วารสารยุติธรรม ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2561

Page 1


ไทยแนว...

ไทยเท่...

ทำในสิ่งทีร่ ัก ให้เวลา กับสิ่งทีช ่ อบ

เท่แบบรู้คุณค่า ของชีวิต ทชภณ พลกองเส็ง (พลพล)

เจษฎ์พิพัฒ ติละพรพัฒน์ (เจษ)

ไทยเจ๋ง... ไม่เสพ ไม่ค้า

ไทยรุ่นใหม่...

รู ยาเสพติ ้พิษภัยด

ณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์ (ณิชา)

ช่วยเป็นหูเป็นตา พิมประภา ตั้งประภาพร (พิม)

ไทยเก่ง...

อดทน มุ่งมั่น ทำฝัน ให้เป็นจริง พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ (เทนนิส)

สำนักงาน ป.ป.ส. แจ้งเบาะแสยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม สายด่วน ป.ป.ส.

โทร.1386

www.oncb.go.th


วารสาร ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 ประจำปี 2561 Justice Magazine

ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ นายธวัชชัย ไทยเขียว พันตำรวจเอก ดุษฎี อารยวุฒิ นายวิทยา สุริยะวงค์ นางกรรณิการ์ แสงทอง

บทบรรณาธิการ ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด

ปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม

บรรณาธิการบริหาร นางกรรณิการ์ ชอินทรวงศ์ ผู้อำนวยการกองกลาง บรรณาธิการ นางสาวปทิตตา โฉมประดิษฐ์ หัวหน้ากลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กองบรรณาธิการ นางสาวชญาภา ยงค์ศรี นางสาวอรวิภา เกือกรัมย์ นายกิตติพัทธ์ ศรีเจริญ นายอรรถพล ปวัตน์รัตนภูมิ นางสาวธิดาทิพย์ หอมมะลิ นางสาวมานิตา วนิชาชีวะ นางสาวเสาวลักษณ์ ตั้งจิตต์วัฒนา นายปัญจกฤตย์ วารายานนท์ นางสาวอุมาภรณ์ อ่องสอาด นางสาวณัฐนันท์ ศาภิมล นางสาวณริสา มีแก้ว ฝ่ายภาพ นายกฤษดา สรวงศักดา และศิลปกรรม นายชัชวาล ศิริสังข์ไชย นายพิษณุ มลแก้ว นายอรรถโกวิท คงยิ่ง นายปรัชญา จ้างประเสริฐ ฝ่ายบริหารจัดการ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ออกแบบ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เจ้าของ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม พิมพ์ที่ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กองบรรณาธิการวารสารยุติธรรม โทรศัพท์ 0 2141 5149 โทรสาร 0 2143 8246 เว็บไซต์ www.moj.go.th E-mail : prmoj@hotmail.com

26 มิถุนายน วันต่อต้านยาเสพติดโลก

หัวใจหลักของการดำเนินงานป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติดคือต้องดำเนินการควบคู่กันไปทั้งในด้าน ปราบปราบ และมิติของชุมชน ภายใต้กรอบแนวคิดและ คำขวัญ “ไทยนิยม ยั่งยืน ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด” โดยรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามแผนประชารัฐร่วมใจ ปลอดภัยยาเสพติด พ.ศ. 2561 และแผนป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วน ปี 2561 เพื่อเป็นการเร่งรัดการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขสถานการณ์ปัญหายาเสพติด ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง รวมทั้งการน้อมนำ ศาสตร์พระราชาเป็นแนวทางในการขับเคลือ่ นการดำเนินงาน เพื่ อ นำไปสู่ ค วามมั่ น คง มั่ ง คั่ ง และยั่ ง ยื น ซึ่ ง เมื่ อ วั น ที่ 22 มิ ถุ น ายน 2561 กระทรวงยุ ติ ธ รรมได้ จั ด พิ ธี ม อบ โล่ ป ระกาศเกี ย รติ คุ ณ บุ ค คลและองค์ ก รที่ มี ผ ลงาน ยอดเยี่ ย มและดี เ ด่ น ในการป้ อ งกั น และแก้ ไ ขปั ญ หา ยาเสพติ ด รวมทั้ ง สิ้ น 193 ราย เพื่ อ เป็ น กำลั ง ใจให้ กั บ ทุกๆ ท่าน ในการแก้ปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืนต่อไป สำหรั บ คอลั ม น์ “คนยุ ติ ธ รรม” พลาดไม่ ไ ด้ แม้แต่นิดเดียว เพราะอธิบดีกรมบังคับคดี นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล ได้เล่าถึงการทำงานการปรับโฉมงานบังคับคดี สูเ่ วทีโลก ซึง่ เป็นภารกิจทีส่ ำคัญประการหนึง่ ในการขับเคลือ่ น เศรษฐกิ จ ของประเทศอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ รองรั บ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี และยังมีเรือ่ งราวในวารสารยุตธิ รรม ทีน่ า่ อ่าน ได้แก่ การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทชุมชน โดย ดร.สุรศักดิ์ ศรีสาร นักวิชาการยุติธรรมชำนาญการพิเศษ ได้นำสาระความรู้ ทีเ่ ป็นประโยชน์อย่างยิง่ เรือ่ งกระบวนการยุตธิ รรมทางเลือก ทีเ่ รียกว่าการไกล่เกลีย่ ข้อพิพาท ทีเ่ ป็นอีกหนทางในการแก้ไข ปัญหาในทิศทางทีถ่ กู ต้องแล้ว เพือ่ การอยูร่ ว่ มกันอย่างสันติสขุ ของทุก ๆ คน แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า

หมายเหตุ : วรรณกรรม บทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารยุติธรรม เป็นผลงานของผู้เขียนโดยเฉพาะ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

1


สารบัญ

3

วารสารยุติธรรม ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 ประจำปี 2561

28 กำแพงมิอาจกั้น

เรื่องจากปก

3

ไทยนิยม ยั่งยืน ร่วมแก้ ไขปัญหายาเสพติด 26 มิถุนายน วันต่อต้านยาเสพติดโลก

16 26 9 42

คุ้มครองคน คุ้มครองสิทธิ

การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยชุมชน

ที่นี่ แจ้งวัฒนะ

9

13 เรื่องเล่ายุติธรรม กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ร่วมจัดการประชุม คองเกรสนานาชาติของสภาเจ้าพนักงานบังคับคดี ระหว่างประเทศ (UIHJ) ครั้งที่ 23

18 คนยุติธรรม

18

“รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี” มุ่งพัฒนานวัตกรรม การให้บริการด้านงานบังคับคดี พร้อมปรับโฉมงานบังคับคดีสู่เวทีโลก

2

22

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

28

มาทำความรู้จักกับ Call Center กันเถอะ

34

37 กฎหมายสามัญประจำบ้าน “ทุจริตคิดโกงชาติ” มีโทษถึงประหารชีวิต

จริงหรือไม่

คำสั่งลงโทษทางวินัยตามมติชี้มูล ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. อุทธรณ์ ได้เพียงใดและฟ้อง ศาลปกครองได้หรือไม่ ?

37

44 เดินหน้ายุติธรรม ความร่วมมือกับ OECD 47 รู้ ไว้ใช่ว่า...

เพื่อประชาชน หนี้นอกระบบ : ทางแก้ที่ยั่งยืน

31 ทุกทิศยุติธรรม 34 ภาษายุติธรรม

ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

22 ยุติธรรม

มูลนิธิ ไร้ท์ ทู เพลย์ นำ บิสแม็ค บิยอมโบ้ นักบาสเกตบอล NBA สอนทักษะ การเล่นบาสเกตบอลให้กับเยาวชน

การตรวจหาลายนิ้วมือ ด้วยวิธีนินไฮดริน

47


เรื่องจากปก

กองบรรณาธิการ

ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด 26 มิถุนายน วันต่อต้านยาเสพติดโลก ปัญหายาเสพติดคือปัญหาที่ลุกลามไปสู่หน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม นั่นคือครอบครัว ปัญหานี้จึงกลายเป็น ปัญหาระดับโลกทีจ่ ำเป็นต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างจริงจังในทุกมิติ ทัง้ นี้ มติการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ เมื่อเดือนมิถุนายน 2530 กำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก สำหรับประเทศไทย ได้ปฏิบัติและยืนยันเจตนารมณ์ที่จะเข้าร่วมกับประชาคมโลก ในการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด โดยจัดกิจกรรม รณรงค์มาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งกระทรวงยุติธรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) ได้จดั กิจกรรมให้สอดรับกับทุกมิตใิ นการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะในมิตทิ างสังคม ต้องเร่งสร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนให้เกิดความตระหนักรู้และเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังปัญหา ยาเสพติด ซึ่งในปีนี้ สำนักงาน ป.ป.ส. ได้จัดกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมที่

1

พิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณบุคคลและองค์กรที่มีผลงานยอดเยี่ยมและดีเด่น ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

เมือ่ วันศุกร์ที่ 22 มิถนุ ายน 2561 กระทรวงยุตธิ รรม โดยสำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุตธิ รรม ร่วมกับมูลนิธิ พล.ต.อ. เภา สารสิน จัดพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณบุคคลและองค์กรที่มีผลงานยอดเยี่ยมและดีเด่น ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เป็นประธานในพิธี ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

3


1.

ทัง้ นี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม กล่าวในพิธเี ปิดงานตอนหนึง่ ว่า “รั ฐ บาลได้ ก ำหนดนโยบายการแก้ ไ ขปั ญ หายาเสพติ ด ตามแผนประชารั ฐ ร่ ว มใจ ปลอดภั ย ยาเสพติ ด พ.ศ. 2561 และแผนป้อ งกัน และแก้ไ ขปัญหายาเสพติด เร่งด่ว น ปี 2561 เพื่อเป็นการเร่งรัดการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบายรัฐบาล โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ในกรอบหลักการที่ 9 ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีจดุ มุง่ หมายเพือ่ แก้ไขสถานการณ์ปญ ั หายาเสพติด ตัง้ แต่ตน้ ทาง กลางทาง และปลายทาง รวมทัง้ การน้อมนำศาสตร์พระราชาเป็นแนวทางในการขับเคลือ่ น การดำเนินงานเพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ทั้งนี้ขอแสดงความชื่นชมและขอแสดง ความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลเกียรติคุณบุคคลและองค์กรที่มีผลงานยอดเยี่ยมและดีเด่นในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2561 ทุกท่านและทุกองค์กรที่มีผลงานด้านการป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติดยอดเยี่ยมและดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ เพื่อให้ลูกหลานไทยของเรามีอนาคตที่สดใส เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศชาติ” กองบรรณาธิ ก ารวารสารยุ ติ ธ รรมขอแสดง ความยินดีกบั ผูไ้ ด้รบั การประกาศเกียรติคณ ุ ฯ รวมทัง้ สิน้ 193 ราย โดยมีระดับยอดเยี่ยมในการป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติด จำนวน 5 ราย ซึ่งทั้ง 5 ท่านได้เล่า หลักสำคัญในการทำงานเพื่อเป็นหลักคิดในการทำงาน ให้กับทุก ๆ คน

หม่อมหลวงยุพดี ศิริวรรณ ที่ปรึกษาโครงการและเลขาธิการมูลนิธิ TO BE NUMBER ONE

ผู้ ส นองพระปณิ ธ านของทู ล กระหม่ อ มหญิ ง อุ บ ลรั ต นราชกั ญ ญา สิริวัฒนาพรรณวดี ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 16 ปี ส่งผลให้มีชมรม TO BE NUMBER ONE ทั่วประเทศ จำนวน 65,278 แห่ง มีสมาชิกกว่า 25 ล้านคน กล่าวถึงการทำงานการแก้ไขเรื่องยาเสพติดไว้ว่า “มูลนิธิ TO BE NUMBER ONE เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2545 จนขณะนี้ เป็ น เวลา 16 ปี เริ่ ม ต้ น ก็ มี ปั ญ หาอุ ป สรรคมากเหมื อ นกั น เพราะเริ่ ม จาก ไม่มีเงินทุน ไม่มีงบประมาณสนับสนุน แต่เราอยากให้เกิดความยั่งยืนต้องให้เขา ทำด้วยความสมัครใจ ตรงนี้เป็นจุดที่ยาก แต่พอผ่านไปประมาณ 5 ปี ณ วันนี้ อย่างที่ทราบมีชมรมจำนวนประมาณ 60,000 กว่า มีสมาชิกกว่า 25 ล้านคน ถ้าถามว่าประสบความสำเร็จ เรายึดแนวทางที่พระราชทานโดยองค์ประธาน พระองค์ เ คยมี พ ระดำรั ส ว่ า ทุ ก คนในชาติ และทุ ก หน่ ว ยงานในประเทศนี้ ต้องบูรณาการความร่วมมือกัน ไม่เช่นนั้นแล้ว จะต่างคนต่างทำแล้วไม่ประสบ ความสำเร็จ หัวใจของการทำงานตามแนวทางพระราชดำริ คือ การทำให้เกิด ความร่วมมือ ดังนั้น จะเห็นว่าเรามีคณะกรรมการระดับชาติ โดยมีพระองค์ท่าน จะพระราชทานนโยบายแต่ละปีในแนวทางใหม่ๆ เพื่อให้มพี ัฒนาการอย่างต่อเนือ่ ง และความสำเร็ จ ที่ ถื อ ว่ า เป็ น ‘คี ย์ ซั ค เซส’ คื อ การที่ อ งค์ ป ระธานโครงการ ทรงงานด้วยพระองค์เอง ท่านเสด็จฯ ไปเยี่ยมสมาชิกปีละประมาณ 20 กว่าครั้ง ในแต่ละเดือนท่านเสด็จฯ ไปในที่ต่างๆ ทุกคนมีจุดศูนย์รวมอยู่ที่พระองค์ท่าน เลยทำให้ ทุ ก คนให้ ค วามร่ ว มมื อ โดยสลายความเป็ น ตั ว ตน มาเป็ น คนของ ทูบีนัมเบอร์วันแทน”

4

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม


2.

พลตำรวจตรี ดาวลอย เหมือนเดช รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9

3.

พันตำรวจโท ไมตรี บุญมาศ รองผู้กำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้วางแผนและกำหนด Road Map ในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันปราบปราม ยาเสพติ ด และให้ ค ำปรึ ก ษาแนวทางวิ ธี ก ารสื บ สวนขยายผลให้ กั บ หน่ ว ยงานในสั ง กั ด เพื่อติดตามและพัฒนาศักยภาพชุดสืบสวนขยายผลยาเสพติด กล่าวถึงการทำงานการแก้ไข เรื่องยาเสพติดไว้ว่า “ในส่วนของการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดทำมา 10 กว่าปีแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิง่ การป้องกันโดยการให้ความรู้ แล้วใช้กฎหมายเป็นส่วนทีเ่ สริมและสนับสนุน คือ พ.ร.บ.มาตรการ สมคบหรือสนับสนุน การใช้กฎหมาย ปปง. จนไปถึงกฎหมายอาชญากรรมข้ามชาติ คือ เราเข้าใจว่าขบวนการค้ายาเสพติดนั้น ไม่ได้ทำคนเดียว เพราะฉะนั้น การที่จะปราบปราม เราจะต้ อ งบั ง คั บ ใช้ ก ฎหมายเป็ น สำคั ญ อี ก ทั้ ง ได้ มี ก ารเอาบทเรี ย นและประสบการณ์ ของการบังคับใช้ในมิติการปราบปราม โดยใช้ พ.ร.บ.มาตรการให้ข้อหาสมคบ เพื่อสืบสวน ขยายผลให้ไปถึงตัวการ นั่นหมายความว่า การปราบปรามขบวนการค้ายาเสพติดนั้นรายใหญ่ รายเล็กไม่สำคัญ แต่สำคัญที่ตัวการทำให้ขบวนการค้ายาเสพติดนั้นเคลื่อนไหวไปจนถึง ปลายทาง คื อ ผู้ เ สพ และปลายทางอี ก ส่ ว นหนึ่ ง คื อ ประเทศที่ 3 ซึ่ ง ความต้ อ งการ ของขบวนการค้ายาเสพติด คือ ใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านเพื่อที่จะจำหน่ายหรือแพร่ระบาด ในประเทศต่ า งๆ แนวทางการขยายผล นำบทเรี ย น วิ ธี ก ารที่ ชั ด เจน ให้ ผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง กับการปราบปรามนำรูปแบบนี้ไปใช้ในทางกฎหมายเพื่อให้สามารถดำเนินคดีและหยุดยั้ง ขบวนการเหล่านี้ให้ได้ สำหรับ ‘ไทยนิยม ยั่งยืน ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด’ ไม่ได้ให้หยุด การปราบปราม เพียงแต่ให้เป็นระบบของการป้องกัน คัดแยก และทำความเข้าใจว่าผูท้ เี่ กีย่ วข้อง กับยาเสพติด ระดับไหนที่ควรให้โอกาสเขา แล้วระดับไหนที่ควรใช้มาตรการที่เข้มงวด ผมคิดว่าจะเป็นไปในทางที่ดี และต้องคู่ขนานกับการปราบปราม”

ผูป้ ฏิบตั งิ านตามแผนสกัดกัน้ ยาเสพติดตามแนวชายแดน จับกุมผูต้ อ้ งหาคดียาเสพติด ที่สำคัญที่ลักลอบนำยาเสพติดเข้าสู่พื้นที่ตอนในได้หลายราย ประสบความสำเร็จทั้งด้าน การป้องกัน และปราบปราม ส่งผลให้งานด้านยาเสพติด สามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมาย กล่าวถึงการทำงานแก้ไขยาเสพติดไว้ว่า “การจับกุมนั้นต้องทำอย่างเบ็ดเสร็จและเด็ดขาด จนถึงกระบวนการดำเนินคดี หลาย ๆ กรณีที่ไม่คิดว่า ไม่น่าจะเป็นผู้ต้องหาที่ลำเลียงยาเสพติด แต่การทำงานต่าง ๆ นั้น ต้องผ่านการหาข้อมูลที่แน่ชัดแล้ว สำหรับโครงการ ‘ไทยนิยม ยั่งยืน ร่วมแก้ไขปัญหา ยาเสพติด’ นั้น เป็นเรื่องที่ดี เพราะชุมชนหรือคนในพื้นที่ช่วยกันแจ้งเบาะแส เพื่อให้ ขยายผลได้ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง มี ชุ ด ปฏิ บั ติ ก ารแก้ ไ ขปั ญ หายาเสพติ ด ในหมู่ บ้ า น มี โ ครงการ ตำรวจประสานโรงเรียน (1 ตำรวจ 1 โรงเรียน) และอีกโครงการที่สำคัญ คือ โครงการ ‘ปักกลด’ ซึ่งชุดปฏิบัติหน้าที่กินนอนในหมู่บ้านและชุมชนตลอด 24 ชั่วโมง ไม่น้อยกว่า 30 วั น โดยเข้ า ไปช่ ว ยเหลื อ บรรเทาความเดื อ ดร้ อ นของชาวบ้ า น สอดแทรกความรู้ เรื่ อ งยาเสพติ ด และกฎหมายเบื้ อ งต้ น กั บ ชาวบ้ า น เน้ น สร้ า งความสั ม พั น ธ์ ที่ ดี พบปะ กับชาวบ้าน เมื่อคุ้นเคยกับชาวบ้านจนได้รับความไว้วางใจ ชุมชนจะเป็น ‘แหล่งข่าวที่ดี’ ในการแจ้งข้อมูลของยาเสพติด”

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

5


4.

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์

5.

