วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2

Page 1


¡

ÒûÃÐÂØ¡μ á¼¹·Õ¹è Òí ·Ò§à·¤â¹âÅÂÕÊÒí ËÃѺ¹âºÒÂÊÒ¸ÒóÐ: ¡Ã³ÕÈÖ¡ÉÒá¼¹¾Ñ²¹Ò¡íÒÅѧ¼ÅÔμä¿¿‡ÒáË‹§ªÒμÔ An Application of Technology Road Mapping (TRM) for Public Policy: A Case of National Power Development Plan ผศ.ดร.นพพร ลีปรีชานนท อาจารยประจําภาควิชาวิศวกรรมไฟฟาและ คอมพิวเตอร คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร E-mail: lnopporn@tu.ac.th กาญจนา ชูมนต ผูช ว ยวิจยั ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟาและคอมพิวเตอร คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร E-mail: fangkraw@hotmail.com

บทคัดยอ การนําเสนอนโยบายหรือแผนงานในปจจุบนั มักถูกนําเสนอในรูปแบบเชิงพรรณนา ซึง่ ทําใหยาก ในการมองเห็นทิศทางหรือการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอยางเปนระบบ บทความนี้จึงนําเสนอ หลักการของแผนที่นําทางเทคโนโลยี (Technology Road Mapping: TRM) ซึ่งไดรับการ ยอมรับในระดับสากลวาสามารถใชเปนเครื่องมือสรางแผนที่นําทางในเชิงนโยบายดานตางๆ ไดอยางเปนระบบและมีประสิทธิภาพ และไดนาํ หลักการดังกลาวมาประยุกตใชกบั แผนพัฒนา กําลังผลิตไฟฟา (Power Development Plan: PDP) ฉบับที่ใชอยูในปจจุบันนั่นคือ แผน PDP-2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 จากผลการศึกษาพบวา แนวทางนี้สามารถนําไปใชเปน แนวทางในการพัฒนาแผนพลังงานในระยะยาว หรืออาจประยุกตใชในการกําหนดนโยบาย หรือแผนงานในอุตสาหรรมอื่นๆ ไดตอไป

11


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

คําสําคัญ: แผนที่นําทางเทคโนโลยี นโยบายพลังงาน

แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟา

นโยบายสาธารณะ

Abstract Currently, public policy is usually illustrated in a descriptive form which is difficult for policy makers to systematically project the future scenarios. This paper therefore presents the principle and application of Technology Road Mapping (TRM) which is widely and effectively used to plot the policy and planning descriptions. A case of public policy in energy-the National Power Development Plan (PDP-2007 Revision 2) is used to illustrate the application of the proposed technique. It is envisaged that TRM be applied well to the long-term energy plan and to the public policy in any other industries. Keywords: Technology Road Mapping, Power Development Plan, Public Policy, Energy Policy บทนํา แผนที่นําทางเทคโนโลยี (Technology Road Map: TRM) เปนเครื่องมือที่ชวยในการมองเห็นการ เปลี่ยนแปลงและพัฒนาของเทคโนโลยีในอนาคต ซึ่ ง เป น ประโยชน อ ย า งยิ่ ง ต อ การบริ ห ารจั ด การ เทคโนโลยี และการกําหนดนโยบายของการลงทุน และพัฒนาอุตสาหกรรมทีเ่ กีย่ วของ หลักการของ TRM จะแสดงใหเห็นภาพทิศทางของการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยี ใ นอนาคตอย า งเป น ระบบ ทํ า ให เ กิ ด ประโยชนในการนําไปสูการกําหนดกลยุทธระดับ นโยบายและระดับปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ และ ยังสามารถประยุกตใชในการพิจารณาโครงการตางๆ ใหเปนไปในทิศทางและเวลาที่เหมาะสม จากการศึกษานโยบายดานสาธารณะในดาน ตางๆ พบวารูปแบบการนําเสนอนโยบายไมสามารถ ทําใหมองเห็นทิศทางและการพัฒนาของสิง่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคตอยางเปนระบบ ทําใหนโยบายดังกลาว ไมสามารถปฏิบัติไดอยางมีประสิทธิภาพและอาจไม เปนไปในทิศทางทีถ่ กู ตองเหมาะสม ดังนัน้ บทความนี้

12

จึงไดนาํ เสนอแนวทางการแสดงนโยบายสาธารณะใน รูปของแผนทีน่ าํ ทาง ซึง่ ไดนาํ เอาหลักการของ TRM มาประยุกตใหเหมาะสมกับนโยบายทีศ่ กึ ษา นโยบาย สาธารณะทีน่ าํ มาใชเปนกรณีศกึ ษานีจ้ ะเปนนโยบาย ดานพลังงานแหงชาตินั่นคือ แผนพัฒนากําลังการ ผลิตไฟฟา (Power Development Plan: PDP) แผน PDP ในปจจุบนั นีร้ บั ผิดชอบโดยสํานักงาน นโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน โดยมีคณะทํางานในการจัดทําแผน PDP ที่มาจาก ภาคสวนตางๆ เชน การไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟานครหลวง (กฟน.) การไฟฟาสวน ภูมิภาค (กฟภ.) นักวิชาการ ผูแทนองคกรอิสระ เปนตน แผน PDP ถือเปนนโยบายดานพลังงานที่ กําหนดทิศทางของการผลิตไฟฟาของประเทศ ซึง่ จะ มีผลตอการพัฒนาเศรษฐกิจและชีวิตความเปนอยู ของประชาชน หัวใจสําคัญของแผน PDP คือ การ กําหนดขนาดกําลังการผลิตกระแสไฟฟาที่ไดจาก พลังงานประเภทตางๆ ทีไ่ ดจากทัง้ ในและตางประเภท ซึ่งจะสงผลใหตองมีการตัดสินใจวาจะลงทุนสราง


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

โรงไฟฟาประเภทใด ในสัดสวนเทาไร และตองสราง ใหเสร็จทันเวลาเมื่อไร จึงจะเหมาะสมที่สุด คําถามสําคัญก็คือ ภายใตการตัดสินใจดังกลาว ผลการตัดสินใจจะมีผลกระทบตอความมั่นคงดาน พลังงาน ผลกระทบตอสิง่ แวดลอม หรือผลกระทบตอ ความปลอดภัยของประชาชนมากนอยเพียงใด ดังนัน้ เพื่อใหการตัดสินใจมีความเหมาะสม ผูตัดสินใจตอง สามารถมองเห็ น ทิ ศ ทางรวมทั้ ง การเปลี่ ย นแปลง เนือ่ งจากปจจัยตางๆ ทีอ่ าจเกิดขึน้ ไดในอนาคต ดังนัน้ บทความนี้จึงเสนอการนําหลักการของ TRM มา ประยุกตกับแผน PDP เพื่อใหสามารถหาคําตอบที่ เหมาะสมตอคําถามดังกลาวขางตนได ถึ ง แม ว  า แผนพั ฒ นากํ า ลั ง การผลิ ต ไฟฟ า ฉบับลาสุดคือ PDP 2010 ไดรับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี (ครม.) แลว เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 (กระทรวงพลังงาน, 2553: 1) แตเนื่องจาก กระทรวงพลังงานยังไมไดนําออกมาตีพิมพเผยแพร อยางเปนทางการ ผูเขียนจึงไดนําแผนพัฒนากําลัง ผลิตไฟฟาของประเทศไทย พ.ศ. 2551-2564 หรือ PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ซึ่งถือวาเปนฉบับ ลาสุดที่ไดตีพิมพเผยแพรอยางเปนทางการมาเปน กรณีศึกษา ซึ่งแผน PDP 2007 นั้นเปนแผน 15 ป ที่บรรจุแผนกําลังการผลิตไฟฟาและแผนการลงทุน สรางโรงไฟฟาประเภทตางๆ จนถึงป พ.ศ. 2564 หลักการของแผนที่นําทางเทคโนโลยี แผนที่นําทางเทคโนโลยี (Technology Road Mapping: TRM) คือ กระบวนการวางแผนเทคโนโลยี ในอนาคต ซึง่ คาดการณเทคโนโลยีทสี่ าํ คัญทีจ่ ะมีการ พัฒนาตอไป และมีทางเลือกสํารองที่เหมาะสม เพื่อ ตอบสนองความตองการในอนาคตไดอยางถูกตอง และชัดเจน ซึ่งในการมองภาพรวมของเสนทางใน การพัฒนาผลิตภัณฑทั้งในดานมิติของตลาดและ เทคโนโลยี จะตองมีความสัมพันธตอกันในเงื่อนไข ของเวลาในอนาคต ซึ่งแผนที่นําทางเทคโนโลยีของ

ผลิตภัณฑ จะเปนขัน้ ตอนในการรวบรวมสรุปขัน้ ตอน ทั้งหมด นํามากําหนดเปนแผนที่นําทางเทคโนโลยีที่ จะทําใหไดผลิตภัณฑเปาหมายที่กําหนด โดยมีการ พิจารณาเกี่ยวของกับระยะเวลาที่คาดการณ โดยจะ ตองมีความเชื่อมโยงระหวางผลิตภัณฑกับทิศทาง ของเทคโนโลยี และทิศทางของตลาดดวย ในป จ จุ บั น แผนที่ นํ า ทางเทคโนโลยี ถู ก นํ า ไป ประยุกตใชอยางแพรหลายในการทําแผนพัฒนา เทคโนโลยีของอุตสาหกรรมดานตางๆ โดยมุงเนน ประโยชนจากการเชือ่ มโยงกลยุทธทางธุรกิจ (Business Strategy) และกลยุทธดานเทคโนโลยี (Technology Strategy) เขาดวยกัน (Kostoff and Schaller, 2001: 132-143) สงผลใหการพัฒนาองคกรและเทคโนโลยี สามารถดําเนินควบคูก นั ไปในทิศทางทีส่ อดคลองกัน ไดอยางเปนระบบ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (Phaal et al., 2002: 794-798) จากเหตุผลดังกลาว จํ า เป น อย า งยิ่ ง ที่ จ ะต อ งมี เ ครื่ อ งมื อ ที่ ช  ว ยในการ พัฒนาเทคโนโลยี ซึ่ง TRM เปนเครื่องมือ (Tool) ที่ไดรับการยอมรับวาใชในการคาดการณเทคโนโลยี ทีส่ าํ คัญทีจ่ ะมีการพัฒนาตอไปโดยมีทางเลือกสํารอง ทีเ่ หมาะสม อันจะสงผลใหการบริหารจัดการเทคโนโลยี และการกําหนดนโยบายสําหรับอุตสาหกรรมมีความ ชัดเจน และแสดงใหเห็นภาพกระบวนการวางแผน เทคโนโลยีในอนาคตอยางนาเชื่อถือ การกําหนด กลยุทธระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการมีความ สอดประสานกัน การพิจารณาตัดสินใจในโครงการ ต า งๆ ก็ จ ะเป น ไปในทิ ศ ทางที่ เ หมาะสมและเกิ ด ความคลาดเคลื่อนนอยที่สุด TRM จะตองมีการกําหนดมิตขิ องเวลาดวยเสมอ นัน่ คือในการบรรลุเปาหมายของการพัฒนาเทคโนโลยี ในระดับตางๆ ในแตละชวงเวลาที่กําหนดจะตองมี การวางแผนรองรับอยางไร (ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี, 2553) การกําหนดกรอบเวลาของ TRM อาจจะกําหนดเปน 10 หรือ 15 ปก็ได ขึ้นอยูตามเปาหมายในการจัดทํา สิ่งที่นาสนใจของ TRM คือ การเจาะจงเทคโนโลยี

13


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ตางๆ ของผูจ ดั ทําแผนทีน่ าํ ทาง ซึง่ ไดถกู แนะนําและ นําเสนอโดย Kone และ Eirma ดังแสดงในรูปที่ 1 (Koen, 1997: 9; EIRMA, 1997: 52) นอกจากนี้ แผนที่นําทางโดยทั่วไปจะแสดงในรูปแผนภูมิที่รวม แกนเวลา และลักษณะเกีย่ วกับเทคโนโลยีเขาดวยกัน เพือ่ ทําใหสามารถพัฒนาผลิตภัณฑและเทคโนโลยีได อยางถูกตอง เหมาะสมกับเปาหมายและแผนการ ดําเนินงานที่กําหนด Time

P a r a l l e l i s m

Business/Merket

Product/Service

Technology

รูปที่ 1 รูปแบบพื้นฐานของ TRM

กระบวนการจัดทํา TRM กระบวนการจั ด ทํ า TRM มี 5 ขั้ น ตอน คื อ 1) การระดมความคิ ด เห็ น เพื่ อ กํ า หนดวิ สั ย ทั ศ น 2) กําหนดทิศทางการพัฒนา 3) การกําหนดกลยุทธ ของผลิตภัณฑ 4) ศึกษาฟงกชั่นการทํางานของ เทคโนโลยีหลัก 5) จัดทําเปนแผนทีน่ าํ ทางเทคโนโลยี ดังแสดงในรูปที่ 2 (วีระเชษฐ ขันเงิน, 2553) ระดมความคิดเห็น กําหนดวิสัยทัศน กําหนดกลยุทธ ศึกษาฟงกชั่นการทํางาน ของเทคโนโลยีหลัก เทคโนโลยีหลัก

รูปที่ 2 กระบวนการจัดทํา TRM

14

ประเภทและรูปแบบของ TRM (Kostoff and Schaller, 2001: 132-143) ไดแบง ประเภทของแผนที่ นํ า ทางเทคโนโลยี ไ ว เ ป น 6 ประเภท ดังนี้ (1) แผนที่ นํ า ทางเทคโนโลยี ก ารวิ จั ย และ วิทยาศาสตร (Science/Research Roadmaps) (2) แผนที่นําทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรมขาม ประเภท (Cross-industry Roadmaps) (3) แผนที่นําทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรมทั่วไป (Industry Roadmaps) (4) แผนที่นําทางเทคโนโลยีทั่วไป (GeneralTechnology Roadmaps) (5) แผนที่ นํ า ทางเทคโนโลยี ก ารพั ฒ นา ผลิตภัณฑ (Product-Technology Roadmaps) (6) แผนทีน่ าํ ทางเทคโนโลยีทคี่ าํ นึงถึงประโยชน สาธารณะและสังคม (Technology Roadmaps with social/public concern) นอกจากนี้ (Kostoff and Schaller, 2001: 132143) ยังไดแจกแจงรูปแบบมาตรฐานของ TRM ไว เปน 8 รูปแบบโดยแบงตามวัตถุประสงคของการ กําหนดนโยบาย ดังแสดงในรูปที่ 3 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (a) Product Planning: การวางแผนผลิตภัณฑ หรือสินคา รูปแบบนี้เปนรูปแบบมาตรฐานทั่วไปของ TRM เหมาะสําหรับการวางแผนในการนําเทคโนโลยีของ ผลิตภัณฑหรือสินคาใหมๆ ของผูผ ลิตทีค่ าดวาจะเกิด ขึ้นในอนาคต ซึ่งเทคโนโลยีการผลิตของผลิตภัณฑ ที่ใชอาจจะมีมากกวา 1 มิติ (b) Service/Capability Planning: การวางแผน ในการใหบริการ รูปแบบนี้เปนรูปแบบที่เนนพื้นฐานการบริการ โดยมีจดุ สนใจอยูท กี่ ารนําเทคโนโลยีตา งๆ มาสนับสนุน ความสามารถขององคกร


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

(c) Strategic Planning: การวางแผนกลยุทธ รูปแบบนีเ้ หมาะสําหรับการประเมินกลยุทธทวั่ ไป ในแงของการสนับสนุนการประเมินคาของโอกาสทีม่ ี ความหลากหลาย หรือการคุกคามทางธุรกิจ โดยทัว่ ไป ในระดับธุรกิจจะมุง เนนการพัฒนาวิสยั ทัศนของธุรกิจ ในอนาคต เชน ผลิตภัณฑ เทคโนโลยี ความชํานาญ วัฒนธรรม และอื่นๆ เปนตน โดยเปรียบเทียบวิสัย ทัศนในอนาคตกับวิสยั ทัศน ณ ตําแหนงปจจุบนั และ ทางเลือกเกี่ยวกับกลยุทธที่สํารวจ เพื่อใหขามพน ชองวางของธุรกิจนั้นๆ ไดอยางถูกตองเหมาะสมกับ ชวงเวลาของการพัฒนา (d) Long Range Planning: การวางแผนระยะ ยาว รูปแบบนีเ้ ปนรูปแบบทีส่ นับสนุนการวางแผนใน ระยะยาว โดยแผนที่นําทางในรูปแบบนี้จะถูกนําไป ประยุกตใชในการกําหนดแผนระดับชาติ โดยสามารถ คาดการณทศิ ทางหรือระบุเทคโนโลยีทมี่ คี วามเปนไปได ในอนาคต (e) Knowledge Asset Planning: การวางแผน ทรัพยสินทางปญญา รูปแบบนี้เปนรูปแบบของการวางแผนและการ จัดการองคความรูใ หมทอี่ งคกรเปนผูร เิ ริม่ โดยทําการ เชื่ อ มโยงผู  เ ชี่ ย วชาญในองค ก รและเทคโนโลยี ที่ ตองการ เพือ่ ใหพบความตองการทีแ่ ทจริงของตลาด ในอนาคต (f) Program/Project Planning: การวางแผน โครงการ รูปแบบนีจ้ ะเนนเกีย่ วกับเครือ่ งมือของยุทธศาสตร และการวางแผนโครงงานโดยตรง เชน โปรแกรมการ วิจัยและพัฒนา (R&D Program) (g) Process Planning: การวางแผนเกี่ยวกับ กระบวนการ รูปแบบนี้สนับสนุนการจัดการขององคความรู โดยใหความสนใจบนพืน้ ฐานกระบวนการทีเ่ จาะจงใน การพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ ใ หม และให ค วามสนใจบน

กระบวนการความรูในสิ่งนั้นใหถูกตอง เหมาะสม เพื่อกอใหเกิดความสะดวกตอการพัฒนาผลิตภัณฑ ใหมๆ ใหเกิดผลสัมฤทธิ์ (h) Integration planning: การวางแผนแบบ บูรณาการ รูปแบบนีเ้ ปนการบูรณาการเทคโนโลยีทแี่ ตกตาง กันอยางเปนระบบ เพื่อใหไดผลิตภัณฑในรูปแบบ ใหมๆ ประโยชนของ TRM การทําแผนที่นําทางเทคโนโลยีสามารถชวยให องค ก รได พิ จ ารณาถึ ง จุ ด อ อ น-จุ ด แข็ ง ทางด า น เทคโนโลยีทมี่ อี ยู และสามารถเสริมสรางความสามารถ ทางด า นการพั ฒ นาเทคโนโลยี โดยคํ า นึ ง ถึ ง การ วางแผน และมุงเนนถึงลําดับความสําคัญกับความ ตอเนื่องสอดคลองในการพัฒนาเทคโนโลยีในแตละ ขั้นตอน เพื่อใหผูบริหารใชในการตัดสินใจ รวมถึง ทําใหองคกรสามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยูอยาง จํากัดใหมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แผนที่นําทางเทคโนโลยีสามารถชวยผูบริหาร ใหมองเห็นภาพรวมขององคกรไดอยางชัดเจนยิง่ ขึน้ และสามารถใชเปนเครื่องมือในการตัดสินใจไดเปน อยางดี ซึ่งจะเปนประโยชนตอการดําเนินงานและ กําหนดทิศทางขององคกรในอนาคต โดยเฉพาะอยางยิง่ สามารถชวยลดความซํ้าซอนของการดําเนินงานได อาทิเชน ในกรณีของบริษัทใหญแหงหนึ่งที่มีหนวย ธุรกิจยอยหลายสาขา และแตละสาขาก็มกี ารดําเนินงาน อยางอิสระ อาจทําใหเกิดความซํ้าซอนกัน เสียเวลา ในการดําเนินการ และสงผลใหการจัดสรรทรัพยากร ขององคกรไมมปี ระสิทธิภาพอยางเต็มทีต่ ามเปาหมาย ที่กําหนดไว

15


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

(a) Product planning

(b) Service/Capability planning

Time

Time Triggers/ issues

Technology

Business & market drivers

P a r a l l e l i s m

P a r a l l e l i s m

Product/Service

Capabilites to meet drivers

Technology development

GAP

(c) Strategic planning

(d) Long range planning

Time

Time Market

Vision

Current

Product

GAPS Migration paths

Technology

Skills

P a r a l l e l i s m

P a r a l l e l i s m

Business

Technology development

“Nugget”

Organization

(e) Knowledge asset planning

(f) Program planning

Time

Project flow

Leading projects & actions

Project milestones

Knowledge management enablers

Knowledge related processes

P a r a l l e l i s m

P a r a l l e l i s m

Time

Business Objectives

Key decision points

Technology developments

Knowledge assets

(g) Process planning

(h) Integration planning Time

Time

Knowledge flows

Project milestones

Knowledge flows

Key decision points

P a r a l l e l i s m

P a r a l l e l i s m

Project flow

Component/

Prototypes/

In-

test

technology

service

systems

demonstrators

systems

ที่มา: Kostoff and Schaller, 2001 รูปที่ 3 แผนที่นําทางเทคโนโลยีรูปแบบมาตรฐาน

16

System/

subsystem technologics


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

กรณีศึกษา ผูเขียนไดนํา TRM มาประยุกตกับแผนพัฒนา กําลังการผลิตไฟฟาแหงชาติ โดยนําแผน PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ของกระทรวงพลังงานมาเปน กรณีศกึ ษา โดยแบงการนําเสนอออกเปน 3 สวน คือ (1) ความเปนมาของแผน PDP 2007 ฉบับ ปรับปรุงครั้งที่ 2 (2) สาระสําคัญของแผน PDP รวมถึงรายละเอียด ของแผน PDP ซึ่งระบุถึงโครงการสรางโรงไฟฟาใน อนาคต (3) การออกแบบและการจําลอง TRM สําหรับ แผน PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ความเปนมาของแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟา แหงชาติ พ.ศ. 2552-2564 (PDP 2007 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2) การวางแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟาของประเทศ (Power Development Plan: PDP) เปนแผนการ ลงทุนระยะยาวในระบบไฟฟาของประเทศไทย ที่จะ กําหนดรูปแบบของเทคโนโลยี โครงสรางการลงทุน โครงสรางของอุตสาหกรรมและธุรกิจไฟฟา และผล กระทบตอเนือ่ งทีจ่ ะเกิดขึน้ กับสังคม ทัง้ ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิง่ แวดลอม โดยมีชว งเวลาของแผน 15 ป โดยการไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย (กฟผ.) ได จัดทํารางแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟาของประเทศไทย พ.ศ. 2550-2564 (PDP 2007) ตามกรอบนโยบาย ของกระทรวงพลังงานดานตางๆ เชน ความมั่นคง เชื่อถือไดของระบบผลิตไฟฟา การกระจายแหลง เชื้อเพลิง การรับซื้อไฟฟาจากประเทศเพื่อนบาน และการพยากรณ ค วามต อ งการไฟฟ า ในอนาคต เปนตน ซึง่ แผนฯดังกลาวไดรบั อนุมตั จิ ากคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแหงชาติ (กพช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมือ่ เดือนมิถนุ ายน 2550 (การไฟฟาฝายผลิต แหงประเทศไทย, 2552) ตอมา กฟผ. รวมกับกระทรวงพลังงานไดทาํ การ

ปรั บ ปรุ ง แผน PDP 2007 เพื่ อ ให ส อดคล อ งกั บ สถานการณในขณะนั้น เรียกวา “แผนพัฒนากําลัง ผลิตไฟฟาของประเทศไทย พ.ศ. 2550-2564 ฉบับ ปรับปรุงครั้งที่ 1 หรือ PDP 2007 (Revision 1)” แผนฯดังกลาวกระทรวงพลังงานไดนาํ เสนอตอ กพช. และ ครม. รับทราบแลวเมือ่ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 เมื่อนําแผนฯดังกลาวไปใชประมาณ 10 เดือน ข อ มู ล ที่ ใ ช ใ นการปรั บ แผนในครั้ ง นั้ น ได มี ก าร เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะความตองการใช ไฟฟาที่มีแนวโนมตํ่ากวาที่ประมาณการไว โดยมี สาเหตุมาจากสภาวะเศรษฐกิจที่ไดชะลอตัว และ โครงการที่ พั ฒ นาในสาธารณรั ฐ ประชาธิ ป ไตย ประชาชนลาว (สปป. ลาว) ที่ไดลงนามในบันทึก ความเขาใจเรื่องอัตราคาไฟฟา (Tariff MOU) บาง โครงการไดหมดอายุ และบางโครงการทําเรือ่ งยกเลิก Tariff MOU ซึง่ มีความจําเปนทีจ่ ะตองมีการปรับปรุง และเจรจาราคาใหมทั้งหมด และหากยังคงแผนฯไว เชนเดิมจะทําใหระดับกําลังผลิตไฟฟาสํารองสูงมาก เกินที่ไดกําหนดไว ดังนั้น กฟผ. รวมกับกระทรวงพลังงานจึงได ดําเนินการปรับปรุงแผน PDP 2007 ฉบับปรับปรุง ครัง้ ที่ 1 อีกครัง้ หนึง่ เพือ่ ใหสอดคลองกับสถานการณ ทีไ่ ดเปลีย่ นแปลงไป ซึง่ เรียกแผนฯใหมนวี้ า “แผนพัฒนา กําลังผลิตไฟฟาของประเทศไทย พ.ศ. 2551-2564 ฉบับปรับปรุงครัง้ ที่ 2 หรือ PDP 2007 ฉบับปรับปรุง ครัง้ ที่ 2” (การไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย, 2552) โดยไดรับความเห็นชอบจาก กพช. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2552 และเสนอตอ ครม. เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2552 โดย ครม. ไดมอบหมายให กพช. พิจารณาความจําเปนในการรับฟงความคิดเห็นตอแผน PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 เพื่อเปดโอกาส ใหผูที่เกี่ยวของในภาคสวนตางๆ ไดมีการซักถาม และแสดงความคิดเห็นในประเด็นตางๆ เพือ่ นําไปใช ในการปรับปรุงแผนฯ ตอมากระทรวงพลังงานไดนํา เสนอแผน PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ตอ

17


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

กพช. อีกครัง้ ซึง่ ไดรบั ความเห็นชอบจาก กพช. เมือ่ วันที่ 9 มีนาคม 2552 และไดรับความเห็นชอบจาก ครม. เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2552 เปนที่เรียบรอย จากการจัดทําแผน PDP 2007 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 นี้ ในภาพรวมของประเทศจะไดประโยชน จากการปรับปรุงแผนฯดังกลาว ประกอบดวย กําลังผลิตไฟฟาสํารองของประเทศไทยจะอยู ในระดับที่เหมาะสม เนื่องจากความตองการไฟฟามี แนวโนมลดลง จึงไดมีการเลื่อนโครงการโรงไฟฟา ตางๆ ในอนาคตตามแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟา การลงทุนโครงการผลิตไฟฟาและระบบสง ไฟฟาของประเทศลดลง จากการเลือ่ นกําหนดออกไป ของโครงการตางๆ ซึ่งไดแก การรับซื้อไฟฟาจาก ผูผ ลิตไฟฟาเอกชนรายใหญ (IPP) โครงการโรงไฟฟา ของ กฟผ. โครงการโรงไฟฟาใหมในอนาคต รวมถึง การรับซือ้ ไฟฟาจากประเทศเพือ่ นบาน เพือ่ ลดกําลัง ผลิตไฟฟาใหสอดคลองกับความตองการไฟฟาทีล่ ดลง ทําใหมีการลงทุนตลอดทั้งแผนฯลดลง สามารถเรงรัดการลงทุนในโครงการรับซื้อ ไฟฟาจากผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็ก (SPP) เพื่อ สนั บ สนุ น นโยบายของคณะกรรมการกํ า กั บ การ ขับเคลือ่ นนโยบายของรัฐบาล เพือ่ ชวยกระตุน เศรษฐกิจ ของประเทศ และลดภาระหนี้สาธารณะ

• •

ทั้ ง นี้ เพื่ อ ให ก ารปรั บ ปรุ ง แผน PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 เปนไปอยางมีประสิทธิภาพ และสอดคลองกับนโยบายพลังงาน จึงกําหนดใหมี คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงแผนพัฒนากําลัง ผลิตไฟฟาแหงชาติขนึ้ ซึง่ มีบทบาทหนาทีใ่ นการจัดทํา แผน PDP เพือ่ ใหการจัดหาไฟฟาในระยะยาวเปนไป อยางมีประสิทธิภาพ โดยคํานึงถึงความมั่นคงของ ระบบไฟฟ า ของประเทศ รวมถึ ง การลงทุ น ขยาย กิจการผลิตไฟฟาและระบบสงไฟฟาใหอยูในระดับที่ เหมาะสมสอดคลองกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และชวยศึกษาทบทวนแนวทางการกําหนดสมมติฐาน

18

ดังกลาวขางตน ในการปรับปรุงแผนพัฒนากําลังผลิต ไฟฟาของประเทศเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ โดยมี องคประกอบของคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุง แผน PDP (การไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย, 2552) ดังนี้ - ปลัดกระทรวงพลังงาน เปนประธาน - รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปนกรรมการ - กรรมการกํากับกิจการพลังงาน เปนกรรมการ - เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และ สังคมแหงชาติ หรือผูแทน เปนกรรมการ - ผูวาราชการไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย หรือผูแทน เปนกรรมการ - กรรมการผูจัดการใหญ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) เปนกรรมการ - ผู  อํ า นวยการสํ า นั ก งานนโยบายและแผน พลังงาน (สนพ.) เปนกรรมการและเลขานุการ ขั้นตอนการจัดทําแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟา ของประเทศไทยมีองคประกอบของกระบวนการจาก ขอมูลทั้งหมด 4 ดาน คือ ขอมูลทางดานนโยบาย ขอมูลระบบไฟฟา ขอมูลการพยากรณความตองการ ไฟฟาของประเทศไทย และขอมูลเชื้อเพลิง โดยนํา ขอมูลทั้ง 4 ดานนี้มาทําการหาคาที่เหมาะสมที่สุด (Optimization) โดยใชคอมพิวเตอรซอฟแวร (Computer Software) แลวนําแผนฯมาพิจารณาโดย กฟผ. กระทรวงพลังงาน และ สนพ. จากนั้นจึงนําแผนฯที่ ไดมานําเสนอและรับฟงความคิดเห็นผานนักวิชาการ ผูที่เกี่ยวของ และภาคประชาชน แลวนําขอมูลที่ได จากการรับฟงความคิดเห็นมาปรับปรุงแกไขแผนฯ ดังกลาวอีกครั้ง เพื่อนําเสนอตอกระทรวงพลังงาน และคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน จากนั้นนํา แผนฯเสนอตอ กพช. เพื่อเห็นชอบ แลวจึงนําเสนอ ตอ ครม. เพื่อรับทราบ ดังแสดงในรูปที่ 4 และมี ขั้นตอนการขออนุมัติแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟา ดังแสดงในรูปที่ 5


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ที่มา: การไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย รูปที่ 4 ขั้นตอนการจัดทําแผน PDP คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการนโยบายพลังงานแหงชาติ (กพช.) กระทรวงพลังงาน

คณะกรรมการ กํากับกิจการพลังงาน

แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟาของประเทศไทย (PDP) คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุง แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟาของประเทศไทย

ที่มา: www.eget.co.th รูปที่ 5 ขั้นตอนการขออนุมัติแผน PDP

สาระสําคัญของแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟาของ ประเทศไทย (PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) แผนพั ฒ นาการผลิ ต ไฟฟ า ของประเทศไทย (PDP 2007 ฉบั บ ปรั บ ปรุ ง ครั้ ง ที่ 2) ครอบคลุ ม แผนการพัฒนากําลังผลิตไฟฟาในชวงป 2550-2564 ระยะเวลา 15 ป (การไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย, 2552) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

- โครงการโรงไฟฟ า ในช ว งป 2552-2558 โครงการโรงไฟฟาตามแผนฯชวงนี้รวมกําลังผลิต เพิ่มขึ้น จํานวน 12,604.8 เมกะวัตต - โครงการโรงไฟฟาใหมในชวงป 2550-2564 โครงการที่บรรจุอยูในแผนฯชวงนี้เปนโครงการใหม ทั้งหมด รวมกําลังผลิต 17,550 เมกะวัตต - พลังงานหมุนเวียนของ กฟผ. ที่ประชุมคณะ กรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และ กพช. ให ค วามเห็ น ชอบการลงทุ น โครงการพลั ง งาน หมุนเวียนของ กฟผ. จํานวน 81.7 เมกะวัตต - แผนการจัดหาถานหินรองรับโรงไฟฟาถานหิน 4 โรงของ กฟผ. - โครงการโรงไฟฟานิวเคลียร ตามทีค่ ณะกรรมการ ประสานงาน เพื่อเตรียมการจัดตั้งโครงสรางพื้นฐาน พลังงานนิวเคลียรไดแจงวาโครงการโรงไฟฟานิวเคลียร สามารถดําเนินการไดตามที่กําหนด หากแตใหเขา ระบบเพียงปละ 1,000 เมกะวัตต กลาวคือ ป 2563 จํานวน 1,000 เมกะวัตต และป 2564 อีกจํานวน 1,000 เมกะวัตต ดังนั้น ในแผน PDP 2007 ฉบับ ปรั บ ปรุ ง ครั้ ง ที่ 2 นี้ จึ ง ได กํ า หนดให มี โ รงไฟฟ า นิวเคลียรเขาระบบตั้งแตป 2563 เปนตนไป โดยให เขาระบบปละ 1,000 เมกะวัตต โรงไฟฟานิวเคลียร เมื่อเขาระบบจะผลิตพลังงานเปนไฟฟาฐาน (Base Load Plant) กําลังผลิตติดตั้งในชวงระหวางป 2552-2564 จะเพิม่ ขึน้ สุทธิ 22,652.5 เมกะวัตต (โดยมีกาํ ลังผลิต ที่เพิ่มขึ้นของโครงการใหมทั้งหมดรวมกับการรับซื้อ ไฟฟาจากผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็กและเล็กมาก หักกําลังผลิตโรงไฟฟาเกาทีห่ มดอายุ) เมือ่ รวมกําลัง ผลิตตามสัญญาจํานวน 29,139.5 เมกะวัตต จะทําให กําลังผลิตติดตั้งในปลายป 2564 รวมเปน 51,792.0 เมกะวัตต รายละเอียดแผนโครงการสรางและปลด โรงไฟฟา กําลังการผลิตติดตั้ง การรับซื้อไฟฟาจาก เอกชน และตางประเทศเปนไปตามตารางที่ 1 โดยที่ ประมาณการการผลิตพลังงานไฟฟาแยกตามชนิด ของเชื้อเพลิง แสดงดังรูปที่ 6

19


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ที่มา: แผน PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 รูปที่ 6 กําลังการผลิตติดตั้งแยกตามประเภทเชื้อเพลิงตามแผน PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2

20


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ตารางที่ 1 รายละเอียดของแผนกําลังผลิตไฟฟาของประเทศ (PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟาของประเทศไทย PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ความ ตองการ ป โครงการโรงไฟฟา ไฟฟาสูงสุด (เมกะวัตต) 2552 22,886 ปลด รฟ.พระนครใต เครื่องที่ 4-5 (ม.ค.) ปลด รฟ.ลานกระบือ เครื่องที่ 1-11 (ม.ค.) ปลด รฟ.หนองจอก เครื่องที่ 1-3 (ม.ค.) ปลด รฟ.สุราษฎรธานี เครื่องที่ 1-2 (ม.ค.) ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) (ม.ค.) ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็ก (Renew) (ม.ค.) ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็ก (Renew) (มี.ค.) รฟ.พระนครใต ชุดที่ 3 (มี.ค.) รฟ.บางปะกง ชุดที่ 5 (ก.ค.) ซื้อจากโครงการใน สปป.ลาว (นํ้าเทิน 2) (พ.ย.) เขื่อนเจาพระยา #1 (ธ.ค.) รฟ.พลังงานลมและแสงอาทิตย (ธ.ค.) 2553 23,936 ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) (ม.ค.) เขื่อนเจาพระยา #2 (มี.ค.) รฟ.พระนครเหนือ ชุดที่ 1 (พ.ค.) เขื่อนแมกลอง #1-2 (ส.ค.,ธ.ค.) เขื่อนปาสักชลสิทธิ์ (ต.ค.) เขื่อนขุนดานปราการชล (พ.ย.) ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็ก (Co-Gen) (พ.ย.) 2554 25,085 ซื้อจากโครงการใน สปป.ลาว (นํ้างึม 2) (ม.ค.) ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) (ม.ค.) เขื่อนแควนอย #1-2 (ม.ค.,เม.ย.) เขื่อนนเรศวร (ก.พ.) ปลด รฟ.ขนอม เครื่องที่ 1 (ก.ค.) ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็ก (Renew) (ส.ค.) บริษัท เก็คโควัน จํากัด (พ.ย.)

กําลัง กําลังผลิต ผลิตไฟฟา (เมกะวัตต) สํารอง ตํ่าสุด (%) -559 -220.1 -351 -234 6 16.5 10 710 710 920 6 (3) 30,153.9 10 6 670 2x6 6.7 10 90 30,958.6 596.6 48 2x158 8 -69.9 250 660 32,481.3

22.4

24.0

23.7

21


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ตารางที่ 1 รายละเอียดของแผนกําลังผลิตไฟฟาของประเทศ (PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) (ตอ)

แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟาของประเทศไทย PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ความ ตองการ ป โครงการโรงไฟฟา ไฟฟาสูงสุด (เมกะวัตต) 2555 26,572 ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็ก (Renew) (ม.ค.) 65 50 ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) (ม.ค.) 924 ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็ก (Co-Gen) (มิ.ย.) 220 ซื้อจากโครงการใน สปป.ลาว (เทินหินบุน สวนขยาย) (ก.ค.) 2556 28,188 ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) (ม.ค.) 50 บริษัท สยามเอ็นเนยี่ จํากัด ชุดที่ 1-2 (มี.ค.,ก.ย.) 2x800 ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็ก (Co-Gen) (มิ.ย.) 540 บริษัท เนชั่นแนลเพาเวอรซัพพลาย จํากัด 2x135 เครื่องที่ 1-2 (พ.ย.) -1052 2557 29,871 ปลด รฟ.บางปะกง เครื่องที่ 1-2 (ม.ค.) 50 ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) (ม.ค.) 2x135 บริษัท เนชั่นแนลเพาเวอรซัพพลาย จํากัด เครื่องที่ 3-4 (มี.ค.) รฟ.วังนอย ชุดที่ 4 (มิ.ย.) 800 ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็ก (Co-Gen) (มิ.ย.) 90 บริษัท เพาเวอรเจนเนอเรชั่นซัพพลาย จํากัด 2x800 ชุดที่ 1-2 (มิ.ย.,ธ.ค.) รฟ.จะนะ ชุดที่ 2 (ก.ค.) 800 -1175.1 2558 31,734 ปลด รฟ.ระยอง ชุดที่ 1-4 (ม.ค.) 50 ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) (ม.ค.) ซื้อไฟฟาจากประเทศเพื่อนบาน (มิ.ย.) 450

22

กําลัง กําลังผลิต ผลิตไฟฟา (เมกะวัตต) สํารอง ตํ่าสุด (%)

33,740.3

20.3

36,200.3

20.4

38,758.3

16.6

38,083.2

16.6


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ตารางที่ 1 รายละเอียดของแผนกําลังผลิตไฟฟาของประเทศ (PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) (ตอ)

แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟาของประเทศไทย PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ความ ตองการ ป โครงการโรงไฟฟา ไฟฟาสูงสุด (เมกะวัตต) 2559 33,673 ปลด รฟ.ขนอม เครื่องที่ 2 (มิ.ย.) ปลด รฟ.ขนอม ชุดที่ 1 (ก.ค.) ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) (ม.ค.) รฟ.ถานหิน_กฟผ. เครื่องที่ 1-2 (ม.ค.) ซื้อไฟฟาจากประเทศเพื่อนบาน (มี.ค.) รฟ.ใหม_ภาคใต (ก.ค.) 2560 35,668 ปลด รฟ.บางปะกง ชุดที่ 3 (ม.ค.) ปลด ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็ก (เม.ย.,ต.ค.) ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) (ม.ค.) รฟ.ถานหิน_กฟผ. เครื่องที่ 3-4 (ม.ค.) รฟ.ใหม (ม.ค.) ซื้อไฟฟาจากประเทศเพื่อนบาน (ม.ค.) 2561 37,725 ปลด รฟ.บางปะกง ชุดที่ 4 (ม.ค.) ปลด รฟ.นํ้าพอง ชุดที่ 1 (ม.ค.) ปลด ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็ก (ก.พ.,เม.ย.) ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) (ม.ค.) รฟ.พระนครใต ชุดที่ 4-5 (ม.ค.) รฟ.บางปะกง ชุดที่ 6 (ม.ค.) ซื้อไฟฟาจากประเทศเพื่อนบาน (ม.ค.) 2562 39,828 ปลด ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็ก (มิ.ย.,ก.ย.) ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) (ม.ค.) รฟ.พระนครเหนือ ชุดที่ 2 (ม.ค.) รฟ.ใหม (ม.ค.) ซื้อไฟฟาจากประเทศเพื่อนบาน (ม.ค.)

กําลัง กําลังผลิต ผลิตไฟฟา (เมกะวัตต) สํารอง ตํ่าสุด (%) -70.2 -678 50 2x700 450 800 -314 -180 50 2x700 800 450 -314 -325 -42 50 2x800 800 450 -189 50 800 2x800 500

40,035.0

16.6

42,241.0

16.6

44,460.0

15.8

47,221.0

17.0

23


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ตารางที่ 1 รายละเอียดของแผนกําลังผลิตไฟฟาของประเทศ (PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) (ตอ)

แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟาของประเทศไทย PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ความ ตองการ ป โครงการโรงไฟฟา ไฟฟาสูงสุด (เมกะวัตต) 2563 42,024 ปลด รฟ.พระนครใต ชุดที่ 1 (ม.ค.) ปลด รฟ.นํ้าพอง ชุดที่ 2 (ม.ค.) ปลด บริษัท ไตรเอนเนอยี่ จํากัด (มิ.ย.) ปลด ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็ก (ก.พ.,พ.ค.,ส.ค.) ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) (ม.ค.) รฟ.นิวเคลียร_กฟผ. เครื่องที่ 1 (ม.ค.) รฟ.ใหม_IPP (ม.ค.) ซื้อไฟฟาจากประเทศเพื่อนบาน (ม.ค.) 2564 44,281 ปลด ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็ก (ก.พ.,ก.ย.,ต.ค.) ผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) (ม.ค.) รฟ.นิวเคลียร_กฟผ. เครื่องที่ 2 (ม.ค.) รฟ.ใหม (ม.ค.) ซื้อไฟฟาจากประเทศเพื่อนบาน (ม.ค.) กําลังผลิตไฟฟาถึง ธันวาคม 2551 รวมกําลังผลิตที่เพิ่มขึ้น โรงไฟฟาที่ปลดออกจากระบบ รวมกําลังผลิตไฟฟาทั้งสิ้นถึงป 2564 ที่มา: แผน PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2

24

กําลัง กําลังผลิต ผลิตไฟฟา (เมกะวัตต) สํารอง ตํ่าสุด (%) -316 -325 -700 -188 50 1000 2x800 500 48,842.0 -200 50 1000 2x800 500 51,792.0 29,139.5 30,154.8 -7,502.3 51,792.0

16.1

15.3 เมกะวัตต เมกะวัตต เมกะวัตต เมกะวัตต


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

การออกแบบและจําลอง TRM สําหรับแผน PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 จากหลักการในการทําแผนที่นําทางเทคโนโลยี เมื่อพิจารณารายละเอียดในแผน PDP แลวพบวา กําลังการผลิตติดตั้งตามแผนฯจะขึ้นอยูกับโครงการ ตอไปนี้ (1) โครงการปลดโรงไฟฟาเกา (2) โครงการสรางโรงไฟฟาใหม - โดย กฟผ. - โดยเอกชน (3) โครงการซื้อไฟฟาจากประเทศเพื่อนบาน ดังนัน้ ผูเ ขียนจึงเลือกรูปแบบของ TRM เปนแบบ Program planning โดยรูปแบบนี้จะเนนเกี่ยวกับ เครื่องมือของยุทธศาสตร และการวางแผนโครงงาน โดยตรง เปนตนวา โปรแกรมการวิจัยและพัฒนา (R&D program) ซึ่งในเปนการวางแผนพัฒนากําลัง ผลิตไฟฟานี้ จะมีแกนเวลาเปนตัวแสดงความสัมพันธ ของแผน PDP ในแตละป เปนเวลา 15 ป ตั้งแตป 2550 จนถึง 2564 ซึง่ เชือ่ มโยงกับ 4 กิจกรรมหลักๆ คือ โครงการปลดโรงไฟฟา โครงการสรางโรงไฟฟา โดย กฟผ. โครงการสรางโรงไฟฟาโดยเอกชน และ โครงการซือ้ ไฟฟาจากประเทศเพือ่ นบาน การจําลอง TRM ของแผน PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 แสดงดังรูปที่ 7 โดยมีรายละเอียดดังนี้ ป 2552: โครงการปลดโรงไฟฟา ไดแก รฟ. พระนครใต #4-5, รฟ.ลานกระบื อ #1-11, รฟ. หนองจอก #1-3 และ รฟ.สุ ร าษฎร ธ านี #1-2 โครงการสรางโรงไฟฟา (โดย กฟผ.) ไดแก รฟ. พระนครใต ชุด 3, รฟ.บางปะกง ชุด 5, รฟ.พลังนํ้า ขนาดเล็ ก และ รฟ.พลั ง งานลมและแสงอาทิ ต ย โครงการสรางโรงไฟฟา (โดยเอกชน) ไดแก VSPP และ Renew และโครงการซื้อไฟฟาจาก นํ้างึม 2 ป 2553: โครงการสรางโรงไฟฟา (โดย กฟผ.) ไดแก รฟ.พระนครใต ชุด 1 และ รฟ.พลังนํา้ ขนาดเล็ก

โครงการสรางโรงไฟฟา (โดยเอกชน) ไดแก VSPP และ Co-Gen ป 2554: โครงการปลดโรงไฟฟา คือ รฟ.ขนอม #1 โครงการสรางโรงไฟฟา (โดย กฟผ.) คือ รฟ.พลังนํา้ ขนาดเล็ก โครงการสรางโรงไฟฟา (โดยเอกชน) ไดแก VSPP, Renew และ บริษัท เก็คโควัน จํากัด และ โครงการซื้อไฟฟาจาก นํ้างึม 2 ป 2555: โครงการสรางโรงไฟฟา (โดยเอกชน) ไดแก VSPP, Renew และ Co-Gen และโครงการ ซื้อไฟฟาจาก เทินหินบุน สวนขยาย ป 2556: โครงการสรางโรงไฟฟา (โดยเอกชน) ไดแก VSPP, Co-Gen, บริษัท สยามเอ็นเนยี่ จํากัด ชุด 1-2 และ บริษทั เนชัน่ แนลเพาเวอรซพั พลาย จํากัด เครื่อง 1-2 ป 2557: โครงการปลดโรงไฟฟา ไดแก รฟ. บางปะกง #1-2 โครงการสรางโรงไฟฟา (โดย กฟผ.) ได แ ก รฟ.วั ง น อ ย ชุ ด 4 และ รฟ.จะนะ ชุ ด 2 โครงการสรางโรงไฟฟา (โดยเอกชน) ไดแก VSPP, Co-Gen, บริษทั เนชัน่ แนลเพาเวอรซพั พลาย จํากัด เครือ่ ง 1-2 และ บริษทั เพาเวอรเจนเนอเรชัน่ ซัพพลาย จํากัด ชุด 1-2 ป 2558: โครงการปลดโรงไฟฟา คือ รฟ.ระยอง ชุด 1-4 โครงการสรางโรงไฟฟา (โดยเอกชน) คือ VSPP และโครงการซือ้ ไฟฟาจาก ประเทศเพือ่ นบาน ป 2559: โครงการปลดโรงไฟฟา ไดแก รฟ. ขนอม #2 และ รฟ.ขนอม ชุด 1 โครงการสราง โรงไฟฟา (โดย กฟผ.) คือ รฟ.ถานหิน_กฟผ. #1-2 โครงการสรางโรงไฟฟา (โดยเอกชน) คือ VSPP และ โครงการซื้อไฟฟาจาก รฟ.ใหม_ภาคใต ป 2560: โครงการปลดโรงไฟฟ า คื อ รฟ. บางปะกง ชุด 3 และผูผลิตไฟฟาเอกชนรายเล็ก โครงการสรางโรงไฟฟา (โดย กฟผ.) คือ รฟ.ถานหิน_ กฟผ. #3-4 โครงการสรางโรงไฟฟา (โดยเอกชน) คือ VSPP และโครงการซื้อไฟฟาจาก รฟ.ใหม ป 2561: โครงการปลดโรงไฟฟา ไดแก รฟ.

25


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

บางปะกง ชุด 4, รฟ.นํ้าพอง ชุด 1 และผูผลิตไฟฟา เอกชนรายเล็ก โครงการสรางโรงไฟฟา (โดย กฟผ.) ไดแก รฟ.พระนครใต ชุด 4-5 และ รฟ.บางปะกง ชุด 6 โครงการสรางโรงไฟฟา (โดยเอกชน) คือ VSPP ป 2562: โครงการปลดโรงไฟฟา คือ ผูผลิต ไฟฟาเอกชนรายเล็ก โครงการสรางโรงไฟฟา (โดย กฟผ.) คือ รฟ.พระนครเหนือ ชุด 2 โครงการสราง โรงไฟฟา (โดยเอกชน) คือ VSPP และโครงการซื้อ ไฟฟาจาก รฟ.ใหม ป 2563: โครงการปลดโรงไฟฟา ไดแก รฟ. พระนครใต ชุด 1, รฟ.นํา้ พอง ชุด 2, บริษทั ไตรเอน เนอยี่ จํากัด และผูผ ลิตไฟฟาเอกชนรายเล็ก โครงการ สรางโรงไฟฟา (โดย กฟผ.) คือ รฟ.นิวเคลียร_กฟผ. #1 โครงการสรางโรงไฟฟา (โดยเอกชน) ไดแก VSPP และ รฟ.ใหม_IPP ป 2564: โครงการปลดโรงไฟฟา คือ ผูผลิต ไฟฟาเอกชนรายเล็ก โครงการสรางโรงไฟฟา (โดย กฟผ.) คือ รฟ.นิวเคลียร_กฟผ. #2 โครงการสราง โรงไฟฟา (โดยเอกชน) คือ VSPP และโครงการซื้อ ไฟฟาจาก รฟ.ใหม

26


รูปที่ 7 แผนที่นําทาง (Road Map) สําหรับแผน PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2

วารสารปญญาภิวัฒน

PANYAPIWAT JOURNAL

27


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ขอสรุปและเสนอแนะ บทความนี้ ไ ด นํ า เสนอแนวทางในการจั ด ทํ า แผนที่นําทางนโยบายสาธารณะดวยการประยุกต แนวคิดและหลักการของแผนที่นําทางเทคโนโลยี หรือ TRM โดยใชแผนพัฒนากําลังการผลิตไฟฟาของ ประเทศ (PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) มาเปน กรณีศึกษา จากการจําลองแผนที่นําทาง (Road Map) ของแผนพัฒนากําลังการผลิตไฟฟาโดยใช TRM นี้ ทํ า ให เ ห็ น ทิ ศ ทางการเปลี่ ย นแปลงของ โครงการและแผนงานโดยรวมไดในอนาคตไดเปน อยางดี ซึง่ จะเปนประโยชนอยางยิง่ ตอการสือ่ สารจาก ระดั บ นโยบายสู  ร ะดั บ ปฏิ บั ติ ก ารให มี ค วามเข า ใจ สอดคลองกัน หลักการนีส้ ามารถนําไปประยุกตใชกบั แผน PDP ฉบับตอๆ ไปได รวมทัง้ นโยบายสาธารณะ ประเภทตางๆ เพื่อชวยใหการถายทอดนโยบายและ แผนดานการจัดสรรทรัพยากรของประเทศใหเปนไป อยางมีระบบและมีประสิทธิภาพ และเกิดความตอเนือ่ ง ในระยะยาวตอไป

บรรณานุกรม กระทรวงพลังงาน. (2553). สรุปสาระสําคัญแผน พัฒนากําลังผลิตไฟฟาของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 (PDP 2010), 30 มีนาคม 2553. http://www.eppo.go.th/power/pdp/pdp2010/ pdp2010-summary.pdf การไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย. ฝายวางแผน ระบบไฟฟา. (2552). แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟา ของประเทศไทย พ.ศ. 2551-2564 (PDP 2007: ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). นนทบุรี: ฝายฯ.

28

ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี. (2553). กระบวนการทําแผนทีน่ าํ ทาง การพัฒนาเทคโนโลยี ตอนที่ 1, 10 มีนาคม 2553. http://inside.cm.mahidol.ac.th/ms/index. php?option=com_content&view=article&id=6: --1&catid=2:articles&Itemid=17 วี ร ะเชษฐ ขั น เงิ น . (2553). เทคโนโลยี โ รดแมป (Technology Roadmap: TRM) ตอนที่ 1: แนวคิดและกระบวนการสราง TRM, 15 มีนาคม 2553. http://www.kmitl.ac.th/emc/free% 20doc/Road%20map%20paper_1.pdf European Industrial Research Management Association. (1997). Technology road mappingdelivering business vision. Paris: EIRMA. Koen, P.A. (1997). Technology maps: Choosing the Right Path. Engineering Management Journal, 4(9). Kostoff, R.N., Schaller, R.R. (2001). Science and technology roadmaps. IEEE Transactions on Engineering Management, 48, 132-143. Phaal, R., Shehabuddeen, N.T.M.H., Assakul, P. (2002). Technology roadmapping: charting the route ahead for UK road transport. In Engineering Management Conference, IEMC’02. 2002 IEEE International: Vol. 792 (pp. 794-798).


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

Assistant Professor Dr. Nopporn Leeprechanon obtained his Ph.D. in Power System Economics and Planning from the Royal Melbourne Institute of Technology (RMIT), Australia, following his B.Eng. (Hon) and M.Eng. in Electrical Engineering from the King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang. He also received his M.A. in Politics and Government from Thammasat University. He is currently an Assistant Professor in the Department of Electrical and Computer Engineering, Thammasat University and being the President of Thammasat University Council’s Faculty Senate. His research interests are power system economics, energy policy, technology management and sociopolitical issues. Miss Kanchana Choomon received her B.Eng in Computer Engineering and M.Sc. in Telecomunication and Computer Network from Rangsit University. She is currently a Ph.D. Candidate in the Department of Electrical and Computer Engineering, Thammasat University.

