bon voyage-aug2011 sport britain

Page 1


B

ON VOYAGE

01 140 > IMAGE August 2011


BRITAIN’S GOLDEN DECADE OF SPORT [ เรื่อง / ภาพ : -piyalak nakayodhin- ]

หนึง่ วันก่อนการแข่งขันฟุตบอลโดยเฉพาะแมตช์สำคัญๆ

จะเริ่มขึ้น แฟนบอลมักเห็นภาพข่าวนักฟุตบอลกำลัง

ฝึกซ้อมในสนามเพื่อเตรียมพร้อมลงแข่งขัน เราเอง

เห็นภาพและข่าวความเคลื่อนไหวนักบอลทีมนั้นคนโน้น

ผลัดเวียนมาให้เห็นทางหน้าจอวันแล้ววันเล่า แต่ ณ วันนั้น วันที่เรายืนห่างไม่ถึงยี่สิบเมตรจากนักฟุตบอลทีม ท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์สที่ออกมาฝึกซ้อมก่อนลงสังเวียนฟาดแข้งในรอบแบ่ง กลุ่มของศึกฟุตบอลแห่งชาติยุโรป ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ภาพเหล่านั้นได้ 02 กลายเป็นยิ่งกว่าโทรทัศน์สามมิติ หากคือภาพในชีวิตจริง ท่วงท่า ลีลา เคลื่อนไหว การเดาะบอล เสียงฝีเท้ากระทบลูกฟุตบอลอันทุ้มหนัก ตลอด 01 ภาพถ่ายทางอากาศเผยให้เห็นโอลิมปิก จนเสียงหัวเราะหยอกล้อในหมู่นักบอล ต่างดาหน้าทะลุใบหูเข้าโสตสัมผัส สเตเดี้ยม อาคารกีฬาทางน้ำ (Aquatics Centre) เราเต็มๆ และก่อนที่จะหลบทัน ลูกฟุตบอลจากฝีเท้าของนักเตะใครสักคน

และวิวอันกว้างไกล (Photo credit: London 2012) ก็วิ่งมากระทุ้งเลนส์หน้ากล้องดังพลั่ก! ดีว่าไม่เสียหาย แค่ทิ้งเศษดินเกาะ 02 Hospitality Package ใน Gary Mabbutt Lounge จะเห็นได้ว่าสามารถนั่งดูเกมการ ขอบเลนส์ให้ดูต่างหน้าเท่านั้น แข่งขันได้จากโต๊ะเลย อย่างไรก็ดี มีที่นั่งภายใน นี่คือช่วงเวลาอันเหลือเชื่อสำหรับแฟนบอลเข้าเส้น ที่จะพาตัวเองมาดู อัฒจันทร์ซึ่งเดินออกจากห้องและลงบันได การฝึกซ้อมของนักเตะได้อย่างใกล้ชิด แถมเรายังโชคดีสุดๆ ที่ได้เกาะติด

ไปนิดเดียว เรียกว่าเอ็กซ์คลูซีฟมาก นักเตะระดับตำนานของทีมอย่าง Gary Mabbutt ผู้เคยชูถ้วยชนะเลิศฟุตบอล 03 North West Lower Tier มุมที่นั่งจาก เอฟ เอ คัพให้ทมี ท็อตแน่มฯ ในปี ค.ศ. 1991 ก็จะมีใครพาไปรูจ้ กั ทีมท็อตแน่มฯ Gary Mabbutt Lounge ได้ดีเท่าอดีตนักเตะที่ยังเดินเข้าเดินออกช่วยงานด้านต่างๆ ในฐานะทูตของ สโมสรที่เขาลงเล่นมาตั้ง 16 ปีกันเล่า พอดี ภาพที่เคยดูตอนเขาลงเตะหมุนติ้วอยู่ในหัวเป็นฉากๆ ระหว่างที่เราจับ แกรี แมบบัตต์ลงเล่นให้ทีมท็อตแน่มฯ ในตำแหน่งกองกลางตัวรับ มือทักทายแกรี (เรียกชื่อต้นกันเลยทีเดียว) ซึ่งมารอพาทัวร์ให้ทีมนักข่าวกลุ่ม และมิดฟิลด์ในช่วงปี ค.ศ. 1982-1998 อันเป็นช่วงที่เราเริ่มดูฟุตบอลอังกฤษ เล็กๆ จากแอฟริกาใต้ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาเลเซีย และไทย อยูก่ อ่ นแล้วที่ Spurs Lodge สนามฝึกซ้อมของทีมท็อตแน่มฯ ดีกรีความตื่นเต้นพุ่งขึ้นเรื่อยๆ ตามเข็มนาฬิกาที่หมุนไป เพราะครู่ใหญ่ๆ นัก เตะชุดปัจจุบันก็เดินเรียงแถวออกจากห้องมาสู่สนามซ้อมท่ามกลางท้องฟ้า ขมุกขมัวห่มคลุมด้วยไอหนาวที่พัดมาเร็วกว่าปีก่อน นักเตะและเจ้าหน้าที่ สโมสรฯ หลายคนทักทายแกรีที่เห็นได้ชัดว่ายังได้รับความเคารพนับถืออยู่ ไม่น้อย บรรดานักเตะออกวิ่งเหยาะๆ เลี้ยงลูกไขว้ขาสลับไปตามเสา แล้วก็ จับกลุ่มกันเป็นวงเตะลูกกันไปมา ก่อนจะแบ่งเป็นสองทีมแข่งกันเตะลูกเข้า ประตู ดูแต่ละคนเอาจริงเอาจังขณะเดียวกันก็เล่นกันด้วยความสนุกสนาน แกล้งกัน แซวกัน อาจไม่ต่างจากกลุ่มเพื่อนเตะบอลหลังเลิกงาน แต่นี่คือ การงาน หน้าที่ และความเป็นมืออาชีพที่มาพร้อมความรักในเกมลูกหนัง จริงๆ (นี่ฉันดราม่าไปไหมเนี่ย?) หลั ง ดู ก ารฝึ ก ซ้ อ มของนั ก เตะไก่ เ ดื อ ยทอง (สมญานามของที ม Tottenham Hotspur ซึ่งบ้านเรามักเรียกว่าทีมสเปอร์ส อังกฤษเรียกสั้นๆ ว่า ท็อตแน่มฯ) ที่เราจ้อง Gareth Bale (ปีกซ้าย) และ Rafael van der Vaart (มิดฟิลด์) อย่างไม่คลาดสายตาไม่ต่างจาก Harry Redknapp ผู้จัดการทีมที่เฝ้าดู การฝึกซ้อมของลูกทีมด้วยสีหน้าครุ่นคิด เราก็ร่ำลาแกรีชั่วคราว แยกย้ายกัน ขึ้นรถ เพื่อไปเจอกันที่สนามฟุตบอลจริงๆ ของทีมท็อตแน่มฯ มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1899 ที่ชื่อว่า White Hart Lane ทางตอนเหนือของมหานครลอนดอน ซึ่งในยามไม่มีการแข่งขัน ก็จะเปิดให้คนทั่วไปได้เข้าไปทัวร์สนาม (White 03 Hart Lane Stadium Tour) แต่ทีมเราพิเศษหน่อยตรงที่มีคนนำทัวร์เพิ่มอีกคน IMAGE August 2011 < 141