โรงเรียนธีรกานท์บ้านโฮ่ง

เป็นองค์กรทีม่ ผี ลงานโดดเด่นด้านการพัฒนาทางเลือก การนำศาสตร์พระราชา ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต พื้นที่ปลูกพืชเสพติด ให้การสนับสนุนงานแก้ไขปัญหา ยาเสพติด ผลักดันองค์ความรู้และบทเรียนจากความสำเร็จของประเทศไทย เพื่อใช้ เป็นแนวปฏิบัติด้านการพัฒนาทางเลือกของโลก โดยผู้แทนเข้ารับรางวัล ได้กล่าวถึง การทำงานการแก้ไขเรื่องยาเสพติดไว้ว่า “ในการแก้ปัญหาการปลูกพืชเศรษฐกิจ ซึ่งสมัยก่อนจะเป็นฝิ่น เน้นเรื่อง การสร้างคุณภาพชีวิต การส่งเสริมอาชีพสุจริต ให้เวลาชาวบ้านในการปรับเปลี่ยน การสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาศักยภาพของคนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถ เป็นผูก้ ำหนดเส้นทางการดำรงชีวติ ของตัวเองได้ เน้นเรือ่ งการศึกษาพัฒนาศักยภาพต่าง ๆ ปัจจุบันทางมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงได้ขยายผลโครงการไปยังประเทศต่างๆ ทำงานร่วมกับ สำนักงาน ป.ป.ส. ในนามของหน่วยปฏิบัติการในเรื่องของการนำศาสตร์พระราชา และแนวทางการทำงานของแม่ ฟ้ า หลวงไปเผยแพร่ ใ นประเทศเพื่ อ นบ้ า น มี ทั้ ง ประเทศพม่า อินโดนีเซีย อัฟกานิสถาน ปัจจุบันมีหน่วยงานที่สนใจเรียนรู้ อีกทั้ง จากประเทศต่างๆ เช่น ประเทศโคลัมเบีย ลาว พม่า ได้เข้ามาศึกษาอย่างต่อเนื่อง เป็ น เหมื อ นศู น ย์ ที่ เ ผยแพร่ อ งค์ ค วามรู้ ใ ห้ กั บ เขา ซึ่ ง เป็ น ผลดี ใ ห้ ป ระเทศไทยได้ มี การขยายผลโครงการไปยังพื้นที่ข้างเคียง”

นำนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไปดำเนินงานในโรงเรียนได้ อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและประสิ ท ธิ ผ ล มี ผ ลการดำเนิ น งานที่ เ ข้ ม แข็ ง และต่ อ เนื่ อ ง ตลอดระยะเวลา 15 ปี โดยผู้แทนที่เข้ารับรางวัล ได้กล่าวถึงการทำงานเพื่อแก้ไข ยาเสพติดไว้ว่า “ในเบื้องต้นถือว่าเป็นนโยบายของชาติที่ทุกหน่วยงาน องค์กร ต้องดำเนินการ ทางโรงเรี ย นมี ก ารปรึ ก ษาหารื อ ที ม งาน และผู้ มี ส่ ว นได้ส่ว นเสียทั้งหมดว่า เราจะ ดำเนินการกันด้านไหน อย่างไร ซึ่งวิธีการ คือ หลังจากที่เรารณรงค์มาช่วงหนึ่ง จากนั้น โรงเรียนธีรกานท์บ้านโฮ่ง ได้น้อมนำโครงการทูบีนัมเบอร์วันของทูลกระหม่อมหญิง อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เข้ามาดำเนินการในโรงเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2547 เพื่อรวมจิตใจของทั้งนักเรียนและผู้ปกครองชุมชนทั้งหมดในการแก้ไขปัญหายาเสพติด และดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลา 14 ปี และ ‘ไทยนิยม ยั่งยืน ร่ ว มแก้ ไ ขปั ญ หายาเสพติ ด ’ ถื อ ว่ า เป็ น เรื่ อ งที่ ดี ไ ด้ ร ะดมกำลั ง กั น มาโดยตลอด เพื่อล้อมรั้วครอบครัว ล้อมรั้วชุมชน ล้อมรั้วโรงเรียน ทุกฝ่ายร่วมกันสอดส่องดูแล ตลอดไปจนถึงให้โอกาสผู้ที่ก้าวพลาดได้กลับตัวกลับใจ” หัวใจหลักของการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด คือ ต้องดำเนินการ ควบคู่กันไปทั้งในด้านปราบปราบ และมิติของชุมชน ภายใต้กรอบแนวคิดและคำขวัญ “ไทยนิยม ยั่งยืน ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด” ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหา ยาเสพติด โดยน้อมนำศาสตร์พระราชามาเป็นแนวทางดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน อย่างแท้จริง

6

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม


กิจกรรมที่

2

กิจกรรม “วิ่งมินิมาราธอน ต่อต้านยาเสพติด” (RUN AGAINST DRUGS) เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน 2561 พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดและร่วมกิจกรรม “วิ่งมินิมาราธอน ต่อต้านยาเสพติด” (RUN AGAINST DRUGS) เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก (26 มิถุนายน) ประจำปี 2561 ซึง่ จัดขึน้ ภายใต้แนวคิดและคำขวัญ “ไทยนิยม ยัง่ ยืน ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด 26 มิถนุ ายน วันต่อต้านยาเสพติดโลก” เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก ตลอดจนรณรงค์ให้ประชาชนสนใจในการออกกำลังกาย เพือ่ สร้างสุขภาพอนามัยทีด่ แี ละห่างไกลยาเสพติด โดยมีคณะผูบ้ ริหารระดับสูงของกระทรวงยุตธิ รรม และผูบ้ ริหารหน่วยงานในสังกัด ผู้ร่วมสนับสนุน ศิลปิน-นักแสดง และประชาชนทั่วไป เข้าร่วม ณ สวนวชิรเบญจทัศ และสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ กรุงเทพฯ สำหรับกิจกรรม “วิ่งมินิมาราธอน ต่อต้านยาเสพติด” (RUN AGAINST DRUGS) ในครั้งนี้ ได้แสดงถึงการรวมพลัง เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการต่อต้านยาเสพติด โดยมีผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชนในการใช้เวลาว่างในการ ออกกำลังกายทำกิจกรรมห่างไกลจากยาเสพติด อาทิ พลพล-ทชภณ พลกองเส็ง พิม-พิมประภา ตั้งประภาพร เจษ-เจษฎ์พิพัฒ ติละพรพัฒน์ เทนนิส-พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ และศิลปิน-นักแสดง อาทิ แพนเค้ก-เขมนิจ จามิกรณ์ นุ่น-รมิดา ประภาสโนบล อัค-อัครัฐ นิมิตชัย เฌอเบลล์-ลัลณ์ลลิน เตจะสา เวศซ์ และเบญ-เรวิญานันท์ ทาเกิด เป็นต้น รวมถึงประชาชนทั่วไป จำนวนกว่า 5,000 คน ซึ่งการวิ่งแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ ได้แก่ ประเภทชาย-หญิง ระยะทาง 10.5 กิโลเมตร และประเภทชาย-หญิง ระยะทาง 5 กิโลเมตร ผู้เข้าเส้นชัยลำดับที่ 1-3 รับโล่รางวัลเกียรติยศจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

ประเภทระยะทาง 10.5 กิโลเมตร (ชาย)

ประเภทระยะทาง 10.5 กิโลเมตร (หญิง)

ประเภทระยะทาง 5 กิโลเมตร (ชาย)

ประเภทระยะทาง 5 กิโลเมตร (หญิง)

รางวัลชนะเลิศ จ.ส.อ.รณธิชัย รสจันทร์

รางวัลชนะเลิศ คุณธัญลักษณ์ จันทราช

รางวัลชนะเลิศ คุณพิชัย หงษ์จันทร์

รางวัลชนะเลิศ คุณกนกวรรณ เมืองรี

รองชนะเลิศอันดับ 1 ส.ท.มัคซ์ อัมรินทร์

รองชนะเลิศอันดับ 1 คุณธีรนันท์ พรหมศิริ

รองชนะเลิศอันดับ 1 คุณธีรเดช เหม่นหรุ่ม

รองชนะเลิศอันดับ 1 คุณอุไรวรรณ จุลบุษย์

รองชนะเลิศอันดับ 1 จ.ส.อ.กฤษฎา อนันตะ

รองชนะเลิศอันดับ 1 คุณนิตยา งามโสม

รองชนะเลิศอันดับ 1 คุณคมสันต์ จุลทะสี

รองชนะเลิศอันดับ 1 คุณศุภพิชญ์ เลนุกูล

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

7


กิจกรรมที่

3

พิธีเผาทำลายยาเสพติดให้โทษของกลาง ครั้งที่ 48

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2561 นายวิชัย ไชยมงคล รองเลขาธิการ ป.ป.ส. ร่วมพิธีเผาทำลายยาเสพติดให้โทษ ของกลาง ครัง้ ที่ 48 ณ ศูนย์บริหารสาธารณูปโภคและสิง่ แวดล้อม นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี นายแพทย์ธวัช สุนทราจารย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง สาธารณสุ ข เป็ น ประธานในพิ ธี สำหรั บ ในปี นี้ มี ข องกลาง น้ำหนักรวม 6,322 กิโลกรัม จากจำนวนคดีรวมทัง้ สิน้ 7,245 คดี

8

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม


คุ้มครองคน คุ้มครองสิทธิ ดร.สุรศักดิ์ ศรีสาร นักวิชาการยุติธรรมชำนาญการพิเศษ

การไกล่ เ กลี ย ่ ระงับข้อพิพาทโดยชุมชน

ปรัชญางานพัฒนาชุมชน กล่าวว่า มนุษย์มีความ สามารถและมีพลังอันซ่อนเร้น (Potential Ability) แฝงอยู่ ทัง้ พลังความคิด ทักษะ แรงงาน ทีม่ คี วามสามารถพัฒนาตนเอง ได้ตามขีดความสามารถทางคุณภาพและคุณธรรม หากโอกาส อำนวยและมี ผู้ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น ซึ่ ง การอยู่ ร่ ว มกั น ในชุ ม ชน สั ง คมมนุ ษ ย์ ต้ อ งการอยู่ ด้ ว ยความสุ ข กาย สบายใจและ มีความเป็นธรรม ดังนั้น การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทจึงเป็น เรือ่ งของชุมชนเอง เพราะเหตุเกิดทีช่ มุ ชนย่อมระงับด้วยชุมชนเอง ทั้งนี้ มนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งรูปลักษณ์ ความคิด ความรู้ มุ ม มอง ค่ า นิ ย ม ความสั ม พั น ธ์ ผลประโยชน์ แ ละ ประสบการณ์ โดยความแตกต่างนี้เองที่เป็นบ่อเกิดของความ ขัดแย้ง ดังนั้น เมื่อมนุษย์ซึ่งมีความแตกต่างดังกล่าวเข้ามาอยู่ ร่วมกันในสังคมและมีพฤติกรรมแสดงถึงความแตกต่างของตน ออกมา อาจทำให้เกิดความขัดแย้งกับบุคคลอื่นอย่างหลีกหนี ไม่พ้น จึงกล่าวได้ว่า ธรรมชาติการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ย่อมมี ความขัดแย้งกันเป็นเรื่องธรรมดา และเมื่อรู้ว่าความขัดแย้ง เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจึงต้องมีวิธีจัดการความขัดแย้ง เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท โดยชุมชนเพื่อชุมชน เป็นการดำเนินการระงับข้อพิพาทต่างๆ ให้หมดไปจากชุมชน กลับกลายมาเป็น ชุมชนสมานฉันท์ ซึ่งเกิดจากความผูกพัน ของคนในชุมชนเอง

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

9


เมื่อกล่าวถึงกระบวนการจัดการความขัดแย้ง นักวิชาการแต่ละคนต่างก็มีวิธีการจัดการความขัดแย้งที่หลากหลาย ซึง่ ส่วนใหญ่เป็นทฤษฎีทมี่ าจากต่างประเทศ ผูเ้ ขียนในฐานะทีเ่ ป็นนักวิชาการทีศ่ กึ ษาวิธกี ารจัดการความขัดแย้งมาพอประมาณ จึงคิดว่าเราควรใช้บริบทอย่างง่ายในการจัดการความขัดแย้ง ไม่ต้องอ้างทฤษฎีหรือวิธีการอะไรที่มากมาย เพราะทุกอย่าง จำกัดด้วยเวลา กล่าวคือ มีเรือ่ งปุบ๊ ก็ไกล่เกลีย่ กันปับ๊ นัน่ เป็นวิธกี ารง่าย ๆ ของชุมชน เพราะชุมชนไม่มเี วลาพอทีจ่ ะไปหานูน้ หานี่ มาหรอก อย่างมากก็ใช้ทุนของชุมชนเอง ซึ่งทุนของชุมชน (Community Capital) ในที่นี้คือ ผู้นำในการไกล่เกลี่ยระงับ ข้อพิพาทในชุมชน กระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยชุมชนอย่างมีสมานฉันท์ ยังคงใช้ศักยภาพของชุมชน ซึ่งศักยภาพของชุมชน คือ การที่ชุมชนมี “คน ความรู้ ทรัพยากร” ไม่ได้ “โง่ จน เจ็บ” แต่ขาดโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเอง ไม่มีความรู้ในการจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ชาวบ้านสามารถค้นหาศักยภาพของชุมชน ได้จาก “คน” กล่าวคือ การค้นพบความรู้ความสามารถของคนหรือของผู้รู้ คนที่สั่งสมความรู้และประสบการณ์จากการทำงาน หรือจากการสืบทอดภูมปิ ญ ั ญาดัง่ เดิมในด้านต่าง ๆ คนทีเ่ ป็นครู เป็นแรงงาน และ “ความรู”้ คือ องค์ความรูแ้ ละตัวความรูต้ า่ ง ๆ ที่มีอยู่ในการดำรงชีวิต การทำมาหากิน การอยู่ร่วมกัน และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังนั้น การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยชุมชนอย่างมี สมานฉันท์ จึงจำเป็นต้องใช้ “ศักยภาพของชุมชน” อาทิ ความพึงพอใจ (Satisfaction) ความโปร่งใส (Transparency) ความเป็นกลาง (Neutrality) การประสานงาน (Coordination) การมีส่วนร่วม (Participation) การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) ลดขั้ น ตอนการทำงาน (Process Works) เครื อ ญาติ (Kinship) ความยื ด หยุ่ น (Flexibility) และ ความรู้ (Knowledge) ซึ่ ง นอกจากการใช้ ศั ก ยภาพ ของชุมชนแล้ว ชุมชนยังต้องใช้ “เวทีประชาคม” ซึ่งหมายถึง การรวมตัวของสมาชิกในชุมชนเพื่อร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนด้วยตนเอง เช่น การแก้ไขปัญหาของชุมชน การกำหนด ข้อตกลงร่วมกันโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่มีวัตถุประสงค์หรือสนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นการรวมตัวกัน ตามสถานการณ์ ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายและศีลธรรม อันดีของสังคม ทำให้สมาชิกเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน มีความรัก ความเอื้ออาทร และความผูกพันต่อกันด้วยความรู้สึกสำนึก ในความเป็นเจ้าของชุมชน สำหรั บ ผลของการดำเนิ น การไกล่ เ กลี่ ย ระงั บ ข้ อ พิ พ าท โดยชุ ม ชนนั้ น จะทำให้ เ กิ ด ความเป็ น ธรรมในชุ ม ชน (Adaptation) กล่ า วคื อ เกิ ด ความสมานฉั น ท์ ใ นชุ ม ชน ซึ่ ง หมายถึ ง การที่ ชุ ม ชน ใช้วิธีการใดๆ ต่อผู้เสียหาย และผู้กระทำผิด โดยในกรณีที่สมควร อาจมี บุ ค คลหรื อ สมาชิ ก คนอื่ น ของชุ ม ชนที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบ จากอาชญากรรมนั้น ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีผู้ประสานงานจัดกระบวนการไกล่เกลี่ยระงับ ข้อพิพาทของคนในชุมชนโดยอยู่บนพื้นฐานของความจริง (Truth) ความยุ ติ ธ รรม (Justice) ความรั บ ผิ ด ชอบ (Accountability) การให้อภัย (Forgiveness) และการเคารพความหลากหลายทางศาสนา และวัฒนธรรม

10

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม


แผนภูมิที่ 1 รูปแบบการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยชุมชนอย่างสมานฉันท์ (CPR MODEL)

ข้อพิพาท ชุมชน

ทุนชุมชน (Community Capital)

ผู้นำชุมชน

กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครในชุมชน ผู้นำทางการและไม่ทางการ

กระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยชุมชน อย่างมีสมานฉันท์ (Process Mediation) 1. ความพึงพอใจ (S) 2. ความโปร่งใส (T) 3. เกิดความเป็นกลาง (N) 4. การประสานงาน (C) 5. การมีส่วนร่วม (P)

6. การประชาสัมพันธ์ (P) 7. ลดขั้นตอน (P) 8. เครือญาติ (K) 9. ความยืดหยุ่น (F) 10. ความรู้ (K)

เวทีประชาคม

ความจริง

ชุมชนสมานฉันท์ (Restorative)

สะท้อนกลับ (Feedback)

เคารพความหลากหลาย ทางวัฒนธรรม

ผลของ การปรับตัว

ความรับผิดชอบ การให้อภัย ความยุติธรรม วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

11


จากข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพที่ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ทำให้สามารถเข้าใจกระบวนการไกล่เกลี่ย ระงับข้อพิพาท โดยเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่าง ทุนของชุมชน (Community Capital) กระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท โดยชุ ม ชน (Conflict reconciliation mediation model by community) และผลของการปรั บ ตั ว (Output Adaptation) โดยกระบวนการปรับตัวดังกล่าวจะเชื่อมโยงกับทุนชุมชน (Capital Community) ซึ่งประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำ และอาสาสมัคร การมีทุนในการปรับตัวนั้นเป็นเงื่อนไขที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการปรับตัว โดยชุมชนสามารถนำเอาทุนที่มีอยู่มาขับเคลื่อนและสร้างกระบวนการปรับตัวได้ โดยกระบวนการปรับตัวที่ประชาชนนำมาใช้ มีดังนี้ 1. ความพึงพอใจ (Satisfaction) 6. การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) 2. ความโปร่งใส (Transparency) 7. ลดขั้นตอนการทำงาน (Process Works) 3. ความเป็นกลาง (Neutrality) 8. เครือญาติ (Kinship) 4. การประสานงาน (Coordinating) 9. ความยืดหยุ่น (Flexible Adaptation) 5. การมีส่วนร่วม (Participation) 10. ความรู้ (Knowledge) จะเห็นได้ว่า การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยชุมชนเพื่อชุมชน เป็นการดำเนินการระงับข้อพิพาทต่างๆ ให้หมดไป จากชุมชน หรือให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด โดยคนในชุมชนเอง ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้วิถีชีวิตของตนเอง หรือใช้ความเป็นเครือญาติ โดยใช้ความจริง ความยุติธรรม ความรับผิดชอบและการให้อภัย และเหนือสิ่งอื่นใดคือใช้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นมาให้หมดไป กลับกลายมาเป็นชุมชนสมานฉันท์ซึ่งเกิดจากความผูกพันของคนในชุมชนเอง อาจกล่าวได้ว่า การนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือก (Alternative Dispute Resolution) โดยเฉพาะวิธีการ ที่ เ รี ย กว่ า การไกล่ เ กลี่ ย ข้ อ พิ พ าท (Mediation) ไปปรั บ ใช้ เ พื่ อ แก้ ไ ขปั ญ หาความขั ด แย้ ง ในสั ง คมทุ ก ระดั บ ถื อ เป็ น กระแสโลกาภิวตั น์ (Globalization) อย่างหนึง่ ซึง่ เป็นทีน่ ยิ มแพร่หลายไปทัว่ โลก ทัง้ นี ้ เนือ่ งจากเป็นกระบวนการทีส่ ามารถ ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหรือจุดอ่อนของการพิจารณาคดีโดยศาลได้เป็นอย่างดี ซึ่งน่าจะเป็นทิศทางที่ถูกต้องแล้ว หากมนุษย์ต้องการอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

