกิจกรรมตามเทศกาลต่างๆ (6) การสร้ า งความสนุ ก สนาน คื อ การมี บรรยากาศในการท�ำงานที่ผ่อนคลาย บรรยากาศที่ไม่ เคร่งเครียด การท�ำงานที่สามารถท�ำด้วยความสบายใจ ไม่อึดอัด ไม่เป็นทางการ เป็นการสร้างสภาพแวดล้อม ที่สนุก มีความเป็นกันเองในการท�ำงาน (7) การสังสรรค์ คือ การฉลองความส�ำเร็จ เป็นระยะๆ ในทุกความส�ำเร็จเล็กๆ มีการตั้งเป้าหมาย เป็นระยะๆ ซึง่ เมือ่ ไหร่ทบี่ รรลุเป้าหมาย จะมีการจัดฉลอง ความส�ำเร็จ เพื่อให้พนักงานรู้สึกถึงความส�ำเร็จ
อภิปรายผล
1. ความสุ ข ในการท� ำ งานของพนั ก งานระดั บ ปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อมีความสุขในการท�ำงานอยู่ใน ระดับมากในด้านนโยบายการบริหารงานและค่านิยม ร่วม การมีเจตคติต่องานที่ท�ำ มีความภูมิใจในตนเอง สภาพแวดล้อมและสิง่ อ�ำนวยความสะดวกในการท�ำงาน การเห็นคุณค่าในตนเอง ความสามารถในการท�ำงาน สังคมและองค์การ และความเหมาะสมของค่าตอบแทน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสุขเท่ากับ 4.30, 4.19, 4.18, 3.99, 3.96, 3.94, 3.90 และ 3.82 ตามล� ำ ดั บ ส่วนเรื่องสัมพันธภาพในการท�ำงานมีค่าเฉลี่ยความสุข ในการท�ำงานอยูใ่ นระดับปานกลาง ค่าเฉลีย่ เท่ากับ 3.50 และองค์ประกอบทางด้านกายเรื่องความพร้อมของ สุขภาพกายมีคา่ เฉลีย่ ความสุขในการท�ำงานอยูใ่ นระดับ น้อย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.16 ซึ่งสอดคล้องกับ Kjerulf (2014) ทีก่ ล่าวว่า ความสุขในการท�ำงาน เช่น ความรูส้ กึ สนุกสนาน ความภาคภูมใิ จทีไ่ ด้ทำ� งานทีย่ งิ่ ใหญ่ การเห็น ถึงคุณค่าของงานที่ได้รับมอบหมายและคุณค่าในตัวเอง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
รวมถึงการท�ำงานร่วมกับบุคคลที่มีความสามารถ และ สอดคล้องกับงานวิจัยของรวมศิริ เมนะโพธิ (2550) ทีอ่ ธิบายว่า นโยบายการบริหารงานและค่านิยมร่วม คือ นโยบาย ทิศทางขององค์การ แนวทางการปฏิบัติตน โดยพนักงานอยู่ภายใต้เป้าหมายร่วมกันของพนักงาน ในองค์การ มีการร่วมกันก�ำหนดวิสยั ทัศน์ พันธกิจร่วมกัน เพือ่ เป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้องค์การและพนักงาน ก็จะเกิดความสุขในการท�ำงาน รวมถึงการมีเจตคติตอ่ งาน ที่ท�ำ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับทัศนคติ อารมณ์ ความรู้สึก และสอดคล้ อ งในเรื่ อ งความพร้ อ มของสุ ข ภาพกาย ที่กล่าวว่า หากกายไม่พร้อมกับการท�ำงานส่งผลต่อ ความสุข และด้วยพนักงานระดับปฏิบตั กิ ารร้านสะดวกซือ้ ท�ำงานเป็นผลัด เวลาการท�ำงานจึงเปลีย่ นแปลงแทบจะ ทุกวัน กิจวัตรประจ�ำวันไม่สม�่ำเสมอท�ำให้สุขภาพกาย ไม่ดี ความสุขในการท�ำงานจึงอยู่ในระดับน้อย นอกจากนี้นิสารัตน์ ไวยเจริญ (2554) กล่าวว่า การที่พนักงานปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองความต้องการ ของตนเองให้มีชีวิตที่ดี เกิดความรู้สึกชื่นชอบ พึงพอใจ ภาคภูมิใจที่ตนได้ใช้ความรู้ที่มีในการท�ำงาน สามารถ แสดงออกได้อย่างเต็มทีโ่ ดยอยูภ่ ายใต้การประพฤติปฏิบตั ิ ที่ดีงาม รวมถึงความพร้อมของสิ่งอ�ำนวยความสะดวก ค่าตอบแทนทีเ่ หมาะสม ทีก่ อ่ ให้พนักงานมีความสุขในการ ท�ำงานมากขึ้น เช่นเดียวกับพนักงานระดับปฏิบัติการ ร้านสะดวกซือ้ ทีม่ คี วามสุขในการท�ำงานโดยเฉลีย่ อยูใ่ น ระดับมาก 2. เปรียบเทียบความสุขในการท�ำงานของพนักงาน ระดับปฏิบตั กิ ารร้านสะดวกซือ้ จ�ำแนกตามวุฒกิ ารศึกษา ระดับต�ำแหน่งงานในปัจจุบนั และประสบการณ์การท�ำงาน พนักงานที่มีวุฒิการศึกษา ระดับต�ำแหน่งงาน ในปัจจุบัน และประสบการณ์ท�ำงานต่างกัน มีความสุข ในการท�ำงานแตกต่างกันเกือบทุกองค์ประกอบ ทีร่ ะดับ นัยส�ำคัญทางสถิติ .05 โดยภาพรวมพนักงานที่มีวุฒิ การศึกษาปริญญาตรีมีความสุขมากกว่าวุฒิการศึกษา ต�ำ่ กว่าปริญญาตรี ผู้จัดการมีความสุขมากกว่าพนักงาน และผู ้ ช ่ ว ยผู ้ จั ด การ และพนั ก งานที่ มี ป ระสบการณ์
129
การท�ำงาน 6-10 ปี และ 10 ปีขนึ้ ไป มีความสุขมากกว่า พนักงานที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 1 ปี และ 1-5 ปี เมือ่ เปรียบเทียบกับการศึกษาของอภิชาต ภูพ่ านิช (2551) ที่ ศึ ก ษาการใช้ ดั ช นี วั ด ระดั บ ความสุ ข ในการท� ำ งาน ของบุคลากร สังกัดส�ำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ พบว่า ผลการศึกษาไม่สอดคล้องกันใน ประเด็นที่ว่าข้อมูลส่วนบุคคลในด้านต�ำแหน่งงานและ ประสบการณ์การท�ำงานของพนักงานทีต่ า่ งกันไม่มอี ทิ ธิพล ต่อระดับความสุขในการท�ำงาน เนื่องจากผลการศึกษา ครั้งนี้พบว่า ความต่างกันในเรื่องของข้อมูลส่วนบุคคล ด้านดังกล่าวพบความแตกต่างของความสุขในการท�ำงาน แสดงว่า ต�ำแหน่งงานและประสบการณ์การท� ำงาน มีอิทธิพลต่อระดับความสุขในการท�ำงานของพนักงาน ระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อ หากน�ำมาเปรียบเทียบกับการศึกษาของจงจิต เลิศวิบูลย์มงคล (2547) ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล การได้รับการเสริมสร้างพลังอ�ำนาจ ในงาน แรงจูงใจใฝ่สมั ฤทธิก์ บั ความสุขในการท�ำงานของ พยาบาลประจ�ำโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐทีพ่ บว่า ผู้ที่มีประสบการณ์การท�ำงานมากกว่าจะมีความสุข ในการท�ำงานมากกว่า และต�ำแหน่งงานที่ต่างกันมีผล ต่อระดับความสุขในการท�ำงานที่แตกต่างกัน จึงพบว่า มีความสอดคล้องกับการศึกษานี้ เนือ่ งจากผลการศึกษา พบว่า พนักงานทุกต�ำแหน่งงานและทุกประสบการณ์ ท�ำงานมีความสุขในการท�ำงานแตกต่างกัน โดยผูจ้ ดั การ และผู้ที่มีประสบการณ์การท�ำงาน 6-10 ปี และ 10 ปี ขึ้นไป มีความสุขในการท�ำงานมากกว่าพนักงานและ ผู้ช่วยผู้จัดการ และผู้ที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 1 ปี และ 1-5 ปี อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ 0.05 ปัจจัยสุดท้ายคือ ความต่างกันในเรือ่ งวุฒกิ ารศึกษา ของพนั ก งานในการศึ ก ษานี้ พ บว่ า พนั ก งานที่ มี วุ ฒิ การศึกษาต่างกันมีความสุขในการท�ำงานอยู่ในระดับ แตกต่างกัน ทัง้ นี้ อาจเนือ่ งมาจากในการศึกษานี้ ประชากร เกือบทัง้ หมดมีวฒ ุ กิ ารศึกษาต�ำ่ กว่าปริญญาตรี จึงท�ำให้ ประชากรในกลุ่มการศึกษาระดับอื่นมีจ�ำนวนน้อยกว่า
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
130
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
กลุ่มที่มีวุฒิการศึกษาต�่ำกว่าปริญญาตรีอย่างชัดเจน ซึง่ อาจส่งผลท�ำให้มอี ำ� นาจในการจ�ำแนกต�ำ่ อีกทัง้ ความสุข ไม่ได้มาจากวุฒกิ ารศึกษาอย่างเดียว อาจมีปจั จัยอืน่ ทีม่ ี ความสัมพันธ์กับความสุขในการท�ำงานก็ได้ เช่น ปัจจัย แทรกซ้อนอย่างอืน่ ทีส่ ง่ ผลต่อความสุขในการท�ำงานของ พนักงาน แต่ไม่ได้มกี ารศึกษาในครัง้ นี้ และผลการศึกษานี้ สนับสนุนว่า วุฒกิ ารศึกษาต่างกัน ความสุขในการท�ำงาน ของพนักงานแตกต่างกัน 3. แนวทางความสุขในการท�ำงานของพนักงาน ระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อ จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) แนวทางสร้างความสุขในการท�ำงาน ของพนักงาน ผู้วิจัยสรุปเป็นแนวทาง 7ส สร้างสุข คือ การสร้างสุขในแบบคนท�ำงานร้านสะดวกซือ้ ได้แก่ 1) ใส่ใจ 2) ส่งเสริม 3) สร้างภูมิ 4) สื่อสาร 5) สานสัมพันธ์ 6) สนุกสนาน และ7) สังสรรค์ น�ำมาสร้างเป็นแผนภาพ ดังนี้
ภาพที่ 1 แนวทางการสร้างความสุขในการท�ำงานของ พนักงานระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อ
จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า ผลจากการ วิ จั ย นี้ ส อดคล้ อ งกั บ ผลการศึ ก ษาของศู น ย์ เ ครื อ ข่ า ย วิชาการเพือ่ สังเกตการณ์และวิจยั ความสุขชุมชน แผนงาน สุขภาวะองค์การภาคเอกชน ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) (2552) ที่ได้น�ำเสนอ แนวทางสร้างองค์การแห่งความสุขในด้าน Happy Body คือ การส่งเสริมสุขภาพของพนักงานให้แข็งแกร่งทัง้ กาย และจิตใจ คือ การมีสขุ ภาพกายและใจทีแ่ ข็งแรง เกิดจาก การรู้จักใช้ชีวิต รวมถึงการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ฉลอง ความส�ำเร็จเมือ่ บรรลุเป้าหมายทีก่ ำ� หนดไว้ เช่นเดียวกับ การศึกษาครัง้ นีก้ ค็ อื การสร้างภูมิ มีการสังสรรค์จดั ฉลอง ความส�ำเร็จให้แก่พนักงานระดับปฏิบตั กิ ารร้านสะดวกซือ้ พนักงานมีแรงจูงใจ และมีพลังทีจ่ ะสร้างผลงานทีด่ อี ย่าง ต่อเนื่อง หากน�ำมาเปรียบเทียบกับทฤษฎีแรงจูงใจของ Herzberg (1982) ที่กล่าวว่า บุคคลต้องการความสุข จากการท�ำงาน จึงต้องมีความสัมพันธ์กบั ผูบ้ งั คับบัญชา ผูใ้ ต้บงั คับบัญชา และเพือ่ นร่วมงาน คือ การติดต่อสือ่ สาร ที่ดี การสังสรรค์ การแสดงถึงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน สามารถท�ำงานร่วมกัน และมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน เป็นอย่างดี มีการท�ำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับ การศึกษาครั้งนี้ ในเรื่องการติดต่อสื่อสารที่ทั่วถึง มีการ สังสรรค์ มีการสานความสัมพันธ์ดว้ ยกิจกรรมต่างๆ เป็น การช่วยกระชับความสัมพันธ์ของพนักงานให้แน่นแฟ้น ยิ่งขึ้น
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
131
บรรณานุกรม
จงจิต เลิศวิบูลย์มงคล. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การได้รับการเสริมสร้างพลังอ�ำนาจในงาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กับความสุขในการท�ำงานของพยาบาลประจ�ำการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. นันทรัตน์ อุ่ยประเสริฐ. (2552). ความสุขในการท�ำงานของพนักงานบริษัท เฟิสท์ดรัก จ�ำกัด จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. นิสารัตน์ ไวยเจริญ และคณะ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการท�ำงานของพนักงานปฏิบัติการผลิตในบริษัท ยูแทคไทย จ�ำกัด (ส�ำนักงานใหญ่). หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. รวมศิริ เมนะโพธิ. (2550). เครือ่ งมือวัดการท�ำงานอย่างมีความสุข กรณีศกึ ษา นักศึกษาภาคพิเศษ ระดับปริญญาโท. สารนิพนธ์ หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ) คณะพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2555). คุณภาพชีวิต การท�ำงาน และความสุข. นครปฐม: โรงพิมพ์ธรรมดาเพรส. ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2552). ส่งความสุขสู่ทุกชุมชน (ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: บุ๊คสไมล์. ส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร. (2556). การส�ำรวจสุขภาวะและสวัสดิการ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: ส�ำนักสนับสนุน สุขภาวะองค์กร. สิรินทร แซ่ฉั่ว. (2553). ความสุขในการท�ำงานของบุคลากรเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ กลุม่ สือ่ และกลุม่ งานสร้างสรรค์เพือ่ การใช้งาน. วิทยานิพนธ์วทิ ยาศาสตร์บณ ั ฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. อภิชาต ภู่พานิช. (2551). การใช้ดัชนีวัดระดับความสุขในการท�ำงานของบุคลากร สังกัดส�ำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. Anderson, V. (2004). Research Methods in Human Resource Management. London: Chartered Institute of Personnel and Development. Ben-Shahar, T. (2007). Happiness: lessons from a new room. New York: The Penguin Press. Biswas-Diener, R. (2003). Authentizotic Climates and Employee Happiness: Pathways to Individual Performance?. Journal of Business Research, 61(7), 739-752. Chamorro-Premuzic, T., Bennett, E. & Furnham, A. (2007). The Happy Personality: Mediational Role of Trait Emotional Intelligence. Personality and Individual Differences, 42(8), 1633-1639. Chiumento Institution. (2006). Work and motivation. New York: John Wiley and Sons. Herzberg, F. (1982). The Motivation – Hygiene Theory Management and Motivation. In Vroom, V. H. & Decl, E. L. (Eds.). Baltimore, MD: Penguin Books. Kjeruft, A. (2014). Happy Hour is 9 to 5. Retrieved September 13, 2014, from http://positivesharing. com/happyhouris9to5/bookhtml/happyhouris9to54.html ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
132
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Warr, P. (2007). Work, happiness and unhappiness. New Jersey: Lawrence Erlbaum Association.
Translated Thai References
Kittisuksatit, S. et al. (2012). Quality of Life, Work and Happiness. Nakhon Pathom: Tummada place printing. [in Thai] Lertwiboonmongkol, J. (2004). Relationships Between Personal Factors, work empowerment, achievement motivation, and work happiness of staff nurses, governmental university hospitals. Master of Nursing Science, Nursing Administration, Chulalongkorn University. [in Thai] Menapodhi, R. (2007). Happiness in the Workplace Indicator. Master of Science (Human Resources Development), Faculty of human Resources Development, National Institute of Development Administration. [in Thai] Ouiprasert, N. (2008). Happiness at work of employee at first drug company limited, Chiang Mai province. Master of Business Administration Program. Faculty of Business Administration, Bachelor of Business Administration, Chiang Mai University. [in Thai] Phupanich, A. (2008). Happiness at work index of personnel of the Office of the Rector Thammasat University. Master of Social Work Program, Thammasat University. [in Thai] Sae-Chua, S. (2010). Work Happiness of Creative Class: A Case Study of Creative Industries in Media and Functional Creations Groups. Master of Science (Human Resource and Organization Development), National Institute of Development Administration. [in Thai] Thai Health Promotion Foundation. (2009). Sending Happy to society (1st ed.). Bangkok: Book Smile. [in Thai] The Organization of Wellness Support. (2013). Health and Welfare 2013. Bangkok: The Organization of Wellness Support. [in Thai] Wijarean, N. et al. (2011). Factors Effecting Happiness in Working of Assembly Line Employees in Utac Thai Co., Ltd. (The Headquarters). Master of Arts, department of Psychology, Faculty of Social Sciences, Kasetsart University. [in Thai]
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
133
Name and Surname: Pakakit Suwanmar Highest Education: Bachelor of Business Administration, Suan Sunandha Rajabhat University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Strategic Human Resource and Organization Management Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120 Name and Surname: Thanasit Phoemphian Highest Education: Doctor of Philosophy Degree in Human Resource Development (International Program), Burapha University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Lecturer in Master of Business Administration (People Management and Organization Strategy) Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
134
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
การพัฒนารูปแบบวัฒนธรรมคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน THE DEVELOPMENT OF SECONDARY SCHOOL QUALITY CULTURE MODEL UNDER THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSON นันทพร แสงอุไร1 สุพรรณี สมานญาติ2 และนภัทร์ แก้วนาค3 Nantaporn Saeng-urai1 Supannee Smarnyat2 and Naputr Gawnak3 1,2วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 3กองการศึกษาวิทยาลัยการทัพอากาศ 1,2Graduate College of Management, Sripatum University 3Air War College, Education and Training, RTAF
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบวัฒนธรรมคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อตรวจสอบและประเมินรูปแบบวัฒนธรรมคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การพัฒนารูปแบบวัฒนธรรม คุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญ 17 คน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) (2) การตรวจ สอบความเหมาะสมของรูปแบบวัฒนธรรมคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยผูป้ ฏิบตั งิ านในสถานศึกษา กลุม่ ตัวอย่าง เป็นผูบ้ ริหารโรงเรียน 23 คน ครู 191 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา 81 คน ของสถานศึกษาในโครงการพัฒนา โรงเรียนสูม่ าตรฐานสากล (World Class Standard School) แบบเข้มข้น (Intensive School) จ�ำนวน 37 โรงเรียน และ (3) การประเมินความถูกต้องของรูปแบบโดยผูเ้ ชีย่ วชาญ 15 คนในการสนทนากลุม่ (Focus Group Discussion) เครือ่ งมือวิจยั ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน และวิเคราะห์ขอ้ มูลโดยการวิเคราะห์เนือ้ หา ค่าเฉลีย่ ความเบีย่ งเบน มาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบวัฒนธรรมคุณภาพประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ภาวะผู้น�ำ (2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (3) การวางแผนกลยุทธ์ (4) กระบวนการ และระบบ (5) การท�ำงานเป็นทีม (6) การมุ่งเน้นผู้ใช้บริการ (7) ผลลัพธ์ขององค์กร (8) ความเชื่อ (9) ค่านิยม และ (10) รูปแบบพฤติกรรม 2) การตรวจสอบโดยผูป้ ฏิบตั งิ านในสถานศึกษา ซึง่ เป็นผูบ้ ริหารโรงเรียน ครู และคณะกรรมการ สถานศึกษา และการประเมินความถูกต้องของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 15 คน โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) พบว่า มีความเหมาะสมและถูกต้อง ค�ำส�ำคัญ: วัฒนธรรมคุณภาพ รูปแบบวัฒนธรรมคุณภาพ โรงเรียนมัธยมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน Corresponding Author E-mail: nanta.toy@gmail.com
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
135
Abstract
The purposes of this research were 1) to study the quality cultural model and 2) to determine and evaluate the quality cultural model of schools under the office of the Basic Education Commission. The research procedures consisted of 3 steps as follows: (1) developed the quality cultural model using 17 experts’ opinions through Delphi Technique (2) examined the propriety of the quality cultural model of schools under the Office of Basic Education Commission, participants were 23 school administrators, 191 teachers and 81 school board members of 37 World Class Intensive Standard Schools. (3) evaluated the accuracy of the quality cultural model by 15 experts through focus group discussion. The research tools were questionnaires and evaluation forms. Analyzing by content analysis, mean, standard deviation, median, range and inter-quartile. The research findings revealed that 1) The components of the quality cultural model were (1) Leadership (2) Human Resources Development (3) Strategic Planning (4) Processes and System (5) Teamwork (6) Customer Focus (7) Organizational Results (8) Beliefs (9) Values and (10) Behavioral Patterns. 2) The propriety and the accuracy of the quality cultural model of schools under the office of the Basic Education Commission based on the verifications of administrators, teachers, and school board members and through focus group discussion were found. Keywords: quality culture, quality cultural model, secondary school, the office of the Basic Education Commission
บทน�ำ
วิกฤตทางการศึกษาของระบบการศึกษาไทยทีถ่ อื ว่า เป็นปัญหาใหญ่ คือ คุณภาพการศึกษา ดังจะเห็นได้ จากการจัดล�ำดับโดยใช้ค่าหรือคะแนนสอบเป็นหลัก โดยหน่วยงานต่างๆ ในระดับนานาชาติ ทั้งนี้จากการ ประเมินของ International Institute for Management Development (IMD) เป็นความสามารถในการแข่งขัน ระดับนานาชาติของประเทศไทย ด้านโครงสร้างพืน้ ฐาน ทางการศึกษาในปี ค.ศ. 2011 ประเทศไทยอยูใ่ นอันดับ ที่ 51 ของกลุ่มประเทศส�ำรวจ 59 ประเทศ ผลการ ประเมินของ Programme for International Student Assessment (PISA) ปี ค.ศ. 2012 จ�ำนวน 65 ประเทศ ของกลุม่ นักเรียนอายุ 15 ปี ประเทศไทยอยูใ่ นอันดับที่ 50 (สุภทั ร พันธ์พฒ ั นกุล, 2554: 4-5) และผลการจัดอันดับ ของ Trends in International Mathematics and
Science Study (TIMSS) ปี ค.ศ. 2011 มี 45 ประเทศ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 25 และจากการจัดล�ำดับ ผลสอบ O-NET ชั้น ป.6 ชั้น ม.3 ชั้น ม.6 ปีการศึกษา 2556 คะแนนเฉลีย่ ทัว่ ประเทศต�ำ่ กว่าร้อยละ 50 ทุกวิชา ยกเว้นรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา แม้ ว ่ า จะมี ร ะบบการประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา ภายในสถานศึกษาแต่กพ็ บว่า ระบบการประกันคุณภาพ ยังไม่เข้มแข็ง สถานศึกษาไม่ได้สร้างระบบคุณภาพ ให้เกิดอย่างจริงจัง ทั้งที่การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) เป็นกลไกส�ำคัญทีส่ ามารถขับเคลือ่ นคุณภาพ การศึกษาให้ด�ำเนินไปอย่างต่อเนื่อง คุณภาพการศึกษา จึ ง สะท้ อ นคุ ณ ภาพของคนที่ เ ป็ น ผลิ ต ผลของการจั ด การศึกษา (ส�ำนักงานทดสอบทางการศึกษา ส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2553: 1) การจัดการศึกษา จ�ำเป็นต้องมีการพัฒนาคุณภาพ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
136
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
การศึกษา การพัฒนาปรับปรุงคุณภาพต้องการวัฒนธรรม ใหม่ (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2545: 376) คือ วัฒนธรรม คุณภาพ (Quality Culture) ซึ่ง Goetsch & Davis (2000) พบว่า วัฒนธรรมคุณภาพเป็นวัฒนธรรมการท�ำงาน ที่ได้รับการยอมรับ และวัฒนธรรมคุณภาพในองค์การ น�ำไปสูก่ ารพัฒนาบุคลากรขององค์การให้เป็นคนคุณภาพ (Quality Man) และส่งผลต่อความเป็นเลิศ ความอยูร่ อด และความยั่งยืนขององค์การ (พนพ เกษามา, 2546: 38-46) ฉะนัน้ วัฒนธรรมองค์การจึงเป็นวิถชี วี ติ ทีไ่ ด้รบั อิทธิพล จากการปฏิบตั ิ เป็นสิง่ ทีร่ บั รูใ้ นฐานะทีเ่ ป็นแบบแผนของ ความเชือ่ ค่านิยม การคาดคะเน ซึง่ เป็นแนวทางปฏิบตั ิ ในองค์การหรือสรุปได้ว่า วัฒนธรรมองค์การ มีความ ส�ำคัญต่อการจัดการคุณภาพ การเปลี่ยนแปลงคุณภาพ การยอมรับคุณภาพ การปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะสม การปรับปรุงแก้ไข การประเมิน การวางแผนด้านมนุษย์ และวัฒนธรรม เพือ่ ให้เกิดวัฒนธรรมคุณภาพ (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2545: 383) นักวิชาการให้ความสนใจศึกษา และระบุวา่ วัฒนธรรมคุณภาพในองค์การมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) ภาวะผู้น�ำ 2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3) การวางแผนกลยุทธ์ 4) กระบวนการและระบบ 5) การท�ำงานเป็นทีม 6) การมุง่ เน้นผูใ้ ช้บริการ 7) ผลลัพธ์ ขององค์กร (Goetsch & Davis, 2000) ซึง่ องค์ประกอบ ดังกล่าวสอดคล้องกับการบริหารคุณภาพทั้งองค์รวม (Total Quality Management: TQM) และแนวคิด เกี่ ย วกั บ เกณฑ์ ร างวั ล คุ ณ ภาพแห่ ง ชาติ (Thailand Quality Award: TQA) อันจะน�ำไปสู่คุณภาพของ องค์การและคุณภาพของคน ซึง่ จะเป็นพืน้ ฐานและทีม่ า ของคุณภาพอืน่ ๆ ทัง้ หมด ดาวรุวรรณ ถวิลการ (2552) เห็นว่า วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมีส่วนส�ำคัญยิ่ง ต่อความส�ำเร็จของโรงเรียน การสร้างวิสัยทัศน์ และ ค่านิยมร่วมกัน (Share Vision & Share Values) เป็น สิ่งส�ำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของชาติ ซึ่งมีนักวิชาการ (Schein, 1988; Deal & Peterson, 1993; Sergiovanni & Tobert, (1988); Owens, 2004
และณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์, 2551) สนใจศึกษาเกีย่ วกับ วัฒนธรรมองค์การ ระบุว่า วัฒนธรรมในสถานศึกษา เรียกว่า วัฒนธรรมโรงเรียนมีองค์ประกอบดังนี้ 1) ค่านิยม (Values) 2) ความเชื่อ (Beliefs) 3) รูปแบบพฤติกรรม (Behavioral Patterns) จากที่กล่าวมาข้างต้นพบว่า ในสถานศึกษายังขาด องค์ความรูใ้ นการสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ ผูว้ จิ ยั จึงสนใจ ด�ำเนินการวิจยั เรือ่ ง การพัฒนารูปแบบวัฒนธรรมคุณภาพ ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการ การศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน เพื่ อ ทราบกระบวนการสร้ า ง วัฒนธรรมคุณภาพเป็นอย่างไร และมีตัวแปรใดบ้างที่ ส่งผลต่อกระบวนการสร้างวัฒนธรรมคุณภาพและส่งผล ต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา และน�ำผลวิจัยครั้งนี้ ไปเป็นแนวทางสร้างกระบวนการสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ และเพิ่มประสิทธิผลของสถานศึกษา ท�ำให้ได้ข้อมูล ที่สามารถน�ำไปปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ได้เครื่องมือวัด ต่างๆ ซึง่ ทางโรงเรียนสามารถน�ำไปใช้ในการประเมินสภาพ ความเป็นจริง เพื่อประโยชน์ในการบริหารสถานศึกษา ต่อไป
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อพัฒนารูปแบบวัฒนธรรมคุณภาพโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน 2. เพื่อตรวจสอบและประเมินรูปแบบวัฒนธรรม คุ ณ ภาพโรงเรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษา สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย
เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการศึกษาวิจยั ครัง้ นี้ เป็นแบบสอบถาม ทั้งหมด 5 ฉบับ ฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3 เป็น แบบสอบถามทีใ่ ช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เทคนิค เดลฟายรอบที่ 1 เป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิด
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมอย่าง อิสระ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เทคนิค เดลฟายรอบที่ 2 ผูว้ จิ ยั สร้างขึน้ โดยการวิเคราะห์เนือ้ หา แบบสอบถามปลายเปิดรอบที่ 1 ด้วยวีธกี าร 6’C Technic Analysis (นภัทร์ แก้วนาค, 2555) แบบสอบถามฉบับนี้ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เทคนิค เดลฟายรอบที่ 3 ผู้วิจัยสร้างขึ้นด้วยการน�ำข้อมูลจาก การตอบแบบสอบถามฉบับที่ 2 มาวิเคราะห์หามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range) ของกลุม่ แล้วแสดงไว้ในแบบสอบถามรอบที่ 3 เพือ่ ให้ผตู้ อบพิจารณาข้อทีม่ คี า่ มัธยฐานตัง้ แต่ 3.50 ขึน้ ไป และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.50 ของแต่ละ ข้อความเพือ่ หาความสอดคล้อง ถือเป็นเกณฑ์การแปลผล ตามเกณฑ์ของจุมพล พูลภัทรชีวิน (2546: 19-24) ประกอบระดั บ ความคิ ด เห็ น ของกลุ ่ ม โดยให้ ผู ้ ต อบ แบบสอบถามมีอสิ ระในการตอบ ซึง่ อาจจะยืนยันค�ำตอบ เดิมหรือเปลี่ยนแปลงค�ำตอบของตนเอง ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบ วัฒนธรรมคุณภาพ ส�ำหรับสอบถามผูบ้ ริหารสถานศึกษา 23 คน ครูผู้สอน จ�ำนวน 191 คน คณะกรรมการ สถานศึกษา จ�ำนวน 81 คน รวม 295 คน ผูว้ จิ ยั สร้างขึน้ โดยคัดเลือกข้อความจากแบบสอบถามฉบับที่ 3 ที่มีค่า มัธยฐานตัง้ แต่ 3.50 ขึน้ ไป และค่าพิสยั ระหว่างควอไทล์ ไม่เกิน 1.50 โดยผู้ทรงคุณวุฒิตรวจแบบสอบถามมีค่า ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) เท่ากับ 0.99 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้ค่า สัมประสิทธิอ์ ลั ฟ่า (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) เท่ากับ 0.98 ฉบับที่ 5 แบบประเมินความถูกต้องของรูปแบบ ส�ำหรับผูท้ รงคุณวุฒจิ ำ� นวน 15 คน ประเมินความถูกต้อง ของรูปแบบ โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)
137
วิธีด�ำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้ วิ ธี วิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ ผู ้ วิ จั ย ใช้ เ ทคนิ ค เดลฟาย ในการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้แบบสอบถาม 3 ฉบับ และใช้ระเบียบวิจยั เชิงปริมาณในการตรวจสอบ ความเหมาะสมของรูปแบบ โดยสอบถามผู้ปฏิบัติงาน ในโรงเรียนมาตรฐานสากลทั่วทุกภูมิภาค 37 โรงเรียน และประเมินความถูกต้องของรูปแบบโดยการสนทนากลุม่ ผู้ให้ข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ผู้เชี่ยวชาญในการตอบแบบสอบถามโดยใช้เทคนิค เดลฟาย 3 รอบ จ�ำนวน 17 คน (2) กลุ่มตัวอย่าง ในการตอบแบบสอบถามเป็นผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียน มาตรฐานสากล จ�ำนวน 37 โรงเรียน เพื่อตรวจสอบ ความเหมาะสมของรูปแบบ ได้แก่ ผูบ้ ริหารสถานศึกษา 23 คน ครูผู้สอน จ�ำนวน 191 คน และคณะกรรมการ สถานศึกษา จ�ำนวน 81 คน รวม 295 คน และ (3) ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินความถูกต้องของรูปแบบ โดยการสนทนากลุ่ม จ�ำนวน 15 คน ผู้วิจัยด�ำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบวัฒนธรรมคุณภาพ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยศึกษาเอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง และสังเคราะห์ข้อมูล ได้องค์ประกอบของ วัฒนธรรมคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา ผูว้ จิ ยั ด�ำเนินการ สอบถามผู้เชี่ยวชาญ 17 คน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย รอบที่ 1 รอบที่ 2 และรอบที่ 3 โดยใช้เครือ่ งมือฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3 ตามล�ำดับ และผู้วิจัยได้ร่าง รูปแบบวัฒนธรรมคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา ขั้ น ตอนที่ 2 การตรวจสอบรู ป แบบวั ฒ นธรรม คุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา ผูว้ จิ ยั ใช้เครือ่ งมือฉบับที่ 4 สอบถามผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียนมาตรฐานสากลทั่วทุก ภูมิภาค 37 โรงเรียน ซึ่งได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 23 คน ครูผู้สอน จ�ำนวน 191 คน และคณะกรรมการ สถานศึกษาจ�ำนวน 81 คน รวม 295 คน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
138
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ขั้ น ตอนที่ 3 การประเมินความถูก ต้องรูป แบบ วั ฒ นธรรมคุ ณ ภาพโรงเรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษา ผู ้ วิ จั ย เชิ ญ ผูเ้ ชีย่ วชาญ 15 คน ร่วมประชุมสนทนากลุม่ และประเมิน ความถูกต้องของรูปแบบ โดยใช้เครื่องมือฉบับที่ 5
ผลการวิจัย
1. องค์ประกอบรูปแบบวัฒนธรรมคุณภาพโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้ น พื้ น ฐานมี 10 องค์ ป ระกอบดั ง นี้ 1) ภาวะผู ้ น� ำ 2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3) การวางแผนกลยุทธ์ 4) กระบวนการและระบบ 5) การท�ำงานเป็นทีม 6) การ มุ่งเน้นผู้ใช้บริการ 7) ผลลัพธ์ขององค์กร 8) ความเชื่อ 9) ค่านิยม และ 10) รูปแบบพฤติกรรม 2. ผลการตรวจสอบรูป แบบวัฒ นธรรมคุณภาพ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผู้บริหาร ครูผู้สอน และ คณะกรรมการสถานศึก ษา มีความเห็นว่า รูป แบบ วัฒนธรรมคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาทีผ่ วู้ จิ ยั พัฒนาขึน้ มีความเหมาะสม โดยผู้บริหารมีความเห็นว่า เหมาะสม ในระดับมากทีส่ ดุ ทุกองค์ประกอบ ครูและคณะกรรมการ สถานศึกษามีความเห็นว่า เหมาะสมในระดับมากทุก องค์ประกอบ ยกเว้นความเชื่อ ค่านิยม และรูปแบบ พฤติกรรมทีค่ รูมคี วามเห็นว่า เหมาะสมในระดับมากทีส่ ดุ 3. ผลการประเมิ น รู ป แบบวั ฒ นธรรมคุ ณ ภาพ โดยผู ้ เ ชี่ ย วชาญในการสนทนากลุ ่ ม พบว่ า รู ป แบบ วัฒนธรรมคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความถูกต้อง สามารถน�ำไปใช้ปฏิบัติจริงในโรงเรียน
การอภิปรายผล
จากการศึกษาวิจัยการพัฒนารูปแบบวัฒนธรรม คุ ณ ภาพโรงเรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษา สั ง กั ด ส� ำ นั ก งาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีข้อเสนอในการอภิปรายผลดังนี้ 1. องค์ประกอบรูปแบบวัฒนธรรมคุณภาพโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขัน้ พืน้ ฐานประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ภาวะ ผู้น�ำ 2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3) การวางแผน กลยุทธ์ 4) กระบวนการและระบบ 5) การท�ำงาน เป็นทีม 6) การมุง่ เน้นผูใ้ ช้บริการ 7) ผลลัพธ์ขององค์กร 8) ความเชื่อ 9) ค่านิยม และ 10) รูปแบบพฤติกรรม ซึง่ สอดคล้องกับผลการวิจยั ของปริยาภรณ์ ตัง้ คุณานันต์ (2551) ที่ ศึ ก ษาวิ จั ย พบว่ า วั ฒ นธรรมคุ ณ ภาพของ สถานศึกษาสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ 1) ภาวะ ผูน้ ำ� ของผูบ้ ริหาร 2) การด�ำเนินงานโดยใช้ขอ้ มูลเป็นฐาน 3) การวางแผนกลยุทธ์ 4) การกระจายอ�ำนาจ 5) การ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนือ่ งของบุคลากร 6) การส่งเสริม บุคลากรให้เกิดความผูกพันต่อสถานศึกษา 7) การท�ำงาน เป็นทีม 8) การยึดประโยชน์ของผู้รับบริการ และ 9) การปรับปรุงการด�ำเนินการอย่างต่อเนือ่ ง และสอดคล้อง กับผลการวิจยั ของรุง่ รัชดาพร เวหะชาติ (2548) ทีพ่ บว่า รูปแบบการพัฒนาคุณภาพทั้งองค์การของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) ด้านการน�ำองค์การและ การวางแผนกลยุทธ์ 2) ด้านระบบและกระบวนการ 3) ด้านทรัพยากรบุคคลและทีมงาน 4) ด้านการวิเคราะห์ ประเมิน และการจัดการเรียนรู้ 5) ด้านความพึงพอใจของ ผูเ้ รียนและผูเ้ กีย่ วข้อง และ 6) ด้านผลลัพธ์ขององค์การ นอกจากนี้ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของ สุภทั ร พันธ์พฒ ั นกุล (2554) ทีพ่ บว่า รูปแบบการบริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผล เป็นการบริหาร เชิงระบบและการบริหารคุณภาพ ประกอบด้วยปัจจัย น�ำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ที่มีองค์ประกอบย่อย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การน�ำองค์กร 2) การมุ่งเน้น ทรัพยากรบุคคล 3) ธรรมาภิบาล 4) วัฒนธรรมโรงเรียน 5) การวางแผนกลยุทธ์ 6) การจัดกระบวนการ 7) การให้ ความส�ำคัญกับนักเรียน ผูป้ กครอง และผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้อง 8) การจัดการความรู้ และ 9) คุณภาพผู้เรียนที่เก่ง ดี และมีความสุข 2. ผลการตรวจสอบและประเมินรูปแบบวัฒนธรรม
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
คุ ณ ภาพโรงเรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษา สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานคณะ กรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พบว่า มีความเหมาะสม และถูกต้อง สามารถน�ำไปปฏิบัติจริงได้ในโรงเรียน ซึง่ การน�ำไปปรับประยุกต์ใช้ในสถานศึกษานัน้ ต้องค�ำนึง ถึงบริบทของสถานศึกษาแต่ละแห่งที่มีบริบทต่างกัน มีขนาดต่างกัน รวมทั้งมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน 3. ผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ สังเคราะห์ และบูรณาการแนวคิดทีห่ ลากหลายจากการสนทนากลุม่ ในการที่ จ ะน� ำ รู ป แบบวั ฒ นธรรมคุ ณ ภาพโรงเรี ย น มัธยมศึกษาไปปรับใช้ให้เหมาะสมถูกต้องและบรรลุ เป้าประสงค์ ซึ่งท�ำให้ผู้วิจัยได้องค์ความรู้ใหม่ เรียกว่า LOPO MODEL ดังนี้ Leadership: L ผูบ้ ริหารต้องมีภาวะผูน้ ำ� เป็นผูน้ ำ� ในการปฏิบตั งิ านอย่างจริงจัง มุง่ มัน่ และเป็นแบบอย่าง ที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของดาวรุวรรณ ถวิลการ (2552), King (2002), Tebbano (2002) ที่พบว่า ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้น�ำซึ่งผู้น�ำส่งผลต่อประสิทธิผล องค์การ Organizational Culture: O วัฒนธรรมองค์การ ประกอบด้วยความเชื่อ ค่านิยม และรูปแบบพฤติกรรม ผูบ้ ริหารต้องสร้างจิตส�ำนึก (Mindset) และให้ความส�ำคัญ กับวัฒนธรรมองค์การด้วยการสร้างความเชือ่ จากพืน้ ฐาน ขององค์การ จนได้รบั การยอมรับและพัฒนาเป็นค่านิยม และน�ำไปปฏิบตั ทิ วั่ ทัง้ องค์การจนเป็นรูปแบบพฤติกรรม และวัฒนธรรมที่เข้มแข็งทั้งองค์การ ซึ่งสอดคล้องกับ แนวคิดของ Heckman (1993), Sergiovanni & Tobert (1988) Processes: P กระบวนการ ประกอบด้วยการ วางแผนกลยุทธ์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท�ำงาน เป็นทีม กระบวนการและระบบ และการมุง่ เน้นผูใ้ ช้บริการ ผู้บริหารต้องสร้างกลไกกระบวนการและด�ำเนินการ อย่างเป็นระบบโดยการวางแผนกลยุทธ์มงุ่ เน้นการพัฒนา ครูและบุคลากร และส่งเสริมการท�ำงานเป็นทีม การจัด กระบวนการบริ ห ารและการปฏิบัติง านที่เ ป็นระบบ โดยให้ความส�ำคัญกับผู้เรียน ผู้ปกครอง รวมทั้งชุมชน
139
และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) สอดคล้อง ตรงกับเกณฑ์รางวัลคุณภาพ TQA (Thailand Quality Award) Organizational Results: O จากกระบวนการ และขัน้ ตอนข้างต้นย่อมจะท�ำให้เกิดผลลัพธ์ขององค์การ ทีม่ คี ณ ุ ภาพ ผูเ้ รียนเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข (สุภทั ร พันธ์พัฒนกุล, 2554) แนวทางการน�ำรูปแบบวัฒนธรรมคุณภาพไปใช้ สถานศึกษาควรมุ่งเน้นบริหารแบบโรงเรียนเป็นฐาน (School–Based Management: SBM) (วีระยุทธ ชาตะกาญจน์, 2551: 48) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ผู้บริหาร จะต้องให้ความส�ำคัญกับการกระจายอ�ำนาจ หลักการ มีส่วนร่วม หลักการคืนอ�ำนาจการศึกษาให้ประชาชน หลักการบริหารตนเอง และหลักการตรวจสอบและ ถ่วงดุล และการบริหารทีเ่ รียกว่า “POSDCoRB” โดยมี การวางแผน การจัดองค์กร การจัดบุคลากรปฏิบัติงาน การอ�ำนวยการ การประสานงาน การรายงาน และการ งบประมาณ นอกจากนี้ ปัจจัยของความส�ำเร็จ (Key Success Factors) ได้แก่ คุณภาพครู คุณภาพผู้บริหาร คุณภาพ หลักสูตร สภาพแวดล้อมการศึกษา การมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย งบประมาณ การประกันคุณภาพการศึกษา การพัฒนาความเป็น พลเมือง พลโลกของผูเ้ รียน เป็นเงือ่ นไขส�ำคัญทีจ่ ะส่งผล ให้สถานศึกษามีวฒ ั นธรรมคุณภาพโรงเรียนทีม่ นั่ คงและ ยั่งยืนต่อไปได้ องค์ ค วามรู ้ ดั ง กล่ า วเป็ น แนวทางในการพั ฒ นา วัฒนธรรมคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ทีค่ วรน�ำไปประยุกต์ ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษาต่อไป
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1.1 ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ควรก�ำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
140
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัด 1.2 ผูบ้ ริหารการศึกษาควรก�ำหนดเป็นนโยบาย การพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัด ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 1.3 ผูบ้ ริหารสถานศึกษาสามารถน�ำผลการวิจยั ไปใช้ในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เพิ่มขึ้นได้ 2. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ 2.1 ผู ้ บ ริ ห ารการศึ ก ษาควรน� ำ ผลการวิ จั ย นี้ ไปปรับใช้ให้เป็นแนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพ
ของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาต่อไปได้ 2.2 ผูบ้ ริหารสถานศึกษาสามารถน�ำผลการวิจยั ไปใช้ในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เพิ่มขึ้นได้ 3. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 3.1 ควรศึกษาวิจยั การพัฒนารูปแบบวัฒนธรรม คุณภาพในสถานศึกษาระดับอื่นๆ 3.2 ควรศึกษาวิจยั การพัฒนารูปแบบวัฒนธรรม คุณภาพในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน
ภาพประกอบ LOPO MODEL: รูปแบบวัฒนธรรมคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
141
บรรณานุกรม
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2546). ปฏิบัติการวิจัยอนาคตด้วย EDFR. วารสารบริหารการศึกษา, 1(2), 19-31. ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2552). วัฒนธรรมองค์การในโรงเรียน รางวัลพระราชทาน: การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา. วิทยานิพนธ์ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. นภัทร์ แก้วนาค. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. เอกสารอัดส�ำเนา. ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2551). แผนกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดส�ำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารอาชีวศึกษา สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. พนพ เกษามา. (2546). การบริหารคุณภาพเพือ่ ความเป็นเลิศ/อยูร่ อด/ยัง่ ยืน: การสร้างวัฒนธรรม คุณภาพขององค์กร คุณภาพ. Management Best Practice, 3(14), 38-46. รุ่งรัชดาพร เวหะชาติ. (2548). การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพทั้งองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา. เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2545). การจัดการคุณภาพ: จาก TQC ถึง TQM, ISO 9000 และการประกันคุณภาพ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์. วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2551). เทคนิคการบริหารส�ำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ส�ำนักงานทดสอบทางการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). ข้อมูลการประเมินภายนอก รอบสองของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาโดย สมศ. วันที่ 8 กันยายน 2553. กรุงเทพฯ: เอกสารอัดส�ำเนา. ส�ำนักเลขานุการคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2550). Thailand Quality Award เกณฑ์รางวัลคุณภาพ แห่งชาติ เพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ ปี 2550. กรุงเทพฯ: จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส. สุภัทร พันธ์พัฒนกุล. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน. ปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา วิทยาลัยบัณฑิตศึกษา ด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. Deal, T. & Peterson, K. (1993). Strategies for building school cultures: Principals as symbolic leader. In M. & H.J. Walberg (eds.). Educational leadership and school culture. Berkeley, CA: Mc Cutchan. Goetsch, D. L. & Davis, S. (2000). Quality Management: introduction to total quality management for production, process and services (3rd ed.). Ohio: Pearson Prentice Hall. Heckman, P. E. (1993). School restructuring in Practice: reckoning with the culture of school. International Journal of Education Reform, 2(3), 263-271. King, S. W. (2002). Effective Leadership for Quality Achievement and Organizational learning. Ph.D. Dissertation, Portland State University. Owens, R. G. (2004). Organizational Behavior in Education. Boston, MA: Pearson. Peterson, K. & Deal, T. (1998). How leaders influence the culture of school. Educational Leadership, 56(1), 28-30. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
142
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Schein, E. H. (1988). Organization Culture. WP # 2088-88. Sergiovanni, J. T. & Tobert, J. S. (1988). Supervision Human Perspectives (4th ed.). New York: Mc Graw-Hill Book Company. Tebbano, M. D. (2002). “A Study of the Relationship between the Preferred Leadership Styles of School District Superintendents and the Capability of Become Professional Learning Organizations” Ed.D. Thesis, SetonHall University, College of Education and Human Services.
Translated Thai References
Bureau of Educational Testing, Office of The Basic Education Commission. (2010). The Information of External Evaluation of Secondary Schools, Report of the Office ofNation Education Standards and Quality Assessment (Public Organisation). September 8, 2010. Bangkok: Copier papers. [in Thai] Chatakan, V. (2008). Technical Management for Professional Administrators. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai] Kaewnak, N. (2012). Techniques to Analyze Qualitative Data. (Copier papers). [in Thai] Kesama, P. (2003). Management Best Practice, Survival, Sustainability: Creating a Culture of Quality in the Quality Organization. Management Best Practice, 3(14), 38-46. [in Thai] Ketsuwan, R. (2002). The Quality Management: TQC, TQM, ISO 9000 and Quality Assurance. Bangkok: Borpit printing. [in Thai] Khejornnan, N. (2008). Organizational Behavior. Bangkok: Se-education. [in Thai] Poonpattaracheewin, C. (2008). The Future of Action Research: Ethnographic Delphi Future Research (EDFR). Journal of Educational Administration, 1(2), 19-31. [in Thai] Punpattanakul, S. (2011). The Development of an Effective Secondary School Administration Model under Office of the Basic Education Commission. The degree of Doctor of Philosophy. Program in Educational Administration, Graduate College of management, Sripatum University. [in Thai] Secretary of the National Quality Award. (2007). Thailand Quality Award: TQA Criteria for Performance Excellence 2007. Bangkok: Jirawat Express. [in Thai] Thavinkarn, D. (2009). The Organizational Culture in Granted Royal Award School: An Ethnographic Research. Ph.D. Dissertation, Khon Kaen University. [in Thai] Tungkunanan, P. (2008). Strategic Plan for Developing Quality Culture in Vocational Colleges in the Eastern Region of Thailand Under the Office of Vocational Education Commission. Ph.D. Dissertation, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang. [in Thai] Vehachart, R. (2005). The Development of a Model of Total Quality Management in Basic Education Institutions. Doctoral Dissertation, Burapa University. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
143
Name and Surname: Nantaporn Saeng-urai Highest Education: Ph.D. in Educational Administration, Sripatum University University or Agency: Sripatum University Field of Expertise: Education Quality Assurance Address: Protpittayapayat School, The Secondary Educational Service Area Office 2 Name and Surname: Supannee Smarnyat Highest Education: Doctor of Education, Ed.D. (Education Administration) Srinakharinwirot University University or Agency: Sripatum University Field of Expertise: Lecturer, Ph.D. and M.Ed. Program in Educational Administration Address: Graduate College of Management, Sripatum University Name and Surname: Naputr Gawnak Highest Education: Doctor of Education, Ed.D. (Research Design) Srinakharinwirot University University or Agency: Air War College, Education and Training, RTAF Field of Expertise: Lecturer, Ph.D. and M.Ed. Program in Educational Research and Evaluation Address: Air War College, Education and Training, RTAF
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
144
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT: กรณีศึกษาโครงการ Pre-Calculus 2557 THE EFFECT OF MATHEMATIC LEARNING ACTIVITIES WITH A TEAMS-GAMES-TOURNAMENTS (TGT) TECHNIQUE: A CASE STUDY OF PRE-CALCULUS PROJECT 2015 นฤเทพ สุวรรณธาดา Naruetep Suwantada คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ School of Engineering, Bangkok University
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระหว่างก่อนกับหลังเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT และ (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัด กิจกรรมเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT โดยผู้วิจัยได้ด�ำเนินงานตามขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาระบบ การสอน ADDIE Model ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ 2) การออกแบบ 3) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 4) การทดลองใช้ และ 5) การประเมินผล โดยมีประชากรและกลุม่ ตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมเี ดียและระบบอินเทอร์เน็ต ทีเ่ ข้าร่วมโครงการ Pre-Calculus 2557 ประจ�ำปีการศึกษา 2557 อีกทั้งมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย 1) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยผ่านการประเมินจาก ผูเ้ ชีย่ วชาญทางด้านเนือ้ หา จ�ำนวน 3 คน และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจของผูเ้ รียนทีม่ ตี อ่ การจัดกิจกรรมเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT และใช้การหาค่าความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง น�ำมาทดสอบค่าแจกแจงแบบที (t-test) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจยั สรุปได้ดงั นี้ 1) ผูเ้ รียน มีผลการเรียนหลังเรียนด้วยเทคนิค TGT สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนยั ส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย ที่ 4.24 ค�ำส�ำคัญ: เทคนิค TGT Pre-Calculus การเรียนรู้แบบร่วมมือ
Corresponding Author E-mail: naruetep.s@bu.ac.th
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
145
Abstract
The purposes of this research were (1) to compare the achievement of students between before and after school activities in learning math with TGT (Teams-Games-Tournaments) technique. and (2) to study the satisfaction of the students about the mathematic learning activities with a TGT technique. The research was carried out by the design and development of teaching ADDIE Model consists of 1) Analysis 2) Design 3) Development 4) Implementation and 5) An evaluation by population and group samples from the student of computer engineering and multimedia and internet engineering whom participate in Pre-Calculus 2014 in the academic year 2014. Other tools that also used in the research consisted of 1) a pre-test and post-test that has been evaluated by three content experts and 2) An evaluation form of the student’s satisfaction towards the TGT technique and finding the difference of the average before and after class of the sample group. Then test the distribution of data analysis in (t-test) model. Results of the study were: 1) Students have higher learning results after using TGT technique at a statistical significance level of .05 and 2) The overall satisfaction of the students were in very good shape, representing an average of 4.24. Keywords: TGT Technique, Pre-Calculus, Cooperate Learning
บทน�ำ
คณิ ต ศาสตร์ มี บ ทบาทส� ำ คั ญ ยิ่ ง ต่ อ การพั ฒ นา ความคิดมนุษย์ ท�ำให้มนุษย์มคี วามคิดสร้างสรรค์ คิดอย่าง มีเหตุผลเป็นระบบระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ท�ำให้ คาดการณ์วางแผนตัดสินใจและแก้ปญ ั หาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีตลอดจนศาสตร์อนื่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง คณิตศาสตร์ จึงมีประโยชน์ต่อการด�ำรงชีวิตและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ดีขึ้น (กรมวิชาการ, 2545) นอกจากนี้คณิตศาสตร์ ยังช่วยปลูกฝังและอบรมให้เป็นบุคคลทีม่ คี ณ ุ สมบัติ นิสยั ทัศนคติ และความสามารถทางสมอง คือ 1) ความเป็น ผู้มีเหตุผล 2) ความเป็นผู้มีลักษณะนิสัยละเอียดและ สุขุมรอบคอบ 3) ความเป็นผู้มีไหวพริบ และปฏิภาณที่ ดีขึ้น 4) ฝึกให้พูดและเขียนตามที่ตนคิด 5) ฝึกให้ใช้ ระบบและวิธกี ารซึง่ ช่วยให้เข้าใจสังคมให้ดยี งิ่ ขึน้ (สมทรง สุวพานิช, 2549) นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นพื้นฐาน
ของรายวิชาแคลคูลสั ซึง่ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทุกหลักสูตรจ�ำเป็นต้องเรียนเพราะเป็นหนึ่งในรายวิชา บังคับ แต่เนื่องด้ว ยพื้นฐานคณิตศาสตร์ของผู้เรียน ในแต่ละคนมีความแตกต่างกันจึงจ�ำเป็นต้องมีการปรับ พื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนเริ่มเข้าสู่การเรียนในรายวิชา แคลคูลัส จากสาเหตุขา้ งต้น การจัดกิจกรรมการเรียนรูซ้ งึ่ เป็น เครื่องมือที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงเนื้อหาที่มี ความยากได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ผู้สอนจ�ำเป็นต้องหา วิธกี ารจัดการเรียนรูท้ เี่ หมาะกับผูเ้ รียนมาใช้ในการเรียน การสอนเพือ่ ให้ผเู้ รียนเกิดการเรียนรูแ้ ละมีความสามารถ ในการคิดอย่างมีเหตุผล รวมทัง้ สามารถเชือ่ มโยงความรู้ เดิมที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการจัดการเรียน การสอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด และเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างบุคคลและเกิดการเรียนรูร้ ว่ มกัน คิดแก้ปญ ั หาร่วมกัน การเรียนด้วยกลุม่ ร่วมมือแบบ TGT (Teams-Games-Tournaments) เป็นรูปแบบการจัด
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
146
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
กิจกรรมการเรียนรูร้ ปู แบบหนึง่ ทีจ่ ดั ให้นกั เรียนได้รว่ มกัน เรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ประกอบด้วยนักเรียน ที่เรียนเก่ง ปานกลาง และเรียนอ่อน ทุกคนในกลุ่มจะ เรียนรู้ร่วมกันท�ำกิจกรรมการเรียนร่วมกันคิดแก้ปัญหา ร่วมกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อความส�ำเร็จร่วมกันของ สมาชิกในกลุม่ โดยทีส่ มาชิกในกลุม่ ตระหนักว่า แต่ละคน เป็นส่วนส�ำคัญที่จะส่งผลต่อความส�ำเร็จหรือล้มเหลว ของกลุม่ ทีเ่ กิดขึน้ สมาชิกในกลุม่ จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน สมาชิกจะมีการพูดคุยกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีความเชือ่ มัน่ มากขึน้ (สมเดช บุญประจักษ์, 2544) และการเรียนด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ TGT ยังส่งผลต่อ อารมณ์ของนักเรียนในด้านต่างๆ เช่น การรู้จักตัวเอง การควบคุมตนเอง การท�ำงานร่วมกับผู้อื่น การยอมรับ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เข้าใจและเห็นใจผู้อื่น มีทักษะทางสังคม ซึ่งเป็นทักษะของความฉลาดทาง อารมณ์ที่จะเป็นตัวผลักดันให้ประสบความส�ำเร็จอย่าง แท้จริง (เทอดศักดิ์ เดชคง, 2542) ด้วยเหตุผลทีก่ ล่าวมาข้างต้น เห็นได้วา่ วิธกี ารเรียน การสอนด้วยเทคนิค TGT ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียน แบบร่วมมือ สามารถช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ดีขึ้น และสามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมที่ ผู้เรียนมีอยู่ได้ และยังส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ ในด้านต่างๆ เช่น ท�ำให้ลดความวิตกกังวลในการเรียน มีความเชือ่ มัน่ ในตนเองมากขึน้ (ศศิธร สาวงศ์นาม, 2556)
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ ผู้เรียนระหว่างก่อนกับหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรม
เรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT 2. เพือ่ ศึกษาความพึงพอใจของผูเ้ รียนทีม่ ตี อ่ การจัด กิจกรรมเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT
สมมติฐานของการวิจัย
1. ผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT มีผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรม เรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT ในภาพรวมอยู่ใน เกณฑ์ดีมาก
วิธีการวิจัย
ในการด�ำเนินวิจยั ครัง้ นี้ ผูว้ จิ ยั ได้ดำ� เนินการตามล�ำดับ ดังนี้ 1. ประชากรและกลุม่ ตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขา วิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาวิศวกรรม มัลติมเี ดียและระบบอินเทอร์เน็ต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทีเ่ ข้าร่วมโครงการ Pre-Calculus 2557 ประจ�ำปีการศึกษา 2557 จ�ำนวน 32 คน ใช้วธิ กี าร เลือกกลุม่ ตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) หรือใช้กบั ผูเ้ รียนทัง้ 2 สาขาวิชาข้างต้นทัง้ หมดทีเ่ ข้าร่วม โครงการ Pre-Calculus 2557 2. เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั ประกอบด้วย 1) แบบ ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยผ่านการประเมิน จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา จ�ำนวน 3 คน และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัด กิจกรรมเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
147
ภาพที่ 1 แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน 3. วิธีการด�ำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ด�ำเนินงานตาม ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาระบบการสอน ADDIE Model (มนต์ชัย เทียนทอง, 2548) ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ (Analysis) ผู้วิจัยเริ่มจากศึกษาถึง ปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนการสอนทีใ่ ห้ผเู้ รียน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้เป็นกลุ่มเล็กๆ โดยต้องพึ่งพา อาศัยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แบ่งปันทรัพยากร การเรียนร่วมกัน มีความส�ำเร็จของทุกคนและของกลุ่ม เป็นเป้าหมายส�ำคัญ ฝึกให้ผเู้ รียนได้รจู้ กั การเรียนร่วมกับ ผูอ้ นื่ เป็นการเรียนรูแ้ บบแข่งกันฉันมิตร 2) การออกแบบ (Design) ผูว้ จิ ยั ได้เริม่ จากเชิญคณาจารย์สอนร่วมประชุม ทีมเพือ่ สรุปปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนการสอน ที่สามารถช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ดีขึ้น และสามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่ได้ และยังส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ในด้านต่างๆ ได้ 3) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Development) ผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ในลักษณะกลุ่มหรือทีมของผู้เรียน โดยจัดให้คละความ สามารถซึ่งรู้ได้จากผลการท�ำแบบทดสอบก่อนเรียน และในแต่ละทีมจะต้องช่วยกันและกันในการเตรียม ความพร้อมและความเข้มแข็งให้สมาชิกทุกคน โดยการ
แข่งขันจัดในช่วงสัปดาห์ท้ายบทเรียน ซึ่งจะใช้ค�ำถาม เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนมา แล้วการจัดโต๊ะแข่งขันจะมี หลายโต๊ะ แต่ละโต๊ะจะมีตวั แทนของทีม แต่ละทีมมาร่วม แข่งขัน ทุกโต๊ะการแข่งขันควรเริ่มด�ำเนินการเพื่อน�ำไป เทียบหาค่าคะแนนโบนัส เมือ่ ทราบผลการแข่งขันผูส้ อน จะจัดกิจกรรมให้เกิดการยอมรับความส�ำเร็จของทีม โดยน�ำคะแนนของแต่ละคนในทีมมารวมกันเป็นคะแนน ของทีม และหาค่าเฉลี่ยทีมที่มีค่าสูงสุด โดยทีมชนะเลิศ จะได้รับประกาศผลการแข่งขันและได้รับรางวัลต่างๆ ตามสมควร 4) การทดลองใช้ (Implementation) ผูว้ จิ ยั ได้จดั กิจกรรมเรียนรูค้ ณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT ตามทีอ่ อกแบบไว้ในขัน้ ตอนที่ 3 ในช่วงภาคเรียนที่ 1/1 ปีการศึกษา 2557 โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการจาก ทั้ง 2 สาขาวิชาทั้งสิ้น 32 คน โดยมีหัวข้อในการเรียน รวมทั้งสิ้น 5 หัวข้อ คือ เรื่องที่ 1 เลขยกก�ำลัง, ฟังก์ชัน เอกช์โพเนนเชียล, ฟังก์ชนั ลอการิทมึ , การบวกลบเศษส่วน เรือ่ งที่ 2 เส้นตรง, พาลาโบลา เรือ่ งที่ 3 การแก้สมการ, การแยกตัวประกอบ เรือ่ งที่ 4 ตรีโกณมิติ และเรือ่ งที่ 5 จ�ำนวนเชิงซ้อน โดยใช้เวลาสอนและเก็บข้อมูลรวม 8 สัปดาห์ ดังภาพที่ 2 ถึงภาพที่ 6 ตามล�ำดับ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
148
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ภาพที่ 2 บรรยากาศการเรียนการสอน ภาพที่ 6 ทีมที่ชนะเลิศการแข่งขัน ภาพที่ 3 การประกาศผลการแข่งขัน
ภาพที่ 4 การจัดกิจกรรมเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT
5) การประเมินผล (Evaluation) ผูว้ จิ ยั ได้เก็บข้อมูล และน�ำมาสรุปผลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ผลการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ หรือไม่อย่างไร และ 2) ความพึงพอใจของผูเ้ รียนทีม่ ตี อ่ การจัดกิจกรรมเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT ในภาพรวมอยู่ในระดับใด
ผลการวิจัย
1. ผลการเปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น ของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยกิจกรรมเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT โดยการหาค่าความแตกต่าง ของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง และน�ำมาทดสอบค่าแจกแจงแบบที (t-test) มีผลดังนี้ ภาพที่ 5 ภาพรวมกับผู้สนับสนุนรางวัลการแข่งขัน ตารางที่ 1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียน การสอบ ก่อนเรียน หลังเรียน
จ�ำนวน ผู้เรียน 32 32
คะแนน เต็ม 30 30
คะแนน เฉลี่ย 11.50 23.94
S.D.
t ตาราง
t ค�ำนวน
Sig. (1-tailed)
2.95 2.72
1.6955
18.7632
0.00
Sig. < .05, df = 31 จากตารางที่ 1 พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ของผู้เรียนมีค่าเท่ากับ 23.94 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ย ก่อนเรียนของผูเ้ รียนทีม่ คี า่ เท่ากับ 11.50 แสดงว่าผูเ้ รียน
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และเมื่อน�ำมาทดสอบ สมมติฐานด้วยสถิติค่าที พบว่า ค่า t ค�ำนวณมีค่าเป็น 18.7632 เมื่อเปรียบเทียบค่า t ในตารางมีค่าเท่ากับ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
1.6955 สามารถสรุปได้วา่ ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของ ผูเ้ รียนสูงขึน้ อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .05 ซึง่ ตรง ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2. ผลการหาความพึ ง พอใจของผู ้ เ รี ย นที่ มี ต ่ อ การเรียนด้วยกิจกรรมเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT หลังผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้แล้ว ผู้วิจัยได้
149
ให้ผู้เรียนท�ำแบบสอบถามออนไลน์ เพื่อสอบถามความ พึงพอใจทีม่ ตี อ่ การเรียนด้วยกิจกรรมเรียนรูค้ ณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT ซึง่ มีรายการประเมิน 2 ส่วน ใช้มาตรฐาน ประมาณค่า 5 ระดับ ตามแบบลิเคอร์ท (ศุภมาศ การะเกตุ และสุชาดา บวรกิติวงศ์, 2552) ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ผลการหาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อกิจกรรมเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT รายการประเมิน ภาพรวมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT Pre-Calculus 2557 1. นักศึกษามีความพยายามในการเรียนเพิ่มขึ้น 2. นักศึกษาชอบเล่นเกมการแข่งขันในกิจกรรม TGT Pre-Cal 3. นักศึกษาเรียนด้วยความสนุกสนาน 4. นักศึกษากระตือรือร้นในการท�ำกิจกรรมในชั่วโมงเรียน 5. นักศึกษารู้สึกพอใจที่ได้ใช้เวลาว่างในการท�ำความเข้าใจเนื้อหาด้วยตนเอง 6. นักศึกษารู้สึกว่ายิ่งเรียนยิ่งสนุกสนาน 7. นักศึกษากระตือรือร้นที่จะน�ำความรู้ในเนื้อหามาปรึกษาเพื่อนในกลุ่ม 8. นักศึกษามีความพอใจในการหาแบบฝึกหัดมาท�ำกันในกลุ่ม 9. นักศึกษามีการนัดหมายมาทบทวนความรู้ร่วมกัน 10. นักศึกษาชอบการเรียนที่มีการท�ำกิจกรรมกลุ่มมากกว่าการเรียนแบบบรรยายอย่างเดียว ความคิดเห็นต่อกิจกรรม TGT Pre-Calculus 2557 ที่มีผลต่อตัวนักศึกษา 1. นักศึกษารู้สึกว่าตนเองมีค่าเมื่อสามารถอธิบายให้เพื่อนฟังหรือท�ำโจทย์ต่างๆ ได้ 2. นักศึกษาสามารถถ่ายทอดเนื้อหา/ความรู้ ให้เพื่อนได้เข้าใจมากขึ้นได้ 3. การเข้ากลุ่มเล่นเกมการแข่งขัน ท�ำให้นักศึกษาต้องพยายามอ่านหนังสือ และท�ำความเข้าใจ ในเนื้อหามากขึ้น 4. นักศึกษาพยายามเต็มที่ในการเล่นเกมเพื่อคะแนนของกลุ่ม 5. การที่ต้องเข้าร่วมกลุ่มกับคนที่มีความสามารถแตกต่างท�ำให้นักศึกษาต้องขยันมากขึ้น 6. นักศึกษารู้สึกพอใจเมื่อเพื่อนขอความช่วยเหลือจากนักศึกษา 7. กิจกรรมการเรียนแบบ TGT_Pre-Cal ท�ำให้เกิดความตื่นเต้นในการเรียนในระดับใด 8. นักศึกษาให้คะแนนกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT_Pre-Cal ในระดับใด 9. นักศึกษาอยากให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT_Pre-Cal ในรายวิชาอื่นๆ ด้วย ค่าเฉลี่ยรวม
ค่าเฉลี่ย (X–)
S.D.
ความ พึงพอใจ
4.32 4.13 4.19 4.31 3.94 4.25 4.16 4.09 4.16 4.47
0.74 0.79 0.82 0.78 0.80 0.84 0.92 0.93 0.73 0.72
มากที่สุด มาก มาก มากที่สุด มาก มากที่สุด มาก มาก มาก มากที่สุด
4.13 4.03
0.90 0.78
มาก มาก
4.23
0.73 มากที่สุด
4.53 4.34 4.53 4.25 4.19 4.34 4.24
0.62 0.70 0.72 0.72 0.78 0.94 0.09
มากที่สุด มากที่สุด มากที่สุด มากที่สุด มาก มากที่สุด มากที่สุด
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
150
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
จากตารางที่ 2 พบว่า ความพึงพอใจของผูเ้ รียน ในภาพรวมทีม่ ตี อ่ การเรียนด้วยกิจกรรมเรียนรูค้ ณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT หลังผูเ้ รียนผ่านกระบวนการเรียนรูแ้ ล้ว อยู่ในระดับมากที่สุด (X– = 4.24 และ S.D. = 0.09) เมือ่ พิจารณาแยกในแต่ละส่วนของแบบประเมินความพึง พอใจของผูเ้ รียน พบว่า ส่วนของภาพรวมการจัดกิจกรรม การเรียนรูแ้ บบ TGT Pre-Calculus 2557 ข้อทีม่ คี ะแนน สูงสุด คือ นักศึกษามีความพยายามในการเรียนเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด (X– = 4.32 และ S.D. = 0.74) โดยผูว้ จิ ยั ได้สมั ภาษณ์ผเู้ รียนเพิม่ เติมได้ขอ้ สรุปว่า การจัด การเรียนรูท้ มี่ กี ารแข่งขันส่งผลให้ผเู้ รียนเกิดความตระหนัก ที่จะใฝ่รู้ โดยผู้เรียนแจ้งว่ามีการจัดติวพิเศษเพิ่มเติม จากการเรียนปกติ เพื่อให้เพื่อนในกลุ่มที่ไม่เก่งสามารถ ท�ำโจทย์ได้เทียบเท่ากับคนที่เก่งได้ และส่วนถัดมาคือ ความคิดเห็นของกิจกรรม TGT Pre-Calculus 2557 ที่มีผลต่อนักศึกษา ข้อที่มีคะแนนสูงสุดประกอบไปด้วย 2 ข้อ คือ 1) นักศึกษาพยายามเต็มที่ในการเล่นเกม เพื่อคะแนนของกลุ่ม อยู่ในระดับมากที่สุด (X– = 4.53 และ S.D. = 0.62) และ 2) นักศึกษารูส้ กึ พอใจเมือ่ เพือ่ น ขอความช่วยเหลือจากนักศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด (X– = 4.53 และ S.D. = 0.72) โดยทั้ง 2 ข้อนี้ สามารถ สรุปได้วา่ การเรียนด้วยกลุม่ ร่วมมือแบบ TGT ยังส่งผล ให้ผู้เรียนรู้จักตัวเอง และสามารถท�ำงานร่วมกับผู้อื่น และการเป็นที่ยอมรับในหมู่เพื่อนสามารถสร้างแรง บันดาลใจในการเรียนได้เป็นอย่างดี รวมทัง้ ผูเ้ รียนได้ฝกึ การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เข้าใจและเห็นใจผู้อื่น มีทักษะทางสังคม ซึ่งเป็นทักษะของความฉลาดทาง อารมณ์ ทีจ่ ะเป็นตัวผลักดันให้ประสบความส�ำเร็จอย่าง แท้จริง และจากตารางพบว่า ความพึงพอใจในด้าน TGT และด้านการประเมินผลอยูใ่ นระดับมากทีส่ ดุ ซึง่ ตรงตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้
สรุปและอภิปรายผล
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนด้วย
กิจกรรมเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT มีค่า สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส�ำคัญที่ระดับ .05 เป็นไป ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากผู้เรียนมีแรงบันดาลใจ ในการใฝ่รู้และศึกษาด้วยตนเอง อีกทั้งมีเพื่อนในกลุ่ม ที่ มี ค วามถนั ด ต่ า งกั น ในแต่ ล ะหั ว ข้ อ ช่ ว ยกั น ติ ว และ ถ่ายทอดความรูใ้ ห้แก่กนั และกัน ส่งผลให้เกิดการแข่งขัน กันท�ำแบบทดสอบ ท�ำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน ในการท�ำแบบทดสอบ อีกทัง้ การทีผ่ เู้ รียนสามารถเป็นที่ พึ่งพาของเพื่อนได้และท�ำให้รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่ง ในความส�ำเร็จของทีม นอกจากนี้การท�ำงานร่วมกันกับ เพื่อนในกลุ่มของตนเองจะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งผลจากการร่วมมือท�ำแบบทดสอบท�ำให้ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของผูเ้ รียนในกลุม่ แข่งขันสูงขึน้ ซึง่ ผลการวิจยั สอดคล้องกับงานวิจัยของปรวีร์ ถนอมคุณ (2555) ได้ ศึกษาวิจยั เรือ่ ง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ชว่ ยสอน ผ่านเว็บ วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ ด้วยวิธีการจัด การเรียนรู้แบบ TGT ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง พบว่า ผู้เรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบ ทีมแข่งขันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเว็บ วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ แบบ TGT โดยมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ .05
ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการจัดกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ให้ผเู้ รียน สามารถถามตอบในข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนได้ จะส่งผลให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 2. ควรจัดรูปแบบของกิจกรรมให้มคี วามหลากหลาย และควรหารางวัลที่ดึงดูดใจที่จะส่งผลต่อแรงบันดาลใจ ในการพยายามท�ำให้ทีมประสบผลส�ำเร็จ 3. ควรออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ให้ครอบคลุม ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ หรือควรมีการบันทึก การสอนเพือ่ ให้ผเู้ รียนสามารถศึกษาเพิม่ เติมด้วยตนเองได้ ถ้าต้องการ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
151
บรรณานุกรม
กรมวิชาการ. (2545). การจัดสาระการเรียนรูค้ ณิตศาสตร์ ช่วงชัน้ ที่ 1-2 หลักสูตรการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน (พิมพ์ครัง้ ที่ 2). กรุงเทพฯ: กราฟฟิคโกร. เทอดศักดิ์ เดชคง. (2542). จากความฉลาดทางอารมณ์สู่สติและปัญญา. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มติชน. ปรวีร์ ถนอมคุณ. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ชว่ ยสอนผ่านเว็บ วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ ด้วยวิธกี าร จัดการเรียนรูแ้ บบ TGT (Teams-Games-Tournaments) ระดับชัน้ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชัน้ สูง. กรุงเทพฯ: ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). เอกสารประกอบการสอนวิชาการออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์ ส�ำหรับบทเรียน คอมพิวเตอร์ชว่ ยสอน. ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศกึ ษา คณะครุศาสตร์อตุ สาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ. ศศิธร สาวงศ์นาม. (2556). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ TGT. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ศุภมาศ การะเกตุ และสุชาดา บวรกิตวิ งศ์. (2552). การเปรียบเทียบความเทีย่ งและความคลาดเคลือ่ นอย่างเป็นระบบ ในการประมาณค่าแบบยึดพฤติกรรมในการประเมินการสอนของครูปี 2552. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมเดช บุญประจักษ์. (2544). การพัฒนาศักยภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการเรียน แบบร่วมมือ. ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สมทรง สุวพานิช. (2549). เอกสารประกอบการสอนวิชา 1023662 พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ ในระดับ ประถมศึกษา. มหาสารคาม: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม.