04 04 05 06 07 08

Basketball Arena ซึ่งจะใช้ในการแข่งขัน บาสเกตบอล บาสเกตบอลวีลแชร์ รักบี้วีลแชร์ และรอบชนะเลิศแฮนด์บอลใน London 2012 Games รูปลักษณ์ดดู มี ากจนน่าเสียดาย ที่เป็นเพียงสนามชั่วคราว เมื่อจบการแข่งขัน จะทำการรื้อถอน แต่นำบางส่วนไปใช้ใหม่ หรือไปตั้งไว้ที่อื่น ในห้องแต่งตัวของนักเตะท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ส ที่ชุดแต่งกายเตรียมพร้อมสำหรับแมตช์พรุ่งนี้ Lord’s Cricket Ground สนามแห่งตำนานที่ นักกีฬาคริกเก็ตถือเป็นเกียรติมากที่ได้ลงเล่น สนามหญ้าของเวมบลีย์ได้รับการดูแล อย่างดี ในวันที่ไม่มีการแข่งขันก็ต้องฉายไฟ ดุจแสงอาทิตย์สาดส่องผืนหญ้า คนไทยขอยืดที่สนามวิมเบิลดันเมื่อนักเทนนิส เยาวชนไทยได้แชมป์จเู นียร์วมิ เบิลดัน ปี 2009

05 06

คือแกรี ซึ่งเล่าประสบการณ์ค้าแข้งในยุคของเขาที่มีทั้งด้านเหมือนและแตกต่างกับยุคปัจจุบัน (เราว่าที่เห็นชัดคือเรื่องค่าเหนื่อย ค่าตัว และสถานที่ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ) ระหว่างพาพวกเราผ่านช่วงเวลาอัน รุ่งโรจน์และความผิดหวังที่บอกเล่ามาจากกำแพงภาพถ่าย ถ้วยรางวัล เกียรติประวัติ ของที่ระลึก ห้องรับรองพิเศษ ห้องแต่งตัวของนักเตะทีมเหย้า และทีมเยือน ห้องอาบน้ำ (แต่ก่อนอ่างอาบน้ำไม่โมเดิร์นอย่างนี้ แต่อ่างที่ บรรจุน้ำแข็งไว้เต็มให้นักเตะมาแช่กล้ามเนื้อให้ความรู้สึกยะเยือกไม่ต่างจาก ยุคแกรีนัก) ก่อนจะได้เดินผ่านอุโมงค์ราวกับเราเป็นนักเตะกำลังเดินลง สนามหญ้าไปฟาดแข้งเองเลยทีเดียว อีกห้องที่ไม่พลาดคือห้องแถลงข่าว ซึ่ง ปกติผรู้ ว่ มขบวนทัวร์จะมีโอกาสได้สวมบทบาทผูจ้ ดั การทีม นักเตะ หรือผูส้ อ่ื ข่าว โพสท่าถ่ายรูปตามจุดต่างๆ ได้ตามอัธยาศัย แต่วันนั้น ห้องแถลงข่าว คลาคล่ำไปด้วยนักข่าวจริงๆ ที่มารอสัมภาษณ์ทำข่าวความเคลื่อนไหวก่อน เกมยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีกจะเริ่มขึ้นในวันพรุ่งนี้ เราก็เป็นหนึ่งในนักข่าวที่นั่ง ฟังมิดฟิลด์ตัวกลั่น Jermaine Jenas พูดถึงความแข็งแกร่งของนักเตะในทีมที่ จะงัดฟอร์มสุดยอดออกมาเพื่อชัยชนะ ขณะที่ผู้จัดการทีม แฮรี เรดแนปป์ ซึ่งทำผลงานได้โดดเด่นในการพาท็อตแน่มฯ ลงเล่นถ้วยยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาลนี้ ก็พูดถึงเกมเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งทีมตราไก่ เฉือนชนะทีมคู่ปรับร่วมเมืองลอนดอนอย่างอาร์เซนอลทั้งๆ ที่โดนยิงนำไป ก่อน จึงสร้างขวัญและความมั่นใจให้นักเตะมาก แกเร็ท เบล ที่ปีนี้ยกระดับ การเล่นขึ้นมาได้ดีมากๆ (จนเพื่อนนักเตะโหวตให้เขาเป็นนักเตะยอดเยี่ยม ประจำปี (PFA Player of the Year) ของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพ) ก็ยังหนุ่มมี โอกาสพัฒนาอีกเยอะ ฟังๆ ไปก็ไม่เท่าดูของจริง เราจึงมีนดั กับแกรีและแมตช์การแข่งขันยูฟา่ แชมเปี้ยนส์ ลีกที่ท็อตแน่มฯ เป็นเจ้าบ้านรับการมาเยือนของทีมจากเยอรมนี 142 > IMAGE August 2011