12

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม


เรื่องเล่ายุติธรรม

กองบรรณาธิการ

กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ร่วมจัด

การประชุมคองเกรสนานาชาติ ของสภาเจ้าพนักงานบังคับคดี ระหว่างประเทศ (UIHJ) ครั้งที่ 23

“กระทรวงยุตธิ รรม” กับบทบาทในเวทีระดับนานาชาตินนั้ ได้รบั ความเชือ่ มัน่ จากนานาประเทศเสมอมาและล่าสุดได้มีการรวมสมาชิกสภาเจ้าพนักงานบังคับคดี ระหว่ า งประเทศกว่ า 50 ประเทศทั่ ว โลก สมาชิ ก อาเซี ย น ผู้ บ ริ ห ารจากองค์ ก ร ระหว่างประเทศ นักวิชาการ ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรมและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประชุมกว่า 400 คน ซึ่งถือว่าเป็นการประชุมที่ยิ่งใหญ่ครั้งแรกในทวีปเอเชีย สำหรับ งานการพัฒนางานบังคับคดีให้ก้าวทันยุคสมัย โดยเมือ่ วันที่ 2 พฤษภาคม 2561 พลอากาศเอก ประจิน จัน่ ตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานพิธีเปิดและกล่าวเปิดการประชุม คองเกรสนานาชาติของสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ ครั้งที่ 23 (UIHJ XXIII Congress: Bangkok (Thailand) ซึ่ ง กรมบั ง คั บ คดี กระทรวงยุ ติ ธ รรม ร่วมกับสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ (UIHJ) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ภายใต้หัวข้อ “หลักประกันความยุติธรรมที่มั่นคงและยั่งยืน : เจ้าพนักงานบังคับคดี องค์ประกอบสำคัญของหลักธรรมาภิบาล” (Guaranteeing a Secure and Sustainable Justice: The Judicial Officer, an Essential Element of Good Governance) โดยมีสมาชิกสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศกว่า 50 ประเทศ ผู้แทน ประเทศสมาชิกอาเซียน ผู้บริหารจากองค์กรระหว่างประเทศ นักวิชาการ ผู้บริหาร กระทรวงยุ ติ ธ รรม ผู้ บ ริ ห ารและผู้ แ ทนศาลยุ ติ ธ รรม สำนั ก งานอั ย การสู ง สุ ด สำนักงานศาลปกครอง กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สถาบั น เพื่ อ การยุ ติ ธ รรมแห่ ง ประเทศไทย สภาทนายความ สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริม การจัดการประชุมและนิทรรศการ ประมาณ 400 คน เข้าร่วมฯ ณ ห้อง World Ballroom ABC ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

13


รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรม กล่าวว่า การประชุมคองเกรสนานาชาติ ครั้งที่ 23 ที่ จั ด ขึ้ น ในประเทศไทย ถื อ เป็ น เวที ก ารประชุ ม นานาชาติ ทีม่ คี วามสำคัญเป็นอย่างยิง่ สำหรับผูท้ ท่ี ำหน้าทีเ่ ป็นเจ้าพนักงาน บังคับคดีแพ่งของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งที่เป็นเอกชนและ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ ประสบการณ์ ร ะหว่ า งกั น ในประเด็ น ที่ ส ำคั ญ และประเด็ น ที่มีความท้าทายต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ และดิจิทัล เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ดีรองรับพัฒนาการ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบังคับคดีมีความเป็นธรรมและ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และพัฒนาวิชาชีพเจ้าพนักงานบังคับคดี ที่ถือเป็นกลไกสำคัญกลไกหนึ่งในการอำนวยความยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับ ผูล้ งทุน และสร้างหลักประกันความยุตธิ รรมทีม่ นั่ คงและยัง่ ยืน ให้กับประเทศ รวมทั้งการประชุมครั้งนี้ เป็นการเสริมสร้าง เครือข่ายระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านการบังคับคดีจากประเทศ ต่าง ๆ ทั่วโลก สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้กำหนดวิสัยทัศน์ ยุ ท ธศาสตร์ ช าติ เ พื่ อ นำประเทศไปสู่ ค วาม “มั่ น คง มั่ ง คั่ ง และยั่งยืน” และเป็นประเทศที่พัฒนาด้วยการนำหลักตาม ปรั ช ญา “เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง” โดยรั ฐ บาลได้ ก ำหนด ยุ ท ธศาสตร์ ช าติ 20 ปี และแผนการปฏิ รู ป ประเทศ และนโยบายรั ฐ บาลในส่ ว นของนโยบายการปรั บ ปรุ ง กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ได้กำหนดอย่างชัดเจนว่า ในระยะเฉพาะหน้ า จะเร่ ง ปรั บ ปรุ ง ประมวลกฎหมายหลั ก ของประเทศทีล่ า้ สมัย ไม่เป็นธรรม ไม่สอดคล้องกับความตกลง ระหว่างประเทศ เป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งกระทรวงยุติธรรม โดยกรมบังคับคดีได้ร่วมกับสำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดี

14

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

ตามคำพิพากษาหรือคำสัง่ ทีม่ ผี ลใช้บงั คับ เมือ่ วันที่ 5 กันยายน 2560 ซึ่ ง ถื อ เป็ น การปฏิ รู ป ครั้ ง สำคั ญ โดยมี ห ลั ก การ เพื่ อ ปรั บ ปรุ ง บทบั ญ ญั ติ ว่ า ด้ ว ยการบั ง คั บ คดี ใ ห้ ส อดคล้ อ ง กับสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ลดขัน้ ตอนการบังคับคดี ปรับปรุงกระบวนการบังคับคดีให้งา่ ย สะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม และประหยัดค่าใช้จ่าย รองรับ ประเภทของทรัพย์สินประเภทใหม่ๆ ทั้งที่มีรูปร่างและไม่มี รูปร่าง ลดโอกาสในการใช้ช่องทางกฎหมายเพื่อการประวิงคดี และกำหนดให้มีมาตรการคุ้มครองคู่ความและบุคคลภายนอก ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ การบังคับคดีแพ่งซึ่งเป็นกระบวนการ ยุ ติ ธ รรมทางแพ่ ง ยั ง เป็ น ปั จ จั ย สำคั ญ ในด้ า นการสร้ า ง ขีดความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศ และเป็น ประเด็นสำคัญที่ธนาคารโลกได้กำหนดเป็นตัวชี้วัดและจัดทำ การประเมินในด้านความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ในเรื่องการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง ตัวชี้วัดที่ 9 ซึ่งกระทรวงยุติธรรม โดยกรมบังคับคดี ได้รับ มอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นผู้ดำเนินการร่วมกับสำนักงาน ศาลยุติธรรม ผลการจัดอันดับในปี 2561 ประเทศไทยได้รับ การจัดลำดับในเรื่องนี้ดีขึ้นเป็นลำดับที่ 34 ดีขึ้นมากถึง 17 ลำดับ เนือ่ งจากระยะเวลาในการบังคับคดีและค่าใช้จา่ ยในการ บังคับคดีลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งธนาคารโลกระบุว่าระยะเวลา การบั ง คั บ คดี ท่ีล ดลงเพราะมี ก ารนำระบบอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ มาใช้ แ ละกระบวนการบั ง คั บ คดี มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพที่ ดี ขึ้ น


ซึง่ กระทรวงยุตธิ รรม โดยกรมบังคับคดี ได้มงุ่ พัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง ปรับปรุงกระบวนการทำงานทุกๆ ด้าน เพือ่ ลดขัน้ ตอนและอำนวยความสะดวกให้กบั ประชาชน นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการทำงาน เพือ่ ให้กระบวนการบังคับคดี มีประสิทธิภาพยิง่ ขึน้ ซึง่ การพัฒนาอย่างต่อเนือ่ งดังกล่าว สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงยุตธิ รรมในการอำนวยความยุตธิ รรม ลดความเหลื่อมล้ำ และขจัดความทุกข์ยาก นางสาวรืน่ วดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่า การจัดการประชุมคองเกรสนานาชาติของสภาเจ้าพนักงาน บังคับคดีระหว่างประเทศ ครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 1 - 4 พฤษภาคม 2561 เป็นไปตามมติที่ประชุมสภาเจ้าพนักงานบังคับคดี ระหว่างประเทศ ในการประชุมคองเกรสนานาชาติ ครั้งที่ 22 ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน พ.ศ. 2558 ที่ได้มีมติเห็นชอบ เป็นเอกฉันท์ให้การประชุมคองเกรสนานาชาติ ครั้งที่ 23 จัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยกระทรวงยุติธรรม และกรมบังคับคดีรว่ มกับสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ (UIHJ) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ตามทีก่ ระทรวงยุตธิ รรม โดยกรมบังคับคดีได้สมัครแข่งขันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว และได้นำเสนอความพร้อมและศักยภาพของประเทศไทย ในการจั ด ประชุ ม ระดั บ นานาชาติ ซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น การจั ด การประชุ ม คองเกรสนานาชาติ ข องสภาเจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ระหว่างประเทศ (UIHJ) ในประเทศไทยและทวีปเอเชียเป็นครั้งแรกในรอบ 66 ปี สำหรับการประชุมคองเกรสนานาชาติของสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ ครั้งที่ 23 นี้ มีการจัดประชุม เชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อประชุมหารือและแลกเปลี่ยนความเห็นต่อประเด็นที่มีความท้าทายและเป็นประเด็น ที่มีความเป็นทันสมัยใน 3 หัวข้อที่สำคัญ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ดังนี้ • หัวข้อที่ 1 “หลักประกันความยุติธรรมด้านความปลอดภัยของข้อมูล” โดยมีนางพิมลรัตน์ วรรธนะหทัย ผูพ้ พิ ากษาอาวุโสประจำศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ นางสาวรืน่ วดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี และนายอภินนั ท์ สุนทรนันท์ ผูอ้ ำนวยการผูบ้ ริหารสายประสานการร้องเรียนและการเปิดเผยข้อมูลกับหน่วยงานทางการ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ร่วมอภิปรายกับนักวิชาการ ผู้บริหารจากองค์กรระหว่างประเทศ และสมาชิกสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ • หัวข้อที่ 2 “หลักประกันความยุติธรรมด้านความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานกับหลักธรรมาภิบาล” โดยมี หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติร่วมอภิปรายกับนักวิชาการ ผู้บริหารจากองค์กร ระหว่างประเทศ และสมาชิกสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ • หั ว ข้ อ ที่ 3 “หลั ก ประกั น ความยุ ติ ธ รรมด้ า นเครื่ อ งมื อ ระบบดิ จิ ทั ล เพื่ อ ความยุ ติ ธ รรมที่ ยั่ ง ยื น ” โดยมี นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี ร่วมอภิปรายกับนักวิชาการ ผู้บริหารจากองค์กรระหว่างประเทศ และสมาชิก สภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ การจัดประชุมคองเกรสนานาชาติกบั สภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ ครัง้ ที ่ 23 นี ้ ถือเป็นการเผยแพร่พฒ ั นาการด้านการบังคับคดีแพ่งของไทยทีม่ ปี ระสิทธิภาพและมาตรฐานสากล เสริมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าพนักงานบังคับคดีจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก นักวิชาการ และผู้บริหารจากองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อันเป็นการส่งเสริมความร่วมมือ ในระดับนานาชาติให้มคี วามก้าวหน้าต่อไป เพือ่ ให้การบังคับคดีมคี วามเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้นและเสริมสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านการบังคับคดีจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งยังเป็นโอกาสที่ดีในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ ของประเทศอีกด้วย วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

15


ที่นี่แจ้งวัฒนะ

กองบรรณาธิการ

“ยุติธรรม” ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายยาเสพติด ตามแนวชายแดนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พลอากาศเอก ประจิ น จั่ น ตอง รองนายกรั ฐ มนตรี แ ละรั ฐ มนตรี ว่ า การ กระทรวงยุติธรรม ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยม และมอบนโยบายการดำเนินงานสกัดกั้น และปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดน พื้ น ที่ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ตอนบน ณ หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่นำ้ โขง จังหวัดนครพนม เพือ่ พบปะและให้กำลังใจกำลังพลนครพนม ทีม่ ผี ลการดำเนินงานด้านการ สกัดกัน้ ยาเสพติดดีเด่น ฟังบรรยายสรุป และมอบนโยบายการดำเนินงาน สกัดกัน้ และปราบปรามยาเสพติดบริเวณชายแดนให้กบั หน่วยปฏิบตั งิ าน ยาเสพติ ด ในพื้ น ที่ และลงพื้ น ที่ เ พื่ อ ตรวจเยี่ ย มและให้ ก ำลั ง ใจ ในการดำเนิ น งานการป้ อ งกั น และแก้ ไ ขปั ญ หายาเสพติ ด หมู่ บ้ า น ชุ ม ชนเข้ ม แข็ ง บ้ า นหนาด หมู่ ที่ 1 และหมู่ ที่ 2 ตำบลบ้ า นกลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

“ยุติธรรม” ประชุมคณะกรรมการเพื่อการประสานงานเชื่อมโยง กับคณะกรรมการยุทธศาสตร์และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ครั้งที่ 2/2561 ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็ น ประธานการประชุ ม คณะกรรมการเพื่ อ การประสานงานเชื่ อ มโยงกั บ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ และคณะกรรมการปฏิรปู ประเทศ กระทรวงยุตธิ รรม ครั้งที่ 2/2561 โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม และผู้แทนจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมฯ เพื่อพิจารณาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงาน ของสำนักงานคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติเพื่อรองรับการขับเคลื่อน แผนปฏิรูปประเทศและร่างยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ณ ห้องประชุม กระทรวงยุตธิ รรม 1 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ

“ยุติธรรม” หารือแนวทางการพัฒนาระบบ Big Data ของกระทรวงยุติธรรม ศาสตราจารย์ พิ เ ศษวิ ศิ ษ ฏ์ วิ ศิ ษ ฏ์ ส รอรรถ ปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม เป็ น ประธานการประชุ ม คณะทำงานบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) กระทรวงยุ ติ ธ รรม ครั้ ง ที่ 1/2561 เพื่ อ พิ จ ารณา แนวทางการพัฒนา Big Data ของกระทรวงยุติธรรม โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม 2 ชั้น 8 อาคารราชบุรี ดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ

16

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม


“ยุตธิ รรม” เร่งแก้ไขปัญหาหนีส้ นิ ให้กบั ประชาชน

“ยุติธรรม” ขับเคลื่อนไทยนิยม ผ่านกลไกความเข้มแข็งของยุติธรรมจังหวัด ศาสตราจารย์ พิ เ ศษวิ ศิ ษ ฏ์ วิ ศิ ษ ฏ์ ส รอรรถ ปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม เป็ น ประธานการประชุ ม คณะกรรมการบริ ห ารเพื่ อ สนั บ สนุ น การพั ฒ นาประเทศ ตามโครงการไทยนิยมยัง่ ยืน กระทรวงยุตธิ รรม ครัง้ ที่ 1/2561 เมือ่ วันที่ 16 มกราคม 2561 เพือ่ รับทราบกลไกการขับเคลือ่ น การทำงานโครงการไทยนิยมยั่งยืนของกระทรวงยุติธรรม ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ณ ห้องประชุมกระทรวงยุตธิ รรม 1 ชัน้ 9 อาคารราชบุรดี เิ รกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ

“ยุติธรรม” เร่งรัดการดำเนินงานเพื่อปรับปรุง ประสิทธิภาพการให้ความช่วยเหลือประชาชน

นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำ Flow Chart การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบและในระบบ ครั้งที่ 1/2561 จั ด ขึ้ น โดยศู น ย์ ช่ ว ยเหลื อ ลู ก หนี้ แ ละประชาชนที่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ ความเป็ น ธรรม กรมสอบสวนคดี พิ เ ศษ เพื่ อ จั ด ทำ ร่าง Flow Chart “โครงสร้างกลไกการแก้ไขปัญหาหนี้สิน” โดยที่ประชุมได้พิจารณาบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน ในการช่วยเหลือหนี้นอกระบบในด้านการบังคับใช้กฎหมาย การช่วยเหลืออำนวยความยุตธิ รรม การช่วยเหลือด้านแหล่งทุน และการช่ ว ยเหลื อ สงเคราะห์ ตลอดจนพิ จ ารณาบทบาท ของหน่วยงานต่างๆ ณ ห้องประชุม 1 ชัน้ 1 อาคารกรมสอบสวน คดีพิเศษ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ นางกรรณิการ์ แสงทอง รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็ น ประธานการประชุ ม ทางไกลผ่ า นจอภาพ (Video Conference System) โดยมี นางสาวปิติกาญจน์ สิทธิเดช อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมประชุม เพื่อเร่งรัด การดำเนิ น งานตามมาตรการปรั บ ปรุ ง ประสิ ท ธิ ภ าพ เพื่ อ ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และพิจารณาปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือ ประชาชนให้ มี ร ะยะเวลาที่ ร วดเร็ ว ขึ้ น ณ ห้ อ งประชุ ม กระทรวงยุติธรรม 2 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการ เฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

17


คนยุติธรรม

กองบรรณาธิการ

“รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี”

มุ่งพัฒนานวัตกรรม การให้บริการ ด้านงานบังคับคดี พร้อมปรับโฉม งานบังคับคดี สู่เวทีโลก

กรมบังคับคดีไม่ได้มีหน้าที่เพียงให้บริการ ด้านการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟู กิจการของลูกหนี้เท่านัน้ แต่ภารกิจของกรมบังคับคดี เป็นภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งในการส่งเสริม และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่ ง ขั น ของประเทศ ธนาคารโลกได้ จั ด อั น ดั บ ความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ ประจำปี 2561 (Ease of Doing Business 2018) โดยประเทศไทย ได้รับการจัดลำดับเป็นที่ 26 จาก 190 ประเทศ ทั่วโลก สำหรับผลการจัดอันดับในตัวชี้วัดที่ 9 การบั ง คั บ ให้ เ ป็ น ไปตามข้ อ ตกลง (Enforcing Contracts) โดยกรมบังคับคดีดำเนินการร่วมกับ สำนักงานศาลยุติธรรม ได้รับการจัดลำดับที่ดีขึ้น เป็นลำดับที่ 34 ส่วนตัวชี้วัดที่ 10 การแก้ไขปัญหา การล้ ม ละลาย (Resolving Insolvency) ทีก่ รมบังคับคดีรบั ผิดชอบได้รบั การจัดลำดับที่ 26 และเป็นที่ 1 ของอาเซียน

คอลัมน์คนยุติธรรมฉบับนี้ ได้รับเกียรติจาก นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี มาเล่าเรื่องราว อย่างละเอียดในการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อธิ บ ดี ก รมบั ง คั บ คดี เ ล่ า ว่ า นโยบายรั ฐ บาลกำหนดชั ด เจนเรื่ อ งการเป็ น ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่ ง กรมบั ง คั บ คดี ปั ก หมุ ด ไทยแลนด์ 4.0 มาตั้งแต่ปี 2558 แล้ว จนกระทั่งสามารถก้าวสู่ LED 4.0 ซึ่งมุ่งเน้นการนำนวัตกรรมมาใช้ในการอำนวยความสะดวก แก่ประชาชน เพราะกรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานบริการด้านการบังคับคดีแพ่งและคดีล้มละลาย จึงต้องอำนวยความสะดวกให้กับ ประชาชนได้อย่างรวดเร็วภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สำหรับการตั้งเป้าหมายสู่การเป็น “LED 4.0” จึงได้กำหนดแนวทางขับเคลื่อนใน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านนวัตกรรม ด้านการบริหารจัดการข้อมูล และด้านการพัฒนาคน

