IS AM ARE JUNE60

Page 1

IS AM ARE

ชี วิ ต ผมเริ่ ม ที่ 42

ยวง เขียวนิล

ปราชญ์ เ กษตรของแผ่ น ดิ น 2560 หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งเท่ า นั้ น ทางรอดของคนไทย

ชัชวาลล์ คงอุดม

1 issue 113 june 2017

ฉบับที่ 113 มิถุนายน 2560 www.fosef.org


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดี ๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org


“บรรพชนไทย เป็ น นั ก ต่ อ สู ้ ผู ้ มี ชี วิ ต จิ ต ใจผู ก พั น ปรองดอง เป็ น อั น หนึ่ ง อั น เดี ย วกั น สามั ค คี พ ร้ อ มเพรี ย งกั น ทุ ก เมื่ อ ไม่ ว ่ า จะท� ำ การสิ่ ง ใด บ้ า นเมื อ งไทยจึ ง มี เ อกราชอธิ ป ไตย และมี ค วามสุ ข ความสมบู ร ณ์ ทุ ก อย่ า งมาจนกระทั่ ง ทุ ก วั น นี้ ”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลที่ 9 พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ในพิ ธี ส วนสนามของทหารรั ก ษาพระองค์ ณ ลานพระราชวั ง ดุ สิ ต 3 ธั น วาคม 2522


Editorial

ทักทายกันอีกฉบับส�ำหรับเดือนสุดท้ายของไตรมาสที่ ๒ ของปี หรืออีกนัยหนึ่งของมูลนิธิครอบครัวพอเพียง คือการ ทักทายไปพร้อมๆ กับการเดินทางอีกรอบปีการศึกษา จริงๆ แล้วพวกเราเดินทางกันตั้งแต่เดือนที่แล้ว เดินทางไปยังจุดหมาย ที่เราวางแผนไว้ตั้งแต่ต้นปี จังหวัดนราธิวาส คือจุดหมายแรกของการเดินทาง ปีนี้ไปกัน ๒ ทีม ๗ ชีวิต รถยนต์ ๒ คัน ขับกันเอง ไปกันเรื่อยๆ ไม่รีบร้อน แต่เรารู้อยู่แก่ใจของเราว่า มีครอบครัวของพวกเรารอเราอยู่ ครอบครัวที่ว่าก็คือ ครอบครัวพอเพียง ๔ ปี แล้วซินะที่เรามา ๑๔ จังหวัด ภาคใต้ของแดนสยาม แต่ปีนี้พิเศษกว่าปีที่ผ่านๆ มา เพราะเรามาสร้างโรงเรียนคู่มิตร คู่มิตรของโรงเรียนในแต่ละจังหวัด นั่นหมายถึงต่อแต่นี้ไป ทุกจังหวัดจะมีศูนย์ครอบครัวพอเพียง จ�ำนวน ๒ แห่ง คู่มิตรของ ๒ โรงเรียนในแต่ละจังหวัดที่จะร่วมกันประกาศเป็น “ศูนย์ครอบครัวพอเพียง” “ศูนย์ครอบครัวพอเพียง” คือ “ศูนย์รวมคนดี คนที่มีศรัทธาความดี ในตนเอง เชื่อมั่นในค�ำสอนของพ่อ ๕ ค�ำ ๕ ข้อ ที่พ่อสอน และมีความปรารถนาที่จะท�ำประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน” ความยั่งยืนของโครงการเห็นอย่างเด่นชัดจากการขับเคลื่อนกิจกรรมตามพันธะกิจทั้ง ๕ ด้านที่พวกเรามอบหมาย ให้สมาชิกเครือข่ายครอบครัวพอเพียง คือ นักเรียนในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๔ เป็นคนขับเคลื่อน ถ้าเป็นโรงเรียนที่เข้า ร่วมโครงการมาก่อนหน้านี้ คือเข้าร่วมโครงการเมื่อ ๔ ปีที่ แล้วเขาจะมีพี่เลี้ยงที่อยู่ในระดับมัธยม ๕ และมัธยม ๖ และใน โรงเรียนคู่มิตรที่พึ่งเริ่ม ปีนี้เป็นปีแรก นักเรียนมัธยม ๔ ต้องด�ำเนินกิจกรรมด้วยตนเอง พันธะกิจ ๕ ด้าน มีอะไรบ้าง ๑.ด้านศาสนา วัฒนธรรมและสถาบันพระมหากษัตริย์ ๒.ด้านสิ่งแวดล้อม ๓.ด้าน ประชาธิปไตย ๔.ด้านสังคมและ ๕.ด้านเศรษฐกิจ เรียกว่าในแต่ละกิจกรรมสอดคล้องกับการด�ำเนินชีวิตของนักเรียน ผู้ปกครองและประชาชนทุกคน การด�ำเนินกิจกรรมก็จะท�ำกันในโรงเรียน และอาจจะมีบ้างที่โรงเรียนคู่มิตรทั้ง ๒ แห่ง จับมือร่วมกันท�ำกิจกรรมเพื่อ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และถ้าถามหาโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร ก็ตอบได้เลยว่า โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครนี้เข้าร่วมกิจกรรม ของโครงการฯ มากว่า ๑๐ ปีแล้ว เช่น โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย , โรงเรียนราชินี , โรงเรียนจิตรลดา , โรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัย , โรงเรียนหอวัง เป็นต้น ถ้าจะให้เขียนชื่อทุกโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครรับรองว่าเกิน ๒ หน้ากัน เลยทีเดียว ความสุขเล็กๆ น้อยๆ ของทุกปี ที่จะได้พบปะเจอะเจอกับครอบครัวของเรา ในภูมิภาคต่างๆ เป็นความหวังของหญิงชราคนหนึ่ง ที่ตั้งหน้าตั้งตาคอยว่าเมื่อไรจะถึง เดือนพฤษภาคม เพราะนั่นหมายถึงเป็นวันเปิดเทอมที่จะได้พบเจอ “คนในครอบครัว” ครอบครัวพอเพียงทั้งแผ่นดิน.

4 IS AM ARE www.fosef.org


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พลเอก ดร.ศรุต นาควัชระ คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ นายธนพร เทียนชัยกุล นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ นางวาสนา สุทธิเดชานัย นายภูวนาถ เผ่าจินดา นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา นายเอกรัตน์ คงรอด นางสาวเอื้อมพร นาวี ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นางอรปภา ชาติน�้ำเพ็ชร นางรจนา สินที นายธงชัย วรไพจิตร นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์ นางศิรินทร์ เผ่าจินดา

ประธานกิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ ผู้จัดการมูลนิธิ

นิตยสารครอบครัวพอเพียง ประธานกิตติมศักดิ์ : คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ : พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ประธานด�ำเนินการ : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บรรณาธิการ : กรวิก อุนะพ�ำนัก กองบรรณาธิการ : อภีม คู่พิทักษ์

ศิลปกรรม : ส�ำนักงาน :

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :

Let’s

Start and Enjoy!

พิชัยยุทธ ชัยไธสง เอกรัตน์ คงรอด นิตยสารครอบครัวพอเพียง 663 ซอยพหลโยธิน 35 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 0-2939-5995 0-2939-5996 www.fosef.org

5 issue 113 june 2017


Hot Topic

8

ตามรอยยุ วกษัตริย์

26

12

“ชี วิตผมเริ่มต้นที่ 42” ยวง เขียวนิล ปราชญ์ เกษตรของแผ่นดิน 2560

หลักปรัชญาขอเศรษฐกิจพอเพียง เท่านัน้ ทางรอดของคนไทย ชั ชวาลล์ คงอุ ดม

Don’t miss

36

42

58 74 6 IS AM ARE www.fosef.org

70


Table Of Contents

ตามรอยยุวกษัตริย์ Cover Story หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเท่านั้น ทางรอดของคนไทย ชัชวาลล์ คงอุดม Cartoon Let’s Talk ชีวิตผมเริ่มต้นที่ 42 ยวง เขียวนิล ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน 2560 เยาวชนของแผ่นดิน อาทิตยา เสนาพันธ์ กระจกส่องใจ ความสุขที่หายไป Is Am Are ต�ำบลท่ามะนาว จังหวัดลพบุรี ก้าวอย่างมั่นคง สู่ชุมชนยั่งยืน มูลนิธิชัยพัฒนา จากดิสโก้ สู่ วอลซ์ เกษตรพอเพียง บทเรียนชีวิตจริง Round About

ชัชวาลล์ คงอุดม พ่อ...ผู้ให้อนาคต

7 issue 113 june 2017

8 12 22

26 36 42 46 62 70 74 80


www.finearts.go.th

พระต�ำหนักริมทะเลสาบ “วิลล่าวัฒนา” (Villa Vadhana)

จุ ด หมายต่ อ ไปในเช้ า วั น แรกที่ โ ลซานน์ คื อ การเดิ น ทางไปยั ง พระต� ำ หนั ก วิ ล ล่ า วั ฒ นา (Villa Vadhana) ซึ่ ง ตั้ ง อยู ่ เ ลขที่ 51 Chamblades dessus อยู ่ ร ะหว่ า งถนน Tour Haldimand กั บ ถนน General Guisan การย้ายจากแฟลตที่ถนนทิสโซต์นั้น สมเด็จพระเจ้าพี่ นางเธอ เจ้าฟ้ากัลป์ยาณิวัฒนาฯ ทรงเล่าไว้ในหนังสือ เจ้านาย เล็กๆ-ยุวกษัตริย์ (หน้า 245) ว่า “…แม่คิดอยู่แล้วว่าอยากจะย้ายบ้าน เพราะอยู่กันอย่าง คับแคบ มีห้องนอนสามห้อง พระองค์ชายและพระองค์เล็ก ห้องนึง แม่และข้าพเจ้าห้องหนึ่ง แหนนห้องนึง...” การย้ายมา เช่าบ้านหรือพระต�ำหนักวิลล่าวัฒนาครั้งนี้ จึงเป็นเพราะแฟลต

พระต� ำ หนั ก นี้ อ ยู ่ ใ นเขตเมื อ งพุ ย ยี่ ใกล้ กั บ โลซานน์ สมเด็ จ พระบรมราชชนนี แ ละพระโอรสธิ ด าทั้ ง สามพระองค์ ทรงย้ายมาอยู่ในปี พ.ศ. 2478 (ค.ศ.1935) หลังจากพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ รัฐบาลในขณะ นั้นได้อัญเชิญ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ 8

IS AM ARE www.fosef.org


ตามรอยยุ ว กษั ต ริ ย ์ ที่ทิสโซส์ค่อนข้างคับแคบ และเพื่อให้สมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในเวลานั้น วิลล่าวัฒนาเป็นพระต�ำหนักมีห้อง 13 ห้อง มีโรงรถ ต่างหาก มีสวนรอบๆ บ้านข้างล่างมีสวนผลไม้ใหญ่พอใช้ มีต้น แอปเปิ้ล ต้นเชอร์รี่ ต้นแพร์ ต้นพีช ต้นพลัม ตัวบ้านมีสามชั้น มีใต้ถุน โดยบ้านสร้างบนที่ลาดลง ด้านหนึ่งของใต้ถุนจึงอยู่ ใต้ดิน เป็นที่ตั้งเครื่องท�ำน�้ำร้อนท�ำความอบอุ่นบ้าน และที่เก็บ ของกินของใช้ อีกด้านหนึ่งมีประตูหน้าต่างอย่างชั้นล่างธรรมดา เมื่อพระโอรสสองพระองค์ทรงเจริญขึ้น ห้องด้านนี้เป็นที่เก็บ อุปกรณ์และเครื่องมือช่างไม้ ส่วนใต้ถุนเป็นที่เก็บเครื่องมือ ท�ำสวน ชั้ น หนึ่ ง มี ห ้ อ งอาหาร ห้ อ งพั ก เครื่ อ ง และห้ อ งครั ว ตรงกลางเป็นห้องรับแขก มีเฉลียงซึ่งมีบันไดลงไปในสวนได้ ด้านขวาเป็นห้องท�ำงานและห้องดนตรี ส่ ว นชั้ น สองมี ห ้ อ งนอนห้ า ห้ อ ง เป็ น ห้ อ งส� ำ หรั บ ทั้ ง สี่พระองค์ และห้องน�้ำสองห้อง ห้องด้านซ้ายมีเฉลียง และ ห้องกลางเป็นห้องของพระโอรสสองพระองค์ ห้องด้านขวา เป็นห้องท�ำงาน ชั้นสามมีห้องที่มีเฉลียงเป็นห้องนั่งเล่นใหญ่ มีตู้เก็บของ เล่น โต๊ะปิงปอง และโต๊ะใหญ่ส�ำหรับเล่นรถไฟ มีห้องคนใช้และ ข้าราชบริพารอีกสามห้อง ผนังบ้านทาสีขาว หลังคามุงกระเบื้อง ปลูกผัก ท�ำสวน ปลูกดอกไม้ได้ด้วย เมื่อครั้งสงครามโลกครั้ง รูปหอยสีแดง มีบันไดสามชั้น มีสวนล้อมรอบ พระต�ำหนักหลังนี้อยู่ในท�ำเลที่สวยงาม มีเนื้อที่ราว 2 ไร่ ที่ 2 สมเด็จพระบรมราชชนนียังอาศัยผลไม้ในสวน มาท�ำแยม พื้นที่เป็นสวนผลไม้ใหญ่พอใช้และข้างบ้านยังมีที่ว่างสามารถ ผลไม้ไว้รับประทาน สมเด็ จ พระเจ้ า พี่ น างเธอฯ ทรงเห็ น ว่ า เป็ น บ้ า นที่ มี สวนสวย ระเบียงสวย แต่บ้านไม่สวยเลย ในวันที่พวกเราไป พระต� ำ หนั ก นี้ รถบั ส ขนาดใหญ่ พ าหนะส� ำ หรั บ พวกเราต้ อ ง จอดริมถนนด้านนอกแล้วต้องเดินเข้าไปราว 100 เมตร เลี้ยว จากถนนเข้าไปทางซ้ายมือ ก็พบป้ายหน้าบ้านเขียนไว้ชัดเจน ว่า เลขที่ 51 Chanblandes dessus จากประตูรั้วต้องเดินลงบันไดไป แล้วเลี้ยงซ้ายเดินลง บันไดต�่ำลงไป ราว 6-7 เมตร ก็จะมีรั้วอีกชั้นหนึ่ง มองจากรั้ว ก็เห็นสวนไม้ดอกไม้ประดับ รูปทรงของตัวบ้านที่หลายท่านคง ได้เห็นจากหนังสือที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงพระนิพนธ์ บัดนี้ไม่มีแล้ว ตัวบ้านถูกแทนที่ด้วยอาคารเป็นแฟลต เนื่องจาก หลังหมดสัญญาเช่า ตัวบ้านเก่ามากแล้วเจ้าของบ้านจึงรื้อบ้าน เก่าออกไป แล้วสร้างเป็นแฟลตสามชั้นให้เช่าแทน คณะของเราจึงได้ถ่ายรูปกันจากด้านนอกรั้ว มองต�่ำ ลงไปเห็นทะเลสาบอยู่ใกล้ๆ เป็นท�ำเลบ้านที่สวย มองเห็นทั้ง 9 issue 113 june 2017


ทะเลสาบสีฟ้าเข้ม และภูเขาเป็นเทือกสูงใหญ่อยู่เบื้อหลัง ทะเล สาบลาคเลมองเป็นฉากหลังตระการตา ช่วงที่พวกเราไปนั้น บางยอดยังแลเห็นหิมะขาวโพลนปกคลุมอยู่เลย สมเด็ จ พระเจ้ า พี่ น างเธอฯ ทรงเล่ า ว่ า ค่ า เช่ า บ้ า น หลังนี้ ปีละ 8,000 ฟรังก์ ซึ่งนับว่าไม่แพง และได้เช่ามาเป็น สิบปี เจ้าของยินดีขายในราคาราวสิบเท่าของราคาเช่า แต่ไม่ ได้ซื้อเพราะไม่มีเงินก้อน เนื่องจากทรงได้รับเงินเป็นปี ในช่วงปี 2478 (ค.ศ.1935) รัฐบาลถวายเงินพระเจ้าอยู่หัว ปีละแสนบาท และสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงไม่อยากเป็นหนี้แม้จะเป็นหนี้ ธนาคารก็ตาม

เรื่องการจัดการงบประมาณนี้ สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงมีจดหมายกราบทูลสมเด็จพระพันวัสสาฯ เมือ่ 29 พฤษภาคม 2478 (ค.ศ.1935) อ้างถึงในเจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์ (หน้า 157) ว่า “ทรงใช้เงินปีส�ำหรับเป็นค่าบ้าน รถยนต์ การเรียน และเงิน เดือนคนใช้ ส่วนการรับประทาน เครื่องแต่งตัวและอื่นๆ ทรงใช้ เงินส่วนตัว ทรงไม่ชอบที่จะอยู่อย่างหรูหราเปลืองเงินมาก แต่ จ�ำเป็นต้องท�ำบ้าง พอไม่ให้น่าเกลียด” พวกเราต่ า งนึ ก เสี ย ดายอย่ า งมาก ภาพพระต� ำ หนั ก วิลล่าวัฒนาที่เคยเห็นจากหนังสือ ไม่มีให้เห็นอีกแล้ว หลายคน ออกความเห็นว่า สถานที่ส�ำคัญและมีความหมายยิ่งนี้ รัฐบาล ไทยน่ า จะซื้ อ เอาไว้ เ พื่ อ ให้ ค นรุ ่ น หลั ง ได้ ม าศึ ก ษา บั ด นี้ อ อก จะช้าไปเสียแล้วแต่ก็ยังไม่สายเกินกว่าจะแก้ไข หากรัฐบาล คิ ด ได้ เ สี ย แต่ ต อนนี้ แล้ ว จั ด การซื้ อ ไว้ เ ป็ น สถานที่ ส� ำ คั ญ ทาง ประวัติศาสตร์ 10

IS AM ARE www.fosef.org


11 issue 113 june 2017


Cover Story

“...หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เท่านั้นทางรอดของคนไทย...”