แวร์เดอร์ เบรเมน เราไปถึงสนามไวท์ ฮาร์ท เลนก่อนเวลาหลายชั่วโมง จึง เข้าไป Club Megastore ร้านขายของที่ระลึกของสโมสรฯ ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้า สนาม บรรยากาศวันนี้ต่างจากวันวาน เพราะอัดแน่นไปด้วยแฟนบอลที่มา ซื้อของที่ระลึกก่อนเข้าสู่สนาม ดีว่าเราไม่ได้ซื้อผ้าพันคอมา ค่าที่เมื่อเข้าไป ยังที่นั่งซึ่งอยู่ใน Gary Mabbutt Lounge หนึ่งใน 11 ห้องรับรองพิเศษ (Executive Member Lounge ยังมีห้องพิเศษ (Executive Box) อีก 120 ห้อง ภายในสนามไวท์ ฮาร์ท เลน) ก็มีของที่ระลึกวางไว้ให้เป็นเซ็ตบนเก้าอี้ทุกตัว อยู่แล้ว ประกอบด้วยหนังสือโปรแกรม เข็มกลัด ผ้าพันคอซึ่งพิมพ์ชื่อสองทีม และแมตช์การแข่งขันวันนั้นๆ รวมทั้งมื้ออาหารสี่คอร์ส เครื่องดื่มบริการ ตลอด และที่นั่งมุมเยี่ยมทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของสนาม ทั้งมวลนี้ เป็นสิ่งที่แต่ละสโมสรฟุตบอลจัดทำเป็นแพ็กเกจพิเศษครบสูตร (Hospitality Package) เพื่อมอบประสบการณ์ที่มากกว่าดูการแข่งขันบนอัฒจันทร์ทั่วๆ ไป (รายละเอียดของแพ็กเกจมีอยู่ในเว็บไซต์ของสโมสรฯ ให้สำรองที่นั่งได้ สะดวก) พวกเราทีมนักข่าวจึงเอ็นจอยเต็มที่กับเครื่องดื่มและอาหารอยู่ใน เลาน์จฺที่เจ้าของชื่อห้องมานั่งพูดคุยและร่วมรับประทานอาหารด้วย ครั้นได้ เวลาคิกออฟ แกรีก็ชวนออกจากเลาน์จฺไปนั่งดูบอลกันในสนาม เสียงเชียร์ อันกระหึม่ คงปลุกความฮึกเหิมให้นกั เตะมากทีเดียว เพราะเจ้าบ้านบุกกันไม่ยง้ั รูปเกมเป็นต่อ เหมือนที่แกรีบอกไว้ว่าแมตช์นี้น่าจะเป็นท็อตแน่มฯ ที่คว้าชัย นกหวีดเป่าหมดเวลาครึ่งแรก แกรีจึงชวนกลับเข้าไปในเลาน์จฺ ให้ได้ฮือฮา

ในแพ็กเกจพิเศษนี้มาก เพราะบนโต๊ะกลมที่พวกเรานั่ง เรียงรายด้วยเบียร์ ไวน์แดง ไวน์ขาว โค้ก (ของแกรี) น้ำแร่ พร้อมด้วยถาดแครกเกอร์กับเนยแข็ง หลากชนิด เพิ่มสีสันให้บทสนทนาบอลเป็นไปอย่างออกรสจนนกหวีดครึ่ง หลังเป่าเริ่มเกม ยังไม่มีใครอยากปล่อยแก้ว เกมจบลงด้วยชัยชนะ 3-0 ของ