ด้านนวัตกรรม

กลไกงานของกรมบังคับคดีเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุน โดยมีกฎหมายที่ทันสมัย ประชาชนสามารถติดต่อขอรับบริการได้สะดวก มีกระบวนการทำงานที่รวดเร็วขึ้น จึงได้เริ่มต้นการพัฒนานวัตกรรมและระบบ การให้บริการประชาชน ตั้งแต่ปี 2558 โดยพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน (e – Service) ต่างๆ ดังนี้ ระบบการค้นหาทรัพย์ ที่อยู่ระหว่างการประกาศขายทอดตลาด ระบบการตรวจสอบสถานะคดีแพ่ง ระบบตรวจสอบบุคคลล้มละลาย ระบบตรวจสอบ การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ระบบยื่นคำร้องขอรับเงินส่วนแพ่งในคดีล้มละลาย ระบบยื่นคำร้องวางเงินค่าใช้จ่ายเพิ่ม และระบบ ถ่ายทอดสดการขายทอดตลาดทรัพย์ 26 หน่วย และระบบลงนัดล่วงหน้าสำหรับสำนวนคดีแพ่ง นอกจากนี้ ได้พัฒนาระบบ Application on mobile ที่ให้บริการด้านงานบังคับคดีแก่ประชาชนทั้งในระบบ IOS และ Android ประกอบด้วย แอปพลิเคชัน LED Property ระบบค้นหาทรัพย์ที่อยู่ระหว่างประกาศขายทอดตลาด แอปพลิเคชัน LED Property+ ระบบค้นหาห้องชุดใกล้แนวรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างประกาศขายทอดตลาด แอปพลิเคชัน LED Streaming ระบบ

18

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม


ถ่ า ยทอดสดการขายทอดตลาด แอปพลิ เ คชั น LED ABC (Application Bankruptcy Checking) ระบบตรวจสอบบุคคลล้มละลาย และระบบ LED Debt Info ระบบตรวจสอบยอดเงินที่นำส่งอายัดและยอดหนี้คงเหลือ และที่สำคัญได้พัฒนาการส่งคำสั่งซื้อผ่านระบบ (e-Offering Auction) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อทอดตลาดที่ต้องการซื้อทรัพย์ที่ประกาศขาย ทอดตลาดที่ ก รุ ง เทพมหานคร โดยไม่ ต้ อ งเดิ น ทางมาที่ ห้ อ งขายทอดตลาด กรมบังคับคดี แต่สามารถส่งคำสั่งซื้อผ่านสำนักงานบังคับคดีเครือข่าย ได้แก่ สำนั ก งานบั ง คั บ คดี จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ขอนแก่ น นครราชสี ม า และสงขลา จึงเป็นการประหยัดเวลา และลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้สนใจซื้อทรัพย์ ที่ผ่านมากรมบังคับคดีได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฉบับใหม่ เพื่อรองรับ การซื้อขายทอดตลาดอิเล็กทรอนิกส์ได้เป็นครั้งแรกแล้ว อีกทั้งยังได้นำระบบบัตรคิวมาใช้ในการให้บริการประชาชน เพื่อความ โปร่งใสและการให้บริการประชาชน ที่สามารถติดตามการดำเนินงานในขั้นตอน ต่างๆ ได้อย่างชัดเจน และเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา กรมบังคับคดีได้นำนวัตกรรม การนำการจ่ายสำนวนคดีลม้ ละลายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการปฏิบตั งิ าน เพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ สำหรั บ สำนวนคดี ล้ ม ละลายที่ ไ ด้ รั บ จากศาลล้ ม ละลายกลาง ตั้ ง แต่ วั น ที่ 1 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป โดยยกเลิกการจ่ายสำนวนตามกองบังคับคดีลม้ ละลาย แบบเดิม โดยระบบจะมีการจ่ายสำนวนให้แต่ละกองบังคับคดีล้มละลายเป็น จำนวนเท่ากันทั้ง 6 กอง และในแต่ละกองจะจ่ายให้กับแต่ละกลุ่มงาน และ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในแต่ละกลุ่มงานอย่างเท่าเทียมกัน จึงเป็นการกำหนด เจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์ผรู้ บั ผิดชอบด้วยระบบ สร้างความโปร่งใสและมาตรฐาน ในการปฏิบัติงาน และอำนวยความสะดวกให้ประชาชน เพื่อก้าวไปสู่การทำงาน ในยุคดิจทิ ลั ตามนโยบายรัฐบาล Thailand 4.0 ซึง่ ประชาชนหรือคูค่ วามสามารถ สืบค้นข้อมูลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าของสำนวน หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ และกองบังคับคดีที่รับผิดชอบสำนวนคดี ได้ผ่านทาง www.led.go.th และ ตู้ KIOSK ที่ติดตั้ง ณ อาคารกรมบังคับคดี ชั้นที่ 2 นอกจากนี้ตู้ KIOSK ได้มี บริการสำหรับคู่ความในคดีสามารถตรวจสอบข้อมูลคดีแพ่งได้ เช่นเดียวกับ Web Service ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

19


ได้แก่ แบบแสดงความประสงค์ขอรับเงินผ่านบัญชี ระบบตรวจสอบ สถานะคดีแบบแสดงความประสงค์ขอวางเงินค่าใช้จ่ายเพิ่ม ระบบ ลงนัดล่วงหน้าสำนวนคดีแพ่ง ระบบ EDC Payment ในการวาง หลั ก ประกั น เข้ า ซื้ อ ทรั พ ย์ จ ากการขายทอดตลาด เพื่ อ พั ฒ นาสู่ หน่วยงาน Digitalized หรือ Paperless

ด้านการพัฒนาคน

นอกจากนี้ ได้ ล งนามบั น ทึ ก ข้ อ ตกลงความร่ ว มมื อ กั บ สำนักงานศาลยุตธิ รรมโดยเริม่ ดำเนินการครัง้ แรกกับศาลแพ่งธนบุรี โดยทำบั น ทึ ก ข้ อ ตกลงความร่ ว มมื อ ระหว่ า งกรมบั ง คั บ คดี แ ละ ศาลแพ่งธนบุรี ในการส่งข้อมูลหมายบังคับคดีผ่าน e – mail ซึ่ ง ช่ ว ยลดระยะเวลา และค่ า ใช้ จ่ า ยเป็ น อย่ า งมาก และต่ อ มา ได้เชือ่ มโยงข้อมูลสารสนเทศโดยวิธที างอิเล็กทรอนิกส์ กับสำนักงาน ศาลยุติธรรม เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2560 โดยเชื่อมโยงข้อมูล เกี่ ย วกั บ หมายบั ง คั บ คดี คำฟ้ อ ง คำร้ อ ง คำพิ พ ากษา และ ข้อมูลอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ผ่านระบบ Web Service เพือ่ ลดระยะเวลา ค่ า ใช้ จ่ า ย และอำนวยความสะดวกให้ กั บ ประชาชนซึ่ ง ถื อ เป็ น ปัจจัยสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตามกรอบ การจัดอันดับความยาก – ง่าย ในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ของธนาคารโลก ตัวชี้วัดที่ 9 การบังคับให้เป็นตาม ข้อตกลง (Enforcing Contracts) ซึ่งสำนักงานศาลยุติธรรมและ กรมบังคับคดีรับผิดชอบในตัวชี้วัดดังกล่าว

ด้านข้อมูล

กรมบังคับคดีมองว่าการเชือ่ มโยงข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ นัน้ สำคัญมาก โดยขณะนี้กรมบังคับคดีได้เชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงาน ทะเบียนภาครัฐทัง้ หมด 16 แห่ง เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพในการรวบรวม ทรัพย์สนิ ในคดีลม้ ละลาย และเป็นศูนย์กลางข้อมูลเกีย่ วกับทรัพย์สนิ (Debtor Data Center) และกรมบังคับคดีมีฐานข้อมูลลูกหนี้ เจ้าหนีใ้ นชัน้ คำพิพากษาเพือ่ นำไปสูก่ ารใช้ Big Data ในการวิเคราะห์ ข้ อ มู ลและกำหนดแผนต่ อ ไป และเป็ น ครั้ ง แรกที่ ก รมบังคับคดี ได้ ก ำหนดนิ ย ามของเจ้ า หนี้ ต ามคำพิ พ ากษาที่ อ าจเป็ น เจ้ า หนี้ นอกระบบ โดยวิเคราะห์จากฐานข้อมูลคดีแพ่งที่มีอยู่ โดยกำหนด บทนิยามว่า เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่เป็นบุคคลธรรมดาที่มีหนี้ ตามคำพิพากษามากกว่า 20 รายขึ้นไป ทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุน การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน นอกจากนี้ ได้ พั ฒ นาการบริ ห ารจั ด การข้ อ มู ล คดี แ พ่ ง โดยนำคดีแพ่งในอดีตเข้าสูใ่ นระบบคอมพิวเตอร์ได้ทงั้ หมด เมือ่ วันที่ 30 กันยายน 2560 ทำให้การบริหารจัดการคดีมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น อี ก หนึ่ ง การพั ฒ นาที่ น่ า ภู มิ ใ จ เพื่ อ เพิ่ ม ความโปร่ ง ใส และอำนวยความสะดวกให้ แ ก่ ป ระชาชนโดยประกาศกำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป การยื่นคำร้อง คำขอ ในคดีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ full e-Filing - full e-Service

20

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

กรมบังคับคดีมงุ่ เสริมสร้างทักษะให้แก่บคุ ลากรกรมบังคับคดี ตัง้ แต่ระดับผูบ้ ริหารจนถึงระดับปฏิบตั กิ ารทัง้ ประเทศ ซึง่ กรมบังคับคดี ได้ รั บ เลื อ กให้ เ ป็ น หน่ ว ยงานนำร่ อ งการพั ฒ นาและการรั ง สรรค์ นวัตกรรมในรูปแบบใหม่ (Sandbox) และตามที่ อ.ก.พ. วิสามัญ เฉพาะกิ จ เกี่ ย วกั บ การขั บ เคลื่ อ นการพั ฒ นาทั ก ษะด้ า นดิ จิ ทั ล ของข้าราชการ ได้มมี ติให้กรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานภาครัฐต้นแบบ การสร้างและพัฒนากำลังคนภาครัฐเชิงกลยุทธ์เพื่อนำไปสู่ดิจิทัล ไทยแลนด์ โดยมีเจตจำนงที่จะร่วมมือกันสร้างและพัฒนาต้นแบบ การสร้ า งและพั ฒ นากำลั ง คนภาครั ฐ เพื่ อ ไปสู่ ดิ จิ ทั ล ไทยแลนด์ และถอดบทเรียนจากประสบการณ์ การดำเนินงานต่างๆ เพื่อเป็น องค์ ค วามรู้ และเผยแพร่ ป ระชาสั ม พั น ธ์ ใ ห้ ส่ ว นราชการและ หน่วยงานของรัฐ นำไปปรับใช้ต่อยอดอย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลเพื่อการไปสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ และเพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้บริการประชาชนให้มีความสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น กรมบั ง คั บ คดี ไ ด้ พั ฒ นานวั ต กรรม ข้ อ มู ล และคน พร้อมทุกๆ ด้าน และยังคงพัฒนาต่อไปไม่หยุดนิ่ง ซึ่งชาวบังคับคดี ทุกคนจะอยูโ่ หมดเตรียมพร้อมทุกเวลา ทำงาน 24 คูณ 7 เพราะต้อง คิดและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อธิบดีกรมบังคับคดี เล่าถึงการเตรียมพร้อมรับมือต่อการ เปลีย่ นแปลงทีร่ วดเร็วของเทคโนโลยีในยุคดิจทิ ลั อาทิ สกุลเงินดิจทิ ลั (Digital Currency) บิทคอยน์ (Bitcoin) ที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน ด้ า นการบั ง คั บ คดี ข องกรมบั ง คั บ คดี ว่ า ได้ เ ตรี ย มความพร้ อ มไว้ ล่วงหน้าอย่างมีแบบแผน โดยเมื่อวันที่ 1 - 4 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมากรมบังคับคดีได้เป็นเจ้าภาพร่วมจัดการประชุมคองเกรส นานาชาติของสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ ครั้งที่ 23 โดยได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในประเด็นเรื่องกระบวนการ บังคับคดีทรัพย์สินดิจิทัล ในวิธีที่ท้าทายแบบใหม่ มีผู้ร่วมอภิปราย จากประเทศต่างๆ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเอสโตเนีย และประเทศคองโก เป็นต้น นอกจากนี้ กรมบังคับคดีได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องการ บังคับคดีกับสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อศึกษาวิเคราะห์ว่าประเทศอื่น มีแนวทางอย่างไร และให้เสนอแนวทางว่าประเทศไทยควรจะมี แนวทางอย่างไร เพื่อนำมาพัฒนากระบวนการบังคับคดีให้เกิด ประสิ ท ธิ ภ าพและทั น ต่ อ การเปลี่ ย นแปลงธุ ร กรรมทางการเงิ น ซึ่งถือเป็นการเตรียมความพร้อมของกรมบังคับคดีในการบังคับคดี กรณีสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets) เพราะในขณะนี้ยังไม่มี ประเทศใดที่ดำเนินการบังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัล


อธิบดีกรมบังคับคดี ได้กล่าวในตอนท้ายเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพงานด้านการบังคับคดีในอนาคต เพื่อให้ สอดคล้องกับกระบวนการการบังคับคดีในระดับสากลว่า กรมบังคับคดีอยูภ่ ายใต้ยทุ ธศาสตร์ชาติที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศ และยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ งานด้านการบังคับคดีจึงเป็นส่วนหนึ่ง ทีท่ ำให้ประเทศไทยเป็นประเทศทีน่ า่ ลงทุน โดยมีกฎหมายทีเ่ ป็นสากล มีการบริหารจัดการคดีทมี่ ปี ระสิทธิภาพ โดยการนำระบบเทคโนโลยี ดิจิทัลมาใช้เพื่อความสะดวกแก่ประชาชน นี่คือเป้าหมายหลักที่วางไว้ ซึ่งกรมบังคับคดีได้จัดทำยุทธศาสตร์กรมบังคับคดีให้สอดรับ กับยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานของกรมบังคับคดีต่อไปในอนาคต สำหรับการแก้ไขปัญหาล้มละลาย ซึง่ ได้ปรับปรุงเพิม่ เติมกฎหมายล้มละลายมาอย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่ ปี พ.ศ. 2558 ได้มกี ารจัดเสนอ แนวทางการพัฒนาตัง้ เจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์เอกชน ตามทีค่ ณะกรรมาธิการขับเคลือ่ นปฏิรปู ประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ในการถ่ายโอนภารกิจของเจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์ ตามแผนการปฏิรปู ของคณะกรรมาธิการขับเคลือ่ นการปฏิรปู ประเทศด้านการบริหาร ราชการแผ่นดินเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีและได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 โดยมีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทีเ่ ป็นเอกชนและกรมบังคับคดีจะทำหน้าทีเ่ ป็นผูก้ ำกับการทำงานเป็นการปรับรูปแบบการให้บริการ (Business Model) ของกรมบังคับคดี จากผู้ปฏิบัติงาน (Operator) เป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงกฎหมายล้มละลาย และดำเนินการให้เป็นไป ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ สำหรับในเรื่องการพัฒนาความเป็นวิชาชีพด้านการบังคับคดี กรมบังคับคดีได้จัดตั้งสถาบันพัฒนาการบังคับคดี (Legal Execution Professional Academy : LEPA) และเตรียมจัดตั้งเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit : SDU) เพื่อให้บริการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการบังคับคดีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่บุคลากรของกรมบังคับคดี รวมทั้งให้ความรู้กฎหมาย ฝึกอบรมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ตลอดจนจัดหลักสูตรเพื่อฝึกอบรมเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เอกชน เพื่อให้สอดรับการถ่ายโอนงานภารกิจของกรมบังคับคดีในเรื่องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เอกชน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ ในส่วนของกฎหมายล้มละลายระหว่างประเทศกรมบังคับคดีได้เสนอร่างกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่ปี 2559 ขณะนี้ร่างกฎหมายได้ผ่านคณะรัฐมนตรีแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม เป้าหมายที่มุ่งหวังคือทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุนประเทศหนึ่งของโลก โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงและกฎหมายล้มละลายที่ได้มาตรฐานสากล และทันสมัย มีกระบวนการดำเนินงานทีส่ ะดวก รวดเร็ว และประหยัด นำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในทุกกระบวนงาน โดยกรมบังคับคดีจะดำเนินการภายใต้กรอบดำเนินงาน Easier Anywhere and Better และที่สำคัญ โดยยึดมั่นในหลักการดำเนินงาน คือ “ซื่ือสัตย์ สุจริต โปร่งใส และตรวจสอบได้”

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

21


ยุติธรรมเพื่อประชาชน พันตำรวจโท วิชัย สุวรรณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ รองผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม

หนี้นอกระบบ :

ทางแก้ที่ยั่งยืน

ในการจัดสัมมนากับภาคประชาชนทุกครั้ง ผู้เขียนจะขอ ความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมโครงการสัมมนาว่าจะทำอย่างไร ให้ปัญหาหนี้นอกระบบหมดไปจากสังคมไทย ท่านเชื่อมั้ยครับ ว่ า ได้ รั บ คำตอบที่ ห ลากหลายมาก เช่ น บางคนบอกว่ า รั ฐ ต้ อ งจั ด หาแหล่ ง ทุ น ให้ อ ย่ า งเพี ย งพอ สถาบั น การเงิ น ของรัฐต้องลดเงื่อนไขการให้ก้ยู ืม รัฐต้องสร้างงานสร้างอาชีพ ให้ มีร ายได้ เ พี ย งพอ รั ฐ ต้ อ งจั ด หาสวั ส ดิ ก ารทั้ ง ค่ า รั ก ษา พยาบาลและการศึกษา รัฐต้องจัดการกับเจ้าหนี้หน้าเลือด ที่เอารัดเอาเปรียบคนจน ต้องจัดการอบายมุขที่เป็นต้นเหตุ ของการก่อหนี้อย่างเด็ดขาดบางคนบอกว่าต้องปรามคนที่คิด จะเป็นหนีใ้ ห้รจู้ กั ความมีวนิ ยั ทางการเงิน ได้รจู้ กั ผลเสียทีจ่ ะเกิดขึน้ หากเข้าสูว่ งจรหนีน้ อกระบบ ต้องรูจ้ กั ความเป็นอยูอ่ ย่างพอเพียง รัฐต้องสอนให้ประชาชนรู้จักกฎหมายจะได้ไม่เสียเปรียบในการ ทำสัญญา ต้องช่วยเหลือเมือ่ ถูกฟ้อง ทัง้ หลายทัง้ ปวงของคำตอบ เหล่านี้เป็นบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานใดบ้าง

