1
9.1 คุณธรรมจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จริ ย ธรรม หมายถึ ง หลั ก ศี ล ธรรมจรรยาที่ ก าหนดขึ้ น เพื่ อ ใช้ เ ป็ น แนวทางปฏิ บั ติ หรื อ ควบคุ ม การใช้ ร ะบบ คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทาสิ่ง ใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไ ม่ชัดเจนมากนัก ทั้ง นี้ ย่อมขึ้นอยู่กับ วัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย อย่างเช่น กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทางานของ พนักงาน เป็นต้น ตัวอย่างของการกระทาที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทาที่ผิดจริยธรรม เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ทาร้าย ผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความราราญ เช่น การนาภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ไ ด้รั บ อนุญาตการใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิว เตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตการละเมิ ด ลิขสิทธิ์ โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
3 ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลาพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่ จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ไ ด้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้ 1.การเข้ า ไปดู ข้ อ ความในจดหมายอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ แ ละการบั น ทึ ก ข้ อมู ล ในเครื่ อ งคอมพิ วเตอร์ รวมทั้ ง การบั น ทึก แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร 2.การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับ หรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทางานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทาเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม 3.การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก (ง30206) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2 4.การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนาไปสร้างฐานข้อมู ล ประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนาไปขายให้กับบริษัทอื่น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและ สารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อน เข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์ 2. ความถูกต้อง (Information Accuracy) ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สาคัญ ประการหนึ่ง คือ ความ น่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้อ งในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของ ข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ เช่น ในกรณีที่องค์การให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วยตนเอง หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ อีกประเด็นหนึ่ง คือ จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ และผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิด ข้อผิดพลาด ดังนั้น ในการจัดทาข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนที่จะนาเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไป ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้ เช่น ผู้สอนสามารถดูคะแนนของนักศึกษาในความรับผิดชอบ หรือที่สอนเพื่อ ตรวจสอบว่าคะแนนที่ป้อนไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง 3.ความเป็นเจ้าของ (Information Property) สิ ท ธิ ค วามเป็ น เจ้ า ของ หมายถึ ง กรรมสิ ท ธิ์ ใ นการถื อครองทรัพย์ สิ น ซึ่ ง อาจเป็ น ทรั พย์ สิ นทั่ วไปที่ จั บต้ อ งได้ เช่ น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่ สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มี การจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าท่านได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น สาหรับท่านเองหลังจากที่ท่านเปิดกล่องหรือบรรจุ ภัณฑ์แล้ว หมายถึงว่าท่านได้ยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในการใช้สินค้านั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละ สินค้าและบริษัท บางโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงครั้งเดียว หรือไม่อนุญาตให้ใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ ท่านเป็นเจ้าของ และไม่มีผู้อื่นใช้ก็ตาม ในขณะที่บางบริษัทอนุญาตให้ใช้โปรแกรมนั้นได้หลายๆ เครื่อง ตราบใดที่ท่านยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา การคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็น การกระทาที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทาการคัดลอกนั้น เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิ ทธ์ ใน ระดับใด 4.การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกาหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็น การป้องกันการเข้าไปดาเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิ ในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการ ออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็น การผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกันให้เป็นระเบียบ หากผู้ใช้ ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นดังที่กล่าวมา ข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก (ง30206) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
3 จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกัน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจานวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่ มีความประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฎเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ข้อบังคับของ เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบ ต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทาของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบน ระบบคอมพิวเตอร์
บัญญัติ 10 ประการ ต่อไปนี้เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจาเสมอ 1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทาร้ายหรือละเมิดผู้อื่น 2. ต้องไม่รบกวนการทางานของผู้อื่น 3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น 4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร 5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ 6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์ 7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ 8. ต้องไม่นาเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน 9. ต้องคานึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทา 10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทาให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์ ของแต่ ล ะเครื อ ข่ า ยจึ ง ต้ อ งมี ก ารวางระเบี ย บเพื่ อ ให้ ก ารด าเนิ น งานเป็ นไปอย่ า งมี ร ะบบและเอื้ อ ประโยชน์ ซึ่ ง กั นและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจน เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะเข้ามามี บทบาทได้เช่นกัน
รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก (ง30206) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
4 9.2 การเผยแพร่ผลงาน https://issuu.com คือ เว็บไซต์สาหรับอัพโหลดไฟล์เอกสาร สามารถรองรับไฟล์เอกสาร สกุล .pdf .doc .docx .ppt และ .pptx นาเสนอและเผยแพร่ออกมา ในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book : electronic book) สามารถ นา link code หรือ Embed ไปวางบนเว็บไซต์ต่าง ๆได้ ขั้นตอนในการใช้ ISSUU 1. เข้าเว็บไซต์ https://issuu.com เลือก sign up กรณีเริ่มใช้ครั้งแรก Click here คลิกที่นี้ 2. Create account ได้จาก Facebook Google plus หรือ Email
8
3. เมื่อเข้าสู่หน้าระบบแล้ว คลิกเมนู Publish เลือก Upload หรือเลือกสัญลักษณ์ Upload
Upload
รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก (ง30206) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
5 4. เลือกไฟล์ที่ต้องการ Upload 1. คลิกเมนู SELECT FILE TO UPLOAD 2. คลิกกรอกข้อมูล Basic information 3. รอจนกระทั่งไฟล์โหลดเสร็จสิ้น เป็นสถานะ Validating File 4. คลิก PUBLISH NOW
My portfolio.pdf | 113.82KB | Single page
รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก (ง30206) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
6 5. เลือก
เมนู Share เพื่อ Copy ลิ้งค์ไปวางยังเว็บไซต์ หรือ share ผลงานไปยังสื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media)
หรือ คลิกเลือก เมนู EMBED 1. ตั้งค่าการแสดงผล ของไฟล์ 2. คลิก Save & Get code 3. Copy code ไปวางบน HTML ที่ต้องการ
รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก (ง30206) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
7 6. การนาเสนองานนักเรียนสามาถนา LINK ที่ได้จาก https://issuu.com ให้อยู่ในรูปแบบ QR CODE ได้ทเี่ ว็บไซต์ https://www.the-qrcode-generator.com/ 1. พิมพ์ URL เว็บไซต์ ในช่อง Enter URL 2. จะปรากฏ QR Code ด้านขวามือ ดังภาพ 3. บันทึก QR Code ที่ได้รับใส่ในหน้าปกผลของตนเอง
รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก (ง30206) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6