สรุปผลการถวายความรู้พระสงฆ์_54

Page 1


คํานํา

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของทุกคน ครอบคลุมถึง พระภิกษุสงฆ์ ผู้มีบทบาทในการส่งเสริมดํารงรักษาสืบทอดพุทธศาสนา ก็มีส่วนร่วมอย่างสําคัญในการจัดการ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทางกรมป่าไม้ โดยสํานักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13 (สงขลา) ได้จัดทํา โครงการถวายความรู้พระสงฆ์ หลักสูตร “การถวายความรู้พระสงฆ์เกี่ยวกับงานด้านป่าไม้” ขึ้น ทั้งนี้ ในสมัยพุทธกาลพระสงฆ์มีชีวิตอยู่กับป่า มีความสัมพันธ์กับป่า โดยมีการใช้ประโยชน์และพึ่งพิงป่าไม้ในการ ปฏิบัติธรรม การเรียนรู้ การวิปัสสนากรรมฐาน การเดินธุดงค์ การสร้างที่พํานักสงฆ์ ฯลฯ การพึ่งพากันของ พระสงฆ์กับป่าไม้จึงมีมาอย่างต่อเนื่องในสังคมพุทธศาสนา โดยเห็นได้ว่าพื้นที่ที่สร้างวัดหรือสํานักสงฆ์จะมี ต้นไม้หรือป่าไม้เหลืออยู่รอบ ๆ พื้นที่ ดังนั้น โครงการถวายความรู้พระสงฆ์ ในครั้งนี้จึงเกิดขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้วัด หรือสํานักสงฆ์มีส่วนร่วมในงานด้านป่าไม้ และสอดคล้องตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 โดยจะได้ทราบกฎหมายและระเบียบราชการที่เกี่ยวข้องตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2538 รวมถึงสร้างความเข้าใจร่วมกัน เรื่องการใช้พื้นที่ป่าไม้ในรูปแบบที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ พระธรรมวินัย ตลอดจนหาแนวทางการสนับสนุนนโยบายทางด้านป่าไม้และกิจกรรมต่างๆ ที่พระสงฆ์ จะร่วมดําเนินการกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ต่อไป

สํานักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13 (สงขลา) มิถุนายน 2554


สารบัญ เรื่อง 1. ภาคการบรรยาย 1.1 พระสงฆ์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีส่วนร่วม 1.2 ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับป่าไม้ 1.3 การถวายความรู้พระสงฆ์เกี่ยวกับงานด้านป่าไม้

หน้า 1 3 9

2. ภาคการศึกษาดูงาน 2.1 ดูงาน ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมภูเขาหลง ม.6 ต.ทุ่งหวัง อ.เมือง จ.สงขลา 3. ภาคผนวก 3.1 ภาพประกอบกิจกรรม 3.2 โครงการถวายความรู้พระสงฆ์ 3.3 กําหนดการถวายความรู้พระสงฆ์ 3.4 คําสั่งแต่งตั้งคณะทํางานดําเนินการถวายความรู้พระสงฆ์


-1-

พระสงฆ์ กบั การอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติอย่ างมีส่วนร่ วม พระครูสังฆรักษวิชาญ การดําเนินชีวิตของพระสงฆ์ตั้งแต่สมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์ที่มีบทบาทในการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ให้ย้อนเวลาไปอีก 50 ปี ชุมชนแถบจังหวัดพัทลุง ตรัง หรือแถบเทือกเขา บรรทัด ทรัพยากรธรรมชาติจะมีความอุดมสมบูรณ์มาก โดยในสมัยพระอาจารย์ของอาตมา (พระครูอุทิต กิจจาทร) มีไม้ในป่าปริมาณเยอะ และคุณภาพดี หาได้อย่างง่ายดาย ต้นไม้ 1 ต้น สามารถนํามาทําเสา บ้านได้อย่างสบาย ทรัพยากรน้ําก็อุดมสมบูรณ์ สามารถล่องเรือไปได้ตลอดสายน้ํา ทรัพยากรสัตว์ป่า ก็มีมาก แถบบริเวณโรงเรียนประชาบํารุงหรือป่าพง จะมีเสือออกมากัดคน แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของ ทรั พ ยากรป่ า ไม้ ใ นอดี ต แต่ ร ะยะเวลาเพี ย งไม่ กี่ ปี ม านี้ ความเปลี่ ย นแปลงของธรรมชาติ ไ ด้ แ ตกต่ า ง จากสมัยก่อนอย่างลิบลับ ทรัพยากรป่าไม้น้ําในลําคลองตะโหมดก็ตื้นเขินไป ไม้หลุมพอ ไม้ตะเคียน หรือ ไม้ดีก็หายากทุกวัน ทรัพยากรเหล่านี้แตกต่างจากสมัยก่อน หากย้อนไปข้างหน้าอีก 20 ปี จะเกิดอะไรขึ้นกับ ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ ไม่ว่าสัตว์ป่า ป่าไม้ ต้นน้ําลําธาร ดูตัวอย่างจากพวกนกเปล้าที่มี่ในวัด แต่แถบ บริเวณบ้านก็ไม่มีแล้ว เพราะเด็กจะยิงนก จึงมีแต่ในวัดให้ทุกคนมีมุมมองไปอีก 20 ปีข้างหน้า จะมีน้ําเหลือ สักแค่ไหนในคลองวัดตะโหมด เทือกเขาบรรทัดที่มีค่าของจังหวัดพัทลุง ตรัง สตูล สงขลา และพัทลุง จะมีความอุดมสมบูรณ์อีกแค่ไหน จะเหมือนแถบภาคอีสานหรือไม่ ในปัจจุบันเกิดเหตุการณ์ความเสียหายจากภาวะน้ําท่วม ความแห้งแล้ง วาตภัย ฯลฯ ทําให้ทรัพยากรเสียหาย ส่งผลต่อชีวิตและเกิดปัญหาหลายอย่างตามมานั้น หน่วยงานที่เข้ามาเกี่ยวข้องมาก เช่น กรมป่าไม้ ได้เข้ามาตลอดจนราวปี 2508 – 2514 กํานันคนหนึ่งแถบตะโหมดได้สัมปทานไม้ ล้มตัดถนนในป่าเขาหัวช้างและป่าอนุรักษ์ ปี พ.ศ. 2517 หน่วยพิทักษ์ป่าบ้านตะโหมด (น้ําตกลานหม่อมจุ้ย) ได้จัดตั้งขึ้น ชาวตะโหมดก็ดีใจ ป่าไม้จะมีเหลือ แต่การทํางานของเจ้าหน้าที่เหล่านี้ก็ทําให้ชาวบ้านเสียใจ โดยลําดับ เหตุการณ์ได้ว่า ปี พ.ศ. 2520 – 2524 เจ้าหน้าที่บางส่วนได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการทําลายป่า โดยให้ บุคคลที่มีที่ดินในป่าสงวนแห่งชาติเข้ามาลงชื่อ ให้มีสิทธิในการทํากินมีคนมาลงชื่อกันมาก แต่พวกที่ไม่มี ที่ดินทํากินก็มาลงกันด้วย เพื่อจะได้มีสิทธิในการทํามาหากิน จึงเกิดยุคของการบุกรุกป่า น้ําใน ลําคลองกง คลองตะโหมดแห้งลง เป็นผลจากการวางนโยบายของกรมป่าไม้หรือสาเหตุอีกอย่างคือ คนเพิ่มจํานวนขึ้น แต่ไม่ได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากร โดยในปี พ.ศ. 2516 ยังไม่เกิด ปัญหาทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ เพราะคนยังมีไม่มากแต่เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น คนไม่ยอมใช้ภูมิปัญญา ในการท้องถิ่นในการดํารงชีวิต เช่น การจับผึ้ง การดักสัตว์ การตกปลา จึงมีเหตุวาตภัยขึ้น