กระทรวงยุติธรรมเข้ามามีบทบาทกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างไร? ก็เป็นอีกคำถามหนึ่งที่มักจะถูกถามอยู่บ่อย ๆ ช่วงแรกผู้เขียนก็ไม่ค่อยมั่นใจในคำตอบมากนัก เพราะจากการรับรู้พบว่าปัญหาหนี้นอกระบบเกิดจากหลากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของเศรษฐกิจ รายได้ ชีวิตความเป็นอยู่ปากท้อง และสภาพปัญหาของคนในแต่ละสาขาอาชีพ คนในสังคมเมืองและ สังคมชนบทก็แตกต่างกัน จนกระทั่งผู้เขียนได้เริ่มตกผลึกความคิดเมื่อได้สัมผัสรับรู้ปัญหาจากผู้คน ที่เดือดร้อนจำนวนมากที่เข้ามาขอรับคำปรึกษาแนะนำ ซึ่งในบทบาทของนักอำนวยความยุติธรรมมีหน้าที่ ค้นหาข้อเท็จจริงและชีท้ างออกของปัญหาให้กบั คนทีเ่ ดือดร้อนเหล่านัน้ ได้หลุดพ้นจากทุกข์ หรือพูดง่าย ๆ ว่าจะทำอย่างไรให้เขา “รอด” จากปัญหาหนี้นอกระบบที่กำลังรุมเร้าเผชิญอยู่ ผู้เขียนขอยกกรณีตัวอย่างปัญหาหนี้นอกระบบที่เกิดขึ้นจริงจำนวน 4 เรื่อง เพื่อสะท้อนให้ท่านได้เห็นภาพชีวิตที่เกิดขึ้น ในสังคมไทย และแนวทางการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลืออำนวยความยุติธรรมเพื่อตอบโจทย์ว่าเราจะช่วยให้คนเหล่านี้หลุดพ้น อยู่รอดในสังคมโดยมีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมได้อย่างไร

เรือ่ งแรก เหตุเกิดทีอ่ ำเภอสุคริ นิ จังหวัดนราธิวาส เป็นเรือ่ งทีน่ า่ สนใจเพราะว่าราษฎรกลุม่ นีไ้ ด้โทรศัพท์ขอรับการช่วยเหลือ

พร้อมเล่าเหตุการณ์ให้ฟงั ว่าถูกเจ้าหนีเ้ อารัดเอาเปรียบไม่รจู้ ะไปหันหน้าไปพึง่ ใคร เจ้าหน้าทีร่ บั เรือ่ งจึงประสานขอให้แกนนำส่งเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องขอความช่วยเหลือส่งมาให้ทางไปรษณีย์เพื่อตรวจวิเคราะห์เบื้องต้น หลังจากได้รับเอกสารประมาณ หนึ่งสัปดาห์คณะทำงานได้ลงพื้นที่เข้าไปรับฟังปัญหาของราษฎรกลุ่มนี้จำนวน 22 คน จึงได้ข้อมูลว่าผู้ร้องเป็นทายาทรุ่นลูก ของชาวไทยพุทธทีเ่ คลือ่ นย้ายมาจากจังหวัดแถบภาคอีสานพร้อมกับครอบครัวตามนโยบายของรัฐบาลเมือ่ ปี พ.ศ. 2518 โดยได้รบั จัดสรรที่ดินเพื่อใช้ทำมาหากิน ส่วนมากจะประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจ้างกรีดยาง ร่อนทองคำ และรับจ้างทั่วไป เมื่อการดำรง ชีวิตขัดสนรายได้ไม่เพียงพอ ได้กู้ยืมเงินนอกระบบจากนายทุนในพื้นที่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูง ต่อมาเมื่อปี 2552 รัฐบาล ในขณะนัน้ มีโครงการลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนีน้ อกระบบ นายทุนในพืน้ ทีจ่ งึ ใช้ชอ่ งทางดังกล่าวชักชวนให้ชาวบ้านทีเ่ คยกูย้ มื เงินกัน

22

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม


มาก่อน มาทำสัญญากู้ยืมเงินกับตน เพื่อนำหลักฐานการกู้ยืม ไปใช้สิทธิยื่นในโครงการลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยหวังว่ารัฐจะสนับสนุนวงเงินกูใ้ ห้เพือ่ มาใช้คนื เจ้าหนีแ้ ละได้รบั ส่วนต่างที่เหลืออยู่มาใช้ประโยชน์ แต่ปรากฏว่าเมื่อยื่นแล้ว สถาบันการเงินไม่อนุมตั วิ งเงินจึงไม่ได้รบั การช่วยเหลือจากภาครัฐ ในโครงการดังกล่าวได้ ภายหลังเจ้าหนี้จึงนำสัญญากู้ยืมเงิน ดั ง กล่ า วมาฟ้ อ งร้ อ งลู ก หนี้ เ พื่ อ ให้ ช ำระหนี้ ทั้ ง ที่ ไ ม่ มี มู ล หนี้ ตามสัญญาหรือบางรายมีมลู หนีต้ ามสัญญาทีส่ งู กว่าเงินทีไ่ ด้รบั จริง ขัน้ ตอนของการช่วยเหลือของคณะทำงานได้ลงพืน้ ทีเ่ พือ่ ร่วมกับ หน่วยงานในพื้นที่ในการรับฟังข้อเท็จจริง จัดการไกล่เกลี่ย กับเจ้าหนี้ในรายที่ยังไม่ถูกฟ้อง รายที่อยู่ระหว่างฟ้องได้เตรียม เอกสารหลักฐาน พร้อมจัดหาทนายความทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถ ไปให้คำแนะนำในการต่อสู้คดี และประสานกับยุติธรรมจังหวัด เพื่อเข้าไปช่วยเหลือด้านทนายความและค่าธรรมเนียมศาล ตามกฎหมายกองทุนยุติธรรม จนศาลพิพากษาให้กลุ่มผู้ร้อง ชนะคดี โดยศาลรับฟังพยานหลักฐานจากการที่คณะทำงาน รวบรวมขณะลงพืน้ ทีต่ รวจสอบข้อเท็จจริงมาพิจารณาประกอบ การวินจิ ฉัยด้วย จึงสามารถช่วยเหลือราษฎรทีถ่ กู เอารัดเอาเปรียบ จากนายทุนจนถูกฟ้องคดีได้เป็นผลสำเร็จ

เรื่องที่สอง ช่วยเหลือเกษตรกรในจังหวัดชัยภูมิ ถูกกลุ่มนายทุนและนายหน้า

หลอกลวงให้ทำสัญญาขายฝากต้องสูญเสียที่ดินทำกิน เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรกว่า 30 ราย ถูกกลุ่มนายหน้าหลอกลวงขอเช่าที่ดินทำกินไปขายฝากกับกลุ่มนายทุน ที่ดิน 53 แปลง มูลหนี้กว่า 18 ล้านบาท คณะทำงานได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงจนพบ มูลความผิดทางอาญา จึงได้ประสานให้กลุ่มชาวบ้านไปร้องทุกข์กล่าวเพื่อดำเนินคดีกับ กลุ่มนายหน้าที่หลอกลวงในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน พนักงานสอบสวนท้องที่ ที่รับผิดชอบมีความเห็นสั่งฟ้อง ผลคดีศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกกลุ่มนายหน้า ในการลงพื้นที่ของคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือรวบรวมพยานหลักฐาน ได้ประสานข้อมูล กับศูนย์ดำรงธรรม ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ผู้แทนกรมที่ดิน และผู้นำท้องถิ่น เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับกลุ่มเกษตรกร นอกจากนี้ คณะทำงานยังได้ประสานงานกับสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์กรมหาชน) และกองทุนหมุนเวียนช่วยเหลือเกษตรกรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าช่วยเหลือ เกษตรกรที่กำลังจะสูญเสียที่ดินจากการทำสัญญาขายฝากอีกด้วย

เรื่องที่สาม ช่วยเหลือหญิงพิการชาวจังหวัดสุพรรณบุรี

โดยผู้ร้องได้เดินทางมาร้องขอความช่วยเหลือ เนื่องจาก ทำสัญญาจำนองที่ดินไว้กับนายทุนแต่ได้รับเงินน้อยกว่าตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ต่อมานายทุนได้ฟ้องบังคับจำนองจนผู้ร้อง แพ้คดีถูกนายทุนยึดทรัพย์บังคับคดี การช่วยเหลือได้ร่วมกับศูนย์ดำรงธรรมเข้าไปเจรจาไกล่เกลี่ยลดยอดหนี้ตามความเป็นจริง และประสานสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์กรมหาชน) เข้าไปช่วยเหลือด้านแหล่งทุนจนนายทุนถอนการยึดทรัพย์ และขอถอนการบังคับคดี

เรื่องที่สี่ เป็นเรื่องที่ผู้ร้องประกอบอาชีพขายอาหารตามสั่งแถบชานเมือง ต้องเลี้ยงดูบุตรชายฝาแฝดที่มีอาการ

ของกลุ่มโรคออทิสติก ผู้ร้องเป็นหนี้กู้ยืมเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอยู่ระหว่างถูกทวงถามให้ชำระหนี้กว่า 40,000 บาท และเป็นหนีเ้ งินกูน้ อกระบบกับเจ้าหนีป้ ล่อยเงินกูร้ ายวันประเภท “แก๊งหมวกกันน็อก” จำนวน 7 ราย รวมเป็นเงินกว่า 50,000 บาท ต้องส่งดอกเบี้ยวันละประมาณ 2,100 บาท เจ้าหนี้แต่ละรายผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาทวงหนี้โดยวิธีการข่มขู่

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

23


ทำให้ผู้ร้องเกิดความหวาดกลัว และไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ผู้ร้องจึงได้เขียนจดหมายส่งมาร้องขอความช่วยเหลือ คณะทำงานได้ลงพื้นที่ ประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่จับกุมนายทุนเงินกู้ดำเนินคดีตามกฎหมายและประสานกับสื่อโทรทัศน์ ในการเผยแพร่เป็นภาพข่าวและมีผู้บริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือครอบครัวผู้ร้อง ปัจจุบันยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาคอยตรวจตราดูแล ความปลอดภัย จนชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นจากเดิม

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าคนที่เดือดร้อนจากปัญหา หนี้นอกระบบจะมาพบกับเจ้าหน้าที่เพื่อขอความช่วยเหลือ ไม่ได้มาพบเนื่องจากปัญหาเรื่องเงินชำระหนี้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นปัญหาข้างเคียงสุดท้ายทีส่ ง่ ผลกระทบต่อชีวติ ความเป็นอยู่ และครอบครัว เช่น ถูกติดตามทวงถามหนี้ด้วยวิธีการรุนแรง จนไม่สามารถอยู่บ้านหรือประกอบอาชีพได้ การถูกฟ้องร้อง ดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม การไม่มีเงินในการจ้างทนายความ เพือ่ ต่อสูค้ ดีทำให้ไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุตธิ รรมได้อย่าง เท่าเทียมและมีประสิทธิภาพ การไกล่เกลีย่ หลังมีคำพิพากษาแล้ว ล้วนอยูใ่ นบทบาทภารกิจของกระทรวงยุตธิ รรม ในการช่วยเหลือ คนเป็นหนี้นอกระบบที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมเพื่อให้หลุดพ้น หรื อ รอดด้ ว ยเครื่ อ งมื อ ทางด้ า นกฎหมายและการอำนวย ความยุ ติ ธ รรม นอกจากนี้ บทบาทการช่ ว ยเหลื อ อำนวย ความยุติธรรมยังได้ขยายผลไปถึงการประสานงานด้านการ ช่วยเหลือแหล่งทุนหรือการพัฒนาคุณภาพชีวติ เพือ่ ให้เขาเหล่านี้ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมอย่างปกติสุขอีกด้วย ผู้เขียนได้เกริ่นแต่แรกแล้วว่าการช่วยเหลือคนที่เป็น หนี้นอกระบบให้สามารถเข้าถึงความเป็นธรรมในแต่ละรายนั้น มีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป จากประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ปัญหาจากหนี้สินที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมส่วนใหญ่ เกิดจากความเหลือ่ มล้ำทางด้านเศรษฐกิจ ฐานะโอกาสทางสังคม และอำนาจอิทธิพลของนายทุนที่เหนือกว่า ซึ่งความเหลื่อมล้ำ ที่กล่าวถึงดังกล่าวมีหลายระดับ ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด

24

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

ระดับภาค หรือระดับประเทศ การช่วยเหลือโดยหน่วยงานในระดับ พื้ น ที่ อ าจไม่ ไ ด้ ผ ลถ้ า นายทุ น คู่ ก รณี มี อิ ท ธิ พ ลระดั บ ภูมิภาค หรือระดับประเทศ ดังนั้น การช่วยเหลือให้เกิดความเป็นธรรม จึงต้องเน้นการลดความเหลื่อมล้ำอย่างมีประสิทธิภาพและ เพิ่มศักยภาพให้กับลูกหนี้เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางด้าน กฎหมาย ซึ่งการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนได้เข้าถึง ความเป็นธรรมสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้ (1) การให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย ชี้แนะแนวทาง ก็สามารถทำให้เข้าถึงความเป็นธรรมได้ คนทีเ่ ดือดร้อนจากปัญหา หนี้สินอาจจะมองไม่เห็นทางออก การให้คำปรึกษาแนะนำ ทางด้านข้อกฎหมายหรือแนวทางในการต่อสูค้ ดีโดยผูเ้ ชีย่ วชาญ ที่มีประสบการณ์ ทำให้ลูกหนี้สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ โดยบางรายมีศกั ยภาพในการจัดหาทนายความเข้าต่อสูค้ ดีได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งหน่วยงานของรัฐ (2) การช่ ว ยเหลื อ ด้ า นกฎหมาย ทนายความ ค่าธรรมเนียมศาล อย่างรวดเร็วและทันท่วงทีก็ทำให้สามารถ เข้าไปต่อสู้ในขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียม แต่ในบางกรณีการช่วยเหลือทางด้านทนายความก็ควรต้อง พิจ ารณาด้ ว ยว่า จะให้ การช่ว ยเหลื อ ทางคดีโ ดยทนายความ ในพื้นที่ หรือทนายความจากส่วนกลาง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น และความเท่าเทียมกันในการต่อสูค้ ดี อย่างเช่น กรณีการช่วยเหลือ ชาวบ้านหลายอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ถูกฟ้องให้ชำระค่าปุ๋ย ได้ขอความอนุเคราะห์ทนายความส่วนกลางจากสภาทนายความ


ในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้ามาช่วยเหลือด้านคดีโดยมีการแต่งตั้ง คณะทำงานด้านกฎหมายเพื่อกำหนดแนวทางในการต่อสู้คดี ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นต้น (3) นอกจากการช่วยเหลือด้านกฎหมายทนายความแล้ว หากพบว่ายังไม่เพียงพอทีจ่ ะสนับสนุนส่งเสริมให้มคี วามเท่าเทียม กันได้ จำเป็นต้องสัง่ การให้เจ้าหน้าทีร่ ฐั ทีม่ ภี ารกิจหน้าทีเ่ กีย่ วข้อง เข้าไปตรวจสอบหลักฐาน ค้นหาข้อเท็จจริงเพื่อนำหลักฐาน มาสนับสนุนทนายความในการต่อสู้คดี กรณีเป็นเรื่องที่มีการใช้ อำนาจอิ ท ธิ พ ลกระทำผิ ด อาญาที่ มี ผ ลกระทบต่ อ สั ง คมและ ความสงบเรียบร้อยในวงกว้าง เช่น กรณีหนี้นอกระบบรายใหญ่ ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด เพชรบู ร ณ์ หรื อ หนี้ น อกระบบโดยนายทุ น ในจังหวัดชัยภูมิ เป็นต้น ทีก่ ล่าวมาเป็นภารกิจในการแก้ไขปัญหาหนีน้ อกระบบ เพื่อ ให้ ผู้เ ดื อ ดร้ อ นและไม่ ไ ด้ รับ ความเป็ น ธรรมสามารถที่จ ะ อยูร่ อดได้ในสังคมด้วยมาตรการทางด้านกฎหมายและการเข้าถึง กระบวนการยุติธรรม แต่การช่วยเหลือดังกล่าวเป็นเพียงให้เขา สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เปรียบเหมือนการช่วยเหลือคนที่ตกน้ำ ด้วยการโยนชูชพี แล้วลากขึน้ มาหาฝัง่ ต่อจากนัน้ จะให้เขาได้ดำรง ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างไร ย้อนกลับไปเมื่อสี่ปีก่อนผู้เขียนได้นำข้าราชการและ เจ้ า หน้ า ที่ ศู น ย์ ช่ ว ยเหลื อ ลู ก หนี้ แ ละประชาชนที่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ ความเป็นธรรม เข้าไปเรียนรู้ศึกษาดูงานสถาบันการเรียนรู้ เพื่ อ ปวงชนหรื อ เรี ย กกั น ทั่ ว ไปว่ า “มหาวิ ท ยาลั ย ชี วิ ต ”

รองศาสตราจารย์ ดร.เสรี พงศ์พิศ อธิการบดี ได้ให้การต้อนรับ และพานำชมให้รู้จักสถานที่แห่งนี้มากขึ้น สถาบันการเรียนรู้ เพื่อปวงชนมีปรัชญาการศึกษาที่เน้นให้เรียนแล้วพึ่งตนเองได้ และมี ค วามสุ ข อยู่ อ ย่ า งมี ศั ก ดิ์ ศ รี แ ละมี กิ น ในท้ อ งถิ่ น ตนได้ ช่วยตนเองได้ ช่วยคนอื่นได้ และร่วมมือกับชุมชนเพื่อให้ชุมชน เรียนรู้ ชุมชนจะได้เข้มแข็ง จากนั้นได้มีโอกาสร่วมงานกับท่าน อี ก หลายครั้ ง จนเมื่ อ ปลายปี ที่ แ ล้ ว มี โ อกาสรั บ ฟั ง แนวคิ ด การทำงานจากท่ า นเกี่ ย วกั บ ปั ญ หาหนี้ สิ น ของประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร ท่านเน้นให้ความสำคัญกับยุติธรรมชุมชน แบบบูรณาการ การสร้างวิทยากรตัวคูณระดับจังหวัด ให้เรียนรู้ นโยบายภาครัฐกับการแก้ไขปัญหาหนีน้ อกระบบเรียนรู้กฎหมาย บทบาทภารกิ จ ของกระทรวงยุ ติ ธ รรมในด้ า นการอำนวย ความยุตธิ รรม แผนการแก้ไขปัญหาหนีน้ อกระบบในระดับชุมชน เพื่ อ เปิ ด พื้ น ที่ ใ ห้ วิ ท ยากรตั ว คู ณ เข้ า ไปในชุ ม ชนเพื่ อ สร้ า ง องค์ความรูใ้ นการป้องกัน เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาหนีน้ อกระบบ ในชุมชนพื้นที่ให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด และเพื่อสร้างรูปแบบ (Model) ส่งเสริมให้ขยายผลไปทั่วประเทศโดยความร่วมมือ กับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆ ท่านได้ให้หลักการ แนวคิดในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบว่าการที่จะทำให้เขา อยู่รอด (Survive) ในสังคมแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งต้องให้รู้จัก ความพอเพียง (Sufficiency) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสุดท้ายจะต้องให้เรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมั่นคง ยั่งยืน (Sustainable) โดยจะต้องเรียนรู้แผน 4+1 ได้แก่ แผนชีวิต แผนอาชีพ แผนการเงิน แผนสุขภาพ และสุดท้าย คือ แผนแม่บท ชุมชนซึ่งเป็นเรื่องของภูมิปัญญาชาวบ้าน ทุนในท้องถิ่นและ ทรัพยากรธรรมชาติ ซึง่ หากมีโอกาสผูเ้ ขียนจะได้นำมาขยายความ เล่าสู่กันฟังต่อไป