07 ท็อตแน่มฯ (ซึ่งผ่านถึงรอบควอเตอร์ไฟนัลไปแพ้ทีมรีล มาดริดตกรอบไป อย่างชอกช้ำ) ของว่างปิดท้ายและเครื่องดื่มไหลรินไม่มีหยุดยิ่งทวีรสชาติให้ ค่ำคืนพิเศษนี้แฮปปี้เอนดิ้งที่สุด สองวันกับแกรี แมบบัตต์ไม่พอเพียงสำหรับคนบ้าบอล เราจึงย้ำลูก บอลกลมๆ เข้าไปอีกด้วยสนามฟุตบอลระดับตำนานของสหราชอาณาจักร Wembley Stadium ซึ่งต้องเรียกว่านิวเวมบลีย์ เพราะสนามเวมบลีย์ดั้งเดิมที่ โดดเด่นด้วยหอคอยคู่ สร้างในยุค 1920s ถูกทุบทิ้งเพื่อสร้างใหม่เมื่อปี ค.ศ. 2000 และเปิดทำการอีกครั้งในปี ค.ศ. 2007 สืบสานตำนานบทใหม่ให้เป็น มากกว่าสังเวียนฟาดแข้งในเกมกีฬาต่างๆ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สถาปัตยกรรม และนวัตกรรมจึงอัดแน่นอยู่ในสนามเวมบลีย์แห่งใหม่ ซึ่งเปิด ให้สาธารณชนได้เข้าไปทัวร์สนามที่จุผู้ชมได้ถึง 90,000 คน โดยการออกแบบ ที่นั่งนั้นช่วยให้ผู้ชมอยู่ใกล้ชิดผืนสนามมากกว่าเดิม มีที่วางขากว้างขึ้น ขณะ ที่ผู้ชมก็จะรู้สึกเหมือนนั่งอยู่ในชามอ่างใบใหญ่มากกว่านั่งบนอัฒจันทร์สี่ ด้าน เศษหินเศษปูนที่ทุบมาจากหอคอยคู่ของสนามเวมบลีย์เดิมก็นำมาเป็น รากฐานของนิวเวมบลีย์ หญ้าที่ใช้ปูสนามแข่งขันก็คัดเลือกมาจาก 1 ใน หญ้า 250 ชนิด โดยแต่ละตารางเมตรนั้นบรรจุไว้ด้วยใบหญ้า 150,000200,000 ใบ ต้องใช้ทีมงานดูแลชนิดประคบประหงมทุกๆ วันด้วยระบบให้ ความร้อนใต้ผืนดิน ท่อระบายน้ำ หลังคาที่ถอยร่นได้เพื่อให้แสงอาทิตย์และ การถ่ายเทอากาศหมุนเวียนได้ดี และเมื่อต้องใช้สนามเป็นเวทีคอนเสิร์ตก็มี เบาะที่ออกแบบพิเศษเพื่อมาปูคุ้มกันผืนหญ้าและรองรับคนยืนได้มากกว่า 25,000 คน ถึงอย่างนั้น แฟนบอลก็มักได้ยินเสียงบ่นจากนักเตะและผู้จัดการ ทีมถึงคุณภาพของสนามหญ้าที่ทำเอานักเตะหลายคนเล่นไม่ออก ทีมงานก็ แก้ปัญหากันไป นักเตะก็บ่นกันไป ครั้นคนพาทัวร์สนามให้พวกเราถือ

อภิสิทธิ์ได้ลงไปเหยียบผืนหญ้าจริงๆ เราเองแทบอยากจะถลาลงไปนอน (ทำ ทีเหมือนอาการดีใจยามยิงประตูได้) เพราะรู้สึกว่าหญ้าสวยและนุ่มดี ขณะที่ นักข่าวมาเลเซียเตรียมตัวมาอย่างดีจนเรานับถือ ด้วยการใส่เสื้อทีมชาติ มาเลเซียมาด้วย บอกว่านี่อาจจะเป็นโอกาสเดียวที่เสื้อสีเหลืองของมาเลเซีย จะได้สัมผัสเวมบลีย์! สนามเวมบลีย์ยังรับหน้าเสื่อเป็นเวทีใหญ่ในมหกรรมกีฬา London 2012 Olympic and Paralympic Games ซึ่งบอกได้เลยว่างานนี้เกรต บริเทน จัดบึ้มแน่นอน การวางแผน เตรียมการ จัดสรรงบประมาณ ลงตารางเวลา ทำงาน และทีมงานเริ่มต้นขึ้นในปี 2005 ทันทีที่มหานครลอนดอนได้รับคัด เลือกให้เป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 30 ปี ค.ศ. 2012 ขณะที่โอลิมปิกปักกิ่งลงชิงเหรียญทองกันในฤดูร้อนของปี 2008 ก็เป็นช่วง เวลาเดียวกับที่การก่อสร้างพื้นที่โอลิมปิกปาร์ก สนามโอลิมปิก และเส้นทาง ขนส่งมวลชนสู่ย่านตะวันออกของลอนดอนได้เริ่มต้น สินค้าที่ระลึกอย่างเป็น ทางการมีวางจำหน่ายแล้ว พร้อมด้วยการเปิดตัวเว็บไซต์ www.london2012.com ที่รายงานความเคลื่อนไหวและโปรแกรมต่างๆ ที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้คนมีส่วนร่วม กับโอลิมปิกที่ลอนดอนกำลังจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 3 (สองครั้งแรกคือในปี 1908 และ 1948) ให้มากที่สุด เรามีโอกาสเข้าร่วมขบวนทัวร์ Olympic Park อันมีพื้นที่ 2.5 ตารางกิโลเมตร ขนาดเท่ากับสนามฟุตบอล 357 สนาม ตั้งอยู่ Lower Lea Valley ทางตะวันออกของลอนดอน ระหว่างที่รถบัสเคลื่อนตัวไปตามจุดต่างๆ ของ โอลิมปิกปาร์ก ซึ่งได้ผู้นำชมเป็นถึง Director of Development and Delivery for the Olympics นามว่า Alison Nimmo ผู้ลงความคิดลงแรงลงใจไปกับงาน นี้สุดตัว แม้จะมีเวลาเหลืออีกเกือบสองปีแต่เราก็ได้เห็นรูปร่างหน้าตาที่เสร็จ ไปมากกว่า 70-80% ของสนามแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ซึ่งสวยชวนทึ่ง มากๆ ตั้งแต่ Olympic Stadium, Aquatics Centre, Water Polo Arena, Handball Arena, Basketball Arena, Velodrome, Hockey Centre, Athlete’s Village ไปจนถึงสถานีรถไฟ Stratford ซึ่งคาดกันว่าจะมีผู้ใช้ขนส่งมวลชนถึง 800,000 คนในวันที่คนชุกที่สุดอย่างวันเปิด-ปิด (โอลิมปิกลอนดอนครั้งที่ 30