Translated Thai References
Boonprajak, S. (2001). Development of mathematical power of mathayom suksa I students through cooperative learning. Mathematics Education, Srinakharinwirot University. [in Thai] Dejkong, T. (1999). The emotional intelligence to consciousness and intelligence. Bangkok: Matichon Public. [in Thai] Department of Curriculum and Instruction Development. (2002). The Learning Math Grade 1-2 curriculum for basic education. Bangkok: GraphicGrow. [in Thai] Karaket, S. & Bowarnkitiwong, S. (2009). Comparisons of Reliability and Systematic error of Estimation of Likert Rating Scale and Behaviorally Anchored rating scales for Teachers’ Teaching Assessment in the year 2009. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai] Sawongnam, S. (2013). Arrangement activity learning mathematics development about Fraction of the elementary pupil studies year that 4 by use the group cooperates model, TGT. Mahasarakham: Mahasarakham University. [in Thai] Suwapanich, S. (2006). Teaching subjects 1023662 Teaching Behavior At the primary level. Mahasarakham: Department of Educational, Rajabhat Maha Sarakham University. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
152
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�าเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Thanomkhun, P. (2012). A Development of Web-Based Instruction for Computer Mathematics Applying A Teams-Games-Tournaments (TGT) Technique. Bangkok: Computer Technology, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. [in Thai] Tiantong, M. (2005). Design and Development of Computer Instruction. Faculty of Technical Education, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. [in Thai]
Name and Surname: Naruetep Suwantada Highest Education: Master of Science in Technical Education (Computer Technology), King Mongkut’s University Of Technology North Bangkok University or Agency: Bangkok University Field of Expertise: Multimedia, Interactive Media, Innovation and Computer Education Address: 9/1 Moo 5, Phaholyotin Rd., Klong 1, Klong Luang, Pathumthani 12120
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
153
แบบจ�ำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีกูเกิลแอปส์ เพื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี CAUSAL MODEL OF UNDERGRADUATE STUDENTS’ LEARNING BY GOOGLE APPS FOR EDUCATION TECHNOLOGY มารยาท โยทองยศ1 และศิริวรรณ ว่องวีรวุฒิ2 Marayat Yotongyos1 and Siriwan Wongveeravuti2 1คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 2คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 1School of Science and Technology, Bangkok University 2School of Business Administration, Bangkok University
บทคัดย่อ
งานวิจยั นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ พัฒนาแบบจ�ำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการเรียนรูด้ ว้ ยเทคโนโลยีกเู กิลแอปส์ เพือ่ การศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้การวิจยั เชิงสาเหตุกบั นักศึกษาระดับปริญญาตรี จ�ำนวน 796 คน ทีส่ มัครใจตอบแบบสอบถาม เครือ่ งมือในการวิจยั คือ แบบสอบถามแบบมาตรประเมินค่า สถิตวิ เิ คราะห์ คือ การวิเคราะห์ โมเดลสมการโครงสร้างแบบก�ำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน ผลการวิจัยพบว่า การใช้กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษาเพื่อการ เรียนรูข้ องนักศึกษาได้รบั อิทธิพลทางตรงจากความตัง้ ใจใช้ และได้รบั อิทธิพลทางอ้อมจากการรับรูป้ ระสิทธิภาพแห่งตน ทัศนคติตอ่ การใช้ บรรทัดฐานทางสังคม การรับรูถ้ งึ ประโยชน์ และการรับรูว้ า่ ง่ายในการใช้งาน และคุณภาพของบริการ และระบบสนับสนุน ค�ำส�ำคัญ: การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี แบบจ�ำลองการยอมรับเทคโนโลยี การใช้กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างแบบก�ำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน
Abstract
The purpose of research was to develop causal model of undergraduate students’ learning by using technology - Google applications for education. The causal research was performed with 796 undergraduate students voluntarily participating in this research. Research instrument is rating scale questionnaire. The analytical statistics applied was partial least square structural equation model. Research results revealed that the use of Google application for education of undergraduate students’ learning was influenced directly by intention of use and indirectly by self-efficacy, attitude toward use, social norm, perceived usefulness and perceived ease of use, Corresponding Author E-mail: marayat.y@bu.ac.th
154
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
and service quality and supporting systems. Keywords: Learning by Technology, Technological Acceptance Model, Using Google Apps for Education, Partial least square structural equation modeling
บทน�ำ
เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทส�ำคัญต่อ การศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะด้านการเรียนรูข้ องผูเ้ รียน เนื่ อ งจากเทคโนโลยี ส ารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช ่วย สนับสนุนการเรียนรูแ้ ละช่วยให้ผเู้ รียนได้เรียนรูจ้ ากทัง้ ใน ห้องเรียนและนอกห้องเรียน และช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพ ในการเรียนและผลลัพธ์การเรียนรูท้ พี่ งึ ประสงค์ (หาญศึก เล็บครุฑ และปรัชญนันท์ นิลสุข, 2553) เทคโนโลยี สารสนเทศจึงมีความส�ำคัญอย่างมากกับการจัดการเรียน การสอนในระดับปริญญาตรีที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับ ความรู้และมีประสบการณ์ที่หลากหลายเพื่อใช้ในการ ประกอบอาชีพในอนาคต รูปแบบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในหลายๆ รูปแบบ อาทิ ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) (Kareem, 2015) สือ่ อิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) (Sánchez, Hueros & Ordaz, 2013; Cheung & Vogel, 2013; Persico, Manca & Pozzi, 2014) การใช้อนิ เทอร์เน็ตในการติดต่อ สื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (เกษดา จารุรัตน์ และกาญจนา มีศิลปวิกกัย, 2557; เสกสรร สายสีสด, 2556) การใช้ คลิปวิดีโอออนไลน์ (Lee & Lehto, 2013) เป็นต้น แต่การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีลักษณะเป็น ระบบเดี่ยว ขาดการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างกัน กูเกิล (Google) ได้พัฒนาชุดของโปรแกรมส�ำหรับ จัดการเรียนการสอนทีเ่ รียกว่า “กูเกิลแอปส์เพือ่ การศึกษา (Google Apps for Education)” ทีส่ ง่ เสริมการเรียนรู้ แบบพึ่งพา (Collaborative learning) ท�ำให้ผู้เรียนได้ เรียนรูจ้ ากการท�ำงานร่วมกันได้ทกุ ทีท่ กุ เวลาและทุกรูปแบบ คือ สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้จากกูเกิลเสิร์ช (Google search) และแปลภาษาต่างประเทศได้ผ่าน
กูเกิลทรานซเลต (Google translate) การจัดเก็บข้อมูล ต่างๆ ด้วยกูเกิลไดร์ฟ (Google drive) ติดต่อสื่อสาร ผ่านทางเมลด้วยจีเมล (Gmail) ท�ำกิจกรรมกลุ่มได้ ในเวลาเดียวกันบนแฟ้มเอกสารเดียวกันด้วยกูเกิลด็อกส์ (Google docs) สร้างเว็บไซต์ทนี่ �ำเสนอข้อมูลผ่านกูเกิล ไซต์ (Google sites) ท�ำให้ผเู้ รียนมีปฏิสมั พันธ์กบั ผูส้ อน หรื อ ผู ้ เ รี ย นด้ ว ยกั น เองเพื่ อ ให้ เ กิ ด การแลกเปลี่ ย น ความคิดเห็นหรือท�ำงานร่วมกันโดยผ่านระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ (ไพรัชนพ วิรยิ วรกุล และดวงกมล โพธิน์ าค, 2557) อย่างไรก็ตามกูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา ถือว่าเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้แบบใหม่ ซึ่งการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนหรือผู้เกี่ยวข้องน�ำไปใช้ในการเรียนรู้ ยังจ�ำเป็นต้องมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ ยอมรับหรือการใช้เทคโนโลยีใหม่ ซึ่งแนวคิดที่นิยมใช้ ในการอธิบายการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ คือ แบบจ�ำลอง การยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model: TAM) ของ Davis (1989) แบบจ�ำลองนี้ได้มี การน�ำไปประยุกต์ใช้ในการอธิบายถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อ การยอมรับเทคโนโลยีดา้ นการศึกษาทีส่ ว่ นใหญ่ใช้ในการ อธิบายการยอมรับการเรียนรู้จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) (Persico et al., 2014; Sánchez et al., 2013; Šumak et al., 2011) การใช้คลิปวิดโี อออนไลน์ (Lee & Lehto, 2013) การน�ำมาประยุกต์ใช้ในการ อธิ บ ายการยอมรั บ เทคโนโลยี ที่ เ ป็ น ลั ก ษณะของชุ ด โปรแกรมอย่างกูเกิลแอปส์เพือ่ การศึกษายังมีนอ้ ย งานวิจยั ที่ผ่านมาเกี่ยวกับกูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษาเน้นการใช้ โปรแกรมเพื่อการท�ำงานร่วมกัน (Cheung & Vogel, 2013) และศึกษารูปแบบโปรแกรมเดียว (เกษดา จารุรตั น์ และกาญจนา มีศิลปวิกกัย, 2557) ยังขาดการศึกษา
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ที่ครอบคลุมชุดของโปรแกรมอย่างกูเกิลแอปส์เพื่อการ ศึกษา ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงสนใจศึกษาการเรียนรู้ด้วย เทคโนโลยีกเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษาของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี เพื่อน�ำองค์ความรู้ที่ได้ไปเป็นข้อมูลส�ำหรับ วางแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีกูเกิล แอปส์เพื่อการศึกษาในกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรี ต่อไป การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนวรรณกรรมในการวิ จั ย ครั้ ง นี้ เ สนอ ออกเป็น 2 ส่วนคือ ทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี และ กรอบแนวคิดในการวิจัย รายละเอียดดังต่อไปนี้ ทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี การส่ ง เสริ ม การใช้ เ ทคโนโลยี ใ หม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งมี การพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี ซึ่งการอธิบายและพยากรณ์การยอมรับเทคโนโลยีใหม่ มีแบบจ�ำลองทีห่ ลากหลาย เช่น แบบจ�ำลองการยอมรับ เทคโนโลยี (Technology Acceptance Model, TAM) ของ Davis (1989) ซึง่ พัฒนาแนวคิดจากทฤษฎีการกระท�ำ อย่างมีเหตุผล (Theory of Reasoned Action: TRA) (Ajzen, 1991) ทีก่ ล่าวว่า การแสดงพฤติกรรมของแต่ละ บุคคล (Individual Behavior) เกิดจากการตัดสินใจ ของบุ ค คล โดยปั จ จั ย มี ค วามตั้ ง ใจแสดงพฤติ ก รรม (Behavioral Intention) เป็นตัวก�ำหนดการแสดง พฤติกรรมโดยตรง โดยทีค่ วามตัง้ ใจแสดงพฤติกรรมได้รบั อิทธิพลจาก 2 ปัจจัย คือ 1) ทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรม (Attitudes towards the Behavior) ซึ่งเป็นปัจจัย ภายในตัวบุคคล บุคคลจะประเมินผลลัพธ์ของพฤติกรรม จากความเชือ่ ของแต่ละบุคคลทีว่ า่ เมือ่ แสดงพฤติกรรม นั้นแล้วจะเกิดผลลัพธ์อย่างไร บุคคลที่ประเมินผลลัพธ์ ของพฤติกรรมว่ามีผลทางบวก บุคคลจะมีทศั นคติทดี่ ตี อ่ พฤติกรรมนั้นและตั้งใจแสดงพฤติกรรม ในทางตรงข้าม ถ้าผลการประเมินเป็นทางลบบุคคลจะมีทัศนคติที่ไม่ดี ต่อพฤติกรรมและอาจไม่ตงั้ ใจแสดงพฤติกรรมนัน้ ๆ และ 2) บรรทัดฐานของบุคคลเกีย่ วกับพฤติกรรม (Subjective
155
Norm) เป็นการรับรู้ของแต่ละบุคคลเกี่ยวกับความหวัง หรือความต้องการของกลุ่มบุคคลในสังคมซึ่งมีความ ส�ำคัญต่อบุคคลในการแสดงหรือไม่แสดงพฤติกรรมใดๆ จัดเป็นแรงจูงใจภายนอกทีท่ ำ� ให้แต่ละบุคคลปฏิบตั ติ าม ความต้องการของกลุ่มคนในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุม่ บุคคลใกล้ชดิ เช่น บุคคลในครอบครัว เพือ่ นร่วมงาน เป็นต้น จากแนวคิดเบื้องต้นนี้ Davis (1989) ได้น�ำ แนวคิดนีไ้ ปประยุกต์ใช้ในเรือ่ งการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ และเพิ่มเติมปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เรียกว่า แบบจ�ำลอง การยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model, TAM) ดังนี้ การที่บุคคลจะใช้งานเทคโนโลยีใหม่จริง (Actual Use) จะได้รับอิทธิพลจากความตั้งใจแสดงพฤติกรรม การใช้ (Behavioral Intention Use) โดยความตั้งใจ แสดงพฤติกรรมการใช้ได้รบั อิทธิพลจากทัศนคติตอ่ การใช้ เทคโนโลยี (Attitude toward to Using) และการรับรู้ ถึงประโยชน์ของเทคโนโลยี (Perceived Usefulness) ในขณะที่ทัศนคติต่อการใช้เทคโนโลยีได้รับอิทธิพลจาก การรับรู้ถึงประโยชน์ของเทคโนโลยี กล่าวคือ บุคคลที่ รับรู้ว่าเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ช่วยท�ำให้งานหรือสิ่งที่ท�ำอยู่ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ยอมตั้งใจที่จะใช้ในทางตรงข้าม เมื่ อ บุ ค คลเห็ น ว่ า ไม่ ไ ด้ ช ่ ว ยให้ ง านหรื อ สิ่ ง ที่ ท� ำ อยู ่ มี ประสิทธิภาพดีขนึ้ ย่อมมีทศั นคติทางลบ นอกจากนีย้ งั มี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อการใช้เทคโนโลยีและ การรับรู้ถึงประโยชน์ของเทคโนโลยี คือ การรับรู้ว่าง่าย ในการใช้งาน (Perceive Ease of Use) ซึ่งเป็นปัจจัย ก� ำ หนดปริ ม าณหรื อ ความส� ำ เร็ จ ที่ ไ ด้ รั บ จากการใช้ เทคโนโลยี เมือ่ บุคคลสามารถใช้เทคโนโลยีในการท�ำงาน ได้ส�ำเร็จ ได้ง่ายหรือรวดเร็วย่อมเห็นประโยชน์และเกิด ทัศนคติทดี่ ตี อ่ การใช้เทคโนโลยีนนั้ และท้ายสุดการรับรูถ้ งึ ประโยชน์ของเทคโนโลยีและการรับรูว้ า่ ง่ายต่อการใช้งาน จะได้รับอิทธิพลจากตัวแปรปัจจัยภายนอก (External Variables) (Davis, 1989) ทฤษฎี TAM ได้มีการเพิ่มเติมปัจจัยในการอธิบาย การยอมรับเทคโนโลยีใหม่ไว้หลากหลาย Taylor &
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
156
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Todd (1995) ได้นำ� ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior: TPB) ของ Ajzen (1991) มารวมด้วย โดยน�ำบรรทัดฐานของบุคคลเกี่ยวกับแสดง พฤติกรรม (Subjective Norm) เช่น เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน เป็นต้น และการรับรูถ้ งึ การควบคุมพฤติกรรม ของตนเองในการแสดงพฤติกรรม (Perceived Behavior Control) ที่แสดงถึงการรับรู้ของบุคคลว่าเป็นการยาก หรือง่ายที่จะท�ำพฤติกรรมนั้นๆ ถ้าบุคคลเชื่อว่ามีความ สามารถที่จะกระท�ำพฤติกรรมในสภาพการณ์นั้นได้ และสามารถควบคุมให้เกิดผลดังตั้งใจบุคคลนั้นจะมี แนวโน้มที่จะท�ำพฤติกรรมนั้น ดังนั้นตัวแปรทัง้ สองจึงมี อิทธิพลโดยตรงต่อความตัง้ ใจแสดงพฤติกรรมการใช้งาน ในขณะที่บรรทัดฐานของบุคคลจะส่งผลต่อการรับรู้ถึง ประโยชน์ ส่วนการรับรู้ถึงการควบคุมพฤติกรรมของ ตนเองส่วนผลต่อการรับรู้ว่าง่ายในการใช้งาน เรียก แบบจ�ำลองนี้ว่า ทฤษฎีผสมผสานระหว่าง TAM และ TPB (combined-TAM-TPB หรือ C-TAM-TPB) แบบจ�ำลองดังกล่าวข้างต้นจึงมีความเหมาะสม ในการอธิบายถึงปัจจัยเชิงสาเหตุของการเรียนรู้ด้วย เทคโนโลยีกเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษาของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรีได้เป็นอย่างดี โดยสามารถก�ำหนดกรอบ แนวคิดการวิจัยที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยตาม ทฤษฎี C-TAM-TPB ดังนี้ กรอบแนวคิดการวิจัย ตามทฤษฎี C-TAM-TPB Taylor & Todd (1995) ผู ้ วิ จั ย ได้ พั ฒ นาเป็ น โมเดลความสั ม พั น ธ์ เ ชิ ง สาเหตุ การเรียนรูด้ ว้ ยเทคโนโลยีกเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษาของ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึง่ มีสมมติฐานเกีย่ วกับความ สัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในโมเดลดังนี้ ส่วนของ TAM (Davis, 1989) ระบุว่า การรับรู้ถึง ประโยชน์ (Perceived Usefulness: PU) คือ ระดับ ความเชื่อที่ว่ากูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษานั้นช่วยในการ เรียนรูใ้ นการเรียนได้ และการรับรูว้ า่ ใช้งานง่าย (Perceive Ease of Use: PEU) คือ ระดับความเชือ่ ทีว่ า่ การใช้งาน กูเกิลแอปส์เพือ่ การศึกษา ไม่ตอ้ งใช้ความพยายามมากนัก
ซึ่ง Davis (1989) กล่าวว่าตัวแปร 2 ตัวนี้ส่งผลต่อ ทัศนคติต่อการใช้กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา (Attitude toward using: ATT) คือ ระดับความรู้สึกชอบหรือ ไม่ชอบต่อการใช้กเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษา และการรับรู้ ว่าใช้งานง่ายส่งผลต่อการรับรู้ถึงประโยชน์ ในขณะที่ การรับรู้ถึงประโยชน์และทัศนคติต่อการใช้ส่งผลต่อ ความตั้งใจใช้กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา (Behavioral Intention Use: BIU) คือ ระดับความสนใจที่จะใช้ กูเกิลแอปส์เพือ่ การศึกษา ความตัง้ ใจใช้นสี้ ง่ ผลต่อการใช้ กูเกิลแอปส์เพือ่ การศึกษา (Actual Use: AU) ความสัมพันธ์ ดังกล่าวสามารถเขียนเป็นสมมติฐานการวิจัย คือ H1: การรับรู้ว่าใช้งานง่ายส่งผลต่อการรับรู้ถึง ประโยชน์ H2: การรับรู้ถึงประโยชน์ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะ ใช้กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา H3: การรับรูถ้ งึ ประโยชน์สง่ ผลต่อทัศนคติตอ่ การใช้ กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา H4: การรับรู้ว่าใช้งานง่ายส่งผลต่อทัศนคติที่มีต่อ กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา H5: ทัศนคติต่อการใช้ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะใช้ กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา H6: ความตั้งใจที่จะใช้ส่งผลต่อการใช้กูเกิลแอปส์ เพื่อการศึกษา นอกจากนี้แบบจ�ำลอง TAM ของ Davis (1989) ระบุวา่ ตัวแปรภายนอกมีอทิ ธิพลต่อการรับรูถ้ งึ ประโยชน์ และการรับรูว้ า่ ใช้งานง่าย และจากงานวิจยั ด้านการเรียน ออนไลน์ส่วนใหญ่ศึกษาถึงการรับรู้ถึงแหล่งทรัพยากร และการสนับสนุน (Lee, 2008; Ngai, Poon & Chan, 2007) และระบุว่า การรับรู้ถึงแหล่งทรัพยากรและการ สนับสนุนส่งผลต่อการรับรู้ว่าใช้งานง่าย (Lee, 2008; Ngai et al., 2007) นอกจากนี้ Park et al. (2012) พบว่า การรับรู้ถึงแหล่งทรัพยากรและการสนับสนุน ส่งผลต่อความตัง้ ใจทีจ่ ะใช้งาน งานวิจยั นีเ้ รียกว่า คุณภาพ ของบริการและระบบสนับสนุน (Quality of Service & Support System: QSS) คือ ระดับความพึงพอใจ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ต่อการให้บริการของระบบสนับสนุนการใช้กูเกิลแอปส์ ของสถาบันที่นักศึกษาศึกษาอยู่ สมมติฐานการวิจัย คือ H7: คุณภาพของบริการและระบบสนับสนุนส่งผล ต่อการรับรู้ว่าใช้งานง่าย H8: คุณภาพของบริการและระบบสนับสนุนส่งผล ต่อความตั้งใจที่จะใช้กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา ทฤษฎี C-TAM-TPB (Taylor & Todd, 1995) กล่าวว่า บรรทัดฐานของบุคคล (Subjective Norm: SN) และการรับรู้ถึงการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง ในการแสดงพฤติกรรม (Perceived Behavior Control) ส่งผลต่อทั้งความตั้งใจที่จะแสดงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งบรรทัดฐานของบุคคล คือ ระดับการใช้กูเกิลแอปส์ เพื่อการศึกษาของอาจารย์ เพื่อน และคนในครอบครัว (ญาติพี่น้อง) ของนักศึกษา และการรับรู้ถึงการควบคุม พฤติกรรมของตนเองในการแสดงพฤติกรรม ที่วัดจาก การรับรู้ประสิทธิภาพแห่งตน (Self-Efficacy: SE) (Compeau & Higgins, 1995) คือ ระดับความเชื่อว่า ตนเองมีความสามารถในการใช้กเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษา ในการเรียนได้ สมมติฐานการวิจัย คือ H9: บรรทัดฐานของบุคคลส่งผลต่อความตัง้ ใจทีจ่ ะ ใช้กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา H10: การรับรู้ประสิทธิภาพแห่งตนส่งผลต่อความ ตั้งใจที่จะใช้กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา นอกจากเหนือความสัมพันธ์ตามที่ระบุไว้ในทฤษฎี C-TAM-TPB แล้ว งานวิจยั บางส่วนทีศ่ กึ ษาความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรการรับรู้ประสิทธิภาพแห่งตน เพิม่ เติมและพบว่า การรับรูป้ ระสิทธิภาพแห่งตน นอกจาก จะส่งผลต่อความตั้งใจที่จะแสดงพฤติกรรมการใช้งาน ยังส่งผลต่อการรับรู้ว่าเป็นระบบที่ง่ายต่อการใช้งาน (Šumak et al., 2011; Cheung & Vogel, 2013; Park, 2009; Park et al., 2012) และบรรทัดฐานของ บุคคลยังส่งผลต่อการรับรู้ถึงประโยชน์ (Venkatesh & Davis, 2000) ดังนัน้ ผูว้ จิ ยั จึงตัง้ สมมติฐานการวิจยั เพิม่ ว่า H11: การรับรูป้ ระสิทธิภาพแห่งตนส่งผลต่อการรับรู้ ว่าง่ายต่อการใช้งาน
157
H12: บรรทัดฐานของบุคคลส่งผลต่อการรับรู้ถึง ประโยชน์ ความสัมพันธ์ตามกรอบแนวคิดข้างต้นสามารถ แสดงได้ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีกูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่ อ พั ฒ นาแบบจ� ำ ลองความสั ม พั น ธ์ เ ชิ ง สาเหตุ การเรียนรูด้ ว้ ยเทคโนโลยีกเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษาของ นักศึกษาระดับปริญญาตรี
วิธีการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสาเหตุ (Causal Research) เพือ่ พัฒนาแบบจ�ำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ การเรียนรูด้ ว้ ยเทคโนโลยีกเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษาของ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งประชากรและตัวอย่าง เครือ่ งมือวิจยั การสร้างและการตรวจสอบเครือ่ งมือวิจยั และการเก็บรวบรวมข้อมูล มีดังต่อไปนี้ 3.1 ประชากรและตัวอย่าง ประชากร คือ นักศึกษา ระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ตัวอย่างในการวิจัยใช้การเลือกตัวอย่างแบบสมัครใจ (Volunteer sampling) ขนาดตัวอย่างน้อยกว่า 359 คน ซึ่งพิจารณาจากหลักการทั่วไป (Rule of thumb) ของ การวิเคราะห์ PLS-SEM ทีใ่ ช้ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 10 เท่า ของจ�ำนวนที่มากกว่าระหว่างจ�ำนวนเส้นอิทธิพลที่มีต่อ ตัวแปรแฝงในโมเดลที่มากที่สุดกับจ�ำนวนตัวบ่งชี้ของ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
158
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ตัวแปรแฝงแบบก่อตัวที่มากที่สุด (Barclay, Higgins & Thompson, 1995) ร่วมกับการพิจารณาค่าอ�ำนาจ การทดสอบ (Hair et al., 2014) โดยเลือกใช้จ�ำนวน ตัวบ่งชี้ของตัวแปรก่อตัว คือ การใช้กูเกิลแอปส์เพื่อ การศึกษา เนื่องจากมีจ�ำนวนตัวบ่งชี้ จ�ำนวน 6 ตัว ซึ่งมากกว่าจ�ำนวนเส้นอิทธิพลที่มีต่อตัวแปรความตั้งใจ ใช้กเู กิลแอปส์ทมี่ จี �ำนวน 5 เส้น ได้ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 60 คน แต่การใช้ขนาดตัวอย่างเพียงเท่านี้ทำ� ให้อ�ำนาจ การทดสอบต�่ำเพียงไม่ถึง 0.3 ดังนั้นจึงก�ำหนดขนาด ตัวอย่างตามแนวคิดของ Cohen (1988) ด้วยโปรแกรม ค�ำนวณขนาดตัวอย่าง G*Power (Faul et al., 2009) ของการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณที่มีตัวแปรต้น 6 ตัว ขนาดอิทธิพลต�่ำ 0.10 ระดับนัยส�ำคัญ 0.01 อ�ำนาจการทดสอบเท่ากับ 0.99 ได้ขนาดตัวอย่างอย่างน้อย 359 คน 3.2 การสร้างและตรวจสอบเครื่องมือวิจัย ลั ก ษณะเครื่ อ งมื อ วิ จั ย เป็ น แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ภูมิหลัง เป็นข้อค�ำถามแบบเลือก รายการ (Check List) จ�ำนวน 4 ข้อ เพือ่ สอบถามข้อมูล ภูมหิ ลังของนักศึกษา ได้แก่ เพศ อุปกรณ์ทใี่ ช้ คณะวิชา และชั้นปี ส่วนที่ 2 การใช้กเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษา ผูว้ จิ ยั สร้างเองเป็นข้อค�ำถามแบบมาตรประเมินค่า 5 ระดับ ได้แก่ 1=ไม่ใช้เลย 2=ใช้น้อย 3=ใช้ปานกลาง 4=ใช้ ค่อนข้างมาก 5=ใช้มาก จ�ำนวน 6 ข้อ เพือ่ ส�ำรวจการใช้ กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษาแต่ละแบบ ส่วนที่ 3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้กูเกิลแอปส์ เพือ่ การศึกษา ซึง่ พัฒนาจาก Cheung & Vogel (2013), Lee & Lehto (2013) เป็นข้อค�ำถามแบบมาตรประเมิน ค่า 5 ระดับ ได้แก่ 1=เห็นด้วยน้อยทีส่ ดุ 2=เห็นด้วยน้อย 3=เห็นด้วยปานกลาง 4=เห็นด้วยมาก 5=เห็นด้วย มากทีส่ ดุ เพือ่ ถามความคิดเห็นเกีย่ วกับปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อ การใช้กูเกิลแอปส์ จ�ำนวน 7 ตัวแปร ได้แก่ 1) คุณภาพ ของบริการและระบบสนับสนุน 2) บรรทัดฐานของบุคคล
3) การรับรูป้ ระสิทธิภาพแห่งตน 4) การรับรูถ้ งึ ประโยชน์ 5) การรับรู้ว่าใช้งานง่าย 6) ทัศนคติต่อการใช้ 7) ความ ตัง้ ใจทีจ่ ะใช้ จ�ำนวนตัวแปรละ 3 ข้อ รวมทัง้ หมด 21 ข้อ ค�ำถาม การตรวจสอบเครือ่ งมือวิจยั มีการตรวจสอบ เครื่องมือวิจัยใน 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) การตรวจสอบ ความตรงเชิงเนื้อหาของตัวแปรแฝงในโมเดล และ 2) การตรวจสอบโมเดลการวัดของตัวแปรในการวิจัย ดังนี้ 1) การตรวจสอบความตรงเชิ ง เนื้ อ หาของ ตัวแปรแฝงในโมเดลด้วยค่าดัชนีความสอดคล้องของ ข้อค�ำถามกับจุดประสงค์ (The Index of Item Objective: IOC) จากการพิจารณาของผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการวิจยั และประเมินผล จ�ำนวน 3 ท่าน ผลการพิจารณาพบว่า ข้อค�ำถามมีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.6 ถึง 1.0 ซึง่ ผ่านเกณฑ์ทกี่ ำ� หนดคือ 0.6 ขึน้ ไป (ศิรชิ ยั กาญจนวาสี, 2552) 2) การตรวจสอบโมเดลการวั ด หรื อ โมเดล ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชีก้ บั ตัวแปรแฝงนัน้ เนือ่ งจาก ตัวแปรในการวิจยั นีป้ ระกอบมี 2 ลักษณะ คือ ตัวแปรแฝง แบบก่อตัว (Formative Latent) ที่ตัวบ่งชี้เป็นสาเหตุ ของตัวแปรแฝงนั้น (Hair et al., 2010, 2014) ในงาน วิจัยนี้คือ การใช้กูเกิลแอปส์ (AU) และตัวแปรแฝง แบบสะท้อน (Reflective Latent) ที่ตัวบ่งชี้ทุกตัว สะท้อนตัวแปรแฝงนัน้ มีจำ� นวน 7 ตัว ได้แก่ 1) คุณภาพ ของบริการและระบบสนับสนุน (QSS) 2) บรรทัดฐาน ของบุคคล (SN) 3) การรับรู้ประสิทธิภาพแห่งตน (SE) 4) การรับรู้ถึงประโยชน์ (PU) 5) การรับรู้ว่าใช้งานง่าย (PEU) 6) ทัศนคติตอ่ การใช้ (ATT) และ 7) ความตัง้ ใจทีจ่ ะ ใช้ (BIU) ตัวแปรแฝงทั้งสองนี้มีธรรมชาติที่แตกต่างกัน ตัวแปรแฝงแบบสะท้อนต้องการให้ตวั บ่งชีม้ คี วามสัมพันธ์ กันมากที่สุด การวัดความตรงและความเที่ยงจึงมีความ จ�ำเป็นกับตัวแปรประเภทนี้ ในขณะที่ตัวแปรแฝงแบบ ก่อตัวไม่ต้องการให้ตัวบ่งชี้สัมพันธ์กัน (MacKenzie, Podsakoff & Podsakoff, 2011) ดังนั้นการประเมิน ตัวแปรแฝงแต่ละแบบจึงมีวิธีการประเมินที่แตกต่างกัน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ดังนี้ ตั ว แปรแฝงแบบก่ อ ตั ว การตรวจสอบ ตัวแปรแฝงแบบก่อตัวพิจารณาจากตัวบ่งชี้มีนัยส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01 และไม่มีปัญหาความสัมพันธ์กัน ระหว่างตัวบ่งชี้สูงเกินไป (multicollinearity) ด้วยค่า Variance Inflation Factor (VIF) ไม่เกิน 0.3 (Hair et al., 2014) ผลการตรวจสอบพบว่า ตัวบ่งชี้ทั้ง 6 ตัว ของการใช้กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษามีความเหมาะสม เนื่องจากน�้ำหนักตัวบ่งชี้ (Weights) ทุกตัวมีนัยส�ำคัญ ทางสถิตทิ รี่ ะดับ 0.01 ค่าอยูร่ ะหว่าง 0.153-0.401 และ ค่า VIF ของตัวบ่งชี้อยู่ระหว่าง 1.217-1.895 ตัวแปรแฝงแบบสะท้อน การตรวจสอบ ตัวแปรแฝงแบบสะท้อนพิจารณาจากความเที่ยง (Reliability) และความตรง (Validity) ดังนี้ 1) ความเที่ยง ของตัวแปรแฝงพิจารณาจากความสอดคล้องภายใน (Internal Consistency) ด้วยความเที่ยงประกอบ (Composite Reliability: CR) ร่วมกับค่าแอลฟาของ คอนบราค (Conbrach’s Alpha: CA) (Barclay, Higgins & Thompson, 1995) ที่ควรมากกว่า 0.7 (Nunnally & Bernstein, 1994) ผลการตรวจสอบพบว่า ตัวแปรแฝง ทุกตัวมีความเที่ยง เนื่องจาก ค่า CR และค่า CA มีค่า มากกว่า 0.7 คือ ค่า CR อยู่ระหว่าง 0.841 ถึง 0.943 (PEU=0.943, ATT=0.916, SE=0.915, BIU=0.907, PU=0.906, QSS=0.848, SN=0.841) และค่า CA อยูร่ ะหว่าง 0.716 ถึง 0.909 (PEU=0.909, ATT=0.863, SE=0.861, BIU=0.847, PU=0.845, QSS=0.734, SN=0.716) 2) ความตรงของตัวแปรแฝง พิจารณา ความตรงทั้งเชิงลู่เข้า (convergent validity) และเชิง จ�ำแนก (discriminant validity) ดังนี้ 1) ความตรง เชิงลู่เข้าพิจารณาจาก 2 ลักษณะ คือ 1.1) ค่าน�ำ้ หนัก องค์ประกอบของตัวบ่งชี้ที่ควรมีค่าตั้งแต่ 0.7 ขึ้นไป (Nunnally & Bernstein, 1994) และ 1.2) ค่าความ แปรปรวนทีส่ กัดได้ของตัวแปรแฝง (Average Variance Extracted: AVE) ควรมีตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป (Fornells & Larcker, 1981) ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรแฝงแบบ
159
สะท้อนทุกตัวมีความตรงเชิงลู่เข้า เนื่องจากค่าน�้ำหนัก องค์ประกอบของตัวบ่งชีข้ องตัวแปรแฝงมีคา่ อยูร่ ะหว่าง 0.742 ถึง 0.939 (PEU ค่าน�้ำหนักองค์ประกอบอยู่ ระหว่าง 0.916 ถึง 0.939, ATT ค่าน�ำ้ หนักองค์ประกอบ อยูร่ ะหว่าง 0.868 ถึง 0.909, SE ค่าน�ำ้ หนักองค์ประกอบ อยูร่ ะหว่าง 0.865 ถึง 0.896, BIU ค่าน�ำ้ หนักองค์ประกอบ อยูร่ ะหว่าง 0.8.65 ถึง 0.880, PU ค่าน�ำ้ หนักองค์ประกอบ อยูร่ ะหว่าง 0.862 ถึง 0.884, QSS ค่าน�ำ้ หนักองค์ประกอบ อยูร่ ะหว่าง 0.792 ถึง 0.830, SN ค่าน�ำ้ หนักองค์ประกอบ อยู่ระหว่าง 0.742 ถึง 0.853) และค่า AVE มีค่าอยู่ ระหว่าง 0.639 ถึง 0.847 (PEU=0.847, ATT=0.784, SE=0.783, BIU=0.765, PU=0.763, QSS=0.651, SN=0.639) และ 2) ความตรงเชิงจ�ำแนก พิจารณาได้ จากค่ารากที่สองของค่าความแปรปรวนที่สกัดได้ของ แต่ละตัวแปรแฝง ( ) ควรมีคา่ สูงกว่าความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรแฝงนั้นกับตัวแปรแฝงอื่น (Fornell & Larcker, 1981) ซึง่ ผลการวิจยั พบว่า ตัวแปรแฝงทุกตัว มีความตรงเชิงจ�ำแนก เนื่องจากค่ารากที่สองของค่า ความแปรปรวนทีส่ กัดได้ของแต่ละตัวแปรแฝง ( ) มีค ่าสูงกว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัว แปรแฝงนั้นกับ ตัวแปรแฝงอื่น ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 เมทริกซ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรแฝงและค่า รากที่สองของ AVE ตัวแปร ATT AU BI PEU PU SE SN QSS ATT 0.886 AU 0.480 BI 0.659 0.475 0.875 PEU 0.628 0.453 0.776 0.920 PU 0.785 0.485 0.631 0.625 0.873 SE 0.581 0.465 0.757 0.748 0.582 0.885 SN 0.564 0.423 0.624 0.680 0.568 0.581 0.799 QSS 0.661 0.419 0.603 0.614 0.616 0.545 0.619 0.807
หมายเหตุ ค่าในแนวทแยงคือ ค่ารากที่สองของ AVE ของแต่ละตัวแปรแฝงแบบสะท้อน ( )
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
160
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามแบบออนไลน์ผ่านกูเกิลฟอร์ม (Google Form) และขอความร่วมมือจากอาจารย์ทดี่ แู ล นักศึกษาให้ส่งเส้นทาง (link) ของแบบสอบถามให้กับ นักศึกษาเพือ่ เข้ามาตอบแบบสอบถามด้วยความสมัครใจ พบมีนักศึกษาที่เข้ามาตอบจ�ำนวน 796 คน คิดเป็น อัตราการตอบอยู่ที่ร้อยละ 5 จากจ�ำนวนที่ส่งทั้งหมด ลักษณะภูมหิ ลังของนักศึกษาทีเ่ ข้ามาตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นหญิงร้อยละ 64.7 อยู่คณะมนุษยศาสตร์ และจัดการการท่องเทีย่ ว นิเทศศาสตร์ และบริหารธุรกิจ มีจ�ำนวนมากที่สุด 3 อันดับแรก ประมาณร้อยละ 22.3 ถึงร้อยละ 26.0 อยู่ชั้นปี 3 และปี 4 มากที่สุด คือ ร้อยละ 45.7 และ 30.7 ตามล�ำดับ เป็นนักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร้อยละ 88.8 ส่วนที่เหลือเป็น มหาวิทยาลัยอื่น นอกจากนี้ นักศึกษามีสมาร์ทโฟน มากทีส่ ดุ คิดเป็นร้อยละ 95.4 รองลงมาคือ คอมพิวเตอร์ พกพา คิดเป็นร้อยละ 49.1 และแท็บเล็ต ร้อยละ 28.4 3.4 การวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล การวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลีย่ และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 2) การตรวจสอบโมเดลการวัดของตัวแปรแฝง และการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ขอ้ มูลด้วยสถิตบิ รรยาย โดยใช้ ร้อยละในการบรรยายลักษณะของนักศึกษาตัวอย่าง และใช้คา่ เฉลีย่ ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐานค่าต�ำ่ สุด ค่าสูงสุด ความเบ้ และความโด่ง เพือ่ บรรยายลักษณะของตัวแปร ในการวิจัย 2) การตรวจสอบโมเดลการวัดของตัวแปรแฝง และการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผู้วิจัย ใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างแบบ การก� ำ ลั ง สองน้ อยที่ สุด (Partial Least Squares Structural Equation Modeling: PLS-SEM) ด้วย โปรแกรม SmartPLS (Ringle, Wende & Becker, 2014) เนื่องจากเทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการ โครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)
สามารถตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแฝง เรียกความสัมพันธ์นี้ว่า โมเดลโครงสร้าง (Structural Model) และตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแฝง กับตัวบ่งชี้ของตัวแปรแฝงนั้น เรียกว่า โมเดลการวัด (Measurement Model) ได้ในครั้งเดียว (Hair et al., 2010) และรองรับโมเดลที่มีตัวแปรแฝงแบบก่อตัวได้ ดีกว่าการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างแบบใช้ความ แปรปรวนร่วมเป็นฐาน (Covariance-Based-SEM: CB-SEM) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยวิเคราะห์ เช่น LISREL AMOS MPlus เป็นต้น (Hair et al., 2014) โดยมีเกณฑ์ความเหมาะสมดังนี้ โมเดลการวัด การตรวจสอบแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ก. ตัวแปรแฝงแบบก่อตัว ตัวบ่งชี้มีนัยส�ำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 และค่า VIF ไม่เกิน 0.3 (Hair et al., 2014) ข. ตัวแปรแฝงแบบสะท้อน มีเกณฑ์ดังนี้ - ความเทีย่ ง พิจารณาค่า CR และ CA ทีค่ วรมากกว่า 0.7 (Nunnally & Bernstein, 1994) - ความตรงเชิงลู่ ค่าน�ำ้ หนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ ทีค่ วรมีคา่ ตัง้ แต่ 0.7 ขึน้ ไป (Nunnally & Bernstein, 1994) และ AVE ควรมีตงั้ แต่ 0.5 ขึน้ ไป (Fornell & Larcker, 1981) - ความตรงเชิงจ�ำแนก ค่า ควรมีค่าสูงกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแฝงนัน้ กับตัวแปรแฝง อื่น (Fornell & Larcker, 1981) โมเดลโครงสร้าง มีการเกณฑ์การตรวจสอบด้วย ค่า R2 ถ้ามีค่า 0.25 ปานกลาง (0.50) และสูง 0.75 (Hair et al., 2014)
ผลการวิจัย
ผลการวิจัยมีการน�ำเสนอแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) ลักษณะของตัวแปร และ 2) แบบจ�ำลองความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุการเรียนรูด้ ว้ ยเทคโนโลยี กูเกิลแอปส์เพือ่ การ ศึกษารายละเอียดดังนี้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
1) ลักษณะของตัวแปร นักศึกษามีการใช้กเู กิลแอปส์ เพือ่ การศึกษา (AU) อยูใ่ นระดับปานกลาง และนักศึกษา มีระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้กูเกิลแอปส์เพื่อการ ศึกษาส่วนใหญ่อยูใ่ นระดับมาก คือ คุณภาพของบริการ และระบบสนับสนุน (QSS) ทัศนคติต่อการใช้ (ATT) การรับรูถ้ งึ ประโยชน์ (PU) การรับรูว้ า่ ใช้งานง่าย (PEU) ความตั้งใจที่จะใช้ (BIU) และการรับรู้ประสิทธิภาพ แห่งตน (SE) ยกเว้น บรรทัดฐานของบุคคล (SN) ในระดับ ปานกลาง ในระดับมาก ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของ ตัวแปรในการวิจัย ตัวแปร AU QSS ATT PU PEU BI SE SN
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับ ปานกลาง 0.707 3.388 มาก 0.859 3.762 มาก 0.884 3.709 มาก 0.887 3.706 มาก 0.889 3.593 มาก 0.841 3.518 มาก 0.855 3.436 ปานกลาง 0.869 3.307
ตารางที่ 3 ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง PEU -> PU PU -> BI PU -> ATT PEU -> ATT ATT -> BI BI -> AU SSQ -> PEU SSQ -> BI SN -> BI SE -> BI SE -> PEU SN -> PU
สัมประสิทธิ์เส้นทาง 0.445** 0.068 0.644** 0.226** 0.190** 0.475** 0.293** 0.084* 0.152* 0.473** 0.589** 0.265**
161
2) แบบจ�ำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีกเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษา ผลการวิเคราะห์ แบบจ�ำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วย PLS-SEM พบว่า อิทธิพลทางตรงระหว่างตัวแปรในโมเดลเกือบทุกค่า มีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ เส้นทางเท่ากับ 0.084 ถึง 0.644 ยกเว้นอิทธิพลทางตรง ของการรับรู้ประโยชน์ (PU) ต่อความตั้งใจที่จะใช้กูเกิล แอปส์เพือ่ การศึกษา (BIU) โดยมีคา่ สัมประสิทธิเ์ ส้นทาง เท่ากับ 0.068 แสดงว่าสมมติฐานเกือบทุกข้อได้รับการ สนับสนุนยกเว้นสมมติฐาน H2 ดังตารางที่ 3 เมื่อพิจารณาความสามารถในการอธิบายความ แปรปรวนของตัวแปรตาม คือ การใช้กูเกิลแอปส์เพื่อ การศึกษา (AU) ความตั้งใจที่จะใช้ (BIU) ทัศนคติต่อ การใช้ (ATT) การรับรูถ้ งึ ประโยชน์ (PU) และการรับรูว้ า่ ใช้งานง่าย (PEU) กูเกิลแอปส์เพือ่ การศึกษา จากตัวแปรต้น ด้วยค่า R2 พบว่า ตัวแปรปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้องสามารถอธิบาย ความแปรปรวนตัวแปรการใช้กเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษา (AU) ความตั้งใจที่จะใช้ (BIU) ทัศนคติต่อการใช้ (ATT) การรับรูถ้ งึ ประโยชน์ (PU) และการรับรูว้ า่ ใช้งานง่าย (PEU) ได้ร้อยละ 22.57 70.58 64.71 42.88 และ 62.03 ตามล�ำดับ ซึ่งมีค่ามากกว่าร้อยละ 20.0 แสดงว่าโมเดล โครงสร้างมีความเหมาะสม (Hair et al., 2014) ดังภาพ ที่ 2 ค่า t 10.992 1.609 21.538 6.698 4.258 17.124 8.644 2.275 4.643 11.622 19.434 6.328
R2 0.429 0.706 0.647 0.226 0.621
สมมติฐาน H1 H2 H3 H4 H5 H6 H7 H8 H9 H10 H11 H12
การสนับสนุนสมมติฐาน สนับสนุน ไม่สนับสนุน สนับสนุน สนับสนุน สนับสนุน สนับสนุน สนับสนุน สนับสนุน สนับสนุน สนับสนุน สนับสนุน สนับสนุน
หมายเหตุ ** p < 0.01, * p < 0.05 ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
162
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ภาพที่ 2 แบบจ�ำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีกูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี อิทธิพลทางอ้อมของตัวแปรต้นที่มีต่อการใช้กูเกิล แอปส์เพื่อการศึกษา (AU) พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพล ทางตรงต่อการใช้กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา (AU) คือ ความตั้งใจที่จะใช้ (BIU) นอกจากนี้ปัจจัยอื่นๆ คือ การรับรูป้ ระสิทธิภาพแห่งตน (SE) ซึง่ มีอทิ ธิพลทางอ้อม มากที่สุด เท่ากับ 0.548 รองลงมาคือ บรรทัดฐานของ
บุคคล (SN) ทัศนคติตอ่ การใช้ (ATT) การรับรูถ้ งึ ประโยชน์ (PU) การรับรูว้ า่ ใช้งานง่าย (PEU) และคุณภาพของบริการ และระบบสนับสนุน (QSS) มีอทิ ธิพลทางอ้อมต่อการใช้ กูเกิลแอปส์เพือ่ การศึกษา (AU) มีอทิ ธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.096 0.090 0.090 0.060 และ 0.057 ตามล�ำดับ ดังตารางที่ 4
ตารางที่ 4 อิทธิพลทางตรง ทางอ้อม และรวมของตัวแปรปัจจัยต่อการใช้กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา ตัวแปรปัจจัย BIU SE SN ATT PU PEU QSS
การใช้กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา (AU) ทางตรง ทางอ้อม รวม 0.475** 0.475** 0.548** 0.548** 0.096** 0.096** 0.090** 0.090** 0.090** 0.090** 0.060** 0.060** 0.057** 0.057**
หมายเหตุ ** p < 0.01
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
สรุปและอภิปรายผล
ผลของการใช้แบบจ�ำลองผสมผสานการยอมรับ เทคโนโลยี (TAM) และทฤษฎีปฏิบัติเชิงเหตุผล (TPB) ของ Taylor & Todd (1995) เป็นกรอบแนวคิดในการ พั ฒ นาความสั ม พั น ธ์ เ ชิ ง สาเหตุ ข องการเรี ย นรู ้ ด ้ ว ย เทคโนโลยีกเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษาของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี พบว่า ข้อมูลจากนักศึกษาตัวอย่างสนับสนุน สมมติ ฐ านการวิ จั ย ที่ ตั้ ง ไว้ ต ามแบบจ� ำ ลองข้ า งต้ น เกือบทุกข้อ คือ การใช้กเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษาเพือ่ การ เรียนรูน้ กั ศึกษาได้รบั อิทธิพลทางตรงจากความตัง้ ใจทีจ่ ะใช้ ซึง่ สอดคล้องกับงานวิจยั ของ Cheung & Vogel (2013) และ Van Raaij & Schepers (2008) นอกจากนี้ การใช้กเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษายังได้รบั อิทธิพลทางอ้อม จากการรับรู้ประสิทธิภาพแห่งตนในการใช้กูเกิลแอปส์ เพือ่ การศึกษาสูงทีส่ ดุ รองลงมาคือ บรรทัดฐานทางสังคม ทัศนคติตอ่ การใช้ การรับรูถ้ งึ ประโยชน์ และการรับรูว้ า่ ใช้งานง่าย และคุณภาพของบริการและระบบสนับสนุน ตามล�ำดับ โดยอิทธิพลของตัวแปรเหล่านี้ส่งผ่านทาง ความตัง้ ใจทีจ่ ะใช้ ซึง่ นักศึกษาทีต่ งั้ ใจทีจ่ ะใช้กเู กิลแอปส์ เพือ่ การศึกษาปัจจัยส�ำคัญทีส่ ดุ คือ การรับรูป้ ระสิทธิภาพ แห่งตนหรือรูว้ า่ ตนเองมีความสามารถในการใช้กเู กิลแอปส์ เพือ่ การศึกษา รองลงมาคือ ทัศนคติตอ่ การใช้บรรทัดฐาน ของบุคคล และคุณภาพของบริการและระบบสนับสนุน การใช้กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา กล่าวคือ นักศึกษาที่มี ทัศนคติทดี่ ี มีบคุ คลใกล้ชดิ เช่น เพือ่ น อาจารย์ ใช้กเู กิล แอปส์เพือ่ การศึกษา และสถาบันมีระบบสนับสนุนการใช้ ทีม่ คี ณ ุ ภาพจะท�ำให้นกั ศึกษาใช้กเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษา สูงกว่า ซึ่งสอดคล้องทฤษฎีของ Compeau & Higgins (1995), Davis (1989), Lee (2008), Ngai, Poon & Chan (2007) และ Park, Nam & Cha (2012) ทัศนคติต่อการใช้กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษาของ นักศึกษาจะสูงหรือต�ำ่ ขึน้ อยูก่ บั ระดับการรับรูถ้ งึ ประโยชน์ และการรับรูว้ า่ กูเกิลแอปส์เพือ่ การศึกษาใช้งานง่าย และ นักศึกษาจะรับรูว้ า่ กูเกิลแอปส์เพือ่ การศึกษามีประโยชน์ เมือ่ นักศึกษาเห็นว่ากูเกิลแอปส์เพือ่ การศึกษานัน้ ใช้งานง่าย
163
และการมีบุคคลใกล้ชิดใช้กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษานั้น และนักศึกษาจะรับรูว้ า่ กูเกิลแอปส์เพือ่ การศึกษาใช้งานง่าย เมือ่ นักศึกษารูว้ า่ ตนเองมีความสามารถในการใช้กเู กิลแอปส์ และระบบสนับสนุนการใช้กเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษาของ สถาบันมีคุณภาพ การซึ่งสอดคล้องกับ Šumak et al. (2011), Cheung & Vogel (2013), Park (2009), Park et al. (2012) และ Venkatesh & Davis (2000)
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ 1) ข้อเสนอแนะในการน�ำผลการวิจัยไปใช้ และ 2) ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป รายละเอียดดังนี้ 1) ข้อเสนอแนะในการน�ำผลการวิจัยไปใช้ จาก ผลการวิจยั ครัง้ นีพ้ บว่า การใช้เทคโนโลยีกเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษาส�ำหรับการเรียนรู้ของนักศึกษาได้รับอิทธิพล ค่อนข้างสูงจากความตัง้ ใจทีจ่ ะใช้และการรับรูค้ วามสามารถ ของตนเองในการใช้กเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษา ซึง่ ตัวแปร ความตัง้ ใจทีจ่ ะใช้ได้รบั อิทธิพลจากการรับรูค้ วามสามารถ ของตนเองในการใช้กูเกิลแอปส์ บรรทัดฐานทางสังคม ทัศนคติตอ่ การใช้ การรับรูถ้ งึ ประโยชน์ และการรับรูว้ า่ ใช้งานง่าย และคุณภาพของบริการและระบบสนับสนุน ดั ง นั้ น ผู ้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การส่ ง เสริ ม การเรี ย นรู ้ ด ้ ว ย เทคโนโลยีกูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา ทั้งอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรงในการสนับสนุนให้นักศึกษา ได้ใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ และฝ่ายสนับสนุนด้าน เทคโนโลยีของสถาบันการศึกษาซึ่งเป็นผู้ช่วยอ�ำนวย ความสะดวกในการใช้งานกูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา จึงควรมุ่งเน้นการหาแนวทางในการกระตุ้นให้นักศึกษา มีความตั้งใจใช้กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา ดังนี้ 1) การ พัฒนาความสามารถในการใช้กเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้งานได้ง่ายและมีความตั้งใจ ใช้มากขึ้น 2) การส่งเสริมทัศนคติทางบวกต่อการใช้ กูเกิลแอปส์เพือ่ การศึกษาเพือ่ เพิม่ ความตัง้ ใจใช้ 3) ส่งเสริม ให้มกี ารใช้กเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษาในกลุม่ คนให้หลายกลุม่ เช่น อาจารย์ นักศึกษา เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษารู้ถึง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
164
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ประโยชน์และตั้งใจที่จะใช้กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา มากขึ้น และ 4) พัฒนาคุณภาพของบริการและระบบ สนับสนุนให้ดขี นึ้ เพือ่ ให้การใช้กเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษา มีความง่ายและสะดวกมากขึ้น และท�ำให้นักศึกษารับรู้ ถึงประโยชน์ของกูเกิลแอปส์เพือ่ การศึกษาเพิม่ ขึน้ อีกด้วย 2) ข้อเสนอแนะในการวิจยั ครัง้ ต่อไป งานวิจยั นีย้ งั มี ข้อจ�ำกัดบางประการทีส่ ามารถใช้เป็นแนวทางในการท�ำ วิจยั ครัง้ ต่อไปได้ดงั นี้ 1) การวิจยั ครัง้ นีศ้ กึ ษากูเกิลแอปส์ เฉพาะ Search G-mail Drive Translate Document และ Sites เท่านั้น การอ้างอิงผลการวิจัยเกี่ยวกับการ เรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีด้วยกูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษา ต้องใช้ความรอบคอบ เพราะลักษณะและประโยชน์ของ กูเกิลแอปส์แต่ละตัวแตกต่างกัน อีกทัง้ ยังมีกเู กิลแอปส์อนื่ ๆ
เช่น การแชร์ขา่ วสาร หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ อาจมี อิทธิพลต่อการใช้กเู กิลแอปส์เพือ่ การศึกษา (Cheung & Vogel, 2011) ดังนัน้ แนวทางการวิจยั ในอนาคตอาจน�ำ กูเกิลแอปส์เพื่อการศึกษาอื่น เช่น กูเกิลพลัส (Plus) แฮงเอาท์ (Hangout) เป็นต้น เพือ่ ผลการวิจยั ครอบคลุม พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนของ นักศึกษามากขึน้ และ 2) การวัดการใช้จากการรายงาน ตนเอง (self-reported) กับการบันทึกการใช้จริงด้วย คอมพิวเตอร์มคี วามแตกต่างกัน (computer-recorded) งานวิจัยครั้งนี้ใช้การรายงานตนเองซึ่งนักศึกษาอาจมี การรายงานการใช้เกินจริง ดังนัน้ เพือ่ ให้ผลการวิจยั ตรง กับพฤติกรรมการใช้จริงมากขึน้ อาจวัดพฤติกรรมการใช้ เทคโนโลยีดว้ ยการบันทึกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
บรรณานุกรม
เกษดา จารุรัตน์ และกาญจนา มีศิลปวิกกัย. (2557). พฤติกรรมการใช้และทัศนคติของผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) กรณีศกึ ษา กูเกิลพลัส (Google+). บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 1-11. ไพรัชนพ วิริยวรกุล และดวงกมล โพธิ์นาค. (2557). Google Apps for Education นวัตกรรมทางการศึกษา ยุคดิจิทัล. วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 7(3), 103-111. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เสกสรร สายสีสด. (2556). พฤติกรรมและความพึงพอใจต่อการใช้สื่อใหม่เสริมการเรียนรู้ของนักศึกษา. วารสาร ปัญญาภิวัฒน์, 4(2), 72-91. หาญศึก เล็บครุฑ และปรัชญนันท์ นิลสุข. (2553). แนวคิดการใช้สารสนเทศเพือ่ พัฒนาการเรียนรูใ้ ห้เกิดกระบวนการคิด. วารสารวิทยบริการ, 21(1), 1-9. Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational behavior and human decision processes, 50(2), 179-211. Arteaga Sánchez, R., Duarte Hueros, A., & García Ordaz, M. (2013). E-learning and the University of Huelva: a study of WebCT and the technological acceptance model. Campus-Wide Information Systems, 30(2), 135-160. Barclay, D., Higgins, C. & Thompson, R. (1995). The partial least squares (PLS) approach to causal modeling: Personal computer adoption and use as an illustration. Technology studies, 2(2), 285-309. Cheung, R. & Vogel, D. (2013). Predicting user acceptance of collaborative technologies: An extension of the technology acceptance model for e-learning. Computers & Education, 63, 160-175. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
165
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbum Associates. Compeau, D. R. & Higgins, C. A. (1995). Computer self-efficacy: Development of a measure and initial test. MIS quarterly, 19(2), 189-211. Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS quarterly, 13(3), 319-340. Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A. & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41, 1149-1160. Fornell, C. & Larcker, D. F. (1981). Structural equation models with unobservable variables and measurement error: Algebra and statistics. Journal of marketing research, 18(3), 382-388. Hair, J. F., Hult, G. T. M., Ringle, C. M. & Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). Thousand Oaks: Sage. Hair, J. F., William C. B., Barry J. B. & Rolph E. A. (2010). Multivariate Data Analysis. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall. Kareem, A. A. (2015). Effects of computer assisted instruction on students’ academic achievement and attitude in biology in Osun State, Nigeria. Journal of Emerging Trends in Educational Research and Policy Studies, 6(1), 69-73. Lee, D. Y. & Lehto, M. R. (2013). User acceptance of YouTube for procedural learning: An extension of the Technology Acceptance Model. Computers & Education, 61, 193-208. Lee, Y. C. (2008). The role of perceived resources in online learning adoption. Computers & Education, 50(4), 1423–1438. MacKenzie, S. B., Podsakoff, P. M. & Podsakoff, N. P. (2011). Construct measurement and validation procedures in MIS and behavioral research: Integrating new and existing techniques. MIS quarterly, 35(2), 293-334. Ngai, E., Poon, J. & Chan, Y. (2007). Empirical examination of the adoption of WebCT using TAM. Computers & Education, 48(2), 250–267. Nunnally, J. C. & Bernstein, I. H. (1994). The assessment of reliability. Psychometric theory, 3, 248-292. Park, S. Y. (2009). An Analysis of the Technology Acceptance Model in Understanding University Students’ Behavioral Intention to Use e-Learning. Educational technology & society, 12(3), 150-162. Park, S. Y., Nam, M. W. & Cha, S. B. (2012). University students’ behavioral intention to use mobile learning: Evaluating the technology acceptance model. British Journal of Educational Technology, 43(4), 592-605. Persico, D., Manca, S. & Pozzi, F. (2014). Adapting the Technology Acceptance Model to evaluate the innovative potential of e-learning systems. Computers in Human Behavior, 30, 614-622. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
166
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Pozzi, F., Delfino, M., Manca, S., Persico, D. & Scancarello, I. (2013). Boosting Innovation in an Italian Online University. International Journal of Online Pedagogy and Course Design (IJOPCD), 3(4), 29-43. Ringle, C. M., Wende, S. & Becker, J. M. (2014). SmartPLS 3. Retrieved March 23, 2015, from http:// www.smartpls.com Šumak, B., HeričKo, M. & PušNik, M. (2011). A meta-analysis of e-learning technology acceptance: The role of user types and e-learning technology types. Computers in Human Behavior, 27(6), 2067-2077. Sánchez, R. A., Hueros, A. D. & Ordaz, M. G. (2013). E-learning and the University of Huelva: A study of WebCT and the technological acceptance model. CampusWide Information Systems, 30(2), 135-160. Taylor, S. & Todd, P. A. (1995). Understanding IT usage: a test of competing models. Information Systems Research, 6(2), 14-176. Van Raaij, E. M. & Schepers, J. J. (2008). The acceptance and use of a virtual learning environment in China. Computers & Education, 50(3), 838-852. Venkatesh, V. & Davis, F. D. (2000). A theoretical extension of the technology acceptance model: Four longitudinal field studies. Management science, 46(2), 186-204.