ผู้เขียนได้ย้ำเสมอว่าการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ไม่ใช่การยกหนี้ หรือ “ชักดาบ” เพราะนั่นคือ การแก้ปัญหา ที่ปลายเหตุ และจะเป็นการสร้างปัญหาใหม่ตามมาไม่สิ้นสุด โดยเฉพาะการไร้วินัยในการใช้จ่ายเงิน หนทางที่ดีที่สุด คือ การเรียนรู้ที่จะวางแผนอนาคตให้มีความมั่นคง ยั่งยืน บนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

25


ที่นี่แจ้งวัฒนะ

กองบรรณาธิการ

“ยุติธรรม” ลงนาม MOU ร่วมกับ สคบ. คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครอง ผูบ้ ริโภค ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การดำเนินงานด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ระหว่างกระทรวงยุติธรรม กับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภค (สคบ.) โดยมีศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม และพลตำรวจตรี ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค ลงนามบั น ทึ ก ข้ อ ตกลงฯ ณ ห้ อ งประชุ ม วายุภกั ษ์ แกรนด์บอลรูม ชัน้ 4 โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

“มุมมองของรองนายกฯ ประจิน” ผ่านรายการ สื่ออยากรู้ รัฐบาลอยากเล่า พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงยุ ติ ธ รรม พร้ อ มด้ ว ย นายธรรมยศ ศรีชว่ ย ปลัดกระทรวงพลังงาน นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนาพันธ์ชยั ปลัดกระทรวงดิจทิ ลั เพือ่ เศรษฐกิจและสังคม นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และ นางวัฒนาพร ระงับทุกข์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมรายการ สื่ออยากรู้ รัฐบาลอยากเล่า “มุมมองของ รองนายกฯ ประจิน” เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ ชี้แจงในประเด็นต่าง ๆ ที่สื่อมวลชนสนใจ โดยถ่ายทอดสด ทางเฟสบุ๊คไทยคู่ฟ้า และ NBT 2HD ณ อาคารภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ชั้น 2 กรุงเทพฯ

“ยุติธรรม” มอบเงินช่วยเหลือเยียวยาแก่ทายาทคุณตาซาเล้ง ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานมอบเงินค่าตอบแทนผูเ้ สียหายในคดีอาญาตามพระราชบัญญัติ ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และทีแ่ ก้ไขเพิม่ เติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 ให้แก่นางฉลวย จริตเอก ภรรยา นายประพจน์ มณีพันธ์ และนางสาววนิดา มณีพันธ์ บุตร ทายาท ของนายจรูญ มณีพันธ์ อายุ 82 ปี หรือคุณตาขับรถซาเล้ง ซึ่งถูกนายนราธร โสตติยัง อายุ 21 ปี ทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวติ ในเวลาต่อมา โดยจ่ายค่าตอบแทนฯ ให้แก่ทายาทของผูเ้ สียหาย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 115,270 บาท ณ ห้องรับรองกระทรวงยุติธรรม ชั้น 2 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ

26

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม


พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย

พลอากาศเอก ประจิ น จั่ น ตอง รองนายกรั ฐ มนตรี แ ละรั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงยุ ติ ธ รรม ให้ ก ารต้ อ นรั บ H.E. Ms. Donica Pottie เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย พร้อมคณะ ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะเพื่อกระชับ สัมพันธไมตรีอันดีระหว่างกัน พร้อมทั้งหารือข้อราชการที่เกี่ยวข้องกับงานยุติธรรม โดยมีประเด็นที่สำคัญ อาทิ การขับเคลื่อน วาระแห่ ง ชาติ ด้ า นสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน ความคื บ หน้ า การดำเนิ น การตามกลไก Universal Periodic Review (UPR) การส่งเสริมสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และความร่วมมือในด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ณ ห้องรับรองกระทรวงยุติธรรม ชั้น 2 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมคณะ ให้การต้อนรับ นายกลิน ที. เดวีส์ (H.E. Mr. Glyn T. Davies) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ และหารือข้อราชการร่วมกันในประเด็นเกีย่ วกับความร่วมมือทางอาญาระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิง่ ความสำเร็จในการดำเนินการของศูนย์อบรมและประสานงานความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมาย (International Law Enforcement Academy (ILEA)) ตลอดจนความร่วมมือในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติรูปแบบต่างๆ ณ ห้องรับรอง กระทรวงยุติธรรม ชั้น 2 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ

“ยุตธิ รรม” หารือแนวทางการส่งเสริมและคุม้ ครองสิทธิมนุษยชน ศาสตราจารย์พเิ ศษวิศษิ ฏ์ วิศษิ ฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุตธิ รรม เป็นประธานการประชุมเพือ่ พิจารณาข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทาง ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการปรับปรุงกฎหมาย กรณี ก ารขายฝากตามประมวลกฎหมายแพ่ ง และพาณิ ช ย์ ข อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยกระทรวงยุตธิ รรมได้รบั มอบหมาย ให้เป็นหน่วยงานหลักรับข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทาง ในการส่งเสริม และคุม้ ครองสิทธิมนุษยชน รวมทัง้ การปรับปรุงกฎหมายกรณีการขายฝาก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติ ณ ห้องประชุมกระทรวงยุตธิ รรม 2 ชัน้ 8 อาคารราชบุรดี เิ รกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

27


กำแพงมิอาจกั้น

กองบรรณาธิการ

บิสแม็ค บิยอมโบ้

มูลนิธิ ไร้ท์ ทู เพลย์ นำ นักบาสเกตบอล

NBA สอนทักษะการเล่นบาสเกตบอลให้กับเยาวชน

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ในฐานะหน่วยงาน ในการพิทกั ษ์ พินจิ และคุม้ ครองเด็กและเยาวชน ทีเ่ ข้ามาสูก่ ระบวนการ ยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่ไม่สามารถหันเหคดี ออกจากกระบวนการยุตธิ รรมต้องเข้าสูก่ ระบวนการบำบัดแก้ไข ฟืน้ ฟู และพั ฒ นาพฤติ นิ สั ย จึ ง มี ค วามจำเป็ น ต้ อ งมี กิ จ กรรมที่ ร อบด้ า น เพื่อการปรับเปลี่ยน พัฒนา ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนกลุ่มดังกล่าว ให้เป็นเด็กดี และเด็กเก่ง ให้สามารถที่จะพร้อมดำเนินชีวิตในสังคมได้ อย่างเป็นปกติสุขภายหลังกลับสู่สังคม ดังเจตนารมณ์ของกรมพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่มุ่งมั่น “คืนเด็กดี สู่สังคม”

28

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

กีฬา ไม่ได้เป็นแค่กิจกรรม เพื่อการออกกำลังกาย แต่กีฬา สามารถพัฒนาเป็นอาชีพ หรือต่อยอดไปยังอาชีพที่มั่นคงได้ หากมีการฝึกฝนอย่างจริงจัง การส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจ ทางด้านกีฬา ถือเป็นอีกกิจกรรมที่น่าสนใจ


และเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2561 เวลา 09.30 น. นางกิ่ ง กาญจน์ บุ ญ ประสิ ท ธิ์ รองอธิ บ ดี ก รมพิ นิ จ และ คุ้ ม ครองเด็ ก และเยาวชน เป็ น ประธานพิ ธี เ ปิ ด กิ จ กรรม สร้างเสริมทักษะกีฬาบาสเกตบอลเพื่อการพัฒนาทักษะชีวิต ให้กับเด็กและเยาวชน ภายใต้โครงการ “Achieving Change Together (ACT)” ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชาย บ้านมุทิตา ต.คลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม สำหรับ โครงการ “Achieving Change Together (ACT)” เริ่มกิจกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – 2564 มูลนิธิไร้ท์ ทู เพลย์ ประเทศไทย ร่วมกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชน เพี่อสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเชิงบวก และการพัฒนาทักษะชีวติ ให้กบั เด็กและเยาวชนในประเทศไทย โดยใช้ กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ผ่ า นประสบการณ์ ที่ มี พื้ น ฐาน จากกี ฬ าและการเล่ น โดยมี เ ป้ า หมายในโครงการคื อ เด็ ก และเยาวชนที่ เ ข้ า สู่ ก ระบวนการยุ ติ ธ รรมในศู น ย์ ฝึ ก และ อบรมเด็กและเยาวชน กรมพินิจฯ 9 แห่งทั่วประเทศ ซึ่ ง ในครั้ ง นี้ ท างมู ล นิ ธิ ไ ร้ ท์ ทู เพลย์ ได้ เ ชิ ญ Bismack Biyombo Sumba ทู ต นั ก กี ฬ าจากมู ล นิ ธิ ฯ และนักกีฬาบาสเกตบอลจากการแข่งขันบาสเกตบอลอาชีพ ในอเมริกาเหนือ (Nationnal Basketball Association NBA) ได้ ม าสอนทั ก ษะกี ฬ าบาสเกตบอลให้ กั บ เด็ ก และเยาวชน ศูนย์ฝึกฯ บ้านมุทิตา จำนวน 160 คน การจัดงานในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกทักษะกีฬาบาสเกตบอลแบบมืออาชีพ พัฒนาทักษะชีวติ ผ่านการเล่นกีฬาบาสเกตบอล และเสริมสร้าง แรงบันดาลใจในการเป็นนักกีฬามืออาชีพต่อไป

ภายในงานมีผู้เข้าร่วมงานที่สำคัญ Mr.Kevin Frey ผู้บริหารมูลนิธิไร้ท์ ทู เพลย์ Mrs.Niamh De Loughry ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย Mr.Bismack Biyombo Sumba ทูตนักกีฬาจากมูลนิธิไร้ท์ ทู เพลย์ และนักกีฬา บาสเกตบอลจากการแข่งขันบาสเกตบอลอาชีพในอเมริกาเหนือ (Nationnal Basketball Association NBA) และเจ้าหน้าที่ โครงการมูลนิธิไร้ท์ ทู เพลย์ ประเทศไทย โดยมี นายปัญญา จันทร์ละออ ผูอ้ ำนวยการศูนย์ฝกึ และอบรมเด็กและเยาวชนชาย บ้านมุทิตา ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

29


รองอธิบดีกรมพินิจฯ ได้กล่าวว่า “ในนามตัวแทน ของกรมพิ นิ จ และคุ้ ม ครองเด็ ก และเยาวชน ขอต้ อ นรั บ Mr.Bismack Biyombo Sumba ทูตนักกีฬาจากมูลนิธิ ไร้ ท์ ทู เพลย์ และนั ก กี ฬ าบาสเกตบอลจากการแข่ ง ขั น บาสเกตบอลอาชีพในอเมริกาเหนือ (Nationnal Basketball Association NBA) คณะผู้ บ ริ ห ารและเจ้ า หน้ า ที่ มู ล นิ ธิ ไร้ท์ ทู เพลย์ ทุกท่านสู่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชาย บ้านมุทิตา ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง และทราบว่าในวันนี้ ทู ต นั ก กี ฬ าจะได้ ร่ ว มกั น สร้ า งสรรค์ กิ จ กรรมดี ๆ ให้ กั บ เด็ ก และเยาวชนด้ ว ยการสร้ า งเสริ ม พั ฒ นาทั ก ษะกี ฬ า บาสเกตบอล ซึ่งถือได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีมากๆ สำหรับเด็ก และเยาวชน และทุ ก คนที่ ไ ด้ ม าสั ม ผั ส กั บ สุ ด ยอดนั ก กี ฬ า บาสเกตบอลมืออาชีพที่มีชื่อเสียงระดับโลกและมีแนวทาง การดำเนินชีวติ ทีน่ า่ สนใจเป็นอย่างยิง่ จึงขอให้เด็กและเยาวชน ทุกคนมีความสุข สนุกสนาน เกิดการเรียนรู้ และขอให้เก็บเกีย่ ว ประสบการณ์ ที่ น่ า ประทั บ ใจในวั น นี้ ไ ปใช้ ใ นการพั ฒ นา คุณภาพชีวิตของตนเองและประเทศชาติสืบไป...” “… และต้องขอขอบคุณด้วยความจริงใจอีกครั้งหนึ่ง สำหรับการเดินทางมาในครั้งนี้ของ Mr.Bismack Biyombo Sumba ทูตนักกีฬาจากมูลนิธิไร้ท์ ทู เพลย์ และนักกีฬา บาสเกตบอลจากการแข่งขันบาสเกตบอลอาชีพในอเมริกาเหนือ (Nationnal Basketball Association NBA) รวมถึ ง คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่มูลนิธิไร้ท์ ทู เพลย์ ทุกท่าน ท้ า ยนี้ ข อให้ ก ารดำเนิ น การจั ด กิ จ กรรมในครั้ ง นี้ เ ป็ น ไป ด้วยความเรียบร้อย และสำเร็จลุลว่ งตามวัตถุประสงค์ทวี่ างไว้ ทุกประการ”

30

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมให้กับเด็กและเยาวชนด้วยการ สร้ า งเสริ ม พั ฒ นาทั ก ษะกี ฬ าบาสเกตบอล โดยนั ก กี ฬ า บาสเกตบอลมืออาชีพ ทีม่ ชี อื่ เสียงระดับโลก อย่าง Mr.Bismack Biyombo Sumba ทูตนักกีฬาจากมูลนิธิไร้ท์ ทู เพลย์ และ นั ก กี ฬ าบาสเกตบอลจากการแข่ ง ขั น บาสเกตบอลอาชี พ ในอเมริกาเหนือ (Nationnal Basketball Association NBA) ถือเป็นกิจกรรมที่เด็กและเยาวชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ตลอดจนเป็ น การพั ฒ นาเด็ ก และเยาวชนให้ มี ค วามพร้ อ ม เพื่อกลับสู่สังคมได้อย่างมีคุณภาพต่อไป


ทุกทิศยุติธรรม

กองบรรณาธิการ

กระทรวงยุ ติ ธ รรมมองเห็ น ความสำคั ญ ในเรื่ อ งของสิ ท ธิ ในการเข้ า ถึ ง กระบวนการยุ ติ ธ รรม ซึ่ ง เป็ น สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนขั้ น พื้ น ฐาน อย่างหนึ่งของมนุษย์ และทุกคนก็ควรมี “โอกาส” ได้เข้าถึงกระกวนการ ยุติธรรมอย่างแท้จริง และเท่าเทียมกัน แต่ทุกปัญหาและทุกความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม ย่อมมีทางออกเสมอ ไม่จำเป็น ต้องฟ้องร้องหรือจบลงที่ศาลเสมอไป การให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย อาจช่วยมองหาทางออกอื่น ๆ ได้ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี สามารถเพิ่มโอกาสให้เจ้าหนี้และลูกหนี้เจรจากันได้ด้วยความพึงพอใจ อีกทั้งความร่วมมือตามโครงการประชารัฐ ร่วมสร้างงาน สร้างอาชีพ ผู้ ต้ อ งขั ง ก็ เ ป็ น การเพิ่ ม โอกาสให้ ผู้ที่ ก้ า วพลาดได้ ก ลั บ ตั ว กลั บ ใจ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมได้ทำงานอย่างรอบด้านและทั่วถึง

ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่ประชาชน นายวิรัตน์ ศรีมงคล ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดนครราชสีมา สาขาบัวใหญ่ พร้อมด้วย จ.อ.นุชิน วงศ์แก้ว หัวหน้ากลุ่มแก้ไขฟื้นฟูฯพร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ และสมาชิก TO BE NUMBER ONE ร่วมงานอำเภอเคลื่อนที่ เพื่ อ ร่ วม ประชาสัมพันธ์งานคุมประพฤติ และชมรม TO BE NUMBER ONE พร้ อ มทั้ ง บริ ก ารให้ ค ำปรึ ก ษาด้ า นกฎหมายแก่ ป ระชาชน ที่มาร่วมงาน ณ วัดบ้านหนองตะไก้ ตำบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรมจัดกิจกรรมเคลื่อนที่ ให้บริการประชาชน ศู น ย์ บ ริ ก ารร่ ว มกระทรวงยุ ติ ธ รรม จั ด โครงการ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติรรมเคลื่อนที่ ครั้งที่ 5/2561 เพือ่ ให้บริการประชาชนเกีย่ วกับงานภารกิจของศูนย์บริการร่วม กระทรวงยุติธรรม ได้แก่ การให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย การรับเรื่องราวร้องทุกข์ และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ภารกิ จ ของส่ ว นราชการในสั ง กั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม แก่ประชาชน ณ ตลาดน้ำริมวัดหัวกระบือ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

31


ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือตามโครงการประชารัฐ นายไพบูลย์ ดิสสงค์ ผูอ้ ำนวยการสำนักงานบังคับคดีจงั หวัดพิษณุโลก เข้าร่วมพิธลี งนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสาน ความร่วมมือตามโครงการประชารัฐ ร่วมสร้างงาน สร้างอาชีพผูต้ อ้ งขัง ระหว่าง เรือนจำกลางพิษณุโลก เรือนจำจังหวัดพิษณุโลก และทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก ร่วมกับสำนักงานแรงงานจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานจัดหางานจังหวัดพิษณุโลก และหน่วยงาน ภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ณ โรงแรมเรือนแพ รอยัล ปาร์ค จังหวัดพิษณุโลก

ติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต สำนั ก งานบั ง คั บ คดี จั ง หวั ด อุ บ ลราชธานี ร่ ว มกั บ บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด จัดมหกรรม ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี เพื่อเพิ่มโอกาสให้เจ้าหนี้และ ลูกหนีส้ ามารถเจรจากันได้ดว้ ยความพึงพอใจ สะดวก รวดเร็ว ไม่มีค่าใช้จ่าย และเป็นธรรม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชน เข้าถึงกระบวนการยุตธิ รรมได้งา่ ย ลดการถูกบังคับคดียดึ อายัด ทรัพย์สนิ หรือฟ้องล้มละลาย โดยเป็นการอำนวยความยุตธิ รรม เพื่ อ ลดความเหลื่ อ มล้ ำ ทั้ ง นี้ มี ลู ก หนี้ เ ข้ า ร่ ว มไกล่ เ กลี่ ย จำนวน 108 ราย ทุนทรัพย์ จำนวน 49,840,335.55 บาท ไกล่ เ กลี่ ย สำเร็ จ จำนวน 87 ราย ทุ น ทรั พ ย์ จำนวน 40,442,773.28 บาท ความสำเร็จของเรือ่ งทีเ่ ข้าสูก่ ระบวนการ ไกล่เกลีย่ คิดเป็น ร้อยละ 80.56 ซึง่ จัดขึน้ ณ ห้องขายทอดตลาด ชั้น 2 อาคารสำนักงานบังคับคดีจังหวัดอุบลราชธานี

เรือนจำกลางเชียงราย นำผู้ต้องขัง ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เรือนจำกลางเชียงราย นำผูต้ อ้ งขัง (เรือนจำ ชั่วคราวดอยฮาง) จำนวน 40 คน ร่วมบำเพ็ญ สาธารณประโยชน์ แ ก่ ชุ ม ชนและหน่ ว ยงานภาคี เครือข่ายในพื้นที่ โดยการเข้าช่วยพัฒนาปรับปรุง ภู มิ ทั ศ น์ บ ริ เ วณโดยรอบวิ ท ยาลั ย สงฆ์ เ ชี ย งราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พร้อมทัง้ ทาสีรั้วศาลจังหวัดเชียงราย ให้อยู่ในสภาพใหม่ และดูสวยงาม