ชั ชวาลล์ คงอุ ดม 12 IS AM ARE www.fosef.org


13 issue 113 june 2017


“..ทางรอดของคนไทยแค่ท�ำตามที่พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเคยมีพระราชด�ำรัสแนะน�ำ เป็ น แนวทางไว้ ก็ พ อแล้ว ..ประเทศรอด ประชาชนทุก คนสุ ข สบายแน่นอน” ชัชวาลล์ คงอุดม อดีตสมาชิกวุฒิสภา ที่ได้รับความ ไว้วางใจจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยคะแนน สูงสุดและคอลัมนิสต์อาวุโส ผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของ “หม่อม ราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช” ท�ำหน้าที่เผยแพร่ข่าวสารความจริง ในเหตุการณ์ของบ้านเมือง เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ รับทราบ บนเพจของสื่อสิ่งพิมพ์รายวันที่มีอายุกว่า 67 ปี หนังสือพิมพ์ “สยามรัฐ” และอีกสื่อหนึ่งซึ่งเป็นรายสัปดาห์ คือ “นิตยสาร สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์” และในปัจจุบันได้ส่งต่อให้ทายาท ได้เป็นผู้บริหารรุ่นต่อไป เพื่อที่ท่านจะได้มีเวลามากพอในการ ท�ำงานเพื่อประโยชน์สังคมและชุมชนอย่างใกล้ชิด เพียงเพราะ อยากให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยได้มีโอกาสสร้างรายได้เลี้ยงชีพ ตนเองและพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด “วันนี้ใช้เวลากับการจัดการพื้นที่ที่มีอยู่หลายแห่งเพื่อ ให้ประชาชนได้รับประโยชน์ เช่น พื้นที่บริเวณตลาดทางรถไฟ ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี เมื่อก่อนตรงนั้นเขาเรียกกันว่าตลาดบาง ซ่อนหรือตลาดสายหยุดก็ได้ไปลงทุนท�ำถนนและสร้างเป็นตลาด ที่ทันสมัย ให้ประชาชนน�ำสินค้า เช่น เสื้อผ้า ผัก ผลไม้ อาหาร มาจ�ำหน่ายเพื่อเกิดเป็นรายได้เลี้ยงชีพและตั้งชื่อตลาดตรงนี้ว่า ชุมทาง สยามยิปซี” “สมัยก่อนใครมักจะคิดว่าผมเป็นนักเลง นักรัก หรือ เป็นนักร้อง แต่จริงๆ แล้วผมก็เป็นแค่ผู้ชายคนหนึ่งที่มีแต่ความ จริงใจมองโลกตามความเป็นจริงอยู่เสมอ และที่ส�ำคัญในชีวิตผม ทั้งชีวิตมีแต่ให้ ไม่เคยไปท�ำร้ายหรือเอาเปรียบใครเลย” ข้อนี้กระมัง ที่ท�ำให้ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศที่ได้ยิน ข่าวของความมีน�้ำใจที่ “ชัชวาลล์ คงอุดม” หยิบยื่นความช่วย เหลือผู้คนมากหน้าหลายตา แม้ไม่เคยรู้จักหรือเพียงแค่มาเล่า ถึงความทุกข์ที่ประสบอยู่ ถ้าสามารถแนะน�ำหรือช่วยแบ่งเบา ความทุกข์นั้นได้ “ชัชวาลล์ คงอุดม” คนนี้ไม่เคยปฏิเสธที่จะ ช่วยเหลือใครเลย “ผมนอนตีห้า” คุณชัช กล่าวยิ้มๆ ความหมายคือกว่าจะ ได้นอนก็ตีห้าแล้ว ด้วยกิจการและภาระหน้าที่ต่างๆ ที่ต้องดูแล และจากการพูดคุยท�ำให้เราทราบว่าเกือบ 40 ปีมาแล้ว ที่ “ชัชวาลล์ คงอุดม” แจกข้าวสารในวันคล้ายวันเกิด ไม่ใช่แจก เพื่อท�ำข่าว แต่แจกเพื่อให้ประชาชนได้รับข้าวสารไปบริโภคเพื่อ ลดรายจ่ายในบ้านของตนเองจริงๆ 14 IS AM ARE www.fosef.org


ทางรอดของคนไทยแค่ ท� ำ ตามที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ทรงเคยมี พระราชด� ำ รั ส แนะน� ำ เป็ น แนวทางไว้ ก็ พ อแล้ ว .. ประเทศรอด ประชาชนทุ ก คนสุ ข สบายแน่ น อน

15 issue 113 june 2017


ให้คุณชัชได้ไว้เป็นเจ้าของ ยายจ�ำนองที่ดินไว้ เป็นจ�ำนวนเงิน 80,000 บาทกับนายทุนและก�ำลังจะโดนยึด พอผมไปดูที่ดิน แปลงนั้น พบว่าเป็นที่ดินตาบอดวิธีเข้าที่ดินมีทางเดียวคือ ต้อง ใช้เฮลิคอปเตอร์ (หัวเราะ) ผมบอกคุณยายว่า คงต้องปล่อย ไปเถอะให้นายทุนยึดไป เพราะไม่มีทางเข้าที่ดินได้ คุณยายจึง บอกให้น้องสาวของคุณยายที่มีที่ดินติดกันและติดกับถนนให้ ขายที่ดินให้กับผม ซึ่งรวมแล้วเป็นจ�ำนวน ถึง 97 ไร่ ผมจึงเป็น เจ้าของที่นามาตั้งแต่บัดนั้น” “จนวันนี้ได้ศึกษาเรื่องการปลูกข้าวและลงมือที่จะเรียน รู้การปลูกข้าว ท�ำนาด้วยตัวเอง ก็ไม่ถึงกับท�ำเป็นอาชีพนะ

จนวันนี้กับที่ดินในจังหวัดอยุธยา 97 ไร่ ที่ได้มาจาก คุ ณ ยายเจ้ า ของที่ ซึ่ ง คุ ณ ยายได้ น� ำ ที่ น าของตนจ� ำ นวน 49 ไร่ ไ ปจ� ำ นองกั บ นายทุ น 80,000 บาท จนเกื อ บหมดเวลา ตามสั ญ ญาการจ� ำ นอง และคุ ณ ยายได้ ร ้ อ งขอให้ เ พื่ อ นบ้ า น พามาพบ “ชัชวาลล์ คงอุดม” เมื่อ 38 ปีที่แล้ว เพื่อมาขอ ให้ “ชัชวาลล์ คงอุดม” ช่วยไถ่ที่นาคืนให้ทั้งๆ ที่ไม่เคยรู้จัก “ชัชวาลล์ คงอุดม” มาก่อน เพียงแค่เคยได้ยินชื่อจากเพื่อน บ้านที่เคยมารับแจกข้าวสารจาก “ชัชวาลล์ คงอุดม” ในวัน คล้ายวันเกิดนั่นเอง “ที่ดินกว่า 49 ไร่ ที่คุณยายมาบอกว่า คุณชัช ยายอยาก 16

IS AM ARE www.fosef.org


ครับ (หัวเราะ) เพียงแค่ศึกษาเมล็ดพันธุ์ และศึกษาการปลูก ข้าวโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยหรือสารเคมี ตามแนวทางที่เคยได้ยินมา ของอาจารย์วิวัฒน์ ศัลยก�ำธร อาจารย์ยักษ์นะครับ ด้วยความ หวังว่าผลผลิตข้าวที่ได้นั้น จะน�ำมาใส่ถุงแจกในวันคล้ายวันเกิด ที่แจกอยู่ทุกปี แต่ก่อนเราซื้อข้าวสารจากโรงสีมาแจกตั้งแต่ปี 2522 ราคาถุงละ 50 บาท 5 กิโลกรัม 40,000 ถุงก็ 2 ล้านต่อ ปี สมัยโน้น” “เริ่มเรียนรู้จากการลงทุนทั้งแรงงาน ทั้งค่าปุ๋ยอินทรีย์ วิธีการที่ไม่ท�ำร้ายคนท�ำนา ใช้เวลานานกว่า 10 ปี จนปัจจุบัน ได้ผลผลิตข้าวสารมากจนคาดไม่ถึง เมื่อเทียบกับทุนการผลิตทั้ง ค่าแรง ค่าปุ๋ย มันถูกลงทุกปี” “วั น นี้ ผ มมานึ ก ถึ ง ว่ า ถ้ า ประชาชนที่ มี อ าชี พ ทางการ เกษตรหรือชาวนา เขาหันไปใช้ปุ๋ยอินทรีย์กัน เขาจะได้ผลผลิต จ�ำนวนมาก ดูจากแปลงนาของผม จากเมื่อเริ่มต้นประมาณไร่ หนึ่ง 70 ถัง 97 ไร่ ได้รวม 26 ตัน มาปัจจุบันผมว่าน่าจะสูง ถึง 50 ตัน และที่ส�ำคัญพวกเขาจะไม่ป่วยจากสารเคมีที่ใส่ลง ในแปลงนา ผมตั้งใจที่จะน�ำความรู้นี้ส่งต่อให้ถึงชาวนาทุกคน หากมีความพร้อมก็อยากเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้” “ทุกวันนี้ต้นทุนของผลผลิตข้าวพันธุ์หอมช่อราตรี ที่ ได้มาจากแปลงนาของผมทั้งน�ำมากินเองทั้งแจก ตกแล้วราคา กิโลกรัมละ 20 บาทเท่านั้นเอง ทั้งหอมทั้งอร่อยและปลอดสาร พิษด้วย” “ที่ดินส่วนหนึ่งข้างแปลงนา ผมท�ำแก้มลิง เก็บน�้ำท�ำให้ มีน�้ำปลูกข้าวอย่างสมบูรณ์ และบริเวณแก้มลิงติดแปลงนา เวลา นี้ปลามาอาศัยอยู่จ�ำนวนมาก ที่ปลามาอยู่รวมจ�ำนวนมาก ก็ เพราะดินดี ไม่มีสารเคมี ปลาก็อยู่ได้ เพาะพันธุ์เต็มไปหมด ก่อนหน้านี้ปลาไม่มี เราไม่ได้เลี้ยงแต่มันมาเองตามธรรมชาติ ก็บอกกับคนที่ดูแลอยู่ว่าอย่าไปจับมันนะสงสารมัน มันอุตส่าห์ หนีมาอยู่ด้วย แล้วต่อไปใครที่อยากจะมาเรียนรู้เราก็ให้เขามา แต่ตอนนี้เรายังอยู่ในขั้นที่มันยังไม่สมบูรณ์ จะรอให้สมบูรณ์ ก่อนเราถึงจะเชิญคนมาเยี่ยมชมได้ เดินทางจากกรุงเทพฯ ไม่ เกิน 30 นาที ขึ้นทางด่วนมา ที่ดินอยู่ติดกับบางไทร พื้นที่ติด กับสนามกอล์ฟ เราไปปลูกบ้านไว้เป็นใต้ถุนสูงคล้ายๆ กับบ้าน ดิน ลมแรงมาก” “เมื่ อ ไม่ น านที่ ผ ่ า นมาไปงานเผาศพพระหลวงพี่ ที่ โรงเรียนบ้านนาเรียง จังหวัดกาฬสินธุ์ เห็นรั้วโรงเรียนแล้วก็อด ห่วงไม่ได้ว่า รั้วจะพังล้มทับเด็กนักเรียน ก็เลยมอบเงินทุนให้ โรงเรียนไปสร้างรั้วใหม่ ไปเห็นเด็กนักเรียนดื่มน�้ำขุ่นๆ ถามเด็กนักเรียนว่า ไป 17 issue 113 june 2017


18 IS AM ARE www.fosef.org


หน้าจะเป็นยังไง มันจะสู้ชีวิตได้ไหม ดูเหมือนหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง 5 ค�ำ 5 ข้อ ที่พ่อสอนคนยังไม่ทราบกัน เท่าไรเลย เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือรัฐจะท�ำยังไงให้เด็กรู้จริง ที่บอก ว่าคนรู้กันทั่ว ผมว่าไม่รู้หรอก ฉะนั้นจะท�ำอย่างไร หรือว่าอย่าง สมัยนี้เด็กเราขาดความกตัญญู สังเกตจากข่าว ขอเงิน ขออะไร จากพ่อแม่ไม่ได้ก็ฆ่าพ่อแม่แล้ว แนวทางแก้ไขที่ผมคิดไว้คือ ท�ำอย่างไรให้เกิดการบ่มเพาะเรื่องความกตัญญู ก่อนที่ เขาจะเรียนในวิชาใดก็ตาม น�ำข่าวมานั่งวิเคราะห์กันก่อนดีกว่า ไหม ให้เด็กคิดเป็นตั้งแต่เด็กมันก็จะซึมซับในสมอง ถ้าคนเราคิดข้างหน้าไม่เป็นไม่มีทางชนะ จะไปชนะ ชีวิตได้อย่างไร ต้องคิดเป็นว่าจะท�ำอะไร ถ้าเกิดอย่างนี้จะแก้ไขอย่างไร ให้เขาคิดเป็นตั้งแต่เด็ก ต้องพัฒนาครูให้มากขึ้นทั้งการสอน และจิตใจ ให้ครูมี ส�ำนึกที่ดี เพื่อการบ่มเพาะพลเมืองดีได้ในอนาคต ทางรอดของคนไทยแค่ท�ำตามที่พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเคยมีพระราชด�ำรัสแนะน�ำ เป็นแนวทางไว้ก็พอแล้วครับ ประเทศรอด ประชาชนทุกคนสุข สบายแน่นอน “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเท่านั้นครับทางรอด ของคนไทยอย่างแท้จริง”

น�ำน�้ำจากที่ไหนมาดื่ม เขาบอกว่ามาจาก อบต. เห็นแล้วก็อด ไม่ได้อีก ก็เลยบอกให้โรงเรียนเขาไปซื้อเครื่องกรองน�้ำมาติด ตั้ง ไม่อย่างนั้นเด็กนักเรียนดื่มน�้ำที่ไม่สะอาดก็จะป่วยเป็นนิ่ว ได้ ปรากฏว่าโรงเรียนเขาก็ไปท�ำเราก็คิดว่าประมาณสาม หมื่นกว่าบาท แต่พอติดตั้งเสร็จเขาคิดเป็นหลักแสน เราก็ขอ ต่อราคาเขา จนวันนี้ติดตั้งเครื่องกรองน�้ำไป 12 แห่งแล้ว และ มีโรงเรียนมาต่อคิวอีก 4 แห่ง มีคนจะมาขอร่วมท�ำบุญแต่ก็ไม่ มาสักที (หัวเราะ)” ในหลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลายคนหลายหน่วยงาน เวลาเดือดร้อนก็จะนึกถึง “ชัชวาลล์ คงอุดม” ? “ผมคิดว่า ถ้าไม่มีอ�ำนาจรัฐก็จะไม่สามารถท�ำอะไรให้ กับประเทศชาติได้ หรือได้น้อย อย่างที่เราท�ำก็หลายสิบปีแล้ว ส่งให้เด็กเรียนหนังสือ สอบเข้าหมอได้ วิศวะได้ จนปัจจุบันเป็น ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาล เป็นพยาบาล เป็นทันตแพทย์ และอีก หลายอาชีพจ�ำนวนมาก ผมคิ ด เสมอว่ า คนเราจะชนะชี วิ ต ได้ ไ ม่ ใช่ เ พราะว่ า เรียนเก่งหรอกครับ อย่างประเทศเราไม่จ�ำเป็นต้องเป็นเมือง อุตสาหกรรมหรอก เพราะเราไม่มีทางไปสู้ประเทศอื่นเขาได้ อย่างโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน�้ำเสียเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่เข้ม งวดปล่อยน�้ำเสียลงที่ดินการเกษตร พวกชาวไร่ชาวนาก็แย่ พวก สวนมะพร้าวที่สมุทรสาครอยู่ติดโรงงานผลผลิตก็แย่ อย่ า งเรื่ อ งการศึ ก ษา ถามว่ า ถ้ า คนคิ ด ไม่ เ ป็ น วั น ข้ า ง 19

issue 113 june 2017


สมั ย ก่ อ นใครมั ก จะคิ ด ว่ า ผมเป็ น นั ก เลง นั ก รั ก หรื อ เป็ น นั ก ร้ อ ง แต่ จ ริ ง ๆ แล้ ว ผมก็ เ ป็ น แค่ ผู ้ ช ายคนหนึ่ ง ที่ มี แ ต่ ค วามจริ ง ใจมองโลกตาม ความเป็ น จริ ง อยู ่ เ สมอ และที่ ส� ำ คั ญ ในชี วิ ต ผม ทั้ ง ชี วิ ต มี แ ต่ ใ ห้ ไม่ เ คยไปท� ำ ร้ า ยหรื อ เอาเปรี ย บ ใครเลย

20 IS AM ARE www.fosef.org


ประโยชน์ จ ากน�้ ำ มั น เมล็ ด ชา • มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง และมีกรดไขมันอิ่มตัวต�่ำ • ช่วยลดระดับ LDL (คอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี) และเพิ่ม ระดับ HDL (คอเรสเตอรอลชนิดดี) • ลดความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดตีบตัน ความดัน เบาหวาน และโรคหัวใจ • ดีต่อผู้รักสุขภาพ ผู้สูงอายุ และผู้มีภาวะน�้ำหนักเกิน

ร่ า งกายของเราจ� ำ เป็ น ต้ อ งใช้ ไขมั น เพื่ อ เป็ น แหล่ ง พลังงานของร่ายกาย ดังนั้นการเลือกบริโภคไขมันจึงเป็นการ เลือกแหล่งพลังงานของร่างกาย ไขมันมีทั้งไขมันชนิดดี และ ไขมันชนิดร้าย น�้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแบบเดี่ยวสูง จัดเป็นน�้ำมัน ชนิด “ดีพิเศษ” น�้ำมันเหล่านี้ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งช่วยท�ำความ สะอาด หรือเก็บขยะ (คราบไขมัน) จากผนังเส้นเลือด

21 issue 113 june 2017


22 IS AM ARE www.fosef.org


Cartoon

23 issue 113 june 2017


24 IS AM ARE www.fosef.org


25 issue 113 june 2017


let's talk

26 IS AM ARE www.fosef.org


“ชี วิตผมเริ่มต้นที่ 42”

ยวง เขียวนิล ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน 2560

27 issue 113 june 2017


ที่เราท�ำให้กับเขาเราตามเก็บตังค์ไม่ได้ แต่อะไรที่เราเครดิตเขา มาเขาตามเราได้หมด ท�ำให้ตัวเรามีปัญหาเยอะมาก ก็เลยต้อง ขายที่ทางใช้หนี้เขาไป” “หลังจากใช้หนี้เขาแล้ว เรายังคิดว่าเรายังมีแรงอยู่ ก็ เลยมาท�ำงานให้ใหญ่ขึ้นอีกเพื่อหวังที่จะรวยอย่างเดียว เลยมา ท�ำรับเหมาท�ำโครงหลังคาตามโรงงาน ตอนนั้นมีลูกน้องเยอะ ปัญหาก็เยอะตามไปด้วย ต้องช่วยเหลือกันตลอด ท�ำให้ตัวเอง เบื่อ ในความโชคร้ายก็ยังมีความโชคดี ก็คือผมเองยังมีภรรยา รับราชการครูอยู่ ผมก็มาบอกกับเขาว่าผมท�ำอะไรก็ไม่ส�ำเร็จ ผมจะไปท�ำนาแล้ว แฟนก็เห็นด้วย เป็นสาเหตุให้มาท�ำเกษตร พอเพียงอยู่ที่นี่” โรคพิ ษ สุ ร า ท� ำ คนกลายเป็ น ผี หลังจากหันหลังให้ชีวิตที่ “อยากรวย” เงินเยอะ ลูกน้อง เยอะ ปัญหาธุรกิจต่างๆ รุมสุมจนไม่สามารถลุกยืนด้วยตนเองได้ ลุงยวงกลับมาใช้ชีวิตในพื้นที่ 44 ไร่ของภรรยา มุ่งหวังท�ำเกษตร เลี้ยงตัว หลังจากชีวิตที่ผ่านมาล้มเหลวหมด “เริ่มแรกมาอยู่ก็ไปไม่เป็นเลยครับ เราเรียนหนังสือเลย ไม่ค่อยได้สนใจเรื่องเกษตร เคยอยู่เมืองมาก่อนเป็นผู้รับเหมา กินเบียร์ กินเหล้านอก มาอยู่ตรงนี้กินเหล้าขาวครับ เหล้าต้ม มาอยู่ 4 ปีเห็นผลเลยครับ เป็นพิษสุรา ชนิดที่นอนเมาหมาเลีย ปาก ภรรยายังถ่ายรูปไว้ เมื่อก่อนเห็นรูปพวกนั้นแล้วเราจะ โกรธมากเลย เหมือนกับประจานกัน แต่พอผ่านมามันมีค่ามาก หลายคนอาจจะเคยเห็น จน เครียด กินเหล้า ในทีวี แต่ผมคือ ตัวจริงอย่างนั้นเลย” “ตอนนั้ น ใครห้ า มก็ ไ ม่ เชื่ อ เรื่ อ งของเหล้ า ตั บก็ ตับ กู ตังค์ก็ตังค์กู มายุ่งอะไรกับกูประมาณนั้น มีอยู่วันหนึ่งแม่ตัว เองมาหาบอกว่าลูกเหล้ามันไม่ดีหรอก เลิกเถอะ แล้วแม่ก็พา ไปหาหลวงพ่อที่วัด พอไปกราบหลวงพ่อเสร็จแม่ก็บอกหลวง พ่อว่าท�ำไงจะให้ลูกชายเลิกเหล้า หลวงพ่อท่านเอามือลูบหัว

ข้ อ มู ล ส่ ว นตั ว ชื่อ : นายยวง เขียวนิล อายุ : 64 ปี การศึกษา : ปวส.เทคนิคนนทบุรี, ปริญญาตรี สาขา พัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สถานภาพ : สมรสกับนางศรีประไพร เขียวนิล สถานที่ตั้ง : เลขที่ 91/1 หมู่ 7 บ้านราษฎร์นิยมคลอง ลากค้อน ต�ำบลราษฎร์นิยม อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์ 081-929-9159 เพราะความอยากรวย “ลุงยวง” เคยท�ำงานป็นข้าราชการในส�ำนักรักษาความ สะอาด กรุงเทพมหานครเป็นระยะเวลาร่วม 10 ปี จากนั้นจึง ตัดสินใจลาออกมาท�ำธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง แต่ไม่ประสบความ ส�ำเร็จและมีหนี้สินจนต้องเลิกท�ำธุรกิจ ในปี 2531 จึงตัดสินใจ ท�ำการเกษตรบนที่ดินมรดกของภรรยา เริ่มต้นด้วยการปลูกพืช ผักสวนครัว เลี้ยงปลาและเป็ด มีรายได้พออยู่พอกิน “ช่วงที่รับราชการอยู่ เห็นเพื่อนเขาท�ำธุรกิจแล้วเขารวย เราก็อยากรวยมั่ง จึงออกมาท�ำธุรกิจบ้าง ผมเองมีพื้นฐานทาง ด้านช่าง ก็เลยมาเปิดร้านท�ำเหล็กดัด ท�ำมุ้งลวด ท�ำงานราชการ ตอนนั้นเงินเดือนสามพันกว่าบาท แต่พอมาท�ำธุรกิจได้สามถึง ห้าหมื่นบาท ก็เลยตัดสินใจลาออกมาท�ำธุรกิจครับ พอท�ำไปสัก ระยะหนึ่ง สมัยจ�ำกัดสินเชื่อ 18% ประมาณปี 2524-2525 งาน 28