Translated Thai References
Jarurat, K. & Meesilapavikkai, K. (2014). Condumers’ behavior and attitude of social network users: case study Google+. Academic article of Master of Communication Art Program, School of Communication Art, Sripatum University. 1-11. [in Thai] Kanjanawasee, S. (2009). Classical test theory. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. [in Thai] Lepkrut, H. & Nilsuk, P. (2010). Approach of information technology usage to develop learning for thought process creation. Academic Service Journal, 21(1), 1-9. [in Thai] Saiseesod, S. (2013). Behavior and Satisfaction toward the use of new media to enhance student leaning at school of communication arts in Udon Thani Rajabhat University. Panyapiwat Journal, 4(2), 72-91. [in Thai] Viriyavorakul, P. & Phonak, D. (2014). Google Apps for Education an Educational Innovation in Digital Age. Sdu Research Journal, 7(3), 103-111. [in Thai]
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
167
Name and Surname: Marayat Yotongyos Highest Education: Doctor of Philosophy (Educational Research Methodology), Chulalongkorn University University or Agency: School of Science and Technology, Bangkok University Field of Expertise: Applied Statistics, Educational Research Methodology Address: 119 Rama Road, Klong-Toey, Bangkok 10110 Name and Surname: Siriwan Wongveeravuti Highest Education: Master of Business Administration, Bangkok University University or Agency: School of Business Administration, Bangkok University Field of Expertise: Financial and Managerial Accounting, Technology for Education Address: 119 Rama Road, Klong-Toey, Bangkok 10110
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
168
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผล EFFECTIVE STRATEGIES FOR ADMINISTERING SUFFICIENCY SCHOOLS ประภาส ไชยมี Prapas Chaiyemee
การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี Educational Administration Graduate School, Ubon Ratchatani Rajabhat University
บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการบริหารยุทธศาสตร์ของ สถานศึกษาพอเพียง 2) เพื่อสร้างยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผล 3) เพื่อประเมิน ยุทธศาสตร์บริหารในสถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ระยะที่ 1 มีจำ� นวน 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหา ยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษาพอเพียง ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา และผู้แทนครู รวมเป็น 246 คน กลุ่มที่ 2 การศึกษากรณีศึกษาจากโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ จ�ำนวน 3 โรงเรียน ระยะที่ 2 การสร้างยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผล เป็นการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จ�ำนวน 20 คน ระยะที่ 3 ประเมินยุทธศาสตร์บริหารในสถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผล เป็นการประเมินความสอดคล้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ โดยผูท้ รงคุณวุฒิ จ�ำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ เอกสารประกอบการสนทนากลุ่ม และแบบบันทึก การสนทนากลุม่ แบบสังเคราะห์เอกสาร แบบประเมินยุทธศาสตร์ การวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลีย่ และค่าส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงคุณภาพ ประมวลผลและวิเคราะห์ขอ้ มูลโดยการวิเคราะห์เนือ้ หา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการบริหารยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาพอเพียง พบว่า สถานศึกษา พอเพียงส่วนใหญ่มปี ญ ั หาด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ส่วนปัญหารองลงมาคือ ด้านการบริหาร จัดการและด้านการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาตามล�ำดับ ส่วนผลการศึกษาแนวทางการบริหารยุทธศาสตร์ พบว่า สถานศึกษามีการน้อมน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาก�ำหนดเป็นนโยบาย การวางแผน การพัฒนาครูและ บุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2. ในการสร้างยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษาพอเพียงทีม่ ปี ระสิทธิผล ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ (1) ยุทธศาสตร์การบริหารสถานศึกษา เน้นการก�ำหนดนโยบาย การวางแผน โดยค�ำนึงถึงการมีสว่ นร่วม (2) ยุทธศาสตร์ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เน้นการน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการด�ำรงชีวติ และการปฏิบัติหน้าที่ (3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน เน้นการพัฒนาหลักสูตรและ การจัดท�ำหน่วยการเรียนรู้ และ (4) ยุทธศาสตร์การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เน้นการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย Corresponding Author E-mail: prapas007@gmail.com
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
169
3. ด้านการประเมินยุทธศาสตร์บริหารสถานศึกษาพอเพียง พบว่า ในด้านการก�ำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และประเด็นยุทธศาสตร์ มีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยูใ่ นระดับมากทีส่ ดุ ทุกด้าน โดยการก�ำหนดวิสัยทัศน์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนความเป็นประโยชน์ของยุทธศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส�ำหรับ การประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของยุทธศาสตร์ แยกเป็นรายด้านทัง้ 4 ยุทธศาสตร์ พบว่า ยุทธศาสตร์บริหารสถานศึกษามีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้และความเป็น ประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และยุทธศาสตร์การพัฒนา หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์โดยรวมอยูใ่ นระดับมาก และยุทธศาสตร์การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนความ เป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ค�ำส�ำคัญ: ยุทธศาสตร์ การบริหาร ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถานศึกษาพอเพียง หลักสูตรและการจัด การเรียนการสอน การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน Abstract The objectives of this research were to 1) study the current states, problems and the means for administering sufficiency schools; 2) construct the strategies for administering sufficiency schools; and 3) evaluate the constructed strategies. In Phase 1, the sample consisted of 2 groups: 246 school administrators and teacher representatives, two selected representatives from each school and 3 selected outstanding schools. In Phase 2, creation of the strategies done through a focus group of 20 experts was conducted. In Phase 3, the evaluation of the congruence, suitability, possibility and utility of the created strategies using 100 experts was operated. The research instruments included a survey questionnaire, an interview, a focus-group discussion and its record form, a synthesis form, and strategy evaluation form. Means and standard deviation were used in quantitative data analysis and content analysis was employed in qualitative data analysis. The research findings were as follows: 1. The results of the study of current states, problems and the means for administering sufficiency schools showed that curriculum development and teaching were mostly problematic, followed by the administration and personnel development follow-up. In terms of the means for administering study, it was found that strategies included application of sufficiency economy philosophy in their policies, planning, teacher and personnel development, curriculum and learning and teaching development, student development activities. 2. The construct of strategies for administering sufficiency schools yielded 4 strategies: (1) administrative strategy focused on participation in key policy through planning; (2) teacher and personnel development strategy focused on application of the philosophy to their life and duty ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
170
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
performance; (3) curriculum and learning and teaching development focused on the curriculum development and learning units; and (4) student activity development strategy focused on providing various activities. 3. The evaluation of created strategies revealed that the vision, missions, objectives, and strategy aspects were received as the most suitable possible and utility in all aspects. Looking at the suitability, possibility, and utility of the individual strategies, the following was derived. The administrative strategy yielded the mean score of the suitability of the administrative strategy at the highest level while the possibility and utility at a higher level. The teacher and personnel development strategy and the curriculum learning and teaching development strategy were found to be at a higher level for all attributes. The student activity development strategy yielded mean score at a higher level for the suitability and possibility while the utility was at the highest level. Keywords: strategy, administration, sufficiency economy philosophy, sufficiency schools, curriculum and learning and teaching provision, teacher and personnel development, student development activity
บทน�ำ
หลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งเป็ น ปรั ช ญาที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั พระราชทานพระราชด�ำรัส ชี้ แ นะแนวทางการด� ำ เนิ น ชี วิ ต แก่ พ สกนิ ก รชาวไทย มาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ ทางเศรษฐกิจให้ดำ� เนินไปบน “ทางสายกลาง” และเมือ่ ภายหลังได้ทรงย�ำ้ แนวทางการแก้ไข เพือ่ ให้รอดพ้นและ สามารถด�ำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแส โลกาภิวตั น์และการเปลีย่ นแปลงต่างๆ (สุเมธ ตันติเวชกุล, 2549: 1-2) กระนัน้ ยังมีผคู้ นจ�ำนวนไม่นอ้ ยทีย่ งั หลงใหล ในสิง่ หรูหราฟุม่ เฟือย วัฒนธรรมบริโภคนิยมได้สง่ เสริมให้ มนุษย์มคี วามต้องการอืน่ นอกจากปัจจัยสี่ ความต้องการ นี้เรียกว่า “ความต้องการเทียม” เพื่อให้ได้สิ่งทีต่ ้องการ แม้ไม่มีเงินพอก็ดิ้นรนไปหากู้ยืม ขายสมบัติเก่ามาซื้อ ฝ่ายนายทุนก็ขยายกิจการจนเกินตัวเกินความสามารถ พึง่ ตนเองไม่ได้ ต้องไปพึง่ ตลาดต่างประเทศพึง่ เทคโนโลยี ชั้นสูงแม้แต่แหล่งทุนต่างชาติ เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ จึงล้มระเนระนาด (จารุณี วงศ์ละคร, 2551: 1-4) คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้น�ำปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 (ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ, 2548: 3) ต่อมาได้อัญเชิญเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นปรัชญาหลักในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 9 และได้จดั ตัง้ คณะอนุกรรมการขับเคลือ่ น เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อด�ำเนินการขับเคลื่อนในการน�ำ เศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติต่อไป (สมพร เทพสิทธา, 2548: 13-14) ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาได้ก�ำหนดนโยบาย ให้ทุกภาคส่วนน�ำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ การปฏิบตั ิ (จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร และมนัส โกมลฑา, 2549: 35-80) กระทรวงศึกษาธิการก็ได้จดั ท�ำยุทธศาสตร์ เพื่อการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการร่วมกันรับผิดชอบ เพือ่ ให้มคี วามต่อเนือ่ งและยัง่ ยืนน�ำสูว่ ถิ ชี วี ติ ของประชาชน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2550: 2) ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานก็ได้นำ� เอาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาก�ำหนดเป็นนโยบาย ในปี พ.ศ. 2551 โดยก�ำหนดกลยุทธ์คุณธรรมน�ำความรู้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
น้อมน�ำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ มีจุดเน้น ให้ทกุ โรงเรียนน้อมน�ำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ การปฏิบตั จิ ริง มีเป้าหมายให้สถานศึกษาน�ำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ได้ครบทุกแห่งทั่วประเทศ ในปี 2554 (ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน, 2551: 6) แต่ขบั เคลือ่ นดังกล่าวยังไม่ประสบผลส�ำเร็จ เพราะว่า ยังมีสถานศึกษามากกว่าร้อยละ 60 ของจ�ำนวนสถานศึกษา ทั่วประเทศที่ยังไม่ผ่านการประเมินให้เป็นสถานศึกษา พอเพียง จากปัญหาดังกล่าวท�ำให้เกิดประเด็นข้อสงสัย ว่า สถานศึกษาพอเพียงมียทุ ธศาสตร์การบริหารอย่างไร และจะมี ยุ ท ธศาสตร์ เ พื่ อ เสนอต่ อ สถานศึ ก ษาทั่ ว ไป ให้นำ� ไปพัฒนาตนเองให้เป็นสถานศึกษาพอเพียงอย่างไร เพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการน�ำนโยบายไปสู่การ ปฏิบตั ใิ ห้บรรลุเป้าหมายในการน้อมน�ำหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงไปสูก่ ารจัดการศึกษา จึงได้ท�ำการวิจยั เรื่อง ยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษาพอเพียงที่มี ประสิทธิผลครั้งนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพือ่ ศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการบริหาร ยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาพอเพียง 2. เพื่อสร้างยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษา พอเพียงที่มีประสิทธิผล 3. เพื่อประเมินยุทธศาสตร์บริหารในสถานศึกษา พอเพียงที่มีประสิทธิผล ประโยชน์ของการวิจัย ผลการวิ จั ย ครั้ ง นี้ จ ะมี ป ระโยชน์ ต ่ อ การพั ฒ นา คุณภาพการศึกษาที่ส�ำคัญดังนี้ 1. ประโยชน์ต่อผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ทักษะ และเจตคติ สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจ�ำวันได้อย่างสมดุลและยั่งยืน 2. ประโยชน์ตอ่ สถานศึกษาช่วยให้ครู และผูบ้ ริหาร สถานศึกษาน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมา
171
ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน และการบริหารจัดการสถานศึกษา 3. ประโยชน์ ต ่ อ หน่ ว ยงานทุ ก ระดั บ โดยใช้ ผ ล การวิจัยเป็นแนวทางในการส่งเสริมเพื่อการพัฒนาการ ด�ำเนินงานขององค์การในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องกับการพัฒนา คุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้อยู่ดีมีสุขยั่งยืนตลอดไป
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากร ประชากรเป็นผูบ้ ริหารและครูผสู้ อนในสถานศึกษา พอเพียง สังกัดส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษา ยโสธร เขต 1 จ�ำนวน 90 แห่ง และเขต 2 จ�ำนวน 57 แห่ง ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรือ่ ง สถานศึกษา แบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการ บริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2555-2557) รวมเป็น 147 แห่ง 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ ่ ม ตั ว อย่ า งได้ จ ากการค� ำ นวณเพื่ อ ก� ำ หนด กลุ่มตัวอย่างจากประชากรโดยใช้สูตร Taro Yamane (1973: 1,089) ทีร่ ะดับความเชือ่ มัน่ ร้อยละ 95 จากการ ค�ำนวณจะได้จำ� นวนกลุม่ ตัวอย่างทัง้ หมดจากสถานศึกษา ในสั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษา ยโสธร เขต 1 จ�ำนวน 73 แห่ง และสถานศึกษาในสังกัด ส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 จ�ำนวน 50 แห่ง รวมเป็น 123 แห่ง โดยใช้แบบสอบถาม กับผูบ้ ริหารโรงเรียน 123 คน และครูผสู้ อนอีก 123 คน รวมเป็น 246 คน
วิธีด�ำเนินการวิจัย
การวิจยั ครัง้ นี้ ใช้ระเบียบวิธวี จิ ยั แบบผสาน (Mixed Methodology) (บุ ญ ชม ศรี ส ะอาด และสุ ริ ท อง ศรีสะอาด, 2552: 49) ก�ำหนดวิธีด�ำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษายุทธศาสตร์การบริหารใน สถานศึ ก ษาพอเพี ย ง มี ก ารด� ำ เนิ น การ 3 ขั้ น ตอน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
172
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ขัน้ ตอนที่ 1 การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกีย่ วกับยุทธศาสตร์ และการสร้างยุทธศาสตร์ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษาพอเพียง หลักการบริหารสถานศึกษายุคใหม่และแนวคิดเกีย่ วกับ ประสิทธิผล ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและ ปัญหาของยุทธศาสตร์การบริหารสถานศึกษาพอเพียง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และมีคำ� ถามปลายเปิด (Open-ended Form) (บุญชม ศรีสะอาด และสุรทิ อง ศรีสะอาด, 2552: 29-30) ขั้นตอนที่ 3 การศึกษากรณีศึกษา จ�ำนวน 3 โรงเรียน ซึ่งคัดเลือกจากการใช้แบบสอบถามที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับ และเป็นสถานศึกษาพอเพียงทีม่ ผี ลการปฏิบตั งิ าน ดีเด่น มีผู้มาศึกษาดูงานอยู่เป็นประจ�ำ ได้แก่ โรงเรียน อนุบาลเลิงนกทา โรงเรียนบ้านช่องเม็ก และโรงเรียน บ้านแสนส�ำราญ ทั้ง 3 โรงเรียนนี้สังกัดส�ำนักงานเขต พืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 เครือ่ งมือทีใ่ ช้ เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบบันทึกภาคสนาม เครื่องบันทึกเสียงและภาพ ระยะที่ 2 การสร้ า งยุ ท ธศาสตร์ ก ารบริ ห ารใน สถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผลเป็นการประชุม สนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยผู้เชี่ยวชาญ 20 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 3 การประเมินยุทธศาสตร์การบริหารใน สถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผล โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่ ง คั ด เลื อ กจากผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาพอเพี ย งและ ศึกษานิเทศก์ทเี่ ป็นผูป้ ระเมินสถานศึกษาพอเพียง จ�ำนวน 100 คน เครือ่ งมือทีใ่ ช้เป็นแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของยุทธศาสตร์
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยนี้ได้สรุปและน�ำเสนอเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ผลการศึกษาสภาพปัญหา และแนวทาง การบริหารยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาพอเพียง พบว่า สถานศึกษาพอเพียงส่วนใหญ่จะมีปญ ั หาด้านการพัฒนา หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนปัญหารองลงมาคือ ปัญหา ด้านการบริหารจัดการที่ขาดการก�ำกับ นิเทศติดตาม และปัญหาการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในด้าน การขยายผลการด�ำเนินชีวิตและการปฏิบัติหน้าที่ตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน ส่วนผลการ ศึกษากรณีศึกษาการบริหารยุทธศาสตร์ในสถานศึกษา พอเพียงทีม่ ผี ลการปฏิบตั งิ านทีเ่ ป็นเลิศ พบว่า สถานศึกษา มีแนวทางการบริหารยุทธศาสตร์ ได้แก่ การน้อมน�ำหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาก�ำหนดเป็นนโยบาย ของสถานศึกษา การจัดท�ำแผนยุทธศาสตร์ และแผน ปฏิบัติการประจ� ำปี การพัฒนาครูและบุคลากรทาง การศึกษา การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียน การสอน และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยเน้นผล ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นส�ำคัญ ในส่วนของผลการศึกษายุทธศาสตร์การบริหาร ในสถานศึกษาพอเพียงส่วนมากจะประกอบด้วย 1) การ พัฒนาแนวทางการจัดการศึกษา 2) การพัฒนาบุคลากร 3) การขยายผลและพัฒนาเครือข่าย 4) การเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ 5) การพัฒนากระบวนการติดตาม และประเมินผล 6) การสร้างแรงจูงใจ 7) การพัฒนาสือ่ การเรียนรู้ ซึง่ แต่ละยุทธศาสตร์จะประกอบด้วยแนวทาง การขับเคลือ่ น และตัวชีว้ ดั ความส�ำเร็จ ส�ำหรับแนวทาง การน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ใน สถานศึกษา สรุปและวิเคราะห์ได้ 3 แนวทาง โดยการ บริหารจัดการ การเรียนการสอน และการจัดกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การบริหาร ในสถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผลที่สร้างขึ้นนี้ ระยะที่ 2 ผลการสร้ า งยุ ท ธศาสตร์ ก ารบริ ห าร ในสถานศึกษาพอเพียงทีม่ ปี ระสิทธิผล จากการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ผลการศึกษายุทธศาสตร์ในระยะที่ 1 แล้วน�ำมาสร้างยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษา พอเพียงทีม่ ปี ระสิทธิผล ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1. ยุ ท ธศาสตร์ ก ารบริ ห ารสถานศึ ก ษาพอเพี ย ง ประกอบด้วยกลวิธที สี่ ำ� คัญ คือ 1) การวางแผนยุทธศาสตร์ 2) การจัดท�ำแผนปฏิบัติการประจ�ำปี 3) การพัฒนา
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
คุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 4) การด�ำเนินการ ตามแผนงานโครงการ 5) การท�ำโรงเรียนให้เป็นปัจจุบนั 6) การนิเทศ ก�ำกับ ติดตาม 7) การวัดและประเมินผล 8) การรายงานผล และ 9) การปรับปรุงแก้ไขการบริหาร จัดการ 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการ ศึกษา ประกอบด้วยกลวิธีที่ส�ำคัญ คือ 1) การวางแผน พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 2) การวางแผน การส่งเสริมให้บุคลากรแสวงหาความรู้เกี่ยวกับปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง 3) การวางแผนส่งเสริมการด�ำเนิน ชีวติ และการปฏิบตั หิ น้าทีต่ ามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง 4) การด�ำเนินการตามแผน 5) การส่งเสริม ให้บคุ ลากรแสวงหาความรู้ 6) การนิเทศ ก�ำกับ ติดตาม 7) การวัดและประเมินผล 8) การรายงานผล 9) การ ปรับปรุงแก้ไขและการขยายผลในการพัฒนาครูและ บุคลากรทางการศึกษา 3. ยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาหลั ก สู ต รและการจั ด การเรี ย นการสอน ประกอบด้ ว ยกลวิ ธี ที่ ส� ำ คั ญ คื อ 1) การวางแผนพัฒนาหลักสูตร 2) การจัดท�ำหน่วย การเรี ย นรู ้ ต ามหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง 3) การจัดท�ำแผนการจัดการเรียนรูต้ ามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง 4) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5) การใช้แหล่ง เรียนรูท้ หี่ ลากหลาย 6) การใช้ภมู ปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ประเพณี วัฒนธรรม และหลักศาสนา 7) การนิเทศ ก�ำกับติดตาม 8) การวัดและประเมินผล 9) การรายงานผล 10) การ ปรับปรุงแก้ไขและการขยายผลในการพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน 4. ยุ ท ธศาสตร์ ก ารจั ด กิ จ กรรมพั ฒ นาผู ้ เ รี ย น ประกอบด้วยกลวิธีที่ส�ำคัญ คือ 1) การจัดเก็บข้อมูล นักเรียนรายบุคคล 2) การวางแผนพัฒนาการจัดกิจกรรม พัฒนานักเรียน 3) การแนะแนวและการจัดระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียน 4) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด 5) การจัดกิจกรรมส่งเสริม การออกก�ำลังกาย การเล่นกีฬา 6) การจัดกิจกรรม
173
นันทนาการ การส่งเสริมการเล่นดนตรี การขับร้องเพลง หรือการแสดงนาฏศิลป์ 7) การจัดกิจกรรมสร้างนิสัย การส่งเสริมจิตอาสา กิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์การปลูกฝัง การอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม และการปลูกฝังคุณธรรมศีลธรรม 8) การจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพที่สุจริต การส่งเสริม การหารายได้ระหว่างเรียน ส่งเสริมการประหยัดและออม 9) การปลูกฝังค่านิยมหลัก 12 ประการ 10) การนิเทศ ก�ำกับ ติดตาม 11) การวัดและประเมินผล 12) การ รายงานผล 13) การปรับปรุงแก้ไขและการขยายผลของ การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในการสร้างยุทธศาสตร์ใช้วิธีประชุมสนทนากลุ่ม โดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้แต่ละยุทธศาสตร์ที่สร้างขึ้นนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน และมี จุดเน้นทีส่ ำ� คัญ ส�ำหรับแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม การด�ำเนินการในแต่ละกลวิธีนั้น ในแต่ละกลวิธีอาจมี แผนงาน โครงการ กิจกรรมการด�ำเนินการหลายอย่าง ทีเ่ สนอไว้เพือ่ ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งได้เลือกประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา แต่ละแห่ง แต่ไม่ว่าจะเลือกใช้กิจกรรมหรือกลวิธีใด ก็ตาม ถ้าหากได้ปฏิบตั ติ ามแนวทางทีไ่ ด้เสนอไว้จะส่งผล ให้บรรลุวสิ ยั ทัศน์คอื ผูเ้ รียนมีคณ ุ ภาพ และสถานศึกษา เกิดการพัฒนาและมีคุณภาพตามมาตรฐานในที่สุด ระยะที่ 3 ผลประเมินยุทธศาสตร์ เป็นการประเมิน ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ของยุทธศาสตร์โดยผูท้ รงคุณวุฒิ 100 คน ผลการประเมิน พบว่า ยุทธศาสตร์การบริหารสถานศึกษามีความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยที่การก�ำหนดตัวชี้วัด ความส�ำเร็จมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนความเป็นไปได้และ ความเป็นประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่การ ก�ำหนดวัตถุประสงค์ และก�ำหนดกลวิธีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่การก�ำหนดตัวชี้วัดความ ส�ำเร็จและการก�ำหนดกลวิธมี คี า่ เฉลีย่ สูงสุด ยุทธศาสตร์ การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนมีความ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
174
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
เหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่การก�ำหนดวัตถุประสงค์ และการก�ำหนดตัวชีว้ ดั ความส�ำเร็จมีคา่ เฉลีย่ สูงสุด และ ยุทธศาสตร์การจัดกิจกรรมพัฒนาผูเ้ รียนมีความเหมาะสม และความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่การ ก�ำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย และการก�ำหนดตัว ชีว้ ดั ความส�ำเร็จมีคา่ เฉลีย่ สูงสุด ส่วนความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้วิจัยได้สรุปยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษา พอเพียงที่มีประสิทธิผล และจัดท�ำเป็นคู่มือยุทธศาสตร์ การบริหารในสถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผล โดย รายละเอียดปรากฏตามภาคผนวก ค
การอภิปรายผล
จากผลการวิจัย มีประเด็นส�ำคัญที่น�ำมาอภิปราย ดังนี้ 1. ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครู มีความคิดเห็นต่อยุทธศาสตร์การบริหารสถานศึกษา ทัง้ 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารสถานศึกษา ด้านหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนา ผูเ้ รียน และด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้เนื่องจากว่า สถานศึกษา ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดในการวิจัยนี้เป็นสถานศึกษา ที่ผ่านการประเมินให้เป็นสถานศึกษาพอเพียงแล้ว ในส่วนสภาพปัญหาของสถานศึกษาพอเพียง ส่วนใหญ่จะมีปญ ั หาด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัด การเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนปัญหารองลงมาคือ ปัญหาด้านการบริหารจัดการ ที่ขาดการวัดและประเมินผล การก�ำกับ นิเทศ ติดตาม และปัญหาด้านการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาที่ควร เน้นการอบรมเรื่อง แนวคิดของปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงไม่ใช่การไปดูการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เพื่อน�ำ หลักการมาปรับเข้ากับการเรียนรูใ้ นทุกกลุม่ สาระ ส่วนผล การศึกษากรณีศกึ ษาการบริหารยุทธศาสตร์ในสถานศึกษา พอเพียงที่มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ 3 แห่ง ได้แก่
โรงเรียนอนุบาลเลิงนกทา โรงเรียนบ้านช่องเม็ก และ โรงเรียนบ้านแสนส�ำราญ พบว่า สถานศึกษาทั้ง 3 แห่ง มีแนวทางการบริหารยุทธศาสตร์ที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ การน้อมน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาก�ำหนด เป็นนโยบายของสถานศึกษา การจัดท�ำแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบตั กิ ารประจ�ำปี การพัฒนาครูและบุคลากร ทางการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียน การสอน และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยเน้นผล ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นส�ำคัญ ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และ แนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู ่ ส ถานศึ ก ษาของกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร (กระทรวง ศึกษาธิการ, 2550: 5-7) และการวิจัยของปรียานุช พิบูลสราวุธ (2552: 24-25) เมื่อแยกวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ด้ า นการบริ ห ารจั ด การสถานศึ ก ษาตามหลั ก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ใน ระดับมากสอดคล้องกับปรียานุช พิบูลสราวุธ (2552: 17-22) ที่ ไ ด้ เ สนอแนวทางการน� ำ หลั ก ปรั ช ญาของ เศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในโรงเรียน ด้านการบริหาร ว่าต้องก�ำหนดเป็นนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ จัดท�ำแผนปฏิบตั กิ ารให้ครอบคลุมทุกงาน ทัง้ งานวิชาการ งบประมาณ บุคคล บริหารทั่วไป และชุมชนสัมพันธ์ น�ำหลักการทรงงานมาปรับใช้ในการบริหารสถานศึกษา เน้นการมีสว่ นร่วม รูร้ กั สามัคคี และสอดคล้องกับการวิจยั ของประยงค์ แก่นลา (2552: 341-346) ซึ่งได้เสนอ รูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ผู้บริหาร ต้องแสวงหาการมีสว่ นร่วมจากผูม้ สี ว่ นได้เสียเพือ่ ร่วมคิด ร่วมวางแผน และร่วมปฏิบตั ิ ร่วมติดตามและประเมินผล ในการพั ฒ นาคุ ณ ภาพผู ้ เ รี ย นตามหลั ก ปรั ช ญาของ เศรษฐกิจพอเพียง โดยการใช้กระบวนการ PDCA เป็น แนวทางในการปฏิบตั ิ สอดคล้องกับการวิจยั ของอรอนงค์ ดุมนิล (2557: 100) ทีผ่ ลการวิจยั พบว่า ด้านการบริหาร จัดการสถานศึกษาโดยรวมอยูใ่ นระดับมาก ด้านทีม่ คี า่ เฉลีย่
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
สูงสุดคือ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และด้านที่ มีคา่ เฉลีย่ ต�ำ่ สุดคือ ด้านผลลัพธ์และภาพความส�ำเร็จของ สถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมอยู่ในระดับ มาก ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยของอุษามาศ ธเนศานนท์ (2555: 52-55) ได้วจิ ยั เรือ่ ง รูปแบบการวิจยั เชิงปฏิบตั กิ าร แบบมีสว่ นร่วมในการพัฒนางานโรงเรียนอนุบาลตามหลัก เศรษฐกิ จ พอเพี ย งของโรงเรี ย นอนุ บ าลบ้ า นต้ น กล้ า จังหวัดชลบุรี ซึง่ ผลการวิจยั พบว่า โรงเรียนควรปรับแผน กลยุทธ์ของโรงเรียน และการบูรณาการหลักเศรษฐกิจ พอเพียงในการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมพัฒนาผูเ้ รียน และสอดคล้องกับการ วิจยั ของอังคณา ตุงคะสมิต และคณะ (2554: 295-296) ซึ่งผลการวิจัยพบว่า จัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการวิจยั เชิงปฏิบตั กิ าร แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามสาระ การเรียนรู้ท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นโดยมี 4 ขั้นตอน คือ วางแผน (Planning) ปฏิบัติการ (Action) ตรวจสอบ (Observation) และสะท้อนผลปรับปรุงแก้ไข (Reflection) การประชุ ม เพื่ อ น� ำ ข้ อ มู ล จากการตรวจสอบ สะท้อนผล แล้วปรับปรุงแก้ไขการด�ำเนินการในวงรอบ ปฏิบตั กิ ารต่อไป และสอดคล้องกับการวิจยั ของจักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์ (2553: 208-210) ที่วิจัยเรื่อง รูปแบบ การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดเชียงใหม่และ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการวิจัยพบว่า ด้านการพัฒนา หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย หน่วยการเรียนรู้ การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงสูก่ ารเรียนการสอนสือ่ และแหล่งเรียนรู้ การวัด และประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผูเ้ รียนตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงตามความคิดเห็นของผู้บริหาร สถานศึกษาและครู โดยรวมอยู่ในระดับมากสอดคล้อง
175
กับการวิจัยของอรรถพล อนันตวรสกุล (2552: 61-84) โดยได้เสนอแนวทางการบูรณาการในการจัดกิจกรรม เสริมหลักสูตรเอาไว้ 5 ขัน้ ตอน ได้แก่ ขัน้ ที่ 1 การเผชิญ สถานการณ์ใหม่ ขัน้ ที่ 2 การกระตุน้ ให้เกิดการมีสว่ นร่วม และลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 3 ขั้นการแก้ปัญหาจนเกิดการ ตระหนักในคุณค่า ขัน้ ที่ 4 การถอดบทเรียนด้วยหลักคิด 3 ห่วง 2 เงื่อนไข และขั้นที่ 5 การสนับสนุนส่งเสริมให้ เกิดการปฏิบัติอย่างสม�่ำเสมอจนเกิดเป็นลักษณะนิสัย สอดคล้องกับการวิจยั ของจักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์ (2553: 208-210) ผลการวิ จั ย ได้ เ สนอแนะให้ มี ก ารพั ฒ นา บุคลากรด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผูเ้ รียน การแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การจัดกิจกรรมนักเรียน การจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูโดย รวมอยูใ่ นระดับมากสอดคล้องกับการวิจยั ของจักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์ (2553: 208-210) และเสรี พงษ์พศิ (2549) ซึ่งผลการวิจัยได้เสนอสิ่งที่ควรด�ำเนินการในการพัฒนา บุคลากร คือ พัฒนาความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากร ทั้งผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา และ ส่งเสริมให้ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง 2. ผลการสร้างยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษา พอเพียงที่มีประสิทธิผล ผู้วิจัยได้ยกร่างยุทธศาสตร์ การบริหารสถานศึกษาพอเพียงทีม่ ปี ระสิทธิผล 4 ด้าน คือ 1) ยุทธศาสตร์การบริหารสถานศึกษาตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการน้อมน�ำหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสูก่ ารปฏิบตั มิ าก�ำหนด เป็นนโยบายหลักของสถานศึกษา 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทาง การศึ ก ษา เน้ น การส่ ง เสริ ม ให้ น� ำ หลั ก ปรั ช ญาของ เศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการด�ำรงชีวิตและ การปฏิบัติหน้าที่ 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรและการจัด การเรียนการสอน เน้นการพัฒนาหลักสูตรและการจัดท�ำ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
176
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
หน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง 4) ยุ ท ธศาสตร์ก ารจัดกิจ กรรมพัฒ นาผู้เ รียน เน้นการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย กระบวนการสร้างยุทธศาสตร์นไี้ ด้อาศัยหลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกีย่ วกับยุทธศาสตร์ ตลอดจนกระบวนการ สร้ างยุ ท ธศาสตร์ ต ามแนวทางของ Thompson & Strickland (1995: 4) ซึง่ ประกอบด้วย 4 ขัน้ ตอน ได้แก่ 1) การก� ำ หนดข้ อ ความวิ สั ย ทั ศ น์ ข้ อ ความพั น ธกิ จ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ 2) การก�ำหนดยุทธศาสตร์ หรือการวางแผนยุทธศาสตร์ 3) การปฏิบตั ติ ามยุทธศาสตร์ และ 4) การประเมินผลและการควบคุมยุทธศาสตร์ ผู้วิจัยได้น�ำร่างยุทธศาสตร์เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ 20 คน โดยการจัดประชุมสนทนากลุ่ม และได้สรุปผล การประชุมสนทนากลุม่ และวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงพรรณนา วิเคราะห์จากข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผูเ้ ชีย่ วชาญ แล้วน�ำไปปรับปรุงยุทธศาสตร์ โดยมีการก�ำหนดวิสยั ทัศน์ พันธกิจ 4 ข้อ เป้าประสงค์ 4 ข้อ ประเด็นยุทธศาสตร์ 4 ยุทธศาสตร์ ซึ่งแต่ละยุทธศาสตร์ประกอบด้วยกลวิธี และตัวชีว้ ดั ความส�ำเร็จ ส�ำหรับแผนงาน โครงการ หรือ กิจกรรมการด�ำเนินการในแต่ละกลวิธนี นั้ ในแต่ละกลวิธี อาจมีแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมการด�ำเนินการ หลายอย่างทีเ่ สนอไว้เพือ่ ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งได้เลือก ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของ ตนเอง แต่ไม่ว่าจะเลือกใช้กิจกรรมหรือกลวิธีใดก็ตาม ถ้าหากได้ปฏิบัติตามแนวทางที่ได้เสนอไว้จะส่งผลให้ บรรลุวสิ ยั ทัศน์คอื ผูเ้ รียนมีคณ ุ ภาพ และสถานศึกษาเกิด การพัฒนาและมีคุณภาพตามมาตรฐาน สอดคล้องกับ แนวทางการบริหารแบบมุง่ ผลสัมฤทธิท์ ที่ ศพร ศิรสิ มั พันธ์ (2543: 151-152) ได้สรุปว่า การบริหารแบบมุง่ ผลสัมฤทธิ์ ต้องมีการด�ำเนินการดังนี้ (1) การวางแผนกลยุทธ์ของ องค์การ โดยมีการก�ำหนดวิสยั ทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกลยุทธ์การด�ำเนินงาน พิจารณาปัจจัยส�ำคัญ แห่งความส�ำเร็จ และสร้างตัวบ่งชี้วัดผลการด�ำเนินงาน (2) การก�ำหนดรายละเอียดของตัวบ่งชีว้ ดั ผลด�ำเนินงาน
(3) การวัดและการตรวจสอบผลการด�ำเนินงาน และ (4) การให้รางวัลตอบแทน ซึง่ สอดคล้องกับการวิจยั ของ จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์ (2553: 208-210) ทีไ่ ด้วจิ ยั เรือ่ ง รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮอ่ งสอน ผลการวิจยั พบว่า องค์ประกอบ ของรูปแบบประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ (1) ด้าน การบริหารจัดการ (2) ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการ จัดการเรียนการสอน (3) ด้านการพัฒนาบุคลากรและ (4) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3. ผลการประเมินยุทธศาสตร์การบริหารในสถาน ศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผลพบว่า ยุทธศาสตร์การบริห ารสถานศึกษาตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความเหมาะสมโดยรวม อยูใ่ นระดับมากทีส่ ดุ โดยทีก่ ารก�ำหนดตัวชีว้ ดั ความส�ำเร็จ มีคา่ เฉลีย่ สูงสุด ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่การก�ำหนดวัตถุประสงค์ และก�ำหนดกลวิธีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาครู แ ละบุ ค ลากรทาง การศึ ก ษาตามหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่การก�ำหนดตัวชี้วัดความ ส�ำเร็จ และการก�ำหนดกลวิธีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการ เรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มี ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่การก�ำหนดวัตถุประสงค์ การก�ำหนดตัวชี้วัดความส�ำเร็จมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ยุทธศาสตร์การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้โดยรวมอยูใ่ นระดับมาก โดยทีก่ ารก�ำหนด วัตถุประสงค์และเป้าหมาย และการก� ำหนดตัวชี้วัด ความส�ำเร็จมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินยุทธศาสตร์นี้ มีความสอดคล้อง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
กับกรอบการประเมินสถานศึกษาพอเพียงของกระทรวง ศึกษาธิการ (2550: 9-10) โดยมีกรอบการประเมิน 5 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา 2) ด้านหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการจัดกิจกรรม พัฒนาผูเ้ รียน 4) ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และ 5) ด้านผลลัพธ์/ภาพความส�ำเร็จที่เกิดขึ้นจากการ ด�ำเนินการ ซึง่ สอดคล้องกับการวิจยั ของประยงค์ แก่นลา (2552: 341-346), ปราโมทย์ ศิลปะศาสตร์ (2553: 174-180), ปภาภัทร อัครางกูร (2554: 244) การวิจัย ของสถาบันไทยพัฒน์รว่ มกับส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจยั (สกว.) สถาบันการจัดการเพือ่ ชนบทและสังคม (บชท.) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และบริษทั โตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย (2551: 2-26) และการวิจัยของ Park (1997: 118-134) และ Kahl (2008: 71-163) โดยในการบริหารจัดการสถานศึกษา จะต้องอาศัยยุทธศาสตร์เป็นเครือ่ งมือในการบริหารจัดการ ของผู้บริหาร โดยการก�ำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ การวางแผนงาน โครงการเพือ่ น�ำนโยบายไปสูก่ ารปฏิบตั ิ ให้บรรลุเป้าหมายการบริหารงาน ให้ครูและบุคลากร มีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนตลอดจน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการศึกษา ส�ำหรับยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษา พอเพียงที่มีประสิทธิผล ที่เป็นข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ จะต้องก�ำหนดยุทธศาสตร์อย่างน้อย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การบริหารสถานศึกษา ยุทธศาสตร์ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และ ยุทธศาสตร์การจัดกิจกรรมพัฒนาผูเ้ รียน อันเป็นแนวทาง การพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพ ของผู้เรียนให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะส�ำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา ในการน�ำผลการวิจัยไปใช้ มีดังต่อไปนี้
177
1.1 ข้อเสนอแนะเพือ่ การประยุกต์ใช้หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงในการด�ำรงชีวิต ในการประยุกต์ ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการด�ำรงชีวิต ควรปลูกฝังให้อยูใ่ นวิถชี วี ติ ของนักเรียนโดยใช้ยทุ ธศาสตร์ การบริหารจัดการ ยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรและ การจัดการเรียนการสอน และยุทธศาสตร์การจัดกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้จากการ ปฏิบัติจริง 1.2 ข้อเสนอแนะเพือ่ การน�ำไปใช้ในการบริหาร จัดการมีดังต่อไปนี้ 1.2.1 ควรศึกษารายละเอียด และวิเคราะห์ ยุ ท ธศาสตร์ ก ารบริ ห ารในสถานศึ ก ษาพอเพี ย งที่ มี ประสิทธิผลก่อนน�ำไปใช้ 1.2.2 ควรมีการก�ำหนดนโยบายที่น้อมน�ำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสูก่ ารบริหารจัดการ การปฏิบัติหน้าที่ราชการ และการน�ำไปใช้ในการด�ำรง ชีวิตทั้งในส่วนของตนเอง และบุคลากรในสังกัดให้มี ความสอดคล้องกับบริบทของตนเองในแต่ละพื้นที่ 1.2.3 ในแต่ละยุทธศาสตร์ได้มีการเสนอ กลวิธแี ละตัวชีว้ ดั ความส�ำเร็จเอาไว้ ส่วนแผนงาน โครงการ กิจกรรมที่จะก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติในการวิจัยนี้ ได้เสนอเอาไว้อย่างหลากหลาย เพือ่ ให้ผนู้ ำ� ยุทธศาสตร์นี้ ไปใช้ได้โดยเลือกให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการ ของหน่วยงานหรือสถานศึกษาต่อไป 1.2.4 การน� ำ ยุ ท ธศาสตร์ ก ารบริ ห ารใน สถานศึกษาพอเพียงทีม่ ปี ระสิทธิผลนีไ้ ปใช้ในสถานศึกษา ควรเน้นการพัฒนาคุณภาพของนักเรียนเป็นส�ำคัญ 1.2.5 การบริหารจัดการศึกษา และการจัด การเรียนรูต้ ามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะต้อง ได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารและครู ตลอดจนผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการศึกษาทุกฝ่าย 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป จากการวิจยั นีม้ ขี อบเขตข้อจ�ำกัดภายในโรงเรียน ในสังกัดส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษาในพืน้ ที่ ของจังหวัดยโสธรเท่านั้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
178
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ส�ำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้ 2.1 ควรมี ก ารศึ ก ษายุ ท ธศาสตร์ ก ารบริ ห าร ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในบริบทของ โรงเรียนในสังกัดส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษามัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา หรือพื้นที่จังหวัดอื่น 2.2 ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษายุทธศาสตร์ การบริหารในสถานศึกษาพอเพียงทีม่ ปี ระสิทธิผล ซึง่ เป็น การศึกษาในลักษณะของการคาดการณ์ถึงยุทธศาสตร์ การบริหารสถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผลในช่วง ระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น จึงควรที่จะท�ำการศึกษา และ ทดลองใช้ยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
2.3 หน่วยงานทีม่ หี น้าทีเ่ กีย่ วข้องกับการพัฒนา ชุมชน และท้องถิน่ ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ควรมี ก ารศึ ก ษาประยุ ก ต์ ใ ช้ ยุ ท ธศาสตร์ ก ารบริ ห าร ในสถานศึกษาพอเพียงทีม่ ปี ระสิทธิผลทีไ่ ด้จากการศึกษา ครั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2.4 ควรท�ำการศึกษายุทธศาสตร์การบริหาร ตามหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งในบริ บ ท ประเทศไทยทัง้ การวิจยั เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และ ควรท�ำการศึกษาถึงการพัฒนาตัวชี้วัดความส�ำเร็จ หรือ ปัจจัยที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษา พอเพียงที่มีประสิทธิผลในโอกาสต่อไปด้วย
บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา (2550-2554). กรุงเทพฯ: ศูนย์ประสานงานกลางการด�ำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ ส�ำนักกิจการพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ. . (2555). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรือ่ ง สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการบริหาร จัดการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “สถานศึกษาพอเพียง 2554”. สืบค้นเมือ่ 24 ธันวาคม 2557, จาก http://www.moe.go.th/moe/upload/news20/FileUpload/33103-7117.pdf . (2556). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและ การบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “สถานศึกษาพอเพียง 2555” (รอบ 2). สืบค้นเมือ่ 24 ธันวาคม 2557, จาก http://www.obec.go.th/sites/obec.go.th/files/document/attachment/ 37458/420054.pdf . (2557). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรือ่ ง สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการบริหาร จัดการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ประจ�ำปี 2556. สืบค้นเมือ่ 24 ธันวาคม 2557, จาก http://www.skp.moe.go.th/home/file_drug/school-porpeang_2556.pdf จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร และมนัส โกมลฑา. (2549). การรวบรวมและวิเคราะห์ขอ้ มูลเบือ้ งต้นเกีย่ วกับนโยบายของรัฐ ที่มีผลต่อเศรษฐกิจพอเพียง. ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยฝ่ายชุมชนและสังคม: ภายใต้การสนับสนุน ของส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์. (2553). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐานบนพืน้ ทีส่ งู ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮอ่ งสอน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการสนับสนุนจาก ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). จารุณี วงศ์ละคร. (2551). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ปรากฏในภาษิตล้านนา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2543). “การบริหารผลการด�ำเนินงาน (Performance Management)” รวมบทความวิชาการ 100 ปี รัฐประศาสนศาสตร์ไทย. ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
179
บุญชม ศรีสะอาด และสุริทอง ศรีสะอาด. (2552). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. ปภาภัทร อัครางกูร. (2554). โครงการการพยากรณ์ผลกระทบภายนอกที่มีต่อเศรษฐกิจของไทยและการเสนอแนะ เชิงนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ประยงค์ แก่นลา. (2552). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง โดยใช้กระบวนการวิจยั เชิงปฏิบตั กิ ารแบบมีสว่ นร่วม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. ปราโมทย์ ศิลปะศาสตร์. (2553). การรับรูแ้ ละตีความเศรษฐกิจพอเพียงในมโนทัศน์ของชาวอีสาน. ปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. ปรียานุช พิบลู สราวุธ. (2552). เศรษฐกิจพอเพียงสูส่ ถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โครงการวิจยั เศรษฐกิจพอเพียงส�ำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. สถาบันไทยพัฒน์ สถาบันการจัดการเพือ่ ชนบทและสังคม และส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั . (2551). เศรษฐกิจ พอเพียงในทัศนะโลก (พิมพ์ครัง้ ที่ 5). กรุงเทพฯ: โทเทิล่ แอ็คเซ็ส คอมมูนเิ คชัน่ (ดีแทค) และโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย. สมพร เทพสิทธา. (2548). เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชด�ำริ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร. ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน. (2551). นโยบาย สพฐ. ปี 2551. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2548). เอกสารสรุปสาระส�ำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9. สืบค้นเมือ่ 14 สิงหาคม 2554, จาก http://www.nesdb.go.th/Portals/0/ news/plan/p9/intro2.doc สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). หลักธรรม หลักท�ำ ตามรอยพระยุคลบาท (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เสรี พงศ์พิศ. (2549). เศรษฐกิจพอเพียง คิดให้ได้ ท�ำให้ดี. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2554, จาก http://www. phongphit.com/2013/index.php/2012-12-06-11-51-50/item/156 อรรถพล อนันตวรสกุล. (2552). การสังเคราะห์และน�ำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมในการบูรณาการ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสูก่ ารจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ศูนย์วจิ ยั และพัฒนาการศึกษาเพือ่ การ พัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อรอนงค์ ดุมนิล. (2557). การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามความคิดเห็นของ ข้าราชการครู สังกัดส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 9(2), 100. อังคณา ตุงคะสมิต และคณะ. (2554). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. Veridian E-Journal, 4(2), 295-296. อุษามาศ ธเนศานนท์. (2555). รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนางานโรงเรียนอนุบาล ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนอนุบาลบ้านต้นกล้า จังหวัดชลบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(1), 52-55. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
180
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Kahl, D. H. Jr. (2008). Action Research: Student Voice Evaluates High School Communication Curriculum. North Dakota State: University of Agriculture and Applied Science. Park, J. E. (1997). A case Study Analysis of Strategic Planning in Continuing Education Organization. Dissertation Abstracts International. Thomson, A. A. & Strickland, A. J. (1995). Strategic Management Concept and Cases (8th ed.). New York: Irwin. Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Translated Thai References
Akkarangkul, P. (2011). Prediction of external impacts on Thai economy and policy proposal on Sufficiency Economy. Rajamangala University of Technology Thanyaburi. [in Thai] Anunthavorasakul, A. (2006). Synthesize the lesson learned of learning management in Sufficiency Economy Affiliate School. Bangkok: Research and Development Center on Education for Sustainable Development Innovations, Faculty of Education, Chulalongkorn University. [in Thai] Bunyarattanasunthorn, J. & Komoltha, M. (2006). Collecting and Analyzing Basic Information about the Policy of the State that affect the Sufficiency Economy. Thailand Research Fund (TRF). [in Thai] Doomnil, O. (2014). Management of Education According to the Sufficiency Economy Philosophy According to the Opinions of Teachers under Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 4. Journal of Graduate School, Pitchayatat, 9(2), 97-103. [in Thai] Kaenla, P. (2009). The Model of Community Participation in School Management Utilizing Sufficiency Economy Philosophy. Doctoral Dissertation of Education Degree in Educational Administration, Graduate School Rajabhat Ubon Ratchathani University. [in Thai] Ministry of Education. (2007). Strategy for Towards Sufficiency Economy Philosophy Based School (2007-2011). Bangkok: Project operations due to Special Affairs Bureau of education initiative Promotion. [in Thai] . (2012). The Ministry of Education’s Announcement: The Sufficiency Economy Philosophy School, “Sufficient School 2011”. Retrieved December 24, 2014, from http://www.moe. go.th/moe/upload/news 20/FileUpload/33103-7117.pdf [in Thai] . (2013). The Ministry of Education’s Announcement: The Sufficiency Economy Philosophy School, “Sufficient School 2012”. Retrieved December 24, 2014, from http://www.obec. go.th/sites/obec.go.th/files/document/attachment/37458/420054.pdf [in Thai] . (2014). The Ministry of Education’s Announcement: The Sufficiency Economy Philosophy School, “Sufficient School 2013”. Retrieved December 24, 2014, from http://www.obec. go.th/sites/obec.go.th/files/document/attachment/37458/420054.pdf [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
181
Office of Basic education Commission. (2008). OBEC Policy 2008. Bangkok: Office of Basic education Commission. [in Thai] Office of the National Economics and Social Development Board. (2005). The Essence Summarizes of Economy and Social Development Plan Vol 9. Retrieved August 14, 2011, from http:// www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p9/intro2.doc [in Thai] Phiboolsarawut, P. (2009). Towards Sufficiency Based School. Bangkok: Research sufficiency economy Bureau of the Crown property. [in Thai] Phongphit, S. (2006). Sufficiency economy to make good. Retrieved December 24, 2011, from http://www.phongphit.com/2013/index.php/2012-12-06-11-51-50/item/156 [in Thai] Sillapasart, P. (2010). Perception and Interpretation of Sufficiency Economy in the Perspective of I-San People. Doctoral Dissertation of Philosophy Program in Regional Development Strategies, Graduate School Rajabhat Ubon Ratchathani University. [in Thai] Sirisumpan, T. (2000). “Performance Management” Includes academic articles, 100 years of Public Administration, Thailand. Department of Public Administration Faculty of Political Science, Chulalongkorn University. [in Thai] Srisa-art, B. & Srisa-art, S. (2009). The Research about Management Education. Bangkok: Suveriyasarn. [in Thai] Tantivejkul, S. (2006). The Main Principles to Follow His Majesty the King (15th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai] Thaipat Institute Rural and Social Management Institute and Thailand Research Fund. (2008). Sufficiency Economy in Global View (5th ed.). Bangkok: Total Access Communication and Toyota Motor Thailand. [in Thai] Thanesanon, U. (2012). Participatory action research on model of sufficiency economy administration of Bantonkla kindergarten school, Chon Buri Province. Journal of Educational Administration Burapha University, 6(1), 52-55. [in Thai] Thepsittha, S. (2005). Sufficiency economy across the initiative. Bangkok: Thamsan. [in Thai] Tungkasamit, A. et al. (2011). The development of an Sufficiency Economy Philosophy instruction process. Veridian E-Journal, 4(2), 295-296. [in Thai] Wichaakarawit, C. (2010). Model of Basic School Administration on Highland Based on The Philosophy of Sufficiency Economy in Chiangmai and Maehongsorn Province. Chiang Mai: Chiang Mai University by support from the National Research Council of Thailand (NRCT). Wonglakorn, J. (2008). Philosophy of the Sufficiency Economy in Lanna proverbs. Chiang Mai: Chiang Mai University.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
182
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�าเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Name and Surname: Prapas Chaiyamee Highest Education: Doctor of Education Degree in Educational Administration, Ubon Ratchatani Rajabhat University University or Agency: Ubon Ratchatani Rajabhat University Field of Expertise: Strategy, Administrative, Sufficiency Economy Philosophy (SEP) Address: 219 Moo 16, Sa-wart, Leongnoktha, Yasothon 35120
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
183
การรู้เท่าทันสื่อ: ประโยชน์และการน�ำไปใช้ กรณีศึกษา สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง BENEFITS AND APPLICATION OF MEDIA LITERACY: CASE study of a private higher education institution อุราเพ็ญ ยิ้มประเสริฐ1 นพมาศ ปลัดกอง2 และอังคณา ศิริอ�ำพันธ์กุล3 Uraphen Yimprasert1 Noppamas Paladkong2 and Angkana Siriumpankul3 1คณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 2,3ส�ำนักการศึกษาทั่วไป สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 1 Faculty of Management Sciences, Panyapiwat Institute of Management 2,3Office of General Education, Panyapiwat Institute of Management
บทคัดย่อ
การวิจยั ครัง้ นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ 1) ศึกษาระดับความรูเ้ กีย่ วกับการรูเ้ ท่าทันสือ่ ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา เอกชนแห่ ง หนึ่ ง 2) ศึ ก ษาประโยชน์ ใ นเรื่ อ งการรู ้ เ ท่ า ทั น สื่ อ ของนั ก ศึ ก ษาสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนแห่ ง หนึ่ ง 3) ศึกษาการน�ำไปใช้ในเรือ่ งการรูเ้ ท่าทันสือ่ ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึง่ ประชากรคือ นักศึกษาระดับ ปริญญาตรีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึง่ ทีเ่ รียนเกีย่ วกับ “การรูเ้ ท่าทันสือ่ ” ในรายวิชาศึกษาทัว่ ไป ภาคการศึกษา ที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จ�ำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปลายปิด และสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจยั พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ชัน้ ปีที่ 3 และเรียนเกีย่ วกับ “การรูเ้ ท่าทันสือ่ ” ในรายวิชา ของหมวดศึกษาทั่วไป ผลการวิจัย 1) ประโยชน์ในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษา ด้านความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่สามารถเข้าใจได้ว่า ดาราที่เห็นกันว่า สวย หุน่ และผิวพรรณดี แต่งกายมีรสนิยมในรายการ/ละครโทรทัศน์นนั้ ความจริงอาจไม่เป็นเช่นนัน้ เพราะการทีด่ ารา ดูดีได้เป็นผลจากการเทคนิคทางด้านภาพต่างๆ เข้ามาช่วยได้เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ความเข้าใจว่าหลังจากดู ละคร/ภาพยนตร์เกีย่ วกับสงครามการต่อสูข้ อง 2 ชนชาติ การทีช่ าติอกี ชาติหนึง่ ถูกสร้างให้เป็นวีรบุรษุ ท�ำแต่สงิ่ ดีงาม และอีกชาติหนึง่ ถูกสร้างเป็นศัตรู ท�ำแต่สงิ่ ชัว่ ร้ายนัน้ เป็นผลจากการสร้างความหมายของสือ่ ส่วนประเด็นด้านความเข้าใจ ในเรือ่ งการรูเ้ ท่าทันสือ่ อยูใ่ นระดับปานกลางเช่นกัน นักศึกษาตีความหมาย สัญลักษณ์ตา่ งๆ ทีใ่ ช้ในการสร้างความหมาย ผ่านเนื้อหาข่าวสารในสื่อได้เป็นอันดับแรก จากนั้นสามารถอธิบายได้ว่าเนื้อหาข่าวสารที่สื่อผลิตขึ้นนั้นมีนัยทางธุรกิจ การค้าแอบแฝงอยู่ ส�ำหรับความคิดเห็นเกีย่ วกับประโยชน์ในเรือ่ งการรูเ้ ท่าทันสือ่ โดยรวมอยูใ่ นระดับมาก จะเห็นได้วา่ นักศึกษาตระหนักถึงความส�ำคัญของจรรยาบรรณวิชาชีพทีผ่ ปู้ ระกอบวิชาชีพสือ่ ต้องมีอยูใ่ นระดับมากทีส่ ดุ รองลงมาคือ นักศึกษาเคารพและยอมรับในความแตกต่างกันของบุคคล ทัง้ ในด้านเชือ้ ชาติ ศาสนา สีผวิ ถิน่ ทีอ่ ยู่ และความแตกต่าง ทางวัฒนธรรมอื่นๆ อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน 2) การน�ำไปใช้ในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ โดยรวมอยู่ในระดับมาก Corresponding Author E-mail: noppamaspal@pim.ac.th
184
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ล�ำดับแรก เมื่อนักศึกษาได้รับมอบหมายให้ท�ำรายงานในการแสวงหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต นักศึกษาจะแสวงหา ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทีห่ ลากหลาย แต่จะไม่เชือ่ ข้อมูลทีพ่ บในทันทีตอ้ งตรวจสอบก่อนว่าเว็บไซต์นนั้ น่าเชือ่ ถือหรือไม่ ผูเ้ ขียนเป็นใคร สารนัน้ ตรงกับความต้องการของนักศึกษาหรือไม่ อยูใ่ นระดับเห็นด้วยมากทีส่ ดุ ในล�ำดับถัดมา นักศึกษา จะผลิตเนือ้ หาข่าวสารและสือ่ ทีส่ ามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน สถานศึกษา หรือสังคมทีน่ กั ศึกษาอยู่ ซึง่ อยูใ่ นระดับ เห็นด้วยมากเช่นกัน ค�ำส�ำคัญ: การรู้เท่าทันสื่อ ประโยชน์และการน�ำไปใช้
Abstract
The research objectives are; (1) studying the level of media literacy in a private higher education institution, (2) studying the students’ actualization toward the advantage of media and (3) studying the students’ tendency to implement the knowledge of media literacy in their lives. The population or the sample group is 97 students who study media literacy as topics of one general education subject in the first term of academic year. A questionnaire is used as the research tool. The data are analyzed to be descriptive statistics, which is frequency, percentage, mean, and standard deviation. The results are as follows: most of the students are junior (a third-year student), female students who all study media literacy as a general education subject. The following findings according to the first objective are 1) For the student’s usage of media literacy, the knowledge about Media Literacy is average level and most of them are well aware of the fact that the actors we see in TV shows looked slim and had beautiful skin. They are fashionable. In fact, in their real life, some of them may not look like on the television screen. It is largely due to camera techniques and editions. The second one is the students realize that after watching series/film of ethnic war and these media can indicate which nation is hero or enermy. Good or bad meaning is created by media. For the student’s comprehension of media literacy, the students start by analyzing and determining the meanings and symbols used to deliver the information via the media creation. Then they can describe that the information created by the media is also the hidden meaning of business messages. Moreover, in case of usage of media literacy, the first priortity is media staffs should emphasize on ethics. Then the students respect the difference among nationality, religious, race, place, culture which all are in the most level, as well. According to the second objective, the way that students apply media literacy for their life is mostly when the teacher gives a report assignment. They will search for information from various sources. However, they don’t trust the information one-hundred percentage but they will investigate either if that website is dependable or not, who is the author, if this information meets the need or not, etc. Then the most students will create message contents and media that are beneficial for ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
185
community, educational institute or society. This is in the high level, as well. Keywords: Media Literacy, Advantages and Application
บทน�ำ
ด้ วยการพั ฒ นาของเทคโนโลยีก ารสื่อสารที่เ ต็ม ไปด้วยข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายและแพร่กระจาย ผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อกระแสหลักอย่างโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และสื่อทางเลือกอย่างอินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ ส่งผลให้ผู้บริโภคสื่อมีเสรีภาพ ในการเสพข้อมูลข่าวสารได้อย่างอิสระ อีกทัง้ ความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีการสื่อสารท�ำให้รูปแบบของการสื่อสาร เปลี่ยนแปลงไป นั่นคือ ผู้รับสารมีสถานะเป็นได้ทั้ง ผู้บริโภคสื่อและผู้ส่งสารในเวลาเดียวกัน สถานะของ การสือ่ สารจึงไร้การควบคุมทัง้ ขอบเขตและเนือ้ หา และ น�ำไปสูป่ ระเด็นทีว่ า่ เมือ่ อยูใ่ นฐานะของผูร้ บั และผูส้ ง่ สาร ในเวลาเดียวกันจะมีวธิ กี ารใช้สอื่ อย่างไรให้เกิดประโยชน์ โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของสื่อ เพราะการใช้สื่อย่อมส่งผล กระทบต่อพฤติกรรม ทัศนคติ ค่านิยม โดยเฉพาะผลที่ เกิดกับตัวผูร้ บั สือ่ และสังคม โดยเฉพาะเยาวชนคือ ผูท้ มี่ ี โอกาสเข้าถึงสือ่ ได้มากและเป็นวัยทีม่ คี วามต้องการทีจ่ ะ แสวงหาข่าวสารต่างๆ ดังนัน้ หากเยาวชนเหล่านีเ้ สพสือ่ โดยใช้แต่อารมณ์ ขาดการใช้เหตุผล การคิดวิเคราะห์ และรับรูถ้ งึ ผลกระทบทีจ่ ะตามมาภายหลัง อาจส่งผลให้ เยาวชนเหล่านี้ตกเป็นเหยื่อของสื่อโดยไม่รู้ตัว การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) จึงเป็นแนวคิด ทีส่ ำ� คัญอย่างยิง่ ของการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึง่ จะช่วย ให้คนเราสามารถรับรู้ เข้าใจ ประเมิน และสร้างสรรค์ เนื้อหาสื่อโดยไม่ถูกครอบง�ำจากสื่อ รู้จักใช้สื่อให้เกิด ประโยชน์ตอ่ การด�ำเนินชีวติ ของตนเองและสังคม จึงเป็น สภาวะทีเ่ กิดจากความสามารถของบุคคลในการวิเคราะห์ ความหมายของเนื้อความ ประเมินคุณค่า เจตนาที่สื่อ น�ำเสนอผ่านเทคนิควิธีการต่างๆ และเป็นการพัฒนา ความคิดที่มีเป้าหมายสูงสุดคือ การสร้างการรับรู้สื่อ อย่างมีวจิ ารณญาณ สามารถแยกแยะความเห็นออกจาก
ความจริง สามารถตัดสินใจในสิ่งที่สื่อน�ำเสนอได้อย่าง เทีย่ งตรง เป็นผูร้ บั สือ่ ทีม่ พี ลังอ�ำนาจและกระตือรือร้น คือ ไม่ยอมรับอิทธิพลสื่อโดยดุษฎี และไม่ตัดสินว่าสื่อเป็น อันตราย แต่เป็นผู้รับสื่อและใช้สื่อที่มีจุดยืนทางสังคม เข้าใจตนเอง เข้าใจสังคม เข้าใจสิง่ ทีส่ อื่ น�ำเสนอ สามารถ มีสว่ นร่วมตอบโต้หรือแสดงความคิดเห็นต่อสือ่ ด้วยวิธกี าร ต่างๆ ที่เหมาะสมได้ (โตมร อภิวันทนากร, 2552: 12) ส�ำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็น อีกองค์กรหนึง่ ทีใ่ ห้ความส�ำคัญต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ เท่าทันสื่อของเยาวชนผ่านการก�ำหนดตัวบทกฎหมาย ในการปกป้องคุม้ ครองผูบ้ ริโภคเพือ่ มิให้ถกู เอาเปรียบจาก ผูป้ ระกอบการ ซึง่ เห็นได้จาก พรบ. การประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 31 ได้ก�ำหนดว่า “เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค มิให้ถกู เอาเปรียบจากผูป้ ระกอบการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ให้คณะกรรมการ กิ จ การกระจายเสี ย ง กิ จ การโทรทั ศ น์ และกิ จ การ โทรคมนาคม มีหน้าที่ตรวจสอบการด�ำเนินการของ ผูป้ ระกอบการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม มิให้ดำ� เนินการใดๆ ในประการทีน่ า่ จะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค…” รวมถึงการจัดท�ำสื่อ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อ ผ่านสื่อต่างๆ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้สถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ทางสังคมในการจัดท�ำต�ำรา คู่มือ เอกสารต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ การรู้เท่าทันสื่ออีกด้วย จากความส�ำคัญข้างต้นจึงเป็นที่มาของการจัดท�ำ โครงการวิจยั เรือ่ ง “การรูเ้ ท่าทันสือ่ : ประโยชน์และการ น�ำไปใช้ กรณีศกึ ษา สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึง่ ” โดยผูว้ จิ ยั ได้รบั มอบหมายจาก กสทช. ให้ดำ� เนินการจัดท�ำ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
186
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
โครงการวิจัยเพื่อศึกษาประโยชน์ของการรู้เท่าทันสื่อ และการน�ำไปใช้ ซึ่งผลจากการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูล ส�ำหรับการปรับปรุงและพัฒนาสือ่ การสอนและหลักสูตร การรู้เท่าทันสื่อ อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะ การรู ้ เ ท่ า ทั น สื่ อ ของเยาวชนและประชาชน รวมทั้ ง การสร้ า งสั ง คมการเรี ย นรู ้ ใ ห้ เ กิ ด การพั ฒ นาความรู ้ ความสามารถเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อต่อไป
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อ ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง 2. เพื่อศึกษาประโยชน์ในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อของ นักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง 3. เพื่อศึกษาการน�ำไปใช้ในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง
ทบทวนวรรณกรรม
แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ Silverblatt & Eliceiri (1997: 48) นิยามความรู้ เท่าทันสื่อว่า เป็นทักษะการคิดแบบวิพากษ์ที่ท�ำให้ ผู้รับสื่อสามารถแปลความหมายของข้อมูลที่ได้รับผ่าน สื่อมวลชน และช่วยให้เกิดการพัฒนาทักษะการวินิจฉัย เนื้อหาของสื่อได้อย่างเป็นอิสระ Potter (2014: 20) ผูเ้ ขียนหนังสือ Media Literacy นิยามการรู้เท่าทันสื่อว่า เป็นมุมมองของบุคคลที่ก่อร่าง ขึน้ จาก 3 ส่วน ได้แก่ โครงสร้างความรู้ การใช้เครือ่ งมือ และความตั้งใจในการเปิดรับสื่อและแปลความหมาย สารในสื่อที่บุคคลเปิดรับ โดยบุคคลผู้รู้เท่าทันสื่อจะใช้ โครงสร้างความรูข้ องตัวเองในการตีความสาร ซึง่ เครือ่ งมือ ที่จ�ำเป็นส�ำหรับการสร้างความรู้ของผู้รู้เท่าทันสื่อคือ ทักษะ 7 ประการ ประกอบด้วย การวิเคราะห์ (Analysis) การประเมิน (Evaluation) การจ�ำแนกกลุม่ (Grouping) การใช้เหตุผลแบบอุปนัย (Induction) การใช้เหตุผล แบบนิรนัย (Deduction) การสังเคราะห์ (Synthesis) และการสรุปสาระส�ำคัญ (Abstracting)
ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการกิ จ การกระจายเสี ย ง กิ จ การโทรทั ศ น์ และกิ จ การโทรคมนาคมแห่ ง ชาติ (2556: 55) อธิบายว่า การรู้เท่าทันสื่อคือ ทักษะหรือ ความสามารถในการใช้สอื่ อย่างรูต้ วั และใช้สอื่ อย่างตืน่ ตัว โดยขยายความการใช้สื่ออย่างรู้ตัวว่าเป็นความสามารถ ตีความ วิเคราะห์ แยกแยะเนือ้ หาสาระของสือ่ สามารถ โต้ตอบได้อย่างมีสติและรู้ตัว รวมทั้งสามารถตั้งค�ำถาม ว่าสื่อผู้สร้างขึ้นได้อย่างไร ส่วนการใช้สื่ออย่างตื่นตัว เป็นการเปลีย่ นจากฝ่ายตัง้ รับเป็นฝ่ายรุก โดยการแสวงหา ข้อมูลข่าวสาร เข้าถึงสื่อที่หลากหลายและมีคุณภาพ รวมถึงสามารถใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ สรุปได้วา่ การรูเ้ ท่าทันสือ่ นัน้ คือ การทีบ่ คุ คลมีความ สามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (Access) ที่ตน ต้องการ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (Analysis) วิพากษ์ (Critical) มีความสามารถในการท�ำความเข้าใจ ตีความเนือ้ หาสาร (Understand) ประเมินสาร (Evaluate) และสามารถสร้างสรรค์/ผลิต (Create/produce) สาร ในรูปแบบต่างๆ ภายใต้บริบทที่หลากหลาย แนวคิ ด การรู ้ เ ท่ า ทั น สื่ อ ถื อ ก� ำ เนิ ด ขึ้ น พร้ อ มกั บ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารที่เกิด ขึ้นกับสื่อต่างๆ ตั้งแต่ยุคของสื่อวิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ในระบบอนาล็อค (Analog) จนก้าวมาสู่ยุค ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) ทีส่ อื่ ต่างๆ สือ่ สารผ่านระบบดิจทิ ลั (Digital) อันเป็นยุค ที่สื่อต่างๆ ถูกหลอมรวมเข้าหากัน ความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีในการสื่อสารที่ท�ำให้ผู้คนไม่ว่าจะอยู่มุมใด ของโลกสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้นั้น ในอีก แง่หนึ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ก็คือ ความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีการสือ่ สารเหล่านีไ้ ด้เพิม่ อ�ำนาจให้กบั ผูส้ ง่ สาร ซึ่งมักจะเป็นองค์กรสื่อสารมวลชนขนาดใหญ่มีเงินทุน จ�ำนวนมหาศาลทีม่ ผี คู้ นเพียงไม่กรี่ ายทีจ่ ะสามารถเข้าถือ กรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของสื่อ และขับเคลื่อนไปด้วย ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ภายใต้สังคมทุนนิยม แนวคิดการรู้ เท่าทันสือ่ จึงถือก�ำเนิดขึน้ เพือ่ เป็นแนวคิดทีค่ านงัดสร้าง สมดุลแห่งอ�ำนาจ (กาญจนา แก้วเทพ, 2551: 305-306)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ของระบบการสื่อสารจากที่อ� ำนาจไปกระจุกตัวอยู่ที่ ผู้ส่งสารให้ถ่ายเทมาอยู่ในฝั่งผู้รับสารด้วยการปลูกฝัง แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ เมื่อทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงฐานะของผู้รับสาร ต้องเผชิญกับการไหลบ่าของข้อมูล ข่าวสารจ�ำนวนมาก ที่สื่อน�ำเสนอมาด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ การรู้เท่าทันสื่อ จึงเป็นกลไกทีส่ ำ� คัญและจ�ำเป็น ดังที่ Potter (2004: 19) นักวิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อได้แสดงทรรศนะไว้ว่า เมือ่ ทุกคนไม่สามารถหลีกเลีย่ งข้อมูลข่าวสารทีม่ ากเกินไป ดังนัน้ เราต้องปกป้องตัวของเรา โดยต้องรูใ้ ห้เท่าทันสือ่ เพราะถ้าเราเลือกทีจ่ ะไม่เปิดรับสารและสือ่ เลย เราก็อาจ จะพลาดข้อมูลที่ส�ำคัญส�ำหรับการด�ำรงชีวิตของเราได้ หรือถ้าเราเปิดรับสารและสือ่ ทีไ่ ม่มปี ระโยชน์ตอ่ ตัวของเรา ก็จะเกิดผลกระทบในทางลบมากกว่าทางบวก หรือกล่าว อีกนัยหนึง่ ทุกคนไม่สามารถหลีกเลีย่ งการเปิดรับข้อมูล ข่าวสาร ในขณะที่แต่ละสื่อก็มีแรงจูงใจที่แตกต่างกัน ในการน�ำเสนอข่าวสาร ถ้าเราไม่รเู้ ท่าทันสือ่ เราก็จะรับรู้ และตีความสารตามวัตถุประสงค์ของสือ่ แต่เพียงด้านเดียว โดยเสียประโยชน์ในการรับรูส้ อื่ จากวัตถุประสงค์ของตัว เราเอง ผลทีต่ ามมาจากการไม่รเู้ ท่าทันสือ่ คือ การทีผ่ รู้ บั สาร สูญเสียการรับรูโ้ ลกทีเ่ ป็นจริง แต่จะรับรูโ้ ลกผ่านสายตา สื่อแต่เพียงอย่างเดียว นั่นย่อมหมายถึงผู้รับสารก�ำลัง ยอมรับทุกอย่างที่สื่อบอก โดยปราศจากการตั้งค�ำถาม ต่อรอง ต่อต้าน นิยาม การเล่าเรื่องราว การสร้างภาพ ตัวแทนของสิ่งต่างๆ ผ่านสายตาสื่อ จากขอ มูลดังกลา วจะเห็นได้วา การรูเ้ ท่าทันสือ่ เป็น สิง่ ส�ำคัญและจ�ำเป็น การรูเ้ ท่าทันสือ่ เป็นกลไกทีช่ ว่ ยสร้าง สมดุลของอ�ำนาจให้มาอยู่ที่ผู้รับสาร เพื่อให้ผู้รับสาร สามารถรูเ้ ท่าทัน ต่อรอง ต่อต้านความหมายจากสารต่างๆ ที่สื่อเป็นผู้ก�ำหนด ทั้งนี้เพราะไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า สื่อนั้นมีอ�ำนาจต่อการรับรู้ (Perceptions) ความเชื่อ (Beliefs) และทัศนคติ (Attitudes) ของผู้รับสารต่อสิ่ง ต่างๆ การรูเ้ ท่าทันสือ่ ยังเป็นทักษะทีส่ ำ� คัญของพลเมือง ในสังคมประชาธิปไตย ที่พลเมืองต้องมีความสามารถ
187
ในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ควบคู่ไปกับ การมีความสามารถในการแสดงถึงความคิดเห็น ความเป็น ตัวตน (Self-Expression) ซึ่งทักษะทั้งสองนั้นก็เป็น หัวใจส�ำคัญในการเรียนรูเ้ ท่าทันสือ่ (Thoman & Jolls, 2003: 9) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเยาวชนไทยที่ใช้เวลา จ�ำนวนมากอยู่กับสื่อ ท่ามกลางความเจริญก้าวหน้า ของเทคโนโลยีในการสื่อสารที่สื่อสามารถจะเข้าถึงตัว พวกเขาในรูปแบบที่หลากหลาย และภายใต้บริบทของ สังคมทุนนิยมที่องค์กรสื่อจ�ำนวนไม่น้อยมีเป้าหมายที่ การแสวงหาก�ำไรสูงสุด การติดตั้งกลไกการรู้ การสร้าง ภูมิคุ้มกัน การรู้เท่าทันสื่อส�ำหรับพวกเขาจึงเป็นสิ่งที่ ส�ำคัญและจ�ำเป็น และยังต้องเป็นกลไกทีส่ ร้างการเรียนรู้ ให้บังเกิดขึ้นกับเขาตลอดชีวิต ความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อ ความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อนั้น ได้มีองค์กร นักวิชาการ นักวิชาชีพทางด้านการรู้เท่าทันสื่อได้ให้ ค�ำจ�ำกัดความที่น่าสนใจ ดังนี้ ในการประชุม The National Leadership Conference on Media Literacy ซึ่งได้รับการสนับสนุน ของสถาบันเอสเพ็น (Aspen Institute) เมือ่ ปี ค.ศ. 1992 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการประชุมเพื่อที่จะหา แนวทางให้เข้าใจในหลักการทีต่ รงกันเกีย่ วกับค�ำว่า “การรู้ เท่าทันสื่อ” (Media Literacy) ซึ่งผลของการประชุม ครั้งนี้ ได้เห็นพ้องกันในการอธิบายการรู้เท่าทันสื่อว่า เป็นความสามารถของพลเมืองในการเข้าถึง (Access) วิเคราะห์ (Analysis) และผลิต (Produce) ข้อมูลข่าวสาร ในหลากรูปแบบเพือ่ ผลลัพธ์ทเี่ ฉพาะเจาะจง (Silverbatt, 1995: 2 อ้างในสุภาณี แก้วมณี, 2547: 34) รายงาน สรุปและให้รายละเอียดความหมายของการรู้เท่าทันสื่อ ไว้ว่า เป็นความสามารถในการวิเคราะห์ (Analyze) การเพิม่ พูน (Augment) และการมีพลังอ�ำนาจเปลีย่ นแปลง (Influence) ในการรั บ สื่ อ เพื่ อ เป็ น พลเมื อ งอย่ า งมี ประสิทธิภาพ โดยสามค�ำทีก่ ล่าวมานัน้ มีความสัมพันธ์กบั ทักษะของผู้บริโภค (Consumer Skills) ผู้ใช้สื่อ (User Skills) และผู้ผลิต (Producer Skills) (Aufderheide,
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
188
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
1992: 26-28) ดังนี้ 1. การวิเคราะห์ (Analyze) ทักษะในฐานะผูบ้ ริโภค สื่อ (Consumer Skills) คือ ผู้รู้เท่าทันสื่อที่จะสามารถ รูถ้ งึ จุดประสงค์ของเนือ้ หาสือ่ และตระหนักรูถ้ งึ ปัจจัยต่างๆ ทีก่ ระทบกับจุดประสงค์นนั้ รวมถึงปัจจัยส่วนบุคคล เช่น เพศ ชนชาติ และอืน่ ๆ อีกทัง้ รูว้ า่ ต้องการใช้เนือ้ หาอย่างไร และตระหนักรูถ้ งึ ปัจจัยทีเ่ ชือ่ มโยงกัน เช่น การน�ำเสนอ ผ่านสื่อ แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ และ การเมือง และแรงจูงใจที่ซ่อนอยู่ของผู้ผลิตเนื้อหาสื่อ และสุดท้ายคือ ผู้รู้เท่าทันสื่อจะสามารถตระหนักรู้ถึง ปัจจัยด้านวัฒนธรรม ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการอ่านเนื้อหา ของสื่อ 2. การเพิ่มพูน (Augment) ทักษะในฐานะผู้ใช้สื่อ (User Skills) ผู้รู้เท่าทันสื่อสามารถหาที่มาของแหล่ง ข้อมูลข่าวสารทีเ่ หมาะสม เพือ่ การศึกษาเพิม่ เติมในหัวข้อ ที่สนใจรวมถึงความสามารถที่ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม อย่างมีประสิทธิภาพ 3. การมีพลังอ�ำนาจเปลี่ยนแปลง (Influence) ทักษะในฐานะผู้สามารถผลิตสื่อ (Producer Skills) ผู้รู้เท่าทันสื่อสามารถเปลี่ยนผลกระทบหรือความหมาย ของสารจากสือ่ ได้อย่างรอบคอบ ตัวอย่างการรายงานข่าว ทางโทรทัศน์ที่มีผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ผู้ที่รู้ เท่าทันสื่อจะสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมมาสนับสนุน ได้ว่าข่าวใดเป็นข่าวที่รายงานให้เกิดผลกระทบเชิงลบ เกินจริงหรือไม่ ท�ำให้เกิดการเปลีย่ นแปลงในความรูเ้ รือ่ ง ข่าวนั้นๆ Hobbs ได้อธิบายความสามารถการรู้เท่าทันสื่อว่า เป็นการเข้าถึงสาร การวิเคราะห์สาร การประเมินสาร และการใช้สารสือ่ ความหมาย ซึง่ สอดคล้องกับความหมาย ที่ Wan & Cheng (2004: 2) ได้ระบุถึงความสามารถ ในการรู้เท่าทันสื่อ มี 4 ประการ ได้แก่ 1. การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (Access Information) คือ ทักษะในการอ่าน การหาแหล่งที่มา การเลือก และ การจั ด การข้ อ มู ล ข่ า วสารจากแหล่ ง ข้ อ มู ล ที่ มี ค วาม หลากหลาย เช่น สิ่งพิมพ์ วิดีโอ และอินเทอร์เน็ต
2. การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร (Analyze Information) คือ การวิเคราะห์และการส�ำรวจว่าเนือ้ หาสาร ถูกสร้างอย่างไร การวิเคราะห์นตี้ อ้ งอาศัยทักษะต่างๆ เช่น การใช้ความรูอ้ ย่างมีประสิทธิภาพ การตัดสินใจชนิดของ ผลงาน การอนุมานเหตุและผล การระบุจดุ ประสงค์ของ ผูเ้ ขียน การรูถ้ งึ บริบทด้านสังคม การเมือง ประวัตศิ าสตร์ ความงามของศิลปะของข้อมูลข่าวสาร 3. การประเมินข้อมูลข่าวสาร (Evaluate Information) คือ การประเมินเนือ้ หาสารของสือ่ โดยใช้หลัก คุณธรรม จริยธรรม และประชาธิปไตยของตน รวมถึง ทักษะอื่นๆ เช่น การตัดสินความมีประโยชน์ของสาร การใช้ ค วามรู ้ ที่ มี ม าก่ อ นมาแปลความหมายผลงาน การระบุคณ ุ ค่าของสาร และการชืน่ ชมคุณภาพทางศิลปะ ของผลงาน 4. การสื่อสารข้อมูลข่าวสาร (Communicate Information) คือ การแสดงความเห็นหรือการสร้างสาร ของตนเองโดยใช้ เ ครื่ อ งมื อ และสื่ อ ต่ า งๆ ที่ มี ค วาม หลากหลาย รวมถึงการอ่าน การเขียน การพูด การเข้าใจ ผู้ชมผู้ฟัง การใช้สัญลักษณ์ในการแสดงความหมาย ในการติดต่อสือ่ สาร การจัดการความคิดต่างๆ และการจับ ความสนใจของผูช้ มผูฟ้ งั ซึง่ จะใช้ทกั ษะ เช่น การตัดต่อ การทบทวนแก้ไข และการสร้างสารกับเครือ่ งมือและสือ่ ทีม่ หี ลากหลาย Buckingham et al. (2005: 6) ได้สรุป ความสามารถของการรูเ้ ท่าทันสือ่ ไว้ในรายงานเรือ่ ง “The Media Literacy of Children and Young People” ซึ่งน�ำเสนอต่อออฟคอม (Ofcom) ไว้ว่าประกอบด้วย ทักษะ 3 ด้าน ซึ่งสามารถสรุปใจความส�ำคัญ ได้ดังนี้ 1. การเข้าถึง (Access) หมายถึง ความสามารถ ในการแสวงหาเนือ้ หาของสือ่ ทีเ่ หมาะสมกับความต้องการ ของผู้รับสารเอง ความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยี ความสามารถใช้เครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีในการ สื่อสารเพื่อค้นหาสารที่ต้องการ 2. การเข้าใจ (Understand) หมายถึง ความสามารถ ในการตีความ (Interpret) ประเมินค่า (Evaluate) ตระหนักรู้และเข้าใจในภาษาของสื่อ เช่น รู้ว่าอะไรคือ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ภาพตัวแทน (Representative) ทีส่ อื่ สร้างขึน้ อะไรคือ ความจริง (Reality) การรูก้ ลวิธใี นการชักจูงใจในโฆษณา การมีความรู้ ความเข้าใจเกีย่ วกับโลกเพิม่ มากขึน้ การรูจ้ กั ควบคุมอารมณ์อันเป็นผลจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า ในสื่อ สามารถตัดสินคุณค่าของสื่ออย่างวิพากษ์เมื่อพบ เนือ้ หาสือ่ ทีไ่ ม่เหาะสม อย่างเนือ้ หาสือ่ ทีเ่ ต็มไปด้วยความ รุนแรง และความสามารถในการเข้าถึงสุนทรียศาสตร์ ของสื่อแต่ละชนิด 3. การสร้างสรรค์ (Create) หมายถึง ความสามารถ ในการใช้เครื่องมือในการสื่อสาร ความสามารถในการ ผลิตสื่อวิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง ตลอดจนสื่อ สมัยใหม่ในรูปแบบต่างๆ เพื่อแสดงออกถึงความเป็น ตัวตน ความคิดเห็นของตนเอง ประสบการณ์ในการผลิต ความสามารถในการเข้าถึงและจัดการกับเทคโนโลยี กระบวนการจัดการเรียนการสอนเรือ่ งรูเ้ ท่าทันสือ่ หลักการส�ำคัญในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เรื่ อ งรู ้ เ ท่ า ทั น สื่ อที่ Center for Media Literacy ประกอบด้วย “กระบวนการได้มาซึ่งความรู้” หรือ “The Inquiry Process” ซึ่งผู้เรียนจะต้องยึดหลัก “ปล่อยจิตใจให้เป็นอิสระ” หรือ “Free Your Mind” และหลักแสดงความคิดเห็น “Express Your View” และหลักการที่สำ� คัญต่อมา 2 ประการ ได้แก่ “แนวคิด หลัก 5 ประการ” หรือ “Five Core Concepts” และ “ค�ำถามหลัก 5 ค�ำถาม หรือ “Five Key Questions” (Thoman & Jolls, 2003: 20-22) กระบวนการสอนแบบ “Inquiry Process” ถูกมอง ว่าเป็นรูปแบบการสอนทีเ่ หมาะสมทีส่ ดุ ส�ำหรับกระบวนการ เรียนรูเ้ ท่าทันสือ่ ซึง่ จะเป็นวิธกี ารทีร่ วมทัง้ ทักษะในการ วิเคราะห์หรือรื้อถอน (Deconstruction) และทักษะ ในการสร้างสรรค์การสือ่ สาร (Construction or Production) ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ทั้ง 2 แบบที่ผสมผสานกัน จะช่วยเติมเต็มซึ่งกันและกัน หลัก “ปล่อยจิตใจให้เป็นอิสระ” หรือ “Free Your Mind” เป็นหลักการที่พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ (Analysis) หรือรื้อถอนความหมาย ความคิด (Decon-
189
struction) หรือถอดรหัส (Decoding) หรือทักษะ ในการอ่าน “Reading” ซึง่ ผูเ้ รียนจะสามารถกระท�ำได้นนั้ จะต้องมีทักษะในการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking Skills)
วิธีการด�ำเนินการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ กลุ่มเดียวกัน โดยศึกษาจากนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึง่ ทีเ่ รียนเกีย่ วกับ “การรู้ เท่าทันสือ่ ” ซึง่ เปิดสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ทั้งหมด เป็นจ�ำนวน 97 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล ด� ำ เนิ น การเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล โดยใช้ วิ ธี แ จก แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างและรับแบบสอบถาม กลับคืนทันทีหลังจากกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม เสร็จเรียบร้อย เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วน โดยได้รบั แบบสอบถามทีต่ อบครบถ้วน จ�ำนวน 97 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 เครื่องมือในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่สร้าง และพัฒนาขึ้นตามกรอบแนวคิดของการวิจัยเพื่อให้ได้ ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ที่ก�ำหนดไว้ และน�ำแบบสอบถามไปให้ผทู้ รงคุณวุฒิ 3 ท่าน พิจารณา ตรวจสอบความเทีย่ งตรงเชิงเนือ้ หา (Content Validity) และด�ำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผูท้ รง คุณวุฒิ จากนัน้ น�ำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (Try-out) กับนักศึกษาทีไ่ ม่ใช่กลุม่ ตัวอย่าง จ�ำนวน 30 คน เพือ่ หา ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) และทดสอบโดยใช้ค่า สัมประสิทธิแ์ อลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น = 0.860 ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามชนิด ปลายปิด ประกอบด้วยข้อค�ำถาม 6 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 เป็นค�ำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของ ผู้ตอบแบบสอบถาม จ�ำนวน 4 ข้อ ได้แก่ เพศ ชั้นปี
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
190
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
สถาบันการศึกษา และรายวิชาทีเ่ รียนเรือ่ งการรูเ้ ท่าทันสือ่ ตอนที่ 2 เป็นค�ำถามเกี่ยวกับความรู้ในเรื่องการรู้ เท่าทันสือ่ จ�ำนวน 10 ข้อ โดยใช้การตรวจค�ำตอบถูก/ผิด และก�ำหนดค่าคะแนนค�ำตอบถูกต้อง = 1 คะแนน และ ตอบผิด = 0 คะแนน ตอนที่ 3 เป็นค�ำถามเกี่ยวกับความเข้าใจในเรื่อง การรูเ้ ท่าทันสือ่ จ�ำนวน 10 ข้อ โดยใช้การตรวจค�ำตอบ ใช่/ไม่ใช่ และก�ำหนดค่าคะแนนค�ำตอบ “ใช่”= 1 คะแนน และ “ไม่ใช่”= 0 คะแนน ตอนที่ 4 เป็นค�ำถามเกีย่ วกับประโยชน์ในเรือ่ งการรู้ เท่าทันสือ่ จ�ำนวน 10 ข้อ โดยใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) เพื่อวัดระดับความคิดเห็นและก�ำหนด ค่าเป็น 5 ระดับ ได้แก่ มากทีส่ ดุ (5) มาก (4) ปานกลาง (3) น้อย (2) และน้อยที่สุด (1) ตอนที่ 5 เป็นค�ำถามเกี่ยวกับการน�ำไปใช้ในเรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ จ�ำนวน 11 ข้อ โดยใช้มาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) เพือ่ วัดระดับความคิดเห็น และก�ำหนดค่าเป็น 5 ระดับ ได้แก่ มากที่สุด (5) มาก (4) ปานกลาง (3) น้อย (2) และน้อยที่สุด (1) ตอนที่ 6 เป็นความคิดเห็นอื่นๆ เกี่ยวกับประโยชน์ และการน�ำไปใช้ในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด�ำเนินการโดยใช้ โปรแกรมส�ำเร็จรูป และใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จ�ำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 60.82 และเป็นเพศชาย จ�ำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 39.18 ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จ�ำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 86.60 รองลงมาเป็น นักศึกษาชัน้ ปีที่ 1 จ�ำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 11.34 และทั้งหมดเรียนรายวิชาในหมวดศึกษาทั่วไป จ�ำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 100
นักศึกษามีความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ โดยรวมมี คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.71 จาก 10 คะแนน แสดงว่า มีความรู้ในเรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละข้อพบว่า ในข้อ 6 ดาราที่เห็นกันว่า สวย หุ่นและผิวพรรณดี แต่งกายมีรสนิยมในรายการ/ ละครโทรทัศน์นั้น ความจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะ การที่ดาราดูดีได้เป็นผลจากการเทคนิคทางด้านภาพ ต่างๆ เข้ามาช่วย มีคะแนนรวมสูงสุด 89 คะแนน คิดเป็น ร้อยละ 91.75 และน้อยที่สุดคือ ข้อ 8 โฆษณาทุกวันนี้ เป็นเสมือนคู่มือทางลัดในการด�ำเนินชีวิตที่สอนให้เรา ประสบความส�ำเร็จทัง้ ในเรือ่ งชีวติ ส่วนตัว การงาน และ ครอบครัว มีคะแนนรวมเท่ากับ 54 คะแนน คิดเป็น ร้อยละ 55.67 ความเข้าใจในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 7.89 แสดงว่ามีความเข้าใจในเรือ่ งการรูเ้ ท่าทันสือ่ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละข้อพบว่า ในข้อ 1 นักศึกษาตีความหมาย สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้ ในการสร้างความหมายผ่านเนื้อหาข่าวสารในสื่อได้มี คะแนนรวมสูงสุด จ�ำนวน 89 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 91.75 และน้อยที่สุดคือ ข้อ 8 เมื่อนักศึกษาชมละคร โทรทัศน์ ภาพยนตร์ที่นักศึกษาชื่นชอบแล้ว นักศึกษา อธิบายได้ถงึ กลวิธที สี่ อื่ ใช้ ไม่วา่ จะเป็นมุมกล้อง การจัดแสง การสร้างความหมายผ่านองค์ประกอบภาพและการสร้าง บุคลิกลักษณะของตัวละคร มีคะแนนรวม 60 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 61.86 ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ในเรื่องการรู้ เท่าทันสื่อโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (X = 4.02, S.D. = 0.75) เมื่อพิจารณาแต่ละข้อพบว่า นักศึกษา ตระหนั ก ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของจรรยาบรรณวิ ช าชี พ ที่ ผูป้ ระกอบวิชาชีพสือ่ ต้องมีอยูใ่ นระดับเห็นด้วยมากทีส่ ดุ (X = 4.27, S.D. = 0.72) และน้อยที่สุดคือ นักศึกษา สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันและหาแนวทาง แก้ไขปัญหาทีเ่ กิดขึน้ และส่งผลกระทบต่อตัวนักศึกษาเอง ได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งก็อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (X = 3.87, S.D. = 0.68) เช่นกัน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
การน�ำไปใช้ในเรือ่ งการรูเ้ ท่าทันสือ่ พบว่า นักศึกษา มีความคิดเห็นเกีย่ วกับการน�ำไปใช้ในเรือ่ งการรูเ้ ท่าทันสือ่ โดยรวมอยูใ่ นระดับเห็นด้วยมาก (X = 3.98, S.D. = 0.73) เมือ่ พิจารณาแต่ละข้อพบว่า ในล�ำดับแรกคือ เมือ่ นักศึกษา ได้รับมอบหมายให้ท�ำรายงาน ในการแสวงหาข้อมูล ทางอินเทอร์เน็ต นักศึกษาจะแสวงหาข้อมูลจากแหล่ง ต่างๆ ทีห่ ลากหลาย แต่จะไม่เชือ่ ข้อมูลทีพ่ บในทันทีตอ้ ง ตรวจสอบก่อนว่าเว็บไซต์นั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ ผู้เขียน เป็นใคร สารนัน้ ตรงกับความต้องการของนักศึกษาหรือไม่ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (X = 4.12, S.D.= 0.78) และ น้อยที่สุดมีรายข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากัน และอยู่ใน ระดับเห็นด้วยมากเช่นกันคือ นักศึกษาจะผลิตเนื้อหา ข่าวสารและสื่อได้โดยใช้เทคนิคทางด้านภาพและเสียง ในการประกอบสร้างความหมายต่างๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ (X = 3.85, S.D. = 0.72) และนักศึกษาจะออกแบบ เนื้อหาสารผ่านองค์ประกอบภาพและเสียง ให้ผู้รับสาร ทีเ่ ป็นกลุม่ เป้าหมายเข้าใจ และชืน่ ชอบผลงานของนักศึกษา (X = 3.85, S.D. = 0.80)
สรุปและอภิปรายผล
นักศึกษามีความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อในระดับ ปานกลาง แต่กส็ ามารถตระหนักถึงสิง่ ทีส่ อื่ เสนอเกินจริง เช่น ดาราที่เห็นกันว่าสวย หุ่นและผิวพรรณดี แต่งกาย มีรสนิยมในรายการ/ละครโทรทัศน์นนั้ ความจริงอาจไม่ เป็นเช่นนัน้ เพราะการทีด่ าราดูดไี ด้เป็นผลจากการเทคนิค ทางด้านภาพต่างๆ เข้ามาช่วย ในระดับคะแนนรวมถึง 89 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 91.75 อีกเรือ่ งหนึง่ ทีพ่ บ คือ ขนาดภาพ มุมกล้อง การเชื่อมต่อภาพ การจัดแสง ทีแ่ ตกต่างกันสามารถสร้างความหมายต่อสารทีแ่ ตกต่างกัน มีคะแนนรวมเท่ากับ 84 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 86.60 ซึง่ แสดงให้เห็นว่า ผูเ้ รียนต้องเรียนรูแ้ ละวิเคราะห์ อย่างลึกซึ้ง Thoman & Jolls เสนอว่า เช่น มุมกล้อง แบบนี้ท�ำให้เรามีความรู้สึกอย่างไรต่อสินค้าในโฆษณา เรารู้อะไรจากการที่ตัวละครแต่งหน้า ท�ำผม ใส่เสื้อผ้า เครื่องประดับแบบนี้ เห็นได้ว่า นักศึกษาส่วนหนึ่งได้รับ
191
อิทธิพลจากสื่อโฆษณา ซึ่งในการเรียนการสอนเกี่ยวกับ “การรูเ้ ท่าทันสือ่ ” ครัง้ นี้ จะต้องมีการเพิม่ การสอนแทรก ในรายวิชาอื่นๆ ด้วย หรือการจัดการสอนหรือกิจกรรม ที่ เ ป็ น เชิ ง บู ร ณาการมากขึ้ น ดั ง ที่ นั ก วิ ช าการอย่ า ง Considine Horton & Moerman, (2009) เห็นว่า การรูเ้ ท่าทันสือ่ เป็นแนวคิดสหวิทยากร (Interdisciplinary Concept) ซึ่งสามารถถูกพัฒนา ถูกพิจารณาได้หลาย วิธี หลายมุมมอง ในผลการวิจยั เรือ่ งความเข้าใจในเรือ่ ง การรูเ้ ท่าทันสือ่ ก็เช่นเดียวกัน แม้วา่ นักศึกษามีความเข้าใจ ในเรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อ พิ จ ารณาในรายข้ อ นั ก ศึ ก ษาตระหนั ก ว่ า นั ก ศึ ก ษา ตีความหมายสัญลักษณ์ตา่ งๆ ทีใ่ ช้ในการสร้างความหมาย ผ่านเนื้อหาข่าวสารในสื่อได้มีคะแนนรวมสูงสุด จ�ำนวน 89 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 91.75 รองลงมาคือ นักศึกษา อธิบายได้วา่ เนือ้ หาข่าวสารทีส่ อื่ ผลิตขึน้ นัน้ มีนยั ทางธุรกิจการค้าแอบแฝงอยู่ มีคะแนนรวม 87 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 89.69 ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักศึกษา เริ่ ม มี ทั ก ษะที่ เ กิ ด การแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ ใ นชั้ น เรี ย น ตามยุทธวิธสี หวิทยาการ และการศึกษาข้ามสือ่ (CrossMedia Studies and Interdis-ciplinary Strategies) จากในบทความ “Canada Offers Ten Class-room Approaches to Media Literacy” (John, 1999: 1-6 อ้างในอุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล, 2549: 16-25) ที่มี การน�ำประเด็นที่น่าสนใจในสื่อมาวิเคราะห์มุมมองจาก ศาสตร์ตา่ งๆ ทีห่ ลากหลาย เช่น การอภิปรายความรุนแรง ของสื่ อ ผ่ า นมุ ม มองด้ า นประวั ติ ศ าสตร์ วรรณกรรม สังคมวิทยา สังคมวิทยา จิตวิทยา และทฤษฎีการสือ่ สาร เป็นต้น นั ก ศึ ก ษามี ก ารน� ำ ไปใช้ ใ นเรื่ อ งการรู ้ เ ท่ า ทั น สื่ อ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X = 3.98, S.D. = 0.73) ข้อแรกคือ เมื่อนักศึกษาได้รับมอบหมายให้ท�ำรายงาน ในการแสวงหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต นักศึกษาจะ แสวงหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทีห่ ลากหลาย แต่จะไม่เชือ่ ข้อมูลที่พบในทันทีต้องตรวจสอบก่อนว่าเว็บไซต์นั้น น่าเชื่อถือหรือไม่ ผู้เขียนเป็นใคร สารนั้นตรงกับความ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
192
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ต้องการของนักศึกษาหรือไม่ อยูใ่ นระดับมาก (X = 4.12, S.D.= 0.78) ซึง่ เป็นการสะท้อนให้เห็นการมีวจิ ารณญาณ ในการรับสื่อผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของเนื้อหาสื่อ ในส่วนของความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ในเรื่องการรู้ เท่าทันสือ่ นักศึกษามีโดยรวมอยูใ่ นระดับมาก (X = 4.02, S.D. = 0.60) เมื่อพิจารณาแต่ละข้อพบว่า นักศึกษา ตระหนั ก ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของจรรยาบรรณวิ ช าชี พ ที่ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อต้องมีอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.27, S.D. = 0.72) ซึ่งเป็นสิ่งที่มีการเรียกร้องในระดับ สากลเสมอมา กาญจนา แก้วเทพ (2544: 432) ได้ให้ ข้อเสนอแนะในการศึกษาการรูเ้ ท่าทันสือ่ ว่า เพราะเนือ้ หา ทีส่ ะท้อนจากสือ่ จะมีความหมายใน 2 ระดับ ระดับแรก เป็นเนือ้ หาทีแ่ สดงออกอย่างเปิดเผย (Manifest Content) และเนื้อหาที่แฝงเร้น (Latent Content) ไม่ว่าจะเป็น อคติ ภาพแบบฉบับตายตัว (Stereotype) ภาพลักษณ์ เป็นต้น ในการศึกษาครัง้ นี้ ผูว้ จิ ยั น�ำชุดการสอนรูเ้ ท่าทันสือ่ ไปใช้ ประกอบด้วยหนังสือ คู่มือ และซีดี กับนักศึกษา ที่ลงทะเบียนเรียนในหมวดรายวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งมีวิธี การ/รูปแบบในการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างจาก หมวดรายวิชาแกนของหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต เพราะเป็นรายวิชาศึกษาทัว่ ไปทีป่ รับปรุงใหม่ในปีการศึกษา 2558 โดยมุ่งให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการองค์ความรู้ ด้านสังคมศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจ�ำวัน ประกอบด้วย เพศกับวัยรุน่ ภาวะผูน้ ำ� การพัฒนาทักษะชีวติ และสังคม การวางแผนอนาคต และความรูเ้ ท่าทันสือ่ เป็นการเพิม่ บริบททีส่ ำ� คัญ และเป็นประโยชน์ตอ่ การด�ำเนินชีวติ ของ กลุ่มคนยุคใหม่ในโลกเทคโนโลยีดิจิทัล คนกลุ่มใหม่นี้ เข้ามาเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2014 ค�ำถามส�ำคัญส�ำหรับผูท้ เี่ ป็นอาจารย์กค็ อื “จะจัดการเรียน การสอนส�ำหรับคน Generation Z อย่างไร” และในอีก ด้านหนึ่ง “จะแก้ไขปรับปรุงลักษณะบางประการที่เป็น อุปสรรคของการเรียนรู้ได้อย่างไร” เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ การเรียนรู้ที่ดีที่สุดทั้งส�ำหรับตัวผู้เรียนเองและต่อสังคม
ทีส่ ำ� คัญยังเน้นถึงสือ่ และสภาพแวดล้อมด้านการสือ่ สาร ทีส่ ง่ ผลต่อการเปลีย่ นแปลงวิถชี วี ติ ของผูเ้ รียน ซึง่ นักศึกษา มีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้ และท�ำความเข้าใจ เพือ่ พัฒนาสมรรถนะของการรูเ้ ท่าทันสือ่ โดยใน มคอ.3 ของรายวิชานี้ ได้จดั การเรียนรูต้ ามที่ Hobbs (2010: 18) ได้กล่าวไว้ คือ สมรรถนะของการรูเ้ ท่าทันสือ่ และดิจทิ ลั ว่าหมายถึง การเข้าถึง (Access) การวิเคราะห์และประเมิน (Analyze and evaluate) การสร้างสรรค์ (Create) การสะท้อนกลับ (Reflect) และการกระท�ำ (Act) ผ่าน กิจกรรมทั้งในชั้นเรียน สื่อการสอนแบบ e-learning และการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการมอบหมายงานต่างๆ ซึง่ ผลลัพธ์จากการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษานี้ นักศึกษาสามารถวิเคราะห์สอื่ ตามกระบวนการของแนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง โดยเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อ ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น และเป็นประโยชน์ในการด�ำเนิน ชีวติ นอกจากนีน้ กั ศึกษายังมีความรูค้ วามเข้าใจในแต่ละ รูปแบบของการใช้ประโยชน์จากสือ่ ต่างๆ รวมทัง้ ลดการถูก ครอบง�ำจากอิทธิพลของสื่อที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดี ส�ำหรับการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้าง กระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อจากประเทศต่างๆ ทั้งใน สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา และไทย คณะผู้วิจัย เห็นด้วยในแนวคิดที่ว่าผู้เรียนสามารถรู้เท่าทันสื่อได้นั้น ผูเ้ รียนจะต้องมีความสามารถในการตัง้ ค�ำถาม 5 ค�ำถาม (Five Key Question) ต่อสื่อที่เปิดรับอย่างสม�่ำเสมอ และค�ำถาม 5 ค�ำ ถามนี้ก็มีที่มาจากหลักการส�ำคัญ 5 ประการ (Five core concepts) ในการรู้เท่าทันสื่อ (Thoman & Jolls, 2003: 23-27) ได้แก่ 1) ใครเป็น ผู้สร้างเนื้อหาสารนี้ (Who created this message?) 2) เทคนิควิธอี ะไรในสารทีถ่ กู ใช้ดงึ ดูดความสนใจของเรา (What creative techniques are used to attract my attention?) 3) ผู้คนที่แตกต่างจากเราจะเข้าใจเนื้อหา สารแตกต่างจากเราอย่างไร (How might different people understand this message differently from me?) 4) เนือ้ หาสารได้สอื่ แทนถึงวิถชี วี ติ ค่านิยม และมุมมองแบบไหน และวิถีชีวิต ค่านิยม มุมมอง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
แบบไหนที่ถูกละเลย (What lifestyles, values and points of view are represented in, or omitted from, this message?) และ 5) ท�ำไมเนื้อหาสารนี้ จึงถูกส่งออกมา (Why is this message being sent?) ซึง่ กรอบการเรียนรูน้ ี้ ผูว้ จิ ยั ได้นำ� ไปใช้ในการเรียนการสอน โดยชีใ้ ห้เห็นแหล่งทีม่ าของข้อมูล/ข่าวสาร การท�ำหน้าที่ ของสื่อแต่ละประเภทในการก�ำหนดเนื้อหาข่าวสารที่ ส่งผลต่อการเปิดรับ และการรับรู้ข่าวสารของผู้รับสาร ธรรมชาติของสือ่ ทีส่ ง่ ผลต่อการสร้างอิทธิพล/ความสามารถ
193
ในการครอบง�ำผูร้ บั สาร การสือ่ สารท่ามกลางความแตกต่าง ด้านคุณลักษณะประชากร ชาติพันธุ์ ศาสนา และอื่นๆ ตลอดจนใครเป็นผูก้ ำ� หนดเนือ้ หา หรือการเป็นผูก้ ำ� หนด วาระ (Gatekeeper) ของข่าวสาร เป็นต้น
กิตติกรรมประกาศ
งานวิ จั ย นี้ ไ ด้ รั บ ทุ น อุ ด หนุ น จากส� ำ นั ก งาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
บรรณานุกรม
กาญจนา แก้วเทพ. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์. กาญจนา แก้วเทพ. (2551). การจัดการความรู้เบื้องต้นเรื่องการสื่อสารชุมชน. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์. โตมร อภิวนั ทนากร. (2552). คิดอ่าน ปฏิบตั กิ ารเท่าทันสือ่ คูม่ อื ส�ำหรับจัดกระบวนการและกิจกรรมเพือ่ พัฒนาเยาวชน รู้ทันสื่อ. กรุงเทพฯ: แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ส�ำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2556). 100 เรื่อง น่ารู้ ผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. สุภาณี แก้วมณี. (2547). การศึกษาการรู้เท่าทันสื่อหนังสือพิมพ์: กรณีศึกษานักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล. (2549). เปิดประตูสู่การรู้เท่าทันสื่อ: แนวคิดทฤษฎีและประสบการณ์การรู้เท่าทันสื่อ เพื่อสุขภาพ. นนทบุรี: โครงการสื่อสร้างสรรค์สุขภาพ. Aufderheide, P. (1992). Media Literacy. A Report of the National Leadership. Conference on Media Literacy, December 7-9. Queentown: MD. Buckingham, D., Banaji, S., Burn, A., Carr, D., Cranmer, S. & Willett, R. (2005). The Media Literacy of Children and Young People: A review of the research literature on behalf of Ofcom. Retrieved May 2, 2015, from http://stakeholders.ofcom.org.uk/binaries/research/medialiteracy/ml_children.pdf Considine, D., Horton, J. & Moorman, G. (2009). Teaching and Reading the Millennial Generation Through Media Literacy. Journal of Adolescent & Adult Literacy, 52(6), 471-481. Hobbs, R. (2010). Digital and Media Literacy: A Plan of Action. Retrieved May 2, 2015, from http:// www.knightcomm.org/wp-content/uploads/2010/12/Digital_and_Media_Literacy_A_Plan_ of_Action.pdf Potter, W. J. (2004). Theory of media literacy: A Cognitive approach. California USA: Sage Publications. Potter, W. J. (2014). Media Literacy (7th ed.). London: Sage. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
194
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Silverblatt, A. & Eliceiri, E. M. E. (1997). Dictionary of Media Literacy. Westport, Conn: Greenwood Press. Silverblatt, A. (1995). Media Literacy: Key to Interpreting Media Messages. Westport, CT: Praeger. Thoman, E. & Jolls, T. (2003). Literacy For the 21st Century: An Overview & Orientation Guide To Media Literacy Education. Retrieved August 6, 2015, from http://www.medialit.org/sites/ default/files/01_MLKorientation.pdf Wan, G. & Cheng, H. (2004). The Media-Savvy: Teaching Media Literacy Skills Grade 2-6. Illinois: Zephyr Prees.