29


»˜

¨¨Ñ·ÕÁè ¼Õ Å¡Ãзºμ‹Í¡ÒÃμÑ´ÊÔ¹ã¨ÂÍÁÃѺ¡ÒêíÒÃÐà§Ô¹ Í͹äŹ ¢Í§¼ÙŒãªŒÍÔ¹à·Íà à¹çμ㹡Ãا෾ÁËÒ¹¤Ã Decision Factors for the Adoption of an Online Payment of Internet Users in Bangkok พรพงศ จงประสิทธิผล นักศึกษาปริญญาโท คณะวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร E-mail: choey147@gmail.com สมคิด ทรัพยแสง นักวิจัย สํานักวิจัยและพัฒนา สถาบันเทคโนโลยีปญญาภิวัฒน E-mail: somkidsab@pit.ac.th

บทคัดยอ งานวิจยั ฉบับนีม้ งุ ศึกษาถึงปจจัยทีม่ ผี ลตอการชําระเงินออนไลนในเขตพืน้ ทีก่ รุงเทพมหานคร และเหตุผลทีผ่ ใู ชอนิ เทอรเน็ตใชในการยอมรับการชําระเงินออนไลน โดยการใชแบบสอบถาม ออนไลน (Online Survey) ตัวอยางในการเก็บขอมูลจํานวน 400 ชุด และใชวิธีวิเคราะห ถดถอยพหุคณ ู ผลการวิจยั พบวาปจจัยทีผ่ ใู ชอนิ เทอรเน็ตใหความสําคัญตอปจจัยดานการรับรู ความเสี่ยงและปจจัยดานการรับรูประโยชน การใชวิธีชําระเงินออนไลนซึ่งทําใหการชําระเงิน ทําไดรวดเร็วมากยิง่ ขึน้ การเรียนรูว ธิ ใี ชสามารถเรียนรูไ ดงา ย สามารถซือ้ ไดในราคาทีถ่ กู กวา การซื้อตามรานคาทั่วไป และการไดรับสวนลด ทําใหผูซื้อหันมาเลือกใชวิธีชําระเงินออนไลน แทนวิ ธี ก ารโอนเงิ น แบบเก า จากผลของการศึ ก ษาความสั ม พั น ธ ร ะหว า งข อ มู ล ด า น ประชากรศาสตรกับปจจัยตางๆ ที่ใชในการยอมรับเทคโนโลยีการชําระเงินออนไลนนั้น พบวาสิง่ ทีส่ าํ คัญและเปนไปในทิศทางเดียวกันคือ การทีผ่ ตู อบแบบสอบถามมีอายุ การศึกษา และรายไดเพิม่ ขึน้ นัน้ ทําใหมปี ระสบการณการใชคอมพิวเตอรและอินเทอรเน็ตสูงขึน้ สงผลให

30


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

มีแนวโนมที่จะมีการยอมรับการชําระเงินออนไลนมากขึ้นตามไปดวย คําสําคัญ: การชําระเงินออนไลน ผูใชงานอินเทอรเน็ต กรุงเทพมหานคร

Abstract The research aims are to identify factors influencing online payment and to pin point the reasons for accepting online payment. This survey research collected data utilizing online survey (400 Sample) and using multiple regression analysis. From the study, the researchers found that internet users major concern are Perceived Risks Perceived Benefits. The online payment service is a faster way to pay more than a traditional method of payment. It is easy to learn about online payment services. Besides, buying products online is cheaper. All these advantages are important factors that make the buyers turn to the usage of online payment instead of the old style of banking transfer. The results show that demographic factors such as elder user, higher educational and higher incomes increase chance of using online payment. Keywords: Online payment, Internet User Bangkok บทนํา ในปจจุบนั ประเทศไทยมีจาํ นวนผูใ ชอนิ เทอรเน็ต มีการเติบโตอยางตอเนื่อง จึงทําใหอินเทอรเน็ตได เขามามีบทบาทในชีวิตประจําวันมากขึ้น จากขอมูล ของระบบคลั ง ข อ มู ล สถิ ติ (Data warehouse) สํานักงานสถิติแหงชาติ ที่ไดทําการสํารวจขอมูล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ครัวเรือน) พ.ศ. 2550 พบวาประเทศไทยมีจํานวนผูที่ใชงาน อินเทอรเน็ตจํานวน 9,320,126 คน จากจํานวน ประชากรทั้งสิ้น 65,800,800 คน หรือประมาณ 14.17% (รายงานประจําปของกระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารป, 2550) การใช อิ น เทอร เ น็ ต ในการทํ า ธุ ร กิ จ พาณิ ช ย อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส (e-Commerce) มี ก ารเติ บ โตขึ้ น อยางมาก ทําใหระบบการชําระเงินออนไลนที่ดีก็จะ ชวยสงเสริมใหธุรกิจพาณิชยอิเล็กทรอนิกสเติบโต

มากขึ้นดวยเชนกัน วิธีการชําระเงินสําหรับพาณิชย อิเล็กทรอนิกสในประเทศไทยสามารถทําไดหลายวิธี เชน การชําระเงินออนไลนผานบัตรเครดิต ผานผูให บริการทางการเงิน เชน PayPal, Paysbuy, ThaiePay ผาน Mobile Payment แตวิธีที่ไดรับความนิยมมาก ที่สุดกลับเปนการโอนเงินผานทางธนาคาร (ATM) โดยปจจัยทีท่ าํ ใหผบู ริโภคไมนยิ มการชําระเงินออนไลน คือขาดความเชื่อมั่นในระบบการชําระเงินรอยละ 49.6 (สํานักงานสถิตแิ หงชาติ, 2550) ทัง้ นีป้ จ จัยดาน ความปลอดภั ย ในการชํ า ระเงิ น ออนไลน ยั ง เป น ประเด็นที่ผูใชอินเทอรเน็ตสวนใหญใหความสําคัญ เนื่ อ งจากผู  บ ริ โ ภครู  สึ ก เสี่ ย งกั บ การให ข  อ มู ล บัตรเครดิตในอินเทอรเน็ต ซึ่งพบวาปจจัยที่กระทบ ตอการตัดสินใจของผูซื้อประกอบไปดวย การรับรู ความเสี่ยง (Perceived Risk) การรับรูประโยชนที่ ไดรับ (Perceived Benefits) ระบบของเว็บไซต และ

31


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ความตั้งใจสวนบุคคลของผูซื้อที่จะยอมรับการใช Online Payment สําหรับการชําระคาสินคา/บริการ นัน้ มีธรุ กิจรอยละ 63.7 ใชวธิ กี ารชําระคาสินคาแบบ ออฟไลนรอยละ 28.3 ใชวิธีการชําระคาสินคาทั้ง ออนไลนและออฟไลน มีเพียงรอยละ 6.7 ที่ใชวิธี ออนไลนเพียงอยางเดียว พบวาวิธกี ารชําระคาสินคา/ บริการทีไ่ ดรบั ความนิยมมากทีส่ ดุ สําหรับแบบออฟไลน คื อ การโอนเงิ น ผ า นบั ญ ชี ธ นาคารร อ ยละ 79.9 สวนแบบออนไลนรอยละ 41.4 ใชวิธีการชําระเงิน ผานระบบ Electronics Banking (e-Banking)/ Automated teller machine (ATM) จากจํานวนผูใช อินเทอรเน็ตที่เติบโตขึ้น และยังมีศักยภาพในการ เจริ ญ เติ บ โตได อี ก มาก จึ ง ทํ า ให ก ารทํ า ธุ ร กิ จ บน อินเทอรเน็ตในประเทศไทยมีโอกาสในการเติบโต และขยายตลาดตามไปดวย เนื่องจากเปนชองทาง ที่สะดวก รวดเร็ว ในการเขาถึงกลุมลูกคา ซึ่งถา ผูบริโภคที่ซื้อสินคาบนอินเทอรเน็ตหันมาใชบริการ การชํ า ระเงิ น ออนไลน ก็ จ ะยิ่ ง ช ว ยอํ า นวยความ สะดวกใหแกผบู ริโภคมากยิง่ ขึน้ และเพิม่ ประสิทธิภาพ ในการขายสินคาและหรือบริการ ใหแกรานคาใน อิ น เทอร เ น็ ต อี ก ด ว ย ดั ง นั้ น ผู  ป ระกอบการธุ ร กิ จ พาณิชยอิเล็กทรอนิกส หรือเจาของเว็บไซตจําเปน จะตองปรับตัวใหสามารถตอบสนองผูบ ริโภคในอนาคต ตลอดเวลา จึงตองมีการทําวิจยั ถึงปจจัยทีม่ ผี ลกระทบ ตอผูใ ชอนิ เทอรเน็ตในการยอมรับระบบการชําระเงิน ออนไลนวามีการยอมรับมากนอยเพียงใด และมี ปจจัยใดบางที่สงผลกระทบตอการยอมรับ รวมทั้ง ทัศนคติของผูใชอินเทอรเน็ตที่มีตอการชําระเงิน ออนไลนในดานตางๆ เพือ่ ทีป่ ระกอบการธุรกิจพาณิชย อิเล็กทรอนิกสจะไดนาํ มาพัฒนาปรับปรุงเว็บไซตของ ตนเองให ผู  ใ ช อิ น เทอร เ น็ ต ยอมรั บ การชํ า ระเงิ น ออนไลนและหันมาใชบริการนี้ใหมากที่สุด วัตถุประสงคในการทําวิจัย 1. เพื่อศึกษาปจจัยที่ผูบริโภคใชในการยอมรับ การใชวิธีการชําระเงินออนไลนสําหรับการซื้อสินคา

32

ผานทางอินเทอรเน็ต (e-Commerce) 2. เพือ่ ศึกษาปญหาและสาเหตุทผี่ บู ริโภคตัดสินใจ ไมใชบริการการชําระเงินออนไลน ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ 1. ทําใหทราบถึงกระบวนการยอมรับเทคโนโลยี การชําระเงินออนไลนธุรกิจพาณิชยอิเล็กทรอนิกส (e-Commerce) 2. ทําใหทราบถึงปญหาและสาเหตุทกี่ ารชําระเงิน ออนไลนไมไดรับความนิยมเพื่อนําผลวิจัยที่ไดไปทํา ขอเสนอแนะในการปรับปรุงธุรกิจพาณิชยอเิ ล็กทรอนิกส (e-Commerce) ในประเทศไทย งานวิจัยที่เกี่ยวของ Tero P, Kari P, Hekki K, Seppo P (2004) ศึกษาเรื่อง Consumer Acceptance of Online Banking: An Extension of the Technology Acceptance Model พบวา การใชบริการธนาคาร ทางอินเทอรเน็ตกําลังไดรับความนิยมแพรหลายใน หลายๆ ทีท่ วั่ โลก ในประเทศผูน าํ ทีม่ กี ารใชงานธนาคาร ทางอินเทอรเน็ตอันดับตนๆ นั้น มีจํานวนผูที่ใช บริการสูงเกินกวารอยละ 50 ของผูใ ชบริการธนาคาร ทัง้ หมดเลยทีเดียว โดยงานวิจยั ชิน้ นีไ้ ดใชแบบจําลอง การยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model) มาใช เนื่องจากแบบจําลองมีการใชในงาน วิจัยหลายชิ้นที่เกี่ยวของกับการยอมรับเทคโนโลยี ใหมๆ พบวาทัศนคติของผูใชเกี่ยวกับเทคโนโลยี ใหมๆ นั้น สงผลกระทบโดยตรงกับความสําเร็จของ การนําเทคโนโลยีนั้นมาใช ซึ่งถาผูใชไมมีความรูสึก ยิ น ดี ที่ จ ะใช เ ทคโนโลยี นั้ น เทคโนโลยี นั้ น ก็ จ ะไม สามารถทําประโยชนไดสูงสุดได จากการศึกษาโดย สัมภาษณผเู ชีย่ วชาญดานธนาคารในประเทศฟนแลนด จํานวน 268 คน พบวา ปจจัยที่สงผลตอการยอมรับ เทคโนโลยี online banking นัน้ คือ การรับรูป ระโยชน ที่ไดรับ และขอมูลของการทํา online banking ที่ ปรากฏบนหนาเว็บไซต สอดคลองกับ Kanokwan


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

Atchariyachanvanich, Hitoshi Okada, Noboru Sonehara (2007) ศึกษาเรือ่ ง Theoretical Model of Purchase and Repurchase in Internet Shopping: Evidence from Japanese Online Customers โดยผลงานวิ จั ย ชิ้ น นี้ มี ก ารศึ ก ษาอยู  2 ส ว นคื อ 1) ปจจัยที่สงผลตอการตัดสินใจซื้อ และ 2) ปจจัยที่ สงผลตอการตัดสินใจที่จะซื้อซํ้า งานวิจัยนี้มุงที่จะ พัฒนาแบบจําลองการซื้อและซื้อซํ้า สําหรับการซื้อ สินคาทางอินเทอรเน็ตขึน้ มา โดยไดใชทฤษฎี 3 ทฤษฎี คือ แบบจําลองการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model) ทฤษฎีความคิดหวังและการ ยอมรับ และแบบจําลองความตั้งใจ การยอมรับ และ ความตอเนื่อง โดยแบบจําลองที่ไดนั้นมี 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 มีความตั้งใจในการซื้อ ขั้นที่ 2 ซื้อจริง และ ขั้นที่ 3 มีความตั้งใจที่จะซื้อซํ้า ทําการสํารวจโดยใช แบบสํารวจออนไลน (online survey) ชาวญีป่ นุ จํานวน 1,215 คน จากการศึกษาพบวา การรับรูถ งึ ความงาย ในการใชงาน การรับรูถึงประโยชนที่ไดรับ สินคาที่ เสนอ และการรั บ รู  ถึ ง คุ ณ ภาพการบริ ก าร ส ง ผล โดยตรงกั บ การมี ค วามตั้ ง ใจในการซื้ อ สิ น ค า ทาง อินเทอรเน็ต และสงผลตอเนื่องไปถึงพฤติกรรมการ ซื้อซํ้า โดยที่เพศการใชงานอินเทอรเน็ต และการ เปนคนยอมรับนวัตกรรมใหมๆ มีผลตอการยอมรับ การซื้อสินคาทางอินเทอรเน็ต เชนเดียวกับงานวิจัย

ของ Fang He, Peter P. Mykytyn (2007) ทําวิจัย เรื่อง Decision Factors for the Adoption of an Online Payment System by Customers พบวา ธุรกิจออนไลนมกี ารขยายตัวอยางตอเนือ่ ง ระบบการ ชําระเงินออนไลนก็เปนสิ่งที่ไดรับความนิยมมากขึ้น ตามไปดวย เนือ่ งจากผูป ระกอบการและธุรกิจเจาของ บัตรเครดิตเห็นวา การเพิ่มขึ้นของจํานวนการชําระ เงินออนไลนนั้น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการ บริหารงาน และชวยลดการใชกระดาษลงได อยางไร ก็ดี เนื่องจากผูบริโภคแตละคนมีลักษณะนิสัยที่ไม เหมือนกัน และระบบของเว็บไซตทแี่ ตกตางกัน ทําให มีปจจัยทั้งทางดานการรับรู และทางดานเทคโนโลยี นั้ น ส ง ผลต อ การยอมรั บ เทคโนโลยี ก ารชํ า ระเงิ น ออนไลน งานวิจยั นีไ้ ดใชกลุม ตัวอยางจํานวน 148 คน ผลการศึกษาพบวา ผูต อบแบบสอบถามมีการรับรูถ งึ ความเสีย่ งในระดับปานกลาง ซึง่ ปจจัยทีส่ ง ผลตอการ ยอมรับการชําระเงินออนไลนมากที่สุดคือ การรับรู ประโยชนที่ระบบการชําระเงินออนไลนนั้นจะชวยให สามารถชําเงินไดตรงตามเวลา และหลีกเลีย่ งคาปรับ ลาชาได ระบบการชําระเงินออนไลนน้ันสามารถ เรียนรูไ ดงา ย โดยเพศชายทีม่ อี ายุไมสงู นักและมีการ ศึกษาที่สูง มีประสบการณการใชคอมพิวเตอรและ อินเทอรเน็ต มีการยอมรับการชําระเงินออนไลน มากกวากลุมอื่น

กรอบแนวคิดในการวิจัย

33


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

สมมติฐานการวิจัย 1. คาเฉลี่ยของทัศนคติที่มีตอการยอมรับการ ชําระเงินออนไลน มีความแตกตางกันตามลักษณะ ดานประชากรศาสตรตาม เพศ อายุ การศึกษา และ รายได 2. ความสัมพันธระหวางการรับรูประโยชนของ การชําระเงินออนไลนมีผลตอการยอมรับเทคโนโลยี การชําระเงินออนไลน 3. ความสัมพันธระหวางการรับรูค วามเสีย่ งของ การชําระเงินออนไลนมีผลตอการยอมรับเทคโนโลยี การชําระเงินออนไลน 4. ความสัมพันธระหวางการบริการของเว็บไซต มีผลตอการยอมรับเทคโนโลยีการชําระเงินออนไลน 5. ความสัมพันธระหวางคุณสมบัติเว็บไซตมีผล ตอการยอมรับเทคโนโลยีการชําระเงินออนไลน 6. ความสัมพันธระหวางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร ที่ใชมีผลตอยอมรับเทคโนโลยีการชําระเงินออนไลน 7. ความสัมพันธระหวางประสบการณการใช อินเทอรเน็ตมีผลตอยอมรับเทคโนโลยีการชําระเงิน ออนไลน วิธีดําเนินการวิจัย ในครัง้ นีเ้ ปนการศึกษาและวิจยั ขอมูลเชิงปริมาณ (Quantitative research) ในรูปแบบของการวิจัยเชิง สํารวจ (Survey research) เพือ่ วัดผลเพียงครัง้ เดียว (One shot descriptive study) โดยศึกษา ณ เวลาใด เวลาหนึง่ (Cross sectional study) โดยใชแบบสอบถาม (Questionnaire) เปนเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ขอมูลเพือ่ ศึกษาหาปจจัยทีผ่ บู ริโภคชาวไทยใชในการ ยอมรับเทคโนโลยีการชําระเงินออนไลน โดยอาศัย แนวคิด ทฤษฏี และงานวิจัยที่เกี่ยวของมาประกอบ ในการศึกษา 1. ประชากรที่ ศึ ก ษาและกลุ  ม ตั ว อย า ง ประชากรที่ใชในการศึกษา คือ ประชากรในเขต กรุ ง เทพมหานครที่ เ คยใช ง านคอมพิ ว เตอร แ ละ

34

อินเทอรเน็ต มีจาํ นวนประชากรทัง้ สิน้ 1,917,348 คน (สํ า นั ก งานสถิ ติ แ ห ง ชาติ , 2550) จากพื้ น ที่ ก าร ปกครอง 50 เขต กลุมตัวอยางที่ศึกษา เปนกลุม ตัวอยางชนิดทีไ่ มทราบโอกาส หรือความนาจะเปนที่ แตละประชากรจะถูกเลือกขึ้นมาเปนตัวอยาง (Nonprobability sampling) การสุม ตัวอยาง กําหนดขนาด ของตัวอยางโดยประมาณจากคาสัดสวนของประชากร (Proportions sample size determination) คํานวณ จากสูตร โดยใชระดับความเชือ่ มัน่ รอยละ 95 และคิด ขนาดความคลาดเคลื่อนเปนรอยละ ±5 โดยที่ n=

N 1 + Ne2

n = ขนาดของกลุมตัวอยาง N = ขนาดของประชากร e = ความคลาดเคลือ่ นของการสุม ตัวอยาง = 0.05 จํานวนผูท เี่ คยใชอนิ เทอรเน็ตจํานวน 1,917,348 คน โดยทั่วไปในกรณีที่ประชากรมีขนาดมากกวา 100,000 คนขึน้ ไป การคํานวณโดยใชสตู รของ Taro Yamane จะถือวาประชากรนั้นมีลักษณะเปน Nonfinite n=

1,917,348 = 400 1 + (1,917,348) 0.05 2

ผู  วิ จั ย จะทํ า การสุ  ม ตั ว อย า งจากลู ก ค า ในเขต กรุงเทพมหานครเพือ่ ใหเกิดความหลากหลาย โดยมี การสุมตัวอยางดังนี้ การสุมตัวอยางสําหรับการวิจัย เชิงสํารวจใชแผนการสุม ตัวอยางทีไ่ มใชความนาจะเปน (Non-Probability Sampling) เปนการสุม ตัวอยางผูท ี่ เคยใชงานคอมพิวเตอร และอินเทอรเน็ตในกรุงเทพมหานคร ใหไดกลุม ตัวอยางครบตามจํานวนทีต่ อ งการ คือ 400 คน 2. เครื่องมือที่ใชในการวิจัย เครื่องมือที่ใชใน การวิจัยชิ้นนี้คือแบบสอบถามโดยใชแบบสอบถาม พืน้ ฐานมาจากงานวิจยั ของ Fang He และ Peter P. Mykytyn ในเรื่อง Decision Factors for the Adop-


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

tion of an Online Payment System by Customers ซึง่ เปนแบบสอบถามทีม่ เี รือ่ งใกลเคียงกัน ใชวดั ปจจัย ในการยอมรับเทคโนโลยีการชําระเงินออนไลน มี ลักษณะเปนแบบสอบถามปลายปด (Closed-ended Question) แบบประเมินคา (Rating Scale) และ แบบสอบถามปลายเปด (Open-ended Question) แบงออกเปน 5 ระดับ คือ เห็นดวยอยางยิง่ เห็นดวย เฉยๆ ไมเห็นดวย และไมเห็นดวยอยางยิ่ง 3. การทดสอบเครื่ อ งมื อ ที่ ใ ช ใ นการวิ จั ย แบบสอบถาม (Questionnaire) คือเครื่องมือที่ใชใน การวิจัยฉบับนี้ ทั้งนี้ผูวิจัยไดกําหนดรูปแบบการ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ เพื่อความถูกตองและ ความเชื่อมั่นไดของแบบสอบถามดังนี้ 3.1 ความตรง (Validity) นําแบบสอบถาม ทีส่ รางเสร็จแลวไปนําเสนอตออาจารยทปี่ รึกษา เพือ่ ตรวจสอบและรับขอเสนอแนะในการปรับปรุงแกไข ตอไป และตรวจสอบอีกครั้งใหสมบูรณกอนนําไป ทดลอง 3.2 ความเชือ่ มัน่ (Reliability) จากการเก็บ ขอมูลของตัวอยางทดลอง 50 ชุด ผูวิจัยไดวิเคราะห หาคาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในหัวขอตางๆ โดยการหาค า สั ม ประสิ ท ธิ์ แ อลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ซึง่ ไดคา สัมประสิทธิ์ แอลฟาไดผลวิเคราะหทางตารางดังนี้ ตารางที่ 1 ตารางแสดงผลคาสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค

Scale Intention to Use Perceived Risks Perceived Benefits Vendor’s Service Features Vendor’s Web Site Features Client-Side Technology Internet Experience

Alpha n/a 0.671 0.648 0.418 0.657 0.736 0.600

4. การวิ เ คราะห ข  อ มู ล และการทดสอบ สมมติฐาน การวิจัยครั้งนี้วิเคราะหขอมูลทางสถิติ ดวยโปรแกรมสําเร็จรูป เพื่อดําเนินการวิเคราะห ขอมูลทางสถิติตามลําดับดังตอไปนี้ 1) สถิตเิ ชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) โดยวิเคราะหคาสถิติการหาคาความถี่ (Frequency) คารอยละ (Percentage) ในอธิบายขอมูลทั่วไปของ กลุมตัวอยาง 2) สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) การคํ า นวณหาป จ จั ย ที่ มี ผ ลต อ การยอมรั บ ของ ผูบริโภคจําแนกตามสถานภาพสวนบุคคลดานเพศ อายุการศึกษา และรายได โดยใชวิธี T-Test และ One-Way Anova และการวิเคราะหเปรียบเทียบ คาเฉลี่ย (Compare Mean) 3) สถิติภาคสรุปอางอิง เปนการใชสถิติที่ ศึกษากับกลุมตัวอยาง แลวสรุปผลการศึกษาอางอิง ไปถึงกลุมประชากรที่ไดในงานวิจัย 4) วิเคราะหถดถอยพหุคณ ู (Multiple Regression Analysis) สําหรับงานวิจัยนี้ตามกรอบของงาน วิจัยที่มีตัวแปรอิสระ คือ ปจจัยที่มีผลตอการยอมรับ เทคโนโลยีในการนําตัวแปรเขาสมการเพือ่ ประมวลผล โดยนําเขาพรอมกันทั้งสองกลุม ดวยวิธี Stepwise ซึ่ ง เป น การคั ด เลื อ กตั ว แปรที ล ะขั้ น ตอนที่ มี ทั้ ง วิ ธี Forward และ Backward ผสมกัน ซึ่งจะสามารถ คัดเลือกตัวแปรอิสระทีม่ ผี ลตอตัวแปรตามได โดยใช การประมวลผลด ว ยโปรแกรมทางสถิ ติ เป น การ วิเคราะหในกรณีที่ตัวแปรตามมีความสัมพันธกับ ตัวแปรอิสระหลายตัว โดยทีต่ วั แปรอิสระและตัวแปร ตามทุกตัวเปนตัวแปรเชิงปริมาณที่มีระดับการวัด เปนแบบชวง (Interval) หรือแบบอัตราสวน (Ratio Scale) ผลที่ไดจากการวิเคราะหสามารถสรุปไดเปน ความสั ม พั น ธ อยู  ใ นรู ป ของสมการเส น ตรง และ สามารถอธิบายและเปรียบเทียบความสัมพันธของ ตัวแปรอิสระแตละตัว วาตัวแปรใดเปนปจจัยสําคัญที่ มีผลตอการยอมรับเทคโนโลยีการชําระเงินออนไลน

35


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ของผูใ ชอนิ เทอรเน็ตในกรุงเทพมหานคร และสามารถ ทีจ่ ะทําการจัดเรียงลําดับความสําคัญของปจจัยทีม่ ผี ล ตอการยอมรับได การสรุปขอมูลเกี่ยวกับขอคิดเห็น ที่ มี ลั ก ษณะปลายเป ด (open-ended) ใช วิ ธี ก าร วิเคราะหเนือ้ หา (Content Analysis) แลวสรุปออกมา

เปนคาความถี่ (frequency) โดยเรียงลําดับจากมาก ไปนอย โดยการหาคาสัมประสิทธิแ์ อลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ซึง่ ไดคา สัมประสิทธิ์ แอลฟาไดผลวิเคราะหทางตาราง

ผลการวิจัยการศึกษา ตารางที่ 2 จํานวนและรอยละของผูตอบแบบสอบถาม จําแนกตามลักษณะทั่วไป

ลักษณะทั่วไป

จํานวน (คน)

รอยละ

เพศ ชาย หญิง

226 174

56.5 43.5

อายุ ตํ่ากวา 20 ป 20-29 ป 30-39 ป 40-49 ป

6 318 74 2

1.5 79.5 18.5 0.5

ระดับการศึกษา มัธยมหรือตํ่ากวา อนุปริญญา/ปวส หรือเทียบเทา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

4 2 212 181 1

1 0.5 53 45.2 0.2

รายไดเฉลี่ยตอเดือน นอยกวา 10,000 บาท 10,001-20,000 บาท 20,001-30,000 บาท 30,001 บาทขึ้นไป

38 110 102 150

9.5 27.5 25.5 37.5

36


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

จากตารางที่ 2 ขอมูลทัว่ ไปของผูต อบแบบสอบถาม จากผูที่ใชอินเทอรเน็ตในกรุงเทพมหานคร จํานวน 400 คน สามารถจํ า แนกได ดั ง นี้ เพศ ผู  ต อบ แบบสอบถามเปนชายมากกวาเปนหญิง โดยเพศชาย คิ ด เป น ร อ ยละ 56.5 อายุ ผู  ต อบแบบสอบถาม

สวนใหญมีอายุ 20-29 ป คิดเปนรอยละ 79.5 ระดับ การศึกษา ผูตอบแบบสอบถามสวนใหญมีระดับการ ศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเปนรอยละ 53.0 และ ผูตอบแบบสอบถามมีรายไดเฉลี่ยตอเดือนมากกวา 30,001 บาท คิดเปนรอยละ 37

ตารางที่ 3 ผลสรุปการทดสอบสมมติฐานของเพศ อายุ การศึกษา และรายไดที่มีผลตอปจจัยที่มีผลตอการยอมรับ การชําระเงินออนไลน

ตัวแปร การรับรูความเสี่ยง การรับรูประโยชน การบริการของเว็บไซต คุณสมบัติของเว็บไซต เทคโนโลยีคอมพิวเตอรที่ใช ประสบการณการใชอินเทอรเน็ต หมายเหตุ:

หมายถึง มีผล

เพศ

อายุ

การศึกษา

รายได

หมายถึง ไมมีผล

37


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

อายุ 30-39 40-49 มัธยมหรือตํ่ากวา อนุปริญญา/ปวส. หรือเทียบเทา การศึกษา

ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก <10,000 10,001-20,000

รายได 20,001-30,000 >30,000

38

การยอมรับการ ชําระเงินออนไลน

20-29

ประสบการณการ ใชอินเทอรเน็ต

< 20

เทคโนโลยี คอมพิวเตอรที่ใช

หญิง

คุณสมบัติของ เว็บไซต

เพศ

Mean N Std. Deviation Mean N Std. Deviation Mean N Std. Deviation Mean N Std. Deviation Mean N Std. Deviation Mean N Std. Deviation Mean N Std. Deviation Mean N Std. Deviation Mean N Std. Deviation Mean N Std. Deviation Mean N Std. Deviation Mean N Std. Deviation Mean N Std. Deviation Mean N Std. Deviation Mean N Std. Deviation

การบริการของ เว็บไซต

ชาย

การรับรู ประโยชน

ตัวแปร

การรับรูความ เสี่ยง

ตารางที่ 4 แสดงผลการเปรียบเทียบความแตกตางของคาเฉลี่ยทัศนคติระหวาง เพศ อายุ การศึกษาและรายได กับ ปจจัยที่มีผลกระทบตอการตัดสินใจยอมรับการชําระเงินออนไลนของผูใชอินเทอรเน็ตในกรุงเทพมหานคร

2.57 226 0.55 2.53 174 0.68 2.70 6 0.40 2.58 318 0.61 2.44 74 0.62 2.34 2 0.23 2.71 4 0.63 2.75 2 0.11 2.52 212 0.62 2.58 181 0.60 3.17 1 . 2.41 38 0.56 2.56 110 0.62 2.43 102 0.63 2.66 150 0.59

3.92 226 0.53 3.80 174 0.55 3.13 6 0.21 3.90 318 0.54 3.79 74 0.53 3.20 2 0.57 4.10 4 0.60 3.80 2 0.28 3.86 212 0.58 3.87 181 0.50 4.00 1 . 3.51 38 0.58 3.99 110 0.49 3.81 102 0.53 3.90 150 0.54

3.57 226 0.70 3.47 174 0.90 3.67 6 0.82 3.55 318 0.82 3.40 74 0.69 3.50 2 0.71 2.88 4 0.75 3.75 2 0.35 3.55 212 0.84 3.51 181 0.75 4.00 1 . 3.14 38 0.92 3.52 110 0.76 3.55 102 0.77 3.61 150 0.79

3.58 226 0.63 3.40 174 0.68 3.42 6 0.66 3.52 318 0.68 3.41 74 0.56 4.00 2 0.00 3.75 4 0.50 3.50 2 0.71 3.46 212 0.66 3.54 181 0.66 4.00 1 . 3.47 38 0.80 3.56 110 0.64 3.47 102 0.60 3.48 150 0.68

3.37 226 0.71 3.50 174 0.63 3.38 6 0.21 3.44 318 0.70 3.40 74 0.61 2.75 2 0.35 3.44 4 0.63 3.75 2 0.00 3.42 212 0.72 3.44 181 0.64 3.50 1 . 3.23 38 0.82 3.50 110 0.73 3.37 102 0.58 3.46 150 0.66

2.29 226 0.51 2.12 174 0.49 1.67 6 0.41 2.20 318 0.50 2.32 74 0.50 2.60 2 0.57 2.65 4 0.41 2.00 2 0.28 2.15 212 0.52 2.29 181 0.49 2.40 1 . 2.03 38 0.46 2.09 110 0.34 2.09 102 0.50 2.44 150 0.55

3.64 226 1.08 3.33 174 1.08 2.17 6 0.75 3.53 318 1.09 3.53 74 1.01 2.00 2 1.41 3.25 4 1.50 3.00 2 1.41 3.52 212 1.07 3.50 181 1.10 4.00 1 . 3.18 38 1.01 3.55 110 1.16 3.34 102 1.10 3.66 150 1.01


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ผลการศึ ก ษาความสั ม พั น ธ ร ะหว า งข อ มู ล ประชากรศาสตร คือ เพศ อายุ การศึกษา และรายได กับปจจัยทีม่ ผี ลกระทบตอการยอมรับเทคโนโลยีการ ชําระเงินออนไลน และความตั้งใจในการใชการชําระ เงินออนไลน พบวา ดานการรับรูป ระโยชน คุณสมบัติ ของเว็บไซต ประสบการณการใชอินเทอรเน็ต และ การยอมรับการใชการชําระเงินออนไลน เพศชายมี การยอมรับมากกวาเพศหญิง กลุมที่มีอายุระหวาง 20-29 ป มีการยอมรับการชําระเงินออนไลนสูงที่สุด รองลงมาคือกลุมที่อายุระหวาง 30-39 ป การที่ อายุ การศึกษา และรายได เพิ่มขึ้นนั้นจะทําใหมี ประสบการณการใชคอมพิวเตอรและอินเทอรเน็ตขึน้ และสงผลใหมแี นวโนมทีจ่ ะมีการยอมรับการชําระเงิน ออนไลนมากขึน้ ตามไปดวย ดานรายไดพบวากลุม ที่ มีรายได 10,001-20,000 บาท มีการยอมรับมากทีส่ ดุ รองลงมาเปนกลุมที่มีรายไดมากกวา 30,000 บาท ผลการวิเคราะหขอมูลโดยใชการวิเคราะหถดถอย พหุคูณ กับปจจัยที่มีผลตอการยอมรับการใชบริการ

ชําระเงินออนไลนผูศึกษาไดทําการวิเคราะหตัวแปร อิสระพรอมกันทั้งหมด โดยการวิเคราะหถดถอย พหุคูณ (Multiple Regression Analysis) วิธี stepwise ซึ่งเปนคัดเลือกตัวแปรอิสระเขาสมการ โดย กําหนดให X1 = การรับรูความเสี่ยง (Perceived Risks) X2 = การรับรูประโยชน (Perceived Benefits) X3 = คุณสมบัติการบริการของเว็บไซต (Vendor’s Service Features) X4 = คุณสมบัติของเว็บไซต (Vendor’s Web Site Features) X5 = เทคโนโลยีคอมพิวเตอรที่ใช (Client-Side Technology) X6 = ประสบการณการใชอนิ เทอรเน็ต (Internet Experience) ่ ผี ล Y = คาพยากรณการยอมรับปจจัยสําคัญทีม ตอการยอมรับการชําระเงินออนไลน

ตารางที่ 5 Multiple Linear Regressions: Model Summary ของปจจัยที่มีผลกระทบตอการตัดสินใจยอมรับการ ชําระเงินออนไลนของผูใชอินเทอรเน็ตในกรุงเทพมหานคร

Model

R

1

.483a

R Adjusted Square R Square 0.233

0.229

Std. Error R Square F of the df1 Change Change Estimate 0.953 0.054 28.137 1

df2

Sig. F Change

397

0.000

a. Predictors: (Constant), Perceived Benefits, Perceived Risks b. Dependent Variable: Intention to use จากตารางที่ 5 พบวาชุดของปจจัยทีม่ ผี ลกระทบ ตอการตัดสินใจยอมรับการใชการชําระเงินออนไลน โดยพิจารณาจาก Model มีคา สัมประสิทธสหสัมพันธ พหุคูณ (Multiple Correlations: R) เทากับ 0.483

และชุดของปจจัยสามารถอธิบายความผันแปรของ ปจจัยทีม่ ผี ลกระทบตอการตัดสินใจยอมรับการชําระเงิน ออนไลนไดรอยละ 22.9

39


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ตารางที่ 6 แสดงผลการทดสอบความแปรปรวนของปจจัยทีม่ ผี ลกระทบตอการตัดสินใจยอมรับการชําระเงินออนไลน ของผูใชอินเทอรเน็ตในกรุงเทพมหานคร

Model Regression Residual Total

Sum of Squares 109.636 360.354 469.99

df 2 397 399

Mean Square F 54.818 60.393 0.908

Sig. .000a

a. Predictors: (Constant), Perceived Benefits, Perceived Risks b. Dependent Variable: Intention to use ตารางที่ 7 แสดงผลคาสัมประสิทธิ์ของปจจัยที่มีผลกระทบตอการตัดสินใจยอมรับการชําระเงินออนไลนของผูใช อินเทอรเน็ตในกรุงเทพมหานคร

Model (Constant) Sum Benefits Sum Risk

B -0.253 0.682 0.439

Std. Error 0.355 0.093 0.083

จากการวิเคราะหถดถอยพหุคูณ ตัวแปรอิสระ ทั้งหมด 6 ตัว พบวา มีตัวแปรอิสระ 2 ตัว ที่มีผล ตอการยอมรับการชําระเงินออนไลน คือ การรับรู Y

0.341 0.247

t -0.713 7.329 5.304

Sig. 0.476 0.000 0.000

ความเสี่ยง และการรับรูประโยชน ซึ่งสามารถสราง สมการถดถอยพหุ คู ณ ของกลุ  ม ตั ว อย า งได ดั ง นี้ กําหนดให

= -0.253 + 0.682 (การรับรูประโยชน) + 0.439 (การรับรูความเสี่ยง)

จากการพิ จ ารณาค า สั ม ประสิ ท ธิ์ ก ารถดถอย มาตรฐาน (Beta) เพือ่ พิจารณาจัดลําดับความสําคัญ ใหแกตวั แปรทีม่ ผี ลตอการยอมรับการชําระเงินออนไลน ไดแก การรับรูประโยชน (Perceived Benefits) และ การรับรูความเสี่ยง (Perceived Risks) มีคา Beta เทากับ 0.682 และ 0.439 ตามลําดับ จากการวิเคราะหเพื่อหาปจจัยที่มีผลกระทบตอ การตัดสินใจยอมรับการชําระเงินออนไลนของผูใช อินเทอรเน็ตในกรุงเทพมหานคร สามารถทดสอบ สมมติฐานดังนี้ จากการทดสอบสมมติฐานที่ 2-7 โดยใช ก ารวิ เ คราะห ถ ดถอยพหุ คู ณ (Multiple Regression) กับตัวแปรอิสระคือปจจัยทีม่ ผี ลกระทบ

40

Beta

ตอการยอมรับการชําระเงินออนไลน 6 ปจจัย คือ การรับรูความเสี่ยง (Perceived Risks) การรับรู ประโยชน (Perceived Benefits) คุณสมบัติการ บริการของเว็บไซต (Vendor’s Service Features) คุณสมบัตขิ องเว็บไซต (Vendor’s Web Site Features) เทคโนโลยีคอมพิวเตอรทใี่ ช (Client-Side Technology) และประสบการณ ก ารใช อิ น เทอร เ น็ ต (Internet Experience) กับตัวแปรตามคือการยอมรับการใช การชําระเงินออนไลน ผลการวิเคราะหไดคา สัมประสิทธ สหสั ม พั น ธ พ หุ คู ณ (Multiple Correlations: R) เทากับ 0.483 และชุดของปจจัยสามารถอธิบายความ ผั น แปรของป จ จั ย ที่ มี ผ ลกระทบต อ การตั ด สิ น ใจ


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ยอมรับการชําระเงินออนไลนไดรอยละ 22.9 พบวา มีปจจัยสําคัญ 2 ปจจัย ที่มีผลตอการยอมรับการ ชําระเงินออนไลน คือ การรับรูค วามเสีย่ ง (Perceived

Risks) และการรับรูป ระโยชน (Perceived Benefits) ซึ่ ง สามารถสร า งสมการถดถอยพหุ คู ณ ของกลุ  ม ตัวอยางไดดังนี้

การยอมรับการชําระเงินออนไลน = -0.253 + 0.682 (การรับรูประโยชน) + 0.439 (การรับรูความเสี่ยง) กลาวคือ เมื่อควบคุมการรับรูความเสี่ยงไวที่ 0 ถาผูใ ชอนิ เทอรเน็ตมีการรับรูป ระโยชนเพิม่ ขึน้ 1 หนวย แลว การยอมรับการชําระเงินออนไลนก็จะเพิ่มขึ้น 0.186 หนวย ในทํานองเดียวกันถาควบคุมการรับรู ประโยชนไวที่ 0 เมือ่ ผูใ ชอนิ เทอรเน็ตมีการรับรูค วาม เสีย่ งเพิม่ ขึน้ 1 หนวย การยอมรับการชําระเงินออนไลน ก็จะเพิม่ ขึน้ 0.229 หนวย โดยมีการลบคาสัมประสิทธิ์ สัมพันธ 0.253 เนื่องจากการยอมรับการชําระเงิน ออนไลนอยูในดานลบ สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยไดพบวาปจจัยที่มีผลกระทบตอการ ยอมรับเทคโนโลยีการชําระเงินออนไลน คือ การรับรู ความเสีย่ ง (Perceived Risks) และการรับรูป ระโยชน (Perceived Benefits) ดังนี้ 1. การรับรูความเสี่ยง (Perceived Risks) ผล จากการวิเคราะหขอมูลพบวาผูตอบแบบสอบถามมี ความเชือ่ มัน่ ในระบบรักษาความปลอดภัยของขอมูล กฎหมาย นโยบายของรัฐอยูในระดับที่ตํ่า แสดงให เห็นวาแมผตู อบแบบสอบถามจะรับรูถ งึ ความเสีย่ งใน ดานตางๆ มีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของ ขอมูลบัตรเครดิต หรือการทําธุรกรรมออนไลน แตก็ ยังมีการยอมรับการชําระเงินออนไลน สอดคลองกับ (Kyoung-NAN Kwon and Jinkook Lee, 2003) ที่ ผลการศึกษาพบวา ผูใชอินเทอรเน็ตมีการรับรูถึง ความเสีย่ ง ความปลอดภัยในดานตางๆ ในการชําระ เงินออนไลน แตกม็ กี ารยอมรับการชําระเงินออนไลน แตการใหบริการชําระเงินแบบออฟไลน ไมไดชวย สรางความมั่นใจในการชําระเงินใหมากขึ้นในกลุม

ผูตอบแบบสอบถาม 2. การรับรูประโยชน (Perceived Benefits) ผล จากการวิเคราะหขอมูลพบวา ผูตอบแบบสอบถาม รั บ รู  ถึ ง ประโยชน ที่ ไ ด จ ากการใช บ ริ ก ารชํ า ระเงิ น ออนไลน ซึ่งประโยชนที่ผูตอบแบบสอบถามรับรูได ชัดเจนทีส่ ดุ คือ การชําระเงินออนไลนนนั้ ทําใหสามารถ ชําระเงินไดรวดเร็วขึ้นมาก วิธีการชําระเงินนั้นก็ สามารถเรียนรูไดอยางงายดาย และการไดรับสิทธิ พิเศษจากเว็บไซตมีผลตอการตัดสินใจยอมรับการ ชําระเงินออนไลน สอดคลองกับงานวิจัยของ Naiyi Ye and Yinchen Ye (2007) ที่กลาววาถาผูบริโภค สามารถทุกที่ทุกเวลาไดอยางสะดวกรวดเร็ว และ สามารถเขาถึงอินเทอรเน็ตไดอยางงาย รวมไปถึง ถาผูบ ริโภคไดรบั สิทธิพเิ ศษจากเว็บไซต หรือสามารถ ลดคาใชจา ยในการซือ้ สินคาได ก็นา จะทําใหพวกเขา ยอมรับการชําระเงินออนไลนได แตกตางจากงาน วิจัยกอนหนาของ Fang He และ Peter P.Mykytyn (2007) ที่กลุมตัวอยางเปนนักศึกษาและผูที่อยูใน มหาวิทยาลัยใน Midwestern ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งบอกวาผูตอบแบบสอบถามสวนใหญเห็นวา การ รับรูความเสี่ยงนั้นอยูในระดับปานกลาง และปจจัยที่ สงผลกระทบมากที่สุดคือ การที่เว็บไซตมีระบบการ ชําระเงินออนไลนที่ชวยใหจายไดทันกําหนด และ หลีกเลีย่ งคาปรับลาชา และปจจัยทีส่ ง ผลกระทบกลุม ตัวอยางในความตองการใชการชําระเงินออนไลน คือ ปจจัยดานการรับรูความเสี่ยง การรับรูประโยชน คุณสมบัติของเว็บไซต และการออกแบบเว็บไซต สวนผลทางดานประชากรศาสตรนั้นใกลเคียงกันคือ เพศชาย ชวงอายุ 20-29 ป มีการศึกษาสูง และมี

41


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ประสบการณการใชคอมพิวเตอร และอินเทอรเน็ตมา เปนระยะเวลานาน มีผลทําใหเกิดการยอมรับการ ชําระเงินออนไลนมากกวากลุม อืน่ งานวิจยั ชิน้ นีไ้ ดใช ทฤษฎีแบบจําลองการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model: TAM) ของ Fred D. Davis ที่มีปจจัยหลักอยู 2 สวน คือ การรับรูถึงประโยชนที่ ไดรบั (Perceived Usefulness) และการรับรูถ งึ ความ ง า ยในการใช ง าน (Perceived Ease of Use) ซึ่ ง ทฤษฎี ไ ด ก ล า วไว ว  า ถ า ผู  บ ริ โ ภคมี ก ารรั บ รู  ใ น สองปจจัยนี้ ก็จะสงผลใหเกิดพฤติกรรมการยอมรับ การใชเทคโนโลยีนนั้ (Behavioral Intention to Use) ซึ่ ง ในงานวิ จั ย ชิ้ น นี้ ไ ด ใ ช ป  จ จั ย การรั บ รู  ป ระโยชน (Perceived Benefits) ในการวั ด ความสั ม พั น ธ ระหวางประโยชนที่ไดรับจากการชําระเงินออนไลน กั บ พฤติ ก รรมการตั้ ง ใจใช หรื อ พฤติ ก รรมในการ ยอมรับการใชการชําระเงินออนไลน จากผลวิจัยพบ วาการรับรูประโยชน (Perceived Benefits) มีผลตอ การยอมรับการชําระเงินออนไลน ผูต อบแบบสอบถาม รับรูถ งึ ขัน้ ตอน และความงายในการใชงานระบบชําระ เงินออนไลน (Behavioral Intention to Use) และ ประโยชนทไี่ ดรบั จากการชําระเงินออนไลน (Perceived Usefulness) คือความรวดเร็ว และความสะดวก สบาย แสดงใหเห็นวาทฤษฎีนี้สามารถนํามาอธิบาย กับตัวอยางนี้ได ขอเสนอแนะ การศึ ก ษานี้ ผู  ศึ ก ษาได ดํ า เนิ น การศึ ก ษาถึ ง “ปจจัยทีม่ ผี ลกระทบตอการตัดสินใจยอมรับการชําระ เงินออนไลนของผูใ ชอนิ เทอรเน็ตในกรุงเทพมหานคร” จากผลการวิจัยพบวา ผูตอบแบบสอบถามสวนใหญ มีการรับรูประโยชนจากใชวิธีชําระเงินออนไลนใน ระดับที่สูง โดยความรวดเร็วที่ไดจากการใชวิธีชําระ เงินออนไลนเปนปจจัยที่ผูตอบแบบสอบถามรับรู ประโยชนไดมากทีส่ ดุ การเรียนรูว ธิ ชี าํ ระเงินออนไลน นัน้ ก็สามารถเรียนรูไ ดงา ย และราคาทีถ่ กู กวาการซือ้

42

ตามรานคาทั่วไป สวนลดสิทธิพิเศษตางๆ ที่ไดจาก การเลือกวิธีการชําระเงินออนไลน ประโยชนที่ไดรับ 3 ขอนี้เปนปจจัยสําคัญที่จะทําใหผูซื้อหันมาเลือกใช วิธีชําระเงินออนไลนแทนวิธีการโอนเงินแบบเกา การศึกษาความสัมพันธระหวางขอมูลประชากรศาสตร กับปจจัยตางๆ ที่ใชในการยอมรับเทคโนโลยีการ ชําระเงินออนไลนนนั้ พบวาสิง่ ทีส่ าํ คัญและเปนไปใน ทิศทางเดียวกันคือ การที่ผูตอบแบบสอบถามมีอายุ การศึ ก ษา และรายได เพิ่ ม ขึ้ น นั้ น จะส ง ผลให มี ประสบการณการใชอนิ เทอรเน็ตขึน้ และทําใหมแี นว โนมที่จะยอมรับการชําระเงินออนไลนมากขึ้นดวย ดานการยอมรับการใชวิธีชําระเงินออนไลน พบวา เพศชายมีการยอมรับมากกวาเพศหญิง และชวงอายุ ที่มีการยอมรับมากที่สุดคือชวง 20-29 ป ที่มีรายได มากกวา 30,000 บาทตอเดือน แสดงใหเห็นวา กลุม คนเหลานีเ้ ปนคนรุน ใหมทมี่ ปี ระสบการณการใช คอมพิวเตอรและอินเทอรเน็ตมาเปนระยะเวลานาน มีการศึกษาสูงระดับขั้นปริญญาตรีขึ้นไป มีรายได เฉลีย่ ตอเดือนสูง ก็จะสงผลใหมกี ารยอมรับการชําระ เงินออนไลนสูงขึ้นดวย ดานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร พบว า การได ติ ด ตั้ ง โปรแกรมป อ งกั น ไวรั ส และ โปรแกรมเพื่อการรักษาความปลอดภัยอื่นๆ ภายใน คอมพิวเตอร และไดใชอินเทอรเน็ตความเร็วสูงจะ สงผลใหมีการยอมรับการใชการชําระเงินออนไลน เพิม่ มากขึน้ ตามไปดวย ซึง่ เปนผลดีตอ ธุรกิจพาณิชย อิเล็กทรอนิกสในบานเราเนื่องจากมีการเติบโตของ จํานวนผูใ ชอนิ เทอรเน็ตความเร็วสูงทุกป แตปจ จัยที่ ผูตอบแบบสอบถามคิดวามีผลตอการยอมรับการ ชําระเงินออนไลนที่สําคัญที่สุด คือ ความปลอดภัย เชน ความปลอดภัยในระบบการชําระเงิน ความ ปลอดภัยของเครือขาย ความปลอดภัยของธนาคาร ทีใ่ ช ซึง่ ผูต อบแบบสอบถามรับรูถ งึ ความเสีย่ งเกีย่ วกับ การที่ จ ะต อ งให ข  อ มู ล ส ว นบุ ค คลแก เ ว็ บ ไซต แ ละ นโยบายของรัฐบาล และกฎหมายในปจจุบนั ก็ยงั ไมมี ความชัดเจน จึงทําใหไมสามารถคุม ครองใหการชําระ


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

เงินออนไลนมีความปลอดภัยได รวมไปถึงความนา เชือ่ ถือของเว็บไซตความนาเชือ่ ถือของผูท ดี่ าํ เนินธุรกิจ และความนาเชือ่ ถือของลูกคาทีเ่ ขามาใชบริการ ดังนัน้ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนควรสงเสริมระบบปองกัน ขอมูลของลูกคาใหมีความปลอดภัย ทําใหลูกคามี ความมั่นใจในระบบการชําระเงินออนไลนมากขึ้น

บรรณานุกรม กระทรวงเทคโนโลยี ส ารสนเทศและการสื่ อ สาร. (2550). รายงานประจําปกระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสือ่ สาร. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ. สํานักงานสถิติแหงชาติ. (2550). สรุปผลการสํารวจ ส ถ า น ภ า พ พ า ณิ ช ย  อิ เ ล็ ก ท ร อ นิ ก ส  ข อ ง ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สํานักงานฯ. Araujo, Ildemaro and Araujo, Ivan. (2003). Developing trust in internet commerce. In Proceedings of the 2003 conference of the Centre for Advanced Studies on Collaborative Research, October 6-9, 2003. Toronto, Ont.: IBM Press. Bhatnagar, A., Misra, S. and Rao, H.R. (2000). On risk, convenience, and internet shopping behavior. Communication of the ACM, 43(11), 98-105. Davis, F.D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 318-339. Davis, F.D. and Venkatesh, Viswanath. (1996). A critical assessment of potential measurement biases in the technology acceptance model: three experiments. Human-Computer Studies, 45(1), 19-45.

Didier, G.R., Soopramanien, R.F. and Alastair, R. (2007). Consumer decision making. E-commerce and perceived risks, Applied Economics, 39(17), 2159-2166. Farag, S., Schwanen, T., Dijst, M., and Faber, J. (2007). Shopping online and/or in store? A structural equation model of the relationships between e-shopping and in-store shopping. Transportation Research Part A, 41(2), 125-141. He, Fang and Mykytyn, Peter P. (2007). Decision factors for the adoption of an online payment system by customers. International Journal of E-Business Research, 3(4), 1-32. Kanokwan Atchariyachanvanich, Hitoshi Okada, Noboru Sonehara. (2008). Theoretical model of purchase and repurchase in internet shopping. International Journal of Electronic Customer Relationship Management, 2(1), 16-33. Kwon, Kyoung-NAN and Lee, Jinkook. (2003). Concerns about payment security of internet purchases: A perspective on current on-line shoppers. Clothing and Textiles Research Journal, 21(4), 174-184. Pikkarainen, T., Pikkarainen, K., Karjaluoto, H., and Pahnila, S. (2004). Consumer acceptance of online banking: An extension of the technology acceptance model. Internet Research, 14(3), 224-235. Shon, Tae-Hwan, Swatman, Paula M.C. (1998). Identifying effectiveness criteria for internet payment systems. Internet Research, 8(3), 202-218.

43


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

Yu, Hsiao-Cheng, Hsi, Kuo-Hua, Kuo, Pei-Jen. (2002). Electronic payment systems: an analysis and comparison of types. Technology in Society, 24(3), 331-347.

Mr. Pornpong Chongprasitipol received his Master of Science in College of Innovation From Thammasat University. He is currently a IT manager at Venna Amoris jewelry Company.

Mr. Somkid Sabsang received his Master of Science in Applied Statistics From Nation Institute Development Administration. He is currently a researcher at Panyapiwat Institute of Technology.

