Isamare june59 web

Page 1

IS AM ARE

ปั จ จั ย แห่ ง ความส� ำ เร็ จ โครงการโรงเรี ย นคุ ณ ธรรม ในเขตพระนคร ก้ า วต่ อ ก้ า ว จากครู กั น ดาร สู ่ ผู ้ อ� ำ นวยการโรงเรี ย นสตรี วั ด ระฆั ง

ไพวัลย์ เหล็งสุดใจ

ความสุ ข อิ่ ม ตา อิ่ ม จิ ต อิ่ ม ใจ อิ่ ม ท้ อ ง

อ.เสถียร ทองสวัสดิ์ ผู ้ บ ริ ห ารโครงการ 1 ไร่ 1แสน

ฉบับที่ 101 มิถุนายน 2559 www.fosef.org


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดี ๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช่ จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org 2

IS AM ARE www.ariyaplus.com


“ถ้าทุกคนสนใจในความรักประเทศชาติ รักษาความดีเอาไว้ ไม่ต้องไปตาม อย่างในสิ่งที่เราเห็นว่าไม่น่าที่จะเจริญไม่น่าจะพัฒนา เราต้องรักษาแนวทางความ คิดตามที่เรามีอยู่ แม้จะเป็นสิ่งที่ตกทอดมาแต่โบราณกาลจากปู่ย่าตายายของเรา แต่เป็นระเบียบการหรือเป็นวิธีการที่ดี จะไม่ล้าสมัย” พระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยม วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ๑๓ มีนาคม ๒๕๑๔

3 issue 101 june 2016


Editorial

เดือนมิถุนายน ๒๕๕๙ ถือเป็นเดือนที่มีความส�ำคัญต่อจิตใจของคนไทยทั้งแผ่นดินโดยเฉพาะในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ วัน มหามงคลที่ยิ่งใหญ่ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุยเดชฯ ทรงครองราชย์ครบ ๗๐ ปี ๗๐ ปี ที่พระองค์ทรงงานเพื่อ ประชาชนที่พระองค์ทรงรักและห่วงใยกว่า ๗๐ ล้านคน “เราจะครองแผ่นโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ธรรมะของพระราชาที่ทรงปฏิบัติ “ทศพิธราชธรรม” “หลักการทรงงาน” ที่เป็นต้นแบบของการปฏิบัติ เพื่อความสุขอย่างยั่งยืน ๗๐ ปี ที่มีค่าต่อประชาชน ๗๐ ปีที่ทรงงานอย่างหนักเพื่อประชาชน ดิฉันเขียนย�้ำ เพื่อเตือนตนเอง เตือนตนเองทุกครั้งก่อนการจับไมค์เพื่อการบรรยายส่งต่อความรู้ ความรู้ที่คนไทยทุกคนรู้ แต่บาง คนลืม บางคนแกล้งลืมและแม้แต่บางคนที่รู้แต่ท�ำเป็นไม่รู้ เพราะเมื่อรู้และน�ำมาใช้จะไม่ถูกใจต่อผู้ให้คุณ ให้โทษ ไม่ถูกใจกับคนไทยบาง คนที่ไม่มีส�ำนึกของความกตัญญู เกือบสิบปีแล้วที่พวกเราเดินทางทั่วประเทศเพื่อสร้างครอบครัวพอเพียง เราเดินทางด้วยใจที่มีความศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยม ศรัทธา ในสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวทรงท�ำให้เราเห็น เราเดินทางด้วยความรัก ความรักที่พระเจ้าอยู่หัวทรงมีต่อประชาชน เราเดินทางด้วยความเชื่อมั่น เชื่อมั่นในสาสน์ของพระราชาที่เราจะส่งต่อให้เข้าไปในจิตส�ำนึกของประชาชน เพื่อความสุขและพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง หลายครั้งเมื่อมีคนถามว่า เหนื่อยไหม พวกเราตอบว่า ไม่เหนื่อย ค�ำตอบที่ตอบจากใจเพราะสิ่งที่เราท�ำ ยังไม่ได้หนึ่งในล้านที่ พระเจ้าอยู่หัวทรงท�ำให้ประชาชน ๗๐ ปี มาแล้ว แม้ว่าเราจะต้องเดินทางไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ แต่พระองค์ท่านได้เดินทางผ่านทุก ต�ำบล บนผืนแผ่นดินไทย หลายคนสงสัยว่าพวกเราคงจะได้รับค่าจ้างในการท�ำงานในอัตราที่สูงมาก พวกเราถึง ได้ท�ำงานหนักเพื่อให้คุ้มค่าแรง แล้วค่าแรงเท่าไรจึงจะพอส�ำหรับการจ้างให้พวกเราท�ำงานนี้ งานส่งสาสน์ของพระ ราชา ส่งถึงจิตส�ำนึกของประชาชนเพื่อให้เกิดปัญญา จนสามารถน�ำมาปรับใช้กับชีวิตและการ ท�ำงานได้อย่างเข้มแข็งมั่นคงส่งเสริมจิตใจให้เปิดกว้างเพื่อการอาสาต่อยอดน�ำพาเพื่อการพัฒนา ภูมิศาสตร์และสังคมศาสตร์ ศูนย์ครอบครัวพอเพียง จะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการพัฒนาที่ส�ำคัญระดับประเทศในอนาคต ค�ำสบประมาทจากบ่างช่างยุและปรามาทพวกเราว่า หากินกับการขาย ระเบียนความดี หรือสมุดบันทึกความดี หรือแม้แต่ นิตยสารรายเดือนฉบับนี้ เราไม่มีค�ำอธิบายกับเครื่องมือที่เรา ได้ผลิตเพื่อใช้เป็นดัชนีชี้วัดอย่างเป็นรูปธรรมหรือนิตยสารที่ส่งเสริมให้ผู้อ่านได้รับความรู้ที่ไม่มี สอนในห้องเรียน ที่บ่างบางคน บางกลุ่มคิดไม่ถึง คิดไม่ทันหรือไม่เคยคิด ไม่มีความโกรธเคืองใดๆ ในหัวใจของพวกเรา เพราะพวกเรามีความบริสุทธิ์ใจมากกว่าค�ำนินทาและสิ่งที่พวกเรามียิ่งกว่า คือหน้าที่ของ คนไทยกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า ครอบครัวพอเพียง ที่จะน�ำสาสน์ของพระราชาส่งให้ถึงจิตส�ำนึกของคนไทยทุกคนทั่วประเทศและที่ส�ำคัญ อีกประการหนึ่งคือ ครอบครัวพอเพียงไม่มีวันตาย นั่นหมายถึงต่อให้อีกร้อยปี พันปีก็จะมีคนส่งสาสน์ของพระราชาเช่นนี้ตลอดกาล.

4 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พลเอก ดร.ศรุต นาควัชระ ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา นางสุชานี แสงสุวรรณ นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง นางสาวเอื้อมพร นาวี นายเอกรัตน์ คงรอด ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นางอรปภา ชาติน�้ำเพ็ชร นางรจนา สินที นายธงชัย วรไพจิตร นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์

ประธานกิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

นิตยสารครอบครัวพอเพียง ประธานกิตติมศักดิ์ : คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ : พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ประธานด�ำเนินการ : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บรรณาธิการ : กรวิก อุนะพ�ำนัก กองบรรณาธิการ : อภีม คู่พิทักษ์

ศิลปกรรม : ส�ำนักงาน :

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :

Let’s

Start

พิชัยยุทธ ชัยไธสง เอกรัตน์ คงรอด นิตยสารครอบครัวพอเพียง 663 ซอยพหลโยธิน35 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 0-2939-5995 0-2939-5996 www.ariyaplus.com www.fosef.org

and Enjoy!

5 issue 101 june 2016


Hot Topic

48

ก้าวต่อก้าว จาก ครู กันดาร สู่ผู้อ�ำนวยการ โรงเรียนสตรีวัดระฆัง ไพวัลย์ เหล็งสุดใจ

16

สลักชี วิต เพ็ญ พรรณ สิทธิไตรย์ ‘รากแก้วของแผ่นดิน’

28

ความสุข อิ่มตา อิ่มจิต อิ่มใจอิ่มท้อง อ.เสถียร ทองสวัสดิ์ ผู ้บริหาร โครงการ 1 ไร่ 1 แสน

Don’t miss

12

16 20 72 6 IS AM ARE www.ariyaplus.com

18


Table Of Contents

อาจารย์ เสถียร ทองสวัสดิ์ ผู้บริหารโครงการ 1 ไร่ 1 แสน

7 issue 101 june 2016

ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต้นไม้...สหายที่ถูกลืม ตัวไกล...หัวใจอยู่ใกล้ บทเรียนใหญ่มากจากเกาะขนาดจิ๋ว Dhamma Today มายาการของหลอดด้าย บทความพิเศษ สลักชีวิต เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ รากแก้วของแผ่นดิน Cartoon Cover Story ความสุข อิ่มตา อิ่มจิต อิ่มใจ อิ่มท้อง อ.เสถียร ทองสวัสดิ์ ผู้บริหารโครงการ 1 ไร่ 1 แสน Is Am Are ต�ำบลนาขาม จังหวัดกาฬสินธุ์ รู้เสียสละ มีน�้ำใจงาม น�ำชุมชนสู่สังคมพอเพียง Let’s Talk ก้าวต่อก้าว จากครูกันดาร สู่ผู้อ�ำนวยการ โรงเรียนสตรีวัดระฆัง ไพวัลย์ เหล็งสุดใจ กระจกส่องใจ พรานล่าเนื้อ มูลนิธิชัยพัฒนา จากน�้ำไปเนิน Wheel Of Life บทความพิเศษ ปัจจัยแห่งความส�ำเร็จ โครงการโรงเรียนคุณธรรมในเขตพระนคร Round About

8 12 14 16 22

28

38

48 58 62 68 72 80


ต้นไม้....

สหายที่ถูกลืม

“ต้นไม้เป็ นอย่างไร คนก็เป็ นอย่างนัน้ ” ค�ำคมประโยคข้างบนนี้ เขียนติดอยู ่ บนป้ายไม้ท่ีแขวนติดอยู ่ในวัดหนองป่ าพง อ.วารินช� ำราบ จ. อุ บลราชธานี เป็ นค�ำพู ดที่หลวงปู่ ชา เคยกล่าวไว้ให้ลูกศิษย์ลูกหาฟั งอยู ่เนื่องๆ สมัยท่าน ยังมีชีวิตอยู ่...

8 IS AM ARE www.ariyaplus.com


นพ. วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ ที่ปรึกษาส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ปี 2559 นี้ เป็นปีที่ประเทศไทย ประสบกับภาวะแห้งแล้ง ฤดูแล้งยาวนาน อากาศร้ อ นจั ด กว่ า ทุ ก ๆปี ท� ำ ให้ เ กิ ด ปั ญ หาขาดแคลนน�้ ำ อุ ป โภคบริ โ ภคใน หลายพื้นที่ บางแห่งแม่น�้ำล�ำคลองตื้น เขิน นับเป็นอีกปีหนึ่งที่เราเห็นผลกระทบ จากสภาวะโลกร้อนอย่างชัดเจน ผลกระ ทบเรื่องนี้ท�ำให้เกิดไฟป่าในหลายพื้นที่ ซึ่ ง ท� ำ ให้ ผื น ป่ า หลายแห่ ง ได้ รั บ ความ เสียหาย ที่จังหวัดชัยภูมิในเขตอ�ำเภอ แก้ ง คร้ อ -ภู เขี ย ว พระอาจารย์ ไ พศาล วิสาโล ร่วมกับชาวบ้านในแถบนั้นและ เครือข่ายกัลยาณมิตร ปลูกป่าไว้บนแถบ เชิง เขาและพื้ น ที่ สู ง นั บพั น ไร่ เป็ น เวลา กว่า 10 ปี ก็ได้รับความเสียหายจากไฟ ป่า (แต่คาดว่าเป็นฝีมือพรานและพวก หาของป่า) เสียหายร้ายแรงมาก ในเขต ภาคเหนือของประเทศก็ประสบ.ปัญหา ที่คล้ายคลึงกัน ข่ า วที่ ป รากฏในสื่ อ ช่ ว งหลาย เดือนที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า แม่น�้ำ ล� ำ คลอง ไปจนถึ ง เขื่ อ นเก็ บ กั ก น�้ ำ แทบ ทุกแห่งทั่วประเทศ ได้รับผลกระทบจาก ภัยแล้งครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก แม่น�้ำยมใน บางพื้นที่แห้งถึงขั้นเดินข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง ได้ คลองหลายสายในจังหวัดปริมณฑล รอบๆกรุงเทพฯ และภาคกลางแห้งผาก แบบไม่ เ คยเป็ น มาก่ อ น จนเดื อ ดร้ อ น เทศบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่มีน�้ำจะมาท�ำน�้ำประปาอุปโภคบริโภค กับประชาชนในพื้นที่

9 issue 101 june 2016

www.nhso.go.th

ค�ำถามคือ ท�ำไมประเทศไทยถึง รักษาป่าไว้ไม่ได้ ข้อมูลพบว่าการส�ำรวจ เดิมในปี 2551 ประเทศไทยมีป่าไม้เหลือ ร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศไทย มาเมื่อ ปี พ.ศ.2558 มีการส�ำรวจใหม่ พบว่า เหลืออยู่เพียงร้อยละ 30 โดยมี 6 จังหวัด ที่ไม่มีป่าไม้เลย คือ นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, สิงห์บุรี และอ่ า งทอง และมี อี ก หลายจั ง หวั ด ที่ ป่ า ไม้ เ หลื อ ไม่ ถึ ง 1% ของพื้ น ที่ เช่ น พิจิตร (0.29%), สมุทรปราการ (0.43%) สมุทรสาคร และ สมุทรสงคราม ตั ว เลขที่ ผ มอ้ า งอิ ง มานี้ เป็ น ตัวเลขที่ได้จากกรมป่าไม้ ซึ่งนักวิชาการ หลายท่านเชื่อว่าเป็นตัวเลขที่สูงเกินจริง เพราะบางส่วนไปนับรวมสวนยางพารา, ป่ า เสื่ อ มโทรม และพื้ น ที่ ป่ าที่ถูกบุกรุก แผ้วถางแล้วเข้าไปด้วย ....ช่วง 1-2 เดือนมานี้ มีกระแส การตื่นตัวเรื่องการดูแลรักษาต้นไม้ขึ้นมา อีกระลอกหนึ่ง คือ กระแสการตัดแต่ง ต้ น ไม้ ใ นเขตเมื อ งแบบไม่ ถู กวิธี เพราะ ตัดแบบหั่นยอด ตัดเอากิ่งที่แข็งแรงออก ท� ำ ให้ ต ้ น ไม้ ใ นเมื อ ง และเขตเทศบาล จ� ำ นวนมาก กลายเป็ น ต้ น ไม้ “เอ๋ อ ” เพราะเสียรูปทรง อ่อนแอ ดูไม่สมส่วน งดงาม และบางต้ น ก็ แ คระแกรนไป เลย มี ก ารเปิ ด website รณรงค์ เ ผย แพร่ ป ั ญ หานี้ และมี ค นร่ ว มสนั บ สนุ น มากพอประมาณ โดยเฉพาะต้ น ไม้ ใ น กรุงเทพมหานครประสบกับปัญหานี้มาก


จนมีคนแซวว่าหน่วยราชการไทย รักสายไฟฟ้ามากกว่าต้นไม้, ในขณะนี้ ซึ่งหากดูผลส�ำรวจในปี 2556 พบว่า ต้นมะขามบริเวณท้องสนามหลวง ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ส�ำคัญ อับดับ 1 บรูไน มีพื้นที่ป่าร้อยละ 74 ทางประวัติศาสตร์ของประเทศก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน อันดับ 2 ลาว “ 71 ....เวลาฝนตกใส่หลังคาบ้าน ถ้าเป็นหลังคาสังกะสี หรือ อันดับ 3 เมียนมาร์ “ 63 กระเบื้อง น�้ำจะไหลพรวดๆลงข้างล่างหมด ฝนหยุดเมื่อไร น�้ำบน อันดับ 4 มาเลเซีย “ 59 หลังคาก็หยุดตอนนั้น แต่ถ้าเป็นหลังคามุงจาก หรือหญ้าแฝก อันดับ 5 กัมพูชา “ 51 บางทีฝนหยุดไปแล้ว 10-15 นาที ก็ยังมีน�้ำไหลติ๋งๆจากชายคา อันดับ 6 อินโดนีเซีย “ 46 ลงมา เพราะใบหญ้าแฝกและจาก ช่วยซึมซับน�้ำเอาไว้แล้วค่อยๆ อันดับ 7 เวียดนาม “ 37 ปล่อยให้ไหลออกมา หลักการนี้เป็นแบบเดียวกับการดูดซับน�้ำ อันดับ 8 ไทย “ 29 ฝนไว้ของต้นไม้ ท�ำให้แม่น�้ำล�ำคลองของเรามีน�้ำไหลทั้งปี แม้จะ อันดับ 9 ฟิลิปปินส์ “ 23 ไม่มีฝนตกในฤดูแล้งก็ตาม พอต้นไม้ป่าไม้ถูกโค่นท�ำลาย แม่น�้ำ อันดับ 10 สิงค์โปร์ “ 3 ล�ำคลองก็เลยพลอยกระทบไปด้วย ที่น่าทึ่งคือ ประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ที่ยังคงรักษา ...ในวาระที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว เสด็ จ ขึ้ น พื้ น ที่ ป ่ า ไว้ ไ ด้ ถึ ง 67% และ 64% ตามล� ำ ดั บ จะเห็ น ว่ า เถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน 2559 นี้ ประเทศไทยเรามีการบ้านที่จะต้องท�ำอีกแยะในเรื่องนี้ หลายจังหวัดได้จัดให้มีโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งถือ ....พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ) เคย เป็นฤกษ์นิมิตรหมายที่ดี เพราะขณะนี้เป็นช่วงต้นฤดูฝน ทาง กล่าวไว้ว่า “เรื่องหนึ่งที่คนสนใจกันน้อย คือการเป็นเกลอ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เตรียมกล้าไม้ไว้หลายล้านต้น กับธรรมชาติ” ขยายความคือ ท่านอธิบายว่า “ต้นไม้นั้นพูด ส�ำหรับแจกจ่ายแก่ประชาชนทั่วไป และหน่วยงานราชการ ได้ และก้อนหินแสดงธรรม” นอกจากนี้ท่านยังพูดถึงการปลูก ....ในประเทศบรูไน ซึ่งแม้เป็นประเทศเล็กๆ แต่ยังมี ต้นไม้ที่สัมพันธ์กับอายุในวัยต่างๆ เช่น เด็กๆมักจะชอบปลูกไม้ พื้นที่ป่าไม้เหลือถึง 80% ของเนื้อที่ประเทศ รัฐบาลมีนโยบายที่ ดอก เมื่อโตขึ้นก็จะปลูกต้นไม้ผลที่กินได้ ขายได้ พออายุสูงวัย ส�ำคัญอย่างหนึ่งในการบ�ำรุงรักษาป่าไม้ คือ ตัด 1 ปลูดทดแทน ก็จะปลูกต้นไม้ใหญ่เชิงสัญลักษณ์ เช่น ต้นโพธิ์ ต้นยางนา ต้น 4 ต้น ซึ่งได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี ท�ำให้ พะยูง อย่างนี้เป็นต้น... เป็นประเทศที่มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดในกลุ่มประเทศ ASEAN

บริการข้อมูล ให้ค�ำปรึกษาการใช้ สิทธิหลักประกันสุขภาพ ตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ประสานงานส่งต่อผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา

10 IS AM ARE www.ariyaplus.com


IS AM ARE

กว่า 8 ปีที่ผ่านมา IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง ได้น�ำบทความ บท สั ม ภาษณ์ สรรสาระที่ ม ากด้ ว ยความรู ้ และความบันเทิง ความสุขมากมายที่ได้ รับจากการอ่านนิตยสารเพื่อสังคมฉบับ นี้ เพื่อเป็นการตอบแทนท่านผู้อ่านและ สมาชิกที่น่ารักทุกท่าน ตั้งแต่ฉบับนี้เป็นต้นไป บก.จะแจกของสม นาคุณเล็กๆแก่ผู้ที่ตอบแบบสอบถามกันเข้ามา ของสมนาคุณที่ว่า คือ ปากกา SHEEFER จ�ำนวน 3 รางวัล พร้อมสลักชื่อ-นามสกุล เรี ย บร้ อ ย ซึ่ ง ค� ำ ถามในฉบั บ นี้ คื อ ความรู ้ ที่ ไ ด้ จ ากบทความ “ต้นไม้...สหายที่ถูกลืม” หน้า 8-10 จากส�ำนักงานหลักประกัน สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ ในฉบั บ ที่ ปรากฏ แล้ ว ตั ด ส่ ง มากั น นะ ค่ะ ในฉบับหน้าของสมนาคุณ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามค�ำ เรียกร้องของคนขี้เหงา ซึ่งน่า จะเป็น Furby เพื่อนช่างคุย ของเราเอง แล้ ว พบกั น ใหม่ ฉบับหน้านะค่ะ ปั จ จั ย แห่ ง ความส� า เร็ จ โครงการโรงเรี ย นคุ ณ ธรรม ในเขตพระนคร

ก้ า วต่ อ ก้ า ว จากครู กั น ดาร สู ่ ผู ้ อ� า นวยการโรงเรี ย นสตรี วั ด ระฆั ง

ไพวัลย์ เหล็งสุดใจ

ความสุ ข อิ่ ม ตา อิ่ ม จิ ต อิ่ ม ใจ อิ่ ม ท้ อ ง

อ.เสถียร ทองสวัสดิ์ ผู ้ บ ริ ห ารโครงการ 1 ไร่ 1แสน

Untitled-1.indd 1

ฉบับที่ 101 มิถุนายน 2559 www.fosef.org

9/6/2559 12:49:12

ร่วมตอบค�ำถามชิงปากกา SHEFFER

ส่งมาที่นิตยสารครอบครัวพอเพียง เลขที่ 663 ซอยพหลโยธิน 35 แยก 9 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 02-939-5995 www.ariyaplus.com แบบประเมินความพอใจผู้อ่าน 1. เนื้อหาเรื่อง ต้นไม้...สหายที่ถูกลืม

1

2

3

4

5

-ให้ความรู้และมีสาระตามที่คาดหวัง -บทความมีความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ -บทความจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ -บทความสร้างความตระหนักในเรื่องคุณธรรม 2.รูปเล่ม -มีการออกแบบที่สวยงาม ทันสมัย -จัดจัดเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ อ่านง่าย -ภาพประกอบและการน�ำเสนอน่าสนใจ 3.ข้อเสนอแนะ

สายตรง กรมสงเสริมการสงออก

1.ไม่เป็นที่พอใจ 2. ควรปรับปรุง 3. พอใช้ 4.ดี/น่าสนใจ 5. ดีมาก/พอใจมาก 11 issue 101 june 2016

1169


โดย : อ.ไสว บุญมา

บทเรียนใหญ่มาก จากเกาะขนาดจิ๋ว

12 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ตั ว ไกล..หั ว ใจอยู ่ ใ กล้

ในทางตอนใต้ของมหาสมุ ทรแปซิ ฟิกอันเวิ้งว้างกว้างใหญ่ มีเกาะเล็ก ๆ เกาะหนึ่งซึ่ งมีพื้นที่ไม่ถึง 164 ตารางกิโลเมตรตัง้ อยู ่ห่างจากเกาะอื่น ๆ และผืนแผ่นดินขนาดใหญ่เป็ นระยะทางไกลมาก กล่าวคือ อยู ่ห่างจากเกาะพิตคานอันเป็ นเกาะเพื่อนบ้านใกล้สุดที่มีผู้คนอาศัยอยู ่ถึง 2,075 กิโลเมตรและห่าง จากชายฝั่ งของทวีปอเมริกาใต้ถึง 3,512 กิโลเมตร แม้จะมีพื้นที่ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเพียงขนาดจิ๋ว แต่เกาะนี้ มีความส�ำคัญในด้านการให้บทเรียนเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากร แก่ ค นรุ ่ น หลั ง ฝรั่ ง เดิ น เรื อ ไปพบเกาะนี้ ใ นวั น อี ส เตอร์ ข องปี พ. ศ. 2265 จึงตั้งชื่อว่า “อีสเตอร์”

หลั ง จากชาวยุ โรปเดิ น เรื อ ไปพบ การติ ด ต่ อ กั บ โลก ภายนอกที่ตามมาสร้างปัญหาสาหัสให้แก่ชาวเกาะ นั่นคือ พวก เขาล้มตายไปเป็นจ�ำนวนมากจากโรคติดต่อที่ชาวยุโรปย�ำไป ซึ่งพวกเขาไม่มีภูมิคุ้มกันเนื่องจากเกาะนั้นไม่มีเชื้อโรคจ�ำพวก เดียวกันมาก่อน หลังจากนั้น พวกเขายังถูกชาวเปรูไปไล่จับ เพื่อท�ำเป็นทาสอีกด้วยจนเมื่อปี พ. ศ. 2420 มีชาวเกาะเหลือ อยู่เพียง 111 คนเท่านั้น การท�ำลายสิ่งแวดล้อมในเกาะอีสเตอร์เป็นเรื่องหนึ่ง ซึ่งศาสตราจารย์จาเรด ไดอะมอนด์ (Jared Diamond) น�ำ มาเสนอเป็ น ตั ว อย่ า งของความล่ ม สลายอั น เนื่ อ งมาจากการ

รูปร่างหน้าตาของชาวเกาะมีลักษณะเช่นเดียวกับชาว เกาะเล็กใหญ่ในมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหลายรวมทั้งเกาะฮาวาย ด้วย จึงสันนิษฐานกันว่าผู้ที่ไปตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนบนเกาะอีส เตอร์เป็นครั้งแรกเมื่อราว 900 – 1,300 ปีที่ผ่านมาเป็นส่วน หนึ่งของชนกลุ่มเดียวกัน กระนั้นก็ดี เกาะอีสเตอร์มีสิ่งหนึ่งซึ่ง เกาะอื่นไม่มี นั่นคือ อนุสาวรีย์รูปคนครึ่งท่อนขนาดใหญ่ที่สร้าง ด้วยแท่งหินทั้งแท่งอยู่ทั่วไป อนุสาวรีย์เหล่านี้เป็นที่สนใจของผู้ ไปพบส่งผลให้เกิดการค้นคว้าหาที่ไปที่มาของมันอย่างจริงจังใน เวลาต่อมาซึ่งพบว่ามีทั้งหมดถึง 887 ตัว เมื่อตอนที่ฝรั่งเดินเรือไปพบนั้น มีชาวเกาะอยู่ 2,000 – 3,000 คน การค้นคว้าต่อมาสรุปว่า ย้อนไปราวร้อยปีเกาะนั้น มีประชากรอยู่ถึงราว 15,000 คน การลดลงของชาวเกาะเกิด จากความขัดแย้งอันเนื่องมาจากความขาดแคลนอาหาร การ ขาดแคลนนั้นเป็นผลจากความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและ การตัดต้นไม้ขนาดใหญ่จนหมด ต้นไม้ขนาดใหญ่มีความส�ำคัญ ต่อการต่อเรือที่ต้องมีความแข็งแกร่งพอส�ำหรับใช้ออกไปหาปลา ห่างจากเกาะเป็นระยะทางไกล ๆ ได้ เมื่อไม่มีเรือชนิดนั้น ชาว เกาะหาปลาได้เฉพาะในพื้นที่รอบ ๆ เกาะซึ่งได้ปลาไม่พอแก่ ความต้องการ พวกเขาจับนกและสัตว์อื่นที่มีอยู่บ้างเป็นอาหาร จนหมด เมื่อผลิตอาหารได้ไม่พอ การแย่งชิงกันอย่างเข้มข้น จนถึงขั้นรบราฆ่าฟันกันก็เกิดขึ้น

ท�ำลายสิ่งแวดล้อมในหนังสือชื่อ Guns, Germs and Steel: The Fates of Human Societies (มีบทคัดย่อภาษาไทยอยู่ใน เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com) นอกจากเกาะอีสเตอร์ ศาสตราจารย์ไดอะมอนด์ เสนอเรื่องราว ของอีกหลายสังคมที่ล่มสลายเพราะการท�ำลายสิ่งแวดล้อม เช่น อาณาจักรแอสซีเรียและบาบิโลนในย่านตะวันออกกลางและ อาณาจักรมายาในย่านอเมริกากลาง อาณาจักรเหล่านี้มีสิ่งปรัก หักพังหลายอย่างไว้ให้คนรุ่นหลังดู เช่น พีระมิดของอาณาจักร มายาซึ่ ง ไม่ ค ่ อ ยเป็ น ที่ รั บรู ้ อ ย่ า งกว้ า งขวางโดยประชาชนคน ทั่วไปเช่นของอียิปต์ ณ วันนี้ เกาะอีสเตอร์เป็นส่วนหนึ่งประเทศชิลีและมี ประชากรอยู่ราว 6,000 คน ความห่างไกลมีผลท�ำให้ความ สนใจในเรื่องราวของเกาะนี้ไม่ค่อยเป็นที่รับทราบกันมากนัก แต่ส�ำหรับนักพัฒนาและผู้สนใจในบทเรียนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ประวัติของเกาะนี้มีความส�ำคัญยิ่ง 13

issue 101 june 2016


...มายาการของหลอดด้าย...

เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ผู้เขียนจาริกปฏิบัติศาสนกิจในฐานะพระธรรมทูตอยู่ที่มหานครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา วันหนึ่งหลัง จบการเสวนาธรรม สตรีสูงอายุคนหนึ่งขอโอกาสเข้ามานั่งคุยกับผู้เขียน ระหว่างการสนทนา ผู้เขียนสังเกตเห็นว่า น�้ำตาเธอคลอ หน่วย เมื่อสอบถามถึงสาเหตุเธอจึงตอบว่า ที่น�้ำตาคลอหน่วย เพราะรู้สึกดีใจที่ได้มาฟังธรรม แต่พร้อมกันนั้นก็เสียใจจนสะเทือน ใจ ที่สะเทือนใจก็เพราะเธอรู้สึกว่าตนเองได้พบกับธรรมะเมื่ออายุมากแล้ว จึงรู้สึกเสียดายวันเวลาที่ผ่านมา เธอเล่าว่า “ชีวิตของคนเราก็เหมือนกับเส้นด้าย ที่ถูกดึงออกมาจากหลอดด้ายทีละนิดๆ ขณะที่ดึงด้ายออกมาจากหลอดด้ายนั้น บางทีเราก็รู้สึกกระหยิ่มว่า ยังมีด้ายเหลืออยู่อีกมากมาย จึงชะล่าใจจึงด้ายออกมาใช้อย่างฟุ่มเฟือย เพื่อที่จะพบว่า แท้ที่จริง แล้ว มีด้ายอยู่เพียงนิดเดียว เย็บผ้าได้เพียงนิดหน่อยก็หมด หากแต่ที่เราเห็นว่า ยังคงมีด้ายเหลืออยู่เยอะแยะนั่นเป็นเพราะ ว่า แกนด้ายมันใหญ่ต่างหาก…แกนด้ายมันหลอกตาให้เราพลอยชะล่าใจ...”