Translated Thai References
Apiwanthanakorn, T. (2009). Consideration Media Literacy Practice; Manual of Learning Process and Activity for Youth Media Literacy. Bangkok: Plan for Child Media Happiness, Thai Health. [in Thai] Janroongmaneekoon, U. (2006). Lift up the Media Literacy Curtain. Open Gate to Media Literacy: Media Literacy in Conceptual Theory and Experiences on Health. Nonthaburi: Media for Health Project. [in Thai] Kaewmanee, S. (2004). Studying of Newspaper Literacy: Case Study of University Students in Bangkok. Thesis for Master-degree, Thammasat University. [in Thai] Kaewthep, K. (2001). Science of Media and Cultural Studies. Bangkok: Adison Press Product. [in Thai] Kaewthep, K. (2008). Basic Knowledge Management in Community Communication. Bangkok: Parbpim Printing. [in Thai] Office of National Broadcasting and Telecommunication Commission. (2013). 100 Interesting Stories about Telecommunication Consumer. Bangkok: Office of National Broadcasting and Telecommunication Commission. [in Thai]
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
195
Name and Surname: Uraphen Yimprasert Highest Education: Ph.D. (Higher Education and Administration), Oklahoma State University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Mass Communication, Marketing Communication, Advertising, Higher Education Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120 Name and Surname: Noppamas Paludkong Highest Education: M.A. (Educational Psychology and Guidance), Kasetsart University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Motivation in Education, Learning Psychology Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120 Name and Surname: Angkana Siriumpankul Highest Education: M.A. (Industrial and Organizational Psychology), Ramkhamhaeng University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Industrial Psychology Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
196
เปรียบเทียบผลผลิตน�้ำยางที่ได้จากการใช้เครื่องเจาะกับการกรีด COMPARING THE RUBBER YIELD OBTAINED FROM PUNCTURING AND CONVENTIONAL TAPPING วรวิทย์ สิริพลวัฒน์1 และวิวัฒน์ ไม้แก่นสาร2 Voravit Siripholvat1 and Viwat Maikaensan2 1,2คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 1,2Faculty of Innovative Agricultural Management, Panyapiwat Institute of Management
บทคัดย่อ
จากปัญหาการกรีดยางที่ก่อให้เกิดภาวะเครียดกับต้นยาง การเพิ่มพื้นที่ปลูกไปทั่วทุกภาคของประเทศ และการเผชิญกับปัญหาค่าแรงขัน้ ต�่ำ 300 บาท ได้สง่ ผลท�ำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานฝีมอื ในการกรีดยางอย่างมาก เพื่อที่จะช่วยในการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้ท�ำการทดลองใช้วิธีการเจาะต้นยางซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้แรงงานฝีมือ เปรียบเทียบกับวิธีการกรีดยางว่าจะได้ผลดีเทียบเท่ากันหรือไม่ โดยได้มีการวางแผนทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ที่ประกอบด้วย 6 Treatments แต่ละ Treatment จะประกอบด้วยต้นยางพารา พันธุ์ JVP 80 จ�ำนวน 20 ต้น พบว่า ปริมาณน�ำ้ ยางดิบที่รวบรวมได้มีค่าเฉลี่ย 1,314, 1,923, 896, 1,342, 1,973 และ 1,357 ซีซี ใน T1, T2, T3, T4, T5 และ T6 ตามล�ำดับ ผลจากการทดสอบค่า F พบค่า P<0.01 โดย T3 จะมี ค่าเฉลี่ยต�่ำสุดและมีค่าแตกต่างอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติจาก Treatments อื่นทั้งหมด แต่จะไม่พบค่าความแตกต่าง ระหว่าง T2 กับ T5 ในขณะที่ค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งจะมีค่าระหว่าง 24.0-44.6%, 19.0-42.0%, 23.0-47.0%, 26.0-47.0%, 26.0-44.0% และ 22.3-42.0% ใน T1, T2, T3, T4, T5 และ T6 ตามล�ำดับ ผลจากการทดลองนีพ้ บว่า การใช้เครื่องเจาะสามารถใช้ได้ผลดีเทียบเท่ากับวิธีการกรีด ค�ำส�ำคัญ: ผลผลิตน�ำ้ ยาง วิธีการเจาะ การกรีด เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง
Abstract
Rubber industry is facing with oxidative stress derived from tapping, increasing in rubber plantation in all parts of Thailand, and encounter with a minimum wage of 300 baht, which resulted in shortage of skilled workers. In order to solve such problem, the experiment was conducted by using the methods of puncturing that did not require skill labors compared with tapping to compare between the two methods. The experimental design is a Completely Randomized Design (CRD) containing 6 treatments. Each treatment consisted of 20 rubber trees
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
197
of the cultivar JVP 80. It was found that the average raw latex yield were 1,314, 1,923, 896, 1,342, 1,973 and 1,357 cc. in T1, T2, T3, T4, T5 and T6 respectively. The resulted from F-test show that P<0.01 by T3 manifest a lowest average value and be significantly different from all other treatments. However, there are not a significant difference between T2 and T5. While the percentage of dry rubber content of T1, T2, T3, T4, T5 and T6 ranged between 24.0-44.6, 19.0-42.0, 23.0-47.0, 26.0-47.0, 26.0-44.0 and 22.3-42.0 respectively. The resulted of this experiment showed that the puncture method worked equally well as the conventional tapping method. Keywords: rubber yield, puncturing method, tapping, % dry rubber content
บทน�ำ
ยางพาราจัดเป็นพืชเศรษฐกิจทีส่ ำ� คัญของประเทศไทย ชนิดหนึ่ง ที่น�ำเงินตราเข้าประเทศได้สูงสุดตลอดระยะ หลายปีที่ผ่านมา โดยในปี 2555 ท�ำรายได้สูงเกือบถึง 6 แสนล้านบาท ปัจจุบนั ประเทศไทยยังขาดแคลนแรงงาน ด้านการเกษตรอย่างมาก ซึง่ ย่อมรวมถึงแรงงานกรีดยาง ด้วยปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้านการเกษตรยิ่งทวี ความรุนแรงมากยิง่ ขึน้ หลังรัฐบาลมีนโยบายปรับค่าแรง ขัน้ ต�ำ่ เป็น 300 บาทต่อวัน นอกจากปัญหาการขาดแคลน แรงงานแล้ว อีกปัญหาคือ การขาดแคลนแรงงานฝีมือ ในการกรีดยาง เพราะถ้าผูท้ กี่ รีดยางไม่มฝี มี อื ทีด่ พี อ จะมี ผลท�ำให้ตน้ ยางเกิดภาวะเครียดจากการเกิด oxidative stress ซึ่งจะกระทบต่อปริมาณน�้ำยางที่กรีดได้ และ ถ้ารุนแรงมากกว่านั้นอาจมีผลท�ำให้เกิดหน้ายางแห้ง (tapping panel dryness) ส่งผลต่อความเสียหาย ด้านผลผลิตมากกว่า 10-40% (Venkatachalam, Thulaseedharan & Raghothema, 2009) เพราะ สามารถกรีดยางได้เพียงสองหน้า การลดภาวะเครียดให้กบั ต้นยางและการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือจึงเป็น สิง่ จ�ำเป็นทีต่ อ้ งด�ำเนินการ ซึง่ วิธที ไี่ ด้รบั การพูดถึงมานาน ทัง้ จากนักวิทยาศาสตร์ชาวมาเลเซียและของไทยคือ วิธี การเจาะรวบรวมน�้ำยาง ดังนั้น เพื่อที่จะยืนยันผลว่าวิธี การเจาะนัน้ สามารถใช้ได้กบั ต้นยางกรีดใหม่ การทดลองนี้ จึงได้วางแผนการด�ำเนินการวิจยั การเปรียบเทียบวิธกี าร กรีดกับวิธกี ารเจาะร่วมกับการใช้และไม่ใช้สารเคมีกระตุน้
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบผลผลิตน�้ำยางที่ได้จากวิธีการ เจาะกับวิธีการกรีด 2. เพื่อหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งที่ได้จากวิธีการ เจาะและวิธีการกรีด
ทบทวนวรรณกรรม
ยางพารา (Para rubber tree) มีชอื่ ทางวิทยาศาสตร์ ว่า Hevea brasiliensis เป็นพืชที่จัดอยู่ใน Family Euphorbiaceae มีถิ่นก�ำเนิดอยู่ในป่าทึบอเมซอน ทวีปอเมริกาใต้ ยางพาราเริ่มเป็นที่ต้องการของตลาด เพิ่มมากขึ้นหลังการค้นพบกระบวนการทางเคมีที่ท�ำให้ ยางสุก (Vulcanization) ด้วยการผสมซัลเฟอร์กับ ยางพารา โดย Charles Goodyear ในปี ค.ศ. 1838 (Simmons, 1939) เมื่อเปลือกต้นยางถูกกรีด ต้นยาง จะตอบสนองต่ อ การบาดเจ็ บ โดยการผลิ ต ฮอร์ โ มน ethylene ไปเร่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงเคมีอินทรีย์ ภายในเซลล์ laticifers (d’Auzac et al., 1993) ที่กระจายอยู่ในชั้น secondary phloem ของล�ำต้น (Martin, 1991) และปลดปล่อยน�ำ้ ยางทีม่ สี ารประกอบ cis-1,4 polyisoprene หรือ latex ทีม่ นี ำ�้ หนักโมเลกุล มากกว่า 1 ล้านดัลตัน (Gronover, Wahler & Prufer, 2011) การสังเคราะห์ latex จะเกิดขึน้ ในส่วน cytoplasm ของเซลล์ laticifers โดย pyruvate ทีไ่ ด้จากกระบวนการ Glycolysis จะเข้ า สู ่ ก ระบวนการ mevalonate-
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
198
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
dependent metabolic pathway โดยมีเอนไซม์ 3-hydroxy-3 methylglutaryl-CoA synthase (HMCS) และ 3-hydroxy-3 methylglutaryl-CoA reductase (HMCR) แสดงบทบาทส�ำคัญในช่วงต้นของ เส้นทางการสังเคราะห์ (Chye, Tan & Chua, 1992) ปี 1989 d’Auzac, Jacob & Chrestin ได้ทดสอบ การใช้แก๊ส ethylene จากภายนอกมาเร่งปฏิกริ ยิ าเพือ่ เพิม่ ผลผลิตน�ำ้ ยาง ซึง่ Mesquita et al. (2006) อธิบาย ถึงสาเหตุทปี่ ริมาณน�ำ้ ยางเพิม่ เป็นผลมาจาก ethylene ไปกระตุ้นกิจกรรมของเอนไซม์ invertase ส่งผลให้ไป เร่งกระบวนการเกิด Glycolysis ใน cytosol ซึง่ เป็นการ ไปเพิ่มแหล่งของคาร์บอน เช่น Acetyl Coenzyme A ที่ใช้ในเส้นทางส�ำหรับการสังเคราะห์น�้ำยางในเซลล์ laticifers ในขณะที่ Suwanmanee, Sirinupong & Suvachittanont (2004) พบว่า เอนไซม์ 3-hydroxy3-methylglutaryl synthase (HMGS) มีบทบาทส�ำคัญ ในเส้นทางการสังเคราะห์ isoprenoid โดยท�ำหน้าทีเ่ พิม่ มากขึ้นหลังได้รับการกระตุ้นจาก ethylene เปอร์เซ็นต์เนือ้ ยางแห้ง (% dry rubber content; DRC) เป็นลักษณะทีม่ คี วามส�ำคัญต่อราคายาง น�ำ้ ยางพารา จะประกอบด้วยเนื้อยางแห้ง 20-60% (Martin, 1991) และ 38% (Goncalves et al., 2011) ซึง่ ในเนือ้ ยางแห้ง จะประกอบด้วย cis-1, 4-polyisoprene 94% ส่วนอีก 6% เป็น protein และ fatty acids (Sakdapipanich, 2007) ในปี 1989 Coupe & Chrestin รายงานถึง การใช้ ethylene จะมีผลท�ำให้เปอร์เซ็นต์เนือ้ ยางลดลง แต่ในอีกทางหนึ่งจะมีผลท�ำให้ปริมาณผลผลิตน�้ำยาง เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นปริมาณเนื้อยางแห้ง (DRC) จะ สัมพันธ์เป็นบวกกับความหนืดของน�ำ้ ยาง แต่จะสัมพันธ์ ทางลบกับการไหลและผลผลิตของน�้ำยาง (Van Gils, 1951) ในปี 2011 Goncalves et al. ได้ปลูกยางพารา สายพันธุ์ IAC ชนิดต่างๆ ทีผ่ า่ นการคัดสายพันธุใ์ นประเทศ บราซิลเปรียบเทียบกับสายพันธุค์ วบคุม RRIM 600 ของ ประเทศมาเลเซีย พบว่าสายพันธุ์ IAC500 จะให้เปอร์เซ็นต์ เนือ้ ยางแห้งประมาณ 38% ซึง่ สูงกว่าสายพันธุ์ RRIM 600
วิธีการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างต้นยางพารา ใช้ต้นยางพันธุ์ “JVP 80” ซึ่งเป็นพันธุ์ที่น�ำกิ่งตา พันธุ์ดีมาติดกับต้นตอ (root stock) พันธุ์ RRIM 600 ที่ทนต่อสภาพแวดล้อม อายุประมาณ 5 ปีของสวนยาง เอกชนบริษัท สวนละออ จ�ำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในต�ำแหน่งที่ N16.85177 E098.57919 และเป็นพืน้ ทีท่ มี่ รี ะดับความสูง จากระดับน�ำ้ ทะเลประมาณ 199 เมตร ของอ�ำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ขั้นตอนการด�ำเนินการวิจัย 1. เลือก Treatment ให้กบั ต้นยาง จ�ำนวน 120 ต้น โดยวิธีการสุ่มเพื่อรองรับแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ทีป่ ระกอบด้วย 6 Treatments ดังนี้ - กรีด 1 วันหยุด 1 วัน (T1) - กรีด 1 วันหยุด 1 วันพร้อมกับการใช้สารเคมี กระตุ้น (T2) - กรีด 1 วันหยุด 2 วัน (T3) - กรีด 1 วันหยุด 2 วันพร้อมกับการใช้สารเคมี กระตุ้น (T4) - เจาะ 1 วันหยุด 1 วันพร้อมกับการใช้สารเคมี กระตุ้น (T5) - เจาะ 1 วันหยุด 2 วันพร้อมกับการใช้สารเคมี กระตุ้น (T6) 2. กรีดกระตุน้ ต้นยางติดต่อกัน 5 วัน และหยุดพัก 1 วัน ก่อนการเก็บบันทึกข้อมูลปริมาณน�ำ้ ยาง สารประกอบ เคมีทใี่ ช้กระตุน้ ต้นยาง คือ Ethrel ซึง่ เป็นชือ่ ทางการค้า ของสารประกอบเคมี Ethephon และมีชื่อทางเคมี คือ 2-chloroethylphosphonic acid (C2H6ClO3P) เมื่อสารประกอบเคมีนี้อยู่ในสภาพ pH ต�ำ่ กว่า 4 จะยัง คงสภาพเป็นของเหลวได้ แต่เมือ่ ค่า pH สูงขึน้ สารประกอบ เคมีนี้จะแตกตัวไปเป็นแก็ส ethylene 3. ระยะเวลาเก็บข้อมูลนาน 10 เดือน โดยระหว่าง การเก็บข้อมูลมีระยะการพักเก็บอยู่ 2 ระยะคือ กุมภาพันธ์-
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
เมษายน และกรกฎาคม-สิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้ง และฤดูฝน
n = จ�ำนวนตัวอย่างสุ่มในแต่ละ Treatment
อุปกรณ์การวิจัย มีดกรีดยาง (มีดเจ๊ะบง) เครื่องเจาะน�้ำยาง ภาชนะ รองรับน�้ำยาง ถ้วยกระเบื้อง ตู้ไมโครเวฟ
ผลและอภิปรายผล
การรวบรวมข้อมูล - บันทึกปริมาณน�ำ้ ยางทีก่ รีดได้แต่ละครัง้ โดยเริม่ ต้น กรีดที่ระดับความสูง 1.20 เมตร - น�ำ้ ยางทีก่ รีดได้แต่ละต้นถูกเทรวมกันเพือ่ น�ำไปหา ค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยาง (dry rubber contents: DRC) ด้วยวิธีการสุ่มชั่งน�้ำยาง 0.85 กรัม เทใส่ ในถ้วยกระเบื้องแล้วน�ำเข้าอบในตู้ไมโครเวฟ การวิเคราะห์ข้อมูล แผนการทดลองเป็นแบบ Completely Randomized Design (CRD) ซึง่ มีหนุ่ จ�ำลองของการทดลองเป็น ดังนี้ Yij = µ + Ti + Eij โดย Yij คือค่าสังเกตปริมาณน�ำ้ ยางในแต่ละต้น µ คือค่าเฉลี่ยของลักษณะในประชากร ทดลอง Ti อิทธิพลของปัจจัยหลักระหว่าง Treatment Eij คือความแปรปรวนโดยสุ่มระหว่างต้น ภายใต้ Ti การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม Excel ปี 2007 การทดสอบ Least Significant Difference (LSD) ใช้สูตรดังนี้ LSDα = tα=0.05, df ของ error MSE * (2/n) โดย MSE = Mean square df = degree of freedom
199
ต้นยางพาราอายุประมาณ 5 ปี จ�ำนวน 120 ต้น ที่ได้ผ่านการสุ่มคัดเลือก 6 Treatments โดยในแต่ละ Treatment จะมีจำ� นวนต้นเท่าๆ กัน ลักษณะปริมาณ น�้ำยาง (Yield; Y) ได้ถูกบันทึกข้อมูลเป็นรายต้น และ ถูกน�ำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) น�้ำยางที่กรีดและเจาะได้ แต่ละครั้ง จะถูกน�ำมาเทรวมกันในแต่ละ Treatment และตักสุ่มไปตรวจหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในเตา ไมโครเวฟ ผลผลิตน�้ำยางเมื่อเริ่มกรีด ปริมาณน�ำ้ ยางทีไ่ ด้จากการเริม่ กรีดและเจาะครัง้ แรก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.7, 36.6, 22.4, 28.8, 46.5 และ 32.0 ซีซตี อ่ ต้น ใน T1, T2, T3, T4, T5 และ T6 ตามล�ำดับ ซึ่งเป็นค่าที่ใกล้เคียงกับการรายงานของ Goncalves et al. (2011) ที่ 30.7, 37.9 และ 46.4 ในสายพันธุ์ IAC-513, RRIM-600 และ IAC-500 เมื่อพิจารณา ค่าเฉลี่ยใน T1 และ T3 ที่มีค่าต�่ำคือ 19.7 และ 22.4 ย่อมเป็นผลมาจากทั้ง 2 treatments ดังกล่าวไม่มี การใช้สารประกอบ ethylene กระตุ้นจากภายนอก ซึ่งสอดคล้องกับการรายงานของ Mesquita et al. (2006) ทีร่ ะบุวา่ การใช้สารประกอบ ethylene กระตุน้ จากภายนอกจะไปเพิม่ กิจกรรมเอนไซม์ภายในเป็นผลให้ สามารถผลิตน�้ำยางได้เพิ่มสูงขึ้น ผลผลิตน�้ำยางตลอดการทดลอง ผลผลิตน�ำ้ ยางตลอดระยะเวลาการทดลอง 10 เดือน มีจ�ำนวนครั้งที่ได้จากการกรีดและการเจาะแตกต่างกัน โดยต้นยางใน T1, T2 และ T5 มีจำ� นวนครัง้ ของการกรีด และเจาะในวันเดียวกัน 38 ครัง้ ในขณะทีต่ น้ ยางใน T3, T4 และ T6 มีเพียง 26 ครั้งเท่านั้น ปริมาณน�ำ้ ยางเฉลี่ย
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
200
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ทีก่ รีดและเจาะได้ในแต่ละ Treatment ได้ผลดังแสดงไว้
ในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ย ± S.D. ของปริมาณน�้ำยางในแต่ละ Treatment ลักษณะ ค่าเฉลี่ยปริมาณ น�้ำยาง (ซีซี)
T1 1,314 ± 688
T2 1,923 ± 389
T3 896 ±574
จากการทดลองนี้จะพบค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 8961,973 โดย T5 (เจาะ 1 วันหยุด 2 วันพร้อมใช้สารประกอบ เคมีกระตุ้น) จะให้ปริมาณน�ำ้ ยางเฉลี่ยสูงสุดคือ 1,973 ซีซตี อ่ ต้น ซึง่ สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ ผลงานของอ�ำไพ เปีย่ มอรุณ และคณะ (2541) ในขณะที่ T3 จะให้ปริมาณน�ำ้ ยางเฉลีย่ น้อยสุดเท่ากับ 896 ซีซตี อ่ ต้น และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยปริมาณน�้ำยางระหว่าง T5 และ T2 ทีต่ า่ งก็ใช้วธิ รี วบรวมน�ำ้ ยาง 1 วัน หยุดพัก 1 วัน และใช้สารเคมีกระตุน้ เหมือนกัน จะต่างกันเฉพาะวิธกี าร เจาะกับการกรีดเท่านัน้ พบว่าค่า T5 ซึง่ เป็นวิธกี ารเจาะ ให้ปริมาณน�้ำยางเฉลี่ยสูงกว่า T2 ซึ่งเป็นวิธีการกรีด
T4 1,342 ± 314
T5 1,973 ± 391
T6 1,357 ± 505
ประมาณ 50 หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มจากวิธีกรีด 2.6% ในท�ำนองเดียวกันเมือ่ พิจารณาระหว่าง T6 กับ T4 จะพบว่า วิธกี ารเจาะได้ปริมาณน�ำ้ ยางทีเ่ พิม่ จากวิธกี รีด ประมาณ 1.1% ในการทดลองนีย้ งั พบว่า T5 ให้ปริมาณ น�้ำยางสูงกว่า T6 ซึ่งเป็นผลที่ต่างจากการรายงานของ พนัส แพชนะ และสมยศ สินธุระหัส (2552) ที่ระบุว่า วิธีการเจาะวันเว้นสองวันจะให้ปริมาณน�้ำยางสูงสุด ในต้นยางพันธุ์ RRIM 600 อายุประมาณ 7 ปี เมื่ อ น� ำ ข้ อ มู ล ปริ ม าณน�้ ำ ยางที่ ไ ด้ จ ากต้ น ยางทั้ ง 120 ต้น มาวิเคราะห์เพื่อหาค่า F ในตาราง ANOVA (Analysis of variance) ได้ผลดังแสดงไว้ในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 แสดงค่า F ค�ำนวณที่ได้จากการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนของลักษณะปริมาณน�ำ้ ยาง SOV Bet. Treatments Error Total
df 5 114 119
SS 16,825,891 28,170,791 44,996,683
จากผลในตารางพบว่า F มีค่า 13.6 ซึ่งเมื่อน�ำไป เทียบกับตาราง F ที่ระดับ Critical Value 0.01 ค่า F ค�ำนวณยังมีค่าสูงกว่าค่า F ในตาราง หรือ P<0.01 นัน่ ย่อมหมายความว่าอิทธิพลของ Treatment มีผลต่อ ปริมาณน�้ำยางที่รวบรวมได้แตกต่างอย่างมีนัยส�ำคัญยิ่ง ทางสถิติ ซึ่งภายใต้ผลที่ได้ P<0.01 อยากทราบว่า
MS 3,365,178 247,112
F 13.6**
ระหว่าง Treatment ใดที่มีค่าความแตกต่างอย่างมี นัยส�ำคัญ จึงได้ค�ำนวณหาค่า LSDα ที่ระดับ Critical value t = 0.05 พบว่า LSDt=0.05 มีค่าเท่ากับ 106.3 และเมื่อน�ำค่าเฉลี่ยปริมาณน�้ำยาง (ตารางที่ 1) มาเรียง จากค่าน้อยสุดไปยังค่าสูงสุดตามล�ำดับ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
T3 896
T1 1,314
T4 1,342
ผลจากการเรียงล�ำดับจะเห็นว่า T3 มีค่าเฉลี่ยที่ แตกต่างอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตกิ บั ทุก Treatment อืน่ ในขณะที่กลุ่มของ T1, T4 และ T6 มีค่าเฉลี่ยที่ไม่ แตกต่างกัน แต่จะแตกต่างอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติกับ กลุ่มของ T2 และ T5 โดยค่าเฉลี่ยของ T2 จะต�่ำกว่า T5 ประมาณ 50 อย่างใดก็ตามค่าที่แตกต่างนี้ไม่แสดง นัยส�ำคัญทางสถิติ กล่าวคือ วิธกี ารเจาะ (T5) และวิธกี าร กรีด (T2) ภายใต้การจัดการทีเ่ หมือนกัน (พักกรีด 1 วัน และใช้สารเคมีกระตุ้น) ให้ผลลัพธ์ของปริมาณน�้ำยาง ทีไ่ ม่แตกต่าง สอดคล้องกับผลทีไ่ ด้จาก T4 และ T6 ซึง่ เป็น การเปรียบเทียบระหว่างวิธีกรีด (T4) กับวิธีเจาะ (T6) ภาพใต้ข้อก�ำหนดเดียวกันคือ หยุดพัก 2 วันและใช้ สารเคมีกระตุ้นเหมือนกัน ค่าเฉลี่ยที่ได้ก็ไม่แสดงค่า แตกต่างอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติเช่นกัน โดยค่าเฉลี่ย ของ T6 สูงกว่า T4 ประมาณ 15 เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่าง T1 กับ T2 ซึง่ ต่างก็ใช้วธิ กี รีด 1 วันหยุดพักกรีด 1 วัน ต่างกันเฉพาะ การใช้สารเคมีกระตุ้น พบว่าค่าเฉลี่ยของ T2 จะสูงกว่า ค่าเฉลี่ยของ T1 เท่ากับ 609 หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ที่เพิ่มจาก T1 46.3% ซึ่งเป็นค่าแตกต่างที่มีนัยส�ำคัญ
T6 1,357
T2 1,923
201
T5 1,973
ทางสถิติ ท�ำนองเดียวกันผลทีไ่ ด้จาก T3 และ T4 ทีต่ า่ งก็ ใช้วธิ กี รีด 1 วัน หยุดพักกรีด 2 วัน ต่างกันเฉพาะการใช้ สารเคมีกระตุ้น ผลที่ได้พบว่าค่าเฉลี่ยของ T4 สูงกว่า ค่าเฉลี่ยของ T3 เท่ากับ 456 หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ที่เพิ่มจาก T3 50.9% ซึ่งเป็นค่าที่มีความแตกต่างอย่าง มีนยั ส�ำคัญทางสถิตเิ ช่นกัน ผลดังกล่าวสอดคล้องกับการ รายงานของ Pujade-renaud et al. (1994) ทีก่ ล่าวว่า การใช้แก๊สกระตุน้ จากภายนอกสามารถไปยืดเวลาการไหล ของน�้ำยาง และท�ำให้ผลผลิตน�้ำยางเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5-2.0 เท่า เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งที่ได้จากทุก Treatments มีช่วงต�่ำสุดถึงสูงสุดเท่ากับ 24-44.6, 19-42, 23-47, 26-47, 26-44 และ 23.3-42 (ตารางที่ 3) ซึ่งเป็นค่าที่ อยูใ่ นช่วงทีม่ กี ารรายงานไว้ที่ 20-60% (Martin, 1991) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในทุก treatment พบว่า ค่าเฉลีย่ ทีไ่ ด้มคี า่ ทีใ่ กล้เคียงกัน โดยมี ค่าเฉลี่ยต�่ำสุดถึงสูงสุดเท่ากับ 32.7-35.5 (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3 แสดงค่าช่วงสูงสุดและต�่ำสุดพร้อมค่าเฉลี่ย ± S.D. ของเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งใน Treatment ต่างๆ % เนื้อยางแห้ง ค่าต�่ำสุด-สูงสุด ค่าเฉลี่ย ± S.D.
T1 24-44.6 34.2 ± 5.6
T2 19-42 32.7 ± 5.3
T3 23-47 35.5 ± 5.1
ช่วงค่าทีไ่ ด้ดงั กล่าวจะเป็นค่าเฉลีย่ ทีส่ งู กว่ามาตรฐาน คุณภาพน�้ำยางสดที่ดีและเป็นที่ยอมรับที่ต้องไม่ต�่ำกว่า 28% อย่างใดก็ตามผลดังกล่าวจะต�่ำกว่าการรายงาน ที่ 38% ของ Goncalves et al. (2011) เมื่อพิจารณา
T4 26-47 35.5 ± 5.4
T5 26-44 34.4 ± 3.7
T6 22.3-42 33.6 ± 3.9
ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐานของค่าเฉลีย่ เปอร์เซ็นต์เนือ้ ยางแห้ง ในแต่ละ Treatment พบว่า T5 และ T6 ซึ่งเป็น treatment ที่ใช้วิธีการเจาะมีค่า 3.7 และ 3.9 ซึ่งเป็นค่าที่ ต�่ำกว่า T1, T2, T3 และ T4 ซึ่งเป็น treatment ที่ใช้วิธี
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
202
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
การกรีดและมีคา่ เบีย่ งเบนมาตรฐานทีส่ งู กว่า 5 โดยมีคา่ เท่ากับ 5.6, 5.3, 5.1 และ 5.4 ตามล�ำดับ นั่นย่อม แสดงว่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งที่ได้จากวิธีการเจาะ มีความสม�่ำเสมอกว่าที่ได้จากวิธีการกรีด ผลจากการ ทดลองนี้พบว่า จ�ำนวนครั้งของการกรีดและเจาะที่ได้ เนื้อยางแห้งต�่ำกว่า 28% มีจำ� นวนเท่ากับ 7, 8, 1, 3, 1 และ 3 ครั้ง ใน T1, T2, T3, T4, T5 และ T6 และเมื่อ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ มีค่าเท่ากับ 18.42, 21.05, 3.85, 11.54, 2.63, 11.54% ตามล�ำดับ โดย T1 และ T2 ซึ่งเป็น Treatment ที่มีการหยุดพักกรีดเพียง 1 วัน มีเปอร์เซ็นต์จ�ำนวนครั้งที่ได้เนื้อยางแห้งต�่ำกว่า 28% สูงทีส่ ดุ และจ�ำนวนครัง้ ของเปอร์เซ็นต์เนือ้ ยางแห้งทีไ่ ด้ ต�่ำกว่า 28% จะปรากฏในเดือนมกราคม ในทุก Treatment ซึง่ เป็นช่วงปลายของฤดูหนาว ผลดังกล่าวแสดงให้ เห็นว่า ฤดูกาลทีแ่ ตกต่างย่อมมีผลกระทบต่อเปอร์เซ็นต์ เนื้อยางแห้งเช่นกัน
สรุปและข้อเสนอแนะ
สรุป 1. ผลผลิตน�้ำยางตลอดการทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 1,973 ซึง่ เป็นผลมาจาก T5 (เครือ่ งเจาะ 1 วัน หยุด 1 วัน พร้อมกับการใช้สารเคมีกระตุน้ ) ส่วน T3 (แรงงาน กรีด 1 วัน หยุด 2 วัน) มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดคือ 896 2. จากการวิเคราะห์ตารางความแปรปรวนของ ผลผลิตน�้ำยางที่ได้จาก Treatment ต่างๆ พบค่า F ค�ำนวณได้เท่ากับ 13.6 ซึง่ เป็นค่าทีม่ คี วามแตกต่างอย่าง มีนยั ส�ำคัญยิง่ ทางสถิติ (P<0.01) และเมือ่ น�ำมาทดสอบ ด้วย LSDα พบว่า สามารถแบ่ง Treatment เป็น 3 กลุม่ ที่แสดงค่าความแตกต่างอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติดังนี้
กลุ่ม T3 กลุ่ม T1, T4, T6 และกลุ่ม T2, T5 3. จากการทดลองนีว้ ธิ เี จาะน�ำ้ ยางให้ผลได้ดกี ว่าวิธี การกรีด (T5 กับ T2 และ T6 กับ T4) แต่ผลดังกล่าว จะไม่แสดงค่าความแตกต่างอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ 4. ค่าเฉลีย่ เปอร์เซ็นต์เนือ้ ยางแห้งของ T4 มีคา่ สูงสุด คือ 35.54% ส่วน T2 จะมีค่าเฉลี่ยน้อยสุดคือ 32.74% อย่างไรก็ตาม ค่าเฉลี่ยดังกล่าวยังเป็นค่าที่สูงกว่าเกณฑ์ มาตรฐานคุณภาพน�้ำยางสดที่ระบุไว้ที่ไม่ตำ�่ กว่า 28% ข้อเสนอแนะ จากการเปรียบเทียบระหว่างวิธีการเจาะกับวิธีการ กรีด ภายใต้ข้อก�ำหนดที่เหมือนกันพบว่า วิธีการเจาะ ให้ปริมาณน�้ำยางได้สูงกว่าวิธีการกรีด แต่ค่าที่สูงกว่า ดังกล่าวไม่แสดงค่าที่แตกต่างอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ ดังนั้น ผลจากการทดลองนี้จึงแนะน�ำให้ใช้วิธีการเจาะ 1 วัน หยุดพัก 1 วัน และใช้สารเคมีกระตุ้นจะเป็นวิธีที่ ดีที่สุด อย่างไรก็ตามการทดลองนี้ยังเป็นการทดลอง ระยะสัน้ จึงอาจท�ำให้ผลการทดลองระหว่าง Treatment ที่ใช้วิธีการเจาะกับการกรีดไม่แสดงผลแตกต่างอย่างมี นัยส�ำคัญทางสถิติ ซึ่งถ้าใช้ระยะเวลาทดลองยาวนาน กว่านี้ 5-10 ปี การใช้วิธีเจาะอาจให้ผลดีกว่าวิธีกรีด อย่างมีนัยส�ำคัญก็ได้ ด้วยเหตุผลที่ว่า วิธีการเจาะก่อให้ เกิด oxidative stress ในต้นยางน้อยกว่าวิธีการกรีด และอีกประเด็นถ้าใช้การทดลองระยะยาว วิธีการหยุด พักกรีด (เจาะ) 2 วัน อาจให้ผลได้ดีกว่าวิธีหยุดพักกรีด เพียง 1 วันก็ได้ เพราะวิธีการหยุดพักกรีดเพียง 1 วัน จะได้รับสภาวะเครียดสะสมมาก เมื่อนานวันอาจมีผล กระทบต่อการให้ปริมาณน�ำ้ ยางได้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
203
บรรณานุกรม
พนัส แพชนะ และสมยศ สินธุระหัส. (2552). เปรียบเทียบผลผลิตยางโดยวิธีการกรีดกับวิธีการเจาะในยางพันธุ์ RRIM 600 เปิดกรีดใหม่. การประชุมวิชาการยางพาราแห่งชาติ, 5-6 มิถนุ ายน 2552 ณ อิมแพค เมืองทองธานี. อ�ำไพ เปี่ยมอรุณ, สมยศ สินธุระหัส, พนัส แพชนะ และสุเมธ พฤกษ์วรุณ. (2541). เปรียบเทียบคุณสมบัติของ ไม้ยางพาราที่ได้จากการกรีด และวิธีเจาะร่วมกับการใช้แก๊สเร่งน�้ำยาง. ฐานข้อมูลวิจัย สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร. Chye, M. L., Tan, C. T. & Chua, N. H., (1992). Three genes encode 3-hydroxy-3-methylglutaryl-CoA reductase in Hevea brasiliensis: hmg 1 and hmg 2 are differentially expressed. Plant Mol Biol, 19(3), 473-84. Coupe, M. & Chrestin, H. (1989). Physico-chemical and biochemical mechanisms of hormonal (ethylene) stimulation. In d’Auzac, J., Jacob, J. L. & Herve, C. (eds.). Physiology of rubber tree latex. CRC Press, Boca Raton, FL, 295-319. d’Auzac, J., Bouteau, F., Chrestin, H., Clement, A., Jacob, J. L., Lacrotte, R., Prevot, J. C., Pujade-renaud, V. & Rona, J. P. (1993). Stress ethylene in Hevea brasiliensis: Physiological, cellular and molecular aspects of plant hormone ethylene. Netherlands: Springer. d’Auzac, J., Jacob, J. L. & Chrestin, H. (1989). Physiology of rubber tree latex. Florida: CRC Press. Goncalves, P. de S., Junior, E. J. S., Martins, M. A., Moreno, R. M. B., Branco, R. B. F. & Goncalves, E. C. P. (2011). Assessment of growth and yield performance of rubber tree clones of the IAC 500 series. Peoq. Agropec. Bras., Brasilia, 46(12), 643-1,649. Gronover, C. S., Wahler, D. & Prufer, D. (2011). Natural rubber biosynthesis and physic-chemical studies on plant derived latex. In Biotechnology of Biopolymers. Edited by Elnashar, M. Croatia: Intech Open Access Publisher, 75-88. Martin, M. N. (1991). The latex of Hevea brasiliensis contains high levels of both chitinase and chitinases/lysozymes. Plant Physiol, 95(2), 469-476. Mesquita, A, C., de Oliveira, L. E. M., Mazzafera, P. & Delú-Filho, N. (2006). Anatomical characteristics and enzymes of the sucrose metabolism and their relationship with latex yield in rubber tree (Hevea brasiliensis Muell. Arg.). Braz. J. Plant Physiology, 18(2), 263-268. Pujade-renaud, V., Clement, A., Perrot-Recbenmann, C., Prevot, J. C., Chrestin, H., Jacob, J. L. & Guern, J. (1994). Ethylene induced increase in glutamine synthetase activity and mRNA levels in Hevea brasiliensis latex cells. Plant Physiol, 105(1), 127-132. Sakdapipanich, J. T. (2007). Structural characterization of natural rubber based on recent evidence from selective enzymatic treatments. J. Biosci. Bioeng, 103(4), 287-292. Simmons, H. E. (1939). Charles Goodyear, the persistent researcher. India Rubber Wld., 101(1), 48-49. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
204
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�าเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Suwanmanee, P., Sirinupong, N. & Suvachittanont, W. (2004). Regulation of the expression of 3-hydroxy-3-methylglutaryl-CoA synthase gene in Hevea brasiliensis (B.H.K.) Mull. Arg. Plant Sci, 166(2), 531-537. Van Gils, G. E. (1951). Studies on the latex viscosity. I. Influence of the dry rubber content. Arch Rubbercult, 28, 61-66 Venkatachalam, P., Thulaseedharan, A & Raghothema, K. (2009). Molecular identification and characterization of a gene associated with the onset of tapping panel dryness (TPD) syndrome in rubber tree (Hevea brasiliensis Muell.) by mRNA differential display. Mol. Biotechnol, 41(1), 42-52.
Translated Thai Reference
Paechana, P. & Sinturahus, S. (2009). Comparing the rubber yield by conventional tapping and puncturing in the new tapping RRIM 600. National rubber conference, 5-6 June 2009 at Impact Muang Thong Thani. [in Thai] Piumaroon, A., Sinturahas, S, Paechana, P. & Peukwaroon, S. (1998). Comparing the property of rubber wood derived from tapping and puncturing accompany with gas stimulant. Research Database, Rubber Research Institute, Department of Agriculture. [in Thai] Name and Surname: Voravit Siripholvat Highest Education: Doctor of Agricultural Science, Nagoya University, Japan University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Plant Science, Animal Breeding Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120 Name and Surname: Viwat Maikaensarn Highest Education: MBA., National Institute of Development Administration (NIDA) University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Agribusiness Address: 89/1143 Nawamin 81, Nawamin Rd., Klongkum, Bungkum, BKK 10240
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
205
การพัฒนาระบบรับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษาส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ DEVELOPMENT OF ELECTRONIC DOCUMENT TRANSFER THROUGH THE INTERNET A CASE STUDY OF THE OFFICE OF BUDDHISM IN CHIANG MAI พงศ์กร จันทราช Pongkorn Chantaraj คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น Faculty of Science and Technology, Far Eastern University
บทคัดย่อ
การวิจยั ครัง้ นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ จัดท�ำระบบรับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผา่ นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบ เว็บแอพพลิเคชัน่ ช่วยให้การสืบค้นข้อมูล ติดตาม และตรวจสอบสถานะการรับ-ส่งเอกสารมีประสิทธิภาพการท�ำงาน มากขึ้น โดยมีกระบวนการวิจยั ตัง้ แต่ขนั้ ตอนของการศึกษาค้นคว้าข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้องกับระบบ วิเคราะห์และออกแบบ ระบบ สร้างระบบฐานข้อมูล และพัฒนาระบบสารสนเทศรูปแบบของเว็บแอพพลิเคชั่น ท�ำงานผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต และประเมินประสิทธิภาพการท�ำงานของระบบเพื่อปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และสร้างกระบวนการมี ส่วนร่วม ด้วยการจัดอบรมให้ความรู้การใช้งานระบบที่พัฒนาขึ้นแก่คณะสงฆ์ จากการประเมินประสิทธิภาพการท�ำงานของระบบ โดยกลุม่ ตัวอย่างพระสงฆ์จำ� นวน 167 รูป พบว่าค่าเฉลีย่ คือ ส่วนระบบรับเอกสาร ได้คา่ เฉลีย่ 4.36 รองลงมาคือ ส่วนระบบส่งเอกสาร ได้คา่ เฉลีย่ เท่ากับ 4.30 และการแสดงผล และการจัดการข้อมูลส�ำหรับผูใ้ ช้งานระบบ ได้คา่ เฉลีย่ เท่ากับ 4.28 และมีคา่ เฉลีย่ รวมทัง้ หมดเท่ากับ 4.31 อยูใ่ นระดับ มีประสิทธิภาพมาก ท�ำให้ได้ระบบรับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผา่ นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ช่วยให้การด�ำเนินงานเกีย่ วกับ การจัดการเอกสารของส�ำนักงานพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่ อยูใ่ นรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และเพิ่มประสิทธิภาพการท�ำงาน ค�ำส�ำคัญ: ระบบรับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาระบบสารสนเทศ
Corresponding Author E-mail: pongkorn@feu.edu
206
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Abstract
The objective of this research is to create an electronic document transfer system as a web application that effectively supports the processes of searching, tracking and monitoring of document transfers. The processes of research include are investigating relevant data in the system, analyzing and designing the system, creating the database system and developing the information technology system in the form of web application via internet network, evaluating the effectiveness of the system and creating a participatory process via training the Buddhist clergy how to use the developed system. According to the effectiveness evaluation of the system based on a group of samples (167 monks), the results showed the document reception system has an average of the score of 4.36, the submission system has 4.30, the display and information management system for users has 4.28, respectively. The overall average of the effectiveness is 4.31, that indicates highly effective. The developed electronic document transfer system improves the effectiveness of the document management for the clerical Buddhist office in Chiang Mai province, since the document presented in electronic forms. Keywords: Electronic Document transfer system, Information System Development
บทน�ำ
การน� ำ หลั ก การของระบบการจั ด การเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Document Management System) สามารถช่วยในการพัฒนาระบบขององค์กร เพื่อให้ระบบงานขององค์กรมีประสิทธิภาพ เพิ่มความ สะดวกรวดเร็วมากขึ้น เช่น การจัดเก็บเอกสาร การส่ง ข้อมูล การค้นหาข้อมูล การติดต่อสือ่ สารภายในองค์กร และยังเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรกระดาษ ลดพืน้ ทีแ่ ละสถานทีใ่ นการจัดเก็บเอกสาร สามารถสือ่ สาร ผ่านคอมพิวเตอร์ท�ำให้ได้ข้อมูลที่รวดเร็วทันต่อความ ต้องการ ประหยัดเวลาและทรัพยากรต่างๆ มากขึ้น ท�ำให้การท�ำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ ตัง้ อยูท่ ี่ อาคารอ�ำนวยการกลาง ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ (ชัน้ 4) ถนนโชตนา อ�ำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีหน้าทีร่ บั สนองงาน ประสานงาน และถวายการสนับสนุน
กิจการและการบริหารการปกครองคณะสงฆ์ ครอบคลุม พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 25 อ�ำเภอ โดยแต่ละพื้นที่มี ส�ำนักงานเจ้าคณะจังหวัด ส�ำนักงานเจ้าคณะอ�ำเภอ ส�ำนักงานเจ้าคณะต�ำบล เป็นหน่วยงานบริหารการปกครอง คณะสงฆ์ โดยมีสำ� นักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน และรับ-ส่งเอกสาร ราชการของคณะสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่ อาทิเช่น หนังสือ ราชการ บันทึกข้อความ และจดหมาย ทั้งที่ได้รับจาก หน่วยงานภายในและภายนอกส�ำนักงานฯ ซึง่ ในแต่ละวัน มีเอกสารรับเข้าและส่งออกเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้เกิด ปัญหาในการจัดการเอกสารดังกล่าว เช่น ปัญหาในเรือ่ ง ของการสื่อสารข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ปัญหาในการ จัดเก็บเอกสาร การสืบค้นข้อมูลล่าช้า เอกสารสูญหาย และการสิ้นเปลืองทรัพยากรกระดาษ และไม่สามารถ ตรวจสอบได้วา่ แต่ละหน่วยงานได้รบั เอกสารทีส่ ง่ ไปหรือไม่ ใครเป็นผูร้ บั เอกสาร เป็นต้น ดังนัน้ วิธที จี่ ะช่วยลดปัญหา
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นนั้นคือ การพัฒนาระบบรับ-ส่ง เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึง่ ทางส�ำนักงานพระพุทธศาสนา และคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ ยังไม่มีระบบการบริหาร จัดการเอกสารกลางทีส่ ามารถใช้งานร่วมกันได้ทกุ หน่วยงาน ดังนัน้ เพือ่ ให้เกิดประโยชน์สงู สุดต่อสังคม ปีการศึกษา 2557 ผูว้ จิ ยั จึงได้ทำ� การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ด้านระบบ ฐานข้อมูล เทคโนโลยีการสือ่ สาร และการเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์ จึงได้จดั ท�ำงานวิจยั เรือ่ ง “การพัฒนาระบบ รับ-ส่ง เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผา่ นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษาส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่” โดยได้ร่วมกับส�ำนักพระพุทธศาสนา จังหวัดเชียงใหม่ และคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้รับ-ส่งเอกสาร เก็บรักษาและสืบค้นให้เกิดความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ลดความซ�้ำซ้อนในการเก็บเอกสารราชการ ลดปริมาณ การใช้กระดาษภายในองค์กร เกิดประโยชน์ตอ่ หน่วยงาน และหน่วยงานที่สนใจสามารถน�ำไปใช้ ซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อหน่วยงานต่างๆ ของรัฐได้
วัตถุประสงค์การวิจัย
1) เพื่อจัดท�ำระบบรับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น 2) เพื่อช่วยให้การสืบค้นข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว ติดตามและตรวจสอบสถานะการรับ-ส่งเอกสารได้ทนั ที 3) เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของคณะสงฆ์ และบุคลากรส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ ในการจัดท�ำระบบรับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อ ระบบที่จัดท�ำขึ้น
ทบทวนวรรณกรรม
อุราเพ็ญ ยิ้มประเสริฐ และรพีพร ตันจ้อย (2558: 255) ได้กล่าวไว้วา่ ในการบริหารจัดการสมัยใหม่ องค์กร แต่ละแห่งต่างให้ความส�ำคัญกับการน�ำระบบสารสนเทศ
207
มาใช้ในทุกระดับของการบริ ห ารจัดการสารสนเทศ ข้อมูลข่าวสารสามารถถูกส่ งไปถึงบุคคลที่เหมาะสม ในเวลาที่เหมาะสม จึงท�ำให้การตัดสินใจต่างๆ มาจาก ข้อมูลข่าวสารที่ดี เมื่อองค์กรนั้นๆ มีการเติบโตมากขึ้น ระบบสารสนเทศจะช่วยในการจัดเก็บข้อมูลทีม่ ขี นาดใหญ่ หรือมีปริมาณมาก และการเข้ าถึงข้อมูลก็เป็นไปอย่าง รวดเร็วตลอดจนการประสานงานทุกภาคส่วนเป็นไปได้ ด้วยดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์ (2551: 63) ได้อธิบาย เกีย่ วกับการพัฒนาระบบสารสนเทศไว้วา่ พัฒนาการของ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสือ่ สาร และเครือ่ งใช้สำ� นักงาน ได้กา้ วหน้า บูรณาการเชือ่ มต่อผสมผสานกันอย่างรวดเร็ว และเกื้อหนุนกัน ซึ่งจะช่ว ยให้การปฏิบัติงานในระดับ ต่างๆ ขององค์การ ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการที่ดำ� เนินการ อยูห่ น้างานไปจนถึงระดับกลยุทธ์ทดี่ ำ� เนินการโดยผูบ้ ริหาร ระดับสูงและผู้เชี่ยวชาญมี ความคล่องตัว รวดเร็ว และ ท้าทายขึน้ โดยเฉพาะการสร้างระบบงานทีไ่ ร้รอยตะเข็บ (Seamless System) ซึ่งช่ว ยให้การด�ำเนินงานของ องค์การมุ่งสู่เป้าหมายและสร้างคุณค่าได้อย่างเต็มที่ ลดต้นทุนการประสานงานและงานสนับสนุนลง ตลอดจน ประสิทธิภาพการท�ำงานที่สูงขึ้น ณัฐฌาน สุพล (ม.ป.ป.) ได้ก ล่าวถึงแนวคิดการน�ำ ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในองค์กรโดยเฉพาะ หน่วยงานราชการที่ต้องการเปลี่ยนแปลงจากการใช้ การจัดการเอกสารด้วยมือมาเป็นการจัดการเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีการวางแผน การน�ำระบบจัดการ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ง านในองค์กร เพื่อให้เป็นที่ ยอมรับและสามารถเปลี่ยนแปลงด้วยความเรียบร้อย หากไม่มีการวางแผนอย่างเป็น ระบบ อาจจะท�ำให้เกิด ปัญหาขึ้นได้ โดยเฉพาะด้านเจ้าหน้าที่ที่จะต้องใช้งาน ทั้งนี้การก�ำหนดแผนงาน ควรค�ำนึงถึง 1) การน�ำระบบ การจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ตอ้ งได้ประโยชน์ อย่างแท้จริง จึงจะเป็นแรงผลักดันให้เจ้าหน้าทีใ่ ช้ประโยชน์ จากระบบอย่างจริงจัง โดยต้องพิจารณาถึงความเข้ากันได้ กับระบบการท�ำงานของหน่วยงาน 2) เมื่อน�ำระบบ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
208
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
การจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้จะต้องท�ำให้ ประสิทธิภาพการท�ำงานเพิม่ ขึน้ และ 3) ระบบการจัดการ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ตอ้ งมีความปลอดภัย มีการป้องกัน อย่างเพียงพอไม่ให้ข้อมูลถูกท�ำลายหรือสูญหาย ระบบส�ำนักงานที่ลดการใช้กระดาษจึงน่าจะเป็น เป้าหมายที่ส�ำคัญขององค์กรที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ การท�ำงานภายใน ลดค่าใช้จา่ ยโดยรวม สร้างความสะดวก ในการท�ำงาน สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับสังคม และยัง สร้างความก้าวหน้าให้กบั ประเทศชาติ ปัญหาส�ำคัญทีจ่ ะ ก้าวเข้าสู่ระบบสิ่งแวดล้อมไร้กระดาษอยู่ที่ตัวบุคลากร ซึ่งจะต้องได้รับการด�ำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อสร้าง ความเข้าใจและเตรียมการให้ทุกคนในองค์กรตระหนัก และหันมาใช้กระดาษรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น พร้อมทั้งลดการใช้กระดาษได้อย่างแท้จริง โอบกิจ พรสีมา (2550: 46) ได้ท�ำงานวิจัย เรื่อง โปรแกรมจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาด้วย ภาษา PHP ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MySQL แบ่ง การท�ำงานออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนผู้ดูแลระบบ (Back End) ส�ำหรับการจัดการข้อมูลของระบบ และส่วนการ แสดงผล (Front End) ส�ำหรับผู้ใช้งานสามารถสืบค้น เอกสารที่ต้องการตามสิทธิ์ของผู้ใช้ แสดงเอกสารผ่าน เว็บบราวเซอร์ ผลของการวิจยั พบว่า โปรแกรมสามารถ ท�ำงานได้ดใี นการบันทึกจัดเก็บข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล และการสืบค้นข้อมูล และผลจากการทดสอบโปรแกรม ทีไ่ ด้จากผูป้ ฏิบตั งิ านพบว่า โปรแกรมสามารถใช้งานได้จริง ตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ
วิธีการวิจัย
การพัฒนาระบบรับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษาส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนี้ผู้วิจัยมีกรอบแนวคิด ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการท�ำงานระบบฯ กรอบแนวคิดการท�ำงานของระบบฯ ในครัง้ นี้ ผูใ้ ช้งาน ท�ำการแปลงเอกสารทีต่ อ้ งการส่งโดยใช้เครือ่ งสแกนเนอร์ หรือใช้ซอฟต์แวร์เพือ่ ให้เอกสารนัน้ อยูใ่ นรูปแบบเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไฟล์ประเภท pdf หรือไฟล์ประเภท jpeg เป็นต้น เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ท�ำการ อัพโหลดเอกสารที่ต้องการส่งผ่านระบบรับ-ส่งเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ที่จัดท�ำขึ้น เอกสารและข้อมูลการรับ-ส่ง เอกสารจะถูกจัดเก็บในระบบฐานข้อมูล เพื่อใช้เป็น ข้อมูลก�ำกับ ติดตาม สถานะการรับ-ส่งเอกสาร และใช้ ผลิตรายงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ผู้วิจัยได้ด�ำเนินการตามวงจรพัฒนาระบบ (The System Development Life Circle: SDLC) โดยมี ขั้นตอนดังนี้ 1) การศึ ก ษาและรวบรวมข้ อ มู ล สารสนเทศที่ เกี่ยวข้องของระบบงาน 2) วิเคราะห์ระบบงานปัจจุบนั เพือ่ ศึกษาสารสนเทศ ขัน้ พืน้ ฐานทีผ่ ใู้ ช้ตอ้ งการ พิจารณาขอบเขตของสารสนเทศ ที่ต้องการ 3) ออกแบบระบบที่ได้จากการวิเคราะห์ให้มีความ เหมาะสมกับระบบงาน เพือ่ น�ำไปใช้ในการพัฒนาระบบ และการผลิตสารสนเทศต่อไป 4) สร้างระบบฐานข้อมูลและพัฒนาระบบสารสนเทศ ตามที่ได้ออกแบบไว้ โดยจัดท�ำในรูปแบบของ Web Application
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
5) ทดสอบและท�ำการปรับปรุงแก้ไขในส่วนของ ระบบที่ยังไม่สมบูรณ์ 6) จัดอบรม ให้ความรูก้ ารใช้งานระบบ โดยการเชิญ ตัวแทนคณะสงฆ์ระดับจังหวัด อ�ำเภอ ต�ำบล บุคลากร ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงาน อื่นที่เกี่ยวข้อง 7) จัดท�ำเอกสาร งานวิจยั และคูม่ อื การใช้งานระบบ ฉบับสมบูรณ์
ผลการวิจัย
งานวิ จั ย เรื่ อ ง การพั ฒ นาระบบรั บ -ส่ ง เอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษา ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ ทีไ่ ด้จดั ท�ำขึน้ ในครัง้ นี้ จัดท�ำในรูปแบบของ Web Application พัฒนา ด้วยภาษาพีเอชพี (PHP) และจัดเก็บข้อมูลด้วยโปรแกรม จัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL) จึงขอน�ำเสนอ รายละเอียดการใช้งานบางส่วนของระบบ ดังต่อไปนี้ เมือ่ เข้าระบบฯ จะปรากฏหน้าเว็บหลัก ดังภาพที่ 2
209
ตารางที่ 1 รายชื่อเมนูการท�ำงานหลัก ชื่อเมนู หน้าที่การท�ำงาน เอกสารเข้า ส�ำหรับแสดงรายการเอกสารที่มีผู้ส่ง มาให้ ทะเบียนรับ ส�ำหรับแสดงเอกสารที่ยืนยันการ “ลงทะเบียนรับเอกสาร” เรียบร้อย แล้ว ทะเบียนส่ง ส�ำหรับแสดงรายการเอกสารที่สร้างขึ้น และมีการส่งไปยังผู้รับ ถังขยะ ส�ำหรับแสดงรายการเอกสารที่ถูกลบ จากกล่องเอกสารเข้า กรณี “เอกสารเข้า” จะปรากฏรายการเอกสารที่มี ผูส้ ง่ มาให้ ประกอบด้วยสถานะเอกสารทีส่ ง่ หัวข้อเอกสาร ชื่อผู้ส่งเอกสาร และเวลาที่ส่ง ผู้ใช้สามารถคลิกหัวข้อ เอกสารเพื่อดูรายละเอียดเอกสาร ดังภาพที่ 3
ภาพที่ 3 ส่วนแสดงผลเอกสารเข้า
ภาพที่ 2 หน้าจอหลักของระบบฯ โดยแบ่งการท�ำงานออกเป็นส่วนๆ ดังนี้ 1) ส่วนการค้นหาเอกสารในระบบจะเป็นการค้นหา เอกสารทัง้ หมดของผูใ้ ช้งาน ได้แก่ เอกสารเข้า ทะเบียนรับ ทะเบียนส่ง และถังขยะ 2) ข้อมูลผู้ใช้ระบบ ได้แก่ รูปภาพ ชื่อผู้ใช้งาน 3) แสดงเมนูการท�ำงานหลักของระบบ ประกอบด้วย เมนูการท�ำงาน มีรายละเอียดดังนี้
เมื่อผู้ใช้เปิดอ่านเอกสาร แต่ไม่มีการยืนยันการรับ เอกสารเข้า เอกสารดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนสถานะเป็น “อ่านแต่ไม่ลงทะเบียน” หากมีการยืนยันการรับเอกสารเข้า เอกสารดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนสถานะเป็น “เอกสารรับ ลงทะเบียน” พร้อมทัง้ ย้ายไปยังเมนู “ทะเบียนรับ” จะ ปรากฏรายการเอกสารที่ลงทะเบียนรับ ผู้ใช้สามารถ คลิกหัวข้อเอกสาร เพื่อดูรายละเอียดดังภาพที่ 4
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
210
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ภาพที่ 4 ส่วนแสดงผลเอกสาร ทะเบียนรับ การสร้างเอกสารจะปรากฏรายการเอกสารทีส่ ร้างขึน้ ของผูใ้ ช้ทสี่ ง่ ไปยังผูร้ บั ในส่วนเมนู “ทะเบียนส่ง” ดังภาพ ที่ 5 ภาพที่ 6 ส่วนแสดงผลสถานะการรับเอกสาร
ภาพที่ 5 ส่วนแสดงผลเอกสาร ทะเบียนส่ง ผู้ใช้สามารถคลิกหัวข้อเอกสาร เพื่อตรวจสอบ สถานะเอกสารที่ส่งไปยังผู้รับ ได้แก่ สถานะ “อ่านและลงทะเบียน” สถานะ “อ่านแต่ไม่ลงทะเบียน” สถานะ “ยังไม่ได้อ่าน” โดยแสดงในรูปแบบ กราฟวงกลม และกราฟแท่ง พร้อมทั้งแสดงรายชื่อผู้รับ และสถานะการรับเอกสาร ของผู้รับแต่ละคน ดังภาพที่ 6
หลังจากที่พัฒนาระบบแล้วเสร็จ ผู้วิจัยได้ติดตั้ง ระบบลงบนเครื่องแม่ข่าย (Web Server) จากนั้นได้ นมัสการพระสงฆ์ทดี่ ำ� รงต�ำแหน่งพระเลขาธิการเจ้าคณะ จังหวัด พระเลขาธิการเจ้าคณะอ�ำเภอ พระเลขาธิการ เจ้าคณะต�ำบล เจ้าอาวาส และตัวแทนจากวัดต่างๆ ทัง้ 25 อ�ำเภอ ในเขตพืน้ ทีจ่ งั หวัดเชียงใหม่ และบุคลากร ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ จ�ำนวน 167 รูป/คน เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อทดสอบการท�ำงาน ของระบบในด้านต่างๆ ได้แก่ ส่วนแรกคือ การแสดงผล และการจัดการข้อมูลส�ำหรับผู้ใช้งานระบบ ส่วนที่สอง คือ ระบบรับเอกสาร ส่วนที่สามคือ ระบบส่งเอกสาร ส่วนที่สี่คือ ข้อเสนอแนะและแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาระบบ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
211
ตารางที่ 3 ผลการประเมิน การแสดงผลเว็บไซต์ และ การจัดการข้อมูลส�ำหรับผู้ใช้งานระบบ
ภาพที่ 7 อบรบเชิงปฏิบัติการใช้งานระบบฯ การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ผู้เข้าอบรมได้ ประเมินผลการท�ำงานของระบบ โดยใช้แบบสอบถาม เพือ่ น�ำผลทีไ่ ด้มาท�ำการปรับปรุงระบบให้มคี วามสมบูรณ์ ถูกต้องต่อไป สถิตทิ ใี่ ช้ในการประเมินคือ การวัดแนวโน้ม เข้าสู่ส่วนกลาง (Measures of Central Tendency) ด้วยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) ซึง่ ได้กำ� หนดเกณฑ์ในการประเมินผล โดยใช้คา่ เฉลีย่ ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 เกณฑ์ในการประเมินผล ค่าเฉลี่ยของระดับ การแปลผล ประสิทธิภาพการใช้งาน 4.50-5.00 มีประสิทธิภาพมากที่สุด 3.50-4.49 มีประสิทธิภาพมาก 2.50-3.49 มีประสิทธิภาพปานกลาง 1.50-2.49 มีประสิทธิภาพน้อย 1.00-1.49 มีประสิทธิภาพน้อยที่สุด
ส่วน ค่าเฉลี่ย ข้อสอบถาม เบี่ยงเบน (ร้อยละ) มาตรฐาน 1. การจัดวางเครื่องมือ ปุ่มค�ำสั่ง 0.67 4.36 และเมนูการท�ำงาน 2. ข้อความมีขนาด และรูปแบบ 0.70 4.29 ตัวอักษรที่เหมาะสม 4.19 3. องค์ประกอบของสีที่ใช้ในการ 0.72 แสดงผล 4. มีข้อความแจ้งเตือนให้ทราบ 0.85 4.15 เมื่อกรอกข้อมูลผิดพลาด 5. การสืบค้นข้อมูลใช้งานง่าย ไม่ 0.79 4.30 ซับซ้อน 6. ระบบความปลอดภัยในการ 0.85 4.25 เข้าใช้งานระบบเหมาะสม 7. การจัดการข้อมูลและการตัง้ ค่า 0.72 4.38 ผู้ใช้งานสะดวกใช้งานง่าย ค่าเฉลี่ยรวม 0.61 4.28
การวิเคราะห์ผลประเมินในส่วนการแสดงผลและ การจัดการข้อมูลส�ำหรับผูใ้ ช้งานระบบ ได้คา่ ส่วนเบีย่ งเบน มาตรฐานเท่ากับ 0.61 และมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.28 อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมาก
การประเมินผลในครัง้ นี้ ได้พจิ ารณาถึงคุณภาพของ ระบบตามมาตรฐานคุณภาพซอฟต์แวร์ ISO/IEC 9126 เกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอย ความน่าเชื่อถือ การใช้งาน และประสิทธิภาพ ผูว้ จิ ยั ได้นำ� ข้อมูลจากการประเมินผล ท�ำการวิเคราะห์ข้อมูลได้ผลดังนี้ ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
212
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ตารางที่ 4 ผลการประเมิน การประเมินผลส่วนระบบ รับเอกสาร ข้อสอบถาม 1. แสดงสถานะให้ทราบเมื่อมี “เอกสารเข้า” 2. การตรวจเช็ค “เอกสารเข้า” สะดวกใช้งานง่าย 3. รายละเอียดเอกสารเข้ามีความ ครบถ้วน 4. การ “ลงทะเบียนรับ” เอกสาร ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ค่าเฉลี่ยรวม
ส่วน ค่าเฉลี่ย เบี่ยงเบน (ร้อยละ) มาตรฐาน 0.67 4.44 0.67
4.46
0.90
4.33
0.98
4.20
0.65
4.36
การวิเคราะห์ผลประเมินในส่วนระบบรับเอกสาร ได้คา่ ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65 และมีคา่ เฉลีย่ รวมเท่ากับ 4.36 อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมาก ตารางที่ 5 ผลการประเมิน การประเมินผลส่วนระบบ ส่งเอกสาร ส่วน ค่าเฉลี่ย ข้อสอบถาม เบี่ยงเบน (ร้อยละ) มาตรฐาน 1. การ “สร้างเอกสาร” ใช้งาน 0.72 4.33 ง่าย ไม่ซับซ้อน 2. ฟอร์มกรอกรายละเอียด 0.65 4.27 เอกสารส่งมีความครบถ้วน 3. สามารถติดตามเอกสารส่ง 0.68 4.35 และตรวจสอบสถานะการรับ เอกสารได้ทันที 4. กราฟแสดงสถานะเอกสาร 0.78 4.24 สื่อความหมายได้เหมาะสม และชัดเจน ค่าเฉลี่ยรวม 0.63 4.30
การวิเคราะห์ผลประเมินในส่วนระบบส่งเอกสาร ได้คา่ ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.63 และมีคา่ เฉลีย่ รวมเท่ากับ 4.30 อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมาก
สรุปและอภิปรายผล
สรุปผลการประเมินระบบรับ-ส่ง เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด เชียงใหม่ โดยการประเมินทัง้ 3 ส่วน พบว่า ค่าเฉลีย่ สูงสุด คือ ส่วนระบบรับเอกสาร ได้คา่ เฉลีย่ 4.36 รองลงมาคือ ส่วนระบบส่งเอกสาร ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และส่วน การแสดงผลและการจัดการข้อมูลส�ำหรับผูใ้ ช้งานระบบ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดเท่ากับ 4.31 อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมาก ผลการด�ำเนินการพัฒนาระบบฯ ในครั้งนี้ ผู้วิจัย ได้ ศึ ก ษาข้ อ มู ล การท� ำ งานระบบเดิ ม วิ เ คราะห์ แ ละ ออกแบบระบบ สร้างระบบฐานข้อมูลและพัฒนาระบบ สารสนเทศให้สอดคล้องต่อความต้องการของผู้ใช้งาน สร้างกระบวนการมีสว่ นร่วมด้วยการจัดอบรมให้ความรู้ การใช้งานแก่ผู้ใช้งาน ท�ำให้ได้ระบบรับ-ส่งเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่นท�ำงานผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้การด�ำเนินงานเกี่ยวกับ การจัดการเอกสารของส�ำนักงานพระพุทธศาสนาและ คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในรูปแบบระบบเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ มีส่วนช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการ ท�ำงานในระบบงานเดิม รวมถึงเพิม่ ความสะดวกรวดเร็ว ในการสืบค้นเอกสาร ตลอดจนการติดตาม ตรวจสอบ สถานะการรับ-ส่งเอกสารได้ทันที ส่งผลให้การท�ำงาน โดยรวมมีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้ ปัญหา อุปสรรค และข้อจ�ำกัดของระบบ ทางผู้วิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรค มีดังต่อไปนี้ 1) ปัญหาด้านการสือ่ สารข้อมูล เนือ่ งจากความเร็ว ในการรับ-ส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตของเครือ่ งคอมพิวเตอร์ ลูกข่ายที่เข้ามาใช้งานไม่เท่ากัน หากเครื่องที่มีความเร็ว ในการรับ-ส่งข้อมูลต�ำ่ ก็จะท�ำให้การประมวลผลข้อมูล
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
บางส่วนช้า ซึ่งอาจจะเกิดผลกระทบต่อประสิทธิภาพ ของการท�ำงาน 2) ระบบที่ ส ร้ า งขึ้ น มี ก ารท� ำ งานผ่ า นเครื อ ข่ า ย อินเทอร์เน็ตท�ำให้ผู้ใช้งาน (พระสงฆ์) ที่อยู่ในเขตป่า หรืออยูบ่ นภูเขา บางเขตพืน้ ทีไ่ ม่มสี ญ ั ญาณอินเทอร์เน็ต จึงไม่สามารถน�ำระบบดังกล่าวไปใช้งานได้ 3) การใช้งานจริง ผู้ใช้ระบบจะต้องท�ำข้อตกลง การใช้งานระบบ และควรมีแนวทางปฏิบตั ทิ ชี่ ดั เจน เช่น ก�ำหนดช่วงให้มกี ารเปิดระบบเพือ่ เช็คเอกสารเข้าทุกวัน ทุกสัปดาห์ เป็นต้น เพราะหากมีการส่งเอกสารไปยังผูร้ บั แต่ผู้รับไม่ได้เข้าระบบก็จะท�ำให้เอกสารดังกล่าวล่าช้า หรืออาจจะไม่ถึงผู้รับ
213
4) ระบบยังไม่รองรับการแสดงผลบนอุปกรณ์สอื่ สาร เคลื่อนที่ ท�ำให้การใช้งานส่วนของปุ่มค�ำสั่งบนจอภาพ อุปกรณ์เคลื่อนที่มีข้อผิดพลาดในการประมวลผล แนวทางพัฒนาในอนาคต 1) พัฒนาระบบให้สามารถรองรับการประมวลผล บนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ 2) สร้างเครือข่ายชุมชน เพือ่ การด�ำเนินงานร่วมกัน ของกลุ่มผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับระบบ เช่น คณะสงฆ์ ส�ำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดอื่นๆ ต่อไป 3) จัดโครงการอบรมการใช้งานระบบฯ ทีจ่ ดั ท�ำขึน้ ในครั้งนี้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องของแต่ละพื้นที่ เพื่อสามารถ ใช้งานระบบในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ
บรรณานุกรม
ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็นยูเคชั่น. ณัฐฌาน สุพล. (ม.ป.ป.). ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2558, จาก http://courseware. payap.ac.th/docu/sc312/ อุราเพ็ญ ยิ้มประเสริฐ และรพีพร ตันจ้อย. (2558). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ส�ำหรับการบริหารสถาบัน อุดมศึกษาที่เป็นการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(ฉบับพิเศษ), 253-260. โอบกิจ พรสีมา. (2550). โปรแกรมจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.