44


¡

ÒÃÈÖ¡ÉÒ¤ÇÒÁÊÑÁ¾Ñ¹¸ ÃÐËÇ‹Ò§¤ÇÒÁ¼Ù¡¾Ñ¹ã¹Í§¤ ¡Òà ¡ÑºÊÁÃö¹ÐËÅÑ¡¢Í§à¨ŒÒ˹ŒÒ·Õè¡ÃÁÃÒª·Ñ³± A Study of Relationship between Organizational Commitments and Core Competencies of the Department of Corrections Employee วิศิษฐ ฤทธิบุญไชย อาจารยพิเศษคณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง คณะการจัดการและทองเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา E-mail: son1912@gmail.com

บทคัดยอ งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาความสัมพันธระหวางความผูกพันในองคการ กับ สมรรถนะหลั ก ของเจ า หน า ที่ ก รมราชทั ณ ฑ ประชากรของกรมราชทั ณ ฑ ป ระกอบด ว ย เจาหนาที่และผูบริหารกรมราชทัณฑจํานวน 11,437 คน ใชสูตรคํานวณหาขนาดของกลุม ตัวอยางแบบประมาณสัดสวน ตามสูตรของทอมสัน ที่ความเชื่อมั่นรอยละ 95 ไดขนาดกลุม ตัวอยางเทากับ 372 ตัวอยาง ใชวธิ กี ารสุม ตัวอยางแบบแบงชัน้ สามารถเก็บขอมูลได 410 ชุด แบงเปนเจาหนาที่สวนกลาง จํานวน 269 ตัวอยาง และสวนภูมิภาค (เรือนจําจังหวัด และ เรือนจําอําเภอ) จํานวน 141 ตัวอยาง ตามเปาหมายการวิเคราะหใชเทคนิคการวิเคราะหเชิง ปริมาณ โดยอาศัยการวิเคราะหองคประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง (The Second Orders Confirmatory Factor Analysis) ผลการวิจัยพบวา ความสัมพันธระหวางความผูกพันในองคการ กับสมรรถนะหลักของเจา หนาที่กรมราชทัณฑมีความสัมพันธกัน สูงอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ (=0.65) โดยที่องค ประกอบตัวบงชีด้ า นความผูกพันของเจาหนาทีก่ รมราชทัณฑ เกิดจากความผูกพันดานจิตใจ มากที่สุด สวนองคประกอบตัวบงชี้สมรรถนะหลักของเจาหนาที่กรมราชทัณฑ เกิดจาก สมรรถนะในสมรรถนะดานการใฝสมั ฤทธิใ์ นหนาทีง่ านมากทีส่ ดุ นอกจากนีย้ งั พบความแตกตาง

45


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ระหวางเจาหนาที่ในสวนกลางและสวนภูมิภาค ดานความผูกพัน ตอองคการดานจิตใจ ความผูกพันตอองคการดานบรรทัดฐาน และสมรรถนะดานความเปน ผูนํา คําสําคัญ: ความผูกพันในองคการ สมรรถนะหลัก เจาหนาที่กรมราชทัณฑ

Abstract This research has the objective to study relationship between organizational commitments and core competencies of the Department of Corrections. Population of the Department of Corrections composes of 11,437 employee and executives. Estimating a Proportion Sampling according to the method of Thompson is used to define sample size. At 95% level of confidence, the sample size is equal to 372 samples. Probability sampling is used through the technique of stratified random sampling. Finally, 410 samples are collected according to target; dividing into 269 samples from central administration employee and 141 samples from provincial administration employee. Quantitative analysis is used, through The Second Orders Confirmatory Factor Analysis. The research shows that there exists a relationship between organizational commitments and core competencies of the Department of Corrections Employee at 0.65 level of statistic significance. The indicator element of Organizational Commitments of the Department of Corrections Employee mainly comes from individual Affective Commitment. But the indicator element of Core Competencies of the Department of Corrections Employee mostly derives from Task Achievement Competencies. Moreover the result of research found a significant difference between central and provincial administration employee in view of affective commitment, normative commitment, leadership competencies. Keywords: Organizational Commitments, Competencies, The Department of Corrections Employee

46


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

บทนํา ในการพัฒนาประเทศทรัพยากรมนุษย ถือเปน ปจจัยสําคัญยิง่ และเปนกลไกทีจ่ ะทําใหนโยบายของรัฐ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติบรรลุผล สําเร็จตามเปาหมายที่กําหนดไว ทรัพยากรมนุษย เปนกลไกผลักดันใหสังคมมีความเจริญกาวหนาและ ความผาสุก มีนักวิชาการเปนจํานวนมากที่เสนอให พัฒนาสังคม และพัฒนามนุษยโดยอาศัยการศึกษา เพือ่ ใหคนในสังคมมีคณ ุ ภาพและอยูด มี สี ขุ การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย จึงจําเปนตองดําเนินการอยาง ตอเนื่อง แตภายใตการพัฒนาดังกลาว ยังพบวาในสังคม ไทยเอง ก็ยังมีคนอีกกลุมหนึ่งที่สรางผลกระทบตอ ความมั่นคงในสังคม เพราะคนกลุมดังกลาว ทําให การดํารงชีวติ อยางปกติสขุ ของคนธรรมดาผิดปกติไป ไมวาจะดวยเหตุผลประการใด รัฐ ตองมีระบบการ จัดการกับกลุมคนเหลานี้เพื่อรักษาความสงบราบรื่น ใหเกิดขึน้ ในสังคม การปองกันปญหาการเบียดเบียน กันของคนในสังคม เมื่อสังคมเกิดความไมสงบขึ้น เปนหนาที่สําคัญของรัฐที่จะตองเขามาดูแล และ ขัดเกลาผูกระทําผิด (Reformation) กอนคืนคนดี กลับสูสังคม ภารกิจดังกลาวถือเปนหนาที่หลักของ เจาหนาที่ทุกคนของกรมราชทัณฑในการปฏิบัติตอ ผูตองขัง โดยการแกไขฟนฟูสภาพจิตใจใหสํานึกผิด มีความพรอมทีจ่ ะประพฤติตนเปนพลเมืองดี สามารถ ประกอบอาชีพสุจริต และอยูร ว มกันกับผูอ นื่ ไดดว ยดี ภายหลังพนโทษ ภารกิ จ ดั ง กล า วถื อ เป น หน า ที่ ห ลั ก ของกรม ราชทัณฑในการปฏิบัติตอผูตองขัง คือ การแกไข ฟ  น ฟู ส ภาพจิ ต ใจให สํ า นึ ก ผิ ด มี ค วามพร อ มที่ จ ะ ประพฤติตนเปนพลเมืองดี สามารถประกอบอาชีพ สุจริต และอยูร ว มกันกับผูอ นื่ ไดดว ยดีภายหลังพนโทษ เพราะถาระบบการราชทัณฑมีวิธีการอบรมแกไข ผูกระทําผิดใหกลับประพฤติตนเปนพลเมืองดี ไมไป กระทําผิดซํ้าอีก จํานวนผูกระทําผิดก็จะคอยๆ ลด

นอยลง และเนือ่ งจากสังคมโลกปจจุบนั กําลังอยูใ นยุค โลกาภิวัตน (Globalization) องคการรวมทั้งสมาชิก ขององคการทั้งภาครัฐและเอกชนตองเผชิญกับการ เปลีย่ นแปลงอยางหลีกเลีย่ งไมได กรมราชทัณฑกาํ ลัง ไดรับผลกระทบจากสภาพของบริบทที่เปลี่ยนแปลง ไปดังกลาว การปรับกรมราชทัณฑใหยืดหยุนและมี ความพรอมตอความเปลีย่ นแปลง ชวยลดความเลีย่ ง ตอความลมเหลวในการจัดการ และชวยทําใหกรม ราชทัณฑคงอยูไดอยางยั่งยืนมีประสิทธิภาพและมี ประสิทธิผล และหัวใจทีส่ ง ผลตอความสําเร็จดังกลาว ก็คือคุณภาพของเจาหนาที่กรมราชทัณฑ งานวิจัย ดังกลาวมีเปาประสงคในการศึกษาปจจัยสองประการ ทีม่ คี วามสําคัญตอการสรางความสําเร็จในการจัดการ นัน่ คือ ความผูกพันในองคการและสมรรถนะหลักของ กรมราชทัณฑ วัตถุประสงคการวิจัย เพื่อศึกษาความสัมพันธระหวางความผูกพันใน องคการ กับสมรรถนะหลักของเจาหนาทีก่ รมราชทัณฑ ดวยการวิเคราะหองคประกอบเชิงยืนยันอันดับทีส่ อง ขอบเขตของการวิจัย ขอบเขตในดานเนื้อหาผูวิจัยพัฒนาแนวคิดจาก การทบทวนวรรณกรรม และการสัมภาษณผูบริหาร โดยเก็บขอมูลวิจยั แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) ขอบเขตในดานประชากรจะศึกษาเฉพาะกลุม เจาหนาที่ และผูบ ริหารงานราชทัณฑทงั้ ในสวนกลาง และสวนภูมิภาค ขอบเขตในดานเวลา เก็บขอมูล จากผูบ ริหารและ เจาหนาที่กรมราชทัณฑ ในระหวาง เดือนมกราคมธันวาคม ปพ.ศ. 2552 ทบทวนวรรณกรรม ความผูกพันตอองคการ และสมรรถนะหลักใน

47


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ของพนักงาน ถือเปนปจจัยสําคัญที่มีตอการจัดการ ในยุคใหม สําหรับสมรรถนะหลักนอกจากจะชวย พั ฒ นาศั ก ยภาพบุ ค คล ให มี ค วามเป น มื อ อาชี พ สามารถปฏิบัติงานไดตามมาตรฐานที่ตั้งไว เพื่อให ภารกิจของงานบรรลุเปาหมาย (Sternberg and Kolligian, 1990; Bowden and Masters, 1993; Burgoyne, 1993) สมรรถนะหลักยังเปนตัวบงชี้ถึง ความมีคุณภาพของคนในองคการ ในการพัฒนา ประสิทธิภาพขององคการ (Gibson, 2000; Shermon, 2004; เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค, 2546) สรางการ ปฏิบัติงานที่เหนือกวา (Dale and Hes, 1995; Boyatzis, 1996) ซึ่งปจจัยเหลานี้มีความสําคัญ ในการพัฒนาองคการใหสอดรับการเปลี่ยนแปลง ในประเทศไทยมีนักวิชาการหลากหลายสาขาอาชีพ ที่ ไ ด นํ า เสนอแนวคิ ด เรื่ อ งสมรรถนะหลั ก ในแง มุ ม ตางๆ (ธานินทร อุดม, 2540; วิฑูรย สิมะโชคดี, 2541; ดนัย เทียนพุฒ, 2543; เดชา เดชะวัฒนไพศาล, 2543; วันทนา กอวัฒนาสกุล, 2543; ณรงควิทย แสนทอง, 2547; อานนท ศั ก ดิ์ ว รวิ ช ย , 2547; สุกญ ั ญา รัศมีธรรมโชติ, 2548; ธํารงศักดิ์ คงคาสวัสดิ,์ 2548; อาภรณ ภูว ทิ ยพันธ, 2548; สุดารัตน ลิมปะพันธ และคณะ, 2549) และมีการนําแนวคิดดังกลาวไปทํา ดําเนินการวิจยั โดยใชเครือ่ งมือการวัดทีแ่ ตกตางกัน ออกไปในหลากหลายองคการ อาทิ การสัมภาษณ เชิงพฤติกรรม การใชผูเชี่ยวชาญ วิธีการสํารวจ การวิเคราะหหนาที่งาน (อิสระ บุญญะฤทธิ์, 2545; พิมพกานต ไชยสังข, 2546; ปทมา เพชรไพริทร, 2547; คณะกรรมการขาราชการพลเรือน, 2548; ศศิวิมล ทองพั้ว, 2548; นันทพร ศุภะพันธุ, 2551) นอกจากปจจัยดานสมรรถนะหลักแลว ความ ผูกพันตอองคการก็มคี วามสําคัญ ในระยะเวลา 20 ป ที่ผานมา แนวคิดเรื่องความผูกพันตอองคการไดรับ ความสนใจจากนักวิชาการจํานวนมาก ทั้งนี้เพราะ ความผูกพันตอองคการเปนองคประกอบที่สําคัญที่ ชวยผลักดันในการสรางประสิทธิภาพองคการ ใหมี

48

ความเจริญกาวหนาและสรางความสําเร็จขององคการ (ภรณี มหานันท, 2539: 97; Luthanas, 2002: 235; Northcraft & Neale, 2003: 401) ชวยลดการ สูญเสียบุคลากรที่มีคาตอองคการ (Fazzi, 1994: 17-19) สะทอนถึงระดับของการมีสวนรวม และการ คงอยูกับองคการของเจาหนาที่ (Carrell et al., 1997: 140; Mathis & Jackson, 1997: 73) รวมถึง สรางความมุมานะ ความเต็มใจทุมเทเพื่อองคการ ทําใหบุคคลมีความรูสึกเปนอันหนึ่งอันเดียวกันมี ความเชื่อมั่นและยอมรับในเปาหมายขององคการ เจาหนาที่จะมีระดับการมีสวนรวมในกิจกรรมของ องคการสูงกวาและการขาดงานจะมีอัตราตํ่ากวาผูที่ มีความผูกพันตอองคการนอย (Eisenberger et al., 1991: 52) ความผูกพันตอองคการจะแตกตางจากความ พึงพอใจในการทํางาน เพราะความพึงพอใจในงาน สามารถเปลี่ยนแปลงไปอยางรวดเร็วตามสภาพการ ทํางาน แตความผูกพันตอองคการเปนทัศนคติที่มี ความมั่นคงมากกวา (Baron, 1986: 162-163) มี นักวิจัยไดนําเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความผูกพันใน องคการไวจาํ นวนมาก อาทิงานของ Allen & Meyer (1990) และ Carrell & Heavrinl (1997) ซึง่ มีแนวคิด ที่สอดคลองกันวาความผูกพันตอองคการสามารถ เชื่อมโยงโดยตรง กับปจจัยตางๆ ไมวาจะเปนความ พึงพอใจในผลปฏิบัติงาน และการรักษาเจาหนาที่ ปจจัยเหลานี้ลวนแตสําคัญตอความเจริญกาวหนา และความอยูรอดขององคการ นอกจากนี้ยังมีงาน บางสวนที่มุงศึกษาเกี่ยวกับความสําคัญและผลที่ ตามมาของความผูกพันตอองคการในแงมุมตางๆ อาทิ ความสัมพันธในเชิงบวกระหวางความผูกพันตอ องคการกับความพึงพอใจในงาน (Mathis & Jackson, 1997; Robbins, 2003) การวิจัยความสัมพันธในเชิงบวกระหวางความ ผูกพันตอองคการกับผลการปฏิบัติงาน ซึ่งพบวา เจาหนาที่ที่มีความผูกพันตอองคการ จะมีพยายาม


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ในการทํางานที่สูงขึ้น สงผลตอผลการปฏิบัติงานที่ ดีขึ้น (Steer, 1991; มลฤดี ตันสุขานันท, 2550; ณัฏฐิกา เจยาคม, 2551: 17) การวิจยั ความสามารถ ในการทํานายถึงอัตราการขาดงานและอัตราลาออก จากงานจากความผูกพันตอองคการ โดยงานวิจัย ดังกลาวเสนอวาเจาหนาทีท่ มี่ คี วามผูกพันตอองคการ จะมีแนวโนมสูงที่จะเสียสละ ตองการมีสวนรวมกับ องคการ และสนับสนุนเปาหมายขององคการใหบรรลุ ผลมากทีส่ ดุ อันจะสงผลทําใหเจาหนาทีเ่ หลานัน้ ตัง้ ใจ ปฏิ บั ติ ง านและต อ งการที่ จ ะคงอยู  กั บ องค ก ารให ยาวนาน เพราะความผูกพันตอองคการจะสงผลตอ ความรูสึกการเปนสมาชิกในองคการ (Carrell & Heavrin, 1997) ความผูกพันตอองคการสงผลตอ ความคงอยู  ข ององค ก าร และสามารถนํ า ไปสู  ประสิ ท ธิ ภ าพองค ก าร เนื่ อ งจากความผู ก พั น ต อ องคการเปนแรงผลักดันใหเจาหนาทีป่ ฏิบตั งิ านอยาง เต็มที่ ทุม เทแรงกายแรงใจดวยความรูส กึ เปนเจาของ องค ก าร มี ค วามตั้ ง ใจที่ จ ะทํ า งานหนั ก เพื่ อ ความ สําเร็จโดยรวมของเปาหมายขององคการ (โสภณวิชญ บัวบานพรอม, 2551, หนา 16) แมมีสภาพแวดลอม ภายนอกมากระทบก็ไมสามารถทําใหความผูกพันตอ องคการเปลี่ยนแปลง จากการทบทวนวรรณกรรมพบว า ป จ จั ย สมรรถนะหลั ก มี ค วามสํ า คั ญ ในการสร า งคนที่ มี คุณภาพ แตคุณภาพดังกลาวยังไมเพียงพอ ถาคน ไมมคี วามผูกพันเปนหนึง่ เดียวกับองคการ การศึกษา ตัวชีว้ ดั คุณภาพจึงจําเปนตองศึกษาบนพืน้ ฐานความ สัมพันธจากปจจัยทั้งสองควบคูกันไป ยุคปจจุบันที่ สังคมตองการคนที่คุณธรรมนําความรู คูความสุข กรมราชทัณฑกเ็ ชนกันตองการเจาหนาทีท่ มี่ คี ณ ุ ภาพ มีความสมรรถนะหลักและยึดมั่นผูกพันกับองคการ เพื่ออยูพัฒนากรมราชทัณฑอยางตอเนื่องยาวนาน งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาความ สัมพันธระหวาง ความผูกพันในองคการกับสมรรถนะ หลักของเจาหนาที่กรมราชทัณฑ โดยใชเทคนิคการ

วิเคราะหองคประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ซึ่ง เทคนิคดังกลาวมีประโยชนเพือ่ ศึกษาวาองคประกอบ หลัก และองคประกอบยอยใดมีความสําคัญกวากัน (สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจติ รวรรณา และรัชนีกลู ภิญโญภานุวัฒน, 2552: 151) ผลของการศึกษาตัว บงชี้ที่เกิดขึ้นนาจะเปนประโยชน ตอการเปนกรณี ศึกษาใหกับองคการในภาครัฐอื่นๆ และเพื่อเปน แนวทางในการพั ฒ นากรมราชทั ณ ฑ เพื่ อ ค น หา สภาพของความผูกพันตอองคการและสมรรถนะหลัก ทีเ่ ปนอยู เพือ่ เปนขอมูลใหสอดรับกับการเปลีย่ นแปลง ในยุคปจจุบัน วิธีการวิจัย จากขอมูลกรมราชทัณฑพบวา จํานวนประชากร ในป จ จุ บั น มี ทั้ ง สิ้ น 11,437 คน (กรมราชทั ณ ฑ , 2552, ออนไลน) คํานวณหาขนาดกลุมตัวอยางแบบ ประมาณสัดสวน (Sample Size For Estimating a Proportion) ตามสูตรของ Thompson (1992: 38) ซึ่งกําหนดวา n=

N p (1-p) [ (N-1) (d)2/(z)2 ] + p (1-p)

เมื่อ d = ความคลาดเคลื่ อ นของการประมาณ สัดสวน (กําหนดที่ 0.05) p = สัดสวนของการประมาณคา (กําหนดไว ที่ 50%) N = ขนาดของประชากร n = ขนาดของกลุมตัวอยาง z = คา z score เมื่อกําหนดความเชื่อมั่น 95% ได 1.96 จากประชากร จํานวน 11,437 คน กําหนด ความคลาดเคลือ่ นของการสุม ตัวอยาง = 0.05 ขนาด ของกลุมตัวอยางแทนคาได ดังนี้

49


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

n =

11,437 (0.5) (0.5) [ (11,437 - 1) (0.05)2/(1.96)2 ] + (0.5) (0.5)

= 372 ตัวอยาง แตเพื่อปองกันปญหาการตอบขอคําถามที่ไม สมบูรณผวู จิ ยั จึงเพิม่ ขนาดกลุม ตัวอยางขึน้ อีกรอยละ 10 ได ข นาดกลุ  ม ตั ว อย า งที่ ต  อ งการทั้ ง สิ้ น 410 ตัวอยาง ตารางที่ 1 ประชากรและขนาดตัวอยางที่จัดเก็บตาม การสุมแบบแบงชั้น (n = 410 ตัวอยาง) หนวยงานที่สังกัด N % 1. ราชการบริหารสวนกลาง 7,511 65.67 2. ราชการบริหารสวนภูมิภาค 3,926 34.33

n 269 141

ที่มา: จากการคํานวณของผูวิจัย

จากตารางที่ 1 เมื่ อ ได ข นาดกลุ  ม ตั ว อย า ง (sample size) แลวผูวิจัยจึงใชวิธีการสุมตัวอยาง โดยใชทฤษฎีความนาจะเปน (probability sampling) โดยใช ก ารสุ  ม แบบแบ ง ชั้ น (stratified random sampling) จําแนกตามสังกัดของผูต อบแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใชเก็บขอมูลคือแบบสอบถามที่ผาน การตรวจสอบความตรงเชิงเนือ้ หา (Content Validity) จากผูทรงคุณวุฒิทางดานกระทรวงยุติธรรม รวม ทั้งหมด 7 คน วิเคราะหหาคา IOC (index of itemobjective congruence) และหาคาความเทีย่ ง (Reliability Test) ผูวิจัยจะวัดความสอดคลองภายใน (Internal Consistency Method) ดวยวิธีการของ สั ม ประสิ ท ธิ์ แ อลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) จากขอมูลที่ไมใชกลุมตัวอยาง จํานวน 40 คน ไดคาความเที่ยงดานความผูกพันใน องคการอยูใ นชวง 0.84-0.92 และคาความเทีย่ งดาน สมรรถนะหลัก อยูในชวง 0.88-0.92 ซึ่งถือวาผาน เกณฑในการทดสอบ หลังจากเก็บขอมูลไดครบ 410 ชุดแลว ผูว จิ ยั นํา

50

ขอมูลมาวิเคราะหเพื่อทดสอบคุณสมบัติของขอมูล วามีสอดคลองกับขอกําหนดในการใชเทคนิคการ วิเคราะหพหุตัวแปร (Multivariate analysis) โดยใช วิธกี ารวิเคราะหความเทีย่ งของตัวแปรแฝง (Construct reliability: c) และความแปรปรวนที่ถูกสกัดได (average variance extracted: v) (Diamantopoulos and siguaw, 2000) คาจากความผูกพันในองคการ ได c = 0.858 และไดคา v = 0.669 คาจาก สมรรถนะหลักได c = 0.932 และไดคา v = 0.734) ทดสอบค า สหสั ม พั น ธ แ บบเพี ย ร สั น (Pearson’s Coefficient Correlation) ระหวางกลุมตัวแปรแฝง เพือ่ หลีกเลีย่ งปญหาความสัมพันธระหวางตัวแปรทีส่ งู จนเกิดปญหาการรวมเสนตรงพหุ (Multicollinearity) โดยพิจารณาประกอบการทดสอบคาความทนทาน (tolerance) และคา VIF (variance inflation factors) ของตัวแปรแฝงแตละตัว (คาจากความผูกพันใน องคการได torlerance = 0.51 ได VIF = 1.95 คาจากสมรรถนะหลักได torlerance = 0.54 ได VIF = 1.86) ซึ่งปญหาการรวมเสนตรงพหุจะไมเกิดขึ้น ถาคาความทนทานมากกวา 0.1 (Hair et al 1995: 127) และคา VIF ไมเกิน 10 (Belsley 1991) เมื่อ ผานการทดสอบจึงนําขอมูลไปวิเคราะหองคประกอบ เชิงยืนยันอันดับที่สอง ผลการวิจัย จากสถิติพรรณนาพบวาผูตอบแบบสอบถาม สวนใหญเปนเพศชาย (รอยละ 60.73) มีอายุเฉลี่ย 40 ป มีอายุราชการโดยเฉลีย่ 14 ป มีสถานภาพสมรส (รอยละ 54.15) การศึกษาสวนใหญจบปริญญาตรี (รอยละ 58.54) และปฏิบัติงานในสวนทัณฑปฏิบัติ (รอยละ 24.15) เมื่อแยกการพรรณนากลุมตัวอยาง ตามหนวยงานที่สังกัดพบวาผูตอบแบบสอบถาม สั ง กั ด ส ว นกลางส ว นใหญ เ ป น เพศหญิ ง (ร อ ยละ 55.76) มีอายุเฉลี่ย 39 ป มีอายุราชการโดยเฉลี่ย 13 ป มีสถานภาพโสด (รอยละ 50.93) การศึกษา


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

สวนใหญจบปริญญาตรี (รอยละ 53.16) และปฏิบัติ งานในสวนบริหารงานทั่วไป (รอยละ 26.02) และ ผูต อบแบบสอบถามสวนภูมภิ าคเปนเพศชาย (รอยละ 92.20) มีอายุเฉลี่ย 41 ป มีอายุราชการโดยเฉลี่ย

16 ป มีสถานภาพสมรส (รอยละ 73.76) การศึกษา สวนใหญจบปริญญาตรี (รอยละ 68.79) และปฏิบตั งิ าน ในสวนควบคุมรักษาการณ (รอยละ 41.46) ตามลําดับ

ตารางที่ 2 คุณลักษณะสวนบุคคลของผูตอบแบบสอบถาม (n = 410 ตัวอยาง)

ตัวแปร 1. เพศ

ชาย หญิง

2. สถานภาพ

โสด สมรส หยา/แยกกันอยู/หมาย

3. การศึกษา

ตํ่ากวาปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกวาปริญญาตรี

หนวยงานที่สังกัด สวนกลาง

สวนภูมิภาค

119 (44.24) 150 (55.76) 137 (50.93) 118 (43.87) 14 (5.20) 23 (8.55) 143 (53.16) 103 (38.29)

130 (92.20) 11 (7.80) 27 (19.15) 104 (73.76) 10 (7.09) 35 (24.82) 97 (68.79) 9 (6.38)

รวม 249 (60.73) 161 (39.27) 164 (40.00) 222 (54.15) 24 (5.85) 58 (14.15) 240 (58.54) 112 (27.32)

51


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ตารางที่ 2 คุณลักษณะสวนบุคคลของผูตอบแบบสอบถาม (n = 410 ตัวอยาง) (ตอ)

หนวยงานที่สังกัด

ตัวแปร 4. ลักษณะงาน

บริหารทั่วไป งานฝกวิชาชีพ ควบคุมรักษาการณ งานสวัสดิการ งานศึกษาและพัฒนาจิตใจ ทัณฑปฏิบัติ งานอื่นๆ

รวม

สวนกลาง

สวนภูมิภาค

70 (26.02) 7 (2.60) 35 (13.01) 36 (13.38) 7 (2.60) 55 (20.45) 59 (21.93)

15 (10.64) 47 (33.33) 15 (10.64) 5 (3.55) 44 (31.21) 15 (10.64)

85 (20.73) 7 (1.71) 82 (20.00) 51 (12.44) 12 (2.93) 99 (24.15) 74 (18.05)

5. อายุ

Mean

39.23

41.46

40.00

min = 24 max = 60

SD.

8.69

8.21

8.59

6. อายุราชการ

Mean

13.29

16.45

14.38

min = 1 max = 37

SD.

9.00

8.95

9.09

เมื่อนําความแตกตางของแตละปจจัย ในเรื่อง ความผู ก พั น ต อ องค ก ารและสมรรถนะหลั ก มา

52

วิเคราะหโดยจําแนกตามหนวยงานที่เจาหนาที่กรม ราชทัณฑสังกัด ดังในตารางที่ 3


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ตารางที่ 3 ความผูกพันตอองคการและสมรรถนะหลักจําแนกตามหนวยงานที่สังกัด

ปจจัยดาน

หนวยงานที่สังกัด

Mean

SD.

ระดับ

1. ความผูกพันตอ องคการดานจิตใจ

สวนกลาง สวนภูมิภาค กรมราชทัณฑ สวนกลาง สวนภูมิภาค กรมราชทัณฑ สวนกลาง สวนภูมิภาค กรมราชทัณฑ

3.62 3.78 3.68 3.70 3.90 3.77 3.57 3.71 3.62

0.74 0.69 0.73 0.74 0.72 0.74 0.60 0.59 0.60

มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก

2. ความผูกพันตอ องคการดาน บรรทัดฐาน 3. สมรรถนะดาน ความเปนผูนํา

t

p_value

-2.14

0.03*

-2.62

0.01**

-2.26

0.02*

(นําเสนอเฉพาะปจจัยที่มีความแตกตางอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ)

ผลการวิจยั พบความแตกตางอยางไมมนี ยั สําคัญ ทางสถิติ ในดานความผูกพันตอองคการดานการคงอยู ในองคการ สมรรถนะดานการใฝสมั ฤทธิใ์ นหนาทีง่ าน สมรรถนะดานสัมพันธภาพ สมรรถนะดานคุณลักษณะ สวนบุคคล และสมรรถนะดานการจัดการ และพบ ความแตกตางอยางมีนยั สําคัญทางสถิตใิ นเรือ่ ง ความ ผูกพันตอองคการดานจิตใจ ความผูกพันตอองคการ

ดานบรรทัดฐาน และสมรรถนะดานความเปนผูนํา กอนการวิเคราะหองคประกอบเชิงยืนยันอันดับ สอง ดวยการสกัดองคประกอบวิธีความเปนไปได สูงสุด (Maximum likelihood: ML) ผูวิจัยปรับแบบ จําลองใหสอดคลองกับขอมูลเชิงประจักษกอนที่จะ อภิปรายผล

ตารางที่ 4 ดัชนีที่ใชในการตรวจสอบความสอดคลองและความกลมกลืนของตัวแบบกับขอมูลเชิงประจักษ

ลําดับที่

คา

เกณฑ

1 2 3 4 5

2/df

นอยกวา 5 0.05-0.08 0.9 ขึ้นไป 0.9 ขึ้นไป นอยกวา 0.05

RMSEA NFI CFI STD RMR

ตัวแบบกอนปรับ 3.95 0.085 0.96 0.97 0.06

ตัวแบบหลังปรับ ✓ ✓ ✓

2.03 0.050 0.98 0.99 0.05

✓ ✓ ✓ ✓ ✓

หมายถึง ผานเกณฑผลการทดสอบดัชนีที่ใชในการตรวจสอบ ที่มา: สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน, 2552: 22-24

53


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ผลการทดสอบดัชนีที่ใชในการตรวจสอบความ สอดคลองและความกลมกลืนของตัวแบบกับขอมูล เชิงประจักษ ในตัวแบบแรกพบวายังไมผานเกณฑ การทดสอบความสอดคลอง โดยคารากที่สองของ คาเฉลีย่ ความคลาดเคลือ่ นกําลังสองของการประมาณ คา Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) มีความสอดคลองเชิงประจักษเล็กนอย อีกทั้งคาดัชนีวัดความสอดคลองในรูปความคลาด เคลือ่ นมาตรฐาน Standardized Root Mean Square Residual (STD RMR) ไมผานเกณฑ และถึงแมวา

คาอัตราสวนระหวาง ไคสแควร กับ องศาความเปน อิสระ (2/df) คาดัชนีวัดความสอดคลองเชิงสัมพัทธ (Relative Fix Index) ทั้งสวน Normed Fit Index (NFI) และ Comparative Fit Index (CFI) ในตัว แบบแรกจะผานเกณฑการทดสอบ แตหลังจากทีไ่ ดมี การปรับตัวแบบแลวจะพบวาตัวแบบมีความสอดคลอง เชิงประจักษมากยิ่งขึ้น ผูวิจัยจึงไดเลือกตัวแบบที่มี ความสอดคลองเชิงประจักษมากกวามาใชในการสรุป ผลการวิจัย

รูปที่ 1 ตัวบงชี้ความสัมพันธระหวางความผูกพันในองคการ กับสมรรถนะหลักของเจาหนาที่กรมราชทัณฑ หลังปรับใหสอดคลองกับขอมูลเชิงประจักษ

54


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ผลจากการนําเสนอจากรูปที่ 1 พบวามีความ สัมพันธระหวางความผูกพันในองคการกรมราชทัณฑ กับสมรรถนะหลักของเจาหนาที่สูง อยางมีนัยสําคัญ ทางสถิติ ( = 0.65) องคประกอบตัวบงชี้ดานความ ผูกพันของเจาหนาที่กรมราชทัณฑ เกิดจากความ ผูกพันดานจิตใจมากทีส่ ดุ (y1 = 0.89) องคประกอบ ตัวบงชี้สมรรถนะหลักของเจาหนาที่กรมราชทัณฑ

เกิดจากสมรรถนะในสมรรถนะดานการใฝสัมฤทธิ์ ในหนาที่งานมากที่สุด (y4 = 0.90) ผูวิจัยไดแยก นําเสนอการวิเคราะหองคประกอบเชิงยืนยันลําดับ แรกและลําดับที่สอง ใชคาความเที่ยงตัวแปรแฝง (c) ความแปรปรวนเฉลีย่ ทีส่ กัดได (v) ความเทีย่ ง ตัวแปรที่สังเกตได (R2) และคานํ้าหนักขององค ประกอบ (y)

ตารางที่ 5 การวิเคราะหองคประกอบเชิงยืนยันลําดับสอง (เกณฑ c > 0.6; v > 0.5) ตัวแปรแฝง

ตัวแปรสังเกตได

tc

tv

1. ความผูกพันองคการดานจิตใจ (AFFECTIVE) 1. ทานมีความสุขเมื่อเปนสวนหนึ่งในองคการนี้ 2. ภาคภูมิใจเมื่อไดบอกเลาถึงงานที่ทํา 3. ปญหาของกรมราชทัณฑ เปนเสมือนปญหาทาน 4. กรมราชทัณฑไดสรางความผูกพันทางใจใหทาน 5. ทานรูสึกถึงความเปนเจาของ ในองคการที่ทานอยู

0.91

0.67

2. ความผูกพันองคการดานการคงอยูในองคการ (COTINUANCE) 1. ความยากลําบากในการตัดสินใจ หากจะตองลาออก 2. ความผูกพันทางใจ เปนสิ่งจูงใจใหทานคงอยู

0.87

3. ความผูกพันองคการดานบรรทัดฐาน (NORMATIVE) 1. เสถียรภาพจะเกิดขึ้นถาทํางานกับกรมฯตลอดชีวิต 2. ทานตระหนักถึงความจงรักภักดีตอองคการ 3. ไมลาออกแมจะไดรับขอเสนอที่ดีกวา 4. ความจงรักภักดีเปนสิ่งสําคัญ ที่ทําใหกรมฯคงอยู

0.85

4. สมรรถนะดานใฝสัมฤทธิ์ในหนาที่งาน (TASK) 1. ความสามารถในการตั้งเปาหมาย 2. ความสามารถในการพัฒนามาตรฐานใหกับงาน 3. ความสามารถในการวางแผนเชิงกลยุทธ 4. ความคิดเห็นที่มีอิทธิพลตองาน 5. ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค 6. ความสามารถในเชิงคิดสรางสรรค 7. ความสามารถในการปรับตัว 8. ความสามารถในการคิดสรางกระบวนการใหม 9. ความเอาใจใสคุณภาพของงาน 10. ความสามารถในการแกไขปญหาผูอื่น 11. ความสามารถในการพัฒนาวิธีที่มีอยู

0.92

R2

my

0.67 0.65 0.62 0.66 0.69

0.69 0.67 0.64 0.76 0.75

0.67 0.87

0.81 0.89

0.53 0.81 0.54 0.48

0.69 0.76 0.70 0.66

0.60 0.58 0.63 0.42 0.48 0.67 0.56 0.59 0.42 0.42 0.47

0.54 0.48 0.57 0.50 0.48 0.57 0.52 0.80 0.42 0.67 0.45

0.76

0.59

0.52

55


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ตารางที่ 5 การวิเคราะหองคประกอบเชิงยืนยันลําดับสอง (เกณฑ c > 0.6; v > 0.5) (ตอ) ตัวแปรแฝง

tc

tv

5. สมรรถนะดานสัมพันธภาพ (RELATIONSHIP) 1. สามารถเลื่อนผลการปฏิบัติงานของสมาชิกในทีม 2. ความสามารถในการเติมความผูกพันใหสมาชิก 3. ความเอาใจใสชวยเหลือสมาชิก 4. ความเอาใจใสสนองตอบผูที่เขามาติดตอ 5. เขาใจความรูสึกของผูอื่น 6. ความสามารถในการแกปญหาที่ละเอียดออนของผูอื่น 7. ความสนใจในการเก็บขอเท็จจริง 8. การพัฒนากลยุทธที่จะไดมาซึ่งความผูกพันตองาน 9. ความสามารถในการเนนสัมพันธภาพ 10. ความสามารถในการสื่อสารที่สอดคลอง 11. ความสนใจจะพัฒนาไมโจมตีผูอื่น 12. รูเวลาประนีประนอมและยืนหยัดความคิดเห็น 13. สนใจในการพัฒนาความรู 14. ความสามารถในการเขาใจวัฒนธรรม

0.94

0.54

6. สมรรถนะดานคุณลักษณะสวนบุคคล (PERSONAL) 1. ยอมรับตัวเองและเปนอิสระจะเผชิญความเสี่ยง 2. ความรับผิดชอบในการทํางานใหสําเร็จ 3. ความปรารถนาอยางแรงกลาที่จะพัฒนาตนเอง 4. ความสามารถในการประเมินตนเอง 5. ความสามารถในการคลี่คลายปญหา 6. มีความรับผิดชอบ 7. ความสามารถในการมองผลกระทบในองครวม 8. ความสามารถในการปฏิสัมพันธอยางสุภาพ 9. ความสามารถในการวิเคราะหปญหา 10.ความสามารถในการแกไขปญหาได

0.93

7. สมรรถนะดานการจัดการ (MANAGERIAL) 1. ความสามารถในการสรางทิศทาง 2. ความสามารถในการขจัดสิ่งขวางกั้น 3. ความสามารถในการจัดการกับปญหา 4. ความสามารถในการสรางแรงบันดาลใจ 5. ความสามารถในการยอมรับผิด 6. ความสามารถในการมอบหมายงาน 7. ความสามารถในการใหขอมูลยอนกลับ

0.91

56

ตัวแปรสังเกตได

R2

my

0.36 0.53 0.50 0.63 0.51 0.63 0.61 0.65 0.55 0.52 0.32 0.51 0.45 0.46

0.48 0.55 0.54 0.60 0.77 0.89 0.57 0.57 0.80 0.79 0.46 0.50 0.48 0.48

0.37 0.50 0.47 0.53 0.59 0.55 0.63 0.51 0.59 0.65

0.45 0.47 0.48 0.78 0.54 0.53 0.57 0.76 0.54 0.56

0.51 0.51 0.51 0.64 0.54 0.57 0.68

0.56 0.54 0.52 0.65 0.54 0.58 0.63

0.56

0.59


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ตารางที่ 5 การวิเคราะหองคประกอบเชิงยืนยันลําดับสอง (เกณฑ c > 0.6; v > 0.5) (ตอ) ตัวแปรแฝง

ตัวแปรสังเกตได

8. สมรรถนะดานความเปนผูนํา (LEADERSHIP) 1. ความสามารถในการอธิบายวิสัยทัศน 2. ความสามารถในการเขาใจจุดออนจุดแข็ง 3. ความสามารถในการรูสถานการณ 4. ความสามารถในการจูงใจตอเพื่อนรวมงาน 5. ความซื่อสัตยในการทํางาน 6. ความสามารถในการนําเพื่อนรวมงาน 7. ความสามารถในการสนับสนุนเพื่อนรวมงาน 8. ความสามารถในการอธิบายแรงจูงใจ

จากการวิเคราะหองคประกอบเชิงยืนยันลําดับ ที่สอง พบวาความเที่ยงของตัวแปรแฝง (c) อยู ระหวาง 0.85-0.94 คาความแปรปรวนเฉลีย่ ทีส่ กัดได (v) อยูร ะหวาง 0.52-0.76 พิจารณาทีละตัวแปรแฝง พบวา (1) ความผูกพันตอองคการดานจิตใจ จะมีคา นํ้ า หนั ก องค ป ระกอบตั้ ง แต 0.64-0.76 โดยกรม ราชทัณฑไดสรางความผูกพันทางใจใหมากที่สุด มี คาอํานาจในการพยากรณตั้งแต 0.62-0.69 (2) ความผูกพันตอองคการดานการคงอยูใน องคการ จะมีคานํ้าหนักองคประกอบตั้งแต 0.810.89 โดยดานความผูกพันทางใจ เปนสิง่ จูงใจใหทา น คงอยูใ นองคการมากทีส่ ดุ มีคา อํานาจในการพยากรณ ตั้งแต 0.67-0.87 (3) ความผู ก พั น ต อ องค ก ารด า นบรรทั ด ฐาน จะมีคานํ้าหนักองคประกอบตั้งแต 0.66-0.76 โดย ดานทานตระหนักถึงความสําคัญเรือ่ งความจงรักภักดี ตอองคการมากที่สุด มีคาอํานาจในการพยากรณ ตั้งแต 0.48-0.81 (4) สมรรถนะหลักดานใฝสัมฤทธิ์ในหนาที่งาน จะมีคานํ้าหนักองคประกอบตั้งแต 0.42-0.80 โดย ดานความสามารถในการคิดสรางกระบวนการใหม มากทีส่ ดุ มีคา อํานาจในการพยากรณตงั้ แต 0.42-0.67

tc

tv

0.93

0.62

R2

my

0.58 0.53 0.58 0.60 0.50 0.66 0.65 0.68

0.58 0.57 0.59 0.58 0.54 0.62 0.62 0.65

(5) สมรรถนะหลักดานสัมพันธภาพ จะมีคา นํ้าหนักองคประกอบตั้งแต 0.46-0.89 ดานความ สามารถในการแกปญ  หาทีล่ ะเอียดออนของผูอ นื่ มาก ที่สุด มีคาอํานาจในการพยากรณตั้งแต 0.32-0.65 (6) สมรรถนะหลักคุณลักษณะสวนบุคคลจะมี คานํ้าหนักองคประกอบตั้งแต 0.45-0.78 ดานความ สามารถในการประเมินตนเองมากที่สุด มีคาอํานาจ ในการพยากรณตั้งแต 0.37-0.65 (7) สมรรถนะหลั ก ด า นการจั ด การ จะมี ค  า นํ้าหนักองคประกอบตั้งแต 0.52-0.65 ดานความ สามารถในการแรงบันดาลใจมากทีส่ ดุ มีคา อํานาจใน การพยากรณตั้งแต 0.51-0.68 (8) สมรรถนะหลักดานความเปนผูนํา จะมีคา นํ้าหนักองคประกอบตั้งแต 0.54-0.65 ดานความ สามารถในการอธิบายแรงจูงใจมากทีส่ ดุ มีคา อํานาจ ในการพยากรณตั้งแต 0.50-0.68 ผลการวิเคราะหองคประกอบเชิงยืนยันลําดับ แรก พบวาคาสัมประสิทธิ์ของทุกตัวแปรมีนัยสําคัญ ทางสถิติ โดยความผูกพันตอองคการมีความสัมพันธ ในเชิงบวก กับสมรรถนะหลักของเจาหนาที่กรม ราชทัณฑในระดับสูง ( = 0.65) สอดคลองกับงาน วิจยั ของบุษยมาส มารยาตร (2542) ทีเ่ สนอวาการที่ เจาหนาที่ในองคการจะมีสมรรถนะในระดับใดนั้น

57


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ขึ้นอยูกับลักษณะการดําเนินงานเปนสําคัญ ผลการ วิเคราะหตามองคประกอบเชิงยืนยันแรกจะพบวา ความผูกพันตอองคการของเจาหนาที่กรมราชทัณฑ จะเนนความผูกพันตอองคการดานจิตใจมากกวา ความผูกพันตอองคการดานการคงอยู แสดงใหเห็นวา เจาหนาที่ตองการจะอยูกับองคการดวยใจ มากกวา ที่คิดวาจําเปนตองอยู เพราะไมอยากสูญเสียในสิ่งที่ ลงทุนไป และสูงกวาความผูกพันตอองคการดาน บรรทัดฐาน ซึ่งหมายความวาเขาสมควรอยู เพราะ เปนความถูกตองทางสังคม สอดคลองกับแนวคิดของ

Allen & Meyer (1990, pp. 1-18) และสอดคลองกับ งานวิจัยของชวนา อังคนุรักษพันธ (2546) สวน ตัวแปรดานสมรรถนะหลักของเจาหนากรมราชทัณฑ จะอยูที่ สมรรถนะหลักดานใฝสัมฤทธิ์ในหนาที่งาน มากที่สุด สอดคลองกับแนวคิดของ Gibson (2000) และงานวิจยั ของอิสระ บุญญะฤทธิ์ (2545) ทีเ่ สนอวา สมรรถนะดานการใฝสัมฤทธิ์ในหนาที่งานมีความ สัมพันธกันทางบวกกับประสิทธิผลของหัวหนางาน ระดับตน (พิจารณาตามตารางที่ 6)

ตารางที่ 6 การวิเคราะหองคประกอบเชิงยืนยันลําดับแรก

ตัวแปรแฝง

ตัวแปรสังเกตได

1. ความผูกพันตอองคการของกรมราชทัณฑ (COMTIMENT) 1. ความผูกพันตอองคการดานจิตใจ 2. ความผูกพันตอองคการดานการคงอยูในองคการ 3. ความผูกพันตอองคการดานบรรทัดฐาน 2. สมรรถนะหลักของเจาหนาที่กรมราชทัณฑ (COMPETENCIES) 1. สมรรถนะหลักดานใฝสัมฤทธิ์ในหนาที่งาน 2. สมรรถนะหลักดานสัมพันธภาพ 3. สมรรถนะหลักคุณลักษณะสวนบุคคล 4. สมรรถนะหลักดานการจัดการ 5. สมรรถนะหลักดานความเปนผูนํา ความผูกพันตอองคการ สมรรถนะหลัก อภิปรายและสรุปผลการวิจัย กรมราชทั ณ ฑ ส ามารถสร า งความสั ม พั น ธ ระหวางปจจัยความผูกพันตอองคการและสมรรถนะ หลักใหสูงขึ้นกวาที่เปนอยูได โดยผูบริหารตองให ความสนใจและมุงเนนเปนพิเศษ กับเจาหนาที่กรม ราชทัณฑที่สังกัดอยูสวนกลาง ซึ่งผลการวิจัยพบวา ปจจัยดานความผูกพันตอองคการดานจิตใจ ดานความ ผูกพันตอองคการดานบรรทัดฐาน และสมรรถนะหลัก ดานความเปนผูนํา จะนอยกวาสวนภูมิภาคอยางมี

58

y1 y2 y3 y4 y5 y6 y7 y8 

สปส.

SE.

t

0.89 0.86 0.88

0.05 0.06 0.06

17.41 15.32 14.82

0.90 0.89 0.88 0.88 0.87 0.65

0.05 0.07 0.07 0.06 0.05 0.03

16.33 12.75 12.56 15.09 16.16 19.26

นั ย สํ า คั ญ โดยอาศั ย การจั ด อบรมพั ฒ นาฟ น ฟู ใ ห เจาหนาทีม่ คี วามรูส กึ เปนหนึง่ เดียวกัน และเห็นคุณคา ของงานทีท่ าํ เพือ่ สรางทัศนคติทดี่ ตี อ งานสรางความ ซือ่ สัตยตอ การทํางาน และกอใหเกิดความจงรักภักดี ตอองคการ อีกทั้งควรจัดสวัสดิการใหเหมาะสมกับ คาครองชีพที่สูงขึ้น เพื่อปองกันปญหาการลาออก จากงาน และการใชตําแหนงหนาที่ของตนในทางที่ มิชอบได ผลการวิจัยยังพบความสัมพันธระหวาง ความผู ก พั น ต อ องค ก ารและสมรรถนะหลั ก ของ


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

เจ า หน า ที่ ก รมราชทั ณ ฑ ดั ง นั้ น การพั ฒ นากรม ราชทัณฑมีความจําเปนตองทําแบบคูขนานทั้งสอง ปจจัยควบคูก นั นอกจากนี้ ในภาพรวมปจจัยในดาน ความผูกพันทางดานจิตใจ และสมรรถนะหลักดานการ ใฝสมั ฤทธิใ์ นหนาทีง่ าน ถือเปนจุดแข็งกรมราชทัณฑ มีจําเปนที่จะตองธํารงรักษาเอาไว ในขณะเดียวกัน ปจจัยประกอบอื่นๆ ก็มีความสําคัญไมยิ่งหยอนกวา กัน กรมราชทัณฑมีจําเปนที่จะตองพัฒนาองคการ ในแตละปจจัยอยางตอเนือ่ ง โดยอาศัยมีการประเมิน ดานสมรรถนะและความผูกพันองคการ เพื่อใหเกิด ผลการพัฒนาที่ย่งั ยืนตอไป ขอเสนอแนะการทําวิจัยครั้งตอไป 1. งานวิจยั ดังกลาวเปนงานวิจยั แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) ซึ่งทําการเก็บในชวงเวลา หนึ่ง ดังนั้นผูที่สนใจจะนําตัวแบบดังกลาวไปศึกษา ในลักษณะของ การวิจัยในระยะยาว (longitudinal studies) ก็สามารถจะทําใหเห็นภาพของการวิจัยที่ ชัดเจนยิ่งขึ้น 2. ผูท สี่ นใจอาจจะศึกษาตัวแบบทีไ่ มจาํ กัดเฉพาะ กลุม ผูบ ริหาร และเจาหนาทีก่ รมราชทัณฑ โดยขยาย เขตแดนการศึกษาในภาพรวมใหครบถวน โดยเก็บ ขอมูลจากผูมีสวนไดสวนเสียของกรมราชทัณฑใน สวนอืน่ ซึง่ จะทําใหมองเห็นภาพในองครวม (Holistic) ไดชัดเจนยิ่งขึ้น

บรรณานุกรม กรมราชทัณฑ. (2552). จํานวนเจาหนาที่ในกรม ราชทั ณ ฑ . สื บ ค น เมื่ อ 19 มิ ถุ น ายน 2552, เว็บไซต: http://www.correct.go.th/demo/www/ aboutus/about2.html เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภช. (2546). การพัฒนาความ สามารถเชิ ง สมรรถนะ. กรุ ง เทพฯ: โกลบั ล คอนเซิรน.

ชวนา อังคนุรักษพันธ. (2546). การรับรูวัฒนธรรม องค ก ารและความผู ก พั น ต อ องค ก ารของเจ า หนาที่ในธุรกิจโรงแรม. วิทยานิพนธการจัดการ มหาบัณฑิต, สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยบูรพา. ณรงควิทย แสนทอง. (2547). มารูจัก Competency กันเถอะ. กรุงเทพฯ: เอชอาร เซ็นเตอร. ณัฏฐิกา เจยาคม. (2551). พฤติกรรมการทํางานของ เจาหนาที่ดีเดนในโรงงานอุตสาหกรรม: กรณี ศึกษา. ปริญญานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. ดนั ย เที ย นพุ ฒ . (2543). การจั ด การเรื่ อ งความ สามารถ: หัวใจสําคัญของความสําเร็จ. วารสาร บริหารคน, 18(2), 11-18. เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2543). CompetencyBased Human Resource: Management. วารสารบริหารคน, 21(5), 26-41. ธานินทร อุดม. (2540). Competency-Based Training. จุลสารพัฒนาขาราชการ, 1, 17-19. ธํารงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2548). เริ่มตนอยางไร เมื่อ จะนํา Competency มาใชในองคการ. กรุงเทพฯ: สมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน). นันทพร ศุภะพันธุ. (2551). การศึกษาสมรรถนะการ บริหารดานวิชาการของผูบ ริหารโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพืน้ ทีก่ าร ศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. ปริญญานิพนธ การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการ ศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. บุษยมาส มารยาตร. (2542). การประเมินขีดความ สามารถในการปฏิ บั ติ ง านของนั ก พั ฒ นา ทรัพยากรมนุษย กรณีศกึ ษาการปโตรเลียมแหง ประเทศไทย. ภาคนิ พ นธ , สถาบั น บั ณ ฑิ ต พัฒนบริหารศาสตร.

59


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ปทมา เพชรไพริทร. (2547). สมรรถนะพยาบาล ประจําการโรงพยาบาลขอนแกน. วิทยานิพนธ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแกน. พิมพกานต ไชยสังข. (2546). สมรรถนะของเจาหนาที่ ในบริษทั ทีป่ รึกษาดานบัญชีและการเงินแหงหนึง่ . ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร. ภรณี กีรบุตร. (2529). การประเมินประสิทธิผลของ องคการ. กรุงเทพมหานคร: โอเอสพริน้ ติง้ เฮาส. มลฤดี ตันสุขานันท. (2550). ความสัมพันธระหวาง พฤติกรรมทีส่ อดคลองกับวัฒนธรรมองคการกับ ความผูกพันของเจาหนาที่: กรณีศึกษา บริษัท สื่อสารโทรคมนาคม แหงหนึ่ง. วิทยานิพนธ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, การพัฒนาทรัพยากร มนุษยและองคการ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร. วันทนา กอวัฒนาสกุล. (2543). ทักษะ ความรู ความ สามารถ (Competency). วารสารเพิ่มผลผลิต, 39(4), 19-24. วิฑูรย สิมะโชคดี. (2541). ยอดหัวหนางาน Excellent Supervisor. กรุงเทพฯ: TPA Publishing. ศศิวิมล ทองพั้ว. (2548). ปจจัยที่มีผลตอสมรรถนะ ในการปฏิบัติงาน ของเภสัชกรในโรงพยาบาล ชุมชน เขตการสาธารณสุข 6. วิทยานิพนธ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ขอนแกน. สํานักงานคณะกรรมการขาราชการพลเรือน. (2548). คูมือสมรรถนะราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง. สุกญ ั ญา รัศมีธรรมโชติ. (2548). แนวทางการพัฒนา ศั ก ยภาพมนุ ษ ย ด  ว ย Competency Based Learning. กรุงเทพฯ: ฝายวิจยั และระบบสารสนเทศ สถาบันเพิ่มผลผลิตแหงชาติ.

60

สุดารัตน ลิมปะพันธ และคณะ. (2549). การประเมิน ความสามารถเชิงสมรรถนะหลักบุคลากร สํานัก พั ฒ นาบริ ก ารสุ ข ภาพ กรมสนั บ สนุ น บริ ก าร สุขภาพ. กรุงเทพฯ: ชงเธียรมารเก็ตติ้ง. สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจติ รวรรณา และ รัชนีกลู ภิญโญภานุวฒ ั น. (2552). สถิตวิ เิ คราะหสาํ หรับ การวิจยั ทางสังคมศาสตรและพฤติกรรมศาสตร: เทคนิคการใชโปรแกรม LISREL. พิมพครัง้ ที่ 2. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่งคงการพิมพ. โสภณวิชญ บัวบานพรอม. (2551). ปจจัยที่มีความ สัมพันธกบั ความผูกพันของเจาหนาทีบ่ ริการลูกคา ทางโทรศัพทบริษัท ทรู คอรปอเรชั่น จํากัด (มหาชน). ปริญญานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. อานนท ศักดิว์ รวิชย. (2547). แนวคิดเรือ่ งสมรรถนะ Competency: เรื่ อ งเก า ที่ เ รายั ง หลงทาง. จุฬาลงกรณรีวิว, 4(9), 28-31. อาภรณ ภูว ทิ ยพันธ. (2548). Competency Dictionary. กรุงเทพฯ: เอช อาร เซ็นเตอร. อิสระ บุญญะฤทธิ์. (2545). การศึกษาความสัมพันธ ระหวางภาวะผูน าํ สมรรถนะ บรรยากาศองคการ และประสิทธิผลของหัวหนางานระดับตน. วิทยานิพนธวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร. Allen, N.J and Meyer, J.P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance, and normative commitment to the organization. The Journal of Occupational Psychology, 63, 1-18. Baron, R.A. (1986). Behavior in organization: Understanding and managing the human side of work. 2nd ed. Boston: Allyn and Bacon.