08 IMAGE August 2011 < 143


จัดขึ้นในวันที่ 27 กรกฎาคมถึง 12 สิงหาคม ค.ศ. 2012 และพาราลิมปิก เกมส์จัดขึ้นวันที่ 29 สิงหาคมถึง 9 กันยายน ค.ศ. 2012) ตัวเลขนี้นับว่ายัง มากกว่าประชากรทั้งเมืองลีดส์เสียอีก คุณนิมโมยังเผยให้เห็นถึงความสำคัญของคำว่า Legacy หรือสิ่งที่ทิ้ง ไว้เป็นมรดกตกทอดเพื่อสาธารณประโยชน์ภายหลังจากที่มหกรรมกีฬา โอลิมปิกลอนดอน 2012 ได้เสร็จสิ้นไปแล้ว ที่เห็นชัดๆ ก็คือพื้นที่โอลิมปิก ปาร์กซึ่งตั้งอยู่ในย่านที่เคยเต็มไปด้วยโรงงานอุตสาหกรรมก็ได้เปลี่ยนแปลง เป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ให้ผู้คนมาสูดอากาศผ่อนพักได้ตั้งแต่ช่วงก่อนระหว่าง-หลังการแข่งขันโอลิมปิก ด้วยการลงต้นไม้พื้นถิ่นราว 2,000 ต้นใน บริเวณพื้นที่สีเขียวของโอลิมปิกปาร์ก อีก 2,000 ต้นบริเวณหมู่บ้านโอลิมปิก ชนิดของต้นไม้ก็คัดสรรอย่างดี เช่น ต้นวิลโลว์ เบิร์ช เชอรี่ ป๊อปลาร์ ต้นไลม์ ลอนดอนเพลน ฯลฯ เพื่อให้แน่ใจว่าต้นไม้เหล่านี้จะเป็นปราการแห่งอนาคต คุ้มครองสภาวะโลกร้อนได้ รวมทั้งอีกกว่า 300,000 พืชน้ำที่ช่วยให้สวนน้ำ อุดมสมบูรณ์จนเราได้เห็นฝูงนกน้ำบินว่อน คุณนิมโมบอกว่ายามเย็นนกน้ำ จะมารวมตัวกันเป็นฝูง ดูแล้วชื่นตามาก แน่นอนว่าอาคาร สนามกีฬา และสาธารณูปโภคต่างๆ ที่สร้างไว้เพื่อ โอลิมปิกลอนดอน 2012 นั้นใช้งบประมาณไปสูงลิ่วแม้จะอยู่ในงบที่คาดการณ์ไว้ก็ตาม จึงต้องมีการวางแผนล่วงหน้าไม่ให้สิ่งเหล่านี้ทิ้งร้างไปเมื่อ เสร็ จ สิ ้ น มหกรรมกี ฬ า นอกจากพื ้ น ที ่ ส ี เ ขี ย วที ่ จ ะเป็ น ปอดแห่ ง ใหม่ ข อง

ลอนดอนเนอร์แล้ว พื้นที่ทางตอนใต้ของโอลิมปิกปาร์กซึ่งบรรเลงบรรยากาศ คึกคักให้โอลิมปิกลอนดอน 2012 ด้วยสวนริมน้ำ ตลาด ที่จัดกิจกรรม

ร้านค้า ร้านอาหาร คาเฟ่ และบาร์ ก็จะยังคงสร้างชีวิตชีวาให้ชุมชนอีสต์ ลอนดอนต่อไป

09 10 11 12

Twickenham Stadium สนามรักบี้ ของอังกฤษที่จุผู้ชม ได้ถึง 82,000 คน ลอนดอนมีอะไรให้ ทำไปพร้อมกับ ทริปดูกีฬาด้วย เช่น ดินเนอร์ล่องแม่น้ำ เทมส์ ดูละครเวที เรื่อง Jersey Boys รายนามแชมป์ วิมเบิลดันชาย-หญิง ทุกปี การจัดแสดง นิทรรศการภายใน พิพิธภัณฑ์วิมเบิล- ดันเป็นไปอย่าง น่าสนใจมาก

09 144 > IMAGE August 2011

• การเดินทาง : การบินไทย

มีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ

สู่ลอนดอนทุกวัน ใช้เวลาบิน

12 ชั่วโมง จากสนามบินฮีทโธรว์ (London Heathrow Airport-LHR)

มีรถไฟด่วน Heathrow Express

สู่สถานีรถไฟแพดดิงตัน

(London Paddington) ให้บริการ

ทุก 15 นาที ใช้เวลาราว 15 นาที

ค่ารถเที่ยวเดียว 18 ปอนด์

ไป-กลับ 32 ปอนด์ (www.heathrowexpress.com)

การเดินทางภายในลอนดอนที่

สะดวกที่สุดคือรถไฟใต้ดิน

ข้อมูลการเดินทางภายในลอนดอน คลิกไปที่ www.tfl.gov.uk • วีซ่า : ติดต่อทำด้วยตนเอง เพื่อการยื่นในระบบไบโอเมตริก (Biometric) ที่ศูนย์รับคำร้อง

ขอวีซ่าเพื่อการเดินทางเข้าสหราชอาณาจักร อาคารรีเจ้นท์เฮาส์ ชั้น 2 เลขที่ 183 ถนนราชดำริ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์