14 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Dhamma Today

คือ เวลาที่ดีที่สุด” ตอลสตอยตั้งค�ำถามนี้ผ่านเรื่องสั้นเรื่องหนึ่ง และในที่สุดก็เฉลยว่า “คนส�ำคัญที่สุด ก็คือ คนที่อยู่เบื้องหน้า เรางานส�ำคัญที่สุด ก็คือ งานที่เราก�ำลังท�ำอยู่ในขณะนี้ เวลา ที่ดีที่สุด ก็คือ เวลาปัจจุบันขณะ” ท�ำไม คนที่อยู่เบื้องหน้าเราจึงส�ำคัญที่สุด ค�ำตอบก็คือ อาจเป็นไปได้ว่า ในชั่วชีวิตอันแสนสั้นนี้ เรากับเขาอาจมีโอกาส พบกันได้เพียงครั้งเดียว ดังนั้น เราจึงควรท�ำให้การพบกันทุกครั้ง เป็นเหมือนการเฉลิมฉลองอันแสนวิเศษที่ต่างฝ่ายต่างควรสร้าง ความทรงจ�ำแสนงามไว้ให้แก่กันและกันตลอดไป เราต้องไม่ลืมว่า มนุษย์นั้น รู้เกลียดยาวนานกว่ารู้รัก หากการพบกันครั้งแรกน�ำมาซึ่งความรัก และหากเป็นการพบ กันเพียงครั้งเดียวของชีวิตในอนันตจักรวาล นั่นก็นับว่า เป็นสิ่ง ที่คุ้มค่าที่สุดแล้วส�ำหรับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนสองคน ท�ำไม งานที่เราก�ำลังท�ำอยู่ขณะนี้ จึงเป็นงานส�ำคัญ ที่สุด ค�ำตอบก็คือ เพราะทันทีท่ีคุณปล่อยให้งานหลุดจากมือ คุณไป งานก็จะกลายเป็นของสาธารณ์ หากคุณท�ำงานดี มันก็คือ อนุสาวรีย์แห่งชีวิต และหากคุณท�ำงานไม่ดี มันก็คือ ความอัปรีย์ แห่งชีวิตตอนแรกคุณเป็นผู้สร้างงาน แต่เมื่อปล่อยงานหลุดจาก มือไปแล้ว งานมันจะเป็นผู้ย้อนกลับมาสร้างคุณ ท�ำไม เวลาที่ดีท่ีสุด จึงควรเป็นปัจจุบันขณะ ค�ำตอบก็ คือ เพราะเวลาทุกวินาทีจะไหลผ่านชีวิตเราเพียงครั้งเดียว ไม่ ว่าคุณจะหวงแหนเวลาขนาดไหน มีเงินมากเพียงไร ก็ไม่มีใคร สามารถรื้อฟื้นเวลาที่ล่วงไปแล้วให้คืนกลับมาได้ ทุกครั้งที่เวลาไหลผ่านเราไป หากเราไม่ใช้เวลาให้เกิด ประโยชน์สูงสุด ชีวิตของคุณก็พร่องไปแล้วจากปวงประโยชน์ มากมายที่คุณควรได้จากห้วงเวลา เวลาไม่มีตัวตน แต่หากเรามีปัญญา ก็สามารถสร้าง คุณค่าที่เป็นรูปธรรมจากเวลาได้อเนกอนันต์ คน แม้มีตัวตน เห็นกันอยู่ชัดๆ แต่หากปฏิบัติไม่ถูกต่อเวลา ถึงมีตัวตนเป็นคน อยู่แท้ๆ แต่ชีวิตก็อาจ ว่างเปล่ายิ่งกว่าเวลา ทุกวันนี้ เราทุกคนก�ำลังสาวด้ายแห่งเวลาในชีวิตออกมา ใช้กันอยู่ทุกขณะจิต เคยคิดกันบ้างหรือไม่ว่า เส้นดายแห่งเวลา ในชีวิตของเราเหลือกันอยู่สักกี่มากน้อย เราถนัดแต่สาวด้ายออก มาใช้ หรือว่าเราใช้เส้นดายแห่งเวลาอย่างมีคุณค่าที่สุดแล้ว ?

พลันที่เธอเล่าจบ ผู้เขียนก็รู้สึกสว่างโพลงขึ้นมาในใจ ผู้ หญิงคนนี้ เธอไม่ได้มาฟังเทศน์เสียแล้ว แต่เธอมาเทศน์ต่างหาก เธอก�ำลังเทศน์เรื่อง “ความส�ำคัญของเวลา” และ “คุณค่า ของชีวิต” เคยได้ยินค�ำพูดในท�ำนองนี้บ่อยๆ ว่า เรามีเวลา ๒๔ ชั่วโมงต่อหนึ่งวันเท่ากัน ทว่าเราได้ประโยชน์จากเวลาไม่เคย เท่ากันส�ำหรับบางคนเวลา ๒๔ ชั่วโมงช่างแสนสั้น แต่ส�ำหรับ บางคน ๒๔ ชั่วโมง ช่างเป็นเวลายาวนานเหลือแสน ผู้หญิงคนนี้เธอบอกว่า เธอเสียดายที่มีเวลาเหลืออีกไม่ มาก อยากจะปฏิบัติธรรมให้ถึงที่สุดก็เกรงว่าเวลาจะมีไม่พอ ผู้เขียนจึงบอกว่า การปฏิบัติธรรมนั้นไม่ส�ำคัญที่เวลา แต่ ส�ำคัญที่ “ปัญญา” ส�ำหรับคนมีปัญญากล้าแข็ง อย่าว่าเป็นวันเลย บางที นาทีเดียวก็บรรลุธรรมได้ ส�ำหรับคนเขลา ต่อให้ภาวนาทั้งชีวิต บางทีก็ยังไม่เห็นผล คนที่อยู่ในวัยสนธยา จึงไม่ควรน้อยใจว่า เรามีเวลาไม่พอ แต่ควรจะบอกตัวเองว่า เรายัง “พอมีเวลา” ต่างหาก แต่ ค นที่ คิ ด ว่ า เรายั ง “พอมี เวลา” ก็ ต ้ อ งระวั ง ด้ ว ย เหมือนกัน เพราะบางทีการคิดด้วยท่าทีที่เป็นบวกอย่างนี้ ก็ ท�ำให้ประมาท และเป็นเหตุให้พลาดโอกาสที่จะเร่งรัดท�ำสิ่งดีๆ ดังนั้น นอกจากจะคิดว่ายังพอมีเวลาแล้ว ก็ควรจะคิด เพิ่มอีกอย่างหนึ่งว่า “วันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต” ด้วยเพราะ หากเราคิดว่า วันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต เราจะเริ่มคิดถึงสิ่ง ที่ต้องท�ำแข่งกับเวลาและนั่นจะท�ำให้เวลา กลายเป็นสิ่งที่มีค่า สูงสุดของชีวิตได้ในทุกๆ วัน เราเคยได้ยินพระท่านสอนอยู่บ่อยๆ ว่า การฆ่าสัตว์เป็น บาป แต่ผู้เขียนอยากบอกว่า การฆ่าเวลาต่างหากที่เป็นบาป มหันต์ยิ่งกว่า เพราะเมื่อคุณฆ่าสัตว์ หากส�ำนึกได้ คุณก็อาจจะไป หาสัตว์มาปล่อยเอาบุญ แต่หากคุณฆ่าเวลาด้วยวิธีใดก็ตาม ถึง แม้คุณจะส�ำนึกผิด กลับมาเห็นคุณค่าของเวลา ทว่าก็ไม่สามารถ ย้อนเวลาที่ผ่านไปแล้วให้หวนคืนกลับมาได้อีก เราทุกคนต่างก็มีเวลาที่ไม่อาจรีไซเคิล ไม่ว่าคุณจะมีเงิน มหาศาลสักกี่ล้านล้านดอลล่าร์ก็ตามทีส�ำหรับเวลานั้น ผ่านแล้ว ผ่านเลยนิรันดร์ ครั้งหนึ่งลีโอ ตอลสตอย เคยเขียนปริศนาธรรมไว้ว่า “ใคร คือ คนส�ำคัญที่สุด งานใด คือ งานที่ส�ำคัญที่สุด เวลาใด 15

issue 101 june 2016


สลักชีวิต เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ ‘รากแก้วของแผ่นดิน’ เมื่ อ วั น ที่ 3 สิ ง หาคม พ.ศ. 2558 ประเทศไทยได้ สู ญ เสี ย ศิ ล ปิ น แห่ ง ชาติ สาขาทั ศ นศิ ล ป์ (ประณี ต ศิ ล ป์ แกะสลั ก เครื่ อ งสด) ประจ� ำ ปี พ.ศ.2552 และบุ ค คลดี เ ด่ น ของชาติ สาขาเผยแพร่ เ กี ย รติ ภู มิ ข องไทย ปี พ.ศ.2554 อาจารย์ เ พ็ ญ พรรณ สิ ท ธิ ไ ตรย์ ซึ่ ง ท่ า นจากไปอย่ า งสงบด้ ว ยโรคชรา สิ ริ อ ายุ ไ ด้ 89 ปี นั บ เป็ น การสู ญ เสี ย บุ ค ลส� ำ คั ญ ด้ า นการแกะสลั ก เครื่ อ งสดคนแรกและคนเดี ย วของประเทศไทย นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง ขอร่วมเป็น ส่วนหนึ่งในการรวบรวมบทสัมภาษณ์ของอาจารย์เพ็ญพรรณ จากสื่ อ ต่ า งๆ เพื่ อ ร� ำ ลึ ก ถึ ง บุ ค คลซึ่ ง ถื อ เป็ น ตั ว แทนแห่ ง ยุ ค รัตนโกสินทร์ในด้านการแกะสลักเครื่องสด หรืออาจกล่าวได้ ว่า 100 ปี จะมีสักคน สลักชีวิต เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ ‘รากแก้วของแผ่นดิน’ ก่ อ นเกิ ด สงครามโลกครั้ ง ที่ 2 บุ ต รสาวคนเดี ย วของ

คหบดี ต ระกู ล วชิ โ รดมชาวจั ง กวั ด สกลนคร เดิ น ทางจาก บ้าน ณ ต�ำบลธาตุเชิงชุม เข้ามาเรียนด้านคหกรรมศาสตร์ที่ กรุงเทพมหานครตั้งแต่อายุ 15 ปี มีผลการเรียนโดดเด่นด้วย การสอบได้ที่ 1 ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ จากนั้น อาจารย์เพ็ญพรรณสมรสกับนายแถมชัย สิทธิ ไตรย์ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา มีบุตรธิดา 6 คน และเริ่มสั่งสมความเป็นแม่บ้านแม่เรือนโดยการติดตามสามีไป อยู่จังหวัดต่างๆ ทั้งภาคเหนือ กลาง ใต้ และอีสาน ซึ่งนอกจาก 16

IS AM ARE www.ariyaplus.com


บทความพิ เ ศษ

จะคอยดูแลลูกๆ แล้ว ยังท�ำหน้าที่เป็น อาจารย์โรงเรียนช่างสตรีในแต่ละจังหวัด ที่ย้ายไปอยู่ ซึ่งอาจารย์ยอมรับว่าสมัย ก่ อ นการท� ำ หน้ า ที่ แ ม่ บ ้ า นแม่ เรื อ นที่ ดี ขณะเดียวกันก็เป็นอาจารย์สอนหนังสือ ไปด้วยไม่ใช่เรื่องง่าย “การที่ เ ราจะวางตั ว ให้ ดี มั น ไม่ใช่ เรื่องง่ายนักนะคะ ไหนจะเป็นครู ต้ อ งสอนหนัง สือ ไหนจะเป็นคุณ นาย และจะไปงานเลี้ยงที่นั่นที่นี่ตามใจก็ไม่ ได้เพราะเรามีหน้าที่ต้องดูแลลูก 6 คน ถึงจะมีคนใช้ก็จริง แต่เมื่อก่อนโรงเรียน สอนพิเศษมีที่ไหน อาจารย์เพ็ญพรรณ สอนเอง พอลูกกลับมาจากโรงเรียนต้อง ช่วยตรวจกระเป๋า สอนหนังสือหนังหา ให้ลูก และต้องดูแลเรื่องกับข้าวกับปลา จากจังหวัดสกลนครย้ายไปอยู่ ตรั ง กาญจนบุ รี นครปฐม สุ โขทั ย สมุทรสงคราม แล้วย้ายเข้ากรุงเทพฯ ดิฉันจึงได้มาเป็นครูที่สถาบันเทคโนโลยี ราชมงคล วิทยาเขตโชติเวช รับราชการ ครูตลอด” แม้จะมีหน้าที่ในครอบครัวหรือ กิจกรรมเข้าสังคมในรูปแบบต่างๆ แต่สิ่ง ที่อาจารย์ไม่เคยทิ้งให้เก่าร้างคือ ความ สามารถทั้ง 8 อย่างที่มีอยู่และพร้อมจะ ถ่ายทอดให้ผู้อื่นอยู่เสมอ ได้แก่ งานแกะ สลัก เย็บ ปัก ถัก ร้อย งานใบตอง งาน ดอกไม้ และท�ำอาหาร เรียกว่าเป็นงาน กุลสตรีที่ไม่ท้ิงลายเสน่ห์ปลายจวัก อัน แสดงถึงเอกลักษณ์ประจ�ำชาติไทย ซึ่ง อาจารย์มักจะแสดงฝีมือให้คนรอบข้าง ได้เห็นเสมอ “ยกตั ว อย่ า งตอนสามี ย ้ า ยไป อยู่สุโขทัย ตอนนั้นสามีเป็นผู้พิพากษา หัวหน้าศาลแล้ว ส่วนดิฉันก็เป็นครู ด้วย ความที่ติดใจในรสมือ นายกเทศมนตรี

ในการท� ำ งานที่ รั ก ตั้ ง แต่ อ ดี ต จนสิ้ น อายุ ไ ข ความหวั ง ของอาจารย์ เ พ็ ญ พรรณคื อ ต้ อ งการเห็ น คนรุ ่ น ใหม่ หั น มาสนใจงานสื บ สานเอกลั ก ษณ์ ไทยไม่ ว ่ า แขนงใดก็ ต าม เพราะงานฝี มื อ ชนิ ด นี้ ส ร้ า งความสุ ข ให้ แ ก่ ผู ้ ท� ำ และส่ ง ต่ อ ความสุ ข ไปสู ่ ค รอบครั ว และผู ้ พ บเห็ น ได้ ประจ�ำจังหวัดท่านมักจะบอก วันนี้ผม ไม่ ไ ปกิ น ข้ า วที่ บ ้ า นคุ ณ นายท่ า นผู ้ ว ่ า หรอกนะ จะไปกินที่บ้านคุณนายท่าน ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จะไปกินแกง ดอกไม้ (หัวเราะมีความสุข) เพราะดิฉันมักจะเอาหัวผักกาด ขาวมาแกะเป็ น ดอกมะลิ ซ ้ อ น แกง ลู ก ชิ้ น ก็ จ ะท� ำ ลู ก ชิ้ น เอง น�้ ำ ใสน่ า รั บ ประทาน เวลากิ น ปลาสามี ไ ม่ เ คยกิ น ปลามีก้างเลย ส่วนผลไม้ก็จะสลักเป็น ค�ำ ถ้าเป็นผลไม้ที่มีเมล็ดอย่างน้อยหน่า จะต้องคว้านออกหมดเลย ท�ำแบบนั้น ตลอด แล้วเมื่อตอนย้ายไปอยู่จังหวัด สมุทรสงคราม ขนาดหลวงพ่อที่วัด ยัง ต้องบอกเลยว่า เดี๋ยวก่อนๆ คุณนายผู้ ว่า อาตมาก�ำลังรอส�ำรับของคุณนาย ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เพราะอาหาร ที่ดิฉันท�ำเป็นอาหารวิจิตร แบบที่เรียก กันว่า รูปสวย รวยรส” 17 issue 101 june 2016

เช่ น นี้ เ อง อาจารย์ จึ ง สั่ ง สม ประสบการณ์ตลอดระยะเวลาในการไป อาศัยในจังหวัดต่างๆ รวบรวมเป็นต�ำรา ด้านการแกะสลักผลไม้และต�ำราเกี่ยวกับ อาหารไทยทั้งสี่ภาคไว้หลายเล่ม ทั้งฉบับ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ “เพราะดิฉันเคยไปอยู่ทั้งเหนือ ใต้ กลาง อี ส าน มิ ห น� ำ ซ�้ ำ จั ง หวั ด สมุทรสงครามที่เคยไปอยู่ ก็เป็นที่รู้จัก ดีในเรื่องกาพย์แห่ชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิ พ นธ์ ใ นพระบาทสมเด็ จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือรัชกาล ที่ 2” หลังจากย้ายมารับราชการครู ณ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขต โชติ เวช อาจารย์ จึ ง มี แ นวคิ ด ริ เริ่ ม การ เรี ย นการสอนด้ า นการแกะสลั ก ผลไม้ โดยส่งเสริมให้มีการประกวดอย่างแพร่ หลาย ท� ำ ให้ ใ นเวลาต่ อ มาสถาบั น การ ศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศเห็นควรให้บรรจุ


เครื่องคาวหวานในวังอีกด้วย “รัตนโกสินทร์ 200 ปี ก็อาจารย์เพ็ญพรรณนี่แหละ ไปท�ำงานแกะสลัก มือนี้เลือดออกหมดเลยทุกนิ้ว เพราะท�ำ สับปะรด ท�ำทั้งทูลเกล้าถวาย ท�ำทั้งแขกต่างประเทศที่มาเห็น งานแกะสลัก การท�ำงานแกะสลักขอพูดอย่างนี้เลยนะคะว่า อาจารย์เพ็ญพรรณนั้นไม่ได้ใช้เครื่องมือ ใช้มีดแกะสลักเล่ม เดียว กับมีดปอก หรือช้อนกลมเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นการ สืบสานมาแต่โบราณจะเป็นลักษณะนี้” นอกจากนี้ยังมีผลงานในระดับชาติที่อาจารย์เคยได้เป็น ส่วนหนึ่งในการแกสลักผัก ผลไม้ ดอกไม้สด ใบตอง ตกแต่ง ท�ำเนียบรัฐบาล ในงานเลี้ยงรับรองทูตานุทูตและราชอาคันตุกะ จากต่างประเทศ และงานสายสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 200 ปี ณ กรุง โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงงานเลี้ยงรับรองรัชทายาทแห่ง ลักแซมเบิร์ก “งานสายสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 200 ปี ดิฉันก็ไปในนาม ประเทศไทยค่ะ ก็ไปแสดงเอางานที่เราแกะสลัก อันไหนที่เรา แกะสลักไปแล้วจากเมืองไทยก็แกะสลักไป อันไหนที่ไปท�ำที่ โน้นก็ไปท�ำ แล้วมิหน�ำซ�้ำไปตอนที่ดอกซากุระก�ำลังบาน ไป ดึงช่อซากุระมานั่งแกะซากุระ แล้วเราเตรียมสีไปด้วยแต่ง แต้มแล้วก็ผูกแขวน ดูไม่รู้เลยว่าอันไหนเป็นซากุระจริงและ อันไหนเป็นซากุระแกะ อันนี้มันก็เป็นความภูมิใจนะงานของ เรา สิ่งที่ท�ำค่ะ”

ความรู้ความสามารถของอาจารย์ที่สั่งสมมาเป็นหลักสูตรเพื่อ ถ่ายทอดแก่ประชาชนทั่วไป “มาสอนที่โชติเวช ไม่มีหลักสูตรการแกะสลัก มีแต่จัด ดอกไม้ จึงบอกกับท่านผู้อ�ำนวยการว่าอยากจะสอน เพราะคน สมัยโบราณนั้น เวลาท�ำปิดประตูปิดหน้าต่าง ความรู้จึงตาย ไปกับตัว ดิฉันจึงคิดให้มีจัดประกวดอะไรบ้าง ต่างๆ นานา แม้แต่งานท�ำกระทง ท�ำบายสี ก็ยังเอางานแกะสลักมาผสม ผสาน งานรับน้องใหม่เขาวุ่นวายกันมาก ตีกันฆ่ากัน โยนลง ทะเล เพ็ญพรรณท�ำบายสีสู่ขวัญ” ปี พ.ศ.2528 อาจารย์เพ็ญพรรณได้รับเลือกให้เป็นครู ดีเด่นจากคุรุสถา และในปี 2532 ยังได้รับเลือกให้เป็นผู้มีผล งานดีเด่นด้านวัฒนธรรม สาขาช่างฝีมือ รวมถึงรางวัลต่างๆ อีก มากมาย ก่อนจะก้าวสู่ศิลปินแห่งชาติ ในปี 2552 เพราะระยะ เวลาที่ผ่านมาอาจารย์ไม่เคยหยุดสร้างสรรค์และถ่ายทอดความ รู้ ไม่ว่าสถาบันการศึกษาหรือสื่อต่างๆ ล้วนมองเห็นคุณค่าและ ฝีมือในตัวอาจารย์ เชิญให้ไปเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และ เป็นที่ปรึกษา อาทิ นิตยสารสกุลไทย หญิงไทย และขวัญเรือน ฉบับงานฝีมือ รวมถึง ละครโทรทัศน์ที่น�ำเอาผลงานต่างๆ ของ อาจารย์ไปอวดโฉมสู่สายตาผู้ชม เช่น ขุนช้างขุนแผน นางทาส ใครก�ำหนด ฯลฯ ทั้งนี้อาจารย์ยังถ่ายทอดความรู้ให้กับหัวหน้า

มั น เป็ น ความภู มิ ใ จอย่ า งยิ่ ง ว่ า เราได้ ท� ำ งานนี้ ถึ ง ได้ ตั้ ง ในใจว่ า ขอฝากภู มิ ป ั ญ ญาไว้ เ ป็ น มรดกแผ่ น ดิ น ท� ำ เพื่ อ ทดแทนพระคุ ณ แผ่ น ดิ น เกิ ด เอกลั ก ษณ์ ไ ทย อั น ไม่ มี ช าติ ใ ดเสมอเหมื อ น ให้ ช ่ ว ยกั น รั ก ษางานอั น นี้ ต ราบชั่ ว ไปเลยค่ ะ ผลงานส�ำคัญชิ้นหนึ่งที่อาจารย์มีความภาคภูมิใจ ได้แก่ งานแกะสลักประดิษฐ์ดอกมะลิจากแห้ว จ�ำนวน 500 ดอก สนอง พระราชโองการ ถวายในวโรกาสงานอภิเษกสมรสของเจ้าฟ้า หญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์, ผลงานแกะสลักประดิษฐ์มะพร้าว อ่อน จ�ำนวน 250 ลูก เป็นภาชนะวิจิตร ในงานพระราชทาน เลี้ยงในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ ประเทศ สหรัฐอเมริกา ฯลฯ หากหยิบสารานุกรมส�ำหรับเยาวชน ใน โครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่มที่ 13 มาเปิด ก็ จะพบว่ามีภาพของอาจารย์และผลงานบรรจุอยู่ในนั้น “ปี 2528 ที่สมเด็จพระราชินีท่านเสด็จไปอเมริกา ก็ได้ท�ำมะพร้าวอ่อน มะพร้าวน�้ำหอม 250 ลูก แล้วจะเขียน 18

IS AM ARE www.ariyaplus.com


ในต�ำราว่ามะพร้าวชาววัง จะแกะสลัก มีทัด มีมาลัย แต่งให้สวยเลย” ผลงานปักช่อมลายผ้าเพดานเรือ พระที่ นั่ ง สุ พ รรณหงส์ แ ละเรื อ ในขบวน เป็ น อี ก ผลงานส� ำ คั ญ ที่ ส ร้ า งความภาค ภู มิ ใจให้ อ าจารย์ ไ ม่ รู ้ ลื ม เพราะได้ ใช้ ทักษะทั้งหมดที่อาจารย์ถนัดอย่าง เย็บ ปัก ถัก ร้อย และแกะสลัก สร้างงานอัน สูงค่าและมีความส�ำคัญที่สุดเท่าที่คนคน หนึ่งจะท�ำได้ “เพดานเรือสุพรรณหงส์ทั้งเรือ ในขบวน 13 ล�ำ เมื่อเขาเขียนลายเสร็จ เรียบร้อยเป็นกนกบนเรือแล้ว ก็ได้เอา ไหมมาโดยเอาขี้ผึ้งรูดเส้นไหม แล้วก็ วางบนลาย แล้วก็ปักเข็มสีเดียวกันกับ ไหม แทงขึ้นมาแล้วก็แทงลงรู เพราะ ฉะนั้นจะไม่เห็นตะเข็บ เห็นแต่ไหมลอย อยู่เป็นวงสวยตามลาย” เมื่ อ ถามว่ า อะไรเป็ น เหตุ ผ ลให้ อาจารย์ลุกขึ้นมาท�ำงานสร้างสรรค์อย่าง ต่อเนื่องแม้วัยจะร่วงเลยไปมากว่า 80 ปี แล้ว อาจารย์ให้เหตุผลว่า “อนุรักษ์ไว้

ฉั น ถื อ สั จ ธรรมเป็ น ที่ ตั้ ง ไม่ เ บี ย ดเบี ย นตั ว เองและผู ้ อื่ น ด� ำ รงตนอยู ่ ใ น สั จ ธรรม ถื อ ศี ล ห้ า ให้ ไ ด้ ชั่ ว ชี วิ ต ตั้ ง แต่ เ กิ ด มา เป็ น คนที่ ไ ม่ เ ล่ น หวย ไม่ เล่ น แชร์ ไม่ ซื้ อ ลอตเตอรี่ ไม่ ซื้ อ ของเงิ น ผ่ อ น ไม่ เ ป็ น หนี้ ใ คร เอกลักษณ์ไทย ไม่มีชาติใดเสมอเหมือน งานอันนี้มันมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เรื่อย มาจนถึงอยุธยา รวมเป็นช่างสิบหมู่ แล้ว ก็มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เกิ ด วั น เสาร์ ราศี มั ง กร ปี ข าล ใครๆ ก็บอกว่าอาจารย์เพ็ญพรรณเป็นคน ใจร้อนมาก แต่ท�ำไมท�ำงานนี้ได้ ก็เพราะ ใจเรา อารมณ์เรามันสุนทรีย์ งานแกะ สลักมันคืองานท�ำสมาธิ อารมณ์เราจะมี ความสุขที่สุดเลย จิตใจไม่เคยวุ่นวาย นั่ง ท�ำไป ร้องเพลงไป มีความสุขไป ถ้ า แกะนกก็ จ ะร้ อ งเพลง ... แสนสุ ข สมนั่ ง ชมวิ ห ค อยากเป็ น นก เหลือเกิน... หรือก�ำลังแกะนกสองตัว ตัว หนึ่งให้อยู่ในกรง ตัวหนึ่งนอกกรง เมื่อ แกะเสร็จแล้ว เอาออกจากกรงมาอยู่ด้วย กัน พูดกับนก เธอเป็นอิสระแล้วนะ ฉัน สงสารเธอนะเนี่ย (หัวเราะ)” 19 issue 101 june 2016

ในการท�ำงานที่รักตั้งแต่อดีตจน สิ้ น อายุ ไข ความหวั ง ของอาจารย์ เ พ็ ญ พรรณคือต้องการเห็นคนรุ่นใหม่หันมา สนใจงานสื บ สานเอกลั ก ษณ์ ไ ทยไม่ ว ่ า แขนงใดก็ตาม เพราะงานฝีมือชนิดนี้สร้าง ความสุขให้แก่ผู้ท�ำและส่งต่อความสุขไป สู่ครอบครัวและผู้พบเห็นได้ อันเป็นสิ่ง ขัดเกลาจิตใจได้เป็นอย่างดี “ถ้ารู้สึกว่าท�ำยากก็ค่อยๆ ท�ำไป เรื่อยๆ อย่าบอกว่า โอ๊ย...ไม่มีเวลาว่าง ฉันต้องท�ำงาน สามีฉันก็ท�ำงาน ลูกฉัน ต้องไปโรงเรียน อาทิตย์หนึ่งอยากให้มี เวลาว่างสักหนึ่งวัน แล้วแกงจืด แกง อะไรขึ้ น มาสั ก อย่ า ง ลองเอาแครอท มาสลั ก เป็ น รู ป หั ว ใจก็ ไ ด้ หรื อ จะแกะ ดอกไม้ ป ระเภทที่ มี ก ลี บ ชั้ น เดี ย วก็ ไ ด้ แล้วก็ชี้ชวนให้สมาชิกในครอบครัวดู นี่ หัวใจแม่ นี่หัวใจพ่อ นั่นหัวใจหนู มันก็


จะมีความสุขเกิดขึ้นในครอบครัว เป็น เรื่ อ งจริ ง นะคะ เพราะสิ่ ง เหล่ า นี้ เ พ็ ญ พรรณท�ำมานานแล้ว” ในด้ า นชี วิ ต การท� ำ งานอาจารย์ เพ็ญพรรณได้รับเกียรติยศสูงสุดมาครบ ถ้ ว นแล้ ว แม้ ใ นส่ ว นของภรรยาและ แม่ ข องลู ก ๆ อาจารย์ ก็ ส อบผ่ า นเป็ น อย่ า งดี อาจารย์ ย อมรั บ ว่ า ชี วิ ต ที่ ผ ่ า น มาทั้งหมด ตนเองมีธรรมะเป็นสิ่งหล่อ เลี้ยงจิตใจ กอปรกับตระกูลของสามีก็มี พระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งอันสูงสุด นั่น ท�ำให้อาจารย์ถือจริยธรรมและสัจธรรม เป็นที่ตั้งในการด�ำเนินชีวิตและถ่ายทอด ผ่านลูกศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า “กรมประชาสัมพันธ์เคยประกาศ บอกผู้ฟังผ่านรายการว่า อาจารย์เพ็ญ พรรณ สิทธิไตรย์ รากแก้วของแผ่นดิน ดิฉันฟังแล้วก็น�้ำตาไหล มีความสุขมาก พอมาได้ ศิ ล ปิ น แห่ ง ชาติ ก็ ยิ่ ง มี ค วามสุ ข ชั่ ว ชี วิ ต ของลู ก ผู ้ ห ญิ ง คนหนึ่ ง ชี วิ ต การ

แต่งงาน หรือการครองเรือน ถ้าสามีดี และลูกดี ถือว่าเป็นลาภอันประเสริฐ ไม่มี อะไรเสมอเหมือน ถ้าคุณมีเงินเป็นหมื่น ล้าน แต่สามีไม่ดี ลูกไม่ดี ก็ป่วยการ แต่ สิ่งที่อยากได้ อาจารย์เพ็ญพรรณได้ครบ แล้ว (น�้ำตาคลอเบ้า) ฉั น ถื อ สั จ ธรรมเป็ น ที่ ตั้ ง ไม่ เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น ด�ำรงตนอยู่ ในสัจธรรม ถือศีลห้าให้ได้ ชั่วชีวิตตั้งแต่ เกิดมา เป็นคนที่ไม่เล่นหวย ไม่เล่นแชร์ ไม่ซื้อลอตเตอรี่ ไม่ซื้อของเงินผ่อน ไม่ เป็นหนี้ใคร ตระกูลวชิโรดม เป็นตระกูลสร้าง วัดค่ะ งานแกะสลัก ก็ได้ฝึกมือมาตั้งแต่ ตอนนั้น เพราะตามประสาคนต่างจังหวัด มี ทั้ ง งานแห่ เ ที ย นเข้ า พรรษาและแห่ ปราสาทผึ้ง ที่ต้องร่วมแรงร่วมใจกันท�ำ สิ่งเหล่านี้ถวายวัด และเมื่อแต่งงานกับสามีตระกูล สิทธิไตรย์ ก็เป็นตระกูลที่ชอบสร้างพระ 20 IS AM ARE www.ariyaplus.com