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

Belsley, D. (1991). Conditional diagnostics: Collinearity and weak data in regression. New York: John Wiley. Bowden, J. & Masters, G. (1993). Implications for Higher Education of a CompetencyBased Approach to Education and Training. Canberra: AGPS. Boyatzis, R. E. (1996). The competent manager: A theory of effective performance. New York: John Wiley. Burgoyne, J. (1993). The competence movement: Issues, Stakeholders and Prospects. Personnel Review, 22, 6-13. Carrell, M.J. & Heavirin, C. (1997). Fundamental of organizational behavior. New Jersey: Prentice-Hall. Dales, M. & Hes, K. (1995). Creating Training Miracles. Sydney: Prentice-Hall. Diamantopoulos, A. and Siguaw, A.D. (2000). Introducing LISREL: A guide for the uninitiated. London: Sage Publications. Eisenberger, R. et al. (1990). Perceived organizational support and employee diligence, commitment, and innovation. Journal of Applied Psychology, 75, 193-208. Fazzi, R. A. (1994). Management plus: Maximizing productivity through motivations, performance, and commitment. New York: Macmillan. Gibson, J.L. et al. (2000). Organization: Structure, process, behavior. 10 th ed. New York: McGraw-Hill. Hair, J.L., Anderson, R.E, Tatham, R.L., Black, W.C. (1998). Multivariate data analysis with Readings. 5th ed. London: Prentice Hall.

Luthanas, F. (2002). Organiztioanl behavior. 9th ed. New Jersey: McGraw-Hill. Mathis, R.L. & Jackson, J.H. (1997). Human resources management. 8th ed. New York: West Publishing. Northcraft, G.B & Neale, M.A. (2003). Organization behavior: A management Challenge. 2nd ed. New York: Dryder Press. Robbins, S.P. (2003). Organiational behavior. New Jersey: Pearson Education. Shermon, D. (2004). Competency based HRM: A strategies resource for Competency Mapping Assessment and Development Centres. New Delhi: Tata McGraw-Hill. Steers, R.M. (1991). Introduction to organizational behavior. 5nd ed. Illinois: Foresman. Sternberg, R. & Kolligian J. (1990). Competence Considered. New Haven: Yale University Press. Thompson, S. K. (1992). Sampling. New York: John Willey.

61


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

Mr. Wisit Rittiboonchai received his Master of Business Administration in Management from Ramkhamhaeng University. He is currently a PhD. Candidate at Siam University and a lecturer at Ramkhamhaeng University and Burapha University. His main interests are in public administration, business administration, marketing research, statistics and Structural Equation Modeling by LISREL program.

62


¡

ÒÃà»ÃÕºà·ÕºËÅѡࡳ± »ÃÐàÁÔ¹´ŒÒ¹¡ÒþѲ¹ÒªØÁª¹ Í‹ Ò §ÂÑè § Â× ¹ Êí Ò ËÃÑ ºâ¤Ã§¡ÒÃÍÊÑ § ËÒÃÔ Á ·ÃÑ ¾  㠹 »ÃÐà·Èä·Â A Comparison of Sustainable Neighborhood Development Assessment Criteria for Real Estate Project in Thailand ธิดารัตน กฤดากร ณ อยุธยา นักศึกษาปริญญาโท คณะสถาปตยกรรม และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร E-mail: thidarat@tu.ac.th ดร.กองกูณฑ โตชัยวัฒน อาจารยประจําคณะสถาปตยกรรมและการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร E-mail: kongkoon@hotmail.com

บทคัดยอ งานวิจยั นีม้ วี ตั ถุประสงคเพือ่ ศึกษาและเปรียบเทียบหลักเกณฑประเมินดานการพัฒนาชุมชน อยางยัง่ ยืนสําหรับโครงการอสังหาริมทรัพยของประเทศไทย ขัน้ ตอนการศึกษาประกอบดวย 1) ศึ ก ษาหลั ก เกณฑ ก ารประเมิ น ของต า งประเทศ จํ า นวน 3 มาตรฐาน คื อ LEED (สหรัฐอเมริกา), GREEN STAR (ออสเตรเลีย) และ CASBEE (ญี่ปุน) 2) วิเคราะห เปรียบเทียบกับมาตรฐาน แบบการประเมินและกฎหมายตางๆ ของประเทศไทย ทีเ่ กีย่ วของ กับการประเมินดานการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย และ 3) สรุปผลการเปรียบเทียบของ หลักเกณฑประเมินดานการพัฒนาชุมชน ผลการศึกษาพบวาการประเมินผลกระทบทาง สิ่งแวดลอมตามกฎหมายสิ่งแวดลอม และแบบประเมินอาคารอนุรักษพลังงานของไทยมี รายการหลักเกณฑในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพยสอดคลองกับหลักเกณฑประเมิน ของตางประเทศที่นํามาใชเปนแนวทางในวางแผนการพัฒนาโครงการได สวนกฎหมายดาน

63


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

การผังเมืองและควบคุมอาคารคลายคลึงเพียงบางสวน เพราะเทคโนโลยีการกอสราง การ ขยายเมือง การพัฒนาดานสาธารณูปโภคพื้นฐานที่แตกตางกัน เกณฑประเมินดานคุณภาพ ชีวิตในชุมชนและการออกแบบใหโครงการมีปฏิสัมพันธทั้งภายในและภายนอกเปนเกณฑ เพิ่มเติมจากหลักเกณฑของไทย และผลการศึกษานี้สามารถใชเปนแนวทางในการจัดทํา หลักเกณฑประเมินดานการพัฒนาชุมชนอยางยัง่ ยืน และใชเปนแนวทางในการพัฒนาโครงการ อสังหาริมทรัพยประเภทที่อยูอาศัยในประเทศไทยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผูอยูอาศัยตอไป คําสําคัญ: การประเมิน การพัฒนาอยางยัง่ ยืน อสังหาริมทรัพย ระบบใหคะแนน เกณฑ

Abstract This research aimed at analyzing and comparing the alternative requirements related to sustainable neighborhoods development of real estate projects in Thailand. The methodology comprised: 1) studying three foreign neighborhood and urban development rating systems: the rating systems of Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) (U.S.), Green star (Australia), and Comprehensive Assessment System for Building Environmental Efficiency (CASBEE) (Japan), 2) comparing the foreign systems to existing standards and regulations of Thai laws related to real estate project development, and 3) summarizing the results of comparison of the assessments. The research was found that the environmental impact assessments by environmental regulations and energy and environmental assessment methods for buildings by the standard of Thai Green Building Institute (TGBI) and Department of Alternative Energy Development and Efficiency (DEDE) are partly in accordance with the foreign systems. For urban and building regulations, they are different from those of the foreign rating systems because of difference in construction technologies and sprawling infrastructure development and service. Assessment criteria related to quality of life assessment and relatively community promoting should be added. Finally, the results of this research can be used as a baseline for the sustainable neighborhoods development assessment of residential real estate and as the guideline of developing projects for better quality of life of residents. Keywords: Assessment, Sustainable development, Real estate, Rating system, Criteria

64


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ที่มา จากการขยายตัวของเมือง และจากปญหาสภาวะ แวดลอมภายในชุมชนมีผลตอคุณภาพชีวิตของผูอยู อาศัยในอสังหาริมทรัพย เปนผลใหผพู ฒ ั นาโครงการ อสั ง หาริ ม ทรั พ ย ต  า งๆ มี ก ารปรั บ กลยุ ท ธ ใ นการ วางแผนและออกแบบใหโครงการอสังหาริมทรัพย โดยเฉพาะประเภททีอ่ ยูอ าศัยมีความรืน่ รมย เปนมิตร ตอสิ่งแวดลอม ประหยัดพลังงาน และสามารถมี ปฏิ สั ม พั น ธ ต  อ ชุ ม ชน ประกอบกั บ แนวโน ม ของ โครงการอสั ง หาริ ม ทรั พ ย ใ นประเทศไทยเพิ่ ม ขึ้ น ประมาณรอยละ 2.8 ตอป โดยพื้นที่ที่เพิ่มมากที่สุด อยูในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพิ่มขึ้นกวา ประมาณรอยละ 3.7 ตอป (Rinchumpoo, 2010) และในปจจุบันมีการตรวจสอบ ประเมิน และรับรอง เพื่อยกระดับโครงการที่ใสใจกับการอนุรักษพลังงาน และสิ่ ง แวดล อ มมากขึ้ น ในประเทศไทย อาทิ เ ช น มาตรฐานการจั ด การสิ่ ง แวดล อ ม ISO 14001 (สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม, 2541) คูมือแบบประเมินอาคารประหยัดพลังงานและเปน มิตรตอสิง่ แวดลอม สําหรับอาคารพักอาศัย (บานเดีย่ ว บานแถว อาคารอยูอ าศัยรวม) (TEEAM) (จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย, 2550) และหลักเกณฑการประเมิน อาคารเขียว (TREES) (สถาบันอาคารเขียวไทย (TGBI), 2552) แตทั้งนี้ยังไมมีหลักเกณฑประเมิน ดานการพัฒนาชุมชนอยางยั่งยืน สําหรับประเมิน โครงการอสังหาริมทรัพยประเภทที่อยูอาศัยใชงาน รับรอง และใชแนวทางการวางแผนออกแบบโครงการ ตางๆ ในประเทศไทย ซึง่ ในตางประเทศมีการใชงาน อยางเปนทางการแลว อาทิเชน Leadership in Energy and Environmental Design for Neighborhood Developments (LEED-ND) (U.S. Green Building Council (USGBC), 2008) ของประเทศ สหรัฐอเมริกา Green Star Multi Unit Residential (GREEN STAR) (Green Building Council of Australia (GBCA), 2008) ของประเทศออสเตรเลีย

และ CASBEE for Urban Developments (CASBEE) (Urban Japan GreenBuild Council (JaGBC) & Japan Sustainable Building Consortium (JSBC), 2008) ของประเทศญี่ปุน ดังนัน้ ผูว จิ ยั จึงนําหลักเกณฑประเมินการพัฒนา ด า นชุ ม ชนจากต า งประเทศที่ มี ก ารเผยแพร แ ละ ใช ง านรั บ รองแล ว ศึ ก ษาเปรี ย บเที ย บกั บ ระเบี ย บ มาตรฐาน หลักเกณฑแบบการประเมินตางๆ และ กฎหมายที่เกี่ยวของของประเทศไทย และกําหนด หมวดการประเมินตามองคประกอบของการพัฒนา อยางยัง่ ยืน โดยคํานึงถึงดานสิง่ แวดลอม ดานเศรษฐกิจ และด า นภาวะสั ง คม เพื่ อ ใช เ ป น แนวทางในการ ออกแบบโครงการอสังหาริมทรัพยในประเทศไทยและ เพื่อใชเปนแนวทางในการจัดทําหลักเกณฑประเมิน ด า นการพั ฒ นาชุ ม ชนให มี ค วามยั่ ง ยื น อนุ รั ก ษ พลั ง งานและสิ่ ง แวดล อ ม ทั้ ง ต อ โครงการอสั ง หา ริมทรัพยทจี่ ะวางแผนกอสรางใหม หรือปรับปรุงใหมี การยกระดับดานการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผูอยู อาศัยตอไป วัตถุประสงค ในการศึกษางานวิจยั ในครัง้ นีม้ วี ตั ถุประสงคเพือ่ เปรียบเทียบรายการของเกณฑประเมินของโครงการ อสังหาริมทรัพยดานการพัฒนาชุมชนสีเขียวอยาง ยั่งยืน โดยแบงออกเปน 3 สวน ดังนี้ 1. ศึกษาหลักเกณฑการประเมินของตางประเทศ ที่เกี่ยวของกับ การพัฒนาชุมชนอยางยั่งยืนสําหรับ ประเมินโครงการอสังหาริมทรัพยประเภททีอ่ ยูอ าศัย จํานวน 3 มาตรฐาน คือ เกณฑการประเมินของ LEED (สหรัฐอเมริกา), GREEN STAR (ออสเตรเลีย) และ CASBEE (ญี่ปุน) 2. วิเคราะหเปรียบเทียบ มาตรฐาน ขอบังคับ หลักเกณฑ ระเบียบ ระบบการประเมิน และกฎหมาย ตางๆ ทีเ่ กีย่ วของกับดานการพัฒนาโครงการอสังหา ริมทรัพยของประเทศไทย การอนุรักษพลังงานและ

65


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

สิง่ แวดลอม คุณภาพชีวติ และการพัฒนาชุมชนอยาง ยั่ ง ยื น สํ า หรั บ ประเมิ น โครงการอสั ง หาริ ม ทรั พ ย ประเภทที่อยูอาศัย 3. สรุ ป ผลการเปรี ย บเที ย บรายการของ หลักเกณฑประเมินดานการพัฒนาชุมชนอยางยัง่ ยืน สําหรับประเมินโครงการอสังหาริมทรัพยประเภท ที่อยูอาศัย

4. เปรียบเทียบมาตรฐาน ขอบังคับ หลักเกณฑ ระบบการประเมินและกฎหมายตางๆ ทีเ่ กีย่ วของกับ หลักเกณฑประเมินของประเทศไทย กับหลักเกณฑ การประเมินของตางประเทศ 5. สรุปการเปรียบเทียบรายการของหลักเกณฑ ประเมินดานการพัฒนาชุมชนอยางยั่งยืนสําหรับ ประเมินโครงการอสังหาริมทรัพยประเภททีอ่ ยูอ าศัย

ขั้นตอนการศึกษา 1. ศึกษาหลักเกณฑการประเมินของตางประเทศ ที่เกี่ยวของกับการพัฒนาชุมชนอยางยั่งยืน สําหรับ ประเมินโครงการอสังหาริมทรัพยประเภททีอ่ ยูอ าศัย จํานวน 3 มาตรฐาน ดังนี้ ก) มาตรฐาน LEED for Neighborhood Developments, LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) System จัดทําและใชงาน ในประเทศสหรัฐอเมริกา ข) มาตรฐาน Green Star Multi Unit Residential, The Green Star Environmental Rating System จั ด ทํ า และใช ง านในประเทศ ออสเตรเลีย ค) มาตรฐาน CASBEE for Urban Developments, Comprehensive Assessment System for Building Environmental Efficiency (CASBEE) จัดทําและใชงานในประเทศญี่ปุน 2. ศึ ก ษาและรวบรวม มาตรฐาน ข อ บั ง คั บ หลักเกณฑ ระเบียบ ระบบการประเมิน และกฎหมาย ตางๆ ที่เกี่ยวของกับหลักเกณฑประเมินดานการ พัฒนาชุมชนในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย ของประเทศไทย 3. จําแนกและจัดหมวด หมู ของเกณฑประเมิน ตามลักษณะทางกายภาพใหมีตําแหนงที่ประเมิน ความหมายของการชีว้ ดั วัตถุประสงค และตัวชีว้ ดั ที่ มีลักษณะใกลเคียงกันในแตละหมวดหมูของแตละ เกณฑประเมินที่นํามาเปรียบเทียบ

การจัดกลุมหลักเกณฑ จากการศึกษาพบวาในกระบวนการรวบรวมและ เปรียบเทียบ มาตรฐาน ขอบังคับ หลักเกณฑ ระเบียบ ระบบการประเมิน และกฎหมายตางๆ ทีเ่ กีย่ วของกับ หลักเกณฑประเมินดานการพัฒนาชุมชนอยางยัง่ ยืน และการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพยประเภททีอ่ ยู อาศัยมีเกณฑที่มีสาระสําคัญที่เกี่ยวของ ดังตอไปนี้ 1. กฎหมายโยธาธิการและการผังเมือง (กรม โยธาธิการและผังเมือง, 2518, 2525, 2535) การ ควบคุมอาคาร (กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2553) การขุดดินและถมดิน (กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2543a) การจัดสรรทีด่ นิ (กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2543b) 2. กฎหมายสิ่งแวดลอม โดยอางอิงรายการจาก แนวทางการจัดทํารายงานการวิเคราะหผลกระทบ สิ่งแวดลอมดานโครงการที่พักอาศัย บริการชุมชน และสถานที่พักตากอากาศ 3. กฎหมายอนุ รั ก ษ พ ลั ง งาน (กรมพั ฒ นา พลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงาน, 2543) 4. แบบประเมิ น อาคารประหยั ด พลั ง งานและ เปนมิตรตอสิ่งแวดลอม 5. หลักเกณฑการประเมินอาคารเขียว เปนตน การนํามาตรฐาน ขอบังคับ หลักเกณฑ ระเบียบ ระบบการประเมิ น และกฎหมายต า งๆ ของไทย มาเปรี ย บเที ย บกั บ หลั ก เกณฑ ก ารประเมิ น ของ ตางประเทศ พบวามีเกณฑประเมินและขอกําหนด เปนจํานวนมาก ทั้งการจัดหมวดหมูในการกําหนด

66


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ประเด็นของการพิจารณา ประเมิน และใหความสําคัญ ตางกัน ดังนั้นผูวิจัยไดลําดับและจัดหมวดหมูใหม เพื่อใหมีความเหมาะสมตอการศึกษาเปรียบเทียบ ในช ว งแรกของการวิ จั ย ผู  วิ จั ย ได ท ดลองใช หลักเกณฑหวั ขอของแนวทางการจัดทํารายงานการ วิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมดานโครงการที่พัก อาศั ย บริ ก ารชุ ม ชน และสถานที่ พั ก ตากอากาศ มาเปนรายการเปรียบเทียบหลักเบื้องตน เนื่องจาก สามารถแบงออกไดเปน 2 สวนใหญ คือ 1. การจัดทํารายงานแสดงการศึกษาลักษณะและ สภาพของโครงการทัง้ กอนการกอสราง ระหวางการ กอสราง และภายหลังการกอสราง 2. แนวทางการแกไข มาตรการ เพื่อระงับหรือ บรรเทาผลกระทบทางด า นสิ่ ง แวดล อ มที่ อ าจจะ เกิ ด ขึ้ น ซึ่ ง มี ลั ก ษณะคล า ยกั บ การจั ด ลํ า ดั บ ของ หลักเกณฑการประเมินของ CASBEE for Urban Developments ของประเทศญี่ปุน แตเนื่องจากพบวาการจัดลําดับดังกลาวทําให รายการของหลักเกณฑที่ประเมินที่เกี่ยวกับอาคาร เขียว การอนุรักษพลังงาน และการใหความสําคัญ

ของการวางผังของโครงการขาดหายไป ซึ่งตอมา ผูวิจัยจึงใชการจัดหลักเกณฑโดยคํานึงถึงลักษณะ ทางกายภาพเปนหลัก ซึง่ ทําใหการระบุหมวด เกณฑ การประเมินเกณฑ โดยแบงออกเปน 2 ดานใหญ คือ 1. องคประกอบสิง่ แวดลอมในละแวกของชุมชน (Neighborhood Environmental Elements) โดยแบง ออกเปน 3 หมวดใหญ แบงออกเปน 3 หมวดคือ 1) สาธารณูปโภค 2) อาคาร และ 3) ที่วาง ซึ่งใน แตละหมวดสามารถรวมเกณฑประเมินไดทงั้ ลักษณะ ด า นกายภาพ ทั้ ง ที่ มี ก  อ นก อ สร า ง ในระยะเวลา กอสรางและภายหลังกอสรางแลวเสร็จภายในพื้นที่ ของโครงการ พรอมทัง้ ระบุเกณฑดา นมาตรฐานและ การจัดการซึ่งวางแผนใหเกิดขึ้นและอาจจะสงผลตอ ชุมชน 2. ธรรมชาติและสังคมแวดลอม (Natural and Social Environments) ประกอบดวย 3 หมวด คือ 1) ระบบนิเวศ 2) ธรรมชาติแวดลอม และ 3) สังคม แวดลอม ซึ่งปรากฏผังตามภาพที่ 1

67


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ภาพที่ 1 ผังแสดงการจําแนกหลักเกณฑประเมินการพัฒนาชุมชนสีเขียวอยางยั่งยืน

ผลของการจัดกลุมหลักเกณฑโดยการคํานึงถึง ลักษณะทางกายภาพและการกําหนดใหเกณฑบรรจุ อยูตามพิกัดจุดที่สิ่งตางตั้งอยูและถูกใชกระทําเปน หลักเกณฑในการคัดแยกหมวดหมู พบวาทําใหการ พิ จ ารณาเกณฑ ข องแต ล ะเกณฑ ใ นกฎหมาย มาตรฐาน ระเบียบ ขอบังคับ แบบประเมินของทั้ง 2 กลุมสามารถบรรจุอยูในตารางเปรียบเทียบใน หมวดเดียวกันไดงายตอความเขาใจ สะดวกตอการ คัดแยกสามารถใชเปรียบเทียบความคลายคลึงและ ความแตกตางในรายละเอียดของวัตถุประสงคของ การประเมิน และการใชงานในการประเมิน ในแตละ ประเด็นของแตละเกณฑไดอยางชัดเจนเหมาะสม มากขึ้น

68

ผลการเปรียบเทียบเกณฑ จากการศึกษาเปรียบเทียบและจัดกลุมเกณฑ การประเมิน แบงออกเปน 2 กลุมคือ 1. รายการเกณฑการประเมินตามกฎหมายและ มาตรฐานของไทย และ 2. รายการเกณฑประเมินของตางประเทศ พบวาในกลุม รายการเกณฑการประเมินของไทย การจัดทํารายการประเมินผลกระทบทางสิง่ แวดลอม (Environmental Impact Assessment: EIA) (สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดลอม, 2542) นั้น ไดมีการบรรจุประเด็นที่ พิ จ ารณาครอบคลุ ม ไปถึ ง กฎหมายผั ง เมื อ งและ กฎหมายควบคุมอาคารที่ใชบังคับของไทยสวนใหญ


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ไวแลว และในสวนของมาตรการลดและปองกันผล กระทบตางๆ และการรณรงคสง เสริมอนุรกั ษพลังงาน และสิง่ แวดลอมในสวนขององคอาคารมีแบบประเมิน อาคารประหยัดพลังงานและเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และหลั ก เกณฑ ก ารประเมิ น อาคารเขี ย วของ

ประเทศไทยบรรจุเกณฑไวแลวเชนกัน ดังนั้นจึง สามารถใชแนวทางการประเมินผลกระทบสิง่ แวดลอม รวมกับแบบประเมินทั้งสองแบบเปนเกณฑในการ เปรียบเทียบกับหลักเกณฑของตางประเทศตอไป ผลการศึกษาเปรียบเทียบ แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 จํานวนเกณฑที่เปรียบเทียบตามการจัดหมวดหมู

เกณฑ

คลายคลึง

ดานที่ 1 : องคประกอบสิง่ แวดลอมชุมชน - สาธารณูปโภค - อาคาร - ที่วาง

20 32 6

34 90 12

46 52 8

ดานที่ 2 : ธรรมชาติและสังคมแวดลอม - ระบบนิเวศ - ธรรมชาติแวดลอม - สังคมแวดลอม

11 24 10

0 5 0

0 2 0

ในด า นที่ 1 องค ป ระกอบสิ่ ง แวดล อ มชุ ม ชน พบวาทั้งสองกลุม มีความแตกตางกันเปนสวนใหญ โดยเฉพาะดานการออกแบบและระบบการจัดการ สาธารณูปโภค อาทิเชน ดานการขนสง ดานการ สื่อสาร และดานการจัดการของเสีย ที่แตกตางกัน และสวนดานการกําหนดเกณฑดานอาคารพบวา ในแบบประเมินอาคารประหยัดพลังงานและเปนมิตร ตอสิ่งแวดลอม และหลักเกณฑประเมินอาคารเขียว มีความคลายคลึงกันในการกําหนดเกณฑท่ีประเมิน ทําใหในสวนของอาคารและที่วางมีความคลายคลึง กันเปนสวนมากในดานการกําหนดทางดานกายภาพ แตในเกณฑการประเมินดานการจัดการยังมีความ แตกตางกันอยู ซึ่งเกณฑที่แตกตางกันอยางเห็นได ชัดเจน อาทิเชน เกณฑการใหคาความสําคัญกรณีที่ โครงการจัดใหมาตรการการทําใหมลพิษที่อาจจะ เกิดขึ้นลดลง หรือไมใชอุปกรณที่จะทําใหเกิดมลพิษ การใชพื้นที่สีเขียว การปลูกตนไมเพื่อบรรเทาภาวะ

มีเฉพาะเกณฑไทย มีเฉพาะเกณฑตางประเทศ

ปรากฏการณเกาะความรอน การใหความสําคัญการ ใชพลังงานหมุนเวียน การจัดวางผังอาคาร ทางเดิน ทางจักรยาน การออกแบบโดยพิจารณาโครงขาย ทั้งดานพลังงาน การขนสง และสาธารณูปโภคตางๆ ภายในชุมชน และการใหความสําคัญตอผูเชี่ยวชาญ ทีจ่ ะเขามาออกแบบโครงการตัง้ แตเริม่ ตนขออนุญาต การกอสราง เปนตน ส ว นด า นที่ 2 ธรรมชาติ แ วดล อ มและสั ง คม แวดลอม จากการศึกษาเกณฑประเมินไมมีความ แตกตางกันอยางเห็นไดชดั มีเพียงการกําหนดคาการ ใหคะแนนแตกตางกันเทานั้น

69


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ตารางที่ 2 จํานวนเกณฑเปรียบเทียบแตละเกณฑ

เกณฑ

EIA

TEEAM TREES

LEED

CASBEE

GREEN STAR

อื่นๆ *

ดานที่ 1 : องคประกอบสิ่งแวดลอมชุมชน - สาธารณูปโภค - อาคาร - ที่วาง

25 6 7

7 31 5

8 36 3

22 29 6

31 26 8

20 41 2

20 89 13

3 0 0

2 0 0

10 13 9

4 14 9

1 4 0

2 5 2

ดานที่ 2 : ธรรมชาติและสังคมแวดลอม - ระบบนิเวศ - ธรรมชาติแวดลอม - สังคมแวดลอม

9 26 10

หมายเหตุ *: กฎหมายผังเมือง กฎหมายพลังงาน กฎหมายควบคุมอาคาร กฎหมายจัดสรรทีด่ นิ กฎหมายสาธารณสุข กฎหมายบรรเทาสาธารณภัย กฎหมายขุดดินและถมดิน และ ISO 14001

อภิปรายผลการเปรียบเทียบเกณฑ จากผลการศึกษาเปรียบเทียบเกณฑการประเมิน จากทั้ ง 2 กลุ  ม ระหว า งหลั ก เกณฑ ป ระเมิ น ของ ประเทศไทยกับหลักเกณฑประเมินจากตางประเทศ พบวา 1. การดําเนินการวางแผน ออกแบบ และพัฒนา โครงการอสังหาริมทรัพย หากโครงการทีอ่ ยูใ นเกณฑ ที่ตองดําเนินการจัดทําการประเมินผลกระทบทาง สิ่งแวดลอมตามกฎหมายกําหนดสามารถใชรายการ ประเมินผลกระทบสิง่ แวดลอม ตามแนวทางการจัดทํา ที่สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิง่ แวดลอม กําหนดไวประกอบเปนสวนหนึง่ ของ หลักเกณฑการประเมินที่เทียบไดจากตางประเทศ ซึง่ มีรายการทีต่ อ งเพิม่ เติมใหตรงตามเกณฑทเี่ พิม่ ขึน้ คือ การออกแบบวางแผนใหโครงการมีการลดการใช วัสดุที่มีผลกระทบสิ่งแวดลอมและลดการใชพลังงาน และเพิม่ การออกแบบในการเปดใหโครงการสามารถ ปฏิสัมพันธกับชุมชนไดมากขึ้น 2. การวางแผนและออกแบบโครงการอสังหา ริมทรัพยเพื่อใหโครงการสามารถดําเนินการตาม

70

กฎหมายกํ า หนด ต อ งดํ า เนิ น การตามกฎหมาย ควบคุมอาคารอยางหลีกเลี่ยงมิได ซึ่งในเกณฑที่ เปรียบเทียบ พบวาการกําหนดของกฎหมายควบคุม อาคารไมมีสวนเกี่ยวของอยางเห็นไดชัดกับเกณฑ ในการพัฒนาดานชุมชน และเนื่องจากการจัดทํา รายงานประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดลอมมีจัดทํา รายละเอียดที่คลายคลึงกับรายการขอกําหนดของ กฎหมายควบคุมอาคารไวแลว ดังนั้นรายการเกณฑ ในกฎหมายควบคุ ม อาคารจึ ง ไม มี ผ ลโดยตรงกั บ เกณฑการประเมินดานชุมชนทีจ่ ะนําไปพิจารณาหรือ คํานึงถึงการประเมินดานชุมชนสีเขียวอยางยั่งยืน 3. ตามกฎกระทรวง ตามพระราชบัญญัติการ ผังเมือง ซึง่ กําหนดประเภท ขนาดการกอสรางโครงการ อสังหาริมทรัพยไวแลวตามเขตพื้นที่ที่กําหนดไว ดังนั้นตามกฎหมายการผังเมืองไมสามารถนํามา พิจารณาเปนหลักเกณฑประเมินดานชุมชนได เมื่อ เปรี ย บเที ย บกั บ เกณฑ ป ระเมิ น ของต า งประเทศ เนือ่ งจากในแตละประเทศมีการใหบริการสาธารณูปโภค โดยเฉพาะการใหบริการขนสงที่มีการพัฒนาตาม สภาพเศรษฐกิจของประเทศแตกตางกัน อาทิเชน


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ขนาดความกวาง จํานวนของถนน ทางเทา ทาง จักรยาน และความหลากหลายการใชงานพืน้ ที่ จึงไม สามารถนํ า เอาเกณฑ ป ระเมิ น ดั ง กล า วมาใช กั บ หลักเกณฑประเมินทีจ่ ะจัดตัง้ ขึน้ หรือใชเปนแนวทาง ในการพิจารณาวางแผนโครงการได 4. หลักเกณฑการประเมินของ GREEN STAR มีเฉพาะการประเมินลักษณะการอยูอ าศัยในอาคารสูง เปนสวนใหญ จึงทําใหการประเมินดานธรรมชาติ แวดลอมและดานสังคมแวดลอมขาดหายไป 5. การใช ง านหลั ก เกณฑ ก ารประเมิ น ที่ จ ะ สามารถนํามาเปนแนวทางในการใชงานที่ใกลเคียง กับประเทศไทยมากที่สุดคือ CASBEE ของประเทศ ญี่ปุน เนื่องจากการจําแนกรายการใกลเคียงกับการ จัดทํารายงานการประเมินผลกระทบทางสิง่ แวดลอม ของประเทศไทย ในการศึกษาเปรียบเทียบเกณฑประเมินดานการ พัฒนาชุมชนสีเขียวอยางยั่งยืน ทําใหไดทราบถึง แนวทางในการออกแบบโครงการอสังหาริมทรัพย โดยการคํ า นึ ง การเชื่ อ มต อ โครงการให มี ค วาม หลากหลายในการใชงานและมีปฏิสัมพันธกับชุมชน ภายนอกไดงายมากขึ้น และการเพิ่มสวนของใช การขนสงสาธารณะโดยคํานึงถึงการเลือกทําเลที่ตั้ง การสรางสาธารณูปโภค และการประสานงานไปยัง แหลงใหบริการตางๆ กอนการวางแผนกอนสราง ซึง่ จากผลการเปรียบเทียบมีความเปนไปไดอยางมาก ทีจ่ ะจัดทํารางหลักเกณฑการประเมินดานการพัฒนา ชุมชนสีเขียวอยางยั่งยืนที่มีพื้นฐานหลักเกณฑจาก ขอกฎหมาย ระเบียบ ขอบังคับ มาตรฐาน และแบบ ประเมินที่ใชอยูแลว และเพิ่มเติมดวยเกณฑประเมิน ของตางประเทศประยุกตใชกบั ประเทศไทยในอนาคต ตอไป และสามารถใชรายการเกณฑทไี่ ดเปรียบเทียบ ในหมูสาธารณูปโภคและอาคารใชในการออกแบบ โครงการอสังหาริมทรัพยประเภททีอ่ ยูอ าศัยเพือ่ การ พัฒนาชุมชนอยางยัง่ ยืน อยางไรก็ตามเพือ่ ใหงานวิจยั

มี ค วามสมบู ร ณ จ ากเกณฑ ที่ มี ค วามแตกต า งของ ต า งประเทศควรนํ า มาศึ ก ษาขอความเห็ น จาก นั ก วิ ช าการ ผู  ชํ า นาญการ และผู  เ ชี่ ย วชาญใน ประเทศไทยในการพิจารณาถึงความเหมาะสม และ ศึกษาการใชงานกับโครงการอสังหาริมทรัพยซึ่งใน แตละประเทศมีบริบทแวดลอมที่แตกตางกัน เพื่อ ความเปนไปไดในการใชงานจริงกับโครงการอสังหา ริมทรัพยประเภทที่อยูอาศัยในประเทศไทยตอไป

บรรณานุกรม กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2552). พระราชบัญญัติ การผังเมือง พ.ศ. 2518. สืบคนเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2552, http://www.dpt.go.th/law/data/ plan/core1_1.pdf _______. (2552). พระราชบั ญ ญั ติ ก ารผั ง เมื อ ง (ฉบั บ ที่ 2) พ.ศ. 2525. สื บ ค น เมื่ อ วั น ที่ 9 ธันวาคม 2552, http://www.dpt.go.th/law/data/ plan/core1_2.pdf _______. (2552). พระราชบั ญ ญั ติ ก ารผั ง เมื อ ง (ฉบั บ ที่ 3) พ.ศ. 2535. สื บ ค น เมื่ อ วั น ที่ 9 ธันวาคม 2552, http://www.dpt.go.th/law/data/ plan/core1_3.pdf _______. (2552a). พระราชบัญญัติ การขุดดินและ ถมดิน พ.ศ.2543. สืบคนเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2552, http://www.dpt.go.th/law/data/soil.pdf _______. (2552b). พระราชบัญญัตกิ ารจัดสรรทีด่ นิ พ.ศ. 2543. สืบคนเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2552, http://www.thaicontractors.com/content/ cmenu/7/34/89.html _______. (2553). การรวบรวมบทบัญญัตกิ ฎหมาย วาดวยการควบคุมอาคาร. สืบคนเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ 2553, http://www.dpt.go.th/law/ data/building/all.pdf

71


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงาน. (2553). พระราชบัญญัตกิ ารสงเสริมการอนุรกั ษ พลังงาน พ.ศ. 2543. สืบคนเมือ่ วันที่ 9 กุมภาพันธ 2553, http://www.2e-building.com/download/ 13.pdf จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. (2550). คูม อื แบบประเมิน อาคารประหยั ด พลั ง งานและเป น มิ ต รต อ สิง่ แวดลอมสําหรับอาคารทีพ่ กั อาศัย (บานเดีย่ ว บ า นแถว อาคารอยู  อ าศั ย รวม). กรุ ง เทพฯ: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน กระทรวงพลังงาน. สถาบันอาคารเขียวไทย (TGBI). (2552). หลักเกณฑ การประเมินอาคารเขียว (ฉบับราง - มิถุนายน 2552). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมสถานแหงประเทศ ไทยฯ รวมกับ สมาคมสถาปนิกสยามฯ. สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิง่ แวดลอม. (2542). แนวทางการจัดทํารายงาน การวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอม โครงการ ที่พักอาศัย บริการชุมชนและสถานที่พักตาก อากาศ. กรุงเทพฯ: สํานักงานฯ. สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑอตุ สาหกรรม. (2541). คูม อื การจัดทําระบบการจัดการสิง่ แวดลอม ISO 14001. สืบคนเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ 2553, จาก หองสมุดสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ อุตสาหกรรม เว็บไซต: http://www.library.tisi. go.th Green Building Council of Australia (GBCA). (2008). The Green Star Environmental Rating System for Building and the Green Star Multi Unit Residential Pilot Rating Tool. Sydney: GBCA.

72

Rinchumpoo, D. (2010). Preliminary study of the eco-efficiency model of housing estate development under landscape sustainability standards: Case of Bangkok Metropolitan Region (BMR), Thailand. In South East Queensland Property PhD Colloquium, 4 March 2010, Queensland University of Technology, Brisbane, Queensland. U.S. Green Building Council (USGBC). (2008). LEED for neighborhood development rating system. Washington, D.C.: USGBC. Urban Japan GreenBuild Council (JaGBC), & Japan Sustainable Building Consortium (JSBC). (2008). Publication CASBEE Technique Manuals: Institute of Building Environmental and Energy Conservation. [online]. Tokyo: JaGBC and JSBC.


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

Ms. Thidarat Kridakorn Na Ayutthaya received her Bachelor Degree in Environmental Engineering from Chiang Mai University. She is studying in Master Degree of Innovation Real Estate Development, Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University.

Dr. Kongkoon Tochaiwat received his Doctoral Degree and Master’s Degree in Construction Engineering and Management from Chulalongkorn University. He is now working as a lecturer in the Department of Innovative Real Estate Development, Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University.

73


©

ҡ㹨Թμ¹ÔÂÒ¢ͧᡌÇà¡ŒÒ: ¤ÇÒÁËÁÒ·ҧ¾Ø·¸ÈÒÊ¹Ò Setting in Kaewkao’s Fantasy Novel: Meaning in Buddhism รัชนีกร รัชตกรตระกูล นิสิตปริญญาเอก คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย E-mail: der_nette_moon@hotmail.com

บทคัดยอ บทความนีม้ งุ เสนอการตีความฉากในจินตนิยายของแกวเกาทีส่ นับสนุนแนวคิดเรือ่ งผูท ยี่ ดึ มัน่ ถือมั่นในกิเลส คือ ความรัก ความโลภ ความโกรธ และความหลงทําใหเกิดความทุกข และ แนวคิดเรื่องกรรมคือผูที่ทํากรรมใดไวยอมไดรับผลกรรมนั้น จากการศึกษาพบวาแกวเกา ใชฉากเพื่อสนับสนุนแนวคิดทางพุทธศาสนาใน 2 ลักษณะ ลักษณะแรกคือการใชฉากเปน สัญลักษณแทนกิเลสหรือความทุกข ลักษณะที่สองคือการใชฉากที่เปนสัญลักษณทางพุทธ ศาสนา โดยแกวเกามักจะใชฉากเพื่อสนับสนุนแนวคิดทางพุทธศาสนาในลักษณะเดียวกัน และในจินตนิยายบางเรื่องแกวเกาไดตั้งชื่อตามฉากของเรื่องซึ่งแสดงใหเห็นวาฉากเปน องคประกอบสําคัญในการสื่อแนวคิด คําสําคัญ: ฉาก จินตนิยาย การตีความทางพุทธศาสนา

Abstract This article aims to interpret setting in Kaewkao’s Fantasy novels. The setting in Kaewkao’s Fantasy helps to convey two main ideas about Buddhism: the suffering caused by human passion such as lust, greed, hatred and delusion, and KARMA. The result of study shows that Kaewkao uses setting to support the Buddhism theme in 2 ways: firstly, settings is the symbols of passion or suffering and secondly, setting is the Buddhism symbol. Kaewkao usually uses same style of setting to

74


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

indicate the Buddhism theme. Some fantasy novels are named by after their settings that. This demonstrates that settings is the an important element to convey the theme. Keyword: Setting, Fantasy Novel, Interpretation in Buddhism ความนํา จินตนิยายของแกวเกาเปนนวนิยายที่นาสนใจ ด ว ยความสนุ ก สนานของเรื่ อ งที่ เ ป น จิ น ตนาการ เหนือธรรมชาติ อาทิการกลับชาติมาเกิด การเดินทาง ยอนไปอดีต ปรากฏตัวละครเหนือธรรมชาติ เชน นางฟา พญานาค ภูตพราย และยังปรากฏการใช ฉากจินตนาการเหนือธรรมชาติ เชน สวรรค นรก ดินแดนในจิตนาการ ทําใหผอู า นใหเพลิดเพลินไปกับ โลกจินตนาการที่ผูเขียนสรางสรรคขึ้น ด ว ยความน า สนใจของผลงานจึ ง ทํ า ให มี ผู นํ า จินตนิยายของแกวเกามาศึกษาวิจยั จํานวนมากไดแก สะอาด รอดคง (2533) กฤษณา วงษรักษ (2542) ศนิชา แกวเสถียร (2546) อิงอร สุพันธุวณิช (2547) และจีรณัทย วิมุตติสุข (2550) อยางไรก็ตามการ ศึกษาเหลานี้มักเปนกลวิธีการสรางเรื่อง เชน การ ศึกษาเรื่องความเชื่อเหนือธรรมชาติในจินตนิยาย ไดแกงานวิจัยของสะอาด กฤษณา และอิงอร สวน งานวิจยั ของศนิชาเปนการศึกษาการใชวทิ ยาศาสตร และการศึ ก ษาของจี ร ณั ท ย ที่ เ ป น การศึ ก ษาเรื่ อ ง การนําวรรณคดีมาใชในจินตนิยาย การศึ ก ษาฉากในจิ น ตนิ ย ายของแก ว เก า ที่ สนับสนุนแนวคิดพุทธศาสนาจึงเปนประเด็นที่นา ศึกษาเนื่องจากยังไมมีผูศึกษาไว นอกจากนี้การ ศึกษาเรือ่ งนีย้ งั แสดงใหเห็นคุณคาของจินตนิยายของ แกวเกาที่มีท้ังความสนุกสนานและเสนอแนวคิดทาง พุทธศาสนาอันลึกซึ้ง วัตถุประสงคการศึกษา บ ท ค ว า ม นี้ มุ ง ศึ ก ษ า แ ล ะ ตี ค ว า ม ฉ า ก ใ น จิ น ตนิ ย ายของแก ว เก า ที่ ส นั บ สนุ น แนวคิ ด พุ ท ธ ศาสนาใหเดนชัดขึ้น

ขอบเขตการศึกษา บทความนีศ้ กึ ษาฉากในจินตนิยายของแกวเกาที่ ตีพิมพระหวางปพ.ศ. 2525-2542 โดยเลือกเรื่องที่ ปรากฏการใชฉากซึ่งสนับสนุนแนวคิดพุทธศาสนา จํ า นวน 9 เรื่ อ ง ได แ ก แก ว ราหู (2525) นางทิพย (2525) แตปางกอน (2527) มนตรา (2528) นาคราช (2531) เรือนมยุรา (2538) อมตะ (2539) เรือนนพเกา (2542) ดอกแกวการะบุหนิง (2542) ขอตกลงเบื้องตน คําวา “ฉาก” และ “จินตนิยาย” ในบทความนี้มี ความหมายดังตอไปนี้ ฉาก หมายถึง “สถานที่ที่เหตุการณของเรื่อง เกิดขึน้ ภูมหิ ลังตางๆ ของตัวละคร สภาพภูมปิ ระเทศ เวลาหรือยุคสมัยที่เกิดเหตุการณในเรื่องและสภาพ แวดล อ มเงื่ อ นไข หรื อ สถานการณ ข องตั ว ละคร” (กอบกุล อิงคะนนท, ม.ป.ป., 85-86) จินตนิยาย หมายถึง “ลักษณะของจินตนิยาย ได แ ก ผู ป ระพั น ธ ไ ด ใ ช ก ลวิ ธี ก ารสร า งเรื่ อ งแบบ เหนื อ วิ สั ย (Fantasy) อั น เป น เรื่ อ งที่ เ กิ น ไปจาก ลั ก ษณะที่ เ กิ ด ขึ้ น ในชี วิ ต จริ ง หรื อ ผู ป ระพั น ธ ใ ช จินตนาการของตนผสมผสานกับประสบการณชีวิต สร า งเป น เหตุ ก ารณ ขึ้ น มาก็ ไ ด ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ให ผู อ า น ติดตามเรื่องราวที่ไมอาจพบเห็นในชีวิตประจําวัน ความนาสนใจของเรือ่ งเหนือวิสยั อยูท กี่ ารผสมผสาน เรื่องราวที่เกินจริงไดอยางเหมาะสม หากมีมากหรือ นอยเกินไปก็จะเปนเรื่องเหลือเชื่อเหนือจริง เชน การเดินทางไปในอวกาศ เรื่องโลกหรือดาวดวงอื่น ความรูเรื่องมิติในทางวิทยาศาสตร เรื่องวิญญาณ ภูตผีปศาจ การคืนชีพโดยอาศัยความกาวหนาทาง วิทยาศาสตร เปนตน” (กุหลาบ มัลลิกะมาส, 2522: 104)

75


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ผลการศึกษา แก ว เก า เสนอแนวคิ ด ทางพุ ท ธศาสนาผ า น พฤติกรรมของตัวละครในเรื่อง คือแนวคิดเรื่องการ ยึดมั่นในกิเลสทําใหเกิดความทุกขปรากฏในจินตนิยาย 8 เรื่อง คือ แกวราหู นางทิพย แตปางกอน มนตรา นาคราช เรือนมยุรา อมตะ เรือนนพเกา สวนแนวคิดเรื่องผูประกอบกรรมใดยอมไดรับผลนั้น ปรากฏในเรื่อง ดอกแกวการะบุหนิง นอกจากการใชพฤติกรรมของตัวละครเพือ่ เสนอ แนวคิดของเรื่องแลว ฉากในจินตนิยายของแกวเกา ยังชวยสนับสนุนแนวคิดพุทธศาสนาที่แกวเกาเสนอ ใหเดนชัดยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบวาแกวเกาใชฉาก เพื่อสนับสนุนแนวคิดทางพุทธศาสนาใน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกการใชฉากเปนสัญลักษณแทนกิเลส หรือแทนความทุกข ลักษณะที่สองคือการใชฉากซึ่ง เปนสัญลักษณทางพุทธศาสนา ในทีน่ จี้ ะอภิปรายผล การศึกษาทีละลักษณะดังนี้ การใชฉากเปนสัญลักษณแทนกิเลสหรือความทุกข ลั ก ษณะการใช ฉ ากเป น สั ญ ลั ก ษณ แ ทนกิ เ ลส หรือความทุกขนี้ปรากฏในจินตนิยายทั้ง 8 เรื่องที่ เสนอแนวคิดเรื่องการยึดมั่นถือมั่นในกิเลสทําใหเกิด ความทุ ก ข ในที่ นี้ จ ะยกตั ว อย า งการใช ฉ ากเป น สัญลักษณแทนกิเลสหรือความทุกขจากจินตนิยาย 3 เรื่อง คือ แกวราหู ซึ่งฉากในเรื่องเปนสัญลักษณ แทนกิเลสคือความโลภเรื่อง นางทิพย ซึ่งผูเขียน ใชฉากเปนสัญลักษณแทนความทุกขของตัวละครที่ ยึดมั่นถือมั่นในความรัก และ เรือนนพเกา ซึ่งฉาก ในเรื่องเปนสัญลักษณแทนทั้งกิเลสคือความรักและ บวงแหงโมหะที่ครอบงําตัวละครไวเกิดความทุกข การยกตัวอยางการศึกษาจากจินตนิยายทั้ง 3 เรื่อง โดยละเอียดเนื่องจากจินตนิยายทั้ง 3 เรื่องปรากฏ การใช ฉากเพื่อ สนั บ สนุ น แนวคิด ทางพุ ทธศาสนา อยางเดนชัด สวนจินตนิยายเรื่องอื่นๆ ที่มิไดยก ตัวอยางอยางละเอียดจะอภิปรายประกอบเพื่อใหผล การศึกษาเดนชัดขึ้น

76

เมืองภูแสนในแกวราหู: กิเลสอันไมสิ้นสุดของ มนุษย “กิเลส หมายถึง สิง่ ทีท่ าํ ใหใจเศราหมอง ความชัว่ ที่ แ ฝงอยู ใ นความรู สึ ก นึ ก คิ ด ทํ า ให จิ ต ใจขุ น มั ว ไมบริสทุ ธิ”์ (พระราชวรมุนี (ป.อ.ปยุตโฺ ต), 2528: 15) ดังนัน้ ผูท ย่ี ดึ มัน่ ถือมัน่ ในกิเลส คือ ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลงยอมมีแตความทุกข แนวคิดเรื่องผูที่ยึดมั่นถือมั่นในกิเลสทําใหเกิด ความทุกขปรากฏในเรื่อง แกวราหู เห็นไดชัดจาก พฤติกรรมของตัวละครคือขุนคําหาวหรือพอเลี้ยง บุญมา ที่โลภอยากไดอํานาจและสมบัติเมืองภูแสน ถึงสองชาติ ทั้งชาติที่เปนขุนคําหาวและชาติที่เปน พอเลี้ยงบุญมา ฉากที่ ผู เ ขี ย นใช ใ นเรื่ อ งคื อ อาณาจั ก รภู แ สน เปนฉากทีส่ นับสนุนแนวคิดเรือ่ งผูท ยี่ ดึ มัน่ ถือในกิเลส ทําใหเกิดความทุกขใหเดนชัดยิง่ ขึน้ อาณาจักรภูแสน เป น สถานที่ ต น เหตุ แ ห ง ความโลภของขุ น คํ า หาว เพราะขุ น คํ า หาวมิ อ าจจะได ค รอบครองตํ า แหน ง แสนภูไทเจาชีวิตภูแสนและสมบัติใตเจดียภูแสนที่ เขาโลภอยากจะครอบครอง ขุนคําหาวจึงฆาตัวตาย พรอมกับกลาวสัตยสาบานวาขอจองเวรขุนลมฟา และจะกลับมาครอบครองสมบัติเมืองภูแสนอีกครั้ง กาลเวลาผานไปเมืองภูแสนกลายเปนซากเมือง โบราณ เจาคุณพินิตนาคราชไดมาปลูกคฤหาสน โบราณที่บริเวณปากประตูเมืองภูแสน และไดนํา โบราณวัตถุที่ไดมาจากการสํารวจซากเมืองภูแสน มาไวที่คฤหาสนแหงนี้ ขุนคําหาวซึ่งมาเกิดใหมเปน พอเลีย้ งบุญมาแมวา จะจําเหตุการณในอดีตชาติไมได แต เ พราะความโลภทํ า ให เ ขากลั บ มาขุ ด สมบั ติ จากเจดียเมืองภูแสนอีกครั้ง “ทานจําเหตุการณได รางเลือนเต็มทีซนี ะขุนคําหาว แตแรงโลภทีท่ า น มีตอแผนดินภูแสน เรียกใหทานวนเวียนมาสู แผนดินอันเคยเปนที่กําเนิด และเสวยอํานาจ อีกครั้ง” (แกวราหู, 2546: 208) ทําใหเขาไดพบกับ ขุนลมฟาทีม่ าเกิดเปนวสวีหลานชายของเจาคุณพินติ นาคราชผูไดรับคฤหาสนแหงนี้เปนมรดก คนทั้งคู


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ไดกลับมายังเมืองภูแสน สถานที่เปนตนเหตุของ ความโลภของขุนคําหาวหรือพอเลี้ยงบุญมา และ เปนตนเหตุใหเขาเกิดความอาฆาตขุนลมฟาหรือวสวี ทีข่ ดั ขวางการครอบครองสมบัตแิ ละอํานาจทีเ่ ขาโลภ อยากจะครอบครอง ผูเขียนไดเนนยํ้าแนวคิดเรื่องผูที่ยึดมั่นถือมั่นใน กิเลสทําใหเกิดความทุกข เกิดความวิบัติผานจุดจบ ของพอเลีย้ งบุญมาทีต่ อ งมาจบชีวติ ลงกลางกองไฟที่ ตั ว เขาเองจุ ด เพื่ อ เผาคฤหาสน ข องพระยาพิ นิ ต นาคราชคฤหาสนที่เขาเชื่อวาคือที่เก็บสมบัติจาก เจดียเมืองภูแสน คฤหาสนที่เปนประตูเมืองของ ภูแสนอาณาจักรที่เขาเคยครอบครองดวยความโลภ “ภาพสุดทายที่เขาเห็นก็คือทองคําที่ทวมสูงถึง ภู เ ขา...สู ง ลิ่ ว ขึ้ น ไปแทบจะจดฟ า มั น ท ว มถึ ง หน า จั่ ว หลั ง คาบ า น พร อ มกั บ ดึ ง เอาเสาและ คานบานเอนพังลงมาประหนึ่งการโคนของยอด เจดียที่เขาเคยทํามาแลว....มันโคนลงมา...ฟาด มาสูตัวเขาเอง นําเขาไปสูความมืดมนอันหาที่ สิ้นสุดไมไดของอุโมงคเก็บสมบัติของภูแสน” (แกวราหู, 2546: 566-568) จากภาพสุดทายของชีวติ ของพอเลีย้ งบุญมาหรือ ขุนคําหาว จะเห็นไดวาผูเขียนไดเนนยํ้าแนวคิดเรื่อง ผูที่ยึดมั่นถือมั่นในกิเลสทําใหเกิดความทุกขไดอยาง ชัดเจน โดยใชฉากของเรื่องคือคฤหาสนของพระยา พินิตนาคราชที่กําลังถูกไฟไหม มาชวยสนับสนุน แนวคิดใหเดนชัดยิง่ ขึน้ ผูเ ขียนบรรยายฉากคฤหาสน ของวสวีผา นมุมมองของพอเลีย้ งบุญมา จากหองโถง กลางบานทีม่ ดื มนเพราะไมมแี สงไฟ ดํามืดลงไปเปน โพรงขนาดใหญตามความนึกคิดของพอเลี้ยงบุญมา ทีเ่ ชือ่ มาตลอดวา ใตเจดียเ มืองภูแสนเปนโพรงขนาด ใหญที่ซึ่งเปนที่เก็บสมบัติเมืองภูแสน ในความมืด ประกายของทองคําสองสวาง เมือ่ เห็นสมบัตอิ ยูต รงหนา พอเลีย้ งบุญมาก็ขาดความยับยัง้ ชัง่ ใจทัง้ ปวง เขาถลา เขาไปหากองทองคําที่มีจํานวนมากขึ้นๆ เรื่อยๆ แตสุดทายทองคํากลับกลายเปนเปลวไฟที่รอนระอุ

และสํานึกสุดทายของพอเลีย้ งบุญมา “ทองคําทีท่ ว ม สูงถึงภูเขา...สูงลิ่วขึ้นไปแทบจะจดฟา” ไดกักขัง เขาไวใน “ความมืดมนอันหาที่สิ้นสุดไมไดของ อุโมงคเก็บสมบัติของภูแสน” จากฉากคฤหาสนที่ ถูกเผาไหม เกิดจากไฟทีพ่ อ เลีย้ งบุญมาเปนผูจ ดุ ดวย ตัวเอง การที่ผูเขียนบรรยายฉากผานมุมมองของ พอเลีย้ งบุญมา โดยใหพอ เลีย้ งบุญมามองเห็นเปลวไฟ เปนทองคํา และพอเลี้ยงบุญมาก็สิ้นชีวิตลงในกอง ทองคําหรือกองไฟที่เขาจุดขึ้นเองนั้น ก็เพื่อเสนอ แนวคิดทางพุทธศาสนา คือ ไฟแหงกิเลสทีเ่ คยแผดเผา จิตใจของผูท มี่ กี เิ ลส หรือมีเชือ้ ไฟในเรือนใจ กองเพลิง ที่เกิดจากการจุดของพอเลี้ยงบุญมา เพราะตองการ เผาคฤหาสนของเจาคุณพินิตนาคราช สื่อถึงการที่ ตัวละครมี “ไฟ” หรือ “กิเลส” อยูใ นเรือนใจของพอเลีย้ ง บุญมา ไฟกิเลส คือความโลภที่ครอบงําจิตใจ ทําให พอเลีย้ งบุญมามองเห็นเปลวไฟเปนทองคํา เห็นกองไฟ เปนกองทองคํา แลวสุดทายไฟแหงกิเลสก็แผดเผา เขาใหมอดไหมอยู ณ คฤหาสนที่เปนประตูเมืองภู แสน เมืองทีเ่ ขาเคยโลภตองการครอบครองทัง้ อํานาจ และสมบัตขิ องเมืองแหงนี้ การเลือกใชฉากคฤหาสน ของเจาคุณพินิตนาคราชในตอนทายเรื่อง แกวราหู และการใชกลวิธบี รรยายฉากผานมุมมองของตัวละคร พอเลี้ยงบุญมา จึงสนับสนุนแนวคิดเรื่องผูที่ยึดมั่น ถือมั่นในกิเลสทําใหเกิดความทุกขไดเดนชัดยิ่งขึ้น ลักษณะการใชเมืองเปนสัญลักษณแทนประโยชน แทนกิเลสหรือความอยากอันไมมีสิ้นสุดของมนุษย และถู ก ทํ า ลายด ว ยไฟที่ ม นุ ษ ย เ ป น ผู จุ ด เองนี้ ยั ง ปรากฏในเรือ่ ง นาคราช ผูเ ขียนไดสรางฉากเมืองมาย ซึ่งเปนสถานที่ที่บันดาลผลประโยชนใหแกตระกูล เจาฟาเมืองมายเชนเดียวกับเมืองภูแสน และสุดทาย เมืองมายก็ถกู ไฟแหงความโลภของมนุษยเผาทําลาย “ไฟที่เผาเมืองมายราบเปนหนากลองนี้เหมือน ไฟกองกูณฑบูชาขาเหมือนอยางที่ไฟสงคราม เคยเผาผลาญรัฐมายไปแลวเมื่อครั้งกอน เห็น ไหมสีวง....วัฏจักรของการสรางและการทําลาย