Translated Thai References
Khejaranun, N. (2008). System Analysis and Design. Bangkok: Se-education Publishing. [in Thai] Pornsrima, O. (2007). Program Administration Electronics Documents. Phetchabun: Phetchabun Rajabhat University. [in Thai] Supol, N. (n.d.). Document electronic system. Retrieved October 1, 2015, from http://courseware. payap.ac.th/docu/sc312/ [in Thai] Yimprasert, U. & Tunjoi, R. (2014). Management Information System (MIS) for Administration in Higher Education Institute as E-Education. Panyapiwat Journal, 7(Special Issue), 253-260. [in Thai]
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
214
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�าเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Name and Surname: Pongkorn Chantaraj Highest Education: Master of Sciences (Computer Science), Chiang Mai University University or Agency: Far Eastern University Field of Expertise: Information Technology Address: 120 Mahidol Rd., Chiang Mai 50000
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
215
การจัดการ: องค์ความรู้และการพัฒนาตัวแบบทางทฤษฎี MANAGEMENT: ITS BODY OF KNOWLEDGE AND THE DEVELOPMENT OF THEORETICAL MODEL สุธินี อัตถากร Suthinee Atthakorn คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม Faculty of Political Science and Public Administration, Rajabhat Maha Sarakham University
บทคัดย่อ
บทความนี้ มุ่งส�ำรวจผลงานหลักของนักวิชาการชั้นน�ำในอดีต และน�ำปัจจัยส�ำคัญที่อธิบายความส�ำเร็จของการ จัดการมาบูรณาการ เพิ่มเติมปัจจัยที่ขาดหรือถูกมองข้าม และพัฒนาเป็นตัวแบบทางทฤษฎีการจัดการร่วมสมัยของ ปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ในการน�ำไปประยุกต์ในการบริหารของทั้งองค์การภาครัฐและภาคเอกชน ค�ำส�ำคัญ: การจัดการ การบริหารธุรกิจ การบริหารรัฐกิจ
Abstract
This article aims at reviewing management literature from leading academicians during the past century and systematically selects key variables that may affect management success. New overlooking variables are also proposed and integrated with those selected-key variables to form a contemporary theoretical model of management that may be applied for the benefit of public and private organizations. Keywords: Management, Business Administration, Public Administration
Corresponding Author E-mail: Suthineeatt@hotmail.com
216
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
บทน�ำ
บทความนี้ น�ำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการ จัดการจากนักวิชาการชั้นน�ำในศตวรรษที่ 20 และ การเชือ่ มโยงสูย่ คุ ปัจจุบนั โดยการบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อสร้างเป็นตัวแบบทางทฤษฎี ซึ่งแบ่งการน�ำเสนอ เรื่องออกเป็น 8 หัวข้อ ได้แก่ (1) ผลงานการศึกษา การจัดการของ Barnard (1938) (2) การมอบภารกิจและ ความรับผิดชอบให้กบั ผูป้ ฏิบตั งิ าน: ผลงานของ Follett (1941) (3) ระบบและกระบวนการในการจัดการ: ผลงาน ของ Fayol (1949) (4) มนุษยสัมพันธ์: ผลงานของ Carnegie (1937) (5) ความส�ำคัญของผู้รับบริการหรือ ลูกค้า การตลาด โครงสร้างองค์การ และบทบาทของ การจัดการ: ผลงานของ Drucker (1954) (6) การวิพากษ์ และสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านการจัดการ (7) ตัวแบบ เชิงทฤษฎีของการจัดการองค์การ และ (8) สรุป
1. ผลงานการศึกษาการจัดการของ Barnard (1938)
การศึกษาเรื่องการจัดการมีที่มาอย่างส�ำคัญ จาก นักบริหารและนักวิชาการชาวอเมริกัน Chester I. Barnard (1886-1961) ในหนังสือเรือ่ ง The Functions of the Executive (1938) Barnard ได้รบั การยกย่องว่าเป็นนักทฤษฎีทางการ จัดการ และยังเป็นผูท้ ปี่ ระสบความส�ำเร็จในฐานะทีเ่ ป็น ผูบ้ ริหารอีกด้วย โดย Barnard ได้เป็นประธานของบริษทั New Jersey Bell เป็นเวลาถึง 25 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1927-1952 ส�ำหรับ Barnard การจัดการในฐานะหน้าที่ของ นักบริหาร คือ การท�ำให้คนร่วมมือ หรือการสร้างให้เกิด ระบบของความร่วมมือ ซึง่ สามารถท�ำได้โดยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1.1 วั ต ถุ ป ระสงค์ แ ละเป้ า หมายขององค์ ก าร ในการบริหารองค์การ การมีวตั ถุประสงค์และเป้าหมาย ที่ชัดเจน ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ส�ำคัญในองค์การภาค ธุรกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การคือ ก�ำไร ความซื่อสัตย์
ต่อลูกค้า และความรับผิดชอบต่อสังคม เป้าหมายของ ธุรกิจคือ ก�ำไร และการเจริญเติบโตของธุรกิจส�ำหรับ องค์การภาครัฐ วัตถุประสงค์คือ ประโยชน์สาธารณะ การให้บริการประชาชน และการสนองตอบต่อกลุ่มที่ หลากหลายในสังคมเพื่อสร้างความเป็นธรรม และเพื่อ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในภาพรวม วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ ภาครั ฐ และองค์ ก ารภาคเอกชนมี ค วามแตกต่ า งกั น โดยพืน้ ฐาน และมีการให้ลำ� ดับความส�ำคัญแก่ลกู ค้าและ ผู้รับบริการที่แตกต่างกัน การท�ำให้เกิดความร่วมมือ ในฐานะเป็นหัวใจของการจัดการ จึงต้องเริ่มต้นด้วย การท�ำให้ผเู้ กีย่ วข้องทัง้ หลาย ทัง้ สมาชิกในองค์การ และ สภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งได้แก่ ผู้รับบริการและ สาธารณะมีความเข้าใจว่าแต่ละองค์การมีวัตถุประสงค์ และเป้าหมายอย่างไร แต่ทงั้ นีห้ ลักส�ำคัญก็คอื วัตถุประสงค์ และเป้าหมายเหล่านัน้ จะต้องชัดเจนและอยูใ่ นขอบเขต ของกฎหมาย อีกทัง้ ในทางปฏิบตั กิ ารก�ำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายทีด่ จี ะต้องไม่สงู เกินไป และต้องไม่ตำ�่ เกินไป จะต้องน�ำผลการปฏิบตั ใิ นรอบปีทผี่ า่ นมา มาก�ำหนดเป็น ฐานในการเพิม่ เป้าหมาย ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้เป้าหมายทีก่ ำ� หนด นั้นเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย วัดได้ และปฏิบัติได้จริง 1.2 การสือ่ สาร ในการสร้างระบบของความร่วมมือ ในฐานะทีเ่ ป็นหัวใจของการจัดการ การสือ่ สารถือว่าเป็น ปัจจัยส�ำคัญทีอ่ ธิบายถึงโอกาสทีจ่ ะท�ำให้เกิดการร่วมมือ ของสมาชิกในองค์การ และสภาพแวดล้อมภายนอก ลักษณะของการสือ่ สารจึงต้องเป็นการสือ่ สารในระบบเปิด มากกว่าการสื่อสารในระบบปิด การจัดการองค์การที่ ล้มเหลวมีรากฐานมาจากการสือ่ สารในระบบปิด และเป็น การสือ่ สารทางเดียวตามชัน้ บังคับบัญชา เป็นการบริหาร แบบสั่งการและควบคุม (Command and Control approach) ที่ถือว่าผู้ปฏิบัติหรือผู้รับบริการแต่ละคน ไม่มีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดและเป็น การบริหารที่มีความผิดพลาด การสื่อสารในการจัดการองค์การสมัยใหม่ เป็น ลักษณะของสังคมระบบเปิด และเป็นสังคมอิเล็กทรอนิกส์
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ซึ่งมีการเผยแพร่ไปยังประชาชน ผู้ปฏิบัติงาน และ สาธารณชน ตลอดจนประชาคมโลก พร้อมกันในเวลา เดียวกัน และสามารถดึงย้อนกลับเพือ่ น�ำมาใช้ได้ตลอดเวลา การสือ่ สารในโลกยุคใหม่จงึ เป็นมากกว่าการกล่อมเกลา ทางสังคม (Socialization) การสื่อสารเพื่อท�ำให้คน ร่วมมือจึงจ�ำเป็นต้องมียุทธวิธีและมีเหตุมีผล ตลอดจน มีความสามารถในการจูงใจ และสามารถท�ำให้ผเู้ กีย่ วข้อง ให้ความร่วมมือ ยุทธวิธีของการสื่อสารที่ท�ำในภาครัฐภายใต้ระบบ การเมืองได้ใช้วธิ กี ารของการสือ่ ซ�ำ้ ซาก หรือสือ่ เป็นประจ�ำ เพื่อเป็นการอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง และสร้าง วัฒนธรรมแบบตอกย�้ำซ�้ำซาก เพื่อให้เกิดการยอมรับ และความร่วมมือในระบบการเมือง การสื่ อ สารในองค์ ก ารภาคธุ ร กิ จ ก็ มี ลั ก ษณะ เช่นเดียวกัน สินค้าทีจ่ ะท�ำให้ประชาชนเกิดความร่วมมือ ซื้อหรือใช้เป็นประจ�ำทุกวันและตลอด จ�ำเป็นจะต้องมี การโฆษณาให้ตดิ ตลาด การลงทุนในการโฆษณาจึงต้อง ลงทุนอย่างมหาศาล เพื่อให้ลูกค้าและสาธารณชนเกิด ความรู้จัก เข้าใจ และเห็นประโยชน์ของสินค้า การเป็นสินค้าที่มียี่ห้อหรือแบรนด์ (Brand) และมี คุณค่าจึงมาจากปัจจัยแห่งความส�ำเร็จของการสื่อสาร แต่การสือ่ สารในการจัดการองค์การไม่ใช่เป็นเพียงโฆษณา ชวนเชื่ อ เท่ า นั้ น แต่ ก ารเกิ ด แบรนด์ ข องสิ น ค้ า หนึ่ ง ๆ หมายถึงองค์การธุรกิจซึ่งเป็นเจ้าของสินค้านั้นๆ ได้ให้ สัญญากับผูบ้ ริโภคและผูร้ บั บริการว่าสินค้านัน้ จะมีคณ ุ ค่า อะไรบ้าง และผู้ให้บริการ คือองค์การธุรกิจนั้นสามารถ ปฏิบตั ติ ามสัญญาได้อย่างต่อเนือ่ ง จนเกิดความน่าเชือ่ ถือ ขึ้นมา ดังนั้น การสื่อสารเพื่อการจัดการจึงหมายถึงการ กระท�ำให้เกิดขึ้นจริงด้วย หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การสื่อสารเพื่อให้คนเกิดความร่วมมือเป็นการท�ำให้ การพูด การให้สญ ั ญา และการกระท�ำ สามารถเกิดขึน้ ได้ อย่างแท้จริง ด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส และรับผิดชอบ 1.3 สิ่งจูงใจ สามารถจ�ำแนกได้เป็น (1) สิ่งจูงใจ ทีม่ องเห็น และ (2) สิง่ จูงใจทีม่ องไม่เห็น ส�ำหรับสิง่ จูงใจ ที่มองเห็น ได้แก่ เงินเดือน โบนัส ในการจัดการส�ำหรับ
217
ผูป้ ฏิบตั งิ านบางคน ผูบ้ ริหารสามารถใช้สงิ่ จูงใจทีม่ องเห็น เป็นเครื่องมือในการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานยินยอมท�ำตาม และให้ความร่วมมือ ทั้งนี้ หากประโยชน์ที่ผู้ปฏิบัติงาน เห็นว่าจะได้รับมีมากพอ ความร่วมมือก็จะยิ่งมีสูงขึ้น ในบางกรณี องค์การไม่สามารถจัดสิง่ จูงใจทีม่ องเห็น ให้แก่ทุกคนได้ แต่ผู้บริหารก็สามารถใช้สิ่งจูงใจที่มอง ไม่เห็นทดแทน เช่น โอกาสความก้าวหน้าในงาน โอกาส ในการได้รบั การเลือ่ นต�ำแหน่งทีส่ งู ขึน้ โอกาสในการได้รบั การแต่งตั้งไปอยู่ในพื้นที่ที่มีความเจริญ สิ่งจูงใจที่มอง ไม่เห็นในลักษณะนี้ ผู้บริหารก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือ ให้ผู้ปฏิบัติงานยินยอมท�ำตามและให้ความร่วมมือได้ ในบางกรณีอาจจะมีผปู้ ฏิบตั งิ านบางคนไม่ให้ความ ร่วมมือ หรือเกิดการต่อต้าน ผูบ้ ริหารก็อาจจะใช้สงิ่ จูงใจ ทางลบ เช่น การลงโทษตามอ�ำนาจที่ผู้บริหารมีอยู่ การว่ากล่าวตักเตือน การไม่เลื่อนขั้นเงินเดือน การลด เงินเดือน การให้ออกหรือการปลดออก หรือแม้กระทั่ง การตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง และกรรมการสอบ ทางวินัย เป็นเครื่องมือเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานคนอื่นๆ เห็น เป็นตัวอย่างว่าถ้าหากไม่ให้ความร่วมมือก็อาจจะได้รับ การลงโทษ ส่งผลให้เกิดความไม่ก้าวหน้าในการท�ำงาน และเสียอนาคต ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารก็อาจจะใช้ การลงโทษกระท�ำแก่บคุ คลหนึง่ บุคคลใด เพือ่ เป็นโอกาส ให้บคุ คลเหล่านัน้ เกิดความหลาบจ�ำ ยึดถือเป็นบทเรียน และปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น และให้ความร่วมมือในการ ปฏิบัติงานในองค์การต่อไป ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์และเป้าหมาย การสื่อสาร และสิ่งจูงใจ ในภาพรวม ปัจจัยทางด้านวัตถุประสงค์เป้าหมาย การสือ่ สาร และสิง่ จูงใจ ต่างก็มคี วามสัมพันธ์ซงึ่ กันและกัน และส่งผลต่อความส�ำเร็จของการบริหาร คือการให้ความ ร่วมมือ ในรายละเอียดอาจกล่าวได้วา่ หากวัตถุประสงค์ และเป้าหมายเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ถึงแม้จะมีการสื่อสาร อย่างไร ความร่วมมือของผูป้ ฏิบตั งิ านก็อาจจะไม่เกิดขึน้ แต่ถ้าหากเกิดความร่วมมือขึ้น ความร่วมมือในลักษณะ ดังกล่าวก็จะกลายเป็นการสมรู้ร่วมคิดระหว่างผู้บริหาร
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
218
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
องค์การกับผูป้ ฏิบตั งิ านหรือผูร้ ว่ มงานในการท�ำสิง่ ทีข่ ดั ต่อ กฎหมาย ขัดต่อประโยชน์ส่วนรวม ขัดต่อวัตถุประสงค์ ขององค์การ และหรือขัดต่อประโยชน์สาธารณะ เช่น การทุจริตประพฤติมิชอบ เป็นต้น ในอีกลักษณะหนึง่ แม้จะมีวตั ถุประสงค์และเป้าหมาย ขององค์การที่ชัดเจน แต่หากขาดการสื่อสารที่เป็น รูปธรรมไปยังกลุม่ เป้าหมายอย่างต่อเนือ่ ง ความร่วมมือ ของผู้ปฏิบัติงานก็ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ การสื่อสารจึง จ�ำเป็นต้องสือ่ ให้ผปู้ ฏิบตั งิ านได้รบั ทราบถึงผลประโยชน์ ที่จะได้รับเสียตั้งแต่เริ่มต้นด้วย การสื่อสารในองค์การ ภาครัฐและภาคเอกชนจึงมีลักษณะเปรียบเทียบได้กับ สัญญาประชาคม ที่ผู้ให้สัญญาและผู้รับสัญญาจะต้อง เชื่อมั่น ยึดถือ และปฏิบัติตาม ในองค์การใดก็ตามที่ การสื่อสารและการให้สัญญาไม่สามารถท�ำได้ หรือไม่ สามารถรักษาสัญญาได้ ความร่วมมือซึ่งเกิดขึ้นในครั้ง แรกๆ ก็จะเปลีย่ นเป็นความไม่รว่ มมือ และจะกลับกลาย เป็นการไม่ยอมรับ และความไม่เชื่อถือของผู้ปฏิบัติงาน ทีม่ ตี อ่ ผูบ้ ริหาร ซึง่ จะมีผลท�ำให้เกิดการท�ำลายภาวะผูน้ ำ� ของผู้บริหาร ท�ำให้ผู้บริหารไม่สามารถน�ำได้ ความเป็น ผูน้ ำ� ก็จะลดหายไป เมือ่ ถึงจุดนีอ้ งค์การจ�ำเป็นต้องมีการ ปรับเปลี่ยนและน�ำผู้บริหารหน้าใหม่เข้ามา เพื่อให้เกิด การยืนยันในวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์การใหม่ ยืนยันในรูปแบบของการสื่อสาร และการให้สิ่งจูงใจ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการระดมพลังให้เกิดความร่วมมือ ในองค์การในภาพรวม
2. การมอบภารกิจและความรับผิดชอบให้กบั ผู้ปฏิบัติงาน: ผลงานของ Follett (1941)
ปั จ จั ย ที่ เ กี่ ย วกั บ ความส� ำ เร็ จ ของการจั ด การ นอกเหนือจากผลงานของ Barnard แล้ว ยังมีผลงาน ของนักวิชาการและนักสังคมสงเคราะห์ชาวอเมริกัน Mary Parker Follett (1868-1933) ผูซ้ งึ่ ให้ความส�ำคัญ กับการมอบภารกิจและความรับผิดชอบให้กบั ผูป้ ฏิบตั งิ าน (Empowerment) เพื่อเป็นพลังส�ำคัญในการท�ำให้งาน ขององค์การประสบความส�ำเร็จ
หากเปรียบเทียบกับงานของ Taylor (1911) ในเรือ่ ง การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ทใี่ ห้ความส�ำคัญกับเครือ่ งจักร มากกว่าคนแล้ว งานของ Follett (1941) ให้ความส�ำคัญ กับคนมากกว่าเครื่องจักร หลักการจัดการให้ประสบ ความส�ำเร็จจะต้องมีความเข้าใจในเรื่องมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation) และการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม กับการพัฒนาองค์การควบคู่กันไปด้วย ผลงานของ Follett ได้รบั การตอบรับเป็นอย่างมาก ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเน้นการให้ความส�ำคัญกับปัจจัย ด้านตัวบุคคลมากกว่าเทคนิคทางการบริหาร องค์การมี กระบวนการทางสังคม และมีปจั จัยมนุษย์เข้ามาเกีย่ วข้อง ความส�ำเร็จของการจัดการ จึงขึ้นอยู่กับความสามารถ ในการมอบความรับผิดชอบให้กบั ผูป้ ฏิบตั งิ านในองค์การ ให้มากขึ้น ในทางกลับกันความล้มเหลวขององค์การ จึงมักมาจากปัญหาของบุคคลในองค์การ ทัง้ ในเชิงจิตวิทยา ปัญหาทางจริยธรรม และปัญหาทางอารมณ์ของแต่ละ บุคคล ซึง่ ขยายวงกว้างและสะสมจนกลายเป็นอุปสรรค ต่อความก้าวหน้าขององค์การ การศึกษาของ Follett จึงมองลึกลงไปถึงความ ขัดแย้งในองค์การ ซึ่งจะต้องมีการจัดการความขัดแย้ง ความขัดแย้งเป็นชีวติ ประจ�ำวันและมีแนวทางจัดการได้ หลายแบบ เช่น การเผชิญหน้า การใช้อ�ำนาจเข้าตัดสิน การประสานประโยชน์ หรือการผสมผสานความต้องการ ของแต่ละฝ่ายเข้าด้วยกัน ส�ำหรับ Follett ความส�ำเร็จ ของการจัดการขึน้ อยูก่ บั การประสานประโยชน์ และการ ผสมผสานความต้องการของบุคคลในองค์การทีแ่ ตกต่างกัน ให้กลายเป็นวัตถุประสงค์ร่วมกัน การบริหารจึงไม่ใช่ การเลือกทีจ่ ะท�ำอย่างหนึง่ หรือปฏิเสธอย่างหนึง่ แต่เป็น การน�ำสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกัน ให้เข้ามาเชื่อมกัน และปรับ ทิศทางให้ไปสูจ่ ดุ มุง่ หมายเดียวกัน การด�ำเนินการดังกล่าว จึงต้องการทั้งความรู้และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งของ ผูบ้ ริหาร และการจะท�ำเช่นนัน้ ได้ ผูบ้ ริหารจะต้องมีการ อุทศิ ตนให้กบั องค์การมีความผูกพัน และความรับผิดชอบ ในองค์การของตนเองอย่างเต็มที่
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
3. ระบบและกระบวนการในการจั ด การ: ผลงานของ Fayol (1949)
ความส�ำเร็จของการจัดการ นอกเหนือจากปัจจัย ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ปัจจัยทางด้านการออกแบบระบบ ของการจัดการ ยังถูกค้นพบว่า เป็นปัจจัยทีอ่ ธิบายความ ส�ำเร็จของการจัดการได้อีกส่วนหนึ่ง ข้อค้นพบข้างต้น เป็นผลงานของนักวิชาการชาวฝรั่งเศส Henri Fayol (1841-1925) ในหนังสือเรือ่ ง General and Industrial Management (1949) Fayol ได้น�ำเสนอแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจ แนวใหม่ ซึ่งเป็นการวางระบบของการจัดการออกเป็น 6 หน้าที่ คือ กิจกรรมด้านวิชาการ ด้านธุรกิจ ด้านการเงิน ด้านความมั่นคง ด้านบัญชี และด้านการจัดการ ในการจัดการ หัวใจส�ำคัญคือ หน้าทีด่ า้ นการจัดการ ซึ่งจะต้องเริ่มโดย 1) การพยากรณ์ 2) การวางแผน 3) การจัดองค์การ 4) การบังคับบัญชา 5) การประสาน งาน และ 6) การควบคุมในรายละเอียด หน้าที่ด้าน การจัดการทั้ง 6 ข้อนี้ สามารถสร้างเป็นหลักการทั่วไป ของการจัดการได้รวมเป็น 14 ข้อ คือ (1) การแบ่งงาน กันท�ำ (2) การก�ำหนดอ�ำนาจหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบ (3) การวางระเบียบและวินยั ในการปฏิบตั งิ าน (4) การมี เอกภาพในการสั่งการ (5) การมีเอกภาพในทิศทาง การท�ำงาน (6) การประสานผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคล ให้เข้ากับผลประโยชน์ส่วนรวมขององค์การ (7) การให้ ค่าตอบแทนพนักงาน (8) การรวมอ�ำนาจในการสั่งการ (9) การก�ำหนดสายการบังคับบัญชา (10) การออกค�ำสัง่ (11) ความเป็นธรรม (12) ความมัน่ คงในการท�ำงานของ พนักงาน (13) ความคิดริเริ่ม และ (14) ความสามัคคี ในหมู่คณะ แนวทางนี้ได้ใช้เป็นบรรทัดฐานในการจัดการมา ตลอดศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในการวางระบบ บริหาร สิ่งที่มีความจ�ำเป็นคือ จะต้องมีการวางแผน การมองไปข้างหน้าอย่างมีวสิ ยั ทัศน์ การคาดการณ์ความ เปลีย่ นแปลงทีจ่ ะเกิดขึน้ ในรอบ 10 ปี และการปรับปรุง ทุกๆ 5 ปี
219
ในภาพรวมผลงานของ Fayol ชี้ให้เห็นว่า ความ ส�ำเร็จของการจัดการยังขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยที่ส�ำคัญ ปัจจัยแรกคือ การวิเคราะห์กระบวนการของการจัดการ อย่างเป็นระบบ ปัจจัยที่สองคือ หลักของการบริหาร จัดการ ซึง่ แตกต่างไปจากงานของ Taylor (1911) ซึง่ เน้น แต่เพียงการควบคุม และมอบอ�ำนาจให้กับผู้จัดการ อย่างจ�ำกัด ขณะที่การปรับระบบบริหารของ Fayol และการแบ่งบทบาทในการจัดการไปยังบุคคลและส่วน ต่างๆ ขององค์การ จึงมีความส�ำคัญอย่างมากต่อความ ส�ำเร็จขององค์การ
4. มนุษยสัมพันธ์: ผลงานของ Carnegie (1937)
การสร้ า งมิ ต รและสร้ า งความสั ม พั น ธ์ กั บ ผู ้ อื่ น มนุษยสัมพันธ์เป็นอีกปัจจัยหนึง่ ทีถ่ กู ค้นพบว่า มีอทิ ธิพล ต่อความส�ำเร็จของการจัดการ ผลงานของนักวิชาการ ชาวอเมริกัน Dale Carnegie (1988-1955) ในหนังสือ เรือ่ ง How to Win Friends and Influence People (1937) ชี้ให้เห็นว่า ยิ่งเราให้เกียรติและมีความใส่ใจต่อ ผูอ้ นื่ มากเท่าไหร่ เกียรติและความใส่ใจก็จะกลับมาสูผ่ นู้ นั้ ในฐานะผูบ้ ริหารบริษทั ระดับชาติ ซึง่ เริม่ มาจากการเป็น พนักงานขายรถยนต์ Carnegie ชีใ้ ห้เห็นว่า การสร้างมิตร และการมีอทิ ธิพลต่อผูอ้ นื่ สามารถท�ำได้ภายใต้หลักพืน้ ฐาน ในการจัดการ เช่น (1) อย่าวิพากษ์วิจารณ์ ต�ำหนิ หรือ บ่นผูอ้ นื่ (2) ให้ความซือ่ สัตย์และความชืน่ ชมอย่างจริงใจ (3) กระตุ้นให้ผู้อื่นมีความสนใจต่อสิ่งที่เขาต้องการ (4) ยิม้ แย้มแสดงความมีอธั ยาศัย (5) จงให้ความสนใจต่อ ผูอ้ นื่ อย่างจริงจัง (6) จงให้ความส�ำคัญกับชือ่ ของบุคคลอืน่ ในฐานะที่เป็นกุญแจไปสู่ความเชื่อมโยง (7) จงเป็นผู้ฟัง ทีด่ ี (8) จงกระตุน้ ให้ผอู้ นื่ ได้พดู เกีย่ วกับตัวเขาเอง (9) พูด ในสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ของผู้อื่น และ (10) จงท�ำให้ ผูอ้ นื่ เห็นว่าตัวเองมีความส�ำคัญ และท�ำด้วยความจริงใจ ในภาพรวมผลงานของ Carnegie ได้ถูกยืนยันว่า เป็นปัจจัยส�ำคัญทีท่ ำ� ให้เกิดความส�ำเร็จในการบริหารได้ เพราะคนเป็นสิ่งส�ำคัญในโลกของธุรกิจ ความจ�ำเป็น
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
220
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ที่จะต้องจัดการและสัมพันธ์กับคน ถือได้ว่าเป็นหัวใจ ของความส�ำเร็จ งานวิจยั ของ Peters and Waterman ในหนังสือเรื่อง In Search of Excellence (1982) ในส่วนที่เกี่ยวกับการให้บริการลูกค้าได้ยืนยันปัจจัย ความส�ำเร็จตามที่ Carnegie ได้นำ� เสนอ
5. ความส�ำคัญของผู้รับบริการหรือลูกค้า การตลาด โครงสร้างองค์การ และบทบาท ของการจัดการ: ผลงานของ Drucker (1954)
นอกเหนือจากความส�ำเร็จของการจัดการทีข่ นึ้ อยูก่ บั ปัจจัยต่างๆ ตามทีไ่ ด้ระบุขา้ งต้นแล้ว ผลงานของ Peter F. Drucker (1909-2005) ชาวออสเตรียน-อเมริกัน ศาสตราจารย์ทางการจัดการแห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค ได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ซึ่งได้แก่ ความส�ำคัญของผูร้ บั บริการหรือลูกค้า การตลาด โครงสร้าง องค์การ และบทบาทของการจัดการ (Drucker, 1954) ส�ำหรับ Drucker หัวใจของการจัดการในองค์การ ธุรกิจ คือ “ลูกค้าและผู้รับบริการ” ความอยู่รอดและ ความเจริญเติบโตขององค์การขึ้นอยู่กับการที่ลูกค้า หรือผู้รับบริการให้ความไว้วางใจ เพราะในท่ามกลาง การแข่งขัน ผู้รับบริการสามารถเปลี่ยนไปใช้บริการกับ องค์การธุรกิจอื่นได้ตลอดเวลา การเอาใจใส่และสร้าง ความจงรักภักดีให้กบั ลูกค้า จึงเป็นปัจจัยแห่งความส�ำเร็จ ที่ยั่งยืนขององค์การ และการเชื่อมโยงความส�ำเร็จของ องค์การกับลูกค้าจึงอยู่ที่ “การตลาด” การตลาดที่ดีจะ ท�ำให้สามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้ “โครงสร้างขององค์การ” ก็เช่นกัน ถือได้ว่ามีผล ต่อการปฏิบัติงานและนวัตกรรมขององค์การ และการ เอาชนะคูแ่ ข่งขันโดยตรง ในการจัดการธุรกิจทีเ่ ป็นโรงงาน การผลิตอาจมีความจ�ำเป็นที่ต้องใช้โครงสร้างของการ ควบคุม แต่ในองค์การธุรกิจประเภทอื่นๆ ความส�ำเร็จ ขึ้นอยู่กับพนักงาน ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ของฝ่ายต่างๆ ในองค์การ องค์การจึงควรเป็นองค์การ แห่งการเรียนรู้ เป็นองค์การทีเ่ น้นการปฏิสมั พันธ์แนวราบ มิใช่เป็นองค์การแห่งการควบคุม
ในปัจจัยสุดท้ายคือ “บทบาทของการจัดการ” Drucker เห็นว่าการจัดการนั้นมีความเป็นศิลปะในตัว ของมันเอง หน้าที่หลักของผู้บริหารที่มีความส� ำคัญ ต่อความส�ำเร็จของการจัดการ ได้แก่ (1) การก�ำหนด วัตถุประสงค์ (2) การจัดองค์การ (3) การจูงใจและการ สือ่ สาร (4) การวัดและประเมินผล และ (5) การพัฒนาคน ซึ่งในบทบาทของการจัดการทั้ง 5 ข้อนี้ นักบริหาร แต่ละคนจะมีความสามารถไม่เหมือนกัน ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั พื้นฐานทางการศึกษาของแต่ละบุคคล ซึ่งจะเป็นปัจจัย ส�ำคัญที่จะท�ำให้เกิดการมองวิสัยทัศน์และการมีความ รับผิดชอบทางศีลธรรมที่แตกต่างไป ปัจจัยทั้งหมดนี้ โดยรวมจึงสามารถเป็นเครื่องก�ำหนดความส�ำเร็จของ การจัดการได้
6. การวิพากษ์และสังเคราะห์องค์ความรูด้ า้ น การจัดการ
จากการที่ได้น�ำเสนอมาทั้งหมดข้างต้น ผู้เขียน พบว่า งานของ Barnard (1938) ได้จ�ำกัดปัจจัยด้าน พลังของการจูงใจอยู่แต่เพียงสิ่งจูงใจที่จับต้องได้ เช่น เงินเดือน โบนัส เป็นต้น และสิง่ จูงใจทีจ่ บั ต้องไม่ได้ เช่น ความก้าวหน้า และการจูงใจเชิงลบ เช่น การลงโทษ เป็นต้น เท่านั้น สิ่งจูงใจลักษณะนี้อาจจะไม่เพียงพอต่อการท� ำให้ เกิดความร่วมมือกับสมาชิกในองค์การและสภาพแวดล้อม ได้ตลอดไป (ติน ปรัชญพฤทธิ,์ 2527; พิทยา บวรวัฒนา, 2541; ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์, 2552) เพราะใน สถานการณ์ของการแข่งขัน การให้เงินเดือนและโบนัส ย่อมมีขดี จ�ำกัด ไม่สามารถให้เป็นจ�ำนวนมากตลอดไปได้ การให้ความก้าวหน้ากับบุคคลก็อาจจะไม่สามารถท�ำได้ กับทุกคน เพราะต�ำแหน่งมีจ�ำนวนจ�ำกัด การลงโทษ อาจท�ำได้กบั เพียงบางคน แต่เมือ่ คนไม่รว่ มมือจ�ำนวนมาก ผูบ้ ริหารก็จะไม่สามารถขจัดผูท้ ตี่ อ่ ต้านหรือผูท้ ไี่ ม่รว่ มมือ ให้ออกไปได้ทั้งหมด การบริหารจัดการที่ล้มเหลว คือ การไม่สามารถท�ำให้คนให้ความร่วมมือได้ เมื่อใดที่ ผู้บริหารไม่สามารถท�ำให้คนร่วมมือได้ เมื่อนั้นผู้บริหาร
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ชุดใหม่กค็ วรทีจ่ ะเข้ามาแทนที่ ดังเช่น การบริหารราชการ ในประเทศ เมือ่ หัวหน้ารัฐบาลฝ่ายบริหารเผชิญกับความ ไม่รว่ มมือ มีการต่อต้านของผูค้ นจ�ำนวนมากในประเทศ ผู้บริหารก็จ�ำเป็นต้องยุบสภา เพื่อเปิดโอกาสให้มีการ เลือกตั้ง และสรรหาผู้น�ำคนใหม่เข้ามาบริหาร ผู้เขียนเสนอว่า สิ่งจูงใจที่ควรจะเพิ่มขึ้นควรเป็น สิง่ จูงใจในลักษณะทีเ่ ป็นปทัสถาน (Normative Incentives) ได้แก่ อุดมการณ์ (Carlisle & Manning, 1994: 683-703) ศรัทธา (Solomon & Fernando, 2001; Reina & Reina, 2006) ความจงรักภักดี (Hirschman, 1970; Durkin, 2010) จริยธรรม (Bauman, 1993; Sandel, 2010) ตลอดจนจรรยาวิชาชีพ (Maister, 1997; Martin, 2011) อุดมการณ์ หรืออุดมคติอันสูงส่งที่จูงใจบุคคลให้ พยายามบรรลุถึง ถูกค้นพบว่าเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้ ปัจเจกบุคคลในองค์การเกิดความร่วมมือ เป็นปัจจัยที่มี ความส�ำคัญเหนือกว่าสิ่งตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ถือเป็น พลังจูงใจภายในทีท่ ำ� ให้บคุ คลปฏิบตั ติ ามนโยบายเพือ่ ให้ บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ศรัทธา คือ พลังแห่งความเชือ่ มัน่ ทีบ่ คุ คลมีตอ่ ผูน้ ำ� ในองค์การและตัวองค์การ การมีศรัทธาเป็นปัจจัยที่มี ความส� ำ คั ญ ที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด ความส� ำ เร็ จ ในการบริ ห าร โดยเฉพาะบุคคลทีไ่ ม่ได้เป็นสมาชิกขององค์การโดยตรง ความจงรักภักดี คือ ความผูกใจรักและความซือ่ สัตย์ ปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อความร่วมมือในการบริหาร ถึงแม้วา่ บุคคล ในองค์การอาจจะไม่ได้รบั การสนองตอบในด้านสิง่ จูงใจ อย่างเพียงพอ แต่จากการประเมินว่าสมควรที่จะอยู่กับ องค์การหรือจะไปจากองค์การ ขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้น จะมี ค วามจงรั ก ภั ก ดี ต ่ อ องค์ ก ารมากน้ อ ยเพี ย งใด (Hirschman, 1970) จริยธรรม คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ เป็น ปัจจัยภายนอกที่องค์การหรือสังคมออกแบบขึ้นเพื่อ
221
ก�ำหนดพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ เพือ่ ให้ปฏิบตั ติ าม วัตถุประสงค์ขององค์การ องค์การทีป่ ระสบความส�ำเร็จ ในการบริหารจึงจ�ำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมให้เกิดกับ บุคคลในองค์การ ให้ยดึ มัน่ ปฏิบตั ใิ นทางทีถ่ กู ต้องในแนว เดียวกัน ซึ่งต่างกับศีลธรรม (Morality) ที่เป็นสภาพ บังคับภายในจิตใจของแต่ละบุคคลในการปฏิบัติตามสิ่ง ที่ถูกต้อง จรรยาวิชาชีพ เป็นกรอบกติกา หรือประมวลความ ประพฤติที่องค์การก�ำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวปฏิบัติของ บุคคลในแต่ละวิชาชีพ เช่น แพทย์ วิศวกร ทนายความ และพยาบาล เป็นต้น ลักษณะของสิ่งจูงใจที่ได้อธิบายโดยสังเขปข้างต้น เหล่านี้ จะช่วยท�ำให้เกิดการควบคุมทั้งภายนอกและ ภายในต่อสมาชิกขององค์การ การร่วมมือจึงมาจาก ความศรัทธา การมีเจตนารมณ์รว่ ม การมีแบบแผนทีไ่ ด้รบั การอบรมกล่อมเกลามา เป็นการควบคุมจากภายใน การสร้างสิง่ จูงใจลักษณะนีจ้ งึ จะสามารถสร้างความส�ำเร็จ ขององค์การในระยะยาวได้ ดังเช่น องค์การศาสนา มีผทู้ ี่ ศรัทธาร่วมมือมาเป็นเวลานับพันปี ถ่ายทอดความศรัทธา และความจงรักภักดีจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน อนึ่ง ความส�ำเร็จของการบริหารซึ่งวัดจากความ ร่วมมือของบุคคลที่เกี่ยวข้องในองค์การนั้น ผู้เขียนยัง เห็นว่า ยังเป็นผลเบื้องต้นขององค์การ ความส�ำเร็จ ของการจัดการยังต้องพิจารณาถึงผลในล�ำดับถัดมา ส�ำหรับองค์การธุรกิจ ได้แก่ ผลการปฏิบัติงานของ องค์การ ซึง่ พิจารณาได้จากก�ำไร ขาดทุน ประสิทธิภาพ ความซือ่ สัตย์ตอ่ ลูกค้า/ผูร้ บั บริการ และความรับผิดชอบ ต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ส�ำหรับ องค์การภาครัฐ ผลการปฏิบัติงานขององค์การสามารถ พิจารณาได้จากประโยชน์สาธารณะ ประสิทธิผล คุณภาพ ชีวิต ความสุข และความปลอดภัยของประชาชน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
222
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ความส�ำเร็จของ การจัดการ
วัตถุประสงค์ขององค์การภาครัฐ - ประโยชน์สาธารณะ - ประสิทธิผล - คุณภาพชีวิต ความสุข และความ ปลอดภัยของประชาชน ความร่วมมือ วัตถุประสงค์ขององค์การภาคเอกชน - ก�ำไร ขาดทุน - ประสิทธิภาพ - ความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า/ผู้รับบริการ - ความรับผิดชอบต่อสังคม
ภาพที่ 1 ความส�ำเร็จของการจัดการที่วัดจากความร่วมมือ และการน�ำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของ องค์การภาครัฐและองค์การภาคเอกชน หากจะวิจารณ์ผลงานของนักวิชาการแต่ละท่าน จะเห็นได้ว่า Follett (1941) ได้วางสมมติฐานหลัก ของความส�ำเร็จในการจัดการว่าขึน้ อยูก่ บั ความสามารถ ของผู้ปฏิบัติงานในการปฏิบัติงานตามภารกิจและความ รับผิดชอบที่ได้มอบหมายเป็นปัจจัยหลัก และความ สามารถของผู้บริหารในการบูรณาการความขัดแย้งเป็น ปัจจัยรอง โดยไม่ได้พิจารณาถึงปัจจัยอื่นๆ มาประกอบ ซึง่ ผูเ้ ขียนเห็นว่า งานของ Follett มีนำ�้ หนักในการอธิบาย ความจริงหรือปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อความส�ำเร็จในการบริหาร ได้บางส่วน แต่ไม่มีผลงานวิจัยเชิงประจักษ์มายืนยัน เพียงแต่มาจากประสบการณ์ในการปฏิบตั งิ านอันยาวนาน ของ Follett ที่เรียนรู้ว่า การใช้อ�ำนาจในการบริหาร ขององค์การเหนือผูอ้ นื่ (Power over) ไม่สามารถส่งผล ต่อความส�ำเร็จของการจัดการได้เท่ากับการปล่อยให้ อ�ำนาจในการบริหารอยู่ในมือและความรับผิดชอบของ ผู้ปฏิบัติงานเอง (Power with) ส่วนงานของ Carnegie (1937) ก็เช่นเดียวกับ Fayol (1949) ได้ให้สมมติฐานหลักว่า ความสามารถ ในการใช้มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารจะส่งผลอย่างมาก
ต่อความส�ำเร็จของการจัดการองค์การ Carnegie เชือ่ ว่า จากประสบการณ์ในการท�ำงานอันยาวนานเช่นเดียวกับ Follett (1941) ปัจจัยนีจ้ ะเป็นปัจจัยชีข้ าดต่อความส�ำเร็จ ของการจัดการเหนือปัจจัยอื่นๆ ในส่วนของ Drucker (1954) จะเห็นได้วา่ ให้ความ สัมพันธ์ผสมกันระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก องค์ ก าร และปั จ จั ย สภาพแวดล้ อ มภายในองค์ ก าร กล่าวคือ ความสามารถทางการตลาดและความสามารถ ในการให้บริการลูกค้า เป็นปัจจัยภายนอกองค์การที่ สัมพันธ์ควบคู่กับโครงสร้างขององค์การ จึงจะเห็นได้ว่า น�ำ้ หนักในการให้ความส�ำคัญมีความแตกต่างจาก Follett (1941) และ Carnegie (1937) แต่มีความใกล้เคียงกับ Fayol (1949) ที่เน้นปัจจัยภายในองค์การ ซึ่งได้แก่ ประสิทธิภาพของระบบการจัดการ ในภาพรวมผูเ้ ขียนเห็นว่า การบูรณาการองค์ความรู้ ของนักวิชาการต่างๆ เป็นสิง่ ส�ำคัญ แต่เป็นการยากทีจ่ ะ รวบรวมปัจจัยของทุกๆ คนแล้วมาใส่เป็นตัวแบบเดียวได้ เนื่ อ งจากตั ว แปรบางตั ว มี ห น่ ว ยในการวิ เ คราะห์ ต่างระดับกัน การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความส�ำเร็จของ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
การจัดการ อาจจะต้องท�ำการทดสอบโดยแยกพิจารณา จากหน่วยในการวิเคราะห์ระดับบุคคลเป็นตัวแบบหนึ่ง และอาจจะพิจารณาจากหน่วยในการวิเคราะห์ระดับ องค์การอีกตัวแบบหนึง่ แต่ในภาพรวมไม่วา่ จะด�ำเนินการ ในลักษณะใด ควรจะมีตวั แปรทีบ่ รู ณาการปัจจัยทีม่ าจาก สภาพแวดล้อมภายในองค์การ และปัจจัยสภาพแวดล้อม ภายนอกองค์การเข้าด้วยกัน โดยนัยดังกล่าวการศึกษา ความส� ำ เร็ จ ของการจั ด การจึ ง น่ า จะสามารถท� ำ ได้ โดยการออกแบบตัวแบบเชิงทฤษฎีที่เชื่อมโยงปัจจัย สภาพแวดล้อมภายในองค์การและปัจจัยสภาพภายนอก องค์การที่มีผลต่อความส�ำเร็จของการจัดการองค์การ
7. ตัวแบบเชิงทฤษฎีของการจัดการองค์การ
ผูเ้ ขียนขอน�ำเสนอตัวแบบเชิงทฤษฎีของการจัดการ องค์การ โดยครอบคลุมสมมติฐานต่างๆ รวม 7 สมมติฐาน ดังนี้ สมมติฐานที่ 1 ความชัดเจนและความชอบธรรม ของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย มีผลต่อความส�ำเร็จ ของการจัดการองค์การ ทั้งนี้เพราะวัตถุประสงค์และ เป้าหมายทีม่ คี วามชัดเจนจะท�ำให้ผปู้ ฏิบตั งิ านในองค์การ สามารถเข้าใจทิศทางทีอ่ งค์การจะเดินไปได้อย่างถูกต้อง สมมติ ฐ านที่ 2 ประสิ ท ธิ ผ ลของการสื่ อ สาร มีความสัมพันธ์กับความส�ำเร็จของการจัดการ ทั้งนี้ เพราะในการจัดการองค์การนั้นต้องมีการสื่อสารท�ำให้ ผูป้ ฏิบตั งิ านได้รวู้ า่ จะท�ำอะไร เมือ่ ไหร่ อย่างไร หน่วยงาน ข้างเคียงมีการปฏิบัติงานอะไร ประสิทธิภาพของการ สื่อสารทั้งในองค์การและภายนอกองค์การมีสูงมากขึ้น เท่าไหร่ ความส�ำเร็จของการจัดการก็จะมีมากยิ่งขึ้น เท่านั้น สมมติฐานที่ 3 สิ่งจูงใจ ยิ่งมีการออกแบบสิ่งจูงใจ ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปฏิบัติงานภายใน องค์การ และผูร้ บั บริการภายนอกองค์การมากขึน้ เท่าใด โอกาสก็จะเกิดความส�ำเร็จในการจัดการก็จะมีสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้บริหารสามารถสร้างสิ่งจูงใจ
223
ทีเ่ ป็นอุดมการณ์ได้ ความส�ำเร็จของการจัดการก็จะเกิดขึน้ อย่างถาวรและต่อเนื่อง สมมติ ฐ านที่ 4 ความสามารถในการจั ด การ ความขัดแย้งภายในองค์การและภายนอกองค์การ มีผล ต่อความส�ำเร็จของการจัดการ ทัง้ นี้ เพราะความสามารถ ในการจัดการจะท�ำให้ทกุ ฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้องให้ความร่วมมือ ในการปฏิบัติงาน โอกาสในการบรรลุวัตถุประสงค์ของ องค์การก็จะมีสูงขึ้น สมมติฐานที่ 5 ความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน ในการปฏิบัติงานตามภารกิจและความรับผิดชอบ ที่ได้รับมอบหมาย หรือการออกแบบโครงสร้างของ การกระจายอ�ำนาจและการจัดระบบการจัดการที่ เหมาะสม จะมีผลต่อความส�ำเร็จของการจัดการ ทั้งนี้ เพราะในการจัดการองค์การนัน้ หากเปิดโอกาสให้สมาชิก ขององค์การได้มีโอกาสใช้ค วามสามารถของตนเอง ในการปฏิบัติตามภารกิจและความรับผิดชอบที่ได้รับ มอบหมาย พลังและความสามารถในการปฏิบตั งิ านของ องค์การโดยรวมก็จะยิ่งมีมากขึ้นเป็นทวีคูณ สมมติฐานที่ 6 ความสามารถในการสนองตอบ ความต้องการของผูร้ บั บริการ มีผลต่อความส�ำเร็จของ การจัดการ ทัง้ นี้ เพราะองค์การจะอยูร่ อดและพัฒนาได้ จะต้องได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากสภาพ แวดล้อมภายนอกองค์การ ซึ่งได้แก่ ผู้รับบริการ สมมติฐานที่ 7 ภาวะผู้น�ำของผู้บริหาร มีผลต่อ ความส�ำเร็จของการจัดการ ทั้งนี้ เพราะภาวะผู้น�ำเป็น ระดับความสามารถในการท�ำให้คนอื่นยินยอมท�ำตาม ยิ่งผู้น�ำมีภาวะผู้น�ำสูงมากเท่าใด โอกาสที่จะเกิดความ ส�ำเร็จของการจัดการได้รบั การยอมรับเกิดความร่วมมือ ของผู้ปฏิบัติงานก็จะมีสูงขึ้น ผู้เขียนขอสรุปเป็นภาพเชิงบูรณาการของตัวแบบ การจัดการ โดยรวมตัวแปรจากสมมติฐานทัง้ 7 สมมติฐาน เข้าด้วยกัน ว่ามีอิทธิพลต่อตัวแปรตามคือ ความส�ำเร็จ ของการจัดการ หรือระดับของความร่วมมือ ดังภาพที่ 2
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
224
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ภาพที่ 2 ตัวแบบทางทฤษฎีการจัดการเชิงบูรณาการ
บทสรุป
สาระส�ำคัญของบทความนี้ ได้นำ� เสนอตัวแบบทาง ทฤษฎีการจัดการเชิงบูรณาการ โดยได้ท�ำการส�ำรวจ องค์ความรู้ทางด้านการจัดการจากนักวิชาการชั้นน�ำ ผลการศึกษาพบว่า หัวใจของความส�ำเร็จในการ จัดการ คือ การสร้างความร่วมมือให้เกิดขึน้ กับผูท้ เี่ กีย่ วข้อง ในองค์การ ซึ่งจะน�ำไปสู่ความส�ำเร็จตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
นักวิชาการที่น�ำเสนอองค์ความรู้ด้านการจัดการ ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นว่า ได้มีการมองปัจจัยที่มีผลต่อความ ส�ำเร็จของการจัดการแบบแยกส่วน ไม่ได้มกี ารมองแบบ องค์รวมและเป็นระบบ ผู้เขียนได้ประเมินผลงานของนักวิชาการเหล่านี้ และเห็นว่า การออกแบบปัจจัยทีอ่ ธิบายความส�ำเร็จของ การจัดการจ�ำเป็นต้องเชื่อมโยงปัจจัยที่ส่งผลต่อความ ส�ำเร็จให้ครอบคลุมทั้งในปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
องค์การ และปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกขององค์การ และได้นำ� เสนอตัวแบบทางทฤษฎีการจัดการเชิงบูรณาการ ที่ให้ความส�ำคัญกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความส�ำเร็จของ การจัดการ ทั้งที่เป็นปัจจัยภายในองค์การและปัจจัย ภายนอกองค์การ โดยได้น�ำเสนอในรูปของสมมติฐาน
225
รวม 7 สมมติฐาน ซึง่ ครอบคลุมปัจจัยทีเ่ ป็นตัวแปรตาม ซึ่งได้แก่ ความส�ำเร็จของการจัดการ และตัวแปรอิสระ อีก 7 ตัว ซึง่ แต่ละตัวแปรสามารถวัดได้จากตัวชีว้ ดั ย่อย ตามที่ปรากฏในภาพที่ 2
บรรณานุกรม
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2552). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ดี. เค. ปริ้นติ้งเวิลด์. ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2527). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. พิทยา บวรวัฒนา. (2541). ทฤษฎีองค์การสาธารณะ. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์. Barnard, C. I. (1938). The Functions of the Executive. Cambridge: Harvard University. Bauman, Z. (1993). Postmodern Ethics. Malden, MA: Blackwell. Carlisle, Y. M. & Manning, D. J. (1994). The Concept of Ideology and Work Motivation. Organization Studies, 15(5), 683-703. Carnegie, D. (1937). How to Win Friends and Influence People. New York: Simon & Schuster. Crainer, S. (1997). The Ultimate Business Library. Oxford: Capstone. Drucker, P. F. (1954). The Practice of Management. New York: Harper & Row. Durkin, D. (2010). The Loyalty Factor: Building Employee, Customer & Brand Loyalty. North Charleston: CreateSpace. Fayol, H. (1949). General and Industrial Management. London: Pitman. Follett, M. P. (1941). Dynamic Administration. New York: Harper & Row. Hirschman, A. O. (1970). Exit, Voice and Loyalty: Responses to Decline in Firms, Organizations, and States. Cambridge, MA: Harvard University Press. Maister, D. H. (1997). True Professionalism. New York: The Free Press. Martin, R. C. (2011). The Clean Coder: A Code of Conduct for Professional Programmers. New York: Prentice Hall. Reina, D. S. & Reina, M. L. (2006). Trust and Betrayal in the Workplace. Sanfrancisco, California: Berrett - Koehler. Sandel, M. J. (2010). Justice: What’s the Right Thing to Do?. New York: Penguin Books. Solomon, R. C. & Fernando, F. (2001). Building Trust: In Business, Politics, Relationships, and Life. New York: Oxford University Press. Taylor, F. W. (1911). Scientific Management. New York: Harper and Brothers.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
226
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�าเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Translate Thai Reference
Bawornwattana, B. (1998). Public Organization Theory. Bangkok: Pimluck. [in Thai] Lorauwannarat, T. (2009). Modern Organization Theory. Bangkok: D. K. Printing World. [in Thai] Prachayaprut, T. (1984). Organization Theory. Bangkok: Thaiwattananich. [in Thai]
Name: Suthinee Atthakorn Highest Education: Doctor of Public Administration, National Institutional Development Administration (NIDA) University or Agency: Public Administration Department, Faculty of Political Science and Public Administration, Rahabhat Maha Sarakham University Field of Expertise: Public Administration, Human Resource Management, Public Finance and Public Policy Address: Rahabhat Maha Sarakham University, 80 Nakhonsawarn road, Tarad, Muang, Mahasarakham 44000
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
227
ความกลัวที่ส่งผลต่อการแสดงอวัจนสารอันไม่พึงประสงค์ต่อการพูดในที่สาธารณะ FEAR RESULTED TO UNDESIRABLE NONVERBAL LANGUAGE FOR PUBLIC SPEAKING สุธาสินี พ่วงพลับ Suthasinee Poungplub ส�ำนักการศึกษาทั่วไป สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ The Office of General Education, Panyapiwat Institute of Management
บทคัดย่อ
บทความนี้น�ำเสนอเกี่ยวกับอวัจนสารอันไม่พึงประสงค์ที่แสดงออกมาเมื่อมนุษย์เกิดความกลัวการพูดในที่ สาธารณะ ซึง่ ความกลัวการพูดดังกล่าวนี้ เป็นอาการทีเ่ กิดขึน้ เมือ่ ต้องพูดต่อหน้าคนหมูม่ าก พบได้บอ่ ยครัง้ ในคนทัว่ ไป เมื่อเกิดอาการตื่นเวทีมักจะเริ่มจากการประหม่า จากนั้นจึงวิตกกังวล ซึ่งถ้าเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ควบคุมได้จะท�ำให้ การพูดด�ำเนินไปได้อย่างดี แต่ถ้าเริ่มมากขึ้นจนวิตกจริต และเข้าสู่ขั้นตื่นเวทีหรือกลัว ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงมากขึ้น จนควบคุมได้ยากจะท�ำให้ส่งผลเสียต่อการพูด โดยทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกมีความเชื่อว่า หากคนเราเคยเรียนรู้ประสบการณ์ที่ไม่ดีมาก่อน จะท�ำให้เกิดความกลัวขึ้นได้เมื่อต้องเผชิญเหตุการณ์คล้ายสิ่งเดิม จนปรากฏเป็นอาการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจเต้นแรง มือสั่น ตัวเย็น วิงเวียน คลื่นไส้ หรือเป็นลม โดยสามารถ จ�ำแนกได้ 3 อาการหลัก คือ อาการที่เกิดขึ้นกับร่างกาย อาการที่เกิดขึ้นกับการพูด และอาการที่เกิดขึ้นจากท่าทาง ต่างๆ ความกลัวการพูดในที่สาธารณะเกิดขึ้นได้กับคนทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะนักศึกษา โดยมีปัจจัยด้านอายุ และสิ่งแวดล้อมเป็นตัวก�ำหนด ผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพูดมากกว่า ย่อมมี ความกังวลน้อยกว่าผู้ที่เก็บตัวมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด แนวทางลดความกลัวการพูดในทีส่ าธารณะมีหลากหลายวิธกี าร ไม่วา่ จะเป็นการฝึกพูดด้วยระบบโทสต์มาสเตอร์ การเตรียมข้อมูลให้พร้อมมากทีส่ ดุ ฝึกพูดซ�ำ้ ๆ จ�ำเฉพาะส่วนส�ำคัญ ใช้เทคนิคพิเศษช่วยจ�ำ หายใจเข้าออกเพือ่ ผ่อนคลาย แต่งกายให้พร้อมเพื่อสร้างความมั่นใจ พักผ่อนให้เพียงพอ วิเคราะห์ผู้ฟัง สร้างความคุ้นเคย ขยับร่างกายบ้าง และให้ ก�ำลังใจตนเองเสมอ ค�ำส�ำคัญ: กลัว การพูดในที่สาธารณะ อวัจนสาร
Corresponding Author E-mail: suthasineepou@pim.ac.th
228
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Abstract
This paper presents the undesirable nonverbal language that is expressed when people feel fear of public speaking. This kind of fear may occur in most people when speaking in public, and often found in most people. When people are in the stage of fright, it starts from bashfulness, then anxiety. If these symptoms occur only a bit and can be controlled by speakers, they will deliver a good speech. However the anxiety is severe and becomes fear uncontrollably, the speech will be poorer. Classical conditioning theory assumed that people who got bad experience will feel fear when they confront with the same thing, and show the symptoms: heart thumping rapidly, hand shaking, cool hands, dizziness, nausea, or faint. These symptoms can be grouped into 3 categories: physical, verbal, and nonverbal symptoms. Fear of public speaking can occur to everyone; especially students. The factors are ages and environments. More experienced people or those who are in the more overt environment, they will obviously feel less anxiety than introverts. Fear reduction methods can be as follows: practicing with Toastmasters, practicing speech repeatedly, recognizing keywords only, using special techniques to remember, practicing breath properly, wearing suitable dress to improve self-confident, having enough sleep, analyzing and being familiar with the audience, moving the body sometimes, and encouraging oneself. Keywords: Fear, Public Speaking, Nonverbal Language
บทน�ำ
การพูดเป็นทักษะทางการสือ่ สารทีเ่ กิดจากผูส้ ง่ สาร ต้องการส่งเรือ่ งราว ข่าวสาร ข้อมูล ความรูส้ กึ นึกคิดต่างๆ ไปยังผูร้ บั สาร โดยสามารถใช้ทงั้ วัจนภาษาและอวัจนภาษา ประกอบกันเพือ่ ให้การสือ่ สารบรรลุวตั ถุประสงค์ ในการ พิจารณาอวัจนภาษาประกอบการพูดนัน้ อาจเกิดขึน้ จาก ผู้พูดตั้งใจ เช่น ยิ้มประกอบบทพูด ยกมือไหว้แล้วพูด ค�ำว่า สวัสดี หรืออาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่ร่างกาย ของผูพ้ ดู แสดงออกมาให้ผฟู้ งั เห็นได้โดยอัตโนมัติ โดยเกิด จากอารมณ์ความรู้สึกเป็นหลัก เช่น โกรธจนหน้าแดง ร้องไห้เมื่อพูดเรื่องเศร้า (สมิต สัชฌุกร, 2551: 72) หรือในกรณีเป็นการพูดต่อหน้าคนจ�ำนวนมากทีเ่ รียกว่า การพูดในทีส่ าธารณะ ผูพ้ ดู อาจแสดงอวัจนภาษาทีไ่ ม่ได้ ตั้งใจอยู่บ่อยครั้ง ในความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่สามารถพูดในที่
สาธารณะได้ และไม่ได้กลัวการพูด แต่สงิ่ ทีท่ ำ� ให้เกิดอาการ กังวลหรือกลัว คือ ผลที่ “คาดว่า” จะเกิดจากการพูด ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมตัวไม่พร้อม พูดผิด ตอบค�ำถาม จากผูฟ้ งั ไม่ได้ หรือสายตาของผูฟ้ งั ทีจ่ บั จ้องด้วยความสงสัย ใคร่รู้ ท�ำให้ผพู้ ดู ขาดความมัน่ ใจ จนกลายเป็นความกลัว (เกรียงศักดิ์ นิรตั พิ ฒ ั นะศัย และชัยรัตน์ วงศ์จนิ ดานนท์, 2553: 16) จนปรากฏเป็นอวัจนภาษาที่สังเกตเห็นได้ อย่างชัดเจน ไม่วา่ จะเป็นหัวใจเต้นเร็วขึน้ มือเย็น ตัวสัน่ เสียงสั่น พูดตะกุกตะกัก เดินไปเดินมาตลอดเวลา หรือ อาจมีอาการมากถึงขัน้ ปวดศีรษะจากความกดดัน คลืน่ ไส้ อาเจียน หน้าซีด เป็นลม จนอาจรุนแรงถึงขัน้ หมดสติได้
ความหมายของความกลัวการพูดในทีส่ าธารณะ และการแสดงอวัจนสารอันไม่พึงประสงค์ แรกเริ่มนั้น ทารกมิได้มีความกลัวเกิดขึ้น แต่สิ่ง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
เหล่านีถ้ กู สร้างขึน้ เมือ่ มี “การเรียนรู”้ ภายในจิตใต้สำ� นึก และจะเข้ามามีอิทธิพลควบคุมการใช้ชีวิตของคนเรา ในทุกด้าน กรณีของเด็กจะเริม่ จากการกลัวคนแปลกหน้า (เจมส์ ฮอค, 2540: 84-85) และเมือ่ เติบโตขึน้ ก้าวเข้าสู่ สังคมภายนอก พบเจอสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย หรือ ในกรณีทกี่ า้ วสูเ่ วทีทตี่ อ้ งแสดงการพูดในทีส่ าธารณะก็จะ มีส่วนกระตุ้นให้ความรู้สึกกลัวเพิ่มสูงขึ้นได้ ค�ำว่า ความกลัว พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2556: 79) ได้ให้ความหมายว่า “รู้สึกไม่อยากประสบ สิ่งที่ไม่ดีแก่ตัว” ส่วนในทางการแพทย์ ถ้ามุ่งประเด็นที่ ความกลัวเมือ่ ต้องพูดต่อหน้าคนจ�ำนวนมาก จะใช้คำ� ว่า Glossophobia ซึ่งหมายถึง “การกลัวการพูดในที่ สาธารณะ โดยค�ำว่า Glossophobia มีรากศัพท์มาจาก ภาษากรีกคือ γλῶσσα glōssa หมายถึง ลิ้น และ φόβος phobos หมายถึ ง อาการกลั ว หรื อ รู ้ สึ ก ว่ า เลวร้ายมาก” (Glossophobia.com, 2015) ซึง่ อาการนี้ จะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงก่อนที่จะพูดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าต้องพูดต่อหน้าคนหมู่มาก และในทางระบาดวิทยา ก็แสดงให้เห็นว่า ความกลัวการพูดในทีส่ าธารณะก็พบได้ บ่อยครั้งในคนทั่วไปด้วย (Osório et al., 2014: 191) อวัจนสารอันไม่พึงประสงค์ เป็นการแสดงกิริยา ท่าทางที่เกิดขึ้นกับร่างกาย การพูด หรือท่าทางต่างๆ ซึ่งผู้พูดไม่ต้องการให้ผู้อื่นสังเกตเห็น แต่ควบคุมได้ยาก หรือไม่สามารถควบคุมได้เลย กลายเป็นความไม่พึง ปรารถนา ไม่ต้องการ แต่แสดงออกมาตามธรรมชาติ เช่น เหงื่อออกมากเมื่อตื่นเต้นมากเกินไป พูดติดๆ ขัดๆ มีคำ� ว่า เอ่อ อ่า แบบว่า การเผลอมองเพดาน เอามือล้วง กระเป๋า หรือจับชายเสือ้ (สุธาสินี พ่วงพลับ, 2555: 148)
ระดับการตื่นเวทีเมื่อต้องพูดในที่สาธารณะ
เมือ่ บุคคลรูต้ วั ว่าจะต้องพูดในทีส่ าธารณะ มักจะเริม่ มีอาการประหม่า จากนัน้ จึงเกิดความวิตกกังวล วิตกจริต และเข้าสู่อาการกลัว ซึ่งเป็นล�ำดับขั้นสูงสุด (ณัฐพงศ์ เกศมาริษ, 2548: 107) โดยแสดงดังแผนภาพ
229
ประหม่า
วิตกกังวล
วิตกจริต
ตื่นเวทีหรือกลัว แผนภาพแสดงล�ำดับขั้นของการตื่นเวที ในการพูดในที่สาธารณะ นอกจากนี้ จินดา งามสุทธิ (2549: 32-33) ได้กล่าว ถึงระดับของการตื่นเวทีว่า มี 3 ระดับ ดังนี้ 1) ระดับตึงเครียด การตื่นเวทีในระดับเริ่มแรกนี้ ถ้ามีเพียงเล็กน้อยถือว่าเป็นสิง่ ทีด่ ี เพราะจะกระตุน้ ให้ผพู้ ดู มีความกระตือรือร้น เลือดสูบฉีดหัวใจมากขึ้น ผลักดัน ให้เกิดพลังสร้างสรรค์ในการพูด เนื่องจากผู้พูดยังคง สามารถควบคุมสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี 2) ระดับความกลัว เป็นการตืน่ เวทีในระดับปานกลาง ทีผ่ พู้ ดู เริม่ ควบคุมสถานการณ์ได้ลำ� บากขึน้ อาจมีอาการ ใจสั่น มือสั่น ขาสั่น พูดติดขัด โดยจ�ำเป็นต้องใช้เวลา ระยะหนึ่งจึงจะสามารถบังคับให้อาการตื่นเวทีลดลงได้ 3) ระดับรุนแรง เป็นการตืน่ เวทีในระดับทีไ่ ม่สามารถ ควบคุมตนเองได้ อาการที่พบ เช่น หน้ามืด เป็นลม แขนขาอ่อนแรง อาเจียน หรือหมดสติ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
230
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ความกลั ว การพู ด ในที่ ส าธารณะส่ ง ผล อวัจนสารอันไม่พึงประสงค์
นักจิตวิทยาและนักวิจยั จ�ำนวนมากพยายามวิเคราะห์ หาสาเหตุทที่ ำ� ให้คนเราเกิดความกลัว โดยแนวคิดทฤษฎี ที่ ไ ด้ รั บ การยอมรั บ กั น อย่ า งกว้ า งขวาง คื อ ทฤษฎี การเรียนรู้ (Learning) ทีม่ ผี คู้ ดิ ค้นในยุคแรกคือ Evan Pavlov ซึง่ เชือ่ ว่า เมือ่ คนเราเคยมีประสบการณ์บางอย่าง ทีไ่ ม่ดหี รือเคยเห็นเรือ่ งราวทีท่ ำ� ให้ไม่สบายใจ ก็จะท�ำให้ เรียนรู้จนเกิดความกลัวว่าอาจจะเกิดเหตุการณ์นั้นซ�้ำ อีกได้ โดย John B. Watson นักจิตวิทยารุ่นต่อมา ได้น�ำแนวความคิดของเขามาทดลองใช้ เป็นการวาง เงื่อนไขแบบคลาสสิกที่น�ำหนูขาวมาทดลองกับเด็กชาย พร้อมเคาะเสียงทีด่ งั มาก จากเดิมเด็กชายไม่กลัวหนูขาว ก็ ก ลายเป็ น กลั ว หนู ข าว และกลั ว สิ่ ง อื่ น ที่ มี ลั ก ษณะ คล้ายกัน (Barlow & Durand, 2001: 133; Pastorino & Doyle-Portillo, 2006: 213-214 อ้างในวิธัญญา วัณโณ, 2551: 70-71) ในกรณีนี้ เทียบได้กบั ความกลัวการพูดในทีส่ าธารณะ ที่ผู้คนอาจเกิดอาการนี้ได้ เนื่องจากเคยมีความทรงจ�ำ ที่ไม่ดีเกี่ยวกับการพูดในครั้งก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นการ ถูกเพือ่ นหัวเราะเยาะ พูดติดอ่าง หรือพูดผิดพลาดก็ตาม ทั้งๆ ที่ทุกคนก็พูดได้ในชีวิตประจ�ำวัน แต่กลับกังวล หรือกลัวเมือ่ ต้องพูดต่อหน้าคนจ�ำนวนมาก (Smith, Bem & Nolen-Hoeksema, 2001: 422 อ้างในวิธัญญา วัณโณ, 2551: 71) เมือ่ คนเราเกิดความกลัวการพูดในทีส่ าธารณะ มักจะ มีอวัจนสารบางอย่างแสดงให้เห็นได้ชดั เจน ซึง่ สิง่ เหล่านี้ ผู้พูดมักรู้สึกว่าเป็นกิริยาอาการที่ไม่พึงประสงค์ แต่ก็ ควบคุมได้อย่างยากยิง่ บางครัง้ ก็ไม่สามารถควบคุมได้เลย ถ้าเกิดขึน้ ในระดับรุนแรง หรืออาจแสดงออกไปโดยไม่รตู้ วั โดยอาการดังกล่าวสามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ (Glossophobia.com, 2015) 1) อาการที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น หัวใจ เต้นเร็ว เหงื่อออกมาก ปากแห้ง คอแห้ง 2) อาการที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ การพู ด เช่ น พู ด ติ ด ขั ด
ตะกุกตะกัก มีค�ำว่า เอ่อ อ่า 3) อาการที่เกิดขึ้นจากท่าทางต่างๆ เช่น ขยับแขน ขาตลอดเวลา จับเส้นผม ล้วงกระเป๋า ฯลฯ Stein et al. (1996 อ้างใน Osório et al., 2014: 191) ได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอาการกลัว การพูดในที่สาธารณะ พบว่า พวกเขามักจะพูดไร้สาระ หรือไม่ได้ใจความ (59%) ไม่สามารถพูดต่อไปได้ (63%) ท�ำหรือพูดบางอย่างที่น่าอาย (64%) นึกเรื่องที่จะพูด ไม่ออก (74%) และมีอาการมือสัน่ ตัวสัน่ หรืออาการอืน่ ที่แสดงให้เห็นว่าวิตกกังวล (80%) Carbonell (2015) ได้ศกึ ษาลักษณะของผูพ้ ดู ในที่ สาธารณะที่พบว่ามีอาการกลัวการพูดในที่สาธารณะ ได้แก่ การอ่านสคริปต์ตลอดเวลา ไม่มองผู้ฟัง ไม่สบตา พูดอย่างเร่งรีบให้จบ พูดข้ามๆ กระแอม แสร้งว่าเจ็บคอ ใช้สไลด์มากเกินไปในการน�ำเสนอ ก�ำมือแน่น กลืนน�ำ้ ลาย บ่อยๆ หรือปล่อยให้ผู้อื่นพูดมากกว่า เป็นต้น ส�ำหรับอาการอื่นๆ ที่อยู่ในขั้นวิตกกังวลก่อนถึง วันพูดในที่สาธารณะ (Health Media Ventures Inc., 2015) เช่น กังวลมากเกินกว่าเหตุ โดยเฉพาะกังวลในสิง่ ทีย่ งั ไม่เกิดขึน้ หรือเรือ่ งราวเพียงเล็กน้อยแต่คาดว่าจะต้อง มีปัญหาใหญ่ตามมา นอนหลับยากโดยเฉพาะคืนก่อน วันพูดในที่สาธารณะ อาจมีอาการตื่นเต้นหรือใจสั่น ร่วมด้วย กระสับกระส่าย หรือไม่รู้สึกง่วงนอนเป็นเวลา หลายชั่วโมง กลัวโดยไม่มีเหตุผล เกิดอาการเกร็งของ กล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ระบบการย่อย อาหารผิดปกติ ท�ำให้ท้องผูก ท้องเสีย หรือปวดท้อง กลัวการถูกจับจ้องจากผู้อื่น ตื่นตกใจง่าย ฯลฯ
แบบทดสอบตนเองเกีย่ วกับอาการวิตกกังวล การพูดในที่สาธารณะ: Personal Report of Public Speaking Anxiety (PRPSA)
ในการวิเคราะห์หรือสังเกตความรู้สึกของตนเอง และอวัจนสารที่เกิดขึ้นเมื่อจะต้องพูดในที่สาธารณะ นิยมใช้แบบทดสอบ PRPSA จ�ำนวน 34 ข้อ ซึ่งได้รับ ความนิยมอย่างแพร่หลาย ดังนี้
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
เห็นด้วยอย่างยิ่ง = 5 คะแนน เห็นด้วย = 4 คะแนน ไม่แน่ใจ = 3 คะแนน น้อย = 2 คะแนน น้อยมาก = 1 คะแนน
1) ขณะเตรี ย มการพู ด ฉั น รู ้ สึ ก ตึ ง เครี ย ดและ กระวนกระวายใจ 2) ฉันรูส้ กึ ตึงเครียดเมือ่ เห็นค�ำว่า “บทพูด” และ “การพูดในที่สาธารณะ” ในประมวลรายวิชา ที่เรียน 3) ความคิดของฉันสับสนปนเปเมื่อเริ่มพูด 4) หลังจากพูด ฉันรู้สึกว่าเป็นประสบการณ์ที่ดี 5) ฉันเริม่ กังวลเมือ่ คิดว่าวันทีจ่ ะพูดใกล้เข้ามาแล้ว 6) ฉันไม่กลัวการพูด 7) ฉั น จะประหม่ า แค่ ต อนเริ่ ม พู ด แต่ สั ก พั ก ก็ ผ่อนคลายแล้วรู้สึกดีขึ้น 8) ฉันตั้งตารอที่จะพูด 9) เมื่อผู้สอนประกาศหัวข้อการพูดในชั้นเรียน ฉันก็รู้สึกตึงเครียดทันที 10) มือของฉันสั่นขณะพูด 11) ฉันรู้สึกผ่อนคลายขณะพูด 12) ฉันสนุกมากเวลาเตรียมบทพูด 13) ฉันกลัวว่าจะลืมสิ่งที่พูด 14) ฉันรู้สึกกังวลถ้ามีคนถามในหัวข้อที่ฉันไม่มี ความรู้ 15) ถ้ามีโอกาส ฉันจะพูดด้วยความมั่นใจ 16) ฉันรู้สึกว่าไม่เป็นตัวของตัวเองขณะที่พูด 17) จิตใจของฉันสงบขณะที่พูด 18) ฉันไม่กังวลการพูดมากนัก 19) ฉันเหงื่อออกแค่ก่อนเริ่มพูด 20) หัวใจของฉันเต้นเร็วมากแค่ตอนเริ่มพูด 21) ฉันเคยกังวลมากขณะที่นั่งในห้องก่อนพูด 22) ร่างกายแต่ละส่วนของฉันตึงเครียดและเกร็ง
231
ขณะพูด 23) สังเกตได้ว่า เวลาสั้นๆ ที่เหลืออยู่ในการพูด ท�ำให้ฉันตึงเครียดและกังวล 24) ขณะพูด ฉันรู้ว่าสามารถควบคุมความรู้สึก ตึงเครียดและกดดันได้ 25) ฉันหายใจเร็วขึ้นแค่ก่อนเริ่มพูด 26) ฉันรูส้ กึ ผ่อนคลาย สบายใจในชัว่ โมงก่อนการพูด 27) ฉันไม่ได้พูดแย่ลงเพราะว่ากังวล 28) ฉันรู้สึกกังวลเมื่อผู้สอนมอบหมายงานให้พูด 29) เมือ่ ฉันพูดผิดพลาด ก็ยากทีจ่ ะมีสติในส่วนต่อไป 30) ระหว่างการพูดส�ำคัญ ฉันเคยมีประสบการณ์ ที่รู้สึกอับจนหนทางแล้ว 31) ฉันนอนหลับยากในคืนก่อนวันพูด 32) หัวใจของฉันเต้นเร็วมากขณะน�ำเสนอการพูด 33) ฉันรู้สึกกังวลขณะที่รอพูด 34) ขณะพูด ฉันประหม่ามากจนลืมสิ่งที่รู้อยู่แล้ว ที่มา: McCroskey (1970: 276), ปรับจาก Stoner (2010) การวิเคราะห์ผลเกีย่ วกับอาการวิตกกังวลในการพูด ในที่สาธารณะ มีขั้นตอนดังนี้ (Stoner, 2010) 1) น�ำผลคะแนนในล�ำดับที่ 1, 2, 3, 5, 9, 10, 13, 14, 19, 20, 21, 22, 23, 25, 27, 28, 29, 30, 31, 32, 33 และ 34 มารวมกัน 2) น�ำผลคะแนนในล�ำดับที่ 4, 6, 7, 8, 11, 12, 15, 16, 17, 18, 24 และ 26 มารวมกัน 3) ใช้สูตร = 72 ลบ (ผลลัพธ์ในขั้นตอนที่ 2) บวก (ผลลัพธ์ในขั้นตอนที่ 1) 4) ค่าคะแนนทีป่ รากฏจะอยูใ่ นช่วงระหว่าง 34-170 คะแนน โดยสามารถตีความได้เบื้องต้นดังนี้ 4.1) ค่าคะแนนสูงกว่า 131 มีความวิตกกังวล สูงมาก 4.2) ค่าคะแนนระหว่าง 98-131 มีความวิตกกังวล ปานกลาง 4.3) ค่าคะแนนต�ำ่ กว่า 98 มีความวิตกกังวลน้อย
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
232
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ค่าเฉลี่ยที่พบของคนทั่วไปคือ 114.62 คะแนน โดยมีคา่ เบีย่ งเบนมาตรฐานที่ 17.21 (McCroskey, 1970: 277) หรือกรณีจ�ำกัดในเมืองใหญ่ เช่น ชาวนิวยอร์ก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 104.43 คะแนน, ชาวฮาวาย มีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 101.42 คะแนน, ชาวมิชิแกน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 102.77 คะแนน (Wadsworth, 2015) ซึ่งถือว่าเป็น ความวิตกกังวลระดับปานกลาง
ตัวอย่างผลทีเ่ กิดขึน้ จากความกลัวการพูดในที่ สาธารณะ
ความกลัวการพูดในที่สาธารณะเป็นอาการที่พบได้ บ่อย โดยสังเกตได้จากนักศึกษามหาวิทยาลัยจากทัว่ โลก ที่มีเป็นจ�ำนวนมาก Hindu & González-Prendes (2011: 528-538 อ้างใน Valkovci, 2014) ได้ศึกษาพบว่า ในชั้นเรียน ขนาดใหญ่ จะมีนกั ศึกษามหาวิทยาลัยเพียงหนึง่ ใน 25 คน เท่านัน้ ทีก่ ล้ายกมือขึน้ ถามผูส้ อน ส่วนใหญ่จะหลีกเลีย่ ง การยกมือ ไม่กล้าตอบค�ำถาม หลบเลี่ยงการออกไปพูด หน้าชัน้ นอกจากนี้ ยังมีผสู้ อนจ�ำนวนไม่นอ้ ยทีใ่ ห้คะแนน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และหากนักศึกษาไม่สามารถ ท�ำได้ เนือ่ งจากความกลัวการพูดในทีส่ าธารณะ ซึง่ ผูส้ อน อาจไม่สังเกตเห็น จะมีผลต่อคะแนนหรือเกรดที่ลดลง ประมาณ 25% ปัจจัยด้านอายุและสภาพแวดล้อม จะส่งผลต่อ บุคคลนัน้ ด้วย สังเกตได้วา่ นักศึกษาชัน้ ปีที่ 1 จะมีความ วิตกกังวลหรือกล้าแสดงออกน้อยกว่านักศึกษารุ่นพี่ที่มี ประสบการณ์มากกว่า เมือ่ สอบถามนักศึกษาให้ความเห็น ว่า ยังไม่คนุ้ เคยกับสภาพแวดล้อม และห้องเรียนมีขนาด ใหญ่มาก (Worthington et al., 1984: 394) หรือ ในกรณีของนักศึกษาจากประเทศแถบตะวันตกจะกล้า แสดงออกหรือกล้าพูดมากกว่านักศึกษาในประเทศแถบ ตะวันออก ซึง่ จะเก็บตัวมากกว่า (Rodríguez, Rodríguez & Alcázar, 2006: 207-212) ตัวอย่างผลของความกลัวการพูดในทีส่ าธารณะทีพ่ บ ได้บอ่ ยในอาชีพต่างๆ เช่น (Glossophobia.com, 2015)
• นักแสดง นักร้อง หรือนักดนตรี รูส้ กึ ตืน่ เต้นหรือ เขินอายมากเวลาต้องแสดงบนเวที จนอาจแสดง ความผิดพลาดหรือท�ำเรื่องน่าอาย • นักธุรกิจทีม่ ฝี มี อื กลัวการน�ำเสนองานต่อทีป่ ระชุม • แขกในงานมงคลสมรสกังวลว่า จะต้องอวยพร คูบ่ า่ วสาว หรือต้องเข้าร่วมงานทีม่ กี ารพูดต่อหน้า คนจ�ำนวนมาก • นักบินและลูกเรือรู้สึกประหม่าเมื่อต้องประกาศ กฎข้อบังคับแก่ผู้โดยสาร ผลทีเ่ กิดตามมาคือ ผูพ้ ดู มักจะพูดตะกุกตะกัก ติดอ่าง ปฏิเสธ หรือพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะท�ำให้ ต้องพูดต่อหน้าคนจ�ำนวนมาก
แนวทางลดความกลัวการพูดในที่สาธารณะ
ความกลัวทีเ่ กิดขึน้ จากการเรียนรูผ้ า่ นประสบการณ์ ในอดีต ส่งผลให้การพูดในทีส่ าธารณะไม่มปี ระสิทธิภาพ เท่าทีค่ วร และมีอวัจนสารทีไ่ ม่พงึ ประสงค์เกิดขึน้ มากมาย กับผู้พูด ซึ่งปัจจุบันคนเราได้พยายามหาหนทางขจัด ความกลัวที่เกิดขึ้น โดยแนวทางหนึ่งที่ได้รับความนิยม อย่างแพร่หลาย คือ การฝึกพูดด้วยระบบโทสต์มาสเตอร์ (Toastmasters International, 2016) โทสต์มาสเตอร์ คลับ ก่อตั้งโดย Ralph C. Smedley ตั้งแต่ปี 1905 ซึ่งปัจจุบันมีเครือข่ายมากกว่า 135 ประเทศทั่วโลก รวมทัง้ ประเทศไทยด้วย มีเป้าหมายมุง่ เน้นพัฒนาการพูด เสริมสร้างบุคลิกภาพ กล้าแสดงออกอย่างมัน่ ใจ ปลุกเร้า ภาวะผูน้ ำ� เสริมพลังเชิงบวกให้แก่ผทู้ เี่ ข้าเป็นสมาชิก และ ท�ำให้เกิดความรูส้ กึ ว่า การพูดในทีส่ าธารณะไม่ใช่เรือ่ งยาก เป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ส�ำหรับทุกคน โดยโทสต์มาสเตอร์ใช้ เป็นแนวทางให้แก่นกั พูดและเป็นพืน้ ฐานให้แก่ผทู้ ศี่ กึ ษา ด้านการพูดในรุ่นต่อมา Miller (2011: 216-223) ได้เสนอแนวทางทีน่ า่ สนใจ ในการลดความกังวลในการพูดในที่สาธารณะไว้ดังนี้ 1) เตรียมข้อมูลส�ำหรับการพูดหรือการน�ำเสนอให้ พร้อมมากที่สุด ข้อมูลนั้นต้องมีความทันสมัย และผู้พูด ต้องมีความมั่นใจหากผู้ฟังถามค�ำถาม
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
2) ฝึกพูดหรือน�ำเสนอซ�ำ้ ไปมาหลายๆ ครัง้ จนมัน่ ใจ ว่าจะไม่ลืมบทพูด 3) การจ�ำบทพูด มิใช่หมายถึงจดจ�ำได้ทุกตัวอักษร แต่เน้นจ�ำเฉพาะตอนเปิดเรื่อง ตอนปิดเรื่อง และส่วน ส�ำคัญในการน�ำเสนอเท่านั้น เพื่อให้การพูดด�ำเนินไป อย่างเป็นธรรมชาติ 4) ไม่ ค วรบอกผู ้ ฟ ั ง ว่ า ผู ้ พู ด กั ง วลมากเพี ย งใด ในการน�ำเสนอ เพราะอาจท�ำให้ผู้ฟังจับจ้องมากยิ่งขึ้น จนผู้พูดเกิดความประหม่าได้ อย่างไรก็ตาม ในการพูด ที่เป็นธรรมชาติไม่ควรพูดราบเรียบหรือจืดชืดจนเกินไป เพราะจะขาดสีสัน ท�ำให้ผู้ฟังเบื่อหน่าย 5) ผู้พูดสามารถใช้แผนผังความคิด (Mind Map) หรือเลือกเฉพาะค�ำส�ำคัญเตรียมไว้ในโน้ตย่อไฮไลต์ด้วย สีต่างๆ ใช้เวลาออกไปน�ำเสนอ 6) ก่อนพูดหรือน�ำเสนอ หายใจเข้าทางจมูกลึกๆ และหายใจออกทางปากอย่างช้าๆ จะท�ำให้ผ่อนคลาย มากขึ้น 7) เตรียมการแต่งกายให้พร้อมก่อนพูด ตรวจเสือ้ ผ้า ใบหน้า ทรงผม ให้เรียบร้อย เพื่อให้เกิดความมั่นใจ 8) นอนพักผ่อนให้เต็มที่ในคืนวันก่อนพูด เพื่อให้ สมองปลอดโปร่ง 9) ตรวจสอบยาที่ รั บ ประทานอยู ่ เ ป็ น ประจ� ำ ว่ า ส่งผลกระทบต่อร่างกายหรือมีผลข้างเคียงอืน่ ๆ ต่อการพูด หรือไม่ เช่น อาการง่วงนอน ปากแห้ง คอแห้ง ฯลฯ 10) วิเคราะห์ผู้ฟังว่าจะสามารถมองเห็นผู้พูดได้ ชัดเจนหรือไม่ โดยการตรวจสอบที่นั่ง และวิเคราะห์ว่า ผู้ฟังจะได้ยินเสียงผู้พูดชัดเจนหรือไม่ โดยตรวจสอบ เครื่องเสียงกับช่างเทคนิค 11) พยายามลดความตึ ง เครี ย ดของตนเองโดย พยายามสร้างความคุ้นเคยกับผู้ฟัง 12) มาถึงสถานทีก่ อ่ นเวลาและส�ำรวจว่าจะมีอะไร เป็นอุปสรรคต่อการพูดหรือไม่ เช่น เสียงรบกวนจาก ภายนอก 13) เมื่อมาถึงสถานที่ก่อนเวลาแล้ว ควรพบปะ ทักทายผูฟ้ งั แนะน�ำตนเอง ถามสิง่ ทีผ่ ฟู้ งั ชอบ สิง่ ทีผ่ ฟู้ งั
233
คาดหวัง เหตุผลทีผ่ ฟู้ งั มาร่วมงาน เพือ่ ให้เรียนรูอ้ ารมณ์ ของผู้ฟัง 14) ถ้าผูฟ้ งั มีปา้ ยชือ่ ติดเสือ้ ควรเรียกชือ่ อย่างถูกต้อง 15) ผู้พูดควรขยับร่างกายบ้างก่อนพูด เช่น เดิน ไปมาเล็กน้อย เพื่อลดความตื่นเต้น 16) หากรู้ว่าตนเองมีอาการวิตกกังวลมากเกินไป ควรหาผู้ให้ค�ำปรึกษาที่ดีเพื่อความวิตกกังวล 17) ให้ก�ำลังใจแก่ตนเองเสมอว่า ผู้ฟังต้องการให้ ผู้พูดประสบความส�ำเร็จในการพูด เดล คาร์เนกี้ (2539: 105-125) ผู้เชี่ยวชาญด้าน การพูดชาวอเมริกนั ได้ให้คำ� แนะน�ำทีน่ า่ สนใจว่า อาการ วิตกกังวลสามารถแก้ไขหรือท�ำให้ลดลงได้โดยการใช้ ภาระงานอื่นๆ เข้ามาแทนที่ เนื่องจากสมองของคนเรา คิดได้เพียงครั้งละหนึ่งเรื่องราวเท่านั้น สิ่งส�ำคัญคือ การพูดในที่สาธารณะบ่อยครั้ง หรือมี ประสบการณ์ในการพูดจะท�ำให้ตื่นเต้นน้อยลง และมี ความเป็นมืออาชีพมากยิง่ ขึน้ (เกรียงศักดิ์ นิรตั พิ ฒ ั นะศัย และชัยรัตน์ วงศ์จินดานนท์, 2553: 16)
บทสรุป
ความกลัวการพูดในที่สาธารณะ (Glossophobia) หมายถึง อาการกลัวหรือรู้สึกว่าเลวร้ายมาก จะเกิดขึ้น อย่างรุนแรงก่อนที่จะพูดโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าต้องพูด ต่อหน้าคนหมู่มาก โดยจะมีการแสดงอวัจนสารอันไม่ พึงประสงค์ ซึ่งเป็นการแสดงกิริยาท่าทางที่เกิดขึ้นกับ ร่างกาย การพูด หรือท่าทางต่างๆ ซึง่ ผูพ้ ดู ไม่ตอ้ งการให้ ผูอ้ นื่ สังเกตเห็น แต่ควบคุมได้ยาก หรือไม่สามารถควบคุม ได้เลย โดยเมื่อเกิดการตื่นเวที คนเรามักจะเริ่มจากการ ประหม่า จากนัน้ จึงวิตกกังวล ซึง่ ถ้าเกิดขึน้ เพียงเล็กน้อย ควบคุมได้ จะท�ำให้การพูดด�ำเนินได้อย่างดี แต่ถ้าเริ่ม มากขึน้ จนวิตกจริต และเข้าสูข่ นั้ ตืน่ เวทีหรือกลัว ซึง่ เป็น ระดับทีร่ นุ แรงมากขึน้ จนควบคุมได้ยาก จะท�ำให้การพูด ครั้งนั้นขาดประสิทธิภาพในที่สุด การวิเคราะห์สาเหตุของความกลัวจะศึกษาได้จาก ทฤษฎี ก ารเรี ย นรู ้ ก ารวางเงื่ อ นไขแบบคลาสสิ ก ของ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
234
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
จอห์น บี วัตสัน ตามแนวทางของพาฟลอฟ โดยมี ความเชือ่ ว่า คนทีเ่ คยมีความทรงจ�ำทีไ่ ม่ดเี กีย่ วกับการพูด ในครั้งก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นการถูกเพื่อนหัวเราะเยาะ พูดติดอ่าง หรือพูดผิดพลาด อาจส่งผลให้กลัวการพูด ในที่สาธารณะด้วย โดยมีอวัจนสารบางอย่างแสดงให้ เห็นได้ชดั เจน ซึง่ สิง่ เหล่านีผ้ พู้ ดู มักรูส้ กึ ว่าเป็นกิรยิ าอาการ ที่ไม่พึงประสงค์ แต่ก็ควบคุมได้อย่างยากยิ่ง บางครั้ง ก็ไม่สามารถควบคุมได้เลยถ้าเกิดขึ้นในระดับรุนแรง หรืออาจแสดงออกไปโดยไม่รู้ตัว โดยสามารถจ�ำแนกได้ 3 อาการหลัก คือ อาการทีเ่ กิดขึน้ กับร่างกาย เช่น หัวใจ เต้นเร็ว เหงื่อออกมาก ปากแห้ง อาการที่เกิดขึ้นกับ การพูด เช่น พูดติดขัด และอาการที่เกิดขึ้นจากท่าทาง ต่างๆ เช่น ขยับแขนขาตลอดเวลา ความกลัวการพูดในทีส่ าธารณะเกิดขึน้ ได้กบั ทุกคน โดยเฉพาะนักศึกษา มีปัจจัยด้านอายุและสิ่งแวดล้อม เป็นตัวก�ำหนด ผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่าหรืออยู่ใน สภาพแวดล้อมทีเ่ อือ้ ต่อการพูดมากกว่า ย่อมมีความกลัว
การพูดน้อยกว่าผู้ที่เก็บตัวมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด แนวทางลดความกังวลมีหลากหลายวิธกี าร ไม่วา่ จะ เป็นการเข้าเป็นสมาชิกฝึกพูดของโทสต์มาสเตอร์ คลับ การเตรียมข้อมูลให้พร้อมมากทีส่ ดุ ฝึกพูดซ�ำ้ ๆ จ�ำเฉพาะ ส่วนส�ำคัญ ใช้เทคนิคพิเศษช่วยจ�ำ หายใจเข้าออก เพื่อผ่อนคลาย แต่งกายให้พร้อม เพื่อสร้างความมั่นใจ พักผ่อนให้เพียงพอ วิเคราะห์ผู้ฟัง สร้างความคุ้นเคย ขยับร่างกายบ้าง และให้กำ� ลังใจตนเองเสมอ ร้านขายหนังสือทั่วไปและห้องสมุดส่วนใหญ่จะมี หนังสือที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการพูดในที่สาธารณะหรือ การพูดในโอกาสต่างๆ มากมายเพือ่ ให้ผทู้ สี่ นใจได้ศกึ ษา และน�ำวิธกี ารต่างๆ ไปทดลองใช้เพือ่ ฝึกพูด แก้ไขการพูด ช่วยเหลือผู้ที่มีอาการประหม่า วิตกกังวล หรือตื่นเวที แต่ไม่วา่ จะได้อา่ นมากเพียงใด หากมิได้ลองน�ำไปปฏิบตั จิ ริง โอกาสที่จะหายขาดจากอาการดังกล่าว แล้วสามารถ พูดได้ดี ก็คงจะเป็นไปได้ยาก การฝึกฝนบนเวทีบอ่ ยครัง้ จึงเป็นทางออกที่เหมาะสม
บรรณานุกรม
เกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย และชัยรัตน์ วงศ์จินดานนท์. (2553). High Impact Presentation น�ำเสนออย่างมีพลัง แบบมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. คาร์เนกี้, เดล. (2539). หยุดวิตกกังวลและอยู่อย่างมีความสุข. แปลจากเรื่อง How to Stop Worrying and Start Living โดย ศิระ โอภาสพงษ์. กรุงเทพฯ: คู่แข่งบุ๊คส์. จินดา งามสุทธิ. (2549). ศิลปะการพูด (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. ณัฐพงศ์ เกศมาริษ. (2548). เทคนิคการน�ำเสนออย่างมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท. ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในโอกาสพระราชพิธมี หามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. วัลลภ ปิยะมโนธรรม. (2553). เทคนิคการแก้ไขอาการวิตกกังวล กลัว ด้วยตัวเอง (พิมพ์ครัง้ ที่ 6). กรุงเทพฯ: ฐานบุค๊ ส์. วิธัญญา วัณโณ. (2551). โรคกลัว. วารสาร มฉก. วิชาการ, 12(23), 64-77. สมิต สัชฌุกร. (2551). การพูดต่อชุมนุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สายธาร. สุธาสินี พ่วงพลับ. (2555). การสือ่ สารด้วยอวัจนภาษาในพฤติกรรมโกหก หลอกลวงของมนุษย์. วารสารปัญญาภิวฒ ั น์, 4(1), 141-151. ฮอค, เจมส์. (2540). แก้ปัญหาชีวิตด้วยจิตวิทยา. แปลจากเรื่อง I Would If I Could And I Can โดย พลวัต. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
235
Carbonell, D. (2015). Fear of Public Speaking: the Fear that Stalls Careers. Retrieved October 28, 2015, from http://www.anxietycoach.com/fear-of-public-speaking.html Glossophobia.com. (2015). Do you suffer from Glossophobia?. Retrieved October 28, 2015, from http://www.glossophobia.com/index.html Health Media Ventures, Inc. (2015). 12 Signs You May Have an Anxiety Disorder. Retrieved October 28, 2015, from http://www.health.com/health/gallery/0,,20646990,00.html McCroskey, J. C. (1970). Measures of Communication-Bound Anxiety. Speech Monographs, 37(XXXVII), 276. Miller, F. E. (2011). No Sweat Public Speaking! How to Develop, Practice and Deliver a Knock Your Socks Off Presentation! With No Sweat!. U.S.A.: Fred Co. Osório, F. de L., Crippa, J. A. S., Hallak, J. E. C. & Loureiro, S. R. (2014). Social Anxiety Disorder, Fear of Public Speaking, and the Use of Assessment Instruments. Brasil: Ribeirão Preto Medical School, University of São Paulo. Rodríguez J. O., Rodríguez, JA. P. & Alcázar AI. R. (2006). Sociodemographic and Psychological Features of Social Phobia in Adolescents. Psicothema, 18(2), 207-212. Stoner, M. (2010). ComS 5 The Communication Experience: Personal Report of Public Speaking Anxiety (PRPSA). U.S.A.: California State University, Sacramento. Toastmasters International. (2016). The Toastmasters Journey. Retrieved February 26, 2016, from https://www.toastmasters.org/About/History Valkovci, S. (2014). The Detrimental Effects of Glossophobia Among College Students. Retrieved January 1, 2016, from http://rampages.us/valkovcis/research-paper/ Wadsworth. (2015). Personal Report of Public Speaking Anxiety. Retrieved November 1, 2015, from http://www.wadsworth.com/communication_d/templates/studentresources/053455170Xs ellnow/psa/mainframe.html Worthington, E. L., Tipton, R. M., Cromley, J. S., Richards, T. & Janke, R. H. (1984). Speech and Coping Skills Training and Paradox as Treatment for College Students Anxious about Public Speaking. Perceptual and Motor Skills, 59(2), 394-396.