ประธานถวายวัด ชอบทอดผ้าป่า ทอด กฐิน ไม่จ่ายซองแจกซองเลย ท�ำเอง จน พระต้องเตือน เดี๋ยวไม่มีบริวารนะโยม เพราะเวลาท�ำบุญดิฉันท�ำด้วยใจศรัทธา ดังนั้นจะมีความสุขอะไรที่เท่าตรงนี้” ทั้ ง นี้ อ าจารย์ ยั ง เคยรั บ ราชการ ครู ส อนศี ล ธรรมในต่ า งจั ง หวั ด ท� ำ ให้ ตระหนักถึงคุณงามความดี และความถูก ต้องในชีวิตเสมอมา เรียกว่าครบเครื่อง กุลสตรีไทยจริงๆ “ช่วงที่ย้ายไปจังหวัดนั้นจังหวัด นี้ หน้าที่จริงๆ คือการสอนวิชาศีลธรรม หน้ า ที่ พ ลเมื อ ง ประวั ติ ว รรณคดี ไ ทย และกฎหมายครอบครั ว เขาให้ ส อน เพราะเห็นว่าสามีเป็นผู้พิพากษา สอน ศีลธรรมมา 20 ปี ลองถามมาสิว่ามีอะไร เกี่ยวกับศาสนาพุทธและพระพุทธเจ้า ที่อาจารย์เพ็ญพรรณ ตอบไม่ได้บ้าง” ในการท� ำ งานศิ ล ปะการแกะ เครื่องสดทั้งหมดที่ผ่านมา อาจารย์เพ็ญ พรรณมุ ่ ง หวั ง ให้ ค นรุ ่ น หลั ง ได้ สื บ สาน ภู มิ ป ั ญ ญาชนิ ด นี้ ต ่ อ ไป นอกเหนื อ จาก นั้นอาจารย์กล่าวว่าสิ่งที่ตนท�ำทั้งหมดก็ เพื่อทดแทนพระคุณแผ่นดิน “มันเป็นความภูมิใจอย่างยิ่งว่า เราได้ท�ำงานนี้ ถึงได้ตั้งในใจว่า ขอฝาก ภูมิปัญญาไว้เป็นมรดกแผ่นดิน ท�ำเพื่อ ทดแทนพระคุณแผ่นดินเกิด เอกลักษณ์ ไทยอั น ไม่ มี ช าติ ใ ดเสมอเหมื อ น ให้ ช่วยกันรักษางานอันนี้ตราบชั่วไปเลย ค่ะ” ขอบคุณข้อมูล หนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 119 ตุลาคม 2553 โดย พรพิมล, คม ชัด ลึก, ผู้จัดการออนไลน์


น�้ำหยดนั้นไหลลงพระนาสิก สั่นระริกสู่ดินแห้ง แล้งถึงฟ้า พลันสะทกอกตาสีและยายมา พลันสะทกน�้ำในตา ไหลเอ่อนอง น�้ำหยดนั้นไหลลงพระนาสิก ดั่งจะพลิกแผ่นดินไทยทั้งผอง ดั่งจะชุบใจทุกข์ให้เรืองรอง เหงื่อต่างน�้ำไหลนองเป็นทองธาร น�้ำนั้นหยดลงแผ่นดินถิ่นสยาม ในทางท่ามความเปลี่ยนใครเรียกขาน เป็นเสียงเพรียกแห่งชีวิตอันยืนนาน ความพอเพียงคือรากฐานของแผ่นดิน น�้ำหยดนั้นไหลซึมลงสู่พื้น ที่หยัดยืนคือผืนนาดั่งทรัพย์สิน ใครจะอยู่ ใครจะว่าย ใครจะบิน อย่าลืม “ดิน” ที่เคยยืนบนผืนไทย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า มูลนิธิครอบครัวพอเพียง ในวโรกาสมหามงคลทรงครองราชย์ ครบ ๗๐ ทศวรรษ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๙ ประพันธ์โดย : กรวิก อุนะพ�ำนัก


22 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Cartoon

23 issue 101 june 2016


24 IS AM ARE www.ariyaplus.com


25 issue 101 june 2016


26 IS AM ARE www.ariyaplus.com


27 issue 101 june 2016


Cover Story

ความสุข

อิ่มตา อิ่มจิตอิ่มใจ อิ่มท้อง อ.เสถียร ทองสวัสดิ์ ผู้บริหารโครงการ 1 ไร่ 1 แสน ท่ า นผู ้ อ ่ า นที่ ติ ด ตามนิ ต ยสาร IS AM ARE ครอบครั ว พอเพี ย ง คงทราบดี ว ่ า เราเคยน� ำ เสนอเรื่ อ งราว โครงการ “1 ไร่ 1 แสน” กั น ไปแล้ ว ที่ ถ นน 345 บางตะไนย์ อ� ำ เภอปากเกร็ ด ฉบั บ เดื อ น ธั น วาคม 2556 จนถึ ง ปั จ จุ บั น นี้ โครงการดั ง กล่ า วได้ รั บ ความสนใจเป็ น อย่ า งมากจากผู ้ ค นหลากหลายอาชี พ จะ ด้ ว ยเศรษฐกิ จ ที่ ผ กผั น ท� ำ ให้ ผู ้ ค นหั น มาสนใจวิ ถี เ กษตรอิ น ทรี ย ์ แ บบเลี้ ย งตั ว เองมากขึ้ น ประชาชนมองหา แนวทางสร้ า งความสุ ข ในสั ง คมที่ อั ด แน่ น หรื อ ประชาชนเริ่ ม “ตื่ น รู ้ ” มากขึ้ น ในการดู แ ลสุ ข ภาพด้ ว ยตั ว เอง เริ่ ม มองเห็ น อั น ตรายในวิ ถี เ กษตรเคมี ที่ ส ่ ง ผลต่ อ ทั้ ง ผู ้ ผ ลิ ต และผู ้ บ ริ โ ภค

28 IS AM ARE www.ariyaplus.com


29 issue 101 june 2016


อย่ า งไรก็ ต าม โครงการนี้ ก� ำ ลั ง เป็ น ที่ จั บ ตามองของ บริษัทยักษ์ใหญ่ในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารที่เลี้ยงปากเลี้ยง ท้องคนไทยในลักษณะผูกขาดมาอย่างยาวนาน ผลผลิตจากทั่ว สารทิศในประเทศไทยถูกส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป ใน ขณะที่โครงการหนึ่งไร่หนึ่งแสนก�ำลังดึงคนให้หันมาท�ำเกษตร อินทรีย์แบบพึ่งตนเอง ภายใต้ชื่อ “เกษตรสรรพสิง่ ” ซึ่งดูเหมือน ว่าก�ำลัง “สวนกระแส” อุตสาหกรรมอาหารที่ต้องพึ่งสารเคมี อย่างสิ้นเชิง นั่นดูเป็นงานที่สาหัสพอสมควร ฉบับนี้เราลองมาคุยกับอาจารย์ เสถียร ทองสวัสดิ์ หนึ่ง ในหัวเรี่ยวหัวแรงของโครงการดังกล่าว ถึงมุมมองต่างๆ ที่ผ่าน มาในการด�ำเนินชีวิต และด�ำเนินงานหนึ่งไร่หนึ่งแสน รวมทั้ง ประสบการณ์ดีร้าย ทั้งผู้สนับสนุน ทั้งผู้ต่อต้าน ถึงขนาดมีคน เอาโรงศพมาวางหน้าบ้านก็เคยมาแล้ว เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ขอน�ำท่านผู้อ่านสู่บทสัมภาษณ์ชิ้นนี้กันเลยครับ ทราบว่ า เคยรั บ ราชการครู ท� ำ ไมผั น ตั ว มาเรี ย นรู ้ เกษตรอิ น ทรี ย ์ ? โรงเรียนผมเป็นโรงเรียนขยายโอกาส อยู่เขตชลประทาน ผมมาเอะใจว่าชาวบ้านท�ำนาปีละสองเที่ยว แล้วท�ำไมเลี้ยงลูก ไม่ได้ ครอบครัวแบ่งกลาง พ่ออยู่ทาง แม่อยู่ทาง ลูกก็เอาไป ฝากเลี้ยง ผมก็มาคิด ผมมีเมียคนเดียวเลี้ยงเด็กตั้งสามสิบกว่า คน มันไม่ไหวนะ เขาว่า “เกษตรอินทรีย์คือทางรอด” ผมไปศึกษาก็คิดว่า ยังไม่ใช่ ลองท�ำเป็นสเกลเล็กๆ ไว้อาหารกลางวันคือครู นักเรียน ไม่ต้องซื้อ แต่ว่าเรายังพึ่งตัวเองไม่ได้ เพราะเราไปแก้อยู่ปลาย เหตุ ต้นเหตุปัญหาจริงๆ ท�ำไงมีลูกถึงจะเลี้ยงลูกได้ เพราะแต่ละ คนที่มาฝากผมนะ บอกอาจารย์ช่วยดูแลหน่อย คือยายเขาเอา มันไม่อยู่แล้ว เราก็เอามาฝึกให้รู้จักปลูกผักกิน อย่างน้อยก็ผักบุ้งเอา มาเลี้ยงปลา ผมเรียนการเพาะปลามาจากประมง ก็พากันเพาะ ขายมีรายได้เอามาแบ่งกัน ชักเข้าท่าเพราะว่าเด็กไม่ยอมกลับ บ้าน เขาอยากได้ตังค์ ทีนี้เราก็เอาไปขายอาหารกลางวันโรงเรียน บังคับให้ซื้อจากของเราเองเงินจะได้หมุนอยู่ที่เก่าไม่ไปไหน แล้ว ก็ให้เลี้ยงปลาไว้กินเองโดยไม่ใช้หัวอาหาร พอปี 2547 ได้ยิน ข่าวว่ามีอาจารย์คนหนึ่งเป็นนักวิชาการเขาท�ำเรื่องเกษตรโดย ไม่ใช้สารเคมี ผมเลยเหมารถตู้ไปหาเขา คืออาจารย์กิตติ์ธเนศ รังคะวรเศรษฐ์ ผมไปหาที่ล�ำพูน แกก็บอกมาท�ำไมมันมีอยู่ใน พระไตรปิฎกอยู่แล้ว ท่านเอาไปอ่านสิ 30 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ในพระไตรปิ ฎ กว่ า ไว้ อ ย่ า งไร ? ในพระไตรปิ ฎ ก พระสุ ต ตั น ตปิ ฎ กฉบั บ หลวง ที ฆ นิ ก ารปาฏิ ว รรค เล่มที่ 11 หน้าที่ 89-96 (ประมาณ 2,598 ปีมาแล้ว) เขาเขียนไว้ว่า เกษตรสรรพสิ่ง คือง้วนดิน เป็นสัตว์ชั้นต�่ำที่พระพุทธเจ้า จั ด ว่ า ตั ว เล็ ก ที่ สุ ด มี อ านุ ภ าพมากที่ สุ ด คื อ โลกของเราในจั ก รวานนี้ แ บ่ ง เป็ น 3 อาณาจักร 1.อาณาจักรคนและสัตว์ 2.อาณาจั ก รพื ช 3.อาณาจั ก รจุ ลิ น ทรี ย ์ แต่ ส องอาณาจั ก รแรกมั น เข้ า สปอร์ ไ ม่ ได้เหมือนจุลินทรีย์ ตัวที่มีอานุภาพมาก ที่ สุ ด ของอาณาจั ก รจุ ลิ น ทรี ย ์ ที่ เ ป็ น นางพญาเขาเรี ย ก “ง้ ว นดิ น ” อาหาร ของจูลินทรีย์เรียกว่า “นมเปลี่ยนหรือ เว้” เว้คือนมวัวที่ผ่านกระบวนการหมัก ด้วยผลไม้ 5 ชนิด คือ มะขามป้อม สมอ ตะลิงปลิง มะขามเปรี้ยวแกะเมล็ดออก และล�ำดวน เอาไปหมักกับน�้ำอ้อยสด 45

วัน แล้วเอาน�้ำนั้นไปหมักกับนมสด 20 ลิตร (น�้ำอ้อย 1 ลิตร/นมสด 20 ลิตร) จนไขมันนมหมด เขาเรียกว่า เว้ (ภาษา บาลี) เว้ คื อ นมเปลี่ ย นที่ ห มั ก มาจาก ผลไม้ที่ไปสกัดกินไขมันในนมออก เป็น อาหารชั้นดีของจูลินทรีย์ จูลินทรีย์แบ่ง เป็นกลุ่มดี กลุ่มกลาง กลุ่มร้าย กลุ่มดี จะกินเว้เป็นหลัก พอเราค่อยๆ ศึกษา เราจึ ง รู ้ ว ่ า มั น คื อ นมที่ ไ ม่ มี ไขมั น ที่ ผ ่ า น กระบวนการหมัก แต่ไม่ใช่นมที่เขาสกัด ไขมั น ไปท� ำ เนยนะ ตั ว นั้ น มาเลี้ ย งนม เปลี่ ย นไม่ ไ ด้ จู ลิ น ทรี ย ์ เ น่ า เหม็ น ตั ว นี้ ไม่เหม็น พอปี 2530 สังฆราชปุ่นกับเจ้า คุ ณ อ�่ ำ วั ด โสมนั ส เรี ย บเรี ย งเป็ น ต� ำ รา สุวรรณภูมิ แล้วก็ถวายในหลวงตอนที่เปิด สวนหลวง ร.9 เมื่อปี 2530

31 issue 101 june 2016

พระองค์ท่านก็เอาไปลองผิดลอง ถู ก คื อ เอาไปท� ำ ปี 2534 พระองค์ ท่ า นประกาศ “ประเทศนี้ ค นจะไม่ วิกฤตอาหารและพลังงานต้องเอาหลัก เกษตรทฤษฎีใหม่ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิต” โครงการนี้ มี อ งค์ ค วามรู ้ ที่ แ ตก ต่ า งจากภาคการศึ ก ษาในระดั บ มหาวิ ท ยาลั ย อย่ า งไร ? มหาวิทยาลัยสอนเกษตรมีเยอะ แยะ แต่ คุ ณ ไปจ่ า ยครบจบ ก๊อปปี้เขา มา คุณไม่ได้ลงมือปฏิบัติเลย วันนี้คุณ รู้คุณไม่ได้วิเคราะห์เลย คุณโฆษณาอย่าง เดียว ภาคอุตสาหกรรมเขามองคุณเป็น แค่แรงงาน วัฒนธรรมเลิกทาส เมื่อเลิก ทาสคนที่ เ ป็ น ทาสคิ ด ได้ อ ย่ า งเดี ย วคื อ ยุทธศาสตร์ส่งลูกเรียนเพื่อไปเป็นขุน เขา เรียกว่า 2 ปรัชญา 2 วิถี


หมายถึง ปรัชญาหนึ่งก็คือ คนที่เป็นทาสพอเลิกทาสก็พยายามบอกลูกเรียนให้จบนะจะได้ไม่ล�ำบากเหมือนพ่อแม่ คุณไม่ ได้ให้เขาไปเรียนวิถีการใช้ชีวิตเพื่อความอยู่รอด พัฒนาดิน ก็คือทรัพยากรดิน พัฒนาน�้ำคือทรัพยากรน�้ำ แล้วก็พัฒนาสิ่งแวดล้อม คือพันธุกรรม คุณไม่ได้ปลูกฝังตรงนั้น มีแต่เรียนให้จบนะลูกจะได้ไม่ล�ำบากเหมือนพ่อแม่ วันนี้เลิกทาสมาสองร้อยกว่าปีแล้วนะ คุณบอกว่าคุณเป็นไทย วันนี้ความเป็นไทยของคุณอู่ข้าวอู่น�้ำเหลือไหม อยุธยา ปทุม นนทบุรี เหลือเป็นอู่ข้าวอู่น�้ำเหมือนในต�ำราเมื่อก่อนไหม มีแต่อุตสาหกรรม ปี 54 ดูน�้ำท่วมสิ มีชาวนาออกมาไหม มีแต่ลูกชาวนา ที่ไปเป็นขี้ข้ากั้นล้อมกลัวน�้ำท่วมโรงงาน พอน�้ำท่วมโรงงานรัฐบาลก็อุ้มแต่นายทุนต่างประเทศ ไม่ได้อุ้มคนไทยเลย เงินเม็ดใหญ่ไป อยู่ตรงนั้นหมด ความเหลื่อมล�้ำตรงนี้บ่งบอกอะไร คนที่มีกินอย่างพวกเรา เขาเรียกว่า คนที่มีเศรษฐกิจพอเพียง เย็นนี้จะกินอะไร แต่กรรมกรที่หาเช้ากินค�่ำ เย็นนี้มีอะไรกิน จึงเป็นที่มาของเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ 1 ไร่ 1 แสน ที่ใช้นวัตกรรมที่เรียกว่า “ง้วนดิน” หรือ “สรรพสิ่ง” จริงๆ ตัวนี้มี อยู่แล้ว แต่เราเอามาพูดให้เข้ากาลสมัย เป็นเกษตรทฤษฎีใหม่แต่เรามาย่อให้สเกลเล็กลง อีกสิบปีลูกหลานอาจจะคุยแค่พื้นที่งาน เดียว อาจารย์เสถียรพูดไร่หนึ่งอาจจะบอกว่าล้าหลัง เพราะผืนแผ่นดินมันไม่มีเพิ่ม มีแต่ลดลงเรื่อย แล้วในอาเซียน ประเทศไทยคุณ ลองมองดู มีประเทศไทยประเทศเดียว มีเงินแบกมาซื้อเลย จะเอาตรงไหน เพราะพื้นดินทุกตารางนิ้วเจ้าของประเทศให้เกษตรกร คุณมีสิทธิ์ถือครอง แต่ต่างประเทศพื้นแผ่นดินเป็นของรัฐ คุณไปซื้อได้ 99 ปี เขาก็ต้องเอาของคุณคืน มันมีประเทศไทยประเทศ เดียวเท่านั้นที่พื้นแผ่นดินเป็นของพี่น้อง แล้ววันนี้คุณมีวิธีให้พี่น้องรักษาแผ่นดินไหม กี่รัฐบาลมาแล้วยังมองไม่เห็นเลย เกษตรสรรพสิ่ง เพราะถือว่าเป็นเรื่องล้า หลัง แต่คุณไปอ่านดูนะในง้วนดินเขาบอกว่า มันมีสัตว์อยู่ตัวเดียวในโลกนี้ ที่มีปัญญาสร้างอาหารชั้นเลิศ คือคนหรือมนุษย์ สัตว์ ตัวอื่นไม่มีปัญญา วรรคหนึ่งเขาเขียนไว้ ว่า “ข้าวคือชีวิต” เพราะวันนี้คนไทยรู้ เรื่องข้าวเพียงจะเอากี่โถหรือกี่จาน ความ รู้ว่าข้าวแต่ละกลุ่มที่เขาเรียกว่าข้าวธัญ ชาติ คุณไม่มีเลย วันนี้คุณขายข้าวเป็น อันดับหนึ่งของโลกแต่คุณไม่ได้ขายหม้อ หุงข้าวนะ ความเหลื่อมล�้ำตรงนี้เรียกว่า ทุนปัญญามันหาย ความรู้มีแต่ทุนปัญญา หาย เพราะประเทศไทยถูกหล่อหลอมไม่ ให้เอานวัตกรรมพวกนี้ขึ้นมา มีไม่กี่กลุ่ม ที่พยายามจะพัฒนาเด็กให้รู้เท่าทันโลก โลกาภิวัฒน์ คือให้รู้จักวิถีเอาตัวรอด คนที่ จ ะท� ำ 1 ไร่ 1 แสนได้ ควร มี อ ง ค ์ ป ร ะ ก อ บ ห รื อ มี ลั ก ษ ณ ะ อย่ า งไร ? คนท�ำ 1 ไร่ 1 แสน มีองค์ประกอบ อยู่ 4 ตัว 1.คุณต้องเป็นคนที่กล้าเปลี่ยน แนวคิดเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น 2.คุณต้องศึกษา พื้ น ที่ ที่ คุ ณ จะไปลงมื อ ท� ำ 3.คุ ณ ต้ อ งมี องค์ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของ ในหลวง 4.มีบุคคลหน่วยงานองค์กรหนุน เสริม พอมี 4 องค์ประกอบนี้คุณต้องมีทุน ทั้ง 7 ยกตัวอย่างหลักๆ คือ 32 IS AM ARE www.ariyaplus.com


1.ทุนเวลา ในการที่จะไปท�ำเพราะมันหาซื้อไม่ได้ วันนี้ คนประเทศนี้เป็นหมู่มากของประเทศที่จนทางภาคการเกษตร เพราะเอาทุนเวลาไปใช้ในทางที่ผิด มัวแต่ไปดูนางเอกกับนาง ร้ายทะเลาะกัน บอกว่าท�ำงานเมื่อย รับจ้าง ช่วยเหลือครอบครัว พอวันหยุดไปดูมวย คุณก็ไปเสียเวลาอยู่ตรงนั้น 2.ทุนแรง ทุนตัวนี้ยิ่งใช้มากยิ่งได้มาก ถ้าไม่ใช้มันเอาคืน เป็นเรื่องของธรรมชาติอยู่แล้ว 3.ทุนความรู้ ทุนตัวนี้ประเทศเราลงทุนภาคการศึกษา เพื่อให้คนมีความรู้ปีละแสนๆ ล้าน แต่ไม่มีใครมาบอกเลยว่า คนจบปริญญาตรีกี่เปอร์เซ็นต์ จบอนุปริญญาตรีกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วจบภาคบังคับไปอยู่ไหน ไม่มีใครมาประเมิน เพราะมัน เป็นการชิงแหล่งท�ำมาหากินของเจ้าสัวใหญ่ๆ ไม่กี่เจ้า มันไม่ ยอมเปิดไง แต่ทุนความรู้ที่ประมุขประเทศท่านให้ไว้ ท่านไม่ได้ บอกว่าเป็นของใครนะ ใครอยากจะใช้เอาไปใช้ และทุนความ รู้ที่จะเอามาบริหารพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่ ว่า 1 ไร่ 1 แสน ทุนนวัตกรรมตัวนี้ที่เรียกว่าง้วนดินหรือสรรพ สิ่ง ตัวนี้ยิ่งแคบ ปั จ จุ บั น ผลตอบรั บ โครงการเป็ น ยั ง ไง ? เดือนนี้ตั้งใจเปิดอบรม 185 คน ตอนนี้ 214 คนแล้ว ทุก สาขาอาชีพ วันนี้ประเทศไทยคนมีความรู้หาความสุขไม่เจอ แต่ วิถีเกษตรมันเป็นความสุข แค่คุณปลูกข้าวกินเองคุณก็มีความสุข แล้ว เป็นวิถีธรรมชาติไปบ�ำบัดธรรมชาติ จาก 185 ขึ้นมาเป็น 214 คน คือมาเรียนก็ได้แต่คุณช่วยตัวเอง เขาให้จังหวัดละ 5 คน แต่คนอยากจะมาเอง เขาก็ต้องยอมจ่ายเอง มันยังดีกว่าไป ท�ำน�้ำยาล้างจานปลดหนี้ มันปลดได้ไหม คุณสู้ที่เขาท�ำอยู่ไม่ได้ หรอก ใครรวยขึ้น ก็ ธกส.ที่ขายหัวเชื้อนั่นแหละ (N70) แต่วัน นี้ท�ำยังไงคนไทยถึงจะวินๆ ด้วยกัน ดีกว่าไปดูงานเศรษฐกิจพอ เพียง ผมเห็นแต่คุณไปเที่ยวไปถ่ายรูป ผมถึงใช้วิธี ถ้าคุณว่าดีก็มาสิ ผมจะเปิดไว้ทุกเดือน เดือน ละรุ่น อบรมครั้งละ 3 วัน ที่พิพิธภัณฑ์เกษตร นวนคร และ ที่นาเจริญ สวนสรรพสิ่ง บ้านนาเจริญ อ�ำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ที่พิพิธภัณฑ์เกษตร นวนคร จะจ่ายแพง 3,500 บาท/คน ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าวัสดุเอกสาร วิทยากร มาสอนฟรี ที่นาเจริญ 2,500 บาท/คน เพราะนอนห้องพัดลม ห้องรวม

ผ้าห่ม มุ้ง พอแล้ว 3.เว้นจากอบายมุข 6 คือดื่มเหล้า เที่ยวกลาง คืน ดูการละเล่น เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร เกียจคร้าน การงาน หกข้อนี้คุณต้องละให้ได้ 5 เดือนนี้เรียนรู้เรื่องดิน เรื่องน�้ำ เรื่องพันธุกรรม เพื่อ อนุรักษ์รักษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเรียน รู้เรื่องตัวเอง เรื่องผู้อื่น ท�ำไมต้องเรียนรู้เรื่องตัวเองเรื่องผู้อื่น เพราะวันนี้ เมื่อคุณรู้เรื่องนี้ เมื่อคุณเอาไปท�ำ เพื่อให้มีอยู่มีกิน พึ่งพาตัวเองได้ เหลือไว้แจก แล้วก็ขาย คุณต้องเรียนรู้ตัวเอง ให้ได้ใน 5 เดือน รู้จักคนอื่นก็คือ เรียนรู้เรื่องคนอื่นอยู่ในสังคมให้เป็น บาง คนอยู่ในสังคมไม่เป็นนะ คุณต้องไปฝึกอยู่ให้เป็น เรียกว่าเอาใจ เขามาใส่ใจเรา รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว ถ้าค�ำโบราณก็คือ ในน�้ำให้ มีปลา ในนาให้มีข้าว กินข้าวมากๆ ใส่กับน้อยๆ เป็นยา กินข้าว กินปลามารึยัง มันบ่งบอกถึงความสุขนะ ถ้ามองเรื่องดินเรื่อง น�้ำคือมันมีอาหาร ในหลวงท่านบอกว่าในน�้ำมีปลาบนคันนามี ผัก ไว้กิน ยามจะกินหุงหาเอง ปรัชญาของท่านก็คือ เดินทีละ ก้าว กินข้าวทีละค�ำ เอาทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ยุทธศาสตร์ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต สร้างมูลค่าและความ ยั่งยืน คืนความสมดุลให้กับธรรมชาติ ครบเลยนะ ไม่ใช่แค่ว่า

การสมั ค รเรี ย น 5 เดื อ น เงื่ อ นไขเป็ น ยั ง ไง ? เรียนฟรี ผมมีกติกาอยู่ 3 ข้อ 1.เป็นคนไทยช่วยเหลือตัว เองได้ 2.เสื่อผืนหมอนใบ คุณเตรียมที่นอนไปเอง แค่เสื่อ หมอน 33

issue 101 june 2016


ทางลมหายใจจะมากขึ้น ผื่น ภูมิแพ้ จะมากขึ้น เพราะคุณไม่รู้ ว่าผักตบมันดียังไง คุณไม่ถาม ร.5 ดูว่าท่านเอามาปล่อยท�ำไม เพราะท่านรู้ว่าข้างหน้าประเทศนี้จะอยู่แออัด ตัวที่บ�ำบัดดีที่สุด อันดับหนึ่งคือผักตบ แต่วันนี้คุณไปรื้อผักตบทิ้ง คุณไม่รู้การเอา ทิ้งนี้จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณรู้เรื่องสรรพสิ่ง ผักตบคือสุดยอดกว่า เพื่อน เพราะมันมีโกรทฮอร์โมนสูง มนุ ษ ย์ เ ป็ น สั ต ว์ ที่ ต ้ อ งอยู ่ กั บ ธรรมชาติ แต่ วั น นี้ คุ ณ พยายามหนีธรรมชาติ

เอาปลาให้กิน บอกวิธีจับปลานะ มันรวมถึงวิธีเลี้ยงปลาไว้กิน เองด้วยนะ สืบทอดให้ลูกให้หลาน นี่คือการที่มีผืนแผ่นดิน มีผืนน�้ำ พันธุกรรม แล้วสร้าง สังคมให้เป็นมิติที่น่าอยู่ มันครบเลย แต่วันนี้เรามัวทิ้ง วิ่งไปตาม สิ่งที่เขาบอกว่าพัฒนาแล้ว ต่ อ ต้ า นสารเคมี ใ นการท� ำ เกษตรอย่ า งนี้ เคยโดน โจมตี บ ้ า งไหม ? โดนมาก โรงศพวางไว้หน้าบ้านยังเคยที่บ้านผม มีคนไป ถามก�ำนันบ้านผม ก�ำนันบอกท�ำอย่างผมไม่ได้หรอก มันเสี่ยง เมื่อ 5 ปีที่แล้วโรงศพวางหน้าบ้านนะ ผมก็คิดเขาจะมาฆ่าเรา ท�ำไม เราก็อ๋อ สามหมื่นกว่าไร่เราไม่พาชาวบ้านใช้เคมีเลย ร้าน เคมีก็โดนกระทบ ปีหนึ่งเขาได้หลายล้าน-เจ๊ง ทฤษฎี ข องผมพื ช สี เขี ย วผมเอามาเลี้ ย งจุ ลิ น ทรี ย ์ น ะ เพราะพวกนี้กินซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร ก็คือโลกนี้ไม่มีวัชพืช แต่ของเขาต้องฆ่าทิ้ง พอหน้าแล้งบอกว่าไม่มีน�้ำ เพราะวิธีเก็บ น�้ำประเทศไทยมี 3 รูปแบบ ขุดเป็นแอ่งลงไปเก็บ ก็คือขุดสระ กั้นคลอง ท�ำเป็นเขื่อนเป็นฝาย วิธีที่สองปลูกต้นไม้ใหญ่ ให้ช่วย เก็บน�้ำ วิธีที่สามคลุมหน้าดิน แล้ววันนี้หญ้าถูกฆ่าหมดแล้ว ยิ่ง ผักตบเป็นตัวบ�ำบัดชั้นดี นโยบายขุดลอกหนอง คลอง บึง อีก ไม่เกินสามปีข้างหน้าคอยดูไข้เลือกออกจะรุนแรง คนเป็นโรค

เรามี ท างที่ จ ะเดิ น ร่ ว มกั น กั บ ภาคอุ ต สาหกรรมบ้ า ง ไหม ? ผมเคยคุ ย ไปว่ า วั น นี้ คุ ณ รู ้ เรื่ อ งการบ� ำ บั ด ไหม ไม่ รู ้ อาจารย์ คนมาซื้ อ น�้ ำ หอมเขาก็ โ ทรมาก่ อ นใช่ ไ หม เราก็ เ อา น�้ำหอมไปพ่น คุณไปตรวจเครื่องมือวิวัฒน์ ค่าปกติ มันจะเกิด ประโยชน์อะไร โรงงานใกล้แม่น�้ำ น�้ำมันดีขึ้นไหม บอกลอง ไปล้างมือดูสิกล้าล้างไหม แต่ผมสอนเขาให้รู้จักพัฒนาดิน น�้ำ พันธุกรรม อะไรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้รักษาไว้ให้เป็นอัตลักษณ์ ผมพยายามสอนให้เอาสิ่งที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างหญ้าราคามันถูก อัพให้มันมีโปรตีนสูงขึ้นได้ไหม เพื่อเอา ไปผลิตพืชผลิตสัตว์ โดยธรรมชาติปลาก็เลี้ยงตัวเอง ตัวใหญ่ ไหม แต่วันนี้คุณไปท�ำลาย ข้างกระสอบอาหารปลาเขียนว่า มี 34