IS AM ARE www.fosef.org


แล้วบอกว่า ‘ลูกเอาเนื้อไปแช่ในเหล้าเนื้อมันยังเสียนะลูก แล้ว ถ้าคนเราผิดศีลข้อที่ห้ามันก็จะพาลผิดหมดทุกข้อ’ ท่านสอนดี มากเลยครับ” จนกระทั่ง ในปี 2537 ลุงยวงพบว่าคุณภาพชีวิตของ ตัวเองเสื่อมถอยลงไปมาก จากที่เคยเรียนหนังสือเป็นที่ 2 ของ จังหวัด และเป็น 1 ใน 5 ของนักเรียนช่างกลที่สอบ มศ.5 ทั่วไป ได้ ขณะที่เพื่อนฝูงรุ่นเดียวกันไปเป็นอาจารย์ตามสถาบันต่างๆ บ้างเป็นหัวหน้าในโรงงาน ลุงยวงมองกลับมาที่ตัวเองก็พบเพียง ชายขี้เมา หมดความเข้มแข็งที่จะประกอบการงานใดให้เป็นชิ้น เป็นอันได้ “เรามานึ ก ถึ ง ตั ว เราคุ ณ ภาพชี วิ ต เราเสื่ อ มไปขนาดนี้ ตัดสินใจเลิกเหล้า ก็คือหักดิบ พอหยุดมันจะทั้งถ่ายทั้งอาเจียน แฟนก็พาไปหาหมอที่โรงพยาบาล สมัยก่อนเวลาไปโรงพยาบาล มันต้องไปจองคิว ระหว่างรอคิวก็ไปกินเหล้านิดหน่อย พอถึง คิวก็เข้าไปหาหมอ ก็บอกหมอว่าผมจะมาเลิกเหล้า หมอก็ให้ ยามากิน ก่อนกลับภรรยาก็แวะหาพี่สาวที่เป็นพยาบาลอยู่ที่ นั่น” “ถามว่าท�ำไมไม่ไปหาพี่สาวภรรยาตั้งแต่ทีแรก เพราะ เวลากินเหล้าเราจะไม่ถูกกับญาติพี่น้องเลย ก็เลยไม่ไปหาเขา พอไปหาเขาก็ถามมาท�ำไม แฟนบอกตายวงเขาจะมาเลิกเหล้า หมอให้ยามาแล้ว พอดูยาเขาก็บอกว่านี่มันยาตามอาการ ไม่ใช่ ยาเลิกเหล้า เขาถามจะเลิกจริงไหม บอกจริงครับ เขาบอกว่างั้น ลุ ง ยวงใช้ ห ลั ก การพึ่ ง ตนเองในการประกอบอาชี พ ทั้ ง แรงงานและการลงทุ น สร้ า งรายได้ โ ดยไม่ เ ร่ ง ผลผลิ ต มี ก ารจดบั ญ ชี ค รั ว เรื อ นเพื่ อ เตื อ นตนเอง ให้ รู ้ จั ก ใช้ จ ่ า ยอย่ า งมี ส ติ แ ละใช้ ชี วิ ต เรี ย บง่ า ยกั บ ครอบครั ว ไม่ ฟุ ้ ง เฟ้ อ และมี ค วามสุ ข ตามอั ต ภาพ เดี๋ยวจะพาไปหาจิตเวช จิตเวชถามว่าเราอยู่โรงบาลหนึ่งอาทิตย์ ได้ไหม บอกได้ครับ เขาก็ให้เปลี่ยนเสื้อผ้า ไปอยู่ตึกคนไข้อนาถา ระหว่างที่เดินไปมีคนไข้เยอะมาก มีผู้หญิงกลุ่มหนึ่งเขาบอก ว่าตาคนนี้ไม่เห็นเขาเป็นอะไรเลยเขามาโรงพยาบาลท�ำไม คน ที่เป็นพิษสุราถ้ามีเหล้าเข้าไปอาการจะนิ่งเหมือนคนธรรมดา พอสักสิบโมงแอลกอฮอล์มันเริ่มขาดก็เริ่มอาละวาด คนโน้นจะ เอาระเบิดมาขว้าง คนนั้นจะเอาปืนมายิง วิญญาณช่างกลเข้า สิง นอนอยู่โรงพยาบาล 14 คืน ช่วงนั้นเราไม่รู้อะไรเลย กลับ มาบ้านช่วยตัวเองไม่ได้ 3 เดือน ภรรยาต้องจับลุกขึ้นถึงจะเดิน ไปไหนมาไหนได้ รักษาตัวอยู่ปีหนึ่ง จนสมองเริ่มกลับมาก็มานั่ง คิดว่าจะท�ำอะไรดี” 29 issue 113 june 2017


แรงศรั ท ธาต่ อ แนวพระราชด� ำ ริ เ กษตรทฤษฎี ใ หม่ ในปี 2537 หลังจากผ่านพ้นวิกฤติต่างๆ ลุงยวงตั้งใจ แน่วแน่ที่จะท�ำการเกษตรทฤษฎีใหม่ จึงเดินทางไปศึกษาดูงาน เกี่ยวกับเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ที่วัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัด สระบุรี และศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจาก พระราชด�ำริ จังหวัดเพชรบุรี เมื่อได้ความรู้กลับมาจึงเริ่มลงมือ ท�ำการเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ของตนเอง เมื่อพบปัญหา ลุง ยวงมี ค วามเพี ย รพยายามที่ จ ะแก้ ไขปั ญ หาต่ า งๆ โดยขอค� ำ ปรึ ก ษาจากสถานี พั ฒ นาที่ ดิ น ก� ำ แพงแสน ส� ำ นั ก งานประมง จั ง หวั ด และหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งต่ า งๆ จนสามารถพั ฒ นา ต่อยอดองค์ความรู้และประสบการณ์ตนเองเรื่อยมา จนกระทั่งปี 2538 เกิดน�้ำท่วมใหญ่ แปลงเกษตรทั้งหมด เสียหาย เมื่อน�้ำลด บ่อน�้ำที่ลุงยวงได้ขุดไว้ 3 ไร่ตามแนวเกษตร ทฤษฎีใหม่กลับมีปลาเข้ามาอยู่มากมาย ลุงยวงจึงผ่านพ้นวิกฤต อุทกภัยได้ด้วยรายได้จากการขายปลา จากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้สร้างแรงศรัทธาต่อแนวพระราชด�ำริเกษตรทฤษฎีใหม่ จึงมี เป้าหมายที่จะท�ำให้แปลงเกษตรของตนแห่งนี้เป็นแหล่งเรียน รู้ เป็นสวนป่าของชุมชน ที่สามารถเป็นตัวอย่างถ่ายทอดความ ส� ำ เร็ จ ตามปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งและเกษตรทฤษฎี ใหม่ “ปี 2537 ผมอายุ 42 แล้ว ที่ท�ำมามันล้มเหลวหมด นึกถึงคนที่อยู่อ�ำเภอเมือง เขามีพื้นที่แค่ 3-5 ไร่ เขาสามารถ อุ้มชูตัวเองได้ก็จะเอาตัวอย่างจากตรงนั้น แต่ช่วงนั้นสภาพ ของเมืองมันบดบังหมดแล้ว ตัวอย่างที่ชัดเจนไม่มี เราก็เข้าไปที่ เกษตรอ�ำเภอ ถามว่าภาคเกษตรตอนนี้มีอะไรบ้าง เขาก็บอกว่า มีไร่นาสวนผสม หมายถึง การท�ำกิจกรรม 2 อย่างขึ้นไป ขณะ เดียวกันก็ได้ยินว่าพระองค์ท่านรัชกาลที่ 9 ท�ำเกษตรทฤษฎี ใหม่ ก็นึกในใจว่าพระองค์ท่านจะมาท�ำอะไรเกี่ยวกับการเกษตร คงเป็นเรื่องของข้าทาสบริวารทูลเกล้าพระองค์ท่าน แต่ก็สนใจ ค�ำว่าทฤษฎี เพราะอะไรที่ขึ้นต้นว่าทฤษฎีแสดงว่าได้ผ่านการ ทดลองมาแล้ว ก็ขอเอกสารมาอ่าน แล้วก็มีโอกาสได้ศึกษาดู งานที่วัดมงคลชัยพัฒนา ที่เพชรบุรี” “หลังจากดูงานสองที่มาแล้วก็มาถอดบทเรียน ก็พบว่า เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นเรื่องของกระบวนการความคิด คือ พระองค์ท่านคิดให้เสร็จแล้ว เราแค่เดินตามพระองค์ท่านเท่านั้น เอง ตอนนั้นเรามีทุนคือที่ดิน ไม่มีทุนสตางค์ จะไปยืมใครก็ไม่ได้ เพราะเครดิตไม่ดีจากการกระท�ำในอดีต ก็มาเริ่มเขียนผัง เริ่ม ตรง 5 ร่องสวน ถามค่าจ้างเท่าไหร่เขาบอกว่า 6 พัน พอเราเริ่ม รวมสตางค์ได้ก็ค่อยๆ ท�ำ แล้วก็ค่อยขยับมาทีละหน่อย”

“พอมาปี 2538 แถวนี้น�้ำท่วมหมด ไม่มีอะไรเหลือเลย ไม่มีเงินชดเชยอะไรทั้งนั้น ผมก็เครียดมาก ชีวิตไม่ประสบผล ส�ำเร็จเลย พอมาท�ำภาคเกษตรก็เจอภัยธรรมชาติอีก ปลาที่เรา เลี้ยงไว้ก็หายไปกับน�้ำหมด ชาวบ้านจับไปหมด พอน�้ำแห้งปลา จากทุกที่กลับมารวมกันอยู่บ่อใหญ่ 3 ไร่ของเรา ขายปลาได้ 6 หมื่น ท�ำให้นึกถึงพระองค์ท่านรัชกาลที่ 9 ที่คิดถึงเรื่องภูมิคุ้มกัน ไม่มีอาชีพไหนที่น�้ำท่วมแล้วเหลืออะไร ทฤษฎีใหม่ยังเหลือปลา ในบ่อ ก็ยังพอมีทุนกลับมาฟื้นฟูได้” การด� ำ เนิ น ชี วิ ต โดยยึ ด หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง

ความพอประมาณ

ลุงยวงใช้หลักการพึ่งตนเองในการประกอบอาชีพทั้ง แรงงานและการลงทุน สร้างรายได้โดยไม่เร่งผลผลิต มีการจด บั ญ ชี ค รั ว เรื อ นเพื่ อ เตื อ นตนเองให้ รู ้ จั ก ใช้ จ ่ า ยอย่ า งมี ส ติ แ ละ ใช้ชีวิตเรียบง่ายกับครอบครัว ไม่ฟุ้งเฟ้อ และมีความสุขตาม อัตภาพ

ความมีเหตุผล

บริหารจัดการพื้นที่ตามเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยจัดการน�้ำ และพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด บริหารแรงงานโดยใช้หลักพึ่ง 30

IS AM ARE www.fosef.org


31 issue 113 june 2017


ตนเอง โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 7 ส่วน และปฏิบัติงานในพื้นที่ แต่ละส่วนอย่างมีระบบตามวันของสัปดาห์ ไม่ลงทุนปลูกพืช ตามกระแสแต่ปลูกพืชหลากหลายชนิด ให้มีผลผลิตทุกฤดูกาล ขายผลผลิตได้ทั้งปีและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง

การมีภูมิคุ้มกันที่ดี

ให้ความส�ำคัญในการท�ำเกษตรผสมผสาน โดยปลูกพืช หลากชนิดเพื่อให้ได้ผลผลิตทุกฤดูกาล ทั้งที่ให้ผลผลิตในระยะ สั้นและระยะยาว แม้ราคาพืชชนิดใดตกต�่ำ ก็ยังมีผลผลิตจาก พืชชนิดอื่นทดแทน แบ่งรายได้เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อลงทุน บริโภค และการออม อย่างเป็นสัดส่วน และไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข ใดๆ ทั้งสิ้น

ผลส� ำ เร็ จ จากการประยุ ก ต์ ใ ช้ ป รั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ความรู้ ท�ำการเกษตรอินทรีย์ผสมผสานบนพื้นที่ 44 ไร่ โดย มีความเพียร ความใฝ่รู้ในการพัฒนาองค์ความรู้ของ จัดสรรเป็นพื้นที่นา 18 ไร่ แปลงไม้ผล พืชผักสวนครัว พืช ตนเองและแก้ ไขปั ญ หาต่ า งๆ ในการด� ำ เนิ น งาน มี ก ารแบ่ ง สมุนไพร จ�ำนวน 15 ไร่ บ้านพักอาศัยโรงเรือนและโรงเลี้ยงสัตว์ ปันถ่ายทอดความรู้ โดยเป็นครูท้องถิ่น สอนวิชาภูมิศาสตร์สิ่ง จ�ำนวน 4 ไร่ ส่วนพื้นที่เหลือ 7 ไร่ ขุดเป็นบ่อน�้ำ จ�ำนวน 5 บ่อ แวดล้อมทุกสัปดาห์ที่โรงเรียนราษฎร์นิยม โดยท�ำหลักสูตรการ จุน�้ำได้ 18,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถท�ำให้มีน�้ำอุปโภค สอนเองและเป็นวิทยากรบรรยายนอกสถานที่ เช่น วิทยาลัย บริโภคตลอดทั้งปี เทคโนโลยีการแพทย์ อ�ำเภอไทรน้อย และเข้าร่วมโครงการต่างๆ รายได้หลักมาจากการท�ำนา 2 ครั้งต่อปี และไม้ผล เช่น ของชุมชน เพื่อร่วมขับเคลื่อนชุมชนให้มีความเข้มแข็ง ขนุน มะปราง มะม่วง มะพร้าว กล้วยหอม กล้วยไข่ ฯลฯ รวม ถึงพืชผักสวนครัว เช่น มะนาว มะเขือเปราะ กะเพรา ฯลฯ โดย ทั้งหมดเป็นเกษตรอินทรีย์และปฏิบัติตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ คือ การปลูกพืชเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานเกื้อกูลกัน เน้นการ บริโภคในครัวเรือนก่อนจ�ำหน่าย มีการจัดการระบบต่างๆ ใน สวนตนเองได้อย่างลงตัว ไม่ผูกขาดรายรับกับการท�ำนาเพียง อย่างเดียว โดยวางแผนสร้างรายได้หมุนเวียนจากพืชผัก ผลไม้ อื่นๆ ตลอดทั้งปี ในด้านสิ่งแวดล้อม ท�ำการเกษตรอย่างอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และค�ำนึงถึงสมดุลของระบบนิเวศวิทยา ทั้งในและนอกแปลงเกษตรตนเอง สร้างแหล่งอนุรักษ์ปลาใน คลองหน้าบ้าน และมุ่งเน้นท�ำการเกษตรแบบไม่สร้างความ เดือดร้อนให้ผู้อื่น คุณธรรม นอกจากการด�ำเนินงานด้านเกษตรกรรมแล้ว ยังให้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในความหมายของลุงยวง ความส�ำคัญกับการท�ำบัญชีครัวเรือน เพราะเป็นบัญชีที่ชี้ให้ เขียวนิล คือปรัชญาที่มีรากฐานจากหลักมัชฌิมาปฏิปทา คือ การ เห็นถึงรายรับรายจ่าย และเป็นเครื่องมือในการสร้างสมดุล ไม่ เดินทางสายกลาง ยึดหลักการด�ำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท เช่น ขาดทุน เพราะในชีวิตประจ�ำวันของเกษตรกรย่อมมีรายรับราย ไม่เร่งผลผลิตจนผิดธรรมชาติ ไม่ตกเป็นทาสกระแสกระตุ้นของ จ่ายทุกวัน โดยแบ่งเป็นเรื่องความเป็นอยู่ของสมาชิกในครัว สังคม ใช้หลักธรรมแห่งความส�ำเร็จ คือ อิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ เรือนและการประกอบอาชีพ หากไม่น�ำมาจดบันทึกจะท�ำให้ วิริยะ จิตตะ วิมังสา หมายถึง การชอบที่จะท�ำ ท�ำด้วยความ จ�ำไม่ได้ว่าใช้จ่ายไปกับสิ่งใดบ้าง ดังนั้น การจดบันทึกจะท�ำให้ ขยัน ความใส่ใจ การไตร่ตรอง ประหยัด และพึ่งตนเอง ทราบว่ารายจ่ายที่เกิดขึ้นมีความสมเหตุสมผลและสมดุลกับ 32 IS AM ARE www.fosef.org


น อ ก จ า ก อ ง ค ์ ค ว า ม รู ้ แ ล ะ ป ร ะ ส บ ก า ร ณ ์ ด ้ า น เ ก ษ ต ร ก ร ร ม แ ล ้ ว ลุ ง ย ว ง ยั ง เ ล็ ง เ ห็ น ถึ ง ค ว า ม ส� ำ คั ญ ด้ า นการเผยแพร่ ค วามรู ้ โดยรั บ เป็ น วิ ท ยากร ให้ ทั้ ง ในและนอกจั ง หวั ด นนทบุ รี มี ค วามตั้ ง ใจใน การถ่ า ยทอดเพื่ อ ขยายผลความส� ำ เร็ จ สู ่ เ ยาวชน เกษตรกรและชุ ม ชน

สถานที่กองปุ๋ยในที่น�้ำไม่ท่วมขัง และอยู่ในที่ร่ม มีหลังคาคลุม แต่ถ้ากองปุ๋ยมีปริมาณมาก สามารถกองปุ๋ยไว้กลางแจ้งโดย ไม่มีหลังคาคลุมก็ได้ เนื่องจากผิวชั้นนอกเท่านั้นที่โดนแสงแดด และฝน แต่ส่วนที่อยู่ด้านในจะถูกคลุมทับไว้ จึงไม่สูญเสียธาตุ อาหาร ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก จะช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุ อาหาร ท�ำให้ดินมีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของ พื ช และจั บ ตั ว กั น อย่ า งพอเหมาะต่ อ การกั ก เก็ บ และระบาย น�้ำ อากาศถ่ายเทได้ดี มีความร่วนซุย มีอินทรียสารและธาตุ อาหารต่างๆ ครบถ้วน อีกทั้งไม่เป็นอันตรายสะสมในดินแม้จะ ใช้ปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน

รายรับหรือไม่ และสามารถใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนวางแผนการ ใช้จ่ายครั้งต่อไป องค์ ค วามรู ้ โ ดดเด่ น การท� ำ ปุ ๋ ย หมั ก ชี ว ภาพ ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด นนทบุ รี เ ป็ น พื้ น ที่ ท� ำ การเกษตรมาแต่ ดั้งเดิมและใช้ปุ๋ยเคมีเป็นจ�ำนวนมาก จึงเล็งเห็นช่องทางการลด รายจ่าย โดยทดลองท�ำปุ๋ยหมักขึ้น โดยน�ำเศษวัสดุต่างๆ เช่น เศษพืชเหลือใช้จากไร่นาหลังการเก็บเกี่ยว(แกลบ ขี้เลื่อย ขุย มะพร้าว กากชานอ้อย ซังข้าวโพด ฯลฯ) และเศษขยะมูลฝอย จากครั ว เรื อ นมาหมั ก ร่ ว มกั บ มู ล สั ต ว์ และผสมเชื้ อ จุ ลิ น ทรี ย ์ พด.1 เพื่อเป็นการกระตุ้นเชื้อจุลินทรีย์ในปุ๋ยหมัก ท�ำให้ย่อย สลายได้เร็วขึ้น ปุ๋ยหมักที่ได้จะมีคุณสมบัติในการปรับปรุงดิน ให้โปร่ง เพิ่มความพรุนให้แก่ดิน ท�ำให้ดินสามารถระบายน�้ำ และอากาศในดินดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ดินอุ้มน�้ำ และดูดซึมธาตุ อาหารพืชดีขึ้น ทั้งนี้ สิ่งที่ควรค�ำนึงถึงในการท�ำปุ๋ยหมัก คือ ควรเลือก