32

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม


เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานยุตธิ รรมจังหวัดลพบุรี จัดโครงการยุตธิ รรม ลดความเหลื่ อ มล้ ำ ประจำปี ง บประมาณ 2561 รุ่ น ที่ 4 เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม และเสมอภาค ณ หอประชุมอำเภอโคกเจริญ อำเภอโคกเจริญ จั ง หวั ด ลพบุ รี โดยได้ รั บ เกี ย รติ จ ากนายครรชิ ต ทิ พ ผล ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัดลพบุรี และนายกนก โภคสมบัติ รองอัยการจังหวัดสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิ และช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดลพบุรี สาขาชัยบาดาล เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ซึง่ มีประชาชน ให้ความสนใจเข้าร่วม จำนวน 56 คน ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ด้านกฎหมายและงานบริการด้านยุติธรรม สำนักงานยุตธิ รรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาเกาะสมุย พร้ อ มด้ ว ยข้ า ราชการและเจ้ า หน้ า ที่ ห น่ ว ยงานในสั ง กั ด กระทรวงยุติธรรม จัดกิจกรรมออกหน่วยยุติธรรมเคลื่อนที่ ร่วมกับโครงการเข้าวัดฟังธรรมไปกับนายอำเภอ ทัง้ นีเ้ พือ่ เป็น การนำนโยบายยุติธรรมสู่หมู่บ้าน นำบริการรัฐสู่ประชาชน อาทิ ให้ ค ำปรึ ก ษากฎหมาย แจกเอกสารแผ่ น พั บ หนังสือกฎหมายสามัญประจำบ้านและหนังสืองานบริการ ของกระทรวงยุติธรรม รวมถึงเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ งานเชิ ง รุ ก เกี่ ย วกั บ งานบริ ก ารของกระทรวงยุ ติ ธ รรม ให้ แ ก่ ป ระชาชนได้ รั บ ทราบ ณ สำนั ก สงฆ์ ด อนธู ป ตำบลลิปะน้อย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้คำปรึกษากฎหมายแก่ประชาชน นายสมคิด แก้วนิล ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีและยุติธรรม จังหวัดยะลา สาขาเบตง ออกหน่วยบริการประชาชน โครงการศูนย์ดำรงธรรม อำเภอ..ยิ้มเคลื่อนที่ เพื่อประชาสัมพันธ์บทบาทภารกิจของสำนักงาน ยุติธรรมจังหวัดยะลา สาขาเบตง ณ สำนักสงฆ์บ้าน กม. 16 หมู่ที่ 5 ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา นอกเหนือจากสิทธิ ความรู้ และ โอกาสแล้ ว สิ่ ง สำคั ญ ที่ ข าดไม่ ไ ด้ ก็ คื อ การบริ ก าร กระทรวงยุ ติ ธ รรมให้ ความสำคั ญ ด้ า นการให้ บ ริ ก ารและ ให้ ค ำปรึ ก ษาประชาชน โดยได้ จั ด กิจกรรมออกหน่วยยุติธรรมเคลื่อนที่ เพื่ อ เป็ น การนำความยุ ติ ธ รรมสู่ หมู่ บ้ า น นำบริ ก ารรั ฐ สู่ ป ระชาชน อย่างแท้จริง

ยุติธรรม เคลื่อนที่

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

33


ภาษายุติธรรม

นางธันย์ชนก อุ่นบรรเทิง

มาทำความรู้จักกับ

นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม

Call Center

กันเถอะ

ปัจจุบันคำว่า Call Center เป็นที่คุ้นหูและ มี บ ทบาทต่ อ ชี วิ ต ประจำวั น มากมาย บ่อยครัง้ ทีเ่ ราเห็นว่ามีการนำคำนีไ้ ปใช้กบั ธุรกิจ การซื้อขายสินค้า หรือบริการ (Trade & Service Business) โดยผู้ให้บริการจะระบุหมายเลขติดต่อเฉพาะ หรือหมายเลข Call Center ไว้ให้ลูกค้าติดต่อสอบถามหรือ ขอความช่วยเหลือ ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าในการเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว และทันท่วงที จากการที่ประชาชนเชื่อว่า Call Center สามารถให้ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาและเอื้ออำนวยความสะดวก ได้ทันท่วงที จึงทำให้กลุ่มมิจฉาชีพอาศัยช่องโหว่ดังกล่าวนำคำว่า Call Center ไปใช้ ในการหลอกลวง (for cheating purpose) ซึ่งกำลังเป็นปัญหาอย่างหนักในปัจจุบัน แก๊ ง คอลเซ็ น เตอร์ (Call Center Fraud Gang) เป็ นกลุ่ ม บุ คคลต่ า งชาติ ซึ่ ง มี คนไทยร่ วมขบวนการอยู่ ด้ วย หรื อ อีกนัยหนึ่ง คือ อาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร (Transnational Organized Crime) ทีม่ คี นไทยรับจ้างเป็นผูเ้ ปิดบัญชี โดยจะใช้วธิ โี ทร.ติดต่อเหยือ่ ผ่านระบบ VoIP (Voice over Internet Protocol) หรือการสื่อสารทางเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต โดยจะปลอมแปลงเป็นเบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานสำคัญ เช่น กรมสรรพากร สถาบันการเงินต่างๆ ไปรษณียไ์ ทย DSI เป็นต้น เพือ่ ทำให้เหยือ่ เชือ่ มัน่ ( confidence trick ) และหลงเชือ่ ว่าจะได้รบั เงินภาษี และประกันสังคมคืน หรืออ้างว่าเหยื่อเป็นหนี้บัตรเครดิต โดยหลอกให้เหยื่อโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม หรือเครื่องรับฝากเงินสดอัตโนมัติ (transfer money via ATM or CDM) หรือผ่านระบบโทรศัพท์ (ATM Sim) ระบบอินเทอร์เน็ต (E-Banking) ซึง่ บางส่วนใช้ฐานปฏิบตั กิ ารในต่างประเทศโทร.เข้ามา หลอกลวง (phone scam) คนไทย และบางส่วนก็ตั้งฐานปฏิบัติการในประเทศไทยหลอกลวง (deceive) คนไทยด้ ว ยกั น โดยแอบอ้ า งเป็ น ไปรษณี ย์ ไ ทย (Post Office) มี พั ส ดุ ต กค้ า ง (parcel is held) หลอกถามชื่อและเลขที่บัตรประชาชน ก่อนโอนสายแอบอ้างเป็นตำรวจ

แก๊งคอลเซ็นเตอร์ คืออะไร

34

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม


แก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Call Center Fraud Gang)

(pretend to be police) หรือแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ จากสำนั ก งาน ปปง. (officer from Anti-Money Laundering Office) แจ้ ง ว่ า ผู้ เ สี ย หาย (victim) เกี่ยวข้องกับยาเสพติด (connects with narcotics activities) หรือแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าทีร่ ฐั (Government Officer) ขอตรวจสอบเงินในบัญชีธนาคาร (verify bank account) หรือเป็นหนี้บัตรเครดิต (credit card debt) ต้องชำระในยอดพิเศษ หรืออ้างว่าผู้เสียหายได้รับรางวัล ชิ้นใหญ่ (big reward) จากต่างประเทศ ต้องเสียภาษี (pay tax) ที่ ผ่ า นมา พบว่ า ผู้ ต้ อ งหา (offenders) ส่วนใหญ่มักเป็นชาวไต้หวัน

เป็นกลุ่มบุคคลต่างชาติซึ่งมีคนไทย ร่วมขบวนการอยู่ด้วย หรืออาชญากรรม ข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร

เปิดบัญชี

ไปรษณีย์ไทย

แอบอ้าง ติดต่อเหยื่อผ่านระบบ VoIP (Voice over Internet Protocol) หรือการสื่อสารทางเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต ปลอมแปลงเป็นเบอร์โทรศัพท์ ของหน่วยงานสำคัญ เช่น - กรมสรรพากร - สถาบันการเงินต่างๆ - ไปรษณีย์ไทย - DSI

ทำให้เหยื่อ เชื่อมั่น

โอนสายแอบอ้าง

มีพัสดุ ตกค้าง หลอกถามชื่อ และเลขที่บัตรประชาชน

- ตำรวจ - เจ้าหน้าที่จาก สำนักงาน ปปง. - เจ้าหน้าที่รัฐ

เกี่ยวข้อง กับยาเสพติด เป็นหนี้ บัตรเครดิต ได้รับรางวัล ชิ้นใหญ่

หลงเชื่อ ตกเป็นเหยื่อ วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

35


จะทำอย่างไร

ไม่ให้ตกเป็น เหยื่อ

ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์

1. เมื่อได้รับโทรศัพท์ให้สอบถามข้อมูลให้ชัดเจน

ว่าเกิดอะไรขึ้น 2. สำรวจตัวเองว่ามีความเกี่ยวพันกับเรื่องที่ได้รับแจ้ง หรือไม่ 3. ห้ามโอนเงินให้ไม่ว่ากรณีใดๆ แต่ให้รับเรื่องไว้เบื้องต้น แล้วนำเรื่องดังกล่าวไปตรวจสอบกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในภายหลัง 4. หากจำเป็นต้องมีการชำระเงินจริงๆ ควรนำเงินไปชำระ กับเจ้าหน้าที่ด้วยตนเองที่หน่วยงานที่ถูกกล่าวอ้าง ห้ามทำลายสลิปการโอนเงิน หรือห้ามฉีกเด็ดขาด

เมื่อสงสัยว่าถูกหลอก จะทำอย่างไร

หรือแจ้งไปยัง กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) หมายเลข หรือศูนย์ป้องกันและปราบปรามแก๊ง Call Center ผ่าน 3 หน่วยงาน ตลอด 24 ชั่วโมง 24 ที่หมายเลข ชั่วโมง สายด่วน ปปง. กสทช. ตำรวจท่องเที่ยว

1135

1710 1200 1155

แหล่งอ้างอิง : https://news.mthai.com/general-news/603985.html

36

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับหน่วยงาน หรือสาขาที่ถูกกล่าวอ้างโดยตรง

ส่งสำนักงาน ปปง. โทร.แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ในกรณี ที่ ต กเป็ น ผู้ เ สี ย หายแล้ ว ห้ า มทำลายสลิ ป การโอนเงิ น หรื อ ห้ า มฉี ก เด็ ด ขาด ให้ เ ก็ บ ไว้ เ ป็ น หลั ก ฐาน และส่งสำนักงาน ปปง. โดยด่วน เพื่อจะได้ติดตามร่องรอย บัญชีการโอนเงิน (trace money transfer) หรือทำการระงับ (restrain) การโอนเงิ น ในบั ญ ชี คื น ให้ กั บ ผู้ เ สี ย หายได้ และโทร.แจ้ ง เจ้ า หน้ า ที่ ต ำรวจ หรื อ แจ้ ง ความ (report) เพื่อทำการจับกุม (arrest) หรือหากสงสัยว่าผู้ที่โทร.เข้ามา (suspect) เป็นแก๊ง Call Center หรือไม่ ขอให้งดการ ดำเนิ น การตามที่ ถู ก ร้ อ งขอจากแก๊ ง Call Center และ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับหน่วยงาน หรือสาขาที่ถูกกล่าวอ้าง โดยตรง


กฎหมายน่ารู้

กองบรรณาธิการ

พี่เปาแห่งกองบรรณาธิการมีเรื่องมาเล่าอีกแล้ว วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ

“กฎหมายที่กำหนดบทลงโทษสำหรับข้าราชการหรือนักการเมืองที่มี พฤติการณ์โกงบ้านกินเมือง” กันนะขอรับ

“ทุจริตคิดโกงชาติ”

มีโทษถึงประหารชีวิต จริงหรือไม่ ปัจจุบันได้มีกฎหมายที่กำหนดบทลงโทษสำหรับข้าราชการ หรือนักการเมืองที่มีพฤติการณ์โกงบ้านกินเมือง

ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และแก้ไขใหม่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 มาตรา 4 ได้ให้นิยามคำว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ไว้ว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือบุคคลผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงาน ของรัฐ ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วย ลักษณะปกครองท้องที่ และให้หมายความรวมถึงกรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ และบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางการปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ และในมาตรา 123/2 ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ ขององค์การระหว่างประเทศ เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเอง หรื อ ผู้ อื่ น โดยมิ ช อบ เพื่ อ กระทำการหรื อ ไม่ ก ระทำการอย่ า งใดในตำแหน่ ง ไม่ ว่ า การนั้ น จะชอบ หรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 - 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 100,000 - 400,000 บาท หรือประหารชีวิต

ดั ง นั้ น สามารถสรุ ป ได้ ว่ า หากนั ก การเมื อ ง ข้ า ราชการ หรื อ เจ้ า หน้ า ที่ ข องรั ฐ มีพฤติกรรมโกงบ้านกินเมือง เมื่อถูกจับได้ บทลงโทษยึดตามกฎหมาย และกำหนดโทษ ไว้ให้ศาลใช้ดุลพินิจ ตั้งแต่เบาไปหาหนัก คือ จำคุก 5 ปี จนถึงประหารชีวิต นั่นเอง

ข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และแก้ไขใหม่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

37


กฎหมายสามัญประจำบ้าน นายนิรัญ อินดร

พนักงานคดีปกครองชำนาญการ กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร สำนักวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง

คำสั่งลงโทษทางวินัย

ตามมติชี้มูลของคณะกรรมการ ป.ป.ช. อุทธรณ์ได้เพี ยงใด และฟ้องศาลปกครอง ได้หรือไม่ ?

การพิจ ารณาโทษทางวินัยข้าราชการที่ถูกกล่าวหาว่ าทุจริ ต ต่อหน้าที่ราชการ กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด ทางวินัยอย่างร้ายแรงแล้ว หน่วยงานของรัฐต้นสังกัดหรือผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนข้าราชการผู้ถูกกล่าวหา ต้องพิจารณา โทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติ โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีกและ ในการพิจารณาโทษทางวินัยแก่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถือว่ารายงานเอกสาร และความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นสำนวน การสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัย ตามกฎหมายหรือระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคล ของผู้ถูกกล่าวหานั้นๆ แล้วแต่กรณี (มาตรา 92 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542) ด้วยเหตุนี้ ในการพิจารณาโทษทางวินยั ข้าราชการทีค่ ณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชมี้ ลู ผูม้ อี ำนาจจึงมีเพียงอำนาจลงโทษ ทางวินยั ตามฐานความผิดทีค่ ณะกรรมการ ป.ป.ช. ชีม้ ลู แล้วเท่านัน้ จะเปลีย่ นแปลงฐานความผิดไปจากทีค่ ณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติแล้วไม่ได้ อย่างไรก็ตาม กระบวนการพิจารณาเพือ่ ออกคำสัง่ ดังกล่าวมีประเด็นปัญหาทางกฎหมาย ทีน่ า่ สนใจหลายประการ เช่น ในชั้นอุทธรณ์

ในชั้นฟ้องคดีต่อศาล

38

ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์จะพิจารณาเปลี่ยนแปลงฐานความผิดทางวินัย ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดแล้วได้หรือไม่ ? หากข้าราชการที่ได้รับคำสั่งลงโทษเห็นว่ามติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทีช่ มี้ ลู ความผิดทางวินยั ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาว่า มติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม


ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวในคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ. 20/2560

โดยมูลเหตุของคดีนี้ เกิดจากกรมทางหลวงชนบทได้มีคำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการตามมติชี้มูลความผิด ทางวินยั อย่างร้ายแรงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีหน่วยงานได้จา้ งซ่อมรถยนต์สว่ นกลาง โดยผูฟ้ อ้ งคดีเป็นกรรมการตรวจรับ พัสดุได้ลงลายมือชื่อตรวจรับงานซ่อมในใบตรวจรับพัสดุ ทั้งที่งานซ่อมยังไม่แล้วเสร็จ และมีการเบิกจ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้กับ ผู้รับจ้างก่อนที่ผู้รับจ้างจะส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนด พฤติการณ์ถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบพัสดุ เป็นความผิดวินัย ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการและฐานประพฤติชั่ว อย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

มีคำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ ผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

ผู้ฟ้องคดี เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ

จ้างซ่อม

พฤติการณ์ถือเป็น การไม่ปฏิบัติตาม ระเบียบพัสดุ

รถยนต์ส่วนกลาง

ใบตรวจรับพัสดุ

ซ่อม

ส่งมอบงาน ล่าช้ากว่ากำหนด

งานซ่อมยังไม่แล้วเสร็จ

ลงลายมือชื่อตรวจรับ งานซ่อมในใบตรวจรับพัสดุ

การเบิกจ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้กับผู้รับจ้าง ก่อนที่ผู้รับจ้างจะส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนด

ผู้รับจ้าง

ผิดวินัยฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการและฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง

เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

39


ผู้ฟ้องคดีจึงอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการต่อคณะกรรมการ

ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า

พิทักษ์ระบบคุณธรรมซึ่งเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ และคณะกรรมการฯ มีคำวินิจฉัย อุทธรณ์ให้ยกอุทธรณ์ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าเป็นการใช้ดุลพินิจในการลงโทษที่รุนแรง ไม่สมควร แก่ความผิดและผู้ฟ้องคดี ได้ชดใช้เงินให้แก่ทางราชการแล้ว อีกทั้งก็ไม่เคยกระทำผิดมาก่อน จึงควรได้รบั การลดหย่อนโทษ จึงฟ้องคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผูถ้ กู ฟ้องคดีที่ 1 กรมทางหลวง ชนบท เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 โดยขอให้ศาลปกครองเพิกถอนมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเพิกถอนคำสั่งลงโทษ ไล่ออกจากราชการ เป็นการใช้ดุลพินิจ ในการลงโทษที่รุนแรง ไม่สมควรแก่ความผิด

ชดใช้เงินให้แก่ทางราชการ ไม่เคยกระทำผิด มาก่อน

ควรได้รับ การลดหย่อน โทษ

จึงฟ้อง โต้แย้ง

เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1

ขอให้

เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2

เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3

ศาลปกครองเพิกถอนมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ คดีนคี้ ณะกรรมการ ป.ป.ช. โต้แย้งว่า การวินจิ ฉัยชีม้ ลู ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะ เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญเป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญ ผู้ฟ้องคดีไม่อาจฟ้อง

ต่ อ ศาลปกครองขอให้ เ พิ ก ถอนมติ ค ณะกรรมการ ป.ป.ช. และคำสั่ ง ลงโทษ ทางวินัยได้ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยประเด็นนี้ว่า มติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ชี้มูล ความผิดทางวินัยเป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ที่มีผลเป็นเพียงการชี้มูลความผิดทางวินัยเท่านั้น มิได้เป็น การใช้ อ ำนาจโดยตรงตามรั ฐ ธรรมนู ญ ที่ เ ป็ น การวิ นิ จ ฉั ย ชี้ ข าดขององค์ ก รตามรั ฐ ธรรมนู ญ และศาลปกครองเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการที่มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี และสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสมตามรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 จึงย่อมมีอำนาจ ดุลพินิจอิสระที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามรูปคดีโดยไม่จำต้องยึดถือพยานหลักฐานจาก สำนวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

40

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม


สำหรับประเด็นปัญหาว่า ผูม้ อี ำนาจพิจารณาอุทธรณ์จะพิจารณาเปลีย่ นแปลงฐานความผิดทางวินยั อย่างร้ายแรง ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดแล้วได้หรือไม่นั้น ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีผลผูกพันองค์กรที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ไม่อาจเปลี่ยนแปลงฐานความผิดตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. วินิจฉัยและยุติแล้วให้เป็นประการอื่นได้

สิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยจึงถูกจำกัดว่าจะอุทธรณ์ได้เฉพาะ ดุลพินิจในการสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาเท่านั้น จะอุทธรณ์ว่ามิได้กระทำความผิดทางวินัยตามที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลไว้มิได้ กล่าวโดยสรุป

ในชั้นการออกคำสั่งลงโทษทางวินัย กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจออกคำสั่งจะต้องพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูล มีดุลพินิจได้เฉพาะกำหนดระดับโทษเท่านั้น ในชั้นอุทธรณ์ ผู้ได้รับคำสั่งมีสิทธิอุทธรณ์ได้เฉพาะดุลพินิจในการสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชา เท่านั้น จะอุทธรณ์ฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลไว้ไม่ได้ ส่วนในชั้นฟ้องคดีต่อศาล มติ ข องคณะกรรมการ ป.ป.ช. มิ ไ ด้ เ ป็ น การใช้ อ ำนาจโดยตรง ตามรัฐธรรมนูญที่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองซึ่งเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจ ตุลาการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 จึงมีอำนาจตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย ของกระบวนการพิจารณา เมื่อมีมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในชั้นการออกคำสั่ง ลงโทษทางวินัย

มีมติชี้มูลความผิด

ออกคำสั่ง พิจารณาโทษทางวินัย ผู้บังคับบัญชา

ในชั้นอุทธรณ์

ในชั้นฟ้องคดีต่อศาล

อุทธรณ์ ไม่ได้ เมื่อมีมติของ คณะกรรมการ ป.ป.ช.