-2-

ใ น จั ง ห วั ด พั ท ลุ ง แ ถ บ ทิ ศ ต ะ วั น ต ก มี ฐ า น ะ ดี ขึ้ น จ า ก ก า ร รั ก ษ า ห รื อ อ นุ รั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้ทรัพยากรจากป่าเป็นปัจจัยในการดํารงชีวิตให้ดีขึ้น หากไปดูวิถีชีวิตอีกด้านหนึ่ง จะแตกต่างออกไป โดยมีการไปทํางานรับจ้างนอกหมู่บ้านมากที่สุด แถวตะโหมดจะมีการออกไปทํางาน นอกหมู่บ้านน้อย เพราะการดําเนินชีวิตยังต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก ทั้งป่าไม้ ต้นน้ําลําธาร แต่ ความอุ ด มสมบู ร ณ์ ก็ มี จํากั ดในระยะเวลาหนึ่ง ไม่สามารถขยายออกไปอี ก เลย คนในชุมชนจึงต้องมี ความคิดว่าจะจัดการอย่างไรให้ทรัพยากรคงอยู่จะจัดการอย่างไร พระสงฆ์จึงต้องเข้ามาร่วมในการอนุรักษ์ เพื่อเป็นผู้นําในพื้นที่และให้คําชี้แนะ เพราะพระสงฆ์มีบทบาทในการชี้นําด้านการอนุรักษ์และรักษาป่า พระสงฆ์จึงมี 2 บทบาท คือ 1. บทบาทการเป็นผู้นํา 2. ไม่มีบทบาทอะไรเลย มีการวิเคราะห์ว่าพระสงฆ์มีการมองออกเป็น 4 แบบ 1. พระเจ้าพิ ธี เป็ นพระประเภทที่พยายามจะติดนิม นต์ตลอด วันไหนมีอะไรที่ไหน แม้ไม่ติดนิมนต์ก็จะไป พยายามหาเงิน 2. พระชี้กรรม เป็นพระประเภทชี้ให้ญาติโยมเห็นถึงพฤติกรรมของทุกคนว่าเป็นอย่างไร อย่าให้หลงในอบายมุข การพนัน โทษที่เกิดขึ้นจาการการทําผิด ควรเดินทางอย่างไร ชี้ถูกผิด บาปบุญคุณโทษ ถือเป็นพระผู้นํา 3. พระนําทาง เป็นพระประเภทไม่ใช่นักเทศน์ แต่เป็นพระผู้นําทาง ทําให้ดู อยู่ให้เป็น มิใช่นักเทศน์หรือนักพูด แต่ชอบทําให้เห็นผลงาน ให้ทุกคนประพฤติและปฏิบัติ เช่น พระอาจารย์ของอาตมา จะกวาดกุฏิทั้งในและนอกวัด 4. พระขวางทางนิพพาน เป็นพระประเภท ทําพระปลัดขิก จะขวางทางนิพพาน มีมากมายหลายสํานัก วันๆ ไม่ทําอะไร แต่จะทําแต่ปลัดขิก ทุกท่านจงพิจารณากันเองว่าเป็นพระประเภทไหน เพราะพระสงฆ์มีบทบาทการเป็นผู้นํา อาตมาจะเล่าถึงกิจกรรมของวัดที่อาตมาดําเนินการ คือ ให้ชาวบ้านนําเมล็ดพันธุ์ไม้ ผลไม้ เช่น ขนุน จําปาดะ ทุเรียน ฯลฯ ให้นํามาเพาะไว้ในวัด เมื่อญาติโยมมาทําบุญ ก็แนะนําให้เอาพันธุ์ไม้เหล่านั้น ไปปลูกที่บ้าน ตามหัวไร่ปลายนา เวลาออกดอก ออกผลในวันเข้าพรรษาก็จะมีการนําไปประดับในการ แห่เทียนหรือนํามาทําบุญในวันสําคัญทางศาสนาต่อไป


-3-

ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับป่าไม้ พระครูสังฆรักษ์วิชาญ จากวัตถุประสงค์ของกรมป่าไม้ในการจัดโครงการถวายความพระสงฆ์ในครั้งนี้ ศูนย์ปฏิบัติ ธรรมภูเขาหลง จึงเป็นสถานที่ในการจัดถวายความรู้และเป็นวัดหนึ่งที่เป็นที่พํานักสงฆ์ใกล้ป่า ตั้งแต่อดีต สมัยพุทธกาล พระสงฆ์กับป่าไม้มีความสัมพันธ์กันมานานแล้ว เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ที่จะต้องปกป้อง รักษาป่า ก่อนที่จะมีกรมป่าไม้หรือกองอนุรักษ์ป่า หน้าที่จริงของพระสงฆ์น่าจะเป็นอย่างนี้ พระคุณเจ้า ทุกรูป พระสังฆาธิการ นับแต่วันแรกเข้ามาเป็นพระสงฆ์ พระบรรพชาท่านได้บอกว่าหน้าที่ของพระสงฆ์ 4 อย่าง ตามพุทโธวาสของพระพุทธเจ้า นั่นคือ 1. เธอต้องบิณฑบาต 2. เธอทั้งหลายต้องอยู่โคนต้นไม้ เมื่อบวชแล้ว (สมัยครั้งพุทธกาล) 3. เธอต้องนุ่งห่มผ้าบังสกุล 4. เธอต้องฉันยาดองด้วยน้ําบวนหน้า ดังนั้น กรณียกิจที่สงฆ์ต้องทํา คือ ต้องรับฟังโอวาท ต้องอยู่ป่า พระสงฆ์ต้องเข้าใจหน้าที่ ตามพุทโธวาทของพระพุทธเจ้า แต่ปัจจุบันพระสงฆ์มิได้อยู่โคนต้นไม้เหมือนสมัยพุทธกาลแล้ว โดยพระพุทธองค์ได้ตรัส ไว้ว่า “อติดรหลาโพธมี อดิเรกลาภวิหารโร” ถ้ามีวิหารอยู่ก็มิต้องอยู่โคนต้นไม้ก็ได้ “ปราสาโทมี” ถ้าปราสาทมีก็ไม่ต้องอยู่โคนไม้ก็ได้ถ้าไม่มีเหล่านี้ เธอต้องอยู่โคนไม้ ฉะนั้น ชีวิตความผูกพันของพระสงฆ์กับ ต้นไม้จึงมีมานานในสมัยพุทธกาล การดูแลรักษาป่าไม้จึงเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์จะต้องปฏิบัติด้วย และ การปฏิบัติของพระสงฆ์ในการช่วยงานป่าไม้ในปัจจุบันจะต้องทําอย่างไรจะจัดการอย่างไร เราก็ต้องมาฟังกัน นั่นคือ แถวเทือกเขาบรรทัด ชีวิตของอาตมาผูกพันกับน้ําตั้งแต่เล็ก จะอยู่ป่าตลอด จนเมื่อปี พ.ศ. 2543 สภาลานวั ด ตะโหมด ได้ จั ด ตั้ ง หรื อ นํ า ชาวบ้ า นไปศึ ก ษาดู ง านที่ พ รุ โ ต๊ ะ แดง จั ง หวั ด นราธิ ว าส และ ศูนย์พิกุลทอง ชาวบ้านตะโหมดที่ไปดูงานได้เห็นค่างหัวขาว คิ้วขาว ก็ตื่นเต้นดีใจมาก ทําไมค่างหัวขาว ยังมีเยอะ เพราะผ่านมาเป็นเวลา 20 ปีแล้วไม่เคยเห็นเลย ดังนั้น หลังจากการดูงานครั้งนั้น ชาวบ้าน ตะโหมดก็คิดว่า เขาหัวช้างที่ตนได้อาศัยทรัพยากรธรรมชาติตั้งแต่อดีต แต่ปัจจุบันกําลังจะเป็นป่าเสื่อม โทรมทุกขณะ ทําอย่างไรให้ป่าผืนนี้มีสัตว์ป่าชุกชุม มีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์ได้เข้ามาอยู่อาศัย เป็นแหล่ง เรียนรู้ของชุมชน เป็นสถานที่ศึกษาดูงาน หรือเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และการดูแลรักษาสัตว์ป่าไว้ให้คงอยู่ ถือเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ โดยเห็นได้จากภาคอื่นๆ ของประเทศไทย เช่น จังหวัดตราด ระยอง จะหาดู ได้ยากแล้ว บริเวณวัดก็เช่นกันควรมีพื้นที่สร้างป่าและจัดทําพื้นที่ป่า มีสิ่งแวดล้อมและให้ประโยชน์กับชีวิต คน สัตว์ ที่ได้พบเห็นและเกิดความพึงพอใจเกิดความสนใจใฝ่รู้ โดยเฉพาะหาเป็นวัดป่าที่อุดมสมบูรณ์ คนจะรู้สึกพอใจมากกว่าการสร้างตึกใหญ่ ตัวอย่างที่วัดตะโหมดเอง มีนกเปล้าราว 100 ตัว เต็มไปหมด เพราะนกไม่รู้จะไปอาศัยที่ไหน โดยตอนเช้าจะมีนกเขาแสดงว่านี่เป็นวัดที่มีสัตว์มาอาศัย ดีกว่าการนํานกไป ขังกรงเอาข้าวเอาน้ําไปให้มันกิน เราให้ชีวิตมันโดยให้มันเป็นอิสระไม่ต้องขังกรง พระสงฆ์จะสามารถช่วยเหลืองานด้านป่าไม้ สิ่งแวดล้อม สายน้ํา และเกิดวิถีชีวิตของ พระสงฆ์ได้ดีที่สุด โดยพระเถระในสมัยพุทธกาลที่มีชีวิตอยู่กับป่า ตัวอย่างของพระมหากัสสัปปะ มีฐานะ ดีก่อนบวช นามเดิมของท่าน คือ พระปิทะละมานพ เป็นชาวเมืองราชคฤห์ แต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่ง