77


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ดําเนินไปในรอยเดียวกัน” “มนุษยอยางเจาไมเคยเรียนรูสักครั้งเดียว” (นาคราช, 2544: 472) โคกรางทีห่ นองพรายในนางทิพย: ความทุกขอนั เกิดแตความยึดมั่นถือมั่นในรัก ในเรื่อง นางทิพย แกวเกานําเสนอแนวคิดเรื่อง ผู ที่ ยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น ในความรั ก ทํ า ให เ กิ ด ความทุ ก ข ผานพฤติกรรมของทิพฉายเจาหญิงในสมัยอยุธยา ผู ยึ ด มั่ น กั บ ความรั ก และคํ า สาบานที่ อ อกญาพิ ชิ ต แสนพล ซึง่ ก็คอื ดร.ภาธรในอดีตชาติเคยใหสญ ั ญาไว ทําใหเธอไมยอมไปผุดไปเกิด และทนอยูก บั ความทุกข อยูที่หนองพรายสถานที่ตายของเธอ ฉากที่ผูเขียนใชในเรื่องคือหนองพราย เปนฉาก ที่สนับสนุนแนวคิดเรื่องผูที่ยึดมั่นถือมั่นในความรัก ทําใหเกิดความทุกขใหเดนชัดยิ่งขึ้น โคกรางเกาแก ทีต่ งั้ อยูท อี่ าํ เภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉากโคกร า งที่ มื ด มน เยื อ กเย็ น “สภาพสถานที่ รกรางดํามืดทะมึนอยูต รงหนา” (นางทิพย, 2525: 173) ยังสื่อใหผูอานไดรับรูความทุกขของทิพฉาย ที่คงแตเฝารอออกญาพิชิตแสนพลที่มาเกิดใหมเปน ดร.ภาธร ทิพฉายจงใจมาปรากฏกายใหดร.ภาธรเห็น เมื่อเขาไปทดลองทางปริจิตวิทยาที่หนองพราย เมื่อทิพฉายมาปรากฏกายใหเห็น ดร.ภาธรก็ได เก็บแหวนพญานาคที่เปนแหวนประจําตัวของทิพ ฉายไปเพือ่ ทําการทดลอง นางฟารวิปรียาในรางของ ปริตตาเตือนมิใหเขานําแหวนติดตัวไปดวย เพราะจะ เปนการนําอาถรรพณติดตัวไปดวย แตดร.ภาธร ไมสนใจ เพราะเขาไมรคู วามผูกพันในอดีตชาติระหวาง ตัวเขาเองกับทิพฉาย และดร.ภาธรก็ตอ งการทดลอง ทางปรจิตวิทยา ดร.ภาธรคิดวาการนําแหวนออก จากสถานที่แหงนี้ อาจจะทําใหวิญญาณของทิพฉาย หลุดพนจากการจองจําอยูที่หนองพราย “ผูหญิงที่ เปนเจาของแหวนนีจ้ ะตายดวยอะไรก็ตาม....เปน ผีตายโหงหรือไมใชผตี ายโหง ผมเห็นแตเพียงวา

78

เขาเป น ดวงวิ ญ ญาณที่ ทุ ก ข ท รมานดวงหนึ่ ง ซึ่งนาจะไปผุดไปเกิดนานแลวตามวิถีแหงกรรม แตก็ไมไดไป....กลับถูกติดขังอยูที่นี่เหมือนคน ติดคุก” (นางทิพย, 2525: 199) ดร.ภาธรเพิง่ จะมารูต วั วาเขาคิดผิด การนําแหวน พญานาคกลับมาทําใหวญ ิ ญาณของทิพฉายสิงรางของ ปริตตา เพราะทิพฉายตองการที่จะอยูเคียงขางเขา และทวงสั ญ ญาในอดี ต ชาติ เธอทํ า ร า ยทุ ก คนที่ ขัดขวางความรักของเธอ ดร.ภาธรเสียใจมากที่การ เดินทางไปทดลองที่หนองพรายของเขาทําใหเกิด ปญหามากมาย แตรวิปรียาไดชใี้ หเขาเห็นวาทัง้ หมด เกิดจากกรรมในอดีตชาติ ทีท่ าํ ใหออกญาพิชติ แสนพล ตองกลับไปยังสถานที่ที่เขาเคยมีเวรกรรมผูกพัน ทางแกไขปญหาของดร.ภาธร คือพูดทําความ เขาใจใหวิญญาณของทิพฉายที่อยูในรางของปริตตา ได เ ข า ใจว า ทุ ก สิ่ ง ที่ เ ธอยึ ด มั่ น ทั้ ง ความรั ก และ คําสัญญาในอดีตไดผานไปแลว เขาในปจจุบันคือ ดร.ภาธรไมมีความทรงจํา ไมมีความรักอยางในอดีต อีกตอไปแลว “ปริตตา เชื่อผมไหมวาไมมีอะไร อยูคงที่ แมแตสิ่งที่ยึดมั่นที่สุด เชนคําสาบาน หรือความรัก” (นางทิพย, 2525: 609) ความทุกข ของทิ พ ฉายเกิ ด จากการยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น ของเธอเอง เธอยึดมัน่ ถือมัน่ ในความรักและคําสัญญาทีเ่ ปนสิง่ ไม จีรังเชนเดียวกับทุกสิ่งในโลก การที่ ทิ พ ฉายยั ง ยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น ในความรั ก ใน คําสัญญาในชาติภพเกาจึงทําใหเธอทุกข ฉากในเรือ่ ง นางทิพย คือโคกรางที่หนองพราย สถานที่จองจํา วิญญาณของเธอตั้งแตเมื่อเธอตาย และรอคอยการ กลับไปยังสถานที่แหงนั้นของออกญาพิชิตแสนพล จนกระทั่ ง เขากลั บ มาอี ก ครั้ ง ในร า งของดร.ภาธร เธอติดตามเขาไป และทํารายคนมากมายที่ขัดขวาง ความรักระหวางเขาและเธอ สุดทายเธอก็ตองกลับ ไปชดใช ก รรมที่ เ ธอได ก อ ไว ยั ง สถานที่ เ ดี ย วกั น นี้ แสดงใหเห็นแนวคิดเรื่องผูที่ยึดมั่นถือมั่นในความรัก ทําใหเกิดความทุกขอยางชัดเจน สถานที่อางวาง


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

มืดมนเปนสัญลักษณแทนจิตใจที่มืดมนของทิพฉาย ทีม่ แี ตความทุกขเพราะยังคงยึดมัน่ ถือมัน่ กับความรัก และคําสัญญา ฉากที่ผูเขียนใชในเรื่อง นางทิพย คือโคกราง หนองพรายมีสวนสนับสนุนแนวคิดเรื่องผูที่ยึดมั่น ถือมัน่ ในความรักทําใหเกิดความทุกขไดอยางชัดเจน เห็นไดชัดจากการใชคําบรรยายฉากที่ใหมีการใหสี ของสถานที่ “สภาพสถานทีร่ กรางดํามืดทะมึนอยู ตรงหนา” และการทีผ่ เู ขียนไดใชอปุ มา เพือ่ ใหผอู า น เขาใจแนวคิดทีผ่ เู ขียนตองการเสนอเชนการใชคาํ พูด ของดร.ภาธรเมื่ อ พู ด ถึ ง วิ ญ ญาณของทิ พ ฉายว า “ติ ด ขั ง อยู ที่ นี่ เ หมื อ นคนติ ด คุ ก ” จะเห็ น ได ว า คําบรรยายฉากเหลานี้ สนับสนุนแนวคิดที่นําเสนอ ไดอยางชัดเจน การใชสขี องสถานทีเ่ ปนรกราง ดํามืด การเปรียบสถานทีแ่ หงนัน้ เหมือนคุกทีจ่ องจําวิญญาณ ลวนเปนการใหภาพสถานทีเ่ ปนสัญลักษณของดวงใจ ที่ มื ด มนด ว ยความทุ ก ข การใช คํ า ว า “คุ ก ” ที่ สื่ อ ความหมายถึงการจองจําหมายถึงวิญญาณทีถ่ กู กิเลส คือความยึดมั่นถือมั่นของตัวเองจองจําไว ทิพฉาย จึงเกิดความทุกข และตองกลับไปอยูที่หนองพราย เพราะเธอยังไมอาจตัดความยึดมัน่ ถือมัน่ ในความรัก ของเธอได การอุปมาฉากวา “เหมือนคุก” หรือเปนสัญลักษณ กักขังตัวละครไวดังเชนในเรื่อง นางทิพย ก็ปรากฏ เชนเดียวกันในเรือ่ ง มนตรา ซึง่ เปนภาคตอของเรือ่ ง นางทิพยผเู ขียนไดสรางฉากนรกในภาพนิมติ ของเจา ชายอินทราวุธ “มาเถอะ” เสียงนั้นยํ้ามาอีกครั้ง “ผมอยูที่นี่ในนรกที่ผมสรางขึ้นมาเอง” (มนตรา เลม 2, 2527: 314) เพื่อสนับสนุนแนวคิดเรื่องการ ยึดมัน่ ในกิเลสทําใหเกิดความทุกข แตกเิ ลสทีเ่ จาชาย อิ น ทราวุ ธ ยึ ด มั่ น คื อ ความหลงในอํ า นาจต า งจาก เจาหญิงทิพฉายที่ยึดมั่นในความรัก

เรือนนพเกา: ความรัก คุกกักขัง และบวงแหง โมหะที่ครอบงํา ในเรื่อง เรือนนพเกา ผูเขียนไดเสนอแนวคิด เรื่องการยึดมั่นถือมั่นในกิเลสทําใหเกิดความทุกข ผานพฤติกรรมของตัวละครคือผอบแกววิญญาณที่ ติดขังอยูใ นเรือนนพเกาไมไปผุดไปเกิด เพราะผอบแกว หลงกั บ ความรู สึ ก โทษตั ว เอง นั่ น คื อ การนอกใจ พระยารัชดาปริวรรตผูเปนสามี เธอไปมีสัมพันธกับ เขมคนรักเกา ฉากทีผ่ เู ขียนใชในเรือ่ งคือเรือนนพเกา เรือนเกา หองริมแมนาํ้ นครไชยศรี เปนฉากทีส่ นับสนุนแนวคิด เรือ่ งผูท ยี่ ดึ มัน่ ถือมัน่ ในความหลงทําใหเกิดความทุกข ใหเดนชัดยิ่งขึ้น เรือนนพเกาเปนสัญลักษณที่สื่อ ความหมายไดหลายประการ เมื่อแรกสรางเรือนเกาหองแหงนี้เปนสัญลักษณ แทนความรัก ที่เจาคุณรัชดาปริวรรตมีตอผอบแกว ผูเปนภรรยา เพราะเปนเรือนที่สรางขึ้นเพื่อใชเปน เรือนหอ หากแตเมื่อชีวิตรักระหวางผอบแกวกับพระยา รัชดาปริวรรตลมสลาย เพราะผอบแกวหนีตามเขม คนรักเกาไป ความรักของพระยารัชดาปริวรรตก็แปร เปนความชัง เขาตามหาผอบแกวจนพบ และนําตัวเธอ มาควบคุมทีเ่ รือนนพเกา เรือนนพเกาจึงกลายเปนคุก กักขังผอบแกว ชวงเวลาที่ถูกขังอยูในเรือนนพเกา ผอบแกวหลงรักนลเด็กหนุม รุน นองลูกชายของทนาย หนาหอของเจาคุณรัชดาปริวรรต แตนลก็จากเธอไป ทัง้ ทีน่ ลเคยสัญญาวาจะพาเธอหนีไปใหพน จากสภาพ นักโทษที่เรือนนพเกา เพื่อหนีจากฐานะนักโทษใน เรือนนพเกา ผอบแกวจึงตัดสินใจฆาตัวตายที่แมนํ้า นครไชยศรีขา งเรือนนพเกา โดยทีเ่ ธอไมเคยรูม ากอน เลยวาเรือนหลังนี้จะเปนที่จองจําวิญญาณของเธอ เมื่อถูกเพื่อนของนิชาหลานของยายบุญทิพย ผูครอบครองเรือนหลังนี้ตอหลอกวาสงแหวนนพเกา คืนใหเขมแลว ผอบแกวก็ยังตามหาแหวนนพเกาอีก วงหนึง่ ทีเ่ จาคุณใหเปนของขวัญวันแตงงาน เธอหลง

79


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ยึดติดกับความคิดวาเมือ่ พบแหวนทัง้ สองวง เธอก็จะ หลุดพนจากเรือนนพเกา โดยทีเ่ ธอไมเคยรูค วามจริง เลยวา แหวนที่เธอตามหาไดถูกสงคืนถึงมือของเขม คนรักเกาแลว สวนแหวนอีกวงหนึ่งก็อยูใตเรือนที่ คุมขังวิญญาณของเธอนั่นเอง ผอบแกวหลงตามหาแหวน ทัง้ ๆ ทีแ่ หวนก็สง ถึง มือของเขมคนรักเกาแลว และแหวนอีกวงหนึ่งก็ฝง อยูใ ตเรือนนพเกาทีพ่ นั ธนาการวิญญาณเธอไว แสดง แนวคิดของเรื่องคือ แหวนไมใชสิ่งที่พันธนาการ ดวงวิญญาณเธอไว หากแตเรือนนพเกาซึ่งเปน สัญลักษณแทนความหลงแทนความยึดมัน่ ถือมัน่ ของตั ว ผอบแก ว เอง คื อ สิ่ ง พั น ธนาการดวง วิญญาณของเธอไวในเรือน การที่วิญญาณของ ผอบแกวไมสามารถออกจากเรือนนพเกาไดเพราะ “ถ า หากฉั น ออกจากบ า น ก็ คื อ ต อ งพบจุ ด จบ ซํ้าซากในแมนํ้านั้นอีก ฉันฆาตัวตาย วิญญาณ ฉันหากดิ้นรนจะหนี ก็ตองกลับไปจมในแมนํ้า นั้นอีก มิหนําซํ้าจะพารางกายของแมหนูคนนี้ จมลงไปดวย” (เรือนนพเกา, 2544: 365) การที่วิญญาณของผอบแกวจะไปอยูใตสายนํ้า เยียบเย็น เปนเพราะผอบแกวยัง “คิดไมได” หรือยัง ไมหลุดพนจากความหลงซึง่ คือกิเลสทีเ่ ธอยึดถืออยู จะเห็นไดวา เหตุการณหลังจากทีผ่ อบแกวฆาตัวตายนี้ ผูเ ขียนไดใชเรือนนพเกาเปนสัญลักษณแทนความ หลงของผอบแกว เธอพยายามฆาตัวตายเพื่อหนี สภาพนักโทษ แตการฆาตัวตายโดยมิไดไตรตรอง ถึงที่มาของปญหาและความทุกข จึงเปนการสราง บวงแหงความหลงผิดครอบงําไว เรือนนพเกาจึง กลายเปนความหลงผิดที่พันธนาการวิญญาณเธอไว ไมใหไปผุดไปเกิด เธอจะออกเรือนนพเกาไดกต็ อ เมือ่ เธอหลุดจากความหลง นั่นคือการรูเทาทันเหตุแหง ความทุกข ยามที่มีชีวิตความทุกขของเธอเกิดจาก การทีเ่ ธอไมรจู กั ตอสูก บั กิเลสของตัวเอง เธอทอดกาย ใหเขมคนรักเกา เธอไมยอมรับความผิดที่กอไวกับ เจาคุณผูเปนสามี เธอใชนลเปนหลักยึดเมื่ออางวาง

80

เมือ่ ตายไปแลว เธอก็หลงยึดติดกับความคิดของตัวเอง วาเมื่อหาแหวนนพเกาทั้งสองวงพบเธอก็จะหลุดพน จากเรือนนพเกา แตแทจริงแลวไมใชแหวน หรือเรือน ที่ทําใหผอบแกวไมไปเกิด แตเพราะความหลง คือ การทีเ่ ธอไมเคยไตรตรองวาตนเหตุแหงความทุกขคอื อะไร เมื่อรูวาตนเหตุของความทุกขเกิดจากความ หลงแกตณ ั หา และหลงยึดติดกับความคิดของตัวเอง ผอบแกวก็สามารถออกจากเรือนนพเกาได เมื่ อ เรื อ นนพเก า ก็ ถู ก ไฟไหม และเหตุ ก ารณ ไฟไหมนเี้ องก็เทากับเปดโอกาสใหผอบแกวไดปฏิบตั ิ สิ่งที่คิดได นั่นคือการตอสูดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด ไมใหรางของนิชาและตัวเธอตองตายซํ้าอีก และถูก กักขังอยูในเรือนหลังนี้ไมมีที่สิ้นสุด วิญญาณของ ผอบแกวจึงหลุดพนจากเรือนนพเกา และเดินทาง ไปสูสัมปรายภพ จากการใช ฉ ากเป น สั ญ ลั ก ษณ เ พื่ อ สนั บ สนุ น แนวคิดของเรือ่ งขางตน จะเห็นไดวา ผูเ ขียนไดใชฉาก เรือนนพเกาแหงเดียว เปนสัญลักษณแทนนามธรรม ถึง 3 สิ่งทั้งความรักของเจาคุณรัชดาปริวรรต เปน คุกกักขังผอบแกวยามที่เธอยังมีชีวิต และเปนความ หลงผิดที่เหนี่ยวรั้งดวงวิญญาณของเธอไวกับความ ทุกขทรมานนานเกือบศตวรรษ นอกจากนี้ฉากเรือน นพเก า ยั ง แสดงให เ ห็ น แนวคิ ด ทางพุ ท ธศาสนาที่ เดนชัดคือ ไมมีผูใดสามารถกักขังหรือหนวงเหนี่ยว ใครได นอกจากบุคคลผูนั้นจะถูกความยึดมั่นถือมั่น ในกิเลสคือความหลง เปนเครื่องพันธนาการและยึด เหนีย่ วบุคคลนัน้ ไวเอง ดังเชนผอบแกวทีเ่ รือนนพเกา ไมอาจคุมขังเธอในสภาพนักโทษไดยามเมื่อเธอยังมี ลมหายใจ เธอใชความตายดิ้นรนหนีสภาพนั้น แต ความหลงหรื อ โมหะของเธอกลั บ กั ก ขั ง เธอไว ไ ด ยาวนานกวาและทุกขทรมานกวา และไมมที างดิน้ รน หนี ส ภาพแห ง ทุ ก ข นี้ ไ ด ต ราบใดที่ เ ธอยั ง มิ อ าจละ ความหลงที่เธอยึดถือไว ลักษณะการใชเรือนเปนสัญลักษณแทนกิเลสที่ ตัวละครยึดถือไวยังปรากฏในจินตนิยายอีก 2 เรื่อง


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

คือ แตปางกอน และ เรือนมยุรา ในแตปางกอน แกวเกาไดสรางฉากตําหนักขาวริมนํา้ ซึง่ เปนเรือนหอ ระหวางหมอมเจารังสิธรกับเจานางมานแกวเปน สั ญ ลั ก ษณ แ ทนความรั ก ที่ ทํ า ให ห ม อ มเจ า รั ง สิ ธ ร ไมไปผุดไปเกิดเอาแตเฝาคอยเจานางมานแกว และ ที่เรือนหลังนี้ที่ทําใหคนทั้งคูไดเวียนมาพบกันถึง 3 ชาติภพทนคอยความสมหวังในรักดวยความทุกข “ดิฉันเชื่อวาวันหนึ่งราชาวดีกับทานชายใหญจะ ตองพบกันอีก แลวกลับไปอยูที่บานซึ่งเคยสราง ไวเปนเรือนหอ.....ความปรารถนานั้นแรงกลา มาก ถึงไปไหนไมไกลนัก วันหนึ่งก็ตองวนเวียน กลับมาที่เดิม” (แตปางกอน, 2527: 382) ในเรื่อง เรือนมยุรา ผูเขียนสรางเรือนไทยเปน สัญลักษณแทนโลกอดีตสมัยกรุงศรีอยุธยาที่นกยูง หญิงสาวสมัยอยุธยาผูมีชีวิตยืนยาวถึงสมัยปจจุบัน ยึดมั่นไวเพราะ “เรือนหลังนี้เปนสมบัติรวมของ ทุกสิ่งทุกอยางที่หลอนมีอยูเหลือรอดมาไดจาก อดีต มันเปนสิ่งเดียวที่เชื่อมโยงหลอนเขากับ พอแมพนี่ อ ง บัดนีก้ ล็ ว นแลวแตดบั สูญไปหมดสิน้ ” (เรือนมยุรา, 2538: 695) เมื่อเรือนหรือโลกแหงอดีต ถูกคนในยุคปจจุบันบุกทําลายนกยูงจึงมีความทุกข จนเกือบจะมีชีวิตอยูตอไมได การใชฉากที่เปนสัญลักษณทางพุทธศาสนา การใช ฉ ากที่ เ ป น สั ญ ลั ก ษณ ท างพุ ท ธศาสนา ปรากฏในจินตนิยาย 2 เรื่อง คือ อมตะ ที่แกวเกา ใชฉากหลักของเรือ่ งเปนทะเลซึง่ เปนสัญลักษณแทน วัฏสงสาร และเรือ่ ง ดอกแกวการะบุหนิง ผูเ ขียนใช ฉากพระจันทรวันเพ็ญซึ่งเปนสัญลักษณแทนปญญา และความดีงาม ในที่นี้จะอภิปรายการใชฉากที่เปน สัญลักษณทางพุทธศาสนาจากจินตนิยายทัง้ 2 เรือ่ ง เนื่องจากเรื่อง อมตะ ฉากในเรื่องสนับสนุนแนวคิด เรือ่ งการยึดมัน่ ถือมัน่ ในกิเลสคือความโกรธทําใหเกิด ความทุ ก ข ในขณะเรื่ อ ง ดอกแก ว การะบุ ห นิ ง ฉากสนับสนุนแนวคิดเรื่องผูประกอบกรรมใดยอมได

รับผลกรรมนั้น ในเรื่อง อมตะ ผูเขียนไดนําเสนอแนวคิดเรื่อง ผู  ที่ ยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น ในกิ เ ลสคื อ ความโกรธทํ า ให เ กิ ด ความทุกขผา นพฤติกรรมของตัวละครเอก คือศรุตกับ จันทริกาเจาชายและเจาหญิงในแวนแควนโบราณ จันทริกาผูกพยาบาทศรุตเพราะเธอโกรธแคนที่เขา ปนใจใหหญิงอื่นและสั่งประหารเธอ ดวยความโกรธ แคนชายอันเปนทีร่ กั จันทริกาจึงมอบนํา้ อมฤตใหศรุต ดื่มกอนที่เธอจะถูกประหาร ฤทธิ์ของนํ้าอมฤตทําให ศรุตเปนอมตะ เขาตองทนทุกขแสนสาหัสดวยการ มองดูบคุ คลอันเปนทีร่ กั ทุกคนจากไป เขาตองนัง่ เรือ รอนเรไปในทะเลเพื่อตามหาจันทริกาเพื่อขอใหเธอ ใหอภัยเขา ศรุตจึงจะหลุดพนจากความเปนอมตะ ฉากหลักที่ผูเขียนใชเรื่องคือทะเล เปนฉากที่ สนับสนุนแนวคิดเรื่องผูที่ยึดมั่นถือมั่นในความโกรธ ทําใหเกิดความทุกขใหเดนชัดยิง่ ขึน้ ผูเ ขียนเปดเรือ่ ง ดวยฉากทะเลทีป่ น ปวนดวยพายุ ทีเ่ กาะฉนากซึง่ เปน เกาะที่ผูเขียนสมมติขึ้นวาอยูในจังหวัดภูเก็ต ศรุตได ชวยเหลือณดาเด็กสาวผูพ ยายามฆาตัวตาย เพือ่ หนี ใหรอดพนเงื้อมมือของธราธรพอเลี้ยงผูพยายาม ขมขืนเธอ การเลือกใชฉากทะเลในตอนเปดเรือ่ ง และ ใชเปนฉากหลักในการดําเนินเรื่องเพื่อสื่อความเชื่อ เรื่องการเวียนวายตายเกิด การวนเวียนในสังสารวัฏ ทีเ่ หมือนการเวียนวายอยูใ นทะเล ดังทีป่ รากฏการใช ทะเลเปนสัญลักษณแทนสังสารวัฏในพระสุตันตต ปฏกความวา “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผูไมไดสดับ แลว ยอมกลาววา สมุทรๆ ดังนี้ ภิกษุทงั้ หลายสมุทร นั้นไมชื่อวาเปนสมุทรในวินัยของพระอริยเจา ดูกร ภิกษุทั้งหลายสมุทรนั้นเรียกวาเปนแองนํ้าใหญ เปน หวงนํ้าใหญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเปนสมุทรของ บุรุษ กําลังของจักษุนั้นเกิดจากรูป บุคคลใดยอม อดกลั้นกําลังอันเกิดจากรูปนั้นได บุคคลนั้นเรียกวา เปนพราหมณ ขามสมุทรคือจักษุซึ่งมีทั้งคลื่นมีทั้ง นํ้าวน มีทั้งสัตวรายมีทั้งผีเสื้อนํ้า แลวขึ้นถึงฝงตั้งอยู บนบก ฯลฯ” (พระไตรปฏก เลมที่ 18 พระสุตันตต

81


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ปฏก สังยุตตนิกาย สฬายตุน สมุททวรรคที่ 3 สมุทร สูตรที่ 1 ขอที่ 285) ฉากทะเลในเรื่อง อมตะ จึงเปนสัญลักษณแทน วัฏสงสาร คือการเวียนวายตายเกิดอันเปนธรรมดา ของสรรพชีวติ ทีย่ งั ไมหลุดพนจากกิเลส การเวียนวาย อยูใ นทะเลแหงการเวียนวายตายเกิดจึงเปนความทุกข โดยเฉพาะศรุตทีเ่ ปนอมตะยิง่ ทุกขกวาผูเ วียนวายอยู ในทะเลแหงการเวียนวายตายเกิดอื่นๆ เพราะเขา ตองนัง่ เรือฝากระแสคลืน่ กระแสกรรมเพือ่ ติดตามหา จันทริกาที่ดับขันธไปตามชาติภพของนาง “ตอจาก นัน้ ความหวังเดียวทีศ่ รุตมีอยู คือการเฝาติดตามหา จันทริกา นางไดดับขันธไปแลวในชาติที่ศรุตสั่ง ประหารนางแตกิเลสที่เคยกอตัวเปนนางยังไม สูญสิน้ กลุม กิเลสนัน้ ไดผา นจากภพหนึง่ ไปสูอ กี ภพหนึ่งไปกอกําเนิดเปนมนุษยคนใหม เจริญ เติบโตรวงโรย จนดับสิ้นสังขารตามวิสัยมนุษย ผานจากรางหนึ่งไปสูรางหนึ่ง ตอเนื่องกันไป เหมือนคลื่นในทะเล ไมมีที่สิ้นสุดในระยะหลาย พันปที่ผานมา” (อมตะ, 2547: 489-490) จากตัวอยางขางตนจะเห็นไดวา นอกเหนือจากที่ ผูเ ขียนจะไดนาํ ทะเลซึง่ เปนสัญลักษณแทนวัฏสงสาร มาใชในเรือ่ งแลว และชีใ้ หเห็นวาจันทริกาไดตายดวย ความยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น ในความโกรธ และไปเกิ ด ใหม พรอมกับกิเลสหรือความโกรธที่นางยึดมั่นอยู จาก ภพหนึ่งไปสูอีกภพหนึ่งหลายพันป แตศรุตก็ยังคง เปนอมตะตองนัง่ เรือเวียนวนอยูใ นทะเลแหงการเวียน วายตายเกิด เพื่อตามหาจันทริกาในชาติภพตางๆ เพือ่ ใหนางใหอภัยเขาเขาจะไดหลุดพนจากความเปน อมตะ ผูเ ขียนไดใชความเปรียบนีห้ ลายครัง้ ดังเชนตอน ศรุตคิดถึงเหตุการณตอนที่เขาชวยชีวิตณดาขึ้นจาก ทะเล เหมือนกับเหตุการณตอนที่เขาเคยชวยชีวิต จันทริกาในชาติภพแรก ผูเ ขียนไดเนนยํา้ ความเชือ่ เรือ่ ง การเวียนวายตายเกิดอยูใ นสังสารวัฏ และชะตากรรม ของชีวติ ทีจ่ ะซํา้ รอยเดิม หากบุคคลนัน้ มิไดพฒ ั นาให

82

ตนถึงพรอมดวยธรรม “ชีวติ ในแตละชาติภพ จะวาไปแลวมันก็อาจ จะไมแตกตางจากกันมากนัก รองรอยของกรรมดี และกรรมชัว่ แตเดิมยังคงซํา้ ซากเหมือนรอยคลืน่ ระลอกแลวระลอกเลาบนหาดทราย ตราบใดที่ บุคคลนั้นยังไมไดยกระดับตนเองใหสูงขึ้นกวา เดิม ดวยการถึงพรอมซึ่งธรรม” (อมตะ, 2547: 606) ผูเขียนไดใชลมพายุในทะเลมาอธิบายความเชื่อ ทางพุทธศาสนาเรื่องกรรม ดังที่ผูเขียนไดกลาวถึง นาวาชีวิตของศรุตวา “มันไมไดอยูในอํานาจของ เขาที่จะพาเขาสูฝงหรือออกจากฝง หากแตเปน สวนหนึ่งของชะตากรรม” (อมตะ, 2547: 605) แสดงใหเห็นวาการที่เรือของศรุตออกจากฝง ทําให เขาไดพบกับจันทริกานัน้ เกิดจาก “กระแสกรรม” หรือ การที่ศรุตเคยสั่งประหารจันทริกาทั้งๆ ที่นางไมมี ความผิด เมื่อใดก็ตามที่ศรุตใกลจะไดพบจันทริกา และไดรับการใหอภัยจากจันทริกา กระแสลมหรือ กระแสกรรมซึ่ ง ก็ คื อ ความผิ ด ที่ ศ รุ ต เคยทํ า ไว ใ น อดีตชาติ ก็จะพัดพาเขาไปสูทะเลแหงการเวียนวาย ตายเกิดเหมือนเดิม การใชความเปรียบของผูเ ขียนที่ เปรี ย บกระแสลมเป น กระแสกรรมอั น เป น เครื่ อ ง กําหนดความเปนไปของชีวิต จึงสนับสนุนแนวคิด เรือ่ งผูท ยี่ ดึ มัน่ ถือมัน่ ในความโกรธทําใหเกิดความทุกข ศรุตตองทนทุกขเพราะความเปนอมตะ ทนทุกขนงั่ เรือ อยูในทะเลแหงการเวียนวายตายเกิดเพื่อตามหา จันทริกา กระแสลมหรือกระแสกรรมนี้เปนอุปสรรค ที่ทําใหศรุตไมอาจหลุดพนจากความทุกขคือเปน อมตะได เพราะกระแสลมหรือกระแสกรรมจะทําให เขาไมไดพบ และไมรับการใหอภัยจากจันทริกา การ เปรี ย บกระแสกรรมกั บ กระแสลมในทะเลจึ ง ช ว ย สนับสนุนแนวคิดของเรื่องใหเดนชัดยิ่งขึ้น จากการใชฉากทะเลเปนฉากหลักในเรือ่ ง อมตะ จะเห็นไดวาผูเขียนไดนําฉากทะเลซึ่งเปนสัญลักษณ ทีแ่ ทนใชวฏั สงสารมาอธิบายและขยายความเชือ่ ทาง


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

พุทธศาสนาไดอยางลึกซึ้ง เชนการเปรียบการเกิด และดับของมนุษยที่ยังยึดมั่นถือมั่นในกิเลสเหมือน รอยคลืน่ ในทะเล การเปรียบชะตากรรมทีซ่ าํ้ ซากของ มนุษยผไู มพฒ ั นาตนใหถงึ พรอมถึงกรรมกับรอยคลืน่ ซัดหาดทราย และสุดทายการเปรียบกระแสลมกับ กระแสกรรมอันเปนเครื่องชักนําและกําหนดความ เปนไปของชีวิต อาจกลาวไดวาการใชฉากทะเลและ การใชองคประกอบของฉากทะเล เชน รอยคลื่น คลืน่ ซัดหาดทราย กระแสลมของผูเ ขียนในเรือ่ งอมตะ ทําใหผอู า นเขาใจความเชือ่ ทางพุทธศาสนาทีผ่ เู ขียน ตองการเสนอไดชัดเจนยิ่งขึ้น ฉากทะเลในเรื่อง อมตะ ซึ่งเปนสัญลักษณแทน วัฏสงสาร จึงสนับสนุนแนวคิดเรื่องผูที่ยึดมั่นถือมั่น ในความโกรธทําใหเกิดความทุกขไดเปนอยางดี ทะเล ที่เปนสัญลักษณของสังสารวัฏ แสดงใหเห็นถึงการ เวียนวายของสรรพชีพที่ยังตองคงอยูในหวงนํ้านี้ หากยังพอกพูนดวยกิเลส เชน จันทริกาทีด่ บั ขันธแลว กอกําเนิดใหม เผชิญกับความทุกขและชะตากรรม ซํ้ารอยเดิมอยางไมมีที่สิ้นสุด เพราะเธอยังคงยึดมั่น ถือมัน่ ในกิเลส คือความโกรธทีม่ ตี อ ศรุต เชนเดียวกับ ความทุกขของศรุตผูตองนั่งเรืออยูในทะเลแหงการ เวียนวายตายเกิด มีลมพายุหรือกระแสกรรมเปน เครื่ อ งชัก พาให เ ขาได ม าพบ หรือพลัดพรากจาก จันทริกาวนเวียนทนทุกขอยูใ นทะเลแหงการเวียนวาย ตายเกิดรอการใหอภัยจากจันทริกา เพือ่ ใหเขาหลุดพน จากความเป น อมตะต น เหตุ แ ห ง ความทุ ก ข ฉาก ทะเลในเรือ่ งจึงสนับสนุนแนวคิดเรือ่ งผูท ยี่ ดึ มัน่ ถือมัน่ ในความโกรธทําใหเกิดความทุกขไดเปนอยางดี ในเรื่อง ดอกแกวการะบุหนิง ผูเขียนเสนอ แนวคิดเรื่องผูที่ทํากรรมใดไวยอมไดรับผลกรรมนั้น ผานจุดจบของเจาชายสุหราปาตี เจาชายผูตองสิ้น ชีวติ ในคืนบุหลันยาตรา เพือ่ ชดใชความผิดทีพ่ ระองค ได ฆ  า ผู  บ ริ สุ ท ธิ์ ห ลายคน ที่ ขั ด ขวางความรั ก ของ เจาชายสุหราปาตีกบั รานีกริ ะณา ทัง้ รายาอัสมารสามี ขององครานี บาหยันพีเ่ ลีย้ งขององครานี แพทยหลวง

ที่รูวาเจาชายสุหราปาตีวางยาพิษรายา อัสมาร ฉากคื น พระจั น ทร วั น เพ็ ญ หรื อ ที่ เ รี ย กว า คื น บุ หลันยาตราที่ ชาวคีรียาเชื่อวาเปนคืนที่เทพเจา แหงดวงจันทรจะลงมาตัดสินโทษผูท กี่ ระทําความผิด เมื่ อ ใดที่ เ กิ ด ความผิ ด ที่ ม นุ ษ ย ไ ม อ าจชํ า ระโทษผู  กระทําผิดดวยตนเองได เปนฉากทีส่ นับสนุนแนวคิด เรื่องผูที่ทํากรรมใดไวยอมไดรับผลกรรมใหเดนชัด ยิ่งขึ้น “ในขนบวรรณคดีพุทธศาสนา พระจันทรเปน สัญลักษณของความงามอันสมบูรณ หมายถึงปญญา และความดีงาม” (วรรณภา ชํานาญกิจ, 2547: 130) ดังนัน้ ฉากคืนพระจันทรวนั เพ็ญหรือคืนบุหลันยาตรา จึงเปนสัญลักษณของความดี ความบริสุทธิ์ ความ ยุ ติ ธ รรมที่ ล งมาชํ า ระล า งความผิ ด ให ห มดไปจาก โลกมนุษย ผูเ ขียนใชฉากคืนบุหลันยาตราในเรือ่ ง ดอกแกว การะบุหนิง ในตอนเปดเรือ่ งเปนเหตุการณทอี่ งคหญิง การะบุหนิงลอบเสกมนตรใหแมวกลายเปนเสือดาว ดวยตั้งใจสรางความวุนวายในติกาหรัง เพื่อทาทาย อํานาจของเจาชายสุหราปาตีที่ไมเชื่อเรื่องคืนบุหลัน ยาตรา ในคืนนีเ้ องเจาหญิงการะบุหนิงไดพบกับดนย ชายชาวไทย องคหญิงจึงไดอธิบายความหมายของ คืนบุหลันยาตราใหดนยฟง ฉากคืนบุหลันยาตราปรากฏอีกครั้งในตอนทาย เรือ่ งเปนเหตุการณทเี่ จาชายสุหราปาตีจะทําความผิด อีกครั้งเพื่อปกปดความผิดที่พระองคไดทํามาตลอด เจาชายตั้งใจจะฆาองคหญิงการะบุหนิงและดนย เพราะบุคคลทั้งสองไดรูแลวเจาชายเปนผูฆารายา อัสมาร และบาหยัน ณ ปาแหงเดียวกับที่เจาชาย สุหราปาตีลอบวางยาพิษรายาอัสมาร และฆาบาหยัน “บุหลันยาตรา!” พระจันทรทรงกลด เปนของไมแปลกอะไร สําหรับคืนเดือนเพ็ญทีฟ่ า โปรง แตดนยบอกไมถกู เหมือนกันวาเหตุใดพระจันทรทรงกลดบนเกาะ จั น ดาหรา จึ ง ทํ า ให ข นลุ ก ซู  . ..ราวกั บ เห็ น สิ่ ง มหัศจรรย

83


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

อาจจะเปนเพราะความงามอยางประหลาด ของมั น ยิ่ ง กว า ที่ ใ ดที่ เ คยเห็ น มาก อ น เขา พยายามบอกตัวเอง เมื่อคุกเขาเงยหนาขึ้นมอง เห็ น พระจั น ทร ท รงกลดเบื้ อ งบน ความแจ ม กระจางของดวงจันทร ทําใหลําแสงที่สาดสอง ลงมาแจมชัดเปนสีทองคําแปลกตายิ่งกวาสีเงิน อยางในตอนคํ่า เกือบจะเทากับแสงอรุณยาม รุงเชาก็วาได (ดอกแกวการะบุหนิง, 2541: 608) จากการบรรยายฉากคืนบุหลันยาตราขางตน จะเห็นไดวา ผูเ ขียนไดเนนถึงความสวางของแสงจันทร วันเพ็ญ เห็นไดจากการใชความเปรียบของแสงจันทร สีทองที่แสงกระจาง และสวาง “เกือบจะเทากับ แสงอรุณยามรุง เชา” ทัง้ ทีด่ วงจันทรเปนดาวทีเ่ ห็น ในเวลากลางคืน เห็นในความมืด ความเปรียบของ ผู  เ ขี ย นที่ ว  า แสงจั น ทร ส ว า งเกื อ บจะเท า แสงอรุ ณ อันเปนแสงของความสวาง ความบริสุทธิ์ จึงอาจ ตีความไดวา ดวงจันทรวนั เพ็ญอันเปนสัญลักษณของ ความดี ความบริสุทธิ์ ความยุติธรรม ไดทําใหคํ่าคืน แหงความชั่วราย ในปาที่เกิดเหตุการณทําลายชีวิต ถึ ง สองครั้ ง “ความชั่ ว ร า ยกาลี . ...ที่ แ ฝงอยู  ใ น เงามืดของปานะสิคณ ุ .....ความมืด...ความเรนลับ ....ไกลหูไกลตาผูคน ทําใหความกาลีฮึกเหิมขึ้น มาได หลังจากจําตองศิโรราบเมื่ออยูในที่สวาง อันเต็มไปดวยสายตาผูค น” (ดอกแกวการะบุหนิง, 2541: 365) กลับกลายเปนคํ่าคืนแหงความดีงาม ความถูกตอง ดวงจันทรวนั เพ็ญจึงมีแสงสวางกระจาง จนเกือบจะเปนแสงของรุงอรุณ แลวเจาชายสุหราปาตีก็สิ้นชีวิตของพระองค ในคืนบุหลันยาตรา เพราะเทพเจาแหงดวงจันทรได มาพิพากษาโทษ ที่เจาชายไดทํารายบุคคลอันเปน ทีร่ กั ขององครานีกริ ะณา ตามความเชือ่ ของชาวเกาะ จันดาหราที่ “เชือ่ กันวา เมือ่ ใดเกิดความผิดคิดราย อยางรุนแรงและมนุษยไมอาจชําระความลงโทษ ผูก ระทําผิดดวยตนเองได เทพเจาแหงดวงจันทร จะเสด็ จ ลงมาพร อ มด ว ยเทพบริ ว าร ตามล า

84

ผูกระทําผิดรายแรงคนนั้น เพื่อนําดวงวิญญาณ ไปใหพระองคตัดสินโทษ” (ดอกแกวการะบุหนิง, 2541: 33-34) จากการบรรยายฉากคืนบุหลันยาตราขางตน จะเห็นแกวเกาไดนาํ เอาดวงจันทร ซึง่ เปนสัญลักษณ ของความงามอันสมบูรณ อันหมายถึงความดีงาม มาใชเปนสัญลักษณแทนความยุติธรรม เริ่มตั้งแต การตัง้ ชือ่ เกาะทีเ่ กิดเหตุการณพพิ ากษาโทษวาเกาะ จันดาหราหรือ “เกาะพระจันทร” เกิดเหตุการณ พิ พ ากโทษในคื น บุ ห ลั น ยาตรา ซึ่ ง ก็ คื อ “คืนวัน พระจันทรเต็มดวงทรงกลด” โดยมี “เทพเจาแหง ดวงจันทร” เปนผูพิพากษาโทษ และมีผูอยูรวมใน เหตุการณคอื รานีกริ ะณาหรือ “เทวีแหงแสงจันทร” กลาวไดแกวเกาไดสรางองคประกอบของฉากคืน บุหลันยาตราทีล่ ว นแตมคี วามหมายถึง “ดวงจันทร” เพือ่ เนนยํา้ ความหมายของดวงจันทรทเี่ ปนสัญลักษณ ของความดีงาม ความบริสุทธิ์ยุติธรรม นอกจากการ ใชสัญลักษณดวงจันทรวันเพ็ญแลว ยังสังเกตไดวา ผูเขียนเลือกใชฉากปาบนเกาะจันดาหรา ที่เจาชาย สุหราปาตีไดทําลายชีวิตขององครายาและบาหยัน ใหเปนทีท่ พี่ ระองคไดรบั โทษทัณฑทพี่ ระองคไดกอ ไว ฉากคืนบุหลันยาตราในเรื่อง ดอกแกวการะบุหนิง จึงเปนฉากทีช่ ว ยสนับสนุนแนวคิดเรือ่ งผูท ที่ าํ กรรมใด ไวยอมไดรับผลกรรมนั้นใหเดนชัดยิ่งขึ้น บทสรุป จากการศึกษาฉากที่สนับสนุนแนวคิดทางพุทธ ศาสนาในจินตนิยายทัง้ 9 เรือ่ ง โดยเฉพาะการใชฉาก เปนสัญลักษณแทนกิเลสหรือความทุกขสังเกตไดวา แกวเกาใชฉากสัญลักษณเปนชุดความคิดเดียวกัน คือ การใชฉากคฤหาสนในเรือ่ ง แกวราหู และเมืองมาย ในเรือ่ ง นาคราช เปนสัญลักษณแทนผลประโยชนที่ รัดรึงใหมนุษยตกอยูใ นบวงของความโลภ และการใช ไฟกิเลสเปนสิ่งที่ทําใหเกิดความพินาศ ความวิบัติ แกสถานที่ที่เปนสัญลักษณของผลประโยชน


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

การใช เ รื อ นทั้ ง ตํ า หนั ก ขาวริ ม นํ้ า ในเรื่ อ ง แตปางกอน เรือนของนกยูงในเรื่อง เรือนมยุรา และเรือนนพเกาเปนสัญลักษณของความรัก และ ความหลง ความคิดนีป้ รากฏเดนชัดในการตัง้ ชือ่ เรือ่ ง ของจินตนิยายที่แกวเกาไดนําฉากของเรื่องมาตั้ง ชือ่ เรือ่ ง เชน เรือนมยุรา เรือนนพเกา แสดงใหเห็น วาฉากมีบทบาทสําคัญในการสนับสนุนแนวคิดพุทธ ศาสนาที่ปรากฏในจินตนิยาย แกวเกาไดนําเอาแนวคิดพุทธศาสนาทั้งเรื่อง การยึดมั่นในกิเลสทําใหเกิดความทุกข และแนวคิด เรื่องกรรมที่ปรากฏในวรรณคดีวรรณกรรมพื้นบาน ของไทยหลายเรื่อง เชน ลิลิตพระลอ สมุทรโฆษ คําฉันท ทาวผาแดงนางไอ มาสรางสรรค และ นําเสนอใหมในรูปแบบของจินตนิยายที่สนุกสนาน และนาตืน่ เตนตามจินตนาการของผูเ ขียน จินตนิยาย ของแกวเกาจึงโดดเดนและนาสนใจ

บรรณานุกรม กฤษณา วงษรักษ. (2542). วิเคราะหความเชื่อที่ ปรากฏในนวนิยายเหนือธรรมชาติของ “แกวเกา” ระหว า งป พ.ศ.2531-2536. วิ ท ยานิ พ นธ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร. กอบกุล อิงคะนนท. [ม.ป.ป.] ศัพทวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: อรฉัตร. กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2522). วรรณคดีวิจารณ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาวิทยาลัยรามคําแหง. จีรณัทย วิมุตติสุข. (2550). การใชวรรณคดีไทยและ การใชวรรณกรรมพืน้ บานในนวนิยายของแกวเกา. วิทยานิพนธอกั ษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา ภาษาไทย ภาควิ ช าภาษาไทย จุ ฬ าลงกรณ มหาวิทยาลัย. พระไตรปฏกภาษาไทยฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย. (2539). กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). ทุกขสําหรับ เห็น แตสุขสําหรับเปน (แกนแทของพระพุทธ ศาสนา). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร. วรรณภา ชํานาญกิจ. (2547). ชักมาชมเมือง: กวีนพิ นธ พุทธบูชา. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 21, 97-136. วินติ า ดิถยี นต. (2525). นางทิพย เลม 1-2. กรุงเทพฯ: รวมสาสน. _______. (2527). มนตรา เลม 1-2. กรุงเทพฯ: รวมสาสน. _______. (2541). ดอกแกวการะบุหนิง. กรุงเทพฯ: ศรีสารา. _______. (2544). นาคราช. กรุงเทพฯ: เพื่อนดี. _______. (2544). เรือนนพเกา. กรุงเทพฯ: เพือ่ นดี. _______. (2546). แกวราหู. กรุงเทพฯ: เพื่อนดี. _______. (2547). แตปางกอน. กรุงเทพฯ : เพือ่ นดี. _______. (2547). เรือนมยุรา. กรุงเทพฯ: เพื่อนดี. _______. (2547). อมตะ. กรุงเทพฯ: เพื่อนดี. ศนิชา แกวเสถียร. (2546). การใชวิทยาศาสตรใน นวนิยายของแกวเกา. วิทยานิพนธอกั ษรศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษา ไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร. สะอาด รอดคง. (2533). วิเคราะหนวนิยายเหนือ ธรรมชาติของแกวเกา. วิทยานิพนธศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัย นเรศวร. อิงอร สุพันธุวณิช. (2547). จินตนิยายของแกวเกา: หลากรสหลายลีลา. ใน วรรณกรรมวิจารณ. กรุงเทพฯ: แอคทีฟพรินท.

85


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

Miss Ratchaneekorn Ratchatakorntrakoon received her Master of Arts in Thai from Chulalongkorn University, her bachelor’s degree in Thai with first class honor from Thammasat University. She is currently a doctorate collegian in Thai at the Faculty Arts, Chulalongkorn University. Her main interests are in Modern Thai Literature, Popular Culture study and Buddhist study.