Translated Thai References
Carnegie, D. (1996). How to Stop Worrying and Start Living. Translated by Ophatphong, S. Bangkok: Khukheng Book. [in Thai] Hoke, J. (1997). I Would If I Could And I Can. Translated by Phonlawat. Bangkok: Sangsan Book. [in Thai] Ketmarit, N. (2005). How to be Professional in Presentation (2nd ed.). Bangkok: Expertnet. [in Thai] Ngamsutthi, J. (2006). Art of Speaking (4th ed.). Bangkok: Audience Store. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
236
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�าเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Niratphatthanasai, K. & Wongjindanon, C. (2010). High Impact Presentation. Bangkok: Thailand Productivity Institute. [in Thai] Office of the Royal Society. (2013). Thai Language Dictionary: Office of the Royal Society Edition. Bangkok: Office of the Royal Society. [in Thai] Piyamanotham, W. (2010). Remove the Anxiety and Fear on your Own! (6th ed.). Bangkok: Than Book. [in Thai] Poungplub, S. (2012). The Communication with Nonverbal Language in Lying-Deceit Behaviors of Human Beings. Panyapiwat Journal, 4(1), 141-151. [in Thai] Satchukorn, S. (2008). Public Speaking (2nd ed.). Bangkok: Saithan. [in Thai] Wanno, W. (2008). Phobias. HCU Journal, 12(23), 64-77.
Name and Surname: Suthasinee Poungplub Highest Education: Master of Arts in Language for Communication, Mahidol University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Language for Communication and Thai Language for Foreigners Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
237
นโยบายต่างประเทศจีนต่อแอฟริกาในศตวรรษที่ 21 CHINA FOREIGN POLICY TOWARDS AFRICA IN THE 21st CENTURY วิลาสินี พิบูลย์เศรษฐ์ Wilasinee Piboonsate คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ Faculty of Liberal Arts, Panyapiwat Institute of Management
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษานโยบายต่างประเทศจีนต่อแอฟริกาในศตวรรษที่ 21 จากการศึกษาพบว่า นับตั้งแต่ ประเทศจีนได้ด�ำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศภายใต้การน�ำของเติ้งเสี่ยวผิงในปี ค.ศ. 1978 เป็นต้นมา ส่งผล ให้จนี มีการเปลีย่ นแปลงทัง้ ยุทธศาสตร์ภายในประเทศและต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ นโยบายต่างประเทศจีนต่อแอฟริกา จึงต้องมีการปรับให้สอดคล้อง โดยปรับจากการเน้นเป้าหมายทางอุดมการณ์การเมือง มาสู่การเน้นผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจ เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 จีนได้สร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับแอฟริกามากขึ้น โดยจีนได้ด�ำเนิน นโยบายต่อแอฟริกา ใน 3 รูปแบบหลัก คือ 1) การส่งเสริมมิตรภาพและความสัมพันธ์อันดีกับแอฟริกา 2) การสร้าง ความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน 3) การให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในแอฟริกา ค�ำส�ำคัญ: นโยบายต่างประเทศ จีน แอฟริกา
Abstract
This article focuses on China’s foreign policy towards Africa in the twenty first century. The study found that after China undertook economic reform and open-door policy under the leadership of Deng Xiaoping in 1978, affected to changes in its domestic and foreign policy strategies. China, therefore, need to shifted its foreign policy approach to Africa from was heavily influenced by political ideology interest to was heavily influenced by expanding economic interest. In the twenty first century, China has implemented policies to connect and collaborate with Africa in 3 main ways, including enhancing its friendship and good relationship to Africa; Expanding cooperation in trade and investment cooperation; and offering help to many countries in Africa. Keywords: Foreign Policy, China, Africa Corresponding Author E-mail: wilasineepib@pim.ac.th
238
บทน�ำ
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
นับตั้งแต่เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา จีนได้ก้าว ขึน้ มามีบทบาทโดดเด่นในเวทีเศรษฐกิจการเมืองระหว่าง ประเทศ พร้อมมุง่ ขยายความร่วมมือกับนานาประเทศ ทัง้ นี้ จีนได้ให้ความส�ำคัญต่อการก�ำหนดนโยบายต่างประเทศ เนือ่ งจากนโยบายต่างประเทศ (Foreign Policy) ถือเป็น แนวทางทีป่ ระเทศใช้ในการด�ำเนินความสัมพันธ์กบั ประเทศ ต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งก็คือผลประโยชน์ แห่งชาติ (National Interest) แอฟริกาถือเป็นภูมิภาคส�ำคัญที่จีนให้ความสนใจ เป็นอย่างยิง่ เนือ่ งด้วยแอฟริกาเป็นภูมภิ าคทีม่ คี วามส�ำคัญ ต่อยุทธศาสตร์ทงั้ การเมืองและเศรษฐกิจของจีน นโยบาย ต่างประเทศจีนต่อแอฟริกาถือเป็นหนึง่ ในเครือ่ งมือส�ำคัญ ที่จีนน�ำมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายที่มีต่อแอฟริกา ทั้งนี้ นโยบายที่มีต่อแอฟริกายังต้องมีการปรับให้สอดคล้อง กับยุทธศาสตร์และเป้าหมายของนโยบายต่างประเทศ ของจีนที่วางไว้ในแต่ละช่วงเวลาด้วย บทความฉบับนี้แบ่งนโยบายต่างประเทศจีนต่อ แอฟริกาออกเป็นสามช่วงหลักๆ ได้แก่ ช่วงที่หนึ่ง นโยบายต่างประเทศจีนต่อแอฟริกา ค.ศ. 1949-1978 ช่วงทีส่ อง การปรับนโยบายต่างประเทศจีนต่อแอฟริกา ภายหลังปฏิรูปและเปิดประเทศ ค.ศ. 1978 ช่วงที่สาม นโยบายต่างประเทศจีนต่อแอฟริกาในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะในส่วนนโยบายต่างประเทศจีนต่อแอฟริกา นับตั้งแต่เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมาถือว่ามีความ น่าสนใจเป็นอย่างยิง่ จีนได้สร้างความสัมพันธ์และความ ร่วมมือกับแอฟริกา โดยปรับให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ภายในประเทศและต่างประเทศของจีน ทัง้ นีจ้ นี ได้ดำ� เนิน นโยบายต่อแอฟริกา ใน 3 รูปแบบหลัก คือ 1) การ ส่งเสริมมิตรภาพและความสัมพันธ์อันดีกับแอฟริกา 2) การสร้างความร่วมมือทางด้านการค้าและการลงทุน 3) การให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในแอฟริกา ช่วงที่หนึ่ง นโยบายต่างประเทศจีนต่อแอฟริกา ค.ศ. 1949-1978 หลังสาธารณรัฐประชาชนจีนได้รบั การสถาปนาขึน้
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1949 ภาวะสงครามเย็นและ สถานการณ์ความมัน่ คงภายในประเทศท�ำให้รฐั บาลจีนใหม่ ต้องแสวงหาชาติพันธมิตร หลักนโยบายต่างประเทศ ทีจ่ นี น�ำมาใช้ในช่วงเวลานีจ้ งึ เป็นนโยบายอิงไปข้างเดียว (Lean to One Side) กับสหภาพโซเวียต (楚树龙, 金 威, 2008: 45-46) แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ปลาย ทศวรรษ 1950 จีนกับสหภาพโซเวียตเริม่ มีความขัดแย้ง เมื่ อ ต้ อ งเผชิ ญ หน้ า กั บ มหาอ� ำ นาจทั้ ง สหรั ฐ อเมริ ก า และสหภาพโซเวียต ท�ำให้จีนต้องหันมาให้ความส�ำคัญ กับประเทศก�ำลังพัฒนาอื่นๆ โดยความสัมพันธ์ระหว่าง จี น กั บ ประเทศก� ำ ลั ง พั ฒ นาได้ เ ริ่ ม ต้ น ขึ้ น อย่ า งเป็ น ทางการในการประชุมเอเชีย-แอฟริกา (Asian-African conference) ณ เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือน เมษายน ค.ศ. 1955 (Han, 1990: 104) กล่าวได้ว่า การที่จีนเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ท�ำให้จีนสามารถ ผูกมิตรกับประเทศก�ำลังพัฒนาในเอเชียและแอฟริกา โดยเฉพาะการสานความสัมพันธ์ระหว่างจีนและแอฟริกา ซึ่งได้ขาดช่วงไปในห้วงเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา ส�ำหรับนโยบายต่างประเทศจีนในช่วงนับตั้งแต่ ค.ศ. 1949 จนถึงการด�ำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิด ประเทศในปลายทศวรรษ 1970 นัน้ จีนได้นำ� ผลประโยชน์ ทางการเมืองและความมั่นคงของประเทศมาเป็นหลัก ในการก�ำหนดนโยบาย ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างจีน และแอฟริกาจึงเน้นทีก่ ารสร้างผลประโยชน์ทางการเมือง และการสนับสนุนการต่อสู้กับลัทธิจักรวรรดินิยมเป็น ส�ำคัญ (楚树龙, 金威, 2008: 268-270) โดยจีนได้ ด�ำเนินนโยบายต่อแอฟริกาในรูปแบบดังต่อไปนี้ การสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและ แอฟริกา การประชุมเอเชีย-แอฟริกา (Asian-African conference) ค.ศ. 1955 ถือได้ว่าเป็นโอกาสแรกของผู้น�ำ จากแอฟริกาทั้ง 6 ประเทศที่ได้พบปะกับผู้น�ำของจีน โดยเฉพาะการพบกับผู้น�ำของอียิปต์และน�ำไปสู่การ สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1956 ซึ่งถือเป็นประเทศแรกของทวีปแอฟริกา
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ทีส่ ถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนอย่างเป็นทางการ (黄安余, 2005: 349) ในช่วงทศวรรษ 1960 มีเหตุการณ์ ส�ำคัญที่สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของความสัมพันธ์ ระหว่ า งจี น และแอฟริก า นั่นคือ การเดินทางเยือน 10 ประเทศในแอฟริกาของนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 1963 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1964 นับเป็นการเยือนแอฟริกาอย่างเป็นทางการ ครั้งแรกของผู้น�ำจีนและยังได้เสนอหลัก 5 ประการ เพือ่ เป็นแนวทางสร้างความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับแอฟริกา (北京大学非洲研究中心, 2000: 1) จนกระทั่งเข้าสู่ ทศวรรษ 1970 ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและแอฟริกา ก็พฒ ั นาไปในทิศทางทีด่ ี โดยจีนได้สถาปนาความสัมพันธ์ ทางการทูตกับแอฟริกากว่า 21 ประเทศ (Fernando, 2007: 363-373) ซึ่งถือเป็นทศวรรษส�ำคัญทางการทูต ระหว่างจีนและแอฟริกา การสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับแอฟริกายังได้ ส่งผลดีตอ่ จีนในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ ในปี ค.ศ. 1971 สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รบั การฟืน้ ฟู ทีน่ งั่ ในองค์การสหประชาชาติ ในจ�ำนวนเสียงสนับสนุน ที่จีนได้รับจากทั้ง 76 ประเทศนั้น มาจากทวีปแอฟริกา ถึง 26 ประเทศ หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของคะแนนเสียง ที่จีนได้รับทั้งหมด (王泰平, 1999: 170) การสนับสนุนแอฟริกาเพือ่ ต่อต้านลัทธิจกั รวรรดินิยมและการต่อสู้เรียกร้องเอกราช ยุ ท ธศาสตร์ ข องจี น เน้ น การสร้ า งความร่ ว มมื อ เพื่อการปฏิวัติ โดยสนับสนุนการต่อต้านการปกครอง โดยคนผิวขาว การให้ความช่วยเหลือในการฝึกกองทัพ รวมถึ ง สนั บ สนุ น การต่ อ สู ้ เ พื่ อ เรี ย กร้ อ งเอกราชจาก ตะวันตก (王泰平, 1999: 1,198) การช่วยเหลือแก่ประเทศในแอฟริกา การช่วยเหลือแอฟริกาเริ่มขึ้นเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ คลองสุเอซใน ค.ศ. 1956 จีนให้ความช่วยเหลือด้าน การเงินแก่รฐั บาลอียปิ ต์ ต่อมาในช่วงการเดินทางไปเยือน ประเทศแอฟริกาอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี โจวเอินไหลระหว่างปี ค.ศ. 1963 และ 1964 ยังได้เสนอ
239
หลักการช่วยเหลือ 8 ประการต่อประเทศโลกที่สาม ส�ำหรับการช่วยเหลือส�ำคัญทีจ่ นี มีตอ่ แอฟริกาคือ การสร้าง ทางรถไฟสายแทนซาเนีย-แซมเบีย (TanZam railway) ในช่วงทศวรรษ 1960 มีมลู ค่ารวมกว่า 450 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ โดยรัฐบาลจีนได้ส่งวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึง เจ้าหน้าทีท่ างเทคนิคและวิศวกรเข้าไปส�ำรวจและวางแผน โครงการขนาดใหญ่นคี้ ดิ เป็น 1 ใน 5 ของการช่วยเหลือ ทางเศรษฐกิจทัง้ หมดทีจ่ นี มีตอ่ แอฟริกา นอกจากนีย้ งั มี การช่วยเหลืออื่นๆ อาทิ การช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ การสร้ า งสาธารณู ป โภคขั้ น พื้ น ฐาน การแพทย์ แ ละ สาธารณสุข และการศึกษา เป็นต้น (วิลาสินี พิบลู ย์เศรษฐ์, 2553: 54-64) ช่ ว งที่ ส อง: การปรั บ นโยบายต่ า งประเทศจี น ต่อแอฟริกาภายหลังการด�ำเนินนโยบายปฏิรูปและ เปิดประเทศ ค.ศ. 1978 ในปลายทศวรรษ 1970 จีนได้เข้าสูก่ ารเปลีย่ นแปลง ครั้ ง ส� ำ คั ญ ในการประชุ ม คณะกรรมการกลางพรรค คอมมิวนิสต์ชุดที่ 11 เต็มคณะครั้งที่ 3 ค.ศ. 1978 ได้มีมติให้ด�ำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศ (วรศักดิ์ มหัทธโนบล, 2549: 174) ต่อมาจีนได้ใช้ระบบเศรษฐกิจ การตลาด ซึง่ จีนเรียกว่า ระบบเศรษฐกิจการตลาดแบบ สังคมนิยม ถือได้ว่าน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ การเมืองภายในของจีนครั้งยิ่งใหญ่ ประกอบกับต่อมา ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 จีนพยายามเข้าไปเป็นสมาชิก ขององค์กรเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (Lanteigne, 2009: 60-61) เห็นได้ว่าจีนได้เปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ ภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งเริ่มมีบทบาท ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศมากขึ้น เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจภายใน ของจีนมีการเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นที่น่าสนใจว่าจีนจะ ปรับนโยบายทีม่ ตี อ่ แอฟริกาไปในทิศทางเช่นไร จากการ ศึกษาพบว่า นโยบายต่างประเทศจีนต่อแอฟริกาหลังจาก ทศวรรษ 1980 ได้มีการปรับโดยเน้นผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจและความร่วมมือระหว่างกัน โดยในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1982 นายกรัฐมนตรีจา้ วจือ่ หยางได้เดินทาง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
240
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ไปเยือนประเทศในแอฟริกา 11 ประเทศ ในระหว่าง การเยือนได้ประกาศหลัก 4 ประการในการพัฒนา ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคนิคกับประเทศใน แอฟริกา (Davies, 2008) เมื่อเข้าสู่ทศวรรษที่ 1990 จี น ได้ ข ยายความสั ม พั น ธ์ ท างเศรษฐกิ จ กั บ แอฟริ ก า เพิ่มขึ้น โดยในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1996 จีนได้เสนอ หลัก 5 ประการในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีน และแอฟริ ก า เน้ น ย�้ ำ ความร่ ว มมื อ ระหว่ า งรั ฐ บาล ในขณะเดียวกันส่งเสริมความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจ ของทัง้ สองฝ่าย พร้อมทัง้ ขยายประเทศคูค่ า้ ให้ครอบคลุม ทัว่ ทวีปแอฟริกา สินค้าทีจ่ นี ส่งออกไปยังแอฟริกาก็เปลีย่ น ไปเป็นสินค้าทีใ่ ช้เทคนิคและสินค้าประเภทเครือ่ งใช้ไฟฟ้า (王运泽, 2006: 73-74) การปรั บ นโยบายของจี น ต่ อ แอฟริ ก า นอกจาก เพื่อขยายการค้าในแอฟริกายังเพื่อผลประโยชน์ด้าน การแสวงหาพลังงานของจีน เนื่องจากนับตั้งแต่กลาง ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา จีนได้เริ่มด�ำเนินนโยบาย แสวงหาน�้ำมันในภูมิภาคต่างๆ ทั้งนี้จีนได้เข้าไปลงทุน ส�ำรวจและสัมปทานแหล่งน�ำ้ มันในประเทศผูผ้ ลิตน�ำ้ มัน ส�ำคัญๆ ในแอฟริกา อาทิ แองโกลา ไนจีเรีย ซูดาน แอลจีเรีย เป็นต้น ช่วงที่สาม: นโยบายต่างประเทศจีนต่อแอฟริกา ในศตวรรษที่ 21 นโยบายต่างประเทศจีนต่อแอฟริกาในศตวรรษใหม่นี้ สาระส�ำคัญคือ จีนยังคงประกาศยึดมัน่ ในหลัก 5 ประการ ของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและไม่แทรกแซงกิจการ ภายในของแอฟริกา สนับสนุนประเทศในแอฟริกาในการ เลือกระบบการปกครองของตนเอง การต่อสูเ้ พือ่ ปกป้อง เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และส่งเสริม ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของแอฟริกา โดยเฉพาะ จีนพยายามด�ำเนินการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ แก่ประเทศในแอฟริกา และสนใจสร้างความร่วมมือทาง การค้าและเศรษฐกิจร่วมกับแอฟริกาในรูปแบบต่างๆ บนพืน้ ฐานของความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์รว่ มกัน (Ministry of Foreign Affairs of the People’s
Republic of China, 2000) ทัง้ นีจ้ ากการปรับยุทธศาสตร์ภายในและต่างประเทศ ตัง้ แต่ปลายศตวรรษทีผ่ า่ นมา รวมถึงการก�ำหนดบทบาท ของจีนในเวทีระหว่างประเทศ ท�ำให้เห็นได้ชดั ว่าเป้าหมาย ผลประโยชน์ของจีนในศตวรรษใหม่นี้ได้เน้นที่ประเด็น การผลักดันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายส�ำคัญ โดยจีนได้ดำ� เนินนโยบายต่อแอฟริกาใน 3 รูปแบบหลัก คือ 1) การส่งเสริมมิตรภาพและความสัมพันธ์อันดีกับ แอฟริกา 2) การสร้างความร่วมมือทางการค้าและการ ลงทุน 3) การให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในแอฟริกา 1. การส่งเสริมมิตรภาพและความสัมพันธ์อนั ดีกบั แอฟริกา การด�ำเนินนโยบายจีนต่อแอฟริกาในศตวรรษ ใหม่นี้ จีนเน้นการส่งเสริมมิตรภาพและความร่วมมือกับ แอฟริกาบนหลัก 5 ประการของการอยู่ร่วมกันอย่าง สันติและไม่แทรกแซงกิจการภายในของแอฟริกา จีนให้ ความส�ำคัญกับการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับ แอฟริกาในหลากหลายรูปแบบ การประชุมความร่วมมือจีน-แอฟริกา (The Forum on China-Africa Co-operation- FOCAC) รัฐบาลจีนได้จดั การประชุมความร่วมมือระหว่าง จีนและแอฟริกาขึน้ เป็นครัง้ แรกในปี ค.ศ. 2000 โดยการ ประชุมมีเป้าหมายเพื่อขยายความร่วมมือ และส่งเสริม การแลกเปลีย่ นความคิดเห็นทางการเมืองและเศรษฐกิจ ในช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 2000-2015 ได้มีการจัดประชุม ถึง 6 ครั้ง การประชุมความร่วมมือจีนและแอฟริการะดับ รัฐมนตรีครัง้ ทีห่ นึง่ (The First Ministerial Conference of the Forum on China-Africa Cooperation) ได้ จัดขึ้นในวันที่ 10-12 ตุลาคม ค.ศ. 2000 ณ กรุงปักกิ่ง เป็นการรวมตัวของผู้น�ำระดับสูงของจีนและประเทศ ต่างๆ ในแอฟริกา พร้อมกันนี้ในที่ประชุมได้ประกาศ เอกสารส�ำคัญ 2 ฉบับคือ ปฏิญญาปักกิง่ ว่าด้วยการประชุม ความร่วมมือจีน-แอฟริกา (Beijing Declaration of the Forum on China-Africa Cooperation) และโครงการ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ความร่วมมือจีน-แอฟริกาในการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคม (Programme for China-Africa Cooperation in Economic and Social Development) ภายหลัง จากการประชุมความร่วมมือจีน-แอฟริกาใน ค.ศ. 2000 (Ministry of Foreign Affairs of the People’s Republic of China, 2000) ต่อมาได้ก�ำหนดว่าจะมี การจัดการประชุมความร่วมมือจีน-แอฟริกาในทุกๆ 3 ปี โดยมีการหมุนเวียนสลับกันเป็นเจ้าภาพระหว่างจีนและ แอฟริกา การประชุมครั้งที่สอง (The Second Ministerial Conference of the Forum on ChinaAfrica Cooperation) จัดขึ้นที่กรุงแอดดิส อบาบา เมื อ งหลวงของประเทศเอธิ โ อเปี ย ในเดื อ นธั น วาคม ค.ศ. 2003 การประชุมครั้งที่สาม (Beijing Summit & Third Ministerial Conference of Forum on China-Africa Cooperation) จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2006 การประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมระดับสุดยอดผูน้ �ำ มีประมุขของรัฐ ผูน้ ำ� รัฐบาลจาก 48 ประเทศในแอฟริกาเข้าร่วมประชุม ในการประชุมได้ประกาศปฏิญญาการประชุมสุดยอด ปักกิ่ง (Declaration of Beijing Summit of the Forum on China-Africa Cooperation) การประชุมครัง้ ทีส่ ี่ (The Fourth Ministerial Conference of the Forum on China-Africa Cooperation) จัดขึน้ ทีเ่ มืองชาร์ม เอล ชีค (Sharm El Sheikh) ประเทศอียปิ ต์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2009 การประชุมครัง้ ทีห่ า้ (The Fifth Ministerial Conference of the Forum on China-Africa Cooperation) จัดขึน้ ทีก่ รุงปักกิง่ สาธารณรัฐประชาชน จีน ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 การประชุมครัง้ ทีห่ ก (Johannesburg Summit & the sixth Ministerial Conference of Forum on China-Africa Cooperation) จัดขึ้นที่เมือง โจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ ในเดือนธันวาคม
241
ค.ศ. 2015 ซึ่งถือเป็นการประชุมสุดยอดผู้น�ำ มีผู้น�ำ ระดับรัฐของ 50 ประเทศในแอฟริกาเข้าร่วมประชุม และได้ประกาศปฏิญญาการประชุมสุดยอดโจฮันเนสเบิรก์ (Declaration of the Johannesburg Summit of the Forum on China-Africa Cooperation) (Ministry of Foreign Affairs of the People’s Republic of China, 2015) การเยี่ยมเยือนของผู้นำ� ระดับสูงของจีน ตลอดเวลาที่ผ่านมาผู้น�ำระดับสูงของจีนทั้งใน ระดับประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี ประธานสภาประชาชนแห่งชาติจีน รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงต่ า งประเทศ ล้ ว นแต่ เ คย เดินทางไปเยือนประเทศต่างๆ ในแอฟริกา ไม่วา่ จะเป็น ประธานาธิ บ ดี สี จิ้ น ผิ ง ประธานาธิ บ ดี หู จิ่ น เทา ประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน นายกรัฐมนตรีหลีเ่ ค่อเฉียง นายกรั ฐ มนตรี เ วิ น เจี ย เป่ า นายกรั ฐ มนตรี จู ห ญงจี ซึง่ นอกจากเป็นการกระชับความสัมพันธ์อนั ดีกบั ประเทศ ต่างๆ ในแอฟริกาแล้ว ยังส่งผลดีตอ่ การด�ำเนินยุทธศาสตร์ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม รวมถึงความร่วมมือ ในเวทีระหว่างประเทศ การสร้างความร่วมมือและพัฒนายุทธศาสตร์ ร่วมกันกับองค์กรในทวีปแอฟริกา จีนได้กำ� หนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับองค์กร ในภู มิ ภ าคแอฟริ ก า โดยเฉพาะกั บ สหภาพแอฟริ ก า (African Union- AU) ซึง่ เป็นองค์การทางการเมืองและ เศรษฐกิจระหว่างรัฐที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา นอกจากนี้ ยังมีองค์กรอืน่ ๆ อาทิ ประชาคมเพือ่ การพัฒนาแอฟริกา ตอนใต้ (Southern African Development Community- SADC) สหภาพศุลกากรแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Customs Union- SACU) ประชาคม เศรษฐกิ จ ของรั ฐ ในแอฟริ ก าตะวั น ตก (Economic Community of West African States- ECOWAS) อีกด้วย (北京外国语大学亚法学院, 2007: 219) การสร้าง หุน้ ส่วนใหม่เพือ่ การพัฒนาแอฟริกา (New Partnership for Africa’s Development-NEPAD) ซึง่ เป็นวิสยั ทัศน์
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
242
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
และกรอบความคิดเชิงยุทธศาสตร์ใหม่เพือ่ เผชิญหน้ากับ ประเด็นที่ท้าทายทวีปแอฟริกาในปัจจุบัน (The New Partnership For Africa’s Development, 2015) ความร่วมมือระหว่างจีนและแอฟริกาในเวที ระหว่างประเทศ ในปั จ จุ บั น ประเทศส่ ว นใหญ่ ใ นแอฟริ ก าได้ สนับสนุนความพยายามของจีนในการโดดเดี่ยวไต้หวัน ออกจากประชาคมโลก นอกจากนี้ จีนมีแนวทางด�ำเนิน นโยบายร่วมกับแอฟริกาในลักษณะความร่วมมือแบบ ใต้-ใต้ (South-South co-operation) สร้างความ ร่วมมือและแลกเปลี่ยนในระดับพหุภาคี อาทิ องค์การ สหประชาชาติ (UN) การประชุมสหประชาชาติเพือ่ การค้า และการพัฒนา (UNCTAD) และองค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศ ก�ำลังพัฒนาและจัดตั้งระเบียบทางเศรษฐกิจโลกใหม่ ที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกัน ความร่วมมือกับแอฟริกาในด้านต่างๆ จีนได้สร้างความร่วมมือกับแอฟริกาในหลากหลาย มิติ อาทิ ด้านการศึกษา จีนได้เน้นขยายการฝึกอบรม การแลกเปลีย่ นนักศึกษา การเพิม่ จ�ำนวนของทุนการศึกษา ให้แก่แอฟริกา และกองทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใน แอฟริกา ความร่วมมือด้านการแพทย์และสาธารณสุข จีน ได้ขยายการฝึกอบรมเจ้าหน้าทีท่ างการแพทย์ของแอฟริกา โครงการป้องกันการแพร่เชื้อของโรคติดต่อ รวมถึง ส่ ง อุ ป กรณ์ ท างการแพทย์ ไ ปยั ง ประเทศในแอฟริ ก า นอกจากนีย้ งั มีความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการเกษตร จีนได้ยกระดับความร่วมมือในส่วนงาน วิจัยพื้นฐานและประยุกต์ การพัฒนาและแลกเปลี่ยน เทคโนโลยี ร่วมมือและบริการทางเทคนิค แลกเปลี่ยน ประสบการณ์ในการพัฒนาการเกษตร การประมงและ สร้างความมั่นคงในเรื่องอาหาร (วิลาสินี พิบูลย์เศรษฐ์, 2553: 139-144) การประกาศนโยบายจีนต่อแอฟริกา (China’s African policy) จีนได้ประกาศนโยบายจีนต่อแอฟริกาในเดือน
มกราคม ค.ศ. 2006 โดยเอกสารฉบับนีไ้ ด้กำ� หนดเป้าหมาย นโยบายของจีนทีม่ ตี อ่ แอฟริกา ในการสร้างหุน้ ส่วนทาง ยุทธศาสตร์ใหม่แ ละการพัฒนาร่ว มกันอย่างชัดเจน เอกสารแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่ 1) ความส�ำคัญ ของแอฟริกา 2) ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับแอฟริกา 3) นโยบายจีนต่อแอฟริกา 4) การขยายความร่วมมือ ระหว่างจีนและแอฟริกา 5) การประชุมความร่วมมือ จีน-แอฟริกาและการติดตามผล 6) ความสัมพันธ์ของจีน กับองค์กรส่วนภูมภิ าคในแอฟริกา (Ministry of Foreign Affairs of the People’s Republic of China, 2006) 2. การสร้างความร่วมมือด้านการค้าและการ ลงทุน การสร้างความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน ถื อ ได้ ว ่ า เป็ น ประเด็ น ส� ำ คั ญ ในการด� ำ เนิ น นโยบาย ต่างประเทศต่อแอฟริกา นับตั้งแต่เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา โดยในการประชุมความร่วมมือจีน-แอฟริกา ค.ศ. 2000 ได้ก�ำหนดแนวทางในการด�ำเนินนโยบาย ทางเศรษฐกิจของจีนต่อแอฟริกาในศตวรรษใหม่ที่เน้น ความร่วมมือระหว่างรัฐบาล การพัฒนาเศรษฐกิจและ แลกเปลี่ยนทางการค้าของทั้งสองฝ่าย (Ministry of Foreign Affairs of the People’s Republic of China, 2000) ความร่วมมือทางการค้า รัฐบาลจีนได้ก�ำหนด นโยบายการค้าร่วมกับแอฟริกา อาทิ การยกระดับการค้า และความสามารถในการผลิต การประสานนโยบายการค้า ของทั้งสองฝ่าย การจัดตั้งสภาธุรกิจร่วมจีน-แอฟริกา เพือ่ ประสานกับหอการค้าของประเทศแอฟริกา การจัดตัง้ ศูนย์แสดงสินค้าจีน-แอฟริกาในประเทศจีน เพือ่ ส่งเสริม การค้าของสองฝ่าย (Ministry of Foreign Affairs of the People’s Republic of China, 2000) ในเอกสาร นโยบายจีนต่อแอฟริกา ค.ศ. 2006 ยังได้กล่าวถึง นโยบายด้านการค้าของจีนไว้อย่างชัดเจนว่า รัฐบาลจีน จะน�ำระบบที่มีประสิทธิภาพมาใช้อ�ำนวยความสะดวก ในการส่งสินค้าจากแอฟริกาไปยังตลาดของจีนและให้ สิทธิพิเศษปลอดภาษีแก่สินค้าบางรายการที่มาจาก
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดในแอฟริกา รวมถึงความ พยายามในการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) และเจรจากับ องค์กรระดับภูมภิ าคของแอฟริกา (Ministry of Foreign Affairs of the People’s Republic of China, 2006) เมือ่ ถึงปี ค.ศ. 2009 จีนกลายเป็นคูค่ า้ รายใหญ่ทสี่ ดุ ของ แอฟริกา ในปี ค.ศ. 2013 ประธานาธิบดีสจี นิ้ ผิงได้เยือน แอฟริกาและประกาศมาตรการสนับสนุนการพัฒนา แอฟริกา เพิม่ ระบบทีม่ ปี ระสิทธิภาพเพือ่ ประโยชน์ในการ พัฒนาการค้าและเศรษฐกิจระหว่างจีนและแอฟริกา ส�ำหรับประเทศคูค่ า้ ส�ำคัญของจีนส่วนใหญ่เป็นประเทศ เศรษฐกิจส�ำคัญในแอฟริกา อาทิ แอฟริกาใต้ อียิปต์ หรือประเทศที่เป็นแหล่งน�้ำมัน อาทิ แองโกลา ซูดาน ไนจีเรีย คองโก (National Bureau of Statistics of China, 2014) การส่งออกไปยังแอฟริกา ประเทศทีจ่ นี ส่งออก ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่มแอฟริกาเหนือ เช่น อี ยิ ป ต์ โมร็ อ กโก แอลจี เ รี ย ไนจี เ รี ย และประเทศ เศรษฐกิจอย่างแอฟริกาใต้ ส�ำหรับสินค้าส่งออกไปยัง แอฟริกา ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์เกีย่ วกับเครือ่ งจักรและ อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง ผลิตภัณฑ์ พลาสติก สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยางรถยนต์ เป็นต้น การน�ำเข้าจากแอฟริกา สินค้าน�ำเข้าจากแอฟริกา ส่วนใหญ่ ได้แก่ น�้ำมันดิบ แร่เหล็ก ทองแดง เพชร ไม้ซุง น�้ำมัน ถือเป็นสินค้าที่มีสัดส่วนประมาณ 2 ใน 3 ของการน�ำเข้าสินค้าทัง้ หมดจากแอฟริกาและการน�ำเข้า น�ำ้ มันจากแอฟริกาคิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ของการน�ำเข้า จากทุกภูมภิ าคทัว่ โลกของจีน โดยประเทศคูค่ า้ ส�ำคัญ ได้แก่ แองโกลา รองลงมาคือ ซูดาน คองโก อิเควทอเรียลกินี (Zhao, 2007) การลงทุนในแอฟริกา จีนได้ก�ำหนดนโยบาย ด้านการลงทุนกับแอฟริกาอย่างชัดเจน โดยมีลกั ษณะคือ จัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุน ร่วมกันของวิสาหกิจจีนและแอฟริกา โดยรัฐบาลจีนได้ ด�ำเนินข้อตกลงทวิภาคีเพื่อสนับสนุนและรับรองการ ลงทุน ทั้งยังหลีกเลี่ยงภาษีซ�้ำซ้อน (Avoiding Double
243
Taxation) เพือ่ เป็นการปกป้องสิทธิอนั ชอบด้วยกฎหมาย ของผู้ลงทุนทั้งสองฝ่าย ในการประชุมสุดยอดผู้น�ำและ ระดับรัฐ มนตรีว ่าด้ว ยความร่ว มมือจีนและแอฟริกา ครั้งที่สาม ค.ศ. 2006 รัฐบาลจีนได้ประกาศแผนการ ที่จะพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zones) ในแอฟริกาเพือ่ ส่งเสริมการลงทุนของวิสาหกิจจีน (Guerrero & Manji, 2008: 144-145) ส�ำหรับการลงทุน โดยตรง (FDI) ของจีนในแอฟริกาถือว่ามีมูลค่าสูงขึ้น ทุกๆ ปี โดยการลงทุนโดยตรงใน ค.ศ. 2000 มีมูลค่า 287,710,000 เหรี ย ญสหรั ฐ ฯ เมื่ อ ถึ ง ค.ศ. 2013 มีมูลค่าถึง 3,370,640,000 เหรียญสหรัฐฯ สูงขึ้นจาก ปี ค.ศ. 2000 ประมาณ 12 เท่า (National Bureau of Statistics of China, 2015) การลงทุนในแอฟริกา หลักๆ เน้นที่การลงทุนใน 2 ประเภทหลักๆ คือ การ ลงทุนด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน อาทิ โครงการผลิตน�้ำ ท่าอากาศยาน ทางรถไฟ ถนน สะพาน และการลงทุน เกีย่ วกับน�ำ้ มัน โดยบริษทั น�ำ้ มันส�ำคัญของจีน ประกอบ ด้วยบริษัท SINOPEC CNPC CNOOC และ Sino Union Petroleum & Chemical International ซึ่งได้เข้าไปลงทุนเกี่ยวกับการสัมปทาน ส�ำรวจ ซื้อหุ้น สร้างโรงกลั่นน�้ำมันในแอฟริกา อาทิ แองโกลา ชาด สาธารณรัฐคองโก อิเควทอเรียลกินี ไนจีเรีย ซูดาน เป็นต้น นอกจากนีจ้ นี ยังลงทุนเกีย่ วกับทรัพยากรธรรมชาติ ในสาธารณรัฐคองโก กาบอง แอฟริกาใต้ แซมเบีย อีกด้วย (วิลาสินี พิบูลย์เศรษฐ์, 2553: 166-170) 3. การด� ำ เนิ น นโยบายให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ แก่ ประเทศในแอฟริกา จีนให้ความช่วยเหลือต่อแอฟริกา โดยสามารถ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบด้วยกันคือ 1) การให้ความช่วยเหลือที่ไม่ใช่ในรูปแบบของ เงินสด (Grants-in kind not in cash) การให้ความ ช่วยเหลือรูปแบบนี้มักให้ในลักษณะโครงการสวัสดิการ ทางสังคม อาทิ โรงพยาบาล โรงเรียน การช่วยเหลือ ทางเทคนิค การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการบรรเทา ความเสียหาย
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
244
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
2) เงินให้กู้ยืมไม่มีดอกเบี้ย (Interest free loans) เน้นในเรือ่ งโครงสร้างพืน้ ฐานทีจ่ ำ� เป็น โครงการ ที่มีขนาดใหญ่ 3) เงินให้กยู้ มื แบบมีเงือ่ นไขผ่อนปรน (Concessional Loans) หรือเรียกกันว่าเงินที่ให้สิทธิพิเศษ โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและน�ำเข้าของจีน (China Exim bank) เป็นผู้จัดสรร ประกอบด้วยเงินให้กู้ยืม ระยะกลางและระยะยาว อี ก ทั้ ง ยั ง มี โ ครงการสร้ า ง สาธารณูปโภคต่างๆ ที่จีนให้เงินช่วยเหลือแก่แอฟริกา และแอฟริกาจ่ายคืนเงินกูย้ มื ในรูปของทรัพยากรธรรมชาติ แทนการจ่ายคืนเป็นเงิน (วิลาสินี พิบูลย์เศรษฐ์, 2553: 173-177) นอกจากนี้ จีนยังให้สทิ ธิพเิ ศษทางการค้าแก่ประเทศ ทีพ่ ฒ ั นาน้อยทีส่ ดุ (Least Developed Countries) เป็น การให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศแอฟริกาในรูปแบบหนึง่ โดยนายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่าได้แถลงในการประชุม ระดับรัฐมนตรีวา่ ด้วยความร่วมมือจีน-แอฟริกา ครัง้ ที่ 2 ว่าจีนจะให้การน�ำเข้าปลอดอัตราภาษีศลุ กากรแก่สนิ ค้า บางประเภทที่ ส ่ ง มาจากประเทศที่ พั ฒ นาน้ อ ยที่ สุ ด ในแอฟริกา (LDCs) ต่อมาได้มกี ารย�ำ้ อีกครัง้ จากกระทรวง พาณิชย์ของจีนว่า จีนจะให้นำ� เข้าปลอดอัตราภาษีศลุ กากร แก่สินค้าบางประเภทที่ส่งมาจากประเทศที่พัฒนาน้อย ที่สุดในแอฟริกา ซึ่งได้ท�ำข้อบันทึกกับรัฐบาลจีนในการ ด�ำเนินการปลอดอัตราภาษีศุลกากรไว้ก่อนวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2004 ซึง่ สินค้าทีไ่ ด้สทิ ธิพเิ ศษปลอดภาษีนี้ มีรวมกันกว่า 190 รายการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขยายการ ส่งออกจากประเทศในแอฟริกามายังจีนและส่งเสริม การค้าทวิภาคีระหว่างจีนและแอฟริกา โดยเริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2005 ซึ่งมีประเทศที่ท�ำบันทึก กับรัฐบาลจีนรวม 25 ประเทศ (Ministry of Foreign Affairs of the People’s Republic of China, 2006)
บทส่งท้าย
กล่าวได้ว่า นโยบายต่างประเทศจีนต่อแอฟริกา ในช่วงศตวรรษที่ 21 นี้ จีนได้เน้นนโยบายทีส่ อดคล้องกับ
ผลประโยชน์แห่งชาติของจีน โดยเฉพาะผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจได้เป็นเป้าหมายส�ำคัญในการด�ำเนินนโยบาย ต่อแอฟริกา ทั้งนี้จีนได้วางรูปแบบการด�ำเนินนโยบาย ดังนี้ 1) การส่งเสริมมิตรภาพและความสัมพันธ์อันดีกับ แอฟริกา 2) การสร้างความร่วมมือทางการค้าและการ ลงทุน 3) การให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในแอฟริกา โดยการด�ำเนินนโยบายในรูปแบบดังกล่าวสอดคล้องกับ นโยบายต่างประเทศของจีนที่ได้วางไว้ การด�ำเนินนโยบายต่างประเทศจีนต่อแอฟริกา ได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันทั้งต่อจีนและแอฟริกา โดยผลประโยชน์ทจี่ นี ได้รบั ประกอบไปด้วย 1) ผลประโยชน์ ด้านการค้าและการลงทุนกับแอฟริกา 2) ผลประโยชน์ ในการแสวงหาน�้ำมันและทรัพยากรธรรมชาติ 3) ผล ประโยชน์จากแอฟริกาในเวทีระหว่างประเทศ จากนโยบายทีจ่ นี ได้ดำ� เนินต่อแอฟริกาทีผ่ า่ นมานัน้ แอฟริกาได้สนใจและตอบรับการเข้ามาของจีนเป็นอย่างยิง่ และพร้อมผูกมิตรกับประเทศจีน เนื่องจากแอฟริกา ยังคงต้องการความช่วยเหลือจากจีนในหลายๆ ด้าน โดยผลประโยชน์ที่แอฟริกาจากการเป็นมิตรประเทศ กับจีน ประกอบไปด้วย 1) ผลประโยชน์ด้านการค้า 2) ผลประโยชน์การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) 3) การได้รบั ความช่วยเหลือทางเทคนิคต่างๆ 4) การได้รบั ช่วยเหลือด้านการเงิน เป็นต้น ส�ำหรับแนวโน้มของนโยบายของจีนต่อแอฟริกา ในอนาคตนั้น จากเอกสารแถลงการณ์และสุนทรพจน์ ของผู้น�ำจีนในการประชุมความร่วมมือระหว่างจีนและ แอฟริกาในแต่ละครั้งที่ผ่านมา ได้เน้นชัดเจนว่าจีนจะ เพิ่มความร่วมมือกับแอฟริกาในหลากหลายมิติ และมี การพัฒนาและขยายขอบเขตมากขึ้น ด้วยผลประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกันของทั้งสองฝ่าย นี้เอง ท�ำให้สามารถคาดการณ์แนวโน้มความสัมพันธ์ ระหว่างจีนและแอฟริกาที่จะเกิดขึ้นต่อไปอนาคตว่า จะยิ่งพัฒนาขึ้นในทุกๆ ด้าน ปัจจุบัน (ค.ศ. 2016) จากประเทศในแอฟริกาทั้งหมด 54 ประเทศ มีเพียง ประเทศ 4 ประเทศที่ยังไม่ได้สถาปนาความสัมพันธ์
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ทางการทูตกับจีน สิง่ เหล่านีแ้ สดงให้เห็นถึงความสามารถ ในการด�ำเนินนโยบายของจีนต่อประเทศในโลกที่สาม โดยเฉพาะทวี ป ที่ มี จ� ำ นวนประเทศมากที่ สุ ด และมี ทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์อย่างแอฟริกา อย่างไรก็ดี การด�ำเนินนโยบายต่อแอฟริกาในช่วง ศตวรรษใหม่นี้ ยังสร้างความเคลือบแคลงถึงเป้าหมาย การด�ำเนินนโยบายต่อแอฟริกาว่าเป็นลักษณะของลัทธิ ล่าอาณานิคมใหม่หรือนักจักรวรรดินยิ มใหม่ทางเศรษฐกิจ ซึง่ ข้อคิดเห็นเหล่านีเ้ ป็นทีถ่ กเถียงในสือ่ ของโลกตะวันตก
245
โดยเฉพาะกรณีของดาร์ฟูร์ (Darfur) การที่จีนเข้าไปมี ความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลคาร์ทูม รวมถึงในกรณี รัฐบาลประธานาธิบดีโรเบิรต์ มูกาเบ (Robert Mugabe) ของซิมบับเว ท�ำให้จีนถูกวิจารณ์ว่าสนับสนุนรัฐบาล เผด็จการและละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม จีนก็ ยืนยันเสมอมาว่าจีนด�ำเนินความสัมพันธ์กับแอฟริกา บนหลัก 5 ประการแห่งการอยูร่ ว่ มกันอย่างสันติ โดยเฉพาะ การไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน
บรรณานุกรม
เขียน ธีระวิทย์. (2515). นโยบายต่างประเทศจีนคอมมิวนิสต์. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรศักดิ์ มหัทธโนบล. (2549). เศรษฐกิจการเมืองจีน. สถาบันเอเชียศึกษา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิลาสินี พิบลู ย์เศรษฐ์. (2553). นโยบายต่างประเทศจีนต่อแอฟริกา ค.ศ. 2000-2007. วิทยานิพนธ์รฐั ศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อภิญญา รัตนมงคลมาศ. (2547). นโยบายต่างประเทศ แนวทางการศึกษา ทฤษฎี และระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Chen, K. C. (1979). China and the three Worlds. London: The Macmillan press LTD. Chen, S. (2008). China’s Strategy in ITs Pursuit of African Oil. Retrieved April 6, 2015, from http:// www.allacademic.com/meta/p268163_index.html Davies, M. (2008). How China delivers development assistance to Africa. Retrieved April 6, 2015, from http://www.ccs.org.za/downloads/DFID_FA_Final.pdf Davies, P. (2007). China and the end of poverty in Africa- toward mutual benefit?. Retrieved April 6, 2015, from http://www.eurodad.org Fernando, S. (2007). Chronology of China-Africa Relations. China Report, 43(3), 363-373. Foster, V., William, B. & Chen, C. (2009). Build Bridge: China’s Growing Role as Infrastructure Financier for Sub-Saharan Africa. USA: The World Bank. Gountin, M. (2008). China’s Assistance to Africa, a stone bridge of Sino-African Relations. Retrieved July 6, 2015, from http://www.cctr.ust.hk Guerrero, D. & Manji, F. (2008). China’s New Role in Africa and the South: A search for a new perspective. Bangkok: Focus on the Global South Social Research Institute. Han, N. (1990). Diplomacy of Contemporary China. HongKong: New Horizon Press. Hodel, M. & Colby, P. (2008). The Scramble for Energy: China’s Oil Investment in Africa. The Journal of International Policy Solutions, 9, 50-51. Lanteigne, M. (2009). Chinese Foreign Policy: An Introduction. England: Routledge. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
246
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Ministry of Foreign Affairs of the People’s Republic of China. (2006). China’s African Policy. Retrieved October 13, 2008, from http://www.fmprc.gov.cn/eng/zxxx/t230615.html Ministry of Foreign Affairs of the People’s Republic of China. (2013). China-Africa Economic and Trade Cooperation. Retrieved February, 2015, from http://images.mofcom.gov.cn/rw/ 201308/20130830175534058.pdf Ministry of Foreign Affairs of the People’s Republic of China. (2000). China’s Policy Toward Africa. Retrieved November 5, 2015, from http://english1.people.com.cn/english/200010/09/ eng20001009_52152.html Ministry of Foreign Affairs of the People’s Republic of China. (2006). Programme for China-Africa Cooperation in Economic and Social Development. Retrieved February 10, 2015, from http://www.focac.org/eng/wjjh/t404122.html Ministry of Foreign Affairs of the People’s Republic of China. (2015). Forum on China-Africa Cooperation. Retrieved January 4, 2016, from http://www.focac.org/eng/ National Bureau of Statistics of China. (2014). China Statistical yearbook 2001-2013. Retrieved March 11, 2015, from http://www.stats.gov.cn National Bureau of Statistics of China. (2015). Foreign Investment Actually Utilized by Countries or Regions 2001-2014. Retrieved March 11, 2015, from http://www.stats.gov.cn Ofodile, U. (2009). Trade, Aid and Human Rights: China’s Africa Policy in Perspective. Journal of International Commercial Law and Technology, 4(2), 86-99. Ofodile, U. (2009). Trade, Empires and Subjects: China-Africa Trade- A New Fair Trade Arrangement or The Third Scramble for Africa?. Retrieved January 11, 2016, from http://works.bepress. com/uche_ewelukwa/1/ Princeton, L. (2008). China Rising Role in Africa. Retrieved January 11, 2016, from http://www.cfr. org/publication/8436/ Rotberg, R. (2008). China into Africa: Trade, Aid and Influence. Virginia: R.R.Donnelley. Vanness, P. (1998). “China and the third world: Patterns of Engagement and indifference,” In Samuel S. Kim (ed), China and the world: Chinese foreign policy faces the new millennium. 155-156. USA: Westview press. Yang, F. (2002). Contemporary China and Its Foreign Policy. Beijing: Shijiezhishichubanshe. Zhao, H. (2007). China’s Oil Venture in Africa. Retrieved November 21, 2016, from http://www.eai. nus.edu.sg/BB348.pdf 北京大学非洲研究中心. (2000). 中国与非洲. 北京:北京大学出版社. 北京外国语大学亚法学院编. (2007). 亚非研究《第1 辑》. 北京:时事出版社. 楚树龙, 金威. (2008). 中国外交战略和政策. 北京:时事出版社. 黄安余. (2005). 新中国外交史. 北京:人民出版社.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
247
陆苗耕, 黄舍骄, 林怡. (2006). 同心若金:中非友好关系的辉煌历程. 北京:世界知识出版社. 王泰平. (1999). 中国人民共和国外交史(第三卷:1970-1978). 北京:世界知识出版社. 王运泽. (2006). 携手同行:中非人民友情写真. 北京:世界知识出版社. 袁武. (2006). 中国与非洲. 北京:五洲传播出版社.
Translated Thai References
Mahatthanobol, W. (2006). Chinese Political Economy. Institute of Asian Studies: Chulalongkorn University. [in Thai] Piboonsate, W. (2010). China’s Foreign Policy Toward Africa During 2000-2007. Master’s thesis (International Relations), Faculty of Political Science, Chulalongkorn University. [in Thai] Rattanamongkolmas, A. (2004). Foreign Policys, Study methods, Theories and researches. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai] Theerawit, K. (1972). Chinese Communist Foreign Policy. Bangkok: Political Science, Chulalongkorn University. [in Thai]
Translated Chinese References
African Studies Center of Peking University. (2000). China and Africa. Beijing: Peking University Press. [in Chinese] Beijing Foreign Studies University School of Laws. (2007). Asian and African Studies (First series). Beijing: Current Affairs Press. [in Chinese] Chu, S. & Jin, W. (2008). Chinese Diplomatic Strategy and Policy. Beijing: Current Affairs Press. [in Chinese] Huang, Yu. (2005). New Chinese Diplomatic. Beijing: People Press. [in Chinese] Lu, M., Huang, S. & Lin Y. (2006). Glorious History of China-Africa friendly Relations. Beijing: World Affair Press. [in Chinese] Wang, T. (1999). History of the Foreign Relations of the People’s Republic of China (1970-1978). Beijing: World Affair Press. [in Chinese] Wang, Y. (2006). Walk Hand in Hand: Chinese-African People Friendship Portray. Beijing: World Affair Press. [in Chinese] Yuan, S. (2006). China and Africa. Beijing: Wuzhou Broadcast Press. [in Chinese]
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
248
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�าเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Name and Surname: Wilasinee Piboonsate Highest Education: Doctor of Laws in International Relations, Institute of International Studies, Yunnan University, China University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Chinese studies Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
249
WHEN TRANSLATION IS NOT THE FINAL ANSWER TO CONVEY THE MEANING OF A MESSAGE เมื่อการแปลไม่ใช่คำ� ตอบสุดท้ายในการถ่ายทอดความหมายของสาร Mett Robrue Office of General Education, Panyapiwat Institute of Management
Abstract
At times means of communication through translation is not enough to convey a message across to receivers. In this article, it shows three types of language interpretation from one language to another language that are used by products which are sold in stores throughout the country. The strategies used are translation, localization and transcreation. First, translation is the process of translating words or text from one language to another. Next, localization is an approach to adapt a product or service to adjust it more suitable for a particular region or country. Most localization can be found in cartoon, game, webpage and etc. Finally, transcreation is a process that used to develop or adapt new content for a specific target market, the new content is not directly translated from the original source but rather it is interpreted to make it sound suitable for the target group. It can be found in product catchphrases, car model names or webpage layouts. However, sometimes there are mistakes and misunderstandings found in using localization and transcreation to market the product in three areas - culture, symbol and meaning. Keywords: Translation, Localization, Transcreation
บทคัดย่อ
ในการถ่ายทอดความหมายจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่งโดยใช้การแปลนั้น มีอยู่หลายครั้งที่การแปล เพียงอย่างเดียวไม่สามารถสือ่ ความหมายไปยังผูร้ บั สารได้ตามทีต่ อ้ งการ ในบทความนีน้ ำ� เสนอกลวิธใี นการสือ่ ความหมาย เชิงภาษา 3 อย่าง ซึ่งพบได้ในผลิตภัณฑ์ที่วางขายในประเทศที่สื่อสารอีกภาษาหนึ่ง นั่นคือ การแปล การปรับให้เข้า กับท้องถิ่นและการแปลแบบสร้างสรรค์ โดยการแปลนั้นคือ กระบวนการถ่ายทอดความหมายจากภาษาหนึ่งไปยังอีก ภาษาหนึง่ การปรับให้เข้ากับท้องถิน่ คือ วิธปี รับผลิตภัณฑ์หรือบริการให้เหมาะสมกับภูมภิ าคหรือประเทศนัน้ ๆ สามารถ พบได้ในการ์ตูน เกม หน้าเว็บ และอื่นๆ ส่วนการแปลแบบสร้างสรรค์คือ กระบวนการที่ใช้ในการพัฒนาหรือปรับ Corresponding Author E-mail: mettrob@pim.ac.th
250
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
เนื้อหาของผลิตภัณฑ์หนึ่งให้เข้ากับตลาดที่เป็นเป้าหมาย เนื้อหาที่ปรับใหม่จะไม่เป็นการแปลโดยตรงจากต้นฉบับ แต่เป็นการตีความใหม่ให้เกิดความรู้สึกว่าเนื้อหานั้นเขียนหรือท�ำขึ้นเพื่อกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ซึ่งพบได้ในวลีติดปาก ของผลิตภัณฑ์ตา่ งๆ ชือ่ รุน่ รถยนต์หรือการจัดหน้าเว็บไซต์ ทว่าในบางครัง้ พบว่า การใช้การปรับให้เข้ากับท้องถิน่ และ การแปลแบบสร้างสรรค์ยังมีข้อผิดพลาดหรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิดซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้านด้วยกันคือ ด้านวัฒนธรรม ด้านสัญลักษณ์ และด้านความหมาย ค�ำส�ำคัญ: การแปล การปรับให้เข้ากับท้องถิ่น การแปลแบบสร้างสรรค์
Introduction
Translation has played an important role to convey meaning from one language to another for a long time. It is a means to help people who speak different languages to be able to understand each other. Translation can be found around us whether you read a book, or see an advertisement, billboard, bulletin and etc. It can be said that in our everyday life, translation is inevitable especially in advertisement of international brands whose products or services are marketed worldwide. If these international brands want to launch their products or services in a country that do not use the same language as theirs they basically need translation to interpret their messages to target groups or consumers. But more often than not, translation is not the only method to convey the message of a product or service to consumers. The companies need new approaches to make their target groups or consumers become familiar with or recognize their products or services. The approaches they use should make their products or services feel close to the consumers’ culture, language and feeling. This is where localization and transcreation come into the picture as transla-
tion alone is not enough to help them getting their message across to international market.
Definitions of translation, localization and transcreation Translation Translation is the process of translating words or text from one language to another (Cambridge University Press, 2008: 1549). However, if viewing from a marketing aspect, translation is the first step or a stepping stone to introduce a product’s information to customers who use other languages. When a company wants to launch a product in a country, one thing that they do is to hire a translator to translate the content of the product into the target language. The content can be anything from user manual, advertisement, handbook and etc. In conclusion, translation deals with language and the meaning in source language is as the same as in the target language. Localization Localization is a method to adapt a product or service to make it more suitable for a particular region or country (Oxford University Press, 2008: 323). When talking about localization it usually
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
connects with cross-cultural marketing because localization is the process of adapting a product or language to a target market or country. In short, it aims to give a product the look and feel like it is created especially for a country (GALA, 2015). In terms of translation the meaning of a message that is localized is still the same as in the source language but the content can be adjusted in a way that is culturally suitable (Vita, 2004). Transcreation Transcreation is the process used to develop or adapt new contents for a specific target market, the new content is not translated directly from the original source (Ray & Kelly, 2010: 3). If localization is seen as a second step after translation, then transcreation can be viewed as its natural progression. For this step, transcreation is a marketing technique that requires more research and approaches than localization. When a company targets to launch a product locally they not only need the source language to be translated but they need the content of the product to be adapted properly to have the same impact as it does in the original country. That means marketing
251
techniques, advertising, or languages that are used for a product in the original country have to be changed when using in the target country. In terms of translation when a product is transcreated the people in the target country should not know or feel that the message they read or hear is translated. The language should be smooth as if it is created for that country. The content of the product can be changed to suit marketing purposes. In conclusion, in terms of getting message across to receivers a language can be translated, localized or even transcreated. It depends on the company and how much they want to go further. If they want only the meaning, they can use translation but if they want their customers to be familiar with and recognize their product better, they can use localization and/or transcreation as their techniques.