IS AM ARE www.ariyaplus.com


สารถนอมอาหาร ก็ยากันบูดนั่นเอง แต่ เปลี่ยนชื่อ ทราบไหมว่ า มี อ งค์ ก รส่ ง คนมา สั ง เกตการณ์ ข ณะบรรยายความ รู ้ ? กีดกันก็มี คนมาสังเกตการณ์ก็มี ผมบอกว่าผมมาท�ำผิดเรื่องอะไร เพราะ วันนี้คุณท�ำผิดมากี่ปีแล้ว คุณบอกว่าคุณ รวย แต่มองดูคนอื่นบ้างไหม เขารวยไหม ชีวิตมันดีขึ้นไหม คุณอย่าบอกว่ากรรมนะ ผมบอกการกระท�ำนี่แหละกรรม เหมือน วั น นี้ ถ ้ า ผมหยุ ด ท� ำ ผมก็ ไ ม่ รู ้ จั ก กั บ คุ ณ นะ ผมถื อ ว่ า ยั ง ไงฉั น ก็ ต าย แต่ จ ะตาย แบบไหนแค่ นั้ น มี ค นมาสั ง เกตการณ์ เยอะแยะ ยิ่ ง กระทรวงเกษตรยิ่ ง แผ่ ว ผม พูดว่าปลูกข้าวอินทรีย์ 2 ตัน/ไร่ คุณลอง นึกถ้าคุณมีความรู้ 1,600 ตรม./ไร่ คน โบราณว่าต้นกล้า ไม่เท่า 5 หัวปลี คือถ้า คุณไปปลูกวันแม่เกี่ยววันพ่อไม่มีใครบอก ได้เลยว่าผลผลิตได้เท่าไหร่ต่อไร่ มันเป็น สโลแกนของคนท�ำธุรกิจขายปุ๋ยขายยา ต้องเร่งให้มันใหญ่ให้มันโตไง ถ้าคุณไม่ใส่ เกี่ยวก็ได้ผลผลิตไม่เต็มที่ ในส่วนที่ 1,600 ตรม.นี้ ปลูกอินทรีย์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้า คุณปลูกระยะ 40 x 40 ซม.ไร่หนึ่งอยู่ที่ 1 หมื่นต้น หมื่นต้นถ้าคุณมีความรู้เรื่อง สรรพสิ่ง คุณบอกว่าท�ำสรรพสิ่งเข้าไปใส่ 1 ต้นให้มันแตกได้ 60 ต้น คุณก็มีข้าว อยู่ 6 แสนต้น ต้นหนึ่งคุณให้มีเมล็ดดีได้ ไหมสัก 200 เมล็ด คุณก็เอาความรู้นี้ไป ใส่อีก เพราะว่าธาตุอาหารของพืชหลักๆ คือ NDK ส่วน ฟอสฟอรัส โปรแทสเซียม คุณมีความรู้สร้างมันขึ้นมาไหม คุณไม่มี คุณต้องไปแกะกระสอบ แต่วันนี้ผมต้อง สอนให้เขา พืชตัวไหนที่มีโปรแทสเซียม และฟอสฟอรัสมาก ให้เขาหมักเองไปใส่ พอให้เอาไปใส่ตรงนี้ข้าวมัน 200 เมล็ด ต่อรวง 200 x 600,000 ต้น คุณมีข้าว

อยู่ที่ หนึ่งร้อยยี่สิบล้านเมล็ด ข้าวร้อยยี่สิบล้านเมล็ด 1 กิโลกรัม มีกี่เมล็ด ไม่มีใครนับเลย รู้แต่ว่าจะเอาโถ หรือเอาจาน มันมีความรู้อยู่ในนั้น อะไรที่เป็นกลุ่มเบาหวาน ความดัน มะเร็ง ค�ำโบราณ ว่ากินข้าวมากๆ ใส่กับน้อยๆ เป็นยา เมื่อคุณไม่มีความรู้แล้วคุณจะไปตั้งธงได้ยังไงว่า 66 ล้านล้านไร่ที่คุณท�ำนาประเทศไทยเพื่อส่งออก คุณเอาอะไรเป็นตัวชี้วัด มันเป็นวิถี ของคนที่ท�ำนโยบายหากินกับภัยแล้งน�้ำท่วม พอได้ร้อยยี่สิบล้านเมล็ด หนึ่งกิโลมีอยู่ 5 หมื่นเม็ด เอา 5 หมื่นเม็ด หาร ร้อย ยี่สิบล้านเมล็ด ได้ สองตันสี่ วันนี้คุณมาเรียนรู้ปลูกข้าวไร่หนึ่งได้ 2.4 ตัน น่าเกลียด ไหม อินทรีย์ร้อยเปอร์เซ็นต์นะ ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก คุณไปเก็บหญ้า ต้นไม้ที่คุณ เรียนรู้มาปรุงมาสับมาแต่งให้มันกิน ปลาคุณก็มี กบคุณก็มี กุ้ง หอยคุณก็มี ถ้าคุณไม่ได้ ซื้อ วันละบาทปีหนึ่งคุณก็ 365 บาทแล้ว มันไม่ใช่แค่ทางรอด มันเป็นวิถีของประเทศ นี้ที่จะรักษ์ผืนแผ่นดิน ผืนน�้ำ และพันธุกรรม มันมีมาอยู่แล้วแต่วันนี้เราเสพมันอย่าง เดียวไง คุณบอกว่าท�ำเผื่อลูกเผื่อหลานผมถามหน่อย ดินคุณดีขึ้นไหม น�้ำคุณดีขึ้นไหม พันธุกรรมคุณหายไปปีละเท่าไหร่ เพราะวันนี้คุณไม่ได้รักษา คุณไปเชื่อเขา เชื่อคนที่ ไม่ใช่เป็นเจ้าของประเทศเลย คนที่เป็นประมุขประเทศคุณเอาไว้แค่หากิน คุณมีแต่ เขียนโปรเจ็คเอาเงินมา คุณไม่คิดที่จะช่วยท่านเลย

35 issue 101 june 2016


ผมยังชอบนะ ปีหนึ่งมันน้อยมากนะลงเรียน 5 เดือน เพราะเขาต้องจ่ายเอง คนไม่ใจรักจริงๆ เป็นไปไม่ได้เลย ผมบอก ว่าคุณไม่ต้องน้อยใจหรอก เม็ดดินถ้ามันมีเม็ดเดียวโดนแดดโดน ลมมันก็ไปแล้ว คนๆ หนึ่งก็เท่ากับเม็ดดินเม็ดหนึ่ง หลายๆ เม็ด รวมกันก็เป็นกลุ่มเป็นก้อน หลายๆ ก้อนก็เป็นผืนแผ่นดินแล้ว ผมก็ให้แนวคิดเขาอย่างนี้ วั น นี้ โ ดยตรงสิ่งที่ท�ำตรงนี้หลัก เกษตรทฤษฎีใ หม่ ข อง ในหลวง เอาธรรมชาติบ�ำบัดธรรมชาติ พระองค์ท่านมองเรื่อง ความสุขของคน ความสุขของคนมีอะไร ห่วงที่ 1.คืออิ่มตา ห่วง ที่ 2.อิ่มจิตอิ่มใจ ห่วงที่ 3.อิ่มท้อง นี่คือความสุข เมื่อคุณมีความ สุขคุณถึงจะต่อยอดมันได้ มันเหมือนขั้นบันได แต่วันนี้คนไทยไปจ่ายปุ๊บจบ คุณไปอิ่มตาอิ่มจิตอิ่มใจ เท่านั้น ท้องคุณไม่ได้ค�ำนึงเลย คุณฝากไว้กับเขาหมด ผมถาม ว่าถ้าประเทศนี้เกิดวิกฤต เรามีคลังอาหารเหมือนเขาไหม วันนี้ คนท�ำนาเยอะแต่ไม่ได้เก็บข้าวไว้ในมือนะ ไปอยู่กับเจ๊ก ที่โรงสี โน้น ฝากชะตากรรมไว้กับเขาโน้น เป้ า หมายโครงการคื อ อะไร ? ให้เขามีคุณธรรม จริยธรรม แล้วก็รู้วิถีชีวิตที่จะเอาตัว เองรอด คือรู้จักท�ำมาหากิน คือมีพื้นแผ่นดิน มีผืนน�้ำ ทรัพยากร ให้เขามีความรู้ที่จะเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะที่ผม เล่าให้ฟังมันมีสัตว์อยู่ตัวเดียวที่มีปัญญาปลูกข้าว ปั้นหม้อ ก่อไฟ เพาะข้าวหุงต้มกิน มีสัตว์อยู่ตัวเดียวที่กินข้าวแล้วพัฒนาปัญญา คือคน สัตว์ตัวอื่นไม่มีปัญญา มีปัญญากินแต่ไม่มีปัญญาปลูก

กลุ ่ ม อุ ต สาหกรรมเป็ น ตั ว แปรส� ำ คั ญ ? แน่นอน บ้างว่า ‘ไปแล้วได้อะไร’ ‘อย่ามาพูดเลย 1 ไร่ ได้ 1 แสน แล้วคุณจะไปขายที่ไหน’ มันได้มากกว่าแสนถ้าคุณ ท�ำ แสนมีความสุข แสนมีความทุกข์ คะคลุ้งกันอยู่ มี ม าจี บ ซื้ อ ตั ว อาจารย์ ไ หม ? มันมีมาจีบผมบ่อย ผมไม่ไป ผมก็มานั่งนึก ลูกเราก็โต แล้ว ก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร นอกจากอาจารย์ อ ดิ ศ ร พวงชมพู แล้ ว ก็ ตั ว อาจารย์ แล้ ว วั น หนึ่ ง ก็ ต ้ อ งหมดยุ ค วางมื อ ไป เรามี ก ารวาง รากฐานสื บ สานโครงการนี้ ยั ง ไง ? ผมถึงสร้างหลักสูตรเพาะบ่มไง คือหลักสูตร 5 เดือน มัน จะได้เรียนรู้เรื่องตัวเอง เรื่องคนอื่น หลักสูตร 3 วัน 2 คืนมันรู้วิธี พัฒนาดินและน�้ำ และพัฒนาพันธุกรรม คนมาอยู่แค่นี้ แต่เรื่อง พัฒนาตัวเองเขาไม่เอา มองข้าม เหมือนผมยกตัวอย่างว่า “มีตา แต่ไม่มองหน้าตัวเอง” เพราะเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่อง ของบุคคล แต่บางคนมองไม่ออกนะ คือเดินทีละก้าวจริง แต่กิน ข้าวทีละค�ำไม่เป็น มันมูมมามเลยนะ เหมือนโครงการ 1 ไร่ 1 แสน โครงการ CHR ของ ธกส.โครงการแก้จนจริงๆ พอได้ตรง นี้ คนที่จบไปเป็นวิทยากร พอเป็นวิทยากรก็เอาเงินหนุนเสริม เดี๋ยวนี้เป็นอนุเสาวรีย์ไปหมดแล้ว เต็มบ้านเต็มเมือง 36

IS AM ARE www.ariyaplus.com


เหมือนเศรษฐกิจพอเพียงท�ำแหล่งน�้ำ ขุดสระกันเต็ม ขุดดินไปถมแม็คโคร โลตัสหมดแล้ว ท�ำลายสิ่งแวดล้อมยิ่งหนักกว่า เก่า แต่คนไม่ได้มองว่าดีคืออะไร เหมือนส่งเสริมให้ปลูกข้าวดี ดีของคุณคือขายปุ๋ยขายยาใช่ไหม แล้วคุณได้วอลุ่มใหญ่เอาไปสร้าง ตลาด แต่คุณไม่ได้มองว่าคนท�ำจะอยู่ยังไง เหมือนระบบฟาร์มมิ่ง จากมันไม่เป็นหนี้คุณไปท�ำให้มันเป็นหนี้ ผูกขาดเพราะคุณไปมัด ขาติด คนก็ติดเพราะไม่มีเศรษฐกิจพอเพียง มันโลภ พอประมาณไม่เป็น ทุนความรู้และปัญญาไม่ถึงเขา บริษัทใหญ่อยู่ได้เพราะขาย หัวอาหาร แต่คุณไม่ได้ผลิตอาหารชั้นเลิศเลย ค�ำว่าสะอาด แล้วท�ำไมคนเป็นเบาหวาน มะเร็ง ความดัน เพราะคนที่กินติดสะดวก ดี นี่ปัญหาใหญ่ของประเทศ ปัญหาความเหลื่อมล�้ำ เศรษฐกิ จ พอเพี ย งในมุ ม มองของอาจารย์ ? เศรษฐกิจพอเพียงต้องเริ่มต้นจากเหตุไปสู่ผลที่ดี เพราะวันนี้เราคุยเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเราไปเอาตรงกลาง เราไม่ได้เริ่มที่ เหตุ ในหลวงท่านว่า “ระเบิดจากภายใน” ถึงจะมาท�ำ คือต้องเข้าจากจิตวิญญาณ แต่วันนี้ไม่ได้มาอย่างนั้น มันอยู่กลางน�้ำ ปลาย น�้ำ มันข้าม เพราะคนที่จะท�ำเศรษฐกิจพอเพียงต้องรู้ตัวตนของตัวเองก่อน คือเรียนรู้ตัวเองก่อน เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ตัวเดียวที่ ต้องมีการเรียนรู้ ถ้าไม่ได้รับการเรียนรู้ ท่านบอกว่าเหี้ยกว่าสัตว์เดรัจฉาน นี่คือค�ำสอนของพระพุทธเจ้า ท�ำไมถึงว่าแบบนั้น คุณ เคยเห็นหมาตั้งวงเหล้ากินไหม หมาแจกบุหรี่กันสูบเคยเห็นไหม แต่วันนี้ท�ำไมมันผิดหลักอบายมุข 6 ไปห้ามก็ผิดใจอีก คนส่วนมาก ที่เข้ามาก็มีแต่พวกที่มีปัญหาทั้งนั้น แต่ถามว่าหนีปัญหาได้ไหม ไม่ได้ แต่ว่าใครจะยังอยู่ในกรอบของเศรษฐกิจพอเพียง คือมีความ สุขอยู่ คืออิ่มตา อิ่มจิตอิ่มใจ อิ่มท้อง นี่คือตัวส�ำคัญ แต่วันนี้จะกินยังไม่มีปัญญาปลูกกินเองเลย

37 issue 101 june 2016


38 IS AM ARE www.ariyaplus.com


39 issue 101 june 2016


ความเป็นมา

ผู้คนอาศัยอยู่หลายกลุ่มย่อมแสดงให้เห็นถึงพื้นฐานและแนว ความคิดที่แตกต่างกันออกไป ภายหลังจากการตั้งถิ่นฐานชุมชนในต�ำบลนาขามได้มี พัฒนาการผ่านยุคที่ส�ำคัญๆ ดังนี้

หากย้ อ นอดี ต ต� ำ บลนาขามไปราว 250 ปี จะพบ ประวัติการตั้งชุมชนของต�ำบลนาขามว่านับแต่ปี พ.ศ.2300 คนส่ ว นใหญ่ สื อเชื้ อสายมาจากเมืองหลวงพระบางและเมื อ ง จ�ำปาศักดิ์ ส.ป.ป. ลาวจากนั้นก็มีการอพยพย้ายถิ่นมาเรื่อยๆ จากหลายๆ ที่ จนเมื่อประมาณปี พ.ศ.2440 ชาวบ้านอพยพ มาจากบ้านแจนแลน อ�ำเภอหลุบ จังหวัดมหาสารคาม และ บ้านผึ้งต�ำบลไค่นุ่น อ�ำเภอสมเด็จ จังหวัดมหาสารคาม(ปัจจุบัน อ�ำเภอสมเด็จ ขึ้นอยู่กับ จังหวัดกาฬสินธุ์) ต�ำบลนาขาม จงมี

พ.ศ.2514-2524

ก่ อ นยุ ค สั ม ปทานป่ า ไม้ สู ่ ยุ ค ถางป่ า จั บ จองที่ ดิ น และ พั ฒ นาชนบท ช่วงเวลา 10 ปีนี้ แม้ผู้คนจะมีที่ดินท�ำกิน และเริ่มที่จะ บุกเบิกท�ำการเกษตร แต่วิธีการที่ไม่ถูกต้องและความไม่รู้ของ คนในต�ำบลนาขามมีการถางป่าการจับจองเพื่อท�ำไร่อย่างต่อ เนื่อง จึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวชของชุมชนเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดความเสียหายกับผืนป่า จนคนในชุมชนและหน่วยงาน ราชการที่เกี่ยวข้องลุกขึ้นมาต่อสู้

พ.ศ.2525-2539

ยุ ค เปลี่ ย นแปลง จากการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อท�ำไร่ของคนภายในชุมชน และนอกชุมชน จนท�ำให้พื้นที่ป่าลดน้อยลง เมื่อทางราชการ ประกาศเป็นเขตไฟฟ้าเข้ามาในพื้นที่ คนในชุมชนได้รับรู้ข่าวสาร 40 IS AM ARE www.ariyaplus.com


41 issue 101 june 2016


จากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ มากขึ้น วิถีชีวิตคนในชุมชนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง มีการซื้อขายสินค้าระหว่างคนในชุมชน การพัฒนาของ ต�ำบลนาขามมีความต่อเนื่องขึ้นเรื่อยๆ กรมชลประทานเริ่มเข้ามาท�ำโครงการสร้างฝายน�้ำล้นป่อยและล�ำห้วยสะทด มีโรงงาน อุตสาหกรรมการท�ำน�้ำตาลทรายเข้ามาส่งเสริมการปลูกอ้อยให้กับคนในต�ำบล ท�ำให้วิถีการผลิตของเกษตรกรในพื้นที่เปลี่ยนไป จากการพึ่งพาแรงช่วยกันท�ำนาท�ำไร่ กลับกลายเป็นการเร่งรีบและพึ่งพาเงินทุนจากข้างนอกมาเป็นเครื่องมือในการผลิต การจ้าง แรงงาน การซื้อปุ๋ยเคมี การใช้เครื่องจักรทางการเกษตร การใช้สารเคมีฆ่าหญ้าและฆ่าแมลง จากสังคมที่เคยอยู่กันอย่างเรียบง่าย ก็เปลี่ยนแปลงเกิดการแข่งขันอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนทุกอย่างที่ท�ำเป็นเงินเป็นทองส่งผลให้เกิดภาวะหนี้สินจากต้นทุนการผลิตที่ สูงขึ้น และนอกจากนั้นยังเกิดปัญหาการปนเปื้อนของสารเคมีในพื้นดินและแหล่งน�้ำ

พ.ศ.2540-2552

ยุ ค ร่ ว มสร้ า งและขยายงานพั ฒ นาชุ ม ชน การปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อชาวต�ำบลนาขามได้รับโอกาสจากกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม(Socidl Investment fund : SIF)เข้ามาสนับสนุนงบประมาณและสร้างการเรียนรู้การจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ป่าสมุนไพรธรรมชาติที่บ้านบอนเขียวและ โครงการการปั๊มน�้ำมันเศรษฐกิจชุมชน กลุ่มคนที่เป็นแกนน�ำประกอบไปด้วยผู้เฒ่าผู้แก่ที่ชาวบ้านนับถือ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้น�ำ ชุมชนครู หมออนามัยหน่วยงานเทศบาล ได้ช่วยกันหาแนวทางเพื่อเป็นทางออกที่ดีให้กับคนในชุมชนมาอย่างต่อเนื่องจนมาถึงปี พ.ศ. 2552 จึงได้เข้าร่วมโครงการรักษ์ป่าสร้างคน 84 ต�ำบล วิถีพอเพียง

42 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ทุนต�ำบล

ทุนด้านทรัพยากรน�้ำและป่ า

ต�ำบลนาขามอุดมไปด้วยแหล่งน�้ำจ�ำนวนมากมีล�ำห้วย หลายแห่ง อาทิ ล�ำห้วยส้มป่อย ล�ำห้วยสะทด ล�ำพะยัง ล�ำ หัวยค�ำซ่อน มีบึงและหนองขนาดเล็กอีกมากมาย และมีอ่าง เก็บน�้ำจ�ำนวน 4 แห่ง คืออ่างเก็บน�้ำห้วยส้มป่วยตอนบน อ่าง เก็บน�้ำห้วยปลาฝาอ่างเก็บน�้ำห้วยสมสนุก และอ่างเก็บน�้ำห้วย ส้มป่อยตอนล่าง นอกจากนี้ยังมีฝายน�้ำล้น จ�ำนวน 8 แห่ง ได้แก่ ฝายน�้ำล้นกั้นห้วยปลาฝา หมู่ 17 ฝายน�้ำล้นกั้นห้วยส้มป่อย หมู่ 5 (แห่งที่ 3) ฝายน�้ำล้นกั้นห้วยส้มป่อย หมู่ 5 (แห่งที่ 2) ฝายน�้ำล้นกั้นห้วยส้มป่อย หมู่ 9 (แห่งที่ 1) ฝายน�้ำล้นกั้นห้วยส้มป่อย หมู่ 9 (แห่งที่ 2) ฝายน�้ำล้นกั้นห้วยปลาฝา หมู่ 1 ฝายน�้ำล้นกั้นห้วยปลาฝา หมู่ 8 ฝายน�้ำล้นกั้นล�ำห้วยหัวค�ำสร้าง หมู่ 8 ทรัพยากรป่า ประกอบด้วยป่าชุมชนบอนเขียว เป็นป่า อนุรักษ์ดั้งเดิมทีพื้นที่รวมทั้งหมด 164 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณ หมู่บ้านบอนเขียว โดยมีป่าดอนเจ้าปู่ซึ่งเป็นป่าพิธีกรรมของ ชุมชนรวมอยู่ในบริเวณเดียวกัน เป็นสถานที่หาของป่า เช่น เห็ด หน่อไม้ สมุนไพร แมลงต่างๆ เป็นอาหาร และยารักษา โรคคนในชุ ม ชนเองได้ จั ด ตั้ ง คณะท� ำ งานเพื่ อ มาดู แ ลป่ า ของ พวกเขา

นอกจากนี้ยังมีป่าปลูกวัดถ�้ำงูเหลือมหรือป่าคงแม่เผด เป็นผืนป่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของต�ำบลนาขาม มีพ้ืนที่ทั้งหมด 1200 ไร่ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน�้ำของ ล�ำห้วยส้มป่อยล�ำห้วยปลาฝา และล�ำห้วยสมสนุกที่หล่อเลี้ยง ชาวต�ำบลนาขามและต�ำบลข้างเคียง

ทุนทางด้านกลุ่มอาชี พผ้าทอพื้นเมือง

กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่๓บ้านโนนฟองแก้ว เกิด จากการรวมตัวของกลุ่มญาติพี่น้อง จ�ำนวน 8 คน ที่มองเห็นช่อง ทางว่าผ้าพื้นเมืองที่ท�ำเป็นและท�ำมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษนั้น จะช่วยเสริมรายได้ให้กับคนแก่เฒ่า รวมไปถึงเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ท�ำ 43

issue 101 june 2016


44 IS AM ARE www.ariyaplus.com


นั้น เป็นการ ท�ำดีเพื่อลูก ท�ำถูกเพื่อหลาน ในปัจจุบันกลุ่มทอผ้าได้ขยายตัวจนมีสมาชิก ราว 21 คน กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองเริ่มพัฒนาลวดลายผ้าจากการสังเกตลายผ้าต่างๆ และลายตาม ผนังโบสถ์วัดที่เป็นลายไทย จากนั้นก็เริ่มท�ำการประยุกต์มาเรื่อยๆ เช่น ลายหน่วยและ ลายบักหวายน้อย ถือเป็นลายพื้นบ้านของชุมชนนาขาม ส่วนลายที่ประยุกต์คือ ลายนก และลายไทยประยุกต์ ปัจจุบันกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองกลายเป็นที่รู้จักและท�ำให้เกิดความภาค ภูมิใจของคนในต�ำบล

ทุนทางด้านกองทุนปั ๊ มน�้ำมันชุ มชน

เนื่องจากประชาชนในต�ำบลนาขามส่วนใหญ่แล้วประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็น หลัก แกนน�ำในชุมชนส�ำรวจความเป็นไปได้ในการตั้งปั๊มน�้ำมันชุมชนขึ้น มีการเก็บข้อมูล การใช้น�้ำมันจ�ำนวนรถไถเดินตาม รถจักรยานยนต์ รถกระบะ รถไถ หลังจากที่มีการส�ำรวจ ข้อมูลแกนน�ำจึงได้มีการจัดท�ำ โครงการปั๊มน�้ำมันเศรษฐกิจชุมชนเพื่อเสนอโครงการขอรับ งบประมาณสนับสนุนจากส�ำนักงานกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (Social Investment Fund : SIF ) ในช่วงปี พ.ศ.2545 ได้รับเงินสนับสนุน 1 ล้านบาทเรียกว่าปั๊มน�้ำมันเศรษฐกิจ ชุมชนต�ำบลนาขาม

ก้าวเดินด้วยความพอเพียง

ต�ำบลนาขามได้สมัครเข้าร่วมโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ต�ำบลวิถีพอเพียง ในช่วงระยะที่๓ ของโครงการ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2551 เมื่อมีโครงการ เข้ามาในพื้นที่ คนในชุมชนมีความคาดหวังต่อ โครงการสูง มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เช่น เข้าใจว่า ปตท. จะเข้า มาชวนชาวบ้าน ปลูกป่า ขุดบ่อน�้ำ แจกพันธุ์ผัก พันธุ์สัตว์ๆ บ้างก็ เข้าใจว่า ปตท.จะมาสร้างอาคาร โรงเรียนให้ เหมือนกับโครงการที่ ผ่านเข้ามาในชุมชนแต่เมื่อได้รับทราบแนวทางการด�ำเนินงานของ โครงการแล้ว คนที่ผิดหวังต่างถอยออกมาหยุดคอยมองดูบ้าง แต่ ก็ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งอาสาเข้ามาร่วมงานกับโครงการ และองค์กร ในพื้นที่อีกหลายหน่วยเห็นด้วยกับการหลักการ และแนวทางการ ท�ำงานของโครงการพร้อมใจกันเป็นก�ำลังส�ำคัญในการขับเคลื่อน งานเพื่อเดินหน้าสู่ต�ำบลพอเพียง

กลไกการขับเคลื่อน คณะกรรมการโครงการ

โครงการ เข้ามาสร้างวัฒนธรรมการท�ำงานแบบมีส่วนร่วม ของคนในชุมชนให้มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ มีการ บริหารงานแบบธรรมาภิบาล และเพื่อเป็นต้นแบบของการท�ำงาน

45 issue 101 june 2016


ให้ กั บ หน่ ว ยงานภาคี ใ นท้ อ งถิ่ น ได้ น� ำ ไปใช้ โดยได้ อ อกแบบ โครงสร้างคณะกรรมการโครงการ ไว้ดังนี้

ทุนเดิมที่มีในชุมชน ใช้พื้นที่ส�ำหรับการเลี้ยงสัตว์ และการใช้ พื้นที่ป่าเป็นป่าพิธีกรรม ความสัมพันธ์เหล่านี้ยังน�ำมาสู่การเรียน รู้เรื่องสมุนไพรในป่า การใช้ไม้ป่าในการย้อมสีผ้าทอธรรมชาติ นอกจากนั้นยังมีเป้าหมายในการสร้างเป็นจุดเรียนรู้ธรรมชาติ ่ ป่ าชุ มชน ทรัพยากรอันล�้ำค่า เพือสร้างสมดุล ให้กับเยาวชนและเด็กนักเรียน หรือกลุ่มคนทั่วไปที่สนใจการ ระหว่างคนกับป่ า ท�ำงานที่เกี่ยวกับป่า การจัดการป่าชุมชนบอนเขียวสะท้อนให้เห็นภาพอย่าง เมื่อเข้าร่วมโครงการ ก็ยิ่งกระตุ้นเตือนและต่อยอดให้ ชัดเจนในค�ำกล่าวที่ว่าคนอยู่คู่กับป่าอย่างเกื้อกูลกัน เป็นการ ต�ำบลนาขาม เข้าสู่วิถีแห่งความพอเพียงสู่การพึ่งพิงกันระหว่าง ต่อยอดงานเดิมของชุมชนที่มีการรวมกลุ่มเพื่อการปลูกป่าตั้งแต่ ป่าและคนอย่างแท้จริง ผลที่เกิดขึ้น ในปี พ.ศ.2554 คณะ ปี พ.ศ.2540 – 2545 โดยมีการรวมกลุ่มและมีงบประมาณ กรรมการป่าชุมชนบอนเขียวได้มีการประชุมเตรียมความพร้อม สนับสนุนจากกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (Social Invest- ในการเดินหน้าท�ำกิจกรรมที่ได้วางไว้ในปี พ.ศ.2553 อย่างต่อ ment Fund : SIF)ซึ่งการรวมกลุ่มและจัดตั้งคณะกรรมการ ใน เนื่อง โดยมั่นใจว่าการรวมตัวขึ้นมาใหม่ครั้งนี้จะท�ำให้เป้าหมาย ช่วงนั้นเป็นไปอย่างเข้มแข็ง มีผู้สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้จากนอก ที่วางไว้ประสบผลส�ำเร็จ เพราะได้เริ่มต้นจากการทบทวนตนเอง ชุมชนอย่างต่อเนื่อง เมื่อโครงการได้ด�ำเนินการ มีการทบทวน ท�ำให้ได้เรียนรู้บททวนการเรียนที่ผ่านมาร่วมกัน และทุกขั้นตอน

รูปธรรมความส�ำเร็จในพื้นที่

46 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ที่ท�ำล้วนเป็นการสร้างการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ทุกคนในชุมชนรับรู้และ เห็นดีด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในอนาคตข้างหน้า