การเลี้ ย งปลาดุ ก ในบ่ อ พลาสติ ก 1.) การจัดเตรียมบ่อ โดยการขุดบ่อขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 1 เมตร ลึก 1 เมตร จัดท�ำขอบบ่อให้มีระดับเดียวกัน ปูผ้า พลาสติกสีด�ำเพื่อกันน�้ำซึม 2.) การปรับสภาพน�้ำในบ่อ โดยการเปิดน�้ำใส่บ่อจน เต็ม จากนั้นใส่จุลินทรีย์ EM จ�ำนาวน 1 ลิตร ผสมกากน�้ำตาล 1 กิโลกรัม และแร่แมกนีเซียมจ�ำนวน 3 กิโลกรัม ทิ้งระยะเวลา ไว้ 5-7 วัน เพื่อปรับสภาพน�้ำและลดการเน่าเสียของน�้ำ จากนั้น จึงปล่อยปลาลงเลี้ยงได้ 3.) การปล่อยปลาลงเลี้ยง ใช้พันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุยขนาด ยาว 5-7 เซนติเมตร จ�ำนวน 1,000-2,000ตัว เป็นระยะเวลา 33

issue 113 june 2017


ใช้ตะแกรงรองพื้น แล้วเทหินเกล็ดทับตะแกรงหนาประมาณ 3 นิ้ว วางยางรถ 3 เส้นซ้อนทับกัน ปล่อยกบลงในคอนโด จาก นั้นน�ำตะแกรงปิดปากคอนโดด้านบนเพื่อป้องกันกบกระโดด ออก เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 20 วัน ควรจับกบที่ขนาดเล็กและ ใหญ่แยกคอนโดกัน 4.) การให้อาหาร อาหารเลี้ยงกบสามารถใช้อาหารปลา ดุกเม็ดใหญ่ได้ โดยให้กินทุกเช้าและเย็น วิธีการให้อาหาร คือ วางถาดอาหารไว้ในถาดด้านล่างคอนโดและควรให้อาหารเสริม เช่น ผักบุ้งหั่นฝอย(กิน 2 วันต่อครั้ง) ด้านการให้น�้ำ ควรใส่น�้ำ ที่คอนโดชั้น 1 และ 2 ถ่ายน�้ำทุก 3 วัน นอกจากนี้ ควรติดไฟ ส่องเพื่อล่อแมลงให้กบกินเป็นอาหารเสริมได้ การเลี้ยงกบแบบคอนโดและแบบแห้งเป็นการใช้อาหาร อย่างคุ้มค่าไม่สูญเปล่าเพราะเศษอาหารที่เหลือจากการเลี้ยง กบสามารถน�ำไปเลี้ยงปลาดุกต่อได้ อีกทั้งยังสามารถประหยัด ต้ น ทุ น จากการสร้ า งบ่ อ เลี้ ย งกบโดยน� ำ วั ส ดุ เ หลื อ ใช้ ก ลั บ มา ใช้ประโยชน์อีกครั้งหนึ่ง และประหยัดน�้ำในการล้างท�ำความ สะอาด ส่วนกบที่ได้มีน�้ำหนักดี โตเร็ว และมีอัตราการรอดสูง กว่าการเลี้ยงกบในบ่อ

2-3 เดือน จึงสามารถจับบริโภคหรือขายได้ 4.) อาหารปลา มีวิธีการท�ำอาหารปลาดุก ดังนี้ • น�ำร�ำละเอียด 1 กระสอบปุ๋ย คลุกกับกากมะพร้าว 1 กระสอบปุ ๋ ย ปลาป่ น 6 กิ โ ลกรั ม และกากถั่ ว เหลื อ ง 6 กิโลกรัม • น�ำจุลินทรีย์ EM 1 ลิตร ผสมกับน�้ำ 20 ลิตร แล้วคลุก เคล้ากับส่วนผสมด้านบน หมักทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง • จากนั้นน�ำมาผสมกับร�ำละเอียดอีก 1 กระสอบปุ๋ย และน�้ำมันพืช 1-2 ลิตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วน�ำเข้าเครื่อง อัดเม็ด ผึ่งแดด 2 วัน จึงสามารถน�ำไปใช้ได้ โดยปุ๋ยดังกล่าว สามารถเก็บได้นาน 2 เดือน

ประโยชน์ของการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก คือ ใช้ พื้นที่น้อย เลี้ยงได้ทุกที่ ก่อสร้างบ่อเลี้ยงได้ง่าย ใช้ระยะเวลา สั้น และอดทนต่อสภาพน�้ำได้ดี ทั้งนี้ การเลือกสถานที่สร้างบ่อ ควรอยู่ในที่ร่มหรือมีหลังคา และมีแหล่งน�้ำส�ำหรับเปลี่ยนถ่าย น�้ำได้สะดวก นอกจากองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านเกษตรกรรม แล้ว ลุงยวงยังเล็งเห็นถึงความส�ำคัญด้านการเผยแพร่ความรู้ โดย รับเป็นวิทยากรให้ทั้งในและนอกจังหวัดนนทบุรี มีความตั้งใจใน การถ่ายทอดเพื่อขยายผลความส�ำเร็จสู่เยาวชน เกษตรกรและ ชุมชน โดยเฉพาะเยาวชน เป็นวิทยากรภายนอกให้แก่สถาน ศึกษาต่างๆ เช่น โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม โรงเรียนวัดไทรใหญ่ โรงเรียนวัดคลองขวาง โรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ วิทยาลัย การอาชีพไทรน้อย ฯลฯ โดยบรรยายเกี่ยวกับหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ ไร่นาสวนผสม และการ จัดท�ำบัญชีครัวเรือน เพื่อมุ่งปลูกฝังให้เยาวชนด�ำเนินชีวิตอย่าง พอเพียง มีภูมิคุ้มกัน และมีองค์ความรู้ด้านเกษตรกรรมและการ ประกอบอาชีพ

การเลี้ ย งกบแบบคอนโดและแบบแห้ ง 1.) การเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ ประกอบด้วย ยางรถยนต์ (ขนาดยางรถแทรกเตอร์สามารถเลี้ยงได้ 100 ตัว ขนาดรถสิบ ล้อสามารถเลี้ยงได้ 50 ตัว ขนาด 6 ล้อสามารถเลี้ยงได้ 30 ตัว ขนาด 4 ล้อสามารถเลี้ยงได้ 20 ตัว) ทรายหยาบ ตะแกรง กบ พันธุ์ ปูนขาว อาหารปลาดุก และถาดวางอาหาร 2.) การเตรียมพันธุ์กบ กบที่ควรน�ำมาเลี้ยงแบบคอน โดควรเป็นกบพันธุ์หรือสามารถหาได้ในฤดูฝน โดยมีระยะเวลา เลี้ยงประมาณ 2 เดือน 3.) การเลี้ยง พื้นที่เลี้ยงควรมีแสงแดดส่องร�่ำไร เมื่อได้ พื้นที่ที่เหมาะสมจึงใช้ทรายหยาบถมหนาประมาณ 6 นิ้ว และ 34

IS AM ARE www.fosef.org


หลังจากด�ำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงด้วยความเข้าใจและขยันหมั่นเพียรแล้ว ลุงยวงได้รับรางวัล มากมายเกี่ยวกับการท�ำเกษตร แต่รางวัลที่เจ้าตัวภูมิใจที่สุดคือ รางวัลเกษตรทฤษฎีใหม่ เพราะเป็นรางวัลเดียวที่ลุงยวงส่งตัว เองเข้าประกวด ด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ 1.อยากให้เห็นว่า ใครที่เดินตามในหลวงรัชกาลที่ 9 สามารถพึ่งตัวเอง สามารถ อุ้มชูตัวเองได้จริง 2.จังหวัดนนทบุรีขึ้นชื่อว่าเป็นที่อยู่อาศัยชั้น ดีของคนทุกระดับ ลุงยวงอยากให้เห็นว่าถ้าใครท�ำเกษตรทฤษฎี ใหม่จะเป็นที่อยู่อาศัยชั้นดีเยี่ยม นอกจากคนแล้ว นกกายังได้ อาศัย 3.การลงประกวด กรรมการจากภายนอกเป็นผู้ประเมิน จะท�ำให้รู้ว่าตนเองยืนอยู่จุดไหน ท้ า ยที่ สุ ด จากความล้ ม เหลวที่ ผ ่ า นมาของชี วิ ต ลุ ง ยวงจนถึงปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้เลยที่จะไม่กล่าวถึง “ป้าหมู” นางศรีประไพร เขียวนิล ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ผู้ปิดทองหลังพระ อย่างแท้จริง กล่าวคือ วันนี้มีคนเข้ามาหาลุงยวงเพื่อขอความรู้ ต่างๆ มากมาย กลายเป็นที่รู้จักของคนในวงกว้างมากขึ้น แต่ ในวันที่ลุงยวงล้มไม่เหลือใครก็ได้ “ป้าหมู” นี่แหละ ซึ่งไม่ทิ้ง

ไปไหน ช่วยพยุงขึ้นมา ผลักดันให้ก้าวต่อไปข้างหน้าจนประสบ ความส�ำเร็จในที่สุด ส่งผลให้ลุงยวงได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ใ ห้ เ ป็ น “ปราชญ์ เ กษตรของแผ่ น ดิ น สาขาปราชญ์ เกษตรเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ประจ� ำ ปี 2560” เมื่ อ วั น ที่ 12 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา 35

issue 113 june 2017


36 IS AM ARE www.fosef.org


เยาวชนของแผ่ น ดิ น

รางวัลแห่งคนอาสา : ทุน “เพชรในชัยพฤกษ์”

อาทิตยา เสนาพันธ์

ชื่อ : นางสาวอาทิตยา เสนาพันธ์ อายุ : 17 ปี การศึกษา : คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว สาขาการจัดการการโรงแรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ชั้นปีที่ปี 1 เริ่มเป็นสมาชิกมูลนิธิครอบครัวพอเพียง : พ.ศ.2557 “น้องสนุ๊ก” เป็นเยาวชนคนหนึ่งที่ชอบท�ำกิจกรรมจิต อาสาอย่างทุ่มเทร่วมกับมูลนิธิครอบครัวพอเพียง โดยเริ่มตั้งแต่ ม.4 สมัยเรียนอยู่โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี ซึ่งในช่วงเวลานั้น เธอเองไม่ทราบเหมือนกันว่าท�ำกิจกรรมจิตอาสาไปแล้วจะได้ อะไร โดยเฉพาะการได้รับทุนการศึกษา “เพชรในชัยพฤกษ์” จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ยิ่งเป็นสิ่งที่เธอไม่คาดคิดมาก่อนว่า จะมีผู้ใหญ่ในโรงเรียนมองเห็นและคัดเลือกเธอให้เป็นคนเดียว ของโรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรีที่ได้รับทุนนี้ “เริ่มแรกกิจกรรมจิตอาสาต่างๆ หนูท�ำคนเดียวตั้งแต่ ม.4 ไม่ได้มีใครส่งไปเพื่อจะท�ำผลงาน คือเวลามูลนิธิครอบครัว พอเพียงเปิดรับสมัครจิตอาสาเพื่อท�ำกิจกรรมในที่ต่างๆ หนู ก็สมัครไปเอง เพื่อนที่โรงเรียนไม่มีใครมาด้วยเลย แต่หนูก็มา รู้จักเพื่อนสถาบันอื่นที่มาท�ำกิจกรรมร่วมกัน คือมาด้วยความ สนุกสนานได้รู้ได้เห็นอะไรใหม่ๆ ไม่ได้คิดว่าจะเก็บชั่วโมงจิต อาสาเพื่อจะเป็นประโยชน์ในอนาคต”

สนุ๊กเริ่มรู้จักมูลนิธิครอบครัวพอเพียงในปี 2557 และไป ค่ายแรกที่ชื่อว่า “ค่ายเฟรนด์แคมป์” ที่จังหวัดสมุทรสงคราม เธอให้เหตุผลว่าการไปค่ายได้รู้จักเพื่อนหลายสถาบัน จนบาง ครั้งเพื่อนสถาบันเดียวกันยังแอบสงสัยว่าเธอไปได้ยังไงโดยไม่มี เพื่อนสถาบันเดียวกันไปด้วยเลย แต่สนุ๊กไม่สามารถอธิบายได้ ว่าเธอมีเพื่อนมากมายแม้ว่าเธอจะไปคนเดียวก็ตาม เธอเพียง แต่ตอบเพื่อนเหล่านั้นว่า “ลองไปด้วยกันดูสิ” “พอหนู ไ ปท� ำ จิ ต อาสาหรื อ ไปท� ำ กิ จ กรรมต่ า งๆ กั บ ครอบครัวพอเพียงบ่อยขึ้นก็เหมือนหนูมีผลงานในตัวเอง พอ คุณครูหรือใครมองเข้ามาเขาก็จะเห็นว่าหนูท�ำอะไรเพราะมันมี ภาพต่างๆ อยู่ในเพจครอบครัวพอเพียง พอหนูขึ้น ม.5 ก็จะมี น้องๆ ม.4 เข้ามาท�ำกิจกรรมกับครอบครัวพอเพียงอีกรุ่นหนึ่ง 37

issue 113 june 2017


เหมือนที่หนูเคยผ่านมา หนูก็จะแนะน�ำได้ว่าอะไรเป็นอะไร ก็ จะมี โ อกาสได้ คุ ย กั บ อาจารย์ แ นะแนวและอาจารย์ ที่ ป รึ ก ษา โครงการของมูลนิธิครอบครัวพอเพียงมากขึ้น” สนุ๊กสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียนมากขึ้นทุกๆ ปีโดยไม่รู้ตัว ผ่านกิจกรรมต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในโรงเรียน เพราะท�ำไป ด้วยความชอบและใช้เวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ หารู้ไม่ว่าจิต อาสาที่เธอไปท�ำในที่ต่างๆ เธอได้พกพาเอาชื่อเสียงของโรงเรียน ไปด้วย อย่างน้อยก็เป็นที่พูดถึงว่าเด็กนักเรียนโรงเรียนนี้เสียสละ เวลาท�ำจิตอาสาเป็นประจ�ำ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน “อย่ า งไปท� ำ ความสะอาดบ้ า นเด็ ก ก� ำ พร้ า ในที่ ต ่ า งๆ เหนื่อยมากนะ แต่เราก็ท�ำได้ มันรู้สึกดีที่ได้ท�ำเพื่อคนอื่นบ้าง เขาไม่ ต ้ อ งรู ้ จั ก เราก็ ไ ด้ แต่ เราท� ำ ให้ เขาได้ เหนื่ อ ยแค่ ไ หนก็ สบายใจ คุณแม่ก็ไม่ว่าอะไร แต่ก็จะมีห่วงบ้างเวลาต้องออกไป ที่ไกลๆ ไปต่างจังหวัด 2-3 วันแบบนี้ แต่คุณแม่ก็รู้ว่าหนูไปท�ำ อะไร โรงเรียนก็รู้” สนุ ๊ ก อยู ่ ใ นพื้ น ฐานครอบครั ว ที่ มี ร ายได้ น ้ อ ย คุ ณ แม่ รับจ้างซักรีดให้กับคนในอพาร์ทเมนต์ที่เธอกับแม่เช่าอยู่ ส่วน คุ ณ พ่ อ ได้ แ ยกทางออกไปนานแล้ ว ชี วิ ต เธอเป็ น เด็ ก ที่ ย ้ า ย โรงเรียนบ่อยด้วยเหตุผลทางครอบครัวและการเงิน สุดท้าย สนุ๊กมาสอบเข้าเรียนมัธยมปลายที่โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี และเธอไม่เคยนิ่งดูดายกับกิจกรรมที่โรงเรียนมีให้เลย แม้เพื่อน

สนิทของเธอจะถูกผู้ปกครองห้ามไม่ให้ไปร่วมกับบางกิจกรรม เพราะกลัวการเรียนเสีย แต่นั่นแหละ แม้จะไม่มีเพื่อนไป แต่ เธอก็ไปเพราะรู้ว่ามีเพื่อนที่เธอรู้จักมากมายรออยู่ “มีเพื่อนหนูเขาเรียนวิทย์-คณิต เขาอยากไปกิจกรรม มากเลยแต่พ่อแม่เขาไม่อนุญาต กลัวการเรียนตก แต่หนูมีความ คิดว่าจริงๆ ยังไม่ได้ลองเลยจะรู้ได้ไง อย่างหนูท�ำกิจกรรมเกรด ไม่เคยตก มันอยู่ที่ว่าตัวเราจะจัดสรรยังไง เราก็แค่เป็นเหมือน เดิม เรียนเหมือนเดิม ท�ำกิจกรรมมากขึ้น การท�ำกิจกรรมท�ำให้ รู้จักคนมากขึ้น ท�ำให้รู้ว่าโลกภายนอกเป็นยังไง มันต่างจากใน โรงเรียนมาก เราจะได้รู้จักรับมือ ปรับตัวให้เขากับคนหลายรูป แบบ หนูว่าเป็นภูมิคุ้มกันให้เราอยู่ในสังคมได้ แต่ถ้าคนที่ไม่เคย 38

IS AM ARE www.fosef.org


การท� ำ กิ จ กรรมท� ำ ให้ รู ้ จั ก คนมากขึ้ น ท� ำ ให้ รู ้ ว ่ า โลกภายนอกเป็ น ยั ง ไง มั น ต่ า งจากใน โรงเรี ย นมาก เราจะได้ รู ้ จั ก รั บ มื อ ปรั บ ตั ว ให้ เขากั บ คนหลายรู ป แบบ หนู ว ่ า เป็ น ภู มิ คุ ้ ม กั น ให้ เ ราอยู ่ ใ นสั ง คมได้

39 issue 113 june 2017


ออกมาสัมผัสโลกภายนอกเลย เรียนอย่างเดียว หนูไม่รู้เหมือน กันว่าเขาจะรับมือกับโลกภายนอกได้แค่ไหน” ช่วงเวลาของมัธยมปลายผ่านไปอย่างรวดเร็ว เมื่อเธอ ใกล้จะเรียนจบชั้น ม.6 คุณครูแนะแนวรวมทั้งคุณครูที่ปรึกษา โครงการของมูลนิธิครอบครัวพอเพียง อ.อัมรินทร์ ฟุ้งเฟื่อง ก็ ร่วมผลักดันให้ชื่อของสนุ๊กติด 1 ใน 6 ของนักเรียนที่มีสิทธิ์ ร่ ว มชิ ง ทุ น บนโต๊ ะ คณะกรรมการและผู ้ บ ริ ห ารการศึ ก ษา โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรีมีมติเห็นชอบให้สนุ๊กได้รับทุนนี้แต่ เพียงผู้เดียว แม้เกรดเฉลี่ยของเธอจะเป็นรองคู่แข่งบางคน แต่ คณะกรรมการเห็นว่าสิ่งที่เธอท�ำในนามของโรงเรียนทั้งหมดที่ ผ่านมาท�ำให้เธอสมควรได้รับทุนนี้เป็นรางวัล จากการท� ำ เพื่ อ คนอื่ น อย่ า งต่ อ เนื่ อ งโดยไม่ ห วั ง ผล ตอบแทน ไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว ท�ำให้ภาพการเสียสละ ของสนุ ๊ ก กลายเป็ นที่ป ระจัก ษ์แ ก่สายตาคณะครูแ ละเพื่ อ นๆ ในโรงเรี ย น สุ ด ท้ า ยทุ น เรี ย นฟรี ร ะดั บ ปริ ญ ญาตรี “เพชรใน ชัยพฤกษ์” ก็เป็นผลผลิตอันหอมหวานให้กับสนุ๊กและครอบครัว โดยเฉพาะคุณแม่ของเธอเองที่ดูจะมีความสุขกว่าใครเมื่อรู้ว่า ลูกสาวคนเดียวสามารถหาทุนเรียนได้ด้วยตนเอง ช่วยเหลือค่า ใช้จ่ายในครอบครัวได้เยอะมาก เพราะล�ำพังเงินค่ารับจ้างซักรีด คงไม่พอส่งเสีย ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่ายแน่นอน สนุ๊กอธิบาย ไม่ถูกว่าเหตุใดเธอจึงได้รับเลือก “อาจเป็นกุศลที่ได้ท�ำจิตอาสา มามั้งคะ หนูคิดอย่างนี้นะ”