The difference between translation, localization and transcreation
The table below gives a clear explanation of the differences between the three approaches.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
252
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Table 1 The difference between translation, localization and transcreation. Translation Localization Main characteristics The content stays The meaning stays the the same same Language
Literal word-forword translation of everything
Images
No change
Layout
No change
Brand vocabulary Source: Vita (2014)
No change
From the table, it shows that when focusing at main characteristics, translation does not change the content, and localization still preserves the meaning but only transcreation changes the content to meet business objectives. In terms of language, word-for-word or literal technique is used for translation, but for localization the message is adapted to suit the local market and its culture. For transcreation, the source language is preserved as part of the brand vocabulary but the message is delivered in a local language. If the message has images, translation still keeps those images. But for localization and transcreation the images need to be changed to suit the local market. As for layout, there is no change in translation and slight change in localization. But whenever transcreation is adopted, it needs to be changed to suit the local market. Regarding brand
Transcreation Different content developed to meet business objectives Developed in local language; English may be used as part of the brand vocabulary
Translate the meaning of the words in a way that is culturally appropriate Change to meet local expectations / product needs Minimise changes Change to meet local expectations No change Enhance and expand
vocabulary, there is no change in translation and localization, but in transcreation its brand vocabulary is enhanced and expanded.
Examples of translation, localization and transcreation
Translation When a company wants their document or content to be translated in a language, they employ a translator to do the job. Types of translation depend on the document or content that is translated. There are many types of translation that are used in doing business such as general translation, legal translation, commercial translation, administrative translation, literary translation and etc (One Hour Translation, 2015). However in a marketing context, commercial translation is one type of translation that is closely related to localization
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
and transcreation. It is used for many purposes that encompass a range of activities such as legal, administrative, scientific and more (Pollard & Chan, 2001: 95). Here is an example of commercial translation that is employed for promoting Windows 10 operating system.
Figure 1 Windows 10 English tutorial webpage Source: Microsoft (2016)
Figure 2 Windows 10 Thai tutorial webpage Source: Microsoft (2016) As shown in the previous pictures, the translation of the content in English page is rendered almost the same as in the source language. Some adjustment can be seen in wording to make the message sounds smoother in Thai but the content and layout remain the same as in the original version. Localization A famous American animated sitcom “The Simpsons”, is a good example of localization
253
as this cartoon has been dubbed or translated into many languages including Arabic, French, Spanish, Chinese, Swedish and Hungarian (Mohan, 2011). Moreover, in 2005, the Middle East Broadcasting Corporation (MBC) decided to introduce “The Simpsons” to the Middle East countries (Miss Cellenia, 2011) with the new name “Al Shamshoons”. Not only the name was changed, the content of the cartoon was also different from the original too. In Muslim world, Homer or Omar Shamshoon, the main character drank only soda and never ate pork. His meat of choice was lamb or beef (Vita, 2004). Each episode that was chosen to be aired in the Muslim countries was carefully reviewed and edited to remove scenes or dialogues that might be offensive to Muslims (Miss Cellania, 2011).
Figure 3 The Simpsons Source: Soundwordsight (2016)
Figure 4 Al Shamshoons Source: Vita (2014)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
254
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Another example of localization can be seen at web pages of Coca Cola in various countries. Coca Cola is an international brand that sells its products around the world. For promotional purposes the company uses their webpage to communicate with their customers. As their products are sold worldwide, they have Coca Cola branches around the world. Each country has different web page of Coca Cola with different layouts depending on their culture and interest.
translation may not be suitable for the target audience or consumers. Transcreation can be found in product catchphrases, car model names or webpage layouts. Take a German confectionery company, Haribo, for example. Haribo is well known for gummy and jelly sweets, and they are sold in many countries. In German, Haribo has a catchphrase that goes “Macht kinder froh und erwachsene ebenso”, which means “Haribo makes kids happy, and adults too”. So when the company decided to introduce its product in the UK, the catchphrase they used must be interesting. If they translate the aforementioned catchphrase literally, it would not be interesting. So the company transcreated it to “Kids and grown-ups love it so the happy world of Haribo”.
Figure 6 Haribo’s slogan in German Source: Vita (2014) Figure 5 Coca Cola webpage in different countries Source: Vita (2014) Transcreation As mentioned earlier, transcreation is a strategy of transforming from one language into another language that can be seen in advertisement and marketing. Sometimes word-for-word ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Figure 7 Haribo’s slogan in English Source: Vita (2014)
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
Now take a look at the webpage of SurveyMonkey, which is an American online survey development cloud-based company. The webpage of the company can be viewed in different languages. The English version (US) webpage of the company depicts a Caucasian model whose resemblance is referred to a
255
native English speaker and the brands at the bottom of the webpage are familiar to Americans. On the contrary, the company’s Japanese webpage illustrates a different model and the brands at the bottom are changed to the ones that are more familiar to Japanese people (Kelly, 2014).
Figure 8 SurveyMonkey the USA webpage Source: Smartling, Inc. (2016)
Figure 9 SurveyMonkey Japan webpage Source: Smartling, Inc. (2016) ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
256
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Communication mistakes or failures through localization and transcreation
Communication mistakes mentioned in this article are any mistakes or misunderstandings of communication that occured by using localization and/or transcreation as a means to convey meanings to the receivers through language, pictures, feelings or culture. Many companies try to localize or transcreate their products to a specific market, which works in other countries but not in other countries. In this article the author will talk about the factors that make their products not successful in some countries in terms of culture, symbol and meaning.
Culture Culture is the ideas, beliefs and customs that are shared and accepted by people in a society (Pearson Education, 2003: 340). Back in 2012, IKEA a Swedish company that designs and sells ready-to-assemble furniture and home accessories launched its yearly catalogue to customers. This is a normal thing to do for a company to promote its name through catalogue, and IKEA has many retail stores in many countries including Saudi Arabi. Here in this Muslim country, the 2012 IKEA catalogue was localized and transcreated, and one picture caused a stir outside the country, in non-muslim countries to be specific.
Figure 10 Picture of IKEA’s 2012 in a newspaper. Source: Independent (2012) From the picture above it shows two different pages of IKEA catalogue. On the left is a picture that was featured in the 2012 catalogue which was distributed to IKEA stores around the world showing a family- a father, a mother and two sons in a bathroom. On the right is a picture of IKEA’s 2012 catalogue for Saudi Arabia which was localized and transcreated by removing the mother out of
the picture. In Saudi Arabia women are not often seen in advertising or on TV and if they are to appear, they must wear long dresses with scarves covering their hair and bodies (Quinn, 2012). When this picture was published in Metro, a Swedish free newspaper on October 2012, it was criticized about the women’s right in Islamic countries, and IKEA was blamed for their decision. Later IKEA released a statement
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
apologizing for their shortcoming about this sensitive issue. Symbol Symbol is a picture, shape, color etc. that has a particular meaning or represents an idea (Pearson Education, 2003: 1,475). In 2006, when Sony Computer Entertainment of Europe decided to launch an all-white PlayStation Portable in the Netherlands, they convinced customers to buy the new game console by showing a billboard that depicted a white woman with a threatening stance gripping a black woman by the chin. Although the billboard was launched in the Netherlands only it received bad feedbacks from Americans through gaming message boards and blogs. It was seen as racism or white supremacy that Sony Computer Entertainment of Europe decided to pull the billboard down and withdrew the campaign (Totilo, 2006).
257
2003: 909). There are many cases about lost in translation that has been overlooked by many. A word that has a meaning in one language may have a different meaning in another language which can cost a fortune if it is taken lightly. A good example of lost in translation is the case of “Mitsubishi Pajero”. Originally this SUV model was named after Leopardus pajeros, the Pampas cat, but it was soon dropped when the company realized that this word in Spanish means “to masturbate” and it caused a disaster because the model could not sell in Spain. So they changed the name to “Montero”, that means “mountain hunter” (Vita, 2014). Such is the case with “Honda Jazz”, which is the model sold worldwide. Originally Honda planned to market this model in Scandinavia countries with the name “Honda Fitta”, but they later changed the name to Honda Jazz after found out that the word “fitta” in Swedish was equivalent to female genitalia (Carscoop, 2007).
Conclusion
Figure 11 Sony PlayStation White billboard in the Netherlands Source: Uncyclomedia Commons (2016) Meaning Meaning is the thing or idea that a word, expression or sign represents (Pearson Education,
In terms of marketing, if a company wants their product to be internationalized they can employ one of these three approaches to convey a message across to their customerstranslation, localization or transcreation. Translation is the process of translating words or text from one language to another. On the other hand, localization is a method to adapt a product or service to make it more suitable for a particular region or country. This approach is used to make a product look and feel like
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
258
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
it is created especially for a country. Finally, transcreation is the process used to develop or adapt new contents for a specific target market. It requires more research and approaches than localization. The content of the product that is transcreated can be changed or even added to suit marketing purposes. There are many types of translation, and how they are called depends on the document or content that is translated. There are general translation, legal translation, commercial translation, administrative translation, literary translation and etc. For localization, this approach can be found in cartoon, game or advertisement. An example of localization can be found in an animation cartoon, “The Simpsons”, that was localized to air in Saudi Arabia. The name was changed into “Al Shamshoon”. Each episode that was chosen to be aired was carefully reviewed and edited to remove scenes or dialogues that might be offensive to Muslims. On the other hand, an example of transcreation can be seen in advertisement and marketing. For example, the product catchphrase that Haribo (a German confectionary company) used in its advertisement “Macht kinder froh und erwachsene ebenso”. The literal translation of this catchphrase is “Haribo makes kids happy, and adults too”, which the company was not satisfy, so it was transcreated into “Kids and grown-ups love it so the happy
world of Haribo” to make it more interesting. In this article there are three areas of communication mistake that caused by using localization and/or transcreation. Such as the controversial 2012 IKEA catalogue where IKEA removed a woman image from their catalogue. IKEA was criticized for their negligence on women’s rights in Islamic countries and was blamed for their decision. Another misunderstanding is the case of Sony Playstation White billboard that was launched in the Netherlands in 2006. This billboard showed a white woman with a threatening stance gripping a black woman by the chin. It caused controversy in the USA as it was seen as a symbol of racism. Finally, an example of misunderstandings found in language is the case of Mitsubishi Pajero. In Spanish “Pajero” means “to masturbate” and it caused a disaster to Mitsubishi because the model could not sell in Spain. Later they changed the name to Montero, which means “Mountain Hunter”. In conclusion, the usage of localization and transcreation should be considered for appropriateness depending on the place and situation they are used. To avoid any misunderstandings and mistakes that may rise from the use of localization and transcreation, one must prepare and research carefully whether which situation and what condition are appropriate to use.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
259
References
Cambridge University Press. (2008). Cambridge Advanced Learner’s Dictionary (3rd ed.). Great Britain: Cambridge University Press. Carscoop. (2007). Why Honda Didn’t Call The Fit - Jazz By Its Intended Name. Retrieved December 15, 2015, from http://www.carscoops.com/2007/09/why-honda-didnt-call-fit-jazz-by-its.html GALA. (2015). What is localization?. Retrieved December 24, 2015, from http://www.gala-global. org/language-industry/intro-language-industry/what-localization Independent. (2012). Picture of IKEA’s 2012 in a newspaper. Retrieved March 28, 2016, from http:// static.independent.co.uk/s3fspublic/styles/story_large/public/thumbnails/image/2012/ 10/03/12/153229161.jpg Kelly, N. (2014). Six ways transcreation differs from translation. Retrieved December 19, 2015, from https://www.smartling.com/blog/six-ways-transcreation-differs-translation Microsoft. (2016). Windows 10 English tutorial webpage. Retrieved March 28, 2016, from https:// www.microsoft.com/en-gb/windows# Microsoft. (2016). Windows 10 Thai tutorial webpage. Retrieved March 28, 2016, from https://www. microsoft.com/th-th/windows Miss Cellenia. (2011). Meet Omar Shamshoon. Retrieved December 19, 2015, from http://www. neatorama.com/2011/08/22/meet-omar-shamshoon Mohan, S. (2011). How many languages has The Simpsons been translated into?. Retrieved January 12, 2016, from https://www.quora.com/How-many-languages-has-The-Simpsonsbeen-translated-into One Hour Translation. (2015). Types of Translation. Retrieved January 10, 2016, from https://www. onehourtranslation.com/translation/blog/types-translation Oxford University Press. (2008). Oxford Business English Dictionary for Learners of English. Great Britain: Oxford University Press. Pearson Education. (2003). Longman Advanced American Dictionary (2nd ed.). England: Pearson Education Limited. Pollard, D. E. & Chan, S. (2001). An encyclopaedia of translation: Chinese-English, English-Chinese. Hong Kong: The Chinese University Press. Quinn, B. (2012). Ikea apologises over removal of women from Saudi Arabia catalogue. Retrieved January 6, 2016, from http://www.theguardian.com/world/2012/oct/02/ikea-apologisesremoving-women-saudi-arabia-catalogue Ray, R. & Kelly, N. (2012). Reaching new markets through transcreation. Massachusettes: Common Sense Advisory, Inc. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
260
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�าเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Smartling, Inc. (2016). SurveyMonkey Japan webpage. Retrieved March 28, 2016, from https:// www.smartling.com/wp-content/uploads/2014/07/surveymonkey2.png Smartling, Inc. (2016). SurveyMonkey the USA webpage. Retrieved March 28, 2016, from https:// www.smartling.com/wp-content/uploads/2014/07/surveymonkey2.png Soundwordsight. (2016). The Simpsons. Retrieved March 28, 2016, from http://soundwordsight. com/wp-content/uploads/2014/06/Simpsons.gif Totilo, S. (2006). Sony pulls Dutch PSP ad deemed racist by American critics. Retrieved December 15, 2015, from http://www.mtv.com/news/1536222/sony-pulls-dutch-psp-ad-deemedracist-by-american-critics/ Uncyclomedia Commons. (2016). Sony PlayStation White billboard in the Netherlands. Retrieved March 28, 2016, from http://vignette1.wikia.nocookie.net/uncyclopedia/images/c/ca/ Play_Station_Portable_White_is_coming.jpg Vita, A. (2014). Translation, localization and transcreation: what’s the difference?. Retrieved December 20, 2015, from http://alessandravita.com/translation-localization-transcreation
Name and Surname: Mett Robrue Highest Education: M.A. in Translation, Mahidol University University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Translation and interpretation Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
261
แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรสู่การด�ำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY APPROACH TO SUSTAINABLE BUSINESS จินตวีร์ เกษมศุข Chintawee Kasemsuk คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ Faculty of Communication Arts, Panyapiwat Institute of Management
บทคัดย่อ
การด�ำเนินธุรกิจในปัจจุบันขององค์กรทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน จ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่องค์กรมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้วย จึงจะสามารถด�ำเนินธุรกิจอยู่ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งการ ด�ำเนินธุรกิจที่ค�ำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กันกับความเจริญเติบโตขององค์กรนี้ เป็นการให้ความส�ำคัญกับการด�ำเนินธุรกิจตัง้ แต่ตน้ น�ำ้ จนถึงปลายน�ำ้ และทฤษฎีผมู้ สี ว่ นได้สว่ นเสียนีเ้ องทีเ่ ป็นรากฐาน ส�ำคัญของการพัฒนาแนวคิด CSR (Corporate Social Responsibility) ซึ่งผู้บริหารองค์กรต้องท�ำสิ่งที่ถูกต้อง โดยต้องค�ำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ร่วมด้วย นอกเหนือจากค�ำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการ เพียงฝ่ายเดียว การบริหารความสัมพันธ์กบั ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียจึงมิอาจด�ำเนินการได้โดยล�ำพังในลักษณะทีแ่ ยกต่างหาก จากการประกอบธุรกิจที่เป็นกระบวนงานหลักของกิจการ ความรับผิดชอบที่องค์กรธุรกิจมีต่อสังคมมิได้อาศัยเพียง กิจกรรมเพือ่ สังคมทีแ่ ยกต่างหากจากการด�ำเนินธุรกิจ (CSR-after-process) แต่ยงั รวมถึงบทบาทในการดูแลรับผิดชอบ ผลกระทบจากกระบวนการทางธุรกิจ (CSR-in-process) นับตั้งแต่การจัดการผลกระทบเชิงลบไปจนถึงการส่งมอบ ผลกระทบเชิงบวกในรูปของคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสังคมโดยรวม ค�ำส�ำคัญ: ความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม ธุรกิจที่ยั่งยืน
Abstract
To be able to run a sustainable business nowadays, it is necessary for the state and private sectors, and the state enterprises to take the stakeholders into consideration. Paying attention to the stakeholders, the society, and the environment along with the growth of the organization at the same time means giving importance on the whole process from upstream to downstream. The stakeholder theory is the fundamental concept of corporate social responsibility, which the executives have to do right things by considering all parties apart from the profit of the shareholders or the owners. Thus, relationship management between the organization and Corresponding Author E-mail: chintaweekas@pim.ac.th
262
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
the stakeholders cannot be managed separately. It has to be done simultaneously while fulfilling the main objective of the organization, which is to run the business. Corporate social responsibility cannot be performed by providing community services solely (CSR-after-process), but includes taking responsibility for the impact of the business process (CSR-in-process), from handling the negative impacts to providing positive impacts, in the form of value, to the stakeholders and the society. Keywords: corporate social responsibility, sustainable business
บทน�ำ
ในช่วงทศวรรษทีผ่ า่ นมา เรือ่ งราวของความรับผิดชอบ ต่อสังคมและสิง่ แวดล้อมขององค์กร (Corporate Social Responsibility: CSR) ได้กลายเป็นประเด็นส�ำคัญต่อ การด�ำเนินธุรกิจในประเทศไทย โดยเฉพาะองค์กรภาค ธุรกิจชั้นน�ำ (Srisuphaolarn, 2013; Sthapitanonda & Watson, 2015) การด�ำเนินการที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ขององค์กร หรือทีเ่ รียกกันว่า CSR นี้ กลายเป็นเรือ่ งส�ำคัญ และจ�ำเป็นส�ำหรับทุกองค์กรที่ระดับบริหารขององค์กร จะต้องหาแนวทางเพือ่ น�ำมาประยุกต์ใช้ในระดับนโยบาย และน�ำไปสูก่ ารด�ำเนินงานทัว่ ทัง้ องค์กร เพราะ CSR เป็น กิจกรรมขององค์กรทีต่ อ้ งค�ำนึงถึงกลุม่ ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย ทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ สร้างความยัง่ ยืนในการด�ำเนินงานภายใต้ หลักการด�ำเนินงานที่ดีมีจริยธรรม และสิ่งหนึ่งที่มีผล กระทบต่อกิจกรรมที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ขององค์กรนั่นคือ พฤติกรรมของพนักงานซึ่งเป็นกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กร จากงานวิจัยของฑัชวงษ์ จุลสวัสดิ์ (2558) พบว่า การน�ำ CSR เข้ามาเป็นนโยบาย ในการปฏิบตั งิ านขององค์กรนัน้ มีสว่ นช่วยในการกระตุน้ พฤติกรรมในเชิงบวกให้กบั พนักงาน อาทิ ความพึงพอใจ ที่มีต่อองค์กรและการปฏิบัติงาน รวมไปถึงความผูกพัน ทีม่ ตี อ่ องค์กร และช่วยลดพฤติกรรมความตัง้ ใจทีจ่ ะลาออก จากงาน นอกจากนี้พบว่า ความผูกพันที่พนักงานมีต่อ องค์กรจะน�ำไปสูก่ ารสร้างสมรรถนะทีด่ ใี นการปฏิบตั งิ าน ดังนั้น องค์กรควรให้ความส�ำคัญกับพนักงานในการมี
ส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึง่ ในการคิด วางแผน และก�ำหนด แนวทางการด�ำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ร่วมกัน ปลูกฝังให้เกิดจิตส�ำนึกและเป็นค่านิยมร่วม ในองค์กร และเชื่อมโยงไปสู่แนวคิดของการสร้างสรรค์ คุณค่าร่วมกันให้กับสังคม ในปัจจุบนั ยิง่ พบว่า ความส�ำคัญของการด�ำเนินงาน ความรับผิดชอบต่อสังคมได้เข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจ เพิ่ ม ขึ้ น จากรายงานผลการส� ำ รวจธุ ร กิ จ นานาชาติ ประจ�ำปี 2557 ของบริษทั แกรนท์ ธอนตัน (The Grant Thornton International Business Report: IBR) จากนักธุรกิจกว่า 2,500 ราย ใน 34 ประเทศทั่วโลก เกี่ยวกับกิจกรรมที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR (ThaiPR.NET, 2014) พบว่า กิจกรรม CSR และวัตถุประสงค์โดยภาพรวมทางธุรกิจขององค์กร ต่างมีความสอดคล้องซึง่ กันและกัน งานวิจยั ดังกล่าวยังชี้ ให้เห็นว่า ผลประโยชน์จากการด�ำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ทั้งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เริ่มกลายเป็นสิ่งที่เป็น รูปธรรมและจับต้องได้มากขึ้น อาทิ การยกเว้นภาษี ในการท�ำกิจกรรมเพื่อการกุศล หรือค่าใช้จ่ายทางด้าน พลังงานในองค์กรทีล่ ดลงอันเนือ่ งมาจากการใช้มาตรการ ประหยัดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนีข้ อ้ มูล ในผลส�ำรวจได้แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมทางด้าน CSR ทั่วโลกในช่วงปีที่ผ่านมาพบว่า ร้อยละ 68 เป็นการ บริจาคเงินให้แก่ชุมชนหรือองค์กรการกุศล ซึ่งสูงสุด เป็นอันดับหนึง่ ขณะทีร่ อ้ ยละ 65 เป็นเรือ่ งของการเพิม่ ประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานและการจัดการ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ของเสียหรือขยะ ส�ำหรับประเทศไทยนั้น การบริจาค สินค้าหรือบริการเป็นกิจกรรม CSR ที่นิยมมากที่สุด โดยมีถึงร้อยละ 58 สถาบั น ธุ ร กิ จ เพื่ อ สั ง คม ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย (2555) ระบุไว้วา่ แนวคิดความรับผิดชอบ ต่อสังคมของกิจการ หมายถึง การประกอบกิจการ ด้วยความดูแลใส่ใจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เศรษฐกิจ สังคม และสิง่ แวดล้อม อย่างมีคณ ุ ธรรม จริยธรรม และ จรรยาบรรณ ตลอดจนมีธรรมาภิบาล เป็นเครื่องก�ำกับ ให้การด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ เป็นไปด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และยุตธิ รรม มีความตระหนักถึงผลกระทบ ทางลบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยพร้อม จะแก้ไขเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว ดั ง นั้ น องค์ ก รที่ เ ตรี ย มพร้ อ มต่ อ การน� ำ ระบบ Corporate Social Responsibility: CSR ตามมาตรฐาน ISO 26000 หรือ CSR-DIW มาปฏิบัตินั้น จะต้องมี การชีบ้ ง่ ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย เพือ่ วิเคราะห์ผทู้ ไี่ ด้ประโยชน์ หรือเสียประโยชน์จากการด�ำเนินงานขององค์กร เมื่อ วิเคราะห์แล้วก็ต้องหารูปแบบการด�ำเนินงานร่วมกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้เกิดแนวทางที่ดีที่สุด ที่เป็น ประโยชน์ และลดผลกระทบที่ไม่ดีจากการด�ำเนินการ (นายคุณภาพ, 2552) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในที่นี้หมายถึง บุคคล ชุมชน หรือองค์กรใดๆ ที่ให้ความสนใจต่อการด�ำเนินการและ กิ จ กรรมขององค์ ก รหนึ่ ง ซึ่ ง ผลการด� ำ เนิ น งานของ องค์กรนั้นสามารถส่งผลทั้งบวกและลบต่อผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียได้ทั้งสิ้น ตัวอย่างของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผูถ้ อื หุน้ ลูกค้า ผูบ้ ริโภค ชุมชน ผูส้ ง่ มอบ ผูแ้ ทนจ�ำหน่าย หน่วยงานภาครัฐ สื่อมวลชน หรือองค์กรที่ไม่แสวงหา ผลก�ำไร (NGOs) เป็นต้น การชี้บ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรนี้ จะเป็น แนวทางในการพิจารณาการสื่อสาร ความเสี่ยง และผล กระทบจากกิจกรรมการด�ำเนินงานขององค์กร และ ก�ำหนดบทบาทหน้าที่ขององค์กรต่อความรับผิดชอบ ต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มต่อไป
263
แนวคิดผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียกับความรับผิดชอบ ต่อสังคม
การด�ำเนินธุรกิจในปัจจุบันขององค์กรทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน จ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงกลุม่ ผูม้ สี ว่ นได้ ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่องค์กรมีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ดว้ ย จึงจะสามารถด�ำเนินธุรกิจอยูไ่ ด้อย่างยัง่ ยืน ซึ่งการด�ำเนินธุรกิจที่ค�ำนึงถึงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กับสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กันกับความเจริญ เติบโตขององค์กรนี้ เป็นการให้ความส�ำคัญกับการดูแล การด�ำเนินธุรกิจตั้งแต่ต้นน�้ำจนถึงปลายน�้ำ ซึ่งเป็น เครื่องมือในการยืดอายุธุรกิจ พร้อมกับสร้างก�ำไรและ ความมั่นคงในระยะยาวให้กับองค์กรด้วย หลักการของการบริหารความสัมพันธ์กบั ผูม้ สี ว่ นได้ ส่ ว นเสี ย มี พื้ น ฐานมาจากทฤษฎี ผู ้ มี ส ่ ว นได้ ส ่ ว นเสี ย (Stakeholder Theory) ซึ่งมาจากกรอบแนวคิดของ Barnard (1938) ในหนังสือเรื่อง The Functions of the Executive ทีน่ ำ� เสนอมุมมองด้านบวกของผูบ้ ริหาร ในการสนับสนุนความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งต่อมา Freeman (1984) ได้สนับสนุนว่า ผู้บริหารต้องสร้าง ความพอใจต่อบุคคลที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ขององค์กร ซึ่งมีหลากหลาย ประกอบด้วยพนักงาน ลูกค้า ผู้ขาย ปัจจัยการผลิต องค์กรชุมชนในท้องถิน่ ฯลฯ จึงกล่าวได้วา่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือ กลุ่มและบุคคลผู้ซึ่งอาจมีผลต่อ หรือได้รับผลกระทบจากความส� ำเร็จของภารกิจของ องค์กรสอดคล้องกับ Post, Lawrence & Weber (2002) ทีใ่ ห้คำ� นิยามของผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียว่าคือ บุคคล หรือกลุ่มซึ่งมีผลกระทบหรือได้รับผลกระทบจากการ ตัดสินใจ นโยบาย และการปฏิบัติขององค์กร
ภาพที่ 1 แสดงตัวอย่างของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามแนวคิดของ Freeman (1984)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
264
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ทฤษฎีผมู้ สี ว่ นได้สว่ นเสียนับเป็นรากฐานส�ำคัญของ การพัฒนาแนวคิด CSR กล่าวคือ ผู้บริหารต้องท�ำสิ่งที่ ถูกต้องโดยต้องค�ำนึงถึงผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียอืน่ ๆ ร่วมด้วย นอกเหนือจากค�ำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นหรือ เจ้าของกิจการเพียงฝ่ายเดียว หรือกล่าวได้ว่า CSR คือ การจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Yakovleva, 2005) โดยองค์กรต้องมีภาระรับผิดชอบในการสนองตอบความ ต้องการของกลุม่ ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียของตน โดยพิจารณา ถึงความจ�ำเป็น (Needs) ความสนใจ (Interests) และ ผลกระทบ (Effects) ที่เกิดขึ้นจากการด�ำเนินงานของ องค์กรนั่นเอง การบริ ห ารความสัมพันธ์กับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Relationship Management) มิอาจ ด�ำเนินการได้โดยล�ำพังในลักษณะที่แยกต่างหากจาก การประกอบธุรกิจที่เป็นกระบวนงานหลักของกิจการ ความรับผิดชอบทีอ่ งค์กรธุรกิจพึงมีตอ่ สังคม ก็มไิ ด้อาศัย เพียงกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR-after-process) ที่แยก ต่ างหากจากการด� ำ เนินธุรกิจ แต่ยัง รวมถึง บทบาท ในการดูแลรับผิดชอบผลกระทบจากกระบวนการทาง ธุรกิจ หรือทีเ่ รียกว่า ธุรกิจเพือ่ สังคม (CSR-in-process) นับตัง้ แต่การจัดการผลกระทบเชิงลบไปจนถึงการส่งมอบ ผลกระทบเชิ ง บวกในรูป ของคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียและสังคมโดยรวมด้วย ทั้งนี้ การบริหารความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย จึงเป็นการพัฒนากลยุทธ์เพือ่ สร้างความสัมพันธ์ บนพืน้ ฐานของผลประโยชน์รว่ มกัน (Mutually Beneficial Relationships) กับชุมชนเป้าหมาย (Targeted Communities) เพือ่ บรรลุวตั ถุประสงค์ระยะยาวในการสร้าง ชือ่ เสียงและความไว้วางใจ (Doorley & Garcia, 2007) วัตถุประสงค์ของบทความนีจ้ งึ มุง่ เสนอแนวคิดทีจ่ ะ น�ำไปเป็นแนวทางในการด�ำเนินงานความรับผิดชอบ ต่อสังคมขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรธุรกิจ ที่มักได้รับการกล่าวขานว่าเป็นองค์กรที่แสวงหาก�ำไร แต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ไม่ค�ำนึงถึงความรับผิดชอบ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่พึงมี
แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร สู่การด�ำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน
แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมนีต้ งั้ อยูบ่ นพืน้ ฐาน ของทฤษฎีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งเชื่อมโยงถึงปัจจัย ที่สัมพันธ์ต่อความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร เช่น ปัจจัยด้านผู้น�ำ เนื่องจากผู้น�ำองค์กรมีบทบาทส�ำคัญ ในการเป็นผูผ้ ลักดันการด�ำเนินงานด้านความรับผิดชอบ ต่อสังคมขององค์กร และการเป็นต้นแบบสร้างให้องค์กร มีคุณธรรมและจริยธรรม (Barnard, 1938; CSR Asia, 2010) ปัจจุบันแนวคิด CSR เป็นเกณฑ์มาตรฐานและ แนวปฏิบัติขององค์กรธุรกิจที่ต้องด� ำเนินงานอย่างมี คุณธรรมต่อสังคม (Cheng & Ahmad, 2010) จึงกล่าว ได้วา่ แนวคิด CSR เป็นส่วนส�ำคัญทีจ่ ะช่วยพัฒนาธุรกิจ ให้ประสบความส�ำเร็จและมีความยัง่ ยืนภายใต้ภาวการณ์ ของการแข่ ง ขั น ทางธุ ร กิ จ ที่ รุ น แรงและหลากหลาย ซึง่ ปัจจุบนั ได้มกี ารเชือ่ มโยงแนวคิด CSR กับแนวความคิด อื่นๆ ที่ส�ำคัญ ได้แก่ แนวคิดของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) โดยนักวิชาการส่วนใหญ่ เห็นว่า หากองค์กรได้มีนโยบายการบริหารจัดการ CSR อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมก่อให้เกิดการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนทั้งต่อองค์กรเองและต่อสังคมที่ตั้งอยู่ด้วย การน�ำแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมมาใช้ใน กระบวนการบริหารจัดการนั้น ประโยชน์ที่ได้ประกอบ ไปด้วยการท�ำให้ชอื่ เสียงขององค์กรเป็นทีย่ อมรับเพิม่ ขึน้ มีโอกาสในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ การสร้างความ สัมพันธ์ทดี่ รี ะหว่างผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียกับองค์กร การเพิม่ แรงจูงใจต่อพนักงานในการพัฒนาองค์กร ความภักดี และความพึงพอใจของลูกค้า การลดต้นทุนการด�ำเนินงาน การลดความเสี่ยงทางธุรกิจ และการลดเงื่อนไขหรือ ข้อบังคับทางกฎหมายต่อองค์กร จึงนับเป็นโอกาสทีด่ ตี อ่ ธุรกิจในประเทศก�ำลังพัฒนาทีท่ ำ� ให้กำ� ไรและภาพลักษณ์ องค์กรได้รับการยอมรับและเป็นที่จดจ�ำไปพร้อมกัน (กัญญรัตน์ หงส์วรนันท์, 2555) นอกจากนี้ สุธชิ า เจริญงาม (2556) กล่าวถึง Mark
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
R. Kramer หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Foundation Strategy Group ร่วมกับ Michael E. Porter เจ้าของแนวคิด Shared Value ที่ภาคธุรกิจให้ความสนใจและน�ำไป ใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม นอกเหนือจาก CSR ที่ หลายองค์กรใช้ขบั เคลือ่ นอยูใ่ นปัจจุบนั นัน่ คือ Creating Shared Value (CSV) เป็นแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม ซึ่งจะถูกน�ำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการด�ำเนินธุรกิจเพื่อ ตอบโจทย์สงั คมทีเ่ พิม่ ขึน้ ถือว่าเป็นการน�ำวิธกี ารทางธุรกิจ มาใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคม โดยค�ำนึงถึง การน�ำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักของกิจการ มาสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมไป พร้อมๆ กัน คาดว่าในอนาคตจะมีธรุ กิจทีน่ ำ� แนวคิด CSV มาใช้เพิม่ ขึน้ เพือ่ แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และการตอบสนองต่อประเด็นปัญหาหรือความจ�ำเป็น ทางสังคม ที่สร้างให้เกิดโอกาสทางธุรกิจด้วยการน�ำ ทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักขององค์กรมาใช้ให้ เกิดประโยชน์ โดยมีผลตอบแทนทางธุรกิจเป็นสิ่งจูงใจ การสร้างคุณค่าร่วม หรือ CSV ที่ Porter และ Kramer น�ำเสนอในบทความซึ่งตีพิมพ์ใน Harvard Business Review เมื่อปี 2554 นั้น เป็นแนวคิดที่มีรากฐาน มาจากเรื่อง CSR ที่ปรับเพื่อให้ตอบโจทย์ทางกลยุทธ์ ในการด�ำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ เน้นการสร้างให้เกิดคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรและสังคม ไปพร้อมๆ กัน จุดที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดระหว่าง CSR และ CSV คือ คุณค่าที่องค์กรได้รับในบริบทของ CSR นั้น เป็นเรือ่ งของการยอมรับภาพลักษณ์ ชือ่ เสียง หรือปัจจัย ทีน่ ำ� ไปสู่การพัฒนาทีย่ ั่งยืน ขณะที่คณ ุ ค่าที่องค์กรได้รับ ในบริบทของ CSV จะเป็นเรื่องของการได้มาซึ่งความ สามารถในการสร้างผลก�ำไรในระยะยาว ส่วนจุดทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ของ CSV คือ การขับเคลือ่ น การพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสังคม ในบริบทของ CSV จะมุ่งเน้นในเรื่องหรือประเด็นทางสังคมที่เปิดโอกาส ให้เกิดการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์และจากความ เชี่ยวชาญขององค์กรเป็นส�ำคัญ ขณะที่ในบริบทของ
265
CSR การด�ำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม จะครอบคลุม ทัง้ ในเรือ่ งและประเด็นทางสังคมทีอ่ งค์กรต้องปฏิบตั ติ าม กฎหมายเป็นพื้นฐาน รวมถึงเรื่องและประเด็นที่สังคม หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกิจการคาดหวังให้องค์กร ด�ำเนินการ โดยไม่จำ� กัดว่าเรือ่ งนัน้ องค์กรจะมีสนิ ทรัพย์ หรือมีความเชี่ยวชาญเป็นทุนเดิมอยู่หรือไม่ก็ตาม อาจ กล่าวได้ว่า CSV จึงเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจทีใ่ ช้ตอบโจทย์ ความรับผิดชอบต่อสังคมในบริบทของ CSR-in-process และ Corporate-driven CSR ทีเ่ น้นการใช้ประโยชน์จาก สินทรัพย์และความเชีย่ วชาญหลักของกิจการ สร้างคุณค่า ทางเศรษฐกิจให้กับกิจการและสังคมไปพร้อมกัน ข้อมูลจากเว็บไซต์ School of Change Makers (2016) ได้กล่าวถึงองค์กรธุรกิจที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืน ของธุรกิจเป็นตัวอย่าง อาทิ บริษทั ปูนซีเมนต์ไทย จ�ำกัด (มหาชน) เป็นองค์กรหนึง่ ทีใ่ ห้ความส�ำคัญกับการพัฒนา ธุรกิจเพื่อความยั่งยืนมาโดยตลอด ครอบคลุมตั้งแต่ กระบวนการจัดหาวัตถุดิบไปจนถึงกระบวนการจัดการ ของเสีย เรียกได้ว่าเป็นการด�ำเนินความรับผิดชอบต่อ สังคมที่อยู่ในกระบวนท�ำงานหลักของกิจการ หรือเป็น การท�ำธุรกิจทีห่ าก�ำไรอย่างมีความรับผิดชอบ (CSR-inprocess) ตัวอย่างของกระบวนการคิดและการด�ำเนินธุรกิจ ทีค่ ำ� นึงถึงผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียทีเ่ ป็นชุมชนโดยรอบองค์กร คือ การออกแบบการท�ำเหมืองแบบอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม ทีโ่ รงงานจังหวัดล�ำปาง ซึง่ เป็นการท�ำเหมืองแบบ Semiopen Cut แทนการท�ำเหมืองแบบดั้งเดิมที่เรียกว่า Side Hill Cut ทีก่ อ่ ให้เกิดฝุน่ เสียง แรงสัน่ สะเทือน และ ทัศนียภาพที่ไม่สวยงาม แม้ว่าการท�ำเหมืองแบบใหม่นี้ จะเสียโอกาสในการผลิตหินปูนไปกว่า 30% แต่ส�ำหรับ ผลกระทบทางสังคมนัน้ ถือว่าคุม้ ค่ากว่ามาก เพราะด้วย วิธกี ารเจาะและระเบิดยอดเขาแบบลดหลัน่ เป็นขัน้ บันได จนเป็นบ่อภายในภูเขาแล้วน�ำเอาหินปูนมาใช้ ท�ำให้มอง จากภายนอกก็ยงั คงทัศนียภาพของภูเขาสีเขียวปกคลุมอยู่ และวิธีนี้ยังสามารถช่วยลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นและ เสียงรบกวน ซึ่งเป็นปัญหาส�ำคัญของการท�ำเหมืองปูน ที่ส่งผลต่อชุมชนโดยรอบได้อีกด้วย
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
266
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
กรณีของบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย เป็นอีก องค์กรหนึ่งที่ใส่ใจกับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ในทุกขัน้ ตอนของการด�ำเนินธุรกิจ จากกระบวนการคิด และการด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ ที่ ค� ำ นึ ง ถึ ง ผู ้ มี ส ่ ว นได้ ส ่ ว นเสี ย หลากหลายกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นคู่ค้า หรือผูจ้ ดั ส่งวัตถุดบิ ลูกค้าหรือผูบ้ ริโภค ไปจนถึงสิง่ แวดล้อม เช่น การเลือกรับซือ้ น�ำ้ มันปาล์มจากแหล่งผลิตทีไ่ ม่ตดั ไม้ ท�ำลายป่า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ประหยัดพื้นที่ ในการบรรจุใส่กล่อง และลดการใช้พลาสติก ไปจนถึง การวางแผนเส้นทางการขนส่งสินค้าทีส่ นั้ ทีส่ ดุ และเลือก ยานพาหนะขนส่งที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุด และตัง้ เป้าหมายไว้วา่ ภายในปี 2020 จะต้องเพิม่ ยอดขาย ขึ้น 2 เท่า พร้อมๆ กับการมีกระบวนการผลิตที่ส่งผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมลดลงครึ่งหนึ่งด้วย เรียกได้ว่า เป็นการด�ำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมทีอ่ ยูใ่ นกระบวน ท�ำงานหลักของกิจการ หรือเป็นการท�ำธุรกิจที่หาก�ำไร อย่างมีความรับผิดชอบ (CSR-in-process) เช่นกัน กรณีของบริษัท ไนกี้ เป็นองค์กรหนึ่งที่มุ่งพัฒนา นวัตกรรมต่างๆ ไปพร้อมๆ กับแสดงความรับผิดชอบต่อ สิง่ แวดล้อม ทัง้ การผลิตรองเท้าโดยไม่ให้มเี ศษวัสดุเหลือทิง้ และไม่ใช้กาว เพื่อให้มีขยะที่เกิดในกระบวนการผลิต น้อยทีส่ ดุ ก็เรียกได้วา่ เป็นการด�ำเนินความรับผิดชอบต่อ สังคมที่อยู่ในกระบวนท�ำงานหลักของกิจการ หรือเป็น การท�ำธุรกิจทีห่ าก�ำไรอย่างมีความรับผิดชอบ (CSR-inprocess) หรือการพัฒนานวัตกรรมเสือ้ ผ้ากีฬาทีผ่ ลิตจาก ขวดพลาสติกรีไซเคิล หรือโครงการรับบริจาครองเท้ากีฬา เพือ่ ไปอัดบดสร้างพืน้ สนามกีฬา ซึง่ ถือว่าเป็นการด�ำเนิน กิจกรรมเพือ่ สร้างประโยชน์แก่สงั คมในด้านต่างๆ (CSRafter-process) ด้วย กรณีของบริษัท สตาร์บัคส์ ก็เป็นองค์กรที่ด�ำเนิน ความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนท�ำงานหลัก ของกิจการ หรือเป็นการท�ำธุรกิจทีห่ าก�ำไรอย่างมีความ รับผิดชอบ (CSR-in-process) เช่นกัน โดยค�ำนึงถึง ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่กระบวนการปลูก กาแฟ โดยได้รว่ มมือกับ Conservation International
เพื่อหาวิธีการปลูกกาแฟที่ยั่งยืนที่สุด จนพบว่าแทนที่ จะต้องตัดไม้ท�ำลายป่าเพื่อเอาที่ดินมาปลูกต้นกาแฟ ก็ เ ปลี่ ย นเป็ น การปลู ก กาแฟใต้ ต ้ น ไม้ ห รื อ ที่ เ รี ย กว่ า “Shade grown coffee” ซึ่งวิธีนี้สามารถช่วยลด การบุกรุกป่าได้อย่างมหาศาล และนอกจากกระบวนการ ผลิตแล้ว สตาร์บัคส์ยังออกกฎให้มีการดูแลเกษตรกร ผูผ้ ลิตกาแฟสตาร์บคั ส์ทกุ คนให้ได้รบั ค่าจ้างและสวัสดิการ อย่างเป็นธรรม และยังออกมาตรฐาน C.A.F.E. (Coffee and Farmer Equity) เพือ่ ก�ำหนดข้อบังคับในการปลูก กาแฟอย่างยั่งยืนกว่า 200 ข้อ ภายใต้ความรับผิดชอบ ต่อเศรษฐกิจ สิง่ แวดล้อม และสังคม เพือ่ สร้างมาตรฐาน การปลูกกาแฟแบบไม่ทำ� ลายธรรมชาติให้เกิดขึน้ ทัว่ โลก และท�ำให้ธุรกิจอยู่ต่อไปได้อย่างยั่งยืน หรือกรณีของบริษัท ฟอร์ด (ประเทศไทย) จ�ำกัด ภายใต้โครงการ Global Week of Caring (World Wildlife Fund, 2015) ทีใ่ ห้พนักงานกว่า 500 คนในไทย ได้รวมตัวเป็นจิตอาสาและทุม่ เทเวลารวม 2,000 ชัว่ โมง ในการเข้าร่วมจัดการของเสียและส่งเสริมการรีไซเคิล ที่โรงเรียนในจังหวัดระยองร่วมกับ WWF-ประเทศไทย หรือกองทุนสัตว์ป่าโลก โดยได้แบ่งปันหลัก 3 อาร์ (3R’s) กับนักเรียน ประชาชน และข้าราชการในท้องถิน่ ทัง้ การลดการใช้ (Reduce) การน�ำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) และการรีไซเคิล (Recycle) นอกจากนีย้ งั รีไซเคิลยางรถ เพื่อสร้างเป็นชิงช้าในสนามเด็กเล่นในชุมชน ถือเป็น ความพยายามของบริ ษั ท ที่ น� ำ เอาพลั ง ของพนั ก งาน พนักงานผู้เกษียณแล้ว และจากผู้แทนจ�ำหน่าย รวมตัว กันในนาม Ford Volunteer Corps เพื่อสร้างความ เปลีย่ นแปลงเชิงบวกให้กบั ชุมชนในละแวกทีบ่ ริษทั ตัง้ อยู่ เรียกได้ว่าเป็นการด�ำเนินกิจกรรมที่รับผิดชอบต่อสังคม โดยใช้ทรัพยากรทีม่ อี ยูใ่ นองค์กรเป็นหลัก (Corporatedriven CSR) จากบทบาทของความรับผิดชอบของภาคธุรกิจต่อ กลุม่ ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียเหล่านี้ จะเห็นได้วา่ ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นเรื่องของการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะ ส่งผลต่อไปยังสังคมและชุมชน ชุมชนจึงกลายเป็นกลุ่ม
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ส�ำคัญอีกกลุ่มหนึ่ง บทบาทนี้จึงมี ความส�ำคัญและเป็นเครื่องมือในการสร้างคุณค่าให้แก่ องค์กร และเสริมสร้างความเข้มแข็งในการด�ำเนินธุรกิจ ตลอดจนเป็นการลดช่องว่างระหว่างผูผ้ ลิตกับสิง่ แวดล้อม และชุมชน ซึง่ องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่มกั มีความเกีย่ วข้อง กับสังคมและชุมชนในฐานะต่างๆ ดังนี้ - เป็นผูจ้ า้ งแรงงาน อันก่อให้เกิดรายได้ให้แก่ชมุ ชน ท้องถิ่น - เป็นผูซ้ อื้ ผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการจากผูจ้ ดั ส่ง ที่อยู่ในชุมชนท้องถิ่น - เป็นผู้สนับสนุนทุนทรัพย์หรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อ ส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีหรือกิจกรรมของ ชุมชน - เป็นผู้รับผิดชอบสังคมและชุมชนท้องถิ่น ดังนั้น การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนจึงมีความ ส�ำคัญต่อการด�ำเนินงานขององค์กรธุรกิจเป็นอย่างมาก เนือ่ งจากธุรกิจหลายประเภทมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ไปสู่ส่วนท้องถิ่น และการขยายตัวเช่นนี้เองที่ต้องการ การสนับสนุนและความร่วมมือจากคนในชุมชน เพื่อให้ องค์กรเป็นที่ยอมรับ โดยทัว่ ไปแล้ว การไม่ทำ� ความเดือดร้อนให้แก่ชมุ ชน จากการก่อให้เกิดมลภาวะต่างๆ เช่น อากาศเป็นพิษ จากการปล่อยควันจากปล่องควันของโรงงาน หรือแม่นำ�้ ล�ำคลองเป็นพิษจากการปล่อยน�้ำเสีย หรือแม้แต่การ ส่งเสียงดังของเครือ่ งจักรในโรงงานนัน้ ก็เท่ากับได้สร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนแล้ว อย่างไรก็ตาม การสร้าง ความสัมพันธ์กบั ชุมชนยังสามารถกระท�ำได้ในหลายๆ ด้าน ได้แก่ 1) ด้านอนามัย (Health) เช่น จัดส่งหน่วยแพทย์ เคลื่อนที่เพื่อให้บริการรักษาพยาบาลโดยไม่มีค่าใช้จ่าย การบริจาคเงินเพือ่ สร้างสถานพยาบาล หรือการบริจาค อุปกรณ์กีฬาเพื่อสนับสนุนการเล่นกีฬาของเด็กและ เยาวชนในชุมชน 2) ด้านการศึกษา (Education) เช่น การให้ทุน การศึกษา การบริจาคอุปกรณ์การเรียน การจัดอบรม
267
ให้ความรู้ ฝึกวิชาชีพ หรือจัดหางานให้นักเรียนท�ำเพื่อ หารายได้ในช่วงปิดภาคเรียน 3) ด้านสวัสดิการ (Welfare) เช่น การให้ค่ารักษา พยาบาล หรือดูแลด้านสุขภาพอนามัย วิธีการเหล่านี้อาจมองได้ว่าเป็นกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR-after-process) ทีแ่ สดงความรับผิดชอบต่อชุมชน และสังคม อาจใช้วิธีการเชิญผู้น�ำชุมชนมาร่วมปรึกษา หาแนวทางในการด�ำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกัน ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรกับ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นชุมชนโดยรอบองค์กรนั้น กล่าวกันว่าหากองค์กรแสดงความเป็นพลเมืองดี (Good Citizen) หรือเป็นเพือ่ นบ้านทีด่ ี (Good Neighborliness) และเป็นทีย่ อมรับของชุมชนทีอ่ ยูร่ อบข้าง การด�ำเนินธุรกิจ ก็จะด�ำเนินไปได้อย่างราบรืน่ นอกจากนีแ้ ล้ว ความสัมพันธ์ ที่ดียังมีความส�ำคัญกับการด�ำเนินงานขององค์กร ดังนี้ - เกิดความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีต่อกัน - ท�ำให้ได้รบั การสนับสนุน/การช่วยเหลือจากชุมชน ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต - องค์กรที่แสดงออกถึง “การเป็นพลเมืองที่ดีของ สังคม” (Good Citizen) จะมีผลให้องค์กรนั้น มีชอื่ เสียง ได้รบั การยอมรับในวงกว้างยิง่ ขึน้ และ มีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของชุมชน - กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ที่เป็นกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ย่อมเป็นการแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคมได้อีกทางหนึ่ง (Corporate Social Responsibility: CSR) ซึง่ ก�ำลังเป็นกระแสสังคม ในปัจจุบัน - เป็นส่วนหนึ่งของการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ให้กับแบรนด์ (Brand) ขององค์กรด้วย ชุมชนและสังคมจึงนับเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่ ส� ำ คั ญ ที่ ส ่ ง ผลกระทบและได้ รั บ ผลกระทบจาก การด�ำเนินธุรกิจ องค์กรจึงควรมุ่งเน้นการด�ำเนินงาน ความรับผิดชอบต่อสังคมทีเ่ กีย่ วข้องกับเรือ่ งของการลด ผลกระทบเชิงลบต่อชุมชนและสังคมทีเ่ กิดจากกระบวนการ ด�ำเนินธุรกิจ ท้ายที่สุดแล้วผลลัพธ์ที่ได้จากการแสดง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
268
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ความรับผิดชอบชุมชนและสังคมนั้นก็ย่อมส่งผลดีกลับ มายังองค์กรด้วยเช่นกัน
บทสรุป
ประเด็นส�ำคัญในการก�ำหนดแนวทางการด�ำเนินงาน ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเพื่อน�ำไปสู่การ ด�ำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนนั้น ควรมองในเรื่องของการบริหาร จัดการความรับผิดชอบอย่างเป็นระบบ (Responsibility Management) โดยการด�ำเนินการสร้างกิจกรรมเพื่อ พัฒนาสังคม (Social Development) ให้มคี วามสัมพันธ์ เชื่ อ มโยงการมี ส ่ ว นร่ ว มกั บ กลุ ่ ม ผู ้ มี ส ่ ว นได้ ส ่ ว นเสี ย (Stakeholder Engagement) มีการปรับปรุงและ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยน�ำแนวคิดหรือหลักการ CSR และ CSV มาสอดแทรกหรือบูรณาการในกระบวนการ ด�ำเนินธุรกิจและกิจกรรมขององค์กร โดยเฉพาะการดูแล รับผิดชอบผลกระทบจากกระบวนการทางธุรกิจ (CSRin-process) โดยไม่ท�ำให้เป็นการสร้างภาระงานใหม่ ซึ่งการด�ำเนินงาน CSR-in-process นี้เท่ากับเป็นการ เชื่อมโยงแนวคิด CSR กับแนวคิดของการพัฒนาอย่าง ยัง่ ยืน (Sustainable Development) ย่อมจะก่อให้เกิด การพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งต่อองค์กรเองและต่อสังคมที่ องค์กรตั้งอยู่นั่นเอง
ข้อเสนอแนะ
อย่างไรก็ตาม การด�ำเนินงานความรับผิดชอบต่อ สังคมขององค์กรเพื่อน�ำไปสู่การพัฒนาของธุรกิจอย่าง ยั่งยืนนั้น ไม่สามารถท�ำได้ในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้น การตั้งเป้าหมายและวัดผลตามระยะเวลาจะช่วยให้ องค์กรมีพัฒนาการที่ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ในการด�ำเนินงาน CSR องค์กรสามารถปรับแนวทางให้เหมาะสมกับลักษณะ ขององค์กร โดยพิจารณา “สิ่งที่องค์กรก�ำลังเป็น” ไปสู่ “สิ่งที่องค์กรต้องการจะเป็น” ซึ่งหมายถึงทิศทางด้าน CSR ต้องถ่ายทอดจากระดับบนไปสูร่ ะดับล่างขององค์กร อย่างชัดเจน ด้วยการก�ำหนดวิสยั ทัศน์ พันธกิจ นโยบาย กลยุทธ์ และแนวปฏิบัติ และมีกระบวนการประเมินผล ทีป่ ระกอบด้วยระยะเวลา ตัวชีว้ ดั และเป้าหมาย รวมทัง้ มีระบบสนับสนุนเพือ่ ส่งเสริมความส�ำเร็จของการด�ำเนิน งาน CSR ขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรมด้วย
ภาพที่ 2 แสดงแนวทางการด�ำเนินงานความรับผิดชอบ ต่อสังคมขององค์กรสู่การด�ำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน (ดัดแปลงจากสถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน) ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
269
บรรณานุกรม
กัญญรัตน์ หงส์วรนันท์. (2555). การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม: กลยุทธ์และโอกาสขององค์กรธุรกิจประเทศ ก�ำลังพัฒนาในสังคมพลวัต. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 6(2), 83-112. จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ฑัชวงษ์ จุลสวัสดิ.์ (2558). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรกับผลกระทบทีม่ ตี อ่ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกองค์กร ที่ดีของพนักงาน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(3), 251-262. นายคุณภาพ. (นามปากกา). (2552). Stakeholder Analysis: การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย. For Quality Magazine, 145(พฤศจิกายน), 40-43. สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2555). แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ. สืบค้นเมือ่ 16 มกราคม 2559, จาก http://www.set.or.th/sustainable_dev/th/sr/publication/files/ corporate_social_responsibility.pdf สุธิชา เจริญงาม. (2556). เริ่มต้น CSV ให้ถูกทาง. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2558, จาก http://www.thaicsr.com /2013/10/csv_28.html?m=1 ThaiPR.NET. (2014). ผลส�ำรวจแกรนท์ ธอนตัน ชี้กิจกรรม CSR สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อภาพรวมธุรกิจ องค์กรได้. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2559, จาก http://www.thaipr.net/general/573955 World Wildlife Fund. (2015). โครงการจิตอาสา Ford เติบโตด้วยความก้าวหน้าของพนักงานไทยที่ Ford Global Week of Caring ปีที่ 9. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.wwf.or.th/ ?244872/Ford-Volunteer-Projects-Expand-as-Employees-in-Thailand-Go-Further-in-NinthAnnual-Ford-Global-Week-of-Caring Barnard, C. I. (1938). The Functions of the Executive. Cambridge, MA: Harvard University Press. Cheng, W. L. & Ahmad, J. (2010). Incorporating stakeholder approach in corporate social responsibility (CSR): A case study at multinational corporations (MNCs) in Penang. Social Responsibility Journal, 6(4), 593-610. CSR Asia. (2010). Developing and implementing a CSR/sustainable development strategy in your company. In CSR Asia Summit 2010: Strategic solutions for sustainability, Hong Kong. Doorley, J. & Garcia, H. F. (2007). Reputation Management: The key to successful public relations and corporate communications. New York: Routledge. Freeman, R. E. (1984). Strategic Management: A stakeholder approach. Boston: Pitman. Post, J. E., Lawrence, A. T. & Weber, J. (2002). Business and Society: Corporate strategy, public policy, ethics. (International editions). McGraw-hill. School of Change Makers. (2016). Sustainable Business. Retrieved March 17, 2016, from http:// www.schoolofchangemakers.com/home/knowledge?knowledge_id=245 Srisuphaolarn, P. (2013). From altruistic and strategic CSR: How social value affected CSR development – a case study of Thailand. Social Responsibility Journal, 9(1), 56-77. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
270
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Sthapitanonda, P. & Watson, T. (2015). The Impact of Culture upon Thai CSR Concepts and Practice: A Study of Relationships between NGOs and Corporations. Asia Pacific Public Relations Journal, 16(1), 61-72. Yakovleva, N. (2005). Corporate Social Responsibility in the Mining Industries. Aldershot: Ashgate Publishing.
Translated Thai References
Chareonngam, S. (2013). Creating Shared Value. Retrieved December 12, 2015, from http://www. thaicsr.com/2013/10/csv_28.html?m=1 [in Thai] Hongvoranant, K. (2012). Corporate social responsibility: A strategy for business opportunities social dynamics in developing countries. Dhurakij Pundit Communication Arts Journal, 6(2), 83-112. [in Thai] Julsawat, T. (2015). The Impact of Corporate Social Responsibility toward the Good Citizenship Behavior of Employee. Panyapiwat Journal, 7(3), 251-262. [in Thai] Kasemsuk, C. (2011). Communication and Social Change. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai] Naikunnaparb. (Pseudonym). (2009). Stakeholder Analysis. For Quality Magazine, 145(November), 40-43. [in Thai] Social Responsibility Center, The Stock Exchange of Thailand. (2012). Corporate Social Responsibility. Retrieved January 16, 2016, from http://www.set.or.th/sustainable_dev/th/sr/publication/ files/corporate_social_responsibility.pdf [in Thai] ThaiPR.NET. (2014). The Survey of Grant Thornton: CSR activities can build positive effects to the overview of business. Retrieved April 13, 2016, from http://www.thaipr.net/general/573955 [in Thai] World Wildlife Fund. (2015). Project Volunteers: Ford grows up with the progress of Thai employees in Ford Global Week of Caring (Year 9). Retrieved May 15, 2016, from http://www.wwf. or.th/?244872/Ford-Volunteer-Projects-Expand-as-Employees-in-Thailand-Go-Further-inNinth-Annual-Ford-Global-Week-of-Caring [in Thai]
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
271
Name and Surname: Chintawee Kasemsuk Highest Education: Ph.D. (Interpersonal Communication), Bangkok University (In Full Cooperation With Ohio University, USA) University or Agency: Panyapiwat Institute of Management Field of Expertise: Corporate Communication/Development Communication/Participatory Communication Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
272
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
EFFECTS OF SOYBEAN PHYTOESTROGENS ON THE DEVELOPMENT OF AVIAN REPRODUCTIVE SYSTEM ผลของไฟโตเอสโตรเจนในถั่วเหลืองต่อการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ในสัตว์ปีก Nutdanai Boonnoon1 Nattaporn Chotyakul2 and Nutmethee Kruepunga3 1,2Faculty of Agro-Industry, Panyapiwat Institute of Management 3Faculty of Science, Mahidol University
Abstract
Many poultry production farms now widely use soybean as a protein source in animal feeds, especially organic farming, as part of a general trend towards greater high-quality plant-based protein. Nevertheless, there have been concerns of such soybean as an animal feed ingredient. A major challenge is that endocrine disruptors (EDs) called phytoestrogens, a term is used to describe a sort of estrogen-like chemical found in plant which can mimic the function of hormone estrogens leading to estrogen-like consequences. Phytoestrogens contained in soybean are classified as the anti-nutritive factors (ANFs) which cannot be detoxified by several treatment methods. Thus, poultry fed soybean can play an important role in anatomical and physiological development of avian reproductive system. This paper offers the current status of the effects of phytoestrogens in soybean on the development of avian reproductive system. The results indicated that the compounds contained in soybean were capable of enhancing growth and structural development when poultry are fed in the proper level. In contrast, improper amount of soybean, which contains several isoflavones particularly genistein and daidzein, was reported their negatively developmental effects. Keywords: Soybean, Phytoestrogens, Avian, Reproductive system
Corresponding Author E-mail: nutdanaiboo@pim.ac.th
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
273
บทคัดย่อ
อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปกี ในปัจจุบนั มีการใช้ถวั่ เหลืองอย่างกว้างขวางในฐานะวัตถุดบิ ส�ำหรับอาหารจ�ำพวก โปรตีนในอาหารเลีย้ งสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิง่ การเลีย้ งแบบเกษตรอินทรีย์ นับว่าเป็นแนวโน้มอันน�ำไปสูก่ ารใช้แหล่งโปรตีน จากพืชที่มีคุณภาพสูงมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการใช้ถั่วเหลืองเป็นอาหารสัตว์นั้นมีโจทย์ท้าทายส�ำคัญข้อหนึ่งคือ สารรบกวนการท�ำงานของต่อมไร้ทอ่ (EDs) ทีพ่ บในถัว่ เหลือง เรียกว่า ไฟโตเอสโตรเจน ซึง่ เป็นสารจากพืชทีม่ ลี กั ษณะ โครงสร้างคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ท�ำให้กลไกการท�ำงานและผลลัพธ์ที่ได้นั้นมีความคล้ายคลึงกับการออกฤทธิ์ ของฮอร์โมนเอสโตรเจน นอกจากนี้ไฟโตเอสโตรเจนที่พบในถั่วเหลืองจัดว่าเป็นสารรบกวนการท�ำงานของต่อมไร้ท่อ ซึ่งไม่สามารถก�ำจัดโดยกระบวนการแปรรูปต่างๆ ได้ ดังนั้น เมื่อสัตว์ปีกได้รับถั่วเหลืองเป็นอาหาร ไฟโตเอสโตรเจน ในถัว่ เหลืองจึงมีบทบาทส�ำคัญต่อกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาการเจริญของระบบสืบพันธุใ์ นสัตว์ปกี บทความนีจ้ งึ ได้ น�ำเสนอผลของไฟโตเอสโตรเจนในถัว่ เหลืองต่อการเจริญของระบบสืบพันธุใ์ นสัตว์ปกี โดยได้ขอ้ สรุปว่าไฟโตเอสโตรเจน ในถั่วเหลืองสามารถเพิ่มการเจริญเติบโตทางโครงสร้างในระบบสืบพันธุ์ในสัตว์ปีกได้หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม ในทางตรงกันข้าม การได้รับถั่วเหลืองที่มีไฟโตเอสโตรเจนหลายชนิดโดยเฉพาะจีนิสทีนและเดดซีนในปริมาณที่ไม่ เหมาะสมจะน�ำมาซึ่งผลกระทบต่อการเจริญที่ผิดปกติของสัตว์ปีก ค�ำส�ำคัญ: ถั่วเหลือง ไฟโตเอสโตรเจน สัตว์ปีก ระบบสืบพันธุ์
Introduction
Endocrine system is important for physiological processes found in animals and plants (Bennink & Boerrigter, 2003). From a baby through adulthood, endocrine glands produce and secrete various hormones along the bloodstream travelling to their distant target tissues and binding to their receptors for signalling cascade induction which regulate or modify many physiological functions including growth, development, metabolism and reproductive activities etc. (Khetan, 2014). From the renowned publication named “Our Stolen Future” in 1996, the conception of endocrine disruption has first emerged as xenobiotic compounds in animals (Colborn, Dumanoski & Myers, 1996; Khetan, 2014). According to European Commission (2016), endocrine disruptors (EDs) defined as “exogenous
substances or mixtures that alters function(s) of the endocrine system and consequently causes adverse health effects in an intact organism, or its progeny, or (sub) populations”. In fact, the term EDs were initially the wellknown issue after the report Rachel Carson’s Silent Spring in 1962 which linked between dichlorodiphenyltrichloroethane (DDT) and the environmental effects on wildlife health problems including eggshell thinning, dysmorphism and population decline (Fry, 1995). In addition to DDT, several substances, for example herbicides, plasticizers and plant compounds, had been defined as EDs according to their reproductive effects in various species (Khetan, 2014). According to Carpenter, Arcaro & Spink (2002) and Vandenberg et al. (2012), endocrine disruptors (EDs) are able to act alongside or additively with other endogenous hormones
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
274
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
and exogenous chemicals even though some of the EDs have low-dose effects in the body. In addition, there are some of the EDs, which have specific dose-responses. Unlikely, the typical dose-response curve, which the toxicologists are accustomed to thinking for a long time, demonstrates the increase in response depending on higher dose (Welshons et al., 2003; Khetan, 2014). It is important to be aware of each individual dose in order to determine the toxicity of individual chemicals (Khetan, 2014). Thus, this paper provides an awareness of the effects of phytoestrogens found in soybean on the development of avian reproductive system because soybean meal has widely been known as a protein source in animal feeds for poultry. This is due to the fact that soybean meal is abundant of high-quality plant-based proteins, which are consisted of numerous amino acids. Such amino acids are vital for protein building blocks for poultry (Cromwell, 2016). Soybean meal is a by-product from the soybean oil industry due to the advance of solvent processing technologies in order to produce soybean meal by eliminating the oil (Cromwell, 2016). However, every processing of soybean must be processed appropriately to ensure that all anti-nutritional factors (ANFs) are removed in order to feed poultry. Unfortunately, there is a clear concern with the processing methods that cannot detoxify phytoestrogens contained in soybean meal. This paper has been examined through a number of studies and the previous experiments, including such key topics as the introduction
to soybean phytoestrogens, the functional mechanism of phytoestrogens, and their developmental effects on avian reproductive system in order to attract awareness to the potential effects that soybean phytoestrogens have on development of avian reproductive system.
Soybean Phytoestrogens
Phytoestrogens, which are estrogenic compounds presented in plants such as soybean, are believed as plant defense mechanism in order to protect against insects (Rochester & Millam, 2009). Many phytoestrogens found in plants are divided into three main groups, which include coumestans, lignans and isoflavones (Adlercreutz, 1995). Particularly, isoflavones, which are found in soybean, represent one of the most important studied groups of phytoestrogens, including genistein, daidzein and their glucosides (genistin and daidzin) (Mostrom & Evans, 2012). The ratio of isoflavones presented in soybean products depends on the variety of soybean products; however, such products generally found more genistein than daidzein (Hendrich et al., 1998). The term “soybean” refers to Asian plant Glycine max, which is an economically important grain legume crop (Dei, 2011). Soybean was introduced to Argentina, Brazil, China, India and United States later become known as the top producers, although, it was first cultivated in East Asia (Dei, 2011; Dourado et al., 2011). The major driving force stimulated the production and consumption of soybean all
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
over the world is the use of soybean meal as high-quality source of protein and unsaturated fatty acids for utilising energy by the animal in livestock feed industry (Blair, 2008; Dei, 2011). Generally, soybean meal provides approximately 150 µg daidzein per gram and 250 µg genistein per gram (Dixon & Ferreira, 2002; Stevenson, 2007). However, phytoestrogens contained in soybean can differ greatly from crop to crop, region to region (Stevenson, 2007). Soybean that used for feed formulation is produced into full-fat soybean, soybean meal and oil. This is due to the fact that raw soybean is unable to feed directly because anti-nutritive factors (ANFs) were numerous found in unprocessed soybeans (Dei, 2011). As previously mentioned, soybean meal has long been considered as one of the
275
most accepted source of high-quality protein and energy in poultry feeds (Cromwell, 2016). Nowadays, apart from soybean meal, the amount of full-fat soybean and feed-grade soybean oil continue to increase gradually because their high energy content and the advanced development of treatments to destroy the levels of ANFs (Dei, 2011; Dourado et al., 2011; Cromwell, 2016). As shown in Table 1, the major ANFs presented in soybean can be eliminated by heat treatment such as phytohaemagglutinins (lectins) and proteases inhibitors (Dei, 2011). Unfortunately, there is a clear limitation with the methods of treatment that cannot detoxify phytoestrogens contained in soybean.
Table 1 Major anti-nutritive factors (ANFs) are found in soybeans Anti-nutritional factors Effects Proteases inhibitors - Inhibition of the function of digestive enzyme such as trypsin or chymotrypsin - Induction of pancreatic hypertrophy Phytohaemagglutinins - Erythrocyte agglutination (Lectins) - Diminished absorption of intestinal cells Phytoestrogens Reproductive tract enlargement
Detoxification process References Dei, 2011, - Heat treatments - Germination process Dourado et al., 2011 - Fermentation
- Heat treatments
-
Liener, 1994, Dourado et al., 2011 Dei, 2011
Source: adapted from Dei (2011: 22)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
276
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Functional mechanism of phytoestrogens Phytoestrogens can competitively bind estrogen receptors (ERs) situated in nuclear membrane with endogenous estrogens but generally less potential than endogenous estrogens. (Belcher & Zsamovszky, 2001; Ratna, 2002). In terms of functional mechanism of phytoestrogens, both endogenous estrogens and phytoestrogens consisted of the phenolic
ring enable them to bind directly particular receptors or cell surfaces forming “ligandreceptor complex” in cytoplasm, transport to nucleus in order to manipulate the control regions for transcription of the DNA or small RNA (sRNA) and finally activate the expression of the specific genes (Korach et al., 1997; Sirotkin & Harrath, 2014) (Figure 1)
Figure 1 The general mechanism of phytoestrogens Source: retrieved from Khetan, 2014 Reproduced with permission of John Wiley & Sons, Inc. In most female vertebrate animals, estradiol (17-b-estradiol) is one of the most potent and main forms of estrogens found in the active reproductive period, which is usually released by the ovaries (Bennink & Boerrigater, 2003; Stevenson, 2007). Estradiol would be active in very low concentration in bloodstream which is generally between 0.00001 and 0.0009 ppm (Vandenberg et al., 2012). As previously described, phytoestrogens are able to bind estrogen receptors according to structural similarity with estradiol and induce a response that mimics the action of endogenous hormones leading to estrogen-like consequences (Stevenson, 2007) Thus, every process is controlled and maintained by estrogens (estradiol) can be influenced by phytoestrogens (Wang, 2002).
This is due to the fact that numerous estrogen receptors found in many different tissues and organ systems, particularly, reproductive organs and accessory sexual glands. (Sirotkin & Harrath, 2014). However, the effects of phytoestrogens mentioned above rely on many factors that need to be considered, for instance, endogenous hormones levels, phytoestrogens levels, types of tissues, types of estrogen receptors, etc. (Gehm et al., 2004; Rochester & Millam, 2009).
The effects of soybean phytoestrogens on the development of avian reproductive system.
During embryonic period, sex determination and differentiation of avian reproductive structures require sex hormones (estrogens)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
driving the proper developmental consequences for each structure which prominently developed in the left side of the body (Intarapat & Stern, 2013; Intarapat, Sailasuta & Satayalai, 2014). According to Ottinger et al. (2005) and Stevenson (2007), the effects of embryonic exposure to estrogen-like compounds were divided into short-term and long-term effects. The obvious effects for instance hatching period and neuroendocrine are classified in short-term effects. In the case of long-term effects, some estrogen-like compounds might bring about oviduct abnormalities in the adult animal. For example, the retention of Müllerian ducts which normally regress on right side in female
277
and both sides in male, demasculinized male left gonad which maybe form ovary-like tissue in testis called ovotestis, reduced egg production, drastically altered carbonic anhydrase distribution in the shell gland, and production of shell-less eggs (Holm et al., 2001; Brunstrom, Axelsson & Halldin, 2003; Stevenson, 2007; Intarapat, Sailasuta & Satayalai, 2014). According to Intarapat, Sailasuta & Satayalai (2014) and Zhengkang et al. (2006), isoflavones (genistein and daidzein) are prominent EDs treated in avian species to study their reproductive and developmental effects which has been shown on different sorts of avian species (Table 2)
Table 2 Reproductive and developmental effects of isoflavones (phytoestrogens) on different avian species Avian models Age (days/months) Quails Japanese quail (Coturnix japonica) eggs
Dose 16, 24 µg/g, in ovo injection
Chickens
5-50 µM, Leydig cells were incubated with genistein.
Genistein
Ganders
In vitro experiment with roosters (Gallus gallus domesticus) Leydig cells In vitro experiment with Bilgoraj gander Leydig cells
5µM, 50µM, Leydig cells were incubated with genistein. Leydig cells were incubated with 50µM genistein, then incubated with 20 µM testosterone (T) precursors 1 day-old, males 383.55 mg/g in feed, (Bilgoraj ganders: Anser during growth period domesticus) 118.54 -151.19 mg/g in feed, before and during mating period
Effects - Cause a retention of Müllerian ducts in both sexes - Cause a demasculinization in male left gonad - Cause a suppression of basal and LH-stimulated testosterone secretion by Leydig cells
References Intarapat, Sailasuta & Satayalai, 2014 Opalka et al., 2004
- Cause a suppression of secreting testosterone by incubated Leydig cells
Opalka et al., 2006, 2008, 2012
- Cause a suppression of the stimulatory effects of testosterone precursors
- Cause a reduction of ejaculate volume and percentage of normal sperm morphology in Bilgoraj ganders - Cause a height of the seminiferous epothelium in Bilgoraj ganders
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
278
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Daidzein
Table 2 Reproductive and developmental effects of isoflavones (phytoestrogens) on different avian species (cont.)
Avian models Age (days/months) Dose Quails 35 day-old, females 3 mg/kg in feed 7 months old, females 7 months old, females 6 mg/kg in feed 12 months old, females 6 mg/kg in feed
Effects - Stimulate an increase egg-laying rate and blood triiodothyronine (T3) levels - Stimulate an decrease egg-laying rate - Stimulate an increase egg-laying rate
References Ke, Wang & Han, 2002, Zhengkang et al., 2006
Chickens
- Stimulate an increase of blood triiodothyronine (T3) and progesterone levels in laying hens - Compositional change of egg in layers (egg cholesterol content and egg yolk cholesterol concentration were reduced) - Stimulate an increase egg-laying rate in laying hens - Stimulate an increase of shell gland carbonic anhydrase activity in laying hens
Wistedt et al., 2012, Yin et al., 2004, Zhengkang et al., 2006
330 day-old, females
3 mg/kg in feed
N/A
10, 20, and 40 mg/kg in feed
242 and 330 day-old, females 60-72 week-old, females (Lohmann Selected Leghorn: LSL) and Lohmann Brown: LB) Ganders In vitro experiment with Bilgoraj gander Leydig cells Shaoxing ducks 415-day-old, females (Anas platyrhynchos)
3 mg/kg in feed 50 mg/kg in feed
5µM, 50µM, Leydig cells were incubated with genistein. 5 mg/kg in feed for 9 weeks
According to several experiments summarised in Table 2, genistein and daidzein containing in animal feed, in vitro experiment and in ovo injection in avian species showed the interference of reproductive functions and developmental processes. Therefore, soybean which contains genistein and daidzein might be able to affect the reproductive malfunction and malformed development in poultry. However, these effects depended on species, specific age and developmental times. Brunstrom, Axelsson & Halldin (2003) classified the avian species into two major
- Cause a suppression of secreting testosterone by Leydig cells
Opalka et al., 2006, 2012 - Compositional change of egg (Egg mass Zhao et al., increased, yolk or albumin ratio reduced) 2004
species which are affected by sex hormones during developmental times: precocial and altricial avian species. Precocial avian species, such as the domestic chickens and ducks, were affected by sex hormones particularly during embryonic period development. In contrast, the zebra finch was one of the altricial species which were affected both in the embryonic period development and the period after hatching. Thus, it is possible that whether an animal feed fed to females during the egg-laying period is found to contain phytoestrogens, altricial species were more likely to be affected
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
by them. According to Intarapat, Sailasuta & Satayalai (2014), phytoestogens are maternally transferred to the egg through the circulatory system. Vitellogenin is synthesised to act as egg yolk precursor in the bloodstream of egg-laying avian species (Saitoh et al., 2004). Both dietary isoflavones and vitellogenin are cotransported as complexes into the oocyte which most of yolk components are generally transferred into the oocytes from bloodstream before ovulation (Saitoh et al., 2004). Therefore, there have been concerns of such soybean as an animal feed. The main challenge is that the effects of exposing phytoestrogens on growth and reproductive functions of the offspring are needed to be taken into consideration in a long-term (Daston et al., 1997).
Conclusions
As soybean is well known as one of the feed ingredients for poultry, some compounds contained in soybean are normally capable to
279
enhance the growth and structural development when they are fed in the proper level. On the other hand, improper amount of soybean, which contains several isoflavones especially genistein and daidzein, is reported their negatively reproductive and developmental effects. Basically, isoflavones are structurally similar to estrogen, which regulates the normal female reproductive development, and consequently induce the estrogen-like developmental activities. Excess estrogen-like compounds, known as EDs, affect the remaining activation of the estrogendependent processes leading to malformation or failure in developmental mechanisms. Moreover, the EDs is the exception of the normal toxicological plots which is dosedependent toxicity because their toxicity can be varying as mentioned above. Therefore, the use of soybean as animal feed should be considered the appropriate concentration and also other system development in the future.