-4-

ชื่อนางภัททิกาปลานี แต่งงานแล้วไม่มีบุตร (เป็นหมัน) ทั้งสองคนนั่งเสวยทรัพย์ โดยเป็นเงินค่าเช่าบ้าน ค่ า เช่ า ที่ น า ฯลฯ วั น ๆก็ รั บ แต่ เ งิ น จึ ง ไม่ ต้ อ งทํ า อะไรเลย จึ ง เกิ ด ความคิ ด ว่ า วั น ๆ ตนรั บ แต่ บ าป หากลูกน้องทําไม่ดีบาปก็ตกถึงตน หากลูกน้องทําดีก็ต้องหาอะไรตอบแทน เจ้านายจึงต้องรับภาระและ รับผิดชอบตลอด จึงคิดต่อไปว่าตนจะอยู่บ้านทําไม ไปหาที่สงบเพื่ออุทิศให้พระอรหันต์ ทิ้งสมบัติหมด โดยไปบวชทั้งสองคน โดยบิณฑบาตไปเรื่อยๆ ทั้งสองสามีภรรยาคนก็มองกันใหญ่ว่า นักบวชหญิงและชาย ทําไมมาเดินด้วยกันน่ าจะผิดพรหมจรรย์ ดั งนั้น ทําให้ต้องแยกทางกันโดยพระปิทะลิมานพ ได้ พบกับ พระพุทธเจ้าที่ชายแดนเมืองนาลันธา กรุงราชคฤห์ ใต้ร่มไม้อุตนิโครธ พระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรมให้ฟัง พระปิทะลิมานพจึงขอบวช โดยเป็นลักษณะเอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยพระมหากัสสัปปะมีรูปร่างเทียบ พระพุทธเจ้ารูปเดียว คือ รูปร่างใหญ่ โดยได้ใช้จีวรของพระพุทธเจ้า พระมหากัสสัปปะ ชอบป่าเป็นพระสงฆ์เบื่อเมือง หาความสงบแถบโคนไม้เป็นประจํา อยู่ ป่ า เป็ น วั ด เป็ น พระสงฆ์ ต้ น ตํ า หรั บ ธุ ด งค์ พระพุ ท ธเจ้ า มิ ไ ด้ ตั้ ง พระธุ ด งค์ พระมหากั ส สั ป ปะเป็ น พระธุ ด งค์ ที่ ใ ห้ พ ระสงฆ์ อ ยู่ โ คนไม้ เ ป็ น วั ด ท่ า นชอบชี วิ ต ความเป็ น ป่ า มาก ท่ า นมี อ ายุ พ รรษาแก่ ที่ สุ ด สมัยพระพุทธเจ้าดับขันธ์ปรินิพพาน มีพระมหากัสสัปปะเป็นประธาน พระพุทธเจ้าให้พระมหากัสสัปปะ ไปอยู่วัดเพื่อเป็นแบบแผนแก่พระสงฆ์อื่นๆ ต่อไป แต่พระมหากัสสัปปะชอบเป็นแบบธุดงค์ ใครถวายอะไร ไม่รับ แต่รับจีวรจากเศษผ้ามาเย็บ มาย้อมเอง สมัยพระพุทธเจ้านิพพาน พระมหากัสสัปปะยังมิทราบ เพราะพาลูกศิษย์เดินป่าไปยังเมืองกุสินารา เป็น 100 รูป เพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้าท่านพักใต้ร่มไม้ มีมานพ นายหนึ่งเดินทางและถือดอกมณโฑ พระมหากัสสัปปะก็สังหรณ์ว่า หากมีดอกมณโฑจะมีเหตุการณ์แปลกๆ เช่น พระพุท ธเจ้าประสูตร ตรั สรู้ และปรินิพพาน ดอกไม้ อย่างนี้บาน แสดงว่ามีเรื่องเกี่ยวข้องกับ พระพุทธเจ้า จึงตรัสถามมานพว่า “เกิดอะไรขึ้น” มานพนายนั้นตอบว่า “ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว” จึงมีการปลงสังขารกันในพระสงฆ์ 100 รูป แต่พระใหม่ร้องให้จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า มีพระสงฆ์แก่รูปหนึ่ง เป็นลูกศิษย์ของพระมหากัสสัปปะได้ห้ามพระองค์อื่นว่า “อย่าร้องไปเลย ดีแล้วที่พระพุทธเจ้านิพพาน เวลาเราทําอะไรก็ไม่มีใครห้าม เราจะได้สบาย” พระมหากัสสัปปะได้ฟังก็นิ่งไว้ก่อน จึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ต่อมาพระมหากัสสัปปะเก็บคําพูดจ้วงจาบดูหมิ่น และได้พูดว่า “ในวันข้างหน้า ศาสนาจะเสื่อมหรือรุ่งเรือง เพราะพระสงฆ์นี้แหละ นี่แค่พระพุทธเจ้า ดับขันธ์ปรินิพพาน 7 วัน กลับเกิดปัญหา” ดังนั้น จึงมีการทํา ปฐมสังคายนา เพื่อรวบรวมพระธรรมมาประกาศใช้ โดยพระมหากัสสัปปะเป็นประธานใหญ่ พระมหา สังกัปปะถือเป็นพระที่อยู่ป่าได้นานและอายุยืน พัก ณ เมืองราชคฤห์ที่พระเจ้าอาชาตศัตรูเป็นเจ้าเมือง หลังจากวันแรม 15 ค่ํา เดือน 6 ได้เดินทางจําพรรษา และได้เลือกพระภิกษุสงฆ์ จํานวน 500 รูป เอาพระอรหันต์มาสัมมนาเพื่อสะสางพระธรรม มีพระไปบรรลุพระอรหันต์ 1 รูป คือ พระอานนท์ ท่านถือเป็นพระที่มีความจําดีที่สุด พระมหาสังกัปปะจึงเป็นพระธุดงค์ที่มีบทบาทสมัยพุทธกาล ดังนั้น พระสงฆ์ทุกรูปต้องมีความรู้เรื่องการอยู่ป่าเป็นอย่างดีนับแต่วันแรกที่บวช นั่นคือ “เธอบวชแล้ว เธอต้องไป อยู่โคนไม้ ไปหาที่สงบที่ปฏิบัติธรรม ดับกิเลส สอดคล้องกับวิถีชีวิตของพระพุทธเจ้าที่ให้ดําเนินชีวิต กับป่า” พระสงฆ์ทั้งหลายต้องช่วยกันส่งเสริมและรักษาวัด ให้วัดส่งเสริมให้คนทุกคนปลูกป่าและ ให้ ป ลู ก ตามหั ว ไร่ ป ลายนา ส่ ง เสริ ม เศรษฐกิ จ นํ า รายได้ ถ้ า ต้ น ไม้ ห รื อ พั น ธุ์ ไ ม้ ข ายได้ เ ป็ น อานิ ส งส์ อย่างหนึ่งด้วย ป่าไม้ให้ประโยชน์ให้ปัจจัย 4 อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรคและที่อยู่อาศัย พระสงฆ์ ทุกรูป จึงต้องช่วยกันส่งเสริมให้ทุกคนร่วมปลูกและรักษาต้นไม้ด้วย


-5-

กิจกรรมถวายความรู้

พิธีเปิ ด

กิจกรรมถวายความรู้

บรรยาย

กิจกรรมถวายความรู้

กิจกรรมถวายความรู้

ระดมความคิด

ศึกษาดูงาน

1


-6-

โครงการพัฒนาป่ าไม้ ร่วมกับวัดตะโหมด

เรือนเพาะชํากล้ าไม้ ในวัด

วัดตะโหมด หมู่ที่ ๓ ตําบลตะโหมด อําเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