(02) 800-8050 วันจันทร์ถึงศุกร์

เวลา 8.30-15.00 น. ค่าธรรมเนียม 3,500 บาท ต้องชำระเป็นตั๋วแลก

เงินหรือแคชเชียร์เช็ค ดาวน์โหลด แบบฟอร์มวีซ่าและข้อมูล

เพิ่มเติมที่ www.vfs-uk-th.com • ทีพ่ กั : Commodore Hotel,

50 Lancaster Gate, London,

Hyde Park, UK โทรศัพท์ +44

(0) 20 7402 5291 เว็บไซต์

www.hotel-commodore.com • ศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยว

สหราชอาณาจักร : ตั้งอยู่ที่ 1

Lower Regent Street, SW1 4XT โทรศัพท์ +44 (0) 8701 566 366 สถานีรถไฟใต้ดิน Piccadilly Circus และมีศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวกระจาย อยู่ตามจุดต่างๆ ทั่วเมือง ข้อมูลเพิ่ม เติมคลิกไปที่ www.visitbritain.com • เว็บไซต์น่ารู้ : www.tottenhamhotspur.com, www.wembleystadium.com, www.wimbledon.com,

www.rfu.com/TwickenhamStadium, www.lords.org และ www.london2012.com


11

10 ส่วนสนามโอลิมปิกที่ได้ออกแบบไว้เป็นชามยักษ์รองรับผู้ชมได้มากถึง 80,000 คนในห้วงการแข่งขันโอลิมปิกลอนดอน 2012 ซึ่งจะใช้ในพิธีเปิด-ปิด และการแข่งขันกรีฑา ก็จะทำการถอด 55,000 ที่นั่ง จนเหลือความจุผู้ชม 25,000 คนเพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬา หรือแม้แต่การแสดงคอนเสิร์ตต่างๆ Olympic Park Legacy Company ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อบริหารพื้นที่ใช้งานหลังเสร็จ สิ้นโอลิมปิกลอนดอน 2012 ก็ได้ทำการคัดเลือกให้สโมสรฟุตบอลเวสต์แฮม ยูไนเต็ดเป็นผู้ได้สิทธิ์ใช้โอลิมปิกสเตเดี้ยมเป็นสนามเหย้า เฉือนคู่แข่งทีม ท็อตแน่มฯ ที่เสนอตัวขอใช้สนามด้วยไปอย่างเฉียดฉิว น่าเสียดายที่ฤดูกาล 2010/2011 เวสต์แฮมฯ ต้องตกชั้นจากพรีเมียร์ลีก (ลีกสูงสุดของฟุตบอล อังกฤษ) ไปเล่นในลีกรองลงมานั่นก็คือ แชมเปี้ยนชิพ ในฤดูกาล 2011/2012 ได้แต่หวังว่าแผนการที่เวสต์แฮมฯ จะย้ายมาใช้โอลิมปิกสเตเดี้ยมเป็นสนาม เหย้าในฤดูกาล 2014/2015 จะได้ใช้ต้อนรับแฟนบอลในศึกพรีเมียร์ลีกให้สม เกียรติของสนามโอลิมปิกแห่งนี้ ถึงจะมีสถิติว่านักท่องเที่ยวที่ไปเยือนสหราชอาณาจักร 41% หวังใจ ว่าจะขอดูการแข่งขันฟุตบอลสักแมตช์ และก็มีนักท่องเที่ยวราว 1.2 ล้านคน ที่ได้เข้าไปดูเกมฟุตบอลในสนามมาแล้ว แต่วัฒนธรรมกีฬาอันแข็งแกร่งของ สหราชอาณาจักรมิได้จำกัดอยู่แค่ฟุตบอล เพราะกีฬาคือลมหายใจหนึ่งของ บริติชชน กีฬาประเภทต่างๆ จึงมีผู้เล่น ผู้ชมอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เทนนิส รักบี้ คริกเก็ต กอล์ฟ แข่งเรือ ว่ายน้ำ กรีฑา ซึ่ง ‘ศตวรรษแห่งความ เรืองรองของกีฬา--UK’s Golden Decade of Sport’ ได้ปะทุขึ้นแล้วเมื่อสหราชอาณาจั ก ร (ซึ ่ ง ประกอบด้ ว ยประเทศอั ง กฤษ สก็ อ ตแลนด์ เวลส์ และ ไอร์แลนด์เหนื อ ) รั บ หน้ า เสื ่ อ เป็ นเจ้ า ภาพการแข่ ง ขั น กี ฬารายการใหญ่ มากมาย ตั้งแต่ Ryder Cup 2010 ที่เวลส์, London 2012 Olympic and Paralympic Games, Rugby League World Cup 2013 ที่อังกฤษและเวลส์, The Commonwealth Games 2014 ที่กลาสโกว์ (สก็อตแลนด์), Rugby Union World Cup 2015 ที่อังกฤษ และ Cricket World Cup 2019 ที่อังกฤษและเวลส์