พัฒนาพลังงาน เตาเผาถ่านถัง 200 ลิตรและเตาซุ ปเปอร์อัง้ โล่ ประหยัดพลังงาน

มีการรณรงค์ให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า โดย เฉพาะการประหยัดไฟฟ้าและน�้ำมันเชื้อเพลิง ศักยภาพในการอนุรักษ์พลังงานในเบื้องต้น นั้นเกิดจากเศษวัสดุทางการเกษตร ที่เป็นสิ่งไร้ค่าและยังไม่มีการจัดการ การพัฒนาการ ผลิตถ่านโดยการใช้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษรหรือเศษกิ่งไม้ตามหัวไร่ปลายนาอย่าง มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผลพลอยได้จากการเผาถ่าน คือ น�้ำส้มควันไม้สามารถน�ำไปใช้ใน การเกษตรได้เป็นอย่างดี และเพิ่มเติมด้วยการส่งเสริมการปั้นเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง เพื่อใช้ในการประหยัด การใช้ถ่านควบคู่ไปด้วย จึงท�ำให้เกิดการประหยัดฟืนและถ่าน มากขึ้น การเผาถ่านจากถัง 200 ลิตร เป็นกิจกรรมภายใต้แผนพัฒนาครัวเรือนพอเพียง อาสา ซึ่งมีการด�ำเนินงานเริ่มต้นจากแนวคิดการอบรมการผลิตถ่านคุณภาพและน�้ำส้ม ควันไม้ เริ่มกระบวนการด้วยการฝึกงานอบรมโดยมีผู้เขาร่วมจ�ำนวน 65 คน ซึ่งในจุด เริ่มต้นของการฝึกอบรมนี้ทางโครงการ ใช้วิธีการสนับสนุนอุปกรณ์เพื่อใช้ท�ำการทดลอง ปฏิบัติหลังจากการอบรมแล้ว กรรมการที่รับผิดชอบในแต่ละชุมชนที่รวมเป็นกลุ่มคณะ ท�ำงานได้ขยายผลให้กับสมาชิกในครัวเรือนพอเพียงอาสาโดยปัจจุบันมีผู้ใช้เตาถ่านจาก ถัง 200 ลิตร จ�ำนวน 26 ราย การปั ้ น เตาประสิ ท ธิ ภ าพสู ง ในต� ำ บลนาขามเริ่ ม ต้ น จากการฝึ ก อบรมให้ กั บ สมาชิ ก ครั ว เรื อ นพอเพี ย งอาสาที่ ส นใจและคณะกรรมการ โครงการ ต�ำบลนาขามในครั้งแรกมีการอบรม 65 คน ที่บ้าน ค�ำป่าหว้านหมู่ 16 โดยใช้วิธีการเดียวกันกับการเผาถ่านคือ โครงการ ให้การสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ชุดแรกในการฝึกอบรม และปฏิบตั กิ าร พร้อมกับจัดหาวิทยากรเพือ่ อบรมให้กบั ผูส้ นใจ กระบวนการอบรมที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่มโดยมี สมาชิกเริ่มต้นหลัก 6 คน ในบ้านสุขสมบูรณ์ หมู่ 8 และเกิด เป็นจุดเรียนรู้จุดแรกในต�ำบลนาขามที่มีการรวมกลุ่มกันอย่าง จริงจัง พร้อมกับคิดค้นเทคนิควิธีการที่เหมาะสมกับพื้นที่และ การท�ำแม่พิมพ์ของตนเอง กลุ่มการปั้นเตายังมีแผนในการ คิดค้นอุปกรณ์ที่สะดวกในการปั้นและคิดหาตลาดในการขาย ผลิตภัณฑ์ให้กับผู้สนใจในต�ำบลอีกด้วย

47 issue 101 june 2016


48 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Let’s talk

ก้าวต่อก้าว

จากครูทุรกันดาร สู่ผู้อ�ำนวยการ โรงเรียนสตรีวัดระฆัง (รร.คุณธรรม)

ไพวัลย์ เหล็งสุดใจ ส่ ง เสี ย ตั ว เองเรี ย น : ครู ที่ มุ ่ ง มั่ น เป็นคนสมุทรสาคร มัธยมเรียนที่โรงเรียนวัดหนองแขม พอจบ ม.3 ก็มาเรียนครู ที่มหาวิทยาลัยจันทรเกษม เริ่มต้นการเป็นครูอยู่โรงเรียนเอกชน 12 ปี คือจบมาตอน นั้นอายุ 17 ยังไม่ถึง 18 ยังบรรจุไม่ได้ ก็สอนอยู่โรงเรียนสายประสิทธิ์วิทยา เพราะ ตอนนั้นอยากจะช่วยพ่อแม่ อยากท�ำงาน จากนั้นหาเงินเรียนเองหมดจนกระทั่งจบ ปริญญาเอก แรกๆ ก็สอนภาษาไทยคืออยู่โรงเรียนประถม เขาให้ช่วยสอนทั้งภาษาไทยภาษา อังกฤษ แล้วก็ไปสอบ พม. พอสอบ พม.เสร็จก็ไปเรียนต่อที่มหาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พละศึกษา เอกภาษาไทย โทแนะแนว พอหลังจากนั้นแล้วก็จบปริญญาตรี ท�ำงานพอมี เงินก็เรียนต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยศิลปากร การบริหารการศึกษาที่ศิลปากร แล้ว ก็เรียนต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ในสาขาเดียวกัน พอจบปริญญาตรีตอนนั้นอายุ 30 คุณครูใหญ่ที่นั่นก็บอกว่าไพรวัลย์ไม่ควรอยู่ ตรงนี้นะ น่าจะไปให้ไกลกว่านี้ ก็ไปสอบเลือกลงจังหวัดกาญจนบุรี โรงเรียนบ้านองหลุ ต.นาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ ท�ำงานออกจากบ้าน 8 โมง มีรถเที่ยวเดียวถึงโรงเรียนก็ทุ่มสอง ทุ่ม นักเรียน 60 กว่าคน แต่สิ่งที่ภูมิใจมากที่สุดคือเราไปพบว่าเด็กชาวเขาฉลาด มีคน มาล่านกในวัดเด็กก็บอกว่า ฆ่าให้หมดเลย ฆ่าให้ตายเลย เหลือไว้สองตัว เราก็สงสัย เหลือไว้ท�ำไม เขาบอกเอาไว้ท�ำพันธุ์มันจะได้ไม่สูญพันธุ์ ก็คือเด็กเขาเป็นคนที่อนุรักษ์ คิดเป็น เราก็ไปบอกครูใหญ่บอกเด็กครูใหญ่เขาฉลาดนะ เขาบอกเป็นคนแรกที่พูดว่า ฉลาด นอกนั้นเขาว่าโง่หมดเลย ก็เด็กเขาคิดเป็นว่าต้องเหลือไว้ท�ำพันธุ์มันจะได้ไม่ สูญพันธุ์ นี่คือเขาฉลาด 49 issue 101 june 2016


ครู สุ ริ น ทร์ ส ่ ง ศิ ษ ย์ ถึ ง ฝั ่ ง หลังจากนั้นครูใหญ่ก็บอกให้สอบบรรจุใหม่ ก็สอบบรรจุ ได้ที่สุรินทร์ โรงเรียนลานทรายพิทยาคม ถามว่าท�ำไมไปสุรินทร์ ก็ครูใหญ่ที่อยู่ที่สายประสิทธิ์วางแผนไม่ให้เราล�ำบาก ทีนี้มีอยู่วัน หนึ่งทางอีสานเขาจะกินส้มต�ำใส่ชูรส ใส่น�้ำปลา มีกระดูกไก่ทอด มีหมี่โคราช คือเอาเส้นมาผัดกับน�้ำมัน น�้ำตาล ซีอิ้ว พอเที่ยงเรา ก็ถามครูว่าเด็กนักเรียนเราไปไหน ตั้ง 200-300 คน เขาบอกไป ดูตรงชายป่า เราก็เดินไปชายป่ายูคาเห็นเด็กห่อข้าวใส่ใบตองมา กิน เด็กก็ปิดห่อข้าวแล้ววิ่งหนีด้วยความอาย เพราะว่าในนั้นมี ข้าวเหนียวกับปลาเค็มตัวแดงหนึ่งตัว เราก็บอกมานี่อายท�ำไม ลูก ไม่ต้องอาย เราก็ยิบปลาเค็มขึ้นมากินหน่อยหนึ่ง เราก็บอก ว่าห่อใบตองหอมดีนะ เรามาคิดเด็กจะเติบโตได้อย่างไรถ้าไม่มี จะกิน สมองจะได้ยังไง ก็เสนออาจารย์ใหญ่ว่าเรามาท�ำอาหาร กลางวันให้เด็กไหมทุกวันศุกร์ อย่างน้อยได้กินไข่สักมื้อหนึ่ง ขอ เด็กคนละบาทนะหยอดๆ แล้วคุณครูก็มาทานด้วย แล้วดูเด็ก ด้วย จะได้เพื่อนครูด้วย ได้เด็กด้วย วันหนึ่งไปเจอห้องใหญ่ที่เคยเป็นสหกรณ์ ร้านเครื่อง เขียน มันขาดทุนเจ๊งก็เลยยุบ แถมมีหนี้อีกเจ็ดพันบาท ก็ชวน แล้ ว ก็ ส อนท� ำ อาหารต้ อ งสอนทุ ก อย่ า ง ครู ป ระมาณ เพื่อนครูว่าน่าจะท�ำเรื่องรายได้ระหว่างเรียน ร้านสมุดที่กรุงเทพ 4-5 คนเองโรงเรียนอยู่บนเขา อยู่ที่นั่นปีกว่าๆ ครูเห็นเด็กไม่มี รู้จักครูดี ก็ไปคุยกับร้านสมุดว่าครูจะกลับบ้านปีละ 2 ครั้ง ครูจะ อะไรทาน โรงเรียนเก่าโรงเรียนสายประสิทธิ์บอกว่าเอาอย่าง จ่ายเงิน 2 ครั้ง ยอมไหม ร้านวรจักรเครื่องเขียนบอกได้สิอาจารย์ นี้ เขาให้เงินไปหมื่นห้าครูก็ไปซื้อแท้งน�้ำเพราะว่าคนที่นั่นคน เราค�ำนวณแล้วก�ำไรเกือบครึ่งหนึ่ง พอเราขายได้เราเอาเงินไป ฝากธนาคารอีกตอนนั้นดอก อายุ 40-50 ตายหมด เพราะ มันดี พอถึงเวลากลับบ้านก็ เป็นโรคเกี่ยวกับนิ่วอะไรอย่าง เอาเงินไปใช้หนี้ แล้วครูก็ท�ำ นี้ ครูก็บอกแท้งน�้ำเวลาฝนตก สหกรณ์ขายสิ่งที่จ�ำเป็น น�้ำมันสะอาดรองน�้ำไว้แล้วก็ ที่สุรินทร์ สิ่งที่ภูมิใจ หุงข้าวท�ำกับข้าวให้เด็กกิน นี่ คือเด็กมีรายได้ จากสหกรณ์ คื อ ให้ เ ด็ ก ได้ กิ น อาหารกลาง ที่เป็นหนี้ครูก็ใช้หนีหมด แล้ว วัน เงินส่วนนี้เอามาใช้เรื่องน�้ำ ก็มีก�ำไรอีก อยู่สุรินทร์มา 3 กับอาหารกลางวัน เด็กก็ได้กิน อาหารกลางวัน แล้วก็ต้มถั่วเขียวให้เด็กกิน แต่เด็กไม่กิน เด็ก ปี 7 เดือน ตอนนั้นสิ่งที่ภูมิใจมากที่สุดคือพาเด็กไปสอบระดับ บอกว่าเขานึกถึงยาเขียวกินแล้วมันตายเราก็บอกไม่ใช่ ครูกิน จังหวัดเพื่อจะเข้าโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เด็กคนหนึ่งเขา ให้เธอดูจึงยอมกิน ขณะนี้สิ่งที่เราภูมิใจก็คือเด็กที่เราฟูมฟักมาก สอบได้ที่หนึ่งของจังหวัดแล้วมีคนจะมาซื้อ ก็คือว่าถ้าสละสิทธิ์ ลับไปเป็นครูที่นั่น แล้วก็เสาร์อาทิตย์ก็จะขึ้นเขากันไปตัดหน่อ เขาจะให้เท่านี้ เราบอกไม่ต้องไปสละสิทธิ์ลูก ไปอยู่วัดอยู่อะไร ไม้เพื่อที่จะมาดองแล้วก็แกงใส่ปลากระป๋อง มะพร้าวก็มี เด็กก็ ก็ได้ ถึงเเม้เราจน โรงเรียนลานทรายได้ถือว่าสุดยอด ปัจจุบัน มีข้าวกิน เด็ก 60 กว่าคนได้กินข้าวคือความภาคภูมิใจของเรา เด็กคนนี้เป็นกรรมการผู้จัดการอยู่บริษัท ฟิตเน่ มีรถ มีบ้าน มี แล้วเด็กอ่านหนังสือออก กลางคืนเรามีความสุขมากเพราะมี ครอบครัวน่ารัก อบอุ่น แล้วเด็กพวกนี้ไปเป็นครูอยู่ลานทรายก็มี เสียงน�้ำตก ได้ยินเสียงสัตว์ร้อง แล้วก็ได้ยินเสียงเด็กอ่านหนังสือ ไปเป็นต�ำรวจก็มี ไปเป็นกุ๊กอยู่โรงแรมก็มี คือที่ครูพาไปทั้งหมด ชีวิตมั่นคงหมดแล้ว นี่คือความภูมิใจ ก อา กา ,ข อา ขา อะไรอย่างนี้ (ยิ้มมีความสุข) 50 IS AM ARE www.ariyaplus.com


อย่ า งหนู เ หรอจะเป็ น ผอ.ได้ จ า ก สุ ริ น ท ร ์ ก็ เขี ย น ย ้ า ย ม า โรงเรียนสตรีวทิ ยา 3 ตอนนัน้ เป็นโรงเรียน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชินีนาถ 60 พรรษา ตอนเที่ยงครูจะติดนิสัยต้องมาดู เด็กกินข้าว เย็นเด็กขึ้นรถต้องไปส่งเด็ก ขึ้นรถ ไปดูเด็กเราขึ้นรถปลอดภัยไหม วัน หนึ่ง ผอ. ถามว่าเธออยากเป็น ผอ.ไหม ก็เลยตอบว่าอย่างหนูเหรอจะเป็นได้ แต่ ใจก็นึกว่าถ้าเราเป็นมันก็จะท�ำอะไรได้อีก เยอะ ท่านก็ส่งไปอบรม ตอนไปอบรมครู ก็ไม่รู้ ซี4 ซี5 คืออะไร เงินเดือนเท่าไหร่ก็ เท่านั้น ไม่เคยศึกษาเรื่อง ซี ปรากฏว่าเขา จับมือแล้วถามว่าหนูซีอะไร เงินเดือนเท่า ไหร่ หนูจ�ำไม่ได้หนูเงินเดือนเท่าไหร่ หนู ยังไม่ถึง ซี5 นะ เขาก็ส่งกลับมาโรงเรียน ผอ.ก็ถามท�ำไมกลับมา ก็เขาบอกหนูไม่ ถึง ซี5 หลังจากนั้นสัก 1-2 ปี ผอ.ก็บอก เธอไปอบรมเดี๋ยวนี้ อบรมที่เดิม เหมือน

พื้ น ฐานโรงเรี ย นสตรี วั ด ระฆั ง ดี ม าก หนึ่ ง ชุ ม ชนดี วั ด สนั บ สนุ น โรงเรี ย นสตรี วั ด ระฆั ง เขามี ชื่ อ เสี ย งมาเป็ น 100 ปี แ ล้ ว แต่ เ ราจะมา รั ก ษาความดี แ ละต่ อ ยอดความดี อ ย่ า งไรเท่ า นั้ น เอง เดิม ก็เลยได้ขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการ ฝ่ายปกครองที่นั่น ดูแลเด็กเรื่อยมา อยู่ ที่นี่ 12 ปี ก็ไม่คิดจะย้ายแล้ว ตอนหลัง นโยบายจับย้าย ไปเป็นต�ำแหน่งรองผู้ อ�ำนวยการได้ 53 วัน ก็มีแฟ้มเสนอสมัคร ผู้อ�ำนวยการ ก็ได้ไปอยู่โรงเรียนวัดเจริญ สุขาราม ไปเป็น ผอ. มีเด็กอยู่ 24 คน จังหวัดสมุทรสาคร พอนั่งปุ๊บเก้าอี้ก็ไหล ไปเพราะอาคารมั น ตะแคง ก็ มี เ ด็ ก อยู ่ เท่ า นั้ น เพราะเป็ น โรงเรี ย นขนาดเล็ ก มี ครู 4 คน ดูเหมือนกันดารแต่อยู่ในเมือง นะ สิ่งที่เห็นก็คือเด็กไม่ใส่รองเท้า ที่กิน อาหารกลางวันของเด็กมีหมาขึ้นมานอน ด้วย ท�ำไมเป็นอย่างนี้ เรียกนักการฯ มา แล้วขอดูอาหารเด็กหน่อยซิ ครูจะเน้น เรื่องอาหาร ปรากฏว่าไปเปิดดูมีแต่น�้ำ 51 issue 101 june 2016

กับกระดูก แล้วเนื้อไปไหน เนื้อไปอยู่ใน ฝาชีของครู เดี๋ยวครูมากิน ก็ถามว่ามัน ใช่หรือ เอาสิ่งเหล่านี้มาให้เด็กกิน ครูมี เงิ น เดื อ นก็ ซื้ อ กิ น เอง อั น นี้ เ ด็ ก ต้ อ งกิ น อิ่ ม เข้ า ไปปฏิ วั ติ เ ลย เน้ น เรื่ อ งสุ ข ภาพ อนามัย ที่ ภู มิ ใ จคื อ เด็ ก พิ ก ารคนหนึ่ ง พิการทั้งรูปร่างอะไรอย่างนี้ พอจบ ป.6 แล้วไปเรียนที่ไหนไม่ได้ พ่อแม่มีรายได้ เดือนละ 5,000 บาท ครูไปติดต่อ กศน.ให้ มาสอนจนจบ ม.3 นี่คือความภาคภูมิใจ ที่เขาพิการแล้วได้เรียนหนังสืออยู่ที่บ้าน ติดต่อขอ กศน. ท�ำเรื่องไปที่ สพม. แล้ว ให้ สพม. ส่งเรื่องมา กศน. กศน.ก็ส่งครูมา ทุกอาทิตย์ จนกระทั่งเด็กจบ ม.3


52 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ทีนี้ เพื่อนบอกว่าเธออยู่ไม่ได้แล้วเธอต้องมาอยู่มัธยม เพราะเธอถนัดโรงเรียนมัธยม ก็มาอยู่โรงเรียนกุศลวิทยา ที่ กระทุ่มแบน มีเด็ก 120 กว่าคน มีที่ 37 ไร่ ด้านหนึ่งติดคลอง ด�ำเนินสะดวก อีกด้านหนึ่งติดแม่น�้ำท่าจีน บรรยากาศสวยมาก เราก็เลยท�ำเรื่องคุณธรรมก่อน สอนหนังสือก็พยายามปั้นให้เป็น คนของท้องถิ่น มาท�ำเรื่องโอเน็ตท�ำค่ายติวสอนเอง สอนคณิตฯ มีครูอยู่สิบกว่าคน อยู่ที่กุศลวิทยา ประมาณ 2 ปี สิ่งที่ชอบคือ ท�ำนา ก็คือเราบอกให้เด็กท�ำนาปลูกข้าวยังไง เด็กท้องที่เก่งอยู่ แล้ว สิ่งที่ภูมิใจก็คือที่ 30 กว่าไร่ เด็กบอก ผอ.ใจเย็นๆ เดี๋ยวผม ไปเอาเครื่องตัดหญ้ามาตัดเอง แล้วก็ครูนาฏศิลป์ไม่มี ก็ท�ำเรื่อง ไปที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ เอาไปเรียนที่นั่นตอนปิดเทอม ใส่รถตู้ไป เลย เพราะเราไม่มีครูสอน เราก็สอนไม่ได้ แต่ก็เอาเครือข่ายไป สอน เอาเด็กเราไปร�ำที่โรงละครเลยนะ สิ่งที่สร้างก็คือ ให้เกิดกรรมการการศึกษาที่เข้มแข็ง ให้ เขารู้ว่าเขามีบทบาท เขาเป็นเจ้าของโรงเรียน เอาเรื่องความพอ เพียงใส่ลงไป เด็กไม่เข้าใจ ครูไปปลูกฝังว่าตัวเรามีแค่นี้เราควร จะกินแค่ไหน ท�ำอย่างไร ที่โรงเรียนกุศลวิทยา พยามสร้างให้เด็กเขามีความเป็น ประชาธิปไตย สมมุติว่าครูจะท�ำอะไร ก็ถามเด็กว่าหนูต้องการ ไหมตรงนี้ ถ้าหนูต้องการต้องการเพราะอะไร ให้เหตุให้ผลมา ต้องเรียนเพราะอะไร พ่อแม่เราเป็นอย่างนี้ต้องวางตัวอย่างไร ความพอเพี ย งเราเป็ น วิ ถี ชี วิ ต อยู ่ แ ล้ ว เพี ย งพระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว หยิ บ มาเป็ น ทฤษฎี ใ ห้ มั น ชั ด เจน ขึ้ น ซึ่ ง ที่ จ ริ ง ปู ่ ย ่ า ตายายเราก็ ส อนนะเรื่ อ งพวกนี้ ต้ อ งประหยั ด ต้ อ งอย่ า งนั้ น อย่ า งนี้ คิ ด ให้ ดี อย่ า ง ของที่ ไ ม่ ใ ช้ เ ราควรจะขายหรื อ ให้ ใ ครไปท� ำ ประโยชน์ ต่ อ อย่ า มาซุ ก มาหมกไว้ ที่ อ ยู ่ ก็ ต ้ อ งใช้ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ อย่ า งนี้ เ ป็ น ต้ น

สู ่ ร้ั ว โรงเรี ย นสตรี วั ด ระฆั ง : โรงเรี ย นคุ ณ ธรรม สตรีวัดระฆังนี้ ครูบอกว่าเราเป็นผู้หญิงสวยอย่างเดียว ไม่ได้นะ ให้ดูย่าโมเป็นตัวอย่าง สวยต้องเก่งและเป็นผู้กล้าต้อง แกร่ง แล้วความเป็นกัลยาณีสตรีวัดระฆังไม่ใช่อ่อนแอ แต่ต้อง เข้มแข็ง ครูก็เลยมาถามว่ากัลยาณีสตรีวัดระฆังคืออะไร ให้เด็ก เขียนมา ‘คุณว่ากัลยาณีคืออะไร’ แล้วให้คุณครูเขียนมาว่าจะ เอาอย่างไร โรงเรี ย นสตรี วั ด ระฆั ง เป็ น โรงเรี ย นคุ ณ ธรรม พื้ น ฐาน ให้เขาภูมิใจในตนเอง ให้เขาใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ คือเอาเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหาร เพียงด้วย แล้วครูสามารถเอาธนาคาร ธกส.เข้ามาในโรงเรียนได้ งาน และบริหารจัดการในโรงเรียน และเอามาปลูกฝังความ ให้เด็กออมมีเด็ก 100 กว่าคน ธกส.บอกอาจารย์เอามาได้ยังไง คิดให้แก่เด็ก ตอนนี้ไม่เด็กอย่างเดียวนะ จะพาไปสู่ครอบครัว 100 กว่าคน จริงๆ เขาต้องเปิด 500 กว่าคน (หัวเราะ) คือพ่อแม่ และพาไปสู่ชุมชน คือที่ตั้งเป้าไว้ในปี 2559 จะเป็น อยู่ประมาณ 1 ปี 9 เดือน ก็ย้ายเข้ากรุงเทพฯ ที่ย้ายเข้า แบบนี้ กรุงเทพฯ ที่จริงเขียนจะไปโรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ ก็คือมัน เราศรัทธา เชื่อมั่นในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องไปตามสเต็ป คนอื่นจะได้ขึ้นมา คือเกณฑ์มีอยู่ว่า จาก ว่าถ้าใครปฏิบัติแล้ว ยั่งยืนและมั่นคงแน่นอน จริงๆ แล้วปรัชญา โรงเรียนเล็กไปโรงเรียนกลางถึงจะไปโรงเรียนใหญ่ นั่นคือเกณฑ์ ของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือฝึก ถ้ า เราไม่ ไ ปคนอื่ น มาไม่ ไ ด้ เพราะฉะนั้ น เราย้ า ยมาโรงเรี ย น ให้เราเป็นคนคิด ไตร่ตรอง เป็นคนมีเหตุมีผล เป็นคนมีคุณธรรม แจงร้อน ต้องแก้ปัญหาเด็กตีกันทุกวัน อยู่ 1 ปี 9 เดือน ในใจ ท�ำอะไรแล้วต้องท�ำด้วยเหตุด้วยผล ต้องรู้ศักยภาพตัว 53 issue 101 june 2016


เราศรั ท ธา เชื่ อ มั่ น ในเรื่ อ งปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งว่ า ถ้ า ใคร ปฎิ บั ติ แ ล้ ว ยั่ ง ยื น และมั่ น คงแน่ น อน จริ ง ๆ แล้ ว ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว คื อ ฝึ ก ให้ เ ราเป็ น คนคิ ด ไตร่ ต รอง เป็ น คนมี เ ตุ มี ผ ล เป็ น คนมี คุ ณ ธรรมในใจ ท� ำ อะไรแล้ ว ต้ อ ง ท� ำ ด้ ว ยเหตุ ด ้ ว ยผล เองว่ า ท� ำ ได้ ม ากน้ อ ยแค่ ไ หน ต้ อ งรู ้ จั ก วางแผน เมื่ อ คิ ด จะท� ำ แล้ ว ต้ อ งส� ำ เร็ จ ด้วยศักยภาพของเรา ประมาณตนว่าเรา ท�ำได้มากน้อยแค่ไหน สุดท้ายคือความ มีคุณธรรม ต้องซื่อสัตย์ ต้องอดทนต้อง พยายาม เพราะว่าความส�ำเร็จมันไม่ได้มา ง่ายๆ ความส�ำเร็จมันมาจากความเพียร พยายามคือต้องพอใจ ต้องพากเพียรต้อง

ไตร่ตรอง ทบทวนแล้วก็เอาไปปรับปรุงพัฒนา ครูเชื่อมั่นตรงนี้ โดยเฉพาะสั ง คมปั จ จุ บั น นี้ เรา เห็นว่าเราฟังข่าวอะไรมักจะไม่สบายใจ อยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่องเด็ก พอมีข่าว เรื่องเด็ก เราเป็นผู้บริหารใช่ไหม พอเรา เป็นผู้บริหารเราก็ต้องคุมทั้งองค์กร คือ โรงเรียน ครูบุคลากรในโรงเรียน แล้วก็ตัว 54 IS AM ARE www.ariyaplus.com

เด็ก โดยเฉพาะเด็กครูถือว่าเป็นรากแก้ว ของแผ่นดิน เพราะฉะนั้นรากแก้วมั่นคง เมื่ อ ไหร่ ป ระเทศก็ มั่ น คงครู คิ ด อย่ า งนี้ ในฐานะที่ครูเป็นผู้บริหารครูก็ต้องสร้าง ตรงนี้ให้ดีขึ้นมา ความคิดเราเป็นอย่างนี้ จริงๆ เวลาไปไหนเรานึกถึงว่าเราท�ำงาน ราชการถวายท่านนะ เพราะฉะนั้นตรง นี้ เราจะมี ค วามรู ้ สึ ก ว่ า เราไม่ เ หนื่ อ ยกับ การท�ำงาน งานหนักก็ไม่เหนื่อย เพราะ เราท�ำให้กับชาติบ้านเมือง พื้ น ฐานโรงเรี ย นสตรี วั ด ระฆั ง ดี มาก หนึ่งชุมชนดี วัดสนับสนุน โรงเรียน สตรี วั ด ระฆั ง เขามี ชื่ อ เสี ย งมาเป็ น 100 ปี แ ล้ ว แต่ เราจะมารั ก ษาความดี แ ละ ต่อยอดความดีอย่างไรเท่านั้นเอง อันดับ แรกก็คือตัวครู ต้องมีความรู้ความเข้าใจ ก่อน โรงเรียนสตรีวัดระฆังสถานศึกษา พอเพียงผ่านแล้ว แต่การน�ำมาใช้ครูว่า ยังน้อยไป หมายความว่า ผ่านได้ แต่การ ใช้ในวิถีชีวิตยังไม่ได้ดั่งใจตามที่ครูคิด คือ ถ้าได้อย่างใจเราคิด องค์กรที่มีลักษณะ พอเพี ยงท�ำ อะไรมันจะนึ กถึงประโยชน์ ส่วนรวม ไม่มีการคอร์รัปชั่น เพราะมัน เกิดความเดือดร้อน เราสบายแต่คนที่จ่าย เดือดร้อน หรือคนที่เขาจะต้องไปวิ่งเต้น มามันเดือดร้อน เพราะฉะนั้นถ้าสังคมที่ เป็นสังคมของความพอเพียง หนึ่งมันจะ ต้องไม่เบียดเบียนกัน สองมันจะต้องมี ลักษณะเอื้อเฟื้อแบ่งปันแชร์ริตี้ แล้วคน จะไม่ถูกกันไม่มีในความคิดครูนะ นโยบายของครูคือตั้งแต่การใช้งบ ประมาณ การใช้งบประมาณต้องเพื่อเด็ก เพื่อพัฒนาครู พัฒนาโรงเรียน ต้องพัฒนา นักเรียนอันดับหนึ่งเลยเพราะนักเรียนคือ หัวใจ พัฒนานักเรียนจะให้เก่งได้ก็ต้อง พัฒนาครู แล้วครูก็ไปพัฒนานักเรียนแล้ว หลังจากนั้นสภาพแวดล้อมที่นักเรียนและ ครูอยู่ก็ต้องน่าอยู่และมีความสุข ครูว่า สังคมตรงนี้ก็มีความสุข มันเป็นแฮปปี้สคู (happy school) ใจคิดอย่างนี้นะ


5 ส. มีนโยบายท�ำ 5 ส. เพราะครูไปดูแล้วทั้งโรงเรียนติดแอร์ หมด เมื่อห้องรกและเปิดแอร์ แอร์มันก็จะไปซึมที่กระดาษ หรือ สิ่งของแล้วถึงจะเย็นมาที่ตัวเรา เพราะฉะนั้นแอร์ก็จะเปลือง ก็ จะไปกระทบกับงบ หมดไปกับค่าแอร์ก็ไม่มีงบมาพัฒนา ครูว่าสิ่งเหล่านี้มันเป็นเวย์ออฟไลฟ์ ถ้าทุกคนเอาไปใช้ นะ ครูคิดให้หมดทุกอย่าง คือความพอเพียงเราเป็นวิถีชีวิตอยู่ แล้ว เพียงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหยิบมาเป็นทฤษฎีให้ มันชัดเจนขึ้น ซึ่งที่จริงปู่ย่าตายายเราก็สอนนะเรื่องพวกนี้ต้อง ประหยัด ต้องอย่างนั้นอย่างนี้ คิดให้ดี อย่างของที่ไม่ใช้เราควร จะขายหรือให้ใครไปท�ำประโยชน์ต่อ อย่ามาซุกมาหมกไว้ ที่อยู่ ก็ต้องใช้ให้เกิดประโยชน์ อย่างนี้เป็นต้น นี่คือการบริหาร เพราะ ฉะนั้นงบต่างๆ ก็จะเพื่อครู เพื่อเด็ก เพื่อสถานที่ให้อยู่ร่วมกัน ตรงนี้ แล้วเรื่องคอร์รัปชั่นประกาศเลย ไม่มี การรับนักเรียนใช้หลักคุณธรรมข้อเมตตา เช่น เด็กอยู่ ใกล้พ่อแม่อยู่โรงบาลศิริราช เราติดต่อกับเขา ทหารเรือที่มาช่วย เรา ต�ำรวจ ยิ่งวัดไม่ให้ไม่ได้เพราะเราอาศัยที่วัดอยู่ ในเรื่องของ คุณธรรม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเรา ก็อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข คือเรารับแต่ต้องอยู่ในกติกานะ ครู จะใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเสมอ ทุกอย่าง แม้กระทั่ง ดูแลเด็ก กีฬาสีทุกคนชอบมากแต่ปีนี้ครูให้นโยบายไว้แล้วใคร เป็นประธานสีทุกสี คุณใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการ

พยามสร้ า งให้ เ ด็ ก เขามี ค วามเป็ น ประชาธิ ป ไตย สมมุ ติ ว ่ า ครู จ ะท� ำ อะไร ก็ ถ ามเด็ ก ว่ า หนู ต ้ อ งการไหม ตรงนี้ ถ้ า หนู ต ้ อ งการต้ อ งการเพราะอะไร ให้ เ หตุ ใ ห้ ผลมา ต้ อ งเรี ย นเพราะอะไร พ่ อ แม่ เ ราเป็ น อย่ า งนี้ ต้ อ งวางตั ว อย่ า งไร ให้ เ ขาภู มิ ใ จในตนเอง ให้ เ ขาใช้ หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งด้ ว ย เพึ่งมาอยู่ได้หกเดือนเพิ่งเริ่มต้นการบริหาร การท�ำแผน ให้ทุกอณูน�ำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ยกตัวอย่าง เช่น ทุกคนเขียนโครงการมาจะต้องมาน�ำเสนอว่าใช้หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร ท�ำเพื่ออะไร ท�ำแล้วเด็กได้อะไร มี เงินเท่านี้จะบริหารจัดการอย่างไรก่อนให้มันคุ้มค่า ต้องนึกถึง อะไร ท่านต้องไปแสวงหาความรู้เพื่อมาบริหารจัดการโครงการ นี้ให้ส�ำเร็จ เจ้าของโครงการต้องน�ำเสนอแล้วครูก็นั่งวิเคราะห์ว่า มันใช่หรือไม่ใช่ ถ้าอันนี้โอเคก็ตัดงบให้ งบมันมีอยู่ในมือ แล้ว จากนั้นก็มาแบ่งจัดสรรให้อันนี้ส�ำคัญนะ ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะมาขอ เงินไม่ให้ เช่น อบรมคุณธรรม ตอนนี้สังคมมันแย่แล้วต้องอบรม อาทิตย์ละสามวัน ใช้งบเท่านี้เป็นค่าอะไรบ้าง มันเหมาะสมไหม ถ้าเหมาะสมครูโอเค อย่างนี้เป็นต้น โรงเรียนสตรีวัดระฆังมีตังค์ แต่เราต้องใช้ตังค์ให้เกิดประโยชน์ ไม่ใช่มีตังค์แล้วแบ่งกันไปเลย แต่คุณต้องบอกเหตุว่าท�ำเพราะอะไร ท�ำได้ไหม ท�ำส�ำเร็จไหม คุณต้องไปหาความรู้ที่ไหนเพื่อมาจัดการให้มันส�ำเร็จ นั่นคือการ บริหารงาน และทุกกลุ่มสาระครูจะเดินดูหมด กระดาษใช้สอง หน้าเรามีความรู้สึกว่าโลกมันร้อนใช่ไหม ไปจัดการให้ทุกคนท�ำ 55

issue 101 june 2016


คุณต้องเคารพ กลับบ้านคุณจะใช้เราไม่ว่า เพราะฉะนั้นใน โรงเรียนใช้เพื่อค้นคว้าหาความรู้เท่านั้นจะมาแชทไม่ได้ นี่เรื่อง ที่หนึ่งส�ำเร็จ อย่างเช่นเสียบโทรศัพท์ไว้ครูบอกไม่ได้แบบนี้คือเห็นแก่ ตัว มาใช้ไฟโรงเรียน นักเรียนมีเจตนาที่ไม่ดี ขาดหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ในเรื่องคุณธรรม เพราะคุณไม่มีความ ซื่อสัตย์เราพูดอย่างนี้ทุกวัน เด็กก็จะมีความรู้สึกว่าท�ำไม ผอ.พูด เรื่องนี้ทุกวัน ก็นี่ไงข้อคุณธรรมเขาไม่มี ไม่เห็นแก่ส่วนรวม เห็น แก่ตัวนะ เรื่องร้านสวัสดิการ เราจะขายของที่ถูก ห้ามขายของ จังก์ฟู้ด ครูบอกว่าเงินที่ได้มาจากการเสียสุขภาพเด็กครูไม่เอา นี่เรื่องของคุณธรรม ถ้าเด็กอยากหารายได้ให้เอาของมาส่ง แต่ คุณต้องขยันนะ ถ้าเด็กอยากค้าขาย มา ครูจ้าง อย่างมาหกคน ให้ 300 คุณก็แบ่งกัน ในเวลาพักคุณต้องท�ำงานมากกว่าคน อื่น แต่เวลากินคุณกินน้อยลง คุณต้องขยัน เด็กมาสมัครเต็ม เลย ไม่อายท�ำกิน ครูก็มองเป็นเรื่องธรรมดาที่คนทั่วไปเขาก็ท�ำ กัน (หัวเราะ) เรื่องการยืนคอยรถเมล์ คุณจะยืนเต็มป้ายไม่ได้ ต้องดูสิ ว่ายืนยังไงให้มันเรียบร้อย มีความเป็นกุลสตรี ยืนแล้วเราไม่ไป ขวางใคร อย่างพูด คนอื่นเขาจะพูดยังไงก็ช่าง ฉันจะพูดเสียง ดังยังไงไม่สนใจใคร ไม่เกรงใจใครเลยไม่ได้ เราก็สอนเขา อย่าง

บริหารจัดการกีฬาสีอย่างไร ใช้งบเท่าไหร่ เพราะอะไร งบมาจาก ไหน ถ้าโรงเรียนให้งบสีละ 10,000 บาท แล้วคุณต้องไปขอที่ อื่นอีกไหม คุณต้องวางแผนว่าจะแต่งตัวยังไง จะบริหารจัดการ อาหารอย่างไร ต้องมาน�ำเสนอว่าใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงในการบริหารจัดการนี้อย่างไร หนูต้องมีตรงนี้ ใช้งบเท่า ไหร่มันคุ้มค่าไหมที่แต่งตัวแต่งหน้า 5,000 บาท ชุดอีก 10,000 บาท เพื่อให้เด็กได้คิดจะได้มีวิสัยทัศน์ ฝึกให้เขาเป็นนักคิด ฝึกให้เขาเป็นคนมีเหตุผล คุณอยาก ได้คุณชี้แจงมาเพราะอะไรแล้วครูก็จะให้เหตุผลไป คือให้เด็กเขา ได้แสดงออก กล้าคิด กล้าท�ำ ค่อยๆ ปลูกฝังความคิดเขา ทุกวันนี้ที่ครูท�ำส�ำเร็จคือ เรื่องการเดิน การใช้โทรศัพท์ ครูบอกว่าโทรศัพท์นี้มีประโยชน์ให้ใช้เมื่อค้นคว้าหาความรู้ ไม่ใช่ มาก้มหน้าก้มตาเล่นโทรศัพท์ ถ้าไม่ยอมเราก็มีระเบียบ แต่ถ้า ครูให้ค้นคว้าหาความรู้ ตั้งกลุ่มใช้สมาร์ทโฟนให้เกิดประโยชน์ ก็ให้ใช้ นั่นคือความพอดีความพอประมาณในการใช้โทรศัพท์ ใช่ไหม มีเหตุผลว่าต้องใช้ค้นคว้าครูให้ใช้ ตอนนี้ไม่เห็นเด็กนั่ง ใช้โทรศัพท์เลยคุณมาสังเกตได้ ไม่มี คือเราบอกเขาว่าทุกคน มีสิทธิ์พก มีสิทธิ์ใช้โทรหาผู้ปกครอง แต่เวลาเรียนโทรไม่ได้ เพราะฉะนั้นเช้ามาปิด ถ้าอาจารย์บอกว่าค้นคว้า หยิบขึ้นมา อยู่ภายใต้การดูแลของอาจารย์ การมีวินัยและให้เคารพกติกา 56

IS AM ARE www.ariyaplus.com


เรื่องยืนเราจะยืนยังไงไม่ให้กีดขวาง ไม่ให้คนอื่นเดือดร้อน อย่างรถสวนมายืนอย่างประมาท เศรษฐกิจพอเพียงเราต้องอยู่อย่างไม่ ประมาทถูกไหม การนั่งผู้หญิงเดี๋ยวนี้เขาจะเอากระโปรงใส่หว่างขา ครูผ่านแล้วก็กระแอมเขาก็จะรู้ทันที ต้องปิดให้มิดของสงวน ต้องท�ำยังไง เก็บยังไง มันใช้เมื่อถึงเวลา ใช้เมื่อถึงเวลาหมายถึงอะไร อย่างเมื่อเราจะแต่งงานแปลว่าเราเลือกแล้ว แต่ตอนนี้ต้อง สงวนไว้ให้ดี ครูจะสอนเขาอย่างนี้ สิ่ ง ที่ คิ ด จะพั ฒ นาต่ อ ไป ขณะนี้เด็กเริ่มรู้ เริ่มได้คิด เพราะเราย�้ำคิดย�้ำท�ำทุกวัน วันที่ 7 มิถุนายน นี้ ครูจะอบรมครู เอามูลนิธิครอบครัวพอเพียงเอา วิทยากรมา ครูจะเริ่มให้ครูเข้าใจ เมื่อครูเข้าใจแล้ววันที่ 18 อบรมนักเรียนแกนน�ำ ม.4 รุ่นหนึ่งก่อน หาอาสาสมัครมา แล้วเดี๋ยว มี ม.5 – ม.6 พี่ก็ไปสอนน้อง แล้วหลังจากนั้นครูจะเอาเครือข่ายผู้ปกครองมาอบรมผู้ปกครองให้เขาไปขยายผลกันเอง ว่าเด็กท�ำ แล้วนะ ครอบครัวมาเริ่มท�ำ ครูว่ามันต้องค่อยๆ เริ่ม พอได้ใจถึงเริ่ม อย่าไปบังคับ ท�ำให้ครูเห็นว่ามันดีไหม ดีแล้วท�ำ สร้างให้เขา เข้าใจ แล้วต้องเข้าถึง และต้องพัฒนา อย่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านว่า เข้าใจก่อนว่าเศรษฐกิจพอเพียงดียังไง แล้วลอง เอาไปปฏิบัติ แล้วลองเอาไปพัฒนาให้มันดีจริง โรงเรียนนี้เรื่องกู้เงินกู้ทองต้องผ่าน ผอ. เงินเดือนทุกคนผ่าน ผอ.หมด ครูจะเซ็นแล้วก็สอน ใครเงินเดือนน้อยเพราะอะไร รู้จักจัดสรรแบ่งส่วนยังไง ต่อไปนี้เขาก็เริ่มขยาดกับการจะกู้เงิน เพราะ ผอ.ซักจะเอาไปท�ำอะไร ถ้าเป็นหนี้ก่อให้เกิดรายได้ เอาไป ซื้อบ้านให้พ่อแม่ตอบแทนบุญคุณอันนี้ได้ แต่ถ้าอยู่หอพักแต่จะซื้อรถเพื่อโอ้อวดอย่าท�ำ แล้วสิ่งเหล่านี้เราท�ำตัวอย่างให้เขาเห็น กินน�้ำเปล่าให้เห็น ไม่ฟุ้งเฟ้อให้เห็น ไม่ให้ความส�ำคัญกับอะไรที่มันมีราคา แต่ให้ความส�ำคัญกับสิ่งที่มันมีคุณค่ามากกว่า หลังจากนั้นครูจัดตั้งเป็นศูนย์ครอบครัวพอเพียง ถ้าโรงเรียนสตรีวัดระฆังพอเพียง ผู้ปกครองพอเพียง มันก็จะขยายไป ชุมชนพอเพียง แต่ความพอเพียงมันไม่ส�ำเร็จภายในวันสองวัน มันต้องเกิดจาก “มันใช่ ฉันท�ำ” ขยายไปเรื่อยๆ มันต้องค่อยเป็น ค่อยไป. 57 issue 101 june 2016


โดย : อรอนงค์ อินทรจิตร

พรานล่าเนื้อ!

“ปั จ จุ บั น อายุ 33 ปี ค ่ ะ เรื่ อ งมี อ ยู ่ ว ่ า เมื่ อ ปลายปี ที่ แ ล้ ว มี รุ ่ น น้ อ งที่ ท� ำ งานคนหนึ่ ง อายุ 25 ปี เป็ น ผู ้ ช าย ท� ำ งานร่ ว มกั น มาตลอดปี พอดี น ้ อ งคนนี้ ไ ด้ ง านใหม่ จึ ง ลาออกจากงาน แต่ ยั ง มาท� ำ งานอยู ่ เ พราะเป็ น เดื อ น สุ ด ท้ า ย ระหว่ า งนี้ เ ขาได้ ช วนเราไปท� ำ งานที่ ใ หม่ ด ้ ว ยกั น เราเองก็ เ บื่ อ งานที่ ท� ำ อยู ่ จึ ง สนใจ เขาให้ ที่ อ ยู ่ บริ ษั ท จั ด หางานให้ เ ราไปติ ด ต่ อ และแม้ จ ะไม่ ไ ด้ ง านใหม่ แต่ เ นื่ อ งจากรู ้ สึ ก ขอบคุ ณ เขาอยู ่ จึ ง เริ่ ม ติ ด ต่ อ กั น นอกเวลางาน หลั ง จากนั้ น เขาก็ ช วนไปดู ห นั ง และไปเที่ ย ว เราเองก็ โ สดจึ ง ไปไหนมาไหนได้ ต ามสะดวก ก็ เ ลยได้ ไ ปด้ ว ยกั น 58 IS AM ARE www.ariyaplus.com


กระจกส่ อ งใจ หลังจากนั้นเวลาอยู่ด้วยกันตามล�ำพัง เขาก็มักจะฉวย โอกาสอยู่เสมอ ส่วนตัวเองนั้น เป็นเพราะความอยากรู้ มันเป็น ยังไง จึงยอมให้เขาล่วงเกิน แต่ก็เป็นเพียงภายนอกเท่านั้น ไม่ได้ ยอมให้มากกว่านี้ จนวันหนึ่งเขาก็ท�ำอะไรเราจริง ๆ เราพยายาม จะขัดขืนแต่ไม่อาจสู้แรงและประสบการณ์ของเขาได้ หลังจากวันนั้น เขาก็ไม่โทรมาหาอีก ถ้าเราโทรไปก็อาจ จะมารับบ้าง ไม่รับบ้าง จนเราโทรไปบอกว่า ต้องการจะคุยกัน ถึงเรื่องที่เกิดขึ้น แต่เขาก็ไม่ยอมรับสายและไม่เคยโทรมาหา อีกเลย เราเสียใจกับเรื่องที่เกิดขึ้นมาก เพราะตั้งแต่เกิดมาก็ ไม่เคยเป็นอย่างนี้มาก่อน แถมเป็นคนที่รู้จักกันมาตั้งเป็นปี ๆ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นไม่สามารถจะปรึกษาใครได้ ทั้งคนที่บ้าน และเพื่อน ๆ เพราะทุกคนรู้ว่าเราไม่เคยข้องแวะกับใคร จึงไม่ กล้าปรึกษาใคร แม้เหตุการณ์จะผ่านมาเกือบปีแล้ว แต่เราก็ ยังคงเสียใจกับเรื่องนี้ ไม่อาจจะเรียกร้องกับใครได้ เราต้องทิ้ง งานที่ท�ำอยู่ไปหางานอื่นท�ำ เพื่อให้ไกลจากสถานที่เก่า ๆ และ เหตุการณ์เก่า ๆ ส่วนเขากลับมีชีวิตที่มีความสุข ลืมสิ่งเลวร้าย ที่ท�ำกับผู้หญิงคนหนึ่ง ไปมีผู้หญิงอื่นอีกมากมาย ที่เขียนมานี้เพราะอยากระบายความทุกข์ในใจที่มันเกิด ขึ้นแต่หาทางออกไม่ได้ และยังคงเจ็บปวดกับมันอยู่ หากเราเป็น คนชอบเที่ยวเตร่มีอะไรกับใครไปทั่ว ก็คงจะไม่รู้สึกอย่างนี้ บาง ครั้งคิดมาก และหดหู่กับตัวเอง ได้แต่โทษว่าเป็นเวรเป็นกรรม ของเรา อยากจะหยุดคิดอย่างนี้สักที อยากจะมีความสุขเหมือน วันเก่า ๆ จะต้องท�ำยังไงคะ และหากในอนาคตเกิดมีใครเข้ามา ในชีวิตของเรา เขาจะรู้ไหมคะว่าเราไม่บริสุทธิ์แล้ว หรือเราควร จะบอกเขาให้รู้เอง ช่วยแนะน�ำด้วยค่ะ”

“...ทุ ก อย่ า งที่ เ กิ ด ขึ้ น ในโลกนี้ ล้ ว นมี เ หตุ ผ ลในตั ว ของมั น เองเสมอ หน้ า ที่ ข องพุ ท ธศาสนิ ก ชนคื อ ศึ ก ษา ค้ น หาเหตุ ผ ลนั้ น ๆ ...แล้ ว จึ ง ค่ อ ยเชื่ อ .” ถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย จะไม่ได้จารึกชื่อนักจิตวิทยา ผู้ยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษไทยไว้ให้จดจ�ำ แต่คนไทย สังคมไทย ครอบครัวไทยก็ได้เรียนรู้จิตวิทยาผ่านทางการใช้ภาษาไทยใน วรรณคดีไทยที่มีอยู่มากมาย และที่ส�ำคัญคือการอบรมสั่งสอน ผ่านทางความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนา เช่นพระพุทธเจ้าผู้ เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ ทรงสอนว่า “คนเรานั้น ท�ำดีได้ดี ท�ำชั่วได้ชั่ว...” แต่คนมากมายก็มักจะโต้แย้ง “คนท�ำดีไม่ได้ ดี แต่คนชั่วท�ำชั่วกลับได้ดีมีถมไป!” ก็เป็นเรื่องจริงเช่นกันที่ เราเห็นคนดี ๆ มากมายต้องพ่ายแพ้แก่ความชั่วของบางคน” ถึงกระนั้น พระพุทธเจ้าผู้ทรงตรัสรู้อริยสัจ 4 ทรงสอนพวกเรา คนพุทธให้ตะหนักว่า การเกิดเป็นมนุษย์นั้นย่อมประกอบด้วย การเกิด แก่ เจ็บ และตาย บนเส้นทางชีวิตมีแต่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ความทุกข์เป็นผลแห่งการกระท�ำ(สมุทัย)ของ เราทั้งในอดีตชาติและปัจจุบัน หากมนุษย์ไม่ต้องการความทุกข์ ต้องการจะพ้นทุกข์ ก็ต้องแก้ไข(นิโรธ)ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง 59

issue 101 june 2016


พฤติ ก รรมปั จ จุ บั น ของตนและฝึ ก ฝน ปฏิบัติแต่ความดีตามวิถีแห่งมรรค 8 ที่ส�ำคัญ พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรง บังคับให้พวกเราต้องเชื่อตามที่พระองค์ ทรงสอนไว้ แต่ทรงตรัสว่า “...ทุกอย่างที่ เกิดขึ้นในโลกนี้ ล้วนมีเหตุผลในตัวของ มันเองเสมอ หน้าที่ของพุทธศาสนิกชน คือ ศึกษา ค้นหาเหตุผลนั้น ๆ ...แล้วจึง ค่อยเชื่อ.” กว่าสองพันห้าร้อยปีที่ศาสนา พุ ท ธด� ำ รงคงอยู ่ ฝั ง รากฐานถ่ า ยทอด ความรอบรู ้ แ ละประสบการณ์ ใ นความ เป็นมนุษย์ เพื่อจรรโลงความดีงามและ ความเจริ ญ รุ ่ ง เรื่ อ งให้ แ ก่ ม นุ ษ ยชาติ บ น โลกใบนี้ สื บ ต่ อ ไป และแม้ ผู ้ ค นในทวี ป เอเซียจะเหนียวแน่นฝังรากลึกในความ เป็ น พุ ท ธศาสนิ ก ชน ผู ้ ป ฏิ บั ติ ดี ป ฏิ บั ติ ชอบ แต่เนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆ ทางพุทธ ศาสนามักจะถ่ายทอดผ่านการบอกเล่า ปากต่อปาก หรือการบันทึกข้อความใน พระไตรปิฎกส�ำหรับประชาชนผู้สนใจจะ

แต่ . ...ไม่ ว ่ า เธอจะรู ้ สึ ก อย่ า งไร เธอก็ ไ ม่ ก ล้ า จะบอกเล่ า ปรึ ก ษาปรั บ ทุ ก ข์ กั บ ใคร นอกจากซมซานลาออกจากงานเหมื อ นเป็ น การลงโทษ ตนเอง ที่ เ จ็ บ ปวดส� ำ หรั บ ผู ้ ห ญิ ง ทุ ก คนที่ ต กอยู ่ ใ นสถานการณ์ ไ ม่ ต ่ า ง จาก “เหยื่ อ ” คื อ ความรู ้ สึ ก ของคนที่ ไ ม่ ส ามารถลุ ก ขึ้ น มาตอบโต้ ต่ อ สู ้ เพื่ อ ปกป้ อ งและเรี ย กศั ก ดิ์ ศ รี ข องตนคื น มาได้ เธอท� ำ ได้ เ พี ย งทนทุ ก ข์ ทรมานอยู ่ กั บ ความเสี ย ใจ และเจ็ บ แค้ น ตั ว เองเท่ า นั้ น ศึกษาเล่าเรียน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถ จะเข้าถึงบทเรียนเหล่านั้นได้ การเรียนรู้ ผ่านทางผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโส ตลอดจนบท ประพันธ์ในวรรณคดีไทย จึงเหมือนการ บอกเล่าเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย เพื่อ ให้เนื้อหาสั้น กระชับ แต่เข้าใจง่ายและได้ สาระ เช่น “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” หรือ “เดินตามผู้ใหญ่ หมาไม่กัด” หรือ “วัว แก่ชอบกินหญ้าอ่อน” หรือ “ผู้ชายเป็น ช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง” หรือ “กินน�้ำใต้ศอก” และอีกมากมายที่ การพูดเปรียบเทียบง่าย ๆ สั้น ๆ สามารถ 60 IS AM ARE www.ariyaplus.com

ให้ความหมาย ขยายความได้หลายหน้า กระดาษ ส�ำนวนเปรียบเปรยเหล่านี้เองที่ ซ่อนอยู่ใน “ภาษาไทย” ของเรามาเป็น พันปี โดยที่เราไม่ต้องไปสร้างหรือก�ำหนด ทฤษฎีทไี่ หน เพราะนีค่ อื จิตวิทยาในภาษา ไทยของสังคมไทยนั่นเอง กรณีปัญหาของหญิงสาววัย 33 ปี คนนี้ เธออยู่ในวัยที่น่าจะมีวุฒิภาวะเป็น ผู้ใหญ่พอจะประเมินสถานการณ์ตรงหน้า ได้บ้าง ในอดีตพ่อแม่ผู้ใหญ่จะสอนว่า “รู้ หน้า ไม่รู้ใจ” หมายความว่า เห็นหน้าตา เขาดีพูดจาดี อย่าเพิ่งไว้วางใจ เราไม่รู้เขา


คิดอะไรอยู่ในใจ แต่เธอรู้สึกว่าเขาดีกับเธอ พยายามสนับสนุนให้ เธอหางานใหม่ ทั้ง ๆ ที่เขาลาออกจากงานแล้ว แต่ก็ยังกลับมา แสดงความเป็นมิตรด้วย และเพราะเคยท�ำงานร่วมกันมาก่อน เป็นปี เธอจึงเชื่อใจให้ความไว้วางใจ เขาชวนไปไหนเธอก็ไป ด้วย ไม่ทันเฉลียวใจว่าเขาคิดอะไร เหตุการณ์เช่นนี้คนโบราณ จะแนะน�ำเพื่อความปลอดภัยว่า “อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจ คน จะจนใจเอง....” ที่ ส� ำ คั ญ ในฐานะที่ เ ป็ น ผู ้ ห ญิ ง ที่ ยั ง ไม่ ไ ด้ ค บหาเป็ น คู่รักกันจริงจังกับเขา เธอต้องมีความระมัดระวังไม่ให้เขาล่วง เกิน ฉวยโอกาสหรือพยายามเอาเปรียบทางเพศกับเธอ เธอ สามารถจะปฏิเสธเขาตรง ๆ และบอกเขาว่าเธอไม่ชอบไม่พอใจ พฤติกรรมของเขา อย่าท�ำ! แต่อาจเพราะเธอยังไม่เคยมีแฟน ไม่มีประสบการณ์ และด้วยความอยากรู้อยากเห็น น�ำพาให้เธอ ขาดความส�ำรวม ปล่อยตัวปล่อยใจให้เขาล่วงเกิน ด้วยความคิด ที่ว่า หากเขาพยายามจะขืนใจเธอ เธอจะเอาตัวรอดได้ นี่เป็น ความประมาทที่น�ำเธอไปสู่ความพลาดพลั้งที่ผู้ใหญ่มักสอนว่า “ความประมาทเป็นหนทางไปสู่ความตาย!” ถึงตรงนี้ เธอได้ตระหนักแล้วว่า ผู้ชายคนนี้มีเจตนาเข้า มาเพื่อหลอกลวงและปล้นความสาวของเธอ เธอรู้สึกอับอาย โดยเฉพาะอายตัวเองที่โง่เขลาเบาปัญญาปล่อยให้เกิดเรื่องเช่นนี้ กับตัวเองได้อย่างไร ทั้งที่ผ่านมาท�ำตัวดีมาตลอด เธอรู้สึกทุกข์ใจ เสียใจ เจ็บใจ ผิดหวัง โกรธแค้น การกระท�ำของเขาที่ท�ำให้เธอ รู้สึกตัวเองต�่ำต้อยด้อยค่า ไม่ต่างอะไรกับดอกไม้ริมทาง คนเดิน ผ่านมาเด็ดมาชมเชยแล้วก็โยนทิ้งไปอย่างไม่ไยดี แต่....ไม่ว่าเธอ จะรู้สึกอย่างไร เธอก็ไม่กล้าจะบอกเล่าปรึกษาปรับทุกข์กับใคร นอกจากซมซานลาออกจากงานเหมือนเป็นการลงโทษตนเอง ที่ เจ็บปวดส�ำหรับผู้หญิงทุกคนที่ตกอยู่ในสถานการณ์ไม่ต่างจาก “เหยื่อ” คือความรู้สึกของคนที่ไม่สามารถลุกขึ้นมาตอบโต้ ต่อสู้ เพื่อปกป้องและเรียกศักดิ์ศรีของตนคืนมาได้ เธอท�ำได้เพียงทน ทุกข์ทรมานอยู่กับความเสียใจ และเจ็บแค้นตัวเองเท่านั้น แน่นอน...ผู้หญิงจ�ำนวนมากมักยอมรับสภาพความพ่าย แพ้และลงโทษตนเองด้วยการประณามตนเอง ว่าไร้ค่า เป็นคน ไม่ดีเพียงเพราะปกป้องตัวเองไม่ได้ การไม่คิดจะให้อภัยตัวเอง เป็นการหล่อหลอมความทุกข์เอาไว้เหมือนโซ่ตรวนทางใจ แต่ หากเราพิจารณาให้ดีจะพบว่า “ในป่าคอนกรีตแห่งนี้ ในสังคม สิ่งแวดล้อมทุกวันนี้ก็ไม่ต่างจากป่าดงดิบทั่วไป ผู้คนมากมาย ไม่ต่างจากพรานล่าเนื้อที่จ้องจะท�ำร้ายท�ำลายสัตว์ที่อ่อนแอ กว่า” และผู้คนอีกมากมายก็ไม่ต่างไปจาก “เหยื่อ” ที่พร้อมจะ ถูกนายพราน”ล่าชีวิต” เอาง่าย ๆ หากเราไปอยู่ผิดที่ ผิดเวลา .....แต่ยังโชคดีที่เธอเพียงบาดเจ็บสาหัส ไม่ถึงกับเสียชีวิต และ

การปลดปล่ อ ยตั ว เองออกมาจากโซ่ ต รวนของความ เจ็ บ แค้ น ก้ า วข้ า มความทรงจ� ำ ที่ เ ลวร้ า ยเพื่ อ เราจะได้ ชี วิ ต ที่ เ คยดี ง ามของเราคื น มา เรื่ อ งเลวร้ า ยได้ เ กิ ด ขึ้ น แล้ ว และก� ำ ลั ง จะผ่ า นไป ไม่ จ� ำ เป็ น จะต้ อ งเกาะ เกี่ ย วความทุ ก ข์ น้ั น เอาไว้ ไม่ จ� ำ เป็ น ที่ เ ราจะต้ อ งบอก ใคร ปล่ อ ยมั น ไปกั บ อดี ต มันไม่เกิดประโยชน์อะไร ที่จะเรียกร้องขอความเห็นใจจากนาย พรานใจร้ายคนนั้น แต่สิ่งที่เราทุกคนต้องการคือ “การรู้จักที่จะ ให้อภัยตัวเองในความประมาทพลาดพลั้งที่เกิดขึ้น การให้ อภัยตนเองก็เหมือนการให้อภัยศัตรูคู่แค้นของเรา!” การปลดปล่อยตัวเองออกมาจากโซ่ตรวนของความเจ็บ แค้น ก้าวข้ามความทรงจ�ำที่เลวร้ายเพื่อเราจะได้ชีวิตที่เคยดีงาม ของเราคืนมา เรื่องเลวร้ายได้เกิดขึ้นแล้ว และก�ำลังจะผ่านไป ไม่ จ�ำเป็นจะต้องเกาะเกี่ยวความทุกข์นั้นเอาไว้ ไม่จ�ำเป็นที่เราจะ ต้องบอกใคร ปล่อยมันไปกับอดีต และจดจ�ำไว้เฉพาะบทเรียน ที่มีค่า พร้อมบอกกับตัวเองว่า “...ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ชีวิตมี คุณค่าควรแก่การรักษาไว้เสมอ...ที่ผ่านมา เป็นเพียงราคาค่า โง่ของเราเท่านั้นเอง.....” อรอนงค์ อินทรจิตร 12 พฤษภาคม 2559 61

issue 101 june 2016


62 IS AM ARE www.ariyaplus.com


63 issue 101 june 2016


64 IS AM ARE www.ariyaplus.com


65 issue 101 june 2016


66 IS AM ARE www.ariyaplus.com


67 issue 101 june 2016


ปี ชวด

การงาน-ต้องมั่นใจ คุณสามารถเดินหน้าในการท�ำงานได้อย่างมั่นใจหากคุณรักษาความมุ่งมั่นที่มีต่องานไว้ได้ คุณ อาจรู้สึกเหมือนอยู่ในสนามรบเมื่อมีการขับเคี่ยวชิงดีกันอย่างดุเดือด สงบใจไว้และรักษาจุดยืนของคุณไว้ให้ดี จง มั่นใจในความสามารถของคุณ และอย่ายอมให้ใครท�ำคุณหวั่นไหวได้ ธุรกิจ-มุ่งมั่นกับเส้นทาง ผลสุดท้ายในทุกสิ่งที่พยายามท�ำจะน่าพอใจตราบใดที่คุณไม่ยอมให้เรื่องที่ไม่ส�ำคัญมาบดบังสิ่งส�ำคัญที่คุณ ก�ำลังท�ำ อย่าออกนอกประเด็นที่ต้องการปรึกษาหารือและอย่าให้ใครพาคุณพูดออกทะเล มีสัญญาณบ่งชี้ถึงการแข่งขันอย่างดุเดือด ความรักธ์-ไม่หวานชื่น ความรักอาจไม่เป็นสีชมพู แต่ใจของคุณก็ดูจะหันไปสนใจเรื่องอื่นจึงยากที่คุณจะใส่ใจใครได้อย่างเต็มที่ นี่ไม่ใช่วิธี ที่ดีเลยหากคิดจะพิชิตหัวใจใคร คุณอาจต้องยอมวางมือจากเรื่องความรักเมื่อในหัวของคุณคิดถึงแต่เรื่องอื่น พยายามอย่าเอาความเครียด จากเรื่องงานมาระบายลงกับคนที่คุณหมายตาไว้ การศึกษา-สงบใจไว้ให้ได้ อย่าปล่อยให้ตัวเองหงุดหงิดกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ คุณมีโอกาสที่จะท�ำได้ดี แต่ความส�ำเร็จจะเข้ามาหาคนปี ชวดที่นิ่งและไม่วู่วาม