อุทธรณ์ได้เฉพาะดุลพินิจ ในการสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชา

มีอำนาจตรวจสอบความชอบ ด้วยกฎหมายของกระบวนการพิจารณา

สำหรับประเด็นเรื่องคำสั่งลงโทษทางวินัยไล่ออกจากราชการชอบด้วย กฎหมายหรือไม่ ? นั้น ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่ ง ผู้ ส นใจสามารถศึ ก ษารายละเอี ย ดได้ จ ากคำพิ พ ากษาศาลปกครองสู ง สุ ด ในคดีนี้... วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

41


ที่นี่แจ้งวัฒนะ

กองบรรณาธิการ

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงเปิดโครงการกำลังใจฯ ณ เรือนจำจังหวัดนราธิวาส พระเจ้ า หลานเธอ พระองค์ เ จ้ า พั ช รกิ ติ ย าภา เสด็จพระดำเนินไปเป็นองค์ประธานเปิดโครงการกำลังใจฯ ณ เรือนจำจังหวัดนราธิวาส ซึง่ เป็นเรือนจำแห่งที่ 18 ของ การเปิดโครงการกำลังใจฯ โดยมีพลอากาศเอก ประจิน จัน่ ตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้ อ มด้ ว ยศาสตราจารย์ พิ เ ศษวิ ศิ ษ ฏ์ วิ ศิ ษ ฏ์ ส รอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม คณะผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม และผู้เกี่ยวข้องเฝ้าฯ รับเสด็จ โอกาสนี้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิตยิ าภา ได้เสด็จฯ ไปเปิด “ลานกำลังใจ” พร้ อ มทั้ ง ทรงปลู ก ต้ น รวงผึ้ ง ต้ น ไม้ ป ระจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รั ช กาลที่ 10 ต่ อ จากนั้ น เสด็ จ ฯ เข้ า ไปในแดนหญิ ง เพือ่ ทอดพระเนตรการดำเนินกิจกรรมต่างๆ พร้อมประทาน ถุงของขวัญแก่แม่และเด็ก

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง เปิดการประชุม ระดับภูมิภาค ASEAN 2025 : Synchronising the Economic and Security Agendas

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมประชุมและ กล่าวปาฐกถาในพิธีเปิดการประชุมระดับภูมิภาคในหัวข้อ ASEAN 2025 : Synchronising the Economic and Security Agendas จัดโดยกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ร่ ว มกั บ สำนั ก งานป้ อ งกั น ยาเสพติ ด และปราบปราม อาชญากรรมแห่ ง สหประชาชาติ (UNODC) เพื่ อ หารื อ ร่ ว มกั บ ประเทศสมาชิ ก อาเซี ย นเกี่ ย วกั บ แนวทาง การเตรี ย มความพร้ อ มเพื่ อ รั บ มื อ กั บ ความท้ า ทาย ด้ า นความมั่ น คง ณ อาคารศู น ย์ ป ระชุ ม สหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ

42

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

“ยุติธรรม” ประชุมคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความยุติธรรม

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงยุ ติ ธ รรม เป็ น ประธาน การประชุมคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ครั้งที่ 3/2561 โดยมี ศ าสตราจารย์ พิ เ ศษวิ ศิ ษ ฏ์ วิ ศิ ษ ฏ์ ส รอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัด กระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม กรรมการผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ และผู้ แ ทนจากหน่ ว ยงานต่ า งๆ เข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมได้รับทราบผลการช่วยเหลือ เงิ น กองทุ น ยุ ติ ธ รรมทั้ ง ในส่ ว นกลาง และส่ ว นภู มิ ภ าค ประจำปี 2561 โดยมีผู้ยื่นคำขอรับความช่วยเหลือรวมเงิน ให้ความช่วยเหลือทั้งสิ้น 99,088,782 บาท ณ ห้องประชุม กระทรวงยุตธิ รรม 1 ชัน้ 9 อาคารราชบุรดี เิ รกฤทธิ์ ศูนย์ราชการ เฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ


“ยุติธรรม” จัดประชุมเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์อาชญากรรม และหลักนิติธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน+3

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุม เชิงปฏิบัติการเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์อาชญากรรมและหลักนิติธรรม ในกลุ่มประเทศอาเซียน+3 : แนวทางการจัดเก็บ วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลการกระทำผิดซ้ำ (The ASEAN +3 Workshop on Crime Trends and the Rule of Law: Guideline on the Collection, Analysis and Utilization of Big Data in Recidivism) โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายวัลลภ นาคบัว ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม พร้อมด้วยผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำระบบและฐานข้อมูลการกระทำผิดซ้ำในประเทศอาเซียน+3 ทั้งในภาครัฐและเอกชน ของประเทศไทย กัมพูชา มาเลเซีย บรูไนดารุสซาลาม สิงคโปร์ ญีป่ นุ่ เกาหลีใต้ และบริษทั Tata Consultancy Services (TCS) ประเทศอินเดีย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลและสถานการณ์อาชญากรรมในส่วนของการกระทำผิดซ้ำในประเทศอาเซียน ณ ห้องประชุม Infinity Ballroom 2 โรงแรมพูลแมน คิง พาวเวอร์ กรุงเทพฯ

“ยุติธรรม” ลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อช่วยเหลือประชาชน ให้เข้าถึงความเป็นธรรมและเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและ รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงยุ ติ ธ รรม เป็ น ประธานในพิ ธี เ ปิ ด โครงการยุตธิ รรมสูห่ มูบ่ า้ น นำบริการรัฐสูป่ ระชาชน ครัง้ ที่ 6/2561 พร้อมทั้งเยี่ยมชมกิจกรรมการอำนวยความเป็นธรรม คืนสิทธิ สร้างโอกาส (ตรวจ DNA พิสูจน์สถานะทางทะเบียนราษฎร) “เชี ย งราย DNA” โดยมี ค ณะผู้ บ ริ ห ารกระทรวงยุ ติ ธ รรม เข้าร่วม ณ ที่ว่าการอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย โอกาสนี้ รองนายกรั ฐ มนตรี แ ละรั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงยุ ติ ธ รรม ได้มอบเงินค่าตอบแทนผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญาให้แก่ นายราชัน ทะนันชัย จำนวน 82,500 บาท และได้นำคณะผูบ้ ริหาร ตรวจเยี่ ย มศู น ย์ ยุ ติ ธ รรมชุ ม ชนตำบลปอ อำเภอเวี ย งแก่ น จังหวัดเชียงราย พร้อมรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในพื้นที่

“ยุตธิ รรม” จัดประชุมร่วมกับ AAPTIP ขับเคลือ่ นโครงการออสเตรเลีย - เอเชีย ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการออสเตรเลีย-เอเชีย เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ (AAPTIP Thailand NPSC meeting) ครัง้ ที่ 1/2561 เพือ่ รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงาน ของโครงการ AAPTIP ระดับภูมภิ าค การรายงานแผนงานของแต่ละประเทศในด้านการต่อต้าน การค้ามนุษย์ การรายงานกิจกรรมระดับภูมิภาค และความคืบหน้าอื่นๆ รวมทั้งยุทธศาสตร์ และแผนการดำเนินงานของประเทศไทย ภายใต้โครงการ AAPTIP เพื่อนำไปสู่แนวทาง การป้ อ งกั น และแก้ ไ ขปั ญ หาค้ า มนุ ษ ย์ ใ นประเทศไทย และระดั บ ภู มิ ภ าคอย่ า งยั่ ง ยื น ณ ห้ อ ง BB206 โรงแรมเซ็ น ทราบายเซ็ น ทาราศู น ย์ ร าชการและคอนเวนชั น เซ็ น เตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

43


เดินหน้ายุติธรรม

นายมนินธ์ สุทธิวัฒนานิติ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม

ความร่วมมือกับ OECD

ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการดำเนินโครงการ Country Programme ทีเ่ ป็นการร่วมมือกับองค์การเพือ่ ความ ร่ ว มมื อ ทางเศรษฐกิ จ และการพั ฒ นา (Organization for Economic Co-operation and Development : OECD) ซึ่ ง เป็ น ชุ ด โครงการที่ ส อดคล้ อ งกั บ ยุ ท ธศาสตร์ ช าติ 20 ปี และเป้ าหมายการพัฒ นาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ โดยได้ จัดทำเป็นบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับ OECD ในความร่วมมือ 4 ด้าน เพิม่ เติมขึน้ จากบันทึกความเข้าใจ (MOU) ทางวิชาการ ในการดำเนินงานเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริต ของประเทศไทย (Thailand Integrity Review) ที่เคยลงนาม กันไปเมื่อปี 2560

44

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม


โดยความร่วมมือ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านที่

ธรรมาภิบาลภาครัฐ และความโปร่งใส (Governance and Transparency)

ด้านที่

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และความสามารถ ในการแข่งขัน (Business Climate and Competitiveness)

ด้านที่

ด้านที่

ประเทศไทย 4.0

การเติบโต อย่างทั่วถึง (Inclusive Growth)

โดยในช่วงปี 2560 ที่ผ่านมา ประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ได้มีความร่วมมือกับ OECD ในการจัดทำรายงานการทบทวนสถานการณ์ประเทศไทย เชือ่ มโยงหลายมิตริ ะยะที่ 1 ซึง่ พบว่า ประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างมากในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยมีสดั ส่วนของคนยากจนลดลงอย่างมากจากร้อยละ 60 ในปี 2533 เหลือร้อยละ 7 ในปัจจุบนั และสามารถ ขยายการจัดการศึกษาและการบริการสาธารณสุขได้เป็นอย่างดี แต่จำเป็นต้องหาปัจจัยใหม่สำหรับการเติบโต เพื่อบรรลุถึงความท้าทายเหล่านั้น นโยบายและการลงทุนเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งอีกครั้ง กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การสร้างงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นและให้โอกาสมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับแรงงานจำนวนมากในการจ้างงานที่ไม่มั่นคง และการคุ้มครองทางสังคมยังคงไม่เข้มแข็ง รวมทั้ง จำเป็นจะต้องสร้างเมืองขนาดรองเพื่อเป็นแหล่งการเติบโตแหล่งใหม่และเร่งสร้างความก้าวหน้า เพื่อการ พัฒนาที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น ซึ่งข้อเสนอแนะในรายงานนี้ก็สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล ในปัจจุบันเช่นกัน

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

45


สำหรับโครงการภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ประกอบด้วย โครงการเกี่ยวกับการเสริมสร้าง จริยธรรมในการบริหารงานภาครัฐ และการประเมินระบบราชการ ของสำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาระบบราชการ

โครงการศึกษารูปแบบและนโยบาย การส่งเสริม SME ของสำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

โครงการเกี่ยวกับการศึกษา แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านบริหารจัดการ งบประมาณของสำนักงบประมาณ

โครงการศึกษาและจัดทำรายงานประเทศไทย ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนยี ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบาย วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

โครงการศึกษาปรับปรุงกฎระเบียบ ด้านการลงทุนและการดำเนินธุรกิจ ด้วยความรับผิดชอบ ของกระทรวงการต่างประเทศ

โครงการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลตามมาตรฐานสากล และการพัฒนาอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับ EEC ของกระทรวงศึกษาธิการ

โครงการศึกษาวิเคราะห์โครงสร้าง และกระบวนการออกกฎหมาย และกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนาประเทศ ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

โครงการศึกษาแนวทางการปฏิรูป ระบบดิจิทัลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม

โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนา การบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้า ของกระทรวงพาณิชย์

โครงการจัดทำรายงานประเมินสถานการณ์ ของเศรษฐกิจไทยในภาพรวม และการประเมิน สถานะทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2562 เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดประเด็น การขับเคลื่อนการพัฒนาที่สำคัญ ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ในการดำเนินกิจกรรมตามกรอบดังกล่าวนอกเหนือจากการดำเนินโครงการข้างต้นแล้ว จะมีกจิ กรรม การศึกษาประเด็นต่าง ๆ ร่วมกัน ทัง้ การจัดประชุมสัมมนาวิชาการ การแลกเปลีย่ นข้อมูลสถิตติ า่ งๆ และการ ส่งเจ้าหน้าทีไ่ ปปฏิบตั งิ านที่ OECD อันเป็นโอกาสทีด่ ใี นการได้ไปเรียนรูก้ ารทำงานขององค์การระหว่างประเทศ ซึง่ กระทรวงยุตธิ รรมอาจจะได้มสี ว่ นร่วมกับกิจกรรมดังกล่าวได้ แม้จะไม่ได้มกี ารจัดทำโครงการร่วมกับ OECD โดยตรงในขณะนี้ ทั้งนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าวอาจส่งผลให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก OECD ในอนาคตได้ ซึ่งจะเป็นประเทศแรกจากภูมิภาคอาเซียนที่ได้เข้าเป็นสมาชิก OECD

46

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม


รู้ไว้ใช่ว่า…

นางสาวภัทยารัตน์ ศรีสังวาลย์

การตรวจหา

ลายนิ้วมื

ด้วยวิธีนินไฮดริน ลายนิ้วมือที่ตรวจเก็บในสถานที่เกิดเหตุ หรือบนวัตถุที่อยู่ในสถานที่เกิดเหตุ และนำเก็บมาเพื่อตรวจหารอยลายนิ้วมือแฝงนั้น เป็นพยานหลักฐานที่จะแสดงว่า บุคคลผู้เป็นเจ้าของลายนิ้วมือ อยู่ในสถานที่เกิดเหตุนั้น หรือได้สัมผัสกับวัตถุที่ตรวจพบรอยลายนิ้วมือ ลายนิ้วมือ เป็ น หลั ก ฐานที่ ส ามารถใช้ ยื น ยั น ตั ว บุ ค คลได้ ลายนิ้ ว มื อ มี ค วามเป็ น เอกลั ก ษณ์ (Uniqueness)

และไม่เปลี่ยนแปลง (Permanence) ในคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ได้มีการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบสำนวน ในคดี และเพือ่ หาผูก้ ระทำความผิด ลายนิว้ มือ เป็นวัตถุพยานทีผ่ ตู้ รวจสถานทีเ่ กิดเหตุ หรือพนักงานสอบสวน ดำเนินการเก็บมา เพื่อให้ทำการตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบ หรืออาจนำเก็บวัตถุพยานชนิดต่างๆ เพื่อให้มาตรวจหารอยลายนิ้วมือแฝงที่จะติดอยู่ บนวัตถุพยานนั้น ๆ ซึ่งลายนิ้วมือที่ตรวจเก็บในสถานที่เกิดเหตุ หรือบนวัตถุที่อยู่ในสถานที่เกิดเหตุ และนำเก็บมาเพื่อตรวจหา รอยลายนิ้วมือแฝงนั้น เป็นพยานหลักฐานที่จะแสดงว่าบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายนิ้วมือ อยู่ในสถานที่เกิดเหตุนั้น หรือได้สัมผัส กับวัตถุที่ตรวจพบรอยลายนิ้วมือ ซึ่งจะนำไปสู่การสืบสวน และสอบสวน เพื่อหาตัวผู้เกี่ยวข้อง การตระหนักถึงคุณค่า ของวัตถุพยานประเภทลายนิว้ มือ จึงเป็นสิง่ สำคัญ การตรวจเก็บลายนิว้ มือแฝงทีม่ คี ณ ุ ภาพ จะเป็นการง่ายต่อการตรวจเปรียบเทียบ ต่อไปได้ วัตถุพยานประเภทลายนิ้วมือนั้น สามารถตรวจพบได้บนเอกสารต่างๆ ไม่ว่า จะเป็นรอยประทับบนหนังสือสัญญาต่าง ๆ ตั๋ ว จำนำ เป็ น ต้ น รอยลายนิ้ ว มื อ แฝง ยั ง สามารถตรวจพบได้ บ นวั ต ถุ พ ยาน ประเภทเอกสารต่ า งๆ เหล่ า นั้ น ด้ ว ย ในกรณี ที่ เ กิ ด เหตุ ก ารณ์ เช่ น การปิ ด แผ่นป้ายโจมตี การเขียนจดหมายสนเท่ห์ หรือการเขียนเอกสารอันไม่พึงประสงค์ใด ต่ อ บุ ค คลอื่ น การนำเอกสารเหล่ า นี้ มาตรวจหาลายนิ้ ว มื อ แฝงเพื่ อ สื บ สาว ไปยั ง ต้ น ตอของผู้ ก ระทำเอกสารเหล่ า นี้ ย่อมทำได้ วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

47


การหารอยลายนิ้วมือแฝงที่ประทับอยู่บนพื้นผิวที่มีรูพรุน วิธีการส่วนใหญ่ ที่ ใ ช้ คื อ การใช้ ส ารเคมี ที่ เ รี ย กว่ า นิ น ไฮดริ น (Ninhydrin) ซึ่ ง เป็ น สารเคมี ที่ ใ ช้ ห า รอยลายนิว้ มือบนพืน้ ผิวรูพรุนประเภทกระดาษ โดยกรดอะมิโนทีม่ อี ยูใ่ นรอยลายนิว้ มือแฝง จะสร้างพันธะที่แข็งแรงกับเซลลูโลสไฟเบอร์ สารเคมีที่ใช้ในการหารอยลายนิ้วมือส่วนใหญ่ จะทำปฏิกิริยากับกรดอะมิโน ทำให้ปรากฎรอยลายนิ้วมือขึ้นมา

ตัวอย่างรอยลายนิ้วมือที่ได้จากวิธีนินไฮดริน

48

วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม


การให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์แก่ประชาชน ขั้นตอนการรับบริการของประชาชน ตรวจพยานเอกสาร ตรวจ DNA พ่อแม่ลูก ตรวจสารเสพติดในเส้นผม

1. โทรสอบถามรายละเอียด นัดหมายวันที่จะเข้ารับบริการ 2. ผู้มาขอรับบริการมาตรงตามที่นัดหมายไว้ที่กลุ่มบริหาร จัดการวัตถุพยาน ชั้น 9 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ 3. กรอกรายละเอียดใบคำร้องและบันทึกข้อตกลง ในการขอรับบริการ 4. ชำระค่าธรรมเนียม 5. เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจพิสูจน์ 6. รับรายงานผลตรวจพิสูจน์

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ชั้น 8-9 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ เบอร์มือถือ โทร. 062-323-9000 โทร. 02-142-3620 สายด่วน โทร. 1111 กด 77 www.cifs.moj.go.th facebook : สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม

กองบุคคลสูญหายและศพนิรนาม

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ชั้น 9 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ เบอร์มือถือ โทร. 089-200-7434 โทร. 02-142-3631, 02-142-3648 www.mpic.go.th www.facebook.com/mpic.cifs Line id : mpic.cifs



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.