งานพิธีฌาปนกิจศพ

พระบรรยายให้ นักเรียน นักศึกษา

2


-7-

ธนาคารนํา้

ป่ าสวนผึง้

สามเณรศึกษาดูงานที่ศูนย์ฯ ๑๗ และนํา้ ตกท่ าช้ าง

ร่ วมปลูกป่ ากับชุ มชน

3


-8-

ร่ วมปลูกป่ ากับชุ มชน

ขอบคณ ขอบคุ ณ

4


-9เอกสารประกอบการถวายความรู้พระสงฆ์เกี่ยวกับงานด้านป่าไม้

27 พฤษภาคม 2554

''พระวินยั กับการอนุรกั ษ์สิ่งแวดล้อม'' (ตัดตอนจากบทความของ ดร.ประพันธ์ ศุภษร (2542)) คําชี้แจ้ง บทความนี้ได้รับการพิมพ์ในวารสาร พสล.ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ขณะที่ผู้เขียนกําลังศึกษาปริญญา โทที่คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาในการเขียนและบรรณาธิการของ วารสาร คือ รศ.ดร.ภัทรพร สิริกาญจน เนื่องจากมีนิสิตสนใจงานเขียนด้านสิ่งแวดล้อม และวารสารฉบับ ดังกล่าวก็หายากแล้ว ในที่นี้ผู้เขียนจึงขออนุญาตท่านอาจารย์ผู้เป็นบรรณาธิการนํามาลงไว้ในเว็บไซด์ของ บัณฑิตวิทยาลัยเพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาเบื้องต้นของนิสิตและผู้สนใจทั่วไป ความสําคัญของพระวินัยต่อสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาประวัติศาสตร์พุทธศาสนาได้พบว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกมีความสัมพันธ์กับ ธรรมชาติมาโดยตลอดเห็นได้จากพระองค์ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน สถานที่แสดงธรรมล้วนอยู่ในป่า สถานที่ พํานักของพระพุทธเจ้าและพระสาวกคือ ป่า ภูเขา โคนไม้ ถ้ํา ซอกเขา ป่าช้า ลอมฟาง และยังมีข้อปฏิบัติ สําหรับอยู่ป่าให้เหมาะสมอีกหลายข้อ เช่น ธุดงค์ที่ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถืออยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร เป็นต้น ป่าสวนที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่กับพระสาวก ก็มีคําว่าป่า เช่น ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ป่าอันธวัน เมืองสาวัตถี ป่าสิงคาลสาลวัน หมู่บ้านนาทิกะ ป่ามหาวัน กรุงกบิลพัสดุ์ เชตวัน เมืองสาวัตถี ป่ารักขิตวัน เมืองโกสัมพี นอกจากนี้แล้วยังประทับอยู่ถ้ํา เช่น ถ้ําอินทสาละ ถ้ําสัตตบรรณคูหา คิชฌกูฏ ถ้ําสุกรขาตา เป็นต้น เมื่อการดําเนินชีวิตมีการเกี่ยวข้องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างแยกจากกันไม่ได้ พระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้กฎของธรรมชาติอันสูงสุด พระองค์ทรงมองเห็นประโยชน์และความสําคัญของธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม จึงได้ทรงวางหลักพระธรรมวินัยให้พระสาวกศึกษาและปฏิบัติตามโดยใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่ายจาก ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาเป็นเครื่องมือในการเผยแผ่ศาสนา จนทําให้พุทธศาสนาเป็นที่ยอมรับของสังคม การที่พระสงฆ์ปฏิบัติตามพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้วนั้น นอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ ของพระสาวกแล้ว ยังช่วยรักษาสภาพแวดล้อมอีกด้วย ดังที่ ภัทรพร สิริกาญจน ได้กล่าวไว้ในงานวิจัย เรื่อง “หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพุทธบัญญัติ” ตอนหนึ่งว่าผู้มีศีลและวินัยอย่างเคร่งครัดย่อมไม่ทําลายชีวิต ไม่ทําลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพราะศีลและวินัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามหลักพุทธศาสนา ทําให้ ชาวพุทธตระหนักถึงคุณค่าของชีวิต ไม่ทําลายมนุษย์ สัตว์ และพืช อันเป็นสิ่งมีชีวิต นอกจากนั้นผู้มีศีลและ วินัยยังทะนุบํารุงสิ่งมีชีวิตให้เจริญงอกงามและเป็นประโยชน์เกื้อกูลโลก จึงเป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการ อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” การที่พระสงฆ์จะใช้ชีวิตอยู่ในป่าได้นั้น พระสงฆ์จะต้องปฏิบัติตามพระวินัย โดยเริ่มตั้งแต่อุปสมบท ใหม่ ๆ ภิกษุผู้บวชใหม่จะต้องอยู่กับพระอุปัชฌาย์เป็นเวลา ๕ ปี จากนั้นจึงจะสามารถไปอยู่ป่าตามลําพังได้ ในขณะที่อยู่กับพระอุปัชฌาย์ ภิกษุต้องศึกษาพระวินัยให้เข้าใจ และสามารถนําไปสอนคนอื่นได้ อารามหรือ วัดที่ภิกษุอยู่ประจํา หรืออยู่จําพรรษาจะต้องทําให้ถูกหลักพระวินัย เช่น อยู่ห่างจากเขตชุมชน กุฎิสําหรับ พักอาศัยก็จะต้องให้คณะสงฆ์กําหนดให้เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างใหญ่โตเกินความจําเป็น เพราะการสร้างกุฏิใหญ่ เกินไปอาจทําให้เกิดอันตราย ดังในสิกขาบทที่ ๙ แห่งภูตคามวรรค พระฉันนะ (สหชาติผู้เกิดพร้อมกับ พระพุทธเจ้า ภายหลังออกบวชในสํานักของพระพุทธเจ้า) ให้สร้างกุฎิใหญ่เกินไป กุฏิได้พังลงมาจนเกิดความ


-10เอกสารประกอบการถวายความรู้พระสงฆ์เกี่ยวกับงานด้านป่าไม้

27 พฤษภาคม 2554

เสียหายเกี่ยวกับปัจจัย ๔ พระสงฆ์ก็ต้องปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด เช่น การใช้จีวร (ผ้านุ่งห่ม) ให้มี ขนาดพอดี และการใช้น้ําย่อมต้องใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทําการย้อม มีแก่นไม้ขนุน เป็นต้น บาตรสําหรับใช้ เลี้ยงชีพต้องทําให้ถูกต้องตามพระวินัยเหมือนกัน คือ ได้ขนาดพอบรรจุข้าวฉันอิ่ม และยังเน้นเรื่องการเก็บ รักษาไม่ให้แตกง่าย พร้อมกับให้รักษาความสะอาด ส่วนเรื่องเกี่ยวกับเสนาสนะและยารักษาโรค ก็มีพระวินัย กําหนดการสร้าง การใช้ไว้ครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อให้พระสงฆ์ได้เป็นผู้เลี้ยงง่าย ไม่ทําความเดือดร้อนแก่ชาวบ้าน ไม่ทําลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั่นเอง ความสําคัญของพระวินัยต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว สามารถ แบ่งเป็นประเด็นได้ดังนี้ ๑. พระวินัยในฐานะเป็นกฏระเบียบสําหรับฝึกกายและวาจา เมื่อพระสงฆ์ปฏิบัติตามพระวินัยโดยเคร่งครัดย่อมเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ดําเนินชีวิตไม่เป็นไปเพื่อ เบียดเบียน ไม่ทําลายชีวิตใคร ๆ หากมุ่งดําเนินชีวิตเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์เป็นที่ตั้ง พระวินัยย่อมฝึกคนที่ มีจิตแข็งกระด้างให้มีจิตใจประกอบด้วยเมตตา เช่น พระอุทายีในสมัยที่ยังไม่ได้บวชเคยเป็นนักยิงธนูและ ไม่ชอบอีกา ครั้นมาบวชในพระพุทธศาสนาได้ฆ่าอีกาตายเป็นจํานวนมาก จึงเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าบัญญัติ สิกขาบทห้ามไม่ให้ภิกษุจงใจปลงชีวิตสัตว์ จะเห็นได้ว่า พระวินัยได้ช่วยกําราบบุคคลที่มีจิตใจโหดร้ายให้เป็น ผู้มีจิตใจประกอบด้วยเมตตาได้ และเป็นการช่วยอนุรักษ์สัตว์ไม่ให้ถูกเบียดเบียน หรือถูกฆ่า ๒. พระวินัยในฐานะเป็นการจัดสรรโอกาส พระพุทธศาสนาเปิดโอกาสให้ทุกคนได้พัฒนาศักยภาพของตัวเอง ไม่แบ่งชั้นวรรณะ เมื่อฝึกตนเองไป ตามขั้นตอนตามพระวินัยแล้วย่อมเป็นผู้ที่สมควรแก่การกราบไหว้บูชา น่าเลื่อมใส ดังที่พระสารีบุตรเถระได้ เห็นการสํารวมอินทรีย์ เห็นกิริยามารยาทที่น่าเลื่อมใสของพระอัสสชิ ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสจึงเข้าไปสนทนา ธรรมและได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิ จนท่านได้บรรลุธรรมเบื้องต้น (เป็นพระโสดาบัน) จากนั้นท่านได้ตามไป เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและขออุปสมบทกับพระพุทธเจ้า ต่อมาท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีปัญญามากเกือบ เท่าพระพุทธเจ้าและเป็นกําลังสําคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงนับได้ว่าพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติตามพระวินัย ย่อมเป็นผู้น่าเลื่อมใสนํามาซึ่งศรัทธา เป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อคนทั่วไป เมื่อได้กัลยาณมิตรที่ดีย่อมเป็นปัจจัย สําคัญที่จะนําไปสู่การพัฒนาตนเองให้เป็นที่ยอมรับของสังคม พระสารีบุตรท่านก็ได้รับโอกาสนี้ ๓. พระวินัยในฐานะเป็นระบบที่สอดคล้องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แต่ละข้อล้วนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ดังที่พระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามไม่ให้ภิกษุขุดดิน ตัดต้นไม้ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะลงบนของ เขียวและลงในแม่น้ําลําธาร สิกขาบทเหล่านี้ได้สร้างจิตสํานึกให้แก่ภิกษุสามเณรและเป็นแบบอย่างให้กับ ชาวบ้านเป็นอย่างดี การที่ภิกษุไม่ตัดต้นไม้ย่อมช่วยรักษาความสมดุลทางธรรมชาติได้มากมาย เพราะสิ่งมีชีวิตที่อาศัย ต้นไม้ตั้งแต่รากถึงยอดมีอยู่อย่างชุกชุม เช่น สัตว์จําพวกแมลง หนอน ผีเสื้อ เป็นต้น ต่างก็อาศัยต้นไม้เป็น เสมือนบ้านของพวกมัน เป็นที่หลบภัย เป็นที่พักผ่อน ยิ่งต้นไม้ใหญ่เท่าไรก็ยิ่งมีสัตว์อาศัยมากเท่านั้น ต้นไม้เป็นห่วงโซ่อาหารที่หมุนเวียนหล่อเลี้ยงชีวิตทั้งของคนและสัตว์ พระธุดงค์ก็ต้องอาศัยผักและ ผลไม้ตามป่าเป็นอาหารยังชีพ ภาพที่คนและสัตว์อาศัยป่าไม้ และต้นไม้มีให้เห็นในชาดกมากมาย บางครั้งก็