86


¾

ÄμÔ¡ÃÃÁ¡ÒÃ͋ҹ˹ѧÊ×ͧ͢¹Ñ¡àÃÕ¹ÁѸÂÁÈÖ¡ÉÒμÍ¹μŒ¹: ¡Ã³ÕÈ¡Ö ÉÒâçàÃÕ¹Êѧ¡Ñ´Êíҹѡ§Ò¹¤³Ð¡ÃÃÁ¡ÒáÒÃÈÖ¡ÉÒ ¢Ñé¹¾×鹰ҹ㹡Ãا෾ÁËÒ¹¤Ã Reading Behaviors among Junior High School Students: Case Study in Bangkok Metropolitan Area under The Office of Basic Education Commission มริน เปรมปรี นิสิตปริญญาโท วิทยาลัยประชากรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย E-mail: marin_prempree@hotmail.com

บทคัดยอ การศึกษานี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาพฤติกรรมการอานหนังสือของนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนตนและวิเคราะหหาปจจัยทีม่ ผี ลตอพฤติกรรมการอานหนังสือ โดยเก็บรวบรวมขอมูลจาก กลุมตัวอยางจํานวน 500 รายในกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบวา กลุมตัวอยางมีเวลา การอานหนังสือเฉลีย่ ประมาณ 78 นาทีตอ วัน โดยใชเวลาอานหนังสือแบบเรียนเฉลีย่ ประมาณ 37 นาที/วัน ใชเวลาในการอานหนังสือนอกเหนือแบบเรียนเฉลี่ยประมาณ 48 นาที/วัน การวิเคราะหการแปรผันสองทางโดยใชเทคนิคการวิเคราะหการถดถอยแบบงายพบวา ตัวแปร ที่มีอิทธิพลตอพฤติกรรมการอานหนังสือ อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี 9 ตัว แตเมื่อใชวิธีการวิเคราะหการถดถอยแบบพหุพบวา มีตัวแปรอิสระเพียง 5 ตัวเทานั้นที่ รวมกันอธิบายการแปรผันของพฤติกรรมการอานหนังสือ โดยตัวแปรทีม่ อี ทิ ธิพลมากทีส่ ดุ คือ รายไดของครอบครัว รองลงมาเปน เขตการศึกษา ทัศนคติเกี่ยวกับการอาน ระดับคะแนน วิชาภาษาไทย และระดับชั้นปที่ศึกษาซึ่งอธิบายการแปรผันของพฤติกรรมการอานไดรอยละ 9.6 คําสําคัญ: พฤติกรรมการอานหนังสือ

87


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

Abstract The purposes of this study are to understand reading behavior of junior high school students in Bangkok Metropolitan Area under the Office of Basic Education Commission and to analyze the factors that have significant impact on the variation of reading behavior. Data has been collected from 500 samples by self administered questionnaires. The findings indicated that the average time of reading was 78 minutes per day. Students spent 37 minutes per day to read text books and 46 minutes per day to read others. The results from simple regression analysis revealed that only 9 out of 16 variables have significant impact on the reading behavior. The multiple regression analysis, however, indicated that when controlling for the effect of other independent variables in the model only 5 variables can explain the variation of reading behavior.These variables are family income, educational area, the attitude towards reading,Thai subject grades and educational level. all independent variables can explain the variance of reading behavior about 9.6 percent. Keywords: Reading Behavior บทนํา สังคมไทยปจจุบนั ไดเขาสูส งั คมสูงวัยทีม่ สี ดั สวน ประชากรสูงอายุมากกวารอยละ 10 สงผลใหประชากร วัยแรงงานซึ่งมีบทบาทในการเกื้อหนุนประชากร กลุมอื่นจําเปนตองมีผลิตภาพ (Productivity) เพิ่ม สูงขึ้น รัฐบาลจึงใหความสําคัญกับนโยบายดานการ พัฒนาคุณภาพประชากรเพิม่ มากขึน้ โดยเฉพาะการ พัฒนาคุณภาพของประชากรวัยเด็กซึง่ จะเติบโตเปน ผูใ หญทต่ี อ งทําหนาทีใ่ หการเกือ้ หนุนประชากรกลุม อืน่ ในอนาคต การอานหนังสือนับเปนเครื่องมือที่สําคัญ ตอการเรียนรูแ ละการพัฒนาประชากรอยางรอบดาน เพราะเปนสื่อการเรียนรูตลอดชีวิต ผลการสํารวจ การอานหนังสือของคนไทยในป พ.ศ. 2551 พบวา สัดสวนของประชากรที่อานหนังสือลดลงจากรอยละ 69.1 ในป 2548 เหลือรอยละ 66.3 ในป 2551 ทั้งนี้ เพราะมี สื่ อ อื่ น ที่ ดึ ง ดู ด ความสนใจมากกว า เช น โทรทัศน เกมส เปนตน (สํานักงานสถิติแหงชาติ กระทรวงเทคโนโลยี ส ารสนเทศและการสื่ อ สาร,

88

2552: ออนไลน) จากสภาพปญหาดานการอาน คณะรัฐมนตรี จึงมีมติเห็นชอบใหการอานเปนวาระแหงชาติและ กําหนดใหป พ.ศ. 2552-2561 เปนทศวรรษแหง การอาน โดยมีเปาหมายวาภายในป พ.ศ. 2555 ประชากรวัยแรงงานสามารถรูห นังสือในระดับใชงาน ไดในชีวิตประจําวันเพิ่มขึ้นจากรอยละ 97.21 เปน รอยละ 99 และการอานออกเขียนไดของประชากร อายุ 15 ป ขึ้ น ไปเพิ่ ม ขึ้ น จากร อ ยละ 92.64 เป น รอยละ 95 รวมทัง้ กําหนดใหคา เฉลีย่ ของการอานของ คนไทยเพิ่มจากอานหนังสือเฉลี่ยปละ 5 เลมตอคน เปน 10 เลมตอคน (หนังสือพิมพ ASTV ผูจัดการ ออนไลน, 2552: ออนไลน) ซึ่งสภาวการณดังกลาว ทําใหผูวิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาปจจัยที่มีผลตอ พฤติ ก รรมการอ า นหนั ง สื อ ของนั ก เรี ย นระดั บ มัธยมศึกษาตอนตน ในโรงเรียนสังกัดสํานักงาน คณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานในกรุ ง เทพมหานคร โดยมุง หวังวาผลการศึกษาจะนําไปสูค วาม


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

เขาใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการอานของนักเรียน ซึ่ง สามารถนําไปสูการพัฒนาการอานของนักเรียนและ ประชาชนไทยเพื่อสนองตอบนโยบายของประเทศที่ เปนประโยชนตอการขับเคลื่อนการสงเสริมการอาน ตอไป วัตถุประสงค เพือ่ เขาใจพฤติกรรมการอานหนังสือและวิเคราะห หาปจจัยที่มีผลตอพฤติกรรมการอานหนังสือของ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนตน ในโรงเรียนสังกัดคณะ กรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน เขตกรุงเทพมหานคร แนวคิดเชิงทฤษฎี การศึกษาครั้งนี้ใชแนวคิดเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวของ ไดแก แนวคิดเกี่ยวกับการอาน พัฒนาการ และความ ตองการดานการอานของวัยรุน วัยรุน เปนวัยแหงการ เรียนรู คนหาแบบอยาง วิถีทางแหงตน และเปนวัย หัวเลี้ยวหัวตอที่ตองการการแนะนําและการประคับ ประคอง การอานจึงถือเปนเครื่องมือที่สําคัญในการ ตอบสนองต อ ความตองการของวั ยรุ น เนื่องดวย หนังสือสามารถเปนสื่อชี้นําที่จะใหขอมูลเติมเต็ม ความตองการ คลี่คลายปญหา และความคับของใจ ของวัยรุนได (Hurlock, 1973: 2; สุชา จันทรเอม, 2542: 73) แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมและนิสัยรักการอาน พฤติกรรมรักการอาน หมายถึง การกระทําที่บุคคล

แสดงออกถึงความสนใจและความชอบอาน แสวงหา โอกาส แสวงหาเวลาวางในการอาน แสวงหาหนังสือ เพือ่ การอาน เปนความสมัครใจและยินดีทจี่ ะอานเอง โดยไมมีการบังคับ (สุวรรณา สันคติประภา, 2532: 14; จิตรลดา อารียสันติชัย, 2547: 21) สวนนิสัย รักการอาน หมายถึง การแสดงออกถึงความใสใจ สนใจ ในการแสวงหาความรู และความบันเทิง ดวย การอานโดยใชวิธีการตางๆ ซึ่งกระทําอยูเปนประจํา และสมํ่าเสมอจนเปนนิสัย (ดวงเดือน พันธุมนาวิน; อรพินทร ชูชม; และสุภาพร ลอยด, 2529: 53; ดวงพร พวงเพ็ชร, 2541: 14-15) แนวคิดเชิงทฤษฎีเรือ่ งพฤติกรรมและการเรียนรู ของมนุษย ปจจัยการเกิดพฤติกรรม ไดแก ปจจัยทาง ดานสรีรวิทยา ปจจัยทางดานสิง่ แวดลอม ปจจัยทาง ดานสังคม และปจจัยทางดานทัศนคติ (ถวิล ธาราโภชน, 2543: 6-7) แนวคิดความสัมพันธระหวางความรู ทัศนคติ และการปฏิบัติ (KAP) โดยทบทวนแนวคิดของนัก วิชาการหลายทาน สรุปไดวา ความรู (Knowledege) และทัศนคติ (Attitude) เปนปจจัยทีส่ ง ผลตอการเกิด พฤติกรรม (Practice) (Good, Carter V., 1973: 128; Norman L. Munn, 1971: 71; ประสิทธิ์ ทองอุน, 2542: 4, วิธี แจมกระทึก, 2541: 17-18) การทบทวนแนวคิดเชิงทฤษฎี ตลอดจนเอกสาร และผลงานวิจัยที่เกี่ยวของ นํามาสรางเปนกรอบ แนวคิดเพื่อใชในการศึกษา ดังนี้

89


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ตัวแปรอิสระ ปจจัยสวนบุคคล 1. เพศ 2. อายุ 3. ระดับชั้นปที่ศึกษา 4. คะแนนเฉลี่ยสะสม 5. คะแนนวิชาภาษาไทย 6. การเขารวมกิจกรรมสงเสริมการอาน 7. ความพรอมในการอาน 8. การศึกษาของผูปกครอง 9. รายไดของครอบครัว 10. รายรับตอเดือนของนักเรียน 11. ลักษณะการเลี้ยงดูของผูปกครอง ปจจัยทางสังคมและสิ่งแวดลอม 12. เขตการศึกษา 13. สภาพแวดลอมในครอบครัวที่เอื้อตอการสงเสริมการอาน (สภาพแวดลอมของทีอ่ ยูอ าศัย และการสนับสนุนการอานจากครอบครัว) 14. สภาพแวดลอมในโรงเรียนที่เอื้อตอการสงเสริมการอาน (สภาพแวดลอมในโรงเรียน การสงเสริมการอานจากโรงเรียน และการ แนะนําการอานหนังสือจากครู) 15. สภาพแวดลอมในชุมชนที่เอื้อตอการสงเสริมการอาน (สภาพแวดลอมในชุมชน เชน บรรยากาศในชุมชน จํานวนหองสมุด และสถานที่ในการอานหนังสือ) ปจจัยทางจิตวิทยา 16. ทัศนคติตอการอานหนังสือ 17. แรงจูงใจในการอานหนังสือ

ตัวแปรตาม พฤติกรรมการอานหนังสือ - เวลาเฉลี่ยในการอานหนังสือแบบเรียน และหนั ง สื ออื่ น ๆ นอกเหนื อ จากแบบ เรียน (นาที/วัน) - จํานวนครั้งในการอานหนังสือพิมพตอ สัปดาห - จํานวนฉบับ / เลมของนิตยสาร / วารสาร การตนู สารคดีและนวนิยาย / เรือ่ งสัน้ ที่ อานในชวงเวลา 1 เดือนที่ผานมา - ประเภทเนือ้ หาทีช่ อบอานในหนังสือพิมพ นิตยสาร / วารสารการตูน สารคดี และ นวนิยาย / เรื่องสั้น - แหลงที่มาของสิ่งพิมพนอกเหนือจาก แบบเรียนที่อาน

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดของการศึกษา

ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาครัง้ นีเ้ ปนการวิจยั เชิงสํารวจ (Survey research) ประชากรเปาหมายในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนตน (มัธยมศึกษาปที่ 1-3) ป ก ารศึ ก ษา 2552 ของโรงเรี ย นในสั ง กั ด สํานักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพมหานครโดยสุม ตัวอยางจาก 12 โรงเรียน ของเขตการศึกษาทัง้ 3 เขต ของกรุงเทพมหานคร โดยมีนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนตนเปนกลุม ตัวอยางรวมทัง้ สิน้ 500 ราย เครือ่ งมือ

90

ที่ใชในการเก็บรวบรวมขอมูลคือ แบบสอบถามที่ สร า งขึ้ น จากแนวคิ ด เชิ ง ทฤษฎี แ ละผลการวิ จั ย ที่ เกีย่ วของ โดยมีการนําแบบสอบถามไปทดลองใชกบั นั ก เรี ย นชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาตอนต น ในเขตกรุ ง เทพมหานคร จํานวน 30 ราย แลวนํามาปรับใหความ เหมาะสมกับลักษณะกลุม เปาหมายซึง่ แบบสอบถาม แบงเปน 8 สวน ไดแก ขอคําถามเกีย่ วกับขอมูลทัว่ ไป ขอมูลดานความพรอมในการอาน ขอมูลสภาพแวดลอม ในครอบครัว ขอมูลสภาพแวดลอมในโรงเรียน ขอมูล สภาพแวดลอมในชุมชน ขอมูลทัศนคติตอการอาน


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

หนังสือ ขอมูลแรงจูงใจในการอานหนังสือ และขอมูล พฤติกรรมการอานหนังสือโดยลักษณะคําถามเปน แบบเติมคํา และแบบตรวจรายการ มีวิธีการเก็บ ข อ มู ล โดยผู วิ จั ย ทํ า การส ง แบบสอบถามให ก ลุ ม ตัวอยางนักเรียน เปนผูก รอกแบบสอบถามดวยตนเอง และรอรับแบบสอบถามคืนทันทีเมื่อทําเสร็จ ผลการวิจัย การศึ ก ษาพฤติ ก รรมการอ า นหนั ง สื อ ของ นักเรียน พบวา กลุมตัวอยางมีเวลาการอานหนังสือ เฉลีย่ ประมาณ 78 นาทีตอ วัน โดยใชเวลาอานหนังสือ แบบเรียนเฉลี่ยประมาณ 37 นาทีตอวัน และใชเวลา ในการอานหนังสือนอกเหนือแบบเรียนเฉลีย่ ประมาณ 48 นาที ต อ วั น (ไม ไ ด นํ า เสนอตารางสถิ ติ ) การ วิ เ คราะห ป จ จั ย ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต อ พฤติ ก รรมการอ า น หนังสือของกลุมตัวอยาง เปนการวิเคราะหที่ระดับ นัยสําคัญทางสถิติ 0.05 โดยแบงการวิเคราะหเปน 2 สวน คือ การวิเคราะหการแปรผันสองทางและการ วิเคราะหการแปรผันหลายทาง ซึ่งผลการวิเคราะห การแปรผันสองทางดวยวิธีการวิเคราะหการถดถอย

อยางงายที่นําเสนอไวในตารางที่ 1 แสดงวา ปจจัย สวนบุคคล ปจจัยทางสังคมและสิ่งแวดลอม และ ปจจัยทางจิตวิทยาที่ใชในการศึกษาซึ่งมีทั้งหมด 17 ตัวแปร ตามรายละเอียดที่นําเสนอในกรอบแนวคิด นั้น ตัวแปรที่มีอิทธิพลตอการแปรผันของพฤติกรรม การอานอยางมีนัยสําคัญทางสถิติมีเพียง 9 ตัวแปร เทานั้น คือ ระดับชั้นปที่ศึกษา คะแนนเฉลี่ยสะสม คะแนนวิชาภาษาไทย การเคยเขารวมกิจกรรมสงเสริม การอาน การศึกษาของผูป กครอง รายไดของครอบครัว สภาพแวดล อ มในครอบครั ว ที่ เ อื้ อ ต อ การส ง เสริ ม การอาน ทัศนคติเกีย่ วกับการอาน และเขตการศึกษา ผลการศึกษาแสดงวา นักเรียนที่ศึกษาอยูใน ระดับชัน้ ปสงู มีพฤติกรรมการอานหนังสือโดยใชเวลา ในการอานหนังสือมากกวานักเรียนที่ศึกษาอยูใน ระดับชั้นที่ตํ่ากวา ทั้งนี้อาจเปนเพราะพฤติกรรม การอานหนังสือในการศึกษานี้คือ การอานหนังสือ ทั้งที่เปนแบบเรียนและไมใชแบบเรียน นักเรียนที่ เรียนในระดับชัน้ ทีส่ งู กวาจึงอาจไดรบั การมอบหมาย งานอานจากครู/อาจารยมากกวาทําใหมีภาระในการ อานหนังสือมากกวา

91


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะหการถดถอยอยางงายของพฤติกรรมการอานหนังสือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนตน ตัวแปรอิสระ 1. เพศหญิง (1) 2. อายุ 3. ระดับการศึกษา 4. คะแนนเฉลี่ยสะสม 5. คะแนนวิชาภาษาไทย (คะแนนสูงสุดคือเกรด 4) 6. การเคยเขารวมกิจกรรมสงเสริมการอาน (2) 7. การมีความพรอมในการอาน 8. การศึกษาของผูปกครองระดับปริญญาตรีและสูงกวา (3) 9. รายไดของครอบครัว 10. รายรับตอเดือนของนักเรียน 11. ลักษณะการเลี้ยงดูของผูปกครองแบบประชาธิปไตย (4) 12. สภาพแวดลอมในครอบครัวที่เอื้อตอการสงเสริมการอาน 13. สภาพแวดลอมในโรงเรียนที่เอื้อตอการสงเสริมการอาน 14. สภาพแวดลอมในชุมชนที่เอื้อตอการสงเสริมการอาน 15. ทัศนคติเกี่ยวกับการอานหนังสือ 16. แรงจูงใจในการอานหนังสือ 17. เขตการศึกษาเขต 1 (5)

a

b

t

R

R2

n

76.886 3.929 55.494 29.513 38.977 66.876 56.583 72.203 73.514 74.365 65.177 44.312 68.356 80.017 -14.493 50.542 69.233

3.006 5.439 11.513 15.233 10.584 17.614 1.698 14.932 0.000 0.002 15.912 1.216 0.151 -0.728 2.089 1.612 31.646

0.495 1.618 3.136* 3.424* 3.645* 2.776* 1.490 2.428* 2.007* 0.629 1.930 2.145* 0.440 -0.330 3.839* 1.713 4.832*

0.022 0.073 0.141 0.160 0.165 0.125 0.067 0.110 0.093 0.029 0.088 0.097 0.020 0.015 0.172 0.077 0.214

0.001 0.005 0.020 0.026 0.027 0.016 0.005 0.012 0.009 0.001 0.008 0.009 0.000 0.000 0.029 0.006 .046

488 488 488 450 479 486 488 483 467 484 484 488 488 488 488 488 488

หมายเหตุ: a = คาคงที่ b = สัมประสิทธิ์การถดถอย R = สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ R2 = สัมประสิทธิ์การตัดสินใจ * = มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 t = สถิติทดสอบแบบที n = ขนาดตัวอยาง (1) กลุมอางอิงคือ นักเรียนชาย (2) กลุมอางอิงคือไมเคยเขารวมกิจกรรมการอาน (3) กลุมอางอิงคือผูปกครองมีการศึกษา ตํ่ากวาปริญญา (4) กลุมอางอิงคือการเลี้ยงดูแบบเขมงวดและแบบปลอยปละละเลย (5) กลุมอางอิงคือ เขตการศึกษาเขต 2 และ เขต 3

สําหรับนักเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมสูงและมี คะแนนวิชาภาษาไทยสูงมีพฤติกรรมการอานหนังสือ มากกวานักเรียนกลุมอื่นนั้น นาจะเปนเพราะผูที่มี คะแนนเฉลี่ ย สู ง มี คุ ณ ลั ก ษณะในการใฝ รู ใ ฝ เ รี ย น มากกวา และนักเรียนที่ไดคะแนนภาษาไทยสูงก็นา จะอ า นหนั ง สื อ บ อ ยกว า และนานกว า นอกจากนี้ ความสั ม พั น ธ ร ะหว า งคะแนนเรี ย น คะแนนวิ ช า ภาษาไทยและพฤติกรรมการอานอาจเปนเหตุเปนผล ตอกัน กลาวคือ นักเรียนที่เรียนดีจะใชเวลาในการ อานหนังสือมากกวา และการที่นักเรียนอานหนังสือ มากกว า ก็ น า จะส ง ผลให มี ผ ลการเรี ย นดี ก ว า ใน ทํานองเดียวกัน นักเรียนทีอ่ า นหนังสือมากก็นา จะได

92

คะแนนภาษาไทยสูง และนักเรียนที่มีความสามารถ ทางดานภาษามากกวาก็นา ทีจ่ ะรักการอานหนังสือซึง่ สวนใหญเปนหนังสือภาษาไทยมากกวา นอกจากนี้ ยัง พบวา การเขารวมกิจกรรมสงเสริมการอานมีอทิ ธิพล ตอพฤติกรรมการอานหนังสือของกลุม ตัวอยาง ซึ่งนา จะเปนเพราะผูท เี่ คยเขารวมกิจกรรมสงเสริมการอาน ไดรับการกระตุนใหมีความสนใจในการอานหนังสือ สําหรับตัวแปรสวนบุคคลทีพ่ บวาไมมอี ทิ ธิพลตอ พฤติกรรมการอานของนักเรียนอยางมีนยั สําคัญทาง สถิติคือ เพศ อายุ และความพรอมในการอานนั้น แสดงวา นักเรียนชายและหญิงไมมคี วามแตกตางกัน ในเรื่องพฤติกรรมการอาน และเนื่องจากนักเรียนที่


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

เปนกลุม ตัวอยางของการศึกษามีอายุใกลเคียงกันมาก พฤติกรรมการอานจึงไมแตกตางกัน การทีค่ วามพรอมในการอานหนังสือซึง่ เปนเรือ่ ง ของความพรอมทางสภาพรางกาย เชน ปญหาดาน สายตา และความพรอมทางดานจิตใจ และการมี สมาธิในการอานหนังสือ ไมมีอิทธิพลตอพฤติกรรม การอานหนังสือนาจะเปนเพราะปจจุบนั ความบกพรอง บางประการทางรางกาย เชน ปญหาสายตาสัน้ หรือ เอียง มีการดูแลรักษาไดดวยการใสแวนตา และการ เขาถึงการดูแลรักษาเหลานี้คอนขางมีความทั่วถึงใน กลุม เด็กนักเรียนเขตกรุงเทพมหานคร สําหรับปญหา ความพรอมทางดานอารมณ จิตใจของกลุม ตัวอยางนี้ อาจไมมีความแตกตางกันมากนัก เนื่องดวยอยูใน สภาพแวดลอมที่ใกลเคียงกันมีบริบทของชีวิตที่ไม แตกตางกันมากนัก เมื่ อ ศึ ก ษาอิ ท ธิ พ ลของป จ จั ย ทางสั ง คมและ สิง่ แวดลอมทีม่ ตี อ พฤติกรรมการอานพบวา ระดับการ ศึกษาของผูปกครอง รายไดของครอบครัว สภาพ แวดลอมในครอบครัวที่เอื้อตอการสงเสริมการอาน และเขตการศึกษามีอิทธิพลตอพฤติกรรมการอาน ของนักเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ซึ่งโดยสรุป ผลการศึกษาแสดงใหเห็นวา ครอบครัวเปนสถาบัน ทางสังคมที่มีอิทธิพลตอการหลอหลอมและสราง พฤติกรรมที่เหมาะสมของเด็ก เพราะผูปกครองที่มี การศึกษาสูงยอมเห็นคุณคาการอานหนังสือมากกวา ผูปกครองที่มีการศึกษาตํ่า ทําใหมีการสงเสริมให นักเรียนมีพฤติกรรมการอานหนังสือมากกวา (ปราณี รัตนัง, 2541: บทคัดยอ) ในทํานองเดียวกันครอบครัวที่มีรายไดสูงยอมมี ความสามารถในการตอบสนองความตองการของเด็ก ไดอยางเต็มทีใ่ นทุกดาน รวมทัง้ ในดานการอานหนังสือ หรือการใหการสนับสนุนการซือ้ หนังสือประเภทตางๆ หรือการใหขอ มูลเกีย่ วกับหนังสือหรือชองทางทีจ่ ะได มีโอกาสอานหนังสือ ซึง่ สอดคลองกับผลการศึกษาที่ พบว า มี ค วามสั ม พั น ธ ร ะหว า งพฤติ ก รรมการอ า น

และสภาพแวดลอมในครอบครัวทีเ่ อือ้ ตอการสงเสริม การอาน เชน การศึกษาของ ถาวร บุปผาวงศ (2546: บทคัดยอ) กลุมตัวอยางที่อยูในครอบครัวที่มีสภาพ แวดลอมเอื้อตอการสงเสริมการอานยอมไดรับการ กระตุนใหมีพฤติกรรมการอานหนังสือมากกวา นอกจากนี้ยังพบวา นอกเหนือจากปจจัยทาง ครอบครัวแลว ปจจัยสภาพแวดลอมทางสังคมก็มี อิทธิพลตอพฤติกรรมการอานเชนกัน ทั้งนี้เพราะ พบวา นักเรียนในเขตการศึกษาเขต 1 ซึ่งอยูในเขต ชั้นในของกรุงเทพมหานครเปนกลุมที่มีพฤติกรรม การอ า นมากกว า ทั้ ง นี้ เ พราะเป น พื้ น ที่ ที่ มี ป จ จั ย เกื้อหนุนและกระตุนหรือดึงดูดดานการอานหนังสือ มากกวาไมวา จะเปนจํานวนรานหนังสือ ประเภทของ หนังสือ หรือรูปแบบตางๆ ของบริการที่เปนการ สงเสริมสนับสนุนการอาน ประเด็นที่นาสนใจก็คือ ปจจัยทางดานสภาพ แวดลอมบางปจจัยที่คาดวานาจะมีผลตอพฤติกรรม การอาน ไดแก สภาพแวดลอมในโรงเรียน และสภาพ แวดลอมในชุมชนที่เอื้อตอการสงเสริมการอานนั้น พบวาไมมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงวา ไมไดสง อิทธิพลตอการแปรผันของพฤติกรรมการอาน ของนักเรียน ซึง่ ผลการศึกษานีอ้ าจสะทอนใหเห็นวา ในสถานการณปจ จุบนั การสรางเสริมสภาพแวดลอม ในโรงเรียนหรือในชุมชนยังไมอยูในระดับที่นาพอใจ หรือยังไมมีประสิทธิภาพมากพอในการมีบทบาท ตอการสงเสริมการอานของนักเรียน จึงนาจะเปน อุทาหรณหรือขอชี้แนะใหแกผูมีสวนเกี่ยวของหรือ ผูรับผิดชอบวายังคงมีประเด็นดานตางๆ ที่จะตอง ดําเนินการอีกหลายประการ สําหรับปจจัยทางจิตวิทยาทีใ่ ชในการศึกษานีค้ อื ทัศนคติเกีย่ วกับการอานหนังสือ และแรงจูงใจในการ อานหนังสือ พบวา ทัศนคติตอการอานหนังสือมี อิทธิพลตอพฤติกรรมการอานหนังสืออยางมีนยั สําคัญ ซึ่ ง สอดคล อ งกั บ แนวคิ ด และทฤษฎี ใ นเรื่ อ งความ สั ม พั น ธ ร ะหว า ง ความรู (knowledge) ทั ศ นคติ

93


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

(attitude) และพฤติกรรม (practice) หรือ KAP Model (Norman L. Munn, 1971: 71) ซึ่งพบวา ทัศนคติสง ผลตอพฤติกรรม เพราะทัศนคติเปนความ รูส กึ และความคิดเห็นของบุคคลทีม่ ตี อ สิง่ ของ บุคคล สถานการณ สถาบัน และขอเสนอใดๆ ในทางทีย่ อมรับ หรื อ ปฏิ เ สธ ซึ่ ง มี ผ ลทํ า ให บุ ค คลพร อ มที่ จ ะแสดง ปฏิกิริยาตอบสนองดวยพฤติกรรมตามแนวคิดนั้น ดังนั้น หากบุคคลมีทัศนคติที่ตระหนักและเห็นความ สําคัญตอการอานหนังสือก็จะสงผลตอพฤติกรรม การอานหนังสือมากขึน้ ดวย (Good, Carter V., 1973: 128; Norman L. Munn, 1971: 71; ประสิทธิ์ ทอง อุน , 2542: 4; วิธี แจมกระทึก, 2541: 17-18) อยางไร ก็ตาม ตัวแปรแรงจูงใจในการอานหนังสือไมมอี ทิ ธิพล มากนักตอการผันแปรของพฤติกรรมการอาน ซึ่ง สวนหนึ่งนาจะสะทอนใหเห็นวา กระบวนการในการ สรางแรงจูงใจใหเด็กสนใจการอานยังไมอยูใ นระดับที่ นาพอใจในการสรางเสริมพฤติกรรมการอาน จึงเปน

94

ภารกิ จ ที่ ผู มี ส ว นเกี่ ย วข อ งจะต อ งให ค วามสนใจ ติดตามและประเมินผลเพือ่ ใหการปฏิบตั กิ ารสงผลตอ การสรางเสริมพฤติกรรมการอานของเด็กอยางแทจริง การวิ เ คราะห ก ารแปรผั น หลายทางใช วิ ธี ก าร วิเคราะหสมการถดถอยพหุและการวิเคราะหการ ถดถอยพหุแบบขั้นตอน โดยไดนําเสนอไวในตาราง ที่ 2 และตารางที่ 3 ทั้งนี้โดยกอนที่จะดําเนินการ วิเคราะหดวยวิธีการดังกลาว ไดศึกษาสหสัมพันธ ระหวางตัวแปรอิสระทุกตัวเพื่อปองกันปญหาการที่ ตัวแปรอิสระมีความสัมพันธกันสูงมาก (multicollinearity problem) ซึ่งผลการศึกษาพบวาตัวแปร อิสระคูท มี่ คี วามสัมพันธกนั เกิน 0.50 คือ ตัวแปรอายุ และตั ว แปรระดั บ ชั้ น ป ที่ ศึ ก ษา (ค า สั ม ประสิ ท ธิ์ สหสัมพันธ = .818) และเนื่องจากตัวแปรชั้นปที่ ศึกษามีความสัมพันธกับพฤติกรรมการอานหนังสือ มากกวา ผูว จิ ยั จึงตัดตัวแปรอายุออกจากการวิเคราะห (ตารางสถิติไมไดนําเสนอ)


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะหการถดถอยพหุการแปรผันของพฤติกรรมการอานหนังสือ

ตัวแปรอิสระ (a) 1. เพศ (1) 2. ระดับชั้นปที่ศึกษา 3. คะแนนเฉลี่ยสะสม 4. ระดับคะแนนวิชาภาษาไทย 5. การเขารวมกิจกรรมสงเสริมการอาน (2) 6. ความพรอมในการอาน 7. การศึกษาของผูปกครอง (3) 8. รายไดของครอบครัว 9. รายรับตอเดือนของนักเรียน 10. ลักษณะการเลี้ยงดูของผูปกครอง (4) 11. สภาพแวดลอมในครอบครัวที่เอื้อตอการสงเสริมการอาน 12. สภาพแวดลอมในโรงเรียนที่เอื้อตอการสงเสริมการอาน 13. สภาพแวดลอมในชุมชนที่เอื้อตอการสงเสริมการอาน 14. ทัศนคติเกี่ยวกับการอานหนังสือ 15. แรงจูงใจในการอานหนังสือ 16. เขตการศึกษา (5) R = .331

R2 = .110

b

Beta

t

-117.121 -4.949 8.024 5.233 5.720 11.424 .751 -1.820 8.666 .001 4.779 -.503 -.355 -.135 1.314 .407 22.218

-.038 .101 .053 ..089 .083 .030 -.014 .113 .015 .027 -.040 -.048 -.003 .110 .020 .153

-2.433 -.769 2.101* .835 1.474 1.651 .558 -.245 1.933 .305 .558 -.684 -.808 -.055 1.893 .355 3.081*

F = 3.083

n = 417

หมายเหตุ: a = คาคงที่ b = สัมประสิทธิ์การถดถอย R = สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ R2 = สัมประสิทธิ์การตัดสินใจ * = มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 t = สถิติทดสอบแบบที n = ขนาดตัวอยาง (1) กลุมอางอิงคือ นักเรียนชาย (2) กลุมอางอิงคือไมเคยเขารวมกิจกรรมการอาน (3) กลุม อางอิงคือผูป กครองมีการศึกษา ตํ่ากวาปริญญา (4) กลุมอางอิงคือการเลี้ยงดูแบบเขมงวดและแบบปลอยปละละเลย (5) กลุมอางอิงคือ เขตการศึกษาเขต 2 และ เขต 3

การวิเคราะหการถดถอยพหุที่นําเสนอในตาราง ที่ 2 แสดงวา ตัวแปรอิสระทั้งหมด 16 ตัว รวมกัน อธิบายการแปรผันของพฤติกรรมการอานหนังสือได เพียงรอยละ 11 เทานัน้ และเมือ่ ควบคุมอิทธิพลของ ตัวแปรอิสระตางๆ ทีอ่ ยูใ นโมเดลพบวา มีตวั แปรอิสระ เพียง 2 ตัวเทานั้น คือ ระดับชั้นปที่ศึกษาและเขต การศึกษาทีส่ ามารถอธิบายการแปรผันของพฤติกรรม การอานไดอยางมีนยั สําคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ 0.05 ซึง่

ตางจากการศึกษาความสัมพันธระหวางตัวแปร 2 ตัว ที่พบวามีตัวแปรอิสระถึง 9 ตัวที่มีอิทธิพลตอการ แปรผันของพฤติกรรมการอาน และเมื่อใชวิธีการ วิเคราะหถดถอยพหุแบบขั้นตอนในการวิเคราะห ข อ มู ล เพื่ อ จั ด ลํ า ดั บ ความสํ า คั ญ ของตั ว แปรที่ มี อิทธิพลตอพฤติกรรมการอานดังสถิติที่นําเสนอใน ตารางที่ 3 ผลการศึกษาพบวามีตัวแปร 5 ตัวแปรที่ สามารถอธิบายการแปรผันของพฤติกรรมการอาน

95


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

หนังสือ โดยตัวแปรทีอ่ ธิบายการแปรผันไดดที สี่ ดุ คือ รายไดของครอบครัว รองลงมาคือ เขตการศึกษา ทัศนคติเกีย่ วกับการอาน คะแนนวิชาภาษาไทย และ ระดับชั้นปที่ศึกษา ตามลําดับ โดยตัวแปรทั้ง 5 ตัว

สามารถรวมกันอธิบายการแปรผันของพฤติกรรม การอานไดเพียงรอยละ 9.6 เทานั้น ซึ่งแสดงวายังมี ตัวแปรอืน่ ๆ ทีไ่ มไดถกู นํามาพิจารณาอีกเปนจํานวน มากทีม่ อี ทิ ธิพลตอการแปรผันของพฤติกรรมการอาน

ตารางที่ 3 ผลการวิเคราะหการถดถอยพหุขนั้ ตอนของพฤติกรรมการอานหนังสือของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาตอนตน

ตัวแปรอิสระ 1. รายไดของครอบครัว 2. เขตการศึกษา 3. ทัศนคติเกี่ยวกับการอานหนังสือ 4. คะแนนวิชาภาษาไทย 5. ระดับชั้นปที่ศึกษา F = 8.739*

Beta

t

R2

R2change

0.122 0.153 0.104 0.116 0.109

2.421 3.129 2.162 2.343 2.305

0.044 0.059 0.074 0.084 0.096

0.044 0.015 0.015 0.010 0.012

n = 417

หมายเหตุ: Beta = สัมประสิทธิ์ความถดถอยมาตรฐาน n = จํานวนตัวอยาง R = สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ R2 = สัมประสิทธิ์การตัดสินใจ R2 change = สัมประสิทธิ์การตัดสินใจที่เปลี่ยนแปลง F = สถิติการทดสอบ แบบเอฟ t = สถิติทดสอบแบบที * = มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

โดยสรุป ผลการศึกษาเปนไปตามสมมติฐานใน การสรางกรอบแนวคิดการศึกษาคือ ปจจัยสวนบุคคล ป จ จั ย ทางสั ง คมและสิ่ ง แวดล อ ม และป จ จั ย ทาง จิตวิทยา มีอิทธิพลตอการเกิดพฤติกรรมการอาน หนังสือของกลุมตัวอยาง โดยผลการวิเคราะหการ แปรผันหลายทางชี้แนะใหเห็นวา นักเรียนที่บิดา มารดาหรือผูป กครองมีฐานะดีนนั้ ผูป กครองสามารถ ใหการสนับสนุนนักเรียนไดในหลายดานรวมทั้งการ สนับสนุนดานการอาน โดยการซือ้ หนังสือ หรือสราง โอกาสใหนกั เรียนไดมพี ฒ ั นาการดานการอาน ซึง่ นับ เปนปจจัยที่สงผลใหนักเรียนมีพฤติกรรมการอาน มากกวานักเรียนกลุมอื่น นอกจากนี้ พื้นที่ที่มีการจัดสภาพแวดลอมทาง ดานการศึกษาที่ดี อันไดแกเขตการศึกษาเขต 1 ซึ่ง เปนเขตการศึกษาในเขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร ที่มีสภาพแวดลอมดานการศึกษาที่เอื้ออํานวยตอ พัฒนาการทางดานการอาน ไมวา จะเปนจํานวนของ

96

สถานบริการ ไดแก รานขายหนังสือ รานใหเชาหนังสือ ฯลฯ หรื อ คุ ณ ภาพของการให บ ริ ก ารและความ หลากหลายของบริการ จะสงผลใหเกิดการกระตุน และเกิดแรงจูงใจแกนักเรียนใหมีพฤติกรรมทางบวก ตอการอานหนังสือ นอกจากนี้ ปจจัยทางดานจิตวิทยา ไดแก การมีทัศนคติที่ดีตอการอานก็สงผลใหมีการ ปรับเปลีย่ นพฤติกรรม หรือมีพฒ ั นาการของพฤติกรรม ไปในทิศทางที่สงเสริมการอานดวยเชนกัน สํ า หรั บ ป จ จั ย ส ว นบุ ค คล ได แ ก คะแนนวิ ช า ภาษาไทยและระดั บ ชั้ น ป ที่ ศึ ก ษาก็ พ บว า มี ค วาม สัมพันธกับพฤติกรรมการอานในทิศทางที่เปนเหตุ เป น ผลต อ กั น กล า วคื อ นั ก เรี ย นที่ มี ค ะแนนวิ ช า ภาษาไทยสูงมักเปนเด็กที่ใฝรู มีนิสัยรักการอาน และมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการอาน มีแนวโนมที่จะมี พฤติ ก รรมที่ ดี เ กี่ ย วกั บ การอ า น ในขณะเดี ย วกั น นักเรียนที่เรียนในระดับสูง ซึ่งมักจะไดรับการมอบ หมายงานจากครู/อาจารยมากขึน้ รวมทัง้ อยูใ นระดับ


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

การศึ ก ษาที่ ต  อ งเปลี่ ย นหรื อ เลื่ อ นชั้ น ไปสู  ร ะดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลาย ต อ งมี ก ารแข ง ขั น ด า น การเรียนมากกวาระดับชัน้ ทีต่ าํ่ กวา ทําใหมภี าระทีจ่ ะ ตองอานหนังสือมากกวา ขอเสนอแนะเชิงนโยบาย ผลการศึกษานี้พบวา ครอบครัวมีอิทธิพลอยาง ชัดเจนในการปลูกฝงและสงเสริมใหเด็กมีพฤติกรรม ทีเ่ หมาะสมในดานการอาน แตปจ จัยดานสิง่ แวดลอม อื่นไมวาจะเปนสภาพแวดลอมในโรงเรียนหรือใน ชุมชน ยังไมมีอิทธิพลอยางโดดเดนในการพัฒนา พฤติกรรมการอานของเด็กนักเรียน ซึ่งนําไปสูขอ เสนอแนะดังนี้ 1. สรางสภาพแวดลอมในครอบครัวทีเ่ อือ้ ตอ การส ง เสริ ม การอ า นหนั ง สื อ ควรสร า งความ ตระหนั ก ให ผู ป กครองเห็ น ความสํ า คั ญ ของการ สงเสริมการอานใหเด็กตั้งแตแรกเกิด มีการรณรงค เรือ่ งการอานในครอบครัว มีการใหคาํ แนะนําเกีย่ วกับ การเลี้ยงดูบุตรโดยการสงเสริมเรื่องการอานหนังสือ เชน จัดทําเปนคูมือ “การเลี้ยงดูบุตรดวยหนังสือ” แจกใหกับผูปกครอง 2. สรางสภาพแวดลอมในโรงเรียนที่เอื้อตอ การสงเสริมการอานหนังสือ จัดสิ่งแวดลอมใน โรงเรียนใหนกั เรียนสามารถเขาถึงหนังสือไดโดยงาย ไมวา จะเปนการพัฒนาหองสมุด และการจัดกิจกรรม สงเสริมการอานและพัฒนาครู ทัง้ ครูบรรณารักษและ ครูผสู อนใหมที กั ษะในดานการสงเสริมการอานหนังสือ แกนกั เรียนและสามารถสรางสรรคกระบวนการเรียน การสอนที่สงเสริมใหเด็กนักเรียนรักการอานหนังสือ ได และมีการบรรจุมาตรการดานการสงเสริมการอาน ในหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อใหมีการสงเสริม การอานในระบบโรงเรียนอยางเขมขน 3. สรางสภาพแวดลอมในชุมชนทีเ่ อือ้ ตอการ สงเสริมการอาน เพือ่ เปนการเพิม่ ชองทางการเขาถึง หนังสือใหกับเยาวชน เพราะผลการศึกษาพบวา

แหลงการเขาถึงหนังสือในชุมชนมีนอยมาก โดย แหลงสําคัญคือ รานเชาหนังสือของเอกชน ดังนั้นจึง ควรพั ฒ นาแหล ง หนั ง สื อ ภาคเอกชนเหล า นี้ โ ดยมี มาตรการสนับสนุนธุรกิจเหลานีจ้ ากรัฐ เชน มาตรการ ดานการลดหยอนภาษีและการสนับสนุนหนังสือทีจ่ ะ นํามาใหเชาในรานใหเปนหนังสือที่เปนประโยชนตอ เยาวชน 4. การพัฒนาหนังสือใหมคี วามนาสนใจและ เหมาะสมกับชวงวัย ผลการศึกษานี้พบวา วัยรุน อานหนังสือการตูนมากที่สุด ดังนั้น จึงควรพัฒนา หนังสือการตูนใหมีรูปแบบที่นาสนใจ มีเทคนิคการ เลาเรื่องที่ดีและมีเนื้อหาที่เปนประโยชน เชน เรื่อง ของบุคคลทีเ่ ปนแบบอยางทีด่ ี หรือเนือ้ หาทีม่ คี วามรู เจาะลึกในวิชาชีพบางวิชาชีพ เพื่อใหผูอานไดรูและ เขาใจในวิชาชีพนั้นๆ ซึ่งจะเปนประโยชนในการเปด โลกทัศนใหกบั ผูอ า น รัฐและหนวยงานทีเ่ กีย่ วของจึง ควรใหความสําคัญและศึกษาหาแนวทางในการพัฒนา หนังสือใหตอบสนองความตองการของประชากร ทุกวัยอยางแทจริง ขอเสนอแนะเชิงวิชาการ 1. การศึกษานี้จํากัดอยูที่การศึกษาเชิงปริมาณ แตการศึกษาพฤติกรรมการอานหนังสือในบางประเด็น เชน ลักษณะหนังสือที่นักเรียนตองการอาน เนื้อหา รูปแบบ ฯลฯ ตองการการวิจัยแบบเจาะลึก หรือการ วิจัยเชิงคุณภาพ 2. กลุมเปาหมายของการศึกษานี้คือนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา แตพฤติกรรมการอานมีความ แตกต า งกั น ตามวั ย ดั ง นั้ น ผู ที่ มี ค วามสนใจใน พฤติกรรมการอานจึงควรศึกษาวิจยั ประชากรกลุม อืน่ เพื่ อ ให เ กิ ด ความเข า ใจในพฤติ ก รรมการอ า นที่ ครอบคลุมประชากรทุกกลุม 3. ผลการศึกษาชีแ้ นะวา ถึงแมจะมีการนําตัวแปร หลายตัวมาใชในการศึกษา แตความสามารถในการ อธิบายการแปรผันของพฤติกรรมมีนอยมาก ดังนั้น

97


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ในการศึกษาวิจัยตอไป จึงควรนําตัวแปรทางดาน จิ ต วิ ท ยา เช น ลั ก ษณะบุ ค ลิ ก ภาพของบุ ค คลมา ประกอบการศึกษาดวย นอกจากนี้ ตัวแปรที่ใชสื่อ ความหมายถึงพฤติกรรมการอานควรขยายเนื้อหา ไปยังประเด็นอื่นๆ ที่นอกเหนือจากจํานวนเวลาที่ใช ในการอานดวย

บรรณานุกรม จิตรลดา ไมตรีจิตต. (2548). การศึกษานิสัยรัก การอ า นของนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาป ที่ 6 สํ า นั ก งานเขตบางพลั ด กรุ ง เทพมหานคร. ปริ ญ ญานิ พ นธ ศึ ก ษาศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต , มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ดวงเดือน พันธุมนาวิน, อรพินทร ชูชม และสุภาพร ลอยด. (2529). การสงเสริมในครอบครัวกับนิสยั การอานของนักเรียนวัยรุน. บรรณศาสตร, 9, 47-82. ดวงพร พวงเพ็ชร. (2541). การสงเสริมนิสยั รักการอาน จากครอบครั ว ของนั ก เรี ย นระดั บ ชั้ น ประถม ศึกษาปที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริ ญ ญานิ พ นธ ศึ ก ษาศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต , มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถวิล ธาราโภชน. (2543). พฤติกรรมมนุษยกับการ พัฒนาตน. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์. ถาวร บุปผาวงษ. (2546). ปจจัยบางประการทีส่ ง ผล ตอนิสัยรักการอานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาส. ปริญญานิพนธ ศึ ก ษาศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต , มหาวิ ท ยาลั ย ศรีนครินทรวิโรฒ. ประสิทธิ์ ทองอุน. (2542). พฤติกรรมมนุษยกับการ พัฒนาคน. กรุงเทพฯ: เธิรดเวฟ เอ็ด ดูเคชั่น.

98

ปราณี รัตนัง. (2541). ตัวแปรคัดสรรทีส่ ง ผลตอนิสยั รักการอานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1 ในจังหวัดเชียงราย. ปริญญานิพนธศิลปศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาบรรณารักษศาสตรและ สารนิเทศศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. พัฒนา สุจริตวงศ. (2544). 14 ป: บาน โรงเรียน เพื่อน และจริยธรรม. Life & family, 5, 75. วิ ธี แจ ม กระทึ ก . (2541). ป จ จั ย ที่ เ กี่ ย วข อ งกั บ พฤติกรรมการบริโภคอาหารดวนของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดกรมสามัญ ศึ ก ษา กรุ ง เทพมหานคร. ปริ ญ ญานิ พ นธ ศึ ก ษาศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต , มหาวิ ท ยาลั ย ศรีนครินทรวิโรฒ. สํานักงานสถิติแหงชาติ. (2552). สรุปผลการสํารวจ การอานหนังสือของคนไทย พ.ศ. 2551. สืบคน เมื่อ 24 มีนาคม 252, http://service.nso.go.th/ nso/nsopublish/service/survey/read51.pdf สุวรรณา สันคติประภา. (2532). พฤติกรรมการอาน และการเลือกอานหนังสือการตนู ญีป่ นุ ของเด็กไทย ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธวารสารศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาสื่อสารมวลชน บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. หนังสือพิมพ ASTV ผูจ ดั การออนไลน. (2552). สืบคน เมื่อ 14 ตุลาคม 2552, http://www.manager. co.th Good, Carter V. (1973). Dictionary of education. New York: McGraw-Hill. Hurlock, E. B. (1973). Adolescent development. New York: McGraw-Hill. Munn, Norman L. (1971). The evolution of the human mind. Orlando, FL: Houghton Mifflin.


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

Miss. Marin Prempree received her Bachelor’s Degree in Faculty of Social Sciences from Thammasat University. In 2008, was to study Master degree in Faculty of Liberal Arts, Major College Population demography, from Chulalongkorn University. She is currently working as project officer of Coordination Center for AIDS Prevention.

99


ÇÑ

²¹¸ÃÃÁ¤ÇÒÁ»ÅÍ´ÀÑÂ: »˜¨¨ÑÂàªÔ§ºÙóҡÒÃà¾×èÍ ¤ÇÒÁÊíÒàÃç¨Í‹ҧÂÑè§Â×¹¢Í§Í§¤ ¡Òà Safety Culture: Integration Factor for Sustainable Success of Organization รังสรรค มวงโสรส ผูจัดการฝายบริหารทั่วไป บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร จํากัด (มหาชน) E-mail: rsm@rpcthai.com

บทคัดยอ อุบัติเหตุจากการทํางานนํามาซึ่งความสูญเสียอยางมากมายตอองคการ จึงเปนที่ตระหนักดี ทัง้ ภาครัฐและภาคเอกชนทีพ่ ยายามดําเนินการปองกันไมใหอบุ ตั เิ หตุเกิดขึน้ โดยการพยายาม ทีจ่ ะออกกฎหมาย กฎระเบียบ หรือหาระบบการจัดการดานความปลอดภัยนํามาใชในองคการ ปจจุบันวัฒนธรรมความปลอดภัย ซึ่งก็คือ ความคิด ความเชื่อที่ถูกฝงแนนของกลุมคนใน องคการจนถูกนํามาใชเปนแนวทางการปฏิบัติของคนในองคการเองโดยไมจําเปนตองมี ลายลักษณอกั ษร ถูกนํามาพิจารณาเปนแนวทางหลักในการบริหารจัดการองคการ การสราง วัฒนธรรมความปลอดภัยที่ดีอาจทําไดโดยการบูรณาการการบริหารองคการดานความ ปลอดภัย เพื่อสรางวัฒนธรรมความปลอดภัย ตั้งแตระดับ องคการ กลุม จนถึงปจเจกบุคคล โดยมีปจจัยที่เปนองคประกอบดังนี้ 1) เจตจํานงคของผูบริหารที่มีตอความปลอดภัย 2) การ สื่อสารดานความปลอดภัย 3) ขีดความสามารถดานความปลอดภัย 4) ความรวมมือของ บุคลากรดานความปลอดภัย 5) ความรับผิดชอบของบุคลากรดานความปลอดภัย โดยทัง้ หมด จะถูกสรางกรอบมาจากระบบการจัดการความปลอดภัยขององคการที่มีอยู เมื่อองคการ สามารถทีจ่ ะสรางวัฒนธรรมความปลอดภัยไดแลวจะทําใหสมาชิกขององคการตรวจสอบ และ ควบคุมกันเอง นํามาซึง่ ความปลอดภัยในองคการอันมีผลตอภาพพจน ผลิตภัณฑ และชือ่ เสียง ขององคการ อันเปนการแสดงความรับผิดชอบตอสังคม และสงผลตอความสําเร็จอยางยัง่ ยืน ขององคการ คําสําคัญ: วัฒนธรรมความปลอดภัย การบริหารจัดการความปลอดภัย

100


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

Abstract Accident brings tremendous loss to the organization. Both of Public and Private sectors aware and try to prevent it occurred. They attempt to regulate by issue the legislation, regulation and implementation of safety management systems. At the present, safety culture which is think and believe that imbedded in member of organization that used to be operational guideline by do not write to be procedure. It is considered to primary approach for administration in organizations. The best of safety culture should be integrated in the way of organization management and build it from organization, group and individual levels. The component factors are as follows: 1) management commitment to safety 2) safety communication 3) safety competency 4) safety coordination of employees and 5) safety responsibility of employees. The existing safety management system is to be the frame of all. Safety culture is the way of members in organization can audit and control themselves. It brings to the best of safety operation which affect to brand and organization’s image. It is demonstrated to corporate social responsibility and sustainable success of organization. Keywords: Safety culture, Safety management

บทนํา การทีป่ ระเทศไทยมุง หนาเปนสังคมอุตสาหกรรม มีการนําวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีมาใชในการผลิต ทํ า ให มี โ อกาสที่ จ ะประสบอั น ตรายจากการผลิ ต อยางไรก็ตามอันตรายทีเ่ กิดขึน้ นีส้ ามารถทีจ่ ะจัดการ ได โดยการกําจัดความเสีย่ ง ลดโอกาสของความเสีย่ ง ที่จะเกิด หากองคการละเลยตอการบริหารจัดการ ไมใหความสําคัญตอการจัดการความเสีย่ งจะเปนตน เหตุใหเกิดความสูญเสียอยางใหญหลวง ดังเหตุการณ ในอดีต เชน กรณีของรถกาซขนาด 4 หมื่นลิตร พลิกควํา่ ทีถ่ นนเพชรบุรตี ดั ใหม เมือ่ วันที่ 24 กันยายน 2533 เนื่องจากขาดการติดตั้งระบบความปลอดภัย ใหกับรถบรรทุก หรือกรณีสารเคมีที่ทาเรือคลองเตย ระเบิด เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2534 ซึ่งไฟไหมนานถึง 4 วัน เนือ่ งจากขาดความรูใ นการจัดเก็บสารเคมี และ

วิธีการดับเพลิงอยางถูกตอง หรือกรณีโรงงานตุกตา เคเดอรไฟไหม เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2536 ซึ่ง เปนกรณีทเี่ กิดเพลิงไหมรา ยแรงทีส่ ดุ ในอุตสาหกรรม ไทย และมีคนเสียชีวติ จํานวนมาก เนือ่ งจากไมสนใจ หรือเพิกเฉยตอมาตรฐานคําเตือน และขาดการใสใจ ตอเหตุการณเกิดเพลิงไหมทเี่ คยเกิดขึน้ มากอนหนาแลว จนกระทั่งปจจุบันก็ยังมีอุบัติเหตุที่นําความเสียหาย อยางมากมาย เชน ในป 2550 กาซแอมโมเนียรั่วใน โรงงานผลิตนํา้ แข็งหลอดทีจ่ งั หวัดชลบุรี มีผบู าดเจ็บ 20 ราย เสียหายกวา 100,000 บาท ป 2551 โรงงาน ผลิตสารฟนอล ที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง เกิดสาร คิวมีนรั่วไหล ทําใหมีผูไดรับอันตรายถึง 112 คน เปนตน อุตสาหกรรมทีม่ งุ เนนการใชแรงงานคาแรงถูก ทักษะตํ่า และคุณภาพแรงงานตํ่า ทําใหขาดความรู ขาดทักษะ รวมถึงการทํางานทีย่ าวนานมากกวาเวลา

101


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

การทํางานปกติในแตละวันทําใหเกิดการออนลา สงผลใหเกิดอุบัติเหตุในการทํางานได ความไม ป ลอดภั ย จากการทํ า งานนํ า มาซึ่ ง อุบัติเหตุและโรคจากการทํางานสงผลใหเกิดความ สูญเสียอันมากมาย ทั้งในแงการผลิต ชื่อเสียงของ โรงงาน และภาพพจนโดยรวมของประเทศ ทําให ผูป ระกอบการไดเริม่ ตระหนักและเขาใจถึงปญหาของ การเกิดอุบตั เิ หตุ ประกอบกับรัฐบาลไดออกกฎหมาย เพื่อควบคุมกิจการเพื่อลดอันตรายหรือเพิ่มคุณภาพ ชีวิตใหกับผูใชแรงงาน เชน พ.ร.บ.คุมครองแรงงาน 2541 รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ตัง้ แตฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2539-2544) ไดกาํ หนดเปาหมาย ทีจ่ ะลดอุบตั เิ หตุของประเทศไทยใหเหลือ 32 รายตอ ผูใชแรงงาน 1,000 คน ผานมาจนถึงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 25452549) มีสาระสําคัญคือ ทําใหโครงสรางสังคมและ เศรษฐกิจเขมแข็งขึ้นในระดับรากหญา สําหรับการ พัฒนาความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ไดกลาวไว ในกลยุทธในการพัฒนาประชาชนและความมั่นคง ทางสังคม ปจจุบนั ใชแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ไมไดกลาวถึงเรือ่ งการ พั ฒ นาความปลอดภั ย และอาชี ว อนามั ย ไว อ ย า ง ชัดเจน แตในการบริหารไดประกาศเปนวาระแหงชาติ “แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี” ตามมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2550 ตามที่ กระทรวงแรงงานเสนอ ทั้งนี้เพื่อใหทุกภาคสวนที่ เกี่ยวของใหความสําคัญ รวมมือ และถือปฏิบัติเปน แนวทางในการดํ า เนิ น งานมุ  ง ให แ รงงานมี ค วาม ปลอดภัยและสุขภาพอนามัยทีด่ ี และใหสอดคลองกับ รั ฐ ธรรมนู ญ แห ง ราชอาณาจั ก รไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 44 อีกทั้งใหทุกภาคสวนมีเปาหมายรวมกัน ในการนําพาเศรษฐกิจไทยสูก ารแขงขันทางการคาเสรี ภายในป พ.ศ. 2559 ภาครัฐจึงไดออกกฎหมายมาตรการตางๆ เพื่อ

102

ใชควบคุมใหสถานประกอบการมีการบริหารจัดการ ดานความปลอดภัยที่ดี แตอยางไรก็ตามกฎหมายที่ เกี่ยวของกับความปลอดภัยในประเทศไทย มีตัวบท กฎหมายที่ชัดเจนใหสถานประกอบกิจการแตก็ยัง ขาดการตรวจสอบจากภาครัฐวาสถานประกอบการมี การปฏิบตั ติ ามกฎหมายอยางครบถวนถูกตองหรือไม เมือ่ พิจารณาในสวนทีเ่ ล็กลงมา คือ สถานประกอบการ ในยุคปจจุบนั กระเเสของสิทธิมนุษยชน ความรับผิดชอบ ตอสังคม บรรษัทภิบาล การกํากับดูแลองคการที่ดี ไดเพิม่ ปรัชญาในการบริหารจัดการธุรกิจใหมคี ณ ุ ธรรม และจริยธรรมมากยิง่ ขึน้ โดยใหคาํ นึงถึงผลประโยชน ของผูมีสวนไดสวนเสีย ดังนั้น การผลิตของภาค อุตสาหกรรมตองใหความสนใจตอความปลอดภัย ในการทํางานของคนงานรวมถึงคํานึงถึงสิง่ แวดลอม เพราะไมเพียงแตสะทอนใหเห็นถึงความสามารถใน การบริหารจัดการแลวยังสงผลตอการจัดการความ ปลอดภัยใหเปนที่ยอมรับ เปนการแสดงใหเห็นถึง ความรับผิดชอบขององคการทีม่ ตี อ ผูม สี ว นไดสว นเสีย ขององคการดวย ในอดีตในการปรับปรุงการจัดการความปลอดภัย ขององค ก ารมุ  ง เน น ไปในด า นการออกแบบงาน การปรับปรุงเครื่องจักร วิธีการทํางาน และใหใช อุปกรณปอ งกันอันตรายสวนบุคคล ตามหลักของ 3E (Engineering, Education, Enforcement) และจาก การวิเคราะหสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุสวนใหญไมได เกิดจากสภาวะหรือสภาพแวดลอม แตเกิดจากการ ผิดพลาดของคน (Harvey, Bolam, Gregory & Erdos, 2001: 619; Reber & Wallin, 1994: 89) ความผิดพลาดที่ทําใหเกิดอุบัติเหตุสวนใหญมาจาก การสับสน หรือไมชดั เจนของระเบียบปฏิบตั ิ หรือการ ตัดสินใจที่ผิดพลาด ซึ่งเชื่อมโยงตอการปฏิบัติงาน ของคนงานเอง ดังนั้นการที่ผูปฏิบัติงานจะสามารถ เลือกหรือตัดสินใจในการปฏิบตั งิ านทีถ่ กู ตองเหมาะสม และปลอดภัยนั้น ไมไดเพียงแตมีกฎระเบียบหรือ ระเบียบปฏิบตั ทิ ดี่ ี แตผปู ฏิบตั งิ านจะเปนผูก าํ หนดวา


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

จะเลือกปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือระเบียบปฏิบัติ หรือไม เพราะเรื่องของความปลอดภัย เปนสิ่งที่ พนักงานจะตองมีความตระหนักโดยตัวของพนักงาน เอง ผูบ ริหารจําเปนตองมีบทบาทในการบริหารจัดการ ความปลอดภัย โดยกําหนดใหความปลอดภัยเปน ค า นิ ย มหลั ก เพื่ อ ให แ สดงถึ ง การมี ส  ว นร ว มของ พนักงานทุกคนที่มีตอความปลอดภัย และใชเปน แบบแผนในการปฏิบัติงาน รวมถึงความรับผิดชอบ ของผูบริหารและคนงานที่จําเปนตองมีพฤติกรรม ความปลอดภัย อันจะนํามาซึง่ วัฒนธรรมความปลอดภัย ขององคการ (Warrack & Sinha, 1999: 780) วัฒนธรรมความปลอดภัยจึงมีความสําคัญตอการ บริหารจัดการดานความปลอดภัยในองคการ โดยใน หลายประเทศไดพยายามกําหนดโปรแกรมในการ บริหารจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เพื่อ

ใหการบริหารจัดการฯ มีความเปนรูปธรรมมากยิง่ ขึน้ เชน สหรัฐอเมริกา ไดมีโปรแกรม VPP (Voluntary Protection Program) ประเทศไทยก็มี มอก. 18001 เปนตน การสรางวัฒนธรรมความปลอดภัย จึงเปน ประเด็นที่สําคัญที่จะสงผลใหองคการสามารถลด อุบัติเหตุและความสูญเสียจากการปฏิบัติงานลงได วัฒนธรรมความปลอดภัย วัฒนธรรมความปลอดภัยนั้นเปนสวนหนึ่งของ วัฒนธรรมองคการ กลาวคือ วัฒนธรรมความปลอดภัย จะถูกวัฒนธรรมองคการกํากับใหแสดงคุณลักษณะ ตามภายใตขอบเขตหรือขอจํากัด ทีม่ คี วามเกีย่ วเนือ่ ง กับความปลอดภัย ซึ่งมีการใหนิยามของวัฒนธรรม ดานความปลอดภัยทีม่ คี วามแตกตางกันอยางมากมาย ในมิติตางๆ ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 นิยามวัฒนธรรมความปลอดภัย บุคคล/สถาบัน

นิยาม

International Atomic Energy Agency. (1991: 23)

ไดกําหนดนิยามของวัฒนธรรมความปลอดภัยไวดังนี้ คือ ผลิตผลของคานิยม ทัศนคติ การรับรู สมรรถนะ และรูปแบบ รวมถึงประสิทธิภาพขององคการดานความปลอดภัย

Cooper (2002: 31)

วัฒนธรรมความปลอดภัยเปนวัฒนธรรมยอยของวัฒนธรรมองคการที่มีการกลาวถึงแตละ บุคคล งาน และรูปแบบองคการที่มีอิทธิพลหรือมีผลตอความปลอดภัย

Health Safety Executive (2005: 4)

วัฒนธรรมความปลอดภัยเปนผลิตผลของปจเจกบุคคลและกลุมที่ประกอบดวยคานิยม ทัศนคติ สมรรถนะ และรูปแบบของพฤติกรรมที่เปนตัวกําหนด เจตจํานงค และรูปแบบ รวมถึงประสิทธิผลของโครงการดานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขององคการ องคการ จะมีวฒ ั นธรรมความปลอดภัยเชิงบวกจะตองมีคณ ุ ลักษณะทีม่ กี ารสือ่ สารดวยความศรัทธา แบงปนความรูส กึ ในเรือ่ งของความปลอดภัย มีความเชือ่ มัน่ ในประสิทธิภาพของมาตรการ ปองกันอันตราย

Antonsen (2009: 185)

วัฒนธรรมความปลอดภัยคือ กรอบทีใ่ ชในการอางอิงของความหมายและการกระทํา ทีถ่ กู นํามาใชรว มกันโดยครอบคลุมถึงทักษะ ความเชือ่ ฐานคติ ขนบธรรมเนียม วิถปี ระชา และ ภาษาที่สมาชิกในกลุมไดพัฒนาขึ้นมาตลอดเวลา

US Department of Labor (n.d.)