12

นี่ถ้ารัสเซียไม่ชนะอังกฤษในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกครั้งที่ 21 อังกฤษก็คงควบฟุตบอลโลกปี 2018 ให้เป็นยิ่งกว่าศตวรรษทองของกีฬากัน เลยทีเดียว เราจึงสมควรไปเยือนสังเวียนระดับตำนานของคริกเก็ต รักบี้ เทนนิส ซึ่งต่างก็ได้ใช้จัดการแข่งขันในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกลอนดอน 2012 ด้วย รวมถึงสถานที่จัดแข่งเรือใบ (Sailing) ณ เมืองเวย์มัธ (Weymouth) ที่ล้วน ตอกย้ำถึงความหลงใหลในกีฬาของบริติชชน และนับเป็นการเปิดโลกกีฬา ให้เราอีกมากทีเดียว แม้ตัวเองไม่ค่อยเล่นแต่ก็ดูกีฬาอย่างเป็นบ้าเป็นหลัง โดยเฉพาะฟุตบอล เทนนิส (ชายเท่านั้น) และโอลิมปิก แต่กีฬาอย่างคริกเก็ต และรักบี้ ซึ่งกำลังจะได้ไปดูนั้น ถือเป็นการเปิดบริสุทธิ์โดยแท้ เมื่อเราได้พบ กับ Mike Gatting อดีตกัปตันทีมคริกเก็ตที่พาทีมชาติอังกฤษชูถ้วยชนะเลิศ Ashes Series ที่ออสเตรเลียเมื่อปี 1986-87 มาแล้ว จึงไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นมาก นัก แต่ก็ยินดีที่ตำนานแห่งคริกเก็ตของอังกฤษยังเป็นส่วนหนึ่งของการ พัฒนาและฝึกสอนคริกเก็ตให้คนรุ่นหลังอยู่ เราจึงได้แต่หันไปชื่นชมสนาม แข่งขันคริกเก็ต Lord’s (Lord’s Cricket Ground) ในย่าน St. John’s Wood ทางตะวันตกเฉียงเหนือของลอนดอน ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าคือ ‘บ้านของคริกเก็ต’ มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1814 และมีพิพิธภัณฑ์กีฬาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ลอร์ดสยังร่วมเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกลอนดอน 2012 ด้วยการเป็นสถานที่

แข่งขันยิงธนู แต่ก่อนจะไปเปิดซิงรักบี้ ขอไปสนามหญ้าอันคุ้นเคยจากจอถ่ายทอด ทางโทรทัศน์มานานหลายปีก่อน เราจับตาดูราฟาเอล นาดาล นักเทนนิส ชายชาติสเปนชูถ้วยชนะเลิศวิมเบิลดันเป็นหนที่สอง (แชมป์วิมเบิลดันสอง สมัยในปี 2008 และ 2010) ด้วยความปลาบปลื้ม และรีบถ่ายรูปภาพนั้น ทันทีเมื่อเดินผ่านระหว่างทัวร์ชม The All England Lawn Tennis & Croquet Club ซึ่งใช้ในการแข่งขัน The Wimbledon Championships หรือที่เรียกกัน ติดปากว่า วิมเบิลดัน หนึ่งในสี่รายการเทนนิสแกรนด์สแลมประจำปี พื้นที่ทั้งหมดของสนามอันเป็นสังเวียนบนคอร์ตหญ้านั้นมากกว่า 42 IMAGE August 2011 < 145


ชาย (ราฟาเอล นาดาล) และหญิง (เซเรนา วิลเลียมส์) ได้มอบชุดแข่งขันที่ ใช้ในรอบชิงชนะเลิศพร้อมเซ็นชื่อกำกับ (ว่าของจริง) มาจัดแสดง แน่นอนว่า เราพินิจพิจารณาทั้งเสื้อ กางเกง รองเท้าของหนุ่มสเปนจนหัวโขกตู้กระจก ไม่รู้กี่ครั้ง แต่จำไม่ได้จริงๆ ว่าชุดสีขาวของนักเทนนิสสาวชาวอเมริกันที่ได้ ชื่อว่าแต่งตัวจัดจ้านมากนั้นเป็นอย่างไร? อันที่จริง ก็รู้จักรักบี้อยู่บ้าง แม้จะเห็นการซ้อมในสนามฟุตบอลของ มหาวิทยาลัยแถวท่าพระจันทร์ และพยายามดูถ่ายทอดทางโทรทัศน์อยู่ หลายหนหากไม่รู้สึกสนุกจนต้องเลิกล้มไป แต่การเข้าไปดูรักบี้แข่งขันกัน จริงๆ จังๆ ในสนามรักบี้เป็นครั้งแรกนั้น ต้องบอกว่าตื่นเต้น ตื่นเต้น ตื่นเต้น Twickenham Stadium สนามในบ้านของทีมชาติรักบี้อังกฤษ ที่จัดว่าใหญ่ ที่สุดในบรรดาสนามรักบี้ทั้งมวลในโลก จุผู้ชมได้ถึง 82,000 คน ซึ่งเราเชื่อว่า ในวันนั้น วันที่การแข่งขัน Rugby Test ระหว่างทีมชาติอังกฤษกับทีมชาติ 13 14

13 เอเคอร์ ประกอบไปด้วยคอร์ตหญ้า 19 คอร์ต รวมถึง Centre Court และ No.1 Court ซึ่งเป็นสนามหลักของทัวร์นาเมนต์วิมเบิลดัน มีคอร์ตในร่มอีก 5 แห่ง คอร์ตดิน 6 แห่ง และในบริเวณ Aorangi Park ก็มีคอร์ตหญ้าอีก 22 คอร์ตไว้ใช้ในการฝึกซ้อมก่อนและระหว่างการแข่งขันวิมเบิลดัน ซึ่งในช่วงที่ มีการแข่งขันคงไม่มีโอกาสได้เดินเข้าออกสนามได้แบบนี้หรอก ก็ต้องอาศัย ร่วมทัวร์ ซึ่งเปิดบริการตลอดปี เพื่อให้เข้าไปชมเซ็นเตอร์คอร์ต คอร์ต หมายเลข 1 ห้องแถลงข่าว (ซึ่งในช่วงการแข่งขันห้ามแหยมเข้าไปแถวนี้เด็ด ขาด) สวนน้ำ (Water Gardens) และ Picnic Terraces ซึ่งจะคลาคล่ำไปด้วย