-11เอกสารประกอบการถวายความรู้พระสงฆ์เกี่ยวกับงานด้านป่าไม้

27 พฤษภาคม 2554

เก็บมาทําอาหาร เช่น ฤาษีเก็บใบหมากเม่ามานึ่งเป็นอาหาร ดังนั้นพระวินัยที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมจึงนับว่ามีประโยชน์มากทั้งแก่คนและสัตว์ ๔. พระวินัยในฐานะเป็นกฎระเบียบเพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติเข้ากับกฎของธรรมชาติ พระพุทธเจ้าทรงรู้ความจริงของกฎธรรมชาติ เมื่อพระองค์ทรงบัญญัติพระวินัยแต่ละข้อจะทรง พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระวินัยกับธรรม (หมายความถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย) ให้มีความ สอดคล้องเกื้อกูลต่อกันตลอดสาย ดังที่พระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทที่ ๗ แห่งโภชนวรรค ห้ามไม่ให้ภิกษุ ฉันอาหารในเวลาวิกาล (หมายเอาเวลาตั้งแต่เที่ยงไปจนถึงรุ่งอรุณวันใหม่) สิกขาบทนี้ทรงมุ่งให้ภิกษุเป็นผู้ เลี้ยงง่าย ไม่ทําความลําบากให้แก่ชาวบ้าน นอกจากนี้แล้วก็เพื่อป้องกันไม่ให้ภิกษุฉันอาหารที่ค้างคืนเพราะ อาหารนั้นอาจเสีย เมื่อภิกษุฉันเข้าไปก็อาจเป็นอันตรายแก่ชีวิต อีกอย่างถ้าภิกษุฉันมากเกินไปก็เป็นอุปสรรค ในการปฏิบัติธรรม สิกขาบทว่าด้วยการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๑. คุณค่าและประโยชน์ของพระวินัย พระวินัยเป็นพุทธบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แก่พระสงฆ์ เพื่อให้พระสงฆ์ได้ยึดเป็นหลัก ปฏิบัติสําหรับฝึกกายและวาจาของตน อันจะเป็นพื้นฐานในการบรรลุคุณธรรมชั้นสูงสุดต่อไป และเพื่อ ประโยชน์ เ กื้ อ กู ล แก่ สั ง คมมนุ ษ ย์ ธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มดั ง ที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ตรั ส ไว้ ว่ า ภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย โดยอาศัยอํานาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ ๑) เพื่อความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๒) เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ๓) เพื่อความข่มบุคคลผู้แก้ยาก ๔) เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม ๕) เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายที่จะบังเกิดในปัจจุบัน ๖) เพื่อปิดกําจัดอาสวะทั้งหลายที่จะบังเกิดในอนาคต ๗) เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๘) เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๙) เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม ๑๐) เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยให้เกื้อกูลต่อธรรมชาติ เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่เบียดเบียนสรรพสัตว์ ดังปรากฏในพระไตรปิฎกตอนหนึ่ง ความว่า สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จลงจาก ภูเขาคิชฌกูฏพร้อมกับหมู่ภิกษุสงฆ์ ทอดพระเนตรเห็นกุฎีอันงดงามที่พระธนิยะกุมภการบุตรก่อสร้างขึ้นเพื่อ อยู่จําพรรษาสําหรับตน พระองค์ตรัสถามว่า “นั่นอะไร น่าดูน่าชม สีเหมือนแมลงค่อมทอง” ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าทรงตําหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทําของโมฆบุรุษนั้น ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทํา ไฉนโมฆบุรุษจึงขยําโคลนก่อกุฎี ดินล้วนเล่า โมฆบุรุษนั้นชื่อว่าไม่มีความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ ความไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย พวกเธอจง ไปทําลายกุฎีนั้นเสีย อย่าให้เพื่อนพรหมจารีในภายหลังเบียดเบียนหมู่สัตว์เลย ภิกษุไม่พึงทํากุฎีดินล้วน


-12เอกสารประกอบการถวายความรู้พระสงฆ์เกี่ยวกับงานด้านป่าไม้

27 พฤษภาคม 2554

ภิกษุใดทําต้องอาบัติทุกกฏ” จะเห็นได้ว่าพระวินัยข้อนี้มีความมุ่งหมายที่จะอนุรักษ์ดิน และป้องกันไม่ให้ภิกษุ ฆ่าสัตว์ นอกจากนี้แล้วยังช่วยป้องกันมลพิษทางอากาศด้วย เพราะการทํากุฎีจะต้องทําการเผาดินให้แข็งตัว ดินนั้นจึงจะคงทน ไม่แตกง่าย นับว่าพระพุทธเจ้าทรงมองเห็นการณ์ไกลจริง ๆ ๒. การประยุกต์พระวินัยเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้นั้น นอกจากจะช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถปรับปรุงให้เหมาะสมกับกาลสมัย ภูมิประเทศ และสังคมแต่ละท้องถิ่นได้ โดยอาศัยหลักมหาปเทส ๔ (ข้ออ้างใหญ่ หรือหลักสําหรับปรับปรุงประยุกต์ใช้พระวินัย) ๔ ประการ คือ ๑) สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควรแต่เข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้น ไม่ควร ๒) สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควรแต่เข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร ๓) สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตว่าควรแต่เข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร ๔) สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควรแต่เข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร หลักมหาปเทสนี้พระองค์ทรงอนุญาตไว้ที่เมืองสาวัตถี เพราะว่าภิกษุชาวเมืองสาวัตถีไม่กล้าฉันผลไม้ โดยสงสัยว่าพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตหรือไม่ เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบจึงให้หลักมหาปเทสนี้ไว้ พระวินัยกับการอนุรักษ์สัตว์ป่า ภิกษุชาวเมืองกบิลพัสดุ์ขอกล่องเข็มที่ทําด้วยกระดูก ทําด้วยงา ทําด้วยเขา ประชาชนติเตียน ประณามว่าไม่รู้จักพอ ทําให้นายช่างผู้ทํากล่องเข็มลําบาก การค้าขายล้มเหลว เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่องนั้นแล้ว จึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์บัญญัติพระวินัยห้ามไม่ให้ภิกษุทําอย่างนั้นอีก ถ้าฝ่าฝืนต้องอาบัติปาจิตตีย์ นอกจากนี้แล้วพระวินัยยังช่วยอนุรักษ์ดิน ดังที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามไม่ให้ภิกษุขุดดิน เพราะการขุดดินเป็นการเบียดเบียนสัตว์ ทั้งประชาชนก็ติเตียน พระวินัยกับการอนุรักษ์แหล่งน้ํา พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยไว้หลายมาตรา เช่น ห้ามไม่ให้ ภิกษุผู้ไม่เป็นไข้ ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ บ้วนน้ําลายลงบนของเขียวและในน้ํา ทรงบัญญัติไว้ให้ระลึกอยู่เสมอ ถ้าฝ่าฝืนต้องอาบัติทุกกฏ พระวินัยกับการอนุรักษ์อากาศ ภิกษุชาวเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ พากันก่อไฟที่ขอนใหญ่ ขอนหนึ่ง ซึ่งมีโพรงแล้วผิง ภายในโพรงนั้นมีงูเห่าตัวหนึ่งอาศัยอยู่ พอมันถูกความร้อนของไฟก็ได้เลื้อยออกมา ไล่พวกภิกษุ ภิกษุทั้งหลายต่างก็วิ่งหนีไปในที่ต่าง ๆ เป็นเหตุให้ภิกษุผู้มักน้อยติเตียนประณาม พระพุทธเจ้า รับสั่งให้ประชุมสงฆ์สอบถามหาสาเหตุแล้ว ทรงบัญญัติพระวินัยห้ามไม่ให้ภิกษุทําเช่นนั้นอีก ถ้ารูปใดฝ่าฝืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พระวินัยกับการอนุรักษ์ป่า พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกดําเนินชีวิตอยู่กับป่า มีความสัมพันธ์กับ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด ตั้งแต่พระองค์ได้ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน แสดงธรรม ที่ประทับล้วน อยู่ท่ามกลางป่า ธรรมวินัยที่ทรงสั่งสอนและบัญญัติไว้ก็เป็นไปเพื่อรักษาและเกื้อกูลต่อป่า ถ้าภิกษุรูปใดกระทํา สิ่งที่เป็นการทําลายป่า พระองค์ก็ทรงบัญญัติพระวินัยห้าม ดังที่พระองค์ทรงบัญญัติแก่ภิกษุชาวเมืองอาฬวี ซึ่งพากันทําการก่อสร้าง และได้ตัดต้นไม้ จนประชาชนติเตียนการกระทําเช่นนั้น เพราะเป็นการเบียดเบียน เทวดาและสิ่งมีชีวิต เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว จึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์สอบถามหาสาเหตุ แล้วทรงบัญญัติพระวินัยห้ามไม่ให้กระทําอย่างนั้นอีก ถ้าฝ่าฝืนต้องอาบัติปาจิตตีย์