ปี ฉลู

การงาน–ความมั่นใจใหม่ คุณมีความมั่นใจครั้งใหม่ที่ท�ำให้ผู้อื่นพลอยมองโลกในแง่ดีไปกับคุณด้วย ความมั่นใจและ ท่าทีที่เยือกเย็นอย่างเห็นได้ชัดจะพาคุณก้าวไปได้ไกลในเดือนนี้ ผู้อื่นจะรู้สึกมั่นใจเพียงแค่มีคุณอยู่ด้วย อีกทั้งผู้อื่น ก็รับฟังความคิดเห็นของคุณอย่างจริงจังในทุกการสนทนา ธุรกิจ – เสี่ยงด้วยความเชื่อมั่น จงเชื่อมั่นในสัญชาตญาณของคุณเมื่อต้องตัดสินใจในเดือนนี้คุณอาจต้องลองเสี่ยงด้วยความเชื่อมั่น แต่ คุณก็ยังท�ำได้ด้วยความมั่นใจว่าทุกอย่างจะกลายเป็นดี ดวงดาวของคุณเรียงตัวในแบบที่ช่วยให้คุณเสี่ยงได้ อย่าเลือกทางที่ปลอดภัย เกินไป มิฉะนั้นคุณอาจพลาดโอกาสทอง ความรัก – ตกหลุมรัก ไม่ใช่เวลาที่จะเล่นเกมรัก หากคุณรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร ก็ควรไขว่คว้าสิ่งนั้นมาให้ได้ ฟังเสียงหัวใจของคุณให้ ดีในเรื่องของความรัก แม้ว่าด้านที่มีเหตุผลกว่าของคุณอาจบอกคุณอีกอย่างหนึ่ง แต่ก็ควรให้อีกด้านหนึ่งของคุณได้แสดงออกมาบ้าง การศึกษา-อยากเป็นอิสระ เดือนนี้คุณอาจรู้สึกอดรนทนไม่ได้ที่จะตัดสินใจเรื่องต่างๆ ด้วย ตัวเอง แต่ก็ไม่ควรดื้อรั้นเกินไปที่จะขอค�ำ แนะน�ำในยามจ�ำเป็น การรับฟังความคิดเห็นอื่นบ้างก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ยิ่งหากเป็นเรื่องที่มีความส�ำคัญ

ปี ขาล

การงาน – โอกาสที่จะก้าวหน้า แสงสว่างเกิดขึ้นในตัวคุณและมีโอกาสที่คนอื่นจะพลอยมองโลกในแง่บวกตามคุณ ไปด้วย ตอนนี้เป็นเวลาที่จะคว้าโอกาสที่มีเข้ามาด้วยสองมือและลุยไปพร้อมกับโอกาสที่ได้รับคุณสามารถรับผิดชอบ งานได้มากกว่าที่คุณคิดจึงไม่ควรถอยหนีจากความท้าทาย ตอนนี้คือโอกาสที่คุณจะได้ก้าวหน้า โชคด้านการเลื่อนขั้นปรากฏให้เห็นอยู่ ธุรกิจ – ถึงเวลาลงมือ สัญชาตญาณของคุณดี จึงควรเชื่อใจสิ่งที่คุณรู้สึก ไม่จ�ำเป็นต้องเสียเวลาคิดมากเกินไปเมื่อตัดสินใจ หากรู้สึก ว่าบางอย่างใช่ จงกล้าที่จะลงมือตามนั้น ตอนนี้คือเวลาแห่งการลงมือ และบางเรื่องก็ต้องท�ำอย่างรวดเร็ว หากคุณไม่ต้องการพลาด โอกาส แต่ก็ไม่จ�ำเป็นต้องระวังมากเกินไป ความรัก – น่าชื่นใจ หากในปีนี้มีแค่เดือนเดียวที่พิเศษสุดในด้านความรัก เดือนนี้ก็ใช่เลย คุณก�ำลังรู้สึกแข็งแกร่งและสดใส และมีแนว โน้มจะเป็นฝ่ายที่เหนือกว่าในความสัมพันธ์หรือชีวิตคู่ในตอนนี้ คุณจะรับบทน�ำได้อย่างเป็นธรรมชาติไม่ว่าคุณจะเป็นหญิงหรือชาย คน ปีขาลที่ยังคงมองหาคู่แท้จะสนใจคนที่ฉลาดทัดเทียมกับคุณ การศึกษา – ตัดสินใจด้วยตัวเอง คุณมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะควบคุมชะตาชีวิตของคุณเอง และการได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง ท�ำให้คุณปลาบปลื้มจนลืมความผิดพลาดใดใดก็ตามที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่ปรึกษาใครอื่นเลย 68 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Wheel Of Life

ปี เถาะ

การงาน – พลังทีม คุณอาจพบว่าคุณไม่มีสมาธิ มีหลายสิ่งให้ต้องคิดจนคุณท�ำผิดพลาดเพราะความประมาทหรือ ไม่ก็เพราะวิจารณญาณที่พร่องไป คุณจ�ำเป็นต้องท�ำงานหนักขึ้นเพื่อเรียกชื่อเสียงกลับมาเหมือนเดิม คนปีเถาะที่ ท�ำได้ดีเมื่อได้รับค�ำชมอาจรู้สึกหมดแรงใจอย่าปล่อยให้ตัวเองดิ่งลงและหดหู่ ธุรกิจ – อดทนไว้ อุปสรรคจะปรากฏขึ้นมาหยุดยั้งคุณบนเส้นทางที่เดิน แม้ว่าบางอย่างอาจเป็นปัญหาเล็กน้อย แต่ก็ส่งผลต่อจิตใจ ของคุณท�ำให้คุณต้องกังวล อย่าให้ตัวเองท�ำเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ ไม่มีสิ่งใดที่แก้ไขไม่ได้ แม้ว่ายอดขายและรายได้อาจตกลง บ้าง แต่คุณก็แก้ไขปัญหาได้ด้วยการท�ำงานให้มากขึ้นและคิดให้แตกต่างออกไป ความรักและความสัมพัธ์ – ล�ำบาก ไม่ใช่ช่วงเวลาที่ดีส�ำหรับการเริ่มต้นความสัมพันธ์ใหม่ การเข้าใจผิดเกิดขึ้นในสายสัมพันธ์ที่แสนสุข ระหว่างคุณกับคู่รัก ไม่ว่าคุณจะคบหากันมานานหรือเพิ่งจะได้พบกันก็ตามจงค่อยเป็นค่อยไปพยายามเข้าใจให้มากขึ้น และอย่าด่วน สรุปเรื่องใด ไว้ใจอีกฝ่ายหนึ่งไว้ก่อนหากมีเรื่องน่าสงสัย การศึกษา – ต้องเยือกเย็น คุณอาจพบว่าวันของคุณเต็มไปด้วยภาระงานต่างๆอย่างรวดเร็วอย่าท�ำมากเกินไปและอย่าจับหลายสิ่ง เกินไป ทางที่ดีควรท�ำสักสองสามอย่างให้ดีเลิศ ดีกว่าท�ำได้หลายอย่างแต่ท�ำแย่

ปี มะโรง

การงาน-ค�ำชื่นชม ในเดือนนี้คนปีมะโรงที่กระตือรือร้นอาจมีโอกาสได้ก้าวกระโดดไปสู่ขั้นต่อไปและยังอาจได้รับการ เลื่อนต�ำแหน่งในบางลักษณะ จะมีบุคลส�ำคัญเข้ามาในชีวิตของคุณ คนซึ่งสามารถช่วยเหลือคุณได้ให้ความช่วยเหลือ คุณได้ ความช่วยเหลือที่ได้อาจเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ธุรกิจ-สัญญาชิ้นงาม เดือนที่น่าตื่นเต้นเมื่อโอกาสทองวิ่งมาหาคุณ ปีนี้น�ำดาวมงคลหลายดวงมาสู่ทิศของคุณ และเมื่อดาวสวรรค์ เข้ามร่วมด้วยก็ก่อให้เกิดโชคมหามงคล จงใช้ประโยชน์จากมิตรไมตรีที่คุณได้สร้างขึ้นภายในเครือข่ายผู้ร่วมงานและคนรู้จัก คุณอาจ ต้องการค�ำรับรองหรือค�ำแนะน�ำเพื่อช่วยให้สามารถเดินบนเส้นทางที่เหมาะสม หากคุณเห็นโอกาส จงรีบติดตามไป ความรัก-มีความสุข เป็นเดือนมงคลที่จะสานสัมพันธ์ให้ลึกซึ้งขึ้น การหมั้นหมายหรือแต่งงานจะน�ำกระแสมงคลมาให้ส�ำหรับอนาคต ยากที่ใครจะต้านทางเสน่ห์ของคุณได้และคนที่ยังโสดจะได้พบคนที่รักคุณได้ไม่ยากเลย การศึกษา-โชคด้านผู้ชี้น�ำ เด็กปีมะโรงจะมีโชคด้านผู้ชี้น�ำ และคนที่มีผู้ชี้น�ำในชีวิตจะพบว่าพวกเขามีบทบาทส�ำคัญในพัฒนาการและ การตัดสินใจของคุณ จงใช้ประโยชน์ จากค�ำแนะน�ำให้เต็มที่ด้วยการรับฟังอย่างตั้งใจ

ปี มะเส็ง

การงาน-สร้างสรรค์ คุณจะไปได้สวยในที่ท�ำงานหากคุณสร้างสรรค์ คุณมีโอกาสมากที่จะก้าวกระโดดแซงหน้าคนอื่น ไปสู่จุดสูงสุดในเดือนนี้ จงวางเป้าหมายให้ชัดเจนและชี้แจงให้เจ้านายทราบถึงเป้าหมายที่คุณมี ความทะเยอทะยาน ไม่ได้เสียหายอะไร ตราบใดที่คุณยังคงนอบน้อมถ่อมตัวอย่างเหมาะสม ธุรกิจ-ประตุเปิดกว้าง ประตูหลายบานจะเปิดกว้าง หากคุณรู้จักผู้คนที่เหมาะสม เมื่อมีเครือข่ายที่รู้จักอย่ากลัวที่จะใช้ในสถานการณ์ ที่แย่ที่สุดก็คือถูกปฏิเสธแต่หากคุณไม่เอ่ยปากขอ คุณก็ถูกปฏิเสธอยู่แล้วโดยปริยาย ก่อนที่จะยืนข้อเสนอ ใช้เวลาศึกษาความเป็นไป ได้ทั้งหมดให้ดีก่อน หากมีสิ่งใดที่ดูแล้วเป็นไปได้ส�ำหรับคุณ ความรัก-ระวังหัวใจเป็นอื่น คุณจะมีความปรารถนาเป็นพิเศษในเดือนนี้ ไม่ใช่แค่ต้องการให้คนอื่นชื่นชม แต่ต้องการเป็นที่รักเลยที เดียว ส�ำหรับคนที่แต่งงานแล้ว หาทางรักษาชีวิตคู่ของคุณไว้หากนั่นคือสิ่งที่ส�ำคัญส�ำหรับคุณ คุณอาจต้องเป็นฝ่ายรุกและพยายาม เองมากกว่าครึ่ง การศึกษา-โชคด้านผู้ชี้น�ำ เด็กปีมะเส็งจะได้รับผลดีจากครูหรือผู้ชี้น�ำที่หวังดีในสิ่งที่คุณท�ำอยู่ลองมองหาบุคคลที่มีลักษณะเช่นนี้ บุคคล ที่จะท�ำให้การเรียนของคุณดีขึ้นและช่วยให้คุณเติบโตเป็นผู้ใหญ่ 69 issue 101 june 2016


ปี มะเมีย

การงาน-อย่าเป็นจุดสนใจ แม้ว่าคุณจะอยากปล่อยให้สถานการณ์พาไป เดินไปช้าหรือเร็วตามที่สภาพแวดล้อม ก�ำหนด แต่ลึกๆ แล้วคุณคงอยากให้ สิงต่างๆ เดินช้าลง ถอยกลับมาประเมินแล้วมองดูปลายทางอย่าท�ำตาม สถานการณ์จนลืมเป้าหมายสูงสุดของคุณอย่าเปิดเผยมากเกินไป ธุรกิจ-ค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆ ท�ำดีละอย่าง คุณควรต้องมีกลยุทธ์ในการเดินหน้าที่ชัดเจน หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจเอง จงใช้เวลาเพื่อ คิดให้มากพอๆ กับลงมือ จุดแข็งที่ส�ำคัญอย่างหนึ่งของคุณคือความสามารถที่จะเดินหน้าต่อไป แต่บางทีการได้หยุดบ้างก็เป็นผลดีเช่น กัน ชะลอการลงมือก่อน วางแผนก่อนที่จะก้าว ความรัก-อย่าเผลอใจ ชีวิตส่วนตัวช่วยให้คุณได้พักชีวิตการงานที่อาจน่าหงุดหงิดและไม่เป็นไปอย่างที่คุณหวัง พักใจกับความสัมพันธ์ ที่แสนสุขและหาทางกระชับความสัมพันธ์ให้เหี่ยวแน่น อาจมีสิ่งล่อใจนอกความสัมพันธ์ แต่คุณรู้ดีว่านั่นจะไม่เป็นผลดี มุ่งทะนุบ�ำรุงสิ่ง ที่คุณมี การศึกษา-อย่าท�ำมากเกินไป อย่าท�ำตัว “เก่งไปเสียทุกอย่าง” จนลงท้ายด้วยการท�ำทุกอย่างแค่พอรับได้ แต่ไม่มีอะไรสักอย่างที่ ดีเยียมจริงๆ

ปี มะแม

การงาน – ไล่ตามความฝัน คุณจะรู้สึกอยากอยู่กับผู้อื่นและแสวงหาเพื่อการได้พบปะพูดคุยกับเพื่อนและคนรู้จักที่คุณ ไม่ได้ติดต่อมาสักระยะจะช่วยน�ำความสดชื่นกลับคืนมาสู่ชีวิตของคุณ หากคุณคบหาคนเพียงกลุ่มเล็กๆ ในช่วงสองสาม ปีที่ผ่านมา ตอนนี้ได้เวลาที่จะขยายกลุ่มของคุณแล้ว ธุรกิจ – หุ้นส่วนใหม่ เดือนที่ร�่ำมรวยเดือนนี้จะน�ำช่องทางมากมายมาให้คุณส�ำรวจคุณมีทางเลือกหลากหลายอยู่เบื้องหน้า แต่ค�ำถาม คือ จะเลือกทุ่มเทให้ทางไหนดีแม้ว่าคุณอาจรู้สึกกลัวอยู่บ้าง แต่นี่ก็ยังดีกว่าไม่มาทางให้เลือกเลย คุณจะเข้าใจความหมายทั้งหมดและ รู้สึกว่ามันคุ้มค่าที่จะลงมือ ความรัก– ยากจะห้ามใจ เดือนที่ดีส�ำหรับคนปีมะแมที่มีรัก คุณจะเป็นคนรักที่เร่าร้อนเมื่อคุณมีอารมณ์และในเดือนนี้คุณจะมีอารมณ์ เช่นนั้นอยู่บ่อยๆ คนปีมะแมที่ยังโสดและมองหารักจะทุ่มเทขึ้นมากเพื่อแสวงหาชีวิตรักที่สนุกสนาน แต่คนที่แต่งงานแล้วต้องระวังอย่า ปล่อยใจท�ำบางสิ่งที่คุณอาจต้องเสียใจ หากชีวิตของคุณเสี่ยงต่อการนอกใจคู่ชีวิตของคุณ การศึกษา–การเรียนดีเยียม เด็กปีมะแมจะได้รับผลดีมากจากพลังของเดือนนี้ น�ำโชคด้านการศึกษาที่ช่วยให้การเรียนสนุกสนานให้ ความรู้มาก และท�ำให้รู้สึกดี คนปีมะแมที่ก�ำลังจะสอบจะท�ำได้ดี แต่อย่าลืมแม้แต่อัจฉริยะก็ต้องทบทวนบทเรียนเช่นกัน

ปี วอก

การงาน-มุมมองที่แตกต่าง มิตรภาพกับเพื่อนร่วมงานที่คุณคิดว่ามีอยู่อาจพังทลายในเดือนนี้ ยากที่คุณจะเห็นพ้อง กับคนอื่นและความคิดเห็นที่ต่างกันอาจกลายเป็นความบาดหมางระหว่างคุณกับเพื่อนร่วมงานบางคน อย่ายอมให้ ความสัมพันธ์แย่ลง เดินหนีไปหากมีปากเสียงกัน หรือยอมหากจ�ำเป็น ธุรกิจ-เรื่องวุ่นๆกับกฎหมาย ระวังคดีความกับปัญหาทางกฎหมายไว้ให้ดี ในเดือนนี้คุณต้องระวังเป็นพิเศษเมื่อเซ็นสัญญาและข้อตกลง ต่างๆไม่ใช่เวลาดีเลยที่จะเข้าร่วมหุ้นส่วนหรือสัญญาใหม่ หรือแม้แต่เริ่มต้นนี้ทีละนิดแทนที่จะเสี่ยงเดินไปในทิศทางที่ไม่รู้หรือไม่คุ้นเคย อย่าท�ำผิดกฎหมาย เพราะตอนนี้คุณจะท�ำผิดกฎหมายได้ง่ายกว่าที่คุณคิด ความรัก-อ่อนไหว ไม่ใช่เวลาที่ง่ายส�ำหรับคนที่มองหารัก คุณเสี่ยงต่อสุขภาพอารมณ์ที่ปั่นป่วน แม้ว่าการผิดใจกันส่วนใหญ่จะเกิด จากพลังแห่งการทะเลาะวิวาทของคุณ แต่เรื่องราวก็ไม่ได้ง่ายขึ้นเมื่อคุณมีเรื่องกัน คุณมีแนวโน้มที่จะอ่อนไหวกว่าปกติ จึงได้รับผล จากความคิดของคนอื่นได้ง่ายๆ การศึกษา-เป็นที่หนึ่ง คุณมีโชคด้านชื่อเสียงที่โดดเด่นในเดือนนี้ หากคุณก�ำลังอยู่ในช่วงปิดเทอมฤดูร้อน ลองท�ำสิ่งที่คุณอาจไม่มีเวลา ท�ำที่โรงเรียนหากคุณอยู่ในช่วงเปิดเทอมควรตั้งใจเรียนเพราะโชครหัสเหอถูจะน�ำโชคแห่งความเป็นเลิศมา 70 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Wheel Of Life

ปี ระกา

การงาน – เพิ่มผลงาน แม้ว่าภาระงานของคุณจะเพิ่มขึ้น แต่คุณก็รับมือกับการท�ำงานที่เร็วขึ้น เมื่อจิตใจของคุณ ตื่นตัวและคุณจ�ำเป็นต้องใช้สติปัญญา คุณจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ว่าคุณอาจหมดแรงเมื่อจบวัน แต่ความรู้สึก ถึงชัยชนะจะผลักดันให้คุณท�ำเช่นนี้ซ�้ำๆ ต่อไปได้ในวันรุ่งขึ้น ตอนนี้ยังเป็นเวลาที่จะท�ำตัวให้เข้าตาบุคคลส�ำคัญ ธุรกิจ – ความเป็นไปได้ดีๆ มากมาย ธุรกิจและการค้าของคุณเดือนนี้เต็มไปด้วยสิ่งดีๆ และผลลัพธ์ก็จะมาถึงอย่างรวดเร็วคุณจะ หาเงินได้ง่าย ทั้งการลงทุนก็น�ำผลดีมาให้ สิ่งต่างๆ เป็นไปตามแผน ควรมองการณ์ไกล เพราะตอนนี้เป็นเวลาดีที่จะสร้างรากฐานที่ มั่นคงให้คุณพัฒนาต่อไป ความรัก – โกลาหล นี่อาจเป็นเดือนที่โกลาหล คนโสดปีระกาจะสนุกกับการสังสรรค์ออกเดท แต่คนที่มีคู่แล้วอาจจ้องแต่จับผิดกัน และกัน อย่าให้การเอาอกเอาใจที่ฉาบฉวยท�ำให้คุณคิดเป็นอื่นและโยนสิ่งดีๆ ทิ้งไปคนปีระกาที่แต่งงานแล้วควรหาทางปกป้องความ สัมพันธ์จากมือที่สามที่สร้างปัญหาและท�ำลายชีวิตคู่ของคุณ การศึกษา – ขยันขันแข็ง เด็กน้อยหัวสร้างสรรค์จะมีความสุขอย่างที่สุดหากได้ท�ำกิจกรรมนอกโรงเรียน การพัฒนาพรสวรรค์ของคุณ ในด้านอื่นนอกเหนือจากการเรียนจะท�ำให้คุณพอใจและยังช่วยสอนบทเรียนที่คุณไม่สามารถเรียนได้ในห้องเรียน

ปี จอ

การงาน-ติดปีก คุณก�ำลังมาแรง และยังได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายช่วยให้คุณเดินหน้าต่อไปได้เรื่อยๆ คุณเป็นที่ ชื่นชอบทั้งในกลุ่มเพื่อนร่วมงาน คนวัยเดียวกัน และเจ้านาย คนอื่นๆ ชื่นชมและมองคุณเป็นแบบอย่างหากคุณวางตัว ให้ดีพอ ถ้าคุณต้องการเป็นผู้ชนะอย่างแท้จริงอย่าเอาแต่แข่งขันกับผู้อื่น ธุรกิจ-ติดปีก จะมีกระแสความมั่งคั่งอันมากมายให้คุณได้ตักตวง แต่คุณจะตักตวงได้ดีแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับอะไรหลายอย่าง บางอย่างก็ อยู่เหนือการควบคุมของคุณ แต่สิ่งที่คุณควบคุมได้คือความรู้และภูมิปัญญา โอกาสที่แสนวิเศษจะผ่านเข้ามาหาคุณ แต่อันดับแรกคุณ ต้องสังเกตให้เห็นเสียก่อนเมื่อโอกาสเปิดทางให้คุณ ความรัก-ให้โชคชะตาน�ำพา จงเรียนรู้ที่จะปล่อยให้สถานการณ์เป็นไป แทนที่จะพยายามควบคุมทุกอย่างตลอดเวลา ในเดือนนี้กระแส โชคชะตาจะเป็นใจให้คุณ อย่าท�ำลายสิ่งต่างๆเพราะมัวแต่วิเคราะห์ทุกอย่างเกินไปในเรื่องความรัก คุณไม่จ�ำเป็นต้องท�ำให้ทุกอย่างเป็น สูตรวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ การศึกษา-มั่นใจ เด็กปีจอจะเชื่อมั่นใจตัวเองเต็มเปี่ยมในเดือนนี้ คุณจะท�ำได้ดีในการโต้วาทีและแสดงความคิดเห็นที่น่าประทับใจใน ชั้นเรียน คุณอาจสร้างความสัมพันธ์ที่พิเศษมากกับครูอาจารย์บางท่าน ซึ่งจะคอยส่งเสริมคุณ

ปี กุน

การงาน–เลื่อนขั้น ความส�ำเร็จในเดือนนี้จะมาจากการไวต่อโอกาส พร้อมกับรู้จักอดทนรอรางวัล การท�ำงานอย่าง ไม่เห็นแก่ตัวจะน�ำรางวัลมาให้เอง มีโอกาสดีมากที่คุณจะได้เลื่อนไปสู่ต�ำแหน่งที่สูงขึ้นในตอนนี้ เสริมโชคด้านการ เลื่อนขั้นได้โดยวางเทพเห้งเจียขี่มังกรไว้บนโต๊ะท�ำงาน ธุรกิจ–มีสัญญาณที่ดี โชคด้านความมั่งคั่งดูสดใสมาก หากคุณเป็นเจ้าของบริษัทเองคุณก็มีโอกาสที่จะประสบความส�ำเร็จได้อย่างมาก ตอนนี้เป็นเวลาที่คุณจะมั่นใจได้ในการเสี่ยง ลงทุน หรือขยายธุรกิจไปด้านใหม่ที่มีศักยภาพ อย่ามองข้ามโอกาสที่เข้ามา เพราะเรื่องราว แห่งความส�ำเร็จจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีความกล้าหาญและความเสี่ยง ความรัก-น่าพอใจ พลังแห่งรักมีให้เหลือเฟือในเดือนนี้ ความสัมพันธ์ทุกอย่างของคุณจึงน่าพอใจจริงๆ คนปีกุนที่ทุ่มเทเวลาให้กับ เรื่องอื่นๆ ที่ส�ำคัญในชีวิตอาจเริ่มคิดถึงความรักและการแต่งงาน คุณไม่ใช่คนที่ชอบมีคู่ควงสนุกไปเรื่อยหรือคู่นอนข้ามคืน แต่คุณ ต้องการใครบางคนที่ร่วมชีวิตกับคุณได้ การศึกษา – เรียนรู้ทักษะใหม่ เดือนนี้ดีส�ำหรับการแสวงหาความรู้และเรียนทักษะใหม่ๆ คนปีกุนที่มุ่งมั่นจะสามารถก้าวหน้าไปได้ไกลใน เดือนนี้ คนที่ก�ำลังจะสอบก็จะมีโชคด้านการสอบที่ดี ทั้งยังมีโอกาสที่จะได้รับค�ำชม ทุนการศึกษา รางวัล หรือเกียรติยศในลักษณะเช่นนี้ 71 issue 101 june 2016


ปั จจัยแห่งความส�ำเร็จ

โครงการโรงเรียนคุณธรรมในเขตพระนคร

“ในบ้ า นเมื อ งนั้ น มี ทั้ ง คนดี แ ละคนไม่ ดี .ไม่ มี ใ ครที่ จ ะท� ำ ให้ ทุ ก คนเป็ น คนดี ไ ด้ ทั้ ง หมดการท� ำ ให้ บ ้ า นเมื อ งมี ความปกติ สุ ข เรี ย บร้ อ ย จึ ง มิ ใ ช่ ก ารท� ำ ให้ ทุ ก คนเป็ น คนดี ห ากแต่ อ ยู ่ ที่ ก ารส่ ง เสริ ม คนดี ให้ ค นดี ป กครอง บ้ า นเมื อ ง และควบคุ ม คนไม่ ดี ไ ม่ ใ ห้ มี อ� ำ นาจ ไม่ ใ ห้ ก ่ อ คววามเดื อ ดร้ อ นวุ ่ น วาย” ‘พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในพิธีเปิดงานลูกเสือแห่งชาติ ณ.ค่ายลูกเสือวชิราวุธ11/12/2512’ บทน� ำ

คุณธรรมโดยปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม และ โครงการโรงเรียนคุณธรรมในสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็น ความดีงาม ความร่วมมือระหว่างส�ำนักงานเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร การด� ำ เนิ น งานโครงการโรงเรี ย นคุ ณ ธรรมในสั ง กั ด สถานศึกษาในเขตพระนคร จ�ำนวน 11 แห่ง และบริษัท เทเวศ กรุงเทพมหานคร เริ่มในปีการศึกษา 2557 มีโรงเรียนวัดตรีทศ ประกันภัย จ�ำกัด [มหาชน] ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณ เทพเป็นโรงเรียนต้นแบบ ซึ่งในปีการศึกษา 2558 ขยายผลไป จากส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมีเป้าหมาย ยังโรงเรียนในเขตพระนครอีก 10 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนราชบพิธ ร่วมกันในการพัฒนาโรงเรียนในเขตพระนครให้เป็น “โรงเรียน โรงเรี ย นวั ด มหรรณพาราม ในพระราชู ปถั มภ์ ฯ โรงเรี ย นวัด คุ ณ ธรรมในสั ง กั ด กรุ ง เทพมหานคร” ด้ ว ยการจั ด กิ จ กรรม มหาธาตุ โรงเรียนวัดพระเชตุพน โรงเรียนวัดสุทัศน์ โรงเรียนวัด ส่งเสริมความดีในการพัฒนาทักษะชีวิต การตั้งเป้าหมายชีวิต ราชบูรณะ โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม โรงเรียนวัดใหม่อมตรส การกระตุ ้ น การเรี ยนรู้ผ่านการพัฒนาทัก ษะทางการคิ ด ด้ า น โรงเรียนวัดอินทรวิหาร โรงเรียนวัดราชนัดดา รวมทั้งสิ้น 11 แห่ง 72 IS AM ARE www.ariyaplus.com


และได้ด�ำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โ ค ร ง ก า ร โ ร ง เ รี ย น คุ ณ ธ ร ร ม ใ น สั ง กั ด กรุ ง เทพมหานคร มี วั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลั ก 3 ประการ คื อ 1) เพื่ อ พั ฒ นาโรงเรี ย นในเขตพระนครเป็ น โรงเรี ย น คุณธรรมในสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนาครู นักเรียน ภายใต้หลักคุณธรรมพื้นฐาน 5 ประการ ของกรุงเทพมหานคร ร่วมกับชุมชน 3) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในกระบวนการพัฒนา โรงเรียนคุณธรรมในสังกัดกรุงเทพมหานคร ยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาโครงการประกอบด้ ว ย 3 ยุ ท ธศาสตร์ คื อ 1) ยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาผู ้ บ ริ ห ารและครู ประกอบด้วย แนวทางการพัฒนา 1.1) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ส�ำหรับผู้บริหาร ครู แกนน�ำ 1.2) จัดศึกษาดูงานส�ำหรับผู้บริหาร ครู แกนน�ำ 1.3) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการผู้บริหาร ครู บุคลากร ทางการศึกษา เป้ า หมายหลั ก ที่ แ ท้ จ ริ ง ของกระบวนการพั ฒ นา โรงเรี ย นคุ ณ ธรรม คื อ นั ก เรี ย น โดยเฉพาะระดั บ ชั้ น ประถมปลายซึ่ ง นอกจากจะเป็ น เยาวชนในช่ ว งวั ย หั ว เลี้ ย วหั ว ต่ อ ของชี วิ ต ที่ พ ร้ อ มจะเปิ ด รั บ สิ่ ง ต่ า งๆ จากภายนอก 2) ยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นานั ก เรี ย น ประกอบด้ ว ย แนวทางการพัฒนา 2.1) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการส�ำหรับนักเรียน ระดับชั้นประถมปลาย 2.2) จัดซื้อสมุดบันทึกความดีส�ำหรับ นักเรียน (เครื่องมือพัฒนาจริยธรรมขั้นพื้นฐาน) 3) ยุทธศาสตร์ การพัฒนาโรงเรียน ประกอบด้วย แนวทางการพัฒนา 3.1) ประชุมหารือแผนงานการด�ำเนินโครงการและปฏิทินการด�ำเนิน งานร่วมกันกับผู้บริหารเขตพระนครและผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพระนคร 3.2) จัดประชุม จัดสัมมนาผู้ปกครอง และ ชุมชน 3.3) จัดท�ำมุมคุณธรรม (แหล่งเรียนรู้ด้านคุณธรรมใน โรงเรียน) 3.4) จัดเวทีถอดองค์ความรู้กระบวนการขับเคลื่อน โรงเรียนคุณธรรม 3.5) จัดงานสัปดาห์คุณธรรม 3.6) ติดตาม ประเมินผล กระบวนการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมในเขตพระนคร ประกอบด้วย กิจกรรมจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่ เกี่ยวข้อง ทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ผู้สอน ผู้เรียน คณะกรรมการ