“คุ ณ แม่ ดี ใจมาก หนู ไ ม่ เ คยคิ ด เลยนะว่ า จะเข้ า เรี ย น มหาวิทยาลัยของเอกชน เพราะบ้านหนูไม่มีตังค์ แต่พอหนูมาได้ ทุนก็ดีใจว่าแม่ไม่ต้องล�ำบาก เพราะถ้าหนูได้เรียนธรรมศาสตร์ หรือจุฬาฯ โดยที่ไม่ได้รับทุน แม่หนูจะล�ำบากแค่ไหน ถึงหนู จะได้เรียนที่ดีดี มีชื่อเสียงแต่แม่ต้องล�ำบากกว่าเดิมหนูก็ไม่ โอเค”

40 IS AM ARE www.fosef.org


41 issue 113 june 2017


ความสุขที่หายไป “ดิ ฉั น เคยเป็ น คนที่ มี ค วามสุ ข มาก ๆ กั บ ชี วิ ต ถึ ง แม้ จ ะมี ค วามทุ ก ข์ ผ ่ า นมาบ้ า งก็ ข จั ด มั น ออกไปได้ ไ ม่ ย าก เย็ น ดิ ฉั น เป็ น คนมองโลกในแง่ บ วกและคิ ด ดี ท� ำ ดี เ สมอมา มี ห น้ า ที่ ก ารงานและฐานะที ดี มี ค รอบครั ว ที่ ดี สามี ที่ ดี ลู ก ที่ น ่ า รั ก สิ่ ง เหล่ า นี้ ท� ำ ให้ ดิ ฉั น มี ค วามศรั ท ธาและภู มิ ใ จในตั ว เอง

42 IS AM ARE www.fosef.org


กระจกส่ อ งใจ จนกระทั่งสามปีก่อน ผู้ชายคนหนึ่งที่ดิฉันคบเป็นเพื่อน ร่วมงานมา 6 ปีเลิกกับแฟนและแสดงตัวว่าชอบดิฉันมานาน ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าดิฉันมีสามีและลูกแล้ว เขาท�ำให้ดิฉันรู้สึกว่าดิฉันเป็น คนส�ำคัญ มีค่ามากมายจนดิฉันหลงเคลิ้มคิดว่าตัวเองมีใจให้กับ เขา เมื่อเขาเห็นว่าดิฉันเริ่มตกหลุมพรางจึงเริ่มคุกคามดิฉันมาก ขึ้นเรื่อย ๆ จนดิฉันเริ่มกลัวและไม่อยากท�ำผิดต่อสามีของตัว เอง ดิฉันขอร้องเขาให้หยุดการกระท�ำที่คุกคามต่อดิฉัน เช่นกอด จูบลูบคล�ำ เพราะยังไม่สายที่เราจะยังเหลือความรู้สึกดี ๆ ฉันท์ เพื่อนต่อกันได้ แต่เขายังมีความต้องการด้านมืดอยู่มาก เขาจึง บังคับให้ดิฉันกระท�ำให้เขา แม้เพียงครั้งเดียวแต่ดิฉันรู้สึกทรมาน มากมีความรู้สึกไม่ต่างจากถูกบังคับขืนใจ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ล่วง เลยถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์ แต่ดิฉันรู้สึกรังเกียจเขา รังเกียจตัวเอง กลัวและอับอาย รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ความดีที่สั่งสมมาหายวับไปกับตา หลังจาก นั้นดิฉันตัดสินใจเลิกคบกับชายคนนั้น แม้แต่ความเป็นเพื่อนก็ คงไม่มีให้ และตัดสินใจเล่าเรื่องทั้งหมดให้กับสามีฟัง สามีรับฟังและเข้าใจทุกอย่าง ไม่โกรธไม่เกลียดดิฉันและ ท�ำดีกับดิฉันมากขึ้น เรื่องราวนี้เริ่มต้นและจบภายในเวลา 1 ปี เราจะผ่านพ้นความรู้สึกนี้ไปได้อย่างไร รบกวนอาจารย์ชี้แนะ ตอนนี้ผู้ชายคนนั้นหายไปจากชีวิตดิฉันแล้ว ดิฉันและสามีเข้าใจ ด้วยนะคะ” กันมากขึ้น ดูเหมือนเรื่องร้าย ๆจะผ่านไปแล้ว คงจะมีสักวันที่เราจะมีโอกาสนั่งเงียบ ๆ ตามล�ำพังคน เดียว มองดูท้องฟ้าที่กระจ่างแจ่มใส มีดาวน้อยใหญ่เรียงราย แม้ ท� ำ ผิ ด พลาดไปแล้ ว ความรู ้ สึ ก ผิ ด นั้ น ยั ง รบกวน ที่ชายฟ้า ลมเย็นยามดึกโบกโบย แต่เรากลับรู้สึกอบอุ่นอาบ ใจเธออยู ่ เธอโกรธตั ว เองที่ ป ล่ อ ยให้ เ กิ ด เรื่ อ งนี้ ขึ้ น อิ่ มด้ วยพลั ง แสงนวลตาจากรั ศ มี ข องดวงจัน ทร์ ที่แผ่กระจาย ได้ ยิ่ ง สามี ไ ม่ โ กรธเธอยิ่ ง รู ้ สึ ก แย่ ล ง เหมื อ นจิ ต ใจ ไปทั่ว จนดูเหมือนกับว่า โลกทั้งโลกถูกห่อหุ้มไว้ด้วยพลังแห่ง เธอนั้ น ต่ า งและต�่ ำ กว่ า สามี ความสุข..... และแน่นอน.....หลายครั้งหลายหนที่เราอยากให้โลก หยุดลงตรงช่วงเวลานั้น เวลาแห่งความสุข...เพื่อที่ว่าพวกเราจะ แต่ท�ำไมดิฉันกลับยังมีความทุกข์อยู่ หลับตาแล้วมีภาพ ได้ดื่มด�่ำซึมซับเอาความสุขไว้ให้เต็มเปี่ยม เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง เหล่านั้นแว่บเข้ามาและท�ำให้ดิฉันรู้สึกซึมเศร้าวังเวง บางครั้ง จุดไฟในการด�ำเนินชีวิตต่อไป.....และแล้วเวลานั่นก็ผ่านไป...... รู้สึกทรมานกับการอยู่บนโลกใบนี้เหลือเกิน รู้สึกโกรธตัวเองที่ ชี วิ ต คื อ การเดิ น ทาง......และบนเส้ น ทางของชี วิ ต ก็ ปล่อยให้เหตุการณ์เลยเถิด คิดกังวลว่าพ่อแม่หรือลูก ๆ รู้ว่า คละเคล้ากันทั้งทุกข์และสุข เสียงหัวเราะ และน�้ำตา.....บนเส้น เราเจออะไรมาแล้วจะไม่เข้าใจ ความสุขในชีวิตที่เคยมีหายไป ทางของกาลเวลา ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ดวงดาวบนองฟ้านั่นได้เดิน หมด ทางมายาวนานกี่กัปล์กี่กัลส์ และก็ไม่เข้าใจอีกเช่นกันว่า ท�ำไม หลังจากจบเรื่องจนถึงวันนี้รวมเวลา 2 ปีแล้ว ดิฉันยัง ดวงดาวบนท้องฟ้าในสุริยะจักรวาลนั่น จึงมีอิทธิพลหรือส่งผลก คงจมอยู่กับความทุกข์ ดิฉันอ่านหนังสือธรรมะมากมาย รู้วิธี ระทบต่อชีวิตของมนุษย์เล็ก ๆ อย่างพวกเรา ปฏิบัติว่าต้องท�ำอย่างไร แต่ก็ยังท�ำไม่ได้ เคยเป็นที่ปรึกษาให้กับ หลายครั้งหลายคราเมื่อชีวิตมนุษย์ ต้องเผชิญปัญหา คนมากมายในยามทุกข์ แต่พอถึงคราวตัวเอง กลับบังคับตัวเอง รุนแรงหรือวิกฤติการณ์ที่ตนเองมิอาจหลบเลี่ยงได้ เรามักจะ ให้ลืมไม่ได้ รู้ทั้งรู้ว่าไม่มีใครช่วยเราได้นอกจากตัวเราเองเท่านั้น กล่าวว่า วิถีแห่งเรื่องราวนั้นเกิดขึ้น ตามลิขิตของฟ้า หรือ “ฟ้า และตอนนี้ก็รู้สึกว่าเรายังช่วยตัวเองไม่ได้เลย เลยรู้สึกสิ้นหวังว่า ก�ำหนด” นั่นหมายความว่า อิทธิพลของดวงดาวบนท้องฟ้านั้น 43 issue 113 june 2017


ทุ ก วั น นี้ เ ธอทุ ก ข์ ท รมาน ด้ ว ยความทรงจ� ำ เก่ า ๆ ที่ ตนเองไม่ อ าจให้ อ ภั ย ตั ว เองด้ ว ยการ “ลื ม ” หรื อ ยกโทษให้ ตั ว เองในฐานะของการได้ ชื่ อ ว่ า เป็ น มนุ ษ ย์ ปุ ถุ ช นคนหนึ่ ง ซึ่ ง บทลงโทษที่ เ ธอได้ รั บ ด้ ว ยความ ทุ ก ข์ แ ละการเสี ย ความรู ้ สึ ก ที่ ผ ่ า นมานั้ น มากเพี ย ง พอที เ ธอจะสลั ด ทิ้ ง ความผิ ด พลาดที่ เ กิ ด ขึ้ น

เพราะความสงสารในความโดดเดี่ยวดายของเขา ท�ำให้เธออ่อน ไหวไปกับความใกล้ชิด การยกยอปอปั้นให้ความส�ำคัญเหมือนเธอคือคนพิเศษ ส�ำหรับเขา เธออาจหลงใหลได้ปลื้มไปกับการยกยอปอปั้นนั้น จนลืมไปว่า เธอไม่ใช่คนตัวคนเดียว เธอยังมีสามีและลูกรออยู่ ที่บ้าน ซึ่งเพื่อนชายคนนี้ก็รู้ดี แต่เพราะความปรารถนาที่จะ ได้เป็นเจ้าของ ได้ครอบครองและใช้เธอเป็นเครื่องมือในการ ตอบสนองความต้ อ งการทางเพศของเขา การเข้ า มาชิ ด ใกล้ ส่งผลต่อการกระท�ำของมนุษย์เช่นเรา แล้วความสุขเหล่านี้เล่า ของเขาจึงเหมือนมีเจตนาที่จะท�ำร้าย และท�ำลายเธออย่างไม่ เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วมันหายไปไหน หรือว่ามันอยู่ในหัวใจ ปราณี การคุ ก คามท� ำ ร้ า ยร่ า งกายและจิ ต ใจเธอเริ่ ม จาก เรานี่เอง? ตามที่สุภาพสตรีท่านนี้เล่ามา จะเห็นว่า เธอมีทัศนคติใน การกอดจูบลูบคล�ำ ท�ำเหมือนเธอเป็นของเล่น สัตว์เลี้ยง หรือ การมองโลกเป็นทางบวก และด�ำเนินชีวิตตนเองกับครอบครัว ผู้หญิงที่เขาจะเรียกให้มาบ�ำรุงบ�ำเรอเมื่อใดก็ได้ เขาพยายาม อย่างสร้างสรรค์ ชีวิตที่ด�ำเนินมาจึงเปี่ยมด้วยความสุข หรือมี ควบคุมแสดงอ�ำนาจเหนือเธอ ปฏิบัติต่อเธออย่างไม่ให้เกียรติ ความสุขอย่างท่วมท้น จนอาจจะหลงใหลได้ปลื้มกับเส้นทางที่ และรุกเร้าเธอมากยิ่งขึ้น และสุดท้ายเขาได้บังคับขู่เข็ญให้เธอ สวรรค์ก�ำหนดให้ จนวันหนึ่ง ผู้ชายที่เธอรู้จักในฐานะเพื่อนร่วม ปรนนิบัติทางเพศกับเขา แม้จะไม่ใช่การข่มขืน แต่พฤติกรรม งานก็ได้ก้าวเข้ามาในเส้นทางของเธอ จะด้วยความไม่ตั้งใจหรือ นั้นไม่ต่างจากการข่มขืนทั่วไป ยิ่งท�ำให้เธอรู้สึกเหมือนกับว่า ไม่ทันระวังตัว หรือเพราะเธอยังอ่อนต่อโลก ไม่ทันระแวดระไว ชายคนนี้ก�ำลังทุบท�ำลายโลกอันงดงามของเธอจนแหลกละเอียด ในเจตนาของเพื่อนชายคนนี้ว่าเข้ามาด้วยประสงค์สิ่งใด หรือ และเธอไม่อยากอยู่ในโลกใบนี้ตอไป! อาจจะเพราะเธอเห็นใจในความล้มเหลวของเขา หรืออาจจะ 44 IS AM ARE www.fosef.org


เธอรู้สึกรังเกียจเขา รังเกียจตัวเอง กลัวและอับอาย รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าและเกรงว่าคนทั่วไปจะรับรู้เรื่องที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นเธอได้ตัดสินใจเลิกคบกับชายคนนั้น และเล่าเรื่อง ทั้งหมดให้กับสามีฟัง สามีรับฟังและเข้าใจทุกอย่าง เขาไม่ได้ แสดงความโกรธเกลียดเธอ และท�ำดีกับเธอมากขึ้น เรื่องราวนี้ เริ่มต้นและจบภายในเวลา 1 ปี ตอนนี้ผู้ชายคนนั้นหายไปจาก ชีวิตของเธอแล้ว เธอและสามีเข้าใจกันมากขึ้น ดูเหมือนเรื่อง ร้าย ๆ จะผ่านไปแล้ว ทว่ า แม้ เรื่ อ งเลวร้ า ยจะผ่ า นไปแล้ ว แต่ ห ญิ ง สาวยั ง แบกความทุกข์ทั้งหลายเอาไว้ เธอบอกว่า หลับตาแล้ว มีภาพ เหล่านั้นแว่บเข้ามาและท�ำให้เธอรู้สึกซึมเศร้าวังเวง บางครั้ง รู้สึกทรมานกับการอยู่บนโลกใบนี้เหลือเกิน รู้สึกโกรธตัวเองที่ ปล่อยให้เหตุการณ์เลยเถิด คิดกังวลว่าพ่อแม่หรือลูก ๆ รู้ว่า เราเจออะไรมาแล้วจะไม่เข้าใจ ความสุขในชีวิตที่เคยมีหายไป หมด แน่นอน...เพราะเธอมีธรรมชาติอันดีงาม แม้ท�ำผิดพลาด ไปแล้ว ความรู้สึกผิดนั้นยังรบกวนใจเธออยู่ เธอโกรธตัวเองที่ ปล่อยให้เกิดเรื่องนี้ขึ้นได้ ยิ่งสามีไม่โกรธเธอยิ่งรู้สึกแย่ลง เหมือน จิตใจเธอนั้นต่างและต�่ำกว่าสามี ร่างกายมีราคี หากเธอยังเป็น เด็กท�ำผิดร้ายแรง เธอก็พร้อมจะรับการลงโทษ และจะท�ำให้เธอ รู้สึกดีขึ้น หรือหากแปดเปื้อนสิ่งสกปรก ช�ำระล้างร่างกายแล้ว ก็คงกลับมาสะอาดเหมือนเดิมได้ แต่การแสดงออกด้วยความ เป็นมิตรของสามี ที่ไม่โกรธเกลียดเธอกลับท�ำให้เธอยิ่งรู้สึกไม่ สามารถจะให้อภัยตนเองได้ และยิ่งท�ำให้เธอรู้สึกว่า เรื่องราว อย่างนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้นกับเธอ ผู้หญิงที่เป็นเจ้าของความสุข และสิ่งดีงามอีกมากมาย!

ทุกวันนี้เธอทุกข์ทรมาน ด้วยความทรงจ�ำเก่า ๆ ที่ตนเอง ไม่อาจให้อภัยตัวเองด้วยการ “ลืม” หรือยกโทษให้ตัวเองใน ฐานะของการได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ปุถุชนคนหนึ่ง ซึ่งบทลงโทษ ที่เธอได้รับด้วยความทุกข์และการเสียความรู้สึกที่ผ่านมานั้น มากเพียงพอทีเธอจะสลัดทิ้งความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และก้าว ต่อไปด้วยจิตมุ่งมั่นที่จะไม่ปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมา อีก ที่ส�ำคัญ..แม้ยามราตรีที่มืดมิด ชีวิตยังต้องเดินต่อไป แม้ปราศจากแสงนวลสว่างไสวของดวงจันทร์ แต่ดวงดาวกว่า หมื่นแสนดวงนั้นยังทอแสงแห่งความสุข ความฝัน และพร้อมจะ แบ่งปันมิตรภาพและความรักอันอบอุ่นให้กับทุกดวงใจในโลกนี้ ตราบเท่าที่เราทุกคนตระหนักและยอมรับว่า เราเป็นเพียงมนุษย์ ปุถุชนคนหนึ่งเท่านั้นเอง อรอนงค์ อินทรจิตร www.hotline.or.th 45

issue 113 june 2017


46 IS AM ARE www.fosef.org


47 issue 113 june 2017


48 IS AM ARE www.fosef.org


พัฒนาการรวมกลุ่มกิจกรรมที่หลากหลายในชุมชน เพื่อสร้างรายได้และความสัมพันธ์ภายใน ชุมชน เพื่อสร้างรายได้และความสัมพันธ์ภายในชุมชน ควบคู่กับการพัฒนาระบบบริหารจัดการ ทั้งด้าน ต้นทุนการผลิต การตลาด และการจัดท�ำบัญชี ขยายผลสู่วิสาหกิจชุมชน สหกรกณ์ส่งเสริมให้มีกลไกล คณะท�ำงานเพื่อชุมชนที่หลากหลาย ต่อเนื่อง มีการสืบทอดสร้างผู้น�ำรุ่นใหม่ มีระบบบริหารจัดการที่มี ธรรมาภิบาล และมีการพัฒนาศักยภาพของคณะท�ำงานอย่างสม�่ำเสมอ การระดมทุนจากภายในและ ภายนอก สร้างภาคีเครือข่าย ทั้งระดับต�ำบลและระดับภาค รวมถึงระบบการจัดการความรู้ ที่จะท�ำให้มี ความรู้อย่างรอบด้านมีความรอบคอบในการเชื่อมโยงความรู้และความระมัดระวังในการปฏิบัติ ซึ่งเป็น หนึ่งในรากฐานส�ำคัญของการด�ำเนินชีวิตแบบพอเพียง”

ความเป็นมา

ต�ำบลท่ามะนาว เคยอุดมสมบูรณ์ด้ายทรัพยากรธรรมชาติ มีลักษณะเป็นป่าดงดิบและป่าแฝก มีแม่น�้ำป่าสักไหลผ่าน จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการท�ำเกษตรอย่างมาก และเป็นแรงจูงใจส�ำคัญให้ ผู้คนเข้ามาหักล้างถางพงเพื่อจับจองที่จนเป็นบ้านเรือน โดยสามารถสรุปการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตาม ยุคสมัยได้ดังนี้

พัฒนาการต�ำบล พ.ศ. 2502-2510 ยุ คบุ กเบิกตั้งบ้านเรือน

ระยะแรกของการสร้างบ้านแปลงเมือง มีการบุกเบิกถางป่าท�ำไร่ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวฟ่าง นาข้าว และสร้างบ้านเรือน ความเจริญยังเข้าไม่ถึง ในพื้นที่ยังไม่มีไฟฟ้าไม่มีถนนหนทางให้ รถวิ่ง ชาวบ้านยังใช้ชีวิตพึ่งพิงธรรมชาติ และท�ำการเกษตรแบบดั้งเดิม ต่อมาภายหลังจึงเริ่มใช้สารเคมี และรถไถในการท�ำไร่ท�ำนา