-13เอกสารประกอบการถวายความรู้พระสงฆ์เกี่ยวกับงานด้านป่าไม้

27 พฤษภาคม 2554

ลักษณะการบัญญัตสิ กิ ขาบท การบัญญัติสิกขาบทแต่ละข้อนั้น ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นบทตายตัว บางครั้งพระองค์ทรงคล้อยตามฝ่าย บ้านเมืองและเมื่อเห็นว่า สิ่งนั้นไม่ขัดต่อธรรม บางครั้งก็ยืดหยุ่นไม่ปรับโทษเพราะทรงเห็นว่าไม่เหมาะสมกับ ท้องถิ่น จึงอนุโลมให้พระสาวกทําได้ เรียกว่า เป็นอนุญาตพิเศษ เช่น ในคราวเกิดทุพภิกขภัย เป็นต้น บางครั้ง ทรงเห็นว่ายังมีข้อบกพร่อง พระองค์ก็ทรงบัญญัติเพิ่มเติมอีก เรียกว่า อนุบัญญัติ ในการบัญญัติสิกขาบท แต่ละครั้ง พระองค์จะรับสั่งให้มีการประชุมสงฆ์ สอบถามหาสาเหตุเมื่อภิกษุรับว่าได้ทําจริง ทั้งพระองค์ ก็พิจารณาเห็นว่าไม่ขัดต่อสังคมและธรรมะ พระพุทธองค์จึงได้บัญญัติไว้ พระพุทธเจ้าประกอบด้วย พระปัญญาและเจตนาดีเป็นที่ตั้ง ทรงมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างพระวินัยกับธรรมว่าต้องสอดคล้องเกี่ยว เนื่องกันตลอดสาย ดังอํานาจประโยชน์ ๑๐ ประการที่กล่าวแล้ว ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์คือเพื่ออนุเคราะห์ ชาวโลก และเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและหมู่มนุษย์ [10] สิกขาบทที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พอสรุปได้ดังนี้ ๑) สิกขาบทที่เกี่ยวกับการขุดดิน ๒) สิกขาบทที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ํา ๓) สิกขาบทที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ต้นไม้ ๔) สิกขาบทที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดหรือรักษาสิ่งแวดล้อม ๑. สิกขาบทที่เกี่ยวกับการขุดดิน ในสมัยพุทธกาล การขุดดินถือว่าเป็นการทําลายชีวิตสัตว์ เพราะประชาชนในสมัยนั้นมีความเชื่อว่า ดินมีชีวิต มีอินทรีย์ จึงไม่ควรทําลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกนักบวชจะต้องงดเว้นไม่ทําลายเป็นอันขาด เมื่อพระสงฆ์พากันทําการก่อสร้าง ได้ขุดดินเพื่อนําไปก่อสร้างโบกฉาบกุฏิและทําศาลาโรงฉัน เป็นต้น ประชาชนจึงพากันติเตียน ประณามการกระทํานั้น พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องราว จึงประชุมสงฆ์บัญญัติ สิกขาบทเพื่อห้ามไม่ให้ภิกษุทําเช่นนั้นอีก เพราะนอกจากประชาชนจะติเตียนแล้วยังเป็นการทําลายชีวิตสัตว์ ที่อาศัยอยู่ในดินอีกด้วย พระองค์ทรงมองเห็นประโยชน์นี้แล้ว จึงได้ทรงบัญญัติห้ามไว้ดังกล่าว เมื่อพิจารณาถึงประโยชน์อันสูงสุดแล้ว หากพระสงฆ์มัวพะวงอยู่กับการก่อสร้างก็จะไม่มีเวลา บําเพ็ญสมณธรรมให้ถึงที่สุดทุกข์ได้ การที่พระสงฆ์รักษาพระธรรมวินัยข้อนี้เป็นการช่วยอนุรักษ์ดินไม่ให้เสื่อม คุณภาพโดยที่พระสงฆ์ไม่ได้ล่วงละเมิดพุทธบัญญัติแต่อย่างใด ๒. สิกขาบทเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ํา พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามไม่ให้ภิกษุถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ และบ้วนน้ําลายลงบน ของเขียว (พืช) และในน้ํา โดยให้พระสงฆ์มีจิตสํานึกอยู่เสมอ เนื่องจากน้ําเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องใช้อุปโภค บริโภคประจําวัน หากไม่รักษาความสะอาด น้ําก็สกปรก ประชาชนก็ติเตียน ประณามพระพุทธเจ้าทรง บัญญัติสิกขาบทข้อนี้นับว่าทรงมองเห็นประโยชน์ในอนาคตด้วยการที่พระสงฆ์รักษาพระวินัยข้อนี้นับว่าได้ ช่วยรักษาความสะอาดของแม่น้ําลําคลองไม่ให้เน่าเสีย ทั้งไม่เป็นการล่วงละเมิดพุทธบัญญัติเป็นผลดี ต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาก ฉะนั้น พระสงฆ์ควรนําสิกขาบทข้อนี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ให้มากกว่านี้ ให้เป็นรูปธรรมมากกว่านี้ จะได้เป็นประโยชน์แก่มวลมนุษย์โลกต่อไป