สถานศึกษาฯ เครือข่ายผู้ปกครอง ผู้น�ำชุมชน เพื่อบ่มเพาะ พฤติ ก รรมที่ ดี ง าม และพั ฒ นาผู ้ เรี ย นให้ มี คุ ณ ลั ก ษณะอั น พึ ง ประสงค์ ต ามที่ ห ลั ก สู ต รสถานศึ ก ษาและหลั ก สู ต รแกนกลาง การศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานก� ำ หนด โดยใช้ คุ ณ ธรรมพื้ น ฐาน “โต ไปไม่โกง” ของกรุงเทพมหานครเป็นคุณธรรมหลักเรียกว่า “คุณธรรมต้นทุน” เพื่อค้นหา “คุณธรรมเป้าหมาย” ที่น�ำไป สู่พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก ที่เรียกว่า “คุณธรรมอัตลักษณ์” ของ โรงเรียน สถานศึกษาทั้ง 11 แห่ง โดยมีกระบวนการขับเคลื่อน 5 ประการ ได้แก่ 1) สร้างคุณธรรมอัตลักษณ์ 2) สร้างแกนน�ำ ขยายผล 3) สร้างกิจกรรมส่งเสริมความดี 4) สร้างพื้นที่แลก เปลี่ยนเรียนรู้ 5) สร้างเครือข่ายกัลยาณมิตร ซึ่งสอดคล้อง กับองค์ประกอบโรงเรียนคุณธรรม ได้แก่ 1) คุณธรรมอัตลักษณ์ 2) กิจกรรมส่งเสริมความดี 3) ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม 4) ขับ เคลื่อนทั้งระบบ 5) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 6) เกิดองค์ความ รู้ในกระบวนการพัฒนา 73

issue 101 june 2016


เป้าหมายของการพัฒนาโครงการโรงเรียนคุณธรรมที่ ก�ำหนดไว้ในปีที่ 1 คือ เป้าหมายในระดับบุคคล ผู้บริหาร ครู บุคคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ทุก ระดั บ มี ส ่ ว นร่ ว มในการขั บ เคลื่ อ นทั้ ง ระบบ ในการก� ำ หนด คุณธรรมอัตลักษณ์ สร้างกิจกรรมส่งเสริมความดี และเกิดการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป้าหมายในระดับองค์กร สถานศึกษา ทั้ง 11 แห่ง สร้างองค์ความรู้ในกระบวนการพัฒนาเพื่อยกระดับ การขับเคลื่อนจากโรงเรียนคุณภาพเป็นโรงเรียนคุณธรรมในเขต พระนครได้

ขั้นพื้นฐาน) 3.กิจกรรมมุมคุณธรรม (แหล่งเรียนรู้ด้านคุณธรรมใน โรงเรียน) 4.กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการส�ำหรับผู้บริหารและครู กระบวนการที่น�ำไปสู่ปัจจัยแห่งความส�ำเร็จ แกนน�ำ 1) จุ ด เริ่ ม ต้ น สู ่ ค วามส� ำ เร็ จ 5.กิจกรรมศึกษาดูงานภายในประเทศ (โรงเรียนฉือจี้ กิจกรรมแรกที่ถูกก�ำหนดไว้ คือ การประชุมหารือแผน เชียงใหม่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่) งานการด�ำเนินโครงการและปฏิทินการด�ำเนินงานร่วมกันกับ 6.กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการส�ำหรับผู้บริหารและครู ผู้บริหารเขตพระนครและผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพระนคร ในเขตพระนคร ผลการด�ำเนินกิจกรรม ผู้บริหารวางแผนการขับเคลื่อนเป็น 11 7.กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการส�ำหรับนักเรียนระดับ กิจกรรม ประกอบด้วย ชั้นประถมปลาย 1.กิจกรรมประชุมร่วมกับผู้บริหารเขตพระนคร และผู้ 8.กิจกรรมสัมมนาส�ำหรับคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ บริหารสถานศึกษาในเขตพระนคร ปกครอง ผู้น�ำชุมชน 2.กิจกรรมสมุดบันทึกความดี (เครื่องมือพัฒนาจริยธรรม 9.กิจกรรมถอดองค์ความรู้ 74 IS AM ARE www.ariyaplus.com


10.กิจกรรมติดตามประเมินผล • อบรมนิเทศ •ลงพื้นที่เยี่ยมชมกิจกรรมรายโรงเรียน •แบ่งกลุ่มเครือข่ายกัลยาณมิตรลงนิเทศรายโรงเรียน •สังเคราะห์องค์ความรู้ 11.กิจกรรมสัปดาห์วิชาการ นอกจากนี้ ผู้บริหารเขตพระนครและผู้บริหารสถาน ศึ ก ษาได้ มี ก ารแลกเปลี่ ย นความคิ ด เห็ น ระหว่ า งผู ้ เ กี่ ย วข้ อ ง ทั้งหมด ในแผนงานการด�ำเนินโครงการโรงเรียนคุณธรรมใน สังกัดกรุงเทพมหานคร สร้างความเข้าใจร่วมกันต่อกระบวนการ พั ฒ นาโรงเรี ย นคุ ณ ธรรม และผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาสามารถ บริหารจัดการโรงเรียนของตนเองได้อย่างเหมาะสม โดยพัฒนา โรงเรียนให้สอดคล้องกับนโยบายของกรุงเทพมหานครที่มุ่งเน้น ในเรื่องการพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนมากขึ้น กิ จ กรรมอบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารส� ำ หรั บ ผู ้ บ ริ ห ารสถาน ศึกษา คณะครู แกนน�ำ ผลการด�ำเนินกิจกรรม ผู้บริหารสถาน ศึกษา ทั้ง 11 แห่ง ได้ข้อตกลงร่วมกันที่จะใช้คุณธรรมพื้นฐาน “โตไปไม่โกง” ของกรุงเทพมหานครเป็นคุณธรรมหลักเรียกว่า “คุณธรรมต้นทุน” เพื่อค้นหา “คุณธรรมเป้าหมาย” ที่น�ำไป สู่พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก ที่เรียกว่า “คุณธรรมอัตลักษณ์” เพื่อ สร้างกิจกรรมส่งเสริมความดีให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับ

เคลื่อนทั้งระบบ กิ จ กรรมอบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารส� ำ หรั บ ผู ้ บ ริ ห ารสถาน ศึกษา คณะครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ผลการด�ำเนิน กิจกรรมพบว่าผู้บริหารสถานศึกษาและครูแกนน�ำ มีความรู้ ความเข้าใจในกรอบการด�ำเนินงานและมีส่วนร่วม ตลอดจน เป็นแกนหลักในการพัฒนาโรงเรียนของตนเป็นโรงเรียนคุณธรรม สามารถน�ำความรู้และกระบวนการที่ได้จากการอบรมไปบูรณา การกับการสอนได้ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ มีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน โดยปรับระบบการ สอนและการเรียนให้สอดคล้องกับการพัฒนาโรงเรียนของตนให้ เป็นโรงเรียนคุณธรรม 2) เรี ย นรู ้ จ ากผู ้ ป ฏิ บั ติ จ ริ ง การเรี ย นรู ้ จ ากความส� ำ เร็ จ ของหน่ ว ยงานอื่ น ๆ หรื อ จากต้นแบบมีความส�ำคัญยิ่ง ดังนั้น กิจกรรมศึกษาดูงานจึง เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาและครูแกน น�ำเกิดความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมมาก ยิ่งขึ้น โดยเชิญผู้บริหารเขตพระนคร ผู้บริหารสถานศึกษาและ ครูแกนน�ำจากโรงเรียน 11 แห่งในโครงการฯ เดินทางไปศึกษา ดูงาน ณ โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ อ�ำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเรียนรู้กระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมที่เป็นรูปธรรม

75 issue 101 june 2016


เชิงบวกได้ ผลการด�ำเนินงานเป็นไปตาม เป้ า หมาย โดยนั ก เรี ย นสามารถค้ น หา ต้นทุนความดีและก�ำหนดพฤติกรรมบ่ง ชี้เชิงบวกได้ชัดเจนทั้งในระดับครอบครัว และระดั บ โรงเรี ย น ตลอดจนสามารถ ก�ำหนดกิจกรรมส่งเสริมความดีได้อย่าง มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ พร้ อ มทั้ ง เป็ น แกนน� ำ ในกิ จ กรรมส่ ง เสริ ม ความดี ข ยายผลทั้ ง โรงเรียน สามารถตั้งเป้าหมายชีวิตของ ตนเองได้และสามารถพัฒนาทักษะชีวิต ของตนเองได้อย่างสมบูรณ์แบบ

จากผลของกิจกรรม พบว่าผู้บริหารและ ครูแกนน�ำสามารถน�ำกระบวนการพัฒนา คุณธรรมในโรงเรียนที่ได้จากการศึกษาดู งาน ไปบูรณาการกับการสอนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ดังนี้

กระบวนการเรียนรู ้

• ด้านการจัดการเรียนการสอน มี การส่งเสริมผู้เรียนในทุกด้าน • ด้ า นบริ ห ารจั ด การ ใช้ ห ลั ก พรหมวิหารผสมผสานวัฒนธรรมไต้หวัน และไทย • ด้านอาคารสถานที่ มีภูมิทัศน์ที่ สวยงาม เน้นการใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ และประหยัดพลังงาน • ด้ า นวิ นั ย และการปกครอง นักเรียนมีระเบียบวินัย • ด้านคุณธรรมจริยธรรม สอด แทรกคุณธรรมจริยธรรมในทุกการเรียน การสอน

การน�ำไปใช้ในสถานศึกษา

• ปรั บ นโยบาย วางแผนการ ด� ำ เนิ น โครงการกิ จ กรรมที่ ส ่ ง เสริ ม คุณธรรมจริยธรรม

• สร้างความตระหนักให้ครูและ บุคลากรมีความเข้าใจตรงกัน • ประชุมสร้างความเข้าใจในการ พัฒนาผู้เรียนร่วมกัน • การด� ำ เนิ น กิ จ กรรมในโครง การฯ ให้สอดคล้องกับคุณธรรมอัตลักษณ์ ของโรงเรียน 3) เป้ า หมายและหั ว ใจของการ พั ฒ นา เป้ า หมายหลั ก ที่ แ ท้ จ ริ ง ของ กระบวนการพั ฒ นาโรงเรี ย นคุ ณ ธรรม คือ นักเรียน โดยเฉพาะระดับชั้นประถม ปลายซึ่งนอกจากจะเป็นเยาวชนในช่วง วัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตที่พร้อมจะเปิด รับสิ่งต่างๆ จากภายนอก เป็นกลุ่มที่จะ เติ บ โตเป็ น ก� ำ ลั ง ส� ำ คั ญ ของสั ง คมและ อนาคตของประเทศ พวกเขายังมีบทบาท ส�ำคัญต่อเป็นแบบอย่างให้แก่รุ่นน้อง โค รงการฯ จึ ง ก� ำ หนดแผน “การอบรม เชิงปฏิบัติการนักเรียนระดับชั้นประถม ปลาย” ให้แก่นักเรียนในระดับชั้นประถม 4-6 ทุกคน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเด็กๆ สามารถค้ น หาต้ น ทุ น ความดี ใ นตั ว เอง พบ และสามารถก�ำหนดพฤติกรรมบ่งชี้ 76 IS AM ARE www.ariyaplus.com

4) สภาพแวดล้ อ มที่ เ อื้ อ ต่ อ การ ปลุ ก จิ ต ส� ำ นึ ก คื อ บริ บ ทส� ำ คั ญ ที่ มี ผลต่ อ ความส� ำ เร็ จ นอกเหนื อ จากครู แ ละเพื่ อ น ร่ ว มชั้ น เรี ย น พ่ อ แม่ ผู ้ ป กครองและ ชุ ม ชนเป็ น กลุ ่ ม คนและสภาพแวดล้ อ ม ที่มีบทบาทส�ำคัญที่สุดต่อการเลี้ยงดู มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การปลู ก ฝั ง แนวความคิ ด และทัศนคติ ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ ส�ำคัญต่อพฤติกรรมของเด็ก ดังนั้น โค รงการฯ จึงก�ำหนด “กิจกรรมสัมมนา คณะกรรมการสถานศึกษา เครือข่าย ผู้ปกครอง ผู้น�ำชุมชน” ควบคู่ไปด้วย ได้สร้างความเข้าใจให้ผู้ปกครองรับรู้ว่า โรงเรี ย นก� ำ ลั ง ท� ำ อะไร แล้ ว ผู ้ ป กครอง จะมีส่วนช่วยโรงเรียน และเด็กอย่างไร ผลจากการประชุมหารือ ระดมความคิด เห็นและด�ำเนินกิจกรรมร่วมกัน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษา เครือข่ายผู้ ปกครอง ผู้น�ำชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ และมี ส ่ ว นร่ ว มในการพั ฒ นาโรงเรี ย น ตลอดจนการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อ ต่อการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กเพื่อยก ระดับการเป็นโรงเรียนคุณธรรม


กลุ่มที่ 2 มี 5 แห่ง มีโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยารามเป็นแกนน�ำ โดยให้มีการเข้าเยี่ยมชมการน�ำเสนอองค์ความรู้ในกระบวนการ พัฒนาโรงเรียนคุณธรรม และให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อน ช่องทางที่ 2 ให้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ภายในกลุ่มโรงเรียนผ่านกิจกรรมสัปดาห์วันวิชาการของ โรงเรี ย นซึ่ ง มี ก ารจั ด แสดงองค์ ค วามรู ้ ใ นกระบวนการพั ฒ นา โรงเรียนคุณธรรมอยู่ด้วย ผลการด�ำเนินงานท�ำให้เกิดองค์ความ รู้ในการพัฒนาอย่างหลากหลาย เกิดรูปแบบการพัฒนาโรงเรียน คุณธรรมที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน 11 แห่ง

5 ) ส มุ ด บั น ทึ ก ค ว า ม ดี เ ค รื่ อ ง มื อ ใ น ก า ร พั ฒ น า จริ ย ธรรมขั้ น พื้ น ฐาน กระบวนการพั ฒ นาถู ก วางแผนให้ ค รอบคลุ ม การ ด�ำเนินงานระยะยาว มีความต่อเนื่อง และมุ่งหวังผลส�ำเร็จที่ ยั่งยืน เครื่องมือที่น�ำมาใช้ในการพัฒนาจริยธรรมเป็นสิ่งที่มี ความจ�ำเป็นอย่างยิ่ง “สมุดบันทึกความดี” เป็นเครื่องมือให้ นักเรียนได้ใช้ในการบันทึกกิจกรรมดีๆ ที่เด็กสนใจ และได้ลงมือ ท�ำจริง โดยก�ำหนดให้การบันทึกเป็นช่วงสัปดาห์ เนื่องจาก ต้องการพัฒนาทักษะชีวิต และพัฒนาทักษะทางการคิดของ นักเรียน ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาสู่ความยั่งยืน ผลการ ด�ำเนินกิจกรรม พบว่า นักเรียนได้ฝึกความคิด ทบทวนการกระ ท�ำ และเขียนบันทึกความดีของตนเอง ท�ำให้เห็นกระบวนการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนชัดเจนขึ้น ผู้ปกครองได้ ใช้สมุดบันทึกความดีเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เรียนรู้ความ สนใจและความรู้สึกของเด็ก คุณครูได้ใช้สมุดบันทึกความดีเป็น เครื่องมือในการสื่อสาร เรียนรู้ความสนใจ ความรู้สึก การกระ ท�ำ และสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวนักเรียน และผู้บริหารได้ใช้ สมุดบันทึกความดีเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการบริหารจัดการ ภายในโรงเรียน

8) การประเมิ น ผลโครงการด้ ว ยการสั ง เคราะห์ อ งค์ ความรู ้ แ บบองค์ ร วม การประเมินผลโครงการ ประกอบไปด้วย การให้ความ รู้เรื่องการนิเทศโรงเรียนคุณธรรม การลงพื้นที่ของกลุ่มโรงเรียน และการสังเคราะห์องค์ความรู้แบบองค์รวม ผลการด�ำเนินงาน ในส่วนของการจัดอบรมณ์ให้ความรู้เรื่องระบบนิเทศฯ และการ

6) มุ ม คุ ณ ธรรมแหล่ ง ข้ อ มู ล ส� ำ คั ญ ในการค้ น คว้ า ความรู ้ คู ่ ค วามดี มุมคุณธรรม เป็นแหล่งเรียนรู้ส�ำคัญที่ถูกน�ำมาใช้ในโค รงการฯ โดยบริษัท เทเวศประกันภัย จ�ำกัด ได้หาหนังสือดีๆ จากเครือข่ายเช่นศูนย์คุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ ที่มีเอกสาร ต�ำรา ที่นักเรียนสามารถน�ำมาใช้ในการพัฒนาคุณธรรมของ นักเรียน และให้คุณครูสามารถค้นคว้าเทคนิควิธีการ พัฒนา นักเรียนได้ ผลการด�ำเนินกิจกรรมพบว่า คุณครูและนักเรียน ได้ใช้องค์ความรู้ที่หลากหลายในมุมคุณธรรม เพื่อการค้นคว้า หากระบวนการพัฒนาด้านคุณธรรมที่สามารถอ้างอิงได้ในการ เรียนการสอนที่มากขึ้น 7) ระบบเยี่ ย มเยี ย นแลกเปลี่ ย นความรู ้ เ ครื อ ข่ า ย กั ล ยาณมิ ต ร ในกระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมทั้ง 11 แห่ง จ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กัน และการลงพื้น ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนจึงเป็นสิ่งส�ำคัญอย่างยิ่ง โครงการได้วางระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไว้ 2 ทาง ช่องทาง ที่ 1 ให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มโรงเรียนซึ่ง 11 แห่ง แบ่ง เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 มี 6 แห่ง มีโรงเรียนราชบพิธเป็นแกนน�ำ 77 issue 101 june 2016


ลงพื้นที่ของกลุ่มโรงเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้บริหาร และคณะครู ไ ด้ น� ำ ความรู้ที่ไ ด้ม าช่ว ยเติม เต็ม การพัฒ นาองค์ ความรู้ของโรงเรียนแต่ละแห่ง ส่วนการสังเคราะห์องค์ความ รู้แบบองค์รวมเป็นกระบวนการวิจัยเพื่อการพัฒนา ซึ่งตั้งเป้า หมายไว้ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และน�ำมาใช้ในการขับเคลื่อน ในปีต่อไป การพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมในเขตพระนครที่ผ่าน มา นับเป็นก้าวแรกของการเริ่มต้นบ่มเพาะพฤติกรรมที่ดีงาม ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก่อ ให้เกิด

องค์ความรู้ในกระบวนการขับเคลื่อนที่แตกต่างกันออก ไปภายใต้บริบทขอโรงเรียนแต่ละแห่ง เรียกว่า รู ป แบบการขั บ เคลื่ อ นโรงเรี ย นคุ ณ ธรรมในสั ง กั ด กรุงเทพมหานคร” ประกอบด้วย 1) คุณธรรมต้นทุน 2) คุณธรรม เป้าหมาย 3) พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก 4) กิจกรรมส่งเสริมความ ดี 5) ทักษะชีวิต 6) เครื่องมือการติดตาม 7) การปรับเปลี่ยน พฤติกรรม 8) องค์ความรู้ 9) รูปแบบการขับเคลื่อน ผลการ ด�ำเนินงานแบ่งเป็น องค์ความรู้และรูปแบบการขับเคลื่อนที่ เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ดังนี้

โรงเรี ย นเครื อ ข่ า ยที่ 1 โรงเรียน โรงเรียนราชบพิธ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ใน พระราชูปถัมภ์ โรงเรียนวัดมหาธาตุ

โรงเรียนวัดพระเชตุพน โรงเรียนวัดสุทัศน์ โรงเรียนวัดราชบูรณะ

องค์ความรู้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง ต้นแบบครอบครัวคุณธรรม เป้าหมายชีวิตในการออม เพื่อ ตนเอง เพื่อครอบครัว เพื่อ สังคม เพื่อศาสนา ภูมิปัญญาไทย กระบวนการพัฒนาสติ สมาธิ วิถีไทย วิถีพุทธ แบบ Reflection

รูปแบบการขับเคลื่อน 1 วันในราชบพิธ

คุณธรรมเป้าหมาย พอเพียง

ครอบครัวอบอุ่น 18 ครอบครัว อาสาสมัครนักออม

จิตอาสา

พี่สอนน้อง (การเป็นแบบ อย่าง) บ้านสีคุณธรรม (พี่น�ำน้อง ตาม) กระบวนการกลุ่ม (ร่วมคิด ร่วมท�ำ ร่วมสะท้อน)

รับผิดชอบ/ซื่อสัตย์/วินัย

รับผิดชอบ รับผิดชอบ จิตอาสา

โรงเรี ย นเครื อ ข่ า ยที่ 2 โรงเรียน โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม โรงเรียนวัดตรีทศเทพ โรงเรียนวัดใหม่อมตรส โรงเรียนวัดอินทรวิหาร โรงเรียนวัดราชนัดดา

องค์ความรู้ มารยาท

รูปแบบการขับเคลื่อน การพัฒนาทักษะทางการคิด อย่างมีส่วนร่วม จิตอาสา พี่น�ำน้อง [พี่พาน้องท�ำ] บทบาทและหน้าที่ที่พึงกระท�ำ การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ประหยัด/อดออม กระบวนการกลุ่ม/ทีม/ชั้น แบบประเมินคุณลักษณะอันพึง ระบบหน่วยสี ประสงค์ 78 IS AM ARE www.ariyaplus.com

คุณธรรมเป้าหมาย รับผิดชอบ รับผิดชอบ รับผิดชอบ พอเพียง รับผิดชอบ/วินัย


Main Moral Model

บทสรุ ป การพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมในสังกัดกรุงเทพมหานคร ในเขตพระนครในปีที่ 1 นั้นได้รับความร่วมมืออย่างดีจากสถาน ศึกษาทั้ง 11 แห่ง ทั้งในส่วนของผู้บริหาร คณะครู นักเรียน ผู้ ปกครอง และชุมชน และได้รับการสนับสนุน อ�ำนวยความ สะดวกจากส�ำนักงานเขตพระนคร และฝ่ายการศึกษา ท�ำให้ การด�ำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามเป้าหมายที่ตั้ง ไว้ทุกประการ ในการด�ำเนินงานตามกิจกรรมที่ก�ำหนดไว้มีการ ปรับกิจกรรมบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินกิจกรรมของสถาน ศึกษาโดยส่วนรวม แต่ไม่กระทบกระเทือนกับเป้าหมายตามที่ วางไว้ ทั้งนี้ ปัจจัยความส�ำเร็จที่ส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดองค์ความรู้ และรูปแบบการขับเคลื่อนของรงเรียนแต่ละแห่งนั้น คือ ระบบ นิเทศแบบกัลยาณมิตรที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สอดคล้อง กับ 1) คุณธรรมต้นทุน 2) คุณธรรมเป้าหมาย 3) พฤติกรรมบ่ง ชี้เชิงบวก 4) กิจกรรมส่งเสริมความดี 5) ทักษะชีวิต 6) เครื่อง มือการติดตาม 7) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่ไม่เน้นการตรวจ เอกสารแต่ใช้เครื่องมือที่เรียกว่าสมุดบันทึกความดีเป็นตัวชี้วัด ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อย่างไรก็ดี การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรมใน สังกัดกรุงเทพมหานคร ในปีที่ 2 จะมุ่งเน้นไปที่การน�ำรูปแบบ การขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมแต่ละแห่งที่ค้นพบในปีที่ 1 มา ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านคุณธรรมของนักเรียนอย่าง ยั่งยืน และเสริมในส่วนของการพัฒนาความรู้ที่ยกระดับผลการ ศึกษา โดยใช้การปฏิบัติตามกิจกรรมส่งเสริมความดี ที่นักเรียน คิด นักเรียนท�ำ นักเรียนน�ำเสนอ ภายใต้กระบวนการบริหาร จัดการตามคุณธรรมเป้าหมายและรูปแบบการพัฒนาโรงเรียน คุณธรรมแต่ละแห่ง โดยมี สมุดบันทึกความดี เป็นเครื่องมือ

ก�ำกับการท�ำกิจกรรมส่งเสริมความดีที่สอดคล้องกับการพัฒนา ทักษะชีวิตของนักเรียน ซึ่งจะท�ำให้สามารถเห็นพฤติกรรมเชิง บวกที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างชัดเจนขึ้นในอนาคต เพราะเป้า หมายของการพั ฒ นาโรงเรี ย นคุ ณ ธรรมนั้ น อยู ่ ที่ ก ารพั ฒ นา ความรู้ คู่คุณธรรมของนักเรียน พัฒนาจิตวิญญาณความเป็น ครู และพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายผู้ปกครอง ซึ่งทั้ง 3 ส่วน คือ ศูนย์กลางการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม อย่างแท้จริง.../// เรียบเรียงโดย วรวุฒิ แสงเฟือง รองประธานมูลนิธิครอบครัวพอเพียง ที่ปรึกษาโครงการโรงเรียนคุณธรรมในสังกัด กรุงเทพมหานคร บริษัท เทเวศประกันภ้ย จ�ำกัด (มหาชน) บริษัทของส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 23 พฤษภาคม 2559 79

issue 101 june 2016


ซี เกทส่งความสุขปี ใหม่แด่น้องๆ ในชุ มชนวัดมหาวงษ์

วีระศักดิ์ ฟุ้งเฟื่อง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายผลิต บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จ�ำกัด โรงงานเทพารักษ์ (ที่ 4 จากซ้าย) และ คณะ มอบของขวัญปีใหม่ ข้าวสาร อาหารแห้ง อุปกรณ์เครื่องใช้ส�ำนักงานและอื่น ๆ งบประมาณเพื่อการซ่อมแซมหลังคา รวมทั้งเลี้ยง อาหารกลางวัน รวมมูลค่า 181,800 บาท แก่เด็กชั้นอนุบาล 200 คน ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนวัดมหาวงษ์ อ�ำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ในความดูแลของมูลนิธิเพื่อการฟื้นฟูพัฒนาเด็กและครอบครัว (ฟอร์เด็ก) โดยมี ดร.อัมพร วัฒนวงศ์ ประธาน กรรมการของมูลนิธิฯ (ที่ 3 จากขวา) เป็นตัวแทนรับมอบ ภายใต้กิจกรรมเพื่อสังคมนี้ ทีมอาสาสมัคร 50 คนจากโรงงานซีเกทเทพารักษ์ ยังให้ความรู้เบื้องต้นทางด้านวิทยาศาสตร์แก่น้อง ๆ ด้วย

โครงการพี่สอนน้อง “ปลูกปั ญญา พร้อมมอบความอบอุ ่น”

โครงการพี่สอนน้อง “ปลูกปัญญา พร้อมมอบความอบอุ่น” โดยมูลนิธิอินเตอร์ลิ้งค์ให้ใจ ได้ด�ำเนินการต่อเนื่องเป็นโรงเรียนที่ 51 ซึ่งมีนางชลิดา อนันตรัมพร กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) เป็นประธานมูลนิธิอินเตอร์ ลิ้งค์ให้ใจ และ นายกก่อตั้งสโมสรซอนต้ากรุงเทพ 10 โดยครั้งนี้นายวรา เกยุรินทร์ ผู้จัดการภาคใต้ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนในการกล่าวเปิดโครงการ พร้อมทั้งผนึกก�ำลังพนักงานจิตอาสาจากกลุ่มบริษัทอินเตอร์ลิ้งค์ ร่วมจัดกิจกรรม ณ โรงเรียนบ้านเกาะใหญ่ หมู่ 8 ต�ำบลบางเหรียง อ�ำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา เมื่อเร็วๆนี้ 80 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Round About

มู ลนิธิอินเตอร์ลิ้งค์ให้ใจ ด�ำเนินโครงการพี่สอนน้องฯ เข้าสู่โรงเรียนที่ 52 โครงการพี่ ส อนน้ อ ง “ปลู ก ปั ญ ญา พร้ อ ม มอบความอบอุ่น” โดยมูลนิธิอินเตอร์ลิ้งค์ให้ใจ ได้ ด�ำเนินการต่อเนื่องเป็นโรงเรียนที่ 52 ซึ่งมีนางชลิดา อนันตรัมพร กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท อินเตอร์ ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) เป็นประธาน มูลนิธิอินเตอร์ลิ้งค์ให้ใจ พร้อมทั้งผนึกก�ำลังพนักงาน จิตอาสาจากกลุ่มบริษัทอินเตอร์ลิ้งค์ ร่วมจัดกิจกรรม ณ โรงเรียนวัดสหราษฎร์บ�ำรุง (วงษ์กล้าแข็ง) ต.คลอง ควาย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เมื่เร็ว ๆ นี้ โดยได้รับ การสนับสนุนจากหลากหน่วยงาน อาทิ กลุ่มบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ บริษัท แลคตาซอย จ�ำกัด และ ส�ำนัก พิ ม พ์ แจ่ ม ใส นอกจากนั้ น ยั ง ได้ จั ด โครงการพั ฒ นา ครู เนื่องจากมูลนิธิฯ เชื่อว่า “การสร้างครูดี 1 คน สามารถสร้างนักเรียนที่ดีได้หลายคน”

ค่าย 1 ไร่ 1 แสน 1 เกษตรสรรพสิ่ง วิถีพอเพียง

มูลนิธิครอบครัวพอเพียงร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาเรียนรู้วิถีเกษตรพอเพียงในโครงการ 1 ไร่ 1 แสน กับ อ.เสถียร ทอง สวัสดิ์ เมื่อวันที่ 25-27 พ.ค. ที่ส�ำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) เขตนว นคร เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนคนรุ่นใหม่รู้จักวิถีการพึ่งพาตนเอง รู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และรู้เท่าทันโลกาภิวัฒน์ งานนี้น้องๆ ต่างพูด เป็นเสียงเดียวกันว่า ได้เพื่อนใหม่ทั้งต่างวัยและต่างจังหวัดมากมาย 81 issue 101 june 2016


“ชาติบ้านเมืองประกอบด้วยนานาสถาบัน อันเปรียบได้กับ อวัยวะทั้งปวง ที่ประกอบกันขึ้นเป็นชีวิตร่างกาย ชีวิตร่างกายด�ำรง อยู่ได้ เพราะอวัยวะใหญ่น้อยท�ำงานเป็นปรกติพร้อมกันอย่างไร ชาติบ้านเมืองก็ด�ำรงอยู่ได้เพราะสถาบันต่าง ๆ ตั้งมั่นและปฏิบัติ หน้าที่ของตนโดยพร้อมมูลอย่างนั้น” พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว พระราชทานแก่ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ต�ำรวจ และอาสา สมัครพลเรือนในพิธีตรวจพลสวนสนาม ในงานพระราชพิธีรัชดาภิเษก ๘ มิถุนายน ๒๕๑๔

82 IS AM ARE www.ariyaplus.com


83 issue 101 june 2016


84 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.