49 issue 113 june 2017


กัน เช่นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มแม่บ้าน แต่ไม่ประสบ ความส� ำ เร็ จ เท่ า ที่ ค วร เพราะขาดความต่ อ เนื่ อ งและไม่ เ ป็ น ระบบ ถึงกระนั้นในเวลาต่อมา กลุ่ม อสม. ได้มีการรวมตัวเป็น เครือข่ายจัดท�ำโครงการจัดสวัสดิการเพื่อผู้ยากล�ำบาก ท�ำให้ เกิ ด กลุ ่ ม คนท� ำ งานที่ มี จิ ต อาสาท� ำ งานเพื่ อ ส่ ว นรวมในระดั บ หมู่บ้าน เช่น กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ฯลฯ โดยเฉพาะกลุ่ม ออมทรัพย์ที่ชุมชนจัดตั้งขึ้นเองนั้นยังคงด�ำเนินงานอยู่จนถึง ปัจจุบัน เนื่องจากมีระบบงานที่ไม่ซ้�ำซ้อนเท่ากับกองทุนหมู่บ้าน ที่จัดตั้งขึ้นภายหลังตามนโยบายของรัฐบาล หลั ง จากส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารรวมกลุ ่ ม กั น แล้ ว ต่ อ มาเริ่ ม มีการส่งเสริมการเลี้ยงหมูโดยบริษัทเอกชนในรูปแบบฟาร์ม ขนาดใหญ่ (ขนาด 500 – 100 ตัว) เกิดอาชีพรับจ้างเลี้ยงหมู ล้างคอกหมูโดยผู้เลี้ยงจะได้ปุ๋ยจากมูลหมูไปใช้เป็นปุ๋ยในไร่อ้อย และสามารถน�ำไปขายเพื่อเพิ่มรายได้ รวมทั้งมีการเลี้ยงวัวนม เพี่อส่งสหกรณ์การเกษตรขณะเดียวกันคนหนุ่มสาวก็เริ่มหันมา ท�ำงานโรงงานมากขึ้น จนมาถึงช่วง 2-3 ปีหลังของยุค ซึ่งถือเป็น ยุคทองของ ต�ำบล เพราะผลจากการด�ำเนินงานของแต่ละกลุ่มในหมู่บ้าน ได้ รั บ การยอมรั บ และได้ ร างวั ล จากหน่ ว ยงานภายนอก อั น เนื่องจากชุมชนมีการร่วมมือกัน เกิดความเข้มแข็ง ของหน่วย งานต่างๆ ที่เข้ามาให้การสนับสนุน แต่ไม่ได้ถามความสมัครใจ หรือความต้องการของชุมชน ท�ำให้หลายกลุ่มต้องล้มไป เช่น ศูนย์สาธิตโรงสีข้าวชุมชนเป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการรวมกลุ่ม สตรีแม่บ้านท�ำอาชีพหารายได้เสริม กลุ่มของผู้สูงอายุ ที่พัฒนา เป็นศูนย์เด็กเล็กต�ำบลท่ามะนาว จนกระทั่งเข้าร่วมโครงการ รักษ์ป่า สร้างคน 84 ต�ำบล วิถีพอเพียง

พ.ศ. 2511 – 2532 ยุ คพัฒนาอาชี พเกษตรเพิ่มรายได้

ช่วงนี้เกษตรกรเริ่มรวมกลุ่มเพื่อกู้เงินจากแหล่งเงินทุน พร้อมกับหันมาใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต ขณะที่ความเจริญเริ่ม เข้ามาในพื้นที่ มีการตัดถนน มีระบบไฟฟ้า และมีการส่งเสริม ให้ท�ำไร่อ้อย ซึ่งมีตลาดรับซื้อที่จังหวัดชัยภูมิ ชาวบ้านจึงหันมา ปลูกอ้อยเป็นอาชีพหลัก และท�ำนาน้อยลงการพัฒนาในช่วงนี้ จะเป็นการรวมกลุ่มกันตามการสนับสนุนของหน่วยงานราชการ ต่างๆ เช่น กองทุน กข.คจ. และกลุ่มอาชีพเกษตรกร เป็นต้น

พ.ศ. 2533 – 2537 ยุ คเปลี่ยนจากเกษตรกรสู่ลูกจ้างโรงงาน

ระยะแรกมีโรงงานเข้ามาท�ำฟาร์มไก่และอาหารสัตว์ ชาวบ้านนิยมเข้าไปท�ำงานเป็นลูกจ้างเนื่องจากมีรายได้ประจ�ำ เป็นรายเดือนมากกว่าต้องท�ำไร่อยู่กลางทุ่ง ต่อมามีโรงงานผลิต น�้ำตาลมาตั้งที่อ�ำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี เพื่อมารับซื้ออ้อย โดยตรง ชาวบ้านบางส่วนที่ท�ำนาก็หันมาปลูกอ้อยท�ำให้พื้นที่ การปลูกอ้อยในต�ำบลยิ่งขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่พื้นที่ท�ำนา ยิ่งลดน้อยลง และในที่สุดการปลูกอ้อยก็กลายเป็นรายได้หลัก ของชาวบ้าน

พ.ศ. 2538 – 2552 ยุ คหนุนเสริมจากภายนอก

ช่วงนี้ทางราชการส่งเสริมให้คนในชุมชนมีการรวมกลุ่ม 50 IS AM ARE www.fosef.org


51 issue 113 june 2017


ทุนต�ำบล

จนเข้มแข็งเป็นที่ยอมรับของชาวบ้านถึงความสามัคคีเป็นน�้ำ พั ฒ นาการของต� ำ บล ได้ ส ะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง การ หนึ่งใจเดียวกัน ร่วมมือกันท�ำงานจนประสบความส�ำเร็จ ทั้งงาน เปลี่ยนแปลงทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตความ ประเพณีลอยกระทงไหลเรือไฟที่มีเป็นประจ�ำทุกปี และงานอื่นๆ เป็นอยู่จากเดิมเป็นพื้นที่ป่าก็ถูกเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ ท�ำกินและ ที่หน่วยงานท้องถิ่นมอบหมาย การสนับสนุนจากภาคีขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน ได้แก่ อาศัย ที่เพิ่มขึ้นตามจ�ำนวนผู้คนที่อพยพเข้ามาจากภายนอก พื้ น ที่ สภาพบ้ านเมืองที่เจริญ มีถนนหนทางสะดวกมี โรงงาน สสส. พอช. กรมสุขภาพจิต พัฒนาชุมชน และสถานีอนามัย น�้ำตาล โรงงานไก่ฟาร์มหมู ฯลฯ เข้ามาตั้ง ท�ำให้ผู้คนเปลี่ยน ต�ำบลท่ามะนาว เข้ามาท�ำโครงการและกิจกรรมพัฒนาหลาย วิถีชีวิต เปลี่ยนอาชีพ เป็นผลให้ทรัพยากรดิน น�้ำ ป่า ในพื้นที่ รูปแบบ มี ท รั ย ากรธรรมชาติ ที่ ส ามารถพึ่ ง พิ ง ได้ ใ นระดั บ หนึ่ ง เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ปัญหาที่ตามมาคือ ขาดแคลนน�้ำและ หนี้ สิ น ที่ เ กิ ด จากกระแสการบริ โ ภคของผู ้ ค น การลงทุ น ทาง ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน�้ำที่เหมาะสมกับการท�ำเกษตรทั้งอ้อยและ เกษตรกรรม มีการใช้สารเคมีเพราะหวังผลก�ำไรท�ำให้ต้นทุน นาข้าว โดยเฉพาะในกลุ่มที่ตั้งบ้านเรือนติดกับริมแม่น�้ำป่าสัก สูงขึ้นตามล�ำดับ แม้ว่าภาครัฐจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาหนี้สินจน โดยไม่ต้องพึ่งเครื่องมือการเกษตรขนาดใหญ่ เช่นเครื่องสูบน�้ำ เกิดรูปธรรม เช่น กลุ่มอาชีพต่างๆ หรืออ�ำนวยแหล่งเงินทุน แต่ และยังมีพื้นที่ป่าชุมชนและป่าเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นต้นทุนส�ำคัญ ทางระบบนิเวศ ที่สามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ต่อการเรียนรู้ด้าน ปัญหาก็ยังด�ำรงอยู่ อย่ า งไรก็ ต ามต� ำ บลท่ า มะนาวก็ ยั ง มี ต ้ น ทุ น ที่ เ ป็ น พลังงานของชุมชนและด้านอื่นๆ มี ภู มิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ที่ ส� ำ คั ญ และวั ฒ นธรรมประเพณี ประโยชน์ต่อการต่อยอดพัฒนาในหลายด้าน ดังนี้ ขีดความสามารถของกลุ่มแกนน�ำ ซึ่งพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ อันดีงามที่ยังสืบทอดอยู่ในปัจจุบัน

52 IS AM ARE www.fosef.org


ก้าวเดินด้วยความพอเพียง

ต�ำบลท่ามะนาว เข้าร่วมโครงการรักษ์ป่า สร้าง คน 84 ต�ำบลวิถีพอเพียง ในระยะที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยรองนายก อบต. บุญสวม มาลาม และคุณเติม แกนน�ำ กลุ่มกีฬาเยาวชน เป็นผู้ชักชวนแกนน�ำในต�ำบล โดยเข้าใจ ว่าเป็นโครงการส่งเสริมให้ปลูกป่า จึงเล็งเห็นว่า “จะน�ำ งบประมาณที่ได้ไปปลูกป่าให้กับต�ำบล” เพื่อแก้ปัญหาสิ่ง แวดล้อม ก่อนจะแก้ปัญหาด้านอื่นๆ แต่เมื่อได้รับการชี้แจง จากคณะกรรมการคัดเลือกต�ำบลระยะที่ 3 ท�ำให้ทีมแกน น�ำต�ำบลได้รับทราบว่าเป็นโครงการที่เข้ามาสนับสนุนและ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อด�ำเนินชีวิต ด้วยการให้ความ รู้ สร้างนิสัยการออม อยู่ในวิถีพอเพียงพึ่งตนเองได้ ไม่ว่าจะ อยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม มากกว่าจะส่งเสริมการพัฒนา ด้านโครงสร้างพื้นฐานและยังมีกระบวนการท�ำงานร่วมกัน อบต. โดยมองไปที่สภาพปัญหาและความต้องการของพื้นที่ เป็นเป้าหมายหลัก ในการขับเคลื่อนโครงการฯ หลังจาก คณะกรรมการคัดเลือกต�ำบลระยะที่ 3 ได้ประเมินพื้นที่แล้ว ได้อนุมัติให้ต�ำบลท่ามะนาว เข้าร่วมโครงการฯ ในปี พ.ศ. 2552 ด้วยจุดเด่นเรื่องของความเข้มแข็งกลุ่มผู้น�ำมีความ สามัคคี มีกลุ่มองค์กรที่เคยประสานการท�ำงานร่วมกับภาคี อื่นมาแล้ว ซึ่งเป็นพื้นฐานส�ำคัญของการเสริมสร้างให้เกิด ความส�ำเร็จในการขับเคลื่อนงานในต�ำบลได้

กลไกลการขับเคลื่อน

ในช่วงแรกของการท�ำงานปี พ.ศ. 2552 คณะกรรมการ โครงการฯ ต�ำบลท่ามะนาว มาจากแกนน�ำที่เป็นทางการ ได้แก่ ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นายกฯ อบต. และอาสาสมัคร สาธารณสุข(อสม.) จากนั้น ระหว่างการขับเคลื่อนงานได้ชักชวนแกน น�ำจากกลุ่มอาชีพ ปราชญ์ผู้รู้ อสม. เข้ามาร่วมท�ำกิจกรรมและเป็น คณะกรรมการโครงการฯ ในปีถัดมาเพิ่มอีก 5 คน เป็น 43 คน มา จากองค์การบริหารส่วนต�ำบล 17 คน ก�ำนัน 1 คน สารวัตร 1 คน ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 7 คน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 3 คน แพทย์ประจ�ำ ต�ำบล 1 คน พนักงานราชการสถานีอนามัย 2 คน ประธาน อสม. และสมาชิก อสม. 8 คน ต่อมาเมื่อได้เจ้าหน้าที่ประจ�ำต�ำบลแล้วในเบื้องต้นทีมแกน น�ำต�ำบลได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ประจ�ำต�ำบลได้มอบหมายให้ เจ้าหน้าที่ประจ�ำต�ำบลประสานการประชุมไปยังกลุ่มแกนน�ำทุกกลุ่ม มาร่วมกันศึกษาขั้นตอนการท�ำงานของโครงการฯ มีการวางแผน การท�ำงานและมองว่าควรจะท�ำอะไร และท�ำอย่างไร กระบวนการ 53 issue 113 june 2017


เริ่มต้นที่ตัวเราเองเป็นหลัก โดยเจ้าหน้าที่ประจ�ำภาคคอยกระตุ้นและหนุนเสริมการท�ำกิจกรรมรวมถึงข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ และสอดคล้องกับทิศทางการด�ำเนินงานตามที่โครงการฯ ก�ำหนดไว้ ผลที่เกิดขึ้นนับเป็นความส�ำเร็จ เพราะท�ำให้คณะกรรมการโครงการฯ มีความกระตือรือล้น และสามัคคียิ่งกว่าเดิม ทั้งยัง ประสานความร่วมมือท�ำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกต�ำบล โดยวิธีการท�ำงานจะเป็นไปตามโครงสร้างการท�ำงาน งานที่เกิดขึ้นจะเริ่มจากแกนน�ำชุมชน แล้วจึงขยายต่อไปยังชาวบ้าน ส่วนใหญ่เป็นงานที่จับต้องได้อย่างสมบูรณ์เป็นรูปธรรม เช่น การท�ำไบโอดีเซล เตาเผาถ่าน 200 ลิตร และอื่นๆ

จากบทเรียนการท�ำงานในปี พ.ศ. 2552 ท�ำให้คณะกรรมการ โครงการฯ มีความตื่นตัวในการท�ำงานมากขึ้น และแบ่งบทบาทการ ท�ำงานในปี พ.ศ.2553 ชัดเจนขึ้น โดยยึดหลักว่าแต่ละกิจกรรมผู้น�ำ ต้องท�ำก่อน เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชาวบ้านและแกนน�ำอื่นๆ ที่ อยู่รอบนอก โดยให้ผู้น�ำเป็นผู้รับผิดชอบแผนงานและกิจกรรม ส่วน โครงสร้างของคณะกรรมการโครงการฯ แต่ละแผนการท�ำงานนั้นมี หลักเกรณ์การคัดเลือกจากความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ การท�ำงานที่ผ่านมา รวมทั้งมติจากที่ประชุมคณะกรรมการและจาก ความสนใจในกิจกรรมด้านนั้นๆ การท� ำ งานจะยึ ด หลั ก “ท� ำ แบบค่ อ ยเป็ น ค่ อ ยไป” ระหว่ า งการด� ำ เนิ น การก็ ศึ ก ษาเรี ย นรู ้ วั ฒ นธรรมนิ สั ย ของคณะ กรรมการโครงการฯ และผู้เข้าร่วมโครงการ และผู้เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อให้การขับเคลื่อนงานมีเอกภาพ การท�ำกิจกรรมจะไม่เคร่งครัดเรื่องผลส�ำเร็จเชิงปริมาณตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่เน้นให้เกิดการ เรียนรู้จริงปฏิบัติจริงน�ำมาใช้ได้จริง และท�ำอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นวิถีชีวิต สู่การเป็นจุดเรียนรู้ถ่ายทอดความรู้และพัฒนาต่อไป ได้ นอกจากนี้ยังมีกลวิธีที่ส�ำคัญอีกอย่างในการท�ำงานคือ ระหว่างการด�ำเนินกิจกรรมคณะกรรมการฝ่ายการเงินจะได้เป็นผู้ติดตาม และเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง พร้อมทั้งศึกษาหรือสังเกตุความถนัดของผู้รับผิดชอบแผนงาน และน�ำไปเป็นข้อสังเกตในการประชุม เพื่อปรับบทบาทหน้าที่ จากการท�ำงานแบบพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการพบว่าคณะกรรมการโครงการฯ มีความเข้าใจและให้ความ ร่วมมือมากกว่าการประชุมที่มีคนเข้าร่วมจ�ำนวนมาก เนื่องจากสามารถชี้แจงและแลกเปลี่ยนประเด็นข้อสงสัยในเชิงลึกได้มากกว่า เทคนิคที่ท�ำให้การขับเคลื่อนแผนงานมีประสิทธิภาพ คือ เอกสารชุดแผนต�ำบลวิถีพอเพียงที่ได้รับการอนุมัติอย่างเป็น ทางการจากโครงการฯ ท�ำให้ทุกคนได้รับรู้แนวทางการท�ำงานพร้อมรายละเอียดงบประมาณ (หลักธรรมภิบาล) อย่างทั่วถึงและ 54 IS AM ARE www.fosef.org


55 issue 113 june 2017


เท่าเทียมในเรื่องข้อมูล มีการร่วมกันก�ำหนดแผนงานระยะสั้น ที่เหมาะสม และใช้เครื่องมือทั้งวีดีโอ และภาพนิ่ง มาสร้างการ เรียนรู้ร่วมกันได้อย่างเข้าถึงและชัดเจนในที่ประชุมระดับต�ำบล อันเป็นการช่วยลดปัญหาความขัดแย้งในการบริหารงานได้เป็น อย่างดี นอกจากนี้ การท� ำ งานจ� ำ เป็ น ต้ อ งมี ค วามยื ด หยุ ่ นสูง และการสื่อสารและการสื่อสารที่ต้องถูกต้องแม่นย�ำ และต้องมี ความสัมพันธ์ที่ดีมีความกลมกลืนกับคนในชุมชนเพื่อให้สามารถ ขับเคลื่อนงานไปได้อย่างราบรื่น อีกทั้งยังต้องสร้างให้เกิดการ ท�ำงานร่วมกับภาคีในต�ำบลอย่างเป็นเนื้อเดียวกันอีกด้วย การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนท่ามะนาวจากเกษตรกร สู่แรงงานในโรงงานที่ต้องพึ่งพารายได้จากภายนอก ใช้เงินเป็น ปัจจัยหลักในการซื้อหาสิ่งของหรือที่เคยท�ำนา ท�ำสวน ก็เปลี่ยน เป็นเกษตรเชิงเดี่ยว ท�ำไร่อ้อย ใครท�ำมากก็ได้มาก อยากได้ ก�ำไรมากก็ต้องมีเครื่องทุ่นแรง อย่างรถไถ รถพรวนดิน ปุ๋ยเคมี สารบ�ำรุงเพื่อไว้ใช้เพิ่มผลผลิต สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่ ต้องเสียไปจ�ำนวนมาก หากปีไหนราคาผลผลิตตกต�่ำก็ส่งผลให้ เกิดหนี้สินตามมา แม้หน่วยงานภาครัฐจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหา ในหลายด้านก็ไม่ได้ท�ำปัญหาเหล่านี้คลี่คลายลง หรือเกิดการ พัฒนาคนหรือกลุ่มคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเพียงกลุ่มคนที่รวมตัวกันเองในชุมชนโดยมีหน่วยงาน ภาคีภายนอกหนุนเสริมเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในแต่ละด้าน เช่นกลุ่มทักษะอาชีพต่างๆ และกลุ่มออมทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งถือ เป็นต้นทุนการพัฒนาในระดับหนึ่ง การเข้าร่วมโครงการฯ จึงเป็นการต่อยอดการพัฒนา และเป็นจุดเริ่มต้นขับเคลื่อนในรูปแบบของการสร้างคน ให้มี ความรู้ ความเข้าใจในแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการ ด�ำรงชีวิตแบบพึ่งพาตนเองอย่างเป็นรูปธรรม เน้นการมีส่วน ร่วมและการท�ำงานอย่างมีเป้าหมาย ตอบสนองความต้องการ ที่แท้จริงของชุมชนได้ 56 IS AM ARE www.fosef.org


‘21 มิถุนายน ของทุกปี’

วันสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ

ถึงวันที่ 21 มิ.ย. คราวใด ปีไหนๆ ที่ผ่านมาและจะมาถึง ในปีต่อๆ ไป นอกจากข้าพเจ้าจะร�ำลึกถึงวันอันเป็นวันคล้ายวัน ประสูติของสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ สมเด็จปู่ของ พ่อ กับอีกยังเตือนใจข้าพเจ้าและครอบครัวให้ร�ำลึกถึงพระคุณ ของคุณพ่อคุณแม่ผู้ล่วงลับของข้าพเจ้า เพราะเมื่อถึงวันที่ 21 มิ.ย. ของทุกปี แต่เช้าตรู่ จะมีนักเรียนนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ ข้าราชการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทย คณาจารย์และนักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร สมาคมมัคคุเทศก์ไทย ฯลฯ เดินทางมากราบถวายสักการะพระ อนุสาวรีย์สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ณ วังวรดิศ ถนนหลานหลวง ข้ า พเจ้ า คิ ด อยู ่ เ สมอด้ ว ยความภาคภู มิ ใจว่ า สถานที่ ส�ำคัญแห่งนี้ คือ “วังวรดิศ” ด�ำรงอยู่มาได้ด้วยพระเดชพระคุณ ของคุณพ่อคุณแม่ของข้าพเจ้า เอกอัครราชทูต หม่อมราชวงศ์ สังขดิศและคุณมัณฑนา ดิศกุลฯ มีวิริยภาพมาตลอดชีวิตในการ ด�ำรงรักษาวังวรดิศในฐานะทายาทสืบตระกูล และได้สืบทอด มาถึงข้าพเจ้า ภริยา และบุตรชาย ตามพินัยกรรม บิดามารดา ข้าพเจ้าไม่เคยโลภหรือเห็นแก่ได้แม้แต่น้อย แต่ได้ด�ำรงรักษา

วังวรดิศให้เป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนบุคคลและแหล่งเรียนรู้ส�ำคัญของ ชาติมาได้ตราบทุกวันนี้ ข้าพเจ้านึกไปถึงวันเวลาที่เคยมีบุคคลแม้แต่ญาติบาง คนมาติดต่อขอซื้อขอเช่าแม้รื้อทิ้งเพื่อสร้างศูนย์การค้า มีการ วิ่งเต้นให้รัฐตัดถนนผ่าน เพราะพื้นที่ 9 ไร่นี้เพียงอยู่ห่างจาก โบ๊เบ๊ทาวเวอร์ริมคลองมหานาคไม่มาก พ่อได้ตอบไปประโยค สั้นๆ ประโยคเดียวด้วยมารยาทอันงดงามว่า “ไม่ครับ สถานที่ แห่งนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ แม้จะขายได้เป็นเงินมากมายตามสิทธิ์ แต่ลูกหลานผมจะเพียรรักษาวังวรดิศนี้ไว้ เพื่อเป็นเกียรติแก่ ครอบครัว และประเทศชาติบ้านเมืองสืบไป เงินทองมีวันหมด ครับ แต่เกียรติยศนั้นด�ำรงสถิตเสถียร” ข้าพเจ้าภาคภูมิใจที่มีบุพการีผู้เป็นแบบอย่างอันสง่างาม แก่ลูกหลาน ข้าพเจ้าภาคภูมิใจที่ภริยาและลูกชายได้มุ่งมั่นรักษา คุณงามความดีเฉกเช่นบรรพบุรุษ ข้าพเจ้าและครอบครัวมีความ ภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทยใต้ร่มพระบารมี ปนัดดา/วังวรดิศ 20 มิถุนายน 2560 57

issue 113 june 2017


โรงนมพระราชทาน บ้านเกาะดอน นนทบุรี

มาตรฐานฟาร์มปลอดโรคระดับ A

สมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯสยามบรมราชกุ ม ารี ทรงมี พ ระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ แก่ พี่ น ้ อ งเกษตรกรที่ เ ลี้ ย ง แพะนม ทรงสละราชทรั พ ย์ ส ่ ว นพระองค์ ส ร้ า งโรงแปรรู ป น�้ ำ นมแพะ โดยมี ท หารช่ า งจากกองพลพั ฒ นาที่ 1 กรมทหารช่ า งที่ 102 ด� ำ เนิ น การก่ อ สร้ า งเมื่ อ วั น ที่ 1 ตุ ล าคม พ.ศ.2555 แล้ ว เสร็ จ เมื่ อ วั น ที่ 27 พฤศจิ ก ายน พ.ศ. 2555 ณ บ้ า นประธานวิ ส าหกิ จ ชุ ม ชนกลุ ่ ม ผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ พะนมบ้ า นเกาะดอน เพื่ อ เป็ น สถานที่ รั บ ซื้ อ น�้ ำ นมดิ บ จากเกษตรกร และทรงพระราชทานอุ ป กรณ์ ต ่ า งๆ เช่ น เครื่ อ งปั ่ น ไอศกรี ม ตู ้ เ ย็ น เป็ น อุ ป กรณ์ ใ นการแปรรู ป น�้ ำ นมดิ บ ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด นนทบุ รี เป็ น แหล่ ง เลี้ ย งแพะนมที่ เ ก่ า แก่ แ ละมี ชื่ อ เสี ย ง แห่ ง หนึ่ ง ของประเทศไทย 58 IS AM ARE www.fosef.org


“ที่ จ ริ ง แล้ ว เราท� ำ งานโดยไม่ ห วั ง ผลตอบแทน แต่ พระองค์ท่านเห็นถึงความตั้งใจในการที่เราจะพัฒนาอาชีพการ เลี้ยงแพะนม พระองค์ท่านจึงมีพระมหากรุณาธิคุณให้ทหาร มาสร้างโรงนมแพะที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์แพะนมบ้าน เกาะดอน อ�ำเภอบางบัวทองแห่งนี้ น�ำความปราบปลื้มอย่างหา ที่สุดไม่ได้ พวกเราที่เป็นเกษตรกรที่เลี้ยงแพะนมมีความซาบซึ้ง ในพระมหากรุณาธิคุณ” นายเกรียงศักดิ์ กล่าว ปัจจุบันฟาร์มแพะนมจ�ำนวนมากซึ่งอยู่ในบริเวณ ต�ำบล ละหาร ต�ำบลบางบัวทอง อ�ำเภอบางบัวทอง ต�ำบลท่าอิฐ อ�ำเภอ ปากเกร็ดและชุมชนเก่าแก่ของชาวมุสลิม สายพั น ธุ ์ แ พะนมและลั ก ษณะประจ� ำ พั น ธุ ์ การคัดเลือกพันธุ์แพะนม ถือว่าเป็นขั้นตอนที่ต้องใส่ใจ ศึกษา ทั้งในส่วนสายพันธุ์ที่มีการแสดงออกของลักษณะการให้ นมที่มีอยู่แล้วประจ�ำพันธุ์ และต้องใส่ใจในโครงสร้าง รูปร่าง ลักษณะเต้านมและความสมบูรณ์พันธุ์ เพื่อช่วยส่งเสริมให้แพะ นมสามารถผลิตน�้ำนมได้มากตามความต้องการของเกษตรกร แต่นอกจากสายพันธุ์ที่ต้องค�ำนึงถึงแล้วยังต้องมีการเลี้ยงดูทั้ง ในด้านอาหาร การจัดการ ซึ่งเป็นพันธุ์แพะนมที่เป็นที่รู้จักและ นิยมน�ำมาเลี้ยงกันอยู่ในประเทศไทย มีหลากหลายพันธุ์ ดังนี้

ฟาร์มแพะนมของจังหวัดนนทบุรีได้รับการสนับสนุน และบู ร ณาการจากสภาเกษตรกรจั ง หวั ด นนทบุ รี ร่ ว มกั บ ส�ำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนนทบุรี พัฒนาฟาร์มแพะนมจนได้ รับรอง มาตรฐานฟาร์มปลอดโรคระดับ A ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 และได้รับการสนับสนุนจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัด นนทบุรีในปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ด้านเครื่องมืออุปกรณ์การ แปรรูปน�้ำนมแพะคุณภาพสูง พัฒนาศักยภาพของเกษตรกรด้าน การจัดการฟาร์มตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการตลาด เพื่อ ให้น�้ำนมแพะเป็นที่ยอมรับ ภายใต้การควบคุมของโรงแปรรูป น�้ำนมแพะที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน นายเกรียงศักดิ์ สุจริต ประธานวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยง แพะนม บางบัวทอง (บ้านเกาะดอน) กล่าวว่า เกษตรกรที่ เลี้ยงแพะนมในชุมชนมีประมาณ 80 ราย ทุกคนตั้งความหวัง ว่าจะส่งนมแพะมาที่นี่ ผู้บริหารโรงนมแห่งนี้พยายามจะพัฒนา โรงนมให้ เ ป็ น อุ ต สาหกรรมให้ ไ ด้ ขณะนี้ ไ ด้ รั บ การสนั บ สนุ น จากผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เช่น เครื่องโฮโมจิไนซ์- เครื่อง พาสเจอร์ไรซ์ สามารถพาสเจอร์ไรซ์ได้ชั่วโมงละ 280 กิโลกรัม ก�ำลังการผลิตอยู่ที่วันละ 1 ตัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการ ของตลาด 59

issue 113 june 2017


พันธุ์ทอกเก็นเบิร์ก (Toggenberg)

แพะพันธุ์ทอกเก็นเบิร์ก (Toggenberg) มีถิ่นก�ำเนิดอยู่ ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ หัวมีลักษณะแบน ตั้งจมูกลาดตรง ไม่มีเครา ไม่มีเขา ทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีติ่งใต้คอขนสั้น มีสีได้ หลากหลายสี ตั้งแต่น�้ำตาล น�้ำตาลแก่เทาแกมเหลือง มีสีขาว แซมที่ดั้งจมูก ขอบปลายหู ปลายขาทั้ง 4 ข้าง และหาง ใบหูมี ลักษณะที่สั้นแต่ตั้งชันและชี้ไปข้างหน้า

พันธุ์ซาเนน (Saanen)

แพะพันธุ์ซาเนน (Saanen) เป็นแพะพันธุ์ที่ให้ปริมาณ น�้ำนมสูงมาก จนกระทั่งได้รับฉายาว่าเป็นราชินีแห่งแพะนม มี ถิ่นก�ำเนิดอยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ขนมีสีขาวแต่บางตัว อาจจะเป็นสีครีมหรือสีเทา มีติ่งใต้คอ 2 ติ่ง หรืออาจจะไม่มีติ่ง ก็ได้ แต่การมีติ่งถือเป็นลักษณะดีที่พึงประสงค์ของเกษตรกรใน ประเทศไทยที่นิยมเลี้ยงแพะพันธุ์นี้ ใบหูสั้นตั้งตรงชี้ไปข้างหน้า หัวมีลักษณะแบน ดั้งจมูกลาดตรงเรียวยาว

พันธุ์ชามี่ (Shami goat)

แพะพันธุ์ชามี่ (Shami goat) มีถ่ินก�ำเนิดในประเทศ พันธุ์แอลไพน์ (Alpine) ซีเรียและแถบใกล้เคียง ได้รับการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ แพะพันธุ์แอลไพน์ (Alpine) เป็นพันธุ์แพะนมที่มีถิ่น ขึ้นมามากกว่า 40 ปี มีขนยาว สีน�้ำตาลแดงตลอดทั้งตัว บาง ก� ำ เนิ ด อยู ่ ที่ เ ทื อกเขาแอลพ์ ในประเทศสวิสเซอร์แ ลนด์ และ ครั้งพบจุดขนสีขาวบริเวณหน้า แนวสันหลังและขาหน้า ใบหู ออสเตรีย นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในทวีปยุโรป ยาวและห้อยปรกลงมายาวได้ถึง 27-32 เซนติเมตร ใบหน้ายาว เมื่ อ เที ย บกั บ แพะพั น ธุ ์ อื่ น ๆมี รู ป ร่ า งขนาดใหญ่ มี ค วามสู ง ที่ และมีจมูกเป็นลักษณะ Romam nose มีเขาทั้งเพศผู้และเมีย วัดจากหัวไหล่ประมาณ 70-80 เซนติเมตร และเมื่อโตเต็มที่ เป็นแพะขนาดใหญ่ ตัวผู้อาจหนักประมาณ 65-80 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 50-60 กิโลกรัม แพะพันธุ์นี้ขนไม่ยาวนัก มีหลายสีอาจเป็นสีด�ำ สีน�้ำตาลหรือสีขาว 60 IS AM ARE www.fosef.org


ผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ปรรู ป จากนมแพะ

ที่ ใ ห้ ค วามสนใจ เพราะแพะเป็ น สั ต ว์ ที่ ป ระชาชนทุ ก ศาสนา เดย์ครีม สูตรน�้ำนมแพะ สามารถใช้บริโภคได้ทั้งเนื้อและนม และเป็นวัตถุดิบในการท�ำ สรรพคุณ - ช่วยปกป้องผิวหน้าจากแสงแดด และคืน อาหารเพื่อการบริโภคทดแทนวัตถุดิบอื่นได้ และมีรสชาติที่ ความชุ่มชื้นบนใบหน้า อร่อย เกษตรกรจึงหันมาสนใจอาชีพเลี้ยงแพะมากยิ่งขึ้น นอกจากการพั ฒ นารู ป แบบวิ ธี ก ารเลี้ ย งแพะแล้ ว ไนท์ครีม สูตรน�้ำนมแพะ เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในอ�ำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ยัง สรรพคุณ - โปรตีนและมอยเจอร์ไรส์เซอร์จากนมแพะ มองเห็นถึงความส�ำคัญในเรื่องการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่าย ช่วยลบริ้วรอย และรอยหมองคล�้ำ เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ เกิดการร่วมกันท�ำกิจกรรม ก่อให้เกิด กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ เกษตรกรผู ้ เ ลี้ ย งแพะในอ� ำ เภอบางบั ว ทอง จั ง หวั ด แปรรูปแบบใหม่ๆ ออกสู่ตลาด เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ นนทบุรี มีการด�ำรงชีวิตตามหลักวัฒนธรรมศาสนาอิสลามที่มี เกิดขึ้นภายในชุมชน สร้างพลังอ�ำนาจในการต่อรอง สร้างพลัง การสืบทอดมายาวนาน และส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม แต่การ ใจ สร้างความสามัคคีและเกิดผลประโยชน์ขึ้นกับสมาชิก ส่ง เลี้ยงแพะในอนาคตข้างหน้าได้มีการพัฒนาให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจ ผลให้อาชีพการเลี้ยงแพะในชุมชนเกิดความยั่งยืนสืบต่อไปใน ท�ำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะจึงไม่ได้เป็นเพียงชาวมุสลิมเท่านั้น อนาคต

61 issue 113 june 2017


62 IS AM ARE www.fosef.org


63 issue 113 june 2017


64 IS AM ARE www.fosef.org


65 issue 113 june 2017


66 IS AM ARE www.fosef.org


67 issue 113 june 2017


68 IS AM ARE www.fosef.org


69 issue 113 june 2017


“จากขอทานไปแลกข้าว.. สู่กล้าไม้ เรามีขาย” ก่อนมีโครงการสร้างอ่างเก็บน�้ำ

ตั้งแต่ในหลวงทรงสร้างอ่าวห้วยยาง-ห้วยโท ชาวบ้านมีโอกาส มีหนทางมากขึ้น ไม่ต้องท�ำไร่ ท�ำนาแบบผันผวนตาม ฤดูกาลอยู่อย่างเดียว มีน�้ำ ชีวิตก็ดีขึ้น เราเอาน�้ำมาใช้พัฒนาคุณชีวิตได้หลายอย่าง” กลุ่มเพาะพันธุ์กล้าไม้บ้านห้วยยาง โครงการอ่างเก็บน�้ำห้วยโท-ห้วยยาง อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ ที่อยู่ บ้านห้วยยาง ต�ำบลเหล่าโพนค้อ อ�ำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร รายได้เฉลี่ยต่อปี 200,000 บาท/คน/ปี มีเงินหมุนเวียนในกลุ่มกว่า 25 ล้านบาทต่อปี 70 IS AM ARE www.fosef.org


เกษตรพอเพียง “หมู่บ้านขอทาน” เป็นชื่อเรียกขานของหมู่บ้านห้วยยาง ที่พูดกันติดปากและเคยเป็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์ชื่อดังฉบับ หนึ่งมาแล้วเมื่อกว่า 30 ปี ที่ผ่านมา ย้อนกลับไปเมื่อปี 2489 จากค� ำ บอกมานั้น ว่า ชุม ชนแห่งนี้เริ่ม มาจากชาวลาวอพยพ มาจากเมืองวังประเทศลาว โดยนายยางกับนายโต๊ะ บุกเบิก สร้างบ้านเรือนเป็นครั้งแรกและตั้งชื่อหมู่บ้านตามสิ่งแวดล้อม ที่เห็นและขยายชุมชนมาเรื่อย กระทั่งปี 2518 – ปี 2524 เกิด ภัยแล้งครั้งใหญ่ติดต่อกัน จนชาวบ้านต้องน�ำสิ่งของที่มีไปแลก ข้าวจากหมู่บ้านอื่นเพื่อประทังชีวิต หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อาชีพแลกข้าว” จนถึงขั้นชาวบ้านกว่าร้อยละ 90 ในหมู่บ้าน ต้องหาหนทางประทังชีวิตด้วยการอพยพไปขอทานตามจังหวัด ใกล้เคียง กระทั้งปรากฏเป็นข่าวว่า “พบหมู่บ้านขอทานแห่ง แรกของเมืองไทย” จนมีคนเรียกติดปากว่า หมู่บ้านของทาน นับแต่นั้นมา ด้ ว ยพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ปี 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกลาที่ 9 เสด็จพระราชด�ำเนินไปทอดพระเนตรพื้นที่บริเวณหมู่บ้านโพน งามและบ้านห้วยยาง จึงมีพระราชด�ำริให้พิจารณาสร้างอ่าง เก็บน�้ำห้วยยางโดยเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูพื้นที่เพาะปลูก ของเกษตรกรในหมู่บ้าน กระทั่งปี 2532 อ่างเก็บน�้ำห้วยโท-

71 issue 113 june 2017


บ้านห้วยยาง ขึ้น โดยมีวิสัยทัศน์กลุ่มคือ “สร้างงาน เพิ่มรายได้ กระจายการเรียนรู้ น�ำไปสู่การพัฒนา น�ำพาความสามัคคี มีชีวิต ที่ดี พออยู่พอกิน”

ห้วยยาง ก็ก่อสร้างแล้วเสร็จด้วยความจุ 9,100,000 ลูกบาศก์ เมตร ส่งผลให้ชาวบ้านห้วยยางและหมู่บ้านข้างเคียงในเขต ต�ำบลเหล่าโพนค้อ มีน�้ำท�ำการเกษตรและมีทางเลือกในการ ประกอบอาชีพเพิ่มมากขึ้น และหลังจากนั้นไม่นาน หมู่บ้าน ขอทานก็กลายเป็นค�ำเรียกขานในอดีต หนทางท�ำกินใหม่ ๆ ก็ เปิดกว้าง และอาชีพเพาะพันธุ์กล้าไม้เพื่อวิถีชีวิตที่ดีก็เริ่มต้น ขึ้นในหมู่บ้านแห่งนี้

การด� ำ เนิ น กิ จ กรรมในปั จ จุ บั น 1.ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จ�ำนวน 127 ราย (จาก 464 ครัว เรือนในหมู่บ้าน) มีการเพาะกล้าไม้กว่า 62 ชนิด เช่น ผักหวาน ยางนา มะนาว มะกรูด มะละกอ ไม้หอม เป็นต้น มีการเก็บออม จากสมาชิกเดือนละ 40 บาทต่อคน 2.ท� ำ การตลาดโดยแบ่ ง เป็ น พ่ อ ค้ า มารั บ ซื้ อ ที่ ส วน จะขายถุงละ 2 บาท (ยกเว้นผักหวานจะมีราคา 5,10 และ 15 บาท )และสมาชิกบางรายน�ำออกเร่ขายเองหรือออกบูทจัดงาน ก็จะได้ราคาที่สูงกว่า โดยจะจ�ำหน่าย ที่ 10-20 บาท 3.สมาชิกในกลุ่มจะมีรายได้เฉลี่ยต่อปีไม่น้อยกว่า 150,000 – 200,000 บาท

จากขอทานแลกข้ า ว...สู ่ ก ล้ า ไม้ เ รามี ข าย ชาวบ้านห้วยยางเริ่มต้นเรียนรู้ ทดลอง เพาะพันธุ์กล้าไม้ เช่น มะกรูด มะนาว แล้วออกไปเร่ขายจนกระทั่งตั้งกลุ่มเพาะ พันธุ์กล้าไม้ขึ้นในปี 2542 มีสมาชิกเริ่มต้น 27 คน ผลการด�ำเนิน งานของกลุ่มมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง วันที่ 13 กรกฎาคม 2553 นายหวล ยางธิสาร ผู้ใหญ่บ้านก็ได้ ประชุมชาวบ้านและจัดตั้ง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะพันธุ์กล้าไม้