วัฒนธรรมความปลอดภัยจะประกอบดวยการมีความเชือ่ รวม (Shared beliefs) การปฏิบตั ิ และทัศนคติที่ฝงรากฐานในองคการมานาน วัฒนธรรมเปนบรรยากาศที่ถูกสรางขึ้นโดย ความเชื่อรวมกันของคนในองคการ แลวกอรูปมาเปนพฤติกรรมของผูปฏิบัติงาน

103


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

จากคํานิยามวัฒนธรรมความปลอดภัยที่หลาก หลาย จะมีสิ่งหนึ่งที่เปนสิ่งรวมกันของวัฒนธรรม ความปลอดภัยก็คอื ทัศนคติ ความเชือ่ การรับรู และ คานิยม ที่ลูกจางไดแสดงออกมาในเรื่องที่เกี่ยวกับ ความปลอดภัย แนวคิ ด ทางด า นวั ฒ นธรรมความปลอดภั ย กํ า ลั ง เป น ประเด็ น ที่ สํ า คั ญ ถึ ง แม ว  า นิ ย ามของ วัฒนธรรมทางดานความปลอดภัยจะไมชดั เจนเทาไร แตวรรณกรรมสวนใหญจะสรุปวา วัฒนธรรมความ ปลอดภัย หมายถึง รูปแบบของความปลอดภัยที่ เกีย่ วของกับทัศนคติ คานิยม หรือสมมติฐานทีม่ กี าร แบงปนรวมกันระหวางสมาชิกในองคการ (Guldenmund, 2000: 229) ซึ่งวัฒนธรรมความปลอดภัย เปนวัฒนธรรมยอยของวัฒนธรรมองคการ (Corporate Culture) ที่เนนวาองคการควรมี วัฒนธรรมที่แกรง (Strong Culture) จะสามารถประสบผลสําเร็จได โดย Schein (1991: 6-7) ไดแบงระดับของวัฒนธรรม องคการออกเปน 3 ระดับ คือ 1) ระดับรูปธรรม (Artifacts Level) คือสิง่ ทีม่ นุษย สรางขึน้ เปนสิง่ ทีส่ ามารถมองเห็นได เชน สิง่ แวดลอม ทางกายภาพ ภาษา เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ และ บริการ โดยจะรวมถึงรูปแบบของการแตงกาย กริยา มารยาท เรื่องราว เรื่องเลา นิทาน การเฉลิมฉลอง ดังนัน้ วัฒนธรรมในระดับนีเ้ ปนสิง่ ทีส่ ามารถเห็น ไดงายแตไมสามารถที่จะอธิบายไดวาสิ่งที่เห็นนั้นมี วัฒนธรรมเปนเชนไร 2) ระดับหลักการสนับสนุน (Espoused Value Level) เปนสิ่งที่องคการใชในการตัดสินวาอะไรเปน สิ่งถูกหรือผิด ซึ่งไดแก กลยุทธ เปาหมาย และ ปรัชญาขององคการ ซึ่งคานิยมนี้เปนสิ่งที่มนุษย แสดงออกอยางมีสํานึกหรือรูตัว 3) ระดั บ สามั ญ สํ า นึ ก (Basic underlying Assumptions Level) เปนสิ่งที่สมาชิกในองคการ แสดงออกโดยไมรูตัว ซึ่งสะทอนความเชื่อที่คิดวา เปนจริง ซึ่งจะมีอิทธิพลตอการรับรู ความรู และ

104

พฤติกรรมของคน จึงไดมีนักวิชาการจํานวนหนึ่ง เชน Clark’s (2000), Guldenmund (2000) เปนตน ไดพยายาม ที่จะพัฒนาตัวแบบทางทฤษฎีของวัฒนธรรมความ ปลอดภั ย โดยส ว นใหญ จ ะสร า งตั ว แบบมาจาก วัฒนธรรมองคการจากพื้นฐานแนวคิดของ Schein (1985) ที่ประกอบไปดวย 3 ระดับของวัฒนธรรม องคการ จะเห็ น ได ว  า สิ่ ง ที่ มี ค วามสํ า คั ญ เพื่ อ ให เ กิ ด วัฒนธรรมความปลอดภัยนัน้ คือ ความคิด ความเชือ่ ที่ถูกฝงแนนของกลุมคนในองคการ จนถูกนํามาใช เปนแนวทางการปฏิบัติของคนในองคการเองโดยไม จําเปนตองมีลายลักษณอักษร การบริหารจัดการดานความปลอดภัย Heinrich (1931) เปนบุคคลแรกที่แสดงใหเห็น ถึงหลักการในการเขาใจถึงสาเหตุและการควบคุม อุบัติเหตุ ซึ่งมุงเนนไปที่พฤติกรรมของปจเจกบุคคล ในฐานะที่เปนสิ่งที่ทําใหเกิดอุบัติเหตุ วิธีการนี้เปน ผลผลิ ต ของ Scientific Management School ซึ่ง Heinrich (1931) ไดกลาววา พฤติกรรมของ ปจเจกบุคคลถูกมองวาเปนสาเหตุหลักของการเกิด อุบัติเหตุจึงตองสนับสนุน หรือกระตุนผูปฏิบัติงาน โดยใชเทคนิคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อใหเกิด ผลการปฏิบัติงานอยางปลอดภัย หลังจากนัน้ Frank E. Bird (1976) ไดพฒ ั นาตัว แบบสาเหตุของการสูญเสียขึ้น (Loss Causation Model) (รู ป ที่ 1) ซึ่ ง มี ลั ก ษณะคล า ยแนวคิ ด ของ Heinrich โดยตัวแบบสาเหตุของการสูญเสีย อธิบายถึงผลหรือความสูญเสียของคน ทรัพยสิน กระบวนการผลิ ต เป น ผลมาจากอุ บั ติ ก ารณ ห รื อ อุ บั ติ เ หตุ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ซึ่ ง สาเหตุ เ บื้ อ งต น ได แ ก การ ปฏิบัติงานที่ตํ่ากวามาตรฐาน และสภาพการณที่ ตํ่ากวามาตรฐาน เชน ไมมีระบบเตือนภัย สภาพ แวดลอมในการทํางานที่ไมไดมาตรฐาน ซึ่งสาเหตุ


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

เหลานีเ้ ปนเพียงอาการทีป่ รากฏขึน้ เทานัน้ ซึง่ แททจี่ ริง แลวเกิดจากสาเหตุพื้นฐาน (Basic Causes) ไดแก ปจจัยบุคคล เชน ผูป ฏิบตั งิ านไมมคี วามรู ขาดความ ชํานาญ และปจจัยในงาน หมายถึง ปจจัยที่เอื้อหรือ สนับสนุนในการปฏิบัติงาน เชน ไมมีมาตรฐานการ ปฏิบัติงาน ไมมีการบํารุงรักษา ไมมีการตรวจสอบ ดูแล สาเหตุพนื้ ฐานเหลานีข้ าดการควบคุมทีด่ ี (Lack of Control) อันไดแก ไมมีโปรแกรมในการปองกัน

หรือกําจัดสาเหตุหรือไมมีเพียงพอ เปนตน จะเห็น ไดวาปจจัยที่มีผลตอการเกิดอุบัติเหตุตัวสุดทายคือ การขาดการควบคุมที่ดี เชน ไมมีโปรแกรมในการ ปองกัน หรือกําจัดสาเหตุ หรือมีไมเพียงพอ หรือมี แตไมปฏิบตั ติ าม ดังนัน้ การบริหารจัดการดานความ ปลอดภัย ตองมีระบบการบริหารจัดการทีด่ ี แตสาเหตุ เบือ้ งตนทีท่ าํ ใหเกิดอุบตั เิ หตุ ไดแก การปฏิบตั ทิ ตี่ าํ่ กวา มาตรฐาน ซึง่ เกิดจากการกระทําของผูป ฏิบตั งิ านเอง

ที่มา: Frank E. Bird, 1976: 39 รูปที่ 1 ตัวแบบการสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ

นอกจากนี้ Frank E. Bird (1976) ไดทําการ ศึ ก ษาอั ต ราส ว นการเกิ ด อุ บั ติ เ หตุ โดยกํ า หนด อัตราสวนการเกิดอุบัติเหตุใหมเปน 600-30-10-1 (รูปที่ 2) โดยที่ 600 คือ จํานวนของอุบัติการณที่ เกิ ด ขึ้ น จะส ง ผลให เ กิ ด อุ บั ติ เ หตุ ถึ ง ขั้ น ทรั พ ย สิ น เสียหายได จํานวน 30 ครั้ง และสงผลใหเกิดการ บาดเจ็บเล็กนอย จํานวน 10 ครั้ง และสงผลใหเกิด

อุบตั เิ หตุขนั้ รุนแรง เชน เสียชีวติ หรือทุพพลภาพได 1 ครั้ง หมายความวา การเกิดอุบัติการณที่เกิดขึ้น ซํา้ ๆ มีแนวโนมทีจ่ ะทําใหเกิดอุบตั เิ หตุถงึ ขัน้ รุนแรงได และนอกเหนือไปกวานัน้ การทีม่ อี บุ ตั กิ ารณเกิดขึน้ นัน้ เกิดมาจากการขาดการจัดการดานความปลอดภัย ที่ดี

105


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ที่มา: Frank E. Bird, 1976: 41 รูปที่ 2 อัตราสวนการเกิดอุบัติเหตุ

ตัวแบบสาเหตุของอุบัติเหตุและความสูญเสีย ไดมีการนํามาศึกษาและใชกันอยางแพรหลายใน ประเทศไทย เนื่องมาจากกระทรวงแรงงานไดออก กฎกระทรวงกํ า หนดมาตรฐานในการบริ ห ารและ การจัดการดานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดลอมในการทํางาน พ.ศ. 2549 โดยมีสาระ สําคัญคือ นายจางตองจัดใหลูกจางโดยเฉพาะระดับ บริหาร และหัวหนางานทุกคน เขารับการฝกอบรม และผานการทดสอบตามหลักสูตรทีก่ าํ หนด โดยตัวแบบ การสูญเสียเนื่องมาจากอุบัติเหตุถูกนํามาบรรจุไวใน หลักสูตรที่ใชในการอบรม เจาหนาที่ความปลอดภัย ในการทํางานทุกระดับ เมื่อพิจารณาจากตัวแบบ ดังกลาว จะพบวาสาเหตุเริม่ แรกของการเกิดอุบตั เิ หตุ คือการบริหารจัดการบกพรอง ซึ่งคือโดมิโนตัวแรก ของตัวแบบการสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ ดังนั้น การจัดการดานความปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุและ ปองกันการสูญเสียจึงเนนที่ การบริหารจัดการของ องคการเปนหลัก จึงเปนแนวคิดขององคการแบบ เครื่องจักร (Mechanic Organization) ที่มีฐานคติที่ มองวาการควบคุมเปนหัวใจของการทํางานอยางมี ประสิทธิภาพมีผูบริหารเปนผูนํา มีการรวมอํานาจที่

106

ศูนยกลาง คุณภาพ การตัดสินใจขององคการขึ้นอยู กับผูที่มีอํานาจสูงสุด ทําใหละเลยปจจัยทางดาน จิตวิทยา หรือปจจัยตางๆ ทีเ่ กีย่ วของกับองคการแบบ ไมเปนทางการ เชน ความเชื่อของคน (ทิพวรรณ หลอสุวรรณรัตน, 2547: 44-45) ตอเมือ่ เกิดอุบตั เิ หตุทโี่ รงไฟฟาพลังงานนิวเคลียร ทีเ่ ชอรเนอบิล ในป 1986 หลังจากมหันตภัยในครัง้ นัน้ The International Nuclear Safety Advisory Group (INSAG) of the International Atomic Agency มี ก ารสรุ ป ว า สาเหตุ ป ระการหนึ่ ง เกิ ด จากการมี วัฒนธรรมความปลอดภัยที่บกพรอง โดย International Nuclear Safety Advisory Group (INSAG-7, 1991: 19) ไดอธิบายวา วัฒนธรรมความปลอดภัย เปนสวนประกอบของ คุณลักษณะ และทัศนคติของ ปจเจกบุคคลในองคการที่ซึ่งมีความสําคัญมากใน อันดับตนๆ ในเรื่องของความปลอดภัยในโรงไฟฟา พลังงานนิวเคลียร หลังจากนั้นความหมายเหลานี้ ก็ไดแพรกระจายไปอยางรวดเร็วไปสูอุตสาหกรรม อืน่ ๆ เชน อุตสาหกรรมเคมี สายการบินพาณิชย แลว ก็ไดเกิดความหมายของวัฒนธรรมความปลอดภัย อันหลากหลายที่เริ่มปรากฏในวรรณกรรมตางๆ


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

การสรางวัฒนธรรมความปลอดภัยในองคการ วัฒนธรรมความปลอดภัยเปนแนวคิดมาจาก วั ฒ นธรรมหน ว ยงาน (Corporate Culture) ซึ่ ง แนวคิ ด นี้ มี พื้ น ฐานมาจากทฤษฎี ร ะบบ โดยมอง องคการวาเปนเครื่องมือทางสังคมที่จะผลิตสินคา บริการ และผลพลอยไดจากการผลิต (Smircich, 1983: 344) ทําใหเกิดการศึกษาถึงความสัมพันธ ระหวางองคการและสิ่งแวดลอม ซึ่งสิ่งแวดลอมจะ สื่ อ ถึ ง พฤติ ก รรมของผู  บ ริ ห ารที่ แ สดงออกผ า น สัญลักษณตางๆ ที่มีความหมาย และเชื่อวาองคการ ที่ประสบผลสําเร็จจะตองมีลักษณะวัฒนธรรมแกรง (Strong Culture) (ทิพวรรณ หลอสุวรรณรัตน, 2547: 194) ผลสําเร็จคือองคการจะตองบรรลุเปาหมาย วัตถุประสงคทอี่ งคการตัง้ ไว ในทํานองเดียวกันการมี วัฒนธรรมความปลอดภัยก็คือการที่องคการบรรลุ วัตถุประสงคดา นความปลอดภัยขององคการ คือการ ที่พนักงานปฏิบัติงานดวยความปลอดภัยไมเกิดการ บาดเจ็บ ตาย หรือพิการอันเนื่องมาจากการทํางาน ซึ่ ง คุ ณ ลั ก ษณะที่ สํ า คั ญ ของการมี วั ฒ นธรรมก็ คื อ (ทิพวรรณ หลอสุวรรณรัตน, 2547: 189) 1) การมีปฏิสมั พันธของสมาชิกในสังคม หรือใน องคการ 2) เปนสิ่งที่มีรวมกันระหวางสมาชิกของกลุม สังคม 3) เปนสิ่งที่สามารถเรียนรูและสรางขึ้น และ ถายทอดไปยังคนอื่นๆ ได 4) ประกอบด ว ยส ว นที่ เ ป น วั ต ถุ แ ละที่ เ ป น สัญลักษณ

อย า งไรก็ ต ามองค ก ารได มี ก ารนํ า ระบบการ บริ ห ารจั ด การด า นความปลอดภั ย ฯ เช น มอก. 18001, OHSAS 18001 มาใชบางแลวจึงเปนสวนที่ ทําใหระบบการจัดการดานความปลอดภัยมีแนวทาง ในการดําเนินการจากแนวคิดขางตน ผูเขียนจึงได พัฒนากรอบแนวคิดที่จะทําใหเกิดความปลอดภัย ดังรูปที่ 3 โดยมีมุมมองใน 3 ระดับที่จะตองประสาน งานกันอยางชัดเจน คือ 1) ระดับองคการ คือสิ่งที่สําคัญในการสราง วัฒนธรรมความปลอดภัย องคการเปนสิ่งที่กําหนด บทบาทหรือแนวทาง ทิศทางของบุคลากร ดังนั้น ผูบริหารจําเปนตองมีเจตนารมยที่จะใหเกิดความ ปลอดภัยในองคการอยางเต็มที่ 2) ระดับกลุม เปนสวนที่มีความสําคัญในการ สรางความเชือ่ ความคิด สรางแนวทางในการปฏิบตั ิ งานอยางปลอดภัย ดังนั้นตรงระดับนี้ควรที่จะตองมี การถายทอดขอมูลขาวสารในทุกระดับ รวมถึงความ รวมมือของบุคลากรดานความปลอดภัย 3) ระดับปจเจกบุคคล เปนสิ่งที่จําเปนในระดับ ฐานคติทจี่ ะตองมีความเชือ่ ในเรือ่ งของความปลอดภัย หรื อ สอดคล อ งกั บ วั ฒ นธรรมความปลอดภั ย ของ องคการ ในสวนนี้จึงจําเปนตองบูรณาการรวมกัน กับการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย โดยเฉพาะ ขีดความสามารถ (Competency) อันเปนการปลูกฝง ถึงความรับผิดชอบของบุคลากรดานความปลอดภัย

107


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

รูปที่ 3 กรอบแนวคิดการสรางวัฒนธรรมความปลอดภัยในองคการ

1. เจตจํานงคของผูบริหารทางดานความ ปลอดภัย ผูบ ริหารระดับสูงจะเปนผูท แี่ สดงบทบาททีส่ าํ คัญ ในการสนั บ สนุ น ด า นความปลอดภั ยขององคการ (Flin et al., 2000: 185) เจตจํานงคของผูบริหาร เปนการแสดงใหเห็นถึงความมุง มัน่ ของผูบ ริหารทีม่ ตี อ การจัดการความปลอดภัย ซึง่ เปนการบอกถึงวิสยั ทัศน ทัศนคติ และเปาหมายทางดานความปลอดภัยของ องคการ โดยผูบริหารระดับสูงจะตองแสดงออกเพื่อ สนั บ สนุ น งานด า นความปลอดภั ย ขององค ก าร เปนการนําแนวคิดในการบริหารจัดการดานความ ปลอดภัยแปลงเปนการกระทําผานการเขียน เชน นโยบายความปลอดภัย การจัดสรรทรัพยากรดาน ความปลอดภั ย การมี ป ฏิ กิ ริ ย าต อ ข อ ร อ งเรี ย น

108

ขอเสนอแนะดานความปลอดภัย ซึง่ สงผลตอทัศนคติ และพฤติ ก รรมของผู  ป ฏิ บั ติ ง าน เจตจํ า นงค ข อง ผูบริหารเปนกรอบของการดําเนินงานดานความ ปลอดภัยในองคการ จะทําใหเกิดผลการปฏิบัติงาน ที่ ดี มี ค วามปลอดภั ย อย า งต อ เนื่ อ งจนเกิ ด เป น วัฒนธรรมความปลอดภัย 2. การสื่อสารดานความปลอดภัย การสื่อสารเปนการเชื่อมโยงกลุมและบุคคลใน กลุม ใหมปี ฏิสมั พันธกนั จึงเปนกระบวนการทีม่ คี วาม สําคัญทีท่ าํ ใหสมาชิกในกลุม มีการรับรูข อ มูล ขาวสาร เปนการแบงปนความรูระหวางสมาชิก ถายทอด ประสบการณโดยการสือ่ สารจะทําใหเกิดความเชือ่ มัน่ ในระบบหรือมาตรการดานความปลอดภัยใหความ


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

สําคัญตอความปลอดภัย ซึง่ การสือ่ สารจะเปนชองทาง ที่ใชในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องความปลอดภัย ในองคการ เปนการเชื่อมโยงระหวางผูบริหารและ ผูปฏิบัติงานโดยผาน 3 ชองทาง คือ 1) การสื่อสารผานพฤติกรรมของผูบริหาร คือ การทีผ่ บู ริหารแสดงออกใหเห็นถึงความสําคัญตอ ความปลอดภัย เชน การเดินตรวจความปลอดภัย การนําขอมูลขาวสารดานความปลอดภัยมาแจงยัง พนักงาน เปนตน 2) การสือ่ สารความปลอดภัยผานลายลักษณ อักษร คือ การที่บุคคลรับรูเรื่องของความปลอดภัย ผานเอกสารตางๆ เชน การกําหนดนโยบายความ ปลอดภัย แผนงาน วิสัยทัศน พันธกิจ ที่ใชเปนตัว ชี้วัดหรือกําหนดทิศทางในการบริหารจัดการความ ปลอดภัย 3) การสนทนา การอภิ ป รายด า นความ ปลอดภัยระหวางผูบริหารกับพนักงาน หรือระหวาง พนักงานดวยกัน คือ การที่บุคคลรับรูขอมูลขาวสาร ผานการพูดคุยระหวางสมาชิกในกลุม ดังนั้น การที่จะมีวัฒนธรรมความปลอดภัยที่ดี จะตองมีการสือ่ สารหลายชองทางและมีประสิทธิภาพ 3. ขีดความสามารถดานความปลอดภัย บุคคลจะตองมีความรูความเขาใจในเรื่องของ ความปลอดภัยจนสามารถที่จะแสดงออกมาจนเปน อุปนิสัย ทําใหบุคคลนั้นสามารถที่จะปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ใหความรวมมือในการดําเนินกิจกรรมความ ปลอดภั ย จนสามารถที่ จ ะควบคุ ม ดู แ ลตนเองให ปฏิบตั งิ านอยางปลอดภัยได นัน่ คือ ขีดความสามารถ ของบุคลากรดานความปลอดภัยที่องคการตองการ ซึง่ ขีดความสามารถของบุคคลดานความปลอดภัยจะ แสดงใหเห็นถึงการตระหนักและจิตสํานึกดานความ ปลอดภัยซึง่ จะเปนตัวผลักดันใหเกิดวัฒนธรรมความ ปลอดภัยที่ดีได การไดมาซึ่งขีดความสามารถของ บุคลากรดานความปลอดภัยนั้นควรจะตองเริ่มโดย

ผานกระบวนการของ การจัดการทรัพยากรมนุษย เชน การสรรหาและคัดเลือกซึ่งควรมีกระบวนการที่ จะสามารถคัดเลือกบุคคลทีม่ แี นวคิด ทัศนคติ ทีด่ ตี อ ความปลอดภัย และสอดคลองกับคานิยมขององคการ รวมถึ ง การเสริ ม สร า งขี ด ความสามารถโดยผ า น กระบวนการฝกอบรม เพื่อปลูกฝงจิตสํานึก อุปนิสัย ของบุคลากรดานความปลอดภัย เมื่อพนักงานมี จิตสํานึกดานความปลอดภัยที่ดีจะสามารถนํามาใช ในการปฏิบัติงานไดอยางปลอดภัย รวมถึงสามารถ ชี้แนะ ตักเตือน เพื่อนรวมงานใหปฏิบัติงานไดอยาง ปลอดภัยได อีกสิง่ หนึง่ ทีจ่ ะชวยใหการสรางวัฒนธรรม ความปลอดภัยไดดียิ่งขึ้นโดยกําหนดเรื่องของความ ปลอดภัยในการปฏิบัติงานไวในการประเมินผลงาน เพือ่ ใหบคุ ลากรทราบวาแนวทางทีอ่ งคการจะประเมิน ผลของเขาเองมีเรือ่ งของความปลอดภัยเปนสวนหนึง่ เมื่อกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษยเปน ไปอยางมีประสิทธิภาพจะสงผลใหบคุ ลากรมีขดี ความ สามารถที่จะปฏิบัติงานของตนเองไดอยางปลอดภัย และกลายเปนวัฒนธรรมความปลอดภัยขององคการ ไดในที่สุด 4. ความร ว มมื อ ของบุ ค ลากรด า นความ ปลอดภัย ความรวมมือของบุคลากรดานความปลอดภัยจะ เปนการกระตุน ใหผปู ฏิบตั งิ านสามารถเผชิญสิง่ ทีย่ าก ลําบากไดดว ยความมัน่ ใจ ความรวมมือของบุคลากร จะแสดงออกถึงความพยายามทีจ่ ะแกไขปญหาตางๆ ที่อาจเกิดขึ้นนํามาสูการทํางานรวมกัน เพื่อกําหนด แนวคิด วิธปี ฏิบตั ิ หรือกฎระเบียบดานความปลอดภัย ในการทํางาน อันนํามาสูการกําหนดรูปแบบของ พฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัย จนกลาย เปนวัฒนธรรมความปลอดภัยได

109


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

5. ความรับผิดชอบของบุคลากรดานความ ปลอดภัย ความรับผิดชอบดานความปลอดภัยเปนหนาที่ ของทุกคนที่จะตองปฏิบัติตามอยางเครงครัด การที่ บุคคลมีความรับผิดชอบดานความปลอดภัยเปนการ แสดงถึงการยอมรับ รับรู และเขาใจวาตนตองมีหนาที่ อะไรบาง และตองปฏิบัตเิ ชนไรจึงจะทําใหเกิดความ ปลอดภัย เปนการกระจายอํานาจลงสูผูปฏิบัติงาน ทุกคน โดยสามารถแสดงถึงความรับผิดชอบไดใน 2 ประเด็นคือ 1) การปฏิบัติตามกฎระเบียบ คูมือ ขอบังคับดานความปลอดภัย และ 2) การมีสวนรวม ในการปรั บ ปรุ ง สภาพการณ แ ละการกระทํ า ที่ ไ ม ปลอดภัย เมือ่ บุคลากรแสดงใหเห็นถึงความรับผิดชอบดาน ความปลอดภัย ซึ่งเปนการถูกปลูกฝงลงในความคิด และจิตใจ สงผลตอพฤติกรรมที่แสดงออกมาจนเปน นิสยั เปนการผลักดันใหเกิดวัฒนธรรมความปลอดภัย ดังนัน้ ความรับผิดชอบดานความปลอดภัยจึงควรทีจ่ ะ เปนหัวขอหนึ่งในใบพรรณนางาน (job description) เพื่อใหบุคลากรทราบอยางชัดเจนวาตนมีหนาที่ที่จะ ตองรับผิดชอบดานความปลอดภัยทัง้ ของตนเองและ ผูอื่น 6. ระบบการจัดการความปลอดภัย ระบบการจัดการความปลอดภัยมีขอกําหนดที่ จะต อ งกํ า หนดความรู  ความสามารถด า นความ ปลอดภั ย อย า งเพี ย งพอผ า นกระบวนการบริ ห าร จั ด การทรั พ ยากรมนุ ษ ย ซึ่ ง จะเป น การส ง เสริ ม สนับสนุนใหเกิดการบริหารจัดการดานความปลอดภัย ทีเ่ ปนระบบ เปนหนทางการปฏิบตั ทิ ชี่ ดั เจนทีจ่ ะทําให บุคลากรสามารถปฏิบัติงานไดอยางมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น เพราะจะตองมีการจัดทําและบันทึกเปน เอกสาร และที่ สํ า คั ญ จะมี ก ารตรวจสอบเพื่ อ ให กระบวนการเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ และมีการ พัฒนาอยางตอเนื่อง จึงเปนหนทางที่ทําใหสงเสริม

110

สราง สนับสนุนใหเกิดแนวทางการปฏิบัติของคนใน องคการซึง่ จะเปนตัวสนับสนุนใหเกิดวัฒนธรรมความ ปลอดภัยในองคการ การมีระบบการจัดการความปลอดภัยจะเปน สิ่งที่ปรับเปลี่ยนสิ่งที่เปนนามธรรม เชน เจตจํานงค การสื่ อ สาร ความร ว มมื อ และความรั บ ผิ ด ชอบ ให เ ป น รู ป ธรรมอย า งชั ด เจนผ า นการเขี ย นเป น ลายลักษณอักษร มีการจัดทําและเก็บบันทึก มีการ ตรวจสอบถึงประสิทธิภาพประสิทธิผลของระบบการ จัดการ เมื่อมีการปฏิบัติอยางตอเนื่องจนกลายเปน นิสัยจะสงผลใหเกิดเปนวัฒนธรรมความปลอดภัยได ในทีส่ ดุ เนือ่ งจากระบบการจัดการดานความปลอดภัย เปนระบบมาตรฐานที่จําเปนจะตองมีการกําหนด หรือเขียนออกมาเปนลายลักษณอักษร เปนเสมือน กรอบที่กําหนดดานความปลอดภัย แตการสราง วัฒนธรรมนัน้ จําเปนตองมาจากความเชือ่ รวมกันของ คนในองคการ ดังนัน้ การมีระบบการบริหารจัดการจึง เปนปจจัยโดยออมที่เอื้ออํานวยใหเกิดวัฒนธรรม ความปลอดภัยนั่นเอง สรุป การสรางวัฒนธรรมความปลอดภัย เปนการ บูรณาการทางการบริหารจัดการทั้งองคการตั้งแต ระดับองคการ กลุม จนถึงระดับปจเจกบุคคล โดย องคการมีหนาที่ในการกําหนดทิศทาง ระดับกลุม นํามากําหนดเปนกลยุทธ สวนปจเจกบุคคลจะใชเปน แนวทางการปฏิบตั ิ รวมถึงการตรวจสอบซึง่ กันและกัน โดยไม จํ า เป น ที่ จ ะต อ งพึ่ ง พาการตรวจสอบจาก หนวยงานดานความปลอดภัย หรือกฎระเบียบดาน ความปลอดภัย ทําใหสามารถปฏิบัติงานไดอยาง ปลอดภัยจนกลายเปนพฤติกรรมของผูปฏิบัติงาน ซึ่งจะถูกปลูกฝงลงสูจิตสํานึกกลายเปนสิ่งที่จะตอง รับผิดชอบดานความปลอดภัยของตนเองและผูอื่น โดยองค ก ารจะต อ งสร า งระบบการจั ด การความ ปลอดภัย ซึง่ จะเปนปจจัยทีเ่ ปลีย่ นสิง่ ทีเ่ ปนนามธรรม


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

อันไดแก เจตจํานงคของผูบ ริหารทีจ่ ะตองแสดงความ มุงมั่นตอการจัดการความปลอดภัย มีการสื่อสาร หลายหลายชองทางทีม่ ปี ระสิทธิภาพ บุคลากรจะตอง มีขีดความสามารถดานความปลอดภัย โดยมาจาก การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย ผานการสรรหา และคัดเลือก การฝกอบรมและพัฒนา และการบริหาร ผลการปฏิบัติงานดานความปลอดภัย อีกทั้งจะตอง ปลูกฝงความรวมมือและความรับผิดชอบของบุคลากร ดานความปลอดภัย เมื่อองคการสามารถที่จะสราง วั ฒ นธรรมความปลอดภั ย ได แ ล ว ผู  ป ฏิ บั ติ ง านจะ สามารถปฏิบัติงานไดอยางปลอดภัยแลว องคการ จะสามารถลดความสูญเสียอยางมากมายอันเนื่อง มาจากอุบตั เิ หตุ สงผลตอภาพลักษณ และผลิตภัณฑ ขององค ก ารนํ า มาซึ่ ง การดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ อย า งมี ประสิทธิภาพและยั่งยืนขององคการ

บรรณานุกรม ทิพวรรณ หลอสุวรรณรัตน. (2547). ทฤษฎีองคการ สมัยใหม. พิมพครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: แซทโฟร พริ้นติ้ง. Antonsen Stain. (2009). Safety culture and the issue of power. Safety Science, 47(2), 183-191. Clarke, S. G. (2000). Safety culture: Underspecified and overrated?. International Journal of Management Reviews, 2(1), 65-90. Cooper, M. D. (2002). Safety culture: A model for understanding & quantifying a difficult concept. Professional Safety, June, 30-36. Flin, R., Mearns, K., O’Connor, P., Bryden R. (2000). Measuring safety climate: Identifying the common features. Safety Science, 34(1-3), 177-192. Frank E. Bird, Robert G. Loftus. (1976). Loss Control Management. Loganville, GA: International Loss Control Institute.

Guldenmund, F.W. (2000). The nature of safety culture: A review of theory and research. Safety Science, 34(1-3), 215-257. Harvey, J., Bolam, H., Gregory, D., & Erdos, G. (2001). The effectiveness of training to change safety culture and attitudes in a highly regulated environment. Personel Review, 30(5/6), 615-636. Health and Safety Executive. (2005). A review of safety culture and safety climate literature for the development of the safety culture inspection toolkit. London: HSE. Heinrich, H. W. (1931). Industrial accident prevention. 1st Ed. New York, McGraw-Hill. International Atomic Energy Agency. (1991). Summary report on the post-accident review meeting on the Chernobyl accident. Vienna: IAEA. Reber, R.A., & Wallin, J.A. (1994). Utilizing performance management to improve offshore oilfield driving safety. The International Journal of Organizational Analysis, 2(1), 88-98. Schein, E.H. (1985). Organizational culture and leadership: A dynamic view. San Francisco: Jossey-Bass Publishers. Smircich, L. (1983). Concept of culture and Organization Analysis. Administrative Science Quarterly, 28, 339-338. U.S. Department of Labor. (2010). Safety Culture. Retrieved May 24, 2010, http:// http://www. dol.gov/ Warrack, B.J. & Sinha, M.N. (1999). Integrating safety and quality: Building to achieve excellence in the workplace. Total Quality Management & Business Excellence, 10(4/5), 779-785.

111


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

Mr. Rungson Muangsorot received his Master of Science in Industrial Hygiene and Safety from Mahidol University, his Bachelor of Science in Occupational Health and Safety from Mahidol University and 3 Bachelor’s Degree in Economics, Information Science and General Management from Sukhothai Thammathirat University. Now he is studying Doctoral Degree in Public and Private Management at NIDA. He is currently General Administration Department Manager, Rayong Purifier Public Co., Ltd.

112


¡

Òÿ‡Í§¤´Õ»¡¤Ãͧã¹Ê¶ÒºÑ¹ÍØ´ÁÈÖ¡ÉÒàÍ¡ª¹ The Administrative Litigation in Private Higher Education Institutions จรีรัตน สรอยเสริมทรัพย อาจารยประจําคณะนิติศาสตร วิทยาลัยราชพฤกษ E-mail: noi.jareerat@gmail.com

บทคัดยอ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนถือไดวาเปนหนวยงานเอกชนที่ไดรับมอบหมายใหใชอํานาจ ทางปกครองในเรื่องจัดระบบการศึกษาหรือใหดําเนินกิจการทางการศึกษาอันเปนกิจการ ทางปกครอง การจัดระบบการศึกษาไมใชกิจการบริการสาธารณะที่จัดทําขึ้นโดยรัฐเทานั้น แตเอกชนก็อาจเขารวมดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะดังกลาวไดดวย โดยอยูภายใต การควบคุมดูแลของรัฐ ดังจะเห็นไดจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 49 วรรคสอง กําหนดใหการจัดการศึกษาอบรมขององคกรวิชาชีพ หรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรูดวยตนเอง และการเรียนรูตลอด ชีวิต ยอมไดรับความคุมครองและสงเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ ซึ่งผลจากบทบัญญัติดังกลาว ทําใหเกิดปญหาตามมาวา ถาเกิดขอพิพาทจากการจัดทําบริการสาธารณะดานการศึกษาของ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ศาลใดจะมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีดังกลาว ซึ่งในปจจุบัน พบวามีการฟองคดีเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจาหนาที่ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู ศาลปกครองเพิม่ มากขึน้ อาทิ คดีพพิ าทระหวางสถาบันอุดมศึกษากับอาจารย ในกรณีเลิกจาง อาจารยประจํา หรือคดีพพิ าทระหวางสถาบันอุดมศึกษากับนักศึกษา เชน กรณีการใหคะแนน ในการสอบวัดผลการศึกษาผิด หรือกรณีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไมอนุมัติปริญญาบัตร ใหแกนักศึกษา เหลานี้ลวนเปนคดีปกครอง ในบทความนี้ผูเขียนตองการชี้ใหเห็นวาสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนนั้นสามารถเปนผูฟองหรือผูถูกฟองคดีในศาลปกครองได ตางจากในอดีต คดีพพิ าทเกีย่ วกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนัน้ เปนขอพิพาทระหวางเอกชนกับเอกชนจึงตอง ฟองคดีตอ ศาลยุตธิ รรมเทานัน้ เชน ขอพิพาทเกีย่ วกับสัญญาจางหรือสภาพการจาง ตองฟอง

113


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ตอศาลแรงงาน ดังนั้น สมควรที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตองหาแนวทางในการปองกันและ แกไข เพื่อไมใหเกิดปญหาการฟองคดีปกครองในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน อันจะกอใหเกิด ธรรมมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตอไป คําสําคัญ: หนวยงานทางปกครอง คดีปกครอง ศาลปกครอง การบริการสาธารณะ

Abstract Private Higher Education Institutions are empowered by the Administrative agency appointed by the government crown agents to oversee the administration of the education system and other educational related matters. To Structure the Education is not only for government’ public service but private institution must co-operate under the government’s control. Under the Constitution of the Kingdom of Thailand 2007 section 49 paragraph 2 states that “The education and training provided by professional or private organisations, alternative education of the public, self-directed learning and lifelong learning shall get appropriate protection and promotion from the State”. The results of this section place disputes over public service in Private Higher Education Institutions under the court’s jurisdiction. Statistically the number of cases dealing disputes over the Private Higher Education Institutions is increasing significantly. For instance, termination of contract cases Private Higher Education Institutions VS Full Time Lecturers or disputes Private Higher Education Institutions VS Students over a fault in examination marking. Furthermore, there are a number of cases against Private Higher Education Institutions for not granting degrees to students who completed their studies. The afore mentioned are the administrative cases. I would like to state that Private Higher Education Institutions can be sued in the administrative court not as in the past where the dispute between private sectors had to be brought to the Courts of Justice only. For example: the disputes over the employment agreements would be brought in the Labour Law Court. Therefore Private Higher Education Institutions should be aware of the change and find a solution to guard against administrative cases in their institutions and remain impartial as the Private Higher Education Institutions. Keywords: Government Agency, Administrative Case, Administrative Court, Social Service

114


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

บทนํา การศึกษาเปนปจจัยพื้นฐานในการเสริมสราง คุณภาพชีวติ ใหดขี นึ้ การศึกษาของประชาชนจึงเปน เรื่องที่ทุกประเทศใหความสําคัญในลําดับตนๆ และ ไมเพียงแตถอื เปนหนาทีภ่ ารกิจของรัฐในการสงเสริม สวั ส ดิ ภ าพตลอดจนเป น การกระจายความมั่ น คง ของชาติไปยังประชาชนทุกกลุม เพื่อใหเกิดความ เปนธรรมในสังคม หากแตยังถือเปนภารกิจที่สําคัญ ดานหนึง่ ของประเทศทีพ่ ลเมืองของประเทศทีร่ ฐั ตอง จัดใหมกี ารบริการการศึกษาโดยใชอาํ นาจรัฐ บริหาร จัดการ เพือ่ ใหคณ ุ ภาพของการศึกษาของคนในประเทศ ไดมาตรฐานตามที่รัฐกําหนดเปนนโยบาย ดังนั้น การจัดใหมกี ารบริการการศึกษานอกจากจะเปนสิง่ ที่ จํ า เป น ที่ ต  อ งจั ด ทํ า เพื่ อ ประโยชน ข องประชาชน สวนรวม ที่เรียกวา “การจัดทําบริการสาธารณะ” แลว ยังถือเปนการดําเนินกิจการทางปกครองที่รัฐ ตองรับผิดชอบดูแลเอาใจใสอยางจริงจังจะปลอยปละ ละเลยมิได หนวยงานของรัฐที่มีหนาที่จัดทําบริการ สาธารณะในเรื่องการศึกษาจึงเปน “หนวยงานทาง ปกครอง” ตามบทบัญญัติมาตรา 3 แหงพระราช บัญญัตจิ ดั ตัง้ ศาลปกครองและวิธพี จิ ารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 นอกจากหนวยงานของรัฐแลว สถาบัน อุดมศึกษาเอกชน ถูกจัดใหเปนหนวยงานเอกชนที่ ไดรับมอบหมายใหใชอํานาจทางปกครองในเรื่อง การศึกษาหรือใหดาํ เนินกิจการทางการศึกษาอันเปน กิจการทางปกครอง โดยอยูภายใตการควบคุมดูแล ของรั ฐ โดยบทบั ญ ญั ติ ใ นรั ฐ ธรรมนู ญ แห ง ราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 49 วรรคสอง ทีก่ าํ หนดใหการจัดการศึกษาอบรมขององคกรวิชาชีพ หรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การ เรียนรูดวยตนเอง และการเรียนรูตลอดชีวิตยอม ไดรับความคุมครองและสงเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ ซึ่งผลจากบทบัญญัติดังกลาว เมื่อเกิดขอพิพาทจาก การจัดทําบริการสาธารณะดานการศึกษาของสถาบัน อุดมศึกษาเอกชน ในปจจุบันพบวามีการฟองคดี

เกี่ ย วกั บ การปฏิ บั ติ ง านของเจ า หน า ที่ ใ นสถาบั น อุดมศึกษาเอกชนสูศาลปกครองเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ศาลปกครองเปนศาลที่จัดตั้งขึ้นใหมเปนเอกเทศ จากศาลยุติธรรม และมีอํานาจพิจารณาพิพากษา คดีปกครองเพือ่ ผดุงความยุตธิ รรมแกคกู รณีทพี่ พิ าท ที่มีสถานะที่ไมเทาเทียมกันไดมีโอกาสที่เทาเทียม ในการตอสูคดีอยางแทจริง ฉะนั้น การที่มีคูกรณี ฝายหนึ่งเปนหนวยงานทางปกครองและมีการใช อํานาจรัฐในการจัดทําบริการสาธารณะ ขอพิพาทที่ เกิดขึน้ จึงอยูใ นเขตอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีของ ศาลปกครอง ดวยเหตุดังกลาวในปจจุบัน สถาบันอุดมศึกษา เอกชนขอพิพาทขึน้ สูศ าลปกครองเปนจํานวนมากขึน้ โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาไมวาเปน สถาบันอุดมศึกษาเอกชนหรือเจาหนาทีเ่ ปนผูฟ อ งคดี หรือตกเปนผูถูกฟองคดี อาทิเชน คดีพิพาทระหวาง สถาบั น อุ ด มศึ ก ษากั บ อาจารย ในกรณี เ ลิ ก จ า ง อาจารยประจํา (คําสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 880/49) หรือคดีพพิ าทระหวางสถาบันอุดมศึกษากับนักศึกษา เชน กรณีการใหคะแนนในการสอบวัดผลการศึกษาผิด (คําสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 102/2550) นอกจากนี้ การใชอํานาจทางปกครองของสถาบันอุดมศึกษา เอกชนคงตองรวมถึงการใชอาํ นาจรัฐในการดําเนินการ จัดทําบริการสาธารณะดานการศึกษาที่มีผลกระทบ ตอสิทธิของนักศึกษา เชน การอนุมัติ หรือไมอนุมัติ ปริญญาบัตร และหากมีการเรียกคาเสียหายจาก การกระทําดังกลาวดวยนัน้ จะเปนคดีพพิ าทเกีย่ วกับ การกระทําละเมิดของหนวยงานทางปกครอง หรือ เจ า หน า ที่ ข องรั ฐ อั น เกิ ด จากการใช อํ า นาจตาม กฎหมาย หรือจากกฎ คําสัง่ ทางปกครอง เหลานีล้ ว น เปนคดีปกครองและอยูในอํานาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครอง ตางจากในอดีตซึง่ หากเกิดขอพิพาท เกี่ ย วสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนกั บ อาจารย ห รื อ เจาหนาที่ อันเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขอพิพาท ดั ง กล า วจะอยู  ใ นเขตอํ า นาจการพิ จ ารณาคดี ข อง

115


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ศาลแรงงาน ซึ่งมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยว ด ว ยสิ ท ธิ ห รื อ หน า ที่ ต ามสั ญ ญาจ า งแรงงานหรื อ ขอตกลงเกี่ยวกับสภาพการจาง แตจากการที่ศาล ปกครองไดถูกจัดตั้งขึ้นแลวในปจจุบัน ทําใหในทาง ปฏิบัติคดีพิพาทที่เกี่ยวกับการดําเนินกิจการของ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนยังมีปญหาเรื่องอํานาจใน การพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทดังกลาววาจะอยูใน เขตอํานาจของศาลใด เชน คําสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ 880/2549 ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยวา เมื่อ มาตรา 23 วรรคหนึ่งแหงพระราชบัญญัติสถาบัน อุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 “กิจการของสถาบัน อุ ด มศึ ก ษาอยู  ภ ายใต บั ง คั บ กฎหมายว า ด ว ยการ คุม ครองแรงงาน และกฎหมายวาดวยแรงงานสัมพันธ” ดังนั้น หากเกิดขอพิพาทเกี่ยวดวยสิทธิหรือหนาที่ ตามสัญญาจางแรงงานหรือตามขอตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจาง เชน อาจารยฟองสถาบันอุดมศึกษา เอกชนวาผิดขอตกลงตามสัญญาจางแรงงาน ทั้งมี คํ า ขอให ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนจ า ยค า จ า งที่ คางจายพรอมดอกเบีย้ รวมทัง้ การรับกลับเขาทํางาน หากไมปฏิบัติขอใหจายคาชดเชยและคาทดแทน (คําพิพากษาฎีกาที่ 4830/2548 และคําพิพากษาฎีกา ที่ 4838/2548) เปนตน เหลานี้เปนคดีพิพาทที่อยูใน อํานาจของศาลแรงงานตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง (1) แห ง พระราชบั ญ ญั ติ จั ด ตั้ ง ศาลแรงงานและวิ ธี พิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ดวย ตรงนีย้ งั คงเปน ปญหาเรือ่ งเขตอํานาจศาล ซึง่ ปญหาดังกลาวจะเห็น ไดวาคําวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดขางตนนั้น คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําของสถาบันอุดมศึกษา เอกชนที่เปนการใชอํานาจทางปกครองในการจัดทํา บริการสาธารณะเกี่ยวกับการศึกษาเปนคดีที่อยูใน อํานาจของศาลปกครอง เชน การจัดการเรียนสอน การวั ด ผล การประเมิ น ผลการสอบ การอนุ มั ติ ปริญญา ฯลฯ แตหากการกระทําดังกลาวไมไดเกิด จากการใชอาํ นาจทางปกครองหรือการดําเนินกิจการ ในฐานะเปนหนวยงานทางปกครองแลว คดีพพิ าทนัน้

116

ตองฟองทีศ่ าลยุตธิ รรม คือ ศาลแรงงาน ซึง่ สวนใหญ เปนคดีขอพิพาทตามกฎหมายแรงงาน เชน คดีการ เลิกจางไมเปนธรรม คดีพพิ าทเกีย่ วกับการไมปฏิบตั ิ ตามขอตกลงหรือสภาพการจาง เปนตน ดังนั้น บทความนี้ผูเขียนตองการใหผูอานทราบ วาปจจุบันนั้นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอาจถูกฟอง หรือเปนผูฟองคดีตอศาลปกครองได หากขอพิพาท ดังกลาวเปนการจัดบริการทางการศึกษา ในการ นําเสนอนัน้ ผูเ ขียนไดแบงบทความนีอ้ อกเปน 2 สวน คือ สวนแรก คือ แนวคิดเกี่ยวกับอํานาจฟองคดี ปกครองของศาลปกครอง เพื่อใหผูอานไดมีความรู พื้นฐานเบื้องตนทางกฎหมายปกครองเสียกอน และ สวนที่สอง คือ รูปแบบของการฟองคดีปกครองใน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยจะศึกษาตัวอยางที่ เกิดขึ้นจากคําสั่งและคําพิพากษาของศาลปกครอง 1. แนวความคิ ด เกี่ ย วกั บ อํ า นาจฟ อ งคดี ปกครอง ปจจุบันระบบศาลของประเทศไทยเปนระบบ ที่เรียกวา “ศาลคู” ประกอบดวย “ศาลยุติธรรม” ซึ่ง เปนศาลที่มีอํานาจในการพิจารณาพิพากษาคดีแพง คดีอาญา และคดีอื่นๆ ที่ไมอยูในอํานาจของศาลอื่น และ “ศาลปกครอง” ซึ่งเปนศาลที่มีอํานาจในการ พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง คดีปกครองคืออะไร “คดีปกครอง” หมายถึง คดี ห รื อ ข อ พิ พ าทระหว า งหน ว ยงานของรั ฐ หรื อ เจาหนาที่ของรัฐดวยกัน หรือระหวางหนวยงานของ รัฐหรือเจาหนาที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง และ ข อ พิ พ าทระหว า งหน ว ยงานทางปกครองหรื อ เจาหนาที่ของรัฐดวยกันเองอีกกรณีหนึ่ง โดยเปน ข อ พิ พ าทที่ เ กิ ด จากหน ว ยงานทางปกครองหรื อ เจาหนาทีข่ องรัฐกระทําการโดยไมชอบดวยกฎหมาย ละเลยตอหนาทีต่ ามทีก่ ฎหมายกําหนดใหตอ งปฏิบตั ิ หรือปฏิบัติหนาที่ดังกลาวลาชาเกินสมควร กระทํา ละเมิด หรือมีความรับผิดอยางอื่นอันเกิดจากการใช


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

อํานาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คําสัง่ ทางปกครอง หรือคําสั่งอื่น หรือจากการละเลยตอหนาที่ตามที่ กฎหมายกํ า หนดให ต  อ งปฏิ บั ติ ห รื อ ปฏิ บั ติ ห น า ที่ ดังกลาวลาชาเกินสมควร หรือเปนคดีพพิ าทเกีย่ วกับ สั ญ ญาทางปกครอง ตามมาตรา 9 แห ง พระราช บัญญัตจิ ดั ตัง้ ศาลปกครองและวิธพี จิ ารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 หนวยงานทางปกครองและเจาหนาทีข่ อง รั ฐ ใดบ า งที่ อ าจถู ก ฟ อ งคดี ต  อ ศาลปกครอง เนื่ อ งจากศาลปกครองมี อํ า นาจพิ จ ารณา พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ไดแก คดีทเี่ กิดจาก การใชอํานาจโดยมิชอบของหนวยงานทางปกครอง หรือเจาหนาที่ของรัฐ ซึ่งอาจเปนขอพิพาทระหวาง เอกชนฝ า ยหนึ่ ง กั บ หน ว ยงานทางปกครองหรื อ เจาหนาที่ของรัฐอีกฝายหนึ่ง หรืออาจเปนขอพิพาท ระหวางหนวยงานทางปกครองหรือเจาหนาที่ของรัฐ ดวยกันเอง “หนวยงานทางปกครอง” ไดแก หนวยงาน ของรั ฐ ในฝ า ยบริ ห ารเป น ส ว นใหญ ไม ว  า จะเป น ราชการ เชน กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด องคการ บริการสวนจังหวัด เทศบาล องคการบริการสวน ตําบล กรุงเทพมหานคร หรือเมืองพัทยา หรือเปน รั ฐ วิ ส าหกิ จ ที่ จั ด ตั้ ง ขึ้ น โดยพระราชบั ญ ญั ติ เช น การรถไฟแหงประเทศไทย การประปานครหลวง การประปาสวนภูมิภาค การไฟฟานครหลวง หรือ รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา เชน องคการขนสงมวลชนกรุงเทพ ไมรวมถึงรัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทหรือบริษัทมหาชน จํากัด เชน บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) หนวยงาน ของรัฐที่มิไดเปนสวนราชการและรัฐวิสาหกิจหรือที่ เรี ย กว า “องค ก ารมหาชน” เช น มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี สุ ร นารี องค ก รอิ ส ระตามรั ฐ ธรรมนู ญ เช น ผู  ต รวจการแผ น ดิ น คณะกรรมการป อ งกั น และปราบปรามการทุจริตแหงชาติ องคกรอื่นตาม รัฐธรรมนูญ เชน สํานักงานอัยการ สภาที่ปรึกษา

เศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ทั้งยังครอบคลุมถึง หนวยงานของเอกชนที่ไดรับมอบหมายใหใชอํานาจ ทางปกครองหรือใหดาํ เนินกิจการทางปกครองจากรัฐ ดวย เชน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน สภาทนายความ แพทยสภา สํานักงานชางรังวัดเอกชน เปนตน ดังนัน้ จะเห็นไดวาหนวยงานทางปกครองที่อาจถูกฟองคดี ตอศาลปกครองจึงไมรวมถึงรัฐสภาที่ใชอํานาจทาง นิติบัญญัติและศาลที่ใชอํานาจทางตุลาการ (ฤทัย หงสสิริ, 2546: 27) การจัดการศึกษานั้นเปนการจัดทําบริการ สาธารณะ ในดานสังคมและวัฒนธรรมอันเปนการให บริการทางสังคมและวัฒนธรรมทีต่ อ งการความอิสระ คลองตัวในการทํางานโดยไมมงุ เนนการแสวงหากําไร เชน การศึกษาวิจัย การแสดงนาฎศิลป พิพิธภัณฑ การกีฬา ฯลฯ สวนคําวา “การบริการสาธารณะ” หมายถึง การดําเนินกิจกรรมตางๆ ที่อยูภายใต การอํานวยการหรือในการควบคุมของฝายปกครอง เพื่อตอบสนองความตองการสวนรวมของประชาชน ซึ่งกิจการเหลานั้นโดยสภาพแลว ไมอาจจะบรรลุผล สําเร็จตามเปาประสงคไดหากปราศจากการแทรกแซง ของอํานาจทีม่ อี ยูต ามกฎหมาย (นันทวัฒน บรมานันท, 2541: 15) ซึง่ ลักษณะสําคัญของการบริการสาธารณะ ไดแก (1) การบริการสาธารณะเปนกิจกรรมที่อยู ภายใตการอํานวยการหรือในการควบคุมของฝาย ปกครอง (2) การบริการสาธารณะตองมีวตั ถุประสงค เพือ่ ตอบสนองความตองการของประชาชนสวนใหญ (3) การบริ ก ารสาธารณะอาจมี ก ารแก ไ ขและ เปลี่ยนแปลงได (4) การบริการสาธารณะจะตองเปน การกระทําอยางตอเนื่อง (5) การบริการสาธารณะ จะตองกระทําดวยความเสมอภาค (กิจบดี ชินเบญจภุช, 2548: 74) ดังนั้น การศึกษาเปนการจัดทําบริการ สาธารณะที่รัฐมอบอํานาจใหเอกชนเปนผูจัดการ ศึกษาโดยอิสระ โดยมีการกํากับ ติดตาม การประเมิน คุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาจากรัฐ และตอง ปฏิบัติตามหลักเกณฑการประเมินคุณภาพ และ

117


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

มาตรฐานการศึกษาเชนเดียวกับสถานศึกษาของรัฐ ดังนัน้ การศึกษาเปนการจัดทําบริการสาธารณะ ที่รัฐมอบอํานาจใหเอกชนเปนผูจัดการศึกษาโดย อิสระ โดยมีการกํากับ ติดตาม การประเมินคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาจากรัฐ และตองปฏิบัติตาม หลักเกณฑการประเมินคุณภาพ และมาตรฐานการ ศึกษาเชนเดียวกับสถานศึกษาของรัฐ “สถาบันอุดมศึกษาเอกชน” หมายความวา สถานศึกษาของเอกชนที่ใหการศึกษาระดับปริญญา แกบุคคลตั้งแตหนึ่งคนขึ้นไป สถาบันอุดมศึกษา เอกชน ตามพระราชบัญญัติอุดมศึกษาเอกชนนั้น มี 3 ประเภท ไดแก มหาวิทยาลัย สถาบัน และ วิทยาลัย (ดิเรก ควรสมาคม, 2547: 26) ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาเอกชนทุกแหง อยูภ ายใตการกํากับ ของหนวยงานที่เรียกวา “สํานักงานคณะกรรมการ อุดมศึกษา” (สกอ.) เชน เรื่องมาตรฐานการศึกษา ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึง่ ถือเปนหัวใจสําคัญ ของสถาบันการศึกษาไมวา จะเปนสถาบันของรัฐหรือ ของเอกชนก็ยังคงอยูภายใตการควบคุมตรวจสอบ เพื่อใหไดมาตรฐานโดยคณะกรรมการชุดตางๆ ซึ่ง เปนองคกรทีเ่ ปนเจาหนาทีข่ องรัฐหรือหนวยงานทาง ปกครองที่แตงตั้งโดยหนวยงานของรัฐที่รับผิดชอบ ในเรื่องของการศึกษา ไมวาจะเรื่องของหลักสูตร มาตรฐานในการวั ด ผล คุ ณ ภาพของข อ สอบที่ ใ ช วัดผลการศึกษา ตองผานการกลั่นกรองตรวจสอบ โดยคณะกรรมการวิ ช าการที่ ห น ว ยงานของรั ฐ ที่กาํ กับดูแลแตงตัง้ วิทยฐานของปริญญาบัตร ซึง่ ลวน เปนเรือ่ งทีย่ ดึ โยงและผูกพันกับการควบคุมตรวจสอบ และรับรองของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนจึงมิไดมี อิสระทีจ่ ะทําหรือกําหนดเองไดตามใจชอบ โดยเฉพาะ การใชอํานาจในการออกกฎระเบียบ ขอบังคับหรือ คําสั่งใดๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาและการวัดผลการ ศึ ก ษาที่ เ กิ น หรื อ ตํ่ า กว า เกณฑ ที่ รั ฐ กํ า หนดไว อั น กระทบต อ สถานภาพสิ ท ธิ ข องนั ก ศึ ก ษาในสั ง กั ด ไดตามใจชอบโดยไมตองไดรับความยินยอมจาก

118

หนวยงานของรัฐที่กํากับดูแล 2. คดีปกครองในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จากการศึกษาคําวินิจฉัยคดีของศาลปกครอง สูงสุดนั้นจะเห็นไดวาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น เปนผูถ กู ฟองตอศาลปกครองมากขึน้ โดยผูฟ อ งคดีนนั้ ไมวาจะเปนกรณีอาจารยฟองสถาบันอุดมศึกษา เชน เรื่องการแตงตั้งโยกยาย การเลื่อนขั้นเงินเดือน การลงโทษทางวินยั หรืออาจเปนกรณีทนี่ กั ศึกษาเปน ผูฟองสถาบันอุดมศึกษา เชน เรื่องการสอบวัดผล การประเมิ น ผลสอบหรื อ การให เ กรด การอนุ มั ติ ปริญญา เปนตน ผูเขียนขอยกตัวอยางคดีปกครอง จํานวน 2 เรื่อง โดยวิเคราะหประเด็นปญหาขอ กฎหมายที่ไดจากคําวินิจฉัยของศาลปกครองเพื่อ นํามาเสนอแงคิดใหกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ดําเนินการตางๆ เพื่อปองกันและแกไขขอพิพาทที่ เกิดขึ้นในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน อันเปนสาเหตุ ของการฟองคดีตอศาลปกครอง 2.1 ขอพิพาทระหวางสถาบันอุดมศึกษา เอกชนกับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในกรณีการเลิกจางอาจารยประจํา คําสัง่ ศาลปกครองสูงสุดที่ 880/2549 คดีนี้ ผูฟองคดีเปนอาจารยประจําคณะนิติศาสตรฟอง มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ผูถ กู ฟองคดี) วา ผูถูกฟองคดีโดยอธิการบดีไดออกคําสั่งเลิกจาง ผูฟ อ งคดี ซึง่ มีผลเปนการถอดถอนผูฟ อ งคดีออกจาก ตําแหนงดังกลาวโดยไมชอบดวยกฎหมาย ขอใหศาล มีคาํ พิพากษาเพิกถอนคําสัง่ ดังกลาวและใหผถู กู ฟอง คดีชดใชเยียวยาสถานภาพการเปนอาจารยประจํา ของผูฟ อ งคดีเปนเวลา 8 ป เปนเงินจํานวน 480,000 บาท ศาลปกครองชั้นตนไมรับคําฟองไวพิจารณา เนื่องจากเห็นวามหาวิทยาลัยเอกชนไมใชหนวยงาน ทางปกครองตามมาตรา 3 แหงพระราชบัญญัตจิ ดั ตัง้ ศาลปกครองฯ ศาลปกครองสูงสุดเห็นวา การจัดการ


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ศึ ก ษาอบรมให แ ก ป ระชาชนเป น ภารกิ จ พื้ น ฐาน ของรัฐจะตองจัดทําหรือสนับสนุนใหเอกชนจัดทํา ผูถ กู ฟองคดีเปนสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึง่ มาตรา 8 แหงพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2548 บัญญัติใหเปนสถานศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงคในการใหการศึกษา สงเสริมวิชาการและ วิชาชีพชั้นสูงทําการสอน ทําการวิจัย ใหบริการทาง วิชาการแกสังคมและทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม ของชาติ แมผถู กู ฟองคดีจะมิใชกระทรวง ทบวง กรม สวนราชการที่เรียกชื่ออยางอื่นและมีฐานะเปนกรม ราชการสวนภูมภิ าค ราชการสวนทองถิน่ รัฐวิสาหกิจ ที่ตั้งขึ้น โดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรื อ หน ว ยงานอื่ น ของรั ฐ แต ผู  ถู ก ฟ อ งคดี ก็ เ ป น หนวยงานที่ไดรับมอบหมายใหดําเนินกิจการบริการ สาธารณะดานการศึกษาอันเปนกิจการทางปกครอง และใช อํ า นาจทางปกครองในการดํ า เนิ น กิ จ การ ดังกลาวตามกฎหมาย ดังนัน้ การทีส่ ถาบันอุดมศึกษา เอกชนโดยอธิการบดีและ/หรือสภาสถาบันดําเนินการ สอบสวนคณาจารยและถอดถอนคณาจารยออกจาก ตําแหนง เมือ่ ปรากฏจากผลการสอบสวนวาคณาจารย ผู  นั้ น ขาดคุ ณ สมบั ติ ห รื อ มี ลั ก ษณะต อ งห า มตาม มาตรา 46 แหงพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา เอกชน พ.ศ. 2546 หรือไดรับแตงตั้งไมเปนไปตาม ขอบังคับตามมาตรา 48 แหงพระราชบัญญัตสิ ถาบัน อุดมศึกษาเอกชน ฝาฝนหรือไมปฏิบตั ติ ามมาตรา 52 หรือมาตรา 87 แหงพระราชบัญญัติดังกลาวหรือ ข อ บั ง คั บ หรื อ ข อ กํ า หนดของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา เอกชน หรือกระทําการในลักษณะทีอ่ าจเปนภัยอยาง ร า ยแรงต อ ความมั่ น คงหรื อ ความปลอดภั ย ของ ประเทศ วัฒนธรรมของชาติความสงบเรียบรอยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงเปนการใชอาํ นาจทาง ปกครอง การสอบสวนคณาจารยเปนการพิจารณา ทางปกครอง และการถอดถอนคณาจารยผูนั้นออก จากตําแหนงเปนคําสัง่ ทางปกครองตามนัยมาตรา 5 แหงพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

พ.ศ. 2539 คดี นี้ ข อ เท็ จ จริ ง ปรากฏตามคํ า ชี้ แ จงของ อธิการบดีมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตาม คําสั่งศาลปกครองสูงสุดวา ผูฟองคดีถูกกลาวหาวา กระทําผิดวินยั ตามทีก่ าํ หนดในระเบียบมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วาดวยการ บริหารงานบุคคล พ.ศ. 2543 ซึ่งถือไดวาเปนกรณีที่ ปรากฏวาผูฟองคดีฝาฝนขอบังคับหรือขอกําหนด ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามมาตรา 97 วรรค หนึง่ (2) แหงพระราชบัญญัตสิ ถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 อธิการบดีจึงไดมีคําสั่งมหาวิทยาลัย ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ แต ง ตั้ ง คณะกรรมการ สอบสวนการกระทําผิดวินัยของผูฟองคดี ผลการ สอบสวนปรากฏวาผูฟ อ งคดีไดกระทําผิดวินยั ตามทีถ่ กู กลาวหาจริงอธิการบดีจึงไดมีคําสั่งเลิกจางผูฟองคดี ซึง่ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วาดวยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2543 เปนโทษ ทางวิ นั ย สถานหนึ่ ง และมี ผ ลเป น การถอดถอน ผู  ฟ  อ งคดี อ อกจากตํ า แหน ง อาจารย ป ระจํ า คณะ นิตศิ าสตร ตามนัยมาตรา 97 วรรคสอง แหงพระราช บัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 ทั้งนี้ โดยอธิการบดีไดมีหนังสือสํานักงานอธิการบดีถึง ผูฟองคดีแจงวา ผูถูกฟองคดีขอเลิกจางผูฟองคดี ตั้งแตวันที่ 3 พฤษภาคม 2549 เปนตนไป กรณีจึง ถือไดวา การทีผ่ ถู กู ฟองคดีโดยอธิการบดีมหาวิทยาลัย ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ เลิ ก จ า งผู  ฟ  อ งคดี เ ป น อาจารยประจําคณะนิติศาสตร ซึ่งเปนเหตุแหงการ ฟองคดีนี้เปนการใชอํานาจทางปกครอง และผูถูก ฟองคดีกระทําการดังกลาวในฐานะที่เปนหนวยงาน ทางปกครอง และอธิการบดีมหาวิทยาลัยภาคตะวันออก เฉียงเหนือกระทําการดังกลาวในฐานะทีเ่ ปนเจาหนาที่ ของรัฐ ตามนัยมาตรา 3 แหงพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธพี จิ ารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 คดีนี้จึงเปนคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หนวยงานทาง ปกครองหรือเจาหนาที่ของรัฐกระทําการโดยไมชอบ

119


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ดวยกฎหมาย ไมวาจะเปนการออกกฎ คําสั่ง หรือ การกระทําอื่นใดและคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทํา ละเมิด... อันเกิดจากการใชอาํ นาจตามกฎหมาย หรือ จากกฎ คําสั่งทางปกครอง...ตามมาตรา 9 วรรค หนึ่ง (1) และ (3) แหงพระราชบัญญัติจัดตั้งศาล ปกครองฯ ศาลปกครองจึงมีอาํ นาจพิจารณาพิพากษา คดีนี้ได 2.2 ขอพิพาทระหวางสถาบันอุดมศึกษา เอกชนกับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในกรณีนักศึกษารองเรียนผลการสอบที่ไมเปน ธรรม คําสัง่ ศาลปกครองสูงสุดที่ 102/2550 คดีนี้ ผูฟองคดีเปนนักศึกษามหาวิทยาลัยคริสเตียนฟอง ผูถูกฟองคดีที่ 1 (มหาวิทยาลัยคริสเตียน) กับพวก วา ผูฟ อ งคดีถกู กลาวหาวาทุจริตในการสอบ และไดรบั เกรด เอฟ ในวิชาการวิจยั ทางการจัดการ แตผฟู อ งคดี เห็ น ว า ผลการศึ ก ษาดั ง กล า วไม ถู ก ต อ ง เพราะ ผูฟองคดีไมไดทุจริตเนื่องจากไมมีพยานหลักฐานวา ทุ จ ริ ต เพี ย งแต ทํ า ผิ ด ระเบี ย บเล็ ก น อ ย ที่ อ าจถู ก ลงโทษไดเพียงวากลาวตักเตือนเทานัน้ และการทีใ่ ห ผู  ฟ  อ งคดี ส อบไม ผ  า นเกณฑ ที่ กํ า หนดไว แ ละให สอบใหมทงั้ ๆ ทีผ่ ฟู อ งคดีไดคะแนนผานเกณฑในวิชา ดังกลาวแลว จึงเปนการเลือกปฏิบตั โิ ดยไมเปนธรรม และเปนการใชดุลพินิจที่ไมชอบดวยกฎหมาย ขอให เพิ ก ถอนใบแจ ง ผลการศึ ก ษาเฉพาะวิ ช าการวิ จั ย ทางการจัดการของผูฟ อ งคดีจากเกรด เอฟ เปนเกรด เอ หรือไดตามผลคะแนนที่สอบผานจริง ศาลปกครอง ชั้ น ต น ไม รั บ คํ า ฟ อ งไว พิ จ ารณาเนื่ อ งจากเห็ น ว า มหาวิทยาลัยเอกชนไมใชหนวยงานทางปกครองตาม มาตรา 3 แหงพระราชบัญญัตจิ ดั ตัง้ ศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ศาลปกครองสูงสุดเห็นวา ผูถ กู ฟองคดีที่ 1 เปน สถาบันอุดมศึกษาเอกชนซึง่ ไดรบั อนุญาตใหจดั ตัง้ ขึน้ ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.

120

2522 ซึ่งเปนพระราชบัญญัติที่ตราขึ้นเพื่อปรับปรุง โครงสร า งและระบบบริ ห ารตลอดจนวิ ธี ก ารธํ า รง รักษามาตรฐานการศึกษาใหเหมาะสมยิง่ ขึน้ สงเสริม ใหสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีความเจริญมั่นคงและ เอื้ออํานวยตอการขยายกิจการ และรวมรับภาระใน การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย อยางมีประสิทธิภาพ โดยตราขึ้นภายใตรัฐธรรมนูญ แหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ซึ่งมี ผลบังคับใชอยูในขณะนั้นโดยมาตรา 60 วรรคสอง แหงรัฐธรรมนูญฉบับดังกลาว บัญญัตใิ หการจัดระบบ การศึกษาอบรมเปนหนาที่ของรัฐโดยเฉพาะสถาน ศึกษาทั้งปวงยอมอยูภายใตการควบคุมดูแลของรัฐ วรรคหา บัญญัติใหการศึกษาอบรมขั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดใหสถานศึกษาดําเนินกิจการของตนเองได โดยอิสระภายในขอบเขตทีก่ ฎหมายบัญญัติ ประกอบ กับรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่ ง มี ผ ลบั ง คั บ ใช อ ยู  ใ นขณะมี เ หตุ แ ห ง การ ฟองคดีกําหนดใหการจัดการศึกษาอบรม และการ สนับสนุนใหเอกชนจัดการศึกษาอบรมแกประชาชน เปนนโยบายพื้นฐานแหงรัฐ ดวยเหตุนี้ การจัดการ ศึกษาไมวาจะเปนโครงการจัดการศึกษาหลักสูตร การเรี ย นการสอน ตลอดจนการวั ด ผลการศึ ก ษา จึงเปนภารกิจทีร่ ฐั มีหนาทีใ่ นทางปกครองตองควบคุม ดูแล เพือ่ ใหการจัดการศึกษาอันถือวาเปนการบริการ สาธารณะประเภทหนึง่ บรรลุผล โดยมีหนวยงานของ รัฐเปนผูดําเนินการเองหรืออาจมอบหมายใหองคกร เอกชนดําเนินการแทน ผูถูกฟองคดีที่ 1 ในฐานะ หนวยงานทางปกครองตามมาตรา 3 แหงพระราช บัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ สวนผูถูกฟองคดีอื่น ไดแก กรรมการสภามหาวิทยาลัย ผูถูกฟองคดีที่ 2 ผูถ กู ฟองคดีที่ 3 และกรรมการเฉพาะกิจเพือ่ ตรวจสอบ ขอเท็จจริงในเรื่องการทุจริตของผูฟองคดี เปนผูที่ ปฏิบัติงานใหกับผูถูกฟองคดีที่ 1 ดังนั้น การปฏิบัติ หนาที่ของผูถูกฟองคดีที่ 2 ถึงผูถูกฟองคดีผูถูกฟอง คดีที่ 9 ในการวัดผลการศึกษาจึงเปนการกระทํา


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ในฐานะเจาหนาที่ของรัฐตามมาตรา 3 แหงพระราช บัญญัติดังกลาว เมื่อผูฟองคดีนําคดีมาฟองตอศาล เพือ่ ขอใหเพิกถอนใบแจงผลการศึกษาเฉพาะวิชาการ วิจัยทางการจัดการของผูฟองคดีที่แจงผลเกรด เอฟ จึ ง เป น คดี พิ พ าทเกี่ ย วกั บ การที่ ห น ว ยงานทาง ปกครองหรือเจาหนาที่ของรัฐกระทําการโดยไมชอบ ดวยกฎหมาย ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แหง พระราชบัญญัตจิ ดั ตัง้ ศาลปกครองฯ ศาลปกครองจึง มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได ขอสังเกตจากแนวคําวินจิ ฉัยของศาลปกครอง สูงสุดดังกลาวขางตน ประเด็นที่วาหนวยงานใดจะเปนหนวยงาน ทางปกครองหรือไมนั้น มาตรา 3 แหงพระราช บัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ไดใหคํานิยามคําวา “หนวยงานทางปกครอง” วาหมายความถึง กระทรวง ทบวง กรม ส ว นราชการที่ เ รี ย กชื่ อ อย า งอื่ น และ มีฐานะเปนกรม ราชการสวนภูมิภาค ราชการสวน ทองถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือ พระราชกฤษฎีกา หรือหนวยงานอื่นของรัฐ และ ใหหมายความรวมถึงหนวยงานทีไ่ ดรบั มอบหมาย ใหใชอาํ นาจทางปกครอง หรือดําเนินกิจการทาง ปกครอง จะเห็นไดวา คําวา “หนวยงานทางปกครอง” นั้นไมไดจํากัดเฉพาะหนวยงานของรัฐเทานั้น แตยัง รวมถึ ง หน ว ยงานเอกชนที่ ไ ด รั บ มอบหมายให ใ ช อํานาจทางปกครองหรือดําเนินกิจการทางปกครอง ดวย ซึ่งจากแนวคําวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด ดังกลาวขางตน จะเห็นวาศาลปกครองสูงสุดวินจิ ฉัยวา มหาวิทยาลัยเอกชนเปนหนวยงานทีไ่ ดรบั มอบหมาย ให ใ ช อํ า นาจทางปกครองหรื อ ดํ า เนิ น กิ จ การทาง ปกครองโดยพิจารณาจากปจจัย 3 ประการ ไดแก 1. วัตถุประสงคและอํานาจหนาทีข่ องหนวยงาน ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแลวเห็นวา วัตถุประสงค ของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเอกชนนั้นเปนไปเพื่อ มุ  ง หมายมหาวิ ท ยาลั ย เอกชนเข า ร ว มดํ า เนิ น การ

จัดทําบริการสาธารณะดานการศึกษาใหกับรัฐ กรณี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามพระราชบัญญัตสิ ถาบัน อุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 กําหนดใหมหาวิทยาลัย เอกชนเปนสถานศึกษาและวิจัย เพื่อใหการศึกษา สงเสริมวิชาการ ทําการวิจยั รวมถึงการใหบริการทาง วิ ช าการแก สั ง คม (คํ า สั่ ง ศาลปกครองสู ง สุ ด ที่ 880/2549) 2. ดานอํานาจหนาที่ของสถาบันอุมศึกษานั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นวาเปนอํานาจทีก่ ฎหมายมอบ ใหสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเพือ่ ใชในการดําเนินการ จัดทําบริการสาธารณะดานการศึกษา เชน พระราช บัญญัตสิ ถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 กําหนด ใหอธิการบดีมีอํานาจแตงตั้งและถอดถอนอาจารย อาจารย พิ เ ศษ ผู  ช  ว ยอาจารย แ ละเจ า หน า ที่ ข อง สถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือควบคุมดูแลการปฏิบตั ิ หนาที่ของคณาจารย ผูชวยอาจารยและเจาหนาที่ ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน รวมทัง้ ใหสภาสถาบัน มีอาํ นาจหลายประการ เชน วางนโยบายและควบคุม ดู แ ลกิ จ การทั่ ว ไปของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชน ออกขอกําหนด ระเบียบ และขอบังคับเกี่ยวกับการ ดําเนินงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน อนุมตั กิ ารรับ นักศึกษา การใหประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญา หรื อ ประกาศนี ย บั ต รบั ณ ฑิ ต และออกข อ บั ง คั บ เกีย่ วกับการบริการงานบุคคลของสถาบันอุดมศึกษา เอกชน (คําสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 880/2549) 3. การควบคุมดูแลของทางราชการ แมกฎหมาย มอบให เ อกชนเข า ร ว มดํ า เนิ น การจั ด ทํ า บริ ก าร สาธารณะในด า นการศึ ก ษาให กั บ รั ฐ ก็ ต าม แต เนื่องจากกิจการดังกลาวเปนภารกิจที่รัฐตองจัดทํา รั ฐ ยั ง คงมี ห น า ที่ ค วบคุ ม ดู แ ลการดํ า เนิ น การของ เอกชนอยู เชน ใหคณะกรรมการการอุดมศึกษาตาม กฎหมายวาดวยการศึกษาแหงชาติ เปนผูก าํ กับดูแล การดํ า เนิ น งานของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชน มี อํานาจหนาทีใ่ นการรับรองหลักสูตร รับรองมาตรฐาน การศึกษา และวิทยาฐานะของสถาบันอุดมศึกษา

121


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

และใหคณะกรรมการการอุดมศึกษามีอาํ นาจพิจารณา อุทธรณของคณาจารยที่ถูกอธิการบดีดําเนินการ สอบสวนและใหคาํ วินจิ ฉัยดังกลาวถือวาเปนเด็ดขาด (คําสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 880/2549) 4. กรณีเกิดขอพิพาทเกี่ยวกับการบริหารงาน บุคคลเกิดขึน้ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในปจจุบนั นัน้ มีกฎกระทรวงวาดวยการคุม ครองการทํางานและ ผลประโยชนตอบแทนของผูปฏิบัติงานในสถาบัน อุดมศึกษาเอกชน เปนกฎหมายฉบับใหมที่เขามา แทนที่ ก ฎหมายว า ด ว ยการคุ  ม ครองแรงงาน อั น เนื่องจากมาตรา 23 ของพระราชบัญญัติสถาบัน อุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 ไดกําหนดใหกิจการ ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไมอยูภายใตบังคับ กฎหมายวาดวยการคุม ครองแรงงาน ดังนัน้ หากเกิด ขอพิพาทอันเนื่องมาจากขอพิพาทตามสัญญาจาง แรงงาน หรือขอตกลงเกีย่ วกับสภาพการจางนัน้ ใหนาํ กฎกระทรวงว า ด ว ยการคุ  ม ครองการทํ า งานและ ผลประโยชนตอบแทนของผูปฏิบัติงานในสถาบัน อุดมศึกษาเอกชน มาใชบงั คับแทนกฎหมายแรงงาน ดังนั้น จะเห็นไดวาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แมมิใชหนวยงานของรัฐ แตก็อาจถูกฟองคดีตอศาล ปกครองได หากขอพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นเปนการใช อํานาจทางปกครองในการจัดทําบริการสาธารณะ เกี่ยวกับการศึกษา ผูเขียนตองการเสนอแงคิดใหกับ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในการดําเนินการตางๆ เพือ่ เสนอแนะแนวทางในการปองกันและแกไข ไมให เกิดปญหาการฟองคดีปกครองในสถาบันอุดมศึกษา เอกชน คือ การนําหลักธรรมาภิบาล (good governace) หรือหลักในการบริการจัดการบานเมืองที่ดี อันไดแก หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความ โปรงใส หลักความมีสวนรวม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุม คามาใชในการบริหารจัดการ รวมทัง้ ใหความรูเกี่ยวกับกฎหมายปกครองแกผูบริหารและ คณาจารยของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อนําไป ปฏิ บั ติ ง านอั น เป น มาตรการป อ งกั น การฟ อ งคดี ปกครอง นอกจากนีพ้ ระราชบัญญัตสิ ถาบันอุดมศึกษา

122

เอกชน พ.ศ. 2546 ยังกําหนดใหรัฐชวยเหลือและ สงเสริมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในดานตางๆ ไดแก ให ข  า ราชการและพนั ก งานของรั ฐ ไปปฏิ บั ติ ง าน ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยไดรับเงินเดือนและ คาตอบแทนตามหลักเกณฑและวิธกี ารทีค่ ณะรัฐมนตรี กําหนด การจัดตัง้ กองทุนเพือ่ พัฒนาสถาบันอุดมศึกษา เอกชน และดานวิจัยที่รัฐสงเสริมและสนับสนุนใหมี การใชทรัพยากรรวมกันระหวางสถาบันอุดมศึกษา ของรัฐและเอกชน มาตรการเหลานี้จะสนองตอการ บริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไดอยาง มีประสิทธิภาพตอไป

บรรณานุกรม กิจบดี ชินเบญจภุช. (2548). หลักกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพรามคําแหง. คําสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 102/2550. คําสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 880/2549. ดิเรก ควรสมาคม. (2547). สาระและความสําคัญ กฎหมายสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ เดือนตุลา. นันทวัฒน บรมานันท. (2541). บริการสาธารณะใน ระบบกฎหมายปกครองฝรั่ ง เศส. กรุ ง เทพฯ: สํานักพิมพนิติธรรม. ฤทัย หงสสริ .ิ (2546). ศาลปกครองและการดําเนินคดี ในศาลปกครอง. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพวญ ิ ูชน. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. 2542. (2542, 10 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เลม 116 ตอนที่ 94 ก. หนา 1-40. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522. (2522, 11 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เลม 96 ตอนที่ 76. หนา 1-20. พระราชบัญญัตสิ ถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546. (2546, 30 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เลม 120 ตอนที่ 107 ก. หนา 1-32.


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

Miss Jareerat Soisermsap received her Master of Laws from Chulalongkorn University, Barrister-at-law from Institute of Legal Education Thai Bar Association, and Bachelor of Laws from Thammasat University. She is currently lecturer in the faculty of laws, Ratchaphruek College.

123


B

ook Review Is an Organization as Decision-making Process Still Worthwhile? Áͧͧ¤ ¡ÒÃ໚¹¡Ãкǹ¡ÒÃμÑ´ÊÔ¹ã¨Âѧ㪌䴌¨ÃÔ§ËÃ×Í Winaicharn Sapparojpattana Lecturer in Department of Retail Business Management Faculty of Business Administration Panyapiwat Institute of Techonology E-mail: winaicharnsap@pit.ac.th

Simon, Herbert A. (1997). Administrative Behavior: A Study of Decision-making Processes in Administrative Organizations, 4th Edition. New York: The Free Press. 368 Pages.

Abstract This article not only summarizes theoretical concepts but also pinpoints some valuable practices one may learn from the book, Administrative Behavior, 4th Edition. The main lesson drawn from the book is how people in a large organization decide to take actions and to co-operate. Their decisions actually limit rational behavior. Although the author’s logical positivism, a methodology for creating a new body of knowledge, has been attacked over the past 60 years since the first edition was published,. Still a number of scholars and practitioner communities worldwide has advocated its principles and remained still accept his far-reaching ideas of the century. Keywords: Bounded Rationality, Satificing, Logical Positivism, Decision-making Process, Organizational Behavior

124


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

บทคัดยอ บทความนี้ยอใจความสําคัญในเชิงทฤษฎีและเสนอคุณคาในเชิงปฏิบัติที่ผูอานที่สนใจจะ เรียนรูจากหนังสือ Administrative Behavior ฉบับพิมพครั้งที่ 4 บทเรียนหลักก็คือ ผูบริหาร และบุคลากรในองคการขนาดใหญทั้งในภาครัฐและในภาคเอกชนตัดสินใจที่จะกระทํางาน อยางหนึง่ กันอยางไร เพือ่ ใหเกิดการประสานงานทีเ่ หมาะสม การตัดสินใจดังกลาวนัน้ ไดสราง ขอบเขตใหกับพฤติกรรมที่พยายามที่จะตั้งอยูบนพื้นฐานของเหตุผล ถึงแมวากระบวนการ ไดมาซึ่งความรูใหม ที่เรียกวาปฏิฐานนิยมเชิงตรรกะ ของผูแตงมักไดรับการโตแยงตลอด ระยะเวลากวา 60 ปทผี่ า นไป แตหลังจากศึกษาหนังสือเลมนีโ้ ดยตลอด เราจะเขาไดวา ทําไม ความคิดที่ลึกซึ้งที่ผูแตงพรรณนาไวในหนังสือเลมนี้จึงไดรับการยกยองสนับสนุนและมีการ ประยุกตใชอยางกวางขวางอยูถึงในปจจุบัน โดยเราอาจจะไมพบทฤษฎีในเรื่องเดียวกันที่จะ ไดรับการยอมรับเพียงนี้อีกจวบจนสิ้นศตวรรษ คําสําคัญ: การใชเหตุผลที่ถูกจํากัด การเลือกตัดสินใจโดยไมสามารถใชเหตุผลเต็มที่ ปฏิฐานนิยมเชิงตรรกะ กระบวนการตัดสินใจ พฤติกรรมองคการ Introduction There are several theoretical and practical definitions of an organization. Here is one of the theoretical meanings of organization as elaborated in the book ‘Administrative Behavior’ by Herbert A. Simon, the Nobel Prize winner in Economics in 1978. To achieve a better understanding of the many types of economic organization and the behavioral patterns of the people who participate in them, the book provides “theories and observations on decisionmaking in organizations”, the perspectives which can be applied “well to the systems and techniques of planning, budgeting and control that are used in business and public administration.”i The following review will explore all Simon’s useful observations and examine the extent of their practical worthiness in today’s changing environment of ever more complex organizations.

Section 1: Core concepts In the latest edition, each chapter includes commentaries by the author which were written to supplement the first edition (1947), originally about 219 pages. These were necessary not only to bring the content up-to-date but also to defend and extend theoretical perspectives offered in the respective chapters in the light of emerging economic, social and technological changes that took place toward the end of the twentieth century. Simon contends in the Introduction to the Fourth Edition (p. x) that “the book, augmented by the commentaries, will continue to help those who would like to understand better and manage more effectively these complex social systems, the organizations in which we do our work.” The unit of analysis of the book is human decision making, mainly at the level of the individual. Simon views an organization as a deci-

125


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

sion making process in which top executives impose their values onto their subordinates thereby influencing their decisions and actions accordingly. He argues (p. 11) that “if any ‘theory’ is involved, it is that decision-making is the heart of administration, and that the vocabulary of administrative theory must be derived from the logic and psychology of human choice.” But such choice is not necessarily completely desirable to the one making it. Now let us see how his theme of bounded rationality actually evolved and how, later on, it became so influential in economic and administrative sciences. Rationale: Chapter 1 with its commentary (p. 1-28) Decision-making and Administrative Organization The formation of over-all policy is carried on inside the decision-making process. The task of ‘deciding’ spreads through the entire administrative organization quite as much as does the task of ‘doing.’ Simon argues forcefully that the actual physical task of carrying out an organization’s objectives falls to the operatives-the persons at “the lowest level of the administrative hierarchy. The nonoperatives; however, participate in the accomplishment of the objectives of that organization to the extent that they influence the decisions of the operatives. He intentionally used ‘influencing’ rather than ‘directing’ when referring to the exercise of administrative authority, the only one of several ways in which the administrative staff may affect the decisions of the

126

operative staff. Therefore, as Simon implies, the construction of an efficient administrative organization involves more than the mere assignment of functions and allocation of authority. Actually, at any moment there is an extremely large number of alternative (physically) possible actions, any one of which a given individual may undertake. By some rational decision-making process these numerous alternatives are narrowed down to the one which is in fact taken. Further, Simon differentiates value from fact in this decision-making process. “Each decision involves the selection of a goal, and a behavior relating to it; this goal may in turn be mediate to a somewhat more distant goal and so on, until a relatively final aim is reached. Insofar as decisions lead toward the selection of final goals, they will be called ‘value judgments’; so far as they involve the implementation of such goals they will be called ‘factual judgments.’ ” In addition, he observes that the objectives can be defined in very ambiguous terms and may be merely intermediate to the attainment of more final aims. Therefore, it is not uncommon that the value and factual elements are not bundled so neatly together. Still, in some other cases, they may be combined in the pursuit of a single objective. This purposiveness-orientation toward goals or objectives-brings about integration in the patterns of behaviors. Because administration consists in ‘getting things done’ by groups of people, it would be meaningless without any purpose. To further explain this aspect, Simon elaborates the notion of a hierarchy (vertical


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

division of labor) of decisions extending downward as to implement and to realize the previously selected goals. Such achievement can only be compromised under the environmental situation limiting possible alternatives and the common denominator sacrificing some impossible objectives. In other words, only relatively weighted objectives can be attainable. In the commentary on Chapter 1, Simon verifies his theoretical framework discussed earlier in the information age. He defines the term organization here as, ‘the pattern of communications and relations among a group of human beings, including the processes for making and implementing decisions.’ Moreover, he compares both organization and market as coordinating mechanisms in modern societies. Simon shows his preference for viewing the decision-making process in an organization as a sociological process rather than as a psychological process for its interrelatedness is supported by a rich network of partially formalized but partially informal communications. He urges the reader to distinguish changes in organizational theory from changes in organizations. Conceptual issues: Chapters 2 and 3 with their commentaries and the Appendix (p. 29-71 and p. 356-360) Some Problems of Administrative Theory In Chapter 2, Simon challenges that the principles of administration are just like a pair of proverbs. “For almost every principle one can find an equally plausible and acceptable

contradictory principle. Although the two principles of the pair will lead to exactly opposite organizational recommendations, there is nothing in the theory to indicate which is the proper one to apply.” He criticizes four common principlesspecialization, unity of command, span of control, and organizational design by purpose, process, clientele, place-as that proverbs. He further contends that efficiency is a prime rational characteristic of ‘good’ administration which should be constructed and operated to maximize the attainment of certain ends by means of intimidation; however, the term efficiency ought to be considered as a definition rather than a principle. It is a definition of what is meant by ‘good’ or ‘correct’ administrative behavior, but it does not describe how goals are to be maximized. He argues that administrative theory must disclose under what conditions the maximization of objectives takes place, hence, which factors will determine with what skills, values, and knowledge the members of the organization shall undertake his work. These are the ‘limits’ to rationality with which the principles of administration must deal. To Simon, any ‘principles of administration’ derived from a priori reasoning (end-note A) cannot be more than ‘proverbs’ without objective measurements of results. He is certain that his descriptive and empirical studies can make up for this lack in the literature of administration. In commentary on Chapter 2, Simon takes the ‘proverbs’, not as laws (science) but as guidelines for design (engineering), to analyze administrative organization so as to try to verify

127


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

the conceptions laid-out in Chapter 1 and the methodology discussed in this chapter. Here he confirms his analytical approach in developing a careful and realistic picture of the decisions that are required for the organization’s activities, and of the flow of premises that contribute to these decisions. Fact and Value in Decision-making Chapter 3 clarifies the distinction between ‘value’, in this case, that of ethical considerations, and ‘factual’ elements, in making any decision in an organization specifically with regards to questions of policy as well as administration. Here he confesses to using logical positivism (end-note B) to examine the theory of decision-making processes in administrative organizations, in this case, democratic institutions. He argues that “decisions can always be evaluated in this relative sense-it can be determined whether they are correct, given the objective at which they are aimed-but a change in the objectives implies a change in evaluation.” For him, it is clear that “it is not the decision itself which is evaluated, but the purely factual relationship that is asserted between the decision and its aims.” In commentary on Chapter 3, Simon extends the logical distinction to private organizations with the strong inference that the term ‘factual premise’ does not mean an empirically correct statement but a belief, i.e. an assertion of fact. The assertion may or may not be supported by evidence, and such evidence as exists may be of greater or lesser validity. To him, human

128

decision-making uses beliefs, which may or may not describe how the world really is. Such beliefs, whether true of false, are called ‘factual premises.’ What is an Administrative Science? The distinction made in Chapter 3 between the ethical and the factual helps to explain the nature of administrative science. Simon asserts that there are two kinds of sciences: theoretical and practical. For him, they are different in the ethical realm. Unlike natural sciences, the social sciences involve ethical norms, and therefore lack the objectivity of the natural sciences. Moreover, the social sciences deal with conscious human beings whose behavior is influenced by knowledge, memory and expectation. Consequently, knowledge of human beings themselves forces which mold their behavior may (but need not) be adapted to. The more deliberate the behavior which forms the subject matter of a science, the more important the role played by knowledge and experience. This characteristic of purposive behavior, i.e. its dependence on belief or expectation, has further consequences in societal settings when group behavior is involved. Inherently, it is a fundamental characteristic of social institutions that their stability and even their existence depend on expectations of this sort. Insofar as another person’s behavior can be accurately predicted, it forms a portion of the objective environment, identical in its nature with the nonhuman portion of that environment. Simon agrees with Luther Gulick that prop-


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

ositions about administrative processes will be scientific as far as truth and falsehood, in the factual sense, can be predicted of them. Conversely, if the truth or falsehood of a proposition concerning administrative processes can be predicted, then that proposition is scientific. Here, Simon compares analogous forms of administrative science to a sociology of administration for its “theoretical” propositions and “factual” verification and to a practical science of administration for its “behavioral” propositions and “ethical” aspects. [Why is this part of the paragraph in italics?-ed] Descriptive theory: Chapters 4 and 5 with their commentaries (p. 72-139) Rationality in Administrative Behavior Analysis of decision-making in its objective aspects will refer primarily to the variable consequences of choices. However, this concentration on the rational aspects of human behavior should not be construed as an assertion that human beings are always rational. Since “good” administration is behavior that is realistically adapted to its ends, just as “good” business practice is economic behavior accurately calculated to realize gain, a theory of administrative decisions will of necessity be somewhat preoccupied with the rational aspects of choice. The objective environment in which choices are made is described as a set of alternative behaviors, each leading to definite anticipated consequences. Knowledge is the means of discovering which of all the possible consequences of a behavior will actually follow it. This implies

that the ultimate aim of knowledge is part of the process of choice. The choice of any particular means and ends does not completely correspond to facts and values respectively. A means-end chain is said to be a series of causally related elements ranging from behaviors to the values consequent on them. Intermediate ends in such a chain serve as value-indices and, by using them, we can evaluate alternatives without a complete exploration of the final ends, or values, inhering in them. In commentary on Chapter 4, Simon links the notion of conscious human behaviors to that of their limits resulting from human selfishness and struggles for power. In everyday thinking about human behavior, we often treat reason and emotion as polar opposites, the expression of our emotions preventing our behavior from being rational, and our rationality preventing us from expressing our genuine emotions. In examining the function and the role of emotions in behavior, Simon oversimplifies that emotions are associated either directly with external stimuli, or with the particular contents of our memory resulting from past experiences. The Psychology of Administrative Decisions Simon next focuses on individual purposive behavior. Considering the simplest movements of infants-taking a step, focusing the eyes on an object-as examples of our purposive nature, he asserts that man’s power to observe regularities in nature of a very general sort, and to communicate with others, helps him to shorten materially his learning process. However,

129


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

passiveness is not necessarily consciousness which is not always a precondition to docility [The connection of this sentence to the preceding one is unclear and therefore its relevance here is not clear.-ed]. Even behaviors that are extraneous to the focus of attention are capable of purposive adjustment. In the environment surrounding human decision-making, there are many possible stimuli for behavior that could be acted on if they were all simultaneously present to the attention. Rationality demands that a conscious choice be made among competing “goods” instead of leaving the choice to be suddenly altered by attention directing stimuli. In other words, this environment imposes on the individual as “givens” a selection of factors upon which he must base his decisions. However, the stimuli leading to a decision can themselves be controlled so as to serve broader ends, and a sequence of individual decisions can be integrated (socialized) into a well conceived plan (regularization). In commentary on Chapter 5, Simon reveals his empirical evidence for bounded rationality which he asserts as the central concern of administrative theory. Two crucial alternations are claimed by him in transmuting the economic man of Chapter 4 into the administrator of Chapter 5: first, a “good enough” or satisfactory course of action; second, limiting attention to the complications of the “real world.” Further, he tries to rebut the objection on the exclusive role of intuition within the “logical” aspects of the decision-making theory, using the notion that human intuitive skills are highly efficient in

130

handling impersonal works because what managers know they should do, whether by analysis or intuition, is very often different from what they actually do. A choice between undesirable courses of action is not a choice but a dilemma, something to be avoided. In other cases, uncertainty, stress and one’s own mistakes can possibly force the postponement of choice and decision making. Organizational behavior: Chapter 6 with its commentary (p. 140-176) The Equilibrium of the Organization The activities of a group of people become organized only to the extent that they permit their decisions and their behavior to be influenced by their participation (an equilibrium system) in the organization. Simon examines equilibrium in business, government, and not-for-profit organizations and contends that those organization decisions cannot be accomplished purely on the basis of considerations of efficiency where the amount of resources and the organizational objectives are outside the control of the administrator. In commentary on Chapter 6, Simon offers two implications stemming from: first, with regard to organizational decisions, many constraints that define a satisfactory course of action are associated with an organizational role and hence only indirectly with the personal motives of the individual who assumes that role; and second, workers are as satisfied or dissatisfied with their jobs today as they were forty years ago.


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

Organizational influence processes: Chapters 7, 8, 9, 10 with their commentaries (p. 177-304) The Role of Authority In almost all organizations, authority is zoned by subject matter; and the subject-matter allocation will sometimes conflict with the hierarchical allocation. Even if it were desirable, the formal structure could not be specified in such detail as to obviate the need for an informal supplement. On the other hand, the formal structure performs no function unless it actually sets limits to the informal relations that are permitted to develop within it. In any given situation, and within a given system of values, there is only one course of action which an individual can rationally pursue. It is that course of action which, under the given circumstances, maximizes the attainment of value. In commentary on Chapter 7, there are three issues arising from the critique of a typical hierarchy of authority in socialized enterprises: (1) authority causes alienation; (2) employee participation in decision-making increases satisfaction; and (3) there are power struggles within the functioning of organization. To Simon, these issues are common to organizations in all ages, past, present and future. However, organizations must improve their member’s abilities and well-being as long as their systematic stabilities [what is a systematic stability?-ed] can be maintained. Communication The personal motives of an organization’s

members may cause them to divert communication system for their own purposes, and may influence the reception given to those communications that are transmitted. The ability of an individual to influence others by his communications will depend upon his formal and informal position of authority, and upon the intelligibility and persuasiveness of the communication itself. Simon suggests that training be one of the several alternative methods of communication and that this be particularly useful in transmitting job “know-how.” In commentary on Chapter 8, the rapid development of information-processing technology is critically addressed as the enhancement of learning in organizations and organization design. He argues that the corporate and public decision-making processes are becoming significantly more sophisticated and rational than they were in the past. We now possess the analytical tools necessary to understanding the human conditions. Of course, to understand problems is not necessarily to solve them. But it is the essential first step in the process to progress. The new information technology that we are creating enables us to take that step. The Criterion of Efficiency Of the factual aspects of decision-making, the administrator must be guided by the criterion of efficiency. This criterion requires that results be maximized with limited resources. On the other hand, criteria for “correctness” have no meaning in relation to the purely valuational elements involved in a decision. Unlike commer-

131


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

cial organizations, a democratic state is committed to popular control over these value elements, and the distinction between value and fact is of basic importance in securing a proper relation between policy-making and administration. Simon further asserts that the value of organization along functional lines lies in its facilitation of decisional processes. Functionalization is possible, however, only when the technology permits activities to be segregated along parallel lines. In commentary on Chapter 9, Simon assesses the difficulties of measuring the efficiency of actions even inside private business firms. He regards efficiency as the ratio of results achieved to resources consumed and considers it as an appropriate and fundamental criterion for all of the decisions that are taken in an organization. Loyalties and Organizational Identification Here Simon discusses the individual’s subjection to an organizationally determined goals, exercising authority over him, gradually is “internalized” into his own psychology and attitudes. When it is recognized that actual decisions must take place in some such institutional setting, it can be seen that the “correctness” of any particular decision may be judged from its consistency with either socially desirable consequences or an organizationally assigned frame of reference. That is the main reasoning in his agreement with Harold H. Lasswell that a person identifies himself with a group when, in making a decision, he evaluates the alternatives of choice in terms of their consequences for the specified group.

132

An organizational structure is socially useful to the extent that the pattern of identifications which it creates bring about a correspondence between social value imposed on an individual’s motives and organizational value influential to his decisions. Personal loyalty, as such, to organizational values may be equivalently harmful when encountered in the fields of invention and promotion, i.e. to the tastes of the administrator occupying the upper levels of the hierarchy. In commentary on Chapter 10, Simon refers to cognitive bases to logically prove that decision-makers in an organizational unit can identify strongly with a set of goals and a “world view” that may be quite different from those held by members of other units in the same organization. Moreover, he draws an implication from models of natural selection that take bounded rationality into account. He finds there is strong support for the idea that most people will be strongly motivated by organizational loyalty (rigid organizational identification) which exists side by side with material rewards and the cognitive component motivating employees to work actively toward organizational goals. Organizational structure: Chapter 11 with its commentary (p. 305-355) The Anatomy of Organization Organizational behavior is a complex network of decisional processes, all influencing the behaviors of the operatives-those who do the actual work of the organization. The anatomy of the organization is to be found in the distribution and allocation of decision-making functions. This


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

deceptive [why is it deceptive? Do you mean ‘descriptive’?-ed] framework of analysis of the decision-making process in administrative organizations is offered so that the classical “principles” of administration can be substituted. In commentary on Chapter 11, Simon reviews the development of organization theory in relation to his own theoretical framework of administrative behavior. He affirms that the new knowledge offered in this book amplifies and continues beyond classical ideas by a logical implication derived from the establishment of Economic Cooperation Administration on April 3, 1948. He verifies once again that the sharing, by both executives and non-managerial employees, of a common conception of an organization’s goals is essential to the achievement of effective cooperation in new and growing organizations and should be well conceived and then promulgated until it affects every part of the decision making processes of the organization. Finally, he draws a critical comparison from his experience in the Graduate School of Industrial Administration in 1949. Simon argues the case that formal training toward scientific knowledge of and, at the same time, toward social system (business profession) is rather impractical. Managing such an organization is not a complete activity. It is a continuing administrative responsibility for the sustained success of the organization. Section 2: Revitalizing practices Several administrative theorists refute Simon’s methodology and conceptualization,

among them Jay White, Margaret Wheatley, Douglas Kiel, Euel Elliottii and Paul Nieuwenberg. They have challenged Simon on the basis that: - His application of logical positivism, based on factual premises, ignores other forms of reason which may be utilized for decisions based on value premises. Other forms, White claims, are much broader than Simon’s behavioral approach; - Wider ethical discussions of what “ought” to be done do not fit well into Simon’s views of decision making as a process and of cognition in an organization as a group of individuals exchanging information; - People in an organization will come to a collective sense of purpose or vision through the process of interacting; this is a much more participatory concept than a hierarchical one, as Simon conceives it, however, any boundary inherently ignores the system as a whole; and - Employees may not be neutral implementers, mere observers influenced by their superiors; nonetheless, they may pick and choose among available factual premises and even apply their own set of value premises in making decisions. In sum, the challengers regard Simon as representing the old Newtonian science-seeking solutions based on rationality and a largely top-down or mechanistic process. In short, it is too simplified. For them, Simon’s logical positivism

133


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

is a one-way causal description of organizational behaviors. It is weak in generalizing the variety of emerging events in organizations, and hence its application is restricted. When the methodology is doubtful, are the findings necessarily invalidated? Let us examine some key aspects of bounded rationality: First, Simon reveals the complex nature of a large organization and its cognitive and social influences over managers and the managed alike. He “replaces the entrepreneur of the classical school with a number of co-operating decision-makers, whose capacities for rational action are limited by a lack of knowledge of the total consequences of their decisions and by personal and social ties.”iii Second, economic end (goal or profit) that is triggered by psychological interactions within the organization justify socially collective means for any decision making. “Since these decisionmakers cannot choose a best alternative, as can the classical entrepreneur, they have to be content with a satisfactory alternative. Individual firms, therefore, strive not to maximize profits but to find acceptable solutions to acute problems. This may mean that a number of partly contradictory goals have to be reached at the same time. Each decision-maker in such a situation attempts to find a satisfactory solution to his own set of problems, taking into consideration how the others are solving theirs.”iv Finally, we learn that all decisions are not value-free. In other words, for Simon, ‘decisions cannot be evaluated by scientific means,’ but by an ever-changing relationship between the decision and its ultimate purpose. (p. 57-58) This

134

makes decision-makers in both public and private administrations skeptical about the so-called analytical tools that are adopted prior to making any decision and forces them to realize the (lower assertion) [‘lower assertion’ has no meaning. What do you mean?-ed] of their habitually determined and socially conditioned judgments into the decision-making process. Conclusion Though the purpose of an organization comprised of individuals, is measured in economic terms and the delivery of results is evaluated accordingly, the decisions of the actors are bounded only ‘to achieve a satisfaction of their own diverse personal motives.’ (p. 15) The implications of this to co-operations across the organizational structure are enormous and must be carefully and thoroughly studied. Simon’s theory of bounded rationality affirms that such a view of an organization as a decision-making system is useful and worthwhile for all public and business managers. End-notes [A] a priori, according to the Concise Encyclopedia of Western Philosophy and Philosophers: page 19, is a Latin phrase meaning “from what comes before”, (the Concise Encyclopedia of Western Philosophy and Philosophers: p. 19) There are many truths, such as that fire burns or that water will not flow uphill, that we know from experience before we are able to explain why they should be so. Until we discover their causes our knowledge of them must be said to be empirical and not


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

truly scientific. From this definition, I would say that Simon did not believe in pure analytic/ mathematical propositions about principles of administration, especially with regards to human behaviors in an organization. On the contrary, his rationality comes from “causal principles that every event must have a cause and that like causes must have like effects.” [B] Logical positivism. We can see that Simon’s approach to accomplish this “work of description” (p. 197) of organizational phenomena (p. 297) comes from the application of generalizations deduced from some objective evaluations (p. 48). Further, what he tries to provide us are not universal laws of organization for “how an organization should be constructed and operated (p. 305 and 328).”, rather, he warns us, “[this is] a framework for the analysis and description of administrative situations and with a set of factors that must be weighed in arriving at any valid proposal for administrative organization.” Thisese reveal to us how logical positivism was applied throughout the work so as to arrive at a relatively clear portrait of “the anatomy and

physiology of organization” (p. 305). Let us try to understand the typical characteristics of this scientific inquiry. The main features of logical positivism include: a thorough-going empiricism; an equally thorough-going rejection of metaphysics; a restriction of philosophy and a reduction to a common denominator (Concise Encyclopedia of Western Philosophy and Philosophers: p 20).

References i

Carlson, Sune. Presentation Speech of the Royal Academy of Sciences for Prize in Economic Sciences in Memory of Alfred Nobel 1978. Website: http://nobelprize.org/ nobel_prizes/economics/laureates/1978/ presentation-speech.html ii Mingus, Matthew S. Bounded Rationality and Organizational Influence: Herbert Simon and the Behavioral Revolutin in Moçöl, Göktug, editor (2007). Handbook of Decision Making. Florida, USA: CRC Press, pages 73-75. iii Ibid., Carlson, Sune. iv Ibid., Carlson, Sune.

135


วารสารปญญาภิวัฒน PANYAPIWAT JOURNAL

Mr. Winaicharn Sapparojpattana received his Master of Business Administration from University of East London, U.K. His prior higher education includes Bachelor of Business Administration, Assumption University, and Bachelor of Political Science, Sokhothai Thammatitrat Open University. He is also certified as a Trainer/Mentor of Investor Education Program, Thailand Security Institute, the Stock Exchange of Thailand. His present lecturership is present at Department of Retail Business Management, Faculty of Business Administration, Panyapiwat Institute of Technology.

136


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.