References
Adlercreutz, H. (1995). Phytoestrogens: epidemiology and a possible role in cancer protection. Environmental Health Perspectives, 103(Suppl 7), 103-112. Belcher, S. M. & Zsamovszky, A. (2001). Estrogenic action in the brain: estrogen, phytoestrogen, and rapid intracellular signaling mechanisms. Journal of Pharmacology and Experimental Therapeutics, 299(2), 408-414. Bennink, H. J. T. C. & Boerrigter, P. J. (2003). Use of dydrogesterone as a progestin for oral contraception. Steroids, 68(10-13), 927-929. Blair, R. (2008). Nutrition and Feeding of Organic Poultry. Oxford, UK: CAB International. Brunstrom, B., Axelsson, J. & Halldin, K. (2003). Effects of endocrine modulators on sex differentiation in birds. Ecotoxicology, 12(1-4), 287-295. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
280
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Carpenter, D. O., Arcaro, K. & Spink, D. C. (2002). Understanding the human health effects of chemical mixtures. Environmental Health Perspectives, 110(Suppl 1), 25-42. Colborn, T., Dumanoski, D. & Myers, J. P. (1996). Our stolen future: are we threatening our fertility, intelligence and survival? – A Scientific Detective Story. New York, US: Penguin Books. Cromwell, G. L. (2016). Soybean Meal – An Exceptional Protein Source. Retrieved June 3, 2016, from http://www.soymeal.org/ReviewPapers/SBMExceptionalProteinSource.pdf Daston, G. P., Gooch, J. W., Breslin, W. J., Shuey, D. L., Nikiforov, A. I., Fico, T. A. & Gorsuch, J. W. (1997). Environmental estrogens and reproductive health: A discussion of the human and environmental data. Reproductive Toxicology, 11(4), 465-481. Dei, H. K. (2011). Soybean as a feed ingredient for livestock and poultry. In Krezhova, D. (Ed.), Recent Trends for Enhancing the Diversity and Quality of Soybean Products. Rijeka: Intech. Dixon, R. A. & Ferreira, D. (2002). Genistein. Phytochemistry, 60(3), 205-211. Dourado, L. R. B., Pascoal, L. A. F., Sakamura, N. K. & Costa, F. G. P. (2011). Soybean (Glycine max) and soybean products in poultry and swine nutrition. In Krezhova, D. (Ed.), Recent Trends for Enhancing the Diversity and Quality of Soybean Products. Rijeka: Intech. European Commission (2016). What are endocrine disruptors?. Retrieved March 31, 2016, from http://ec.europa.eu/environment/chemicals/endocrine/definitions/endodis_en.html Fry, D. M. (1995). Reproductive effects in birds exposed to pesticides and industrial chemicals. Environmental Health Perspectives, 103(Suppl 7), 165-171. Gehm, B. D., Levenson, A. S., Liu, H., Lee, E. J., Amundsen, B. M., Cushman, M., Jordan, V. C. & Jameson, J. L. (2004). Estrogenic effects of resveratrol in breast cancer cells expressing mutant and wild-type estrogen receptors: role of AF-1 and AF-2. Journey of Steroid Biochemistry and Molecular Biology, 88(3), 223-234. Hendrich, S., Wang, G. J., Lin, H. K., Xu, X., Tew, B. Y., Wang, H. J. & Murphy, P. A. (1998). Isoflavone metabolism and bioavaliability. In Papas, A. M. (Ed.), Antioxidant Status, Diet, Nutrition, and Health. US: CRC Press. Holm, L., Berg, C., Brunstrom, B., Ridderstrale, Y. & Brandt, I. (2001). Disrupted carbonic anhydrase distribution in the avian shell gland following in ovo exposure to estrogen. Archives of Toxicology, 75(6), 362-368. Intarapat, S. & Stern, C. D. (2013). Sexually dimorphic and sex-independent left-right asymmetries in chicken embryonic gonads. PLoS One 8, e69893. Intarapat, S., Sailasuta, A. & Satayalai, O. (2014). Anatomical and histological changes of reproductive organs in Japanese Quail (Coturnix japonica) embryos after in ovo exposure to genistein. International Journal of Poultry Science, 13(1), 1-13. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
281
Ke, Y. Y., Wang, G. J. & Han, Z. K. (2002). Effects of daidzein on the performance and serum hormone concentrations in the laying quails. Acta Veterinaria et Zootechnica Sinica, 33, 243-246. Khetan, S. K. (2014). Endocrine disruptors in the environment. New Jersey, US: John Wiley & Sons, Inc. Korach, K. S., Davis, V. L., Curtis, S. W. & Bocchinfuso, W. P. (1997). Xenoestrogens and estrogen receptor action. In Thomas, J. A. & Colby, H. D. (Eds.), Endocrine Toxicology (2nd ed.). Washington, D.C.: Taylor and Francis. Liener, I. E. (1994). Implications of antinutritional components in soybean foods. Critical Reviews in Food Science and Nutrition, 34(1), 31-67. Mostrom, M. & Evans, T. J. (2012). Phytoestrogens. In Gupta, R. C. (Ed.). Verterinary Toxicology (2nd ed.). USA: Elsevier Inc. Opalka, D. M., Kaminska, B., Piskula, M. K., Puchajda-Skowronska, H. & Dusza, L. (2006). Effects of phytoestrogens on testosterone secretion by leydig cells from bilgoraj ganders (Anser anser). British Poultry Science, 47(2), 237-245. Opalka, M., Kugla-Owczarska, J., Kaminska, B., Puchajda-Skowronska, H., Hryniewicka, W. & Dusza, L. (2008). Effects of dietary meals containing different levels of phytoestrogens on reproductive function in bilgoraj ganders. Acta Veterinaria Hungarica, 56(3), 379-391. Opalka, M., Kaminska, B., Ciereszko, R. & Dusza, L. (2004). Genistein affects testosterone secretion by leydig cells in roosters (Gallus gallus domesticus). Reproductive Biology, 4(2), 185-193. Opalka, M., Kaminska, B., Leska, A. & Dusza, L. (2012). Mechanism of phytoestrogen action in Leydig cells of ganders (Anser anser domesticus): Interaction with estrogen receptors and steroidogenic enzymes. Journal of environmental science and health. Part A, Toxic/ hazardous substances & environmental engineering, 47(9), 1335-1339. Ottinger, M. A., Quinn M. J. Jr., Lavoie, E., Abdelnabi, M. A., Thompson, N., Hazelton, J. L., Wu, J. M., Beavers, J. & Jaber, M. (2005). Consequences of endocrine disrupting chemicals on reproductive endocrine function in birds: Establishing reliable end points of exposure. Domestic Animal Endocrinology, 29(2), 411-419. Ratna, W. N. (2002). Inhibition of estrogenic stimulation of gene expression by genistein. Life Sciences, 71(8), 865-877. Rochester, J. R. & Millam, J. R. (2009). Phytoestrogens and avian reproduction: exploring the evolution and function of phytoestrogens and possible role of plant compounds in the breeding ecology of wild birds. Comparative Biochemistry and Physiology Part A: Molecular & Integrative Physiology, 154(3), 279-288. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
282
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
Saitoh, S., Sato, T., Harada, H. & Matsuda, T. (2004). Biotransformation of soy isoflavone-glycosides in laying hens: Intestinal absorption and preferential accumulation into egg yolk of equol, a more estrogenic metabolite of daidzein. Biochimica et Biophysica Acta, 1674(2), 122-130. Sirotkin, A. V. & Harrath, A. H. (2014). Phytoestogens and their effects. European Journal of Pharmacology, 741, 230-236. Stevenson, L. M. (2007). Effects of the soy phytoestrogen genistein on the reproductive development of immature female broiler chickens. Master’s thesis, Auburn University, Alabama, US. Vandenberg, L. N., Colborn, T., Hayes, T. B., Heindel, J. J., Jacobs, D. R., Jr., Lee, D. H., Shioda, T., Soto, A. M., vom Saal, F. S., Welshons, W. V., Zoeller, R. T. & Myers, J. P. (2012). Hormones and endocrine-disrupting chemicals: low-dose effects and nonmonotonic dose responses. Endocrine Reviews, 33(3), 378-455. Wang, L. Q. (2002). Mammalian phytoestrogens: enterodiol and enterolactone. Journal of Chromatography B, 777(1-2), 289-309. Welshons, W. V., Thayer, K. A., Judy, B. M., Taylor, J. A., Curran, E. M. & vom Saal, F. S. (2003). Large effects from small exposures. I. mechanisms for endocrine-disrupting chemicals with estrogenic activity. Environmental Health Perspectives, 111(8), 994-1006. Wistedt, A., Ridderstråle, Y., Wall, H. & Holm, L. (2012). Effects of phytoestrogen supplementation in the feed on the shell gland of laying hens at the end of the laying period. Animal Reproduction Science, 133(3-4), 205-213. Yin, J. D., Qi, G. H., Zhang, P. & Huo, Q. G. (2004). Effect of dietary daidzein on egg cholesterol content and its antioxidant property in layers. Scientia Agricultura Sinica, 37(5), 756-761. Zhao, R., Wang, Y., Zhou, Y., Ni, Y., Lu, L., Grossmann, R. & Chen, J. (2004). Dietary daidzein influences laying performance of ducks (Anas platyrhynchos) and early post-hatch growth of their hatchlings by modulating gene expression. Comparative Biochemistry and Physiology Part A: Molecular & Integrative Physiology, 138(4), 459-466. Zhengkang, H., Wang, G., Yao, W. & Zhu, W. Y. (2006). Isoflavonic phytoestrogens--new prebiotics for farm animals: a review on research in China. Current Issues in Intestinal Microbiology, 7(2), 53-60.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
283
Name and Surname: Nutdanai Boonnoon Highest Education: M.Sc. in Aquaculture Business Management, University of Stirling, UK University or Agency: Panyapiwat Institure of Management Field of Expertise: Aquaculture Business Management Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120 Name and Surname: Nattaporn Chotyakul Highest Education: Ph.D. in Food Science and Technology, Oregon State University, USA University or Agency: Panyapiwat Institure of Management Field of Expertise: Food Process Engineering Address: 85/1 Moo 2, Chaengwattana Rd., Bang Talad, Pakkred, Nonthaburi 11120 Name and Surname: Nutmethee Kruepunga Highest Education: B.Sc. in Biology (First Class Honour), Kasetsart University University or Agency: Mahidol University Field of Expertise: Embryology Address: 272 Rama VI Rd., Ratchathewi, Bangkok 10400
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
284
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
กรอบแนวคิดของการสร้างภาพความละเอียดสูงยิ่งโดยโดเมนความถี่ จากภาพความละเอียดต�่ำที่มีปัญหาเอเลียสซิง (Aliasing)1: ภาคทฤษฎี CONCEPTUAL FRAMEWORK OF SUPER RESOLUTION RECONSTRUCTION BASED ON FREQUENCY DOMAIN FROM ALIASED MULTI-LOW RESOLUTION IMAGES1: THEORY PART วรพจน์ พัฒนวิจิตร Vorapoj Patanavijit คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ Faculty of Engineering, Assumption University
บทคัดย่อ
อัลกอริทึมการสร้างภาพความละเอียดสูงยิ่ง (Super-Resolution) คือ การสร้างภาพความละเอียดสูงจาก ชุดของภาพความละเอียดต�ำ่ แต่ถา้ ภาพความละเอียดต�ำ่ ดังกล่าวมีปญ ั หาเอเลียสซิง (Aliasing) (เกิดขึน้ จากกระบวนการ บันทึกข้อมูลด้วยอัตราความถี่ต�่ำเกินไป) แล้วประสิทธิภาพของอัลกอริทึมแบบนี้จะลดลง (หรือภาพความละเอียดสูง ทีส่ ร้างขึน้ ได้จะมีความผิดเพีย้ นสูง) ดังนัน้ บทความนีจ้ ะศึกษาและอธิบายรายละเอียดของเทคนิคกระบวนการประทับจ�ำ (Registration) แบบเชิงความถี่โดยจะใช้เฉพาะข้อมูลความถี่ต�่ำของภาพเท่านั้น เนื่องจากข้อมูลความถี่ต�่ำจะไม่ถูก รบกวนด้วยปัญหาเอเลียสซิง (Aliasing) แล้วจึงน�ำข้อมูลของภาพ (อย่างเช่น ระยะในแนวนอน, ระยะในแนวตั้ง หรือมุมระหว่างภาพ) ซึง่ ค�ำนวณได้จากกระบวนการประทับจ�ำ (Registration) ไปใช้ในการปรับภาพความละเอียดต�ำ่ (ซึง่ มีปญ ั หาเอเลียสซิง (Aliasing)) เพือ่ ใช้สำ� หรับการสร้างภาพความละเอียดสูงในขัน้ ตอนต่อไป และขัน้ ตอนการสร้าง ภาพทีใ่ ช้ในการทดลอง คือ การสร้างภาพความละเอียดสูงด้วยการประมาณค่าในช่วงแบบคิวบิก (Cubic Interpolation) ค�ำส�ำคัญ: การสร้างภาพความละเอียดสูงยิ่ง กระบวนการประทับจ�ำ (Registration) เชิงความถี่
Corresponding Author E-mail: Patanavijit@yahoo.com 1
The Portions of this research work were presented at The 34th Electrical Engineering Conference (EECON-34), Ambassador City Jomtien Hotel, Pataya, Chonburi, Thailand, Dec. 2011. as “The Empirical Performance Study of a Super Resolution Reconstruction Based on Frequency Domain from Aliased Multi-Low Resolution Images” (Patanavijit, 2011)
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
285
Abstract
In general, the Super Resolution Reconstruction (SRR) algorithm is the high resolution reconstruction method from the number of Low-Resolution (LR) images. If the LR images are improperly sampled then the aliasing problem is raised and the performance of SRR algorithm is usually decreased. Consequently, this paper studies and explains the conceptual framework of SRR Based on frequency domain from multi aliased LR images. This paper introduces the frequency domain registration process for applying only low frequency part of aliased multi LR images in order to reduce the aliasing impact. Finally, the reconstruction process is based on non-uniform cubic interpolation. Keywords: Super Resolution Reconstruction, Frequency Domain Registration, Aliasing
บทน�ำ
เนือ่ งจากกล้องถ่ายภาพแบบดิจทิ ลั โดยทัว่ ไปแล้วจะมี ความละเอียดของภาพทีบ่ นั ทึกได้จำ� กัด แต่กล้องถ่ายภาพ แบบดิจิทัลจะสามารถบันทึกภาพได้หลายภาพต่อเนื่อง กันได้ ดังนั้นเราจะสามารถสร้างภาพความละเอียดสูง โดยใช้อัลกอริทึมการสร้างภาพความละเอียดสูงยิ่งได้ (Tsai & Huang, 1984) หลั ก การของการสร้ า งภาพความละเอี ย ดสู ง ยิ่ ง (Kang & Chaudhuri, 2003; Ng & Bose, 2003; Park, Park & Kang, 2003) คือ การน�ำข้อมูลของภาพ ความละเอียดต�่ำในแต่ละภาพมารวมกันเพื่อน�ำไปสร้าง ภาพความละเอียดสูง โดยภาพความละเอียดต�ำ่ แต่ละภาพ อาจจะมีลักษณะที่แตกต่างจากภาพความละเอียดสูง ต้นแบบ อย่างเช่นชุดของภาพความละเอียดต�่ำที่ถูก บันทึกขณะที่กล้องก�ำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น รายละเอียด ของขั้นตอนการสร้างภาพความละเอียดสูงแสดงได้ดัง ตัวอย่างที่ 1 (ส�ำหรับสัญญาณ 1 มิติ) การสร้างภาพ ความละเอียดสูงยิง่ ได้ถกู น�ำไปประยุกต์ใช้งานหลายด้าน อย่างเช่นการประมวลผลภาพถ่ายทางด้านอาชญากรรม การปรับปรุงคุณภาพของภาพถ่ายดาวเทียม (Gou et al., 2014) และภาพถ่ายทางการแพทย์ (ChristensenJeffries et al., 2015) หรือการเพิม่ คุณภาพของสัญญาณ วีดิทัศน์ (Quevedo et al., 2014) เป็นต้น
ตัวอย่างของแนวคิดการสร้างสัญญาณความละเอียด สูงจากสัญญาณที่บันทึกได้ (Patanavijit, 2016) เมื่อ ก�ำหนดให้สัญญาณความละเอียดสูงต้นแบบมีความถี่ สูงสุดเป็น 0.125 Hz หรือ fMAX = 0.125 Hz ดังแสดง ในภาพที่ 1.1
ภาพที่ 1.1 สัญญาณความละเอียดสูงต้นแบบมี ความถี่สูงสุดเป็น 0.125 Hz
ภาพที่ 1.2 สัญญาณความละเอียดต�่ำชุดที่ 1
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
286
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ภาพที่ 1.3 สัญญาณความละเอียดต�่ำชุดที่ 2
ภาพที่ 1.4 สัญญาณความละเอียดต�่ำชุดที่ 3 และสัญญาณความละเอียดต�ำ่ ทีบ่ นั ทึกได้โดยมีความถี่ ในการสุ่มข้อมูลสูงสุดเป็น fS = 0.25 Hz และมีจ�ำนวน 3 สัญญาณ โดยแต่ละสัญญาณจะมีเฟสแตกต่างกันไป ดังแสดงในภาพที่ 1.2, 1.3 และ 1.4 ตามล�ำดับแนวคิด การสร้างภาพความละเอียดสูงยิง่ จะแบ่งเป็นสองขัน้ ตอน ดังต่อไปนี้ กระบวนการประทั บ จ� ำ (Registration) คื อ ขั้นตอนแรกในการสร้างภาพความละเอียดสูงยิ่ง (SR) โดยกระบวนการนี้คือ การน�ำสัญญาณที่บันทึกได้ทุกตัว มาจั ด เรี ย งต� ำ แหน่ ง ให้ ถู ก ต้ อ งซึ่ ง สามารถท� ำ ได้ ต าม ขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1.1 ก�ำหนดสัญญาณที่บันทึกจ�ำนวน 1 สัญญาณ จากสัญญาณที่บันทึกได้ทั้งหมดให้เป็นสัญญาณอ้างอิง (Reference) โดยในกรณีนเี้ ราอาจจะก�ำหนดให้สญ ั ญาณ fLR_1(t), fLR_2(t) หรือ fLR_3(t) เป็นสัญญาณอ้างอิงก็ได้ ดังนัน้ ถ้าเราเลือกสัญญาณ fLR_1(t) เป็นสัญญาณอ้างอิง 1.2 ค�ำนวณระยะห่างระหว่างสัญญาณความละเอียด ต�่ำทั้งหมดกับสัญญาณอ้างอิง fLR_2(t) กับ fLR_1(t) : จากภาพที่ 1.2 และ 1.3 เราจะเห็นได้ว่าสัญญาณ fLR_2(t) จะเลื่อนไปทางขวาของสัญญาณ fLR_1(t) เป็น
ระยะเวลา 1 วินาที fLR_3(t) กับ fLR_1(t) : จากภาพ ที่ 1.2 และ 1.3 เราจะเห็นได้ว่า สัญญาณ fLR_3(t) จะเลือ่ นไปทางขวาของสัญญาณ fLR_1(t) เป็นระยะเวลา 3 วินาที ขั้นตอนที่สองคือ การน�ำภาพความละเอียดต�่ำมา รวมกัน โดยการน�ำภาพความละเอียดต�่ำมารวมกัน คือ ขั้นตอนที่สอง (และเป็นขั้นตอนสุดท้าย) ของการสร้าง ภาพความละเอียดสูงยิ่งโดยกระบวนการนี้จะมีขั้นตอน ย่อยๆ ดังต่อไปนี้ 2.1 น�ำสัญญาณอ้างอิงที่ก�ำหนดในขั้นตอนที่ 1.1 มาเพิ่มความละเอียดในแกน t ขึ้นตามจ�ำนวนเท่าที่ ต้องการโดยถ้าเราต้องการเพิ่มความละเอียดของข้อมูล ขึ้น 4 เท่าดังแสดงในภาพที่ 1.5 และก�ำหนดให้ข้อมูล ในต�ำแหน่งที่ยังว่างอยู่มีค่าเป็นศูนย์ 2.2 น�ำข้อมูลจากสัญญาณความละเอียดต�ำ่ fLR_2(t) ไปรวมกับข้อมูลสัญญาณอ้างอิง (ภาพที่ 1.5) ในต�ำแหน่ง ที่ข้อมูลขาดหายไปโดยใช้รายละเอียดเกี่ยวกับต�ำแหน่ง ของสัญญาณ fLR_1(2) ที่เลื่อนไปทางขวามือเป็นเวลา 1 วินาทีโดยจะได้ผลดังแสดงในภาพที่ 1.6 2.3 น�ำข้อมูลจากสัญญาณความละเอียดต�ำ่ fLR_3(t) ไปรวมกับข้อมูลสัญญาณอ้างอิง (ภาพที่ 1.5) ในต�ำแหน่ง ทีข่ อ้ มูลขาดหายไป โดยใช้รายละเอียดเกีย่ วกับต�ำแหน่ง ของสัญญาณ fLR_3(t) ที่เลื่อนไปทางขวามือเป็นเวลา 3 วินาทีโดยจะได้ผลดังแสดงในภาพที่ 1.7 2.4 ถ้าน�ำข้อมูลจากภาพความละเอียดต�่ำทั้งหมด มารวมกับข้อมูลสัญญาณอ้างอิงจนหมดแล้ว แต่ยังคงมี ข้อมูลบางส่วนที่ไม่มีค่าดังแสดงในภาพที่ 1.6 (ข้อมูลที่ ต�ำแหน่งสีเทาอ่อน) แล้วให้ท�ำการค�ำนวณหาข้อมูลที่ ต�ำแหน่งดังกล่าว โดยกระบวนการการสร้างข้อมูลภาพ โดยในบทความนี้จะใช้กระบวนการประมาณค่าในช่วง แบบคิวบิก (Cubic Interpolation) และน�ำข้อมูลที่ สร้างขึ้นมาได้ไปรวมกับสัญญาณอ้างอิง (ในต�ำแหน่ง ที่ยังว่างอยู่) จะได้ผลดังแสดงในภาพที่ 1.8
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ภาพที่ 1.5 สัญญาณอ้างอิงในเมื่อเพิ่มจ�ำนวน ข้อมูลในขั้นตอนที่ 2.1
ภาพที่ 1.6 สัญญาณอ้างอิงในเมื่อเพิ่มจ�ำนวน ข้อมูลในขั้นตอนที่ 2.2
ภาพที่ 1.7 สัญญาณอ้างอิงในเมื่อเพิ่มจ�ำนวน ข้อมูลในขั้นตอนที่ 2.3 2.5 สัญญาณอ้างอิงที่มีการเพิ่มจ� ำนวนข้อมูลใน ขั้นตอนที่ 2.4 แล้วจะกลายเป็นสัญญาณความละเอียด สูงยิ่ง ซึ่งมีความละเอียดของข้อมูลที่สูงกว่าสัญญาณ ที่ บั น ทึ ก ได้ ทั้ ง 3 สั ญ ญาณ ดั ง แสดงในภาพที่ 1.8 โดยสัญญาณความละเอียดสูงยิ่งที่สร้างได้จะมีลักษณะ คล้ายกับสัญญาณความละเอียดสูงต้นแบบมากกว่า สัญญาณที่บันทึกได้ทั้ง 3 สัญญาณ
287
ภาพที่ 1.8 สัญญาณอ้างอิงในเมื่อเพิ่มจ�ำนวน ข้อมูลในขั้นตอนที่ 2.4 เนื่องจากกระบวนการประทับจ�ำ (Registration) โดยทั่ ว ไปแล้ ว จะมี ค วามผิ ด พลาดสู ง เมื่ อ สั ญ ญาณที่ บั น ทึ ก ได้ เ กิ ด ปั ญ หาเอเลี ย สซิ ง (Aliasing) ดั ง นั้ น ในบทความนีจ้ ะน�ำเสนอกระบวนการประทับจ�ำ (Registration) เชิงความถี่ซึ่งจะใช้เพียงข้อมูลความถี่ต�่ำของ สัญญาณทีบ่ นั ทึกได้เท่านัน้ เพราะข้อมูลความถีต่ ำ�่ จะเป็น ข้อมูลที่ไม่มีปัญหาเอเลียสซิง (Aliasing) (ซึ่งจะอธิบาย อย่างละเอียดในส่วนถัดไป) ดังนัน้ จึงท�ำให้ผลทีค่ ำ� นวณได้ จากกระบวนการประทับจ�ำ (Registration) มีความถูกต้อง สูงและลดผลกระทบจากปัญหาเอเลียสซิง (Aliasing) จึงค่อยน�ำข้อมูลทั้งหมดของภาพความละเอียดต�่ำมา รวมกันโดยให้ผลทีค่ ำ� นวณได้จากกระบวนการประทับจ�ำ (Registration) เป็นตัวก�ำหนดเพือ่ สร้างภาพความละเอียด สู ง ด้ ว ยกระบวนการประมาณค่ า ในช่ ว งแบบคิ ว บิ ก (Cubic Interpolation) ดังนัน้ อัลกอริทมึ การสร้างภาพ ความละเอียดสูงยิง่ ทีน่ ำ� เสนอจะสามารถเพิม่ ความละเอียด ของภาพได้ 4 เท่า (โดยจะเป็นการเพิ่มความละเอียด ในแนวนอน 2 เท่า และเป็นการเพิ่มความละเอียด ในแนวตั้ง 2 เท่า) โดยจะใช้ภาพความละเอียดต�่ำ (ซึ่งมี ปัญหาเอเลียสซิง (Aliasing)) จ�ำนวน 4 ภาพ แต่ถ้า ภาพความละเอียดต�่ำที่บันทึกได้ไม่มีปัญหาเอเลียสซิง (Aliasing) แล้วอัลกอริทมึ การสร้างภาพความละเอียดสูง ทีน่ ำ� เสนอจะไม่สามารถสร้างภาพความละเอียดสูงขึน้ มาได้ เนื่องจากข้อมูลที่เกิดปัญหาเอเลียสซิง (Aliasing) คือ ข้อมูลความถี่สูงของภาพที่จะสามารถน�ำมาใช้ในการ สร้างภาพความละเอียดสูง
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
288
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
อัลกอริทมึ การสร้างภาพความละเอียดสูงยิง่ ทีน่ ำ� เสนอ ในบทความนี้ จ ะถู กน� ำไปเปรียบเทียบกับ อัลกอริทึม การสร้างภาพความละเอียดสูงยิ่งแบบ Non-Linear Minimization และแบบ Spatial Domain (Keren, Peleg & Brada, 1988) ภาพความละเอียดสูงยิ่งที่ถูก สร้างขึ้นด้วยอัลกอริทึมทั้ง 3 (จากภาพที่จ�ำลองขึ้น) จะแสดงให้เห็นว่า กระบวนการประทับจ�ำ (Registration) เชิงความถี่ที่น�ำเสนอจะมีความแม่นย�่ำมากที่สุด และ เป็นผลท�ำให้ภาพความละเอียดสูงยิ่งที่ถูกสร้างขึ้นด้วย อัลกอริทมึ ทีน่ ำ� เสนอมีความถูกต้องมากทีส่ ดุ การประยุกต์ ใช้อลั กอริทมึ การสร้างภาพความละเอียดสูงยิง่ ทีน่ ำ� เสนอ ในบทความนี้ คือ การน�ำไปเพิ่มความละเอียดให้กับ ภาพถ่ายที่ถูกบันทึกโดยกล้องถ่ายภาพแบบดิจิทัล โดย ผู้ใช้งานจะต้องบันทึกภาพเดียวกันจ� ำนวนหลายภาพ (4 ภาพ) แล้วจึงน�ำภาพทีบ่ นั ทึกได้เหล่านีม้ าผ่านอัลกอริทมึ การสร้างภาพความละเอียดสูงยิ่งที่น�ำเสนอเพื่อสร้าง ภาพทีม่ คี วามละเอียดสูงขึน้ 4 เท่า เนือ่ งจากการสัน่ ไหว ของมือขณะที่บันทึกภาพจะเป็นข้อมูลที่เพียงพอต่อ การสร้างภาพความละเอียดสูงยิ่ง แต่ฉากที่บันทึกภาพ จะต้องอยูห่ า่ งและมีลกั ษณะเป็นระนาบ ซึง่ จะต้องไม่เกิด ปรากฏการณ์พาราแล็ก (Parallax เป็นปรากฏการณ์ของ การบันทึกภาพเมื่อวัตถุมีการเคลื่อนที่และผู้บันทึกภาพ ก็มกี ารเคลือ่ นไหวไปพร้อมกันจึงท�ำให้ภาพทีบ่ นั ทึกได้มี ลักษณะไม่ตรงหรือผิดเพี้ยนไปจากวัตถุจริง อย่างเช่น ถ้าผู้บันทึกภาพมีการเคลื่อนที่ไปทางเดียวกับวัตถุด้วย ความเร็วเท่ากันแล้ว ผูบ้ นั ทึกภาพก็จะเห็นเสมือนว่าวัตถุ อยู่นิ่งเพราะความเร็วสัมพัทธ์ (Relative Velocity) จะมีคา่ เป็นศูนย์ แต่ถา้ ผูบ้ นั ทึกภาพมีการเคลือ่ นทีไ่ ปทาง ตรงข้ามกับวัตถุด้วยความเร็วเท่ากันแล้ว ผู้บันทึกภาพ ก็จะเห็นว่าวัตถุมคี วามเร็วเป็นสองเท่าของความเร็วจริง เพราะความเร็วสัมพัทธ์ (Relative Velocity) จะมีคา่ เป็น สองเท่า) โดยเมือ่ น�ำอัลกอริทมึ การสร้างภาพความละเอียด สูงยิ่งทั้ง 3 วิธีไปใช้งานกับภาพที่บันทึกได้จริงๆ แล้ว ภาพความละเอียดสูงยิ่งที่ถูกสร้างขึ้นด้วยอัลกอริทึมที่ น�ำเสนอมีความถูกต้องมากทีส่ ดุ เนือ่ งจากการสร้างภาพ ความละเอี ย ดสู ง ยิ่ ง อี ก 2 วิ ธี จ ะมี ค วามผิ ด พลาดใน
กระบวนการประทับจ�ำ (Registration) จึงท�ำให้เกิด ความผิดพลาดในขั้นตอนการรวมภาพ การกล่าวถึง ภาพความละเอียดสูง (HR หรือ High-Resolution) ในบทความนี้จะหมายถึงภาพที่มีข้อมูลมากขึ้นแต่จะ ไม่ได้หมายความถึงภาพทีม่ จี ำ� นวนจุดเพิม่ ขึน้ (อย่างเช่น ภาพทีผ่ า่ นกระบวนการการสร้างข้อมูลภาพ) ดังนัน้ ภาพ ความละเอียดสูงจะหมายถึงภาพที่มีข้อมูลเชิงความถี่ เพิ่มขึ้น (หรือมีพลังงานเพิ่มขึ้นนั้นเอง)
หลักการของอัลกอริทึมการสร้างภาพความ ละเอียดสูงโดยทั่วไป
Tsai & Huang (1984) น�ำเสนอแนวความคิด เกีย่ วกับการสร้างภาพความละเอียดสูงยิง่ (SR) จากการ น�ำภาพความละเอียดต�่ำจ�ำนวนหลายภาพมารวมกัน ในปี ค.ศ. 1984 โดยการสร้างภาพความละเอียดสูงยิ่ง โดยทั่วไปแล้วจะประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลักๆ คือ กระบวนการประทับจ�ำ (Registration) คือ การน�ำภาพ ความละเอียดต�ำ่ มาจัดเรียงในต�ำแหน่งทีถ่ กู ต้อง (ดังแสดง ในขัน้ ตอนที่ 1 ของตัวอย่าง) การน�ำภาพความละเอียดต�ำ่ ทั้งหมดมารวมกันเพื่อสร้างภาพความละเอียดสูง 1. กระบวนการประทับจ�ำ กระบวนการประทับจ�ำ คือ กระบวนการที่มี ความละเอียดระดับ Sub-Pixel โดยจะเป็นขัน้ ตอนพืน้ ฐาน ที่จ�ำเป็นส�ำหรับการสร้างภาพความละเอียดสูงยิ่งที่มี คุณภาพดี เนื่องจากถ้าผลที่ค�ำนวณได้จากกระบวนการ ประทับจ�ำ (Registration) มีความผิดพลาดสูงแล้ว ภาพความละเอียดสูงยิง่ ทีส่ ร้างจากภาพความละเอียดต�ำ่ (ซึ่งจัดวางต�ำแหน่งไม่ถูกต้อง) จะมีคุณภาพต�่ำ Zitova & Flusser (Vandewall, Susstrunk & Vetterli, 2004) ได้รวบรวมอัลกอริทึมเกี่ยวกับกระบวนการประทับจ�ำ (Registration) โดยทั่วๆ ไปซึ่งอาจจะเป็นการค�ำนวณ เชิงความถี่หรือเชิงพื้นผิว (Spatial) ก็ได้ แต่ถ้าเป็น กระบวนการประทับจ�ำ (Registration) เชิงความถี่แล้ว จะสามารถใช้กับภาพที่มีการเคลื่อนที่แบบเลื่อนทีเดียว ทั้งภาพ (Global Motion) เท่านั้น โดยแบบจ�ำลอง การเคลือ่ นทีแ่ บบนีจ้ ะเป็นการผสมกันระหว่างการเคลือ่ นที่
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
แบบเลื่อน การหมุน และการย่อหรือขยายขนาดเข้า ด้วยกัน ดังนั้นกระบวนการประทับจ�ำ (Registration) เชิ ง ความถี่ จ ะเหมาะส� ำ หรั บ ภาพที่ เ กิ ด ปั ญ หาแบบ เอเลียสซิง (Aliasing) Tsai & Huang (1984) ได้น�ำเสนอ กระบวนการประทับจ�ำ (Registration) เชิงความถี่และ การน�ำภาพความละเอียดต�ำ่ ทัง้ หมดมารวมกันโดยเทคนิค การค�ำนวณหาค่าต�่ำสุดแบบไม่เชิงเส้น (Nonlinear Minimization) โดยภาพความละเอียดสูงที่ถูกสร้างขึ้น จะมีผลเฉลยเพียงหนึ่งเดียว (Unique) หรือผลลัพธ์ที่ ค�ำนวณได้จะลู่เข้าหาผลลัพธ์ที่ถูกต้อง กระบวนการ ประทับจ�ำ (Registration) เชิงความถีส่ ว่ นมากจะค�ำนวณ หาระยะทางที่เลื่อนระหว่างภาพทั้ง 2 จากมุมเฟสที่ แตกต่างระหว่างภาพทั้งสอง Kim & Su (Vandewall, Susstrunk & Vetterli, 2004) ได้ พั ฒ นาเทคนิ ค การประมาณการเคลื่ อ นที่ โดยการใช้การน�ำข้อมูลความถี่ต�่ำที่ไม่มีปัญหาแบบ เอเลี ย สซิ ง (Aliasing) และมี ลั ก ษณะเหมื อ นกั บ กระบวนการประทับจ�ำ (Registration) ที่บทความนี้ น�ำเสนอ เพียงแต่ในบทความนี้จะน�ำข้อมูลความถี่ต�่ำ มาใช้ในการประมาณการเคลื่อนที่เท่านั้น (หรือจะไม่มี การน�ำข้อมูลความถี่สูงมาใช้ในขั้นตอนนี้) Marcel & Lucchese (Vandewall, Susstrunk & Vetterli, 2004) ได้นำ� เสนอการประมาณการเคลือ่ นที่ ส�ำหรับภาพทีห่ มุน การประมาณการเคลือ่ นทีเ่ ชิงพืน้ ผิว (Spatial Domain) จะมีหลายวิธีอย่าง เช่น วิธีแบบ โฮโมกราฟิก (Homographic) โดยอัลกอริทมึ ทีน่ ำ� เสนอนี้ อาจจะใช้ข้อมูลของทั้งภาพหรือใช้ข้อมูลเพียงบางส่วน ของภาพ (ซึ่งได้จากการกระจายอนุกรมแบบ Taylor) ซึ่ ง ถู ก น� ำ เสนอโดย Keren & Irani (Vandewall, Susstrunk & Vetterli, 2004) โดยการประมาณการ เคลือ่ นทีเ่ ชิงพืน้ ผิวจะอยูบ่ นหลักการของออพติคอลโฟลว์ (Optical Flow) โดยจะค�ำนวณหาเวคเตอร์จากความ แตกต่างระหว่างภาพทั้งสอง 2. การน�ำภาพความละเอียดต�ำ่ ทัง้ หมดมารวมกัน เพื่อสร้างภาพความละเอียดสูงยิ่ง ภาพความละเอียดสูงยิ่งจะถูกสร้างจากชุดภาพ
289
ความละเอียดต�่ำ (โดยภาพความละเอียดต�่ำแต่ละภาพ จะถูกบันทึกมาอย่างเป็นระเบียบ) โดยการสร้างภาพ ความละเอียดสูงยิง่ จะมีหลายวิธดี งั ต่อไปนี้ การรวมภาพ โดยการประมาณค่าในช่วงแบบคิวบิก (Cubic Interpolation) (Keren อ้างใน Vandewall, Susstrunk & Vetterli, 2004) การรวมภาพโดยวิธเี ชิงพืน้ ผิว (Spatial Domain) (Papoulis อ้างใน Vandewall, Susstrunk & Vetterli, 2004) การรวมภาพโดยวิธี POSC (Projection Onto Convex Set) (Patti อ้างใน Vandewall, Susstrunk & Vetterli, 2004) หรือการรวมภาพโดยวิธี MAP (Maximum A Posteriori) (Capel & Schultz อ้างใน Vandewall, Susstrunk & Vetterli, 2004) นอกจากนี้ แ ล้ ว ยั ง มี วิ ธี ก ารรวมภาพโดยการ ค�ำนวณซ�้ำ (Iterative) โดยวิธีนี้จะพยายามปรับค่าของ ภาพความละเอียดสูงยิ่งที่ค�ำนวณได้ โดยการน�ำภาพ ความละเอียดสูงยิ่งนี้ผ่านแบบจ�ำลองในการลดคุณภาพ และขนาดของสัญญาณเพื่อสร้างภาพความละเอียดต�่ำ หลายภาพ แล้วจึงน�ำภาพความละเอียดต�่ำเหล่านี้ไป เปรียบเทียบกับภาพความละเอียดต�่ำที่บันทึกได้จริง เพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด อัลกอริทึมบางวิธี จะมีการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการเลื่อนหรือหมุน (Warping Process) ทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างภาพความละเอียด ต�่ำมาช่วยในกระบวนการประทับจ�ำ (Registration) และการรวมภาพ Elad และ Feuer ได้นำ� เสนออัลกอริทมึ การรวมภาพ โดยการรวมอัลกอริทึมแบบ POCS (Projection Onto Convex Set) และ ML (Maximum Likelihood) เข้าด้วยกัน
แนวคิ ด เชิ ง คณิ ต ศาสตร์ ข องกระบวนการ ประทับจ�ำ (Registration) ภาพความละเอียด ต�่ำที่มีปัญหาเอเลียสซิง (Aliasing)
1. การประมาณการเคลื่อนที่ (Planar Motion Estimation) บทความนี้ น� ำ เสนออั ล กอริ ทึ ม การประมาณ การเคลื่ อ นที่ เ ชิ ง ความถี่ ร ะหว่ า งภาพอ้ า งอิ ง กั บ ภาพ ความละเอียดต�่ำอื่นๆ โดยบทความนี้จะจ�ำกัดลักษณะ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
290
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
การเคลือ่ นทีข่ องภาพเป็นการเคลือ่ นในแนวระนาบเพียง อย่างเดียว (Planar Motion) ดังนัน้ จึงท�ำให้การเคลือ่ นที่ ในลักษณะนีส้ ามารถถูกอธิบายได้โดยตัวแปรเพียง 3 ตัว คือ ∆x (ระยะทางทีเ่ คลือ่ นทีใ่ นแนวนอน), ∆y (ระยะทาง ที่เคลื่อนที่ในแนวตั้ง) และ ϕ (มุมของภาพที่หมุนไป) โดยลักษณะการเคลื่อนที่แบบนี้จะมีลักษณะเหมือนกับ การเคลือ่ นที่ ซึง่ Patrick Vandevwalle ได้เคยน�ำเสนอ ในปี ค.ศ. 2004 การค�ำนวณเชิงความถี่จะสามารถประมาณการ เคลื่อนที่ในแนวนอน แนวตั้ง และมุมที่หมุนไป โดยจะ แยกการค�ำนวณออกเป็น 2 ขัน้ ตอน คือ การค�ำนวณหา ระยะทางของการเคลือ่ นทีใ่ นแนวนอนและแนวตัง้ และ การค�ำนวณหามุมของภาพทีห่ มุนไป ดังนัน้ ถ้าก�ำหนดให้ ภาพอ้างอิงคือ และภาพทีม่ กี ารเคลือ่ นที่ และหมุนคือ แล้วความสัมพันธ์ระหว่าง ภาพทั้งสองจะเป็นไปตามสมการที่ (1)
เมื่อ คือ ผลการแปลงฟูเรียร์ของ ภาพ และ แล้วความสัมพันธ์ระหว่างขนาด (Amplitude) ของข้อมูลเชิงความถี่ของภาพจะสามารถแสดงได้ดัง สมการที่ (3)
(1) เมื่อ เมือ่ ท�ำการแปลงฟูเรียร์สมการที่ (1) ทัง้ สมการจะได้เป็น
หรือ (2) เมื่อก�ำหนดให้ ในสมการที่ (2) จะได้เป็น
แล้วน�ำไปแทนค่า ดังนั้น ของภาพต้ น แบบ
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
(3) คือ ภาพทีเ่ กิดจากการหมุน (รู ป ที่ 2(a))
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
เป็นมุม ϕ ดังแสดงในรูปที่ 2(b) สมการที่ (3) แสดงให้ เห็นว่า ขนาดของข้อมูลเชิงความถีข่ องภาพก่อนการหมุน และหลังการหมุนจะมีขนาดเท่าเดิมโดยจะไม่ขึ้นกับ ตัวแปร ซึ่งจะหมายความว่า การเลื่อนของ ภาพจะมีผลท�ำให้มมุ เฟสของภาพเปลีย่ นแปลงไปแต่จะ ไม่มผี ลกับขนาดของข้อมูลเชิงความถีข่ องภาพ ดังนัน้ เรา จึงสามารถค�ำนวณหามุม ϕ ได้จากขนาดของข้อมูลเชิง ความถี่ ดังนัน้ ในบทความนีจ้ ะประมาณการเคลือ่ นทีโ่ ดย การค�ำนวณหามุม ϕ ก่อนแล้วจึงน�ำภาพ ไปหมุนกลับด้วยมุม -ϕ ทีค่ ำ� นวณได้แล้วจึงค่อยน�ำภาพ ที่ ค�ำนวณได้ไปค�ำนวณหาค่า จากมุมเฟส ระหว่างภาพ และ แล้วจึงน�ำภาพ มาเลือ่ นกลับเป็นระยะทาง เนื้ อ หาในส่ ว นที่ 3.1 จะกล่ า วถึ ง อั ล กอริ ทึ ม การประมาณการเคลือ่ นทีแ่ บบหมุนหรือการค�ำนวณหา มุม θ และเนื้อหาในส่วนที่ 3.2 จะกล่าวถึงอัลกอริทึม การประมาณการเคลื่อนที่แบบเลื่อนหรือการค�ำนวณ หาค่า ส่วนที่ 3.3 ซึง่ เป็นส่วนสุดท้ายของการ ประมาณการเคลื่อนที่จะกล่าวถึงการปรับอัลกอริทึม ในการประมาณการเคลื่อนที่เพื่อให้เหมาะส�ำหรับภาพ ที่มีปัญหาเอเลียสซิง (Aliasing) 2. การประมาณการเคลื่อนที่แบบหมุน (Rotation Estimation) การหามุมระหว่างภาพ และ จะสามารถค�ำนวณได้จากมุม θ ที่ หมุนภาพแล้ว ท�ำให้ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างภาพ และ มีคา่ มากทีส่ ดุ โดยข้อก�ำหนดพืน้ ฐาน ของหลักการเกี่ยวกับการค�ำนวณแบบนี้คือ 1) กระบวนการประทับจ�ำ (Registration) เชิง ความถี่จะค�ำนวณได้เมื่อภาพ คือภาพ ที่มีการเคลื่อนที่ในแนวระนาบเท่านั้น (อย่างเช่นการเคลือ่ นทีแ่ บบเลือ่ น การหมุน และการย่อ หรือขยายขนาด)
291
2) ลักษณะฟูเรียร์ของภาพ และ จะต้องไม่เป็นวงแหวนหรือสมมาตร รอบจุดศูนย์กลางไม่เช่นนัน้ จะไม่สามารถค�ำนวณหาการ ที่แตกต่างกัน ในแต่ละมุมได้ 3) ถ้ า ภาพ มี ก ารหนุ น เป็ น มุม θ แล้วค่าฟูเรียร์ของภาพ (หรือ ) จะหมุนไปเป็นมุม θ เหมือนกัน ดังแสดงในภาพที่ 2 จะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างภาพและค่าฟูเรียร์ของภาพที่หมุนไปเป็นมุม θ = 0°, θ = 22.5°, θ = 45°, θ = 67.5° และ θ = 90° หลักการเกี่ยวกับการค�ำนวณหามุม θ จากค่า สหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างภาพ และ มีมานานมากแล้ว แต่เนือ่ งจาก การค�ำนวณค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) แบบสองมิติ จะมีความซับซ้อนในการค�ำนวณสูงมาก โดยมีขนั้ ตอนคือ 1) ค� ำ นวณหาผลการแปลงฟู เ รี ย ร์ ข องภาพ หรือค�ำนวณหา 2) หมุ น ภาพ เป็ น ตั้ ง แต่ มุ ม θ = -180° ไปจนถึ ง θ = 180° แล้ ว ค� ำ นวณหา ในแต่ละมุมที่หมุนไป (360) 3) ค� ำ นวณหาค่ า สหสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งภาพ และ ตั้งแต่มุม θ = -180° ไปจนถึง θ = 180° 4) ค� ำ นวณหามุ ม θ ที่ ท� ำ ให้ ค ่ า สหสั ม พั น ธ์ (Correlation) ระหว่างภาพ และ ทีม่ คี า่ มากทีส่ ดุ (มุม θ ทีค่ ำ� นวณได้ คือมุม θ ของภาพที่หมุนได้)
ภาพที่ 2 (a) ภาพทดสอบ “Stream and bridge” และภาพของค่าฟูเรียร์เมื่อ θ = 0°
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
292
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ภาพที่ 2 (b) ภาพทดสอบ “Stream and bridge” และภาพของค่าฟูเรียร์เมื่อ θ = 22.5° บทความนี้จะน�ำเสนออัลกอริทึมเกี่ยวกับการ ค� ำ นวณหามุ ม θ จากค่ า สหสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งภาพ และ ทีจ่ ะมีความ ซับซ้อนในการค�ำนวณน้อยลงโดยเราจะแปลงค่าฟูเรียร์ จากระนาบแบบแกนฉากเป็นระนาบเชิงขัว้ (Polar) โดย จะมีขั้นตอนการค�ำนวณหลักๆ คือ 1) ค� ำ นวณหาผลการแปลงฟู เ รี ย ร์ ข องภาพ และ หรือค�ำนวณหา และ ตามล�ำดับ 2) น� ำ ผลการแปลงฟูเ รียร์ และ ไปผ่านตัวกรองสัญญาณเพื่อ ก�ำจัดข้อมูลความถีส่ งู ออก (ซึง่ จะเป็นข้อมูลทีเ่ กิดปัญหา เอเลียสซิง (Aliasing)) 3) น�ำข้อมูลเชิงความถีท่ ผี่ า่ นวงจรกรองไปเปลีย่ น ระยะพิกดั แบบฉาก (xy Coordinate) ไปเป็นระยะพิกดั แบบมุม (rθ Coordinate) หรือ เป็น และ เป็น 4) เนือ่ งจากเราต้องการค�ำนวณหามุม θ ระหว่าง และ ที่ ท� ำ ให้ ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างฟังก์ชันทั้งสอง ทีค่ า่ มากทีส่ ดุ แต่เนือ่ งจากการค�ำนวณหาค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่ า ง และ ส� ำ หรั บ ทุ ก มุ ม ที่ เ ป็ น ไปได้ จ ะเป็ น การค�ำนวณที่ซับซ้อนมาก ดังนั้นจึงไม่สะดวกต่อการ ประยุกต์ใช้งานจริง ดังนัน้ บทความนีจ้ งึ น�ำเสนออัลกอริทมึ ส�ำหรับค�ำนวณหามุม θ นี้โดยอัลกอริทึมที่น�ำเสนอ
จะค�ำนวณหาค่าเฉลี่ยของข้อมูลเชิงความถี่ของภาพ ตั้งแต่มุม θ มีขนาด -180 ถึง 180 และค�ำนวณหาค่าเฉลี่ยของข้อมูลเชิงความถี่ของภาพ ตั้งแต่มุม θ มีขนาด -180 ถึง +180 ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงเปรียบเสมือนการแปลงจากสัญญาณ สองมิติไปเป็นสัญญาณ 1 มิติ
(4)
เนื่องจากข้อมูลความถี่ต�่ำของภาพ (หรือข้อมูล ทีต่ ำ� แหน่ง r มีคา่ น้อย) จะมีขนาดใหญ่มากและจะท�ำให้ ค่าเฉลี่ยที่ค�ำนวณได้มีความแตกต่างกัน ไม่มากนักเมื่อ θ มี ค ่ า เปลี่ ย นไป ดั ง นั้ น การหาผลรวมหรื อ การหา ค่าเฉลี่ยของข้อมูลเชิงความถี่ของภาพจะค�ำนวณในช่วง ερ < r < ρ เมือ ่ ρ คือ รัศมีของภาพ หรือขนาดครึง่ หนึง่ ของภาพ และ ε คือ ค่าคงที่ ในการทดลองจะก�ำหนด ให้ ε = 0.1 และเนื่องจากข้อมูลความถี่สูงจะมีปัญหา เอเลียสซิง (Aliasing) ดังนัน้ ในการทดลองจะก�ำหนดให้ ค่า r มีค่าเป็น 0.1·ρ < r < 0.8·ρ โดยค่าเฉลี่ยของ ข้ อ มู ล เชิ ง ความถี่ ข องภาพ และ (ซึง่ เป็นข้อมูลเพียง 1 มิต)ิ มาค�ำนวณ ค่า θ (ตั้งแต่ -180 ถึง 180) ที่ท�ำให้โคริเรชันระหว่าง ภาพทัง้ สองทีม่ คี า่ มากทีส่ ดุ แต่ในการทดลองจะค�ำนวณ ค่าสหสัมพันธ์ตั้งแต่ค่า θ = -45° ถึง θ = 45° 3. การค� ำ นวณหาระยะทางของการเคลื่ อ นที่ ในแนวนอนและแนวตั้ง (Shift Estimation) การค�ำนวณหาระยะทางของการเคลื่อนที่ใน แนวนอนและแนวตัง้ ระหว่างภาพ และ แสดงได้ดังสมการที่ (3)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
เมื่อก�ำหนดให้
แล้วน�ำไป
แทนค่าลงในสมการข้างบนจะได้เป็น
ดังนั้น
(5)
ถ้ า เราทราบค่ า และ แล้ ว เราจะสามารถค� ำ นวณหา ได้จากสมการที่ (5) โดยค่า คือ ความชันของมุม โดยวิธกี ารค�ำนวณหาค่า แบบนีเ้ คยถูกน�ำเสนอ โดย Kim, Stone และ Marcel (อ้างถึงใน Vandewall, Susstrunk & Vetterli, 2004) และบทความนีจ้ ะก�ำหนด ให้ระนาบของภาพคงที่เมื่อมุมเฟสของภาพเปลี่ยนไป และจะใช้วิธีการประมาณค่าแบบ LS (Least Square) เพื่อท�ำให้ผลการค�ำนวณที่ได้ทนต่อสัญญาณรบกวน 4. ปัญหาแบบเอเลียสซิง (Aliasing) ถ้าภาพความละเอียดต�ำ่ (LR) ทีใ่ ช้สำ� หรับสร้างภาพ ความละเอียดสูงยิ่งมีปัญหาแบบเอเลียสซิง (Aliasing) แล้วกระบวนการประทับจ�ำ (Registration) ที่กล่าว ไปแล้วในส่วนข้อ 1 และ 2 จะค�ำนวณหาผลลัพธ์ที่มี ความผิดพลาดสูง เนื่องจากข้อมูลเชิงความถี่ของภาพ ความละเอียดต�่ำ (หรือค่าฟูเรียร์ของภาพ) จะมีความ ไม่ถูกต้อง อันเนื่องมาจากปัญหาเอเลียสซิง (Aliasing) แต่อย่างไรก็ตามถ้าปัญหาเอเลียสซิง (Aliasing) เกิดขึ้น
293
อย่างจ�ำกัดแล้ว กระบวนการประทับจ�ำ (Registration) ที่กล่าวไปแล้วก็ยังสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้งานได้โดย จะต้องใช้กับข้อมูลความถี่ตำ�่ ของภาพเท่านั้น เนื่องจาก ข้อมูลเหล่านี้ไม่มีปัญหาเอเลียสซิง (Aliasing) โดย Kim & Su ได้นำ� เสนอกระบวนการประทับจ�ำ (Registration) แบบนี้ ใ นปี ค.ศ.1993 และ Vandewalle ได้ น� ำ กระบวนการประทับจ�ำ (Registration) แบบนีไ้ ปประยุกต์ ใช้ในการสร้างภาพความละเอียดสูงยิ่งในปี ค.ศ. 2003 4.1 สัญญาณ 1 มิติ ถ้าก�ำหนดให้สัญญาณ f (x) มีแถบความถี่ จ�ำกัดโดยมีความถีส่ งู สุด คือ fMAX ดังแสดงในภาพที่ 3 (a) และก�ำหนดให้ความถี่ในการสุ่มข้อมูล คือ fMAX < fS < 2·fMAX ซึง่ ความถีใ่ นการสุม ่ ข้อมูลจะมีคา่ ต�ำ่ กว่าข้อก�ำหนด ของ Niquist (หรือ fS ≥ 2·fMAX) ดังนัน้ สัญญาณทีส่ มุ่ ได้ (f [k]) มีปัญหาเอเลียสซิง (Aliasing) ดังแสดงในภาพ ที่ 3 (c) และจะเป็นผลท�ำให้เราไม่สามารถน�ำสัญญาณ f [k] มาสร้ า งกลั บ เป็ น สั ญ ญาณต้ น แบบ ( f (x) ) ได้ ถ้าก�ำหนดให้สัญญาณ f1[k] และ f2[k] เป็นสัญญาณที่ สุ่มได้จากสัญญาณ f (x) เหมือนกันและสุ่มด้วยความถี่ เดียวกันโดยสัญญาณ f1[k] จะสุม่ ทีเ่ วลา 0,T,2T,...,kT,... และสัญญาณ f2[k] จะสุ่มที่เวลา ∆x,T + ∆x,2T + ∆x, ...,kT + ∆x,... ตามล�ำดับ (ก�ำหนดให้ T คือ คาบเวลา ในการสุ่มข้อมูลซึ่งมีค่าเป็น 1/fS)
ภาพที่ 3 (a) สัญญาณต้นแบบ
ภาพที่ 3 (b) การสุ่มสัญญาณต้นแบบตามข้อก�ำหนด ของ Niquist (หรือ fS ≥ 2·fMAX) ถ้าสัญญาณ f1[k] และ f2[k] เกิดปัญหา
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
294
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
เอเลียสซิง (Aliasing) แล้วจะท�ำให้ผลการแปลงฟูเรียร์ ของสั ญ ญาณทั้ ง สองมี ลั ก ษณะแตกต่ า งกั น จึ ง ท� ำ ให้ กระบวนการประทับจ�ำมีความผิดพลาดสูง
ภาพที่ 3 (c) การสุ่มสัญญาณต้นแบบด้วยความถี่ต�่ำ กว่าข้อก�ำหนดของ Niquist (fS ≥ 2·fMAX)
ภาพที่ 3 (d) ช่วงความถี่ของข้อมูลซึ่งไม่มีปัญหา เอเลียสซิงเมื่อสัญญาณถูกสุ่มสัญญาณต้นแบบ ด้วยความถี่ต�่ำกว่าข้อก�ำหนดของ Niquist แต่ถ้าเราพิจารณาข้อมูลความถี่ต�่ำในช่วง - fS + fMAX ถึง fS - fMAX แล้วจะเห็นได้วา่ ข้อมูลในส่วนนี้ จะไม่มปี ญ ั หาเอเลียสซิง (Aliasing) ดังแสดงในภาพที่ 3 (d) ดังนั้นถ้าเราน�ำสัญญาณ f1[k] และ f2[k] มาผ่าน วงจรกรองความถีโ่ ดยก�ำหนดให้เฉพาะข้อมูลทีม่ คี วามถี่ ในช่วง - fS + fMAX ถึง fS - fMAX ผ่านได้เท่านั้น แล้วน�ำ สัญญาณ f1[k] และ f2[k] ที่ออกของวงจรกรอง (ซึ่งจะ ประกอบด้วยข้อมูลความถีต่ ำ�่ เท่านัน้ ) ไปผ่านกระบวนการ ประทับจ�ำทีก่ ล่าวไปแล้วในส่วนข้อ 1 และ 2 ก็จะท�ำให้ ผลการค�ำนวณของกระบวนการประทับจ�ำไม่มีความ ผิดพลาด อันเนื่องมาจากการเกิดปัญหาเอเลียสซิง 4.2 สัญญาณสองมิติ ถ้าก�ำหนดให้ และ คือ ภาพความละเอียดต�ำ่ ทีบ่ นั ทึกได้และน�ำไปผ่านวงจร
กรองเพือ่ ให้เฉพาะข้อมูลความถีต่ ำ�่ ของภาพ และ โดยวงจรกรองจะมีความถี่ fCUTOFF = fS - fMAX ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง แล้วจึงน�ำข้อมูล ความถี่ต�่ำไปผ่านกระบวนการประทับจ�ำแต่เนื่องจาก กระบวนการกรองสัญญาณและกระบวนการประทับ จะต้องค�ำนวณการแปลงฟูเรียร์เหมือนกัน ดังนั้นเราจะ สามารถลดปริมาณการค�ำนวณได้โดยเมื่อวงจรกรอง ท�ำการก�ำจัดสัญญาณความถีส่ งู แล้วจะส่งข้อมูลเชิงความถี่ ของภาพให้กบั กระบวนการประทับจ�ำทันที การค�ำนวณ มุมของภาพที่หมุนไปจะไม่ใช้ข้อมูลเชิงความถี่ของภาพ ทั้งหมดแต่จะใช้เฉพาะข้อมูลเชิงความถี่ในช่วง ε·ρ < r < ρMAX เท่านัน้ เมือ่ ρMAX = min(( fS - fMAX)/fS) และ การค�ำนวณหาระยะทางระหว่างภาพจะใช้ขอ้ มูลเชิงความถี่ ในช่วง - fS + fMAX ถึง fS - fMAX
การน�ำภาพความละเอียดต�่ำมารวมกันโดย วิธีการสร้างข้อมูลภาพ (Reconstruction)
เมื่อน�ำภาพความละเอียดต�่ำ (LR) ทั้งหมดไปผ่าน กระบวนการประทับจ�ำแล้วจะน�ำภาพความละเอียดต�่ำ และข้อมูลที่ได้จากกระบวนการประทับจ�ำของภาพ ความละเอียดต�่ำแต่ละภาพไปรวมกันเพื่อสร้างภาพ ความละเอียดสูงยิ่งดังต่อไปนี้ 1) น�ำภาพความละเอียดต�ำ่ (LR) ทีเ่ ป็นภาพอ้างอิง (Reference) มาเพิ่มความละเอียดในแนวนอน 2 เท่า และเพิ่มความละเอียดในแนวตั้ง 2 เท่า โดยข้อมูลใน ต�ำแหน่งที่เพิ่มขึ้นมาจะก�ำหนดให้มีค่าเป็นศูนย์ไว้ก่อน 2) น�ำภาพความละเอียดต�่ำหมายเลขที่ 1 มาปรับ ต�ำแหน่งโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการประทับจ�ำ (Registration) แล้วน�ำข้อมูลทีไ่ ด้จากภาพความละเอียดต�ำ่ หมายเลขที่ 1 มาเติมในต�ำแหน่งของภาพที่ขาดหายไป ในขั้นตอนแรก 3) น�ำภาพความละเอียดต�่ำหมายเลขที่ 2 มาปรับ ต�ำแหน่งโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการประทับจ�ำ (Registration) แล้วน�ำข้อมูลทีไ่ ด้จากภาพความละเอียดต�ำ่ หมายเลขที่ 2 มาเติมในต�ำแหน่งของภาพที่ขาดหายไป
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
ในขั้นตอนที่ 2 4) น�ำภาพความละเอียดต�่ำหมายเลขที่ 3 มาปรับ ต�ำแหน่งโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการประทับจ�ำ (Registration) แล้วน�ำข้อมูลทีไ่ ด้จากภาพความละเอียดต�ำ่ หมายเลขที่ 3 มาเติมในต�ำแหน่งของภาพที่ขาดหายไป ในขั้นตอนที่ 3 5) สร้ า งข้ อ มู ล ของภาพที่ ยั ง ขาดหายไปทั้ ง หมด ในขัน้ ตอนที่ 3 โดยกระบวนการประมาณค่าในช่วงแบบ คิวบิก (Cubic Interpolation) จ�ำนวนภาพความละเอียดต�่ำที่ใช้ส�ำหรับการสร้าง ภาพความละเอียดสูงยิง่ จะขึน้ อยูก่ บั ตัวแปรหลายประการ อย่ า งเช่ น ความแม่ น ย� ำ ของกระบวนการประทั บ จ� ำ (Registration) หรือแบบจ�ำลองทีใ่ ช้อธิบายลักษณะของ ข้อมูลภาพ เป็นต้น ถ้าการสร้างภาพความละเอียดสูงยิง่ ใช้ ภาพความละเอียดต�ำ่ จ�ำนวนมากแล้ว ภาพความละเอียด สูงยิง่ ทีส่ ร้างได้จะมีความถูกต้องเพิม่ ขึน้ แต่คณ ุ ภาพของ ภาพความละเอียดสูงยิ่งที่สร้างขึ้นได้ก็มีข้อจ�ำกัดหรือ ขอบเขตเหมือนกันหรือถึงแม้ว่าภาพความละเอียดต�่ำ จ�ำนวนมากก็ตาม นอกจากนีแ้ ล้วความไม่คมชัด สัญญาณ รบกวน และความไม่แม่นย�ำของแบบจ�ำลองทีใ่ ช้อธิบาย ลักษณะของข้อมูลภาพจะเป็นปัจจัยประการหนึง่ ทีจ่ ำ� กัด การเพิ่ ม ความละเอี ย ดของภาพความละเอี ย ดสู ง ยิ่ ง เนื่องจากในการทดลองที่บทความนี้น�ำเสนอจะมีความ ละเอียดในการประมาณการเคลือ่ นทีจ่ ะมีความละเอียด เป็น 0.5 พิเซล (ในแต่ละมิต)ิ ดังนัน้ การเพิม่ ความละเอียด ของภาพความละเอียดสูงยิ่งจึงเพิ่มขึ้นได้เป็น 2 เท่า (ในแต่ละมิต)ิ หรืออัลกอริทมึ ทีน่ ำ� เสนอจะสามารถสร้าง ภาพความละเอียดสูงยิ่งได้เป็น 4 เท่านั้นเอง ถึงแม้ว่า กระบวนการการสร้างข้อมูลภาพจะเพิ่มความละเอียด ของภาพหรือเพิ่มข้อมูลภาพ แต่กระบวนการการสร้าง ข้อมูลภาพจะไม่มีการสร้างข้อมูลเชิงความถี่ขึ้นใหม่ ดังนัน้ ภาพจึงมีพลังงานเหมือนเดิม ความสัมพันธ์ระหว่าง ความผิดพลาดแบบ MSE (Mean Square Error) ของภาพ ความละเอียดสูงยิง่ ทีส่ ร้างขึน้ ได้กบั ภาพความละเอียดสูง
295
ต้นแบบแสดงได้ดังภาพที่ 4 และจากผลการทดลอง (Patanavijit, 2011) จะแสดงให้เห็นได้วา่ คุณภาพของ ภาพความละเอียดสูงยิ่งที่สร้างขึ้นได้จะเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว เมื่อใช้ภาพความละเอียดต�่ำตั้งแต่ 1 ภาพถึง 6 ภาพ และถ้าใช้ภาพความละเอียดมากกว่า 6 ภาพ แล้วคุณภาพของภาพความละเอียดสูงยิง่ ทีส่ ร้างขึน้ ได้จะ เพิม่ ขึน้ เพียงเล็กน้อยเท่านัน้ ดังนัน้ วิธที บี่ ทความนีอ้ ธิบาย จึงน�ำไปประยุกต์ใช้ภาพความละเอียดต�่ำจ�ำนวนเพียง 4 ภาพในการสร้างภาพความละเอียดสูงยิ่งเท่านั้น และ ก�ำหนดให้ภาพความละเอียดต�่ำจะมีขนาดเล็กกว่าภาพ ความละเอียดสูงต้นแบบเป็น 2 × 2 เท่า ดังนัน้ การสร้าง ภาพความละเอียดสูงยิ่งที่บทความนี้น�ำเสนอจะเพิ่ม ความละเอียดให้กับภาพเป็น 2 × 2 เท่าเช่นกัน ตัวอย่างของภาพความละเอียดสูงยิง่ ทีส่ ร้างขึน้ จาก ภาพความละเอียดต�่ำ (Patanavijit, 2011) แสดงได้ดัง ภาพที่ 4 (ภาพ 4 (a) คือภาพความละเอียดสูงต้นแบบ, ภาพ 4 (b) คือภาพความละเอียดต�ำ่ (PSNR = 16.8419 dB), ภาพ 4 (c) คือภาพความละเอียดสูงยิ่งที่สร้างขึ้น (PSNR = 16.9347 dB))
ภาพที่ 4 (a)
ภาพที่ 4 (b)
ภาพที่ 4 (c)
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
296
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
บทสรุป
เนือ่ งจากการสร้างภาพความละเอียดสูงยิง่ โดยทัว่ ไป แล้วจะมีการค�ำนวณที่ซับซ้อนมาก ดังนั้นจึงค�ำนวณช้า และไม่สามารถใช้งานแบบเวลาจริง (Real Time) ได้ ดังนัน้ บทความนีไ้ ด้ทำ� การศึกษาและอธิบายการสร้างภาพ ความละเอียดสูงยิ่งโดยใช้กระบวนการการประทับจ� ำ (Registration) แบบเชิงความถีส่ ำ� หรับภาพความละเอียด ต�่ำที่มีปัญหาเอเลียสซิง ซึ่งวิธีสร้างภาพความละเอียด สูงยิ่งแบบนี้จะมีความเร็วในการค�ำนวณสูงแต่คุณภาพ ของภาพความละเอียดสูงยิ่งที่สร้างขึ้นได้จะขึ้นอยู่กับ
ลักษณะของภาพความละเอียดต�ำ่ ว่ามีลักษณะเคลื่อนที่ แตกต่างกันมากหรือน้อยโดยจะมีผลต่อการค�ำนวณหา ค่าในกระบวนการประทับจ�ำและเนือ่ งจากกระบวนการ ประทับจ�ำจะขึน้ กับการค�ำนวณหาค่าฟูเรียร์ของรูปภาพ ดั ง นั้ น ความละเอี ย ดหรื อ จ� ำ นวนพิ ก เซลของรู ป ภาพ จะก�ำหนดความละเอียดของกระบวนการประทับจ�ำ (Registration) ด้วยโดยถ้าภาพความละเอียดต�ำ่ ทีบ่ นั ทึก ได้มคี วามละเอียดต�ำ่ แล้วความแม่นย�ำของกระบวนการ ประทับจ�ำ (Registration) ก็จะลดลง
บรรณานุกรม
Christensen-Jeffries, K., Browning, R. J., Meng-Xing T., Dunsby, C. & Eckersley, R. J. (2015). In Vivo Acoustic Super-Resolution and Super-Resolved Velocity Mapping Using Microbubbles. IEEE Transactions on Medical Imaging, 34(2), 433-440. Elad, M. & Feuer, A. (1997). Restoration of a Single Superresolution Image from Several Blurred, Noisy and Undersampled Measured Images. IEEE Trans. on IP., 6(12), 1646-1658. Gou, S., Liu, S., Yang, S. & Jiao, L. (2014). Remote Sensing Image Super-Resolution Reconstruction Based on Nonlocal Pairwise Dictionaries and Double Regularization. IEEE Journal of ST. in Applied Earth Observations and Remote Sensing, 7(12), 4784-4792. Kang, M. G. & Chaudhuri, S. (2003). Super-Resolution Image Reconstruction. IEEE Signal Processing Magazine, 20(3), 19-20. Keren, D., Peleg, S. & Brada, R. (1988). Image Sequence Enhancement Using Subpixel Displacement. CVPR’88, 1988, Ann Arbor, Michigan, USA. Ng, M. K. & Bose, N. K. (2003). Mathematical analysis of super-resolution methodology. IEEE Signal Processing Magazine, 20(3), 62-74. Park, S. C., Park, M. K. & Kang, M. G. (2003). Super-Resolution Image Reconstruction: A Technical Overview. IEEE Signal Processing Magazine, 20(3), 21-36. Patanavijit, V. (2011). The Empirical Performance Study of a Super Resolution Reconstruction Based on Frequency Domain from Aliased Multi-Low Resolution Images. Proceeding of The 34th Electrical Engineering Conference (EECON-34), Dec 2011, Thailand. Patanavijit, V. (2016). A Conceptual Framework of Super Resolution Reconstruction (SRR) Techniques. Panyapiwat Journal, 8(1), 314-326.
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
297
Quevedo, E., De La Cruz, J., Callicó, G., Tobajas, F. & Sarmiento, R. (2014). Video enhancement using spatial and temporal super-resolution from a multi-camera system. IEEE Transactions on Consumer Electronics, 60(3), 420-428. Tsai, R. & Huang, T (1984). Multiple frame image restoration and registration. Advances in Computer Vision and Image Processing, 1, 317-339. Vandewalle, P., Susstrunk, S. & Vetterli, M. (2003). A Frequency Domain Approach to Super-Resolution Imaging from Aliased Low Resolution Images. Department of Electrical Engineering and Computer Science, May 2004 UC Berkeley, USA. Vandewalle, P., Susstrunk, S. & Vetterli, M. (2004). Double Resolution from a Set of Aliased Images. Proceeding IS&T/SPIE Electronic Imaging 2004: Sensors and Camera Systems for Scientific, Industrial, and Digital Photography Applications V. Jan 2004.
Name and Surname: Vorapoj Patanavijit Highest Education: Ph.D. in Electrical Engineering, Chulalongkorn University University or Agency: Assumption University Field of Expertise: He has authored and co-authored over 110 national/international peer-reviewed publications in Digital Signal Processing (DSP) and Digital Image Processing (DIP) Address: VME Bldg., 2nd Flr., 88 Moo 8, Bang Na-Trad Km. 26, Samuthprakarn 10540
ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
298
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ค�ำแนะน�ำในการเตรียมบทความ การจัดพิมพ์บทความ
- ความยาวของบทความ 10-12 หน้ากระดาษ A4 พิมพ์หน้าเดียว ก�ำหนดระยะห่างจากขอบกระดาษ 1 นิ้ว (2.54 ซม.) เท่ากันทุกด้าน - บทคัดย่อและบรรณานุกรม พิมพ์ 1 คอลัมน์ เนื้อหาบทความ พิมพ์ 2 คอลัมน์ ย่อหน้า 1 ซม. - ตัวอักษรใช้รูปแบบ TH Sarabun PSK โดยใช้ขนาดและชนิดต่างๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ข้อความ
ขนาด ชนิด ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) 18 (CT) ตัวหนา ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ - ตัวพิมพ์ใหญ่) 16 (CT) ตัวหนา ชื่อผู้เขียน 14 (CT) ตัวหนา ชื่อสังกัดหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัย 14 (CT) ตัวธรรมดา Corresponding Author E-mail 12 (LJ) ตัวธรรมดา หัวข้อของบทคัดย่อ/Abstract 16 (LJ) ตัวหนา เนื้อหาบทคัดย่อ/Abstract 16 (LRJ) ตัวธรรมดา ค�ำส�ำคัญ/Keywords 16 (LJ) ตัวธรรมดา หัวข้อเรื่อง (ไม่ล�ำดับเลข) 16 (LJ) ตัวหนา หัวข้อย่อย 16 (LJ) ตัวหนา เนื้อเรื่อง 16 (LRJ) ตัวธรรมดา บรรณานุกรม 16 (LJ) ตัวธรรมดา ชื่อตาราง (ระบุไว้บนตาราง) 16 (LJ) ตัวหนา ชื่อรูป ชื่อแผนภูมิ (ระบุชื่อไว้ใต้รูป แผนภูมิ) 16 (CT) ตัวหนา CT = Centre Text, LJ = Left Justified, RJ = Right Justified, LRJ = Left & Right Justified
ส่วนประกอบของบทความ
1) ชื่อเรื่องบทความ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2) ชื่อผู้เขียนทุกคน พร้อมระบุ หน่วยงานที่สังกัด (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 3) บทคัดย่อ (Abstract) ความยาวไม่เกิน 250 ค�ำ และค�ำส�ำคัญ (Keywords) 3-5 ค�ำ (ทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ) ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Panyapiwat Journal Vol.8 No.2 May - August 2016
299
4) เนื้อเรื่อง 4.1) บทความวิชาการ ประกอบด้วย บทน�ำ เนื้อหา และบทสรุป 4.2) บทความวิจัย ประกอบด้วย บทน�ำ วัตถุประสงค์ ทบทวนวรรณกรรม วิธีการวิจัย ผลการวิจัย อภิปราย และสรุปผลการวิจัย 5) เอกสารอ้างอิง 6) ถ้ามีรูปภาพ แผนภูมิ ตารางประกอบ หรืออื่นๆ ต้องมีหมายเลขก�ำกับในบทความ อ้างอิงแหล่งที่มาของ ข้อมูลให้ถูกต้อง ชัดเจน และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ใช้รูปภาพสีหรือขาว-ด�ำ ที่มีความคมชัด และส่งภาพถ่าย ต้นฉบับหรือไฟล์รูปภาพแยกต่างหาก แนบมาพร้อมกับบทความด้วย
การอ้างอิงเอกสาร
1) การอ้างอิงในเนือ้ หา เพือ่ บอกแหล่งทีม่ าของข้อความนัน้ ให้ใช้วธิ กี ารอ้างอิงแบบนาม-ปี โดยระบุชอื่ ผูเ้ ขียน ปีพิมพ์ และเลขหน้าของเอกสาร ไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังของข้อความที่ต้องการอ้างอิง เช่น สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2546: 147) ….. หรือ ..... (Newman & Cullen, 2007: 18-19) หรือ ..... (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ, 2546: 217-219) 2) การอ้างอิงท้ายบทความ ให้รวบรวมเอกสารที่ใช้อ้างอิงไว้ท้ายบทความ เรียงตามล�ำดับอักษรชื่อผู้เขียน โดยใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงตามระบบ APA ดังนี้ วารสารและนิตยสาร รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), หน้าแรก-หน้าสุดท้าย. ตัวอย่าง: ขวัญฤทัย ค�ำขาว และเตือนใจ สามห้วย. (2530). สีธรรมชาติ. วารสารคหเศรษฐศาสตร์, 30(2), 29-36. Acton, G. J., Irvin, B. L. & Hopkins, B. A. (1991). Theory-testing research: building the science. Advance in Nursing Science, 14(1), 52-61. หนังสือ รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. เมืองที่พิมพ์: ส�ำนักพิมพ์. ตัวอย่าง: วิจารณ์ พานิช. (2551). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการ ความรู้เพื่อสังคม. Chakravarthy, B., Zaheer, A. & Zaheer, S. (1999). Knowledge Sharing in Organizations: A Field Study. Minneapolis: Strategic Management Resource Center, University of Minnesota. รายงานการประชุมหรือสัมมนาทางวิชาการ รูปแบบ: ชือ่ ผูแ้ ต่ง. (ปีทพี่ มิ พ์). ชือ่ เรือ่ ง. ชือ่ เอกสารรวมเรือ่ งรายงานการประชุม, วัน เดือน ปี สถานทีจ่ ดั . เมืองทีพ่ มิ พ์: ส�ำนักพิมพ์. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
300
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ตัวอย่าง: กรมวิชาการ. (2538). การประชุมปฏิบัติการรณรงค์เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน, 25-29 พฤศจิกายน 2528 ณ วิทยาลัยครูมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ. Deci, E. L. & Ryan, R. M. (1991). A motivational approach to self: Integration in personality. In R. Dienstbier (Ed.), Nebraska Symposium on Motivation: Vol. 38. Perspectives on Motivation (pp. 237-288). Lincoln: University of Nebraska Press. บทความจากหนังสือพิมพ์ รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์, เดือน วันที่). ชื่อเรื่อง. ชื่อหนังสือพิมพ์, หน้าที่น�ำมาอ้าง. ตัวอย่าง: สายใจ ดวงมาลี. (2548, มิถนุ ายน 7). มาลาเรียลาม 3 จว. ใต้ตอนบน สธ.เร่งคุมเข้มกันเชือ้ แพร่หนัก. คม-ชัด-ลึก, 25. Di Rado, A. (1995, March 15). Trekking through college: Classes explore modern society using the world of Star Trek. Los Angeles Time, p. A3. วิทยานิพนธ์ รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ชื่อปริญญา สถาบันการศึกษา. ตัวอย่าง: พันทิพา สังข์เจริญ. (2528). วิเคราะห์บทร้อยกรองเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนม-พรรษา 5 ธันวาคม. ปริญญา นิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Darling, C. W. (1976). Giver of Due Regard: The Poetry of Richard Wilbur. Ph.D. Thesis, University of Conecticut, USA. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบ: ชื่อผู้เขียน. (ปีที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต). ชื่อเรื่อง. สืบค้นเมื่อ......., จาก URL Address ตัวอย่าง: ประพนธ์ ผาสุขยืด. (2551). การจัดการความรู้...สู่อนาคตที่ใฝ่ฝัน. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2552, จาก http://www. si.mahidol.ac.th/km/admin/add_information/document_files/95_1.pdf Treeson, L. (2009). Exploring a KM Process for Retaining Critical Capabilities. Retrieved February 11, 2009, from http://kmedge.org/2009/03/ knowledge-management-process-retainingcritical-capabilities.html
การส่งบทความ
ผู้สนใจเสนอบทความสามารถจัดส่งบทความถึงกองบรรณาธิการวารสารปัญญาภิวัฒน์ ผ่านระบบ “Paper Submission” ได้ที่เว็บไซต์ http://journal.pim.ac.th ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์