72 IS AM ARE www.fosef.org


ผลตอบแทนทางเศรษฐกิ จ (ประจ� ำ ปี พ.ศ. 2556) กิจกรรม 1) กล้าไม้ -เมล็ดพันธุ์พืช -แกลบเผา -ดินผสม -ถุงด�ำ -แรงงาน รวม

ค่าใช้จ่ายในการลงทุน (บาทต่อถุง) 100,000 กล้า 0.25 0.14 0.11 0.25 0.15 0.90 73 issue 113 june 2017

พื้นที่เพาะ (1 ไร่/คน)

รายได้สุทธิ (บาทต่อปี)

25,000 14,000 11,000 25,000 15,000 90,000

200,000


บทเรียนชีวิตจริง น�้ำ ลัง ตังค์ ร้อย ตอนที่ 7 ครอบครั ว พอเพี ย งอยู ่ ด ้ ว ยความรั ก 100 %

มั น ไม่ ใ ช่ เรื่ อ งง่ า ย ที่ ไ ด้ ม าเจอกั น แต่ ก็ ไ ม่ ใ ช่ เ ป็ น เรื่ อ งยาก ที่ จ ะเจอกั น ไม่ ไ ด้ ( แรงบั น ดาลใจเต็ ม เปี ่ ย มในครั้ ง นี้ ) เพิ่งเข้าใจว่าการคบคนดี คนดีจะพาไปเจอสิ่งดีๆ มันเป็น อย่างไร ความสุขเล็กๆ ที่เหล่าคนดีๆ จากทุกทิศ ได้รับโอกาส ดีจากมูลนิธิครอบครัวพอเพียง จัดสรรให้ได้มาเจอกัน ได้มา ฟังเรื่องราวดีๆ แนวคิดดีๆ ประสบการณ์ดีๆ ร่วมกัน การได้ มาเรียนรู้การเรียนการสอนจิ้งซืออวี่ : ท่านธรรมจารย์เจิ้ง เอี๋ยน ประเทศไต้หวัน จากวันที่ 24 เมษายน 2560 เริ่มออก เดินทางและกลับ 29 เมษายน 2560 ถึงบ้านนครศรีฯ สิ่งดีมัน ล้นอก ภาพเล่าเรื่องเยอะมากมาย จะบรรยายเขียนสื่อความท�ำ ไม่ถูกเลย ขอแค่เพียงประโยคสั้นๆ ฉันรักเธอมิรู้ลืม ครอบครัว พอเพียงเรารักกัน รักเกิน 100

74 IS AM ARE www.fosef.org


ภาพเล่าเรื่อง ความสุ ข เปี ่ ย มล้ น จนลอยตั ว ... คนดี มี พ ลั ง .. กลั บ มาสร้ า งสรรค์ สิ่ ง ดี : ชวนสยาม “ยิ้ ม ”

เรื่องง่ายๆ เรื่องเดิมๆ ที่ผู้หลักผู้ใหญ่ สอนเรามา บ้านเรา สยามเมืองยิ้ม แต่ตอนนี้ต้องยอมรับ ตัวฉัน ตัวนักเรียนของฉัน เราไม่ค่อยจะยิ้ม เรามัวแต่ก้มหน้า เราไม่ทักใคร กลับไปรอบนี้ เริ่มต้นใหม่ เริ่มที่ใจของฉัน ฉันจะยิ้ม ยิ้มแบบทุกคนที่ยิ้มให้มา : ภารกิจของฉัน ชวนศิษย์ฉัน กัลยาณีฯ ยิ้ม : ชวนกัลฯ ยิ้ม เราจะยิ้ ม มี สุ ข แบบครอบครั ว พอเพี ย งยิ้ ม สื่ อ ถึ ง กั น ฉันยิ้ม เราทุกคนยิ้ม สยามเมืองยิ้ม...จะกลับมา NEW GEN นคร ศรีฯ สัญญาด้วยยิ้ม...

75 issue 113 june 2017


เก็ บ มาท� ำ น� ำ ไปขยายต่ อ : จิ ต วิ ญ ญาณและเอกลั ก ษณ์ ข องการเรี ย นการสอนจิ้ ง ซื อ อวี่

ตั้งปณิธานดี พูดดี ภาษามือ สื่อสารได้ทั่วโลก : New gen so good VI ครั้งที่ 6 สื่อสารกันคะ วาทะธรรม (จิ้งซืออวี่) ท่านธรรมจารย์เจิ้งเอี๋ยน ได้ อธิบายธรรมให้กับลูกศิษย์ที่มีหลากหลาย ด้วยค�ำพูดที่เข้าใจง่าย แฝงด้วยหลักปรัชญา เป็นค�ำสอนที่ท่านธรรมจารย์เจิ้งเอี๋ยน ฝึก ปฏิบัติในชีวิตประจ�ำวันเสมอ 1) อ่านง่าย เข้าใจง่าย เหมาะกับทุกเพศทุกวัย 2) มีเหตุผล มีกรรมเวร การให้อภัยผู้อื่น คือ การก่อ ประโยชน์ให้กับตนเอง ท�ำมากได้มาก ท�ำน้อยเสียมาก 3) สร้างแรงบันดาลใจคิด ยึดมั่นในเหตุผล แต่ต้องดู ความเหมาะสม มีความถูกต้อง ไม่ลืมถ่อมตน คนเราเกิดมาย่อม มีแต่สิทธิ์ใช้งาน ไม่มีสิทธิ์ครอบครองถาวร 4) บอกถึงสิ่งที่ควรท�ำและไม่ควรท�ำอย่างตรงไปตรงมา รักดีคือตอบแทน การให้คือรู้คุณ การให้และตอบแทนทันเวลา คือ ความกตัญญู ท�ำงานให้รัดกุม ระมัดระวังเป็นสิ่งที่ดี 76 IS AM ARE www.fosef.org


5 ค�ำ 5 ข้อ ที่พ่อสอน น้อมน�ำ ท�ำต่อ สร้างสรรค์ กิจกรรมดี สร้างคนดีที่เมืองนคร 30 เมษายน 2560 ณ ที่นี่ สถานที่อบรมเยาวชนให้เป็น คนดี : พระธาตุนครศรีฯ คนดีต้องมา แห่ผ้าขึ้นธาตุ ลูกหลาน เยาวชนขัดเกลาจิตใจในตน บ่มเพาะความดี เงยหน้ามองยอด พระธาตุ พระธาตุทองค�ำ ความสบายใจก่อเกิด เกิดกี่ชาติ ลูก หลานไทย เป็นข้ารองบาท ขอแห่ผ้าขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุ ตอบแทนคุณ ... ผู้ใหญ่เล่าต่อกันมา ประเพณีผ้าขึ้นธาตุ เป็นการน�ำผ้า ผืนยาวขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ในวันส�ำคัญทางศาสนา

ชาวนครได้ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเงินตามก�ำลังศรัทธาน�ำเงินที่ ได้ไปซื้อผ้ามาเย็บต่อกันเป็นแถวยาว แล้วจัดเป็นขบวนแห่ผ้าขึ้น ห่มพระบรมธาตุเจดีย์ ผ้าที่ขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เรียก ว่า “ผ้าพระบฎ” (หรือ พระบต) นิยมใช้สีขาว สีเหลือง สีแดง ส�ำหรับผ้าสีขาวนิยมเขียนภาพเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติตั้งแต่ ประสูติ เสด็จออกบรรพชา ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน New gen Kanlayanee ร่วมสืบสานประเพณี ชวนผองน้องพี่ มาแห่ผ้าขึ้นธาตุ ห่มองค์พระบรมธาตุนครศรีฯ ท�ำได้ทั้งปี ท�ำได้ ทุกวัน มาท�ำเสริมบุญด้วยกันนะคะ

77 issue 113 june 2017


4 พฤษภาคม 2560 ณ โรงเรียนนานาชาติเทศบาลนครนครศรีธรรมราช กับกิจกรรมประกวดผลงานนักเรียนกลุ่มโรงเรียน เทศบาล เด็กๆ เล่าขานเรื่องราวของพ่อ “เขาเล่าว่า พระราชาผู้พอเพียง” และอีกหลายเรื่องราว ผู้ใหญ่ฟังแล้ว ปลี้มใจ พ่อแผ่น ดินไทย เรื่องราวฝากไว้ ให้พอเพียง..เด็กน้อยเมืองนครศรีฯ ร่วมกรรมดี ร่วมพอเพียง เป็นครอบครัวพอเพียง พอเพียงกันทั้งเมือง นคร... 78 IS AM ARE www.fosef.org


10 พฤษภาคม 2560 ชาวนครศรีฯ ทุกหมู่เหล่า รวมใจ ร่วมกันแห่ผ้าพระบฏพระราชทาน เนื่องในวันส�ำคัญ วันสากลของโลก วันวิสาข บูชา ณ ลานโพธิ์ วัด พระ มหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ส�ำหรับปี 2560 นี้ ประเพณีแห่ผ้าขี้นธาตุ เป็นปีที่ 787 แล้วคะ ท้ า ยเรื่ อ งเดื อ นนี้ ถึ ง แม้ จ ะมี ภ าพเรื่ อ งเล่ า อี ก มาก ที่ มิ อาจเล่ า ขานได้ ห มด เชิ ญ ชวนติ ด ตามได้ ทุ ก ช่ อ งสื่ อ ของศู น ย์ ครอบครัวพอเพียงของทุกโรงเรียนและ Facebook/ครอบครัว พอเพียงคะ ปีน้ีเด็ดสุด สร้างโรงเรียนคู่แข่งให้เป็นโรงเรียนคู่ มิตร : แข่งสร้างคนดี ให้มีความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ จิตอาสา โครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน (ประจ�ำ ปี 2560) กิจกรรมก�ำเนิดศูนย์ครอบครัวพอเพียงคู่มิตร (อบรม เรื่องการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 “5 ค�ำ 5 ข้อที่พ่อสอน” พร้อมน้อมน�ำ ท�ำต่อ ให้พ่อได้ภูมิใจ เรา ได้มีความสุขคะ... 79 issue 113 june 2017


Round About สถาบั น การประชาสั ม พั น ธ์ จั ด เสวนา “โลกดิ จิ ทั ล กั บ การประชาสั ม พั น ธ์ : พลิ ก วิ ก ฤตเป็ น โอกาส”

สถาบันการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ น�ำทัพ กูรูด้านประชาสัมพันธ์ ร่วมถกตกผลึกแนวคิดผ่าน เวทีเสวนา “โลกดิจิทัลกับการประชาสัมพันธ์ : พลิกวิกฤตเป็นโอกาส” งัด กลยุทธ์ลุยรับมือยุคสื่อหลอมรวม เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมอาจารย์ สะอาด ตั ณ ศุ ภ ผล อาคารสถาบั น การประชาสั ม พั น ธ์ ซอย อารีย์สัมพันธ์ นายภูมิสิทธิ์ ขันตยานุกูลกิจ รองอธิบดีกรม ประชาสัมพันธ์ เป็นประธานเปิดงานเสวนา “โลกดิจิทัลกับ การประชาสัมพันธ์ : พลิกวิกฤตเป็นโอกาส” (Digital Public Relations for Crisis Management) จัดโดยผู้เข้ารับ การอบรมหลักสูตรกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์(Strategic PR Management) รุ่น 11 ของสถาบันการประชาสัมพันธ์ กรม ประชาสัมพันธ์ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้มากความสามารถ และคร�่ำหวอดในวงการสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ประกอบด้วย นาวาอากาศ เอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม ดร.พรชัย มาระเนตร์ อาจารย์ประจ�ำคณะวิทยาการ

จัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ นายสุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล Strategic Planning Director บริษัทแบรนด์เบเกอร์ จ�ำกัด ด�ำเนินการเสวนาโดย นายลานบุญ วุฒฑกุล สื่อมวลชนอิสระ นายภู มิสิ ท ธิ์ กล่ า วว่ า การจั ด เสวนาในครั้ ง นี้ จ ะเป็น ประโยชน์ต่อผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ เชิงกลยุทธ์ขององค์กร หรือผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงาน ประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน ที่จะได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ในยุคที่สื่อใหม่ (new media) เข้า มามีบทบาทต่อการสื่อสารเป็นอย่างมาก ดังนั้น การรู้เท่าทันสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตและสื่อใหม่จะท�ำให้เรา สามารถรับมือกับประเด็นที่เป็นกระแสสังคมหรือภาวะวิกฤตที่ จะเกิดขึ้นโดยน�ำกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์มาพลิกวิกฤตให้เป็น โอกาสสามารถรับมือและบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม จึงนับ เป็นเรื่องส�ำคัญที่ควรจะได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ซึ่งกันและกันเพื่อเป็นแนวทางป้องกันและแก้ไขวิกฤตที่อาจเกิด ซ�้ำหรือเกิดขึ้นใกล้เคียงได้ในโลกดิจิทัลการประชาสัมพันธ์ที่ก้าว ทันโลกยุคใหม่จะสามารถพัฒนารูปแบบงานประชาสัมพันธ์ให้ ทันสมัยเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อตนเองและองค์กร 80

IS AM ARE www.fosef.org


“ปั จ จุ บั น สถานการณ์ โ ลกทั้ ง ด้ า นสั ง คม เศรษฐกิ จ การเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง ไปอย่ า งรวดเร็ ว ท� ำ ให้ อ งค์ ก รต่ า ง ๆ ต้ อ งปรั บ ตั ว ให้ ทั น ต่ อ การเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และ รัฐวิสาหกิจ ต้องเตรียมความพร้อมในทุกด้าน สามารถบริหาร จั ด การให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพและประสิ ท ธิ ผ ลเพื่ อ ให้ ส ามารถ ขับเคลื่อนภารกิจและนโยบายต่าง ๆ ขององค์กรได้อย่างมี ประสิทธิภาพสอดคล้องต่อความต้องการของประชาชน” นาย ภูมิสิทธิ์ กล่าว นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด และลูกค้าสัมพันธ์ การไฟฟ้านครหลวง ในฐานะประธานผู้เข้า รับการอบรมหลักสูตร “กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ (Strategic PR Management)” รุ่นที่ 11 กล่าวว่า งานเสวนา “โลก ดิจิทัลกับการประชาสัมพันธ์ : พลิกวิกฤตเป็นโอกาส” (Digital Public Relations for Crisis Management) จัดขึ้นภายใต้ วัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และรู้ เท่าทันสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งสื่ออินเตอร์เน็ตและสื่อใหม่ เพื่อ ให้กลุ่มเป้าหมายพัฒนาทักษะและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการ สื่อให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันและแนวทางในอนาคต รวม ทั้งเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทราบถึงบทบาทกลยุทธ์ แนวทางการ

ประชาสั ม พั น ธ์ ใ นประเด็ น ที่ เ ป็ น กระแสสั ง คมหรื อ เป็ น ภาวะ วิกฤต ให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับกลยุทธ์การ ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะสื่ออินเตอร์เน็ต และสื่อใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส�ำหรับการจัดกิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจาก ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับ ด้านประชาสัมพันธ์ตลอดจนประชาชนทั่วไปเข้าร่วมรับฟังการ เสวนาจ�ำนวนกว่า 200 คน ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือและสนับสนุน การจัดงานจากหลายภาคส่วน เช่น กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่ง แวดล้อมส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภา สถานีวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วน ภูมิภาค การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร ส�ำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จ�ำกัด (มหาชน) บริษัทไทยประกันชีวิต จ�ำกัด (มหาชน) บริษัทวิริยะประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จ� ำ กั ด (มหาชน) บริ ษั ท เอไอเอ (ประเทศไทย) จ�ำกัด และบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จ�ำกัด (มหาชน) 81

issue 113 june 2017


กรมประชาสั ม พั น ธ์ น� ำ เครื อ ข่ า ยสื่ อ มวลชน ศึ ก ษาดู ง านผลส� ำ เร็ จ จากการท� ำ เกษตรผสมผสาน ทฤษฎี ใ หม่ และการเกษตรตามหลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ที่ วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชนโรงนมแพะพระราชทาน และศู น ย์ ก ารเรี ย นรู ้ น ายยวง เขี ย วนิ ล

กรมประชาสัมพันธ์ น�ำเครือข่ายสื่อมวลชน ศึกษาดู งานผลส� ำ เร็ จ จากการท� ำ เกษตรผสมผสานทฤษฎี ใ หม่ และ การเกษตรตามหลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ที่ วิ ส าหกิ จ ชุมชนโรงนมแพะพระราชทาน และศูนย์การเรียนรู้นายยวง เขียวนิล นางสาวอรัญญา เกตุแก้ว ผู้อ�ำนวยการส�ำนักพัฒนาการ ประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า กรมประชาสัมพันธ์ เชิญเครือข่าย สื่อมวลชนจ�ำนวน 40 คน เข้าร่วมโครงการสัมมนาเครือข่าย ประชาสัมพันธ์และศึกษาดูงาน ที่วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แพะ นมบ้านเกาะดอน โรงนมแพะพระราชทาน อ�ำเภอบางกรวย และศูนย์การเรียนรู้นายยวง เขียวนิล อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัด นนทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เครือข่ายประชาสัมพันธได้ รั บ ความรู ้ แ ละความเข้ า ใจในหลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง สามารถน�ำข้อมูลข่าวสารถ่ายทอดไปยังประชาชนและชุมชน ได้อย่างถูกต้อง ส�ำหรับโรงนมแพะพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีรับสั่งให้ทหารกองพลพัฒนาที่ 1 กรมทหารช่างที่ 102 ไปสร้างโรงนม พร้อมทั้งพระราชทาน

อุปกรณ์เครื่องมือ เพื่อให้เป็นสถานที่รับนมดิบจากเกษตรกร ผู้เลี้ยงแพะนม ไปแปรรูปให้ได้มาตรฐาน อย. ซึ่งจะสามาร จ�ำหน่ายในตลาดที่กว้างขวางต่อไปได้ ส่วนศูนย์การเรียนรู้และแหล่งศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง นายยวง เขียวนิล มีการท�ำการเกษตรแบบผสมผสาน ทั้งไร่นา ไร่สวน และเลี้ยงสัตว์ บนเนื้อที่ 44 ไร่ โดยน้อมน�ำแนวพระ ราชด� ำ ริ เ กี่ ย วกั บ เกษตรผสมผสานทฤษฎี ใ หม่ ม าปรั บ ใช้ จ น ประสบความส�ำเร็จ จนได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นระดับภาค กลาง จากกรมส่งเสริมการเกษตรในปี 2540 และล่าสุดใน ปี 2560 ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาบัญชีฟาร์ม และ รางวัลปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจ พอเพียง ประจ�ำปี 2560

82 IS AM ARE www.fosef.org


เผยผิ ว ใสไร้ ริ้ ว รอย ด้ ว ย สบู ่ ว ่ า นหางจระเข้ ภั ท รพั ฒ น์ คุ ณ ค่ า จากว่ า นหางจระเข้ ที่ ช ่ ว ยลดรอยแดงจากการอั ก เสบของผิ ว ที่ โ ดนแดด ลดเลื อ นริ้ ว รอย ฝ้ า กระ จุ ด ด่ า งด� ำ เพิ่ ม ความชุ ่ ม ชื่ น ให้ ผิ ว ไม่ แ ห้ ง กร้ า น เมื่ อ ใช้ เ ป็ น ประจ� ำ ผิ ว หน้ า กระจ่ า งใสขึ้ น อย่ า งเป็ น ธรรมชาติ สามารถหาซื้อได้ที่ร้านภัทรพัฒน์ทุกสาขาหรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ทาง Facebook/Patpat9 ภัทรพัฒน์สินค้าจากมูลนิธิชัยพัฒนา และ www.patpat9.com 83 issue 113 june 2017


นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง พร้อมเสริพ์ให้ทุกท่านได้อ่านแล้ว!! เพี ย งแค่ ค ลิ ก เข้ า ไปที่ www.fosef.org ท่ า นก็ ส ามารถอ่ า นนิ ต ยสาร IS AM ARE ครอบครั ว พอเพี ย ง ได้ โ ดยไม่ มี ค ่ า ใช้ จ ่ า ย เรื่ อ งราว สาระดี ๆ มากมายรอท่ า นอยู ่ หากอ่ า นแล้ ว ถู ก ใจอย่ า ลื ม บอกต่ อ นะครั บ 84 IS AM ARE www.fosef.org


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.