ผู้ชมเป็นพันๆ คนในช่วงที่มีการแข่งขัน เพราะใครไม่มีบัตรเข้าชมในแต่ละ คอร์ต ก็สามารถซื้อบัตรเข้าบริเวณสนามแข่งขัน (Ground Ticket) ได้ในราคา 20 ปอนด์ (ลดหลั่นไปตามเวลาและวันที่เข้าชม มีตั้งแต่ราคา 5-20 ปอนด์) แล้วก็ปิกนิกชิลล์ๆ ระหว่างนั่งชมการแข่งขันผ่านจอยักษ์ได้แบบสบายๆ โดย ทัวร์สนามวิมเบิลดันก็ให้สิทธิเข้าชม Wimbledon Lawn Tennis Museum

ไปพร้อมกัน พิพิธภัณฑ์วิมเบิลดันตั้งอยู่ชั้นล่างของร้านขายของที่ระลึก ประกอบไป ด้วยสิ่งของมากกว่า 15,000 ชิ้นในคอลเล็กชั่นที่ไหลผ่านประวัติศาสตร์แห่ง เทนนิส มีจอภาพยนตร์ 200 องศาแสดงวิทยาการของเทนนิส มีภาพฟุตเตจ ช่วงเวลาสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นตลอด 125 ปี (Wimbledon 2011 เป็นครั้งที่ 125 นับตั้งแต่ทัวร์นาเมนต์ The Championships ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1877) และ สิ่งของ อาทิ ลูกเทนนิส ไม้เทนนิส ถ้วยรางวัล เครื่องประดับ เสื้อผ้า รองเท้า ซึ่งนักเทนนิสได้มอบให้พิพิธภัณฑ์ฯ จึงมีการหมุนเวียนคอลเล็กชั่นจัดแสดง และเพิ่มเติมของใหม่ๆ อยู่เสมอ เป็นต้นว่า ผู้ชนะเลิศวิมเบิลดันปี 2010 ทั้ง 146 > IMAGE August 2011

สวนสาธารณะ ไฮด์ปาร์กในยาม สายที่ผู้คนออกมา พักผ่อน ออกกำลัง ความคลาคล่ำ ไม่เปลี่ยนแปลงของ ออกซ์ฟอร์ดสตรีต

* Special thanks to: Visit Britain and British High Commission Pretoria 14

แอฟริกาใต้ปะทุขึ้น ผู้ชมเข้ามาดูเต็มความจุของสนามอันอื้ออึงไปด้วยเสียง เชียร์ พลิ้วสะบัดไปด้วยธงทิว และเสื้อผ้าแอ็กเซสซอรีส์ที่ไม่ปิดบังว่าเลือก ข้างไหน เราเองไม่รู้จะเชียร์ใคร เพราะในกลุ่มนักข่าวที่อยู่ด้วยกันมาหลาย วันก็มีทั้งชาวแอฟริกาใต้ ชาวอังกฤษ (แต่ทำงานที่แอฟริกาใต้) รวมทั้งมัวแต่ สาละวนกับการห่อตัวสู้ลมหนาว (มาก) ภายในสนามที่คนแน่นเอี๊ยดหากไม่ ช่วยเพิ่มไออุ่นได้ แต่ผู้ชายสามคนที่นั่งถัดเราไปนั้นเชียร์สปริงบอก (ชื่อเล่น ของทีมชาติแอฟริกาใต้) แน่นอน คุณพ่อ คุณลูก คุณเพื่อนลูกเชียร์กัน สนุกสนาน ออกรสออกชาติมาก แม้จะรู้สึกรูปเกมของทั้งสองทีมไม่โดดเด่น เท่าไหร่ ซึ่งพ้องกับที่นักข่าวกีวีในกลุ่มให้ความเห็น แต่เราก็รู้สึกสนุกไปด้วย เกมจบลงทีก่ องเชียร์สปริงบอกได้เฮ แต่พวกเรายังไม่ยอมให้คำ่ คืนนัน้ จบลงง่ายๆ นอกเหนือจากในสนามแข่งขันแล้ว จะมีสถานที่ใดที่เชียร์กีฬาได้ ‘มัน’ และ‘เวรี่ อังกฤษ’ ได้เท่ากับ ‘ผับ’ เป็นไม่มี หลังกลับจากสนามทวิกเกนแฮม แทนทีจ่ ะเข้าโรงแรมในย่านไฮด์ปาร์ก พวกเราเสเดินมายังผับหัวมุม The Swan บนถนนเบย์สวอเตอร์ ซึง่ เต็มไปด้วยผูค้ น หลายคนจับจองไปทีห่ น้าจอโทรทัศน์ หนุ่มกีวีน่าจะถูกใจกว่าใครในกลุ่มเรา เพราะเขามาทันได้ดูออลแบล็คส์ (รักบี้ทีมชาตินิวซีแลนด์) ชนะทีมชาติเวลส์ไปได้ในการแข่งขัน Rugby Test รายการเดียวกับที่เราเพิ่งดูมา บรรยากาศความคึกคักรายรอบตัวเราปะปน ไปกับพรายฟองเครื่องดื่มไม่รู้แก้วที่เท่าไหร่ของทริปเพิ่มความจดจ่อในการดู เกมกีฬาของเราอย่างไม่รู้จบ ไม่ว่าจะเป็นในการถ่ายทอดสดและแห้งทาง โทรทัศน์จากเตียงนอนที่บ้าน ผับสักแห่ง หรือในสนามแข่งขันจริงๆ สักที่ ในดินแดนสหราชอาณาจักรที่ดึงดูดสายตานักท่องเที่ยวและ แฟนกีฬาเสมอมา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.