-14เอกสารประกอบการถวายความรู้พระสงฆ์เกี่ยวกับงานด้านป่าไม้

27 พฤษภาคม 2554

ปัจจุบันคนส่วนมากจะขาดจิตสํานึกในเรื่องความรับผิดชอบต่อน้ํา มีนิสัยมักง่ายชอบทิ้งขยะ ตามใจฉัน โดยไม่สนใจว่าอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เมื่อคนไม่มีระเบียบวินัย รัฐต้องจ่ายงบประมาณ ในการจ้างคนเก็บขยะ คนทําความสะอาด เมื่อขยะทับถมกันมากก็กลายเป็นบ่อเกิดโรคภยันตรายต่าง ๆ ย่อมตามมา ถ้าพระสงฆ์นําหลักพระวินัยข้อนี้มาประยุกต์กับการเทศนาสร้างจิตสํานึกแก่ประชาชน ก็จะเป็น ประโยชน์มิใช่น้อย ๓. สิกขาบทเกี่ยวกับการอนุรักษ์ต้นไม้ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทนี้เพื่อห้ามภิกษุไม่ให้ตัดต้นไม้ เพราะว่า ประชาชนสมัยนั้นเชื่อว่า ต้นไม้มีชีวิต (วิญญาณ) และมีเทวดาสิงสถิตอยู่ เมื่อภิกษุตัดต้นไม้มาทําการก่อสร้างย่อมทําความเดือดร้อน ให้แก่เทวดาและเป็นการเบียดเบียนชีวิตสัตว์ ประชาชนติเตียน ประณามว่าไม่เหมาะกับความเป็น สมณศากยบุตร เพื่อรักษาความศรัทธาของประชาชน พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ อนึ่ง ต้นไม้ที่ทรง ห้ามตัดนี้มีความหมายครอบคลุมถึงพืชพันธุ์ทุกชนิดในป่า เนื่องจากพระพุทธเจ้าและพระสาวกอาศัยป่าไม้เป็น ที่พํานักบําเพ็ญสมณธรรมเทศนาสั่งสอน และทํากิจกรรมต่าง ๆ อีกมากมาย อีกทั้งพระพุทธเจ้าเอง พระองค์ ตรัสรู้กฎสูงสุดของธรรมชาติย่อมเข้าใจกฎแห่งความอิงอาศัยกันที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ชีวิตมนุษย์กับ ธรรมชาติจะแยกกันอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ เมื่อพระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทข้อนี้ขึ้น ก็นับว่าได้รับประโยชน์ อย่างคุ้มค่าทั้งทางด้านธรรมชาติและการปฏิบัติของพระสงฆ์และเป็นประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม นอกจากสิกขาบทที่เกี่ยวกับการห้ามตัดต้นไม้แล้ว พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามไม่ให้ภิกษุ ก่อไฟผิง การก่อไฟนับว่าเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทําให้เกิดไฟไหม้ป่าซึ่งเป็นปัญหาที่แก้ไขไม่ตกในปัจจุบัน ไฟป่า ได้สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงมาก เพราะได้ทําลายทุกอย่างของระบบนิเวศวิทยาสิกขาบทข้อนี้ช่วย อนุรักษ์ป่าไม้และช่วยป้องกันการเกิดมลพิษทางอากาศอีกด้วย จะเห็นได้ว่าพระวินัย ๒ ข้อนี้มีประโยชน์ ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยตรง ถ้าภิกษุปฏิบัติตามและนํามาแนะนําให้ประชาชน ได้เข้าใจถึงโทษภัยของการตัดไม้ทําลายป่า และการเกิดไฟป่า ก็จะเป็นประโยชน์แก่สังคมโลกโดยแท้ ๔. สิกขาบทเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด หรือสภาพแวดล้อม สิกขาบทที่ห้ามภิกษุทิ้งเศษอาหารลงในละแวกบ้าน พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ในเรื่องเสขิยวัตร (ข้อปฏิบัติที่ภิกษุจะต้องระลึกอยู่เสมอ) ภิกษุจะต้องฝึกเป็นนิสัยให้เป็นผู้รักความสะอาด การทิ้งขยะหรือ เศษอาหารไม่เป็นที่ ย่อมทําให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา เช่น เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคและส่อถึงนิสัยของคน ผู้ทิ้งประชาชนในสมัยนั้นต่างก็ประณามการกระทําของภิกษุ พระพุทธเจ้าทรงมองเห็นประโยชน์ทั้งทางด้าน ศาสนาและสภาพแวดล้อม จึงทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ให้แก่ภิกษุทั้งหลายปฏิบัติตามเพื่อความดีงามแห่ง คณะสงฆ์และเพื่อความสะอาดของบ้านเมือง ปัจจุบันปัญหาสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ปัญหาขยะล้นเมือง นับเป็นปัญหาที่สําคัญของประเทศ ยิ่งในเขตเมืองหลวงที่มีประชาชนอยู่กันหนาแน่นยิ่งมีปัญหามาก สถานที่ท่องเที่ยวก็เต็มไปด้วยเศษขยะ ประชาชนขาดระเบียบวินัย ขาดจิตสํานึกที่ดี ไม่มีความรับผิดชอบร่วมกันถ้าพระสงฆ์นําสิกขาบทเหล่านี้มาใช้ อบรมสั่งสอนประชาชนให้มองเห็นโทษภัยของการขาดระเบียบวินัยว่าได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของมนุษย์และ ส่งผลเสียหายต่อสังคมโลกแล้ว ก็จะเป็นการช่วยให้การรักษาพระวินัยของพระสงฆ์มีประโยชน์แก่สังคมโดยแท้ และไม่ขัดต่อการรักษาพระวินัยด้วย


-15เอกสารประกอบการถวายความรู้พระสงฆ์เกี่ยวกับงานด้านป่าไม้

27 พฤษภาคม 2554

การศึกษาเปรียบเทียบสาระสําคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับพระวินัย ทําให้ ทราบว่า การรักษาพระวินัยของพระสงฆ์นั้นได้ทําไปตามพุทธบัญญัติและสิกขาบทที่ได้ยกมา เปรียบเทียบก็มี วัตถุประสงค์โดยตรงที่จะให้พระสงฆ์นั้นได้ทําไปตามพระพุทธบัญญัติ และสิกขาบทที่ได้ยกมาเปรียบเทียบก็มี วัตถุประสงค์โดยตรงที่จะให้พระสงฆ์ปฏิบัติให้สอดคล้องสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมนี้ พระสงฆ์ก็ได้ประพฤติปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลสของตนให้หมดสิ้นไปด้วยการอาศัยธรรมชาติที่มีอยู่ ต่างฝ่ายต่าง อาศัยกันเกื้อกูลต่อกันย่อมส่งผลให้สังคมสงบสุขตลอดไป ประโยชน์ของพระวินัยที่มตี อ่ การอนุรกั ษ์สิ่งแวดล้อม พระวินัยเป็นกฎระเบียบที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นสังคมตัวอย่าง ที่ดีแก่ประชาชนในด้านการดําเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย ฉันน้อย นอนน้อย แต่ทํางานเพื่อสังคมมาก และในขณะเดี ย วกั น ก็ เ ป็ น การจั ด ระเบี ย บสั ง คมสงฆ์ ใ ห้ ส อดคล้ อ งสั ม พั น ธ์ กั บ กฎของธรรมชาติ แ ละ สภาพแวดล้อม ดังนั้น การที่พระสงฆ์ปฏิบัติตามพระวินัยจึงเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมไปด้วย ทั้งปฏิบัติตนให้บรรลุคุณธรรมด้วย จึงได้ประโยชน์ทั้งสองทาง ประโยชน์ของพระวินัยต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีดังนี้ ๑) ช่วยป้องกันไม่ให้ภิกษุตัดไม้ทําลายป่า รวมทั้งพืชพันธุ์ทุกชนิด ๒) ช่วยป้องกันไม่ให้ภิกษุฆ่าสัตว์ ๓) ช่วยป้องกันไม่ให้ภิกษุทําลายดิน ๔) ช่วยสร้างจิตสํานึกในการรักษาสภาพแวดล้อมให้คงความสมดุลทางธรรมชาติ ๕) ช่วยป้องกันมลพิษทางอากาศ ๖) เป็นตัวอย่างในการดําเนินชีวิตแบบเรียบง่าย ไม่ทําลายธรรมชาติ ประโยชน์ต่อสังคม เมื่อพระสงฆ์ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยแล้วย่อมทําให้สังคมนั้น ๆ อยู่อย่างสงบ ไม่เดือน ร้อน จึงพอประมวลประโยชน์ของพระวินัยที่มีต่อสังคมดังนี้ (๑) ช่วยสร้างความมีระเบียบวินัยให้แก่สังคม โดยพระสงฆ์ปฏิบัติเป็นตัวอย่าง (๒) เมื่อภิกษุไม่ตัดไม้ทําลายป่าก็ส่งผลให้สังคมอยู่อย่างสงบสุข (๓) ทําให้ประชาชนเกิดศรัทธาเลื่อมใสในการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์และปฏิบัติตาม


-16เอกสารประกอบการถวายความรู้พระสงฆ์เกี่ยวกับงานด้านป่าไม้

27 พฤษภาคม 2554

บทสรุปและข้อเสนอแนะ พระวินัยกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นการเน้นย้ําให้พระสงฆ์มองเห็นสาระสําคัญของพระวินัย แต่ละข้อที่มีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้พระสงฆ์ตระหนักถึงความจําเป็นที่จะต้อง ประยุกต์พระวินัยมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยเน้นให้ศึกษาปริบทของ สังคมสมัยพุทธกาลแล้วนํามาเปรียบเทียบกับสมัยปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าและพระสาวกล้วนใช้ชีวิต อยู่กับธรรมชาติ ไม่ทําลายระบบนิเวศวิทยา ทั้งยังบัญญัติพระวินัยให้เกื้อกูลต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แม้ประชาชนเองต่างก็มองเห็นความสําคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถึงกับเชื่อว่าแผ่นดินและ ต้นไม้มีชีวิต ใครทําลายจะต้องถูกครหาหรือถูกลงโทษ ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทําลาย อย่างย่อยยับจนเกิดวิกฤตการณ์สภาวะแวดล้อมเป็นพิษทั่วโลก ทําให้กลุ่มนักอนุรักษ์ธรรมชาติต้องรีบออกมา รณรงค์เรื่องนี้เป็นการใหญ่ จากการวิจัยครั้งนี้ได้พบความจริงอย่างหนึ่ง คือชีวิตทุกชีวิตของสัตว์โลกต้องดําเนินไปอย่างเกื้อกูล และสอดคล้องกับธรรมชาติ และได้พบปัญหาและอุปสรรค พอสรุปเป็นข้อสังเกต ข้อเสนอแนะได้ดังต่อไปนี้ ๑) พระสงฆ์ควรศึกษาพระวินัยให้เข้าใจถึงพุทธประสงค์อย่างแท้จริง แล้วนํามาประยุกต์ใช้กับ การอนุรักษ์ให้เป็นรูปธรรมให้มากกว่านี้ เพราะเท่าที่ผ่านมาพระสงฆ์ไม่ได้เอาใจใส่พระวินัยเท่าที่ควรสักแต่ว่า รักษาพระวินัยตามประเพณีเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ พระวินัยย่อมหมดคุณค่าต่อสังคม ๒) พระสงฆ์ควรจัดทําแผนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยประสานงานกับภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เพราะที่ผ่านมาพระสงฆ์กับภาครัฐต่างฝ่ายต่างทํา ไม่ประสานการทํางานจนบางครั้งภาครัฐไม่เข้าใจการทํางานของพระสงฆ์ ทําให้เกิดปัญหาขึ้น และพระสงฆ์ก็ ขาดความรู้ด้านการอนุรักษ์ที่ถูกวิธี จึงทําให้การทํางานไม่บรรลุเป้าหมาย ๓) พระสงฆ์ควรจัดให้มีการประชุมสัมมนา ชี้แจงปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินงาน และ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจ เพื่อจะได้ช่วยกันทั้งสองฝ่าย ๔) พระสงฆ์ควรประยุกต์หลักพระวินัยเพื่อการอนุรักษ์ให้สอดคล้องกับธรรมะเป็นไปในแนวเดียวกับ ธรรมะ เพราะในอดีตกาลพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยแก่พระสงฆ์ก็เพื่อให้เป็นระเบียบสําหรับฝึกกาย วาจาให้มีความประพฤติเรียบร้อยดีงาม เพื่อนําให้เข้าถึงธรรม เป็นการจัดระเบียบชีวิตให้พัฒนายิ่งขึ้นโดย อาศัยพระวินัยดังกล่าว ๕) รัฐบาลควรเอาใจใส่ดูแลอํานวยความสะดวกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของพระสงฆ์ อาจจัดเจ้าหน้าที่ให้ไปอบรมพระสงฆ์ให้มีความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์และพัฒนาให้ทันสมัย ๖) รัฐบาลควรส่งเสริมสนับสนุนพระสงฆ์นักพัฒนา นักอนุรักษ์ โดยการประกาศเกียรติคุณเพื่อให้ เป็นแบบอย่างแก่สังคม หากพระสงฆ์ได้ทําหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์ ศึกษาและเข้าใจพระวินัยอย่างถ่องแท้ ประยุกต์ พระวินัยให้เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ได้อย่างสอดคล้องกลมกลืนกับธรรมะ และภาครัฐก็ให้ความร่วมมือ ประสานงาน อํานวยความสะดวกดําเนินกิจกรรมทุกอย่างด้วยดีแล้ว ก็เชื่อได้ว่า พระวินัยที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติไว้เป็นเวลา ๒๕๔๐ ปี ก็ยังมีคุณค่าและประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลกสืบไป


-17-

สรุปผลการฝึกอบรม หลักสูตร

การถวายความรู้พระสงฆ์เกี่ยวกับงานด้านป่าไม้

ระยะเวลา

ระหว่างวันที่ 27 – 28 พฤษภาคม 2554

สถานทีฝ่ กึ อบรม

วัดทรายขาว ม.6 ต.ทุ่งหวัง อ.เมือง จ.สงขลา

สถานทีด่ งู าน

ศูนย์ปฏิบัติธรรมภูเขาหลง ม.6 ต.ทุ่งหวัง อ.เมือง จ.สงขลา

จํานวนพระสงฆ์เข้ารับการฝึกอบรม

จํานวน 53 รูป

กิจกรรมการฝึกอบรม 1. ภาคการบรรยาย - พระสงฆ์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีส่วนร่วม - ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับป่าไม้ - การถวายความรู้พระสงฆ์เกี่ยวกับงานด้านป่าไม้ 2. ภาคการศึกษาดูงาน - ศูนย์ปฏิบัติธรรมภูเขาหลง ม.6 ต.ทุ่งหวัง อ.เมือง จ.สงขลา งบประมาณ งบดําเนินงาน แผนงานอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ผลผลิตที่ 1 พื้นที่ป่าไม้ได้รับการบริหารจัดการ กิจกรรมหลักพัฒนาการป่าไม้ กิจกรรมพัฒนาป่าไม้ร่วมกับองค์กรและ เครือข่ายแบบบูรณาการ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 เป็นเงิน 32,310 บาท การถวายความรู้พระสงฆ์ หลักสูตร “การถวายความรู้พระสงฆ์เกี่ยวกับงานด้านป่าไม้ ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือด้วยดีจากพระสงฆ์ ในการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมพระสงฆ์มีความสนใจ ในการบรรยาย การศึกษาดูงาน และมีการระดมความคิดอย่างกว้างขวาง โดยพระสงฆ์ผู้เข้าอบรมจะนํา ความรู้ที่ได้รับจากการถวายความรู้ในครั้งนี้ไปเผยแพร่ให้พระภิกษุสงฆ์อื่น ๆ พระสงฆ์มีความตั้งใจและ ซักถามวิทยากรอย่างกว้างขวาง ทําให้การถวายความรู้ประสบผลตามวัตถุประสงค์ของกรมป่าไม้


-18-

ภาพที่ 1 พระราชพิพัฒนาภรณ์ รองเจ้าคณะ จังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิด

ภาพที่ 2 นายสมเกียรติ บัญชาพัฒนศักดา วิทยากรบรรยาย โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟู ป่าไม้ร่วมกับพระสงฆ์ในพื้นทีป่ ่าไม้

ภาพที่ 3 - 4 พระสงฆ์ร่วมรับฟังการบรรยาย


-19-

ภาพที่ 5 - 6 อุบาสก อุบาสิการ่วมทําบุญตักบาตร

ภาพที่ 7 - 8 เจ้าหน้าที่ป่าไม้ คณะชี ตักบาตรพระสงฆ์


-20-

ภาพที่ 9 -10 ศึกษาดูงานบริเวณรอบศูนย์ปฏิบัติธรรมภูเขาหลง

ภาพที่ 11 -12 เส้นทางศึกษาธรรมชาติ


-21-

ภาพที่ 13 -14 วิทยากรตอบข้อซักถาม ด้านป่าไม้

ภาพที่ 15 -16 นมัสการรูปเหมือนหลวงปู่ทวด


-22-

ภาพที่ 17 ทางเดินรอบบริเวณศูนย์ปฏิบัติธรรมภูเขาหลง

ภาพที่ 18 สภาพพื้นที่ป่าภายใน

ภาพที่ 19 กุฏิภายในบริเวณศูนย์ปฏิบัติธรรม

ภาพที่ 20 ต้นส้านขึ้นอยู่ระหว่าง เส้นทางศึกษาธรรมชาติ



-23-

S~s~n~5n?luclaiol~w~za~d ~ihingo5 fin~sn~lofi?~ol~~sraq&bif~an"etq~~~3~4r~'bd

TRU EI?PIGFI~I~I~UIU ~I~~~GNII%M~WUI~TIJI'KGern ( 6 1 4 ~ 1 1 ) d3%b73s(ud3zuimM.W. b&&d


-24-

m. ~ ~ f l l % 6 ' l b ~ 9 6 9 3 ~ 4'

w

n"i~un~n'nqolsrrngS"5iib9uqipd Inunsounqu~ue~19ui"111n13w"qn7wwqwfi

u n r ~ u ~ w i t n l s r i l r d d s z q&d n

m,o

w

d w

v s ~ u i o l s l ~w ~d ~o i ~ u ~ w a 1 s d " n ~ n n 1 os m~ ~(nduni) ~ ~ i n una ~41l~d

r 4 1 ~ ~ 1 ~ w ~ ~ s ~ m ~ ~ ~ 7 nluii?+~ ~~.au~iudr~ua6~~ -

4 0)4

n p u i u 5z~iiu1.1 unruu~wicd~un

- nmn$'ndua~nisw"~rblu7wfwuin~di"b~ -

uu~~isnisuhilry~im3~aqin"u~i'bfi

- nau4a$n07a-l ninni~8nvinqiu

-

fl47I.J w t3.A ?sl~l~pd~sl~9d ~lbd10@3~l.!~9 <~~7flfl9"111


-25-


-26-


-27-


-28-


-29-



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.